Creative Thailand Magazine

Page 1



Tell me and I forget Show me and I remember Involve me and I learn ฉันจะลืม ถ้าแค่บอก ฉันจะจำ� ถ้าแสดงให้เห็น แต่ถ้าได้ลงมือทำ� ฉันจะเรียนรู้ John Gay

นักประพันธ์และกวีชาวอังกฤษ


CONTENTS สารบัญ

6

The Subject

ทางเดินของคน ทางรอดของปลา/ อนาคตบนผืนน้ำ/ ขามสูการออกแบบสำหรับทุกคน/ โรงเรียนลอยน้ำ

Insight

20

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

คืนชีวิตโรงงานราง

Duck & Noodle: Off the Deck, Back to the Shore

8 10

Creative Resource

Featured Book / Books

Matter

ปรับโครงสรางไม…สลายจุดออน

SOUTH BANK, LONDON: Live, Work and Play right by the River

12

Classic Item

14

Cover Story

Port ทุกอยางเริ่มตนที่ทาเรือ

พื้นที่ริมน้ำกับบทบาทที่ไมหยุดนิ่งในมหานครรวมสมัย

ผศ.ดร.ยงธนิศร พิมลเสถียร: Riverfront for Everyone

BioHaven® Floating Islands…ใหธรรมชาติดูแล

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, เบญจณิษฐ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l วิชัย สวางพงศเกษม, รังสิมันตุ กองแกว, พัชรดา วรพิพัฒน จัดทำโดย l TCDC (ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ผูออกแบบปก | ฉัตริณยา ชัยสดมภ, ปวิตรา ฉัตรฤทธิชัยกุล, ธาราริน จิรจักรวาล นักศึกษาฝกงานจาก Conscious สตูดิโอที่เชื่อวางานออกแบบ เปนเรื่องเล็กๆ แตสามารถผลักดันเรื่องใหญๆ ได ผลงาน: facebook.com/conscious.co.th, conscious.co.th


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

ความสัมพันธ์กับพื้นนํ้า ในอดีต ความสำ�คัญของเมืองทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการเมืองและการปกครอง ไม่ได้วดั ทีค่ วามเป็นเมืองหลวงเท่านัน้ แต่ความเป็นเมืองท่าได้กอ่ ให้เกิดความรุง่ เรือง ของผู้ปกครองและได้กลายเป็นอำ�นาจต่อรองที่แข็งแกร่ง เมืองท่าเหล่านี้สั่งสมทุนทรัพย์อย่างมั่งคั่ง หลายเมืองผันตัวเองจากมหานครพาณิชย์กลายเป็น นายธนาคารอันทรงเกียรติ เมืองอย่างฟลอเรนซ์ เวนิส ฮัมบูร์ก อัมสเตอร์ดัม เซี่ยงไฮ้ หรือกัลกัตตา จึงเป็นเมืองที่เติบโตจากโอกาสที่พื้นนํ้าได้มอบให้ แต่เมื่อระบบลอจิสติกส์ของโลกได้เปลี่ยนโฉมหน้าไป การพัฒนาการขนส่งทางอากาศและระบบรางได้เข้ามามีบทบาทสำ�คัญทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น แน่นอนว่า เมืองท่าในอดีตย่อมสูญเสียอำ�นาจต่อรองลง และถึงแม้ความสำ�คัญของการเป็นแหล่งศูนย์กลางการขนส่งจะไม่เข้มข้นดังเดิม แต่เมืองเหล่านี้ ก็ยงั คงโลดแล่นต่ออย่างชาญฉลาดเพือ่ สร้างชีวิตให้กับเมือง ทุกวันนี้ เราจึงได้เห็นพัฒนาการของเมืองท่าที่ได้แปรเปลี่ยนประวัติศาสตร์และเศรษฐกิจ ของเมือง ให้ตอบรับและสอดคล้องกับความเป็นไปของโลกและผู้คน ในหลายเมืองเช่นเวนิสหรือฟลอเรนซ์ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ริมนํ้าให้กลายเป็น แหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ หลายเมืองเปลี่ยนพื้นที่ริมนํ้าที่เคยใช้เพื่อการกักเก็บสินค้ากลายเป็นย่านธุรกิจสำ�หรับคนรุ่นใหม่ ที่อยู่อาศัย หรือสวนสาธารณะ แต่ขณะเดียวกัน เมืองท่าริมนํ้าหรือเมืองที่มีแม่นํ้าพาดผ่านเหล่านี้ก็ไม่สามารถคิดถึงแต่ประโยชน์ที่จะได้รับจากสายนํ้าแต่เพียง อย่างเดียว เพราะพื้นที่ริมนํ้ายังต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากอุทกภัยที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะเป็นกรุงโซลของเกาหลีใต้หรือเดรสเดนในเยอรมนี ซึ่งต่างต้อง คิดถึงการรับมือจากการเป็นพื้นที่ริมนํ้าเช่นกัน ดังนั้นพัฒนาการของเมืองหรือพื้นที่ริมนํ้าจึงเต็มไปด้วยความหลากหลายที่น่าศึกษาและไตร่ตรอง เพราะพื้นที่สองข้างขนาบนํ้านั้นคือสินทรัพย์ที่มิอาจถูกละเลย ไม่ใช่แต่เพียงแง่มุมของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น หากคือการพัฒนาการ หลอมรวมของสังคมที่มีมิติทั้งทางเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์ของผู้คนที่ใช้ชีวิตในเมืองนั้นๆ เพราะการพัฒนาพื้นที่ริมนํ้าให้มีชีวิต มิอาจตัดขาดหรือ เบ็ดเสร็จได้ด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ปัจจุบันเมืองสำ�คัญๆ ของโลก ได้หันเหการพัฒนาริมนํ้าให้เป็นโครงการที่ก่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้คน เช่น เมืองฉงชิ่งในจีนได้จัดทำ�โครงการพัฒนาพื้นที่ริมนํ้าความยาวกว่า 180 กิโลเมตร แม้จะมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้างระบบการขนส่งและขนถ่ายสินค้า ทีท่ นั สมัย มีประสิทธิภาพ แต่กย็ งั เกาะเกีย่ วกับการพัฒนาธุรกิจด้านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงย่านทีอ่ ยูอ่ าศัย เพือ่ ให้โครงการขนาดใหญ่นี้ ไม่แห้งแล้งเหมือนความผิดพลาดทีเ่ มืองใหญ่ๆ ของจีนเคยทำ�มา ในขณะทีก่ ารพัฒนาริมนาํ้ ในฝัง่ ยุโรปเลือกให้คณุ ค่าอย่างสูงในการสร้างความสอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้คน ความไหลลื่นระหว่างพื้นนํ้าซึ่งผู้คนยังสามารถใช้สัญจรไปมา ส่วนพื้นดินบนฝั่งก็ยังเป็นร้านค้า โรงแรม ร้านอาหาร และที่อยู่อาศัย สลับกับพื้นที่สาธารณะ การพัฒนาจึงไม่ได้ไปเขย่าหรือสั่นสะเทือนความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนํ้า แต่มุ่งเน้นการเพิ่มเติมความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ มากยิ่งขึ้น เช่น ความปลอดภัย สุขอนามัย และการมีส่วนร่วมของผู้คน นับเป็นโชคดีของเราที่ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คน นํ้า และพื้นที่ริมนํ้า ได้เชื่อมโยงกันมายาวนาน เรายังมีกิจกรรมทั้งการเดินทาง ค้าขาย อยู่อาศัย และท่องเที่ยว ไม่ใช่เฉพาะพื้นที่แม่นํ้าตามเมืองใหญ่อย่างเจ้าพระยาและกรุงเทพฯ แต่ยังรวมไปถึงพื้นที่ริมนํ้าอื่นๆ ซึ่งแม้ว่าจะเป็นกิจกรรมที่พลุกพล่าน จนเกือบจะวุน่ วาย แต่นน่ั ก็แสดงถึงความมีชวี ติ และความสัมพันธ์ทเ่ี ป็นไประหว่างกัน ดังนัน้ หากเรามองโอกาสจากความสัมพันธ์ระหว่างผูค้ นกับพืน้ นา้ํ เราอาจมองเห็นธรรมชาติที่กำ�ลังสื่อสารกับสัญชาตญาณการสร้างสรรค์ของมนุษย์นั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอ�ำนวยการ Apisit.L@tcdc.or.th กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l5


THE SUBJECT ลงมือคิด

เรื่อง: วิชัย สว่างพงศ์เกษม ทางเดินของคน ทางรอดของปลา

การพัฒนาพืน้ ทีร่ มิ นํา้ นับเป็นกระแสทีก่ ำ�ลังเกิดขึน้ ทัว่ โลกเพือ่ ความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้นของประชากร ทว่ามนุษย์ก็ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตเพียงหนึ่งเดียวที่อาศัย ในบริเวณพื้นที่ริมนํ้านี้ กว่า 70 ปีแล้วที่เมืองซีแอตเทิล ในสหรัฐอเมริกา ได้สร้างกำ�แพงกันคลื่นอ่าวเอลเลียต (Elliott Bay) เพื่อป้องกันการกัดเซาะ ของชายฝั่ง ซึ่งส่งผลให้จำ�นวนแซลมอนในพื้นที่ลดลงกว่าร้อยละ 90 เนือ่ งจากเงาทึบของชายฝัง่ จะบดบังทิศทางการอพยพสูท่ ะเลของลูกแซลมอน ทำ�ให้พลัดหลงไปในพื้นที่นํ้าลึกซึ่งลูกแซลมอนจะต้องเผชิญกับผู้ล่าและ ปลาใหญ่ที่แย่งอาหารของพวกมัน การพัฒนาพืน้ ทีช่ ายฝัง่ เมืองซีแอตเทิลทีก่ ำ�ลังดำ�เนินการอยูใ่ นขณะนี้ จึงคำ�นึงถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการอพยพของ ลูกแซลมอน เจมส์ คอร์เนอร์ (James Corner) ภูมิสถาปนิกจาก James Corner Field Operations จึงออกแบบทางเดินเลียบอ่าวให้มบี ล็อกกระจก โปร่งแสงให้พื้นที่ใต้นํ้าสว่างและเป็นเส้นทางที่ปลอดภัยสำ�หรับการอพยพ ของลูกแซลมอน นอกจากนี้แสงอาทิตย์ที่ส่องไปใต้นํ้ายังจะช่วยให้พืชนํ้า เจริญเติบโต เป็นอาหารของสัตว์นา้ํ และเป็นแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝัง่ ตามธรรมชาติรวมทัง้ เพิม่ ความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย รายละเอียด เล็กๆ เหล่านี้จึงถือเป็นการพัฒนาพื้นที่ที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งมนุษย์และ ชีวิตอื่นที่อาศัยในพื้นที่ริมนํ้าร่วมกัน

flickr.com/photo/shot_photos ที่มา: friendsofwaterfrontseattle.org ,waterfrontseattle.org, บทความ “Seawall Construction: Improving the Nearshore Habitat”จาก seattleaquarium.org, บทความ “The Seattle Seawall Project: Transforming Salmon Habitat” จาก science.kqed.org

nytimes.com

ข้ามสู่การออกแบบสำ�หรับทุกคน

6l

Creative Thailand

l

กรกฎาคม 2558

Inclusive Design หรือ Universal Design คือการออกแบบทีค่ ำ�นึงถึงผูใ้ ช้งาน ทุกกลุม่ ให้มากทีส่ ดุ โดยเฉพาะกลุม่ ผูใ้ ช้งานทีม่ คี วามต้องการพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ ผู้พิการ ฯลฯ โดยที่การออกแบบนั้นจะ ต้องไม่ทำ�ให้ผใู้ ช้งานกลุม่ ต่างๆ เหล่านีเ้ กิดความรูส้ กึ แปลกแยกอย่างลิฟต์ พิเศษโดยเฉพาะสำ�หรับผู้พิการ แต่ต้องเป็นการออกแบบในรูปแบบเดียว ทีท่ กุ คนสามารถใช้งานได้รว่ มกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึง่ หนึง่ ในตัวอย่าง ที่ดีของการออกแบบที่ว่านี้ก็คือสะพานสควิบบ์บริดจ์ (Squibb Bridge) ในเมืองบรุกลิน (Brooklyn) นครนิวยอร์ก ซึ่งเชื่อมสวนสควิบบ์ พาร์ก (Squibb Park) สู่สวนริมนํ้าบรุกลิน บริดจ์ พาร์ก (Brooklyn Bridge Park) ในขณะที่นักออกแบบบางคนเห็นว่าควรสร้างสะพานในลักษณะของ ขัน้ บันไดให้ดอู ลังการ แต่ เทด ซอลิ (Ted Zoli) วิศวกรโครงสร้างผูอ้ อกแบบ สะพานนีก้ ลับให้ความสำ�คัญกับการใช้งานจริง โดยออกแบบสะพานสควิบบ์ บริดจ์ให้เป็นทางลาดที่มีราวจับ เพื่อให้ผู้ที่นั่งวีลแชร์ข้ามสะพานนี้ได้ด้วย ตัวคนเดียวไม่ตา่ งจากคนอืน่ ๆ โดยสะพานทีม่ คี วามยาว 395 ฟุตนีจ้ ะค่อยๆ ลาดลงอย่างช้าๆ จากหัวสะพานสูป่ ลายสะพานซึง่ มีความสูงต่างกันถึง 30 ฟุต

ที่มา : brooklynbridgepark.org,บทความ “A Zigzag Offers a More Direct Route to a Park” จาก nytimes.com, บทความ “Universal Design: Why Public Spaces must be Accessible for All” จาก ceosforcities.org


THE SUBJECT ลงมือคิด

อนาคตบนผืนนํ้า

เทคโนโลยีกำ�ลังนำ�เราไปสู่อนาคตของการทำ�สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เกิดขึ้น เมืองลอยนํ้าจะไม่เป็นเพียงจินตนาการหรือเรื่องแต่งทางวิทยาศาสตร์ อีกต่อไปเพราะจีนมีแผนจะก่อสร้างมันขึ้นเร็วๆนี้ บริษทั China Communications Construction Company หรือ CCCC ได้มอบหมายให้สำ�นักงานออกแบบที่ชื่อ AT Design Office ออกแบบ เมืองลอยนํา้ ขนาด 4 ตารางไมล์ทม่ี รี ปู ทรงหกเหลีย่ ม โดยชิน้ ส่วนของเมือง แต่ละด้านจะถูกผลิตขึ้นบนเกาะที่อยู่บริเวณใกล้เคียงด้วยเทคโนโลยี เดียวกันกับการสร้างสะพานข้ามทะเล 31 ไมล์ทเี่ ชือ่ มฮ่องกง มาเก๊า และ อูไห่เข้าด้วยกัน ก่อนจะล่องชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบกันกลางทะเล เกาะลอยนํ้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะรองรับประชากรจีนที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนือ่ ง และเป็นเมืองท่องเทีย่ วระดับไฮเอนด์สำ�หรับประสบการณ์ใต้นา้ํ ทีห่ าไม่ได้จากทีไ่ หน โดยจะมีทง้ั พิพธิ ภัณฑ์ โรงแรม ศูนย์การค้า สถานบันเทิง ใต้นาํ้ และพืน้ ทีเ่ หนือนํา้ ทีเ่ ป็นสวนสาธารณะสำ�หรับกีฬาและสันทนาการ นอกจากนีย้ งั มีฟาร์มผลิตอาหาร ระบบไฟฟ้าพลังงานนํา้ รถยนต์พลังงาน ไฟฟ้า การกรองนํ้าจืดจากฝน และระบบแปรรูปขยะเป็นพลังงานเพื่อให้ เป็นเมืองที่พึ่งพาตัวเองได้ด้วยพลังงานสะอาดอย่างยั่งยืน ที่มา: บทความ “Floating City concept by AT Design Office features underwaterroads and submarines” จาก dezeen.com, บทความ “The Next Big Thing: China’s floating city” จาก telegraph.co.uk และ บทความ “The Next Giant Chinese City Will Float in the Ocean”จาก fastcoexist.com

dezeen.com

smartvineyard.com

โรงเรียนลอยนํา้

มาโคโค (Makoko) คือย่านสลัมกลางนํา้ แห่งเมืองเลกอส (Lagos) ไนจีเรีย ทีม่ ลี กั ษณะเป็นชุมชนแออัดซึง่ ขาดทัง้ โครงสร้างพืน้ ฐาน ไม่มแี ผ่นดิน และ ประสบปัญหาโรงเรียนไม่มพี น้ื ทีเ่ พียงพอสำ�หรับนักเรียน แต่ปญั หาทัง้ หมดนี้ ได้รับการแก้ไขด้วยการออกแบบอย่างสร้างสรรค์โดย NLÉ กลุ่มสถาปนิก ที่มุ่งพัฒนาชุมชนที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับนํ้าได้อย่างลงตัว การสร้างโรงเรียนลอยนํา้ ของกลุม่ นักออกแบบคือทางออกสำ�คัญสำ�หรับ ปัญหาที่ชุมชนกำ�ลังเผชิญ โดยโรงเรียนลอยนํ้านจัดแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้นล่างเป็นลานสำ�หรับวิ่งเล่นและใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมในชุมชน ช่วงสุดสัปดาห์ ชั้นที่สองแบ่งออกเป็นห้องเรียน 4 ห้องที่จุนักเรียนได้ ทั้งหมด 100 คน และชั้นที่สามเป็นพื้นที่เล็กๆ สำ�หรับจัดเวิร์กช็อปต่างๆ ซึง่ เป็นการจัดสรรพืน้ ทีอ่ ย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของ ผู้ใช้งานสูงสุด ขณะที่ด้านพลังงานนั้น โรงเรียนแห่งนี้จะใช้ไฟฟ้าจากแผง พลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา มีรางนํา้ เชือ่ มกับถังเก็บนํา้ เพือ่ กักเก็บนํา้ ฝน ไว้ใช้ในสุขา และโรงเรียนแห่งนี้จะลอยได้ด้วยถังนํา้ ที่ติดตั้งอยู่ใต้โรงเรียน เพื่อรับมือกับภาวะนํา้ ท่วมจากฝน การนำ�วัสดุที่หาได้จากในชุมชนอย่างไม้และถังนํ้าที่มีอยู่ในพื้นที่มา จัดสรรโดยแรงงานไร้ฝีมือในชุมชน ให้พวกเขาได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับ ปัญหาต่างๆ ยังช่วยให้คนในชุมชนสามารถนำ�ความรู้ที่ได้รับนี้ไปใช้ปลูก สร้างบ้านหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ได้ต่อไป โดยทางการมีแผนจะใช้โรงเรียน ลอยนํา้ แห่งนีเ้ ป็นต้นแบบในการพัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยในชุมชนมาโคโคให้เป็น ชุมชนลอยนํ้าต่อไป ที่มา: บทความ“Genius Architecture: Makoko Waterfront School”จาก theartsygeek.com, บทความ “Lagos State Considers ‘Makoko Floating School’ Into Development Plan“ จาก archidatum.com และบทความ “Makoko Floating School, beacon of hope for the Lagos 'waterworld'” จาก theguardian.com กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

HAPPY CITY Transforming our Lives through Urban Design

Featured Book

โดย Charles Montgomery

แรงบันดาลใจที่ทำ�ให้ ชาร์ลส์ มอนต์โกเมอรี แต่งหนังสือเล่มนี้และลุกขึ้น มาผลักดันเรือ่ งการสร้างความสุขให้กบั เมืองอย่างจริงจัง หนึง่ ในนัน้ น่าจะ มาจากความประทับใจที่มีต่อผลงานของ เอ็นริเก เปญญาโลซา (Enrique Pe ñalosa) อดี ต ผู้ ว่ า การเมื อ งโบโกตาผู้ พ ลิ ก ฟื้ น เมื อ งที่ เ ต็ ม ไปด้ ว ย อาชญากรรม ให้กลับมาน่าอยู่อีกครั้ง ซึ่งหัวใจสำ�คัญของการพัฒนาของ เปญญาโลซาอยูท่ ี่ “ความสุข” เขาเคยกล่าวว่า “ในฐานะผูว้ า่ การเมือง เรา อาจจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ เราอาจจะไม่สามารถทำ�ให้ คนรวยขึ้น แต่เราสามารถออกแบบเมืองที่จะทำ�ให้คนได้รับเกียรติที่เขา

