การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Page 1

การวางผังเมือง

โลจิสติกส์

Urban Logistics Planning New Normal Edition

2021

พบวิ​ิถีชีวิตใหม่ เมื่อเข้าใจโลจิสติกส์ รองศาสตราจารย์ ดร. ระหัตร โรจนประดิษฐ์ รองผูอ ้ ำ� นวยการหลักสูตรวิทยาการจัดการโลจิสติกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผูเ้ ขียน


พบวิถีชีวิตใหม่ เมื่อเข้าใจโลจิสติกส์

เรื่องใหญ่ ๆ ของสังคมมีผลกระทบต่อทุกชีวิต และสรรพสิ่งต่าง ๆ ในสังคมนั้นเสมอ

โลจิสติกส์ก็เช่นกัน

เราสามารถท�ำความเข้าใจเรื่องนี้จากการอ่านหนังสือ “คู่มือการวางผังเมืองโลจิสติกส์

ฉบับ New Normal 2021” ของ รศ.ดร.ระหัตร โรจนประดิษฐ์ ที่ได้รวบรวมความรู้ที่จ�ำเป็นและ เกีย่ วข้องกับโลจิสติกส์มาอย่างครบครัน ดังเห็นได้หวั เรือ่ งหรือประเด็นใหญ่ ๆ ทีม่ ใี นหนังสือเล่มนี้ เริ่มตั้งแต่ การอธิบาย Logistics โลจิสติกส์ จากนั้นขยายความถึงความเกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ กับ โลจิสติกส์ เช่น

ทฤษฎีทางผังเมือง Theory in Urban Planning

ทฤษฎีและแนวความคิดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง

ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับตลาด

ทฤษฎีการตั้งถิ่นฐานกับเส้นทางการคมนาคม

แนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินกับการขนส่ง

เมื่อท�ำความเข้าในเรื่องราวด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์แล้ว เป็นการประมวล

ความรู้-ข้อมูล จนเข้าใจภาพรวมของเมืองและก้าวสู่หัวใจของหนังสือเล่มนี้คือ

โครงสร้างทางกายภาพของเมือง

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

การวางผังเมืองโดยก�ำหนดหน้าที่เฉพาะของเมือง

การวางผังเมืองและศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง

แนวคิดการจัดผังเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง

ความสัมพันธ์ระหว่างการจราจรขนส่งและโครงสร้างเมือง


ผู้เขียนมีความตั้งใจเผยแพร่ความรู้ข้อมูลในเรื่องนี้ให้กว้างขวางจึงให้ดาวน์โหลด

“การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 2021” ได้ที่เว็บไซต์ www.consmag.com

อ่านแล้วท�ำความเข้าใจแล้ว น�ำไปใช้กบั ชีวติ จริงได้ ตั้งแต่การเลือกทีอ่ ยู่อาศัย ที่ทำ� งาน

ที่ศึกษาเล่าเรียนของลูกหลานอันเป็นเรื่องพื้นฐานของการใช้ชีวิต ที่ส�ำคัญควบคู่กันคือ น�ำมาใช้ เป็นแนวทางในการพิจารณาเมืองจากแง่มุมโลจิสติกส์เพื่อประกอบการวางแผนบริหารจัดการ ธุรกิจ ทั้งธุรกิจเดิมหรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่

โลจิสติกส์เป็นระบบนิเวศน์ทางกายภาพทีส่ ำ� คัญยิง่ ในเวลานี้ เมือ่ มีความเข้าใจมากขึน้

ก็อยูร่ อดพัฒนาเติบใหญ่กบั สภาพแวดล้อมได้ดขี นึ้ ดาวน์โหลดได้ทเี่ ว็บไซต์ www.consmag.com

อ่านหนังสือที่ได้จบแล้ว ส่งผลให้พบวิถีชีวิตใหม่ จากการเข้าใจโลจิสติกส์

ส�ำนักพิมพ์ ศิลา พับลิชชิ่ง

www.consmag.com


การวางผังเมืองโลจิสติกส์

เรือ ่ ง/ภาพ : รศ.ดร.ระหัตร โรจนประดิษฐ์ รองผูอ ้ ำ � นวยการหลักสูตรวิทยาการจัดการโลจิสติกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Google

ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ปัจจุบันประเทศไทยมีความเจริญ และมีการ แข่งขันทางเศรษฐกิจกับนานาชาติมากมาย ประเด็นหนึ่งที่จะท�ำให้ ประเทศไทยเจริญก้าวหน้าต่อประเทศคู่แข่งนั้นคือ รายได้มหาศาล จากการขายสินค้า การบริการและการคมนาคมขนส่ง ทุกหน่วยงานทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน มีการพัฒนากระบวนการและ เทคโนโลยีของตนให้ทนั สมัย สนับสนุนกิจกรรมภาครวมของประเทศ การวางแผนภาคและเมืองเป็นองค์ความรู้ทางวิชาการแขนงหนึ่ง ซึง่ มีความส�ำคัญ และจะสามารถน�ำมาสูภ่ าคปฎิบตั ใิ นการสนับสนุน กระบวนการวางแผนโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผน ภาคและเมืองมีความส�ำคัญในการวางแผนระบบโลจิสติกส์ การลด ต้นทุนการขนส่ง การเข้าถึงการบริการขนส่ง สาธารณูปโภคพืน้ ฐาน ด้านการขนส่งทัง้ ทางบก อากาศ และน�ำ ้ เครือข่ายการคมนาคมขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศ เป็นการแข่งขันระดับโลกทีส่ ร้างผลประโยชน์ มหาศาลให้กบั ประเทศทีเ่ ป็นผูน้ ำ� ในภูมภิ าคนัน้ 4

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


กลยุทธ์ในการวางแผนภาคและเมืองมีสว่ นสนับสนุนให้กจิ กรรมการคมนาคม ขนส่งด�ำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยก�ำไรสูงสุด ลดต้นทุนและ ปัญหาให้มนี อ้ ยทีส่ ดุ ช่วงชิงความได้เปรียบและปิดจุดอ่อนทางเศรษฐกิจการ คมนาคมขนส่งของประเทศ รวมทัง้ ตอบสนองการวางแผนคมนาคมขนส่งของ ชาติอย่างยัง่ ยืน และศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งส่งผลต่อเมืองทัง้ ทางด้าน ท�ำรายได้ทางเศรษฐกิจมหาศาล ในขณะเดียวกันการวางผังเมืองมีผลกระทบ ต่อการจราจร มลพิษ สภาพแวดล้อม สังคมและคุณภาพชีวติ ประชาชนก็ มหาศาล ท�ำให้มีความจ�ำเป็นที่จะต้องมีการวางผังเมืองในระยะแรกเริ่ม กิจการขนส่งสินค้า เพือ่ ปรับปรุงศักยภาพของการขนส่งสินค้าควบคูไ่ ปกับ การปรับปรุงคุณภาพชีวติ ของชาวเมืองพร้อมกัน และในสถานการณ์ปจั จุบนั ทีม่ วี กิ ฤติการณ์ COVID 19 ท�ำให้การวางผังเมืองโลจิสติกส์ตอ้ งมีการปรับตัว ให้เข้ากับยุคสมัย จึงมีการปรับปรุงคูม่ อื การวางผังเมืองโลจิสติกส์ฉบับนีเ้ ป็น New Normal 2021 ดังกล่าว

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

5


ตอนที่ 1

Logistics โลจิสติกส์ จากความส�ำคัญของโลจิสติกส์ในยุคปัจจุบนั ท�ำให้มกี ารศึกษารูปแบบของโลจิสติกส์ทสี่ มั พันธ์ กับองค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ มากมาย ทางด้านผังเมืองซึ่งมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการวางแผน การใช้ทดี่ นิ และการวางผังสาธารณูปโภคสาธารณูปการ และมีความสัมพันธ์กบั กระบวนการของโลจิสติกส์ ด้วยจึงต้องพิจารณารูปแบบและความหมายของโลจิสติกส์โดยรวบรวมข้อมูลทุตยิ ภูมทิ เี่ กีย่ วข้องดังนี้ ค�ำจ�ำกัดความ ค�ำนิยามจาก The Council of Logistics Management (CLM) โลจิสติกส์ คือ“กระบวนการในการวางแผน ด�ำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการไหล การจัดเก็บวัตถุดบิ สินค้าคงคลังในกระบวนการ สินค้าส�ำเร็จรูป และสารสนเทศทีเ่ กีย่ วข้องจากจุดเริม่ ต้น ไปยังจุดทีม่ กี ารใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพือ่ สอดคล้องกับความต้องการของผูบ้ ริโภค” การจัดการระบบ โลจิสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ “การน�ำสินค้าจากแหล่งทีถ่ กู ต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณ ทีถ่ กู ต้องด้วยต้นทุนทีพ่ อเหมาะไปสูส่ ถานทีท่ ถี่ กู ต้อง” 6

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


วิศวกรรมโลจิสติกส์ (Logistics Engineering) ประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้ (Benjamin S. Blanchard, 2004) การจ�ำกัดความเริม่ ต้นของความต้องการการสนับสนุนระบบ การพัฒนาของเกณฑ์ เพือ่ เป็นปัจจัยการป้อนเข้าสูก่ ารออกแบบ การประเมินทางเลือกของการออกแบบตลอดจนการศึกษา การประเมินผลได้ผลเสีย ความเหมาะสมของการออกแบบ และการทบทวนการออกแบบ การก�ำหนด ความต้องการทรัพยากรเพือ่ สนับสนุนการออกแบบนัน้ ด�ำเนินการท�ำการประเมินของโครงสร้างสนับสนุน ทัง้ หมดด้วยวัตถุประสงค์ของการพัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง โดยการวัดประเมินกระบวนการสม�ำ่ เสมอ การ ประเมิน และค�ำแนะน�ำเพือ่ ปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดขี น้ึ Production Logistics (Acquisition Logistics) คือ ส่วนของโลจิสติกส์ทเี่ กีย่ วข้องกับ การวิจยั การออกแบบ การพัฒนา การผลิต และการจัดการวัสดุ นอกจากนั้น Production Logistics ยังรวมถึง การท�ำให้เป็นมาตรฐาน การท�ำสัญญา การประกันคุณภาพ การจัดซือ้ อะไหล่ การวิเคราะห์ reliability มาตรฐานความปลอดภัยส�ำหรับเครื่องมือ รายละเอียด และกระบวนการผลิต การทดลองและการ ทดสอบ การตั้ ง รหั ส เอกสาร เครื่องมือ การปรับปรุงและการ ควบคุม Consumer Logistics (Operational Logistics) คือ ส่วน ของโลจิสติกส์ทเี่ กีย่ วข้องกับตัง้ แต่ เริ่มเป็นผลิตภัณฑ์ การจัดเก็บ การขนส่ง การบ�ำรุงรักษา (รวมทัง้ การซ่อมและความสามารถของ การบริ ก าร) การปฏิ บั ติ แ ละ การจั ด การวั ส ดุ นอกจากนั้ น Consumer Logistics ยังรวมถึง การควบคุมสต๊อก การวางแผน facility การควบคุมการเคลือ่ นย้าย รายงานของเสีย และความน่าเชือ่ ถือ ได้ มาตรฐานความปลอดภัยส�ำหรับการจัดเก็บ การขนส่ง และการอบรมทีเ่ กีย่ วข้อง Third Party Logistics บริษทั ทีเ่ ป็น Third Party มักจะไม่เป็นเจ้าของอุปกรณ์การขนส่งเองแต่จะ ให้บริการในการเป็นพันธมิตรการค้าผูข้ นส่งและจะประสานงาน (กับผูข้ นส่งทีเ่ หมาะสม) ในการให้บริการ การขนส่ง ซึง่ บริษทั ทีเ่ ป็น Third Party สามารถแบ่งออกได้เป็น

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

7


บริษทั ทีใ่ ห้บริการทัง้ เป็น shipper และ carrier โดยวางแผนและประสาน งานการขนส่งผลิตภัณฑ์ องค์กรทีร่ วบรวมการขนส่งขนาดเล็กจากซัพพลายเออร์หลาย ๆ ราย จาก Freight forwarders หลาย ๆ สถานทีเ่ พือ่ เป็นการขนส่งขนาดใหญ่ขนึ้ ในการขนส่งเพือ่ ลดต้นทุน สมาคมทีใ่ ห้ความช่วยเหลือในการรวบรวมการขนส่งขนาดเล็ก ให้เป็นการ Shippers’ association ขนส่งเต็มคันรถส�ำหรับบริษทั ในสมาชิก บริษัทที่ให้บริการการประสานงานและบริหารงานด้านโลจิสติกส์ให้กับ Third parties ลูกค้า บางบริษทั ขนาดใหญ่ได้ outsource กิจกรรมทางโลจิสติกส์ให้บริษทั Third parties เป็นผูบ้ ริหารงาน

Transportation brokers

Global Logistics โลจิสติกส์ของโลก

ในยุคการเปิดการค้าเสรีในปัจจุบนั ส่งผลให้การด�ำเนินธุรกิจในระดับสากลมีมากขึน้ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ส�ำหรับธุรกิจทีม่ กี ารเจริญเติบโตอยูเ่ สมอ ผูบ้ ริหารมักก�ำหนดเป้าหมายไปทัว่ โลก เพือ่ ส่งเสริม

8

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ตลาดต่างประเทศ กิจการจะต้องมีระบบจัดส่งหรือโลจิสติกส์หรือเครือข่ายทีส่ ร้างความพึงพอใจ ให้กบั ความต้องการโดยเฉพาะในตลาดเหล่านั้น การจัดการระบบโลจิสติกส์ในระดับสากลมีความซับซ้อน มากกว่าระบบเครือข่ายภายในประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ผู้บริหารจะต้องวิเคราะห์สภาพแวดล้อม วางแผน และพัฒนากระบวนการในการควบคุมเพือ่ ติดตามตรวจสอบความส�ำเร็จ หรือความล้มเหลว ของระบบการกระจายสินค้าในตลาดต่างประเทศ โดยกิจกรรมในโลจิสติกส์ของโลก global logistics จะประกอบไปด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและสภาพตลาด การวางแผน การวางโครงสร้าง การน�ำ แผนไปปฏิบตั ิ การควบคุมระบบโลจิสติกส์ สรุป การจัดการโลจิสติกส์ คือ กระบวนการจัดการและกระบวนการสารสนเทศ ทีท่ ำ� หน้าทีเ่ ป็น เสมือนแกนกลาง ในการแสวงหาแหล่งของวัตถุดบิ และบริการ การจัดหาการเก็บสินค้าเข้าคลัง และการ จัดส่งผลิตภัณฑ์ ทีถ่ กู ต้องไปยังสถานทีท่ ถี่ กู ต้องในเวลาทีพ่ อเหมาะ โดยมีการเก็บสินค้าคงคลัง, การ สิน้ เปลืองเวลา ค่าใช้จา่ ย ความเพียรพยาม และเงินทุนน้อยทีส่ ดุ เพือ่ ทีจ่ ะท�ำให้ลกู ค้าพึงพอใจ อย่างมี ประสิทธิผล

กลยุทธ์การลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทย

การลดต้นทุนการขนส่ง (Transport Costs) ด้วยการเปลีย่ นรูปแบบการขนส่งและการใช้การ ขนส่งต่อเนือ่ งหลายรูปแบบ (Modal Shift and Multi-modal transport) ตลอดจนเส้นทางการขนส่ง (Transport Route) การลดต้นทุนการจัดเก็บสินค้า (Inventory Costs) ด้วยการใช้แนวคิดของการประหยัด ต่อขนาด (Economy of scale, both External and Internal Economy of Scale) เพือ่ ให้ตน้ ทุนต่อหน่วย ลดลง (Unit Costs/ Costs per Unit) การลดต้นทุนการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ (Administration Costs) เช่น ต้นทุนการให้ บริการลูกค้า (Customers Services Costs) ต้นทุนการสัง่ ซือ้ และต้นทุนด้านบรรจุภณ ั ฑ์ เป็นต้น ทัง้ หมดนีเ้ ป็นความคิดเห็นของผูเ้ ชีย่ วชาญทางสาขาโลจิสติกส์ ทีจ่ ะน�ำข้อมูลเหล่านีม้ าประยุกต์ ใช้ในการวางผังเมืองสนับสนุนกระบวนการโลจิสติกส์ตอ่ ไป

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

9


ตอนที่ 2

ทฤษฎีทางผังเมือง Theory in Urban Planning ทฤษฎีทเี่ กีย่ วข้องกับการวางผังเมืองและโลจิสติกส์นี้ รวบรวมจากข้อมูลทุตยิ ภูมขิ องนักผังเมือง ไทยและต่างประเทศโดยน�ำมาเรียบเรียงเป็นหมวดหมู่ เพื่อเป็นพื้นฐานความรู้และจะน�ำไปใช้ในการ วิเคราะห์ตอ่ ไป ทฤษฎีและแนวความคิดดังกล่าวมีดงั ต่อไปนี้

10

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


1. ทฤษฎีแนวคิดด้านท�ำเลที่ตั้ง (Location Theory)

ทฤษฎีแหล่งที่ตั้งเป็นทฤษฎีที่ใช้อธิบายหลักการในการเลือกพื้นที่ เพื่อเป็นที่ตั้งของกิจกรรม ทางเศรษฐกิจตามวัตถุประสงค์ตา่ ง ๆ ทีแ่ ตกต่างกันไป โดยเริม่ จากแนวคิดทีว่ า่ ทีต่ งั้ ทีด่ ที สี่ ดุ ควรเป็นทีต่ งั้ ทีเ่ สียต้นทุนการผลิตต�ำ่ ทีส่ ดุ และให้กำ� ไรสูงสุด ซึง่ แนวคิดดังกล่าว ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการใช้ตัดสินใจในการเลือกพื้นที่เพื่อ ประกอบกิจการต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาพืน้ ที่ Johann Heinrich Von Thunen กล่าวถึงการเลือกท�ำเล ทีต่ งั้ โดยอาศัยปัจจัยเกีย่ วกับค่าขนส่ง (Transport Cost) และ ต้นทุนจากการใช้ที่ดิน (Land Cost) โดยทฤษฏีตั้งข้อสมมติ ไว้ว่า ที่ดินเป็นที่ราบเท่าเทียมกันหมด มีความสมบูรณ์ทั่วถึง มีการขนส่งสะดวกทุกทิศทางและมีขนาดกว้างห่างไกลจาก ภูมภิ าคอืน่ จนไม่สามารถติดต่อกับเมืองโดยรอบ มีการใช้พนื้ ที่ เป็นรูปวงแหวนรอบตลาดซึง่ อยูบ่ ริเวณใจกลางเมือง ภายในเมือง เป็นแหล่งสินค้าอุตสาหกรรมให้กับชนบทรอบ ๆ ส่วนชนบท ก็เป็นแหล่งสินค้าเกษตรกรรมให้กับเมือง ลักษณะการใช้ที่ดิน เป็น Concentric Rings หรือ Functional Belts โดยแต่ละวงแหวน ก็มกี ารใช้พนื้ ทีแ่ ตกต่างกันไป กล่าวคือ พืชชนิดใดทีน่ ำ�้ หนักมาก ไม่สามารถเก็บรักษาได้นาน ขนส่งไม่ได้สะดวกก็ควรตัง้ อยูใ่ กล้เมือง ส่วนพืช ทีร่ กั ษาได้นาน น�ำ้ หนักเบาก็ควรปลูกในพืน้ ทีไ่ กลออกไป ดังนัน้ การเลือกพืน้ ทีจ่ งึ ขึน้ อยูก่ บั ผลตอบแทน ทีไ่ ด้ ซึง่ หากอยูใ่ กล้เมืองก็ยอ่ มมีคา่ เช่าทีด่ นิ สูง จึงต้องปลูกพืชทีใ่ ห้ผลตอบแทนสูงตามไปด้วย พืชทีใ่ ห้ ผลตอบแทนต�ำ่ กว่าก็จะถูกปลูกในพืน้ ทีห่ า่ งไกลจากเมืองออกไป ขณะทีต่ อ้ งมีคา่ ขนส่งเข้าเมืองเพิม่ ขึน้ Alfred Weber ได้อาศัยแบบจ�ำลองของ Von Thunen เป็น แนวทางในการวิเคราะห์ทำ� เลทีต่ งั้ ทางอุตสาหกรรม โดยก�ำหนดให้ ตลาดมีการแข่งขันสมบูรณ์ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการ เลือกท�ำเลทีต่ งั้ มี 3 ปัจจัย คือ “ต้นทุนขนส่ง (Transport Cost) ต้นทุน ค่าวัตถุดบิ และเชือ้ เพลิง (Raw Materials and Fuel Cost) และต้นทุน แรงงาน (Labor Cost)” นอกจากนีแ้ ล้วยังขึน้ อยูก่ บั การกระจุกตัว และการกระจายตัวด้วย ส่วนปัจจัยในการผลิตนัน้ มี 2 ประเภท คือ “ปัจจัยทีม่ อี ยูพ่ อเพียงเหมือนกันทุกประการในทุกแห่ง (Iniquities Raw Materials) และปัจจัยทีม่ เี ฉพาะในท้องถิน่ (Localized Raw การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 11 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


Materials)” ซึง่ ปัจจัยในประการหลังนีก้ ำ� หนดแหล่งทีต่ งั้ ได้แน่นอนว่าต้องตัง้ อยูใ่ นแหล่งวัตถุดบิ นัน้ ๆ ส่วนปัจจัยการผลิตประเภทแรกนัน้ การทีจ่ ะเลือกท�ำเลทีต่ งั้ ว่าจะตัง้ อยูใ่ กล้ตลาด ใกล้แหล่งผลิต หรืออยู่ ระหว่างกลางระหว่างแหล่งผลิตกับตลาดก็ขนึ้ อยูก่ บั ลักษณะของวัตถุดบิ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ ผลิตนัน้ - อุตสาหกรรมตัง้ อยูใ่ กล้แหล่งผลิต (Material-oriented Industry) เป็นวัตถุดบิ ทีใ่ ช้เนือ้ ทีม่ าก และกระบวนการผลิตเป็นกระบวนการทีท่ ำ� ให้นำ�้ หนักของวัตถุดบิ สูญหายไป - อุตสาหกรรมตัง้ อยูใ่ กล้ตลาด (Market-oriented Industry) มีกรรมวิธกี ารผลิตทีเ่ ป็นการเพิม่ น�ำ้ หนักแก่ผลผลิต และการขนส่งสินค้าส�ำเร็จรูปขนส่งได้ยากกว่าการขนส่งวัตถุดบิ และสินค้าทีแ่ ตกหัก เสียหายง่ายกว่าวัตถุดบิ - อุตสาหกรรมทีต่ งั้ ระหว่างแหล่งวัตถุดบิ และตลาด โดยมักตัง้ บริเวณทีเ่ ป็นชุมทางการขนส่ง เพราะมักได้สิทธิ์ที่เรียกว่า Fabrication-in-transit Privileges ในการขนส่ง คือ คิดแต่ค่าระวาง ซึ่ง เป็นการประหยัดและชุมทางการขนส่ง (Transshipment Point) เป็นจุดทีเ่ ปลีย่ นวิธกี ารขนส่งได้งา่ ยและ เสียค่าใช้จา่ ยต�ำ่ ส�ำหรับในทางปฏิบตั แิ ล้วค่าใช้จา่ ยของหน่วยธุรกิจทีไ่ ปตัง้ ตามทีต่ า่ ง ๆ (Process Cost) ของที่ ตัง้ แต่ละแห่งไม่เหมือนกัน เพราะปัจจัยการผลิตไม่สามารถเคลือ่ นไหวได้โดยสมบูรณ์ (Imperfect Mobility of Factors of Production) จึงท�ำให้คา่ ตอบแทนปัจจัยการผลิตในระยะยาวเท่ากัน โดยพิจารณาได้ทงั้ ใน ด้านเงินทุน ทีด่ นิ และแรงงาน จะเห็นได้ว่าปัจจัยดึงดูดในการเลือกท�ำเลที่ตั้งนั้นมีทั้งด้านตลาด แหล่งวัตถุดิบ และแรงงาน ดังนัน้ อาจเกิดกรณีทอี่ ตุ สาหกรรมไปตัง้ รวมกันทีแ่ หล่งวัตถุดบิ หรือทีแ่ รงงานหายาก ดังนัน้ โรงงานอาจรวม กันอยูเ่ พราะเกิดความประหยัดจากการกระจุกตัว (Economies of Concentration หรือ Agglomeration Economies) Withmore, 2005 อาศัยแนวคิดของ Weber มาเป็นหลักวิเคราะห์ที่ตั้งโรงงาน และอุปสงค์ของการลงทุน โดยการตัดสินใจ ลงทุนจะถูกก�ำหนดโดยขนาดและที่ตั้งของ สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ โดยการตั้ง โรงงานแห่งใหม่จะขึ้นอยู่กับราคาสินค้าที่ ผู้ผลิตรายอื่นก�ำหนด หากผู้ผลิตรายอื่น ขึน้ ราคาสินค้า ความต้องการลงทุนจะมีมาก ในการตั้งโรงงานใกล้ตลาด แต่เนื่องจาก 12 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


