Creative Thailand Magazine

Page 1

นิตยสารสงเสร�มความคิดสรางสรรคผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย TCDC ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบร�หารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน)

กรกฎาคม 2557 ปที่ 5 | ฉบับที่ 10 แจกฟร�

IT’S NOT WASTE,

D

UNTIL IT’S WASTE

.

CLASSIC ITEM Mass Production

CREATIVE CITY Belo Horizonte

THE CREATIVE สินชัย เทียนศิร�


เทศกาล

»Å‹ ÍÂáʧ 12 Ploy Saeng 12 Festival

¤Ô´/·Ó/¡Ô¹

ใชสารสกัดจากพริกผสมในอาหารสัตว ชวยลดตนทุนคาผลิตไดถึง 5%

พริก... พลิกธุรกิจ เงินล้าน

54%

5%

ตลาดสงออกพริกแหงที่สำคัญ ของไทย ไดแก เนเธอรแลนด สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย ออสเตรเลีย เยอรมนี และไตหวัน

The Chili Business

25 มิถุนายน - 15 สิงหาคม 2557 25 June - 15 August 2014

ระยะเฉลี่ยการเก็บผลผลิตพริก หลังปลูกคือประมาณ 60 วัน

ห้องนิทรรศการ 2 / Gallery 2, TCDC

ปล่อยแสง

เข้าชมฟรี / Free Admission

ติดตามเสนทางเศรษฐกิจจากความเผ็ดรอน ใหคุณเห็นชองทางทำเงินจาก “พริก” ตัง้ แตระดับชุมชนไปจนถึงระดับโลก Taste the red hot success of “Chili” business to see new opportunities in both local and global markets.

48–60%

2.5–3 B A H T BILLION

ป 2556 ไทยสงออกผลิตภัณฑจากพริก ประมาณ 2.5-3 พันลานบาท

0.19

ผู สง อ อ ก น้ำ พริ ก นอกจากจะไมต อ ง เสียอากรขาออกแลวยังสามารถขอรับเงิน ชดเชยคาภาษีอากรสำหรับน้ำพริกประเภท พิกัดอัตราศุลกากร 2103.90.90 คือ เครือ่ งแกงสำเร็จรูป ในอัตรารอยละ 0.19 ของราคาสงออก

ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเร�ยม / 6F, The Emporium 10.30 - 21.00 (ปดวันจันทร / Closed Mondays) โทร / Tel : 02 664 8448

tcdc.or.th

320 MILLION

BAHT

4

ของตนทุนการปลูกพริก คือคาแรงงาน

TCDC

MILLION

BAHT

สถิติการสงออกในป 2540 เปนตนมามีมูลคาการสงออกพริก ประมาณ 320 ลานบาท และเพิ่มขึ้น ปละประมาณ 80 ลานบาททุกป

tcdc.or.th/ploy-saeng

VITAMIN C 87-90 mg

80

1

พริกสด 3.5 – 4 กก. จะผลิต พริกแหงได 1 กก. ปริมาณผลผลิต กวา 5,000 ตันคิดเปนมูลคา กวา 300 ลานบาท

60M


plasticless.com

In nature, there is no such thing as waste. Everything gets to return back to the system. If you want to get serious about sustainability, it starts with waste.

ธรรมชาติไม่มีสิ่งใดเป็นขยะ ทุกอย่างล้วนกลับคืนสู่ระบบ หากคุณต้องการสร้างความยั่งยืนอย่างจริงจัง เริ่มต้นที่ขยะ Tim Silverwood นักโต้คลื่นและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมชายฝั่งทะเล


CONTENTS สารบัญ

6

8 10

11

The Subject

Creative Resource

Featured Book / Documentary / Books

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

ภาระ หรือ ภารกิจ: สองทางเลือกที่จะทำลายหรือชวยโลก

Samsen 5 Lodge: แปลงอาคารเกาใหเปนทุน

Matter

Upcycling: สรางมูลคาใหเศษวัสดุ

Classic Item

Mass Production

Belo Horizonte: เก็บขยะจังหวะแซมบา

สินชัย เทียนศิริ: ทิ้งแลวไปไหน?

Spade & Barrow: Not Every Carrot Can Be a Supermodel!

12

Cover Story

It's not Waste, until it's Wasted. หรือจะปลอยใหเสียของ?

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกลุ พิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, อคีรัฐ สะอุ สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l ชนันดา บุญประสพ, วันวิสาข ชิดทองหลาง, ณัชชา พัชรเวทิน l ธัญวรัตม กิจนุสนธิ์ l ปยพัชร นุตตโยธิน ผูออกแบบปก | Conscious จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร สตูดิโอออกแบบขนาดเล็กที่เชี่ยวชาญงานดาน 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 Environmental Graphic ตามอุดมการณที่เชื่อวา โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th งานออกแบบตองรับใชสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิต พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม ผลงาน: conscious.co.th นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

ปราดเปรื่อง กับ เปล่าประโยชน์ ระหว่างที่นักท่องเที่ยวกำ�ลังเพลิดเพลินกับการเดินท่องเมืองโคเปนเฮเกน น้อยคนนักจะรู้ว่าบางส่วนของเมือง โดยเฉพาะเขต คริสเตียนชาว์น (Christainshavn) คือพื้นที่ที่เกิดมาจากการถมขยะลงในทะเล แม้วิธีการนี้จะไม่ใช่เรื่องน่าตื่นเต้นอีกแล้วในปัจจุบัน แต่ถา้ เป็นเมือ่ 400 กว่าปีกอ่ น คริสเตียนชาว์นทีเ่ กิดขึน้ ในปี 1600 โดยพระเจ้าคริสเตียนที่ 4 ผูม้ องการณ์ไกลและต้องการสร้างโคเปนเฮเกน ให้เป็นศูนย์กลางการค้ายุโรปเพื่อเทียบรัศมีกับอัมสเตอร์ดัม ด้วยการสร้างพื้นที่ค้าขายในเขตชานเมืองจากการจมเรือรบเก่า 2-3 ลำ� และเทขยะถมลงไปในทะเล ก่อนจะยื่นข้อเสนอให้ชาวเมืองย้ายเข้าไปอยู่โดยมีแรงจูงใจเป็นการไม่ต้องเสียภาษีนานถึง 12 ปี ทั้งหมดนี้ นับเป็นความหลักแหลมของผู้นำ�ทั้งด้านเศรษฐกิจและนวัตกรรมการก่อสร้างจากเศษขยะแบบตรงไปตรงมาที่ทำ�ให้โคเปนเฮเกน ส่องประกาย อีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าทึ่งของการปลดแอกปัญหาขยะเพื่อนำ�โลกไปสู่สหัสวรรษที่ 3 อยู่ที่ลินซ์ (Linz) ในออสเตรีย เมืองที่ถูกสร้าง ขึน้ ใหม่ส�ำ หรับผูอ้ ยูอ่ าศัย 25,000 คน ภายใต้โครงการโซลาร์ซติ ี้ (SolarCity) ทีเ่ ริม่ ต้นเมือ่ ปี 1999 และเสร็จสิน้ ในปี 2006 โดยได้สถาปนิก นอร์แมน ฟอสเตอร์ (Norman Foster) และริชาร์ด โรเจอร์ส (Richard Rogers) มาร่วมกันออกแบบเมือง ด้วยการหลอมรวมความพิเศษ ด้านสถาปัตยกรรมเข้ากับโครงสร้างวิศวกรรมประหยัดพลังงาน ทั้งการวางทิศทางอาคารโดยคำ�นึงถึงทิศทางของลมและแสงอาทิตย์ โครงสร้างสาธารณูปโภคที่ละเอียดลออ ตั้งแต่การส่งต่อนํ้าเสียจากบ้านแต่ละหลังไปสู่บ่อบำ�บัดที่จะแยกกรดยูเรียออกจากปัสสาวะ อันเป็นหนึ่งในสามวิธีการบำ�บัดนํา้ คือ นํา้ จากร่างกายมนุษย์ นํ้าจากครัวเรือน และนํ้าจากอาคารพาณิชย์ เพื่อนำ�กลับมาใช้ใหม่ได้อย่าง มีประสิทธิภาพและอนามัยสูงสุด ระบบรถรางขนส่งในโครงการยังอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวขับเคลื่อน ในระยะแรก โครงการได้ จัดทำ�ที่อยู่อาศัยไว้ราว 1,400 ยูนิตสำ�หรับ 3,000 คน แต่ปัจจุบันโครงการกำ�ลังขยายตัวเพราะมีผู้สนใจเกินความต้องการ 3-4 เท่า ทั้งยังมีเป้าหมายที่ทะเยอทะยานในการลดมลพิษต่างๆ พร้อมกับการสร้างเมืองที่มีชีวิตชีวา และก้าวข้ามความรู้สึกการทำ�เพื่อ ปกป้องโลก แต่ให้การช่วยโลกนี้อยู่ในการดำ�เนินชีวิตของผู้คนได้อย่างไม่ต้องสงสัย ในวันนี้ แนวคิดการบริหารจัดการขยะมีความซับซ้อนทั้งในมิตินวัตกรรม จวบจนการสร้างสภาวะขึงเกลียวในความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศให้สั่นคลอนได้ การบริหารจัดการขยะจึงไม่ใช่เพียงการหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ เพราะท่ามกลางวิกฤตการณ์ขยะที่มี อยูท่ วั่ โลก ก็ยงั มีขอ้ กังขาเกีย่ วกับกระบวนการกำ�จัดขยะว่าเป็นมาตรการทีแ่ ก้ปญั หาได้ตรงจุดหรือไม่ รายงานฉบับหนึง่ ขององค์กรพิทกั ษ์ สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (The United States Environmental Protection Agency: USEPA) ได้เสนอสมมติฐานว่า การทำ�ลาย ขยะประเภทกระดาษ พลาสติก และไม้ด้วยการเผานั้นมีผลดีต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการรีไซเคิล เพราะถือเป็นการเผาวัสดุอินทรีย์ ให้กลับมาเป็นพลังงานหมุนเวียนต่อไป นับเป็นการแสดงถึงความสงสัยใคร่รู้ในสิ่งที่ได้กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของโลกสีเขียว ว่ากระบวนการรีไซเคิลที่ทำ�กันแพร่หลายจนเป็นเครื่องมือทางการตลาดชนิดหนึ่งนั้นเป็นความยั่งยืนที่แท้จริงหรือไม่ และเมื่อผู้คน และสังคมมีบทเรียนมากขึ้นกับปัญหามลพิษจากขยะที่ทุกคนมีส่วนรู้เห็นและเป็นต้นตอ ก็ยิ่งทำ�ให้ต้องมองย้อนกลับไปถึงการ ก่อกำ�เนิด การบริหารจัดการ การอยู่ร่วม และรับมือกับสภาวการณ์ดังกล่าวมากยิ่งขึ้น ความปราดเปรื่องของมนุษยชาติได้สร้างสิ่งที่น่าสนเท่ห์มากมาย การบริหารจัดการกับสิ่งที่คนเราไม่ต้องการมันแล้วนั้น จะดำ�เนินต่อไปด้วยนวัตกรรมที่ลึกซึ้งและถี่ถ้วนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้สิ่งที่เราไม่ต้องการนั้น กลับกลายเป็นสิ่งที่เราขาดไม่ได้นั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

ete.ti.com

บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

SOCIAL BUSINESS

ลื่นไถลไปแบบยั่งยืน

inhabitat.com

การนำ�พลาสติกมารีไซเคิลอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สเกตบอร์ดรุ่น “เดอะ มินเนาว์ (The Minnow)” ของบูเรโอ (Bureo) จากซานติเอโก ที่กำ�ลังจะถึงมือลูกค้าในเดือนสิงหาคมนี้ จะเป็นครูเซอร์ (Cruiser) แผ่ น แรกของโลกที่ ตั ว บอร์ ด ผลิ ต จากอวนจั บ ปลาพลาสติ ก ซึ่ ง เป็นตัวการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมให้มหาสมุทรแปซิฟิกถึงร้อยละ 10 โดย เบ็น เน็ปเปอร์ส (Ben Kneppers) เดวิด สโตเวอร์ (David Stover) และเควิน อะเฮิรน์ (Kevin Ahearn) กลุม่ นักเล่นบอร์ดอเมริกนั ผู้ก่อตั้งยังประสบความสำ�เร็จในการระดมทุนจากคิกสตาร์ทเตอร์ได้ เกือบ 65,000 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อเก็บกวาด อวนจากชายฝั่งชิลีไปรีไซเคิลและผลิตเป็นสเกตบอร์ดคุณภาพสูง และทนทานโดยฝีมือการผลิตของโรงงานท้องถิ่นในโครงการต้นแบบ “เน็ต โปสิตบา (Net Positiva)” ซึ่งพวกเขากล่าวว่า “การคงฐาน การผลิตสเกตบอร์ดไว้ท่ีชิลีน้ันสำ�คัญกับเรามาก เพราะมันช่วย ส่งเสริมให้มีการจ้างงานในท้องถิ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลัก ของเรา” ทั้งนี้ การผลิตตัวบอร์ดเดอะ มินเนาว์ 1 อัน จะใช้อวนราว 30 ตารางฟุต และกระบวนการผลิตยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับการใช้วัตถุดิบพลาสติกไม่รีไซเคิล ที่มา: bureoskateboards.com, บทความ “Bureo - Recycled Fishnet Skateboards for Cleaner Oceans” จาก kickstarter.com บทความ “Enterprise Spotlight: Bureo Skateboards” จาก northeastern.edu

ความงามจากความไร้ค่า

ARTS

เพื่ อ กระตุ ก ให้ ฉุ ก คิ ด ถึ ง สิ น ค้ า อุ ป โภคบริ โ ภคนานาชนิ ด ที่ ถู ก ทิ้ ง ขว้ า ง ในแต่ ล ะวั น ภายหลั ง ช่ ว งเวลาการบริ โ ภคแสนสั้ น ขยะเหล่ า นี้ ก ลั บ ต้องใช้เวลายาวนานกว่าจะย่อยสลายไปตามธรรมชาติ ช่วงต้นปี 2014 ลอรี่ แฟรงค์เคล (Laurie Frankel) ช่างถ่ายภาพโฆษณามือรางวัลจาก ซานฟรานซิสโก จึงจับมือกับไดแอน กัทเตอร์ดัม (Diane Gatterdam) ครี เอที ฟสไตลิ ส ต์ จ ากนิ ว ยอร์ ก สร้ างสรรค์ โครงการภาพถ่ า ยศิ ล ปะ ส่วนตัวชุด “เดอะ รีไซเคิล บิวตี้ (The Recycle Beauty)” ที่จับเอา ขยะต่างๆ ทั้งถาดพลาสติกใส่อาหาร ขวดแก้วบรรจุนํ้า ผลไม้ ถุงช้อปปิ้ง หรือหัวแครอตแห้งเหี่ยว มาจัดวางองค์ประกอบที่ได้แรงบันดาลใจ จากงานของวิลเล็ม ไคลซ์ เอดา (Willem Claesz Heda) ศิลปินดัตช์ ในสมัยศตวรรษที่ 17 โดยขยะเปียกและแห้งทั้งหมดในภาพถ่ายชุดนี้ ซึ่งทั้งสองได้ร่วมกันเก็บสะสมมาจากทั้งท้องถนนซานฟรานซิสโกและ นิวยอร์ก สะท้อนให้เห็นว่าหากผ่านมือของผู้ที่มองเห็นศักยภาพจากของ เสียแล้ว ขยะธรรมดาๆ ก็ก่อกำ�เนิดเป็นศิลปะอันงดงามได้ ที่มา: lauriefrankel.com บทความ “Finding photographic beauty in rubbish” จาก uk.phaidon.com บทความ “These Gorgeous Still Lifes Are Made From All Our Litter” โดย Adele Peters จาก fastcoexist.com

6l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557


THE SUBJECT ลงมือคิด

TREND

ขยะลอยฟ้า

INNOVATION

bbc.com

เมื่อถึงปี 2017 บริติช แอร์เวย์ส จะเป็นสายการบินแรกในโลกที่ใช้ เชื้อเพลิงจากขยะ โดยได้ร่วมมือกับโซเลนา ฟิวส์ (Solena Fuels) บริษัท ด้านพลังงานจากวอชิงตัน ดี. ซี. ในการผลิตเชื้อเพลิงจำ�นวน 50,000 เมตริกตันจากขยะมูลฝอย โครงการ "ลอนดอน กรีน สกาย (London Green Sky)" จะจัดการกับขยะของเสียในครัวเรือนที่รับมาจากบริษัท กำ�จัดขยะท้องถิ่น เพื่อนำ�มาผ่านกระบวนการกลั่นเป็นเชื้อเพลิงในเขต โรงกลั่นนํ้ามันเก่าทางตะวันออกของลอนดอน แม้โครงการจะมีต้นทุน สูงลิบถึงราว 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่บริติช แอร์เวย์ส มองว่าเป็นการ ลงทุนที่คุ้มค่า เมื่อนํ้ามันเชื้อเพลิงใหม่ที่มีคุณภาพเยี่ยมนี้จะลดอัตราการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปถึงร้อยละ 95 และยังจะช่วยเลี่ยงการเกิดก๊าซ มีเทนที่มีส่วนสร้างภาวะโลกร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 30 เท่า ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศที่มักพบจากการฝังกลบขยะทั่วไป

ที่มา: บทความ “Making jet fuel out of garbage -- a first” โดย Tiffany Stecker และ Julia Pyper (25 เมษายน 2014) จาก eenews.net

ที่มา: sandwichmeinchicago.com, บทความ “Sandwich Me In: One Restaurant. Two Years. Zero Garbage” โดย John Dodge (29 เมษายน 2014) จาก chicago.cbslocal.com

