นิตยสารส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
The Object Touchscreen
Creative City เมลเบิร์น
Classic Item จักรยาน
กรกฎาคม 2554 ปีที่ 2 | ฉบับที่ 10
แจกฟรี
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
1
2
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
TRADITIONAL BUSINESSES ARE STRUGGLING TO RECOVER FROM THE ECONOMIC DOWNTURN. THEY WILL NEED TO SHIFT THEIR FOCUS FROM PROFITS TO AUTHENTIC SOCIAL ENGAGEMENT TO HAVE MEANINGFUL IMPACT IN THE WORLD. ธุรกิจแบบเดิมๆ กำ�ลังดิ้นรนฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า พวกเขาจะต้องมุ่งความสนใจจากผลกำ�ไรไปยังการมีส่วนร่วมทาง สังคมที่แท้จริง เพื่อให้ได้ผลกระทบที่มีความหมายต่อโลก Umair Haque
ผู้แต่งหนังสือ The New Capitalist Manifesto: Building a Disruptively Better Business (2011) และผู้อำ�นวยการ Havas Media Lab กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
3
สารบัญ
บรรณาธิการอำนวยการ ที่ปรึกษา
The Subject
6
The Object
7
วัตถุดิบทางความคิด
8
เสรีภาพใหมในชีวติ ประจําวัน Touchscreen
Featured Book / Book / Magazine / DVD
เปลี่ยนโลกรอบตัว
10
Classic Item
11
เรื่องจากปก
12
แพ็คใหพรอมกอนออกเดินทาง จักรยาน
New Normal: คานิยมใหม ใจกลางความโกลาหล
อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล กิตติรัตน ปติพานิช ชมพูนุท วีรกิตติ พิชิต วีรังคบุตร ศิริอร หริ่มปราณี มนฑิณี ยงวิกุล กนกพร เกียรติศักดิ์ วราภรณ วศินสังวร จรินทรทิพย ลียะวณิช ศุภมาศ พะหุโล พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร กริยา บิลยะลา กมลกานต โกศลกาญจน ชิดชน นินนาทนนท
บรรณาธิการบริหาร ผูชวยบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ เลขากองบรรณาธิการ บรรณาธิการศิลปกรรม
จัดทําโดย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ sale@tcdc.or.th
Insight
19
คิด ทำ กิน
22
จับกระแสเมืองสรางสรรค
24
แยกสี บริษัท 71 อินเตอรสแกน จำกัด โทร. 02 631 7171 แฟกซ. 02 631 7181
มุมมองของนักคิด
28
คิด ทํา ดี
พิมพที่ บริษัท คอมฟอรม จำกัด โทร. 02 368 3942-7 แฟกซ. 02 368 2962 จำนวน 50,000 เลม
34
นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอ สิง่ แวดลอม และทีส่ ำคัญคือ เปนผลผลิตจากความคิดของผูป ระกอบการไทย
Fashion Bloggers กระเทาะเปลือกหอยนางรม สูวิถีบริโภคแนวใหม Melbourne: Cool New Energy
พงศภาสกร กุลถิรธรรม B.O.R.E.D. และ เรืองฤทธิ์ สันติสุข DuckUnit Greenroof โครงการหลังคาเขียว
Media Partner
จัดทำภายใตโครงการ “CreativeThailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิด สรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
4
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงทีม่ า-ไมใชเพือ่ การคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย Creative Thailand l กรกฎาคม 2554
อานนิตยสารฉบับออนไลนและดูขอมูลเพิ่มเติมไดที่ www.creativethailand.org Email: creativethailand@tcdc.or.th Twitter: @Creative_TH Facebook: Creative Thailand
Editor's Note บทบรรณาธิการ
แขกไม่ได้รับเชิญ กระดานหุ้นตัวแดงพรึบบนตลาดหลักทรัพย์ท่วั โลก เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1987 กลายเป็นประวัติศาสตร์ ของหน้าการเงินและการลงทุนที่เรียกว่า Black Monday หายนะครัง้ นีล้ กุ ลามตามเวลาเปิดทำ�การ ของตลาดหุ้น ไล่จากฮ่องกงมายังฝั่งยุโรป ก่อนที่ จะไปเขย่าดาวน์โจนส์ให้ลม้ ทัง้ กระดาน สาเหตุเพียง เพราะความตื่นตระหนกของนักลงทุนที่พากันเท ขายแบบไร้เหตุผล ความโกลาหลของเหตุการณ์ Black Monday จบลงที่มูลค่าหุ้นในตลาดลอนดอนลดลง 26.45% นักลงทุน นักเก็งกำ�ไร นักการธนาคาร หรือแม้แต่ แม่บ้าน ต่างสับสนกังวลใจ แต่ท่ามกลางความ ปั่นป่วนนั้น ที่ถนนเวลลิงตัน เมืองแมนเชสเตอร์ บริ ษั ท เฟอร์ นิ เ จอร์ จ ากสแกนดิ เ นเวี ย ได้ ส ร้ า ง ปรากฏการณ์ใหม่ให้กับชีวิตคนอังกฤษด้วยการ เปิดโชว์รูมขายเฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านใน สไตล์เรียบง่าย สะดวกต่อการใช้งาน และคุ้มค่า เม็ดเงิน โต๊ะไม้สนที่ถูกขัดจนเกลี้ยงเกลากับเก้าอี้ ที่ถอดประกอบเองได้ สร้างสถิติการขายแบบดีวัน
ดีคืน จน IKEA เติบโตในตลาดอังกฤษ ทั้งๆ ที่ ก่อนหน้าวิกฤตตลาดหุ้นทรุด ชาวอังกฤษไม่ได้ ซาบซึ้งกับความเรียบง่ายรูปแบบสแกนดิเนเวียน แต่อย่างใด แต่ในวันนั้น IKEA อยู่ถูกที่และถูกเวลา พอที่ จ ะหั น เหให้ ค นอั ง กฤษเปิ ด รั บ รสนิ ย มแบบ ใหม่ทจ่ี ะสร้างความปกติสขุ ให้ชวี ติ ดำ�เนินต่อไปได้ เมื่อไรกันที่คนเราต้องตามหาความปกติสุข... สำ�หรับคนๆ หนึง่ แล้ว มันมักจะเกิดขึน้ ตอนทีช่ วี ติ ต้องพบเจอกับเรือ่ งทีบ่ น่ั ทอนความรูส้ กึ แต่ส�ำ หรับ สังคมๆ หนึ่ง คือภาวะที่ถูกปัจจัยทั้งภายนอกและ ภายในสั่นสะเทือนกรอบหรือค่านิยมให้บิดเบี้ยว และผิดรูปจากที่เคยเป็นอยู่ จนสังคมนั้นๆ ต้อง ปรับตัวเพื่อหาเสถียรภาพและสมดุลเพื่อที่จะสร้าง กรอบใหม่ซึ่งคนในสังคมยอมรับได้ และปฏิบัติได้ อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ ค่านิยม รสนิยม หรือกระแสนิยม ล้วนเป็น เรื่องของอาการทางสังคมที่หมุนเวียนและเปลี่ยน แปลงไปเสมอ ทั้งจากเหตุผลทางกายภาพตาม ธรรมชาติ และปัจจัยจากการกระทำ�ของมนุษย์ แต่สดุ ท้ายแล้ว ประวัตศิ าสตร์ไม่เคยเดินจากไปโดย ไม่ทิ้งผลลัพธ์ไว้ เพราะอย่างน้อยที่สุด มนุษย์ก็มัก จะคิ ด ค้ น และสร้ า งผลผลิ ต ที่ ต อบสนองสามั ญ สำ�นึกของสังคมในแต่ละห้วงเวลาได้เสมอ จริงอยู่ที่ชีวิตมักไม่มีสูตรสำ�เร็จหรือคาถาที่ จะปัดเป่าอาการผิดปกติใดๆ จะมีก็เพียงแต่ความ สามารถจาก “ความคิด” และ “ความรู้” เท่านั้น ที่จะประคับประคองให้ชีวิตเป็นปกติในยามที่ต้อง ท้าทายกับสิ่งที่ไม่ได้รับเชิญ
อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
5
The Subject
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
“คุณอิจฉาเธอล่ะสิ เพราะคุณทั้งแก่กว่าและก็มีคุณสมบัติ มากกว่า เมือ่ ไหร่คณ ุ จะเลิกแบ่งแยกคนทีอ่ ายุนอ้ ยเสียที!...” หนึ่งในข้อความตอบโต้จากผู้สนับสนุน นิโคล เซียห์ ผู้ท้าชิงวัย 24 ปี จากพรรคเนชัน่ แนล โซลิดาริตี (NSP) ในการเลือกตัง้ สิงคโปร์ 2011 เมือ่ มี ผูแ้ สดงความเห็นคัดค้านเธอในการลงชิงตำ�แหน่ง และแม้วา่ ผูส้ มัครรายนี้ จะพ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้ง แต่ทว่าในสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กกลับมี ผู้กดเครื่องหมาย “Like” เพื่อแสดงการสนับสนุนเธอถึง 97,000 ครั้ง แซงหน้าบิดาผู้ก่อตั้งสิงคโปร์อย่าง ลี กวนยู การแสดงออกด้วยเครื่องหมาย Like และข้อความอันดุเดือดไม่ได้ ทำ�ให้พรรครัฐบาลที่บริหารประเทศมาถึง 52 ปีต้องลงจากตำ�แหน่ง แต่ก็ สามารถที่จะโน้มน้าวคนอีกหลายกลุ่มจนเขย่าผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ และยังทำ�ให้พรรครัฐบาลต้องหันมาทบทวนนโยบาย พร้อมเปิดใจยอมรับ ฟังสิ่งที่กลุ่มเยาวชนและคนรุ่นใหม่ต้องการมากขึ้น พลังความคิดเห็นในโลกออนไลน์ไม่เพียงส่งผลต่อแวดวงการเมือง เท่านั้น แต่ในวงการแฟชั่นก็เช่นกัน จากจุดเริ่มต้นของเด็กอายุ 11 ปี ที่ เขียนบล็อกเกี่ยวกับแฟชั่นซึ่งอัดแน่นด้วยเนื้อหาที่ดีเกินวัยและรูปแบบ การแต่งตัวที่ถูกใจเหล่าสาวแฟชั่นนิสต้าในยุคไซเบอร์ ทำ�ให้ยอดผู้ชม บล็อก “สไตล์รูคกี้” ของ ทาวี เกวินสัน มีผู้ติดตามและเข้าไปแสดงความ คิดเห็นกันเพิม่ ขึน้ จนทำ�ให้นติ ยสารนิวยอร์ก ไทม์ ตีพมิ พ์เรือ่ งราวของเธอ และนั่นยิ่งทำ�ให้ยอดผู้ชมในบล็อกของเธอทะยานขึ้นถึง 50,000 คน ความดังของทาวีนั้นเหมือนลูกบอลหิมะที่มีจำ�นวนผู้อ่านเพิ่มขึ้น ตามกระแส และยิ่งมีการต่อต้านจากบรรณาธิการหนังสือยักษ์ใหญ่ที่ต้อง 6
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
ใช้เวลาเป็นสิบปี กว่าจะไต่เต้าขึ้นมาเป็นกูรูด้านแฟชั่นได้ จนนำ�ไปสู่การ โต้เถียงและการออกมาปกป้องจากบรรดาแฟนคลับ ก็ยิ่งทำ�ให้ยอดผู้อ่าน เพิม่ สูงขึน้ จึงไม่นา่ แปลกใจทีจ่ ะเห็นทีน่ ง่ั แถวหน้าในแฟชัน่ โชว์ของดีไซเนอร์ ใหญ่ จะมีบล็อกเกอร์อายุน้อยคนนี้นั่งปะปนอยู่กับเหล่าเซเลบริตี้ หรือ การที่เธอได้รับเชิญจากห้องเสื้อชั้นนำ�แสนลึกลับอย่างกอม เด การ์ซง ในทางตรงกันข้ามกับความรุง่ โรจน์ อีกชีวติ หนึง่ ต้องดับสลาย ซอง จี ซัน ผูป้ ระกาศข่าวสาวชาวเกาหลีได้ปลิดชีพตัวเองด้วยการกระโดดตึกสูง 19 ชัน้ เพราะความเสียใจที่ถูกนักเบสบอลที่คบหากันปฏิเสธ และต้องเผชิญกับ ถ้อยคำ�ประณามจากนักท่องเน็ตชาวเกาหลีที่กระหนํ่าส่งถึงเธอผ่าน เว็บไซต์ตา่ งๆ จนกลายเป็นแรงกดดันให้เธอตัดสินใจทำ�เรือ่ งน่าเศร้า ย้อนกลับไปเมื่อหลายสิบปีก่อน การยืนประท้วงเป็นวิธีแสดงความ ไม่พอใจที่ต้องอาศัยมวลชนจำ�นวนมากถึงจะเกิดผล การโด่งดังในสาย อาชีพตั้งแต่อายุยังน้อยของนิโคลและทาวีอาจจะเป็นไปได้ยาก และการ ตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหนีความอับอายอาจมีให้เห็นไม่มากนัก แต่ด้วย พลังของอินเทอร์เน็ตที่ปลดปล่อยอิสรภาพในการแสดงความคิดเห็นของ ปัจเจกบุคคล ที่ไม่ว่าจะเห็นตรงกันหรือคัดค้าน จะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ จะ ด้วยเหตุผลหรืออารมณ์ แต่ถ้าหากมีปริมาณมากพอ ก็สามารถก่อเกิด เป็นกระแสที่ส่งแรงสั่นสะเทือนต่อวิถีชีวิตของคนและสังคมโลกที่เชื่อมต่อ กันอย่างแยกไม่ออกได้ดังเช่นในปัจจุบัน ที่มา: www.todayonline.com http://wikifashion.com www.matichon.co.th www.thejakartaglobe.com www.time.com
The Object
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ในแผนการเดิ น ทางที่ เ ริ่ ม ต้ น จากการเช็ ก อิ น กั บ สายการบิ น พร้อมพิมพ์บัตรโดยสารและป้ายห้อยกระเป๋าด้วยตนเองผ่าน เทคโนโลยีระบบสัมผัสที่ง่ายและรวดเร็ว หิ้วกระเป๋าขึ้นเครื่องได้ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องนํ้าหนักของหนังสือเล่มโปรด เพราะสามารถ อ่าน e-Book ผ่านแท็บเลตทีม่ นี า้ํ หนักเบาและยังสามารถเพิม่ และ ลดขนาดของตัวอักษรด้วยสองนิว้ แทนการสวมแว่นสายตา ทีม่ า พร้อมคุณสมบัติการหมุนปรับตามองศาการมองของผู้ใช้
พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้กำ�ลังเปลี่ยนแปลงไปจากวิถีเดิม ทัชสกรีนคือ อุปกรณ์ที่ค่อยๆ แนะนำ�ตัวเองในฐานะเทคโนโลยีที่เลียนแบบพฤติกรรม มนุษย์ได้อย่างรอบด้าน ทั้งยังสร้างความสัมพันธ์กับพื้นฐานการใช้ชีวิต ของมนุษย์ และพลิกประวัติศาสตร์จากความรู้สึกแข็งกร้าวของแป้นพิมพ์ มาสู่ความลื่นไหลแบบทันใจด้วยปลายนิ้ว ทัชสกรีนถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1965 จากการตีพิมพ์ บทความของเอ็ดเวิร์ด จอห์นสัน นักวิทยาศาสตร์แห่ง Royal Radar Establishment แห่งอังกฤษ ซึ่งกล่าวถึงทัชสกรีนในฐานะเครื่องมือหนึ่ง ในการช่วยเหลือทางการทหาร ซึ่งในตอนนั้นเรียกกันว่า ‘ทัช ดิสเพลย์’ ต่อมาทัชสกรีนถูกนำ�มาปรับใช้งานกับโครงการ PLATO (Programmed Logic for Automated Teaching Operations) หรือโครงการคอมพิวเตอร์ ช่วยสอนในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีบทบาทเป็นเครื่องมือ สนับสนุนทางด้านการศึกษาของอเมริกา กระทั่งในปี 1983 HP-150 ก็คือ คอมพิ ว เตอร์ รุ่ น แรกที่ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ทั ช สกรี น ซึ่ ง ฮิ ว เลตต์ - แพคการ์ ด นำ�ออกวางจำ�หน่าย
จนถึงวันนี้เทคโนโลยีหน้าจอสัมผัส หรือทัชสกรีนไม่ได้เป็นเพียง เรื่ อ งแต่ ง ที่ ป รากฏให้ เ ห็ น เฉพาะในภาพยนตร์ ที่ ม ากด้ ว ยแก็ ด เจ็ ต ลํ้า สมัยอย่างเจมส์ บอนด์ อีกต่อไป แต่มันได้กลายเป็นเรื่องจริงที่ถูกนำ�ไป ใช้ประโยชน์ในวงกว้าง และกำ�ลังเข้าใกล้กับชีวิตประจำ�วันมากขึ้นทุกที ตั้งแต่การหักวงเงินจากการซื้อของในตลาดออนไลน์ด้วยการทาบบัตร เครดิตลงบน Touch screen table หรือการทำ� 3D MRI (Magnetic Resonance Imaging) ซึ่งเป็นการสแกนที่แสดงผลผ่าน Touch screen table ซึง่ จะช่วยให้ผลการวิเคราะห์ทางการแพทย์เป็นไปอย่างแม่นยำ�และ ยังประหยัดเวลาในการคิดประมวลผล อันเป็นการเพิ่มโอกาสในการช่วย เหลือคนไข้ได้มากขึ้น เป็นต้น ในวันที่ “ความใหม่” ของทัชสกรีนเปลีย่ นสถานะกลายมาเป็น “ความ ธรรมดา” ของผู้ใช้ เรื่องของคุณสมบัติ การใช้งาน และความคุ้มค่า กลายเป็นเรื่องที่ “สัมผัสได้” ทัชสกรีนจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ระบบหรือ อุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ยงั เป็นนวัตกรรมทีม่ อบ ประสบการณ์ใหม่ที่มีคุณค่าต่อจิตใจของผู้ใช้อีกทางหนึ่งด้วย ที่มา: บทความ An informal time line โดย Bill Buxton (www.billbuxton.com) Touch Display - A novel input/output device for computers (1965) โดย E.A. Johnson http://electronicdesign.com http://computer.howstuffworks.com www.touch-screen-computers.net www.hp.com วิกิพีเดีย
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
7
วัตถุดบิ ทางความคิด
เรือ่ ง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
Le Corbusier: Architect of the Twentieth Century โดย Kenneth Frampton แนวคิดแห่งความเรียบง่าย เป็นหนทางหนึ่งที่ คนหันกลับมาคิดถึงอีกครัง้ เนือ่ งจากต้องการที่ จะหลุดพ้นและหลีกหนีจากความสับสนวุ่นวาย แต่เมื่อโลกเปลี่ยนไป ความเรียบง่ายแบบปกติ ธรรมดาทีจ่ ดื ชืด อาจจะไม่ใช่ค�ำ ตอบทีน่ า่ สนใจ “ความธรรมดา” จึงถูกตีความขึ้นใหม่เพื่อให้ สอดรับกับรสนิยมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน และบริบทที่เปลี่ยนไปของสังคม ความธรรมดาที่ถูกนิยามใหม่นี้ จึงอาจ ไม่ใช่ความเรียบเสียจนขาดชีวิตชีวา แต่ยังคงมี ประเด็ น ที่ น่ า สนใจโดยมุ่ ง เน้ น ไปที่ คุ ณ ภาพ ประโยชน์ใช้สอย และการนำ�เสนอความจริง เพือ่ ให้เห็นภาพทีช่ ดั เจนขึน้ สำ�หรับงานออกแบบ และแวดวงแฟชั่นแล้ว อาจสะท้อนได้ด้วยสไตล์ แบบมินมิ อลในยุค 90 หรืองานแบบเคลวิน ไคลน์ แต่ถ้าเป็นด้านสถาปัตยกรรม แรงบันดาลใจ สำ�คัญอาจมาจากงานของเลอ กอร์บูซีเย เลอ กอร์บูซีเย คือสถาปนิกแถวหน้าชาว ฝรั่ ง เศสและเป็ น หนึ่ ง ในบุ ค คลสำ � คั ญ ที่ มี อิทธิพลอย่างมากในแวดวงสถาปัตยกรรม โดย เฉพาะสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เน้นการตัด ทอน นำ�เสนอความเรียบง่าย รูปทรงที่ชัดเจน และตอบสนองต่อลักษณะการใช้งาน ผ่านการ เลือกใช้วัสดุที่สะท้อนถึงความเจริญก้าวหน้า ทางอุตสาหกรรมอย่างคอนกรีต เหล็ก หรือกระจก
