กันยายน 2561 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 12 แจกฟรี
Creative City Abu Dhabi Creative Startup Meticuly The Creative อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
Photo by Martin Sanchez on Unsplash
THE ONE THING TECHNOLOGY CAN’T REPLACE... “CREATIVITY.” สิ่งเดียวที่เทคโนโลยีไม่อาจแทนที่ได้ก็คือความคิดสร้างสรรค์
Contents : สารบัญ
The Subject
Uakari Lodge เที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมชุมชน และใส่ใจธรรมชาติ / ภูมิปัญญาสร้างรายได้ / สลัมบังตา วัฒนธรรมเปิดใจ
6
Report / Book / Documentary / Website
MDIC 10 ธุรกิจสร้างสรรค์ ทำ�แล้วรวย
Local Wisdom
12
Cover Story
14
Creative Economy in Action
Creativity + Tech: วิถีสตาร์ทอัพแห่งวงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์
Creative Startup 22
Creative Resource 8
ก่อนเศรษฐกิจจะสร้างสรรค์
Insight 20
Meticuly เมื่อหมอกับวิศวะ ร่วมพลิกโฉมหน้าวงการศัลยแพทย์ แบบไม่พึ่งของนอก
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Abu Dhabi นครแห่งลูฟร์สาขาสอง ที่หวังสร้างชาติด้วยวัฒนธรรม
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” แบบจับต้องได้
ไม่ใช่แค่เรื่องในบ้าน แต่เป็นผลรวมของย่านที่ยั่งยืน
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ฐานันดร วงศ์กติ ติธร, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมีเดีย l ภีร์รา ดิษฐากรณ์ จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 15,000 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE THAILAND I 4
Photo by David Iskander on Unsplash
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
CREATIVE ECONOMY AGENCY จากนโยบายผลักดันให้ไทยก้าวสูก่ ารเป็น ‘เสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย’ ในช่วงทศวรรษ 2530 ต่อด้วยการพัฒนาเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจก้าวหน้าและรายได้สูงจาก ภาคอุตสาหกรรมทีเ่ รียกว่า ‘นิกส์’ (NICS: New Industry countries) หรือประเทศ อุตสาหกรรมใหม่ จนกระทั่งถึงยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานรากความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในยุคแห่งเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ตาม นโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” เราต่างต้องฝ่าฟันความท้าทายมาแล้วมากมาย ต้องใช้ เวลาเยียวยาบาดแผลทางเศรษฐกิจยาวนาน และได้เรียนรู้บทเรียนสำ�คัญที่จะ นำ�พาประเทศให้ก้าวต่อได้อยู่เสมอ ในวันนี้ ไทยยังคงไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่ามหาศาล อย่างนํ้ามันหรือเทคโนโลยีชั้นสูงที่จะขยับจีดีพีได้อย่างก้าวกระโดด ขณะที่ สถานการณ์โลกซึง่ เครือ่ งจักรกำ�ลังเข้ามาแทนทีแ่ รงงานมนุษย์มากขึน้ เรือ่ ยๆ ก็ กำ�ลังเขม็งเกลียวให้ต้องเร่งปรับตัว เราไม่อาจปฏิเสธว่าประเทศไทยที่รุ่มรวย ไปด้วย ‘ทรัพยากรทางวัฒนธรรม’ และ ‘ความคิดสร้างสรรค์’ ซึ่งไม่เคย ขาดแคลนนั้น สามารถเป็นต้นทุนสำ�คัญที่แปลงสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าได้ อย่างไม่น้อยหน้าทรัพยากรอื่นๆ และเป็นอีกหนึ่ง “ทางรอด” สำ�คัญของไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จึงได้ รับการยกระดับและจัดตัง้ ตามพระราชกฤษฎีกาเป็นสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Creative Economy Agency (Public Organization) เรียกโดยย่อว่า CEA เพือ่ ทำ�หน้าที่ ส่งเสริมให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นกลไกสำ�คัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ
และสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงบน พืน้ ฐานแนวคิดสร้างสรรค์ในทุกๆ ภาคส่วน ด้วยการลดข้อจำ�กัดต่างๆ ทีเ่ คยมี พร้อมพัฒนากระบวนการใหม่ๆ บนพื้นฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สินทาง ปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม ไปจนถึงการปรับเปลี่ยน และสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทีน่ �ำ ไปสูก่ ารหลุดจากกรอบกับดักรายได้ปานกลาง และคุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ของ ประชากร การทีร่ ฐั บาลเล็งเห็นถึงความสำ�คัญในการขับเคลือ่ น “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” อย่างจริงจัง ซึง่ เป็นระบบเศรษฐกิจทีไ่ ม่ได้พง่ึ พาเพียงความสามารถทางการผลิต การเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ หรือแรงงานราคาถูกทีผ่ นั ผวนไปตามราคา สินค้าในตลาดโลก และเสี่ยงต่อการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ในครั้งนี้ นับเป็นการลงทุนครั้งสำ�คัญที่ต้องแบกรับความเสี่ยงครั้งใหญ่ เพื่อสร้างโอกาส ที่จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าแบบที่เรียกว่า High risk, High return ตาม ธรรมชาติของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านการทำ�งานร่วมกันแบบบูรณาการ ของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐบาลไม่ได้คาดหวังเพียงการสร้าง ผลกระทบเชิงบวกในภาคเศรษฐกิจของประเทศเท่านั้น แต่คือการสร้าง วัฒนธรรมการทำ�งานอย่างสร้างสรรค์ (Creative Work Culture) ร่วมกันระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้ง 12 สาขาi ทีท่ กุ ภาคส่วนจะ ‘เปิดใจ’ ในการประสานพลังความร่วมมือ เพือ่ สร้างสรรค์โอกาส ใหม่ๆ ให้กับประเทศอย่างแท้จริง กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ
i อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12 สาขา ตามนิยามของสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้แก่ 1) กลุม่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย 2) กลุม่ อุตสาหกรรมโฆษณาไทย
3) กลุม่ ธุรกิจการให้บริการด้านสถาปัตยกรรมไทย 4) กลุม่ อุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทย 5) กลุม่ ธุรกิจการแพร่ภาพและกระจายเสียงไทย 6) กลุม่ อุตสาหกรรมการพิมพ์ไทย 7) กลุม่ อุตสาหกรรม การออกแบบไทย 8) กลุม่ อุตสาหกรรมดนตรีของไทย 9) กลุม่ อุตสาหกรรมทัศนศิลป์ไทย 10) กลุม่ อุตสาหกรรมแฟชัน่ ไทย 11) กลุม่ อุตสาหกรรมศิลปะการแสดงไทย และ 12) กลุม่ อุตสาหกรรม หัตถกรรมไทย CREATIVE THAILAND I 5
Uakari Lodge เที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมชุมชน และใส่ใจธรรมชาติ
อาคารส่วนรวมของชาวบ้านต่อไป นับเป็นการตอบรับกับการท่องเที่ยวแบบ ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง จึงไม่แปลกที่ Uakari Lodge จะได้รับรางวัลด้าน การท่องเที่ยวจากหลายสถาบัน การท่องเทีย่ วแบบยัง่ ยืนยังเกิดขึน้ อีกหลายแห่ง เช่น Reality Tours and Travel ในอินเดีย ทีพ่ าเราไปทัวร์สลัมของเมืองเดลีและมุมไบ เพือ่ ปรับความ เข้าใจใหม่เกี่ยวกับภาพลักษณ์ของสลัม โดยรายได้จะนำ�ไปช่วยพัฒนา ด้านการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษและทักษะการประกอบอาชีพ รวมทัง้ ยังช่วยส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน หน้าทีส่ �ำ คัญของการท่องเทีย่ ว แบบยั่งยืนเช่นนี้จึงเป็นการช่วยกระจายรายได้ให้แก่คนในท้องถิ่น มากกว่า กระจุกตัวอยู่แต่ในแหล่งท่องเที่ยวในเมืองใหญ่ เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่ ของการท่องเที่ยวในราคาที่ไม่แพง ลดปัญหาสิ่งแวดล้อม และยังประโยชน์ ให้แก่ส่วนรวมอย่างแท้จริง ที่มา: บทความ “Conservation Efforts in Tourism: Story Behind Uakari Lodge in the Brazilian Amazon” โดย Gustavo Pinto จาก greenloons.com / บทความ “9 Sustainable Tourism Examples and Business Success Stories to Learn From in 2017” จาก sustainability-leaders.com / เว็บไซต์ realitytoursandtravel.com
ภูมิปัญญาสร้างรายได้
เรื่อง: นพกร คนไว
เป็นที่รู้กันดีว่าแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำ�นวนมากมักมีความ วุ่นวายตามมา บ้างก็ส่งผลกระทบต่อคนในพื้นที่นั้นๆ ทั้งยังก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่จะเป็นไปได้ไหมที่การท่องเที่ยวจะสร้าง ประโยชน์ได้รอบด้าน ทัง้ แก่นกั ท่องเทีย่ ว บริษทั นำ�เทีย่ ว และสภาพแวดล้อม คำ�ตอบคงอยูท่ ี่ “การท่องเทีย่ วแบบยัง่ ยืน” ซึง่ เป็นรูปแบบการท่องเทีย่ วทีเ่ ป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คนท้องถิ่น หลายประเทศเริ่มเห็นความสำ�คัญของ ธุรกิจในลักษณะนี้ ตัวอย่างสำ�คัญคือ Uakari Lodge กระท่อมกลางแม่นํ้า ใกล้ชิดธรรมชาติในป่าแอมะซอน ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลของ ประเทศบราซิล ด้วยการบริหารจัดการของศูนย์การพัฒนาทีย่ งั่ ยืนมาไมรัว (Mamiraua Sustainable Development Reserve) และชุมชนท้องถิ่น นักท่องเที่ยวจะ ได้สัมผัสถึงความสงบของทิวทัศน์ธรรมชาติรอบตัว โดยมีไกด์นำ�เสนอ โปรแกรมท่องเทีย่ วทัง้ กลางวันและกลางคืน เช่น การพานักท่องเทีย่ วล่องเรือ ชมสัตว์ไปตามเส้นทางทะเลสาบมาไมรัว โดยมีนักวิจัยที่เชี่ยวชาญเรื่อง ธรรมชาติและชาวบ้านจากชุมชนริมนํา้ คอยให้ความรูใ้ นมิตติ า่ งๆ เนือ่ งจาก Uakari Lodge มีพนักงานเป็นชาวบ้านในท้องถิน่ ทัง้ ฝ่ายบริหารจัดการ ไกด์ แม่บ้าน คนทำ�อาหาร โดยใช้ระบบหมุนเวียนกันทำ�งาน พนักงานแต่ละคน ทำ�งานเพียง 10 วันต่อเดือน และจะผลัดเปลี่ยนกับคนในชุมชน ภายใน โครงการมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกพร้อม ทั้งไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ นํ้าสะอาดจากการกักเก็บนํ้าฝน รวมทั้งระบบบำ�บัดนํ้าเสียก่อนปล่อยลงสู่ แม่นาํ้ ส่วนโครงสร้างของตัวกระท่อมสร้างมาจากพลาสติกรีไซเคิล ทางด้าน เศรษฐกิจ Uakari Lodge สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวของคนในพื้นที่ตั้งแต่ ปี 1998-2016 ราว 9 แสนเหรียญสหรัฐฯ เป็นเงินเดือนและรายได้จากผลิตผล ทีจ่ �ำ หน่าย เช่น พืชผลทางการเกษตรและปลา โดยยังไม่นบั รวมค่าธรรมเนียม ที่ได้จากนักท่องเที่ยว ซึ่งจะนำ�ไปพัฒนาชุมชน ซ่อมแซมเรือ และปรับปรุง
เรื่อง: นพกร คนไว
หลายปีมานีธ้ รุ กิจอีคอมเมิรซ์ ในอินเดียเติบโตไปอย่างก้าวกระโดด ทำ�รายได้ รวมมากถึง 33 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา นี่จึงเป็นโอกาสสำ�คัญ ทีเ่ หล่าช่างฝีมอื ทีม่ อี ยูร่ าว 9 ล้านคนทัว่ ทัง้ อินเดียจะได้ขายสินค้าของตนและ มีรายได้ทดี่ ขี นึ้ โดยมีการกำ�เนิดขึน้ ของสตาร์ทอัพหลายรายมาทำ�หน้าทีเ่ ป็น ตัวเชื่อมช่างฝีมอื ในชนบทสูต่ ลาดการซือ้ ขาย ที่ไม่เพียงช่วยพัฒนาคุณภาพสินค้า แต่ยังสร้างทักษะและรายได้ให้เกิดเป็นความยั่งยืนในชุมชนของช่างฝีมือ สตาร์ทอัพอย่าง CraftsBazaar และ SouvNear ทำ�ให้ทั้งโลกได้รู้จัก กับสินค้าจากช่างฝีมอื ชาวอินเดียผ่านหน้าเว็บไซต์ทผี่ ซู้ อื้ เลือกสินค้าและงาน ฝีมือได้ทุกประเภท ทั้งยังทำ�ความรู้จักกับช่างฝีมือได้เป็นรายคน พร้อม ประวัติ ความถนัด และรัฐทีอ่ ยู่ ซึง่ เป็นจุดกำ�เนิดเอกลักษณ์ของงานแต่ละชิน้ ขณะที่ Gaatha สตาร์ทอัพจากเมืองอัหม์ ดาบาด (Ahmedabad) เน้นฟืน้ ฟู และสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กบั เหล่าช่างฝีมอื ด้วยธุรกิจออนไลน์ทขี่ ายสินค้า
CREATIVE THAILAND I 6
gaatha.com
flickr.com/photos/Stig Nygaard
The Subject : ลงมือคิด
ไปพร้อมกับบอกเล่าเรื่องราวของช่างฝีมือ และบทความให้ความรู้เกี่ยวกับ งานหัตถกรรมจากหลายภูมิภาคของอินเดีย เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรม และงานฝีมือพื้นบ้านที่กำ�ลังสูญหายไปตามกาลเวลา อีกด้านในรัฐคุชราต (Gujarat) กลุ่มผู้หญิงจากเผ่าราบารี (Rabari) รวมกลุ่มกันสร้างแบรนด์ เสื้อผ้าที่มีชื่อว่า Okhai จากการสนับสนุนโดยบริษัท Tata Chemicals Society for Rural Development (TCSRD) บริษัทใหญ่แห่งอินเดีย มี ช่างฝีมือกว่า 500 ชีวิตที่ผลิตผลงานด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม และมีสินค้า หลากหลายประเภท เช่น เสือ้ ผ้า ของตกแต่งบ้าน และเครือ่ งประดับ ภารกิจ สำ�คัญของ Okhai คือทำ�ให้ผู้หญิงจากหมู่บ้านต่างๆ ได้เรียนรู้ทักษะและ สร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัวได้โดยไม่ตอ้ งพึง่ พาสามีทเี่ ป็นเสาหลัก ของบ้านเพียงคนเดียว จะเห็นได้ว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถสร้างรายได้ให้กับช่างฝีมือที่อยู่ ห่างไกลความเจริญ จากอดีตที่ช่างฝีมือหลายคนต้องเดินทางมาใช้แรงงาน ในเมืองใหญ่ เพื่อเลี้ยงดูครอบครัวจนปล่อยให้ภูมิปัญญาที่ตกทอดมาจาก บรรพบุรุษต้องตายไป ปัจจุบันพวกเขาพิสูจน์ได้แล้วว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถยกระดับสถานะทางการเงินและสังคมของตนเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร ที่มา: บทความ “e-Commerce in India: Market Trends and Regulations” โดย Vasundhara Rastogi จาก india-briefing.com / บทความ “These E-Commerce Platforms Empower Rural Artisans by Helping Them Earn Better” โดย Athira A Nair จาก yourstory.com / บทความ “SouvNear Supports 10,000 Indian Artisans by Selling Their Products in 14 Countries” โดย Mehr Gill จาก yourstory.com
สลัมบังตา วัฒนธรรมเปิดใจ เรื่อง: พฤฒ มิ่งศุภกุล
พืน้ ทีช่ มุ ชนแออัดอย่าง “คลองเตย” เป็นเหมือนพืน้ ทีด่ �ำ มืดใจกลางกรุงเทพฯ แม้จะมีทา่ เรือคลองเตยเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าทีส่ �ำ คัญ แต่ถงึ อย่างนัน้ ชุมชนแห่งนี้กลับคล้ายมีกรอบบางอย่างที่ขวางกั้นความเจริญรอบข้างไม่ให้ เข้าถึงภายใน ทั้งยังเต็มไปด้วยปัญหาเรื้อรัง จนทำ�ให้ “มูลนิธิสิกขาเอเชีย” ได้เข้ามาดูแลชุมชนแห่งนี้ในประเด็นที่น่าห่วงใยอย่างเรื่องการศึกษาของ เด็กๆ ภายในชุมชน ตลอดจนการช่วยสนับสนุนด้านอาชีพให้กบั กลุม่ แม่บา้ น ภายใต้กรอบอันคับแคบและวงจรของปัญหาทีส่ ะสมมาอย่างยาวนานภายใน ชุมชนคลองเตย คือแรงผลักดันชั้นดีที่ทำ�ให้เกิดผลิตภัณฑ์สุดสร้างสรรค์ที่ ชื่อว่า “FEEMUE (ฝีมอื )” ซึง่ เป็นความร่วมมือระหว่างมูลนิธสิ กิ ขาเอเชีย ชาวบ้าน ในชุมชนคลองเตย และ “ฟูจติ ะ” ดีไซเนอร์จติ อาสาชาวญี่ปุ่นที่เข้ามามีสว่ นช่วย ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สะท้อนคุณค่าจากอัตลักษณ์ของความเป็นชุมชน คลองเตย “ดีไซเนอร์เขามาจากญีป่ นุ่ เขาเห็นว่าความคิดของคนทัว่ ไปทีม่ ตี อ่ ชุมชนคลองเตย กับสิง่ ทีเ่ ขาเห็น มันไม่เหมือนกัน เขาเห็นความร่มรืน่ ชีวติ ชาวบ้าน การมีมนุษยสัมพันธ์ทด่ี กี บั เขา ซึง่ คนทีไ่ ม่ได้เข้ามาในชุมชนคลองเตย ก็จะไม่ได้คดิ เหมือนเขา เขาก็เลยคิดว่าผลิตภัณฑ์ทเ่ี ขาออกแบบ จะทำ�ให้คน เห็นภาพของสลัมคลองเตยอีกแบบ” คุณนารีรตั น์ ตั้งเจริญบำ�รุงสุข ผู้จัดการ มูลนิธิสิกขาเอเชียกล่าวถึงจุดเริ่มต้นในการทำ�งานครั้งนี้ จากภาพของชุมชนแออัดที่เต็มไปด้วยปัญหา แต่ดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่น กลับมองเห็นสิง่ ดีๆ ทีส่ งั คมเมืองไม่มี ทัง้ ยังเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมทีค่ นไทย
