Creative Thailand Magazine

Page 1



ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์คือทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่สำ�คัญที่สุด Richard Florida

ผู้เขียนหนังสือ The Rise of the Creative Class: And How It's Transforming Work, Leisure, Community, and Everyday Life (2002)


CONTENTS สารบัญ

6

8

The Subject

The End of American Dream/ The Indian Aspirant/ The Chinese Takeover/ The Age of E-WTO

Creative Resource

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

กองหนุน

K Village Farmers’ Market & Passion Delivery: ใหอาหารเปนผูเลา

Featured Book/ Book/ Documentary/ Magazine

10

Matter

12

Classic Item

Material Startup

Studio สรางสรรคและสรางคา

Tel Aviv: Watch Out Silicon Valley, Here Comes Silicon Wadi!

วรัตต วิจิตรวาทการ: เสนทางธุรกิจในยุคแหงทางเลือก

14

Cover Story

Hipsters of the World, Unite!

Direct Trade: Directly Serve the Finest Beans from Farmers

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, เบญจณิษฐ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

แกไขขอมูลในบทความ Crisis and Securities จากคอลัมน The Subject ลงมือคิด เดือนเมษายน 2558 ปท่ี 6 ฉบับที่ 7 จำนวนประชากรของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหมอยางอินเดียและจีน ทั้งสองประเทศรวมกันมีจำนวนกวา 2.6 พันลานคน (แกไขจากจำนวน 2.6 หมื่นลานคน)


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

เศรษฐกิจระหว่างบรรทัด ความลุ่มๆ ดอนๆ ของเศรษฐกิจโลก ดูจะเป็นเรื่องคุ้นเคยในรอบหลายปีที่ผ่านมา นับแต่วิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ที่สั่นคลอน สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2008 การตัดสินใจของสหราชอาณาจักรที่จะอยู่หรือไปกับกลุ่มสหภาพยุโรป ค่าเงินรูเบิลที่ตกกระหน�่ำ จนถึง วิกฤตภาวะหนี้ของกรีซที่สร้างความกังวลจนตลาดหุ้นสหรัฐฯ ต้องปิดในแดนลบ ดังนั้นโลกจึงเฝ้ามองนโยบายและมาตรการทางเศรษฐกิจที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป จนถึงฝั่งเอเชีย ทั้งญี่ปุ่นและจีน ได้ทยอย ออกมาสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยมาตรการการเงินและการคลัง โดยเฉพาะนโยบายการเพิ่มปริมาณเงิน (Quantitative Easing) หรือมาตรการคิวอี ที่ยุโรปและญี่ปุ่นต่างด�ำเนินการในรูปแบบเดียวกัน เพื่อหวังผลว่า เมื่อเพิ่มปริมาณเงิน เข้ามาในระบบมากขึ้น ดอกเบี้ยจะลดลง และส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เงินยูโร และเงินเยนอ่อนตัวลง ซึ่งทฤษฎีตามต�ำรา ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการส่งออก ลดการขาดดุลจากการน�ำเข้า รวมถึงท�ำให้การจ้างงานเติบโต เมื่อคิดคร่าวๆ เช่นนี้ ก็เห็นแต่ ความน่ายินดีของเศรษฐกิจทีส่ อ่ งสว่าง ไม่นบั รวมการลงทุนของภาครัฐ และราคาน�ำ้ มันทีล่ ดลงจากการทีส่ หรัฐฯ สามารถหาแหล่ง พลังงานทดแทนได้อีกด้วย แต่ชีวิตก็มักไม่เป็นเช่นที่หวังไว้ เศรษฐกิจโลกยังคงทอดอาลัย โดยเฉพาะยุโรป ญี่ปุ่น หรือแม้แต่จีน ที่อัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิจไม่ได้ร้อนแรงเช่นเดิมเสียแล้ว ทางฝั่งยุโรป อัตราการว่างงานมีสูงถึงร้อยละ 11 และอยู่ในสภาวะเช่นนี้มานานจนคล้าย กับคนเซื่องซึม ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ว่าผ่านจุดต�่ำสุดมาแล้วดูจะหายใจคล่องขึ้น เมื่ออัตราการว่างงานของคนอเมริกันลดลง มาอยู่ที่ร้อยละ 5.6 เมื่อปลายปี 2014 ซึ่งลดลงกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 1.1 ส่วนอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.5 สูตรส�ำเร็จทางเศรษฐกิจนั้นคงไม่ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกันทั้งโลก เพราะภายใต้กรอบนโยบายอันเข้มข้นนั้น หน่วยเล็กๆ ที่ส�ำคัญ ที่สุด ก็คือ “ก�ำลังซื้อ” ที่มีนัยยะมากมาย ทั้งตัวเลขที่วัดได้ทางบัญชีเงินออมและรายได้ จนถึงความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ ใน ขณะที่มาตรการเศรษฐกิจระดับมหภาคด�ำเนินไป การเคลื่อนไหวของ “ก�ำลังซื้อ” ที่เล็กๆ แต่มีพลังก็ก�ำลังขับเคลื่อนให้เกิด ปรากฏการณ์บางอย่างที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ที่การขยายตัวของกลุ่มคนที่สร้างก�ำลังซื้อนี้ได้กลายเป็นฟันเฟืองซึ่งหมุน เศรษฐกิจให้ขยับเขยื้อนต่อไป วัฒนธรรมของการกล้าคิด กล้าท�ำ ของกลุ่มคนและธุรกิจสตาร์ทอัพได้ปลุกเร้าเศรษฐกิจให้มีชีวิต ขณะที่จิตวิญญาณของทักษะการผลิตได้หวนกลับคืนมาอีกครั้ง จะเป็นด้วยความเบื่อชีวิตแบบเดิมๆ ข้าวของเดิมๆ รสชาติกาแฟ เดิมๆ หรือทุกอย่างประกอบกัน แต่นั่นก็ท�ำให้เกิดความหวังในรูปแบบชีวิตใหม่ๆ ซึ่งก�ำลังขับเคลื่อน “ก�ำลังซื้อ” ใหม่ๆ ที่ไม่ใช่ แค่เศรษฐกิจในสหรัฐฯ แต่เป็นในเนื้อของเศรษฐกิจทั่วโลก กลุม่ โครงสร้างอายุประชากรยังมีผลอย่างมากต่อความตืน่ ตัวทีจ่ ะสร้างผลผลิตสร้างสรรค์ให้กบั สังคม ในขณะทีย่ โุ รปและญีป่ นุ่ ติดกับดักของปัญหาช่วงอายุประชากร อเมริกาเป็นสังคมที่ดูเหมือนจะบ้าบิ่นกว่าด้วยพลังงานแห่งความเป็นนักคิด นักประดิษฐ์ ชุมชนอย่างซิลิคอน แวลลีย์กลายเป็นตัวอย่างของความกล้าลงมือท�ำบนฐานความรู้ และการกระโจนใส่โอกาสของธุรกิจซึ่งเกิด เป็นวัฒนธรรมใหม่ส�ำหรับแนวคิดของคนรุ่นนี้ การเริ่มต้น การลองผิดลองถูก ความล้มเหลว จนประสบความส�ำเร็จ วิธีคิดและ การมองชีวิตเช่นนี้ ได้น�ำไปสู่วงจรธุรกิจที่ดูเหมือนจะเป็นหน่วยเล็กๆ แต่มีพลังล้นเหลือ จากนโยบายระดับมหภาค จากมาตรการเศรษฐกิจหลายขนาน ถ้าหากลองมองจากจุดเล็กๆ ออกไปสู่ท้องถนน สู่เมืองบ้าง เราจะได้เห็นเรื่องราวใหม่ๆ ที่เคลื่อนไหวอย่างพลุกพล่าน มีชีวิตชีวา และท�ำให้มีความหวังได้บ้าง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอ�ำนวยการ Apisit.L@tcdc.or.th

U.S. GDP

Percent, quarter-on-quarter 4.1

2.6

Q3 Q4

5.0%

8

4.6 5.0

4

-2.9 Q1

0

Q2

-4

Q3 พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

genius.com

เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ

The End of American Dream? ที่มา: บทความ “Many feel the American Dream is out of reach, poll shows” (10 ธันวาคม 2014) จาก nytimes.com และ บทความ “Middle class, but feeling economically insecure” (10 เมษายน 2015) จาก nytimes.com

สภาวะเศรษฐกิ จ โลกตะวั น ตกที่ ถ ดถอยอย่ า งเรื้ อ รั ง ได้ ส ร้ า งความวิ ต กกั ง วลใจแก่ ป ระชากรส่ ว นใหญ่ ของสหรัฐอเมริกา ประเทศซึ่งเคยขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดน แห่งความเท่าเทียมทางโอกาสที่เอื้อให้พลเมืองสามารถ บรรลุถึงเป้าหมายในชีวิตได้ด้วยการมุ่งมั่นท�ำงานหนัก จากผลส�ำรวจของนิวยอร์กไทมส์โพลล์เมือ่ ปลายปีทแี่ ล้ว พบว่า ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีประชากรที่เชื่อมั่นใน “American Dream” หรือความใฝ่ฝันที่ว่าการท�ำงาน หนักจะน�ำมาซึ่งความร�่ำรวยลดลงถึงร้อยละ 8 ชนชั้นกลางชาวอเมริกันในยุคปัจจุบัน ซึ่งไต่เต้า ได้เล่าเรียนศึกษาในระดับที่สูงกว่าคนรุ่นพ่อแม่ของ พวกเขา มี มุ ม มองและความรู ้ สึ ก ว่ า พวกเขาต้ อ ง ดิ้ น รนท�ำมาหากิ น แต่ ก ลั บ ได้ ม าซึ่ ง คุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ต�่ำกว่าคนรุ่นก่อนๆ เนื่องด้วยภาวะการว่างงานและผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ย�่ำแย่ ท�ำให้ครอบครัวชนชั้นกลางอเมริกันในปัจจุบันมีรายได้ที่แท้จริงโดยเฉลี่ยต�่ำกว่าภาคครัวเรือน ประเภทเดียวกันเมื่อ 15 ปีที่แล้วเสียอีก แม้ว่าราคาสินค้าในตลาดจะถูกลงและมีคุณภาพดีกว่า ในอดีตก็ตาม ชนชั้นกลางอเมริกันในปัจจุบันกลับต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายด้านอสังหาริมทรัพย์ การศึกษาระดับอุดมศึกษา และการประกันสุขภาพที่ปรับตัวสูงขึ้นในอัตราที่สูงกว่าระดับเงินเฟ้อ ความผันผวนทางสังคมเศรษฐกิจส่งผลให้ชาวอเมริกันมีทัศนคติต่อการมีสถานะเป็นชนชั้นกลาง ที่เปลี่ยนแปลงไป จากชนชั้นซึ่งมองโลกในแง่ดีและมีศักยภาพในการเข้าถึงความสะดวกสบาย กลายเป็นชนชั้นที่ต้องเผชิญสภาวะตึงเครียดและความเสี่ยงทางด้านอาชีพการงาน

The Indian Aspirant ©REUTERS/Sivaram V

ชัยชนะในการเลือกตั้งของพรรคภาราติยะ ชนตะ (Bharatiya Janata: BJP) ได้น�ำมาซึ่งความหวังในการเลื่อนสถานะทางชนชั้นของชาวอินเดีย เมื่อนายก รัฐมนตรีนเรนทรา โมดี (Narendra Modi) ได้น�ำเสนอยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ ที่ประกอบด้วยการลดหย่อนภาษี โครงการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเมือง ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้าง ศักยภาพของกลุ่มคน “Neo-Middle Class” หรือ “Aspirants” ซึ่งหมายถึง ประชากรทีพ่ งึ่ หลุดพ้นจากภาวะความยากจน และปรารถนาทีจ่ ะมีสถานะทาง เศรษฐกิจมั่นคงเป็นชนชั้นกลางอย่างเต็มตัว การเพิ่มขึ้นของกลุ่มคนประเภทดังกล่าวได้เกิดขึ้นคู่ขนานกับการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจของเมืองต่างๆ ในอินเดีย จากฐานข้อมูลในปี 2013 พบว่า กลุ่มคนที่แสวงหาโอกาสเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันมีฐานรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3,650 ถึง 7,300 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปี มีจ�ำนวนสูงถึง 380 ล้านราย หรือคิดเป็นร้อยละ 30 ของประชากรทั้งประเทศ เดอะ ฮินดู บิสสิเนส ไลน์ ได้รายงานถึงปรากฏการณ์การเกิดขึ้นของ Neo-Middle Class ว่า ความเปลี่ยนแปลงนี้หมายถึง “การเลื่อนสถานะจากการมีโอกาสได้บริโภคแต่โรตีเปล่าๆ สู่การมีโอกาสให้การศึกษาแก่ลูกๆ รวมทั้งสามารถมีไฟฟ้า ถนน และน�้ำประปาใช้” ที่มา: บทความ “Modi and the neo-middle class” (25 พฤษภาคม 2014) จาก thehindubusinessline.com และ บทความ “New Delhi courts ‘Neo Middle Class’ with incentives” (5 กันยายน 2014) จาก wsj.com

6l

Creative Thailand

l

พฤษภาคม 2558


วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรปตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่ส่งผลให้ราคา สินทรัพย์ในภูมิภาคดังกล่าวตกต�่ำ กลับกลายเป็นโอกาสให้ภาคธุรกิจจีน ด�ำเนินการซื้อหุ้นกิจการต่างๆ เช่น บริษัทผลิตรถยนต์วอลโว่ของสวีเดน บริษทั ผลิตรถยนต์เปอร์โยต์ และซีตรอง รวมทัง้ ธุรกิจแฟชัน่ ซอนย่า รีเคียล (Sonya Rykiel) ในฝรั่งเศส กิจการท่าเรือพิเรียส (Piraeus) ในกรีซ ธุรกิจ ร้านอาหารพิซซ่า เอ็กซ์เพรส และธุรกิจแฟชัน่ อควาสครูทมั (Aquascutum) ในสหราชอาณาจักร เป็นต้น โดยในปีที่ผ่านมานี้ ระดับการลงทุนจากจีน ในภูมภิ าคยุโรปสูงขึน้ เป็นประวัตกิ ารณ์ทรี่ ะดับ 18,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนจะชะลอ ความร้อนแรงลง แต่จ�ำนวนกลุ่มคนรวยสัญชาติจีนกลับเพิ่มสูงขึ้น จาก รายงาน “China Ultra High Net Wealth Report 2014-2015” พบว่า ปัจจุบันจ�ำนวนประชากรจีนที่ถือครองสินทรัพย์มากกว่า 500 ล้านหยวน หรือ 81.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีมากกว่า 17,000 ราย โดยสินทรัพย์รวม ของกลุ่มคนรวยชาวจีนทั้งหมดมีมูลค่าสูงถึง 31 ล้านล้านหยวน หรือคิด เป็น 10 เท่าของรายได้ประชาชาติของนอร์เวย์ และ 20 เท่าของฟิลิปปินส์ กลุ่มคนรวยชาวจีนหน้าใหม่เหล่านี้ มักประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ โรงงานอุตสาหกรรม นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนักลงทุนมืออาชีพ โดยร้อยละ 55 ของกลุ่มคนดังกล่าว ไม่ได้อาศัยอยู่ในเมืองหลัก (First-Tier City) อย่างเช่นมหานครปักกิง่ แต่อาศัยอยูใ่ นเมืองรองอันดับ 2 (SecondTier City) หรือ เมืองรองอันดับ 3 (Third-Tier City) รายงานฉบับดังกล่าวยังชี้ให้เห็นถึงทัศนคติของกลุ่มคนรวยชาวจีน หน้าใหม่ ซึ่งยังคงมีมุมมองทางธุรกิจในแง่บวก โดยร้อยละ 80 ต้องการ ที่จะขยายการลงทุนในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาถึงพฤติกรรม การบริโภคพบว่า ร้อยละ 45 นิยมถือครองเครื่องประดับราคาแพงและ หยก ส่วนร้อยละ 29 นิยมสะสมศิลปะการเขียนอักษรและภาพจิตรกรรม ที่มา: บทความ “China wants to buy Europe” (23 มีนาคม 2015) จาก bloombergview. com, บทความ “Chinese firms in Europe” (28 มีนาคม 2015) จาก economist.com, บทความ “Despite slowing economy, number of Chinese super-rich continues rise” (7 เมษายน 2015) จาก chinapost.com

nbcnews.com

The Chinese Takeover

©REUTERS/Bobby Yip

THE SUBJECT ลงมือคิด

The Age of E-WTO

การค้าออนไลน์อาจเป็นทางรอดของผู้ประกอบการรายย่อย โดยเฉพาะ ในช่วงเศรษฐกิจโลกซบเซาที่งานเวิล์ด อีโคโนมิก ฟอรั่ม ณ นครดาวอส สวิสเซอร์แลนด์ เมื่อมกราคมที่ผ่านมา แจ๊ค หม่า (Jack Ma) ผู้ก่อตั้ง อาลีบาบา ได้กล่าวถึงบทบาทใหม่ของบริษัทเขา ในฐานะ “e-WTO” หรือ “องค์การการค้ายุคอิเล็กทรอนิกส์” ที่จะสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับ ผู้ผลิตและผู้ประกอบการจากทั่วทุกมุมโลก โดยเปรียบเทียบบทบาทของ องค์การการค้าโลก (World Trade Organisation: WTO) กับ อาลีบาบา (Alibaba) ไว้ว่า “WTO ได้ท�ำหน้าที่เป็นอย่างดีในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หน่วยงานดังกล่าวมุ่งเน้นช่วยเหลือแต่บริษัทรายใหญ่ ให้ขายสินค้าข้ามประเทศได้” ในยุคที่ระบบอินเทอร์เน็ตช่วยอ�ำนวยความ สะดวกให้เกิดการขยายตัวทางการค้าข้ามพรมแดนนี้ อาลีบาบาจึงมุง่ หวัง ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อ “รองรับผู้บริโภคจ�ำนวน 2 พันล้านรายจาก ทั่วโลก” และสร้างโอกาสทางการค้าให้แก่ “ธุรกิจเล็กๆ จ�ำนวน 10 ล้าน รายที่ตั้งอยู่นอกสาธารณรัฐประชาชนจีน” ที่มา: บทความ “Jack Ma aims for 2bn Alibaba customers” (23 มกราคม 2015) จาก ft.com และ บทความ “Jack Ma at Davos: ‘we can serve 2 billion consumers’” (23 มกราคม 2015) จาก alizilia.com พฤษภาคม 2558 l Creative Thailand l 7


เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

THE FLAT WHITE ECONOMY โดย Douglas McWilliams

ดักลาส แมควิลเลียมส์ (Douglas McWilliams) นักเศรษฐศาสตร์ชาว อังกฤษ ได้อธิบายถึงปรากฏการณ์ที่ ก�ำลังเกิดขึ้นกับย่านอีสต์ลอนดอน ทีข่ นึ้ ชือ่ ว่าเต็มไปด้วยฮิปสเตอร์ผา่ น หนังสือเล่มนีไ้ ว้อย่างน่าติดตาม ข้อ สังเกตทั้งหมดเริ่มจากในปี 2011 บริษัทซึ่งเป็นคลังสมองชื่อดังอย่าง CEBR (Centre for Economic and Business Research) ได้รับด�ำเนิน การวิจยั เพือ่ พยากรณ์แนวโน้มความ ต้องการใช้งานการขนส่งระบบราง ของประชากรลอนดอนในอนาคต กระทั่ ง พบตั ว เลขที่ น ่ า สนใจโดย เฉพาะวงเวียนโอลด์สตรีทที่มีแนว โน้ ม การใช้ ง านสู ง ขึ้ น อย่ า งก้ า ว กระโดดในช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีที่ ผ่านมา การค้นพบการเปลีย่ นแปลง ขนาดใหญ่ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่นนี้ในเชิงเศรษฐศาสตร์ ท�ำให้ ทางบริษัทท�ำการค้นหาถึงที่มาและ ตั้งข้อสังเกตที่เกิดขึ้น ก่อนจะให้ค�ำ จ�ำกัดความปรากฏการณ์ดงั กล่าวนี้ ว่า “Flat White Economy” Flat White Economy ประกอบ ไปด้ ว ยส่ ว นผสมส�ำคั ญ ระหว่ า ง เทคโนโลยี การตลาดสมัยใหม่ และ ทักษะเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ค�ำว่า Flat White คือชื่อเรียกของชนิดกาแฟที่ ได้รบั ความนิยมในย่านอีสต์ลอนดอน ซึง่ แต่เดิมบริเวณนีเ้ คยเป็นพืน้ ทีค่ า่ เช่า ราคาถูกที่เหลือน้อยเต็มทีในบริเวณที่ไม่ไกลจากใจกลางเมืองมากนัก ท�ำให้บรรดาคนรุ่นใหม่มักจะมาเริ่มต้นธุรกิจที่นี่ การรวมตัวของกลุ่มคน เหล่านีไ้ ด้สร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ๆ ขึน้ มากมาย โดยมีตวั เลข ที่น่าสนใจระบุว่า ในช่วงระยะเวลาเพียง 2 ปี มีการใช้รหัสไปรษณีย์ EC1V เพิม่ ขึน้ ในย่านอีสต์ลอนดอน อันหมายถึงการมีธรุ กิจเกิดใหม่ในย่าน นี้ย่านเดียวมากถึง 32,000 ราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี (Tech-Startup) เพราะเมือ่ มีความฝันและความ สนใจเดียวกันมาอยูร่ ว่ มกัน ความคิดสร้างสรรค์และโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 8 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2558

FEATURED BOOK

จึงเริ่มต้นขึ้นที่นี่แทบทุกวัน จนได้ รับการขนานนามว่าเป็น Silicon Roundabout ที่ เ ปรี ย บเที ย บ กับแหล่งต้นก�ำเนิดของเหล่าสตาร์ท อัพอย่างซิลิคอน แวลลีย์ มีคนกล่าวว่า อังกฤษอาจจะ ไม่ใช่ที่ที่เหมาะส�ำหรับการสร้าง สรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ให้ไปได้ไกล อย่าง เฟซบุก๊ กูเกิล หรือแอมะซอน ซึ่งนั่นก็อาจเป็นความจริง แต่สิ่ง ที่หลายคนอาจไม่ได้ทันสังเกตเห็น ก็คือ อังกฤษเป็นประเทศหนึ่งที่ เป็น “ผู้ใช้” พลังของเทคโนโลยี เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าที่แท้จริงใน เชิงการค้าปลีกและการตลาด แม้ สถานการณ์ ก ารค้ า ออนไลน์ ใ น ภูมิภาคต่างๆ ของโลกอาจจะวิ่งไป ไม่ได้ไกลเท่าใดนักด้วยมีข้อจ�ำกัด และข้อกังวลมากมาย แต่ทนี่ ตี่ วั เลข กลับปรับเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10 ใน แต่ละปี ซึง่ ความมัน่ ใจแบบนีจ้ ะช่วย เปิดโอกาสในการสร้างสรรค์การ บริการออนไลน์ดีๆ ขึ้นอีกมากมาย ในอนาคต โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตแทรกซึม ไปอยู่ในชีวิตประจ�ำวันอย่างแยก ไม่ออก ผูเ้ ขียนมองว่า ในอนาคตงานอืน่ ๆ จะถูกแทนทีด่ ว้ ยเครือ่ งจักรมากขึน้ แต่ความต้องการด้านความคิดสร้างสรรค์จะคงอยู่ถาวร โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในลอนดอนที่ซึ่งความคิดสร้างสรรค์สามารถถูกกระตุ้นได้ด้วย การพบปะพูดคุยกับคนรุน่ ใหม่ทตี่ า่ งประสบการณ์ มีความคิดในการใช้ชวี ติ การด�ำเนินธุรกิจและการมองโลกที่ต่างออกไป ค�ำนึงถึงอดีตและการใช้ เทคโนโลยีในอนาคตไปในขณะเดียวกัน ซึ่งโมเดลนี้ยังอาจเป็นโมเดลที่ น�ำไปใช้กับที่อื่นๆ ได้ด้วย ทั้งนี้ ในทางเศรษฐกิจได้มีการค�ำนวณไว้ว่า ธุรกิจที่อยู่ใน Flat White Economy ของอังกฤษทั้งหมดจะขยับเพิ่มจนมี มูลค่ามากถึง 1 ใน 3 ของจีดพี ใี นปี 2025 เลยทีเดียว แสดงให้เห็นถึงการใช้ พื้นฐานแนวคิดแบบดิจิทัลอีโคโนมีขึ้นมาอีกระดับหนึ่งได้อย่างทรงพลัง


BOOK

CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

THE DEMOGRAPHIC CLIFF: HOW TO SURVIVE AND PROSPER DURING THE GREAT DEFLATION โดย Harry S. Dent, Jr. OF 2014-2019 คุณพร้อมแค่ไหน ที่จะรับมือกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวครั้งใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงปี 2014-2019 ค�ำท�ำนายนี้ ได้มาจากการวิเคราะห์ประชากรศาสตร์ ซึง่ มีความสัมพันธ์เชือ่ มโยงกับระบบเศรษฐกิจอย่างมีนยั ส�ำคัญ ในช่วง ทศวรรษ 1990 แฮร์รี่ เดนต์ (Harry Dent) นักวิเคราะห์ด้านการเงินนับเป็นคนแรกๆ ที่ท�ำนายว่าญี่ปุ่นก�ำลังจะ ประสบกับภาวะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผลิตภาพในประเทศลดต�่ำลงซึ่งเป็นผลจากอัตราการเกิด และจ�ำนวนประชากรวัยท�ำงานไม่เพียงพอต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การก่อตัวในรูปแบบหน้าผาของประชากร (Demographic Cliff) นี้ก�ำลังส่อเค้าขึ้นกับหลายประเทศทางตะวันตก โดยการวิเคราะห์นี้ยังท�ำนายอนาคต ทางเศรษฐกิจล่วงหน้าได้นานนับทศวรรษ บางประเทศที่มองเห็นแนวโน้มของผลกระทบนี้ได้เริ่มวางแผนรับมือ โดยออกนโยบายการถ่ายเทประชากร เช่น การอ�ำนวยความสะดวกให้แรงงานที่มีคุณภาพเข้ามาในประเทศได้ สะดวกมากยิ่งขึ้น ดึงดูดคนรุ่นใหม่ ลดอายุเฉลี่ยของเมือง และส่งออกประชากรที่ไม่สร้างผลิตภาพในระบบ เศรษฐกิจแล้วกระจายไปยังเมืองต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ เดนต์ยังมีข้อแนะน�ำส�ำหรับภาคธุรกิจ เพื่อการอยู่รอดในความเปลี่ยนแปลงนี้อีกมากมาย

DOCUMENTARY

MAKER: A DOCUMENTARY ON THE MAKER MOVEMENT

กำ�กับและถ่ายภาพโดย Mu-Ming Tsai หลังประสบความสำ�เร็จจากการระดมทุนผ่านคิกสตาร์ทเตอร์ที่ ตั้งเป้าไว้เพียง 15,000 เหรียญสหรัฐฯ แต่ที่สุดแล้วกลับได้รับมา มากถึง 32,373 เหรียญสหรัฐฯ ทำ�ให้สารคดีเรื่องนี้สามารถผลิต และแพร่ภาพได้จริง โดยเนื้อหาหลักเป็นการจับกระแสเมกเกอร์ (Maker) ทั่วสหรัฐอเมริกาที่มีกระบวนการทำ�งานตั้งแต่การค้นหา ไอเดีย เครื่องมือ และรูปแบบการทำ�งานของแต่ละคนผ่านบท สัมภาษณ์ทนี่ า่ สนใจ โดยแนวโน้มของเมกเกอร์นนั้ ไม่ตา่ งจากคลืน่ ลูกใหม่ของสิ่งที่เคยเรียกกันว่า ดีไอวาย (DIY - Do-It-Yourself) และ ดีไอที (DIT - Do-It-Together) ที่ผนวกความหลงใหลเข้ากับ แรงกระตุ้นของเทคโนโลยีที่ทันสมัย จนปรากฏการณ์ดังกล่าวถูก เรียกว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นการทลายรูป แบบการผลิตแบบเดิมๆ ด้วยนวัตกรรมและวิธกี ารแบบใหม่ ไม่วา่ จะเป็นการเข้าถึงข้อมูลแบบโอเพนซอร์ส ระบบการพิมพ์แบบ สามมิติ (Digital Fabrication) รวมทัง้ การผลิตเป็นชิน้ งานจริงด้วย การระดมทุน เมกเกอร์จึงนับเป็นการเปลี่ยนผ่านจากงานอดิเรกสู่ การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถพัฒนาทั้งนิเวศของการ ออกแบบรวมทั้งการผลิตให้ครบวงจรยิ่งขึ้น

พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center

MAGAZINE

TIME : TALES FROM THE SHARING ECONOMY

โดย Joel Stein ฉบับวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2015 ถึงแม้ในปี 2008 คอนเซ็ปต์เรือ่ งการเปิด พื้ น ที่ พั ก อาศั ย ส่ ว นบุ ค คลส�ำหรั บ คน แปลกหน้าให้เป็นธุรกิจอย่างแอร์บเี อ็นบี จะถูกปฏิเสธจากนักลงทุนเพราะมอง ว่าเป็นเรื่องยากที่จะประสบผลส�ำเร็จ แต่ทุกวันนี้ผู้คนทั่วโลกกว่า 425,000 คนกลับเลือกใช้บริการที่พักรูปแบบดัง กล่าวทุกค�่ำคืน จนมีมูลค่าทางธุรกิจ กว่า 13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็น เกื อ บครึ่ ง หนึ่ ง ของมู ล ค่ า ทางธุ ร กิ จ โรงแรมฮิลตันทั่วโลกที่เปิดมายาวนานกว่า 96 ปี เช่นเดียวกับอูเบอร์ ธุรกิจที่ เพิ่งเปิดตัวมาเพียง 5 ปี ซึ่งเปิดให้ผู้ที่มีรถยนต์ส่วนบุคคลสามารถบริหาร จัดการรับส่งผู้โดยสารได้ไม่ต่างจากแท็กซี่สาธารณะ และสร้างมูลค่า ทางธุรกิจแล้วกว่า 41.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทัง้ ยังเป็น 1 ใน 150 บริษทั ทีเ่ ติบโต มากทีส่ ดุ ในโลก นิตยสารไทม์ ฉบับนีจ้ งึ หยิบยกตัวอย่างของรูปแบบธุรกิจใหม่ ที่เรียกว่า Sharing Economy ซึ่งไม่ใช่เพียงธุรกิจการให้เช่าหรือแบ่งปัน ที่พักอาศัยข้าวของเครื่องใช้ ไปจนถึงองค์ความรู้ โดยคนแปลกหน้าที่พร้อม ไว้เนื้อเชื่อใจเท่านั้น แต่นั่นยังเป็นการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของผู้บริโภค ให้เป็นทั้งผู้ใช้งาน และขณะเดียวกันก็ยังสามารถจัดการกับทรัพยากรของ ตนเองเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้มากที่สุดมาเสนอไว้อย่างครบครัน พฤษภาคม 2558 l Creative Thailand l 9


MATERIAL STARTUP

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ปั จ จุ บั น มี นั ก ลงทุ น ให้ ค วามสนใจกั บ โปรเจ็กต์ที่เริ่มต้นจากการระดมทุนของ มวลชน (Crowdfunding) เพื่อผลักดัน และขับเคลื่อนให้ธุรกิจเกิดใหม่ที่เรียกกัน ว่าสตาร์ทอัพนั้นเติบโตไปได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบของนักลงทุนมีตั้งแต่นักลงทุน แบบองค์กร (Venture Capital) และนัก ลงทุนอิสระ (Angel Investor) โดยเฉพาะ กลุ่มนักพัฒนาวัสดุรุ่นใหม่ (Material Startup) ที่ กำ � ลั ง ถู ก จั บ ตามองจาก นักลงทุนและหน่วยงานต่างๆ เพื่อเข้ามา เป็ น พั น ธมิ ต ร หรื อ บ่ ม เพาะให้ ค วามรู้ ในด้ า นต่ า งๆ รวมทั้ ง ร่ ว มลงทุ น ซึ่ ง จะ พิ จ ารณาถึ ง ความสำ � เร็ จ ตั้ ง แต่ ไ อเดี ย รวมไปถึงนวัตกรรม ว่าจะเป็นไปได้มาก น้อยเพียงใด

เมื่อเดือนมกราคม 2015 Bert Thin Films LLC บริ ษั ท สตาร์ ท อั พ หน้ า ใหม่ ใ นเมื อ งลุ ย ส์ วิ ล ล์ (Louisville) สหรัฐอเมริกา เพิ่งได้รับเงินทุน สนับสนุนจำ�นวน 225,000 เหรียญสหรัฐฯ จาก มู ล นิ ธิ วิ ท ยาศาสตร์ แ ห่ ง ชาติ ส หรั ฐ อเมริ ก า (National Science Foundation - NSF) เพื่อ พั ฒ นาและผลิ ต วั ส ดุ ที่ จ ะช่ ว ยลดต้ น ทุ น ใน กระบวนการผลิตหมึกพิมพ์ซึ่งจะนำ�ไปใช้แทน

โลหะเงินบนผิวหน้าของแผงโซลาร์เซลล์ โดยผู้ร่วมก่อตั้งอย่างแวนด้า วอลเตอร์ (Venda Walter) แธด ดรัฟเฟล (Thad Druffel) และรูวินี ดาร์มาดาซา (Ruvini Dharmadasa) ได้เริ่มทำ�งานวิจัยนี้เมื่อ 2-3 ปีก่อน และจดสิทธิบัตรในปี 2013 โดย เริม่ จากการมองเห็นช่องโหว่ของอุตสาหกรรมพลังงานจากแสงอาทิตย์ทใี่ ช้โลหะเงินมาก ถึงร้อยละ 10 และจะเพิ่มจำ�นวนขึ้นเรื่อยๆ นำ�ไปสู่การมองหาวัสดุทดแทนที่หาง่ายและ ราคาถูกกว่า ซึ่งปัจจุบันแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคามีการประกันคุณภาพนาน 25 ปี ดังนั้น บริษัทจึงต้องพัฒนาวัสดุต่อไปจนมั่นใจว่าหมึกพิมพ์นี้จะทนทาน รวมทั้งคงสภาพและ คุณภาพได้ยาวนานเท่าเทียมกับแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน โดยคาดว่าจะใช้เวลา 3 ปีในการ พัฒนาผลิตภัณฑ์จนสามารถวางขายในตลาดได้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย ทีม่ ผี ปู้ ระกอบการซึง่ มองเห็นอนาคตจากธุรกิจนวัตกรรม และ เริม่ ต้นพัฒนาคิดค้นวัสดุ และหาความร่วมมือรวมทัง้ ทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ คล้ายกับ กลุ่ม Material Startup ในต่างประเทศ เช่น คุณวัฒน ทิพย์วีรนันท์ ทายาทรุ่นที่ 2 ของห้างหุ้น ส่วนจำ�กัดแก้วสิงห์ ผู้ประกอบการรับซื้อขวดแก้วรีไซเคิล เพื่อขายต่อยังโรงหลอมแก้วขนาดใหญ่ ทีค่ ดิ เพิม่ มูลค่าให้ของเหลือใช้เหล่านีจ้ ากการหานักวิจัยเพื่อสร้างสรรค์วัสดุใหม่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ ต้องอาศัยความรูค้ วามชำ�นาญเฉพาะด้าน และได้รบั ความช่วยเหลือจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ แห่งชาติ (MTEC) จนมาลงตัวที่แกรนิตแก้วรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์ท่สี ามารถนำ�ไปปูพ้ืนหรือผนัง ทั้งภายในและภายนอกอาคาร มีพื้นผิวขัดมันและพื้นผิวที่ไม่ได้ขดั จึงใช้เป็นวัสดุทางเลือกทีส่ ร้าง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตํ่าได้ในที่สุด ผลจากโมเดลธุรกิจสตาร์ทอัพช่วยให้เกิดการก้าวกระโดดในการพัฒนาด้านวัสดุ โดยเฉพาะใน กลุม่ วัสดุขน้ั สูง (Advanced Materials) ที่จำ�เป็นต้องออกแบบมาเพื่อใช้ประโยชน์ในงานที่ต้องการ เทคโนโลยีขนั้ สูง ซึง่ หมายรวมถึงวัสดุชนิดใหม่และวัสดุทไี่ ด้รบั การดัดแปลงให้มคี ณุ สมบัตทิ ดี่ ขี นึ้ จน เหมาะจะนำ�มาใช้ในงานขั้นสูงได้ โดยสามารถผลิตได้จากวัสดุเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโลหะ เซรามิก หรือโพลิเมอร์ ทำ�ให้การออกสู่ตลาดเป็นไปได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ที่มา: บทความ U of L startup receives grant to commercialize solar cell material จาก bizjournals.com, bertthinfilms.com, library.materialconnexion.com

10 l

Creative Thailand

l

พฤษภาคม 2558

solarenergy.net

MATTER วัสดุต้นคิด


หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม

Oshenite® MC# 7236-01 แร่ธาตุธรรมชาติทส่ี ร้างขึน้ ทดแทนใหม่ได้ สำ�หรับใช้เป็นสาร เติมเต็มในผลิตภัณฑ์พลาสติก ผงละเอียดนีใ้ ช้เติมลงในพลาสติก ชนิดต่างๆ เช่น โพลีเอทิลนี (PE) และโพลีโพรพิลนี (PP) ช่วยลด ปริมาณการใช้พลาสติกได้ถึงร้อยละ 40 เป็นสารประกอบ แคลเซียมคาร์บอเนตในรูปผลึกอาราโกไนต์รปู ร่างเหมือนไข่ปลา (Oolitic Aragonite) ซึง่ ผ่านการรับรองความปลอดภัยต่ออาหาร จาก FDA เหมาะสำ�หรับใช้เป็นสารเติมแต่งในภาชนะอาหารและ เครือ่ งดืม่ ถุงฟิลม์ แบบเป่า อุปกรณ์ทนั ตกรรมและการแพทย์ ภาชนะอาหารและบรรจุภณั ฑ์หล่อขึน้ รูปขนาดใหญ่

ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ PEEK Heat Shrinkable Sleeve MC# 7355-01 ท่อโพลีอเี ทอร์อเี ทอร์คโี ตน (PEEK) ทีข่ นาดเส้นผ่านศูนย์กลาง จะหดเล็กลงได้เมือ่ ได้รบั ความร้อน ท่อหดทัว่ ไปมักผลิตจาก โพลีโอเลฟินและไนลอน แต่ท่อที่ผลิตจาก PEEK นี้มีความ คงทนสูงกว่าและปกป้องได้ดีกว่า รวมทั้งใช้งานได้หลาก หลายรูปแบบ เหมาะสำ�หรับใช้ป้องกันแรงกระแทกและ การเสื่อมสภาพ ฉนวนไฟฟ้าของสายไฟ และหุ้มปกป้อง อุปกรณ์การแพทย์ พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC

เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122

พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 11


CLASSIC ITEM คลาสสิก

STUDIO

สร้างสรรค์และสร้างค่า เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

สตูดโิ อ (studio) มาจากภาษาละติน สตูดอิ มุ (studium) หมายถึงการเรียน รู้และความหลงใหลอันกระตือรือล้น นับแต่อดีต ไม่ว่าจะทำ�งานคนเดียว หรือทำ�งานเป็นกลุ่ม สตูดิโอเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้ความคิดได้แตกหน่อออก ผลอย่างเป็นรูปธรรมเสมอมา จากปัจจัยทั้งคน เครื่องมือ และพื้นที่ ที่รวม เข้าด้วยกัน ได้สร้างการทดลอง เรียนรู้ และคิดค้นแนวคิดและทักษะอัน จำ�เป็นต่อการผลิตที่ตรงใจและตอบสนองต่อความต้องการในบริบททาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไปตามแต่ละยุคสมัย

บทบาทสำ�คัญของสตูดิโอ คือการเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิดการผลิต การให้ความรู้ และการสร้างทักษะจำ�เป็นในการเป็นผู้เชี่ยวชาญ ศาสตร์หลากแขนง เป็นพืน้ ทีเ่ พือ่ การเรียนรูก้ ารทำ�งานและแบ่งปัน ความคิด รวมถึงทดลองสร้างสรรค์กระบวนการทำ�งานใหม่ๆ เพือ่ การแสดงออกของทัง้ ศิลปินและนักออกแบบ หนึง่ ในโปรแกรม ของวากโซไซตี (Waag Society) มูลนิธิและสถาบันเพื่อการ เรียนรู้ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งตั้งอยู่ในเดอะวาก (The Waag) อาคารสมัยศตวรรษที่ 15 เมืองอัมสเตอร์ดัม คือ พื้นที่ของโครงการแล็บวิจัยและเวิร์กช็อปศึกษาพฤติกรรมการใช้ งานของผู้บริโภคเพื่อการพัฒนาอนาคต ตั้งแต่การดูแลอย่าง สร้างสรรค์ (Creative Care) การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ (Creative Learning) อนาคตมรดกทางวัฒนธรรม (Future Heritage) อนาคตอินเทอร์เน็ต (Future Internet) งานออกแบบแบบโอเพน ซอร์ส (Open Design) และแล็บวิจัยแบบโอเพนซอร์ส (Open Wetlab) ซึ่งเน้นไปที่การพัฒนางานไบโอเทคโนโลยี waag.org 12 l

Creative Thailand l พฤษภาคม 2558

การเกิดขึ้นของพื้นที่แฟ๊บแล็บ (Fab Lab - Fabrication Laboratory) ซึ่งเปิดความเป็นไปได้ให้กับการบริหาร จัดการการผลิตและการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) ผ่านการเข้าถึงเครื่องมือการผลิตด้วยเทคโนโลยี ดิจิทัล (Digital Fabrication) ได้สะท้อนให้เห็นความนิยม ในกระแสวัฒนธรรมการเป็นผู้สร้าง (Maker Culture) ที่มี จุดเริ่มต้นในสหรัฐฯ และนิยามของประชาธิปไตยในการ สร้างสรรค์ที่คืนอำ�นาจการผลิตกลับมาให้คนธรรมดาๆ โดยเทคช็อป (TechShop) เป็นเครือข่ายเวิร์กช็อปอเมริกัน ที่ เ ปิ ด ให้ ส มาชิ ก เข้ า ใช้ เ ครื่ อ งมื อ ในการผลิ ต ระบบ อุตสาหกรรมเพือ่ สร้างสรรค์สงิ่ ต่างๆ ได้ตามต้องการตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ นอกเหนือไปจากเปิดสอนการ ใช้เครือ่ งมือและเครือ่ งจักรรวมถึงโปรแกรมดิจทิ ลั ทีจ่ �ำ เป็น ต่อการผลิตงานเชิงช่างในปัจจุบัน techshop.ws


CLASSIC ITEM คลาสสิก

ไม่ว่าพื้นที่จะเล็กหรือใหญ่ ไม่ใช่เรื่องสำ�คัญเท่ากับการออกแบบและจัดการสตูดิโอให้พร้อมด้วยอุปกรณ์ซึ่งเอื้อต่อการทำ�งานและชนิดของ งาน โครงการ Letterproeftuin จากเนเธอร์แลนด์ พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นไปได้ด้วยแนวคิดสตูดิโอแบบโอเพนซอร์ส พื้นที่เวิร์กช็อปเพื่อ การทำ�งานฝีมอื ยุคใหม่ (Neo-Craft Workshop) ทีม่ ที งั้ งานพิมพ์และงานกราฟิกขนาดเล็กนี้ สามารถยกไปติดตัง้ และผลิตสือ่ สิง่ พิมพ์อย่าง โปสเตอร์ทไี่ หนก็ได้ทนั ที จากอุปกรณ์การพิมพ์ตา่ งๆ ทีถ่ กู คิดค้นมาให้เข้ากับทำ�งานซึง่ เน้นไปทีก่ ารลงมือทำ�และการแบ่งปันแนวคิดในการ ทำ�งานร่วมกัน ผ่านทั้งงานเชิงช่างและเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างสนุกสนานและสร้างแรงบันดาลใจ letterproeftuin.com

การทำ�งานร่วมกันของผู้คนจากต่างสาขาวิชาแบบสหศาสตร์ในสภาพแวดล้อมที่ช่วยสร้างให้เกิดไอเดียใหม่ๆ คือนิยามของ สตูดิโอร่วมสมัย ที่มีไว้ต่อยอดไปสู่แผนธุรกิจสินค้าและบริการที่ทำ�เงินในยุคข้อมูลข่าวสารออนไลน์และโลกดิจิทัล พื้นที่ แฮ็กเกอร์สเปซหรือแฮ็กแล็บ (Hackerspace/Hacklab) เช่น hackerspace.sg เป็นตัวอย่างพื้นที่เรียนรู้และแบ่งปันเทคโนโลยี ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์ร่วมกัน ที่เปิดโอกาสให้เกิดการรวมตัวของผู้คนเพื่อหาเครื่องมือและทางเลือกใหม่ๆ ในการผลิตและการบริโภคสินค้าหรือธุรกิจในหมวดสตาร์ทอัพ hackerspace.sg ความท้าทายและโมเดลใหม่ของการสร้างพื้นที่สตูดิโอแบบร่วมสมัย อาจอยู่ที่การบริหาร จัดการสิ่งที่มีอยู่แล้วมาทำ�ใหม่ ตลอดจนการร่วมมือกันสร้างสรรค์พื้นที่ที่ตอบสนองความ ต้องการของทุกคนที่เกี่ยวข้องอย่างมีเอกลักษณ์ โครงการพีเอ็มคิว (PMQ - Police Married Quarters) ในย่านดาวน์ทาวน์ของฮ่องกงถือเป็นตัวอย่างพืน้ ทีท่ เี่ ปิดให้ชมุ ชนนักออกแบบและ นักสร้างสรรค์ซึ่งเป็นผู้เช่าพื้นที่ได้พบเจอและสร้างปฏิสัมพันธ์กันกับกลุ่มผู้ซื้อได้โดยตรงใน สตูดิโอ/ร้านค้ากว่า 100 ยูนิต ซึ่งดัดแปลงมาจากกลุ่มอาคารที่อยู่อาศัยในทศวรรษ 1950 ปัจจุบนั โครงการพีเอ็มคิวขึน้ ชือ่ ในฐานะจุดหมายปลายทางของผูท้ ตี่ อ้ งการแสวงหาและสัมผัส ประสบการณ์ของงานสร้างสรรค์ที่ไม่เหมือนใครในแบบฉบับฮ่องกง pmq.org.hk พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

เรื่อง: วิป วิญญรัตน์

14 l

Creative Thailand

l

พฤษภาคม 2558

© REUTERS/Cathal MacNaughton

ในปี 2012 Brewers Association ประเมินว่าอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ขนาดเล็กในสหรัฐอเมริกา ที่เรียกกันว่า คราฟท์ เบียร์ (Craft Beer) มีมลู ค่าราว 3 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และสร้างงานราว 3.6 แสนงาน โดยมูลค่าและงานทีอ่ ตุ สาหกรรม การผลิตเบียร์ขนาดเล็กสร้างขึ้นนั้น มีมากกว่าที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตเบียร์โดยตรง โดยส่วนใหญ่เป็นการสร้างงานใน ห่วงโซ่มูลค่าที่ตามมา เช่น การขายส่ง การเปิดผับและร้านอาหาร ไปจนถึงสินค้าที่เกี่ยวเนื่องที่ไม่ใช่คราฟท์เบียร์ อย่าง อาหารและเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ เป็นต้น ในขณะที่งานวิจัยหลายๆ ชิ้น พบว่ากลุ่มธุรกิจขนาดเล็กด้านเทคโนโลยี ที่เรียก กันว่า เทค สตาร์ทอัพ (Tech Startup) ในสหรัฐฯ นั้นสามารถจ้างงานในลักษณะที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ไม่สามารถทำ�ได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจถดถอยเช่นปัจจุบันนี้ ด้านหนึ่ง ปัญหาที่ประเทศตะวันตกกำ�ลังเผชิญนั้นเป็นปัญหาที่มากไปกว่าเรื่องเศรษฐกิจถดถอย และโลกตะวันตก ต้องเริ่มให้ความสำ�คัญกับการคิดทบทวนวิถีการผลิต (Mode of Production) เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในด้านต่างๆ เป็นไปได้ ไหมว่ากระแสการผลิตและการบริโภคในหมู่ชนชั้นกลางอย่างฮิปสเตอร์ (Hipster) และสตาร์ทอัพ (Startup) นั้น อาจจะพอชี้ทางออกให้แก่เศรษฐกิจของโลกตะวันตกและของโลกได้


1

COVER STORY เรื่องจากปก

โจทย์ ท างเศรษฐกิ จ

การผลิ ต แบบอุ ต สาหกรรมในปลายศตวรรษที่ 19 และ ต้นศตวรรษที่ 20 นั้น ทำ�ให้ยุโรปรํ่ารวยอย่างก้าวกระโดดกว่า ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ความมั่งคั่งดังกล่าวทำ�ให้โลกตะวันตก ก้าวขึน้ มามีอทิ ธิพลทางทหาร การเมือง และเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยทิ้งห่างภูมิภาคอื่นๆ ของโลก (The Great Divergence) นอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจบางคนอาจเสนอแนวคิด ว่า การปรับเปลี่ยนสถาบันทางการเมืองที่เคยรวบอำ�นาจไว้ที่ สถาบันกษัตริย์หรือชนชั้นปกครองกลุ่มเล็กๆ มาสู่ชนชั้นกลาง และการแข่งขันในตลาดทำ�ให้ผลิตภาพ (Productivity) สูงขึ้น

© Lionel Derimais/Corbis

U.S. unemployment

The jobless rate dropped to 6.1 percent in June. The percentage of unemployed who have been out of work for 27 weeks or longer fell to 32.8 percent and average unemployment duration decreased to 33.5 weeks. UNEMPLOYMENT RATE

12 10 8

6.1%

6 4 2 0

2008

100

'09

'10

'11

'13

'14

UNEMPLOYED, DISTRIBUTION BY DURATION* 27 weeks or longer

80 60

32.8%

15 to 26 weeks 15.7%

40

5 to 14 weeks 25.8%

20 0

'12

Fewer than 5 weeks 25.7% 2008

'09

'10

* May not total 100 due to rounding Source: U.S. Labor Department

'11

'12

'13

'14

นับตั้งแต่วิกฤตการณ์การเงินในโลกตะวันตก หลังปี 2008-2009 เป็นต้นมา โลกตะวันตกค้นพบ ว่าตัวเองเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจทีไ่ ม่เคยรับมือ มาก่อน ในขณะทีภ่ าวะเศรษฐกิจตกตํา่ ครัง้ ใหญ่ ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 (The Great Depression) นัน้ โลกตะวันตกสามารถแก้ปญั หา พืน้ ฐานผ่านกรอบความคิดแบบเคนส์ (Keynesian Economics) ได้ เพราะยังเป็นฐานการผลิตที่ สำ�คัญในโลกอุตสาหกรรมอยู่ การดูดซับแรงงาน ให้เกิดการจ้างงานจึงเป็นไปได้ การเคลือ่ นตัวเข้าสูท่ นุ นิยมการเงินของโลก ตะวันตกตัง้ แต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาสูว่ กิ ฤต การเงินครั้งล่าสุดนั้น ตะวันตกมีโจทย์สำ�คัญ ข้อหนึ่งคือ จะทำ�อย่างไรกับอัตราการว่างงาน จำ�นวนมหาศาล รวมถึงการที่หนี้สาธารณะ เข้าไปอุ้มสถาบันทางการเงิน พร้อมๆ กับการ ใช้มาตรการทางการเงินการคลังแบบเดิมกลับ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อย

© REUTERS/Robert Galbraith // © RNGS Reuters

S. Culp, 03/07/2014

พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 15


COVER STORY เรื่องจากปก

The Flat White Economy อัตลักษณ์ของปัจเจกเป็นสิ่งที่บริโภคได้ ในโลก สมัยใหม่ อัตลักษณ์เป็นสิ่งที่ซื้อได้ ขายได้ จับ ใส่ได้ หรือจับถอดได้ ดูเหมือนว่าคำ�ที่ใช้เรียก “อัตลักษณ์นอกกระแส" (ทีก่ ลายเป็นกระแสหลัก ในตอนนี้) ซึ่งมาแรงในรอบกว่า 5 ปีมานี้ คือ คำ�ว่า “ฮิปสเตอร์ (Hipster)" การนิยามอัตลักษณ์ทเ่ี พิง่ ก่อตัวมาได้ไม่นานอาจจะ ทำ�ได้ไม่ง่าย แต่ทุกคนเหมือนจะมีภาพกว้างๆ ที่เห็นตรงกันว่า ฮิปสเตอร์ คือ หนวดเครา จักรยานฟิกซ์เกียร์ ทรงผม กาแฟดริป และ คราฟท์เบียร์ แน่นอนว่าสำ�หรับนักวิจารณ์บาง ส่วน นี่เป็นเพียงความ “ดัดจริต” (Pretentious) ด้านการบริโภคบางอย่างทีน่ า่ หมัน่ ไส้ น่าล้อเลียน ไปจนถึงไม่จริงแท้ (Authentic) ฮิปสเตอร์อาจจะเริม่ ต้นจากกลุม่ คนชัน้ กลาง ในโลกตะวันตก ที่เริ่มนิยามตัวเองผ่านการ บริโภคและแฟชั่นขึ้นมาเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ 16 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558

2

ของตัวเอง ในแง่นี้ ฮิปสเตอร์อาจจะไม่ต่างจาก กลุ่มอัตลักษณ์นอกกระแสอื่นๆ ในอดีต เช่น ฮิปปี้ (Hippy) หรือพังค์ (Punk) แต่ฮิปสเตอร์ไม่ ได้ตอ่ ต้านทุนนิยม พวกเขากลับขีก่ ระแสทุนนิยม และมีความสามารถในการเป็นผูป้ ระกอบการได้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของเหล่าฮิปสเตอร์ อาจแบ่งได้ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือผู้บริโภคธุรกิจ ไลฟ์สไตล์และการประกอบธุรกิจสร้างสรรค์ ย่านที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงลอนดอน (East End) ในอังกฤษ เช่น บริกเลน (Brick Lane) หรืออิสลิงตัน (Islington) เกิดความหนาแน่นของ กิ จ กรรมทางเศรษฐกิ จ ดั ง กล่ า วจนศู น ย์ วิ จั ย ทางเศรษฐกิจและธุรกิจ (Centre for Economics and Business Research:CEBR) เรี ย ก ปรากฏการณ์นี้ว่า “Flat White Economy" พร้อมทั้งเสนอว่าปรากฏการณ์นี้เป็นตัวอย่าง ของการสร้างความมัง่ คัง่ ให้แก่เศรษฐกิจอังกฤษ ในอนาคต

© Lionel Derimais/Corbis


COVER STORY เรื่องจากปก

นั บ ว่ า เป็ น การตั้ ง ชื่ อ ปรากฏการณ์ ท าง เศรษฐกิจที่สะท้อนความจริงได้ดีมาก เพราะ Flat White เป็นชนิดของกาแฟทีก่ ลายเป็นทีน่ ยิ ม ในกลุ่มร้านกาแฟอิสระ กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของกลุ่มฮิปสเตอร์ก็มักเป็นธุรกิจที่ตอบสนอง ไลฟ์สไตล์ เช่น เสือ้ ผ้า อาหาร กาแฟ เบียร์ หรือ จักรยาน การบริโภคสินค้าเหล่านี้ทำ�ให้เกิด ธุรกิจแวดล้อมจำ�นวนหนึ่งขึ้นมา เช่น โรงงาน ซ่อมจักรยาน โรงเบียร์ ร้านกาแฟ และร้าน อาหาร ธุรกิจเหล่านี้เริ่มเฟื่องฟูขึ้นจนสามารถ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ โดยที่ไม่ได้กระจุก อยู่แค่ในกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้น อีกทั้งมูลค่าทาง เศรษฐกิจยังถอยกลับไปทีส่ นิ ค้าต้นทางได้ อย่าง เช่น เกษตรกรผู้ปลูกฮ็อป จนถึงธุรกิจการให้ บริการที่เกี่ยวเนื่องต่างๆ เช่น การบริการด้าน โลจิสติกส์ ขณะที่ย่านที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกรุง ลอนดอน (East End) ก็มีผลเช่นกัน โดยละแวก ที่ Flat White Economy เจริญเติบโตต่างเป็น ย่านทีเ่ คยมีคา่ ครองชีพตาํ่ กว่าย่านอืน่ ๆ มีศลิ ปิน อาศัยอยู่ และทีน่ า่ สนใจคือมีผอู้ พยพ (Immigrants) อาศั ย อยู่ เ ป็ น จำ � นวนมาก ฮิ ป สเตอร์ ที่ ย้ า ย เข้ามาอาศัยในย่านนั้น มักจะใช้ชีวิตด้วยการ

