Minimal

Page 1



“ Minimalism ”

is not a lack of something. It’s simply the perfect amount of something. - nicholas burroughs


- 01 -

What is Minimalism? ลัทธิจุลนิยม

หรือ ลัทธิมินิมัลลิสม์ (Minimalism) คือ ขบวนการทางศิลปะการออกแบบ และความงาม โดยเฉพาะด้านทัศน ศิลป์และคีตศิลป์ ที่เริ่มราวหลังสงครามโลกครั้งที่สองในศิลปะตะวัน ตกโดยเฉพาะทัศนศิลป์ของสหรัฐอเมริกา ราวปลายคริสต์ทศศตวรรษ 1960 และ ต้นคริสต์ทศตวรรษ 1970 ซึ่งมีผลต่องานศิลปะหลายแขนง รวมทั้งจิตรกรรม, ประติมากรรม และคีตกรรม งานลัทธิจุลนิยมที่ ว่าด้วย “ความน้อย” เกิดจากการลดตัดทอน และเป็นหัวใจสำ�คัญ อย่างหนึ่งของศิลปะสมัยใหม่ เกิดขึ้นในช่วงสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 โดย มีต้นกำ�เนิดมาจากศิลปะแบบ Modernism ซึ่งเป็นศิลปะที่ไม่เพียงต่อ ต้านสไตล์การออกแบบยุคเก่าที่เน้นความหรูหราฟู่ฟ่า อย่างลัทธิการ แสดงออกทางนามธรรม (Abstract Expressionism) เท่านั้น แต่ยัง ต่อต้านการเมืองและสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำ�สูงด้วย นักออกแบบ แนว Modernist จึงใช้การออกแบบที่ตัดทอนสิ่งที่เกินจริงทิ้ง เป็น วิถีทางการแสดงออกที่จะทำ�ลายชนชั้นทางสังคมด้วย พวกเขารู้สึก ว่าวัตถุสิ่งของควรจะเป็นอย่างที่เป็นจริง นอกจากนี้ลัทธิจุลนิยม ยังเป็นสะพานเชื่อมไปยังลัทธิสมัยใหม่สมัยหลัง (Postmodernism)


ลักษณะของ Minimallism คือ

เรียบงายบริสุทธิ์ ”

“ งานที่เนนความ

ผลงานในแนวลดทอน ที่เรียกว่า “Minimal Art” ซึ่งยอมรับในทฤษฎีรูปทรง (Theory of Form)ที่เชื่อ มั่นว่าศิลปะคือรูปทรงนัยสำาคัญ ศิลปะที่ดีที่สุดคือศิลปะ ที่ลดทอนจนกลายเป็นรูปทรงพื้นฐานที่มีความเรียบง่าย ที่สุด และยกย่องว่า “แนวคิดสำาคัญกว่าการเล่าเรื่อง” หนึ่ ง ในจิ ต รกรคนแรกที่ จ ะเชื่ อ มโยงผลงาน ทางศิลปะกับงานสไตร์ Minimal คือ Frank Stella จากการวาดภาพสีดำาเรียบง่ายเป็นวงกลมที่เเบ่งเเยกอ อกจากกัน โดยให้อารมณ์ในแบบที่เป็น Minimal ใน ปี (1958-1960) ในจิตรกรรมของฝรั่งเศสตั้งแต่คริสต์ ศตวรรษที่ 19 จิตรกรหัวก้าวหน้าทำาการลดทอนราย ละเอียดต่างๆ ของแบบที่เขียนลง แทนที่การเขียน รายละเอียดด้วยฝีแปรงและสีสัน จนกระทั่งต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 20 จิตรกรลดทอนรายละเอียดต่างๆ ของ รูปทรงลงจนกลายเป็นเหลี่ยมเรขาคณิต แล้วก็ลดทอน ลงเรื่อยๆ จนกลายเป็นศิลปะนามธรรม (Abstract Art) ดังผลงานของจอร์โจ โมรันดิ (Giorgio Morandi) เป็นศิลปินระดับมาสเตอร์ของศตวรรษที่ 20

The Marriage of Reason and Squalor, II (Frank Stella) 1959. Enamel on canvas, 7’ 6 3/4” x 11’ 3/4” (230.5 x 337.2 cm)

Natura Morta (Still Life) by Giorgio Morandi 1956 (oil on canvas)