สมควรได้รับ ทำ�ให้พวกเขารู้สึกรํ่ารวย และเมืองจะทำ�ให้เขามีความสุข มากยิง่ ขึน้ ได้” บางครัง้ ความสุขก็เกิดขึน้ อย่างเรียบง่าย แค่เราได้เดินช้าๆ ชื่นชมความสวยงามของสิ่งที่อยู่รอบตัว มีโอกาสสัมผัสกับธรรมชาติ และ ยิ่งไปกว่านั้นคือความเท่าเทียมกัน ไม่รู้สึกถูกกีดกันแบ่งแยก แค่หากลอง นึกถึงความยุติธรรมที่คนเพียง 1 ใน 5 ของเมืองเท่านั้นที่มีรถเป็นของ ตัวเอง แต่คนส่วนใหญ่ที่เหลือกลับถูกเบียดบังโอกาสที่จะทำ�ให้ชีวิตของ พวกเขามีความสุขมากยิ่งขึ้น นั่นเป็นจุดที่ทำ�ให้เปญญาโลซาเปลี่ยน โบโกตาให้เป็นเมืองจักรยานที่มีคุณภาพอย่างในปัจจุบัน และเป็นกระแส ให้เกิดการพัฒนาความสุขของเมืองในอีกหลายประเทศทั่วโลก มอนต์โกเมอรีได้ทำ�การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับ การออกแบบเมื อ งหลากหลายวิ ธี ทั้ ง ทางจิ ต วิ ท ยา ประสาทวิ ท ยา การสาธารณสุข และเศรษฐศาสตร์ด้านพฤติกรรมในการรับรู้ถึงความสุข ต่อการออกแบบเมือง และได้พบว่าการออกแบบเมืองทีด่ นี นั้ ส่งผลกระทบ โดยตรงกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ ไปจนถึงสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้คนในเมืองตามมา และเขาได้ให้ คำ�จำ�กัดความของความสุขที่ไม่ได้หมายถึงความรู้สึกพึงพอใจในเรื่องใด เรือ่ งหนึง่ แต่หมายถึงการได้เป็นส่วนหนึง่ ของสังคมนัน้ อย่างแท้จริง ดังนัน้ แนวทางที่จะใช้ในการพัฒนาเมืองของมอนต์โกเมอรีจึงเป็นการสร้างและ รักษาความสัมพันธ์ระหว่างคนในเมือง เช่น ในเมืองใหญ่ที่มีประชากร หนาแน่น ต้องทำ�ให้การเดินไปยังจุดหมายต่างๆ เป็นเรื่องที่สะดวก และ สนับสนุนการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ มีการใช้งานพื้นที่ที่สามารถผสม ผสานการใช้งานรูปแบบต่างๆ รวมถึงการอยู่อาศัย และส่งเสริมโอกาสที่ จะสร้างให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ของคนในทุกระดับ หนังสือเล่มนี้อัดแน่นไปด้วยตัวอย่างกรณีศึกษาของการพัฒนาเมือง ตามหลักการสร้างความสุขจากทัว่ โลก ซึง่ สอดแทรกทัง้ ทฤษฎีการออกแบบ เมืองไปกับเรื่องราวต่างๆ ที่ง่ายต่อการทำ�ความเข้าใจ รวมถึงประเด็น โต้แย้งที่น่าคิด เช่น รูปแบบการออกแบบจัดแบ่งเมืองเป็นเขตต่างๆ อย่างชัดเจน อาทิ เขตธุรกิจ เขตช้อปปิ้ง เขตพักผ่อน และเขตที่อยู่อาศัย ซึง่ การจัดการเมืองในลักษณะนีท้ �ำ ให้คนอยูอ่ อกห่างเมืองไปทุกที และหมด เวลาไปกับการเดินทาง เขาเชื่อว่าการจัดเมืองแบบผสมผสานการใช้งาน และปรับทางเดินให้มกี จิ กรรมต่างๆ ทีห่ ยุดดูระหว่างทางได้ จะทำ�ให้เมือง น่าอยู่มากกว่า แนวคิดที่นำ�เสนอในหนังสือเล่มนี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ เป็นเรื่องที่เราทุกคนล้วนต้องการลึกๆ ในใจ อย่างไรก็ดี การทำ�ให้การ พัฒนาเมืองเป็นไปอย่างยัง่ ยืนได้นนั้ สิง่ ทีข่ าดไม่ได้คอื การออกแบบอย่าง มีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ ทำ�ให้คนในสังคมนั้นๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ความเปลี่ยนแปลง และสร้างความภูมิใจในการเป็นเจ้าของเมืองร่วมกัน พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center

8l

Creative Thailand

l

กรกฎาคม 2558


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

Book

BUILT ON WATER Floating Architecture + Design โดย Lisa Baker

ความวิตกกังวลเรือ่ งนํา้ และภัยพิบตั ถิ อื เป็นหนึง่ ในวัฒนธรรมร่วมทีป่ รากฏในหลาย พืน้ ทีจ่ ากครัง้ อดีต ไม่วา่ จะเป็นตำ�นานปฐมบทของมนุษย์ (Genesis) มหากาพย์ กิลกาเมช รวมถึงโนอาร์ และเหตุการณ์นาํ้ ท่วมโลกครัง้ ใหญ่ทสี่ ะท้อนในผลงาน ของมีเกลันเจโลที่ชื่อ The Flood ณ โบสถ์น้อยซิสทีน ปรากฏการณ์เหล่านี้ นอกจากจะยํ้าเตือนถึงความหวาดวิตกของมนุษย์ อีกด้านหนึ่งยังเป็นความ ท้าทายในการอยู่ร่วมกันกับนํ้า และการปรับตัวของมนุษย์ อย่างการใช้ทำ�เล ของผืนนํ้าเป็นแหล่งอาศัยไม่ว่าจะเป็นชาวเลของไทย หรือการสร้างบ้านเรือน บนท้องนํ้าในเนเธอร์แลนด์ซึ่งถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ปี 1652 และไอเดีย เหล่านี้ก็ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หนังสือเล่มนี้จึงรวบรวมและนำ�เสนอ โครงสร้างสถาปัตยกรรมบนผืนน้าํ จากนักออกแบบทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่พัก ขนาดเล็ก ออฟฟิศ โรงแรม รวมทั้งโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่จากงาน International Architecture Exhibition ปี 2007-2013 ในหัวเรื่อง Designs for Future Metropolises ที่มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่บนนํ้าหรือริมชายฝั่งเพื่อการอาศัย มากขึ้น

THAILAND REFLECTED IN A RIVER โดย Steve Van Beek

การพัฒนาใดๆ สิ่งที่ต้องมีเป็นพื้นฐานที่สำ�คัญคือความรู้ ความเข้าใจถึงบริบทในมิติต่างๆ ของสิ่งนั้น เช่นเดียวกัน หนังสือเล่มนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการทำ�ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคนกับตลอด ริมฝั่งแม่นํ้า ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมทางเศรษฐกิจ พัฒนาการ และคุณค่า ของแม่นํ้าในสังคมไทย โดยเฉพาะแม่นํ้าสายหลักสายสำ�คัญของประเทศอย่างแม่นํ้าเจ้าพระยา ซึ่งผู้แต่ง ใช้เวลาศึกษาและรวบรวมข้อมูลยาวนานถึง 15 ปี หนังสือเล่มนี้อาจเป็นกระจกสะท้อนวัฒนธรรม ความเป็นไทยที่แสดงให้เห็นว่า คนไทยผูกพันกับแม่นํ้ามากกว่าที่เราคิด

ท่วม อยู่ ได้

ใช้ชีวิตอย่างไรบนความเปลี่ยนแปลง (Always Prepare: Living with Changes) โดย ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ

บางกอกหรือเวนิสตะวันออกตามบันทึกการเดินทางของนักเดินทางชาวตะวันตกได้บอกเล่าถึงความผูกพันระหว่าง ผู้คนกับสายนํ้าในแถบนี้ ตั้งแต่การสัญจรด้วยเรือ อาศัยเรือนไม้ยกสูง ประกอบอาชีพริมนํ้า รวมทั้งการบริหาร จัดการนํ้าโดยรัฐ ทั้งระบบคลองลัด เครือข่ายลำ�คลองเพื่อระบายนํ้าช่วงนํ้าเหนือไหลหลากตามฤดูกาลก่อนออก สู่ทะเล จนเข้าสู่การพลิกโฉมเมืองช่วงปี พ.ศ.2454 ซึ่งเริ่มมีการพัฒนาที่ดินและถมคลองเพื่อสร้างถนน กระทั่ง นโยบายเมืองสมัยใหม่ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งให้ความสำ�คัญกับการคมนาคมทางบกและ การจัดสรรพืน้ ทีก่ อ่ นแทนทีด่ ว้ ยตึกสูงระฟ้า สถานการณ์เหล่านีล้ ว้ นมีสว่ นต่อการขวางทางนา้ํ รวมถึงระบบระบายนํา้ หนังสือประกอบนิทรรศการ “ท่วม อยู่ ได้ : ใช้ชีวิตอย่างไรบนความเปลี่ยนแปลง” นี้ได้รวบรวมข้อมูลนํ้าและ ภัยธรรมชาติ สภาพแวดล้อมภูมิหลังของแต่ละพื้นที่ ตัวอย่างการรับมือประเด็นทางนํ้าในประเทศต่างๆ ไปจนถึง บทสัมภาษณ์นักคิด นักออกแบบ นักวิชาการ เพื่อให้มองเห็นวิธีการตั้งรับ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า หรือปรับวิถี ชีวิตในระยะยาว อันจะเป็นชุดข้อมูลความรู้เพื่อเตรียมตัวและอยู่ร่วมกับนํ้าบนความไม่แน่นอนได้อย่างเข้าใจ กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

ปรับโครงสร้างไม้... สลายจุดอ่อน

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

ปัจจุบันผู้ที่ชื่นชอบการเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติสามารถลบข้อจำ�กัด ในการเลือกใช้ "ไม้" ในสภาวะกลางแจ้งและพื้นที่ที่มีความชื้นสูงได้ด้วย นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนโครงสร้างของไม้ จากการนำ�ไป ผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพทางเคมีที่เรียกว่า Acetylation ซึ่ง นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกได้ศึกษาเรื่องนี้มานานกว่า 75 ปี เพื่อทำ�ให้ไม้มี ความคงทนสูงขึน้ โดยใช้ความร้อน ความดัน และสารอะซีตกิ แอนไฮไดรด์ ในการเปลีย่ นแปลงโครงสร้างทางเคมีของไม้ ทำ�ให้อตั ราการหดตัวของไม้ ลดลงถึงร้อยละ 75 เมือ่ เทียบกับไม้ทย่ี งั ไม่ได้ปรับปรุงคุณภาพ นอกจากนี้ ไม้ที่ปรับปรุงคุณภาพแล้วยังผ่านการทดสอบค่าความคงทนที่คลาส 1 (มีความทนกว่าไม้สกั ) ปราศจากสารพิษ ทนทานต่อเชือ้ ราและแมลง รวมทัง้ ยังเป็นการใช้ผลผลิตจากป่าไม้ปลูกเพือ่ ความยัง่ ยืนทางสถาปัตยกรรม เช่น การสร้างสะพานข้ามป้อมปราการเก่า “โมเสส บริดจ์ (Moses Bridge)” ในเนเธอร์แลนด์ ที่ออกแบบโดยสถาปนิกจากบริษัท RO&AD โดยมี เอกลักษณ์เป็นสะพานทีส่ ร้างให้อยูใ่ นลักษณะคล้ายจมปริม่ นาํ้ อยู่ และหาก มองในระยะไกลจะมองไม่เห็นตัวสะพาน โดยทีมสถาปนิกได้เลือกใช้ Acetylated Wood จากบริษัท Accoya ผู้ผลิตไม้ที่มีเทคโนโลยีเฉพาะนี้ ในยุโรปเป็นวัสดุหลัก และยังมีการรับประกันการใช้งานบนดินถึง 50 ปี และใต้ดิน 25 ปี 10 l

Creative Thailand

l

กรกฎาคม 2558

ในประเทศไทยมีบริษัท ลีโอวูด อินเตอร์เทรด จำ�กัด บริษทั ผูผ้ ลิต ไม้ที่ได้นำ�เทคโนโลยี Heated Treatment Technology คล้ายกันนี้ เข้ามาใช้จนได้เป็นไม้ Tekwood จากการนำ�ไม้ยางจากต้นยางทีห่ มด อายุการให้นํ้ายางแล้ว มาผ่านการ อบความร้อนเพื่อปรับปรุงคุณสมบัติ ของไม้ด้วยกระบวนการอบความร้อน สูญญากาศประมาณ 210 องศาเซลเซียส ใช้ระยะเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงโดย ไม่ใช้สารเคมี ซึ่งกระบวนการนี้จะเข้าไป เปลี่ยนโครงสร้างภายในเนื้อไม้ ทำ�ให้แป้ง และนาํ้ ตาลเซลลูโลสในเนือ้ ไม้หายไปจากการอบ ผนังเซลล์จะแตกออกช่วยให้ไม้มรี ะยะเวลาผุพงั ช้าลง ทนทานยิ่งขึ้น และมีความเสถียรด้านขนาด ไม่หดตัว นอกจากนี้ยังทำ�ให้ไม้มีเนื้อแข็งขึ้นอย่างน้อยหนึ่งระดับ ทั้งยังช่วยปรับคุณสมบัติด้านความชื้นและนํ้า โดยเซลล์ใน เนือ้ ไม้เมือ่ โดนความชืน้ หรือโดนนํา้ ก็จะไม่เกิดการอมนํ้าที่ส่งผล ให้เกิดการโก่งงอ ไม้ชนิดนีจ้ งึ มีความชืน้ ตํา่ ลง และทนทานต่อสภาพ ลมฟ้าอากาศได้ดี เนือ้ ไม้ยงั มีสเี ข้มขึน้ คล้ายสีของไม้สกั มีคณุ สมบัตกิ าร ต้านทานเชื้อราและจุลินทรีย์ ตลอดจนผ่านการรับรองมาตรฐาน EN 113 จากกลุ่มประเทศยุโรป มีความปลอดภัยสูง เหมาะสำ�หรับกรุผนังอาคาร ปูโต๊ะในครัว และใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น ผลลัพธ์ของการคิดค้นเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีของไม้ นอกจากจะช่วยลดข้อจำ�กัดในการนำ�ไปใช้งานได้อย่างรอบด้านแล้ว ก็ยัง สอดคล้องไปกับเทรนด์การใช้วัสดุธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ที่มา: accoya.com, leowood.com และ หนังสือ Sense of Wood โดย สมานชัย อธิพันธุ์อำ�ไพ, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2554.


หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ELASTOCOAST MC# 6153-01

วัสดุคอมโพสิตทีม่ คี วามยืดหยุน่ ซึง่ เดิมพัฒนาขึน้ เพือ่ ใช้ในการ ป้องกันการกัดเซาะแนวชายหาดโดยเฉพาะ ประกอบด้วย ก้อนกรวดผสมกับโพลียูรีเทนซับนํ้าที่พัฒนาขึ้นเป็นพิเศษ ทำ�ให้วัสดุมีลักษณะเหมือนหินที่มีโครงสร้างแบบเซลล์เปิด ผลิ ต โดยการนำ � ของเหลวสองชนิ ด ที่ ทำ � จากโพลี ยู รี เ ทน สังเคราะห์มาผสมกันในพืน้ ทีห่ น้างานแล้วจึงใส่กอ้ นกรวดลงไป คุณสมบัติด้านความยืดหยุ่นจะช่วยปกป้องแนวกำ�แพงหิน จากแรงกระแทกของนาํ้ ได้เนือ่ งจากช่องว่างระหว่างก้อนหิน จะคอยดูดซับพลังงานเอาไว้ ขณะที่หากใช้คอนกรีตหรือ ยางมะตอยที่มีพื้นผิวแข็งและทึบตันจะถูกพังทลายโดยแรง กระแทกจากคลื่นได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ก้อนหินที่มี ขนาดต่างๆ มาปูทับกันให้ได้ความหนาต่างๆ ตามต้องการ เพื่อนำ�ไปใช้ในการตกแต่งภายในหรืองานจัดแสดงสินค้าได้

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง INAX ECOCARAT PRECIOUS MOSAIC "VELE" MC# 6620-01

กระเบื้องเซรามิกปูผนังที่ปรับความชื้นภายในห้องได้ ผลิต จากดิน Allophane ตามธรรมชาติทมี่ รี พู รุนเป็นจำ�นวนมาก ซึง่ ดูดซับและเก็บกักความชืน้ ทีม่ ากเกินไปภายในอาคารและ คายกลับออกมาเมื่อสภาพความชื้นภายในอาคารลดลง จึงช่วยให้สภาวะแวดล้อมดีขึ้น วัสดุนี้ยังดูดซับและลด ปริมาณของกลิน่ อับและสารพิษอันตรายได้ หากนำ�ไปปูเป็น จำ�นวนมากพอจะทำ�ให้อากาศในห้องมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ ตั้งแต่ 40 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยลดปริมาณและยับยั้ง การขยายพั น ธุ์ ข องไรฝุ่ น และป้ อ งกั น เชื้ อ ราภายในบ้ า น กระเบื้ อ งนี้ ดู ด ความชื้ น ได้ ดี ก ว่ า แผ่ น ปู ผ นั ง ที่ ผ ลิ ต จาก ไดอะตอมไมต์ 4 ถึง 5 เท่า และดีกว่าวอลล์เปเปอร์ชนิดดูด ความชืน้ ถึง 15 เท่า เหมาะสำ�หรับใช้ปผู นังและงานออกแบบ ตกแต่งภายใน พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC

หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122

กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 11


CLASSIC ITEM คลาสสิก

P O RT ทุกอย่างเริ่มต้นที่ท่าเรือ เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

ท่าเรือมีบทบาทสำ�คัญในพัฒนาเมืองท่าสำ�คัญๆ ของโลกมาแต่โบราณ ในฐานะศูนย์กลางการขนย้ายผู้คน สินค้า กระทั่งความคิด จากทีห่ นึง่ ไปอีกทีห่ นึง่ และในฐานะประตูบานแรกทีเ่ ชือ่ มโยงเมืองๆ หนึง่ เข้ากับโลก และสร้างสรรค์เมืองนัน้ ๆ ให้เป็นดังทีเ่ ป็นในปัจจุบนั •ท่ า เที ย บเรื อ อู ่ ต ่ อ เรื อ โกดั ง หรื อ โรงงาน และกลุ ่ ม อาคารที่ ตั้ ง เรี ย งราย ริมฝัง่ เป็นปัจจัยส�ำคัญทีส่ ร้างอ�ำนาจและอ�ำนวยความมัง่ คัง่ แก่เมือง ไม่แพ้ผคู้ น จากทัว่ ทุกสารทิศทีเ่ ดินทางเข้าออก ท�ำงานและใช้ชวี ติ อยูภ่ ายในท่าเรือ ปัจจุบนั แม้พื้นที่ท่าเรือหลายแห่งอาจผ่านพ้นยุคสมัยแห่งความรุ่งโรจน์บนเส้นทาง การค้าทางน�้ำไปแล้ว แต่จุดเชื่อมต่อพื้นที่ตอนในสู่ผืนน�้ำนี้ยังคงเป็นพื้นที่ มากศักยภาพทั้งในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมเสมอมา

•ในอดีต อยุธยาคือศูนย์กลางการค้าทั้งทางบกและทะเลจากการค้าส�ำเภา อันคึกคักระหว่างราชส�ำนักสยามและกลุ่มวาณิชต่างชาติ เช่น ชาวจีน ญี่ปุ่น ดัตช์ มลายู และเปอร์เซีย บันทึกประจ�ำวันของกิสเบิร์ต เฮก แพทย์ประจ�ำ วีโอซี (บริษัทฮอลันดาตะวันออกของชาวดัตช์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17) ซึ่งเขียน ถึงชีวิตในสถานีการค้าของชาวดัตช์ในอยุธยา สะท้อนให้เห็นการปะทะและ หลอมรวมกันของผู้คนจากวัฒนธรรมต่างๆ ที่สร้างสรรค์และพัฒนาให้อยุธยา กลายเป็นหนึ่งในท่าเรือนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้

rijksmuseum.nl

•ท่าเรือลอนดิเนียม (ลอนดอน) เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจส�ำคัญในสมัยจักรวรรดิ โรมันราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 จากที่ตั้งที่เอื้อให้ขนส่งสินค้าอาทิ น�้ำมันมะกอก เครื่องกระเบื้อง อัญมณี และไวน์ จากแม่น�้ำเทมส์สู่ทะเลเหนือได้สะดวก ชาวโรมันได้ออกแบบและจัดการขยายพื้นที่ท่าเรือด้วยการสร้างโครงสร้างไม้ แล้วถมด้วยดินลงไปในแม่น�้ำ การวางผังท่าเรืออันเปี่ยมวิสัยทัศน์ได้ส่งให้ ท่าเรือลอนดิเนียมในโลกโบราณพัฒนาขึ้นเป็นพื้นที่เวิ้งอ่าวที่คึกคักไปด้วย กิจกรรมทางเศรษฐกิจ

•เส้นทางการเดินเรือและสินค้าที่ผ่านเข้าออกท่าเรือมีส่วนส�ำคัญอย่างยิ่ง ในการพัฒนาสถาปัตยกรรมและอาคารภายในท่าเรือ ท่าเรือเซวิลล์ในสเปน รุ่งเรืองถึงขีดสุดในศตวรรษที่ 16 เมื่อสเปนขึ้นเป็นเจ้าอาณานิคมทางทะเล มี ก ารก่ อ สร้ า งอาคารหอการค้ า ขึ้ น เป็ น กิ จ จะลั ก ษณะภายในท่ า เรื อ ในปี 1503 เพื่อควบคุมดูแลการขนส่งแร่เงินและแร่ทองมหาศาลจากโลกใหม่ ที่น�ำความมั่งคั่งมาสู่เมือง ซึ่งยังเป็นที่ตั้งของโรงกษาปณ์ผลิตเหรียญตรา ของสเปน

ที่มา: บทความ "ประวัติของวีโอซี" จาก baanhollanda.org บทความ "Cuba and the Slave Trade" จาก tracesofthetrade.org บทความ "Port Cities and Global Legacies: Urban Identity, Waterfront Work, and Radicalism" จาก palgrave.com, รายงาน "Colonial Trajectory as a Determinant of Economic Development in Cuba and Puerto Rico: A Comparison" โดย Carleigh Haron จาก Trinity College Digital Repository, บทความ "Port of Seville" จาก worldportsource.com บทความ "The Early Port" จาก portcities.org.uk, บทความ "The Old Port" จาก marvellous-provence.com, busanpa.com, palgrave.com, portshanghai.com.cn

12 l

Creative Thailand l กรกฎาคม 2558


CLASSIC ITEM คลาสสิก

•การค้าทาสในยุคล่าอาณานิคมยังส่งให้ท่าเรือเป็นพื้นที่แห่งการอพยพ ย้ายถิ่นฐาน ระหว่างปี 1512-1763 ทาสจากทวีปแอฟริกาถูกจับขนลงเรือมายัง ท่าเรือฮาวานาของคิวบาราวหกหมื่นคน และในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ถึงต้น ศตวรรษที่ 19 ประมาณการว่ามีทาสถูกจับมาคิวบามากถึงราวหกแสนคนเมื่อ คิวบากลายเป็นอาณานิคมไร่ออ้ ยส�ำคัญของอังกฤษในทะเลแคริบเบียน ทุกวันนี้ ประชากรคิวบาจ�ำนวนมากเป็นชาวผิวสีและชาวมูแลตโตลูกผสม โดยยังคง เป็นเจ้าของวัฒนธรรมแคริบเบียนที่ผสมผสานขึ้นจากความเป็นพหุวัฒนธรรม อันน่าตื่นตาตื่นใจ •รูปแบบการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ของการค้าในโลกปัจจุบัน คือ ปัจจัยส�ำคัญในการลงทุนและการพัฒนาท่าเรือ ในปี 2005 ท่าเรือเซี่ยงไฮ้ซึ่ง เป็นท่าเรือส�ำคัญในโลกตะวันออกมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง ลงทุนสร้างท่าเรือ น�้ำลึกบนเกาะหยางซาน และสร้างสะพานตงไห่เชื่อมต่อเกาะเข้ากับท่าเรือ เซี่ยงไฮ้ที่ตื้นเขินขึ้นไปตามกาลเวลา ปัจจุบันท่าเรือเซี่ยงไฮ้เป็นท่าเรือที่มี ปริมาณการขนถ่ายตูค้ อนเทนเนอร์สงู ทีส่ ดุ ในโลก ที่ 35.285 ล้าน TEU (TwentyEquivalent-Unit ปริมาณความจุของตู้คอนเทนเนอร์ 20 ฟุต)

•เสน่ ห ์ ข องท่ า เรื อ คื อ การเป็ น ศู น ย์ ร วมทางวั ฒ นธรรมต่ า งๆ ที่ สั่ ง สมมา ตลอดระยะเวลายาวนาน จนท�ำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์และความโดดเด่นของ สถาปัตยกรรม เป็นเหตุให้อเล็กซองด์ ดูมาส์ นักเขียนชาวฝรั่งเศสเลือก บริเวณและเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของท่าเรือเก่ามาร์กเซยทางตอนใต้ ของฝรั่งเศสมาเป็นฉากหลังส�ำหรับนวนิยายคลาสสิกเรื่องดัง เดอะ เคาน์ ออฟ มอนเต คริสโต ที่ดูมาส์เขียนขึ้นในปี 1844 และตั้งแต่ปี 2013 เพื่อตอบรับ การเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป ท่าเรือเก่าแห่งนีจ้ งึ ได้รบั การพัฒนา ให้เป็นจัตุรัสทางวัฒนธรรมที่ไม่อนุญาตให้น�ำยานพาหนะเข้า รวมถึงการสร้าง เป็นสวนสาธารณะล้อมรอบเขตท่าเรือที่มีก�ำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2020 •รูปแบบและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นตัวก�ำหนดว่าท่าเรือและ พื้นที่โดยรอบควรจะได้รับการออกแบบและจัดการบริการและสาธารณูปโภค ร่วมกับปัจจัยพื้นถิ่นอย่างไร ท่าเรือปูซานมีการวางแผนเชิงนโยบายโดยปรับ ท่าเรือให้เข้ากับอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วด้วยเรือเดินสมุทร (Maritime Tourism) ที่ ก�ำลั ง เติ บ โตและมาแรงในภู มิ ภ าค ด้ ว ยการน�ำสิ น ทรั พ ย์ ท างธรรมชาติ และวัฒนธรรมโดยรอบอันเป็นองค์ประกอบที่มีส่วนช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้มหาศาลมาเป็นปัจจัยในการวางแผนการจัดการ ทัง้ ห้างสรรพสินค้าชินเซแก ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลก ชายหาดฮาอึนแท ทีเ่ ป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยม กระทัง่ เทศกาลภาพยนตร์ปูซานหรือเทศกาลดอกไม้ไฟปูซาน ตลอดถึงเขตอุทยาน แห่งชาติทางทะเลฮัลยอแฮซัง และเมืองมรดกโลกคองจู

กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 13


COVER STORY เรื่องจากปก osaka.rash.jp

พื้นที่ริมน�้ำกับบทบาทที่ไม่หยุดนิ่งในมหานครร่วมสมัย Changing Roles of the Waterfront in Contemporary Cities

เรื่อง: ผศ.ดร.พีรดร แก้วลาย ในปัจจุบน ั สถานภาพของพืน ้ ทีร่ ม ิ น้�ำ ส่วนใหญ่ทว ั่ โลกอยูใ่ นสองสถานะ คือ เสือ ่ มโทรมและถูกทิง ้ ร้าง (Deterioration Waterfronts) ซึ่งพบได้ในประเทศกำ�ลังพัฒนาหรือประเทศที่ขาดกลไกการวางแผนและพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพซึ่งส่งผลให้เมืองและประเทศ สูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ และอีกหนึง ่ สถานะคือพืน ้ ทีร่ ม ิ น้�ำ ทีไ่ ด้รบ ั การฟืน ้ ฟูและพัฒนาเพือ ่ เป็นกลไกทางเศรษฐกิจและสังคมของ เมือง (Rediscovery of Waterfronts) ซึง ่ เป็นการเปลีย ่ นแปลงการใช้สอยเดิมของพืน ้ ทีร่ ม ิ น้�ำ ให้เกิดศักยภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ สูงสุด เช่นการวางแผนพัฒนาพืน ้ ทีแ่ บบองค์รวมโดยให้ความสำ�คัญกับสิง ่ แวดล้อมตามธรรมชาติ ระบบนิเวศของแหล่งน้�ำ และบริบท แวดล้อม การกำ�หนดให้เป็นพืน ้ ทีเ่ ศรษฐกิจพิเศษและส่งเสริมการสร้างพืน ้ ทีใ่ ช้งานแบบผสม (Mixed-Use Development) การส่งเสริม การลงทุนและการให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับการลงทุนแบบรัฐร่วมเอกชน (Public-Private Partnership) การกำ�หนดให้มีสิ่ง อำ�นวยความสะดวกและการรักษาสิทธิใ์ นการเข้าถึงพืน ้ ทีร่ ม ิ น้�ำ ของประชากรเมืองอย่างเท่าเทียมกัน พืน ้ ทีร่ ม ิ น้�ำ ทีไ่ ด้รบ ั การฟืน ้ ฟูและ พัฒนาเช่นนี้ทำ�ให้ศักยภาพหลายด้านของเมืองเด่นชัดมากขึ้น เช่น การเกิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ของเมือง การขยายตัวของตลาด อสังหาริมทรัพย์ การเพิม ่ ทางเลือกของพืน ้ ทีอ ่ ยูอ ่ าศัยและการประกอบธุรกิจ การค้นพบอาคารสำ�คัญทางประวัตศ ิ าสตร์ทส ี่ ามารถ นำ�มาปรับเปลีย ่ นให้เกิดการใช้สอย (Adaptive Reuse) ร่วมสมัย หลายเมืองใหญ่ในโลกมีพน ื้ ทีร่ ม ิ น้�ำ เป็นสัญลักษณ์ของความมัง ่ คัง ่ ทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดกระแสดึงดูดการท่องเที่ยวเพื่อสัมผัสประสบการณ์พื้นที่ริมน้ำ�ระดับโลก


COVER STORY เรื่องจากปก พื้นที่ร้างริมน�้ำจากการผลิตและการขนส่งในอดีต

ด้วยความจ�ำเป็นทางธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จ�ำเป็นต้องพึ่งพาพื้นที่ริมน�้ำเพื่อให้ มนุษย์สามารถด�ำรงชีวติ อยูไ่ ด้ ตัง้ แต่การบริโภค การหาอาหาร และการใช้แม่นำ�้ ล�ำคลองเป็นโครงข่ายสัญจรตามธรรมชาติ ที่มนุษย์ใช้งานมาเป็นเวลาช้านาน สิ่งเหล่านี้ท�ำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ธรรมชาติเป็นพื้นที่เมืองเกิดขึ้นบริเวณ พื้นที่ริมน�้ำเป็นส่วนใหญ่ การตั้งเมืองหลวงและเมืองส�ำคัญของโลกในช่วงเวลาต่อมาล้วนมีแนวคิดเชิงยุทธศาสตร์เพื่อใช้ ศักยภาพของพื้นที่ริมน�้ำ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เพื่อความมั่นคง พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ พื้นที่เพื่อการเดินทางขนส่ง และพื้นที่ เพือ่ การอุตสาหกรรม ตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 การปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรมมีบทบาทท�ำให้เกิดพืน้ ที่ การผลิตที่ใกล้กับพื้นที่ริมน�้ำเพื่อการขนส่งสินค้า พื้นที่ดังกล่าวจึงกลายเป็นพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูงในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และเมื่อเศรษฐกิจการค้าเกิดขึ้นบนพื้นที่นี้ พื้นที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจของทุกเมืองในโลก จึงตั้งอยู่ในต�ำแหน่งที่ใกล้พื้นที่ริมน�้ำนั่นเอง เมื่อถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 รถยนต์และโครงข่ายถนนกลายเป็นทางเลือกใหม่ของการพัฒนาประเทศ ภาค อุตสาหกรรมทีเ่ น้นการผลิตแบบจ�ำนวนมากต่างย้ายทีต่ งั้ ไปแถบชานเมืองบนทีด่ นิ ราคาถูกกว่า การขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่ บนโครงข่ายถนนและการขนส่งระบบรางทีแ่ ผ่ออกไปทุกภูมภิ าคอย่างรวดเร็ว ท�ำให้พนื้ ทีร่ มิ น�ำ้ หมดความส�ำคัญลง เมือ่ การ พัฒนาเริม่ หันหลังให้กบั แม่นำ�้ พืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ จึงกลายเป็นอดีตของพืน้ ทีอ่ ตุ สาหกรรมทีเ่ คยคึกคัก เป็นพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจเมืองทีไ่ ม่มี การใช้งาน และเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมของเมืองในที่สุด ในโลกตะวันตก การพัฒนาและฟื้นฟูพื้นที่ริมน�้ำเป็นปรากฏการณ์ที่ เกิดขึน้ ในช่วงทศวรรษ 1970 ตัง้ แต่เมืองลอนดอนของอังกฤษ เมืองซิดนียใ์ นออสเตรเลีย และอีกหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา พื้นที่ริมน�้ำในศตวรรษที่ 20 องค์ประกอบที่ส�ำคัญของเมือง

พื้นที่ริมน�้ำ (Waterfront) หรือพื้นที่เมืองริมน�้ำ (Urban Waterfront) เป็นชื่อที่มีความหมายครอบคลุมพื้นที่หลายแบบ เช่น ส่วนของพืน้ ทีเ่ มืองทีอ่ ยูใ่ กล้ชดิ กับน�ำ้ ทะเลสาบ หรืออ่าว พืน้ ทีเ่ มืองทีเ่ ชือ่ มต่อโดยตรงกับน�ำ้ พืน้ ทีป่ ฏิสมั พันธ์ระหว่าง การพัฒนาเมืองกับน�้ำ และยังมีชื่อเรียกภาษาอังกฤษอีกหลายชื่อ ได้แก่ Harbor Front, City Port, Riverfront, Riverside เป็นต้น การรับรู้ความหมายของพื้นที่ริมน�้ำของประชากรเมือง นอกจากด้านประโยชน์ใช้สอยแล้ว ยังมีความสัมพันธ์ทาง ธรรมชาติและสังคมทีย่ ดึ โยงกับธรรมชาติของมนุษย์ เพราะผืนน�ำ้ ธรรมชาติทมี่ องเห็นจากพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ เป็นสิง่ เดียวทีค่ งความ เป็นธรรมชาตินอกเหนือจากสิง่ โดยรอบทีม่ นุษย์สรรค์สร้างขึน้ แม่นำ�้ ล�ำคลองจึงเป็นธรรมชาติทเี่ ชือ่ มโยงจิตใจ ความงดงาม ตามธรรมชาติ และสะท้อนความมีตัวตนของมนุษย์เมืองได้เป็นอย่างดี ภูมิทัศน์ที่มีน�้ำเป็นองค์ประกอบจึงเป็นสิ่งที่มนุษย์ โหยหา มีอิทธิพลต่อการกล่อมเกลาจิตใจ และท�ำให้รู้สึกผ่อนคลาย พื้นที่ริมน�้ำกับศักยภาพทางเศรษฐกิจ

ช่วงปลายทศวรรษ 1950 เมืองบัลติมอร์ มลรัฐแมรี่แลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้วางแผนการฟื้นฟูดาวน์ทาวน์โดยครอบคลุม พื้นที่ 240 เอเคอร์โดยรอบ Inner Harbor ของเมืองด้วย แผนการฟื้นฟูได้ด�ำเนินการมาอย่างต่อเนื่องอีก 20 ปี ถือเป็น ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำที่มีบทบาทในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของเมืองที่ซบเซา พื้นที่ Inner Harbor กลายเป็นสัญลักษณ์ ของเมืองบัลติมอร์ และส่งผลกระทบเชิงบวกกับเศรษฐกิจเมือง เช่น มีการจ้างงานกว่า 21,000 ต�ำแหน่งในพืน้ ที่ สร้างรายได้ กว่า 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเพื่อเยี่ยมชมกว่า 14 ล้านคนต่อปี และจ่ายภาษีให้กับเมือง บัลติมอร์และมลรัฐแมรี่แลนด์กว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ1 ท�ำให้รูปแบบการพัฒนาที่เกิดขึ้นกับเมืองบัลติมอร์กลายเป็น โมเดลที่ถูกน�ำไปใช้กับหลายเมืองในสหรัฐอเมริกาและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก กระแสการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำยังเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องในหลายประเทศ ที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย มีการพัฒนา Darling Harbor ให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการท่องเที่ยว ฮ่องกงและสิงคโปร์มองเห็นศักยภาพของพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ ทีน่ ำ� ไปสูก่ ารถมทะเลเพือ่ สร้างพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ และสร้างศูนย์กลางใหม่ของ เมือง การพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำเพื่อเป็นสถานที่และจุดหมายปลายทางของคนทุกกลุ่มยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ทั้งกลุ่มผู้ลงทุน และตอบสนองความต้องการของชุมชนและประชากรเมือง บทบาทของพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ จึงมีความส�ำคัญในมิตทิ กี่ ว้างกว่าบริบท ของเมือง แต่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศบนพื้นที่ประวัติศาสตร์เพื่อการรับรู้และการแข่งขันในเวทีโลก 1

waterfrontpartnership.org/news/36/inner-harbor--master-plan

กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 15


680news.com

COVER STORY เรื่องจากปก

โตรอนโต

680news.com

ตั้งแต่ปี 2001 รัฐบาลแคนาดาและออนตาริโอ และเมืองโตรอนโต ได้ร่วมกัน สร้างประวัตศิ าสตร์โดยริเริม่ โครงการฟืน้ ฟูพนื้ ทีร่ มิ น�ำ้ เมืองโตรอนโต เริม่ จาก การร่วมลงทุนด้วยงบประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสร้างกลไกการ พัฒนาด้วยการจัดตั้งหน่วยงาน Waterfront Toronto ขึ้น โดยมีเป้าหมายที่ จะพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำเพื่อประชาชนให้สมบูรณ์ภายในเวลา 25 ปี ในปัจจุบัน พื้นที่ริมน�้ำโตรอนโตกลายสภาพเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าของเมือง มีพื้นที่ใช้สอย ที่หลากหลายตั้งแต่สถาบันการศึกษา ที่อยู่อาศัย และพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่มี ความหลากหลาย เกิดการจ้างงานในพืน้ ทีเ่ พิม่ สูงขึน้ มีพนื้ ทีส่ าธารณะหลาก หลายรูปแบบส�ำหรับคนทุกกลุม่ และมีโครงสร้างพืน้ ฐานทีส่ ง่ เสริมการใช้และ เข้าถึงพื้นที่โดยสะดวก จนถึงปัจจุบัน การลงทุนพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำโตรอนโต ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.2 พันล้านเหรียญ เกิดการจ้างงานใน พื้นที่ 16,200 ต�ำแหน่ง สร้างรายได้ให้กับรัฐบาลกลาง 348 ล้านเหรียญ ระดับจังหวัด 237 ล้านเหรียญ และเมืองโตรอนโต 36 ล้านเหรียญ2 การลงทุน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่ริมน�้ำมีมูลค่าสูงถึง 2.3 พันล้านเหรียญ และ เมือ่ ทุกโครงการแล้วเสร็จจะท�ำให้มพี นื้ ทีพ่ กั อาศัยเพิม่ ขึน้ 10,000 ยูนติ พืน้ ที่ ส�ำนักงาน 1.5 ล้านตารางฟุต พืน้ ทีเ่ ชิงพาณิชย์ 240,000 ตารางฟุต และพืน้ ที่ หน่วยงานและองค์กร 940,000 ตารางฟุต ผลประโยชน์ระยะยาวที่เกิดขึ้น จากการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำโตรอนโตจะกลับมาสู่เมืองในรูปของการจ้างงาน ระยะยาว ภาษีที่ดิน ภาษีเงินได้ และรายได้จากการท่องเที่ยว 16 l Creative Thailand l กรกฎาคม 2558

streetscapecanada.com

การพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพ การแข่งขันของเมืองในระดับโลก