ชุบชีวิตเพื่อต่อชีวิต

ECO FASHION

elvisandkresse.com

ในขณะที่ร้านอาหารทั่วไปสร้างขยะเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 แกลลอน แต่สองปี แล้วที่ร้านแซนวิช มี อิน (Sandwich Me In) ในชิคาโก ไม่มีขยะเหลือทิ้ง โดยเปล่าประโยชน์ จัสติน วรานีย์ (Justin Vrany) เชฟและเจ้าของร้าน ประสบความสำ � เร็ จ ในการรี ไ ซเคิ ล ของเสี ย จากร้ า นตามแนวคิ ด ของ ความยั่งยืน เมื่อลงมือสอดแทรกกระบวนการทำ�ใหม่ (Refurbish) นำ�มา ใช้ซํ้า (Reuse) และการรีไซเคิล (Recycle) ในการบริหารจัดการร้าน ทุกรายละเอียด อุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ในร้านเป็นของเก่าที่ทำ�ขึ้นใหม่ ขยะมูลฝอยทั้งหมดถ้าไม่นำ�ไปหมักเป็นปุ๋ยก็นำ�ไปรีไซเคิล ไฟฟ้าที่ใช้ใน ร้ า นก็ ยั ง มาจากเครื่ อ งปั่ น ไฟที่ ใ ช้ ไ บโอดี เ ซลปั่ น พลั ง ลมเก็ บ เป็ น กระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ เมนูกว่าร้อยละ 98 และกระทั่งเครื่องดื่มของร้าน ยังผลิตขึ้นเองในครัว ในขณะที่วัตถุดิบบางส่วนมาจากฟาร์มในท้องถิ่น ทั้งหมดนี้ทำ�ให้แซนวิช มี อิน มีอัตราการปล่อยคาร์บอนฟุตปรินต์ในหนึ่ง วันน้อยกว่าร้านอาหารรูปแบบเดียวกันถึง 85 เท่า

facebook.com/SandwichMeIn

Totally Trash-Free

ทุกวันนี้ แนวคิดการอัพไซคลิง (Upcycling) กำ�ลังเกิดขึ้นทั่วโลกในฐานะ เครือ่ งมือให้นกั ออกแบบและผูป้ ระกอบการสร้างสรรค์สนิ ค้าและธุรกิจทีม่ ี ครบทั้งมูลค่าและความยั่งยืน ตั้งแต่ปี 2005 เอลวิสและครีส (Elvis & Kresse) คูห่ นู กั ออกแบบจากลอนดอน นำ�สายยางดับเพลิงสีแดงทีไ่ ด้บริจาค จากหน่วยดับเพลิงลอนดอนมาเลาะตัดเย็บใหม่เป็นเข็มขัดและกระเป๋าถือ หลากทรงทีด่ า้ นในยังบุอย่างประณีตด้วยผ้าไหมจากร่มชูชพี ใช้แล้ว สินค้า สุดหรูที่มีวางขายตามห้างไฮเอนด์อย่างแฮรอดส์ (Harrods) นี้ จนถึง ปัจจุบันได้คืนชีวิตให้อุปกรณ์ดับเพลิงปลดประจำ�การแล้วกว่า 200 ตัน พิสูจน์ให้เห็นว่าการทิ้งข้าวของลำ�พังเพราะใช้งานแบบเดิมไม่ได้ไม่ใช่ ทางออกสุดท้าย หากเป็นคำ�ท้าทายถึงทุกคนให้ลองเปลี่ยนมุมมอง เชิงคุณค่าต่อสิง่ ทีถ่ กู เรียกว่าขยะ นอกจากนี้ เอลวิสและครีสยังบริจาคกำ�ไร ครึ่งหนึ่งให้กับองค์กรการกุศลที่เกี่ยวข้องกับการนำ�ขยะมาใช้ใหม่รวมถึง องค์กรนักดับเพลิงการกุศลอีกด้วย ที่มา: elvisandkresse.com

กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l7


FEATURED BOOK CRADLE TO CRADLE: REMAKING THE WAY WE MAKE THINGS

โดย William McDonough และ Michael Braungart

CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมในศตวรรษที่ 19 ไม่เพียง เปลี่ ย นชุ ม ชนหมู่ บ้ า นเกษตรกรให้ ก้ า วสู่ ก าร ผลิต ที่เน้นทั้งจำ�นวนและความรวดเร็วเพื่อ ป้อนตลาดเท่านัน้ แต่ยงั แปรสภาพขยะทีเ่ คยเป็น เศษฟางหญ้าให้เป็นซากอุตสาหกรรมตกค้าง จำ�นวนมหาศาลที่ส่งต่อสู่อีกศตวรรษ ซึ่งส่วน หนึ่งมาจากสาเหตุที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต่างคำ�นึง ถึ ง ดอกผลปลายทางมากกว่ า ผลลั พ ธ์ ด้ า น สิ่งแวดล้อม รูปแบบการผลิตที่ผ่านมาจึงไม่ต่าง จากการขีดเส้นตรง ซึง่ วิลเลียม แม็คดอโน และ ไมเคิล บรอนการ์ต ได้นยิ ามว่า “Cradle-toGrave (จากอู่สู่สุสาน)” สะท้อนถึงจุดเริ่มของ การตักตวงทรัพยากรธรรมชาติ (Cradle) ไปสู่ ขยะกองโต (Grave) ในปลายทาง และยังรวมถึง มาตรการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทุกวันนี้ ทั้งการ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซาํ้ (Reuse) และการนำ� กลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ว่าต่างส่งผลด้านลบ หรือสร้างผลกระทบมากกว่าจะช่วยแก้ปัญหา เช่น การรีไซเคิลทีผ่ ลผลิตส่วนใหญ่จะออกมาใน ลักษณะ "ดาวน์ไซเคิล (Downcycle)" หรือด้อย คุณ ภาพ มี ส ารพิ ษ ตกค้ าง ทั้ ง ยั ง สิ้ น เปลื อ ง พลังงานและค่าใช้จ่ายที่บางครั้งมากกว่าการ ผลิตใหม่ด้วยซํ้า

การพบกั น ของ วิ ล เลี ย ม แม็ ค ดอโน สถาปนิกและผู้ก่อตั้ง William McDonough +Partners และ ไมเคิล บรอนการ์ต นักเคมี เชิงนิเวศรวมถึงผู้ก่อตั้งสำ�นักงานการคุ้มครอง สิ่ ง แวดล้ อ ม (Environment Protection Enforcement Agency) จึงนำ�มาสูง่ านเขียน ร่วมกันชิ้นแรกในชื่อ The Hannover Principles (2002) ซึ่งสะท้อนแนวทางกำ�จัดขยะ กระทั่ง ต่อยอดเป็นผลงานอืน่ ๆ อีกมากมาย พร้อมนำ� เสนอแนวคิดใหม่อย่าง “ประสิทธิผลเชิงนิเวศ เศรษฐกิจ (Eco-effetiveness)" ตามแนวทาง “จากอู่สู่อู่ (Cradle-to Cradle - C2C)” ที่ยดึ หลักการแม่แบบจากธรรมชาติในการประเมิน วัฏจักรของการเกิดขึน้ และย่อยสลายอย่างยัง่ ยืน นั่นคือ ผู้ผลิตต้องคำ�นึงตั้งแต่ก่อนการผลิต สินค้าแต่ละชิ้นว่า หากผลิตภัณฑ์นั้นๆ ได้ผ่าน การอุปโภคบริโภคแล้วจะสามารถย่อยสลายจน กลายเป็นส่วนหนึง่ ในธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ ปลอดภัยโดยไม่หลงเหลือผลด้านลบใดๆ ให้กบั โลกใบนี้ จึงจะถือเป็นการสร้างความยัง่ ยืนอย่าง แท้จริง เสมือนการปรับระบบการผลิตให้เป็น ส่วนหนึ่งส่วนเดียวกันกับระบบธรรมชาติใน วัฏจักรแบบเส้นวงกลม

DOCUMENTARY กำ�กับโดย Lucy Walker

จาร์ดมิ การ์มาโช (Jardim Gramacho) ถือเป็น แหล่งทิ้งขยะขนาดใหญ่ของโลกที่มีขยะมากถึง 7,000 ตันต่อวัน โดยกว่าร้อยละ 70 นั้นมาจาก เมืองรีโอเดจาเนโร แต่ในพื้นที่ที่ไม่น่าพิสมัยนี้ กลับมีผู้คนอาศัยอยู่กว่า 15,000 คน ในแต่ละ วันจะมีคนเก็บขยะทั้งหญิงและชายไม่ตํ่ากว่า 3-5 พันคน ทีเ่ ข้ามาคัดแยกขยะสำ�หรับขายและ ส่งต่อไปยังพ่อค้าคนกลางเพื่อแลกกับรายได้ ประมาณ 20-25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อวัน ศิลปิน ร่วมสมัยชาวบราซิล วิก มูนิซ (Vik Muniz) ซึ่ง อพยพไปอยู่ที่อเมริกาตั้งแต่เด็กเดินทางกลับมา บ้านเกิดอีกครั้ง พร้อมกับทีมงานเพื่อสำ�รวจ 8l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557

WASTE LAND

กิจวัตรและเริ่มทำ�โปรเจ็กต์กับผู้คนในชุมชน แห่งนี้ โดยมีขยะเป็นจุดเริ่มต้นหลัก ให้แปร เปลี่ยนเป็นชิ้นงานศิลปะในรูปแบบภาพถ่าย และการปะติดปะต่อภาพแบบคอลลาจจากขยะ ชิน้ งานเด่นคือการเลียนแบบภาพวาดคลาสสิก The death of Marat (1793) ที่ได้ถูกนำ�ไป ประมูลขายในราคากว่า 50,000 เหรียญสหรัฐฯ นับเป็นการสร้างขวัญกำ�ลังใจชัน้ ดี ทัง้ ยังมีสว่ น ผลักดันในการเปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนที่นี่ให้ดี ขึน้ ด้วยการสร้างคนและผลงานจากสิง่ ทีเ่ หมือน จะหมดคุณค่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

BOOK

THE SUSTAINABLE FASHION HANDBOOK โดย Sandy Black

วงจรชีวติ ของแฟชัน่ มักมาเร็วไปเร็ว ความฉาบฉวยเหล่านีม้ กั สร้างผลกระทบ ต่อสังคมและสิง่ แวดล้อมอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ ผูแ้ ต่งตัง้ ข้อสงสัยว่า แฟชัน่ กับความยัง่ ยืน มีความเกีย่ วข้องสัมพันธ์กนั บ้างหรือไม่ และสามารถเชือ่ มโยง กันในมิติใดๆ บ้าง โดยได้ทำ�การวิจัย สัมภาษณ์ และรวบรวมบทความ มุมมองของบรรดาผูเ้ กีย่ วข้องในแวดวงแฟชัน่ ต่อกระแสอีโคทีเ่ กิดขึน้ อย่าง กว้างขวาง และบางคำ�ตอบของเหล่าแฟชั่นนิสต้าอาจทำ�ให้เราประหลาด ใจในมุมมองของความยั่งยืนที่แตกต่างออกไป

The Sustainable Fashion Handbook

REMATERIAL: FROM WASTE TO ARCHITECTURE โดย Alejandro Bahamon และ Maria Camila Sanjines

งานออกแบบมักจะซ่อนสิง่ ทีไ่ ม่สวยงามไว้ไม่ให้มองเห็น แต่ในหนังสือเล่มนี้ กลับรวบรวมโปรเจ็กต์มากมายที่นำ�เอาขยะอันเกิดจากลัทธิบริโภคนิยม ซึ่งถูกมองว่าสกปรก เสือ่ มคุณค่า ไร้ประโยชน์ นำ�กลับมาใช้ใหม่ในลักษณะ เพื่อเป็นวัสดุในการก่อสร้าง ตั้งแต่แก้วกระดาษไปจนถึงตู้คอนเทนเนอร์ โดยยังคงคุณลักษณะของการออกแบบที่ดี นั่นคือสามารถใช้ประโยชน์ได้ อย่างเต็มที่ สร้างสรรค์ และมีความสวยงาม รูปแบบของโปรเจ็กต์ที่ รวบรวมไว้มีความหลากหลายน่าสนใจ ทั้งอาคารสาธารณะ อาคารเพื่อ ธุรกิจ และเพื่อการพัก โดยที่เราแทบจะไม่สังเกตเห็นถึงสิ่งที่เรียกว่าเป็น ขยะเลยแม้แต่น้อย แต่กลับนึกไปว่านี่คือการเลือกใช้วัสดุที่ได้รับการ ออกแบบมาแล้วอย่างดี

กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

UPCYCLING สร้างมูลค่าให้เศษวัสดุ

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ถึงเวลาแล้วที่กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าและวัสดุทั่วโลกต้องหันมาให้ความสำ�คัญ กับกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผู้บริโภคก็จำ�เป็นต้องตระหนักถึง การเลือกใช้สิ่งของมากยิ่งขึ้น นี่คือบทสรุปจากสารคดี The Story of Stuff (2007) ที่ได้ชี้ ให้เห็นปัญหาของการผลิตและการบริโภคแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมอย่างเข้าใจง่ายๆ ว่า ก่อนจะเป็นขยะทุกๆ 1 ถังทีผ่ บู้ ริโภคทิง้ ปลายทาง ต้องมีขยะอีก 70 ถังทีถ่ กู ทิง้ จากโรงงาน ระหว่างกระบวนการผลิต โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาสถาปนิกอย่างวิลเลียม แม็คดอโน (William McDonaugh) และนักเคมี ไมเคิล บรอนการ์ต (Michael Braungart) จึงได้ ร่วมกันคิดค้นแนวทางการแก้ปัญหาและตีพิมพ์หนังสือ Cradle to Cradle (2002) ที่จะ ทำ�ให้ผู้คนคิดอย่างเป็นองค์รวมเกี่ยวกับวิถีในการดำ�รงชีวิต การทำ�งาน การเดินทาง การออกแบบ การก่อสร้าง และการบริโภค จากกรอบแนวคิดดังกล่าว ส่งผลให้เกิดวิธีการ Upcycling หรือกระบวนการแปลง วัสดุเหลือใช้หรือผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้งานตามหน้าที่เดิมให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มี คุณภาพเเละมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยใช้การออกเเบบเป็นเครื่องมือสำ�คัญ เพื่อผลักดันให้หลาย ประเทศเเละเเบรนด์ชั้นนำ�ของโลกใช้เป็นกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งเเวดล้อมและคำ�นึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านการจัดการนํ้าให้มีคุณภาพดี ส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ และเน้นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนที่เคารพใน ภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ เช่น ผลิตภัณฑ์ของ 'รเี มด ยูเอสเอ (reMade USA)' ในบรูกลิน สหรัฐฯ ทีเ่ ปลีย่ นเสือ้ แจ็กเก็ตหนังตัวเก่าให้กลายเป็นกระเป๋าใบใหม่และสร้างเรือ่ งราวจนเพิม่ มูลค่า ได้ หรือผลิตภัณฑ์ไทยอย่าง 'โอซิซุ (Osisu)' ที่พลิกถุงนํ้าเกลือที่ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้ง มาผลิตใหม่เป็นกระเป๋าสะพาย Bax Cargo เป็นต้น นอกจากนี้ ล่าสุดกรมส่งเสริมคุณภาพสิง่ แวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิง่ แวดล้อม ยังได้ท�ำ งานงานร่วมกับ ผศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต กำ�หนดมาตรฐานการประเมิน ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ พร้อมออกตราสัญลักษณ์รับรอง G-Upcycle เพื่อ สนับสนุนผู้ประกอบการที่นำ�ของเหลือใช้ในทุกระดับกลับมาพัฒนาเป็นวัสดุทดแทนหรือ สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมไปถึงส่งเสริมการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ เมือ่ การผลิตแบบอุตสาหกรรมในโลกทุนนิยมจำ�เป็นต้องดำ�เนินต่อไป เพือ่ ให้เกิดนิเวศ เศรษฐกิจทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ทุกภาคส่วนจึงจำ�เป็นต้องกระตุน้ ให้ผบู้ ริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่ ง แวดล้ อ มและกลุ่ ม ธุ ร กิ จ ในระบบอุ ต สาหกรรมก็ ค วรมี ค วามเข้ า ใจ กระบวนการ Upcycling อย่างเป็นระบบ และสามารถนำ�ไปใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มธุรกิจได้ ที่มา: บทความ “จากอู่สู่อู่” (Cradle to Cradle): สู่วิถี “ทุนนิยมหลังอุตสาหกรรม” โดย สฤณี อาชวานันทกุล จาก greenworld.or.th, deqp.go.th, storyofstuff.org

10 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557

RECYCLED PLASTIC SHEET

MOLDED RECYCLED PET

แผ่นโพลิเมอร์สีสันแปลกตา ผลิตจากการรีไซเคิลขยะและ วัสดุเหลือใช้ เช่น ถ้วยกาแฟ แผ่นซีดี เศษวัสดุจากการผลิต ธนบัตรเก่า และแปรงสีฟันที่ ไม่ใช้แล้ว แล้วเติม HDPE (โพลี เอธิ ลี น ความหนาแน่ น สู ง ) ชนิดของเศษวัสดุทนี่ �ำ มาใช้จะ เป็นตัวกำ�หนดลวดลายที่ไม่ สมํ่ า เสมอและสี สั น ที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องแผ่ น วั ส ดุ สามารถนำ�ไปแปรรูปได้เช่น เดียวกับแผ่นวัสดุที่ทำ�จากไม้ เช่น การเลื่อยตัด เจาะ ไส และเทอร์โมฟอร์ม เหมาะกับ การใช้ทำ�เฟอร์นิเจอร์ และชั้น จั ด แสดงสิ น ค้ า เพื่ อ ก า ร ประชาสัมพันธ์

ผลิตจากขวดรีไซเคิลและบรรจุ ภัณฑ์อน่ื ๆ ขวดและผลิตภัณฑ์ PET จะนำ�ไปหลอมและทำ�เป็น เม็ ด เล็ ก ๆ เพื่ อ หล่ อ เป็ น ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ PET เหล่านี้ สามารถนำ � ไปขึ้ น รู ป ด้ ว ย สุ ญ ญากาศให้ ไ ด้ รู ป ทรง ต่างๆ ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย จะมีความแข็ง เนื้อโปร่งใส หรื อ โปร่ ง แสง และมี ค วาม ทนทาน สามารถผลิ ต ให้มี เนื้ อ ใสบริ สุ ท ธิ์ ห รื อ ย้ อ มสี เหมาะสำ�หรับทำ�บรรจุภัณฑ์ ของเล่น ภาชนะ และสินค้า ชนิดใช้แล้วทิ้งอื่นๆ

พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC


© Bettmann/CORBIS

CLASSIC ITEM คลาสสิก

MASS PRODUCTION เรื่อง: วิป วิญญรัตน์

เรื่องราวของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ทางเลือกอื่นๆ ในศตวรรษที่ 20 นั้น โดยหลักเป็น ผลมาจากนวัตกรรมทางการผลิตทีส่ �ำ คัญอย่างหนึง่ นัน่ คือการผลิตจำ�นวนมาก (Mass Production) ทีเ่ ป็นผลจากการพัฒนาเครือ่ ง จักรไอนํ้าของเจมส์ วัตต์ (James Watt) และนำ�มาสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ จนทำ�ให้ประเทศตะวันตกกลายเป็นประเทศ อุตสาหกรรม สร้างความมั่งคั่งให้กับระบบเศรษฐกิจและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมขนานใหญ่ • การผลิ ต จำ � นวนมาก คื อ การผลิตสินค้ารูป แบบ เดียวกันในปริมาณมหาศาล โดยมักใช้เทคโนโลยีการ ผลิตแบบเครือ่ งจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การใช้ สายพานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ แรงงาน และทำ�ให้ต้นทุนต่อหน่วยถูกลง เช่น การใช้ เครนเหนือหัวขนาดใหญ่ซ่ึงสามารถแทนที่ ค นงาน มากถึง 36 คนเพื่อขนย้ายของหนัก เป็นต้น • การผลิตจำ�นวนมากเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด การ ปฏิวัติอุตสาหกรรมช่วงศตวรรษที่ 19 ในอังกฤษทำ�ให้ สินค้าหลายประเภทมีตน้ ทุนถูกลง ตัง้ แต่สินค้าปฐมภูมิ อย่างเหล็ก เหล็กกล้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ไปจนถึง สินค้าสำ�หรับอุปโภคบริโภคอย่างเสือ้ ผ้า ซึง่ ผูบ้ ริโภคหลัก ของสินค้าเหล่านี้ ก็คือชนชั้นกลางและชนชั้นแรงงาน ทีไ่ ด้รบั ค่าจ้างจากระบบการผลิตรูปแบบนีน้ ั่นเอง • ผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งที่มาควบคู่กัน กับการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการผลิตจำ�นวนมาก กลางศตวรรษที่ 19 แม่นํ้าเทมส์ในลอนดอนขึ้นชื่อเรื่อง ความเน่าเหม็นเนือ่ งจากนํา้ เสียจากโรงงานอุตสาหกรรม นำ�มาซึง่ คำ�ถามสำ�คัญในเวลาต่อมาถึงการสร้างสมดุล ระหว่างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจกับการควบคุม ของเสียที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม • การผลิตจำ�นวนมากทำ�ให้เหล็กกล้า (Steel) สำ�หรับ การก่อสร้างรางรถไฟมีราคาถูกลง และถูกนำ�มาใช้ แทนที่เหล็ก (Iron) ซึ่งเปราะบางกว่า เหล็กกล้ายัง สามารถรองรับนํ้าหนักของหัวรถจักรทีว่ ง่ิ ด้วยความเร็ว

