Creative Thailand Magazine

Page 1


20 ธันวาคม 2555 – 27 มกราคม 2556 ตอบโจทยความตองการที่แทจริงของผูประสบอุทกภัยกับ 10 ผลงานตนแบบ จากโครงการ “ทวมได…ออกแบบได” 1. ระบบเครือขายตรวจวัดและประมวลขอมูลน้ำ 2. สุขาลอยน้ำสำหรับน้ำทวม 3. เครื่องบริการน้ำดื่มสำหรับชุมชน 4. ปายฉุกเฉินสำหรับน้ำทวม 5. ชุดโตะและเกาอี้ “เฟอร ไฟทฟลัด” 6. เรือพับได “วีโบท” 7. ชุดปลูกผัก “เซอร ไวเวจ” 8. ทุนบอกระดับน้ำ 9. ชุดตรวจ “รูทันโรค” 10. เครื่องกวาดขยะจากขางเรือ


เซ็กซ์คือความเคลื่อนไหวของอารมณ์ Mae West เซ็กซ์ซิมโบลระดับตำ�นานชาวอเมริกัน


สารบัญ The Subject

6

The Object

7

Creative Resource

8

Rhythm & Sexual Desire

Musk: The Sex Scent

Featured Book/ Book/ DVD/ DVD

Matter

10

Classic Item

11

ถุงยางอนามัย(ที่)ไมแพ

Kama Sutra

Cover Story

12

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Sex: The Source of Creative Energy

In Praise of Shadows: The Rising of Japan AV Industry

Boudoir BY DISAYA ผัสสะจากอาภรณชิ้นใน

Maldives ความพิสุทธิ์ที่ปลุกเรา

พันธสิริ สิริเวชชะพันธ When Fashion Meets Sex

Sex Ed: The Musical! เมื่อเซ็กซถูกเลาผานละครเพลง

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล ที่ปรึกษา l กิตติรัตน ปติพานิช, ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, กนกพร เกียรติศักดิ์, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทิพย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ผูออกแบบปก l ปยพงศ ภูมิจิตร โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th นักออกแบบกราฟก อารต ไดเร็กเตอร และนักเขียน พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม ผูหลงใหลการปลูกตนไม โดยเฉพาะอยางยิ่งกับบอนไซ ปยพงศกลาววา “เหมือนเลนโมเดลที่มีชีวิต แลวเราจะพบวาตนไมมีพลังเยอะมาก” นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม ผลงาน: facebook.com/bonsaidesigner และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

Sensual Living ในช่วงปี 1860-1914 กลุม่ จิตรกรในอังกฤษ นำ�โดย อัลเบิรต์ มัวร์ (Albert Moore) เซอร์ ลอว์เรนซ์ อัลมา-ทาเดมา (Sir Lawrence Alma-Tadema) เซอร์ เฟรเดอริก เลห์ตนั (Sir Frederic Leighton) และเอ็ดเวิรด์ เบิรน์ -โจนส์ (Edward Burne-Jones) ได้ร่วมกันเสนอแนวคิดและสร้างรูปแบบงานจิตรกรรมซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจาก หญิงสาวในยุคกลาง โดยถ่ายทอดความน่าหลงใหลนัน้ มาเป็นภาพเขียนเหล่าเทพธิดา (Muse) นิมฟ์ (Nymph) เทพปกรณัมกรีกหรือเหล่าวีรสตรีผู้อบอุ่นและกรุณา โดยสัญลักษณ์ของความรัญจวนใจ ลุ่มหลง เร้าอารมณ์ และสุนทรียะจากความงามเหล่านี้ได้รับการเรียกขานว่า จิตรกรรมยุควิกตอเรียน เบือ้ งหลังแนวคิดการบูชาความงามตามธรรมชาติของผูห้ ญิงนัน้ เกิดจากความปรารถนาทีจ่ ะยุตคิ วามธรรมดา ในชีวติ ประจำ�วันของชาวอังกฤษ เพือ่ ให้ผคู้ นได้หนั มาเสพความเพลิดเพลินและเข้าใจถึงสุนทรียภาพอันลึกซึง้ ท่ามกลางความโชติช่วงทางเศรษฐกิจของยุคสมัย เหล่าศิลปินต่างตั้งใจพัฒนาความงามอันตระการตาและ กระตุน้ เร้าความปรารถนาเพือ่ แสดงความแข็งขืนต่อจารีตอันเคร่งครัดของยุควิกตอเรียน และสิง่ เหล่านีก้ ด็ จู ะได้ผล เมือ่ แนวคิดการใช้ชวี ติ ทีถ่ กู เติมเต็มด้วยความรูส้ กึ นีไ้ ด้แผ่ขยายไปสูผ่ ลงานแขนงอืน่ ๆ ทัง้ ด้านวรรณกรรม บทกวี โคลงกลอน กระทัง่ โรงละครของเช็กสเปียร์กย็ งั นำ�เสนอแนวคิดทีเ่ ปิดเผยต่อความกระหายในรัก ผ่านการประดับ ตกแต่งโรงละครอย่างพิเศษเพื่อสร้างอรรถรสและความอิ่มเอมใจแก่ผู้ชม เมือ่ ยุคสมัยเปลีย่ นผ่าน อรรถรสของความเร้าอารมณ์กย็ ง่ิ เติบโตและเปิดเผย รูปแบบการใช้ชวี ติ ในปัจจุบนั เปิดทางให้ผ้คู นสรรหาความสำ�ราญใจที่สนองตอบต่อแรงปรารถนาได้หลากหลายขึ้นทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย หรือแม้แต่การก้าวข้ามศีลธรรมและหมิ่นเหม่ต่อค่านิยมในสังคม แต่การเปิดกว้างของสังคมที่ยอมรับได้ต่อ ความต้องการในมุมมืดของมนุษย์ ก็ได้น�ำ มาซึง่ การสร้างธุรกิจทีต่ อบสนองต่อความต้องการในด้านทีส่ ว่างมากขึน้ ทั้งที่เป็นการตอบสนองอย่างตรงไปตรงมา เช่น นิตยสารเพนท์เฮาส์ เพลย์บอย และฮัสต์เลอร์ ซึ่งมียอดขาย กระจายไปตามบ้านเรือนอเมริกนั ชนถึง 200 ล้านเล่มต่อปี หรือการเติบโตของอุตสาหกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับเซ็กซ์ ในออสเตรเลียทีม่ รี ายได้เติบโตจาก 1.13 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2008 มาเป็น 1.22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2009 เป็นต้น ขณะเดียวกัน รูปแบบของการตอบสนองความปรารถนาที่ไม่โจ่งแจ้งแต่ละเมียดละไมมากกว่า ก็นำ�ไปสู่ การสร้างผลผลิตที่จรรโลงใจผู้คนผ่านรูป รส กลิ่น เสียง อย่างมีชั้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นความอิ่มเอมจาก รสสัมผัสของอาหาร ความประทับใจในวิธกี ารบริการ หรือความดืม่ ดา่ํ จากบรรยากาศของสถานทีท่ ไ่ี ด้ปรุงแต่ง อย่างเหมาะสม ความกระหายทีผ่ า่ นการขัดเกลาเหล่านีจ้ งึ นับเป็นความพยายามของสังคมทีจ่ ะมอบชีวติ แบบ ปุถชุ นทีม่ คี วามปรารถนาจะเห็น จะรูส้ กึ และจะคาดหวัง ซึง่ หากสังคมสามารถรักษาด้านของความปรารถนา ให้สมดุลกับบรรทัดฐานทางสังคมได้อย่างราบรื่น ชีวิตที่น่ารื่นรมย์ก็จะมาพร้อมกับการรู้จักถ่ายทอดความ รื่นรมย์นั้นมาเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความมั่งคั่งต่อไปอย่างไม่รู้จบ ตราบเท่าที่ความต้องการของมนุษย์ ยังไม่สิ้นสุดนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l5


© Gianni Dagli Orti/CORBIS

THE SUBJECT ลงมือคิด

RHYTHM & SEXUAL DESIRE "…ก่อนที่จะมีการแสวงหาและค้นพบวิธีการแสดงความรักต่อกันด้วยภาษา มนุษย์ได้พยายามที่จะโปรยเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามด้วย โน้ตดนตรีและจังหวะ...” ชาร์ลส์ ดาร์วนิ (Charles Darwin) นักธรรมชาติวทิ ยาชาวอังกฤษ กล่าวไว้ในหนังสือ The Descent of Man, and Selection in Relation to Sex ที่เขียนขึ้นในปี 1871

แม้หน้าที่ของดนตรีจากจุดกำ�เนิดนั้นจะเกี่ยวโยงกับเรื่องของความเชื่อ และพิธีกรรมทางศาสนา หรือใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับพระเจ้าหรือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพนับถือ หากความเป็นจริงในปัจจุบัน การสร้างสรรค์ เสียง จังหวะ มุขปาฐะ และสำ�นวนภาษาจำ�นวนมาก กลับถูกสร้างขึน้ เพือ่ กระตุน้ และปลุกความรูส้ กึ ทางเพศให้ตน่ื ขึน้ การรับรูส้ นุ ทรียะผ่านโสตสัมผัส จึงไม่ตา่ งจากใบเบิกทางในการนำ�ไปสูก่ ารกระตุน้ สัมผัสอืน่ ๆ ให้ตน่ื ตัวตามมา ด้วยจังหวะของดนตรีไม่ว่าจะเป็น แทงโก้ (Tango) วอลซ์ (Waltz) หรือแม้กระทั่งแดนซ์ฮอลล์ (Dancehall) ต่างมีอัตราจังหวะความเร็ว ระดับสูง หรือเรียกว่า “อัพเทมโป้” (Uptempo) ทีเ่ ป็นตัวกระตุน้ การเคลือ่ นไหว ของร่างกาย ให้ทำ�หน้าที่เร้าเสน่ห์เพื่อดึงดูดทั้งต่อเพศตรงข้ามหรือเพศ เดียวกัน จังหวะของดนตรีที่ดำ�เนินไปในลักษณะดังกล่าว คือช่องว่างที่ เปิดให้มนุษย์รับรู้โดยสัญชาตญาณว่าจะต้องหันส่วนไหนของร่างกาย เข้าหาอีกฝ่าย จะปรายตาหรือขยับสะโพกด้วยท่วงท่าไหน ชักนำ�ให้เกิด การปลดปล่อยอารมณ์อย่างยั่วเย้าและเร่าร้อน เพลงที่บรรเลงท่วงทำ�นองจากเครื่องดนตรีที่ปราศจากเนื้อร้องนั้น ไม่ว่าจะเป็นจากฝั่งตะวันตกหรือตะวันออก ยังมีวาระซ่อนเร้นเรื่องการ เลือกคู่ของชายและหญิงวัยเจริญพันธุ์ให้มีโอกาสได้ใกล้ชิดซึ่งกันและกัน 6l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

การเต้นรำ�บอลรูมแดนซ์ (Ballroom dance) เป็นเวทีส�ำ หรับแสดงออกซึง่ จริตงามกลางฟลอร์ในโรงแรมหรู โดยมีเสียงเพลงบรรเลงลอยล่องเป็น บรรยากาศ ภายใต้กติกาทีเ่ อือ้ ให้ผเู้ ต้นสามารถเปลีย่ นคูแ่ ละเปิดเผยสัมผัส แห่งความต้องการได้จนกว่าเพลงจะจบโน้ตตัวสุดท้าย การโอบกอด ลูบไล้ การหมุนตัวให้เข้ากับจังหวะเพลง สิง่ เหล่านีล้ ว้ นเปิดทางให้สรีระได้อวดโฉม เปิดเผยแรงปรารถนาที่คุกรุ่น กระบวนการเต้นรำ�จึงมีบทบาทเท่ากับ กระบวนการหาคูต่ อ่ หน้าสาธารณชน โดยมีเสียงดนตรีเป็นเครือ่ งมือสำ�คัญ เมือ่ สัญชาตญาณดัง้ เดิมของมนุษย์ถกู นำ�มาผสมผสานเข้ากับสุนทรียะ ทางดนตรี เปลี่ยนบทบาทจากการร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ไปสู่ ก ารกำ � หนดรสนิ ย มแห่ ง การเลื อ กคู่ ที่ มี ร ะดั บ สำ � หรั บ ชนชั้ น นำ � ผ่ า นกระบวนการคั ด ตั ว ที่ มี ด นตรี เ ป็ น วิ ธี ห นึ่ ง ซึ่ ง คอยผลั ก ดั น ให้ ก าร ขับเคลื่อนแรงปรารถนาทางเพศนั้นเป็นไปโดยสมบูรณ์

ที่มา: สัมภาษณ์ อ.อานันท์ นาคคง อาจารย์ประจำ�คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร งานวิจัยเรื่อง Evolution of human music through sexual selection โดย Geoffrey F. Miller


© Michael Freeman/CORBIS

THE OBJECT คิดแล้วทำ�

MUSK: THE SEX SCENT นา้ํ หอมได้ปรากฏอยูใ่ นหน้าประวัตศิ าสตร์ของมนุษย์โลกมายาวนาน นับตัง้ แต่ชาวเมโสโปเตเมียได้น�ำ ยางไม้ ขีผ้ ง้ึ และเปลือกไม้มาเผา ให้เกิดกลิ่นเพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และใช้ในการดองศพ ในขณะที่พระนางเนเฟอร์ติติและคลีโอพัตรา สองราชินีผู้งดงาม แห่งอียิปต์โบราณ ต่างใช้นํ้าหอมชโลมเส้นผมและผิวพรรณเพื่อความงามอันเป็นนิรันดร์ ทว่าเครื่องประทินกลิ่นหอมเหล่านี้ก็ไม่ได้มี บทบาทเป็นเพียงเครือ่ งปรุงกลิน่ กายเท่านัน้ แต่ยงั นับเป็นศาสตร์แห่งการสร้างเสน่หท์ เ่ี หล่าสตรีและบุรษุ ในสังคมชัน้ สูงนำ�มาแต้มแต่ง เพื่อสร้างจุดสนใจต่อเพศตรงข้าม และหนึ่งในส่วนผสมสำ�คัญที่ขาดไม่ได้ในการปรุงนํ้าหอมก็คือ มัสก์ (Musk) นั่นเอง

มัสก์ มีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต “มัสกะ” (Muska) หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายหรือ “อัณฑะ” ด้วยลักษณะของกลิ่นที่ละม้าย กับกลิ่นฮอร์โมนเพศชาย “เทสโทสเทอโรน” (Testosterone) มัสก์จึง กลายเป็นสัญญะของแรงขับทางเพศ อย่างไรก็ดี นักปรุงนํ้าหอมหาได้นำ� อวัยวะเพศของสัตว์มาใช้ แต่ได้น�ำ ต่อมของสัตว์และพืชพันธุต์ า่ งๆ มาสกัด โดยเฉพาะกวางชะมดเพศผู้ซึ่งอาศัยอยู่เฉพาะในแถบไซบีเรีย มองโกเลีย ทิเบต จีน อินเดีย และปากีสถาน มัสก์จึงถือเป็นวัตถุดิบหายากสำ�หรับ การสร้างสรรค์เครือ่ งหอมชัน้ ดี และแม้วา่ มัสก์จะขึน้ ชือ่ ในเรือ่ งความหอมฉุน แต่ก็เป็นกลิ่นหอมพิสุทธิ์ที่ชวนเร้าอารมณ์แบบธรรมชาติ และยังแฝงด้วย สัญชาตญาณของความเป็นสัตว์ป่าในเวลาเดียวกัน เมื่อประกอบกับ คุณสมบัติที่เป็นของเหลวเข้มข้น ทำ�ให้กลิ่นติดทนนาน มัสก์จึงกลายเป็น ที่นิยมในการนำ�มาใช้เป็นเบสทำ�นํ้าหอม จนกระทั่งปลายทศวรรษที่ 19 ได้มีเสียงคัดค้านจากเหล่าปัญญาชนและนักวิชาการต่อการกระทำ�อัน อุกอาจในการคร่าชีวิตกวางชะมด จนถึงขั้นประกาศให้เป็นสัตว์สงวน ใกล้สญู พันธุ์ ประกอบกับการเติบโตของระบบอุตสาหกรรมในโลกตะวันตก

ทำ�ให้ระบบอุตสาหกรรมนํ้าหอมทั่วโลกต้องเปลี่ยนมาใช้มัสก์สังเคราะห์ หรือ “ไวท์มัสก์” (White Musk) เป็นการทดแทน แม้ว่ามัสก์จะถูกมองว่าเป็นกลิ่นที่ปลุกเร้าเชิงสังวาส แต่มันก็ยังคง เป็นทีย่ อมรับในหมูช่ นชัน้ สูงและชนชัน้ กลางเรือ่ ยมาจนถึงปัจจุบนั นา้ํ หอม ยังคงเป็นสื่อที่บ่งบอกถึงตัวตนและสถานภาพทางสังคม และกลิ่นที่เป็น เอกลักษณ์นี้ยังกลายเป็นกุญแจสำ�คัญในการเพิ่มมูลค่าและอัตลักษณ์ให้ กับนา้ํ หอมหลากชนิดทีเ่ หล่าแบรนด์ดงั ระดับโลกต่างเลือกใช้ ไม่วา่ จะเป็น คริสเตียน ดิออร์ รุ่นฮิปโนติกพอยซัน และอีฟ แซงต์ โลรองต์ รุ่นเบบี้ ดอลล์ หรือกระทั่งนํ้าหอมยอดฮิตตลอดกาลอย่าง ชาแนล นัมเบอร์ ไฟฟ์ ที่ก็ล้วนเทใจให้กับกลิ่นหอมที่ทรงพลังนี้เช่นกัน ที่มา: Musk in Fragrance: Salt and butter of perfumery โดย Victoria Ohperfume.com วิกิพีเดีย มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