เองมองไม่เห็นจากวิถชี วี ติ แบบชาวบ้านในชุมชนแบบไทยๆ “ดีไซเนอร์เขาเห็น กระสอบข้าวสารที่ชาวบ้านเอามาบังแดด เอามากันฝน เขาเห็นชุมชนใช้ กันเยอะ เขาก็เลยเอามาทำ�กระเป๋า อย่างพวงมาลัยทีเ่ ขาเห็นตามศาลพระภูมิ ก็เอามาทำ�เป็นสร้อย ต่างหู เวลาเขาไปดูตามฝาบ้าน เขาเห็นเราเอาฝาเบียร์มา แล้วเอาตะปูตอก เขาก็เลยออกแบบเป็นโลโก้กระดุม สินค้า FEEMUE จึง เป็นการสะท้อนวิถีชีวิตของคนในสลัมคลองเตยในแต่ละรายละเอียด” คุณนารีรัตน์กล่าวเสริม ขณะที่คุณนริศรา พิลึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายหัตถกรรม มูลนิธสิ กิ ขาเอเชียได้บอกเล่าถึงแนวทางในการสร้างสรรค์ธรุ กิจเพือ่ สังคมจาก วิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของคนในชุมชนไว้อย่างน่าสนใจว่า “รายได้จาก FEEMUE เราก็ให้กับกลุ่มแม่บ้านที่ทำ�หัตถกรรม เราคาดหวังว่าจะให้มีงาน เยอะขึ้น เพื่อนำ�เอารายได้มาช่วยในส่วนของมูลนิธิด้านอื่นๆ นอกจากนี้ เราก็ยังทำ�โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่เพื่อสนับสนุนการศึกษาให้กับเยาวชน ในชุมชนอีกด้วย” แม้วา่ ในวันนี้ ผลิตภัณฑ์ทไี่ ด้รบั การออกแบบขึน้ ของ “FEEMUE (ฝีมอื )” จะยังไม่เป็นทีต่ อ้ งใจในกลุม่ ลูกค้าคนไทยอันเนือ่ งมาจากความชินตาในวัสดุ ที่อยู่ใกล้ตัวมานาน แต่สินค้าหลายชิ้นของแบรนด์กลับเป็นที่ชื่นชอบอย่าง มากของลูกค้าชาวญี่ปุ่น จนมีโอกาสได้นำ�สินค้าไปจำ�หน่ายในงานแสดง สินค้าที่ญี่ปุ่นและได้รับรางวัล “Good Design Award 2017” ซึ่งเป็นเครื่อง การันตีได้อย่างดีว่าต้นทุนวัฒนธรรมแบบไทยๆ ก็สร้างคุณค่าจนเป็นที่รับรู้ ได้ในเวทีสากล แบรนด์อย่าง FEEMUE แสดงให้เห็นว่าการตระหนักและใส่ใจกับการ เปลี่ยนแปลงต้นทุนทางวัฒนธรรมด้วยความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถเป็น จุดเริ่มต้นที่ท้าทายต่อวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี เพราะภายใต้สินค้า FEEMUE ที่รวมเอาความเป็นไทยของพื้นที่ที่เป็นแหล่งชุมชนแออัดอย่าง คลองเตยกับความเป็นสากลแบบญีป่ นุ่ ได้กา้ วขึน้ มาท้าทายและเรียกร้องให้ คนไทยหันกลับมามองคุณค่าความเป็นไทยที่แท้จริง ซึ่งนั่นอาจเป็นต้นทุน ทางความคิดที่ดีที่สุดในการสร้างธุรกิจให้สร้างสรรค์และยั่งยืนก็เป็นได้ พบกับสินค้าของ FEEMUE (ฝีมือ) ได้ที่มูลนิธิสิกขาเอเชีย 100/14-20 เคหะคลองเตย 4 ถนนอาจณรงค์ แขวงคลองเตย เขตตลองเตย กรุงเทพฯ 10110, Happening Shop BACC และ fb.com/feemue.klongtoey ทีม่ า: บทสัมภาษณ์ นารีรตั น์ ตัง้ เจริญบำ�รุงสุข ผูจ้ ดั การมูลนิธสิ กิ ขาเอเชีย และ นริศรา พิลกึ เจ้าหน้าที่ฝ่ายหัตถกรรมมูลนิธิสิกขาเอเชีย วันที่ 8 สิงหาคม 2561 โดยนิตยสาร “คิด” (Creative Thailand)
CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ฐานันดร วงศ์กิตติธร
R EPORT The Design Economy 2018 โดย Design Council สหราชอาณาจักร ดีไซน์เคานซิลเป็นองค์กรอิสระเพื่อวิสาหกิจ มีเป้าหมายในการพัฒนา คุณภาพชีวติ ด้วยการออกแบบ ให้การฝึกอบรมและผลิตผลงานวิจยั ด้านการ ออกแบบ ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาเชิงนโยบายให้แก่รัฐบาล ผลงานวิจัยล่าสุด ในปี 2017 ชี้ให้เห็นว่าทักษะด้านการออกแบบเป็นหัวใจหลักของการปฏิวัติ อุตสาหกรรมครั้งที่ 4 และเป็นปัจจัยกำ�หนดแนวทางการพัฒนาสิ่งแวดล้อม ปลูกสร้าง สือ่ ดิจทิ ลั ผลิตภัณฑ์และบริการ ดีไซน์เคานซิลเรียกปรากฏการณ์ อันเป็นผลมาจากการออกแบบนี้ว่า “The Design Economy” ซึ่งหมายถึง มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากบุคลากรในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้การ ออกแบบเป็นเครือ่ งมือ และได้จดั ทำ�รายงาน The Design Economy 2018 ขึน้ เพื่อนำ�เสนอผลวิจัยและผลกระทบที่การออกแบบมีต่อเศรษฐกิจในทุกระดับ The Design Economy 2018 รายงานผลการวิจัย 20 ประเด็นหลัก โดยอ้างอิงการสำ�รวจธุรกิจกว่า 1,000 แห่ง และข้อมูลเชิงลึกจากกรณีศึกษา
ของบริษัทอีก 7 แห่ง ผลวิเคราะห์ที่น่าสนใจ อาทิ มูลค่าทางเศรษฐกิจด้าน การออกแบบสูงเทียบเท่ากับมูลค่าของธุรกิจที่พักและอาหาร ประสิทธิภาพ การทำ�งานและรายได้ของนักออกแบบสูงกว่าค่าเฉลี่ยของบุคลากรในด้าน อืน่ ๆ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์วา่ จ้างบุคลากรจากกลุม่ ชาติพนั ธุท์ หี่ ลากหลาย คนจำ�นวน 2 ใน 5 คนเห็นว่าการออกแบบช่วยเพิ่มรายได้และกระตุ้นการ รับรู้แบรนด์สินค้าได้ดีกว่า และผู้ตอบแบบสอบถามกว่าครึ่ง (53%) คาดว่า ธุรกิจหรืออุตสาหกรรมของตนจะต้องพึ่งพาทักษะด้านการออกแบบมากขึ้น ในอีก 3 ปีขา้ งหน้า ถึงแม้ผลวิจยั จะแสดงให้เห็นแล้วว่าการออกแบบนัน้ สำ�คัญ และเติบโตมากเพียงใด แต่ข้อจำ�กัดก็ยังมีอยู่ไม่น้อย ทั้งความไม่เท่าเทียม ทางเพศ จำ�นวนบุคลากรที่ขาดแคลน และโอกาสในการเข้าถึงของคน เฉพาะกลุม่ เราจึงต้องเร่งตอบสนองต่อข้อมูลทีม่ แี ละร่วมกันสร้างรากฐานที่ มั่นคงไว้รองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
CREATIVE THAILAND I 8
BOOK
DOCU M E N TA RY
Creative Economy Entrepreneurs โดย Alice Loy และ Tom Aageson ผู้ก่อตั้งองค์กร Creative Startups
Abstract: The Art of Design สร้างโดย Scott Dadich
Creative Startups เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อน เศรษฐกิจสร้างสรรค์และสนับสนุนผูป้ ระกอบการ ทีก่ อ่ ตัง้ มาตัง้ แต่ปี 2007 ในแซนตาเฟ เมืองหลวง ของรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ภารกิจหลัก ด้ า นหนึ่ ง คื อ การจั ด หลั ก สู ต รบ่ ม เพาะธุ ร กิ จ สตาร์ทอัพ (Startup Accelerators) ทั้งยังมี ประสบการณ์ในการพัฒนาระบบนิเวศสร้างสรรค์ ในกัวลาลัมเปอร์ คูเวต และบัลติมอร์ ตลอดระยะ เวลาการทำ�งาน องค์กรได้รวบรวมเรื่องราว แรงบันดาลใจและความสำ�เร็จของกลุม่ สตาร์ทอัพไว้ หนังสือเล่มนีถ้ า่ ยทอดสิง่ ทีส่ ง่ั สมมาโดยเน้นเนือ้ หา ไปที่บทบาทและความสำ�คัญของผู้ประกอบการ มากกว่าข้อมูลเชิงนโยบาย โครงสร้างอุตสาหกรรม หรือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ระดับมหภาค เพื่อกระตุน้ กลุม่ ทุนให้หนั มาลงทุนกับกลุม่ ผูป้ ระกอบการและ ยกระดั บ ธุ ร กิ จ สตาร์ ท อั พ สู่ บ ริ ษั ท สเกลอั พ บทวิเคราะห์ในหนังสือยังได้ยกตัวอย่างระบบ นิเวศสร้างสรรค์ที่ประสบความสำ�เร็จในประเทศ ต่างๆ ที่น่าสนใจอีกด้วย
“สิง่ สำ�คัญคือเรือ่ งราว ข้อความ ความรูส้ กึ และความเชื่อมโยง เหล่านีล้ ว้ นคือการออกแบบ” นี่เป็นคำ�โปรยใน เทรลเลอร์ของซีรสี เ์ รือ่ ง Abstract: The Art of Design ผลงานสารคดีชดุ โดยเน็ตฟลิกซ์ ทีน่ �ำ เสนอเรือ่ งราว ของนักออกแบบและศิลปิน 8 คนจากต่างสาขา ทัง้ ช่างภาพ นักออกแบบรองเท้า นักออกแบบเวที กราฟิก ดีไซเนอร์และอืน่ ๆ นักออกแบบทุกคนบอกเล่าถึงแนวคิด การรังสรรค์ผลงาน และการแก้ปญั หาด้วยการ ออกแบบในแต่ละตอนเฉพาะของตน ผู้ชมจะได้รับแรงบันดาลใจจากถ้อยคำ�ของเจ้าของเรื่อง และ เพลิดเพลินกับภาพและมุมกล้องทีแ่ ปลกใหม่แต่ลงตัว สารคดีชดุ นีไ้ ด้รบั คำ�ชืน่ ชมจากนักวิจารณ์ในวงกว้าง ทัง้ ยังได้รบั การเสนอชือ่ เข้าชิงรางวัลเอ็มมี สาขา Outstanding Graphic Design and Art Direction อีกด้วย
W EB SIT E British Council | Creative Economy creativeconomy.britishcouncil.org เราต่างมีประสบการณ์และภาพจำ�ของบริตชิ เคานซิลต่างกันออกไป นักเรียนนักศึกษาอาจรูจ้ กั องค์กรนี้ ในฐานะสถาบันภาษา แต่ความจริงแล้ว บริติชเคานซิลเป็นองค์กรที่ส่งเสริมการศึกษา สังคม และศิลป วัฒนธรรม โดยในขอบข่ายด้านศิลปวัฒนธรรมนั้น บริติชเคานซิลกำ�หนดให้การส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์เป็นพันธกิจสำ�คัญข้อหนึ่ง และได้จัดทำ�เว็บไซต์นำ�เสนอกิจกรรมและองค์ความรู้สร้างสรรค์ แบ่งเนื้อหาสาระสำ�คัญออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ธุรกิจสร้างสรรค์ (Creative Enterprises) จุดเชื่อมโยง และการสื่อสาร (Hubs & Communication) เทคโนโลยีและปฏิสัมพันธ์ (Tech & Interactive) โดย ผู้เข้าชมเว็บไซต์สามารถเลือกอ่านเนื้อหาตามสาระสำ�คัญหรือตามประเภทเนื้อหา (กิจกรรม บทความ และแหล่งข้อมูล) ก็ได้เช่นกัน
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
ธุรกิจสร้างสรรค์ ทำ�แล้วรวย เรื่อง: ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ธุรกิจสร้างสรรค์จะมีความสำ�คัญต่อการพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21 มากเพียงใด ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน เศรษฐกิจไทยควรมีการปรับโครงสร้างไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ด้วยระบบ เศรษฐกิจซึ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าด้วยความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรม โดยทางเลือกหนึง่ ก็คอื การใช้แนวทาง “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือเศรษฐกิจ ทีใ่ ช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ทรัพย์สนิ ทางปัญญาและการ ศึกษาวิจัย ซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ การสั่งสม ความรู้ทางสังคม เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจที่เป็น ทัง้ สินค้าและบริการรูปแบบใหม่ซง่ึ สามารถ สร้างมูลค่าเพิม่ ทางเศรษฐกิจ หรือ คุณค่าทางสังคมได้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)i ได้จัดทำ�หลักสูตรการบ่มเพาะ ธุรกิจสร้างสรรค์ โดยได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ทั้งพันธมิตรจาก ภาครัฐและภาคเอกชน เพือ่ สนับสนุนผูป้ ระกอบการ SMEs พร้อมเปิดช่องทาง
ในการเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการได้ทดลองตลาดและขายสินค้าผ่าน โครงการ “D.R.I.V.E 2018 คิด ผลิต ขาย” จัดทำ�เวิร์กช็อปด้วยกระบวนการ คิดเชิงออกแบบ และหาความเป็นไปได้ทางการเงินและธุรกิจ เพือ่ ให้เกิดเป็น ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ในปีนี้มีผู้ประกอบการสร้างสรรค์กว่า 30 บริษัท ที่ผ่านการบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์ ผลักดันนวัตกรรมที่มีคุณค่าและยั่งยืน และให้ผู้บริโภคหรือลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ตัวอย่างธุรกิจที่ผ่าน การบ่มเพาะจากโครงการ D.R.I.V.E 2018 คิด ผลิต ขาย ของกลุ่มธุรกิจเพื่อ ส่งเสริมการใช้ชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ‘ธูปนํ้าไอเย็น’ บูชา สบายใจ ปลอดภัยไร้มลพิษ ของแบรนด์มงคลคิด ซึ่งแนวคิดตั้งต้นเกิดขึ้น จากความต้องการอยากลดปัญหาอย่างถาวรของควันและฝุ่นธูปซึ่งเป็นสาร ก่อมะเร็ง ความร้อน และเสี่ยงให้เกิดอัคคีภัย พัฒนามาสู่ ‘ธูปนํ้าไอเย็น’ ที่ ใช้กลไกการระเหยของไอนํ้า ทดแทนการเกิดควันไฟ แต่ยังคงความหมาย ตามความเชื่อในการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ สามารถผสมกลิ่นเองได้ พกพา สะดวก ปลอดภัย เหมาะกับการใช้ชีวิตในเมืองและเป็นของขวัญ อีกหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ที่เปลี่ยนคุณสมบัติและสร้างจากของเหลือใช้เพื่อสิ่งดีกว่าคือ แผ่นพื้นยางรีไซเคิลของบริษัท วินเทรด โปรดักส์ จำ�กัด ที่มีแนวคิดตั้งต้น จากความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางรถยนต์รีไซเคิลให้เป็นวัสดุใหม่ ที่ยังคงคุณสมบัติความนุ่มของเนื้อสัมผัส พัฒนามาสู่ ‘DeCycle’ แผ่น พื้นยางจากยางรถยนต์รีไซเคิลสําหรับปูพื้นภายนอกอาคาร เพิ่มคุณสมบัติ ของวัสดุให้มผี วิ สัมผัสแตกต่างกันสองด้าน ได้แก่ ด้านนุม่ สบายเท้า ผสมหิน ช่วยป้องกันการลืน่ ล้ม และด้านหยาบช่วยผ่อนคลายสปาเท้า สามารถเลือกใช้ ให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน พร้อมรูปทรงใหม่ทรงหกเหลีย่ มเพิม่ ลูกเล่น ให้การปูพื้นสวยงามยิ่งขึ้น หลักสูตรการบ่มเพาะธุรกิจสร้างสรรค์อย่างโครงการ D.R.I.V.E 2018 คิด ผลิต ขาย เกิดขึน้ เพือ่ ให้ผปู้ ระกอบการเห็นถึงความสำ�คัญของการพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการ ด้วยความคิดสร้างสรรค์และทักษะด้านการออกแบบ เพือ่ ยกระดับธุรกิจให้อยูใ่ นนิเวศของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึง่ เป็นไปตามพันธกิจ ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ คือการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาธุรกิจ สร้างสรรค์และสนับสนุนให้ภาคธุรกิจอืน่ ๆ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ให้ตรงใจผูบ้ ริโภคและทันกระแสการเปลีย่ นแปลง ทางเศรษฐกิจของโลก สามารถดูผลงานน่าทีส่ นใจนีไ้ ด้ท่ี Creative Business Showcase ณ ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุ และการออกแบบ Material & Design Innovation Center ชั้น 2 TCDC ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายนเป็นต้นไป
i ปัจจุบนั ได้รบั การยกระดับขึน้ เป็นสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) : สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๑
CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place
หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง เลขประจําตัวผูเสียภาษี เพื่อออกใบเสร็จรับเงิน หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย ถนน จังหวัด รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
