YOU ARE WHAT YOU EAT. กินอย่างไร ได้อย่างนั้น Dr.Victor Hugo Lindlahr
ผู้บุกเบิกกระแสอาหารเพื่อสุขภาพในอเมริกา
สารบัญ The Subject
6
The Object
7
Creative Source
8
เต็มถัง หรือ เต็มทอง
FOOD REVOLUTION
Featured Book / Book / Trend Book / DVD
Cover Story
12
Insight
19
Creative Entrepreneur
22
Creative City
28
The Creative
30
Creative Will
34
Super Food สุดยอดนวัตกรรมเลี้ยงโลก
ที่นี่… เซอรราโด
Matter
รูปทรง ฟังกชั่น และหั่นงบ
10
Nudie… Make delicious juices for fruit lovers.
Israel พันธสัญญาเหนือผืนทราย
Innovative house
Classic Item เมล็ดขาว
11
Urbanite 2012
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล ที่ปรึกษา l กิตติรัตน ปติพานิช, ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, กนกพร เกียรติศักดิ์, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทิพย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, ดุษฎี มุทุกันต, ณรัติ สุริยง ณ อยุธยา ภาพปก l พิชญ วิซ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
บนสุดของห่วงโซ่ นานมาแล้ว มนุษย์พยายามคิดค้นกลวิธีทุกรูปแบบเพื่อเอาชีวิตรอดจากเงื่อนไขของ ธรรมชาติ ศรัทธา สติ ปัญญา และเทคโนโลยี ล้วนถูกขับเคีย่ วเป็นผลผลิตทีค่ งความ จีรังของร่างกายในทุกมิติ ทั้งความอิ่มท้อง อิ่มใจ กระทั่งอิ่มปัญญา และในวันที่ วิทยาการได้ก้าวลํ้าไปกะเกณฑ์ให้ธรรมชาติออกดอกออกผลได้ตามอำ�เภอใจ เช่น การเปลี่ยนไอแดดให้เป็นละอองฝน เปลี่ยนนํ้าเค็มให้เป็นนํ้าจืด หรือเปลี่ยน พืชไร่ให้เป็นเชื้อเพลิง เทคโนโลยีอันล้นเหลือได้สร้างชีวิตที่สมบูรณ์มากกว่าแค่ปจั จัย พื้นฐาน ที่อยู่อาศัย ยา เสื้อผ้า และอาหาร จึงถูกคาดหวังทั้งในด้านปริมาณและ คุณภาพ แต่กระนั้น โลกก็เดินมาพร้อมความเสี่ยงที่ยากจะคาดเดา เพราะผู้คน ที่มีอายุยืนยาวขึ้นเหล่านี้ กำ�ลังต้องวิตกกับความสิ้นเปลืองของทรัพยากรที่ถูกใช้ไป ความเคลือบแคลงในพันธุวศิ วกรรม ซํา้ ร้ายยังต้องรับมือวิกฤติภยั แล้ง นํา้ ท่วม และ การสูญเสียผืนดินอันเป็นแหล่งผลิตอาหาร รายงานจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ระบุว่า ปัญหาการสึกกร่อนของดินเป็นสิ่ง ที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ และใช้เวลานับทศวรรษกว่าจะเห็นผลชัดเจน การหายไปของ ดิน 10 มิลลิเมตร ก็เล็กน้อยเกินกว่าที่จะมองเห็นได้ แต่ภายใน 25 ปี ดินจะหายไป ถึง 22 มิลลิเมตร และจะต้องใช้เวลาราว 500 ปี เพื่อจะสร้างดินปริมาณเท่าเดิม มาทดแทน ปรากฏการณ์เช่นนี้ได้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนในบริเวณทุ่งหญ้าแอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชียกลาง โดยแต่ละปีตุรกีต้องสูญเสียดินไป 1.4 พันล้านตัน อันเป็นผลจากนํ้าท่วมและการกัดกร่อน ในจำ�นวนนั้น 500 ล้านตัน เป็นพื้นที่เพาะ ปลูกที่สามารถใช้ปลูกข้าวสาลีได้ราว 6 แสนตันต่อปี ผืนดิน การเพาะปลูก และอาหาร ห่วงโซ่ชวี ติ ทีต่ รงไปตรงมาจากยุคเกษตรกรรมนี้ ได้ก้าวสู่นวัตกรรมแห่งอนาคตของมวลมนุษยชาติ การสร้างอาหารที่เพียงพอกับ พื้นที่เพาะปลูกที่หดหาย การต่อสู้กับลมฟ้าอากาศที่ไม่เป็นใจ คือภารกิจสำ�คัญ ที่ท้าทายสติปัญญาและต้องอาศัยสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งการจะสร้างปาฏิหาริย์เช่นนี้ ต้องเกิดจากรากฐานความรูแ้ ละวิทยาการทีไ่ ด้รบั การพัฒนาและปรับแต่งให้เหมาะสม กับผูบ้ ริโภคและสภาวะธรรมชาติในแต่ละยุคสมัย นวัตกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ จึงไม่ได้รงุ่ โรจน์ในชัว่ ข้ามคืน ดังนัน้ คนแต่ละรุน่ จึงมีหน้าทีส่ ำ�คัญในการตระเตรียม ความพร้อมในทุกๆ ด้าน เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่ดีกว่าของลูกหลาน... แต่ทางเลือกสำ�หรับอนาคตที่ดีที่สุดแล้ว… พวกเขาต้องเป็นคนกำ�หนดเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
© Dave Reede/All Canada Photos/Corbis
เต็มถัง หรือ เต็มท้อง เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี
ทีต่ ลาดโบเกเรีย (Boqueria Market) วิมานแห่งอาหารเมดิเตอร์เรเนียน บนถนนลา รัมบา บาร์เซโลน่า ความสดและความหลากหลาย ของอาหารได้รบเร้าให้ผู้คนจับจ่ายเพื่อลิ้มลอง ฆามอน อิเบริโก (Jamon Iberico) พาร์มาแฮมชนิดพิเศษที่ให้รสชาติจัดจ้านจากวิธี การเลี้ยงหมูดำ�ที่เลือกกินเฉพาะลูกสนบนเขากับเมล็ดข้าวโพดพันธุ์ดี มอบสัมผัสละเมียดเมื่อเคียงคู่กับไวน์และชีส... ชีวิตควรจะ สมบูรณ์แบบเช่นนี้ ถ้าไม่บังเอิญว่ากลุ่มโอเปคกำ�ลังจะขึ้นราคานํ้ามันดิบในอนาคต พลังงานนิวเคลียร์ถูกต่อต้านจากชุมชน และโลก ต้องหาพลังงานทดแทนมหาศาลเพื่อป้อนให้พาหนะมีเชื้อเพลิงไว้ใช้มากเพียงพอ ที่สำ�คัญ เอทานอลคืออุตสาหกรรมที่กำ�ลังแบ่งปัน อาหารของผู้คนไปสู่การหล่อเลี้ยงยวดยานบนท้องถนน
ด้านหนึ่ง โลกกำ�ลังห่วงใยสถานการณ์การขาดแคลนอาหาร แต่อีกด้าน หนึ่งโลกก็ต้องอาทรกับการรับมือวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานด้วย แต่ปัญหาก็คือ พลังงานทดแทนอย่างเอทานอลนั้นต้องผลิตจากพืชไร่ จำ�นวนมหาศาล ซึ่งต้องแย่งชิงกับพื้นที่เกษตรกรรมของโลกที่นับวันจะ ลดน้อยลงเรือ่ ยๆ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่า แต่ละปี ดินปริมาณ 75 พันล้านตัน หรือเท่ากับพื้นที่เพาะปลูก เกือบ 10 ล้านเฮกตาร์ (1 แสนล้านตารางเมตร) กำ�ลังหายไป อันเป็นผล จากปัญหาการกัดเซาะ นํ้าท่วม และดินเค็ม ขณะที่อีก 20 ล้านเฮกตาร์ ถูกทิ้งร้างเนื่องจากดินเสื่อมคุณภาพ จึงคาดกันว่าโลกจะต้องผลิตอาหาร เพิม่ ขึน้ อย่างน้อยร้อยละ 40 ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องเพาะปลูกบนผืนดิน อันอุดมสมบูรณ์ที่มีเพียงร้อยละ 11 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด แต่อุตสาหกรรมการผลิตเอทานอลกำ�ลังช่วงชิงเป้าหมายปลายทาง ของพื้นที่เหล่านี้ เพื่อเบนทิศจากโต๊ะอาหารไปสู่ถังนํ้ามันรถยนต์ ในการ แปลงพืชไร่อย่างข้าวโพดไปเป็นเชื้อเพลิงนํ้ามันเอสยูวี 1 ถังนั้น จะต้อง เสียข้าวโพดในปริมาณทีม่ ากขนาดให้คนๆ หนึง่ รับประทานได้นานถึง 1 ปี หรือหมายความว่า โลกกำ�ลังอุทิศพื้นที่การผลิตพืชส่วนหนึ่งเพื่อรักษา เครื่องยนต์ของประชากร 800 ล้านคน โดยแลกกับการที่จะมีคนยากจน ราว 3 พันล้านคนต้องเผชิญกับการขาดแคลนอาหาร เฉพาะในสหรัฐฯ 1 ใน 4 ของผู้ผลิตพืชไร่ได้เปลี่ยนไปผลิตเพื่อการแปรรูปเป็นเอทานอล ทำ�ให้ พืชไร่ไม่ได้ถูกนำ�มาเลี้ยงคนหรือเลี้ยงสัตว์อย่างที่ควรจะเป็นอีกต่อไป 6 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้กำ�ลังดำ�เนินไปบนความท้าทายแห่งอนาคต นั่นคือปริมาณ อาหารสำ�รองของโลกอยู่ในจุดตํ่าสุดในรอบ 45 ปี ในภาวะที่ประชากร โลกเพิ่มขึ้นสูงกว่าปีละ 70 ล้านคน การเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางจนถึงผู้ มั่งคั่งมีมากกว่าปีละ 3-4 พันล้านคน (ซึ่งพวกเขาล้วนต้องบริโภคเนื้อ นม ไข่ เพิม่ มากขึน้ ) ความต้องการพลังงานจะทวีคณู และเอทานอลก็ตอ้ งการ พืชไร่จำ�นวนมหาศาลเพื่อผลิตเชื้อเพลิงสำ�หรับยวดยานพาหนะ ขณะที่โลกกำ�ลังแสดงความชาญฉลาดและลํ้าเลิศถึงทางเลือกใน การดำ�เนินชีวิตมากมาย ทั้งเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมอาหารเพื่อสร้าง อาหารอย่างรวดเร็วและราคาถูก นวัตกรรมพลังงานสะอาดเพื่อทดแทน นํา้ มันทีก่ ำ�ลังจะหมดไป รวมถึงวิทยาการทางการแพทย์ทก่ี า้ วหน้าเพือ่ การ ผ่อนส่งชีวิตมนุษย์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น แต่ต้องไม่ลืมว่าทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบนโลกใบเดียวกับโลกที่ธรรมชาติ ไม่ค่อยยี่หระกับชะตากรรมของคนเราเสียด้วย ที่มา: Plan B 4.0- Mobilization to save civilization (2009) โดย Lester R. Brown
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 เจมี่ โอลิเวอร์ (Jamie Oliver) เชฟหนุ่มชาวอังกฤษชื่อดังได้ก้าวขึ้นไปยืนบนเวทีของงานสัมมนาระดับโลก “เท็ด (TED Conferences)” เพือ่ เล่าถึงปัญหาโรคอ้วนทีค่ นทัว่ โลกกำ�ลังประสบ และการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ทเ่ี ขากำ�ลังจะลงมือทำ� “ลูกหลานของพวกคุณจะมีอายุยืนยาวกว่าพวกคุณไปถึง 10 ปี ด้วยอาหารและสภาพแวดล้อมที่เรากำ�ลังร่วมมือกันสร้างอยู่ใน ตอนนี้”
หนึง่ เดือนต่อมา รายการกึง่ เรียลลิต้ี “ฟูด้ เรฟโวลูชนั (Food Revolution)” เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการทางช่องเอบีซี (ABC) พร้อมกับความฝัน ของโอลิเวอร์ ทีต่ อ้ งการละลายพฤติกรรมการกินของคนทัว่ โลก โดยเฉพาะ วิถีการบริโภคอาหารประเภทจังก์ฟู้ด (Junk Food) ที่เน้นความสะดวก เข้าว่า และพาผูค้ นกลับไปหาวัฒนธรรมการกินแบบดัง้ เดิมอีกครัง้ โอลิเวอร์ เลือกปักหมุดแรกที่เมืองฮันทิงตัน รัฐเวสต์เวอร์จิเนียร์ ซึง่ จากการสำ�รวจ พบว่า ประชากรของเมืองนีม้ สี ขุ ภาพยํา่ แย่ทส่ี ดุ ในสหรัฐฯ และสาเหตุหลัก ก็มาจากโรคอ้วนนั่นเอง สิ่งที่ทำ�ให้รายการนี้พิเศษกว่ารายการทำ�อาหาร ทั่วๆ ไป คือ วิธีคิดและการลงมือทำ�ของเชฟหัวขบถคนนี้ เพราะแทนที่ เขาจะออกมาเรียกร้องให้ชาวเมืองนำ�อาหารสำ�เร็จรูปในตู้เย็นไปโยนทิ้ง แล้วเชิญชวนมารับประทานกรีนฟูด้ โอลิเวอร์กลับเลือกทำ�สิง่ ทีเ่ ขาถนัดทีส่ ดุ นัน่ ก็คือการทำ�อาหาร เขาพบว่ามื้ออาหารของโรงเรียนประถมเป็นปัจจัย สำ�คัญทีน่ ำ�ไปสูโ่ รคอ้วนในวัยเด็ก เพราะส่วนใหญ่มักเป็นอาหารปรุงสำ�เร็จ ที่มาพร้อมกับปริมาณแคลอรี่ที่สูงจนน่าใจหาย เช่น พิซซ่าที่อาบหน้าด้วย ชีส มันฝรั่งบดทอด และอาหารแช่แข็งอื่นๆ โอลิเวอร์จึงคิดเมนูอาหาร ใหม่ที่คำ�นึงถึงสารอาหารครบหมู่และยังอร่อยเหาะถูกปากเหล่าเด็ก ประถมจอมซน โอลิเวอร์ไม่ได้หยุดความฝันของตนเองไว้แค่ในรายการหรืออเมริกา เท่านัน้ แต่เขายังผลักดันการปฏิวตั คิ รัง้ นีใ้ ห้เป็นแคมเปญระดับโลก ภายใต้ สโลแกน “ยืนหยัดเพื่ออาหารที่แท้จริง (Stand Up For Real Food)” เพื่อ ทำ�ให้ทกุ คนตระหนักว่า โรคอ้วนเป็นปัญหาสากลทีเ่ กิดขึน้ ในแทบทุกประเทศ มีเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ขวบ ประมาณ 43 ล้านคน และผู้ใหญ่มากกว่า 1.5
ล้านคนจากทั่วโลกกำ�ลังประสบปัญหานี้ แต่เราทุกคนสามารถช่วยกัน แก้ไขได้ ด้วยการลงชื่อสนับสนุนให้เด็กมีสิทธิในการรับประทานอาหาร ของโรงเรียนที่มีคุณภาพ มากประโยชน์ และที่สำ�คัญต้องอร่อย รวมทั้ง ได้รับการดูแลด้านสุขภาพอย่างครบครัน โดยที่รัฐบาลของแต่ละประเทศ จะต้องเข้ามาช่วยเหลือในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในแง่คุณภาพและ ความปลอดภัย ตลอดจนวางยุทธศาสตร์เพื่อการรับมือและป้องกันปัญหา โรคอ้วนในทุกเพศทุกวัยอย่างจริงจัง ซึ่งปรากฏว่าแคมเปญนี้ได้รับกระแส ตอบรับอย่างดีเยี่ยม มีเมืองถึง 600 เมือง จาก 62 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม การปฏิวัติครั้งนี้ กระทั่งเหล่าเซเลบริตีส์ในแวดวงฮอลลีวูดก็ยังออกมา เรียกร้องถึงภัยร้ายที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารขยะพร้อมกับ ตัง้ คำ�ถามกับสาธารณชน แบรนด์ดงั และองค์กรต่างๆ ว่า แท้จริงแล้วอะไร คือสิ่งที่เรียกว่า “อาหารของมนุษย์” ที่ควรค่าแก่การบริโภค สิ่งที่เจมี่ โอลิเวอร์ พยายามเปลี่ยน ไม่ใช่ “โลก” หากเป็น “วิถีการ บริโภค” ของผู้คนในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความหลากหลายกึ่งสำ�เร็จรูป โดยเปลี่ยนนิยามของการทำ�อาหารให้เป็นเรื่องง่ายและสนุกสำ�หรับทุกคน ส่วนเคล็ดลับในการปรุงทีข่ าดไม่ได้กค็ อื ส่วนผสมของรอยยิม้ ความมุง่ มัน่ และความฝันนั่นเอง เป็นไปได้ว่าการปฏิวัติครั้งนี้ จะเป็นหนทางรอดที่ นำ�ไปสู่โลกอนาคตที่ปรุง “สุข” ได้อย่างแท้จริง ร่วมติดตามความเคลื่อนไหวของคณะปฏิวัติความอร่อยได้ที่: foodrevolutionday.com jamieoliver.com facebook.com/FoodRevolutionCommunity สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
FEATURED BOOK Wartime Kitchen: Food and Eating in Singapore 1942-1950 โดย Wong Hong Suen
แม้จะมีชื่อเรื่องเกี่ยวกับอาหาร แต่สิ่งที่คุณจะได้ เห็นอาจไม่ใช่ภาพอาหารที่ดูน่ากิน หรือวิธีการ ปรุงอาหารที่แปลกตา เพราะความน่าสนใจของ หนังสือเล่มนี้อยู่ที่การพาให้เรานึกย้อนไปถึงการ เข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพงที่แร้นแค้นในอดีต และ การปรับตัวในเรื่องการกินของผู้คนสมัยนั้น และ การทำ�ความเข้าใจสังคมสิงคโปร์ว่าพวกเขาเผชิญ และก้าวผ่านความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ สองมาได้อย่างไร ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1942 กองทัพญี่ปุ่น บุกยึดสิงคโปร์จากอังกฤษได้สำ�เร็จ สิงคโปร์หรือ โชนาน (Syonan) ตามชื่อเรียกใหม่ที่ญี่ปุ่นตั้งให้ ในขณะนั้น จึงตกอยู่ในฐานะเมืองขึ้นของญี่ปุ่น อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ กองทัพเข้าควบคุมเสบียงคลัง ตลอดจนการกระจายอาหารในเมือง ทำ�ให้ประชาชน ชาวสิงคโปร์ผอู้ ยูใ่ ต้อาณานิคม ไม่มที างเลือกในการ
8 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
กินอาหารมากนัก เกษตรกรรมทีม่ ไี ว้เพือ่ เลีย้ งตัวเอง ซึ่งมีน้อยอยู่แล้ว ก็ถูกลดจำ�นวนการผลิตลง ข้าว ที่เคยนำ�เข้าจากพม่า ไทย และเวียดนาม ถูกจำ�กัด ให้เหลือแจกจ่ายชาวบ้านได้เพียงครอบครัวละ หนึ่งมื้อ ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวพื้นเมืองหลายคนที่เคยผ่าน ประสบการณ์ครั้งนั้น ยังจดจำ�ขึ้นใจว่า มีเพียง มันสำ�ปะหลังและมันเทศที่เป็นอาหารหลักในการ ประทังชีวิต หว่อง ฮอง ชวน (Wong Hong Suen) ผู้เขียน หนังสือเล่มนี้ได้เข้าศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และ ตั้งข้อสังเกตถึงข้อจำ�กัดและการขาดแคลนอาหาร ที่เกิดขึ้น เขาเชื่อว่า ด้วยการปรับตัวของมนุษย์ น่าจะทำ�ให้เกิดความหลากหลายในการกิน วิธี การปรุง หรือแม้กระทั่งการสร้างอาหารทดแทน ซึ่งเขาได้เสาะหาหลักฐานต่างๆ นี้ ด้วยการศึกษา จากเอกสารทีป่ รากฎและวัตถุตา่ งๆ ในช่วงเวลานัน้
โดยได้รับความร่วมมือที่ดีจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ สิงคโปร์ รวมถึงการเข้าไปสัมภาษณ์บุคคลที่เคย ผ่านชีวติ ช่วงสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง เพือ่ ค้นหาข้อมูล ประจักษ์ที่เกิดขึ้น ไม่มใี ครปรารถนาให้ภาวะสงครามกลับมาอีก แต่อดีตทำ�ให้เราเรียนรู้และพัฒนา มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายจากซากปรักหักพังของสงคราม รวมถึงวิวัฒนาการของอาหารที่เป็นผลพวงจาก ภาวะขาดแคลนอาหารในครั้งนั้น ในตอนท้ายของ เล่ม ผู้แต่งได้เชิญ คริสโตเฟอร์ ตัน (Christopher Tan) ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร มาร่วมคัดเลือกและ นำ�เสนออาหารในยุคปัจจุบันที่มีที่มาจากภาวะ สงคราม พร้อมด้วยส่วนผสมและวิธีการปรุงที่ สะท้ อ นถึ ง วั ฒ นธรรมการกิ น ที่ แ ตกต่ า งหลาก หลาย โดยเฉพาะภูมิปัญญาในการเอาตัวรอดของ มนุษย์
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
TREND BOOK
DVD
crEATe: Eating, Design and Future Food
Carlin Colour Spring/Summer 2014
Food, INC.
