ตุลาคม 2556 ปที่ 5 | ฉบับที่ 1 แจกฟรี
THE SUBJECT รอยสัก
CLASSIC ITEM 13
CREATIVE CITY Saint Petersburg
นิทรรศการขนาดย่อม MINI EXHIBITION
3D PRINTING: จุดเปลี่ยนงานออกแบบ 17 SEPTEMBER - 15 DECEMBER 2013 หอ้ งสมุดเฉพาะดา้ นการออกแบบ TCDC Resource Center ชั้น 6 ดิ เอมโพเรียม 10.30 - 21.00 (ปิดวันจันทร์) (66)2 664 8448 #213, 214 เขา้ ชมฟรี 6th FL., The Emporium, 10.30 - 21.00 (Closed on Monday) Free Admission
© Ellen Appel
Leonardo da Vinci was homosexual, so was Michelangelo, Socrates, Shakespeare, and almost every other figure that has formed what we have come to understand as beauty. เลโอนาร์โด ดา วินชี เป็นคนรักเพศเดียวกัน เช่นเดียวกับมิเคลันเจโล โสกราติส เชกสเปียร์ และศิลปินอีกหลายๆ คนที่เป็นผู้สร้างสิ่งที่ทำ�ให้เราเข้าใจความหมายของความงาม
Reinaldo Arenas
จากภาพยนตร์ Before Night Falls ( 2000)
สารบัญ The Subject
6
The Object
7
รอยสัก: การควบคุม การแสดงออก และการตอรองเชิงคุณคา
สงวิญญาณผานรันเวย
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
กลยุทธรับมือตลาดความเชื่อ
รอยเรียงเรื่องดอกไมสไตล PUTRAYA Design by Odds
Saint Petersburg: อดีตขีดเสนปจจุบนั ความยอนแยงอันงดงามและนาหวาดหวัน่
Creative Resource
Featured Book/ Film/ Book/ Film
Matter
10
Classic Item
11
Cover Story
12
HEMP THAI ผาทอจากใยกัญชง
13
TABOO: เมื่อความกลัว บัญญัติสิ่งตองหาม
24
8 The Creative
29
Creative Will
34
ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล: ดอยตุง อดีต-แดนสนธยา ปจจุบัน-แดนสนทนา
Syringes Vending Machine
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกุลพิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, ภาธิดา นาคทอง สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l สุชัญญา อมรนพรัตนกุล, โชติกา คำโม จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ถายภาพปก l กรกฤช เจียรพินิจนันท โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th ชางภาพแฟชั่นและศิลปนที่ทำงานในความแตกตาง พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม บนพื้นที่และเวลาโดยใชสื่อตางๆ เชน ภาพถาย ขอความ ภาพเขียน และสื่อวิดีทัศน ผลงาน: vymanyantra.tumblr.com ภาพปก: Screen Kiss, 2005 นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย ผูออกแบบปก l พิชิต วีรังคบุตร จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ หัวหนาฝายกิจกรรมและนิทรรศการ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
กุญแจ ทันทีที่สี จิ้นผิง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ได้รับการแต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีของ สาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ มาตรการสร้างความเชือ่ มัน่ แก่ชาวจีนก็ถกู นำ�มาใช้ในทุก รูปแบบ การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่นรวมถึงการปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายภาครัฐได้กลายเป็นเรื่องสำ�คัญ ลำ�ดับต้นๆ ของผูน้ �ำ คนใหม่ เพราะจากทีเ่ คยทุม่ ทุนไปกับการสร้างอาคารอย่างมโหฬารและเฟอร์นเิ จอร์ หรูหรา งานเลีย้ งรับรองอลังการ กระทัง่ การจับจ่ายส่วนตัวของผู้ใหญ่ในรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์จนี ทีต่ อ้ งเปลีย่ นไปอย่างสิน้ เชิง และหันมาสูช่ วี ติ ปกติเพือ่ เคียงข้างประชาชนส่วนใหญ่ทย่ี งั ยากจน ข้อห้าม ทีถ่ อื ปฏิบตั นิ ไ้ี ด้รบั การสรรเสริญจากชาวจีนอย่างท่วมท้น แต่กลับร้อนถึงบรรดาบริษทั สินค้าแบรนด์เนม แพงระยับฝัง่ ยุโรปและอเมริกา ทีเ่ หล่าผูบ้ ริหารระดับสูงต้องข้ามนา้ํ ข้ามทะเลมาคารวะผูใ้ หญ่จนี เพราะ ยอดขายตกฮวบฮาบอย่างสิ้นท่า ขณะที่พฤติกรรมการใช้สอยของชั้นเลิศได้กลายเป็นสิง่ ต้องห้ามยุค ใหม่ของผู้นำ�พรรคคอมมิวนิสต์จีน และยังทำ�หน้าที่เป็นเครื่องมือชั้นดีในการกอบกู้ความนิยมให้แก่ รัฐบาลอีกด้วย สิ่งต้องห้ามได้ถูกใช้เป็นกลยุทธ์ทางการเมืองและสังคมมาอย่างยาวนาน ในบางสังคม มันทำ� หน้าที่แบ่งแยกชนชั้นวรรณะ บางชนเผ่าใช้เป็นเครื่องตีกรอบความประพฤติหญิงชาย สัญลักษณ์ ต้องห้ามถูกใช้ในรูปแบบของสีสนั ลวดลาย วัสดุ กระทัง่ กลิน่ แต่ไม่วา่ จะยุคสมัยใด สิง่ ต้องห้ามล้วน ทำ�หน้าทีจ่ ดั ลำ�ดับความสัมพันธ์ของคนในกลุม่ ให้อยูร่ ว่ มกันอย่างราบรืน่ ทีม่ าของการถือปฏิบตั นิ น้ั อาจ เกิดจากความเชื่ออย่างบริสุทธิ์ใจ ความเป็นเหตุเป็นผล หรือความหวาดกลัว จนเมื่อเวลาผ่านไป สิง่ ต้องห้ามก็ได้กลายเป็นส่วนหนึง่ ของชีวติ ไปโดยปริยาย และยิง่ กลุม่ คนนัน้ ๆ มีจ�ำ นวนมากพลังของ สิ่งต้องห้ามก็ยิ่งขยายตัวออกไป แต่ขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของวิทยาการและแนวคิดเสรีนิยม กลับได้พิสูจน์ว่าสิ่งต้องห้ามบางอย่างที่เคยฝั่งหัวอยู่นั้นดูจะไร้ซึ่งเหตุผล งมงาย และละเมิดสิทธิ ส่วนบุคคลเกินกว่าจะต้องยอมรับได้อีก ทีม่ าของสิง่ ต้องห้ามนัน้ อาจไม่ส�ำ คัญเท่ากับผลลัพธ์และอิทธิพลของมัน เพราะแม้โลกจะก้าวลา้ํ ด้วยเทคโนโลยี แต่ความเชือ่ และประเพณียงั คงเป็นส่วนสำ�คัญในชีวติ ผูค้ น ยิง่ ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรม ก็ยิ่งต้องเรียนรู้และเข้าใจต่อสิ่งต้องห้ามเหล่านี้ เพราะท้ายที่สุดแล้ว ผู้คนไม่ได้เพียงแค่อยู่ร่วมกัน แต่ยงั ต้องถ่ายเทแลกเปลีย่ นประสบการณ์ ความรู้ ทรัพยากร เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารสร้างสรรค์ผลผลิตใหม่ๆ ทีจ่ ะใช้ประโยชน์รว่ มกันทัง้ ทางสังคมและเศรษฐกิจอีกด้วย การยอมรับและพึงสังเกตวิถชี วี ติ ประเพณี รสนิยม ด้วยสายตาทีเ่ ปิดกว้าง ไร้อคติ ย่อมเป็นกุญแจสำ�คัญทีช่ ว่ ยให้ขจัดความพร่าเลือนของสังคม อื่นๆ และภาพนั้นจะยิ่งคมชัดขึ้น เมื่อสามารถจับและตีค่ารูปแบบของสิ่งต้องห้ามให้อยู่ในรูปของ การสังเกตพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ในวันนี้ สิ่งต้องห้ามที่เคยทำ�หน้าที่ใช้บังคับอย่างเข้มงวด จึงมีหน้าที่ใหม่เป็นเงื่อนไขและแรง กดดันของนักคิด นักสร้างสรรค์ และนักธุรกิจ ที่จะต้องเอาชนะและแปรเปลี่ยนสิ่งต้องห้ามนี้ ให้เป็นต้นทุนในการปลดปล่อยความสร้างสรรค์ได้อย่างไม่รู้จบ ดังนั้น อย่านิ่งเฉยที่จะทำ�ความรู้จัก และเรียนรู้ที่จะใช้สิ่งต้องห้ามในอีกแง่มุมหนึ่งนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l5
REUTERS/Andrew winning © Gary Knight/VII/Corbis
THE SUBJECT ลงมือคิด
รอยสัก: การควบคุม การแสดงออก และการต่อรองเชิงคุณค่า เรื่อง: วิป วิญญรัตน์
ความคิดเรื่องร่างกายที่ต้องถูกบงการ ควบคุม (disciplined) นั้นมีอยู่ในหลายๆ วัฒนธรรม ซึ่งมักตามมาด้วยกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ข้อห้าม หรือสิ่งที่ต้องกระทำ�แตกต่างกันไปตามแต่บริบททางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และกลุ่มก้อนทางสังคม เช่น ศาสนาหลักๆ ในโลกที่ปฏิเสธความสุข ทางกาย (bodily pleasure) โดยการสร้างข้อห้ามขึ้นมา เช่น ให้อดอาหารบางมื้อ หรือกดทับความต้องการทางเพศ เพื่อไม่ให้นักบวชในศาสนานั้นๆ ไขว้เขวออกจากจุดมุ่งหมายหลักทางศาสนา หรือการ ควบคุมโดยสถาบันของรัฐที่เห็นได้จากการกำ�หนดให้ใส่เครื่องแบบนักเรียน ทหาร หรือตำ�รวจ ไปจนถึงการอ้างอิงถึง “ศีลธรรมอันดีของประชาชน” โดยการห้ามไม่ให้พลเมืองเดินแก้ผ้าตามถนน เช่นเดียวกับ “รอยสัก” ที่เคยถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมร่างกายหรือ จัดระเบียบ อย่างในกรณีของค่ายกักกันนาซีที่ใช้รอยสักในการเรียงลำ�ดับ นักโทษหรือทหารที่ใช้รอยสักเพื่อแสดงถึงหน่วยที่สังกัด แต่อีกด้านหนึ่ง รอยสักก็เป็นเครื่องมือในการแสดงออกในฐานะอัตลักษณ์ของกลุ่มก้อน ที่มักถูกโยงเข้ากับการ “เบี่ยงเบนทางสังคม (social deviant)” เช่น กลุ่มอาชญากร เด็กแว๊น และอันธพาล หรือถูกใช้ในฐานะการตอกยํ้าถึง คุณค่าทางสังคมได้พอๆ กับการเป็นกบฏ เช่น รอยสัก “God save the Queen” ที่ตีความได้มากกว่าความหมายตามตัวอักษร เป็นเพราะยัง สะท้อนถึงการเสียดสีความเป็นอนุรักษ์นิยมของสังคมอังกฤษ หลายครั้งที่รอยสักบนร่างกายยังกลายเป็นสมรภูมิแห่งการต่อรอง ระหว่าง “ข้อห้าม” และ “การแสดงออกอย่างอิสระ” เช่นกรณีของญีป่ นุ่ ที่ รอยสักของยากูซ่าถูกใช้ในการสร้างอัตลักษณ์ของเครือข่ายมาเป็นเวลา ยาวนาน แต่ในปี 2012 นายกเทศมนตรีโอซาก้าจากพรรคขวาจัดกลับริเริม่ นโยบายไม่สนับสนุนให้ลกู จ้างของเมืองมีรอยสัก และร้านค้าหรือทีอ่ าบนาํ้ สาธารณะหลายๆ แห่งในญี่ปุ่นก็เริ่มมีนโยบายไม่ให้บริการลูกค้าที่มี รอยสักเช่นกัน ขณะทีก่ ลุม่ หนุม่ สาวชาวญีป่ นุ่ เองกลับมีความนิยมสักตาม 6 l Creative Thailand l ตุลาคม 2556
ร่างกายในฐานะเครื่องประดับบนเรือนร่างเพื่อแสดงออกถึงความชื่นชอบ ด้านแฟชั่นและการให้คุณค่าทางความงาม ซึ่งทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า สังคมญี่ปุ่นกำ�ลังเผชิญกับการปรับเปลี่ยนการให้คุณค่าและความหมาย ของสั ญ ลั ก ษณ์ ท่ี เ คยมี ม าอย่ า งยาวนาน ทั้ ง ยั ง กลายเป็ น ประเด็ น ที่ท้าทายให้คิดว่า แท้จริงแล้วสังคมที่เคยเคร่งครัดอย่างญี่ปุ่นกำ�ลังปรับ เปลี่ยนมุมมองความเข้าใจที่มีต่อรอยสักไปสู่ความหมายที่ “เป็นกลาง” มากขึ้น ความหมายของรอยสักที่คงทนนั้นจึงอยู่ในสถานะใกล้เคียงกับกฎ ข้อห้ามอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อห้ามทางสังคม วัฒนธรรม หรือศีลธรรมที่ว่า ข้อห้ามทีเ่ คยทรงพลังอย่างมากในยุคสมัยหนึง่ มักเลือนหายไปเมือ่ เงือ่ นไข ทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือสังคมเปลีย่ น และเมือ่ พิจารณาถึงความย้อนแย้ง ในสังคมสมัยใหม่ การจำ�กัดควบคุมทางสังคมนั้นก็ยังคงเกิดขึ้นพร้อมๆ กับความเป็นไปได้ที่จะ “ขบถ” ต่อข้อจำ�กัดเช่นกัน ที่มา: บทความ “In Japan, Tattoos are not just for yakuza anymore.” จาก japansubculture.com, บทความ “Mayor of Osaka launches crusade against tattoos” (17 May 2012) จาก The Guardian, วิกิพีเดีย
© Sretsis
© Sretsis
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
ส่งวิญญาณผ่านรันเวย์
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
บางแห่งเชื่อว่าความตายคือการกลับสู่บ้านที่แท้จริงของดวงวิญญาณ บ้างก็เชื่อว่าความตายคือการสิ้นสุดอันเป็นความจริง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และคนที่ยังอยู่คือฝ่ายที่ต้องหาหนทางในการใช้ชีวิตต่อไปในวันพรุ่งนี้ แต่สำ�หรับพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรมโดดเด่นอย่างเม็กซิโกนั้น ความตายคือการเริ่มต้นใหม่ ไม่ใช่การสูญเสีย ไม่ได้เป็นการพรากจาก และไม่ใช่ความ เศร้าโศก เทศกาล Dia de Muertos (Day of the Dead) ประเพณีต้อนรับ ดวงวิญญาณของบรรพบุรษุ ทีล่ ว่ งลับไปแล้วกลับสูค่ รอบครัว ซึง่ จัดขึน้ เป็น ประจำ�ในช่วงปลายตุลาคมถึงต้นพฤศจิกายนของทุกปีนั้น จะเต็มไปด้วย บรรยากาศแห่งความปิตยิ นิ ดีครืน้ เครงในการต้อนรับดวงวิญญาณทีจ่ ะกลับ มาหาครอบครัว โดยบรรดาสมาชิกในบ้านจะทำ�การตกแต่งแท่นบูชาและ หลุมฝังศพด้วยกากเพชรและดอกดาวเรือง ทัง้ ยังมีขนมหวาน ช็อกโกแลต รูปหัวกะโหลกทีต่ กแต่งด้วยนาํ้ ตาล ริบบิน้ หรือเทียนไขขนาดเล็กเป็นองค์ ประกอบสำ�คัญของงานที่จะขาดไปไม่ได้ และแม้เทศกาลดังกล่าวจะ เกี่ยวข้องกับความตาย แต่ผู้คนที่นั่นต่างก็พูดถึงความตายด้วยความรู้สึก เพลิดเพลินใจ จนถึงขั้นกลายเป็นหัวข้อที่ขบขันซึ่งปรากฏในหลากหลาย รูปแบบทั้งงานศิลปะ วรรณกรรม หรือดนตรี ความอุดมสมบูรณ์ของวัฒนธรรม และมิตคิ วามเชือ่ ในเรือ่ งความตาย ของชาวเม็กซิกนั ทีแ่ สนจะเข้มข้นนี้ ได้กลายเป็นความสดใหม่ ความน่าตืน่ ตาตื่นใจ และเป็นต้นทุนที่สามารถหยิบจับ เลือกใช้ และให้ความหมาย ใหม่สำ�หรับผู้ที่พบเห็นซึ่งมาจากต่างวัฒนธรรม จนเกิดเป็นผลงานการ สร้างสรรค์ให้กับอีกพื้นที่หนึ่งของโลก เช่น เสื้อผ้าคอลเล็กชั่น The New Arrivals โดย Sretsis ที่กล้าหยิบจับเรื่องของความตายมาจัดวางบนเสื้อผ้า
โดยก้าวข้ามทุกข้อจำ�กัดและความเชือ่ ของสังคมไทยทีไ่ ม่นยิ มนำ�เรือ่ งของ ความตายมาเป็นส่วนหนึง่ ในการผลิตเสือ้ ผ้าหรือเครือ่ งแต่งกาย ด้วยการ เลือกสื่อสารสิ่งที่ต้องห้ามของสังคมผ่านการผสมวัฒนธรรมและให้ความ หมายไว้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นการใช้สัญลักษณ์อย่างลวดลายแมวป่า สุนัขจิ้งจอก และนกฮูก บนภาพที่ครึ่งหนึ่งสมบูรณ์และอีกครึ่งที่เหลือเป็น โครงส่วนหัวกะโหลก เพื่อสะท้อนความหมายของเส้นแบ่งที่บางเฉียบ ระหว่างความเป็นและความตาย หรือการบรรจุดอกไม้ลงในตาข่ายที่มัก ถูกใช้เป็นของดูต่างหน้าแทนคนที่จากไปมาใช้ประดับลงบนกระเป๋า ปกเสื้อ หรือชายกระโปรง ไปจนถึงการตีความหมายใหม่ให้กับความตาย ด้วยการเลือกผีเสือ้ มาเป็นสือ่ กลางทีท่ �ำ หน้าทีโ่ อบอุม้ การสูญเสียเพือ่ ขนส่ง ดวงวิญญาณจากโลกทีเ่ ต็มไปด้วยชีวติ สูโ่ ลกทีไ่ ร้ลมหายใจแบบไม่มวี นั หวนคืน วัฏจักรแห่งชีวติ ทีเ่ รียบง่ายแต่งดงามอย่างเรือ่ งของความตายนี้ แม้จะ เป็นเรื่องที่มีความเป็นสากลและเป็นเรื่องปกติธรรมดาของโลก แต่เมื่อถูก นำ�มาสือ่ สารใหม่ภายใต้บริบททางสังคมทีแ่ ตกต่างกัน ก็กลายเป็นวัตถุดบิ ทางความคิดทีม่ คี วามแปลกใหม่และยังสามารถสร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั ธุรกิจ ได้อย่างแท้จริง ที่มา: inside-mexico.com/featuredead, mexicansugarskull.com, sretsis.com ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา
FEATURED BOOK
GAY ART
โดย James Smalls
ตำ�นานการกำ�เนิดมนุษย์ซึ่งปรากฏในภาพอดัมกับอีฟ ชายหญิงร่างกาย เปลือยเปล่าถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งสัญลักษณ์ของการมอบเพศสภาพที่มี เพียงหญิงและชายในคู่ความสัมพันธ์ และถูกใช้เป็นบรรทัดฐานอันพึง ปฏิบตั สิ �ำ หรับโลกใบนี้เรื่อยมา แม้นนั่ จะเป็นความเชือ่ ตามแบบคริสตจักร แต่กลับมีอิทธิพลทั้งต่อสถาบันการปกครองและราษฎรทั่วไป โดยเฉพาะ ในยุคกลางที่กำ�หนดเพศสภาพอย่างเคร่งครัด ถึงขนาดมีตัวบทกฎหมาย พร้อมบทลงโทษทีร่ นุ แรงของการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทัง้ ๆ ทีก่ อ่ น หน้านั้นในสมัยกรีกและโรมันจะเคยมีเรื่องราวความสัมพันธ์ของคนเพศ เดียวกันปรากฏในชิ้นงานศิลปะหลายชิ้น อย่างไรก็ดี แม้ในสมัยเรอเนซองส์ คริสตจักรจะมีบทบาทอย่างมาก ในทุกๆ ด้าน แต่ดา้ นหนึง่ คริสตจักรก็อปุ ถัมภ์วงการศิลปะให้เติบโตผลิบาน จากคำ�สัมภาษณ์ของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรานซิสที่ 1 (Pope Francis I) พบว่าที่จริงแล้ววาติกันนั้นมิได้มีทัศนคติในเชิงลบต่อกลุ่มรักเพศเดียวกัน เท่าไรนัก เห็นได้จากการสนับสนุนศิลปินทีม่ รี สนิยมทางเพศดังกล่าวหลายคน ไม่วา่ จะเป็น อิล โซโดมา (Il Sodoma) ซึง่ แม้แต่นามแฝงของเขาก็ให้ความ หมายถึงการสังวาสระหว่างเพศชายด้วยกัน หรือ เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) จิตรกรชื่อดังซึ่งเคยมีประวัติถูกจับกุมในข้อหามี สัมพันธ์ลบั กับผูช้ ายในช่วงวัยหนุม่ นักวิจารณ์ดา้ นศิลปะให้ทศั นะเกีย่ วกับ St.John the Baptist (1513-1516) หนึง่ ในภาพวาดทีม่ ชี อ่ื เสียงของดา วินชี ว่าใบหน้าเปือ้ นยิม้ อันหมดจดและลอนผมสลวยของนักบุญยอห์น ซึง่ มีเพียง ยอดหญ้าในมือขวาที่สะท้อนสัญลักษณ์ว่าเป็นนักบุญยอห์นนั้นละม้าย คล้ายคลึงกับภาพโมนาลิซา บ้างว่าเดิมทีภาพดังกล่าวเป็นภาพเปลือยและ 8l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
มีการเพิม่ เสือ้ ขนสัตว์ในภายหลัง หรือกระทัง่ มิเคลันเจโล (Michelangelo) ศิลปินผู้มีผลงานมากมายซึ่งวาติกันให้การยอมรับ ก็มักแสดงผลงานที่สื่อ ถึงความหลงใหลในรูปร่างของบุรุษเพศ หนังสือเล่มนี้ร้อยเรียงความงามด้านศิลปะ พร้อมๆ กับมิติและ สถานภาพด้านเพศของกลุ่มคนรักเพศเดียวกันที่ถูกจำ�กัดทั้งจากสังคม ความเชื่อ และศาสนา ศิลปะจึงเป็นช่องทางการสื่อสารหรือการสร้างการ ยอมรับที่กว้างขวาง โดยเล่าเรื่องผ่านลำ�ดับเวลาในประวัติศาสตร์ศิลปะ ตัง้ แต่ยคุ กรีกโรมัน ยุคกลาง อิตาเลียนเรอเนซองส์ ศิลปะเอเชียและอิสลาม ศิลปะในศตวรรษที่ 18-19 กระทั่งศิลปะที่เปิดกว้างขึ้นแบบโมเดิร์นและ โพสต์โมเดิร์น โดยการที่หนังสือเล่มนี้เลือกใช้ชื่อ Gay Art นั้นเป็นเพราะ ในช่วงทศวรรษ 1960-1970 กลุ่มนักกิจกรรมทางสังคมเลือกใช้คำ�ว่า Gay เป็นคำ�แทนกลุม่ คนรักร่วมเพศ เนือ่ งจากคำ�ศัพท์เดิมคือ Homosexual ให้ ความรู้สึกเชื่อมโยงกับทางด้านการแพทย์มากเกินไป รวมถึงคำ�ศัพท์ใหม่ นี้ยังหมายถึงกลุ่มนักกิจกรรมรุ่นใหม่ ที่เติบโตมาพร้อมกับการยอมรับ อิสรภาพด้านเพศมากขึ้น แม้ภายหลังจะมีคำ�ศัพท์ใหม่ๆ อย่างคำ�ว่า Queer เกิดขึ้นก็ตาม การเสพความงดงามทางศิลปะผ่านหนังสือเล่มนีย้ งั ทำ�ให้คอ่ ยๆ มอง เห็นความคลี่คลายในมิติด้านเพศ จากชิ้นงานที่สุ่มเสี่ยงและเป็นเรื่องต้อง ห้ามกลายเป็นชิน้ งานทีเ่ ปีย่ มไปด้วยอารมณ์และความสร้างสรรค์ จนปัจจุบนั หลายชิ้นกลายเป็นผลงานเอกที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และบางชิ้นก็อยู่ ในลิสต์รายชื่องานสะสมของนักสะสมงานศิลปะ
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
FILM
LOURDES
กำ�กับโดย Jessica Hausner
BOOK
FILM
CHINESE SPATIAL STRATEGIES IMPERIAL BEIJING 1420-1911
THE HELP
ยิ่งเรื่องราวที่เกิดขึ้นภายในพระราชวังต้องห้าม เป็นความลับมากเท่าใด ยิ่งกระตุ้นให้บุคคล ภายนอกเกิดข้อสงสัยและตัง้ คำ�ถามเกีย่ วกับวิถี ชีวิตในเขตกำ�แพงสีแดงที่ถูกปิดตายมากว่าห้า ร้อยปีมากขึ้นเท่านั้น เจียนเฟย ซู อาจารย์ภาค วิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นได้ อธิบายการใช้พนื้ ทีใ่ นเขตพระราชวังต้องห้ามใน แง่มมุ ต่างๆ ทีถ่ กู ผูกขึน้ โดยบริบททางสังคมผ่าน ตั ว หนั ง สื อ แม้ ก ารตั้ ง อยู่ ข องพระราชวั ง จะ เปรียบเสมือนการแสดงซึ่งอำ�นาจการปกครอง โดยใช้สถาปัตยกรรมเป็นตัวแทนเชิงสัญลักษณ์ หากแต่ ผู้ เ ข้ า เยี่ ย มชมยั ง ขาดความเข้ า ใจที่ ถ่ อ งแท้ ทั้ ง การวางตำ � แหน่ ง พระราชวั ง เชิ ง ยุทธศาสตร์และการปกครอง การวางผังอาคาร ประเภทต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างพระราชวัง ที่ มี ต่ อ บริ บ ทของเมื อ ง การทำ � ให้ วั ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางการปกครองและความเชื่ อ ความ ศรัทธา หรือแม้แต่การสอดประสานที่ว่างแต่ละ ส่วนเข้าด้วยกัน ที่ล้วนแล้วแต่จะทำ�ให้วังเป็น เพียงอาคารเก่าครา่ํ ครึดูไร้ความหมาย แม้ภาย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระราชวัง ต้องห้ามจะกลายเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทีด่ งึ ดูดนัก ท่องเทีย่ วให้เข้าเยีย่ มชมปีละไม่ตาํ่ กว่าแปดล้าน คนก็ตาม
แม้สหรัฐอเมริกาจะเรียกได้วา่ เป็นเบ้าหลอมรวม คนต่างชาติต่างภาษา แต่กว่าจะมาถึงทุกวันนี้ การละลายความยึดติดในรูปลักษณ์ภายนอก ต้องผ่านกระบวนการและระยะเวลาเพือ่ ให้ได้มา ซึ่งสิทธิเสรีภาพอันเท่าเทียม ดัดแปลงจากบท ประพันธ์ของแคธริน สต็อกเกตต์ (Kathryn Stockett) บรรยายบรรยากาศเมืองแจ็กสัน รัฐมิสซิสซิปปีในทศวรรษ 1960 ที่ยังยึดติดกับ ขนบธรรมเนี ย มและวั ฒ นธรรมเดิ ม อย่ า ง เหนียวแน่นแม้ว่าอเมริกาจะประกาศเลิกทาส มาร่วมร้อยปี และทาสผิวสีก็เปลี่ยนมาเป็นคน รับใช้ภายในบ้าน ที่มีหน้าที่ดูแลและเลี้ยงดูเด็ก ผิวขาวซึ่งเป็นลูกของนาย แต่พวกเธอก็ยังต้อง เผชิญกับความไม่เท่าเทียมในสังคมทีย่ งั คงมีอยู่ ขณะเดียวกันสกีตเตอร์ ตัวเอกผิวขาวที่ได้รับ การเลี้ยงดูจากพี่เลี้ยงผิวสีได้พยายามประสาน รอยร้าวของสังคม โดยถ่ายทอดความรูส้ กึ นึกคิด ของชนต่างสีผิวผ่านงานเขียนเพื่อทลายกำ�แพง ที่มองไม่เห็นนี้ The Help จึงไม่ได้แสดงให้เห็น เพี ย งการได้ รั บ ความช่ ว ยเหลื อจากคนเพี ย ง คนเดียว หากแต่การช่วยเหลือซึง่ กันและกันต่าง หากที่นำ�มาซึ่งทางออกที่ดีที่สุด
กำ�กับโดย Tate Taylor
โดย Jianfei Zhu
การรักษาอาการเจ็บป่วยด้วยกระบวนการทาง การแพทย์อาจไม่ใช่หนทางเดียวที่สัมฤทธิ์ผล ภาพยนตร์จากฝีมอื ผูก้ �ำ กับหญิงเจสสิกา้ เฮาส์เนอร์ หยิบประเด็นละเอียดอ่อนทางศาสนามาตี ความ โดยตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการรักษาความ เจ็บป่วยด้วยการดืม่ นาํ้ พุศกั ดิส์ ทิ ธิแ์ ห่งเมืองลูรด์ ในฝรั่งเศส ซึ่งค้นพบเมื่อปี 1858 โดย แมรี่ แบร์ นาแด ซูมิรูส์ เด็กหญิงวัย 14 ปีที่นิมิตเห็น พระแม่มารี ภาพยนตร์เล่าถึง คริสติน หญิงสาว เป็นอัมพาตซึ่งต้องใช้ชีวิตอยู่บนรถเข็นตลอด เวลา และได้เดินทางมายังเมืองลูร์ดพร้อมคณะ ทัวร์เพื่ออาบนํ้ามนต์ศักดิ์สิทธิ์ เนื้อเรื่องดำ�เนิน ไปพร้อมกิจวัตรประจำ�วันของคริสตินและผูป้ ว่ ย คนอื่นๆ พร้อมเหตุการณ์ที่ชวนให้เกิดข้อสงสัย ทั้งการประกอบพิธีกรรมหรือการแสดงฐานะ ตัวแทนของพระเจ้าจากบุคคลในแวดวงศาสนา ในภาวะที่เกิดความย้อนแย้งในจิตใจ คริสติน กลับพบว่าร่างกายของเธอเริม่ เคลือ่ นไหวได้ แต่ วงการแพทย์และวิทยาศาสตร์กลับไม่พบเหตุผล ของการกลับมาเป็นปกติ ซึง่ ยิง่ สร้างปมให้สงสัย และตั้งคำ�ถามต่อทั้งเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และ ปาฏิหาริย์ เพราะศรัทธาที่ยิ่งใหญ่อาจเป็นที่มา ของผลลัพธ์ที่มากเกินจะคาดเดา
ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
HEMP THAI
ผ้าทอจากใยกัญชง เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
หลังคณะรัฐมนตรีมีมติเกี่ยวกับกรอบแนวทางการพิจารณาเพื่อการควบคุมและส่งเสริมการปลูกกัญชงให้เป็นพืชเศรษฐกิจเมื่อปี 2548 “กัญชง” ที่เคยเป็นพืชต้องห้ามและถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้กลายเป็น พืชเศรษฐกิจ เนื่องด้วยคุณสมบัติพิเศษจากเส้นใยกัญชงเป็นเส้นใยที่มีคุณภาพสูงเหมาะกับการนำ�ไปประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์ได้ใน หลากหลายอุตสาหกรรม
ในเชิงวัฒนธรรม การปลูกต้นกัญชงนับเป็นประเพณีและวิถีชีวิตที่อยู่คู่กับ ชาวม้งตั้งแต่เกิดจนสิ้นอายุขัย ชาวม้งมักนำ�เส้นใยกัญชงมาทอเป็นเครื่อง นุ่งห่มในชีวิตประจำ�วัน หรือทำ�เป็นรองเท้าไว้ใช้ยามเดินทางในป่าเพื่อ อพยพย้ายถิน่ ฐาน เนือ่ งจากสามารถป้องกันสัตว์มพี ษิ กัดต่อยได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ ชาวม้งจึงทำ�การปลูกต้นกัญชงเพือ่ นำ�เส้นใยมาใช้ประโยชน์เป็น ประจำ�ทุกๆ ปี นอกจากนี้ผ้าทอใยกัญชงยังเปรียบเสมือนทองคำ�ที่พ่อแม่ มอบให้กับลูกสาวไว้ติดตัวไปตอนออกเรือน และเมื่อถึงอายุ 40 ปี ชาวม้ง จะมีการเตรียมชุดที่ทอจากใยกัญชงไว้ใส่ในพิธีกรรมตอนเสียชีวิต ซึ่ง ธรรมเนียมดังกล่าวก็ยังคงมีการปฏิบัติสืบกันมาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย ทำ�ให้ ดวงฤทัย ภูมิพิเชฐ เจ้าของบริษัท ดีดี เนเจอร์ คราฟท์ (DD Nature Craft) หรือเป็นที่รจู้ กั ในแบรนด์ Hemp Thai เริ่มบุกเบิกธุรกิจผ้าทอจากกัญชงอินทรีย์มาเป็นเวลากว่า 10 ปี ด้วยการ ทำ�ไร่กัญชงและโรงงานผลิตผ้าจากใยกัญชงร่วมกับชาวบ้านเผ่าม้งใน เชียงใหม่และเชียงราย เพื่อควบคุมการผลิตตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า ไปพร้อมๆ กับการประชาสัมพันธ์คุณสมบัติของใยกัญชงกับผู้บริโภคให้ ปรับทัศนคติทม่ี ตี อ่ กัญชงมารับรูถ้ งึ ประโยชน์ใช้สอยในแง่ของวัสดุ โดยเฉพาะ คุณลักษณะเด่นด้านความเหนียว ทนทาน ไม่อับชื้น ปราศจากเชื้อราและ แบคทีเรีย ป้องกันรังสียูวี โดยธรรมชาติ และสามารถทนความร้อนได้สูง ถึง 170 องศาเซลเซียสโดยไม่มีส่วนผสมของสารเคมี 10 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
ทั้งยังสามารถนำ�มาย้อมสีธรรมชาติได้ทุกสีสันตามความต้องการ เพื่อให้ ผูบ้ ริโภคเกิดความเข้าใจ ยอมรับ และหันมาเลือกใช้สนิ ค้าทีผ่ ลิตจากกัญชง อินทรีย์ซึ่งมักนำ�มาผลิตเป็นกระเป๋า รองเท้า หรือเสื้อผ้ามากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Hemp Thai ยังผลิตสินค้าโดยเน้นแนวคิดที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมและพยายามรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวม้งในฐานะทุนทาง วัฒนธรรม ด้วยการสืบทอดลายจักสานอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวม้งมา เป็นลวดลายหลักของผลิตภัณฑ์ รวมทัง้ การส่งเสริมอาชีพให้แก่คนท้องถิน่ ในการดูแลไร่กญั ชงของบริษทั ขณะทีส่ นิ ค้าทุกชิน้ ยังผ่านกระบวนการผลิต ที่เน้นการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยที่สุด (Zero Waste Concept) เช่น การ ตัดเย็บให้มตี ะเข็บน้อยทีส่ ดุ ลดการตัดทิง้ ของเศษผ้า และมีความพยายาม ใช้งานทุกส่วนของต้นกัญชงนอกเหนือจากเส้นใย อาทิ การนำ�ยางและ เปลือกของต้นกัญชงมาสกัดรวมกับยางพารา เพื่อลดการใช้ยางพาราและ ลดการทิ้งวัตถุดิบโดยเสียเปล่า เพื่อให้ทุกกระบวนการผลิตเป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ดูตัวอย่างวัสดุและขอข้อมูลวัสดุเพิ่มเติมได้ที่ Material ConneXion® Bangkok โทร. 02-664-8448 ต่อ 225 ที่มา: hempthai.com materialconnexion.com
CLASSIC ITEM คลาสสิก
•อาคารและสถานที่หลายแห่งเลือกที่จะข้ามหมายเลข 13 ในการแสดง หมายเลขชั้นในลิฟต์ อาคาร ห้องพัก หรือแม้กระทั่งประตูขึ้นเครื่องบิน แล้วใช้หมายเลขอื่นอย่างเช่น 12A แทน ซึ่งแม้ว่าอาจจะไม่ใช่ความเชื่อ ของเจ้าของอาคารเอง แต่เพื่อเป็นการป้องกันผู้เช่าหรือผู้ใช้บริการที่เชื่อ ถือเลขนีจ้ ะก่อปัญหาหรือสร้างข่าวลือ จึงกลายเป็นเรือ่ งถือปฏิบตั อิ ย่างหนึง่ ในการก่อสร้างอาคารและสถานที่สมัยใหม่ โดยข้อมูลจากบริษัท โอทิส (OTIS) ผู้ผลิตลิฟต์รายใหญ่ของโลกพบว่า ร้อยละ 85 ของอาคารสูงไม่มี ชั้น 13 เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
เลขอาถรรพ์ตามความเชื่อของชาวตะวันตกในอดีตกาลยังคง ทรงอิทธิพลอยู่แม้ในปัจจุบัน จึงทำ�ให้ “ลัคกี้นัมเบอร์” กลาย เป็นทั้งสิ่งต้องห้ามและจุดขายในเวลาเดียวกัน