สูงขึน้ ทำ�ให้รถไฟหนึง่ ขบวนขนถ่ายสินค้าได้ในปริมาณ ที่มากขึ้น ถึงที่หมายเร็วขึน้ จึงทำ�ให้การขยายเครือข่าย รถไฟเติบโตมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ถึงช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 • ราคาที่ถูกลงจากระบบการผลิตที่มีป ระสิ ท ธิ ภ าพนี้ ทำ�ให้การแบ่งแยกชนชัน้ จากชาติก�ำ เนิดพร่าเลือน ชนชั้น ระดับล่างเริ่มเข้าถึงและบริโภคสินค้าต่างๆ ได้งา่ ยขึน้ ในทางกลับกันสินค้าที่ไม่ได้ผลิตครัง้ ละมากๆ เริม่ เป็น มาตรฐานใหม่ในการแสดงออกทางชนชัน้ ความสามารถ ในการบริโภคจึงกลายเป็นปัจจัยใหม่ที่แสดงถึงความ แตกต่างระหว่างชนชั้นในสังคม • ทุนนิยมอุตสาหกรรมและการผลิตจำ�นวนมากทำ�ให้ ลูกจ้างมีรายได้มากขึ้น ส่งผลให้แ รงงานจากภาค การเกษตรไหลมาสู่ภาคอุตสาหกรรม ขณะที่ชนชั้น กลางก็มกี ารขยายตัว การบริโภคนิยม (Consumerism) เริ่มเป็นบรรทัดฐานใหม่ของการมีชีวิตที่ดี ผู้บริโภค สามารถบริโภคสินค้าได้ในปริมาณที่ต้องการทั้งยัง สามารถเลือกชนิด แบบ และประเภทของสินค้าได้ ตามใจชอบ ซึง่ สะท้อนถึงเสรีภาพในการตัดสินใจด้วย ตนเอง (Self-Determination) ที่มีมากขึ้นเช่นกัน • ความสามารถในการผลิตครั้งละมากๆ ถูกใช้ใน ทางการเมืองในศตวรรษที่ 20 ในลักษณะต่างๆ กัน สหรัฐฯ ผลิตอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม (Cultural Industry) ด้วยการทำ�ให้วัฒนธรรมเป็นของประชาชน ผ่านอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างภาพยนตร์ ดนตรี และ

วิทยุ ในเยอรมนี โฆษณาชวนเชื่อแนวคิดนาซีผ่านการ ผลิตรถเต่า (Volkswagen) ทำ�ให้ “มวลชน” สามารถ เป็นเจ้าของได้ก็วางอยู่บนเงื่อนไขการผลิตนี้เช่นกัน • การผลิตจำ�นวนมากไม่ได้แค่ผลิตขยะในตัวมันเอง เท่านั้น แต่ยังทำ�ให้ความต้องการวัตถุดิบเหลือใช้ (Scrap Materials) เพื่อการผลิตมีสูงขึ้น และทำ�ให้ การรีไซเคิลเป็นส่วนหนึ่งของการผลิต ซึ่งเป็นไปได้ ว่ า การพั ฒ นาเทคนิ ค การผลิ ต อาจทำ � ให้ ค วามหวั ง ในการคงมาตรฐานการครองชีพผ่านการผลิตจำ�นวน มาก ไปพร้อม ๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมผ่านการ บริหารจัดการของเสียนัน้ เกิดขึน้ ได้จริงด้วยกระบวนการ ผลิตจำ�นวนมากนี่เอง • “Designed by Apple in California Assembled in China” ทีร่ ะบุดา้ นหลังไอโฟน คือตัวอย่างที่ชัดเจน ที่สุดถึงยุคหลังทศวรรษ 1970 เมื่อประเทศอุตสาหกรรม เดิมทางตะวันตกเริ่มย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศ เกิดใหม่อย่างจีนและอินเดีย โดยที่ความมั่งคั่งถูกผลิต ด้วยภาคการเงิน (Financial Sector) หรือแม้แต่ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ซึ่งเป็น ที่น่าสงสัยว่าจะช่วยกอบกู้สภาวะคนว่างงานในโลก ตะวันตกได้หรือไม่ ที่มา: วิกิพีเดีย หนังสือ London: The Biography (2001) โดย Peter Ackroyd กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

IT’S NOT WASTE, UNTIL IT’S WASTE หรือจะปล่อยให้เสียของ?

D

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

.

นับตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรม ระบบการผลิต จำ�นวนมาก การคมนาคมขนส่งและการสื่อสารได้นำ�โลกเข้าสู่ ยุคที่การจับจ่ายใช้สอยและการบริโภคเป็นไปได้ อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น ข้อมูลที่เชื่อมถึงกันทั้งโลกยังทำ�ให้ การค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีใช้เวลาน้อยลง และยิ่งเป็นตัวเร่งให้สินค้าที่ผลิตออกมามีวงจรชีวิตที่ส้นั ลงด้วย เมื่อเวลาผ่านไปพร้อมกับอัตราการเติบโตของจำ�นวนประชากรโลก ภูเขาขยะกองพะเนินสูงขึ้นและกินอาณาบริเวณ ออกไปจนเกิดเป็นปัญหารุนแรงและซับซ้อน ทางออกเช่นการส่งขยะไปยังประเทศอื่น ปล่อยลงแม่นํ้าหรือออกสู่ทะเล กลับไม่อาจแก้ปัญหาได้ เพราะไม่ว่าจะทิ้งลงตรงไหน ขยะก็ยังอยู่บนโลกใบเดียวกันกับที่เราอาศัยอยู่นี้เอง หากกระบวนการรีไซเคิลคือนวัตกรรมทางเลือกในการจัดการขยะช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ต้นศตวรรษที่ 21 ที่ ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเหยียบหลักหมื่นล้าน ก็คงเป็นช่วงเวลาที่มนุษย์จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การตั้ง คำ�ถามใหม่บนบริบททางสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ การเมือง และการศึกษาที่ต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ จึงนำ�มา สู่แนวคิดและวิธีบริหารจัดการทรัพยากรมีค่าที่ถูกเรียกว่า “ขยะ” อย่างหลากหลายและสร้างสรรค์มากขึ้นกว่าที่เคย 12 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557


@ REUTERS/Luke MacGregor

COVER STORY เรื่องจากปก

เรื่องกินเรื่องใหญ่

ในประเทศกำ�ลังพัฒนาอย่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือแอฟริกานัน้ ทีม่ า ของขยะอาหาร (Food Waste) มักเกิดขึ้นในขั้นตอนระหว่างทางจาก ผู้ผลิตมาถึงผู้บริโภค ตั้งแต่การเก็บเกี่ยว ระบบสาธารณูปโภค การ คมนาคมขนส่ง ไปจนถึงการจัดเก็บทีไ่ ม่ได้ประสิทธิภาพ ในขณะทีป่ ระเทศ พัฒนาแล้ว วัฒนธรรมการบริโภคสมัยใหม่มักส่งผลให้อาหารถูกทิ้งไปใน ขั้นตอนค้าปลีกเป็นจำ�นวนถึง 1.6 ล้านตันต่อปี เนื่องจากบรรดาร้านค้า ปลีกปฏิเสธผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ได้ขนาดหรือรูปร่างตามมาตรฐาน ทีต่ งั้ ไว้ นอกจากนี้ การตลาดประเภทลดแลกแจกแถมทีก่ ระตุน้ ให้ผบู้ ริโภค ซื้ออาหารในปริมาณมากเกินความจำ�เป็นจนเหลือทิ้งก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง โดยสัดส่วนอาหารที่ถูกทิ้งคิดเป็นร้อยละ 30-50 ของปริมาณอาหารที่ ผู้บริโภคซื้อมา Understand the Misunderstood ด้วยปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งในสหภาพยุโรปถึง 100 ล้านตันต่อปี เมื่อ พฤษภาคม 2014 สหภาพยุโรปจึงมีการหารือเพื่อพิจารณายกเลิกการระบุ วันที่ “ควรบริโภคก่อน (Best Before)” ในสินค้าบางประเภทที่มีอายุการ เก็บรักษานานอย่างเส้นพาสต้า ข้าว และกาแฟ เพื่อลดปริมาณการทิ้ง อาหารโดยไม่จ�ำ เป็น เนือ่ งจากสหภาพยุโรปมีขอ้ กำ�หนดให้ระบุวนั ทีด่ งั กล่าว

@ REUTERS/Kham

รายงาน “Global Food: Waste Not, Want Not” จากสถาบันวิศวกรรมเครื่องกล (Institution of Mechanical Engineers: IMechE) ของอังกฤษ ระบุวา่ ปัจจุบนั ทัว่ โลก มี ก ารผลิ ต อาหารทั้ ง หมด 4 พั น ล้ า นตั น ใน แต่ละปี แต่รอ้ ยละ 30-50 (1.2-2 ล้านตัน) ของ อาหารเหล่านี้กลับถูกทิ้งไปโดยไม่ได้บริโภค

ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สูญเสียเมล็ดข้าวระหว่างขั้นตอนการผลิตจนมาถึงผู้บริโภค เป็นจำ�นวนถึง 180 ล้านตันในแต่ละปี คิดเป็นร้อยละ 37-80 ของปริมาณข้าวที่ผลิตได้ทั้งหมด จีนซึ่งมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีอัตราการสูญเสีย เมล็ดข้าวร้อยละ 45 ในขณะที่อัตราการสูญเสียข้าวในเวียดนามสูงถึงร้อยละ 80

บนฉลากอาหารทุกชนิด ทำ�ให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนและรู้สึกไม่มนั่ ใจ ที่จะรับประทานอาหารที่เลยวันที่ที่ระบุไว้ เป็นหนึ่งในสาเหตุของการทิ้ง อาหารโดยไม่ได้รับประทาน ทั้งที่ในความเป็นจริงอาหารบางประเภท เมือ่ เลยวันทีไ่ ปแล้วก็ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย เพียงแต่อาจมีรปู ลักษณ์ สี หรือรสชาติที่เปลี่ยนไป กรกฎาคม 2557

l Creative Thailand l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

Blame on the Big Ones

ขยะอาหารเป็ น หนึ่ ง ในต้ น เหตุ สำ� คั ญ ของการเกิ ด ก๊ า ซมี เ ทนในหลุ ม ฝังกลบของสหรัฐฯ รัฐแมสซาชูเสทส์จึงประกาศเริ่มโครงการควบคุม การทิ้งขยะอาหารตั้งแต่ตุลาคม 2014 โดยห้ามหน่วยงานที่ทิ้งขยะอาหาร เกิน 1 ตันต่อสัปดาห์จัดการขยะด้วยการฝังกลบ แต่ต้องบริจาคอาหาร ที่ ยั ง รั บ ประทานได้ ใ ห้ อ งค์ ก รการกุ ศ ล รวมถึ ง นำ � ส่ ว นที่ เ หลื อ ส่ ง เข้ า กระบวนการทำ�ปุ๋ยหมักหรืออาหารสัตว์ให้เกษตรกร หรือนำ�ไปผลิตเป็น ก๊าซชีวภาพ อย่างไรก็ตาม การออกกฎหมายบังคับใช้เฉพาะกับองค์กรใหญ่ ซึง่ มีอยูป่ ระมาณ 1,700 แห่ง อาจยังไม่ใช่วธิ แี ก้ปญั หาทีค่ รอบคลุมและอาจ

ส่งผลเสียต่อจิตสำ�นึกผู้บริโภค “ผู้บริโภคจะเริ่มตระหนักว่าการทิ้งอาหาร ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง ก็ต่อเมื่อพวกเขาเห็นว่าตัวเองทิ้งอาหารไปจำ�นวนมาก แค่ไหนและเราต้องเสียค่าใช้จา่ ยในการจัดการกับมันเท่าไหร่ ปัญหาทีอ่ าจ เกิดขึน้ ได้จากโครงการ คือขยะอาหารในมุมมองของคนทัว่ ไปอาจดูรนุ แรง น้อยลงเพราะความรับผิดชอบไปตกอยู่ท่บี ริษัทใหญ่ ผู้คนรู้ สึ ก ดี กั บ การ รีไซเคิลมากขึ้น และอาจให้ความสำ�คัญกับการลดการสร้างขยะน้อย กว่าที่ควรจะเป็น” ดานา กันเดอร์ส (Dana Gunders) นักวิทยาศาสตร์ ของสภาคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (NRDC) กล่าว

gobizkorea.com

จากเดิมที่เคยเรียกเก็บค่าทิ้งขยะในอัตราคงที่ เกาหลีใต้ได้ออกมาตรการ ใหม่ในการเรียกเก็บค่าทิง้ ขยะโดยคำ�นวณตามนํา้ หนัก และมีแผนจะบังคับ ใช้ทั่วประเทศภายในปี 2014 นี้ โดยวิธีเรียกเก็บเงินค่าทิ้งขยะที่นิยมที่สุด คือการหักค่าใช้จ่ายจากข้อมูลในบัตรประจำ�ตัวผู้ทิ้งขยะด้วยระบบ RFID ถังขยะจะเปิดออกเมื่อแตะบัตรบนเครื่องสแกน และเครื่องชั่งนํ้าหนักใน ถังจะบันทึกข้อมูลไว้ และจะส่งบิลค่าใช้จ่ายแต่ละเดือนไปยังที่อยู่ที่ระบุ ในบัตร ซึง่ แม้วา่ อัตราการเก็บค่าทิง้ ขยะจะไม่สงู มาก แต่รฐั บาลก็คาดหวังว่า ตัวเลขนํ้าหนักของขยะที่ทิ้งไปในแต่ละครั้ง จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชน พยายามลดและควบคุมปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุด ตั้งแต่ขั้นตอนการ เตรียมวัตถุดบิ ในปริมาณทีพ่ อดีและใช้วตั ถุดบิ อย่างคุม้ ค่า โดยมีรายงานว่า ปริมาณขยะอาหารในกรุงโซลหลังเริ่มบังคับใช้นโยบายลดลงร้อยละ 22.6 จาก 53,000 กิโลกรัม เหลือ 41,000 กิโลกรัมต่อวัน

article.joins.com

Pay as You Dump

14 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557


COVER STORY เรื่องจากปก

เมืองไร้ขยะ

@ Ulrich Mueller

หากการบริหารจัดการขยะในอุดมคติ คือการที่ขยะ ทุกชิ้นที่เราสร้างขึ้นจะไม่ถูกทิ้งไปอย่างสูญเปล่า แต่นำ� มาเปลี่ย นเป็ น อะไรบางอย่ า งที่ส ร้ า งประโยชน์ ใ ห้ แ ก่ เราอีกครัง้ เรื่องราวที่ใกล้เคียงกับอุดมคตินี้เกิดขึ้นจริง แล้วในสวีเดน ประเทศที่ในอดีตเมื่อปี 1975 ตัวเลขการ รีไซเคิลขยะจากครัวเรือนมีเพียงร้อยละ 38 แต่ปัจจุบัน มีขยะเหลือเพียงร้อยละ 1 ทีต่ อ้ งนำ�ไปทิง้ ในหลุมฝังกลบ สะท้อนถึงการเรียนรูแ้ ละลงมือปฏิบตั อิ ย่างเอาจริงเอาจัง ของทุกภาคส่วนในสังคมภายในช่วงเวลาไม่กส่ี บิ ปีทผ่ี า่ นมา

ด้วยการกำ�หนดข้อบังคับจากภาครัฐ ทุกวันนี้ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่พักอาศัย แห่งไหนในสวีเดน เราสามารถพบเห็นสถานีรีไซเคิลขยะได้ในรัศมีไม่เกิน 300 เมตร ชาวสวีเดนจะคัดแยกขยะเป็นประเภท โดยขยะที่สามารถนำ� ไปรีไซเคิลต่อได้จะถูกทิ้งในถังขยะเฉพาะหรือที่สถานีรีไซเคิลเพื่อแปร เป็นวัตถุดบิ ใหม่ ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์และขยะอันตรายก็จะมีรถเก็บขยะ เฉพาะวนรอบเมืองเพือ่ เก็บชิน้ ส่วนไปดำ�เนินการต่อ โดยรถเก็บขยะส่วนใหญ่ วิ่งด้วยไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนหรือก๊าซชีวภาพ นอกจากนี้ ร้านขายยา ในสวีเดนยังให้บริการรับยาเหลือใช้กลับมาทำ�ลายด้วยวิธีการที่เหมาะสม และทิ้งในหลุมฝังกลบเฉพาะตั้งแต่ปี 1971 เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อ สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปัจจุบนั ร้อยละ 99 ของขยะจากครัวเรือนในสวีเดนจะถูกนำ�ไปรีไซเคิล เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือผ่านกระบวนการหมักเป็นปุย๋ และก๊าซชีวมวล หรือ นำ�ไปผลิตเป็นพลังงาน โดยร้อยละ 50 นำ�มาแปรเป็นพลังงานด้วยการเผา ในโครงการแปรขยะเป็นพลังงาน (Waste-to-Energy Program) ซึ่งเริ่ม ตั้งแต่ทศวรรษ 1940 จนปัจจุบันสวีเดนมีโรงงานเผาขยะทั้งหมด 32 แห่ง ทัว่ ประเทศ สามารถผลิตพลังงานความร้อนแจกจ่ายให้ประชากร 810,000 ครัวเรือน และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าให้ 250,000 ครัวเรือน ความสำ�เร็จในการคัดแยกและรีไซเคิลขยะของสวีเดนส่งผลให้มีขยะ ไม่เพียงพอสำ�หรับป้อนเป็นเชื้อเพลิงเข้าสู่เตาเผาเพื่อแปรเป็นพลังงาน ความร้อนและกระแสไฟฟ้า สวีเดนจึงต้องแสวงหาทางออกสำ�หรับปัญหา ใหม่ทเี่ กิดขึน้ ด้วยการนำ�เข้าขยะจากประเทศอืน่ ๆ ประมาณ 700,000 ตัน ต่อปี โดยส่วนใหญ่มาจากนอร์เวย์ เนื่องจากภาษีค่าทิ้งขยะและค่าใช้จ่าย ในการเผาขยะในหลายเมืองของนอร์เวย์ค่อนข้างสูง การส่งออกขยะให้ สวีเดนจัดการต่อจึงเป็นตัวเลือกทีค่ มุ้ ค่า โดยนอร์เวย์ตกลงจ่ายค่าขนส่งและ จัดการขยะให้สวีเดนนำ�ไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าและพลังงาน

