พฤศจิกายน 2563 ปีที่ 12 I ฉบับที่ 2
Photo by Fas Khan on Unsplash
“WHILE WE READ HISTORY WE MAKE HISTORY.” ขณะที่เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ก็ถูกสร้างไปพร้อมกัน George Bernard Shaw
นักเขียนบทละคร วรรณกรรม และนักวิจารณ์ชาวไอริช
Contents : สารบัญ
Creative Update _ นัง่ ไทม์แมชชีนไปกับรายการทำ�อาหารย้อนยุค / นัดจดหมายเหตุ ผูร้ กั ษาประตูแห่งอดีต / ถอดรหัสภาษาโบราณด้วย AI Creative Resource _ Featured Book / Virtual Culture Guide / Book MDIC _ เปิดที่มาสุดแปลกของสีในประวัติศาสตร์ Creative District _ ร้านสุดท้าย Cover Story _ Why History Matters เพราะประวัติศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้ Fact and Fig ure _ “ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ� ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน” ว่าด้วยประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลง Creative Business _ GroundControl ประวัติศาสตร์ศิลปะเป็นเรื่องสนุก ใกล้ตัว และควรถอดบทเรียน How To _ เก็บและใช้ เทคนิคบันทึกข้อมูลให้เป็นประวัติศาสตร์ในอนาคต Creative Place _ EGYPT: The Great Return of the Clash The Creative _ อาละวาดประวัติศาสตร์แบบฉบับ “วาสนา วงศ์สุรวัฒน์” Creative Solution _ ใครใครก็บันทึกประวัติศาสตร์ได้
บรรณาธิการทีป่ รึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l มนฑิณี ยงวิกลุ ทีป่ รึกษา l เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l พิพัฒน์พงศ์ จิตพยัค, ภาชินี เหลืองเพิ่มสกุล และ ฐนกร พินธุวัฒน์ เลขากองบรรณาธิการ l ณัฐชา ตะวันนาโชติ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l วนบุษป์ ยุพเกษตร เว็บไซต์ l นพกร คนไว
จัดทำ�โดย l สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 ติดต่อลงโฆษณา : Commu.Dept@tcdc.or.th จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) (CEA) ซึ่งมีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย แสดงที ่มา-ไมใTHAILAND ชเพื่อการคา-อนุI ญ4าตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย CREATIVE
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
HISTORY IS THE PRESENT วิชาประวัตศิ าสตร์ในความทรงจำ�ของใครหลายคนอาจจะเหมือนกับการดูหนัง สักเรื่องที่เราเป็นเพียงผู้ชม แต่ในคลาสเรียนประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยของ อเมริกาของเดวิด เอ. มอสส์ (David A. Moss) อาจารย์สอนประวัติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เขาต้องการให้นักเรียนเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์ ในอดี ต ที่ ส่ ง ผลมายั ง ปั จ จุ บั น ด้ ว ยการตั้ ง คำ � ถามกั บ นั ก ศึ ก ษาในห้ อ งว่ า “หากคุณเป็นเจมส์ เมดิสัน (James Madison) ผู้ร่างรัฐธรรมนูญต้นฉบับของ สหรัฐอเมริกา ที่กำ�ลังอยู่ในสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในปี 1787 และกำ�ลัง ถกเถียงกันว่ารัฐบาลกลางควรจะมีอำ�นาจในการจัดการมลรัฐอย่างไร ภายใต้ สถานการณ์ที่รัฐบาลกลางมีหนี้สินและต้องจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ� หลังเสร็จสิน้ จากสงครามปฏิวตั อิ เมริกา คุณจะเขียนอะไรลงไปในรัฐธรรมนูญ” วิธีการของมอสส์นี้เรียกว่า Case Method ที่เขาหยิบยืมมาจากห้องเรียน เอ็มบีเอที่ใช้กรณีศึกษาเป็นสื่อหลักในการสอน ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงทำ�ให้วิชา เรียนประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยข้อมูลและลำ�ดับช่วงเวลาเป็นสิ่งที่น่าสนุกและ เข้าถึงง่ายแล้ว แต่การดึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาเป็นบทเรียนนั้น ยังทำ�ให้นักเรียนได้ฝึกฝนการค้นหาข้อมูล การถกเถียงกันในกลุ่มเล็กและ กลุม่ ใหญ่ในห้องเรียนทีม่ ผี คู้ นหลากหลาย เพือ่ การตัดสินใจและทำ�ความเข้าใจ ถึงผลลัพธ์ที่ตามมา โดยเป็นกระบวนการสำ�คัญที่จะช่วยเติมทักษะด้าน การวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหา และการตัดสินใจที่สามารถนำ�ไปปรับใช้ได้ ในทุกเรื่อง อันเป็นทักษะสำ�คัญในอนาคต ความพยายามของมอสส์เป็นเพียงส่วนหนึง่ ของแนวร่วมแห่งความต้องการ ทำ�ให้วิชาประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาเพื่อทำ�ความเข้าใจอดีตและก้าวไปสู่ อนาคตที่ดีกว่าอย่างแท้จริง การตั้งคำ�ถาม การถกเถียง และการตีความจาก
มุมมองที่หลากหลาย เพื่อไม่ให้เนื้อหาทางประวัติศาสตร์เกิดอาการหยุดนิ่ง อยู่กับเรื่องเล่าของผู้บันทึก ที่อาจจะบันทึกด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันตาม ห้วงเวลาและบริบท นับเป็นกลไกสำ�คัญในการนำ�ประวัติศาสตร์มาใช้ให้เกิด ประโยชน์ที่ไม่ได้จำ�กัดอยู่แค่แวดวงการศึกษา เพราะในบางสังคมที่เปิดกว้าง ให้คนได้เข้าถึงและสามารถหยิบเอาประวัติศาสตร์มาใช้ได้ในความหมายที่ แตกต่างออกไปจากเรือ่ งตัง้ ต้น มักปรากฏให้เห็นผลงานสร้างสรรค์จ�ำ นวนมาก อาทิ งานศิลปะ แฟชั่น งานออกแบบ งานเขียน และภาพยนตร์ การเล่าเรื่อง เพื่อสร้างแบรนด์สินค้าและเมือง ที่สามารถสร้างมูลค่าใหม่ให้เกิดขึ้นได้ตาม ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม การสร้างความเป็นไปได้ใหม่จากแนวคิดในอดีต คงต้อง เริ่มจากการทำ�ให้ประวัติศาสตร์ไม่พึ่งพามุมมองการบันทึกหรือการถ่ายทอด ของคนใดคนหนึ่ง เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นเฮโรโดตัส (Herodotus) ที่ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์จากยุคกรีก ในการบุกเบิกเส้นทาง การบันทึกประวัติศาสตร์แบบพรรณนาให้เห็นภาพและความรู้สึก รวมถึงเกร็ด ความรู้ต่าง ๆ ของเขา ก็ยังถูกเคลือบแคลงถึงความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งอาจ จะถูกบ้างผิดบ้างบนข้อจำ�กัดในการเก็บข้อมูลจากการสังเกตและฟังจาก เรื่องเล่ารอบตัวในยุคนั้น แต่เพราะการเปิดให้มีความสงสัย สืบค้นได้ และ ยอมรับความจริงนี่เอง จึงทำ�ให้รากฐานของการเข้าถึงประวัติศาสตร์ในสังคม ตะวันตกมีความรุดหน้า ทัง้ ในเชิงกระบวนการค้นหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ การศึ ก ษาในเชิ ง พฤติ ก รรม การตี ค วามที่ ห ลากหลายแง่ มุ ม และทำ � ให้ “ประวัตศิ าสตร์” เคลือ่ นไปเป็นปัจจุบนั และพร้อมทีจ่ ะเป็นฐานแห่งอนาคต ไม่ใช่ บันทึกเก่าเก็บที่รอวันถูกลืมและเสื่อมสลาย มนฑิณี ยงวิกุล บรรณาธิการอำ�นวยการ
ดูวิดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ของ David A. Moss ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=hKjdbB-VqcE CREATIVE THAILAND I 5
Creative Update : คิดทันโลก
นั่งไทม์แมทชีนไปกับ รายการทำ�อาหารย้อนยุค เรื่อง : นพกร คนไว อาหารของผู้ ค นใน 13 อาณานิ ค มอั ง กฤษ (Thirteen Colonies) ของอเมริกา ซึง่ กลายมาเป็น 13 รัฐแรกของสหรัฐฯ ระหว่างศตวรรษที่ 17-18 เป็นอย่างไร แปลกขนาดไหน ต่างจากอาหารใน ปัจจุบนั หรือไม่ โจนาธาน ทาวน์เซนด์ (Jonathan Townsend) กับแชนแนล Townsends ในยูทูบ จะพาเราย้ อ นไปสู่ ป ระเทศสหรั ฐ อเมริ ก าใน ช่วงเวลานัน้ ๆ พร้อมถอดสูตรจากตำ�ราทำ�อาหาร โบราณอย่ า ง The Professed Cook หรื อ American Cookery ผ่านรายการทำ�อาหาร สุดเนิร์ดให้เราได้ชมกัน อาหารบางชนิดแม้เราอาจคุ้นเคยดีแต่ก็ นึกภาพไม่ออกว่า จะผสมกันได้อย่างไร เช่น กาแฟไข่ (Coffee Eggs) จากตำ�ราอาหารปี 1769 ที่ไม่ได้แยกกันกิน แต่นำ�กาแฟที่ชงแล้วมาตี พร้อมกับไข่แดงดิบ ผสมน้ำ�ตาลมากน้อยตาม ต้องการ เทใส่แม่พิมพ์หรือถ้วยอบขนมแล้วนำ� ไปอบ ซึง่ โจนาธานเองก็เดาไม่ออกว่าจะมีรสชาติ อย่างไร แถมไม่รู้ว่ามันคืออาหารจากหลักหรือ ของหวานกันแน่ แต่เมื่อชิมแล้ว เขาก็บอกว่า ไม่ได้แย่ พร้อมบรรยายรสชาติและสัมผัสของ อาหารให้เราได้จินตนาการกันต่อได้ดี หรือเมนู ยอดฮิตทุกยุคทุกสมัยอย่างไก่ทอด ที่ใครจะรู้ บ้างว่าสูตรไก่ทอดในปี 1736 แตกต่างจากที่เรา กินในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง โจนาธานยังพาเราไปรู้จักสูตรอาหารของ แขกรับเชิญทีเ่ ชีย่ วชาญทางประวัตศิ าสตร์อาหาร
เฉพาะด้าน นอกเหนือไปจากตำ�ราอาหารที่หยิบ มาใช้ เช่น อาหารของชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ที่ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงของการเป็นทาส นอกจาก อาหารแล้ว เขายังได้ลองทำ�เครือ่ งดืม่ อย่าง “เบียร์ สพรูซ” (Spruce Beer) ทีเ่ ป็นเสบียงบำ�รุงร่างกาย ของกองทั พ ฝ่ า ยอาณานิ ค ม โดยการไปเก็ บ ต้นสนสพรูซกันถึงในป่า และตั้งแคมป์ก่อไฟ ต้มเบียร์กันเลยทีเดียว ช่อง Townsends ยังมีจำ�ลองการสร้าง กระท่อมเพื่ออยู่อาศัยจากบันทึกของเบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin) ที่โจนาธานและ ทีมงานลงทุนก่อสร้างตามแบบที่บันทึกไว้โดย ไม่ใช้เครือ่ งมือสมัยใหม่เข้าช่วยเลย ตัง้ แต่การตัดไม้ วางโครงสร้างของบ้าน สร้างเตาผิงและปล่องไฟ และแม้แต่การทำ�อาหาร ทีมงานก็ยังเลือกที่จะ ก่อไฟทำ�กันแบบโบราณ ความสนุกของรายการจึงไม่ใช่เพียงการ จำ�ลองวิถชี วี ติ ของคนในสมัยก่อนมาให้เห็น แต่มี ทั้งการเนรมิตเครื่องครัวแบบเก่าที่ก็ไม่ได้ไปเอา มาจากไหน แต่เป็นสินค้าของ Jas. Townsend & Son Inc. บริษัทของครอบครัวซึ่งสืบทอดมา จากพ่อผูม้ อี าชีพขายสินค้าและหนังสือทำ�อาหาร ช่วงอาณานิคมอเมริกาโดยเฉพาะนัน่ เอง นอกจากนี้ โจนาธานยังสวมใส่เครื่องแต่งกายแบบย้อนยุค ดำ�เนินรายการอย่างเป็นกันเอง และสอดแทรก เกร็ดทางประวัตศิ าสตร์ไว้ตลอดรายการ จนทำ�ให้ ผู้ชมรู้สึกเสมือนได้กลับไปสู่ศตวรรษที่ 18 อย่าง แท้จริง...ใครทีเ่ บือ่ ตำ�ราอาหารยุคใหม่หรือเครือ่ งครัว ล้ำ�สมัย จะลองเปลี่ยนบรรยากาศมาทำ�อาหาร ในประวัติศาสตร์ตามอย่างที่ช่อง Townsends นำ�เสนอบ้างก็น่าจะดีไม่น้อยทีเดียว
ที่มา : บทความ “Bringing the 18th Century into the 21st Century: Family-run Colonial goods business finds YouTube fame with its historic cookery tutorials of treats -including eel and corn succotash” (12 กันยายน 2017) โดย Jordan Gass-Poore และ Ann Schmidt จาก dailymail.co.uk และ youtube.com/jastownsendandson CREATIVE THAILAND I 6
เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร “มีเรือ่ งมากมายที่ตอ้ งอ่าน แต่มเี วลาเพียงนิดเดียว…” ชี วิ ต คนเรามี เ รื่ อ งสำ � คั ญ ทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ จำ�เป็นต้องเรียนรูเ้ ต็มไปหมด นอกเหนือจากทีไ่ ด้ ร่�ำ เรียนกันในชัน้ เรียน เราจึงต้องมีผู้ช่วยที่จะคอย จัดเก็บ จัดการ และเผยแพร่ข้อมูลมหาศาลจาก อดีต ให้ยงั คงอยูใ่ นระยะยาว หรือที่เราเรียกกันว่า นักจดหมายเหตุ นักจดหมายเหตุหรือที่เรียกกันว่า อาร์ไควิสต์ (Archivist) เปรียบเหมือนผู้รักษาประตูข้อมูล (Gatekeeper) ที่ จ ะเลื อ กและคั ด สรรว่ า ประวัติศาสตร์เรื่องใดที่ประชาชนจำ�เป็นต้องรู้ และเรื่องใดที่ไม่จำ�เป็น นักจดหมายเหตุมีหน้าที่ อยู่ 2 ประการ คือดูแลให้ต้นฉบับปลอดภัย และ
th.wikipedia.org
YouTube : Townsends
นักจดหมายเหตุ ผู้รักษาประตูแห่งอดีต
ที่มา : บทความ “Who Are Tomorrow’s Gatekeepers?” (มีนาคม 2563) โดย Kurt Yalcin จาก medium.com / archivists.org.au / วิดีโอ “Why Archives Matter” จาก scottisharchives.org.uk / ica.org
ถอดรหัสภาษาโบราณ ด้วย AI เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ รู้หรือไม่ว่า ภาษาส่วนใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นตลอด ประวัติศาสตร์มนุษย์เป็นภาษาที่ตายแล้ว ปัจจุบันภาษาที่ใช้กันอยู่ทั่วโลกนั้นมีราว 7,000 ภาษา ซึ่งนับเป็นจำ�นวนไม่ถึงครึ่งของ ภาษาทัง้ หมดทีเ่ คยเกิดขึน้ มาตลอดประวัตศิ าสตร์ ของมนุษยชาติ ภาษาที่ตายไปนั้น ส่วนมากมัก สูญหายไปตามเวลา เนื่องจากคนรุ่นหลังไม่มี ข้อมูลเกีย่ วกับตัวอักษร โครงสร้างไวยากรณ์ หรือ คำ�ศัพท์มากพอที่จะย้อนกลับไป “ถอดรหัส” ภาษาเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง และเมื่อภาษานั้น ไม่ ส ามารถถู ก ศึ ก ษาและทำ � ความเข้ า ใจได้ ผลกระทบจึงไม่ใช่แค่การหายไปของภาษาเท่านัน้ แต่องค์ความรูท้ ง้ั หมดเกีย่ วกับผูค้ นและวัฒนธรรม ของผู้ใช้ภาษานั้น ๆ ก็จะสูญหายตามไปด้วย โดยทั่วไปการศึกษาภาษาโบราณจะอาศัย การวิ เ คราะห์ จ ากหลั ก ฐานลายลั ก ษณ์ อั ก ษร ประเภทต่าง ๆ เพือ่ ดูวา่ มีความสัมพันธ์ใกล้เคียง กับภาษาอะไร ซึง่ อาจจะเป็นภาษาทีใ่ ช้ในปัจจุบนั หรือภาษาโบราณทีเ่ คยได้รบั การถอดรหัสแล้วก็ได้ แต่ความยากนั้นจะมาพร้อมกับความเก่าแก่และ ไม่ ส มบู ร ณ์ ข องหลั ก ฐานที่ เ สื่ อ มสลายไปตาม กาลเวลา อีกทั้งยังเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ ความเชี่ยวชาญและความละเอียดสูงมาก ทำ�ให้ ในปัจจุบนั เริม่ มีการนำ�ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ เทคนิค Machine Learning1 มาใช้ในกระบวนการ ศึกษาทางประวัติศาสตร์มากขึ้น เพื่อช่วยให้ กระบวนการค้นคว้าต่าง ๆ ใช้ระยะเวลาน้อยลง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ที ม นั ก วิ ท ยาศาสตร์ ค อมพิ ว เตอร์ จ าก DeepMind ร่วมกับมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พัฒนา AI ชื่อว่า “Pythia” (ไพเธีย : เทพยากร แห่งวิหารเดลฟีตามตำ�นานกรีก) ด้วยการฝึกฝน อัลกอริทมึ ให้จดจำ�คำ�ต่าง ๆ เพือ่ นำ�มาวิเคราะห์ และทำ � นายคำ � ที่ ห ายไปจากจารึ ก ภาษากรี ก โบราณที่เสียหาย ซึ่งพบข้อผิดพลาดเพียง 30.1% เทียบกับมนุษย์ที่พบข้อผิดพลาดถึง 57.3% ในขณะเดียวกันทีมวิจยั จากสถาบันเทคโนโลยี แมสซาชูเซตส์ (MIT) และทีมจากวิจัย AI จาก กูเกิล ก็ได้ลองนำ�เทคนิค Machine Learning มา ใช้แปลภาษา Linear B บนศิลาจารึก ซึง่ เป็นอักษร โบราณที่พบบริเวณประเทศกรีซราว 1,400 ปี CREATIVE THAILAND I 7
ก่ อ นคริ ส ตกาล โดยเป็ น การแปลภาษาแบบ อัตโนมัติ เทียบเคียงกับภาษากรีกโบราณที่มี ความใกล้เคียงกันเป็นครั้งแรก ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ที่ มีความแม่นยำ�ถึง 67.3% และมีแนวโน้มที่จะ พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกหนึ่งนวัตกรรมจากทีมวิจยั MIT คือการ พัฒนา AI เพื่อถอดความหมายของภาษาแบบ ไม่ต้องพึ่งพาการเทียบเคียงกับภาษาอื่น ซึ่งจะ ช่วยให้เราทำ�ความเข้าใจภาษาโบราณได้โดย ไม่จำ�เป็นต้องรู้มาก่อนว่าอักษรนั้นเกี่ยวข้องหรือ ใกล้เคียงกับภาษาอะไร แต่ AI จะเข้ามาแปล ภาษาโดยใช้ อ งค์ ค วามรู้ ท างภาษาศาตร์ แ ละ ประวัตศิ าสตร์ พร้อมทัง้ ระบุได้ดว้ ยว่า ภาษานัน้ อยู่ ใ นตระกู ล ภาษาใด และหากทำ � สําเร็ จ ก็ หมายความว่า เราจะสามารถทำ�ความเข้าใจภาษา ได้เกือบทุกภาษาบนโลก ซึ่งทางทีมพัฒนาคาดว่า จะใช้คำ�ตั้งต้นเพียงหนึ่งพันคำ�ในการถอดรหัส นวั ต กรรมเหล่ า นี้ กำ � ลั ง เข้ า มาพลิ ก ฟื้ น องค์ ค วามรู้ ท่ี ต ายแล้ ว ทางประวั ติ ศ าสตร์ ใ ห้ กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และยิ่ง AI ได้รับการฝึกฝน และพั ฒ นาไปมากเท่ า ไร เราก็ จ ะได้ ข้ อ มู ล ที่แม่นยำ�มากขึ้นเท่านั้น อันจะเป็นตัวช่วยสำ�คัญ ในการขยายขี ด จำ � กั ด ทางความรู้ เติ ม เต็ ม ช่วงเวลาที่เคยหล่นหายไปในประวัติศาสตร์ และ ทำ�ให้เราเข้าใจอดีตและการเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ ได้ มากยิ่งขึ้น 1 Machine