2

Waterfront Toronto., Revitalizing Our Waterfront, Driving Our Economy Forward: Waterfront Toronto Economic Impact Analysis 2001-2013, (Toronto, 2013)


Biomatrixwater.com

legacy.london.gov.uk

monkbarns.wordpress.com

COVER STORY เรื่องจากปก

ลอนดอน

พัฒนาพื้นที่ริมน�้ำเพื่อปลุกเศรษฐกิจและชีวิตเมือง

พื้นที่ริมน�้ำของเมืองลอนดอนเป็นภาพสะท้อนของการพัฒนาหลังยุค อุตสาหกรรมที่ชัดเจนที่สุด ตึกระฟ้ารูปแบบแปลกตาเกิดขึ้นใหม่อย่าง ต่อเนื่องในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ในปี 1981 ได้มีการจัดตั้ง London Docklands Development Corporation (LDDC) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำ 21 ตารางกิโลเมตร ในปี 19823 LDDC ได้กำ� หนดพืน้ ที่ “Enterprise Zone” เพือ่ ให้สทิ ธิประโยชน์แก่ผลู้ งทุน รวมถึงการผ่อนคลายเกณฑ์ทางผังเมืองและการลงทุน โดยมีเป้าหมายเพือ่ กระตุ้นและเร่งการพัฒนาพื้นที่ ท�ำให้เกิดปรากฏการณ์ Property Boom หรือการขยายตัวในการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่นี้เป็นที่แรก การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานระบบรางขนาดเบา (The Docklands Light Railway) เพื่อเชื่อมพื้นที่ริมน�้ำ Docklands เข้ากับทุกพื้นที่ของลอนดอน เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ใช้เพื่อกระตุ้นการพัฒนาและเป็นการลงทุนที่ไม่สูง มากในขณะนั้น ในปี 1999 สถานีรถไฟใต้ดิน Canary Wharf ได้เชื่อม กับโครงข่ายรถไฟใต้ดินของลอนดอน การสร้างอุโมงค์เพื่อการเข้าถึงโดย รถยนต์และการสร้างสนามบินเพื่อธุรกิจที่บริเวณ Royal Dock ท�ำให้พื้นที่ เชือ่ มต่อกับการเดินทางทุกระบบโดยสมบูรณ์ การปรับเปลีย่ นหน้าทีใ่ ช้สอย อาคารเก่าในพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ ยังเป็นอีกหนึง่ รูปแบบของการพัฒนาทีใ่ ช้สนิ ทรัพย์ ทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ เช่น โครงการ Tate Modern ที่เกิดจากการ ปรับเปลี่ยนหน้าที่ใช้สอยจากโรงไฟฟ้าเก่าริมน�้ำสู่แกลเลอรี่งานศิลปะที่ เพียงโครงการนี้โครงการเดียวก็สามารถดึงดูดผู้เข้าชมเข้าไปในพื้นที่ย่าน เซาธ์ แบงก์ ได้สูงถึง 4 ล้านคนต่อปี

ตั้งแต่ปี 2000 โครงการที่อยู่อาศัยริมน�ำ้ ในเมืองลอนดอนกลายเป็น โครงการทีไ่ ด้รบั ความสนใจมากทีส่ ดุ ด้วยความส�ำคัญของโครงข่ายแม่นำ�้ และพื้นที่ริมน�้ำ ท�ำให้หน่วยงานภาครัฐ The Greater London Authority ได้ริเริ่มโครงการวางแผนเชิงกลยุทธ์ The Blue Ribbon Network ซึ่ง เป็นโครงการพัฒนาโครงข่ายแม่น�้ำทั้งหมดของลอนดอน เพราะแม่น�้ำมี ความส�ำคัญกับลอนดอนทัง้ ในเชิงประวัตศิ าสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่ริมแม่น�้ำจึงควรส่งเสริมการเข้าถึง ทางกายภาพ การมองเห็นระหว่างโครงข่ายสัญจรที่มีอยู่และพื้นที่ริมน�้ำ และการผสานองค์ประกอบที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้งานที่หลากหลายแก่ พื้นที่ที่มีความใกล้ชิดกับพื้นที่ริมน�้ำ การสร้างสิ่งปลูกสร้าง อาคาร และ พื้นที่ที่ควรออกแบบให้กระตุ้นโครงข่ายแม่น�้ำในทิศทางที่เหมาะสมกับ ลักษณะ คุณค่า และความส�ำคัญของการเป็นมรดกเมือง โดยเป็นโครงการ ที่มุ่งเน้นการกระตุ้นการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่ส�ำคัญ ของเมืองโดยมองประโยชน์ในมิติทางสังคม คือต้องเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เกิด การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มประชากรเมืองที่มี ความหลากหลาย วิสัยทัศน์ของโครงการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงการให้ คุณค่าในมิตทิ างการเมืองการปกครอง และมิตทิ างสังคมและวัฒนธรรมที่ สัมพันธ์กนั จะเห็นได้วา่ การส่งเสริมโครงการจากภาครัฐ การลงทุนมหาศาล จากภาคเอกชน และความต้องการของตลาดทีอ่ ยูอ่ าศัยริมน�ำ้ ต่างท�ำให้เกิด การพัฒนาอย่างรวดเร็วในพื้นที่ดังกล่าว 3

The Museum of London Docklands., Docklands Revitalization of the Waterfront. กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

โอซาก้า

skyscrapercity.com

กิ จ กรรมการปลู ก ต้ น ซากุ ร ะบนพื้ น ที่ ริ ม น�้ ำ ใจกลางเมื อ งโอซาก้ า เริ่ ม ขึ้ น เมื่ อ ปี 2004 ด้วยแนวคิดของ ทาดาโอะ อันโด สถาปนิก ระดับโลกชาวญี่ปุ่น เพื่อเป็นการปลุกจิตส�ำนึก ของประชากรเมืองในการฟื้นฟูเมืองด้วยตัวเอง เมืองโอซาก้าจึงขอรับบริจาคเงินจากประชาชน หน่วยละ 10,000 เยน เพือ่ สนับสนุนโครงการจน ได้เงินสมทบทุนทัง้ หมดสูงถึง 520 ล้านเยน โดย ชือ่ ของผูบ้ ริจาคจะถูกจารึกไว้ทตี่ น้ ซากุระทุกต้น ในปี 2010 โครงการได้ปลูกต้นซากุระทั้งหมด 3,000 ต้นตามเป้าหมายทีต่ งั้ ไว้ โครงการนีท้ ำ� ให้ ทัศนียภาพของเมืองโอซาก้าเมื่อมองจากแม่น�้ำ เปลี่ย นไปในทางที่ ดี ขึ้ น จากพนังกั้นน�้ำและ ทางเดินริมน�้ำที่ดูแข็งและร้อนกลายเป็นพื้นที่ สีเขียวที่มีคนไปใช้งานมากขึ้น เจ้าของอาคาร ริ ม น�้ ำ เป็ น อี ก กลุ ่ ม หนึ่ ง ที่ มี ส ่ ว นผลั ก ดั น ให้ โครงการนี้ ป ระสบความส� ำ เร็ จ โดยเริ่ ม ปลู ก ต้นไม้บนที่ดินของตัวเองต่อเนื่องไปจนถึงพื้นที่ ริมน�้ำ ท�ำให้เกิดความกลมกลืนของภูมิทัศน์ริม แม่น�้ำกับทุกอาคาร อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความส�ำเร็จคือการสร้างกระบวนการมีสว่ นร่วม ด้วยการให้ประชากรเมืองร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของ โครงการผ่านการบริจาค เข้าร่วมกิจกรรมการ ปลูกต้นไม้เพื่อสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของพื้นที่ ริมน�้ำ และสร้างจิตส�ำนึกที่ดีต่อพื้นที่เมืองซึ่ง เปรียบเสมือนบ้านของตัวเอง4

4

Futagawa, Yukio., Tadao Ando Recent Projects, (A.D.A. EDITA, Tokyo, 2009) 18 l Creative Thailand l กรกฎาคม 2558

osaka.rash.jp

การฟืน ้ ฟูพน ื้ ทีร่ ม ิ น�ำ้ ยาว 15 กิโลเมตรด้วยการปลูกต้นซากุระ

นิวยอร์ก

ดรายไลน์ (Dryline) การพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำ เพื่อต่อกรกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ

ในวันที่ 3 เมษายน 2014 กลุ่มนักออกแบบสถาปัตยกรรมชั้นน�ำร่วมกันน�ำเสนอแนวคิดส�ำหรับ “Rebuild by Design” การประกวดแนวคิดด้านการออกแบบฟื้นฟูและการพัฒนาพื้นที่ชุมชน ริมน�้ำของเมืองนิวยอร์ก โดยความรับผิดชอบของท้องถิ่น และการสร้างนวัตกรรมด้านการออกแบบ ซึง่ แนวคิดทีน่ ำ� เสนอนัน้ ต้องมีความความยืดหยุน่ ง่ายต่อการด�ำเนินงาน และสามารถพัฒนาร่วมกับ โครงการที่ก�ำลังด�ำเนินการพัฒนาอยู่ในพื้นที่ โดยโครงการ Rebuild by Design นั้นไม่ใช่เพียงแค่ การท�ำแผนพัฒนา แต่เป็นการปรับเปลี่ยนเชิงวัฒนธรรม5 การน�ำเสนอแนวความคิดของส�ำนักงานสถาปัตยกรรม BIG เป็นการน�ำเสนอแนวคิดที่เป็น เอกลักษณ์ของบริษัท ในเรื่องที่เกี่ยวเนื่องการกับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชิงสังคมและการพัฒนา อย่างยัง่ ยืน โดยได้นำ� เสนอรูปแบบของการสร้างระบบป้องกันเมืองแมนฮัตตันจากปัญหาน�ำ้ ท่วมและ อุทกภัย ผ่านการออกแบบแนวป้องกันล้อมรอบแมนฮัตตันระยะทางกว่า 10 ไมล์ ควบคูก่ บั การสร้าง พืน้ ทีส่ าธารณะทีต่ อบสนองความต้องการอันหลากหลายของชุมชน บิยาร์ก อิงเกิลส์ (Bjarke Ingels) สถาปนิกและเจ้าของส�ำนักงานสถาปัตยกรรม BIG กล่าวว่า “พวกเราถามตัวเราเองว่า ถ้าเราสามารถ น�ำเสนอมุมมองในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นกับการใช้งานในย่านตอนล่างของ แมนฮัตตันในรูปแบบที่ไม่เป็นเพียงแค่แนวก�ำแพงป้องกันน�้ำท่วม แต่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความเหมาะสม และสามารถตอบสนองการใช้งานของชุมชนโดยรอบไปพร้อมๆ กับการป้องกันชุมชนจากปัญหา น�ำ้ ท่วมได้” และนัน่ จึงเป็นทีม่ าของโครงสร้างพืน้ ฐานทีส่ นับสนุนกลยุทธ์การป้องกันภัยพิบตั แิ ละอุทกภัย เชิงภาพรวมโดยผ่านกระบวนการทางชุมชน 5

sustainablecitiescollective.com, Posted April 21, 2014, New York Waterfront Gets Ready for the Future. สืบค้นเมื่อ 21 พฤษภาคม 2015


curbed.com

holcimfoundation.org

COVER STORY เรื่องจากปก

โครงการ Dryline เป็นระบบการป้องกันภัยพิบัติและอุทกภัยที่ล้อม รอบพื้นที่แมนฮัตตัน ซึ่งให้ความส�ำคัญกับการตอบสนองความต้องการ และตระหนักถึงความหลากหลายของชุมชน ระยะทางจากฝัง่ ตะวันตกของ ถนน 57 มุ่งลงใต้สู่ย่านแบตเตอรี่ (The Battery) แล้ววกกลับขึ้นเหนือถึง ถนน 42 มีระยะทางยาวต่อเนื่อง 10 ไมล์ของพื้นที่ซึ่งมีระดับต�่ำกว่าระดับ น�้ำทะเล พื้นที่นี้ประกอบไปด้วยย่านที่อยู่อาศัยที่มีชีวิตชีวา มีความหลาก หลาย และเป็นเขตเมืองที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง โดยแนวคิด หลักของการน�ำเสนอสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การสร้างโครงสร้าง พืน้ ทีเ่ ชิงสังคม และการพัฒนาทีย่ งั่ ยืน โครงการไม่ได้เป็นเพียงแนวป้องกัน เมืองจากปัญหาน�ำ้ ท่วมและพายุฝน แต่ยงั เป็นการสร้างประโยชน์เชิงสังคม และสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนในพื้นที่และเป็นแรงกระตุ้นในการปรับปรุง พื้นที่สาธารณะ ทีมงานนักออกแบบได้น�ำเสนอแนวคิดการออกแบบแนว ป้องกันเป็น 3 ส่วนที่มีการใช้งานอิสระออกจากกันในการป้องกันปัญหา น�้ำท่วม ในแต่ละส่วนประกอบไปด้วยแนวป้องกันน�้ำท่วมเชิงกายภาพซึ่ง สามารถแยกพื้นที่ออกจากแนวป้องกันน�้ำท่วมของบริเวณพื้นที่ในโซนติด กัน และในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้วางแผนพัฒนาสังคมและชุมชน แบบบูรณาการร่วมกัน โดยแนวป้องกันทั้ง 3 ส่วนจะท�ำงานร่วมกันในการ ป้องกันน�้ำท่วม และสามารถท�ำงานแบบแยกโซนพื้นที่ได้ การท�ำงานของแนวป้องกันจะท�ำงานร่วมกันเพื่อปกป้องและส่งเสริม ศักยภาพการใช้พื้นที่ในเมือง การออกแบบในแต่ละส่วนมีกระบวนการ ท�ำงานและการให้ค�ำปรึกษาอย่างใกล้ชิดกับองค์กรภาคประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงานเทศบาล และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับรัฐบาลกลาง ในแต่ละภาคส่วนที่เข้าร่วมศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรวมทั้ง ประโยชน์ที่จะได้รับและต้นทุนในการพัฒนาร่วมกัน รวมทั้งการค�ำนึง ถึงความยืดหยุ่นและง่ายในการด�ำเนินงาน ตลอดจนสามารถท�ำงานเชิง บูรณาการ เข้ากับโครงการอื่นที่ก�ำลังด�ำเนินการในการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำ ของเมืองนิวยอร์ก

อนาคตพื้นที่ริมน�้ำ: กลไกทางเศรษฐกิจ พื้นที่ปฏิสัมพันธ์ของสังคมเมือง และการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าบทบาทของพื้นที่ริมน�้ำที่มีต่อเมืองและวิถีชีวิตของประชากรเมืองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การมีพื้นที่ริม น�้ำในเมืองนับเป็นสินทรัพย์ของเมืองที่รอการสร้างสรรค์มูลค่า การไม่มีแผนการพัฒนาพื้นที่ริมน�้ำที่เป็นระบบจะท�ำให้เมืองเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ สูญเสียความสมดุลทางสังคม และท�ำให้เมืองสูญเสียศักยภาพในการแข่งขันในที่สุด บทบาทใหม่ของพื้นทีร่ ิมน�้ำในทศวรรษหน้าคือการเป็นพื้นที่ป้องกัน อุทกภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติ เนื่องจากเมืองที่ต้ังอยู่ริมน�้ำส่วนใหญ่จะมีสถานะเป็นเมืองชายฝั่ง (Coastal Cities) จากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศมีผลท�ำให้น�้ำทะเลขึ้นสูงและเกิดคลื่นพายุหมุนยกซัดฝั่งที่รุนแรง (Storm Surge) กว่าในอดีต แม่น�้ำล�ำคลองจึงต้องท�ำหน้าที่รับน�้ำและระบาย น�ำ้ ออกจากเมืองในปริมาณทีม่ ากกว่าปกติอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ พืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ และพืน้ ทีศ่ นู ย์กลางทางเศรษฐกิจจึงกลายเป็นพืน้ ทีท่ มี่ คี วามเสีย่ งสูง การพัฒนา และออกแบบพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ เพือ่ อนาคตจ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึงความยืดหยุน่ (Resilient) และความสามารถในการปรับตัว (Adaptability) ของพืน้ ที่ การพัฒนา พื้นที่ริมน�้ำในอนาคตจึงเป็นความท้าทายของการพัฒนาเมืองที่ต้องน�ำเสนอรูปแบบการใช้พื้นที่ที่มีความสมดุลทั้งการเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ พื้นที่เพื่อ การมีปฏิสัมพันธ์ของประชากรเมือง และพื้นที่เพื่อการป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 19


คื น ชี ว ต ิ โรงงานร้ า ง เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล สินทรัพย์ที่เคยรุ่งเรืองในอดีตแต่ต้องถูกทิ้งร้าง เพราะไม่ตอบโจทย์การผลิตสมัยใหม่ กำ�ลัง กลายเป็นเป้าหมายใหม่ในการสร้างรายได้ให้กับ นักลงทุนน้อยใหญ่และภาครัฐ

อนาไฮม์ (Anaheim) ย่านใจกลางเมืองของออเรนจ์ เคาน์ตี (Orange County) ในแคลิฟอร์เนียเคยคึกคักอย่างมากในช่วงปี 1920-1930 แต่ก็ ซบเซาไปตามกาลเวลา จนกระทั่งแนวคิดของการเปลี่ยนโรงงานบรรจุ ส้มซันคิสให้เป็นแพคกิงเฮาส์ (Packing House) ตลาดรวมสินค้าและ อาหาร ที่เป็นเหมือนจุดเปลี่ยนในการพลิกฟื้นย่านแห่งนี้ในช่วง 10 กว่า ปีที่ผ่านมาเกิดขึ้น จนท�ำให้ย่านนี้กลายเป็นพื้นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่ง รวมร้านค้าที่ก�ำลังเป็นที่นิยมอย่างเช่นร้านตัดผมที่เสิร์ฟเบียร์หรือคาเฟ่ มังสวิรัติ (Vegan Café) ในวันนี้ ชาฮีน ซาเดกี (Shaheen Sadeghi) นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีส่วนร่วมกับเมืองในการพัฒนาแพคกิงเฮาส์ก�ำลังเติมความคึกคักให้ กับเมืองอีกครั้ง จากการวางแผนเปลี่ยนโรงงานผลิตแยมส้มอนาไฮม์เป็น “เมค (Make)” สถานที่ส�ำหรับผลิตเบียร์ ไวน์ และวิสกี้ ด้วยแนวคิดของ 20 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2558