จากเส้นทางการดำ�เนินนโยบายการพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนผ่านจากยุคเกษตรกรรมมาสู่ยุคอุตสาหกรรมที่นำ�ความรุ่งเรืองมาสู่ ประเทศ “ความคิดสร้างสรรค์” เริ่มปรากฏให้เห็นจากร่องรอยจางๆ จนมาเด่นชัดขึ้นเมื่อวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้สร้าง มุมมองใหม่ให้กับเหล่าผู้ผลิตนโยบาย ด้วยการนำ�ความคิดสร้างสรรค์ที่เคยเป็นเพียงทิศทางของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ ที่เรียกว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มาเป็นแผนการดำ�เนินงานสำ�หรับอนาคตใหม่ของประเทศไทย นโยบายเปลี่ยนสนามรบให้เป็นตลาดการค้าของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ส่งผลให้การค้าชายแดนกับกลุม่ ประเทศอินโดจีน ขยายตัว จั ด ตั้ ง สภาพั ฒ นาการเศรษฐกิ จ แห่ ง ชาติ (สำ � นั ก งาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปัจจุบัน) มีการจัดทำ�แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 1 (2504-2509) ทำ�ให้เกิดนโยบายด้านลงทุน สาธารณูปโภคเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการผลิตเพื่อ ทดแทนการนำ�เข้า ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว ในรูปแบบบริการใหม่ๆ เช่น โรงแรม หมู่บ้านจัดสรร และ โรงภาพยนตร์
เศรษฐกิจไทยเริ่มพัฒนาสู่การผลิตเพื่อการ ส่งออก ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติฉบับที่ 3 (2515-2519) ประกอบกับ การค้นพบแหล่งพลังงานก๊าซธรรมชาติใน อ่าวไทย และสามารถนำ�ก๊าซฯ ดังกล่าวมา ใช้ประโยชน์ทดแทนเชือ้ เพลิงราคาแพงจาก ต่างประเทศ เป็นจุดเริ่มต้นในการก้าวสู่ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว
จัดตั้งกรมศิลปากร ก่อตัง้ มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบั น ระดั บ อุ ด มศึ ก ษา แหล่ ง ผลิ ต นั ก สร้ า งสรรค์ งานศิลปะและงานออกแบบ จัดตัง้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยยกระดับจากกองวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นกระทรวงเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2495 โดยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้ น ดำ � รงตำ � แหน่ ง รั ฐ มนตรี ว่ า การกระทรวง วัฒนธรรมด้วย แต่เนื่องจากสภาวะผันแปรทางการเมือง ปี 2501 กระทรวงวัฒนธรรมจึงถูกยุบเลิกตามพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยโอนย้ายไปสังกัดกระทรวง ศึกษาธิการและหน่วยงานอื่นๆ CREATIVE THAILAND I 12
ก่อตัง้ มูลนิธสิ ง่ เสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ พระบรมราชินนี าถ เพื่อรักษา และฟืน้ ฟูหตั ถกรรมแบบไทย โบราณให้กลับมาแพร่หลาย
เปิ ด พิ พิ ธ ภั ณ ฑสถานแห่ ง ชาติ หอศิ ล ป์ หรื อ หอศิ ล ป์ เ จ้ า ฟ้ า จัดแสดงผลงานศิลปะ ทั้งแบบ ประเพณี ไ ทยโบราณและแบบ สากลร่วมสมัยของศิลปินไทย
14 สิงหาคม 2561 จัดตั้ง สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) : สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การ มหาชน) พ.ศ. ๒๕๖๑ เพือ่ เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านทีท่ �ำ หน้าทีใ่ นการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการ พัฒนาปัจจัยที่สนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เติบโต สามารถต่อยอดทุนวัฒนธรรมและเชื่อมต่อกับภาค การผลิตจริง เพื่อยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล 2535-2539 เศรษฐกิจไทยขยายตัว สูงจากนโยบายการลงทุนโครงสร้าง พืน้ ฐานขนาดใหญ่ อาทิ โครงการ โทรศัพท์พน้ื ฐาน 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเล ภาคใต้ โครงการรถไฟฟ้าขนส่ง มวลชนในเขตกรุงเทพมหานคร และโครงการทางด่วนยกระดั บ รวมถึงนโยบายสนับสนุนการส่ง ออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ฐาน ค่าแรงตา่ํ ภายใต้เป้าหมายการเป็น ประเทศอุ ต สาหกรรมใหม่ หรือ NICS (New Industry Countries)
จัดตั้งสำ�นักส่งเสริมนวัตกรรม และสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า (เดิ ม ชื่ อ ศู น ย์ บ ริ ก ารออกแบบ) ภายใต้กรมส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพือ่ สนองนโยบายภาครัฐในการใช้ กลยุทธ์การสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กับ สินค้าส่งออกไทยเพื่อให้แข่งขัน ในตลาดโลกได้
2560 จัดตัง้ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอซี )ี เป็นแผนยุทธศาสตร์ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนา เชิงพื้นที่ที่ต่อยอดความสำ�เร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ภาคตะวันออกหรือ Eastern Seaboard ซึ่งดำ�เนินมาตลอด กว่า 30 ปีที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายหลักในการเติมเต็มภาพ รวมการส่งเสริมการลงทุน ซึง่ จะเป็นการยกระดับอุตสาหกรรม ของประเทศ เพิม่ ความสามารถในการแข่งขันและทำ�ให้เศรษฐกิจ ของไทยเติบโตได้ในระยะยาว
วิกฤตต้มยำ�กุ้งทำ�ให้เศรษฐกิจ ทรุดตัว ก่อนที่จะฟื้นฟูดว้ ยนโยบาย Dual Track Policy ที่มุ่งเน้นการ กระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความ สามารถของผู้ประกอบการไทย ให้กลับมาแข่งขันในเวทีส ากล
นโยบายปฏิรปู ระบบราชการ ทำ�ให้มีการจัดตั้งกระทรวง วัฒนธรรมขึ้นเป็น 1 ใน 20 กระทรวงหลักของประเทศ
รัฐบาลตระหนักถึงความสำ�คัญของการใช้ ความคิดสร้างสรรค์เป็นปัจจัยในการแข่งขัน ในโลกยุคใหม่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559) และฉบับที่ 12 (2560-2564) มีการบรรจุ เรื่อ งเศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ เ ป็ น หนึ่ง ใน ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การ มหาชน) เพื่อพัฒนางานผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ของไทยและส่งเสริมด้านการตลาดให้สามารถขยายตลาด ทั้งในและต่างประเทศ จัดตั้งสำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การ มหาชน) และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) เพื่อ เป็นหน่วยงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านความคิด สร้างสรรค์และงานออกแบบ เพื่อนำ�ไปสู่การพัฒนาสินค้า และบริ ก ารที่ มี คุ ณ ค่ า และมู ล ค่ า ที่ ส ามารถแข่ ง ขั น ได้ ทดแทนการพึ่งพาต้นทุนค่าแรงตํ่า
CREATIVE THAILAND I 13
Photo by Amy Shamblen on Unsplash
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: พัณณิตา มิตรภักดี
ตั้งแต่จักรวาลภาพยนตร์มาร์เวลจากฮอลลีวูด ความนิยมในรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง และ Master Chef Thailand มาจนถึงกระแสละครบุพเพสันนิวาส และวงไอดอลอย่าง BNK48 ทุกอย่างล้วนเป็นผลผลิตของเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ทงั้ สิน้ คำ�ว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” หรือ Creative Economy ไม่ใช่ค�ำ ใหม่ แต่เป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่มีประวัติยาวนาน และได้ถูกนำ�มาใช้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาประเทศของหลายๆ ประเทศชั้นนำ�ของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทยด้วย CREATIVE THAILAND I 14
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ได้ ถูกพูดถึงครั้งแรกในหนังสือของจอห์น ฮาวกินส์ (John Howkins) ทีม่ ชี อื่ ว่า The Creative Economy: How People Make Money from Ideas ซึ่งจัด พิมพ์ขึ้นในปี 2001 เพื่อเผยแพร่แนวคิดเกี่ยวกับ ระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ระบบ เศรษฐกิจที่เน้นการผลิต (Manufacturing) และ ใช้ทรัพยากรอันประกอบด้วยแรงงานและทุน รูปแบบเก่าในที่สุด ดังนั้น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงเป็นระบบเศรษฐกิจทีพ่ งึ่ พาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ และไอเดียใหม่ๆ ของปัจเจกบุคคล ในการสร้างมูลค่าเพิม่ ทางเศรษฐกิจ และมีความ หมายครอบคลุมทุกกิจกรรมในระบบเศรษฐกิจ ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวอาจมีองค์ประกอบเชิง วัฒนธรรมหรือไม่มกี ไ็ ด้ ซึง่ จะกว้างกว่าการพัฒนา อุตสาหกรรมวัฒนธรรม (Cultural Industry) และ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries) ที่ มุ่งเน้นการผันศิลปะและวัฒนธรรมให้กลายเป็น อุตสาหกรรมทีผ่ ลิตสินค้าและบริการเชิงวัฒนธรรม และส่งออกผ่านเครือ่ งมือทางสือ่ ซึง่ หลายๆ ประเทศ ได้ใช้เป็นแนวทางในการส่งออกวัฒนธรรมของ ประเทศไปสู่สากล แนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ได้ริเริ่มและใช้มาตั้งแต่ปี 1998 โดยกระทรวง วัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา (Department of Culture, Media and Sport: DCMS) ของสหราช อาณาจักร ผ่านนโยบาย “Cool Britannia” ที่ ผลักดันวงดนตรี Spice Girls ซีรีส์ Doctor Who ดีไซเนอร์อเล็กซานเดอร์ แมคควีน (Alexander McQueen) และเฟอร์นิเจอร์ Habitat ฯลฯ ทัง้ หมดล้วนเป็นผลิตผลของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งสิ้น มาจนถึงนโยบายที่หน่วยงานต่างๆ ของ อังกฤษส่งเสริมอยู่ในปัจจุบันอย่าง “Create Together” และล่าสุด คือ “Createch” แนวคิดนี้ ได้แพร่กระจายไปสู่นานาประเทศ และเกิดเป็น นโยบายต่างๆ เช่น “Cool Japan” ของญี่ปุ่น และ “Creative Korea” ของเกาหลีใต้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นที่สนใจขององค์กรระดับสากล อย่าง UNESCO ซึง่ จะมอบรางวัลเมืองสร้างสรรค์ (Creative City) ในหลากหลายสาขา เช่น ด้าน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ด้านการออกแบบ ด้านอาหาร เป็นต้น ให้แก่เมืองต่างๆ ทั่วโลก และ UNCTAD ที่รวบรวมสถิตกิ ารค้าของผลิตภัณฑ์
สร้างสรรค์ เพื่อจัดทำ�เป็น Creative Economy Report อีกด้วย แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์หรือกลุ่ม อุ ต สาหกรรมที่ ดำ � เนิ น กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ เป็นการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมีที่มาจาก พื้นฐานทางสังคมและบริบททางวัฒนธรรมของ แต่ละบุคคล โดยนำ�มากลัน่ กรองและผสมผสานกับ เครือ่ งมือต่างๆ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ จนแปลง ออกมาเป็นสินค้าและบริการทีจ่ บั ต้องได้ เกิดเป็น ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ทมี่ คี วามใหม่และมีลกั ษณะ เฉพาะตัว ซึ่งอาจเกิดจากการนำ�ภูมิปัญญาใน ท้องถิ่นมาปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย หรือการ เติมแต่งแนวคิดเชิงสร้างสรรค์บนบริบทของสังคม และวัฒนธรรมก็ได้ เช่น กระเป๋าถือลายผ้าขาวม้า ละครแดจังกึม เป็นต้น ดังนั้น อุตสาหกรรม สร้างสรรค์ที่เป็นแกนหลัก (Core Creative Industries) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการ ผลิตสินค้าและบริการสร้างสรรค์ จึงหมายรวมถึง งานฝีมอื และหัตถกรรม ศิลปะการแสดง ทัศนศิลป์ ดนตรี ภาพยนตร์และวิดที ศั น์ การพิมพ์ การผลิต รายการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง การ โฆษณา การออกแบบสถาปัตยกรรม และการให้
บริการออกแบบ ซึ่งร่วมถึงการออกแบบกราฟิก เครื่องประดับ แฟชั่น เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น และ ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย สินค้าสร้างสรรค์หนึ่งชิ้น เช่น ซีดีซิงเกิล เพลง “คุกกี้เสี่ยงทาย” ก่อนจะไปถึงมือโอตะทั้ง หลายนั้น ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย หลังจากที่น้องๆ BNK48 อัดเสียงเสร็จ ไฟล์เพลง จะผ่านกระบวนการปรับแต่งเสียง ก่อนส่งต่อไป ผลิตเป็นแผ่นซีดี บรรจุใส่กล่อง และขนส่งไปยัง สถานที่ จำ � หน่ า ย รวมถึ ง การทำ � โฆษณาและ การตลาดต่างๆ อีกด้วย ทำ�ให้เห็นได้ว่าเมื่อ นักสร้างสรรค์ นักออกแบบ หรือผู้ประกอบธุรกิจ สร้างสรรค์ (Creative Business) ได้คิดค้นหรือ ออกแบบสินค้าและบริการใหม่ขึ้นมานั้น ก่อนจะ นำ � ไปขายหรื อ ส่ ง มอบบริ ก ารดั ง กล่ า วให้ แ ก่ ผูบ้ ริโภคและกลุม่ เป้าหมาย ต้องอาศัยอุตสาหกรรม อื่ น ไปตลอดเส้ น ทาง ดั ง นั้ น อุ ต สาหกรรม สร้างสรรค์จงึ ไม่สามารถทำ�งานเดีย่ วๆ ได้ แต่การ เพิม่ มูลค่าของความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึน้ โดย ผ่านห่วงโซ่คณุ ค่า (Value Chain) ซึง่ ประกอบด้วย 3 ส่วน คืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ อุตสาหกรรม การผลิตหรือสนับสนุนการผลิต และอุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำ�หน่าย
มิติของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
CREATIVE THAILAND I 15
ซึ่ ง จะช่ ว ยดึ ง ดู ด การลงทุ น และการท่ อ งเที่ ย ว ส่งผลให้เมืองได้รบั การพัฒนาอย่างยัง่ ยืนอีกด้วย ทัง้ นี้ การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพือ่ ให้ เกิดประโยชน์ตอ่ สังคมและเศรษฐกิจของประเทศ ในองค์รวมนั้น เริ่มต้นจากความคิดสร้างสรรค์ ของคน อาจถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่ไม่มีต้นทุน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทุนมนุษย์ (Human Capital) เป็นสิ่งสำ�คัญที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะถ้าปราศจากไอเดียและทักษะของคนแล้ว การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ย่อมเป็นไปด้วย ความยากลำ�บาก จึงเป็นที่มาของแนวคิดการ พัฒนาชนชั้นสร้างสรรค์ (Creative Class) ของ ริชาร์ด ฟลอริดา (Richard Florida) ในหนังสือ The Rise of the Creative Class และแนวคิดการ พัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของชาร์ลส์ แลนดรี (Charles Landry) ในหนังสือ The Art of City Making ที่ นำ�เสนอประเด็นทีค่ ล้ายกัน คือคนสร้างสรรค์ตอ้ ง ถูกดึงดูดด้วยความเหมาะสมของพื้นที่หรือเมือง และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการสร้างสรรค์ หรือ ที่เรียกว่านิเวศสร้างสรรค์ (Creative Ecology) นั่นเอง
Songshan Cultural and Creative Park
commons.wikimedia.org
นอกจากจะช่วยยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้ กับภาคเศรษฐกิจจริงแล้ว การพัฒนาคลัสเตอร์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และชุมชนสร้างสรรค์ (Creative Community) ที่เกิดจากการรวมกลุ่ม กันของศิลปิน นักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ ยั ง ส่ ง ผลดี ต่ อ การพั ฒ นาพื้ น ที่ เ มื อ ง (Urban Space) อีกด้วย เช่น การเปลี่ยนโรงงานผลิต ไฟฟ้ า เก่ า ที่ ตั้ ง อยู่ ริ ม แม่ นํ้ า เทมส์ ใ จกลางกรุ ง ลอนดอน ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ Tate Modern และโรงงานยาสู บ เก่ า ในกรุ ง ไทเป ไต้หวัน ให้กลายเป็น Songshan Cultural and Creative Park หรือการพัฒนา Poblenou ซึง่ เป็น ย่านอุตสาหกรรมเก่าของเมืองบาร์เซโลนา ให้เป็น ศูนย์รวมความคิดสร้างสรรค์ (Creative Hub) เป็นต้น การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ว่างและฟื้นฟู อาคารเก่า (Regeneration) และย้ายกลุ่มคน ทำ�งานสร้างสรรค์เข้าไปนั้น ส่งผลให้เกิดการ พัฒนาพื้นที่โดยรอบ โดยโครงการในลักษณะ เดียวกันนี้ยังมีให้เห็นในอีกหลายพื้นที่และเมือง เกิดเป็นย่านสร้างสรรค์ (Creative District) และ เมืองสร้างสรรค์ (Creative City) เป็นการสนับสนุน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Identity) และส่งเสริมภาพลักษณ์ทดี่ ขี องเมืองและประเทศ