โดย The Future Laboratory The Future Laboratory เป็นบริษัทวิจัยแถวหน้า ของโลก ในเรื่องการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และ พยากรณ์แนวโน้มของสิ่งต่างๆ ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น หนังสือเล่มนี้มุ่งความสนใจเฉพาะเรื่องของอาหาร และการออกแบบทีเ่ กีย่ วกับอาหารในทุกมิติ ทัง้ เรือ่ ง การสร้างรูปแบบอาหารใหม่ๆ การให้บริการรูปแบบ ร้าน บรรจุภัณฑ์ วิธีการกิน ไปจนถึงการสร้าง ประสบการณ์ใหม่ในการกิน ที่มาพร้อมคำ�แนะนำ� ที่เป็นประโยชน์สำ�หรับธุรกิจอาหารในอนาคต
โดย Kim Evans เทรนด์สฤี ดูร้อน 2014 จาก Carlin International ที่ ค รั้ ง นี้ ม าพร้ อ มกั บ รู ป ลั ก ษณ์ ใ หม่ ข องตั วเล่ม ในแบบ Kit Look ที่ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน ภายในประกอบไปด้ ว ยแผ่ น พั บ จำ�นวนมาก ที่แยกเป็นส่วนเนื้อหานำ�เสนอ 5 แนวคิดใหม่ ได้แก่ Exuberance กลิ่นอายการออกแบบที่เน้นการ ปลดปล่อยให้เป็นอิสระ Confidential สร้างสรรค์ มนต์เสน่ห์ด้วยความลึกลับน่าค้นหา Incarnation การเฉลิมฉลองเรื่องราวในอดีตและประสบการณ์ ที่ลํ้าค่า Complicity ความใกล้ชิด กระแสแห่ง ความกลมเกลียวและการแบ่งปัน Panorama สุ น ทรี ย ภาพแบบคนเมื อ งที่ ไ ม่ ส ร้ า งขอบเขต ระหว่างนวัตกรรมและธรรมชาติ โดยในแผ่นพับ แต่ ล ะใบยั ง บรรจุ ข้ อ มู ล ตั ว อย่ า งทิ ศ ทางงาน ออกแบบ เฉดสี และใหม่ล่าสุดด้วยชุดสีที่ผ่าน การย้อมลงบนแผ่นพลาสติกเพื่อสะดวกต่อการนำ� ไปใช้อ้างอิงในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ยังมี แผ่นพับที่ให้ข้อมูลทางการตลาดสำ�หรับวิธีการ ปรับเฉดสีให้เหมาะกับผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม รวมถึง ข้อมูลอ้างอิง รหัสสี และชุดเส้นไหมย้อมสี ซึ่ง ทุ ก ส่ ว นประกอบได้ ผ่ า นการคิ ด มาเป็ น อย่ า งดี เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานและรองรับการ ออกแบบในแทบทุกกระบวนการอย่างแท้จริง
โดย Robert Kenner สารคดี ที่ ตี แ ผ่ ทุ ก เบื้ อ งลึ ก เบื้ อ งหลั ง ในระบบ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารในสหรัฐฯ ที่ทำ�ให้ผชู้ ม ต้องคิดมากขึ้นกับอาหารหนึ่งคำ�ที่จะหยิบยื่นเข้าสู่ ปาก เนื้อหาพยายามแสดงความชัดเจนถึงรูปแบบ การผลิ ต อาหารที่ ไ ม่ ต่ า งจากสายพานลำ�เลี ย ง โอกาสในการผูกขาดและสร้างผลกำ�ไรของบริษัท ยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท ทั้งยังใช้กรอบของตัวเงิน เป็ น ที่ ตั้ ง มากกว่ า คุ ณ ภาพและความปลอดภั ย ความเข้มข้นยิ่งมากขึ้นเมื่อได้ผู้บรรยายหลักอย่าง เอริค ชลอสเซอร์ (Eric Schlosser) นักเขียนหนังสือ ติดอันดับขายดีอย่าง Fast Food Nation ซึ่งได้ถูก นำ�มาสร้างเป็นสารคดีแล้วก่อนหน้านี้ ร่วมด้วย ไมเคิล พอลลัน (Michael Pollan) แกนนำ�นัก เคลื่อนไหวที่สู้รบปรบมือกับเหล่าธุรกิจอาหารที่ ไม่เป็นธรรม ทุกภาพในสารคดีเจาะลึกถึงต้นทาง ของกรรมวิธีการผลิตเนื้อสัตว์ที่ขาดมาตรฐานและ ไร้มนุษยธรรม รวมถึงการยกประเด็นของระบบ การผลิตอาหารตามอย่างเกษตรกรแบบดั้งเดิมที่ กำ�ลังถูกทำ�ลายลงด้วยกฎหมายที่อยุติธรรมและ เอื้อต่อกลุ่มนายทุน เช่น การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่าน การดัดแปลงพันธุกรรม การอ้างสิทธิใ์ นการถือครอง เมล็ดพันธุ์พืช และท้ายที่สุดคือผลผลิตปลายนํ้าที่ วางขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นตอบสนองเฉพาะ เรื่องความสวยงาม สะดวก และดึงดูดใจ ซึ่งหาก ผู้ชมได้เห็นทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นทางการผลิต ของมันแล้ว คงต้องตอบคำ�ถามด้วยตัวเองว่า แท้จริง สิง่ ล่อตาทีเ่ ห็นคืออาหารจานพิเศษ หรือความไม่นา่ อภิรมย์ที่น่าลิ้มลองกันแน่
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
แปลและเรียบเรียง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
สำ�หรับผูบ้ ริโภคแล้ว เรือ่ งของบรรจุภณ ั ฑ์อาหารอาจไม่ได้มาก่อน รสชาติที่ถูกปาก แต่ในทางกลับกัน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ แต่ละชนิดกลับต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก เพราะต้อง ดึงดูดความสนใจ ช่วยถนอมอาหารให้สดใหม่ ทั้งยังต้องสะดวก ใช้ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้บรรจุภัณฑ์มหาศาล ที่เกิดจากการผลิตแบบแมสโปรดักชั่นกลายเป็นขยะเหลือทิ้ง สำ�หรับโลก
เพื่อให้เป็นเช่นนั้น ผู้ผลิตแต่ละรายจึงต้องมีกลยุทธ์เพื่อสร้างสรรค์ บรรจุภัณฑ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งในนั้นก็คือ การใช้การออกแบบ มาผลักแบรนด์ให้โดดเด่น เช่น นํ้าผลไม้ Sainsbury’s ที่เพิ่มลูกเล่นด้วย การใช้พลาสติกใสชนิดกันซึมมาดีไซน์เป็นช่องกลมใส 4 ช่องบนกล่องนํ้า ผลไม้ขนาด 1 ลิตร เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นสีสันและความสดชื่นของมันผ่าน บรรจุภัณฑ์ได้ทันที และยังมีประโยชน์ต่อการคำ�นวณปริมาณคงเหลือ ของนํ้าผลไม้ที่ถูกดื่มไปแต่ละครั้งได้อย่างน่าสนใจ ขณะที่การออกแบบซึ่งมุ่งเน้นประโยชน์การใช้สอยตามแนวคิด “Inclusive design” ปรัชญาการพัฒนางานออกแบบให้ใช้ได้กับผู้บริโภค ทุกกลุ่ม ทุกวัยอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ ก็ถกู นำ�ไปใช้โดยกลุม่ บริษทั เนสท์เล่ ทีป่ รับโฉมขวดเครือ่ งดืม่ เสริมโภชนาการ 10 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
Boost ให้เปิดง่ายและจับถนัดมือยิ่งขึ้น เพื่อให้เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายที่ เป็นผู้สูงวัยและผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเป็นหลัก นอกจากนี้ แนวโน้มของบรรจุภัณฑ์อาหารในอนาคตที่ต้องคำ�นึงถึง ผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและความก้าวหน้าทางธุรกิจควบคูก่ นั ไป ยังทำ�ให้ แบรนด์ Cheerios เลือกเพิ่มปริมาณซีเรียลในกล่องที่ได้รับการปรับลด ขนาดและนํ้าหนักลง เพื่อลดจำ�นวนกระดาษที่ต้องใช้ทำ�กล่องได้ถึง 2 แสนปอนด์ต่อปี และยังเป็นการลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จาก กระบวนการผลิต และปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากจำ�นวนเทีย่ วการขนส่ง สินค้าที่ลดลงตามไปด้วย ส่วนซอสมะเขือเทศ Heinz ก็เลือกใช้ขวดแบบ Plant Bottle ซึ่งผลิตจากวัตถุดิบที่ทำ�จากพืชถึงร้อยละ 30 และสามารถ นำ�ไปรีไซเคิลได้ทั้งหมดมาแทนที่การใช้ขวดเพทแบบเดิมที่เป็นอันตราย ต่อสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ที่เริ่มจากบรรจุภัณฑ์อาหารใกล้ตัวเหล่านี้ จึงเป็นมากกว่าการนำ�ของอร่อยไปส่งต่อให้กับผู้บริโภค แต่คือการส่ง แรงบวกให้กับโลกที่ต้องคิดถึงวิธีการผลิตและการบริโภคอาหารให้ยั่งยืน อย่างเช่นทุกวันนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่มา: Balancing Form, Function, and the Balance Sheet โดย Kate Bertrand Connolly จาก นิตยสาร Matter ฉบับที่ 9.1
CLASSIC ITEM คลาสสิก
• นักโบราณคดี ริชาร์ด เอส. แมกฮีส์ช (Richard S. Macheish) ค้นพบร่องรอย เมล็ดข้าวไหม้ติดอยู่กับภาชนะหุงอาหารและเศษใบของต้นข้าวป่าบริเวณลุ่มแม่นํ้า แยงซีเกียง ซึ่งสันนิษฐานได้ว่าเป็นหลักฐานการปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดของโลกเมื่อ 16,000 ปีที่แล้ว • เพราะเชื่อว่าข้าวคือสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น คู่แต่งงานใหม่ชาวอินเดียจึงถือ ประเพณีทส่ี บื ทอดกันมายาวนานว่า อาหารมือ้ แรกทีภ่ รรยาจะปรุงให้สามีนน้ั จะต้อง มีข้าวเป็นวัตถุดิบหลัก ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการซาวข้าวก่อนนำ�ไปหุงจะช่วย ปลดปล่อยพลังชีวิตที่อยู่ในเมล็ดข้าว และมอบความสงบทางจิตวิญญาณให้กับ ผู้รับประทาน และสำ�หรับชาวเวียดนาม การรับประทานข้าวที่นำ�ไปไหว้บรรพบุรุษ ในวันตรุษนั้น ไม่ใช่เพื่ออิ่ม แต่เป็นการน้อมรับเอาความศักดิ์สิทธิ์เข้ามาสู่ตัวเอง
เมล็ดข้าว เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
“เมล็ดข้าว” คือต้นทุนของมือ้ อาหารหลักสำ�หรับประชากรกว่าครึง่ โลกและ เอกลั ก ษณ์ แ ห่ ง ความอุ ด มสมบู ร ณ์ ข องชี วิ ต ที่ ไ ด้ วิ วั ฒ นาการจาก ผลิตผลทางการเกษตรสู่มาตรฐานการส่งออกที่ก้าวไกลอย่างไม่สิ้นสุด ในยุคอุตสาหกรรม เมล็ดข้าวแตกรวงแห่งคุณค่าเป็นมิติที่หลากหลาย กลายเป็นมรดกสู่คนรุ่นหลังต่อไป
• ประเทศไทยส่งออกข้าวเป็นอันดับหนึ่งของโลกมานานกว่าห้าทศวรรษ ในปี 2011 ไทยส่งออกข้าวเป็นจำ�นวน 10.5 ล้านตัน โดยอันดับรองลงมาคือ เวียดนามและ อินเดีย องค์การธัญพืชระหว่างประเทศคาดการณ์ในรายงานปี 2012-2013 ไว้ว่า อินเดียจะขึ้นมาเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกแทนที่ไทย เนื่องจากรัฐบาล อินเดียอนุญาตให้ส่งออกข้าวสายพันธุ์อื่นๆ นอกเหนือจากพันธุ์บาสมาติ (Basmati) ที่เป็นสายพันธุ์หลักเพิ่มขึ้น • ด้วยกลิ่นหอมทั้งก่อนและหลังหุงอันเป็นเอกลักษณ์ ส่งผลให้ข้าวเมล็ดกลม “เพิร์ล ปอว์ ซาน” (Pearl Paw San) จากพม่า คว้ารางวัลชนะเลิศพันธุ์ข้าวที่ดี ทีส่ ดุ ในโลกประจำ�ปี 2011 ทีจ่ ดั โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่มา: cambridge.org, reuters.com, riceassociation.org.uk, ricethailand.go.th
• ยุคสงครามโลกครัง้ ที่ 2 โตชิบาประสบความสำ�เร็จอย่างท้วมท้นจากการวางจำ�หน่าย หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เพราะเป็นเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาสำ�หรับคุณแม่บ้านที่ต้อง ใช้แรงงานในยุคสงคราม • ข้าวสีทอง (Golden Rice) คือพันธุ์ข้าวที่ผ่านกระบวนการดัดแปลงทางพันธุกรรม ด้วยการตัดต่อนำ�ยีนของดอกแดฟโฟดิล (Daffodil) มาใช้ เพื่อให้ข้าวสามารถสร้าง สารเบต้าแคโรทีนที่เมล็ดแทนใบเช่นสายพันธุ์ทั่วไป ข้าวสีทองถูกคิดค้นโดย อินโก โปเตรคูส (Ingo Potrykus) และปีเตอร์ เบเยอร์ (Peter Beyer) ในปี 1992 เพื่อใช้ เป็นแหล่งอาหารอุดมประโยชน์สำ�หรับประเทศที่ขาดแคลน • สาเก (Sake) หรือ นิฮอนชู เกิดจากกรรมวิธีการหมักข้าวคุณภาพดีกับนํ้าแร่ บริสทุ ธิเ์ ป็นเวลา 45-60 วัน โดยในปี 2011 ญีป่ นุ่ ส่งออกสาเกได้มากกว่า 14 ล้านลิตร คิดเป็นมูลค่ารวมถึง 110 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 11
COVER STORY เรื่องจากปก
12 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
พระเจ้าอาจจะไม่ได้โหดร้ายเสมอไปดังบทเพลง God is fair ทีเ่ ด็กๆ ร้องเล่นกัน เพราะหลายครัง้ ความหายนะ ก็มักจะมาคู่กับสองมือและสมองของมนุษย์ที่สามารถ คิดค้นวิธกี ารเอาตัวรอดทีแ่ ม้จะไม่สวยหรูแต่กผ็ า่ นมา ได้หลายทศวรรษ ความอดอยากก็ถือเป็นหนึ่งใน บททดสอบนั้น และกำ�ลังทวีความท้าทายมากขึ้นตาม กาลเวลา “ประดิษฐกรรมแห่งอาหาร” จึงเป็นทางเลือก ใหม่ ที่เกิดขึ้นคู่ขนานไปกับความอุตสาหะแห่งวิถีการ ผลิตแบบดั้งเดิม
© Holger Winkler/Corbis
Super Food
สุดยอดนวัตกรรมเลี้ยงโลก
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 13
© P Deliss/Godong/Corbis
COVER STORY เรื่องจากปก