การเป็นห้องทดลองและสถานที่ท�ำงาน (Lab & Camp) เพื่อดึงดูดเหล่า ผูเ้ ช่ารุน่ ใหม่ทเี่ ขามองว่า “คนรุน่ ใหม่ไม่ได้แค่ตอ้ งการดืม่ เบียร์แต่ตอ้ งการ ท�ำมันด้วย” กระแสของการแสวงหาพื้นที่ท�ำงานแบบเครือข่ายและการลงมือ ท�ำของคนรุ่นใหม่ ท�ำให้โรงงานเก่าที่ถูกทิ้งร้างกลายเป็นเป้าหมายใน การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ด้วยลักษณะทางกายภาพของโรงงาน ทีเ่ ป็นอาคารประวัติศาสตร์และมีพนื้ ทีท่ สี่ ามารถดัดแปลงเป็นพืน้ ทีท่ ำ� งาน และโรงผลิตขนาดย่อมไปจนถึงอพาร์ทเมนต์สไตล์ลอฟท์ (Loft) จึงท�ำให้ พื้นที่ริมน�้ำหลายแห่งที่เคยเป็นเขตอุตสาหกรรมเก่าซึ่งเต็มไปด้วยโรงงาน และอาคารคลังสินค้า กลายเป็นท�ำเลทองส�ำหรับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ และเทศบาลเมืองในการวางแผนพัฒนาเมืองในระยะยาว

flickr.com/photos/tonythemisfit

INSIGHT อินไซต์


โรเบิร์ต เค ดราเชฟฟ์ (Robert K Drasheff) ผู้อ�ำนวยการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์เมืองโฮโบเกน (Hoboken) ริมฝั่งแม่น�้ำฮัดสัน (Hudson River) นิวเจอร์ซีย์ กล่าวว่า “เราไม่สามารถน�ำอุตสาหกรรมกลับมาได้ แต่จากการพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยเราสามารถน�ำรายได้ภาษีกลับมาได้” โฮโบเกนเคยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมต่อเรือเก่าทีป่ ดิ ตัวลงมาตัง้ แต่ ปี 1960 แต่การขยายตัวของเมืองนิวยอร์กที่มีประชากรหนาแน่นและ ค่าครองชีพทีส่ งู ท�ำให้แผนพัฒนาเมืองโดยการจัดสรรพืน้ ทีใ่ ห้ภาคเอกชน เข้ า มาลงทุ น เปลี่ ย นพื้ น ที่ โ รงงานให้ ก ลายเป็ น พื้ น ที่ อ ยู ่ อ าศั ย ได้ รั บ ความสนใจจากบริษทั อสังหาริมทรัพย์ทเี่ ล็งเห็นโอกาสในการท�ำก�ำไรค่อน ข้างสูง ซึง่ ในสายตาของบริษทั ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ ซิงเกิลตัน กาลแมน (Singleton Galman Real Estate Agency) คาดการณ์ตั้งแต่ปี 1996 ว่า พื้นที่ดังกล่าวนี้มีความต้องการค่อนข้างแน่น และคาดว่าอัตราห้องว่าง จะต�่ำกว่าร้อยละ 5 ซึ่งในปัจจุบันความต้องการพื้นที่เช่าในฮัดสัน เคาน์ตี (Hudson County) รวมถึงโฮโบเกนยังคงสูงด้วยอัตราห้องว่างที่คงอยู่ที่ ระดับร้อยละ 4.4 ในปี 2012 และค่าเช่าส�ำหรับที่อยู่อาศัยริมน�้ำที่พุ่งขึ้นไป ถึง 3,500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน อย่างไรก็ตาม พายุแซนดี้ที่ถล่มในเดือนตุลาคม 2012 จนท�ำให้เกิด นํา้ ท่วมครัง้ ใหญ่ และจากการส�ำรวจขององค์กรการบริหารจัดการเรือ่ งเร่ง ด่วน (Federal Emergency Management Agency) ที่พบว่าร้อยละ 79 ของพืน้ ทีใ่ นโฮโบเกนนัน้ เป็นพืน้ ทีเ่ สีย่ งต่อการนาํ้ ท่วมจากภัยธรรมชาติและ ระดับนํ้าทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต ท�ำให้เทศบาลเมืองต้องหันมาปรับ นโยบายอิงกับข้อมูลวิทยาศาสตร์ (Science-based Policy) เพื่อวางแผน การรับมือพายุและน�้ำท่วม ทั้งในการแจ้งเตือนภัย การจัดก�ำลังคน และ ที่ส�ำคัญคือการระดมเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 3,300 ล้านบาท) ในการสร้างก�ำแพงกัน้ นํา้ ท่วม ปัม๊ นาํ้ และออกแบบพืน้ ทีจ่ อดรถ ตลอดจน พืน้ ทีเ่ ปิดใหม่ให้สามารถกักเก็บน�ำ้ เพือ่ ไม่ให้แผนการฟืน้ ฟูสนิ ทรัพย์เก่าของ เมืองที่ท�ำมานั้นต้องสะดุดขาตัวเอง ที่มา: บทความ “Construction Concerns in Hoboken” (14 เมษายน 2013) โดย Roland Li จาก wsj.com, บทความ “Developments of rental apartments are being planned at an old factory site in Hoboken” (20 กันยายน 1996) โดย Rachelle Garbarine จาก nytimes.com, บทความ “Developer hopes to turn old marmalade factory into the toast of Anaheim” (16 ตุลาคม 2014) โดย Andrew Khouri จาก latimes.com, บทความ “In the Region / New Jersey; Developer Named for a Key Hoboken Riverfront Site” (1 พฤศจิกายน 1998) โดย Rachelle Garbarine จาก nytimes.com, บทความ “The Post-Sandy Resilience of Hoboken, New Jersey: Learning from the Past, Rebuilding for the Future (มกราคม 2014) จาก ucsusa.org

flickr.com/photos/mkealcoran

INSIGHT อินไซต์

ด้วยเงินลงทุนหลายล้านดอลลาร์ อาคารสองชัน้ ของ อดีตโรงงานบรรจุส้มอายุ 100 ปีบนพื้นที่ 42,000 ตารางฟุต ถูกดัดแปลงเป็นตลาดรวมร้านอาหารและ ร้านค้า ไปจนถึงตลาดปลาในชือ่ อนาไฮม์แพคกิง้ เฮาส์ และเริ่มเปิดตัวในปี 2014

กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 21


เรื่อง: ณัฐา อิสระพิทักษ์กุล ภาพ: ภูริวัต บุญนัก

Off the Deck, Back to the Shore

UCK

CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

22 l

Creative Thailand

หลังจากที่อาทิตย์ลับขอบฟ้า พื้นที่ริมแม่นํ้าเจ้าพระยาย่าน เจริญกรุงอาจเป็นสถานที่ซึ่งถูกทิ้งให้เงียบเหงาและเปลี่ยว จากผู้คน หากแต่มีกลุ่มคนรุ่นใหม่กลุ่มหนึ่งที่ตั้งใจจะท�ำให้ มันเป็นมากกว่านั้น “ผมอยากท�ำให้กรุงเทพ มี ไนต์ ไลฟ์ ดีๆ เหมือนที่เบอร์ลินหรือลอนดอนมี เมื่อก่อนเราแทบจะไม่ ออกไปเทีย่ วที่ ไหนเลยเพราะไม่มที ี่ ไหนทีถ่ กู ใจ พวกเรามักไป แฮงค์เอ้าต์กันตามบ้าน จัดเฮาส์ ปาร์ตี้ (House Party) เปิดเพลงที่อยากเปิด ชวนคนที่อยากเจอ” จุดเริ่มต้นเล็กๆ อันมีที่มาจากความชอบนี้ ได้ดึงดูดกลุ่มคนที่มีความสนใจ เดียวกันและเกิดเป็นกลุม่ ทีเ่ รียกตัวเองว่า “Duck & Noodle” ซึ่งประกอบไปด้วย หูด-วิทวัส เตชะรุ่งโรจน์ ซัน-ทัพพวุฒิ ปริญญาปริวฒ ั น์ คริส ชอว์ (Chris Shaw) และพอล อะเบยัน (Pol Abellan) ผู้อยู่เบื้องหลังงานปาร์ตี้ที่เพียงแค่ ได้ยินชื่อ คนจัดก็สามารถการันตีความสนุก แปลกใหม่ ให้กับงานได้ ไม่ยาก และยังรวมไปถึงโบ๊ต ปาร์ตี้ (Boat Party) ปาร์ตชี้ อื่ ดัง ทีจ่ ดั บนเรือทีจ่ อดอยูร่ มิ แม่นาํ้ เจ้าพระยาในย่านถนนเจริญกรุง 80 ซึ่งจัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2010

พบแนวคิดใหม่จากผู้ประกอบการไทยที่น�ำความคิดสร้างสรรค์ มาสร้างเป็นมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ ผู้ประกอบการ จากทุกอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในประเทศไทยไว้ ในที่เดียวกัน

l กรกฎาคม 2558

LOCATION, LOCATION, LOCATION: A GOOD STORY ALWAYS STARTS WITH A GOOD LOCATION

Duck & Noodle และโบ๊ต ปาร์ตี้ เริ่มต้นด้วย เหตุการณ์เล็กๆ ในวันที่แก๊งเพื่อนได้ไปกินอาหาร กันในร้านอาหารบนเรือ ด้วยความเหนื่อยหน่ายจาก ความจ� ำ เจและตั ว เลื อ กอั น จ� ำ กั ด ของการเที่ ย ว กลางคืนในกรุงเทพฯ เป็นทุนเดิม ทัง้ หมดจึงเกิดไอเดีย ว่า “เราน่าจะจัดปาร์ตี้บนเรือล�ำนี้กันนะ” จุดเริ่มต้น เล็กๆ ของการเห็นช่องว่างทางโอกาสในวันนัน้ ท�ำให้ กลุ่ม Duck & Noodle เล็งเห็นถึงศักยภาพของ ความเป็นไปได้ในธุรกิจการจัดปาร์ตี้บนเรือบริเวณ ริมแม่นำ�้ เจ้าพระยา “ส�ำหรับผม เรือ่ งการหาโลเคชัน่ ทีเ่ หมาะสมมันเป็นเรือ่ งทีย่ ากมากทีส่ ดุ แล้ว” คริสกล่าว ซึ่งทุกคนในทีมมีความเห็นตรงกันว่าการหาพื้นที่ เหมาะเจาะที่สามารถใช้เสียงดังได้ทั้งคืนโดยไม่ รบกวนเพื่อนบ้านและสามารถจุคนจ�ำนวน 300-400 คนนั้นไม่ง่ายเลย เมื่อได้สถานที่มีเหมาะเจาะแล้ว ปาร์ตี้ครั้งแรกที่ชื่อว่า It’s on the boat จึงถูกจัดสรร ขึ้นบนเรือของร้านอาหารร้านหนึ่งที่จุคนได้เพียง 100 คน ซึ่งพวกเขาต้องพบกับปัญหาทั้งเรื่องการ จัดการในแง่สถานทีแ่ ละการควบคุมคนเป็นอย่างมาก ท�ำให้ปาร์ตี้ครั้งที่สองจึงต้องย้ายไปจัดบนเรืออีก ล� ำ หนึ่ ง ที่ จ อดอยู ่ บ ริ เ วณเจริ ญ กรุ ง 80 ซึ่ ง ถู ก แต่ ง เติมใหม่ และเคยใช้รองรับผูค้ นทีห่ ลัง่ ไหลมามากกว่า พันคนอีกด้วย


RULE NO. 1: DO THINGS THAT ARE CLOSE TO YOUR HEART

“เพราะพวกเรามาจากสามประเทศที่แตกต่างกัน ผมเป็นคนนิวซีแลนด์ พอลเป็นคนสเปน ส่วนซันกับหูดก็เป็นคนไทย พวกเราจึงมีพื้นฐาน ประสบการณ์ที่แตกต่างและหลากหลายมาก เราสังเกตเห็นว่าถ้าเป็นการ ไปเที่ยวกลางคืนในสไตล์คนไทย พวกเขาจะนิยมไปกันเป็นกลุ่มใหญ่ เปิดโต๊ะ เปิดเหล้ากัน แต่ถา้ เป็นคนต่างชาติจะนิยมไปปาร์ตก้ี นั ในกลุม่ เล็กๆ และนิยมที่จะจัดการซื้อเครื่องดื่มของตัวเองมากกว่า ซึ่งพฤติกรรมการไป ปาร์ตจี้ ะแตกต่างกันมาก พวกเราเลยพยายามหาทางทีจ่ ะบาลานซ์ทงั้ สอง พฤติกรรมเข้าไว้ด้วยกัน” ความต่างอย่างมีชั้นเชิงในทุกๆ ปาร์ตี้ของ Duck & Noodle คือการ สร้างประสบการณ์แปลกใหม่แก่ผู้มาเยือน (Party Goers) เริ่มตั้งแต่ การคัดเลือกสถานที่ ดีเจ และวงดนตรี การสร้างสรรค์เรื่องราวและ การออกแบบสือ่ ประชาสัมพันธ์ ไปจนถึงการจัดสรรออกแบบพืน้ ที่ ออกแบบ ประสบการณ์ในงาน โดยไม่ลืมเหตุผลตั้งต้นของการจัดงานสังสรรค์ใน รูปแบบทีต่ วั เองชอบ “เราคัดสรรดีเจมาอย่างดีนะครับ แต่ในเชิงการโปรโมต เราไม่ได้เน้นโปรโมตดีเจเยอะเหมือนที่อื่นเขาทำ�กัน เพราะดีเจเหล่านี้ ยังไม่เป็นที่รู้จักในหมู่คนไทย เราเลยเน้นโปรโมตเรื่องราวของการมา สังสรรค์กับบรรยากาศดีๆ บนเรือมากกว่า” เพราะปาร์ตี้ตั้งอยู่ในสถานที่ ที่แปลกใหม่ สื่อประชาสัมพันธ์จึงเป็นอีกจุดแข็งที่แตกต่างของ Duck & Noodle ทุกชิน้ ผ่านการออกแบบอย่างใส่ใจจากสมองและสองมือของคริส และพอล สองกราฟิกดีไซเนอร์ของทีม “เราแบ่งงานกันคนละครึง่ พอลจะ เก่งการวาดรูปประกอบ ส่วนผมจะรับผิดชอบการจัดเรียงข้อมูลลงใน แบนเนอร์ของเฟซบุก๊ เช่น แผนทีแ่ ละคำ�แนะนำ�เรือ่ งการแต่งตัว เราเข้มงวด มากในเรื่องการออกแบบ โดยมีกฎเหล็กเลยคือเราจะไม่ใช้รูปถ่ายในการ ทำ�สื่อประชาสัมพันธ์เลย” แนวคิดนี้แตกต่างจากสื่อประชาสัมพันธ์ของ งานปาร์ตที้ วั่ ไปทีน่ ยิ มใช้รปู ถ่ายเป็นหลักและดูจะขายเรือ่ งเพศเพียงเท่านัน้ ด้วยเหตุผลทีว่ า่ ทางทีมต้องการสือ่ ข้อความไปยังกลุม่ เป้าหมายซึง่ เป็นพวก เอ็กซ์แพตและคนอืน่ ๆ ทีอ่ ยากจะมามีเวลาสนุกกับงานจริงๆ “สิง่ ทีจ่ ะทำ�ให้ งานปาร์ตี้สนุก คนที่มางานก็มีส่วนสำ�คัญมากเหมือนกัน”

EXTRA DUCKS, EXTRA NOODLES, PLEASE?

ก้าวต่อไปของ Duck & Noodle จะขยับไปท�ำโปรเจ็กต์ใหม่ที่ใหญ่ขึ้นกว่า เดิม “ในช่วงหลังเรามีปัญหามากในการจัดปาร์ตี้เพราะข้อจ�ำกัดของเวลา การจัดงานทีส่ นั้ ลงมาก เราเลยมีแผนทีจ่ ะท�ำงานทีม่ สี เกลใหญ่ขนึ้ ในระดับ เฟสติวลั ในส่วนของฝัง่ ดนตรีของเทศกาลบุกรุก (Bukruk Street Art Festival) ที่จะเกิดขึ้นในต้นปีหน้า ซึ่งจะเป็นงานที่เริ่มตั้งแต่กลางวันยาวไปถึง กลางคืน” คริสและหูดช่วยกันทิ้งท้ายไว้ว่า พวกเขาคงไม่อยากที่จะทิ้ง งานประจ�ำ แล้วมาจัดงานในฐานะ Duck & Noodle อย่างเต็มตัว เพราะ เมื่อไหร่ที่คุณมาท�ำงานนอกที่คุณรักแบบจริงจังแล้วนั้น ความรักและ ความสนุกสนานเมือ่ ตอนแรกทีท่ ำ� ด้วยความตัง้ ใจเพราะความอยากท�ำจะ กลายเป็นงานไปเสียหมด และแม้ว่าทาง Duck & Noodle จะยังขยับไป ท�ำอย่างอื่นหลายต่อหลายอย่างแต่พวกเขาก็ยังกลับไปท�ำงานโบ๊ต ปาร์ตี้ อีกอยู่ดี “มันหลายปีมาแล้วที่ถึงพวกเราจะไปจัดปาร์ตี้ที่อื่นๆ แต่เราก็ยัง กลับไปจัดโบ๊ต ปาร์ตี้ทุกปี เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นแรกที่ท�ำให้ทุกๆ คน ได้รู้จักเราในฐานะ Duck & Noodle การได้เต้นร�ำบนเรือเหนือพื้นน�้ำ การกิ น ดื่ ม ภายใต้แสงดาว พร้อมกับการมาฟังเพลงดีๆ ยังไงมันก็เป็น จุดขายที่โดดเด่นของการจัดปาร์ตี้ของเราอยู่ดีครับ”

กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 23


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ

เซาธ์ แบงก์ เขตพื้นที่ริมแม่น�้ำเทสม์ของลอนดอนในวันนี้ คือตัวอย่างของพื้นที่สร้างสรรค์ริมน�้ำที่บอกเล่า เรือ่ งราวการใช้ชวี ติ ของคนเก่าในเขตชุมชน คนใหม่ทเี่ ข้ามาประกอบอาชีพ และนักท่องเทีย่ วทีม่ าเทีย่ วเสพงานศิลป์ หรือมาเพื่อซึมซับวัฒนธรรมที่ยังด�ำรงอยู่คู่แม่น�้ำเทมส์ ซึ่งสิ่งที่ว่ามาทั้งหมดนี้ได้ผ่านกระบวนการพัฒนาที่ต้อง ใช้เวลาและการท�ำความเข้าใจในตัวตนของคน เมือง และการใช้ชีวิตริมฝั่งแม่น�้ำสายนี้ร่วมกัน Reb o r n Spir it