อัตราภาษี ต้นทุนการขนส่ง อัตราตอบแทนและต้นทุนก่อสร้างที่ สูงขึน้ จะท�ำให้เกิดการย้ายทีห่ า่ งจากตลาดมากขึน้ ส่วนตัวแปร ด้านดอกเบี้ยจะพบว่าหากอุตราดอกเบี้ยสูงขึ้น จะท�ำให้ธุรกิจ ลดการลงทุนในทุกทีต่ งั้ Isard, 2011 ได้ศึกษาทฤษฎีแหล่งที่ตั้งโดยอาศัยการ ประหยัดต้นทุน โดยเน้นเรือ่ งการขนส่งเป็นปัจจัยส�ำคัญ โดยทีต่ งั้ ทีด่ ที สี่ ดุ จะขึน้ อยูก่ บั อัตราค่าขนส่งหรือการเคลือ่ นย้ายของสิง่ หนึง่ ต่อหน่วยระยะทางโดยราคาของปัจจัย คือ อัตราค่าขนส่ง ส�ำหรับ ทีต่ งั้ ทีด่ ที สี่ ดุ ตามนัยนีจ้ งึ ใช้นำ�้ หนักในการหาทีต่ งั้ ทีด่ ี คือ ขนาด การผลิตโดยทีห่ น่วยผลิตทีต่ งั้ อยูบ่ ริเวณแหล่งวัตถุดบิ หลายชนิด จะมีตลาดขนาดใหญ่ และท�ำให้ขนาดการผลิตมีขนาดใหญ่กว่า หน่วยผลิตอืน่ และก่อให้เกิดการกระจุกตัวกันในบางพืน้ ที่ โดย สรุปแล้วตัวก�ำหนดทีต่ งั้ ของ Isard คือ ปัจจัยการผลิตมีเพียงพอ ในพืน้ ที่ Losch, 2010 เสนอแนวคิดว่ารายรับนัน้ เป็นตัวก�ำหนด ทีต่ งั้ ทีส่ ำ� คัญ ซึง่ ทีต่ งั้ ทีใ่ ห้กำ� ไรสูงสุดจะเป็นทีต่ งั้ ทีด่ ที สี่ ดุ และได้ เสนอว่าทรัพยากรทีเ่ หมือนกันทุกพืน้ ที่ ต้นทุนการผลิตของผูผ้ ลิต เท่ากัน ประชากรกระจายตัวกันอย่างหนาแน่นเท่ากัน มีรสนิยม และเงินได้เท่ากัน และหน่วยผลิตเลือกทีต่ งั้ กระจายตัวทัว่ ไปใน เขตตลาด ขอบเขตตลาดจะเป็นเขตทีไ่ กลทีส่ ดุ ทีจ่ ะขายสินค้าได้ ราคาสินค้ารวมค่าขนส่งสูงมากจนความต้องการของสินค้าเป็น ศูนย์ ดังนั้นบริเวณที่อยู่ใกล้จุดผลิตจะมีสินค้าในราคาถูกกว่า และปริมาณขายทีม่ ากกว่าบริเวณทีอ่ ยูไ่ กลออกไป จากขอบเขต ตลาดที่เป็นวงกลมตามรัศมีของแหล่งผลิต เมื่อมีแหล่งผลิต มากขึน้ พืน้ ทีต่ ลาดก็จะซ้อนทับกัน และพัฒนากลายเป็นของเขต ตลาดรูปหกเหลีย่ ม พืน้ ทีต่ ลาดทีม่ ลี ำ� ดับสูงกว่าก็จะครอบคลุม พืน้ ทีต่ ลาดล�ำดับต�ำ่ กว่า แต่การพิจารณาของเขานัน้ ไม่ตรงกับ ข้อเท็จจริงหลายประการ ดังนั้นเขตตลาดจึงขึ้นอยู่กับอัตรา ค่าขนส่งทีต่ า่ งกันในแต่ละทีต่ งั้ ตลอดจนความยืดหยุน่ ของอุปสงค์ ต่อราคา ความแตกต่างเหล่านีท้ ำ� ให้ทตี่ งั้ หนึง่ เด่นกว่าทีต่ งั้ อืน่ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

13


ตอนที่ 3

ทฤษฎีและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง กับการขนส่ง การขนส่งเป็นการเคลือ่ นย้ายผลผลิตจากแห่งผลิตไปยังสถานทีท่ ตี่ อ้ งการ ตามเวลาทีก่ ำ� หนด ประเด็นเกีย่ วกับค่าขนส่งเป็นเรือ่ งส�ำคัญและมักถูกน�ำมาพิจารณาร่วมกับปัจจัยอืน่ ๆ ในการเลือกท�ำเล ทีต่ งั้ ทีเ่ หมาะสมเพือ่ จะลดค่าใช้จา่ ย อันจะน�ำไปสูก่ ารลดต้นทุนการผลิตให้ถกู ลง เนือ่ งจากค่าขนส่งนัน้ กระทบกระเทือนรายจ่ายในการขนส่งทั้งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ค่าขนส่งประกอบด้วยค่าขนส่ง ขึน้ ลงและค่าขนส่งตามระยะทาง

14

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ประพันธ์ เศวตนันท์ (2557) อธิบายว่าการทีค่ า่ ขนส่งแตกต่างกัน ทัง้ ทีร่ ะยะทางขนส่งเท่ากัน และ ใช้วธิ กี ารขนส่งประเภทเดียวกันเป็นผลมาจากปัจจัยต่อไปนี้ - ความใหญ่โตหรือขนาดของสินค้าไม่เท่ากัน ทัง้ ทีน่ ำ�้ หนักสินค้าเท่ากัน สินค้าขนาดใหญ่กว่า ย่อมเสียค่าขนส่งมากกว่า - บางกรณีสนิ ค้าบางชนิดต้องใช้อปุ กรณ์พเิ ศษช่วยในการขนส่ง - การขนส่งสินค้าขาไปย่อมแพงกว่าการขนส่งสินค้าขากลับ เพราะผูท้ ำ� การขนส่งแทบไม่ตอ้ ง เสียค่าโสหุย้ เพิม่ เติมขากลับ - สินค้าทีแ่ ตกหักเสียหายง่ายมักต้องเสียค่าใช้จา่ ยสูงกว่าสินค้าปกติ พิทักษ์สิทธิ์ ฉายะภูติ (2557) กล่าวว่าวัตถุประสงค์ส�ำคัญในการขนส่ง ก็เพื่อให้ผลผลิตจาก ผูผ้ ลิตไปถึงผูบ้ ริโภคคนสุดท้าย เพราะไม่สามารถจะผลิตผลผลิตทุกชนิดได้อย่างประหยัดใกล้แหล่งบริโภค ปัจจัยทีเ่ กีย่ วข้องกับการขนส่ง คือ ค่าขนส่งและเวลา ซึง่ มีอทิ ธิพลต่อแห่งผลิต ตลาด คุณภาพ ขนาด และ รูปร่างของผลผลิต ชนิดของค่าขนส่งทีจ่ ะใช้ ถ้าค่าขนส่งถูกประโยชน์ตา่ ง ๆ จะมากขึน้ ก่อให้เกิดการรวม ผลผลิตในท้องทีห่ นึง่ การเปลีย่ นแปลงอัตราค่าขนส่งอาจเปลีย่ นทิศทางการเคลือ่ นทีข่ องผลผลิตจากแหล่ง ผลิตไปสูต่ ลาด และมีผลต่อรูปร่างของผลผลิตทีส่ ง่ ออกสูต่ ลาดด้วย การขนส่งสามารถจ�ำแนกออกได้เป็น 2 ส่วน ตามลักษณะต้นทาง - ปลายทาง คือ การขนส่ง ภายในประเทศ และการขนส่งไปต่างประเทศ และจ�ำแนกได้เป็น 3 ส่วน ตามลักษณะเส้นทางการขนส่ง ได้แก่ ทางบก ทางน�ำ ้ ทางอากาศ การขนส่งสินค้าภายในประเทศนิยมใช้ทางบก ส่วนทางน�ำ้ และทาง อากาศใช้มากในการขนส่งระหว่างประเทศเป็นต้น

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

15


ตอนที่ 4

ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับตลาด ตลาด หมายถึง ภาวะการซือ้ ขายสินค้าโดยทัว่ ไป อาจมีสถานทีห่ รือไม่มสี ถานทีท่ ำ� การซือ้ ขายกัน ก็ได้ นอกจากนีย้ งั หมายถึง สถานการณ์ดา้ นการขาย หรือด้านราคาอีกด้วย Cramer and W. Jensen ได้ อธิบายหน้าทีข่ องตลาดไว้ดงั นี้

16

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


- หน้าทีใ่ นการแลกเปลีย่ น (Exchange Function) มีหน้าทีใ่ นการให้ผซู้ อื้ และผูข้ ายได้พบปะกัน โดยท�ำการซือ้ ขายในราคาทีพ่ อใจทัง้ 2 ฝ่าย ดังนัน้ การแลกเปลีย่ นยังท�ำหน้าย่อยอีก 2 หน้าที่ คือ หน้าที่ ในการซือ้ (Buying Function) และหน้าทีใ่ นการขาย (Selling Function) - หน้าทีใ่ นทางกายภาพ (Physical Function) รวมเรือ่ งการเปลีย่ นแปลงอรรถประโยชน์ตงั้ แต่ ในเรือ่ ง รูปร่าง เวลา และสถานที่ โดยมีหน้าทีย่ อ่ ย ๆ อีก 3 หน้าที่ คือ หน้าทีใ่ นการแปรรูป (Processing Function) หน้าทีใ่ นการเก็บรักษาสินค้า (Storage Function) และหน้าทีใ่ นการขนส่ง (Transportation Function) - หน้าทีใ่ นเรือ่ งการอ�ำนวยความสะดวก (Facilitating Function) เป็นหน้าทีก่ ารตลาดทีม่ สี ว่ น สนับสนุนให้การด�ำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การรักษามาตรฐาน (Standardization) การเงิน (Financing) การช่วยลดความเสีย่ ง (Risk-bearing) การให้ขอ้ มูลทางการตลาด (Marketing Information) สถาบันวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (2557) ได้ให้ความหมาย ของสินค้าเกษตรว่า เป็นกิจกรรมทาง ธุรกิจอันเกี่ยวข้องกับการไหลเวียน สินค้าและบริการจากแหล่งผลิตสินค้า เกษตรกรรม ในระดับไร่นาจนกระทั่ง มาถึงผูบ้ ริโภค ซึง่ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ตลาดแบบเสรี เป็นการค้า สินค้าเกษตรโดยทัว่ ไปทีห่ น่วยงานของ รัฐหรือบุคคลทีเ่ กีย่ วข้องมิได้เข้าไปก�ำหนดหลักเกณฑ์ในการซือ้ ขายระหว่างเกษตรกรกับพ่อค้า เป็นการค้า แบบเปิดกว้างทีผ่ ซู้ อ้ และผูข้ ายสามารถตกลงทีจ่ ะท�ำการซือ้ ขายกันตามสมัครใจและตามภาวะของตลาด 2. ตลาดแบบมีขอ้ ตกลง เป็นการค้าสินค้าเกษตรทีม่ กี ารก�ำหนดเงือ่ นไขและวิธกี ารซือ้ ขายระหว่าง เกษตรกรกับพ่อค้า นอกจากนีย้ งั มีการก�ำหนดระดับของตลาดสินค้าเกษตรออกเป็น 3 ระดับ คือ 1. ตลาดท้องถิน่ (Local Market) เป็นตลาดทีม่ กี ารซือ้ ขายในเบือ้ งต้นในท้องถิน่ นัน้ ๆ เป็นตลาด ค่อนข้างเล็ก ท�ำหน้าทีเ่ พียงแต่รวบรวมผลผลิตเพือ่ ส่งไปขายต่อตลาดกลางต่อไป 2. ตลาดกลาง (Central Market) ตลาดในลักษณะนีม้ กั ตัง้ อยูใ่ นชุมชนทีเ่ ป็นศูนย์กลางของแหล่ง ผลิตส�ำคัญ หรือเป็นศูนย์กลางในการขนส่งและการคมนาคม โดยท�ำหน้าทีร่ บั ซือ้ ผลผลิตจากเกษตรกร การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 17 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


และพ่อค้าในท้องถิ่น แต่มีการให้บริการทางการตลาด มากขึ้นเช่น การเก็บรักษา การแปรรูปสินค้า การปรับปรุง คุณภาพสินค้า ดังนัน้ ตลาดระดับนีต้ อ้ งมีอปุ กรณ์และเครือ่ งมือ ต่าง ๆ มากกว่าตลาดท้องถิน่ และเป็นธุรกิจขนาดใหญ่กว่า ผูท้ ำ� หน้าทีค่ นกลางในตลาดกลาง คือ พ่อค้าขายส่ง พ่อค้า รายย่ อ ย นายหน้ า โรงงานแปรรู ป สถาบั น เกษตรกร ซึ่งคนกลางมีความช�ำนาญในเรื่องราคา เพราะต้องติดต่อ กับตลาดปลายทางทุกระยะ จึงทราบล่วงหน้าว่าราคาจะ เปลีย่ นแปลงอย่างไร 3. ตลาดปลายทาง (Terminal Market) เป็นตลาดทีม่ ขี นาดใหญ่ ส่วนใหญ่ ไม่ได้อยู่ในแหล่งผลิต เพราะเป็นตลาดที่ท�ำให้สินค้าไปถึงมือผู้บริโภคทั้งในและ ต่างประเทศ คนกลางในตลาดมีบทบาทอย่างมากในการก�ำหนดราคาสินค้า นอกจากนี้ยังได้ศึกษาระบบโครงสร้างทางกายภาพในการหาท�ำเลที่ตั้ง ทีเ่ หมาะสมแก่การจัดตัง้ ตลาดกลางสินค้าเกษตรในระดับภาคพบว่ามีปจั จัยส�ำคัญ คือ สภาพความพร้อมละความต้องการของชุมชน และการคมนาคม เป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้ มีผลต่อการเกิดตลาดกลาง กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (2551) ได้แบ่งรูปแบบและลักษณะของตลาดกลาง เป็น 2 แบบ คือ 1. ตลาดกลางแบบไม่มรี ะบบ ซึง่ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะย่อย ดังนี้ - ตลาดกลางแบบดัง้ เดิม เป็นตลาดกลางทีต่ า่ งคนต่างค้าของตนเอง การค้า เป็นไปโดยเสรีไม่มีกฎระเบียบข้อบังคับ การซื้อขายมักเป็นแบบต่อรองราคากัน ตัวต่อตัว - ตลาดกลางแบบใหม่มีรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมา การค้ามีลักษณะของ การประมูลและต่อรองราคา แต่ตลาดกลางไม่มรี ะเบียบข้อบังคับมากนักและไม่มี กฎหมายบังคับ 2. ตลาดกลางแบบมีระบบ มีสถานที่ซื้อขายอันเป็นแหล่งรวมให้ผู้ซื้อและ ผูข้ ายมาพบปะกัน ผูซ้ อื้ ขายต้องเป็นสมาชิกของตลาด มีระบบการควบคุมตลาด หรือ โครงสร้างการบริหารทีแ่ น่ชดั การซือ้ ขายอาจท�ำได้โดยผ่านนายหน้าโดยการประมูล หรือต่อรองราคาโดยเปิดเผยภายใต้กฎระเบียบและมีกฎหมายรองรับ การตกลง ซือ้ ขายอาจท�ำสัญญาเป็นลายลักษณ์อกั ษร 18 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ตอนที่ 5

ทฤษฎีการตั้งถิ่นฐานกับเส้นทางการคมนาคม เกีย่ วกับลักษณะการตัง้ ถิน่ ฐานโดยมีเส้นทางคมนาคมเป็นส่วนส�ำคัญพอสรุปได้ดงั นี้ 1. การตั้งถิ่นฐานแบบวงกลม (Radial Settlement) หรือระบบใยแมงมุม (Spider’s Webs Settlement) เป็นการก�ำเนิดศูนย์กลางของเมืองทีป่ ระกอบธุรกิจการค้าธุรกิจการเงิน สถานทีท่ ำ� งานต่าง ๆ ให้เป็นวงกลมอยูใ่ จกลางเมืองและมีการสร้างถนนสายหลักเป็นเส้นตรงจากศูนย์กลางของเมือง เป็น รัศมีออกไปทุกทิศทางโดยรอบ และมีถนนสายรองเป็นวงกลมล้อมรอบศูนย์กลางเป็นวง ๆ โดยถนนนีจ้ ะ สร้างเชือ่ มกับถนนสายหลักทีเ่ ป็นรัศมีออกจากเมือง เพือ่ ความสะดวกในการติดต่อโดยไม่ตอ้ งเสียเวลามา เริม่ ต้นทีศ่ นู ย์กลางของเมือง 2. การตัง้ ถิน่ ฐานแบบกริดหรือตารางเหลีย่ มเป็นการวางผังเมืองโดยใช้ถนนเป็นแนวตัดกันเพือ่ ให้ เกิดพืน้ ทีร่ ปู ตารางเหลีย่ ม ผังเมืองจึงมีลกั ษณะเป็นตอนหรือเป็นส่วน (Block) ซึง่ สะดวกในการปกครอง และในด้านการใช้ทดี่ นิ เพือ่ ประกอบกิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจแต่ละชนิด การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

19


3. การตัง้ ถิน่ ฐานตามแนวยาวของ เส้นทางคมนาคม (Linear Settlement) การ ตั้งบ้านเรือนจะเป็นแนวตามยาวตามเส้น ทางคมนาคม โดยอาจจะตัง้ เป็นกลุม่ ในเขต ทีเ่ ป็นชุมชนการค้าหรือทางแยก ส่วนบริเวณ ที่อยู่ไกลออกไป อาจมีการตั้งบ้านเรือน ต่างกัน ส�ำหรับพื้นที่เกษตรจะอยู่บริเวณ ด้านหลังของที่อยู่อาศัยเส้นทางคมนาคม ที่ส่งเสริมให้มีการตั้งถิ่นฐาน ได้แก่ แม่น�้ำ คลองถนน การจราจรทั้งในเมืองและภูมิภาค ในปัจจุบันและอนาคตขึ้นอยู่กับตัวแปร ต่าง ๆ ดังนี้ 1. รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use) เป็นการมองถึงต�ำแหน่งทีต่ งั้ ประกอบกิจการ (Location Activity) โดย ในแต่ละสถานที่จะก่อให้เกิดการเดินทาง ที่แตกต่างกัน ลักษณะของการใช้ที่ดินจะ เป็นตัวบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ของการเดินทางและความหนาแน่นของการใช้ทดี่ นิ ซึง่ จะท�ำให้จำ� นวน การเดินทางเพิม่ ขึน้ 2. ลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมของประชากรในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ (Social and Economic Characteristics) ประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา และการเป็นเจ้าของรถยนต์ ซึง่ จะท�ำให้เกิดการเดินทาง ขึน้ 3. ชนิดและขอบเขตของความสะดวกในระบบการคมนาคมขนส่งทีม่ อี ยูใ่ นพืน้ ทีน่ นั้ ๆ (Type and Extent of the Transportation Facilities) เป็นการเกิดการเดินทางขึน้ จากคุณลักษณะของเส้นทาง ในเรือ่ งของความปลอดภัย จ�ำนวนช่องทาง ทิศทางการจราจร ความเร็วเฉลีย่ บนเส้นทาง

แนวความคิดทางด้านการคมนาคมขนส่ง

1. ปัจจัยของการปฏิสมั พันธ์ ในทางภูมิศาสตร์ถือว่าการขนส่งเกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างทางพื้นที่ของการใช้ที่ดินและ 20 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์อนั ท�ำให้เกิดการติดต่อระหว่างกัน ตามแนวความคิดการเกิดปฏิสมั พันธ์ ทางพืน้ ที่ ดังที่ อัลแมน (Ullman: 2016) ได้สรุปว่า การเคลือ่ นทีข่ องมนุษย์จากพืน้ ทีห่ นึง่ ไปสูอ่ กี พืน้ ทีห่ นึง่ เกิดจากฐานของการปฏิสมั พันธ์ 3 ประการ คือ ความเกือ้ หนุนกันระหว่างพืน้ ทีอ่ นั ท�ำให้เกิดการแลกเปลีย่ น (Complementarily) โอกาสแทรกซ้อนในการเดินทาง (Intervening Opportunities) และความสามารถ ในการเคลือ่ นย้าย (Transferability) นอกจากฐานทัง้ 3 ประการดังกล่าวแล้ว วิลสัน (Wilson: 2014) ให้ความเห็นว่า การเกิดปฏิสมั พันธ์ ทางพืน้ ทีย่ งั ขึน้ อยูก่ บั อรรถประโยชน์ทางด้านเวลาและสถานที่ (Place and Time Utility) การเดินทางเพือ่ แลกเปลีย่ นสินค้าและบริการเกิดขึน้ ในพืน้ ทีท่ มี่ คี วามต้องการตรงกัน โดยค�ำนึงถึงความเหมาะสมของช่วง เวลา ลักษณะสถานที่ และรูปแบบของวัฒนธรรมในพืน้ ที่ พื้นที่ในระดับภูมิภาคประเทศ เมืองหรือท้องถิ่น ย่อมมีความแตกต่างกันทางปัจจัยฐานการ ปฏิสัมพันธ์ ดังเช่นความเกื้อหนุนกันระหว่างพื้นที่ในเมืองเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดการเดินทาง ตามความจ�ำเป็นทีต่ อ้ งมีการแลกเปลีย่ นระหว่างกันทัง้ ภายในพืน้ ทีแ่ ละระหว่างพืน้ ที่ มีการสร้างระบบ การขนส่งตามสถานภาพและความเหมาะสมของระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของพืน้ ทีต่ ามความเข้ม ของการใช้ทดี่ นิ และปัจจัยทางประชากร เมืองเป็นพืน้ ทีร่ วมของกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ในพืน้ ทีข่ นาดเล็กนอกจากนี้ เมืองยังเป็นที่ รวมของประชากรทีเ่ ข้ามาอยู่ เพือ่ แสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ สังคม ให้มกี ารครองชีพและความเป็น อยูท่ สี่ งู ขึน้ การประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ภายในเมืองมีลกั ษณะกระจายอยูท่ วั่ ไป ท�ำให้การใช้ทดี่ นิ เพือ่ กิจกรรมแต่ละประเภทแตกต่างกันจึงเกิดการแลกเปลีย่ นกันระหว่างพืน้ ที่ มีการสร้างเส้นทางเพือ่ การ ขนส่งสินค้าและข่าวสารระหว่างกันซึง่ อ�ำนวยให้เกิดปฏิสมั พันธ์ระหว่างพืน้ ทีเ่ มือ่ เมืองขยายใหญ่ขนึ้ ตาม ขนาดของเมือง ระบบการขนส่งในเมืองจึงเป็นระบบทีซ่ บั ซ้อนต้องการเทคโนโลยีสงู ในการทีจ่ ะให้บริการ เพือ่ ตอบสนองความต้องการทีม่ จี ำ� นวนมากให้เพียงพอและสะดวกรวดเร็วขึน้ 2. การขนส่งในเมือง การขนส่งในเมืองเป็นการขนส่งคนหรือมวลชนมากกว่าสินค้า การเดินทางของคนจะเริม่ ต้นและ สิน้ สุดทีบ่ า้ น การเดินทางของคนในเมืองมีลกั ษณะกระจายและแผ่ออกไปทุกทิศทางท�ำให้มจี ดุ หมาย ปลายทางมากมายยากแก่การก�ำหนดเส้นทางทีจ่ ะครอบคลุมเส้นทางการเดินทางได้ดงั ที่ แวนซ์ แบ่งเมือง เป็น 2 เขต คือ ย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยเป็นเขตทีม่ กี ารเดินทางแบบกระจายออก (Zone of Dispersion) และย่าน ศูนย์กลางการค้าและสถานทีร่ าชการเป็นเขตทีม่ กี ารเดินทางเข้ามารวมกัน (Zone of Conflux) เนือ่ งจาก เขตศูนย์กลางเมืองเป็นย่านการค้า และศูนย์ราชการที่ตั้งของส�ำนักงานสถานศึกษา หรือตลาดการ จ้างงานส่วนวงแหวนรอบนอกเป็นย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยของประชากรทีต่ อ้ งเดินทางเข้ามาท�ำงาน การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 21 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