8
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
หนังสือ Le Corbusier: Architect of the Twentieth Century รวบรวมผลงานที่โดดเด่น ของเลอ กอร์บูซีเย ในช่วงปี 1923-1964 อาทิ เช่น บ้านพักตากอากาศ Villa Savoye ผลงาน ระดับมาสเตอร์พชี ทีเ่ มืองปัวซี ฝรัง่ เศส ทีข่ ดั กับ ขนบความนิยมด้านรูปแบบสถาปัตยกรรมของ ฝรั่งเศสในช่วงปี 1928 ที่ยังคงเน้นแสดงความ ยิ่งใหญ่ หรูหรา แต่เลอ กอร์บูซีเยกลับเลือกที่ จะสร้างตึกทรงแข็งๆ สีขาว ให้โดดเด่นอยู่บน สนามหญ้าเรียบๆ สีเขียว โดยตั้งใจให้บ้าน หลังนี้ไม่มีส่วนด้านหน้าที่ชัดเจน ขณะที่ส่วน บนก็ยังสามารถเปิดออกมาชมความงามของ ธรรมชาติได้รอบทิศทาง นอกจากนีก้ ย็ งั มีโบสถ์ รูปทรงแปลกตา The Chapel of Notre Dame du Haut ที่เมืองรงช็อง รวมถึงผลงานการวาง ผังเมืองที่เมืองจัณฑีครห์ รัฐปัญจาบในอินเดีย ในเล่มยังมีตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมของ เลอ กอร์บซู เี ยอีกมากมาย พร้อมทัง้ เรือ่ งราวและ แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมแต่ละ แห่ง แม้วา่ ในปัจจุบนั สถาปัตยกรรมแบบโมเดิรน์ จะเสื่อมความนิยมลงไปแล้ว เนื่องจากถูกมอง ว่าแข็งและน่าเบือ่ จนเกินไป แต่คณุ ค่าของแนวคิด ยังคงอยู่ และสอดคล้องกับสิง่ ทีเ่ ราเรียกว่า ความ ธรรมดานิยามใหม่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเมือ่ ถูกนำ�มาผสมผสานกับความต้องการและการ ใช้งานในปัจจุบัน ที่สถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ยุคใหม่ก็ยังคงสร้างความน่าสนใจได้อยู่เสมอ
วัตถุดบิ ทางความคิด
ON YOUR BIKE!: The complete guide to cycling โดย Matt Seaton ยานพาหนะสองล้อที่อาศัยแรงคนในการขับ เคลื่ อ นที่ เ ราเห็ น กั น จนชิ น ตาอย่ า งจั ก รยาน กำ�ลังกลายมาเป็นกระแสนิยมมากขึ้นในชั่วโมง นี้ นั่นอาจเป็นเพราะจักรยานได้ก้าวข้ามคำ� จำ�กัดความของตัวเองจากการเป็นแค่พาหนะ ในการขนส่ง กลายมาเป็นกีฬา อุปกรณ์ทอ่ งเทีย่ ว เครือ่ งมืออนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อม ไปจนถึงเฟอร์นเิ จอร์ ประดับบ้าน และถ้าคุณกำ�ลังอยากรูอ้ ะไรทีน่ อก เหนือไปจากนี้แล้วล่ะก็ เชื่อว่าการพลิกหนังสือ เล่มนี้จะตอบคำ�ถามคุณได้แบบม้วนเดียวจบ ตั้งแต่ประเภทของจักรยาน การเลือกซื้อ การ ดูแลรักษาซ่อมบำ�รุง อุปกรณ์เสริมต่างๆ ไป จนถึงการขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัย
Textile Report: Spring 2012 ทุกรายละเอียดของแฟชั่นเสื้อผ้า เส้นใย และ สิง่ ทอ ทุกสีสนั ทีท่ นั สมัยเพือ่ รับฤดูกาลใหม่ตาม กระแสโลก ทุกจุดโฟกัสของเสื้อผ้าสตรี สตรีท แฟชั่น เทรดแฟร์ สไตล์ รวมถึงลายพิมพ์พร้อม เป็ น ข้ อ มู ล ต้ น ทางที่ ดี ไ ปสู่ ดี ไ ซเนอร์ สำ � หรั บ ฤดูกาลทีก่ �ำ ลังจะมาถึง เริม่ ต้นจากสีส�ำ หรับฤดู ใบไม้ผลิ 2012 กับ 6 กลุม่ สีทน่ี า่ สนใจ ซึง่ สะท้อน คุณสมบัตขิ องความโปร่งแสง บางเบา เหนือจริง แฟนซี ความเก่าแก่ในยุคก่อนประวัตศิ าสตร์ และ ความสดใส ซึง่ ล้อกับบรรยากาศของฤดูใบไม้ผลิ พร้อมรายการสี รหัสสีตาม Pantone ตัวอย่าง การใช้สีและการผสมสี ที่สะดวกในการนำ�ไป ใช้งานต่อ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเบื้องหลังการ ผลิตเนือ้ ผ้า เส้นใย เทคนิคการปัก เย็บ ถัก มัด ทีม่ าพร้อมภาพประกอบทีช่ ดั เจน ตลอดจนส่วน ของตั ว อย่ า งผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ ล งรายละเอี ย ดใน คอลเลคชั่นทั้งหมดลงบนตัวหุ่น ตั้งแต่รูปทรง เสื้อผ้า ชุดเดรส กางเกง สีที่ควรใช้ ไปถึงเนื้อ ผ้าทีเ่ หมาะสม จนถูกยกให้เป็นคัมภีรเ์ ล่มบางที่ สามารถบอกเล่าเรือ่ งราวความเป็นไปของเทรนด์ แฟชั่ น ในฤดู ก าลที่ กำ � ลั ง จะมาถึ ง นี้ ไ ด้ อ ย่ า ง สมบูรณ์ทีเดียว
Revolutionary Road กำ�กับโดย Sam Mendes การเคลื่อนไหวของตัวละครที่ถูกออกแบบให้ แสดงออกเช่ น เดียวกับการจัดองค์ประกอบ ของละครเวที ทำ�ให้ภาพยนตร์ดูนิ่ง เรียบ และ สะท้อนวิถีชีวิตของผู้ ค นในสั ง คมใหญ่ อ ย่ า ง อเมริกาในยุค 50 ได้ชัดเจน ครอบครัววีลเลอร์ ตั ว แทนครอบครั ว ในอุ ด มคติ ที่ มี แ ฟรงค์ เ ป็ น ผู้นำ�ครอบครัว มีแม่บ้านแสนดีอย่างเอพริว มี ลูกๆ พร้อมหน้าในบ้านที่เงียบสงบ แต่ความ สมบูรณ์แบบที่เห็นกลับเป็นภัยคุกคามความ ฝันของคนทั้งคู่ และปารีสคือจุดมุ่งหมายของ ความปรารถนาครั้งใหม่ที่จะปฏิวัติชีวิตของทั้ง คู่ให้เดินตามความฝันที่แท้จริง แต่เมื่อแฟรงค์ ได้ เ ลื่ อ นตำ � แหน่ ง ที่ ม าพร้ อ มเงิ น มหาศาล แผนการทัง้ หมดจึงกำ�ลังจะถูกล้มเลิกและนำ�ไปสู่ การปะทะทีร่ นุ แรงขึน้ เรือ่ ยๆ กระทัง่ จอห์น เพือ่ น บ้านนั ก คณิ ต ศาสตร์ ส ติ ไ ม่ ดี ไ ด้ ยื่ น มื อ เข้ า มา ขยายมุมมองความสัมพันธ์ที่กำ�ลังเปราะบาง ที่สุดแล้ว ชีวิตที่มั่นคงบนวิถีทุนนิยมทว่าว่าง เปล่าและไร้หวัง หรือการออกไล่ตามความฝัน ที่บางเบา อะไรจะเป็นหนทางที่นำ�ไปสู่ความ สิ้นหวังหรือสมหวัง ณ ปลายทาง กรกฎาคม 2554 l Creative Thailand 9
เปลีย่ นโลกรอบตัว
แพ็คให้พร้อม ก่อนออกเดินทาง เรียบเรียงจากหนังสือ เปลีย่ นโลกรอบตัว โดย (ผูเ้ ขียน: ชนากานต์ คาํ ภิโล)
คุณอาจนึกไม่ถึงว่า เพียงแค่พกอุปกรณ์ เล็กๆน้อยๆ ติดกระเป๋าไปด้วย จะช่วยให้การ เดินทางไกลในรูปแบบใหม่ สะดวกกายและ สบายใจมากขึ้นกว่าที่คิด และนี่คือตัวอย่าง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ หม่ ท่ี คิ ด ค้ น มาเพื่ อ คนรั ก การ เดินทางโดยเฉพาะ
ภาพจาก SCG
สกัดภาวะฉุกเฉิน ด้วยส้วมกระดาษ Poo Box การหาที่ ป ลดทุ ก ข์ ใ นป่ า เขาเห็ น จะเป็ น เรื่ อ ง ลำ�บากไม่นอ้ ยสำ�หรับสุภาพสตรี ล่าสุดกระทรวง อุตสาหกรรมและบมจ.ปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ได้ ประดิษฐ์สว้ มเคลือ่ นที่ โดยใช้กระดาษลูกฟูกลอน บีและลอนบีซี ทำ�เป็นฝาครอบและตัวถัง นอกจาก จะใช้งา่ ย นํา้ หนักเบา และราคาถูกแล้ว ยังเป็น มิตรกับสิง่ แวดล้อม มีขน้ั ตอนการผลิตไม่ยงุ่ ยาก เคลื่อนย้ายและประกอบได้ง่าย รองรับนํ้าหนัก ได้ถึง 100 กิโลกรัม แถมยังใช้งานได้นาน ส่วน ถุงพลาสติกที่รองรับของเสียก็สามารถมัดเก็บ และเปลี่ยนใหม่ได้ง่ายดาย เพียงเท่านี้ภารกิจ ฉุกเฉินของนักเดินทางก็ลลุ ว่ งอย่างถูกสุขลักษณะ ที่ สำ � คั ญ ส้ ว มกระดาษฉุ ก เฉิ น แบบนี้ ก็ ยั ง ได้ กลายมาเป็นของใช้จ�ำ เป็นอันดับแรกๆ ทีจ่ ะถูก ส่งไปให้ผปู้ ระสบภัยได้ใช้ในช่วงการเกิดอุทกภัย หรือวิกฤตการณ์ตา่ งๆ ทีช่ าวบ้านไม่สามารถหา ห้องนํ้าในระยะใช้งานได้สะดวกอีกด้วย 10
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
ภาพจาก www.environmentteam.com
ภาพจาก http://greenliving.lovetoknow.com
ใส...สด...จนหยดสุดท้าย
ถุงชีวภาพทางเลือกฉลาด หากคุณลืมพกกระติกนํ้าติดตัวไประหว่างเดิน ของผู้บริโภคยุคใหม่ ทางไกล หรือเกิดขาดแคลนนํ้ากะทันหัน ทริป สุดสนุกก็อาจจะกร่อยไปโดยปริยาย แต่จาน กรองนํ้า Happy Basin เครื่องกรองเซรามิกที่ ทำ�งานด้วยระบบนาโนเทคโนโลยีที่ฝงั อยูบ่ ริเวณ ใต้ชามอ่างใบนี้จะช่วยกรองนํ้าจากสิ่งสกปรก หรือแม้แต่สารพิษให้เป็นนํ้าบริสุทธิ์แสนชื่นใจ ได้งา่ ยๆ ด้วยวิธกี ารทำ�งานที่แสนจะตรงไปตรงมา อย่างการกดบริเวณก้นจานที่มีส่วนโค้งลงในนํ้า ที่ต้องการกรอง เพื่อให้นํ้าค่อยๆ ซึมผ่านชั้น กรองขึน้ มาด้านบน เพียงเท่านีก้ จ็ ะได้นา้ํ ใสสะอาด พร้อมดืม่ แล้ว ซึง่ หากเทคโนโลยีดงั กล่าวพัฒนา สำ�เร็จเมื่อไร การหาแหล่งนํ้าในระหว่างการ เดินทางก็คงไม่ใช่ปัญหาชวนขุ่นใจอีกต่อไป
เต็นท์
ถ้าหากถุงพลาสติกคือวายร้ายที่บน่ั ทอนลมหายใจ ของโลกสีเขียว ถุงพลาสติกชีวภาพก็คงเป็นเสมือน ฮีโร่ท่ีจะเข้ามาช่วยต่อชีวิตของโลกได้ยาวนาน เพราะแม้จะใช้บรรจุของได้เหมือนกัน แต่ถงุ ชีวภาพ ใบนีส้ ามารถย่อยสลายตัวเองได้ดว้ ยเอนไซม์และ แบคทีเรียในธรรมชาติ โดยจะเปลีย่ นสภาพเป็น นํา้ มวลชีวภาพ ก๊าซมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์ ไปในทีส่ ดุ ซึง่ ช่วยให้พชื เจริญเติบโตได้ดอี กี ด้วย ถุงมหัศจรรย์นผ้ี ลิตจากวัสดุพลาสติก Polylactic acid (PLA) และ Polyhydroxyalkanoates (PHAs) ทีไ่ ด้จากธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการทางชีวเคมี ในการเปลีย่ นสภาพจากแป้งทีไ่ ด้จากมันสำ�ปะหลัง และข้าวโพด ทำ�ให้ยอ่ ยสลายได้งา่ ย นอกจากนีย้ งั มี Poly (Butylene Adipate-Co-Terephthalate) ซึง่ เป็นโพลีเมอร์ทไ่ี ด้จากวัตถุดบิ ปิโตรเคมี ผลิต โดยบริษทั BASF ประเทศเยอรมนี ที่ยอ่ ยสลายได้ เช่นกันและกำ�ลังเป็นที่นิยมในตลาดขณะนี้
“เต็นท์” เปรียบเสมือนบ้านหลังทีส่ องของนักเดินทาง ซึง่ นอกจากจะต้องพิถพี ถิ นั กับการเลือกขนาดทีเ่ หมาะสม กับการใช้งานแล้ว เนือ้ ผ้าก็เป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญไม่แพ้กนั เพราะยังโยงไปถึงความทนทานต่อสภาพอากาศและพายุฝน โดยเฉพาะอากาศร้อนชืน้ ของเมืองไทยทีต่ อ้ งอาศัยผ้าที่ระบายอากาศได้ดอี ย่างไนลอน เบอร์ 190T หรือ 190T Ripstop ซึง่ มีลกั ษณะเป็นตาข่าย ถ่ายเทอากาศได้ ส่วนผ้ากันฝนควรมีเนือ้ เรียบและละเอียด กันนา้ํ ค้างได้ หรืออาจเคลือบด้วยนํา้ ยาอย่างดี ในกรณีทอ่ี ากาศหนาวมีหยดนํา้ เกาะด้านในเต็นท์ เราสามารถแก้ได้โดยเลือก ใช้ผ้าประเภท Gore-TEX ซึ่งผิวด้านนอกกันนํ้าได้ ขณะที่ผ้าด้านในจะช่วยระบายออก ทั้งยังช่วยเรื่องการ กลั่นตัวของไอนํ้าอีกด้วย
Classic Item
แรงระเบิดจากภูเขาไฟแทมโบราในอินโดนีเซียเมื่อปี 1816 ส่งผลให้เถ้าถ่านปกคลุม ชัน้ บรรยากาศไปทัว่ ยุโรปและอเมริกา เรียกกันว่าเป็น ‘ปีทป่ี ราศจากหน้าร้อน’ (Year without a summer) อุปสรรคในการเพาะปลูกทำ�ให้ปริมาณหญ้ามีไม่เพียงพอ สำ�หรับการเลี้ยงดูม้า นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน คาร์ล ไดรส์ เซาเออร์บอนน์ จึง ลงทุนคิดค้นอุปกรณ์ทุ่นแรงใหม่สำ�หรับใช้ในการเดินทาง นวัตกรรมชิ้นนี้อาศัยแรง ไสเท้าลงบนพืน้ และมือบังคับทิศทางให้ลอ้ ไม้หน้าและหลังเคลือ่ นที่ รูจ้ กั เวลาต่อมา ว่า Hobby Horse แม้จะโดดเด่นด้วยหน้าตาและความเร็ว อันเป็นผลจากเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อหน้า ที่ขยายใหญ่ขึ้นถึง 1.5 เมตร แต่ Penny Farthings ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในยุโรป ช่วงทศวรรษ 1870 กลับต้องเสื่อมความนิยมลงเพราะอันตรายและความยากในการ ขับขี่บนพื้นที่ลาดชัน
เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล บนความเชื่อที่ว่า จักรยานคือพาหนะที่ดูมี รสนิยมและเป็นที่ต้องการมากอันดับต้นๆ หลังการเกิดขึน้ ของกระแสภาวะโลกร้อน (มีผู้ วิจารณ์วา่ คนส่วนใหญ่เข้าใจและปฏิบตั เิ พียง แต่เปลือกเท่านั้น) นายกเทศมนตรีประจำ� ลอนดอน บอริส จอห์นสัน จึงตัดสินใจเลือก ที่จะปันเงินงบประมาณถึง 165 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ สำ�หรับโครงการ Cycling Revolution ในปี 2010 เพื่อปรับโฉมช่องเดินรถจักรยาน และพื้นที่สำ�หรับจอดในลอนดอน ตามแบบ อัมสเตอร์ดัมและโคเปนเฮเกน เมืองซึ่งผู้คน ต่ า งขี่ จั ก รยานไปเรี ย นและทำ � งานกั น เป็ น เรื่องปกติ
จากเครื่องทุ่นแรงและพาหนะราคาประหยัด สู่ กีฬาท้าทายทักษะและกล้ามเนื้อมนุษย์ ไปจน ถึงสุนทรียะส่วนบุคคลที่แฝงอุดมการณ์เรื่องสิ่ง แวดล้อม กว่าร้อยปีจกั รยานทำ�หน้าทีเ่ ป็นตัวแทน ผลงานออกแบบซึ่งเป็นประชาธิปไตย และยัง สามารถกลับมาตอบโจทย์ทัศนคติของสังคมมี ต่อโลกในปัจจุบัน
เพื่อการขับขี่ที่สบายและมั่นคง จอห์น เคมป์ สตาร์ลีย์ ออกแบบ Safety Bicycle โดยปรับให้ล้อหน้าและหลังมีขนาดเท่ากัน ปรับเฟรมตรงกลางให้เตี้ยลง และใส่ล้อ ยางสูบลมแทนล้อยางแข็ง ออกสูส่ ายตาสาธารณชนครัง้ แรกในงานนิทรรศการลอนดอน ปี 1885 และได้รบั ความนิยมอย่างมาก ความก้าวหน้าของระบบการผลิตอุตสาหกรรม ส่งให้อังกฤษขึ้นเป็นผู้ส่งออกจักรยานรายใหญ่ของโลกสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 ปลายศตวรรษที่ 19 ความก้าวหน้าของการออกแบบจักรยานได้เปลี่ยนจากความ สนุกยามว่าง เป็นพาหนะสำ�หรับเดินทางอย่างแท้จริง แต่แล้วการผลิตรถยนต์ที่ มากขึ้นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ทำ�ให้ถนนในระบบการจราจรหลักของเมือง ใหญ่ไม่เหมาะแก่การขับขี่จักรยานอีกต่อไป ความใฝ่ฝันของเด็กหนุ่มในการเป็นแชมป์การแข่งขันรถจักรยาน BMX (Bicycle Motocross) ในภาพยนตร์ Rad (1986) สะท้อนกระแสความนิยมใหม่ของวัยรุน่ อเมริกนั ตัง้ แต่ทศวรรษ 1960 ทีห่ นั มาปรับแต่งจักรยานด้วยตัวเอง โดยเลียนแบบจักรยานยนต์ สำ�หรับการขี่แบบผาดโผน การแข่งขัน BMX เริ่มตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และบรรจุเข้า เป็นหนึ่งในกีฬา X Games Fixed-Gear จักรยานไร้เบรกหนึง่ เกียร์ทค่ี รัง้ หนึง่ เคยเห็นเฉพาะการแข่งขันจักรยานลู่ ในเวลโลโดรมกลับกลายเป็นแฟชัน่ เมือ่ คนส่งพัสดุในนิวยอร์กและลอนดอนนำ�มาใช้ เป็นพาหนะในการทำ�งาน อะไหล่ทส่ี ามารถเลือกปรับเปลีย่ นได้ตามรสนิยมส่วนบุคคล ในเวลาต่อมา และลักษณะการใช้งานทีส่ ร้างให้เกิด ‘คอมมูนติ ’้ี นัน้ ทำ�ให้ Fixed-Gear คืองานออกแบบที่สะท้อนตัวตนและวิถีอิสระแบบคนเมือง ทีม่ า: บทความ Consumers and getting from A to B (Future watch, 2010) จาก Euromonitor International (www.euromonitor.com); บทความ Welcoming the newnormal: Why bike lanes matter to our future โดย Charles McCorkell (www.bicyclehabitat.wordpress.com); บทความ Brimstone and bicycles โดย Mick Hamer (www.newscientist.com); สารคดี Victorian bicycles - wheels of change (2010) โดย Jim Kellett จากยูทบู ; สัมภาษณ์ คุณสุรพร เลิศวงศ์ไพฑูรย์ และ คุณสิวากร มุตตามระ; วิกพิ เี ดีย
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
11
Cover Story เรื่องจากปก
เวิลด์แบงก์เตือนจีน ภาคอสังหาฯ เสี่ยงชะงัก
