พฤศจิกายน 2558 ปที่ 7 I ฉบับที่ 2 แจกฟรี
CREATIVE ENTREPRENEUR ธิดา ผลิตผลการพิมพ Documentary Club
CREATIVE CITY Sheffield Sheffield Doc/Fest
THE CREATIVE สุชาดี มณีวงศ กระจกหกดาน
flickr.com
การทำ�สารคดีคือการค้นหา เปิดกว้าง เรียนรู้ และทำ�ตามความสงสัย Spike Jonze นักเขียนบท นักแสดง ผู้กำ�กับ และผู้สร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกัน
CONTENTS สารบัญ
6
8
The Subject
โฉมหนาใหมของกฎหมายลิขสิทธิ์ / ฮอลลีวูดกับบทบาทของผูหญิง / ตีแผโลกเบื้องหลังศาสนายุคใหม / มิติใหมแหงการเลาเรื่อง
Creative Resource
Featured Book / Book / Documentaries
10
Matter
12
Classic Item
14
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
ความงามในความจริง
Documentary Club: BEHIND the True Story
Sheffield เมืองสารคดีแหงยุค
รักษ์ฟิลมภาพยนตร
NANOOK OF THE NORTH: บันทึกประดิษฐชีวิตขั้ววโลกเหนื โลกเหนือ
Cover Story
สารคดี: ความจริง ความบันเทิง และโฆษณาชวนเชื่อ
28 The Creative
สุชาดี มณีวงศ: มองอนาคตผานมุมกระจกหกดาน
Creative Will
What Makes Us “HUMAN”?
34
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, พจน องคทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ชลดา เจริญรักษปญญา, อําภา นอยศรี, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
wikimedia.org
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
ศาสตร์แห่งการบันทึก ศิลปะแห่งการบอกเล่า เมื่อปี 1885 วินเซนต์ แวน โก๊ะ บันทึกภาพครอบครัวกรรมกรผู้ยากไร้ ผ่านฝีแปรงและโทนสีอันขมุกขมัว พวกเขาล้อมวงกันกินอาหารเย็นซึ่งเป็นเพียงหัวมันฝรั่ง ราคาถูก ความหม่นหมองของแววตาเข้ากับสีหม่นๆ ที่แวน โก๊ะต้องการสื่อถึงบรรยากาศของหมอกควันและเหมืองถ่านหิน The Potato Eaters คือภาพสะท้อน ชีวิตอันรันทดของชาวดัชต์ ต่อมาในอีก 2 ทศวรรษ ลิวอิส ไฮน์ (Lewis W. Hine) ได้เล่าเรื่องชีวิตของแรงงานเด็กในโรงงานอเมริกาผ่านภาพถ่ายของเขา เด็กๆ ในภาพอายุเพียงแค่ 10-14 ขวบ เนื้อตัวมอมแมมอยู่หน้าเครื่องจักร มันเผยให้เห็นถึงปัญหาการกดขี่แรงงานเด็กในช่วงทศวรรษที่ 1900 ซึ่งต่อมาความจริง ที่ออกสู่สาธารณะนี้ ทำ�ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสังคม เกิดเป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานเด็กในเวลาต่อมา และในช่วงเวลาที่เป็นปัจจุบันยิ่งขึ้น เมื่อต้นปี 2015 เวทีออสการ์ได้ประกาศให้ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizenfour ของลอรา พอยทราส (Laura Poitras) และทีมเป็นสารคดียอดเยี่ยม จากการบอกเล่าเรื่องราวของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) พลเมืองอเมริกันที่กลายเป็นศัตรูทางการเมืองของสหรัฐฯ หลังจากที่เขาเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า เสรีภาพขั้น พื้นฐานของความเป็นมนุษย์นั้นได้ถูกสอดส่องและจับตาจากทางการสหรัฐฯ แม้จะต่างยุคต่างสมัย และต่างกันด้วยเครื่องมือหรือวิธีการในการบันทึก เพราะความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้นำ�พาให้ความเสมือนจริงมาอยู่ตรงหน้าผู้ชม ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่สาระสำ�คัญของผลงานอันโดดเด่นยังคงเกิดจากการเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นๆ การบันทึก และการนำ�เสนอสู่สายตา ผู้ชม ปัจจุบัน รูปแบบของการบันทึกและถ่ายทอดแบบ Documentary หรือ สารคดี ถูกพัฒนามาไกลจากจุดเริ่มต้น ทั้งในด้านเทคโนโลยีและวัตถุประสงค์การ ผลิต จากเดิมในปลายศตวรรษที่ 19 ที่สารคดีถูกใช้เพื่อเป็นสื่อโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง ผ่านการเล่าความจริงเพียงบางส่วนเพื่อสร้างความคล้อยตามและ อารมณ์ที่หลอมรวมให้เป็นหนึ่งเดียว มาสู่ในโลกดิจิทัลที่ทุกคนล้วนเป็นผู้บันทึก ผู้เล่าเรื่อง และผู้ชมอย่างหลากหลาย แต่อย่างไรก็ตาม ความน่าเชื่อถือของความ จริงนั้นยังคงเป็นหัวใจสำ�คัญอันเกิดจากองค์ประกอบของความกระหายที่จะตั้งสมมติฐาน การสืบค้นเพื่อหาข้อมูล การหาบุคคลอ้างอิงและเอกสารอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ จึงเกิดเป็นบันทึกที่ถ่ายทอดความรู้ ณ ห้วงเวลานั้นๆ ถึงแม้ว่าเรื่องราวเปลี่ยนแปลงไปได้ในอนาคต เพราะเกิดสมมติฐานใหม่ๆ และการค้นพบใหม่ๆ ขึ้นภายหลัง แต่ “การบันทึก” เหล่านี้ นับเป็นส่วนสำ�คัญของการต่อยอดองค์ความรู้ของสังคมให้ไม่เคยหยุดนิ่ง แน่นอนว่า เราอาจไม่เรียกภาพวาดของแวน โก๊ะ หรือภาพถ่ายของลิวอิสได้ว่า “สารคดี” เฉกเช่นงาน Citizenfour แต่สิ่งที่น่าชื่นชม คือ การถ่ายทอด เรื่องราวจริงผ่านความคิดเห็นและมุมมองของศิลปิน ที่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบอกเล่าความเคลื่อนไหวทางสังคมและวัฒนธรรม เพราะนั่นไม่ใช่เพียงแค่ เรื่องราวของงานสถาปัตยกรรม สถานที่ท่องเที่ยว ทัศนคติทางการเมือง หรือความก้าวหน้าทางการแพทย์ แต่การบันทึกและบอกเล่าอย่างมีชั้นเชิงนี้ คือการ ถ่ายทอดชีวิตและสังคม ซึ่งส่งผลต่อการรับรู้ด้วยเหตุผลและอารมณ์ของผู้คนนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
tiff.net
uwatchmoviesonline.com facebook.com/LaurieAnderson
เรื่อง: วัชรพงษ์ แดงปลาด
ฮอลลีวูดกับบทบาทของผู้หญิง โฉมหน้าใหม่ของกฎหมายลิขสิทธิ์
ข้อมูลล่าสุดจาก WikiLeaks ระบุว่า แคนาดาอาจต้องเจอกับวิกฤตการณ์ด้าน ลิขสิทธิ์ เนื่องจากการปรับข้อกฎหมายใหม่ภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) ที่นำ�โดยสหรัฐอเมริกา ระบุให้ ผลงานเพลง ภาพยนตร์ และหนังสือ ต้องมีอายุลิขสิทธิ์ที่ยาวนานขึ้น จากเดิมที่ระบุ ไว้ว่าอายุลิขสิทธิ์ของผลงานจะสิ้นสุดลงก็ต่อเมื่อผู้สร้างเสียชีวิตไปแล้ว 50 ปี ข้อ กฎหมายดังกล่าวได้เข้ามาต่ออายุของผลงานใหม่โดยเพิ่มขึ้นเป็น 70 ปี ทำ�ให้เกิด ความสับสนในแง่การเลือกอ้างอิงงานจากสือ่ สาธารณะและเพิม่ ค่าใช้จา่ ยให้กบั ผูผ้ ลิต สื่อหน้าใหม่ ไมเคิล ไกสต์ (Michael Geist) ศาสตราจารย์จาก University of Ottawa ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านกฎหมายอินเทอร์เน็ตและธุรกิจอีคอมเมิรซ์ ให้ความเห็นว่าการยืดอายุ ของสื่อที่ควรจะเป็นของสาธารณะ อาจทำ�ให้ชาวแคนาดาต้องสูญเงินเพิ่มอีกหลาย ร้อยล้านดอลลาร์ ที่มา: บทความ “Canada Caved in TPP Talks, Agreed to Website Blocking, Copyright Extension: Geist” โดย Daniel Tencer จาก huffingtonpost.ca / บทความ “TPP Leaks Reveal Blows to Creative Freedom: Filmmaker” โดย Brett Gaylor จาก thetyee.ca
6l
Creative Thailand
l
พฤศจิกายน 2558
ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโทรอนโตเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีผลงานของ ผู้กำ�กับสารคดีหญิงหลายคนที่น่าจับตามอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานเรื่อง Heart of a Dog ของผู้กำ�กับหญิงลอรี แอนเดอร์สัน (Laurie Anderson) ที่เล่าเรื่องของชีวิตและ ปรัชญาโดยมีสุนัขของเธอเป็นตัวเอก และสารคดีเรื่อง 25 April ของผู้กำ�กับหญิง ลูกครึ่งนิวซีแลนด์-แคนาดา ลีแอนน์ พูลีย์ (Leanne Pooley) ที่นำ�ภาพความ โหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 มาเล่าผ่านภาพแอนิเมชั่น ภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องคือภาพแทนของความสำ�เร็จในแง่การให้พื้นที่แก่ผู้หญิง ในวงการฮอลลีวูด ทว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนหนังสารคดีที่เข้าร่วมในเทศกาลแล้ว มี หนังสารคดีทถี่ กู กำ�กับโดยผูห้ ญิงไม่ถงึ 50 เปอร์เซ็นต์เท่านัน้ ทำ�ให้เกิดการตัง้ คำ�ถาม ว่าที่จริงแล้ว วงการฮอลลีวูดมีพื้นที่ให้แก่ผู้หญิงอย่างแท้จริงหรือไม่ ศาสตราจารย์สเตซี่ แอล. สมิธ (Stacy L. Smith) จาก University of Southern California เปิดเผยสถิตวิ า่ มีภาพยนตร์ทกี่ �ำ กับโดยผูห้ ญิงเพียง 4.4 เปอร์เซ็นต์เท่านัน้ ทีไ่ ด้ขนึ้ บ็อกซ์ออฟฟิศในสหรัฐอเมริกาตัง้ แต่ปี 2002 ถึง 2012 เธอเสริมว่าปัญหาใหญ่ ของผูก้ �ำ กับหญิงหน้าใหม่คอื เรือ่ งเงินทุนทีถ่ กู กีดกันจากสตูดโิ อใหญ่ทงั้ 6 แห่ง ถึงแม้ จะมีกองทุนอย่าง Gamechanger Films ทีค่ อยสนับสนุนเงินทุนให้แก่นกั ทำ�หนังและ สารคดีหญิงหน้าใหม่ ทว่าวัฒนธรรมองค์กรที่ล้าหลังยังคงเป็นประเด็นสำ�คัญที่ ก่อให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบในแวดวงฮอลลีวูด ที่มา: บทความ “Lights, Camera, Taking Action: On Many Fronts, Women Are fighting for Better Opportunity in Hollywood” โดย Manohla Dargis จาก nytimes.com / บทความ “The Female Gaze at TIFF” โดย Marc Glassman จาก documentary.org / บทความ “Lights, Camera, Taking Action: On Many Fronts, Women are fighting for Better Opportunity in Hollywood” โดย Manohla Dargis จาก nytimes.com
Project Syria ochre.is
nytimes.com
documentary.org
THE SUBJECT ลงมือคิด
ตีแผ่โลกเบื้องหลังศาสนายุคใหม่
มิติใหม่แห่งการเล่าเรื่อง
ที่มา: บทความ “Here’s the Moment HBO Knew Its Scientology Doc ‘Going Clear’ Would Be a Huge Hit” โดย Jason Guerrasio จาก businessinsider.com / บทความ “Scientology Ramps Up ‘Going Clear’ Smear Campaign, Contacts Academy Members” โดย Rebecca Ford จาก hollywoodreporter.com
ที่มา: บทความ “A New Virtual Reality Tool Brings the Daily Trauma of the Syrian War to Life” โดย Christopher Malmo จาก motherboard.vice.com / บทความ “Future Doc: Digital Storytelling, Virtual Reality and Gaming” โดย Elisabeth Greenbaum Kasson จาก documentary.org / บทความ “A New Virtual Reality Tool Brings the Daily Trauma of the Syrian War to Life” โดย Christopher Malmo จาก motherboard.vice.com
สารคดีเรื่องใหม่ของผู้กำ�กับอเล็กซ์ กิบนีย์ (Alex Gibney) ผู้กำ�กับหนังสารคดี ชัน้ ครูทเี่ คยสร้างชือ่ จากงานกำ�กับสารคดีตแี ผ่เบือ้ งหลังเว็บไซต์ชอ่ื ดังอย่าง WikiLeaks กำ�ลังทำ�ให้เกิดความขัดแย้งอย่างหนักระหว่างลัทธิซายเอนโทโลจี (Scientology) ลัทธิที่มีดาราดังระดับเอลิสต์อย่างจอห์น ทราโวลตา (John Travolta) และแบรด พิตต์ (Brad Pitt) เป็นสาวก กับแวดวงฮอลลีวูดในผลงานเรื่องใหม่ Going Clear กิบนีย์ร่วมมือกับเอชบีโอในการดัดแปลงหนังสือชื่อเดียวกันของลอว์เรนซ์ ไรต์ (Lawrence Wright) เป็นบทภาพยนตร์สารคดีขนาดยาวที่จะพาเราไปสำ�รวจลัทธิที่ ทรงอิทธิพลอย่างมากในสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ ผ่านการสัมภาษณ์อดีตสาวกระดับ สูงและคนดังในแวดวงฮอลลีวูดที่เคยเข้าร่วมลัทธิดังกล่าว สารคดีเปิดตัวครั้งแรกที่เทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์เมื่อเดือนมกราคม ทั้งยัง พ่วงชื่อเข้าชิงรางวัลบนเวทีออสการ์ปีล่าสุด และครองตำ�แหน่งหนังสารคดีที่มีผู้ชม มากที่สุดเป็นอันดับ 2 เกิดเป็นกระแสแรงจนทางโบสถ์ต้องออกมาโต้กลับผ่านการ รณรงค์แคมเปญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการริเริ่มทำ�ภาพยนตร์ของตัวเองออกมาต้าน พร้อมกับแย้งว่าข้อมูลของกิบนีย์นั้นไม่ใช่ “ข้อมูลทางตรง” พร้อมกับนำ�เสนอข้อมูล อีกด้านผ่านนิตยสาร Freedom ซึ่งเป็นนิตยสารของทางลัทธิเอง ทางด้านกิบนียแ์ ม้จะต้องเผชิญกับแรงต้านอย่างหนัก ทว่าทัง้ เขาและชีลา เนวินส์ (Sheila Nevins) หัวหน้าฝ่ายสารคดีของเอชบีโอยังคงยืนกรานในแนวทางของตัวเอง ที่จะนำ�เสนอเรื่องราวที่ถูกซ่อนเร้นไว้จากสายตาของสาธารณชน
การพัฒนาของเทคโนโลยีทำ�ให้ปัจจุบันคนทำ�สื่อมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้นใน การเล่าเรื่องของตัวเอง นอนนี่ เด เล เปญา (Nonny De La Peña) นักทำ�สารคดีหญิง ผู้เป็นเบอร์หนึ่งในการนำ�เทคโนโลยีมาใช้ร่วมในการทำ�งานกล่าวว่า การนำ�ระบบ ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality: VR) มาใช้ ทำ�ให้ผู้เสพสื่อยุคมิลเลนเนียม สามารถเข้าถึงแพลตฟอร์มการเล่าเรื่องที่หลากหลายขึ้น เกิดเป็นสารคดี Project Syria ผลงานสร้างชือ่ ทีเ่ ธอพัฒนาร่วมกับ World Economic Forum ทีเ่ นือ้ เรือ่ งสะท้อน ความรู้สึกของเหยื่อสงครามให้โลกได้รับรู้ สารคดีพาเราไปอยู่กลางเมืองอะเลปโป (Aleppo) ของซีเรียผ่านกล้องชนิด ครอบศีรษะ เพื่อให้เรามองเห็นได้ 360 องศา ผู้ใช้สามารถสัมผัสประสบการณ์ใน ฐานะเหยือ่ ของสงครามได้โดยตรง ทัง้ เสียงระเบิด ซากปรักหักพัง และความแร้นแค้น ทีเ่ กิดขึน้ ในค่ายผูอ้ พยพ ซึง่ สารคดีดงั กล่าวได้กอ่ ให้เกิดกระแสการตืน่ ตัวเรือ่ งผูอ้ พยพ ในวงกว้าง นอกเหนือจากเทคโนโลยี VR แล้ว ยังมีความพยายามที่จะสร้างความตระหนัก ในเรื่องสิทธิและการเมืองโดยการใช้เกมเป็นสื่อกลาง อาซี บูรัก (Asi Burak) เจ้าของ บริษัท Game for Change (G4C) ได้ร่วมมือกับกลุ่มเอ็นจีโอ เพื่อพัฒนาเกมที่ มุ่งตอบโจทย์ด้านสังคมผ่านการร่วมมือกับค่ายเกมชื่อดังอย่าง Zynga บูรักให้ สัมภาษณ์ว่า เขามองเห็นแนวโน้มที่คนรุ่นใหม่จะเลือกเสพสื่อมากขึ้น หน้าที่ของเขา คือการเพิ่มตัวเลือกและช่องทางใหม่ๆ ให้แก่พวกเขาในแบบที่ไม่ยัดเยียดเกินไป
พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: อำ�ภา น้อยศรี และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา
อ่ สือ่ สารกับผูร้ บั สารแต่ละสมัย ภาพถ่าย ภาพรวมของเรื่องราวที่ถูกเล่าในเฟรมที่มีพื้นที่ FEATURED BOOK ต่คืาองๆหนึเพื่ ง ในรู ป แบบของวั ส ดุ ที่ ม นุ ษ ย์ ใ ช้ เ ป็ น จำ�กัด ผูถ้ า่ ยภาพต้องคำ�นึงถึง “บริบท” ของภาพ CONTEXT AND NARRATIVE โดย Maria Short
ทุกสิง่ มีเรือ่ งราวแต่ไม่ได้หมายความว่าทุกสิง่ นัน้ จะมีเรือ่ งเล่า การเล่าเรือ่ ง (Narrative) คือศิลปะ การทำ�ความเข้าใจในบริบท (Context) ที่เป็น องค์ประกอบสำ�คัญ การสังเคราะห์สารทาง ความคิด ความเชือ่ ทัศนคติ สถานที่ เวลา เพือ่ บอกเล่าเรื่องราวผ่านกระบวนการทางความคิด อย่างเป็นเหตุเป็นผล ให้ผรู้ บั สารเข้าใจจุดมุง่ หมาย ของเรื่อง จนสามารถคิด วิเคราะห์ ประเมินค่า ตีความ และสรุปความคิด ย่อมจุดประกายพลัง สร้างสรรค์และแรงบันดาลใจให้นำ�ไปต่อยอด จนเกิ ด การเปลี่ ย นแปลงต่ อ ตนเองรวมถึ ง สังคมได้ มนุษย์มีรูปแบบเครื่องมือสื่อสาร วิธีการ เรียนรู้ ศึกษา รวมถึงทำ�ความเข้าใจเหตุการณ์ รอบตัวได้หลายรูปแบบ หนึง่ ในรูปแบบเหล่านัน้ คือ "เรื่องเล่ า " เครื่ อ งมื อสื่อสารที่มนุษย์ใช้ ถ่ายทอด บอกต่อ และเรียนรูส้ งิ่ ต่างๆ ทีเ่ คยเกิด ขึ้นจากรุ่นสู่รุ่น ปัจจุบัน “เรื่องเล่า” ถูกนำ�มาใช้ ในมิติที่หลากหลายและเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ ช่ ว ยให้ เ กิ ด การเปลี่ ย นแปลงทางการเรี ย นรู้ สร้างความเข้าใจในเรื่องที่ซับซ้อน และส่งเสริม จินตนาการได้เป็นอย่างดี เมื่ อ ยุ ค สมั ย เปลี่ ย นผ่ า น ตั ว กลางสื่ อ ความหมายและวัสดุสำ�หรับบอกเล่าเรื่องราว ได้ถูกประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาขึ้นในรูปแบบ 8l
Creative Thailand
l
พฤศจิกายน 2558
สื่อกลาง ภาพถ่ายบอกเล่าเรื่องราวมากกว่าที่ สายตามองเห็น มันจึงมีความหมายมากกว่าการ เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือบันทึกความทรงจำ� หรือบันทึกเหตุการณ์ในชั่วขณะหนึ่ง หากจะนับจำ�นวนหนังสือสอนเทคนิคต่างๆ ในการถ่ายภาพ อาจแยกได้ตามรูปแบบหรือ เนือ้ หาในแง่มมุ ต่างๆ เช่น การใช้เครือ่ งมือและ อุปกรณ์ การจัดวางองค์ประกอบของแสง เงา และข้อแนะนำ�เชิงเทคนิคจากช่างภาพ แต่สิ่งที่ มาเรีย ชอร์ต (Maria Short) ผู้เขียนหนังสือเล่ม นี้กล่าวถึง กลับเป็นหัวใจสำ�คัญอย่าง “บริบท” ทีเ่ ป็นองค์ประกอบของ “การเล่าเรือ่ ง” มากกว่า ชัน้ เชิงด้านเทคนิค “บริบท” คือสิง่ ทีภ่ าพถ่ายใช้ สื่อสารความหมาย ช่วยให้ผู้ถ่ายภาพมองเห็น
ความเข้าใจและการตีความหมายของสารที่ ต้องการสื่อ เงื่อนไข ปัจจัยรายล้อม หัวข้อที่ ต้องการเล่า แนวคิดในการถ่ายภาพ ถ้อยสนทนา ระหว่ า งสั ญ ญะและสั ญ ลั ก ษณ์ ที่ ป รากฏ ความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ความเป็นมาทาง ประวัตศิ าสตร์ วิถชี วี ติ ของผูค้ น สภาพแวดล้อม ทางสังคม ความขัดแย้ง การบอกเล่าเรื่อง ลวง-บอกต่อเรื่องจริง รวมไปถึงการบิดเบือน เพื่อให้ภาพได้ทำ�หน้าที่สำ�คัญคือการเล่าเรื่อง และคนดูได้เข้าใจสารที่ต้องการสื่อ เพราะหากภาพถ่ายไม่ได้ท�ำ หน้าทีท่ สี่ �ำ คัญ นี้แล้ว มันก็ไม่ต่างจากกระดาษที่เขียนข้อความ ทิ้งไว้แต่ไร้คนอ่าน
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
DOCUMENTARY
DOCUMENTARY
DOCUMENTARY STORYTELLING
THE NEW RIJKSMUSEUM
CITIZENFOUR
โดย Sheila Curran Bernard
กํากับโดย Oeke Hoogendijk
กํากับโดย Laura Poitras
การรับชมสารคดีในไทยเริ่มเปิดกว้างมากขึ้น เห็นได้จากกระแสนิยมและการตอบรับที่ดีจาก การซื้อลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์สารคดีที่น่าสนใจ เข้ามาฉาย หรืองานประกาศรางวัลสุพรรณหงส์ ทีม่ กี ารเพิม่ สาขาสารคดียอดเยีย่ มเข้ามาอีกหนึง่ รายการ หนังสือเล่มนี้แสดงทุกขั้นตอนที่เป็น ส่วนสำ�คัญของการทำ�สารคดี ตั้งแต่แนวความ คิดเริ่มต้นสู่ขั้นตอนการพัฒนาและการถ่ายทำ� แต่จะเน้นหนักไปในเรื่องของการเล่าเรื่อง การ หยิบเรื่องราวรอบตัวมาเป็นแหล่งข้อมูล การ สร้างโครงสร้างของการเล่าเรื่องให้กลายเป็น เอกลักษณ์ รวมถึงการร้อยเรียงเข้ากับเรื่องราว ที่เป็นส่วนสำ�คัญในการสร้างความน่าสนใจให้ กับสารคดี นอกจากนี้ยังมีบทสัมภาษณ์จาก ประสบการณ์ของผู้กำ�กับสารคดีที่มีชื่อเสียง หลายท่านรวมอยู่ด้วย
นอกจากความงามแล้ว ผลงานศิลปะยังเป็น สิ่ ง ที่ แ สดงถึ ง ความศิ วิ ไ ลซ์ แ ละเรื่ อ งราวของ ประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนาน จึงไม่ใช่เรือ่ งแปลกที่ ประเทศต้นกำ�เนิดของศิลปินชื่อดังหลายท่าน อย่างเนเธอร์แลนด์ จะทุม่ เงินหลายร้อยล้านยูโร เพื่อบูรณะสถานที่เก็บผลงานศิลปินมากกว่า 8,000 ชิ้น เช่น พิพิธภัณฑ์ไรจ์คส์ ขึ้นใหม่ สารคดีเล่าเรื่องราวการบูรณะตั้งแต่แรกเริ่ม จนถึงวันเปิดซึง่ กินเวลายาวนานถึง 10 ปี นำ�เสนอ อุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างการบูรณะ รวมถึงปัญหา หลักอย่างการถกเถียงระหว่างเจ้าหน้าที่และ ชาวเมื อ งที่ อ อกมาใช้ สิ ท ธิ์ ผ่ า นการประชา พิจารณ์ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบมี โอกาสเรียกร้องสิทธิท์ พี่ งึ มี ในฐานะพลเมืองและ เจ้ า ของภาษี ส่ ว นหนึ่ ง ที่ ใ ช้ ใ นการปรั บ ปรุ ง พิพิธภัณฑ์ สารคดีตัดต่อจากฟุตเทจยาวนาน กว่า 275 ชั่วโมง นับเป็นการเก็บข้อมูลและ เรือ่ งราวประวัตศิ าสตร์ ณ ช่วงเวลาหนึง่ ทีไ่ ม่ตา่ ง จากภาพผลงานศิลปะภายในพิพิธภัณฑ์
พบกับวัตถุดบิ ทางความคิดเหล่านีไ้ ด้ที่ TCDC Resource Center
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวลํ้ามากขึ้น ข้อมูลการใช้ ชีวิตของเราจะถูกทิ้งเป็นร่องรอยเสมอ แล้วจะ มั่นใจได้แค่ไหนว่าข้อมูลที่เป็นส่วนตัวจะถูก เก็บไว้อย่างปลอดภัย สารคดีเรือ่ งนีเ้ ล่าเรือ่ งของ เอ็ดเวิรด์ สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าทีห่ น่วยข่าวกรอง ซึ่งออกมาเปิดเผยถึงโครงการสอดส่องมวลชน ของสหรัฐอเมริกา ทีร่ ฐั บาลสามารถเรียกดูขอ้ มูล ส่วนตัวของทุกคนได้ตงั้ แต่การใช้โทรศัพท์ อีเมล หรือการใช้จ่าย ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิ์พื้นฐาน ของประชาชน โดยอ้างถึงความมั่ น คงของ ประเทศ นอกจากจะได้รางวัลออสการ์ในปี 2015 แล้ว สารคดีเรื่องนี้ยังสร้างความตื่นตัวให้ แก่ผู้คนทุกประเทศให้หันมาตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับ สิทธิและขอบเขตอำ�นาจที่แท้จริงของรัฐบาล
พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
รู้หรือไม่ว่า การส่งต่อภาพยนตร์ที่น่าประทับใจหลายๆ เรื่องในอดีตมาสู่ สายตาผู้ชมในปัจจุบันนั้น กรรมวิธีหนึ่งที่สำ�คัญมากและไม่อาจมองข้าม ได้ก็คือ การเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ให้คงสภาพและคุณภาพไว้ได้เป็น เวลานาน ในประเทศไทย ได้มกี ารจัดตัง้ “หอภาพยนตร์” ขึน้ ซึง่ เป็นหนึง่ ในบรรดาหอภาพยนตร์จาก 151 แห่งใน 77 ประเทศทั่วโลกที่เป็นสมาชิก ของสมาพันธ์หอภาพยนตร์ระหว่างชาติ (Federation Internationale des Archives du Film: FIAF) โดยมีเป้าหมายในการเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ ของประเทศไทย ทีเ่ ป็นเสมือนมรดกทางวัฒนธรรมทีบ่ อกเล่าเรือ่ งราวของ แต่ละยุคสมัยได้ครบถ้วน รวมทัง้ มีการตัง้ ทีมปฏิบตั กิ าร “หน่วยกูห้ นัง” ขึน้ เพื่อเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการไปช่วยเหลือฟิล์มภาพยนตร์และรับมอบ ฟิล์มภาพยนตร์ที่เจ้าของต้องการให้หอภาพยนตร์ดูแลรักษา หรือในกรณี ที่มีผู้พบเห็นว่ามีฟิล์มภาพยนตร์ถูกทิ้งตามที่ต่างๆ หน่วยกู้หนังจะรีบไป ให้ทันเวลาก่อนที่ฟิล์มภาพยนตร์จะเสื่อมสภาพจนไม่อาจรักษาไว้ได้ และ ส่งต่อให้นกั อนุรกั ษ์ฟลิ ม์ ภาพยนตร์ ผ่านขัน้ ตอนการตรวจรับและเก็บรักษา รวมถึงงานอนุรักษ์โดยการทำ�สำ�เนาดิจิทัล และขั้นตอนการบำ�บัดหากพบ ฟิล์มที่ชำ�รุด 10 l
Creative Thailand
l
พฤศจิกายน 2558
ฟิล์มภาพยนตร์ประกอบด้วยของเหลวที่ไวต่อแสงเคลือบอยู่บนแผ่น ฟิล์มพลาสติกที่ใสและเหนียว เริ่มแรกมีการใช้ฟิล์มเซลลูโลสไนเตรตหรือ เซลลูลอยด์ที่ติดไฟง่าย ต่อมาผู้ผลิตฟิล์มได้คิดค้น Safety Film ที่ทำ�จาก พลาสติกเซลลูโลสไตรอะซิเตทหรือโพลีเอสเตอร์ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติ แข็งแรง ไม่ฉีกขาดง่ายเหมือนฟิล์มเซลลูลอยด์ แต่กลุ่มคนสร้างหนังมือ อาชีพก็ยงั คงใช้ฟลิ ม์ เซลลูลอยด์ตอ่ ไป จนกระทัง่ บริษทั โกดักหยุดผลิตฟิลม์ เซลลูลอยด์เมื่อปี 1951 วงการภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกาจึงหันมาใช้ Safety Film แทน ขณะที่ปัญหาหลักของฟิล์มภาพยนตร์แบบเซลลูลอยด์มักจะเป็นการ เสื่อมสภาพบนเนื้อฟิล์มที่เรียกว่า "โรคกรดนํ้าส้ม (Vinegar Syndrome) โดยสารเคมีทฉี่ าบอยูบ่ นเนือ้ ฟิลม์ จะทำ�ปฏิกริ ยิ ากับอากาศจนฟิลม์ เสือ่ มสภาพ ในกรณีนตี้ อ้ งนำ�ไปเข้ากระบวนการลดก๊าซทีเ่ กิดจากกรดแอซีตกิ (Acetic Acid) ด้วยการทำ�ให้ฟลิ ม์ แห้งลง แล้วนำ�เข้าห้องเย็นเพื่อหยุดการสลายตัว และวิธกี ารถนอมรักษาฟิลม์ ภาพยนตร์ทดี่ ที สี่ ดุ ก็คอื การหลีกเลีย่ งการเก็บ ฟิลม์ ไว้ในทีม่ ดิ ชิดหรืออับอากาศ หากเป็นไปได้ควรเก็บฟิลม์ ไว้ในห้องเย็น (ประมาณ 10-25 °C) และมีแสงน้อย รวมทั้งมีความชื้นสัมพัทธ์น้อยกว่า ร้อยละ 40 ทั้งยังควรนำ�ฟิล์มต้นฉบับมาทำ�สำ�เนาเพื่อใช้แทนฟิล์มต้นฉบับ โดยอาจถ่ายสำ�เนาใส่ฟิล์มภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ดีวีดี หรือสื่อดิจิทัลอื่นๆ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันเพื่ออนุรักษ์การส่งต่อเรื่อง ราวผ่านม้วนฟิล์มในอดีตได้เป็นอย่างดี ที่มา: บทความ “ฟิลม์ จากหน่วยกูห้ นังมาถึงแล้ว!” โดย จดหมายข่าวหอภาพยนตร์ จาก mbookstore.com / fapot.org / thaifilm.com
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก Cambrios ClearOhm® Silver Nanowire Coated Film (MC# 7404-01) ฟิลม์ ใสนำ�ไฟฟ้าทีเ่ คลือบผิวด้วยเส้นด้ายเงินขนาดนาโนสำ�หรับทำ� จอภาพระบบสัมผัสขนาดใหญ่ เส้นด้ายเงินนาโน (AgNW) ชนิดนีม้ ี ลักษณะโปร่งใส มีคุณสมบัตินำ�ไฟฟ้าได้ดีมาก อ่อนตัวและขึ้นรูป ได้งา่ ย ทนต่อการดัดโค้ง โดยจะถูกจัดเรียงลวดลายลงบนแผ่นฟิลม์ ได้โดยตรงในกระบวนการผลิตแบบเปียกที่อุณหภูมิตํ่า สามารถ ติดบนวัสดุชนิดต่างๆ ได้ดี ไม่ว่าจะเป็นกระจกหรือพอลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต (PET) นำ�ไปเคลือบผิวได้ด้วยกรรมวิธีปกติ เช่น spin coating, slot die on sheet และ roll-to-roll slot die สามารถ สั่งผลิตพิเศษให้เส้นด้ายมีความยาวและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ตามทีต่ อ้ งการ ซึง่ รวมไปถึงการกำ�หนดคุณภาพของจอและการใช้ งานของวงจรไฟฟ้า เหมาะใช้ทำ�จอภาพระบบสัมผัส แผงไฟเรือง แสงด้วยหลอด OLED จอภาพ LCD แผ่นฟิล์มเซลล์แสงอาทิตย์ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ และผนังป้องกันการรบกวนของคลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า
สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ
SMASH™ Plastic (MC# 1737-03) แผ่นพลาสติกยูรเี ทนทีแ่ ตกร้าวได้เหมือนกระจก วัสดุมเี นือ้ ใส เมือ่ ผ่านการคงรูปแล้วจะมีลักษณะการแตกร้าวหรือแตกเป็นชิ้นเล็ก ชิ้นน้อยเหมือนแก้ว เกิดจากการผสมวัสดุ 2 ชนิดในอัตราส่วน 1:1 โดยปริมาตรและผ่านการคงรูปทีอ่ ณุ หภูมหิ อ้ ง แต่หากต้องการนำ� ไปใช้ในการแสดง ต้องรอให้แข็งตัวถึง 16 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย เพื่อให้มีความเปราะมากขึ้น สามารถทำ�ให้มีสีต่างๆ ได้โดยการ เติมสารให้สลี งในส่วนผสม เหมาะสำ�หรับใช้สร้างเทคนิคพิเศษใน ภาพยนตร์หรือการแสดงบนเวที สามารถหล่อให้เป็นแผ่นบางเพือ่ ทำ�เป็นบานหน้าต่าง หรือหล่อเป็นขวดหรือแจกันกลวงได้ พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
CLASSIC ITEM คลาสสิก
เรื่อง: ไผ่พันธุ์ จั่นเพ็ชร์
เป็นเวลายาวนานกว่าศตวรรษ นับตัง้ แต่ครัง้ ทีส่ องทีพ ่ นี่ อ้ งชาวฝรัง่ เศสตระกูลลูมแิ อร์ (Lumière) ได้น�ำ เสนอเครือ่ ง “ซิเนมาโตกราฟ” (Cinématographe) สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวความเร็วสิบหกเฟรมต่อหนึ่งวินาทีและฉายขึ้นจอขนาดใหญ่ให้ ผู้ชมได้ดูพร้อมกันหลายคนได้สำ�เร็จเมื่อปี ค.ศ. 1895 สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้เองที่เป็นจุดแรกเริ่มของการถ่ายทำ�-รับชมภาพยนตร์ และ ทำ�ให้วัฒนธรรมภาพยนตร์อย่างที่เราทุกคนคุ้นเคยกันได้กำ�เนิดขึ้นและแพร่หลายต่อยอดมาจนถึงปัจจุบัน