Giorgio Morandi โด่งดังไม่แพ้ Paul Ce’zanne และ JeanBaptiste-Sime’on Chardin โดยเฉพาะภาพ Still Life และ Landscape ผลงานเป็นภาพซึ่งมีรายละเอียดที่ เหมือนจริงน้อยลงทุกที ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดในภาพ สีสัน หรือการจัดวางองค์ประกอบของภาพ แทนที่ จะเป็นภาพเหมือนสิ่งของหรือผลไม้อย่างที่เคยเห็นกัน กลายเป็นภาพที่แสดงรูปทรงโครงร่างในสีสันอันซีดจาง อันเป็นสไตล์ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร สิ่งที่โดด เด่นมากในภาพสติลไลฟ์ของเขาก็คือการเล่นกับโทนสี รู ป ท ร ง แ ล ะ อ ง ค์ ป ร ะ ก อ บ ที่ เ ป ลี่ ย น ไ ป เ รื่ อ ย ๆ ทำ า ใ ห้ ภ า พ ข อ ง เ ข า ดู น่ า ส น ใ จ ม า ก ไ ป ก ว่ า ก า ร เ ป็ น แ ค่ ข ว ด แ ล ะ แ จ กั น ใ บ เ ดิ ม ๆ


Australia (1951) David Smith (1906–1965)

ในปี 1965 บาร์บารา โรส (Barbara Rose) นักวิจารณ์ศิลปะชาวอเมริกัน คือ คนแรกที่ อ ธิ บ ายการทำ � งานของงานแนวนี้ ว่ า “น้อยที่สุด” (minimum, มินิมัม) ครั้นปลาย คริสต์ทศวรรษ 1960 คำ�ว่ามินิมอลลิสม์ ก็ ถู ก ใช้ อ ย่ า งแพร่ ห ลายกั น ทั่ ว ไปในวงการศิ ล ปะ หากสืบค้นหาอิทธิพลทางรูปแบบศิลปะ ที่กลุ่มนี้ได้รับ จะพบว่าศิลปินยุคหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 อย่าง บาร์เน็ท นิวแมน (Barnett Newman, 1905-1970) แอ็ดไรน์ฮาร์ท (Ad Reinhardt, 1913-1967) และ เดวิด สมิธ (David Smith, 1906-1965) เป็นผู้บุกเบิกศิลปะนามธรรม แบบลดทอนรูปทรงจนเหลือแต่น้อยๆ สองคน แรกเป็นจิตรกร ส่วนคนหลังเป็นประติมากร มินิมอลลิสม์ได้อาศัยหนทางที่พวกแนวหน้าเหล่า นั้ น บุ ก เบิ ก เป็ น ทางเดิ น เข้ า หาความน้ อ ยในศิ ล ปะ

ศิลปินในกลุ่ม มินิมอลลิสม์ มักจะทำ�งาน ประติมากรรมมากกว่างานจิตรกรรม การนำ� เสนอผลงานโดยมากจะไม่มีแท่นฐานสำ�หรับวาง ประติมากรรม ผลงานจะดูไม่มีความเป็นงาน ฝีมือในลักษณะ “งานทำ�มือ” แต่จะดูเป็นผลผลิต ของเครื่องจักรอุตสาหกรรมเสียมากกว่า เรียบ ง่ายและประณีต แต่ในความเป็นจริง ในความ เรียบง่ายเหมือนกับว่าจะไม่มีรูปแบบเฉพาะ ศิลปิน ในกลุ่ ม นี้ ต่ า งมี รู ป แบบที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะ ตัวไม่ซ้ำ�กัน มินิมอลลิสม์ เป็นแนวศิลปะกระแส หลักที่ครอบงำ�วงการศิลปะในอเมริกาช่วงปลาย คริสต์ทศวรรษ 1960 เปรียบได้กับ แอ็บสแตรค เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Abstract Expressionism) ที่ได้รับความนิยมมากในคริสต์ทศวรรษ 1950


minimalism in architecture


Mies Van Der Rohe (1886 – 1969)

Ludwig Wittgenstein (1926-1928)

Tadao Ando (1941-now)

Alberto Campo Baeza (1946-now)


ในด้านการตกแต่งและสถาปัตยกรรม งานออกแบบมินิมัลจะเกี่ยวโยงกับ แนวคิดเซน คือการอยู่อย่างสมถะ เก็บข้าวของให้น้อย มีเท่าที่จำ�เป็น เน้น เรื่องประโยชน์ใช้สอย การโชว์เนื้อแท้ของวัสดุเป็นสำ�คัญ ทำ�ให้ภาพรวม ของที่อยู่อาศัยดูเรียบ และสบายตาที่สุด วิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมดั้งเดิม แบบ ZEN นับเป็นต้นแบบของ Minimailist ด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จาก การจัดแจกันดอกไม้สไตล์ญี่ปุ่น ที่ไม่ใช้ดอกไม้จำ�นวนมากแต่คำ�นึงถึง รูปFormที่งดงาม หรือการจัดสวนหินแบบเซน ที่เน้นความเรียบง่าย โดย ใช้พื้นที่อันน้อยนิดให้สวยงาม ถือเป็นศิลปะการออกแบบขั้นสูงเลยทีเดียว