รถเล็กทำ�ยอดขายฟอร์ด พุง่ สูงสุดในรอบ 13 ปี ไมโครซอฟท์ประกาศ ซือ้ สไคป์ 8.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สหรัฐฯ เตือนภัยการเดินทางพลเมืองทัง้ หมด หลังปลิดชีพบิน ลาเดน เปิดตัวเป๊บซีโ่ ค ขวดพลาสติกรักษ์โลกรุน่ ใหม่ ทำ�จากพืช
คนจีนนำ�โด่งซือ้ ผ้าแคชเมียร์ หลังเศรษฐีทว่ั โลกเงินหด วิกฤตประท้วงตะวันออกกลาง ยังคุกรุน่ ล่าสุดซีเรียลัน่ ยกระดับการประท้วง กดดันรัฐบาล
ทอร์นาโดถล่มตอนใต้สหรัฐฯ ร้ายแรงทีส่ ดุ ในรอบ 80 ปี
เยาวชนปากีสถานลั่น จะโค่นอเมริกา แก้แค้นให้บิน ลาเดน
คิวบาจ่ออนุญาตพลเมือง ท่องเทีย่ วต่างแดน ครัง้ แรก ในรอบ 50 ปี บราซิลหาทางสัง่ ปรับ 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากบริษัทค้าเนื้อวัวจากฟาร์ม บุกรุกป่า 14 แห่ง
Uniqlo จับมือ Cath Kidston ออกคอลเลคชั่นช่วยสตรีแซมเบีย UN เผยภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก มากกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทีม่ า: สำ�นักข่าวรอยเตอร์ สำ�นักข่าวเอเอฟพี สำ�นักข่าวบีบซี ี สำ�นักข่าวไทย
ค่านิยมใหม่ ใจกลางความโกลาหล เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี 12
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
Cover Story เรื่องจากปก
พานาโซนิคเล็งปลดพนักงาน 4 หมืน่ คนทัว่ โลก จำ�นวนเด็กญี่ปุ่นเกิดน้อยลง ตํ่าสุดเป็นประวัติการณ์ นับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สาวญี่ปุ่นอยากแต่งงานสูงขึ้น หลังวิกฤตสึนามิ ฮ่องกงฉวยโอกาสญีป่ นุ่ อ่วม ออกวีซา่ ดึงหัวกะทิ UN ระบุราคาอาหารและนํา้ มันสูงขึน้ จะส่งผลเอเชียแปซิฟกิ มีคนจนเพิม่ 42 ล้านคน
คุณเห็นอะไรในความสับสน อลหม่านที่ว่านี้ โอกาส การแข่งขัน การคุกคาม นํ้าตา ชัยชนะ อิสรภาพ หรือความพ่ายแพ้ ท่ามกลาง เงื่อนไขและปัจจัยที่รายล้อม ชีวิตอยู่นี้ คงยากที่จะ จินตนาการว่า เราจะมีชีวิต แบบเดิมๆ อีกครั้ง ได้อย่างไร
เมษายน 2011 กรุงวอชิงตัน ดีซี หลังสิ้นสุดการประชุมหลายชั่วโมงของคณะ กรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารกลางของ สหรัฐอเมริกา หรือ เฟด นายเบน เบอร์นานเก้ ประธานเฟด ได้เปิดแถลงข่าวเพือ่ ไขทุกข้อข้องใจ แก่บรรดาผูส้ อ่ื ข่าว ตัง้ แต่ความผันผวนของราคา นํ้ามัน อัตราการขยายตัวจีดีพี และตัวเลขเงิน เฟ้อ แต่คำ�ตอบที่ทำ�ให้ผู้สื่อข่าวนิวยอร์ก ไทม์ ถึงกับหมดความอดทนและลุกขึ้นถามยํ้าอีก ครั้งว่า เฟด จะทำ�อย่างไรกับอัตราการว่างงาน ของสหรัฐฯ ที่บัดนี้ได้เพิ่มแตะระดับร้อยละ 10 เข้าไปแล้ว แต่กระนั้น สิ่งที่นายเบอร์นานเก้ แสดงออกมาก็คือ ความกังวลว่าการว่างงาน ในระยะยาวจะมีปัญหาอย่างมาก เพราะยิ่งว่าง งานนานมากขึ้นเท่าไร การเชื่อมโยงของตลาด แรงงานกับแรงงานก็จะยิ่งลดลงเรื่อยๆ ทักษะ ที่แรงงานเคยมีและเคยใช้ได้จะค่อยๆ หดหาย ใช้ไม่ได้อีกต่อไป และผลก็คือ ความท้อใจและ เลิกหางานในที่สุด ข้อสงสัยของผู้สื่อข่าวนิวยอร์ก ไทม์ เป็น เรื่องที่เชื่อมโยงกับชีวิตคนธรรมดาๆ ทั่วไปใน สังคมอเมริกนั ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (The Great Recession) ที่กัดกร่อนสังคมอเมริกัน ได้ส่งผลต่อวิถีคิดและวิถีชีวิตของพวกเขาอย่าง รุนแรง เมื่อโลกในปัจจุบันและต่อจากนี้ไม่ได้มี อเมริกาเป็นศูนย์กลางเสียแล้ว และความเปลีย่ น ผ่านของช่วงเวลาก็ได้นำ�พาให้จีนได้ก้าวเข้ามา กำ�หนดชะตากรรมการผลิตและการจับจ่าย ของโลก ขณะที่การขยายตัวทางเทคโนโลยีการ สื่ อ สารก็ ไ ด้ ส ร้ า งกลุ่ ม คนที่ มี พ ลั ง เชื่ อ มต่ อ ระหว่างกันข้ามทวีป ภัยพิบัติธรรมชาติได้เข้า มาสั่นคลอนความสุขของผู้คน บนภาวะกดดันทัง้ หลายทัง้ ปวงนี้ มนุษย์มกั ไม่ค่อยมีอารมณ์อดทนสักเท่าไรนัก เมื่อใช้ชีวิต แบบเดิมไม่ได้ ก็ตอ้ งเดินหน้าหาชีวติ ใหม่ทส่ี ร้าง “ความปกติ” หรืออย่างน้อยที่สุดก็ใกล้เคียงกับ
ทีเ่ คยเป็นอยู่ เพราะหากจะรา่ํ ร้องเอาความปกติ แบบเดิมที่เคยเป็นมา ซึ่งก็คงเป็นไปไม่ได้แล้ว เพราะโลกวันนี้และทุกๆ วันต่อจากนี้ย่อมไม่ เป็นเช่นนั้น แล้วอะไรคือสิ่งที่เรียกว่า “ความ ปกติครั้งใหม่” (New Normal) ในปรากฏการณ์ เช่นนี้
เมื่อภูมิทัศน์ทางสังคม เปลีย่ นภูมทิ ศั น์ทางความคิด “ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว และเรา ไม่สามารถเอาชนะกระแสนี้ได้” นายจอร์จ เอี๋ยว รัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศของสิงคโปร์ สังกัดพรรคพีเอพี พรรคการเมื อ งที่ ครองอำ � นาจในสิ ง คโปร์ ม า ยาวนานกว่า 52 ปี ได้เอ่ยประโยคนี้ขึ้น หลัง พรรคต้องสูญเสียที่นั่งให้ฝ่ายค้านถึง 6 ที่นั่ง จากทั้งหมด 87 ที่นั่งหรือประชาชนผู้มีสิทธิ์ ออกเสียงเกินร้อยละ 30 เทคะแนนเสียงให้พรรค ฝ่ายค้าน โดยเป็นผลมาจากการทีพ่ รรคถูกวิจารณ์ อย่างหนักในโลกออนไลน์ ทัง้ เฟซบุก๊ ทวิตเตอร์ และยูทบู เพราะประชากรวัยหนุม่ สาวทีค่ ดิ เป็น ร้อยละ 30 ของประชากร 3.77 ล้านคน หันไป ระบายออกผ่านสื่อเหล่านี้แทนสื่อดั้งเดิมอย่าง กลุม่ หนังสือพิมพ์สงิ คโปร์ เพรสส์ โฮลดิงส์ และ สถานีโทรทัศน์มีเดียคอร์ป ถูกพรรครัฐบาล ครอบงำ�ใช้เป็นกระบอกเสียงมาโดยตลอด ซึ่ง ผลของการเลือกตั้ง ทำ�ให้นายกรัฐมนตรี นาย ลี เซียนหลุง กล่าวยอมรับถึงอิทธิพลของโลก ออนไลน์และให้ค�ำ มัน่ ว่าพรรคพีเอพีจะพยายาม สื่อสาร รับฟัง และสร้างความเข้าใจกับกลุ่ม เยาวชนให้มากขึ้น เพื่อที่จะได้รับรู้ว่า อะไรคือ สิ่งที่พวกเขาต้องการ จำ�นวนตัวเลข 6 ทีน่ ง่ั อาจไม่ได้สลักสำ�คัญ ต่ออำ�นาจทางนิติบัญญัติของพรรคพีเอพี แต่ ความจริงก็คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจต่อผู้นำ�ทาง การเมืองลดน้อยถอยลง ไม่ใช่อย่างที่เป็นมาใน อดีต ซึ่งเหตุการณ์ที่ว่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นแต่เพียง กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
13
Cover Story เรื่องจากปก
ในสิงคโปร์เท่านัน้ แต่ในกลุม่ ประเทศตะวันออก กลางและแอฟริกาใต้ ก็เกิดปรากฏการณ์ลุกฮือ ขึน้ เรียกร้องประชาธิปไตย ถามหาความโปร่งใส ของรัฐบาล การเดินขบวนประท้วงครั้งใหญ่ ตลอดจนการรวมตั ว กั น ของชาวชนบทและ ชนชั้นแรงงาน ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สั่นคลอน อำ�นาจของรัฐบาลในหลายประเทศ ความรู้สึก เป็นปรปักษ์และขาดความเชื่อใจนี้ เป็นผลมา จากวิกฤตการณ์ทางการเงินและความล้มเหลว ในการบริหารประเทศ เมื่อหันมามองความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจ ที่เขย่าตลาดหุ้นทั่วโลก นายโมฮัมหมัด เอ. อัล-อีเรียน นักบริหารเงินและนักเศรษฐศาสตร์ ซีอีโอของพิมโก้ บริษัทบริหารจัดการกลุ่มการ ลงทุนชัน้ นำ�แห่งหนึง่ ของโลก และเป็นผูใ้ ห้นยิ าม ภาวะเศรษฐกิจแบบ New Normal กล่าวว่า นักลงทุน ทั่ ว โลกจะต้ อ งเผชิญกับ สภาพที่ผ ล ตอบแทนการลงทุนในระยะยาวจะตํ่าลง ความ ผันผวนในราคาสินทรัพย์ต่างๆ จะกลับสูงขึ้น อันเนื่องมาจากวิกฤตการเงินที่ทำ�ให้บรรดา ประเทศที่ พั ฒ นาแล้ ว ต่ า งก็ ติ ด กั บ ดั ก หนี้ สิ น มหาศาลจากการพยายามโอบอุ้ ม สถาบั น การเงินทีล่ ม้ เหลว ด้วยเหตุน้ี การลงทุนจะเปลีย่ น ไปเพราะการใช้จ่ายภาคเอกชนจะไม่ทะยาน ข้ามคืน เศรษฐกิจโลกจะพึ่งพานโยบายของ รัฐบาลนานเกินกว่าที่ทุกคนต้องการ นั่นทำ�ให้ นักลงทุนต้องระมัดระวังการลงทุน และมุ่งเน้น การลงทุนในสินทรัพย์ที่จบั ต้องได้ สินค้าวัตถุดบิ ทางเกษตร (ซึ่ง UN คอยพรํ่าบอกว่าภาวะการ ขาดแคลนอาหารจะทวีตัวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ) ทองคำ�และพันธบัตรนํา้ มัน ซึง่ กลายเป็นการลงทุน ในหลักประกันมากกว่าการเสี่ยงแบบเดิมๆ และเช่ น เดี ย วกั บ ภู มิ ทั ศ น์ ท างการเมื อ ง ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจก็ได้รับอิทธิพลจากโลก ออนไลน์เช่นกัน สตีฟ บอลเมอร์ ซีอีโอของ ไมโครซอฟท์ กล่าวถึงสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับ พลังอำ�นาจของโลกไอทีในการขับเคลือ่ นเศรษฐกิจ ว่า ถ้าเราเพียงเพิม่ การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความ เร็วสูง 10 รายต่อ 100 คน ในประเทศที่พัฒนา 14
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
แล้ว เราจะเพิม่ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศได้ถงึ 1.2% และประมาณการณ์ ว่า การมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในยุโรป จะ สามารถสร้างงานใหม่ได้ถึง 1 ล้านงานในปี 2012 เรื่องราวทั้งหมดคงจะพอบอกได้ว่า เราคง จะหวนกลับไปหาชีวิตปกติดั้งเดิมไม่ได้อีกแล้ว แต่คำ�ถามคือเราจะเดินหน้าเพื่อชีวิตที่ปกติสุข กว่าได้ดีแค่ไหน
New Normal for New American แขกรับเชิญทีไ่ ด้รบั ความสนใจจากคนดูอย่างล้มหลามในโชว์ของ โอปราห์ วินฟรีย์ ไม่ใช่สาวอังกฤษ ผู้มาดมั่นอย่างวิคตอเรีย เบ็กแฮม แต่กลับเป็นแม่บ้านที่กำ�ลังสอนชาวอเมริกันให้ใช้ชีวิตยาม เศรษฐกิจตกตํ่า โดยกล้องตามเธอไปดูตั้งแต่การช้อปปิ้งของใช้จิปาถะเข้าบ้าน ที่เผยให้เห็นถึง การที่เธอตัดคูปองหั่นราคาจากหนังสือพิมพ์ และการติดตามสินค้าโปรโมชั่นที่เคาน์เตอร์ เรื่อง ราวที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดานี้ ไม่น่าเชื่อว่าจะกลายเป็นเรื่องที่จับใจแม่บ้านชาวอเมริกัน หลังเหตุการณ์ 911 ตามด้วยวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์อันโหดร้าย มันไม่ง่ายที่จะเปลี่ยน ชาวอเมริกันให้มีนิสัยทางการเงินและทัศนคติใหม่ในระยะเวลาอันสั้น จิตใจของสังคมอเมริกัน ใช้เวลาตกผลึกอยู่พักใหญ่จึงค่อยๆ ยอมรับกับความจริงในวันนี้ และเริ่มปรับคลื่นหาชีวิตแบบ ปกติให้กับตัวเอง CNN Money ได้นำ�เสนอรายงานที่กำ�ลังบอกว่า คนอเมริกันมีรูปแบบวิธีคิด และวิถีการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงจากปัจจัยที่รายล้อมอยู่ ใช้จ่ายอย่างรับผิดชอบ สังคมอเมริกนั นัน้ เกิดภาวะการใช้จา่ ยเกินตัวมานานเกินไป แต่เมือ่ ค้นพบชีวติ จริง พวกเขาก็ลดการใช้ บัตรเครดิตลงได้ถงึ 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น 6% ของเงินทุนสำ�รองของประเทศทีเดียว แต่รฐั บาลก็หวัน่ วิตกว่า การหยุดการจับจ่ายจะนำ�มาซึง่ ปัญหาชะงักงันของเศรษฐกิจภายในประเทศ และจะส่งผลให้คนอเมริกันลดการจับจ่ายแม้เมื่อเศรษฐกิจจะดีขึ้นแล้วก็ตามที เช่นเดียวกับที่ ญี่ปุ่นและยุโรปเคยประสบมาแล้วก่อนหน้านี้ ลาก่อนวันหยุดสุดหรรษา Staycations กลายเป็นคำ�ฮิตของครอบครัวอเมริกนั (ซึง่ กระแสนีข้ า้ มฝัง่ มาจากกลุม่ ประเทศยุโรป) พวกเขาต้องลดค่าเดินทาง ค่าทีพ่ กั และค่าอาหาร จากการเดินทางท่องเทีย่ วเพือ่ ไปพักร้อนทีเ่ มือง นีซ ฝรั่งเศส หรือฮาวาย ทำ�ให้การท่องเที่ยวในช่วงวันหยุดของคนอเมริกันลดลงกว่า 27% และ ทีไ่ หนจะดีไปกว่าบ้าน หรือสถานทีใ่ กล้บา้ นล่ะ...ดังนัน้ อุปกรณ์แคมปิง้ เตาบาร์บคี วิ จึงได้รบั การ คาดหมายว่ าจะถูกนำ�มาปัดฝุ่นใช้อีกแน่นอน นอกจากนีค้ นอเมริกนั ยังต้องเตรียมใจสำ�หรับการว่างงานระยะยาว ทำ�ใจกับภาษีทส่ี งู ขึน้ และ ปรับสภาพการใช้จา่ ยจากการซือ้ เป็นการเช่าให้มากขึน้ แต่สตู รสำ�เร็จของแต่ละสังคมก็แตกต่างกัน ค่านิยมหนึ่งอาจใช้ไม่ได้กับอีกที่หนึ่งก็เป็นได้ แต่คนที่ปรับตัวและรู้เท่าทันความละเอียดอ่อน เหล่านี้ ย่อมได้เปรียบกว่าเสมอ ที่มา: Five New Normal that really will stick, นิตยสารฟอร์จูน, 23 สิงหาคม 2010
Cover Story เรื่องจากปก
เมือ่ โลกถูกเขย่า... เราจะรับมืออย่างไร ถ้าความปกติ เป็นสิง่ ทีเ่ ราทุกคนต้องการให้เกิด ขึ้นท่ามกลางความโกลาหลทั้งสภาพแวดล้อม ทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว มันจะไม่ง่าย เช่นนัน้ เพราะความปกติครัง้ ใหม่ (New Normal) ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถบังคับได้ แต่มันเกิดจาก วิธีคิดใหม่ ทัศนคติใหม่ และการปฏิบัติใหม่ๆ จนเกิดเป็นพฤติกรรมใหม่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ แต่สิ่งที่เราจำ�เป็นต้องเข้าใจก็คือ สิ่งที่เราหรือ สังคมได้ให้คุณค่าในวันนี้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ ในวันหน้า คุณค่าหรือค่านิยมไม่ใช่เรือ่ งจีรงั และ เป็นวัฏจักรที่ย้อนกลับไปมาได้อย่างลื่นไหล เมื่อสังคมต้องการหรือเห็นคุณค่ามันอีกครั้ง อย่าแปลกใจเมื่อโลกแฟชั่นกลับมาคลั่ง ไคล้ความงามแบบสาวข้างบ้านที่ไม่สมบูรณ์ แบบ ชิ้นงานออกแบบจะตอบสนองรสชาติของ อิสรภาพเช่นเดียวกับยุคหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 1 หรือกาล่าดินเนอร์การกุศลจะกลายเป็นเรื่อง ไร้สาระ เพราะวันนี้ คุณค่าใหม่ในการตอบโจทย์ ชีวิตปกติได้เปลี่ยนไปแล้ว
โลกของแฟชั่น:
การกลับมาของความไม่สมบูรณ์แบบ การลงทุนในความพิถีพิถัน และความสมเหตุสมผล ใครจะคิดว่า ฟันหน้าห่าง ผิวตกกระ เตีย้ สะโพก ตรง และหน้าอกแบน จะสามารถขึ้นมาเป็น นางแบบบนปกนิตยสารโว้ค แต่มนั ก็เป็นไปแล้ว และหลายครั้งเสียด้วย เมื่ อ ไหร่ กั น ที่ ค วามงามในอุ ด มคติ แ บบ เจ้าหญิงเกรซ เคลลี่ หรือเย้ายวนแบบมาริลีน มอนโร ค่อยๆ เลือนหายไปและถูกแทนที่ใหม่ดว้ ย หญิงสาวรูปร่างเก้งก้าง สไตล์กง่ึ หญิงกึง่ ชาย หรือ "Androgyny" เช่น ทวิกกี้ ในยุค 60 เคท มอสส์ ในยุค 90 แต่ดว้ ยความเป็นผูห้ ญิงธรรมดานี้ กลับ ทำ�ให้ผู้หญิงทั่วโลกรู้สึกเชื่อมโยงกับเธอ และ รู้สึกว่าผู้หญิงที่ไม่สมบรูณ์แบบก็ดูน่าปรารถนา ได้เช่นกัน “เราเพิ่งผ่านพ้นยุค Postmodern หรือ วัฒนธรรมไร้รากมาหมาดๆ นัน่ คือ ยุคของการ คิดใหม่แบบนอกกรอบแต่หยิบจับเอาของเก่า มาผสมปนเปกันไป แต่พอมาวันนี้คนต้องการ
งามอย่างประชาธิปไตย ไม่ใช่เพียงแค่หญิงสาวบนปกแมกกาซีน สไตล์และแนวโน้มของอุตสาหกรรมแฟชั่นก็เปลี่ยนโฉม หน้าไปด้วย และไม่ใช่แค่การเปลี่ยนตามฤดูกาลการผลิตตามรันเวย์เท่านั้น แต่แนวคิดของการ ปรับทัศนคติต่างหากที่น่าสนใจ ซาร่า คือตัวอย่างของการขายความฝันที่เป็นไปไม่ได้ในอดีต กลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ สัญชาติสเปนนี้คือ กลุ่มสาวทำ�งาน เลขานุการ หรือนักบัญชีในระดับกลางที่ชื่นชมในสไตล์ของ เจ้านายผู้หยิบจับสินค้ากลุ่ม International Brand มาสวมใส่ แต่ซาร่าทำ�สิ่งที่เข้าใจง่ายกว่า ราคาถูกกว่า และเปลีย่ นเร็วกว่า เพราะต้นทุนตํา่ อันเนือ่ งจากการบริหารจัดการทีช่ าญฉลาด โดยการ แบ่งทีมนักออกแบบ สไตล์ลสิ ต์ นักการตลาด เป็นทีมย่อยๆ เพือ่ แข่งขันกันทำ�งานและส่งใบออเดอร์ คำ�สั่งผลิตไปยังกลุ่มประเทศแรงงานถูกในอินเดีย จีน กัมพูชา เวียดนาม โมร็อกโค่ และยุโรป ตะวันออกบางประเทศ โดยทีมของพวกเขาจะเลือกแบบของเสือ้ ผ้าให้เหมาะกับทักษะแรงงานของ ประเทศนั้นๆ ด้วย เช่น เสื้อผ้าที่เน้นการปักเหลื่อมจะส่งไปที่อินเดีย กลุ่มเสื้อยืดส่งไปที่จีนและ เวียดนามที่มีโรงงานขนาดมหึมา เป็นต้น นอกจากกลยุทธ์อันเฉียบคมในการบริหารงานจะส่งผลให้แบรนด์เติบโตอย่างรวดเร็วแล้ว สิ่งที่ซาร่าเอาชนะใจผู้ซื้อได้ก็คือ การขายความงามสุดเอื้อมให้มาอยู่ในตู้เสื้อผ้าของหญิงสาว ธรรมดาคนหนึ่งได้นั่นเอง