“คุณต้องฆ่าตัวตายเท่านั้นถึงจะช่วยโลกได้” เป็นคำ�กล่าวของนักศึกษา คนหนึ่งที่ซึมซับเรื่องราวในปลายศตวรรษที่ 18 ยุคที่ผู้คนต่างหวาดกลัว ปีศาจในคราบของนักเศรษฐศาสตร์นามว่า โทมัส มัลธัส (Thomas Malthus) ผูก้ ล่าวถ้อยคำ�อันน่าสะพรึงกลัวทีว่ า่ “ความสามารถของมนุษย์ในการเพิม่ อาหารเป็นไปตามลำ�ดับเลขคณิต (Arithmetically) คือเพิม่ เติมตามลำ�ดับ จาก 1 เป็น 2 และ 3 ขณะที่การเพิ่มของประชากรนั้นเป็นแบบลำ�ดับ เรขาคณิต (Geometrically) คือเพิม่ ขึน้ ในอัตราสองเท่าจาก 2 เป็น 4 และ จาก 4 เป็น 8 และส่วนต่างนีจ้ ะถูกปรับเข้าสูค่ วามสมดุลด้วยความตายของ ประชากรจำ�นวนมากจากความอดอยาก โรคระบาด และภัยธรรมชาติ" แม้วา่ จะเกิดเหตุการณ์อาหารขาดแคลนหลายครัง้ แต่ทว่า การเกิดการ ปฏิวตั สิ เี ขียว (Green Revolution) ด้วยเครือ่ งจักร ปุย๋ เคมี และเทคโนโลยี การผสมพันธุ์ ทีท่ �ำ ให้ผลผลิตทางการเกษตรเพิม่ ขึน้ แบบก้าวกระโดด และ จำ�นวนประชากรทีเ่ พิม่ ขึน้ ในยุคเบบีบ้ มู (Babyboom) ภายหลังสงครามโลก ในช่วงปี 1960 ก็ท�ำ ให้ผคู้ นอาจจะลืมเลือนมัลธัสและกลุม่ ผูท้ เ่ี จริญรอยตาม ความคิดของเขาไปบ้าง จนกระทั่งศตวรรษที่ 21 ความคิดของมัลธัสก็ได้ ย้อนกลับมาอีกครั้ง 14 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
ในปลายปี 2011 โลกเพิ่งฉลองให้กับประชากรจำ�นวน 7 พันล้านคน ทั้งๆ ที่อัตราการเกิดของประชากรโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง จาก 22 คน ต่อประชากร 1,000 คนในปี 2000 ลงมาอยู่ที่ 19.15 คนในปี 2011 และ แม้วา่ หลายประเทศจะมีปญั หากับอัตราการเกิดของประชากรทีต่ า่ํ เพราะ หนุม่ สาวสมัยใหม่จ�ำ นวนมากปฏิเสธทีจ่ ะมีลกู แต่นกั ประชากรศาสตร์กย็ งั คาดการณ์ว่าในปี 2050 โลกจะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคน คนยิง่ มากก็ยง่ิ บริโภค ไม่ได้เป็นแรงกดดันเฉพาะด้านปริมาณอาหารที่ ต้องผลิตให้ทันต่อจำ�นวนปากท้องที่เพิ่มขึ้น แต่สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ยังออกจะเข้าข้างความคิดมัลธัสอยูไ่ ม่นอ้ ย ทัง้ อุณหภูมทิ ม่ี แี นวโน้มเพิม่ สูง ขึน้ จนทำ�ให้พน้ื ทีก่ ารเกษตรในเขตร้อนสุม่ เสีย่ งต่อภัยแล้ง และระดับนา้ํ ทะเล ทีเ่ พิม่ สูงขึน้ จนท่วมพืน้ ทีบ่ างแห่งและทำ�ให้พน้ื ทีส่ �ำ หรับเพาะปลูกมีนอ้ ยลง ขณะเดียวกันนา้ํ มันดิบทีร่ อ่ ยหรอยังทำ�ให้พลังงานจากพืช (Biofuel) กลายเป็น ขุมทองแห่งใหม่สำ�หรับประเทศเกษตรกรรมที่หันเหมาปลูกพืชเพื่อป้อน ให้กบั ตลาดพลังงานจากพืช ทีค่ าดว่าจะเพิม่ ขึน้ จาก 82.7 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ (2,481 พันล้านบาท) ในปี 2011 เป็น 185.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (5,559 พันล้านบาท) ในปี 2021 นอกจากนั้น การผลิตอาหารเลี้ยงโลกในปัจจุบัน ยังต้องอยู่ภายใต้ เงื่อนไขทางความรู้สึกของลูกค้าที่สงสารเหล่าลูกไก่ซึ่งจะต้องเติบโตมา ในเล้าทีค่ บั แคบ จนเกิดเป็นกฎหมายเพือ่ ป้องกันการทารุณสัตว์ทถ่ี กู บังคับ ใช้ในกลุ่มประเทศตะวันตก เพื่อให้สัตว์มีพื้นที่ส่วนตัวและมีความสุขมาก ทีส่ ดุ ก่อนตาย ขณะเดียวกันความห่วงใยใส่ใจในสุขภาพ ยังทำ�ให้ผบู้ ริโภค จำ�นวนมากเลือกสรรอาหารที่เปี่ยมไปด้วยคุณประโยชน์แต่ไม่เพิ่มนํ้าหนัก ซึง่ ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนผสมทีเ่ ข้าคุกคามพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมของโลกโดยตรง นอกเหนือไปจากภัยธรรมชาติ และอาจนำ�ไปสูก่ ารบีบบังคับให้ประเทศต่างๆ ต้องร่วมกันปฏิวัติสีเขียวอีกครั้ง
COVER STORY เรื่องจากปก
สดจากห้องแล็บ แฮมเบอร์เกอร์ราคา 290,000 เหรียญสหรัฐฯ อาจจะดูเป็นเรื่อง เกินจริงไปสักหน่อยในปัจจุบัน แต่ในอนาคตที่พื้นที่เลี้ยงสัตว์มี น้อยลงเพราะต้องแบ่งสรรให้กับพืชอาหารและนํ้ามัน ก้อนเนื้อ สีขาวขนาด 2 ตารางเซนติเมตรหน้าตาคล้ายปลาหมึกทอดที่ เพาะได้จากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อของวัวนี้ จะถูกเพิ่มปริมาณจนมี จำ�นวนมากพอทีจ่ ะนำ�ไปผสมกับเลือดและไขมันเทียมให้กลายเป็น เนื้อสำ�หรับแฮมเบอร์เกอร์
© REUTERS/Francois Le noir
เจ้าของผลงานนีเ้ ป็นนักวิทยาศาสตร์จากประเทศทีม่ พี น้ื ทีเ่ พือ่ การเพาะปลูก น้อยนิดอย่างเนเธอร์แลนด์ ศาสตราจารย์มาร์ก โพสต์ (Mark Post) จาก มหาวิทยาลัยมาสทริชท์ (University of Maastricht) กล่าวถึงเหตุทเ่ี ขาลงมือ ทำ�การทดลองนี้ว่า เป็นเพราะการทำ�ปศุสัตว์แผนปัจจุบันนั้นไม่เพียงพอ ต่อความต้องการเนื้อสัตว์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าตัวในอีก 50 ปี ข้างหน้า และเนือ้ สัตว์จากห้องแล็บน่าจะช่วยลดแรงกดดันการบุกรุกพืน้ ทีป่ า่ เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรได้ เนือ้ วัวจากห้องแล็บนัน้ ไม่เพียงปฏิวตั วิ งการอาหาร แต่ยงั เป็นทีถ่ กู อก ถูกใจของกลุม่ จริยธรรมเพือ่ การดูแลสัตว์ (People for the Ethical Treatment of Animal) ที่ไม่อยากปวดใจกับจำ�นวนสัตว์ที่ถูกฆ่า ด้วยการตั้งรางวัล จำ�นวน 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 30 ล้านบาท) ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ที่ สามารถสร้างสเต็มเซลล์สำ�หรับเนื้อไก่ได้สำ�เร็จ แต่ก่อนจะถึงเวลาของไก่และสัตว์อื่นๆ ในเดือนตุลาคม 2012 นี้ เนื้อเยื่อนับพันชิ้นจะถูกเพาะจนเสร็จสิ้น หลังจากนั้นจะถูกนำ�ไปให้เชฟ เฮสตัน บลูเมนทอล (Heston Blumenthal) เจ้าของภัตตาคารระดับสามดาว มิชแลง 'เดอะ แฟต ดั๊ก (The Fat Duck)' ในอังกฤษ นำ�ไปปรุงเป็น แฮมเบอร์เกอร์พร้อมเสิร์ฟ
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 15
ใครจะทุกข์ทนไปกว่าชาวนาที่เพียรพยายามปลูกข้าวมานาน หลายเดือน เพื่อจะพบว่านาข้าวถูกนํ้าท่วมตายหมด ในแต่ละปี ชาวนาในบังกลาเทศและอินเดียผู้ทำ�หน้าที่ผลิตข้าวเลี้ยงคนใน ประเทศต้องเจอกับอุทกภัยทีท่ �ำ ให้สญ ู เสียผลผลิตข้าว 4 ล้านตัน ซึ่งมากพอจะเลี้ยงคนได้ถึง 30 ล้านคน
แต่ในที่สุดนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศในฟิลิปปินส์ ก็ได้พฒั นาข้าวพันธุท์ นนํา้ ซึง่ อยูร่ อดได้แม้นา้ํ จะท่วมมิดนานถึง 2 สัปดาห์ ด้วยการเปลี่ยนคุณสมบัติในการเติบโตของข้าวจากเดิมที่ต้นข้าวใต้นํ้าจะ พยายามแทงยอดพ้นนํ้าให้เร็วที่สุดเพื่อหาแสงแดด ซึ่งต้นข้าวจะต้องใช้ พลังงานจำ�นวนมาก ซึ่งถ้าหากต้นข้าวไม่สามารถโผล่พ้นนํ้าได้ ต้นข้าวก็ จะตาย แต่เทคนิคใหม่ของภาวะทนนํา้ จะทำ�ให้ขา้ วจำ�ศีลในระหว่างนา้ํ ท่วม แล้วเริ่มงอกใหม่เมื่อนํ้าลด โดยนักวิจัยได้เพาะพันธุ์ข้าวชนิดนี้ขึ้นโดยการ แยกยีนซึ่งทนนํ้าท่วมได้ดีจากข้าวพันธุ์ที่มีความทนทานเป็นพิเศษแต่ให้ ผลผลิตตํ่าเกินไปสำ�หรับปลูกเชิงพาณิชย์ แล้วจึงถ่ายยีนชนิดนี้ไปไว้ใน ข้าวพันธุใ์ หม่ทใ่ี ห้ผลผลิตสูงอย่าง “พันธุเ์ มกะ” ซึง่ เมล็ดมีคณุ สมบัตดิ แี ละ ทนต่อแมลงศัตรูพชื จึงทำ�ให้ขา้ วอยูร่ อดและยังช่วยเพิม่ ผลผลิตต่อไร่มากขึน้ ในภาวะทางตรงกันข้าม ความแห้งแล้งทีเ่ กิดจากอุณหภูมทิ ส่ี งู ขึน้ กำ�ลัง ทำ�ให้ดนิ แดนทีเ่ คยปลูกข้าวโพดเพือ่ เลีย้ งดูคน 300 ล้านคนในทวีปแอฟริกา ต้องประสบกับผลผลิตที่ลดลง ดังนั้น กลุ่มสภาที่ปรึกษาการวิจัยด้าน การเกษตรระหว่างประเทศในเมืองมงต์เปลลิเยร์ของฝรัง่ เศส และศูนย์พฒั นา พันธุ์ข้าวโพดและข้าวสาลีระหว่างประเทศในเม็กซิโก จึงได้ทำ�การผสม และจับคูต่ วั อย่างพันธุจ์ �ำ นวนมากจากคลังพันธุกรรมระหว่างประเทศ เพือ่ เพาะข้าวโพดหลายสายพันธุ์ที่สามารถทนต่อปริมาณนํ้าฝนอันน้อยนิดได้ อีกทั้งยังเพิ่มผลผลิตได้สูงถึงร้อยละ 30 แม้จะมีการคาดการณ์วา่ ในปี 2021 เกษตรกรในประเทศกำ�ลังพัฒนา จำ�นวน 18 ล้านครัวเรือนจะปลูกข้าวด้วยพันธุ์ทนนํ้าท่วม และการที่มี เกษตรกร 40 ล้านรายที่กำ�ลังใช้เม็ดพันธุ์ไฮเทคนี้ต่อสู้กับภัยแล้งนั้นน่าจะ ช่วยบรรเทาวิกฤติอาหารที่จะเกิดขึ้นได้บ้าง แต่ก็ยังมีนักวิทยาศาสตร์ บางกลุม่ ทีย่ งั ไม่ไว้วางใจกับการทนนํา้ ทนแล้งว่าจะทำ�ให้โลกมีอาหารเพียงพอ และเพื่อความมั่นใจยิ่งขึ้นการพัฒนาในส่วนใต้ดินก็ไม่อาจยกเว้น “เราต้องการรากที่โลภมาก” เทรเวอร์ การ์เน็ต (Trevor Garnett) นักชีววิทยาพืชจากมหาวิทยาลัยอะดิเลด (University of Adelaide) ออสเตรเลีย กล่าวถึงเป้าหมายงานวิจัยที่เขากำ�ลังทำ�อยู่ หลังจากที่พบว่า รากของพืชในปัจจุบันมีความสามารถในการดูดซับไนโตรเจนจากปุ๋ยแค่ ร้อยละ 40-50 ส่วนทีเ่ หลือกลายเป็นขยะทีก่ อ่ ให้เกิดมลพิษในแม่นา้ํ ลำ�ธาร ข้อเท็จจริงที่ว่านี้ทำ�ให้นักชีววิทยาพืชกำ�ลังหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้ รากของพืชอาหารเข้ามามีส่วนร่วมในการเพิ่มผลผลิต ทั้งการออกแบบ 16 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
© REUTERS/Bobby Yip
เพิ่มพลังจากต้นจรดปลาย
© Peter Adams/Corbis
COVER STORY เรื่องจากปก
รูปทรงและความยาวของรากและการกระตุ้นจุลินทรีย์ในดินเพื่อช่วยให้ รากดูดซับแร่ธาตุได้ดีขึ้น หรือแม้กระทั่งการค้นคว้าระบบการทำ�งานของ จุลินทรีย์ไรโซเบียมในรากของถั่วเพื่อนำ�มาปรับแต่งให้รากพืชสามารถ ยึดไนโตรเจนจากอากาศแทนการดูดจากดิน ซึง่ ก็เป็นอีกกระบวนการหนึง่ ทีจ่ ะลดปริมาณการใช้ปยุ๋ และต้นทุนการผลิต ตลอดจนช่วยรักษาสิง่ แวดล้อม จากไนโตรเจนส่วนเกิน อย่างไรก็ตาม การค้นคว้าทีจ่ ะเพิม่ พลังให้กบั รากของพืชอาหารยังอยู่ ในขั้นทดลองเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ในไม่ช้านักวิทยาศาสตร์ผู้กำ�ลังทุ่มเท เหล่านี้ จะสามารถประกาศผลแห่งความพยายามไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพราะพวกเขาต่างก็ตระหนักดีวา่ รากพืชทีพ่ วกเขาพยายามปลุกปัน้ อยูน่ น้ั คือกุญแจสำ�คัญของการปฏิวัติสีเขียวรอบที่สอง
Chinook Salmon
Ocean Pout
Atlantic Salmon
AquAdvantage® Salmon
eatmedaily.com
metrolic.com
COVER STORY เรื่องจากปก
ทางแพร่งแห่งอาหาร ไม่มีครั้งไหนที่องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food Drug Administration: FDA) จะเผชิญกับศึกหนักในการต่อสู้ กับการร้องเรียนเท่าครัง้ นี้ เพราะสิง่ ทีเ่ อฟดีเอกำ�ลังพิจารณาและ ยืดเยือ้ มาเป็นแรมปีนน้ั จะสร้างประวัตศิ าสตร์หน้าใหม่ของวงการ อาหารโลกด้วยการรับรองว่าปลาแซลมอนที่ตัดแต่งพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms: GMO) ซึ่งพวกอนุรักษ์ เรียกว่า “แฟรงเกนฟิช (Frankenfish)” นั้นปลอดภัยและ เหมาะแก่การบริโภค
เนื้อปลาสีส้มสดที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 นั้นได้รับการยกย่อง จากนักโภชนาการว่าเป็นอาหารแห่งสุขภาพ คุณสมบัตสิ ดุ วิเศษนีเ้ องนำ�มา ซึ่งการขยายตัวของฟาร์มปลาแซลมอนในประเทศต่างๆ โดยในปี 1985 ปลาแซลมอนที่บริโภคในโลกนั้นมาจากฟาร์มแค่ร้อยละ 6 แต่ในปี 2000 สัดส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 58 และทำ�ให้ปลาแซลมอนที่เคยเป็นเมนู สำ�หรับคนมีฐานะนั้นมีราคาถูกลงจนเกือบเหมือนอาหารประจำ �วันเช่น เนื้อหมูและไก่ แต่การเลี้ยงในฟาร์มอาจยังไม่ทันต่อความต้องการ จึงเปิดโอกาสให้ บริษทั อะควา เบาที เทคโนโลยีส์ (Aqua Bounty Technologies) ยืน่ เรือ่ ง
ขออนุมัติจำ�หน่ายปลาแซลมอนที่มีการนำ�พันธุกรรมจากปลาแซลมอน พันธุ์ชินุก (Chinook) ไปผสมกับดีเอ็นเอของปลาไหลทะเลที่มีวัฏจักรการ เติบโตเร็ว แล้วนำ�มาใส่ในปลาพันธุแ์ อตแลนติก ซึง่ จะทำ�ให้ปลาแซลมอน โตเร็วกว่าปกติหนึง่ เท่าตัว ดังนัน้ ชาวประมงจึงสามารถเลีย้ งปลาแซลมอน แอตแลนติกให้โตเต็มทีไ่ ด้ภายในเวลาเพียง 1.5-2 ปี จากเดิมทีต่ อ้ งใช้เวลา 3-4 ปี ตลอดระยะเวลา 15 ปีแห่งความพยายามในการยื่นขออนุมัตินั้น ในทีส่ ดุ ก็เริม่ มองเห็นถึงเค้าลางแห่งความเป็นไปได้มากขึน้ จากก่อนหน้านี้ ที่เอฟดีเออนุญาตให้มีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อการค้าได้ และ ในครัง้ นีก้ เ็ ช่นกัน เจ้าหน้าทีข่ องเอฟดีเอก็ไม่ได้มที ที า่ แข็งขืนแต่ประการใด และยังเห็นพ้องว่าปลาแซลมอนดัดแปลงพันธุกรรมนั้นปลอดภัยสำ�หรับ การนำ � มาบริ โ ภคเป็ น อาหารเที ย บเท่ า กั บ ปลาแซลมอนที่ จั บ ได้ จ าก มหาสมุทรแอตแลนติก โดยไม่มคี วามแตกต่างทางชีวภาพทีส่ �ำ คัญในด้าน วิตามิน แร่ธาตุ หรือกรดไขมัน แต่กระนั้นเอฟดีเอก็ยังประวิงเวลาไม่กล้า ตัดสินใจขัน้ เด็ดขาด เพราะต้องเผชิญหน้ากับนักวิทยาศาสตร์และผูบ้ ริโภค ลัทธิธรรมชาตินิยมอีกหลายกลุ่มที่รวมตัวกันคัดค้านและขอให้เอฟดีเอ หาข้อมูลเพิ่มเติมมาพิสูจน์ สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