FEATURED BOOK

SEX

เรียบเรียงโดย Stephen Bayley เพราะ “เซ็กซ์” ไม่ได้จ�ำ กัดอยูเ่ พียงเรือ่ งของสรีรศาสตร์ หรือการสืบพันธุเ์ ท่านัน้ แต่ยงั รวมถึงเรือ่ งราวหลาก แง่มุมที่หลายครั้งก็ถูกทำ�ให้เลือนไปด้วยภาพที่ ล่อแหลมและเย้ายวนทางเพศ หนังสือในคอลเล็กชัน่ พิเศษของ TCDC เล่มนี้ จึงไม่ได้บรรจุไว้เพียง เนื้อหาที่เปิดเผยเรื่องทางเพศและการร่วมเพศ อย่างโจ่งแจ้งระดับเรต 20+ เท่านั้น แต่การนำ�เสนอ เรื่องราวที่แหกกรอบของสังคมไทยดังกล่าวนี้ ยัง เป็นไปเพื่อการศึกษาเรื่องเพศอย่างลึกซึ้งด้วย แม้หนังสือเรื่อง Sex จะพูดถึงเรื่องเพศและ การร่วมเพศอย่างเปิดเผย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะนำ � เสนอเพื่ อ กระตุ้ น เร้ า ด้ า นกามอารมณ์ แ ต่ อย่างใด ตรงกันข้ามหนังสืออาจทำ�ให้หัวใจเต้นรัว ด้วยประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น เซ็กซ์เป็นการแสดงออกทางสัญชาตญาณ พื้นฐานของมนุษย์ทุกชาติ ทุกภาษา และทุกระดับ ถูกใช้เป็นหนึ่งในพลังขับเคลื่อนเพื่อสร้างสรรค์ สิ่งต่างๆ มาตลอดทุกยุคทุกสมัย ซํ้ายังส่งอิทธิพล ในเชิงจิตวิทยาทั้งทางตรงและทางอ้อม มีหลักฐาน ทางประวัตศิ าสตร์ ตลอดจนร่องรอยทางวัฒนธรรม ที่ ป รากฏว่ า มนุ ษ ย์ ใ ช้ แ รงกระตุ้ น ทางเพศเพื่ อ ตอบสนองความพึงพอใจมาแล้วแทบทุกทาง กับ

8l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

ทุกอย่าง ทั้งคนต่างเพศ คนเพศเดียวกัน สัตว์ และสิ่งของ เมื่อเซ็กซ์คือส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตและสามารถ เรียกความสนใจโดยกระตุ้นผ่านสั ญ ชาตญาณ เซ็ ก ซ์ จึ ง มั ก จะถู ก ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ ชั้นดีในการ สร้างแรงจูงใจ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในวงการโฆษณา ซึ่งมีแนวโน้มจะเล่นกับอารมณ์ ความรู้สึก และ พฤติกรรมแบบตรงไปตรงมา เทรเวอร์ เบอัตตี้ (Travor Beattie) อดีตผู้บริหารของ TBWA London เข้าใจสิ่งเหล่านี้เป็นอย่างดี เขาเปลี่ยนวิธีการเรียก ยี่ห้อเรียบๆ อย่าง French Connection United Kingdom ให้เป็น FCUK ซึ่งมาพร้อมกับแคมเปญ SXE โดยการเล่นกับตัวอักษรให้ผอู้ า่ นใช้สญั ชาตญาณ ตีความ สร้างการจดจำ�ใหม่ให้กบั แบรนด์ ยิง่ ไปกว่านัน้ เขายังเข้าใจท้าทายกฎหมายและสังคมด้วยภาพ ผู้หญิงที่ใส่เสื้อยืดมิดชิด แต่เห็นรูปทรงของหัวนม อย่างชัดเจน ซึ่งสร้างเสียงฮือฮาได้ไม่น้อย หลังจาก นั้นก็มีโฆษณาอีกหลายชิ้นที่ใช้จุดขายในลักษณะ เดียวกันนี้ ซึ่งนี่คือจุดที่อาจจะมากที่สุดสำ�หรับ การโฆษณาผ่านสื่อสาธารณะ แต่ก็อาจจะไม่ได้ มากเกินไปสำ�หรับโลกของเซ็กซ์อยู่ดี หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนที่มีชื่อเสียง

มากกว่า 20 คน ครอบคลุมตั้งแต่ กามาสุตรา การมีชู้ ไซเบอร์เซ็กซ์ การค้าประเวณี กามวิตถาร เซ็กซ์ห มู่ เรื่องลี้ลับ ของอวัยวะเพศ ศาสนา ประวัติศาสตร์โบราณ โฆษณา อาหาร ตลอดจน งานสถาปัตยกรรม แต่เรื่องหนึ่งที่หนังสือเล่มนี้ ไม่ได้กล่าวถึงแม้แต่น้อยก็คือข้อมูลประเภทฮาวทู หรือคู่มือในการมีเซ็กซ์ สิ่ ง ที่ น่ า สนใจที่ สุ ด สำ � หรั บ หนั ง สื อ เล่ ม นี้ อยู่ ต รงที่ ผู้ ร วบรวมได้ พ ยายามนำ � เรื่ อ งราวใน ประวัติศาสตร์ และเชิญผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ จากทั่วโลกมาเรียบเรียงข้อมูล พร้อมทั้งค้นหา หลักฐานทางวัฒนธรรม อย่างเช่นภาพเขียนจาก พิพิธภัณฑ์หลายๆ แห่ง เพื่อนำ�เสนอข้อมูลใน รูปแบบที่แทบจะแยกเส้นคั่นกลางระหว่างศิลปะ กับอนาจารไม่ออกด้วยซํ้า แต่อย่างหนึ่งที่เข้าใจได้ ก็ คือ นี่คือ เรื่อ งราวในอดี ต ที่ถูก บั น ทึ ก ไว้ ว่า เป็ น ทั้งเรื่องจริงและเรื่องจากจินตนาการ เนื้อหาใน หนังสือจึงราวกับการพาเข้าไปผจญภัยในโลกของ วัฒนธรรมผ่านมุมมองเรื่องเพศ ซึ่งอาจจะต้อง ค่อยๆ อ่านอย่างเข้าใจและยอมรับในความแตกต่าง อีกทัง้ ไม่พยายามตีความเปรียบเทียบกับวัฒนธรรม และช่วงเวลาที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงไป


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK

DVD

DVD

50 YEARS OF THE PLAYBOY BUNNY

BETTY BLUE

AIR DOLL

โดย Hugh M. Hefner, John Dante และ Josh Robertson คงไม่ตอ้ งบอกว่า เพลย์บอย คืออะไร ผูช้ ายแทบร้อย ทั้งร้อยรู้จักนิตยสารเล่มนี้เป็นอย่างดี ย้อนกลับไป ในปี 1960 เพลย์บอย ฉลองการมีผอู้ า่ นครบหนึง่ ล้าน คนต่อเดือนด้วยการเปิดคลับที่เรียกว่า “เพลย์บอย คลับ” หรือที่ได้รับการขนานนามว่า “ดิสนีย์แลนด์ สำ�หรับผูใ้ หญ่” ขึน้ ครัง้ แรกทีช่ คิ าโก “เพลย์บอยคลับ” นับเป็นจุดเชือ่ มต่อระหว่างจินตนาการ ความขบขัน และโลกของความเป็นจริง และที่นั่นก็สร้างไอคอน ผู้เป็นที่จดจำ�ของคนทั่วโลก กับภาพผู้หญิงในชุด กระต่ายผูกโบว์ไทและเรียกเธอเหล่านั้นว่า “บันนี่” สาวสวยทุกคนถูกคัดเลือกมาแล้วอย่างดีและมาพร้อม กับบริการสุดพิเศษ สิง่ เหล่านีส้ ร้างแรงปรารถนาให้ ผู้ชายนับแสนคนอยากจะเป็นเจ้าของกุญแจเพื่อ เข้าไปหาความสำ�ราญในคลับแห่งนี้สักครั้ง

กำ�กับโดย Jean-Jacques Beineix

กำ�กับโดย Hirokazu Koreeda

ฉากเซ็กซ์หรือฉากร่วมรักที่สมจริงอาจไม่ได้เป็น ตัวชี้วัดว่าภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ เข้าข่ายอนาจาร หรือไม่ และเหมาะสมต่อการเข้าชมมากน้อยแค่ไหน เพราะเนื้อแท้ของภาพยนตร์เหล่านั้นอาจขับกล่อม ด้วยบทชีวิตจนกลบอารมณ์ด้านเพศไปจนหมด เช่นเดียวกับ Betty Blue ที่มีฉากเปลือยและบทรัก อย่างดาษดืน่ แต่กลับทำ�ให้ผชู้ มมองเป็นเรือ่ งธรรมดา เสมือนเป็นสัญลักษณ์สามัญแห่งชายหญิง ทั้งยัง กลมกลืนไปกับบทภาพยนตร์ซึ่งผู้กำ�กับได้สร้าง บุคลิกของตัวละครหลักไว้ได้อย่างน่าสนใจ ซอร์ก คือชายหนุ่มผู้ยอมรับชะตาชีวิตด้วยการใช้แรงงาน ไปวันๆ ในขณะที่เบ็ตตี้คือสาววัยยี่สิบหัวรั้นที่มี อารมณ์แปรปรวน แต่เธอกลับเป็นพายุลูกใหญ่ที่ นำ � พาความเปลี่ย นแปลงมายั ง ชี วิต ของซอร์ ก อี ก ทั้ง เป็ น แรงกระตุ้น ให้ เ ขากลั บ มาจริ ง จั ง กั บ ความฝันในการเป็นนักเขียนอีกครั้ง ภาพยนตร์ เรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ ต่างประเทศยอดเยี่ยมในปี 1987 และนักวิจารณ์ หลายคนยกนิ้วให้ว่าเป็นภาพยนตร์ที่วาบหวิวหาก แต่ลึกซึ้งกินใจอย่างคาดไม่ถึง

แม้เรื่องเพศจะเป็นความลับ แต่ดูเหมือนว่าธุรกิจ ทีเ่ กีย่ วข้องกับเซ็กซ์และร้านจำ�หน่ายอุปกรณ์ของเล่น สำ�หรับผู้ใหญ่กลับดูจะเปิดเผยและเติบโตขึ้นแบบ สวนทาง รวมถึงร้านจำ�หน่ายตุ๊กตาเป่าลมแบบ ญี่ปุ่น ที่มีหน้าที่รองรับอารมณ์และช่วยเติมเต็ม ความว่างเปล่าสำ�หรับหนุ่มขี้เหงา ดังเช่นโนโซมิใน ภาพยนตร์ของ ฮิโรคาสุ โครีเอดะ ตุ๊กตายางผู้คอย เป็นเพื่อนคลายเหงาให้หนุ่มใหญ่อย่างฮิเดโอะที่ เพิ่งสูญเสียคนรักไป แต่มีจุดพลิกผันเมื่อโนโซมิ เกิดมีชีวิตและได้สัมผัสกับความรัก ภาพยนตร์ พยายามสะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยวเหงาและ ความว่างเปล่าแบบคนเมืองใหญ่ที่มีความเจริญ ทางวัตถุเป็นข้อแลกเปลี่ยนอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ อย่างน้อยความเจริญเหล่านัน้ ก็มาพร้อมสิง่ ประดิษฐ์ ชิ้นใหม่ที่สามารถมอบสัม ผัสแห่ง ความสุ ข และ บำ�บัดอารมณ์เหงาได้ในวันที่ไม่เหลือใคร

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l9


stressfreeuni.com

MATTER วัสดุต้นคิด

การใช้ถุงยางอนามัยนับว่าเป็นวิธีคุมกำ�เนิดและป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และ ทุกวันนี้ ไทยก็เป็น 1 ใน 3 ประเทศ ที่เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพาราที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะถุงยางอนามัย ซึ่งมีมูลค่าทางการตลาดมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ทว่า ความรู้พื้นฐานและความนิยมใช้ถุงยางอนามัยเพื่อคุมกำ�เนิดและป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศ กลับมีอัตราไม่ถึงร้อยละ 25

โดยทั่วไป หลายคนอาจคิดว่า วัสดุที่ใช้ในการผลิตถุงยางอนามัยที่วาง ขายในท้องตลาดผลิตจากยางธรรมชาติ (Latex Condom) เท่านั้น แต่เนือ่ งจากผูบ้ ริโภคบางกลุม่ มีอาการแพ้ อันเนือ่ งมาจากโปรตีนในตัวยาง ธรรมชาติ หรือแพ้สารเคมีทใ่ี ช้ผสมในขัน้ ตอนการผลิตและสารเคมีทน่ี �ำ มา เคลือบถุงยาง จึงทำ�ให้บริษทั ผูผ้ ลิตถุงยางอนามัยยักษ์ใหญ่ของโลก ทัง้ ดูเร็กซ์ (Durex) และ โทรจัน (Trojan) ต่างก็ลงทุนพัฒนานวัตกรรมด้านวัสดุเพื่อ ลดปัญหาดังกล่าว ด้วยการคิดค้น "ยางสังเคราะห์" หรือ "โพลียูรีเทน (Polyurethane)" ชนิดพิเศษขึน้ มาทดแทนยางธรรมชาติ โดยทำ�ให้คณุ สมบัติ ของวัสดุใหม่ที่สังเคราะห์ออกมานี้ มีความยืดหยุ่น เหนียว และคงทน มากกว่ายางธรรมชาติถึงสองเท่า และที่พิเศษมากขึ้นก็คือ ยางสังเคราะห์ เหล่านี้สามารถทำ�แผ่นฟิล์มสำ�หรับขึ้นรูปให้บางลงจนเหลือความหนา เพียง 0.02 มิลลิเมตร ซึ่งบางกว่าถุงยางอนามัยที่ผลิตจากยางธรรมชาติ ซึ่งหนาถึง 0.15 มิลลิเมตร หากดูในแง่ของมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยของผู้บริโภค ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 ได้จดั ให้ถงุ ยางอนามัย เป็นเครือ่ งมือแพทย์ ซึง่ ผูผ้ ลิตหรือผูน้ �ำ เข้าจะต้องขอรับใบอนุญาตและต้อง ผ่านการทดสอบตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ตามทีส่ �ำ นักงานคณะกรรมการ อาหารและยาได้ก�ำ หนดไว้ในกระบวนการผลิตถุงยางอนามัย ซึง่ ประกอบด้วย 6 ขัน้ ตอนทีค่ รอบคลุมตัง้ แต่การผสมนํา้ ยางธรรมชาติและสารเคมี การขึน้ รูป การอบแห้งและทำ�ให้ยางคงรูป การตรวจสอบหารอยรัว่ ด้วยไฟฟ้า การเติม 10 l Creative Thailand l มกราคม 2556

สารหล่อลื่นและการบรรจุถุงยางอนามัย ไปจนถึงการควบคุมคุณภาพ ตามมาตรฐานของโรงงาน และ สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา นอกจากนี้ แม้แต่บรรจุภัณฑ์สำ�หรับถุงยางอนามัย ก็ได้คิดค้นขึ้น โดยเฉพาะเพือ่ ความปลอดภัยของผูบ้ ริโภค ซึง่ จะบรรจุลงในห่อฟอยล์ทรง สี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นมาตรฐานสากล เนื่องจากได้รับการพิสูจน์แล้วว่าจะส่ง ผ่านแรงกดไปยังถุงยางอนามัยน้อยกว่าในห่อฟอยล์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และดีกว่าบรรจุภณั ฑ์ทท่ี �ำ ขึน้ จากพลาสติก ซึง่ ดูดซึมออกซิเจน ทำ�ให้เกิดการ เสื่อมสลายเร็วขึ้น ส่งผลให้อายุการใช้ง่ายของถุงยางอนามัยลดลง แน่นอนว่า เพศสัมพันธ์อาจเป็นเรือ่ งธรรมชาติของมนุษย์ ทีถ่ กู ควบคุม ให้เหมาะสมได้ดว้ ยค่านิยม จารีต หรือประเพณีของแต่ละสังคม แต่การจะ ก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีในการมีเพศสัมพันธ์นั้น คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ ของกลวิธีทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมด้านวัสดุท่นี ับวันจะยิ่งก้าวลํ้าขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์นั่นเอง ที่มา: ความรูเ้ รือ่ งถุงยางอนามัย โดย นายแพทย์รุ่งโรจน์ ตรีนิติ จาก clinicrak.com เผยผลโพลอึ้ง ระบุเยาวชนไม่ชอบใช้ถุงยางอนามัยถึงร้อยละ 72 เพราะรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ ข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ สำ�นักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 พิษณุโลก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จาก dpc9.ddc.moph.go.th อุตสาหกรรมถุงยางอนามัยของประเทศไทย โดย ศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยางไทย จาก rubbercenter.org The Latex Condom: Recent advances โดย Caroline E. Gilmore จาก fhi360.org