ภาพจาก http://horstson.de
ความเป็นตัวตนที่แท้จริง ต้องการแสดงออกซึ่ง ความคิดของตัวเอง ต้องการราก แล้วอะไรจะ ดีไปกว่าแก่นแท้ แฟชั่นก็เช่นกัน แม้จะบอกว่า เรายังชื่นชม Minimalism อีกครั้ง แต่ก็เป็น แบบรายปัจเจกมากขึ้น (Personalization & Customization) นัน่ คือ ลูกค้ามีสว่ นร่วมในการ ประดิษฐ์และออกแบบสินค้าที่ฉันต้องการ ซึ่ง ทำ�ให้เกิดระบบการผลิตแบบใหม่คือการผลิต สินค้าเฉพาะกลุ่ม (Mass customization) ใน รูปแบบ Modular system คือการทำ� module ทีไ่ ม่เหมือนกัน เกิดเป็นสินค้าทีม่ คี วามหลากหลาย ตอบโจทย์ผบู้ ริโภคได้ เพราะฉะนัน้ สำ�หรับผูผ้ ลิต แล้วสินค้าจะต้องมีคณุ ภาพสูง ต้องมี label ทีด่ ี บอกคุ ณค่าและคุ ณสมบั ต ิ ไว้อ ย่างดี เพราะ ลูกค้าของคุณจะอ่าน และจะยินดีซื้อถ้ารู้สึกดี กับตัวเอง” ผศ.ดร.อโณทัย ชลชาติภิญโญ ภาค วิชาการสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายถึงกระแส แฟชั่นในวันนี้
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
15
Cover Story เรื่องจากปก
ดังนัน้ จึงไม่นา่ มีปญั หาอะไรสำ�หรับเสือ้ ผ้า ที่คัตติ้งเนี้ยบกริบ เนื้อผ้าฝ้ายชั้นดี และฝีเข็ม อันประณีตของช่างชัน้ สูง ลูกค้ายอมจ่ายในราคา สูงเพื่อความคุ้มค่าในความพิถีพิถันนี้ เพราะ อย่างน้อยที่สุด พวกเขาก็รู้สึกดีว่าเป็นรางวัลให้ กับตัวเองในการทำ�งานหนัก เพราะแม้ในยาม ทีก่ �ำ ลังซือ้ จะลดลง แต่ความคุม้ ค่ากลับถูกขยาย ความมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ได้นานที่สุด การใช้ได้หลากหลายโอกาส และเป็นการลงทุน กับการแต่งตัว (Investment dressing) ดังนั้น แฟชัน่ ทีเ่ ป็นมาสเตอร์พซี ตืน่ ตาตืน่ ใจ แพงระยับ แต่พรัง่ พร้อมด้วยคุณภาพจึงยังขายได้ แต่ส�ำ หรับ คนชั้นกลางทุนน้อยก็ยังซาบซึ้งกับแฟชั่นระดับ โอต์ กูตูร์ได้เช่นกันแต่ในราคาที่เอื้อมถึง เพราะ วันนี้ปรากฏการณ์การจับมือระหว่างห้องเสื้อ ชั้นสูงอย่าง Jil Sander กับ Uniqlo ที่ออกไลน์ แฟชั่น +J, Commes des Garcons for H&M และ Lanvin for H&M นั้นได้กลายเป็นเรื่อง ของการฉี ก กรอบแฟชั่ น แบบเดิ ม ให้ เ ห็ น ว่ า คุณภาพ แฟชั่นชั้นสูง และความสมเหตุสมผล คือเรื่องที่เป็นไปได้ของโลกแฟชั่นทุกวันนี้
อุตสาหกรรมออกแบบ: ความสุขจากความรู้สึกดี
เมื่อสิ้นสุดเสียงปืนที่แนวหน้าริมชายแดนของ เยอรมนีในปี 1919 โรงเรียนศิลปะแห่งหนึง่ ได้กอ่ กำ�เนิดขึน้ ภายใต้แนวคิดลา้ํ สมัยเพือ่ สร้างผลงานที่ ไร้พรมแดน และการผลิตสิง่ ทีด่ ที ส่ี ดุ แก่คนจำ�นวน มากที่สุด หลายปีต่อมาราวปี 1926 โรงเรียน ศิลปะแห่งนี้มาเปิดที่เมืองเดสเซา พร้อมด้วย บางสิง่ ทีโ่ ดดเด่น อาคารเรียนทีด่ เู หมือนโรงงาน อุตสาหกรรมมากกว่าโรงเรียน เบาเฮาส์คือชื่อ โรงเรียนศิลปะแห่งนี้ และนับจากนั้นเป็นต้นมา เบาเฮาส์ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของผลผลิต จากอุ ต สาหกรรมการออกแบบบนรากฐาน แนวคิดประชาธิปไตยหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 1 เลอ กอร์บูซีเย คือหนึ่งในตัวแทนของสถาปนิก ที่มุ่งสู่แนวคิดนี้ ผลงานการออกแบบอาคาร ทรงลูกบาศก์ในโครงการ Weissenhof Estate 16
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
ในรูปแบบ housing unit ณ เมืองสตุตการ์ทได้ สะท้อนให้เห็นความเป็นเสรีนิยมในการใช้พื้นที่ มากพอๆ กับการลดความฟุ่มเฟือย ช่ ว งเวลาอั น รั ด ทนและบี บ คั้ น จากภั ย สงครามส่ ง ผลอย่ า งมี นั ย กั บ งานออกแบบ สถาปัตยกรรมในแง่มุมของความเป็นเสรีและ ประชาธิปไตย อีกทั้งแนวคิดการผลิตสินค้าหมู่ มากก็เติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองผู้คน จำ�นวนมาก ซึง่ ได้กา้ วเข้าครอบงำ�ภาคการผลิต ของทุ ก ส่ ว นในโลกอุ ต สาหกรรมนานหลาย ทศวรรษ แต่แล้วการผลิตหมู่มากก็เริ่มตีบตัน และหันมาเกาะกินตัวเอง มันส่งผลร้ายทั้งจาก การใช้ก�ำ ลังการผลิตทีท่ ว่ มท้น การสูบกินผืนป่า และรุกลํ้าแหล่งนํ้าธรรมชาติ ความสิ้นเปลือง ถ่านหินและแร่ธาตุในพืน้ ดิน การทิง้ ร่องรอยของ ขยะและมลพิษมหาศาล การสร้างภาวะเรือน กระจกจนกัดกร่อนแหล่งพำ�นักของหมีขาวที่ ขั้วโลกเหนือ โลกจึงรู้สึกไม่ปลอดภัยและรู้สึกดี อย่างที่เคยเป็นมา แล้วอะไรที่ทำ�ให้โลกรู้สึกดีขึ้น ฮาร์ทมุท เอสสลิงเจอร์ เจ้าของบริษัท Frog Design ของ เยอรมนีและเป็นผู้ออกแบบ Apple Macintosh เครื่องแรกในปี 1982 ด้วยปรัชญา “ความสุขใน รูปแบบเชิงสัมผัส” ได้อธิบายถึงแนวโน้มของ อุตสาหกรรมการออกแบบว่า งานออกแบบต่อ จากนี้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ปัจจัยที่สำ�คัญ คือ ต้องดึงดูดใจ มีความสอดคล้องกับธรรมชาติ และคุ้มราคา เพราะนั่นคือเหตุผลที่ทำ�ให้งาน ออกแบบสร้างความสุขให้แก่คน ความดึงดูดใจ จะสร้างความอยากได้ให้แก่ลูกค้าจนต้องควัก กระเป๋าจ่ายเพื่อครอบครองมัน ขณะที่ความไม่ ขัดกับธรรมชาติจะทำ�ให้พวกเขารู้สึกดีที่ได้รับ ผิดชอบต่อสังคมและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ ธรรมชาติ ซึ่งความไม่ขัดกับธรรมชาตินี้ หมาย ถึงไม่ขดั กับร่างกายของเรา คือต้องใช้งา่ ย สัมผัส ง่าย เข้าถึงง่าย และสุดท้ายความคุ้มราคา คือ การตอบคำ � ถามว่ า โซฟาตั ว นี้ ไ ม่ แ พงเกิ น ไป สำ�หรับห้องรับแขกของพวกเขาใช่ไหม ความนิยมและนับถือต่องานออกแบบ จึง หวนกลับมาให้นา้ํ หนักต่อความเคารพธรรมชาติ
ภาพจาก www.panoramio.com
ภาพจาก http://takeawalkonthebrandside.blogspot.com
อย่างสูงสุด ทัง้ ในด้านกายภาพและจิตใจ โดยมี นวัตกรรมเทคโนโลยีเป็นส่วนสำ�คัญที่จะสร้าง คุณสมบัตพิ เิ ศษในวัสดุใหม่ ให้มปี ระสิทธิภาพที่ คงทนหรือมีนํ้าหนักที่เบา โลกของวัสดุใหม่จึง เชื่อมต่อกับงานออกแบบตั้งแต่คอนกรีตที่ใช้ใน งานก่อสร้างตึกระฟ้าไปจนถึงขวดพลาสติก บรรจุนา้ํ อัดลม ดังเช่น ตัวอย่างของการแข่งขัน อันดุเดือดของ เป๊ปซี่โค กับ โคคา-โคล่า นับ เป็นนิมิตหมายอันดียิ่งของความรักษ์โลก โดย เมือ่ 2 ปีกอ่ นหลังโคคา-โคล่าเผยโฉมขวดทีผ่ ลิต จากวัตถุดิบซึ่งมาจากอ้อย 30% เป๊ปซี่ก็ออกมา ข่มว่า ขวดรุ่นใหม่ของค่ายเป๊ปซี่ทำ�จากวัสดุ ธรรมชาติ 100% จากหญ้าสวิสกราส เปลือกสน และเปลือกข้าวโพด โดยมีแผนทดลองใช้ในปีหน้า และจะนำ�มาบรรจุน้าํ อัดลมจำ�หน่ายทั่วสหรัฐฯ ในอนาคต
Cover Story เรื่องจากปก
ธุรกิจบริการ:
ใครว่า มีเงินก็ทำ�ได้ ภาพเจ้าชายอาหรับขี่ม้าอย่างสง่างามขึ้นไปจุดคบเพลิงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีเปิดกีฬาเอเชียน เกมส์ เมื่อปี 2006 กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ จะกลายเป็นแค่ฉากเล็กๆ ไปทันทีเมื่อเทียบกับสิ่ง ที่กาตาร์กำ�ลังจะทำ�ต่อจากนี้ เมือ่ ฟีฟา่ ประกาศให้กาตาร์เป็นเจ้าภาพมหกรรมฟุตบอลโลกปี 2022 อย่างเป็นทางการ ด้วย การเสนอแนวคิดอันน่าทึ่งต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ทำ�ให้ประเทศที่ไม่เคยผ่านเข้าไปเล่นฟุตบอล โลกรอบสุดท้ายแม้แต่ครัง้ เดียว ได้รบั เสียงเอกฉันท์จากกรรมการฟีฟา่ ไปได้ในทีส่ ดุ เพราะผลจาก มหกรรมฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเข้าสู่ชั้น บรรยากาศของโลกสูงกว่าเมื่อครั้งที่เยอรมนีเป็นเจ้าภาพในปี 2006 ถึง 8 เท่า ดังนั้น การเป็น เจ้าภาพฟุตบอลโลกจึงต้องมาพร้อมกับแผนการบริหารจัดการสิง่ แวดล้อมทีด่ เี ยีย่ ม โดยต้องนำ�เสนอ ทั้งด้านเทคโนโลยีการใช้พลังงานหมุนเวียนและการลดมลภาวะที่จะเกิดขึ้น Albert Speer & Partner (AS&P) บริษัทสถาปนิกชั้นนำ�จากแฟรงค์เฟิร์ต เยอรมนี เป็นผู้ ออกแบบสนามแข่งขันฟุตบอลโลกทั้ง 12 สนาม โดยมีทั้งกลุ่มปรับปรุงสนามเก่า และสร้าง สนามขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดนี้ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำ�หรับระบบแสงสว่างและระบบความเย็น ภายในสนามกีฬา โดยอาศัยความเชี่ยวชาญของ 2 บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาชั้นนำ�จากกลุ่ม ตะวันออกกลางและเยอรมนี เพื่อควบคุมอุณหภูมิภายในสนามไม่ให้สูงเกิน 27 องศาเซลเซียส ทั้งที่อุณหภูมิเฉลี่ยนอกสนามจะอยู่ที่ 38 องศาเซลเซียส โดยกาตาร์และ AS&P ได้สร้างสนาม กีฬาต้นแบบซึง่ มีขนาดเล็กกว่าของจริงประมาณ 1 เท่าให้คณะกรรมาธิการของฟีฟา่ ได้ตรวจสอบ เทคโนโลยีทั้งหมดแล้วด้วย นอกจากนี้ แนวคิดในการก่อสร้างสนามแข่งขันยังคำ�นึงถึงการแบ่งปันโอกาส โดยใช้เทคนิค การก่อสร้างแบบ module นั่นคือ เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน โครงสร้างของสนามเหล่านี้จะสามารถ ถอดออกเพือ่ นำ�ไปบริจาคและติดตัง้ ในกลุม่ ประเทศยากจนทัว่ โลกรวม 22 สนาม เพือ่ ให้ประชาชน และนักกีฬาในประเทศนัน้ ๆ ได้ใช้ฝกึ ซ้อมและสร้างแรงบันดาลใจในการกีฬาทัดเทียมกับประเทศ ที่พัฒนาแล้ว ที่มา: www.worldarchitecturenews.com Qatar's incredible stadium plans for 2022 World Cup, The Independent, 2 ธันวาคม 2010 ภาพจาก www.constructionweekonline.com
ประสบการณ์การแบ่งปัน และความเป็นเพื่อน ทัวร์แบบเอ็กซ์คลูซีฟสไตล์จิบแชมเปญสองต่อ สองบนเฮลิคอปเตอร์ขณะชมพระอาทิตย์ลบั ขอบ ฟ้าของเมืองแอลเอได้จบสิ้นมนต์เสน่ห์ไปแล้ว ไข่มุกในแก้วแชมเปญก็เช่นกัน มันกลายเป็น เรื่องฟุ้งเฟ้อเกินจริงและไม่ทำ�ให้คนรอบข้าง ชืน่ ชมคุณอีกต่อไป แต่ถา้ คุณขับเจ็ทส่วนตัวแบบ ที่จอห์น ทราโวลตร้าทำ�เพื่อช่วยผู้ประสบภัยที่ เฮตินั่นแหละ คุณถึงจะกลายเป็นคนพิเศษ โลกปรารถนาสังคมที่น่าอยู่มากขึ้น แต่ ความน่าอยู่นั้นไม่ได้มาจากสิ่งปลูกสร้างอัน มโหฬารเกินจริง การอำ�นวยความสะดวกแบบ ที่คุณไม่ต้องลุกไปไหน แต่เป็นความเอื้ออาทร จากงานบริการ ประสบการณ์ใหม่จากคนใน ท้องถิ่น อาหารพื้นเมืองที่คุณได้ลิ้มลอง รวมถึง รูปแบบการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์จากเพื่อน มนุษย์ด้วยกัน “อาหารยุคใหม่ต้องสะท้อนถึงการเดินทาง ของผู้คน” เป็นคติในการทำ�งานของ Yannik Planty พ่อครัวขนมปังเชือ้ สายอเมริกนั -ฝรัง่ เศส เขาเปิดร้านขนมปังเล็กๆ ที่เมืองคราวน์พอยท์ ห่างจากนิวยอร์ก 442 กิโลเมตร เพือ่ สืบทอดสูตร การทำ � ขนมปั ง แบบดั้ ง เดิ ม ประจำ � ตระกู ล ที่ ตกทอดมาตัง้ แต่ศตวรรษที่ 18 Yannik ใช้วตั ถุดบิ ทีม่ อี ยูใ่ นท้องถิน่ หรือไม่เกิน 70 กิโลเมตรห่างจาก โรงอบขนม เขาใช้โรงโม่แป้งสาลีในท้องถิน่ และ ข้าวออร์แกนิก พร้อมกับนำ�ไปส่งให้ลกู ค้าในเมือง ทุกวัน เขาและเพือ่ นๆ ซึง่ เป็นกลุม่ พ่อครัวรุน่ ใหม่ ในยุโรปและอเมริกาเชื่อว่า รูปแบบอาหารของ คนเมืองเปลีย่ นไปหมดแล้ว พวกเขามีสทิ ธิจ์ ะรูว้ า่ อาหารทีป่ รุงนัน้ มาจากไหนและมันมีพษิ หรือเปล่า “ความหรูหราของอาหารไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า คุณเอาปลาที่น่านนํ้าแอฟริกามาขึ้นโต๊ะสำ�หรับ ทำ�อาหารฝรัง่ เศส เพราะมันอาจปนเปือ้ นคาร์บอน ก็ได้ อาหารเหล่านี้จึงไม่ใช่เรื่องเก๋ไก๋อีกต่อไป แต่อาหารที่มาจากแหล่งผลิตในชุมชนที่คุณไป กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
17
Cover Story เรื่องจากปก
เยือนนั่นแหละน่าทึ่ง อาหารประเภท Farm to Fork เพราะเรากำ�ลังแชร์สิ่งที่เราเป็นจริงๆ ให้ กับลูกค้า พวกเขาต้องการอาหารที่เขาสามารถ นำ�ไปเล่าในบล็อกของเขาต่อได้ว่าเขาไปไหน มาบ้างและได้เจอกับอะไร อาหารที่พวกเขากิน คือประสบการณ์ที่เขาจะเล่าต่อไป มันเป็นการ เดินทางของพวกเขา พวกเขาไม่ได้อยากได้การ เดินทางของอาหาร” ที่เชียงใหม่ โรงแรมโฟว์ ซีซั่น กำ�ลังสร้าง ประสบการณ์ อ าหารที่ ส ะท้ อ นการเดิ น ทาง เช่นกัน โรงแรมแห่งนี้เปิดห้องเรียนสอนทำ� อาหารไทยให้แก่แขกผู้เข้าพัก ซึ่งเป็นบริการที่ สร้างความประทับใจได้อย่างยอดเยี่ยม จากครู คนไทย เครื่องปรุงไทย เครื่องครัวแบบไทย นำ� ไปสู่อาหารไทย ซึ่งแขกจะไม่มีวันลืม ที่สำ�คัญ ได้รับการการันตีจาก Forbes Deluxe ว่าเป็น บริการอันยอดเยี่ยมของการจัดอันดับโรงแรม ทั่วโลก ขณะที่ห่างออกไปในตัวเมืองเชียงใหม่ โรงแรมแทมมารีนได้สร้างประสบการณ์ใกล้ชิด ชุมชนให้กับผู้มาเยือน ด้วยการเยี่ยมชมถนน คนเดิน การทำ�บุญไหว้พระ และแวะชมโบราณ สถานต่างๆ ในยามทีก่ ารตัดราคาและการเฉือน ต้นทุนไม่ได้เป็นทางรอดของกลุ่มธุรกิจบริการ ในเชียงใหม่ โรงแรมทั้งสองแห่งนี้กำ�ลังทำ�ให้ สิ่งที่ไม่ใช่เพียงการขายความโก้หรูของสถานที่ แต่เป็นการมอบคุณค่าจากประสบการณ์ที่ผู้มา เยือนจะได้รบั กลับไป และคุณค่าเหล่านีเ้ องทีจ่ ะ สร้างความพึงพอใจที่ไม่อาจประเมินค่าได้ Sean Stannard-Stockton ผูเ้ ขียนบทความ Donors and nonprofits face a defining moment in responding to a crisis อธิบาย ถึงปรากฏการณ์เกี่ยวกับรูปแบบใหม่ของธุรกิจ ที่ เ กี่ ย วกั บ ความมี มิ ต รจิ ต มิ ต รใจและระบบ งานการกุศลว่า หลังจากทีผ่ คู้ นถูกรุมเร้าจะด้วย ปั ญ หาแบบเรื้ อ รั ง หรื อ เฉี ย บพลั น ก็ ต ามที ร่ า งกายคนเราได้ ค้ น หาวิ ธี ก ารที่ จ ะเยี ย วยา ตนเอง มันคือการดึงธรรมชาติในตัวเรากลับ คืนมา คุณค่าแบบเรียบง่ายที่สุดก็คือความเป็น มิตร ความห่วงใยตามทีเ่ พือ่ นมนุษย์จะพึงมีตอ่ กัน ขณะที่รูปแบบของงานการกุศลก็จะต้องเป็น 18
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
เรื่องที่แสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจกับคุณภาพชีวิตและการ ครองชีพ การให้ความสำ�คัญกับการศึกษา การ ดูแลสุขภาพ และพลังงานสะอาด เรื่องพวกนี้ สังคมอเมริกันน่าจะเริ่มคุ้นเคยจากสิ่งที่เหล่า ดาราฮอลลีวูดกำ�ลังทำ�อยู่ น่าคิดต่อไปว่า สังคมที่ใช้คุณค่าของความ มีนา้ํ ใจในงานบริการอย่างสังคมไทยนัน้ จะฉวย โอกาสนี้ไว้ได้มากน้อยเพียงใด
ปกติดีอยู่หรือ? เมื่อการแสวงหาความปกติอย่างที่เคยเป็นนั้น มันจะไม่กลับมา แต่สติปัญญาของคนเราก็จะ ค่อยๆ ผ่องถ่ายความเจ็บปวด และสร้างกระบวน การจดจำ� เรียนรู้ และไตร่ตรอง จนถึงเป็นรูปแบบ ในการดำ�เนินชีวิตที่เป็นปกติสุขตามระดับจิตใจ ของเราเอง แต่สิ่งที่น่ากังวลก็คือ ปรากฏการณ์ อันน่าสับสนทีด่ �ำ เนินไปนี้ เราจะเรียนรูอ้ ะไรจาก มันบ้าง เพื่อที่วันหนึ่งและอาจไม่นานต่อจากนี้