3. ระบบการขนส่งภายในเมือง ระบบการขนส่งภายในเมืองมีหลายแบบ แต่ละแบบจะกลายเป็นระบบ โครงข่ายของตนเอง คือ ประกอบ ด้วยเส้นทาง สถานีตน้ ทางและ ปลายทางบางระบบอาจบริการ เพียงบางส่วนของเมืองหรือไม่ก็ บริการทัว่ เมือง ในบางกรณีระบบ การขนส่งอย่างหนึง่ ช่วยเสริมอีก ระบบหนึ่งก็ได้ในขณะที่ในบาง เมืองระบบทั้งสองอาจแข่งขัน กัน ปัจจุบนั ตามเมืองใหญ่ ๆ มัก จัดระบบขนส่งให้ช่วยเหลือซึ่ง กันและกัน (ฉัตรชัย พงศ์ประยูร, 2557) ในเมืองใหญ่ มีระบบการ ขนส่งหลายแบบ ข้อแตกต่างระหว่างระบบการขนส่งอาจขึน้ อยูก่ บั การเป็นเจ้าของ การจัดการบริการ หรือวิธกี ารขนส่งรูปแบบของการขนส่งมีดงั นี้ 1) การขนส่งแบบเดียว ได้แก่ รถยนต์สว่ นตัว และพาหนะส่วนตัวอืน่ ๆ เช่น รถจักรยานยนต์ รถแท็กซี่ 2) การขนส่งแบบกลุม่ เช่น รถประจ�ำทาง เรือข้ามฟาก รถไฟ เป็นต้น โดยทัว่ ๆ ไป การขนส่งมีหลักการพืน้ ฐานคือ (Steering Group, 2016) - การขนส่งเป็นตัวเชือ่ มกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เช่น การขนส่งวัตถุดบิ อาหาร การขนส่งผูโ้ ดยสาร การบริการเคลือ่ นทีต่ า่ ง ๆ การขนส่งในกิจกรรมต่าง ๆ เป็นต้น - ความแตกต่างในการเลือกใช้พาหนะ ก็เพือ่ จุดมุง่ หมายต่างกัน - การเดินทางจากบ้านไปท�ำงานเป็นการสัญจรหลัก และมีผลมากทีส่ ดุ ในการท�ำให้เกิดช่วงของการจราจรติดขัด - ศูนย์กลางเมืองเป็นแม่เหล็กใหญ่ ทีด่ งึ ดูดให้มปี ริมาณการสัญจรเข้า เมืองมากขึน้ 22 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ตอนที่ 6

แนวความคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการใช้ที่ดินกับการขนส่ง การเกิดการเดินทาง คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการเดินทางทีจ่ ดุ ปลาย (Trip Ends Volume) กับการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ (Land Use) และลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio - Economic Characteristics) ของพืน้ ทีย่ อ่ ยต่าง ๆ (Zone) ปริมาณการเดินทางอาจจะเป็นทีจ่ ดุ ต้นทาง (Origin) หรือ ปลายทาง (Destination) การเกิดการเดินทางจะสัมพันธ์กบั สภาพ (Condition) ของการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ในลักษณะต่าง ๆ คือ

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

23


1. ความหนาแน่นของการใช้ทดี่ นิ (Intensity of Land Use) มักจะแสดงอยูใ่ นหน่วยของทีอ่ ยู่ อาศัยต่อพืน้ ที่ หรือจ�ำนวนลูกจ้างต่อพืน้ ที่ เป็นต้น ความหนาแน่นของการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ จะมีความ สัมพันธ์กบั จ�ำนวนการเกิดการเดินทาง (Number of Trips Produced) 2. ลักษณะการใช้ทดี่ นิ (Characteristics of Land Use) ความหนาแน่นของการใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ยังไม่สามารถอธิบายการเกิดการเดินทางได้อย่างสมบูรณ์ แม้วา่ จะมีความสัมพันธ์กนั อย่างเด่นชัด แต่ ความหนาแน่นของการใช้ทดี่ นิ ก็ไม่สามารถอธิบายการเกีย่ วกับเปลีย่ นแปลงของการเดินทางได้ทงั้ หมด ตัวแปรลักษณะของการใช้ทดี่ นิ จะสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของการเดินทางทีเ่ พิม่ มากขึน้ ตัวแปร ดังกล่าวได้แก่ รายได้ และการเป็นเจ้าของรถยนต์สว่ นบุคคลของครอบครัว 3. ทีต่ งั้ การประกอบกิจการของการใช้ทดี่ นิ (Location of Land Use Activity) หมายถึง ระยะ การกระจายตัวของการใช้ทดี่ นิ ในลักษณะต่าง ๆ (Spatial Distribution) และลักษณะของการใช้ทดี่ นิ เช่น บริเวณพักอาศัย ย่านพาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น ซึง่ ลักษณะของการใช้ทดี่ นิ ที่ แตกต่างกันจะท�ำให้เกิดการเดินทางทีแ่ ตกต่างกันออกไปด้วย

การคาดการณ์ปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศเบื้องต้น

ข้อมูลทุติยภูมิจากโครงการการปรับปรุงและบ�ำรุงรักษาระบบฐานข้อมูล ข้อสนเทศและแบบ จ�ำลองด้านการขนส่งและจราจร (TDMC III) ตารางการคาดการณ์ปริมาณการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2549-2563 หน่วย : พันตัน ปี พ.ศ. รูปแบบการเดินทาง 2549 2554 2559 2563 ทางถนน 1,274,900 1,387,100 1,671,400 1,974,600 ทางรถไฟ 24,600 26,800 32,300 38,200 ทางแม่นำ�้ 72,600 79,000 95,200 112,500 ทางชายฝัง่ ทะเล 68,700 74,800 90,100 106,500 ทางอากาศ 190 210 250 300 รวม 1,440,990 1,567,910 1,889,250 2,232,100 24

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


รูปแบบความต้องการขนส่งสินค้าในปัจจุบนั ข้อมูลจากบริษทั ทีป่ รึกษา AMP CONSULTANT จ�ำกัด จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่าในกรณีปกติที่ยังไม่ได้มีการสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่ง และกระบวนการด้านโลจิสติกส์เพือ่ การเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมภิ าคอินโดจีนนัน้ การขนส่งสินค้า ส่วนใหญ่จะเป็นการขนส่งเชือ่ มโยงระหว่างพืน้ ทีก่ รุงเทพมหานครและปริมณฑล กับพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเล ภาคตะวันออก เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นฐานอุตสาหกรรมและฐานการส่งออกหลักของประเทศ โดยหากพิจารณาการขนส่งทางถนน ซึ่งเป็นรูปแบบการขนส่งหลักภายในประเทศขณะนี้ จะพบว่า ยังมีความต้องการการขนส่งในแนวโครงข่ายเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก (East - West Economic Corridor) ค่อนข้างต�ำ ่ ส่วนการขนส่งในแนวโครงข่ายเศรษฐกิจเหนือ - ใต้ (North - South Economic Corridor) นัน้ มีปริมาณการขนส่งเฉลีย่ ในระดับปานกลาง แต่คาดว่าส่วนใหญ่ยงั เป็นการขนส่งภายใน ประเทศโดยไม่ได้มกี ารเชือ่ มต่อกับประเทศเพือ่ นบ้านมากนัก การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

25


รูปแบบความต้องการขนส่งสินค้าทางถนนในปัจจุบนั ข้อมูลจากบริษทั ทีป่ รึกษา AMP CONSULTANT จ�ำกัด ในส่วนของความต้องการขนส่งสินค้าในรูปแบบการขนส่งอืน่ นับว่ายังมีปริมาณต�ำ ่ ตลอดจน ความครอบคลุมพืน้ ทีข่ องประเทศก็ยงั ไม่มคี วามทัว่ ถึง เนือ่ งจากข้อจ�ำกัดด้านโครงข่ายแสดงให้เห็นถึง รูปแบบความต้องการขนส่งสินค้าทางราง ทางแม่นำ �้ ทางชายฝัง่ ทะเล และทางอากาศ 26

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


รูปแบบความต้องการขนส่งสินค้าทางรางในปัจจุบนั ข้อมูลจากบริษทั ทีป่ รึกษา AMP CONSULTANT จ�ำกัด

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

27


ตอนที่ 7

โครงสร้างทางกายภาพของเมือง ตอนนีจ้ ะเน้นความเข้าใจในกระบวนการโครงสร้างและองค์ประกอบของเมือง เพือ่ น�ำไปสูก่ าร วิเคราะห์ลกั ษณะของผังเมืองโลจิสติกส์ตอ่ ไป ดังรายละเอียดต่อไปนี้

องค์ประกอบของเมืองโดยทั่วไป

1. ด้านสังคม - เศรษฐกิจ - การเมือง (Socio - Eco - Politics Aspects) ด้านสังคมเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย การศึกษา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นศาสตร์ทางด้านสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐกิจ ปัญหาปากท้อง คนจนในเมืองที่ ไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย (Homeless) เป็นปัญหาใหญ่ของเมือง 28

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


2. ด้านกายภาพ (Physical Aspects) การใช้ทดี่ นิ การประปา การระบายน�ำ ้ เป็นเรือ่ งของการจัดระเบียบทีด่ นิ ให้สอดคล้องกับความ เปลีย่ นแปลงของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ซึง่ ต้องผสมผสานและสะท้อนลงมาทีพ่ นื้ ที่ (Space) การจัด ผังเมืองแบ่งออกเป็น 3 เรือ่ ง คือ การใช้ทดี่ นิ สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ องค์ประกอบทางกายภาพ ของเมือง ประกอบด้วย 1. การใช้ทดี่ นิ (Land Use) ตามพืน้ ที่ เช่น ทีอ่ ยูอ่ าศัย อุตสาหกรรม พักผ่อน เป็นต้น 2. สาธารณูปโภค (Infrastructure) หมายถึงสิ่งที่ต้องส่งมาตามสาย เข้ามาทางผู้ให้บริการ มาจากค�ำว่า สาธารณะ และอุปโภค เช่น ถนน ประปา ไฟฟ้า ฯลฯ 3. สาธารณูปการ (Public Facilities) หมายถึงสิง่ ทีใ่ ห้บริการเป็นจุด ๆ ผูท้ ใี่ ช้บริการจะต้องเดิน ไปใช้ตามจุดทีบ่ ริการ มาจากค�ำว่า สาธารณะ และบริการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ฯลฯ สิง่ เหล่านีจ้ ำ� เป็น ต้องมี และเป็นเรือ่ งทีส่ ะท้อนมาจากสังคม เศรษฐกิจ

โมเดลพื้นฐานที่เกี่ยวกับโครงสร้างภายในของเมือง

โมเดลหรือทฤษฎีเกีย่ วกับโครงสร้างและการขยายตัวทางพืน้ ทีข่ องเมือง ทีถ่ กู คิดค้นหรือเสนอขึน้ มาเพือ่ ใช้อธิบายถึงรูปแบบการใช้ทดี่ นิ ของเมืองในอเมริกาทีส่ ำ� คัญมี 3 โมเดล (เสน่ห์ ญาณสาร, 2543) คือ 1. โมเดลรูปวงแหวน (Concentric Zone Model) 2. โมเดลรูปเสีย้ ว (Sector Model) 3. โมเดลหลายศูนย์กลาง (Multiple Nuclei Model)

โมเดลวงแหวนถูกพัฒนาหรือคิดค้นขึน้ ในช่วงตอนต้นของทศวรรษ 1920 และได้รบั การตีพมิ พ์ ในปี 1925 ส่วนโมเดลรูปเสี้ยวได้รับการตีพิมพ์ในปี 1939 โดยใช้ข้อมูลในช่วงสามทศวรรษแรกของ ศตวรรษที่ 20 ทัง้ สองโมเดลนีถ้ กู พัฒนาขึน้ มา ในช่วงทีม่ กี ารเพิม่ ขึน้ เป็นจ�ำนวนมากของประชากรเมือง ในสหรัฐอเมริกา และในช่วงเวลานีโ้ ครงสร้างของเมืองได้รบั อิทธิพลจากการใช้รถเทียมม้า การเดินทาง โดยรถไฟเพือ่ ไปท�ำงานและการเดินทางโดยรถรางในเขตชานเมือง โมเดลรูปวงแหวนและโมเดลรูปเสีย้ ว บรรยายถึงกระบวนการขยายตัวของเมืองทีแ่ ตกต่างกับและมีความสัมพันธ์กบั ข้อมูลต่างประเภทกัน ส่วน โมเดลหลายศูนย์กลางนัน้ ถูกพัฒนาขึน้ ในช่วงทศวรรษ 1940 (ตีพมิ พ์ในปี 1945) เมือ่ อิทธิพลของการใช้ รถยนต์เริม่ ปรากฏแล้วและเป็นการดัดแปลงและขยายต่อเติมโมเดลสองอันแรก โมเดลทัง้ สามนีถ้ อื ได้วา่ เป็นโมเดลแบบอย่าง Classic Model และเป็นทีย่ อมรับและถูกน�ำไปประยุกต์ใช้กนั อย่างแพร่หลายในวิชา ทางสังคมศาสตร์ทกุ สาขา การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

29


1. โมเดลรูปวงแหวน (Concentric Zone Model) โมเดลวงแหวนนี้ได้มาจากผลการศึกษาของเมือง Chicago โดยกลุ่ม นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก ในตอนต้นของศตวรรษที่ 20 โดยการน�ำ ของ E.W. Burgess (1925) โมเดลนีถ้ กู คิดค้นขึน้ มาในช่วงทีม่ กี ารอพยพเคลือ่ นย้าย ครัง้ ใหญ่ ของคนจากต่างประเทศเข้าไปอาศัยอยูใ่ นเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐอเมริกา และแสดงให้เห็นถึงผลของการปรับตัวของผู้อพยพในเขตชุมชนเมืองให้เข้ากับ วิถชี วี ติ แบบอเมริกนั ในตอนแรกนัน้ พวกทีอ่ พยพเข้ามาใหม่เช่น คนผิวด�ำ คนจีน คนอิตาเลียน ฯลฯ จะเข้าไปอาศัยอยูใ่ นเขตใจกลางเมือง ทีม่ หี อ้ งเช่าราคาถูกและ มีอาชีพทีจ่ า่ ยค่าแรงต�ำ่ อยูเ่ ป็นจ�ำนวนมาก เวลาต่อมาคนเหล่านีเ้ มือ่ ตัง้ รกรากแล้ว ก็เริม่ เก็บเงินทองและเลือ่ นฐานะหรือชนชัน้ ในสังคม เมือ่ ฐานะดีขนึ้ ก็จะย้ายเข้าไป อาศัยอยูใ่ นเขตทีอ่ ยูอ่ าศัยชัน้ ดีเช่น อาจซือ้ บ้านในเขตชานเมืองเป็นต้น โมเดลของ Burgess ตัง้ อยูบ่ นรากฐานของแนวความคิดทีว่ า่ การขยายตัวของเมืองจะเริม่ จาก ใจกลางเมืองออกไป และแผ่ขยายออกไปโดยรอบในทุกทิศทาง มีลักษณะเป็น รูปวงกลมหรือสมมติวา่ บริเวณรอบ ๆ เมืองเป็นทีร่ าบเรียบมีการขนส่งสะดวกเท่า เทียมกันโดยตลอด และเสนอว่ามีศนู ย์กลางธุรกิจการค้า (CBD) อันเดียวทีต่ งั้ อยู่ บริเวณใจกลางเมือง และล้อมรอบด้วยการใช้ทดี่ นิ ประเภทอืน่ ๆ

30

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


2. โมเดลรูปเสีย้ ว (Sector Model) Home Hoyt นั ก เศรษฐศาสตร์ ที่ ดิ น ชาวอเมริกนั ได้เสนอทฤษฎีรปู เสีย้ วหรือรูปลิม่ ขึน้ ในปี 1939 โมเดลทีเ่ ขาเสนอขึน้ นี้ เป็นผลจากการ ศึกษาโดยละเอียดของโครงสร้างการตัง้ ถิน่ ฐาน หรือทีอ่ ยูอ่ าศัยของเมืองในอเมริกาเหนือจ�ำนวน 142 เมือง แนวคิดภายใต้โมเดลนี้ระบุว่าความ แตกต่างในการเข้าถึง (Accessibility) น�ำไปสู่ ความแตกต่างของราคาทีด่ นิ (land value) และ เป็นผลส่งไปถึงความแตกต่างของการใช้ที่ดิน (land use) Hoyt กล่าวว่า เมือ่ กิจกรรมหรือการ ใช้ทดี่ นิ ประเภทใดเกิดขึน้ ใกล้กบั ศูนย์กลางเมือง แล้วกิจกรรมนั้นจะคงอยู่ในพื้นที่นั้นและต่อมา จะขยายออกสู่พื้นที่โดยรอบในทิศทางที่เมือง ขยายตัว 3. โมเดลหลายศูนย์กลาง (Multiple Nuclei Model) โมเดลหรือทฤษฎีหลายศูนย์กลางถูก เสนอขึน้ มาในปี 1945 โดยนักภูมศิ าสตร์ 2 คน คือ C.D. Harris และ E.L. Ullman จากการที่ มองเห็นถึงข้อจ�ำกัดของทฤษฎีวงแหวนและ ทฤษฎีรูปเสี้ยวเมื่อน�ำไปใช้อธิบายหรือศึกษา เมืองขนาดใหญ่ในอเมริกาเหนือในช่วงกลาง ศตวรรษที่ 20 ทั้งสองคนจึงได้เสนอทฤษฎีหรือ โมเดล ที่พิจารณาถึงการขยายตัวและเคลื่อน ย้ายออกจากศูนย์กลางเมือง (decentralization) ของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทีอ่ ยูอ่ าศัย ธุรกิจการค้า และอุ ต สาหกรรมในเขตเมื อ งไปสู ่ ช านเมื อ ง โมเดลนี้ตั้งอยู่บนข้อสมมุติที่ว่าการใช้ที่ดินใน

เขตเมืองนั้นมิได้เกิดขึ้นรอบ ๆ ศูนย์กลางเดียว แต่รอบ ๆ หลายศูนย์กลาง เมืองจะมีหลายศูนย์กลาง การเจริ ญ เติ บ โตหรื อ การขยายตั ว ของเมื อ งจะ แผ่ขยายจากหลายจุดซึง่ อยูห่ า่ ง ๆ กัน จะไม่แผ่ขยาย เป็นรูปวงแหวนหรือเป็นรูปเสีย้ วจากจุดศูนย์กลาง เดียว ศู น ย์ ก ลางการเจริ ญ เติ บ โต (growth point) ของเมืองเหล่านี้อาจเป็นเขตธุรกิจการค้า ภายในเมืองหรือรอบนอกเมือง ย่านอุตสาหกรรม ย่านที่อยู่อาศัยในเขตชานเมือง ฯลฯ ศูนย์กลาง เหล่านีบ้ างอันอาจจะมีมาตัง้ แต่แรกเริม่ สร้างเมือง ในขณะที่ บ างอั น อาจพั ฒ นาขึ้ น มาตอนหลั ง อันเป็นผลมาจากการอพยพของคนเข้าสูเ่ มือง และ การเน้นเฉพาะของการใช้ที่ดินบางประเภท และ ภายใต้โมเดลนีเ้ ขต CBD ไม่จำ� เป็นทีจ่ ะต้องตัง้ อยู่ บริ เ วณใจกลางเมื อ ง จ� ำ นวนของศู น ย์ ก ลาง การเจริ ญ เติ บ โตจะมี ม ากน้ อ ยแค่ ไ หน และ ต�ำแหน่งที่ตั้งศูนย์กลางการเจริญว่าจะอยู่บริเวณ ไหนของเมือง ขึ้นอยู่กับขนาดของเมือง บทบาท หน้ า ที่ ข องเมื อ งลั ก ษณะเฉพาะของท� ำ เลที่ ตั้ ง ของเมือง และอายุหรือประวัตคิ วามเป็นมาของเมือง โดยปรกติแล้วเมืองขนาดใหญ่ที่มีบทบาทหน้าที่ หลายอย่าง จะมีศูนย์กลางการเจริญเติบโตหรือ จุ ด ขยายตั ว มากแห่ ง กว่ า เมื อ งขนาดเล็ ก และ จุดขยายตัวจะมีลักษณะที่พิเศษมากกว่าที่พบใน เมืองขนาดเล็กและเมืองทีอ่ ายุมากก็จะมีจดุ ขยาย ตัวมากและตั้งอยู่กระจัดกระจายมากกว่าเมือง อายุนอ้ ย

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

31


32

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ตอนที่ 8

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

ความส�ำคัญของการวางแผนภาคและเมืองกับการคมนาคมขนส่งและระบบการขนส่ง

การวางแผนภาคและเมืองมีความส�ำคัญในการวางแผนการคมนาคมขนส่ง และระบบการขนส่ง จากเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. ในสาระส�ำคัญของการลดต้นทุนระบบการขนส่งของไทย มีหวั ข้อทีเ่ กีย่ วข้องกับการวางแผน ภาคและเมืองและการคมนาคมขนส่งคือ การลดต้นทุนการขนส่ง (Transport Costs) ด้วยการเปลีย่ น รูปแบบการขนส่งและการใช้การขนส่งต่อเนือ่ งหลายรูปแบบ (Modal Shift and Multi-modal transport) ตลอดจนเส้นทางการขนส่ง (Transport Route) อย่างไรก็ดี ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ที่ เป็นรูปแบบหนึง่ ของคลังสินค้า เป็นหน่วยทีเ่ ชือ่ มโยงระหว่างผูผ้ ลิต และผูค้ า้ ปลีก โดยท�ำหน้าทีใ่ นการให้ บริการขนส่ง รวบรวม จัดเก็บ จัดเตรียมสินค้าและกระจายสินค้า กิจกรรมเหล่านีล้ ว้ นเป็นกิจกรรมหลัก ทีเ่ กิดขึน้ ในศูนย์กระจายสินค้า ทัง้ นีป้ จั จัยพืน้ ฐานทีก่ จิ การต้องพิจารณาถึงในการประกอบกิจการศูนย์ กระจายสินค้า ทีเ่ กีย่ วข้องกับการวางผังเมืองและคมนาคมขนส่งคือ ปัจจัยด้านเวลา ทีจ่ ะพิจารณาความ ใกล้ไกลจากลูกค้า การเข้าถึงการบริการขนส่ง สาธารณูปโภคพืน้ ฐานด้านการขนส่ง ทัง้ ทางบก อากาศ และน�ำ ้ และการเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่ง (Delivery hub) และปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของศูนย์กระจาย สินค้าทีส่ ำ� คัญคือ ปัจจัยด้านท�ำเลทีต่ งั้ (Strategic Location) การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 33 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


2. การแข่งขันระดับโลกทีส่ ร้างผลประโยชน์มหาศาล ให้กบั ประเทศทีเ่ ป็นผูน้ ำ� ในภูมภิ าคนัน้ เหนือกว่าประเทศอืน่ ๆ คือ การมีเครือข่ายการคมนาคมขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศทีส่ มบูรณ์นนั้ สินค้าจะกระจายไปยังภูมภิ าคต่าง ๆ ทัง้ ในประเทศ และประเทศข้างเคียงได้ กลยุทธ์ในการวางแผนภาคและเมือง จะมีสว่ นสนับสนุน ให้กิจกรรมการคมนาคมขนส่งด�ำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและก�ำไรสูงสุด ลดปัญหาผลกระทบและท�ำให้มตี น้ ทุนต�ำ่ สุด ช่วงชิงความได้เปรียบและปิดจุดอ่อน ทางเศรษฐกิจการคมนาคมขนส่งของประเทศ รวมทั้งตอบสนองกับการวางแผน โลจิสติกส์ของชาติอย่างยัง่ ยืน 3. ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งส่งผลต่อเมืองทั้งทางด้านท�ำรายได้ ทางเศรษฐกิจอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็เกิดผลกระทบต่อการจราจร มลภาวะ สภาพแวดล้อม สังคมและคุณภาพชีวติ ประชาชนในอัตราส่วนเดียวกัน จากปัญหา ต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง ท�ำให้มคี วามจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมี การวางผังเมืองในระยะแรกเริม่ กิจการขนส่งสินค้า โดยปรับปรุงระบบโครงสร้างของ เมือง และความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและเมือง เป้าหมายของ เมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งอาจจะเปลีย่ นไปจากการแก้ปญ ั หาเฉพาะการขนส่ง สินค้า กลายเป็นการปรับปรุงศักยภาพของการขนส่งสินค้าควบคูไ่ ปกับการปรับปรุง คุณภาพชีวติ ของชาวเมือง และการพัฒนาเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งด้วย 34

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


กระบวนการโลจิสติกส์ทนี่ ำ� มาประกอบการวางแผนภาคและเมืองในภูมภิ าคอาเชียนนี้ มีหลาย รูปแบบ อย่างไรก็ตามจากสภาพภูมศิ าสตร์ของประเทศไทยทีม่ คี วามเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางการ คมนาคมขนส่ง ท�ำให้มกี ารวิเคราะห์ศกั ยภาพของประเทศไทยในโครงการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