Poblenou
Tate Modern CREATIVE THAILAND I 16
flickr.com/photos/Joan
เนือ่ งจากความสำ�เร็จของการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก ทำ�ให้ เส้ น แบ่ ง ระหว่ า งอุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ กั บ อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ผลิตสินค้าและบริการ หรือ ทีเ่ รียกรวมกันว่าภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) กลายเป็นเส้นบางๆ ประกอบกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิ ท ยาการที่ ทั น สมั ย ทำ � ให้ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เข้าไปมีส่วนในการเพิ่ม มูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ของภาคการผลิตและภาค บริการอื่นๆ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรง กับภาคสร้างสรรค์ (Creative Sector) หรือ สินทรัพย์ทางวัฒนธรรม (Cultural Assets) เลย ก็ตาม เช่น การเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมให้ กลายเป็นการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming) ด้วยการนำ�ความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี ไป พัฒนากระบวนการผลิต ลดต้นทุน และเพิ่ม มูลค่าผลผลิต เป็นต้น ซึ่งในหลายประเทศให้ ความสำ�คัญ และออกนโยบายที่ส่งเสริมการ ทำ�งานร่วมกันของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์กับ ภาคอุตสาหกรรมอืน่ ๆ เช่น นโยบายทีส่ นับสนุนให้ เกิดการเชื่อมโยงเข้าหากันหรือ Crossover ระหว่าง นักออกแบบกับธุรกิจอื่นๆ ของเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
จะเห็ น ได้ ว่ า นโยบายส่ ง เสริ ม เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ที่ ส หราชอาณาจั ก รใช้ ต่ อ เนื่ อ งกั น ทำ�ให้อตุ สาหกรรมสร้างสรรค์เติบโตและเป็นกำ�ลัง สำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดมา โดยนโยบายล่าสุดที่ดำ�เนินการอยู่ใน ปัจจุบัน ถูกรวบรวมไว้ในเอกสาร Industrial Strategy: Creative Industries Sector Deal ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของ Industrial Strategy White Paper ของรัฐบาลทีม่ งุ่ เน้นการยกระดับอุตสาหกรรม ต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีแนวทาง การพัฒนาที่มาจากรากฐานของประสิทธิภาพ ทางการผลิต (Foundations of Productivity) 5 ด้าน คือความคิด (Ideas) คน (People) โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) สิ่งแวดล้อม ทางธุรกิจ (Business Environment) และสถานที่ (Places) โดยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม สร้างสรรค์กล่าวถึงนโยบายที่รัฐบาลจัดไว้ให้แก่ ธุรกิจสร้างสรรค์ดังต่อไปนี้ คือการสนับสนุนการ วิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างนวัตกรรม การสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและ ธุรกิจสร้างสรรค์ การเพิ่มจำ�นวนและทักษะของ บุ ค ลากรสร้ า งสรรค์ ที่ จ ะเข้ า สู่ ต ลาดแรงงาน การปรับปรุงกฎระเบียบด้านการเข้าถึงแหล่งเงิน
Photo by Vita Marija Murenaite on Unsplash
ในการพัฒนานิเวศสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่การ สร้างกฎระเบียบและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ขึน้ มา เพือ่ ส่งเสริมธุรกิจสร้างสรรค์และเพิม่ มูลค่า ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ท่ า นั้ น แต่ ต้ อ งรวมถึ ง การพั ฒ นา ทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ ผ่ า นการสร้ า งบรรยากาศ สร้างสรรค์ ทัง้ จากโครงสร้างพืน้ ฐานด้านศิลปะและ วัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลปะ ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ โรงละคร เป็นต้น ซึ่งจะช่วย กระตุ้นจินตนาการ เอื้ออำ�นวยต่อการคิดสิ่งใหม่ และการปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับ ซึ่งจะช่วย ให้คนมีทักษะและความรู้ในสหสาขาวิชา เพื่อนำ� ไปต่อยอดเป็นธุรกิจหรือใช้ประกอบอาชีพได้ โดย สิง่ เหล่านีต้ อ้ งอาศัยการสัง่ สมและเพิม่ พูนมาเป็น เวลานาน ในกรณีของสหราชอาณาจักรทีส่ ามารถ พัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ให้ขนึ้ มาเป็นหนึง่ ในอุตสาหกรรมทีเ่ ติบโตเป็นสองเท่าของอัตราการ เจริญเติบโตในภาพรวมของประเทศ สร้างมูลค่า เพิ่มทางเศรษฐกิจสูงถึง 91.8 พันล้านปอนด์ (ปี 2016) และมีการจ้างงานทัง้ หมด 3.12 ล้านคน (ปี 2017) ซึ่งแบ่งเป็นอาชีพสร้างสรรค์ (Creative Occupations) สูงถึง 2.19 ล้านคน ทั้งนี้ ที่เหลือ อีก 929,000 คน เป็นอาชีพสายงานสนับสนุนที่ ทำ�งานอยู่ในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
CREATIVE THAILAND I 17
ทุนของผู้ประกอบการ การเพิ่มมาตรการปกป้อง ทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมความสามารถ ในการส่ ง ออกของธุ ร กิ จ และการลงทุ น ใน โครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างคลัสเตอร์สร้างสรรค์ (Creative Clusters) ทั้งนี้ มีเป้าหมายให้ภายใน ปี 2023 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สามารถส่งออก ได้เพิ่มขึ้นถึง 50% สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจ 150 พันล้านปอนด์ มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีก 600,000 คน และลดช่องว่างของกิจกรรมของ ธุรกิจสร้างสรรค์ที่ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตทาง ตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ให้กระจายตัวไป ยังส่วนที่เหลือของสหราชอาณาจักรด้วย อีกประเทศที่ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ไม่แพ้ประเทศใดในโลกคือ อินโดนีเซีย เพือ่ นบ้านในภูมภิ าคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ของไทย รัฐบาลของอินโดนีเซียได้จัดตั้ง องค์กรขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ สร้ า งสรรค์ เ มื่ อ ปี 2016 ภายใต้ ชื่ อ Badan Ekonomi Kreatif Indonesia (BEKRAF) หรือ Indonesian Creative Economy Agency และ มุ่งเน้นการสร้างระบบนิเวศเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy Ecosystem) ขึน้ ซึง่ แบ่งออก เป็น 6 ด้าน คือการวิจยั การศึกษาและการพัฒนา
(Research, Education and Development) การเข้าถึงทุน (Access to Capital) โครงสร้าง พืน้ ฐาน (Infrastructure) ทรัพย์สนิ ทางปัญญา สิทธิ และกฎหมาย (Intellectual Property, Rights and Regulations) และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบัน และองค์กรในระดับภูมิภาค (Institutional and Regional Relations) โดยมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยน อินโดนีเซียให้เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ชั้นนำ�แห่งหนึ่งของโลกภายในปี 2030 กลับมาที่ประเทศไทย จากแรงผลักดันของ TCDC และสำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ ทำ�ให้ แนวคิดของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ถูกบรรจุไว้ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559) จากตอนนัน้ เป็นต้นมา รัฐบาลไทย ในยุคสมัยต่างๆ ให้ความสำ�คัญกับการพัฒนา เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ เ รื่ อ ยมาจนถึ ง ปั จ จุ บั น ที่ แนวคิดประเทศไทย 4.0 ได้ถูกนำ�มาใช้ เพื่อ สร้างเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ (New Engine of Growth) และการยกระดับอุตสาหกรรม
สร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture and High Value Services) สู่การเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ควบคูไ่ ปกับอุตสาหกรรมอืน่ เช่น ดิจทิ ลั เป็นต้น เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำ�คัญของรัฐบาลที่ จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่อนาคต เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้มหี น่วยงานใหม่เกิดขึน้ ภายใต้ชอื่ “สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การ มหาชน)” หรือ Creative Economy Agency (CEA) โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ขั บ เคลื่ อ นการพั ฒ นา เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านการสร้างปัจจัยสนับสนุน ต่างๆ การส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และ นวัตกรรม การสร้างพื้นที่ต้นแบบที่เอื้อต่อการ สร้างสรรค์และเริม่ ต้นธุรกิจ รวมถึงย่านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ การรวบรวมข้อมูลและสถิตทิ เี่ กีย่ วข้อง การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น และ การพัฒนาผูป้ ระกอบการให้น�ำ ความคิดสร้างสรรค์ มาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม (Value Creation) ให้แก่สินค้าและบริการ เพื่อยกระดับและเพิ่มขีด
ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของ ประเทศ แนวคิดเบื้องต้นในการดำ�เนินงานของ CEA อยู่ ภ ายใต้ ก รอบการพั ฒ นาองค์ ป ระกอบของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3 ส่วน คือสินทรัพย์ทาง วัฒนธรรม (Cultural Assets) ภาคอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ (Creative Industries Sector) และ ภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) โดยมีแนวทาง หลักอยู่ 2 ประการ แนวทางแรกคือการส่งเสริม กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ของภาคอุ ต สาหกรรม สร้างสรรค์ให้ขยายตัวเพิม่ ขึน้ โดยจะใช้สนิ ทรัพย์ ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือไม่ก็ได้ รวมถึงผลิตภัณฑ์ของภาคเศรษฐกิจอื่น และ แนวทางที่สองคือการพัฒนารูปแบบการบูรณา การระหว่างกิจกรรมในทุกภาคส่วนให้ซอ้ นทับกัน เพือ่ ให้กจิ กรรมของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สร้าง มูลค่าเพิม่ ให้กบั ผลิตภัณฑ์ทกุ ประเภท ทัง้ ในส่วน ของวัฒนธรรมและภาคเศรษฐกิจจริงด้วย
แนวทางที่ 1 : การส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้ขยายตัว
แนวทางที่ 2 : บูรณาการระหว่างกิจกรรมในทุกภาคส่วน เพื่อให้กิจกรรมของอุตสาหกรรม สร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทุกประเภท
CREATIVE THAILAND I 18
อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์กไ็ ม่มสี มการ ที่ตายตัวหรือสูตรสำ�เร็จใดๆ แนวทางการกำ�หนดนโยบาย พัฒนาในประเทศต่างๆ จึงล้วนแตกต่างกันไปตามบริบททาง วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ แนว นโยบายที่ใช้ในสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือ ประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะในยุคสมัยไหน ก็ไม่อาจจะนำ�มาใช้ กับประเทศไทยได้ทั้งหมด เราทำ�ได้เพียงแค่เรียนรู้ ศึกษา และทำ�ความเข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละประเทศ และ นำ�ประสบการณ์ทงั้ ทีป่ ระสบความสำ�เร็จและความผิดพลาด ของประเทศอื่น มาเป็นบทเรียนและปรับใช้ให้เข้ากับบริบท ของประเทศไทย เพือ่ ให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์กลายเป็นหนึง่ ใน เครื่องมือสำ�คัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึง ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทุกคนต่อไป
ทีม่ า: บทความ “Creative Economy - น้อมนำ�ปรัชญาพ่อ ต่อยอดเศรษฐกิจสร้างสรรค์” โดย Nanyarath Niyompong จาก smartsme.co.th / บทความ “Baseline Study on Hong Kong’s Creative Industries” โดย Centre for Cultural Policy Research, University of Hong Kong จาก info.gov.hk / บทความ “Bekraf Develops Conducive Creative Economy Ecosystem” จาก thejakartapost.com / บทความ “How Barcelona’s Poblenou District Is Becoming the City’s Creative Heart” โดย Suzanne Wales จาก thespaces.com /บทความ “Industrial Strategy: Creative Industries Sector Deal” โดย HM Government จาก thecreativeindustries.co.uk / บทความ “UK Creative Overview-Facts and Figures” โดย Creative Industries Council จาก thecreativeindustries.co.uk
CREATIVE THAILAND I 19
Insight : อินไซต์
เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ
การพั ฒ นาทางเทคโนโลยี ใ นยุ ค แห่ ง การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมครั้ ง ที่ 4 เป็ น ปรากฏการณ์ที่ก่อตัวขึ้นควบคู่กับการเกิดของกลุ่มผู้ประกอบการยุคใหม่ หรือ “สตาร์ทอัพ” ที่สร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคและลูกค้า ด้วยโมเดลทาง ธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตแบบก้าวกระโดด “ความคิดสร้างสรรค์” เกีย่ วข้องกับกลุม่ ผูป้ ระกอบการ รุน่ ใหม่เหล่านีอ้ ย่างไร และพวกเขาจะกลายเป็นผูม้ ี บทบาทสำ�คัญในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้มากหรือน้อยเพียงใด
สร้างสรรค์ในความผันผวน
จากการสำ�รวจความคิดเห็นบริษัทชั้นนำ�ต่างๆ จากนานาประเทศ สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ได้วเิ คราะห์ให้เห็นถึงทักษะใน การประกอบอาชีพทีจ่ �ำ เป็นในยุคปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม ครัง้ ที่ 4 โดยการเกิดขึน้ ของระบบหุน่ ยนต์อจั ฉริยะ (Smart Robotics) และปัญญาเสมือน (Artificial Intelligence) จะเข้ามาแย่งงานของมนุษย์ในบาง สาขาอาชีพ แต่ในขณะเดียวกันก็จะก่อให้เกิด สตาร์ทอัพใหม่ๆ และสร้างงานในรูปแบบทีแ่ ตกต่าง
CREATIVE THAILAND I 20