Learning เป็น กระบวรการทำ�ให้ระบบ คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยใช้ข้อมูล ที่มา : บทความ “Machine learning has been used to automatically translate long-lost languages” จาก technologyreview.com / บทความ “MIT Using Artificial Intelligence to Translate Ancient ‘Dead’ Languages” จาก scitechdaily.com / บทความ “Restoring ancient text using deep learning: a case study on Greek epigraphy” โดย Yannis Assael, Thea Sommerschield และ Jonathan Prag จาก deepmind.com / ethnologue.com
wikipedia.org
คงลำ�ดับแบบดั้งเดิม ตัวอย่างจดหมายเหตุที่ คุ้นหูกันดีมาแต่สมัยเรียน ก็เช่นจดหมายเหตุ ลาลูแบร์ (Du Royaume de Siam) ที่บันทึก เล่าเรื่องราวเมืองสยามไว้อย่างครอบคลุมจาก สายตาของชาวต่างชาติอย่าง ซิมง เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตจากฝรั่งเศสที่เดินทางมาเยือน ประเทศสยามในสมัยพระนารายณ์มหาราช สังคมทีเ่ ป็นอยูท่ กุ วันนีล้ ว้ นใช้ประโยชน์จาก จดหมายเหตุ ทั้ ง สิ้ น ไม่ ว่ า จะเป็ น การใช้ เ พื่ อ สนับสนุนการศึกษาและงานวิจัย เอื้อประโยชน์ ให้การพักผ่อนหย่อนใจหรือความบันเทิงในแง่ตา่ ง ๆ ไปจนถึงการปกป้องสิทธิมนุษยชนและการยืนยัน ตัวตน ฉะนั้นจึงเป็นข้อมูลสำ�คัญที่ห้ามลบทิ้ง โดยเด็ดขาด หากสูญเสียข้อมูลไปแล้วก็ไม่อาจ กู้คืนกลับมาได้อีก การดูแลรักษาและเปิดข้อมูล ให้ประชาชนเข้าถึงโดยทัว่ กันจึงเป็นหน้าทีส่ �ำ คัญ ของการจัดเก็บข้อมูลเพือ่ ประโยชน์ของมนุษยชาติ โดยแท้ “เราไม่รู้ว่าเราสามารถช่วยให้ชีวิตคนดีขึ้น ได้หรือเปล่า แต่เราสามารถจัดหาทักษะและ เครื่องมือที่พวกเขาต้องการ เพื่อสะท้อนชีวิตใน ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ได้” ดร. เอมิลี มุนโร (Dr. Emily Munro) เจ้าหน้าที่การเรียนรู้และ เผยแพร่จดหมายเหตุรูปแบบภาพเคลื่อนไหว ประจำ�หอสมุดแห่งชาติแห่งสก็อตแลนด์กล่าว เพราะคำ�ว่าจดหมายเหตุไม่จำ�กัดเฉพาะว่าต้อง เป็นหลักฐานในรูปแบบงานเขียนเท่านั้น แต่ยัง รวมถึงภาพถ่าย ไฟล์เสียง ภาพยนตร์ และสื่อ ดิจิทัลทั้งหลายอีกด้วย แม้ ว่ า ข้ อ มู ล ในปั จ จุ บั น จะทวี คู ณ เหมื อ น ระดับน้�ำ ทะเลทีส่ งู ขึน้ ซึง่ แน่นอนว่าในมหาสมุทร ข้อมูลนั้น ย่อมมีข้อมูลที่อาจจะผิดพลาดเป็น ส่วนผสมอยู่ นอกจากที่บรรดานักจดหมายเหตุ จะทำ�หน้าที่ผู้รักษาประตูแห่งอดีตในการช่วย คัดกรองข้อมูลให้มีคุณภาพแล้ว ก็ยังขึ้นอยู่กับ ตั ว เราด้ ว ยว่ า จะสามารถใช้ วิ จ ารณญาณใน การสืบค้นและต่อยอดข้อมูลที่ได้เรียนรู้มาได้ดี มากน้อยขนาดไหน
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง : พิพัฒน์พงศ์ จิตพยัค, ภาชินี เหลืองเพิ่มสกุล และ ฐนกร พินธุวัฒน์
F EAT U RED BOOK ออกนอกขนบประวัติศาสตร์ไทย โดย ธงชัย วินิจจะกูล ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องน่าประหลาดที่ทรงอำ�นาจเหนือผู้คน หลายคนอาจมองเป็นเรื่องน่าเบื่อในการพูดสิ่งซ้ำ� ๆ และหลายครั้งที่เรื่องราวในประวัติศาสตร์ สามารถสร้างอารมณ์รว่ ม ทำ�ให้เรารูส้ กึ ภาคภูมใิ จ รักชอบ หรือเกลียดชัง แต่หากลองทำ�ความเข้าใจให้ดี แท้จริงแล้วประวัตศิ าตร์อาจไม่ได้หมายถึงการมองย้อน กลับไปที่อดีตเพียงอย่างเดียว แต่กลับเป็นการศึกษาเพื่ออธิบาย “ความเปลี่ยนแปลง” ที่ทุกคนสามารถมีจุดร่วม หรือแม้กระทั่งมุมมองที่แตกต่างในเรื่อง เดียวกัน ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์ที่รื้อขนบควรเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่มีประโยชน์ ในแง่ที่ว่าไม่สามารถจะเอาไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใด ทั้งสิ้น ประโยชน์ที่พึงมีอย่างเดียวคือเป็นประโยชน์ต่อการเติบโตของเซลล์สมองที่คิดและสงสัยไม่หยุดหย่อน” หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เข้าใจความหมายที่แท้จริงของการศึกษาประวัติศาสตร์ และจะพาความคิดเราออกนอกกรอบขนบเดิม เพื่อค้นพบแง่มุมใหม่ ๆ ที่ชวนให้ฉุกคิดและเกิดการตั้งคำ�ถาม ประเด็นสำ�คัญคือ ประวัติศาสตร์อาจไม่ได้หมายถึง “ความจริง” หากแต่เป็น “อุดมการณ์” หรือ “ความเชื่อ” ซึ่ง การยึดถือประวัติศาสตร์จากแหล่งที่มาของความเชื่อเดียว จึงไม่อาจสรุปได้ว่าเรื่องราวเหล่านั้นเป็นความจริงทั้งหมด และต้องระวังไม่ให้ประวัติศาสตร์ ฉบับใดฉบับหนึ่งมีอำ�นาจมากเกินไป แต่ควรต้องเปิดโอกาสให้เกิดการวิเคราะห์และถกเถียงกันในมิติประเด็นต่าง ๆ เพื่อที่จะเข้าใจเรื่องเดิมในมิติใหม่ ๆ เกิดเป็นการเล่าเรื่องใหม่ ๆ หรือแม้แต่เกิดความรู้ชุดใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น ประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่ความจริงเพียงหนึ่งเดียว แต่ยังมีความเหมือนและต่างกันออกไป แค่ปรับจุดเริ่มต้นและจุดจบของเรื่องนั้น ๆ ภาพจดจำ�ของ ประวัติศาสตร์ก็อาจเปลี่ยนไปได้ CREATIVE THAILAND I 8
VIRT UA L CU LT U RE GUIDE WGSN จะดีไหมถ้าเราสามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ได้โดยไม่ต้องเดินทางไปถึง สถานที่จริง…หลายคนคงรู้สึกเบื่อหน่ายที่ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทีส่ ง่ ผลให้พพิ ธิ ภัณฑ์หลายเเห่งปิดให้บริการ เเต่ขณะเดียวกันพิพิธภัณฑ์หลายแห่งก็ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้เข้าชม ผ่านการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่าง VR (Virtual Reality) ที่ช่วยให้ผู้ชมรู้สึก เสมือนกำ�ลังได้เดินเข้าไปเยีย่ มชมในพิพธิ ภัณฑ์จริง ๆ เพือ่ เรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์ และชื่นชมผลงานศิลปะได้อย่างสะดวกรวดเร็วเพียงปลายนิ้วไม่ว่าจะอยู่ที่ มุมใดของโลก ลองเข้าไปเปิดโลกแห่งประวัติศาสตร์กันได้กับหลากหลาย พิพิธภัณฑ์ทั้งโซนอเมริกาอย่าง Frank Lloyd Wright วิสคอนซิน โซนยุโรป ที่พิพิธภัณฑ์ The Kremer Museum เเละพิพิธภัณฑ์โซนเอเชียอย่าง Fergus McCaffrey Gallery ในโตเกียว
BOOK Why Learn History (When It’s Already on Your Phone) โดย Sam Wineburg ถ้าพูดถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ในยุคที่ทุกคนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อย่างแพร่หลาย ก็อาจไม่ใช่เรื่องยากที่ทุกคน จะสามารถค้นหาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เข้าถึงง่ายจากโทรศัพท์มือถือ แต่แล้วทำ�ไมเรา ถึงยังต้องเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากหนังสือและอีกหลายแหล่งความรู้อยู่อีก...หนังสือเล่มนี้อาจให้คำ�ตอบได้ เพราะ ผู้เขียนบอกเล่าถึงการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ว่า ควรสอนให้นักเรียนคิดเช่นเดียวกับนักประวัติศาสตร์ เพราะการสอนประวัติศาสตร์แบบเดิมที่ถูกสอนกันมาหลายทศวรรษที่มักเน้นให้นักเรียนจดจำ�และนำ�ไปตอบ ในข้อสอบ อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับการเปลี่ยนให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ และสรุปข้อเท็จจริงของข้อมูล ประวัติศาสตร์จากหลายแหล่งข้อมูล ที่ไม่ใช่จากเพียงในห้องเรียน หรือจากผู้สอนที่เชื่อว่าสิ่งที่เรียนรู้มาจากอดีต เป็นเรื่องที่ถูกต้องที่สุดเท่านั้น Homo Deus: A Brief History of Tomorrow โดย Yuval Noah Harari อนาคตของมนุษยชาติที่ผ่านการศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์โฮโมเซเปียนที่พัฒนาตนเอง ขึ้นจากการเป็น “สัตว์” อันไร้ซึ่งความสำ�คัญใด ๆ มาเป็น “เทพเจ้า” ผู้กำ�หนดชะตาชีวิตของทุกสรรพสิ่ง แต่ใน ศตวรรษที่ 21 สิ่งเหล่านี้กำ�ลังจะถูกแทนที่ด้วยความก้าวหน้าของสองสิ่ง คือ Data หรือข้อมูลที่ทำ�ให้มนุษย์นำ�ไป ใช้ต่อยอดให้เกิด Machine Learning ที่ชาญฉลาดมากจนกลายเป็น AI ที่ฉลาดล้ำ�เกินมนุษย์ได้ และเมื่ออัลกอริทึม กลายเป็นแก่นของทุกสิ่ง จากเดิมที่อยู่แค่ในอุปกรณ์หรือโปรแกรมต่าง ๆ ความเชื่อที่ว่ามนุษย์นั้นมีเจตจำ�นงเสรี ต่างจากสิ่งมีชีวิตอื่น แท้จริงอาจเป็นเพียงขั้นตอนทางเคมีในสมองที่มีลำ�ดับขั้นที่ชัดเจนเสมือนอัลกอริทึมเช่นกัน เมื่อมนุษย์สามารถถอดรหัสอัลกอริทึมของเคมีในสมองนี้ได้ เมื่อนั้นเราก็จะสามารถชี้นำ�และชักจูงมนุษย์ได้ง่าย อย่างไม่น่าเชื่อ และอาจเปลี่ยนแปลงศาสตร์ที่เรียกว่าจิตวิทยา ไปสู่ศาสตร์แห่งการใช้อัลกอริทึมในชีวิตจริง พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
เปิดที่มาสุดแปลก ของสีในประวัติศ าสตร์ เรื่อง : มนต์นภา ลัภนพรวงศ์
ตัง้ แต่อดีตจนถึงปัจจุบนั มนุษย์มกั เลือกใช้ “สี” ในการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพื่อบ่งบอกถึงความเป็นตัวตน ฐานะ ความรู้สึก รวมถึงยังแฝงความหมาย ผ่านกลไกการสือ่ สารได้อย่างน่าอัศจรรย์ แม้ทกุ วันนีเ้ ทคโนโลยีจะช่วยให้เรา เลือกใช้เฉดสีต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าย้อนกลับไปหลายร้อยปีก่อน กว่าจะหาสีทเ่ี ฉพาะเจาะจงหนึง่ สีได้นน้ั อาจต้องเดินทางข้ามทวีปเพือ่ ตามหา แหล่งสีจากธรรมชาติที่ตรงเฉดกันทีเดียว นารายัน กานดีการ์ (Narayan Khandekar) นักวิทยาศาสตร์ดา้ นการอนุรกั ษ์ อาวุโส ผูด้ แู ล Forbes Pigment Collection ภายในพิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะฮาร์วาร์ด (Harvard Art Museums) สหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมข้อมูลสารสี (Pigment) จากทั่วทั้งโลกกว่า 2,700 ชนิด พร้อมอธิบายถึงการนำ�กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ในการแยกแยะองค์ประกอบทางเคมีของสารสีได้อย่างละเอียดด้วย เทคนิค Raman Spectroscopy, Mass Spectrometry, Gas Chromatography และ Electron Microscopy เพื่อศึกษาวิจัยถึงประวัติความเป็นมาของสารสี ในการอนุรักษ์งานศิลปะอันทรงคุณค่า รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นใน ยุคนั้น ๆ และนี่คือเรื่องราวอันน่าเหลือเชื่อเบื้องหลังสีหายากที่น่ารู้
harvardartmuseums.org
สีเหลืองจากฉี่วัว บันทึกจากปี 1883 เล่าไว้ว่า ที่หมู่บ้านมีรซาปุระ ในรัฐพิหารของอินเดีย เลีย้ งวัวโดยให้กนิ ใบมะม่วงเป็นอาหาร แล้วเก็บฉีว่ วั สีเหลืองสดมาทำ�เป็นสียอ้ ม โดยได้แปรรูปเป็นก้อนทรงกลมขนาดเท่าลูกกอล์ฟเพื่อขาย แต่เมื่อปี 2001 นักประวัติศาสตร์ศิลป์ วิกตอเรีย ฟินเลย์ (Victoria Finlay) ได้เดินทางไป มีรซาปุระ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติม และพบว่าในตอนนี้ไม่มีใครในหมู่บ้าน ทำ�สีย้อมสีเหลืองจากฉี่วัวอีกแล้ว ฟินเลย์ ยังได้อธิบายไว้ในหนังสือด้วยว่า “ชาวบ้านหัวเราะจนน้ำ�ตาไหลเมื่อได้ยินวิธีการทำ�สีจากฉี่วัว”
สีน้ำ�เงินที่ราคาแพงกว่าทองคำ� สีน�้ำ เงินอัลตรามารีนเคยเป็นเครือ่ งหมายบ่งบอกสถานะทางสังคมในยุคหนึง่ เนื่องจากในศตวรรษที่ 14 และ 15 แร่น้ีต้องขุดจากเหมืองทางตะวันออก เฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน ก่อนใช้ลาแบกลงมาจากภูเขา แล้วขนส่งต่อ ทางเรือไปยังจุดหมาย ด้วยความเป็นของหายาก ทำ�ให้ราคาสูงอย่าง ไม่นา่ เชือ่ คือมีราคาแพงกว่าทองคำ� จนบางครัง้ ศิลปินต้องผสมสารเติมแต่ง เข้าไปเพือ่ ลดปริมาณการใช้อลั ตรามารีนลง แต่ในทีส่ ดุ ยุคสมัยที่อลั ตรามารีน มีมูลค่ามากกว่าทองก็สิ้นสุดลงในปี 1826 เมื่ออุตสาหกรรมสามารถ สังเคราะห์สีน้ำ�เงินนี้ขึ้นมาทดแทนได้ในที่สุด หอย 12,000 ตัวต้องสังเวยชีวติ เพือ่ สร้างสีมว่ งปริมาณ 1.4 กรัม สีมว่ งไทเรียนก็เป็นอีกสีหนึง่ ทีเ่ กิดมาพร้อมกับตำ�นาน ว่ากันว่าสีมว่ งนีถ้ กู ค้นพบ เป็ น ครั้ ง แรกเมื่ อ สุ นั ข ของวี ร บุ รุ ษ โบราณชาวกรี ก อย่ า งเฮอร์ คิ ว ลิ ส กิ น หอยสังข์หนาม (Murex Shells) บนชายหาดและวิ่งกลับไปหาเจ้านายด้วย จมูกที่เปื้อนไปด้วยสีม่วง การจะได้สีม่วงไทเรียนมา จะต้องเค้นของเหลว ที่มีลักษณะเป็นครีมข้นสีแดงออกจากตัวหอย ซึ่งจะกลายเป็นสีม่วงเมื่อโดน แสงแดด และมีราคาที่แพงอย่างน่าขนลุก เพราะต้องใช้หอยถึง 12,000 ตัว ในการผลิตสารสีนอี้ อกมาให้ได้ในปริมาณ 1.4 กรัม ในอาณาจักรโรมโบราณ เหล่าวุฒสิ มาชิกจะย้อมเสือ้ ผ้าเป็นสีมว่ งเพือ่ ถึงแสดงความมัง่ คัง่ แต่ทกุ อย่าง ก็เปลีย่ นไป เมือ่ นักเคมีสามารถสกัดสีมว่ งแบบเดียวกันได้จากน้�ำ มันถ่านหิน ด้วยต้นทุนที่ต่ำ�กว่ามากในปี 1856 สีแดงชาด...ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงของจักรวรรดิสเปน ในยุโรปยุคกลาง สีแดงเคอร์เมสนัน้ ทำ�มาจากแมลงที่อาศัยอยู่บนต้นโอ๊กเคอร์มสิ ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึง่ เป็นสีที่หาได้ยาก จึงไม่มใี ครได้ใช้สแี ดงมากนัก ในยุคนั้น แต่หลังจากประเทศสเปนค้นพบว่าชาวพื้นเมืองอย่างชาวแอซเท็ก เลีย้ งและใช้แมลงทีอ่ าศัยอยูใ่ นกระบองเพชรมาผลิตสีแดงสำ�หรับใช้ในสิง่ ทอ และในเชิงอุตสาหกรรม กระทัง่ มีการจ่ายบรรณาการแก่ผปู้ กครองจักรวรรดิ ด้วยแมลงดังกล่าวจนได้รับความนิยมแพร่หลาย โดยกลายเป็นสินค้าที่ทำ� กำ�ไรได้มากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเครื่องเงิน เนื่องจากมีการใช้สีแดง จากแมลงนีไ้ ปทัว่ โลกยกตัวอย่างเช่น สีแดงทีป่ รากฏอยูบ่ นลิปสติกหรือแม้แต่ เค้กเรดเวลเวตสีแดงสดด้วย และถึงแม้วา่ ทุกวันนีอ้ ตุ สาหกรรมจะสามารถผลิตเฉดสีขน้ึ มาได้หลากหลาย ด้วยราคาทีเ่ ป็นมิตรมากเพียงใด แต่ทว่าเทรนด์ในการใช้งานสีทผี่ ลิตขึน้ จาก ธรรมชาตินั้นกลับมีบทบาทมากขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะสีที่ได้จากสิ่งแวดล้อม ใกล้ตัวอย่างดอกไม้ ใบไม้ ราก และจากภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อลดการใช้ สารเคมีอันตราย รวมไปถึงเพื่อสรรหานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สีจะตอบโจทย์ใน การใช้งานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ที่มา : บทความ “The Crazy Stories Behind 6 Of The World’s Rarest Colors” โดย Katharine Schwab จาก fastcompany.com และบทความ “Pigment Collection Colors All Aspects of the Museums” จาก harvardartmuseums.org
CREATIVE THAILAND I 10
Creative District: ย่านความคิด
ร้านสุดท้าย
เรื่อง : ทีมงาน PORTRAIT OF CHAROENKRUNG ภาพ : รัชดาภรณ์ เหมจินดา
ท่ามกลางโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกวัน แต่ร้านรวงเก่าแก่ในย่านบางรัก เจริญกรุง ตลาดน้อย ยังคงภาพเดิมของอากง อาม่าที่ดำ�เนินธุรกิจเหมือนอย่างที่เคยเป็นมา สร้างเป็นความผูกพันกับคนในย่านที่เติบโตมาด้วยกัน รวมถึงเหล่าผู้มาเยือน ให้ตกหลุมรักแบบไม่รตู้ วั เหล่านีค้ อื ประวัตศิ าสตร์ของย่านเจริญกรุงทีส่ ง่ ต่อผ่านข้าวของชิน้ เล็กชิน้ น้อยและอาหารคาวหวาน สารพันให้แก่ผู้คนจากรุ่นสู่รุ่น
ร้านขนมเปี๊ยะเฮียบเตียง “ตำ�นานร้านขนมที่มีนิยายรักซ่อนอยู่” เมือ่ 90 ปีทแ่ี ล้ว ร้านเฮียบเตียงเริม่ ต้นขึน้ โดย บิดาของอาม่าขาง้อ แซ่อึง นักทำ�ขนมจากเมืองจีน ทีเ่ ลีย้ งดูลกู ๆ ให้รจู้ กั อาชีพทำ�ขนมมาตัง้ แต่วยั เยาว์ วันหนึง่ อากงเอีย่ ม มาขอสมัครทำ�งานเป็นลูกมือ ในร้ า น ทั้ ง คู่ จึ ง ได้ พ บรั ก กั น ด้ ว ยความขยั น หมัน่ เพียรและฝีมอื ในการทำ�ขนมของอากงเอีย่ ม ทำ�ให้บิดาของอาม่าขาง้อยอมให้ลูกสาวแต่งงาน ด้วย และยกร้านให้ช่วยกันดูแลต่อไป โดยมีขนม ขึ้นชื่อคือโซวเกี้ยว ลักษณะคล้ายกะหรี่ป๊ปั ไส้ถ่วั และไส้เผือก ทีเ่ ติมส้มเช้งเข้าไปในไส้ให้มรี สเปรีย้ ว นิด ๆ กลิน่ หอม กินแล้วรูส้ กึ สดชื่น จนถึงวันนี้ อากง และอาม่ายังคงทำ�ขนมด้วยตัวเองทุกวัน โดยมี ลูกชายและลูกสะใภ้เป็นกำ�ลังหลัก เน้นการนวดแป้ง ด้วยมือเพื่อคุมคุณภาพความสดใหม่และรสชาติ ให้ได้มาตรฐานตามเดิมจนมีลูกค้ามาต่อแถวซื้อ ขนมกันไม่ขาด