© REUTERS/Suzanne Plunkett

flickr.com/photos/cizauskas

แชร์ที่อยู่กันในพื้นที่ขนาดเล็ก การรับประทานอาหารนอกบ้านจึงเป็น ตัวเลือกที่ดีกว่า ที่อยู่อาศัยกับสถานที่ทำ�งานมักไม่ห่างกัน การขี่จักรยาน จึงกลายเป็นตัวเลือกที่เป็นไปได้ หรือหลายๆ ครั้ง รูปแบบการทำ�งานของ คนกลุ่มนี้มักไม่ต้องการสถานที่ทำ�งานเป็นออฟฟิศในความหมายทั่วไป สิ่งที่ต้องการคือคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต การนัง่ ทำ�งานในร้านกาแฟจึงเป็นทางเลือกทีด่ ี นีเ่ ป็นภาพสะท้อนภาคส่วน ทางธุรกิจที่ฮิปสเตอร์มักทำ�งานอยู่ อีกด้านหนึ่งเหล่าฮิปสเตอร์ทำ�งานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และมัก ขับเคลือ่ นโดยอินเทอร์เน็ต หรือไม่กท็ �ำ การค้าขายรายย่อยทางอินเทอร์เน็ต (Online Retailing) และการทำ � การตลาดออนไลน์ เ ป็ น ธุ ร กิ จ หลั ก การค้าขายสินค้าแฟชั่นออนไลน์เป็นธุรกิจที่เจริญเติบโตรวดเร็วมากใน อังกฤษ คริส มอร์ตนั (Chris Morton) ผูก้ อ่ ตัง้ เว็บไซต์จ�ำ หน่ายเสือ้ ผ้าออนไลน์ Lyst ประมาณการณ์ ว่ ามู ล ค่ าของการซื้ อ ขายเสื้ อ ผ้ าแฟชั่ น ออนไลน์ ในอังกฤษนัน้ สูงกว่าหนึง่ หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึง่ สูงกว่าในนิวยอร์กเสียอีก ช่วงหนึง่ ปีทผ่ี า่ นมา เว็บไซต์ Lyst ก็ขยายการจ้างงานจาก 20 ไปเป็น 80 คน สิ่งที่น่าสนใจคือปรากฏการณ์ Flat White Economy ที่รวมรูปแบบการ บริโภคสินค้าไลฟ์สไตล์เข้ากับผูป้ ระกอบการภาคส่วนเศรษฐกิจสร้างสรรค์นน้ั เติบโตสวนกระแสกับภาวะเศรษฐกิจตกตํ่าในอังกฤษ เพราะในช่วง วิกฤตการณ์การเงินโลกในปี 2008-2009 สินค้าสร้างสรรค์ (Creative Goods) กลับสามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์เคยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในอุตสาหกรรม เนือ้ หา (Content Industry) และอาจถูกวิจารณ์วา่ ไม่กอ่ ให้เกิดการจ้างงาน เท่ากับมูลค่าทีส่ ร้างนัน้ ปรากฏการณ์ Flat White Economy กลับสามารถ แก้ปัญหาดังกล่าวได้ ปัจจุบันมีการคาดการณ์ว่าภาคส่วนดังกล่าวมีการ จ้างงานถึง 2 ตำ�แหน่งในลอนดอนหรือสามารถเพิม่ การจ้างงานในพืน้ ทีไ่ ด้ 1.8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ศูนย์วิจัยทางเศรษฐกิจและธุรกิจเสนอว่า Flat White Economy สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจของลอนดอนให้เจริญเติบโตได้ มากกว่าส่วนอื่นๆ ของอังกฤษ ทำ�ให้ภาคการผลิตนี้มีมูลค่าเติบโตจาก 7.6 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในปี 2012 เป็น 15.8 เปอร์เซ็นต์ในปี 2025 พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

การเปลี ่ ย นแปลงของเมื อ ง การเติบโตของธุรกิจในย่านทีเ่ คยเป็นทีอ่ ยูอ่ าศัยของ คนจนมาก่อน ทำ�ให้เกิดผลลัพธ์ที่เรียกว่า Gentrification (การปรับพื้นที่) เมื่อผู้อยู่อาศัยเดิมซึ่งมัก เป็ น ผู้ มี ร ายได้ น้ อ ยนั้ น ถู ก บั ง คั บ ให้ ย้ า ยออกไป เนื่องจากค่าที่อยู่อาศัยแพงขึ้น บ้านและที่อยู่อาศัย เริ่มเป็นที่ต้องการในตลาดมากขึ้น รวมถึงผู้คนให้ ความสนใจ “เสน่ห์” บางอย่างของย่านเหล่านี้

18 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558

© REUTERS/Robert Galbraith

ny.curbed.com

นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า Flat White Economy ใน ย่านอีสต์ลอนดอนนั้นสามารถเฟื่องฟูได้ เพราะ ย่านนีม้ คี วามผสมผสานและความหลากหลายของ ชาติพันธุ์สูง เนื่องจากเป็นย่านราคาถูกที่ผู้อพยพ มักมาตั้งรกราก อย่างไรก็ตาม นิตยสารดิอีโค โนมิสต์ เสนอว่ากระบวนการ Gentrification นั้น ไม่ ค่ อ ยเกิ ด ขึ้ น แต่ เ มื่ อ เกิ ด ขึ้ น ก็ นั บ เป็ น เรื่ อ งดี สาเหตุทไี่ ม่คอ่ ยเกิดขึน้ เป็นเพราะเหตุการณ์คนจน ย้ายออกนัน้ มักไม่คอ่ ยเกิดจากฮิปสเตอร์ยา้ ยเข้ามา ในเมื อ งใหญ่ ๆ อย่ า งวอชิ ง ตั น และดี ท รอยต์ ในสหรัฐฯ คนจน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนผิวดำ�) ต่าง ย้ายออกจากเมืองตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 ก่อนที่ ชนชั้นกลางจะย้ายเข้ามานานแล้ว และเมื่อชนชั้น กลางย้ายเข้า การสำ�รวจก็พบว่ารายได้โดยเฉลี่ย ของคนผิวดำ�ในย่านนั้นดีขึ้น ดิอีโคโนมิสต์ จึงสรุป ว่าการเกิดขึ้นของธุรกิจของฮิปสเตอร์ ทั้งร้านขาย ของวินเทจจนถึงร้านกาแฟ มีศักยภาพในการช่วย ยกระดับชีวิตของคนจนในเมืองด้วย

ฮิปสเตอร์จะช่วยกอบกู้ชนชั้นกลางได้หรือไม่ จุดขายของธุรกิจเหล่านี้ข้อหนึ่งคือสิ่งที่ตรงข้ามกับ การผลิตครัง้ ละมากๆ (Mass Production) ผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่คือการผลิตโดยใช้เครื่องจักรน้อย (Artisanal) ใช้ทกั ษะของคน และเกิดการจ้างงานในพืน้ ที่ ในแง่น้ี เศรษฐกิจของฮิปสเตอร์จึงเป็นด้านตรงข้าม ของบรรษัทขนาดใหญ่ที่เน้นการผลิตครั้งละมากๆ และเน้นการจ้างงานจากภายนอก (Outsource) เพือ่ ลดต้นทุนการผลิตครั้งหนึ่ง ย่านบรูกลินในนิวยอร์กก็เคยเป็นหนึ่งในย่านที่ ยากจนของเมือง แต่ปัจจุบันเหล่าฮิปสเตอร์เริ่มย้าย เข้าและประกอบธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ เช่น ในย่าน วิลเลียมสเบิร์ก โรงงานผลิตยาเก่าถูกแปลงมาเป็น


peoplespops.com

COVER STORY เรื่องจากปก

สถานที่ประกอบธุรกิจ (Business Incubator) ซึ่ง ปัจจุบันมีผู้ประกอบการอยู่ราว 60 ราย People’s Pops เป็นผู้ผลิตไอศกรีมแท่ง เดวิด คาร์เรลล์ (David Carrell) ผู้ก่อตั้งเรียนจบด้าน การสื่อสารจากมหาวิทยาลัยฟลอริดาสเตท และ เพื่อนอีก 2 คน ตกงานจากวิกฤตการเงินในปี 2008 พอดี พวกเขาจึงหันมาก่อตั้งธุรกิจผลิตไอศกรีม ซึ่ง ปัจจุบันพวกเขาสร้างอัตราจ้างงานถึง 45 คนและ ผลิตไอศกรีม 2 หมืน่ แท่งต่อสัปดาห์ วิกฤตเศรษฐกิจ ในโลกตะวันตกทำ�ให้งานที่เคยรองรับชนชั้นกลาง หดหายลง ก่ อ ให้ เ กิ ด การว่ า งงานจำ � นวนมาก การเกิดขึน้ ของธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้ สามารถก่อให้ เกิดการจ้างงานได้ และเริ่มเข้ามาแทนที่บรรษัท

ขนาดใหญ่ ธุรกิจผลิตไอศกรีมแท่งที่กล่าวไปแล้ว เป็นเพียงหนึง่ ในผูป้ ระกอบการในลักษณะเดียวกันอีก 60 รายในย่านนีใ้ นบรูกลิน ระบบเศรษฐกิจทีม่ าพร้อม กั บ อั ต ลั ก ษณ์ ใ หม่ อ ย่ า งฮิ ป สเตอร์ จึ ง ดู ร าวกั บ ว่ า สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจของโลกตะวันตกได้ การหดหายของการผลิ ต ทางอุ ต สาหกรรม แบบเก่ากับการล่มสลายของทุนนิยมการเงินทำ�ให้ ทุนนิยมตะวันตกเคว้งคว้างในรอบเกือบ 10 ปีที่ ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) ในความหมายเดิมๆ กลับยังไม่สามารถ ผูกโยงเข้ากับภาคเศรษฐกิจจริงได้มากนัก เครือข่าย ทางธุรกิจของเหล่าฮิปสเตอร์สามารถสร้างงานได้จริง และจ่ายภาษีได้จริงผ่านการประกอบธุรกิจที่โยง เข้ากับภาคเศรษฐกิจจริง หรือแม้แต่การบริการ ในโลกออนไลน์ ห รื อ ธุ ร กิ จ เทคโนโลยี นั้ น ก็ มี เ พื่ อ สนับสนุนการผลิต ฮิ ป สเตอร์ เ คยเป็ น อั ต ลั ก ษณ์ เ ก๋ ๆ ที่ อ ยู่ น อก กระแส แต่กำ�ลังค่อยๆ ขยับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ กระแสหลัก ในแง่นี้การถกเถียงกันว่าฮิปสเตอร์ คืออะไรกันแน่ จึงไม่น่าจะใช่ประเด็นเท่ากับว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจของฮิปสเตอร์ เริ่มขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับเล็กๆ ได้แล้ว และ ทำ�อย่างไรจะสามารถกลับมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของโลกตะวันตกและเศรษฐกิจโลกได้อีกครั้ง

3 พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 19


INSIGHT อินไซต์

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

arstechnica.com

หากความดีความชอบในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะมาจากจิต วิญญาณผู้ประกอบการของฮิปสเตอร์และกลุ่มสตาร์ทอัพ ทีม่ ผี ลงานในการคิดค้นเครือ่ งมืออุปกรณ์เพือ่ แก้ปญ ั หาชีวติ หรือทำ�เงินก็ตามแล้ว อีกส่วนทีน่ า่ จะเกีย่ วโดยตรงอาจเป็นเหล่า สถาบันการศึกษาที่มีส่วนบ่มเพาะให้เกิดนักคิดนักสร้างสรรค์ ให้หนุนเนือ่ งเข้ามาเป็นฟันเฟืองในระบบเศรษฐกิจอย่างไม่ขาดสาย

20 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558

เอ็มไอที (MIT: Massachusetts Institute of Technology) เป็นหนึ่งในตัวอย่างของสถาบันการศึกษาชั้นนำ�ที่ไม่ได้ โดดเด่นเฉพาะการผลิตนักศึกษาหัวกะทิเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ชื่อว่าเป็นสถาบันลำ�ดับต้นๆ ที่ใช้กระบวนการ เรียนรู้แบบข้ามสาขา (Multidisciplinary) ด้วยการก่อตั้ง เอ็มไอที มีเดีย แล็บ (MIT Media Lab) แหล่งทดลองของ ผูเ้ ชีย่ วชาญกลุม่ ต่างๆ ทีม่ าร่วมกันพัฒนาโครงการแหวก แนวทีร่ วมทัง้ งานวิจยั การออกแบบ และเทคโนโลยีลาํ้ ยุค เข้าไว้ด้วยกัน จนมีผลงานออกสู่ตลาดมากมายตั้งแต่ หมึกพิมพ์ไฟฟ้า แล็บท็อปราคาถูกสำ�หรับเด็ก ไปจนถึง ชุดตัวต่อหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อกับแล็บท็อป เลโก้ มายด์ สตอร์มส (Lego Mindstorms) ซึ่งมีเดียแล็บนี้ เป็นที่รู้จัก ในวงกว้างผ่านหนังสือทีช่ อ่ื ว่า The Media Lab: Inventing the Future at MIT (1988) เขียนโดยสจ๊วต แบรนด์ (Stewart Brand) และกลายเป็นกรณีศึกษาในการจัดตั้ง แหล่งเรียนรูป้ ระเภทแล็บทัง้ ในสหรัฐอเมริกาและต่างประเทศ


INSIGHT อินไซต์

นอกจากนี้ ความสำ�เร็จของการเรียนรู้และทดลองทำ�แบบร่วมกัน ยังทำ�ให้สถานทีบ่ ม่ เพาะไอเดียแบบแล็บเช่นนีไ้ ด้ขยายออกไปสูก่ ารพัฒนา ในสาขาต่างๆ ทัง้ งานออกแบบ งานศิลปะ หุน่ ยนต์ และชีววิทยา จนนำ�ไป สูน่ วัตกรรมและงานวิจัยมากมายทั่วโลก ในปัจจุบันการเรียนรู้แบบแล็บจึงกลายเป็นพื้นฐานสำ�หรับการเรียนรู้ สมัยใหม่มากขึ้น แต่สำ�หรับเอ็มไอทีมีเดียแล็บ พวกเขาไม่ยอมหยุดนิ่งกับ การพัฒนารูปแบบการเรียนรูใ้ หม่ทนี่ บั วันจะพึง่ พาคอมพิวเตอร์มากขึน้ ซึง่ มิทเชล เรสนิก (Mitchel Resnick) หัวหน้าส่วนการเรียนรูต้ ลอดชีวติ ของเด็ก (Lifelong Kindergarten Group) กล่าวว่า คอมพิวเตอร์ทำ�ให้เด็กยุคใหม่ มีพัฒนาการด้านการอ่านเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเปรียบเหมือนการเรียนรู้แต่ ไม่ได้น�ำ ไปปฏิบตั อิ ย่างคล่องแคล่ว จึงต้องมีการพัฒนาด้านการเขียนด้วย เพราะการเขียนจะนำ�ไปสูก่ ารสร้างสิง่ ใหม่ และการเขียนทีว่ า่ ก็คอื การเขียน โปรแกรม (Coding) นัน่ เอง ในปี 2009 เขาจึงพัฒนา “สแครช” (Scratch) แพลตฟอร์มสำ�หรับการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายทีม่ สี สี นั สดใสและเพียงแค่ ลากโค้ดคำ�สัง่ มาเรียงกันก็สามารถสร้างเกมหรือแอนิเมชัน่ ซึง่ สามารถเปิด ให้คนอื่นมาช่วยกันพัฒนาเกมหรือแอนิเมชั่นนี้ได้ด้วย ปัจจุบันสแครช มีโครงการที่ถูกสร้างขึ้นและแบ่งปันออกไปแล้วถึง 9,073,183 โครงการ

© iwalk2011

flickr.com/photos/knight foundation

“การโค้ดดิง้ ไม่ใช่ส�ำ หรับพวกมีความสามารถพิเศษ แต่มนั เป็นของทุกคน” เรสนิกกล่าวในบนเวทีเท็ด (TED) ในหัวข้อ "Learning to Code (and Coding to Learn) with Scratch" เขายังกล่าวอีกว่า ในการโค้ดนั้น พวกเขาจะได้เรียนรู้ในสิ่งที่ สำ�คัญนั่นคือการแก้ปัญหา การออกแบบโครงการ และวิธี การนำ�เสนอไอเดีย นอกจากสแครชแล้ว การเรียนรูแ้ บบโค้ดนีก้ �ำ ลังเป็นกระแส ในสหรัฐฯ จึงมีเว็บไซต์เกี่ยวกับการโค้ดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี 2011 ทีม่ ี codecademy.com และ girlswhocode.com และในปี 2013 เว็บไซต์ code.org ก็ได้ถกู จัดตัง้ ขึน้ เป็นองค์กร ไม่แสวงหาผลกำ�ไรเพือ่ สนับสนุนให้นกั เรียนในสหรัฐฯ ได้เรียน รู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ผ่านกระบวนการโค้ด ซึ่ง แม้วา่ เป้าหมายของเว็บไซต์เหล่านีจ้ ะตัง้ ใจทำ�ขึน้ เพือ่ สนับสนุน ให้เกิดการเรียนรู้ในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่น แต่ทว่าผู้ใช้นับหลาย ล้านคนกลับมีทกุ วัย จนอาจกล่าวได้วา่ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ แบบโค้ดนี้น่าจะเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการพัฒนาทักษะ ด้านคอมพิวเตอร์และกระบวนการคิดในอนาคต ที่แม้ว่า การสร้างนักคิดนักสร้างสรรค์ที่ประสบความสำ�เร็จนั้นอาจจะ ต้องอาศัยอีกหลายปัจจัย แต่อย่างน้อยประเทศก็ไม่ขาดแคลน ตัวเลือกใหม่ๆ ที่จะก้าวขึ้นมาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ที่จะย้อน กลับมาเป็นกองหนุนเศรษฐกิจอเมริกันให้ฟื้นตัวในยามซบเซา หรือก้าวไปข้างหน้าอย่างมีความหวัง

ทีม่ า: codecademy.com, scratch.mit.edu, บทความ “Inside the MIT media lab” (3 พฤษภาคม 2013) โดย Clive Cookson จาก ft.com และ บทความ “American Schools Are Training Kids For A World That Doesn’t Exist” (17 ตุลาคม 2014) โดย Avid Edwards จาก wired.com พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

K VILLAGE

FARMERS’ MARKET & PASSION DELIVERY

ให้อาหารเป็นผู้เล่า เพราะชีวิตคนเมืองมีความ หลากหลาย บางจังหวะเรามี เวลาได้คอ่ ยๆ ใช้ชีวติ ในขณะที่ บางครั้งก็ต้องรีบเร่งเพราะ มีเวลาไม่พอ แต่สง่ิ ทีค่ นเมือง ต่างต้องการเหมือนๆ กันก็คอื เรื่องอาหารการกินที่เราไม่ อยากผ่ อ นปรนในแง่ ข อง คุณภาพตามเวลาทีเ่ รามี สิง่ นี้ ทำ�ให้เกิดทางเลือกในการจับ จ่ายทีห่ ลากหลายขึน้ ตามวิถี ชีวิตของคนเมืองที่ไม่มีสูตร สำ�เร็จ