Th e Battle fo r the Better life

24 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2558

ได้นำ� เสนอทางเลือกการพัฒนาเซาธ์ แบงก์รว่ มกันโดยการใช้ 3D representation ให้ประชาชนและ ผูเ้ กีย่ วข้องได้เห็นภาพอนาคตทีช่ ดั เจนในการก�ำหนดทีต่ งั้ สถานทีต่ า่ งๆ อาทิ ร้านค้า สวนสาธารณะ โรงแรม พื้นที่ศิลปะ ระบบคมนาคม ฯลฯ ที่เหมาะส�ำหรับคนที่ต้องอาศัยอยู่ คนท�ำธุรกิจ และคน ที่มาเที่ยวให้ได้รับความสะดวกและอยู่ร่วมกันได้อย่างสบายใจมากที่สุด

historypin.org

แต่การพยายามโชว์สปิริตที่ดูสวยหรูต้องแลกมาซึ่งการเสียสละที่อยู่อาศัยและที่ท�ำกินของคนใน ท้องถิ่นเดิม คงเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมนัก ในปี 1977 จึงเกิดการเรียกร้องสิทธิ์ของคนเซาธ์ แบงก์ ที่เรียกกันว่า “Berlin Wall on River Thames” โดยคนในชุมชนตัดสินใจร่วมกันตั้ง “Coin Street Community Builders” หรือ CSCB ขึ้นเพื่อเสนอทางเลือกให้คนในท้องถิ่นได้อยู่ในที่เดิมของตน ร่วมกับการเป็นฮับแห่งวัฒนธรรมของลอนดอน โดย CSCB ได้หาเงินทุนจากแหล่งต่างๆ เพื่อจัด ตั้งที่อยู่อาศัยให้แก่คนในชุมชนกว่า 220 ครัวเรือน และการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลให้คง ตลาดริมน�้ำกาเบรียล (Gabriel’s Wharf Market) ที่มีอยู่เดิมให้มีอยู่ต่อไป เพื่อด�ำรงไว้ซึ่งเศรษฐกิจ ของท้องถิ่น ซึ่งตลาดริมน�้ำกาเบรียลนี้มีลักษณะคล้ายคอมมูนิตี้ที่เปิดพื้นที่ให้เช่าส�ำหรับร้านขาย ผลงานคราฟต์ งานศิลปะ จิวเวลรี่ ร้านอาหารริมน�้ำ ผับ บาร์ รวมไปถึงการให้เช่าพื้นที่ท�ำเวิร์กช้อป และการจัดแสดงโชว์ต่างๆ ในราคาที่ย่อมเยา ส่วนพาร์ทเนอร์ที่ส�ำคัญของ CSCB ก็คือ “South Bank Employer’s Group” หรือ SBEG องค์กรเพื่อสังคมที่รับหน้าที่ดูแลเรื่องกฎหมายสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาทัศนียภาพของเซาธ์ แบงก์ให้มีระเบียบและสวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งได้รับความร่วมมือ ที่ดีจากบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเชลล์ (Shell) และไอบีเอ็ม (IBM) ที่มองเห็นว่าหากสิ่งแวดล้อมรอบๆ เซาธ์ แบงก์ดีขึ้น คุณภาพชีวิตของพนักงานและภาพลักษณ์ที่จะได้รับจากลูกค้าก็จะดีขึ้นเช่นกัน จนในปี 1994 โปรเจ็กต์แรกของ SBEG ทีช่ อื่ ว่า “Spine Route” หรือแผนการดีไซน์ระบบคมนาคมของ เซาธ์ แบงก์รูปแบบใหม่ก็เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินเท้า ระบบขนส่งมวลชนทั้งทางบกและ ทางน�้ำ ยานพาหนะส่วนบุคคล ที่จัดสรรให้เหมาะสมกับเมืองและการใช้งาน จนในปี 2008 SBEG

coinstreet.org

เซาธ์ แบงก์ ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ปี 1830 คือย่านที่ประกอบไปด้วยท่าเรือใหญ่น้อย โกดัง ต่างๆ และเหล่าโรงงานที่มีอยู่มากมาย สิ่ง เหล่านีข้ บั เคลือ่ นกิจกรรมทางเศรษฐกิจทีส่ ำ� คัญ ให้ลอนดอน พื้นที่ในย่านนี้ขึ้นชื่อเรื่องความ วุ่นวาย สกปรก และเสียงดังมากที่สุด แต่เมื่อ สงครามโลกครัง้ ที่ 2 เกิดขึน้ ย่านท่าเรือ โรงงาน ต่างๆ ในเซาธ์ แบงก์ก็ถูกท�ำลายลงด้วยระเบิด จุดเปลี่ยนของเมืองจึงเริ่มต้นขึ้นหลังสงคราม ได้สิ้นสุดลง อังกฤษพยายามกอบกู้ศรัทธาและ ความหวังใหม่ให้เกิดขึน้ ทีย่ า่ นนีอ้ กี ครัง้ เริม่ ด้วย การตั้งใจสร้างเซาธ์ แบงก์ ให้เป็นศูนย์กลาง การแสดงศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมของอั ง กฤษ (The Festival of Britain) ในปี 1951 เพื่อแสดง ศักยภาพของชาติให้ชาวโลกได้รับรู้อีกครั้งผ่าน นวัตกรรม วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เทคโนโลยี ศิลปะ และดีไซน์ด้านอุตสาหกรรม เซาธ์ แบงก์ จึงได้เปลี่ยนบทบาทจากย่านอุตสาหกรรมที่ วุ่นวายกลายเป็นพื้นที่ริมน�้ำสร้างสรรค์ ที่ถือ เป็นฮับของกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ที่ ส�ำคัญของลอนดอน และการพยายามเคลียร์ พืน้ ทีเ่ พื่อให้ยา่ นแห่งนีม้ ไี ว้สำ� หรับท่องเทีย่ วและ ให้ประกอบไปด้วยธุรกิจด้านศิลปวัฒนธรรม จึงค่อยๆ แสดงออกชัดเจนขึ้น เมื่อ 3 สถานที่ ส�ำคัญได้เกิดขึ้น นั่นคือ The Royal Festival Hall, The Hayward Gallery และ The Queen Elizabeth Hall ที่ได้ดึงดูดนักท่องเที่ยวและ ชนชั้นกลางชาวอังกฤษเองให้มาเที่ยวชมและ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ไปพร้อมๆ กับชนชัน้ แรงงาน ที่เคยท�ำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ย่านเซาธ์ แบงก์ ค่อยๆ ลดบทบาทหน้าที่ลง


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

SOU TH B A N K , L O N DO N: Live, Work and Play right by the River

flickr.com/photos/magnus_d mattbadenoch.com

thoroughlygood.me

เมือ่ เรามองย้อนกลับไปยังจุดเริม่ ต้นของเซาธ์ แบงก์จากอดีตทีเ่ คยเป็นย่าน อุตสาหกรรม ผ่านระเบิดในสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง สูก่ ารพลิกฟืน้ คืนสปิรติ ให้อังกฤษ โดนเรียกร้องทวงสิทธ์จากชุมชนในฐานะเจ้าบ้าน จนกระทั่ง การกลับมาก�ำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองร่วมกัน สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ เกิดขึ้นชั่วข้ามคืน แต่เซาธ์ แบงก์ใช้เวลาเกินกว่าศตวรรษถึงจะได้รับการ ยอมรับและเป็นต้นแบบแห่งพื้นที่สร้างสรรค์ริมน�้ำของลอนดอน กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 25


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร "Long Live SouthBank" ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องสเก็ตบอร์ด จักรยาน ผาดโผน สตรีทอาร์ต และกราฟิตี้ ที่มีอยู่กว่า 40 ปีใต้ตึกควีน เอลิซาเบธ ฮอลล์ (Queen Elizabeth Hall) ไม่ให้โดนไล่ทเี่ พือ่ ทำ�เป็นร้านค้าและร้านอาหาร ซึง่ ทวงคืนพีน้ ทีไ่ ด้สำ�เร็จ เพราะ มติการประชุมนับว่ากิจกรรมเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมของคนเมืองเซาธ์ แบงก์ ซึ่งเป็นเสน่ห์ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว Th e Last P iece o f t h e Central Lo nd o n Jig s aw

นอกจากการคงเสน่หไ์ ว้ซงึ่ ธุรกิจเล็กๆ รอบพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ ที่ มีค วามหลายหลายทางศิ ล ปะและวัฒ นธรรมจะ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากมาเยี่ยมชมเซาธ์ แบงก์ แล้ว การพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นได้ทั้งที่อยู่อาศัย ที่ท�ำกิน และที่เที่ยว มีหลักส�ำคัญ 3 ประการ คือ 1.) การพัฒนาเพือ่ ใช้ใหม่ (Reuse) เช่น ตึก OXO Tower ที่ได้รับรางวัล “The Building of the Year Award for Regeneration” ประจ�ำปี 1997 ซึ่งเดิมทีตึกนี้เป็น โรงงานแปรรูปเนือ้ สัตว์ แต่ในปัจจุบนั ได้พฒั นาให้เป็น อาคารทีใ่ ช้งานแบบผสม (Mixed Use) โดยชัน้ ล่างเปิด เป็นร้านค้า สตูดิโอ แกลเลอรี ชั้นส่วนกลางเป็นที่พัก อาศัย ชั้นบนสุดเป็นร้านอาหารและจุดชมวิวที่เปิดให้ ทุกคนเข้าชมได้ 2.) การสร้างใหม่ (Reconstruction) เช่น ในกรณี ของการสร้างที่อยู่ใหม่ให้กับคนในท้องถิ่นเดิมได้อยู่ กันเป็นสัดส่วน และ 3.) การท�ำลายทิ้ง (Demolition) เช่น ในกรณีของ การท�ำลายท่าเรือเนลสัน (Nelson's Wharf) แล้ว สร้างสวนสาธารณะเบอร์นี สเปน การ์เดน (Bernie Spain Garden) ขึ้นมาแทนเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนริม น�้ำสาธารณะและเปิดให้เช่าท�ำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วย

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2558

การคาดการณ์ที่เผยแพร่จากส�ำนักงานนายกเทศมนตรีลอนดอน (The Mayor of London's Office) บอกให้เราทราบว่า ภายในปี 2030 ชาวลอนดอนจะมีจ�ำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านคน สิ่งนี้เองที่ท�ำให้ลอนดอนต้องวางแผนขยับขยายพื้นที่ที่มีอยู่เท่าเดิมให้รองรับจ�ำนวนประชากร ในอนาคต ซึ่งพื้นที่ที่ว่านี้คือ ไนน์ อีมส์ (Nine Elms) เขตพื้นที่ทรงสามเหลี่ยมริมแม่น�้ำเทมส์ ฝั่ง เซาธ์ แบงก์ ทีจ่ ากเดิมเป็นทีต่ งั้ ของโรงงานไฟฟ้าเก่าช�ำรุด ตลาดสดขายผักผลไม้ขนาดใหญ่ และ แหล่งที่ทิ้งขยะ ซึ่งแผนส�ำหรับการพัฒนาไนน์ อีมส์ ที่มีขนาด 195 เฮกตาร์ (ประมาณ 1,218 ไร่) ให้เป็นพื้นที่ริมน�้ำสร้างสรรค์และทันสมัยได้เริ่มวางแผนไว้ตั้งแต่ปี 2010 และคาดว่าจะแล้วเสร็จ ประมาณปี 2025 การพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ครั้งนี้จะประกอบไปด้วย การสร้างอาคารที่อยู่ริมน�้ำ พัฒนาพื้นที่สีเขียว ทางเดินเท้าและแหล่งพักผ่อนริมน�้ำ สร้างตึกสูงรวมคลัสเตอร์ต่างๆ สร้าง สะพานข้ามแม่นำ�้ เปิดสถานีรถไฟเพิม่ อีก 2 สาย และการพัฒนาชุมชนในท้องถิน่ ให้คงเสน่หเ์ ดิม แต่มีระเบียบสวยงามขึ้น โดยไนน์ อีมส์ คาดว่าจะเป็นสปอร์ตไลท์แห่งใหม่ให้ลอนดอนที่จะยัง คงความวุ่นวาย แต่โชว์ความทันสมัยผ่านสิ่งปลูกสร้างที่รองรับการใช้งานที่หลากหลายขึ้น และ ยังแฝงไปด้วยเสน่ห์ของศิลปะและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของเซาธ์ แบงก์

oxotower.co.uk

telegraph.co.uk

cityam.com

26 l

Facebook/longlivesouthbank

thesinglegourmetandtraveller.com

KEYS OF SUCCE SS


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

Ke e p A s k in g for t h e R i g h t s

ยังคงต้องมีการหาจุดร่วมกันต่อไป เพื่อให้ผู้ที่มาอยู่ใหม่และผู้อยู่เดิม สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งลิบ เพก (Lib Peck) หัวหน้าที่ปรึกษาเมืองแลมเบธ ลอนดอน (Lambeth London Borough Council) ได้ออกมาให้ความเห็นว่า “...คนในชุมชนไนน์ อีมส์ ต้องการ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่จะเกิดขึ้น พวกเขาไม่อยากรู้สึกว่าสิ่ง

skyscrapercity.com

แต่เมื่อสิ่งเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้นทั้งหมด การตั้งค�ำถามและการถกเถียงถึงความเหมาะสมจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ต้องเกิดขึ้น อย่างกรณีการ สร้างอพาร์ทเมนต์หรูท่ีโดนนิยามว่าเป็น “มินิ แมนฮัตตัน (mini Manhattan)” ก็โดนวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนว่า เป็นการสร้างเพื่อ ให้ชาวต่างชาติกระเป๋าหนักมาจับจองเป็นเจ้าของที่พักหรูวิวแม่น�้ำเทมส์ที่ปกติจะเข้ามาพักเพียงปีละครั้งสองครั้ง ในขณะที่คนในชุมชน ไนน์ อีมส์ เองอาจโดนเบียดไม่ให้ได้อยู่ที่เดิม แล้วการพัฒนาครั้งนี้จะส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจริงหรือเปล่า สิ่งเหล่านี้

ใหม่ๆ ที่จะเพิ่มขึ้นมาเป็นเหมือนสิ่งแปลกประหลาดในสายตาพวกเขา แต่แรงกระตุ้น การสนับสนุนและการให้ก�ำลังใจคนในพื้นที่ให้ได้มีส่วน ร่วมในการพัฒนาเมืองร่วมกันเป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญมาก” ซึง่ แน่นอนว่า ณ เวลา นี้ เซาธ์ แบงก์ ก�ำลังเดินหน้าท�ำแบบทดสอบที่ท้าทายอีกครั้งหนึ่งในการ พัฒนาพื้นที่ริมน�้ำในแบบฉบับของตัวเอง

nepbridgecompetition.co.uk

ขอขอบคุณ Friends of River (FOR)

แม้ว่ามุมมองเรื่องความงามจะเป็นเรื่องรสนิยมและเป็นปัจเจก แต่การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีสิทธิ์ส่งแบบสะพานข้าม แม่น�้ำเทมส์ในฝันจากฝั่งไนน์ อีมส์ เข้าประกวดและการให้สิทธิ์ชาวเมืองไนน์ อีมส์ได้มีส่วนเลือกแบบสะพานเพื่อหาจุดร่วม ความงามและการใช้ประโยชน์ร่วมกันนั้น ก็เป็นการแสดงออกที่ส�ำคัญของการเคารพสิทธิของกันและกันในการสร้าง ประวัติศาสตร์แห่งใหม่ให้ลอนดอน

ที่มา: รายงาน “Case Study Report: Regeneration of the South Bank, London” (September 2009) โดย University of Hong Kong บทความ “Redeveloping London: What's the plan?” (16 กุมภาพันธ์ 2556) จาก economist.com บทความ “Nine Elms: London's Great Transformation” (20 มกราคม 2557) จาก ibtimes.co.uk บทความ “What’s Happening at Nine Elms? (13 มีนาคม 2558)” จาก londonist.com บทความ “Southbank’s skatepark saved for the long term” (19 กันยายน 2557) จาก telegraph.co.uk southbanklondon.com nineelmslondon.com วิกิพีเดีย กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

RIVERFRONT FOR EVERYONE

ผศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี

28 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2558


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

หลังจากที่การเติบโตของเมืองขยับตัวออกจากผืนนํ้าไปยังพื้นถนนและตึกคอนกรีต ส่งผลให้กิจกรรมและกิจการบนพื้นที่ริมนํ้าดู เหมือนหยุดนิง่ ชัว่ ขณะ ไร้การวางแผนและควบคุม ในวันนีท้ หี่ ลายเมืองทัว่ โลกต่างหวนกลับมาหาพืน้ ทีร่ มิ นาํ้ อีกครัง้ ผูเ้ ชีย่ วชาญงาน ผังเมืองอย่าง ผศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร อาจารย์ประจำ�คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีบทบาทสำ�คัญในการเป็นตัวกลางประสานความร่วมมือ เพือ่ ให้ผอู้ ยูอ่ าศัย ผูป้ ระกอบการ หน่วยงานราชการ ไปจนถึงภาคเอกชน ได้รว่ มกันค้นหาและสร้างสรรค์หนทางการใช้ประโยชน์จากพืน้ ที่ บนพืน้ ฐานของความต้องการและเงือ่ นไขทีห่ ลากหลายของทุกฝ่าย ความรู้และประสบการณ์การทำ�งานของอาจารย์ในฐานะที่ปรึกษาและหัวหน้าโครงการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและพื้นที่ชุมชน เก่าหลากหลายโครงการ เช่น โครงการศึกษาคุณค่า ประเมินความเปลีย่ นแปลง และปรับปรุงระบบฐานข้อมูลของอาคารในเมืองเก่า ภูเก็ต โครงการพัฒนาพื้นที่ตำ�บลท่าเตียน-ท่าช้าง และโครงการด้านงานอนุรักษ์ของสำ�นักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จึง น่าจะเป็นบทเรียนที่เปิดมุมมอง แนวคิด และกระบวนการทำ�งานบนพื้นที่ที่มีความทับซ้อนที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะนอกจากแต่ละ โครงการจะกินเวลายาวนานแล้ว ยังต้องอาศัยการทำ�ความเข้าใจ การประนีประนอม และการรับฟังอย่างเป็นกลาง เพื่อนำ�มาสู่ ทางออกที่ดีที่สุดสำ�หรับพื้นที่ที่ทุกคนใฝ่หา

บทบาทของแม่นํ้าและวิถีชีวิตของผู้คนในอดีต ตัง้ แต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบนั เราจะเห็นได้วา่ ถ้าไม่มนี าํ้ เมืองก็อยูไ่ ม่ได้ เพราะฉะนัน้ เมืองส่วนใหญ่กจ็ ะตัง้ อยูร่ มิ แม่นาํ้ และมักจะเป็นแม่นาํ้ ขนาด ใหญ่ จะไม่คอ่ ยมีเมืองไหนเลยทีต่ งั้ อยูร่ มิ คลองขนาดเล็ก ส่วนตำ�แหน่งทีต่ งั้ ส่วนมากก็จะอยู่บนตำ�แหน่งที่เป็นศูนย์กลาง ชุมทาง หรือด่าน แต่เมือง โบราณของไทยไม่ได้ตั้งอยู่ริมแม่นํ้าทั้งหมด ยกตัวอย่างง่ายๆ คือสุโขทัย เขาไม่ได้อยูร่ มิ แม่นาํ้ แต่เขาฉลาดกว่านัน้ เพราะแม่นาํ้ ยมทีไ่ หลมา สังเกต ว่าตลิ่งมันสูงมาก ช่วงที่นํ้าแรงมันจะท่วม เพราะฉะนั้นเขาก็เลยกระเถิบ ออกมาจากแม่นํ้าหน่อย แล้วก็ทำ�เขื่อนชื่อว่าเขื่อนสรีดภงค์เพื่อกั้นนํ้าฝน ที่ลงมาจากภูเขา จากนั้นก็ใช้วิธีชลประทาน (Irrigation) นำ�นํ้ามาใช้กิน ใช้อาบ จากเขือ่ นนีเ่ ราจะไม่เห็นลำ�ธารเลยนะครับ เพราะเขาทำ�ทางนา้ํ ไหล โดยขุดท่อลงไปใต้ดิน ส่งนํ้ามาหล่อเลี้ยงตรงคูเมืองและกำ�แพงเมือง จากนั้นก็ระบายนํ้าลงทางคลองแม่รำ�พันซึ่งอยู่อีกทิศหนึ่ง ดังนั้นเมืองก็มี นํ้าหล่อเลี้ยงตลอดเวลา นี่แสดงให้เห็นว่าคนไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยเขา ฉลาดมาก รู้จักจัดการนํ้า ไม่มีก็ทำ�ให้มี ถ้ามันล้นตลิ่ง แทนที่จะทำ�เขื่อน ก็กระเถิบมาเล่นกับนํ้าอีกฝั่งหนึ่ง ส่วนอยุธยาก็น่าสนใจตรงที่เป็นเมืองค้าขายที่มีขนาดใหญ่มากและ รวยมากในสมัยนั้น จนฝรั่งกลัวแล้วก็สงสัยมากว่าเมืองอยุธยาทำ�ได้ยังไง ทั้งๆ ที่เมืองตั้งอยู่ถัดเข้าไปจากจุดที่แม่นํ้าสามสายมาชนกันตั้ง 80-90 กิโลเมตร เพราะปกติแล้วเมืองท่าจะอยู่ติดทะเลหรือปากอ่าวเลย แต่ อยุธยาใช้วิธีปรับระบบธรรมชาติด้วยการขุดคลองลัดเพื่อการคมนาคม ทางนํ้า (Inland Navigation) เพราะคลองเดิมมันคดเคี้ยว เขาก็ตั้งด่าน ที่กรุงเทพฯ แล้วก็ขุดคลองลัดไป 5 ช่วง ที่อยุธยาได้มรดกโลกไม่ใช่เพราะ ความสวยของอาคาร แต่มนั คือองค์ความรู้ ความชาญฉลาดของคนสมัยนัน้ ที่เขาสามารถดึงพ่อค้าให้เข้ามาค้าขายในอยุธยาได้จนรุ่งเรือง