ร้านเฮงเสง “ตำ�นานร้านเย็บหมอน-เบาะไหว้เจ้า 100 ปี ความประณีตทีส่ ง่ ต่อจากจีนโพ้นทะเลสูต่ ลาดน้อย” เรื่องราวของเฮงเสงเริ่มต้นขึ้นในย่านคนจีน เก่าแก่อย่างตลาดน้อย เมื่อย้อนกลับไปในสมัย รัชกาลที่ 6 นี่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของทักษะและ ความสามารถเฉพาะตัวของคนจีนที่หอบเสื่อผืน หมอนใบจากบ้ า นเกิ ด มาเริ่ ม ต้ น ชี วิ ต ใหม่ บ น แผ่นดินสยาม สมัยนัน้ ยังไม่มเี ครือ่ งนอนสำ�เร็จรูป หมอน ฟูก มุ้ง หรือเบาะรองนั่ง ต้องใช้แรงงาน คนเย็ บ พ่ อ กั บ แม่ ข องอาม่ า เมี่ ย วลั้ ง แซ่ อิ๊ ว อพยพมาจากซัวเถา จึงมาเปิดร้านเฮงเสงทำ� ธุรกิจเย็บหมอนอยู่ที่ตลาดน้อย โดยมีลูกค้าเป็น คู่แต่งงานใหม่ที่เริ่มต้นสร้างครอบครัวจนกระทั่ง ยุคสมัยเปลี่ยนแปลง คนหันไปใช้ของสำ�เร็จรูป มากขึ้น เฮงเสงจึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อาทิ เบาะรองนั่งสำ�หรับเก้าอี้หวายรับแขก รวมถึง หมอนทรงกลมสำ�หรับรองคุกเข่าไหว้เจ้าตามศาล เจ้าต่าง ๆ และสืบทอดมาถึงปัจจุบัน เนื่องจาก เป็นสินค้าหายากและต้องอาศัยความประณีต อย่างมากในการผลิต พิกดั : 854-856 ถนนวานิช 2 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ โทร. 082-4566516
พิกัด : ซอยเจริญกรุง 20 แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ โทร. 02-2337554
ร้านซุ้ยล้ง “ถังไม้สกั โบราณทักษะฝีมอื ทีส่ ง่ ตรงจากเมืองจีน โพ้นทะเล” ร้านซุย้ ล้งถือกำ�เนิดขึน้ มานานกว่า 80 ปีแล้ว โดยคุณลุงชูศักดิ์ ไชยโชติช่วง ผู้รับช่วงกิจการ และสืบทอดความรู้ในการประดิษฐ์ถังไม้มาจาก บิ ดาซึ่ ง มาตั้ ง รกรากอยู่ บ ริ เ วณถนนทรงวาด ลักษณะเด่นของถังไม้ร้านซุ้ยล้งคือเป็นงานฝีมือ ที่ ยั ง คงวิ ธี ดั้ง เดิ ม ในการผลิ ต ทำ � ขึ้ น จากการ ประสานไม้ สั ก แต่ ล ะแผ่ น เข้า ด้ ว ยกั น เป็ น ทรง รัดตัวถังแต่ละใบไว้ด้วยวงแหวนเหล็ก มีทั้งถัง วงกลมขนาดเล็ก ถังพร้อมด้ามจับ และถังใส่น้ำ� แบบทีเ่ ห็นในหนังจีน กลิน่ ไม้ทเี่ ป็นเอกลักษณ์และ เนือ้ ไม้แท้ทแี่ มลงไม่กนิ ทำ�ให้ถงั ไม้รา้ นซุย้ ล้งเป็น ที่รู้จักในหมู่ผู้นิยมถังไม้แบบโบราณที่แต่ก่อน ใช้ใส่ข้าวสาร ตักน้ำ� หมักผักผลไม้ และต่อมา ถูกประยุกต์ใช้สำ�หรับใส่ของต่าง ๆ หรือนำ�ไป ประดับตกแต่งบ้านตามความนิยมของแต่ละ ยุคสมัย พิกดั : 1159 ถนนทรงวาด (ตรงข้ามวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร) แขวง/เขตสัมพันธวงศ์ โทร. 02-2338366, 02-6396900
CREATIVE THAILAND I 11
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง : นันทกานต์ ทองวานิช
ตัวเลขปีพ.ศ. ชือ่ บุคคลสำ�คัญแสนยาวเหยียด ใคร ทำ�อะไร ทีไ่ หน อย่างไร คือ “ข้อเท็จจริง” ทางประวัตศิ าสตร์ที่นา่ เบือ่ สำ�หรับใครหลาย ๆ คน เรือ่ งอดีตทีจ่ บไปแล้วเกีย่ วข้องอย่างไรกับชีวติ ในปัจจุบนั ความเคลือ่ นไหวต่าง ๆ ทัง้ ของโลกและ ของไทยในย่อหน้าถัดไปจากนี้ อาจทำ�ให้เห็นว่าประวัติศาสตร์ ไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเก่าแก่ซ่ึงถูกแช่แข็งอยู่ในอดีต แต่เปลีย่ นแปลง เคลือ่ นที่ ถูกรือ้ สร้าง ตีความ นำ�ไปต่อยอด และอยูร่ ว่ มสมัยกับโลกปัจจุบนั ได้เสมอ CREATIVE THAILAND I 12
medium.com
ทำ�ไมประวัติศาสตร์จึงเปลี่ยนแปลง เมื่อความจริงไม่ได้มีเพียงหนึ่ง การเป็ น ที่ เ ข้ า ใจกั น โดยทั่ ว ไปว่ า การศึ ก ษา ประวัติศาสตร์นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มนุ ษ ย์ แ ละเหตุ ก ารณ์ ใ นอดี ต การตรวจสอบหา “ความจริง” (Truth) หรือ “ข้อเท็จจริง” (Fact) ของเหตุการณ์ที่ผ่านไป แล้วนั้น เป็นหน้าที่หนึ่งของนักประวัติศาสตร์ แต่ความจริงหรือข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ นักประวัตศิ าสตร์ให้คณุ ค่านัน้ มีคณุ ลักษณะพิเศษ อย่างหนึ่งคือสามารถโต้แย้งได้ (Disputable Fact) ศ.ดร. ธงชัย วินิจจะกูล เคยให้คำ�อธิบาย ในประเด็ น นี้ ไ ว้ ว่ า ข้ อ เท็ จ จริ ง ที่ โ ต้ แ ย้ ง ไม่ ไ ด้ (Indisputable Fact) มักไม่ให้ความหมายอะไร มากนักต่อการศึกษาประวัตศิ าสตร์ ยกตัวอย่างเช่น แก้วมีหูหนึ่งใบ เป็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งไม่ได้ แต่ถา้ คนเริม่ อธิบายแก้วมีหู โดยคนทีน่ งั่ คนละฝัง่ ย่อมพูดถึงแก้วใบนี้ต่างกัน คนหนึ่งบอกแก้วมีหู ทางขวา อีกคนบอกแก้วมีหูทางซ้าย คำ�อธิบาย เกีย่ วกับแก้วทีเ่ พิม่ มากขึน้ จะทำ�ให้แก้วซึง่ เคยเป็น ข้อเท็จจริงที่โต้แย้งไม่ได้ เริ่มโต้แย้งได้และมี ความหมาย ดังนั้น ข้อเท็จจริงเดียวกัน เมื่อมอง คนละมุม ก็ยอ่ มตีความได้ตา่ งกัน และความหมาย จะเกิ ด ขึ้ น ก็ ต่ อ เมื่ อ เราให้ คำ � อธิ บ ายเพิ่ ม กั บ ข้อเท็จจริงนัน้ ๆ จนเกิดเป็นข้อเท็จจริงชุดใหม่อกี มากมายตามแต่มุมมองและบริบทแวดล้อม
เมื่ อ เรามองประวั ติ ศ าสตร์ ภ ายใต้ ก รอบ ความคิดที่ว่าความจริงทางประวัติศาสตร์อาจมี ได้หลายชุดเช่นนี้แล้ว เราก็จะเห็นว่าธรรมชาติ ของประวั ติ ศ าสตร์ ที่ นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ ใ ห้ ความสำ�คัญนัน้ คือชุดความจริงทีส่ ามารถตีความ ต่อยอด และปรับเปลี่ยนได้ วาดประวัติศาสตร์บนใบหน้า โอกาสจากอดีต เดือนเมษายน ปี 2020 พระราชวังต้องห้าม เมืองปักกิง่ เปิดตัวคอลเล็กชันเครือ่ งสำ�อางซึง่ ได้ รับแรงบันดาลใจมาจากเครื่องมือบอกเวลาใน สมัยราชวงศ์ชิง หนึ่งในคอลเล็กชันวัตถุโบราณ ของพระราชวัง เนื่องในโอกาสที่วังหลวงแห่ง สุดท้ายของจักรวรรดิจีนนี้มีอายุครบ 600 ปี เครื่องมือบอกเวลาดังกล่าว มีลักษณะเป็น แผ่นจานทองแดง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 13.7 เซนติ เ มตร ใช้ บอกเวลาโดยอาศั ย การวั ด ค่ า แสงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว บนแผ่นจาน เต็มไปด้วยรอยสลักตัวเลขบอกวันที่ เวลา จักรราศี ต่าง ๆ รวมไปถึงอักษรละติน “COLON” และ อักษรโรมัน “1541” ซึง่ ทำ�ให้สนั นิษฐานได้วา่ วัตถุ โบราณชิน้ นีถ้ กู นำ�เข้ามาจากเมืองโคโลญ ประเทศ เยอรมนี โดยมิชชันนารีชาวเยอรมันที่เข้ามา ในประเทศจีนปลายราชวงศ์หมิง
CREATIVE THAILAND I 13
แผนผังวงโคจรของพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดวงดาว และการเรียงตัวกันของจักรราศีต่างๆ กลายมาเป็นแนวทางหลักในการออกแบบทั้งตัว บรรจุ ภั ณ ฑ์ แ ละการวางช่ อ งสี ข องอายแชโดว์ ในคอลเล็กชันนี้ ในขณะที่สีอายแชโดว์ทั้ง 12 สี ก็เลือกใช้เนือ้ สีทมี่ คี วามมันวาวเพือ่ สือ่ ถึงประกาย ระยิบระยับของดวงดาว ส่วนลวดลายท้องฟ้า ดวงดาว และหน้าปัดนาฬิกาถูกนำ�ไปถายทอด ลงบนปลอกลิปสติกทั้ง 10 เฉดสี โดยแต่ละสี คือสีแดงเฉดต่าง ๆ ที่พบได้ภายในพระราชวัง ต้องห้ามในแต่ละช่วงเวลาในอดีต คอลเล็กชันเครื่องสำ�อางของพระราชวัง ต้องห้าม คือการหยิบเอาประวัตศิ าสตร์ทหี่ ยุดนิง่ อยู่ในคอลเล็กชันวัตถุโบราณของวังมาปัดฝุ่น แล้วนำ�ไปต่อยอดให้เกิดเป็นสินค้าและมูลค่าใหม่ ที่ร่วมสมัยกับสังคมในปัจจุบัน โดยครั้งนี้ไม่ใช่ คอลเล็กชันเครื่องสำ�อางครั้งแรกที่ทางวังปล่อย ออกมา เพราะในเดือนธันวาคม ปี 2018 พระราชวัง เคยได้เปิดตัวคอลเล็กชันลิปสติก บลัชออน และ อายแชโดว์ ซึ่งล้วนแต่หยิบเอาวัฒนธรรมและ ความเชื่ อ จี น โบราณมาเป็ น แรงบั น ดาลใจใน การออกแบบ ไม่ ว่ า จะเป็ น เทพนกกระเรี ย น เครือ่ งแต่งกายของนางสนม ดอกเบญจมาศ และ แจกันเคลือบสีของราชวงศ์ชิง คอลเล็ ก ชั น เครื่ อ งสำ � อางเหล่ า นี้ ถื อ เป็ น ลิมเิ ต็ดคอลเล็กชันและได้รบั ความนิยมอย่างมาก ในหมู่ ค นรุ่ น ใหม่ ข องจี น โดยมี ร ายงานว่ า ขายหมดอย่างรวดเร็วภายในระยะเวลาไม่กี่วัน จนนำ�ไปสู่การออกคอลเล็กชันอื่น ๆ ร่วมกับ แบรนด์เครือ่ งสำ�อางต่าง ๆ ด้วย แม้แต่พระราชวัง ฤดูร้อนเองก็มองเห็นถึงความสำ�เร็จนี้ จึงร่วมกับ แบรนด์ Catkin ในการผลิตเครื่องสำ�อางที่หยิบ เอาลายปักนกฟีนกิ ซ์บนฉากกัน้ ห้องในพระราชวัง มาใช้บนบรรจุภัณฑ์ด้วยการพิมพ์ระบบสามมิติ รูปแบบใหม่ เพือ่ ทำ�ให้ผใู้ ช้งานสัมผัสถึงความเป็น รอยปักที่สมจริง สาเหตุ ที่ ทำ � ให้ เ ครื่ อ งสำ � อางที่ ไ ด้ รั บ แรงบันดาลใจจากสถานทีท่ างประวัตศิ าสตร์และ วั ต ถุ โ บราณเหล่ า นี้ ข ายดี เ ป็ น อย่ า งมากในหมู่ ชาวมิลเลนเนียลของจีนนัน้ บทความจากเว็บไซต์ คอสเมติกดีไซน์เอเชียกล่าวว่า ส่วนหนึ่งมาจาก ความภูมิใจในชาติที่เพิ่มมากขึ้น โดยสืบเนื่อง มาจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ความสำ�เร็จ
commons.m.wikimedia.org
ของบริษัทสัญชาติจีนอย่างอาลีบาบา (Alibaba) หรือเสี่ยวมี่ (Xiaomi) ที่สามารถเทียบเคียงได้กับ ยักษ์ใหญ่ในโลกตะวันตกไม่ว่าจะเป็นแอมะซอน (Amazon) หรื อ แอปเปิ ล (Apple) ทำ � ให้ ความเป็ น จี น นั้ น ข้ า มผ่ า นภาพลั ก ษณ์ แ บบ “ผลิตในเมืองจีน - Made in China” ไปสู่การ “สร้างสรรค์จากเมืองจีน - Created in China” คนรุ่นใหม่จึงเริม่ หันกลับมาตื่นเต้นกับการค้นหา และให้คณุ ค่ากับมรดกทางวัฒนธรรมของตนเอง อีกครั้ง Operation Night Watch คำ�อธิบายใหม่จากหลักฐานเดิม งานสำ�คัญอย่างหนึ่งของนักประวัติศาสตร์คือ การศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ละเอียด ถีถ่ ว้ น ไม่วา่ หลักฐานนัน้ จะอยูใ่ นรูปของข้อความ ประกาศ หนังสือ แผนที่ เครื่องใช้ หรือวัตถุ อื่นใดก็ตาม ทั้งนี้เพื่อค้นหา “ความจริง” หรือ คำ�อธิบายบางอย่างให้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่การศึกษาหลักฐานดังกล่าว ใช่วา่ จะศึกษาเมือ่ ค้ น พบหลั ก ฐานใหม่ เ ท่ า นั้ น เพราะแม้ เ ป็ น หลั ก ฐานชิ้ น เดิ ม ก็ ส ามารถมอบความรู้ แ ละ คำ�อธิบายใหม่ ๆ ให้กบั ผูศ้ กึ ษาได้เสมอตามมุมมอง และบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ไรจ์มวิ เซียม (Rijksmuseum) หรือพิพธิ ภัณฑ์ แห่งชาติ เมืองอัมสเตอร์ดมั ประเทศเนเธอร์แลนด์ สังเกตเห็นว่าภาพเขียน เดอะ ไนต์ วอต์ช (The Night Watch) อันโด่งดังของเรมบรันดต์ (Rembrandt) เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นว่า ภาพสุนัขที่มุมขวาล่างมีสีซีดลง ทางพิพิธภัณฑ์ จึงตัดสินใจที่จะซ่อมแซมภาพวาดชิ้นสำ�คัญด้วย โปรเจ็กต์ที่ชื่อว่า โอเปอร์เรชั่น ไนต์ วอต์ช (Operation Night Watch) แต่เดอะ ไนต์ วอต์ชนัน้ ไม่ตา่ งจากโมนาลิซา่ แห่งพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ การนำ�ชิ้นงานซึ่งดึงดูด ผู้เข้าชมกว่าสองล้านคนต่อปีชิ้นนี้ไปซ่อมหลัง พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ เ ป็ น เวลาหลายปี ย่ อ มไม่ อ าจทำ � ได้ โอเปอร์เรชั่น ไนต์ วอต์ช จึงเป็นการตรวจสอบ เก็บข้อมูล และซ่อมแซมชิ้นงานในห้องกระจก กลางพิพิธภัณฑ์ซึ่งถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ทั้งยังเปิดให้ทุกคนร่วมเป็นประจักษ์พยานใน ปฏิบตั กิ ารครัง้ นี้ ทัง้ ในพืน้ ทีจ่ ริงและทางออนไลน์ ทาโก ดิบบิตส์ (Taco Dibbits) ผูอ้ �ำ นวยการ ไรจ์มิวเซียมกล่าวว่า โอเปอร์เรชั่น ไนต์ วอต์ช คือโครงการวิจัยและอนุรักษ์ผลงานมาสเตอร์พีซ ของเรมบรันดต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยการจะซ่อมแซมและอนุรกั ษ์ชน้ิ งานในระยะยาว ให้ได้อย่างถูกต้องนั้น ทางพิพิธภัณฑ์จำ�เป็นต้อง CREATIVE THAILAND I 14
ตรวจสอบภาพวาดอย่างถีถ่ ว้ นโดยอาศัยเทคโนโลยี สมัยใหม่ เช่น การถ่ายภาพความละเอียดสูงและ การสแกนภาพด้ ว ยรั ง สี เ อ็ ก ซ์ (Macro-XRF Scanner) ตลอดจนกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพ โดยหวังว่าจะช่วยให้เข้าใจทั้ง สภาพดัง้ เดิมของชิน้ งาน การเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ ทีเ่ กิดขึน้ กับภาพวาดตลอดระยะเวลาเกือบสีร่ อ้ ยปี เทคนิคและวัสดุทใ่ี ช้ ขัน้ ตอนในการวาด ตลอดจน ความเสือ่ มของชิน้ งานทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้ในอนาคต ในเดือนพฤศจิกายน 2020 นี้ โอเปอร์เรชั่น ไนต์ วอต์ช กำ�ลังก้าวเข้าสูช่ ว่ งท้ายของกระบวนการ การตรวจสอบภาพวาดก่อนจะเริม่ ลงมือบูรณะภาพ ในขั้นตอนต่อไป ทางพิพิธภัณฑ์เริ่มเปิดเผยผล ที่ ไ ด้ จ ากการตรวจสอบภาพด้ ว ยเครื่อ งสแกน Macro-XRF โดยประเด็นหนึง่ ทีไ่ ด้จากการค้นพบ คือสีทองที่เรมบรันดต์ใช้ในการวาดลายปักสีทอง บนเสือ้ ของทหารนัน้ มีองค์ประกอบของสารหนูอยู่ ในขณะทีใ่ นยุคนัน้ สีทมี่ สี ว่ นประกอบของสารหนู จะถูกใช้ในภาพเขียนผลไม้หรือดอกไม้เท่านั้น สำ�หรับนักประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะแล้ว ข้อมูลเล็ก ๆ นี้ ช่วยขยายความเข้าใจที่เคยมีต่อจิตรกรชาวดัตช์ ผู้นี้ให้กว้างไกลออกไป ไม่ว่าจะเป็นการอธิบาย วิ ธี ว าดงานที่ เ ขาใช้ หรื อ แม้ แ ต่ ค วามเป็ น คน สร้างสรรค์และแหวกขนบของตัวเรมบรันดต์เอง
ติดตามความคืบหน้าของโอเปอร์เรชัน่ ไนต์ วอต์ช ได้ทาง rijksmuseum.nl/en/nightwatch
อดีต - ปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ไม่ ผิ ด นั ก หากจะกล่ า วว่ า ประวั ติ ศ าสตร์ นั้ น มีความร่วมสมัยอยู่เสมอ ทุกครั้งที่เราศึกษา ประวัติศาสตร์แล้วเกิดการคิดวิเคราะห์ การคิด วิเคราะห์นน้ั ย่อมเป็นไปภายใต้สายตาหรือมุมมอง ของบริบทในปัจจุบันโดยอัตโนมัติ เราศึกษาสิ่งที่ เกิดขึ้นในอดีตเพื่อนำ�มาปรับใช้กับปัจจุบันอย่าง ที่เรียกว่า “ไม่ให้ประวัติศาสตร์ซ้ำ�รอย” และ บ่อยครั้งที่เราตัดสิน “ความจริง” ในอดีตด้วย ค่านิยมหรือบรรทัดฐานแบบในปัจจุบัน ไม่ว่า การกระทำ�เช่นนี้จะถูกหรือผิด เหมาะสมหรือไม่ แต่ในแง่นี้ เราอาจกล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์นั้น ถูกทำ�ให้มีความร่วมสมัยอยู่ตลอดเวลา ศิลปะคือสือ่ ทีท่ งั้ สะท้อนความร่วมสมัยของ ประวัติศาสตร์ และนำ�เสนอประวัติศาสตร์ให้ ร่วมสมัยได้ดีสื่อหนึ่ง เราจะพบศิลปะมากมาย ที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เป็นแรงบันดาลใจ ผลงานศิลปะมงกุฎ (Mongkut, 2015) ของ อริญชย์ รุง่ แจ้ง ศิลปินไทยซึง่ ได้รบั เชิญให้เข้าร่วม เทศกาลศิลปะร่วมสมัยมากมายทั่วโลกก็เป็น หนึ่งในนั้น มงกุฎของอริญชย์ จำ�ลองพระมหามงกุฎ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ายูห่ วั รัชกาล ที่ 4 จากมงกุฎจำ�ลองที่พระองค์มีรับสั่งให้จัดทำ� ขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในเครื่องมงคลราชบรรณาการ สำ�หรับส่งไปถวายพระจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรัง่ เศส ณ พระราชวังฟงแตนโบล (Château de Fontainebleau) ในปี 1861 เพือ่ ทีจ่ ะได้มาซึง่ งานศิลปะมงกุฎ อริญชย์และทีมงานขออนุญาต
เข้าไปยังพระราชวังฟงแตนโบลเพื่อเก็บข้อมูล ทัง้ ในรูปแบบของภาพถ่าย วิดโี อ และข้อมูลดิจทิ ลั จากการสแกนสามมิติ เนื่องจากเขาไม่สามารถ เข้ า ถึ ง พระมหามงกุ ฎ องค์ จ ริ ง ที่ เ ก็ บ อยู่ ใ น พระบรมมหาราชวังได้ เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการ อริญชย์เดินทางกลับประเทศไทย เพือ่ ลงมือสร้าง มงกุฎจำ�ลองจากมงกุฎจำ�ลอง โดยที่เพียงสอง สั ป ดาห์ ก่ อ นนิ ท รรศการมงกุ ฎ จะจั ด แสดงที่ หอศิลป์ในปารีส เขาก็ได้รับข่าวว่าพระราชวัง ฟงแตนโบลถูกขโมยขึ้น และหนึ่งในของมีค่าที่ หายไปก็คือพระมหามงกุฎจำ�ลองของรัชกาลที่ 4 ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น ไม่ได้มีเพียง พระราชวังฟงแตนโบลที่ถูกบุกรุก เพราะในต้นปี 2016 มีคลิปเหตุการณ์การลอบสแกนรูปปั้นครึ่ง ตัวราชินเี นเฟอร์ตติ แิ ห่งอียปิ ต์ (Nefertiti Bust) ซึง่ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศ เยอรมนี เผยแพร่ออกไปทางโลกออนไลน์ ทัง้ ๆ ที่ โดยปกติแล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตให้มี การบันทึกภาพใด ๆ ในห้องจัดแสดง เหตุการณ์ดงั กล่าว เกิดขึน้ เมือ่ เดือนตุลาคม ปี 2015 จากการที่สองศิลปิน นอรา อัล-บาดรี (Nora Al-Badri) และ ยาน นิโคลัย เนลเลส (Jan Nikolai Nelles) เข้าไปในห้องจัดแสดงโดย แอบซ่ อ นเครื่ อ งสแกนสามมิ ติ ไ ว้ ใ ต้ ผ้ า พั น คอ พวกเขาเผยแพร่ไฟล์สามมิตทิ ไ่ี ด้ลงบนอินเทอร์เน็ต ทัง้ ยังสร้างรูปปัน้ ขึน้ มาใหม่ (The Other Nefertiti, 2015) ด้วยเทคนิคการพิมพ์สามมิติ (3D Print)
ภาพโดย Nora Al-Badri and Jan Nikolai Nelles.