farmlandgrab.org
ขณะเดียวกัน ในอีกฟากหนึง่ ของทะเลแอตแลนติก ชาวประมงกลุม่ หนึง่ กำ�ลังประคบประหงมปลาแซลมอนด้วยวิธกี ารต่างๆ ทีเ่ ลียนแบบให้ใกล้เคียง กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติมากทีส่ ดุ การสร้างอุโมงค์นา้ํ พร้อมขัน้ บันได เพื่อให้ปลาแซลมอนได้ว่ายทวนนํ้าเพื่อวางไข่เป็นสิ่งที่พวกเขาทำ�ให้กับ แซลมอน เพื่อให้พวกมันมีความสุขอย่างที่ควรจะเป็นก่อนที่จะกลายเป็น ชิ้นเนื้อที่ถูกแปะป้ายว่าแซลมอนออร์แกนิกและขายในราคาที่สูงกว่าปกติ สำ�หรับลูกค้าที่พอใจกับวิถีแห่งความบริสุทธิ์นั้น จำ�นวนลูกค้าที่เชื่อมั่นในเส้นทางสายธรรมชาตินี้มีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างน่าตกใจ และทำ�ให้ตลาดอาหารออร์แกนิกหรืออาหารที่ปราศจาก สารเคมีและการตกแต่งพันธุกรรมมีมูลค่าที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากใน ปี 2006 ทีม่ มี ลู ค่า 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (600 พันล้านบาท) ในปี 2006 เพิ่มขึ้นเป็น 27 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (810 พันล้านบาท) ในปี 2010 ซึ่ง สะท้อนเส้นแบ่งระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่ชัดเจน และเป็นแรงสนับสนุนให้ นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งพยายามพิสูจน์ว่า การเพาะปลูกด้วยวิธีแบบ ออร์แกนิกจะสามารถเพิม่ ปริมาณให้เพียงพอต่อประชากรโลกทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต
แผ่นดินนี้เราจอง ในศตวรรษที่ 21 ไม่มคี รอบครัวควิมเปอร์ทบ่ี งั เอิญหลงทางเข้าไปในดินแดนทีย่ งั ไม่มี เจ้าของแล้วตัง้ รกรากเหมือนในหนังสือชือ่ ดังของริชาร์ด เพาเวลล์แล้ว มีแต่ครอบครัว ทีเ่ ป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ของเกาหลีใต้ในนามแชโบล (ชือ่ เรียกกลุม่ ธุรกิจขนาดใหญ่) ที่เข้าไปจับจองพื้นที่ในดินแดนที่เหมาะสมจะเป็นแหล่งผลิตอาหารในอนาคต
18 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
การโต้เถียงระหว่างกลุ่มผู้สนับสนุนกระบวนการผลิตอาหารแบบ ธรรมชาติและอาหารจากห้องแล็บทีช่ ว่ ยบรรเทาความอดอยากนัน้ จึงเป็นไป อย่างเผ็ดร้อนและมีนํ้าหนักด้วยกันทั้งคู่ การเลือกทางใดทางหนึ่งจึงไม่ใช่ ทางออกที่ดีนักสำ�หรับผู้ผลิตอาหารที่เข้าใจสถานการณ์ที่รออยู่ข้างหน้า การเลือกที่จะเอาชนะความท้าทายครั้งใหม่ที่มาพร้อมกับคนจำ�นวน 9 พันล้านคน ผืนดินที่ลดน้อยและต้องยื้อแย่ง สภาพอากาศที่ไม่เป็นมิตร ต่อการเพาะปลูก และความหิวโหยที่ติดตามมาต่างหาก ถึงจะเป็นเรื่อง สำ�คัญที่ต้องการความเด็ดขาด
ที่มา: 5 อาหารที่จะช่วยโลก จากนิตยสารสรรสาระ (พฤษภาคม 2012) นิตยสาร NATURE ฉบับที่ 466 (29 กรกฎาคม 2010) bbc.co.uk dairyreporter.com economist.com guardian.co.uk
จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุวา่ พืน้ ทีก่ ว่าครึง่ บนเกาะมาดากัสการ์ซง่ึ ตัง้ อยูใ่ นมหาสมุทรอินเดียเป็นพืน้ ทีท่ ส่ี ามารถทำ�การเกษตรได้ จึงไม่นา่ ประหลาดใจว่า เมือ่ ปี 2008 แดวู โลจิสติกส์ จึงได้บรรลุขอ้ ตกลงเช่าซือ้ ทีด่ นิ ขนาด 12,950 ตารางกิโลเมตรบนเกาะในเขตร้อนแห่งนีเ้ ป็นเวลา 99 ปี เพือ่ ใช้ส�ำ หรับ การปลูกข้าวโพดและปาล์มนํ้ามันซึ่งเป็นพืชสำ�คัญในการผลิตพลังงาน ฮงจองวาน ผู้จัดการของแดวูกล่าวว่า ที่ดินในเกาหลีใต้ขาดแคลนและราคา แพงลิบลิ่ว การเช่าซื้อที่ดินบนเกาะแห่งนี้ในราคา 12 เหรียญสหรัฐฯ (360 บาท) ต่อ 4,000 ตารางเมตร จึงนับเป็นต้นทุนทีต่ า่ํ มาก นอกจากนีย้ งั เป็นการประกันความมัน่ คง ทางอาหารอีกด้วย การคาดการณ์ถึงความขาดแคลนอาหารในอนาคตทำ�ให้ประเทศที่ยากจนแต่ อุดมด้วยพืน้ ทีก่ ารเกษตร โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกากำ�ลังเป็นเป้าหมายของประเทศ รํา่ รวยกว่าในการเข้ามาบุกเบิกเพือ่ เพาะปลูกพืชอาหารและพลังงานแล้วส่งกลับไปยัง ประเทศของตนเอง อาณานิคมสีเขียวของประเทศต่างๆ อาจสร้างกระแสวิพากษ์วจิ ารณ์ดา้ นจริยธรรม ถึงการเข้าไปเบียดเบียนพืน้ ทีท่ �ำ กินของคนพืน้ เมืองในแอฟริกา แต่ทว่าในอีกด้านหนึง่ นั้น ความสิ้นหวังของรัฐบาลท้องถิ่นในการหาเงินทุนมาซื้อเครื่องมือและปุ๋ยสำ�หรับ พืน้ ทีก่ ารเกษตรขนาดมหึมานัน้ ก็ก�ำ ลังได้รบั การเติมเต็มจากความหวาดวิตกของรัฐบาล ในประเทศแถบยุโรปและตะวันออกกลางที่พร้อมจะลงทุน ดังเช่นที่แดวู โลจิสติกส์ ได้วางแผนใช้เงิน 6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (1.8 แสนล้านบาท) สำ�หรับ 20 ปีขา้ งหน้า เพื่อการสร้างท่าเรือ ถนน โรงงานไฟฟ้า และระบบชลประทานที่จำ�เป็นสำ�หรับ ทำ�การเกษตรและส่งออกผลผลิตกลับไปยังเกาหลีใต้ ซึง่ โครงการเหล่านีก้ ช็ ว่ ยสร้างงาน ให้กับพลเมืองชาวมาดากัสการ์ที่เคยว่างงานและยากจนให้มีเงินซื้ออาหารกิน แม้ว่าอาหารนั้นอาจจะต้องนำ�เข้าก็ตาม ทีม่ า: นิตยสาร Time (23 พฤศจิกายน 2008)
rsis.edu.sg
INSIGHT อินไซต์
ที่นี่...เซอร์ราโด เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
เมือ่ สามสิบปีกอ่ น บราซิลเคยเป็นประเทศทีต่ อ้ งนำ�เข้าอาหาร แต่ ในปัจจุบันบราซิลอยู่ในฐานะผู้ส่งออกอาหารที่สามารถแข่งรัศมี กั บ ผู้ ส่ ง ออกธั ญ พื ช และเนื้ อ สั ต ว์ ร ายใหญ่ ข องโลกอย่ า ง สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา และสหภาพ ยุโรป
ความลับของผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลนี้อยู่ในทุ่งสะวันนาทาง ตะวันออกเฉียงเหนือที่เรียกว่า เซอร์ราโด (Cerrado) พื้นที่ที่เคยแห้งแล้ง และถูกทิง้ ร้างนีไ้ ด้ถกู ชุบชีวติ ใหม่โดยบริษทั วิจยั การเกษตรแห่งบราซิลหรือ ชื่อย่อว่าเอมบราปา (Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuaria: Embrapa) ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลในการวิจัยเพื่อทำ�ให้ เซอร์ราโดเป็นพืน้ ทีเ่ พาะปลูกแห่งใหม่ และยังช่วยลดการบุกรุกป่าแอมะซอน สิ่งแรกที่เอมบราปาเข้ามาจัดการคือการถมปูนขาวอย่างตํ่าปีละ 14-16 ล้านตันอย่างต่อเนือ่ งเป็นเวลา 14 ปีเพือ่ ปรับสภาพดินทีม่ คี วามเป็น กรดสูงให้มีความสมดุล พร้อมๆ กับการเพาะจุลินทรีย์หลากสายพันธุ์ ที่ไปได้ดีกับดินในเซอร์ราโดเพื่อเพิ่มไนโตรเจนที่เป็นปุ๋ยสำ�หรับพืช ใน
ขณะเดียวกัน นักวิทยาศาสตร์จากบริษัทแห่งนี้ก็ได้เดินทางไปยังแอฟริกา เพื่อนำ�หญ้าชนิดหนึ่งกลับมาแล้วทำ�การผสมข้ามสายพันธุ์จนได้หญ้า บราเควียรินฮา (Braquiarinha) ทีม่ ปี ริมาณผลผลิต 20-25 ตันต่อ 6.25 ไร่ ซึ่งสูงกว่าหญ้าพันธุ์ท้องถิ่นหลายเท่าตัวเพื่อเป็นอาหารสำ�หรับฝูงวัวเนื้อ ที่ขาดไม่ได้คือการดัดแปลงพันธุกรรมถั่วเหลือง พืชที่ต้องการความ แตกต่างของฤดูกาลอย่างชัดเจนให้กลายเป็นพืชสำ�หรับเมืองร้อนและทนดิน ที่มีความเป็นกรด ซึ่งเอมบราปาก็ทำ�สำ�เร็จโดยที่ยังไม่หลงลืมวิถีแห่ง ออร์แกนิกด้วยการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยยังทิ้งลำ�ต้นไว้ให้เน่าเปื่อยเพื่อให้ ดินอุดมสมบูรณ์สำ�หรับผลผลิตในฤดูกาลหน้า ในปี 2001 ยอดการส่งออกสินค้าเกษตรของบราซิลมีมูลค่ารวม 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ( 480 พันล้านบาท) แต่ในปี 2011 ยอดส่งออกของ บราซิลอาจจะเกิน 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (2,400 พันล้านบาท) ความ สำ�เร็จของบราซิลทำ�ให้เซอร์ราโดเป็นโมเดลต้นแบบของการเปลี่ยนวิธีคิด จากการมุ่งหน้าไปหาพื้นที่ในฝันสำ�หรับเพาะปลูก มาสู่การลงมือสร้าง ความอุดมสมบูรณ์ด้วยเทคโนโลยีและวิทยาการที่ไม่ไกลเกินเอื้อม สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 19
20 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
Nudie… Make delicious juices for fruit lovers. เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ และ ศุภมาศ พะหุโล
ช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา กระแสรักสุขภาพคือโจทย์ที่ท้าทายผู้ประกอบการด้านอาหาร และเครื่องดื่มอยู่เสมอ สำ�หรับที่ออสเตรเลีย แม้การแข่งขันในสนามของผู้ผลิตนํ้าผลไม้ พร้อมดืม่ นัน้ แสนจะเข้มข้น แต่สง่ิ ทีผ่ บู้ ริโภคพบเจอในชัน้ วางสินค้ากลับกลายเป็นผลิตภัณฑ์ จากบริษทั ยักษ์ใหญ่ทผ่ี ลิตนา้ํ ผลไม้ท่ี “เสมือนจริง” ทัง้ หน้าตาและสีสนั ทีส่ �ำ คัญคือเนือ้ ผลไม้ ในกล่องให้ความรู้สึกเหมือนดื่มจากเครื่องคั้นสดๆ แต่ Nudie กลับสร้างความแตกต่าง ด้วยการผลิตนํ้าผลไม้แบบบรรจุใส่ขวดใสแทนที่กล่องกระดาษแบบปิดทึบ และมีอายุการ เก็บรักษาเพียงแค่ 2-3 วัน เพราะปราศจากสารกันบูดและการเติมนํ้าตาลเพื่อยืดอายุ นอกจากนี้ ยังเลือกใส่ไอเดียสนุกๆ ด้วยการผสมนํ้าผลไม้ต่างชนิดในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อให้ได้รสชาติที่อร่อยกำ�ลังดี
22 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ต้นทุนจากความสดชื่นในยามเช้า Nudie เริม่ ต้นจากไอเดียง่ายๆ ของทิม พีทธิคก์ (Tim Pethick) ทีม่ คี วามชอบผลไม้เป็นชีวติ จิตใจ ด้วยเหตุผลว่าผลไม้ที่ให้ความสดชื่นในยามเช้า นั้นเป็นเหมือนกับอาหารชั้นดี ในทุกเช้า ทิม ต้องเริ่มต้นวันด้วยการทำ�นํ้าผลไม้สด (ผลไม้ คั้นสดและสมูตตี้) ให้กับคนในครอบครัวอย่าง ภรรยาและลูกสาว โดยมีหนึ่งแก้วใหญ่สำ�หรับ ตัวเขาเอง ขั้นตอนการเตรียมผลไม้เพื่อเสิร์ฟ คนที่เขารัก คือสาเหตุหลักที่ทำ�ให้เขาลุกขึ้นใน ตอนเช้าของทุกวัน โดยในปี 2003 ทิมเริ่มมี ความคิดว่า น่าจะเป็นเรือ่ งทีด่ ี หากเวลาเดินทาง ออกไปนอกบ้าน เขาสามารถหานํ้าผลไม้สดๆ ดืม่ ได้ โดยเป็นนา้ํ ผลไม้ทม่ี ปี ระโยชน์และรสชาติ ดี ไม่ใส่สารกันบูด เติมสี ไม่ใส่นํ้าผลไม้เข้มข้น หรือแม้กระทัง่ เติมนํา้ ตาล แต่ดว้ ยความทีเ่ ขาไม่ได้ เรียนจบด้านอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ไอเดียดังกล่าวจึงไม่ถูกนำ�มาจัดใส่กรอบให้ เป็นรูปเป็นร่าง “ผมไม่มปี ระสบการณ์หรือความรู้ อะไรเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เลย จากมุมมองของผม ผมคิดว่านั่นเป็นข้อ ได้เปรียบมาก เพราะผมสามารถนำ�เสนออะไร ใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมและธุรกิจทางด้านนี้ แต่มนั ก็ทา้ ทายมาก เพราะผมต้องเรียนรูท้ กุ อย่าง ใหม่ทั้งหมด” ทดลองด้วยความสนุก เกิดเป็นสูตรที่ลงตัว ทิมเริ่มต้นเส้นทางของ Nudie ด้วยการตั้ง คำ�ถามง่ายๆ กับเพือ่ นบ้านและคนรูจ้ กั รอบข้าง ว่า “มีใครอยากได้นา้ํ ผลไม้พร้อมดืม่ ทีไ่ ม่ปรุงแต่ง สีและรสบ้างไหม แบบสดแท้จากธรรมชาติเลย” เพราะทิมมีความเชื่อว่าน่าจะมีคนที่ชอบหรือ อยากได้อะไรไม่ตา่ งจากเขา และเขาก็คาดการณ์ ไว้ไม่ผดิ เมือ่ ทุกคนต่างลงความเห็นว่ามันน่าสนใจ และอยากได้ เขาจึงเริ่มสร้างแบรนด์ขึ้นมาโดย ให้ความสำ�คัญกับสองเรื่องคือคำ�มั่นสัญญา ของแบรนด์ (Brand Promises) และบุคลิกภาพ ของแบรนด์ (Brand Personality) เขาจึงได้ชื่อ