แสดงเครือข่ายการคมนาคมระบบถนนและระบบรางในภูมภิ าคเอเชีย พ.ศ. 2548 รัฐบาลได้เล็งเห็นความส�ำคัญในการค้าชายแดนในภูมิภาคนี้ จึงได้ ก�ำหนดให้มีการศึกษาโครงการศึกษาพัฒนาศักยภาพการขนส่งสินค้าผ่านแดนของไทย เพือ่ ผลักดันยุทธศาสตร์การเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งในภูมภิ าคอินโดจีน ด�ำเนินการ โดยส�ำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร จากการวิเคราะห์แผนโครงการ ความร่วมมือในภูมภิ าคทีเ่ กีย่ วข้อง สรุปว่าปัจจุบนั ประเทศไทยได้มกี ารพัฒนาความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจกับประเทศเพือ่ นบ้าน การพัฒนาพืน้ ทีบ่ ริเวณชายแดน 1. โครงการยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ประกอบด้วยประเทศกัมพูชา, ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์และประเทศไทย การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

35


2. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภมู ภิ าคลุม่ แม่นำ�้ โขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregional Cooperation: GMS) ประกอบด้วยประเทศกัมพูชา ประเทศจีน ประเทศลาว ประเทศเมียนมาร์ ประเทศเวียดนาม และประเทศไทย 3. โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ประเทศอินโดนีเซีย-ประเทศมาเลเซีย-ประเทศไทย (Indonesia-Malaysia-Thailand-Growth Triangle: IMT-GT) ซึง่ ในแต่ละกรอบความตกลงได้ให้ความ ส�ำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพือ่ การพัฒนาพืน้ ทีบ่ ริเวณชายแดน

สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยในภูมิภาคเอเซีย

แนวความคิดในการย่อระยะทางของสายการเดินเรือโลก ยุโรป-อเมริกา ทีจ่ ะต้องผ่านช่องแคบ สิงคโปร์ (Singapore Strait) ในเส้นทาง A-B-C ปรากฏในโครงการ Greater Mekong Sub-region GMS (ความร่วมมือในอนุภมู ภิ าคลุม่ น�ำ้ โขง) ทีม่ เี ส้นทาง East-West Corridor and North-South Corridor (แนวเส้นทาง D-F และเส้นทาง E-O) โดยเรือสินค้าที่มาจากทวีปยุโรปสามารถจอดเทียบท่าเรือ ด้านทะเลอันดามันทีท่ า่ เรือมะละแหม่งของสหภาพพม่า ขนส่งสินค้าต่อเนือ่ งทางบกผ่านประเทศไทย เข้าสู่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ทีท่ า่ เรือดานังในทะเลจีนใต้ และขนถ่ายสินค้าลงเรือสินค้าแล่นต่อไปยังเอเชียตะวันออกและสหรัฐอเมริกา ในการนี้จะสามารถ ย่อระยะเวลาการเดินทางปกติที่อ้อมช่องแคบสิงคโปร์ถึง 15 วันซึ่งจะลดค่าใช้จ่ายของบริษัทเดินเรือ ลงได้ ประเทศไทยจึงมีศกั ยภาพทีจ่ ะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบกจากโครงการนี้ 36 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ในกรณีที่สายการเดินเรือส่วนใหญ่ที่จ�ำเป็นต้องจอดขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือของมาเลเซีย และ สาธารณรัฐสิงคโปร์ มีการพิจารณาใช้ระบบขนส่งต่อเนื่องทางรถไฟขนถ่ายสินค้าขึ้นสู่สาธารณรัฐ ประชาชนจีนตอนใต้ ซึ่งไม่มที างออกทางทะเลด้านนี้ ชื่อ North-South Railway ทางรถไฟเหนือ-ใต้ (คุนหมิง-สิงคโปร์) ส่วนหนึ่งของโครงการ Trans-Asia ปัจจุบันท่าเรือสาธารณรัฐสิงคโปร์สามารถ ขนถ่ายสินค้าได้เพียงจากเรือเดินสมุทร Ocean Liner สู่เรือเล็ก Feeder Ship ไปยังภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้และเข้าทีท่ า่ เรือกรุงเทพ ด้วยไม่สามารถขนถ่ายทางบกด้วยรถบรรทุกเพราะไม่คมุ้ ค่า ด้วยเส้นทางสูแ่ ผ่นดินใหญ่ แต่การขนถ่ายทางรถไฟสูส่ าธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศสีเ่ หลีย่ มเศรษฐกิจ และประเทศอินโดจีนนัน้ คุม้ ค่า (เส้นทาง B-O-E และเส้นทาง B-O-F) เพราะการขนส่งทางรถไฟนัน้ เป็นการ ขนส่งสินค้าหนักทางไกล มีความประหยัดแบบ Economy of Scale คือ ยิง่ ไกลและยิง่ บรรทุกมาก จะมี ค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่อน�้ำหนักเป็นกิโลกรัมและต่อระยะทางเป็นกิโลเมตรถูกลง ประเทศไทยจึงมี ศักยภาพทีจ่ ะเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรถไฟจากโครงการนี้

ส่วนการขนถ่ายสินค้าทีท่ า่ เรือของมาเลเซีย ก็มกี ารพิจารณาใช้ระบบขนส่งต่อเนือ่ งทางรถบรรทุก ขนถ่ายสินค้าขึ้นสู่อินโดจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้เช่นกัน เพราะการขนส่งต่อเนื่องด้วย รถบรรทุกเหมาะสมกับการขนส่งสินค้าระยะทางปานกลาง ที่ท่าเรือมาเลเซียจะได้ประโยชน์สูงสุด การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

37


(เส้นทาง B-O-E และเส้นทาง B-O-F) ชือ่ โครงการ Asian Highway ทางหลวงเอเชีย (คุนหมิง-สิงคโปร์) โครงข่ายทางหลวงเอเชียเป็นโครงการทีไ่ ด้รบั ความสนับสนุนโดย ส�ำนักงานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟกิ (Economic and Social Commission for Asia and Pacific, ESCAP) เป็นเส้นทางทีเ่ ชือ่ มโยงอนุภมู ภิ าคต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย ทัง้ นี้ จะเชือ่ มต่อเมืองหลวง ศูนย์กลางอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ท่าเรือหลัก ท่าอากาศยานหลัก ศูนย์ขนถ่ายสินค้าและเมืองท่องเทีย่ ว ประเทศไทยจึง เป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบกจากโครงการนี้

ด้านการขนถ่ายสินค้าจากประเทศทีเ่ ป็นเกาะและชายฝัง่ ทะเลด้านตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศ อินโดนีเซีย ประเทศฟิลปิ ปินส์ และประเทศโอเชเนีย (ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) สามารถขนถ่ายสินค้าสู่ แผ่นดินใหญ่เอเชียได้โดยมีประเทศไทยเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า Center of Cargo Distribution โดย ท่าเรือประเทศไทยมีศกั ยภาพมากกว่าการเทียบท่าสินค้าทีท่ า่ เรืออินโดจีน (กัมพูชา-เวียดนาม) ทัง้ ทาง ด้านความสะดวก รวดเร็ว การรับประกันความเสียหายและการส่งถึงทีห่ มาย และระบบเศรษฐกิจการ เงินการคลัง ทีเ่ กีย่ วข้องซึง่ ระบบของประเทศอินโดจีนยังขาดความสมบูรณ์ในปัจจุบนั บริษทั เดินเรือจะ เลือกให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลเพือ่ ลดความเสีย่ งในระบบสินค้าทางทะเล การขนส่งล�ำน�ำ้ ของประเทศสีเ่ หลีย่ มเศรษฐกิจทางแม่นำ�้ โขง ชือ่ การขนส่งทางล�ำน�ำ้ ลุม่ แม่นำ�้ โขง (Kong River Waterway) จากอ�ำเภอเชียงแสนออกสูท่ ะเลทีส่ าธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามซึง่ เป็นหนึง่ 38

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ในโครงการการพัฒนาสีเ่ หลีย่ มเศรษฐกิจ และอยูใ่ นสาระของความร่วมมืออนุภมู ภิ าคลุม่ แม่นำ�้ โขง โดย สาธารณรัฐประชาชนจีนมีนโยบายในการเปิดตลาดมณฑล 5 มณฑลทางตะวันตก หลังจากทีส่ าธารณรัฐ ประชาชนจีนมีนโยบายเปิดประเทศเพือ่ มุง่ สูเ่ อเชียอาคเนย์โดยมีจงั หวัดคุนหมิงในมณฑลยูนนาน เชือ่ ม ระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้กบั ประเทศไทย ปัจจุบนั ประสบปัญหาบางประการ เช่น ระยะ ทางไกลมาก ผ่านพืน้ ทีด่ อ้ ยพัฒนาเสีย่ งภัยจากความเป็นแหล่งอาชญากรรม ยาเสพติดและการหลบหนี เข้าเมือง การโจรกรรมและขาดการคมนาคมสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ จึงมีการพิจารณาปรับเส้นทาง ขนส่งทางน�ำ้ บางส่วนเข้าเขตประเทศไทย จะท�ำให้ประเทศไทยมีศกั ยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลาง การขนส่งล�ำน�ำ้ ในภูมภิ าคนี้

โครงการกรอบความร่วมมือสามเหลีย่ มเศรษฐกิจอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย โครงการดังกล่าวนี้ มีชื่อย่อว่า IMT-GT ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาการเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงข่าย คมนาคมขนส่งและระบบสาธารณูปโภคระหว่างประเทศ โครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างถนนใน ประเทศไทยที่ส�ำคัญคือเส้นทางที่ส�ำคัญของโครงการนี้คือ ถนนเชื่อมโยงจากจังหวัดสตูล-รัฐเปอร์ลิส ของมาเลเซีย เส้นทางดังกล่าวมีระยะทางประมาณ 35 กิโลเมตร โครงการต่าง ๆ ภายใต้กรอบความ ร่วมมือสามเหลี่ยมเศรษฐกิจอินโดนิเซีย–มาเลเซีย–ไทย ซึ่งนอกจากจะเป็นความร่วมมือด้านการขนส่ง การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

39


ทางถนนแล้ว การขนส่งทางรถไฟ ทางน�้ำและทางอากาศก็นับว่าเป็นรูปแบบการเดินทางที่ส�ำคัญ ภายใต้กรอบความร่วมมือนี้ด้วยเช่นกัน

ความเป็นไปได้ของแนวคิดการขนส่งสินค้าทางบกตามเส้นทางดังกล่าว ขึน้ อยูก่ บั เงือ่ นไขทีส่ ำ� คัญ 2 ประการ คือ ต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศทีด่ แี ละการจัดระบบการขนส่งทีป่ ระสิทธิภาพ ดังนัน้ การเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งสินค้าของภูมิภาคอินโดจีน จ�ำเป็นต้องมีการวางแผนจัดระบบ การจัดการในสามประเด็นหลักคือ 1. การสร้างระบบเครือข่ายเชือ่ มโยงแบบหลายระบบ 2. การจัดระบบโลจิสติกส์ทมี่ ปี ระสิทธิภาพ 3. การจัดให้มศี นู ย์กลางคมนาคมขนส่งในระดับภูมภิ าคทีเ่ ชือ่ มโยงกับระดับเมือง และกับประเทศ เพือ่ นบ้านโดยรอบ และจากการวิเคราะห์ทงั้ หมดพบว่า ในประเทศไทยมีพนื้ ทีห่ ลายจังหวัดทีม่ ศี กั ยภาพในการเป็น ศูนย์กลางกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการค้าพาณิชยกรรมระหว่างประเทศคือ 1. จังหวัดพิษณุโลก เป็นศูนย์กลางการค้าอินโดจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนตอนใต้ Center Hub of Transportation of Thailand เพราะเป็นจุดตัดระหว่าง East-West Corridor and North South Corridor ของโครงการความร่วมมือพัฒนาภูมภิ าคลุม่ น�ำ้ โขง GMS และเป็นทีศ่ นู ย์กลางทีใ่ นโครงการ เรียกว่า สีแ่ ยกอินโดจีน Indochina Intersection 40

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


2. จังหวัดนครราชสีมา เป็นศูนย์กลางภูมภิ าคตะวันออกเฉียงเหนือ Regional Growth Center of Thailand เพราะตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ในแผนกลยุทธ์วา่ ด้วยการค้า ชายแดน Border Town Project 1999 รวมทัง้ เป็นจุดเชือ่ มต่อเมืองหลวงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน การขนถ่ายสินค้า และเป็นฐานการผลิตเพือ่ เพิม่ มูลค่าสินค้า Evaluated Added ก่อนส่งขายในอินโดจีน ในโครงการ Trans Asia และโครงการAsian Highway นัน้ จังหวัดนครราชสีมาก็เป็นสถานีใหญ่แห่งหนึง่ ในระบบถนนและทางรถไฟในโครงการนี้

3. จังหวัดสงขลา เป็นเมืองชายแดนทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ ทางภาคใต้ จากการทีม่ ที า่ เรือน�ำ้ ลึกขนาดใหญ่ ทีข่ นถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ มีโครงการสะพานบก Land Bridge เชือ่ มสองฝัง่ ทะเล รวมทัง้ อยูใ่ น เส้นทางถนนทางรถไฟของโครงการ Trans Asia และโครงการ Asian Highway ทีเ่ ชือ่ งโยงทัง้ ทวีปเอเชีย และมีทา่ เรือร่วมกับมาเลเซียสามารถขนถ่ายสินค้าชายแดนทีด่ า่ นสะเดาเป็นช่องทางหลัก ทัง้ หมดนีส้ ามารถสรุปได้วา่ การมีสภาพภูมศิ าสตร์ทเี่ หมาะสมของประเทศไทยนัน้ จะต้องมีการ วางแผนผังและกลยุทธ์ทมี่ ปี ระสิทธิภาพด้วย จึงจะสามารถแข่งขันกับต่างชาติโดยเฉพาะประเทศมาเลเซีย และประเทศสิงคโปร์ ในการช่วงชิงความเป็นศูนย์กลางอินโดจีนและจีนตอนใต้ได้สำ� เร็จ

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

41


ตอนที่ 9

การวางผังเมือง โดยก�ำหนดหน้าที่เฉพาะของเมือง ในการวางผังเมืองใดเมืองหนึง่ ให้มคี วามพิเศษเฉพาะเมืองนัน้ ทางด้านผังเมืองมีกระบวนการที่ จะใช้บทบาทหน้าทีพ่ เิ ศษของเมืองตามทีฝ่ า่ ยบริหารก�ำหนดให้ เป็นปัจจัยก�ำหนดรูปแบบและการพัฒนา เมือง เราสามารถทีจ่ ะเลือกบทบาทพิเศษให้แก่เมืองในการเป็นศูนย์กลางกิจกรรมต่าง ๆ ดังจะเสนอ ตัวอย่างทางผังเมืองดังนี้

42

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


กรณีที่ 1. บทบาทของเมืองใหม่ราชการ

หน้าทีข่ องเมืองใหม่ราชการ 1. เป็นศูนย์รวมราชการของประเทศ อาทิเช่น กระทรวง ทบวง กรม ส�ำนักนายกรัฐมนตรี สรรพากร ส�ำนักงานประปา ไฟฟ้า ให้มคี วามสะดวกประชาชนรวมถึงข้าราชการทีเ่ ข้ามามีจำ� นวนมาก เมืองศูนย์ราชการจึงควรมีพนื้ ทีม่ ากพอทีจ่ ะขยายตัวในอนาคตได้ และต้องมีการคมนาคมทีส่ ะดวก ใกล้เมืองหลวง 2. เพือ่ สมดุลของการพัฒนาและการเติบโตของเมือง เพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ ของประชาชนใน เมืองหลวงให้ดขี นึ้ ไม่ให้กระจุกตัวในเมืองหลวงจนเกินไปจนเกิดปัญหาต่าง ๆ อาทิ ปัญหาจราจร เป็นต้น 3. เป็นการเชือ่ มต่อการพัฒนาไปยังส่วนอืน่ ของประเทศ กระจายความเจริญสูท่ อ้ งถิน่ เพือ่ เป็น แหล่งงานในพืน้ ทีใ่ หม่ การเลือกทีต่ งั้ ทีเ่ หมาะสมของเมืองศูนย์ราชการ 1. ควรใกล้เมืองหลวง ประมาณ 100-200 ก.ม. 2. มีทดี่ นิ มากพอส�ำหรับการขยายตัวในอนาคตด้วย 3. การจัดหาทีด่ นิ เพือ่ ด�ำเนินโครงการท�ำได้โดยง่าย 4. สภาพดินจะต้องไม่เหมาะกับการพัฒนาในเชิงเกษตรกรรม 5. มีแหล่งน�ำ้ ดิบส�ำหรับการอุปโภค บริโภค อย่างเพียงพอในอนาคต 6. สามารถก�ำหนดพื้นที่เขตกันชน (Buffer Zone) ในการพัฒนาพืน้ ทีโ่ ดยรอบได้ 7. ใกล้กบั โครงการพัฒนาทีส่ ำ� คัญ ๆ ของรัฐโดยเฉพาะสนามบิน ท่าเรือ และนิคม อุตสาหกรรม 8. พัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง และสามารถ เชือ่ มโยงกับพืน้ ทีโ่ ดยรอบได้โดยไม่เป็นจุดอับ ในการพัฒนา 9. จะต้องสอดคล้องและเป็นไปตาม แนวนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนา ในระดับต่าง ๆ ของประเทศสามารถจูงใจให้เป็นทีย่ อมรับจากคนในชาติ องค์กรพัฒนาในภาคเอกชน สือ่ มวลชน และกลุม่ พลังต่าง ๆ เป็นส่วนใหญ่ ในเมืองใหม่จะมีบทบาทและหน้าทีข่ องตนเอง โดยจะต้องมีแหล่งงานหลักมีขนาดใหญ่พอกับ จ�ำนวนประชากรและใกล้กรุงเทพฯการสร้างแหล่งงานหลักในเมืองใหม่ทำ� ได้หลายลักษณะ เช่น ศูนย์ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 43 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


ราชการ รัฐบาลจะท�ำให้งา่ ยทีส่ ดุ เพราะอยูภ่ ายใต้การควบคุมของรัฐบาลโดยตรง หรือศูนย์อตุ สาหกรรม ไฮเทคซึง่ ต้องการความร่วมมือในการลงทุนจากเอกชนและศูนย์การเงิน-พาณิชยกรรม

กรณีที่ 2. บทบาทเมืองศูนย์กลางพาณิชย์กรรม

หน้าทีเ่ มืองศูนย์กลางพาณิชย์กรรม เมืองพาณิชย์จะท�ำหน้าการแลกเปลีย่ นถ่ายโอนทางด้านการค้าและบริการและน�ำมาซึง่ รายได้ หลักให้กบั ประเทศ 1. ทรัพยากรธรรมชาติ ทีเ่ หมาะสม เพียงพอต่อการผลิตสินค้าและบริการ 2. เส้นทางคมนาคม การติดต่อสือ่ สาร ทีส่ ามารถเชือ่ มโยงได้กบั ทุกภูมภิ าค ทัง้ ในประเทศและ ต่างประเทศ 3. เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีการและเปลีย่ นการค้าและการบริการ มีการผลิตสินค้าทัง้ ขาย ปลีก-ขายส่งทีส่ ำ� คัญ 4. มีการน�ำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ ในการผลิตสินค้าและบริการ 5. สภาพทีต่ งั้ ทีเ่ หมาะสม ติดกับเมืองทีม่ กี ารเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีศกั ยภาพในการรองรับ การขยายตัวจากเมืองข้างเคียงได้ ทัง้ ในด้านเศรษฐกิจ การท่องเทีย่ ว ศิลปวัฒนธรรม ข้อดีและข้อเสียของเมืองศูนย์กลางพาณิชย์กรรม ข้อดี เมืองพาณิชย์สามารถสร้างรายได้หลักจากการส่งออกให้กบั ประเทศได้ และยังสามารถช่วย ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าภายในและระหว่างประเทศ ให้เติบโตดีขนึ้ ได้ เนือ่ งจากประเทศไทยเป็นประเทศ เกษตรกรรม จึงช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเพิม่ ขึน้ และส่งเสริมให้ผปู้ ระกอบการธุรกิจ โดยเฉพาะ ผูป้ ระกอบการรายย่อย ให้มคี วามแข็งแกร่ง และแข่งขันได้มากขึน้ สามารถสร้างชือ่ เสียงให้กบั ประเทศ และท�ำให้เป็นทีร่ จู้ กั ยอมรับจากนานาประเทศ การสร้างตราสินค้าด้วยผลิตภัณฑ์ทแี่ สดงถึงเอกลักษณ์ ความเป็นไทย เป็นการกระตุน้ การส่งเสริม และพัฒนาบุคคลากรของประเทศให้มี ประสิทธิภาพ เพือ่ ให้สามารถผลิตสินค้า ทีเ่ ทียบเท่ากับต่างประเทศได้ ข้อเสีย หากใช้ทรัพยากรอย่าง ไม่ระมัดระวังอาจส่งผลกระทบทีร่ า้ ยแรง ตามมา เช่น เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยธรรมชาติ เป็นต้น เช่นการใช้ทรัพยากร 44 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างสิน้ เปลือง ทรัพยากรดิน น�ำ้ และป่าไม้ มีสภาพเสือ่ มโทรมลงเป็นอันมาก อาจส่งผลให้เกิดน�ำ้ ท่วมอย่างฉับพลัน หรือปัญหาภัยแล้งได้ การพัฒนาเศรษฐกิจทีข่ าดความสมดุลระหว่างภาคเศรษฐกิจระหว่างกรุงเทพฯกับภูมภิ าค ระหว่าง เมืองกับชนบท เป็นผลให้เกิดการอพยพเคลือ่ นย้ายแรงงานไปหาโอกาสใหม่ทดี่ กี ว่า นอกจากนีม้ กี าร เคลือ่ นย้ายแรงงานไปท�ำงานในต่างประเทศ และมีแนวโน้มเคลือ่ นย้ายถิน่ ฐานของแรงงานจากเขตชนบท สูเ่ มืองใหญ่มากขึน้ ท�ำให้เกิดปัญหาขาดความมัน่ คงและความอบอุน่ ในครอบครัว ปัญหาจราจร ปัญหา ชุมชนแออัด ปัญหาสาธารณสุขขัน้ มูลฐาน และสุขอนามัยของครอบครัวในเมืองใหญ่ตา่ ง ๆ ของภาค และ กรุงเทพมหานคร ด้านการแข่งขันทางการค้า จังหวัดเล็กจะได้รบั ผลกระทบจากการทีม่ เี ขตทีต่ งั้ ติดกับ จังหวัดใหญ่ ซึง่ เป็นจังหวัดศูนย์กลางทางการค้าและห้างสรรพสินค้า ซึง่ มีการค้าปลีก-ค้าส่งขนาดใหญ่มนี กั ธุรกิจผูค้ า้ รายใหม่เกิดขึน้ มาก นอกจากนีย้ งั มีปญ ั หาคาราวานสินค้าซึง่ เป็นสินค้าใช้ในชีวติ ประจ�ำวัน และมีราคา ต�ำ่ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกในจังหวัดนัน้

กรณีที่ 3. บทบาทเมืองอุตสาหกรรม

หน้าทีข่ องเมืองอุตสาหกรรม บทบาทหน้าที่ของเมืองชนิดเมืองอุตสาหกรรม จัดว่าเป็นหน้าที่ที่ส�ำคัญอย่างหนึ่งเพราะส่ง ผลกระทบถึงภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศ เมืองท่าอุตสาหกรรมที่ดีจะมีการเจริญเติบโตอย่าง รวดเร็ว เพราะเป็นตลาดงานที่ส�ำคัญ และ ได้รบั การเอาใจใส่ดแู ลจากรัฐบาล เป็นอย่างดี เป็นแหล่งทีม่ กี ำ� ลังการผลิต ทางอุตสาหกรรมสูง อาจมีการสร้าง นิคมอุตสาหกรรมขึ้นเพื่อสะดวกในการ ควบคุมโรงงานอุตสาหกรรมและการ บ� ำ บั ด ของเสี ย อุ ต สาหกรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น ควรมีท่าเรือขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับ ทะเลไว้สำ� หรับขนส่งสินค้าทัง้ รับวัตถุดบิ สินค้าจากต่างประเทศและส่งออกสินค้า ที่ผลิตได้ออกสู่ต่างประเทศ เป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วเพราะมีผู้คนอพยพเข้ามาหา งานท�ำเป็นจ�ำนวนมาก เป็นเมืองทีม่ กี จิ กรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึน้ มากเมืองหนึง่ ของประเทศ จึงได้รบั ความสนใจจากรัฐบาลมากเป็นพิเศษ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 45 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