ไปจากเดิม ทั้งนี้ “ความคิดสร้างสรรค์” ถือเป็น ทักษะสำ�คัญ 1 ใน 3 อันดับแรกที่จำ�เป็นต่อการ อยู่รอดของแรงงานและผู้ประกอบการยุคใหม่ เพราะถึงแม้ว่าระบบหุ่นยนต์และปัญญาเสมือน จะช่วยให้การดำ�เนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน หลากหลายด้านทีม่ แี บบแผนชัดเจนอยูแ่ ล้วเกิดขึน้ ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากกว่ า แรงงานมนุษย์ แต่เทคโนโลยีเหล่านั้นยังคงไม่ สามารถ “สร้างสรรค์” ได้มากเท่ามนุษย์ เมื่อวิเคราะห์ถึงผลกระทบของการพัฒนา ระบบปัญญาเสมือน เทคโนโลยีความจริงเสมือน (Virtual Reality) เทคโนโลยีความจริงเสริม (Augmented Reality) และบล็อกเชน (Blockchain) ทีม่ ตี อ่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สภาเศรษฐกิจโลกได้ช้ี ให้เห็นถึงโอกาสและความท้าทายของผูป้ ระกอบการ
รุน่ ใหม่ในการปรับตัวให้เท่าทันความผันผวนต่างๆ ในด้านหนึง่ การพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านีไ้ ด้สร้าง ความเป็นไปได้ในการใช้ทกั ษะความคิดสร้างสรรค์ ในรูปแบบใหม่ๆ เพื่ อ สร้างประสบการณ์ ที่ น่ า พึงพอใจให้แก่ผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพมาก ยิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการรุ่นใหม่ หรือสตาร์ทอัพ สามารถสร้างนวัตกรรมและปรับใช้เทคโนโลยี ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการในเชิงส่วน บุคคล (Personalization) มากยิ่งขึ้น รวมทั้งยัง สามารถสื่อสารและจัดจำ�หน่ายสินค้าแก่ลูกค้า กลุม่ เป้าหมายในวงทีก่ ว้างยิง่ ขึน้ ด้วยต้นทุนการผลิต และต้นทุนการขยายกิจการทีต่ าํ่ ลง อย่างไรก็ตาม หากไม่มีการวางแผนและบริหารจัดการระบบ นิเวศ (Ecosystem) ทางเศรษฐกิจให้เหมาะสม ก็อาจส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีกลายเป็น อุปสรรคของผูป้ ระกอบการในสาขาอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ก็เป็นได้
“Createch”… อุตสาหกรรมใหม่ที่เพิ่งสร้าง
ในสภาวะทีก่ ารปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมครัง้ ที่ 4 ยังคง ก่อให้เกิดความผันผวน โดยไม่แน่ชัดว่าผู้ใดจะ เป็นผู้ได้รับประโยชน์ และผู้ใดจะกลายเป็นผู้เสีย ประโยชน์ คงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ และผู้มีส่วนได้เสียในประเทศต่างๆ ที่จะร่วม กำ�หนดทิศทางนโยบายและสร้างระบบนิเวศทาง เศรษฐกิจทีเ่ อือ้ ให้ภาคธุรกิจเดิม สามารถปรับตัว เพื่อก้าวข้ามวัฏจักรแห่งความพ่ายแพ้ต่อการ พัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และเอื้อให้เกิดกลุ่ม ผู้ประกอบการยุคใหม่ที่เป็นแรงขับเคลื่อนการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ การปรับกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของ สหราชอาณาจักรถือเป็นกรณีศกึ ษาทีน่ า่ จับตามอง เพราะประเทศดังกล่าวถือเป็นผูน้ �ำ ด้านการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในตลอดสองทศวรรษที่ ผ่านมา และได้กลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของ ธุรกิจดิจทิ ลั ของโลกตะวันตก โดยในปี พ.ศ. 2560 สภาอุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ป ระจำ � สหราช อาณาจักร (Creative Industries Council) ได้ กำ � หนดสาขาอุ ต สาหกรรมใหม่ ภ ายใต้ ชื่ อ “Createch” ซึ่งประกอบด้วยภาคธุรกิจเกิดใหม่
และสตาร์ทอัพที่สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ด้วยการผสมผสาน “ความคิดสร้างสรรค์” กับ “เทคโนโลยี” สภาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ประจำ�สหราช อาณาจักรได้นยิ ามผูป้ ระกอบการในสาขา Createch ว่า เป็นกลุม่ ผูป้ ระกอบการทีใ่ ช้ความคิดสร้างสรรค์ (อย่างเช่น การออกแบบ การเล่าเรือ่ ง และการแสดง เป็นต้น) และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นปัจจัย การผลิตที่สำ�คัญ เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการ โดยผู้ประกอบการ Createch มักมีกิจการที่ เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรม ค้าปลีก อุตสาหกรรมวัฒนธรรม อุตสาหกรรม ออกแบบ และอุตสาหกรรมโฆษณา รวมทั้งใน บางกิ จ การยั ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรมการ ท่องเทีย่ ว อุตสาหกรรมสุขภาพ และอุตสาหกรรม การเงินอีกด้วย หากเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมลูกผสมที่ เกิดขึน้ ใหม่อย่างเช่น “FinTech” และ “HealthTech” สภาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แห่งสหราชอาณาจักร ยอมรับว่า Createch ยังคงอยู่ในช่วงตั้งไข่ โดย ถึงแม้หน่วยงานหลายภาคส่วนจะเริม่ เห็นเค้าลาง การก่อตัวของอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว แต่การ กำ�หนดขอบเขตกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการ ชี้วัดผลกระทบทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม ดังกล่าวยังคงอยู่ในระยะแรกเริ่มเท่านั้น ในแง่นี้ สภาอุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ป ระจำ � สหราช อาณาจั ก รจึ ง ได้ เ ริ่ ม จั ด งานสั ม มนาประจำ � ปี “Createch Conference” โดยเริ่มต้นครั้งแรก ในปีที่ผ่านมา เพื่อระดมสมองและสร้างความ เข้าใจร่วมกันต่อแนวโน้มการขยายตัวของกลุ่ม ผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพในสาขาดังกล่าว รวมทั้งการกำ�หนดนโยบายสนับสนุนและชี้วัด ผลกระทบทางเศรษฐกิจในวงกว้างที่เกิดขึ้นจาก การดำ�เนินธุรกิจในสาขานี้ Createch เป็ น สาขาอุ ต สาหกรรมที่ มี ศักยภาพสร้างงาน และสร้างความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจให้แก่สหราชอาณาจักร จากการ ประมาณการข้อมูลเชิงสถิติเบื้องต้น พบว่า ในปี พ.ศ. 2557 มีแรงงานสร้างสรรค์กว่าร้อยละ 27.3 ของแรงงานสร้างสรรค์ทง้ั หมดในสหราชอาณาจักร ที่ประกอบอาชีพในสาขา Createch โดยธุรกิจ CREATIVE THAILAND I 21
Createch ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจขนาดเล็กและ ธุรกิจสตาร์ทอัพ นอกจากนี้ กลุ่มผู้ประกอบการ Createch ยังสร้างมูลค่าเพิม่ ทางเศรษฐกิจให้แก่ ประเทศในระดับที่สูงถึง 3.6 พันล้านปอนด์
สร้างสรรค์ไทย + เทคโนโลยีต่างประเทศ
เพือ่ ขับเคลือ่ นเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม คงไม่ผดิ ที่ จะกล่าวว่าประเทศไทยจะต้องค้นหาส่วนผสมทีล่ งตัว ของความคิดสร้างสรรค์กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างไรก็ตาม คงไม่จำ�เป็นเสมอไปที่ไทยจะต้อง ลอกเลียนแบบการกำ�หนดสาขาอุตสาหกรรมใหม่ เช่น Createch ในสหราชอาณาจักร หากพิจารณา จากบริบททางประวัตศิ าสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทย ซึ่งอยู่ในฐานะผู้ “รอรับ” การ ถ่ายทอดทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาตลอด โจทย์หลักในปัจจุบนั คงได้แก่การค้นหาว่า “ใครบ้าง” ในระบบเศรษฐกิจไทยทีจ่ ะสามารถพัฒนาโมเดล ธุรกิจใหม่ๆ ที่ผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ที่มี อยู่ในสังคมไทยเข้ากับการปรับใช้เทคโนโลยีที่ เกิดขึน้ แล้วในต่างประเทศ และ “ใครบ้าง” ในระบบ เศรษฐกิจไทยที่พร้อมจะลงทุน ลงแรง และที่ สำ�คัญ คือ พร้อมเสี่ยงที่จะลองผิดลองถูกในการ ค้นหาส่วนผสมที่ลงตัวนี้ การขยายตัวของกลุม่ สตาร์ทอัพในเมืองไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาถือเป็นความหวังหนึ่ง ที่ ประเทศไทยจะสามารถฉกฉวยโอกาสจากการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ไว้ และถือเป็นหน้าที่ ของหน่วยงานภาครัฐทีจ่ ะพัฒนานโยบายเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ใหม่ๆ เพือ่ สร้างระบบนิเวศทีเ่ หมาะสม ให้กลุม่ ผูป้ ระกอบการไทยทีเ่ กิดขึน้ ใหม่เหล่านีใ้ ห้ มีโอกาสที่จะสร้างความเจริญเติบโตทางธุรกิจ อย่างก้าวกระโดดต่อไป
ทีม่ า: รายงาน “Createch Resource Book” จาก thecreative industries.co.uk / รายงาน “Creative Disruption: the Impact of Emerging Technologies on the Creative Economy” (กุมภาพันธ์ 2018) โดย World Economic Forum / รายงาน “The Future of Jobs: Employment, Skills and Workforce Strategy for the Fourth Industrial Revolution” (มกราคม 2016) โดย World Economic Forum
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
METICULY
เมื่อหมอกับวิศวะร่วมพลิกโฉมหน้าวงการศัลยแพทย์แบบไม่พึ่งของนอก เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์
“คนทำ�งานวิศวกรรมคือ ‘ผู้สร้าง’ คำ�ถามคือเราจะสร้างอะไรให้มีประโยชน์” คื อ ทั ศ นคติ ที่ แ สดงถึ ง จุ ด ยื น ของ ผศ.ดร.บุ ญ รั ต น์ โล่ ห์ ว งศ์ วั ฒ น อาจารย์ ป ระจำ � ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมโลหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้ง Meticuly (เมติคูลี่) บริษัทพัฒนากระดูกไทเทเนียม เพื่อความต้องการแบบเฉพาะบุคคลโดยใช้เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติได้เป็นอย่างดี หากจะเล่าถึงจุดเริม่ ต้นของธุรกิจ คงต้องย้อนเรือ่ งราวไปเมือ่ 3 ปีกอ่ น ทีว่ ศิ วกร คนนีไ้ ด้พยายามทำ�หน้าทีเ่ ป็นทัง้ ‘ผูส้ ร้าง’ นวัตกรรมและความรูค้ วบคูไ่ ปกับ การเป็น ‘ผู้สนับสนุน’ ให้คุณหมอนำ�เอาศาสตร์ด้านวิศวกรรมจากงานวิจัย ของตนไปช่วยเหลือคนไข้ได้ส�ำ เร็จ นับเป็นชัยชนะแรกของผศ.ดร.บุญรัตน์ที่ นำ�เอางานวิจัยลงจากหิ้งได้อย่างที่ตั้งใจ และยังนำ�สู่ความหวังครั้งใหม่ที่ อยากให้คนไทยและคนทั้งโลกได้มีสิทธิ์ใช้กระดูกเทียมที่มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพสูงกว่าที่มีขายอยู่ในปัจจุบัน ภายใต้มาตรฐานและความ ปลอดภัยสูงสุด นี่ก็คือเป้าหมายหลักของ Meticuly สตาร์ทอัพน้องใหม่ที่เริ่มต้นจาก การปรึกษากับสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUIP) เพื่อขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer) จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำ�เนินการยืน่ คำ�ขอรับความคุม้ ครองสิทธิบตั ร ในกระบวนการผลิต จากนั้นพวกเขาได้เติบโตและต่อยอดการพัฒนามา เรื่อยๆ จนปัจจุบันมีชิ้นส่วนกระดูกที่สามารถผลิตได้มากกว่า 20 ชิ้นส่วน ทั่วร่างกาย และยังจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอนาคต โดยพวกเขาไม่เพียงตั้งใจ จะใช้ความรูด้ า้ นวิศวกรรมมาช่วยเหลือวงการแพทย์ไทยเท่านัน้ แต่ Meticuly ยังต้องการเป็นส่วนหนึง่ ในการสร้างและขับเคลือ่ นให้ระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ
ในกลุ่ม Deep Technology ในสถาบันการศึกษาไทยมีอนาคตที่สดใสและ ไปได้ไกลอีกด้วย
รักษาความเจ็บให้ตรงจุด
‘ตอบโจทย์ pain point เตรียมรับชัยชนะ’ วลีสดุ คลาสสิกในวงการสตาร์ทอัพ ที่ชูการรักษาจุดเจ็บปวด (pain point) ของลูกค้าให้เป็นโอกาสคว้าความ สำ�เร็จทางธุรกิจ Meticuly ก็เช่นเดียวกัน แต่จุดเจ็บปวดที่ว่านั้นยังรวมถึง ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายจริงๆ ของผู้ป่วยที่เฝ้ารอการรักษาและ หวังว่าจะหายเป็นปกติในเร็ววัน ดังนั้นความท้าทายขั้นแรกของ Meticuly ที่ ต้องเผชิญอาจจะไม่ใช่การเร่งหายูสเซอร์จำ�นวนมากที่สุด แต่กลับเป็นการ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยสูงสุดเพื่อรักษาคนไข้ “การสร้างโปรดักส์มาได้หนึง่ ตัวก็ไม่ได้หมายความว่าหมอจะมัน่ ใจและ เลือกใช้โปรดักส์ของเรา เราจึงอยากทำ�ให้มันได้มาตรฐานระดับโลกจริงๆ เมื่อหมอเปิดมาใช้แล้วต้องมองข้ามว่ามันเมดอินไทยแลนด์ ถ้ามองในเชิง ธุรกิจแล้วต้องทำ�ให้รอด มันก็เป็นโจทย์ที่ยาก พี่ๆ ที่ช่วยกันลงทุนรอบแรก เขามาด้วยความเชื่อตั้งแต่เรายังเป็นวุ้น เพราะเรามีคนไข้แค่ 4 คน มีหมอ 2 ทีม และมี 2 อวัยวะ ถามว่านักลงทุนมาเห็นว่ามี success case แล้ว 4 คน
CREATIVE THAILAND I 22
ถ้าถือเป็นยูสเซอร์กค็ อื มันน้อยมากถ้าเทียบกับสตาร์ทอัพอื่นๆ แต่สดุ ท้ายแล้ว ในมุมของผม จำ�นวนอาจจะไม่ได้วัดถึงความสำ�เร็จ แต่มันเป็นเรื่องของ องค์ความรู้ เนื้องานที่ได้สั่งสมมา รวมถึง Impact ที่จะเกิดขึ้น เคยมีหนึง่ ในผูล้ งทุนสงสัยว่ามันมีดมี านด์เหรอ วันหนึง่ เขาข้อศอกแตก ต้องรอนำ�เข้ากระดูกข้อศอกเทียมจากต่างประเทศ ซึ่งบังเอิญว่าเคสนั้นได้ คุณหมอที่ช่วยพัฒนากระดูกกับเรารักษา คุณหมอก็เสนอกระดูกจาก Meticuly แต่ดว้ ยเวลาในตอนนัน้ ทำ�ให้ได้ไม่ทนั พีค่ นนีจ้ งึ ต้องนำ�เข้ากระดูก ต่างประเทศซึง่ เป็นราคาทีแ่ พงกว่ากันมาก ซึง่ สิง่ ทีค่ ดิ ว่าเป็นเรือ่ งบังเอิญแบบ นี้ พอไปดูสถิติจริงๆ มันเป็นเรื่องใกล้ตัวเรา อย่างกรณีผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี เกินครึ่งเป็นโรคกระดูกพรุน ถ้าล้มแรงๆ ก็สะโพกแตก เคสอย่างนี้มีให้เห็น เยอะมาก” ผศ.ดร.บุญรัตน์กล่าว
ธุรกิจที่ใช้ใจขับเคลื่อน
เพราะจุดเจ็บปวดของผูป้ ว่ ยเกิดขึน้ ต่างกัน การทำ�ความเข้าใจความเจ็บปวด นั้นๆ อย่างถี่ถ้วนเพื่อผลิตกระดูกเทียมให้ได้ขนาดและเข้ากับสรีระเดิมของ ผูป้ ว่ ยจึงจำ�เป็นต้องใช้เวลา สิง่ นีย้ อ่ มหมายถึงการลดโอกาสในการผลิตสินค้า ได้จ�ำ นวนมากๆ เพือ่ ช่วยลดต้นทุนการผลิต ทำ�ให้เป็นหนทางทีย่ ากยิง่ ขึน้ กว่า จะไปถึงจุดคุ้มทุนและได้ผลกำ�ไร แต่การเลือกทำ�ธุรกิจในแนวทางนี้ย่อมมี เหตุผลเบือ้ งหลัง หนึง่ ในนัน้ ก็คอื ‘ความเห็นอกเห็นใจ’ ทีเ่ มือ่ ทีมงานได้คลุกคลี อยูก่ บั หมอและผูป้ ว่ ยจริงๆ และพบว่าองค์ความรูท้ พ่ี วกเขามีอยูส่ ามารถช่วยให้ คนๆ หนึ่งได้มีชีวิตที่เป็นปกติอีกครั้ง ความไม่รีรอที่จะทำ�นับเป็นความ ภาคภูมใิ จที่ยากจะประเมินค่าได้ด้วยจำ�นวนเงิน “มีบางเคสทีต่ อ้ งใช้ทง้ั ทรัพยากร เวลา ดีไซเนอร์ หรือเครือ่ งมือค่อนข้าง มากในการออกแบบ อย่างเคสที่ต้องผ่าตัดเอาแขนเด็ก 10 ขวบที่เป็น มะเร็งออก โดยน้องกร (ทีมงาน) เข้าห้องผ่าตัดไปด้วยพร้อมกัน ถึงแม้วา่ เคสนี้ จะยาก แต่เราก็เลือกจะทำ� เพราะรูว้ า่ งานของเราสามารถเติมเต็มความหวัง เขากลับมาได้ ” ผศ.ดร.บุญรัตน์กล่าว “ก่ อ นที่ เ ด็ ก จะโดนวางยาสลบและผ่ า ตั ด น้ อ งก็ จั บ มื อ แม่ เ อาไว้ ความรู้สึกของผมตอนนั้นก็คือ ถ้าสมมติว่าเราเป็นเด็กคนนั้นที่ก่อนเข้า ห้องผ่าตัดยังมีแขนและจับมือแม่ได้อยู่ แต่หลังจากผ่าตัดแล้วตื่นขึ้นมาไม่มี แขนแล้วจะรู้สึกยังไง โชคดีที่คุณหมอเปิดแผลและวิเคราะห์ว่าอาจจะเก็บ แขนไว้ได้ แต่ก็ต้องรบกวนทางพวกเราให้ช่วย ผมก็ตอบไปตามอารมณ์ อย่างที่อาจารย์บอกว่า ‘ยินดีช่วยครับ’ ถึงจะต้องใช้เวลา” น้องกร-กรกฏ ศรีคง วิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์กล่าวเสริม เมือ่ รักษาคนไข้ได้ส�ำ เร็จ 1 ราย ก้าวต่อไปคือ การค้นหาคนไข้ที่ยงั รอรับ การรักษา จุดเริ่มต้นของ “โครงการกระดูกเทียมและอุปกรณ์ไทเทเนียม 100 ชิ้นเพื่อคนไทยโดย วิศวฯ จุฬาฯ” จึงเกิดขึ้น ด้วยความร่วมมือระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ Meticuly โครงการฯ เปิดรับผู้ที่จำ�เป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขกระดูก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายของ กระดูกเทียม ซึ่งโครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ในโรงเรียน แพทย์หลายสถาบันที่ปัจจุบันได้ช่วยกันรักษาคนไข้แล้วกว่า 40 ราย โดย นอกจากคนทั่วไปจะได้ใช้กระดูกเทียมคุณภาพสูงแล้ว ทีมงานยังใช้โอกาส นี้ศึกษาอาการคนไข้ที่มีหลากหลายเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและ พัฒนากระดูกหลากชิ้นส่วนมากขึ้น เพื่อท้ายที่สุดแล้วจะนำ�ไปสู่หนทางของ การผลิตกระดูกเทียมจำ�นวนมากขึ้นที่จะช่วยลดต้นทุนในการผลิต และลด