ความร้อน ทัง้ ยังรับขีเ้ ถ้าทีเ่ หลือจากการเผาซึง่ มีสว่ นประกอบของโลหะหนัก ที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมกลับไปทิ้งในหลุมฝังกลบในนอร์เวย์อีกด้วย คาทารินา่ อุสท์ลอนด์ (Catarina Ostlund) ทีป่ รึกษาอาวุโสสำ�นักงานปกป้อง สิง่ แวดล้อมแห่งสวีเดน ยํา้ ว่าสวีเดนเองก็ยงั ต้องพยายามหาหนทางในการ ลดปริมาณขยะในอนาคต “เราต้องพยายามนำ�ขยะกลับมาใช้ซและรีไซเคิล ให้มปี ระสิทธิภาพขึน้ อีก เพราะอันทีจ่ ริงการเผาขยะก็ยงั ไม่ใช่การแก้ปญั หา ที่ยั่งยืน แต่มันก็เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ดีหากมองในระยะใกล้” Burn it or not? ในขณะทีก่ ารเผาถือเป็นหนึง่ ในวิธหี ลักในการกำ�จัดขยะในสวีเดนอย่างไม่มขี อ้ ถกเถียง แต่ในหลายเมืองในสหรัฐฯ โครงการกำ�จัดขยะด้วยวิธีเผายังคงถูกคัดค้านจาก นักสิ่งแวดล้อมจำ�นวนไม่น้อย ซึ่งกังวลว่าการเผาจะก่อให้เกิดมลภาวะในอากาศ คาร์ล มิชู (Carl Michaud) ผูจ้ ดั การด้านสิง่ แวดล้อมเฮนเนพิน (Hennepin County) หนึง่ ในเขตของสหรัฐฯ ทีม่ เี ตาเผาขยะเพือ่ แปรเป็นพลังงาน ให้เหตุผลว่าการทีส่ หรัฐฯ ยังไม่ยอมรับการเผาขยะอย่างเต็มที่นั้นอาจเป็นเพราะราคาพลังงานในสหรัฐฯ ยัง ค่อนข้างถูก ทั้งยังมีที่ดินราคาถูกจำ�นวนมากพร้อมสำ�หรับการฝังกลบ ในขณะที่ สวีเดนมีพื้นที่น้อยและต้องอาศัยการนำ�เข้าพลังงานจากภายนอก อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ก็ตระหนักดีในข้อเท็จจริงทีว่ า่ การทับถมของขยะในสถานทีฝ่ งั กลบนัน้ ก่อให้ เกิดก๊าซมีเทนซึง่ เมือ่ ลอยขึน้ สูช่ นั้ บรรยากาศจะก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนรุนแรงกว่าก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า “เมื่อคำ�นึงถึงเรื่องทรัพยากรและปัญหาเรื่องสภาพ ภูมิอากาศ มันง่ายมากที่จะได้ข้อสรุปว่าการฝังกลบนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม เพราะเราไม่ได้อะไรจากมันเลย นอกจากปัญหา” ไวเนอ วิควิสต์ (Weine Wiqvist) ผูอ้ �ำ นวยการ Avfall Sverige สมาคมแปรขยะเป็นพลังงานของสวีเดนกล่าว ที่มา: บทความ “Is burning garbage green? In Sweden, there’s little debate” (17 ตุลาคม 2013) จาก midwestenergynews.com กรกฎาคม 2557 l Creative Thailand l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

ในฐานะหนึ่งในชาติที่ได้รับการยกย่องในเรื่องความประหยัด เป็นที่เข้าใจ กันดีว่าวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นซึ่งมีพน้ื ฐานมาจากปรัชญาเซ็น นัน้ ให้คณุ ค่ากับความงามของสรรพสิง่ ที่ล้วนไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวร และไม่ยึดติดกับแบบแผน ร่องรอยตำ�หนิที่แสดงเรื่องราวเบื้องหลังในข้าว ของเครือ่ งใช้จงึ เป็นความงามทีอ่ อ่ นน้อมและสงบเสงีย่ ม ควรค่าแก่การเก็บ รักษา ภาพของชุดกิโมโนเก่าทีถ่ กู นำ�มาดัดแปลงเป็นผ้าเช็ดจาน ผ้าเช็ดโต๊ะ และผ้าอ้อมจึงเป็นเรื่องปกติ

ในขณะทีท่ ว่ั โลกมีขยะเกิดขึน้ มากกว่าปีละหนึง่ พันล้านตันและมีแนวโน้มจะ เพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) เป็นหนึง่ ในประเภทขยะทีม่ ี อัตราการเพิม่ ขึน้ มากทีส่ ดุ อันเนือ่ งมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทไ่ี ด้ นำ�โลกเข้าสู่ยุคที่กระแสความนิยมเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว และอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์มอี ายุการใช้งานสัน้ ลง

winroader.co.jp

เมือ่ วินโรดเดอร์ (Winroader) ธุรกิจขนส่งด้วยรถบรรทุกและโกดังเก็บสินค้า ในญี่ปุ่นที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1950 ถูกส่งต่อให้แก่ผู้บริหารรุ่นลูกอย่าง ทามิฮโิ ต ทาคาชิมา (Tamihito Takashima) ภาพเฟอร์นเิ จอร์และเครือ่ งใช้ ในบ้านที่เจ้าของเดิมไม่ต้องการถูกทิ้งเป็นขยะ ทำ�ให้ผู้บริหารหนุ่มเกิด ความคิดที่จะสร้างโอกาสให้ของใช้เหล่านี้ได้พบกับเจ้าของใหม่ โดยเมื่อ รถบรรทุกของบริษทั ต้องไปขนขยะจากบ้านหนึง่ พนักงานจะถ่ายรูปข้าวของ เครื่องใช้แต่ละชิ้นและโพสในเว็บไซต์ “Eco Auction” เพื่อให้การซื้อขาย เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้หลายครั้งพนักงานสามารถนำ�ของใช้มือสองไป ส่งต่อให้แก่ผรู้ บั ซือ้ ได้เลยโดยไม่ตอ้ งนำ�ไปเก็บทีโ่ กดังก่อน ของใช้ทยี่ งั ไม่มี ผู้รับซื้อจะถูกส่งไปที่ร้านขายของมือสองในท้องถิ่น หรือร้านขายของมือ สองของวินโรดเดอร์ หรือส่งไปขายในตลาดต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ ความสำ�เร็จในการพลิกธุรกิจให้สอดคล้องกับจิตสำ�นึกที่ดูแล รักษาของใช้อย่างทะนุถนอมของชาวญี่ปุ่นของวินโรดเดอร์ ทำ�ให้ทุกวันนี้ ชาวญีป่ นุ่ เรียกรถขนส่งบรรทุกสีราสเบอร์รแี ละสีเขียวนาํ้ ทะเลของบริษทั ว่า “ตู้สมบัติ”

16 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557

attero.in

E-Waste: Weep vs. Wealth

winroader.co.jp

No-Waste Culture

ข้อมูลทีร่ วบรวมโดย StEP (Solving the E-Waste Problem) พบว่าในปี 2013 ทัว่ โลกมีขยะอิเล็กทรอนิกส์เกิดขึน้ เกือบ 54 ล้านตัน หรือเฉลีย่ 20 กิโลกรัม ต่อประชากรหนึง่ คน ทัง้ ยังคาดการณ์วา่ จำ�นวนดังกล่าวจะเพิม่ ขึน้ ถึงร้อยละ 33 หรือ 72 ล้านตันในปี 2017 โดยจากข้อมูลแผนทีข่ ยะอิเล็กทรอนิกส์โลก (E-Waste World Map) ปี 2012 นัน้ จีนและสหรัฐฯได้ครองตำ�แหน่งประเทศ ที่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด คือ 11.1 และ 10 ล้านตัน ตามลำ�ดับ เมือ่ ตัดสินใจจะทิง้ แล็ปท็อปเครือ่ งเก่าแต่กลับพบว่าไม่มหี น่วยงานใด ในพื้ น ที่ ที่ จ ะจั ด การกั บ ขยะอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ด้ ว ยวิ ธี ก ารที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อม โรฮาน กุบตา (Rohan Gupta) วิศวกรเคมีจึงวางแผนก่อตั้ง ธุรกิจจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์รว่ มกับน้องชาย นิตนิ กุบตา (Nitin Gupta) โดยได้รบั เงินสนับสนุนจากบริษทั ร่วมทุน จำ�นวนมากกว่า 6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2008 ปัจจุบัน อัตเตโร รีไซคลิง (t) ทำ�การแยกสกัดโลหะมีค่าเช่น แพลติ นัม ทองคำ� ซิลิเนียม ฯลฯ จากซากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จำ�นวน 1,000 ตันต่อเดือนที่ส่งเข้ามาจาก 500 กว่าเมืองในอินเดีย รายได้ตอ่ ปีของบริษทั พุ่ ง สู ง ขึ้ น เป็ น สี่ เ ท่ า ภายในเวลาสองปี โดยในปี 2013 มี ร ายได้ สูงถึง 27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โรงงานขนาด 100,000 ตารางฟุตของอัตเตโร ทำ�การจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ดว้ ยเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบบ 4 ขั้นตอน ที่พัฒนาขึ้นเองและอยู่ในระหว่างการขอสิทธิบัตร โดยสามารถสกัดโลหะ มีค่าออกจากขยะได้ในปริมาณมาก ทำ�ให้สามารถขายโลหะที่สกัดได้ใน


COVER STORY เรื่องจากปก

โดยรับซื้อขยะอิเล็กทรอนิกส์จากคนเก็บขยะนอกระบบในราคาสูงกว่าที่ พวกเขาจะได้รับจากการสกัดโลหะเองด้วยการเผาหรือแช่ลงในไซยาไนด์ ซึง่ ทำ�ให้ได้รบั สารพิษปนเปือ้ นในอากาศ นา้ํ และดินในระดับที่เป็นอันตราย ร้ายแรงต่อร่างกาย และเป็นปัญหาสำ�คัญทีป่ ระเทศกำ�ลังพัฒนาหลายแห่ง ที่กลายเป็นที่ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ของโลกกำ�ลังเผชิญ

boyanslat.com

ราคาทีต่ าํ่ กว่าการขุดเหมืองเพือ่ หาแร่โลหะใหม่ โดยเทคโนโลยีใช้เงินลงทุน เพียง 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และต้องมีขยะป้อนเข้าสู่โรงงาน 2,000 ตันต่อ ปี ในขณะที่โรงงานทั่วไปต้องใช้เงินลงทุนถึง 100 เหรียญสหรัฐฯ และ ต้องการขยะไม่ตํ่ากว่า 100,000 ตันต่อปีเพื่อให้คุ้มทุน อัตเตโรเป็นบริษัท เดียวในอินเดียที่จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง

การจัดการขยะแห่งอนาคต

ในวันปัญหาด้านเศรษฐกิจและสิง่ แวดล้อมทีโ่ ลกกำ�ลัง เผชิญ ผนวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและ การค้นคว้า คือเส้นทางความท้าทายแห่งอนาคตที่ทุก ส่วนของสังคม ทัง้ ภาครัฐ เอกชน และตัวบุคคล จะเป็น ส่วนหนึง่ ในการจัดการและออกแบบวงจรขยะให้เป็นไป อย่างสมบูรณ์ ผ่านโครงการต่างๆ ที่บางส่วนยังอยู่ใน ระหว่างการศึกษาหรือการระดมทุน และบางส่วนทีเ่ ริม่ ทดลองใช้แล้วในหลายพื้นที่

หนึง่ ในตัวอย่างของการจัดการขยะทีเ่ กิดจากการริเริม่ ของคนตัวเล็กๆ คือ โครงการ "เดอะ คลีนอัพ โอเชียน (The Cleanup Ocean)" ของโบยัน สลัท (Boyan Slat) หนุ่มนักรณรงค์ชาวดัทช์วัย 19 ปีที่กำ�ลังศึกษาด้าน วิศวกรรมอากาศยาน (Aerospace Engineering) ซึ่งได้คิดประดิษฐ์ทุ่น เก็บขยะพลาสติกนับล้านตันในมหาสมุทรที่คร่าชีวิตนกทะเลนับล้านตัว และสัตว์ที่อาศัยในท้องทะเลกว่าแสนชีวิตในแต่ละปี สร้างความเสียหาย แก่ระบบนิเวศและกำ�ลังสะสมเข้าสูห่ ว่ งโซ่อาหารทีม่ มี นุษย์เป็นหนึง่ ในผูล้ า่ โดยหลังนำ�เสนอแนวคิดครั้งแรกในงานสัมมมาทางความคิดสร้างสรรค์ TEDxDelft 2012 จึงเกิดเป็นโครงการเพื่อระดมทุนและทำ�การวิจัยเชิงลึก ร่วมกับอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม สมุทรศาสตร์ นิเวศวิทยา กฎหมายพาณิชยนาวี การเงิน และการรีไซเคิลนับร้อยคนจากหลากหลาย ประเทศ หลังการวิจยั มากกว่าหนึง่ ปี โบยันได้ออกมานำ�เสนอรายงานพิสจู น์ ความเป็นไปได้ของต้นแบบทุ่นเก็บขยะเมื่อต้นมิถุนายน 2014 ที่ผ่านมา

ทุ่นเก็บขยะออกแบบให้ทำ�งานด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และอาศัยกระแส นํ้าเป็นตัวพาขยะเข้ามา หักล้างความคิดเดิมที่ว่าการเก็บขยะที่ลอยอยู่ใน ทะเลกว้างขวางเป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไปไม่ได้ทงั้ แง่เทคนิคและเงินทุน โดยทีมงาน คาดการณ์วา่ หากปล่อยให้ทนุ่ เก็บขยะลอยไปตามกระแสนา้ํ เป็นเวลา 10 ปี จะสามารถเก็บกวาดขยะในแพขยะแปซิฟิก (Great Pacific Patch) ได้ ถึงร้อยละ 50 ซึ่งขณะนี้โครงการกำ�ลังประกาศระดมทุนจากมวลชนผ่าน ทางเว็บไซด์ thecleanupocean.com เพื่อนำ�มาสร้างต้นแบบขนาดใหญ่ สำ�หรับใช้ทดลองจริงในทะเล โดยตั้งเป้าไว้ที่ 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่คลีนอัพ โอเชียน ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีในการศึกษาและ พัฒนาต้นแบบเพื่อจัดการกับขยะจำ�นวนมหาศาลที่กำ�ลังย้อนกลับมาส่ง ผลกระทบถึงมนุษย์ ปัญหาถังขยะในย่านศูนย์กลางทางธุรกิจของเมืองที่ มีคนเดินพลุกพล่านและถูกเติมจนเต็มภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมงในบอสตัน ฟิลาเดลเฟีย และชิคาโก ก็บรรเทาลงแล้กรกฎาคม ว ด้วยการติ ง้ บิก๊ เบลลี ly) 2557 ดl ตัCreative Thail่ (BigBel and l 17


ในวันนี้ที่มุมมองความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะของเราเปิดกว้างอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผ่านข้อพิสูจน์ที่เกิดขึ้นจริงแล้วใน ทุกส่วนของโลก แน่นอนว่าไม่มีวิธีใดที่เป็นคำ�ตอบเพียงหนึ่งเดียว เข็มทิศที่จะกำ�หนดความเป็นไปของโลกจึงอยู่ที่การชั่งนํ้าหนักเพื่อ เลือกรับ ปรับใช้ หรือสร้างหนทางใหม่ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อจัดการกับภูเขาขยะที่เกิดขึ้นแล้วอย่างเป็นระบบ และเรียนรู้ ที่จะแก้ปัญหาที่ต้นทางการเกิดขยะควบคู่กันไปอย่างยั่งยืน

ที่มา: วิกิพีเดีย, bigbelly.com, cleanupocean.com, บทความ “99% Recycling – That’s the Swedish Way” จาก sweden.se, บทความ “Boston to install 400 solar-powered trash cans” (14 กรกฎาคม 2012) จาก bostonglobe.com, บทความ “City signs $2.5 million deal for solar-powered trash compactors” (24 กันยายน 2012) จาก suntimes.com, บทความ “Compost islands proposed for New York” (13 มีนาคม 2014) จาก gizmag.com, รายงาน “Environment in the EU28: In 2012, 42% of treated municipal waste was recycled or composted” (25 มีนาคม 2014) โดย Eurostat จาก epp.eurostat.ec.europa.eu, สารคดี “E Waste in India Short documentary” โดย Junksniper.com, รายงาน "Global Food; Waste Not, Want Not." โดย Institution of Mechanical Engineers: IME จาก imeche.org, บทความ “In the developing world, e-waste emerges from the shadows” (24 มีนาคม 2014) จาก greenbiz.com, บทความ “Is e-waste an untapped treasure?” (19 กุมภาพันธ์ 2014) จาก bbc.com, บทความ “Romania worst in Europe for recycling, with 99 percent of waste going to landfills” (26 มีนาคม 2014) จาก romania-insider.com, รายงาน “SAVE FOOD: Global Initiative on Food Loss and Waste Reduction” จาก fao.org, บทความ “South Korea's Food Waste Solution: You Waste, You Pay” (25 เมษายน 2013) จาก asiatoday.com, บทความ “StEP Launches Interactive World E-Waste Map” (16 ธันวาคม 2013) จาก unu.edu, บทความ “Sweden imports waste from European neighbors to fuel waste-to-energy program” (7 ตุลาคม 2013) จาก districtenergy.org, บทความ “Sweden has Run out of Rubbish for Waste-to-Energy Industry” (19 กันยายน 2013) จาก oilprice.com, บทความ “The Indian company turning e-waste into mounds of profit” (27 พฤษภาคม 2013) จาก qz.com, บทความ “The Re-Generation” จาก councilonbusinessandsociety.com, บทความ “World's E-Waste to Grow 33% by 2017, Report Says” จาก mashable.com

18 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557

presentarchitecture.com

ถังบีบอัดขยะอัจฉริยะพลังงานแสงอาทิตย์ทสี่ ามารถบรรจุขยะได้มากกว่า ถังขยะทั่วไปถึง 5 เท่า โดยแยกเป็นถังสำ�หรับขยะทั่วไปและขยะรีไซเคิล ภายในติดตัง้ เซ็นเซอร์สงั่ การให้เครือ่ งทำ�การบีบอัดขยะเมือ่ ปริมาณขยะใน ถังสูงถึงระดับทีก่ �ำ หนดไว้ และจะแจ้งเตือนในระบบให้เจ้าหน้าทีม่ าทำ�การ จัดเก็บเมื่อถังขยะเต็ม ช่วยให้สามารถวางแผนการจัดเก็บขยะได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ลดจำ�นวนครั้งในการจัดเก็บ ลดพลังงาน และมลพิษจาก การขนส่ง โดยหลังจากทีเ่ มืองฟิลาเดลเฟียได้ท�ำ การติดตัง้ ถังขยะบิก๊ เบลลี่ จำ�นวน 500 ใบในปี 2010 หนึง่ ปีผา่ นไป ความถีใ่ นการจัดเก็บขยะในเมือง ลดจาก 17 ครั้งเหลือเพียง 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งยังลดพนักงาน 33 คนซึ่ง ต้องทำ�งานสามกะ เหลือเพียง 9 คน ที่ทำ�งานเพียงหนึ่งกะ ส่วนเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์กซึง่ ผลิตของเสียปีละกว่า 14 ล้านตัน ก็ได้ มีการเสนอโครงการ "เดอะ กรีน ลูป (The Green Loop)" ของบริษัท พรีเซนต์ อาร์คิเท็คเจอร์ (Present Architecture) เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ แผนวิสัยทัศน์ New York's Vision 2020: Comprehensive Waterfront Plan โดยวางแผนให้แต่ละย่านของนิวยอร์กมีเกาะเป็นของตัวเองหนึง่ เกาะ เพื่อลดระยะทางในการขนส่งขยะไปทิ้งที่สร้างรายจ่ายปีละกว่า 300 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ โดยสร้างเป็นเครือข่ายเกาะริมนํ้าที่สร้างเกาะเกี่ยวไปตาม พืน้ ทีร่ มิ นาํ้ ของเมือง แต่ละเกาะมีสถานียอ่ ยขยะสดเป็นของตัวเองเพือ่ ผลิต เป็นปุย๋ อินทรียก์ อ่ นส่งออกไปทางรถไฟหรือทางเรือ เพือ่ ลดจำ�นวนขยะและ ผลกระทบทางสิง่ แวดล้อมจากการขนส่งขยะไปฝังกลบยังพืน้ ทีท่ งิ้ ขยะรวม ซึง่ หากว่าโครงการถูกนำ�มาใช้จริง ก็จะช่วยเพิม่ พืน้ ทีส่ เี ขียวให้กบั นิวยอร์ก ได้ถึง 316 ไร่

bigbellysolar.com

COVER STORY เรื่องจากปก


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ไดทุกเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลป กรุงเทพฯ • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • บานใกลวงั • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • HOF Art ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • Numthong Gallery • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศั​ัพทบาน โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

หญิง อายุ โโทรศั​ัพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..