ก็ตาม ไม่แน่วา่ เราอาจอธิบายความเป็นไปได้อน่ื ๆ ในภาพเขียนของเขาได้ด้วยความเข้าใจเหล่านี้ ครั้ ง สุ ด ท้ า ยที่ เ ดอะ ไนต์ วอต์ ช ได้ รั บ การบูรณะคือเมื่อปี 1975 นับเป็นเวลากว่า 45 ปี ทีไ่ ม่มใี ครแตะต้องภาพเขียนชิน้ เอกนีเ้ ลย แต่ดว้ ย ความรู้ มุมมอง และเทคโนโลยีจากศตวรรษที่ 21 นี้เอง ที่เปิดโอกาสให้นักประวัติศาสตร์ได้ ย้อนกลับมาทำ�ความเข้าใจกับหลักฐานชิ้นเดิม เพือ่ ค้นหาคำ�อธิบายใหม่ ๆ ให้กบั เรือ่ งราวในอดีต ต่อไป
CREATIVE THAILAND I 15
เพื่อนำ�ไปจัดแสดงที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ บ้านเกิดของรูปปัน้ ทีต่ วั มันไม่เคยได้กลับไปอีกเลย ตั้งแต่ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดีชาวเยอรมันใน ปี 1912 งานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับอดีตจากทั้งสอง อารยธรรมนีน้ นั้ อาจกล่าวได้วา่ เป็นการทำ�ให้วตั ถุ ทางประวัติศาสตร์กลายเป็นวัตถุร่วมสมัย ทั้งยัง กระตุ้นให้เกิดการตั้งคำ�ถามถึงสิทธิในการเข้าถึง ข้อมูลทางประวัตศิ าสตร์อย่างเสรี ตลอดจนแสดง ให้ เ ห็ น ว่ า ประวั ติ ศ าสตร์ นั้ น ไม่ ไ ด้ ห ยุ ดนิ่ ง อยู่ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอดีต แต่สามารถถูก รื้อสร้าง ตีความ และโลดแล่นอยู่ร่วมสมัยได้ ในกรณี ข องมงกุ ฎ ช่ า งฝี มื อ ที่ อ ริ ญ ชย์ ทำ�งานด้วย ได้จ�ำ ลองมงกุฎขึน้ มาใหม่ดว้ ยเทคนิค การทำ�หัวโขนแบบทีใ่ ช้อยูใ่ นปัจจุบนั โดยอริญชย์ มองว่าไม่จำ�เป็นต้องใช้วิธีการดั้งเดิมอย่างใน สมั ย รั ช กาลที่ 4 เพราะเทคนิ ค ในการสร้ า ง สามารถพัฒนาไปตามเวลา แต่ความประณีต ต่ า งหากที่ ยั ง คงอยู่ นอกจากนี้ ในวิ ดีโ อ ซึ่ ง เป็ น ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ อริญชย์เล่าถึง ความหมายและนัยของมงกุฎในฐานะเครือ่ งมงคล ราชบรรณาการจากมุมมองทีต่ า่ งกันของทัง้ สยาม และฝรั่ ง เศสผ่ า นการตี ค วามของภั ณ ฑารั ก ษ์ ชาวฝรั่ ง เศส และเล่ า ประวั ติ ค รอบครั ว ของ ช่างฝีมือ ซึ่งปรากฏว่าสืบเชื้อสายมาจากรัชกาล ที่ 4 ในแง่นี้ แม้มงกุฎของอริญชย์จะถูกสร้างขึ้น มาใหม่ ไม่ได้มีอายุเก่าแก่และคุณค่าในทาง ประวัตศิ าสตร์เฉกเช่นวัตถุทางประวัตศิ าสตร์อน่ื ๆ แต่การจำ�ลองวัตถุทางประวัตศิ าสตร์ทไี่ ม่สามารถ เข้าถึงได้แล้วในปัจจุบันด้วยเทคนิคและมุมมอง ของวันนี้ ก็ช่วยพัฒนาพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่ เขาพูดถึงให้อยูร่ ว่ มสมัยกับปัจจุบนั ทัง้ ยังเป็นการ เพิ่มมิติใหม่ ๆ ให้กับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ นั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง ในกรณีของ The Other Nefertiti ไฟล์สแกน สามมิติของอัล-บาดรีและเนลเลสนั้นถูกกังขาว่า สมบู ร ณ์ แ บบเกิ น กว่ า ที่ ป ระสิ ท ธิ ภ าพของ เครื่องสแกนจะทำ�ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ การสแกนเกิดขึ้นในสภาวะที่ตัวรูปปั้นถูกวางไว้ ในกล่องกระจก และตัวศิลปินเองก็ท�ำ ได้เพียงแค่ เดินสแกนรอบรูปปั้นแต่ไม่สามารถสแกนส่วนหัว ของรูปปัน้ จากด้านบนได้ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า สาระสำ�คัญของเรื่องจะไม่ได้อยู่ที่ “ความจริง”
ชมวิดโี อ “มงกุฎ” ได้ท่ี https://youtu.be/q8EY3jTwXjg ดาวน์โหลดไฟล์สามมิติรูปปั้นเนเฟอร์ติติ เวอร์ชันนอรา อัล-บาดรี และ ยาน นิโคลัย เนลเลส ได้ที่ nefertitihack.alloversky.com ดาวน์ โ หลดไฟล์ ส ามมิ ติ รู ป ปั้ น เนเฟอร์ ติ ติ เวอร์ ชั น พิพิธภัณฑ์ ซึ่งเผยแพร่ในปี 2019 ได้ที่ thingiverse.com/thing:3974391
อดีต - ปัจจุบัน - อนาคต มองประวัติศาสตร์ ไปข้างหน้า เราเรียนประวัตศิ าสตร์ไปเพือ่ อะไร ประวัตศิ าสตร์ ทำ�นายอนาคตได้จริงหรือ คำ�ตอบของคำ�ถาม เหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน สำ�หรับ อาร์ตโิ ชก (Artichoke) กลุม่ คนทำ�งานด้านศิลปะ ขนาดใหญ่ในพืน้ ทีส่ าธารณะมองว่า การหยิบอดีต กลับมาพูดในบริบทปัจจุบัน ไม่เพียงแต่ทำ�ให้เรา ระลึกถึงสิง่ ทีจ่ บไปแล้วเท่านัน้ แต่ยงั กระตุน้ ให้เรา ตระหนักถึงปัจจุบันและตั้งคำ�ถามกับอนาคต ได้ด้วย ในปี 2016 เป็นปีครบรอบ 350 ปีแห่งเหตุการณ์ ไฟไหม้ครัง้ ใหญ่ของกรุงลอนดอน (Great Fire of London) อาร์ตโิ ชกได้รบั มอบหมายให้จดั เทศกาล ลอนดอน อีส เบิร์นนิง (London’s Burning) ว่า ด้ ว ยมุ ม มองร่ ว มสมั ย ที่ มี ต่ อ เหตุ ก ารณ์ ท าง ประวัติศาสตร์ครั้งสำ�คัญนี้พวกเขาจึงเชิญศิลปิน และนักวิชาการมาร่วมสร้างสรรค์ผลงานกระจาย ไปทัว่ พืน้ ทีท่ เ่ี คยไฟไหม้ โดยเป็นทัง้ การย้อนกลับไป รำ�ลึกถึงเหตุการณ์ในวันนั้น ตลอดจนการฉุกคิด ถึงภัยคุกคามใหม่ ๆ ที่เมืองทั้งหลายต้องเผชิญ
ทั้งในวันนี้และอนาคต ตั้งแต่ภาวะโลกร้อนไป จนถึงความขัดแย้งต่าง ๆ ทั่วโลก ย้อนกลับไปในคืนวันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน 1666 ไฟเริ่มลุกไหม้จากร้านเบเกอรี่ในตรอก พุดดิ้ง เลน (Pudding Lane) และขยายเป็น วงกว้างขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วเขตเมืองซึ่งรุ่งเรืองมา ตั้ ง แต่ ส มั ย ยุ ค กลางและมี ป ระชากรอาศั ย อยู่ ประมาณ 80,000 คน ไฟไหม้เป็นเวลา 4 วัน ทำ�ลายบ้านเรือนไป 13,200 หลัง ส่งผลให้ ผูอ้ ยู่อาศัยกว่า 70,000 คนต้องกลายเป็นคนไร้บา้ น สถานที่สำ�คัญทางราชการและโบสถ์ทั้งหลาย พังทลายลง ความเสี ย หายในครั้ ง นั้ น ในแง่ ห นึ่ ง คื อ โศกนาฏกรรมทีไ่ ม่มใี ครอยากให้เกิดขึน้ แต่ในอีก แง่ ห นึ่ ง มั น คื อ สิ่ ง ที่ ทำ � ให้ ล อนดอนกลายเป็ น ลอนดอนในทุกวันนี้ ทั้งผังเมืองและมหาวิหาร เซนต์พอล (St. Paul’s Cathedral) ที่มีหน้าตา อย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบันก็เป็นผลพวงจาก เพลิงไหม้ในครัง้ นัน้ ด้วยเหตุน้ี สำ�หรับอาร์ตโิ ชกแล้ว เทศกาลลอนดอน อีส เบิรน์ นิงจึงเป็นทัง้ การรำ�ลึก และเฉลิมฉลองไปพร้อม ๆ กัน
Produced by Artichoke. Photo by Matthew Andrews
ของเหตุการณ์ แต่อยู่ที่เจตนาของศิลปินที่จะ ตอบโต้ ก ารที่ ตั ว พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ มี ไ ฟล์ ส ามมิ ติ ข อง รูปปั้นมาตั้งแต่ 7 ปีที่แล้ว แต่ไม่เคยเผยแพร่ให้ สาธารณชนเข้าถึง และพวกเขายังหวังที่จะขยาย ไปสู่ประเด็นที่ใหญ่ขึ้นอย่างการกลับมาถกเถียง ถึงวิธีการที่ประเทศกลุ่มเหนือ (Global North Country) อย่างเยอรมนี ยังคงใช้แนวคิดแบบ จักรวรรดินิยมที่ล้าสมัยไปแล้วในการจัดการกับ มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศอืน่ อยู่ นอกจากนี้ เมือ่ นิทรรศการจบลง พวกเขายังนำ�รูปปัน้ จำ�ลองนี้ ไปฝั ง ในทะเลทรายนอกกรุ ง ไคโร โดยไม่ มี การบันทึกพิกดั ใด ๆ ไว้ เพือ่ เป็นการโต้กลับการที่ รูปปั้นถูกขุดพบในเชิงสัญลักษณ์อีกด้วย
CREATIVE THAILAND I 16
DANIEL LEAL-OLIVAS / AFP Produced by Artichoke. Photo by Oliver Rudkin
กิจกรรมในเทศกาลลอนดอน อีส เบิร์นนิงนั้น เต็มไปด้วยความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงาน ศิลปะจัดวาง (Installation Art) การแสดงสด (Performance Art) ไปจนถึงกิจกรรมเดินทัวร์ และเสวนา อาร์ตโิ ชกเชิญทีมสเตชัน่ เฮาส์ โอเปรา (Station House Opera) มาบอกเล่าเส้นทาง ทีเ่ ปลวเพลิงลุกไหม้ ด้วยการใช้อฐิ มวลเบาตัง้ เรียง กั น ไปเป็ น โดมิ โ น 3 เส้ น ทาง ตลอดแนว 6 กิโลเมตร แล้วเริม่ ล้มอิฐก้อนแรกพร้อม ๆ กัน โดย หากอิฐล้มไปจนถึง 3 จุดสุดท้ายได้สำ�เร็จ ก็จะ เป็นการจุดไฟให้กบั ประติมากรรมทีต่ ง้ั อยูพ่ งั ทลาย ลงมา ราวกับเป็นภาพเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ เมือ่ 350 ปีกอ่ น นอกจากนี้ ยังมีการแสดงทีช่ อ่ื ว่า โฮโลซีนส์ (Holoscenes) โดยนักแสดงจากกลุม่ เออร์ลี มอร์นงิ โอเปรา (Early Morning Opera) ที่ทั้งเต้นรำ�และ
แหวกว่ายอยู่ในแทงก์น้ำ�ขนาดใหญ่ในขณะที่น้ำ� กำ�ลังไต่ระดับสูงขึน้ เรือ่ ย ๆ เพือ่ สะท้อนความคิด ที่ว่า ภัยที่กำ�ลังคุมคามโลกในปัจจุบันอาจไม่ใช่ อัคคีภัยอย่างในอดีต แต่เป็นภัยจากน้ำ�ต่างหาก เทศกาลลอนดอน อีส เบิร์นนิง ปิดฉาก ลงด้วยโปรแกรมไฮไลต์อย่างลอนดอน 1666 (London 1666) ที่อาร์ตโิ ชกร่วมมือกับเดวิด เบสต์ (David Best) ในการสร้างประติมากรรมยาว 120 เมตร ซึ่งจำ�ลองเมืองลอนดอนในศตวรรษที่ 17 กลับขึน้ มาใหม่ เพียงเพือ่ ทีจ่ ะถูกไฟเผาให้มอดไหม้ กลางแม่น้ำ�เทมส์ เดวิด เบสต์ เป็นศิลปินชาวแคลิฟอร์เนีย ซึ่งโด่งดังจากผลงานการสร้างวิหารไม้ในหลาย พื้นที่ทั่วโลก เบสต์สร้างให้วิหารไม้ของเขาดำ�รง อยู่ เ พี ย งชั่ ว คราว เปิ ด ให้ ใ ครก็ ต ามที่ สู ญ เสี ย CREATIVE THAILAND I 17
ความหวังจะได้รบั การให้อภัย หรือต้องการให้อภัย ผูอ้ นื่ ได้เข้ามาใช้เวลาอยูก่ บั ตัวเองและปลดปล่อย ความรูส้ กึ เหล่านัน้ ก่อนทีท่ กุ คนจะร่วมยืนมองไฟ ที่เผาไหม้อาคารทั้งหลังลงไปพร้อมกัน สำ�หรับลอนดอน 1666 เบสต์มองว่า เมื่อ 350 ปีก่อนมีผู้คนที่ถูกขับไล่และต้องย้ายที่อยู่ อย่างไร ทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ต่างกันที่ว่า ชาวลอนดอนชนชั้นล่างในวันนี้ไม่ได้ถูกผลักไส โดยเปลวไฟสีแดงแต่เป็นเปลวไฟทางเศรษฐกิจ มากกว่า ท่ามกลางกลุ่มควันที่พวยพุ่งและเปลวไฟที่ ลุกโชนอยู่กลางแม่น้ำ�เทมส์ในวันนั้น คงจะทำ�ให้ ผู้ชมกว่า 50,000 คนที่ยืนมองอยู่จากทั้งสองฝั่ง แม่น�้ำ และรับชมผ่านทางการถ่ายทอดสดออนไลน์ ได้รำ�ลึกถึงเหตุการณ์ที่พลิกโฉมลอนดอนเมื่อ หลายร้อยปีกอ่ นและตระหนักถึงสิง่ ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ในอนาคตเพื่อเตรียมรับมือได้บ้าง ชมวิดีโอ “Dominoes 350” ได้ที่ https://youtu.be/moGzH5-hOpA ชมวิดีโอ “โฮโลซีนส์” ได้ที่ https://youtu.be/LeWXX4cmFbM ชมวิดีโอ “ลอนดอน 1666” ได้ที่ https://youtu.be/bA0xwx_1eJ4
ที่มา : บทความ “Artists Return Nefertiti Bust to Egypt Thanks to Covert 3-D Scanning” จาก news.artnet.com / บทความ “Could the Nefertiti Scan Be a Hoax and Does that Matter?” จาก hyperallergic.com / บทความ “London’s burning. Again...” จาก telegraph.co.uk / บทความ “Operation Night Watch is Revealing Rembrandt’s Secrets (And You Can Watch Live)” จาก frieze.com / บทความ “Paint the color of the Imperial Palace on your face” จาก medium.com / บทความ “Palace Museum launches exquisite original lipsticks” และ “Summer Palace cosmetics become a hit on Alibaba’s Tmall” จาก en.people.cn / บทความ “Pride and cosmetics: Success of Imperial China-inspired products soaring in popularity” จาก cosmeticsdesign-asia.com / บทความ “THE NEFERTITI 3D SCAN HEIST IS A HOAX” จาก cosmowenman.com / บทสัมภาษณ์อริญชย์ รุ่งแจ้ง จาก wurkon.com / สูจิบัตร นิทรรศการ “มงกุฎ โดย อริญชย์ รุ่งแจ้ง” / วิดีโอ “Arin Rungjang au Jeu de Paume” โดย Jeu de Paume จาก youtube.com / วิดีโอ “Artist talk : Mongkut Art Exhibition By Arin Rungjang with Kamol Phaosavasdi” โดย Art Centre Silpakorn University จาก youtube.com / วิดีโอ “CONVERSATION WITH ธงชัย วินิจจะกูล” โดย Way magazine จาก youtube.com / artichoke.uk.com / nora-al-badri.de / rijksmuseum.nl
Fact & Figure : พื้นฐานความคิด
“ประวัติศาสตร์จะไม่ซ้ำ� ประวัติศาสตร์จะต้องเปลี่ยน” ว่าด้วยประวัติศาสตร์และการเปลี่ยนแปลง เรื่อง : ณัฐชา ตะวันนาโชติ
“ประวัติศาสตร์วิจารณ์ตัวเองตลอดเวลา มันถูกตั้งคำ�ถามได้ มันสร้างอยู่ในตัวมันเองว่าต้องเกิดการสงสัย ต้องเกิดการโค่นความรู้ความคิดที่มีอยู่ แล้วเขยิบต่อไป” - ธงชัย วินิจจะกูล “ประวัตศิ าสตร์” วิชาแสนน่าเบือ่ ของใครหลายคน ที่มักถูกสอน (แกมบังคับ) ให้ท่องจำ�เรื่องราว เหตุการณ์ ชื่อบุคคลสำ�คัญ วันที่ หรือตัวเลขต่าง ๆ ประหนึ่งเป็นสูตรวิชาคณิตศาสตร์ ทำ�ให้นักเรียน ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้วิเคราะห์หรือตั้งคำ�ถาม กับประวัติศาสตร์ในตำ�ราเรียนสักเท่าไร ทั้งที่ ในความเป็ น จริ ง ตำ � ราประวั ติ ศ าสตร์ ก็ เ ป็ น สิง่ ทีถ่ กู เขียนขึน้ มาและตีความได้อย่างหลากหลาย ถ้าหากเรามองย้อนกลับไปไม่วา่ จะในอารยธรรมใด ยุคใด หรือสมัยใดเราจะพบว่า “การเปลีย่ นแปลง” เกิดขึน้ ในสังคมเสมอ และประวัตศิ าสตร์กส็ อนให้เรา รู้ว่า บางครั้งสิ่งที่มนุษย์เคยคิดว่าจริง ก็สามารถ ถูกโต้แย้ง หักล้าง ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยหลักฐานและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เปลี่ยนไป ตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม เริ่มตั้งคำ�ถาม (The First Historian) ย้ อ นไปในยุ ค กรี ก โบราณเมื่ อ 2,500 ปี ก่ อ น การบั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ ยั ง ไม่ ไ ด้ แ พร่ ห ลาย เหมือนทุกวันนี้ ผู้คนในยุคนั้นเชื่อว่าเหตุการณ์ ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นล้วนเป็นผลมาจากประสงค์ของ เหล่ า เทพเจ้ า จึ ง มี บั น ทึ ก น้ อ ยมากที่ อ ธิ บ าย ถึงสาเหตุที่มาของสิ่งต่าง ๆ นอกเหนือจากนั้น ทำ�ให้เฮโรโดตัส (Herodotus) นักเขียนชาวกรีก
ผูต้ อ่ มาถูกขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัตศิ าสตร์ เริ่มมองหาแนวทางใหม่ ๆ ในทำ�ความเข้าใจ เหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น อย่ า งรอบด้ า น โดยเขา ออกเดินทางและเก็บรวบรวมหลักฐานเพือ่ บันทึก เรื่องราวของสงครามกรีก-เปอร์เซีย (499-479 B.C.) ลงในหนังสือ Histories (ฮีสทอรีส)์ ซึง่ แปลว่า การค้ น คว้ า วิ จั ย หรื อ สื บ หาข้ อ มู ล (Inquiry) จนกลายเป็นรากฐานของการศึกษาประวัตศิ าสตร์ มาจนถึงปัจจุบัน เมื่อความจริงไม่ได้มีเพียงหนึ่ง (Faith vs. Facts) ย้อนกลับไปในยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษ ที่ 5-15) ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองของของ คริ ส ตศาสนาในยุ โ รป แต่ เ วลานั้ น กลับเป็นยุคมืดทางความรู้ เนื่องจาก อิ ท ธิ พ ลทางการเมื อ งและการเงิ น ทำ�ให้ศาสนจักรมีอ�ำ นาจในการกำ�หนด ชะตาชี วิ ต ของผู้ ค น คำ � สอนของ ศาสนจักรกลายเป็นความจริงสูงสุด เพียงหนึ่งเดียว คนที่คิดต่างกลายเป็น พวกนอกรี ต และมี ค วามผิ ด ตาม กฎหมาย CREATIVE THAILAND I 18
“ทุกอย่างหมุนรอบฉัน (และโลก)” แนวคิดที่โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นคำ�สอนของคริสตศาสนาและแพร่หลาย มาตลอดยุคกลาง ความเข้าใจแบบอื่นถือเป็น การท้าทายพระผู้เป็นเจ้าอย่างไม่นา่ ให้อภัย นิโคเลาส์ โคเปอร์นคิ สั (Nicolaus Copernicus) และนักคิดแห่งยุคอีกหลายคนได้ทยอยออกมา โต้แย้งถึงความจริงข้อนีอ้ ยูน่ บั ร้อยปี จนทีส่ ดุ ข้อพิสจู น์วา่ “พระอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของ ระบบสุรยิ ะ” ได้รบั การยอมรับ ความเชือ่ ทาง ศาสนาจึงเริม่ ถูกสัน่ คลอน นำ�ไปสูก่ ารปฏิวตั ิ ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Revolution) ทีผ่ คู้ นเริม่ ตัง้ คำ�ถามกับความเชือ่ และไบเบิล ไม่ได้เป็นความจริงเพียงหนึ่งเดียวอีกต่อไป
“มนุษย์มาจากไหน” เรือ่ งต้นกำ�เนิดของมนุษย์ หากอ่านจากคัมภีร์ ไบเบิลจะได้ค�ำ ตอบว่า มนุษย์ทกุ คนเป็นลูกหลาน ของอดัม (Adam) และ อีฟ (Eve) ทีพ่ ระเจ้า ทรงสร้างขึน้ หลังจากสร้างสรรพสิง่ อืน่ ๆ แล้ว แต่แนวคิดนี้ก็ไม่วายถูกโต้แย้งด้วยข้อเสนอ ทีว่ า่ มนุษย์สบื เชือ้ สายมาจากลิง (Ape) และ สิง่ มีชวี ติ อืน่ บนโลกก็เกิดจากการวิวฒั นาการ แบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเจ้าทฤษฎีววิ ฒั นาการ อย่าง ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) และ อัลเฟรด วอลเลซ (Alfred Wallace)