CLASSIC ITEM คลาสสิก

thekamasutrabook.com

เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

Kama Sutra

กามสูตร (Kama Sutra) คือวรรณกรรมที่เปรียบเสมือนหลักฐานแห่งการส่งต่อคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และศาสนา ของชาวฮินดู เป็นหลักการสอนและวิถีปฏิบัติที่สั่งสมมาจากอดีต แต่ยังสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างร่วมสมัย ปรัชญาแห่ง กามสูตรนั้นไม่ได้หมายถึงสุนทรียะแห่งการมีเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่เหนืออื่นใดคือศิลปะแห่งการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสมบูรณ์ ในวัฏจักรที่ยังเต็มไปด้วยแรงปรารถนาของมนุษย์ ตามตำ�นานกล่าวว่ากามสูตรนั้นเกิดขึ้นในช่วง 400 ปี ก่อนคริสตศักราช โดยมาจากถ้อยคำ�ทีโ่ คนนทิ (Nandi Bull) พาหนะของพระศิวะซึ่งรับหน้าที่เฝ้าประตู ได้ยิน พระศิวะเกี้ยวพาราสีกับพระแม่ปาราวตีผู้เป็นภรรยา และส่งต่อถ้อยคำ�เหล่านั้น จนกลายเป็นบทบันทึกที่มี ประโยชน์ต่อมนุษย์ในเวลาต่อมา กามสูตรหรือหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมทางเพศ ของมนุษย์ ดัง้ เดิมนัน้ ถูกรวบรวมและบันทึกไว้เป็นภาษา สันสกฤตผ่านการนั่งสมาธิ โดยพระนักปราชญ์ชาว _ _ ฮินดูชื่อว่าวาสยะยานะ (Vatsyayana) ในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 3 ชาวฮินดูเชื่อว่ากามสูตร ถูกเขียนขึ้นจาก สององค์ประกอบสำ�คัญ คือความศรัทธาทางศาสนา และประเพณีทส่ี บื ทอดกันมา โดยวาสยะยานะเป็นเพียง ผู้รวบรวมเข้าไว้ด้วยกันเท่านั้น คำ�ว่า “กามา” เป็น 1 ในอาศรม 4 หรือเป้าหมายการ ดำ�เนินชีวติ ตามหลักศาสนาฮินดู ได้แก่ ธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ หมายถึงแรงปรารถนา ซึ่งรวมถึง การมีเพศสัมพันธ์ด้วย สำ�หรับ “สุตรา” หมายถึง แนวทางการดำ�เนินชีวิตของมนุษย์ กามา สุตรา จึง หมายถึงแนวทางการดำ�เนินชีวิตที่ขับเคลื่อนภายใต้ แรงปรารถนา

กามสู ต ร ถู ก นำ � มาแปลครั ้ ง แรกในปี 1883 โดย ริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน (Richard Francis Burton) นั ก ผจญภั ย และนั ก แปลผู้ เ ชี่ ย วชาญซึ่ ง หลงใหลใน เสน่ห์แห่งโลกตะวันออก การแปลจากภาษาสันกสฤต เป็นอังกฤษนั้น ส่งผลให้ผู้คนสามารถเข้าถึงหนังสือ เล่มนี้ได้อย่างง่ายดายและเป็นที่รู้จักในวงกว้างมาก ขึ้น แม้ในช่วงแรกจะต้องจัดพิมพ์อย่างหลบซ่อนใน รูปแบบหนังสือใต้ดนิ ก่อนจะถูกจัดจำ�หน่ายในสหรัฐฯ อย่างเป็นทางการในปี 1962 บทบันทึกท่วงท่าการมีเพศสัมพันธ์หรือกลวิธีในการ จูบทั้ง 30 แบบนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากหลายบท ของกามสูตร สำ�หรับบทอื่นๆ นั้นกล่าวถึงเรื่องการ ครองเรือนที่ดี ทั้งการเลือกเฟ้นภรรยา วิธีเกี้ยวพาราสี และการประพฤติตัวอย่างเหมาะสมของภรรยาที่ดี นอกจากนี้ยังรวมถึงการเป็นชู้กับสามีหรือภรรยาของ ผู้อื่น การปฏิบัติตัวต่อคณิกาหรือหญิงโสเภณี รวมถึง วิธีดึงดูดเพศตรงข้าม กามสูตรถูกนำ�มาสร้างเป็นภาพยนตร์ที่โด่งดังอย่าง มากในปี 1996 ชื่อว่า Kama Sutra: A Tale of Love เนื้อหาในภาพยนตร์กล่างถึงเรื่องราวความรักระหว่าง ชนชั้น การแก้แค้นเพื่อได้มาซึ่งความรักที่สมหวัง แต่

ทีม่ า: alternet.org, newyorker.com, spaceandmotion.com, wikipedia.org

เนื่ อ งจากมี ฉ ากอี โ รติ ก เร้ า อารมณ์ ใ นภาพยนตร์ ระหว่างการถ่ายทำ�ที่มีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่รัฐ เหล่านักแสดงจึงต้อง “แกล้ง” แสดงฉากอื่นๆ ที่ไม่ใช่ เลิฟซีน หรือใช้ชื่อเรื่องปลอมอย่าง Maya & Tara เพือ่ หลบเลี่ยงการโดนแบน และแม้ท้ายที่สุด ภาพยนตร์ เรื่องนี้จะโดนสั่งห้ามฉายในอินเดียและปากีสถาน แต่ กลับได้รับรางวัลชนะเลิ ศ ด้ า นถ่ า ยภาพยอดเยี่ ย ม จากเวที Independent Spirit Awards ในปี 1998 สำ�หรับวรรณกรรมไทยที่มีเนื้อหาคล้ายคลึงกับกาม สูตรคือเรื่องกฤษณาสอนน้อง ซึ่งเป็นวรรณคดีที่รับ อิทธิพลมาจากคัมภีร์มหาภารตะ ตอนวนบรรพ ของ อินเดีย ที่กล่าวถึงความจงรักภักดีและการปรนนิบตั ิ สามีตามหน้าที่ของภรรยาที่ดี สำ�หรับฉบับภาษาไทย กฤษณาสอนน้องยังคงเน้นใจความสำ�คัญเรื่องหน้าที่ ที่ภรรยาที่ดีพึงกระทำ�เพื่อการครองคู่ แต่จะไม่มีส่วน วัฒนธรรมความเชือ่ ของศาสนาฮินดู เช่น การที่ภรรยา เลิกประดับประดาตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้และ ของหอมเมือ่ สามีออกจากบ้าน และการมีความสัมพันธ์ ทางเพศเฉกเช่นที่ปรากฏในกามสูตร

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

เรื่อง: วิสาข์ สอตระกูล

© Elisa Lazo de Valdez/Corbis

มนุษย์กับเซ็กซ์นั้นมีความผูกพันลํ้าลึกต่อกันมาแต่ครั้งอดีต ผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญจาก หลากหลายวัฒนธรรมล้วนมีความเชือ่ ตรงกันว่า เซ็กซ์คอื แหล่งพลังงานสร้างสรรค์ที่ประทับลึก อยู่ในยีน สมอง และร่างกายของเราตั้งแต่วินาทีแรกแห่งการปฏิสนธิ

12 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556


COVER STORY เรื่องจากปก

“Good Girls Go to Heaven, Bad Girls Go Everywhere”

3quarksdaily.com

เฮเลน เกิร์ลลีย์ บราวน์ (Helen Gurley Brown)1 อดีตบรรณาธิการคนดังของ นิตยสารคอสโมโพลิแทน (Cosmopolitan) ระหว่างปี 1965-1997 คือผู้หญิงที่ดูจะ เข้าใจ “เศรษฐศาสตร์แห่งเซ็กซ์” ได้อย่างถึงแก่น ความสำ�เร็จในชีวติ ของเจ้าแม่คอสโมฯ ผูน้ เ้ี กิดจากการผสมผสานต้นทุนส่วนตัวทีเ่ รียกว่า “อีโรติก แคปิตอล” (Erotic Capital) 2 เข้ากับกฎพื้นฐานเรื่องอุปสงค์และอุปทาน (Demand&Supply) ได้อย่างถูกที่ถูกเวลา

จากอดีตสาวบ้านนอก หน้าตาธรรมดา การศึกษาไม่สงู เริม่ ต้นอาชีพในตำ�แหน่งเลขาฯ เฮเลนไต่เต้า ขึ้นสู่ชีวิตที่เธอต้องการอย่างรวดเร็ว (และยอมรับด้วยว่าใช้เต้าไต่เป็นบางครั้งคราว) จนท้ายที่สุด เธอได้แต่งงานกับชายในฝันที่รํ่ารวย ประสบความสำ�เร็จ และภักดีกับเธอมาชั่วชีวิต ชีวิตที่พร้อม ด้วย “อำ�นาจ” “เงินทอง” และ “ความรัก” เช่นนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งฟ้าลิขติ แต่เป็นเรือ่ งของ “การแลกสิง่ ที่ ควรแลกในเวลาที่ต้องแลก” ณ วันที่เฮเลนก้าวเข้าสู่ตำ�แหน่งบรรณาธิการ เธอเปิดฉากยุแยงเหล่า สาวๆ ให้สลัดผ้ากันเปื้อนทิ้งและหันมาใช้ “เสน่ห์ความเป็นหญิง” ในที่ทำ�งานกันอย่างเต็มที่ ซึ่งใน ที่นี้เธอหมายถึงใช้ทุกอย่างที่ผู้หญิงมีจริงๆ ทั้งความงาม ความมีชีวิตชีวา มารยาทการเข้าสังคม รวมไปถึงความสามารถใน “เรื่องอย่างว่า” ด้วย ตลอดสามทศวรรษ เฮเลนได้เปลี่ยนโฉมหน้านิตยสารคอสโมฯ ให้กลายเป็น “ไกด์บุ๊ก” ประจำ� ตัวของเหล่าสาวโสดที่ต้องการจะก้าวขึ้นสู่ “จุดสูงสุด” ทั้งในอาชีพการงานและชีวิตเซ็กซ์ส่วนตัว เธอไม่แคร์ว่าเนื้อหาและภาพลักษณ์ที่เธอนำ�เสนอจะนำ�มาซึ่งคำ�วิพากษ์วิจารณ์และการแปะป้าย “บิมโบ้” ไว้กลางหน้าผาก ตราบใดที่ “เรื่องใต้เข็มขัด” พวกนี้นำ�มาซึ่งอำ�นาจการต่อรอง ความสุข และความสำ�เร็จในแบบที่สาวคอสโมฯ ต้องการ และไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าบรรณาธิการหญิงที่มีประวัติ ด่างพร้อยที่สุดคนนี้ คือผู้ที่ทำ�ให้เจ้าของบริษัทนิตยสาร The Hearst Corporation เป็นปลื้มสุดๆ กับตัวเลขในบัญชี เมื่อในช่วงทศวรรษ 1980 นิตยสารคอสโมโพลิแทนสามารถฉีกประวัติศาสตร์ ยอดพิมพ์ทะลุไปถึง 3 ล้านฉบับต่อเดือน 1 เฮเลน เกิรล์ ลีย์ บราวน์ ได้รบั การยกย่องว่าเป็นบรรณาธิการผูผ้ ลักดันนิตยสารคอสโมโพลิแทน สูห่ น้าประวัตศิ าสตร์

แห่งวัฒนธรรมป๊อป เธอเสียชีวิตเมื่อสิงหาคม 2012 ด้วยวัย 90 ปี

2 คำ�ว่า Erotic Capital บัญญัติขึ้นโดยแคเธอรีน ฮาคิม นักวิจัยด้านสังคมวิทยาชาวอังกฤษ

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 13


cokatemorawetz.com

COVER STORY เรื่องจากปก

คือ ค่านิยมสุดคลาสสิกของเฮเลน เกิร์ลลีย์ บราวน์ ซึ่งถูกสะท้อนกลายเป็นภาพของผู้หญิงยุคใหม่อย่าง “แครี่ แบรดชอว์” และ “ซาแมนธา โจนส์” ในซีรีส์ขายดี Sex & the City ซึ่งเจ้าแม่คอสโมฯ เองถึงกับเคย ออกปากว่าซีรีส์เรื่องนี้ควรต้องยกเครดิตให้กับเธอ หรือถ้าจะให้ดีก็ควรแบ่งกำ�ไรให้เธอด้วย Sexonomics & Erotic Capital มาร์ก เรกเนรัส (Mark Regnerus) นักวิชาการด้านสังคมวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยเท็กซัสเคยกล่าวไว้ว่า “ข้อเท็จจริงที่เป็นสากล ที่สุดข้อหนึ่งเกี่ยวกับเซ็กซ์ก็คือมันเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยน เพราะหากคุณมองดูมันอย่างละเอียดแล้ว คุณก็จะเห็นว่ามนุษย์ ทุกคนล้วนติดป้ายราคาให้กับสิ่งที่เรียกว่าเซ็กซ์ เราแต่ละคนได้ ถือครองบางสิ่งบางอย่างไว้ และเปลี่ยนมันกับผู้อื่นเมื่อเราอยาก ได้บางสิ่งบางอย่างจากคนผู้นั้น”

การวิจัยลำ�ดับต่อๆ มาของเรกเนรัสเผยให้เห็นว่า ทุกวันนี้กฎเกณฑ์ ความสัมพันธ์ยคุ ใหม่ก�ำ ลังเอือ้ ประโยชน์ให้กบั ผูช้ ายเป็นอย่างมาก ในขณะที่ ผู้หญิงที่ “ยังต้องการแต่งงาน” จะเป็นกลุ่มที่เสียเปรียบที่สุด (โดยเฉพาะ พวกที่อยากรักษาความบริสุทธิ์ไว้จนถึงวันนั้น) หากลองนึกเปรียบเทียบ 14 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ เราคงไม่สามารถตัง้ ราคาคอนโดไว้ท่ี 2 แสนบาท ต่อตารางเมตร ถ้าห้องอื่นๆ ในชั้นเดียวกันกับเราเขาเคาะราคากันที่ 7-8 หมื่นบาท แถมมีโปรโมชั่นดาวน์ตํ่า อยู่ฟรีครึ่งปี ผ่อนสองปี ไม่มีดอกเบี้ย ฯลฯ นีค่ อื ปรากฏการณ์ทโ่ี ลกยุคนิยมตะวันตก (Westernized) ต้องยอมรับ ว่า “ราคาตลาดของเซ็กซ์” ที่ผู้หญิงเคยถือครองนั้นได้เดินมาถึงจุดที่ “ตํา่ สุดๆ” แล้ว ในอดีตชายและหญิงในแต่ละสังคม “อยู่ด้วยกัน” เพื่อบทบาททาง เศรษฐกิจที่ชัดเจน ผู้หญิงมีหน้าที่หุงหาอาหาร ตัดเย็บเสื้อผ้า ดูแลบ้าน และมีลูก ในขณะที่ผู้ชายต้องออกไปนอกบ้านเพื่อล่าสัตว์และทำ�หน้าที่ ปกป้องคุม้ ครองลูกเมียจากภยันตรายต่างๆ แต่ในสังคมทีม่ คี วามซับซ้อน มากขึ้น เศรษฐศาสตร์ของเซ็กซ์ก็สลับซับซ้อนขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน ใน


COVER STORY เรื่องจากปก

Functional Erotic ในมุมของการออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบสมัยใหม่ก็กำ�ลังสนุกกับการนำ� Sexual Insight มาผสมผสานกับการสร้างสรรค์ในมุมต่างๆ ผลิตภัณฑ์แนว “อีโรติก้า” ไม่เพียงแต่จะสร้างพลังความตื่นเต้นให้กับตัวนักออกแบบหรือเรียกเสียงฮือฮาตามดีไซน์แฟร์เท่านั้น แต่สมองของเรา ต่างรู้ดีว่ามัน “เชื่อมโยง” กับสัญชาตญาณบางอย่าง และเราก็พร้อมจะ “จ่าย” เพื่อตอบสนองต่อกิเลสนั้น ต่อไปนี้คือตัวอย่างผลงานผลิตภัณฑ์ที่เรา คิดว่าคือ “ตลาดแห่งอนาคต” ที่กำ�ลังจะเบ่งบาน

Jimmyjane โดย อีธาน อิมโบเดน (Ethan Imboden) สื่อตะวันตกเปรียบหนุ่มอิมโบเดน รายนี้ว่าคือสตีฟ จ๊อบส์ (Steve Jobs) แห่งอุตสาหกรรมเซ็กซ์ ธุรกิจและ ไลน์ผลิตภัณฑ์ของเขาคือการเปลี่ยนโฉมหน้าของ “Sex Toy” ให้กลายเป็น Lifestyle Goods ที่คุณจะโยนใส่กระเป๋าเดินทางได้แบบไม่ต้องลังเล

Immaculate โดย ฮานส์ อเล็กซานเดอร์ ฮูสเคลปป์ (Hans Alexander Huseklepp) นวัตกรรมการแพทย์จากนอร์เวย์ ที่นำ�เสนอ “แขนกล” (อวัยวะเทียม) ในรูปลักษณ์ใหม่ที่ทั้งอ่อนโยนและ แฝงความเซ็กซี่ norskdesign.no