12 l
Creative Thailand l พฤศจิกายน 2558
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ผลงานภาพยนตร์สว่ นใหญ่ทอี่ อกฉายสูส่ าธารณชน ณ ช่วงเวลานั้น จะมีลักษณะเหมือนการบันทึก เหตุการณ์จริงต่างๆ มาบอกเล่าซํ้าใหม่ให้ผู้ชมได้ ดูกันอีกครั้งบนจอ ยกตัวอย่างเช่น ภาพยนตร์สั้น ผลงานชิ้นแรกๆ ของสองพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ที่ เป็นการบันทึกเหตุการณ์รถไฟเข้าเทียบชานชาลา ใน L'Arrivée d'un train en gare de La Ciotat เหตุการณ์คนงานเดินออกจากโรงงานใน La Sortie de l'Usine Lumière à Lyon หรือแม้แต่ภาพผู้คน ขึ้นจากเรือที่จอดเทียบท่าใน Le Débarquement du Congrès de Photographie à Lyon ที่ล้วน แสดงให้ เ ห็ น เรื่ อ งราวชี วิ ต ประจำ � วั น ของผู้ ค น ธรรมดาทั่วไปโดยปราศจากการก้าวก่ายหรือจัด องค์ประกอบใดๆ เพิม่ เติม ซึง่ คล้ายคลึงกับแนวคิด ตั้งต้นของภาพยนตร์สารคดีที่มุ่งนำ�เสนอประเด็น หรือเรื่องราวของสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในช่วงเวลานั้นๆ ให้ผู้ชมได้ร่วมประสบและตระหนักถึง จึงอาจไม่ ผิดนักที่จะกล่าวว่า ภาพยนตร์บันทึกความจริงใน ยุ ค แรกเริ่ ม เป็ น อี ก หนึ่ ง องค์ ป ระกอบสำ � คั ญ ใน ประวัตศิ าสตร์ภาพยนตร์โลก แม้วา่ ในช่วงเวลานัน้ คำ�ว่า “ภาพยนตร์สารคดี” (Documentary Film) และ “ภาพยนตร์เรือ่ งแต่ง” (Fiction Film) ยังไม่ได้ ถูกบัญญัติหรือแบ่งแยกแนวทางให้ขาดกันชัดเจน ก็ตาม “ภาพยนตร์ ส ารคดี ” อย่ า งที่ เ ราคุ้ น เคยกั น ใน ปัจจุบันนี้ ก็เป็นผลพวงมาจากวิวัฒนาการของ การบั น ทึ ก ภาพเหตุ ก ารณ์ จ ริ ง ในยุ ค แรกเริ่ ม ที่ แตกออกมาเป็นแนวแยกย่อยอีกมากมาย เช่น ภาพยนตร์แนวจำ�ลองเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริง (Docudrama) และภาพยนตร์แนวสารคดีทมี่ สี ว่ น เล่าเรื่องเสริมแต่ง (Docufiction) โดยบุคคลที่ เกีย่ วข้องกับวงการภาพยนตร์ยคุ แรกเริม่ และก่อให้ เกิดแนวภาพยนตร์สารคดีย่อยทั้งสองแนวนี้ก็คือ โรเบิร์ต โจเซฟ ฟลาเฮอร์ที (Robert Joseph Flaherty) นักสำ�รวจชาวอเมริกนั ผูส้ ร้างสรรค์ผลงาน ภาพยนตร์ ลู ก ผสมที่ มี ลั ก ษณะของความเป็ น เรื่องแต่ง (Fiction) และสารคคี (Documentary) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเรื่อง Nanook of the North (ออกฉายเมื่อปี 1922) ซึ่งเป็นผลงานภาพยนตร์ แนวคล้ายสารคดีทบี่ อกเล่าเรือ่ งราวชีวติ ของชนเผ่า อินูอิต (Inuit หรือชนเผ่าท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ในแถบ ขั้วโลกของภูมิภาคอเมริกาเหนือ)
ว่ากันว่าผลงานภาพยนตร์เรือ่ งแรกของฟลาเฮอร์ที เรือ่ งดังกล่าวนี้ คือภาพยนตร์แนวสารคดีขนาดยาว เรื่องแรกของโลก โดย Nanook of the North เป็น ภาพยนตร์ ที่ ต ามติ ด ชี วิ ต ของชนเผ่ า อิ นู อิ ต ผ่านตัวละครเอกนามว่านานุค ผู้ดำ�รงชีวิตอยู่ ณ ขั้ ว โลกเหนื อ ร่ ว มกั น กั บ ครอบครั ว ของเขา ซึ่ ง ประกอบไปด้ ว ยภรรยาสองคนและลู ก เล็ ก อี ก สามคน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันหนาวเหน็บ ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะและก้อนนํ้าแข็ง เขาต้องทน ต่อสู้กับธรรมชาติที่โหดร้ายนี้เพื่อให้ตนเองและ ครอบครัวดำ�รงชีพอยู่ได้ โดยในภาพยนตร์ ผู้ชม จะได้เห็นกิจวัตรประจำ�วันของนานุคและครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการล่าสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นอย่าง วอลรัสและแมวนํ้ามาเป็นอาหาร หรือแม้แต่การ สร้ า งที่ พั ก กระท่ อ มนํ้ า แข็ ง ด้ ว ยมี ด พกเพี ย ง ด้ามเดียว ซึ่งฟลาเฮอร์ทีก็สามารถบันทึกภาพ เหตุการณ์ตา่ งๆ เหล่านัน้ มานำ�เสนอในรูปแบบของ ภาพยนตร์ได้อย่างละเอียดสมจริง และบอกเล่า เรื่องราวออกมาได้อย่างสนุกสนานน่าติดตาม อย่างไรก็ตาม เบือ้ งหลังภาพและเรือ่ งราวทีส่ มจริง ของชนเผ่าอินูอิตในภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ยังมีเสียง ตอบรับของนักภาพยนตร์ศึกษาและผู้ชมจำ�นวน หนึง่ ซึง่ ตัง้ ข้อสังเกตทีก่ อ่ ให้เกิดข้อโต้แย้งตามมาว่า ภาพยนตร์ Nanook of the North ไม่ได้เป็น ภาพยนตร์สารคดีที่นำ�เสนอ “ความจริงที่แท้” เหมือนอย่างเช่นในผลงานภาพยนตร์ของสองพีน่ อ้ ง ลูมิแอร์ เพราะผู้สร้างได้เติมแต่งองค์ประกอบ “เรือ่ งแต่ง” เพือ่ เสริมสร้างกระบวนการเล่าเรือ่ งราว ภาพยนตร์ ใ ห้ เ ป็ น ไปในทิ ศ ทางอย่ า งที่ ตั ว เขา ต้องการ ซึ่งแตกต่างจากการใช้ชีวิตจริงๆ ตาม ธรรมชาติของชนเผ่าอินอู ติ ในช่วงเวลานัน้ เช่นการ ทีต่ วั ละครเอกอย่างนานุคซึง่ เป็นเพียงตัวละครทีถ่ กู สร้างขึน้ มาและสวมบทบาทโดยชนเผ่าอินอู ติ จริงๆ ซึง่ ฟลาเฮอร์ทพี บระหว่างลงสำ�รวจแร่ในอ่าวฮัดสัน ของแคนาดา เช่นเดียวกันกับตัวละครภรรยาทั้ง สองของนานุคที่ไม่ได้เป็นครอบครัวเดียวกันจริงๆ เพียงแค่ถูกทีมงานจับมารวมตัวกันแบบเฉพาะกิจ เพื่อรับบทในภาพยนตร์เรื่องนี้เท่านั้น
ขณะที่ฉากในภาพยนตร์ที่น่าจดจำ�อย่างฉากที่ นานุคใช้หอกเป็นอาวุธล่าสัตว์ ทั้งที่ในความจริง แล้ว ณ เวลานั้น ชนเผ่าอินูอิตมีปืนไรเฟิลและมี เรือยนต์ใช้กันแล้วอย่างแพร่หลาย รวมถึงฉากใน กระท่อมนํ้าแข็งที่เป็นเพียงฉากจำ�ลอง โดยให้เปิด ผนังฝั่งหนึ่งไว้เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอกับการ ถ่ายทำ� หลังจากที่เก็บบันทึกภาพกระบวนสร้าง กระท่อมนาํ้ แข็งด้านนอกเรียบร้อยแล้ว ซึง่ สีสนั และ องค์ประกอบเสริมแต่งเหล่านีไ้ ด้กอ่ ให้เกิดข้อสงสัย เกี่ยวกับความจริงของภาพยนตร์สารคดี จนทำ�ให้ โรเบิร์ต ฟลาเฮอร์ที เองต้องออกมาชี้แจงภายหลัง ว่าจุดประสงค์ของการถ่ายทำ�ภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ใช่การนำ�เสนอภาพความเป็นจริง แต่เป็นการ นำ�เสนอวิถชี วี ติ ของชนเผ่าอินอู ติ ตามแบบทีเ่ ขาเชือ่ ว่าเป็นจริงเมื่อครั้งอดีตเท่านั้น
ถึงแม้ว่าภาพยนตร์เรื่อง Nanook of the North จะ ไม่ได้เป็นภาพยนตร์ทนี่ �ำ เสนอ “ความจริง” แบบเน้นๆ แต่ก็เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีการผสมผสาน รูปแบบของภาพยนตร์ “อิงเรือ่ งจริง” เข้ากับรสชาติ กลมกล่อมขององค์ประกอบเรือ่ งแต่ง ด้วยการวาง โครงเรือ่ งและตัวละคร รวมถึงการใช้มมุ กล้องและ การตั ด ต่ อ ภาพเพื่ อ ขั บ เคลื่ อ นเรื่ อ งราวของ ภาพยนตร์ โดยองค์ประกอบลูกผสมทัง้ หมดนีล้ ว้ น มีอิทธิพลและส่งผลให้คนรุ่นหลังนำ�ไปพัฒนาต่อ จนก่อให้เกิดภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบที่เราได้ ชมกันอยู่ทั่วไปในทุกวันนี้
ที่มา: บทความ "Great Movie: Nanook of the North" โดย Roger Ebert จาก rogerebert.com / บทความ "Nanook of The North" โดย Dean W. Duncan จาก criterion.com / ภาพยนตร์ Nanook of the North (1922) โดย Robert J. Flaherty / หนังสือ Cinema Studies: The Key Concepts (2012) โดย Susan Hayward / หนังสือ The Cinema Book (2008) โดย Pam Cook พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 13
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: วิป วิญญรัตน์
During long periods of history, the mode of human sense perception changes with humanity’s entire mode of existence. The manner in which human sense perception is organized…is determined not only by nature but by historical circumstances… Walter Benjamin
14 l
Creative Thailand
l
พฤศจิกายน 2558
burtonholmes.org
wikipedia.org
COVER STORY เรื่องจากปก
ปัญหาระหว่างความจริงและเรื่องเล่าเป็นปัญหาที่ถูกขบคิดมา การถ่ายทอดความจริง ผ่านภาพ ภาษา หรืองานเขียนมักถูกมองด้วยความไม่ไว้วางใจ ในความคิดแบบคลาสสิก ศิลปะอย่างภาพเขียนหรือภาพวาดนั้น ถูกมองว่าเป็นแค่การเลียนแบบธรรมชาติ (Imitation of Nature) เป็นเพียงการสะท้อนสิ่งที่จริงแท้กว่า หนักไปกว่านั้น สำ�หรับ นักปรัชญาอย่างเพลโต การใช้งานศิลปะอย่างบทละครโศกนาฏกรรม (Tragedy) ยัง กระตุน้ อารมณ์ทแี่ ปรปรวนให้กบั พลเมือง แทนทีจ่ ะทำ�ตามหน้าทีท่ รี่ ฐั กรีกโบราณกำ�หนด ให้ทำ� เมื่อพลเมืองถูกกระตุ้นอารมณ์ให้อยู่เหนือเหตุผล ส่วนประกอบที่ทำ�ให้รัฐมีความ ยุติธรรมนั้นจะหายไป
เมื่อเทียบกับการใช้ฝีมือของช่างในการวาดภาพให้เหมือนจริงขึ้นมา การเกิดขึ้นของภาพถ่ายและ ภาพเคลื่อนไหวที่สามารถจับความจริงอย่างที่ตาเห็นได้มากกว่า ทำ�ให้พื้นที่ของการถ่ายทอดความ จริงและเรือ่ งเล่าเริม่ แปรเปลีย่ นไปการทำ�ภาพยนตร์สารคดี (Documentary) เป็นรูปแบบหนึง่ ในการ พยายามจัดเก็บ (Documented) ความเป็นจริงบางอย่างของโลก เงือ่ นไขของการมีเทคโนโลยีอย่าง กล้องบันทึกภาพและภาพเคลื่อนไหวสมัยใหม่ จึงเป็นส่วนสำ�คัญที่ก่อให้เกิดการสร้างเรื่องเล่าอย่าง สารคดีได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยเงื่อนไขต่างๆ ที่จะกล่าวถัดไปนั้น กลับทำ�ให้คำ�นิยามและขอบเขต ของการทำ�สารคดียากที่จะจับคำ�นิยามให้คงที่ ในอีกด้านหนึ่งความเป็นจริงที่สารคดีพยายาม นำ�เสนอหลายต่อหลายครั้งก็ไม่ใช่สิ่งที่ปราศจากกรอบคิดของผู้สร้าง และการตีความของผู้ดู
สารคดีและอาณานิคม การบันทึกการเดินทาง (Travelogue) โดยใช้ ภาพยนตร์อาจเป็นรูปแบบแรกๆ ของสารคดีใน ต้นศตวรรษที่ 20 แน่นอนว่า ผู้ถ่ายทำ�และผู้ เดินทางนั้นมักเป็นชาวผิวขาวเจ้าอาณานิคมที่ เดิ น ทางไปเพื่ อ ถ่ า ยทำ � และเก็ บ บั น ทึ ก ข้ อ มู ล เกี่ยวกับผู้คนในดินแดนลึกลับ (Exotic) เนื้อหา หลักของสารคดีในยุคแรกนี้ ก็คือชาติพันธุ์และ วัฒนธรรมที่แปลกตาจากสิ่งที่ผู้ชมทางบ้าน (ชาวยุโรป) เคยรับรู้นั่นเอง วรรณกรรมการเดินทาง (Travel Literature) อาจไม่ใช่เรื่องใหม่ในประวัติศาสตร์ของยุโรป อย่างน้อยๆ ก็ตั้งแต่ยุคสมัยใหม่ตอนต้น การ เดินบุกเบิกทวีปอเมริกาของเจมส์ คุก (James Cook) เป็นการเขียนเชิง “สารคดี” ในรูปแบบ หนึง่ และในยุคสมัยหนึง่ ทัง้ ยังเป็นหนังสือขายดี ที่แนะนำ�ทวีปอเมริกาและชนเผ่าพื้นเมืองให้กับ ตลาดนักอ่านในยุโรป อย่างไรก็ตาม พลังของภาพเคลื่อนไหวใน ต้นศตวรรษที่ 20 ทำ�ให้จินตนาการของโลก ส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยุโรปและอเมริกาชัดเจนขึ้น ภาพยนตร์การเดินทางมักถูกนำ�เสนอในรูปแบบ ของการท่องเที่ยวโดยที่ผู้ชมไม่จำ�เป็นต้องไป ท่องเทีย่ วเอง (Armchair Tourism) การฉายหนัง รูปแบบนี้มักประกอบคู่กับการบรรยาย การจัด ฉายแต่ละช่วงมักใช้เวลาราว 80 นาที และมีการ พักครึง่ เพือ่ เปลีย่ นม้วนฟิลม์ ผูบ้ รรยายซึง่ มักจะ เป็นผู้ถ่ายหนังเองจะแนะนำ�ฟิล์มแต่ละม้วน หรีไ่ ฟ และบรรยายสดไปพร้อมๆ กับภาพยนตร์ ที่กำ�ลังฉาย การถ่ายทำ�สารคดีประเภทนี้มักจะ ขายให้กบั โรงหนังในเมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง ในช่วงฤดูหนาว ในฐานะแหล่งบันเทิงที่จำ�กัด จำ�เขีย่ เมือ่ เทียบกับเมืองใหญ่ และเวลาว่างทีม่ าก ขึ้นในฤดูดังกล่าว บุคคลสำ�คัญในยุคนั้นอย่าง เบอร์ตัน โฮมล์ส (Burton Holmes) จะเดินทาง สำ�รวจโลกในฤดูรอ้ นเพือ่ ถ่ายทำ�และเดินทางทัว่ อเมริกาในฤดูหนาวเพื่อฉายหนัง การบรรยาย สดลักษณะนีอ้ าจเป็นต้นแบบให้กบั การบรรยาย ลงในแผ่นฟิล์ม (Narration) ภายหลังที่มักเห็น กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 15
wikipedia.org
COVER STORY เรื่องจากปก
น่าสนใจว่า ภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบนี้ เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวลงหลักปักฐาน ของวิ ช าอย่ า งมานุ ษ ยวิ ท ยาและการศึ ก ษา ชาติพันธุ์ (Ethnography) ในขณะที่การศึกษา วิชาดังกล่าววางอยู่บนความพยายามหยิบเอา วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเข้ามาศึกษามนุษย์ และ ถึงแม้วา่ ผูส้ ร้างไปจนถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จะกล่าวอ้างว่า ภาพยนตร์ประเภทสารคดีการ เดินทางนี้จะสะท้อนความจริง แต่ในบริบทของ การฉายเพือ่ ความบันเทิง การตกแต่งความจริง สร้างความโรแมนติก (Romanticize) หรือการ สอดแทรกกลิ่นอายที่แปลกประหลาดอบอวล ไปจนถึงการสร้างความชัว่ คราวให้กบั วัฒนธรรม ของเผ่าพันธุ์ห่างไกลที่อาจจะสูญหาย (“See Now or Never”) ผ่านการโฆษณา ก็ทำ�ให้การ ฉายภาพยนตร์สารคดีในความหมายนี้ อาจไม่ ได้เป็นการถ่ายทอดความจริงแบบ “วิทยาศาสตร์” ในความหมายแบบมานุษยวิทยาหรือสังคมศาสตร์ การบรรยายสดทำ � ให้ ผู้ บ รรยายสามารถด้ น เนื้อหาที่ถูกใจผู้ฟังแต่ละครั้งได้ โดยอาจดูจาก ปฏิกิริยาที่ผู้ฟังมีต่อภาพบางภาพ หรือฉากบาง ฉากในหนัง ผู้บรรยายเป็น “ผู้ตีความ” ที่คั่น ระหว่างคนดูและตัวสารคดี แต่การตีความ แต่ละครั้งก็อาจไม่เหมือนกันเสมอไป 16 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