ปัญหาโลกแตก “วันสิ้นโลก” ประเด็นฮอตฮิตของทุกยุคทุกสมัยที่ถูกทำ�นายว่าจะเกิดขึ้นและถูกหักล้างอย่างชัดเจนมาตลอดประวัติศาสตร์ หลายคนอาจคุ้นกับภาพยนตร์ ฟอร์มยักษ์ 2012 วันสิ้นโลก ที่เล่าถึงคำ�ทำ�นายจากปฏิทินของชาวมายาที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธันวาคมในปีนั้น หรือปรากฏการณ์ Y2K ที่คาดว่าจะมี การล่มสลายของระบบคอมพิวเตอร์ใน 2000 แต่จนแล้วจนรอด หากคุณได้มีโอกาสอ่านบทความนี้อยู่ ก็คงเป็นอีกหนึ่งข้อพิสูจน์ว่าโลกยังไม่แตกลงตาม คำ�ทำ�นายใด ๆ หากย้อนเวลากลับไป มนุษย์ให้ความสำ�คัญกับเรือ่ งวันสิน้ โลกมาหลายพันปี ซึง่ หลักฐานแรก ๆ ทีพ่ บนัน้ มีมาตัง้ แต่ชว่ ง 600 ปีกอ่ นคริสตกาล แม้รายละเอียด และสาเหตุจะแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา ความเชื่อ และวัฒนธรรม แต่ความคิดนี้นับเป็นแนวคิดที่ยังคงอยู่คู่กับสังคมมนุษย์เรื่อยมา
634 B.C 1584 1999 2000 2012
ตำ�นานของชาวโรมันโบราณกล่าวว่ามีนกอินทรีย์ 12 ตัวมาบอกกับ โรมูลุส (Romulus) ผู้เป็นกษัตริย์ องค์แรกและผู้ก่อตั้งกรุงโรมว่า อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของเขาจะดำ�รงอยู่เพียง 120 ปีเท่านั้น เมื่อใกล้ถึงวัน ชาวเมืองต่างพากันตื่นตระหนก แต่สุดท้ายอาณาจักรโรมันก็ยังสร้างความยิ่งใหญ่มานับพันปี
นักโหราศาสตร์ชาวลอนดอนหลายคนออกมาเตือนถึงเหตุการณ์น้ำ�ท่วมโลกครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1584 เป็นเหตุให้ชาวเมืองราว 20,000 คน รีบอพยพและกักตุนเสบียงอาหารไว้เป็น จำ�นวนมาก แต่พอถึงวันนั้น กลับไม่มีฝนตกเลยแม้แต่หยดเดียว นับเป็นการแกงครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ในศตวรรษที่ 16 นอสตราดามุส (Nostradamus) แพทย์และนักโหราศาสตร์ชื่อดังชาวฝรั่งเศสเชื้อสายยิว เป็นเจ้าของ คำ�ทำ�นายที่ถูกนำ�มาตีความต่อว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำ�คัญของโลกหลายครั้ง โดยคำ�ทำ�นายซึ่งเป็น ที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ ในเดือนที่ 7 ของปี 1999 จะมี “ราชาแห่งความน่าสะพรึงกลัว” มาจากฟากฟ้า ทำ�เอาผู้คนตีความไปว่าอาจจะมีอุกกาบาตพุ่งชนโลก และจะเป็นวันสิ้นโลกในที่สุด การก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ในปี 2000 หรือที่เรียกว่า Y2K (ย่อมาจาก Year 2000) นั้น ถูกคาดการณ์ว่า จะสร้างปัญหาให้กับระบบเอกสารและคอมพิวเตอร์ทั่วโลก เนื่องจากระบบที่ใช้บันทึกปีคริสตศักราช ในอุปกรณ์ต่าง ๆ จะถูกย่อลงเหลือเพียง 2 หลักท้าย (เช่น 1 มกราคม 1995 จะเป็น 01/01/95) ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 1 มกราคม 2000 ผู้คนจึงคิดว่าระบบจะย้อนตัวเองกลับไปที่เป็นปี 1900 และ ทุกสิ่งอย่างที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะเกิดการล่มสลายลง ปฏิทินแบบยาวของชนเผ่ามายาแห่งอารยธรรมอเมริกากลางได้สิ้นสุดลงในวันที่ 21 ธันวาคม 2012 ผู้คนพากันแตกตื่นว่ากาลอวสานของโลกกำ�ลังจะมาถึง แต่เมื่อวันนั้นมาถึงและไม่มีอะไรเกิดขึ้น จึงมีคน มาโต้แย้งว่า เนื่องจากระบบปฏิทินมีการเปลี่ยนแปลง ทำ�ให้มีการคำ�นวณวันที่ใหม่ ว่าจริง ๆ แล้วควรจะ เป็นช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2020 ที่ผ่านมาต่างหาก และก็เป็นอีกครั้งที่โลกยังคงไม่แตก
การสิน้ สุดและการเกิดใหม่คอื ปรากฏการณ์ทไ่ี ม่สามารถแยกออกจากกันได้ เพราะการจบลงของสิง่ หนึง่ ล้วนเป็นการเปิดประตูสคู่ วามเป็นไปได้ใหม่ ๆ เสมอ มนุษย์กา้ วผ่านคำ�ทำ�นายวันสิน้ โลกในอดีตทุกครัง้ มาพร้อมกับการล้มล้างความเชือ่ เดิมและเกิดเป็นองค์ความรูใ้ หม่วา่ ความเชือ่ นัน้ ไม่เป็นความจริง ซึง่ กระบวนการ เหล่านี้ทำ�ให้เราได้เรียนรู้ว่าการกล้าที่จะท้าทายความเชื่อเดิมอาจไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเมื่อสิ่งใดถูกล้มล้าง นั่นแปลว่าเรากำ�ลังก้าวต่อไปข้างหน้านั่นเอง ที่มา : บทความ “ธงชัย วินิจจะกูล: อย่าปล่อยให้ประวัติศาสตร์เรื่องใดมีอำ�นาจมากเกินไป” โดย กฤษฎา ศุภวรรธนะกุล จาก prachatai.com / บทความ “List of Dates Predicted for Apocalyptic Events” โดย World Heritage Encyclopedia จาก gutenberg.cc / history.com CREATIVE THAILAND I 19
Creative Business : ธุรกิจสร้างสรรค์
(ซ้าย) ปอน-อังกูร ไชยปรีชาวิทย์ (กลาง) ผ้าป่าน-สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ (ขวา) คริสซี่-ศิขรินทร์ ลางคุลเสน
เรื่อง : ปิยพร อรุณเกรียงไกร l ภาพ : สุรเชษฐ์ โสภารัตนดิลก
ประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะอาจดูเป็นเรือ่ งไกลตัวสำ�หรับคนทัว่ ไป แต่ GroundControl กลับถ่ายทอดเรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ในโลก ศิลปวัฒนธรรมได้อย่างสนุกและเข้าใจง่าย สไตล์เพื่อนเล่าให้ฟัง แถมยังมีเรียลไทม์คอนเทนต์ที่น่าติดตามไม่แพ้กัน “จริง ๆ เราเป็นบริษัทเอเจนซี่ค่ะ/ครับ” GroundControl นิยามตัวเองว่าเป็น Collaborative Agency ที่เชื่อมโยงเรื่อง ราวและผูค้ นจากหลากหลายสาขามาเจอกัน ไม่วา่ จะเป็นศิลปะ ธุรกิจ หรือวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับทีมงานทีม่ าจากสายงาน ต่างกัน นำ�ทีมโดย ผ้าป่าน-สิริมา ไชยปรีชาวิทย์ ช่างภาพและคิวเรเตอร์ คริสซี่-ศิขรินทร์ ลางคุลเสน อดีตนักสื่อสาร แห่ง GDH และ ปอน-อังกูร ไชยปรีชาวิทย์ ซึง่ มีประสบการณ์ดา้ นธุรกิจอาหารและธุรกิจเพือ่ สังคม ด้วยเชือ่ ว่าการผสมผสาน ศาสตร์ที่หลากหลายจะทำ�ให้เกิดองค์ความรู้ ประสบการณ์ใหม่ ๆ และคอมมูนิตี้ ถ้าพร้อมแล้ว เชิญขึ้นยานอวกาศไปทำ�ความรู้จักกับพวกเขากันเลย CREATIVE THAILAND I 20
This is GroundControl to Everyone ย้อนกลับไปช่วงโควิด-19 ระบาดในเดือนเมษายน ทั้งสามคนเปิดบริษัท พร้อมกับทำ�แคมเปญ “Co-with 19” โดยชวน 19 วงดนตรี กับ 19 นักออกแบบ และครีเอเตอร์ มาร่วมกันออกแบบหน้ากากผ้า เพื่อระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ ทางการแพทย์ให้กบั 3 จังหวัดภาคใต้ ซึง่ เป็นพืน้ ทีเ่ สีย่ งในเวลานัน้ กระบวนการ ทำ�งานทัง้ หมดใช้เวลาประมาณเดือนครึง่ และได้เงินระดมทุนราว 7 แสนบาท โดยส่วนหนึ่งนำ�ไปสร้างห้องตรวจเชื้อที่จังหวัดยะลา เมือ่ ผูค้ นอิม่ ตัวกับการกักตัวอยูบ่ า้ นและโหยหาการท่องเทีย่ ว ทีมงานจึง ผุดโปรเจ็กต์ Self-Quarantour พาชมพิพธิ ภัณฑ์และสถานทีส่ �ำ คัญในมุมมอง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวัฒนธรรม ตั้งแต่นครรัฐวาติกัน พิพิธภัณฑ์ ฟรีดา คาห์โล ไปจนถึงพระราชวังแวร์ซายส์ โดยแต่ละตอนจะมีไกด์นำ�ชม พร้อมข้อมูลแน่นปึ้ก ผสมเรื่องราวกอสซิปกรุบกริบ จนมีแฟนๆ ติดตามกัน ล้นหลาม “พอโควิด-19 เริม่ ซาลง มันมี pain point (ปัญหา) บางอย่างมาทดแทน เช่น การไม่ได้ออกไปเที่ยวข้างนอก และก็เป็นปัญหาส่วนตัวของเราด้วย บวกกับเทรนด์ส�ำ คัญทีก่ �ำ ลังมาตอนนัน้ คือ VR Tour ซึง่ ลองเล่นแล้วก็สนุกดี เรากับผ้าป่านเคยไปเดินมิวเซียมกับนักรบ มูลมานัส (ศิลปินภาพคอลลาจ) ซึ่งเขาเล่าสนุกและได้ความรู้ด้วย เลยอยากนำ�ประสบการณ์แบบนี้มาให้กับ ทุกคน ด้วยการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ที่สนุก บวกกับเทคโนโลยี และเพื่อน ของพวกเรามาเป็นไกด์นำ�ชม ทำ�ให้เกิดประสบการณ์ใหม่ขึ้นมา ไม่จำ�เป็น ต้องนั่งอ่านตำ�ราอย่างเดียว” คริสซี่เล่าถึงที่มาของโปรเจ็กต์นี้ “เราเห็นว่าธุรกิจการท่องเที่ยวและอาหารเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างได้รับ ผลกระทบรุนแรงที่สุด เลยลองคิดว่ามีเทรนด์อะไรที่น่าสนใจบ้างในมุม การท่องเที่ยว ซึ่งเราไม่คิดว่ามันจะหยุดอยู่แค่นี้ด้วย โปรเจ็กต์นี้สามารถ ตอบโจทย์ในแง่การท่องเที่ยวต่อไปได้ เพราะเราคิดไอเดียบนพื้นฐานของ ปัญหา แล้วเราสามารถทำ�อะไรได้บ้าง โดยเล่าแบบเพื่อนเล่าให้ฟังเป็น คอนเซ็ปต์หลัก ไม่ใช่การเลกเชอร์” ปอนเสริม Self-Quarantour ทัวร์หลากรสที่มีทั้งดรามา โปกฮา และ เม้าท์มอยค่ะคุณพี่ เบื้องหลังความสนุกผสมสาระที่ย่อยง่าย คือการรีเสิร์ชข้อมูลมหาศาล ลิสต์ประเด็นที่น่าสนใจ เขียนสคริปต์ ซักซ้อมการนำ�ชม หาภาพประกอบ การนำ�ชม ทีส่ �ำ คัญคือ เปิดพืน้ ทีใ่ ห้กบั ไกด์อย่างเต็มที่ ดังนัน้ บรรยากาศและ อรรถรสในแต่ละอีพีจึงแตกต่างกันไป จากนั้นทีมงานจะทำ�คลิปไฮไลต์ 5-7 นาที เพือ่ สรุปเนือ้ หาและดึงความสนใจของผูช้ มให้กลับไปดูคลิปอีกครัง้ เช่น ตอน “Vatican City” นำ�ชมโดยฟาโรส-ณัฏฐ์ กลิ่นมาลี เจ้าของรายการ “ไกลบ้าน” บนยูทูบ เป็นตอนที่อัดแน่นไปด้วยข้อมูลผสมกับความตลกและ เป็นกันเอง พร้อมย้ำ�ว่าไม่ต้องเชื่อเขาก็ได้ และเปิดพื้นที่ให้ทุกคนมาแชร์ ข้อมูลกัน “กว่าจะออกมาเป็นเนือ้ หาทีส่ นุก เบือ้ งหลังเราทำ�งานรีเสิรช์ กันหนักมาก เช่น พระราชวังแวร์ซายส์มอี ะไรน่าสนใจบ้าง ลิสต์ออกมาได้ 10 หน้ากระดาษ A4 เราก็มาลองทำ�กันจริง ๆ ว่าจะเล่าแบบไหน คนดูจะรู้สึกแบบไหน เรามองว่ามันเป็นรายการเลยครับ มีแพตเทิร์นและใส่ความตั้งใจไปเต็มที่ พอฟีดแบ็กออกมา เราก็แฮปปี้มาก เพราะมันเกิดคอมมูนิตี้จริง ๆ”
...เป้าหมายของเราคือ เราต้องการ ขยายขอบเขตของคำ�ว่า ‘โลกศิลปะ’ หรื อ โลกของการสร้ า งสรรค์ กั บ ‘โลกธุ ร กิ จ ’ ซึ่ ง ตอนแรกอาจจะยั ง ไม่เห็น Value (คุณค่า) ของศิลปะ มากนัก แต่ถ้าเราขยายจากจุดเริ่มต้น ต่อไปได้ จะมีผลิตภัณฑ์หรือแคมเปญ ออกมาในหลายรูปแบบ...
“เราพยายามทำ�ให้ยอ่ ยง่าย และให้พน้ื ทีก่ บั ไกด์คอ่ นข้างเยอะ เช่น อีพี ของนักรบหรือพี่ฟาโรส จะมีความแกงสูง เม้าท์มอย จ้อจี้ แต่ตอนของ พี่แพท-พัทริกา ลิปตพัลลภ ที่เล่าถึงฟรีดา คาห์โล จะดรามามาก ๆ เพราะ เขาถนัดแบบนั้น ส่วนตอนของครูทอม (จักรกฤต โยมพยอม) ก็จะบันเทิง ไปเลย พอมันเป็นพื้นที่ที่ไกด์แต่ละคนเขาเชี่ยวชาญในวิธีการเล่า มันก็เลย เข้าปากเขา เราแค่ควิ เรตให้เนือ้ หาเข้าใจง่าย และเป็นสำ�เนียงของไกด์ แต่ละ อีพีจึงไม่จำ�เจและมีความหลากหลายตามไกด์ของเราด้วย” Community is the New Value ข้อมูลสร้างมูลค่า คอมมูนติ ้ี สร้างคุณค่าในระยะยาว กระแสตอบรับเชิงบวกจาก Self-Quarantour และคอนเทนต์ที่เข้าถึงง่าย ทำ�ให้ GroundControl กลายเป็นคอมมูนติ ข้ี องคนรักศิลปะ ตามความตัง้ ใจของ ทีมงานทีอ่ ยากยกระดับวงการศิลปะ และเชือ่ มโยงคอมมูนติ ต้ี า่ ง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่เพียงเท่านั้นทีมงานยังวางแผนทำ�แคมเปญอย่างต่อเนื่องในหลายรูปแบบ เช่น “ถ้าการเมืองดี คงไม่ต้องมีเวิร์กช็อป” ที่ชวนนักเรียนและนักศึกษา มาร่วมกิจกรรมที่เปิดเสรีภาพทางความคิด โดยจับมือกับ underDOC Film, Eyedropper Fill, Punch Up และ T’la Frame ในแง่ธุรกิจ GroundControl สร้างรายได้ด้วยโมเดลเอเจนซี่ที่เน้นการทำ�งานร่วมกับผูค้ นจากวงการต่าง ๆ ไปจนถึงการตอบโจทย์ลูกค้าบริษัทและแบรนด์ชั้นนำ�ที่ให้ความสำ�คัญกับ งานศิลปะ “จริง ๆ แล้วเป้าหมายของเราคือ เราต้องการขยายขอบเขตของคำ�ว่า ‘โลกศิลปะ’ หรือโลกของการสร้างสรรค์ กับ ‘โลกธุรกิจ’ ซึ่งตอนแรกอาจจะ ยังไม่เห็น Value (คุณค่า) ของศิลปะมากนัก แต่ถ้าเราขยายจากจุดเริ่มต้น ต่อไปได้ จะมีผลิตภัณฑ์หรือแคมเปญออกมาในหลายรูปแบบ เราคิดไปถึง ขัน้ ทีว่ า่ วันหนึง่ เราจะกลายเป็นผูด้ แู ลศิลปินและสามารถสร้างงานขึน้ มาด้วย หรือแม้กระทัง่ ไปแตะโลกของ Fine Art (วิจติ รศิลป์) แต่ตอนนีเ้ ราเพิง่ เริม่ ต้นกัน” ผ้าป่านกล่าวถึงหมุดหมายที่ทั้งสามคนวางไว้บนความเป็นไปได้อันไม่รู้จบ
CREATIVE THAILAND I 21
ความสนุกของประวัติศาสตร์ คื อ เราได้ ถ กเถี ย งกั น และ ตระหนั ก ถึ ง ความเป็ น ไปได้ ของหลาย ๆ อย่าง เราจะคิดให้ รอบด้ า นก่ อ นตั ดสิ น ใจ และ กว้างขวางในความรู้มากขึ้น ปัจจุบันมีเพจและสื่อที่นำ�เสนอคอนเทนต์เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและ ประวัตศิ าสตร์ให้เลือกอ่านกันไม่หวาดไม่ไหว แต่ทงั้ สามคนมองว่าในอนาคต สือ่ จะมีความหลากหลายมากยิง่ ขึน้ GroundControl จึงเน้นการสร้างคอมมูนติ ้ี เป็นหลัก และนำ�เสนอคอนเทนต์เฉพาะทาง โดยผสมผสานองค์ความรู้และ กลุ่มคนจากสังคมต่าง ๆ “เรามองว่าคอมมูนติ หี้ รือข้อมูล คือ New Oil (คุณค่าใหม่) ถ้าใครสร้าง คอมมูนิตี้และหาทางต่อยอดได้ ก็จะสามารถเข้าถึงโอกาสอีกมากมาย นั่นคือโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต ตอนนี้เราพยายามสร้างกลุ่มเครือข่าย ศิลปินซึ่งผ้าป่านมีมานานแล้วให้แข็งแรงมากขึ้น และชวนมาทำ�งานร่วมกัน หรือทำ�งานตามโจทย์ลูกค้าแบรนด์ต่าง ๆ ที่อยากนำ�เสนอเรื่องศิลปะ หรือ เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ส่วนเพจ เราพยายามสร้างคอมมูนิตี้ของคนรัก ศิลปะ หรือแม้แต่คนที่อาจจะไม่ได้อินมากอย่างผม และพยายามมองว่า ศิลปะเข้าถึงง่ายขึน้ จับต้องได้มากขึน้ ” ปอนอธิบายในฐานะผูด้ แู ลฝ่ายธุรกิจ “เราไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นสื่อ แต่เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สร้าง คอมมูนติ ม้ี ากกว่า แล้วเราจะสือ่ สารกับคอมมูนติ น้ี ผ้ี า่ นรูปแบบไหนบ้าง ไอเดีย เหล่านีจ้ ะถูกพัฒนาเป็นแคมเปญทัง้ ออนกราวด์และออนไลน์ เพราะเป้าหมาย ของเราไม่ใช่การไปแข่งกับคนอื่น” ผ้าป่านเสริม “ในตลาดตอนนี้จะเห็นได้ว่าสื่อใหญ่พยายามรวบรวมสื่อเล็กเข้าไป เพราะเขาเห็นว่าสื่อเล็ก ๆ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มได้อย่าง มีประสิทธิภาพมากกว่า โมเดลของอินฟลูเอนเซอร์หรือครีเอเตอร์จึงเติบโต ดังนั้นสิ่งที่มีมูลค่าและคุณค่าจริง ๆ ก็คือ คอมมูนิตี้ ซึ่งเราอยากสร้าง คอมมูนติ ใี้ นแบบของเรา และเชือ่ มต่อระหว่างกันในรูปแบบต่าง ๆ มากกว่า” History Repeats Itself ถอดบทเรียนจากประวัตศิ าสตร์ซ�ำ้ รอย ไม่ใช่แค่คอศิลปะ คนรุ่นใหม่ก็สนใจและติดตาม GroundControl เช่นกัน ส่วนหนึ่งเพราะได้น้อง ๆ ทีมงานไฟแรง มาช่วยค้นข้อมูล และสร้างสรรค์ คอนเทนต์กันเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นเรียลไทม์คอนเทนต์ที่เกาะติดกระแส หรือ คอนเทนต์ออริจินัลก็ตาม “อย่างแรก ภาษามันสื่อสารกับเขา ไม่ทำ�ให้เขารู้สึกว่าศิลปะหรือ ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องไกลตัว อีกอย่างต้องให้เครดิตกับเจเนอเรชันนี้ที่ ต้องการค้นหาและรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์ด้วยตัวเองอยู่แล้ว อาจจะด้วย เทคโนโลยีทก่ี า้ วกระโดด ทำ�ให้ขอ้ มูลส่วนใหญ่อยูใ่ กล้ตวั และกระตุน้ ให้คนรุน่ นี้ เกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ถ้ามองในแง่การศึกษาศิลปะ เราเรียนศิลปะใน