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

K VILLAGE FARMERS’ MARKET พืน้ ทีแ่ ห่งโอกาส...จากท้องถิน่ สูใ่ จกลางกรุง

จุดเริม่ ต้นของฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ตทีเ่ กิดขึน้ ทัว่ โลกนัน้ มาจากการสร้างความสัมพันธ์แบบง่ายๆ นั่นคือการนำ�ผู้ผลิตมาขายสินค้าให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง แต่ความหมายของคำ�ว่า “ขาย” ใน บริบทนีไ้ ม่ใช่แค่การยืน่ สินค้ามาแลกเปลีย่ นกับเงินทีต่ อ้ งจ่ายไป เพราะสิง่ นีม้ าพร้อมๆ กับการ ได้สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายผ่านอาหารที่เป็นบทสนทนาสำ�คัญ แต่สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึน้ ไม่ได้หากปราศจาก “พืน้ ที”่ ทีจ่ ะเป็นตัวผสานให้เกษตรกรหรือผูผ้ ลิตมาเจอะเจอกับ ผู้บริโภคโดยตรง ในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ ย่านสุขุมวิท 26 ของเควิลเลจที่จัดฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ตขึ้นทุก สัปดาห์ที่สองของแต่ละเดือน ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้เกษตกรหรือผู้ค้าได้พบกับ ผูบ้ ริโภค โดยสองตัวแทนผูจ้ ดั งาน คุณปูเป้-ศรัญญา ศิรวิ ไิ ลศักดิ์ และคุณเบรพ-ณัฐชัย ตัง้ วงศ์ วิวฒั น์ ได้บอกเล่าเรื่องราวจุดเริ่มต้นของฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ตแห่งนี้ว่า มาจากแนวคิดของ คุณนิลบุ ล นันทาภิวฒั น์ ผูบ้ ริหารโครงการเควิลเลจทีไ่ ด้เติบโตทีต่ า่ งประเทศซึง่ จะมีการจัดงาน 22 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558

ฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ตทุกสัปดาห์ จึงได้นำ�แนวคิดนั้น มาจัดขึ้นที่เควิลเลจ เพื่อให้เป็นสถานที่ที่สามารถซื้อ วัตถุดิบได้อย่างปลอดภัยได้ หลังจากลองผิดลองถูก อยู่ 2-3 ปี ในวันนี้ฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ตที่เควิลเลจก็ กลายเป็นที่รู้จักของคนเมือง โดยมีจุดเด่นที่การ จำ�หน่ายผลผลิตแบบออร์แกนิก อาหารทีป่ รุงสดใหม่ ซึ่งผู้บริโภคสามารถรู้ได้ทุกขั้นตอนว่าวัตถุดิบนี้มา จากไหน ปลูกอย่างไร และเก็บเกีย่ วอย่างไรผ่านการ พูดคุยกับผู้ผลิตโดยตรง ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ สิ น ค้ า ที่ ล ะเอี ย ดตั้ ง แต่ ก ารกรอกแบบฟอร์ ม เช็ ก คุณภาพระดับสากลไปจนถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกเพือ่ เป็นหลักฐานสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้สินค้าของ ชาวบ้านธรรมดาๆ ได้มโี อกาสมาค้าขายในพืน้ ทีแ่ ห่งนี้ ได้เช่นกัน นัน่ เพราะกระบวนการทีจ่ ะยืน่ เรือ่ งให้ผา่ น มาตรฐานออร์แกนิกระดับสากลในแต่ละครัง้ ต้องเสีย ค่าใช้จา่ ยหลักแสน “เราพยายามให้มเี จ้าใหม่เกิดขึน้ เรือ่ ยๆ ประมาณร้อยละ 20 เป็นการสร้างโอกาส และ กลุ่มลูกค้าส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งเขาจะให้ ความสนใจเรื่องสุขภาพอยู่แล้ว และคนไทยก็เริ่ม จะสนใจเรื่องเทรนด์สุขภาพมากขึ้น คนเมืองอาจจะ ไม่คอ่ ยมีความรูต้ รงนีม้ าก พอได้ผผู้ ลิตโดยตรงมาคุย มาเล่าทีม่ าของอาหารว่าแตกต่างอย่างไร กินแล้วดีกว่า อย่างไร คนซื้อก็ได้คุยโดยตรงเลย อยากจะรู้อะไร ก็ถามได้เลย ไม่ใช่ซอื้ ผ่านพ่อค้าคนกลางทีไ่ ม่รเู้ รือ่ ง” ส่วนแรงกระเพื่อมหลังจากการจัดฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ต ได้ไม่นานก็ได้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่ม ผู้ประกอบการภายใต้ชื่อไทยแลนด์ ฟาร์เมอร์ กรุ๊ป (Thailand Farmer Group) “คือเราเป็นคนช่วยเซ็ตอัพ ทีมนี้ขึ้นมา ถ้าเควิลเลจมีงานพวกเขาก็มาขายที่นี่ แต่ถา้ ห้างอืน่ มีงานก็ไปขายทีอ่ นื่ ด้วย เหมือนเป็นการ สร้างความแข็งแกร่งให้กบั ทีมออร์แกนิก คือต่อไปเขา จะอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยที่เขาไม่ต้องมาพึ่งเราหรือ พึ่งห้างอะไรก็ตาม” “ในฐานะคนจัด เราอยากเป็นศูนย์กลางที่ให้ ความรูเ้ รือ่ งของกินและของใช้ให้คนเมืองได้รจู้ กั เรือ่ ง พวกนี้มากขึ้น งานนี้ถือว่าได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน มีคอนเน็กชัน่ กัน มาแชร์ความรูใ้ หม่ๆ ของทัง้ คนขาย และคนซื้อ แต่เราจะไม่ปิดกั้นคนขาย เขาจะไปขาย ทีไ่ หนก็ได้ เพราะเขาต้องมีรายได้ทอ่ี ยูไ่ ด้ดว้ ยเหมือนกัน”


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

ก็ไม่ใช่ แต่เราก็บอกลูกค้าชัดเจน โดยสินค้าทุกรายการ เรารูท้ ม่ี า รูเ้ รือ่ งราว มันเริม่ ต้นด้วยแพสชัน่ ในการทำ�” “ถามว่าบริหารจัดการอย่างไร ตอนนีเ้ ราเพิง่ เริม่ ทำ� ธุรกิจนี้ไม่นาน เราก็ทำ�ต้นทุนให้ตํ่าที่สุดโดยการใช้ โฮมออฟฟิศเป็นหลักและไม่สต็อกสินค้ามาก เพื่อไม่ ให้มีของหมดอายุจำ�นวนมากที่ต้องทิ้งไป และเราได้ เครดิต 30 วันจากลูกค้า ตอนนี้ยอดขายเราโตขึ้น ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน และเราก็เร่งเพิ่ม ยอดขายโดยการเพิ่มสินค้าและขยายฐานลูกค้า” บริการด้วยแพสชัน่

PASSION DELIVERY ส่งต่อรสชาติถงึ หน้าบ้านคุณ

อาจเป็นเพราะไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่เลือกใช้ชีวิตแบบประหยัดเวลาแต่ไม่ยอมลดคุณภาพ ของการใช้ชวี ติ การเกิดขึน้ ของธุรกิจการขายผลิตภัณฑ์อาหารโฮมเมดคุณภาพสูงแบบออนไลน์ ทีม่ บี ริการส่งตรงสินค้าถึงหน้าบ้านอย่าง Passion Delivery จึงเกิดขึน้ เพือ่ ตอบโจทย์ชวี ติ คนเมือง ที่มีเวลาน้อยแต่พิถีพิถันเรื่องอาหารการกินไม่น้อย โดยแนวคิดนี้เริ่มต้นจากสองสามีภรรยา คุณเอียน และ คุณซาร่า-สุรวดี ซู ที่นำ�เอาปัญหาที่ตัวเองเคยพบเจอมาแก้โจทย์ให้กลายเป็น ธุรกิจ “เพราะเป็นครอบครัวที่ชอบสรรหาของกิน เริ่มต้นจากซื้อกินเอง พอโทรสั่งก็จะต้องมี การสั่งขั้นตํ่า จึงเกิดเป็นไอเดียว่าทำ�ไมไม่มีใครเปิดเว็บไซต์รวบรวมของที่จะซื้อกินได้ทุกอย่าง โดยที่ไม่มีกำ�หนดราคาซื้อขั้นตํ่า และก็ชอบไปเดินฟาร์เมอร์ส มาร์เก็ตต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ จึงได้รู้จักคนขาย เลยถามเขาว่า ถ้าทำ�แล้วจะร่วมไหม เขาก็อยากทำ�เพราะปกติถ้าเขาทำ�ขาย เขาก็ไม่อยากส่ง เพราะถ้าส่งก็จะส่งทั้งหมด ไม่รับส่งแบบรีเทล และไม่สะดวกที่จะวิ่งส่งเอง ก็เลยให้เรารับเรื่องนี้ไปแล้วเราได้ค่าคอมมิชชั่น ก็เริ่มจาก 3-4 เจ้าที่สนิทด้วย แล้วพอคนอื่น เห็นก็อยากร่วมด้วย ตอนนีเ้ ลยมีสนิ ค้า 300-400 อย่างแล้วในเว็บไซต์” ส่วนการเลือกเฟ้นสินค้า ตามแบบฉบับของ Passion Delivery นั้นมาจากบรรทัดฐานของสิ่งที่กินและคุ้นเคยกับคุณภาพ อยู่แล้ว พร้อมทั้งเห็นว่าสินค้าแต่ละชนิดได้ใส่ความหลงใหลในการทำ�อาหารพร้อมความใส่ใจ เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงทั้งสิ้น “บางสินค้าเป็นโฮมเมดแท้ บางตัวเป็นออร์แกนิก บางตัว พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความ คิดสร้างสรรค์มาสร้างเป็นมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ บริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ทรี่ วบรวมรายชือ่ และผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ จากทุกอุต สาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทยไว้ ใ น ที่เดียวกัน

เพราะของสดมั ก คู่ กั บ ระยะเวลาที่ ต้ อ งควบคุ ม กระบวนการจัดการเพื่อส่งความสดใหม่ให้ลูกค้า จึงต้องอาศัยความพิถพี ถิ นั ไม่นอ้ ย ตัง้ แต่การคำ�นวณ เวลาที่ต้องจัดส่งที่แน่นอนให้ลูกค้าทราบ เนื่องจาก สินค้ามีความหลากหลายและเป็นสินค้าโฮมเมด ดังนั้นจึงมีระยะเวลาทำ�ที่ต่างกันไป เช่น หากสั่ง ขนมปังที่ต้องใช้เวลาอบแบบวันต่อวัน ก็อาจต้องให้ เวลา 48 ชั่วโมงเพื่อให้ได้มาซึ่งขนมปังที่สดใหม่จาก เตาจริงๆ โดยหลักการคือดูรายการสินค้าแต่ละชนิด ทีล่ กู ค้าสัง่ ว่าชิน้ ไหนต้องใช้เวลาทำ�นานทีส่ ดุ ก็จะบอก เวลาส่งให้ลกู ค้าทราบตามระยะการทำ�สินค้านัน้ และ พอได้รบั สินค้าจากซัพพลายเออร์แต่ละเจ้าแล้ว ก็เข้า สูก่ ระบวนการแพ็กของใส่กล่องซึง่ สัง่ ตรงจากเยอรมนี ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้เย็นได้ที่ -12 องศา เซลเซียส ส่งต่อมายังคนวิ่งส่งของซึ่งเขตกรุงเทพฯ จะใช้รถจักรยานยนต์ เขตพัทยาเป็นรถยนต์ขนส่ง บวกค่าจัดส่งขั้นตํ่าอีก 90 บาท หรือราคาตามระยะ ทางทีแ่ จ้งลงในเว็บไซต์ และแล้วสินค้าโฮมเมดนีก้ ถ็ กู ส่งถึงมือลูกค้าแบบสดใหม่ จากนั้นก็ให้รสชาติและ คุณภาพของอาหารเป็นตัวตัดสินความพึงพอใจ K Village Farmers' Market จัดขึ้นทุกสัปดาห์ที่ 2 ของทุกเดือน ตั้งแต่ 9.00 - 17.00 น. ติดต่อสอบถาม 02-258-9919 ต่อ 213,214 facebook.com/kvillagebkk และ instagram : kvillagebkk passiondelivery.com facebook.com/passiondeliverybangkok

พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 23


1351 Startups Companies

mappedinisrael.com

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี

ท่ามกลางกระแสความสนใจในธุรกิจสตาร์ทอัพ คงมีน้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยินชื่อของซิลิคอน แวลลีย์ พื้นที่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ทีใ่ นปัจจุบนั มีนยั ยะถึงความเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมและไอที นอกจากซิลคิ อน แวลลีย์ จะเป็นแหล่งรวมบริษทั ไอที ชั้นนำ�ของโลกอย่างกูเกิล แอปเปิ้ล และเอชพีแล้ว ที่นั่นยังเป็นแหล่งรวมบริษัทสตาร์ทอัพจำ�นวนมากทั้งรายเล็กและรายใหญ่อย่าง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และแอร์ บีเอ็นบี เข้าไว้ด้วยกัน รายงานเรื่อง "Startup Ecosystem" ประจำ�ปี 2012 ที่จัดทำ�โดยบริษัทวิจัย Startup Genome เผยว่าซิลคิ อน แวลลีย์ ครองอันดับหนึง่ ของพืน้ ทีท่ ม่ี จี �ำ นวนบริษทั สตาร์ทอัพหนาแน่นมากทีส่ ดุ ในโลก สิง่ ทีน่ า่ สนใจ ในรายงานฉบับนี้ คือรายชื่อพื้นที่อันดับสองนั้นไม่ใช่นิวยอร์ก ลอนดอน หรือเบอร์ลิน แต่กลับเป็น เทล อาวีฟ-ยาโฟ หรือ เทล อาวีฟ เมืองทีม่ ขี นาดใหญ่เป็นอันดับสองในอิสราเอล และมีฉายาว่า "Silicon Wadi" โดยคำ�ว่า ‘Wadi’ มีความหมายว่า ‘หมูบ่ า้ น’ ในภาษาฮีบรู

24 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Silicon Wadi หรือ เทล อาวีฟ เต็มไปด้วยบริษัทสตาร์ทอัพ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยี ผูป้ ระกอบการด้านไอที และนักลงทุนเป็นจ�ำนวนมาก อีกทัง้ ได้รบั การจัดอันดับโดยวารสารวอลล์สตรีท ให้เป็นเมืองทีม่ นี วัตกรรมล�ำ้ สุด เป็นอันดับสองของโลกรองจากเมดิยิน (Medellin) ในปี 2012 “เทล อาวีฟ คือหนึ่งในชุมชนสตาร์ทอัพที่คึกคักมากที่สุดในโลก” เบน แลง (Ben Lang) ผู้สร้าง Mapped in Israel (mappedinisrael.com) เว็บไซต์แผนที่แสดงต�ำแหน่งบริษัทสตาร์ทอัพในอิสราเอลวัย 18 ปีกล่าว “หากคุณเดินอยู่ในเทล อาวีฟ คุณจะเห็นบริษัทสตาร์ทอัพทุกหนแห่ง ทุกๆ ช่วงสองตึกคุณจะเจอบริษัทสตาร์ทอัพมากถึง 40-50 บริษัท” นอกจากจะมีบริษทั สตาร์ทอัพจ�ำนวนมากแล้ว มูลค่าของบริษทั เหล่านีก้ ม็ ี จ�ำนวนมากจนน่าเหลือเชื่อเช่นกัน ในปี 2013 บริษัทต่างชาติจ่ายเงินซื้อ บริษทั สตาร์ทอัพสัญชาติอสิ ราเอลในเทล อาวีฟไปเป็นจ�ำนวน 6.45 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ โดยกูเกิลได้ซอื้ บริการแผนทีอ่ อนไลน์ Waze ไปในราคา 966 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นระคุเต็นซื้อแอพพลิเคชั่น โทรศัพท์ Viber ไปในราคา 900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ บริษัทไอทีสัญชาติอิสราเอลจ�ำนวน 622 บริษัทสามารถสร้างรายได้ เป็นจ�ำนวนเงินทั้งหมด 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ความน่าสนใจของ เทล อาวีฟคือเหตุใดเมืองในประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องความขัดแย้งเหนือของ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่เต็มไปด้วยสงคราม และความรุนแรงทางการเมือง จึงสามารถเป็น Silicon Wadi เมืองแห่ง ธุรกิจสตาร์ทอัพและนวัตกรรมทีเ่ ต็มไปด้วยผูค้ นในอุตสาหกรรมไอทีได้ไม่ น้อยหน้าไปกว่าซิลิคอน แวลลีย์

กรณีพิพาทอิสราเอลกับปาเลสไตน์ในเรื่องการแย่งชิงพื้นที่เริ่มขึ้นตั้งแต่สมัย โบราณและชัดเจนในปลายศตวรรษที่ 19 เมือ่ ลัทธิไซออนนิสต์ถกู จัดตัง้ ขึน้ เพือ่ น�ำชาวยิวที่กระจัดกระจายไปทั่วโลกกลับมาตั้งถิ่นฐานบนแผ่นดินปาเลสไตน์ กลุ่มไซออนนิสต์ยึดมั่นในพระคัมภีร์ท่ีว่าพระเจ้าได้มอบดินแดนแห่งนี้ให้กับ ชาวยิว เรื่องดังกล่าวท�ำให้ชาวปาเลสไตน์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก ในปี 1923 องค์การสันนิบาตชาติให้องั กฤษมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นทีอ่ ยูช่ าวยิว อีก ทั้งสหประชาชาติเองยังให้แบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิวในเวลาต่อมา จนกระทัง่ ในปี 1949 กรุงเยรูซาเลม เมืองทีม่ ปี ระวัตเิ กีย่ วพันกับทัง้ ศาสนาคริสต์ ยิว และอิสลาม ได้รบั การจัดตัง้ ให้เป็นเมืองหลวงของอิสราเอลทีม่ คี นเชือ้ สาย ยิวเป็นคนส่วนใหญ่ จึงเป็นเหตุนำ� ไปสูส่ งครามและความไม่สงบทางการเมือง ระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์อันไม่รู้จบในปัจจุบัน

สตาร์ทอัพดีเอ็นเอในเทล อาวีฟ

เทล อาวีฟเป็นเมืองชายฝัง่ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เมืองเศรษฐกิจ และเมือง ทีม่ งั่ คัง่ ทีส่ ดุ ในอิสราเอล เทล อาวีฟจึงเป็นเมืองทีเ่ ต็มไปด้วยความคึกคักทัง้ ช่วงกลางวันและยามค�่ำคืนจนได้รับการขนานนามว่า "เมืองที่ไม่เคยหลับ" ภายในเมืองที่ไม่เคยหลับแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยผู้คนที่มีศักยภาพในการท�ำ ธุรกิจสตาร์ทอัพ ผู้สร้างพลังแห่งการสร้างสรรค์ให้แก่เมือง ความกระตือรือร้นของผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพในเทล อาวีฟมี เหลือเฟือจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบรรยากาศเมือง “กลุ่มผู้ประกอบการ และธุรกิจสตาร์ทอัพในเทล อาวีฟเฟื่องฟูมาก พวกเขาเปี่ยมไปด้วยพลัง และทัศนคติทวี่ า่ พวกเขาท�ำได้” ยอสซี วาร์ดี (Yossi Vardi) ผูใ้ ห้คำ� ปรึกษา ด้านธุรกิจในเทล อาวีฟกล่าว ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพเหล่านี้ได้รับ การฝึกให้มีทักษะในการท�ำงานเป็นทีม การเป็นผู้น�ำและผู้ตาม อีกทั้งมี ความอดทนเป็นเลิศ ทั้งหมดเป็นผลพลอยได้จากกฎการเกณฑ์ทหารของ อิสราเอล โดยกฎดังกล่าวก�ำหนดให้เด็กผู้หญิงที่เรียนจบชั้นมัธยมเกณฑ์ ทหารเป็นเวลาสองปีและเด็กผู้ชายเป็นเวลาสามปี นั่นเป็นการปูทางให้ ชาวอิสราเอลพร้อมรับมือกับธรรมชาติของธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างไม่ตั้งใจ flickr.com/photos/yrdnsa