Nudie มาเพือ่ สือ่ สารกับกลุม่ ลูกค้าของเขาโดยตรง ว่าผลิตภัณฑ์ของเขานั้นไม่มีส่วนผสมอย่างอื่น เลยนอกจากผลไม้จากธรรมชาติ โดยเมื่อได้ชื่อ แล้ว เขาก็ไม่รีรอที่จะลงมือออกแบบโลโก้และ บรรจุภัณฑ์ไปพร้อมๆ กับทดลองผสมนํ้าผลไม้ หลากหลายชนิดเพื่อออกวางจำ�หน่ายให้ลงตัว ที่สุด เมื่อทุกอย่างเป็นรูปเป็นร่าง ทิมและเพื่อน อีกสองคนก็เริ่มเปิดตลาดโดยการนำ�เสนอกับ ร้านอาหารและเคาะประตูตามบ้าน เพือ่ แนะนำ� สินค้าของเขาให้เป็นที่รู้จัก ภายในสัปดาห์แรก ทิมขายได้ถึง 40 ขวด แม้ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ของ เขาจะมีราคาสูงกว่านํา้ ผลไม้อน่ื ๆ ทีม่ อี ยูใ่ นตลาด ช่วงนัน้ (ราคาประมาณขวดละ 100 บาท เท่ากับ ราคานา้ํ ผลไม้กล่องขนาดใหญ่ของแบรนด์ใหญ่) แต่หลายคนก็ยินดีที่จะจ่ายเพื่อแลกกับสิ่งดีๆ ให้ร่างกาย สิง่ ทีน่ า่ สนใจของ Nudie คือทุกขวดจะบอก ถึงปริมาณผลไม้ทผ่ี สมอย่างละเอียดทัง้ เทียบเป็น เปอร์เซ็นต์และเทียบเป็นลูก เช่น นํ้าผลไม้รส BLUEBERRY, BLACKBERRY & MORE ที่แสดง ส่วนผสมอย่างชัดเจนว่าภายในนา้ํ ผลไม้ในขวดนี้ มีแอปเปิ้ล 4/5 ลูก (40%) กล้วย ½ ลูก (20%) แบล็คเบอร์รี่ 31 ลูก (20%) บูลเบอร์รี่ 12 ½ ลูก (10%) และ ส้ม 1/5 ลูก (10%)
ค้นหาความแปลกใหม่ ต่อยอดธุรกิจได้ไม่รู้จบ Nudie ได้รบั การโหวตให้เป็นหนึง่ ในสิบแบรนด์ จากออสเตรเลียที่ทรงอิทธิพลที่สุดในภาคพื้น เอเชียแปซิฟิก ในปี 2004 โดยปัจจุบันกิจการ ของ Nudie ได้เดินทางมาไกลกว่าเมือ่ ครัง้ เริม่ ต้น จากวันแรกที่มีทีมงานเพียงแค่สามคน ปัจจุบัน Nudie มีทีมทั้งหมดรวมกว่า 70 คน มีสถานที่ จัดจำ�หน่ายกว่า 5,000 ที่ และใช้ผลไม้ไม่ตา่ํ กว่า 3 ล้านชิน้ ต่อสัปดาห์ โดยคัดเลือกผลไม้จากฟาร์ม ที่มั่นใจในคุณภาพจากทั่วโลก และมีเทคโนโลยี การผลิตที่ก้าวหน้า โดยทำ�รายได้ถึงปีละ 18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ Nudie ยังพัฒนาสินค้าอย่าง ต่อเนื่อง โดยการต่อยอดจากนํา้ ผลไม้มาเป็น สมูตตี้ท่เี พิ่มส่วนผสมของโยเกิร์ตไขมันตา่ํ เข้าไป หรือสินค้าน้าํ มะพร้าวบรรจุขวดใสที่ มี ทั้ ง แบบ 100% และแบบผสมเข้ากับผลไม้ชนิดอื่น เช่น ลิน้ จีแ่ ละมะนาว เพือ่ เพิม่ รสชาติแห่งความสนุก ให้มากยิ่งขึ้น เพราะสิ่งที่เป็นแรงผลักดันของ Nudie คือการสร้างแบรนด์ที่อยู่บนพื้นฐานของ ความสนุก โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างความรู้สึก ร่วมไปกับกลุ่มผู้บริโภค ในปัจจุบัน Nudie ยังคงสร้างกระแส ความนิยมให้กับลูกค้าที่มีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้น โดยไม่ลมื ส่งข่าวสารผ่านเว็บไซต์ “เราเชือ่ ว่าลูกค้า ในปัจจุบนั จะเข้ามาทีห่ น้าเว็บไซต์ของเราเพือ่ หา ข้อมูลเพิม่ เติม แนวคิดของ Nudie ยังคงพยายาม ทีจ่ ะสร้างความสัมพันธ์อนั ดีกบั กลุม่ ลูกค้า และ เว็บไซต์เป็นเครือ่ งมือทีด่ มี าก” ความสำ�เร็จของ Nudie จึงเป็นสิง่ ทีย่ นื ยันได้วา่ ผลิตภัณฑ์อาหาร หรือเครื่องดื่มในยุคนวัตกรรมลํ้าหน้า ไม่ได้ หมายความว่าจะต้องจับคูว่ ตั ถุดบิ กับเทคโนโลยี เสมอไป เพียงแค่ลองเปลีย่ นมาผสมผสานความ สนุกจากการลงมือทำ�ด้วยตนเอง และการกลับคืน สู่ความเป็นธรรมชาติอย่างแท้จริง ซึ่งนั่นอาจ หมายถึงการมอบสุขภาพที่ดีให้กับร่างกายได้ ในระยะยาว ภาพและที่มา: nudie.com.au สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ISRAEL
อิสราเอล พันธสัญญาเหนือผืนทราย
เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี
จากชนชาติที่ถูกกระทำ�อย่างเจ็บปวดที่สุดเท่าที่มนุษยชาติพึงจะกระทำ�ต่อกันในประวัติศาสตร์โลก ชาวยิวเดินฝ่าความขมขื่นเพื่อ ร่วมกันสร้างดินแดนในแผ่นดินที่ยึดถือว่าเป็นพันธสัญญาของพระเจ้าภายใต้ชื่ออิสราเอล แต่ลมฝนจากทะลเมดิเตอร์เรเนียนก็ไม่ อาจบรรเทาความแห้งแล้งจากเบื้องบน เมื่อทะเลทรายกินพื้นที่เกือบครึ่งประเทศ และอีกด้านคือทะเลสาบเดดซี ทะเลแห่งความตาย ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดๆ อยู่รอด ซํ้ายังถูกขนาบข้างด้วยปัญหาการแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์และพื้นที่ฉนวนกาซาที่ยืดเยื้อยาวนาน ถึงอย่างนั้นก็กลับไม่มีข้อกังขาใดในผลิตผลทางปัญญาของชาวยิว เพราะในดินแดนที่เต็มไปด้วยอุปสรรคนี้ เทคโนโลยีการเกษตร และระบบชลประทานสมัยใหม่ได้แผ้วถางความกันดารและนำ�ความอุดมสมบูรณ์มาสู่ผืนทราย จากดินแดนที่มีพันธะต่อพระเจ้า สู่พันธสัญญาใหม่เพื่อหล่อเลี้ยงผู้คนบนโลกใบนี้
24 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
© Nathan Benn/Otto chrome/Corbis
ที่พึ่งสุดท้ายแห่งศรัทธา อิสราเอลเป็นประเทศทีเ่ ผชิญหน้ากับความขัดแย้ง มาโดยตลอด ทันทีที่สหประชาชาติได้แบ่งแยก ดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็น 2 ส่วน เมื่อปี 1947 โดยส่วนหนึ่งให้เป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีก ส่วนเป็นพืน้ ทีข่ องชาวอาหรับ หนึง่ ปีตอ่ มาชาวยิว ได้สถาปนารัฐอิสราเอลขึน้ และเป็นเหตุทท่ี �ำ ให้ ความขัดแย้ง ระหว่างชาวยิวกับชาวอาหรับทวี ความรุนแรงขึน้ กลุม่ อาหรับทีป่ ระกอบด้วยอียปิ ต์ ซีเรีย จอร์แดน และเลบานอนได้สนับสนุนการตัง้ องค์การเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ (Palestine Liberation Organization: PLO) และเมือ่ ยัสเซอร์ อาราฟัตเข้ามาเป็นผู้นำ�พร้อมนโยบายแข็งกร้าว ดีกรีความขัดแย้งก็ยิ่งเข้มข้นขึ้น เขาพยายาม อย่างยิ่งในการแสดงให้ชาวโลก ยอมรับการมี ตัวตนของชาวปาเลสไตน์ และพยายามแสดง ให้เห็นถึงความชอบธรรมในการกอบกู้ดินแดน ของชาวปาเลสไตน์คืนจากอิสราเอล ในปี 1972 กลุ่มนักรบปาเลสไตน์ได้ลงมือในปฏิบัติการที่ เขย่าขวัญคนทั้งโลกในขณะที่มหกรรมโอลิมปิก เกิดขึ้น ณ เมืองมิวนิก เยอรมนี ด้วยการบุกรุก เข้าหอพักนักกีฬาโอลิมปิก และจับตัวนักกีฬา ชาวอิสราเอลจำ�นวน 11 คนเป็นตัวประกัน เพือ่ เรียกร้องให้รัฐบาลอิสราเอลปล่อยตัว นักโทษ การเมือง ชาวปาเลสไตน์ 234 คน และอีก 2 คน ทีถ่ กู คุมขังอยูท่ เ่ี ยอรมนี เหตุการณ์ครัง้ นัน้ จบลง ที่ความสูญเสีย และปัญหาระหว่างทั้งสองฝ่าย ก็ยิ่งลุกลามขึน้ ไปอีก แม้นานาชาติจะได้พยายาม ทุเลาความเลวร้ายต่างๆ ผ่านเวทีเจรจาสันติภาพ อย่างต่อเนือ่ งนานหลายสิบปี รวมถึงมีโครงการ พัฒนาความร่วมมือมากมายทีห่ ลัง่ ไหลเข้าไปเพือ่ กอบกูแ้ ละเยียวยาด้านมนุษยธรรมแก่ทง้ั สองฝ่าย แต่กท็ �ำ ได้แค่เพียงบรรเทาเท่านัน้ เพราะเหตุการณ์ รุนแรงมักจะปะทุขึ้นเสมอๆ ขณะทีม่ หากาพย์แห่งความขัดแย้งรอบเขต แดนดำ�เนินไป แต่ภายในประเทศ รัฐบาลอิสราเอล ยังคงมุ่งมั่นที่จะฟูมฟักความแข็งแกร่งของชาติ ด้วยวิทยาการทันสมัยทุกแขนง ตั้งแต่การเพาะ ปลูกเพื่อความอิ่มท้องจนถึงอาวุธยุทโธปกรณ์
เพื่อประกาศศักดิ์ศรี นับจากการตัง้ ประเทศเมื่อ ปี 1948 อิสราเอลคือรัฐที่เติบโตจากการอพยพ เพือ่ การตัง้ ถิน่ ฐานอย่างแท้จริง จำ�นวนประชากร ขยายตัวอย่างรวดเร็วถึง 5 เท่า เป็นจำ�นวนราว 7.3 ล้านคนในปัจจุบัน กว่าร้อยละ 80 คือคน เชื้อสายยิว และอีกราวร้อยละ 20 เป็นเชื้อสาย อาหรับ พวกเขาอพยพมาจาก 5 ทวีป จากกว่า 100 ประเทศ และได้น�ำ เอาวัฒนธรรมเฉพาะถิน่ ติดตัวมาด้วย อิสราเอลจึงมีความหลากหลายของการ แสดงออกทางวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นซิมโฟนี แบบรัสเซีย บทประพันธ์อย่างอังกฤษ หรือกระทัง่ สถาปัตยกรรมแบบเบาเฮาส์จากเยอรมนีท่รี วม อยูภ่ ายใต้ความเป็นอิสราเอล ซึง่ ให้ความสำ�คัญ กับรากฐานทีแ่ ข็งแกร่งของชุมชน เมือ่ ประกอบกับ ประวัตศิ าสตร์บนดินแดนทีย่ าวนานกว่าสามพันปี เช่นเมืองหลวงเยรูซาเล็ม จึงทำ�ให้อิสราเอลมี องค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่ทั้งเสื่อมสลาย และยังมีชีวิตอยู่ โดยมีเมืองเทลอาวีฟศูนย์กลาง ทางการเงินทีไ่ ด้กลายมาเป็นศูนย์กลางแห่งพลัง ชีวติ ของหนุม่ สาว การเริม่ ต้นธุรกิจ ความทันสมัย ทั้งแฟชั่น อาหาร และศิลปะ ขณะที่เมืองไฮฟา เมืองท่าสำ�คัญก็ทำ�หน้าที่เป็นศูนย์กลางด้าน อุตสาหกรรม และเบเออร์เชวากลายเป็นเมือง ศูนย์กลางธุรกิจทางตอนใต้ของประเทศ และแม้จะ อยู่ในภาวะยุ่งเหยิง แต่การท่องเที่ยวก็ถือเป็น หนึง่ ในรายได้หลักของประเทศ โดยในปี 2011 มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางไปอิสราเอล กว่า 3.45 ล้านคน
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 25
© Ed Kashi/Corbis
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
อิสราเอลปรารถนาเป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะสลัดภาพ จำ�จากฉนวนกาซา และความคุกรุน่ จากกลิน่ อาย ความขัดแย้ง ประเทศจึงได้เปิดรับการลงทุนใหม่ๆ จากต่างชาติอย่างกว้างขวาง โดยมีปริมาณที่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสวนทางกับสถานการณ์ การเมืองระหว่างประเทศทีล่ มุ่ ๆ ดอนๆ ปริมาณ การลงทุ น จากต่ า งชาติ นั้ น สู ง ประมาณปี ล ะ เกือบพันล้านเหรียญสหรัฐฯ เรือ่ ยมา และเพิม่ สูง ถึง 25,000 ล้านเหรียญในปี 2006 โดยประเภท ของธุรกิจที่นักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุน ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ชั้นสูง โดยเฉพาะการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีใหม่ๆ (R&D) และธุรกิจด้านการเงิน ซึง่ มีกองทุนต่างชาติขนาดใหญ่เข้ามาดำ�เนินการ อยูเ่ ป็นจำ�นวนมาก เพราะอิสราเอลมีชอ่ื เสียงด้าน การบริหารกองทุนและการเงินไม่แพ้เทคนิค ทางวิทยาศาสตร์ อย่างไรก็ดี ความถดถอยในเศรษฐกิจยุโรป และอเมริกาซึง่ เป็นประเทศคูค่ า้ สำ�คัญของอิสราเอล ได้สง่ ผลกระทบอย่างหลีกเลีย่ งไม่`ได้ตอ่ เศรษฐกิจ ของอิสราเอลเอง ขบวนประท้วงและนัดหยุดงาน จึงเกิดขึน้ บนท้องถนนเพือ่ เรียกร้องความเป็นธรรม 26 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
จากรัฐบาล ขณะเดียวกันคลื่นผู้อพยพลี้ภัยจาก แอฟริกาก็เริม่ สร้างความปัน่ ป่วนในสังคม เมือ่ ความ แออัดนำ�ไปสู่ปัญหาอาชญากรรม ชาวเมืองเริ่ม ต่อต้านคนแปลกหน้าเหล่านี้ แต่รฐั บาลยังคงมัน่ ใจ ว่าจะก้าวข้ามความยุง่ ยากต่างๆ ไปได้ เพราะใน ช่วงทีเ่ ศรษฐกิจเลวร้ายแบบช็อกโลกเมือ่ ปี 2008 อิสราเอลก็สามารถส่งผ่านช่วงเวลาวิกฤติได้อย่าง นุม่ นวล เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้ขึ้น กับธุรกิจสินเชื่อหรือภาคอสังหาริมทรัพย์เพียง อย่างเดียว แต่กลับใช้เทคโนโลยีและการวิจยั เป็น ตัวขับเคลือ่ น และเพิม่ ผลผลิตของภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ การมีบริษัทด้านเทคโนโลยีมากกว่า ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ในขณะที่พลเมือง ของอิสราเอลนั้ น น้ อ ยกว่ า รั ฐ นิ ว เจอร์ ซี ย์ ข อง สหรัฐฯ ก็ยงั ทำ�ให้อสิ ราเอลสามารถดึงดูดการลงทุน ในกองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital Fund) ได้ มากกว่าอเมริกาถึง 2.5 เท่า ส่วนเหตุผลทีค่ วามสามารถของชาวอิสราเอล เป็นทีต่ อ้ งตาต้องใจนัน้ ไม่ใช่เพราะพวกเขาเก่งกว่า เหล่าเด็กโอลิมปิกวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ซึ่ง มีอยูม่ ากมายในอินเดียและสิงคโปร์ หรือผูค้ นจาก ประเทศที่มีเศรษฐกิจน่าประทับใจอย่างเกาหลี