-02-

HISTORY OF MINIMALISM FASHION


“SIMPLYCITY is the key note of all TRUE ELEGANCE” COCO CHANEL


LESS IS MORE A HISTORY OF MINIMAL ISM

FASHION ในขณะที่แก่นของแฟชั่นแบบมินิมอลลิสม์ คือความเรียบง่าย ผู้คนโดยมากจะนึกถึง ความสะอาด เส้น รูปทรงที่เป็นเหลี่ยมมุม สีดำ� สีขาว และ สีเทา แต่ผู้บุกเบิกของมินิ มอลลิสม์อย่าง Balenciaga, Comme des Garcons and Paco Rabanne ไม่ได้มีกรอบเพียงเท่านี้ อาจกล่าวได้ ว่ า แฟชั่ น มิ นิ ม อลลิ ส ม์ ใ นตะวั น ตกเริ่ ม ต้ น จาก Coco Chanel และการบุกเบิกเสื้อผ้า สำ�หรับผู้หญิงของเธอในช่วงปี 1920s ซึ่ง เธอได้ทำ�ให้มันเรียบง่ายมากขึ้น เพื่อความ สะดวก สบาย และ มุ่งเน้นไปที่การใช้งาน มากขึ้น และในปี 60s ก็เกิดแนวคิดที่ก่อให้ เกิดกระแสหลักขึ้นอย่าง “the importance of shapes and fabrics over function” หรือ “ความ สำ � คั ญ ของรู ป ทรงและเนื้ อ ผ้ า มี ม ากกว่ า ประโยชน์ใช้สอย”


COCO CHANEL’S 20s MINIMALIST FASHION.


BALENCIAGA’S 60s MINIMALIST FASHION.


แก่นของการเป็นมินิมอลลิสม์ คือการลดทอน และตัดสิ่งที่ไม่จำ�เป็นออก เพื่อเหลือเพียงโครง สร้างที่อาจดูเหมือนถูกแยกออกจากผู้ที่สวม ใส่ ความเป็นมินิมอลลิสต์จึงมีความกว่า สีดำ� ขาว และ เส้นที่เรียบง่าย สะอาด แม้ว่านั่นจะ เป็ น ภาพลั ก ษณ์ ด้ า นความงามหลั ก ๆของมิ นิ มอลก็ตาม ในขณะที่เดิมทีแล้วมินิมอลมีแนวคิด ที่จะเพิกเฉยต่อความหมายอันล้ำ�ลึก และ การ เปรียบเปรยในเสื้อผ้า และ สร้างเสื้อผ้าที่สะอาด เรียบง่าย และ ชัดเจนเท่านั้น

ไอเดียการลดทอน และ ความตรงไปตรงมายัง ถูกดำ�เนินไปเรื่อยๆ แจ็คเก็ตของ Martin Margiela ซึ่งถูกแยกส่วนแล้วประกอบขึ้น ใหม่ นั้ น เป็ น ตั ว อย่ า งของการที่ มี ก ารเพิ่ ม ราย ละเอียดมากขึ้น และเป็นตัวอย่างของการ สร้างสรรค์โดยวัสดุใหม่ๆ ซึ่งถูกใช้ตลอดทั้ง ขบวนการการผลิต และในทางกลับกัน Balenciaga ในปี 1960s ก็ออกแบบชุดที่มี ความเรียบง่าย เน้นที่รูปทรงและผิวสัมผัสของ เนื้อผ้าซึ่งมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชุด



อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 90s ก็เกิดรูปแบบที่เข้าถึงง่ายมากขึ้นของ มินิมอลลิสต์จาก Calvin Klein และ Donna Karan ซึ่งตีความมินิ มอลในลักษณะที่ต่างออกไป ซึ่งมองว่ารูปแบบที่เรียบง่ายนั้นเป็น ยาถอนพิษจากความ hi-fashion และหลีกเลี่ยงการแสดงออก และการโอ้อวดความร่ำารวยในโลกที่เต็มไปด้วยความยากจน ซึ่ง ในช่วงนั้นเกิดการบีบตัวทางเศรษฐกิจอย่างมากราวกับว่า การ แต่งตัวแบบมินิมอลเป็นเครื่องมือในการหลีกเลี่ยงความยุ่งเหยิง วุ่นวายทั้งปวง “เมื่อฉันแต่งตัวแบบนี้ ชีวิตฉันก็คงจะเป็นแบบนี้” บางทีสาส์นที่แท้จริงจากมินิมอลลิสต์ เมื่อเกิดการเคลื่อนไหวทาง ศิลปะในโลกของแฟชั่น

น้ อ ยเท่ า กั บ มาก ( LESS IS MORE )


CALVIN KLEIN’S 90s MINIMALIST FASHION.

HELMUT LANG’S 90s MINIMALIST FASHION.


90s

minimalism fashion runway















CREATED BY Nisakorn Rittapai Nantiya Rittapai

Sasipim Anantakoraneewat Meena Rinsinjoy

Pakin Sattayanurak

Dusit Somboonburana


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.