1. เป็นแหล่งที่มีก�ำลังการผลิตทางอุตสาหกรรมสูง อาจมีการสร้างนิคมอุตสาหกรรมขึ้น เพื่อ สะดวกในการควบคุมโรงงานอุตสาหกรรม และการบ�ำบัดของเสียอุตสาหกรรมทีเ่ กิดขึน้ 2. ควรมีทา่ เรือขนาดใหญ่ทเี่ ชือ่ มต่อกับทะเลไว้สำ� หรับขนส่งสินค้า ทัง้ รับวัตถุดบิ สินค้าจากต่าง ประเทศ และส่งออกสินค้าทีผ่ ลิตได้ออกสูต่ า่ งประเทศ 3. เป็นเมืองทีม่ กี ารเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะมีผคู้ นอพยพเข้ามาหางานท�ำเป็นจ�ำนวนมาก 4. เป็นเมืองทีม่ กี จิ กรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึน้ มากเมืองหนึง่ ของประเทศ จึงได้รบั ความสนใจจาก รัฐบาลมากเป็นพิเศษ 5. อาจมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้ามาลงทุนในพื้นที่โดยวิธีต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น การลดหย่อนภาษีให้แก่อตุ สาหกรรมใหม่ในนิคม การให้เงินสนับสนุน หรือการยกเว้น ค่าบ�ำบัดของเสียให้ในปีแรก เป็นต้น 6. มีเส้นทางเชือ่ มต่อกับเมืองส�ำคัญอืน่ ๆ ได้อย่างสะดวก เช่น มีถนนทางหลวงขนาดใหญ่ มีทาง รถไฟส�ำหรับการขนส่งสินค้า หรือมีการพัฒนาเส้นทางเชือ่ มต่อทีส่ ำ� คัญ เพือ่ รองรับการเจริญเติบโตของ เมืองอย่างรวดเร็ว องค์ประกอบและกิจกรรมของเมืองอุตสาหกรรม 1. ทีต่ งั้ ต้องไม่ไกลจากกรุงเทพฯหรือ ท่าขนส่งส�ำคัญ ๆ เป็นทีร่ าบทีน่ ำ�้ ไม่ทว่ มขัง 2. มีทางสัญจรเชื่อมต่อสะดวกทั้ง ระหว่างภายในเมืองและกับภายนอก เพือ่ การ ขนส่งทีม่ ปี ระสิทธิภาพ 3. มีระบบสาธารณูปโภคทีถ่ งึ พร้อม ทัง้ ไฟฟ้า ประปา ระบบโทรศัพท์และทุกอย่าง ทีม่ คี วามจ�ำเป็นในกระบวนการผลิต 4. มีระบบสาธารณูปการเพียงพอ ส� ำ หรั บ บุ ค ลากรที่ จ ะมาท� ำ งานในระบบ อุตสาหกรรม 5. มีทรัพยากรใช้สอยอย่างเพียงพอ ทัง้ นีใ้ นการน�ำมาใช้ตอ้ งค�ำนึงถึงการรักษาสภาพธรรมชาติ ด้วย 6. กิจกรรมหลักคือการผลิตเพือ่ ส่งสินค้าไปยังเมืองต่าง ๆ แต่กจิ กรรมภายในของเมืองก็ตอ้ งมี เพือ่ ตอบสนองคนในเมืองไม่วา่ จะเป็นการสันทนาการ หรือกิจกรรมต่าง ๆ ทีจ่ ำ� เป็นต่อการด�ำรงชีวติ 46 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ปัญหาส่วนใหญ่ของเมืองอุตสาหกรรม 1. เกิดปัญหามลพิษทีเ่ กิดจากโรงงานอุตสาหกรรม 2. ปัญหาการขาดแคลนทีด่ นิ ท�ำการเกษตร 3. ในบางบริเวณยังมีการท�ำการเกษตรอยู่ ท�ำให้ไม่สามารถขยายเขตอุตสาหกรรมออกไปได้ 4. ขีดจ�ำกัดในด้านปัญหาสิง่ แวดล้อม ถ้ามีโรงงานอุตสาหกรรมมากยิง่ เกิดปัญหามาก โดยเฉพาะ โรงงานอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซงึ่ มีการระเบิดหินเกิดฝุน่ ละอองจ�ำนวนมาก 5. ขีดจ�ำกัดของทรัพยากรธรรมชาติ ซึง่ ต้องควบคุมปริมาณการใช้ เพือ่ มิให้เกิดการขาดแคลน

กรณีที่ 4. บทบาทเมืองท่องเที่ยว

หน้าทีด่ า้ นการเป็นเมืองท่องเทีย่ ว ส�ำหรับบทบาทในการเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่นับได้ว่าเป็นเมืองที่มีความเหมาะสมจะมีปัจจัย ต่าง ๆ ทีเ่ กือ้ หนุนเพือ่ การเป็นเมืองท่องเทีย่ วดังนี้ 1. สถานที่ท่องเที่ยว จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นแนวเขาอันเป็นแหล่งของต้นน�้ำ และป่าไม้ อันอุดมสมบูรณ์จะท�ำให้มแี หล่งท่องเทีย่ วทางธรรมชาติทเี่ หมะสม 2. การเดิ น ทางสู ่ เ มื อ งจะต้ อ งมี ความสะดวกและรวดเร็ ว เพราะมี ถ นน เส้นหลักผ่านและมีรถไฟและรถโดยสาร ประจ�ำทางให้เลือกใช้บริการ 3. มีที่ตั้งไม่ห่างไกลจากกรุงเทพ มากนั ก จะท� ำ ให้ มี ผู ้ ค นมากมายจาก กรุ ง เทพและจั ง หวั ด ต่ า ง ๆ ใกล้ เ คี ย ง เดินทางเพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนใน วันหยุด องค์ประกอบและกิจกรรมหลัก 1. ควรจัดระบบของการขนส่งให้เพียงพอและทัว่ ถึงเพือ่ รองรับนักท่องเทีย่ ว 2. จัดรูปแบบของผังเมืองให้งา่ ยต่อความเข้าใจไม่สบั สนเมือ่ จะไปยังสถานทีต่ า่ ง ๆ 3. จัดทีพ่ กั อาศัยให้เพียงพอกับนักท่องเทีย่ วโดยเฉพาะในช่วงฤดูกาลท่องเทีย่ ว 4. มีเจ้าหน้าทีอ่ ยูใ่ นบริเวณต่าง ๆ ของบริเวณสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วและบริเวณต่าง ๆ ของจังหวัด เพือ่ ช่วยเหลือนักท่องเทีย่ วในด้านต่าง ๆ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

47


5. มีการรณรงค์ให้รกั ษาสภาพแวดล้อม และจัดหน่วยงานดูแลปกป้องสภาพของธรรมชาติตา่ ง ๆ เป็นอย่างดี 6. จัดให้มรี ะบบรักษาความปลอดภัยตามสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วต่าง ๆ อย่างรัดกุมเพือ่ ป้องกันภัย ทีจ่ ะเกิดขึน้ จากพวกมิจฉาชีพ ข้อดีและข้อเสียของเมือง ข้อดี การมีลกั ษณะภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะสมกับการท่องเทีย่ วจะท�ำให้เกิดการค้าและการลงทุน เป็นอย่างมาก เมืองจึงมีการพัฒนาไปในทางที่ดีและท�ำให้มีนักท่องเที่ยวหมุนเวียนมาเที่ยวเป็น จ�ำนวนมากเป็นผลให้รายได้หลักของเมืองจากการท่องเทีย่ ว ข้อเสีย จากการที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากก็เป็นผลเสียเพราะเมื่อผู้คนเยอะมากเกินไป สภาพแวดล้ อ มที่ เ คยเป็ น ธรรมชาติ ก็ ต ้ อ งเปลี่ ย นเป็ น สถานที่ พั ก อาศั ย หรื อ ร้ า นค้ า เพื่ อ รองรั บ ความต้อง การของคนเหล่านี้ เมือ่ นักท่องเทีย่ วลุกล�ำ้ เข้ามาในเขตธรรมชาติมากเกินไป ท�ำให้สภาวะแวดล้อมทรุดโทรมและ เสียหาย โดยเฉพาะความเสียหายทีเ่ กิดกับสิง่ ทีไ่ ม่สามารถกลับคืนมาเหมือนดังเดิมได้ เช่น พวกปะการัง กัลปังหาและสิง่ มีชวี ติ ต่าง ๆ ใต้ทอ้ งทะเล

กรณีที่ 5. บทบาทเมืองศิลปวัฒนธรรม

หน้าทีข่ องเมืองวัฒนธรรม ลักษณะเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมชาติหรือทางอารยธรรม ซึง่ แสดงออกทางวิถชี วี ติ ประเพณี และทางวัฒนธรรม รวมถึงทางสถาปัตยกรรม ทีส่ งั่ สมและมีววิ ฒ ั นาการ เรือ่ ยมา องค์ประกอบของเมืองศิลปวัฒนธรรม 1. ด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ซึง่ พิจารณาจาก 1. อายุ ข องโบราณสถาน หรื อ ความเก่าแก่ในทางประวัตศิ าสตร์นนั้ สิง่ ใด ที่ มี อ ายุ ห รื อ ความเก่ า แก่ ม ากย่ อ มมี ความส�ำคัญเพิม่ ขึน้ ตามล�ำดับ โดยอายุนนั้ จะวัดกันตามยุคสมัยต่าง ๆ 48 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


2. ความส�ำคัญทางประวัตศิ าสตร์ ซึง่ อาจจะเคยเป็นราชธานีเก่าหรืออาจจะเป็นทีต่ งั้ ของชุมชน โบราณ หรือเป็นทีท่ เี่ คยมีวฒ ั นธรรมสูงมาก่อน 2. ด้านสถาปัตยกรรม ซึง่ พิจารณาจาก 1. ลักษณะพิเศษทางสถาปัตยกรรมพิจารณาให้คา่ ทางสถาปัตยกรรมลักษณะทีเ่ ป็นเอกลักษณ์มี ความเด่นทางองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมด้านใดด้านหนึง่ หรือเป็นลักษณะทีห่ ายาก มีคณ ุ ค่าต่อการ ศึกษาและอนุรกั ษ์ 2. ความงามทางสถาปัตยกรรม พิจารณาตามหลักวิชาการทางสถาปัตยกรรมในการพิจารณา ค่าความงามจะวัดจากลักษณะของรูปทรง วัสดุและลักษณะพืน้ ผิว สี ฝีมอื การก่อสร้างและฝีมอื ช่าง 3. องค์ประกอบทางด้านภูมิสถาปัตยกรรมเช่น บ่อน�้ำ ก�ำแพง โดยความส�ำคัญมากน้อยนั้น จะวัดจากความครบถ้วนสมบูรณ์ขององค์ประกอบ รวมทัง้ การเสียหายมากน้อยและประวัตคิ วามเป็นมา 3. ด้านวัฒนธรรม-ขนบธรรมเนียมประเพณีและการท่องเทีย่ ว ซึง่ พิจารณาจาก 1. มีเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมทีช่ ดั เจน เช่น ภาคใต้มกี ารต่อเรือกอและ ทางอีสานมีการนับถือผี ภาคกลางมีการลงแขก 2. เป็นแหล่งก�ำเนิดประเพณี เช่นสุโขทัยเป็นสถานทีก่ ำ� เนิดประเพณีลอยกระทง เชียงใหม่มกี าร จุดโคมประทีป 3. ยังคงอยูใ่ นวิถชี วี ติ แบบดัง้ เดิม ความความเปลีย่ นแปลงเข้าไปเปลีย่ นวิถชี วี ติ น้อย ยังสามารถ ศึกษาชีวติ ดัง้ เดิมได้

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

49


กรณีที่ 6. บทบาทเมืองท่าเรือ

เมืองท่าเรือควรมีองค์ประกอบดังนี้ 1. เมืองท่าเรือควรเป็นเมืองที่มีแม่น�้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี หรือติดทะเล และต้องมีการขนส่ง ทางอืน่ เชือ่ มโยงออกไปด้วย สภาพภูมปิ ระเทศก็ตอ้ งเอือ้ อ�ำนวยกับการพัฒนา จัดการระบบขนส่งต่าง ๆ ทัง้ ทางบก ทางน�ำ ้ ทางอากาศ 2. ควรเป็นเมืองทีม่ ศี กั ยภาพทางด้านเศรษฐกิจสูงและสามารถพัฒนาตามโลกทีเ่ ปลีย่ นไปได้ 3. ควรมีกจิ กรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการคมนาคมทางน�ำ้ ต่าง ๆ เช่น การขนส่ง การท่องเทีย่ วเป็นต้น หน้าทีข่ องเมืองท่าเรือ การคมนาคมทางน�ำ้ ต้องใช้เรือเป็นหลัก เมืองท่าเรือทีด่ นี นั้ จึงต้องมีลกั ษะทีเ่ อือ้ ต่อการใช้เรือ เมือง ทีใ่ ช้เรือได้ดนี นั้ ประกอบด้วยองค์ประกอบส�ำคัญหลายประการได้แก่ 1. ลักษณะภูมิประเทศ: ร่องน�้ำต้องลึกเพียงพอส�ำหรับเรือที่ใช้คมนาคมขนส่ง ภูมิประเทศ ไม่กดี ขวางการคมนาคม เช่น อยูก่ ลางภูเขายากทีจ่ ะติดต่อกับภายนอก หรือล�ำน�ำ้ มีเกาะแก่งน�ำ้ เชีย่ ว หรือสันดอนตลอดเส้นทาง กระแสน�ำ้ ไม่เชีย่ วจนเกินกว่าทีเ่ รือโดยสารขนาดเล็กจะเดินทางได้ 2. ลักษณะภูมอิ ากาศ: เมืองท่าเรือควรมีสภาพอากาศไม่รนุ แรงตลอดทัง้ ปี ไม่รอ้ นจัดหนาวจัด หรือมีพายุรุนแรง เพื่อความสะดวกสบายในการเดินทาง และโอกาสที่จะเกิดความเสียหายผิดพลาด มีนอ้ ยทีส่ ดุ 3. ต�ำแหน่งทีต่ งั้ ของเมือง: เมืองควรตัง้ อยูต่ ดิ กับแม่นำ�้ ทะเลทีใ่ ช้คมนาคมและอยูใ่ กล้เส้นทาง คมนาคมหลักทางบก หรือทางอากาศทีส่ ามารถรองรับการคมนาคมขนส่งจากแม่นำ�้ ไปสูเ่ มืองอืน่ ๆ หากมี 50 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


พรมแดนติดกับประเทศอืน่ ก็ควรเป็นบริเวณทีไ่ ม่มคี วามขัดแย้งจนท�ำให้เกิดปัญหาหรือท�ำให้การคมนาคม หยุดชะงักจนเกิดความเสียหาย 4. สิง่ อ�ำนวยความสะดวก: ในเมืองจะต้องมีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกให้เพียงพอต่อการรองรับ คนทีม่ าใช้เมือง ได้แก่ สาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น สาธารณูปโภคพืน้ ฐาน โรงแรมทีพ่ กั ร้านอาหาร ร้านค้า ตลาด อาคารทางศาสนา สถานทีร่ าชการ โกดังเก็บสินค้า ทางคมนาคมไปสูเ่ มืองส�ำคัญอืน่ ๆ ฯลฯ 5. การขยายตัวของเมือง เมืองสามารถทีจ่ ะรองรับการขยายตัวในอนาคต มีทรี่ าบทีเ่ พียงพอ มี การวางผังเมืองเผือ่ ไว้อย่างมีระเบียบไม่สบั สนวุน่ วาย

กรณีที่ 7. บทบาทเมืองท่าอากาศยาน

หน้าทีข่ องเมืองท่าอากาศยาน 1. เพือ่ รองรับการคมนาคมทางอากาศซึง่ เป็นการคมนาคมทีม่ สี ำ� คัญมากขึน้ ทุกวัน 2. เมืองเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและเศรษฐกิจ แจกไปยังเมืองต่าง ๆ 3. เมืองจะต้องตอบสนองความต้องการของผูใ้ ช้บริการทีห่ ลากหลาย 4. เป็นเมืองที่มีบทบาทการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาและพื้นที่โดยรอบจะเป็นเมืองที่ส�ำคัญ ในอนาคต 5. กิจกรรมหลักของเมืองจะต้องรองรับผู้คน สินค้า ที่ส่งผ่านเข้าออกตลอดเวลาและจ�ำนวน มหาศาล ส่งผลโดยตรงและอ้อมถึงด้านเศรษฐกิจ

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

51


องค์ประกอบเมืองท่าอากาศยาน 1. สาธารณูปโภคครบครันในทุกด้านได้แก่ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ระบบการ สื่อสารที่ทันสมัยเพื่อรองรับเทคโนโลยีในการขนส่งทีพ่ ัฒนาขึ้นในอนาคต สิ่งเหล่านี้ ต้องมีพร้อมและสามารถขยายจ�ำนวนได้อย่าง พอเพียง 2. การคมนาคมขนส่งทั้งไปสู่สนาม บินและออกจากสนามบินพอเพียง ทัง้ ทีร่ อบ ๆ เขตสนามบินเพือ่ กระจายคนออกจากสนามบิน และไปยังจังหวัดหรือภูมภิ าคต่าง ๆ อาจเชือ่ ม ทางคมนาคมไปสูป่ ระเทศเพือ่ นบ้านข้างเคียง เพือ่ สร้างความสัมพันธ์ทดี่ งี ามและสร้างความ เจริญให้กบั ประเทศ 3. เส้นทางคมนาคมต้องมีมากพอเพียง กับจ�ำนวนยานยนต์ทเี่ ข้า ออกจากสนามบินมี ทางเลือกการคมนาคมในหลายทาง 4. แหล่งรองรับนักท่องเที่ยว เช่นโรงแรม ศูนย์การค้า รวมไปถึงสถานที่ ท่องเที่ยวที่ต้องเพิ่มให้มีการรองรับผู้คนจ�ำนวนมาก และมีการสร้างเพิ่มเติมเพื่อ สนองความต้องการ 5. ความมัน่ คงด้านเศรษฐกิจการเงิน มีธนาคาร สถาบันการเงิน 6. สามารถขยายพืน้ ทีไ่ ด้ในกรณีทต่ี อ้ งการขยายสนามบิน 7. การบริหารปกครองทีด่ สี ง่ ผลดีตอ่ การพัฒนาเมืองคมนาคมทางอากาศ ข้อดี-ข้อเสียในการพัฒนาให้เป็นเมืองท่าอากาศยาน ข้อดี กระตุน้ ให้เกิดการพัฒนาในทุก ๆ ด้านในเมืองเช่นเทคโนโลยี การท่องเทีย่ ว ส่งผลให้จงั หวัดรอบ ๆ รวมทัง้ ภูมภิ าคมีการพัฒนาไปด้วย เมืองจะเป็นศูนย์กลางภูมภิ าค ได้อย่างสมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ และส่งเสริมเศรษฐกิจ ข้อเสีย ถ้าไม่มกี ารวางแผนอาจน�ำไปสูเ่ มืองทีไ่ ม่เป็นระเบียบ และเสือ่ มโทรม ปัญหาสิง่ แวดล้อม อาจส่งผลต่อความเป็นเมืองด้านวัฒนธรรม ถ้าขาดการวางแผนที่ ส่งเสริมในเรือ่ งนี้ ผูค้ นทีเ่ ข้ามามากเกินไปอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาทัง้ ด้าน สังคม สิง่ แวดล้อม ความหนาแน่นของเมือง 52

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


กรณีที่ 8. บทบาทเมืองทหารเรือ

องค์ประกอบของเมืองทหารเรือ ความเหมาะสมในการสร้างเป็นเมืองทหารเรือ คือ มีพนื้ ทีก่ ว้างฝัง่ ชายทะเลทีส่ ามารถใช้เป็นบริเวณ อาณาเขตในการสร้างฐานทัพเรือ และยังสามารถสร้างพืน้ ทีเ่ พือ่ เป็นสโมสรและสวัสดิการต่าง ๆ ทัง้ เพือ่ ข้าราชการทหารและครอบครัว เพือ่ สร้างขวัญและก�ำลังใจให้แก่กำ� ลังพล 1. ควรมีสภาพภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะสมกับการตัง้ ฐานทัพ เพือ่ ทีจ่ ะสามารถปฏิบตั ภิ ารกิจทางเรือ และปกป้องภัยคุกคามจากนอกประเทศ 2. มีที่ราบกว้างใหญ่ติดชายฝั่งทะเลและหุบเขาริมทะเลให้มีพื้นที่เพียงพอ ส�ำหรับการจัดตั้ง ฐานทัพเรือ 3. เป็นเมืองศูนย์กลางทางด้านคมนาคม ทัง้ ทางบก เรือ และอากาศเพือ่ ประโยชน์ทางด้านการ รบและการติดต่อและการคมนาคม 4. ควรเป็ น เมื อ งที่ เ ป็ น เมื อ งใหญ่ แ ละมี ค วามเจริ ญ ในระดั บ สู ง มี ร ะบบสาธารณู ป โภค สาธารณูปการทีเ่ พียบพร้อม มีอาคารและพืน้ ทีท่ เี่ ป็นอาคารต่าง ๆ เช่น ส�ำนักงาน ศูนย์การฝึก คลังเก็บ อาวุธและมีพนื้ ทีส่ ำ� หรับพักอาศัยและสันทนาการของทัง้ พลเรือนและทหาร 5. อยูไ่ ม่ไกลจากศูนย์กลางทางการทหารของส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

53


ข้อดี-ข้อเสียในการพัฒนาเมืองทหารเรือ ข้อดี เป็นเมืองติดทะเลทีม่ กี ารคมนาคมสะดวก ทัง้ ทางบกและทางเรือ ซึง่ เป็นเมืองท่าทีม่ ศี กั ยภาพ สูง ในการเชือ่ มโยงกับส่วนต่าง ๆ ได้สะดวก การบริหารจัดการบ้านเมืองทีด่ ี มีระบบราชการทีม่ ปี ระสิทธิภาพ และ เหมาะสมซึง่ มีระบบตรวจ สอบอย่างมีระบบทีช่ ดั เจน เป็นเมืองทีม่ คี วามสะดวกในสาธารณูปโภคและสาธารณูปการทีค่ รบครัน โครงสร้างเมืองทีเ่ ข้มแข็ง จากส่วนประกอบของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะฐานทัพเรือ ซึง่ เป็น ส่วนส�ำคัญของเมือง เกิดการค้า การลงทุน จากนักลงทุนทีป่ ระกอบการเกีย่ วกับทางทหารท�ำให้เมืองมีความเจริญ ก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ข้อเสีย หากเป็นที่ราบบริเวณชายฝั่งทะเลและหุบเขา ที่เหมาะส�ำหรับพัฒนาเป็นแหล่งท่อง เที่ยว และพักผ่อนชายทะเล มีหาดทรายที่สะอาดสวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำคัญ มีแหล่งท่อง เที่ยวกระจายอยู่ท่ัวเมือง จะไม่สะดวกถ้ามีหน่วยงานทหารเข้ามาปะปน เป็นการท�ำลายทัศนียภาพ ของเมือง พืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเลถูกใช้เป็นฐานทัพเรือ ท�ำให้ทรัพยากรทางธรรมชาติถกู ท�ำลาย ประชากรขาดรายได้ จากการท่องเทีย่ ว และบริการอืน่ อาจจะท�ำให้เป็นแหล่งเป้าหมายส�ำหรับการก่อการร้าย ซึง่ จะท�ำให้เป็นอันตรายต่อประชาชนได้ ซึง่ เป็นขีดจ�ำกัดในการพัฒนาระหว่างการท่องเทีย่ วและการทหาร

กรณีที่ 9. บทบาทเมืองทหารบก

สภาพภูมศิ าสตร์ทเี่ หมาะสมของการเป็นเมืองทหารบก 1. มีทรี่ าบกว้างใหญ่ทำ� ให้มพี น้ื ทีเ่ พียงพอส�ำหรับการตัง้ ค่ายของกองทัพ และพืน้ ทีท่ จี่ ะเลือกถ้า ถูกโจมตีจากข้าศึกจะไม่สร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนมากนัก 2. เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทัง้ ทางบก ทางเรือและทางอากาศของภูมภิ าคสะดวกในการติดต่อ และการคมนาคม สามารถเคลือ่ นย้ายทางถนน รถไฟ เครือ่ งบิน ไปยังจุดทีค่ าดว่าข้าศึกจะบุกได้อย่าง รวดเร็ว 3. เป็นเมืองทีเ่ ป็นเมืองใหญ่ และมีความเจริญในระดับสูง มีระบบสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ทีเ่ พียบพร้อม มีชยั ภูมทิ เี่ หมาะสมต่อการท�ำการรบและการวางแผนทางยุทธการ 4. อยูไ่ ม่ไกลจากศูนย์กลางทางการทหารของส่วนกลางกรุงเทพมหานคร 5. มีพนื้ ทีป่ า่ มาก มีภเู ขา แม่นำ �้ และทะเล ใช้ในการฝึกซ้อมทหารได้ 54