เราจะได้มีแบบแผนความคิดที่ตกผลึกแล้ว ไว้ แก้ปัญหาในยามที่เราต้องรับมือกับสิ่งไม่คาด ฝันในวันข้างหน้านั่นเอง ที่มา: The new new normal, The Economist, 4 มีนาคม 2011 The new normal is so normal, Bloomberg Businessweek, 16 ธันวาคม 2010 Europe’s adjustment to a new normal, PIMCO/Allianz Global Investor, 6 พฤศจิกายน 2009 Innovation and recovery (2009) โดย Steve Ballmer (www.forbes.com) EUROMAXX programe (www.dw-world.de) Food lover program จาก The National Geographic หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ, 16 มีนาคม 2011 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, 2 พฤษภาคม 2011 การบรรยายเรื่อง Why we buy โดย ผศ.ดร.อโณทัย ชลชาติภิญโญ, 7 มกราคม 2011, TCDC
คำ�อธิษฐานกลางโตเกียว ที่ศาลเจ้าไดจิงกุ โตเกียว มีผู้คนจำ�นวนมากเดินทางมาสักการะขอพรและทำ�พิธีขับไล่ความชั่ว ร้ายออกจากชีวิต ซึ่งต้องมีจ่ายค่าทำ�พิธีครั้งละ 5,000 เยน แต่นับจากเหตุการณ์สึนามิเมื่อเดือน มีนาคมที่ผ่านมา ศาลเจ้ากลายเป็นที่พึ่งพิงทางใจแก่ผู้คนเพิ่มขึ้น จนคิวการทำ�พิธีนั้นยาวเหยียด โดยมีจำ�นวนผู้มาสักการะเพิ่มขึ้น 20% จากเมื่อปีที่แล้ว แต่น่าแปลกที่บรรดาคำ�ขอจำ�นวนมาก โดยเฉพาะของหญิงสาวกลับเป็นการขอสามี “ฉันรูว้ า่ ผูห้ ญิงรุน่ ก่อนทำ�งานหนักเพือ่ พิสจู น์วา่ ตนมีความสามารถไม่ดอ้ ยไปกว่าผูช้ าย ผูห้ ญิง เหล่านั้นไม่ต้องพึ่งพิงผู้ชาย แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ฉันอยากเจริญรอยตาม” เรโกะ คูโบะ วัย 25 ปี ที่ เพิง่ เสร็จสิน้ จากการทำ�บุญเสริมดวงชะตาทีศ่ าลเจ้าเล่าถึงทัศนคติของเธอ ค่านิยมของผูห้ ญิงญีป่ นุ่ จำ�นวนมากเปลี่ยนไปนับจากวันที่เกิดคลื่นยักษ์ซัดถล่มญี่ปุ่น จากที่เคยปฏิเสธการแต่งงานหรือ การมีครอบครัว พวกเธอกลับกลัวการอยู่คนเดียว ต้องการคำ�ปลอบโยนและมิตรภาพในยามนี้ โตชิฮิโร นากาฮามะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันวิจัยได-อิชิ ไลฟ์ในโตเกียว ชี้ว่า ที่ผ่านมา สถิติการแต่งงานของคนญี่ปุ่นเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยสูงถึง 731,000 คู่ ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่รู้สึกปลอดภัยต่อสภาวะเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้ผู้หญิงเร่งหา คู่ครอง แต่เมื่อญี่ปุ่นพบกับวิกฤตภัยธรรมชาติ สถิติการตามหาคู่ครองก็มีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก โดยดูได้จาก โอ-เน็ต บริษทั หาคูท่ ใ่ี หญ่ทส่ี ดุ ในญีป่ นุ่ ซึง่ มีจ�ำ นวนผูส้ มัครเข้ารับบริการเพิม่ ขึน้ ถึง 10% ดังนั้น นอกจากสึนามิจะสั่นคลอนเรื่องเศรษฐกิจของเราแล้ว มันยังสั่นคลอนจิตใจของคนญี่ปุ่น จำ�นวนมากอีกด้วย และนี่อาจเป็นทางออกที่ดีในยามนี้ก็เป็นได้
Insight
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ในวันที่ก ระแสความนิ ย มของการสร้างเวบบล็อกหรือบล็อก ออนไลน์พุ่งขึ้นสูงจนเป็นที่น่าสังเกต เหตุเพราะโลกอินเทอร์เน็ต หยิบยื่นเวทีในการแสดงออกให้กับผู้ใช้ และเปิดโอกาสในการ แสดงความคิดเห็นบนพื้นที่ของคนอื่นที่เชื่อมโยงกันไว้ยิ่งกว่าใย แมงมุม ทำ�ให้ผใู้ ช้ขยายขอบเขตความเป็นตัวเองออกสูส่ าธารณะ ได้งา่ ยดายขึน้ และยังได้การตอบรับผ่านคอมเมนท์ทร่ี วดเร็วทันใจ ทัง้ หมดนีท้ �ำ ให้การมีอยูข่ องบล็อกและการเกิดขึน้ ของบล็อกเกอร์ นั้น ไม่ได้เป็นเพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกระแสแต่ยังกลายเป็น ปรากฏการณ์ สำ � คัญ ที่ส ามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของ ผู้บริโภคในปัจจุบัน
เมื่อแฟชั่นคือเรื่องราวยอดนิยมที่ถูกกล่าวถึงในบล็อกมาโดยตลอด ด้วย เหตุเพราะเสน่ห์ที่สามารถเปิดประสบการณ์ใหม่จากความเปลี่ยนแปลง แบบไม่เว้นฤดูกาล ทำ�ให้บล็อกเกอร์จำ�นวนไม่น้อยหยิบยกเอาเรื่องนี้มา เป็นเนื้อหาในพื้นที่ของตัวเอง โดยพูดถึงตั้งแต่เรื่องพื้นฐานอย่างเสื้อผ้า และเครื่องประดับ ครอบคลุมตั้งแต่แบรนด์ระดับสูงจนถึงสตรีทแฟชั่น แนวโน้มของนิตยสารแฟชั่นชั้นนำ� ไปจนถึงเทรนด์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป ข้อความจากคนธรรมดาเหล่านี้จึงกลายเป็นกุญแจดอกใหม่สำ�หรับไข ประตูสู่โลกออนไลน์ พื้นที่ซึ่งความจริงไม่ได้ถูกบอกเล่าเพียงครึ่งเดียวอีก ต่อไป อะไรทีท่ �ำ ให้แฟชัน่ บล็อกเกอร์สาวน้อย ทาวี เกวินสัน แห่งสไตล์รคู กี้ ได้รบั เชิญไปนัง่ แถวหน้าร่วมกับเซเลบริตแ้ี ละดีไซเนอร์ชอ่ื ดังที่งานแฟชั่นโชว์ ในเมืองต่างๆ ทั่วโลก ด้วยวัยเพียง 14 ปี ถ้าไม่ใช่ความตรงไปตรงมาใน การกล่าวถึงแฟชั่นชิ้นโปรด หรือการนำ�เอามุมมองแบบเธอมาสะท้อน ความเป็นไปในวงการแฟชั่นได้อย่างเห็นภาพ ทาวีมีเพียงกล้องพกพา และรสนิยมอันเฉียบขาดที่ทำ�ให้การถ่ายรูปตัวเองกับเพื่อนๆ พาเธอมา ได้ไกลถึงขนาดนี้ และการได้รว่ มงานกับกองบรรณาธิการนิตยสารออนไลน์ JanePratt.com ก็ทำ�ให้เหล่าบรรณาธิการแฟชั่นในวงการต้องเปลี่ยน มุมมองที่มีต่อเด็กคนนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ว่าทาวีจะปรากฏตัวขึ้นใน
งานไหน คอนเซ็ปต์ในการมิกซ์แอนด์แมทช์เสื้อผ้าจะเป็นอย่างไร ไอเท็ม ชิ้นไหนจะถูกเธอเลือกสรรมาพูดถึงในบล็อก ก็ล้วนดึงดูดความสนใจให้ กับคนหมู่มากจนทำ�ให้ทาวีก้าวข้ามคำ�ว่าเด็กวัยรุ่นธรรมดามาสู่การเป็น แรงบันดาลใจและแฟชั่นไอคอนสำ�หรับใครอีกหลายคน เดอะ ซาร์ทธอเรียลลิสท์ โดยสก็อต ชูแมน คือแฟชั่นบล็อกที่ได้รับ ความนิยมในระดับแถวหน้า คะแนนความนิยมของบล็อกนี้สูงมากจน ทำ�ให้สก็อตได้รับเลือกจากนิตยสารไทม์ ให้เป็นหนึ่งในร้อยบุคคลผู้ ทรงอิทธิพลในแวดวงการออกแบบประจำ�ปี 2010 ประสบการณ์ที่ได้ ครํ่าหวอดอยู่ในวงการแฟชั่นมาเกือบสองทศวรรษ ส่งผลให้การถ่ายทอด ลักษณะเฉพาะของแฟชั่นผ่านภาพถ่ายผู้คนในแต่ละเมือง ทั้งนิวยอร์ก มาดริด มิลาน หรือฟลอเรนซ์ สามารถสะท้อนวิถีชีวิตของเมืองนั้นได้ อย่างลึกซึง้ สก็อตไม่ลมื ทีจ่ ะให้ความสำ�คัญกับการดึงเอกลักษณ์ทโ่ี ดดเด่น ของเสื้อผ้าและเก็บรายละเอียดในสิ่งที่อยู่บนตัวบุคคลที่เขาเลือกบันทึก ภาพ ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับฝีมือในการจับจังหวะผู้ที่ถูกโฟกัสในระดับดีเยี่ยม แล้ว งานของสก็อตจึงไม่ได้เป็นเพียงแค่ภาพถ่ายงานศิลปะร่วมสมัย เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์แห่งวงการแฟชั่นอีก ทางหนึ่งด้วย ในขณะที่กระแสความนิยมของบล็อกเกอร์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การนำ�เสนอความจริงผ่านเนื้อหาที่ถูกถ่ายทอดบนแง่มุมที่ปราศจาก กลยุทธ์ทางการตลาด ความคิดเห็นของแฟชัน่ บล็อกเกอร์จงึ มีอทิ ธิพลมาก จนกลายเป็นเข็มทิศชี้ทางให้กับผู้บริโภคได้ เกิดเป็นคำ�ถามที่สั่นสะเทือน วงการเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น ธุรกิจแฟชั่นจะทำ� อย่างไร ถ้าหากลูกค้าเชื่อในความคิดเห็นของแฟชั่นบล็อกเกอร์ที่เป็นคน ธรรมดาแทนการอ่านเรื่องราวจากบรรณาธิการแฟชั่น และตัดสินใจเลือก ซื้อสินค้าโดยดูจากผลลัพธ์ของการใช้งานจริง มากกว่าจะเชื่อโฆษณา สรรพคุณในหน้าหนังสือ หรือนีจ่ ะถึงเวลาของนา้ํ พึง่ เรือ เสือพึง่ ป่า ที่แวดวง ธุรกิจแฟชั่นต้องจับมือกับบล็อกเกอร์ เพื่อสร้างพลังใหม่ที่จะผลักดันและ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้วงการแฟชั่นก้าวต่อไปบนรันเวย์ที่ไม่ได้มีผู้กำ�หนด ทิศทางเพียงฝ่ายเดียวอีกต่อไป ที่มา: www.thestylerookie.com, http://thesartorialist.blogspot.com, www.style.com, www.vogue.com, www.euromonitor.com, วิกิพีเดีย ภาพ: http://thesartorialist.blogspot.com กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
19
20
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
21
Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน
หอยนางรมที่สด สะอาด และมีคุณภาพแล้ว ลู ก ค้ า ก็ ยั ง ได้ เ รี ย นรู้ วิ ธี ก ารที่ ถู ก ต้ อ งในการ รับประทาน ตั้งแต่ขั้นตอนการแกะไปจนถึง การลิ้มรสชาติที่แตกต่างกันของหอยนางรม แต่ละชนิดด้วย ที่พิเศษยิ่งกว่าก็คือ The Oyster Thing ยังมาพร้อมกระบวนการจัดการธุรกิจ ร้านอาหารแนวใหม่ที่เรียกว่า “ป็อปอัพบาร์” (Pop-up Bar) เทรนด์ใหม่ล่าสุดที่กำ�ลังระบาด ในหลายประเทศทั่วโลก มาเป็นส่วนประกอบ สำ�คัญที่ช่วยปรุงแต่งรสชาติและประสบการณ์ ในการรับประทานหอยนางรมให้พิเศษและน่า จดจำ�มากยิ่งขึ้น
เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: พิชญ์ วิซ แทบไม่นา่ เชือ่ ว่าเรือ่ งราวของ “หอยนางรม” ของขวัญจากท้องทะเลที่มาพร้อมรสชาติ อันเป็นเอกลักษณ์จะกลายมาเป็นธุรกิจ ใหม่ ที่ ก ลมกลื น ไปกั บ ธุ ร กิ จ ร้ า นอาหาร และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคใน วันนี้ได้ เมื่อหอยนางรมคัดเกรดที่มักถูก ส่ ง ขึ้ น เป็ น อาหารจานเด่ น ในภั ต ตาคาร เพือ่ บ่งบอกรสนิยมของผูบ้ ริโภค ได้กลาย มาเป็นอาหารจานปาร์ตี้ที่ให้อารมณ์ผ่อน คลายและเป็นกันเอง ด้วยฝีมอื ของพ่อครัว ระดับเอกอุในวงการคนรักหอยอย่าง “ชาลี กาเดอร์” กับการดำ�เนินธุรกิจแนวใหม่ใน ชื่อ “The Oyster Thing” 22
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
เมื่อหอยนางรม แทรกซึมสู่ใจกลางเมือง แม้จะเพิ่งเริ่มต้น แต่ The Oyster Thing ก็กำ�ลัง เป็นอีกหนึง่ ประเด็นร้อนในวงสนทนาของผูบ้ ริโภค เมื่อ ชาลี เชฟประจำ�สถานทูตฝรั่งเศสประจำ� ประเทศไทยและหุ้นส่วนทั้งสามผู้ชื่นชอบการ รับประทานหอยนางรมเป็นชีวติ จิตใจ ริเริม่ ดำ�เนิน ธุรกิจนำ�เข้าหอยนางรมจากทั่วทุกน่านนํ้าของ โลกมาเพื่อแบ่งปันรสชาติดีๆ ให้กับกลุ่มคนคอ เดียวกัน ผ่านการดำ�เนินธุรกิจที่ยึดหลักการ มอบคุณภาพและความพิเศษที่สัมผัสได้ให้แก่ ลูกค้า เพราะนอกจากที่ลูกค้าจะได้รับประทาน
จับกระแสธุรกิจแนวใหม่ การทำ�ธุรกิจป็อปอัพบาร์นี้ นอกจากจะเป็น กลยุทธ์ใหม่ในการทดลองตลาดก่อนที่จะเดิน หน้าลุยธุรกิจแบบเต็มตัวแล้ว ก็ยังเป็นการโหม กระแสสร้างความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคขี้เบื่อใน ปัจจุบันได้เป็นอย่างดี (เพราะก่อนที่จะเบื่อ ลูกค้ามักต้องใช้เวลาไปกับการเสาะหาร้านค้า ที่จะเปิดให้บริการในเวลาอันจำ�กัดให้ทันเสีย ก่อนที่มันจะปิดตัวลง) The Oyster Thing จึง เลือกที่จะรับและปรับเอาวิธีการดังกล่าวมาใช้ กับธุรกิจของตน ก่อนจะพบข้อดีเพิ่มเติมอีก หลายประการ เช่น การช่วยประหยัดรายจ่าย ประจำ� อย่างค่าเช่าสถานที่ที่อาศัยวิธีการแบ่ง เปอร์เซ็นต์จากการขายส่วนหนึง่ ให้แทน “พอเรา เริม่ มีแฟนเบสแล้ว เราก็สามารถบอกกับทางร้าน ได้ว่า เรามาที่นี่จะทำ�ให้รายได้ของร้านขึ้นโดย อัตโนมัติ เพราะลูกค้าเราเข้ามากินหอยนางรม อย่างเดียวไม่ได้ ยังไงก็ตอ้ งกินอาหารหรือเครือ่ งดืม่ ของทางร้าน เรียกว่า วิน-วิน ทั้งสองฝ่าย” ซึ่ง ที่ผ่านมา The Oyster Thing ก็ได้ไปร่วมสร้าง ปรากฏการณ์ให้กับร้านดังย่านใจกลางเมือง แล้ว อาทิ ร้านปลาดิบ และ Blue Velvet และ เมื่อประหยัดรายจ่ายค่าเช่าสถานที่ลงได้ The Oyster Thing ก็สามารถดำ�เนินธุรกิจที่พวกเขา หลงใหลได้โดยที่ยังคงโฟกัสเฉพาะสิ่งที่ตนเอง ถนัดและสนใจได้อย่างแท้จริง
Creative Entrepreneur คิด ทํา กิน
เปลี่ยน “รถเข็น” เป็น “ป็อปอัพบาร์” ด้วยอุปกรณ์ตั้งต้นอย่างภาชนะ แก้วช็อต และ บาร์ลอยตัว รวมถึงแนวคิดตั้งต้นที่เหมือนกัน อย่างการมองหาทำ�เลทองทีม่ ลี กู ค้ากลุม่ เป้าหมาย อยูค่ บั คัง่ เพือ่ ช่วยให้การขายเป็นไปได้อย่างลืน่ ไหล หากแต่การมอบความรูส้ กึ และประสบการณ์ ที่แตกต่างให้กับลูกค้า จึงทำ�ให้ “รถเข็นขาย อาหาร” ธรรมดาๆ ถูกเปลีย่ นให้มาอยูใ่ นรูปแบบ ของ “ป็อปอัพบาร์” ทีท่ นั สมัย ซึง่ ผูกความสดของ อาหารเข้ากับบรรยากาศดีๆ ในการรับประทาน หอยนางรมเข้ า ด้ ว ยกั น เพื่ อ จำ � หน่ า ยให้ กั บ ลูกค้ากลุ่มใหม่ที่แสวงหาประสบการณ์พิเศษ “เราขายมิตรภาพ ขายโนว์ฮาวเฉพาะตัวใน การกินหอยนางรม ขายความสบายที่ไม่จำ�เป็น ต้องกินคู่กับเครื่องดื่มราคาแพงอย่างแชมเปญ เท่านั้น การกินหอยนางรมนำ�เข้าของคนไทย ไม่ต้องเป็นอะไรที่หรูหรา เฉพาะกลุ่ม หรือต้อง มีเงินพอทีจ่ ะกินได้อกี ต่อไป แต่เราต้องทำ�ให้มนั เข้าถึงได้ง่าย” ชุมชนคนรักหอยออนไลน์ นอกจากความคล่องตัวในการดำ�เนินธุรกิจใน รูปแบบป็อปอัพบาร์แล้ว The Oyster Thing ยัง สามารถดึ ง เอาจุ ด แข็ ง อี ก อย่ า งของการทำ � ธุรกิจแบบชั่วข้ามคืนนี้มาใช้สร้างฐานลูกค้าได้ โดยผ่านการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ “ที่โฆษณาตอนแรกก็แค่บนเฟซบุ๊กอย่างเดียว แล้วก็ปากต่อปาก มีส่งข้อความทางโทรศัพท์ บีบีไปให้ พอใกล้ถึงวันงาน ก็จะสร้างอีเวนท์ลง ในหน้าแฟนเพจ และก็สลับกันขึ้นและอัพเดท สเตตัส รวมถึงไปแท็กและคอมเมนต์ภาพต่างๆ เพือ่ ให้งานของเราอยูบ่ นหน้าแรกของเพจตลอด ซึง่ มันก็ได้ผล อย่างเรามีหนุ้ ส่วนสีค่ น แต่ละคนมี เพือ่ นสีห่ า้ ร้อยคน อาจจะซํา้ กันสามร้อย แต่มอี กี สองร้อยทีแ่ ตกต่างออกไป เราก็จะได้ตรงนัน้ ด้วย” นอกจากจะเป็นตัวอย่างธุรกิจที่ตอบโจทย์ ผู้บริโภคสมัยใหม่ที่มองหาคุณภาพและความ แปลกใหม่ในช่องทางใหม่ๆ ที่เข้าถึงได้แล้ว The Oyster Thing ยังช่วยเปิดโลกทัศน์ให้กับ เหล่าผูป้ ระกอบการสร้างสรรค์รนุ่ ใหม่ ทีส่ ามารถ
แปรสิ่งที่รักให้กลายเป็นธุรกิจที่กำ�ลังจะเปลี่ยน กระบวนทัศน์ให้หลายธุรกิจขยับตัวตาม และ เมื่อถึงวันที่ป็อปอัพบาร์เล็กๆ แห่งนี้ จะขยาย ร่างไปเป็นร้านอาหารใหญ่โตในอนาคต เราก็ เชื่อว่า การเตรียมความพร้อมของพวกเขาจาก การทำ � ธุ ร กิ จ แนวใหม่ ด้ ว ยการตั้ ง ไข่ ด้ า น องค์ความรู้ในการประกอบการไปพร้อมๆ กับ การค่อยๆ ป้อนไลฟ์สไตล์ใหม่กบั ลูกค้า จะช่วย ให้พวกเขาสามารถตั้งตัวได้ไม่ยากกับสภาพ ตลาดในปัจจุบันและอนาคต
ติดตามข่าวของ The Oyster Thing ที่ แฟนเพจบนเฟซบุ๊กของ The Oyster Thing ที่มา: บทความ Pop-up bars hit the pub world โดย Gemma McKenna (www.morningadvertiser.co.uk) บทความ Pop-up bars: A fad or a fixture? โดย Emma Thelwell (http://finance.ninemsn.com.au)
กระเพื่อมแรงให้แบรนด์ด้วย “ป็อปอัพบาร์”