สารคดีหรือโฆษณาชวนเชื่อ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่ในช่วง ปลายศตวรรษที่ 19 ต้นศตวรรษที่ 20 นั้น นำ� มาสู่การเปลี่ยนแปลงการทำ�ความเข้าใจการ รับรู้โลกของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่ ชัดเจนที่สุดอาจเป็นการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ เ สนอว่ า มนุ ษ ย์ ส ามารถ จินตนาการถึงความเป็นชาติ (Nation) ได้ ทัง้ ๆ ที่ไม่มีใครเคยเห็นเพราะการเกิดขึ้นของการ พิ ม พ์ แ บบทุ น นิ ย ม (Printed-Capitalism) จำ�นวนมาก เช่น การพิมพ์หนังสือพิมพ์ ไป จนถึงความจำ�เป็นทีต่ อ้ งมีเวลาประจำ�ชาติทตี่ รง กันเพื่อให้ตารางรถไฟใช้งานได้ ดังนั้น คนที่ ลอนดอนกับคนทีเ่ บอร์มงิ แฮมจะมีเวลาเทีย่ งวัน ณ เวลาเดียวกัน และมีจินตนาการว่าอยู่ในชาติ เดียวกัน ในแง่นี้ ชาติและชาตินิยมจึงไม่ใช่สิ่งที่ มีมาแต่โบราณ แต่เป็นสิง่ ประดิษฐ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นบนเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงการ รับรู้ของมนุษย์ กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายภาพยนตร์ ฟิล์ม และโรงหนังก็อยู่ในเงื่อนไขของการผลิตแบบ ทุนนิยม และการผลิตทีละมากๆ เช่นเดียวกัน ภาพยนตร์กลายเป็นงานศิลปะสำ�หรับมวลชนที่ ราคาถูกและเข้าถึงได้งา่ ย เช่นเดียวกับการพิมพ์
ขณะทีภ่ าพยนตร์กม็ อี ทิ ธิพลในการสร้างสำ�นึกที่ มีตอ่ โลกและการทำ�ความเข้าใจโลกด้วยเช่นกัน หากหนังสารคดีการเดินทางในช่วงเปลี่ยน ผ่ า นศตวรรษช่ ว ยสร้ า งจิ น ตนาการที่ ว่ า ด้ ว ย ชนเผ่าที่ห่างไกลและความเป็นตะวันออก (The Orient) ภายใต้การกล่าวอ้างว่า ภาพยนตร์ สารคดีกำ�ลังเล่าความเป็นจริง รูปแบบความ บันเทิงดังกล่าวก็สามารถถูกใช้เพื่อการโฆษณา ชวนเชือ่ อย่างตรงไปตรงมาได้เช่นกัน Triumph of the Will (1935) ถูกใช้เป็น สารคดี/โฆษณาชวนเชือ่ เพือ่ เฉลิมฉลองการขึน้ สู่อำ�นาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ในปี 1934 กำ�กับ โดย เลนี รีเฟนสตาล (Leni Riefenstahl, 1902-2003) Triumph of the Will ประกอบ ไปด้วยการเดินขบวนของเหล่าสมาชิกพรรคนาซี และการกล่ า วสุ น ทรพจน์ โ ดยฮิ ต เลอร์ แ ละ สมาชิกพรรคระดับสูงคนอื่นๆ ต่อหน้ามวลชน ภาพยนตร์เรือ่ งนีถ้ กู ถ่ายทำ�ด้วยเทคนิคอย่างการ ใช้ภาพถ่ายทางอากาศและการใช้เลนส์ชนิด ต่างๆ เพือ่ สร้างภาษาของภาพ ทีท่ �ำ ให้พรรคนาซี และผู้นำ�อย่างฮิตเลอร์ถูกนำ�เสนอในลักษณะ ยิ่งใหญ่ อลังการ
COVER STORY เรื่องจากปก
ความพร่าเลือนระหว่างการนำ�เสนอความ จริงของสารคดี และความพยายามจูงใจผู้คน ของโฆษณาชวนเชื่อไม่ได้เริ่มและจบที่ฮิตเลอร์ และสงครามโลกครั้งที่ 2 เท่านั้น ในปัจจุบัน เมื่อนึกถึงประเทศแห่งการทำ�โฆษณาชวนเชื่อ ทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา เกาหลีเหนือ อาจจะ “ประสบความสำ�เร็จ” ในด้านนี้ การ สร้างลัทธิบูชาบุคคล (Personality Cult) ให้ ผู้นำ�ของเกาหลีเหนือตั้งแต่ คิม อิลซุง หรือ คิม จองอิล และผู้นำ�คนปัจจุบัน คิม จองอัน ผ่านหนังสือเรียน โรงเรียน และแน่นอนว่าผ่าน “สารคดี” ที่ออกฉายทางโทรทัศน์ ในปี 2014 เกาหลีเหนือเริม่ เผยแพร่สารคดี/โฆษณาชวนเชือ่ ประวัติคิม จองอัน โดยเนื้อหาพยายามยํ้าถึง ความปรีชาสามารถด้านการยิงปืนตั้งแต่อายุ 3 ขวบ ความเชี่ยวชาญด้านภาษาตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และการทีค่ มิ จองอัน ได้คน้ พบพืน้ แผ่นดิน ใหม่ๆ ตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น ถึงแม้วา่ ในสายตาของคนนอกเกาหลีเหนือ ข้อมูลเหล่านี้จะแลดูเป็นโฆษณาชวนเชื่อตรงไป ตรงมาที่ถูกผลิตโดยรัฐ ซึ่งไม่น่าอยู่ด้วยกันได้ กับสารคดีที่ควรจะนำ�เสนอความเป็นจริง แต่ ในเงื่อนไขและบริบทของเกาหลีเหนือเอง การ นำ�เสนอ “ความเป็นจริง” ดังกล่าวในรูปแบบของ สารคดีนั้นกลับทำ�ได้
สารคดี ความจริง และความบันเทิง แม้แต่ในโลกเสรีเอง การสร้างหรือรับชมภาพยนตร์ สารคดีกย็ งั คงมีประเด็นระหว่างการเล่าความจริง การพยายามสร้างอิทธิพลทางความคิดให้กับ ผู้ชม ไปจนถึงการสร้างความบันเทิง ความสำ�เร็จทางการเงินและชื่อเสียงของ ภาพยนตร์สารคดีอย่างเรื่อง Fahrenheit 9/11 (2004) และ Super Size Me (2004) ทำ�ให้การ ทำ � สารคดี ก ลั บ มาเป็ น ที่ นิ ย มในหมู่ นั ก สร้ า ง ภาพยนตร์อกี ครัง้ ในทางการเงินล้วนๆ การสร้าง ภาพยนตร์สารคดีสามารถทำ�ได้ด้วยต้นทุนตํ่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อหัวข้อของสารคดีเป็น หัวข้อที่เป็นที่ขัดแย้งถกเถียง เช่น Farenheit 9/11 ของไมเคิล มัวร์ (Michael Moore) ซึ่ง พูดถึงเหตุการณ์ก่อการร้าย 9/11 และการ วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลของจอร์จ บุช (George W. Bush) ในขณะนั้น รวมถึงการวิจารณ์สื่อว่า ไม่รายงานถึงความจำ�เป็นที่สหรัฐอเมริกาต้อง บุกอิรักอย่างตรงไปตรงมา ถึงแม้ว่าสารคดี เรือ่ งนีจ้ ะก่อให้เกิดความขัดแย้งเรือ่ งความถูกต้อง ของข้อมูล แต่ในขณะเดียวกัน หนังก็ได้รับ รางวัลปาล์มทองคำ�จากเทศกาลหนังเมืองคานส์ สารคดีอย่าง Super Size Me (2004) ก็ออก มาในช่วงทีโ่ รคอ้วน อาหารจานด่วน และบรรษัท ขนาดใหญ่เป็นปัญหาสำ�คัญในสหรัฐอเมริกา ผู้ ส ร้ า งหนั ง อิ ส ระทดลองบริ โ ภคอาหารจาก แมคโดนัลด์ทุกมื้อเป็นเวลา 30 วัน ในขณะที่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขา ภาพยนตร์สารคดี ก็มีข้อวิจารณ์เกิดขึ้นเช่นกัน ว่า รูปแบบการทดลองของสารคดีเรื่องนี้ไม่ โปร่งใส ไปจนถึงข้อสรุปว่า การบริโภคอาหาร ขยะและหยุดออกกำ�ลังกายนั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่า ประหลาดใจ
ในแง่นี้ การทำ�สารคดีจึงไม่ใช่การสะท้อน ความเป็นจริงของโลกเฉยๆ ตั้งแต่การฉาย ภาพยนตร์ทวี่ า่ ด้วยอาณานิคม การทำ� “สารคดี” เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของบุคคลทางการเมือง ไปจนถึงการต่อรองระหว่างความจริงและความ บันเทิงที่ผู้สร้างสารคดีจะต้องหาวิธีเล่าเรื่อง เพื่อสร้างความบันเทิงให้กับผู้ชม อันจะนำ�มา สู่รายได้ ไปพร้อมๆ กับการสร้างเส้นเรื่องที่ สามารถตอบคำ�ถามของผู้ชมให้ได้เมื่อเกิดข้อ วิพากษ์วิจารณ์ นอกจากนี้ ในขณะที่เทคโนโลยี ในยุคดิจิทัลทำ�ให้อุปกรณ์การถ่ายรูปและภาพ เคลื่ อ นไหวเข้ า สู่ มื อ ของคนจำ � นวนมากขึ้ น นักสร้างสารคดีจึงสามารถถ่ายทำ�เรื่องราวแล้ว เผยแพร่ออกทางอินเทอร์เน็ตได้แทบจะทันที โดยไม่จำ�เป็นต้องรอสื่อเก่าอย่างโทรทัศน์หรือ โรงภาพยนตร์เช่นแต่ก่อน นั่นหมายถึงว่า ผู้ที่ สามารถถ่ายทอดและเล่าเรือ่ งความเป็นจริงของ โลกในวันนีไ้ ม่จ�ำ เป็นต้องเป็นคนขาวผูท้ อ่ งเทีย่ ว ในโลกอาณานิคมอีกต่อไป ไม่จำ�เป็นต้องเป็น ผู้สร้างภาพยนตร์ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ หรือ แม้แต่คนทำ�ภาพยนตร์อิสระที่เป็นมืออาชีพ เท่านั้นอีกแล้ว แน่นอนว่า การพัฒนาที่ไม่เท่ากันของโลก ยุคปัจจุบัน ทำ�ให้การพูดความจริงจากหลาย ด้านเป็นไปไม่ได้เสมอไป เช่น เราคงไม่สามารถ คาดหวังสารคดีอย่าง Farenheit 9/11 ในรัฐ อย่างเกาหลีเหนือได้ พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
สารคดีโดยมวลชน เพื่อมวลชน ในยุคดิจิทัล ในแง่หนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า การทำ�สารคดีนั้นอยู่ ภายใต้รูปแบบของภาพยนตร์มาตลอด ตั้งแต่ การทำ�สารคดีการเดินทางในต้นศตวรรษที่ 20 มาจนถึ ง ความเฟื่ อ งฟู ข องสารคดี ใ นปลาย ศตวรรษที่ 20 เป็นอีกครั้งที่การเปลี่ยนแปลง ทางเทคโนโลยีสง่ ผลต่อรูปแบบการทำ�สารคดีทงั้ ในแง่เทคนิควิธกี ารถ่ายทำ�ไปจนถึงการระดมทุน การที่ อุ ป กรณ์ ก ารถ่ า ยทำ � ภาพยนตร์ ส ารคดี (หรือแม้แต่สารคดีในรูปแบบอื่นๆ) ราคาถูกลง เรื่อยๆ นั้น ทำ�ให้การสร้างเนื้อหาถูกทำ�ให้เป็น ประชาธิปไตย (Democratization) มากขึ้น ในความหมายนี้คือ คนจำ�นวนมากสามารถ กลายเป็นผู้สร้างเนื้อหาได้มากขึ้น นอกจากนี้ การระดมทุนผ่าน Crowdfunding อย่างเว็บ kickstarter.com นั้น ก็เปิดโอกาสให้ผู้สร้าง สารคดีเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น หนังสือพิมพ์ The New York Times จับมือกับเว็บ kickstarter เผยแพร่สารคดีภายใต้ชอื่ โครงการ “Made With Kickstarter” ซึ่งเป็นสารคดีขนาดสั้นในหัวข้อ ต่างๆ ในฝัง่ ผูบ้ ริโภค รูปแบบการรับชมเนือ้ หาก็มี ความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น การทำ� สารคดีหัวข้อเดียวที่มีความยาวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง อาจไม่ได้รับความนิยมเท่าเดิม เพราะอุปกรณ์ การรับสื่อในมือของผู้บริโภคมีหลากหลายขึ้น ในแง่นี้ รายการโทรทัศน์จึงต้องพบคู่แข่งใน บ้านของผู้บริโภคมากมาย ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ไปจนถึงแท็บเล็ตต่างๆ ขณะที่ผู้ ผลิตเนื้อหาที่ไม่ใช่รายการโทรทัศน์ก็สามารถ สร้างรูปแบบเนื้อหาที่เคยฉายในโทรทัศน์ไปลง ฉายผ่านสือ่ อืน่ ๆ ได้ในปัจจุบนั เช่น หนังสือพิมพ์ อย่าง The New York Times หรือ The Guardian ที่แต่เดิมเป็นผู้ผลิตสิ่งพิมพ์เท่านั้น ต่อมา ด้วย พืน้ ทีข่ องโลกออนไลน์ท�ำ ให้ The New York Times และ The Guardian สามารถสร้าง “สารคดี” ขนาดสั้นได้ โดยแทนที่จะต้อง “ฉาย” ผ่านทาง โทรทัศน์อย่างเดียว ก็สามารถเผยแพร่ผ่านทาง พื้นที่ทางออนไลน์อื่นๆ ได้มากมาย 18 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
COVER STORY เรื่องจากปก
นอกจากนี้ คน “สร้าง” สารคดีก็ไม่จำ�เป็น ต้องสร้างเฉพาะแต่สารคดีเท่านั้น ประเภท (Genre) ระหว่างสารคดีและการทำ�ข่าวเชิงลึก หรือเชิงสืบสวน (Investigative Journalism) ก็ เริ่ ม พร่ า เลื อ นด้ ว ยเช่ น กั น ในขณะที่ ผู้ ส ร้ า ง ภาพยนตร์สารคดีในอดีตอาจต้องใช้เวลาหลาย เดือ นสำ� หรั บหนึ่ งหั ว ข้ อ ผู้สร้างสารคดีที่ใช้ รูปแบบการทำ�ข่าวด้วยนั้น อาจใช้เวลาไม่กี่ สัปดาห์ ดังนั้น “สารคดี” ประเภทนี้จึงสามารถ นำ�เสนอเรื่องราวที่สดใหม่ และยังอยู่ในความ สนใจของผู้คนได้อย่างรวดเร็ว การเกิ ด ขึ้ น และความนิ ย มของรายการ โทรทัศน์แนวเรียลลิตี้โชว์ (Reality Television) นั้น นับเป็นอีกปรากฏการณ์ที่น่าสนใจ เมื่อนำ� มาวางทาบกั บ ภาพยนตร์ ส ารคดี ด้ า นหนึ่ ง เรียลลิตี้โชว์เป็นการ “เฝ้ามอง” ความเป็นจริง บางอย่าง ในแง่นอี้ าจไม่ตา่ งจากสารคดีเท่าไหร่ อย่างไรก็ตาม การใช้คำ�ว่า “เฝ้ามอง” ดังกล่าว เพือ่ อธิบายรายการโทรทัศน์แนวนี้ ยังเป็นการใช้ คำ�ที่หลวมมากๆ เพราะไม่ว่าอย่างไร เรียลลิตี้ โชว์นนั้ อาจต้องมีการคัดเลือกนักแสดง ไปจนถึง ในบางครั้งที่แต่ละคนที่ถูกเฝ้ามองก็อาจถูกวาง บทบาท (Scripted) ไปด้วยแล้ว ถึงแม้อาจกล่าวได้ว่าเรียลลิตี้โชว์นั้น แทบ ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกับสารคดีเลย แต่ผู้สร้าง
สารคดีกลับได้ประโยชน์จากลูกจ้างทีเ่ คยทำ�งาน ให้กับรายการโทรทัศน์ประเภทดังกล่าว เช่น ผู้กำ�กับภาพ นักตัดต่อ ไปจนถึงคนที่ทำ�งาน เบื้องหลังถ่ายทำ�เสร็จ (Post-Production) ทั้ง หลาย เนือ่ งจากคนเหล่านีส้ ามารถหยิบใช้ทกั ษะ หรือความรู้ในการเล่าเรื่องให้น่าสนใจมาสู่การ ทำ� สารคดีไ ด้ เช่ น เดี ย วกั บ เส้ น แบ่ ง ระหว่ า ง สารคดีและการทำ�ข่าวข้างต้น ทีเ่ ส้นแบ่งระหว่าง ผู้สร้างเนื้อหาประเภทเรียลลิตี้โชว์ก็เลือนรางไป เช่นกัน รูปแบบการทำ�สารคดีที่เล่าเรื่องส่วนตัว ของตนเองหรื อ ของครอบครั ว ก็ อ าจเรี ย กได้ ว่าเป็นประเภทย่อย (Sub-Genre) ของการทำ� ภาพยนตร์สารคดี ในแง่นี้ ผู้สร้างสารคดีจะใช้ กล้ อ งเป็ น การเดิ น ทางเข้ า สู่ อ ดี ต ของตนเอง หรือของครอบครัวตัวเอง ในแง่หนึง่ ก็อาจทำ�เพือ่ ทำ�ความเข้าใจตัวเอง ในอีกด้านอาจเป็นการ เผชิ ญ หน้ า กั บ อดี ต ที่ โ หดร้ า ย เช่ น สารคดี Family Affair (2010) โดย ชิโก โคลวาร์ด (Chico Colvard) ซึ่งเล่าเรื่องน้องสาวทั้งสาม คนของตนเองที่เคยถูกพ่อลวนลามทางเพศใน วัยเด็ก ชิโกใช้กล้องเป็นเครือ่ งมือในทางจิตวิทยา เพื่อสร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับตนเองและ น้องสาว สารคดีที่พูดถึงเรื่องส่วนตัวของผู้สร้าง เช่นนีอ้ าจฉายให้เห็นถึงความเป็นจริงทางสังคม