INSIGHT อินไซต์

ภาระ หรื อ ภารกิ จ สองทางเลือกที่จะทำ�ลายหรือช่วยโลก เรื่อง: สินชัย เทียนศิริ ภาพประกอบ: อคีรัฐ สะอุ

ตราบใดที่โลกใบนี้ยังคงหมุนและสิ่งมีชีวิตนับล้านๆ ยังดำ�รงอยู่ด้วยกันอย่างสอดประสานและสมดุลบนบริบทของแต่ละเผ่าพันธุ์ การบริโภคจะยังเป็นสิ่งที่สำ�คัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะมนุษย์ผู้คิดค้นผลงานที่ฝืนกับกฏและข้อจำ�กัด ของธรรมชาติ เพื่อให้สามารถอยู่กับธรรมชาติได้โดยไม่เป็นอุปสรรค

การอยู่ในภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงในรอบปีโดยไม่ต้องย้ายที่อยู่ การสร้าง แหล่งผลิตอาหารด้วยการแปลงสภาพป่าไม้เป็นไร่นาสวนผสมให้กบั มนุษย์ ที่นับวันจะเพิ่มจำ�นวนมากขึ้น การขนส่งสินค้าปริมาณมากๆ ไปในที่ ห่างไกลได้ในเวลาที่จำ�กัด ไปจนถึงการสร้างบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อหุ้มห่อ ถนอม และส่งต่ออาหารจากแหล่งผลิตไปยังผู้บริโภคทั่วโลกได้อย่าง ไม่จ�ำ กัด โดยผ่านกระบวนการค้าทีเ่ รียกว่าธุรกิจ ซึง่ ได้ขยายพืน้ ทีไ่ ปในทุก ชุมชนในรูปแบบของร้านสะดวกซือ้ และห้างค้าปลีก เพือ่ ให้ผบู้ ริโภคเข้าถึง สินค้าและบริการได้อย่างสะดวกสบายที่สุด ทั้งหมดนี้คือความสามารถที่ มนุษ ย์คิ ด และสร้ า งสรรค์ เพื่อให้ก ลไกการผลิตและการบริโภครัก ษา เสถียรภาพและความสมดุลต่อกัน แต่ส่ิงที่หลงเหลือจากการผลิตและ การบริโภคซึ่งถูกเรียกว่า “ขยะ” กลับถูกมองว่าเป็นภาระให้กับโลกและ

สังคมเสมอมา โดยมีเพียงกลุ่มคนและหน่วยงานจำ�นวนน้อยที่มีหน้าที่ รับผิดชอบ จากสถิติ คนไทยทิ้งขยะเฉลี่ยคนละ 1-2 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ในปี 2013 ประเทศไทยใช้งบประมาณมากถึง 12,000 ล้านบาทในการจัดการ ขยะ โดยร้อยละ 41 หรือเป็นเงิน 5,000 ล้านบาทถูกใช้สำ�หรับจัดการ ขยะในกรุงเทพฯ เพียงเมืองเดียว ในปริมาณขยะที่ทิ้งในแต่ละวันนั้น ขยะ ถูกผสมปนเปจนกลายเป็นภาระกับท้องถิน่ ทีจ่ ะต้องคิดหาวิธกี ารกำ�จัดและ จัดการ ทางเลือกหนึง่ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากก็คอื การเปลีย่ นภาระทีจ่ ะส่งต่อ ไปให้คนอื่นจัดการ ให้กลายมาเป็นภารกิจของทุกคนในฐานะที่เป็นผู้ผลิต ขยะเหล่านั้นขึ้นมาจากการบริโภค

ลดการซื้อของที่ ไม่จำ�เป็น หรือมากกว่า ความต้องการ

ใช้ของอย่างเต็ม ประสิทธิภาพมากที่สุด

ซ่อมแซ่มเพื่อยืดอายุ การใช้งานไม่ให้กลายเป็นขยะ หรือบริจาคแก่ผู้ที่ ขาดแคลน แยกขยะที่ ไม่สามารถ ทำ�อะไรได้แล้วเพื่อส่งต่อ ให้ผู้ที่มีหน้าที่จัดการดูแล

20 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557


INSIGHT อินไซต์

ถังคัดแยก ภายในครัวเรือน เพื่อส่งต่อให้ผู้ที่มีหน้าที่จัดการดูแล ถังยิ้ม

ของที่ยังใช้ประโยชน์ ได้และยังมีมูลค่า ถูกจัดเก็บโดย “นักเก็บขยะ” เพื่อนำ� ไปสู่กระบวนการคัด แยกและสร้างมูลค่า อีกครั้งโดยไม่เป็น ภาระกับงบประมาณ ของภาครัฐ

ลดปริมาณขยะไปได้ กว่าร้อยละ 50

ถังยี้

ขยะที่เน่าเสียหรือ หากทิ้งไว้นานจะสร้าง กลิ่นและสภาพ ที่ ไม่พึงประสงค์ ถูกภาครัฐนำ�ไปกำ�จัด และจัดการอย่างถูก วิธีต่อไป

ลดงบประมาณในการจัดการ ขยะของภาครัฐได้มหาศาล

ถังแหยง

ขยะที่เป็นอันตราย กับตัวเองและผู้อื่น ถูกภาครัฐ นำ�ไปกำ�จัดและ จัดการอย่าง ถูกวิธีต่อไป

ลด “ภาระ” ที่จะส่งต่อ มลพิษไปให้โลกต้องบำ�บัด

กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

SAMSEN 5 LODGE

แปลงอาคารเก่า ให้เป็นทุน เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง

อาคารเก่าทิง้ ร้างในมหานครอาจดำ�รงสถานภาพไม่ตา่ งจาก "ขยะ" ทีห่ มดประโยชน์ในการใช้งาน ทัง้ ยังรบกวน ภูมทิ ศั น์ของเมืองลา้ํ สมัย แต่เมือ่ มองผ่านสายตาของผูส้ ร้างสรรค์ ขยะเหล่านีก้ ลับมีเสน่หท์ บ่ี ม่ เพาะแรงบันดาลใจ และยังสามารถแปรเปลีย่ นเป็น "ต้นทุนทางธุรกิจ" ในอนาคต หากรูจ้ กั จัดการและบริหารทรัพยากรทีม่ อี ยูใ่ ห้เป็น การได้ส่งั สมประสบการณ์ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่สมัย เรียนทีม่ หาวิทยาลัยขอนแก่น และทำ�งานร่วมกับสองสถาปนิกผูท้ รงอิทธิพล ในเอเชียอย่าง ราช เรวัล (Raj Rewal) กับ เจฟฟรีย์ บาวา (Geoffrey Bawa) ที่อินเดียและศรีลังกา ก่อนกลับมาเปิด "ซูเปอร์กรีน สตูดิโอ (Supergreen Studio)” ในไทย รวมทัง้ การเติบโตมากับครอบครัวทีป่ ระกอบกิจการสมาคม บ้านเยาวชนแห่งประเทศไทย (Thai Youth Hostels Association) และธุรกิจ ห้องเช่าย่านกรุงเก่าเทเวศน์ ทำ�ให้วรพันธุ์ คล้ามไพบูลย์ มองว่าสิง่ แวดล้อม รอบตัวคือ "ต้นทุน" ชั้นยอดของการเบิกทางธุรกิจบูติกโฮเทลที่ใครๆ ก็ สามารถทำ�ได้อย่างยั่งยืน โดยมีบูติกโฮเทลที่ชื่อ "สามเสน ไฟว์ ลอดจ์ (Samsen 5 Lodge)" ทีเ่ ขาเป็นทัง้ สถาปนิกผูอ้ อกแบบและผูป้ ระกอบการ เป็นข้อพิสูจน์คำ�กล่าวอ้างข้างต้นได้เป็นอย่างดี ร่างแปลนบนพื้นฐานของความเข้าใจในธรรมชาติ

จากต้นทุนเพียง 5 แสนบาท กับเวลาแค่ 4 เดือน โรงรถเก่าของบ้านเช่า บวกกับกระบวนการออกแบบอย่างยั่งยืน ก็ให้ผลลัพธ์เป็น สามเสน ไฟว์ ลอดจ์ โรงแรมขนาดเล็กที่อยู่ใต้ร่มของ "สถาปัตยกรรมสีเขียว" ที่เน้น แนวคิดการปรับของดั้งเดิมให้เข้ากับชีวิตประจำ�วันอย่างยืดหยุ่นมากกว่า การมุ่งแต่จะอนุรักษ์ของเก่า พร้อมกับชูสโลแกน "อยู่แล้วเย็นสบายโดย ไม่ตอ้ งเปิดแอร์" เป็นจุดขาย แม้จะฟังดูขดั แย้งกับสภาพอากาศร้อนจัดของ ประเทศไทย แต่การตระเวนสำ�รวจแหล่งอาศัยและย่านชุมชนแออัดทั้งใน ไทย จีน อินเดีย และศรีลังกา ทำ�ให้วรพันธุ์พบว่าแก่นสำ�คัญของการ 22 22 ll

Creative Creative Thail Thailaand nd

ll กรกฎาคม กรกฎาคม 2557 2557


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

ออกแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นคือ สายลม แสงแดด และพื้นที่ อันเป็น ทรัพยากรที่ธรรมชาติมอบให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม นั่นจึงเป็นที่มาของ คอนเซ็ปต์โรงแรมประหยัดพลังงาน ตั้งแต่การวางแปลนแบบคลาสสิก (Classic House Plan) ประกอบด้วย 3 ห้องพัก 3 สไตล์ แต่ละห้องมีพื้นที่ เปิดรับลมและแสงได้ตามธรรมชาติ มีการจัดสรรพืน้ ทีส่ เี ขียวตัง้ แต่ดา้ นหน้า ของโรงแรมไปจนถึงสวนหย่อมเล็กๆ ในพื้นที่เปิดโล่งระหว่างห้องพัก เพื่อให้อากาศถ่ายเทและสร้างความผ่อนคลายภายในพื้นที่จำ�กัด "ปัญหา ในประเทศไทยคือบ้านราคาแพง เพราะถูกใช้จ่ายบนสิ่งที่ไม่ใช่สาระ เช่น ไม่ได้ทำ�ให้บ้านอยู่แล้วเย็นสบาย สาระที่ทำ�ให้บ้านอยู่แล้วสบายก็คือ แสงแดด สายลม ถ้าเราไม่สามารถเอา 2 สิ่งนี้มาใช้ได้ เราก็ไม่สามารถ ทำ�สถาปัตยกรรมที่มันอยู่แล้วเย็นสบายได้ ผมเลยทำ�ที่นี่ขึ้นมา" อยู่อย่างไรให้รื่นรมย์

เพราะเชือ่ ว่าสไตล์กไ็ ม่ตา่ งจากแฟชัน่ ทีผ่ นั เปลีย่ นทุกขณะ เมือ่ ต้องเทียบกับ การออกแบบบนพืน้ ฐานของความเข้าใจในธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ซึง่ ยืนยาวกว่า เพือ่ ตอบโจทย์การใช้ชวี ติ ได้จริง วรพันธุจ์ งึ เลือกตัดค่าใช้จา่ ย ที่ไม่จำ�เป็นออกไป และใช้วัสดุที่หาซื้อได้ทั่วไปและราคาไม่แพง หรือไม่ก็ นำ�ของเก่ามาตกแต่ง เช่น เสาเตียงเก่า ประตูบานพับแบบโบราณ จาน เซรามิกแบบจีน ตลอดจนขับเน้นบรรยากาศผ่อนคลายและเป็นมิตรด้วย ธรรมชาติ เพราะท้ายสุดแล้ว โรงแรมที่ดีจะต้องมอบประสบการณ์อัน รื่นรมย์ในการใช้ชีวิตให้กับแขกที่มาพักอาศัยได้ภายในระยะเวลาอันสั้น "โรงแรมจำ�เป็นต้องมีสิ่งเร้าเยอะ แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมาสู่แก่นว่าอะไรที่ ทำ�ให้รน่ื รมย์จริงๆ ตัดสิง่ ทีไ่ ม่ใช่ออกไป เพราะเราต้องการประหยัดค่าใช้จา่ ย ถ้าเราตัดไม่เป็น เราจะใส่แต่สง่ิ ทีไ่ ม่ใช่ เช่น วันนีค้ ณุ ชอบสไตล์โมเดิรน์ มินมิ อล คุณก็ทำ� ปีหน้าคุณเปลี่ยนสไตล์แล้ว โรงแรมยังไม่คืนทุนเลย นี่คือปัญหา ของผู้ประกอบการหรือดีไซเนอร์"

มองสิ่งแวดล้อมให้เป็นต้นทุนและทุกคนคือพาร์ทเนอร์

ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา วรพันธุ์ได้ดูแลจัดการบูติกโฮเทลแห่งนี้ตามทฤษฎี "สามเหลีย่ มทองคำ�" ทีค่ ดิ ค้นขึน้ เอง อันได้แก่ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ผลกำ�ไร (Profit) และความยั่งยืน (Sustainability) ตั้งแต่การออกแบบ การบริหาร ไปถึงการจัดสรรทรัพยากร เขามองว่าต้นทุนที่ดีที่สุดคือ สิง่ แวดล้อมรอบตัวและทุกคนคือพาร์ทเนอร์ จึงจ้างแม่บา้ นทำ�ความสะอาด เป็นรายวันแทนพนักงานประจำ� และอุดหนุนธุรกิจรายย่อยในละแวก เดียวกันเพื่อกระจายรายได้ไปสู่คนบ้านใกล้เรือนเคียง ไม่เพียงเท่านั้น เขายังตั้งกลุ่มเครือข่ายโรงแรมขนาดเล็ก (Small Hotel of Bangkok หรือ SHOB) พร้อมทั้งเปิดสอนเวิร์กช็อป "เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเต็ล" ด้วย เชื่อมั่นว่าโมเดลธุรกิจที่สอดแทรกแนวคิดสถาปัตยกรรมสีเขียวสามารถ ประยุกต์กับอาคารเก่าได้หลายประเภทแม้แต่กับโรงแรมขนาดใหญ่ และ ยิ่งส่งต่อโมเดลนี้ไปสู่วงกว้างมากเท่าไร ความเป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนแปลง สังคมให้ดขี น้ึ ก็ยง่ิ เพิม่ มากเท่านัน้ "เรามองว่ามันจะเกิดความเป็นย่านด้วยซา้ํ ลูกค้าก็ผ่านเรามากขึ้น ธุรกิจก็คึกคักมากขึ้น เราอยากจะให้มันมีกลไก อะไรบางอย่างทีพ่ ฒั นาประเทศโดยก้าวข้ามเรือ่ งการเมือง มันมีธรุ กิจไม่กี่ อย่างหรอกทีเ่ ปิดโอกาสให้คณุ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้คณุ เอาตัวตนของ คุณมาขาย และต้องมีวธิ จี ดั การให้ได้ก�ำ ไร ทีส่ �ำ คัญคือความยัง่ ยืนซึง่ ธุรกิจ นีน้ บั ตัง้ แต่วนั แรกทีค่ ณุ ทำ� คุณให้กบั สังคมทันที เพราะว่าความยัง่ ยืนมันมี หลายด้าน ถ้าโมเดลของผมถูกใช้ไปเยอะๆ นะ ลองนึกดูวา่ หน่วยสังคมอย่าง สลัมคลองเตยจะดีขึ้นเอง โดยไม่ต้องพึ่งงบของรัฐแม้แต่บาทเดียวเพราะ เรามองทุกคนเป็นพาร์ทเนอร์ โรงแรมนีไ้ ม่มแี ขกใช่ไหม ก็จา้ งเขาทำ�กับข้าว จ้างบ้านนีซ้ กั ผ้า จ้างวินมอเตอร์ไซค์สง่ แขก มองสิง่ แวดล้อมรอบตัวเป็นทุน ข้อดีอย่างหนึง่ ของโมเดลนีค้ อื คุณไม่ตอ้ งเป็นคนดีนะถึงจะคิดแบบนีไ้ ด้ แต่ มันเป็นกลไกที่ทำ�ให้สังคมสร้างตัวเองได้"

ศึกษากลุ่มเป้าหมาย สื่อด้วย “สาร” ที่แข็งแรง

Tips for Entrepreneurs

การเติบโตของธุรกิจสายการบินราคาถูกเอือ้ ให้เกิดกลุม่ นักท่องเทีย่ วชนชัน้ กลางรุน่ ใหม่ทมี่ กี �ำ ลังซือ้ พึง่ พาเทคโนโลยีในการเดินทาง และมองหาทีพ่ กั ทีไ่ ม่จ�ำ เป็นต้องหรูหราราคาแพง โดยอาศัยข้อเขียนรีววิ ในเว็บไซต์เป็นแหล่ง ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ด้วยเหตุนี้ สามเสน ไฟว์ ลอดจ์ จึงเลือกใช้สื่อ ออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารกับกลุ่มลูกค้า ทั้งเว็บไซต์และเฟซบุ๊กของ โรงแรมไปจนถึงเว็บบุก๊ กิงยอดนิยม tripadvisor.com และ hostelworld.com ทั้งยังเปลี่ยนจุดด้อยของห้องพักให้เป็นจุดเด่น อาทิ การตกแต่งให้ห้อง ขนาดเล็กที่สุดเป็นห้องสำ�หรับคู่รัก (Lover's Room) นอกจากนี้ กลยุทธ์ การตลาดที่วางไว้สำ�หรับห้องพักทั้ง 3 ห้อง เพื่อให้รองรับความต้องการ ของลูกค้าได้ตลอดทั้งปี คืนทุนไว และทำ�กำ�ไรได้ ก็คือการวางคอนเซ็ปท์ ที่แตกต่างจากคู่แข่ง โดยเน้นประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์และจุดเด่นของ "โรงแรมประหยัดพลังงาน" ซึง่ เป็นประเด็นทางสังคมทีล่ กู ค้าและสือ่ มวลชน ต่างสนใจ ขณะเดียวกันก็ชว่ ยคัดกรองลูกค้าทีเ่ ข้ามาพักไปด้วย จึงช่วยลด ปัญหาการทิ้งขยะและใช้พลังงานสิ้นเปลืองไปในตัว