กระแสป็อปอัพบาร์นั้นกำ�ลังได้รับความ นิ ย มในฐานะอี ก หนึ่ ง เครื่ อ งมื อ ของการ สร้างแบรนด์ชั้นดี ที่แม้แต่ห้างสรรพสินค้า สุดหรูอย่าง ‘ฮาร์วีย์ นิโคลส์’ ก็ยังรุกออก ไปเปิดช็อปจำ�หน่ายอาหารและไวน์นอก ห้างตัวเองที่ห้างแทรฟฟอร์ด เซ็นเตอร์ ใน เมืองแมนเชสเตอร์เป็นการชัว่ คราว เพือ่ สร้าง กลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ขณะที่ “ร้านค้าชั่วคราว” เหล่ า นี้ ยั ง ได้ รั บ ความสนใจจากแบรนด์ ยั ก ษ์ ใ หญ่ อี ก หลายแบรนด์ ที่ เ ล็ ง เห็ น ช่องทางในการนำ�เสนอแบรนด์ให้เข้าถึงผู้ บริโภคได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย ในช่วง เวลาที่เหมาะสม และในราคาที่ย่อมเยา ด้วยการเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนของการ เปิดป็อปอัพบาร์อย่างเป็นทางการ ทั้งด้าน เงินทุน และการให้ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ก็เพื่อ สร้างการรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ที่ผูกโยงไป กับประสบการณ์แบบใหม่ของผูบ้ ริโภควันนี้
ขอเชิญผูสนใจเขารวมสงผลงานธุรกิจสรางสรรค เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ไทยสรางสรรคจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใบเกียรติบัตร พรอมเงินรางวัลๆละ 100,000 บาท สาขางานฝมือและหัตถกรรม 3 รางวัล สาขางานออกแบบ 3 รางวัล รับสมัคร 3 พฤษภาคม - 29 กรกฎาคม 2554 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม Email: award@thailandce.com Facebook: www.facebook.com/ThaiCreativeAwards Website: www.thailandce.com Tel: 084.426.5685 หรือ 084.654.4876 กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
23
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: วิสาข์ สอตระกูล ภาพ: กณิศา นพพันธ์ และ กาจคณินท์ ทรัพยอาจิณ
24
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
ณ นาทีนี้ หลายคนบอกว่า “เมลเบิร์น” คือ เมืองที่ “บูมมิง่ ” และมีสสี นั ทีส่ ดุ ในซีกโลกใต้ หลายคนบอกว่าเมืองๆ นี้มีคุณลักษณะ พิเศษทีท่ �ำ ให้ผอู้ ยูอ่ าศัยรูส้ กึ “พึงพอใจกับ ชีวิต” ในขณะที่ผู้ไปเยี่ยมเยือนก็มักจะเกิด อาการ “รักแรกพบ” และฝันว่าสักวันหนึ่ง จะมี โ อกาสได้ เ ปลี่ ย นสถานภาพไปเป็ น “เมลเบิร์นเนี่ยน”กับเขาบ้าง
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เหตุที่มหานครน้องใหม่แห่งนี้ก้าวขึ้นมาเป็นที่ จับตามองของเหล่ามนุษย์สร้างสรรค์ทั่วโลกน่า จะมาจากปัจจัยขับเคลือ่ นหลายๆ ประการ อาทิ ความศิวไิ ลซ์ของเทคโนโลยีสเี ขียวและสิง่ อำ�นวย ความสะดวก ทัศนคติเชิงบวกต่อการพึง่ พาอาศัย ระหว่างวัฒนธรรม สัดส่วนของประชากรวัย หนุม่ สาวทีเ่ ปีย่ มไปด้วยความฝัน ฯลฯ แต่ทง้ั หมด ทั้งปวงแล้วสิ่งที่ดึงดูดใจที่สุด ก็คือเรื่องของ “คอมมูนิตี้” และ “บรรยากาศความสร้างสรรค์ ในเมือง” ใครทีเ่ คยมีโอกาสไปสัมผัสด้วยตัวเอง คงพอจะรูว้ า่ ทิศทางการเติบโตและค่านิยมของ ชาวเมลเบิร์นนั้นค่อนข้างจะ “แหวก” ไปจาก มหานครอื่นๆ อยู่พอตัว คนเมลเบิรน์ ชิลล์แต่ไม่นา่ เบือ่ เมืองเมลเบิรน์ เงียบแต่ไม่ได้หลับใหล และถ้าคุณเป็นคนสาม ประเภทนี้ คือ 1) รักความสร้างสรรค์ใหม่ๆ 2) รัก ชีวิตเบาสบายไม่ดิ้นรน 3) รักธรรมชาติและ ความพอดี เมลเบิร์นนี่แหละคือเมืองที่ “น่าอยู่ ที่สุดในโลก” สำ�หรับคุณ
Laneway culture: ความสร้างสรรค์เคลื่อนไหว ในซอกตึก “ถ้าคุณอยากสัมผัสถึงจิตวิญญาณที่แท้จริงของ เมลเบิร์นแล้วล่ะก็ ลองใช้เวลาสักครึ่งชั่วโมง ยามบ่ายไปเดินทอดหุ่ย หรือละเลียดกาแฟดีๆ สักถ้วยตามคาเฟ่ข้างตรอก คุณจะรู้สึกอิ่มกับ บรรยากาศความเคลื่อนไหว และเผลอยิ้มให้ กับอารมณ์ขันของศิลปะบนกำ�แพง...ในสไตล์ เมลเบิร์นเนี่ยนแท้ๆ” ศู น ย์ ก ลางธุ ร กิ จ ในเมลเบิ ร์ น หรื อ ที่ เ ขา เรียกกันว่า CBD นั้น นอกจากจะคราครํ่าไป ด้วยตึกอาคารสมัยใหม่ โรงแรมห้าดาว และ องค์กรธุรกิจไซส์บิ๊กๆ แล้ว เบื้องหลังของมัน ยังมีซอกซอยขนาดจิ๋วอีกจำ�นวนมากที่ทำ�หน้าที่ เป็นเสมื อ น “เส้นเลื อ ดฝอย” หล่อเลี้ยงชีวิต ชาวเมืองถนนเดินเท้าแคบๆ ที่ชาวออสซี่เรียก กันว่า “Laneway” นี้ ปัจจุบนั คือสัญลักษณ์ทาง วัฒนธรรมและศูนย์รวมความสร้างสรรค์ใหม่ ซึ่งกำ�ลังผลักดันให้อดีตเมืองท่าเล็กๆ แห่งนี้
ก้าวขึน้ สูต่ �ำ แหน่ง “มหานครทางวัฒนธรรม” ได้ อย่างเต็มภาคภูมิ Laneway มีรากเหง้ายาวนานมาตัง้ แต่สมัย วิกตอเรียน ในปี 1837 The Hoddle Grid1 หรือ ผังเมืองฉบับแรกได้ถูกออกแบบขึ้นเพื่อใช้เป็น เส้นทางสัญจรของม้าและรถขนสินค้า ต่อมา ชาวเมืองก็ได้สร้างทางเดินเชื่อมต่อถนนสาย หลักเหล่านี้เพื่อไว้เดินไปมาหากันโดยเฉพาะ หากจะพูดกันแบบง่ายๆ ให้เห็นภาพ Laneway ก็คือตรอกทางเดินแคบๆ ที่เชื่อมต่อประตูหลัง ของอาคารจากยุคก่อนนั่นเอง วิถีชีวิตใน Laneways ดำ�เนินไปในแบบ ฉบับของมันเรื่อยมา ผ่านจากยุคตื่นทอง เข้าสู่ ยุคอุตสาหกรรมและสมัยใหม่ ฯลฯ บางตรอกถูก เปลีย่ นฟังก์ชน่ั ไปเป็นตลาด มีการทำ�หลังคาขึน้ คลุมทางเดินแคบๆ (ทีป่ จั จุบนั เรียกว่า Arcade) บางตรอกก็ถูกทิ้งร้างไร้คนสนใจ จนกระทั่งถึง ยุค 90 ตรอกซอยเงียบๆ ที่ดูไร้ชีวิตเหล่านี้ ก็ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าอีกครั้ง นำ�ทีม โดยกลุ่มศิลปินมือบอน (Graffiti artists) ที่เข้า มาวาดลวดลายใช้กำ�แพงตึกเป็น “แคนวาส” แสดงงานของตน (แน่นอนว่าโดยไม่ได้รบั อนุญาต)
ในช่วงแรกแม้ว่าทางการจะไม่ได้สนับสนุน หรือเห็นคุณค่าของศิลปะแขนงนี้ แต่กระแส ความแรงของศิลปะกราฟิต้ใี นเมลเบิร์นนั้นกลับ เติบโตเร็วมาก เรียกว่าไม่เป็นรองลอนดอนหรือ ปารีสเลยทีเดียว โดยจุดสำ�คัญๆ ของเมืองทีค่ ณุ จะหาชมผลงานกราฟิตี้ชั้นดีได้ก็มี เช่น Hosier Lane และ Rutledge Lane ตรงข้าม Federation Square เป็นต้น ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 สตรีทอาร์ต ในย่าน Laneway เริ่มได้รับการกล่าวถึงและ ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ทั่วโลก ดึงดูดให้ทั้ง นักท่องเที่ยว ศิลปิน และผู้ที่ชื่นชอบในกระแส วัฒนธรรมแนวนี้เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย จน กระทั่งในปี 2008 องค์กรภาคสังคมจึงได้จับมือ กับหน่วยงานท้องถิ่นจัดทำ�กรอบการศึกษาเพื่อ วางแผนอนุรักษ์ผลงานชิ้นสำ�คัญๆ ในฐานะ “ศิลปะสมบัติ” ของเมือง อาทิเช่น ผลงานของ Keith Haring ในย่าน Collingwood เป็นต้น (ประเด็นนี้ถูกยกขึ้นมาถกเถียงกันหลังจากที่ 1 เลย์เอาท์ของเมืองในย่าน CBD
ยังคงได้รับการเรียกขานว่า Hoddle Grid เพื่อเป็นเกียรติแก่ดีไซเนอร์ Robert Hoddle ผู้นำ�เสนอผังเมืองแบบ Grid System ให้กับเมลเบิร์น
นักวิชาการและผูท้ ส่ี นใจในวัฒนธรรมเมืองหลายฝ่ายให้ความเห็นว่า ปัจจัยสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ศลิ ปะกราฟิต้ี (หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่าสตรีทอาร์ต) ในเมลเบิร์น “รุ่งเรือง” เข้าขั้นระดับโลก น่าจะเป็นผลมาจาก ทัศนคติและการยอมรับของภาคประชาชนชาวเมืองเมลเบิรน์ ส่วนใหญ่ทด่ี จู ะเปิดใจให้กบั การแสดงออก ของศิลปินบนท้องถนน และเชื่อว่ามันคือ “รูปแบบหนึ่งของศิลปะ” ที่พวกเขายินดีจะใช้ชีวิตร่วมด้วย กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
25
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เจ้าหน้าทีเ่ ทศบาลนายหนึง่ อุตริไปทาสีทบั ผลงาน Stencil ของ Banksy2 เข้าโดยไม่ตั้งใจ) นอกเหนือจากสีสนั ความร้อนแรงของสตรีท อาร์ตแล้ว ศิลปินแขนงอื่นๆ ทั้งนักดนตรี ดีเจ วิชวลอาร์ทสิ ต์ ฯลฯ ก็เริม่ ทยอยเข้ามา “จัดสรร” พื้นที่แปลกๆ ใน Laneway เพื่อใช้เป็นที่แสดง งานสังสรรค์และปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในกลุ่ม วัฒนธรรม (Sub-culture) เดียวกัน ตลอด ทศวรรษที่ผ่านมามีกิจกรรมนอกกระแสหลัก อาทิเช่น การแสดงดนตรี ปาร์ตี้ หรือดีเจไนท์ เกิดขึ้นในซอกตรอกเหล่านี้อยู่เป็นประจำ� จวบ จนปัจจุบันวัฒนธรรม Laneway ได้เติบโตขึ้น กลายเป็น “คอมมูนิตี้” ของไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ที่ คราครํา่ ไปด้วยผูค้ นและการค้า มีธรุ กิจรีเทลเกิด ขึ้นเพื่อตอบรับกับวัฒนธรรมใหม่ๆ นี้มากมาย (นำ�ขบวนโดย คาเฟ่ บาร์ บูติก และแกลเลอรี่ ศิลปะ) ซึ่งจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก ็ตาม ลมหายใจใหม่ๆ เหล่านี้คือพลังอันสำ�คัญที่ กำ�ลังสร้าง “จิตวิญญาณ” และ “อัตลักษณ์ ทางวัฒนธรรม” ให้กับมหานครน้องใหม่แห่งนี้
2 ศิลปินสตรีทอาร์ตชัน้ แนวหน้าของโลก สัญชาติองั กฤษ ผลงาน
ของเขาถูกประมูลตามแกลเลอรีต่ า่ งๆ ในราคาหลายแสนปอนด์
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาองค์การบริหาร ระดั บ ท้ อ งถิ่ น ของเมลเบิ ร์ น เล็ ง เห็ น ถึ ง ความสำ�คัญของศิลปินและผู้ประกอบการ พันธุ์เล็กมากขึ้น มีการจัดงบประมาณช่วย โปรโมทย่าน Laneway ให้เป็นหนึ่งใน สถานที่ท่องเที่ยวหลักของเมือง รวมทั้ง สนับสนุนให้องค์กรสร้างสรรค์ต่างๆ จัด งานเทศกาลขึ้นอย่างต่อเนื่อง 26
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
มหานครสีเขียวและวิถีที่ยั่งยืน เมลเบิรน์ นัน้ ถูกขนานนามว่า The Garden City มาแต่ไหนแต่ไร ด้วยความที่มีสวนสาธารณะ กระจายอยู่ทั่วทุกมุมเมือง ซึ่งนี่อาจเป็นสาเหตุ หนึ่งที่ทำ�ให้ชาวเมืองนี้มีความผูกพันกับ “วิถีที่ เป็นธรรมชาติ” ผู้คนส่วนใหญ่มักจะจัดสรร เวลาว่างเพื่อไปสังสรรค์กันในสวนสาธารณะ ออกกำ�ลังกาย และสูดอากาศบริสุทธิ์อยู่เสมอ “ในช่วงเวลาเร่งรีบของเมลเบิร์น นอกจาก รถยนต์ที่จะเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นกว่าปกติแล้ว พาหนะที่คนนิยมมากในเขต CBD ก็คือ รถราง จักรยาน สกู๊ตเตอร์เท้า ไปจนกระทั่งถึงสเก็ต บอร์ด…มันเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่คุณจะเห็น หนุ่มสาวออฟฟิศ เล่นสเก็ตหรือร่อนสกู๊ตเตอร์ ไปมาในเมืองนี้” ค่ า นิ ย มต่ อ รู ป แบบชี วิ ต ข้ า งต้ น ส่ ง ผล ให้ ก ารออกแบบผั ง เมื อ งและการใช้ พื้ น ที่ บ น ถนนต้องเป็นไปเพื่อกลุ่มประชากรที่สร้าง “มล พิษตํ่า” เป็นหลัก ถนนเกือบทุกสายของเมือง มักจะมีชอ่ งเดินรถจักรยานและมีฟตุ บาทกว้างๆ สำ�หรับคนเดินเท้า พื้นผิวจราจรสำ�หรับรถยนต์ นัน้ เรียกได้วา่ อยูใ่ นระดับ “ลูกเมียน้อย” กันเลย ทีเดียว สังเกตว่าถนนสายสำ�คัญๆ กลางเมือง เช่น Swanston street และ Bourke street ยังมี การห้ามรถยนต์วิ่งเข้าเลนกลางในช่วงเวลา เร่งด่วน เพราะเป็นเลนที่รถรางใช้วิ่งอีกด้วย หลายคนอาจจะคิดว่า กีดกันรถยนต์ขนาด นี้จะไหวเหรอ? ถ้าคนบ้านไกลมีหวังไปทำ�งาน สายทุกวันแน่ โชคดีของชาวเมลเบิร์นที่ภาครัฐ เขาวางระบบการคมนาคมไว้รอบรับกับวิถมี ลพิษ ตํ่านี้แล้วตั้งแต่ต้น ระบบการสัญจรสาธารณะ ของเมืองนีถ้ กู “เชือ่ มต่อ” กันแทบทัง้ หมด ขอแค่ ผู้โดยสารซื้อบัตร METCard ใบเดียว ก็สามารถ เดินทางไปได้ทั่วเมือง (บนเน็ตเวิร์กของรถไฟ รถเมล์ และรถราง) ซึ่งบัตรนี้หาซื้อได้ง่ายมาก มีขายทัว่ ไปตามร้านสะดวกซือ้ สถานีรถไฟ แผง ขายหนังสือพิมพ์ ฯลฯ นอกจากนัน้ ภาครัฐยัง ได้วิเคราะห์ถึง “อุปสรรค” ในการเข้าถึงระบบ การสัญจรสาธารณะ และได้เตรียมที่จอดรถ ทุกรูปแบบไว้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะทีจ่ อดรถ
ลักษณะของเขตชานเมืองทีข่ ยายตัวกว้างออก ไปเช่นนี้ ส่งอิทธิพลอย่างมากต่อการกระจาย รายได้ และการสร้างงานให้กับชาวเมือง ไม่ต้องสงสัยว่าวิถีชีวิตแบบเมลเบิร์นเนี่ยน (กับจำ�นวนประชากรไม่ถึง 4 ล้านคน) นั้น จะ “ชิลล์” แค่ไหน เมือ่ เปรียบเทียบกับพืน้ ที่ สีเขียว เครือข่ายการคมนาคม และการ กระจายตัวของเศรษฐกิจทีร่ ะเบิดไปทัว่ ทุกมุม เมืองแล้ว
จักรยานนั้นเป็นสิ่งที่สามารถหาได้ทั่วไปในเขต เมืองชัน้ ในแทบไม่มใี ครที่จะรูส้ กึ ถึง “ความยาก” ในการเดินทางเลย นโยบายสำ�คัญอีกข้อที่ส่งผลดีต่อวิถีความ ยั่งยืนและสุขภาพจิตของประชาชนก็คือ “การ กระจายความหนาแน่นของเศรษฐกิจออกไป นอกเขต CBD” ผังเมืองของเมลเบิร์นนั้นมีเขต ชานเมืองทีข่ ยายออกไปกว้างทีส่ ดุ ในออสเตรเลีย (อันนี้คงต้องขอบคุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ เอื้ออำ�นวยด้วย) โดยเขตชานเมืองแต่ละแห่ง ก็ จ ะมี ลั ก ษณะความเป็ น ชุ ม ชนและฟั ง ก์ ชั่ น บางอย่างที่แตกต่างกันไป เช่น Docklands เป็นแหล่งรวมสำ�นักงานและศูนย์กลางธุ ร กิ จ ขนาดใหญ่ และถูกวางรากให้เป็นเสมือน CBD แห่งที่สอง ส่วนย่าน Carlton เขตของสถานศึกษา และมหาวิทยาลัยหลายแห่งก็เป็นแหล่งที่อยูข่ อง นักเรียนนักศึกษาจำ�นวนมาก ย่าน South Bank อาณาจักรชีวติ ไฮ-เอนด์ คือทีต่ ง้ั ของเหล่าคาสิโน โรงแรมห้าดาว และหอศิลป์ระดับชาติ ส่วนอดีต ย่ า นโบฮี เ มี ย นที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยวั ฒ นธรรมต่ า ง ชาติต่างภาษาอย่าง Fitzroy ปัจจุบันก็มีถนน Brunswick street เป็นศูนย์กลางของความบันเทิง และการค้าปลีก
Creative City
จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เร่เข้ามาเถิดมนุษย์สร้างสรรค์ เมลเบิร์นต้องการคุณ ปัจจุบนั รัฐบาลท้องถิน่ ของเมลเบิรน์ กำ�ลังพยายาม ไล่ล่าเหล่า “ศิลปิน” ให้กลับเข้ามาใช้ชีวิตใน เมืองอีกครั้ง ด้วยการจัดหา “พื้นที่ราคาถูก” สำ�หรับการสร้างสรรค์และจัดแสดงผลงานศิลปะ ที่เห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือ “Creative Spaces” อันเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง City of Melbourne และ Arts Victoria โครงการ นี้เริ่มต้นจากการจัดทำ�ฐานข้อมูลออนไลน์ของ “อาคารทีไ่ ม่ได้ถกู ใช้งานในเขตเมือง” และติดต่อ ประสานงานกับเจ้าของอาคารเหล่านั้นเพื่อขอ อนุญาตให้กลุ่มศิลปินเข้าใช้พื้นที่ดังกล่าว (เป็น ทีท่ �ำ งานและแสดงงาน) ได้ในช่วงระยะเวลาหนึง่ Boyd School อดีตโรงเรียนหญิงล้วนในย่าน Southbank คือพื้นที่แรกที่ทางโครงการจัดหา ให้กบั กลุม่ ศิลปินท้องถิน่ ด้วยค่าเช่าขัน้ ตํา่ เพียง สัปดาห์ละ 45-180 เหรียญ (สำ�หรับพื้นที่เช่า ขนาด 1 ห้องเรียน) โดย Boyd School Studios ได้เปิดตัวขึ้นอย่างเป็นทางการไปในปี 2009 มี การประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนทีส่ นใจ เข้าเยี่ยมชมบรรยากาศการทำ�งานของศิลปิน กว่า 50 ชีวติ รวมทัง้ ซือ้ ผลงานจากศิลปินแขนง ต่างๆ ได้โดยตรง นาย Robert Doyle ผูว้ า่ การเมืองเมลเบิรน์ กล่าวกับสื่อมวลชนว่า “ในขณะที่อัตราค่าเช่า ในเมลเบิร์นถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ศิลปินจำ�นวน มากถูกบังคับด้วยข้อจำ�กัดทางการเงินให้ต้อง ออกไปหาสตูดิโอทำ�งานในเขตรอบนอกของ เมือง Boyd School Studios คือโครงการ ตัวอย่างที่เราพยายามจะบอกว่า อาคารร้างอีก หลายแห่งในตัวเมืองก็อาจจะนำ�มาสร้างคุณค่า ใหม่ในทิศทางเดียวกันนี้ได้ เพราะไม่เพียงแต่ ศิลปินหรือวงการสร้างสรรค์เท่านัน้ ทีไ่ ด้ประโยชน์ แต่ชุมชนโดยรอบเองก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วย ทั้ ง ในแง่ ข องเศรษฐกิ จ การค้ า และสี สั น ของ วัฒนธรรม” ถึงวันนี้โครงการ Creative Spaces มีพื้น ที่ใหม่ๆ ที่เข้ามาอยู่ในลิสท์อีกเป็นจำ�นวนมาก ล่าสุดที่เพิ่งเปิดเช่าพื้นที่ไปก็คือ River Studios