Hotdoll HotDoll - Love Doll for Dogs โดย เคลมองต์ อีลอย (Clement Eloy) เป็นตุก๊ ตาคลายเหงาทีไ่ ด้รบั การออกแบบขึ้นเพื่อตอบโจทย์ ด้าน “สุขภาพของสุนัข” (ทำ�ให้ สุนขั มีสขุ ภาพดีได้ตามธรรมชาติ) มี ใ ห้ เ ลื อ กสองขนาดทั้ ง สำ � หรั บ พันธุ์เล็กและพันธุ์ใหญ่

hotdollfordog.com

Intimate Massage โดย ฟิลิบส์ (Philips) ยักษ์ใหญ่แห่งวงการออกแบบอุตสาหกรรม ก็มองเห็น ถึง “ความต้องการใหม่” ในตลาดนี้เช่นกัน โดยเครื่องนวดผ่อนคลาย ขนาดกะทัดรัดเหมาะมือนี้ ถูกออกแบบขึ้นเพื่อ “คู่รัก” โดยเฉพาะ และ ปรับใช้เทคโนโลยีง่ายๆ จากแปรงสีฟันไฟฟ้าทั่วไปเท่านั้น

comparestoreprices.co.uk

jimmyjane.com

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 15


blog.lib.umn.edu

วัฒนธรรมทีเ่ จริญแล้วส่วนใหญ่ เมือ่ ผูช้ ายจะร้องขอเซ็กซ์จากผูห้ ญิงคนหนึง่ เขาจะต้องนำ�บางสิ่งบางอย่างที่มี “คุณค่าสูงๆ” มาเป็นข้อแลกเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น การแต่งงาน สาเหตุที่ผู้ชายสมัยโบราณต้องยอมผูกมัด ตัวเองขนาดนั้น ไม่ใช่เพราะพวกเขารักเดียวใจเดียวหรือเป็นสุภาพบุรุษ แต่เหตุผลที่แท้จริงก็คือเซ็กซ์ของผู้หญิงดีๆ สมัยนั้น “มีค่ามากในสายตา ผู้ชาย” สังคมในยุคนั้นเชื่อว่าการจะหา “ภรรยา” มาประดับบารมี และมี เซ็กซ์กับเธอได้บ่อยๆ นั้น ถือเป็นภาระที่หนักหน่วงมากสำ�หรับผู้หญิง (ในยุคที่การแพทย์ยังไม่เจริญ เพศสัมพันธ์อาจหมายถึงการตั้งครรภ์ ซึ่ง นำ�ไปสู่การคลอดและการเลี้ยงดูบุตร ซึ่งเป็นต้นทุนที่สูงมากของผู้หญิง) และนี่คือที่มาว่าทำ�ไมการแต่งงานที่ปรากฏในหลายๆ วัฒนธรรมจึงต้อง มีเงินทอง ทรัพย์สมบัติ หรือที่ดินเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะสิ่งเหล่านี้ก็คือ “เงินดาวน์” หรือ “ค่าตัวเจ้าสาว” ที่ฝ่ายชายต้อง “ขอซื้อ” มานั่นเอง อย่างไรก็ดี กระบวนทัศน์ข้างต้นได้เปลี่ยนไปแบบพลิกฝ่ามือเมื่อ โลกเราค้นพบนวัตกรรมที่มีชื่อว่า “ยาคุมกำ�เนิด” ซึ่งเป็นนวัตกรรม ที่ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนไปอย่างชัดเจน เมื่อยาคุมสามารถ หาซื้อได้ตามท้องตลาด ความสัมพันธ์ชายหญิงก็ถูกตัดขาดห่างจาก คำ�ว่าการแต่งงานไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มสังคมระดับบน เช่น ใน มหาวิทยาลัยหรือตามเมืองใหญ่ของโลกที่มักจะมีประชากรเพศหญิง มากกว่าเพศชาย กฎเศรษฐศาสตร์พื้นฐานที่ว่าด้วยอุปสงค์และอุปทานนี้ ได้ส่งผลให้ ผู้ชายในเมืองกลายเป็นผู้ท่ถี ือไพ่เหนือกว่าในเรื่องเซ็กซ์และความสัมพันธ์ แม้ชีวิตด้านอื่นจะแย่แค่ไหน แต่พวกเขาก็มีโอกาส “เลือกได้” ว่าจะยอม จ่ายที่เท่าไหร่เพื่อให้ได้มาซึ่ง “เซ็กซ์ที่ต้องการ” ภาวะนี้นำ�ไปสู่เทรนด์ พฤติกรรมของผูช้ ายที่นิยมเปลี่ยนคู่นอนไปเรื่อยๆ โดยไม่คดิ ถึงข้อผูกมัด ในขณะที่ผู้ชายกำ�ลังก้าวเข้าสู่ตำ�แหน่ง “ได้เปรียบ” ในตลาดเซ็กซ์ ผู้หญิงยุคใหม่กลับมีค่านิยมที่ “ไม่แคร์” กับ “อัตราแลกเปลี่ยนสมัยใหม่” ที่ตนเป็นฝ่ายเสียเปรียบเลย หลายต่อหลายคนยังอยากที่จะสำ�รวจตลาด กันให้หนำ�ใจก่อนทีจ่ ะก้าวไปสูต่ ลาดของการแต่งงาน พวกเธอลืมไปเสียสนิท ว่ า ทั ศ นคติ แ ละพฤติ ก รรมเช่ น นี้ จ ะนำ � มาซึ่ ง สิ ท ธิ์ ใ นการเป็ น เจ้ า ของ “ความโสด” ในระยะที่ยาวขึ้นด้วยเช่นกัน

16 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

wordever.com

COVER STORY เรื่องจากปก

พลังงานทางเพศที่เปล่งประกายออกมาจากคนๆ หนึ่ง คือเสน่ห์พิเศษเฉพาะตัวที่สามารถดึงดูดพลัง บวก (Positive Energy) จากสภาพแวดล้อม กลับมายังคนผู้นั้น พลังงานชนิดนี้จะอยู่ในรูปของ “ออร่า” ที่ผู้อื่นรับรู้และสัมผัส แต่บอกชัดไม่ได้ว่า “เพราะอะไรบุ ค คลผู้ นี้ ถึ ง ได้ เ ร้ า ใจคุ ณ อยู่ ลึ ก ๆ” ลองจินตนาการถึง เดวิด เบคแฮม หรือมาริลิน มอนโร แล้วคุณจะเข้าใจว่ามันหมายถึงอะไร


COVER STORY เรื่องจากปก

Because Sex Sells - The Sexualisation of Culture

signaturevacations.com

ลองนึกย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมป๊อปของโลก เพลง “Can’t Buy Me Love” ของเดอะบีเทิลส์ในทศวรรษ 1960 มี เนื้อเพลงท่อนหนึ่งว่า “cause I don't care too much for money, money can't buy me love” ในขณะที่อีกเกือบ 40 ปีต่อ มา เจนนิเฟอร์ โลเปซ ก็ออกมาร้องปาวๆ ว่า “You think I'm gonna spend your cash, I won’t. Even if you were broke, my love don’t cost a thing.” แม้จะมาจากต่างยุคต่างสมัย แต่เนื้อหาที่ศิลปินทั้งสองต้องการจะสื่อ ก็ยิ่งดูเป็นการขีดเส้นใต้ให้ กับความจริงในสังคมที่ว่า “พวกเราซื้อขายมันอยู่จริงๆ”

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า “เซ็กซ์” คือบางสิ่งที่ขายตัวเองได้เสมอ และสังคมยุค ปัจจุบันก็ดูจะเป็นประตูที่ทำ�ให้พฤติกรรมที่เชื่อมโยงกับเซ็กซ์ของมนุษย์ “เปิดกว้าง” และ “ลํ้าลึก” ขึ้นทุกขณะ ในฐานะผู้บริโภคมันแทบจะเป็น ไปไม่ได้เลยที่เราจะหลีกหนีจาก “สิ่งเร้า” ที่เฝ้ากระตุกต่อมจินตนาการ ส่วนลึกนี้ ปัจจุบัน “เนื้อหา” “อารมณ์” และ “ประสบการณ์” ที่เกี่ยวข้อง กับเซ็กซ์ถูกนำ�เสนอกันได้ในทุกมิติ มันเผชิญหน้ากับเราด้วยวิธีการ หลากหลาย ผ่านทางไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวพักผ่อน การออกแบบ การ แต่งตัว หรือแม้กระทั่งการแพทย์ ทุกวันนี้เราจะเห็นว่ามีรีสอร์ตริมทะเลมากมายที่ถูกออกแบบให้มี บรรยากาศและบริการที่ “เร้าอารมณ์คู่รัก” กันแบบสุดๆ คำ�โปรยใน โบรชัวร์หรือเว็บไซต์ของโรงแรมประเภท “Romantic Hideaway” “Couples Only” หรือ “Adults Only” คือสิ่งที่ผู้บริโภคเชื่อมโยงได้ทันที

ถึง “ประสบการณ์” ทีท่ างโรงแรมอยากนำ�เสนอ บริการของโรงแรมเหล่านี้ จะไม่เคยขาด “Turndown Service” ที่สร้างบรรยากาศโรแมนติกภายใต้ ไฟสลัว มีการใช้เครื่องหอมชั้นดีภายในห้องพัก หรือกระทั่งมี “Sparkling Wine” แช่ถังนํ้าแข็งไว้เป็นอภินันทนาการ สำ�หรับในไทย นอกจากโรงแรมที่คิดค่าห้องเป็น “รายชั่วโมง” หรือ ที่เจาะตลาด Sex Tourism โดยตรงแถบพัทยาหรือป่าตองแล้ว อาจยังมี น้อยโรงแรมที่ประกาศตนเป็น Adults Only เต็มตัว แต่ล่าสุดก็มีโรงแรม ระดับห้าดาวอย่าง The Pavilions ภูเก็ต และ Layana Resort เกาะลันตา ที่เปิดตลาดชัดเจนแล้วว่า “รับแต่แขกผู้ใหญ่เท่านั้น” (The Pavilions ไม่ รับแขกอายุตํ่ากว่า 16 ปี ส่วน Layana Resort รับแขกอายุ 18 ปีขึ้นไป เท่านั้น) พูดง่ายๆ คือถ้าอายุไม่ถึงเกณฑ์ทำ�กิจกรรม “คู่รัก” รีสอร์ต เหล่านี้เขาก็ไม่อยากให้คุณไปรบกวนคู่รักคู่อื่นนั่นเอง

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

curatio.jp

Tapping into your Sexual Energy

เมื่อพูดถึงคำ�ว่า “พลังงานทางเพศ” คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงความใคร่ ส่วนบุคคลและการมีปฏิสัมพันธ์กันทางเนื้อหนัง น้อยคนนักที่จะคิดไป ถึงประเด็นทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า พลังงานทางเพศสามารถ “ถูกบังคับ” ให้แสดงบทบาทอื่นได้เช่นเดียวกัน ไม่ต่างจากคลื่นทะเลที่ซัดเข้าฝั่งได้แบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แรงขับ ทางเพศของมนุษย์ก็คือ “พลังงานตามธรรมชาติ” ชนิดหนึ่งที่มีความยิ่ง ใหญ่ในตัวเอง ดังนัน้ หากมนุษย์มคี วามเข้าใจทีถ่ อ่ งแท้ถงึ ธรรมชาตินม้ี ากขึน้ การจะจัดสรรมันไปสู่ความสร้างสรรค์ใหม่ๆ โดยไม่จำ�เป็นต้องเชื่อมโยง กับการสืบพันธุโ์ ดยตรงก็นา่ จะเป็นไปได้สงู อย่างไรก็ดี วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เชื่อว่าวิธีการบังคับใช้พลังงานตามธรรมชาติชนิดนี้จำ�ต้องอาศัย “เทคนิค ทีข่ ดั แย้งกัน” ในตัวเองเล็กน้อย เดฟ แกนนาเวย์ (Dave Gannaway) กูรู ด้านจิตวิทยาและการพัฒนาตนเองเคยกล่าวไว้วา่ “มันคือการปรับในสมอง ด้วยการสวิตช์จากการคิดถึงเซ็กซ์ทางกายภาพไปสู่การคิดสร้างสรรค์ด้าน อื่นๆ แต่ในกระบวนการนั้นเราจะต้องรักษาแรงกระเพื่อมจากอารมณ์หรือ ประสบการณ์สุดสยิวไว้ให้ได้ ซึ่งโดยหลักการแล้วมันก็เหมือนกับที่เขื่อน

18 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

พลังนํ้าเลือกปิดวาล์วตัวที่หนึ่งเพื่อพักเครื่องปั่นไฟตัวแรก แต่ไปเปิดวาล์ว ตัวที่สองเพื่อส่งพลังให้เครื่องปั่นไฟอีกตัว พลังงานนํ้าทั้งหมดยังคงมาจาก แหล่งเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนช่องทางการใช้งานเท่านั้นเอง” Tao Garden Health Spa & Resort คือตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึง การปรับใช้พลังงานทางเพศ รีสอร์ตบนดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่แห่งนี้ เปิดคอร์สเกี่ยวกับการใช้พลังทางเพศเพื่อสุขภาพหลายรูปแบบ เช่น Cultivating Female Sexual Energy ทีพ่ ดู ถึงการใช้ “ออกัสซัม่ ” ขับเคลือ่ น พลังชีวติ และปรับสมดุลร่างกายจากภายใน อาจารย์ประเสริฐ จิระพงศาธร ปรมาจารย์สายเต๋าและผู้ก่อตั้ง Tao Garden (ที่ชาวต่างชาติรู้จักในชื่อ Master Mantak Chia) เล่าว่า โดยปกติแล้วพลังงานที่ระเบิดขึ้น ณ จุด สุดยอด (ทางเพศ) จะค่อยๆ ล้นหายไปตามธรรมชาติ แต่ในการฝึกแบบ เต๋า พลังงานนี้จะถูกควบคุมและดึงกลับเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งในรูปแบบ ของ “ชี่” (Chi) ซึ่งถือเป็นพลังชีวิตสำ�คัญที่ทำ�ให้คนเราหายใจเต็มปอด กระปรี้กระเปร่า และห่างไกลจากความเจ็บป่วยทั้งหลาย

ที่มา: jimmyjane.com nytimes.com slate.com thedailybeast.com washingtontimes.com wikipedia.org yankodesign.com


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • B2S • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • Zero Book • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ดอยชาง • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย • 94 Coffee • Mood Mellow • ทรู คอฟฟ • รานแฮปปฮัท • Little Cook Cafe' • ยูอารสเตชั่น • คาเฟ เดอ นิมมาน • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • รานกาแฟวาวี • Kanom • สุริยันจันทรา • Sweets Cafe • รานมองบลังค • Rabbithood Studio • วีวี่ คอฟฟ • หอมปากหอมคอ • Things Called Art • แมคคาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • Babushka • จิงเกิ้ล • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • คอฟฟ คิส • Impresso Espresso • โรงแรมดุสิต ดีทู • มิลลเครป Bar • เดอะเชดี • ไล-บรา-ลี่ คาเฟ • Minimal • บรรทมสถาน • ก.เอย ก.กาแฟ • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • อะเดยอินซัมเมอร • Gallery Seescape • Yesterday The Village • ชีสเคกเฮาส • คอฟฟแอลลียอินเดอะการเดน • The Salad Concept • Hallo Bar • casa 2511 • บานศิลาดล • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Cotto Studio (นิมมานฯ) • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • กาแฟโสด • รานสวนนม • 9wboutique Hotel • ไอเบอรรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Take a Seat • Just Milk • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • ช็อกโก คาเฟ • Love at first Bite • ไหม เบเกอรี่ • ซูเฟ House Bakery • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Greyhound (Shop and Café) • เวียง จูม ออน • Fern Forest Cafe' บายนิตา • รานกาแฟบางรัก • Just Kao Soi • Hub 53 โรงภาพยนตร / โรงละคร • อิฐภราดร • โรงภาพยนตรเฮาส • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร หัวหิน ลําปาง • ภัทราวดีเธียเตอร • เพลินวาน • A little Handmade Shop • ชุบชีวา หัวหิน • อาลัมภางค เกสตเฮาส หองสมุด คอฟฟ แอนด มอร • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • ทรู คอฟฟ หัวหิน • Egalite Bookshop • หองสมุดมารวย • ดอยตุง คอฟฟ • ศูนยหนังสือ สวทช. นาน • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • SCG Experience • รานกาแฟปากซอย แอนดคาเฟ • The Reading Room • Nan Coffee Bean • อยูเ ย็น บัลโคนี่ พิพิธภัณฑ / หอศิลป ภูเก็ต • สตารบคั ส หอนาิกา • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • วรบุระ รีสอรท แอนด • The Oddy Apartment สปา • หอศิลปวัฒนธรรม & Hotel • หั วหิน มันตรา รีสอรท แหงกรุงเทพมหานคร เลย • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • เลท ซี หัวหิน • กบาล ถมอ รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • นับเบอรวัน แกลเลอรี่ • บานชานเคียง • บานใกลวงั • ไวท สเปซ แกลเลอรี่ โคราช • บานจันทรฉาย • HOF Art • Hug Station Resort • ภัตตาคารมีกรุณา โรงแรม • ลู น า  ฮั ท รี ส อร ท ปาย • หลับดี (Hotel สีลม) • The Rock • รานเล็กเล็ก • บานถัว่ เย็น นครปฐม (ถนนแนบเคหาสน) • Dipchoc Café

อุทัยธานี

หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

• Booktopia

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม) และรอรับนิตรสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โ ัพทบาน โทรศั โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

*สำหรับสมาชิกเกาสามารถกรอกเพียง ชื่อและนามสกุล

หญิง อายุ โ ัพทที่ทำงาน ำ โทรศั โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/ อาจารย

นิสิต/นักเรียน ผูประกอการ

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอการ

อาชีพอิสระ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

พนักงานบริษัท

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา แฟชั่น การออกแบบ โทรทัศน/วิทยุ การกระจายเสียง

สถาปตยกรรม ศิลปะการแสดง ภาพยนตร อื่นๆ โปรดระบุ

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน

หัตถกรรม/งานฝมือ คาปลีก/คาสง ซอฟแวร/แอนิเมชัน/ วิดีโอเกม

อาหาร โทรคมนาคม การแพทย การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/ ดนตรี การถายภาพ

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษญีย

หนอยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนอยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษญีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพยธนาคารกรุงเทพสาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมใบนำฝาก-โอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..