Silicon Wadi แห่งอิสราเอล

“ความท้าทายที่พวกเขาต้องเจอในกองทัพนั้นไม่ต่างอะไรกับการท�ำ ธุรกิจสตาร์ทอัพ” ซอล ไคลน์ (Saul Klein) ผูร้ ว่ มหุน้ บริษทั Index Ventures กล่าว และด้วยลักษณะนิสัยของชาวอิสราเอลที่ชอบช่วยเหลือเกื้อกูลและ ยินดีที่จะพูดคุยเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น งานสร้างเครือข่ายสังคม (Networking) ที่มีส่วนช่วยให้บริษัทสตาร์ทอัพเติบโตนั้นจึงเกิดขึ้นใน เทล อาวีฟแทบจะทุกวันไม่วา่ จะเป็นในรูปแบบงานทีเ่ ป็นทางการหรือไม่เป็น ทางการ ความจ�ำเป็นอันหลีกเลีย่ งไม่ได้ยงั ได้ทำ� ให้ชาวอิสราเอลสนใจและ เชีย่ วชาญด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม ดินแดนทีแ่ ห้งแล้งท�ำให้ พวกเขาได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตร ไม่เพียงเท่านั้น ดินแดนของพวกเขายังเต็มไปด้วยศัตรู เทคโนโลยีด้านการทหารของชาว อิสราเอลจึงเป็นเลิศจนสามารถต่อยอดไปยังเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ได้ เช่น การสื่อสาร เป็นต้น เนื่องจากลักษณะของธุรกิจสตาร์ทอัพไม่ได้เริ่มต้นจากการมีเงินทุน ก้อนโต แต่เริ่มจากการมีความคิดที่น่าสนใจ สามารถเริ่มต้นได้จากคนๆ เดียว สร้างมูลค่าได้มาก แถมเป็นที่สนใจจากแหล่งทุนในสภาพเศรษฐกิจ โลกทีซ่ บเซา จึงไม่ใช่เรือ่ งน่าแปลกใจทีช่ าวอิสราเอลจะหันมาหาทางเลือกนี้ พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เตรียมบ้านต้อนรับเหล่าสตาร์ทอัพ

แม้เหล่าผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในยุคนี้จะพร้อมย้ายถิ่นฐานเพื่อไป ท�ำงาน แต่อย่าลืมว่าพวกเขาไม่ได้มองหาแค่เมืองทีม่ คี วามพร้อมทางด้าน ไอทีเท่านั้น ความสะดวกสบาย ความสนุกสนาน และความมีสีสันจาก เมืองนั้นๆ ก็คือสิ่งที่พวกเขามองหาเพื่อการใช้ชีวิตเช่นกัน การสนับสนุนอีกด้านที่น่าสนใจคือการสนับสนุนสภาพแวดล้อม ทางสังคมทีเ่ ปิดกว้างในเทล อาวีฟ ซึง่ เป็นองค์ประกอบส�ำคัญในการสร้าง บรรยากาศทีเ่ อือ้ ต่อการเกิดนวัตกรรม เช่น การสนับสนุนอิสระในการท�ำงาน และการยอมรับผู้อื่น โดยเฉพาะชาวต่างชาติ วิสัยทัศน์ของโครงการ Tel Aviv Global ยังรวมถึงการพัฒนา เทลอาวีฟให้เป็นเมืองแห่งธุรกิจสตาร์ทอัพ (Tel Aviv Startup City) ที่ มุง่ หวังให้บริษทั สตาร์ทอัพ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านเทคโนโลยี ผูป้ ระกอบการด้าน ไอที และนักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาอยู่อาศัยและท�ำงาน แผนด�ำเนินการ เพื่อมุ่งสู่ Tel Aviv Startup City จึงเป็นการปรับปรุงเมืองให้เอื้อต่อการ เกิดนวัตกรรม อย่างการจัดการแข่งขันด้านไอที เช่น การแข่งออกแบบ แอพพลิเคชั่นของเมือง TelAviv App2U การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ให้มีมากขึ้น ฯลฯ แผนด�ำเนินการดังกล่าวยังรวมถึงการท�ำลายก�ำแพงใน การตั้งธุรกิจในเทล อาวีฟลง ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงไมตรีของเจ้าบ้าน ทีต่ อ้ งการเชือ้ เชิญผูค้ นทีม่ คี วามรู้ ความสามารถ และเงินทุนจากต่างแดน ให้เข้ามาท�ำธุรกิจในเมืองของตน เช่น การลดภาษีพื้นที่ การลดขั้นตอน flickr.com/photos/bbmexplorer

เมื่อผู้คนอันเป็นสินทรัพย์ของเมืองมีความพร้อมในสนามธุรกิจสตาร์ทอัพ หน่วยงานทั้งภาคใหญ่อย่างรัฐบาลหรือภาคย่อยอย่างเทศบาลจึงเห็น ศักยภาพของเทล อาวีฟในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมและ ธุรกิจไอทีนานาชาติ ในปี 2010 ส�ำนักงานนายกเทศมนตรีเมืองเทล อาวีฟร่วมมือกับรัฐบาล เทศบาล บริษทั และหน่วยงานเอ็นจีโอ เริม่ โครงการ "Tel Aviv Global" เพือ่ ผลักดันเทล อาวีฟให้เป็นเมืองระดับโลก การสร้างและปรับปรุงระบบนิเวศ ของเมืองให้รองรับธุรกิจภาคนวัตกรรมและเทคโนโลยีจงึ เกิดขึน้ เพือ่ ดึงดูด ทั้งบุคลากรและเงินทุนให้เข้ามาในเมือง ถือเป็นการเปิดประตูสู่อิสราเอล เพื่อสร้างความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและช่วยทุเลาภาพความรุนแรงทาง การเมืองได้ แผนด�ำเนินการภายใต้โครงการ Tel Aviv Global มีตั้งแต่การสร้าง สิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่อธุรกิจไอที เช่น การติดตั้งฟรีวายฟายในเมือง การจัดตั้ง "The Library" ในปี 2011 ซึ่งเป็นโคเวิร์กกิ้งสเปซใจกลางเมืองให้ บรรดาธุรกิจสตาร์ทอัพได้มารวมตัว พูดคุย และท�ำงานร่วมกัน การพัฒนา พื้นที่ในเมือง เช่น การสร้างทางเดินบริเวณท่าเรือยาโฟ (Yafo) การท�ำ เส้นทางจักรยานและบริการให้เช่าจักรยาน ไปจนถึงการสร้างเอกลักษณ์ ของเมือง เช่น การจัดตั้งสถานีรถไฟสายประวัติศาสตร์ โรงละคร พิพิธภัณฑ์ศิลปะ และวิทยาลัย ฯลฯ ซึ่งถือว่าครบครันทุกด้าน

26 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558


flickr.com/photos/nicasaurusrex

flickr.com/photos/gvahim

ในการติดต่อราชการ การลดความยุ่งยากในการจัดตั้งธุรกิจในอิสราเอล (มีการจัดท�ำคูม่ อื วิธกี ารจัดตัง้ ธุรกิจในอิสราเอลทีบ่ อกถึงขัน้ ตอน ระยะเวลา ของแต่ละขัน้ ตอน และค่าใช้จา่ ยต่างๆ โดยคูม่ อื ดังกล่าวมีความยาวเพียง แค่หนึง่ หน้าเอสี)่ รวมถึงการออกสตาร์ทอัพวีซา่ ซึง่ เป็นวีซา่ ท�ำงานส�ำหรับ พนักงานหรือบริษัทสตาร์ทอัพ “เทล อาวีฟเป็นบ้านของบริษทั สตาร์ทอัพจ�ำนวนมาก เทศบาลก็กำ� ลัง พยายามเป็นอย่างยิง่ ในการสนับสนุนผูป้ ระกอบการและนวัตกรรมทีเ่ กิดขึน้ ในเมือง และทุกวันนี้เราก�ำลังเริ่มเห็นผลทางด้านเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น” รอน ฮุลได (Ron Huldai) นายกเทศมนตรีเทลอาวีฟกล่าว เมื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีคือตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอิสราเอล รัฐบาลอิสราเอลจึงสนับสนุนสถาบันวิจัยและพัฒนามาอย่างสม�่ำเสมอ ท�ำให้อิสราเอลเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะในด้านนวัตกรรมและ เทคโนโลยี ปัจจุบันอิสราเอลมีจ�ำนวนบริษัทต่างชาติกว่า 250 บริษัท รวมถึงไมโครซอฟต์และเนสท์เล่ซึ่งมาท�ำวิจัยในอิสราเอลตั้งแต่ปี 2013 ด้วยความพร้อมทั้งเรื่องของคนและการสนับสนุนของเมือง จึงไม่น่า ประหลาดใจที่เทล อาวีฟได้รับฉายาว่าเป็น Silicon Wadi เมืองแห่งธุรกิจ สตาร์ทอัพและนวัตกรรมที่ไม่น้อยหน้าซิลิคอน แวลลีย์ ในปี 2013 บารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าวในงานที่ศูนย์ประชุมนานาชาติ กรุงเยรูซาเลม (Jerusalem International Convention Center) ไว้ว่า “ถ้าคุณอยากรู้ว่าอนาคตของเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร คุณควรดู ตัวอย่างจากเทล อาวีฟ เมืองทีเ่ ต็มไปด้วยบริษทั สตาร์ทอัพและสถาบันวิจยั แห่งนี้” ดูเหมือนว่าโอบามาจะไม่ได้กล่าวเกินจริงไปนัก

ขณะที่ฟากหนึ่งของเทล อาวีฟเต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้า บ้านของบริษัทไอที สถาบันการเงิน และตลาดหุ้น อีกฟากคือชายหาดทะเลเมดิเตอร์เรเนียนยาว ขนานไปกับเมือง คราคร�่ำด้วยผู้คนที่พากันเล่นเซิร์ฟบอร์ด ร้านอาหาร ผับ และบาร์ ถัดเข้ามาจากส่วนหาดยังมีทั้งย่านเก่าที่ได้รับการฟื้นฟูจนกลายเป็น ย่านใหม่อย่างเนเว เซเดค (Neve Tzedek) และกลุม่ อาคารสีขาวสไตล์เบาเฮาส์ ทีม่ มี ากจนได้รบั การขนานนามว่าเป็น “นครสีขาว” และได้รบั เลือกให้เป็นเมือง มรดกโลก ความเก่าทีป่ ะทะกับความใหม่ชว่ ยสร้างความหลากหลายและดึงดูด ให้ผู้คนต่างถิ่นเข้ามาท่องเที่ยว อยู่อาศัย และสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเมือง ดังเช่นที่ แอตการ์ เกเรต (Etgar Keret) นักเขียนและชาวเมืองเทล อาวีฟกล่าวไว้ ว่า “ครึง่ หนึง่ เป็นอิหร่าน อีกครึง่ หนึง่ เป็นแคลิฟอร์เนีย มีทงั้ สุเหร่ายิว ทัง้ ซูชบิ าร์” นักเขียนของเดอะนิวยอร์กไทมส์ ขนานนามเทล อาวีฟว่าเป็น "Capital of Cool" ของเมดิเตอร์เรเนียน ขณะที่เว็บไซต์แอร์บีเอ็นบีจัดให้เป็นเมืองที่ผู้คนนิยมมา ท่องเที่ยวเป็นอันดับที่สอง และเว็บไซต์เกย์ซิตี้สดอทคอมยังมอบต�ำแหน่งให้ เป็นแหล่งท่องเทีย่ วส�ำหรับกลุม่ ชายรักชายทีด่ ที สี่ ดุ ในโลก คงจะไม่ตอ้ งกล่าวให้ ยืดยาวไปมากกว่านี้ว่าเทล อาวีฟนั้นมีชีวิตชีวาขนาดไหน

ที่มา: บทความ “Europe's Hottest Startup Capitals: Tel Aviv” จาก wired.co.uk, บทความ “For Real Innovation, It's Not Silicon Valley But Silicon Wadi” จาก forbes.com, บทความ “Remarks of President Barack Obama to the People of Israel” จาก whitehouse.gov, บทความ “Tel Aviv Bids to Become the Next Silicon Valley” จาก washingtonpost.com, บทความ “Tel Aviv Named World's Second 'Most Innovative City' in Wall Street Journal Poll” จาก haaretz.com, บทความ “”What Next for the Start-Up Nation?” จาก economist.com, วิดีโอเรื่อง “ความขัด แย้งเหนือดินแดนศักดิ์สิทธิ์ อิสราเอล - ปาเลสไตน์” จาก youtube.com, euromonitor .com, telavivstartupcity.com และ touristisrael.com/tel-aviv พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

วรัตต์ วิจิตรวาทการ

เส้นทางธุรกิจในยุคแห่งทางเลือก เรือ่ ง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: พิรานันท์ พาวงษ์

ในยุคที่คนรุ่นใหม่ต่างก็อยากจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง วรัตต์ วิจิตรวาทการ (เต้) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะเจ้าของกิจการ ร้านอาหารและคาเฟ่ยา่ นสุขมุ วิททีป่ ระสบความสำ�เร็จอย่าง Roast Coffee & Eatery และ Roots Coffee Roaster เป็นตัวอย่างหนึง่ ของผูท้ เี่ ริม่ ต้นกิจการจากความหลงใหล และสามารถรักษาสมดุลระหว่างธุรกิจกับความชอบได้อย่าง ลงตัว ประสบการณ์เบือ้ งหลังเส้นทางก่อนทีเ่ ขาจะผันตัวมาเปิดคาเฟ่เล็กๆ ร้านแรก จนถึงวันนีท้ กี่ จิ การภายใต้บริษทั Think Beyond ได้ขยายขอบเขตการทำ�งานจากร้านอาหารและคาเฟ่ มาสูก่ ารเป็นโรงงานคัว่ กาแฟเพือ่ ส่งให้รา้ นกาแฟ อื่นๆ รวมถึงโครงการคอมมูนิตี้มาร์เก็ต The Commons ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นในทองหล่อ ทำ�ให้เขาเป็นคนรุ่นใหม่ที่มี มุมมองการทำ�งานและแนวคิดในการทำ�ธุรกิจที่น่าสนใจในยุคที่ความคิด ความต้องการ และการใช้ชีวิตของผู้บริโภค กำ�ลังเปลี่ยนไป

28 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ที่มาที่ ไปก่อนจะมาทำ�ร้านอาหารและร้าน กาแฟ

ผมเรียนด้านเศรษฐศาสตร์มา แต่ถามว่าสนใจ หรื อ เปล่ า ก็ อ าจจะไม่ ที่ สุ ด ตอนจบม.ปลาย อาจารย์ที่ปรึกษาผมถามว่าคุณอยากจะเรียน อะไร ผมบอกผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ตอนนั้นอายุ 18 ก็ไม่คดิ อะไรมาก เขาก็แนะน�ำว่าถ้าคุณเรียน เศรษฐศาสตร์ คุณจะจบได้ภายในเวลาประมาณ 3 ปีนะ ผมก็โอเค เรียนมาเรือ่ ยๆ ถามว่าได้อะไร จากตรงนั้นไหม ก็ได้เยอะนะครับ ได้แนวคิดว่า ค�ำตอบของทุกอย่างมันคืออุปสงค์และอุปทาน ถ้ามีอุปทานแต่ไม่มีอุปสงค์ท�ำไปก็เท่านั้น ผม เรียนไปก็ยังไม่ได้ชอบขนาดนั้น แต่เพราะเรา จบเร็ว ประมาณ 2 ปีครึ่ง รู้สึกว่ายังไม่อยาก กลับเมืองไทย ก็เลยลองดูว่าในมหาวิทยาลัย เขามี อ ะไรที่ น ่ า สนใจให้ เ ราเรี ย นได้ อี ก บ้ า ง ผมเลือกเรียนมาร์เก็ตติง้ ต่อพอเรียนแล้วเรารูส้ กึ สนุก มาร์เก็ตติ้งสอนให้เรารู้จักคิดว่าลูกค้าเขา คิดอะไรอยู่ เขาต้องการอะไร แล้วเราจะตอบ โจทย์เขาได้ยังไง จะสื่อสารกับเขายังไง หลังจากเรียนจบก็ท�ำงานสายมาร์เก็ตติ้ง และมีเดียที่เมืองไทย ท�ำให้เราได้เรียนรู้เรื่อง สือ่ ทีม่ คี วามเป็นแมสมากขึน้ ได้ดเู รือ่ งการใช้สอื่ และการใช้งบของสื่อต่างๆ ท�ำให้เราเห็นอะไร มากขึน้ เยอะ และก็ทำ� ให้เรารูว้ า่ เราไม่ชอบอะไร ด้วยเหมือนกัน ตอนนั้นรู้สึกว่า โห! บริษัทนี้ ใช้เงินซื้อสื่อเยอะจัง ถามว่าเราเชื่อในโปรดักต์ ขนาดไหน ก็ในระดับหนึ่ง แต่เราต้องขายมัน ก็รู้สึกว่ายังไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจะท�ำจริงๆ ถ้าจะโปรโมต เราก็อยากจะโปรโมตสิ่งที่เราเชื่อ และรูส้ กึ ศรัทธากับมันจริงๆ เลยออกมาท�ำธุรกิจ ขายของกับเพือ่ น แต่ทำ� ไปท�ำมาไม่กเี่ ดือนก็รสู้ กึ ว่าความคิดและแนวทางการท�ำงานของเรากับ

เขามันต่างกันมาก ผมก็เลยตัดสินใจออกมา มันก็สอนอะไรเราเยอะนะครับ ว่าถ้าเราไม่ได้ เชือ่ ในแนวทางเดียวกันกับใครเราก็จะท�ำงานกับ คนนั้นยาก ต้องดูให้ดีก่อน จุดเริ่มต้นของการเปิดร้าน

ตอนนั้นตกงานก็ไม่รู้จะท�ำอะไร ช่วงนั้นผม รับงานฟรีแลนซ์ก็ต้องออกมาเจอลูกค้าบ่อยๆ แล้วก็รสู้ กึ ว่าท�ำไมทีท่ มี่ กี าแฟดีๆ มันไม่มอี าหาร ส่วนทีท่ มี่ อี าหารก็ไม่ได้นา่ นัง่ ไม่ได้นา่ ดืม่ กาแฟ ขนาดนั้ น มั น ไม่ มี ที่ ที่ มี ข องในคุ ณ ภาพที่ เ รา มองหา ก็ เ ลยคิ ด ว่ า งั้ น เราลองท� ำ เองดู ไ หม เลยเริ่มไปลงเรียนท�ำกาแฟท�ำขนมอะไรเล่นๆ ไปเรือ่ ยๆ จนได้ไอเดียว่าน่าจะลองเปิดร้านเล็กๆ ดู ก็เกิดเป็นร้านโอฮาน่า เฟรช คาเฟ่ (Ohana Fresh Café) ซึ่งมีแค่ประมาณ 12 ที่นั่งเท่านั้น พูดง่ายๆ คือตอนนั้นยังไม่รู้ว่าเราจะไปถึงจุด ไหนด้วยซ�้ำ แต่ก็คิดว่าตอนนี้เรามีที่ท�ำงานของ เราเองนะ เพราะช่วงนั้นผมรับงานมาร์เก็ตติ้ง นิดๆ หน่อยๆ ก็นั่งท�ำที่นั่นได้ เจออุปสรรคอะไรบ้างไหม