การทีเ่ ราไปจัดการกับธรรมชาติโดยไปปรับปรุงมันด้วยแบบนีเ้ ขาเรียก ว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” คือพอจัดการกับธรรมชาติแล้วคนอยู่ได้ แล้ว ธรรมชาติกเ็ กิดประโยชน์ดว้ ย เพราะว่านาํ้ ในแม่นาํ้ เจ้าพระยามันไหลเชีย่ ว ไหลแรงเพราะมันคดเคี้ยว พอตัดเป็นคลองนํ้าก็นิ่ง เมื่อนํ้านิ่งก็เกิดเป็น ชุมชน อย่างที่คลองอ้อมนนท์หรือตามแม่นํ้าสายเล็กๆ ที่แยกมาจาก แม่นํ้าเจ้าพระยาพวกนี้มีชุมชนเก่าๆ เต็มไปหมดเลย อีกอย่างคือเมื่อมี นํ้าไหลผ่าน พื้นที่ริมนํ้าก็กลายเป็นที่ทำ�สวนที่ดีมากเพราะว่าดินมัน อุดมสมบูรณ์ ผมไม่รู้ว่าเรื่องนี้เขารู้ก่อนจะขุดคลองหรือเปล่านะ แต่คน โบราณเขามีองค์ความรู้ของเขาซึ่งได้จากการสังเกตจากธรรมชาติ ไม่ใช่ การดูจากหนังสือ แล้วงานของเขาที่ออกมามันบริสุทธิ์ เป็นงานที่ตอบ คำ�ถามได้ทุกเรื่องเลย เพราะมันมีเหตุและผลในตัวเองว่าทำ�ไมต้องทำ� อย่างนั้น

คนโบราณเขามีองค์ความรู้ของเขาซึ่งได้จาก การสังเกตจากธรรมชาติ ไม่ใช่การดูจากหนังสือ แล้วงานของเขาที่ออกมามันบริสุทธิ์ เป็นงานที่ ตอบคำ�ถามได้ทุกเรื่องเลย เพราะมันมีเหตุและผล ในตัวเองว่าทำ�ไมต้องทำ�อย่างนั้น

กรกฎาคม 2558

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

แนวคิดหลักในการจัดการกับพื้นที่ริมนํ้าของคนสมัยก่อน ผมชอบที่คนไทยสมัยโบราณเขารู้ว่าเขาต้องพึ่งนํ้า เพราะฉะนั้นเขาจะไม่ ทำ�ร้ายนํ้า ไม่ขัดขืนธรรมชาติของนํ้า ฝรั่งที่มาอยุธยาเคยเขียนไว้นานแล้ว ว่า ในการตัง้ ถิน่ ฐานคนอยุธยามีวธิ จี ดั การกับนํา้ สองแบบ แบบแรกคือสร้าง บนเสาสูงหรือทีเ่ รียกว่า On Stilt นา้ํ จะขึน้ จะลงยังไงบ้านก็ยงั อยู่ เวลานํา้ ลง เขาก็ใช้พื้นที่ใต้ถุนทำ�อะไรนู่นนี่ นํ้าขึ้นก็มีเรือจอด เขาไม่เดือดร้อนเลย แบบที่สองคือทำ�เป็นแพ แพก็จะลอยสูงตํ่าตามระดับนํ้าเลย จริงๆ แล้ว เมืองไทยเราเคยพูดถึงเรื่องนี้กันบ่อยมากตั้งแต่ยุค 1970 แต่ผมก็ไม่แน่ใจ ว่าทำ�ไมเราถึงไม่ทำ� คิดว่าอาจจะเพราะเราไปดูงานเมืองนอกที่มีการกั้น ตลิ่งแล้วชอบ เพราะว่ามันดูสวย ดูเนี้ยบ แต่ผมคิดว่าตอนนี้มันอยู่ที่ว่าเรา เข้าใจองค์ความรูก้ บั ธรรมชาติของเราดีหรือยัง แล้วถ้าเราไปจัดการบนฐาน ตรงนั้น ผมว่ามันน่าจะดีกว่าพยายามจะทำ�ให้เหมือนตะวันตกมากขึ้น ทั้งๆ ที่ทำ�มาแล้วมันก็ขัด เรือ่ งนีเ้ หมือนการเรียนสถาปัตยกรรมหรือการออกแบบของเราเลยนะ การเรียนของเราจะแยกเป็นสองส่วนเลย เพราะว่าเราเรียนโดยใช้หนังสือ ฝรั่งหมด ตั้งแต่ว่าจะสเกตช์อะไรยังไง แต่ส่วนที่ทำ�บ้านไทย ที่ขายกันอยู่ แถวอ่างทอง แถวอยุธยา เราไม่เคยสอนในมหาวิทยาลัย เราไม่ได้เริ่มจาก การดูสิ่งที่ชาวบ้านเขาทำ� จริงๆ แล้วเราควรจะเคารพเขาแล้วเอาของเขา มาสอน เพราะว่ามันเกิดจากภูมิปัญญาของเราเอง ผมคิดว่าตอนนี้เรื่องนี้ มันเป็นช่องว่างมาก ทำ�ให้ยคุ หลังมานีผ้ เู้ ชีย่ วชาญก็ดหี รือใครก็ดที เี่ รียนจบ จากเมืองนอกก็ใช้วิธีที่ได้มาจากที่นู่น แล้วปรากฏว่าแทนที่มันจะเป็น ประโยชน์มันกลับเป็นอันตราย คือเราไปเรียนของเขา เราก็ต้องคิดว่า แนวคิดอย่างนัน้ ทำ�ยังไงถึงจะสูเ้ ขาได้ แต่ไม่ใช่ไปเอามาตรฐานของเขามา แล้วก็บอกว่าของเราตํ่ากว่ามาตรฐาน คิดเองเออเองหมดเลยว่าแบบนี้อยู่ ไม่ได้ แต่คนที่อยู่อาศัยจริงๆ กลับไม่เคยไปถามเขา ไปเรียนรู้เขาเลย แนวทางการจั ด การพื้ น ที่ ริ ม นํ้ า ของประเทศตะวั น ตกเป็ น อย่างไร อย่างเนเธอร์แลนด์เขาจะขัดขืนธรรมชาติมาก ตอนทีผ่ มไปคอร์สฝึกอบรม ของธนาคารโลกทีเ่ นเธอร์แลนด์ วันเสาร์อาทิตย์เขาก็พาไปดูเขือ่ น สิง่ ทีเ่ ขา ทำ�คือเขาสูก้ บั ธรรมชาติตลอดเลยนะ ทัง้ ๆ ทีพ่ น้ื ทีอ่ ย่างสนามบินสกิปโพลนี่ อยู่ตํ่ากว่าระดับนํ้าทะเล 5 เมตรหรือตํ่ากว่านั้น ของเรานี่อยู่แค่ปริ่มๆ เขาก็จัดทำ�เป็นโครงการที่เรียกว่า “Polders and Dikes” คือทำ�เขื่อนแล้ว ก็ขุดคลองเพื่อจะสูบนํ้าออกไปลงทะเลเวลาฝนตก เพราะฉะนั้นคูคลอง เหล่านี้ก็มีไว้เพื่อรองรับนํ้าฝน กังหันลมมีหน้าที่สูบนํ้าจากพื้นที่ตํ่าในเมือง ไปลงคลอง แบ่งเป็นชั้นๆ คลองหนึ่ง คลองสอง อย่างในอัมสเตอร์ดัมก็ แบ่งเป็นสิบๆ ชั้น เพราะฉะนั้นของเนเธอร์แลนด์นี่เขาทำ�เป็นภูมิทัศน์ วัฒนธรรมเลย คือทำ�แล้วปรับธรรมชาติจนตัวเองอยู่ได้ แต่ทีนี้พอมันเกิด ภาวะโลกร้อน ระดับนํ้าทะเลสูงขึ้น พื้นที่เขาก็ตํ่าลงๆ จนกระทั่งเขาบอก ว่ามันเกินกำ�ลังของเงินที่เขาลงทุนไปแล้ว เขาก็เลยเริ่มคิดใหม่ มาดูงาน 30 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2558

แถวบ้านเรานีแ่ หละ แล้วก็คดิ ว่าถ้าอย่างนัน้ เรามาอยูเ่ ป็นแพดีไหม ให้ลอย อยูบ่ นนาํ้ ไปเลย ตอนนีเ้ ขาคิดอย่างนัน้ แล้วนะ แต่แพเขาก็ไฮโซมาก มีอะไร ครบหมดทุกอย่าง เพราะว่าเรื่องเทคโนโลยีของทางยุโรปเขาดี คือผมคิดว่ายุโรปเขามีการศึกษากระบวนการ แล้วในยุคปฏิวัติ อุตสาหกรรมยุโรปเขาก็มีการสร้างขอบ (Embankment) พวกแม่นํ้าสาย ใหญ่ๆ ได้หมดเลย การบริหารจัดการนํ้าก็เลยเป็นระบบ แต่ไม่ได้หมาย ความว่านํ้าไม่ท่วมนะ อิตาลี เยอรมัน อเมริกา ทุกที่ท่วมเหมือนกันหมด ปัญหาเขาก็พอกันเลยกับบ้านเรา เพราะฉะนั้นเราก็สงสัยว่าการตัดสินใจ ทำ�เขือ่ นมันเป็นทางออกทีย่ ง่ั ยืนหรือเปล่า เพราะว่าทำ�ตลิง่ สวยๆ เสร็จแล้ว ทุกสองสามปีมนั ก็ทว่ มอีก ส่วนบ้านเราจะมีปญั หาว่า การทำ�ประตูเปิดปิด นาํ้ มันมีผลต่อความเค็มของนาํ้ คือเวลาทีน่ าํ้ น้อยแล้วเราอยากจะปล่อยนํา้ เข้ามา พอเปิดประตูปุ๊บนํ้าทะเลจะเข้ามาด้วย แล้วนํ้าประปาก็จะเค็ม เพราะไม่ได้สร้างระบบที่สามารถทำ�แบบเขาได้ พื้นที่ริมนํ้ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยอย่างไรบ้าง สมัยก่อนด้านหน้าของอาคารเป็นแม่นํ้า อย่างบ้านคนถ้ามาจากทางเรือ พอขึ้นมาปุ๊บก็จะเป็นห้องรับแขก แล้วก็เป็นห้องนอน ทีนี้ช่วงปี พ.ศ. 2520 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเน้นทีเ่ รือ่ งของถนนชนบทเยอะ มี ถนนตัดผ่านชุมชน คนเริม่ ใช้ถนนมากขึน้ คนอยูอ่ าศัยเขาก็มกี ารปรับบ้าน เขา ด้านริมคลองของบ้านเปลีย่ นเป็นห้องนอน ส่วนด้านทีเ่ คยเป็นห้องนอน ก็กลายเป็นห้องรับแขก สองสามชุมชนที่อยู่แถวแม่นํ้าน้อยนี่เป็นแบบนี้ หมดเลย พวกวัดส่วนใหญ่ก็หันหน้าเข้าหาแม่นํ้าเหมือนกัน ดังนั้นจาก แม่นํ้าเจ้าพระยาขึ้นมาปุ๊บก็จะเจอวัดเลย อย่างพระปรางค์วัดอรุณฯ จะ เห็นเลยว่าถ้าเราข้ามฝั่งจากท่าเตียนมาขึ้นจากทางน�้ำนี่สวยมาก แต่ถ้า เข้าจากถนนที่เป็นซอย Orientation (การหันทิศของอาคาร) จะไม่ค่อยดี ถ้าพูดถึงเกาะรัตนโกสินทร์ สมัยก่อนในพระนครก็จะมีทงั้ บ้านทีส่ ร้าง บนเสาทีเ่ รียกว่า On Stilt และทีเ่ ป็นเรือนแพซึง่ อยูก่ นั เยอะมาก ผมเคยอ่าน เจอในบทความว่า ต่อมาเรือนแพมันอยู่ไม่ได้ เพราะว่ามีเรือสินค้าใหญ่ จากฝรั่งเข้ามาท�ำให้เกิดคลื่น ตอนนี้สิ่งที่เปลี่ยนไปคือไม่ค่อยมีบ้านริมนํ้า มากนัก ที่เคยใช้เป็นที่อยู่อาศัยก็น้อยลงมาก มีการซื้อขายเพื่อท�ำโรงแรม และคอนโดเยอะขึ้น เพราะว่าหลังจากปี พ.ศ. 2520 ก็มีการเคลียร์เรื่อง พื้นที่ริมนํ้า มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดในคลอง เรือขนาดใหญ่ทเี่ ป็นบ้านและใช้ขนสินค้าซึง่ เคยจอดอยูต่ ามท่านํา้ หลายสิบ ล�ำก็หายไป เพราะว่าเรือเหล่านี้ถูกมองว่าท�ำให้แม่นํ้าสกปรก

ผมคิดว่าตอนนี้มันอยู่ที่ว่าเราเข้าใจองค์ความรู้กับ ธรรมชาติของเราดีหรือยัง แล้วถ้าเราไปจัดการ บนฐานตรงนั้น ผมว่ามันน่าจะดีกว่าพยายามจะทำ�ให้ เหมือนตะวันตกมากขึ้น ทั้งๆ ที่ทำ�มาแล้วมันก็ขัด


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ดูเหมือนว่ากฎหมายและข้อบังคับจะมีบทบาทในเรื่องการ จัดการพื้นที่พอสมควร ผลกระทบของกฎหมายมันก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ผลักให้ลักษณะการอยู่อาศัย เดิมที่มีความเป็นพื้นถิ่นและความเป็นอยู่แบบธรรมชาติค่อยๆ หายไป ตอนนี้ปลูกเรือนแพก็ถือว่าผิดกฎหมายแล้ว เพราะเขตเทศบาลทุกจังหวัด ห้ามท�ำเรือนแพหมด ชุมชนที่เป็นเรือนแพที่มีหลังคาทรงไทยซึ่งมีชื่อเสียง มากๆ อย่างที่แม่นํ้าน่านตรงพิษณุโลก ตอนนี้ก็เหลือแค่ไม่กี่หลังแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ก็คือพื้นที่ตรงแม่นํ้าสะแกกรังที่อุทัยธานี จริงๆ กฎหมายควบคุมอาคารมันมีขอ้ ดีมากกว่าข้อเสียนะข้อดีคอื มัน บังคับให้คนทีส่ ร้างบ้านขายต้องท�ำบ้านทีม่ นั่ คงปลอดภัยตามมาตรฐาน แต่ ข้อเสียก็คือพอมีการประกาศกฎหมายออกมา ก็กลายเป็นว่าบ้านที่สร้าง ด้วยไม้หรือมีหลังคามุงจากผิดกฎหมายหมดเลย เพราะต้องป้องกันเรื่อง การเกิดไฟไหม้ในเขตเมือง ดังนั้นส่วนที่ผมเข้าไปเกี่ยวข้องก็คือพยายาม ท� ำ บั ญ ชี ข องอาคารประเภทอาคารโบราณและอาคารที่ มี คุ ณ ค่ า ทาง สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นแยกออกมาให้เป็นอาคารที่ได้รับการยกเว้น เพราะ ตอนนี้บ้านเราจะมียกเว้นแค่อาคารที่ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน แต่ถ้าเป็น อาคารของชาวบ้านจะไม่มี พูดง่ายๆ คือกฎหมายของเราตอนนี้มีไว้เพื่อ ให้ภาครัฐท�ำงานได้สะดวก แต่ไม่ได้ดึงภาคประชาชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ในการพัฒนาไปด้วยกัน บางทีเรามองแค่ว่ามันคือความหลากหลาย

ทางเชื้อชาติ แต่นั่นมันเป็นมุมมองแบบผิวๆ

เพราะอะไรตอนนีห้ ลายเมืองทัว่ โลกจึงกลับมาให้ความส�ำคัญ จริงๆ แล้วมันคือความหลากหลายในการจัดการ กับพื้นที่ริมนํ้า ผมว่ามันเป็นเทรนด์ว่าทุกคนเริ่มโหยหาธรรมชาติและคุณภาพชีวิตที่ ว่ามีวิธีปรับเข้าหากันยังไงได้บ้าง ดีขึ้นในเรื่องของสิ่งแวดล้อม คือในข้อเท็จจริงแล้วพื้นที่ริมน�้ำเป็นพื้นที่ที่มี คุณภาพอากาศดีทสี่ ดุ เพราะว่าไม่มคี วันรถจากถนน ยกเว้นว่าถ้าเรือแน่นๆ แต่ก็คงไม่มีทางเกิดอย่างนั้นได้เพราะว่าลมมันแรง แล้วมันมีลักษณะของ ยกตัวอย่างโครงการศึกษาอาคารในภูเก็ตทีผ่ มท�ำมาเกือบ 20 ปี เรือ่ ง เมืองเก่าที่ตอนนี้เริ่มเป็นแฟชั่น นอกจากนี้ก็เป็นเรื่องของวิวทิวทัศน์ ตึกเก่านี่ตอนแรกผมไปคุยกับคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ เขาก็บอกว่าตึกอยู่แบบนี้ก็ อินเทอร์เน็ตก็มผี ล เนือ่ งจากมันกระตุน้ สังคมด้วยการน�ำเสนอด้วยภาพเก่าๆ ไม่เห็นเป็นอะไรเลย เก่าด้วยดูแลก็ยาก อยากจะท�ำใหม่ด้วยซํ้า แต่รุ่นลูก เพราะฉะนั้นพื้นที่ริมนํ้าจึงเป็นพื้นที่ที่ทุกคนอยากได้มาก แล้วก็แพงมาก อายุซัก 30-50 ต้นๆ พอเขาไปท�ำงานเมืองนอกกลับมาบ้านเขากลับเห็น รัฐบาลหลายประเทศมองว่ามันเป็นพื้นที่ท่ีดีที่สุด ดังนั้นจึงควรจะคืนสู่ เป็นโอกาส ก็เอาตึกพวกนีม้ าเปิดเป็นแกลเลอรี่ เป็นร้านค้า เขารักษาตึกเก่า สาธารณะ เพื่อให้คนได้เอ็นจอยกับสภาพพื้นที่ตรงนี้ อย่างดีเลย ดังนั้นจากประสบการณ์ที่เจอมา ผมว่ามันเป็นความคิดของ การเปลี่ยนเจเนอเรชั่นก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง คนรุ่นผมหรือรุ่นก่อนผม คนแต่ละรุน่ ซึง่ จะส่งผลต่อการตัดสินใจ คนรุน่ เก่าจะไม่ตดั สินใจอะไรเลย ทีเ่ คยพายเรือ เขาก็มองว่าใช้รถดีกว่า ยุคทีผ่ มเรียนเรามักจะมองตึกแถวเก่า เกี่ยวกับอาคารของเขาเพราะเขาอยู่มาตั้งแต่เกิด แต่คนรุ่นใหม่จะมอง และพืน้ ทีร่ มิ น�ำ้ ว่าเป็นพืน้ ทีท่ ไี่ ม่นา่ อยู่ เพราะว่ามันเป็นพืน้ ทีส่ ลัม แล้วส่วนใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นพื้นที่โรงงาน ถ้าฝั่งสะพานพระราม 7 จะเป็นโรงเหล้าอย่างโรง สุราบางยี่ขัน ส่วนอีกฝั่งที่ตอนนี้เป็นสวนสันติชัยปราการถ้าจ�ำไม่ผิด อุปสรรคส�ำคัญในการพัฒนาพื้นที่ริมนํา้ ก็เคยเป็นโรงงานท�ำกระดาษ สมัยเด็กๆ จ�ำได้ว่าแถวนั้นเขาก็จะใช้รั้ว คิดว่าเป็นเรื่องของการคุยกัน มันเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ต้องพิจารณาทั้ง สังกะสีมาปิด เพราะฉะนั้นพื้นที่ริมนํ้าจะไม่ค่อยน่าดูเลย แต่คนรุ่นที่คิด เรื่องพื้นที่ของชุมชน ราชการ วัด โรงแรม แล้วก็ภาคเอกชนอื่นๆ นี่เป็น แบบนีก้ ก็ ำ� ลังจะหมดไป เด็กรุน่ ใหม่เขาก็เริม่ มองใหม่ เขามองว่าแม่นาํ้ มัน เหตุผลหนึ่งที่หลายครั้งแม้จะมีเงินก็ท�ำไม่ได้ ซึ่งถ้าท�ำไม่ได้อย่างที่คิดไว้ เป็นของแปลก มันมีคุณค่า กรกฎาคม