• การบูรณะอาคารเก่าคือทางเลือกที่ดีกว่าการสร้างใหม่ จะเป็นบ้าน อาคาร จอดรถ หรือโกดังทิ้งร้างก็ได้ แต่ต้องยังมีสภาพที่แข็งแรงและจัดการได้ • โลเกชั่นที่ดีสำ�หรับบูติกโฮเทลไม่จำ�เป็นต้องอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวยอดฮิต เสมอไป แม้แต่ย่านเมืองเก่าหรือชุมชนแออัดก็มอบประสบการณ์แปลกใหม่ และน่าตื่นเต้นให้กับนักท่องเที่ยวได้เช่นกัน • ธุรกิจที่ยั่งยืนคือธุรกิจที่เอื้อกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน Samsen 5 Lodge 58/1 ซ. สามเสน 5 ถ. สามเสน เขตพระนคร กทม. 10200 โทร: 02 628 9799 เว็บไซต์: samsen5lodgebangkok.com เฟซบุ๊ก: เปลี่ยนบ้านเก่าเป็นบูติคโฮเต็ล

กรกฎาคม กรกฎาคม 2557 2557

ll

Creative Creative Thail Thailaand nd

ll 23 23


virgula.uol.com.br

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Beloเก็บขยะจั Horizonte งหวะแซมบ้า เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ

แม้เบโล โอรีซอนชี (Belo Horizonte) เมืองทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลจะไม่มีเทศกาลคาร์นิวัลที่ยิ่งใหญ่ตระการตา เช่นนครรีโอเดจาเนโร แต่ถึงอย่างนั้น การเดินพาเหรดประจำ�ปีของสมาคมคนเก็บขยะที่ผู้ร่วมขบวนพร้อมใจกันแต่งชุดแฟนซี ทำ�จากวัสดุรีไซเคิลสีฉูดฉาด ก็ได้กลายเป็นกิจกรรมที่ไม่เพียงดึงดูดความสนใจของชาวเมือง แต่ยังรวมถึงนักสิทธิมนุษยชนและ กลุ่มองค์กรไม่แสวงหากำ�ไรซึ่งติดตามความเคลื่อนไหวของคนด้อยโอกาสในประเทศสังคมนิยมแห่งลาตินอเมริกาแห่งนี้ด้วย โดยการเดินพาเหรดดังกล่าวในเมืองแห่งนี้ มีความแตกต่างจากกิจกรรมการรณรงค์เรื่องการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมทั่วไป เพราะผู้เดินขบวนจะสร้างสีสันด้วยการโชว์ลีลาการเต้นแซมบ้าไปพร้อมๆ กับการเก็บขยะรายทางไปด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ แสดงความภาคภูมิใจในอาชีพเก็บขยะ ที่ในอดีตมักถูกดูถูกเหยียดหยามจากผู้คนในสังคม

24 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

metro.org.br

มูลค่าของคนยากไร้

ธนาคารโลกและองค์ ก ารสหประชาชาติ ต่ า งให้ ก ารยอมรั บ ว่ า เบโล โอรีซอนชีถอื เป็นผูน้ �ำ ด้านการบริหารจัดการขยะของบราซิล ทีถ่ งึ แม้จะไม่ ได้มีนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีลํ้ายุคใดๆ แต่ก็ประสบความสำ�เร็จในการ สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคแรงงานนอกระบบ (Informal Workers) โดย นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990 ได้มีการบัญญัติกฎหมายที่เน้นยํ้าถึงความ สำ�คัญของการวางกระบวนการจัดการขยะมูลฝอยทีก่ อ่ ให้เกิดการจ้างงาน สร้างรายได้ และการยอมรับสมาชิกในสังคม (Social Inclusion) แรงงาน นอกระบบยังมีความสำ�คัญทางเศรษฐกิจ ด้วยการช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย และประหยัดงบประมาณประจำ�ปีในการบริหารจัดการขยะให้แก่เทศบาล ประจำ�เมืองของประเทศกำ�ลังพัฒนาทั้งหลายทั่วโลก จากข้อมูลของ องค์การสหประชาชาติ แรงงานระดับรากหญ้าที่ไม่ใช่พนักงานของรัฐได้ ทำ�หน้าที่เก็บขยะให้แก่เทศบาลเมืองต่างๆ เป็นปริมาณร้อยละ 50 ถึง 100 ของทั้งหมด แตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพการบริหารงานของแต่ละ ท้องที่ ในส่วนของเมืองเบโล โอรีซอนชี คนจนและคนจรจัดทีผ่ นั ตัวมาเป็น นักเก็บขยะมืออาชีพ คือกลุม่ คนทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังความสำ�เร็จของการจัดการ ขยะรีไซเคิลกว่า 5,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของปริมาณขยะ รีไซเคิลทั้งเมือง

เลิกวัฏจักร โง่-จน-เจ็บ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์มักนำ�ไปสู่ปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันเมือง ทั่วโลกสร้างขยะรวมกันเป็นปริมาณสูงถึง 1.3 พันล้านตันต่อปี และใน ปี 2025 มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2.2 พันล้านตันต่อปี อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ปริมาณการสร้างขยะที่สูงขึ้นต่อคนจะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ควบคู่กับการเพิ่มขึ้นของระดับรายได้ต่อหัว แต่ก็คงเป็นไปได้ยากที่กลุ่ม ผู้รักสิ่งแวดล้อมจะประสบความสำ�เร็จในการรณรงค์ให้มีการลดหรือเลิก การพัฒนาเศรษฐกิจเพียงเพือ่ แก้ไขปัญหาขยะ โดยเฉพาะในประเทศกำ�ลัง พัฒนาซึ่งมีประชากรจำ�นวนมากที่ยังคงไม่สามารถหลุดพ้นจากภาวะ ความยากจนได้ ในทางกลับกัน กิจกรรมทางเศรษฐกิจก็สามารถช่วยบรรเทา ปัญหาขยะได้ หากมีการออกแบบบริการและสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม ดังเช่นความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมืองเบโล โอรีซอนชีกับสมาคมเก็บ ขยะจำ�นวน 13 แห่ง ที่ได้สร้างตัวอย่างของความสำ�เร็จเล็กๆ น้อยๆ ใน การใช้พลังการต่อสูด้ นิ้ รนออกจากภาวะความยากจนให้เป็นแรงขับเคลือ่ น สำ�คัญของระบบบริหารจัดการขยะมูลฝอย โดยกิจกรรมการเก็บขยะชัง่ กิโล ขายได้ถูกทำ�ให้กลายเป็นอาชีพที่ภาครัฐให้การคุม้ ครอง เส้นทางและ กรรมวิธีในการเก็บขยะรายวันของคนจนและคนจรจัดได้ถูกออกแบบให้

สอดคล้องกับแผนงานของเทศบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบนั เทศบาล เมืองเบโล โอรีซอนชีร่วมมือกับแรงงานนอกระบบจำ�นวน 2,685 ราย ใน ส่วนของพื้นที่ย่านธุรกิจใจกลางเมือง คนยากไร้ที่เข้าร่วมโครงการรีไซเคิล จะให้บริการเก็บขยะถึงหน้าบ้าน (Door-to-Door Service) โดยลากรถเข็น ไปตามสำ�นักงานและร้านค้าต่างๆ เพือ่ รวบรวมขยะรีไซเคิล แล้วจึงจัดส่ง ไปขายยังศูนย์แยกขยะของเทศบาล นอกจากนี้ ในส่วนของภาคการก่อสร้าง เดิมทีเจ้าของกิจการธุรกิจ ส่ ว นใหญ่ มั ก ทำ � การกำ � จั ด ขยะและซากปรั ก หั ก พั ง อย่ า งผิ ด กฎหมาย โดยในปี 1994 มีลานกองขยะเถื่อนที่ก่อมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมสูงถึง 134 แห่ง และเมื่อการไล่ล่าปราบปรามไม่ได้นำ�มาสู่การคลี่คลายปัญหา เสมอไป เทศบาลเมืองจึงได้รว่ มมือกับสมาคมเก็บขยะในการจัดตัง้ โครงการ ฝึกอบรมคนเก็บขยะเร่ร่อน 400 ราย และจัดระบบออกใบอนุญาตรถม้า ขนขยะและซากปรักหักพังจากพืน้ ทีก่ อ่ สร้าง ปัจจุบนั ภาคธุรกิจจึงสามารถ ปลดเปลื้องภาระในการกำ�จัดขยะจากงานก่อสร้างได้อย่างสุจริตและ ง่ายดาย เพียงแค่โทรศัพท์ติดต่อไปที่เทศบาลเพื่อขอใช้บริการเก็บขยะรูป แบบใหม่นี้ กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l 25


เหลียวมองที่ “ขอบฟ้างาม”

espacodoconnecinento.org.br

metro.org.br

ชือ่ เมืองเบโล โอรีซอนชี หรือ “เมืองขอบฟ้างาม (Beautiful Horizon)” มีจดุ กำ�เนิดจากสภาพทางภูมทิ ศั น์ทม่ี แี นวสันเขารายล้อม เบโล โอรีซอนชีถอื เป็นเมืองแรกของบราซิล ทีไ่ ด้รบั การวางผังเมืองอย่างเป็นระบบนับตัง้ แต่ทศวรรษ 1890 ตามแบบอย่างของกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในสหรัฐฯ ตัง้ อยูห่ า่ งจากรีโอเดจาเนโรไปทางตอนเหนือเพียงประมาณ 400 กิโลเมตร และเป็นสถานทีต่ ง้ั ของ Pampulha Complex และโบสถ์ Saint Francis of Assisi ซึง่ ได้รบั การออกแบบโดย ออสการ์ นีเอไมเยอร์ (Oscar Niemeyer) สถาปนิกชื่อ ดังชาวบราซิลแห่งศตวรรษที่ 20 ผูเ้ ป็นทีร่ จู้ กั จากผลงานการออกแบบทีท่ �ำ งานรัฐบาลประจำ�กรุงบราซิเลีย และร่วมออกแบบอาคารสำ�นักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ แห่งนครนิวยอร์ก นิตยสารดิ อีโคโนมิสต์ (The Economist) ยังได้วิเคราะห์การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมบริการว่า เบโล โอรีซอนชี คือหนึ่งในศูนย์กลางทางธุรกิจ ที่แข่งขันกันเป็นซิลิคอนวัลเลย์ (Silicon Valley) แห่งภูมิภาคลาตินอเมริกา เพราะนอกจากกูเกิล (Google) และโอ่ย (Oi) บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของบราซิลแล้ว เบโล โอรีซอนชียังเป็นศูนย์รวมบริษัทไอทีรุ่นใหม่กว่า 50 ราย ด้วยเหตุที่ไม่ใช่เมืองติดชายทะเล ทำ�ให้ชาวเมืองเบโล โอรีซอนชีจำ�ต้องสรรหาทางเลือกอื่นในการใช้เวลาพักผ่อนหย่อนใจ โดยหนึ่งในนั้นได้แก่การดื่มสังสรรค์ วลียอดฮิตประจำ�เมืองที่ว่า “ที่นี่ไม่มีทะเล งั้นไปบาร์กันดีกว่า” (There’s no sea, let’s go to the bar) สะท้อนถึงการใช้ชีวิตยามว่างของชาวเมืองเป็นอย่างดี ดังนั้น จึงไม่นา่ แปลกใจทีเ่ บโลโอรีซอนชีจะเป็นเมืองทีม่ รี า้ นเหล้ารายทางมากทีส่ ดุ ในประเทศถึง 12,000 แห่ง ซึง่ นักท่องราตรีสามารถดืม่ ดํา่ กับคาชาซ่า (Cachaca) เหล้าขาว หมักจากอ้อยประจำ�ท้องถิ่นที่มีให้เลือกอย่างหลากหลาย

ศักดิ์ศรีในการเก็บขยะ หากกล่าวในสำ�นวนภาษาของโลกสังคมนิยม แม้แต่เรือ่ งของการเก็บขยะ ก็ถือเป็นการต่อสู้ทางสังคมได้เช่นกัน มาเรีย ดาส กรากาส มาร์เชล (Maria das Gracas Margel) ผู้ก่อตั้ง ASMARE (Asociación de recolectores de papel y material reutilizable) สมาคมเก็บ กระดาษและวัสดุเพื่อนำ�กลับไปใช้อีกครั้งแห่งแรกของเบโล โอรีซอนชี ได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ของเธอที่เริ่มต้นเก็บขยะตามท้องถนนตัง้ แต่ อายุเพียง 8 ปีว่าในอดีตทั้งตำ�รวจและผู้คนในเมืองมักมองคนเก็บขยะ เร่ร่อนด้วยความไม่ไว้วางใจ พวกเขามักถูกตีตราว่าเป็นขอทานไม่ก็ หัวขโมย แม้แต่การร่วมงานระหว่างเทศบาลเมืองกับสมาคม ASMARE ก็ ไม่ได้ราบรืน่ นักในช่วงปีแรกๆ อย่างไรก็ตาม เมือ่ พรรคแรงงาน (Workers Party) ชนะการเลือกตั้งในปี 1993 เทศบาลเมืองจึงเริ่มตอบสนองต่อ ข้อเรียกร้องต่างๆ และลงนามเซ็นข้อตกลงร่วมงานกับสมาคมคนเก็บขยะ ต่างๆ โดยการเคลือ่ นไหวของสมาคมคนเก็บขยะในเมืองนีม้ คี วามแตกต่าง จากการเรียกร้องสิทธิให้ผยู้ ากไร้โดยทัว่ ไป ทีม่ กั ต้องการให้ภาครัฐจัดสรร 26 l Creative Thailand l กรกฎาคม 2557

งบประมาณสวัสดิการสนับสนุน หรือเรี่ยไรเงินบริจาคจากโครงการ สังคมสงเคราะห์ แต่การเรียกร้องของพวกเขากลับมุ่งหมายที่จะแสดง ให้สังคมได้เห็นถึงศักยภาพในการทำ�มาหากินด้วยลำ�แข้งตัวเอง และ เลิกมองพวกเขาว่าเป็นกลุ่มคนอนาถา ASMARE ได้กลายเป็นเวทีให้คนทีเ่ คยถูกตราหน้าว่าเป็น “ขยะสังคม” ได้ มี โ อกาสสร้ า งสรรค์ ป ระโยชน์ ใ นระบบเศรษฐกิ จ อย่ า งมี ศั ก ดิ์ ศ รี ในบทสัมภาษณ์บนนิตยสารฟอร์บส์ (Forbes) เฟอร์นานโด โกดอย (Fernando Godoy) ชายวัย 41 ปี ผู้เคยต้องโทษจำ�คุกและใช้ชีวิตเป็น คนไร้บา้ นบนท้องถนนกล่าวว่า เขาเลือกเข้าร่วมงานกับ ASMARE ก็เพือ่ ทีจ่ ะพิสจู น์วา่ “เขาสามารถทำ�งานหนักหาเลีย้ งชีพได้” โกดอยซึง่ ปัจจุบนั ดำ�รงตำ�แหน่งผูจ้ ดั การศูนย์เก็บขยะกล่าวเสริมว่า เขาอยากให้ประสบการณ์ ชีวติ ของเขาเป็นตัวอย่างแก่คนอืน่ ๆ รวมทัง้ ต้องการสื่อสารกับคนจรจัด และบุคคลด้อยโอกาสว่าพวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองได้


flickrhivemind.net

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์ “Your Trash is Our Luxury”

นอกจากรายได้จากการเก็บและคัดแยกขยะแล้ว สมาชิกของ ASMARE เกือบ 200 รายยังได้ รับการสนับสนุนให้ผลิตงานฝีมือจากขยะรีไซเคิล ทัง้ กระดาษ กระป๋อง ขวดแก้ว เศษไม้ ยางรถยนต์เก่า และวัสดุเหลือใช้ต่างๆ ได้ถูกนำ�มาประดิดประดอยเป็นเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ และผลงานทางศิลปะที่วางขายในร้านค้าของ ASMARE ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมือง เอดิมาร์ เฟอร์เรียรา (Edimar Ferreira) คนเก็บขยะวัย 39 ปี กล่าวว่า หนึ่งในสโลแกนของ สมาคม ASMARE คือ “ขยะของคุณ คือ ความหรูหราของเรา (Your trash is our luxury)” และตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สมาคม ASMARE ได้ร่วมงานกับศิลปินท้องถิ่นและอาสา สมัครในการฝึกอบรมเหล่าสมาชิกเพื่อสร้างสรรค์มูลค่าจากสิ่งของใช้แล้วที่พวกเขาเก็บได้ ในแต่ละวัน แม้ว่าคุณภาพงานฝีมือที่ผลิตโดยคนเก็บขยะนั้นจะไม่สามารถนำ�ไปเทียบชั้น กับสินค้าแบรนด์เนมได้ แต่การผลิตดังกล่าวก็สามารถยกระดับรายได้ของคนเก็บขยะเร่รอ่ น ได้สูงขึ้นเป็น 1,700 เรียล หรือประมาณ 800 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน ซึ่งคิดเป็นมูลค่า สตูดิโอโนตุส (Notus) ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัย Universidad de Minas Gerais เกือบ 3 เท่าจากรายได้ขั้นตํ่าตามกฎหมาย ให้ทำ�งานร่วมกับ ASMARE เพื่อออกแบบเครื่องเรือนต้นแบบที่มีคุณภาพจากขยะต่างๆ

ฟุตบอลโลก.... คืนความสุขให้คนรากหญ้า? ในขณะทีแ่ ฟนกีฬาจากประเทศต่างๆ กำ�ลังจับจ้องไปทีก่ ารแข่งขัน ฟุตบอลโลกปี 2014 ตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ASMARE ได้เตรียมความพร้อมในหลายด้านเพือ่ รับมือกับขยะจากมหกรรม กีฬาดังกล่าว ศูนย์กจิ กรรมเพือ่ ความยัง่ ยืนเฉพาะกิจได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ เป็นพิเศษสำ�หรับการจัดการขยะมูลฝอยในเบโล โอรีซอนชี ซึง่ ได้ รับเกียรติให้เป็นหนึ่งในเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก จำ�นวน 6 นัด ในฐานะผูร้ ว่ มดูแลรับผิดชอบความสะอาดของเมือง ASMARE ได้ร่วมมือกับสมาคมเก็บขยะอื่นๆ และเทศบาลเมือง เพือ่ ทำ�การประเมินจำ�นวนผูเ้ ข้าชมการแข่งขันในแต่ละนัด รวมทัง้ เตรียมจัดสรรกำ�ลังคนเก็บขยะในแต่ละพื้นที่ให้เหมาะสมกับ ปริมาณขยะที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริง ถึงแม้ว่าชาวเมืองเบโล โอรีซอนชีส่วนหนึ่งจะไม่พอใจและ ร่ ว มทำ�การประท้วงรัฐบาลบราซิลที่ตัดสินใจทุ่มงบประมาณ มหาศาลไปกับการจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก แทนทีจ่ ะนำ�เงินมา พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและภาคบริการพืน้ ฐานแก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม เป็นทีน่ า่ สนใจว่ามหกรรมกีฬาครัง้ นีจ้ ะสร้างรายได้ ให้แก่คนเก็บขยะระดับรากหญ้าได้มากน้อยเพียงใด เพราะขยะ ปริมาณมหาศาลอาจไม่ใช่ปัญหาทางสังคมเสมอไป หากมันถูก มองว่าเป็นโอกาสทางเศรษฐกิจ ดังทีม่ าเรีย ดาส กรากาส มาร์เชล บอกไว้ว่า “สิ่งที่คนอื่นเห็นว่าเป็นขยะ เรากลับเห็นว่าเป็นงาน และเงิน”