ราคาผลิตภัณฑ์ลงได้อีก เพื่อเพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงกระดูกเทียมที่มี มาตรฐานและความปลอดภัยสูงสุดได้ในอนาคตเช่นกัน
ไปด้วยกัน ไปได้ไกล
ต่างจากธรรมชาติส่วนใหญ่ของธุรกิจสตาร์ทอัพที่นิยมเข้าร่วมการแข่งขัน แบบวิ่งเร็วระยะสั้น เพราะอยากรีบสำ�เร็จ (Quick Win) และกระโจนออก จากเกมการแข่งขันให้ได้เร็วที่สุดเพื่อเริ่มต้นทำ�ธุรกิจใหม่ที่ดูมีแววไปได้ไกล กว่า (Exit Strategy) แต่ Meticuly กลับเลือกวิ่งแบบมาราธอนที่ต้องใช้ ความอึดและแรงใจมหาศาลในการฝ่าฝันไปทีละจุดเช็กพอยท์เพื่อหมั่น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคนไข้ปลอดภัยอยูเ่ สมอ และเป้าหมายของการวิง่ ครัง้ นี้ ก็ไม่ได้หวังเพียงการได้เหรียญรางวัล แต่คือการได้เป็นแบบอย่างให้นักวิ่ง หน้าใหม่กล้าที่จะลงมาวิ่งในสนามแข่งเดียวกัน “ประเทศไทยมีหมอที่เก่งมากๆ อยู่แล้ว เราอยากซัพพอร์ตเขาด้วย เทคโนโลยีที่เรามี แทนที่จะต้องพึ่งการนำ�เข้าจากต่างประเทศ นี่เป็นหนึ่ง ในเป้าหมายที่ผมมองว่าสำ�คัญมาก เพราะเราสามารถสร้างงานได้ด้วย น้องๆ ทีท่ �ำ งานอยูด่ ว้ ยกันก็มแี พสชัน่ ในการทำ�สตาร์ทอัพ ผมก็บอกพวกเขา ว่าทำ�ตรงนีเ้ หมือนได้อกี ปริญญาแต่ได้ลงมือทำ�เลยจริงๆ ซึง่ มองไปล่วงหน้า ว่าอีก 3 ปี เขาจะได้เปิดบริษัทของตัวเอง จะได้โตใน economy นี้ด้วยกัน ข่าวดีกค็ อื เราเป็นส่วนหนึง่ ในการสร้าง Med Tech Industry ทีม่ นั กำ�ลังเติบโต ขึน้ และมีอกี หลายคนทีค่ อยสนับสนุนอยู่ และอีกเป้าหมายหนึง่ ก็คอื เราอยาก สร้าง Deep Tech Ecosystem ที่สถาบันการศึกษาจะสามารถสนับสนุน ผู้ประกอบการขึ้นมาได้อย่างยั่งยืน” ผศ.ดร.บุญรัตน์กล่าวทิ้งท้าย
Did You Know? • ในขณะที่ Tech Startup ส่วนใหญ่มลี กั ษณะเป็นแอพพลิเคชัน่ หรือแพลตฟอร์มทีม่ งุ่ ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคทั่วไปซึ่งเกิดการเลียนแบบกันได้ไม่ยาก แต่ Deep Tech Startup จำ�เป็นต้องมีองค์ความรู้เชิงลึกที่ส่วนใหญ่ได้มาจากงานวิจัย มาผสมผสานเข้ากับเทคโนโลยีเพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมเฉพาะตัว จึงจำ�เป็นต้อง ได้รบั การปกป้องโดยการจดสิทธิบตั รทรัพย์สนิ ทางปัญญา เพือ่ ช่วยให้นกั ธุรกิจสาย Deep Tech แข่งขันกันได้อย่างยุติธรรมมากขึ้น • Meticuly เป็นสตาร์ทอัพสาย Deep Tech ที่ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรมโลหการ มาผสมผสานกับเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ และองค์ความรู้ด้านการแพทย์จากแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ เพื่อร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์กระดูกทดแทนสำ�หรับ คนไข้แต่ละคน ปัจจุบนั มีผลิตภัณฑ์หลักแบ่งออกได้ 3 กลุม่ ได้แก่ 1.) กลุม่ กระดูก ทีเ่ ข้าไปทดแทนกระดูกเดิม สามารถสร้างกระดูกในบริเวณตัง้ แต่เหนือซีโ่ ครงส่วนบน ขึ้นไป เช่น กระดูกนิ้ว ข้อมือ ข้อศอก ไหล่ กะโหลก และใบหน้า เป็นต้น 2.) กลุ่ม ที่มีปัญหากระดูกแตกหักและมีอุปสรรคในการผ่าตัด เช่น การดามกระดูกในจุดที่ มองเห็นยาก หรือในกรณีของผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามพิการบนใบหน้า และ 3.) กลุม่ อุปกรณ์ กำ�หนดตำ�แหน่งการผ่าตัด ที่ช่วยให้แพทย์วางแผนผ่าตัดได้แม่นยำ�ยิ่งขึ้น • สถิตจิ ากกรมการแพทย์ไทยล่าสุดเผยว่า ผู้สงู อายุทั้งชายและหญิงอายุ 50 ปีขน้ึ ไป มีแนวโน้มเป็นโรคกระดูกพรุน และมีจ�ำ นวน 30,000 ราย/ปีทก่ี ระดูกหัก 6-8% ของ ผู้ป่วยเกิดภาวะกระดูกหักซํ้า ทั้งการศึกษาวิจัยในต่างประเทศยังพบอีกว่า ผู้ป่วย สูงอายุที่กระดูกหักกว่า 20% จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี 40% ไม่สามารถเดินได้ และอีก 80% ไม่สามารถทำ�กิจวัตรประจำ�วันด้วยตัวเองได้ ส่วนอุบตั เิ หตุทางจราจร ก็ถอื เป็นสาเหตุส�ำ คัญทีท่ �ำ ให้คนไทยกระดูกหักมากกว่า 50,000 ราย/ปีอกี ด้วย ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของ Meticuly ได้ที่ www.meticuly.com
CREATIVE THAILAND I 23
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ABU DHABI
นครแห่งลูฟร์สาขาสองที่หวังสร้างชาติดว้ ยวัฒนธรรม เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
หลายคนนึกถึงอาบูดาบีในฐานะเมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออี หนึ่งในชาติอาหรับที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร นํ้ามัน แต่ความเคลื่อนไหวในช่วงสิบปีที่ผ่านมาทำ�ให้เห็นได้ชัดว่า เอมิเรตส์ไม่ได้นิ่งนอนใจกับทรัพย์สินมหาศาลที่ได้จากนํ้า มันเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว เพราะโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน ทรัพยากรย่อมมี วันหมด หรืออาจเสือ่ มความนิยมไม่วนั ใดก็วนั หนึง่ บรรดาชาติอาหรับจึงพยายามลดการพึง่ พานํา้ มัน แล้ ว หั น ไปสร้ า งความหลากหลายในระบบ เศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมอื่นๆ สำ�หรับอาหรับ เอมิเรตส์ หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ถูกชูขึ้นมาเป็น พระเอกก็คือ ‘วัฒนธรรม’
จากนํ้ามัน สู่วัฒนธรรม
ดูเหมือนว่า เอมิเรตส์จะทำ�ผลงานได้ไม่เลว เพราะ เมื่อต้นปี 2018 กระทรวงเศรษฐกิจแห่งสหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์รายงานว่า เอมิเรตส์เป็นประเทศ ที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจที่สุดในกลุ่ม ประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (GCC) ทัง้ หมด โดยคาดว่าภายในปี 2021 อุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ CREATIVE THAILAND I 24
ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตนํ้ามัน (non-oil sector) ของยูเออี จะมีสดั ส่วนเพิม่ ขึน้ เป็นร้อยละ 80 ของ จีดีพี จากร้อยละ 70 ในปี 2017 สำ�หรับอาบูดาบี เมืองหลวงและเมืองใหญ่ ที่มีประชากรมากเป็นอันดับสอง (รองจากดูไบ) มหานครแห่งนี้จึงเป็นเหมือนหัวเรือใหญ่ในการ ดำ�เนินยุทธศาสตร์นี้ของเอมิเรตส์ ภายใต้แผน
saadiyat.ae
Saadiyat Cultural District
ก่อร่างสร้างวัฒนธรรม
สั่นสะเทือนทั้งวงการศิลปะ เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศส ลงนามกับอาบูดาบีในข้อตกลงระยะเวลา 30 ปี เปิดทางให้อาบูดาบีสร้างพิพธิ ภัณฑ์ลฟู ร์สาขาสอง บนเกาะซาดิยัตในปี 2007 นับเป็นพิพิธภัณฑ์ แห่ ง แรกของโลกที่ เ กิ ด จากการทำ � ข้ อ ตกลง ทางการทูตระหว่างประเทศ โดยข้อตกลงมูลค่า 1.27 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ นี้ 525 ล้านเหรียญ เป็นค่าอนุญาตสิทธิ์ให้ใช้ชื่อลูฟร์เพียงอย่างเดียว และส่วนทีเ่ หลือเป็นค่าให้ค�ำ ปรึกษาด้านการดูแล รักษา บริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ รวมถึงค่าเช่า ชิ้นงานศิลปะจากพิพิธภัณฑ์ชั้นนำ�ในเครือข่าย ไม่ ใ ช่ แ ค่ ลู ฟ ร์ แต่ เ อมิ เ รตส์ ยั ง ได้ นำ � เข้ า “กุกเกนไฮม์ (Guggenheim)” พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ร่วมสมัยทีป่ จั จุบนั มีสาขาทัง้ ในนิวยอร์ก เวนิส และ บิลบาโอของสเปน มาเปิดสาขาที่ส่ีด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ยั ง จั ด ตั้ ง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ท้ อ งถิ่ น อย่ า ง “พิพิธภัณฑ์แห่งชาติซายิต (Zayed National Museum)” ที่อุทิศให้ชีคซายิด บิน สุลต่าน อัล นาห์ยนั บิดาผูร้ วมประเทศและอดีตประธานาธิบดี คนแรกแห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซึ่งสวรรคตใน ปี 2004 เพื่อทำ�หน้าที่อนุรักษ์และจัดแสดงมรดก ทางวัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร์ และการปฏิวตั ทิ าง เศรษฐกิจของยูเออี โดยได้รับความช่วยเหลือ ด้านการจัดการจากบริติชมิวเซียม พร้อมด้วย “พิพิธภัณฑ์ทางทะเล (Maritime Museum)” ที่ บอกเล่าภูมิปัญญาการตกปลา การเก็บไข่มุก CREATIVE THAILAND I 25
Zayed National Museum
การเดินเรือ และการค้าทางทะเลของชุมชนอาหรับ โบราณ รวมถึง “ศูนย์แสดงศิลปะ (Performing Arts Centre)” สำ�หรับศิลปะการแสดงทุกรูปแบบ นีเ่ องคือภาพศูนย์กลางวัฒนธรรมในฝันของ ยูเออี ในช่วงแรกของการดำ�เนินยุทธศาสตร์ พวกเขาให้ความสำ�คัญกับการสร้างสิ่งที่เรียกว่า “โครงสร้างพื้นฐานทางวั ฒ นธรรม (Cultural Infrastructure)” มาเป็นอันดับแรก โดยตั้งเป้าว่า การก่อสร้างทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2020 สถาปั ต ยกรรมโอ่ อ่ า ตระการตาของแต่ ล ะ พิพธิ ภัณฑ์ได้รบั การออกแบบโดยสถาปนิกระดับโลก แลนด์มาร์กแห่งอนาคตทั้งหมดจะตั้งตระหง่าน เรียงรายริมชายฝั่งของเกาะซาดิยัต ตั้งแต่ลูฟร์ที่ ออกแบบโดยฌอง นูแวล์, กุกเกนไฮม์โดยแฟรงค์ เกห์รี, ศูนย์แสดงศิลปะของซาฮา ฮาดิด และ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง ชาติ ซ ายิ ต ที่ อ อกแบบโดย ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ทเนอร์
saadiyat.ae
พัฒนาเมืองและเศรษฐกิจ “Abu Dhabi Vision 2030” เพือ่ สร้างความมัน่ คงทางเศรษฐกิจ ด้วยการ ผลักดันอุตสาหกรรมอืน่ ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม การเงิน การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม หนึ่งในโครงการชิ้นโบว์แดงภายใต้ภารกิจ ส่งเสริมวัฒนธรรมของอาบูดาบี คือการปลุกปั้น “Saadiyat Cultural District” ย่านศิลปวัฒนธรรม บนเกาะซาดิยัต (Saadiyat ภาษาอาหรับแปลว่า ความสุข) เกาะขนาด 27 ตารางกิโลเมตรในอ่าว อาหรับที่สามารถเดินทางไปถึงด้วยรถยนต์ใน เวลาเพียง 5 นาทีจากอาบูดาบี และ 20 นาทีจาก สนามบิน เกาะซาดิยตั เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ แบบมิกซ์ยูส (Mixed use) ที่มีกำ�หนดจะเสร็จ สมบูรณ์ในปี 2020 บนเกาะครบครันด้วยโรงแรม หรูระดับห้าดาว ย่านพักอาศัย ร้านค้า ห้างสรรพ สินค้า โรงเรียนและมหาวิทยาลัยชั้นนำ� รวมถึง สนามกอล์ ฟ และพื้ น ที่ สั น ทนาการอื่ น ๆ โดย Saadiyat Cultural District จะกินพื้นที่ประมาณ หนึ่งในสิบของเกาะ ความน่าสนใจของโครงการนี้ จึงไม่ได้อยู่ที่ เงินทุนมหาศาลของชาติมหาอำ�นาจด้านนํา้ มันที่ ทำ�ให้สามารถรังสรรค์สงิ่ ทีป่ รารถนาได้อย่างแทบ จะไร้ขีดจำ�กัดเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการ ทีเ่ ราจะได้เห็นว่า เมือ่ มีโอกาสให้เลือกว่าอยากจะ วาดอะไรลงบนกระดาษขาว เอมิเรตส์จะก่อร่าง สร้างศูนย์กลางวัฒนธรรมหน้าตาแบบไหนขึน้ มา จากผืนทรายว่างเปล่า
flickr.com/photos/Francisco Anzola
อาหรับกับวัฒนธรรมที่มองไม่เห็น
Louvre Abu Dhabi
ทำ�ไมต้องมีลูฟร์อาหรับ?
เมือ่ ครัง้ ทีแ่ ผนสร้างลูฟร์อาบูดาบีประกาศออกไปในปี 2007 ทำ�ให้เกิดกระแสวิพากษ์วจิ ารณ์ครัง้ ใหญ่วา่ ข้อตกลงนี้ถือเป็นการ “ขายวิญญาณ” ให้อาหรับหรือไม่ มีผู้ลงชื่อออนไลน์คัดค้านการตัดสินใจครั้งนี้ ของฝรั่งเศสมากกว่า 4,600 ราย ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์ศิลป์ และ นักโบราณคดี ดิดิเยร์ ริกเนอร์ (Didier Rykner) บรรณาธิการนิตยสารออนไลน์ว่าด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะ La Tribune de l’ Art เป็นหนึ่งในนั้น “ผมไม่ติดอะไรหากเป็นการยืมชิ้นงานศิลปะ แต่ที่ผมไม่เห็นด้วย คือการเช่าชิ้นงาน” เขากล่าวถึงการย้ายผลงานศิลปะประมาณ 300 ชิ้นจากสถาบันศิลปะ 13 แห่งใน ฝรั่งเศสไปที่อาบูดาบีเป็นเวลานานถึงสองปี “พวกเขานำ�ชิ้นงานไปเยอะมาก หลายชิ้นเป็นผลงาน มาสเตอร์พีซ และแต่ละชิ้นก็ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย...” แต่ในสายตาเหล่าภัณฑารักษ์ของลูฟร์อาบูดาบี ความเห็นของริกเนอร์ดจู ะโบราณไปแล้ว เพราะ พวกเขาตัง้ ใจจะสร้างพิพธิ ภัณฑ์สากลแห่งแรกในโลกอาหรับทีจ่ ดั แสดงผลผลิตทางวัฒนธรรมของมนุษย์ จากทุกอารยธรรม เพือ่ ให้ผชู้ มได้เห็นสายสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมในแต่ละช่วงเวลา ซึง่ ถือเป็นประเด็น สำ�คัญในประเทศตะวันออกกลางซึ่งเป็นทั้งชนวนและสนามรบจากความขัดแย้งทางการเมืองที่เป็น ผลจากภูมิศาสตร์ “นํ้าพุทองสัมฤทธิ์รูปสิงโตของชาวมัวร์จากศตวรรษที่ 17 ที่รู้จักกันในชื่อ Monzon Lion จากลูฟร์ปารีส จะถูกนำ�มาจับคู่กับเหยือกรูปสิงโตของชาวคริสเตียนในคอลเล็กชั่นถาวรของลูฟร์ อาบูดาบีซึ่งมาจากศตวรรษเดียวกัน ขณะที่ภาพนโปเลียนบนหลังม้าที่วาดโดย ฌาก-หลุยส์ ดาวิด จะจัดแสดงคู่กับภาพจอร์จ วอชิงตันที่อยู่บนหลังม้าของกิลเบิร์ต สจ๊วต” ฮิซซา อัล ดาฮีรี (Hissa Al Dhaheri) หนึ่งในภัณฑารักษ์ยกตัวอย่าง หลายคนมองความพยายามของอาบูดาบีด้วยความกังขา แต่หากลองหันกลับไปมองมหานคร แห่งศิลปะอย่างนิวยอร์ก ก็จะพบว่าในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นิวยอร์กเองก็เป็นเศรษฐีใหม่ที่เริ่มต้น จากการเดินตามผู้นำ�ทางศิลปวัฒนธรรมอย่างยุโรป ก่อนที่จะเติบโตและประกอบสร้างอัตลักษณ์ของ ตัวเองอย่างแข็งแกร่งในเวลาต่อมา หนำ�ซํ้าพิพิธภัณฑ์ใหญ่อย่าง The MET และ MOMA ยังสร้างขึ้น ด้วยเงินทุนสนับสนุนที่ส่วนใหญ่มาจากนํ้ามัน (ร็อกกี้เฟลเลอร์ นักธุรกิจเจ้าของกิจการนํ้ามัน เป็นหนึ่งในผู้ให้ทุนคนสำ�คัญของพิพิธภัณฑ์) คอลเล็กชั่นงานศิลป์ที่นำ�มาจัดแสดงในช่วงแรกก็ล้วนนำ� เข้ามาจากต่างแดน ขณะที่โซโลมอน กุกเกนไฮม์ เจ้าของกิจการเหมืองทองคำ�และนักสะสมศิลปะ ก็น�ำ รายได้จากธุรกิจมาก่อตัง้ พิพธิ ภัณฑ์กกุ เกนไฮม์เช่นเดียวกัน ดังนัน้ หากลองวิเคราะห์วา่ อะไรทีท่ �ำ ให้ นิวยอร์กเป็นนิวยอร์กในวันนี้ ก็จะพบว่าสถาบันด้านวัฒนธรรมเหล่านี้น่าจะมีส่วนสำ�คัญมากในการ ถ่วงสมดุลให้แก่เมืองที่กำ�ลังทะยานขึ้นเป็นผู้นำ�ทางเศรษฐกิจของโลก จึงเป็นไปได้ว่าอาบูดาบีน่าจะ วางแผนให้พิพิธภัณฑ์สร้างใหม่เหล่านี้มีบทบาทอย่างเดียวกัน
CREATIVE THAILAND I 26