•ต้นกำ�เนิดเรื่องความโชคร้ายของเลข 13 อาจมีหลายตำ�นาน แต่ภาพ ของพระเยซูทถี่ กู ตรึงกางเขนจนสิน้ พระชนม์ในวันศุกร์ที่ 13 และการทรยศ หักหลังของ ยูดาส อิสคาริออต (Judas Iscariot) ทีไ่ ด้ชอ่ื ว่าเป็นแขกคนที่ 13 ของอาหารมือ้ สุดท้าย (The Last Supper) ได้สร้างความสะพรึงกลัวจนถึงขัน้ ก่อให้เกิดโรคชนิดหนึง่ ทีเ่ รียกว่า “ฟริกก์ (friggatriskaidekaphobia - Frigg)” หรืออาการหวาดกลัววันศุกร์ที่ 13 อาการของโรคนี้มีตั้งแต่การวิตกกังวล ระดับอ่อนๆ ไปจนถึงขั้นความตื่นตระหนก และการที่ไม่สามารถเปล่ง เสียงคำ�ว่า “ศุกร์ 13” ได้ •เพื่อจัดการกับความกลัว จึงเกิดวิธีการมากมายตั้งแต่การตั้งชื่อเรียกให้ กับเลข 13 ใหม่วา่ เป็น “ลัคกีน้ มั เบอร์ (Lucky Number)” เพือ่ ปลอบประโลม ว่าสิ่งร้ายจะกลายเป็นดี รวมไปถึงการจัดปาร์ตี้ฉลองที่มีแนวคิดคล้ายๆ กับฮาโลวีน อย่างเช่นงานฉลองให้กบั นักขับขีจ่ กั รยานยนต์ทพี่ อร์ต โดเวอร์ รัฐออนแทรีโอ แคนาดาที่ชื่อว่า PD13 •จากการประเมินของศูนย์จัดการความเครียดและสถาบันจัดการความ กลัวในเมืองแอชวิลล์ รัฐนอร์ธ แคโรไลนา พบว่า 17-21 ล้านคนของ ประชากรในสหรัฐฯ มีอาการหวาดกลัว 'ศุกร์ 13' ถึงขั้นส่งผลให้ธุรกิจต้อง สูญเสียถึง 800-900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพราะผูค้ นต่างพากันงดทำ�ธุรกรรม และเดินทางด้วยเครื่องบินในวันนั้น
•ความเชื่อเรื่องเลข 13 ยังแพร่กระจายจากฝั่งตะวันตกของโลกมายังฝั่ง เอเชี ย และเอเชี ย อาคเนย์ ด้ ว ยกระแสแห่ ง โลกาภิ วั ต น์ ไม่ เ ว้ น แม้ ใ น ประเทศไทย โดยเห็นได้จากบรรดาอาคารสำ�นักงานและโรงแรมจำ�นวน มากที่ก่อสร้างเป็นอาคารสูง และมีจำ�นวนชั้นมากกว่า 12 ชั้นขึ้นไป เช่น อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ 26 ปีก่อน ซึ่งเป็นอาคาร สำ�นักงานสูง 20 ชั้น แต่ไม่มีชั้นที่ 13 และผู้สร้างได้เปลี่ยนเป็นเรียกเป็น ชั้น 12A แทน เช่นเดียวกับโรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส อาคารสูง 29 ชั้น ที่ เว้นการระบุเลขชั้น 13 ไป โดยมีชั้น 12 แล้วเป็นชั้น 14 เลย ซึ่งเหตุผล ประการหนึ่งเป็นเพราะธุรกิจศูนย์การค้าหรือโรงแรมต้องรองรับลูกค้าซึ่ง ส่วนมากเป็นลูกค้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะชาวตะวันตก •หมายเลข 13 ที่มาพร้อมกับวันศุกร์ อาจจะไม่ใช่เรื่องโชคร้ายเสียทีเดียว เพราะความกลัวที่แพร่หลายนี้ได้กลายเป็นวัตถุดิบสำ�คัญสำ�หรับการ สร้างสรรค์ผลงานระดับต้นตำ�รับอย่าง ภาพยนตร์เรื่อง Friday the 13th ที่ออกฉายครั้งแรกเมื่อปี 1980 ด้วยต้นทุนสร้างเพียง 550,000 เหรียญ สหรัฐฯ แต่สามารถกวาดรายได้จากทั่วโลกไปกว่า 59.75 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ โดยความนิยมเรือ่ งเขย่าขวัญจากทศวรรษ 1980 นี้ ยังคงมีมาอย่าง ต่อเนื่องจนถึงปี 2009 ด้วยภาคต่ออีก 11 ภาค ที่กวาดรายได้รวมทั่วโลก ไปกว่า 465.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยต้นทุนสร้างรวมเพียง 78.65 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ที่มา: บทความ "Friday the 13th Phobia Rooted in Ancient History" จาก news.nationalgeographic.com boxofficemojo.com วิกิพีเดีย ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 11
COVER STORY เรื่องจากปก Kornkrit Jianpinidnan, Screen Kiss, 2005
เมื่อความกลัว บัญญัติสิ่งต้องห้าม เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
ความกลัวอาจมีอำ�นาจกำ�หนดแนวโน้มการตัดสินใจของผู้คน และยังมีอิทธิพลมากพอที่จะก่อให้เกิดการบัญญัติ “สิ่งต้องห้าม” ขึ้นภายในสังคม และเมื่อข้อห้ามเหล่านี้ถูกสั่งสมผ่านกาลเวลาและฝังรากลึกลงกลายเป็นความเชื่อ สิ่งต้องห้ามจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำ�เนินชีวิตด้านต่างๆ ของคนในแต่ละสังคมแต่ละยุคสมัย แม้ว่าในวันนี้ ความรู้และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะได้ก้าวเข้ามา พิสูจน์ให้เห็นความจริง และการไหลเวียนของข้อมูล ข่าวสาร การเกิดขึ้น ของมาตรฐานอย่างระบบกฎหมายและระบบสิทธิมนุษยชน ทั้งในระดับ ท้องถิ่นและเวทีสากลได้กลายมาเป็นเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาความเชื่อเหล่า นั้นให้เกิดเป็นความเข้าใจใหม่ที่ไม่งมงาย สามารถหาเหตุผลมารองรับได้ รวมถึงค่อยๆ ขจัดอคติออกจากบรรทัดฐานของความเชือ่ ในสิง่ ต้องห้ามบาง ประการออกไป แต่ความเข้าใจทีล่ กึ ซึง้ ต่อความเชือ่ และสิง่ ต้องห้ามทัง้ ทีเ่ คย มีมาในอดีตและยังคงอยู่ในปัจจุบันก็จะยังคงเป็นเข็มทิศที่นำ�ไปสู่การ สร้างสรรค์ผลงานที่ตอบสนองต่อทั้งวิถีชีวิตและวิถีความเชื่อของผู้คนได้ อย่างยอดเยี่ยมเสมอ 12 l Creative Thailand l ตุลาคม 2556
เพราะหากลองสำ�รวจการใช้ชีวิตในเรื่องพื้นฐานต่างๆ ทั้งอาหาร การกิน การเดินทาง รสนิยม แม้กระทั่งการตัดสินใจเลือกหนังสือมาอ่าน สักเล่มหนึ่ง เราอาจพบเสน่ห์บางอย่างทีอ่ ธิบายไม่ได้ รูเ้ พียงแต่วา่ เป็นเรือ่ ง ท้าทายและน่าค้นหา บางอย่างที่ “เอือ้ มไม่ได้ สัมผัสไม่ถงึ ” จากในอดีต ทั้ง ความหวาดหวัน่ ความไม่รู้ ความเชือ่ ทีถ่ กู บ่มเพาะและเปลีย่ นแปลง กลาย เป็นมูลค่าและคุณค่าใหม่สำ�หรับโลกปัจจุบัน นับเป็นความท้าทายสำ�หรับ โลกธุรกิจในการนำ�เสนอความน่าเย้ายวนใจเหล่านีใ้ ห้ผคู้ นอยากเข้าไปค้นหา และได้มีโอกาสลองสัมผัสด้วยตัวเองสักครั้งหนึ่ง
COVER STORY เรื่องจากปก
เมื่อตัวหนังสือถูกกักขัง ความรักเป็นเรื่องต้องห้าม ในปี 1955 หลังถูกปฏิเสธจากทุกสำ�นักพิมพ์ในสหรัฐอเมริกา นักเขียนชาวรัสเซีย วลาดิมรี ์ นาโบคอฟ (Vladimir Nabokov) วัย 56 ปี ก็หอบหิ้วต้นฉบับนวนิยายลำ�ดับสามที่เขาแต่งโดยใช้ ภาษาอังกฤษไปยังปารีส เพือ่ ส่งมอบให้กบั โรงพิมพ์ทเ่ี ปิดรับพิมพ์ งานแบบ “ใต้ดิน” finebooksmagazine.com
ด้วยสำ�นวนภาษาอันโดดเด่นและชือ่ เรือ่ งว่า โลลิตา (Lolita) ทีเ่ ป็นชือ่ เรียก ลับๆ ระหว่างตัวเอกอย่างพ่อเลี้ยงวัยกลางคนผู้มีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว กับเด็กหญิงวัย 12 ปี ผู้มีฐานะเป็นลูกบุญธรรมของตนเอง ความร้ายแรง ของความรักต่างวัยที่ก้าวลํ้าเส้นของหลักศีลธรรมอันดีในช่วงทศวรรษ 1950 ก็ส่งผลให้ โลลิตา ได้รับคำ�วิจารณ์และคำ�สรรเสริญว่าเป็นทั้ง “หนังสือทีม่ เี นือ้ หาสกปรก” และ “หนังสือทีม่ เี นือ้ หางดงามราวกับศิลปะ” ในเวลาเดียวกัน
แต่อย่างไรก็ตาม คำ�ชื่นชมอย่างหลังก็ไม่มีนํ้าหนักมากพอที่จะทำ� หนังสือเล่มนีร้ อดตัวจากการถูกสัง่ ห้ามจากสถาบันต่างๆ ในหลายประเทศ ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสที่สั่งแบนทันทีในปีถัดมา ตามมาด้วยอาร์เจนตินา และนิวซีแลนด์ ที่รัฐบาลต่างให้เหตุผลตรงกันว่าเป็นหนังสือที่มีเนื้อหา “ไม่เหมาะสม” แต่เมื่อเวลาผ่านไป การเริ่มเปิดรับและยอมรับค่านิยมที่แตกต่างที่ มากขึ้นทำ�ให้วรรณกรรมเรื่องนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ใหม่ในฐานะผลงาน คลาสสิกชั้นเยี่ยม โลลิตา ได้รบั คัดเลือกจากสำ�นักพิมพ์ Modern Library ในปี 1998 ให้เป็นวรรณกรรมที่ดีเด่นที่สุดในศตวรรษที่ 20 ลำ�ดับที่ 4 จาก 100 ที่ไม่ได้มีเนื้อหาสนับสนุนความสัมพันธ์ต้องห้ามต่างวัยอย่างที่ เคยถูกปรามาส แต่เมือ่ ปอกเปลือกออกแล้วก็พบว่า โลลิตา บรรจุเรือ่ งราว ที่มีทั้งโศกนาฏกรรม การเดินทาง เส้นแบ่งที่พร่าเลือนระหว่างโลก จินตนาการและภาพความจริงที่อยู่ตรงหน้า รวมถึงการกดขี่ในสังคมที่ สะท้อนผ่านตัวอักษรได้อย่างงดงาม
© Swim Ink 2, LLC/CORBIS
ในปี 1962 สแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) นำ�บทประพันธ์ โลลิตา มาสร้างเป็นภาพยนตร์จนประสบความสำ�เร็จอย่างท่วมท้น ด้วยรายได้ที่มาก ถึง 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากเงินลงทุนเพียง 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โลลิตา ยังได้รับการถ่ายทอดในอีกหลายเวทีการแสดง ทั้งโอเปร่า บัลเลต์ และ บรอดเวย์มิวสิคัล
cinema.de
ภาพใบปิดหนัง Lolita (1962)
ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 13
marcjacobs.com
คำ�เรียก “โลลิตา” ยังถูกใช้ในบทบาทของวัฒนธรรมร่วมสมัยอย่าง แพร่หลาย เพื่อเป็นคำ�นิยามของเด็กหญิงที่มีลักษณะเย้ายวนเฉพาะตัว โฆษณานํา้ หอมของมาร์ค จาค็อบส์ (Marc Jacobs) รุ่น Oh! Lola ที่เลือก พรีเซนเตอร์เด็กสาววัย 17 ปีอย่าง ดาโกตา แฟนนิ่ง (Dakota Fanning) มาพร้อมกับชุดกระโปรงระบายสีชมพูอ่อนนั่งถือขวดนํ้าหอมที่มีฝาเปิด เป็นดอกไม้กำ�ลังเบ่งบานสีบานเย็นไว้กลางหว่างขา คือตัวอย่างผลงาน โฆษณาทีบ่ ง่ บอกถึงลักษณะพิเศษของโลลิตาอย่างชัดเจน ผ่านภาพสะท้อน อย่างความบริสุทธิ์ เด็กหญิงผิวขาว สายตาเชิญชวน และความเซ็กซี่แบบ ไร้เดียงสา อย่างไรก็ตามผลงานชิ้นนี้ถูกแบนในสหราชอาณาจักรจาก The Advertising Standards Authority (ASA) Lolita - The Story of a Cover Girl: Vladimir Nabokov’s Novel in Art and Design ที่ตีพิมพ์เมื่อสิงหาคมที่ผ่านมา เป็นหนังสือที่รวบรวม งานศิลปะและการออกแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปกหนังสือ โปสเตอร์ ภาพยนตร์ และงานออกแบบประเภทอื่นๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก โลลิตา โดยศิลปินกว่า 80 คน อาทิ พอลล่า เชอร์ (Paula Scher) เจสสิก้า ฮิสช์ (Jessica Hische) และปีเตอร์ เมนเดลสันด์ (Peter Mendelsund) ศิลปิน เหล่านี้หยิบความบริสุทธิ์ ความหอมหวาน และรายละเอียดจากร่องรอย ต่างๆ ภายในเนื้อหา มาตีความเป็นผลงานศิลปะใหม่แห่งศตวรรษ เพื่อ สร้ า งมุ ม มองที่ แ ตกต่ า งให้ แ ก่ ทั้ ง นั ก อ่ า นและนั ก เสพงานศิ ล ปะได้ มี ประสบการณ์ร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง
DESTROY THE OLD WORLD “การเผาหนังสือคือสัญลักษณ์อนั รุนแรง เพราะถ้าคุณได้ท�ำ ลาย หนังสือ เท่ากับคุณได้ทำ�ลายศัตรู และทำ�ลายความเชื่อของศัตรู ลงไปด้วยเช่นกัน” - รีเบคกา คนูธ
“…เพราะหนังสือคือการแปลงความคิดเป็นรูปธรรม และทำ�ให้คุณเชื่อได้ อย่างยึดมั่นถือมั่น โดยที่ไม่ยอมให้มีอะไรมาขัดแย้งกับความเชื่อที่หนังสือ มอบให้คุณหรือไม่ยอมให้มีสิ่งอื่นเกิดขึ้นเพื่อมาแข่งขัน” รีเบคกา คนูธ (Rebecca Knuth) ผู้แต่งหนังสือ Burning Books and Leveling Libraries: Extremist Violence and Cultural Destuction ให้เหตุผลว่าทำ�ไมหนังสือถึง เป็ น เครื่ อ งมื อ สื่ อ สารต้ อ งห้ า มสำ � หรั บ การเปลี่ ย นแปลงไปสู่ สิ่ ง ใหม่ ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ปี 1966-1976 เป็นช่วงที่จีนเกิด เหตุการณ์การปฏิวัติทางวัฒนธรรม (Cultural Revolution) ขึ้น ความกลัว จากการสูญเสียอำ�นาจการปกครองนำ�ไปสู่การสร้างชาติใหม่ด้วยระบอบ คอมมิวนิสต์ และการปฏิวัติทางวัฒนธรรมแบบราบคาบของเหมาเจ๋อตุง ก็ได้ทำ�ลายล้างผลงานทางวัฒนธรรมที่โลกไม่มีวันได้เห็น การสร้างสรรค์ ทีม่ ที มี่ าจากอัจริยภาพของมนุษย์ได้กลายเป็นสิง่ ต้องห้ามด้วยข้อหาว่าเป็น สิ่งมอมเมาประชาชน และเป็นอุปสรรคสำ�คัญสำ�หรับการสร้างชาติใหม่ 14 l Creative Thailand l ตุลาคม 2556
ที่จะต้องเตรียมความพร้อมด้วยการลบล้าง “สิ่งเก่า 4 ประการ” ได้แก่ พฤติกรรมเก่า ประเพณีเก่า ขนบธรรมเนียมเก่า และวัฒนธรรมเก่าให้หมดสิน้ เพื่อจะได้นำ�สิ่งใหม่เข้าแทนที่ได้อย่างปราศจากสิ่งรบกวน ในฐานะผู้มีอำ�นาจ เหมาเจ๋อตุงจึงสั่งเผาทั้งหนังสือ ผลงานศิลปะ ประติมากรรม รวมถึงทุกสิ่งที่เข้าข่ายว่ามีพื้นฐานการสร้างสรรค์มาจาก ความคิดแบบเดิม ทัง้ การเปลีย่ นเครือ่ งแต่งกาย รองเท้า รือ้ ข้าวของ เปลีย่ น ชือ่ ถนน ชือ่ ร้านอาหาร ให้ฟงั คติพจน์จากคัมภีร์ หรือสมุดปกแดงของเหมา เจ๋อตุงเท่านั้น และบทลงโทษของผู้ที่ฝ่าฝืนหรือแอบซ่อนสิ่งของเหล่านี้ไว้ กับตัวก็รุนแรงเกินกว่าจะมีใครกล้าขัดขืน ทำ�ให้ชาวจีนในขณะนั้นจำ�เป็น ต้องละทิ้งลมหายใจของมรดกทางวัฒนธรรมให้สูญสลายลงไปต่อหน้า ต่อตา กว่าจะเดินทางมาถึงศตวรรษที่ 21 จีนต้องผ่านเส้นทางการฟื้นฟู วัฒนธรรมเก่าที่ถูกทำ�ลายลงไปในช่วงเวลาแห่งการปฏิวัติวัฒนธรรม เพื่อ ก้าวเดินไปพร้อมกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ และสร้าง เอกลักษณ์ที่ปรากฏชัดในสายตาของผู้คนทั่วโลกอีกครั้ง การปฏิ วั ติ วัฒนธรรมเป็นบทเรียนอันขมขื่นที่ต้องจดจำ� แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตัว กระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จนถึงรากลึกของสังคมจีน ทัง้ เรือ่ ง
© Fritz Hoffmann/In Pictures/Corbis
© Fritz Hoffmann/In Pictures/CORBIS
ระบบความคิด การเมือง สังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ วงการศิลปะของจีน ซึง่ ผลงานทางศิลปะ งานประติมากรรม วรรณกรรม หรือจดหมายคัดลายมือจากยุคเก่าที่รอดพ้นจากการทำ�ลายล้าง ได้กลาย เป็นของที่มากมูลค่าและเป็นที่หมายปองของทั้งเหล่านักคัดสรรและ นักสะสมทั่วโลกดังที่ปรากฏในรายงานตลาดงานศิลปะปี 2013 จาก The European Fine Art Fair (TEFAF) ซึ่งจัดโดย The European Fine Art Foundation แคลร์ แมคแอนดรูว์ (Clare McAndrew) นักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า “ตลาดเศรษฐกิจของจีนนั้นเติบโตได้ด้วยส่วนผสมอย่างมรดก ทางวัฒนธรรมที่รํ่ารวยไปด้วยผลงานทางศิลปะและวัตถุโบราณ โดยมี ตลาดขนาดใหญ่ภายในประเทศ” ซึง่ สามารถสร้างรายได้จากการประมูล ผลงานศิลปะในจีนและกลายเป็นตลาดงานศิลปะที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ในโลกแห่งหนึ่ง เพราะแม้กระทั่งงานศิลปะสมัยราชวงศ์ชิงชิ้นหนึ่งยังมี ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 6,500 เหรียญสหรัฐฯ (195,000 บาท) ในขณะที่ชามข้าว เนื้อกระเบื้องขนาดเล็กในสมัยเดียวกันได้รับการประมูลไปในราคา 9.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (285 ล้านบาท) สามารถเป็นใบเบิกทางสำ�หรับเหล่า เศรษฐีจนี หน้าใหม่ในการก้าวเข้าสูว่ งการสะสมงานศิลปะและวัตถุโบราณ จนสามารถสร้างเม็ดเงินในวงการประมูลงานได้มากถึง 7,000 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ (ราว 210,000 ล้านบาท) ในปีที่ผ่านมา