ที่มา: บทความ “36 hours in Belo Horizonte, Brazil” (25 เมษายน 2014) และ บทความ “A town where all the world is a bar” (28 ตุลาคม 2007) จาก nytimes.com, บทความ “Belo Horizonte selective waste collection programme: Social inclusion features” จาก wiego.org, บทความ “Garbage to gold: Brazil’s catadores turn trash into art” (13 มิถุนายน 2013) จาก cnn.com, บทความ “Recycling in Belo Horizonte, Brazil: an overview of inclusive programming” และบทความ “The urban informal workforce: Waste pickers/ recyclers”(พฤศจิกายน 2011) จาก wiego.org, บทความ “How ASMARE in Belo Horizonte, Brazil empowers people through recycling” (1 ตุลาคม 2012) จาก greengopost. com, บทความ “Informal economy budget analysis in Brazil and Belo Horizonte” จาก inclusive cities.org, บทความ “Money from rubbish: Mucking in one man’s waste is another’s livelihood” (2 พฤศจิกายน 2013) จาก economist.com, บทความ “Organised waste picking improves lives and cities” จาก econ.worldbank.org, บทความ “Postcard from…. Brazil: Belo of the ball” (23 มีนาคม 2014) จาก ft.com, บทความ “Recycling lives: Redemption amid the rubbish” (8 กุมภาพันธ์ 2012) จาก forbes.com, บทความ “The scorned but valuable work of waste pickers” (14 เมษายน 2014) จาก businessweek.com และ “Solid Waste Management in the World’s Cities: Water and Sanitation in the World’s Cities 2010” จาก inhabitant.org, สารคดีสน้ั “Brazil’s trash talkers” (28 พฤษภาคม 2014) จาก soccer.fusion.net กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

สินชัย เทียนศิริ

ทิ้งแล้วไปไหน? เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ขณะที่ขยะพลาสติกคือสาเหตุหลักของปัญหานํ้าท่วมในหลาย พื้นที่ทั่วโลก และการจัดการขยะมูลฝอยเป็นรายจ่ายสูงสุดเมื่อ เทียบสัดส่วนการใช้งบประมาณของเทศบาลในหลายประเทศ แต่ถึงเช่นนั้น ประชากรส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่อาจจินตนาการถึง กระบวนการจัดการทีเ่ กิดขึน้ หลังจากขยะในมือถูกทิง้ ลงถัง หรือ ภาพซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่รถเก็บขยะวิ่งพ้นจากอาคารบ้านเรือน ของตน ว่าปลายทางของขยะแต่ละชิ้นนั้นลงเอยที่จุดหมายใด สินชัย เทียนศิริ คือหนึ่งในผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำ�เร็จ ของโครงการ “ตาวิเศษ” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2527 เขารับหน้าที่ เป็นหนึ่งในคณะทูตตาวิเศษในโครงการทูตรักเจ้าพระยากับ ตาวิเศษรุ่นแรกในปี 2533 เพื่อสร้างภารกิจการสร้างจิตสำ�นึก สาธารณะ (Public Awareness) เรือ่ งความเข้าใจเกีย่ วกับขยะและ การจัดการให้เกิดขึน้ กับสังคมไทย หลังจากนัน้ จึงมารับตำ�แหน่ง ผู้จัดการฝ่ายสิ่งแวดล้อมที่ บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำ�กัด ก่อนจะลาออกจากงานประจำ�เพื่อมาสานภารกิจการ ถ่ายทอดความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะความรู้ด้านวิธีการ จัดการขยะในแบบฉบับรู้ทันระบบทุนนิยม วิธีการปฏิบัติต่อขยะ ในฐานะภารกิจหนึง่ ทีอ่ ยูใ่ นชีวติ ประจำ�วัน และความเข้าใจถึงวาระ ของตัวละครในวงจรนี้อย่างถ่องแท้ ด้วยแนวคิดแห่งอนาคตที่ เรียกว่า Closed Loop ที่ไม่ว่าในฐานะผู้ผลิตหรือผู้บริโภค ต่าง ก็สามารถร่วมมือกันจัดการขยะได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ

ต้องให้มองว่าขยะเป็นภาระ พอเกิดภาระ คุณจะสร้างภารกิจ มันคือภารกิจจัดการ ภาระที่มีอยู่ ถ้าเราเห็นว่าเป็นภาระ เราถึง จะบอกสมองว่าต้องดูแล ที่สำ�คัญคือต้อง เชื่อว่ามันเป็นภารกิจของเรา และไม่ปล่อย ภาระที่ควรเป็นภารกิจของเราไปเป็นของ คนอื่น

การรับรูเ้ รือ่ งการจัดการขยะของคนไทยในปัจจุบนั นีเ้ ป็นอย่างไร

ต้องเล่าก่อนว่า ตาวิเศษเกิดขึน้ ในปี 2527 จากการทีก่ รุงเทพฯ ติดอันดับ 1 ใน 5 เมืองที่สกปรกที่สุดในโลก ตอนนั้นคุณหญิง (คุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช นายกสมาคมสร้างสรรค์ไทย ผู้ก่อตั้งโครงการตาวิเศษ) มองเรื่อง Empowerment (การสร้างเสริมสังคม) มากกว่าเรื่องขยะ มอง เรื่องพื้นที่สาธารณะและเรื่องจิตอาสา โดยเริ่มจากการทิ้งขยะให้เป็นที่ เป็นทาง หลังเริม่ โครงการผ่านไป 4 เดือน จาก 1 ใน 5 เมืองทีส่ กปรกทีส่ ดุ ในโลก กรุงเทพฯ ก็ติดอันดับเมืองที่น่าอยู่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน การสร้างการรับรู้ให้คนเข้าใจเรื่องนี้ก็ต้องให้มองว่าขยะเป็นภาระ พอเกิดภาระ คุณจะสร้างภารกิจ มันคือภารกิจจัดการภาระที่มีอยู่ ถ้าเรา เห็นว่าเป็นภาระ เราถึงจะบอกสมองว่าต้องดูแล ทีส่ �ำ คัญคือต้องเชือ่ ว่ามัน เป็นภารกิจของเรา และไม่ปล่อยภาระทีค่ วรเป็นภารกิจของเราไปเป็นของ คนอื่น ถ้าอย่างนั้นสิ่งสำ�คัญอันดับแรกก็คือการทำ�ให้คนตระหนักรู้ ถึงปัญหา

คือต้องสร้างความเข้าใจก่อน ไม่ใช่ท่องจำ�เป็นนกแก้วนกขุนทอง ผมเคย นัง่ วิเคราะห์วา่ จะทำ�อย่างไรให้การจัดการขยะในเมืองไทยสำ�เร็จ ไม่ใช่แค่ ผู้บริโภค แต่รวมถึงกลุ่มคนที่คิดอยากจะทำ� เพราะมีคนทำ�งานด้านการ คัดแยกขยะเยอะมากในประเทศไทย แล้วไปสร้างความสับสน ทั้งกทม. กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โรงเรียน กระทรวง เอ็นจีโอ คือใครคิดอะไรได้กท็ �ำ ออกมา ทัง้ ถังขยะแยกประเภท ทัง้ เฟอร์นเิ จอร์ ที่กลายเป็นขยะอีกประเภทหนึ่ง ผมคิดว่าทำ�ยังไงถึงจะแก้ไขได้ คือก็ต้อง วิเคราะห์จนได้ข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจ ซึ่งคำ�นี้มันยากมากเลย อย่างเวลาเราอาบนํ้า เคยคิดไหมว่านํ้ามันไปไหน พื้นที่ระหว่างนํ้าดี กับนา้ํ เสีย ห่างกันแค่กอ๊ กนา้ํ กับท่อนา้ํ ทิง้ แต่กว่าจะเป็นนา้ํ ก๊อกทีเ่ ป็นนา้ํ ดี มันต้องเดินทางจากโรงสูบนา้ํ สำ�แหร่ทอ่ี ยุธยา มาเข้าคลองประปา ผ่านการ ตกตะกอน บำ�บัด และอาศัยแรงดัน กว่าจะมาถึงก๊อกเรา ใช้เวลานานมาก แต่พอเราเปิดปุ๊บ 80 เปอร์เซ็นต์ของนํ้าผ่านเราไปลงท่อ ใช้จริงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์ จากนา้ํ ดีกลายเป็นนา้ํ เสีย แล้วนับประสาอะไรกับขยะ จะไปสร้าง กระบวนการกี่ชั้น มีถังขยะกี่แบบ ถ้าเกิดเขาไม่เข้าใจ แล้วเอามาเป็น วาระของโลกเรื่องการจัดการขยะ อย่างไรมันก็ไม่มีประโยชน์

กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

สังคมเราลืมคำ�ว่า Principle เราเรียนแต่ทางลัด คือ How To การจัดการขยะมันต้องร้อยต่อกัน รัฐทำ�อย่างเดียวไม่ได้ เอกชนทำ � คนเดี ย วไม่ได้ ผู้บริโภคก็เหมือนกัน

ถ้าเข้าใจเรือ่ งของขยะแล้ว เราในฐานะผูผ้ ลิตและผูบ้ ริโภคควรจะ เริ่มต้นจัดการขยะจากส่วนไหน

การจัดการขยะง่ายๆ เลย เริ่มจากต้นทาง คือใช้แนวคิดแบบ Closed Loop คือปิดวงจรให้ได้ คุณจะคิดอะไรขึน้ มาก็แล้วแต่ ไม่ใช่ท�ำ แค่หน่วยหนึง่ แล้วจบไป หรือมองแค่ A ไปที่ B อย่างเดียว แต่ B ต้องไปที่อื่นๆ อีก ทำ�อย่างไรให้ B กลับมาหา A ให้ได้ วิธีคิดของ Closed Loop กับ Cradle to Cradle คือหลักการเดียวกัน แต่ Cradle to Cradle จะเน้นเรื่อง การผลิต ส่วน Closed Loop คือมองอย่างไรให้สง่ิ นัน้ เป็นขยะแล้วมีทางให้ ไปได้ ปิดวงจรมันให้ได้ สมัยก่อนคนทำ�ร้านอาหารเพราะเขาทำ�อาหารอร่อย พอคนกินอร่อย ก็ขอซื้อ เยอะเข้าจึงค่อยเปิดร้านอาหาร เพื่อทำ�ปริมาณมากๆ ให้คน หลายคนได้กินของอร่อยจากเขา แต่ปัจจุบัน คนเปิดร้านอาหารเพราะ ทำ�เลดี มีคนมาเดินเยอะ น่าจะทำ�ธุรกิจได้ คือเลือกทำ�เลก่อนแล้วค่อย หัดทำ�อาหาร ด้านคนกินก็แค่เดินมาสะดวกเจอร้านอาหาร แต่บางทีพอกิน แล้วไม่อร่อย ก็เหลือกลายเป็นขยะ แล้วก็ทิ้งไป คือสังคมเราลืมคำ�ว่า Principle (หลักการ/หลักคิด) เราเรียนแต่ทางลัดคือ How To การจัดการ ขยะมันต้องร้อยต่อกัน รัฐทำ�อย่างเดียวไม่ได้ เอกชนทำ�คนเดียวไม่ได้ ผู้บริโภคก็เหมือนกัน

30 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557

หากลองมองภาพใหญ่ขึ้นในฐานะเมืองหรือประเทศ คิดว่าอะไร คือส่วนสำ�คัญทีท่ ำ�ให้เทศบาลหรือรัฐบาลนัน้ ๆ ประสบความสำ�เร็จ ในการจัดการขยะ

ประเทศที่ประสบความสำ�เร็จในการจัดการขยะมักจะมีกฎหมายที่แรง กฎหมายที่ควบคุมอย่างเช่นกฎหมายบรรจุภัณฑ์ ที่ผู้ผลิตต้องวางมัดจำ� ในการผลิตบรรจุภัณฑ์และเสียภาษีบรรจุภัณฑ์ เพื่อเอาเงินภาษีไปลงเป็น กองทุน ซึ่งสุดท้ายจะมีกลไกการหักคืนหรือเบิกเงินกองกลางจากภาครัฐ คืนหากทำ�ถูกต้องตามกฎ แต่ถ้าเจ้าไหนไม่ทำ�ก็ยึดเงินไป อย่างของญีป่ นุ่ เทศบาลจะจัดรถมารับขยะทีร่ ไี ซเคิลได้ตามวันทีน่ ดั ไว้ เช่น จันทร์ พุธ ศุกร์ แต่ละบ้านต้องแยกขยะที่รีไซเคิลได้มาใส่ที่จุดรับ ญี่ปุ่นมีข้อจำ�กัดด้านพื้นที่น้อย ทำ�หลุมฝังกลบได้ไม่มาก ถึงต้องแบ่งขยะ เป็น 2 อย่างคือเผาได้กับเผาไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเผาและต้องใช้อุณหภูมิสูง เพือ่ ไม่ให้เกิดมลพิษ ส่วนอันไหนเผาไม่ได้จะแยกออกมา ถ้าเป็นออร์แกนิก ก็จะทำ�เป็นปุ๋ยหมัก แทบทุกบ้านมีเครื่องหมักอาหารเรียกว่า Food Waste Composting Machine แค่ใส่ขยะลงไปก็จะทำ�การหมักย่อยเป็นปุย๋ ส่วนในยุโรปจะใช้กลไกการรีไซเคิลที่เป็นเครื่องจักรเพราะค่าแรงเขา สูง และด้วยความทีเ่ ป็นเมืองหนาว ขยะพวกออร์แกนิกก็จะไม่เน่าเสียง่าย รถขยะที่รับไปคือขยะที่รีไซเคิลได้เท่านั้น เศษอาหารจะนำ�ไปฝังกลบใน แลนด์ฟิลล์ (Landfill) เพราะยังมีพื้นที่อยู่ เป็นแลนด์ฟิลล์ที่ถูกสุขลักษณะ มาก ผลิตก๊าซมีเทนได้ ไม่มีขยะพลาสติกเจือปน ทำ�เป็นพลังงานแบบ สมบูรณ์ หรืออย่างอเมริกาก็ทง้ิ ขยะรวม 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีพน้ื ทีเ่ ยอะ สามารถทำ�แลนด์ฟิลล์ได้อยู่ แต่ประชาชนก็ต้องจ่ายค่ากำ�จัดขยะสูงมาก


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ถ้าเช่นนั้นการแบ่งประเภทขยะก็ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ แล้วอย่างของไทยเป็นอย่างไร

เมืองไทยแบ่งขยะออกเป็น 2 อย่างคือ ขายได้กับขายไม่ได้ แต่ในปัจจุบัน คำ�ว่า “มูลค่า” มันมีอิทธิพลกับเรามาก สมัยก่อน 3 บาทมีมูลค่า ซื้อ ก๋วยเตีย๋ วกินได้ คนก็แยกขยะกันดีอยู่ แต่ตอนนีค้ อื ทิง้ ไปเถอะ รายได้วนั ละ 300 จะไปเก็บขยะกิโลละ 22 บาททำ�ไม แต่มันก็สร้างกระบวนการหนึ่งที่ ทำ�ให้เรามีคนเก็บขยะ มีซาเล้ง พวกนี้อยู่ได้ด้วยรายได้จากตรงนั้น ส่วน ประเทศอืน่ ทีเ่ ขาแบ่งเป็นรีไซเคิลได้กบั รีไซเคิลไม่ได้ เพราะเขามีระบบแบบ ปิดวงจรอย่างที่บอก ปลายทางของขยะมีคนต้องการ มีระบบจัดการ ทีส่ มบูรณ์ ถ้าเช่นนั้น จำ�เป็นไหมที่ประเทศไทยจะต้องมีเครื่องจักรในการ คัดแยกขยะ

มีหลายจังหวัด หลายอบต. ทีซ่ อ้ื เครือ่ งคัดแยกขยะราคาหลายสิบล้านมาใช้ เชียงใหม่มี ภูเก็ตมี ศรีสะเกษมี ปัญหาคือเวลาเราไปดูงานเมืองนอกมา แล้วลืมบริบทของเมืองไทย เราไปดูเป็นสูตรสำ�เร็จ ไปดูวา่ เพราะมีโรงงาน คัดแยก ซึง่ เครือ่ งคัดแยกนีส้ ร้างขึน้ มาจากพืน้ ฐานว่าค่าแรงแพง แล้วคนใน ต่างประเทศที่ทำ�งานแยกขยะนั้นมีน้อยเพราะส่วนใหญ่จะมีสวัสดิการที่ดี ดังนัน้ คนทีเ่ ก็บขยะได้ไม่ได้เป็นพลเมืองในประเทศ เป็นพวกลีภ้ ยั ทีย่ ากจน มากจริงๆ ผมเชื่อว่าเสน่ห์ของคนไทย ถ้าตกผลึกดีๆ ก็คือการแยกขยะว่าอัน ไหนขายได้หรือมีมูลค่า ถึงมูลค่านั้นจะไม่เกี่ยวอะไรกับคุณ แต่คุณคิดว่า กำ�ลังทำ�บุญละกัน ขยะในปัจจุบนั 100 เปอร์เซ็นต์ มีขยะทีเ่ ป็นเศษอาหาร 28 เปอร์เซ็นต์ซึ่งจะทำ�ให้ขยะประเภทอื่นๆ อีก 72 เปอร์เซ็นต์เสียไปด้วย สมมติอยู่คอนโด ทิ้งขยะขวดแชมพูลงไปในถังขยะอาหารแล้วมัดรวมกัน แบบนี้ต่อให้โรงคัดแยก มีเครื่องจักรเก่งขนาดไหนก็ไม่สามารถแยกได้

ถ้าเช่นนั้นการคัดแยกขยะแบบไหนที่เหมาะกับบริบทของเรา

ผมแบ่งขยะออกเป็น 3 ถัง ง่ายๆ คือหนึ่ง ถังยิ้ม ใส่ลงไปมีมูลค่า ขายได้ คนเก็บขยะเห็นก็ยิ้ม อย่างพวกขยะพลาสติก ต่อมาคือถังยี้ คือเป็นภาระ สำ�หรับเรา เช่น เศษอาหาร ทิชชู่ และสุดท้ายคือขยะมีพิษ เช่น ถ่าน ไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ หลอดไฟ ให้ทิ้งลงถังแหยง (ขยะแขยง) ถ้าทุกคน ทำ�ได้ 3 อย่าง เชื่อไหมว่าหากนำ�ไปวางหน้าบ้านไม่เกิน 2 ชั่วโมง ขยะใน ถุงยิ้มจะหายไป ไม่ต้องมีรถเก็บขยะ แต่ซาเล้งจะรีบขนไปโดยที่ไม่ต้อง บอกอะไรเลย กระบวนการจัดการขยะมีวธิ ไี หนบ้าง แล้วอย่างเรือ่ งเปลีย่ นขยะ ให้เป็นพลังงาน ปัจจุบันเราทำ�ได้จริงแค่ไหน