INSIGHT อินไซต์

เรื่อง: ปิยพงศ์ ภูมิจิตร

avcollectors.com

เศรษฐกิจที่ถดถอยยาวนานระหว่างปี 1991-2010 ของญี่ปุ่นถูกเรียกว่า "สองทศวรรษที่หายไป" (Lost Decades) วัฒนธรรม มนุษย์เงินเดือนที่ภักดีกับองค์กรเดียวทั้งชีวิตกลับถูกเลิกจ้าง ผู้นำ�ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างโซนี่ถูกแทนที่ด้วยซัมซุง จีนเบียดแซงขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ไหนจะต้องรับมือกับสังคมผู้สูงอายุเป็นประเทศแรกๆ ของโลก แต่อุตสาหกรรมหนังเอวี (AV) ของญี่ปุ่นไม่เคยหายไปไหน ซํ้ายังคงชัดเจนและเติบโตขึ้นสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจลุ่มๆ ดอนๆ ของประเทศอย่างน่าสนใจ

20 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556


หนังเอวี (AV: Adult Movie) คือความบันเทิงทางเพศที่สามารถซื้อขายได้ อย่างเสรีและถูกกฎหมายในญี่ปุ่น โดยมีศูนย์รวมอยู่ในย่านอากิฮาบาระ แถบชินจูกุของโตเกียว ในทศวรรษ 1960 ญี่ปุ่นมีเพียงหนังโป๊ที่เรียกว่า พิงค์ ฟิล์ม (Pink Film) ซึ่งส่วนใหญ่ดัดแปลงมาจากจินตนาการทางเพศ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมในทศวรรษก่อนหน้าและออกฉายตาม โรงภาพยนตร์ต่างๆ แต่การเกิดขึ้นของเครื่องเล่นวิดีโอในทศวรรษ 1980 ส่งผลให้พิงค์ ฟิล์ม ค่อยๆ หายไปพร้อมกับการเข้ามาแทนที่ของหนังเอวี กฎหมายของญี่ปุ่นกำ�หนดไว้ว่าห้ามขายหนังเอวี ไม่ว่าจะเป็นแบบมี ตัวแสดงหรือแบบอนิเมะให้กับผู้ที่มีอายุตํ่ากว่า 18 ปีโดยเด็ดขาด และ ต้องมีการเซ็นเซอร์จุดซ่อนเร้นทั้งผู้ชายและผู้หญิงผ่านกระบวนการทำ� ภาพโมเสก (Mosaic) ที่กลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหนังเอวี ส่วน หนั ง ที่ ไ ม่ ไ ด้ ป ฏิ บั ติ ต ามนี้ ถื อ เป็ น หนั ง ใต้ ดิ น ที่ มี ศั พ ท์ เ รี ย กเฉพาะว่ า “อุระ วิดีโอ” (Ura VDO) อุตสาหกรรมหนังเอวีของญี่ปุ่นนั้นมีมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านเยนต่อปี (ราว 1.63 แสนล้านบาท) โดยแต่ละปีจะมีหนังออกสูท่ อ้ งตลาดราว 20,000 เรือ่ ง ร้านเช่าวิดีโอขนาดใหญ่อย่างซึทาญ่ามีหนังออกใหม่มากกว่า 1,000 เรื่องต่อเดือน มีนางเอกหน้าใหม่ประมาณ 6,000 คนต่อปี และนางเอก หนังเอวีหลายคนได้รับความนิยมจากคนทั่วไปไม่ต่างจากคนดังในสังคม ไม่เพียงแค่ในญี่ปุ่นแต่รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย ในเนื้อหาตอนหนึ่งของ "Namae no nai onna-tachi" (The Nameless Woman) หนังสือขายดีของอัตสึฮิโกะ นากามูระ (Atsuhiko Nakamura) ที่เขียนขึ้นจากการสัมภาษณ์นางเอกหนังเอวีกว่า 500 คน กล่าว ไว้ว่า จนถึงปลายทศวรรษ 1990 ผู้หญิงญี่ปุ่นส่วนมากไม่มีทางยอมเล่น หนังเอวี ถึงแม้จะลงทุนจ่ายให้พวกเธอครั้งละ 10 ล้านเยนก็ตาม แต่ ค่านิยมนี้ค่อยๆ เปลี่ยนไปจากสภาพเศรษฐกิจที่บีบคั้น เหตุผลเรื่องเงิน และความเชื่อว่าการมีโมเสกมาช่วยปกป้องไม่ใช่เรื่องเสียหายได้กลาย เป็นค่านิยมใหม่ให้หญิงสาวหลายคนกล้าก้าวมาทำ�งานในจุดนี้ไม่ต่างกับ การสมัครทำ�งานพาร์ทไทม์ในร้านสะดวกซือ้ ทุกวันนีต้ น้ ทุนในการผลิตหนัง เอวีแต่ละเรื่องถูกกดให้เหลือแค่ 1.5 ล้านเยน ซึ่งแน่นอนว่าผู้ที่ได้รับเงิน มากทีส่ ดุ ต้องเป็นนางเอกของเรือ่ งทีส่ ว่ นมากจะได้เงินเฉลีย่ เรือ่ งละ 2 แสน เยนสำ�หรับนางเอกเกรดธรรมดา จนถึง 4 ล้านเยนต่อเรือ่ งสำ�หรับนางเอก ระดับแม่เหล็ก ถึงแม้ว่าผลการสำ�รวจขององค์การอนามัยโลกที่ร่วมมือกับถุงยาง อนามัยดูเร็กซ์จะระบุไว้ว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอัตราการมีเพศสัมพันธ์ ตํ่าที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ�อื่นๆ และ 1 ใน 4 ของคู่สมรสในญี่ปุ่นไม่มีอะไรกันเลยตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 38 ของคู่สมรสที่มีอายุมากกว่า 50 ปีไม่มีอะไรกันเลยมากกว่า 1 ปี แต่ อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมหนังเอวีก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหนังเอวีประเภท "ผู้สูงอายุ" ซึ่งมีอัตราการเติบโตรวดเร็วที่สุด โดยเติบโตมากกว่า 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา พร้อมๆ กับเทรนด์ของ

avcollectors.com

INSIGHT อินไซต์

นางเอกที่เป็นหญิงสูงวัยซึ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง 5 ปีหลังมานี้ ปัจจุบันหนัง 300 จาก 1,000 เรื่องที่ให้เช่าในร้านซึทาญ่าจึง เป็นเรื่องของนางเอกสูงวัยทั้งนั้น ผู้อำ�นวยการของรูบี้ อิงค์ (Ruby Inc.) ผู้ผลิตหนังเอวีที่มีความเชี่ยวชาญในหนังผู้สูงวัยเป็นพิเศษเปิดเผยว่า ข้ อ ได้ เ ปรี ย บของหนั ง เอวี ที่ เ จาะกลุ่ ม ผู้ สู ง วั ย นั้ น มี ช่ ว งอายุ ใ นตลาด มากกว่าหนังเอวีปกติ เพราะนางเอกที่อายุน้อยจะขายดีในช่วง 3-4 เดือน แรกหลังจากวางจำ�หน่ายเท่านั้น สวนทางกับหนังที่มีนักแสดงเป็นหญิง สูงอายุที่ได้รับความนิยมยาวนานกว่า ตอนที่รูบี้ อิงค์ เริ่มจับตลาดกลุ่มนี้ เมื่อ 3-4 ปีก่อนยังต้องการใช้นางเอกวัย 20 ปี จนไม่นานมานี้อายุของ นางเอกกลับเพิ่มขึ้นจนถึงวัย 70 ปี ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นพร้อมแล้วกับการเข้า สู่สังคมที่เต็มไปด้วยผู้สูงอายุ สินค้าและบริการที่คิดค้นขึ้นมาจึงเป็น ไปเพื่อสนองตอบต่อตลาดกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดและมีอำ�นาจซื้อมากที่สุด แน่นอนว่า ไม่เว้นแม้แต่หนังเอวี ที่มา: avcollectors.com rocketnews24.com travel.cnn.com wikipedia.org

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

ณ ห้องส่วนตัวของหญิงสาว ผลิตภัณฑ์ที่ “ให้ความสำ�คัญจาก ข้างใน” เรียงตัวต้อนรับผู้หญิงทุกคนผู้มองหาสิ่งที่ใช่สำ�หรับ ตัวเอง เรากำ�ลังพูดถึงชุดชั้นใน อาภรณ์ที่ไม่เพียงสัมผัสใกล้ชดิ ติดตัว แต่ยงั สร้างความสวยงามมัน่ ใจให้แก่ผหู้ ญิงตัง้ แต่ภายใน Boudoir BY DISAYA คือแบรนด์ชดุ ชัน้ ในทีเ่ ป็นผูบ้ กุ เบิกตลาด ชุดชั้นในแฟชั่นไฮเอนด์ ซึ่งออกแบบและผลิตโดยคนไทย และมี ดิษยา (ออม) สรไกรกิติกูล ทำ�หน้าที่ดีไซเนอร์และผู้ก่อร่าง ผลิตภัณฑ์ให้สามารถเติมเต็มความรู้สึกของผู้หญิงได้มากกว่า ทำ�หน้าที่อย่างตรงไปตรงมา “ชุดชั้นในแฟชั่น” ของเธอจึงตอบ โจทย์อารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลายด้วยรายละเอียดในการ ออกแบบ

22 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

เมื่อราว 8 ปีที่แล้ว ดิษยายังเป็นนักศึกษาปริญญาโทสาขา ออกแบบเสือ้ ผ้าแฟชัน่ สตรี (Fashion Design Womanswear) อยู่ที่ เซ็นทรัล เซ็นต์ มาร์ตินส์ (Central Saint Martins) ในเวลานั้น ดิษยาได้เริ่มจับกระแสชุดชั้นในแฟชั่นที่กำ�ลังบูมมาก ในตลาดยุโรป มาวางตรงช่องว่างการตลาดของเมืองไทยซึ่งยัง ไม่ค่อยมีชุดชั้นในที่เล่นกับการดีไซน์แฟชั่นมากนัก และด้วย ความสนใจบวกกับการมองเห็นความเป็นไปได้ ดิษยาจึงเริม่ ลงมือ สร้าง Boudoir BY DISAYA ขึน้ มา ร่วมกับ ดนัย สรไกรกิตกิ ลู ที่ปัจจุบันคือสามีคู่ชีวิต


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

ห้องส่วนตัวของผู้หญิงทุกสไตล์

“อยากให้ Boudoir เป็นทีท่ ผ่ี หู้ ญิงทุกสไตล์เข้ามา แล้วเจอชุดชั้นในที่เป็นของเขา ผู้หญิงมีหลาย อารมณ์ ทั้งอ่อนหวาน เซ็กซี่ ขี้เล่น เราจึงมีชุด ชั้นในที่มีทุกอารมณ์” เพื่อวางอัตลักษณ์ และ สร้างตำ�แหน่งที่ชัดเจนในตลาด ดิษยาวางกลุ่ม เป้าหมายไว้ที่ “ผู้หญิงที่เน้นความละเอียดอ่อน และให้ความสำ�คัญกับทุกรายละเอียด แม้วา่ จะ ซ่อนอยู่ข้างใน เราจึงเล่นกับสีสัน รูปทรงที่ หลากอารมณ์ ตั้งแต่วันง่ายๆ วันทำ�งานไปจน วันพิเศษ อย่างวันแต่งงานก็มี” ชุดชั้นในสื่อความรู้สึกอ่อนไหวของผู้หญิง ไม่วา่ จะเลือกหยิบชิน้ ไหนมาลอง ก็มกั เป็นเพราะ รูปแบบที่ละลายใจ แต่ชุดชั้นในที่ต้องแนบชิด ติดตัวก็ไม่อาจละเลยเรือ่ งการใช้งานได้ ดีไซเนอร์ จึงจำ�เป็นต้องออกแบบทัง้ สไตล์ วัสดุ และทรวดทรง ทีส่ มั ผัสกายแล้วลงตัวทีส่ ดุ “ออมแปลงความรูส้ กึ แบบทีเ่ รียกว่า sensual เข้ามาอยูใ่ นแง่ของวัสดุทใ่ี ช้ และการตัดเย็บทรวดทรง สำ�หรับออม sensual คงแปลเป็นลูกไม้บางๆ เบาๆ หรือผ้าชีฟองซีทรู ทีม่ คี วามยืดหยุน่ พอใส่แล้วเราจะรูส้ กึ ว่ามันเซ็กซี่ ผิ ว สั ม ผั ส บางเบาให้ ค วามรู้ สึ ก ที่ ดี กั บ ตั ว เอง การใส่ชดุ ชัน้ ในดีๆ เป็นความรูส้ กึ มัน่ ใจทีม่ าจาก ข้างใน ที่ไม่จำ�เป็นต้องให้คนอื่นมาบอกเราว่า เราเซ็กซี่หรือสวย แต่เรารู้สึกได้ด้วยตัวเอง” สัมผัสละเอียดอ่อน เป็นสิ่งสำ�คัญสูงสุดของชุดชั้นใน

ในโลกวัสดุ ผ้าบางชนิดถูกคิดค้นและผลิตขึน้ มา สำ�หรับตัดเย็บชุดชัน้ ในโดยเฉพาะ “อย่างผ้าเบส เราจะใช้ผ้าทางยุโรป ลูกไม้ส่วนมากจะใช้ของ ญีป่ นุ่ ” ดิษยาชอบวัสดุทใ่ี ห้อารมณ์แตกต่าง เธอ นิยมหยิบผ้าที่ปกติแล้วจะใช้ตัดเสื้อผ้าตัวนอก มาใช้กับชุดชั้นใน “อย่างผ้าชีฟอง ซึ่งเป็นผ้าที่ เย็บยาก ต้องใช้ความพิถีพิถันในการตัดเย็บสูง เราก็เอามาใช้” แต่ทส่ี �ำ คัญต้องใช้ในตำ�แหน่งทีจ่ ะ ไม่สมั ผัสกับผิวโดยตรง เช่นส่วนตกแต่ง เป็นต้น นอกจากนี้ ดิษยายังหาวัสดุ เช่น คริสตัลชั้นดี มาผสมเข้ากับเทคนิคใหม่ๆ ด้วย การผสมผสานอะไรใหม่ๆ เป็นความสนุก

บวกกับการผลิตจำ�นวนไม่สงู เราจึงยังไม่ได้เห็น Boudoir BY DISAYA ออกไปโลดแล่นในตลาด โลกเหมือนกับ DISAYA แบรนด์เสื้อผ้าที่ไป สร้างชื่อในต่างแดนของดิษยา แต่ Boudoir BY DISAYA ก็มีแผนขยายกำ�ลังการผลิตให้มากขึ้น เมื่อนั้นการส่งออกสู่ตลาดเอเชียคือสิ่งที่ตั้งเป้า ไว้ เพราะสาวเอเชียมีรปู ร่างใกล้เคียงกับสาวไทย

ของ Boudoir BY DISAYA แต่กว่าจะมาเป็นชุด ชั้นในแต่ละตัวได้ ดูด้วยตาก็ว่าละเอียดยิบแล้ว แต่การผลิตกลับละเอียดยิง่ กว่า “การทำ�แพทเทิรน์ ชุดชั้นในนั้นยากมาก ทั้งเรื่องทรง เรื่องฟิตติ้ง เป็นสิง่ สำ�คัญ ตอนทีเ่ ริม่ ทำ�ไม่รเู้ ลยว่ามันจะยาก ขนาดนัน้ พอมาลงมือทำ�จริง ก็พบว่ามันละเอียด มาก ชุดชั้นในตัวหนึ่งต้องใช้จักรหลายชนิด รายละเอียด วิธีการเย็บก็แตกต่างจากเสื้อผ้า ทั่วไป เพิ่งมาได้เรียนรู้อย่างจริงๆ จังๆ ก็ตอน ที่เริ่มลงมือทำ�งาน” เพื่อควบคุมคุณภาพให้ได้ ดั่งใจ ไม่ต้องพบกับปัญหาคลาสสิกเมื่อต้อง ทำ�งานกับช่าง อาทิ การไม่ตรงต่อเวลา และ ไม่ได้คุณภาพตามที่คาดหวังไว้ ดิษยาจึงเลือก ทีจ่ ะตัง้ โรงงานขนาดเล็กของตัวเองขึน้ ตัง้ แต่แรก ในอุตสาหกรรมการผลิตชุดชั้นใน มักจะ จับเวลาต่ อ ชั่ ว โมงเพื่ อ ตั้ ง เป้ า การผลิ ต ให้ ไ ด้ จำ�นวน แต่ส�ำ หรับทีน่ ่ี ดิษยาวางตำ�แหน่งทีต่ ลาด เฉพาะกลุ่ม จึงเน้นที่คุณภาพการตัดเย็บมาก กว่า “การตัดเย็บต้องใช้ความพิถพี ถิ นั มาก ทุก ฝีเข็มต้องให้ได้คุณภาพและลุคอย่างที่ตอ้ งการ Boudoir ไม่ได้ผลิต mass (ผลิตครั้งละมากๆ) ค่อนข้าง niche (เฉพาะกลุม่ ) มาก เราจึงควบคุม คุณภาพได้” การผลิตชุดชัน้ ในมีความยากในการตัดเย็บ และยังมีเรือ่ งทรวดทรงคัพไซส์ ชุดชัน้ ในแบบหนึง่ จะต้องแตกไซส์ออกมารองรับขนาดรูปร่างที่ ต่างกัน องค์เอวของผู้หญิงต่างทวีปก็แตกต่าง