มีเพียงสิ่งใหม่ในวันพรุ่งนี้ จากบันทึกของเนี่ยน เจิ้ง (Nien Cheng) ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่าง ช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรมที่เธอได้ประสบภายใต้หนังสือที่ชื่อว่า Life and Death in Shanghai "เหล่ายามแดง (Red Guards) เข้ามาทำ�ลายข้าวของ เครื่องใช้ในบ้าน ถ้วยชาม วัตถุโบราณมากคุณค่า ของใช้อย่างผ้าม่าน เสื้อคลุม เดรส ผ้าไหม ทั้งหมดจะถูกตัดด้วยกรรไกรจนไม่เหลือ” เพราะความต้องการ ทำ�ลายวัฒนธรรมเก่า โดยสร้างของใหม่ขึ้นมาแทนที่ ในระหว่างช่วงปฏิวัติ วัฒนธรรม พลเมืองทุกคนจึงต้องสวมยูนิฟอร์มสีกากี เพื่อแสดงออกถึงความ จงรักภักดีที่มีต่อผู้นำ� เครื่องแต่งกายแบบจีนดั้งเดิม ตลอดจนเสื้อผ้าแบบตะวัน ตกอย่างเน็กไทและชุดกระโปรง ทั้งหมดจะถูกทำ�ลายให้หมดสิ้น สำ�หรับคู่รักที่ ต้องการแต่งงาน ทางการจะมีชุดแต่งงานที่เป็นยูนิฟอร์มมาให้ ผลิตขึ้นจาก โรงงานปฏิวัติวัฒนธรรม (Cultural Revolution Factory) ในปักกิ่งโดยเสื้อเป็น ผ้ากำ�มะหยี่สีแดงสวมใส่คู่กับกางเกงสีนํ้าเงินและรองเท้าหนังสีดำ�
ที่มา: บทความ “Destroy the fours old” โดย Nien Cheng จาก asian-studies.org powerhousemuseum.com ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
หนึ่งพันสองร้อยปีแห่งสิ่งต้องห้าม สู่อุตสาหกรรมชั้นนำ�ระดับโลก ฟรังซิส เซเวียร์ (Francis Xavier) นักบุญคนแรกผู้นำ�ศาสนาคริสต์มา เผยแผ่ในญี่ปุ่นเดินทางไปถึงที่นั่นในปี 1549 โดยทั้งนักบุญฟรังซิส และเหล่ามิชชันนารีจำ�เป็นต้องเรียนรู้การใช้ชีวิตภายใต้ข้อจำ�กัดเรื่อง อาหารภายในประเทศ รวมถึงเข้าอกเข้าใจเรื่องอาหารต้องห้ามอย่างการ รับประทานเนือ้ สัตว์ แต่ความเป็นอยูภ่ ายใต้เงือ่ นไขแบบจำ�กัดจำ�เขีย่ เช่นนี้ ส่งผลให้สุขภาพของมิชชันนารีเริ่มทรุดโทรมเนื่องจากขาดสารอาหาร ที่จำ�เป็นต่อร่างกาย มิชชันนารีจึงจำ�เป็นต้องเปลี่ยนแปลงความเชื่อ ด้วย กว่าที่เส้นทางการส่งออกเนื้อวัวจะเดินทางไปสู่แต่ละเมืองทั่วโลกเพื่อ การแนะนำ�ให้พวกเขารู้จักประโยชน์และโภชนาการที่จะได้รับจากการ กระจายโอกาสการได้ลิ้มรสผลผลิตแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นดังเช่นทุกวันนี้ รับประทานเนื้อวัว เนื้อหมู นม ไวน์ และขนมปัง จนมาถึงยุคของ ครั้งหนึ่ง พื้นที่ที่ได้ชื่อว่าเป็นต้นกำ�เนิดเนื้อวัวคุณภาพดีและราคาแพงลิบ จักรพรรดิเมจิ (Emperor Meiji) ในอีก 320 ปีถัดมา อันเป็นช่วงเวลาที่ ลิ่วนี้ กลับเคยเป็นพื้นที่ที่ห้ามการรับประทานเนื้อวัวมานานกว่าหนึ่งพันปี ญี่ปุ่นเริ่มผ่อนคลายข้อจำ�กัดในการรับประทานเนื้อวัว เนื่องจากยุคของ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อม พื้นที่ใกล้เส้นศูนย์สูตรที่ การคืนสู่ราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิเมจิต้องการรับเอาความเป็นตะวันตก มอบความอบอุน่ และความพรัง่ พร้อมของพืน้ ทีต่ อ่ การปลูกข้าวและพืชผัก มาปรับใช้ภายในประเทศ ผู้นำ�ประเทศในขณะนั้นเชื่อว่าการรับประทาน อื่นๆ ให้เป็นไปอย่างอุดมสมบูรณ์ ภูมิประเทศแบบเกาะที่ทำ�ให้เนื้อปลา เนื้อวัวหรือผลิตภัณฑ์จากวัวอย่างนม จะส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นมีรูปร่างและ เป็นอาหารหลักที่เลี้ยงดูประชากรทั้งประเทศ ขณะที่สัตว์บกขนาดใหญ่ ความแข็งแรงเหมือนกับชาวตะวันตก เพื่อให้สามารถทำ�ศึกสงครามและ ประเภทวัวหรือควายนั้น มีไว้ทำ�หน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ในการทำ�การ พัฒนาประเทศในช่วงนัน้ เหล่าทหารจึงจำ�เป็นต้องรับพลังงานจากการรับ เกษตรและเมื่อการเผยแผ่พุทธศาสนาขยายเข้ามาถึงญี่ปุ่นในช่วงกลาง ประทานเนือ้ สัตว์ดว้ ยเช่นกัน เหตุการณ์นสี้ ง่ ผลให้ความเชือ่ เก่าค่อยๆ ลด ศตวรรษที่ 6 นั่นก็นำ�พามาซึ่งความเชื่อใหม่เกี่ยวกับวัฒนธรรมการ บทบาทลง สวนทางกับค่านิยมใหม่ที่ค่อยๆ ทะยานตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รับประทานเนื้อสัตว์ของชาวญี่ปุ่น ด้วยหลักคำ�สอนที่ว่าการฆ่าสัตว์นั้น หนึ่งพันสองร้อยปีที่ผ่านไป สังคมญี่ปุ่นที่ได้รับการพัฒนาและ เป็นสิ่งผิดและพุทธศาสนิกชนไม่ควรกระทำ� ดังนั้น ในปี 675 ญี่ปุ่น ทำ�ความเข้าใจกับทีม่ าทีไ่ ปของข้อห้ามในอดีต ได้พลิกความเชือ่ เก่าให้เป็น ภายใต้การปกครองของพระจักรพรรดิเทมมุ (Emperor Tenmu) จึงได้ออก ธุรกิจการผลิตที่ประสบความสำ�เร็จได้อย่างที่พิสูจน์ให้เห็นชัดเจนในวันนี้ คำ�สัง่ ห้ามฆ่าและรับประทานเนือ้ สัตว์โดยเด็ดขาดและบังคับใช้ทวั่ ทุกพืน้ ที่ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่ปรากฏในรูปแบบร้านอาหาร อุตสาหกรรมการส่งออก ในญี่ปุ่น คำ�สั่งห้ามนี้ครอบคลุมเนื้อสัตว์ ทั้งวัว ม้า สุนัข ลิง และไก่ ตลอดจนวิถีการเกษตร และยังถือเป็นการยกระดับข้อห้ามเข้าสู่เส้นทาง สำ�หรับสัตว์ปีกและสัตว์ป่าก็ถูกประกาศห้ามในอีกประมาณหนึ่งร้อยปีให้ ใหม่ที่มอบการเปลี่ยนแปลงให้แก่วัฒนธรรมการกินของญี่ปุ่นอย่างแท้จริง หลังนับจากนั้น
คงไม่ผดิ หากกล่าวว่า ญี่ปุ่นกุมอำ�นาจการผลิตและส่งออกเนือ้ วัว คุ ณ ภาพในระดั บ โลก เพราะตั ว เลขอั ต ราการบริ โ ภคเนื้ อ วั ว ภายในประเทศที่มากถึง 877,000 ตันในปี 2012 อีกทั้งวากิว (Wagyu) เนื้อวัวชื่อดังของญี่ปุ่นยังครองตำ�แหน่งสินค้าส่งออก มากคุณภาพที่เต็มไปด้วยเสน่ห์อันน่าลิ้มลอง และเป็นวัตถุดิบ แห่งความปรารถนาสำ�หรับเหล่านักชิมทั่วโลกอีกด้วย
เลี้ยงดูด้วยคุณภาพ
© Steve Vidler/Corbis
นอกจากวากิว ญี่ปุ่นยังมีเนื้อวัวอีกหลายชนิด ทั้งมัสซึซากะ (Matsuzaka) มา เอดะ (Maeda) และโอมิ (Omi) ความละมุนละไม ชั้นไขมันที่เรียงตัวเป็น ลวดลายหินอ่อน และราคาที่แพงลิบลิ่ว เปรียบเหมือนคุณสมบัติร่วมของเนื้อวัว ที่มาจากกระบวนการสร้างสรรค์ ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบที่ใช้ป้อนซึ่งต้องเป็น ธัญพืชใยอาหารสูงไม่ว่าจะเป็นหญ้าแห้ง รำ�ข้าว หรือถั่วเหลือง ตลอดจนนํ้าแร่ และแอลกอฮอลล์เช่นเบียร์หรือสาเก พร้อมกับได้รบั การนวดเฟ้นเป็นประจำ�ทุกวัน เพือ่ สร้างชัน้ ไขมันให้ไหลเวียนอย่างทัว่ ถึง ก่อนจะสำ�เร็จรูปมาเป็นเนื้อวัวชนิดนุ่ม ละมุนละลายในปาก กลายเป็นที่ต้องการของคนรักเนื้อทั่วโลก ทีม่ า: worldfoodist.com
16 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
© Pale blue dot
COVER STORY เรื่องจากปก
ความมึนเมาในดินแดนต้องห้าม ทางเลือกหรือทางรอด ในดิ น แดนที่ เ ป็ น จุ ด หมายปลายทางของนั ก ท่ อ งเที่ ย วทั่ ว โลก อย่างตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศที่รุ่มรวยด้วยวัฒนธรรม ทว่าก็มากไปด้วยข้อห้ามทางศาสนาและจารีตเช่นกัน นั่นทำ�ให้ นั ก ท่ อ งเที่ ย วจากต่ า งแดนที่ ม าพร้ อ มความต้ อ งการที่ หลากหลายและพกพาวิถีการพักผ่อนแบบเสรีติดตัวมาด้วย ต้องเผชิญกับความแตกต่างด้านบรรทัดฐานทางสังคมราวกับ ถือพจนานุกรมคนละเล่ม โดยเฉพาะเรือ่ งการดืม่ เครือ่ งดืม่ มึนเมา เพราะสำ�หรับเหล่านักท่องเที่ยวแล้วการได้จิบเบียร์ริมทะเลนั้น เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแห่งการพักผ่อน แต่สำ�หรับคนใน พืน้ ที่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่พวกเขาดื่มดํ่าอยู่นั้นถือเป็นเครื่อง ดื่มต้องห้ามทางศาสนาที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดมานานนับ ร้อยปี
ภายในประเทศส่วนหนึ่งขับเคลื่อนได้ด้วยเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวเช่น กัน แม้จะมีข่าวเรื่องการต่อต้านการเปิดบาร์ ผับ ร้านจำ�หน่ายเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งคราว แต่ความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นนี้กลับกลายเป็น ต้นทุนทีท่ �ำ ให้เกิดธุรกิจโรงแรมแบบใหม่ในอียปิ ต์ซงึ่ เป็นโรงแรมทีป่ ราศจาก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยเปิดตัวที่หาดฮูร์กาดา แถบ ทะเลแดง (Red Sea) โดยไม่ได้เล็งกลุ่มเป้าหมายไปที่นักท่องเที่ยว จากฝั่งตะวันตก แต่เป็นกลุ่มเป้าหมายอย่างนักท่องเที่ยวมุสลิมซึ่งเป็นผู้ที่ ต้องการความมั่นใจจากการใช้จ่ายวันเวลาแห่งการท่องเที่ยว ว่าจะไม่ ถูกรบกวนจากนักท่องเที่ยวผู้เมาหยำ�เป เสียงปาร์ตี้ดังสนั่น และได้รับ การพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม
alarabiya.net
ความขัดแย้งแบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออกนี้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งหมด ไม่ว่าจะร้านอาหาร โรงแรม และสนามบิน ความต้องการที่สวนทางกับอุปทานเช่นนี้ ทำ�ให้ ผู้นำ�เข้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต้องพิจารณาถึงความละเอียดอ่อนของ พื้นทีท่ อ่ี ดั แน่นไปด้วยความเชือ่ อย่างถีถ่ ว้ น ขณะทีก่ ป็ ฏิเสธไม่ได้วา่ เศรษฐกิจ ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 17
ESCAPE FROM THE REAL WORLD แต่ภาพยนตร์ยังปลอบประโลมคนดูด้วยตอนจบที่ไม่ได้ทำ�ให้ความรักของสอง คาวบอยหนุ่มเป็นเรื่องที่เจ็บชํ้ามากเกินไป Brokeback Mountain คว้า 3 รางวัล จากเวทีออสการ์ และ 4 รางวัลจากเวทีลูกโลกทองคำ� โดยผู้กำ�กับอย่างอัง ลี่ (Ang Lee) ถูกจัดอันดับเป็น 1 ใน 100 บุคคลทีท่ รงอิทธิพลของโลก โดยนิตยสาร ไทมส์ในปี 2006 การเกิดขึ้นของ Brokeback Mountain สร้างความสนใจให้กับเรื่องสิทธิ ของคนรักเพศเดียวกันให้ถกู พูดขึน้ ในเวทีสาธารณะในสหรัฐฯ ไม่วา่ โลกแห่งความ เป็นจริงการใช้ชวี ติ จะหนักหนาและยากเย็นเพียงใด หรือมีความเป็นไปไม่ได้ถาโถม เข้ามามากเพียงไหน แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ก็ยังเป็นตัวกลางที่บอกเราว่า ความรักที่ เป็นไปไม่ได้นั้นจะเกิดขึ้นได้เสมอตราบใดที่ถ้าเรายังมีความหวังอยู่
fanpop.com
fanpop.com
มายาในโลกภาพยนตร์คือสิ่งเย้ายวนใจที่ดึงดูดผู้ชมให้ละทิ้งความจริงเบื้องหน้า และจมจ่อมอยู่กับเนื้อหาที่ภาพยนตร์มอบให้ ภาพยนตร์จึงเป็นเขตปลอดภัย สำ�หรับผูค้ นทีต่ อ้ งการหลบหลีก “ความเป็นไปไม่ได้” จากข้อห้ามที่ผูกรัดความ รูส้ กึ เวลาเพียงไม่กชี่ วั่ โมงจะเป็นชัว่ โมงทีค่ มุ้ ค่าต่อการลงทุนใช้จา่ ยความรูส้ กึ ร่วม ไปกับการซึบซับความเศร้าโศก หรือสนุกสนานและปลื้มปิติไปกับตัวละคร ตอนจบแบบไม่เป็นไปตามสูตรที่กวาดรางวัลถล่มทลายอย่าง Brokeback Mountain (2005) ถือเป็นภาพยนตร์โศกนาฏกรรมแห่งความรักที่ครองใจผู้ชม ทั้งเพศที่สามและเพศปกติได้อย่างไม่รู้ลืม ความรักระหว่างตัวเอกที่เป็นเพศ เดียวกัน ความเป็นไปไม่ได้เพราะเงือ่ นไขทางสังคมทีบ่ บี คัน้ และความหวาดกลัว จากการต้องถูกลงโทษ ทำ�ให้ตวั ละครต้องปิดบังความรูส้ กึ และสถานภาพทีแ่ ท้ทงั้ ต่อสังคมและต่อตนเอง ความปวดร้าวที่ได้รับจากการต้องปิดกั้นความรู้สึกนั้น เป็นความรู้สึกสากลที่ผู้ชมทั่วโลกสามารถเข้าใจและรับรู้ได้ไม่แตกต่างกัน
สิทธิของเพศที่สาม เสรีภาพในวันที่เราไม่เท่าเทียม “ผมคิดว่าเสรีภาพที่แท้ หมายถึงเสรีภาพที่มีสำ�หรับทุกคน” นี่เป็นประโยคจาก ดิก เชนีย์ (Dick Cheney) รองประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา แสดงความเห็นต่อการสนับสนุนการแต่งงาน ระหว่างคนเพศเดียวกัน ซึ่งนำ�มาสู่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายใน 13 รัฐทั่วสหรัฐฯ และทำ�ให้ความรักที่ครั้งหนึ่งเคยต้องหลบๆ ซ่อนๆ กลายเป็นความรักทีด่ �ำ เนินไปด้วยค่านิยมและบรรทัดฐาน แห่งการเปิดใจและยอมรับของคนในสังคมที่มีความหลากหลาย มากขึ้น
โดยแนวโน้มทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปนีเ้ ห็นได้ชดั จากการสำ�รวจประชามติในระยะ เวลาเพียง 3 ปีที่ผ่านมา แรงสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 53 ในปี 2013 จากร้อยละ 44 ในปี 2011 ทำ�ให้เกิดการแก้ไขกฎหมายการสมรสในสหรัฐฯ หรือ The Defense of Marriage Act (DOMA) ที่มีผลสำ�คัญ 2 ประการ คือ รัฐบาลจะต้องยอมรับสถานะสมรสของคูร่ กั เพศเดียวกันระหว่างหญิง กั บ หญิ ง และชายกั บ ชาย และคู่ รั ก เพศเดี ย วกั น สามารถรั บ สิ ท ธิ ผ ล ประโยชน์ทางกฎหมายที่ออกโดยรัฐบาลเหมือนคู่รักชายหญิงคู่อื่นๆ ผลดีของการเปลีย่ นแปลงทางกฎหมายครัง้ นี้ แสดงให้เห็นถึงพืน้ ทีก่ าร ยอมรับทีม่ ากขึน้ ของกลุม่ รักเพศเดียวกันในเชิงกฎหมายและเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งจะนำ�ไปสู่การตื่นตัวและเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมกันของประชาชน ในรัฐอืน่ ๆ ทีเ่ รือ่ งการสมรสระหว่างเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทีม่ คี วามผิด 18 l Creative Thailand l ตุลาคม 2556