ที่กว้างออกไปโดยใช้กรณีเล็กๆ ของตัวเองเป็น สะพาน แต่อีกด้านหนึ่งก็อาจเผชิญกับกับดัก ความ “ดราม่า” ที่สร้างอารมณ์ความรู้สึกร่วม ของผู้ชมมากจนเกินไป แทนที่จะสร้างความรู้ หรือมุมมองใหม่ๆ ให้กับคนดู ในโลกยุคดิจทิ ลั ทีแ่ ทบทุกคนมีกล้องบันทึก เหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง การสร้างเนื้อหา หรือการเล่าความจริงจึงเกิดผ่านมุมมองหรือ กรอบการมองเห็ น ที่ ห ลากหลายมากขึ้ น ปรากฏการณ์นี้อาจมองในแง่บวกได้ว่า นี่คือ ความสามารถที่ทำ�ให้คนธรรมดาเล่าเรื่องราว และความจริงผ่านมุมมองของตัวเองได้มากขึ้น หรือหากมองในแง่ลบ นี่อาจเป็นปัญหาของ แนวคิดหลังสมัยใหม่ (Post-modernism) ทีผ่ คู้ น สับสนระหว่างความจริงกับความเห็น แต่ความ ช่วยเหลือของเทคโนโลยีและรูปแบบการระดม ทุนต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถย้อน กลับได้ ในขณะที่สารคดี/การโฆษณาชวนเชื่อ ของรัฐเป็นการเล่าเรือ่ งจากบนลงล่าง แต่การทำ� สารคดีในโลกดิจิทัลที่มีความเป็นไปได้ในการ เล่าเรื่องจากด้านล่างหรือจากคนธรรมดา อาจ เป็นหนึ่งในชัยชนะของเจตจำ�นง (Triumph of the Will) ที่ให้เสียงแก่ผู้สร้างสารคดีและเนื้อหา ที่แตกต่างหลากหลายขึ้นก็เป็นได้
ทีม่ า: บทความ “6 Filmmakers Talk About Documentary Films in the Digital Age” (9 มกราคม 2012) โดย Amanda Lin Costa จาก mediashift.org / บทความ “Building the perfect leader: North Korean propaganda’s secret sauce” (23 เมษายน 2015) โดย Andray Abrahamian จาก blogs.reuters.com / บทความ “N.Korean TV Shows Childhood Photos of Kim Jong-un” (23 เมษายน 2014) จาก english.chosun.com / บทความ “North Korea's Kim dynasty: the making of a personality cult” (16 กุมภาพันธ์ 2015) โดย Christopher Richardson จาก theguardian.com / บทความ “The Future of Documentary Funding and Distribution” จาก paleycenter.org / บทความ “Truth Lies Somewhere in Between” (12 กุมภาพันธ์ 2010) โดย Manohla Dargis จาก nytimes.com / วารสาร “To the World the World We Show’: Early Travelogues as Filmed Ethnography” โดย Alison Grifftihs, Film History. Vol. 11 No. 3 (1999). pp. 282-307 / วิกิพีเดีย / วิดีโอ “Made with Kickstarter” จาก nytimes.com/video / หนังสือ Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. โดย Benedict Anderson (London: Verso, 2006) / หนังสือ Illuminations: Essays and Reflections. โดย Walter Benjamin (New York: Random House, 2007) พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 19
5plitreel.wordpress.com
INSIGHT อินไซต์
เรื่อง: กิรญา เล็กสมบูรณ์
มากหรือน้อย สารคดีคือการบอกเล่าแง่มุมความจริง โดยเฉพาะความจริงที่มีคนอยากรู้ และมีผู้ทำ�งานหนักเพื่อเปิดเผยมันออกมา ไม่วา่ จะเป็นความจริงทีส่ ร้างความไม่สะดวกใจอย่างอันตรายทีค่ บื คลานเข้ามาของภาวะโลกร้อน พฤติกรรมของหน่วยงานความมัน่ คง ที่ทำ�ให้เรารู้สึกไม่มั่นคง ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าละครของนักร้องสาวที่จากไปก่อนวัยอันควร ปริมาณแคลอรีจากอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ฆ่าเรา ได้ในเวลาแค่เดือนเดียว หรือความจริงเบื้องหลังเหตุการณ์เลวร้ายที่ไม่มีใครอยากจดจํา
ต่อให้ไม่อยากจำ� เราก็ยงั อยากรู้ เพราะในความ จริงมักมีความลับซ่อนอยู่ ไม่วา่ จะเป็นความลับ ของธรรมชาติ ความลับของวิทยาศาสตร์ ความลับ ของการเมือง ความลับของแฟชั่น หรือแม้แต่ ความลับของร่างกาย เมื่อได้ชื่อว่า “ความลับ” มันก็เรียกร้องความสนใจได้ครึ่งทางแล้ว แล้วอะไรคือเคล็ดลับของการทำ�สารคดี และสารคดีที่ดีนั้นมีหน้าตาเป็นอย่างไร แน่นอนว่ามันคือศิลปะในการ “เล่าเรื่อง” และต้องเป็นเรื่องที่สามารถเชื่อมโยงกับผู้ชมได้ ไม่วา่ จะเป็นในทางปัญญาหรืออารมณ์ ไม่มใี คร อยากทำ�สารคดีให้คนดูเพียงแค่ครึ่งเรื่อง นั่น อาจแย่กว่าการไม่ดูมันเลยเสียอีก การบอกเล่าความจริงนั้นไม่สามารถทำ�ได้ เพี ย งแค่ เ ขี ย นมั น ขึ้ น มาเหมื อ นภาพยนตร์ สักเรื่อง หลายๆ ครั้งมันคือการใช้ทั้งเวลาและ ความอดทน ไปจนถึงการฝากความหวังไว้กับ 20 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
โชคชะตา เพื่อให้ได้มาซึ่งภาพที่บอกเล่าเรื่อง ราวเหล่านั้น อย่างไรก็ดี ถึงแม้สารคดีคือการ บอกเล่าความจริง แต่ไม่ใช่ทกุ คนทีอ่ ยูใ่ นสารคดี จะพูดความจริง หรือพวกเขาอาจเลือกพูดเพียง ความจริงบางส่วน การมีวัตถุดิบคือเนื้อหา จำ�นวนมากจากหลากที่มา จึงไม่ต่างจากการมี ข้อมูลจำ�นวนมากเพื่อกลั่นกรอง และผลลัพธ์ ก็อาจเป็นฟุตเทจความยาวเทียบเท่าทั้งชีวิต ของใครสักคน สารคดีความยาว 94 นาทีเรื่อง The Bridge (2006) ถ่ายภาพสะพานโกลเดนเกต ตลอด 365 วันในปี 2004 เมือ่ รวมเข้าด้วยกันกับ เทปสั ม ภาษณ์ ค รอบครั ว และเพื่ อ นของผู้ ที่ กระโดดลงจากสะพานเพื่อฆ่าตัวตายในปีนั้น มันคือฟุตเทจความยาวหนึ่งหมื่นชั่วโมง สารคดีทดี่ อี าจสร้างคำ�ถามมากกว่าคำ�ตอบ แม้มันจะเล่าด้วยการเลือกบางแง่มุมมาสื่อสาร หรืออาจด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารข้อความ
บางอย่าง ไม่ว่าจะอย่างไร ความใจกว้างของ ผูเ้ ล่าทีป่ ล่อยการตัดสินให้เป็นหน้าทีข่ องผูช้ มนัน้ สำ�คัญกว่า การปล่อยให้กล้องเป็นตัวถ่ายทอด ความจริง และให้ผู้ชมเป็นผู้ตัดสินว่าใครพูด ความจริง กลับจะทำ�ให้ผชู้ ม “อิน” กับสารคดีเรือ่ ง นัน้ ๆ ได้มากกว่าการยัดเยียดความคิดเห็นอันใด เรื่องทางเทคนิคก็สำ�คัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะ อุปกรณ์ที่ดี ทีมงานที่มีคุณภาพ การตัดสินใจ อั น แม่ น ยำ � ในการผสมภาพเคลื่ อ นไหวกั บ ภาพนิ่ง ไปจนถึงดนตรีที่เป็นเครื่องมือสร้าง ความรู้สึกให้กับผู้ชมไม่ต่างจากภาพยนตร์ และบางที ความมหัศจรรย์ของสารคดีไม่ได้ อยูเ่ พียงแค่เรือ่ งราวทีต่ วั สารคดีบอกเล่า หลายครัง้ มันมีเรื่องราวของการทำ�สารคดีในตัวมันเอง ผสมอยู่ด้วย ภาพยนตร์สารคดีเรื่องหนึ่งที่ไม่เพียงแต่ ประทับอยู่ในความทรงจำ�ของหลายคน แต่
huffingtonpost.fr
timeout.com
wikimedia.org
INSIGHT อินไซต์
หลายสือ่ ยังโหวตให้เป็นสารคดีทเี่ ยีย่ มยอดทีส่ ดุ เท่าที่โลกเคยมี และหลายเวทียกรางวัลสารคดี ยอดเยี่ยมให้ นั่นคือภาพยนตร์สารคดี Shoah (1985) ซึ่งไม่เพียงบอกเล่าเรื่องราวโหดร้ายที่ ติ ด ในความรู้ สึ ก ของผู้ ค นทั่ ว โลกอย่ า งการที่ นาซี เ ยอรมั น ฆ่ า ล้ า งเผ่ า พั น ธุ์ ช าวยิ ว ในสมั ย สงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สารคดีความยาว 9 ชั่วโมง 23 นาทีนี้ ถ่ายทำ�โดยไม่ใช้เทปเก่าจาก ช่วงสงครามโลกแม้แต่วินาทีเดียว หากผู้กำ�กับ ภาพยนตร์สารคดีกลับเลือกทีจ่ ะสัมภาษณ์ผรู้ อด ชีวติ พยานผูร้ เู้ ห็นเหตุการณ์อย่างคนทีอ่ าศัยอยู่ ละแวกค่ายกักกัน และเครือข่ายนาซีเก่าเพื่อ บอกเล่าเรือ่ งราวแทน รวมทัง้ พาพวกเขากลับไป ยังสถานทีจ่ ริงอันเวิง้ ว้างว่างเปล่า มันคือสารคดี ทีจ่ งใจประทับเรือ่ งราวนีไ้ ว้บนโลกแบบไม่ปล่อย ให้เราหลงลืมหรือปฏิเสธทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้น
เมื่ อ รวมเข้ า ด้ ว ยกั น กั บ การออกแบบวิ ธี ก าร สัมภาษณ์อันเยี่ยมยอดที่ดึงภาพประวัติศาสตร์ กลับมาในความรู้สึก มันจึงเป็นการบอกเล่า “ความจริงของความทรงจำ�” ทีค่ วรจะได้รบั การ บันทึกไว้อย่างแท้จริง และเพราะมันเป็นความจริงนีเ้ อง ภาพยนตร์ สารคดี Man on Wire (2008) ที่บันทึกเรื่องราว ของสิ่งที่เกิดขึ้นนานมาแล้วเช่นกัน กลับทำ�ให้ เราตื่ น เต้ น ได้ ม ากกว่ า การนึ ก ถึ ง ภาพยนตร์ ซูเปอร์ฮีโร่ที่ดู จ บไปแล้ ว ทุ ก เรื่ อ งรวมกั น หรื อ แม้แต่การเทียบกันตัวต่อตัวกับภาพยนตร์ที่นํา เอาเรื่องจริงนี้มาทําใหม่ เมื่อนึกถึงการเดินไต่ เส้นลวดระหว่างตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์โดย ปราศจากนักแสดงแทน เทคโนโลยีซีจี และการ รองรับความปลอดภัยอย่างสิ้นเชิง ย้อนกลับไปในวันที่ 7 สิงหาคม 1974 นักกายกรรมไต่ลวดชาวฝรั่งเศสฟิลิปป์ เปอตีต์ เลือกที่จะฉลองวันเกิดล่วงหน้าด้วยการแอบขึ้น
ไปเดินไต่ลวดในท่าทางต่างๆ กลับไปกลับมาระ หว่างสองตึกแฝดอยูถ่ งึ 45 นาที ไม่ตอ้ งบอกเลย ว่าสารคดีทพี่ าเราย้อนกลับไปพบเรือ่ งราวตัง้ แต่ การเตรียมงานของทั้งเปอตีต์และผองเพื่อน โดยเฉพาะในคืนก่อนหน้า ทีก่ ว่าจะแอบย่องเอา เส้นลวดขึ้นไปติดตั้งได้ก็ดูเหมือนไม่ใช่เรื่องจริง แล้ว ไปจนถึงภาพฟุตเทจของเหตุการณ์จริงที่ ทำ�ให้เรารูส้ กึ เหลือเชือ่ ไม่ตา่ งจากภาพเครือ่ งบิน วิ่งชนตึกแฝด และที่สำ�คัญคือการพาไปรู้จักกับ ตัวตนจริงของคนผูส้ ร้างประวัตศิ าสตร์เสีย่ งตาย ให้เรามือชื้นเหงื่อเมื่อนึกถึงทุกครา ยังมีความจริงอีกมากมายทีร่ อให้มคี นเลือก มาเล่า ไม่ว่าจะเป็นความจริงอันเจ็บปวดหรือ งดงาม แต่เพราะเป็นความจริงมันจึงงดงามใน ตัวมันเอง นี่คือความลับที่ใครๆ ก็รู้
ที่มา: บทความ “What Makes A Good Documentary Film?” โดย Stewart Dunlop จาก documentarytube.com
พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: สุรพัศ เคียงคู่
อาจเป็ น เพราะความสนใจใคร่ รู้ ข องมนุ ษ ย์ ไ ม่ ไ ด้ จำ � กั ด อยู่ แ ค่ กรอบหน้าจอใดๆ เราจึงพยายามเติมเต็มสิง่ ทีส่ นใจอยูต่ ลอดเวลา ในทุกๆ ช่องทางที่เข้าถึงได้ แต่ด้วยข้อจำ�กัดด้านทางเลือกที่ยัง มี อ ยู่ ทำ � ให้ ค นไทยไม่ อ าจขยายความสนใจให้ ห ลุ ด ออกจาก กรอบเดิมๆ ไปได้ ด้วยโจทย์ตง้ั ต้นทีว่ า่ นี้ "ธิดา ผลิตผลการพิมพ์" บรรณาธิการนิตยสารไบโอสโคป จึงได้ก่อตั้ง “Documentary Club” คลับที่คนรักหนังสารคดีจะนำ�สารคดีช้ันดีจากทั่วโลก มาให้ ค นไทยได้ ดู เพื่ อ เป็ น อี ก หนึ่ ง ทางเลื อ กให้ เ ราได้ ข ยาย กรอบการดูหนังหรือกระทั่งขยายกรอบการมองโลกให้กว้าง ออกไป พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความคิ ด สร้ า งสรรค์ มาสร้างเป็นมูลค่าเพิม่ ให้กบั สินค้าและบริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ที่รวบรวมรายชื่อและผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และ ผู ้ ป ระกอบการจากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ในที่เดียวกัน
22 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
Documentary Club เริ่มต้นเมื่อหนึ่งปีที่แล้วจากการระดมทุนผ่านเทใจดอทคอม (Taejai.com) เว็บศูนย์กลางเพื่อการระดมทุนสำ�หรับขับเคลื่อนโครงการต่างๆ โดย ธิดาได้น�ำ เงินระดมทุนก้อนแรกมาซือ้ ลิขสิทธิห์ นังสารคดีคณุ ภาพจากต่างประเทศมา ฉายในโรงภาพยนตร์เครือเอสเอฟ จนสร้างปรากฏการณ์การจองที่นั่งเต็มตั้งแต่ยัง ไม่เริ่มฉายและได้เพิ่มรอบของหนังสารคดีที่นำ�มาฉายเป็นประจำ�ทุกเดือน กระทั่ง มีคอมเม้นต์ในเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ว่า “Doc Club จะเอาเรื่องอะไรมาฉายก็รอดู” สิง่ เหล่านีไ้ ด้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึงพืน้ ทีข่ องผูท้ ตี่ อ้ งการดูหนังสารคดีคณุ ภาพ ในบ้านเราที่ยังคงมีอยู่และกำ�ลังขยายความสนใจไปในวงกว้างขึ้นทุกขณะ
Niche (อยู่) ได้... ในสาย Mass
“หนังสารคดีเป็นหนังที่มีภาพไม่แมสอยู่แล้ว สิ่งที่เราทำ�คือพยายามจะเปิดพื้นที่ การฉายให้คนเข้าถึงมันได้ง่ายขึ้นและที่สำ�คัญคือต่อเนื่องจริงจังขึ้น” คือคำ�บอกเล่า ของธิดา ผู้พาหนังสารคดีคุณภาพให้ได้มีโอกาสพิสูจน์ตัวเองในโรงภาพยนตร์ไทยที่ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองและเข้าถึงได้ง่าย จากที่โรงภาพยนตร์ไม่มีความเชื่อมั่นกับหนัง กลุม่ นีเ้ ลย แต่พอได้เห็นกระแสของหนังสารคดีเรื่องแรก Finding Vivian Maier (2013) ทีไ่ ด้รบั ความสนใจจากผูช้ มทีแ่ ห่มาจับจองทีน่ งั่ จนเต็มตัง้ แต่ยงั ไม่เริม่ ฉาย ทำ�ให้ความ เชื่อมั่นถูกสร้างขึ้นทีละน้อย และเป็นจุดเริ่มต้นที่หนังสารคดีได้มีโอกาสแสดง ศักยภาพในวงกว้างที่สุดเท่าที่ทำ�ได้ในขณะนี้
“ตลาดหนังโดยทั่วไปในบ้านเราเน้นสินค้าแมสเป็นหลัก หนังกลาง หนังเล็ก มี โอกาสน้อยลงเรือ่ ยๆ เพราะในทัศนคติของค่ายขนาดใหญ่ หนังเล็กก็หมายถึงตัวเลข รายได้ที่เล็ก ซึ่งการจะทุ่มเทความพยายามให้มันอาจดูเหมือนไม่คุ้ม แต่เมื่อเรา ทดลองนำ�หนังสารคดีมาฉาย แม้กลุ่มคนดูจะยังไม่ได้ใหญ่มากและตัวเลขรายได้ก็ นับว่าไม่สูงเมื่อเทียบกับหนังทั่วไป แต่เราพบว่าในเชิงธุรกิจมันถือว่าคุ้มค่าและ อยูร่ อดได้ และทีส่ �ำ คัญคือมันแสดงให้เห็นว่าคนดูหนังทีต่ อ้ งการหนังแบบนีม้ อี ยูจ่ ริง” และด้วยความพยายามของ Documentary Club ที่พาหนังสารคดีคุณภาพเข้าสู่ โรงภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้หนังสารคดีจาก Documentary Club ติดอันดับ ท็อปเท็นหนังสารคดีต่างประเทศที่ทำ�รายได้สูงที่สุดในประเทศไทยถึง 7 เรื่อง ได้แก่ Amy (2.01 ล้าน*), Citizenfour (1.66 ล้าน), The New Rijksmuseum (1.2 ล้าน*), The Wolfpack (0.95 ล้าน), Finding Vivian Maier (0.56 ล้าน), A Matter of Taste (0.38 ล้าน) และ 1971 (0.36 ล้าน) “สิ่งที่เราทำ�คือการพยายามบอกว่ามันมีพื้นที่ตรงนี้อยู่ มันมีตลาดนี้ มีกลุ่มผู้ชม ที่ต้องการการตอบสนอง เราเพียงแต่เข้ามาตอบสนองความต้องการนั้น ด้วยความ เชื่อง่ายๆ ว่า ตัวเราเองชอบหนังสารคดีและก็น่าจะมีคนที่คิดเหมือนเราอยู่เช่นกัน อาจเป็นคนทีเ่ ป็นนักดูหนัง ชอบดูหนังหลากหลายแบบ หรือเป็นคนทีส่ นใจในประเด็น นัน้ ๆ ทีห่ นังสารคดีแต่ละเรือ่ งนำ�เสนอ ไม่วา่ จะอย่างไรเราก็คดิ ว่าความต้องการของ พวกเขาควรได้รับการตอบสนอง และหน้าที่เราคือค่อยๆ สร้างพื้นที่และผู้ชมกลุ่มนี้ ให้เป็นกลุ่มก้อนชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ” *ข้อมูลตัวเลขรายได้ ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2558