ทุกตะเข็บไปถึงการตลาด จากเริ่มต้นจนวันนี้ ดิษยาขยายการทำ�งานเป็น ทีม แบ่งแผนกดูแลรับผิดชอบหน้าที่ต่างกัน ดนัยดูแลฝ่ายการขาย การตลาด และการเงิน ส่วนดิษยาบริหารด้านการออกแบบและผลิต โดยมี รมย์รจุ ี พันธุส์ นิ ดีไซเนอร์ของ Boudoir เข้ามาช่วยดูแล “ออมคิดว่าการแบ่งงานแบบนี้ ทำ�ให้บริษัทของเราสามารถรับมือกับปัญหา และสิ่งต่างๆ ที่จะเข้ามาได้ดีค่ะ” กว่าจะนำ�พา แบรนด์ ชุ ด ชั้ น ในให้ ยื น อยู่ ใ นตลาดได้ มั่ น คง ก็ต้องเจอปัญหาที่เปลี่ยนหน้าไปทุกวัน “การเริ่ ม ต้ น ทำ � อะไรใหม่ มั น ก็ ย ากหมด ทุกคนทำ�ก็มีปัญหาทั้งนั้น เราจึงต้องทำ�วันนี้ให้ ดีที่สุด ปัญหาที่เราคิดว่าใหญ่ พอผ่านไป เรา จะเห็นว่ามันเล็กกว่าที่เราคิด เราต้องสู้กับมัน ทำ�ให้ดีที่สุดในปัจจุบัน คือเราเน้นคุณภาพ ทั้ง วัสดุและดีไซน์ พยายามหาสิง่ ใหม่ๆ ให้กบั ลูกค้า ใส่ใจทุกดีเทล แม้แต่ตะเข็บซึ่งมองไม่เห็นจาก ข้างนอกด้วยซํา้ และต้องรูจ้ กั ทีจ่ ะพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของเราให้ดีขึ้นเรื่อยๆ” ทุกวันนี้ Boudoir BY DISAYA มีเสียงตอบรับที่ดีขึ้นต่อเนื่อง ดิษยา เห็นต่างว่าวงการแฟชั่นเมืองไทยไม่ได้อยู่ยาก อย่างที่คิด โลกแฟชั่นที่หมุนไวตามเทคโนโลยี ทำ�ให้ผู้คนสนุกกับแฟชั่นและมีสไตล์ของตัวเอง มากขึ้น แม้กระทั่งชุดชั้นใน ชิ้นที่อยู่ข้างในก็ยัง ให้ความสำ�คัญ “สำ�หรับผูห้ ญิงถ้าได้ใส่ชดุ ชัน้ ใน สวยๆ จะรู้สึกมั่นใจจากข้างใน ไม่ว่าอย่างไร เราก็รสู้ กึ ว่าเราสวย สัมผัสจากการสวมใส่สง่ิ ทีใ่ ช้ material (วัสดุ) ดีๆ ก็เติมเต็มความรู้สึกที่ดี เหมือนเราเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีให้กับตัวเอง” Boudoir BY DISAYA LINGERIE BOUTIQUE ชั้น 2 โซนบีคอน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

MALDIVES เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

หาดทรายขาวสะอาดและหมู่ปาล์มเขียวครึ้มตัดกับนํ้าทะเลฟ้าสด ชีวิตใต้ท้องทะเลที่ทั้งสมบูรณ์ และอุดมด้วยสีสัน บวกกับความสะดวกสบายของหมู่บังกะโลทั้งบนบกและบนผืนนํ้าที่เคล้าเสียง เกลียวคลื่นซัดสาดดุจกำ�ลังขับกล่อม หมู่เกาะมัลดีฟส์ จึงเป็นดั่งสวนสวรรค์เขตร้อนและจุดหมาย ปลายทางยอดนิยมของคูร่ กั คูส่ มรสผูห้ วังจะมาดืม่ นํา้ ผึง้ พระจันทร์ รวมทัง้ นักท่องเทีย่ วทีพ ่ ร้อมจะ หลงลืมตนท่ามกลางธรรมชาติแสนบริสุทธิ์

24 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556


© Sakis Papadopoulos/Robert Harding World Imagery/CORBIS

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

มุกงามกลางมหาสมุทร

มัลดีฟส์ประกอบขึน้ จากเกาะน้อยใหญ่ 1,190 เกาะทีโ่ อบล้อมด้วยทะเลสาบ นํ้าเค็มสีครามอ่อนเข้มหลากเฉด รวมเป็น “อะทอลล์ (Atoll)” หมู่เกาะ รูปทรงวงแหวนทีเ่ กิดจากซากปะการังทับถมจนเกิดเป็นแผ่นดิน คงไม่ผดิ นัก ถ้าจะกล่าวว่ามัลดีฟส์ได้อานิสงส์จากภูมิประเทศเฉพาะตัวเช่นนี้อย่าง เต็มที่ เมื่อตัดสินใจเริ่มลงทุนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวช่วงทศวรรษ 1970 ด้วยการเปิดสัมปทานให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาบุกเบิกทำ� ทีพ่ กั บนเกาะซึง่ ไม่มผี คู้ นอยูอ่ าศัยในแบบ “หนึง่ เกาะหนึง่ โรงแรม” ในกลุม่ อะทอลล์ 10 แห่ง จากทั้งหมด 26 แห่ง ซึ่งนั่นได้พลิกเศรษฐกิจของ ประเทศที่เคยขึ้นกับการทำ�ประมงไปอย่างสิ้นเชิง ภายหลังการเปิดให้บริการของรีสอร์ตแห่งแรกชื่อ คูรุมบา วิลเลจ รีสอร์ต (Kurumba Village Resort) บนเกาะบันโดส (Bandos Island) ในมาเล อะทอลล์ (Male Atoll) เมื่อปี 1972 จำ�นวนของ “เกาะโรงแรม” ได้เพิ่มขึ้นจากเพียง 2 เกาะเป็น 99 เกาะในปี 2012 ซึ่งรวมถึง “ดุสิตธานี มัลดีฟส์” รีสอร์ตหรูสญั ชาติไทยเครือดุสติ ธานีบนเกาะมุดดูห์ (Mudhdhoo Island) ในบาอะทอลล์ (Baa Atoll) ที่เพิ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อ กันยายนที่ผ่านมา แม้ความหลากหลายของกิจกรรมทางนํ้า ไม่ว่าจะเป็น การดำ�นํ้าชมแนวปะการังและปลาเขตร้อน การเล่นกระดานโต้คลื่น หรือ การแล่นเรือชมฝูงโลมาตามธรรมชาติจะเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ช่วยดึงดูด นักท่องเทีย่ ว แต่ความเงียบสงบและทัศนียภาพงดงามแบบลืมหายใจของ ท้องทะเลใสและหาดทรายสีขาวสวยที่สัมผัสได้รอบทิศทางกลับเป็นสิ่ง สำ�คัญยิ่งกว่าที่ทำ�ให้มัลดีฟส์ยังคงสถานะความเป็นแหล่งตากอากาศสุด โรแมนติกซึ่งได้รับการการันตีโดยสื่อท่องเที่ยวหลายสำ�นักทั่วโลก “จริงๆ ก็เหมือนถูกบังคับด้วยพืน้ ที่ เพราะหนึง่ เกาะมีแค่โรงแรมเดียว” นักท่องเทีย่ วชาวไทยซึง่ เพิง่ เดินทางกลับจากมัลดีฟส์กล่าว “แต่ส�ำ หรับเรา มันเหมือนครั้งหนึ่งในชีวิตจริงๆ ที่ไปกินบรรยากาศ ได้ว่ายนํ้า มีเวลาอยู่ ด้วยกันมากขึ้น คนทำ�งานส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้เวลาด้วยกันเท่าไหร่ ถ้าไป เที่ยวที่อื่นเราอาจจะแยกกันไปเดินเที่ยวหรือช้อปปิ้งบ้าง แต่ถ้าที่นี่ก็ได้อยู่ ด้วยกันตลอด” ต้องขอบคุณธรรมชาติอันงดงามยากจะหาที่ใดเทียม ซึ่งได้รับการ ดูแลรักษาอย่างดี และที่พักที่พรั่งพร้อมด้วยสาธารณูปโภคครบครัน เป็นสัดส่วนที่ช่วยสร้างบรรยากาศชวนให้ผ่อนคลายเหมาะแก่การพัก ผ่อนอย่างเป็นส่วนตัว เพราะเพียงครึ่งปีแรกของปี 2012 มัลดีฟส์ก็ได้ ต้อนรับนักท่องเที่ยวกำ�ลังซื้อสูงไปแล้วถึง 458,068 คน ด้วยค่าใช้จ่ายต่อ หัวที่อาจสูงถึง 700 เหรียญสหรัฐฯ ต่อวัน ในที่พักซึ่งอาจแพงลิ่วได้ถึง 1,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อคืน โดยแม้ชาวยุโรปจะยังคงครองส่วนแบ่งตลาด มากที่สุดถึงร้อยละ 59.9 แต่ชาวจีนก็ครองส่วนแบ่งตลาดไปถึงร้อยละ 30 เลยทีเดียว มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นกำ�ลังหลักในการขับเคลื่อน หมู่เกาะกลางมหาสมุทรอินเดียแห่งนี้ โดยสร้างทั้งงานและรายได้ให้แก่ ผู้คนในท้องถิ่น และกินสัดส่วนไปถึงร้อยละ 28 ของรายได้ประชาชาติ นอกจากนี้รายได้จากภาษีกว่าร้อยละ 90 ยังมาจากภาษีนำ�เข้าและภาษีที่ เกีย่ วข้องกับการท่องเทีย่ วทัง้ หมด นับว่าไม่เลวเลยสำ�หรับประเทศทีจ่ ดั ว่า เล็กที่สุดในทวีปเอเชียด้วยประชากรเพียง 320,000 คน และเคยเป็น ที่รู้จักจากสินค้าจำ�พวกหอยเบี้ย เชือกใยเปลือกมะพร้าว ไขปลาวาฬ ปลาทูน่า ปลาทะเลตากแห้ง และมะพร้าวทะเล (Coco de Mer) อีกฝากฝั่งของสรวงสวรรค์

stockphototops.blogspot.com

แม้ มั ล ดี ฟ ส์ จ ะได้ รั บ การขนานนามว่ า เป็ น ดั่ ง ภาพฝั น ของหาดทราย สายลม และแสงแดดอุ่นๆ ที่กระตุ้นเร้าอารมณ์ความรู้สึกได้ถึงขีดสุด ด้วยรีสอร์ตหรูทพ่ี ร้อมต้อนรับนักท่องเทีย่ ว แต่อกี ด้านหนึง่ มัลดีฟส์คอื ประเทศ มุสลิมที่ยากจนและเข้มงวดกับกฎระเบียบทางศาสนาอย่างยิ่ง เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ทุกชนิดไม่ได้รับอนุญาตให้นำ�เข้าไปในประเทศ บิกินีและการ แต่งกายล่อแหลมทุกรูปแบบไม่เป็นที่ต้อนรับในมาเล (Male) เมืองหลวง ของมัลดีฟส์ที่ยังคงเคร่งครัดในขนบธรรมเนียมและประเพณีดั้งเดิมอย่าง สุดกู่ กันยายนที่ผ่านมา สำ�นักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานข่าวว่าสาววัย 16 ปี ถูกลงโทษโบยในทีส่ าธารณะหลังสารภาพว่ามีเพศสัมพันธ์กอ่ นแต่งงาน กับชายหนุ่มวัย 29 ปี โดยฝ่ายหลังถูกพิพากษาจำ�คุกเป็นเวลา 10 ปี นอกจากนี้ยังมีข่าวว่ากลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงได้ทุบทำ�ลายโบราณวัตถุทาง ศาสนาพุทธและฮินดูซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสตกาลจำ�นวน 35 ชิ้น

26 l

Creative Thailand

ที่เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมัลดีฟส์ลงอย่างราบคาบ นอกเหนือจากแรงงานในกลุม่ อุตสาหกรรมท่องเทีย่ วแล้ว นักท่องเทีย่ ว ชาวต่างชาติแทบจะหมดสิทธิม์ ปี ฏิสมั พันธ์กบั ชาวพืน้ ถิน่ เมือ่ เกาะโรงแรม แต่ละแห่งไม่มชี าวมัลดีเวียนอาศัยอยูเ่ ลย บนเกาะมาเลอาจเป็นโอกาสเดียว ทีน่ กั ท่องเทีย่ วจะมีโอกาสได้ท�ำ ความรูจ้ กั กับชาวท้องที่ แต่การกระทำ�ดังกล่าว ก็ไม่เป็นที่แนะนำ� การกดขี่และการริ​ิดรอนสิทธิมนุษยชนยังคงเป็นปัญหา สำ�คัญในมัลดีฟส์ ประเทศที่ยังคงคุกรุ่นไปด้วยความไม่สงบทางการเมือง ภายหลังการสิน้ สุดของยุคเผด็จการของอดีตประธานาธิบดีเมามูน อับดุล กายูม ที่ครองแดนสวรรค์แห่งนี้มานานกว่า 30 ปี เห็นได้ชัดจากภาพ ตำ�รวจและทหารซึ่งกวาดล้างกลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกมาประท้วงอย่างสันติ ด้วยการใช้ก�ำ ลังรุนแรงตามคำ�สัง่ ของโมฮาเหม็ด นาชีด อดีตประธานาธิบดี คนก่อนเมื่อกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ภายหลังเหตุการณ์สึนามิในปี 2004 ซึ่งสร้างมูลค่าความเสียหาย มากกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ระบบสาธารณูปโภคบนเกาะ 57 เกาะของ มัลดีฟส์เสียหายอย่างหนัก เกาะ 14 เกาะต้องสั่งอพยพฉุกเฉิน ในขณะที่ เกาะ 6 เกาะถูกทำ�ลายลงอย่างสิ้นเชิง และเกาะโรงแรมทั้งสิ้น 21 แห่ง ต้องปิดกิจการเพราะเสียหายเกินกว่าจะเยียวยา โดยมีเกาะเพียง 9 เกาะ เท่านัน้ ทีร่ อดพ้นจากคลืน่ สูง ความสงบงามของหมูเ่ กาะปะการังต้องปัน่ ป่วน ชาวมัลดีฟส์ถูกปลุกให้ต่นื มารับรู้ความจริงที่ว่าพวกเขากำ�ลังอยู่บนผืนดิน ที่สูงจากระดับนํ้าทะเลเฉลี่ยเพียง 1.5 เมตร แต่มัลดีฟส์ยังมุ่งมั่นพยายาม ทีจ่ ะกูช้ อ่ื เสียงด้านการท่องเทีย่ วให้กลับมาอีกครัง้ ด้วยการดำ�เนินนโยบาย เอาใจใส่ในธรรมชาติและการรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างหนักที่พิสูจน์ แล้วว่าได้ผล หลังยูเนสโกประกาศให้บาอะทอลล์ ซึ่งประกอบด้วยเกาะ อยากจะรักก็ต้องรักษ์ ทุกวันนี้มัลดีฟส์ตั้งเป้าจะรักษาธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นสินทรัพย์หลัก ของประเทศไว้อย่างสุดกำ�ลัง เพือ่ หวังกระตุน้ ให้เกิดโครงการนำ�ร่องด้านการอนุรกั ษ์ ทางทะเลอย่างยั่งยืน ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้กับรูปแบบการบริหารจัดการอะทอลล์ ต่างๆ ต่อไปในอนาคต โมฮัมหมัด วาฮีด ฮัสซัน ประธานาธิบดีคนปัจจุบันแห่ง มัลดีฟส์ได้ประกาศความตั้งใจที่จะทำ�ให้หมู่เกาะทั้งหมดเป็นเขตอนุรักษ์ทาง ทะเลภายในปี 2017 ในที่ประชุมสหประชาชาติ Rio+20 ว่าด้วยประเด็นการ พัฒนาอย่างยั่งยืนเมื่อมิถุนายนปีที่ผ่านมา โดยกล่าวว่า “พันธสัญญานี้สะท้อน ให้เห็นถึงความเคารพที่เรามีต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันเปี่ยมเอกลักษณ์ ของมัลดีฟส์ และเราได้ด�ำ เนินมาตรการต่างๆ เพือ่ ปกป้องแนวปะการัง ทะเลสาบ นํ้าเค็ม เกาะปะการัง และหาดปะการัง รวมถึงจะทำ�ทุกอย่างที่จำ�เป็นเพื่อ รับประกันอนาคตข้างหน้า”

l มกราคม 2556


© Charlie Mahoney/Corbis

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

© Charlie Mahoney/Corbis

กราฟิตี้การเมืองสนับสนุนให้เลือกนายโมฮัมหมัด นาชีด หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่น “อันนิ” นักโทษทางความคิดขององค์กรนิรโทษกรรมระหว่างประเทศบนกำ�แพงริมถนนในเมืองมาเล