การเปลี่ยนแปลงจากจุดเริ่มต้นเพียงหนึ่งนี้ อาจนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่เป็นมิตรต่อกลุ่มคนรักเพศเดียวกันในรัฐอื่นๆ จนถึงประเทศอื่นต่อไป ได้ในอนาคต ในขณะที่อีกฟากหนึ่งของโลกกำ�ลังเฉลิมฉลองเรื่องสิทธิและเสรีภาพ ในการแสดงออกด้วยความปลื้มปิติ แต่เมื่อมองดูอีกด้านหนึ่งของแผนที่ ในรัสเซีย กลุ่มคนรักเพศเดียวกันกำ�ลังใช้ชวี ติ อยูบ่ นความสุม่ เสีย่ งและ ความหวาดระแวงต่อการแสดงออก เนือ่ งด้วยรัฐบาลออกกฎหมายห้ามไม่ ให้เกย์แสดงออกถึงรสนิยมทางเพศอย่างเปิดเผยในทีส่ าธารณะ รัฐสภารัสเซีย และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน (Vladimir Putin) ได้ผ่านกฎหมายที่ต่อ ต้ า นรั ก ร่ ว มเพศ ซึ่ ง มี เ นื้ อ หาหลั ก คื อ การกำ � หนดบทลงโทษผู้ ที่ "โฆษณาชวนเชื่อส่งเสริมลัทธิรักร่วมเพศ" การกระทำ�ที่เข้าข่ายความผิด ทีว่ า่ นี้ ครอบคลุมตัง้ แต่การจับมือถือแขนระหว่างคนเพศเดียวกัน พูดถึง กลุ่มคนรักเพศเดียวกันในเชิงบวก เช่น การให้ความรูว้ า่ การรักเพศเดียวกัน นัน้ เป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไปตามสิทธิเสรีภาพของมนุษย์กถ็ อื เป็นความผิด ขอบเขต แห่งความผิดนีค้ รอบคลุมถึงการแต่งตัวทีบ่ ง่ บอกว่าเป็นเกย์ หรือแม้แต่การ ใส่เสื้อผ้าที่เข้าข่ายสีรุ้งก็ผิดเช่นกัน โดยผู้ที่กระทำ�ผิดข้อหาเผยแพร่ความ เป็นเกย์จะถูกจับกุมและปรับเป็นเงินหนึ่งล้านรูเบิล หรือราวเก้าแสนบาท แต่นย่ี งั ไม่ใช่ขอ้ ห้ามทีห่ นักหนามากพอ รัฐบาลรัสเซียยังออกกฎหมาย ห้ามพ่อแม่บญุ ธรรมเพศเดียวกันรับเด็กมาอุปการะอีกด้วย ถ้าหากรัฐบาลรับรู้
25 พฤษภาคม 2013 – มอสโคว์, รัสเซีย – นักเคลื่อนไหวกลุ่มคนรักเพศเดียวกันถูกเจ้าหน้าที่ตำ�รวจเข้าควบคุมตัวระหว่างการประท้วงบนถนนทเวียร์สกายา โดยก่อนหน้า นั้นกลุ่มผู้ชุมนุมออกมาชูป้ายประณามการออกกฎหมายต่อต้านคนรักเพศเดียวกันของรัฐสภา ที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาผู้แทนราษฎรของรัสเซีย และถูกโจมตีโดยกลุ่มเคร่ง ศาสนา (ที่มา: tv.msnbc.com)
นั่นถือว่าเป็นการกระทำ�ที่เป็นความผิด ด้วยเหตุผลที่ว่า “ทั้งเรื่องของ ความเป็นอยู่ ศีลธรรม และการพัฒนาทางจิตวิญญาณของเด็ก อาจทำ�ให้ เด็กมีแนวโน้มเลียนแบบพ่อแม่ และกลายเป็นคนรักเพศเดียวกันในอนาคต” เพราะการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมของครอบครัวที่พ่อและแม่เป็นกลุ่ม คนรักเพศเดียวกัน นับเป็นส่วนหนึ่งของความท้าทายที่มีต่ออัตราการเกิด
© Zurab Dzhavakhadze
COVER STORY เรื่องจากปก
ของรัสเซียที่ลดลง จากปี 2002 ที่จำ�นวน 145.2 ล้านคน ลดลงเหลือเพียง 142.9 ล้านคนในปี 2010 และความเป็นอนุรักษ์นิยมของผู้น�ำ ประเทศ ก็ดูเหมือนจะเป็นเครื่องมือที่ยิ่งไขข้อห้ามเหล่านี้ให้รัดแน่นมากขึ้นอย่าง ไม่มีทีท่าว่าจะผ่อนคลาย
สิง่ ต้องห้ามบางอย่างที่ยังคงทำ�หน้าที่อยู่อย่างแข็งแรงในสังคม ณ วันนี้ สะท้อนให้เห็นจากสถิติมูลค่าการอุปโภคและบริโภคของคนในสังคม ความนิยม ความถดถอย การได้กำ�ไรหรือตัวเลขติดลบ จึงไม่ได้เป็นเรื่องของโชคลาภนำ�พา แต่เป็นเรื่องของการศึกษาอย่างรอบด้านถึงที่มาที่ไป ของความเชื่อที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ดังนัน้ ความเคารพซึ่งกันและกัน การยอมรับความเป็นตัวตนของผู้คนที่ใช้ชีวิตแตกต่างจากเรา ย่อมนำ�ไปสู่ ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสิ่งที่เคยเป็นของต้องห้าม เพราะเมื่อโลกชะล้างความหวาดกลัวต่อความไม่รู้บางอย่างออกจนหมดสิ้น หรือหลุดพ้นจาก สถานภาพต้องห้ามอย่างที่เคยเป็นมา ความชัดเจนและการรูจ้ กั ยอมรับได้ จะกลายเป็นต้นทุนอันยิ่งใหญ่ของการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อีกมากมาย และ กลายเป็นไพ่ใบที่เหนือกว่า สำ�หรับโลกธุรกิจให้กับคนที่เข้าใจความแตกต่างนี้อย่างแท้จริง
huffpost.com
ที่มา: หนังสือ การเมืองและการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย เขียน ธีระวิทย์ บทความ “The books have been burning” จาก cbc.ca บทความ “China’s billion-dollar domestic art market จาก theartnewspaper.com บทความ “Children of Gay Parents in Russia Hide Ties Under New Law” จาก bloomberg.com บทความ “The End of a 1,200 year-old Ban on the Eating of Meat” จาก kikkoman.co.jp บทความ “The dilemma in understanding the potential Muslim alcohol market” จาก grasp.dk บทความ “Tipsy taboo” จาก economist.com asianhistory.about.com, economist.com, nytimes.com, huffingtonpost.com, luciesfarm.com, brainpickings.org, วิกิพีเดีย ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 19
INSIGHT อินไซต์
กลยุทธ์รับมือตลาดความเชื่อ เมื่อคราวที่ เอไอเอ (AIA: American International Assurance) เข้าไปบุกเบิกตลาดประกันภัยในสาธารณรัฐ ประชาชนจีนเมื่อปี 1992 ความพยายามของพวกเขาในการ สร้างความตระหนักถึงความไม่แน่นอนของชีวิตเพื่อสร้าง คุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ประกันภัยนัน้ ล้มเหลวไม่เป็นท่า เพราะ เมื่อตัวแทนจำ�หน่ายเดินไปเคาะประตูบ้านพร้อมกับบอกเล่า เรื่องราวความสู ญเสีย ที่อ าจเกิดขึ้น กับ ครอบครัวที่ ไม่ ได้ เตรี ย มรั บ ความเสี่ ย งไว้ ล่ ว งหน้ า เช่ น เดี ย วกั บ ที่ เ คยทำ � ใน ประเทศตะวันตก สิ่งที่ได้รับกลับมาคือความไม่เข้าใจและ ปฏิกิริยาต่อต้านจากผู้บริโภคชาวจีน การที่ชาวจีนปฏิเสธที่จะนึกถึงความตายหรือเหตุร้ายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ได้นั้น เป็นผลจากการหล่อหลอมความเชื่อผ่านบริบททางวัฒนธรรม ศาสนา และสังคมทีท่ �ำ ให้พวกเขามองว่า ความตายเป็นหนึง่ ในวัฏจักรของ การเวียนว่ายตายเกิดตามกฎแห่งกรรม เป็นปริศนาที่ไม่อาจล่วงรู้ และ ถือเป็นเรื่องอัปมงคลที่ไม่ควรกล่าวถึง บทเรียนในครั้งนั้นทำ�ให้เอไอเอได้ เรียนรู้และพยายามก้าวข้ามอุปสรรคไป โดยนำ�เสนอกรมธรรม์รูปแบบ ใหม่ที่เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้เอาประกันได้รับเงินปันผลรายปีระหว่างที่มี ชีวิตอยู่ เพื่อให้นิยามของการทำ�ประกันชีวิตในความรู้สึกของลูกค้าไม่ใช่ เพียงการเตรียมพร้อมสำ�หรับอุบัติเหตุหรือความสูญเสียเพียงอย่างเดียว แต่ยงั เป็นการลงทุนทีจ่ ะทำ�ให้ได้รบั ผลตอบแทนจากเงินปันผล ซึง่ เป็นจุดที่ ทำ�ให้ผู้บริโภคแดนมังกรเริ่มเปิดใจรับฟังและให้ความสนใจมากขึ้น หลังการก่อตั้งของเอไอเอในจีน บริษัทประกันชีวิตทั้งต่างชาติและ ท้องถิ่นก็เพิ่มจำ�นวนขึ้น บริษัทประกันท้องถิ่นซึ่งนำ�โดย ผิงอัน ไลฟ์ อิน ชัวแรนซ์ (Ping An Life Insurance) จึงได้นำ�แนวคิดเรื่องการปรับรูปแบบ กรมธรรม์รวมถึงการนำ�เสนอให้จูงใจผู้บริโภคของเอไอเอมาพัฒนาต่อ จนเกิดเป็นกรมธรรม์หลากหลายแบบทีเ่ พิม่ ประโยชน์ดา้ นการสะสมทรัพย์ ซึ่งถูกดึงมาเป็นจุดขายอย่างเต็มตัว ทั้งยังออกแบบให้สอดรับกับค่านิยม ของตลาดจีนที่นิยมการสะสมทรัพย์และให้ความสำ�คัญกับลูกเป็นพิเศษ เช่น กรมธรรม์แบบตลอดชีพและสะสมทรัพย์ กรมธรรม์พร้อมเบีย้ บำ�นาญ รายปี กรมธรรม์สำ�หรับผู้เยาว์ ฯลฯ กรมธรรม์แบบใหม่ที่เน้นการจัดการ สินทรัพย์ (money management) แทนที่จะมุ่งทำ�ความเข้าใจใน ประโยชน์ดา้ นการจัดการความเสีย่ ง (risk management) ส่งผลให้รายได้ รวมจากเบีย้ ประกันของบริษทั ประกันชีวติ ทัง้ หมดเฉพาะในเซีย่ งไฮ้เพิม่ ขึน้ จากร้อยละ 57.3 ในปี 1996 เป็นร้อยละ 98.5 ในปี 1997 โดยผิงอันได้ 20 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
flickr.com/photos/epsos
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
ครองส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่ที่สุดในเซี่ยงไฮ้ และมีรายได้จากการขาย กรมธรรม์ภายในระยะเวลา 4 ปี ถึง 206.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่ เอไอเอมีรายได้เพียง 90.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม สิง่ ทีบ่ ริษทั ประกันภัยต่างชาติหลายแห่งกังวลก็เป็นจริง ในเวลาต่อมา เพราะการที่บริษัทประกันท้องถิ่นปรับรูปแบบกรมธรรม์ ประกันชีวติ ไปเน้นทีก่ ารจัดการสินทรัพย์ เพือ่ หลีกเลีย่ งการพูดถึงอุบตั เิ หตุ โรคร้าย และความตายที่อาจกระทบถึงบริบทข้อห้ามในตลาดผู้บริโภค เพือ่ ได้มาซึง่ ส่วนแบ่งตลาด โดยไม่วางแผนการจัดการผลกำ�ไรทีจ่ ะเสียไป กับผลิตภัณฑ์เหล่านี้อย่างรัดกุม ทำ�ให้บริษัทเหล่านี้เข้าสู่ภาวะขาดทุน โดยคณะกรรมการกำ�กับการประกอบธุรกิจประกันภัยของจีนถึงกับต้อง ออกคำ�สั่งให้บริษัทประกันภัยทั้งหมดหยุดการขายผลิตภัณฑ์ที่เสนอให้ ดอกเบี้ยสูง และกำ�หนดเพดานอัตราเบี้ยประกันภัยให้มีผลบังคับใช้ทั่ว ประเทศในปี 1999 ในขณะที่ผิงอันขาดทุนสุทธิถึง 1.2 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ ในปี 2000 และจำ�ต้องขอความช่วยเหลือจากบริษทั ประกันภัยต่าง ชาติในการให้คำ�ปรึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จัดการความเสี่ยงที่เหมาะ สมในปีถัดมา การเรียนรู้ข้อห้ามและปรับตัวให้เข้ากับบริบทในสังคมของตลาดอาจ เป็นสิ่งจำ�เป็นในการทำ�ธุรกิจ แต่กุญแจสำ�คัญที่จะไขสู่ความสำ�เร็จนั้น ยังขึ้นอยู่กับการชั่งนํ้าหนักระหว่างความต้องการของตลาดและขีดจำ�กัด ของตนเอง ที่มา: บทความ "China life: Marketing cultural taboos in your marketing strategy" จาก upclose.unimelb.edu.au บทความ "Marketing Life Insurance in China: How Cultural Taboo Matters" (2012) โดย Cheris Shun-ching Chan จาก worldfinancialreview.com
พบกับนิตยสาร Creative Thailand
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล
รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย for education USA • Book Re:public • ทรู คอฟฟ • 94 Coffee • Little Cook Café • รานกาแฟวาวี • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • Sweets Café • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • วีวี่ คอฟฟ • Kanom • The meeting room art café • แมคคาเฟ • รานมองบลังค • Things Called Art • Babushka • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • มิลลเครป • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • ก.เอย ก.กาแฟ • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • อะเดยอินซัมเมอร • Minimal • บรรทมสถาน • ชีสเคกเฮาส • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • The Salad Concept • Hallo Bar • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • ไอเบอรรี่ • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • Take a Seat • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • Greyhound (Shop and Café) • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • รานกาแฟบางรัก • เวียง จูม ออน บายนิตา • Acoustic Coffee • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • I Love Coffee Design • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Caffé D’Oro • อิฐภราดร ลําปาง • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน โรงภาพยนตร / โรงละคร แอนด มอร • โรงภาพยนตรเฮาส • เพลินวาน • Egalite Bookshop • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ภัทราวดีเธียเตอร • ทรู คอฟฟ หัวหิน • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ หองสมุด • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ แอนดคาเฟ ภูเก็ต • หองสมุดมารวย • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • ศูนยหนังสือ สวทช. • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • SCG Experience • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel • The Reading Room สปา เลย พิพิธภัณฑ / หอศิลป • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • มิวเซียม สยาม • บานชานเคียง • อุทยานการเรียนรู (TK park) • เลท ซี หัวหิน • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • หอศิลปวัฒนธรรม • บานใกลวงั แหงกรุงเทพมหานคร • Hug Station Resort • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • บานจันทรฉาย ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • รานเล็กเล็ก • ลู น า ฮั ท รี ส อร ท • HOF Art • ราน all about coffee • The Rock โรงแรม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น • หลับดีโฮสเทล สีลม (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม โรงพยาบาล • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลศิริราช อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลปยะเวท • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลกรุงเทพ • โรงพยาบาลเกษมราษฎร หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น ประชาชื่น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)
ขอมูลผูสมัครสมาชิก
สมาชิกใหม
ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศััพทบาน โทรสาร
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
หญิง อายุ โโทรศััพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ
อีเมล
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน
โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand
สำหรับเจาหนาที่การเงิน
1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….