โรงเรียน ซึ่งมักจะมีถูกผิด เราไม่เคยได้เรียนประวัติศาสตร์ศิลปะของโลก เราเรียนสีน้ำ� แต่ไม่เคยรู้เลยว่าฟรีดา คาห์โลคือใคร มีส่วนขับเคลื่อน การเปลีย่ นแปลงอย่างไร มันก็สะท้อนถึงระบบการศึกษาทีไ่ ม่ตอบโจทย์ ทำ�ให้ เขาต้ อ งหาการศึ ก ษานอกห้ อ งเรี ย น และเราอยากเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ การขับเคลื่อนระบบศึกษาด้านศิลปะให้แข็งแรงมากขึ้น” ผ้าป่านกล่าว “เขาต้องการข้อมูลตรงนี้ เพราะถูกปิดบังอะไรหลาย ๆ อย่าง พอถึง เวลาเขามีสทิ ธิท์ จี่ ะเปิดกว้างและหาอะไรในโลกโซเชียล เราก็เข้ามาซัพพอร์ต เรื่องข้อมูล” คริสซี่อธิบายถึงความถูกต้องของข้อมูลที่จะต้องมีแหล่งข้อมูล ที่พูดตรงกัน 2 ที่ขึ้นไป ขณะเดียวกันทีมงานก็ไม่ได้วางตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ ต้ อ งการเปิ ด พื้ น ที่ ใ ห้ ค นมาพู ด คุ ย และถกเถี ย งกั น เพราะข้ อ มู ล ประวัติศาสตร์ไม่ตายตัว และคัดค้านได้ด้วยหลักฐานข้อมูลใหม่ “เราอยากให้เครดิตพีฟ่ าโรสด้วย เขาบอกว่าไม่ตอ้ งเชือ่ ดิฉนั ก็ได้ เรามา แชร์ความรูไ้ อเดียกัน ถ้าเราตัง้ ตัวเองเป็นผูร้ ู้ นัน่ คือความทุกข์ มันไม่สนุกหรอก จริง ๆ แล้วประวัติศาสตร์มันดิ้นได้ มันมีการค้นพบใหม่ ๆ ในบริบทที่ เปลีย่ นแปลงไป ตีความใหม่ได้ หรือแม้แต่สง่ิ เดียวกัน ก็ตคี วามใหม่ได้ดว้ ยซ้�ำ ” ในฐานะคนทำ�คอนเทนต์วา่ ด้วยประวัตศิ าสตร์ศลิ ปะ ย่อมมองเห็นร่อง รอยของประวัตศิ าสตร์ทมี่ กั จะเกิดขึน้ ซ้�ำ รอย แต่การเรียนรูป้ ระวัตศิ าสตร์จะ ทำ�ให้มีข้อมูลรอบด้าน และมองเห็นภาพรวมของสิ่งต่าง ๆ กว้างมากขึ้น ซึง่ จะนำ�ไปสูก่ ารตัดสินใจทีด่ ขี นึ้ ในอนาคต หรืออาจเลีย่ งปัจจัยแวดล้อมทีจ่ ะ ส่งผลให้ประวัติศาสตร์วนกลับมาสู่ลูปเดิมอีกครั้ง “ความสนุกของประวัติศาสตร์คือเราได้ถกเถียงกัน และตระหนักถึง ความเป็นไปได้ของหลาย ๆ อย่าง เราจะคิดให้รอบด้านก่อนตัดสินใจ และ กว้างขวางในความรู้มากขึ้น ในประวัติศาสตร์ศิลปะ เราได้เห็นต้นแบบของ ความกล้าทีจ่ ะต่อสูก้ บั อะไรบางอย่าง กลุม่ คนเล็ก ๆ เปลีย่ นแปลงอะไรได้บา้ ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถนำ�มาปรับใช้ในชีวิตประจำ�วันได้” “การเข้าใจศิลปะชิน้ หนึง่ มันมีหลายเลเยอร์ เช่น เลเยอร์ทด่ี แู ล้วสวยงาม สำ�หรับผู้เสพ แต่บางครั้งก็ต้องอาศัยการตีความหรือถอดสัญญะบางอย่างที่ ศิลปินต้องการจะสื่อ เราต้องรู้ประวัติศาสตร์ศิลปะ หรือประวัติศาสตร์โลก ไปจนถึงประวัติศาสตร์ของสังคมนั้น ๆ และบริบทนั้น ๆ จึงจะเข้าใจมันได้ ถ้าคุณไม่รู้ คุณเสพเท่านั้นก็ได้ แต่เมื่อไรที่คุณรู้ มันจะพาคุณไปที่อื่น” ขอบคุณสถานที่ : AIS Design Centre (AIS D.C.) ดิ เอ็มโพเรียม ชั้น 5
CREATIVE THAILAND I 22
How To : ถอดวิธคี ดิ
เก็ บ และใช้ เทคนิคบันทึกข้อมูล
การจัดการข้อมูลแต่ละชนิด การจัดการเพื่อเก็บ ข้อมูลทีด่ ยี งั ครอบคลุมถึงการจัดหรือคัดทิง้ ข้อมูล ที่มีคุณค่าน้อยหรือไม่คุ้มค่าในการจัดเก็บด้วย เนื่องจากจะส่งผลถึงการเปลี่ยนวิธีการจัดการ เมื่อต้องการการประเมินใหม่ (Re-Evaluation) ของข้อมูล
ให้เป็นประวัติศาสตร์ ในอนาคต เรื่อง : นพกร คนไว
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีท�ำ ให้เราสามารถผลิต ข้อมูลได้เพิม่ ขึน้ อย่างมหาศาล จึงเป็นความท้าทาย ของการทำ�งานในแต่ละสายอาชีพในการจัดการ กับข้อมูลทีถ่ กู สร้างขึน้ อยูต่ ลอดเวลา ซึง่ ข้อมูลนัน้ อาจอยูใ่ นรูปแบบทีห่ ลากหลาย เช่น สิง่ พิมพ์ หรือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังมีอีกจำ�นวนมากที่ถูก ปล่อยให้อยูก่ ระจัดกระจายตามทีต่ า่ ง ๆ การมีระบบ การ “จัดการ” และ “จัดเก็บ” ข้อมูลทีม่ คี วามมัน่ คง จึงกำ�ลังกลายเป็นสิ่งสำ�คัญไม่ว่าจะเป็นข้อมูล ส่วนบุคคลหรือข้อมูลระดับองค์กร
ดูแลข้อมูลอย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ การจัดเก็บ (Keeping)
การจัดเก็บ (Keeping) เริ่มจากการสร้างเกณฑ์การประเมินข้อมูลที่เรา ต้องการจะเก็บเป็นอันดับแรก ซึง่ มักจะขึน้ อยูก่ บั รูปแบบของข้อมูล เช่น ข้อมูลที่มีคุณค่าชั่วคราว ข้อมูลทีม่ คี ณุ ค่าถาวร ข้อมูลทีถ่ กู ใช้อย่างต่อเนือ่ ง ไปจนถึ ง การประเมิ น ความสำ � คั ญ ของข้ อ มู ล ต่อความคุม้ ค่าในการจัดเก็บเพือ่ ใช้ประโยชน์และ ค้นหาในอนาคต ในขณะที่บางคนอาจจะคำ�นึง ถึงความผูกพันต่อจิตใจของชุดข้อมูลต่าง ๆ นอกจากนี้ในกระบวนการจัดเก็บ ยังรวมไปถึง การตัดสินใจและบันทึกเหตุการณ์และบริบทที่ เกี่ยวข้องในการจัดเก็บด้วยว่าเป็นการจัดเก็บ เมื่อใด เก็บที่ไหน อย่างไร ใครเป็นผู้จัดเก็บ ซึง่ ข้อมูลเหล่านีจ้ �ำ เป็นอย่างยิง่ สำ�หรับการจัดเก็บ ข้อมูลเพื่อการทำ�งานเป็นทีมและข้อมูลสำ�หรับ องค์กร
การจัดการ (Management)
การใช้ประโยชน์ (Exploitation)
การจัดการ (Management) เรามี วิ ธี ก ารจั ด การกั บ ข้ อ มู ล แตกต่ า งกั น ไป ตามประเภทของข้อมูลและเนื้อหาที่บรรจุอยู่ใน ข้อมูลต่าง ๆ สำ�หรับการจัดการข้อมูลที่ดี เราอาจ ต้องพิจารณาถึงทรัพยากรและเทคโนโลยีที่ใช้ใน การจัดการ รวมถึงการคาดการณ์เกี่ยวกับการใช้งาน ข้อมูลในอนาคตที่ก็จะมีผลต่อการตัดสินใจใน CREATIVE THAILAND I 23
การใช้ประโยชน์ (Exploitation) เป็ น วิ ธี ก ารเข้ า ถึ ง การใช้ ข้ อ มู ล ที่ ถู ก จั ด เก็ บ โดยมากจะจำ�แนกการจัดเก็บออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ การไล่เรียงตามโครงสร้าง (Navigation) นั่ น คื อ การค้ น หาตามโครงสร้ า งที่ เ ราสร้ า งไว้ เช่น การสร้างโฟลเดอร์ที่แตกแขนงเป็นลำ�ดับ ซึ่งวิธีน้ีอาจมีข้อเสียตรงที่ หากข้อมูลส่วนใดที่ ถูกสร้างลำ�ดับลึกลงไปมากก็จะยิง่ ทำ�ให้การค้นหา ทำ�ได้ลำ�บากขึ้น ส่วนอีกวิธีคือการสืบค้นผ่าน ตัวอักษร (Search) ของข้อมูลที่ต้องการโดยตรง ซึง่ แม้จะเป็นวิธที สี่ ะดวกแต่ขอ้ เสียก็คอื ต้องอาศัย ความจำ�ของผูใ้ ช้งานต่อการจำ� “ชือ่ ” เรียกของข้อมูล ที่ต้องการค้นหา
ข้อมูลที่ผ่านมาในแต่ละวัน อาจถูกมองว่า ไม่สำ�คัญ แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าวันไหนที่จะ จำ�เป็นต้องใช้ขอ้ มูลนัน้ ๆ เพือ่ ประกอบการตัดสินใจ หรือเพื่อเรียนรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต การจัดเก็บ ข้อมูลเพือ่ ใช้ประโยชน์ในอนาคต จึงเป็นสิง่ ทีข่ าด ไม่ได้ในการทำ�ความเข้าใจกับประวัตศิ าสตร์และ สร้างอนาคตทีด่ กี ว่าจากข้อมูลทีถ่ กู จัดเก็บไว้เป็น อย่างดี ที่มา : วิจัย “การดูแลรักษาคอลเลกชั่น จดหมายเหตุของ นักออกแบบไทย” โดย ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ดร. ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
commons.wikimedia.org
Creative Place : พื้นที่สร้างสรรค์
เรื่อง : วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ในช่วงเหตุการณ์ปฏิวัติอียิปต์ปี 2011 (Egyptian Revolution) ที่ประชาชนออกมาร่วมประท้วงรัฐบาลเผด็จการครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด ที่เกิดขึ้นในกรุงไคโร ทำ�ให้เมืองหลวงและจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเยี่ยมชมอารยธรรมอียิปต์โบราณ หนึ่งใน อารยกรรมที่เก่าแก่และยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกสักครั้งในชีวิตต้องหยุดชะงักลง จากเดิมที่อียิปต์เคยต้อนรับนักท่องเที่ยวมากกว่า 14 ล้านคนในปี 2010 กลับลดลงเหลือเพียงประมาณ 9 ล้านคนในปี 2015 วิกฤตการท่องเที่ยวที่เป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ จึงจำ�เป็นต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน CREATIVE THAILAND I 24
The Clashes in Egypt
หากว่ากันตามจริงแล้ว การท่องเทีย่ วในช่วงขาลง ทีช่ าวอียปิ ต์ตอ้ งเผชิญตัง้ แต่ปี 2011 นัน้ ไม่ได้เป็น ผลพวงทีเ่ กิดขึน้ จากเพียงเหตุการณ์ความไม่สงบ ทางการเมืองภายในประเทศเท่านั้น แต่เพราะ หลายปีทผี่ า่ นมา อียปิ ต์ได้เผชิญกับความท้าทาย จากปัญหาผู้ก่อการร้ายมาแบบนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งแน่นอนว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นล้วน ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ ประเทศเป็นอย่างมาก เริ่มตั้งแต่เหตุการณ์ในปี 2015 จากการที่ รัฐอิสลามหรือกลุ่มไอเอสโจมตีเครื่องบินของ สายการบินรัสเซียเหนือคาบสมุทรไซนาย และ คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำ�นวนถึง 224 ชีวิต ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยว เหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำ�ให้ประเทศรัสเชียประกาศห้ามทุกการเดินทาง มายังอียปิ ต์เป็นเวลานานกว่า 2 ปี อีกทัง้ สายการบิน อื่น ๆ และรัฐบาลยุโรปในอีกหลายประเทศก็ยัง กำ�หนดข้อจำ�กัดที่เข้มงวดขึ้น หากนักท่องเที่ยว ประเทศของตนต้องการจะเดินทางมายังอียิปต์ เนื่ อ งจากมี ค วามกั ง วลด้ า นความปลอดภั ย ด้ ว ยเหตุ นี้ ทำ � ให้ อี ยิ ป ต์ ต กอยู่ ใ นที่ นั่ ง ลำ � บาก เพราะขาดนักท่องเที่ยวจากโซนยุโรปไปไม่น้อย อีกทั้งในปี 2017 ยังเกิดเหตุการณ์ที่สร้างความ เกลียดชังและความแตกแยกในประเทศ เมือ่ กลุม่ ไอเอสทำ�การลอบวางระเบิดในโบสถ์คริสต์ 2 จุด ณ กรุงไคโร ส่งผลให้มผี เู้ สียชีวติ ไม่น้อยกว่า 44 คน และมีจ�ำ นวนผูบ้ าดเจ็บอีกนับร้อย เหตุการณ์นา่ สลด ในครั้งนี้ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับคริสตชน ทั่วโลกไม่นอ้ ยด้วยเช่นกัน กระทั่ง โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิ บ ดี ข องสหรั ฐ อเมริ ก าได้ อ อกมา ประนามเหตุการณ์โจมตีชาวคริสต์ที่เกิดขึ้นใน อียิปต์ด้วยตนเอง
ความโกลาหลจากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยผูก้ อ่ การร้ายในอียปิ ต์เหล่านีน้ เี่ อง ทีส่ ร้างภาพจำ� ของประเทศอียิปต์จากที่เคยเป็นประเทศเจ้าของ อารยธรรมโบราณอันทรงคุณค่า ไปสู่ประเทศ จุดหมายปลายทางการท่องเทีย่ วทีด่ จู ะไม่ปลอดภัย สักเท่าไร นักท่องเที่ยวจำ�นวนมากจึงยังไม่กล้า เดินทางมายังอียิปต์ และเพื่อกระตุ้นความมั่นใจ ให้นักท่องเที่ยวกลับมาเยือนอียิปต์อีกครั้ง ในปี 2018 รัฐบาลจึงได้ทมุ่ เงินจำ�นวนหลายล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในการปฏิรูปด้านความปลอดภัยให้กับ อียิปต์ที่เริ่มต้นตั้งแต่สนามบินในประเทศเพื่อ เรียกความมั่นใจของนักท่องเที่ยว รวมทั้งยังลด การเรียกเก็บเงินหรือค่าธรรมเนียมจากสายการบิน ต่าง ๆ ที่ช่วยกระตุ้นให้มีการเพิ่มเที่ยวบินมายัง อียปิ ต์ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เชิญนายกรัฐมนตรี หญิงสุดแกร่งของเยอรมนีอย่าง อังเกลา แมร์เคิล ให้เดินทางมาเยี่ยมชมมหาพีระมิดแห่งกีซาและ ร่วมพูด คุยเรื่องธุรกิจระหว่างประเทศ รวมไปถึง การโชว์ภาพของนักแสดงฮอลลี วู ดชื่ อ ดั ง อย่ า ง วิลล์ สมิธ (Will Smith) และครอบครัวที่เดินทาง มาเทีย่ วมหาพีระมิดแห่งนีด้ ว้ ยเช่นกัน พร้อมกันนัน้ ก็ ยั ง ออกแคมเปญการท่ อ งเที่ ย วที่ เ รี ย กว่ า “Masr Wahashtouna” ซึ่งแปลว่า “อียิปต์ เราคิดถึงคุณ” เป็นภาษาอาหรับ เพื่อดึงดูด
นักท่องเที่ยวจากประเทศฝั่งอาหรับให้กลับมาที่ อียิปต์มากขึ้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการประกาศ ให้ โ ลกได้ รู้ ว่ า อี ยิ ป ต์ พ ร้ อ มแล้ ว ที่ จ ะต้ อ นรั บ นักท่องเที่ยวจากทั่วโลกอีกครั้ง
The Great Return
ไม่เพียงระบบความปลอดภัยที่ถูกยกระดับใน ท่าอากาศยานแห่งชาติไคโรเท่านั้น เพราะในปี 2020 หากนักท่องเที่ยวมีโอกาศเดินทางไปยัง อียปิ ต์ ทีส่ นามบินแห่งนีก้ เ็ ตรียมต้อนรับผูโ้ ดยสาร ด้วยการเปลีย่ นห้องโถงหลายห้องภายในสนามบิน ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุขนาดย่อม ๆ ที่ มี ไ ฮไลต์ อ ยู่ ที่ ก ารจั ด แสดงมั ม มี่ ถึ ง 3 ตั ว โบราณวัตถุมากกว่า 70 ชิ้นจากพิพิธภัณฑ์อียิปต์ อีก 12 ชิ้นจากพิพิธภัณฑ์ศิลปะอิสลาม และ จากพิพิธภัณฑ์เดอะ คอปติกอีก 6 ชิ้น ทั้งหมดนี้ เพื่อเตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสารที่ ผ่านการต่อเครื่องมายังอียิปต์โดยเฉพาะ โดยจะ เรียกเก็บค่าเข้าชมที่ราคาเพียง 3 เหรียญสหรัฐฯ เท่านั้นและเปิดให้เข้าชมได้ตลอด 24 ชั่วโมง อีกด้วย หากไม่ ติ ด ว่ า ปี นี้ ยั ง ไม่ ส ามารถหยุ ด การ แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไว้ได้ อียิปต์น่าจะ อยู่ ใ นลิ ส ต์ ป ระเทศเนื้ อ หอมสำ � หรั บ การเป็ น
grandegyptianmuseum.org
หนึ่งในแผนการเปิดตัว “The Grand Egyptian Museum” พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ โ บราณคดี ที่ ใ หญ่ ที่ สุ ด ของโลกที่ค่อย ๆ ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี 2012 และ วางแผนว่าจะเปิดตัวอยู่หลายรอบในหลายปีที่ ผ่านมา จึงถือได้วา่ เป็นแผนแก้เกมให้อตุ สาหกรรม ท่ อ งเที่ ย วในอี ยิ ป ต์ ไ ด้ ก ลั บ มารุ่ ง เรื อ งเหมื อ น แต่ ก่ อ น อี ก ทั้ ง ความยิ่ ง ใหญ่ ต ระการตาของ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังเป็นเหมือนความหวังในการ ชุบชีวิตอารยธรรมอียิปต์ให้ฟื้นคืนชีพกลับมา รุ่งโรจน์อีกครั้งในศตวรรษที่ 21
The Grand Egyptian Museum (GEM) : ตัวอาคารได้รับการออกแบบโดยบริษัท Heneghan Peng ตั้งอยู่ในแนว ทีร่ าบสูงทะเลทราย ทำ�ให้การสร้างอาคารมีความซับซ้อนและออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายสามเหลี่ยมกลมกลืนกับมหาพีระมิด กิซ่าที่อยู่ห่างออกไปเห็นได้ในระดับสายตา พื้นที่ส่วนมากสร้างด้วยกำ�แพงหินที่มีคุณสมบัติโปร่งแสง CREATIVE THAILAND I 25
Khaled DESOUKI / AFP นอกจากความยิง่ ใหญ่ตระการตาแล้ว GEM ยังได้รวบรวมเทคโนโลยีลา่ สุดอย่าง Virtual Reality (VR) ในการนำ�เสนอผลงานการจัดแสดงอารยธรรมอียิปต์ในมุมมองใหม่ ๆ พร้อมทั้งทำ�หน้าที่ เป็นศูนย์กลางการสื่อสารระหว่างพิพิธภัณฑ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมและสถานที่ในการจัดประชุมด้านประวัติศาสตร์อีกด้วย
จุ ด หมายปลายทางของนั ก ท่ อ งเที่ ย วเป็ น แน่ ถึงขนาดที่สำ�นักข่าวบีบีซียังยกย่องว่าปี 2020 ควรเป็นปีที่นักท่องเที่ยวควรมาเยือนกรุงไคโร สักครั้ง เพราะนอกจากการยกพิพิธภัณฑ์ย่อม ๆ ไปจัดวางต้อนรับนักท่องเที่ยวกันถึงที่สนามบิน แล้ว สิง่ ทีห่ า้ มพลาดในปีนขี้ องการมาเยือนอียปิ ต์ อีกอย่างก็คอื การเข้าชม “The Grand Egyptian Museum: GEM” พิพธิ ภัณฑ์โบราณคดีที่ใหญ่ที่สดุ ในโลก ซึ่งทางการทุ่มงบประมาณการก่อสร้างไว้ กว่าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ (โดยกู้ยืมเงินบางส่วน จากประเทศญี่ปุ่น) โดยพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อยู่ห่าง จากมหาพีระมิดกีซาเพียงประมาณ 2 กิโลเมตร เพือ่ สร้างขึน้ เพือ่ อุทศิ ให้แก่การนำ�เสนออารยธรรม อียปิ ต์เพียงอารยธรรมเดียวเท่านัน้ โดยจะนำ�เสนอ อียปิ ต์ในแง่มมุ และยุคต่าง ๆ ทัง้ หมดผ่านการจัดแสดง โบราณวัตถุที่ค้นพบ ภายในพื้นที่ประมาณ 480,000 ตารางเมตร นอกจากรูปปั้นฟาโรห์แรเมซีสที่ 2 ขนาดยักษ์
อายุราว 3,200 ปี มหาราชาที่ถือกันว่ายิ่งใหญ่ ทรงอำ�นาจ และครองราชย์ยาวนานทีส่ ดุ ของอียปิ ต์ ที่ยืนเด่นเป็นไอคอนต้อนรับนักท่องเที่ยวแล้ว ภายในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ จ ะจั ด เป็ น พื้ น ที่ นิ ท รรศการ ครอบคลุมประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยจัดแสดงโบราณวัตถุจ�ำ นวนมากถึง 100,000 ชิน้ และอีกกว่า 20,000 ชิ้นที่จะถูกจัดแสดงเป็น ครั้งแรก โดยทางพิพิธภัณฑ์ได้รวบรวมมาจาก พิพธิ ภัณฑ์ตา่ ง ๆ ทัง้ จากในอียปิ ต์และต่างประเทศ มีไฮไลต์สำ�คัญอยู่ที่การจัดแสดงหลุมฝังศพเต็ม คอลเลคชันของกษัตริย์ตุตันคาเมนเป็นครั้งแรก หรือสุสานของฟาโรห์ที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะเต็มไปด้วยปริศนาแต่กม็ คี วามสมบูรณ์มาก ที่สุด นอกจากนี้ยังมีส่วนของพิพิธภัณฑ์เด็กที่ จั ด แสดงแยกออกมาต่ า งหาก ในส่ ว นนี้ จ ะมี การนำ�เทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการอธิบาย โลกแห่งอียิปต์ยุคโบราณให้เด็ก ๆ รู้สึกสนุกและ เข้าใจประวัติศาสตร์ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ส่วนพื้นที่ CREATIVE THAILAND I 26
ที่เหลือจะแบ่งเป็นโซนแกลเลอรี ศูนย์ประชุม ร้านอาหาร รวมทั้งศูนย์การศืกษาและวิจัยเรื่อง อารยธรรมอียปิ ต์ โดยคาดกันว่า GEM จะสามารถ ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือนได้ประมาณ 8 ล้านคนต่อปี หรือเทียบเท่าได้กบั จำ�นวนผูเ้ ข้าชม พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทันในกรุงนิวยอร์ก (Metropolitan Museum of Art) เลยทีเดียว ซึ่งค่าเข้าชมพิพิธภัณธ์แห่งนี้สนนราคาไว้ที่ 20 เหรียญสหรัฐฯ และแม้พิพิธภัณฑ์จะสร้างเสร็จ พร้อมเข้าชมแล้ว แต่เนือ่ งจากวิกฤตโควิด-19 จึง ทำ�ให้ GEM ตัดสินใจเลื่อนวันเปิดพิพิธภัณฑ์ ออกไปอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถเข้าชมได้ ภายในปีหน้า