เลือกหนังด้วยใจ (และสมอง) ไม่ใช่เรื่องง่ายที่คนไทยจะมีโอกาสได้พิสูจน์ความเจ๋งของหนังสารคดีรางวัลในพื้นที่ โรงภาพยนตร์ทวั่ ไป แต่เมือ่ ออสการ์ประกาศผลรางวัลหนังสารคดีแห่งปี 2015 ให้กบั Citizenfour (2014) เพียงไม่นานหลังจากนั้น Documentary Club ก็เลือกฉาย หนังเรื่องนี้ให้คนไทยได้ดู หรือการเลือกฉายหนังที่พูดในประเด็นเฉพาะที่ค่อนข้าง แปลกใหม่สำ�หรับนักดูหนังชาวไทยอย่างเรื่องพิพิธภัณฑ์ ในสารคดีลำ�ดับที่ 10 เรื่อง The New Rijksmuseum (2014) สารคดีที่ไม่ได้พาเราไปดูแค่เบื้องหลังกว่าจะมาเป็น พิพิธภัณฑ์ สถานที่ซึ่งประเทศผู้เจริญแล้วต่างให้ความสำ�คัญและภาคภูมิใจเพราะ สะท้อนหน้าตาของประเทศ แต่หนังยังพาเราไปสำ�รวจพื้นที่ที่ประชาชนสามารถใช้ สิทธิ์ของตนได้อย่างเสรีซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานที่คนในโลกสากลต้องการ คำ�ถามคือ Documentary Club เลือกหนังสารคดีอย่างไรให้เหมาะกับคนไทย “แรกๆ เริ่มจากการตามข่าว ดูว่าเรื่องอะไรน่าสนุก คนน่าจะสนใจเพราะตรง กับประเด็นอะไรบางอย่าง หรืออยากให้หนังสื่อสารอะไรในช่วงนี้ก็แล้วแต่ ก็จะต้อง มีหนังที่คิดว่ามันมีตลาดกับหนังที่เราคิดว่ามันควรฉาย อย่างเรื่อง 1971 ที่ฉายหลัง Citizenfour เพราะมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวที่น่าสนใจและคิดว่าประเด็นมัน สวมต่อกัน แต่มันก็ยากก็ต้องโปรโมตเยอะ ผลตอบรับก็น้อยอย่างที่คิด แต่ก็ไม่ได้ น้อยขนาดขาดทุน เราก็พยายามทำ�ให้มนั ได้ก�ำ ไร แต่แค่วา่ มันไม่ได้เปรีย้ ง ซึง่ ก็เข้าใจ ได้เพราะบริบทของหนังไม่ได้กว้างขนาดนัน้ คือหนังสารคดีบางเรือ่ งมันอาจจะไม่ได้ มีตลาดมากแต่มนั น่าฉายจัง และทำ�ยังไงให้มนั สามารถฉายได้โดยไม่ขาดทุน แต่กบั เรื่องที่มันควรจะกำ�ไร มันก็ควรจะกำ�ไร ก็คิดว่ามันควรต้องมีการสลับแบบนี้ เพราะ ถ้าเราจะมองหาแต่หนังสารคดีที่เอาใจตลาดมากๆ เพียงอย่างเดียว ก็ไม่รู้ว่าจะทำ� ทำ�ไมแต่แรก”
หนังสารคดี กับ พื้นที่ที่ควร (มี) อยู่ หลังจากผ่านด่านแรกที่พิสูจน์ว่าตลาดหนังสารคดียังเป็นที่ต้องการของผู้ชมใน โรงภาพยนตร์ สิ่งสำ�คัญลำ�ดับต่อไปก็คือช่องทางที่จะเปิดโอกาสให้คนไทยได้มี โอกาสเสพหนังสารคดีคุณภาพที่อยู่บนพื้นฐานของความจริงเหล่านี้ และคนไทยใน ที่นี้ก็ไม่ควรจำ�กัดอยู่แค่เขตกรุงเทพฯ ชั้นใน แต่ทุกคนควรมีสิทธิ์ที่จะได้ดูกันทั่ว ประเทศ “ถัดจากโรงหนังและดีวีดี ตัวเราเองสนใจวีโอดี (VOD - Video on Demand หรือระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสัง่ ) มากๆ ในแง่ทมี่ นั เป็นช่องทางให้คนวงกว้าง สามารถเข้าถึงหนังเหล่านี้ได้อย่างสะดวกง่ายดาย อย่างไรก็ดี ความที่ตอนนี้มันเพิ่ง เริ่มต้นและต้องการการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการตลาดอีกระยะหนึ่ง เราเลยยัง คาดหวังอยากให้ทีวีทำ�หน้าที่เป็นช่องทางสำ�หรับหนังสารคดีมากกว่าที่เป็นอยู่ อยากให้มีรายการฉายหนังเหล่านี้ทุกสัปดาห์ ประกอบกับการพูดคุยเสริมข้อมูล ความรู้แก่ผู้ชม และมีความหลากหลายของหนังที่ฉาย ตั้งแต่หนังที่ดูสนุกสนาน หนังทีม่ แี ง่มมุ ทางศิลปะ และหนังที่เล่นกับกระแสเหตุการณ์ส�ำ คัญของโลก เราว่าหนัง สารคดีมนั ไม่ได้มใี ห้แค่ความบันเทิง แต่มนั เปิดโลกทัศน์ ให้ความรู้ ให้แรงบันดาลใจ ยิ่งกว่านั้นคือนอกจากจะฉายแล้ว สถานีโทรทัศน์ใหญ่ๆ ของโลกก็ยังเน้นการผลิต หนังสารคดีเองด้วยเพือ่ ตอบสนองผูช้ ม ซึง่ จุดนีส้ �ำ คัญมากนะ เพราะมันคือการสร้าง คนทำ�หนังสารคดีไทยขึ้นมาโดยตรง ที่ผ่านมา เรามีโอกาสคุยกับหลายช่องทีวี แต่เขายังมักยึดติดกับความเข้าใจ ที่ว่าหนังสารคดีหมายถึงหนังชีวิตสัตว์ป่า สำ�รวจธรรมชาติ ถ่ายการยิงจรวด ฯลฯ อะไรพวกนี้อยู่เลย หรือไม่ก็กลัวว่าหนังสารคดีคนดูน้อย ไม่มีเรตติ้ง ฯลฯ เราเลย ต้องพยายามพิสจู น์ตอ่ ไปว่ากลุม่ คนดูหนังสารคดีทกุ วันนีไ้ ม่ใช่แบบทีค่ ณุ เคยคิดหรอก เราจะทำ�แบบนี้และยํ้าๆ ต่อไป ไม่แน่ว่าอีกสัก 2 ปี คุณอาจจะเปลี่ยนความคิด ไปบ้าง” Documentary Club Facebook: Documentary Club Twitter: @DocClubTH ขอขอบคุณสถานที่ ร้าน Waft me แจ้งวัฒนะ 29, กรุงเทพฯ Facebook: Waft me
พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 23
facebook.com/sheffdocfest
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
หากจะให้พดู ถึงประเทศทีเ่ ป็นผูน้ �ำ ในอุตสาหกรรมสารคดี เชือ่ แน่วา่ คงจะต้องมีชอื่ ของอังกฤษติดอันดับอยูด่ ว้ ยแบบไม่ตอ้ ง สงสัย ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมา พร้ อ มกั บ ประวั ติ ศ าสตร์ อั น ยาวนานของอุ ต สาหกรรม ภาพยนตร์ ความพร้อมของระบบนิเวศทางธุรกิจ ตั้งแต่ ผูผ้ ลิต แหล่งเงินทุน ผูเ้ ผยแพร่ ผูบ้ ริโภค ไปจนถึงแหล่งพบปะ แลกเปลีย่ นทีเ่ ชือ่ มโยงทุกส่วนเข้าด้วยกันอย่างเมืองเชฟฟีลด์ (Sheffield) เมืองต้นกำ�เนิดของ “Sheffield Doc/Fest” เทศกาลภาพยนตร์สารคดีที่ใหญ่ที่สุดในอังกฤษและใหญ่ เป็นอันดับสามของโลก
24 l
Creative Thailand
l
พฤศจิกายน 2558
europe.org.uk
หนังปลุกเมือง เชฟฟีลด์เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ท่ามกลางพื้นที่เขียว ชอุ่มใจกลางสหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงเรื่อง การทำ�มีดมาตั้งแต่หลายร้อยปีที่แล้ว ก่อนจะ เติบโตอย่างก้าวกระโดดในยุคปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม ในฐานะศู น ย์ ก ลางการผลิ ต เหล็ ก กล้ า ของ อังกฤษ ซึง่ ทำ�ให้จ�ำ นวนประชากรในเมืองพุง่ สูง ขึ้นกว่าสิบเท่า หลายคนอาจรู้จักเชฟฟีลด์ใน ฐานะเมืองมรดกด้านกีฬา ต้นกำ�เนิดสโมสร ฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดสโมสรหนึ่งของโลกอย่าง สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ และสโมสรฟุต บอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด หรือที่ตั้งของโรงละคร ครูซิเบิล (Crucible Theatre) โรงละครเก่าแก่ที่
facebook.com/Sheffield-Theatres
facebook.com/Sheffield-Theatres
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ปัจจุบนั ใช้จดั การแข่งขันกีฬาสนุกเกอร์ชงิ แชมป์ เป็นประจำ�ทุกปี แต่ทงั้ หมดนีก้ ด็ เู หมือนจะไม่ใช่ เหตุผลสำ�คัญอะไรนัก เมื่อครั้งที่ “เทศกาล ภาพยนตร์สารคดีเชฟฟีลด์” หรือ “Sheffield Doc/Fest” ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1994 จุดเริ่มต้นของการจัดเทศกาลสารคดีใน เชฟฟีลด์ เกิดขึ้นจากความต้องการของตัวแทน ผูก้ ระจายเสียงและแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในอังกฤษ กลุม่ หนึง่ นำ�โดยปีเตอร์ ซิมส์ (Peter Symes) จาก BBC ร่วมกับ Channel 4, United Artists, Discovery Channel, Central Independent Television และ Granada Television ทีต่ อ้ งการจัดงานประชุม เสวนาประจำ�ปีเพือ่ พูดคุยแลกเปลีย่ นระหว่างคน ทำ�สารคดีในอังกฤษ พวกเขาตกลงเลือกจัดงาน ในเมืองเชฟฟีลด์ซงึ่ ขณะนัน้ อุตสาหกรรมสือ่ และ วัฒนธรรมของเมืองกำ�ลังอยู่ในวัยเริ่มหัดเดิน เทศกาลในปีแรกกินระยะเวลาเพียงแค่ 2 วัน ประกอบด้วยโปรแกรมฉายภาพยนตร์ การอบรม ระดับสูง และปาร์ตสี้ งั สรรค์เล็กๆ โดยผูเ้ ข้าร่วม เกือบทั้งหมดเป็นผู้ผลิตสารคดีจากลอนดอน และมีผู้แทนจำ�หน่ายที่มาจากต่างประเทศไม่ มากนัก ในเวลาต่อมา Sheffield Doc/Fest เริ่มเป็น ที่รู้จักในกลุ่มผู้สร้างสารคดี ว่าเป็นแหล่งพบปะ ที่ ทำ � ให้ ผู้ ผ ลิ ต มี โ อกาสได้ พู ด คุ ย กั บ ตั ว แทน ผู้กระจายเสียงและแพร่ภาพทางโทรทัศน์อย่าง
BBC หรือ Channel 4 ซึ่งมักจะเข้าถึงได้ไม่ ง่ายนัก และยังเป็นแหล่งเงินทุนหลักในการทำ� สารคดีของเหล่าผู้สร้างชาวอังกฤษในขณะนั้น โดยผู้ให้ทุนจะได้รับสิทธิ์ในการเผยแพร่สารคดี ในช่ อ งของตนเอง หลั ง จากนั้ น สิ ท ธิ์ ใ นการ เผยแพร่จึงจะกลับไปสู่โปรดิวเซอร์และบริษัท ผู้ผลิต อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลา 8 ปี เทศกาล Sheffield Doc/Fest ไม่ได้มีการพัฒนารูปแบบ กิจกรรมมากนัก ทำ�ให้จ�ำ นวนผูแ้ ทนจากหน่วยงาน ที่ เ กี่ ย วข้ อ งที่ ม าเข้ า ร่ ว มคงที่ อ ยู่ ที่ ป ระมาณ 475-700 คน และมีจำ�นวนผู้ชมราว 2,000 คน อันเป็นสัญญาณที่บอกว่าเทศกาลกำ�ลังเริ่มเดิน มาถึงทางตันในปี 2005 เฮเธอร์ โครลล์ (Heather Croall) อดีต ผู้อ�ำ นวยการจัดงาน Australian International Documentary Conference ได้ตอบรับคำ�เชิญ มารับตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการจัดเทศกาลทันเวลา พอดิบพอดี และประวัตศิ าสตร์หน้าใหม่ของวงการ สารคดีและเชลฟีลด์จึงได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งนับ ตัง้ แต่นนั้ มา “ตอนทีม่ าถึง ฉันไม่รวู้ า่ เทศกาลกำ�ลัง อยูในช่วงสาหัส และมีเสียงพูดกันว่าเชฟฟีลด์ กำ�ลังสูญเสียมนต์เสน่หไ์ ป แต่เมือ่ ฉันค้นพบแล้ว ว่าเราอยู่ในสถานการณ์คับขันขนาดไหน ฉันก็ คิ ด ว่ า โอเค ถ้ า อย่ า งนั้ น เราต้ อ งทําอะไรที่ มี ความแปลกใหม่แล้วล่ะ” พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 25
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
sheffdocfest.com
sheffdocfest.com
Crossover Market
โอกาสที่เปิดกว้าง
หนังกลางเมือง
เมื่อวงการภาพยนตร์เริ่มหันมาใช้วิธีการร่วมผลิตระหว่างหลายบริษัท (Co-production) โดยเฉพาะการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติมากขึ้น เพือ่ ช่วยกันแบกรับต้นทุน ลดความเสีย่ ง และยังเป็นการขยายตลาดในต่างประเทศ นัน่ หมายความว่าผู้ผลิตสารคดีอังกฤษไม่จำ�เป็น ต้องหวังรอพึ่งเงินทุนจากผู้เผยแพร่รายใหญ่ในประเทศเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป ทีมผู้จัด เทศกาลสารคดีตระหนักในข้อนีด้ ี ภาพเดิมของเทศกาลทีเ่ ป็นเพียงการประชุมของคนใน วงการเพียง 500 คนจากลอนดอน จึงค่อยๆ ถูกเปลีย่ นให้เป็นเทศกาลระดับนานาชาติของ คนทุกกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ผ่านการจัดกิจกรรมพบปะระหว่างผู้ผลิตและ ผูใ้ ห้ทนุ เพือ่ เปิดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและผูเ้ ผยแพร่สารคดีให้แก่นกั ทำ�สารคดี อิสระ ซึ่งมีจำ�นวนเพิ่มขึ้นในยุคที่ต้นทุนด้านเทคโนโลยีในการผลิตสารคดีถูกลงเรื่อยๆ
ด้วยกิจกรรมที่มีความหลากหลายและเปิด กว้าง Sheffield Doc/Fest จึงดึงดูดนักสร้าง หนังรุน่ ใหม่เข้ามาอย่างต่อเนือ่ ง โดยทีมผูจ้ ดั ได้เชือ่ มโยงประสบการณ์ของผูร้ ว่ มงานเข้ากับ เมือง ด้วยการกระตุน้ ให้กนิ ดืม่ และสังสรรค์ ในร้านอาหารท้องถิน่ ทัง้ ยังผสมผสานจุดเด่น และเรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์เข้ากับพืน้ ที่ เพือ่ ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์
MeetMarket
กิจกรรมนัดพบปะเพื่อให้ผู้ผลิตได้นำ�โครงการมาเสนอแก่ผู้ให้ทุนในลักษณะการพูดคุย แบบตัวต่อตัว ซึ่งประสบความสำ�เร็จมากจนกลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมหลักที่เป็นจุดขาย ของเทศกาล โดยในปี 2014 มีการพูดคุยระหว่างผู้ผลิตและผู้ให้ทุน 1,500 คู่ ซึ่งนำ�ไปสู่ ข้อตกลงให้ทุนราว 12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 8 ล้านปอนด์ ยิ่งไปกว่านั้นคือ ในปี 2015 มีภาพยนตร์ที่จัดฉายในโปรแกรมของเทศกาลถึง 13 เรื่อง ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม MeetMarket ในปีก่อนหน้า 26 l
จากความสำ�เร็จของ MeetMarket ที่ดำ�เนินมา เป็นเวลาหลายปี ผู้จัดงานจึงริเริ่มกิจกรรม Crossover Market ขึน้ ในปี 2013 เพือ่ จับคูผ่ เู้ ข้า ร่วมงานให้ได้น�ำ เสนอโครงการ โดยเน้นไปทีโ่ ปร เจ็กต์ด้านสื่อดิจิทัลและอินเทอร์แอคทีฟโดย เฉพาะ ทำ�ให้เกิดการพบปะพูดคุยระหว่างผู้ซื้อ นักออกแบบเกม ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ผู้ ผลิ ต ภาพยนตร์ และเอเจนซี ด้ า นดิ จิ ทั ล ที่ เป็นการเปิดประตูสู่การผสมผสานศาสตร์การ เล่าเรื่องและการสื่อสารในรูปแบบใหม่ๆ “เราพยายามที่จะขยายคำ�จำ�กัดความของ คำ�ว่าสารคดีอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดกิจกรรมที่จะ ช่วยส่งเสริมสารคดีผ่านรูปแบบที่หลากหลาย ยิ่งขึ้น” เฮเธอร์ กล่าว
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
The Big Melt เป็นการแสดงพิเศษ