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


6. หากมีภมู ศิ าสตร์ลกั ษณะถูกแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนทีเ่ ป็นทีร่ าบติดชายทะเลกับส่วนทีเ่ ป็น พืน้ ทีบ่ นภูเขาสูง ซึง่ จะท�ำให้แบ่งพืน้ ทีเ่ ป็นส่วนบัญชาการ และส่วนฝึกรบได้งา่ ยขึน้ 7. หากมี พื้ น ที่ ม ากแต่ มี จ� ำ นวนประชากรน้ อ ย ท� ำ ให้ ส ร้ า งเมื อ งทหารซึ่ ง ต้ อ งมี ทั้ ง ที่ พั ก ศูนย์บญ ั ชาการ โรงฝึกซ้อม สนามกีฬา โรงเก็บอาวุธ และอืน่ ๆ ทีต่ อ้ งใช้พนื้ ทีเ่ ป็นจ�ำนวนมากได้สะดวก 8. หากมีบริเวณชายฝัง่ ไม่สวยงามเหมาะแก่การท่องเทีย่ วแต่เหมาะแก่การป้องกันการเข้าถึงจาก ข้าศึกภายนอกและมียอดเขาสูงสามารถใช้เป็นทีส่ งั เกตการณ์ได้ดอี กี ด้วย ข้อดีและข้อเสียในการพัฒนาเมืองทหารบก ข้อดี จะท�ำให้การรักษาความมัน่ คงและปกป้องประเทศเป็นไปอย่างทัว่ ถึงในภูมภิ าคนัน้ และ เป็นการเพิม่ ด่านในการป้องกันการเข้าถึงเมืองหลวงของข้าศึก ท�ำให้เมืองไม่เงียบเหงามาก หากลักษณะภูมปิ ระเทศของเมืองเองไม่ได้เหมาะกับการเป็นเมือง ท่องเทีย่ วหรือเมืองพาณิชยกรรม หากเส้นทางคมนาคมสายหลักไม่จำ� เป็นต้องผ่านเมืองนี้ จะท�ำให้สามารถแบ่งเขตพืน้ ทีข่ องทหาร ออกจากพืน้ ทีเ่ มืองได้ชดั เจนและจะลดความวุน่ วายลงได้ การทีเ่ มืองกลายเป็นเมืองทหารจะช่วยในการอนุรกั ษ์พนื้ ทีส่ เี ขียวได้มากขึน้ เพราะทีด่ นิ ส่วนใหญ่ จะอยูภ่ ายใต้การดูแลของทหาร ท�ำให้พนื้ ทีป่ า่ ไม้ยงั คงอยูแ่ ละคงลักษณะภูมปิ ระเทศเดิมได้มาก ข้อเสีย เมืองทหารบกจะท�ำให้มกี ารหมุนเวียนเงินเข้ามาน้อย เนือ่ งจากไม่คอ่ ยมีแหล่งท่องเทีย่ ว ทีด่ งึ ดูดความสนใจและเป็นเมืองทีไ่ ม่เหมาะแก่การลงทุนท�ำการค้า จะมีการกระจุกตัวของประชากรอยูบ่ ริเวณตัวเมืองเท่านัน้ และมีการขยายตัวของเมืองน้อย จะท�ำให้เมืองมีการพัฒนาด้าน อื่น ๆ ค่อนข้างน้อย เนื่องจาก การคมนาคมท�ำให้เข้าถึงเมือง และสถานที่ต่าง ๆ ได้ล�ำบาก และหากไม่ใช่เส้นทางผ่านเพื่อ มุง่ สูภ่ มู ภิ าคอืน่ ก็จะท�ำให้มคี นที่ จะผ่านมาแวะเทีย่ วและชมเมือง น้ อ ย จะมี เ พี ย งคนท้ อ งถิ่ น อยู ่ อาศัยหรือผูท้ มี่ าธุระเป็นส่วนมาก

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

55


ตอนที่ 10

การวางผังเมือง และศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง

การจัดวางรายละเอียดของศูนย์กระจายสินค้า

ศูนย์กระจายสินค้าเกีย่ วข้องกับระบบการแจกจ่ายและจ�ำหน่ายสินค้า ทีม่ ลี กั ษณะ เฉพาะทีแ่ ตกต่างจากกระบวนการผลิต จะเกีย่ วข้องสัมพันธ์อย่างมากกับการขนส่ง คือ มี การเคลือ่ นย้ายสินค้าจากโรงงานหรือแหล่งผลิตไปยังศูนย์กระจายสินค้า และจากนัน้ จะ มีการขนส่งสินค้าจากศูนย์กระจายสินค้าไปยังผูข้ ายหรือผูบ้ ริโภคโดยตรง ศูนย์กระจาย สินค้า มิได้เป็นสัดส่วนโดยตรงกับจ�ำนวนประชากรของชุมชนเมือง แต่วา่ จะขึน้ อยูก่ บั ขนาด บทบาทหน้าที่ และต�ำแหน่งทีต่ งั้ ของเมือง (เสน่ห์ ญาณสาร, 2553)

56

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ความสัมพันธ์ของศูนย์กระจายสินค้าและกิจการอื่น

1. กิจกรรมอุตสาหกรรม- อุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีวิธีการจัดการเกี่ยวกับการแจกจ่าย ผลิตภัณฑ์ของตนเอง และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทแี่ ตกต่างกัน 2. การค้าปลีก- จะท�ำหน้าทีเ่ ปิดการบรรจุขนาดใหญ่และแจกจ่ายสินค้าในรูปการบรรจุขนาดเล็ก ไปยังร้านค้าปลีกต่าง ๆ 3. กิจกรรมการเกษตร- จะท�ำหน้าทีร่ ว่ มกับร้านค้ารับซือ้ และรวบรวมสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น ผลไม้ พืชไร่ และพืชผักต่างเพือ่ ส่งไปจ�ำหน่ายยังนอกเขตเมือง เมืองอืน่ หรือนอกภูมภิ าค

ท�ำเลที่ตั้งของเขตศูนย์กระจายสินค้า

ศูนย์กระจายสินค้ามุง่ เน้นไปทีบ่ ทบาทหน้าทีใ่ นด้านการแจกจ่ายสินค้าและบริการต่าง ๆ ซึง่ พวก บริการต่าง ๆ ของศูนย์กระจายสินค้าส่งมักจะให้แก่ผใู้ ช้หรือผูบ้ ริโภคในรูปของการค้า บริษทั และสถาบัน ทีม่ ขี นาดแตกต่างกันไป มากกว่าทีจ่ ะให้บริการแก่บคุ คลเป็นราย มักจะมีลกั ษณะดังนี้ 1. ท�ำเลที่ตั้งที่ใกล้กับเขตอุตสาหกรรมเพราะท�ำหน้าที่กระจายสินค้าและบริการแก่ธุรกิจและ อุตสาหกรรมต่าง ๆ 2. ใกล้เส้นทางคมนาคมขนส่งเช่น บริเวณท่าเรือ สถานีรถไฟ ทางหลวงติดต่อระหว่างเมือง เป็นต้น 3. ใกล้กบั เขตทีอ่ ยูอ่ าศัยของผูม้ รี ายได้นอ้ ย เขตทีอ่ ยูอ่ าศัยของกรรมการ หรือเขตชุมชนแออัด 4. ใกล้กบั บริเวณด้านใดด้านหนึง่ ของเขตกลางเมือง CBD และมักจะอยูห่ า่ งจากเขตการค้าปลีก ในพืน้ ทีเ่ บือ้ งหลัง Hinterland ของเมือง การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

57


5. ใกล้กบั ทีท่ ำ� การศุลกากร สถานทีแ่ ลกเปลีย่ นซือ้ ขายสินค้า และสถาบันการเงินต่าง ๆ ทีใ่ ห้ บริการด้านการเงินแก่ผปู้ ระกอบกิจการค้าส่งและขนส่ง

ประเภทการค้าส่งกับศูนย์กระจายสินค้า

จ�ำแนกเขตการค้าส่งเหล่านีไ้ ด้เป็น 7 ประเภท คือ (Vance, 2010) 1. เขตการค้าส่งดัง้ เดิม (traditional wholesaling districts) เป็นเขตการค้าส่งทีต่ งั้ อยูใ่ กล้กบั ใจกลางเมือง ให้บริการสินค้าทัว่ ไปแก่เขตบริการทีอ่ ยูโ่ ดยรอบและมักตัง้ อยูใ่ กล้กบั ชุมทางหรือศูนย์กลาง การคมนาคมขนส่ง 2. เขตการค้าส่งทีเ่ ข้าถึงลูกค้าได้ (districts of customer access) เป็นเขตการค้าส่งทีเ่ กิดขึน้ ในระยะหลัง เป็นเขตขายสินค้าเฉพาะอย่าง หรือให้บริการแก่กจิ การเฉพาะอย่าง อาจพบในเขตใจกลาง เมืองหรือบริเวณรอบนอกเมือง 3. เขตการค้าส่งสินค้าประเภทอาหาร (produce districts) เป็นประเภทเขตการค้าส่งทีพ่ บมาก ทีส่ ดุ มักตัง้ อยูบ่ ริเวณขอบ ๆ ของใจกลางเมือง เพือ่ ให้บริการแก่ลกู ค้ารายย่อย เช่น ร้านขายของช�ำ ร้าน อาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน และร้านขายปลีก 4. เขตการค้าส่งเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ (product comparison districts) เป็นเขตการค้าส่งที่ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพือ่ ให้ลกู ค้าได้เปรียบเทียบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่นเขตการค้า ส่งเสือ้ ผ้า และ อัญมณี ซึง่ มักตัง้ อยูใ่ กล้ใจกลางเมือง และ ย่านการค้าส่งเฟอร์นเิ จอร์ซงึ่ มักพบในเขตรอบ นอกเมือง เป็นต้น 5. เขตการค้าส่งสินค้าทีส่ งั่ ทางโทรศัพท์ (will - call delivery districts) เป็นเขตการค้าส่งทีใ่ ห้ บริการแก่ผคู้ า้ ปลีกซึง่ เป็นนายทุนรายใหญ่ สินค้าทีส่ ง่ ได้แก่ ชิน้ ส่วนประกอบรถยนต์อปุ กรณ์การก่อสร้าง เป็นต้น นอกจากนั้นยังให้บริการแก่ ผูค้ า้ ปลีกทีข่ ายสินค้าประเภททีร่ สนิยม เปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น เทป แผ่นเสียง ฯลฯ 6. เขตการค้ า ส่ ง สิ น ค้ า เพื่ อ กิจการอุตสาหกรรม (manufacturing stocks) เป็นเขตการค้าส่งทีใ่ ห้บริการ แก่กิจการอุตสาหกรรมรายย่อย เช่น ขายส่งกระดาษให้แก่กจิ การพิมพ์ตา่ ง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ และสิง่ ตีพมิ พ์อนื่ ๆ 58 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


7. เขตการค้าส่งอุปกรณ์สำ� นักงาน (office wholesaling districts) เป็นเขตการค้าส่งทีใ่ ห้บริการ อุปกรณ์สำ� นักงานต่าง ๆ เช่น โต๊ะ ตู้ เก้าอี้ แฟ้ม ฯลฯ

การเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้า

การเปลีย่ นแปลงเทคโนโลยีการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิง่ การทวีความส�ำคัญของการขนส่งทาง ถนน จากความไม่สะดวกในการขนถ่ายสินค้า ทีจ่ อดรถบรรทุกหายาก และการจราจรทีต่ ดิ ขัดในเขตกลาง ใจกลางเมืองทีเ่ พิม่ สูงขึน้ และค่าเช่าที่ ราคาทีด่ นิ ภาษี ฯลฯ ประกอบกับธุรกิจการค้าส่งทีข่ ยายใหญ่โต ขึน้ และให้บริการกว้างขวางยิง่ ขึน้ ท�ำให้ประสบความยุง่ ยากในการประกอบกิจการในเขตใจกลางเมือง เป็นผลให้กจิ การศูนย์กระจายสินค้า เคลือ่ นย้ายท�ำเลทีต่ งั้ จากเขตใจกลางเมือง หรือบริเวณใกล้สถานี รถไฟ ออกไปสูท่ ำ� เลทีต่ งั้ ในเขตชานเมืองทีซ่ งึ่ การขนส่งทางถนนเข้าถึงได้สะดวกสบาย เมือ่ ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขยายตัว มีความต้องการในสินค้าจากแหล่งสินค้ามากขึน้ เมือ่ มีการปรับปรุงโครงข่ายเส้นทางเส้นทางคมนาคมขนส่งภายในเขตเมือง และมีการเคลือ่ นย้ายของธุรกิจ และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทีศ่ นู ย์กระจายสินค้าให้บริการอยูไ่ ปสูเ่ ขตชานเมือง จึงท�ำให้ศนู ย์กระจายสินค้า ขยายตัวและเคลือ่ นย้ายตามไปด้วย ในปัจจุบัน ศูนย์กระจายสินค้ารายใหญ่ซึ่งขนส่งของแก่ร้านอาหารลูกโซ่ คลังสินค้าของ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ร้านค้าส่งทีใ่ ห้บริการแก่ภตั ตาคาร ฯลฯ เพราะว่าต้องการพืน้ ทีก่ ว้างขวาง เพือ่ สร้างอาคารชัน้ เดียว สามารถเข้าถึงโดยรถบรรทุกได้สะดวก และ ในเขตรอบนอกเมืองมีอตั ราภาษีที่ ถูกกว่าในเขตใจกลางเมือง ดังนัน้ ในการขนย้ายสิง่ ของจากเขตรอบนอกเมืองเข้าสูเ่ ขตในเมือง สะดวกและ รวดเร็วกว่าจะขนย้ายจากเขตในเมืองสูเ่ ขตรอบนอก อย่างไรก็ตาม กิจการอยูใ่ นเขตใจกลางเมือง อาจยัง คงมีทำ� เลทีต่ งั้ ในเขตใจกลางเมืองอยู่

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

59


ที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) คลังสินค้า (Warehousing)

ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และคลังสินค้า (Warehousing) เกีย่ วข้องกับระบบการ แจกจ่ายและจ�ำหน่ายสินค้า ทีม่ ลี กั ษณะเฉพาะทีแ่ ตกต่างจากกระบวนการผลิต จะเกีย่ วข้องสัมพันธ์อย่าง มากกับการขนส่ง คือ มีการเคลือ่ นย้ายสินค้าจากโรงงานหรือแหล่งผลิตไปยังโกดังเก็บสินค้า การเคลือ่ น ย้ายสินค้าจะมีดว้ ยกัน 2 ขัน้ ตอน (เสน่ห์ ญาณสาร, 2543) คือ 1. การขนส่งเพือ่ เก็บรักษา (trucking) ซึง่ หมายถึงการเคลือ่ นย้ายของสินค้าเป็นจ�ำนวนมากหรือ สินค้าขนาดใหญ่จากแหล่งผลิตโรงงาน ไปเก็บรักษาไว้ในโกดังหรือคลังสินค้า เพือ่ จ�ำแนกประเภท เข้า หีบห่อ บรรจุกล่อง ฯลฯ 2. การขนส่งเคลือ่ นย้ายสินค้าเพือ่ จ�ำหน่าย (delivery) ซึง่ ขัน้ ตอนนีห้ มายถึงการเคลือ่ นย้ายสินค้า ในปริมาณหรือจ�ำนวนทีน่ อ้ ยกว่า จากคลังสินค้าไปให้แก่พอ่ ค้าขายส่ง ไปให้แก่ผคู้ า้ ปลีก หรือให้แก่ผบู้ ริโภค เป็นราย ๆ ท�ำเลทีต่ งั้ มักใกล้ชดิ กับเขตอุตสาหกรรมและชุมทางหรือเส้นทางคมนาคมขนส่งเช่น บริเวณท่าเรือ สถานีรถไฟ ทางหลวงติดต่อระหว่างเมือง เป็นต้น ซึง่ บริเวณดังกล่าวมักจะอยูใ่ กล้กบั เขตทีอ่ ยูอ่ าศัยของ ผูม้ รี ายได้นอ้ ย เขตทีอ่ ยูอ่ าศัยของกรรมการ หรือเขตชุมชนแออัด โดยปรกติแล้วจะตัง้ อยูใ่ กล้ชดิ กับบริเวณ ด้านใดด้านหนึง่ ของเขตกลางเมือง และมักจะอยูห่ า่ งจากเขตการค้าปลีกหลักของเมือง นอกจากนัน้ ท�ำเล ทีต่ งั้ ของศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และคลังสินค้า (Warehousing) ส่งมักจะอยูใ่ กล้ชดิ กับทีท่ ำ� การศุลกากร สถานทีแ่ ลกเปลีย่ นซือ้ ขายสินค้า และสถาบันการเงินต่าง ๆ ทีใ่ ห้บริการด้านการ เงินแก่ผปู้ ระกอบกิจการค้าส่งและขนส่ง ส่วนทีด่ นิ ทีใ่ ช้เพือ่ ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) และคลังสินค้า (Warehousing) มีลกั ษณะทีค่ อ่ นข้างกระจุกตัว มีการกระจัดกระจายน้อยเมือ่ เทียบกับ

60

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


ที่ดินประเภทอื่น ๆ มักจะพบในบริเวณด้านใดด้านหนึ่งของเมือง โดยเฉพาะในบริเวณที่ใกล้กับ เขตอุตสาหกรรมหนัก และ บริเวณศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง เช่น สถานีรถบรรทุก ทางหลวง สถานีรถไฟ ริมฝัง่ แม่นำ �้ ท่าเรือ และสนามบิน เป็นต้น

กลุ่มอุตสาหกรรมกับศูนย์กระจายสินค้า กลุม่ ทีต่ งั้ อุตสาหกรรม 1. กระจุกตัว กระจุกตัวอยูใ่ นเขต ใกล้ใจกลาง เมืองชัน้ ใน ใกล้กบั เขต ธุรกิจการค้ากลางและ เมือง เขตขายส่งใกล้ใจกลาง เมือง

เหตุผล

ตลาดส่วนใหญ่อยูใ่ นกลาง เมือง ราคาทีด่ นิ และค่าเช่า สูง ค่าขนส่งถูกกว่า ใกล้กบั แหล่งงาน ความเป็นเมือง วัตถุดบิ ไม่มขี นาดใหญ่ สามารถติดต่อโดยตรงกับ ธุรกิจ หรือ อุตสาหกรรมอืน่ 2. กระจุกตัวอยู่ ห่างจากใจกลางเมือง ทีต่ งั้ ติดต่อกับตลาดและ รอบนอก ออกมา หรืออยูใ่ นเขต แหล่งวัตถุดบิ ทีอ่ ยูน่ อก เมืองด้านอก ตามเส้น เมืองใกล้ถนนสายส�ำคัญ ทางหลวง ทางรถไฟ แม่นำ �้ ทางคมนาคมขนส่ง คลอง สถานีขนส่ง สถานี สายหลัก รถไฟ หรือ ท่าเรือ เพราะว่า ค่าขนส่งจะถูกทีส่ ดุ อุตสาหกรรมวัตถุดบิ ขนาด ไม่มรี ปู แบบการก 3. กระจัด เล็กประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ กระจายทัว่ ไป ระจายตัวทีช่ ดั เจน กระจัดกระจายทัว่ เมือง ขนาดใหญ่ ใกล้กบั ตัวแทน ในเขตเมือง ชานเมืองตอนในและ การค้าปลีกทัว่ เขตเมือง ต้องการพืน้ ทีเ่ ก็บวัตถุดบิ ตอนกลาง และผลิตภัณฑ์ ทีด่ นิ ราคา ถูก

ประเภท อุตสาหกรรมเบา และ อุตสาหกรรมขนาดเล็ก เช่น อุตสาหกรรมเสือ้ ผ้า ส�ำเร็จรูป เจียระไนและ ประกอบอัญมณี เครือ่ ง ส�ำอาง เป็นต้น อุตสาหกรรมทีซ่ อื้ องค์ ประกอบการผลิต และ ผลิตภัณฑ์ให้แก่บคุ คลที่ อยูภ่ ายนอกเมือง เช่น โรง กลัน่ น�ำ้ มัน โรงงานผลิต ปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมประกอบ เครือ่ งจักร โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

61


4. กระจุก ตัวบริเวณ ชานเมือง

เป็นอุตสาหกรรมทีพ่ บ บริเวณขอบ ๆ ของเมือง ใกล้เส้นทางขนส่ง สายส�ำคัญ

(เสน่ห์ ญาณสาร, 2553)

ต้องการพืน้ ทีท่ กี่ ว้างขวาง เพือ่ ผลิตสินค้าทีข่ ายส่งไป ยังภูมภิ าคอืน่ จึงต้องการ ท�ำเลทีต่ งั้ ในเขตรอบนอก ทีม่ ที ด่ี นิ กว้างขวางราคา ไม่แพง

อุตสาหกรรมประกอบ รถยนต์ ชิน้ ส่วนรถยนต์ อุปกรณ์เกษตรกร เฟอร์นเิ จอร์ แปรรูป ผลผลิตการเกษตร เซรามิคส์ อิเล็คทรอนิคส์

เกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่ตั้งของศูนย์กระจายสินค้า

พืน้ ทีท่ เี่ หมาะสมในการจัดตัง้ ศูนย์กระจายสินค้า จ�ำเป็นต้องเป็นบริเวณทีม่ รี ะบบสาธารณูปโภค พืน้ ฐานโดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งของระบบการคมนาคม ซึง่ ต้องครอบคลุมรูปแบบการคมนาคมขนส่ง ในหลาย ๆ ระบบ (Multi modal system) ทัง้ นี้ เพราะว่าศูนย์กระจายสินค้าจ�ำเป็นต้องเกือ้ หนุน และอ�ำนวยความสะดวกในการเปลี่ยน Mode ของการขนส่งตามความต้องการของลูกค้า เช่น อ�ำนวยความสะดวกในการขนถ่ายสินค้าจากรถ บรรทุกมาเป็นระบบการขนส่งทางน�ำ ้ เพือ่ ช่วยงด ต้นทุนในการด�ำเนินการ หรือ เปลี่ยนการขนส่ง จาก Mode อืน่ มาเป็นการขนส่งทางถนนเพือ่ ให้ เกิดความรวดเร็วในการขนส่งเป็นต้น (กมลชนก, 2559) ดังนัน้ พืน้ ทีท่ จี่ ะใช้ในการจัดตัง้ ศูนย์กระจายสินค้า ต้องเป็นพืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพในการทีจ่ ะพัฒนา ระบบสาธารณูปโภคมูลฐานเพือ่ รองรับการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ รูปแบบการขนส่งในประเทศไทยทีค่ าด ว่าจะมีความจ�ำเป็นในการด�ำเนินการของศูนย์กระจายสินค้าในหลักการทัว่ ไปจะประกอบไปด้วย 1. การขนส่งทางน�ำ้ ปัจจัยทีต่ อ้ งพิจารณาในการเลือกพืน้ ทีท่ เี่ กีย่ วเนือ่ งกับการขนส่งทางน�ำ้ ได้แก่ ขนาดและความ กว้างของร่องน�ำ้ ต้องเหมาะสมกับขนาดของเรือขนส่ง ทีต่ อ้ งการอุปสรรคทางกายภาพในการใช้รอ่ งน�ำ ้ เช่น สะพาน ท่าเทียบเรือ และการใช้รอ่ งน�ำ้ ขององค์กรอืน่ ๆ 62

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


- พื้นที่ต้องมีบริเวณชายน�้ำที่ยาวพอสมควรที่จะรองรับการก่อสร้างท่าเทียบเรือที่มีขนาดที่ เหมาะสมกับการด�ำเนินการรวมถึงการขยายตัวในอนาคต - แผนพัฒนาจังหวัดและประเทศทีเ่ กีย่ วข้องกับการใช้ลำ� น�ำ้ - การก่อสร้างท่าเทียบเรือและการด�ำเนินกิจการขนส่งทางเรือ ต้องไม่รบกวนกิจกรรมหรือชุมชน ทีต่ งั้ อยูโ่ ดยรอบ ทัง้ ทางด้านสิง่ แวดล้อม ชีวติ ความเป็นอยู่ ทัศนียภาพและอืน่ ๆ