1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ร้อยเรียงเรื่องดอกไม้สไตล์ PUTRAYA Design by Odds
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล และ ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
ความชื่ น ชอบในของสวยงามคื อ แรงบั น ดาลใจสำ � คั ญ ให้ “อ๊อด” สันทัด พวงพิทกั ษ์ เข้าสูว่ งการจัดดอกไม้ จากพืน้ ฐาน ทางคหกรรมศาสตร์ สันทัดมีโอกาสได้ท�ำ งานพิเศษกับบริษทั จัดดอกไม้ที่รับผิดชอบงานดอกไม้ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ิ พระบรมราชินนี าถ และทำ�งานในฐานะนักจัดดอกไม้ เต็ ม ตั ว ภายหลั ง จบการศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี จ าก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี ภายหลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำ�งานกับดอกไม้ และใบไม้มาเกือบสิบปี สันทัดนำ�ความรูแ้ ละความเชีย่ วชาญทีไ่ ด้ จากการจัดดอกไม้ในงานต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นพิธกี าร งานมงคล และงานอวมงคลต่างๆ เปิด PUTRAYA Design by Odds ร้ า นจั ด ดอกไม้ ท่ีนำ� เสนองานตกแต่ ง สถานที่ด้ว ยไม้ ด อก และไม้ใบได้อย่างมีเอกลักษณ์ อันเกิดจากการผสมความรู้ ด้านดอกไม้เข้ากับความต้องการของลูกค้าได้อย่างลงตัว 22 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
ประตูสู่ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ การได้เป็นหนึ่งในทีมงานถวายงานดอกไม้แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นโอกาสสำ�คัญที่ทำ�ให้สันทัดมีโอกาสได้เรียนรู้งาน จัดดอกไม้สด ที่ปรับเปลี่ยนจากงานร้อยกรองดอกไม้ตามประเพณีนิยม ของไทยมาเป็นงานที่มีกลิ่นอายและรูปลักษณ์ร่วมสมัยมากขึ้น ซึ่งกลาย เป็นพืน้ ฐานสำ�คัญในการทำ�งานกับลูกค้าเพือ่ สร้างสรรค์บรรยากาศในงาน พิธีต่างๆ โดยผสมผสานทั้งความเชื่อดั้งเดิมตามที่ได้ศึกษาและเรียนรู้ มารวมกับความชอบและไม่ชอบของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย “โดยส่วนตัวเรายังมีความเชือ่ อยูว่ า่ ดอกไม้บางชนิดอย่างดอกบัว โบราณ เขาจะใช้บชู าพระ ใช้ในทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น ถ้าจะนำ�มาใช้ก็คือ ใช้ได้ในงานพิธที างศาสนา แต่อย่างบางงาน เช่นงานแต่งงานหรืองานศพ เรา ก็จะต้องถามลูกค้าก่อนว่า ลูกค้าซีเรียสไหมเกี่ยวกับการนำ�ดอกบัวมาจัด เพราะอย่างถ้าญาติผู้ใหญ่เป็นคนแก่คนเฒ่า เขาจะถือเรื่องของการเอา ดอกบัวมาจัดว่าเป็นการไม่สมควร อย่างถ้าเป็นงานแต่งงานเราก็จะเลือก ดอกไม้ที่ใช้ในงานมงคลอย่างดอกรัก ดอกมะลิ ดอกจำ�ปี ดอกจำ�ปา ก็คอื
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
สันทัดยังมองว่าจุดสำ�คัญของการทำ�งานกับดอกไม้คงไม่ได้อยู่ที่ข้อห้าม หรื อ การถื อ เคล็ ด ใดๆ แต่ น่ า จะอยู่ ที่ ก ระบวนการเรี ย นรู้ ที่ จ ะ ปรับองค์ความรู้เดิมให้เข้ากับบริบทแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไปมากกว่า เพราะกระทัง่ ตัวเขาเองก็ยงั คงพยายามใช้ดอกซ่อนกลิน่ ในงานศพหากเป็น ไปได้ เพือ่ รักษาภูมปิ ญั ญาดัง้ เดิมในอดีตไม่ให้เลือนหาย หากก็ตอ้ งใช้อย่าง เข้าใจและรู้เท่าทันความต้องการของลูกค้า
จะเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นในตัวเอง แล้วก็มีเสน่ห์มีความเย้ายวนของกลิ่น เพราะว่าโบราณเขาจะนำ�ดอกไม้พวกนี้มาทำ�เป็นเครื่องแขวนดอกไม้ไทย เช่น งานแขวน งานโมบายตามหน้าต่าง ตามประตูวัด พอลมโชยมาจะมี กลิ่นหอม” สำ�คัญที่การสื่อสารและการตีความ สำ�หรับสันทัดแล้ว สิ่งที่จำ�เป็นอย่างยิ่งในการจัดดอกไม้ให้เหมาะสมใน แต่ละงาน อยู่ที่การสอบถามความต้องการของเจ้าของงานให้ชัดเจนและ ถี่ถ้วน เพื่อให้มีความเข้าใจตรงกันและเห็นภาพเดียวกันก่อนจะลงมือ “อย่างงานศพ ลูกค้าบางคนเขาก็ถอื ถ้าเรานำ�ดอกซ่อนกลิน่ มาใช้ บางงาน ในปัจจุบนั ลูกค้าเลือกไม่ใช้เลยก็มี แต่โบราณจริงๆ เขาจะใช้ดอกซ่อนกลิน่ เพราะมีกลิ่นที่ฉุนและแรง สามารถกลบกลิ่นของศพได้” แม้ว่าในอดีต ซ่อนกลิ่นจะเป็นดอกไม้ประจำ�งานศพจากกลิ่นหอมแรงที่ช่วยกลบกลิ่น ไม่พึงประสงค์ก็ตาม แต่ลูกค้าบางรายอาจถือเคล็ดและไม่อยากให้ใช้ ดอกซ่อนกลิ่นในงานศพอีก สันทัดจึงเลือกที่จะปรับเปลี่ยนชนิดดอกไม้ที่ ใช้ให้เป็นดอกไม้อื่นๆ เช่น มะลิ ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นถึงความใส่ใจใน รายละเอียดในการทำ�งานแต่ละครัง้ ทัง้ ยังแสดงให้เห็นว่าความเปลีย่ นแปลง ของยุคสมัยและเทคโนโลยีก้าวหน้าในปัจจุบันได้ทำ�ให้การต้องพึ่งพากลิ่น ของดอกไม้ให้ทำ�หน้าที่บางอย่างนั้นอาจไม่จำ�เป็นอีกต่อไป นอกจากนี้
พลิกแพลงให้เข้าท่า รักษาให้เข้าที เช่นเดียวกับการทำ�งานในเชิงสร้างสรรค์อน่ื ๆ งานจัดดอกไม้กม็ ขี อ้ พึงระวัง ทีอ่ าจต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเช่นกัน สันทัดมองว่าวิธกี ารจัดการ งานดอกไม้ให้ลลุ ว่ งไปด้วยดีนน้ั นอกจากจะต้องมีความรูเ้ รือ่ งการใช้ดอกไม้ ชนิดใด อย่างไร อะไรคือข้อห้ามต่างๆ แล้ว ที่สำ�คัญยังต้องอาศัยหัวคิด ที่ รู้ จั ก ยื ด หยุ่ น และผสมผสานสิ่ ง ที่ มี ใ ห้ เ หมาะสมกั บ เงื่ อ นไขนั้ น ๆ จากพืน้ ฐานที่มีอยู่เดิม “อย่างถ้าเป็นงานศพ หรืองานทีต่ อ้ งจัดหลายๆ วัน เราก็จะแนะนำ�ลูกค้าว่าควรจะเป็นดอกไม้ที่อยู่ทนและใช้กับดีไซน์แบบ นี้ไหม หรือถ้าเรื่องการจัด ถ้าจัดแบบนี้จะอยู่ได้น้อยกว่า เราก็จะแนะนำ� ลูกค้าก่อน สำ�หรับการดูแล จริงๆ ดอกไม้ต้องการออกซิเจนกับนํ้าที่เรา จะหล่อเลี้ยงต่างกัน นํ้าต้องสะอาดไม่มีแบคทีเรีย และดอกไม้บางชนิดก็ ไม่ต้องการนํ้า” ดังนั้น งานออกแบบดอกไม้จึงต้องขึ้นกับเงื่อนไขหลาย ประการทีม่ ผี ลกระทบโดยตรงต่อรูปทรงของผลงานสำ�เร็จ จึงจำ�เป็นอย่างยิง่ ทีจ่ ะต้องศึกษารายละเอียดในชนิดของดอกไม้ วิธกี ารดูแลรักษาหลังนำ�มาจัด กระทัง่ อุณหภูมทิ ด่ี อกไม้แต่ละชนิดชืน่ ชอบ รวมถึงการหมัน่ เรียนรูใ้ นเรือ่ งอืน่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ซัพพลายเออร์หรืออุปกรณ์เสริมโครงสร้างต่างๆ อย่าง โฟม ไม้ หรือเหล็ก ซึ่งจะใช้วัสดุใดก็อยู่ที่งานออกแบบแต่ละครั้ง ว่าไปใน รูปแบบใด “แหล่งหาซือ้ ดอกไม้กจ็ ะมีทป่ี ากคลองตลาด แล้วก็ซพั พลายเออร์ ที่เรารู้จัก เขาจะสามารถบอกคุณภาพของดอกไม้ให้เราได้ด้วยว่าดอกไม้ อันนี้ค้างอยู่กี่วัน บอกเราเรื่องความสด แล้วเราก็ไม่ต้องห่วงเวลาเราจะ สั่งซื้อ เราก็โทรไปเหมือนล็อกดอกไม้ได้ ว่าต้องการเท่านี้ๆ” อย่างไรก็ตาม สันทัดยังมองว่า สิง่ สำ�คัญทีส่ ดุ ของการเป็นนักจัดดอกไม้ ที่ดีนั้นอยู่บนพื้นฐานของการรู้จักปรับเปลี่ยนรูปแบบงานดอกไม้ตามองค์ ความรู้เดิมที่ได้รับการถ่ายทอดมาให้เข้ากับบริบททั้งเวลา โอกาส และ สถานที่ โดยไม่ลืมใส่ตัวตนลงไปในงานที่ทำ� ทว่าก็ยังคงเคารพในศาสตร์ แห่งการจัดดอกไม้ของบรรพบุรุษ ซึ่งบอกเล่าผ่านองค์ประกอบศิลป์ตา่ งๆ ทั้งเส้นสาย สี และจังหวะ รวมถึงใจที่รักในงานที่ทำ� ซึ่งรวมแล้วคือหัวใจ สำ�คัญของการจัดวางดอกไม้ในแบบฉบับของ PUTRAYA Design by Odds
PUTRAYA Design by Odds: 52 ซอยถนนระนอง 2 พระราม 5 โทร. 087-672-5654 และ 02-668-6215 ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 23
© Holger Leue/CORBIS
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Saint Petersburg อดีตขีดเส้นปัจจุบัน ความย้อนแย้งอันงดงามและน่าหวาดหวั่น
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
ขณะทีก่ รุงมอสโคว์ (Moscow) เปรียบได้กบั ศูนย์กลางแห่งความรุง่ เรืองทางอำ�นาจและเศรษฐกิจ ของรัสเซียในยุคสหภาพโซเวียตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ซังค์เปเตร์บูร์ก หรือ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (Saint Petersburg) คือตัวต่อปริศนาชิ้นสำ�คัญที่ทำ�ให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของ ประวัติศาสตร์รัสเซียที่มีความซับซ้อนได้อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเส้นทางการเติบโต ของนครแห่งนีจ้ ะเริม่ ต้นอย่างงดงาม หากระหว่างทางกลับเต็มไปด้วยกับดักพรางตาทีค่ อยสร้าง บาดแผลให้กับผู้คน อุดมการณ์อันสูงส่งที่คาดว่าจะเป็นกุญแจนำ�ทางไปสู่ความรุ่งโรจน์และเท่า เทียมกลับกลายเป็นกฎจองจำ�สิทธิเสรีภาพในการดำ�เนินชีวิต ตลอดจนผลักดันให้ผู้คนลุกขึ้น ต่อสู้เพื่อกอบกู้ความเป็นธรรมเช่นกัน
24 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
wallpapersad.com
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เงาสะท้อนของการเปลี่ยนผ่านที่ไม่เคยสิ้นสุด
สถาปัตยกรรมอันงามวิจติ รทีเ่ รียงรายตามมุมเมืองของเซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ ท่ามกลางสภาพภูมปิ ระเทศทีเ่ ป็นเกาะแก่งคือแม่เหล็กทีด่ งึ ดูดนักท่องเทีย่ ว จากทั่วโลกให้เข้ามาสัมผัสความยิ่งใหญ่ในอดีตของรัสเซีย แต่ในเวลา เดียวกันนั้น ก็ถือเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงปมความขัดแย้งและอุดมการณ์ สุดโต่งที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย บอกเล่าทั้งเรื่องราวของผู้ล่วงลับและผู้ อยู่รอด นับตั้งแต่ยุคสมัยของพระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ผูม้ พี ระราชประสงค์จะสร้างเมืองหลวงใหม่ให้เป็น “หน้าต่างแห่งโลกตะวันตก” โดยมีท่าเรือพาณิชย์และเปิดรับวิทยาการยุโรปสมัยใหม่แทนกรุงมอสโคว์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมยุคเก่า เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจึงกลายเป็น เมืองทีไ่ ด้รบั อิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตกมากทีส่ ดุ ทัง้ จากสถาปัตยกรรม บาโรคและนีโอคลาสสิกอันงดงามโอ่อา่ ทีร่ ายล้อมรอบเมือง ซึง่ ภายหลังถูก ทำ�ลายเสียหายเมือ่ รัสเซียเข้าสูย่ คุ เรืองอำ�นาจของผูน้ �ำ แห่งพรรคบอลเชวิก วลาดิมรี ์ เลนิน (Vladimir Lenin) คือผูเ้ ริม่ จุดชนวนการปฏิวตั ขิ น้ึ เป็น ครัง้ แรกและเปลีย่ นการปกครองมาเป็นระบอบสังคมนิยม อิทธิพลของลัทธิ คอมมิวนิสต์ได้แผ่ปกคลุมไปทั่วอาณาบริเวณของสหภาพโซเวียต จาก สถาปัตยกรรม จิตรกรรม สู่วงการวรรณกรรม ดนตรี และสื่อมวลชนซึ่ง ล้วนตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลทั้งสิ้น หลังการเสียชีวิตของ
เลนิน เมืองนี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อให้เป็น “เลนินกราด (Leningrad)” เพื่อ ยกย่องผูน้ �ำ การปฏิวตั ชิ นชัน้ กรรมาชีพทีส่ ร้างพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้มแข็ง และน่าเกรงขาม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เลนินต้องการย้ายเมืองหลวง กลับไปยังมอสโคว์เพื่อลบล้างอดีตอันรุ่งโรจน์ของราชวงศ์ซาร์ ต่อมาโจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) เลขาธิการใหญ่พรรค คอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพได้สืบทอดอำ�นาจต่อและพารัสเซียก้าวไป สูจ่ ดุ สูงสุดของประเทศมหาอำ�นาจฝ่ายซ้าย ในระหว่างนัน้ กองทัพนาซีของ เยอรมนีได้ปดิ ล้อมเลนินกราด ทำ�ให้ทงั้ พลเมืองและข้าศึกบาดเจ็บล้มตาย กว่า 1 ล้านคน นับเป็นช่วงเวลายาวนานที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กต้องตกอยู่ ภายใต้สภาวะของความหวาดกลัว การสูญเสียและความบอบชํา้ ทีไ่ ม่มวี นั เยียวยา อย่างไรก็ตาม ในช่วงการเรืองอำ�นาจของสตาลินมีอาคารทรง สไตล์สตาลินิสต์ (Stalinist Architecture) เกิดขึ้นอยู่หลายแห่งทั้งใน มอสโคว์ แ ละชานเมื อ งของเซนต์ ปี เ ตอร์ ส เบิ ร์ ก ซึ่ ง สะท้ อ นถึ ง แนวคิ ด สังคมนิยมและความทะเยอทะยานของเขาอย่างจัดจ้าน โดยเฉพาะอย่างยิง่ สถานีรถไฟใต้เลนินกราด (1995) ที่ได้รับการตกแต่งอย่างสมเกียรติ ครั้ น สหภาพโซเวี ย ตล่ ม สลาย รั ส เซี ย ก็ ไ ด้ เ ก็ บ เกี่ ย วเสี้ ย วเศษที่ กระจัดกระจายกลับขึ้นมาใหม่อีกครั้งพร้อมกับเดินหน้าต่อไปบนเส้นทาง ตุลาคม 2556 l Creative Thailand l 25
ของประชาธิปไตย อาคารสถาปัตยกรรมยุคเก่าที่รอดพ้นจากการทำ�ลาย ล้างโดยพรรคคอมมิวนิสต์จึงได้รับการบูรณะอีกครั้ง อาทิ ป้อมปราการ ปีเตอร์และพอล (Peter and Paul Fortress) ซึ่งกลายเป็นคุกในยุค คอมมิวนิสต์ พระราชวังฤดูร้อน (Summer Palace) มหาวิหารเซนต์ ไอแซค (Saint Isaac's Cathedral) และพิพธิ ภัณฑ์เฮอร์มเิ ทจ (Hermitage Museum) หรือ “มูเซย์ เอร์มิตาช” หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ ที่สุดในโลกอันเป็นแหล่งพำ�นักของศิลปะลํ้าค่าที่รังสรรค์โดยปรมาจารย์ ศิลปิน อาทิ ภาพวาดแนวอิมเพรสชันนิสม์และโพสต์อิมเพรสชันนิสม์ของ โคลด โมเนต์ (Claude Monet) กามิล ปิสซาโร (Camille Pissaro) และ วินเซนต์ ฟาน ก๊อกฮ์ (Vincent Van Gogh) สะท้อนถึงความรุ่งโรจน์ของ รัสเซียในรัชสมัยของพระนางอลิซาเบธแห่งราชวงศ์ซาร์ (แม้จะเป็นที่ วิพากษ์วิจารณ์ในแง่ความฟุ่มเฟือยเช่นกัน) ล้วนยังคงทรงคุณค่าทาง ประวัตศิ าสตร์ กระทัง่ ในปี 1991 องค์การยูเนสโกได้ยกย่องให้เซนต์ปเี ตอร์ สเบิร์กเป็นเมืองมรดกโลก (UNESCO World Heritage) จึงไม่น่าแปลกใจ หากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงที่ทับซ้อนกันบนหน้าประวัติศาสตร์จะส่ง ผลต่อวิถีชีวิต พฤติกรรม ทัศนคติ หรือกระทั่งความหวาดระแวงและ ไม่เป็นมิตรของชาวรัสเซียอย่างไม่อาจเลีย่ งได้ ทัง้ ยังขีดเส้นกำ�หนดอนาคต ของรัสเซียยุคใหม่ซึ่งเหล่านักเคลื่อนไหวทางสังคมทั่วโลกก็ยังคงทวงถาม ถึงสิทธิและเสรีภาพภายใต้ระบอบประชาธิปไตยของรัสเซียมาจนถึงทุกวันนี้ เปลวไฟร้อนรุ่มเหนือศูนย์องศา
รสชาติอันขมเข้มและบาดลำ�คออย่างนุ่มลึกคงเป็นคุณสมบัติที่ทำ�ให้ วอดก้า (Vodka) แตกต่างจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่นๆ แต่สิ่งที่ทำ�ให้ วอดก้าซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตแบบรัสเซียกลายเป็นที่ ยอมรับไปทั่วโลกก็คือกรรมวิถีการกลั่นอย่างพิถีพิถันเพื่อให้ได้รสชาติต้น ตำ�รับของวอดก้าบริสุทธิ์ที่มีแอลกอฮอล์สูงถึงร้อยละ 38-40 หากน้อยคน จะรู้ว่าเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งโรงกลั่นวอดก้าและ เบียร์ที่โด่งดังมากที่สุดแห่งหนึ่งในรัสเซีย ซึ่งเปรียบเสมือนเชื้อเพลิงที่ช่วย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเมืองท่ามกลางความหนาวเหน็บอันหฤโหด ทัง้ ยังพันผูกกับประวัตศิ าสตร์ของชาติมายาวนาน นับตัง้ แต่สมัยจักรวรรดิ ซาร์แห่งรัสเซียซึง่ เป็นช่วงทีโ่ รงกลัน่ วอดก้าถูกผูกขาดเฉพาะในกลุม่ ชนชัน้ สูง ต่อมาในปี 1863 ภาครัฐยกเลิกการผูกขาดทำ�ให้เอกชนสามารถเปิด กิจการโรงกลั่นได้ตามกฎหมายแต่ต้องจ่ายภาษีให้กับภาครัฐ วอดก้าจึง กลายเป็นเครื่องดื่มที่ทุกชนชั้นสามารถเอื้อมถึงและค่อยๆ หลอมรวม เข้ากับวิถีชีวิตของชาวรัสเซียไปในที่สุด ด้วยความพร้อมทางทรัพยากรธรรมชาติ ทัง้ ดินดำ�ทีอ่ ดุ มไปด้วยแร่ธาตุ หล่อเลีย้ งธัญพืชและนา้ํ คุณภาพดีจากทะเลสาบลาโดกา เซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ จึงกลายเป็นแหล่งรวมโรงกลัน่ วอดก้าและเครือ่ งดืม่ แอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ จำ�นวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่จัดอยู่ในระดับพรีเมียมทั้งสิ้น หนึ่งในนั้นคือ 26 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