ในพิธีเปิดเทศกาล Sheffield Doc/Fest 2013 ซึ่งจัดขึ้นในโรงละครครูซิเบิล โดย นักสร้างหนัง มาร์ติน วอลเลซ (Martin Wallace) ได้น�ำ ฟุตเทจสารคดีอายุมากกว่า 100 ปีจาก BFI National Archive ซึ่งเป็น หน่วยงานหนึง่ ของ British Film Institute ที่มี หน้าทีเ่ ก็บรักษาภาพยนตร์และสิง่ ทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง
กับภาพยนตร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มา ดัดแปลงและตัดต่อเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของ อุตสาหกรรมเหล็กกล้าในอังกฤษ ชีวติ ของผูค้ น ในโรงงาน และความเป็นไปของเมืองเชฟฟีลด์ ในฐานะศูนย์กลางเทคโนโลยีการหลอมเหล็กใน ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพยนตร์สารคดีทส่ี ร้าง ขึน้ โดยทีมผูจ้ ดั เทศกาลนี้ ถูกฉายขึน้ สูจ่ อโดยมีวง ออร์เคสตราบรรเลงบทเพลงประกอบที่จาร์วิส คอกเกอร์ (Jarvis Cocker) นักร้อง นักดนตรี และนั ก แต่ ง เพลงชื่ อ ดั ง เป็ น ผู้ อ อกแบบและ กำ�กับดนตรี โดยได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นการ แสดงดนตรีเฮฟวีเมทัลแนวใหม่
ภาพยนตร์สารคดีโดย นิก ไรอัน (Nick Ryan) บอกเล่าเรื่องราวการ พิชิตความสูงบนยอดเขา K2 ที่มีความสูงและ อันตรายเป็นอันดับ 2 รองจากเทือกเขาเอเวอเรสต์ ของคณะเดินทางในปี 2008 ซึง่ นำ�ไปสูก่ ารสังเวย ชีวิตของนักปีนเขาถึง 11 ราย โดยทีมผู้จัดงาน ได้ก้าวข้ามกรอบจำ�กัดแบบเดิมด้วยการเลือก ฉายภาพยนตร์ขึ้นบนผนังในถํ้า Peak Cavern บน The Peak District ซึ่งเป็นถํ้าขนาดใหญ่ที่ มีปากทางเข้าใหญ่ที่สุดในยุโรป เสมือนเป็น โรงภาพยนตร์จากธรรมชาติเพื่อสร้างอารมณ์ ร่วมให้กับผู้เข้าชม
bfi.org.uk
thestar.co.uk
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
Strategy + Money
จากรายงาน “Priorities for Sheffield City Region in the Knowledge Economy” ของ The Work Foundation ที่เสนอต่อกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา (DCMS: Department for Culture, Media & Sport) ในปี 2007 ระบุว่าการจ้างงานในภาคส่วนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และดิจิทัล (Creative, Cultural and Digital Industries) ในเชฟฟีลด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5 ของอุตสาหกรรมทัง้ หมดของเมือง โดยในช่วงระหว่างปี 1998 - 2005 อุตสาหกรรมนี้มีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 45 ในขณะทีอ่ ตุ สาหกรรมสารคดีในเชฟฟีลด์ก�ำ ลังค่อยๆ เติบโตและผลิดอกออกผล แน่นอนว่าแรงผลักดันทีเ่ ป็น เหมือนนํ้าและปุ๋ยบำ�รุงดินอย่างดี ก็คือการสนับสนุนด้านนโยบายและเงินทุนจากภาคส่วนต่างๆ โดยนอกจาก รัฐบาลอังกฤษจะดำ�เนินนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industry) ซึ่งมีธุรกิจ ภาพยนตร์เป็นส่วนหนึง่ ของภาคอุตสาหกรรมนีด้ ว้ ยแล้ว ทีผ่ า่ นมา เทศบาลเมืองเชฟฟีลด์ยงั ได้ลงทุนในการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และวัฒนธรรมมากกว่า 35 ล้านปอนด์ตอ่ ปี ในขณะที่เครือข่ายด้านวัฒนธรรมของเชฟฟีลด์ (Sheffield Cultural Partnership) ซึ่งประกอบด้วยหลากหลายองค์กร อาทิ Sheffield Doc/Fest, Sheffield Theatres, Museums Sheffield, University of Sheffield ฯลฯ ก็ได้รับการสนับสนุนจากสภาศิลปะแห่งอังกฤษ (Arts Council England) จำ�นวน 271,390 ปอนด์ในปี 2014
sheffdocfest.com
The Summit
เติบโตอย่างมั่นคง แม้ว่าปัจจุบันกิจกรรมในเทศกาลจะ เพิ่ ม มากขึ้ น เพื่ อ ตอบโจทย์ ค วาม ต้องการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ สารคดี ตั้งแต่การฉายภาพยนตร์ เวที เสวนา การบรรยาย คลาสอบรม พื้นที่ ให้คำ�ปรึกษา กิจกรรมพบปะเพื่อเสนอ โปรเจ็กต์ ฯลฯ แต่เฮเธอร์ยืนยันว่าทีม จัดงานตั้งใจที่จะรักษาบรรยากาศเป็น กันเองของเทศกาลไว้ ด้วยขอบเขต พืน้ ทีจ่ ดั งานทีส่ ามารถเดินถึงกันได้ และ รักษาจำ�นวนผูเ้ ข้าร่วมทีป่ ระมาณ 3,500 ธุรกิจ “เราต้องการทำ�ให้แน่ใจว่าทุกคนที่ เข้ า ร่ ว มงานจะได้ รั บ ประสบการณ์ ที่ เท่าเทียมกัน และไม่ตอ้ งการทีจ่ ะดึงคน วีไอพีออกจากผูร้ ว่ มงานอืน่ ๆ มันสำ�คัญ มากว่าผู้ผลิตสารคดีจะต้องรู้สึกว่าเขา สามารถเข้าถึงคนอื่นๆ ได้แบบที่ไม่มี โอกาสในเวลาปกติ ด้วยความสัตย์จริง ฉั น ว่ า การเติ บ โตมั น เป็ น เรื่ อ งเหนื่ อ ย เราไม่สามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ ไม่มี วันหยุด สิง่ ทีเ่ ราต้องการคือความมัน่ คง แข็งแรง เราต้องการให้ทุกคนได้รับ ประสบการณ์ที่เข้มข้น ประสบการณ์ที่ เป็นส่วนผสมระหว่างความสนุก การทำ� ธุรกิจ และความตระหนักในเทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่กำ�ลังเกิดขึ้น”
ที่มา: บทความ “Cultural tourism: how Arts Council England helps the North enhance its appeal” (2014) จาก artscouncil.org.uk / บทความ “Doc/Fest celebrates its second decade” (2013) จาก realscreen.com / บทความ “It's boom time for UK's documentary film makers” (2012) จาก independent.co.uk / บทความ “Packed Schedule for Sheffield Doc/Fest Announced” (2013) จาก moviescopemag.com / บทความ “Previewing Sheffield Doc/Fest 2013” (2015) จาก bfi.org.uk / บทความ “Sheffield Doc/Fest unveils MeetMarket projects” (2015) จาก screendaily.com / บทความ “Thousands to attend Sheffield Doc/Fest” (2014) จาก bbc.com / รายงาน “A culture strategy for Sheffield 2011, 2012 & 2013” จาก tfconsultancy.co.uk / รายงาน “Crowdsourcing and outsourcing: the impact of online funding and distribution on the documentary film industry in the UK” (2012) โดย Inge Ejbye Sørensen จาก academia.edu / รายงาน “Priorities for Sheffield City Region in the Knowledge Economy” (2007) โดย The Work Foundation จาก theworkfoundation.com / วิดีโอ “Jarvis Cocker & The Big Melt (Behind The Scenes)” โดย TheLipTV จาก youtube.com / วิกิพีเดีย พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล ภาพ: สุรพัศ เคียงคู่
ศาสตร์แห่งการเล่าเรื่องอยู่คู่มนุษยชาติตลอดมา เราใช้ทั้งถ้อยคำ� การกระทำ� ภาพ และเสียง เพื่อสื่อสารและส่งต่อเรื่องราวจาก ผูส้ ง่ สารไปยังผูร้ บั สารให้ครบถ้วนได้ประสิทธิผล หากในวันทีโ่ ลกหมุนเร็วไวด้วยเทคโนโลยี และผูร้ บั สารมีทางเลือกในการเสพเรือ่ งราว ต่างๆ มากมายกว่าก่อน หน้าที่ของสื่อหรือการเล่าเรื่องราวในรูปแบบ “สารคดี” ได้เปลี่ยนไปหรือไม่ และรูปแบบหรือวิธีการเล่าแบบ ไหนที่จะเข้ากับยุคสมัยและจับใจผู้รับสารได้มากกว่า “สุชาดี มณีวงศ์” ผู้ผลิตรายการสารคดีมากคุณภาพอย่างกระจกหกด้าน มานานกว่า 30 ปี บอกเราว่า ไม่ว่าจะอย่างไร แก่นแท้ของสารคดีจะยังคงอยู่ที่การเคารพผู้ชมด้วยการส่งต่อเรื่องราวตามจริงโดย ไม่ตัดสิน และการนำ�เสนอความรู้เพื่อมุ่งจรรโลงความคิดอ่านผู้ชม ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญในการสร้างสรรค์สังคมเปี่ยมความรู้ต่อไปใน อนาคต
28 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ทราบว่ า คุ ณ สุ ช าดี ทำ � งานด้ า นหนั ง สื อ พิ ม พ์ ม าก่ อ น จุดเปลี่ยนที่ทำ�ให้มาผลิตสารคดีคืออะไร
ถ้ามองจากพัฒนาการของกระจกหกด้าน ซึง่ ออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 2526 ด้วยแรงบันดาลใจจากคำ�สอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่เตือนให้ศิษยานุศิษย์ส่องกระจกรอบด้านเพื่อชี้ให้เห็น ความจริงของชีวิต และประยุกต์มาเป็นสาระ 6 ด้านในรายการด้วยแล้ว ยุคนัน้ รายการโทรทัศน์ไทยส่วนใหญ่เป็นละคร ภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ ฝรั่ง ดนตรี และเพลง มีรายการสารคดีเพียง 7-8 รายการ และส่วนใหญ่ เป็นของฝรั่งเอามาพากย์ไทย สารคดีที่ทำ�โดยคนไทยมาตรฐานก็ยังตํ่า ทั้งที่มีนักทำ�สารคดีมีฝีมืออยู่หลายคน เมื่อเห็นว่านักผลิตรายการสารคดี ดีๆ ในแผ่นดินนี้หาไม่ได้แล้วเชียวหรือ ทีมงานกระจกหกด้านจึงเริ่ม ปักหมุดสารคดีโทรทัศน์ที่ผลิตโดยคนไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คนส่วนใหญ่ก่อนจะได้เลือกทำ�งานที่ตัวรัก อาจจะต้องเริ่มจากทำ� สิ่งอื่นๆ ก่อน อาจจะเป็นที่เราเองเริ่มจากทำ�งานหนังสือพิมพ์ทั้งๆ ที่ไม่ ได้เรียนในมหาวิทยาลัยมา เรารักงานด้านสื่อ หน้าที่แถลงข้อเท็จจริงให้ ประชาชน คือมีหน้าที่แค่น�ำ เสนอ จะไม่วิพากษ์วิจารณ์ใคร ไม่ชี้ชัดว่าอันนี้ ไม่ดี อันนี้น่าเอาอย่าง เรามีหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงแล้วประชาชนเป็นคน ตัดสิน เพราะเราทำ�งานไปเราก็ได้เรียนรู้ไป สมัยก่อนออกต่างจังหวัดเอง ก็จะถามคนว่า “เป็นไงได้ดูรายการไหม” เขาก็บอก “ดี ไม่ดูถูกคนดู” ความผูกพันกับอาชีพสือ่ มาตัง้ แต่อายุยสี่ บิ จนปัจจุบนั ทำ�ให้เราเคารพคนดู เราเป็นรายการเดียวที่ไม่สอนคนดูเลยทั้งๆ ทีข่ ้อมูลเราเพียบ มันก็ทวน กระแสเรื่อยมาจนคนรู้เลยว่า เรานี่ข้อมูลถูกต้อง 99.99 เปอร์เซ็นต์เลยนะ ก็ยอมรับกันเรื่อยมา
ถ้ า หน้ า ที่ ข องสารคดี คื อ นำ � การเสนอข้ อ เท็ จ จริ ง โดย ไม่ตัดสิน สารคดีต่างกันกับการเสนอข่าวอย่างไร
สารคดีจะแบ่งเป็นสารคดีเชิงข่าว สารคดีพีเรียด แล้วก็สารคดีที่มีคน ดำ�เนินเรื่อง มี 3-4 แบบเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นถ้าสมมติว่ามันเกิดมี สารคดีเชิงข่าว แสดงว่าสารคดีมันต้องสำ�คัญกว่าข่าว ข่าวก็คือสิ่งที่เกิด ขึน้ ในแต่ละวัน จะสำ�คัญก็ได้ ไม่ส�ำ คัญก็ได้ แล้วก็จะชวนจดจำ�ก็ได้ ไม่ชวน จดจำ�ก็ได้ แต่สารคดีนี่มันต้องชวนให้จดจำ� นี่คิดเอาเอง ถูกไม่ถูกเราก็ ไม่รู้นะ คือสัมภาษณ์ยาวเหยียดไปทำ�ไม ภาพซํา้ ไปทำ�ไม ดูแล้วยังไม่อยากไป ดูซํ้าเลย ใช่ไหมคะ 20 วินาทีนี่เยอะมากนะ ต้องไม่ให้ภาพเกิน 3 เทคนะ หน้าโผล่มานิดเดียวแล้วที่เหลือเป็นวอยซ์โอเวอร์ ใช้ภาพเป็นตัวเล่าเรื่อง หรือออกนิดเดียวแล้วก็เบรกในหนึง่ เรือ่ งไม่ให้ซาํ้ คือเราเบือ่ เราก็คดิ ว่าคน ดูบางกลุม่ เขาก็เบือ่ เหมือนกัน อันนีเ้ ราไม่ชอบ คุณผูฟ้ งั คะ คุณผูช้ มคะ นี่ นัน้ โน่น นี่ ทีน่ ี่ ทีโ่ น่น ทีน่ นั่ จากอดีตกาล นมนานกาเล โบราณ มันคำ�เดียวกัน
เราเป็นกันเอง คือหมายความว่าเรา ไม่เคยดูถกู คนดู อันนี้นี่พูดตลอดกับ ทุกคน ดูถูกคนดูคือไปสอนเขา มัน น่าจะอย่างนั้นมันน่าจะอย่างนี้ ไม่ดี การออกความเห็นเหมือนเป็นการไป บล็อกความคิดเขา
หมดก็เอาคำ�เดียวสิ สารคดีมันมีภาพให้ดูอยู่แล้ว ที่โชคดีอีกอย่างอาจ จะเป็นที่เรามาจากการทำ�หนังสือพิมพ์ ทำ�วิทยุมาแล้ว ทำ�ละครโทรทัศน์ มาแล้ว เพราะฉะนั้นเรารู้ว่าสารคดีมันต้องการอะไร เราก็ผสมผสานเอา มาเป็นศาสตร์ของการทำ�สารคดี
คิดว่าแก่นทีท่ �ำ ให้กระจกหกด้านมีเสน่หต์ า่ งจากรายการ สารคดีอื่นๆ คืออะไร
เราเป็นกันเอง คือหมายความว่าเราไม่เคยดูถูกคนดู อันนี้นี่พูดตลอดกับ ทุกคน ดูถูกคนดูคือไปสอนเขา มันน่าจะอย่างนั้นมันน่าจะอย่างนี้ ไม่ดี การออกความเห็นเหมือนเป็นการไปบล็อกความคิดเขา เหมือนเขาคงมี ความรู้สึกอยู่ว่า “เฮ้ยมันสองชั้น ที่เธอสอนมันไม่ใช่นี่หว่า” ให้เขาคิดเอง ไม่เคยเลยที่จะบอก “ต้อง” น้อยมาก นอกจากที่มันจะเป็นกฎ สมมติเรา ไปถ่ายอะไรในพระบรมมหาราชวัง มีกฎกติกามารยาทว่า “ต้อง” เราก็ “ต้อง” ไป แต่สชุ าดีไม่มคี �ำ ว่า “ต้อง” เด็ดขาด แล้วก็อาจจะเป็นเพราะเราพิถพี ถิ นั กับมัน คะขา จ๊ะจ๋า ก็ไม่มี บทสัมภาษณ์ไม่ดีเราก็ให้สัมภาษณ์ใหม่ ไม่ก็ ตัดต่อใหม่ พูดเลอะเทอะก็ไม่เอา การที่ไม่ดูถูกคนดูนี้เป็นเรื่องสำ�คัญ เราต้องรู้จักตั้งคำ�ถามให้มันเข้าประเด็น และประเด็นทั้งหลายที่เรา ตัง้ คำ�ถามก็ตอ้ งไม่ซาํ้ กับบทบรรยาย อาจจะเป็นสิง่ ทีเ่ ราหาข้อมูลไม่ได้เลย ว่ามาจากไหน เพราะว่าไม่มีหลักฐานเลย ก็ต้องสัมภาษณ์ บางทีพูดกัน ง่ายๆ เราไม่มีข้อมูลเรื่องนี้ การสัมภาษณ์ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลเดียว เรา ไม่ยอมนะ คือต้องมีอย่างน้อยสามแหล่ง แต่ทีนี้ถ้ามันยังมีข้อมูลเดียวจะ ทำ�อย่างไร ก็ให้ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้ตอบ ผิดถูกยังไงประชาชนก็ไม่ได้ว่า เราผิดหรือถูก เพราะคนๆ นั้นเป็นคนตอบ บางครั้งเราหาข้อมูลไม่ได้เลย แล้วคนท้องถิ่น คนเฒ่าคนแก่ เขาตอบได้ ก็บอกว่าให้ช่วยพูดหน่อย ส่วนใหญ่จะเป็นอย่างนี้มากกว่า แต่เราไม่ใส่ความเห็นเราลงไป พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เราดึงเอาสิ่งที่ดีที่สุดจากภาพยนตร์ที่ดู สารคดีที่ดู เอามาปรับใช้กับ งาน เราไม่ได้จบมหาวิทยาลัย แหกกฎได้ ชอบสารคดีสนุกๆ ก็ทำ�สนุกๆ เราเปลี่ยนภาพบ่อยมาก ภาพสวยมาก ภาพสะอาด แม้กระทั่งเวลาเราจะ ยืมมือใครสักคนหยิบอะไร เธอไปตัดเล็บแคะขี้เล็บออกให้หมดนะ ไม่ใช่ แหม สารคดีจ๋าเสียจนเห็นขี้เล็บดำ�ปี๋ เรามีการดูแลให้สะอาดตา คือเรา พยายามทำ�สิ่งที่ดีที่สุด เหมือนเรากินอะไรก็ให้คนอื่นเขากินอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเราชอบเสพตรงนี้ เราก็อยากให้คนดูเนี่ยเสพตรงนี้เหมือนเรา บังเอิญความอร่อยของเรามันไปตรงกับความอร่อยของคนเยอะมากมั้ง คนถึงดูเรา จริงๆ เราออกอากาศมา 30 กว่าปี ทำ�มาเป็นจำ�นวนหมื่นๆ ตอน บอกได้เลยว่าแทบจะทำ�มาแล้วทุกเรื่อง มันจึงยากสำ�หรับการหนี ตัวเอง เราไม่ได้เปรียบเทียบกับรายการสารคดีอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมามากมาย ในปัจจุบันนะ แต่เราเปรียบเทียบกับตัวเอง 30 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