2. ระบบถนนทางรถบรรทุก การขนส่งทางบกโดยเฉพาะอย่างยิง่ การขนส่งโดยระบบถนนถือได้วา่ เป็นระบบ การขนส่งทีม่ คี วามส�ำคัญมากระบบหนึง่ เป็นระบบการขนส่งทีส่ ามารถท�ำได้รวดเร็วและ มีประสิทธิภาพ ปัจจัยทีต่ อ้ งพิจารณาได้แก่ - พืน้ ทีต่ ง้ั ควรจะอยูใ่ กล้เส้นทางถนนสายหลักเพือ่ เป็นจุดผ่านของสินค้าจาก จังหวัดอืน่ - ต้องตัง้ อยูใ่ นท�ำเลทีเ่ หมาะสมกับการเข้าถึงของแหล่งสินค้าภายในจังหวัดเอง - ความแข็งแรงของระบบถนนในปัจจุบนั ต้องเพียงพอทีจ่ ะรองรับปริมาณจราจร ทีม่ ากขึน้ - การด�ำเนินกิจกรรมขนส่งทางถนนต้องไม่รบกวนกิจกรรมหรือชุมชนทีต่ งั้ อยู่ โดยรอบ ทัง้ ทางด้านสิง่ แวดล้อม ชีวติ ความเป็นอยูแ่ ละอืน่ ๆ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

63


3. การขนส่งทางระบบราง การขนส่งทางระบบรางถือได้วา่ เป็นระบบการขนส่งทางบกทีม่ คี า่ ใช้จา่ ยต�ำ ่ อย่างไรก็ตามเนือ่ งจาก ระบบรางในประเทศไทยในปัจจุบนั ยังขาดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ จึงคาดว่าสัดส่วนของการ ขนส่งด้วยระบบรางทีจ่ ะเข้ามาเกีย่ วข้องกับศูนย์กระจายสินค้า จะมีคอ่ นข้างน้อย อย่างไรก็ตามควรเลือก พืน้ ทีท่ ไี่ ม่อยูห่ า่ งไกลจากระบบรางทีม่ อี ยูใ่ นปัจจุบนั ก็จะสามารถน�ำระบบรางเข้ามาช่วยเสริมศักยภาพได้ ในอนาคต (กมลชนก, 2559)

ปัจจัยการเลือกท�ำเลที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้า

1. ปัจจัยทางกายภาพ 1.1 ระยะห่างจากกรุงเทพมหานคร ปัจจัยเรือ่ งระยะทางทีห่ า่ งจากกรุงเทพมหานคร นีเ้ ป็นปัจจัยทางกายภาพปัจจัยหนึง่ ทีม่ คี วาม ส�ำคัญต่อการหาพืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพเหมาะสมอย่างยิง่ เนือ่ งจากระยะทางทีห่ า่ งจากกรุงเทพมหานครนัน้ ถ้ามากหรือน้อยเกินไปย่อม ไม่เป็นผลดีต่อศักยภาพ ของพืน้ ที่ หากใกล้เกินไป ก็จะไม่เป็นการกระจาย ความเจริญไปยังพื้นที่อื่น และยั ง ต้ อ งพึ ง พิ ง พื้ น ที่ เดิมหรือเป็นเมืองบริวาร อยู่มาก ท้ายที่สุดแล้วจะ ท�ำให้การตัง้ ศูนย์กระจาย สิ น ค้ า ไม่ ป ระสบความ ส�ำเร็จ เพราะระยะทาง อยู่ใกล้เกินไปประชาชน สามารถเดินทางไปท�ำงาน ได้โดยไม่จ�ำเป็นต้องย้าย ถิน่ ฐาน ซึง่ ท�ำให้ศนู ย์กระจายสินค้าจะไม่มกี จิ กรรมอะไรเลยนอกจากตอนกลางวันทีม่ ผี คู้ นเข้ามาท�ำงาน เท่านัน้ แต่ถา้ พืน้ ทีท่ มี่ ศี กั ยภาพอยูไ่ กลเกินไปก็จะขาดความเชือ่ มโยงกับศูนย์กระจายสินค้าเดิมและอาจ อยูใ่ กล้ชายแดนมากเกินไป ระยะทีม่ คี วามเหมาะทีส่ ดุ ควรอยูห่ า่ งจากกรุงเทพมหานครประมาณ 100200 กิโลเมตร 64

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


1.2 ภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะต่อการตัง้ ศูนย์กระจายสินค้า ลักษณะภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะสมต่อการตัง้ ศูนย์กระจายสินค้าไม่ควรตัง้ อยูบ่ ริเวณทีม่ พี นื้ ทีส่ งู ชัน เพราะล�ำบากและไม่สะดวกต่อการเดินทาง ต้องลงทุนสูง ไม่ควรตัง้ อยูใ่ นพืน้ ทีร่ าบลุม่ เพราะจะท�ำให้ เกิดปัญหาน�ำ้ ท่วมในฤดูนำ�้ หลาก หรือลักษณะภูมปิ ระเทศทีต่ ดิ กับทะเลหรือมีพนื้ ทีต่ ดิ ทะเลมากเกินไป ก็ไม่เหมาะสม 1.3 การเข้าถึงทางถนน การเข้าถึงทางบกแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัยใหญ่ ๆ นัน่ คือ การเข้าถึงโดยทางถนน และการเข้าถึง โดยระบบราง ซึง่ ถนนเป็นการขนส่งทีส่ ะดวกสบายทีส่ ดุ สามารถขนส่งได้แบบ door to door ซึง่ สะดวก กว่าการขนส่งทางอืน่ ทุกทาง ในภูมภิ าคทีม่ ถี นนสายหลัก ๆ หลายสายทีเ่ ชือ่ มจากกรุงเทพมหานครและ ภาคอื่นรวมทั้งมีเส้นทางที่สามารถเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ การเข้าถึงทางถนนนั้นนับว่าเป็น การเข้าถึงทีส่ ะดวกทีส่ ดุ แม้วา่ จะขนส่งได้นอ้ ยกว่าการขนส่งชนิดอืน่ ๆ ก็ตาม ดังนัน้ ปัจจัยด้านการเข้าถึง โดยทางถนนจึงเป็นปัจจัยทีส่ ำ� คัญต้องน�ำมาพิจารณา ซึง่ ศักยภาพจากเส้นทางคมนาคมทางถนนโดยต้อง มีการแบ่งแยกและจัดล�ำดับของประเภทของถนนด้วย 1.4 การเข้าถึงด้วยระบบราง ส่วนการเข้าถึงโดยระบบรางนัน้ ก็มคี วามส�ำคัญ เพราะสามารถขนส่งได้ในจ�ำนวนมาก ๆ ต่อครัง้ และสามารถก�ำหนดระยะเวลาในการเดินทางได้ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากไม่ต้องประสบปัญหา การจราจรติดขัดและไม่มอี ปุ สรรคในการเดินทาง

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

65


1.5 การเข้าถึงทางอากาศ การทีจ่ ะท�ำให้พนื้ ทีเ่ ป็นศูนย์กลางของกิจกรรมขนาดใหญ่ จ�ำเป็นอย่างยิ่งทีต่ อ้ งมีการเข้าถึงที่ สะดวกสบาย ไม่เฉพาะแค่ทางบกและทางน�้ำเท่านั้นแต่การเข้าถึงทางอากาศก็เป็นปัจจัยที่ส�ำคัญ เนือ่ งจากมีความปลอดภัย สะดวกรวดเร็วกว่าการคมนาคมทางอืน่ และสามารถขนส่งได้เป็นจ�ำนวนมาก 1.6 การจ�ำหน่ายกระแสไฟฟ้า การจ�ำหน่ายไฟฟ้าเป็นปัจจัยชีว้ ดั อีกปัจจัยหนึง่ ในด้านความพร้อมของพืน้ ที่ เพราะการทีโ่ ครงการ ศูนย์กระจายสินค้าจะไปตัง้ พืน้ ทีใ่ ดย่อมต้องประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ซึง่ ต้องมีการใช้พลังงานไฟฟ้ามาก ดังนัน้ นอกจากพืน้ ทีน่ นั้ ต้องมีการจ�ำหน่ายไฟฟ้าทีเ่ พียงพอต่อการใช้ในปัจจุบนั แล้ว ต้องสามารถรองรับ ความต้องการใช้ทจี่ ะเพิม่ มากขึน้ ในอนาคตได้ดว้ ย ดังนัน้ หากพืน้ ทีใ่ ดมีความสามารถในการจ�ำหน่าย กระแสไฟฟ้าได้มาก ย่อมแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพืน้ ทีท่ จี่ ะรองรับโครงการได้มากขึน้

1.7 การผลิตน�ำ้ ประปา น�ำ้ เป็นสิง่ จ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวติ และประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ นอกจากจะใช้ในการ อุปโภคบริโภคแล้ว ยังมีความส�ำคัญต่อกาผลิตทางการเกษตร และกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม ดังนัน้ โครงการศูนย์กระจายสินค้าจะไปตัง้ ยังทีแ่ ห่งใด พืน้ ทีบ่ ริเวณนัน้ ต้องมีทรัพยากรน�ำ้ เพียงพอ หรือ มีการจัดหาไว้เพือ่ ป้องกันในยามทีน่ ำ�้ ขาดแคลน บริเวณทีม่ กี ารใช้ปริมาณน�ำ้ ประปาจะแสดงให้เห็นถึง ความหนาแน่นของประชากร ความหนาแน่นของการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลต่อการพัฒนาและ การขยายตัวของศูนย์กระจายสินค้าด้วย 66

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


2. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 2.1 อุตสาหกรรมเกษตร อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอืน่ ๆ ซึง่ แสดงถึงโครงสร้างการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม ของจังหวัดที่มีพื้นฐานมาจากภาคเกษตรกรรม อีกทั้งยังเป็นอาชีพหลักต่าง ๆ ของประชากรในพื้นที่ นอกจากนีจ้ ะต้องพิจารณาจ�ำนวนโรงงานต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมขนส่งและ อุตสาหกรรมโลหะ เป็นต้น 2.2 ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ เป็นธนาคารที่ท�ำหน้าที่รับฝากและดูแลรับฝากจากประชาชน ท�ำหน้าที่ จ่ายเงินทัง้ เงินสด เช็ค หรือตราสารอืน่ ๆ เพือ่ ให้การช�ำระเงินสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย นอกจากนี้ ยังให้กยู้ มื เพือ่ การลงทุนแก่หน่วยงานราชการและประชาชน ทัง้ นีเ้ พือ่ การขยายตัวของเศรษฐกิจในพืน้ ที่ หรือยกระดับการบริโภคและการผลิตในระบบเศรษฐกิจ ซึง่ ต้องมีความสะดวกในการช�ำระเงินค่าสินค้า หรือความสามารถหาเงินเพือ่ ด�ำเนินธุรกิจ เป็นการสะท้อนถึงความคล่องตัวของเงินทีห่ มุนเวียนอยูใ่ นระบบ 2.3 ธนาคารเพือ่ การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นตัวแปรที่แสดงถึงสภาวะด้านการเงินของ ประชาชนที่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตร โดยธนาคารจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อส่งเสริม การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

67


อาชีพการเกษตร การด�ำเนินงานของการเกษตร กลุม่ เกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริม ให้สามารถประกอบอาชีพอย่างอืน่ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ งในการเกษตร 2.4 ธนาคารออมสิน ธนาคารออมสินเป็นตัวแปรหนึง่ ทีส่ ามารถชีว้ ดั การออมเงินของประชาชน ถือเป็นธนาคารของรัฐ ทีม่ บี ทบาทส�ำคัญในฐานะทีเ่ ป็นธนาคารของปวงชนหรือประชาชน ตลอดจนมุง่ หมายให้บริการสวัสดิการ ทางสังคม เพือ่ ความเป็นปึกแผ่น เข็มแข็ง มัน่ คง และเอือ้ ประโยชน์ตอ่ ชุมชนและสังคมในทุก ๆ ด้าน นอกจากนีย้ งั เป็นแหล่งเงินออมให้แก่ภาครัฐในพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศรวมกับการเป็น แหล่งเงินทุนแก่ภาคเอกชนในการด�ำเนินธุรกิจอันจะก่อประโยชน์ให้แก่ประเทศ 2.5 ตลาดกลางสินค้าเกษตร ตลาดกลางสินค้าเกษตรเป็นศูนย์รวมผลิตผลทางการเกษตรและซือ้ ขายสินค้าเกษตร ทีม่ ผี ซู้ อื้ ขาย จ�ำนวนมากเข้ามาท�ำการแข่งขันการซือ้ ขายสินค้ากันโดยตรง ในรูปการขายส่งด้วยวิธกี ารตกลงราคา อย่างเปิดเผยหรือประมูลราคา อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของกิจกรรมและการให้บริการแก่ประชาชน ทัง้ ระยะใกล้และระยะไกล ซึง่ ตลาดกลางสินค้าเกษตรตามเกณฑ์มาตรฐานของ Planning Design Criteria ‘De Chiara Koppelman ได้กำ� หนดรัศมีการให้บริการในระยะ 3,200 เมตร 2.6 ร้านค้าส่ง ร้านค้าส่งเป็นร้านค้าทีด่ ำ� เนินกิจการขายสินค้าทีไ่ ม่มกี ารเปลีย่ นรูป หรือดัดแปลงสินค้า ให้แก่ผขู้ าย ปลีก ผูใ้ ช้งานในงานอุตสาหกรรม ผูใ้ ช้งานในงานพาณิชยกรรม ผูใ้ ช้งานในงานสถาบัน ผูใ้ ช้ในงานวิชาชีพ หรือผูข้ ายส่งรายอืน่ ๆ ประกอบด้วยประเภทกิจการ ดังนี้ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเกีย่ วกับสิง่ พิมพ์และ เครือ่ งเขียน สินค้าเกษตร สินค้าเกีย่ วกับ วัสดุกอ่ สร้างและสินค้าเกีย่ วกับอุปกรณ์ ไฟฟ้าและสิง่ อ�ำนวยความสะดวก 2.7 ร้านค้าปลีก ร้านค้าปลีกเป็นร้านค้าที่ด�ำเนิน กิจการขายสินค้าให้ผบู้ ริโภคคนสุดท้าย ซึ่งซื้อไปเพื่อบริโภคของตนเองหรือของ บุ ค คลในครอบครั ว ไม่ ใ ช่ ซื้ อ ไปเพื่ อ 68 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


จ�ำหน่ายต่อหรือเพือ่ หาก�ำไรต่อ ร้านค้าปลีกเป็นเสมือนตัวแทนของผูผ้ ลิตในการขายสินค้าให้กบั ลูกค้า ชนิดของร้านค้าปลีกทีม่ อี ยูม่ กั จะเป็นไปตามความต้องการสินค้าของประชาชนทีอ่ ยูอ่ าศัยภายในพืน้ ที่ ประกอบด้วยประเภทกิจการดังนี้ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าเกีย่ วกับทีอ่ ยูอ่ าศัย สินค้าเกีย่ วกับการแต่ง กาย สินค้าเกีย่ วกับยานพาหนะและจักรกล สินค้าเกีย่ วกับสิง่ พิมพ์และเครือ่ งเขียน และสินค้าเกษตร 2.8 โรงแรม โรงแรมถือเป็นตัวแปรส�ำคัญทางด้าน การบริการ การท่องเที่ยวและศักยภาพในการรองรับ นักท่องเที่ยวที่เข้ามาภายในจังหวัด นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงระดับมาตรฐานการให้บริการโดย การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยได้แบ่งประเภทโรงแรมออกเป็น 5 ระดับคือ - โรงแรมชัน้ เยีย่ ม Deluxe - โรงแรมชัน้ หนึง่ First Class - โรงแรมชัน้ สอง Second Class - โรงแรมชัน้ สาม Third Class - โรงแรมชัน้ ประหยัด Economy Class

3. ตัวแปรด้านสังคม 3.1 ความหนาแน่นของประชากร ประชากรถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ทสี่ ำ� คัญมากทรัพยากรหนึง่ นอกจากจะเป็นผูบ้ ริโภคแล้ว ส่วน หนึง่ ของทรัพยากรมนุษย์ยงั ด�ำเนินกิจกรรมทีเ่ กีย่ วกับการผลิตอีกด้วย พืน้ ทีท่ มี่ ปี ระชากรตัง้ ถิน่ ฐานหนาแน่น แสดงให้เห็นว่าเป็นบริเวณทีม่ กี ารประกอบกิจกรรม และการใช้พนื้ ทีท่ แี่ ตกต่างกันอันเอือ้ อ�ำนวยต่อการ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

69


ด�ำรงชีวติ และสภาพความเป็นอยูม่ รี ะดับความเป็น เป็นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นการศึกษาภาค เมืองสูง อีกทัง้ ยังแสดงถึงจ�ำนวนแรงงานทีม่ คี วาม บังคับส�ำหรับนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 13-15 ปี ส�ำคัญต่อการพัฒนาพืน้ ที่ และมัธยมศึกษาตอนปลาย อายุระหว่าง 16-18 ปี มาใช้ประกอบการพิจารณา โดยรัศมีการให้บริการ ตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการในโรงเรียน 3.2 จ�ำนวนคนย้ายเข้า พืน้ ทีท่ มี่ จี ำ� นวนคนย้ายเข้าสูงย่อมแสดงให้ ระดับนีค้ อื 2,000 เมตร ว่าบริเวณนัน้ มีแรงดึงดูดด้านเศรษฐกิจ และสังคม ถือเป็นแหล่งงาน แหล่งรายได้รวมถึงการได้รับ โอกาสทางด้านการศึกษา นอกจากนี้ยังมีบริการ ด้านสิ่งอ�ำนวยความสะดวก เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน มีความเพียงพอต่อความต้องการซึง่ จะส่งผล ต่อการยกระดับคุณภาพชีวติ ของประชาชนให้ดขี นึ้ 3.3 โรงเรียนประถมศึกษา การศึ ก ษาระดั บ ประถมเป็ น การศึ ก ษา ภาคบังคับ โรงเรียนจึงต้องมีเพียงพอกับจ�ำนวน นักเรียนวัยนี้ในชุมชน โรงเรียนประถมศึกษาควร อยู่ในละแวกบ้านของย่านที่พักอาศัย เพราะผู้ใช้ บริการคือ เด็กทีร่ า่ งกายเติบโตกว่าเด็กอนุบาลแต่ ยังต้องการการดูแลจากผูใ้ หญ่อยู่ ดังนี้ รัศมีการให้ บริการทีก่ ำ� หนดโดยกระทรวงศึกษาธิการจึงอยูใ่ น รัศมี 1,000 เมตร 3.4 โรงเรียนมัธยมศึกษา การศึกษาระดับมัธยมนับว่าเป็นสิง่ จ�ำเป็น ต่อการพัฒนาจังหวัด เนือ่ งจากความเจริญทัง้ ทาง ด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ล้วน แล้วแต่บคุ ลากรทีม่ คี วามรูค้ วามสามารถ รวมทักษะ ต่าง ๆ ทีน่ ำ� มาช่วยให้เกิดการพัฒนา การพิจารณา ด้านการศึกษาได้น�ำโรงเรียนมัธยมศึกษาซึ่งแบ่ง 70 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021

3.5 วิทยาลัยอาชีพ การศึกษาในระดับวิทยาลัยอาชีพ เป็นการ ศึกษาที่มีความส�ำคัญในด้านแรงงานที่มีความ รู้ ทักษะเฉพาะทางเพือ่ ทีจ่ ะได้เกิดความช�ำนาญ ในการท�ำงาน จากเกณฑ์การก�ำหนดเขตบริการ การศึกษาระดับวิทยาลัยอาชีพของกระทรวง ศึกษาธิการที่สามารถรับบริการโดยทั่วถึงอยู่ใน รัศมีให้บริการ 2,000 เมตร 3.6 โรงพยาบาลทัว่ ไป การบริ ก ารด้ า นสาธารณสุ ข ถื อ เป็ น สิง่ จ�ำเป็นพืน้ ฐานทีม่ ผี ลต่อคุณภาพชีวติ ประชากร ในพืน้ ทีอ่ ยูใ่ นระดับดีจะส่งผลให้ประสิทธิภาพใน การท�ำงานสูงขึน้ สามารถประกอบกิจการต่าง ๆ


ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ โดยโรงพยาบาลทั่วไปที่มีขนาดเตียง 100-500 เตียง ถือเป็น โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทมี่ รี ศั มีการให้บริการในระยะ 20-50 กิโลเมตร ก�ำหนดโดยกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนี้ยังเป็นโรงพยาบาลที่มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร เครื่องมือทางการแพทย์ เพียงพอ ต่อความต้องการของประชากรทีเ่ ข้ารับบริการ 3.7 โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลชุมชน เป็นโรงพยาบาลทีม่ ขี นาดเตียง 30-60 เตียง สามารถให้บริการแก่ประชาชน ภายในอ�ำเภอได้อย่างทัว่ ถึง อีกทัง้ ยังมีความพร้อมทัง้ ด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และต้องอยู่ ในบริเวณทีม่ กี ารเข้าถึงสะดวก โดยมีรศั มีการให้บริการทีก่ ำ� หนดโดยกระทรวงสาธารณสุข เป็นระยะ 15 กิโลเมตร

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

71


ตอนที่ 11

แนวคิดการจัดผังเมืองศูนย์กลาง การคมนาคมขนส่ง

ปัญหาในเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง

จากปัญหาต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งท�ำให้มคี วามจ�ำเป็นทีจ่ ะต้อง ปรับปรุงระบบ โครงสร้างของเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและเมือง เป้าหมายของเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง อาจจะเปลีย่ นไปจากการแก้ปญ ั หาเฉพาะการขนส่ง สินค้า กลายเป็นการปรับปรุงศักยภาพของการขนส่งสินค้าควบคูไ่ ปกับการปรับปรุงคุณภาพชีวติ ของ ชาวเมือง ศักยภาพของการพัฒนาเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง

72

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


เมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งนัน้ จะมีระบบการบริหารการจัดการทีย่ งุ่ ยากและซับซ้อน แต่ จะคุม้ ค่ามากเมือ่ เมืองเหล่านีไ้ ด้พฒ ั นาส�ำเร็จสมบูรณ์ เพราะความมีศกั ยภาพของเมืองท่านัน้ สูงมาก ศักยภาพโครงสร้างของการพัฒนาเมืองศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง 1) ข้อจ�ำกัดของทีต่ งั้ 2) ขอ้ จ�ำกัดของการจัดองค์กร

องค์ประกอบของการบริหารเมืองศูนย์คมนาคมขนส่ง

ประกอบด้วย 3 แผนคือ 1. แผนกลยุทธ์ เป็นแผนที่ก�ำหนดเป้าหมายและวั ต ถุ ป ระสงค์ ข อง การจัดตั้งศูนย์คมนาคมขนส่ง และความสัมพันธ์ระหว่างศูนย์ คมนาคมขนส่ ง กั บ พื้ น ที่ เ มื อ ง ปริ ม าณสิ น ค้ า ผ่ า นทางหรื อ ผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ที่ จ ะก� ำ หนด กุ ศ โลบาย ในการบริ ห ารการ จัดการเมืองศูนย์คมนาคมขนส่ง ในระดับต่าง ๆ ระยะสัน้ หรือยาว ตามนโยบายรัฐบาล

2. แผนการบริหารการจัดการ เป็นแผนทีเ่ กีย่ วข้องโดยตรงกับสภาเมืองหรือเทศบาลเมืองศูนย์คมนาคมขนส่ง ซึง่ จะมีลกั ษณะ เฉพาะของท้องถิน่ โดยประสมประสานแผนและนโยบายระดับรัฐบาล กับความต้องการภายในเมืองศูนย์ คมนาคมขนส่ง 3. แผนการบริการ เป็นแผนการบริการสาธารณะหรือการให้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ทีใ่ ห้ตอ่ กิจกรรมศูนย์คมนาคมขนส่งและต่อประชาชน จะมีหลักกว้าง ๆ พอทีจ่ ะน�ำไปพิจารณาโดยสังเขป ดังนี้ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 73 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


ตอนที่ 12

ความสัมพันธ์ระหว่างการจราจรขนส่ง และโครงสร้างเมือง 1. ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายภูมิภาคและโครงสร้างเมือง

ถนนในระดับภูมภิ าคของเมืองศูนย์คมนาคมขนส่งนัน้ จะประกอบด้วยการจราจรหนัก เช่น รถ บรรทุกต่าง ๆ และการจราจรทีใ่ ช้ความรวดเร็ว เช่น การขับรถระหว่างจังหวัดนีเ้ ป็นเป้าหมายของการ คมนาคมภูมิภาค อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าเขตเมืองแล้วความปลอดภัยและการลดระดับความเร็ว รวม ทัง้ ให้โอกาสแก่การใช้จกั รยานหรือคนเดินเท้าด้วย คือโครงสร้างภายในเมือง เครือข่ายภูมภิ าคนัน้ มีทงั้ การจราจรของรถและทางรถไฟ โดยเฉพาะศูนย์คมนาคมขนส่งและอุตสาหกรรมนั้นสามารถถือเป็น เครือข่ายภูมภิ าค ทีม่ กั จะก่อให้เกิดความเจริญเติบโตเกาะติดไปกับเส้นทางภูมภิ าคเหล่านี้ จุดทีค่ วรจะ พิจารณาก็คอื ศูนย์คมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม และตัวเมือง จะมีการขยายตัวและ เจริญเติบโตตาม 74