The People Who Stand Strong
มาถึ ง จุ ด นี้ ไม่ ต้ อ งบอกก็ รู้ ว่ า ชาวอี ยิ ป ต์ มี ความภาคภูมใิ จในประวัตศิ าสตร์และอารยธรรม ของตั ว เองมากขนาดไหน สั ง เกตง่า ย ๆ ว่า
อารยธรรมอียปิ ต์ได้นบั แสนชิน้ แต่ความจริงก็คอื สิ่งที่เคยค้นพบมาทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน ยังเป็น เพียงแค่เศษเสี้ยวของอารยธรรมอียิปต์ที่ยิ่งใหญ่ เท่านั้น และชาวอียิปต์ก็รู้ความจริงในข้อนี้ดี เพราะอารยธรรมของพวกเขาถือเป็นต้นกำ�เนิด ของวิชาการและความรูห้ ลายสิง่ หลายอย่างบนโลก ไม่วา่ จะเป็นคณิตศาสตร์ สถาปัตยกรรมการก่อสร้าง พีระมิด ระบบชลประทานและการเกษตร ศิลปะ การประดิษฐ์กระดาษ ตัวอักษร และกระจก เทคโนโลยีด้านการแพทย์ ตลอดจนมาตรฐาน ความงามของผู้หญิง ฯลฯ และนี่ยังไม่รวมถึง ศิลปะของการอยู่ร่วมกันในประเทศทะเลทราย ทีม่ แี ม่น�ำ้ ไนล์เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ทห่ี ล่อเลีย้ ง ชีวิต ดินแดนที่เชื่อในพระเจ้าหลากหลายองค์ และมีทั้งประวัติศาสตร์ของคนยิว คริสต์ และ อิสลาม ซึง่ อาศัยอยูร่ ว่ มกันมาหลายยุคหลายสมัย ความหลากหลายทีเ่ ป็นเสน่หแ์ ละเอกลักษณ์นเี้ อง ไม่ เ คยจางหายไปในอี ยิ ป ต์ และยั ง คงเป็ น
CREATIVE THAILAND I 27
ประวัตศิ าสตร์ซึ่งถูกนำ�มาใช้สร้างเป็นคุณค่าและ มูลค่าใหม่ให้กับลูกหลานชาวอียิปต์อยู่เสมอ และแม้ความขัดแย้งจะยังคงมีให้เห็นอยู่ใน ประเทศที่เป็นดั่งตัวแทนของอารยธรรมที่เคย ยิง่ ใหญ่ทสี่ ดุ ของโลก คนในชาติ ณ ปัจจุบนั ยังคง ต้องต่อสูก้ บั ความเหลือ่ มล้�ำ และแสวงหาสันติทจี่ ะ อยูร่ ว่ มกันได้อกี ครัง้ แต่กป็ ฏิเสธไม่ได้วา่ สงคราม และการต่อสู้ที่พวกเขาต้องเผชิญนั้น ไม่เคยหยุด ชาวอียิปต์ให้ย อมแพ้ในการนำ� เสนอเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์และความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ ของพวกเขาให้ชาวโลกได้รับรู้เลยแม้แต่น้อย ทีม่ า : บทความ “ซาฮี ฮาวาสส์ ผูน้ �ำ เผด็จการแห่งวงการ อียปิ ต์วทิ ยา” จาก thepeople.co / บทความ “Egypt is trying to get the tourists back to see the pyramids after years of security fears” จาก qz.com / บทความ “Everything We Know About Cairo’s New Grand Egyptian Museum” จาก cntraveler.com / บทความ “The Final Touches Placed On Cairo’s Airport Museum Ahead Of Opening” จาก egyptfwd.org / บทความ “Why 2020 is the year to visit Cairo” จาก bbc.com / wikipedia.org
Photo by Dario Morandotti on Unsplash
นักโบราณคดีคนดังของที่นี่อย่าง ซาฮี ฮาวาสส์ (Zahi Hawass) ได้รับการยกย่องว่ามีชื่อเสียง โด่งดังมากกว่าดาราหรือเซเลบริตี้บางคนเสียอีก ฮาวาสส์ ขึ้ น ชื่ อ ในฐานะเหมื อ นพรี เ ซนเตอร์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านอารยธรรมอียปิ ต์ เขามักปรากฏตัว อยู่ในช่องสารคดีดัง ๆ เกือบทุกรายการ เพื่อ ร่ ว มแสดงความคิ ด เห็ น และสร้ า งสี สั น ให้ กั บ การค้นพบหลักฐานใหม่ ๆ จากอารยธรรมอียปิ ต์ และฮาวาสส์ยังอุทิศตนทำ�งานด้านนี้เพื่อปกป้อง สมบัติของชาติไม่ให้ชาวตะวันตกที่เข้ามาค้นหา โบราณวัตถุได้เครดิตไปทั้งหมด (แม้เขาจะได้รับ ฉายาว่าเป็นเผด็จการในวงการนี้ก็ตาม) อย่างไร ก็ตาม เขาก็ยังสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ ประเทศ และทำ�ให้ผู้คนตื่นเต้นกับการค้นพบ สิ่งใหม่ ๆ ที่หลงเหลือจากประวัติศาสตร์อียิปต์ ได้อยู่เสมอ เพราะอย่าลืมว่า แม้พพิ ธิ ภัณฑ์ขนาดใหญ่อย่าง GEM จะรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดีของ
The Creative : มุมมองของนักคิด
อาละวาดประวัติศาสตร์แบบฉบับ
“วาสนา วงศ์สุรวัฒน์” เรื่อง : ปภพ เกิดทรัพย์ และ นภัทร จาริตรบุตร l ภาพ : สุรเชษฐ์ โสภารัตนดิลก
ในโมงยามทีเ่ รือ่ งราวในอดีตถูกหยิบยกขึน้ มากล่าวถึงและเกิดการ ‘อ่านใหม่’ อีกครัง้ โดยคนรุน่ ใหม่ การเข้าใจประวัตศิ าสตร์ อย่างถ่องแท้และรอบด้านกลายเป็นหนึ่งในทักษะสำ�คัญที่ทำ�ให้เราสามารถเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมไทยได้ คุยกับ รศ.ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เป็นมากกว่าการท่องจำ� กับการวิพากษ์หลักฐานที่จะช่วยเพิ่มพูนทักษะการคิด วิเคราะห์ และ แยกแยะ ให้กับเราได้มากขึ้น…เพราะตัวเราในวันนี้คือประวัติศาสตร์ของวันพรุ่งนี้ CREATIVE THAILAND I 28
การเรียนการสอนประวัตศิ าสตร์ในปัจจุบนั เป็นอย่างไรบ้าง ถ้าประวัติศาสตร์เป็นแค่การที่คุณเข้ามาเล่าให้นิสิตฟังว่าอะไรเกิดขึ้นเมื่อไร หรือคน ๆ นี้ชื่ออะไร พวกเขาก็ไม่จ�ำ เป็นต้องมาเข้าเรียนแล้วนะ เขาไปกูเกิล เอาเองก็รู้ทันทีเลย อินเทอร์เน็ตมันจึงทำ�ให้สถาบันการศึกษาและอาจารย์ ไม่ได้ผูกขาดความรู้อีกต่อไป เด็ก ๆ เองเขาก็สามารถเข้าถึงความรู้ได้ เยอะมาก ดังนั้น การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในประเทศนี้มันก็เลย เข้ า สู่ สิ่ ง ที่ มั น ควรจะเป็ น มาตั้ ง นานแล้ ว เสี ย ที คื อ เราไม่ ม านั่ ง เถี ย งกั น แล้วว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมในประเทศจีนมันเกิดระหว่างปีไหนถึงปีไหน ใครเป็นคนสัง่ ใครต้องรับผิดชอบ ใครตายบ้าง แต่เราคุยว่า “ทำ�ไม” มันจึง เกิดขึ้น มันเกิดผลกระทบอย่างไร พวกเขาจัดการกับผลที่ตามมาอย่างไร และผู้นำ�รุ่นต่อ ๆ มาจัดการกับประวัติศาสตร์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนี้อย่างไร ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีค่ะ เพราะมันก็นำ�ไปสู่การที่เด็กก็ได้ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ มากขึ้น ไม่มีมนุษย์คนใดในโลกที่บอกเราได้ว่าอะไรเกิดขึ้นในอดีต แล้วก็ไม่มี ใครที่ยืนอยู่ที่เดียวกันเป๊ะ หรือต่อให้เดินตามอยู่ด้วยกันตลอด ก็ไม่ได้มอง จากลูกตาคู่เดียวกัน ดังนั้น การรับรู้ (Perception) มันเลยทำ�ให้แต่ละคน ต่างก็มีเรื่องเล่า (Narrative) เป็นของตัวเองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมันเป็น อย่างไร ซึง่ คุณเองก็ไม่สามารถทีจ่ ะเล่าเรือ่ งในเวอร์ชนั ทีท่ กุ คนบนโลกนีเ้ ห็น ตรงกันว่ามันเกิดขึ้นได้ ประวัติศาสตร์ก็เหมือนกัน มันคือการพยายาม ทำ�ความเข้าใจโลกและชีวติ ศึกษาเรือ่ งทีผ่ า่ นมาแล้วจากหลักฐานหรือเอกสาร ที่มีการบันทึกไว้ หรือจากผู้คนบอกเล่าผ่านกันมา ดังนั้นมันจึงหลีกเลี่ยง ไม่ได้ทจี่ ะต้องมีการศึกษาเรือ่ งเล่าทีต่ า่ งกัน ศึกษานอกเหนือจากพืน้ ฐานของ เนื้อเรื่อง แล้วมาวิเคราะห์กันว่า คนที่เล่าเรื่องนั้นเขาเล่าจากมุมมองไหน มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจ อย่างไรบ้าง แล้วพอทุกคน มีสมาร์ตโฟน กูเกิลทุกอย่างได้ วิธีการเรียนประวัติศาสตร์ในศตวรรษนี้มัน จึงไม่เหมือนกับสมัยเราเด็ก ๆ ที่ทุกคนมีตำ�ราเดียวกัน แล้วท่องตามที่ ครูสอนแล้ว ทุกวันนี้มันไม่สามารถทำ�แบบนั้นได้แล้ว แปลว่ า การเรี ย นประวั ติศ าสตร์ ต อนนี้เ หมื อ นถู ก รื้อ สร้ า ง ถ้าอย่างนั้นบทบาทของผู้สอนควรจะเป็นอย่างไร แล้วผู้เรียน ควรทำ�อย่างไรจึงจะเรียนประวัตศิ าสตร์แล้วได้อะไรไปจริงๆ เราคิดว่าทักษะที่ได้จากการเรียนประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญที่อาจารย์ควรสอน คือ การให้วิพากษ์หลักฐาน ให้เขารู้จักตรวจสอบว่าข้อมูลมันมาจากไหน แล้วก็ตอ้ งสอนด้วยว่าไม่ใช่ทกุ อย่างทีค่ ณุ เห็นบนอินเทอร์เน็ตมันเป็นเรือ่ งจริง เวลาที่มีคนบอกว่ามันเป็นแบบนี้ เราก็ต้องถามกลับว่าทำ�ไมมันถึงเป็น แบบนั้น และทางที่ดีคือมันควรจะต้องมีหลักฐานมาสนับสนุนด้วย ดังนั้น ส่วนสำ�คัญมากของการเรียนประวัติศาสตร์ที่ดี คือการสอนว่า ไม่ว่าคุณจะ นำ�เสนอข้อถกเถียงอะไร คุณต้องมีหลักฐานสนับสนุน แล้วคุณก็ต้องรู้จัก ประเมินคุณภาพของหลักฐานนัน้ ๆ ด้วยว่ามีความน่าเชือ่ ถือแค่ไหน มีความ เกี่ยวข้องกันไหม ซึ่งคนอื่นเขาก็มีสิทธิ์ที่จะวิพากษ์คุณภาพของหลักฐานคุณ ด้วยเหมือนกัน เราว่าทักษะทีไ่ ด้จากการวิพากษ์หลักฐานนีม้ นั สามารถนำ�มา ใช้ในชีวิตประจำ�วันได้อย่างมาก ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ หรือเฟกนิวส์ มันมีอยูเ่ ต็มไปหมด เพราะถ้าคุณรูจ้ กั ตัง้ คำ�ถามกับหลักฐาน คุณก็จะไม่เป็น เหยื่อของเฟกนิวส์
แต่คณ ุ ภาพในการวิพากษ์หลักฐาน บางครัง้ ก็อาจมีอคติแฝง (bias) ซึง่ เกิดจากการทีแ่ ต่ละคนมีทศั นคติหรือแนวคิดทีย่ ดึ ถือ แตกต่างกัน เราควรจะจัดการกับสิ่งนี้อย่างไร เพื่อจะไม่ต้อง เจอกับสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก นีแ่ หละคือเหตุผลว่าทำ�ไมเราต้องมี “สังคมประชาธิปไตย” เพราะมนุษย์หนึง่ คนย่อมมีขอ้ จำ�กัดในการมองเห็น แว่นทีแ่ ต่ละคนใส่ มันนำ�มาซึง่ อคติอยูแ่ ล้ว นี่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เวลาที่มีนักวิทยาศาสตร์สักคนตั้งทฤษฎีอะไร บางอย่างขึน้ มาแล้วตีพมิ พ์ลงวารสารวิชาการ ก็จะมีนกั วิทยาศาสตร์ในสาขา เดียวกันคนอื่น ๆ ทั่วโลกที่จะออกมาพยายามล้มทฤษฎีนั้น จนต้องมีการ ทดลองที่เหมือนกันแล้วได้ผลลัพธ์เหมือนกัน ถึงจะยืนยันหรือยอมรับใน ทฤษฎีนั้น ๆ ได้ ประวัติศาสตร์เองก็เหมือนกัน เมื่อคุณเสนออะไรบางอย่าง ออกมา ก็ควรต้องเปิดโอกาสให้เสียงของนักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ มีพื้นที่ ด้วยว่า เรื่องเล่าของคุณมันมีช่องโหว่และอคติตรงไหน แล้วมีหลักฐานที่น่า เชื่อถือกว่าอย่างไรบ้าง สมมติคณุ เขียนหนังสือออกมาเล่มหนึง่ รูส้ กึ ว่ามันเป็นหนังสือทีด่ มี ากแล้ว ใช้เวลาศึกษามาเป็น 10 ปี กว่าจะได้ตีพิมพ์ คุณก็ไม่ควรคิดว่าสิ่งนี้จะคงอยู่ ต่อไปเหมือนคัมภีร์ไบเบิลชั่วกาลนานนะ เพราะถ้าวงการมันมีพัฒนาการ มีพลวัตอย่างที่ควรจะเป็น นักประวัติศาสตร์ในรุ่นต่อ ๆ มา เขาอาจจะหา ข้อมูลได้มากขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ แล้วก็เอามาหักล้างสิ่งที่เรานำ�เสนอ ก็ได้ ซึ่งนั่นไม่ได้หมายความว่าเราโกหกหรือว่าเราโง่ เพียงแต่ว่าในข้อจำ�กัด ทุกอย่างที่เรามี ณ ตอนนั้น เราทำ�สิ่งนี้ออกมาได้ แต่เราก็ต้องเปิดใจกว้าง ว่าถ้าเสียงอืน่ ๆ มีหลักฐานทีม่ น่ั คง แน่นหนา แล้วก็ทนทานต่อการตรวจสอบ ได้มากกว่า เราก็ตอ้ งเชือ่ เขา มันเป็นไปไม่ได้เลยทีเ่ ราจะบอกว่ามีอะไรบางอย่าง เป็นสัจธรรม ถูกต้องถาวรแน่นอนในทางประวัติศาสตร์ การค้นพบการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ในประวัติศาสตร์หรือที่ หลายคนเรียกว่า “เบิกเนตร” จะสร้างผลกระทบต่อสังคมได้ ขนาดไหน คิดว่าจริง ๆ แล้วการรับรู้ประวัติศาสตร์ของเราทุกคนมีไว้เพื่อประกอบการ ตัดสินใจในชีวิต เราเรียนรู้ที่มาที่ไปว่าทำ�ไมโลกจึงดำ�เนินมาถึงทุกวันนี้ เพือ่ ทีม่ นั จะได้ชว่ ยฟอร์มทัศนคติบางอย่างเกีย่ วกับสถานการณ์ปจั จุบนั และ ทำ�ให้เราประเมินปัจจุบันได้แม่นยำ�มากขึ้น เพราะถ้าเรารู้ไม่หมด หรือรู้ไป ในทิศทางอื่น มันก็อาจทำ�ให้เราประเมินได้ไม่ถูกต้อง ในฐานะนักประวัติศาสตร์ เรามองว่าตัวเราในวันนี้ก็คือประวัติศาสตร์ ของวันพรุ่งนี้ ดังนั้นไม่ว่าเราจะทำ�อะไร จะตัดสินใจอย่างไร หรือจะมีจุดยืน ทางการเมืองที่สนับสนุนหรือต่อต้านใครในวันนี้ เราต้องคิดด้วยว่าในอีก 20 ปีขา้ งหน้า ลูกหลานของเราจะมีปญั หาหรือรูส้ กึ อับอายกับประวัตศิ าสตร์ ของเราหรือเปล่า นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำ�ไมเราควรจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำ�ที่สุด เพื่อที่การตัดสินใจของเราในวันนี้จะไม่ทำ�ให้ลูกหลานอยากขอ เปลี่ยนนามสกุลในอนาคต เราเลยคิดว่าการ “เบิกเนตร” มันจำ�เป็น เพราะ มันไม่ยุติธรรมสำ�หรับคนที่ไม่รู้ หรือไม่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ แล้ว ตัดสินใจผิดไปเป็นยุวนาซี เป็นเรดการ์ด หรือไปยืนยิ้มอยู่ในเหตุการณ์ ความรุนแรงตอน 6 ตุลาฯ สิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว มันไม่สามารถเปลี่ยนกลับ มาได้ แล้วมันจะเป็นตราบาปของเขาไปตลอดชีวิต ตอนนี้มันเป็นยุคทองที่
CREATIVE THAILAND I 29
หากคุณรู้จักมีวิจารณญาณในการเลือกรับข่าวสาร แล้วก็วิพากษ์หลักฐาน ของคุณสักหน่อย คุณจะเข้าถึงข้อมูลได้เยอะมาก ซึ่งมันยิ่งไม่สามารถ ให้อภัยได้เลยถ้าคุณจะเป็นคนเพิกเฉย (Ignorant) ในยุคนี้ หรือเพราะคนในเจเนอเรชันก่อนมีทักษะความเข้าใจการใช้ เทคโนโลยีดจิ ทิ ลั (Digital Literacy) น้อยกว่าคนในยุคปัจจุบนั ทีโ่ ตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ก็มีคนแบบนั้นบ้าง แต่เราจะว่าทั้งเจเนอเรชันก็ไม่ได้ เพราะก็มีคนที่เขามี ความสามารถในการจัดการกับมันอยู่ หรือว่าก็ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่เขา ไม่ได้เล่นเฟซบุก๊ หรือใช้อนิ เทอร์เน็ตเลย แต่กย็ งั เปิดรับข้อมูลต่าง ๆ สามารถ วิเคราะห์และวิพากษ์เรื่องต่าง ๆ ได้อยู่ด้วย ถึงในความเป็นจริง การที่เขาไม่อยากจะรับข้อเท็จจริงมันก็เป็นสิทธิ์ ของเขา แต่มนั ก็ตอ้ งมี Bottom Line ถ้าไม่รบั ข้อมูลแล้วมาบอกว่า ฉันเกลียด มากเลยคนรุ่นใหม่ที่มามีความเห็นแบบนี้ ฉันอยากให้รัฐบาลเอากองทัพไป จัดการมันให้หมด อันนี้ไม่ได้ คือหากคุณอยากอยู่ในความคิดของคุณ ก็อยู่ไป แต่ก็ต้องยอมรับว่าถ้าคนอื่นเขาไม่อยากจะอยู่ด้วย คุณก็บังคับเขา ไม่ได้ แล้วก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะส่งเสริมให้ใครไปใช้ความรุนแรงกับคนที่คิดต่าง จากคุณ ซึ่งมันก็คือสังคมประชาธิปไตย สั ง คมยุ ค อิ น เทอร์ เ น็ ต ทำ � ให้ ใ ครก็ บั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ คิดว่าวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์จะเป็นไปในทิศทางใด มันถึงมีคำ�ว่า “ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย” (Contemporary History) คือสิ่งที่ เกิดขึ้นมันร่วมสมัยกับเรา คิดว่าอย่างแรกเลยพอมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ ก็เลย ทำ�ให้เกิดหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใหม่ ๆ ที่สมัยก่อนไม่มี เช่น Chat History หรือว่า Search History หรืออย่างการเผยแพร่ขอ้ มูล เช่น การถ่ายคลิป วิดโี อแล้วไปออกสือ่ ต่าง ๆ หลักฐานมันเข้าถึงได้งา่ ยขึน้ ขณะทีเ่ ครือ่ งมือเอง ก็ชว่ ยเก็บบันทึกหลักฐานได้งา่ ยขึน้ คือคุณมีสมาร์ตโฟนเครือ่ งเดียว คุณอัดเสียง ถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอ หรือจดโน้ตก็ได้ มันทำ�ให้การลงภาคสนามของการเก็บ ข้อมูลเป็นไปได้กว้างขวางมากขึน้ คนทัว่ ไม่ตอ้ งเรียนประวัตศิ าสตร์กอ็ าจจะ ไปหาข้อมูลก็ได้ นี่เลยทำ�ให้คนจำ�นวนมากกลายเป็นนักประวัติศาสตร์ สมัครเล่นกัน มันก็ขยายวงการให้กว้างออกไป แล้วพอมีคนทำ�ตัวเป็น นักประวัตศิ าสตร์มากขึน้ มันก็จะเกิดการตรวจสอบข้อมูลกันเองโดยอัตโนมัติ ในสังคมประชาธิปไตย คือถ้าสมมติมีใครแสดงความคิดเห็นอย่างหนึ่งมา ก็จะมีคนรีบเอาหลักฐานอีกกองใหญ่มากมา แล้วบอกมันไม่ใช่ ทำ�ให้เกิด การแข่งขันกัน มีการสอบทานกันอยู่เรื่อย ๆ ซึ่งเราคิดว่านี่เป็นข้อดีมาก ถ้าการขาดแคลนเอกสารหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์ท�ำ ให้เกิด ความยากลำ � บากในการศึ ก ษา แล้ ว เราควรจั ด เก็ บ ประวัติศาสตร์ ในยุคต่อ ๆ ไปอย่างไรเพื่อให้สะดวกต่อการ ค้นคว้าในอนาคต ถ้าเป็นเอกสารราชการ ก็จะมีกองจดหมายเหตุเป็นผู้รวบรวมจัดเก็บ อย่าง จุฬาฯ เอง ก็ให้ทุนบุคลากรไปศึกษาต่อด้านจดหมายเหตุกลับมาเยอะ เรามองว่าเรือ่ งนีเ้ กีย่ วกับเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือถ้าเป็นภาคเอกชน บริษทั ใหญ่ ๆ เขาก็จะมีการทำ�อาร์ไคฟ์ (Archive) อย่างเป็นระบบ แต่ส�ำ หรับคนทัว่ ไป