แต่สง่ิ ทีอ่ สิ ราเอลทำ�นัน้ เริม่ ตัง้ แต่การวางนโยบาย เพือ่ การวิจยั และพัฒนา โดยถือเป็นประเทศทีท่ มุ่ เท งบประมาณเพือ่ งานวิจยั มากเป็นอันดับ 4 ของโลก และสิ่ ง ที่สำ�คัญก็คือการสร้างระบบนิเวศของ เทคโนโลยีขน้ึ ในชีวติ ประจำ�วันของชาวอิสราเอล ซึง่ ไม่ได้เกิดขึน้ จากระบบห้องปฏิบตั กิ ารของบริษทั แต่เป็นวัฒนธรรมการฝึกฝนในชีวติ ประจำ�วันทีเ่ ด็ก ทุกคนจะต้องเรียนรู้ เช่น คนหนุม่ สาวซึง่ เข้าเป็น ทหารที่จะต้องผ่านการฝึกด้านการทำ�งานเป็น ทีม วิธีการบริหารและจัดการกับความทุกข์ยาก การเอาชนะเงือ่ นไขต่างๆ ภายใต้ความบีบคัน้ อย่าง ภาวะทรัพยากรไม่เพียงพอและข้อมูลไม่สมบูรณ์ นอกจากนัน้ พวกเขายังถูกฝึกให้ทา้ ทายผูบ้ งั คับ บัญชาได้ในสิง่ ทีค่ ดิ ว่าไม่ถกู ต้อง การฝึกความอดทน การเอาชนะธรรมชาติ ด้วยความรู้และตรรกะ เป็นเรื่องที่เด็กๆ ชาว อิสราเอลถูกฝึกฝนในระบบนิเวศที่สร้างให้พวก เขาเติบโตขึ้นด้วยความกล้าที่มากพอในการ ทดลองทำ�สิ่งใหม่ๆ และท้าทายต่อสภาวการณ์ ที่อาจไม่เป็นใจ
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
พิชิตทะเลทราย
© REUTERS/Ibraheem Abu Mustafa
ใดทีม่ ศี กั ยภาพทางการตลาดสูง จากนัน้ ก็จะส่ง มาให้หน่วยงานวิจัยศึกษาถึงความเป็นไปได้ และคำ�นวณหาตัวแปรที่จะมีผลกับการเติบโต และคุณภาพของพืชชนิดนัน้ ๆ เช่น เมือ่ วางแผน จะปลูกดอกไม้เมืองหนาวที่มีราคาสูงและเป็น ที่ต้องการของตลาด ฝ่ายวิจัยจะคิดหาพันธุ์ที่ มีความแข็งแรงและงอกงามได้ภายในโรงเรือน ที่ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นได้ ทั้งยังมีการ ออกแบบโรงเรือนและวัสดุต่างๆ เช่น ตาข่าย มุงหลังคาที่มีสีและขนาดความถี่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนการ วิจัยและทดสอบ ทั้งการควบคุมความชื้น แสง และแมลง แต่กระบวนการคิดจะยังไม่จบแค่ การเพาะปลูกในโรงเรือนเท่านั้น เพราะยังต้อง คำ�นึงถึงระยะทางการขนส่ง ซึ่งทำ�ให้ฝ่ายวิจัย ต้องพัฒนาสายพันธุใ์ ห้กลีบดอกมีความแข็งแรง มากขึน้ เพื่อความสดที่นานขึ้น ขนส่งได้ไกลขึ้น และขยายตลาดได้มากขึ้น นอกจากนีเ้ พือ่ ระบบ การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ รัฐบาลจึงได้ลงทุน ทำ�ถนนที่แข็งแรงและราบเรียบเพื่อการขนส่ง พืชผลทางการเกษตรไว้ทั่วประเทศอีกด้วย การวางแผนการเพาะปลูกจะถูกกำ�หนด เป็นรายปีหลังจากได้รบั โจทย์จากฝ่ายการตลาด เพื่อควบคุมผลผลิตไม่ให้ล้นตลาด และขายได้ รายได้งาม รวมทัง้ เพือ่ การจัดสรรนํา้ สำ�หรับการ เพาะปลูกในแต่ละฤดูกาล เนื่องจากแหล่งนํ้า แหล่งเดียวของประเทศคือทะเลสาบกาลิลี ซึ่ง รับนา้ํ มาจากแม่นา้ํ จอร์แดนกับทะเลสาบคินเนเรต นั้นเป็นนํ้ากร่อยที่มีคลอไรด์หรือเกลือปนอยู่ใน ระดับ 10 ไมโครกรัมต่อลิตร ส่วนนา้ํ ในทะเลสาบ คินเนเรตก็มีระดับเกลือ สูงถึง 200 ไมโครกรัม ต่อลิตร และนํ้าจากแหล่งนํ้าใต้ดินก็มีระดับ คลอไรด์ที่เข้มข้นถึง 1,500 ไมโครกรัมต่อลิตร ดังนั้น นํ้าที่จะนำ�มาใช้ในการเพาะปลูกจึงต้อง ผ่านนวัตกรรมการบำ�บัดนํ้าเค็มให้เป็นนํ้าจืด ก่อนที่ถูกส่งต่อไปยังพื้นที่แต่ละแห่งและแปลง ของเกษตรกรแต่ละราย ซึ่งเกษตรกรจะต้อง เข้าใจธรรมชาติของพืชว่าต้องการนํา้ ในปริมาณ
© Richard T. Nowitz/Corbis
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก แต่อสิ ราเอลประกอบ ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่ต่างกันสุดขั้ว ด้านหนึ่ง ติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนรับอากาศร้อนชืน้ ทาง ตอนเหนือเป็นที่ราบสูงมีหิมะตกในฤดูหนาว และพื้นที่เกือบครึ่งประเทศเป็นทะเลทรายที่มี อากาศร้อนและแสงแดดตลอดปี ปริมาณฝนอัน น้อยนิดและไม่ทว่ั ถึงสร้างปัญหาใหญ่ดา้ นการเพาะ ปลูก ซํ้าร้ายไปกว่านั้น ทั้งประเทศยังมีแหล่ง นา้ํ จืดจำ�กัด และแหล่งดินคือเนินหินทรายทีเ่ ต็มไป ด้วยผลึกตะกอนเค็มสีขาว และบางส่วนก็เป็น กรวดปนทรายทีพ่ อจะเพาะปลูกได้คดิ เป็นร้อยละ 11 ของประเทศ และเมื่ อ มนุ ษ ย์ ไ ม่ อ าจมี ข้ อ โต้ แ ย้ ง หรื อ คำ�ร้องขอใดๆ จากธรรมชาติได้ ชาวอิสราเอล จึ ง จำ � ต้ อ งดำ � เนิ น ชี วิ ต บนความจำ � กั ด เช่ น นี้ พวกเขาจัดการบริหารพื้นที่อยู่อาศัยของชุมชน และพื้นที่การเกษตรอย่างเป็นระบบ ด้วยการ บริหารจัดการแบบรวมกลุ่มที่เรียกว่า คิบบุตซ์ (Kibbutz) และ โมชาฟ (Moshav) โดยคิบบุตซ์ เป็นรูปแบบของการนิคมสำ�หรับเกษตรกรที่ ไม่มที ด่ี นิ เป็นของตัวเอง และรายได้จากการขาย ผลผลิตทางการเกษตรจะถูกนำ�มารวมกันเพื่อ แบ่งปันกำ�ไรเท่าๆ กัน ขณะที่ โมชาฟ คือชุมชน จัดตัง้ ทีม่ กี ารรวมกลุม่ กันของเกษตรกร เพือ่ ช่วย กันทำ�มาหากินแบบพึง่ พาอาศัยกันอย่างมีกติกา ในรูปแบบคล้ายสหกรณ์ แต่ละแห่งมีสมาชิก ประมาณ 60-200 ครอบครัว แต่ละครอบครัว สามารถมีทด่ี นิ บ้าน และเครือ่ งมือทำ�การเกษตร เป็นของตนเอง โดยโมชาฟจะรับผิดชอบด้าน การตลาด การจัดซือ้ เครือ่ งมือเครือ่ งใช้ให้สมาชิก ในราคาถูก รวมทัง้ จัดการให้สมาชิกทุกคนได้ใช้ นํ้าและที่ดินอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อสามารถบริหารพื้นที่การเพาะปลูกและ อยูอ่ าศัยได้ การบริหารจัดการทรัพยากรก็ตามมา อิ ส ราเอลทุ่ ม เทอย่ า งหนั ก เพื่ อ การวิ จั ย และ พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรในทุกขั้นตอน และทุกมิติ เริ่มตั้งแต่การวางแผนการผลิตก่อน ปลูกพืช โดยฝ่ายการตลาดจะวิเคราะห์วา่ พืชชนิด
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 27
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เท่าใดสำ�หรับพันธุ์พืชที่แตกต่างกันในแต่ละ ฤดูกาลเพาะปลูกด้วย ทรัพยากรนํ้าที่จำ�กัดยังผลักดันให้อิสราเอล คิดค้นเทคโนโลยีระบบ Micro Irrigation หรือ ระบบการให้นํ้าแบบหยดเพื่อการเพาะปลูกที่ ได้ประสิทธิภาพโดยสูญเสียนํ้าน้อยที่สุด โดย ฝ่ายวิจัยจะศึกษาว่าพืชแต่ละชนิดต้องการนํ้า ปริมาณเท่าใด และดินที่ใช้ปลูกซึมนํ้าได้เร็วแค่ ไหน และเนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นทรายละเอียด การให้นํ้าอย่างมากก็จะไหล ผ่านชั้นรากพืชไปอย่างรวดเร็ว จนรากพืชอาจ ดูดซับไว้ไม่ทัน ดังนัน้ เกษตรกรจึงไม่จ�ำ เป็นต้อง รดนํ้าลงไปครั้งเดียว แค่ปล่อยนํ้าผ่านระบบนํ้า หยดให้นํ้าค่อยๆไหลลงไป รากพืชก็จะมีเวลา ดูดซับนํ้าได้ทัน การสูญเสียนํ้าจึงน้อยมากหรือ แทบไม่มีเลย ทัง้ นี้ ขัน้ ตอนในการควบคุมการผลิต ตัง้ แต่ ปริมาณนํา้ การวัดความชืน้ ในโรงเรือน และปัจจัย อื่นๆ เกือบทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยระบบ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ เช่น วาล์วนํ้าจะถูกสั่งเปิดจากคอมพิวเตอร์ทันทีที่ เครือ่ งวัดความชืน้ ในดินรายงานว่าพืชต้องการนา้ํ และเครือ่ งพ่นหมอกจะปล่อยละอองนา้ํ ในโรงเรือน เมื่อตัววัดความชื้นรายงานว่าอากาศเริ่มแห้ง เกินไป ส่วนพัดลมดูดอากาศจะทำ�งานทันทีที่ ความชื้นภายในโรงเรือนมากกว่าความต้องการ ของพืช คงเหลือแต่กระบวนการเก็บเกีย่ วผลผลิต ที่มีมูลค่าสูงและต้องการลดความบอบชํ้าซึ่ง จะใช้แรงงานฝีมือในการเก็บเกี่ยว แบบแผน เกษตรกรรม ตัง้ แต่การศึกษาความต้องการของ ตลาด การวิจัย เพาะปลูก เก็บเกี่ยว ไปจนถึง ระบบโลจิสติกส์น้ี เป็นระบบทีใ่ ช้ในฟาร์มปศุสตั ว์ และการประมงชนิดอื่นๆ ด้วย โดยในทุกๆ ปี ของฤดูกาลเพาะปลูกหรือเลีย้ งสัตว์ เจ้าของฟาร์ม จึงมีงานทดลองทุกปี เพือ่ นำ�ไปพัฒนาการเกษตร ในฤดูกาลต่อไป เช่น การเปรียบเทียบสายพันธุ์ เปรียบเทียบวัสดุปลูก หรือเปรียบเทียบโรงเรือนที่ แตกต่างกัน บนตรรกะเช่นนี้ทำ�ให้อิสราเอลไม่ ขาดแคลนอาหาร อีกทั้งยังเป็นผู้ส่งออกพืชผล 28 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
เกษตรรายใหญ่ที่สุดให้แก่ภูมิภาคยุโรปอย่าง ต่อเนื่อง นอกจากนวัตกรรมด้านการเกษตร ชาวยิว ผู้รอบรู้ยังได้พัฒนาระบบนวัตกรรมเทคโนโลยี นํ้าเพื่อครัวเรือนและอุตสาหกรรมที่ชาญฉลาด ทีส่ ดุ แห่งหนึง่ ในโลก ทัง้ ระบบการเปลีย่ นนํา้ เค็ม ให้เป็นนํ้าดื่ม กระบวนการบำ�บัดนํ้าเสียจาก บ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมมาเป็นนา้ํ ใช้ และยังถือเป็นประเทศที่มีการรีไซเคิลน้าํ ได้มาก ที่สุดในโลกถึงร้อยละ 75 ของนํา้ อุปโภคบริโภค ทัง้ หมด (มีสเปนเป็นอันดับสองอยูท่ ร่ี ะดับร้อยละ 20) พร้อมกันนี้ อิสราเอลยังเป็นประเทศที่มี การส่งออกระบบเทคโนโลยีเรือ่ งนา้ํ ไปยังประเทศ ต่างๆ ทั่วโลก คิดเป็นมูลค่า 2,000 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ โดยหนึง่ ในนัน้ คือนวัตกรรมผลิตนา้ํ ดืม่ จากนํา้ ทะเลในระบบรีเวิรส์ ออสโมซิส ของบริษทั ไอดีอ-ี แอชเคลอน ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง ไอดีอี เทคโนโลยีของอิสราเอลกับโวลลา วอเตอร์ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งใช้เทคนิคการปั๊มนํ้าทะเลด้วย แรงดันสูงผ่านเข้าไปในระบบกรองของไส้กรอง เมมเบรนที่สกัดเอาเกลือออกจากนํ้าทะเล ใน อัตราส่วนนํา้ ทะเล 2 คิวบิกเมตร เพือ่ ให้ได้นา้ํ ดืม่ 1 คิวบิกเมตร โดยโรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่ง สามารถผลิตนํา้ ได้ครอบคลุมถึงร้อยละ 50 ของ ปริมาณนํา้ เพือ่ การบริโภคของคนอิสราเอลทัง้ หมด และสัดส่วนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70 เมื่อตั้งโรงงานแห่งที่ 3 แล้วเสร็จในอนาคต นอกจากนี้ ทุกๆ 3 ปี อิสราเอลจะจัดมหกรรม แสดงแสนยานุภาพทางนวัตกรรมด้านการเกษตร เพือ่ อนาคต “Israel Agriculture Innovation & Agritech” ขึ้น โดยจะมีประเทศต่างๆ เข้าร่วม นำ�เสนอนวัตกรรมเพื่อมวลมนุษยชาติ อาทิ จีน เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น รวมถึงยังมี งานแสดงเทคโนโลยีการเกษตรอื่นๆ ที่จัดขึ้น กลางทะเลทรายอะราวาเพื่ออวดความสามารถ ของระบบทดนํ้า ตลอดจนความสวยงามของ ดอกไม้ แ ละเมล็ ด พื ช ดั ด แปลงพั น ธุ ก รรมที่ สามารถปลูกได้ดีแม้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตร อย่างเช่นกลางทะเลทราย ไปจนถึงงานแสดง
ผลงานทางอุตสาหกรรมนํ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง WATEC เพือ่ แสดงนวัตกรรมบริหารจัดการ นํ้าที่ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ตั้งแต่เรื่องของ การแสวงหาแหล่งนา้ํ การบำ�บัดนา้ํ เรือ่ ยไปจนถึง การควบคุมสภาวะแวดล้อม และพลังงานทางเลือก ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำ�เสนอความรู้ และความเข้าใจ ในหลักการและความคิดเบื้องหลังเทคโนโลยี เพื่อนำ�มาประยุกต์ใช้เมื่อประเทศต้องประสบ กับวิกฤติจากนํา้ จากการระดมศักยภาพของชาวยิวทั่วทุก แห่งในโลกที่ได้อพยพกลับมาเพื่อตั้งถิ่นฐานใน ดินแดนที่ยึดมั่นด้วยศรัทธา และไม่มวี นั ทีจ่ ะเดิน จากไปไม่วา่ จะถูกสถานการณ์รมุ ล้อมมากเพียงใด ก็ตาม พวกเขาหลอมรวมความหิวโหย ทุกข์ยาก และแร้นแค้นเข้าด้วยกัน แล้วเปลีย่ นเป็นจิตสำ�นึก และเล่หเ์ หลีย่ มในการเอาชนะอุปสรรคทีม่ าจาก มนุษย์หรือธรรมชาติกต็ ามที และในวันหนึง่ ข้างหน้า ที่หนทางการต่อรองกับธรรมชาติอาจริบหรี่ลง อิสราเอลจะยังมีเมล็ดพันธุแ์ ห่งอนาคตมากมาย ทีไ่ ม่ได้เกิดจากผืนดินหรือผืนทราย แต่หากบ่มเพาะ ด้วยปัญญาของพวกเขาเอง
ที่มา: Israel's lively start-up culture keeps economy thriving (2009) โดย Dan Senor และ Saul Singer จาก articles.cnn.com What next for the start-up nation? (2012) โดย Yossi Vardi จาก economist.com Keep out (2012) จาก economist.com ตะลุยเมืองเกษตรกลางทะเลทราย (2555) โดย ดลมนัส กาเจ จาก komchadluek.net นํ้า กับชีวิตที่อิสราเอล โดย ปิยมิตร ปัญญา จากหนังสือพิมพ์มติชน (12 มิถุนายน 2554) เอกสารสำ�นักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเทลอาวีฟ (พฤษภาคม 2552)
© REUTERS/Amir Cohen