ตอนเริม่ ท�ำร้าน ผมรูส้ กึ ว่าคนสมัยนีเ้ ขาดูเหมือน ว่าเขาไม่ได้เต็มที่กับสิ่งที่เขาท�ำเหมือนกับเรา อาจจะเป็นเจเนอเรชั่นอายุ 20 นิดๆ ผมรู้สึก ว่าความอดทนมันน้อยลงเยอะ จริงๆ คนรุ่น ก่อนหน้าเราเขาก็อาจจะว่ารุน่ เราแบบนีเ้ หมือนกัน ผมรูส้ กึ ว่าการทีจ่ ะกระตุน้ คนๆ หนึง่ ให้ทำ� อะไร สักอย่าง ให้เขาเห็นว่าเขาต้องอดทนเพื่อให้ ไปถึงอีกจุดหนึ่งได้นี่มันยากมาก มันไม่เหมือน แต่ก่อนตอนที่ผมได้งานครั้งแรกผมรู้สึกภูมิใจ มาก เราดีใจมาก แล้วเราเข้าไปก็เต็มที่ ก็เป็น เรื่องที่งงตอนที่เริ่มท�ำธุรกิจของตัวเอง

เขาพูดกันว่าเจเนอเรชั่นวายเป็นกลุ่มคนที่ หันมาทำ�สตาร์ทอัพกันเยอะ และหลายคนก็ มองว่าธุรกิจสตาร์ทอัพอาจจะเป็นอนาคต ของเรา แต่ในขณะเดียวกันคุณเองก็รู้สึกว่า คนกลุ่ ม นี้ มี โ อกาสที่ จ ะทำ � อะไรแล้ ว หยุ ด กลางคัน คิดว่ามันจะมีผลอย่างไรบ้างไหม

ผมว่าข้อเท็จจริงที่ว่าคนท�ำสตาร์ทอัพกันเยอะ ไม่ใช่สิ่งไม่ดี แล้วก็จะมีคนอีกจ�ำนวนมากที่จะ ท�ำไปแป๊บเดียวแล้วก็เลิกด้วย ซึง่ ผมคิดว่าก็โอเค แต่ส�ำหรับคนที่ท�ำต่อไปเรื่อยๆ ผมว่ากลุ่มนี้ น่าจะเป็นคนที่สร้างอะไรใหม่ๆ ให้กับประเทศ และสังคม คนเจนนี้อยากจะท�ำอะไรด้วยตัวเอง ก็ท�ำได้เลย เพราะทุกอย่างมันง่ายขึ้นด้วยพลัง ของเทคโนโลยีในมือ แล้วถ้าเกิดท�ำไปแล้วรู้สึก ว่ามันไม่ใช่แนวทางของเขาก็ไม่เป็นไร เขาก็จะ มีบทเรียนชีวิตในมุมมองที่แตกต่าง ที่จะน�ำไป ใช้ในงานต่อไปที่เขาท�ำ เช่นว่าเขาอาจจะเข้าใจ มากขึน้ ว่าการเป็นนายจ้างมันล�ำบาก มันไม่งา่ ยนะ ถามว่ากลัวไหมว่าเขาจะมาท�ำงานแป๊บๆ แล้วก็ออกไปเปิดอะไรของตัวเอง ผมไม่ค่อย กลัวนะ ผมว่าเราห้ามเขาไม่ได้ ถ้ามีคนดีๆ มี ความสามารถอยากจะมาเรียนรูก้ บั เรามันก็เป็น เรื่องที่ดี เพียงแต่เราต้องคุยกันตั้งแต่ต้นเลยว่า เป้าหมายของคุณคืออะไร แล้วในระหว่างเวลาที่ อยูท่ นี่ ี่ เราก็มาท�ำอะไรทีจ่ ะเป็นประโยชน์กบั ผม มากที่สุดและเป็นประโยชน์กับคุณมากที่สุดกัน แต่ผมรู้สึกว่าเจนวายเป็นเจนที่ไม่ค่อยกล้าพูด ความจริงขนาดนัน้ บางคนก็พดู ไปก่อนว่าอยาก จะมีร้านของตัวเอง มีเวลาให้เราเท่านี้ๆ ผมก็ บอกว่าเหนือ่ ยนะท�ำงานสายอาชีพนี้ พร้อมไหม พร้อมครับพร้อม สุดท้ายอยู่ได้สองวันก็ไปแล้ว แต่มองในแง่ดีคือเขารู้ตัวเองว่าเขาไม่เหมาะกับ ตรงนี้ มันก็ดีกับเราด้วยที่ไม่ต้องมาเสียเวลา

ผมสังเกตว่าสตาร์ทอัพเมืองไทยไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนขนาดนั้น คือ ท�ำไปก่อน ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิดนะ แต่มันจะง่ายกว่านั้นเยอะเลยถ้าคุณมี เป้าหมาย เพราะคุณจะรู้ว่าคุณจะไปยังไงต่อ พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

มองว่าตัวเองเป็นสตาร์ทอัพไหม ในฐานะทีเ่ คยอยู่ในวัฒนธรรมฝรัง่ มาก่อน คิดว่าสตาร์ทอัพไทยกับฝรัง่ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ผมมองว่าตัวเองก็เป็นสตาร์ทอัพ เราเริ่มจากไม่มีอะไรเลย เริ่มจากแค่คน สองคน แต่ว่าเรามีเป้าหมายชัดเจนตลอด ถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนมาเรื่อยๆ เป้าหมายช่วงแรกทีม่ กี นั แค่สามคนเราก็เห็นแค่ระดับหนึง่ แต่พอเราเริม่ ใกล้ ไปถึงเป้าทีต่ งั้ ไว้แล้ว เป้าหมายนัน้ มันก็จะขยับไปเรือ่ ยๆ แต่จากหลายอย่าง ทีผ่ มเห็น ผมสังเกตว่าสตาร์ทอัพเมืองไทยไม่มเี ป้าหมายทีช่ ดั เจนขนาดนัน้ คือท�ำไปก่อน ซึ่งมันก็ไม่ได้ผิดนะ แต่มันจะง่ายกว่านั้นเยอะเลยถ้าคุณมี เป้าหมาย เพราะคุณจะรู้ว่าคุณจะไปยังไงต่อ ยกตัวอย่างแค่ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ถ้ามีคนบอกผมว่าอยากจะ เปิดร้านกาแฟ ผมจะถามเขาว่าท�ำไมถึงอยากเปิดร้านกาแฟ เขาอาจจะ ตอบว่า ผมอยากมีรา้ นกาแฟครับ ผมอยากจะชงกาแฟเองให้ลกู ค้าได้ทาน นั่นเป็นเป้าหมายที่ดีนะ แล้วยังไงต่อล่ะ ผมแค่ไม่แน่ใจว่า คุณเปิดเสร็จ แล้วนัน่ คือจบแล้วใช่ไหม ผมว่าการขาดวิสยั ทัศน์และความทะเยอทะยาน (Vision and Ambition) เป็นส่วนหนึ่งที่ท�ำให้สตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับอาหาร และเครื่องดื่มหลายแห่งไปได้ถึงแค่จุดหนึ่งแล้วก็หยุด แต่สตาร์ทอัพที่นั่น ที่ผมเคยเห็นมันชัดเจนกว่า เช่น เขาอาจจะตั้งไว้ว่าผมจะท�ำมันให้ถึงจุด นี้นะ ถึงจุดนี้แล้วผมจะขาย แล้วผมก็จะไปเริ่มอะไรของผมใหม่ หรือพอ ไปถึงจุดนี้แล้วผมจะหานักลงทุนมาลงทุนด้วยเพื่อขยายสาขา คนไทยมัก จะตัง้ เป้าไว้แค่ระดับเดียว หรือบางคนก็ไม่รจู้ ริงๆ ว่าทีท่ ำ� มามันจะไปยังไงต่อ เป็นเพราะว่าเรียนด้านเศรษฐศาสตร์มาด้วยหรือเปล่า ถึงได้เข้าใจ ว่าการทำ�ธุรกิจนอกจากความชอบแล้วมันยังต้องมีการวางแผน มีความทะเยอะทะยาน มีการตั้งเป้าหมาย

ผมว่านั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง และอีกส่วนก็มาจากประสบการณ์ด้วย ตอนทีผ่ ม เริม่ ธุรกิจก็มาจากแพสชัน่ ล้วนๆ เหมือนกัน เป้าหมายคือผมอยากจะเสิรฟ์ กาแฟดีๆ อยากจะเสิรฟ์ อาหารทีม่ คี ณุ ภาพให้คนจ�ำนวนมาก อยากจะแชร์ สิ่งที่เรารักให้คนอื่นๆ แต่พอมันไปถึงจุดหนึ่ง เรามีลูกน้อง 6-7 คนแล้ว เขาช่วยเรามาถึงจุดๆ นี้ได้ และเขาก็ดีกับเรามาก แล้วเราท�ำอะไรให้เขา ได้ต่อล่ะ แล้วกลุ่มลูกค้าที่มานั่งรออยู่หน้าร้านครึ่งชั่วโมงเพื่อจะกินกาแฟ หนึ่งแก้วล่ะ เราจะท�ำอะไรให้เขาได้บ้าง เราก็ต้องคิดต่อไปเรื่อยๆ แต่ผม ไม่แน่ใจว่าคนที่ท�ำธุรกิจส่วนใหญ่เขาคิดถึงขนาดนี้หรือเปล่า มองกลุม่ เป้าหมายว่าจะเปลีย่ นแปลงไปอย่างไรบ้างในอนาคต สำ�หรับ ร้าน Roast Coffee & Eatery

อาจจะไม่ได้เปลีย่ นไป แต่จะกว้างขึน้ จะมีกลุม่ ใหม่ๆ ทีไ่ ม่เคยรูจ้ กั เราเข้ามา เป็นลูกค้า อย่างโรสต์เองผมมองว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่กว้างมากๆ เพราะ 30 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558


เรามีตงั้ แต่เด็กม.ปลายทีอ่ ยากจะมาถ่ายรูปกับสตรอเบอร์รวี าฟเฟิล มากัน 8 คนกินขนมหนึ่งอย่างอะไรอย่างนั้น ซึ่งผมก็ยินดีมาก เพราะว่าวันหนึ่ง เขาก็จะท�ำงานแล้วเขาก็คงอยากจะกลับมากินร้านเราอีก ไปจนถึงกลุ่มที่ อายุ 80 กว่า คุณหญิงคุณนายมานั่งทานข้าวกัน คนไทยก็มี ลูกค้าฝรั่งก็มี ญี่ปุ่นก็มี ผมว่าถ้าเรามีโปรดักต์ที่ดี มีคุณภาพ และเราซื่อสัตย์กับสิ่งที่เรา ท�ำจริงๆ อาหารดีๆ มันไม่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนหรอก มันเป็นของที่ เป็นสากลอยู่แล้ว ทุกคนกินได้ แต่อาจจะต้องมีก�ำลังซื้อในระดับหนึ่ง The Commons คอมมูนิตี้สเปซที่กำ�ลังสร้างอยู่ กลุ่มเป้าหมายที่ วางไว้เป็นกลุ่มไหน คอนเซ็ปต์ของมันคืออะไร

ส�ำหรับ The Commons อาจจะบีบลงมานิดหนึ่ง ผมมองว่ามันถูกสร้าง มาเพื่อชุมชนจริงๆ ผมไม่ได้คิดว่าคนจะต้องเดินทางมาไกลๆ เพื่อมาที่นี่ เขาอาจจะมาปีละครั้งสองครั้ง มาดูเพราะว่ามีคนพูดถึง แต่ว่าที่นี่ถูก สร้างมาเพื่อให้คนที่อยู่สี่ห้ากิโลเมตรจากตรงนี้ คนที่พักในคอนโดเล็กๆ ในทองหล่อ ไม่อยากท�ำอาหารเองก็มาซื้ออาหารตรงนี้ได้ หรือนัดเจอ กับเพื่อน พาหมามาเดินเล่น มาใช้ชีวิตแบบเอาท์ดอร์ในใจกลางเมืองเลย เป็นที่ที่ให้คนมาใช้ชีวิตได้จริงๆ ทุกวันแบบสบายๆ ผมอยากจะให้มันเป็นที่ที่รวมคนที่มีแพสชั่นในสิ่งที่ท�ำมาอยู่ด้วยกัน โปรดักต์ของแต่ละคนก็จะแตกต่างกัน คนท�ำขนมปังก็ท�ำขนมปัง คนท�ำ กาแฟก็ท�ำกาแฟ ตอนนี้เราได้ครบทั้งหมดแล้ว ตัวโครงการจะสร้างเสร็จ ประมาณเดือนพฤศจิกายน เราก็จะทยอยเล่าเรือ่ งราวออกมาเป็นคลิปสัน้ ๆ แนะน�ำแต่ละคนที่อยู่ในตลาดของเรา เพราะผมรู้สึกว่าสิ่งที่พิเศษเกี่ยวกับ ที่นี่ไม่ใช่เพราะสถานที่อย่างเดียว แต่เพราะคนที่มาร่วมกับเรา แต่ละคน มีเรื่องราวเบื้องหลังที่น่าสนใจ ทุกคนที่มาเปิดร้านที่นี่ โปรดักต์ของเขาค่อนข้างมีคุณภาพ ไม่ใส่ สารกันบูดหรือสารเคมี คือเราไม่ได้บอกว่าทุกอย่างออร์แกนิก เพราะมัน พิสูจน์ยากมาก แต่เรารู้ว่าคนพวกนี้ถ้าเขาเลือกของออร์แกนิกหรือของที่ ไม่มสี ารเคมีได้เขาจะเลือก ดังนัน้ ทุกคนสามารถเข้ามากินอะไรง่ายๆ ทีน่ ี่ ได้ จะเป็นข้าวแกง ผัดไทย ข้าวไข่ข้นกุ้ง ไปจนถึงพิซซ่าอะไรก็ว่าไป แต่ แน่ใจได้วา่ ได้ทานของดีๆ ได้ให้รางวัลตัวเอง สามารถเดินขึน้ ไปซือ้ ดอกไม้ ให้แฟน ซื้อแกดเจ็ตหรือแอคเซสซอรี่อะไรเล็กๆ น้อยๆ เข้าบ้านเพื่อให้ ชีวติ เติมเต็มมากขึน้ ขึน้ ไปชัน้ บนก็มสี วนให้มานัง่ ปิกนิก นัง่ คุยกับเพือ่ นได้ แต่สว่ นหนึง่ ทีผ่ มตืน่ เต้นและอยากจะท�ำมากคือส่วนทีเ่ ป็นสตูดโิ อซึง่ มีครัว อยู่ในนั้น เป็นโซนที่คล้ายกับห้องนั่งเล่นของเพื่อนที่เราจะจัดเวิร์กช็อปได้ ทุกวัน อาทิตย์นี้อาจจะชวนคนจัดดอกไม้มาสอนจัดดอกไม้ สอนวิธีทำ� ไส้กรอกง่ายๆ สอนท�ำขนมปัง จัดกิจกรรมที่ให้คนที่อยู่ในละแวกนั้นรู้สึก ว่าเขามาที่นี่แล้วสนุกและได้ให้ความรู้กับตัวเองเรื่อยๆ

เท่าทีฟ ่ งั คิดว่าน่าจะต้องเป็นคนทีม่ กี �ำ ลังซือ้ พอสมควร แล้วตัง้ ใจทำ� เพื่อกลุ่มที่ทุกวันนี้เรามักจะเรียกกันว่าฮิปสเตอร์ด้วยไหม

ถามว่าต้องมีกำ� ลังซือ้ ไหม ใช่ครับ และเป็นสาเหตุทผี่ มเชือ่ ว่าโปรเจ็กต์นจี้ ะ ไม่เวิรก์ ทีไ่ หนเลยยกเว้นในทองหล่อ คือผมรูว้ า่ โอเคผมอยากท�ำคอนเซ็ปต์นี้ แล้วคนที่จะใช้ชีวิตแบบนี้ได้มันมีอยู่ไม่กี่ที่หรอกในกรุงเทพฯ ผมรู้สึกว่า มันง่ายทีจ่ ะเริม่ ทีท่ องหล่อเพราะว่าเราเข้าใจพืน้ ที่ ฮิปสเตอร์คอื ใคร ผมยัง ไม่ค่อยแน่ใจจริงๆ แต่ผมมองว่าคือคนที่มีไลฟ์สไตล์แบบทางเลือกขึ้นมา นิดหนึ่ง อาจจะไม่กินกาแฟสตาร์บัคส์ ต้องไปกินกาแฟดริป ถามว่าเราท�ำ เพื่อคนกลุ่มนี้ด้วยหรือเปล่า ก็คงท�ำเพื่อเขาด้วย แต่ก็ยังมีคนอีกเยอะแยะ เช่นครอบครัวหรือกลุ่มคนท�ำงานในบริเวณนั้นที่เขาไม่เรียกตัวเองว่าเป็น ฮิปสเตอร์หรอก แต่เขาแค่ก�ำลังหาที่ที่จะใช้ชีวิตอย่างนี้ด้วยเหมือนกัน ผมคิดว่าทางเลือกในการใช้ชีวิตแบบนี้มันดีกว่า ในฐานะผู้บริโภคผมอาจ จะไม่ได้อยากสนับสนุนร้านกาแฟดังๆ ผมอยากสนับสนุนคนที่เป็นคนคั่ว ท้องถิ่น ไม่ได้อยากสนับสนุนร้านขายเบเกอรี่ที่รับสินค้าจากที่อื่นมาขาย หน้าร้าน เพราะผมรูว้ า่ มีคณุ คนนีท้ เี่ ขาท�ำขนมปังสดจริงๆ ไม่มสี ารกันบูด ของที่เขาใช้ก็เป็นของดี และราคาก็เท่ากัน เพียงแต่ที่ผ่านมามันไม่มี ทางเลือกให้เรา ดังนั้นผมก็หวังว่ามันจะเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมตัวกัน ของคนที่ ท� ำ อะไรที่ มี คุ ณ ภาพ เพราะถ้ า มี ค นมาพู ด พร้ อ มกั น 20 คน มันย่อมดังกว่าผมพูดอยู่คนเดียว สังเกตว่าร้านของคุณส่วนใหญ่จะอยู่ ในละแวกสุขุมวิท ทองหล่อ เอกมัย แต่ละย่านมันมีความแตกต่างกันไหม