เ ร า มี ค ว า ม รู้ สึ ก อ ยู่ ต ล อ ด เ ว ล า ว่ า ประวั ติ ศ าสตร์ นั้ น สำ � คั ญ ที่ สุ ด เราคิ ด ว่ า ประวัติศาสตร์ทำ�ให้คน “ตาสว่าง” ปัญหา สั ง คม ปั ญ หาบ้ า นเมื อ งที่ เ ราประสบอยู่ ทุกวันนี้ ถ้าคุณมีความเข้าใจประวัติศาสตร์ และไม่ เ ห็ น แก่ ตั ว คุ ณ จะแก้ ปั ญ หาได้ แต่ตอนนีค้ นจำ�นวนมากรูป้ ระวัตศิ าสตร์ผดิ ๆ แถมยังไม่ต้องการรู้แบบที่ถูกด้วย เราก็ควรจะเก็บประวัตศิ าสตร์ของตัวเองเอาไว้ดว้ ย อย่างตอนนี้เรามีเฟซบุ๊ก และมันก็ชว่ ยเตือนประวัตศิ าสตร์ของเราตลอด พวก On This Day ทีแ่ จ้งเตือน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นปีก่อนอะไรแบบนั้น จำ�ได้ว่าตอนเด็ก ๆ คุณพ่อจะมีสมุดแพลนเนอร์เล่มเล็ก ๆ แบบที่ มหาวิทยาลัยชอบแจก กองเป็นตัง้ เลย แล้วในนัน้ ก็จะเป็นบันทึกประจำ�วันว่า วันนี้มีประชุมอะไรบ้าง เดือนนี้เดินทางไปประเทศไหน คือเขาก็จะเก็บ ประวัติศาสตร์ส่วนตัวของตัวเองไว้ในนั้น เรามองว่าแค่นี้ก็คือการเก็บ ประวัติศาสตร์ส่วนตัวของตัวเองแล้ว ไม่จำ�เป็นต้องเป็นนักประวัติศาสตร์ แค่เราเก็บข้อมูลของเรา เพื่อที่จะรู้ว่าเราเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง เราเติบโต อย่างไรบ้าง มันก็น่าสนใจแล้ว ถ้ามองย้อนกลับไปในอดีต จุดเปลี่ยนอะไรที่ทำ�ให้อาจารย์ มีตัวตนแบบทุกวันนี้ เราเปลีย่ นตลอดเวลา และก็ยงั คงเปลีย่ นต่อไปเรือ่ ย ๆ ช่วงเรียนมหาวิทยาลัย น่าจะเป็นจุดเปลีย่ นสำ�คัญนะ เราได้เรียนรูอ้ ะไรใหม่ ๆ ทุกวัน จนจบด็อกเตอร์ และเขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง (The Crown and the Capitalists) ซึ่ง เป็นการเอาวิทยานิพนธ์มาเรียบเรียงใหม่ เชือ่ ไหมว่าครัง้ แรกทีส่ ง่ ต้นฉบับไป ตีพิมพ์ เราโดนทุกสำ�นักพิมพ์ปฏิเสธ เราทิ้งมันไปสักพัก จนหยิบโปรเจ็กต์นี้ กลับมาทำ�ใหม่ตอนได้ไปทำ�วิจัยที่ฮ่องกง พอเอามาอ่านอีกครั้งแล้วพบว่า โอ้โห มันผิดหมดเลย มันไม่มีอะไรถูกเลยแม้แต่อย่างเดียวในวิทยานิพนธ์ ปริญญาเอกของเรา คือดีใจมากที่ถูกปฏิเสธไปตอนนั้น (หัวเราะ) เราก็เลย เขียนใหม่หมดตั้งแต่ต้นจนจบ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความคิดของเราก็เปลี่ยน ไปเยอะมากจากตอนเรียนจบด็อกเตอร์ใหม่ ๆ ถ้าให้ยกตัวอย่างหนึ่งเรื่องที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงก็คือ ความเข้าใจใน คำ�ว่า “เสียสิทธินอกสภาพอาณาเขต” เราเพิง่ มาเข้าใจภายหลังว่า การเสียสิทธิ นอกสภาพอาณาเขตนั้น ไม่ใช่การ “เสีย” แต่คือกุญแจสำ�คัญในการเป็น พันธมิตรกันระหว่างทุนนิยมและชนชัน้ นำ�สยาม เป็นฐานรากของความมัน่ คง มัง่ คัง่ ของชนชัน้ นำ�สยามตัง้ แต่ศตวรรษที่ 19 จนถึงการยกเลิกสิทธินอกสภาพ อาณาเขตอย่างเด็ดขาดโดยคณะราษฎรปี 1938 เราถูกสอนมาตลอดให้เชือ่ ว่าเราเสียเอกราช เสียดินแดน แต่จริง ๆ แล้ว การทีป่ ระเทศเสียสิทธินอกสภาพอาณาเขตนัน้ ทำ�ให้ “คน” ของเจ้าอาณานิคม
CREATIVE THAILAND I 30
หลาย ๆ ประเทศ อยากมาอยูใ่ นประเทศไทยมากกว่าทีอ่ นื่ ใดในโลกนี้ เพราะ ว่ารัฐบาลสยามควบคุมเขาไม่ได้ และรัฐบาลของเจ้าอาณานิคมก็ควบคุมเขา ไม่ได้ดว้ ยเพราะว่าเป็นเอกราชและอธิปไตยของสยาม ดังนัน้ คนพวกนีจ้ งึ อยู่ ในสยามอย่างอิสระเสรี แล้วชนชั้นนำ�สยามก็จ้างคนพวกนี้ให้ทำ�งานให้กับ แผ่นดิน มันเลยเป็นความสัมพันธ์ท่ี “เกื้อหนุนกัน” และไม่มีความจำ�เป็น ต้องรีบยกเลิกเลย จะเห็นได้วา่ คนทีท่ �ำ การยกเลิกเด็ดขาดที่สุดคือคณะราษฎร ที่ไม่ได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนี้ และมองเห็นว่ามันคือรากฐานทางอำ�นาจที่ สำ�คัญของกลุ่มอำ�นาจเก่า ความรู้ทางประวัติศาสตร์จะถูกนำ�มาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนา เศรษฐกิจได้อย่างไร เป็นเพราะเราไม่เข้าใจประวัติศาสตร์ตัวเอง การพัฒนาของเราเลยไปไม่สุด ความทะนงตัวนีท้ �ำ ให้ไทยเจรจาการค้ากับจีนแล้วเราได้ขอ้ ตกลงทีเ่ สียเปรียบ หรือพูดตรง ๆ ก็คือ แย่กว่าดีลที่จีนทำ�กับกัมพูชาเยอะมาก รอบนี้กัมพูชา ได้ ข้ อ ตกลงการค้ า เสรี (FTA) ที่ จ ะทำ � ให้ สิ น ค้ า จี น ที่ เ ข้ า มาในกั ม พู ช า ปลอดภาษี 90% และสินค้าจากกัมพูชาเข้าไปยังประเทศจีนปลอดภาษีถึง 98% โดยสินค้าจีนที่เข้าไปยังประเทศกัมพูชา ก็เป็นสินค้าจำ�พวกเดียวกัน กับเราทั้งสิ้น จำ�พวกสินค้าเกษตร ทั้งข้าว ทั้งยาง ดังนั้นถามว่าเมื่อไร ราคายางของไทยจะเพิ่มขึ้นล่ะ ชาติหน้าก็ไม่เพิ่มขึ้นหรอก ฮุน เซน ดำ�เนิน นโยบายแบบไปสุดทาง ให้จีนเข้ามาลงทุนได้เต็มที่ ขณะที่ประเทศไทยซึ่งมี ความสัมพันธ์ระดับ “มหามิตร” ได้อะไรจากเขาบ้าง สิ่งนี้เกิดขึ้นจากความภูมิใจในชาติจนล้นเกิน ไม่เชิงนะ แต่เป็นเพราะชนชั้นนำ�ไทยไม่ซื่อสัตย์กับประชาชนของตัวเอง เขาบอกเรามาตลอดว่าปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุข มีการจัดการเลือกตั้งนะ แต่ก็มี สว. 250 คนมาโหวตเลือก นายกฯ ได้ เราไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้ ๆ แบบที่โลกเสรีเป็น แต่เราก็ไม่ ยอมรับว่าเราเป็นเผด็จการ สิง่ นีท้ �ำ ให้ทศิ ทางการเจรจากับชาติอน่ื ๆ ไม่ชดั เจน ว่าไทยจะทำ�ข้อตกลงกับโลกฝ่ายไหน จะไปสุดแบบกัมพูชาก็ทำ�ไม่ได้ ครั้น จะไปคุยกับอเมริกา คุยกับออสเตรเลีย รัฐบาลเราก็ไม่ยอมคุย แถมยังไป กล่าวหาเขาว่าไม่เข้าใจประชาธิปไตยแบบไทย ๆ มันก็เลยทำ�ให้อหิ ลักอิเหลือ่ ในการตัดสินใจ คิดว่าประวัตศิ าสตร์จะสร้างให้เกิดอะไรใหม่ ๆ หรือเป็นตัวเอก ในการขับเคลื่อนสังคมได้ไหม เรามีความรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่าประวัติศาสตร์นั้นสำ�คัญที่สุด เราคิดว่า ประวัตศิ าสตร์ท�ำ ให้คน “ตาสว่าง” ปัญหาสังคม ปัญหาบ้านเมืองที่เราประสบอยู่ ทุกวันนี้ ถ้าคุณมีความเข้าใจประวัตศิ าสตร์และไม่เห็นแก่ตวั คุณจะแก้ปญั หาได้ แต่ตอนนี้คนจำ�นวนมากรู้ประวัติศาสตร์ผิด ๆ แถมยังไม่ต้องการรู้แบบที่ ถูกด้วยเพราะมองว่ามันยาก ส่วนคนที่มีอำ�นาจซึ่งรู้ดีว่าประวัติศาสตร์ที่ถูก ต้องคืออะไร ก็ไม่อยากสูญเสียอำ�นาจของตัวเองไป นักประวัติศาสตร์ก็ถูก ตั้งคำ�ถามโดยมหาวิทยาลัย และสำ�นักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) อยู่บ่อย ครั้ง เพราะเขาอยากให้นักประวัติศาสตร์ทำ�อะไรที่เป็นประโยชน์บ้าง ทั้ง ๆ ที่เราทำ�งานวิจัยไป เสนอทางแก้ปัญหาไป เขาก็ไม่ทำ�ตามเพราะว่าไม่ถูกใจ ความรู้ที่จะแก้ปัญหาในสังคมได้มันอยู่ในประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสินทรัพย์ท่ีนำ�มาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และบริการได้หรือเปล่า แน่นอน ประวัติศาสตร์คือเรื่องราว สมัยนี้จะขายอะไรก็ต้องมีสตอรีทั้งนั้น และสตอรีนแ่ี หละก็คอื ประวัตศิ าสตร์ ดังนัน้ การทีร่ ฐั มาบอกกับนักประวัตศิ าสตร์
CREATIVE THAILAND I 31
ประวัติศาสตร์เป็นของเราทุกคน เราจะใช้ ไปตี ค วาม ไปต่ อ ยอดอะไรได้ ทั้ ง หมด แต่ที่สำ�คัญคือ เราต้องยอมรับให้ได้หากมี คนอื่นที่ไม่เห็นด้วยและมาคัดค้านเรา ว่าให้ทำ�ประโยชน์แก่สังคมบ้างนั้น รัฐควรรู้ว่าความจริงแล้ว ประวัติศาสตร์ ทุกเรื่องนั้นสามารถนำ�ไปต่อยอดเป็น “สิ่งใหม่” ได้อยู่แล้ว ทุกคนอยากได้อะไรแบบแดจังกึม ตั้งคำ�ถามว่าทำ�ไมประเทศไทยไม่มี แดจังกึมเหมือนกับประเทศอื่นบ้าง เราคิดว่าสิ่งแรกที่ทุกคนควรตั้งคำ�ถาม คือ หนึ่ง รัฐไทยนั้นใจกว้าง และยอมให้คนศึกษาและตีความประวัติศาสตร์ อย่างประเทศเกาหลีใต้หรือไม่ สอง รัฐให้ทนุ สนับสนุนในการสร้างผลิตภัณฑ์ ทางวัฒนธรรมเหล่านี้มากน้อยแค่ไหนเชียว เห็นก็มีแต่ เอาเงินไปเทให้ ภาพยนตร์ชาตินิยม คือถ้ารัฐยังจำ�กัดไม่ให้คนคิด และกีดกันคนที่คิดนอก กรอบค่านิยม 12 ประการ หรือยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ให้ไม่ได้รบั ทุนสนับสนุน อยู่แบบนี้ สิ่งที่เราอยากได้ก็คงไม่เกิดขึ้น นั่ น เลยเป็ น เหตุ ใ ห้ ค นทำ � งานสร้ า งสรรค์ ท่ี ห ยิ บ แง่ มุ ม ทาง ประวัตศิ าสตร์มาทำ�งานได้อย่างน่าสนใจหลายคนกลับไม่ได้รบั การสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร ใช่ เราไม่ได้ต่อต้าน Propaganda (การโฆษณาชวนเชื่อ) นะ แต่ช่วยทำ�ให้ มันมีคุณภาพดีกว่านี้ได้ไหม อย่าง The Queen (2006), The Crown (2016), Dunkirk (2017), The King Speech (2010) หรือ Captain America ทุกภาค คือทัง้ อังกฤษ อเมริกา หรือประเทศอืน่ ๆ เขาทำ�หนัง Propaganda ออกมา เยอะมาก แต่ความต่างก็คอื ประเทศประชาธิปไตยเขาจะเปิดกว้างให้คนมี เรือ่ งเล่าเกี่ยวกับชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ และไม่ได้ไปชี้ ไปบังคับให้คนต้อง รักชาติแบบโจ่งแจ้ง แต่ในประเทศเผด็จการ เราจะเห็นการควบคุมอย่างมาก และพูดตามตรง ฝ่ายครีเอทีฟของเผด็จการก็มักจะไม่ค่อยครีเอทีฟเท่าไร (หัวเราะ) เป็นเรือ่ งน่าเสียดายมาก ๆ เพราะประเทศไทยมีเรือ่ งราวให้เล่าเยอะ คนไทยมีอารมณ์ขนั วัฒนธรรมของเราก็สนุกมาก แต่จนแล้วจนรอดเราก็ยงั ไม่มี T-Pop ไปสู้กับ K-Pop หรือ J-Pop เพราะว่ารัฐไม่ยอมเปิดพื้นที่ ดังนั้นจริง ๆ แล้วประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจที่ทรงพลังมาก แต่ชนชั้นนำ�เมืองไทยนั้น “ไม่สบายใจ” กันง่ายเกินไปหรือเปล่า สุดท้ายแล้วประวัตศิ าสตร์เป็นของใคร ประวัติศาสตร์เป็นของเราทุกคน เราจะใช้ไปตีความ ไปต่อยอดอะไรได้ ทั้งหมด แต่ที่สำ�คัญคือ เราต้องยอมรับให้ได้หากมีคนอื่นที่ไม่เห็นด้วยและ มาคัดค้านเรา
CREATIVE INGREDIENTS ประวัติศาสตร์ที่ประทับใจ ประวัติศาสตร์ที่มีอิทธิพลกับเรามากที่สุดคือประวัติศาสตร์ครอบครัวของ ตัวเอง เราเติบโตขึ้นมาในครอบครัวขยายที่ใหญ่มาก ทุกปีต้องไปเช็งเม้ง แล้วเราก็ต้องจำ�ชื่อญาติทุกคนให้ได้ แล้วก็โดนถามทุกคำ�ถามที่ไม่ควรจะ ถาม เช่น น้ำ�หนักเท่าไร เมื่อไรจะแต่งงาน ฯลฯ ซึ่งเราไม่แฮปปี้อย่างมาก จนต้องไปทำ�วิทยานิพนต์เกี่ยวกับคนจีนโพ้นทะเล เพราะเราไม่เข้าใจ วัฒนธรรมและความคิดของเขา สุดท้ายเราก็เข้าใจเขามากขึ้น แต่ก็ไม่ได้ ทรมานน้อยลงนะ (หัวเราะ) สิ่งที่กำ�ลังสนใจ เรากำ�ลังเขียนหนังสืออยู่สองเล่ม เล่มแรกคือ The Crown and the Communist เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างราชสำ�นักสยามกับพรรค คอมมิวนิสต์จีน ตั้งแต่สงครามเย็นถึงปัจจุบัน เล่มที่สองคือ ประวัติศาสตร์ จี น หลั ง เหมา เป็ น ตำ � ราประวั ติ ศ าสตร์ จี น ตั้ ง แต่ ช่ ว งสิ้ น สุ ด การปฏิ วั ติ วัฒนธรรม มาจนถึงยุค Belt and Road Initiative (BRI)
CREATIVE THAILAND I 32
Creative Solution : คิดทางออก
ใครใครก็บนั ทึกประวัตศิ าสตร์ได้
“ว่ากันว่าผูช้ นะจารึกประวัตศิ าสตร์ แต่พวกเขาลืมบอกไปว่า ประวัตศิ าสตร์ ถูกเขียนขึ้นใหม่ตามกาลเวลา ถูกแปลงโดยหนังสือ และถูกสร้างขึ้นใหม่ โดยผู้คนที่ไม่ได้เจอมากับตัว” นี่คือประโยคเปิดซีรีส์ฝรั่งเศส ปฏิวัติเลือด (La Révolution, 2020) ที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 1789 ด้วยการตีความหมายใหม่ และชวนให้ผู้ชมตั้งคำ�ถามกับชุด ความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เคยเรียนรู้มาจากตำ�รา เช่นเดียวกับในประเทศไทย แต่เดิมผู้ที่ท�ำ หน้าที่บนั ทึกประวัตศิ าสตร์ของชาติ ก็คอื “อาลักษณ์” หนึง่ ในตำ�แหน่งมหาดเล็กประจำ�ราชวงศ์ทเี่ ป็นผูท้ ําหน้าที่ ทางหนังสือในราชสํานัก โดยคำ�ว่าอาลักษณ์นั้นยังแปลได้ว่าการเห็นหรือ การสังเกตด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ในเวลานัน้ ไม่รหู้ นังสือ และเป็นเหตุให้เรือ่ งราว ทีไ่ ด้รบั การจดบันทึกจึงมีแต่เรือ่ งเฉพาะกลุม่ ทีอ่ าจทำ�ให้เรารับสารเพียงด้านเดียว อย่างไรก็ตาม หลังจากโลกรู้จักคำ�ว่า “อินเทอร์เน็ต” และเกิดการแพร่ หลายไปในส่วนต่าง ๆ ของสังคม ความหมายของคนเขียนประวัติศาสตร์ก็ ไม่ได้ถูกตีกรอบว่าต้องมาจากผู้มีอำ�นาจหรือนักประวัติศาสตร์โดยตรงอีก ต่อไป แต่เรื่องราวจากคนตัวเล็ก ๆ ธรรมดาก็สามารถกลายเป็นเรื่องราว ในประวัติศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ได้ ดังเช่น การเขียนบันทึกเหตุการณ์ลงใน โพสต์เฟซบุ๊กประจำ�วัน เพื่อให้ปีถัดไปมีระบบเตือนเหตุการณ์วันนี้ในอดีต หรือ On this day ขึ้น สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่คล้ายกับความเห็นของ ทิม ฮิตช์ค็อก (Tim Hitchcock) นักประวัติศาสตร์ประจำ�มหาวิทยาลัย ซัสเซ็กส์ที่กล่าวว่า “การเปลี่ยนเป็นดิจิทัลทำ�ให้การวิจัยทางประวัติศาสตร์ เป็นประชาธิปไตย เพราะสามารถสร้างพืน้ ทีใ่ ห้ผคู้ นได้ซกั ถามประวัตศิ าสตร์ ในกลุ่มหรือชุมชนของตนเอง” การเชิญชวนให้คนทัว่ โลกมาบันทึกเรือ่ งราวทีจ่ ะกลายเป็นประวัตศิ าสตร์ และการเปลี่ยนแปลงร่วมกันจึงเกิดขึ้นมากมาย เช่น แคมเปญ Fridays for Future ทีเ่ กิดขึน้ เพือ่ รณรงค์รกั ษาสภาวะแวดล้อมและภูมอิ ากาศของโลกโดย เหล่าเยาวชนทัว่ โลกทีน่ ดั กันหยุดเรียนทุกวันศุกร์เพือ่ แสดงจุดยืนและแสดงออก ถึงข้อเรียกร้องทางภูมอิ ากาศทีด่ ขี นึ้ ในพืน้ ทีข่ องตัวเอง โดยเยาวชนเหล่านีจ้ ะ
แสดงความคิดเห็นและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เพือ่ รวบรวมเสียงและความต้องการ นำ�เสนอต่อผูน้ �ำ ระดับโลกให้ตระหนักถึงสถานการณ์ภาวะโลกร้อน และออก นโยบายเพื่อรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อม สิ่งนี้จึงเป็นเสมือนการบันทึกไว้ว่า “การเคลื่อนไหวจากชนกลุ่มน้อยหลาย ๆ กลุ่มในครัง้ นีเ้ ป็นเสียงสำ�คัญที่จะ ช่วยต่อลมหายใจให้โลกยังอยูไ่ ด้ในอนาคต” หรือจะเป็น ม็อบดาต้าไทยแลนด์ เว็บไซต์ทรี่ วบรวมข้อมูลการชุมนุมสาธารณะทีเ่ กิดขึน้ ในประเทศไทย ซึง่ เปิด ให้คนทั่วไปเข้ามาร่วมให้ข้อมูลการชุมนุม ไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ เพื่อบันทึก เป็นฐานข้อมูลทีส่ ามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้ตอ่ ไปในภายภาคหน้า ซึง่ ก็ เป็นตัวอย่างการรับความเห็นของคนกลุม่ เล็ก ๆ ทีไ่ ม่ได้มาจากคนใดคนหนึง่ แม้แต่วกิ พิ เี ดีย สารานุกรมเสรีออนไลน์ที่เปิดให้คนทัว่ โลกเข้ามาสร้าง เสริม เติม และปรับแต่งข้อมูลถังกลางร่วมกันคนละนิดละหน่อยเพือ่ ให้ความและเรือ่ งราว สมบูรณ์ครบถ้วน แทนทีจ่ ะจ้างนักเขียนและบรรณาธิการเพือ่ รวบรวมข้อมูล ซึง่ น่าจะเป็นแนวคิดเดียวกับที่ คาร์ล เบ็กเกอร์ (Carl Becker) นักประวัตศิ าสตร์ ชาวอเมริกนั กล่าวไว้ในปี 1932 ว่า “ถ้าสาระสำ�คัญของประวัตศิ าสตร์ คือ ความทรงจำ�ของสิง่ ทีพ่ ดู และทำ� มันก็ชดั แล้วว่าทุกคนรูป้ ระวัตศิ าสตร์บางเรือ่ ง” และนัน่ จึงเป็นเรือ่ งดีที่ทุกคนจะบันทึกประวัตศิ าสตร์ร่วมกัน ข้อมูลจากทุกสารทิศทีอ่ าจกลายเป็นขุมทรัพย์ชนั้ ดีเหล่านี้ มีสว่ นสำ�คัญ อย่างมากทีช่ ว่ ยให้เรามีขอ้ มูลไว้เลือกใช้ในอนาคต ทัง้ ยังสามารถพิจารณาใช้ เป็นเหตุผลรองรับในการตัดสินใจประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมทุกแง่มมุ ถึงอย่างนั้นก็ใช่ว่าการตั้งคำ�ถามและการสงสัยในข้อมูลที่ได้รับจะหมด ความสำ�คัญ ตรงกันข้าม การใช้วจิ ารณญาณในข้อมูลกลับยิง่ ทวีความจำ�เป็น เพือ่ ย้�ำ ให้เราเอะใจกับข้อมูลทีไ่ ด้รบั อยูเ่ สมอ ในการแสวงหาข้อมูลทีจ่ ริงและ เป็นประโยชน์มากที่สุด เหมือนกับก็อปปี้บนโปสเตอร์ซีรีส์ ปฏิวัติเลือด ที่ว่า แล้วถ้าพวกเขาโกหกล่ะ (Et si on nous avait menti?) ที่มา : บทความ “Crowdsourcing Digital Public History” โดย Jason A. Heppler และ Gabriel K. Wolfenstein จาก tah.oah.org / บทความ “The Way We Write History Has Changed” (มกราคม 2563) โดย Alexis C. Madrigal จาก theatlantic.com / fridaysforfuture.org / mobdatathailand.org / nat.go.th
CREATIVE THAILAND I 34
facebook.com/FridaysForFuture.org
เรื่อง : วนบุษป์ ยุพเกษตร
รูจักวัสดุ เขาใจกระบวนการ เขาถึงผูประกอบการ จากทักษะภูมิปญญาที่มี ผสานเรื่องราวในทองถิ่น สูวิถีชีวิตชุมชนที่ยั่งยืน
Free
e - Book
TCDC.OR.TH