เกาะติลาฟูชิ ที่ซึ่งขยะจากเมืองหลวงจะถูกนำ�มาเผาแบบเปิด สวนทางกับนโนบายรักษาเกาะ โรงแรมให้สะอาดและเป็นจุดหมายปลายทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

จำ�นวนทั้งสิ้น 75 เกาะ เป็นเขตสงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) ในกรกฎาคมปี 2011 ในแง่หนึง่ มัลดีฟส์อาจดูลา้ หลังและเข้มงวด อีกทัง้ เสีย่ งต่อการจมหาย ไปในท้องทะเลภายในอีกไม่กี่สิบปี แต่อันที่จริงแล้วจะมีสักกี่คนที่สนใจ เรือ่ งนี้ เมือ่ ธรรมชาติทไ่ี ม่เหมือนใครในโลกและกฎระเบียบอันเข้มงวดของ ชาวเกาะและตัวเมืองเอง ได้ทำ�ให้หมู่เกาะเล็กๆ กลางมหาสมุทรแห่งนี้ ยังคงไว้ซึ่งเสน่ห์ไม่เหมือนใครได้อย่างไม่จืดจาง ชวนให้ผู้บริหารรีสอร์ต น้อยใหญ่เลือกหยิบสินทรัพย์จากธรรมชาติมาเติมเต็มความต้องการของลูกค้า ได้อย่างพอดิบพอดีและสร้างสรรค์ จนนำ�มาซึง่ นิยามของความโรแมนติก ทัง้ มวลทีท่ รงพลานุภาพและสามารถบดบังความเป็นจริงไปได้ชว่ั ขณะหนึง่ ซึง่ ทุกคนต่างก็เต็มใจทีจ่ ะดืม่ ดํา่ กับช่วงเวลาแห่งความสวยงามนัน้ แม้จะ ต้องตืน่ มาพบกับความเป็นจริงทีไ่ ม่อาจหลีกเลีย่ งได้กต็ าม ที่มา: bbc.co.uk chakranews.com dusit.com/dusit-thani/maldives.html tourism.gov.mv presidencymaldives.gov.mv visitmaldives.com มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

W H E N FA S H I O N M E E T S พั น ธ์ ส ร ิ ิ SEX สิริเวชชะพันธ์ เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

พันธ์สิริ สิริเวชชะพันธ์ คือช่างภาพแฟชั่นผู้ครํ่าหวอดอยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็ได้แบ่งแรงบันดาลใจส่วนหนึ่ง มาทำ�ร้านเครื่องประดับสุดเก๋ที่ชื่อว่า “มิสไซล์ (Missile)” และกำ�ลัง จะมีนทิ รรศการศิลปะร่วมกับศิลปินรุน่ น้องอีกสามท่าน เพือ่ ถ่ายทอด มุมมองเกี่ยวกับธรรมะและคำ�สอนของพระพุทธเจ้าในชื่อ “ไม่มีความ จริงใดๆ ในจักรวาล” ซึ่งจะเปิดแสดงในวันที่ 25 มกราคม 2556 ในขณะที่โลกของแฟชั่นสำ�หรับพันธ์สิริคือโลกของการสร้างสิ่งเร้า แต่สิ่งที่ทำ�ให้เขารู้สึกท้าทายระหว่างอาชีพที่รักและความเชื่อส่วนตัว ก็คือ จะทำ�อย่างไรให้โลกแห่งแฟชั่นที่แสนฉูดฉาดนั้นไม่ขัดกับการ ปฏิบัติธรรม และความเชื่อส่วนตัวที่คิดว่า “คนเราเกิดมาบนโลกนี้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นต่อไป” 28 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

การทำ�งานแฟชั่นช่วงนี้แตกต่างจากเดิมเยอะไหม เราขอใช้คำ�ว่าก่อนและหลังปฏิบัติธรรมดีกว่า ช่วงชีวิตที่เข้าสู่ธรรมะนี่ถือ เป็นจุดเปลีย่ น รูส้ กึ เลยว่าชีวติ เราเปลีย่ นจากหน้ามือเป็นหลังมือ ช่วงก่อน หน้านี้ก็ทำ�งานตามอารมณ์ แต่หลังจากพยายามศึกษา ทำ�ความเข้าใจ และทำ�ภาวนา มันช่วยเยียวยาจิตใจได้เยอะ ทำ�ให้มองโลกอีกด้านหนึ่ง และทำ � ให้ เ รารู้ สึ ก ว่ า ความสุ ข มั น เข้ า มาหาตั ว เราได้ ง่ า ยขึ้ น มากกว่ า แต่ก่อน แต่แฟชั่นคือสิ่งเร้า แรงกระตุ้น และความปรารถนา ซึ่งน่าจะขัดกันกับ สิ่งที่ปฎิบัติในปัจจุบัน เหมือนจะต้องขัดแย้งกันนะ แต่เราแยกจากกันได้ เมื่อไรที่เราทำ�งาน แฟชัน่ เราต้องการสร้างสิง่ เร้า ต้องการสร้างความโป๊เปลือย เราก็หลีกเลีย่ ง ไม่ได้ที่จะต้องเป็นรูปที่มันเซ็กซี่หรือเสียวสักนิด เราก็จะทำ�อยู่ในลิมิต ซึ่ง จริงๆ ลิมิตของเราก็ค่อนข้างแรง แต่มันก็ไม่ใช่ลิมิตที่มันซี้ดอุยซะจน อยากเข้าไปโบ๊ะด้วย คือถ้ารสมันต้องออก มันก็ต้องออก แต่เราก็คงไป ไม่ถึงขั้นที่มันอนาจารหรือเป็นภาพโป๊ที่เสื่อม สำ�หรับเราการสร้างภาพ แฟชั่นเหมือนเป็นการกระตุ้นให้รู้สึกว่า เฮ้ย... มันท้าทายและอยากมาดู เหมือนสร้างแรงขับเท่านั้นเอง ไม่ได้ไปทำ�ให้มันรู้สึกกลายเป็นกระตุ้น อารมณ์ทางเพศ แค่ทำ�ให้รู้สึกว่าองค์ประกอบของภาพที่เราเห็นมันน่าตื่น เต้น มันน่าจะไปทางความรู้สึกว่าสะใจมากกว่า มันขึน้ อยูก่ บั ว่า ณ ปัจจุบนั ขณะนัน้ เราทำ�อะไร ถ้าเราเลือกทีจ่ ะสร้างสิง่ เร้า ก็ทำ�ให้มันเร้าใจไปเลย แต่ถ้าเกิด ณ ขณะนั้น เราอยากที่จะพัก เรา ก็พักให้สบายใจไป แต่ถ้า ณ ขณะนั้น เราอยากสร้างแรงบันดาลใจให้กับ คน ก็ทำ�สิ่งนั้นให้ถึงที่สุด

มกราคม 2556

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

งานส่วนใหญ่ของคุณมักจะไม่โป๊เปลือยแต่เต็มไปด้วยความรู้สึก ปัญหาของเราตัง้ แต่เด็กๆ ตัง้ แต่ท�ำ งานมา เราถ่ายรูปโป๊ไม่เป็น เคยจะทำ� แล้วก็เคยมีคนให้ท�ำ ก็ไม่เคยทำ� ลองปัน้ ยังไงก็ไม่มา ทัง้ ผูช้ ายและผูห้ ญิง ถ่ายผู้ชายก็ไม่เซ็กซี่ ถ่ายผู้หญิงก็ไม่เซ็กซี่ ทำ�ยังไงให้อยากเข้าไปร่วมเพศ นี่ สำ�หรับเราไม่มี เราทำ�อย่างนั้นไม่เป็น จะทำ�ได้คือทำ�ให้ดูฟิกเกอร์สวย ซึ่งมันจะโน้มเอียงไปทางแฟชั่น ไม่ได้ออกไปในทางอีโรติก เราถ่ายแฟชั่น บางรูปโป๊มาก เห็นนมไปเลย โป๊ไปเลย แต่มันคือการ แสดงให้เห็นถึงร่างกายที่รู้สึกว่าปลดเปลื้องก็ปลดเปลื้อง แต่ไม่ใช่ปลด เปลือ้ งเพื่อที่จะเย้ายวน ปลดเปลื้องเพื่อให้เห็นถึงความสวยของเรือนร่าง คือความสะใจที่ได้ปลดเปลื้อง เซ็กซ์สำ�คัญแค่ไหนในการทำ�งานแฟชั่น สิ่งสำ�คัญน่าจะอยู่ที่แรงขับภายในของผู้สร้าง ว่าจริงๆ ใจตอนนั้นอยาก สร้างสิ่งไหน มีแรงขับในการปลดปล่อยอะไร สำ�หรับเราแล้วมันคือการ ปลดเปลื้องสำ�หรับการสร้างงาน อะไรที่มันเกี่ยวกับเซ็กซ์ มันคือการ ปลดเปลือ้ งทางอารมณ์ สำ�หรับเรา เวลาทำ�งาน อย่างถ่ายรูปไป เราก็ตอ้ ง หยอดความเป็นเซ็กซ์เข้าไป บอกได้เลยว่ามันคือการปลดเปลื้องสิ่งหนึ่งที่ เราอยากเห็น แต่ลึกๆ แล้ว เซ็กซ์คือแรงกระตุ้นให้คนอยู่บนโลกนะ เซ็กซ์คือสิ่งที่ ทำ�ให้เราเกิดความปรารถนาที่จะพุ่งเข้าชนกับสิ่งที่เราพึงพอใจ แต่สิ่งนี้ อันตรายสำ�หรับเราและคนที่อยากจะหลุดจากวงจรนี้ เพราะคนส่วนใหญ่ ที่ยังติดกับวงจรนี้ ก็เพราะยังปรารถนาที่จะพุ่งชน กระหายถึงความ ปรารถนาอันนี้ สำ�หรับเรายิ่งไปให้ไกลจากวงจรแห่งทุกข์ ไปให้ไกลจาก เซ็กซ์ได้มากเท่าไร เรายิง่ สุข แต่มนั ก็หยุดไม่ได้ทจ่ี ะออกมาในผลของงาน เพราะบางทีนี่มันก็คือแรงขับเคลื่อนอยู่ภายในที่เราจะพยายามควบคุม สัญชาตญาณตัวเราไว้อยูด่ ี แต่เมือ่ ไรทีง่ านของเราต้องมีตวั นีเ้ ข้ามารองรับ เราก็ต้องปล่อยให้มันเกิดการปลดเปลื้องตามธรรมชาติ มันคือการปลด เปลื้องโดยการสร้างสิ่งเร้าให้มันรู้สึกกระแทกใจ ใช้มันสำ�หรับสร้างแรง บันดาลใจ ซึ่งแน่นอนว่าขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อย่างไร แล้วเรื่องของ Sex Appeal สำ�คัญไหม เซ็กซ์สำ�หรับเรา หนึ่งคือแรงขับ สองคือความกำ�หนัด สามคือความ ปรารถนา Sex Appeal มันคือแรงขับของความปรารถนา บางคนไม่มี Sex Appeal เลย แต่ก็พยายาม พยายามอยู่นั่นแหละ ทำ�ให้เซ็กซ์ยังไงก็ ไม่เซ็กซ์ หน้าน้องบางคนที่เราถ่ายนี่ ไม่มีความเซ็กซี่อยู่ในตัวเลย ไปยัง ไงก็ไปไม่ถึง แต่น้องบางคนนะ ใส่เสื้อยืดมิดชิดมาก แค่ถ่ายโคลสอัพ หน้าแค่นั้น หน้ามันเซ็กซ์ฉิบหายเลยก็มี มันออกมาเลย เรารู้สึกว่ามันอยู่ ที่ตัวแบบด้วย บางคนมีตรงนั้นมาก ขนาดเราไม่ค่อยรู้สึก แต่เรารู้ว่า ผู้ชายต้องชอบมาก หน้ามันเย้ายวน มันตุ่ย น่าทะนุถนอม น่าเข้าไปจูบ แต่บางคนสวย คม ครบ แต่มันไม่เซ็กซี่ ไม่เย้ายวนใจเลยก็มี 30 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

สำ�หรับเราแล้ว นางแบบแฟชั่นไม่ต้องเซ็กซ์นะ แต่เราอยากได้อะไร ทีม่ นั มากกว่านัน้ เพราะบางทีไม่ท�ำ อะไรมากมันก็มาเอง เซ็กซ์กบั แฟชัน่ บางทีก็เลี่ยงไม่ได้ที่ต้องให้ออกรส แต่ว่าบางทีมันมากเกินไปก็ไม่ใช่อีก เพราะมันก็ไม่ใช่แฟชั่นอีก ก็กลายเป็น Pornography (ภาพโป๊เปลือย) ไป แต่ว่ามันอยู่ที่รสนิยมในการทำ�งานด้วย งานส่วนใหญ่มักได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานศิลปะยุคก่อนหน้า เราเรียนศิลปะมาตั้งแต่เด็กๆ และวิชาที่ชอบมากที่สุดก็คือประวัติศาสตร์ ศิลปะ เพราะฉะนั้นเวลามองงานภาพถ่าย เวลาถ่ายคน บางทีอดไม่ได้ที่ เราต้องไปนึกถึงภาพที่เราติดตามาตั้งแต่เด็กๆ ภาพที่เราเห็นในงาน จิตรกรรมสมัยเรอเนสซองซ์โบราณ ภาพฟิกเกอร์ต่างๆ ที่เคยทำ�มาแล้ว หรืองานเซอร์เรียลที่มี Deformed (ผิดส่วน) ก็ตาม มันก็คือภาพคุ้นตาที่ เรานำ�กลับมาใช้ตามธรรมชาติ มันไม่ได้แบบเปิดๆ ออกมาแล้วแบบจะเอา แบบนี้ เป็นภาพที่เราคุ้นตาแล้วเราดึงเอามาใช้อย่างอัตโนมัติเท่านั้นเอง มีกระบวนการนำ�มาใช้งานอย่างไร สำ�หรับเรามันแค่การขอยืมเท่านั้นเอง ยุคที่เราดำ�รงชีวิตอยู่ตอนนี้ ไม่รู้ จะหาคำ�จำ�กัดความกับศิลปะในยุคๆ นี้ว่าคืออะไร สิ่งหนึ่งที่เราติดมา มันก็มาจากภาพจำ�ที่ผ่านมา การขอยืมอิมเมจที่เราเคยเห็น จากหนัง จากทีวี จากหนังสือ จากสิ่งที่เราเคยเจอ แล้วก็เอามายำ� มาผสม ทำ�ให้ ความแข็งแรงของตัวเราค่อนข้างชัดเจน การหยิบยืมสิ่งที่เราคุ้นตาเอามา เล่าใหม่ มาผสมใหม่ ก็เป็นแรงกระตุ้นที่เราสร้างความคุ้นตานี้ออกมาได้ เท่านั้นเอง เราชอบคำ�คำ�หนึ่งของ แอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) ในการทำ�งาน นั่นก็คือเดจาวู (Dejavu) คือ Repeat Repeat Repeat (ซํ้าๆ) อย่างครั้งหนึ่ง เราถ่ายรูปอยู่ที่ปารีส สไตลิ่งมาเป็นสูทเนี้ยบๆ พอ นางแบบแต่งตัวมาเสร็จปุบ๊ เห็นปุบ๊ เราก็นกึ ถึง Le Smoking ของอีฟแซงต์ โลรองต์ (Yves Saint Laurent) เป็นโฆษณาที่นางแบบบอยลุคใส่สูทยืนอยู่ ใต้เสาไฟฟ้า เราก็แบบ ใช่ Le Smoking Attitude คือเราไม่ได้คิดว่าจะทำ� Le Smoking ตั้งแต่แรก แต่ ณ ตอนนั้น มันใช่ มันก็คือการสร้างภาพ คุน้ ตา แล้วเราว่ามันคือความเร้าใจของคนที่มองงานประวัติศาสตร์ การถ่ายภาพคนกับสิ่งของให้เร้าใจนี่แตกต่างกันไหม การถ่ายภาพแฟชั่น การถ่ายภาพคน ก็กลับมาที่การสร้างสิ่งเร้า กลับมา ที่โพสต์โมเดิร์น มันเป็นโลกเดียวกันทั้งหมดแฟชั่น Fine Art งานโฆษณา ทุกอย่าง แฟชั่นก็สามารถเป็นงาน Fine Art ที่ดีได้ งานกราฟิกบางงานก็ กลายเป็นงาน Fine Art ที่ดีได้ ถ้าคุณมีแรงจูงใจหรือว่าแรงขับ ถ้าโลกของเรามีคำ�ว่าแฟชั่นเป็นโจทย์ มีคำ�ว่า Mode (ทันสมัย) มา เป็นโจทย์อีกคำ�หนึ่ง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยนี่คือคำ�ว่าเชยและเอาต์ ถ้าคุณ