เมลเบิร์นมีประชากรราว 4 ล้านคน ครึ่งหนึ่งในนั้นมีอายุเฉลี่ย 15 - 29 ปี และร้อยละ 48 มี อาชีพ เป็น “นักเรียน” เมลเบิร์นคือเมืองที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจน้อยที่สุดในออสเตรเลีย เฉพาะในปี 2009 เมลเบิร์นมีตำ�แหน่งงานใหม่เพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาเมืองหลวงทั้งหมดของประเทศ เมลเบิรน์ คือศูนย์กลางของศิลปะวัฒนธรรมนานาชาติ ปัจจุบนั มีแกลเลอรีน่ อ้ ยใหญ่รวมกว่า 100 แห่ง รวมถึงหอศิลป์ทใ่ี หญ่และเก่าแก่ทส่ี ดุ ของประเทศ คือ The National Gallery of Victoria รางวัลและตำ�แหน่งทรงเกียรติที่เมลเบิร์นเคยได้รับ: หนึ่งในสามเมืองที่น่าอยู่ที่สุดในโลก โดย Economist Group's Intelligence Unit ตั้งแต่ปี 2002 (ล่าสุดปี 2011 อยู่ในอันดับที่ 2), หนึ่งในสิบ เมืองมหาวิทยาลัย โดย RMIT's Global University Cities Index ตั้งแต่ปี 2006, หนึ่งใน 20 เมือง แห่งนวัตกรรม โดย 2thinknow® Global Innovation Agency ตั้งแต่ปี 2007, เมืองที่สองในโลก ที่ได้รับการประกาศให้เป็น City of Literature โดยองค์การ UNESCO (ต่อจากเมือง Edinburgh สกอตแลนด์)
ซึง่ เป็นโรงงานเก่าริมนา้ํ ในเขต West Melbourne มีพน้ื ทีใ่ ช้สอยรวมกว่า 3,000 ตารางเมตร รองรับ ศิลปินได้ราว 75 คน ปัจจุบนั มีศลิ ปินหลากหลาย สาขาสมัครเข้าใช้พื้นที่แล้ว อาทิเช่น ช่างภาพ นักออกแบบเครื่องประดับ นักเขียน แฟชั่น ดีไซเนอร์ ศิลปินภาพวาด ประติมากร ศิลปิน มัลติมีเดีย ฯลฯ
“ในการจะเป็นเมืองสร้างสรรค์นน้ั เมลเบิรน์ ต้องการผู้คนที่มีความคิด ที่พร้อมจะแลก เปลีย่ น ถ่ายทอด และ เรียนรูซ้ ง่ึ กันและกัน เราจำ�เป็นต้องร่วมมือกันเพือ่ ทำ�ลายอุปสรรค ด้านการเงินให้กับคนเหล่านี้ โดยสนับสนุน ให้พวกเขามีที่ทางทำ�งานและแสดงผลงาน รวมทัง้ ใช้ชวี ติ ในเมืองนีไ้ ด้อย่างมีความสุข... ศิลปินคือพลังทีจ่ ะสร้างสีสนั ให้กบั เมลเบิรน์ การดำ�รงอยู่ของพวกเขาจะพัฒนาคุณภาพ ชีวิตของพวกเราทั้งหมด” Future Melbourne: Creative City ที่มา: Street art uncut (2006) โดย Matthew Lunn www.abc.net.au www.creativespaces.net.au วิกิพีเดีย กรกฎาคม 2554 l Creative Thailand
27
The Creative
มุมมองของนักคิด
พงศ์ภาสกร กุลถิรธรรม / กบ B.O.R.E.D. เรืองฤทธิ์ สันติสขุ / ต้น DuckUnit เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล ภาพ: ธนบูลย์ ยัตร์พาณิชย์
28
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
ช่วงปีผ่านมาไปไหนก็มักจะได้ยินคนพูดถึงเรื่องของ Digital Mapping ในฐานะสื่อใหม่ที่กำ�ลังเป็นที่นิยม จนทำ�ให้เริ่มสงสัย ว่าใครกันที่ประกอบอาชีพนี้ แล้วเขาเหล่านั้นต้องเรียนอะไรมา แล้วมันแตกต่างจากการฉายภาพผ่านโปรเจคเตอร์ที่เคยเห็นตาม แกลลอรี่หรือในพิพิธภัณฑ์อย่างไร 'กบและต้น' ชายหนุ่มวัยต้น สามสิบที่ครํ่าหวอดในวงการนี้มานาน พวกเขาคือหนึ่งในผู้ริเริ่ม กลุ่ม B.O.R.E.D. และ DuckUnit กลุ่มนักออกแบบแนวหน้า ของไทย และล่าสุดเขายังไปทำ�เวิร์กช็อปและคว้ารางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันวีเจจากงาน Mapping Festival ครั้งที่ 7 ณ เจนีวา สวิสเซอร์แลนด์
The Creative
มุมมองของนักคิด
เป็นอย่างไรบ้างกับงาน Mapping Festival กบ: ไปโน่นก็มที �ำ ทัง้ เวิรก์ ช็อปเกีย่ วกับ mapping 5 วัน และ VJ contest เราก็สมัครเข้าไป ก็คิดว่าไม่เคยไปแข่ง ไม่เคยรู้ด้วยว่าประเทศอื่นเขาทำ� ยังไง เล่นยังไง ก็เล่นตามประสาเรา เตรียมวิชวลที่เคยทำ�เกี่ยวกับไทยๆ ไป รอบแรกโชว์ได้เต็มที่เลยครับ ทุกคนจะเอาเพลงให้ดีเจ หลากหลาย มากมีทั้งหมด 25 คน แต่ละคนก็เปิดคลิปไป ของผมก็แบบแปลกตาไง ทุกคนก็โอ้โห... หนุมาน พญานาค ดูแนวมันฉีกจากของยุโรปที่มาแบบ กราฟิกสวยๆ แล้วพอมันมาเยอะๆ เข้า ของผมเลยถูกใจกรรมการ รอบต่อมา เขาก็แจกซองให้กอ่ นกลับบ้าน เปิดมามีซดี ี เสือ้ โลโก้งาน แล้วเปิดซีดีมาก็มีภาพ mapping ที่ผมเรียนตอนเวิร์กช็อป ให้โจทย์ทำ� เป็นโชว์หนึ่งเพลงโดยไม่บอกเพลงก่อน ผมก็เตรียมคลิปผู้หญิงเต้นๆ แล้วทำ�เป็นเหมือน mapping แต่ทำ�ในคอมพิวเตอร์นะ ฉายภาพที่เขาให้ บนตัวคน เลือกท่าเต้นที่ตลกๆ ที่เห็นแล้วต้องหัวเราะ แล้วก็ทำ�ฉากโดย ถ่ายรูปโรงละครที่แข่งนั่นแหละแต่ทำ�ให้มันลวงตาลึกเข้าไป ตอนไปแข่ง ทุกคนก็มาแบบโลโก้ mapping ตึง้ ตัง้ เต็มไปหมด ทุกคนก็มาเพลงสนุกแต่ ของผมอยากขายคอนเทนต์กเ็ ครียดเลย ภาพก็ไม่สนุกเท่าเพลง คือเราอยาก ทำ�แหวกแนว เพราะถ้าทำ�โมชัน่ แข่งกับเขา เขาอาจทำ�เร็วกว่าเก่งกว่าด้วย ต้น: มันไม่น่าจะแข่งกันที่ความสวยอย่างเดียวไงครับ กบ: ผมก็เลยดันคอนเทนต์ที่มีผสมอะไรกับเขาบ้าง คนก็เฮ ก็ลุ้นกันทั้ง ออฟฟิศที่ไป แต่ก็เข้ารอบรองชนะเลิศ กบ: ใช่ครับ รอบสามก็เป็นโจทย์ให้เปิดแข่งกันทั้งหมดสี่คน เขาจะไม่ บอกว่าเปิดเพลงอะไร ใช้คลิปส่วนตัว เขาเปิดเพลงได้แกล้งมาก ตัง้ ใจเลย เดี๋ยวลาติน เดี๋ยวฮิปฮอป ทุกคนเล่นพร้อมกัน เพลงเปิดเราก็ต้องเล่น มี จอเดียว สี่คอนโทรล ซึ่งกรรมการก็จะเปลี่ยนสลับภาพของแต่ละคน ถ้า เตรียมคลิปไปไม่เข้าก็อาจจะโดนโห่ เพราะวีเจมันคือการเล่นสดกับเพลง แต่ผมก็เตรียมทุกแนวอย่างละสองคลิป อิเล็กทรอนิก เทคโน ดับส์ ผมมี หมด ผมว่าที่ผมชนะเขาคือเพราะผมทำ�คอนเสิร์ตเยอะ ทุกคนเขาจะ ทำ�งานกันแต่ในคลับ ผมเคยลองมาหลายแนวกว่าเขา พอเข้ารอบชิงก็จะเป็นเปิดแข่งกันเหมือนเดิม แต่จะเปลีย่ นเพลงเร็วขึน้ คู่แข่งผมเป็นคนบราซิล แต่ทุกคนเอกฉันท์ว่าเฮให้ผมหมดไง ผมมาชนะ ที่เพลงสุดท้าย คือกรรมการเขาแกล้งเปิดเพลงไปมา อีกคนเขามีแนว เดียว ส่วนผมมีหมด เปลี่ยนอีก ผมก็มีอีก (หัวเราะ)
แล้วเวิร์กช็อปล่ะ ได้อะไรบ้าง กบ: ได้เจอคนทำ� mapping จากหลายที่ทั่วโลก ผมเคยคิดกับต้นว่า เราจะทำ�ยังไงต่อไป ทุกประเทศเจอปัญหาแบบเดียวกันคือเรือ่ งคนจ้างงาน สิ่งที่เราทำ�มันคือของที่ราคามหาศาล ดังนั้นใช้เวลาเยอะไปเขาก็เสียค่า ใช้จา่ ยเยอะ แต่คา่ ดีไซน์ของฝรัง่ ยังดีกว่าบ้านเรา เขาทำ�งานให้รฐั บาลแบบ ไม่เอาเงิน ทำ�เป็นพอร์ตฯผลงานแค่ชน้ิ เดียวเขาก็ดงั แล้ว แต่บา้ นเราทำ�แล้ว ยังขาดทุนเพราะลงเองไปเยอะ คนทีร่ วยคือซัพพลายเออร์ทม่ี โี ปรเจคเตอร์ ซึ่งแพงกว่าค่าตัวเราต่อวันอีก เขาก็คิดหาวิธีที่ช่วยลดต้นทุนมาให้กับ ดีไซเนอร์ เช่น การทำ�โมเดลทดลอง มันแค่ยน่ เวลาแต่ไม่ตรงร้อยเปอร์เซ็นต์ จริงๆ โปรเจกต์ mapping เข้ามาทุกวันนะ แต่เขาก็สู้ราคาไม่ไหว เราไม่อยากให้ปัญหาเรื่องเทคนิคมาเป็นปัญหาใหญ่ เราต้องทำ�ให้เขา เข้าใจได้ ไม่ได้หมายความว่าเงินคุณจะเหลือ แต่คุณก็ต้องมาลงกับ คอนเทนต์ให้เยอะหน่อย แล้วงานคุณก็จะออกมาดีเพราะเรามีเวลาให้กับ มันมากขึ้น เราจะโชว์คอนเทนต์ไม่ใช่จะโชว์เทคนิค mapping เร็ว สรุปแล้วไม่ได้ไปทัง้ สองคน ต้น: ผมติดงานอยู่ที่นี่เลยไปไม่ได้ แล้วเริ่มทำ�งานด้วยกันตั้งแต่เมื่อไร กบ: สิบปีทแ่ี ล้ว ผมตัง้ กลุม่ B.O.R.E.D. (www.boreddesign.org) กับเพือ่ นๆ แต่มผี มคนเดียวทีท่ �ำ งานประเภทวิชวลใช้โปรเจคเตอร์ คนอืน่ จะทำ�กราฟิก และภาพประกอบ ผมได้รว่ มงานกับพีว่ ชิ ญ์ (วิชญ์ พิมพ์กาญจณพงศ์) ก็เลย ได้เจอกับต้น จากนัน้ ก็ตง้ั เป็นกลุม่ เล็กๆ ชือ่ DuckUnit (http://bangkok. typepad.com/duckunit/) ผมและต้นทำ�โมชั่นเหมือนกัน ส่วนคนอื่น จะทำ�ด้านสถาปัตย์ฯ ก็เริ่มจากตรงนั้น ต้น: ผมกับคุณกบจะทำ�งานที่เกี่ยวข้องกับการแสดง พวกคอนเสิร์ตและ งานอีเวนท์
พอลงจากการแข่งขันแล้ว มีคนเข้ามาคุยกับเราไหม กบ: คนยุโรปเขาชอบ พวกคิวเรเตอร์ อาจารย์ดังๆ เขาก็บอกให้ผม ไปทางนี้เลย เพราะดูเหมือนตอนนี้วีเจทางมันเริ่มตัน คล้ายๆ กัน ซึ่งถ้า ถามว่าวีเจคนไทยก็ไม่ได้เปิดแบบเรานะ จะเปิดแบบฝรั่ง แต่เรามันจะ เป็นอีกแนว กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
29
The Creative
มุมมองของนักคิด
แสดงว่าทัง้ สองคนไม่ได้เรียนมาด้วยกัน ต้น: ผมห่างจากคุณกบประมาณสองปี ผมเรียนที่นิเทศศิลป์ ม. กรุงเทพ คือจริงๆ ผมฝึกศิลปะมานานแล้ว พยายามจะไปเอนท์ แต่ไม่ติดก็เข้า เอกชนไป ช่วงที่ผมเรี ย นถื อ เป็ น จั ง หวะดี ตอนที่คุ ณกบเรี ย นนี่จ ะดู โลว์-เทค ปีหนึ่งผมก็เรียนเพนท์ เรียนปั้นตามปกติ แต่พอขึ้นไปสักปีสาม ที่มหาวิทยาลัยเขาเริ่มจ้างอาจารย์ใหม่ๆ มาสอน ก็มีคุณวิชญ์ซึ่งเพิ่งกลับ มาจากอังกฤษ และก็อาจารย์อนุทนิ (อนุทนิ วงศ์สรรคกร) มันเหมือนเป็น ช่วงเปลีย่ นพอดี เพราะพอหลังยุคผมก็จะเป็นช่วงคอมพิวเตอร์หนักๆ แล้ว กบ: ตอนผมไม่มคี อมพิวเตอร์เลย แต่ผมได้อาจารย์สชุ าติเป็นคนเปลี่ยน วิธีคิด คือสอนว่าเอาอะไรก็ได้มาพัฒนาต่อให้ได้กับไอเดียของนิเทศศิลป์ ผมก็เอาวิธีคิดมาใช้กับภาพนิ่งกับวิดีโอ วิธีการตัดทอนของการทำ�กราฟิก มาเชือ่ มโยงกับวิดโี อจนสามารถตัดทอนวิดโี อให้กลายเป็นโมชัน่ กราฟิกได้ เรียนอะไรมา ทำ�ไมถึงสนใจทำ�งานในลักษณะนี้ กบ: ผมเรียนนิเทศศิลป์จาก ม. รังสิต แต่กม็ พี น้ื สถาปัตย์ฯ อยูบ่ า้ งเพราะเคย ลงเรียนแต่ไม่จบ นิเทศศิลป์มันอยู่ระหว่างศิลปะกับพาณิชย์ เหมือนเรียน มาร์เก็ตติ้งหรือนิเทศศาสตร์ แต่พวกผมคือเป็นคนที่เรียนนิเทศศาสตร์ แต่ใช้สื่อของศิลปะสื่อสารกับคน ซึ่งตอนเรียนกราฟิกก็เริ่มรู้แล้วว่าเป็น อะไรที่เราชอบ ความฝันตอนนั้นคือเป็นดีไซเนอร์ คำ�ว่าดีไซเนอร์ในยุคนั้นมันคืออะไร กบ: คือเสื้อผ้า (หัวเราะ) ในยุคผม ไอดอลคือกราฟิกดีไซเนอร์ อย่าง ดาวิด คาร์สัน พวก Helvetica พวก Swiss design อะไรที่มันเป็น grid ยุคนั้นกราฟิกดีไซเนอร์ดังๆ จะทำ�นิตยสาร พวกเขามีสไตล์ที่ชัดเจน จากงานกราฟิกมาเป็นโมชั่นได้อย่างไร กบ: พอปีสามจะต้องเลือกเรียนวิชาโท ซึง่ ผมชอบวิดโี อ ชอบฟิลม์ แต่วา่ ในหลักสูตรไม่มี ก็เลยขออาจารย์ไปลงเรียนฟิลม์ ทีน่ เิ ทศศาสตร์สองปี ทำ�ให้ ได้รู้จักกับการถ่ายวิดีโอ การตัดต่อ ใช้เครื่องมืออะไรพวกนั้น เสร็จแล้ว พอกลับมาทำ�วิทยานิพนธ์กเ็ ลยเอาสองอย่างมาผสมกัน ตอนนัน้ อินเทอร์เน็ตไม่ตอ้ งพูดถึง ไม่มอี ะไรเคลือ่ นไหว กราฟิกก็ยงั ไม่มี ถ้ามีทเ่ี ท่ๆ ก็ MTV ซึง่ เขาเอากราฟิกมาใช้ตดั ต่อเยอะ แต่กเ็ ป็นเทคนิคตัด ต่อในการทำ�หนังปกติ ตอนทำ�วิทยานิพนธ์เราไม่มเี ครือ่ งมืออย่างนัน้ ก็เลย ทำ�เป็นซีด-ี รอมใช้โปรแกรม Micromedia Director ซึง่ พอใส่แผ่นเข้าไปปุบ๊ ก็จะเป็นภาพเคลือ่ นไหว ดูในคอมพิวเตอร์ได้ มันก็คอื Flash ยุคปัจจุบนั นี่ แหละ ผมทำ�วิทยานิพนธ์เป็นโมชั่นกราฟิก ทำ�เรื่องศิลปะการเปิดแผ่นเสียง อยากทำ�เป็นเหมือน MTV นัน่ แหละ ผมก็ท�ำ แบบเปิดมามีภาพเครือ่ งเล่น แผ่นเสียงซึง่ พอเอาเมาส์ไปโดน แผ่นเสียงก็ฉกึ กะฉึก... (เสียงขยับ) 30
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
แล้วตอนนัน้ มีคนทำ�งานประเภทนีเ้ ยอะไหม ต้น: ตอนที่ผมเรียนมันจะเริ่มมีอินเทอร์เน็ตแล้ว เหมือนความรู้ต่างๆ ก็ เริม่ เข้ามา คุณกบเขาก็เริม่ มีกลุม่ เอาโปสเตอร์ เอาซีดมี าแจกทีม่ หาวิทยาลัย ผมก็ได้ เพราะก่อนหน้าก็จะมีกลุ่มกราฟิกอย่าง Color Party (www. colorparty.com) เป็นแบบรุ่นใหญ่เลย ก็เป็นฮีโร่ ผมก็ไปฝึกงานที่นั่น ตอนปีสามผมทำ� Flash ได้นดิ หน่อย พีส่ ยาม (สยาม อัตตริยะ) เขาก็เห็น ว่าทำ�ได้ เขาก็... พี่จะทำ�ตู้เอทีเอ็มอยู่ตู้หนึ่ง พอเข้าไปมันก็จะ ปี๊บ ปี๊บ ยินดีต้อนรับ เสียบบัตร ซึ่งผมก็ยังทำ�ไม่ค่อยเป็น พี่สยามถึงเขาไม่ได้มา ทางสายโมชั่นเลยนะ แต่เขาก็สอนได้ เขาก็เปิดนิตยสาร IdN ซึ่งสมัยนั้น ผมก็ยังไม่รู้จัก กบ: ผมแฟนพันธุ์แท้ IdN โชคดีที่ ม. รังสิต เขาสั่งมาก็เห็นจากที่นี่แหละ ไม่งั้นคงจะมืดอยู่ในนั้น ต้น: พี่สยามเขาก็เปิดซีดีให้ดูว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างนี้ ผมก็ลองทำ�ไป หลังฝึกงานจาก Color Party ผมก็ไปฝึกงานกับทีมทำ�มิวสิกวิดีโอ กบ: ในยุคนัน้ ใครทีจ่ บจากอเมริกามาจะต้องรูจ้ กั โมชัน่ กราฟิก ต้น: ปีสี่ผมกลับมาจากฝึกงานก็ชอบวิดีโอ เริ่มคิดเป็นวิดีโอ ก็เลยคิดทำ� วิทยานิพนธ์เป็นหนังแปดเรื่อง แปดกล้องตามแปดคนไปเรื่อยๆ ถ้ามา เจอกันก็เจอกัน ถ้าแยกกัน เหตุการณ์หนึ่งอาจส่งผลมาถึงอีกเหตุการณ์ หนึ่ง คือจะเห็นทุกคนในเวลาเดียวกัน
The Creative
มุมมองของนักคิด
คุณมองว่าการเรียนในยุคนัน้ ด้อยกว่ายุคปัจจุบนั ไหม กบ: พอเราโตในยุคนัน้ ไม่ใช่ยคุ นีท้ ม่ี ซี อฟท์แวร์รองรับ มีแต่การสอนวิธคี ดิ ตอนนั้นพอเราคิดเสร็จปุ๊บ เรามองทุกอย่างเป็นเครื่องมือ จะสต๊อปโมชั่น จะเทคนิคอะไรก็ได้ แค่ขอให้ตอบโจทย์และความคิดเราได้เป็นพอ มันเลย ทำ�ให้เราเป็นทุกอย่าง ทุกแนวเราทำ�ได้หมด เราทำ�เพือ่ เอามาใช้จริง และ โชคดีทเ่ี ราไม่ได้ท�ำ ในโปรดักชัน่ เฮาส์ทแ่ี บบ... ถ้าคุณต้องการทำ�อะไร คุณ ต้องผ่านขั้นตอนเยอะมาก แต่พอเราทำ�แบบนี้ ภูมิปัญญาชาวบ้านนี่ทำ� กันเอง คุณภาพมันอาจไม่ดีมาก แต่เรารู้พื้นฐาน แล้วต่อมาพอยุคที่ โปรแกรมรองรับเราจึงโชคดี เครื่องมือดีคือมันทำ�ให้เร็ว แต่พื้นฐานจริงๆ มันอยู่ที่วิธีการที่เราเคยทำ�มาหมดแล้ว มันเลยทำ�ให้เรามีประสบการณ์ ในการทำ�เยอะ แสดงว่าคุณต้องผ่านการทดลองกันมามากพอควร ต้น: ด้วยความที่ไม่รู้ว่าต้องทำ�ยังไง แล้วอยากทำ�ได้ ก็ทดลองนั่นแหละ อยากรูอ้ ยากทำ�ได้เหมือนทีเ่ ราเห็นพวกทีเ่ ก่งๆ เขาทำ�กัน กบ: พอเราเริ่มทำ� มันจะรู้ว่าอะไรดีไม่ดี อะไรยากอะไรง่าย ตอนอยู่ที่ DuckUnit มันเหมือนหน่วยทดลองเลย อะไรที่ไม่เคยทำ� ได้ทำ� ถามว่า ตอนนั้นทำ�โมชั่นกราฟิกได้ไหม ตอบว่าได้ แต่ตอนนั้นอาจต้องใช้เวลา สามเดือน ตอนนี้อาจใช้เวลาหนึ่งอาทิตย์ คือวิธีคิดเหมือนกัน ตอนนี้ก็ไม่ ได้บอกว่าคิดดีกว่าตอนนั้นนะ เพียงแค่เครื่องมือมันเร็วกว่า ตอนนัน้ สารภาพเลยว่าเงินลูกค้าทีไ่ ด้มาเอามาทำ�ทดลองหมด เราไม่มี กำ�ไรเพราะกำ�ไรคือการเรียนรู้ เราไม่มคี า่ เหนือ่ ยเพราะค่าเหนือ่ ยคือค่าเรียน ต้น: ได้ท�ำ น่ะสำ�คัญกว่า มาถึงทุกวันนีค้ ณุ ทำ�งานกันมาหลายอย่าง ต้น: จริงๆ เรียนนิเทศศิลป์นี่มันก็ไม่ได้กำ�หนดว่าต้องเป็นสิ่งพิมพ์นะ เรียนศิลปะเพื่อมาสื่อสารกับคน ตอนนั้นเราถูกสอนว่าวิธีสื่อสารกับคน ง่ายที่สุด มันคือการทำ�โฆษณา สิ่งพิมพ์ หรือนิตยสารมากกว่า แต่ว่า ตอนเรียนผมไม่ได้คิดว่าจะเรียนศิลปะมาแค่สื่อสารแค่ตรงนี้ ก็เลยหา ช่องทางที่จะสื่อสารมากกว่านั้น ซึ่งวิดีโอ ไฟ หรืออะไรก็ตามนี่มันคือการ สื่อสารกับคน ช่วงหลังๆ ได้ยนิ คำ�ว่า mapping บ่อยมาก กบ: มันเป็นงานศิลปะแขนงใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากมีโปรเจคเตอร์ เหมือน กับการระบายสี มันก็มีหลายแบบ ระบายสีจากภาพถ่ายหรือสเก็ตช์ก่อน แล้วมาลงสี ต่างกันแค่เราละเลงด้วยแสงจากโปรเจคเตอร์ แต่วิธีการก็อยู่ ที่ใครถนัดอะไร วิธีการใช้เครื่องมือ บางคนตั้งโปรเจคเตอร์แช่ทิ้งไว้ แล้ว ก็ค่อยๆ นั่งทำ�ไปเรื่อยๆ หรือบางคนไปถ่ายรูปมาแล้วก็ไปลองฉาย