ถ้าไม่นบั ตึกระฟ้าและวิถชี วี ติ หรูหราทันสมัยทีเ่ ป็น ผลผลิตทีเ่ พิง่ งอกงามในช่วงเวลากว่าครึง่ ศตวรรษ จากการเติบโตแบบก้าวกระโดด เชื่อว่าภาพจำ� ของประเทศอาหรับในสายตาคนนอก คงจะหนี ไม่พ้นภาพทะเลทรายเวิ้งว้าง ชนเผ่าเร่ร่อน อูฐ และกระโจม และก็น่าแปลกที่แม้เวลาผ่านไปนับ สิบๆ ปี เราก็ไม่ค่อยได้รู้จักวัฒนธรรมและตัวตน ของพวกเขาในมิติอื่นๆ มากนัก ปัจจุบันยูเออีมีประชากรเพียง 11% ที่เป็น คนท้องถิน่ ส่วนทีเ่ หลือเป็นคนทำ�งานจากต่างแดน โดยส่วนใหญ่มาจากกลุม่ ประเทศอ่าวอาหรับและ แถบอนุทวีปอินเดีย เช่น อินเดีย บังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา รวมถึงฟิลิปปินส์ และ 11% มาจากประเทศตะวันตก แน่นอนว่าการเข้ามา ของวัฒนธรรมสมัยใหม่กำ�ลังทำ�ให้วัฒนธรรม ดั้งเดิมถูกมองข้าม จึงเป็นความท้าทายสำ�หรับ ยูเออีที่ต้องสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ อันดีระหว่างผูค้ นจากต่างชาติตา่ งภาษา พร้อมกับ รั ก ษาภู มิ ปั ญ ญาและวั ฒ นธรรมในอดี ต ไม่ ใ ห้ เลือนหาย แต่สงิ่ ทีท่ า้ ทายยิง่ กว่าการอนุรกั ษ์วฒั นธรรม ก็คือการส่งออกเอกลักษณ์ของชาติให้เป็นที่รับรู้ ของคนนอก โดยเฉพาะเมื่อบรรพบุรุษของที่นี่คือ ชนเผ่าเบดูอิน (Bedouin) ที่ใช้ชีวิตแบบเร่ร่อน บทความของอามาร์ ชามส์ จาก The National สำ�นักข่าวชั้นนำ�ของตะวันกลางอธิบายว่า การที่ ชาวต่างชาติไม่มโี อกาสได้เห็นหรือเรียนรูว้ ฒั นธรรม ท้องถิ่นของพวกเขาจากบ้านเรือน พิพิธภัณฑ์ โรงละคร พระราชวัง หรือศิลปะวัตถุมากนัก เหตุผลหนึ่งก็เพราะว่าธรรมชาติของวัฒนธรรม เบดูอินเป็นเรื่องของการอยู่รอด บรรพบุรษของ พวกเขานิยมครอบครองข้าวของเครือ่ งใช้นอ้ ยชิน้ และไม่สร้างสถาปัตยกรรมแบบถาวร ดังนัน้ จึงใช้ วิธีถ่ายทอดวัฒนธรรมให้คนรุ่นหลังผ่านการเล่า แบบปากต่อปาก บทกวี ภาษา ธรรมเนียมปฏิบตั ิ และประวัติศาสตร์
ถ้าคิดจะสร้างชาติอย่างยั่งยืน สิ่งที่จะขาดไม่ได้ ก็คือการปลูกฝังพลเมืองให้มีความรอบรู้ทาง วัฒนธรรม เอมิเรตส์จึงรังสรรค์โครงการเรียนรู้ ภาคฤดูร้อนในชื่อ ‘Around the World’ เพื่อให้ เด็กๆ ในช่วงอายุ 6-18 ปี ได้เลือกเข้าร่วมกิจกรรม ตามความสนใจ แน่นอนว่า ‘วัฒนธรรม’ ทีเ่ รากำ�ลังพูดถึงไม่ใช่ แค่เรือ่ งของค่านิยม การกินอยู่ หรือศิลปะดัง้ เดิม แบบฉบับชาวอาหรับเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทักษะ ด้านเทคโนโลยีและการใช้ชวี ติ ในสังคมทีเ่ ต็มไปด้วย ความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ค่านิยม ความเชือ่ ภาษา และวัฒนธรรม หัวข้อการเรียนรู้ ในโครงการจึงประกอบด้วยวิชาที่หลากหลาย และออกแบบมาเพื่อให้เด็กๆ ได้เปิดโลกทัศน์ ทางวัฒนธรรม ศิลปะ ภาษา การสื่อสาร และ นวัตกรรมไปพร้อมๆ กัน ชวนให้เรากลับมาคิด ต่อว่า แท้จริงแล้ว วัฒนธรรมคืออะไร
thenational.ae
thenational.ae
วิชาวัฒนธรรมยุคใหม่
ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรูใ้ นเดือนสิงหาคม 2018 ซึ่งจัดขึ้นที่ห้องสมุดในเครือข่าย • Emirati Etiquette: เรียนรูค้ า่ นิยมและ ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวอาหรับเอมิเรตส์ • Reading Challenge: ภารกิจปลูกนิสยั รักการอ่านที่ท้าทายให้เด็กๆ ทั่วประเทศอ่าน หนังสือให้ได้ 30 เล่มในช่วงซัมเมอร์ (เฉลีย่ เล่มละ 2 วัน) โดยมีรางวัลให้สำ�หรับใครที่ปฏิบัติภารกิจ สำ�เร็จ • Meet the Author: โอกาสดีที่นักอ่าน รุ่นจิ๋วจะได้พบปะพูดคุยกับนักเขียนที่พวกเขา ชื่นชอบในบรรยากาศเป็นกันเอง • The Young Librarian: โครงการ บรรณารักษ์รุ่นเยาว์ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ในช่วง อายุ 8-14 ปีได้ลองสัมผัสประสบการณ์การ เป็นบรรณารักษ์ในห้องสมุดใกล้บ้านเป็นเวลา หนึ่งเดือน โดยเรียนรู้การทำ�งานในห้องสมุดกับ ผู้เชี่ยวชาญ • The Young Paramedic: วิชานักกู้ชีพ รุน่ จิว๋ ทีป่ ลูกฝังให้เด็กๆ เป็นสมาชิกชุมชนทีแ่ ข็งขัน
และคล่องแคล่ว พร้อมรับมือกับเหตุการณ์ไม่ คาดฝันได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที • My First Business Project: พัฒนา ทักษะแห่งอนาคต อย่างทักษะการเป็นผูป้ ระกอบการ ด้วยกิจกรรมที่ฝึกฝนให้เด็กๆ รู้จักการค้นหา และกำ�หนดเป้าหมาย วางแผน และบริหาร งบประมาณเพื่อสร้างธุรกิจที่ประสบความสำ�เร็จ ในอนาคต • Information Security in the Virtual World: เรียนรู้เรื่องนวัตกรรมการรักษา ความปลอดภัยของข้อมูลในโลกดิจิทัล และวิธี จัดการกับข้อมูลอย่างชาญฉลาด • How to Deal with Bullying: ปลูกฝัง ความเมตตาให้เด็กๆ เพื่อสร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อ เผื่ อ แผ่ แ ละเห็ น อกเห็ น ใจผู้ อื่ น ทั้ ง ในและนอก ห้องเรียน พร้อมกับเตรียมพร้อมให้เด็กๆ รู้จัก รับมือกับการถูกกลั่นแกล้งด้วยทัศนคติที่ถูกต้อง • Programming Robots: ปลดปล่อย จินตนาการไปกับการออกแบบและเขียนโปรแกรม เพื่อสร้างหุ่นยนต์ในฝันให้เป็นจริง
ที่มา: louvreabudhabi.ae / tcaabudhabi.ae / บทความ “Abu Dhabi Department of Culture and Tourism- signs agreement with Emaar supporting the local publishing industry” (2018) จาก lookup.ae / บทความ “Al Dhafra Book Fair spreads love for reading” (2018) จาก gulftoday.ae / บทความ “Macron hails power of beauty as Louvre opens in Abu Dhabi” (2017) จาก theguardian.com / บทความ “Summer Reading Challenge: Could your child read 30 books this summer?” (2018) จาก thenational.ae / visitabudhabi.ae / บทความ “Share of non-oil sector in UAE’s GDP to rise to 80 percent by 202: Ministry of Economy” (2018) โดย Emirates News Agency จาก wam.ae / บทความ “The majlis: Emirati culture exists - just look closer” (2017) โดย Ammar Shams จาก thenational.ae / บทความ “Will Saadiyat, Abu Dhabi’s Multi-Billion Art Island, Pay Off?” (2015) โดย Julian Sancton จาก departures.com / หนังสือ The Bigger Picture: Designing Better Places (2009) โดย Fay Sweet / หนังสือ Superlative Emirates: The New Dimension of Urban Design (2011) โดย Caroline Klein CREATIVE THAILAND I 27
The Creative : มุมมองของนักคิด
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” แบบจับต้องได้ เรื่อง: วิชุดา เครือหิรัญ ภาพ: ภีร์รา ดิษฐากรณ์
พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง “สำ�นักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)” หรือ สศส. ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Creative Economy Agency (Public Organization) เรียกโดยย่อว่า CEA (ซี-อี-เอ) เมือ่ ช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผา่ นมา โดยมีคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์วางกรอบการทำ�งานในเชิงนโยบาย และมี CEA เป็นหน่วยงานปฏิบัติ เมื่อพิจารณาจากมูลค่าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย1 ในปี 2557 ที่มีมลู ค่าถึง 1.61 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 13.18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมใน ประเทศ (GDP)2 ซึง่ มีมลู ค่ารวม 12.14 ล้านล้านบาท ก็ทำ�ให้การสำ�รวจความคิดของอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (อดีตผู้อำ�นวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC) ถึงมุมมองต่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในวันนี้ รวมไปถึงทิศทางการทำ�งานและ บทบาทของ CEA ที่ได้เริ่มนับหนึ่งเพื่อออกสตาร์ทกันไปแล้วนั้น กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำ�คัญที่จะสะท้อนถึงสถานการณ์และนิเวศของระบบเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี CREATIVE THAILAND I 28
ทำ�ไมต้อง “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” และ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์”ณ วันนี้ คืออะไร ผมว่าความหมายมันไม่ได้เปลีย่ นแปลงไปจากเดิมเมือ่ 10 ปีทแี่ ล้วสักเท่าไหร่ เพราะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มันพูดถึงภาพรวมของเศรษฐกิจทีม่ กี ระบวนการทีท่ �ำ ให้เกิดผลผลิตด้วยการใช้ความรู้ ใช้ความสามารถ ในการเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่น โดยที่วันนี้เราเชื่อมโยงกับเงื่อนไข ของโลกด้วยการเติมเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเข้าไป แล้วผลลัพธ์หรือกระบวนการที่ทำ�มีผลกับสังคม ทำ�ให้สังคมมันดีขึ้น หรือในแง่ผู้ประกอบการคือเกิดเป็นรายได้ ซึ่งถ้ามีคนทำ�สิ่งนี้ในจำ�นวนมาก มันก็ จะเห็นแรงเคลื่อนในระบบเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ทำ�ให้คนมีคำ�ถามคือคำ�ว่า “ความคิดสร้างสรรค์” เพราะ มันจับต้องไม่ได้ เราจะอธิบายความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างไร ความคิดสร้างสรรค์ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ดีๆ จะเกิดขึ้นมาเองหรือนอนหลับ ฝัน เช้าตืน่ ขึน้ มาแล้วบอกว่ามัน เป็นความคิดสร้างสรรค์ เพราะมันเป็นกระบวนการทีบ่ ม่ เพาะด้วยความรูท้ ส่ี ง่ั สมมา ด้วยภูมปิ ญั ญา ประเพณี หรือวัฒนธรรมทีม่ ี ด้วยประสบการณ์ ด้วยการสังเกตพฤติกรรม เป็นส่วนผสมของหลายศาสตร์เพือ่ ทำ�ให้ เข้าใจคน เข้าใจสังคมมากขึ้น เพราะฉะนั้นความคิดสร้างสรรค์มันมีกระบวนการของมัน ความคิดสร้างสรรค์มีมูลค่าหรือคุณค่าอย่างไรในเชิงเศรษฐกิจ แล้ว Design Thinking (กระบวนคิดเชิงออกแบบ) และ Service Design (การออกแบบบริการ) ถือเป็นกระบวนการหนึ่งของความคิดสร้างสรรค์ไหม อันนัน้ เป็นแค่ศาสตร์หนึง่ เนือ่ งจากคำ�ว่า “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” มันใหญ่มาก ทั้งในธุรกิจที่ต้องอาศัย ความสำ�คัญของความคิดสร้างสรรค์เป็นเนื้อหาสำ�คัญในการที่มันจะขับเคลื่อนหรือทำ�ให้เกิดรายได้ ถ้าขาดแกนสำ�คัญนี้ก็ไม่สามารถเดินหน้าธุรกิจต่อไปได้ อย่างในธุรกิจบันเทิง เราอาจจะเห็นความคิด สร้างสรรค์ผา่ นความสนุก ตัง้ แต่เขียนบท ถ่ายทำ� นำ�มาฉาย แต่ความคิดสร้างสรรค์ในความหมายของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์มนั ใหญ่มากกว่านัน้ เช่น ธุรกิจทีอ่ ยูบ่ นดิจทิ ลั แพลตฟอร์ม มันอาจจะไม่ใช่เรือ่ งของ ความสนุกอย่างเดียว แต่มนั เป็นเรือ่ งของการทีเ่ ราสามารถถ่ายทอดสิง่ ทีเ่ ราคิด โมเดลทางธุรกิจ เราสามารถ อธิบายผลผลิตของตัวเองให้ฝั่งผู้ซื้อผ่านช่องทางต่างๆ จนคนตัดสินใจซื้อ ถ้าจะอธิบายต่อไปอีก คือ ความคิดสร้างสรรค์ถูกนำ�ไปใช้ปรับปรุงผลผลิตอื่นๆ ธุรกิจบางธุรกิจ อาจจะไม่ใช่ธุรกิจสร้างสรรค์ แต่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อน เช่น การเอา Design Thinking ไปพัฒนาเรือ่ งของสาธารณสุข เรือ่ งการเกษตร อย่างเดิมเรามีฝกั มะขามทีโ่ ค้ง เราเรียงใส่กล่องเพือ่ ขนส่ง แล้วมันกินที่ ขนส่งแล้วฝักแตก เราก็ใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างการปรับปรุงพันธุ์ให้ฝักตรง มากขึ้น ทำ�ให้เนื้อมะขามเต็มฝักมากขึ้น ทำ�ให้โอกาสที่ฝักจะแตกก็น้อยลง ฝักตรงก็เรียงใส่กล่องได้ เราไม่ได้พดู เรือ่ งธุรกิจสร้างสรรค์โดยตรง แต่เราใช้กระบวนการที่ทำ�ให้เกิดผลลัพธ์ใหม่ๆ เกิดขึน้ วิธคี ดิ ทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มันจึงสามารถไปเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ ถ้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์สามารถอยู่ได้กับธุรกิจที่หลากหลาย แสดงว่าสำ�นักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ CEA (Creative Economy Agency) กำ�ลัง ทำ�งานกับคนหลากหลาย ไม่ได้จำ�กัดแค่ 12 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3 จริงๆ แล้วการแบ่งกลุม่ อุตสาหกรรมมันช่วยให้เราทำ�งานง่ายขึน้ วัดผลง่ายขึน้ ว่าธุรกิจนี้อยู่ในกลุ่มไหน แต่พอเรามาลองมองเครื่องมือที่ 12 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ใช้ อย่าง Design Thinking, Service Design, UX หรือ Human Centric (แนวทางในการออกแบบที่คำ�นึงถึงผู้อยู่อาศัยเป็นศูนย์กลาง) หลากหลายเครื่องมือที่เมื่อพอมองภาพกว้างของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ถ้าเราเอาเครื่องมือเดียวกันนี้ ไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่น หลายที่ก็ประสบความสำ�เร็จ ลองดูไปที่อุตสาหกรรมยา เดิมกลุ่มลูกค้าคือ คนป่วย ซึ่งมีจำ�นวนน้อยกว่ากลุ่มคนที่ยังไม่ป่วย เขาก็ไปดึงลูกค้ากลุ่มก่อนป่วยเข้ามา โดยใช้ Design Thinking ทำ�อย่างไรให้คนกลุ่มก่อนป่วยสนใจ เราถึงเห็นว่ามีกลุ่มอาหารเสริมมากมายในตอนนี้ CREATIVE THAILAND I 29
เพราะตลาดของกลุม่ นีม้ นั มีขนาดใหญ่มากกว่าขนาดตลาดของอุตสาหกรรม ที่เป็นยารักษาโรคมาก ซึ่งถ้าเราลองไปสังเกตเทรนด์โลกตอนนี้ จะเห็นว่า เน้นไปเรือ่ งธรรมชาติ เราก็จะเห็นว่าสีสนั รูปทรงของเม็ดยา ก็มหี ลากหลาย เพือ่ ให้มนั ดูแล้วสบายใจว่าเป็นการรับประทานเพือ่ รักษาสุขภาพมากกว่าเพือ่ เป็นยารักษาโรค นีก่ เ็ ป็นอีกหนึง่ ตัวอย่างของความคิดสร้างสรรค์ทไี่ ม่ได้จ�ำ กัด แค่ 12 อุตสาหกรรม แต่ยังสามารถนำ�ไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้แทบ ทุกที่ เมือ่ ต้องทำ�งานในมุมมองทีก่ ว้างมากขึน้ ทิศทางหรือพันธกิจ ของ CEA จะเดินหน้าไปทางไหน TCDC ทำ�เรือ่ งเศรษฐกิจสร้างสรรค์มา 10 ปีแล้ว ถามว่าก้าวหน้าไหม มันก็ ก้าวหน้ามาตามลำ�ดับ ตามเวลา ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้อง หลายฝ่ายพูดคุยและได้ข้อสรุปอันหนึ่งที่เป็นปัญหาของประเทศไทยก็คือ เรายังไม่มใี ครรับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยตรง เพราะ TCDC ก็มีสโคปงานที่เป็นการสนับสนุนให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในธุรกิจออกแบบ หรือหน่วยงานอืน่ ๆ ของประเทศ เขาก็มสี โคปงานของเขาเองว่าทำ�หน้าทีอ่ ะไร ดังนัน้ มันจึงขาดคนทีจ่ ะมาทำ�หน้าทีร่ วบรวม เชือ่ มโยง ประสานงานทัง้ ข้อมูล การปฏิบัติ และผลลัพธ์ กับหน่วยงานรัฐ เอกชน ธุรกิจ คนที่ประกอบธุรกิจ คนทีอ่ ยูใ่ นชุมชน คนทีอ่ ยูใ่ นระบบการศึกษา ให้มนั เป็นเรือ่ งเดียวกัน ในระดับ ประเทศมันจึงจำ�เป็นต้องมีหน่วยงานที่ทำ�งาน รับผิดชอบ เก็บข้อมูลเรื่องนี้ โดยเฉพาะ ก็เลยต้องสร้างกลไกในการขับเคลือ่ นและรับผิดชอบเรื่องนี้ จะได้ ไม่มีอะไรที่ขาดหายหรือแหว่งไป รัฐบาลก็เลยจัดตั้งสำ�นักงานส่งเสริม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ขึ้น ฉะนั้นภารกิจหลักของสำ�นักงานฯ ที่จะต้องดูอันแรกก็คือ การพัฒนา ระบบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ได้ว่าใคร ทำ�อะไร ทีไ่ หน อย่างไร แล้วต้องการสภาพแวดล้อมหรือระบบนิเวศแบบไหน ที่จะส่งเสริมให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เดินหน้าหรือขยายตัวได้ ต่อมาก็คือ กระจายความสามารถของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้ไปถึงหลากหลายส่วน ไปถึงชุมชนได้ ไปถึงระบบการศึกษาได้ ให้คนได้ใช้นวัตกรรมในการประกอบ อาชีพและทำ�ให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้น