กราฟิกดีไซน์ เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ โปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อมีบทบาทตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเรื่อย มาจนถึ ง สงครามเย็ น ในฐานะกระบอกเสี ย งของรั ฐ บาลเผด็ จ การที่ มี อิทธิพลโน้มน้าวประชาชนรัสเซียให้ปฏิบัติและคล้อยตามนโยบายต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดมิทรี มูร์ (Dimitri Moor) คือหนึ่งในนักออกแบบ กราฟิกรัสเซียที่น่าจับตามองมากที่สุด ผลงานของเขาโลดแล่นในยุคสมัย ของพรรคบอลเชวิก (ปี 1917-1921) จนถึงยุคนโยบายเศรษฐกิจใหม่ ส่วนใหญ่แสดงถึงเรื่องราวการต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรมที่ แตกต่างกันชัดเจน เช่น ขั้วอำ�นาจจักรวรรดิกับชนชั้นแรงงาน โดยเน้น การใช้สีแดงที่เป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติและสีดำ�แทนชาวนาและกลุ่ม แรงงาน หนึ่งในผลงานของเขาที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ "Have You Enlisted In the Army?" อันมีส่วนทำ�ให้พรรคบอลเชวิกสามารถโค่นล้ม ราชวงศ์ซาร์แห่งรัสเซียได้สำ�เร็จในปี 1917
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
#DumpStoli กฎหมายต่อต้านเกย์ในรัสเซียได้จุดชนวนความขัดแย้งขึ้น ทำ�ให้เครือข่ายความหลากหลายทางเพศฯ (Lesbian, Gay, Bisexual, or Transgender - LGBT) ทั้งใน รัสเซียและต่างประเทศออกมาเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านและประณามการกระทำ�ครั้งนี้ว่าเป็นการลิดรอนสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของกลุ่มเพศที่ 3 ในรัสเซียอย่างยิ่ง แดน ซาเวจ (Dan Savage) นักเขียนและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ชาวนิวยอร์กได้เผยแพร่บทความออนไลน์ “Why am I Boycotting Russian Vodka?” เมื่อ กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเสนอให้ชาว LGBT ทั่วโลกเข้าร่วมแคมเปญ “#DumpStoli” เพื่อรณรงค์ให้ผับและบาร์ต่างๆ ของชาวสีรุ้งช่วยกันบอยคอตต์วอดก้าของ รัสเซียโดยเฉพาะ “สตาลิชนายา” หรือ “สตาลิ” แบรนด์วอดก้าที่ขายดีมากที่สุดเป็นอับดับที่ 12 ในอเมริกาและที่ 14 ของโลก กระแสต่อต้านครั้งนี้ได้แพร่สะพัด จากนิวยอร์ก แวนคูเวอร์ ซานฟรานซิสโก ซิดนีย์ ไปสู่ลอนดอนอย่างรวดเร็ว แต่สถานการณ์กลับพลิกผันเมื่อ วัล เมนเดอลีฟ (Val Mendeleev) ซีอีโอแห่งบริษัท SPI Group ผู้ผลิตและจัดจำ�หน่ายวอดก้าสตาลิออกมาชี้แจงกับสื่อว่าบริษัทผู้ผลิตวอดก้าแบรนด์นี้มีด้วยกัน 2 แห่ง ได้แก่ FKP Soyuzplodoimport ซึ่งเป็นผู้ผลิต และจัดจำ�หน่ายสตาลิภายใต้การควบคุมของรัฐบาลรัสเซีย กับ SPI Group ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนในลักซัมเบิร์กที่ผลิตและจัดจำ�หน่ายสตาลิไปยังร้อยกว่าประเทศ รวมทั้งอเมริกา สหราชอาณาจักร และแคนาดา ทั้งยังยืนยันว่า SPI นั้นสนับสนุนประชาชนเพศที่สามมาโดยตลอดเนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ และ เห็นด้วยกับการต่อต้านกฎหมายดังกล่าวอย่างจริงจัง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลรัสเซียก็ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัท จึงขอร้องให้ทุกคนเลิกบอยคอตต์สตาลิของ SPI โดยเร็ว นอกจากนี้ นักวิเคราะห์การตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งยูโรมอนิเตอร์ ยังออกโรงหนุนให้ผู้บริโภคยกเลิกการต่อต้านวอดก้าของรัสเซียด้วยอีกแรง ทั้งนี้ก็ เพราะว่าการควํ่าบาตรอาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อประเทศอื่นๆ ที่อยู่บนสายพานการผลิตเดียวกันกับสตาลิและสินค้าส่งออกทั้งหมดของรัสเซียเช่นกัน
“ลีวิซ (Liviz)” แบรนด์วอดก้าที่เก่าแก่ที่สุดของรัสเซียตั้งแต่ปี 1897 ซึ่งถือ สิทธิ์เป็นผู้ผลิตให้กับอิมพีเรียล คอร์ท (Imperial Court) แต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม การเติบโตของธุรกิจนาํ้ เมาก็ตอ้ งแลกมาด้วยปัญหาสุขภาพ ความยากจน และอาชญากรรมที่แพร่ระบาดไปทั่วรัสเซีย เมื่อพรรคบอล เชวิกก่อการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ได้สำ�เร็จ จึงออกกฎหมายห้ามการผลิตและจำ�หน่ายวอดก้าเพื่อจัดการ ถอนรากถอนโคนปัญหาดังกล่าว ก่อนที่กฎหมายนี้จะถูกยกเลิกไปในยุค สมัยของสตาลิน
หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต อุตสาหกรรมวอดก้าก็กลับ มาเดินหน้าสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยมี “รัสเซียน สแตนดาร์ด (Russian Standard)” แบรนด์วอดก้ารายใหญ่ที่เพิ่งลงทุน ขยายพืน้ ทีโ่ รงกลัน่ กว่า 30,000 ตร.ม.ทีเ่ ซนต์ปเี ตอร์สเบิรก์ ในปี 2006 นำ�ทัพ มาขับเคีย่ วกับคูแ่ ข่งร่วมสัญชาติตลอดกาลอย่าง “สตาลิชนายา (Stolichnaya)” อย่างไรก็ตาม จากบทความเชิงวิเคราะห์โดยยูโรมอนิเตอร์ (Euromonitor International) ระบุว่าแม้รัสเซียยังคงรั้งตำ�แหน่งตลาดวอดก้าที่ใหญ่ที่สุด ในปี 2012 ทว่าก็มีแนวโน้มที่จะเสียแต้มต่อให้กับสหรัฐฯ และอินเดียซึ่ง เป็นตลาดใหญ่รองลงมาได้ อันเนือ่ งจากกระแสการแบนวอดก้าของรัสเซีย เพื่อประท้วงกฎหมายต่อต้านกลุ่มเพศที่สามที่กำ�ลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 27
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โรงเรียนปลอดเพศสภาพแห่งแรกได้เปิดทำ�การในกรุง สตอกโฮล์ม สวีเดนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กวัย 1-6 ขวบ ได้มีโอกาสเรียนรู้ และพัฒนาตนเองโดยไม่ยึดติดกับกรอบค่านิยมของสังคมสากลเรื่องเพศ สภาพ ซึง่ ถือเป็นสัญญาณทีด่ ใี นการเปิดกว้างและยอมรับความหลากหลาย ทางเพศมากยิง่ ขึน้ แต่สถานการณ์ของกลุม่ รักร่วมเพศในรัสเซียกลับเลวร้าย ลงไปทุกที เมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา วลาดิมีร์ ปูติน (Vladimir Putin) ประธานาธิบดีคนปัจจุบนั ของสหพันธรัฐรัสเซียได้ลงนามอนุมตั แิ ละประกาศ ใช้กฎหมายต่อต้าน “การโฆษณาชวนเชื่อส่งเสริมกิจกรรมของกลุ่มคนรัก เพศเดียวกัน” เดิมทีสิทธิและเสรีภาพของเพศที่ 3 ในรัสเซียถูกรุกรานและลิดรอน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 พระเจ้าปีเตอร์มหาราชแห่งราชวงศ์ซาร์ได้ออก กฎหมายห้ามทหารในกองทัพมีความสัมพันธ์ทางเพศกับคนเพศเดียวกัน เพื่อมุ่งผลักดันรัสเซียไปสู่ความยิ่งใหญ่ ในช่วงการปกครองระบอบ สังคมนิยม รัฐบาลโซเวียตได้ออกกฎหมายทีร่ ะบุวา่ การรักคนเพศเดียวกัน ถือเป็นการก่ออาชญากรรม และกำ�หนดให้บุคคลที่มีพฤติกรรมรักเพศ เดียวกันมีความผิดปกติทางจิต อย่างไรก็ตาม ข้อกำ�หนดดังกล่าวถูก ยกเลิกในปี 1999 ซึ่งเป็นช่วงที่ปูตินยังดำ�รงตำ�แหน่งประธานาธิบดีสมัย แรก ในปี 2006 มีการก่อตัง้ เครือข่าย LGBT แห่งรัสเซียขึน้ อย่างเป็นทางการ เพื่อเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นธรรมให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ซึ่งยัง คงถูกมองและปฏิบัติในฐานะ “คนชายขอบ” ของสังคมรัสเซียสมัยใหม่ รายงานของสำ�นักข่าวเดอะ การ์เดียน ระบุว่าในปี 2012 เซนต์ ปีเตอร์สเบิรก์ กลายเป็นเมืองที่ 4 ในรัสเซียทีต่ อ่ ต้านกลุม่ คนรักเพศเดียวกัน โดยมีกลุม่ นักการเมืองและศาลเยาวชนภายใต้คริสตจักรรัสเซียออโธดอกซ์ คอยสนับสนุนให้ภาครัฐประกาศใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการทัว่ ประเทศ เพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนจากการโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มคนรักเพศ เดียวกัน และเมื่อกฎหมายดังกล่าวมีผลอย่างเป็นทางการในปี 2013 จึง ทำ�ให้กลุ่มเพศที่ 3 ที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านถูกทำ�ร้ายร่างกายจำ�นวน มาก นอกจากนี้ สำ�นักข่าวบลูมเบิรก์ ยังรายงานว่าสถานการณ์การต่อต้าน อย่างรุนแรงในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กได้ส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนชาว รัสเซียทีม่ ผี ปู้ กครองเป็นเกย์หรือเลสเบีย้ นอย่างยิง่ เด็กสาววัยรุน่ อายุ 17 ปี คนหนึ่งวิตกกังวลว่าผู้ปกครองของตนเองอาจถูกตัดสินว่าเป็นอาชญากร ในขณะเดียวกันกลุ่ม LGBT ในรัสเซียรายงานว่าร้อยละ 15 ของกลุ่มคนรัก เพศเดียวกันทีร่ บั เลีย้ งบุตรบุญธรรมต้องเผชิญกับความหวาดระแวงและถูก ลอบทำ�ร้ายร่างกายเป็นครั้งแรกในรอบสิบเดือนที่ผ่านมา ทำ�ให้พวกเขา รู้สึกกลายเป็นคนชายขอบของสังคมมากขึ้นไปทุกที อย่างไรก็ตาม กลุ่ม คนรักเพศเดียวกันรวมไปถึงองค์กรนานาชาติและผูน้ �ำ แห่งประเทศเสรีตา่ ง พากันวิพากษ์วิจารณ์และต่อต้านกฎหมายของรัสเซียฉบับนี้ รวมทั้งคณะ กรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี) ได้แสดงความเป็นห่วงว่าอาจจะกระทบ ไปถึงการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาวปีหน้าที่เมืองโซชิในรัสเซีย 28 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
vancouversun.com
เสรีภาพล่องหนของเพศที่ 3: เพศสภาพที่ถูกสั่นคลอน
สาเหตุทป่ี ตู นิ สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวส่วนหนึง่ อาจเป็นเพราะอิทธิพล ของคริสตจักรซึ่งมองว่าการรักเพศเดียวกันนั้นเป็นบาป และร้อยละ 78 ของประชาชนชาวรัสเซียทัง้ หมดก็นบั ถือศาสนานีอ้ ย่างเคร่งครัด ประกอบ กับอัตราการเกิดทีร่ ว่ งหล่นจาก 145.2 ล้านคนในปี 2002 เหลือเพียง 142.9 ล้านคน อาจสัน่ คลอนความมัน่ คงของประเทศและตำ�แหน่งประธานาธิบดี ของเขาได้ง่ายๆ แม้ว่าวันนี้เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กจะเดินข้ามผ่านคืนวันอันโหดร้ายในยุค โซเวี ย ตและเติ บ โตเป็ น เมื อ งท่ าเศรษฐกิ จ ที่ อุ ด มด้ ว ยความมั่ ง คงทาง ทรัพยากรนํ้ามันและแร่ธาตุ แต่ท่ามกลางการเกิดใหม่ของสถาปัตยกรรม ยุคบาโรคและนีโอคลาสสิกทีด่ งึ ดูดความสนใจจากนักท่องเทีย่ วทัว่ โลกแล้ว หนทางสูเ่ สรีภาพกลับยังคงเลือนราง ด้วยมายาคติทางศาสนา วัฒนธรรม และแนวความคิดเก่าที่ยึดติดกับ “สภาวะผู้นำ�แห่งชาติ” เช่นในอดีต เสรีภาพที่ถูกสั่นคลอนในวันนี้จึงอาจไม่ใช่แค่เสรีภาพของกลุ่มเพศทาง เลือกเท่านัน้ แต่อาจรวมไปถึงเสรีภาพของประชาชนชาวรัสเซียทัง้ หมดใน วันข้างหน้าอีกด้วย ที่มา: หนังสือประเทศรัสเซีย โดยสำ�นักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง บทความ "Propaganda Design & Aesthetics: Soviet Retro Posters" โดย Lars Hasvoll Bakke จาก crestock.com บทความ "The Gay Boycott Against Russian Vodka: Stoli's CEO Speaks Out" โดย Vanessa Wong จาก businessweek.com บทความวิจัย "ความเข้าใจเรื่องเพศ จากแนวคิดทฤษฎีที่หลากหลาย" โดย ดร.นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ architecture_history.enacademic.com euromonitor.com liviz.cz moma.org sovietposters.com sptimes.ru theatlanticwire.com theguardian.com vodkamuseum.su
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ดอยตุง อดีต-แดนสนธยา ปัจจุบัน-แดนสนทนา เรื่อง: ศภิสรา เข็มทอง ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
กว่าสามสิบปีที่แล้ว ที่ภาพจำ�ของดอยตุงคือทุ่งดอกฝิ่น ภูเขาหัวโล้น และศูนย์กลาง การผลิตยาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก “ดินแดนต้องห้าม” ที่คนไทยและ เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่อาจเข้าถึง อะไรคือเหตุปัจจัยของสถานการณ์ในอดีตนั้น และ “การพลิกฟื้นสุดมหัศจรรย์” ที่ เกิดขึน้ กับดอยตุง เพือ่ ล้างภาพจำ�เดิมๆ พร้อมสร้างภาพจริงใหม่ขน้ึ ในทิศทางทีต่ รงกันข้าม เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อดอยตุงในวันนี้ไม่ใช่สวรรค์ของผู้ผลิตยาเสพติดอีกต่อไป แต่คือ แหล่งศึกษาและพัฒนาเพื่อการสร้างชีวิตที่สุขได้อย่างยั่งยืน บทสนทนาที่ย่อความ สามสิบปีแห่งเส้นทางการพัฒนาดอยตุงจาก ม.ร.ว. ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการและ กรรมการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง จะเป็นคำ�ตอบของทุกคำ�ถามข้างต้นนี้
ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
"ธรรมชาติของคนเราคือกลัวการเปลี่ยนแปลง"
แต่ก่อนนี้ทำ�ไมใครๆ ก็เรียกดอยตุงว่า เป็น “แดนสนธยา”
เมือ่ สามสิบปีกอ่ นนัน้ พืน้ ทีข่ องดอยตุงคือดินแดน ของชนกลุ่มน้อยที่รัฐบาลไม่สามารถดูแลเรื่อง ความปลอดภัยได้ ดังนั้นความมั่นคงของชาติก็ ไม่มี เป็นพื้นที่ทุรกันดารที่ใครก็ไม่อยากเข้าไป แตะต้อง ไม่กล้ารุกลํ้า นัยหนึ่ง เราเรียกว่าแดน สนธยา คือ unreachable หรือ untouchable land สมัยนั้นกองกำ�ลังทหารไม่สามารถดูแลได้ ทัว่ ถึงทัง้ ประเทศ เทคโนโลยีไม่พร้อม สิง่ อำ�นวย ความสะดวกขัน้ พืน้ ฐานยังไม่มี ถนน นาํ้ ประปา ไฟฟ้าก็ไม่มี ห่างไกลมาก ขึ้นไปก็ลำ�บาก ทาง ก็ขรุขระอันตราย บนดอยตุง มีชนกลุ่มน้อย อย่าง อาข่า ละหู่ ไทลื้อ ไทลั๊วะ อยู่ในดินแดน ที่ unreachable หน้าผาชันเกือบ 90 องศา ก็ขน้ึ ไปปลูกฝิน่ กันบนนัน้ ใครจะกล้าขึน้ ไปเดิน ถึงเดิน ไปก็ไม่ได้อะไร เผลอๆ ถูกยิงตายอีก เฮลิคอปเตอร์ ก็เข้าไปไม่ได้ ในเมือ่ ลำ�บากแบบนี้ แล้วราชการ จะเข้าไปทำ�ไม เข้าไปก็เสี่ยงตาย ไม่ได้อะไร 30 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
เหนื่อยยาก ไม่มีใครคอยช่วยคุณ ก็ปล่อยเป็น แดนสนธยาต่อไป พี้นที่ที่รัฐบาลหรือหน่วยงาน รัฐเข้าไม่ถงึ ก็เป็น safe haven (สถานพักพิง) ของ คนพวกนี้ ดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ�จึงเป็น สวรรค์ของขบวนการค้ายาเสพติด เป็นแหล่ง สำ�คัญอันดับหนึ่งของโลก ใครๆ ก็รู้จัก The Heart of the Golden Triangle ซึ่งก็คือดอยตุง แล้วมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงได้สร้างชีวิตใหม่ๆ ความสุขใหม่ๆ บนพื้นที่เดิมได้อย่างไร
ตอนนัน้ ภูเขาแถบนีเ้ ป็นเขาหัวโล้นทัง้ หมดเกือบๆ 5 หมืน่ ไร่ จากพืน้ ทีท่ ง้ั หมด 9 หมืน่ กว่าไร่ เป็น ดินแดนสุดลูกหูลกู ตา เพราะเขาปลูกข้าวไร่แล้ว ไม่พอกิน จึงกลับมาที่ภูมิปัญญาของเขาซึ่งเก่ง เรื่องการปลูกฝิ่น เมื่อปลูกแล้วไม่ต้องหาตลาด ไม่ตอ้ งโฆษณา ปลูกอยูใ่ นหลืบไหนก็จะมีคนมาหา เพราะมี demand (ความต้องการ) สูงมาก เมือ่ ขายฝิน่ ได้กไ็ ปซือ้ ข้าวกิน ถามว่าในสถานการณ์ท่ี บีบบังคับอย่างนัน้ เป็นเรา เราก็อาจจะทำ� เพราะ ไม่มที างเลือก ถ้าไม่ท�ำ ฝิน่ ก็ตอ้ งเอาลูกสาวหรือ