อย่างตัวเองตอนอายุหกสิบก็รสู้ กึ ว่าน่าจะทบทวนความรูเ้ ก่าๆ เลยไป สมัครเรียนที่บริติชเคาน์ซิลจากชั้นแรก เรียนทั้งหมด 6 ปี ทุกคอร์สที่เขา มี ได้เรียนเรื่องการเขียน เราก็นึก “โอ้โห เหมือนเราเลย” คือวิธีการเขียน เล่าเรือ่ งทัง้ หลายมันก็เป็นกฎเหล็กของงานเขียนคือ what when why who where how หรือ 5 W 1 H และสารคดีต้องเขียนแบบมี introduction มี body แล้วก็มี conclusion ในส่วน body คุณไม่มีสิทธิ์ที่จะไปแนะนำ� อะไรใครหรือไปฟันธงอะไรในนั้นเลย คือจะมีแค่ข้อมูลรองรับ ซึ่งนี่ก็เป็น สิ่งที่เราเรียนตอนเด็กๆ สมัยนี้จะมาเขียนอะไรให้มันวิลิศมาหรามันก็หนี ไม่พ้นพวกนี้ เราเองก็ไม่ถึงกับขนาดเป๊ะเชะหรอกนะ แต่อย่าให้คนที่เขา เสพสารเราดูแล้วรู้สึกเบื่อ ใช้สามัญสำ�นึก ใช้ประสบการณ์นี่แหละ เขา บอกว่า เราอ่านมาก คุยมาก วิเคราะห์มาก เราก็เออ อาจจะใช่ แต่เราก็ ไม่ได้หยิ่งยโสลืมตัวอะไร ทำ�ไปตามสิ่งที่ควรจะทำ�
กระจกหกด้านเองมีการพัฒนา เปลีย่ นแปลงทุกปี...รูปแบบของ รายการมี ก ลิ่ น อายสารคดี ต่ า งประเทศที่ เ ดิ น เรื่ อ งเร็ ว กระชับและสนุก...เสียงตอบรับ ดีมาก เพราะเป็นการฉีกรูปแบบ สารคดีกระจกหกด้านในทุกมิติ เป็นการทำ�งานของทีมคนหนุ่ม คนสาวไฟแรงรุ่นใหม่ แต่เงิน ลงทุ น ค่ อ นข้ า งสู ง และใช้ เ วลา ถ่ายทำ�มาก
หลายคนเติบโตมาพร้อมกับพัฒนาการของกระจกหกด้าน บางคน บอกว่าดูตั้งแต่เด็กจนโตและคุ้นเคยกับรายการมานานตั้งแต่ไตเติลจนถึง ผู้บรรยาย การทำ�สารคดีให้คนทุกเพศทุกวัยชมจึงเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก แล้วพออยู่มาหลายสิบปี ก็เหมือนมีคนตอกยํ้าแล้วว่าเอ็งใช้ได้แล้ว เรามา ทำ�ผิด เราก็อายตัวเอง ทุกวันนี้ที่ไม่ถึงขนาดกลัวแต่เราก็หวั่นอยู่คือการ หนีตัวเอง เราต้องหนีตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ยํ่าอยู่กับที่ แล้วก็ข้อ บกพร่องมีเอาไว้แก้ไข ไม่ได้มีไว้แก้ตัว
ความท้าทายของการทำ�งานสารคดีในปัจจุบันคืออะไร ส่วนตัวมองอนาคตของงานสารคดีไว้อย่างไร
ตอนนี้เรามีช่องทางทีวีดิจิทัลเพิ่มเข้ามาเป็นทางเลือกของผู้ชมมากขึ้น การแข่งขันสูงขึ้น มีการซื้อตัวบุคลากรด้วยวิธีการต่างๆ การตัดราคาค่า โฆษณา ก็ยอมรับว่ามีผลกระทบกับรายการอยูบ่ า้ ง แม้แต่รายการประเภท ข่าวยังมีแนวโน้มที่จะทำ�เป็นสกูป๊ สัน้ แบบสารคดีเชิงข่าว มีภมู หิ ลังที่มาที่ไป และประเด็นปัญหาที่อยากนำ�เสนอ นอกจากนี้รายการสารคดีสั้นก็ได้รับ ความสนใจผลิตกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นที่นิยมของผู้สนับสนุน รายการ นัน่ หมายความว่า สังคมแห่งความรูค้ ปู่ ญั ญาจะเกิดขึน้ ตามทีเ่ รา ปรารถนามาตัง้ แต่เริม่ ทำ�รายการสารคดีกระจกหกด้านเมือ่ 30 กว่าปีกอ่ น กระจกหกด้านเองมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทุกปี เราแพลนงาน ล่วงหน้าเป็นปี ปี 2559 เราจะมีสารคดีชดุ ใหม่ออกมา อย่างรายการกระจก (หกด้าน) บานใหม่ ซึ่งเริ่มมาได้ประมาณ 3 เดือน ก็เป็นความริเริ่มของ ลูกชายคนเล็ก (คุณอลงค์กร จุฬารัตน์) ซึ่งเป็นผู้อำ�นวยการฝ่ายผลิต เพื่อตอบโจทย์กลุ่มผู้ชมกลุ่มใหม่ที่ต้องการความทันสมัย รูปแบบของ รายการมีกลิ่นอายสารคดีต่างประเทศที่เดินเรื่องเร็วกระชับและสนุก ขณะนี้ออนแอร์ไป 3 ตอน คือ ตอน ส้มตำ�ฯ, เขยฝรั่งฯ และ ฟรีแลนซ์ฯ เสียงตอบรับดีมาก เพราะเป็นการฉีกรูปแบบสารคดีกระจกหกด้านใน ทุกมิติ เป็นการทำ�งานของทีมคนหนุม่ คนสาวไฟแรงรุน่ ใหม่ แต่เงินลงทุน ค่อนข้างสูงและใช้เวลาถ่ายทำ�มาก ขณะนี้วางเป้าว่าจะผลิตออกอากาศ เดือนละ 2 ตอนก่อนเพื่อฟังเสียงสะท้อนจากสังคม ก็เชื่อว่าจะได้รับความ สนใจจากคนรุน่ ใหม่ เข้ากับจังหวะของการปฏิรปู ประเทศตามนโยบายของ รัฐบาลพอดี เรายังใช้ช่องทางทีใ่ ช้ในการดึงคนรุ่นใหม่อื่นๆ ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก มีเว็บไซต์ให้ผู้สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวตลอดจนดูรายการ ย้อนหลังได้ที่ krajokhokdan.com, youtube.com/krajokhokdan และ bugaboo.tv มีการจัดทำ�วีซีดีในชื่อชุดต่างๆ อาทิ ดอกไม้ไทย กีฬาไทย วิถีไทย จำ�หน่ายให้สถาบันการศึกษาและผู้สนใจในราคาย่อมเยา โดย ปัจจุบันวีซีดีได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และตัง้ เป้าว่าเมือ่ เข้าสูเ่ ออีซี จะทำ�วีซีดีสารคดีกระจกหกด้านเป็นภาษาอังกฤษ และอีกช่องทางอยู่ใน ระหว่างการหารือกับสำ�นักพิมพ์ คือการออกพ็อกเก็ตบุ๊กกระจกหกด้าน ซึ่งเป็นการคัดสรรสารคดีที่ออกอากาศไปแล้วมาเรียบเรียง พฤศจิกายน 2558
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เราอยากให้เผยแพร่งานเชิงสารคดี ออกไปให้กว้างขวาง เพราะถ้าเด็กไทย ได้ดูมากๆ แล้วมีโอกาสช่วยประเทศ ชาติ ทำ�ให้เขาคิดดีท�ำ ดีแทนที่จะไปคิด อะไรทีป่ ระหลาดๆ ไม่คอ่ ยดีกจ็ ะดี ทุก วันนี้เราอ่านหนังสือพิมพ์แล้วก็ปลง ทำ�ผิดทุกอย่างที่ขวางหน้า ฆ่าเขาตาย ก็แค่ขอขมาเป็นธรรมเนียม ตำ�รวจให้ มาขอขมา ไม่สำ�นึกเลยว่าได้ปลิดชีวติ คนหนึ่งคนไป หรือไม่กก็ ริ ยิ ามารยาท อะไรต่างๆ เราอยากให้เผยแพร่งานเชิงสารคดีออกไปให้กว้างขวาง เพราะถ้า เด็กไทยได้ดมู ากๆ แล้วมีโอกาสช่วยประเทศชาติ ทำ�ให้เขาคิดดีท�ำ ดีแทนที่ จะไปคิดอะไรที่ประหลาดๆ ไม่ค่อยดีก็จะดี ทุกวันนี้เราอ่านหนังสือพิมพ์ แล้วก็ปลง ทำ�ผิดทุกอย่างทีข่ วางหน้า ฆ่าเขาตายก็แค่ขอขมาเป็นธรรมเนียม ตำ�รวจให้มาขอขมา ไม่สำ�นึกเลยว่าได้ปลิดชีวิตคนหนึ่งคนไป หรือไม่ก็ กิริยามารยาทอะไรต่างๆ ซึ่งการที่เราขึ้นไปนั่ง ไปบนรถเมล์หรือรถไฟฟ้า ในที่สาธารณะคุณคุยโทรศัพท์มึงๆ กูๆ พ่อแม่มึง หรือไม่บางทีก็จีบทาง โทรศัพท์ มันไม่ใช่ เราก็ไม่รู้จะทำ�ยังไงนะ เพราะฉะนั้นรายการของเราก็ อาจจะช่วยได้บ้างไม่มากก็น้อย พอสรุปแล้ว เราจะใส่ลงไปแบบเรื่องนี้นิด เรือ่ งนีห้ น่อย ถ้าใครมีดวงตาเห็นธรรมพอจะสะกิดให้เขาแก้ตวั ได้ เราก็โอเค ได้เป็นประโยชน์กับสังคม ไม่ใช่ว่าอยูไ่ ปวันๆ เป็นขยะสังคม คือมันต้อง อดทน แล้วก็หาความถูกต้องให้กบั งาน รวมทัง้ มีอดุ มการณ์ สมมติถา้ เผือ่ รัฐบาลรณรงค์ให้กระทรวงศึกษารื้อฟื้นให้ผลการเรียนดีกว่าที่เป็นทุกวันนี้ แล้วสำ�เร็จขึ้นมาเมื่อไหร่ คนก็จะคิดเป็นแล้วฉลาดขึ้น ถ้าฉลาดขึ้นแล้ว เขาก็จะไขว่คว้าหาของดีๆ มาดูเอง สุดท้ายทุกอย่างมันก็อยู่ที่เราเลือก เลือกคุยกับคน เลือกเสพความรู้ ก็อยู่ที่จะรักตัวเองมากน้อยแค่ไหน ถ้าเลือกอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อ ตัวเอง มันก็แปลว่าจริงๆ เขาไม่รักตัวเอง แต่เขาไม่รู้ตัว
32 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
CR EATIVE INGRED IENTS หลักในการใช้ชีวิต คือเสพอะไรแล้วต้องมีความสุข เราก็สอนตัวเอง ทานข้าวก็ค่อยๆ เคี้ยว อ่าน หนังสือพิมพ์ไปด้วย มันอร่อยอย่างนี้นะ ชอบต้นไม้ ก็มีทั้งบ้านและที่ทำ�งาน ห้องทำ�งานก็เปิดเพลงทัง้ วัน คือถ้าทุกวินาทีเราเสพแต่ความสุข มันก็ไม่มคี วาม ทุกข์ นี่แป๊บเดียวจะ 70 แล้ว สารคดีที่ชอบ สารคดีที่มองประเทศต่างๆ ผ่านสายตาของดาวเทียม ท่องเที่ยวไปในประเทศ ต่างๆ ด้วย bird's-eye view เรื่อง Earth on Space และ World From Above ชอบทุกตอนเลย เพราะเรามันคนใจร้อน แล้วพาไปอิตาลีฝั่งซ้ายฝั่งขวาครบ หมดเลย พาไปไอซ์แลนซ์หรือสก็อตแลนด์ พาไปดูภูเขาสูงๆ ตํ่าๆ เพลินดีนะ หนังสือที่ชอบอ่าน ประวัตศิ าสตร์อา่ นเยอะ ชอบเจ้าชีวติ และ เกิดวังปารุสก์ของพระองค์จลุ ฯ ชอบ หนังสือในเครือ River Books แล้วก็นิยายอิงประวัติศาสตร์ ชอบอ่านหนังสือ ประวัตศิ าสตร์เป็นอันดับที่ 1 อันดับ 2 ก็คอื นวนิยายอิงประวัตศิ าสตร์ ของพีอ่ ต๊ิ ทมยันตี (คุณหญิงวิมล ศิรไิ พบูลย์) และชอบงานของอาจารย์คกึ เดช กันตามระ คนเขียนต้องไม่ขี้โม้นะ ต้องทำ�การบ้าน แล้วก็มีนวนิยายสืบสวนสอบสวนของ ฝรั่งเป็นอันดับ 3 เอาไว้อ้างอิงได้ แต่ไม่ได้เอามาเป็นวิชาการ
human-themovie.org
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
“ผมเป็นมนุษย์คนหนึง่ ท่ามกลาง 7 พันล้านคนบนโลก กว่า 40 ปีแล้วทีผ่ มเดินทางและถ่ายภาพโลกใบนีแ้ ละมนุษย์ทมี่ คี วามแตกต่าง กัน แต่ผมกลับไม่รู้สึกว่าเราก้าวหน้าไปไหนเลย เรายังไม่สามารถหาทางอยู่ร่วมกันได้ ทำ�ไมล่ะ ผมไม่ได้ต้องการคำ�ตอบในเชิงสถิติ นะ แต่ผมอยากได้คำ�ตอบจากมนุษย์ด้วยกัน” ญานน์ อาร์ทุส-แบร์ทรองด์ (Yann Arthus- Bertrand) ช่างภาพและผู้กำ�กับชาว ฝรั่งเศส ผู้ถ่ายทอดบทสัมภาษณ์ของมนุษย์ 2,020 คนใน 60 ประเทศ ผ่านสารคดีเรื่อง HUMAN กล่าว HUMAN คือสารคดีที่ใช้เพียง 3 องค์ประกอบหลักในการดำ�เนินเรื่อง นั่นคือ มนุษย์ ภูมิทัศน์ และดนตรีพื้นถิ่นประกอบเรื่อง โดยญานน์เลือกใช้เทคนิคการตัดภาพเข้าสู่ บทสัมภาษณ์แบบไม่เกริ่นนำ�ถึงคำ�ถามก่อนหน้า ไม่มกี ารเอ่ยถึงรายละเอียดใดๆ ของ ผู้ให้สัมภาษณ์ว่าเป็นใคร มาจากประเทศอะไร เพื่อลดอคติทั้งหลายที่อาจเกิดขึ้นได้ และทำ�ให้ผู้ชมเหลือเพียงความรู้สึกที่เชื่อมโยงกับผู้ถูกสัมภาษณ์บนพื้นฐานที่ว่า พวกเขาคือมนุษย์คนหนึ่ง ตัวอย่างบทสัมภาษณ์ของญานน์ ได้แก่ การอธิบายว่า รักคืออะไรจากปากฆาตกรผูเ้ คยฆ่าผูห้ ญิงและเด็ก คุณยายทีเ่ ล่าว่าการได้เห็นผลผลิต จากฟาร์มและได้เก็บเกี่ยวด้วยมือเธอเองคือความสุข ผู้ลี้ภัยที่หนีตายจากประเทศ ตัวเองและไม่ขออะไรอื่นนอกจากขอให้ได้มชี วี ติ อยูท่ ี่ไหนสักแห่ง นางพยาบาลผูป้ ฏิบตั ิ หน้าที่ในช่วงสงครามผู้เปิดเผยความรู้สึกถึงการเป็นเลสเบี้ยน ชาวฝรั่งเศสที่ทิ้ง บ้านเกิดมาอาศัยอยูท่ ี่ประเทศไทยและเคยเดินทางไปช่วยเกษตรกรทั่วโลกให้ท�ำ การ เกษตรแบบยัง่ ยืน ทหารผ่านศึกผูเ้ คยคิดว่าการฆ่าศัตรูเพือ่ แก้แค้นเป็นสิง่ ทีค่ วรทำ� แต่ ภายหลังกลับค้นพบความหมายของการเป็นมนุษย์ ฯลฯ ญานน์ให้ความเห็นว่า เมื่อผู้ถูก สั ม ภาษณ์ ไ ด้ มี โ อกาสเปิ ด เผยความรู้ สึ ก และความกั ง วลในชี วิ ต ที่ ต้ อ งเผชิ ญ ใน แต่ละวัน หลายครัง้ ทีค่ วามจริงจากปากของพวกเขาแตกต่างจากการรับรูข้ องสังคม ไปมาก และแม้นํ้าหนักการเล่าเรื่องของสารคดีจะพูดในประเด็นการเมือง ความ แตกต่าง และความไม่เท่าเทียมระหว่างมนุษย์ค่อนข้างมาก แต่สิ่งนี้เป็นหน้าที่ของ เขาที่ต้องถ่ายทอดให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้รับรู้
34 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2558
เบื้องหลังผู้สนับสนุนการผลิตสารคดีเรื่อง HUMAN คือ 2 องค์กรไม่แสวงหา กำ�ไร Bettencourt Schueller Foundation และ Goodplanet Foundation พร้อม กั บ ที่ Google ยั ง ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น สื่ อ กลางเผยแพร่ เ บื้ อ งหลั ง การถ่ า ยทำ � พร้ อ ม บทสัมภาษณ์ความรู้สึกของทีมงานผู้อยู่เบื้องหลังสารคดีเรื่องนี้ ทั้งทีมช่างภาพ ผู้กำ�กับร่วม และทีมตัดต่อจากทั่วโลกที่ญานน์รวบรวมทีมงานของเขาไว้ตั้งแต่ปี 2012 และใช้เวลาถ่ายทำ�และตัดต่อ 3 ปี จนในที่สุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ HUMAN ได้เปิดฉายรอบปฐมทัศน์ให้แก่สมาชิกสหประชาชาติ (United Nations) พร้อมผู้ชมอีกกว่า 1,000 คนให้ได้รับชมกันเป็นครั้งแรก ต่อจากนั้นได้เปิดฉายใน โรงภาพยนตร์ของฝรัง่ เศสกว่า 500 แห่ง และขณะนี้ HUMAN ได้จดั ทำ�ช่อง “HUMAN the movie” ทีเ่ ผยแพร่ให้คนทัว่ โลกได้ชมฟรีผา่ นยูทปู พร้อมบทบรรยายทีเ่ ลือกได้ถงึ 6 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ อารบิก ฝรั่งเศส โปรตุเกส รัสเซีย และสเปน คงไม่ใช่เรือ่ งสำ�คัญอีกต่อไปว่าคนดูสารคดีเรือ่ งนีจ้ ะเป็นใคร จะเป็นผูน้ �ำ ประเทศ หรือผู้มีอำ�นาจที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ หรือเป็นเพียงคนธรรมดาๆ คนหนึ่ง เพราะดูเหมือนว่าสิง่ ทีส่ ารคดีเรือ่ งนีส้ ามารถทำ�ได้เลยก็คอื การเป็นตัวเปิดบทสนทนา ที่อาจจะทำ�ให้มนุษย์ได้เข้าใจและเข้าถึงความเป็นมนุษย์ในมุมมองที่แตกต่างกัน ได้มากยิ่งขึ้น ที่มา: บทความ “The Documentary That Found Humanity by Interviewing 2,000 People” โดย Charley Locke (16 กันยายน 2558) จาก wired.com / วิดโี อ ชุด “HUMAN” จาก youtube.com / humanthemovie.withgoogle.com / human-themovie.org