ต่างกันนะครับ คือคนจะชอบพูดกันว่าทองหล่อคือแมนฮัตตัน เอกมัย เหมือนบรูกลิน เอกมัยจะฮิปกว่าหน่อย เพราะด้วยความที่ว่าคนจะชอบ คิดว่าทองหล่อเป็นย่านของแพง ไฮโซ ในขณะทีเ่ อกมัยยังมีความเป็นบ้าน เก่าๆ คิดว่าตรงนีก้ เ็ ลยเป็นทีม่ าของความเป็นฮิปสเตอร์ของเอกมัย แต่คน ทีไ่ ปเทีย่ วทองหล่อก็มาเอกมัยด้วย จริงๆ ก็เป็นคนกลุม่ เดียวกัน แต่วา่ ร้าน ที่ตั้งอยู่อาจจะมีความต่าง คนทองหล่อที่อาจรู้สึกว่าตัวเองเป็นฮิปสเตอร์ หน่อยก็อาจจะเลือกไปร้านในเอกมัยมากกว่า คิดว่าทำ�ไมคนเราถึงอยากมีทางเลือกให้ตัวเองมากขึ้น เพราะสิ่งที่ มันมีอยู่มันไม่ดีแล้ว หรือว่ามันเป็นกระแสที่เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย แล้วคิดว่ากระแสพวกนี้มันจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรอีกบ้าง

ผมว่ายุคที่ของทุกอย่างจะออกมาเหมือนกัน มันเริ่มหมดไปแล้วจริงๆ ด้วยความที่ตอนนี้ทุกคนเชื่อมต่อถึงกันได้หมดเลย การที่จะให้ตัวเองมี เอกลักษณ์ที่ชัดเจนมันจะสื่อผ่านสิ่งที่เราเลือกให้ตัวเอง สิ่งที่เราท�ำ สิ่งที่ เราใช้ และด้วยความทีว่ า่ คนก็คงอยากจะมีความเป็นปัจเจกทีส่ งู ขึน้ ก็เลย ต้องเลือกหาอะไรที่เฉพาะเจาะจงมากๆ พิเศษมากๆ พฤษภาคม 2558

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

แล้วที่เขาชอบพูดกันว่ามันเป็นตัวตนที่ไม่จริงล่ะ คิดว่าอย่างไร

คือมันก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่อาจจะเลือกใช้ของและใช้ชีวิตแบบนี้เพราะ เห็นว่าคนอืน่ ท�ำแล้วรูส้ กึ ว่ามันเท่ ซึง่ ก็นา่ เสียดาย แต่ผมก็เชือ่ ว่ามีคนกลุม่ หนึ่งที่เขาเลือกของแบบนี้เพราะว่าเขาเข้าใจจริงๆ จริงอยู่ที่ผมรู้สึกว่าใน สังคมไทยเราค่อนข้างเลือกของจากหน้าตา จากชื่อ จากเปลือก มากกว่า จะเลือกจากแก่นจริงๆ แต่ว่าก็ยังดีกว่าเขาไม่มีประสบการณ์กับมันเลย ผมมีลกู ค้าทีเ่ ดินมาทีร่ า้ นแล้วบอกว่าผมเห็นร้านคุณในเว็บไซต์ เห็นบอกว่า กาแฟอร่อย ไหนมีกาแฟอะไรที่เป็นซิกเนเจอร์ ผมก็บอกว่ากาแฟเราเอา เข้ามาเอง เราท�ำงานกับเกษตรกรเอง เราคั่วเอง เราพิถีพิถันทุกอย่าง มันพิเศษจากตัวกาแฟเอง แต่เขาถามผมต่ออีกว่า แล้วอะไรล่ะที่เป็น ของพิเศษ เขาไม่เข้าใจว่ากาแฟมันพิเศษได้ยังไง คุณไม่ได้ใส่คาราเมล คุณไม่ได้เอาไปปัน่ แต่มลี กู ค้าทีเ่ ขาได้กนิ แล้วเขาก็บอกว่า โห! ฟินมากเลย กาแฟมันควรจะรสชาติเป็นอย่างนี้เหรอ ไอซ์ลาเต้ฉันก็กินอยู่ทุกวัน ท�ำไม รสชาติมนั ไม่เหมือนกัน ผมก็รสู้ กึ ว่ามันไม่เป็นไรนะถ้าเขาจะใช้ของของเรา แบบผิดๆ ไปก่อน แต่พอเขาใช้แล้วมีประสบการณ์แล้วอยากจะรู้มากขึ้น และเรามีโอกาสได้สอื่ สารกับเขา เขาก็จะยิง่ รูส้ กึ มัน่ ใจหรือมีพลัง แล้วก็จะ ไปบอกเพื่อนต่อ แบบนี้มันก็ดี แต่มันก็ต้องเริ่มจากโปรดักต์ที่ดีก่อน แต่ผมก็ไม่กล้าพูดเลยนะว่าของของเราดีทสี่ ดุ พูดได้แค่วา่ ของของเรา แตกต่าง ไม่ได้ซอื้ จากใครมา เราเห็นขัน้ ตอนการท�ำตัง้ แต่เริม่ จนจบ ถึงกล้า พูดว่าอันนีค้ ณุ หาซือ้ จากทีอ่ นื่ ไม่ได้ ส่วนคุณจะชอบหรือไม่ชอบเราบังคับไม่ได้ คิดว่าในอนาคตยังจะคงคอนเซ็ปต์การทำ�อะไรเองตั้งแต่เริ่มต้นจน จบไหม

เป็นสิ่งที่อยากท�ำต่อไปเรื่อยๆ แต่ว่าในการท�ำธุรกิจจริงๆ คุณไม่สามารถ ท�ำได้ทุกอย่างหรอก ถ้าคุณอยากจะโตไปถึงสเกลหนึ่ง คุณก็ต้องหา ผูเ้ ชีย่ วชาญ เช่นคนท�ำขนมปังมาท�ำงานให้คณุ คุณก็ตอ้ งรูจ้ ริงๆ ว่าจุดแข็ง ของคุณอยู่ที่ไหน แล้วคุณก็ไปโฟกัสกับจุดนั้น ถามว่าอยากจะใช้ปรัชญานี้ ในการโตขึ้นไปเรื่อยๆ ไหมก็อยากนะ และก็จะท�ำให้ถึงที่สุด แต่ว่าถ้าถึง จุดหนึ่งแล้ว ไม่ไหว เราก็อาจจะต้องมองว่าจะท�ำยังไง ต้องหาพาร์ทเนอร์ หาซัพพลายเออร์เข้ามาตรงนี้หรือเปล่า แต่คิดว่าการท�ำธุรกิจของผมมัน คงไม่มีวันไปจนถึงจุดที่จะคิดถึงว่าอะไรสร้างก�ำไรได้มากที่สุด แต่มัน ต้องเป็นการบาลานซ์ระหว่างก�ำไรกับปรัชญาส่วนตัวในการท�ำธุรกิจด้วย คุณพ่อสอนผมมาตั้งแต่เด็กว่าถ้าวันหนึ่งตื่นมาแล้วรู้สึกไม่อยากไปท�ำงาน ให้อดทนก่อน แต่ถา้ วันทีส่ องยังรูส้ กึ เหมือนเดิม คุณต้องเริม่ คิดแล้ว ซึง่ มัน ก็ปลูกฝังมากับเราตั้งแต่เด็กว่า เออ จริงนะ การจะเลือกท�ำอะไรเราต้อง เชื่อและมีความศรัทธาในอาชีพนั้น ต้องมีความสุขกับมัน มีวิธีการมองอนาคตอย่างไรบ้าง

องค์ประกอบหลักอย่างแรกต้องดูกอ่ นว่าเรามีกำ� ลังในการโตขนาดไหน ผม ว่าเรื่องนี้ส�ำคัญมาก บางทีพนักงานจะถามว่าท�ำไมยังไม่เปิดสาขาสองสัก ที ก็ตอ้ งถามว่าคุณคิดว่าเรามีหลังบ้านทีแ่ ข็งแรงหรือยัง คุณเก่งในสิง่ ทีค่ ณุ ท�ำทีส่ ดุ แล้วหรือยัง ถ้าคุณยังไม่เก่งทีส่ ดุ ถ้าคนเรายังไม่พร้อม เราจะโตไป ได้ยงั ไง เราต้องดูกำ� ลังตัวเองก่อน อีกอย่างหนึง่ ทีต่ อ้ งดูกค็ อื กลุม่ ลูกค้าเขา ต้องการอะไรด้วย เรื่องนี้ส�ำคัญที่สุด ถ้าคุณอยากจะท�ำแต่ลูกค้าไม่อยาก ได้ก็ไม่มีประโยชน์ และถ้าลูกค้าอยากได้ แต่คุณท�ำได้ไม่ถึงเกรดนั้นก็ไม่มี ประโยชน์เหมือนกัน

CREATIVE INGREDIENTS นอกจากกาแฟแล้ว มีอะไรที่ชื่นชอบอีก

ชอบคุยชอบถกเถียงเรื่องอะไรก็ได้ที่ทำ�ให้รู้สึกว่าเราได้ใช้มันสมองอยู่เรื่อยๆ แต่ช่วงหลังๆ มานี้ผมก็ชอบ อยู่เงียบๆ กับธรรมชาติด้วย ชอบอยู่บ้านกับภรรยา ปลูกผัก การที่เราต้องเลี้ยงดูอะไรเล็กๆ แล้วได้เห็น มันออกผล มันสอนอะไรเกี่ยวกับชีวิตเยอะเลย อย่างเรื่องกาแฟ ต้นกาแฟที่แข็งแรงที่สุดคือต้นกาแฟที่มี ร่มไม้จากต้นไม้ใหญ่ข้างๆ บางต้นดูดออกซิเจนเข้าไปเพื่อทำ�ให้ดินดีขึ้น เราเองก็ควรจะอยู่ใกล้ๆ อะไรที่ ดีกับเรา ล้อมรอบตัวเองด้วยคนที่ทำ�ให้เราโตขึ้น ความยากในการทำ�ธุรกิจ

ความยากของมันคือเราจะเป็นตัวของตัวเองได้ขนาดไหน คุณต้องเล่นเกมของตลาดด้วย ยกตัวอย่างว่า ทำ�ไมผมต้องทำ�เมนูของร้านให้มีรูปอาหารทุกเมนู เพราะว่าจริงๆ แล้วตลาดเขาบริโภครูป เขาไม่อยากจะ อ่าน แต่ผมก็ต้องซ่อนเรื่องราวของผมไว้ตรงนี้ จะมีสักกี่คนที่อา่ นว่าเราทำ�เฟรนช์ฟรายด์เอง ไม่เยอะหรอก แต่ผมก็เชื่อนะว่า Product is king.

32 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558


reading OUTSIDE LIVING: TERRACES, BALCONIES, ROOF DECKS, COURTYARDS, POCKET GARDENS, AND OTHER SMALL OUTDOOR SPACES By FRANCESC ZAMORA MOLA Bt.1,150 Most importantly, the design ideas featured can easily be tailored to the unique tastes and individual needs of a particular site or project.Truly an inspirational sourcebook for anyone aspiring to create or update an outdoor room, the book includes designs from all parts of the world the United States, Canada, England, Japan, and France, among other countries by some of the very best contemporary garden designers and landscape architects at work today. This book is destined to become a perennial resource.

THE SUSTAINABLE DESIGN BOOK By REBECCA PROCTOR Bt.1,275 The Sustainable Design Book updates the reader on the latest products and developments in the field of “green” design. Around 300 of the most exciting new products are featured. Q&As with leading designers give insight into trends and key techniques used within the industry, while handy icons highlight each product’s sustainability credentials at a glance. Beginning with a chapter on sustainable materials, the book goes on to cover furniture, lighting, home accessories, and personal accessories, giving readers a broad and current understanding of sustainable design from raw elements through to finished products.

MEDITERRANEAN LIVING: STYLISH AND ELEGANT OR CLOSE TO NATURE By MANUELA ROTH Bt.1,350 The living culture around the largest inland sea resulting from the interaction of those influences with the special climate has always been a source of inspiration for the rest of the world. Sunny terraces, shady courtyards and colors which reflect the landscape, the sky and the sea are only a few of the characteristics. This volume presents the exciting creative variety of contemporary homes and apartments designed by international architecture firms along with up-and- coming local architects. These dwellings can be mini - malistic or opulent, newly constructed or remodelled old ruins, from Ibiza to Tel Aviv, from Greece to Morocco.

F o r m o r e i n f o r m a t i o n , p l e a s e c a l l Te l . 0 2 - 2 5 1 - 8 5 7 1

w w w. a s i a b o o k s .c o m


CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

DIRECT TRADE: DIRECTLY SERVE THE FINEST BEANS FROM FARMERS เรื่อง: ปิยะพร อรุณเกรียงไกร

แม้ธรุ กิจกาแฟในสหรัฐอเมริกาจะก้าวเข้าสูย่ คุ ทีส่ าม (Third Wave of Coffee) ก่อนใครเพือ่ นและพาผูบ้ ริโภคด�ำดิง่ ไปกับความ ลุ่มลึกของเมล็ดกาแฟที่ถูกคัดสรรมาอย่างดี (Specialty Coffee) จนส่งผลให้กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มที่มีจริต เต็มเปี่ยม ด้วยเรื่องราวไม่ต่างจากไวน์ ชา หรือสินค้าออร์แกนิก แต่ใช่ว่าสถานการณ์วันนี้จะไร้ความตื่นเต้นเสียทีเดียว เพราะบรรดา โรงคั่ว ร้านกาแฟอิสระ และแฟรนไชส์ขนาดย่อมที่เคยบุกเบิกกระแสนี้ เช่น อินเทลลิเจนเซีย คอฟฟี่ แอนด์ ที (Intelligensia Coffee & Tea) เคาน์เตอร์ คัลเจอร์ คอฟฟี่ (Counter Culture Coffee) หรือ สตัมป์ทาวน์ คอฟฟี่ โรสเตอร์ส (Stumptown Coffee Roasters) ได้ขยับขึ้นมาเป็นธุรกิจขนาดกลางที่มีกลุ่มลูกค้าประจ�ำเหนียวแน่น และยังคงกระตือรือร้นที่จะแสวงหา ประสบการณ์ ใหม่ๆ มาเสิรฟ ์ ผู้บริโภค ไม่ว่าจะพึ่งพานวัตกรรม หรือย้อนรอยเส้นทางการค้ากลับไปหาแหล่งปลูกดั้งเดิม เพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าซึ่ ง เมล็ ด พั น ธุ ์ ที่ ดี ที่ สุ ด และปลู ก ความสัมพันธ์ ใหม่กับเกษตรกรในรูปแบบการซื้อขายโดยตรงหรือที่เรียกว่า "ไดเร็กต์ เทรด (Direct Trade)”

หัวใจส�ำคัญของไดเร็กต์ เทรดก็คอื การดึง “ลักษณะเฉพาะ” ของเมล็ดกาแฟ ออกมาโดยที่ยังคงคุณภาพ จุดเด่น และมิติทางรสสัมผัสไว้อย่างครบถ้วน เช่น กลิ่น (Aroma) รสชาติ (Flavour) และรสที่ยังกรุ่นในปากหลังดื่ม (Aftertaste) รายละเอียดเหล่านี้ถือเป็นเสน่ห์ของกาแฟที่ไม่เคยถูกกลั่น ออกมาเพราะขาดเทคโนโลยีที่เหมาะสม หรือสูญหายไปในยุคเฟื่องฟูของ อุตสาหกรรมกาแฟส�ำเร็จรูปและการผลัดไม้ประมูลหลายต่อ ด้วยวิธีการนี้เอง เจ้าของธุรกิจโรงคั่วจะเข้าไปท�ำงานกับเกษตรกร โดยตรงและวางกลยุทธ์ใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่เจรจาตกลงทางธุรกิจ ก�ำหนด ต้นทุนการผลิต แลกเปลีย่ นทักษะความรู้ วางแผนการปลูกทีเ่ ข้ากับสภาพ ภูมิศาสตร์ ตลอดจนขั้นตอนการบรรจุภัณฑ์และการขนส่งทางเรือ ทั้งนี้ก็ เพื่อให้ผลผลิตออกมาไร้ที่ติ (No Defects) ส่วนผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ ได้ตัดปัญหายุ่งยากและความไม่โปร่งใสที่เกิดขึ้นในระหว่างการซื้อหรือ ประมูลผ่านพ่อค้าคนกลางซึ่งมักมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ด้วยวิธีนี้ เกษตรกรจะ ได้รับค่าตอบแทนในราคาที่สูงกว่าตลาดราวปอนด์ละ 3-5 เหรียญสหรัฐฯ โมเดลนี้ยังมีค่าตอบแทนเป็น "แรงจูงใจ" ในการท�ำงาน (Incentive Based Reward) ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามคุณภาพของผลผลิตที่ได้หลังจากการทดสอบ รสชาติกาแฟ (Cupping) อีกด้วย ขณะที่คนคั่ว (Roaster) ก็สามารถบอก ความต้องการ ตลอดจนให้ค�ำแนะน�ำกับเกษตรกรได้ว่าผลผลิตในแต่ละ ล็อตนัน้ มีจดุ เด่นจุดด้อยตรงไหน เกิดขึน้ จากปัจจัยใด และควรแก้ไขอย่างไร จริงอยูท่ อี่ งค์กรอิสระทีไ่ ม่แสวงหาผลก�ำไร หรือ "แฟร์เทรด (Fair Trade)” 34 l

Creative Thailand

l พฤษภาคม 2558

ได้เข้ามาสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีช่องทางค้าขายและช่วยพัฒนา ความเป็นอยูข่ องชุมชนให้ดยี งิ่ ขึน้ แต่หากมองในเชิงธุรกิจ ปัญหาใหญ่ของ สินค้าในเครือแฟร์เทรดนั้นไม่สามารถการันตีได้ว่ามีคุณภาพดีเหมือนกัน ทั้งหมด อีกทั้งทางหน่วยงานยังต้องน�ำรายได้ทั้งหมดไปหักค่าใช้จ่ายจาก การประสานงานและการขอใบรับรองมาตรฐานต่างๆ ทางฝั่งคนปลูกเอง ก็ขาดแรงจูงใจที่จะพัฒนาเมล็ดกาแฟ เพราะไม่รู้ความต้องการที่แท้จริง ของตลาดและผลตอบแทนก็ยังไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ไดเร็กต์เทรดจึง น่าจะตอบโจทย์ในเรื่องเม็ดเงินและการสานความสัมพันธ์แบบคู่ค้าใน ระยะยาวได้ดีกว่า จะด้วยประสบการณ์ทคี่ ลุกคลีอยูใ่ นวงการมานานจนเห็นปัญหาเรือ้ รัง หรือเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่เจ้าของธุรกิจเหล่านี้ ก็ไม่ได้ย�่ำอยู่บนจุดเดิมของการน�ำเสนอความหลากหลายของวัฒนธรรม กาแฟ ผ่านรูปลักษณ์ รสชาติ และการบริการ เพื่อสนองความต้องการ บริโภคคาเฟอีนของชาวอเมริกันดังเช่นที่ผ่านมา แต่ยังกล้าเดิมพันด้วย การถอดรื้อระบบ ก�ำจัดจุดบกพร่อง แล้วสร้างวัฒนธรรมการค้าขึ้นใหม่ ร่วมกับผู้ผลิต และยกให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายตัดสินว่ารสชาติของกาแฟที่ ติดฉลาก "ไดเร็กต์ เทรด" จะเป็นแค่กมิ มิกทางการตลาดหรือของจริง ที่มา: วิกิพีเดีย, บทความ “Going beyond fair trade: the benefits and challenges of direct trade” จาก theguardian.com, บทความ "To Burundi and Beyond for Coffee’s Holy Grail” จาก nytimes.com และ stumptowncoffee.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.