บางบ้านก็ขายลูกชายเข้าระบบ sex industry (อุตสาหกรรมทางเพศ) หรือลักทรัพย์ปล้นจี้ สิง่ ทีส่ มเด็จย่าทรงภูมพิ ระทัยมากคือตัง้ แต่ เริ่มมีมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงจนกระทั่งทุกวันนี้ มี หญิง 3 ชั่วอายุคนอยู่พร้อมหน้ากัน ครอบครัว ได้ท�ำ งานด้วยกันในโรงงานของเรา ย่า ยาย แม่ และลูกสาว คนแก่นง่ั ปัน่ ด้าย แม่ทอผ้า ลูกปักผ้า ถามว่าผมไปซื้อผ้าทอสำ�เร็จเลยนี่ถูกกว่าไหม มันถูกกว่าก็จริงแต่เราต้องดูแลเรือ่ งคนด้วย นี่คือ สิง่ ทีพ่ ระเจ้าอยูห่ วั ตรัสไว้ “ขาดทุนคือกำ�ไร” เรา ขาดทุนแต่เขาได้กำ�ไร กำ�ไรของเขาคือเขาได้ กลับมามีศกั ดิศ์ รีของความเป็นคน ซึง่ เงินซือ้ ไม่ได้ นีย่ ง่ิ ใหญ่กว่าอะไรทัง้ นัน้ ไม่มใี ครอยากขายลูกกิน ไม่อยากถูกประณาม อยากมีชวี ติ ทีพ่ งึ่ พาตนเอง ได้ ตกกลางวันก็ล้อมวงกินข้าวกัน บ้านนี้นำ� กับข้าวมาอย่างหนึง่ แบ่งๆ กันกิน 5 คนก็มกี บั ข้าว 5 อย่างแล้ว แต่ถ้าเรากินคนเดียวก็มีกับข้าวแค่ อย่างเดียว นีค่ อื บรรยากาศของการอยูร่ ว่ มกันใน สังคม เป็นสิง่ ทีส่ มเด็จย่าทรงประทานเป็นแนวทาง การทำ�งานแก่มูลนิธิเรา
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ไม่ว่าเราจะทำ�อะไรกับใคร เราต้องศึกษาเขาว่าเขามีอะไรและขาดอะไร เราต้องสร้างและเสริม จากสิ่งที่เขามี ไม่ต้องไปแทรกแซงอะไรให้มากมาย หรือ built on what they have อะไรคื อ สิ่ ง ที่ ย ากที่ สุ ด ของการเริ่ ม ต้ น โครงการพัฒนาดอยตุง
ธรรมชาติของคนเราคือกลัวการเปลีย่ นแปลง สิง่ ทีย่ ากคือเราจะนำ�โครงการทัง้ หมดทีเ่ ราอยากจะ มอบให้เขาเพือ่ อนาคตของเขาไปบอกเขา จริงๆ แล้วมันยากมาก ครัง้ แรกๆ ทีผ่ มลงพืน้ ที่ ผมขึน้ หน้าบ้าน เขาแอบลงบันไดหนีทางหลังบ้าน หอบ ลูกจูงหลานหนีไปอยูใ่ นสวนในป่า แล้วผมจะไป ศึกษาเขาได้อย่างไร วิธีก็ง่ายนิดเดียว ดูว่าลูก หลานของเขาไปเรียนทีไ่ หนก็ตามไปถึงโรงเรียน ถึงวิทยาลัย เราต้องทำ�ความเข้าใจกับพวกเขา ให้ข้อมูลเขา ทำ�ให้เขาเชื่อและวางใจเรา และ เขาจะเป็นสื่อที่เชื่อมเราไปถึงพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ของเขาได้ ส่วนใครที่เรียนจบด้านเกษตร เราก็ ชวนเขามาทำ�งานในโครงการของเรา
การทำ�งานท่ามกลางความแตกต่างของ กลุ่มคน มีหลักคิดง่ายๆ สู่ความสำ�เร็จ อย่างไรบ้าง
เมือ่ ก่อนนีช้ าวเขาทอผ้าผืนหนึง่ ไม่ใช่วา่ จะขาย ได้ทกุ วัน บางวัน 30 บาทยังไม่มเี ข้าบ้านเลย แต่ ถ้าคุณมาเข้าโครงการของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง เมื่อผมมีทุนการศึกษาและทุนทำ�กินให้คุณมา เรียนกับผมวันละ 50 บาท ใครจะไม่มา มาแล้ว มีเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตาม ทักษะที่คุณมีนั่นคือ สิ่งที่พ่อแม่คุณสอนมา แต่คุณต้องมาเรียนรู้ ทักษะใหม่จากผม เพราะเรามีทง้ั คนไทใหญ่ ไทลือ้ ไทลัว๊ ะ ชาวเขาคืออาข่า ละหู่ และพวกก๊กมินตัง๋ หรือจีนโพ้นทะเลทีห่ นีคอมมิวนิสต์แล้วอพยพมา อยู่แถบนี้ แต่ละคนก็มีทักษะมากันคนละอย่าง คนจีนเก่งเย็บผ้า คนไทเก่งด้านทอผ้า ส่วนชาวเขา เก่งปักผ้า ทักษะและอุปกรณ์ดงั้ เดิมทีห่ าและทำ� เองอย่างง่ายๆ นั้นพอออกมาแล้วมันไม่ได้ มาตรฐาน ดีไซน์ก็ได้แค่แบบเดียว ทุกคนทำ� เหมือนกันหมด แล้วใครจะซื้อของเรา
เราจึงต้องคิดจาก global to local (ระดับ โลกมาสู่ระดับท้องถิ่น) คือนำ�การตลาดมาเป็น ตัวตั้งว่าเราจะขายใคร ถ้าเราจะมุ่งทางยุโรป สี และแบบอย่างทีเ่ รามี ก็คงไม่มใี ครซือ้ เราต้องหา ดีไซเนอร์จากสแกนดิเนเวียมาช่วย ด้านทักษะ พื้นฐานก็อาศัยการอบรมความรู้จากหน่วยงาน ที่ เ ขาเชี่ย วชาญมาเปิ ด คอร์ ส สอนให้ ตอนนี้ ผลิตภัณฑ์ของเราส่งขาย 4 ประเทศ โดยส่งขาย ในร้านขายอุปกรณ์ตกแต่งบ้านขนาดใหญ่ที่มี สาขาทัว่ โลก เราสามารถย้อนกลับไปถึงจุด local to global (ระดับท้องถิน่ ไปสูร่ ะดับโลก) ได้ นีม่ า จากปัจจัยง่ายๆ เลยว่าไม่วา่ เราจะทำ�อะไรกับใคร เราต้องศึกษาเขาว่าเขามีอะไรและขาดอะไร เรา ต้องสร้างและเสริมจากสิ่งที่เขามี ไม่ต้องไป แทรกแซงอะไรให้มากมาย หรือ built on what they have “Built on what they have” ยากแค่ ไหนในการนำ�มาปรับใช้กับพื้นที่นี้
สิ่งสำ�คัญที่สุดคือเราต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงของ พวกเขา ลงไปทำ�สำ�รวจกันในพืน้ ที่ จากนัน้ ดูวา่ need & want (ความจำ�เป็นและความต้องการ) ของเขาคืออะไร เขาอยากได้อะไร อยากอยู่ อย่างไร ทัง้ นีอ้ ยูบ่ นพืน้ ฐานของเหตุและผล ไม่ใช่ อยากจะได้อะไรก็ต้องได้ ทุกครั้งที่จะเริ่มต้น โครงการใหม่ๆ ทัง้ ทีด่ อยตุงหรือทีพ่ นื้ ทีอ่ นื่ ๆ ทัง้ ในและต่างประเทศ ผมต้องไปให้ถึงปัญหาของ พวกเขา รู้ให้ถ่องแท้เพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ศึกษาจากชุมชนเพราะเขารู้ดีที่สุด อยากจะทำ� อ่างเก็บนาํ้ สักแห่ง ชุมชนจะรูด้ วี า่ มีแหล่งนาํ้ ซ่อน อยู่ตรงไหนบ้าง หรือต่อนํ้ามาได้จากแหล่งไหน บ้าง เมื่อเราจับเรื่องปัจจัยพื้นฐานได้เราก็จะไป ต่อได้เร็วขึน้ ปัญหาต่อไปคือเราอยากได้ชาวบ้าน เหล่านี้มาอยู่ในโครงการเรา เราก็ต้องสร้างงาน ให้เขา
ระหว่างทีห่ าแหล่งนํา้ เราก็ปลูกป่าทดแทน เขาที่หัวโล้น ใช้อุบายนี้เป็นพาหะ ไม่ได้ปลูกป่า แบบป่าไม้ทั่วๆ ไป แต่เราใช้ป่ามาแก้ปัญหา ความยากจนแก่ชาวบ้าน วิธีการก็คือชาวบ้าน บุกรุกพื้นที่ป่าไม้โดยที่ไม่รู้ พอทำ�กินแล้วไม่พอ กิน เรายังจะไปเอาพืน้ ทีค่ นื มาอีกไปซา้ํ เติมเขาอีก ใครที่ไหนจะมาร่วมมือ วิธีการของเราคือเขา ต้องได้คา่ ตอบแทนมากกว่าทีเ่ ขาเคยได้จากการ ถางป่า จากที่เคยได้ 4,000-5,000 บาท ต่อ ครอบครัว/ปี ถ้าคุณมาทำ�งานกับผม ผมให้ ค่าแรงคุณวันละ 40 บาท คุณทำ� 300 วันคุณได้ 12,000 บาท ความเป็นอยูเ่ ขาก็ดขี น้ึ ไม่วา่ จะทำ� อะไรให้เขาสามารถอยูร่ อด (survive) ได้ ชาวบ้าน เขาจะร่วมมือด้วย แต่ถา้ หากจะให้ดกี ว่าอยูร่ อด นั้น คือต้องหมดหนี้หมดสิน อยู่อย่างพอเพียง (sustainably) และต่อไปคือมีเงินออม (saving) ถ้าคุณมีเงินออม เมื่อเกิดปัญหาหรือ external shock เราก็จะมีเงินสำ�รองไว้ใช้ ไม่ต้องกลับไป กู้ยืมเป็นหนี้ใครอีก เราต้องหางานอื่นให้เขาทำ� จากพื้นฐานที่ เขามี คือ built on what they have แล้วยก ระดับขึ้นไปเรื่อยๆ จนเขาสามารถไปถึงระดับ โลกได้ ทุกอย่างต้อง becoming (ไต่ระดับขึ้น เรือ่ ยๆ) ไม่ใช่ being (ยา่ํ อยูท่ เ่ี ดิม) เพราะเมือ่ ไหร่ ที่ being เราจะนิง่ อยูก่ บั ทีแ่ ละถอยหลังลงคลอง แต่ becoming มันจะไปต่อเรื่อยๆ ไม่มีวันถึง ความเชีย่ วชาญทัง้ หลายทีเ่ รามีมนั เหมือนวงหมุน ที่ยิ่งหมุนก็จะยิ่งมีขนาดวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ไม่มี ที่สิ้นสุด สำ�คัญมากๆ คือที่เราทำ�นั้นเราใส่ มูลค่าเพิ่มลงไปในทุกๆ สิ่ง เราไม่ได้ขายเมล็ด กาแฟว่ า เป็ น เมล็ ด กาแฟ เราไม่ ไ ด้ ข ายถั่ ว แมคคาเดเมียว่าคือถั่ว ขายไปแล้วให้คนอื่นเอา ไปแกะและแปรรูป แต่เราทำ�ตั้งแต่เสาะหาพันธุ์ ที่ ดี ที่ สุ ด พั ฒ นาตราสิ น ค้ า รวมทั้ ง พั ฒ นา บุคลากรและผลิตภัณฑ์ของเราไม่ให้หยุดนิ่ง ตุลาคม 2556
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เราไม่ได้ขายเมล็ดกาแฟว่าเป็นเมล็ดกาแฟ เราไม่ได้ขายถั่ว แมคคาเดเมียว่าคือถั่ว ขายไปแล้วให้คนอื่นเอาไปแกะและแปรรูป แต่เราทำ�ตั้งแต่เสาะหาพันธุ์ที่ดีที่สุดพัฒนาตราสินค้า รวมทั้งพัฒนาบุคลากรและผลิตภัณฑ์ของเราไม่ให้หยุดนิ่ง เราสามารถนำ�โมเดลจากดอยตุงนีไ้ ปแบ่งปัน ใช้กับท้องถิ่นอื่นๆ ได้ไหม
ตอนนี้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเราอยู่ได้ อยู่รอด อยู่ อย่างพอเพียง และอยูอ่ ย่างยัง่ ยืนด้วยตัวของเรา เอง แล้วที่คนเชื่อมั่นในตัวเราก็เพราะ we walk our talk (ทำ�อย่างที่พูด) เราพอจะมีกำ�ลังช่วยผู้ อืน่ ทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ แม้ไม่มเี งินทุน แต่อยูใ่ นสถานะประเทศผู้ให้ (donor country) เพราะสิง่ ทีเ่ รามีพร้อมมากๆ คือความเชีย่ วชาญ หน่วยงานรัฐและองค์กรด้านการพัฒนาหลายๆ แห่งจากต่างประเทศจะต้องข้ามนาํ้ ข้ามทะเลมา ดูงานทัง้ ทีก่ รุงเทพฯ และทีบ่ นดอยตุง นอกจากนี้ สำ�นักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปราม อาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UN Office on Drugs and Crime - UNODC) ยังยกย่องให้ โครงการพัฒนาดอยตุง โดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง เป็นแม่แบบของโลก
Creative Ingredient ถ้าจะต้องทำ�ความรู้จักใครสักคนหนึ่ง
ผมชอบที่จะฟังคนคุยกัน ฟังความคิดของเขา ว่าเขาต้องการอะไร คิดอะไรอยู่ อยากจะสื่อสารอะไร กับเรากับคนอื่นๆ สิ่งที่ทำ�ให้ชีวิตและความคิดสดใหม่อยู่เสมอ
ทุกวันนีเ้ วลาขึน้ ไปบนดอยตุงก็ยงั กางเต้นท์นอนกันอยูบ่ า้ ง ได้อยูก่ บั ธรรมชาติแล้วมีความสุข อากาศ เย็นๆ เดินป่าศึกษาต้นไม้ รู้สึกสดชื่น มีความสุข ถ้าว่างๆ ก็ขอเชิญทุกๆ คนไปขึ้นดอยตุงกัน
32 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
ผมกล้าพูดว่าโมเดลนี้สามารถนำ�ไปปรับ ใช้ได้กับทุกๆ พื้นที่ในโลก แม้ใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ของเรา เราเริ่มทำ�แล้ว เริ่มจาก ให้คนสองภาคได้ทำ�ความรู้จักกันอย่างใกล้ชิด เสียก่อน เพือ่ ลดช่องว่างความห่างไกล ความไม่ เข้าใจกัน สิง่ นีเ้ ราทำ�สำ�เร็จมาแล้วทีอ่ าเจะห์ เรา สามารถเชือ่ มอาเจะห์กบั รัฐบาลกลางทีจ่ ากาตาร์ ได้ ที่พม่าก็เช่นเดียวกัน แต่สำ�หรับภาคใต้นั้น เรายังขาดเรื่อง unity (ความเป็นเอกภาพ) ของ การสั่งการจากภาครัฐ เพราะมีหลายหน่วยงาน ที่ต่างคนยังต่างทำ�หน้าที่ของตัวเอง ไม่มีคนสั่ง การสูงสุด เราจึงต่างคนต่างไปต่างทิศทางอยู่ ในตอนนี้ ผมยึดมัน่ ในแนวทางทีว่ า่ คนเรานัน้ เกิดมา ต้องรูจ้ กั การแบ่งปันซึง่ กันและกัน แบ่งอะไรก็ได้ ที่เรามีมาก ไม่ต้องเป็นทรัพย์สินเงินทอง แต่ ปัจจุบันนี้เรารู้แต่การ take (รับ) แต่เราแทบจะ ไม่รู้จัก care & share (ความห่วงใยและการ แบ่งปัน) ซึ่งเป็นหัวใจสำ�คัญของการอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข และสำ�คัญมากสำ�หรับการ สร้างสรรค์สังคมที่กำ�ลังมีปัญหาและต้องการ ความช่วยเหลือ เพราะเราไม่สามารถรูไ้ ด้เลยว่า พวกเขาจะสร้างสิ่งมหัศจรรย์อะไรได้บ้างถ้าเรา ไม่เข้าไปจุดประกายให้เขา
flickr.com/Alex E. Proimos
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
SYRINGES VENDING MACHINE เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ และ ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
เพือ่ ให้ผปู้ ว่ ยได้รบั ตัวยาอย่างครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ “เข็มฉีดยา” จึงถูกคิดค้นขึน้ ในปี1853 โดยแพทย์ฝรัง่ เศส ชาร์ลส์ พราวาซ (Charles Pravaz) แต่ดว้ ยคุณประโยชน์ทส่ี ามารถส่งตัวยาเข้าสูช่ น้ั ใต้ผวิ หนังให้ซมึ ผ่านกระแสเลือดและออกฤทธิไ์ ด้ในทันทีนน้ั ก็กลับ ทำ�ให้มนั ถูกนำ�ไปใช้กบั ตัวยาทีเ่ ป็นสิง่ ต้องห้ามโดยเฉพาะสารเสพติด จนทำ�ให้เข็มฉีดยาทีเ่ คยเป็น “ผูช้ ว่ ยคนสำ�คัญ” ในการบำ�บัดรักษา อาการเจ็บป่วย ต้องกลายเป็น “ผู้ส่งต่อสิ่งต้องห้ามร้ายแรง” ในบางครั้ง
จำ�นวนผูป้ ว่ ยโรคติดต่อจากการใช้เข็มร่วมกันทีเ่ พิม่ มากขึน้ ทัว่ โลกกลายเป็น ทีม่ าของการรณรงค์อย่างเป็นรูปธรรมด้วยวิธกี าร “คิดย้อนกลับ” ด้วยการ ส่งเสริมให้ผทู้ ต่ี อ้ งใช้เข็มฉีดยา (ทัง้ ผูป้ ว่ ยโรคเบาหวานทีต่ อ้ งฉีดอินซูลนิ เข้าสู่ ร่างกายมากกว่าวันละ 2 ครัง้ เพือ่ ควบคุมระดับนํา้ ตาลในเลือด และผูท้ ใ่ี ช้มนั ในทางตรงกันข้ามอย่างนักเสพยา) ให้สามารถหาซื้อได้สะดวกและมีเข็ม ฉีดยาใหม่ๆ ไว้ใช้เฉพาะตนในเวลาทีต่ อ้ งการ Syringe Vending Machines (SVMs) หรือเครือ่ งจำ�หน่ายเข็มฉีดยาอัตโนมัติ จึงกลายเป็นนวัตกรรมทีไ่ ม่ เพียงช่วยแก้ปญั หาเรือ่ งความสะดวก แต่ยงั เป็นฮีโร่ทช่ี ว่ ยลดการแพร่กระจาย ของโรคติดต่อจากการใช้เข็มร่วมกันอย่างโรคเอดส์หรือไวรัสตับอักเสบให้ ลดลง ซึง่ ปัจจุบนั เครือ่ ง SVMs นีไ้ ด้ถกู นำ�ไปให้บริการแก่ประชาชนแล้วทัง้ ใน ยุโรป เช่น ฝรัง่ เศสและเยอรมนี รวมถึงหลายๆ รัฐในออสเตรเลีย จากผลการสำ�รวจในหลายประเทศทีม่ บี ริการเครือ่ ง SVMs นี้ พบว่ามัน สามารถลดอัตราการใช้เข็มร่วมกันของกลุม่ นักเสพยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในชุมชนที่มีการเตรียมพร้อมด้านการประชาสัมพันธ์และการ รณรงค์ รวมถึงมีการติดตัง้ ในทำ�เลทีเ่ หมาะสม โดยยิง่ มีปริมาณผูใ้ ช้ยามาใช้ บริการเครือ่ ง SVMs นีม้ ากเท่าไหร่ ก็จะยิง่ ช่วยลดอัตราการเกิดโรคระบาด ตลอดจนช่วยประหยัดงบประมาณมหาศาลในการสาธารณสุขและการรักษา พยาบาลผู้ป่วยโรคติดต่อ นอกจากนี้ หลายประเทศยังเริ่มพัฒนาการให้ 34 l
Creative Thailand
l ตุลาคม 2556
บริการในรูปแบบอืน่ ๆ เช่น การตัง้ หน่วยเคลือ่ นทีห่ รือร่วมมือกับพันธมิตร ด้ า นการส่งเสริมงานสาธารณสุขในชุมชน เช่น ร้านขายยา หรือศูนย์ ส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยชุมชน ให้ชว่ ยกันทำ�หน้าทีก่ ระจายเข็มฉีดยา ใหม่ทส่ี ะอาดให้แก่ผทู้ ต่ี อ้ งการ ตลอดจนมีการทดลองติดตัง้ เครือ่ ง SVMs ทัง้ ในโรงพยาบาลหรืออาคารส่วนงาน สาธารณสุขต่างๆ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ ทางการแพทย์คอยให้ค�ำ แนะนำ�การใช้งานอย่างถูกวิธี ถึงแม้ว่าเครื่อง SVMs จะเป็นกุญแจสำ�คัญที่ช่วยป้องกันและลดการ ติดเชือ้ ไวรัสทีส่ ง่ ผ่านทางเข็มฉีดยาได้ แต่ในความจริง ก็ยงั คงมีผคู้ นจำ�นวน หนึง่ ทีห่ วัน่ วิตกเกีย่ วกับการเพิม่ ขึน้ ของผูใ้ ช้ยาเสพติดเช่นกัน แต่ถงึ อย่างนัน้ เมือ่ ถึงวันทีส่ งั คมต้องเลือก เราก็อาจต้องยอมรับในวิธกี ารทีต่ รงข้ามกับข้อห้าม หรือความคิดที่เคยมีมา เพื่อแลกกับผลลัพธ์ท่ดี ีมากกว่าทั้งในปัจจุบันและ อนาคต ที่มา: ข้อมูลทั่วไป “Syringes Vending Machine” จาก anex.org.au บทความ “Redfern automatic syringe dispensing machine Operational - 11th April 2013 จาก redwatch.org.au บทความ “Syringe vending machines for injection drug users: an experiment in Marseille, France.” จาก ncbi.nlm.nih.gov บทความ “The effectiveness and safety of syringe vending machines as a component of needle syringe programmes in community settings” จาก ijdp.org
ดาวนโหลดฟรี!
นิตยสาร Creative Thailand ผาน 2 แอปพลิเคชัน CT magazine และ TCDC Digital Resource
iPad
14:12 PM
3G
4:08 PM
iPad / iPhone
eBook เจาะเทรนดโลก 2014 โดย TCDC: แฟชั่น วัสดุ เทคโนโลยี สี พื้นที่ และการใชชีวิต รวมจับกระแสความตองการของตลาดในป 2014 กับบทสรุปที่กลั่นกรองจากหนังสือและนิตยสารเทรนดระดับโลกกวา 20 เลม อาทิ Carlin | Nelly Rodi | Pantone View | Viewpoint
ดาวนโหลดฟรี tcdc.or.th/trend2014 หรือ ผานแอปพลิเคชัน TCDC Digital Resource
TCDC ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเรียม 10.30 - 21.00 (ปดวันจันทร) 02 664 8448 TCDC Chiang Mai หลังกาดเมืองใหม 10.30 - 18.00 (ปดวันจันทร) 052 080 500 tcdc.or.th