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


สภาวะของการพัฒนาเมือง ส่งผลให้ระบบถนนรถบรรทุกหนักเครือข่ายทางรถไฟและถนนภายในเมือง ย่อมขยายตัวและอาจเกิดผลกระทบต่อกัน ในประเทศพัฒนาแล้วจะพยายามสร้างถนนพิเศษส�ำหรับ การขนส่งสินค้าแยกออกจากการจราจรปรกติของเมืองสูภ่ มู ภิ าค

2. ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของเมืองกับถนนทางเท้าของเมือง

ในเมืองใหม่ศนู ย์คมนาคมขนส่งทีม่ ขี นาดเล็ก ๆ ระบบทัง้ สองนีจ้ ะเป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ ใน ระบบโครงสร้างนัน้ ถนนจะเป็นสิง่ ทีท่ ำ� ให้การเดินทางคมนาคมสะดวก ในขณะทีเ่ มือ่ พิจารณาในระบบ คุณภาพชีวติ ถนนตรอกซอกซอย ก็จะมีความเกีย่ วข้องกับชีวติ ประจ�ำวันของชาวเมืองทีพ่ วกเขาอาจจะ เดินเล่นชมสินค้าหน้าร้านหรือบนทางเท้าก็ตาม นัง่ ชมวิวบนเก้าอีส้ าธารณะ ดูปา้ ยและแสงสีโฆษณา เป็น ความสุขและคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ โดยเมืองพัฒนาแล้วจะเป็นผูม้ อบให้ประชาชน เมืองศูนย์คมนาคมขนส่ง ซึง่ พิจารณาได้วา่ เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติทำ� ก�ำไรมหาศาลต่อประเทศ หากสิง่ ทีส่ ะท้อนกลับมาสู่ ชาวเมืองคือ ควันพิษและมลภาวะของท่าเรือ อุตสาหกรรม รถบรรทุก ชุมชนแออัดและอันตรายต่าง ๆ นั้ น ในระยะยาวประชาชนก็ จ ะเกิ ด การต่อต้านศูนย์คมนาคมขนส่งและ อุตสาหกรรม ท�ำให้ขีดความสามารถ ในการแข่งขันกับนานาชาติลดลงจน ขาดศักยภาพในตลาดโลก การแยกกัน โดยเด็ดขาดของถนนสายรถบรรทุกรถ ต่างจังหวัดกับถนนส�ำหรับประชาชน ในเมื อ งอาจจะท� ำ ล� ำ บากในด้ า น กายภาพ ที่ จ ะห้ า มรถประเภทใด ประเภทหนึง่ เข้ามาใช้ถนนแต่ละประเภท แต่การก�ำหนดข้อบังคับทีเ่ หมาะสมจะท�ำให้รถแต่ละประเภท เลือกเส้นทาง สัญจรโดยอัตโนมัตเิ ช่น ทางหลวงทีผ่ า่ นเข้าเมืองมีสญ ั ญาณไฟจราจรมากและเปิดไฟแดง ให้คนข้ามถนนนานมาก ถนนแคบ การห้ามเข้าเป็นระยะ ๆ ก็จะท�ำให้รถต่างจังหวัดและรถบรรทุกที่ ไม่จำ� เป็นต้องผ่านจะเลือกเส้นทางอืน่ ในทางตรงกันข้ามถนนสายทางหลวงทีร่ ถแล่นด้วยความเร็วสูง หรือถนนทีม่ แี ต่รถบรรทุกก็จะเป็นทีห่ ลีกเลีย่ งของรถบ้าน ทีไ่ ปจ่ายตลาด จักรยาน คนเดินเท้า เป็นต้น

3. ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของเมืองศูนย์คมนาคมขนส่ง

ศูนย์คมนาคมขนส่งระหว่างประเทศที่ประสบความส�ำเร็จนั้นจะมีปัจจัยต่าง ๆ คือ มีสภาพ ภูมศิ าสตร์ทเี่ หมาะสมมีการสนับสนุนจากนโยบายการค้า ของประเทศและมีความเป็นอิสระและคล่องตัว การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 75 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


ในการบริหารและการจัดการ การพัฒนาศูนย์คมนาคมขนส่งนัน้ เป็นโครงการระดับชาติมใิ ช่ระดับเมือง หรือภูมภิ าค โดยจะต้องโฆษณาประสิทธิภาพของความเร็ว คุณภาพ และการประหยัด ปริมาณของ สินค้าผ่านศูนย์คมนาคมขนส่งนั้นมีผลกระทบต่อการพัฒนาของเมืองและจ�ำนวนประชากรโดยตรง ที่จะเปลี่ยนแปลงและก�ำหนดบทบาทในองค์ประกอบต่าง ๆ ของเมือง การบริหารและการจัดการใน ศูนย์คมนาคมขนส่งนั้น ต้องการผู้ที่มีความรู้ความช�ำนาญเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่งเป็นพิเศษ รวมทัง้ พนักงานทัง้ ด้านกายภาพและการจัดการ ควรจะมีโรงเรียนเทคนิคเฉพาะด้านนีเ้ ปิดขึน้ ในเมืองเพือ่ สนับสนุน และเพิม่ พูนความรูต้ อ่ พนักงานศูนย์คมนาคมขนส่ง

4. ความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดิน

1. คุณภาพของระบบถนนในโครงสร้างของเมือง 2. การประสมประสานระหว่างโครงสร้างของเมืองกับการคมนาคมอืน่ ๆ การประสมประสานกับทางรถไฟ การประสมประสานกับรถไฟฟ้า การประสมประสานกับบริการรถเมล์ 3. การจัดแบ่งการจราจร ลั ก ษณะของการแบ่ ง การจราจรใน ระบบโครงสร้างเมืองสามารถสรุปพอสังเขป ในลักษณะการแบ่งการจราจรในเมืองศูนย์ คมนาคมขนส่งออกเป็น 5 สาย ดังนี้ 1. เส้นทางส่วนภูมิภาค ควรจะต้อง ผ่านศูนย์คมนาคมขนส่ง ย่านอุตสาหกรรม ย่านการค้าบางประการที่ต้องการการติดต่อ ทางภูมภิ าค แต่ไม่ควรผ่านใจกลางเมือง จะเป็น ลักษณะ By-pass 2. เส้นทางรถไฟ ควรผ่านเฉพาะ ศูนย์คมนาคมขนส่ง ย่านอุตสาหกรรม และการค้าบางประเภท ทีต่ อ้ งการการขนส่งทางรถไฟ ควรมีจดุ สถานีกลางเมืองให้นอ้ ยทีส่ ดุ แต่เส้นทาง รถไฟนี้ หากปรับปรุงบาง ส่วนเป็นรถไฟฟ้าภายในตัวเมือง ก็จะอยูใ่ นกรณีลกั ษณะของเส้นทางรถไฟฟ้าดังกล่าวมาแล้ว 3. เส้นทางขอบเขตของเมือง เป็นกรณีทเี่ ตรียมไว้สำ� หรับเป็น By-Pass ขัน้ ทีส่ อง หรือขัน้ ทีส่ าม แล้วแต่กรณี เป็นการก�ำหนดแนวขอบเขตของเมืองในอนาคต ไม่ควรจะขยายเกินกว่าเส้นทางนี้ ควรจะ มีการพิจารณาเชือ่ มโยงกับถนนสายภูมภิ าคด้วย 76 การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


4. เส้นทางรถบรรทุก จะผ่านเฉพาะศูนย์คมนาคมขนส่งและอุตสาหกรรม โดยก�ำหนดให้ มีเส้นทาง ทีส่ ะดวกทีส่ ดุ เชือ่ มโยงกับถนนภูมภิ าค ในขณะเดียวกันก็กำ� หนดกฎเกณฑ์ทเี่ ข้มงวดมิให้เข้าสูช่ มุ ชนเมือง และย่านการค้าโดยเด็ดขาด 5. เส้นทางถนนภายในเมือง เป็นถนนทีเ่ หมาะสมส�ำหรับการจราจรในชีวติ ประจ�ำวันของชาวเมือง มีระบบการปิดกัน้ และคิดความเร็วของยวดยานพาหนะ ในขณะทีส่ ง่ เสริมให้มกี จิ กรรมพัฒนาคุณภาพชีวติ ทางจักรยาน ทางเท้า ปลูกต้นไม้ตา่ ง ๆ เส้นทางเหล่านีจ้ ะต้องเป็นเครือข่ายเชือ่ มโยงกันภายในเมืองทีจ่ ะ สามารถติดต่อกันได้สะดวก การกระจายสินค้า ประเด็นส�ำคัญทีป่ ระชาชนต้องการมากทีส่ ดุ คือ ก�ำหนดแยกทางรถบรรทุก ให้เด็ดขาดออกไปจากชีวติ ประจ�ำวัน และสนับสนุนให้ใช้รถไฟมากขึน้ ในขณะเดียวกัน ควรมีการเร่งส่ง สินค้าออกไปให้เร็วทีส่ ดุ และส่วนหนึง่ ของสินค้าจากท่าเรือ ให้ยกตูค้ อนเทนเนอร์ไปเปิดทีแ่ หล่งระบาย สินค้าทีอ่ น่ื (Inland Cargo-Distribution, ICD)

อุบตั เิ หตุและความคับคัง่ การจราจร ในสาเหตุสำ� คัญของอุบตั เิ หตุ การจราจรติดขัด มลภาวะต่าง ๆ จะเกิดจากการปะปนกันของรถบรรทุก รถต่างจังหวัดและรถเล็กส่วนบุคคล อาจจะต้องใช้มาตรการ ที่เด็ดขาดในการห้ามรถบรรทุกให้มาปะปนกับรถภายในเมือง ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้มีทาง รถบรรทุกทีส่ ะดวกและรวดเร็วสูแ่ หล่งอุตสาหกรรม และศูนย์คมนาคมขนส่งโดยตรง ความร่วมมือระหว่าง หน่วยงานระดับชาติ ภูมภิ าคและท้องถิน่ จะสามารถแก้ปญ ั หาได้ในระดับหนึง่ การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

77


แนวความคิดการออกแบบผังแบบผังแม่บทเมืองศูนย์กลางคมนาคมขนส่งแบ่งเป็น 5 ส่วน 1. รูปแบบโครงสร้างของเมือง เป็นแบบทีม่ ศี นู ย์กลางคมนาคมขนส่งเป็นศูนย์กลางของเมืองขยายตัวเป็นชัน้ ๆ โดยมีกจิ กรรม คมนาคมขนส่งต่าง ๆ เป็นหลัก เช่น กิจการขนส่งทางเรือ โกดังเก็บสินค้าย่านอุตสาหกรรมย่าน พานิชยกรรม ย่านพักอาศัย ฯลฯ 2. รูปแบบการใช้ทดี่ นิ ควรมีการจัดกลุม่ การใช้ทดี่ นิ ตามลักษณะเฉพาะของกิจกรรมนัน้ ๆ โดยมีความเชือ่ มโยงและ ประสานกับกลุม่ อืน่ ๆ ด้วยเปลีย่ น Agriculture Zone เป็น Open Space หรือ Green Belt ทีช่ ดั เจน รวมทัง้ เพิม่ Social Service Zone การแบ่งรายละเอียดของ Zone ต่าง ๆ จะมีแนวความคิดโดยรวมดังนี้

1. เขตเมืองเก่า จะอนุรกั ษ์สถานทีส่ ำ� คัญ และปรับปรุงสภาพความเป็นอยูเ่ ดิมให้ตอบสนองความ ต้องการของประชาชน จะมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพือ่ แทน Green Belt 2. เขตพาณิชยกรรม จากมาตรการเดิมทีม่ ี 2 ลักษณะ คือ National and Local Business ส่วน ในแผนใหม่จะยกระดับเป็น 3 ระดับคือ International, National and Local Commercial โดยมีแนวทาง ทีจ่ ะให้ International อยูใ่ กล้ศนู ย์กลางคมนาคมขนส่งและอุตสาหกรรม National จะอยูใ่ กล้ศนู ย์กลาง เมือง ส่วน Local จะกระจายไปทัว่ บริเวณโดยมีมาตรการควบคุม 3. เขตอุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมปลอดมลภาวะจึงจะสามารถอยูใ่ นบริเวณใกล้ศนู ย์กลาง คมนาคมขนส่งได้และส่วนใหญ่จะอยูใ่ นบริเวณอุตสาหกรรมปัจจุบนั ส่วนอุตสาหกรรมใหม่จะวางในแนว ชานเมืองโดยมีการเชือ่ มโยงการคมนาคมขนส่ง 78

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


4. เขตพักอาศัยส่วนใหญ่จะอยู่ในเมืองศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง ซึ่งมีการจัดเตรียมระบบ คมนาคมการบริการสังคม และกิจกรรมสาธารณะต่าง ๆ เขตผูม้ รี ายได้นอ้ ยจะอยูใ่ กล้เมืองและแหล่งงาน อุตสาหกรรม ส่วนเขตผูม้ รี ายได้ปานกลางและสูงจะอยูแ่ ถบชานเมืองใกล้กบั Green Belt 5. เขตบริการสาธารณสุข จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ โรงพยาบาล ศูนย์สาธารณสุข และ คลินกิ ที่ อยูใ่ กล้ทพี่ กั อาศัยและมีการเชือ่ มโยงกันในการบริการ 6. เขตบริการการศึกษา ส�ำหรับการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยจะก�ำหนดต�ำแหน่ง ในบริเวณกลางผังแม่บททีส่ ะดวกในการให้บริการและมีสภาพแวดล้อมทีด่ ี ส่วนโรงเรียนจะกระจายเป็น กลุม่ ทัว่ พืน้ ที่ 7. เขตสถาบันศาสนา พิจารณาบริเวณวัดวาอารามเดิม และเตรียมทีใ่ หม่ทมี่ สี ภาพแวดล้อมสงบ สวยงาม และใกล้กบั ทีพ่ กั อาศัยเพือ่ กิจกรรมทางศาสนาและเป็นสถานทีพ่ กั ผ่อนทางอ้อมด้วย 8. เขตสวนสาธารณะ ออกแบบให้มคี วามต่อเนือ่ งและมีพนื้ ทีเ่ พียงพอ โดยกระจายไปทัว่ เมือง เพือ่ ให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเดินไปสวนสาธารณะในระยะ 1 กิโลเมตร หรือ 30 นาที 9. เขตราชการ จะอยูใ่ นต�ำแหน่งทีส่ ะดวกในการติดต่อจากเอกชนและประชาชนทัว่ ไป และมี ทัศนวิสยั ทีส่ ง่างามเป็นศักดิศ์ รีแก่เมือง 3. รูปแบบการคมนาคม 1. ระบบถนน ในแนวความคิดนี้จะแยกประเภทการจราจร โดยแยกเส้นทางรถบรรทุกจาก รถยนต์ขนาดเล็ก และการจราจรระดับภาคจากการจราจรภายในเมือง โดยมีการก�ำหนดถนน By Pass ในแต่ละชั้น 2. ระบบทางรถไฟ สนับสนุนให้มกี าร ใช้รถไฟในการขนส่งสินค้าในระยะไกลและ ผ่านแดนไปจีนตอนใต้และอินโดจีนมากขึ้น ส่วนการขนส่งผู้โดยสารในลักษณะ Mass Transit จะพิจารณาโครงการ High Speed Train ของรัฐบาล โดยเสนอแนะให้ผา่ นบริเวณ ส�ำคัญคือ - เมืองเก่าทีอ่ ำ� เภอเมือง - อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม - โรงแรมและศูนย์การค้าใหม่ - ท่าเรือและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง การวางผังเมืองโลจิสติกส์ 79 Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021


- ทีพ่ กั อาศัย - สถานการศึกษาและสาธารณสุข - สถานทีท่ ำ� การของราชการ 3. ระบบรถประจ�ำทาง เสนอสายรถประจ�ำทางระดับจังหวัดโดยผ่านทัง้ 7 บริเวณเช่นเดียวกับ Mass Transit ส่วนรถสายภูมภิ าค (บขส) ควรจะมีสถานีรถขนส่งของเมืองให้จอดทีเ่ ดียวไม่จอดทุกแห่ง ตามถนนเหมือนปัจจุบนั และแยกการจราจรให้ผา่ นชุมชนน้อยทีส่ ดุ

4. ศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง ควรปรับปรุงกลยุทธ์และมาตรการในระดับชาติ โดยมิได้มขี อบเขตเฉพาะภายในประเทศแต่เป็น ประตูสง่ สินค้าและผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมต่าง ๆ สูภ่ มู ภิ าค หรือนโยบายการค้าน�ำการเมืองคือ ลด ข้อจ�ำกัดทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศต่าง ๆ ทีม่ คี วามแตกต่างกับประเทศไทย มุง่ แต่ การค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะ ซึง่ อาจหมายถึงการติดต่อทางการค้าและการขนส่งสินค้า ในระดับ ล่างหรือการขายตรงระหว่าง ท่าเรือต่อท่าเรือ, โรงงานต่อโรงงาน หรือ เทศบาลเมืองต่อเทศบาลเมือง กับประเทศจีน รัสเซีย อินโดจีนและเอเชีย ส่วนการพัฒนาทางกายภาพ เช่นการสร้างหรือใช้งานในถนน และทางรถไฟระหว่างประเทศเพือ่ การขนส่งสินค้าจากท่าเรือ ควรเสนอเงือ่ นไขพิเศษ Special Option แก่หน่วยงานราชการหรือเอกชนทีเ่ ป็นแนวหน้าในการบุกเบิกการด�ำเนินการก่อนเพือ่ ประกันอัตราเสีย่ ง และชดเชยการแก้ปญ ั หาต่าง ๆ ทีจ่ ะเกิดขึน้ มากมายในระยะแรกเริม่ ท่าเรือโดยสารเป็นอีกส่วนหนึง่ ทีค่ วร 80

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


จะมีการส่งเสริมเพราะมีนกั ท่องเทีย่ วทัง้ ภายในและประเทศใกล้เคียง เข้ามาเทีย่ วและพักผ่อนเล่นกอล์ฟ เป็นจ�ำนวนมากใกล้กบั บริเวณทีจ่ ะเตรียมเป็นย่านโรงแรมและศูนย์การค้าในอนาคต 5. ท่าอากาศยาน ควรจะเชือ่ มการเดินทางและขนส่งท่าอากาศยานระหว่างประเทศกับท่าอากาศยานท้องถิน่ กับ ท่าเรือและแหล่งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ด้วยระบบการคมนาคมทีท่ นั สมัย 6. ระบบการบริการสังคม - การบริการสาธารณสุข ควรจะรวมกลุม่ หน่วยสาธารณสุข เพือ่ ส่งเสริมการประสานงานและ การบริการโดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ โรงพยาบาลขนาดใหญ่, ศูนย์สาธารณสุข และคลีนกิ รวมทัง้ เพิม่ การ พิจารณา สถานรับเลีย้ งเด็กและผูส้ งู อายุดว้ ย หน่วยงานทีเ่ ป็นของรัฐจะอยูใ่ นบริเวณศูนย์กลางคมนาคม ขนส่งและอุตสาหกรรม ส่วนทีเ่ ป็นของเอกชนจะอยูใ่ นเมืองหรือในชุมชนมากกว่า - การศึกษา ควรจะรวมกลุม่ โรงเรียนเช่นเดียวกัน เป็นระบบ 2 โรงเรียน หรือ Twin Schools เพือ่ สนับสนุนและใช้สอยอุปกรณ์และสถานทีร่ ว่ มกัน โดยเชือ่ มกันด้วยการคมนาคมและโทรคมนาคม ในด้าน การศึกษาชัน้ สูงจะก�ำหนดบริเวณส�ำหรับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในอนาคต 7. ระบบศูนย์กลางเมือง เมืองศูนย์กลางคมนาคมขนส่งจะแบ่งเป็นส่วน ๆ โดยมียา่ นพาณิชยกรรมและเขตพักอาศัยเป็น หลัก กิจกรรมพาณิชยกรรมต่าง ๆ จะเป็นกิจกรรมผสมกระจายไปทัว่ ชุมชนรวมทัง้ จะมีเขตราชการ สถาบัน ศาสนาและสวนสาธารณะกระจายไปทัว่ ชุมชน

การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

81


บรรณานุกรม กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางบก, การควบคุมการขนส่งทางถนนของประเทศไทย, กรุงเทพ ,2559 กระทรวงคมนาคม กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์, ระบบการขนส่งสินค้าของไทย, 2560 กมลชนก สุทธิวาทนฤพุฒ,ิ กลยุทธ์บริหารธุรกิจการขนส่งทางเรือ สถาบันพาณิชยนาวี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2559 กัญจน์ นาคามดี ,เศรษฐกิจการขนส่ง ,กรุงเทพฯ :ส�ำนักพิมพ์ ดร.ศรีสง่า , 2557 จ�ำรูญ ตัง้ ไพศาลกิจ , แนวทางแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานคร เมืองปริมณฑลและเมือง ศูนย์กลางความเจริญในภูมภิ าค ,กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่ง ประเทศไทย, 2553 ประชด ไกรเนตร, การขนส่งผูโ้ ดยสาร Passenger Transportation ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง, 2551 ประจักษ์ ศกุนตะลักษณ์, เศรษฐศาสตร์การขนส่ง , ส�ำนักพิมพ์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 ประเสริฐ วิทยารัฐ, ภูมศิ าสตร์เศรษฐกิจ, มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง, 2559 ทองฟู ชินะโชติ, การจัดการขนส่ง , คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2557 รังสรรค์ แขวงโสภา, การขนส่งทัว่ ไป (General transportation),กรุงเทพฯ : บรรณาคม, 2553 วินจิ วีรยางกูร , การจัดการผลิต Production management, คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2553 วันชัย ริมวิทยากร, เศรษฐศาสตร์การขนส่ง, บริษทั ประชาชน จ�ำกัด, 2555 เสน่ห์ ญาณสาร. “ภูมศิ าสตร์เศรษฐกิจ” ภาควิขาภูมศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553 Alan Black Urban mass transportation planning, New York: McGraw Hill, 2015 Ackerman, W.V. “Testing Central Place Concepts in Western Argentina.” Professional Geographer, 2018 Baskin, C.W. Central Place in Southern Germany. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall, 2016 David A. Hensher , Urban transport economics ,Cambridge : Cambridge Univ. Press, 2017 Dudley F. Pegrum, Transportation: economics and public policy, Homewood, Ill.: Irwin, 2013 Edwin S. Mills & Bruce W. Hamilton, Urban Economics, (Scott, Foresman and Company London., 2015

82

การวางผังเมืองโลจิสติกส์

Urban New Normal Logistics Edition Planning 2021


Gwillam ,K.M. and Mackie , P.J. (1975) ,Economics and Transport policy ,London , Allen & Unwin Harrison, A.J, The Economics of Transport Appraisal, London, Croom Helm, 2014. John F. McDonald, Fundamentals of urban economics, New Jersey: Prentice-Hall, 1997 Losch A., The Economics of Location (New Haven: Yale University Press,1954) Paul T. McElhiney, Transportation for marketing and business students, Totowa, N.J.: Littlefield, Adams, 2015 Proudfoot, M.J. “City Retail Structure.” Economic Geography (January 2017) Robert C. Lieb, Transportation: the domestic system, Va.: Reston, 2018 Transport planning in the UK, USA and Europe, London: E & FN Spon, 2014 Wheeler J.O.,et. al., Economic Geography (New York : Wiley ,2018) Wilfred Owen, The metropolitan transportation problem, Washington, D.C.: Brookings Institution, 2014 Vance, J.E. Jr. The Merchant’s World: The Geography of Wholesaling. Englewood Cliffs, N.J: Prentice-Hall, 2010

ส�ำนักพิมพ์ ศิลา พับลิชชิง่ ทีมงานผูจ้ ดั ท�ำ นายกฤษดา จันทร์จำ� รัสแสง : ทีป่ รึกษา นายชนายุส ตินารักษ์ : นักเขียน / กองบรรณาธิการ น.ส. อันธิกา สมศิลา : นักเขียน / กองบรรณาธิการ นายสรวิชญ์ หอมสุวรรณ, นายประพันธ์ ทีฆวนิช : ช่างภาพ นายวีรพงษ์ นครไทย : กราฟฟิคดีไซน์ ประสานงาน / ติดต่อ อันธิกา สมศิลา โทร. 081 357 0895 e-mail : silapub@gmail.com, consmag.pr@gmail.com การวางผังเมืองโลจิสติกส์ Urban New Normal Logistics EditionPlanning 2021

83


New Normal Edition

2021

พบวิ​ิถีชีวิตใหม่ เมื่อเข้าใจโลจิสติกส์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.