เซ็กซ์กบั แฟชัน่ บางทีก็เลี่ยงไม่ได้ ที่ต้องให้ออกรส แต่ว่าบางทีมันมากเกิน ไปก็ไม่ใช่อีก เพราะมันก็ไม่ใช่ แฟชั่นอีก ก็กลายเป็น Pornography (ภาพโป๊เปลือย) ไป ทำ�งานกราฟิกแล้วตัวอักษรที่คุณใช้เชยแล้วนี่ ก็เชย มันก็ไม่เร้าใจแล้ว ก็ ไม่มีเซนส์ของแฟชั่นเข้ามาใส่ ถ้าคุณทำ�งาน Fine Art ทีแปรงที่เคยเขียน แล้วเขียนอีกจนมันรู้สึกสร้างแล้วเบื่อ ทำ�แล้วเบื่อ มันก็จะไม่ได้สร้างแรง ให้จิตใจเราอยากที่จะแสดงออกอีกแล้วนี่ มันคือความน่าเบื่อแล้วนี่ มันก็ คือความน่าเบื่อ สำ�หรับเราแฟชั่นไม่ใช่เรื่องเสื้อผ้า ไม่ใช่เรื่อง Runway Show แต่มัน คือสิ่งที่ทำ�ให้เรารู้สึกเร้าใจและก็เป็นแรงขับ แต่ตราบใดที่เรายังทำ�ให้ทีม งานรู้สึกตื่นเต้น นางแบบที่อยู่กับเราหัวใจเต้นแรงปังๆๆๆ แล้วมีจุดร่วม เดียวกับเราไปได้แล้วนี่ มันสนุก เขาเร้าใจ เราเร้าใจ คนทำ�งานเร้าใจ งานชิ้นนั้นมันก็แฟชั่นแล้ว นั่นก็เปรี้ยวปรี๊ดแล้ว แต่ถ้าในขณะที่ทำ�ตัวเรา ยังนั่งหลับ คิดว่าเมื่อไรจะเสร็จสักที นางแบบก็เบื่อ ช่างแต่งหน้าก็เบื่อ สไตลิสต์ก็เบื่อ ทำ�แบบให้มันเสร็จๆ ไป เช่นเดียวกันถ้าขณะทำ�งาน Fine Art แล้วคุณก็ยังไม่อยากทำ� เพื่อนที่เห็นก็รู้สึกเบื่อ งานก็จะออกมาไม่ดี หมายความว่างานที่เร้าใจขึ้นอยู่กับผู้สร้างงาน เราว่ามันน่าจะมาจากแรงปรารถนาของคนสร้างงาน ต้องกลับมามองว่า ในขณะที่เราทำ�งาน เราทำ�มันอย่างน่าเบื่อหรือเปล่า หรือทำ�ด้วยใจที่มัน มีแรงขับ ต้องการจะสะบัดออกจริงๆ ถ้าเรารู้สึกตื่นเต้นในการทำ�งานได้ นั่นก็ดีมากแล้ว คือถ้าเหตุมันมาทำ�ให้เราตื่นเต้นได้แล้ว ผลที่ส่งไปให้คน ได้รับยังไง คนได้รับก็ต้องตื่นเต้น ส่วนใหญ่เวลาได้ทำ�งานกับสไตลิสต์คู่ใจเมื่อนั้นเราจะมีความสุข มาก เราว่าถ้าเราทำ�งานกับคนที่ส่งพลังมาเยอะๆ เนี่ย มันช่วยส่ง แล้ว มันสมูทมาก มองตาแล้วเข้าใจว่าเราอยากได้อะไรกัน

ต้องกลับมามองว่าในขณะที่เราทำ�งาน เราทำ�มันอย่างน่าเบื่อหรือเปล่า หรือทำ�ด้วยใจที่มันมีแรงขับ ต้องการจะสะบัดออกจริงๆ ถ้าเรารู้สึกตื่นเต้นในการทำ�งานได้ นั่นก็ดีมากแล้ว


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

แล้วแบ่งงานกันทำ�อย่างไรกับสไตลิสต์ เราจะไม่ก้าวก่ายในวิธีการเอาเสื้อมากรูมมิ่งของเขาเลย เราจะรู้สึกว่าเรา แบ่งงานกันไป แบบกรูมมิ่งมา จัดมาถึงปุ๊บ เราก็จะจัดส่งไปให้ในที่ที่มัน ควรไป คือต้องมานั่งคุยกันก่อน ว่าในเซ็ตนี้เราอยากทำ�อะไร สร้างอะไร ทิศทางไปทางไหน ถ้าทิศทางมาแล้ว บอกจะไปญี่ปุ่น เอเชียลุคนิดหน่อย เราก็จะส่งต่อแล้วทัง้ ในทิศทางไลต์ตง้ิ ทิศทางเซ็ตอัพ และลุคของนางแบบ ว่าจะไปทางไหน แต่ถา้ เขามีอาร์ต ไดเร็กชัน่ มาแล้วว่าเป็นยังไง เราก็ตอ้ ง มาปั้นให้ออกมาบนกระดาษว่างๆ 8 หน้า 12 หน้า ทำ�ยังไงให้คนเปิดมา แล้วเห็นแรงบันดาลใจ เห็นแล้วกระแทกใจ แค่นั้นเอง ซึ่งเราสนุกกับการ ทำ�งานตรงนี้ สร้างสิ่งเร้าให้คนรู้สึกได้รับแรงบันดาลใจกลับไปด้วยนี่ อย่างน้อยเราก็รู้สึกชื่นใจแล้ว แบบเปิดมาแล้วมันมันโว้ย ส่วนใหญ่พอเราถ่ายรูปเสร็จปุ๊บ เราก็จะให้น้องแยกไฟล์ไว้ แล้วเราก็ จะมาเทียบกับอีกรูปว่าควรอยู่ด้วยกันหรือเปล่า หรือว่าควรจะปูหน้าคู่ สองหน้า มันก็เหมือนการพยายามใช้พื้นที่ 12 หน้านี้เล่าเรื่องให้สนุก มัน ไม่ใช่รูปนี้จบรูปนี้ แต่มันต้องต่อกันดูไปด้วยกันทั้งเซ็ต ระหว่างถ่ายไปก็

ต้องคิดไปด้วย การทำ�งานที่สนุกมันคือการทำ�งานร่วมกับคนอื่นด้วย ซึ่ง ถ้าเราค่อนข้างให้อิสระเวลาทำ�งานร่วมกัน เขาก็จะสนุกแล้ว อะไรที่ทำ�ให้คุณมายืนตรงจุดนี้ได้ เราว่าคำ�ว่าไม่ประนีประนอม หลายๆ คนทีเ่ ราเห็นถ้าไม่มจี ดุ ยืนและประนี ประนอมกับคนที่ไม่แข็งแรง ตัวเขาก็จะถอยลงไปด้วย แต่ถ้าเรามีจุดยืน ที่แข็งแรงแล้ว เรารู้ว่าเราอยากได้อะไรนี่ ทำ�ออกไปมันก็จะชัดเจน พอรูป ถ่ายที่มันออกมา มันก็จะเห็นว่ามันแข็งแรง ถึงแม้ว่ารูปไหนที่ต้องการให้ มันเบา มันก็จะเบาอย่างทิศทางที่มันควรจะไป แต่มันไม่ใช่โบ๋จนแบบ ไม่มีอะไรเลย เราว่ามันคือการแข็งแรงกับการมีตวั ตน คนเปิดมาแล้วเห็นเลยว่านีค่ อื พันธ์สิริ คือเรามีลายเซ็น และนี่คือสิ่งที่ช่างภาพรุ่นใหม่จะต้องมี ถ้าคุณ เป็นใครก็ได้ เขาก็จ้างใครก็ได้

เพลงที่ชอบฟัง ชอบฟังเพลงและใช้มันในการทำ�งานบ่อยมาก สิ่งหนึ่งที่เราขาดไม่ได้เลย คือมู้ดในการทำ�งาน บางทีพี่อาละวาดใส่ผู้ช่วยด้วยซํ้าเวลาที่ทำ�งานแล้ว ปล่อยให้สเปซมันว่าง ปล่อยให้เวลาในการทำ�งานนั้นเงียบ เพราะเวลา มันเงียบแล้ว ตัวเราไม่มีมู้ด นางแบบไม่มีมู้ด คนทำ�งานไม่มีมู้ด น่าเบื่อ ทันที เพลงช่วยเราในการทำ�งานได้มาก บางวันเราอยากได้งานที่มัน ซอฟต์และเบา เราเปิดเพลงไทยรุ่นแสนแสบออร์เคสตรา อะไรอย่างนี้เลย แต่เมื่อไร เราต้องการความเป็นร็อก ความไม่ประนีประนอม เราจะสั่งให้ เปิดเพลงให้หนวกหูที่สุด แล้วมันจะเกิดการกระตุ้นให้เกิดแรงขับในการ ทำ�งาน เพลงเป็นสิ่งที่เราจำ�เป็นต้องมีในการสร้างรสในการทำ�งาน

ช่างภาพคนโปรด ช่างภาพที่เราชอบเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับว่าตอนนี้เราไปทางไหน ตอนเด็กๆ ที่เคยชอบก็มี ฌาค อองเดร ลาร์ตีคร์ (Jacques Henri Lartigue) นิก ไนต์ (Nick Knight) ตอนโตมาก็ชอบ ทิม วอล์กเกอร์ (Tim Walker) บางทีก็แอบชอบ เยอร์เกิน เทลเลอร์ (Juergen Teller) แต่ เทียรี่ ริชาร์ดสัน (Terry Richardson) นี่ ไม่เคยชอบเลย ไม่เข้าใจว่าจะถ่ายรูปจู๋ ตัวเองทำ�ไม แต่ถ้าถามถึงแรงบันดาลใจ เมื่อก่อนก็มาจากช่างภาพ แฟชั่น แต่เดี๋ยวนี้นี่ บางทีมาจากช่างภาพที่ถ่ายแลนด์สเคป ซึ่งมันมีส่วน ในการทำ�งานได้เหมือนกัน 32 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

สถานที่ที่เลือกไป ชอบเดินทางคนเดียว ชอบไปอินเดีย คำ�หนึ่งที่ได้จากการเดินทางไป อินเดีย คือ Overwhelmed with Culture มันเต็มไปด้วยอารยธรรม โบราณ ครั้งแรกที่ไปไจปูร์ มองไปมีแต่ทะเลทราย สวยมาก ขนลุกไม่ หยุดจนถึงทุกวันนี้ เพราะพอข้ามเขาไป ก็เจอกับต้นโพธิ์ขนาดใหญ่และ ฤาษีนั่งอยู่ มันเหมือนกับโลกมันหยุดอยู่ตรงนั้นเมื่อสองพันปีที่แล้ว แล้ว ทำ�ให้เรารู้สึกถึงมนต์ขลัง การเดินทางทำ�ให้เราเจอแรงบันดาลใจ การเดินทางไม่ได้อยูท่ จ่ี ดุ หมาย การเดินทางไม่ได้อยู่ที่สิ่งที่เราจะไปถึง จุดหมายที่จะไปถึงสวยหรือเปล่า ก็ไม่รู้ จะไปถึงได้ดั่งใจหรือเปล่าก็ไม่รู้ สิ่งที่ถึงเป็นยังไงก็อยู่ที่อนาคต อยู่ ตรงนี้ ณ ปัจจุบันขณะตรงนี้ โมเมนต์ที่เรายืนอยู่ ณ จุดนี้สำ�คัญที่สุดแล้ว



© facebook.com/pages/Sex-Ed-The-Musical

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

รเพลง

เมื่อเซ็กซ์ถูกเล่าผ่านละค เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

แค่ค�ำ ถามทีว่ า่ “แม่จา๋ หนูเกิดมาได้ยงั ไง” ก็อาจกลายเป็นคำ�ถาม น่าหนักใจสำ�หรับพ่อแม่ผู้ปกครอง รวมถึงครูบาอาจารย์ ในการ เลือกสรรคำ�ตอบที่เหมาะสมในการให้ความรู้เรื่องเพศแก่เด็กๆ

เพราะแม้แต่ประเทศตะวันตกที่วัฒนธรรมและสังคมค่อนข้างจะเปิดกว้าง อย่างสหราชอาณาจักรเอง ก็ยงั ต้องเผชิญกับปัญหาในการสือ่ สารเรือ่ งเพศ โดยเฉพาะกับเด็กและวัยรุ่น สำ�นักข่าวอังกฤษ เดอะ การ์เดียน ระบุว่า ผู้ปกครองในสหราชอาณาจักรจำ�นวนมากขาดทักษะในการพูดคุยและ อธิบายเรือ่ งเพศให้เด็กฟัง ในขณะทีค่ รูมกั จะรูส้ กึ อึดอัดและไม่แน่ใจว่าควรจะ กำ�หนดท่าทีของตนเองอย่างไรเมือ่ นักเรียนตัง้ คำ�ถามในประเด็นทีล่ อ่ แหลม เช่นเรื่องเพศและยาเสพติด ยิ่งไปกว่านั้น จากผลการสำ�รวจในปี 2008 ยังพบว่า ในบรรดาประเทศยุโรปทัง้ หมด สหราชอาณาจักรมีสถิตกิ ารตัง้ ครรภ์ และทำ�แท้งในวัยรุ่นสูงที่สุด โดยในปี 2009 มีวัยรุ่นอายุระหว่าง 16-19 ปี เพียงร้อยละ 57 เท่านั้นที่มีการป้องกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และปี 2010 พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นหญิงอายุตํ่ากว่า 18 ปีสูงถึง 4 คนจาก 100 คน นอกจากนี้ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในคนรุ่นใหม่ก็ยังมีอัตรา เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ บริษทั เขียนบทและผลิตละครเวที เอาท์ ไรท์ โปรดักชันส์ (Out Write Productions) ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2011 โดย เอมิลี สนี (Emily Snee) และ อิโซเบล วูลฟ์ (Isobel Wolff) บัณฑิตวัยยีส่ บิ ต้นๆ จากโรงเรียนสอนการแสดง อีสท์ ฟิฟทีน (East 15 Acting School) แห่งมหาวิทยาลัยเอสเส็กส์ (University of Essex) จึงตั้งต้นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเพื่อนวัยใส ด้วยกัน ด้วยการหยิบเอาประเด็นทางสังคมทีเ่ ปราะบางและถูกละเลย หรือ ถูกมองว่าเป็นสิ่งต้องห้ามมาคลุกเคล้ากับเสน่ห์ของละครเวที จนได้เป็น เมนูละครที่บริโภคง่าย แต่คุณค่าเต็มเปี่ยมอย่าง “Sex Ed: The Musical!” 34 l

Creative Thailand

l มกราคม 2556

ละครเพลงแนวขบขันความยาวหนึง่ ชัว่ โมงสิบห้านาที ทีพ่ ดู ถึงเรือ่ งราวของ เด็กหนุ่มและเด็กสาวซึ่งกำ�ลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ ร่างกายและอารมณ์ความรู้สึกเมื่อก้าวเข้าสู่วัยรุ่น ผ่านบทละครที่ลงตัว ทัง้ เนือ้ หาสาระและความบันเทิง ตลอดจนบทเพลงประกอบและท่วงทำ�นอง ทีต่ ดิ หู จนได้รบั เสียงตอบรับอย่างล้นหลามจากผูช้ มทุกเพศทุกวัย หลังเปิด ทำ�การแสดงให้เข้าชมฟรีในงานเอดินบะระ เฟสติวัล ฟรินจ์ (Edinburgh Festival Fringe) มหกรรมแสดงผลงานทางศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี ทีผ่ า่ นมา และยังมีแผนเตรียมเดินสายเปิดการแสดงตามโรงเรียนในปีหน้า เพื่อจุดประกายให้เกิดกระแสการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องเพศในวงกว้าง โดยหวังว่าจะนำ�ไปสู่ความเข้าใจและการยอมรับข้อเท็จจริงเรื่องเพศที่ เกิดขึ้นในสังคมมากขึ้นกว่าที่เคย “Sex Ed: The Musical!” จึงทำ�หน้าที่ได้ดีมากกว่าแค่การนำ�เสนอ ความบันเทิงอย่างเต็มอรรถรสให้กับผู้ชม แต่ยังสามารถเป็นสื่อการสอน เรือ่ งเพศศึกษาให้แก่เยาวชนได้เป็นอย่างดี ตลอดถึงยังเป็นอีกหนึง่ ตัวอย่าง ของการผสมผสานศิลปะการแสดงที่ช่วยให้ผู้รับสารสามารถเปิดตาดูและ เปิดใจฟังได้อย่างเต็มที่ โดยสามารถก้าวข้ามข้อจำ�กัดต่างๆ ในสังคม เพื่อรับรู้ถึงแก่นสารที่สำ�คัญได้อย่างลึกซึ้งและแยบคายมากที่สุดผลงาน หนึ่งในปัจจุบัน ที่มา: guardian.co.uk guttmacher.org sexedthemusical.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.