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ตอนแรก ก็อาจจะต้องย้อนกลับมาดูวา่ จริงๆ แล้วเราอยูด่ ว้ ยความหลากหลาย ทำ�ไมเราไม่เคารพความหลากหลายนี้ แล้วก็ทำ�แต่เรื่องที่จะช่วยให้แต่ละ ฝ่ายสามารถอยู่ได้และอยู่ดี ยกตัวอย่างชุมชนทีเ่ ราเห็นว่าไม่นา่ ดู เราก็อาจจะช่วยเหลือในเรือ่ งการ ซ่อมแซมหรือให้ความมั่นคงกับเขา มันมีทฤษฎีสำ�หรับการจัดการชุมชน ผู้มีรายได้น้อย ว่าตราบใดก็ตามที่เขายังไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ทุกคนตราหน้ า ว่ า เขาอยู่ แบบผิดกฎหมายหรืออยู่บ นที่ดินของคนอื่ น โดยต้องเช่ารายวัน ถ้าหาเงินมาได้เขาก็ไม่เอาไปซ่อมบ้านหรอก เพราะ ไม่รวู้ า่ เจ้าของทีเ่ ขาจะมาไล่เมือ่ ไร ดีไม่ดถี า้ ทำ�ออกมาแล้วเจ้าของทีด่ นิ เห็น ว่าสวย เขาก็มีสิทธิ์ไล่ผู้เช่าออกไปแล้วเปิดเป็นโฮมสเตย์ด้วยซํ้า ดังนั้นมัน ไม่มีอะไรมาปกป้องผู้เช่า ตอนนี้องค์กรที่ช่วยเหลือชุมชนเหล่านี้อยู่คือ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ก็พยายามต่อรองกับภาครัฐเพื่อขอ สัญญาเช่า 30 ปี อย่างตอนที่เจรจากับผู้เช่าของสำ�นักงานทรัพย์สินฯ ผม ก็ถามผู้เช่าว่า ถ้าอยู่ตรงนี้แต่ต้องมีการซ่อมแบบอนุรักษ์โดยมีข้อกำ�หนด จะยอมไหม เขาบอกว่าพร้อมจะทำ�ถ้ามีสัญญาเช่า 10 ปีขึ้นไป เพียงแต่ เราสร้างเงื่อนไขให้ เช่นเราให้อย่างนี้แต่คุณต้องใช้เงินส่วนหนึ่งในการ ปรับปรุงบ้านนะ หรือห้ามทิ้งของลงในนํ้า ซึ่งพอเรามีเงื่อนไขแบบนี้ทุกคน ก็เข้าใจและเขาก็ทำ�นะ เขาก็มกี ำ�ลังใจจะทำ�อะไร เพราะฉะนัน้ นีแ่ หละคือ ความหลากหลายในพืน้ ที่ บางทีเรามองแค่วา่ มันคือความหลากหลายทาง เชื้อชาติ แต่จริงๆ แล้วมันคือความหลากหลายในการจัดการว่ามีวิธีปรับ เข้าหากันยังไงได้บ้าง อีกเรื่องคือการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่ไม่ใช่แค่ในขั้นตอนใด ขัน้ ตอนหนึง่ แต่คอื การเปลีย่ นทัศนคติและวิธกี ารทัง้ หมด ไม่ใช่วา่ เจ้าของ โครงการคิดกันเองมาจบแล้วถึงจัดประชุมประชาชน ใช้ภาษาเทคนิคปิด ประตูตีแมว ซึ่งประเทศเราผ่านยุคนั้นกันมาแล้ว ผมจัดประชุมประชาชน มาตลอด สมัยก่อนนีป่ ระชาชนนัง่ ฟังเป็นนักเรียนเลยนะ แต่เดีย๋ วนีเ้ ขาบอก เองเลยว่าเลิกพูดได้แล้วภาษาเทคนิค เขาบอกว่าเขาอ่านเอกสารที่เราส่ง ให้หมดเลย แล้วพอมาประชุมก็จะมาถามผมว่าอะไรมันคืออะไร อย่างนี้ ผมยินดีตอบเลย ผมว่าแบบนี้เราเจริญแน่ไม่ต้องกลัว เพราะคนไทยเริ่ม พูดมากขึ้น เมื่อมีคนที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย จะมีหลักในการพูดคุยเพื่อ ร่วมกันพัฒนาพื้นที่อย่างไร ถ้าพูดถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองหรือการผังเมือง หลักที่คิดว่า น่าจะดีที่สุดก็คือจะต้องมีเส้นที่ทุกคนห้ามข้าม นั่นหมายความว่าเวลา ตัดสินใจอะไรต้องยึดเส้นนี้ ซึ่งในกฎหมายไม่ได้บอกตรงๆ แต่มันไป แฝงอยู่ในหลายๆ อย่าง กฎหมายนั้นบอกว่า หนึ่ง เพื่อความปลอดภัย สอง เพื่อสุขอนามัยที่ดีของประชาชน และสาม เพื่อสวัสดิภาพของสังคม เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะคุยอะไรก็ตามในเรื่องผังเมืองก็จะต้องตอบคำ�ถาม ตรงนีใ้ ห้ได้กอ่ น ถ้าทำ�ไปแล้วมันจะไปกระเทือนสวัสดิภาพของคนในชุมชน 32 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2558

หรือเปล่า เขาจะขาดเส้นทางทำ�มาหากินหรือเปล่า แล้วถ้าเป็นพื้นที่ที่มี ความสำ�คัญทางวัฒนธรรมก็จะมีเรือ่ งการเข้าใจมรดกวัฒนธรรม การรักษา วิถชี วี ติ ซึง่ เป็นเรือ่ งพิเศษพ่วงเข้ามาอีก แต่ถา้ แค่วางผังเมืองธรรมดาก็คอื ห้ามข้ามเส้นเหล่านี้ อย่างเช่นถ้าถามว่าทำ�ไมสร้างตึกสูงกว่านีไ้ ม่ได้ เราก็ บอกว่าถ้าถนนกว้างกว่านีใ้ ห้ทำ�ได้ แต่ถา้ ถนนแคบแล้วสร้างตึกสูง ถามว่า รถดับเพลิงมันเข้าได้ไหม แล้วถ้าตึกสูงมากแต่ถนนเล็ก ท่อระบายก็เล็ก เวลามีการถ่ายของเสียต่างๆ ลงมา เท่ากับว่าคุณรบกวนความปลอดภัย สุขอนามัย และสวัสดิภาพของสังคมแล้ว บทบาทของนักผังเมืองกับการพัฒนาพื้นที่ หน้าที่ของเราคือการเป็นคนกลาง (Mediator) เราจะไม่ชี้นำ�เขาเลย แต่เราฟังปัญหา เงื่อนไข และเหตุการณ์ที่แต่ละฝ่ายเจอก่อนว่าคืออะไร เพราะฉะนัน้ ในทางผังเมืองเราก็จะมีเส้นของเรานัน่ แหละ เราจะบอกข้อดี ข้อเสียกับเขาโดยใช้เส้นของเราเป็นตัวกำ�หนด เช่นถ้าผมไปคุยกับโรงแรม ผมก็จะโยนเงื่อนไขให้เขาเลยว่ามันต้องมีประโยชน์สาธารณะด้วยนะ ให้เขาลองดูว่าด้วยกำ�ลังของเขาแล้ว เขาจะทำ�อะไรได้บ้าง ก็เป็นศิลปะ ในการเจรจาอย่างหนึ่งที่นักผังเมืองควรจะต้องมี CREATIVE INGREDIENTS เวลาว่าง ผมแทบจะไม่มีเวลาว่างเลย ปกติผมชอบเล่นเทนนิสตอนเช้า แต่ก็ได้แค่อาทิตย์ ละครั้ง หนังสือเล่มโปรด ต่วยตูน หนังสือทำ�อาหาร ชีวิตในมหาวิทยาลัย ตอนปริญญาตรีผมเรียนสถาปัตย์ฯ ช่วงปีสามก็เริ่มคิดแล้วว่า ทำ�ไมส่งงานไปที ไรเราว่าของเราดีแล้ว แต่บางทีอาจารย์บอกว่าอันนี้ไม่ดี เอาอะไรมาวัด ก็รู้สึก ไม่อยากเรียน แต่ผมก็คดิ ไว้วา่ เรียนจบแล้วจะสอบชิงทุน มีสองทางคือเทคโนโลยี การก่อสร้าง (Building Technology) พวกการออกแบบอาคารสำ�หรับภูมอิ ากาศ เขตร้อนชื้น (Tropical Design) เพราะมันต้องใช้การคำ�นวณที่ชัวร์ๆ คือถ้า คำ�นวณผิดก็ผิด ถูกก็ถูกเลย ส่วนอีกทางคือเรียนผังเมืองที่เอไอที (Asian Institute of Technology) ปรากฏว่าเขาเรียกตัวก่อนเลยเลือกผังเมือง ทีต่ ดั สินใจ เรียนผังเมืองก็คิดแบบวัยรุ่นที่ไม่ค่อยรู้อะไร คิดว่างานสถาปัตย์ฯ มันเล็กๆ ออกแบบอาคารอยูส่ องสามหลัง แต่วา่ ผังเมืองมันใหญ่กว่าการออกแบบ มันท้าทาย ช่วงหลังจากเรียนจบสถาปัตย์ฯ ก่อนจะไปเรียนต่อทีเ่ อไอที ผมก็ไม่ทำ�งาน สถาปัตย์ฯ เลยนะ ผมไปทำ�งานเป็นก็อปปีไ้ รเตอร์ในโปรดักชัน่ เฮาส์อยูป่ ระมาณ ครึ่งปี เขียนคำ�โฆษณา เขาก็เลือกให้ทำ�พวกโฆษณาก่อสร้าง ปูนซีเมนต์ ก็เลย ได้ทกั ษะจากการเขียนก็อปปีก้ บั งานครีเอทีฟบางส่วนจากทีน่ นั่ มันเป็นช่วงทีเ่ รา อยากรู้ ทำ�อะไรได้ก็ทำ�หมด


เขาถึงความรูดานการออกแบบและความคิดสรางสรรค ดวยหองสมุดขนาดยอม mini TCDC CENTER จัดตั�งถึงที่ ไมมีคาใชจาย

รับสมัครสถาบันอุดมศึกษา ทั�วภูมิภาคเขาโครงการ ถึง 31 ก.ค. นี้


CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

BioHaven® FLOATING ISLANDS

เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์

การท�ำเกษตรกรรมอย่างเข้มข้นเพือ่ ส่งมอบอาหารราคา ถูกจ�ำนวนมากให้กับสหรัฐอเมริกา ได้ก่อให้เกิดมลพิษ ต่อแม่นํ้าอย่างร้ายแรง พื้นที่เพาะปลูก 330 เอเคอร์ ของสหรัฐฯ เต็มไปด้วยปุ๋ยฟอสฟอรัสและไนโตรเจน ปริมาณมหาศาลซึง่ ไหลมารวมกันในแหล่งนํา้ ต่างๆ โดย ส�ำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (The Environmental Protection Agency) ได้รายงานว่ามากกว่าครึ่งหนึ่ง ของแม่นาํ้ ในประเทศก�ำลังตกอยูใ่ นสภาพทางชีววิทยาตํา่

floatingislandinternational.com

34 l

Creative Thailand

l กรกฎาคม 2558

BioHaven® Floating Islands คือสิ่งที่บรูซ เคเนีย (Bruce Kania) นักประดิษฐ์ชาวอเมริกนั สร้างขึน้ หลังจากการพาสุนขั ไปเล่นริมนาํ้ แล้วสุนขั สีดำ�ของเขากระโดดลงไปในแม่นํ้าจนขนของมันเปลี่ยนเป็นสีแดง บรูซจึง เกิดความสงสัยถึงต้นเหตุของภาวะนาํ้ เสียนี้ และได้กลายเป็นทีม่ าของการ ค้นพบประดิษฐกรรมที่นอกจากจะช่วยป้องกันนํ้าเสียแล้ว ก็ยังสามารถ รักษาสภาพแวดล้อมที่สมบูรณ์และสวยงามของพื้นที่สาธารณะได้ดังเดิม เกาะลอยนํ้า BioHaven® Floating Islands จึงถูกสร้างขึ้นมาสำ�หรับ ช่วยบำ�บัดนํ้า โดยโครงสร้างตัวเกาะทำ�ขึ้นจากขวดพลาสติกรีไซเคิลที่ ประกอบกับโฟมลอยนํ้า จึงรับนํ้าหนักของดินและพืชที่จะปลูกด้านบนได้ วิธีการก็คือปลูกไม้ยืนต้นที่มีวงจรชีวิตมากกว่า 2 ปีไว้ที่ส่วนบนของเกาะ ลอยนาํ้ นี้ และปล่อยให้พชื ทีเ่ ติบโตบนเกาะลอยนาํ้ ผลิตไบโอฟิลม์ (Biofilm) ตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยดักจับสารเคมีที่ปนเปื้อนในนํ้าอย่างฟอสฟอรัส ไนโตรเจน รวมถึงสารพิษส่วนเกินทีม่ าจากภาคการเกษตร โดยกระบวนการ ทั้งหมดนี้เรียกว่า "Biomimic" หรือวิธีการเลียนแบบธรรมชาตินั่นเอง ส่วนเหตุผลที่ต้องสร้างเกาะลอยนํ้าให้มีรูปทรงคล้ายเกาะ ก็เพื่อช่วย ให้พอดีกับการนำ�ไปวางอยู่ร่วมกับพื้นที่ต่างๆ ของแหล่งนํ้า ไม่ว่าจะเป็น ลำ�ธาร แม่นํ้า หรือทะเลสาบ ที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไป โดยเกาะ ลอยนํ้านี้จะคงทนต่อความผันผวนของกระแสนํ้าที่ไม่เท่ากันได้ ในขณะที่ วัตถุประสงค์หลักของเกาะลอยนํ้าคือการพัฒนาคุณภาพแหล่งนํ้า แต่ ขณะเดียวกันก็สง่ ผลดีตอ่ สัตว์นาํ้ และพืชนํา้ ให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ ไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ เกาะเล็กๆ ทีช่ ว่ ยอนุรกั ษ์ธรรมชาติทอ่ี ยูร่ วมกัน ก็ยังมีส่วนในการช่วยปรับภูมิทัศน์ของผืนนํ้าในแหล่งต่างๆ ให้สวยงาม น่ามอง อีกทั้งยังเป็นที่อยู่สำ�หรับสัตว์จำ�พวกนก เป็ด และเต่าได้อีกด้วย เป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วที่บริษัท Floating Island International (FII) ได้สร้างเกาะลอยนํ้ากว่า 6,000 เกาะ ให้ทำ�หน้าที่ดูแลรักษาแหล่งนํ้าอยู่ อย่างเงียบๆ ทั่วสหรัฐอเมริกา โดยภายในสองปีแรก สามารถจำ�หน่าย เกาะลอยนํ้าไปได้ถึง 1,600 เกาะในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อังกฤษ เกาหลี และยุโรป และอีกกว่า 4,000 เกาะ ในปี 2010 โดยบริษัทผู้ผลิตยังมีความตั้งใจไว้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ จะ ประยุกต์ให้เกาะลอยนํ้าสามารถอยู่ได้ในนํ้าทะเลอีกด้วย เกาะลอยนา้ํ จึงนับเป็นอีกหนึง่ วิธกี ารดูแลรักษาแม่นา้ํ ลำ�ธาร และแหล่งนา้ํ ทัว่ ไป ด้วยการปล่อยให้ธรรมชาติชว่ ยดูแลธรรมชาติดว้ ยกัน ทีไ่ ม่ได้หมายถึง เพียงแต่การบำ�บัดนํ้าเสียเท่านั้นแต่ยังมาพร้อมๆ กับความรื่นรมย์ที่ช่วย บำ�บัดจิตใจของผู้ที่พบเห็นได้อย่างลงตัว ที่มา: บทความ “These Floating Islands Aren't Real-But They Are Cleaning Up Rivers” (5 พฤษภาคม 2015) โดย Ben Schiller จาก fastcoexist.com



8 สิงหาคม – 13 กันยายน 2558 ในยุคที่ขอมูลหมุนเวียนไมหยุดนิ่ง สิ่งที่จะทำใหเรากาวไกลคือ การเห็นสิ่งที่แตกตางและโอกาสที่เกิดขึ้นจากการวิเคราะหขอมูลปริมาณมาก CU 2015 เชิญคุณมาเตรียมพรอมเพื่อกาวกระโดดสูความสำเร็จไปกับเรา 8 สิงหาคม – 6 กันยายน

CREATIVE SPACE WORKSHOP สตูดิโอตางๆ ในกรุงเทพฯ และเชียงใหม

การอบรมเชิงปฏิบัติการที่เหลาสตูดิโอออกแบบและผูประกอบการสรางสรรคชั้นนำของไทย หลากหลายสาขามารวมกันสรางการเรียนรูจากประสบการณทำงานจริงใหกับผูเขารวมโดยตรง วันที่เปีดรับสมัคร สมาชิก TCDC บุคคลทั่วไป เปดรับประวัติหรือตัวอยางผลงานสำหรับเวิรกช็อปที่มีการคัดเลือกผูเขารวม

11 - 28 กรกฎาคม 15 - 28 กรกฎาคม 7 - 21 กรกฎาคม

12 – 13 กันยายน

INTERNATIONAL SYMPOSIUM แกลเลอรี่ 2 TCDC

การชุมนุมทางความคิด โดย 8 วิทยากร นักคิดนักสรางสรรคจากทั่วโลก INTERNATIONAL SYMPOSIUM TICKETS

ใบที่ 1-100

ใบที่ 101 เปนตนไป

ตั้งแต 1 กันยายน

สมาชิก TCDC

(จำหนายบัตร 11 กรกฎาคม)

1,000 บาท/วัน

1,500 บาท/วัน

2,000 บาท/วัน

บุคคลทั่วไป

(จำหนายบัตร 15 กรกฎาคม)

1,300 บาท/วัน

1,800 บาท/วัน

2,500 บาท/วัน

*จำหนายบัตรที่ www.cu-tcdc.com และเคานเตอรประชาสัมพันธ TCDC

9 – 11 กันยายน

www.cu-tcdc.com

INTERNATIONAL WORKSHOP

Organized by

ออดิทอเรียม TCDC

เปดประสบการณเชิงปฏิบัติการจากวิทยากรที่บรรยายในงานสัมมนา INTERNATIONAL WORKSHOP TICKETS

ราคา PRICE

สมาชิก TCDC

(จำหนายบัตร 1 สิงหาคม)

1,500 บาท/เวิรกช็อป

บุคคลทั่วไป

(จำหนายบัตร 4 สิงหาคม)

2,000 บาท/เวิรกช็อป

*จำหนายบัตรที่ www.cu-tcdc.com และเคานเตอรประชาสัมพันธ TCDC

Sponsored by

Media Partners

TCDC สงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโดยไมตองแจงใหทราบลวงหนา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.