ตามกระบวนการจัดการคือบ่อฝังกลบ ซึ่งมีหลายแบบ ถ้าขยะทั่วไปเป็น แลนด์ฟิลล์คือขุดดินแล้วฝังเป็นชั้น เอาดินกลบ เอาขยะใส่ เอาดินใส่ สลับกันไป 8 ชั้น ชั้นบนสุดมีดินหนา 60 ซม. ปิดอยู่ ในหลุมมีพลาสติก กันนา้ํ รองก้นบ่อไม่ให้ซมึ เข้าไปในดิน แล้วก็ดดู นา้ํ ทีเ่ กิดจากขยะมาบำ�บัด ในบ่อ กรณีที่เกิดการย่อยสลายโดยแบคทีเรียและจุลินทรีย์เป็นก๊าซมีเทน จะต้องมีปล่องดักก๊าซแต่ละชั้นเพื่อเอารวบรวมมาเป็นพลังงานชีวมวลใช้ ปั่นไฟและขายให้กฟผ. (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) นอกจากนีย้ งั มีธรุ กิจเอาพลาสติกมาทำ�นา้ํ มัน หลุมพวกนีพ้ อฝังไปนานๆ 10-20 ปี เขาจะขุดหลุมขึ้นมา พวกอินทรีย์สารจะย่อยสลายไปหมดแล้ว เหลือขยะทีไ่ ม่ยอ่ ยอย่างพลาสติก ซึง่ จะถูกนำ�มาเผาในระบบปิดความร้อนสูง เพือ่ หลอมตัวเป็นนา้ํ มันซึง่ เป็นวัตถุดบิ ตัง้ ต้นของมัน โดยจะมีหอกลัน่ ทีแ่ ยก นา้ํ มันทีไ่ ด้ในอุณหภูมทิ แ่ี ตกต่างกันออกมา เช่นเป็นดีเซลหรือนํา้ มันเตา แต่ วิธีนี้ขยะเมืองไทยทำ�ไม่ได้ เพราะเราทิ้งทุกอย่างรวมกัน ทำ�ให้มีความชื้น สูง มีการปนเปื้อนสูง สกปรกมาก เวลาเข้าเตาเผา ความร้อนที่จะใช้ได้ จึงต้องสูงมากเพือ่ ไประเหยความชืน้ ออกให้หมดก่อน แต่อย่าลืมว่าคนทีท่ �ำ แลนด์ฟลิ ล์กบั คนทีท่ �ำ นา้ํ มันก็ไม่ใช่เจ้าของเดียวกัน คุณต้องไปซือ้ ที่ เอารถ มาขนพลาสติกไปทำ�นํ้ามัน แล้วนํ้ามันที่ได้ก็เอามาใช้กับรถได้ส่วนหนึ่ง ถ้านํ้ามันเหลือก็ต้องเอามาฮีทกลับตัวเครื่องอีก เพราะฉะนั้นที่ทำ�มาคือ เท่ากับยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้จริงๆ

ขยะในปัจจุบนั 100 เปอร์เซ็นต์ มีขยะทีเ่ ป็นเศษอาหาร 28 เปอร์เซ็นต์ซง่ึ จะทำ�ให้ขยะประเภทอืน่ ๆ อีก 72 เปอร์เซ็นต์เสียไปด้วย สมมติอยูค่ อนโด ทิง้ ขยะขวดแชมพูลงไปในถังขยะอาหารแล้ว มัดรวมกัน แบบนี้ต่อให้โรงคัดแยกมีเครื่องจักรเก่งขนาดไหนก็ไม่สามารถแยกได้

กรกฎาคม 2557

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

เพราะทุนนิยมสอนให้เรากลัว ความกลัวทำ�ให้เราต้องเข้าเซเว่น เข้าโชห่วย ไม่ได้ ทุนนิยมทำ�ให้เราคิดว่าอาหารแช่แข็งคือสะอาด อาหารในหม้อต้มร้อนๆ คือสกปรก บริบทของความกลัวมันทำ�ได้หมด

แล้วอย่างบางประเทศมีการซื้อขยะเพื่อนำ�ไปผลิตพลังงาน

สิงคโปร์ไม่มแี ลนด์ฟลิ ล์ เตาเผาเขาเลยต้องเปลีย่ นเป็นพลังงาน คือเทคโนโลยี ไม่มีอะไรถูกผิด ถ้าไปได้ควรไป แต่สิ่งที่ควรทำ�คือทำ�ยังไงให้สังคมเข้าใจ ขยะ คนต้องเข้าใจมันก่อนว่าคุณผลิตมันทุกวันและตลอดเวลา แต่ขอสัก 10 เปอร์เซ็นต์ของความคิดได้ไหมว่าเราจะจัดการขยะยังไง อาจเริม่ ง่ายๆ จากการมีกระติกนา้ํ ของตัวเองก่อนไหม แล้วลองสัญญากับตัวเองว่าจะไม่ ดืม่ นํา้ จากขวดพลาสติกเลย หรือถ้าจำ�เป็นต้องกินจากขวดพลาสติกก็ให้กนิ จากขวดนัน้ ซา้ํ แล้วซา้ํ อีก ใครบอกเป็นมะเร็งก็ไม่เชือ่ เพราะทุนนิยมสอน ให้เรากลัว ความกลัวทำ�ให้เราต้องเข้าเซเว่น เข้าโชห่วยไม่ได้ ทุนนิยมทำ�ให้ เราคิดว่าอาหารแช่แข็งคือสะอาด อาหารในหม้อต้มร้อนๆ คือสกปรก บริบทของความกลัวมันทำ�ได้หมด ถ้าเกิดเราไม่กลัวขยะ แล้วเราคิดว่ามันเป็นของทีเ่ ราต้องจัดการ ต้อง ดูแลมัน เราก็เริม่ ต้นได้ อย่างการแยกถังขยะง่ายๆ บนความเข้าใจของเรา อย่างทีบ่ อกไปแล้ว ถ้าทำ�อย่างนัน้ ได้ ขยะ 40 เปอร์เซ็นต์จากขยะ 10 กว่า ล้านตันที่เกิดขึ้นเกิดจากการบริโภคของเราจะหายไปเพียบเลย นักออกแบบพยายามที่จะรียูสหรือรีไซเคิล แต่สุดท้ายทำ�แล้ว กลายมาเป็นขยะอีกชิ้นหนึ่ง มีความคิดเห็นอย่างไร

มันเป็นแค่ทางเลือก ไม่เป็นแมส (Mass) เพราะระบบมันยังต้องมีซื้อมา ขายไป ระบบผลิตเยอะๆ ยังต้องมี เราไม่ได้เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือ เราไม่ได้เปลี่ยนปัญหาขยะแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันมีเอสเอ็มอีหลาย ธุรกิจที่เป็นนักออกแบบมาจับจุดนี้ ซึ่งผู้ซื้อเองไม่เคยมองว่าขยะแพง มัน เป็นของถูก แต่ตอนนีม้ นั เริม่ มีคนซือ้ มีโรงแรมซือ้ งานดีไซน์จากสิง่ เหล่านีไ้ ป อยูใ่ นห้อง แต่เราก็ยงั ต้องตอบโจทย์ทแ่ี ท้จริงให้ได้ คือการเปลีย่ นพฤติกรรม ของคนให้รบั รูแ้ ละลงมือทำ�ในช่วงทีม่ โี อกาส มีสติ แต่ไม่ตอ้ งซีเรียสขนาด ไปจับผิดคนอื่น แค่กำ�หนดไว้ในใจ คัดแยกได้ ส่งต่อได้ โรงงานรับซื้อ ต้องมีระบบโลจิสติกส์ ให้เขามีเวทีไปทดแทน และทุกอย่างต้องเป็นระบบ เดียวกัน 32 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557

Creative Ingredients แรงบันดาลใจสำ�คัญ

เรื่องสั้นชื่อ นิทานแดนมหัศจรรย์...คนหลงป่า จากเว็บไซต์เกษตร พอเพียงดอตคอม (kasetporpeang.com) โดยศุภพงศ์ สอนสังข์ ซึง่ เป็น นักออกแบบและอาจารย์พิเศษสอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลังจาก ผมได้อ่าน ผมก็ตัดสินใจซื้อที่นาผืนแรกเพื่อสร้าง ‘บ้านเพลิน’ ที่ห่าง จากกรุงเทพฯ ไปไม่ถึง 100 กิโล ขับรถถึงใน 1-2 ชั่วโมงหรือปั่น จักรยานไปก็ได้ เพื่อทำ�เป็นพื้นที่การเกษตรหรือแหล่งอาหารด้วยตัวเอง ผมถมนามาปลูกต้นไม้ตามทีใ่ นหลวงบอกว่า เราทำ�งานเอางานไปแลกเงิน แล้วเอาเงินไปซื้ออาหาร แต่ถ้าเกิดเราเอาเวลาไปทำ�อาหารแล้วกินเลย ทำ�ไมจะไม่ทำ� หนังสือที่ชอบอ่าน

หนังสือชื่อ (จะเลือก)เงินหรือชีวิต ที่เปลี่ยนทัศนคติต่อเงินสู่อิสรภาพ ของชีวติ อ่านมาประมาณ 12 ปี เพราะช่วงก่อนทีจ่ ะมาทำ�งานกับตาวิเศษ ผมเคยทำ�งานด้านธุรกิจและเอาเงินเป็นตัวตั้ง แต่พออ่านเล่มนี้แบบ อ่านแล้วอ่านอีกจนตกผลึก ก็ท�ำ ให้ทมุ่ เทกับงานเพือ่ สังคมทีเ่ รารักมากกว่า หลักคิดในการดำ�เนินชีวิต

ผมเป็นคนชอบคิด สำ�เร็จกับเสร็จนีด่ กี รีมนั ต่างกันมาก ผมจะมองโครงการ ที่ทำ�อย่างไรให้ความคิดเราไปเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสร้างความเข้าใจให้ คนรอบข้างด้วยการลงมือทำ� การทำ�งานเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือเรื่องอะไรก็ แล้วแต่ ถ้าจะทำ�ให้สำ�เร็จคือคุณต้องมีบัดดี้ที่คิดเหมือนกัน ไปในแนว เดียวกัน ทำ�เหมือนกัน เพือ่ ให้เขาไปลองทำ�ในแบบเขาดู แล้วลองมาดูวา่ ทำ�ด้วยกันได้


enabling you to think outside the box to leap over your challenges

50 Industry Experts, 20 Nationalities collaborating, 6 Day Workshops, Activities, Site visits, 6 Senses Experience

From

Six days of creative immersion with International well-known experts. Take part in seminars, workshops, site visits, presentations, experimentation, team challenges, etc., and explore how they are related to various forms and aspect of creativity and innovation in various fields. A marketplace of new ideas that will change you and your organization.

Speakers from :

OcTOber 12Th to 17Th 2014

Learn more at www.creativebangkok.org In collaboration with


spadeandbarrow.com.au

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

Not every carrot can be a supermodel! เรื่อง: ณัชชา พัชรเวทิน

ค่านิยมในการเลือกซื้อเฉพาะผักผลไม้ที่มีผลหรือต้นสวยงามปราศจากจุดด่างดำ�หรือรูหนอนเจาะไชตามธรรมชาติ ไม่ได้เพียงทำ�ให้ เราต้องจ่ายเงินมากขึ้นในการจับจ่ายผลผลิต แต่ยังส่งผลกระทบที่อาจคาดไม่ถึงต่อโลกด้วย ด้วยผักผลไม้ที่ตกเกรดและไม่ได้รับ การเลือกซื้อ จะกลายเป็นขยะขนาดมหึมาที่ทั้งจะทับถมปัญหาขยะล้นเมืองและยังส่งผลทางลบต่อเกษตรกรผู้เพาะปลูกทำ�ให้ต้อง ขายผลผลิตในราคาที่ตํ่ากว่าต้นทุน

"สเปดแอนด์แบโรว์ (Spade & Barrow)" โครงการที่มีจุดเริ่มต้นมาจากความใส่ใจและการให้ความสำ�คัญกับอาหาร คน และจิตสำ�นึก จึงเกิดขึ้นเพื่อแก้ ปัญหาขยะจากผักผลไม้ที่ตกเกรดในออสเตรเลียซึ่งมีจำ�นวนมากถึง 320,000 ตันต่อปี ด้วยการสนับสนุนให้เกิดธุรกิจจัดจำ�หน่ายผลผลิตทางการเกษตร เพือ่ สังคมแห่งแรกในออสเตรเลีย โดยมีนโยบายสำ�คัญคือ การรับซือ้ ผลผลิตจากเกษตรกรในราคาทีเ่ กษตรกรพึงพอใจ เพือ่ ช่วยเหลือไม่ให้เกษตรกรต้อง ละทิ้งที่ทำ�กิน โดยสเปดแอนด์แบโรว์จะรับซื้อผักผลไม้จากเกษตรกรในพื้นที่ตามหลัก "Natures Grade" หรือการรับซื้อผักผลไม้ทุกขนาดไม่ว่าจะเล็ก หรือใหญ่ตามธรรมชาติ เพื่อไม่ให้เกษตรกรต้องทิ้งผลผลิตที่ไม่ได้มาตรฐานให้กลายเป็นขยะ โดยทางสเปดแอนด์แบโรว์จะนำ�ผลผลิตที่ได้นี้ไปคัดแยก ขนาดและนำ�มาวางขายให้ลูกค้าได้เลือกซื้อตามความพึงพอใจ ตั้งแต่หัวหอมขนาดใหญ่หรือหัวหอมคละขนาดที่ราคาถูกลงมา ปัจจุบัน หลายฝ่ายกำ�ลังหันมาให้ความสนใจกับการคัดแยกผักผลไม้ตามหลักธรรมชาติเช่นนี้มากขึ้น เนื่องจากมองว่าผักผลไม้ที่มีขนาดไม่เป็นไป ตามมาตรฐานที่ตลาดต้องการก็มีคุณค่าเท่าเทียมกับผักผลไม้อื่นๆ โดยโรงเรียน ร้านอาหาร และบาร์กว่า 100 แห่งในออสเตรเลียได้สมัครเป็นลูกค้า ของสเปดแอนด์แบโรว์ เพราะเล็งเห็นความสำ�คัญของผักผลไม้ที่สดใหม่จากสวนของแกษตรกรในท้องถิ่น นอกจากนี้ สเปดแอนด์แบโรว์ยังมีโครงการ "คอมมิวนิต้ี ฮาร์เวสต์ (Community Harvest)" เพือ่ ช่วยเหลือเกษตรกรทีป่ ระสบปัญหาไม่สามารถเก็บเกีย่ วผลผลิตของตัวเองได้ โดยจะนำ�ทีมอาสาสมัคร ไปเก็บเกี่ยวผลผลิตถึงไร่ของเกษตรกร เพื่อไม่ให้ผักและผลไม้เหล่านั้นต้องเน่าเสียและกลายเป็นขยะอย่างเปล่าประโยชน์ สเปดแอนด์แบโรว์จงึ นับเป็นอีกหนึง่ โครงการทีใ่ ส่ใจทุกภาคส่วน เพือ่ ให้ทกุ ฝ่ายได้รบั ประโยชน์สงู สุด ไม่วา่ จะเป็นเกษตรกรชาวออสเตรเลียทีไ่ ม่ตอ้ ง เสีย่ งต่อภาวะขาดทุนจนต้องทิง้ ทีท่ �ำ กิน หรือผูป้ ระกอบการและผูบ้ ริโภคทีไ่ ด้เลือกซือ้ อาหารและผลผลิตจากธรรมชาติทสี่ ดใหม่ในราคายุตธิ รรม ทีส่ �ำ คัญ โครงการนี้ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างสังคมที่ยั่งยืนและน่าอยู่ โดยลดการสร้างขยะจากอาหารและผลิตผลทางการเกษตรที่เกินความจำ�เป็น และ ยังทำ�ให้ผักผลไม้ทุกขนาดทุกรูปแบบถูกนำ�ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง ที่มา: บทความ “From Farm to Fork” จาก goodfood.com.au และ spadeandbarrow.com.au

34 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2557


13

เวิร กช็อปเข มข น: intensive workshops: 1 - 29 สิงหาคม / August

BUSINESS - โขกหัวคิด - Fund Me to the Moon - สูตรลับจับใจ เป ดร านยังไงไม เจ ง - From Dreams to Reality, from Passion to Products

โดย

CAVE

โดย กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ และ ชุตยาเวศ สินธุพันธุ โดย อภิรดี ตันติเวชกุล โดย

Roast Coffee & Eatery

MANUFACTURING & MATERIAL - เกาให ถูกที่คัน - Packaging Revolution - Missing Piece - Plastic for Life: Food Packaging - จากการออกแบบสู เทคโนโลยีการผลิตงานตกแต งรถ

Creative Printing Enterprise โดย C.G.S. (Thailand) โดย FabCafe Bangkok โดย

โดย Material Connexion® Bangkok โดย ศูนย นวัตกรรมด านการออกแบบอุตสาหกรรมแห งจุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย

RESEARCH FOR DESIGN - Do or Die: Creative Methodologies for Business Survival - Research for Larger Design Impact - How Your Business Can Adapt to Today's Thai Lifestyles - Service Design: Service is a New Weapon

โดย พิเศษ วีรังคบุตร และ เจฟ ฮามิลตัน โดย ป าสาละ

Teak Research โดย TCDC Service Design Team โดย

เป ดรับสมัคร สมาชิก TCDC : 28 มิถุนายน - 20 กรกฎาคม บุคคลทั่วไป : เริ่ม 1 กรกฎาคม

Supported by

รายละเอียดเพิ่มเติม CU-TCDC.COM

Media Partners

Organized by


ถ าอนาคตกำหนดได

Defining the Future ตัง้ คำถามสูค วามเป นไปได และโอกาส

1 - 31 สิงหาคม / August CREATIVE BUSINESS LAB

Open up a world of possibilities and opportunities 1 - 29 สิงหาคม / August สมัคร / Apply สมาชิก TCDC / TCDC Members บุคคลทั่วไป / Public

INTERNATIONAL WORKSHOP

28 - 29 สิงหาคม / August

INTERNATIONAL SYMPOSIUM SUPER EARLY BIRD TICKETS

30 - 31 สิงหาคม / August

28 มิถุนายน - 20 กรกฏาคม / 28 June - 20 July เร��ม 1 กรกฎาคม / From 1 July

28 มิถุนายน - 15 กรกฏาคม / 28 June - 15 July

Media Partners

Organized by

TCDC สงวนสิทธ�์ในการเปลี่ยนแปลงโดยไม ต องแจ งให ทราบล วงหน า / TCDC reserves the right to make any changes without prior notice

TCDC ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเร�ยม 10.30 - 21.00 (ป ดวันจันทร ) (66) 2 664 8448 # 213, 214 | TCDC Chiang Mai หลังกาดเมืองใหม 10.30 - 18.00 (ป ดวันจันทร ) (66) 52 080 500 # 1 | tcdc.or.th


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.