กิ่งก้านแห่งวิทยาการ ผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์จากแหล่งทะเลทรายในอิสราเอลทำ�ให้โลกต้อง อิจฉา ไม่เพียงสำ�หรับความอิ่มท้องของชาวอิสราเอล แต่ยังแตกกิ่งก้าน สาขาไปงอกเงยในแห่งอื่น • ศูนย์ความร่วมมือการพัฒนาระหว่างประเทศเกษตรกรรม (CINADCO) ตัง้ ขึน้ ในปี 1950 เพือ่ แบ่งปันความรูด้ า้ นการพัฒนาทางการเกษตรแก่ประเทศ กำ�ลังพัฒนา เช่น เซเนกัล อินเดีย เอลซัลวาดอร์ จีน และคาซัคสถาน องค์กรดังกล่าวได้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการต่อสูก้ บั วิกฤติอาหารทัว่ โลก เพื่อช่วยให้ประเทศที่ขาดแคลนอาหารได้บรรลุผลผลิตจากที่ดินทำ�กิน ของพวกเขาด้วยวิธีการพัฒนาระบบนิเวศการเกษตร • อุตสาหกรรมพลาสติกโพลีแซค เกิดขึน้ ในปี 1974 เพือ่ พัฒนาเทคโนโลยี การจัดการกับความท้าทายในการรักษาผลผลิตทางการเกษตรท่ามกลาง ความร้อนสูงของประเทศ โพลีแซคพัฒนาผลิตภัณฑ์และสามารถทำ�การตลาด ได้กว้างขวาง ผ่านตาข่ายป้องกันยูวสี �ำ หรับการใช้งานด้านการเกษตร เช่น การป้องกันพืชและให้รม่ เงา การจัดการแสงสเปกตรัม ตลอดจนคลืน่ ความถี่ โพลีแซคยังมีส่วนร่วมในโครงการเกษตรทั่วโลก • เนต้าฟิม (Netafim) บริษัทผู้บุกเบิกและพัฒนาระบบชลประทาน นํ้าหยด เริ่มดำ�เนินการในปี 1965 เพื่อปฏิวัติการใช้นํ้าในพื้นที่ขาดแคลน ล่าสุดได้พฒั นาระบบนํา้ หยดสำ�หรับพืน้ ดินน้อย โดยเนต้าฟิมได้ด�ำ เนินการ หลายโครงการทัว่ โลก เช่น การฝึกอบรมทางการเกษตรรัฐอานธร อินเดีย เพื่อเพาะปลูกอ้อย มะม่วง มะนาว และฝ้าย ในพื้นที่กว่า 6,000 เฮกเตอร์ ซึ่งได้ผลผลิตดีเยี่ยม ที่มา: theisraelproject.org
• นวัตกรรมเครื่องกรองนํ้าพกพา Sulis ของบริษัท Water Sheer ได้ รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ โดยสามารถกรองนํา้ จากเกือบทุกแหล่งนํ้าจากพื้นดินให้สะอาด ด้วยการใช้เม็ดคลอรีนกรอง สารปนเปือ้ นออก ซึง่ อุปกรณ์หนึง่ ชิน้ สามารถกรองนา้ํ ได้ถงึ ครัง้ ละ 700 ลิตร โดยนำ�ไปต่อกับปากขวด ก๊อก หรือแท็งก์นา้ํ ทัว่ ไปได้สะดวก และยังมีขนาด ที่เล็กและเบา นอกจากนี้ บริษัทหลายแห่งยังได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อการ เข้าถึงแหล่งนา้ํ คุณภาพสูงในทุกสถานการณ์ ทีผ่ า่ นมา อิสราเอลส่งเครือ่ ง กรองนา้ํ พกพาและระบบกรองนา้ํ ลิตรไปยังพม่าในปี 2008 รวมถึงเมือ่ คราว เกิดพายุไซโคลนไต้หวันในปี 2009 และเฮติในปี 2010 และยังได้พัฒนา ระบบกรองนํ้าฉุกเฉินให้สามารถกรองได้แม้แต่นํ้าทะเลหรือนํ้าปัสสาวะ • เทคโนโลยีฟาร์มโคนมของอิสราเอล ถือว่าทันสมัยและให้ผลผลิต นา้ํ นมสูงทีส่ ดุ ในโลก โดยพวกเขาศึกษาถึงพฤติกรรมการมีอารมณ์แปรปรวน และก้าวร้าว เพือ่ ลดทอนปัญหาและหาทางทำ�ให้แม่ววั สบายใจทีจ่ ะมอบนา้ํ นม ด้วยเหตุนี้วัวในอิสราเอลจึงให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงถึง 1.2 หมื่นลิตรต่อปี ขณะ ที่ฟาร์มในยุโรปผลิตนํ้านมได้เพียง 5-6 พันลิตรต่อปี และฟาร์มไทยเพียง 2 พันลิตรต่อปี • เกษตรออร์แกนิก อิสราเอลได้จดั พืน้ ทีฟ่ าร์มออร์แกนิกขึน้ โดยสินค้า ที่ผลิตได้จาก ฟาร์มเหล่านี้จะมีราคาสูงกว่าสินค้าปกติถึงร้อยละ 30-40 มีตลาดใหญ่คอื สหภาพยุโรปทีน่ �ำ เข้ามันฝรัง่ ถึง 31,000 ตัน รวมถึงผักผลไม้ ซึง่ ส่วนใหญ่จะเป็นซีตรัส อะโวคาโด และอินทผาลัม มูลค่าของการส่งออก ราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 13 จากยอดการส่งออก สินค้าเกษตรทั้งหมด สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
Innovative house เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ และศุภมาศ พะหุโล ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
จากวิกฤตการณ์อาหารของโลก และสถานการณ์ของบ้านเรา ทำ�ให้หลายคนตั้งเริ่มตั้งคำ�ถามถึงทางออกของ ภาวะความขาดแคลนทีเ่ กิดขึน้ การยืน่ มือเข้ามาช่วยเหลือจากนวัตกรรม หรือเสียงจากวิถดี ง้ั เดิมจะเป็นทางออกที่ ถูกต้อง Innovative House นำ�เสนออีกหนึ่งทางเลือกสำ�หรับผู้บริโภค และเปิดมิติใหม่สำ�หรับความหมาย ของคำ�ว่า “อาหารเลีย้ งโลก” คำ�ตอบจากทั้งสองทางเลือกนี้เป็นหนทางที่ถูกต้องแล้วหรือไม่ หรือที่จริงชีวิตของ เราทุกคนมีทางเลือกใหม่ๆ สำ�หรับอาหารการกินในยุคที่ความต้องการหลากหลายและไม่สิ้นสุดเหมือนที่กำ�ลัง เผชิญอยู่ในวันนี้ เรียงลำ�ดับจากซ้ายไปขวา : ศุภางค์ บุญสิทธิ์, ผศ.ดร. บัณฑิต อินณวงศ์, พรทิพย์ นิรันตสุข, คงวุฒิ นิรันตสุข
30 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
คิดเห็นอย่างไรกับความคิดที่ว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยให้มีอาหารพอ เพียงสำ�หรับมนุษย์ บัณฑิต: สำ�หรับตัวผมเอง ผมไม่ต้องการเทคโนโลยีที่สูงส่ง ผมกลับมอง ในอีกมุมหนึง่ เอาในฐานะคนกินก่อน ถ้าผมเอาอาหารจานหนึ่งให้ทุกท่าน กิน ถามว่ากินไหม ก็คงกินแหละ แต่ถ้าเกิดบอกว่าอาหารจานนี้อยู่ได้อีก สองปี ทุกท่านก็คงถามว่ามันคืออะไร ทำ�ไมมันถึงอยู่ได้สองปี แน่นอน สมัยก่อนเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ผมเชื่อว่าเรายืดอายุอาหารไปเยอะๆ ได้ แต่ปัจจุบัน ยุคที่ทุกอย่างถึงกันหมด มันไม่ใช่แล้ว ผมมีความรู้สึกว่าการ ยืดไปเยอะหรือคิดค้นอะไรขึ้นมาใหม่ๆ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเรามี อาหารไม่พอนะ แต่การแก้ปัญหาอาหารไม่พอ มีอยู่แค่จุดเดียว คือเราไม่ ได้กินอย่างเพียงพอหรือพอเพียง อันนี้ต่างหากที่เป็นปัญหา ว่าต่อให้เรา มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะแยะ แล้วเราก็บริโภคๆๆๆ จากนัน้ เราก็ทง้ิ ๆๆๆ มันก็จบ ก็แก้ปัญหาไม่ได้อยู่ดี หมายความว่า มีทรัพยากรมากแค่ไหนก็ไม่สามารถเลี้ยงคนทั้งโลกใน อนาคตได้ใช่หรือไม่ บัณฑิต: ต้องมองว่า เราใช้ทรัพยากรยังไม่เต็มประสิทธิภาพของมันด้วยซา้ํ ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมผ่านไปตรงเยาวราช เห็นร้านก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เขา ใช้เฉพาะแกนของคะน้า ทีเิ่ หลือทิง้ หมดเลย แล้วกว่าจะปลูกขึน้ มาแต่ละต้น ต้องใช้เวลาใช้ทรัพยากรเท่าไหร่ แต่ปรากฏว่าเขาใช้แค่แกนข้างใน ซึ่ง ผมเสียดายมาก เพราะส่วนอื่นเช่นใบ ก็ไม่ใช่ว่าจะกินไม่ได้ หรือไม่มี ประโยชน์ต่อร่างกาย คงวุฒิ: ผมมองว่า คำ�ว่าเลี้ยงโลกนั้น ต้องบอกให้ได้ก่อนว่าเลี้ยงด้วย สถานภาพแบบใด คือถ้ามองเป็นสภาวะแร้นแค้น มันจะเลีย้ งโลกแบบหนึง่ แต่ถ้าเกิดมองด้วยสภาวะกิเลสจัดๆ คุณก็ต้องเลี้ยงอีกแบบหนึ่ง ช่องว่าง ตรงนี้มันสูงมาก แต่ถ้ามองตามซัพพลายจริงๆ สิ่งที่เกิดขึ้นจากอาหาร มันก็คอื เมล็ดพันธุ์ เพราะมันเกี่ยวข้องตั้งแต่เลี้ยงสัตว์เป็นอาหารให้กับคน นีค่ อื มองในเชิง supply chain (ห่วงโซ่อาหาร) แต่จริงๆ นีค่ อื กลไกทีซ่ บั ซ้อน เพราะสุดท้ายแล้วคนกินอาหารอาจจะไม่ได้กินที่ตัวอาหารจริงๆ เพราะ สมมติ เราตีความว่าให้แค่อม่ิ นิดเดียวก็อม่ิ แล้ว แต่คนไม่ได้ตอ้ งการแค่นน้ั คำ�ว่าเลีย้ งคนทัง้ โลกมันเลยต้องตีความว่าเป็นมิตไิ หน ถ้าเอาแค่อยูร่ อด คุณต้องไปโฟกัสเรื่องของปริมาณ ยังไม่ต้องมองเรื่องคุณภาพ เพราะถ้า เกิดจะเลี้ยงคนด้วยกิเลส มันคืออีกอย่างเลย แล้วคำ�ว่าเลี้ยงคนนี่อีกอย่าง ก็คือ barter system (ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของต่อสิ่งของ) เทรดกันไป เทรดกันมา ฉันให้ข้าวเธอ เธอให้ถั่วฉัน หรือฉันให้ข้าวเธอ เธอให้นํ้ามัน ฉัน คือมันคนละมิติกัน เพราะงั้นสิ่งหนึ่งที่ต้องมองก็คือทัศนคติของคน เพราะคนเราจะเปลี่ยนแปลงทัศนคติได้ก็ต่อเมื่อต้องมีผลประโยชน์หรือ ผลได้ผลเสียร่วมกัน เช่น กำ�ลังจะตายหรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผมเชื่อว่า
"คำ�ว่าเลี้ยงโลกนั้น ต้องบอกให้ได้ก่อนว่า เลี้ยงด้วยสถานภาพแบบใด คือถ้ามองเป็นสภาวะแร้นแค้น มันจะเลี้ยงโลกแบบหนึ่ง แต่ถ้าเกิดมองด้วยสภาวะกิเลสจัดๆ คุณก็ต้องเลี้ยงอีกแบบหนึ่ง" อาหารในโลกนี้มันพอเลี้ยงคน ถ้าคนไม่ได้มีทัศนคติที่ต่างกันมาก แต่ใน ความเป็นจริงมันไม่ใช่ มันมีช่องว่างสูงมาก คือกิเลสของคนที่ไม่เท่ากัน คิดเห็นอย่างไรกับสถานการณ์อาหารของประเทศไทยในปัจจุบัน คงวุฒิ: กลไกที่มันเป็นไปอยู่ในประเทศไทยตอนนี้ คือ monopoly (ตลาด ผูกขาด) มันกำ�ลังเข้ามา ทุกท่านทราบว่าอุตสาหกรรมอาหารในบ้านเรา ที่ผูกขาดก็มีอยู่ไม่กี่บริษัท อันนี้คือสิ่งที่มันเกิดขึ้นจริงแล้ว แน่นอนว่ามัน ลามไปถึงฐานรากผู้ผลิตหรือเกษตกร ซึ่งกลไกตรงนี้เป็นกลไกทุนที่เรา ปฏิเสธไม่ได้เลย ตอนนีค้ วามยัง่ ยืนมันเป็นความยัง่ ยืนของนายทุน แน่นอน นายทุนบอกว่า อาหารมีพอกินชัวร์ แต่คนทีไ่ ม่มปี ญั ญาซือ้ กินมันมีเงือ่ นไข และในอนาคตซัพพลายจะลดจำ�นวนลงมาก และอาหารจะต้องออกมา ในรูปแบบที่มีขนาดเล็กลง แล้วทานง่ายขึ้น ซึ่งคำ�ว่าทานง่ายนี้หมายถึง เรื่องรสชาติจะถูกตัดออกไป ซึ่งผมไม่รู้ว่าวันนั้นเราจะยังอยู่หรือเปล่า นี่ คือสิ่งที่เปลี่ยนไป แต่ผมมั่นใจว่า ถ้ากระบวนการทุนมันไม่เยอะขนาดนี้ เรื่องอาหารเลี้ยงคนทั้งโลก ก็ไม่ใช่ปัญหา พรทิพย์: มองว่าประเทศไทยน่าจะต้องประเมินศักยภาพของตัวเองก่อน คือถ้าแค่อาหารประทังชีวิต ประเทศไทยเรามีศักยภาพพอที่จะให้คนทั้ง ประเทศอยู่แล้ว นี่คือมองแบบง่ายๆ ที่ไม่ต้องเปรียบเทียบถึงเรื่องระบบ นายทุนนะ ทีนี้ถ้ามองว่าทั้งโลก เราก็ต้องมองว่าเราต้องแชร์ให้คนที่เขา ไม่มีด้วย คือถ้าเราทำ�ตามศักยภาพของเราเต็มที่แล้ว เราก็ต้องแชร์ในสิ่ง ที่คนอื่นไม่มีด้วย ซึ่งโดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารจะเข้ามาช่วย ให้ไทยไปถึงตรงนั้น คือสามารถประเมินทั้งตัวเองและคนที่เราจะแชร์ได้ ในปริมาณที่พอเพียง
สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
บัณฑิต: ผมมองง่ายๆ เลยว่า ณ วันนี้ ที่สังคมเมืองเจริญเติบโตขึ้น มี การรุกลํ้าป่ามากขึ้น พืน้ ทีเ่ กษตรถูกทำ�ลายมากขึน้ ผมไม่รวู้ า่ มีหน่วยงาน ไหนไหมที่บอกว่า ตอนนี้คนไทย 77 ล้านคน ต้องมีพื้นที่เท่าไหร่เพื่อที่จะ ผลิตอาหารเสิร์ฟคนไทยก่อน ผมว่าต้องเริ่มต้นที่ตรงนี้ เพราะแค่นี้เราก็ ไม่รู้แล้ว จากนั้นค่อยมาดูปัจจัยอื่นๆ เช่น ถ้าเกิดมีจำ�นวนผู้สูงอายุเพิ่ม ขึน้ สิง่ ทีม่ อี ยูต่ รงนี้ หรือสิง่ ทีผ่ ลิตอยูใ่ นพืน้ ทีน่ ้ี มันเพียงพอหรือว่ามันสนอง ความต้องการกับคนที่มีอายุมากขึ้นไหม แล้วถ้าเกิดคนขึ้นเพิ่มล่ะ เราจะ ต้องเพิ่มพื้นที่อีกเท่าไหร่ ต้องปลูกอะไร ที่เหลือจะขายอะไร กับใคร หมายความว่า ณ ตอนนี้ มันเหมือนกับมีทางแยกสองส่วน หนึง่ คือทำ�เพือ่ อยู่กับสองคือทำ�เพื่อขาย เราเคยทราบไหมว่า เราต้องการข้าวเท่าไหร่ เพื่อเลี้ยงดูคนไทยทั้งประเทศ แล้วถ้าเกิดอุทกภัย ต้องการเท่าไหร่ หรือ เกิดภัยพิบัติ จะทำ�ยังไง เพื่อใส่ safety factor (อัตราส่วนความปลอดภัย) เอาไว้ ในฐานะทีผ่ มเป็นเกษตรกร ผมรูแ้ ล้วว่าต้องทำ�เท่าไหร่ หรือถ้ารูแ้ ล้ว ว่าเราจะต้องขยายกำ�ลังผลิตเท่าไหร่ ผมในฐานะนักแปรรูปอาหาร ผมก็ ต้องรู้ว่าจะทำ�อะไรต่อไป คิดว่าวิถีออร์แกนิกน่าจะเป็นทางออกหรือไม่ บัณฑิต: บ้านเรามีวัตถุดิบที่เป็นออร์แกนิกไม่ถึงครึ่ง อย่าลืมว่าเรายังอยู่ ในหมวดการแปรรูปพื้นฐานกับวัตถุดิบทางการเกษตร บ้านเราปนเปื้อน มานาน เพราะฉะนั้นจะให้เป็นออร์แกนิกมันยาก แต่ถามว่ามีไหม ก็มีใน บางพื้นที่ แต่โดยส่วนใหญ่เกิน 90 เปอร์เซ็นต์ไม่ออร์แกนิก ปัญหาคือ ออร์แกนิก มันต้องว่ากันด้วยเรื่องของพื้นที่ ซึ่งในนิยามมันยาก เพราะ เราไม่ใช่ผู้ผลิตรายใหม่ (new grower) แล้วก็มีนักวิชาการหลายๆ ท่าน บอกว่า จริงๆ ออร์แกนิกมันเป็นเหมือนวัฒนธรรมป๊อป (pop culture) ในการบริโภค คือมันบูมขึ้นมาปุ๊บปั๊บ แล้วก็เป็นกระแสจากข้างนอกนะ เป็นกระแสจากฝรั่ง ต้องอย่าลืมนะว่าเขาปลูกไม่ได้ แต่เขาสามารถสร้าง พาวเวอร์ของการซื้อได้ พอดีมานมาอย่างนั้น ซัพพลายก็ต้องทำ�ให้ จริงๆ ส่วนตัวผมไม่ค่อยเชื่อระบบอย่างนี้ แล้วมันก็ไกลตัวตนของเรามาก ถึง ไม่ได้คิดว่ามันเป็นแนวทางในอนาคตที่จะทำ�ให้เลี้ยงโลกนี้ไปได้ตลอด แล้วเรื่องพื้นที่เพาะปลูกไม่เพียงพอ บัณฑิต: การที่มันไม่มีพอเพียงนี่ อย่าลืมนะว่ามันเกิดจากระบบทุนที่เข้า มามหาศาล สังคมเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองปุ๊บ เราจะเอาพื้นที่ไหนมาทำ� เกษตรกรรม เมื่อมันต้องเป็นที่อยู่อาศัย หรือว่ามีกลไกของเศรษฐกิจเข้า มาควบคุม อย่างสมัยก่อนผมจำ�ได้ทเ่ี ขาบอกว่าบ้านเราเป็นประเทศกสิกรรม ผมถามนิดหนึง่ ว่า ความเสถียรของอาหารในประเทศเราวันนี้ อะไรกันแน่ ที่เสถียร มันไม่ใช่คนทำ�กสิกรรม กสิกร หรือเกษตรกรที่เสถียรนะ แต่มนั ให้ความสำ�คัญแค่กบั ระบบเศรษฐกิจทีเ่ สถียร คือเราถูกวัดด้วยจีดพี ตี ลอด 32 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