แสดงว่าศาสตร์พวกนีม้ มี านานแล้ว กบ: มันมาจากงานศิลปะประเภท site specific งาน mapping สมัยยุค 1950 ทีย่ งั ไม่มโี ปรเจคเตอร์ พวกศิลปินเขาจะเอาสีไปเพนท์ของ เพนท์มมุ บ้านให้มองแล้วกลายเป็นภาพมุมมองเดียว พอยุคต่อมาเขาก็ใช้วธิ กี ารตัง้ กล้องถ่ายรูป ถ่ายรูปด้วยการขยับของทีละนิด ห้องโล่งๆ นี่ เขาเอา เฟอร์นิเจอร์มาถ่ายชิ้นละรูป แล้วพอสุดท้ายรูปที่ออกมาเหมือนมีของอยู่ เต็มห้อง เขาก็ถือว่าเป็นศาสตร์เดียวกัน เป็นวิธีคิดคอนเทนต์เดียวกันมา เรือ่ ยๆ จนถึงยุคที่มสี ไลด์โชว์ มายุคนีก้ ถ็ อื ว่ามันเป็นยุคที่โปรเจคเตอร์เข้ามา ต่างประเทศเขาทำ�เป็นศิลปะมากกว่า เขาทำ�มานานแล้วครับ ตาม แกลลอรี่ การเซ็ตอัพโปรเจคเตอร์นี่เขาไม่ต้องใช้จอแล้วไง ศิลปินเขาคิด อะไรแผลงๆ มาตั้งนานแล้ว โปรเจคเตอร์ยิงพื้น ยิงโน่นนี่ ทำ�ให้คนเหล่า นี้ใช้เครื่องมือได้ดี คิดเป็น แต่พอของพวกนี้มาถึงยุคคอมเมอร์เชียลมัน จับต้องได้ ราคาถูกลง ต้น: มันป็อบขึ้นด้วย จริงๆ เราก็ทำ�สกรีนเบสมานาน อะไรก็ตามที่อยู่บน พื้นฐานของจอ รวมทั้งคอนเสิร์ตด้วย ซึ่งแต่ก่อนที่เราทำ� มันก็ไม่ได้มคี �ำ นิยามว่ามันเป็น mapping อะไรหรอก เราก็จะพยายามแบบ เฮ้ย... ทำ�ไม เราต้องยิงลงไปบนกรอบ สมัยก่อนเราก็จะพยายามดีไซน์เวที ดีไซน์โน่น นี่ให้มัน พยายามให้มันไม่เป็นโปรเจคเตอร์ที่สุด ให้มันอิงกับสถานที่ที่สุด กบ: ตอนปี 2007 ที่เราทำ�มีแต่คำ�ว่า projection ต้น: ตอนทีผ่ มทำ�งานโจอี้ บอย ทีท่ ศภาคอารีนา่ ถือว่าเป็น mapping จริงๆ ทำ�เป็นเหมือนห้องลึกเข้าไป ตอนนั้นผมก็ไม่ได้รู้อะไร แค่รู้ว่า เราอยาก ถ่ายรูปห้องนี้ แล้วเราสร้างความลึกให้มัน จับมันขยับให้ได้ กบ: หลักการของต้นนี่มันจะคล้ายๆ กับงานที่เราเห็นตามเมล ที่มัน ระบายพื้นให้เป็นหลุมหรือบันไดเดินลงมา นั่นก็คือ mapping เหมือนกัน นั่นก็คือหลักการเดียวกัน ต้น: ซึ่งตอนนั้นที่ทำ�ก็ไม่รู้ แค่อยากจะรู้ว่ามันทำ�อะไรได้บ้าง หรืออย่าง ตอนที่คุณกบทำ� IN-ON-OUT ก็มีหน้าต่างที่ปรับให้มันเป็นวิวอื่น อะไร อย่างนี้ มันคือการเล่นกับมุมที่คุณมอง กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
31
The Creative
มุมมองของนักคิด
การทำ� mapping ต้องคำ�นึงถึงอะไรบ้าง กบ: หนึ่งคือโลเกชั่นเหมือนเวลาอยากได้ mapping ทุกคนก็จะมองแค่ที่ ผิว แต่วา่ โลเกชัน่ ในความหมายของเราคือ ระยะ แอมเบียนต์ แสง อะไรที่ สามารถวางโปรเจคเตอร์ได้ อันนั้นคือความหมายของโลเกชั่นทีด่ ตี อ่ การ mapping ซึ่งพวกนี้มันจะมีผลมาที่สเต็ปสองก็คือ การเซ็ตอัพ ออกแบบ ไดอะแกรมว่าจะใช้เครื่องมืออะไร ติดตั้งอย่างไร เช่น สมมติจะให้ยิง ภาพให้ห่อตึกนี้จะทำ�อย่างไร ยิงจากตรงไหน เพราะถ้าเราไม่มีการเซ็ต เราก็จะไม่รู้ว่าต้องใช้โปรเจคเตอร์กี่เครื่อง ใช้ตัวเล็กตัวใหญ่ ใช้รุ่นอะไร ตัวไหนยิงบนพื้นผิวนี้แล้วจะดี อันที่สามคือเรื่องคอนเทนต์ไอเดีย ความ คิดสร้างสรรค์ ต้น: ซึ่งมันก็จะต้องอยู่บนพื้นฐานของสิ่งก่อนหน้านี้ว่าจะทำ�ได้หรือไม่ได้ ด้วยนะครับ ถ้าทางเทคนิคยังไม่ได้ ทางคอนเทนต์ก็น่าจะยาก เราต้องรู้จักเครื่องมือที่ใช้ดีแค่ไหน กบ: จริงๆ แล้วช่างรูท้ กุ อย่างเกีย่ วกับเครือ่ งมือ แต่เขาไม่รวู้ า่ เราจะเอาไป ใช้ทำ�อะไร เพราะคอนเทนต์มันมาจากเรา เราก็จะต้องรู้เรื่องนี้ไว้บ้างเป็น พืน้ ฐานทีบ่ อกเขาเพือ่ ให้เขาไปเจาะรายละเอียด เหมือนถ้าเราเป็นสถาปนิก ที่ไม่รู้วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างเลย เราก็จะออกแบบไม่ได้ ซึ่งตรงนี้มันเป็น ข้อดีที่เรารู้และศึกษามาเยอะ ขยายความเรื่องคอนเทนต์ให้ฟังหน่อย กบ: ผมว่าส่วนของคอนเทนต์มันแตกแขนงเป็นอย่างนี้ คือที่คิดจาก โลเกชั่นก็คือ site specific เราจะได้แรงบันดาลใจจากพื้นที่นั้นๆ แล้วเรา จะมาพัฒนาเป็นสไตล์งานเรา สองคือคอนเทนต์จากตัวศิลปินเอง ง่ายๆ เลย ยกตัวอย่างเช่นว่า มีกล่องสี่เหลี่ยมกล่องหนึ่ง เราเอาลูกเต๋าไป map หรืออยากเอาอะไรไป map ก็ได้โดยที่ไม่ต้องแคร์ว่ากล่องสี่เหลี่ยมนั้นคือ อะไร ซึ่งงานคอมเมอร์เชียลก็ชอบที่จะทำ�อะไรอย่างนี้ 32
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
แสดงว่ามันเปลี่ยนจากเพื่อศิลปะไปสู่งานพาณิชย์ กบ: คนที่ทำ�คอนเทนต์แบบนี้ ก็จะไม่ได้ติดใจเรื่องเทคนิค เพราะมันคือ เทคนิคที่ดีขึ้นมาเรื่อยๆ แต่สำ�หรับลูกค้าหรือนักออกแบบหรือคนยุคนี้ที่ เห็นงานพวกโปรเจคเตอร์ เขาไม่ได้มองตั้งแต่เริ่มไง เขามองแค่ว่ามันคือ สิ่งที่สามารถใช้ทำ�ให้เปลี่ยนรูปแบบอะไรให้น่าตื่นเต้น ต้น: ทำ�ให้ตึกฉันเปลี่ยนได้ กบ: ทำ�ให้คอนเทนต์ที่เขาอยากได้หรือสิ่งที่เขาไปเห็นในเรฟเฟอเรนซ์น่ะ เขาก็จะจับมายัดอยู่ในอาคารของเขา มันก็เลยกลายเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น งานคอมเมอร์เชียลส่วนใหญ่ ณ ตอนนี้เขาไม่ได้คิดเรื่อง mapping จริงๆ เขาชอบเทคนิค mapping เพราะว่าสิ่งที่เขามีคอนเทนต์กับสิ่งที่เขาเอา ไป map ถูกสร้างขึ้นมาทั้งคู่ อย่างเขาอยาก map ตึก map รถนี่ เขาก็ จะสร้างกล่องขึ้นมาเป็นตึกเพื่อให้ map ได้ ซึ่งจริงๆ ก็เหมือนการติด สติ๊กเกอร์อิงค์เจ็ตหรือการระบายสี แค่เปลี่ยนมาเป็นโปรเจคเตอร์ คิดอย่างไรที่ของพวกนี้มันมาอยู่ในชีวิตประจำ�วันมากขนาดนี้ กบ: ผมยังเคยคุยกับต้นเมือ่ ปี 2007 เลยว่าเดีย๋ วโปรเจคเตอร์ถกู ลงเมือ่ ไหร่ นะ เต็มเมืองแน่นอน ซึ่งมันก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ อย่าง LED ก็มียุคที่มัน แพงมากๆ จนตอนนี้ขึ้นเต็มสี่แยกเลย ต้น: อย่างคอนเสิร์ต ตอนแรกก็ไม่ได้มีวิชวลหลังเวทีคอนเสิร์ตมากมาย กบ: ก็รู้สึกดีที่เขาทำ�เยอะๆ ยิ่งทำ�เยอะๆ เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าเราใหม่แล้ว เราจะกัก๊ เราก็รสู้ กึ ว่าเออ... ดีนะเขาก็ไม่ได้มาแย่งคอนเทนต์คอื เราก็ยงั คิด คอนเทนต์เหมือนเดิม จริงๆ มันก็เป็นแค่เครื่องมือแหละ ต้น: จริงๆ ถ้าเราไม่ไปยึดกับมัน เรามีจุดของเราว่าเราทำ�แบบนี้เพื่อที่เรา จะตอบอะไร มันก็ไม่ได้มีผลอะไร กบ: ซึ่งมันง่ายด้วย ยิ่งมีเยอะๆ โปรเจ็กต์มันก็ผ่านเยอะขึ้น ลูกค้าก็มี หา ซัพพลายเออร์ก็ง่ายขึ้น ต้น: เผลอๆ ตลาดมันอาจจะกว้างขึ้นด้วย กบ: มันจะกลับไปโหมดวีเจของผมไง คือทุกคนก็เป็นวีเจได้ แต่เราต้องยึด คอนเทนต์ไง คือกลับมาที่คอนเทนต์ คราวนีค้ วามยากคือการทำ� mapping ที่มีคอนเทนต์ใหม่ๆ มากกว่า ต้น: หรือทำ�ยังไงให้สื่อสารได้ง่ายขึ้น
The Creative
มุมมองของนักคิด
แหล่งข้อมูล กบ/ต้น: เฟซบุ๊กมีแทบทุกอย่าง พวกผมชอบดูพวกเว็บไซต์ของแกลเลอรี่ และพิพิธภัณฑ์ต่างๆ อัพเดตข้อมูลจากบล็อก มันเป็นเหมือนฮับ บล็อก โปรดก็มี Vwork (www.vwork.com), todaytomorrow (www.todayand tomorrow.net), motionographer (www.motionographer.com) และ createdigitalmotion (www.createdigitalmotion.com) กบ: ผมชอบเดินสำ�เพ็ง ไปเดินดูพวกตุ๊กตาพลาสติกมาใช้ในงาน ต้น: ผมชอบไปเดินบ้านหม้อ สะพานเหล็ก และบุญถาวร ไปดูและศึกษา พวกอุปกรณ์ทั้งหลาย วันว่าง กบ: ผมขี่จักรยาน fixed-gear และเล่น long board กับเพื่อนๆ มันเล่น ง่าย เพลินดี และไม่มีอะไรตายตัว ต้น: ผมชอบไปเล่นเรือใบทีส่ ตั หีบกับพวกพีๆ่ และเพือ่ นๆ กลุม่ DuckUnit ถ้าเล่นเองจ่ายไม่เกิน 400-500 บาท ถ้ามีครูด้วยประมาณ 1,000 บาท เล่นได้ทั้งวัน แรงบันดาลใจ กบ: ผมได้แรงบันดาลใจจากการเที่ยวไนต์คลับและไปตามงานปาร์ตอ้ี ย่าง Dudesweet และ Superrzaaap นัง่ คุยกันในวงเพือ่ นที่ Happy Monday ต้น: ผมไม่เที่ยวกลางคืน กบ: ผมชอบอ่านนิตยสารกราฟิกอย่าง +81 และหนังสือเกี่ยวกับการใช้ สเปซและสถาปัตยกรรม ต้น: ผมแทบไม่อ่านหนังสือเกี่ยวกับโมชั่นกราฟิกเลย เพราะเราทำ�กันอยู่ ทุกวัน ว่างๆ ก็อา่ นหนังสือของปราบดาและมุราคามิ (ปราบดา หยุน่ และ ฮารูกิ มุราคามิ) ชอบมุมมองของเขา ผมไม่ชอบอ่านเรือ่ งประเภทจินตนาการ มากๆ กบ: ผมชอบหนังของมิเชล กอนดรี้ ชอบดูสารคดี สัมภาษณ์บุคคล อย่าง รายการ 'เป็น อยู่ คือ' และ 'The Idol' หรือคนที่เขามาพูดในงาน 'Creativities Unfold' มันเอาไปใช้ในงานได้ งานผมมันต้องเล่นกับมุมมองของคน ต้น: ล่าสุดผมดู 'ตัวกู-ของกู' (ขาขาดสตูดิโอ) ทางยูทูบ เป็นสัมภาษณ์ ผมก็ชอบนะ โปรแกรมโปรด กบ: ผมว่าโปรแกรมที่ดีตอ้ งง่าย ผมชอบ app ของ iPhone อย่าง Instagr.am ถ่ายยังไงก็สวย ง่ายและเร็ว ต้น: ผมใช้ iPhoto บ่อยมาก จัดรูป tag คน ปักหมุด สถานทีท่ เ่ี ราไปมาแล้ว
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
33
Creative Will คิด ทํา ดี
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
ในฐานะผูบ้ ริโภค การทำ�ให้ค�ำ ว่ารีไซเคิลเกิดขึน้ ได้จริงนัน้ อาจ ดูไม่ยากและห่างไกลเหมือนในอดีตอีกต่อไป เมื่อมีโครงการ หลังคาเขียวเพือ่ มูลนิธอิ าสาเพือ่ นพึง่ (ภาฯ) ยามยาก เกิดขึน้ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างบริษทั เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำ�กัด และบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำ�กัด (มหาชน) ซึ่ง เป็นโครงการหนึ่งที่ทำ�ให้คำ�ว่ารีไซเคิลเกิดเป็นรูปธรรมได้จริง ด้วยวิธกี ารทีไ่ ม่ยากเกินความร่วมมือร่วมใจของผูบ้ ริโภค ใน การเป็นช่องทางหนึ่งที่ทำ�ให้การอนุรักษ์ธรรมชาติกลายเป็น เรื่องง่ายและเห็นผลได้อย่างชัดเจน หลังคาเขียวคือผลผลิตหนึ่งจากการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มยูเอชที ด้วยกรรมวิธีแยกเยื่อกระดาษ เพื่อนำ�พลาสติกและฟอล์ยอันเป็นส่วน ประกอบทีเ่ หลือมาหลอมรวมเพือ่ ผลิตเป็นแผ่นหลังคา โดยกล่องเครือ่ งดืม่ จำ�นวน 2,000 กล่อง สามารถทำ�เป็นหลังคาเขียวขนาด 0.90 X 2.40 เมตร ได้หนึง่ แผ่น ซึง่ มีคณุ สมบัตพิ เิ ศษกว่าหลังคาทัว่ ไป ทัง้ เรือ่ งของความคงทน การไม่ซมึ ซับนํา้ ไม่ดดู ซับแสง ปลอดเชือ้ รา มีนา้ํ หนักเบา สามารถซ่อมแซม ได้ง่ายด้วยการใช้ความร้อนเป็นตัวประสาน รวมถึงผ่านกระบวนการผลิต ที่ไม่ใช้สารเคมีประกอบ ที่สำ�คัญคือริเริ่มผลิตเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทย นอกจากนี้โครงการหลังคาเขียวยังได้จัดกิจกรรมเพื่อสร้างจิตสำ�นึกใน การรักษ์โลกให้ขยายต่อไปในวงกว้าง โดยการเปิดตัวทูตโครงการฯ ในฐานะ อาสาสมัครเพื่อให้ความรู้และคำ�แนะนำ�วิธีการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่มที่ ถูกต้องซึ่งมาพร้อมกับแนวคิด “เพื่อนชวนเพื่อน” เพื่อร่วมเชิญชวนและ สร้างเครือข่ายผูบ้ ริโภคให้มาเป็นอาสาเก็บกล่อง และร่วมเป็นผูบ้ ริจาคกล่อง เครือ่ งดืม่ พร้อมกับแนะนำ�ขัน้ ตอนสำ�คัญอย่างการ “แกะ-ล้าง-เก็บ” เพือ่ ความคงทนและไม่เกิดกลิ่นรบกวนก่อนที่จะนำ�กล่องเครื่องดื่มมาบริจาค เพื่อผลิตเป็นหลังคาเขียวต่อไป ซึ่งผู้บริโภคแนวร่วมสามารถบริจาคกล่อง ได้ตามจุดรับบริจาคที่ห้างบิ๊กซีทุกสาขา หรือที่อาสาตั้งกล่องที่มีโปสเตอร์ ของโครงการฯ ติดอยู่ทั่วประเทศ 34
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
จากความสำ�เร็จในปี 2553 ที่ผ่านมา โครงการหลังคาเขียวสามารถ รับบริจาคกล่องเครื่องดื่มได้ถึงเจ็ดล้านสองแสนกล่อง ซึ่งจากการศึกษา พบว่า กล่องเครื่องดื่มที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิลจำ�นวนหนึ่งตันนั้น จะ สามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 900 กิโลกรัม นอกจากนี้ กล่องเครือ่ งดืม่ ทีน่ �ำ มารีไซเคิลเป็นหลังคาเขียวภายใต้โครงการฯ ยังจะถูก ส่งต่อไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติโดยมูลนิธิอาสาเพื่อน พึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และผู้ร่วมสนับสนุนหลักอื่นๆ ได้แก่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และศูนย์รีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม โดย บริษัท ไฟเบอร์พัฒน์ จำ�กัด (มหาชน) แม้มนุษย์จะไม่สามารถควบคุมปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง และต่อเนื่องยาวนานขึ้นในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์ แต่การตระหนักถึง และร่ ว มเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ในการรั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ มก็ นั บ เป็ น อี ก วิ ธี ก ารที่ สามารถลดทอนความหนักหนาของมวลปัญหาลงได้ ยิง่ ในวันทีค่ �ำ ว่ารีไซเคิล กลายเป็นคำ�คุ้นหูที่สามารถแปรความเป็นการกระทำ�ได้ง่ายขึ้นสำ�หรับ ผู้บริโภค โครงการหลังคาเขียวฯ นี้จึงเป็นอีกโครงการที่สามารถสะท้อน ถึงความสำ�เร็จของการสร้างวิถีใหม่ (ที่ยั่งยืน) ให้กับผู้บริโภคในวันนี้เพื่อ โลกที่น่าอยู่ของเราตลอดไป ที่มา: www.greenroof.in.th
กรกฎาคม 2554
l
Creative Thailand
35
และพบศักยภาพของเด็กไทย จาก 10 มหาว ทยาลัยทั่วประเทศ ในนิทรรศการ
“การออกแบบแหงทองถิ่น”
( m i n i TC D C S h o w c a s e ) 21 มิถุนายน – 24 กรกฎาคม 2554 ณ โถงทางเขา, TCDC ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเร ยม ช็อปปง คอมเพล็กซ 10.30 – 21.00 น. (ปดวันจันทร) 6th Fl., The Emporium 10.30 – 21.00 (Closed Mondays)
36
Creative Thailand
l กรกฎาคม 2554
เขาชมฟร