TCDC ท�ำเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มา 10 ปีแล้ว ถามว่าก้าวหน้าไหม มันก็ก้าวหน้ามาตามล�ำดับ ตามเวลา ตามปัจจัยที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่ ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายพูดคุย และได้ขอ้ สรุปอันหนึง่ ที่เป็นปัญหา ของประเทศไทยก็คือ เรายังไม่มีใคร รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์โดยตรง
CREATIVE THAILAND I 30
แล้วหน่วยงานนี้ก็จะพัฒนาผู้ประกอบการด้วย พอมีผู้ประกอบการ มีระบบ มีระบบนิเวศแล้ว ก็ต้องการพื้นที่จริงๆ ที่จับต้องได้ อย่างที่เรา เรียกว่า Creative District (ย่านสร้างสรรค์) ในหลายๆ พื้นที่ของประเทศ แล้วก็ต้องมีคนรวบรวม จัดเก็บข้อมูลที่ทั้งส่วนราชการและเอกชนทำ� เป็น Creative Index หรือฐานข้อมูลที่ใช้จัดการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อ ทำ�ให้เรารู้สถานการณ์ รู้ข้อเท็จจริงที่ไม่ได้คิดเอาเอง แล้วเอาข้อมูลเหล่านี้ ไปวิเคราะห์กบั อนาคตข้างหน้าว่าเราควรจะทำ�อะไร ไม่ควรจะทำ�อะไร ควรจะ ส่งเสริมใครแค่ไหน เท่าไหร่ หรือแม้แต่การสร้างปัจจัยเกื้อหนุนระบบนิเวศ ในเชิงอื่นๆ เช่นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น มันก็เป็นอีก ช่องทางหนึ่งที่จะทำ�ให้ระบบเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น การสร้างสรรค์ “เศรษฐกิจ” จาก “ความคิด” และ “วัฒนธรรม” ยังคงเป็นรากฐานสำ�คัญของแนวคิด “เศรษฐกิจสร้างสรรค์” สำ�หรับ CEA หรือประเทศไทยอยู่หรือไม่ ในประเด็นของวัฒนธรรม ประเพณี หรือขนบธรรมเนียม เราคงมีคำ�ถามว่า ประเทศไทยมันน่าสนใจมากขนาดไหน เราถึงมีนกั ท่องเทีย่ วเข้ามาในปีหนึง่ จำ�นวนมหาศาล กรุงเทพฯ เป็นเมืองหนึง่ ทีม่ ยี อดนักท่องเทีย่ วเทียบเคียงกับ ยุโรป นักท่องเทีย่ วมีทงั้ หน้าใหม่ คนทีเ่ คยมาแล้วก็มาซํา้ ทัง้ ทีเ่ ราก็ไม่ได้เป็น ประเทศทีเ่ จริญมาก ไม่ได้เป็นประเทศทีร่ ะบบขนส่งดีมาก ไม่ได้เป็นประเทศ ที่สะอาดมาก แต่พอไปค้นๆ ดู ประเทศไทยมีอะไรน่าค้นหา มันสนุก ให้ความน่าตื่นเต้นมากกว่าความกลัว คนก็เลยอยากมา แล้วเราคงต้องยอมรับว่าการโอภาปราศรัย การพูดจา เราเป็นคน ค่อนข้างเปิดเผย ชอบช่วยเหลือ อยากบริการ แล้วข้อบวกเหล่านี้ ก็มีคนที่ กลั่นเอาความสามารถบางอย่างไปแปลงเป็นธุรกิจบริการ ซึ่งธุรกิจบริการ ของเมืองไทยพัฒนาไปค่อนข้างดี อย่างร้านนวดเท้า ผมว่ามีทุกอำ�เภอเลย ไม่ใช่แค่ทุกจังหวัด ถ้าเป็นเมืองใหญ่หน่อย ผมว่าในถนนหลักๆ มีร้าน นวดเท้าทุกถนน จริงๆ ธุรกิจมันเกิดขึ้นเพราะบุคลิกของคนไทยหรือเปล่า ยิ่งช่วงหลังๆ ร้านนวดแผนโบราณหรือสปาก็ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย จากเดิมที่คนนวดไม่พอก็เติมคนนวด แต่ในวันนี้มันไม่ใช่แค่เติมคน แต่ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่รู้จักที่จะเติมเทคโนโลยีเข้าไป เติมความพร้อมเข้าไป เช่น มีระบบนัดหมายก่อนไหม สามารถนัดหมายผ่านเครื่องมือ ผ่าน แอพพลิเคชันได้ไหม หรือแม้กระทั่งการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์เอง ก็มีการนำ� เอาความรูท้ างวิทยาศาสตร์เข้าไปพัฒนาตัวนํา้ มันทีใ่ ช้ในการนวดต่างๆ หรือ มีการพัฒนาเอาศาสตร์ใหม่ๆ มาใช้ มีการเรียนรู้เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น เมื่อมัน มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น มันก็มีกำ�ลังในด้านเศรษฐกิจพอสมควร นับเป็น ความสามารถของประเทศอย่างหนึ่งที่น่าสนใจและน่าสนับสนุน
ความท้าทายของ CEA คืออะไร ในอุตสาหกรรมนี้เรายังไม่ค่อยเห็นเวที หรือสนามทดลอง ให้ได้รู้ว่าอันนี้ ไม่ดี อันนีไ้ ม่ตรงใจ อันนีต้ อ้ งพัฒนาเพิม่ ผมเชือ่ ว่าเมือ่ มีความสามารถ ก็ตอ้ ง มีโอกาสได้แสดงออก ได้เห็น ได้ทดลอง เวทีของผมหมายถึงระบบนิเวศที่ ทำ�ให้เวทีสมบูรณ์ มีเครื่องมือในการทดลอง มีอุปกรณ์ ให้ผลผลิตกระจาย ไปยังอุตสาหกรรมอืน่ ๆ แล้วท้ายสุด สิง่ เหล่านีม้ นั จะยึดโยงไปทำ�ให้สงั คมไทย มั่นคงมากขึ้น ผมเชือ่ ว่าถ้าเราสร้างเวทีบอ่ ยๆ ในหลายๆ สาขา มันอาจจะเกิดผลผลิต ที่บางครั้งอาจจะไม่ได้ตรงไปตรงมาก็ได้ เช่น เราอาจจะไม่ได้นักดนตรีที่ ดีเยีย่ ม แต่เราจะได้นกั ดนตรีทที่ �ำ เพลงประกอบภาพยนตร์ ได้นกั ดนตรีทที่ �ำ ดนตรีเพื่ออุตสาหกรรมการแพทย์เกิดขึ้นก็ได้ กิจกรรมต่างๆ ที่ TCDC ทำ�อย่างเทศกาลออกแบบกรุงเทพฯ (Bangkok Design Week) ห้องสมุดเพื่อการออกแบบ นิทรรศการ หรือบริการอื่นๆ CEA จะสานต่อไหม และเราจะ ได้เห็นโครงการอะไรจาก CEA ในช่วงเริ่มต้นนี้บ้าง งานเดิมที่ TCDC เคยทำ�ในแง่ของดีไซน์วีกทั้งที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ ก็ ยังคงดำ�เนินต่อไป โดยมีกิจกรรมหรือโครงการอื่นๆ เกิดขึ้นเพื่อมาล้อกับ สิง่ เหล่านีใ้ ห้เกิดความต่อเนือ่ ง ไม่อย่างนัน้ อีเวนต์มนั ก็จะจบไปเมือ่ หมดเวลา อย่างโครงการย่านสร้างสรรค์เจริญกรุง ความหมายของย่านสร้างสรรค์กค็ อื มีบริการ มีสนิ ค้า มีคนเข้ามาสร้างสรรค์ผลผลิต มีผใู้ ช้บริการ มีนกั ท่องเทีย่ ว มีกิจกรรม และมีเงินหมุนเวียนอยู่ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่กรรมการ นโยบายฯ ชุดนี้อยากเห็นเรื่องนี้เกิดขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องหนึ่งที่พูดคุยกัน คือ นอกจากผู้ประกอบการที่ ส่วนใหญ่อยู่ในเมืองใหญ่ๆ ของประเทศแล้ว ยังมีผู้ประกอบการอีกจำ�นวน มหาศาลในส่วนภูมิภาค ทำ�อย่างไรที่จะเชื่อมโยงทั้งวิธีคิด และเนื้องานไปสู่ พวกเขาได้ อย่างผู้ประกอบการ OTOP หรือวิสาหกิจชุมชน แล้วทำ�อย่างไร ที่เราจะจัดการรวบรวมพละกำ�ลังของคนที่ทำ�งานเรื่องนี้ ถ้าเราพัฒนาแค่ ผู้ประกอบการของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เขาพัฒนาแบบที่เราเห็นๆ กัน อยู่แล้ว มันก็คงจะมีแรงอยู่ระดับหนึ่ง แต่ถ้าเรากระจายไปได้ครอบคลุม เขาก็มีรายได้มากขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น มันก็คงจะทำ�ให้ภาพ เศรษฐกิจของประเทศโตขึ้นได้อีก สำ�นักงานฯ ก็คงต้องเป็นคนกลางในการ ทำ�งานนี้ เพราะเป้าหมายของสำ�นักงานฯ ใหม่ คือ ทำ�ให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่จับต้องได้จริง
1 มูลค่าของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย
และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2557 ทีม่ า : จากฐานข้อมูลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ สศช. (สภาพัฒน์ฯ) เรียกดู ณ วันที่ 30 มีนาคม 2558 โดย สำ�นักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) 2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2557 ที่มา : ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 4/2557 Gross Domestic Product : Q4/2014, สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการ เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 16 กุมภาพันธ์ 2558 3 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 12 สาขาของประเทศไทยประกอบด้วย แฟชั่น งานฝีมือและหัตถกรรม การออกแบบ ทัศนศิลป์ การพิมพ์ สถาปัตยกรรม ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ซอฟต์แวร์ ศิลปการแสดง การแพร่ภาพกระจายเสียง การโฆษณา และดนตรี โดยทั่วโลกแบ่งสาขาของอุตสาหกรรมแตกต่างกันตามความสามารถของแต่ละประเทศ
CREATIVE THAILAND I 31
เรื่องอะไรที่คุณอยากเห็นในประเทศไทย วันก่อนผมดูทวี เี รือ่ งนํา้ ท่วมทีน่ วิ ยอร์ก ซึง่ สารคดีอธิบายให้เราเข้าใจหมดเลยว่าทำ�ไมนํา้ ท่วม เรายังขาด คนอธิบายข้อมูลต่างๆ ทั้งที่ความรู้เราก็ไม่ได้ขาดนะ ผมเป็นคนกรุงเทพฯ ผมอยากเข้าใจว่านํ้าท่วม กรุงเทพฯ ได้อย่างไร ถ้าบอกว่าท่อระบายนํ้าไม่ดี สั้นเกินไป เล็กเกินไป เราก็จะได้ อ๋อ เข้าใจแล้ว มัน ต้องหาคำ�ตอบให้ได้นะ เราจะได้แก้ปัญหาถูก จะได้รณรงค์ถูก อย่างปัญหารถติด มีคนขับรถปาดหน้า ก็ไปวิเคราะห์ให้ดูสิว่าเมื่อไรที่คนหนึ่งขับรถไปปาดทางเข้า แล้วทำ�ให้การจราจรช้าลงไปเท่าไร เช่น คันหนึง่ ทำ�ให้ชา้ ลงไปกีว่ นิ าที รถบนถนนมีกคี่ นั มันจะช้าลงไปเท่าไร ค่าใช้จา่ ยในการเหยียบเบรกเท่าไร ถ้าไม่มีรถปาดหน้าจะใช้เวลาในการขับรถเท่าไร ทุกอย่างจะได้กระจ่าง สิ่งแรกที่คุณอยากเปลี่ยนแปลงในกรุงเทพฯ ผมอยากให้มปี า้ ยน้อยลง เพือ่ ทีต่ น้ ไม้รมิ ถนนจะได้โตขึน้ ถนนก็จะมีรม่ เงามากขึน้ แล้วคนก็จะยอมเดิน กันมากขึ้น อะไรที่ผลักดันให้คุณพยายามหาคำ�ตอบของปัญหาที่เจอในแต่ละวัน ผมอยากเห็นคนมีชีวิตที่ดีขึ้น ผมเองก็อยากมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากให้ลูกมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากให้เพื่อนๆ มี ชีวิตที่ดีขึ้น
CREATIVE THAILAND I 32
Creative Will : คิด ทํา ดี Advertorial
“ เ ราเชื่ อ ว่ า ชี วิ ต ที่ ดี ม าจากจุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ดี ที่ ไ ม่ ใ ช่ แค่เรื่องในบ้านแต่รวมถึงสภาพชุมชนในย่านของ เขาด้วย เมื่อเขามาอยู่ในนิเวศเดียวกับเรา เราจึง คิ ด เผื่ อ ด้ ว ยว่ า เราจะพั ฒ นาอะไรได้ บ้ า งในพื้ น ที่ สาธารณะในชุ ม ชนนั้ น ๆ เราไม่ ไ ด้ บ อกว่ า เราจะ ดูแลทั้งประเทศได้ แต่ที่ไหนก็ตามที่เราไป เราจะ ทำ�สิ่งที่เราทำ�ได้ให้ดีที่สุด” คุณโฉมชฎา กุลดิลก หัวหน้าสายงานฝ่ายสื่อสารและกลยุทธ์แบรนด์ SC Asset
ไม่ใช่แค่เรื่องในบ้าน แต่เป็นผลรวมของย่านที่ยั่งยืน เรือ่ ง : พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
จะดีแค่ไหน หากเราออกแบบพืน้ ทีส่ าธารณะในชุมชนใกล้บา้ นให้เป็นไปได้อย่างใจ และอยูร่ ว่ มกันท่ามกลางความหลากหลายของสังคมยุคใหม่ได้ดว้ ยนวัตกรรม ทีอ่ ยูอ่ าศัยซึง่ เข้าใจเราในทุกมิติ โครงการวิจยั ล่าสุดโดย SC Asset ทีเ่ ชือ่ มัน่ ในการปรับใช้ขอ้ มูลจริงจากการ ลงมือทำ�วิจยั การลงพืน้ ทีส่ อบถาม ทำ�โปรโตไทป์ และทดสอบกับทีด่ นิ จริงที่ ใช้เป็น Sandbox (สนามทดลอง) กับกลุม่ เป้าหมาย เพือ่ หาผลลัพธ์ทจ่ี บั ต้องได้ และต่อยอดสูก่ ารพัฒนาในสเกลทีใ่ หญ่ขน้ึ ต่อไป โดยทำ�งานร่วมกับศูนย์บริการ วิจยั และออกแบบ ภายใต้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (REDEK) คือโซลูชน่ั ใหม่ขององค์กรที่ใช้เพือ่ ศึกษาและพัฒนาพืน้ ทีส่ ว่ นกลางทัง้ ภายใน และ โดยรอบบริเวณในอนาคตของโครงการทีอ่ ยูอ่ าศัยย่านบางกะดีและกรุงเทพฯ กรีฑา รวมถึงเพื่อสร้างโมเดลที่อยู่อาศัยซึ่งตอบรับการเติบโตของชุมชนเมือง และ ส่งมอบโซลูชน่ั การทำ�งานร่วมกันระหว่างภาคการศึกษา ภาคเอกชน และชุมชน ในการช่วยแก้ปญั หาประจำ�วันของผูอ้ ยูอ่ าศัยได้อย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ “วัฒนธรรมองค์กรของ SC Asset เชือ่ ว่า ความยัง่ ยืนคุม้ ค่ากับทุกการลงทุน ถ้าเราคิดแบบผูป้ ระกอบการทัว่ ไป การทำ� Sandbox แบบนีค้ งไม่ก�ำ ไร แต่ถา้ นับความยัง่ ยืนทีจ่ ะคืนมาแบบ Sustainable-Return On Investment (S-ROI) มันจะถูกทอนค่าและนับรวมสิง่ ทีไ่ ม่ใช่รายได้ทเ่ี ป็นตัวเลขอย่างเดียว เราอยาก ให้เขารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในระบบเดียวกัน หน้าที่ของดิเวลอปเปอร์ ในวันนีต้ อ้ งแชร์บทบาทส่วนทีภ่ าครัฐยังเข้าไม่ถงึ ในแต่ละพืน้ ทีไ่ ด้ ถ้าคนในย่าน เปิดใจ ด้วยองค์ความรูห้ ลากหลายที่มี เราจะสร้างโซลูชน่ั ให้ยา่ นนัน้ ๆ ดีขน้ึ ได้ จริงๆ” คุณจูล-โฉมชฎา กุลดิลก หัวหน้าสายงานสือ่ สารและกลยุทธ์แบรนด์ SC Asset ผูร้ ว่ มคิดค้นและพัฒนาโปรเจ็กต์การวิจยั นีก้ ล่าว ผลลัพธ์ซึ่งเป็นความคืบหน้าสำ�คัญจากการทำ�วิจัยตลอด 3 เดือนเต็ม คุณจูลเล่าให้ฟงั ว่า “เราพบว่าพืน้ ทีท่ เ่ี ด็กและผูส้ งู วัยใช้เวลาอยูร่ ว่ มกันได้คอื สิง่ ที่ ลูกบ้านต้องการ ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ทีเ่ ป็นเรือ่ งจริงจังของผูอ้ ยูอ่ าศัยยังนำ�มา
สู่การพัฒนาโปรเจ็กต์ที่ให้ลูกบ้านได้ออกแบบพื้นที่ส่วนกลางภายในโครงการ ด้วยตัวเอง เรียกว่า Design Your Own Neighbourhood โดยทุกชุดข้อมูลจะ กลายเป็น Big Data ซึง่ มีความสำ�คัญและจะถูกนำ�ไปใช้จริง” คุณจูลยังเตรียม ที่จะปรับภูมิทัศน์ของร้านรถเข็นสตรีทฟู้ดรอบโครงการ ซึ่งถือเป็นอู่ข้าวอู่นํ้า สำ�คัญของทั้งคนทำ�งานในขณะนี้และลูกบ้านในอนาคตให้สวยงามน่ามอง ด้วยการนำ�โมเดลแบบถอดประกอบทีผ่ ลิตจากวัสดุไม่ท�ำ ลายสิง่ แวดล้อมมา ใช้งาน “จูลคิดว่าถ้าโครงการนีส้ �ำ เร็จไปด้วยดี เราจะส่งต่อโมเดลนีไ้ ปปรับใช้ กับพื้นที่ตลาดนัดอื่นๆ ได้ทั่วเมือง” ด้ า นอาจารย์ ฉุ น -ดร.ชำ � นาญ ติ ร ภาส อาจารย์ ป ระจำ � คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ มจธ. ผูบ้ ริหาร REDEK หัวหน้า โครงการวิจัยจากภาคการศึกษา ได้กล่าวถึงการข้ามฟากมาทำ�งานร่วมกับ ภาคเอกชนอย่างจริงจังในครั้งนี้ว่า “ผมมองว่าเราต้องมีส่วนบริการทาง การศึกษาทีใ่ ห้เอกชนเข้ามาต่อยอดนำ�ความรูไ้ ปทำ�ได้ ไม่ใช่ให้งานวิจยั อยูแ่ ค่ บนหิ้ง เพราะโจทย์ที่เราทำ�งานมันคือโจทย์จริง ได้เจอคนที่อยู่จริงๆ และ มาจากพื้นฐานของข้อมูลความเป็นจริงมากๆ ไม่ได้เกิดจากสมมติฐาน อย่างเดียว ผมเชื่อว่าข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้มีความ Inclusive (แนวคิด การออกแบบเพื่อทุกคน) มีทฤษฎีและกระบวนการวิจัยมารองรับชัดเจน ฉะนัน้ นีค่ อื สิง่ ทีผ่ อู้ ยูอ่ าศัยต้องการแน่ๆ ยิง่ การที่ SC Asset มีเป้าหมายชัดเจน ว่าต้องการนำ�ผลวิจัยไปทำ�งานต่อยังไง เราจะเห็นภาพการทำ�งานที่ต่างไป จากเดิม แล้วยังสร้างอิมแพ็กเชิงบวกให้กบั ชุมชนและย่านได้ทนั ที” ไม่วา่ โครงการวิจยั นีจ้ ะถูกต่อยอดและสำ�เร็จออกมาเป็นอย่างไร แต่ใน ฐานะผูอ้ ยูอ่ าศัยก็มน่ั ใจได้วา่ ผูท้ ม่ี สี ว่ นสำ�คัญในการสร้างนิเวศความเป็นอยูท่ ด่ี ี อย่างดิเวลอปเปอร์ และภาคการศึกษาที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตเพื่อยกระดับ คุณภาพชีวิตของคนและเมือง ต่างเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของความยั่งยืนที่ สร้างได้ จากการทำ�ความเข้าใจอันอยูบ่ นพืน้ ฐานความต้องการทีเ่ ป็นจริง
CREATIVE THAILAND I 34
Free eBook โดย TCDC “เจาะเทรนดโลก 2019” อัพเดตความรูใหทันความตองการตลาดโลกกอนใคร กับบทสรุปเทรนดแหงปจากหนังสือชั้นนํากวา 20 เลม อาทิ Carlin, Nelly Rodi, Pantone, Viewpoint