"นักวิชาการหลายๆ ท่านบอกว่า จริงๆ ออร์แกนิกมันเป็นเหมือน วัฒนธรรมป๊อป (pop culture) ในการบริโภค" พูดง่ายๆ คือ สมมติมีที่ 1 ไร่ ปลูกเอง ทำ�เอง กินเอง ก็พอ ถ้าเป็น แบบนี้ พื้นที่เราปัจจุบันเทียบกับประชากรทั้งหมดมันก็ยังเหลือเฟือ แต่ ทุกวันนีเ้ ราไม่ได้ใช้ทรัพยากรพืน้ ทีอ่ ย่างเต็มทีแ่ บบนัน้ ทีส่ �ำ คัญคือการเติบโต ของสิง่ ทีเ่ รียกว่า civilization (อารยธรรม) ทีพ่ อเข้ามาปุบ๊ มันทำ�ให้สง่ิ หนึง่ โตขึ้น แล้วอีกสิ่งหนึ่งก็ต้องเล็กลง ท้ายสุดแล้ว เรากำ�ลังเสียเปรียบมาก เพราะเราเป็นประเทศผูผ้ ลิต ในวันที่ผู้ผลิตหรือผู้ที่สร้างวัตถุดิบไม่ได้เป็น ผู้ที่กำ�หนดราคา นี่คือสิ่งที่ประเทศไทยเผชิญอยู่ ถามว่าระบบอย่างนี้ จะอยู่ต่อไปในอนาคตหรือไม่ ในภาวะทีค่ นซือ้ กำ�หนดราคา ในขณะทีค่ น ผลิต ก็ผลิตกันตายเลย ก็ต้องดูว่าปัจจุบันมีชาวนาชาวสวนกี่คน ที่ลูกจบ มาแล้วให้ไปเป็นชาวนาชาวสวน มีน้อยนะ เพราะตัวเองลำ�บากแล้ว ก็ ไม่อยากให้ลูกลำ�บาก ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก เพราะตอนนี้ เฉลี่ยแล้วชาวนาบ้านเราอายุเกือบ 60 ปี แต่มนั ก็ยงั โชคดีทบ่ี นหยดนํา้ เกลือ ก็ยงั มีนา้ํ ตาล หมายความว่า ก็ยังมีกลุ่มคนที่เชื่อมั่นว่าเรายังอยู่ได้ โดยที่ เพาะเอง ปลูกเอง กินเอง คิดเห็นอย่างไรกับการทำ�ผลผลิตเพื่อมุ่งเน้นเรื่องของการขายเพียงอย่าง เดียว บัณฑิต: ผมว่ามันต้องเดินสองทางนะ แต่วา่ ต้องคิดถึงสัดส่วนซึง่ มันขยับกัน ได้ในภาพองค์รวมว่าจะเป็นยังไงกันในอนาคต อย่างตอนนีเ้ ราต้องมองว่า พอ “เออีซ”ี เปิดมาปุบ๊ เราจะเจออะไรบ้าง แค่นเ้ี อง ง่ายๆ สินค้าเหมือนกัน ทุกอย่างเหมือนกัน เกษตรกรรมเราจะตายไหม ยิ่งนํ้ามันเราก็แพงที่สุด ผมว่าอีกหน่อยเราจะซือ้ ข้าวเวียดนามกินเหรอ แล้วข้าวไทยเป็นไง ตายไหม ตายสิ ระบบของอาหารเราเนีย่ คือความไม่เสถียร ถ้าวันหนึง่ ผลไม้จนี ไล่มา หมด เราก็ตายเหมือนกัน พื้นที่เกษตรกรรมในบ้านเรา ปัจจุบันเป็นของนายทุนเกือบหมด บัณฑิต: ตอนนี้เวลาปลูกกล้วยเนี่ย กล้วยไข่ กล้วยหอม ส่งออกหมดเลย มะม่วงนํ้าดอกไม้ มหาชนกส่งออกหมดเลย คือนายทุนมาแบบคุณปลูก มะม่วงใช่ไหม โอเค ฉันซื้อมะม่วงคุณหมดเลย สอง ฉันซื้อที่คุณด้วย แล้วฉันจ้างคุณปลูก มันจะเป็นระบบนี้ในที่สุด
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
คิดว่าอะไรคือ super food ที่แท้จริง บัณฑิต: สิ่งหนึ่งที่เรามองคือ เรากำ�ลังทำ�ตัวเป็นพระเจ้าอยู่ เราสนอง ความต้องการโดยอาศัยอะไรบางอย่างทีเ่ ป็นช่องว่างของความรู้ ปัจจุบนั นี้ แม้แต่ผมเอง ถ้าใครบอกให้กินพวกผักไฮโดรพรอนิกส์ ผมก็จะถามว่า มันเป็นยังไง ถ้ามันโตแบบไม่ใช้ดิน แปลว่ามันโตจากสารต่างๆ ที่เราให้ ไปในนํ้า ผมมีความเชื่อว่า อะไรก็ตามที่ผิดธรรมชาติ ณ วันหนึ่งมันจะ แสดงผล แค่มันจะช้าหรือเร็ว ประเด็นอยู่ที่ว่า มันโตจริง แต่เราถามว่า ที่มันโตเนี่ย ถ้าสมมติมีสารตัวหนึ่งที่โปรไฟล์ (profile) มันผิดไปจาก เดิม หรือเรโช (ratio) สักอย่างในต้นนั้นผิดไป เคยมีนักวิทยาศาสตร์ คนไหนออกมาพูดไหม ไม่มี แต่องค์ความรูค้ อื สารมันรวมๆ กันแล้วเรากิน เข้าไป ไม่มหี ลักฐานบอกว่ามันไม่ปลอดภัย แต่กไ็ ม่มหี ลักฐาน บอกเหมือน กันว่ามันจะปลอดภัยแบบตลอดไป มันกลายเป็น gray zone หรือเกิด เป็นความเคลือบแคลงอยู่อย่างนั้นขึ้นมา ผมมองว่า เทคโนโลยีที่มีอยู่มันเป็นดาบสองคมจริงๆ ความรู้อย่าง พอเพียงต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคคือเรื่องสำ�คัญ ผมเห็นด้วย ถ้าจะ เกิด super food ซึ่งเป็นการพูดถึงสื่อกลางในการที่จะบอกว่ามันมี เทคโนโลยีอยู่เพื่อที่จะคิดในเชิงสร้างสรรค์ แต่ผมอยากให้ตบท้ายด้วยว่า สิ่งที่สร้างสรรค์ตรงนี้ มันก็คือคำ�ถามใหญ่สำ�หรับเรา คงวุฒิ: ถ้ามอง super food เราต้องตั้งคำ�ถามว่า สำ�หรับคนกินหรือ คนที่ไม่ได้กิน ถ้าคนกินก็มุมหนึ่ง แต่ถ้าไม่ใช่คนกินก็สนุกแล้ว ตัดต่อ พันธุกรรมเพื่อคนไม่ได้กิน คำ�ถามคือว่าจริงๆ แล้วเรามีวิธีอื่น เพียง แต่วิธีอื่นมันไม่ตอบสนองกับคนไม่ได้กินเท่าวิธีนี้แค่นั้นเอง เทคโนโลยี มันเป็นพื้นฐาน พวกเราเรียน วิทยาศาสตร์หมด แต่เราไม่เคยบอกว่า เทคโนโลยีเป็นตัวแก้ปัญหา แน่นอนบริบทของความเป็นอาหารคือ ปลอดภัย กินแล้วต้องไม่ตาย กินแล้วท้องไม่เสีย คำ�ถามคือความอร่อยใช่ไหม บางคนบอกไม่จ�ำ เป็น สองคือ กินแล้วมีประโยชน์ บางคนบอกไม่ใช่ ผมว่าสำ�คัญทีส่ ดุ คือเซฟตี้ แต่ทกุ วันนีม้ นั เป็นอย่างนัน้ จริงหรือเปล่า
Creative Ingredients โครงการที่ชอบ บัณฑิต: ผมชอบเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการ วิจยั (สกว.) ทำ� ซึง่ สนับสนุนให้คนไทยกลายเป็นเกษตรกรในพืน้ ที่ 3 ไร่ และแบรนด์ "ป้อนคำ�หวาน" ที่เอาการบริหารเข้าไปจับ ไม่ใช่ วิทยาศาสตร์ อาศัยการสร้างแบรนด์ เปลี่ยนชื่อ แล้วไปวางขายที่ เพลินวาน จะเห็นว่าทั้งสองโครงการ วิทยาศาสตร์กลายเป็นโจทย์ สุดท้ายทีต่ อ้ งเลือกเดิน ถ้ามันสามารถแก้ด้วยอย่างอื่นได้ โดยที่เราไม่ ใช้สารเคมี แล้วอาหารอร่อย มีปัจจัยด้านสุขภาพมาเป็นส่วนเสริม เข้าไป ก็ประสบความสำ�เร็จได้ คงวุฒิ: ผมชอบแบรนด์ "เบาๆ" คือเขาอยากให้ทุกคนใช้ชีวิตเบาๆ กินเบาๆ สบายๆ แคลอรี่เบาๆ แนวคิดนี้เกิดขึ้นจากการที่เขาคิด ว่าคนเรากินอะไรที่หนักเกินไป โจทย์คือนํ้าสลัดที่ห้ามใส่ไขมันเลยสัก หยด ห้ามใส่อะไรทีม่ นั ไม่เป็นธรรมชาติ แต่ขอให้เก็บได้สกั สองสัปดาห์ วิธีคิดของเบาๆ ถือว่าเปลี่ยนโลกของคนซื้อเลยครับ พรทิพย์: ชุมชนบ้านสามขา จังหวัดลำ�ปาง ที่มีโอกาสเข้าไปช่วยเป็น โครงการที่ประทับใจมาก จากจุดเริ่มต้นจริงๆ ของชุมชนนี้คือปลอด หนี้ ปัจจุบันนี้เขาก็เป็นแหล่งที่ปลูกข้าวเอง ปลูกผักเอง กินเอง เขา เป็นชุมชนในหุบเขา ตอนนี้เขาคืนสู่ธรรมชาติแล้ว ป่ายังอยู่ต้นไม้ยงั อยู่ มีฝายกั้นนํ้า ชุมชนมีอาชีพทำ� แต่คนทำ�งานคือปู่ย่า เพราะ ลูกหลานเรียนจบแล้วทำ�งานในเมืองหมด ซึ่งเมื่อมองอนาคตแล้ว สุดท้ายชุมชนนีก้ อ็ าจจะกลาย เป็นชุมชนร้าง เราก็เลยมีโอกาสไปช่วย ว่าจะทำ�ยังไงให้สิ่งที่ลูกหลานมีไปช่วยต่อลมหายใจของชุมชนได้ โดยมองว่าอะไรคืออาชีพ อะไรคือรายได้ แล้วก็พบว่าสิง่ ทีโ่ ดดเด่นของ เขาคือมีข้าวที่เป็นสายพันธุ์เหนือเฉพาะ การันตีได้ด้วยพื้นที่ว่าเป็น ออร์แกนิก แล้วมีผกั หวานจากหุบเขา เราก็เข้าไปช่วยเขาคิดให้ผลผลิต ถูกผลักดันออกมาข้างนอก ให้ลูกหลานเห็นว่าถ้าคุณเรียนจบแล้ว กลับบ้าน ช่วยกันผลักดันให้มีผลิตภัณฑ์ออกมาสักตัวหนึ่ง มันก็น่า จะต่อยอดได้ ที่ชอบคือเพราะมันเป็นสิ่งที่มันควรจะเป็นจริงๆ คือ เทคโนโลยีน่าจะเข้ามาช่วยสืบสานวัฒนธรรมตรงนี้ได้ สิงหาคม 2555 l Creative Thailand
l 33
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
The 2012
Urbanite Project เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
จากปี 2007 ความตั้งใจของ "เอเบิร์นไนท์ (Urbanite)” คือการ ริเริ่มโครงการที่กระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวด้วยนวัตกรรม และความสามารถเฉพาะทางของคนในพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมทุก แขนงของทักษะอาชีพ เชื่อมโยงดนตรี ศิลปะ วรรณกรรมเข้าไป สู่วิทยาศาสตร์ นโยบายสาธารณะ และการศึกษา เพื่อเป้าหมาย ร่วมกันคือการพัฒนาพื้นที่บัลติมอร์ รัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐฯ ให้ เป็นประโยชน์ต่อผู้อยู่อาศัยทุกคนอย่างสูงสุด
“ระยะทางกว่า 2 ไมล์ จากชุมชนถึงซูเปอร์มาร์เก็ต ไม่ใช่ความห่างไกล ที่ถูกต้อง และยิ่งไม่เป็นธรรม เมื่อครอบครัวร้อยละ 40 ของบัลติมอร์มี รายได้ตา่ํ กว่า 25,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี” จากปรากฏการณ์ “ทะเลทราย อาหาร (Food Deserts)” หรือภาวะทีช่ มุ ชนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งอาหาร ที่ดีต่อสุขภาพ ไม่สามารถผลิตอาหารสดใหม่ และมีอุปสรรคเรื่องระบบ การขนส่งไม่ทว่ั ถึง คำ�นิยายทีร่ ะบุโดย Johns Hopkins Center for a Livable Future (CLF) ส่งผลให้เอเบิร์นไนท์เลือกที่จะผลักดันกิจกรรมส่งเสริมด้าน อาหารและสุขภาพให้เป็นโครงการประจำ�ปี 2012 เพื่อให้บัลติมอร์หลุดจาก หนึ่งในเมืองที่ได้รับสมญานามว่าทะเลทรายอาหารนี้ โครงการ “Urbanite 2012: Health Food Challenge” จึงเกิดขึ้น เพื่อตอบคำ�ถามสำ�คัญเพียงคำ�ถามเดียวว่า “เราจะสามารถช่วยเหลือให้ ผู้คนที่อาศัยในบัลติมอร์มีสุขภาพดีขึ้นได้อย่างไร” โดยได้รบั การสนับสนุน จากสำ�นักอนามัยแห่งบัลติมอร์ กระทรวงเกษตรแห่งรัฐแมรี่แลนด์ และ มหาวิทยาลัยสแตรทฟอร์ด เพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองนี้ ให้สามารถ ภาพและที่มา: urbaniteproject.com
34 l Creative Thailand l สิงหาคม 2555
เข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้มากและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยให้ความสำ�คัญ กับการนำ�ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เอเบิร์นไนท์ได้เข้ามาช่วยเหลือให้ผ้อู ยู่อาศัยในบัลติมอร์ได้รับวัตถุดิบ เพื่อการผลิตอาหารแต่ละมื้อที่ดีต่อสุขภาพอย่างครบกระบวนการ ไม่ว่า จะเป็น “Real Food Farm” การทำ�สวนผักในพืน้ ทีท่ ไ่ี ม่ได้ใช้ประโยชน์อย่าง ลานจอดรถร้าง ก่อนจะส่งต่อผลิตผลไปยังโครงการ “Food Truck” ที่นำ� รถมาบรรทุกอาหารสดจากฟาร์มอย่างผักผลไม้ปลอดสารพิษแล้วเข้าไปส่ง ตามตลาดนัดทุกวันพฤหัสบดี นอกจากนีย้ งั มีจดุ จอดขายตามโรงเรียนเพือ่ เป็นทางออกสำ�หรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่มีเวลาจ่ายตลาด หรือส่งตรงถึง หน้าบ้านตามรายการสัง่ ทุกวันพุธและศุกร์ และ “Baltimarket” ซูเปอร์มาร์เก็ต แบบดิลิเวอรี่ ที่ใช้ระบบสั่งซื้อแบบออนไลน์โดยอาศัยความร่วมมือจาก ห้องสมุดชุมชนหรือโรงเรียนเป็นศูนย์กลาง เพือ่ อำ�นวยความสะดวกสำ�หรับ ผูส้ งู อายุหรือผูพ้ กิ ารทีไ่ ม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ โดยราคาสินค้าเป็น ราคาเท่ากับทีข่ ายหน้าร้าน ไม่มีบวกค่าขนส่งเพิ่มเติม และยังเลือกจ่ายได้ ทั้งเงินสด และบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต โครงการ “Urbanite 2012: Health Food Challenge” คืออีกหนึ่ง ตัวอย่างทีแ่ สดงให้เห็นว่าการได้รบั ประทานอาหารทีด่ ี มีความสดใหม่ ผ่าน กระบวนการผลิตทีม่ คี ณุ ภาพนัน้ คือความจำ�เป็นพืน้ ฐานอย่างหนึง่ ของมนุษย์ และยังเป็นการป้องกันให้ผู้คนห่างไกลจากโรคร้ายที่มีต้นตอมาจากภาวะ ทุพโภชนาการ โดยไม่ค�ำ นึงถึงเรือ่ งความห่างไกลหรือรายได้ แต่ทกุ คนมีสทิ ธิ์ ที่จะได้รับโอกาสในการรับประทานอาหารที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน