พฤษภาคม 2559 ปีที่ 7 I ฉบับที่ 8 แจกฟรี
Creative Startup NASHA MEKRAKSAVANICH
Creative City ชุมชน “ช่างโบราณ” CREATIVE THAILAND I 1
The Creative กัลยา โกวิทวิสทิ ธิ์ / สมรรถพล ตาณพันธุ์
CREATIVE THAILAND I 2
It’s all about new technique - simplifying old techniques, and consolidating steps. Making things go faster, but not worse. มันเป็นเรื่องของเทคนิคใหม่ การทำ�ให้เทคนิคเก่าง่ายลง และควบรวมขั้นตอนต่างๆ เพื่อทำ�ให้ทุกอย่างเร็วขึ้น แต่ไม่ได้แย่ลง Martha Stewart นักธุรกิจ นักเขียน พิธีกรรายการโทรทัศน์ และผู้นำ�ด้านไลฟ์สไตล์ชาวอเมริกัน
CREATIVE THAILAND I 3
Contents : สารบัญ
The Subject
6
Insight 20
Creative Resource
8
Creative Startup
22
Matter 10
Creative City
24
Local Wisdom
12
The Creative
28
Cover Story
14
Creative Will
34
Carpenters Workshop Gallery พื้นทื่คืนชีพ ช่างฝีมอื / คราฟต์บรรจุกล่อง
Featured Book / Magazine / Documentary / Book
ย่านวัสดุกรุงเทพฯ Material Mapping : Bangkok
ตั้งฮั่วเส็ง เมคเกอร์ยุคบุกเบิก
Craft NOW!
ถอดรหัสวัฒนธรรมป๊อป ที่ซ่อนอยู่ในเวิร์กช็อปทำ�มือ
NASHA MEKRAKSAVANICH ผสานงานฝีมอื ยุคใหม่ ผ่านแบรนด์แฟชัน่ ระดับไฮเอนด์
เปิดพื้นที่ชุมชน “ช่างโบราณ” งานหัตถศิลป์ที่รอวันสืบสาน
หา “เรื่อง” ช่าง: กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ และ สมรรถพล ตาณพันธุ์
“SACICT” ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จากงานหัตถศิลป์พื้นบ้านสู่สากล
บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทร์ทพิ ย์ ลียะวณิช, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, อําภา น้อยศรี, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l บริษัท สยามพริ้นท์ จำ�กัด โทร. 02-509-0068 แฟกซ์. 02-509-2971-2 จำ�นวน 30,000 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
ผู้วาดภาพประกอบปก l รพิ ริกุลสุรกาน Calligrapher ผู้หลงรักการถ่ายทอดความรู้สึก ผ่านตัวอักษรอย่างสุดหัวใจ Instagram: @rapigraphy
flickr.com/photos/Rolland Anthony
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
ในระหว่างที่ความกังวลต่อสถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยยังดำ�เนิน ไปนั้น เรามองเห็นความน่ายินดีในตัวเลขการส่งออกของกลุ่มสินค้าที่เติบโต อย่างมีความหวัง ในปี 2558 กลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของไทยเป็นกลุ่มที่มี ศักยภาพส่งออกกว่า 1,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีตลาดส่งออก 5 ประเทศหลัก คือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฮ่องกง และญีป่ นุ่ และคาดการณ์ ว่า จะยังคงมีการเติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ในปีต่อไป มูลค่าดังกล่าวนั้นยัง ไม่นบั รวมการจำ�หน่ายสินค้าหัตถกรรมและของทีร่ ะลึกภายในประเทศ ทีข่ ยาย ตัวตามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการอีกด้วย ความดาษดื่นที่พบเห็น “สินค้าแฮนด์เมด” หรือ “ของที่ระลึก” ที่วางขาย ทั่วๆ ไป เป็นความคุ้นเคยที่อาจทำ�ให้เรามองข้ามสาระสำ�คัญบางอย่างไป แต่ ตัวเลขมูลค่าการส่งออกได้ยํ้าเตือนให้เห็นถึงจุดแข็งที่ซุกซ่อนอยู่ และเราควร อาศัยเป็นฐานในการเดินหน้าต่อไป สิ่งแรก คือความสามารถและทักษะของ งานฝีมือไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และประเด็นต่อมาคือ เราอย่ามุ่ง แต่การขาย “ชิ้นงาน” แต่เราต้องมุ่งสร้างความสามารถที่จะขาย “ชิ้นงาน” ที่ เชื่อมโยงกับ “การบริการ” เพราะนั่นคือความพิเศษที่มีคุณค่าและราคาที่เพิ่ม ขึ้น ความได้เปรียบของประเทศไทยนั้น คือเรามีต้นทุนทั้งสองเรื่องพร้อมกัน ทั้ง “ทักษะการใช้ฝีมือ” และ “ทักษะการบริการ” ที่เป็นเนื้อแท้ของเรา ขณะที่ ประเทศอืน่ ๆ การเทรนนิง่ ทักษะการบริการและการใช้ฝมี อื นัน้ เต็มไปด้วยการ ฝึกสอนอย่างเข้มข้น แต่คนไทยกลับมีความเป็นธรรมชาติสูง และเรามักจะ ได้ยนิ ได้ฟงั เป็นร้อยๆ ครัง้ เกีย่ วกับความต้องการแรงงานฝีมอื ไทย ในการผลิต
งานสำ�คัญในธุรกิจระดับโลก ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญสูง ตั้งแต่ระดับการ เจียระไนเพชร ไปจนถึงชิ้นส่วนของเครื่องบินไอพ่น ดังนั้น เมื่อโอกาสอันดีได้เปิดกว้างขึ้น โดยเริ่มจากความเบื่อหน่ายสินค้า ที่เหมือนๆ กันจากโรงงาน มาสู่ความต้องการสินค้าแฮนด์เมด กลุ่มดีไอวาย จนถึงวัฒนธรรมการผลิตแบบกลุม่ เมคเกอร์ (Maker) ทีไ่ ด้กลายเป็นเครือ่ งจักร สำ�คัญในการขับเคลื่อนธุรกิจทั้งในอเมริกา ยุโรป และเอเชีย พร้อมๆ ไปกับ ความก้าวหน้าของโลกดิจิทัล ยิ่งทำ�ให้ความนิยมและความต้องการในสินค้า กลุ่มนี้งอกเงยขึ้น จนกลายเป็นวัฒนธรรมย่อยของยุคสมัย แล้วเราจะสร้างความเชื่อมโยงจากจุดแข็งที่มี เข้ากับวัฒนธรรมการผลิต ใหม่ของโลกได้อย่างราบรื่นได้อย่างไร เราได้เห็นการกระจายตัวของธุรกิจ เกิดใหม่ที่ไปกับทิศทางนี้ เห็นความสัมพันธ์ใหม่ๆ ระหว่างคน พื้นที่ และการ ประดิษฐ์คิดค้น แต่ความเชื่อมโยงของ “ทักษะช่างฝีมือ” และ “ทักษะการ บริการ” ยังต้องถูกพัฒนาเพื่อใช้เป็นจุดแข็งของการผลิตให้มากขึ้น ทั้งการ ฝึกฝน “ทักษะความคิดสร้างสรรค์” ในฝั่งช่างฝีมือ ที่ไม่ใช่เพียงการฝึกฝน “ทั ก ษะการผลิ ต ” เพี ย งด้ า นเดี ย ว พร้ อ มทั้ ง การเพิ่ ม มุ ม มองให้ แ ก่ ฝั่ ง นักสร้างสรรค์ นักประดิษฐ์ กลุ่มเมคเกอร์ ให้ดึงเอาประโยชน์เชิงเทคนิคจาก ช่างฝีมือมาสร้างคุณค่าให้กับ “ผลงาน” และการคิด ไปสู่การผลิตเพื่อ ภาคบริการ ซึ่งเป็นตลาดที่มีโอกาสและอนาคตกว้างขึ้น ทั้งหมดนี้ คงนับ เป็นความท้าทายต่อธุรกิจไทย แต่เราเชือ่ ว่า จะเป็นความท้าทายทีเ่ ปีย่ มไปด้วย ความหวัง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
facebook.com/carpentersworkshopgallery
Carpenters Workshop Gallery พื้นที่คืนชีพช่างฝีมือ
หลังจากได้ยินข่าวการประกาศปิดตัวของโรงหล่อเก่าแก่บล็องเช่-ลันโดสกี (Blanchet-Landowski) ที่อยู่มาตั้งแต่ปี 1870 ณ เมืองรัวซี (Roissy) เขตเมืองทางเหนือของกรุงปารีส สองผู้ก่อตั้งคาร์เพนเทอร์ส เวิร์กช็อป แกลเลอรี (Carpenters Workshop Gallery: CWG) ที่มีสาขาทั้งปารีสและ ลอนดอนอย่าง จูเลียน ลอมบราย (Julien Lombrail) และ ลุยค์ เลอ กายาร์ (Loïc Le Gaillard) จึงได้ตัดสินใจติดต่อขอซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์เก่าแก่ จากโรงหล่อเดิม และเชิญชวนช่างฝีมือชั้นครูทั้งหมดให้มาทำ�งานร่วมกับ พวกเขา แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ตอบรับคำ�เชิญนี้ เพราะมีช่างฝีมือเพียง 5 คนใน ช่างทั้งหมด 15 คนเท่านั้นที่ยอมมาร่วมงานด้วย ซึ่งการจะทำ�งานร่วมกัน ครัง้ นีม้ กี ฎไม่มาก หนึง่ ในข้อทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ ก็คอื ต้องยอมถ่ายทอดวิชาช่างให้ คนรุ่นใหม่ โดยที่พวกเขาจะไม่เข้าไปก้าวก่ายทักษะการทำ�งาน เพราะ เชื่อมั่นในทักษะเดิมของช่างเก่าอยู่แล้ว แต่ขอให้ช่างยอมเปิดใจพัฒนา ชิ้นงานร่วมไปกับศิลปินที่ร่วมงานด้วยกัน โดยชั่วโมงการทำ�งานสามารถ ยืดหยุน่ ได้ตามการทำ�งานแต่ละชิน้ พร้อมมีเงินเดือนประจำ�และทีพ่ กั ให้ เมือ่ ตกลงกันได้ พวกเขาจึงเปิดตัว CWG แห่งใหม่ ณ เมืองรัวซี สถานที่ ซึ่งดีไซเนอร์หรือศิลปินจะได้ทำ�งานร่วมกับช่างฝีมือชั้นเยี่ยมร่วมกัน โดย
แกลเลอรีแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ในโรงงานเก่าขนาดกว่า 8,000 ตารางเมตร ที่ถูก ปรับแต่งใหม่ให้มีส่วนออฟฟิศ ที่เก็บของ และส่วนที่สำ�คัญ คือพื้นที่ในการ ทำ�งานร่วมกันระหว่างดีไซเนอร์และช่างฝีมือ ซึ่งรองรับการทำ�งานตั้งแต่ งานชิ้นละเอียดไปจนถึงชิ้นใหญ่ “งานของคุณจะดีขึ้นเรื่อยๆ เพราะคุณสามารถบอกช่างฝีมือให้ทำ� ชิ้นงานออกมาได้ตามที่ใจอยากให้เป็น เหมือนกับว่าได้ยืมมือของเขามาทำ� ในสิ่งที่ฉันไม่สามารถทำ�ได้เอง” หนึ่งในดีไซเนอร์ที่มาร่วมงานกับช่างฝีมือ แห่งนี้กล่าว และด้วยความที่ชิ้นงานแต่ละชิ้นมาจากการหล่อหลอมทักษะ จากช่างฝีมือชั้นเยี่ยมและดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์จากศิลปินทั้งหน้าเก่าและ ใหม่ ทำ�ให้มูลค่าของผลงานแต่ละชิ้นมีราคาสูงอย่างไม่น่าเชื่อ โดยลูกค้ามี ตั้งแต่ดาราฮอลลีวูดอย่าง แบรด พิตต์ (Brad Pitt) แฟชั่นดีไซเนอร์อย่าง ทอม ฟอร์ด (Tom Ford) และ ฌอง ปอล โกลติเยร์ (Jean Paul Gaultier) รวมไปถึงสถาปนิกชื่อดังอย่าง ปีเตอร์ มาริโน (Peter Marino) เป็นต้น โดยลอมบรายได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “มันน่าทึ่งมากที่ผลงาน 1 ชิ้น อาจมาจากฝีมือคนถึง 20 คน แต่จำ�นวนคนไม่ได้เป็นเหตุผลที่ทำ�ให้มันแพง มันเป็นเรื่องของทักษะทั้งหมดที่ถูกใช้ไปต่างหาก”
ที่มา: บทความ “Common Ground for Artists and Artisans” (26 มีนาคม 2015) จาก nytimes.com / carpentersworkshopgallery.com CREATIVE THAILAND I 6
darbysmart.com
facebook.com/artinabox
facebook.com/forthemakers
คราฟต์บรรจุกล่อง
facebook.com/ hi.darbysmart/photos
เมื่อปี 2014 นิตยสารฟอร์จูนได้รายงานว่า มูลค่าอุตสาหกรรมงานฝีมือมีค่า มากถึง 29 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสัญญาณการเติบโตนีช้ ดั เจนขึน้ เรือ่ ยๆ จากปลายปีทแี่ ล้วทีต่ ลาดออนไลน์ ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon ได้ทำ�การเปิดตัว Handmade at Amazon ให้ มาเป็นคูแ่ ข่งคนสำ�คัญกับตลาดงานคราฟต์ออนไลน์ Etsy อย่างน่าจับตามอง หรือข้ามมาที่ฝั่งบ้านเราเองก็มีเว็บไซต์ Blisby ที่รวบรวมไอเดียงานคราฟต์ แบบดีไอวาย พร้อมให้พ่อค้าแม่ค้าได้เปิดร้านฟรีในแพลตฟอร์มแห่งนี้ หรือ ทางฝั่งออฟไลน์อย่าง Pinn Creative Space ที่เปิดพื้นที่ให้ดีไซเนอร์ยุคใหม่ ได้ใช้ไอเดียมาลงมือทำ�ผลงานจริงด้วยเครือ่ งมือและอุปกรณ์ทมี่ มี าให้บริการ ด้วยเช่นกัน แต่ในยุคปัจจุบนั ทีด่ เู หมือนว่าเกือบทุกอย่างจะแปลงให้เป็นของ สำ�เร็จรูปได้ งานคราฟต์ซึ่งแต่เดิมต้องใช้เวลาคิด ทดลอง และลงมือทำ� ก็ สามารถย่นย่อเวลาเหล่านี้ลงกล่องแล้วพร้อมเสิร์ฟได้ด้วยเช่นกัน และนี่คือ ตัวอย่างออนไลน์บิสสิเนสงานคราฟต์บรรจุกล่องที่น่าสนใจ “Darby Smart” ตลาดงานคราฟต์ออนไลน์ที่ทำ�การขายชุดชิ้นงานที่ ผ่านการคิดและดีไซน์มาจากดีไซเนอร์หรือนักประดิษฐ์ผลงานทำ�มือที่มี ชื่อเสียงในโลกออนไลน์ โดยลูกค้าสามารถกดสั่งซื้อชุดอุปกรณ์ยกเซ็ตของ ชิ้นงานที่อยากทำ� ซึ่งจะถูกบรรจุลงกล่องให้ในลักษณะ Craft Kit พร้อม
จัดส่งให้ถึงบ้าน โดย Darby Smart จะแบ่งยอดขาย 10 เปอร์เซ็นต์ให้กับ เจ้าของผู้คิดค้นชิ้นงานต่อการขายได้แต่ละกล่อง “For the Makers” ก่อตัง้ โดยสตาร์ทอัพผูเ้ ป็นแฟชัน่ ดีไซเนอร์ในนิวยอร์ก ซึ่งเคยทำ�งานร่วมกับแบรนด์ใหญ่อย่าง Kate Spade, Anthropologie และ Marc Jacobs โดยทีมงานจะออกแบบเครื่องประดับที่ไม่เหมือนใครพร้อม หาอุปกรณ์ที่เป็นเอกลักษณ์และมีคุณภาพ ก่อนจัดส่งชุดกล่องดีไอวาย เครื่องประดับนี้ ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ครบครันและคู่มือการประกอบ ชิ้นงานถึงบ้านทุกเดือน ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 29 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเดือน “Art in a Box” คือโปรเจ็กต์จาก The Compound Gallery ซึ่งมี จุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางการสนับสนุนศิลปินและเมกเกอร์ท้องถิ่นใน โอ๊กแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยโปรเจ็กต์ Art in a Box จะจัดส่งกล่องที่บรรจุ ผลงานศิลปะหลากหลายแขนง ตั้งแต่งานเซรามิก ภาพเขียน งานคอลลาจ ไปจนถึงดิจิทัลปรินต์ ให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะรับกล่องงานศิลปะนี้กี่เดือน โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 3 เดือนต่อ 120 เหรียญสหรัฐฯ และสามารถระบุได้ว่า อยากให้ส่งงานศิลปะประเภทใดมาให้ ซึ่งแต่ละกล่องจะบรรจุชิ้นงาน ศิลปะพร้อมประวัติและแรงบันดาลใจของผู้สร้างสรรค์ชิ้นงานนั้นๆ ไว้อย่าง ครบครัน
ที่มา: บทความ “Craft kit startup Darby Smart raises $6.3 million to beat Hobby Lobby on the web” (14 พฤษภาคม 2014) จาก fortune.com / บทความ “10 Internet Startups That Thrive By Mail” (26 เมษายน 2012) โดย forbes.com / darbysmart.com / artinabox.net / forthemakers.com CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ อำ�ภา น้อยศรี
CREATIVE THAILAND I 8
F EAT U RED BOOK
ในอดีต สิ่งแรกที่หลายคนเห็นภาพเมื่อเอ่ยคำ�ว่า หัตถกรรม หรือหัตถศิลป์ อาจเป็นภาพกลุม่ คน ผูส้ งู วัยร่วมกันทำ�งานจักสาน หมวก หรือตะกร้า แต่ เ มื่ อ บริ บ ทและความต้ อ งการของสั ง คม เปลีย่ นไป ภาพลักษณ์ของงานเหล่านีก้ เ็ ปลีย่ นตาม ไปด้วย เรือ่ งราวและวิธกี ารผลิตแบบดัง้ เดิมถูกนำ� มาสร้างสรรค์ให้รว่ มสมัย งานฝีมอื หรืองานคราฟต์ ไม่ใช่แค่ความรูเ้ ก่าทีถ่ กู ถ่ายทอด แต่ยงั ถูกเริม่ ต้น และสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย ทำ�ให้หลายคน ให้ความสนใจในกระบวนการผลิตและแนวคิดการ ใส่จติ วิญญาณของตนเองลงในผลงานเพิม่ ขึน้ การสร้างแรงบันดาลใจในงานคราฟต์จาก หนังสือ The Craft and the Makers: Tradition
with Attitude ได้ ร วบรวมข้ อ มู ล ของเหล่ า ‘เมคเกอร์’ 42 คน ผู้สร้างผลงานอันน่าทึ่งใน หลากหลายสาขาทั่ ว โลก ตั้ ง แต่ จุ ด เริ่ ม ต้ น แนวคิดการสร้างผลงาน ทัศนคติ กระบวนการ และความพิเศษของงานในแต่ละชิน้ อาทิ งานปัน้ ถ้วยชาของ Ashiyaki จากญีป่ นุ่ ทีต่ กทอดมากว่า สี่ร้อ ยปี แต่ ยัง คงความดั้ง เดิ ม ได้ อ ย่ า งน่ า ทึ่ง คราฟต์ชอ็ กโกแลต Mast Brothers ที่ท�ำ ทุกขัน้ ตอน ด้วยมือตัง้ แต่การเลือกเมล็ด ร่อน อบ บด ผสม ใส่ใจในทุกรายละเอียดจนจุดกระแสให้คราฟต์ ช็อกโกแลตเป็นที่ร้จู ัก รวมถึงการทำ�ลูกโลกของ Bellerby & Co Globemakers ที่เริ่มต้นเพียง เพราะต้องการหาของขวัญให้พอ่ ในวันเกิด จึงเริม่ ศึกษาตัง้ แต่การหล่อพิมพ์เรซิน ถ่วงนํา้ หนักให้แกน หมุนได้อย่างลืน่ ไหล ศึกษาแผนทีจ่ ากกูเกิลแมพ เพื่อให้ทุกตารางนิ้วมีความสมจริงและตรงตาม
M AGA ZIN E
DOCU M E N TA RY
2) Makeshift
3) I Dream of Wires โดย Robert Fattinatto และ Jason Amm
1) The Craft and the Makers: Tradition with Attitude
Makeshift คู่ มือ การสร้ า งสรรค์ ภ าคสนามที่ เปิดเผยเรือ่ งราวของความคิดสร้างสรรค์ทซี่ อ่ นตัว อยู่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก เกิดจากมุมมองเล็กๆ ของไมล์ส เอสตีย์ (Myles Estey) ที่เชื่อว่าความ สร้างสรรค์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ถ้าเพียงรู้จัก ที่จะมอง นิตยสารฉบับรายสามเดือนนี้รวบรวม เนื้อหาที่น่าสนใจจากทั่วโลกตามธีมหลักของ แต่ละเล่ม ความพิเศษของเล่มคือการเล่าเรื่องที่ น่าสนใจ และแสดงให้เห็นพลังแห่งการสร้างสรรค์ บนความหลากหลายด้านวัฒนธรรมจากชุมชน ทั่วโลก
ขนาดมากที่สุด รวมถึงการเคลือบป้องกันแสงยูวี เพื่อให้สีคงอยู่ได้นานโดยไม่ซีดจาง ซึ่งผลงาน ของพวกเขาไม่ ไ ด้ ใ ช้ เ พี ย งแค่ อ้ า งอิ ง แต่ ยั ง ให้ แรงบันดาลใจให้กับเหล่าผู้ผลิตที่ต้องการแสดง ถึงความรักในงานของตนอย่างลึกซึ้งผ่านทาง ชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์และน่าจดจำ� งานคราฟต์เป็นการแสดงถึงความหลงใหล ของผู้ ผ ลิ ต ที่ ใ ช้ ทั ก ษะที่ เ รี ย นรู้ เ ข้ า มาพั ฒ นา รายละเอียด ทั้งการออกแบบ วัสดุและการสร้าง ความชำ�นาญซึ่งใช้ระยะเวลายาวนาน แม้จะดู ยุ่งยาก แต่ปัจจุบันก็มีการเกิดขึ้นของสตูดิโอ งานคราฟต์ที่มีเครื่องมือพร้อมสรรพ รวมถึง เวิร์กช็อปให้ผู้ที่สนใจ ซึ่งเอื้อให้เกิดการสร้าง ผลงานขึ้นมา จนทำ�ให้ทิศทางของงานเหล่านี้น่า สนใจที่จะติดตามต่อไป
ในช่วงปลายปีของปี 1950 ทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลงแต่มีประสิทธิภาพและใช้ได้อย่างกว้างขวาง ทำ�ให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็กและราคาถูกลง I Dream of Wires จะพาคุณย้อนไปดูต้นกำ�เนิด ความรุง่ เรือง และยุคตกตํา่ ของ Modular Synthesizer เครือ่ งดนตรีอเิ ล็กทรอนิกส์ทดี่ สู ลับซับซ้อนเหมือน แผงควบคุมยานอวกาศ ซึง่ นักดนตรีหลายคนหลงใหลในเสน่หอ์ นั ท้าทายของความสามารถในการสร้าง เมโลดี การควบคุมเสียง และการกำ�หนดการขึ้น-ลงของจังหวะได้อย่างอิสระ สารคดีเรื่องนี้จะพาคุณ ก้าวข้ามคำ�ว่าดนตรีในรูปแบบที่คุ้นเคย
BOOK 4) ReFashioned: Cutting-Edge Clothing from Upcycled Materials โดย Sass Brown นอกจากความสนุกในการสร้างสรรค์งานฝีมอื ในสิง่ ใหม่ๆ แล้ว การนำ�เอาวัสดุเหลือใช้ เสือ้ ผ้ารอบริจาค หรือแม้แต่ข้าวของเครื่องใช้ที่ไม่มีประโยชน์แล้วมาตัด ต่อ ติด จากของเก่าที่รอวันสูญสลายให้เป็น ของใหม่ ก็สนุกไม่แพ้กนั ซํา้ ยังช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากร สร้างมูลค่าเพิม่ จากสิง่ เดิม และเป็นการ ประหยัดเงินในกระเป๋า ที่สำ�คัญคือการมองเห็นประโยชน์จากสิ่งที่คนทั่วไปมองข้าม เปลี่ยนความคิด ใส่มุมมองใหม่จากสิ่งเดิมๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นเครื่องมือ พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
Matter : วัสดุต้นคิด
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
สำ�หรับนักออกแบบและอาชีพที่ต้องใช้วัสดุในการสร้างสรรค์ เพียงได้รู้ถึงข้อมูลคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ คงไม่เพียงพอ เพราะนอกจากจะรูว้ า่ วัสดุนนั้ มีคณ ุ สมบัตอิ ย่างไร สามารถนำ�ไปต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์แบบไหน อีกสิง่ หนึง่ ทีส่ �ำ คัญไม่แพ้กนั ก็คือ การสามารถเข้าถึงรายละเอียดของแหล่งจำ�หน่ายของวัสดุนั้น และ “ย่านวัสดุกรุงเทพฯ” หรือ “Material Mapping: Bangkok” ก็ได้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวให้ครบวงจร “ย่านวัสดุกรุงเทพฯ” หรือ “Material Mapping: Bangkok” เป็นหนึ่งใน โครงการ “ย่านวัสดุกรุงเทพฯ” หรือ “Material Mapping: Bangkok” ซึ่ง เป็นบริการใหม่ของห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ (Material ConneXion® Bangkok) โดยโครงการเกิดจากการรวบรวมข้อมูลวัสดุจาก 14 ย่านการค้า สำ�คัญของกรุงเทพมหานคร เช่น เจริญรัถ เสือป่า บ้านหม้อ สำ�เพ็ง พาหุรัด นำ�มาทำ�เป็นระบบสืบค้นออนไลน์ เพือ่ ให้เหล่านักสร้างสรรค์สามารถสรรหา และเลือกซื้อวัสดุมาทำ�งานออกแบบในสาขาต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นงาน ออกแบบแฟชั่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบสิ่งพิมพ์ หรือกระทั่งงาน ออกแบบเพื่อการติดตัง้ ฯลฯ โครงการย่านวัสดุกรุงเทพฯ จะมีข้อมูลเกี่ยวกับ วัสดุ อุปกรณ์ และการให้บริการทีน่ า่ สนใจของร้านค้าในย่านต่างๆ ดังกล่าว รวมถึงนําตัวอย่างวัสดุและอุปกรณ์ที่สามารถนำ�ไปใช้ได้จริงมาจัดแสดง ซึ่งแต่ละย่านจะมีเอกลักษณ์ของวัสดุและการนำ�ไปใช้ที่แตกต่างกันไป ตัวอย่างวัสดุและอุปกรณ์ที่นำ�เสนอ ณ ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ ในครั้งนี้ มาจาก 1 ใน 14 ย่านการค้า นั่นคือ ย่านเจริญรัถ ถิ่นเครื่องหนัง ทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ของกรุงเทพฯ ตลอดสองข้างทางของถนนเจริญรัถจะเรียงรายไป ด้วยร้านขายหนังสัตว์ประเภทต่างๆ เช่น หนังฟอกฝาด หนังสัตว์ชนิดพิเศษ หนังแฟชั่น และหนังเทียม รวมถึงอุปกรณ์และชิ้นส่วนในการประกอบงาน
หนังให้เลือกมากมาย นอกจากเครื่องหนังแล้ว ยังมีวัสดุประเภทแผ่นพีวีซี และผ้าสำ�หรับงานกระเป๋า รองเท้า หรือหุม้ เฟอร์นเิ จอร์ รวมถึงการให้บริการ เกี่ยวกับงานหนังต่างๆ อีกด้วย เพื่อให้เห็นความสำ�คัญของวัสดุและย่าน การค้า สำ�หรับนักสร้างสรรค์และกลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่จะสามารถ สรรหาวัสดุมาทำ�งานได้จริง โดยจะมีการหมุนเวียนตัวอย่างจากทั้ง 14 ย่าน มาจัดแสดง ณ ห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ และในอนาคตได้มีการ วางแผนที่จะลงพื้นที่เพื่อสำ�รวจแหล่งข้อมูลย่านสำ�คัญๆ ในหัวเมืองใหญ่ ท้ายที่สุดโครงการย่านวัสดุกรุงเทพฯ เป็นการพยายามสร้างความ เชือ่ มโยงระหว่างภาคของนักสร้างสรรค์ (Creative Sectors) กับภาคเศรษฐกิจ จริง (Real Sectors) ที่เห็นผลในระดับท้องถิ่น เป็นการสร้างความสัมพันธ์ ระหว่างเศรษฐกิจกับสิ่งที่จับต้องไม่ได้เพื่อเชื่อมโยงไปสู่ “เศรษฐกิจวัสดุ” (Material Economy) เพือ่ ให้เกิดการสร้างงานในวงกว้าง จึงเป็นส่วนสำ�คัญ ในการสร้างระบบนิเวศวิทยาทางวัสดุ ทีจ่ ะช่วยสนับสนุนทัง้ ฝัง่ นักสร้างสรรค์ และผู้ประกอบการ สามารถใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ tcdcmaterials.com
CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff & Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar โรงแรม/ที่พัก • NOVOTEL • Dusit Thani Princess Hotel • Sofitel Silom Bangkok • Grand Millenium Sukhumvit พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ ร้านหนังสือ • ดวงกมล • ร้านเล่า • ร้าน Book Re:public • ร้านหนังสืออุดมลายเซ็นต์ ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ ร้านขายของที่ระลึก • Happy Hut (ถ.นิมมานเหมินทร์ ระหว่างซอย 9-10) • 94 Coffee (ถ.นิมมานเหมินทร์) • Starbucks (ถ.นิมมานเหมินทร์) • เวียงจุมออน ทีเฮาส์ • Fern Forest Cafe’ • October • เชียงใหม่กาแฟ • IMPRESSO espresso bar • กาแฟวาวี • Love at First Bite • ร้านกาแฟดอยช้าง • ร้านกาแฟดอยตุง
• ร้านฝ้ายเบเกอรี่ (หอสมุดในมหาวิทยาลัย เชียงใหม่) • Things Called Art • minimal • ร้านยังไว้ลาย • ร้านรสนิยม • ร้านภคมน • ร้านโครงการหลวง • จัส ข้าวซอย (Just Kao Soy) • Ginger (The House Restaurant ) • หอมปากหอมคอ • ทีเฮาส์ สยามศิลาดล • Rabbithood studio • The Meeting Room Art Cafe’ • HuB 53 Bed&Breakfast • ร้าน Charcoa Cafe’ • ร้าน Akha Ama coffee • ร้านกาแฟพาคามาร่า • เดอะ สลัด คอนเซปท์ (Salad Concept) • Gallery Seescape • ร้านขนม (Kanom) • ร้าน Chin Ngan • ร้าน Mood Mellow โรงแรม/ที่พัก • สุริยันจันทรา ถ.นิมมานเหมินทร์ ซอย 1 • บรรทมสถาน เกสเฮาท์อารมณ์บ้าน • yesterday Hotel • โรงแรมดุสิต ดีทู (Dusit D2) • โรงแรมเชดี • ฮาโหล บาร์ (Hallo Bar Hotel) • โรงแรม At Nimman • โรงแรม Tamarind Village • โรงแรม The Rim • 9wboutique hotel • พิงค์ภูเพลส เชียงใหม่ • โรงแรม Casa 2511 พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ • หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหิน ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • IL GELATO ITALIANO • Together Bakery & Cafe’ โรงแรม/ที่พัก • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa • Rawee Warin Resort & Spa • A little Handmade Shop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La)
เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน Dipchoc Cafe นครสวรรค์ • ร้าน Bitter Sweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui หาดใหญ่/สงขลา • ร้าน NIQOLO อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
Asira Chirawithayaboon
Local Wisdom : ภูมิความคิด
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล เมือ่ กระแสโฮมเมดและเมคเกอร์มาแรง แนวคิดในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจ ค้าปลีกยุคนี้จึงหันมาปรับเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มีพื้นที่กํ้ากึ่งระหว่างงานอดิเรกและธุรกิจ ที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่กันมากขึ้น ไม่ต่างจากจุดขายอันยาวนานของ ห้างเก่าแก่ย่านบางลำ�พูที่ชื่อว่า “ตั้งฮั่วเส็ง” CREATIVE THAILAND I 12
Makerspace แห่งยุค 70
เมื่อ พ.ศ.2505 ห้างหุ้นส่วน ตั้งฮั่วเส็ง ถือกำ�เนิดขึ้นที่บางลำ�พู ย่านการค้า เก่ า แก่ ข องกรุ ง เทพมหานคร เพื่ อ จำ � หน่ า ยอุ ป กรณ์ เ ย็ บ ปั ก ถั ก ร้ อ ย เครื่องสำ�อาง ผ้าแฟชั่น และอุปกรณ์ ตัดเย็บต่างๆ ก่อนที่จะขยายไปเป็น ห้ า งสรรพสิ น ค้ า ที่ จำ � หน่ า ยสิ น ค้ า หลากหลายมากขึ้น แต่ทว่าจุดขาย ของตั้งฮั่วเส็ง ยังคงเป็นแหล่งรวม อุปกรณ์งานฝีมือเย็บปักถักร้อยแบบ ครบวงจรและสถานที่ฝึกสอน ที่เรียก ว่า “ห้องร้อยเรียง” มุมเล็กๆ บนชั้น สองของอาคาร มีเวิร์กช็อปเปิดสอน งานฝีมือเพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพ มาอย่างต่อเนื่อง และยังมีงานแฟร์ “ร้อยเรียงเคียงศิลป์” ที่จัดต่อเนื่อง มากว่า 20 ปี เพื่อเปิดสอนงานฝีมือ ของไทย รวมถึงมีไฮไลต์การแนะนำ� หัตถกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ จาก ต่างประเทศมาสอนฟรี ดังเช่นการถัก “แท๊ตเชท์” เทคนิคการถักขัน้ สูงจากญีป่ นุ่ ทีป่ จั จุบนั มีการใช้ “เข็มแท๊ตเชท์” ทีช่ ว่ ย ให้งานถักแท๊ตสามารถทำ�ได้ง่ายขึ้น กว่าเดิมที่เป็นการถักด้วยกระสวย
wikimedia.org
Google Map
flickr.com/photos/ Mohammad Abdullah
Hobby Center
ขณะที่ ก ลุ่ ม ลู ก ค้ า เก่ า ของตั้ ง ฮั่ ว เส็ ง ที่ มี อ ายุ ม ากขึ้ น กำ � ลั ง ส่ ง ผลต่ อ ยอดขายในอนาคต ทำ�ให้ วิโรจน์ จุนประทีปทอง กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษัท สรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง มองเห็น ความสำ�คัญของการปรับภาพลักษณ์ แบรนด์ให้ดูเด็กลงเพื่อเจาะกลุ่มคน รุ่นใหม่ โดยปรับชื่ อสาขาธนบุรี ให้ เป็ น ที - สแควร์ (T-SQUARE) ด้ ว ย เหตุ ผ ลที่ ว่ า คนรุ่ น ใหม่ เ รี ย กชื่ อ ตั้งฮั่วเส็งไม่ถูกหรืออาจจะรู้สึกขำ�ขัน และในส่วนของพื้นที่งานฝีมือที่เป็น จุดขายก็เพิ่มพื้นที่เป็น 2 ชั้น พร้อม ปรั บ ชื่ อ เป็ น ฮอบบี้ เซ็ น เตอร์ ที่ นอกจากจะขายวัสดุอุปกรณ์เย็บปัก ถักร้อยแล้ว ก็ยังเพิ่มแผนกดีไอวาย สำ � หรั บ งานอดิ เ รก เช่ น งานบ้ า น งานช่าง และงานสวน เพื่อขยายฐาน ลู ก ค้ า กลุ่ ม ตกแต่ ง บ้ า นที่ เ ป็ น ผู้ ช าย ให้มากขึ้นด้วย โดยมี โตคิว แฮนด์ส (Tokyu Hands) ร้านขายวัสดุอุปกรณ์ เกี่ยวกับงานช่าง งานฝีมือทุกประเภท สินค้าท่องเทีย่ วยอดนิยมของชาวญีป่ นุ่ เป็นต้นแบบ
flickr.com/ photos/hine
ชิงพื้นที่บนห้าง
ปัจจุบันมีเวิร์กช็อปหลายแห่งที่เปิด สอนพร้ อ มขายอุ ป กรณ์ ง านฝี มื อ ที่ ตั้ ง อยู่ ใ นห้ า งสรรพสิ น ค้ า มากขึ้ น การขยายหน้าร้านจึงเป็นอีกทางใน การแข่ ง ขั น บริ ษั ท ที เ อ็ ม นี ด เดิ ล คราฟท์ จำ�กัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ของตั้ ง ฮั่ ว เส็ ง จึ ง เป็ น อี ก หน้ า ร้ า น จำ � หน่ า ยงานฝี มื อ และงานเย็ บ ปั ก ถักร้อยทีก่ ระจายอยูใ่ นห้างสรรพสินค้า อื่นๆ นอกจากนี้ยังเอาใจกลุ่มลูกค้า รุ่นใหม่ด้วยการขายวัสดุอุปกรณ์ทาง ออนไลน์ พร้ อ มตำ � ราฝี มื อ สำ � หรั บ งานเย็บ งานเพนต์ งานถัก และงานปัก ที่มีทั้งให้ดาวน์โหลดแพทเทิร์นและ อัพโหลดบนยูทูบ
ที่มา: บทความ “ตั้งฮั่วเส็ง Repositioning” โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์ (23 พฤษภาคม 2011) จาก thaiday.com / บทความ “T-SQUARE ปฎิบัติการลดอายุตั้งฮั่วเส็ง” (9 พฤษภาคม 2011) จาก positioningmag.com / tanghuasengcraft.com/handihome / tmneedlecraft.com CREATIVE THAILAND I 13
flickr.com/photos/Hans Splinter
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: ภัทรสิริ อภิชิต
ตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในสาขางานฝีมือและ หัตถกรรมในปี 2557 ชี้ให้เห็นว่า สินค้าประเภทหัตถกรรมและหัตถอุตสาหกรรม ของประเทศไทยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากถึง 8.7 หมืน่ ล้านบาท ขณะทีม่ ลู ค่า ส่งออกงานหัตถศิลป์ไทยในปีเดียวกันยังมีมลู ค่าถึง 5.85 หมืน่ ล้านบาท โดยเฉพาะ ในกลุ่มสินค้าของใช้ ของตกแต่ง กลุ่มผ้าทอมือ กลุ่มหัตถกรรม และเซรามิก
ตัวเลขทีส่ วนทางกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวม นี้บ่ง บอกอะไรเกี่ ยวกับ กระแสความนิยม ในงานทำ�มือหรือ Craft Movement ของ ไทยที่กำ�ลังเกิดขึ้น ขณะนี้ คำ�ว่า “Craft” ที่ นอกจากจะแปลตรงตัวว่า หัตถกรรม หรือ สิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นจากมือของมนุษย์ ยังมี ความหมายใดอืน่ ซ่อนอยูอ่ กี หรือไม่ บทบาท
ของงานคราฟต์ในโลกยุคดิจิทัลเป็นอย่างไร อนาคตงานคราฟต์ ข องไทยจะไปได้ ไ กล แค่ไหน และนอกจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ แล้ว งานคราฟต์ให้อะไรกับเราบ้าง บทความ นี้จะชวนผู้อ่านไปสำ�รวจเรื่องราวของงาน คราฟต์ เพือ่ ร่วมหาคำ�ตอบต่อคำ�ถามเหล่านี้ ไปด้วยกัน CREATIVE THAILAND I 14
การเดินทางของงานหัตถกรรม การเกิ ด ขึ้ น ของงานหั ต ถกรรมนั้ น แทบ จะเรียกได้ว่า ตามหลังการก่อกำ�เนิดของ มวลมนุ ษ ยชาติ ม าติ ด ๆ ตั้ ง แต่ ส มั ย ก่ อ น ประวั ติ ศ าสตร์ มนุ ษ ย์ ป ระดิ ษ ฐ์ สิ่ ง ของ เครื่องใช้ด้วยมือเพื่อการดำ�รงชีพ ไม่ว่าจะ เป็นเครือ่ งปัน้ ดินเผา อาวุธ หรือแม้แต่เครือ่ ง ประดับ และยังคงเป็นเช่นนั้นเรื่อยมา โดยมี วิวฒั นาการทางด้านทักษะและความซับซ้อน ในการผลิตอย่างไม่เคยหยุดนิ่ง เกิดการ สั่งสมประสบการณ์ ค้นพบ ทดลอง และส่ง ผ่านความรู้จากรุ่นสู่รุ่น งานหัตถกรรมของ ผู้คนในแต่ละท้องถิ่น แต่ละอารยธรรมนั้น
flickr.com/photos/Bengin Ahmad
manager.co.th
แตกต่างกันไปตามวัตถุดิบที่หาได้ในพื้นที่ ความเชื่อ และรสนิยม มันจึงทำ�หน้าที่เป็น เครื่องมือบันทึกและบอกเล่าประวัติศาสตร์ รวมทั้ ง ไขปริ ศ นามากมายเกี่ ย วกั บ ชี วิ ต ของผู้คน เมื่อโครงสร้างทางสังคมของมนุษย์มี ความซั บ ซ้ อ นขึ้ น เกิ ด เป็ น ชนชั้ น ต่ า งๆ ลักษณะข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำ�วัน ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำ�หน้าที่สะท้อนฐานะทาง สังคม พร้อมๆ ไปกับแบ่งแยกชนชั้นของ ผูค้ นออกจากกัน จากงานหัตถกรรมพืน้ บ้าน จึงได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับค่านิยม ใหม่ๆ ของชนชั้นปกครอง มีการใช้วัตถุดิบ ที่มีมูลค่า เป็นของหายาก และต้องอาศัย ฝีมือช่างที่มีความละเอียดประณีตเป็นพิเศษ ก่อเกิดเป็นงานช่างฝีมือชั้นสูง ซึ่งวิวัฒน์จน มีรูปลักษณะที่ห่างไกลจากงานหัตถกรรม พื้นบ้านออกไปเรื่อยๆ แม้งานฝีมอื ชัน้ สูงจะถูกจำ�กัดอยูเ่ ฉพาะ คนบางกลุ่มในสังคมเท่านั้น แต่ก็นับว่ามี คุณูปการต่องานหัตถกรรมของชาติ เพราะ ช่วยยกระดับงานช่างแขนงต่างๆ และกลาย เป็ น เครื่ อ งหมายแสดงอารยธรรมและ ความเจริญของคนในชาติได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น ช่างสิบหมู่ ที่เกิดขึ้นในสมัย รั ช กาลที่ 5 โดยเรี ย กว่ า กรมช่ า งสิ บ หมู่ ก่อตั้งขึ้นเพื่อจุดประสงค์ที่จะรวบรวมช่าง สาขาต่ า งๆ ที่ ก ระจายอยู่ ต ามกรมกอง
ทั้งหมดมารวมไว้ในที่เดียวกัน คำ�ว่าสิบนั้น บ้างว่ามาจาก “สิปปะ” แปลว่า “ศิลปะ” บ้างก็ว่าเพราะในระยะแรกต้องการจัดไว้ เพียงสิบหมู่ และเพิ่มเติมขึ้นในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ช่างสิบหมู่ของไทยเรานั้น ประกอบไปด้วยช่างมากกว่าสิบประเภท เช่น ช่างเลื่อย ช่างก่อ ช่างปูน ช่างรัก ช่างแกะ ช่างปัน้ ช่างหล่อ ช่างดีบกุ ช่างทอง ช่างหยก ช่างประดับกระจก ฯลฯ หากพิจารณาถึง รายละเอียดในกลุม่ งานต่างๆ ของช่างสิบหมู่ แล้ว อาจช่วยให้เข้าใจสภาพเศรษฐกิจ สังคม และค่านิยมของยุคสมัยนั้นได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่ น เดี ย วกั บ ทั่ ว โลก การมาถึ ง ของ เทคโนโลยีและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้ นำ�พาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาสู่งาน หัตถกรรม จากการผลิตที่เคยพึ่งพาฝีมือ แรงงาน และความพิถพี ถิ นั ของช่าง เครือ่ งจักร ที่มีความแข็งแรง รวดเร็ว และแน่นอนกว่าก็ เข้ามาแทนที่ สินค้าจากโรงงานที่มีหน้าตา ทันสมัย ราคาถูก และทนทานได้เข้ายึดครอง ตลาด ชาวบ้านทีเ่ คยประกอบอาชีพเกษตรกร ซึ่งมีฝีมือทางช่างย้ายไปทำ�งานในโรงงาน จากช่างฝีมอื ผูส้ ร้างงานหัตถกรรมกลายเป็น แรงงานราคาถูกให้กับการผลิตสินค้าคราว ละมากๆ ข้าวของเครื่องใช้ที่ทำ�ด้วยมือจึง เริ่มหายไปจากวิถีชีวิตของผู้คน ในยุคหนึ่ง งานฝีมือกลายเป็นความงามที่ถูกลดค่าและ ถูกลืมจากทั้งผู้ใช้และผู้ทำ� CREATIVE THAILAND I 15
คุ ณ ค่ า ของงานที่ ทำ � ด้ ว ยมื อ อยู่ ตรงไหน จำ � เป็ น หรื อ ไม่ ที่ เ ราต้ อ ง สนใจและให้ค่า “The hand is the window on to the mind”. อิ ม มานู เ อล คานต์ (Immanuel Kant) นักปรัชญาชาวเยอรมันเคยกล่าวไว้วา่ “มือคือ หน้าต่างของความรู้สึกนึกคิด” และริชาร์ด เซนเนตต์ (Richard Sennett) ศาสตราจารย์ ด้ า นสั ง คมวิ ท ยาและมานุ ษ ยวิ ท ยาชาว อเมริกัน ก็ได้ตอกยํ้าคำ�พูดนี้ในหนังสือของ เขาที่ชื่อ The Craftsman ว่าการลงมือทำ� การลองผิดลองถูกครั้งแล้วครั้งเล่าเท่านั้น ที่จะนำ�เราไปสู่การเรียนรู้และความเข้าใจ อย่างลึกซึง้ ถ่องแท้ เขาเชือ่ ว่าสิง่ ของทีท่ �ำ จาก มือนั้นสามารถบ่งบอกตัวตนของผู้ที่ทำ�มัน ได้ดีที่สุด คำ�ถามที่ว่างานฝีมือมีคุณค่าอย่างไร อาจสะท้อนผ่านเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่ง ทีช่ อื่ ว่าแคริน แมนสฟิลด์ (Carin Mansfield) ซึ่ ง ย้ า ยถิ่ น ฐานจากเมื อ งโจฮั น เนสเบิ ร์ ก ประเทศแอฟริกาใต้ มาอยู่ท่ีกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทำ�งานเป็นนางพยาบาล วันหนึ่งเธอถูกชักชวนจากคนรู้จักให้ก้าวเข้า สู่งานทำ�เสื้อผ้า โดยที่เธอเองก็ไม่ได้รํ่าเรียน มาโดยตรง ครัง้ หนึง่ เธอมีโอกาสช่วยทำ�เสือ้ ผ้า ให้กับภาพยนตร์ ซึ่งฌอง ปอล โกลติเยร์ (Jean Paul Gaultier) เป็นผูอ้ อกแบบเสือ้ ผ้า แต่งานท้าทายส่วนมากที่เธอรับทำ�เสื้อผ้าให้ มักไม่จา่ ยค่าจ้างเป็นเงิน หากจ่ายเป็นเสือ้ ผ้า แทน ทุกวันศุกร์แครินจึงนำ�เสื้อผ้าเหล่านั้น ไปขายทีต่ ลาดนัดสินค้าวินเทจทีพ่ อร์โทเบลโล กระทั่งเสื้อผ้าเหล่านั้นหมดลงและเธอไม่มี สินค้าจะขาย เธอจึงตัดเย็บเสื้อผ้ามาลอง ขายบ้าง ปรากฏว่ามันขายได้ และเพื่อนคน หนึ่งก็ได้แนะนำ�ให้แครินนำ�เสื้อผ้าไปเสนอ กับร้านเสื้อผ้าชื่อดัง EGG ซึ่งเน้นเสื้อผ้าที่มี เอกลักษณ์ แปลก และแตกต่าง ในที่สุด เสือ้ ผ้าของแครินก็ได้วางขายทีน่ นั่ และได้รบั ความนิยมเป็นพิเศษในหมู่ ลูกค้าชาวญี่ ปุ่ น
facebook.com/universalutility
Maker เมือ่ นักออกแบบลงมือทำ�เอง ในวงการออกแบบ ความต้องการที่จะเป็น ปัจเจกของผูค้ นในยุคปัจจุบนั อาจทำ�ให้เกิด ความพยายามที่จะคิดค้นวิธีการแสดงออก ใหม่ๆ ทีแ่ ตกต่าง หลังจากต้องทนเบือ่ หน่าย จากการถูกบังคับให้เหมือนหรือซํ้ากับคน จำ�นวนมากในยุคทีก่ ารผลิตแบบอุตสาหกรรม รุง่ เรือง วิธกี ารหนึง่ ทีจ่ ะช่วยตอบสนองความ ต้องการนีก้ ค็ อื การสร้างสรรค์มนั ขึน้ เองด้วยมือ เพื่อใส่รายละเอียดลงในเนื้องานที่สามารถ บ่งบอกตัวตนอันไม่ซา้ํ แบบใครออกไปให้โลกเห็น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเกิดขึ้นของ เมคเกอร์ โมเดลทางธุรกิจใหม่ที่คนรักงาน ออกแบบและงานช่างไม่นา่ มองข้าม การเกิด ขึน้ ของกลุม่ คนทีเ่ รียกตัวเองว่า “เมคเกอร์” นี้ แบ่ ง เป็ น สองลั ก ษณะคื อ กลุ่ ม ดี ไ ซเนอร์ ผู้ต้องการสร้างทางเลือกในงานออกแบบ ของตน และใส่ใจในรายละเอียดของการ ออกแบบลงไปถึ ง กระบวนการการผลิ ต พวกเขาเหล่านีห้ นั มาเรียนรูเ้ ทคนิคเชิงช่างและ ลงมือผลิตชิน้ งานด้วยตนเอง อีกกลุม่ หนึง่ คือ ดีไซเนอร์/เมคเกอร์ทเี่ รียนรูก้ ารผลิตชิน้ งานเอง ควบคู่กับการออกแบบมาตั้งแต่ต้น วิธีการ ทำ�งานแบบเมคเกอร์ อาจมีขอ้ จำ�กัดเรือ่ งการ บริหารเวลากับปริมาณการผลิต เพราะกิน เวลามากกว่าการผลิตในระบบอุตสาหกรรม แต่กส็ ง่ ผลให้งานของพวกเขามีความโดดเด่น และแตกต่าง การลงมือผลิตเองอาจกลาย เป็นจุดขาย และสามารถเริ่มต้นธุรกิจขนาด เล็กได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่ต้องคำ�นึงถึงยอด สั่งผลิตขั้นตํ่าของโรงงาน ปี 2010 ในงาน Stockholm Furniture Fair งานระดับนานาชาติทร่ี วบรวมเฟอร์นเิ จอร์ ไว้มากมาย ได้สร้างความแตกต่างแบบใหม่ ไปจากเฟอร์นเิ จอร์แฟร์ใหญ่ๆ งานอืน่ ทีเ่ ห็น ได้ชัดคือเป็ น แฟร์ ที่ มีบ รรยากาศของงาน คราฟต์อบอวลไปทั่วงาน และมีนักออกแบบ หลายคนที่เข้าข่าย เมคเกอร์อยู่มากหน้า หลายตา ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะสวีเดน CREATIVE THAILAND I 16
facebook.com/Capellagården
หนึง่ ในนัน้ ก็คอื เรอิ คาวาคุโบ (Rei Kawakubo) นักออกแบบผู้ก่อตั้งแบรนด์ Comme des Garcons เรอิประทับใจเสื้อของแครินและ นำ�ไปวางขายในร้าน Dover Street Market ของเธอในลอนดอน ทั้งคู่ได้ร่วมงานกันอยู่ นานถึง 6 ปี ความพิเศษที่ทำ�ให้ใครต่อใคร สนใจเสื้อผ้าของเธอ เป็นเพราะแครินทำ� เสื้อผ้าด้วยวิธีการตัดเย็บแบบดั้งเดิม เน้น การทำ�งานด้วยมือ ซึง่ แทบจะหาคนทำ�ไม่ได้ แล้วในปัจจุบนั เธอเรียกเสือ้ ผ้าภายใต้แบรนด์ Universal Utility ของเธอว่า Slow Fashion เพราะมันต้องใช้เวลาและความประณีตกว่า เสื้อผ้าในท้องตลาด แครินขายมันในราคาที่ ค่อนข้างสูง แม้จะไม่สูงพอให้เธอมีกำ�ไร แต่ ก็เป็นวิธีทำ�เสื้อผ้าที่เธอเลือกและมีความสุข กับมัน เพื่อให้ผู้ที่หลงใหลในงานฝีมือพอจะ ซื้อไปใส่ได้ เพราะเธอไม่ต้องการให้เสื้อผ้าที่ เธอทำ�กลายเป็นของสะสมราคาแพงสำ�หรับ คุณนายไฮโซเท่านั้น คนทีค่ ดิ และทำ�อย่างแคริน นับวันคงจะ หาได้น้อยลงทุกที แต่เรื่องราวของเธอก็ สะท้อนให้เราเห็นว่า การทำ�งานด้วยมือต้อง อาศัยทั้งทักษะและใจรัก และถ้าคุณทำ�มัน ได้ดีพอ แม้ว่าราคาจะสูง แต่ก็มีคนที่พร้อม จะจ่ายเพือ่ ครอบครองมัน และหากธรรมชาติ ของมนุษย์เราเป็นอย่างทีค่ านต์และเซนเนตต์ เชื่อจริงๆ งานทำ�มือที่สร้างสรรค์โดยมนุษย์ ก็คงไม่มวี นั หายไปจากโลกนี้ แม้วา่ เทคโนโลยี จะก้าวไปไกลสักเพียงใด “มือ” ก็จะยังคงเป็น วิธีที่ดีที่สุดที่เราจะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด และตัวตนของเราออกไป
จั ด เป็ น ประเทศที่ ใ ห้ ค วามสำ � คั ญ และ ส่งเสริมการเรียนการสอนงานคราฟต์อย่าง มาก ตัวอย่างของโรงเรียนฝึกงานช่างแห่ง หนึ่ ง ที่ เ น้ น ให้ ผู้ เ รี ย นลงมื อ สร้ า งชิ้ น งาน ด้วยตนเอง คือ Capellagården โรงเรียนที่ อยู่ในเมืองเล็กๆ อันห่างไกลบนเกาะทางใต้ ของสวีเดน ทว่ามีชอ่ื เสียงโด่งดังและมีนกั เรียน มาจากหลายประเทศ ก่อตัง้ โดยนักออกแบบ เฟอร์นเิ จอร์ชื่อดังชาวสวีเดน คาร์ล มาล์มสเตน (Carl Malmsten) ด้วยความเชื่อในงาน ออกแบบที่ มี ทั้ ง ความงามและประโยชน์ ใช้สอย หลักสูตรงานช่างทีเ่ ปิดสอนทีน่ จี่ งึ มีทง้ั งานไม้ เซรามิก สิ่งทอ และการทำ�เกษตร อินทรีย์ ผลงานอันน่าทึ่งที่แสดงถึงความ พิถีพิถันของคาร์ลเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ดีว่า การฝึกฝนฝีมือเชิงช่างนั้นช่วยยกระดับงาน ออกแบบได้มากเพียงใด ในบ้านเรา ดีไซเนอร์ที่ผันตัวไปเป็น เมคเกอร์ นั้ น เริ่ ม มี ใ ห้ เ ห็ น บ้ า งแล้ ว อย่ า ง จุฑามาส บูรณะเจตน์ และปิติ อัมระรงค์ นักออกแบบในนาม o-d-a ผูเ้ ริม่ ต้นด้วยงาน ออกแบบกราฟิก ออกแบบผลิตภัณฑ์ ไปจนถึง ออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ หลายครัง้ ทีเ่ ฟอร์นเิ จอร์
CREATIVE THAILAND I 17
cdn.styleforum.net
อุ ป กรณ์ ก ารขั ด รองเท้ า ซึ่ ง ล้ ว นดู น่ า ใช้ สวยงาม และหลากหลาย รวมถึงมีหนังสือที่ เขียนแนะนำ�เทคนิคการขัดรองเท้าวางขาย อยู่หลายปกจนน่าประหลาดใจ ห่างออกไป ไม่ไกล หน้าห้างโตเกียว โคสึ ไคคัง (Tokyo Kotsu Kaikan) ใกล้สถานีรถไฟกินซ่า เราจะ พบบริการรับขัดรองเท้าภายใต้ชื่อ Chiba Special ซึ่งคนขัดแต่งตัวแบบย้อนยุค สวม หมวก ใส่เสื้อกั๊ก ผูกหูกระต่าย จัดวางเก้าอี้ และตู้เก็บอุปกรณ์หน้าตาโบราณเข้ากันไว้ รองรับลูกค้า ซึ่งถ้าพอมีเวลาหยุดยืนดูงาน บริ ก ารของพวกเขาสั ก นิ ด คุ ณ ก็ จ ะต้ อ ง พยักหน้าเห็นด้วยแน่ๆ ว่า งานขัดรองเท้าที่ มีขนั้ ตอนละเอียดและละเมียดละไมนี้ ก็ควร จะถูกยกย่องให้เป็นงานคราฟต์เช่นกัน เมือ่ ความหมายของคำ�ว่า “คราฟต์” ใน ปัจจุบันเน้นไปที่ความพิถีพิถันในขั้นตอน การทำ� งานคราฟต์กินความกว้างไปกว่า Traditional Craft หรืองานช่างแบบดัง้ เดิมที่ เราคุ้นเคย แต่อาจเป็น Innovative Craft ที่ เกิดจากการนำ�เทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาให้ เกิดวัสดุใหม่ เทคนิคใหม่ ส่งผลให้เกิดงาน คราฟต์แบบที่เราอาจไม่เคยพบเห็นมาก่อน
albertsiegel.photoshelter.com
facebook-com/GIMM EYEWEAR facebook-com/GIMM EYEWEAR
ของ o-d-a ได้เข้าไปยืนอยู่บนเวทีการ ประกวดระดับนานาชาติอย่างน่าภาคภูมิใจ แต่ทั้งคู่มิได้พอใจผลงานของตนอยู่เพียง เท่านั้น หากหันมาเริ่มฝึกฝนงานไม้อย่าง จริ ง จั ง เพื่ อ ทำ � ความเข้ า ใจกั บ วั ส ดุ แ ละ เทคนิคต่างๆ ในงานไม้ ที่จะนำ�ไปสู่การ พัฒนางานออกแบบของพวกเขาให้มีความ ลุ่มลึกยิ่งขึ้น อีกตัวอย่างหนึง่ ของ เมคเกอร์คนไทยคือ ไชยวัฒน์ วัฒนานุกจิ ทีเ่ ลือกจับงานออกแบบ และทำ�แว่นตาสำ�หรับผูท้ ตี่ อ้ งการความแตกต่าง ภายใต้ชื่อ GIMM EYEWEAR ที่นอกจากจะ วัดขนาดให้พอดีกบั ลูกค้าแล้ว เขายังออกแบบ ให้แว่นตามีรายละเอียดและลักษณะทีส่ ะท้อน บุคลิก ความสนใจ หรือแม้แต่อาชีพของลูกค้า แต่ละคนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แว่นตาก็ไม่ ควรจะแค่สวยหรือแปลก แต่ยงั ต้องใส่สบาย คุณภาพดี และทนทานต่อการใช้งาน ทักษะ งานจิวเวลรีท่ เี่ ขารํา่ เรียนและฝึกฝนมาตลอด กว่ า สิ บ ปี นั่ น เอง คื อ หั ว ใจสำ � คั ญ ที่ ทำ � ให้ GIMM EYEWEAR ยังมีลูกค้าให้ความสนใจ มาอย่างต่อเนื่อง
จะคราฟต์กันไปถึงไหน เมือ่ ก่อน หากเอ่ยถึงงานคราฟต์ เรามักนึกถึง สิ่งของที่สร้างหรือทำ�ขึ้นมาเพื่อการใช้งาน หรือเพื่อประดับตกแต่ง เช่น เครื่องจักสาน เครือ่ งแก้ว เครื่องปั้นดินเผา หรือเครือ่ งเรือนไม้ แต่ปัจจุบัน งานคราฟต์อาจหมายรวมไปถึง การทำ�อะไรสักอย่างด้วยมืออย่างประณีต พิถพี ถิ นั เป็นพิเศษ โดยเฉพาะเมือ่ เปรียบเทียบ กับของทีม่ อี ยูเ่ ดิมหรือวิธกี ารผลิตแบบเดิมๆ งานคราฟต์ในวันนี้จึงไม่ใช่แค่การประดิษฐ์ ของใช้ แต่ยงั กระโดดไปถึงวัฒนธรรมการกิน อยู่และใช้ชีวิตในหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ การหมักเบียร์ ไปจนถึงการขัดรองเท้า ประเทศญี่ปุ่นนั้นที่มีวัฒนธรรมการดื่ม เบียร์มายาวนาน และยังเข้มข้นจนถึงปัจจุบนั แม้จะมีผู้ผลิตเบียร์เจ้าใหญ่ครองตลาดอยู่ แล้วถึง 4 ยี่ห้อ แต่ก็ยังมีคนที่คิดทำ�เบียร์เอง หรือทีเ่ รียกว่า “คราฟต์เบียร์” เพือ่ ขายในร้าน เล็กๆ เป็นเบียร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่ง ผูท้ �ำ สามารถบรรจุความสนใจส่วนตัวรวมถึง วัตถุดิบท้องถิ่นลงไปด้วย ความจริงข้อนี้ ตอกยํ้าความเชื่อว่า ไม่ว่าจะอย่างไร มนุษย์ เราก็มแี รงผลักดันให้แสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ทีแ่ ตกต่าง หลากหลาย และพร้อมทีจ่ ะกระโดด ลงไปร่วมสร้างสรรค์มันเสมอเมื่อมีโอกาส แม้ว่าจะต้องแลกด้วยความอุตสาหะ ความ ล้มเหลวครัง้ แล้วครัง้ เล่า และวันเวลาอีกมากที่ ต้องสูญไป สิง่ ที่ได้กลับคืนมาอาจไม่ใช่ผลกำ�ไร แต่การได้ทำ�สิ่งที่รัก ใช้เวลาอยู่กับมัน และ หมกมุน่ กับมัน สุดท้ายแล้ว จะนำ�ความสุขมา ให้อย่างไม่อาจปฏิเสธได้ จากการสัมภาษณ์ บรูเวอร์ห ลายๆ คน ทำ � ให้ป ระจั ก ษ์ว่า กระบวนการทำ�เบียร์ของพวกเขานัน้ สามารถ เรียกว่างานคราฟต์ได้อย่างไม่ต้องสงสัย ห้างโตคิวแฮนด์ส (Tokyu Hands) สาขา กินซ่า คือห้างที่ส่งเสริมงานช่างและงาน ดีไอวายหลากหลายประเภท ซึ่งจำ�หน่าย อุปกรณ์และเครื่องมือครบครัน ระยะหลังนี้ ได้ อุ ทิ ศ มุ ม หนึ่ ง ของแผนกดี ไ อวายให้ กั บ
soimilk.com soimilk.com
วั ฒ นธรรมการลงมื อ ทำ � กระแส ความนิยมระยะสั้น หรือ ทางรอด ของระบบเศรษฐกิจ มีคนเคยกล่าวไว้ว่า ความนิยมในงานทำ�มือ เป็ น ผลจากความรู้ สึ ก โหยหาคุ ณ ค่ า ของ สิ่งต่างๆ เพราะปัจจุบัน ไม่ว่าจะทำ�อะไรก็ รวดเร็ว ง่ายดายแค่กดปุ่ม ฉะนั้นกลุ่มคนที่ เอือมกับเทคโนโลยีจึงหันกลับไปหาความ สบายใจแบบเดิมๆ ด้วยงานทำ�มือซึง่ ส่วนหนึง่ ก็ เ ป็ น การย้ อ นกลั บ ไปหาคุ ณ ค่ า ของสิ่ ง ที่ เคยเห็นคุณย่าคุณยาย หรือแม่ป้าน้าอาทำ� ตอนเราเป็นเด็ก อย่างไรก็ตาม ไม่อาจ ปฏิเสธได้เลยว่า เทคโนโลยีมีส่วนอย่างมาก ต่อการกลับมาของงานคราฟต์ในครั้งนี้ เมื่อ โซเชียลเน็ตเวิรก์ กำ�เนิดขึน้ และพัฒนาจนใคร ก็ เ ข้ า ถึ ง ได้ มั น ก็ ทำ � หน้ า ที่ ข องมั น อย่ า ง ซือ่ สัตย์ นัน่ คือเชือ่ มต่อความคิด ความสนใจ ของคน “หัวใจเดียวกัน” จากทัว่ โลก เมือ่ เธอ
คราฟต์ ฉันก็คราฟต์ด้วย จนเกิดเป็นการ ปะทุขน้ึ อย่างรุนแรงและรวดเร็วของคนทำ�งาน คราฟต์ ตลาดนัดงานทำ�มือ และโดยเฉพาะ เวิร์กช็อปงานช่าง งานฝีมือ ซึ่งทำ�หน้าที่ กระจายความรู้และเพิ่มปริมาณคนทำ�งาน คราฟต์ให้เกิดขึ้นเป็นจำ�นวนมาก หากอยากได้คำ�ตอบว่าเหล่าเวิร์กช็อป งานคราฟต์ทผ่ี ดุ ขึน้ มากมายในบ้านเราขณะนี้ จะนำ�พาให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือหน ทางใหม่ๆ ในแง่เศรษฐกิจในอนาคตได้หรือไม่ คงต้องย้อนกลับไปมองดูกอ่ นว่า เหตุผลทีม่ า ที่ไปที่ส่งให้เวิร์กช็อปจำ�นวนมากเกิดขึ้นนั้น คืออะไร สภาพเศรษฐกิจถดถอยที่กระจายไปทั่ว โลกน่าจะเป็นเหตุผลหลัก การทำ�มาหากิน ในยุคสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แม้จะมีปัจจัย อำ�นวยความสะดวกเพิม่ ขึน้ จากอดีต โดยเฉพาะ ช่องทางการขายผ่านโซเชียลเน็ตเวิรก์ ทีเ่ ปิด โอกาสให้เราซื้อขายกันได้ข้ามทวีป แต่ใคร ต่อใครก็ล้วนอยากสวมบทบาทเป็นผู้ขาย และผูผ้ ลิต ขณะทีเ่ งินในกระเป๋าทีจ่ ะจับจ่าย ใช้สอยของคนในยุคนี้นั้นแสนจะฝืดเคือง แนวคิดการทำ�ธุรกิจสมัยนี้จึงไม่อาจเน้นที่ การเชื้ อ เชิ ญ ให้ ค นเอาแต่ ซื้ อ เหมื อ นก่ อ น หากมีลักษณะของการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย ซึ่งการเปิด เวิร์กช็อปงานคราฟต์เพื่อส่งต่อความรู้ความ ชำ�นาญเฉพาะทางให้แก่ผู้ที่สนใจ ก็เป็นทาง เลือกที่ทำ�ได้ง่ายและดึงดูดความสนใจของ ผู้คนได้ดี ปัญหาเศรษฐกิ จ นำ � ไปสู่ ค่านิ ย มเรื่ อ ง รู ป แบบการทำ � งานของคนรุ่ น ใหม่ ที่ ไ ม่ ต้องการเป็นพนักงานกินเงินเดือนอีกต่อไป หากพอใจและใฝ่ฝันที่จะทำ�งานอิสระ เป็น นายตนเอง เป็นฟรีแลนซ์ หรือมีธรุ กิจส่วนตัว การเพิ่มพูนทักษะด้านต่างๆ ให้กับตนเอง หรือเรียกง่ายๆ ว่าหาวิชาติดตัว เป็นทาง เลือกในการประกอบธุรกิจในอนาคต ผู้คน จำ�นวนไม่น้อยจึงมุ่งไปหาทักษะวิชาที่ตน CREATIVE THAILAND I 18
สนใจ เวิร์กช็อปงานคราฟต์ที่ไม่ยากจนเกิน ไป ซึง่ ส่วนมากผูเ้ รียนไม่ตอ้ งมีความรูพ้ นื้ ฐาน และใช้เวลาเรียนไม่นานคือคำ�ตอบ แม้จะดูเหมือนว่ามีความคึกคักอย่างไม่เคย เป็นมาก่อนในวงการคราฟต์ แต่ในภาพรวม ยังมีปญั หาทีน่ า่ ขบคิดตามมา นัน่ คือลูกค้าที่ อุดหนุนงานคราฟต์ในวันนีเ้ ขาเห็นคุณค่าของ มันจริงๆ หรือแค่โหนกระแส และนอกเหนือ จากการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์แล้ว เวิรก์ ช็อปงานคราฟต์จะสามารถสร้าง “ตัวจริง” ให้เกิดขึ้นได้มากเพียงใด เพราะอย่างที่รู้กัน ว่า งานช่าง งานคราฟต์ใดๆ ก็ตาม ล้วนต้องการ ทักษะความชำ�นาญ และต้องอาศัยเวลาให้ กั บ การฝึ ก ฝนและทุ่ ม เท แค่ มี ฝี มื อ อย่ า ง เดียวไม่พอ ยังต้องมีไอเดียและความคิด สร้างสรรค์ เพื่อผลิตงานหรือบริการที่ตรง ความต้องการของตลาดอีกด้วย แล้วประเทศอืน่ ๆ เขาจัดการ ต่อยอดความ สนใจ และฝึกฝนทักษะของผู้คนกันอย่างไร ลองมาดูประเทศสหรัฐอเมริกา วัฒนธรรม งานช่างหรือ Maker Culture ของเขาเกิดขึ้น ก่อนเราสักประมาณสิบปี หมุดหมายที่เป็น ประจักษ์พยานของการเริ่มต้นวัฒนธรรมนี้ คือการเกิดขึน้ ของนิตยสาร Make ในปี 2005 ด้วยสโลแกนว่า “We are all makers” เดล โดเฮอร์ ตี้ (Dale Dougherty) ผู้ ก่ อ ตั้ ง นิตยสารหัวนี้เคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาสังเกต เห็ น ความเป็ น นั ก ประดิ ษ ฐ์ ที่ มี อ ยู่ ใ นชาว อเมริกันมานาน จึงทำ�นิตยสารเล่มนี้ขึ้นเป็น สื่อกลาง เพื่อให้แต่ละคนได้เปิดโลกกว้าง และเป็นช่องทางให้พวกเขาได้รู้จักกับคน หัวใจเดียวกัน หลังจากนั้นในปี 2012 เขา ก่อตั้ง Maker Faire ซึ่งเป็นกิจกรรมใหญ่ที่ เปิดโอกาสให้นักประดิษฐ์จากทั่วประเทศได้ มาเจอกันตัวเป็นๆ ซึ่งได้ผลตอบรับที่ดีมาก จนส่งผลให้เกิดกิจกรรมลักษณะเดียวกัน ไปทั่ ว ประเทศ สิ่ ง ที่ ต ามมาคื อ เกิ ด การ แลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง และอาจไปไกล ถึงการร่วมมือและร่วมทุน
Craft NOW or NEVER งานหัตถกรรมชาวบ้านที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ในท้องตลาดวันนี้ แม้จะมีความประณีตและ ความงาม แต่ไม่ได้รบั ความนิยม ทัง้ ยังมีมลู ค่า ไม่เทียบเท่ากับคุณค่า ส่วนหนึ่งอาจเป็น เพราะรูปแบบทีไ่ ม่สอดรับกับการใช้งานในวิถี ชีวิตปัจจุบัน ดังที่เราจะเห็นว่าเมื่อแบรนด์ สินค้าอย่าง Muji หรือ Ikea นำ�งานหัตถกรรม ชาวบ้านมาออกแบบใหม่ ผลิตในประเทศไทย เองหรือประเทศเพื่อนบ้าน ปรากฏว่ากลับ เป็นสินค้าขายดีและมีราคาสูง เช่นเดียวกับปัญหาอืน่ ๆ ทีฝ่ งั รากลึกอยู่ ในสังคมไทย ซึ่งมักมีที่มาจากระบบการ ศึกษา ตัวอย่างจากหลากหลายประเทศที่ เล่าไว้ขา้ งต้น พอให้ขอ้ สรุปได้วา่ รัฐบาลควร ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติจริง เพือ่ ให้เกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ และแก้ ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ควรส่งเสริม ความคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบตั้งแต่ เยาว์วัย และที่สำ�คัญที่สุดคือควรปลูกฝังให้
facebook.com/ตลาดนัดในสวน/little-tree
เมือ่ เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามีปญั หา รั ฐ บาลไปจนถึ ง หน่ ว ยย่ อ ยในสั ง คมอย่ า ง โรงเรียน จึงหันมาให้ความสำ�คัญกับการ ฝึกทักษะ โรงเรียนหลายแห่งเพิ่มหลักสูตร และเปิดให้มเี วิรก์ ช็อปงานช่างทีเ่ ด็กๆ จะได้ ฝึกทดลองและฝึกล้มเหลว นอกจากนี้ยังมี Makerspace และ Fab Lab เกิดมากขึ้น เรือ่ ยๆ เพือ่ รองรับนักประดิษฐ์ทกุ เพศ ทุกวัย ทุกความสนใจ โดยจะมีอุปกรณ์ เครื่องมือ และผู้ชำ�นาญพร้อมให้บริการ ขอแค่มีใจ อยากลงมือทำ�อะไรสักอย่าง ชุมชนของเหล่า Maker นีก้ พ็ ร้อมจะช่วยกันผลักดันโครงการ ในฝันให้กลายเป็นจริง ซึง่ อาจสร้างมูลค่าได้ มหาศาลในอนาคต แม้แต่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ยังแสดงทัศนะถึงเรื่องนี้ไว้ อย่างน่าสนใจว่า “DIY ในวันนี้ อาจจะเป็น Made in USA ในวันหน้า”
คนไทยเห็นคุณค่าของงานฝีมือ ผู้ผลิตเองก็ ต้องเห็นคุณค่าในงานของตน หากเรามองไปยังประเทศญี่ปุ่น จะเห็น ว่าเขาสามารถรักษาและเพิม่ มูลค่าให้กบั งาน หัตถกรรมและหัตถอุตสาหกรรมได้ดีเยี่ยม และน่ายึดเป็นแบบอย่าง เหตุทง่ี านหัตถกรรม ญี่ปุ่นเข้มแข็งได้อย่างทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งเป็น เพราะคนในชาติเห็นคุณค่า และยืนยันความ เชื่อนั้นต่อชาวโลกว่างานฝีมือของเขานั้น มีค่าและมีราคา ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ออก กฎหมายที่ช่วยส่งเสริมหัตถอุตสาหกรรม ประเพณี โดยระบุให้หน่วยงานของรัฐใน ท้องถิ่นต่างๆ มีหน้าที่สนับสนุน ฝึกหัด อบรม และเก็บข้อมูล เพื่ออนุรักษ์ รวมถึง สนับสนุนการรวมกลุ่ม สมาคม หรือหน่วย งานเอกชน ทีจ่ ะเป็นประโยชน์ตอ่ การอนุรกั ษ์ และส่งเสริมงานหัตถกรรมประจำ�ท้องถิ่น ด้ ว ย ภาพที่ เ รามองเห็ น ในปั จ จุ บั น คื อ งานหัตถกรรมยังคงอยู่ในวิถีชีวิตของคน ญี่ปุ่นทุกรุ่นทุกวัย และมีการพัฒนาให้เกิด รูปแบบใหม่ๆ เพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่ เปลี่ยนไปอยู่เสมอ หนทางจากกระแสนิยมงานคราฟต์ไปสู่ ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยนั้นดู เหมือนอยู่ใกล้แค่เอื้อม การผนวกความคิด สร้างสรรค์เข้ากับงานฝีมือ ใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมและชาญฉลาด สร้างสรรค์สินค้าโดยคำ�นึงถึงทั้งความงาม
CREATIVE THAILAND I 19
และประโยชน์ใช้สอยคือหนทางที่เราต้อง มุง่ ไป แต่หวั ใจสำ�คัญจริงๆ คือความพยายาม ที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างงานคล้ายๆ กันตาม ความนิยมของตลาด เพราะสิ่งนี้นี่เองที่อาจ ทำ�ให้ Craft Movement ที่กำ�ลังรุ่งโรจน์อยู่ ในขณะนี้ ไปถึงจุดจบในเวลาอันสั้น เป็นได้ แค่ความตื่นเต้นชั่วครั้งคราว หรือกระแสที่ เราเดินรอยตามชาติอื่นๆ มาจาก Pinterest แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถกลายเป็นวัฒนธรรม ที่ยั่งยืน ที่มา: บทความ “ช่างสิบหมู่?” จาก guru.sanook.com / บทความ “แนวทางการอนุรกั ษ์ศลิ ปะชาวบ้าน” จากหนังสือ ศิลปะชาวบ้าน โดยวิบูลย์ ลี้สุวรรณ จาก patchareezom. wordpress.com / บทความ “ศ.ศ.ป.เตรียมพร้อมผูป้ ระกอบการ หัตถกรรมไทยลงแข่งในอาเซียน” (20 เมษายน 2558) จาก komchadluek.net / บทความ “Big DIY: The Year the Maker Movement Broke” โดย Tim Carmody จาก wired.com / บทความ “Chiba Special: Stylish Shoe-Shining Service for Fashionable Footwear Fanatics” โดย Jeremy Hannigan จาก japanistas.com / บทความ “Maker Movement Reinvents Education” โดย Louise Stewart จาก newsweek.com / บทความ “Moving the Economy: The Future of the Maker Movement” โดย TJ McCue จาก forbes.com / บทความ “Slow Fashion: Carin Mansfield & Universal Utility” จาก fabulousfabsters.com / บทความ “The Art of Craft: The Rise of the Designer-Maker” โดย Justin McGuirk จาก theguardian.com / บทความ “The Art of Doing” โดย Wayne Curtis จาก theamericanscholar.com / บทความ “The Clothing Firm Designing Clothes That Last Forever” โดย Katie Hope จาก bbc.com / บทความ “The Designer as Craftsman” โดย Daniel McKenzie จาก danielmckenzie.com / บทความ “The Maker Movement Creates D.I.Y. Revolution” โดย Noelle Swan จาก csmonitor.com / บทความ “The Underground Appal of Radically Slow Fashion” โดย Rebecca May Johnson จาก anothermag.com / capellagarden.se / changsipmu.com / th.wikipedia.org
Insight : อินไซต์
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
ในทุกสัปดาห์ เราจะเห็นคนกดปุ่ม “เข้าร่วม (going)” กิจกรรมเวิร์กช็อปหรือโพสต์รูปผลงานทำ�มือในโลกโซเชียล เช่น ปั้น เซรามิก ย้อมคราม หรือประดิษฐ์ตัวอักษรคัลลิกราฟี กระแสนิยมนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในกรุงเทพฯ แต่แพร่หลายไปตามการ เติบโตของสตูดโิ อ ธุรกิจขนาดย่อม และคอมมูนติ สี้ เปซในต่างจังหวัด หลายคนเดินทางไปถึงเชียงใหม่เพือ่ เรียนทำ�ขนมปังกับ นักอบขนมปังชาวญี่ปุ่น หรือฝึกงานไม้กับครูช่างสูงวัยในแถบอีสาน น่าสนใจว่าทำ�ไมกิจกรรมทำ�มือจึงได้รับความนิยมอย่าง กว้างขวาง ทั้งฝั่งคนจัดและผู้เข้าร่วม ในยุคที่เราสามารถประดิษฐ์ข้าวของตามคลิปรีวิวได้เอง
ใครจัด ใครจ่าย
ผู้จัดเวิร์กช็อป (Host) • สถาบันการศึกษา โรงเรียนฝึกสอนวิชาชีพ • บริษัท องค์กร หน่วยงานภาครัฐและเอกชน • แบรนด์สนิ ค้า เช่น Viera by Ragazze, Freitag • ผู้ประกอบการ ธุรกิจเอสเอ็มอี ธุรกิจสตาร์อัพ สตูดิโอ • นักออกแบบ ศิลปิน อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทาง • นักออกแบบ ศิลปิน ครูอาจารย์
จัดแล้วได้อะไร • มีธุรกิจที่ต่อยอดมาจากงานอดิเรกและความ ชอบส่วนตัว • ได้พบปะพูดคุยและแลกเปลีย่ นความคิดกับคน จากหลากหลายสาขาอาชีพ • สนุกกับการค้นพบแนวคิด ความรู้ เทคนิคการ ทำ�งานใหม่ • สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมเวิร์กช็อป • สร้างเครือข่ายของคนทีส่ นใจงานฝีมอื งานช่าง งานหัตถกรรม • เปิดพื้นที่ให้เหล่าเมคเกอร์รุ่นใหม่ได้เรียนรู้ ทักษะงานฝีมอื แบบดัง้ เดิมและนำ�ไปพัฒนาต่อ ให้ร่วมสมัย • สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม • ปรับปรุงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้น พัฒนากิจกรรม เวิร์กช็อปให้มีประสิทธิภาพ • นำ�ไปต่อยอดโปรเจ็กต์ รายงาน งานวิจยั ต่อไปได้ • ช่วยรวบรวมและส่งต่อองค์ความรู้ ทักษะงาน ฝีมอื และภูมปิ ญั ญาพืน้ บ้าน เพือ่ เป็นมรดกแก่ คนรุน่ หลัง • ดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ และรักษาฐานกลุ่ม ลูกค้าเดิมได้ดียิ่งขึ้น CREATIVE THAILAND I 20
ทำ�ไมต้องจัด • เริม่ จากสอนคนใกล้ตวั พอมีคนรูจ้ กั มากขึน้ จึง จัดกิจกรรมเป็นประจำ� • อยากแบ่งปันความรูค้ วามถนัดให้กบั คนทีส่ นใจ เรื่องเดียวกัน • อยากชวนคนมาทดลองทำ�กิจกรรมทีไ่ ม่เคยจัด ขึ้นมาก่อน • เทคนิคนี้ไม่มีสอนในหนังสือหรือยูทูบ อยากรู้ ต้องมาเรียนเอง • เพิ่มประโยชน์ใช้สอยของพื้นที่ทำ�งานส่วนตัว พื้นที่ในสตูดิโอ/ออฟฟิศยังว่างอยู่ ทำ�อะไรได้ อีกเยอะ • ทักษะเก่าแก่ องค์ความรู้หายาก ภูมิปัญญา ท้องถิ่นใกล้สูญหาย ต้องช่วยกันส่งต่อ! • เห็นลู่ทางธุรกิจ ตอบโจทย์คนยุคนี้ที่มองหา ประสบการณ์แปลกใหม่ตลอดเวลา • ช่วยให้ได้ทำ�งานที่ชอบและอยู่รอดทางธุรกิจ ได้ด้วย • อยากกระตุ้นยอดขาย โปรโมตธุรกิจ • ขยายฐานลูกค้า เปิดโอกาสให้ลกู ค้ามีสว่ นร่วม กับกิจกรรมของแบรนด์
flickr.com/photos/Silver Tusk
ลองมาทำ�ความรู้จักบทบาทของคนในแวดวงเวิร์กช็อปกันหน่อย
คนจัดสรรพื้นที่ (Space Provider) รูปแบบพื้นที่การจัดเวิร์กช็อปดูจะขยายขอบเขต ออกไปไกลขึน้ เรือ่ ยๆ นอกจากสถานศึกษา สถาน ประกอบการ พืน้ ทีส่ าธารณะและพืน้ ทีเ่ ชิงพาณิชย์ แล้ว Co-Working Space คือหนึ่งในทำ�เลที่คน นิยมจัดเวิร์กช็อป ด้วยทำ�เลที่ตั้งในย่านธุรกิจ สร้างสรรค์ เดินทางสะดวก มีพื้นที่ใช้สอยกับ อุปกรณ์อำ�นวยความสะดวก ประกอบกับกลุ่ม ลูกค้าหลักที่มาใช้บริการ คือคนรุ่นใหม่ที่ทำ�งาน อิสระ ทำ�ธุรกิจสตาร์ทอัพ รวมทัง้ สนใจงานอดิเรก เจ้าของพืน้ ทีอ่ าจเป็นผูจ้ ดั กิจกรรมเองหรือเตรียม สถานที่และประสานงานเท่านั้น
ผู้เข้าร่วม (Participants) • บุคคลทั่วไป • คนทีม่ ที กั ษะ ความรู้ และประสบการณ์ในสาขา อาชีพที่เกี่ยวข้อง • ช่วงอายุ: ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของกิจกรรม และการตัดสินใจของผู้จัด ไปเวิร์กช็อป เพราะ… • สนใจงานฝีมือ รักศิลปะงานทำ�มือ • บางกิจกรรมไม่ต้องมีพื้นฐานมาก่อนก็เรียนได้ • อยากใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ผ่อนคลาย ความเครียด • อยากฝึกทักษะเพิ่มเติม ทดลองทำ�สิ่งใหม่ๆ • อยากเรียนกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง • หนังสือหรือคลิปวิดีโอไม่สามารถสอนทุกอย่าง ให้ทุกคนเข้าใจและทำ�ตามได้เสมอไป • ไปตามคำ�แนะนำ�ของเพื่อนหรือคนรู้จัก • ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนที่มีเวลาจำ�กัด • อยากทำ�ธุรกิจ ประกอบอาชีพทางด้านงานฝีมอื
ราคามีผลต่อการตัดสินใจ • ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย: ดึงดูดความสนใจคนทั่วไป ได้ง่าย • ราคาย่อมเยา สมเหตุผล: กิจกรรมน่าสนใจ มี อุปกรณ์ครบครัน • ราคาสูง: แต่หลายคนยอมจ่าย เพราะเป็น กิจกรรมที่จัดขึ้นนานๆ ครั้ง หรือมีโอกาสเข้า ร่วมน้อยมาก จำ�กัดจำ�นวนผูเ้ ข้าร่วม มีคา่ ใช้จา่ ย ด้านอุปกรณ์ หรือวิทยากรเป็นศิลปิน/ผูเ้ ชีย่ วชาญ ที่มีชื่อเสียง ได้อะไรกลับมาบ้าง • ได้ความรู้และทักษะใหม่ติดตัว พัฒนาความ สามารถของตนเอง เพราะคนยุคนีต้ อ้ งการทักษะ มากกว่าหนึง่ • ได้รู้จักกับคนต่างวัย ต่างอาชีพ มีสังคมใหม่ • งานฝีมือช่วยฝึกสมาธิ ความอดทน ใส่ใจ รายละเอียดปลีกย่อยมากขึ้น • ได้งานอดิเรกใหม่ บำ�บัดความเครียด • เป็นความสุขอย่างหนึ่ง • ได้แนวคิดและแรงบันดาลใจในการทำ�งานและ การทำ�ธุรกิจ • มีประโยชน์ต่อพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของ เด็ก ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก และเสริม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ • ผูส้ งู อายุได้มสี ว่ นร่วมในการทำ�กิจกรรมร่วมกับ คนอื่น • นำ�ทักษะทีไ่ ด้ไปสร้างจุดขายให้สนิ ค้าและบริการ เพื่อสร้างความแตกต่างจากธุรกิจอื่น
จากวิถีชีวิตสู่งานอดิเรกยามว่าง เวิร์กช็อปประเภทงานฝีมือได้กระแสตอบรับอย่างดีในบ้านเรา ส่วนหนึ่งเพราะคนรุ่นใหม่ไม่ได้เติบโตมากับการทำ�งานฝีมือ งานช่าง เหมือนกับคนรุ่นก่อนที่ ทำ�เป็นอาชีพ กลุ่มชนชั้นกลางที่มีฐานะรํ่ารวยมากขึ้น สามารถซื้อเครื่องมือทุ่นแรง เทคโนโลยีอำ�นวยความสะดวก รวมทั้งโปรแกรมซอฟต์แวร์สำ�หรับทำ�งาน ออกแบบต่างๆ ประกอบกับการเติบโตของสินค้าอุตสาหกรรม ทำ�ให้ทักษะงานฝีมือเริ่มสูญหายไปจากตลาดแรงงาน งานทำ�มือจึงกลายเป็นเสน่ห์ที่น่าค้นหา เป็นประสบการณ์แปลกใหม่ที่มีมูลค่าและคุณค่าในตัวเอง ตลอดจนเป็นงานอดิเรกยามว่างที่เปิดกว้างสำ�หรับคนหลายวัย ถวิลหาความช้าหรือวิชาสำ�เร็จรูป ในแง่หนึ่ง เวิร์กช็อปงานฝีมือตอบสนองความต้องการของคนยุคนี้ที่ถวิลหาความช้า ในทางกลับกัน ก็เป็นหลักสูตรฝึกฝนทักษะฉบับเร่งรัดที่เหมาะสำ�หรับ คนที่อยากรู้เร็ว เป็นเร็ว โดยไม่จำ�เป็นต้องมีทักษะขั้นพื้นฐานมาก่อน ทั้งยังลงทุนเงินและเวลาน้อยกว่า เวิร์กช็อปส่วนใหญ่ใช้เวลาอย่างตํ่า 1-2 ชั่วโมง เมื่อ เทียบกับหลักสูตรการเรียนระยะยาว 3-6 เดือนตามสถาบันศึกษา หรือการศึกษาต่อระดับปริญญาโท ปริญญาเอกที่ใช้เวลานานหลายปี ทักษะที่มากกว่าหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรากำ�ลังเข้าสู่ยุคที่ระบบการผลิตถูกย่อสเกลให้เล็กลงเพื่อเข้าถึงทุกครัวเรือนและตอบสนองความต้องการเฉพาะบุคคลมากขึ้น ย่อมส่งผล ให้การแข่งขันทางธุรกิจสูงขึ้นไปอีก หากนักออกแบบมีสายตาและฝีมือของช่าง นำ�ทักษะความชำ�นาญต่างสาขามาใช้คู่กับเทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสม ก็อาจยกระดับงานออกแบบให้แตกต่างจากตลาดแบบเดิม และช่วยสานต่อมรดกงานฝีมือไปสู่คนรุ่นต่อไป CREATIVE THAILAND I 21
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
ผสานงานฝีมอื ยุคใหม่ ผ่านแบรนด์แฟชัน่ ระดับไฮเอนด์ เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ / ภาพ: นัทธ์ชนัน เพชรดี
กระเป๋าหนังดีไซน์เก๋แปลกตาวางเรียงราย ราวกับมีแรงดึงดูด ความประณีตในทุกรายละเอียดบนพื้นผิวและลวดลายของ ชิ้นงาน การผสมผสานวัสดุหลายแบบหลากสีสันเพื่อสร้างสัมผัสและคาแรกเตอร์ที่น่าสนใจ ชวนให้อยากรู้ว่า ใครกันที่อยู่ เบื้องหลังชิ้นงานที่พิถีพิถันในรายละเอียดเหล่านี้ เหนือความคาดหมายของใครหลายคน คือผู้ก่อตั้งแบรนด์ NASHA MEKRAKSAVANICH นี้ เป็นดีไซเนอร์ชาวไทยที่เพิ่งจะแจ้งเกิดในแวดวงแฟชั่นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ณัชชา เมฆรักษาวานิช (เตย) คือผู้ดูแลทุกกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ตั้งแต่บุกเบิกโรงงานใหม่ด้วยตนเอง ทำ�งานคลุกคลีกับช่างฝีมือ จนสร้าง แบรนด์กระเป๋าที่เปี่ยมด้วยเอกลักษณ์และได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นในแวดวงแฟชั่นระดับนานาชาติ “งานของเตยค่อนข้างเป็นแนวทดลองและมีความเป็น architect ค่อนข้าง เยอะ เพราะส่วนตัวชอบดูงานสถาปัตยกรรมและโครงสร้างต่างๆ ชอบงาน ที่เป็น man-made มากกว่าธรรมชาติ แรงบันดาลใจในแต่ละคอลเล็กชั่นก็ ขึ้นอยู่กับว่าช่วงนั้นเราสนใจเรื่องอะไร อะไรที่สร้างแรงกระเพื่อมให้เรา” ดีไซเนอร์สาวผู้จบการศึกษาด้านอินทีเรียร์ดีไซน์ที่เมืองไทย ก่อนจะบินไป เรียนด้านการออกแบบรองเท้าที่มิลานอธิบาย ณัชชากลับมาเมืองไทยเพือ่ เริม่ ต้นสร้างแบรนด์กระเป๋าและแอกเซสเซอรี่ หนังของตนเอง และหอบหิ้วผลงานคอลเล็กชั่นแรกไปเปิดตัวในงาน Paris Fashion Week ในปี 2012 จนปัจจุบันผลงานการออกแบบของเธอวาง
จำ�หน่ายกว่า 20 ประเทศทั่วโลก ด้วยเอกลักษณ์การออกแบบที่แปลกใหม่ ผสมผสานวัสดุหลากหลายชนิด เช่น คอลเล็กชั่น Autumn / Winter 2014 ทีเ่ ธอลดทอนรายละเอียดของสถาปัตยกรรมทางศาสนาในยุคกลางของยุโรป อย่างหลังคาทรงแหลมและลวดลายของหลังคากระเบื้อง เพื่อนำ�มาใช้เป็น ลูกเล่นสไตล์มนิ มิ อลทีแ่ ฝงด้วยสัญลักษณ์ หรือ คอลเล็กชัน่ Spring / Summer 2015 “Retro-garde” ทีไ่ ด้ทดลองวัสดุใหม่อย่างหมุดโลหะทีน่ �ำ ไปกลึงและ ชุบสี และเรซิ่นหล่อลายหินอ่อน สะท้อนกลิ่นอายความเป็นโลกอนาคต (Futuristic) ของสถาปัตยกรรมและภาพยนตร์ในยุค 60 ที่มนุษย์เดินทางไป เหยียบดวงจันทร์เป็นครั้งแรก
CREATIVE THAILAND I 22
CHERISH THE CRAFTSMAN เช่นเดียวกับดีไซเนอร์ไทยจำ�นวนมากทีต่ อ้ งการเริม่ ต้นธุรกิจสร้างสรรค์สนิ ค้า ที่มีส่วนผสมของงานฝีมือ ณัชชาพบว่าอุปสรรคใหญ่คือการค้นหาผู้ผลิตที่ เหมาะสมกับงาน “การทีจ่ ะทำ�งานลักษณะพรีเมีย่ มและต้องการของจำ�นวน น้อย ถ้าทำ�กับโรงงานในไทยจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะถ้าเรา ต้องการงานคราฟต์ขนาดนี้ แต่สงั่ ของแค่นี้ เขาไม่ท�ำ ให้แน่นอน เพราะฉะนัน้ เราไม่มที างเลือกอืน่ นอกจากเปิดโรงงานเอง พวกเครือ่ งจักรต่างๆ ทีใ่ ช้กต็ อ้ ง มาดัดแปลงให้เหมาะกับงานของเรา เตยตีความงานตัวเองเป็นนีโอ-คราฟต์ (Neo-Craft) เป็นงานคราฟต์ที่ผสมกับงานอุตสาหกรรมและเครื่องมือ สมัยใหม่ สิ่งที่จะคิดในการออกแบบงานเลยคือมันสามารถทำ�ซํ้าได้ไหม เพราะมันจะมีชนิ้ เดียวในโลกไม่ได้ คือถ้าทำ�ชิน้ ทีส่ องแล้วออกมาต่างจากชิน้ แรก 70 เปอร์เซ็นต์ ถือว่าไม่ได้” ในช่วงขวบปีแรก ณัชชาขลุกตัวอยู่กับการบุกเบิกโรงงานของเธอที่ จ.นครปฐม การสือ่ สารกับช่างฝีมอื เพือ่ ให้ผลิตงานซึง่ เต็มไปด้วยรายละเอียด ปลีกย่อยนัน้ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย “เวลาเตยทำ�แบบมาให้ชา่ ง เราต้องชัดเจนทุกอย่าง ตั้งแต่เขียนแบบ การระบุวัสดุ ไปถึงขัน้ ตอนการทำ�ว่าเย็บอะไรก่อนหลัง คือ ต้องเคลียร์ด้วยตัวเองไปก่อนประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ แล้วหลังจากนั้นช่าง เขาจะไปจัดการต่อในรายละเอียดเอง” หลังจากใช้เวลาปรับการทำ�งานร่วมกับช่างนับปี เธอบอกว่าทุกวันนี้ เพียงแค่กะพริบตา ช่างฝีมือในสังกัดก็เข้าใจแล้วว่าเธอต้องการอะไร “เตยโชคดีมาก เพราะการหาช่างทีม่ ที กั ษะความคิดและทำ�งานกับเราได้แบบ นี้เป็นอะไรที่ยากมาก ตอนนี้เรามีทีมช่างทั้งหมด 4 คน เราจ้างเขาเป็น พนักงานอินเฮาส์หมดเลย เพราะต้องการงานที่ได้คุณภาพจริงๆ และเรา เข้าใจในมุมของช่างว่า ระหว่างงานทีต่ อ้ งใช้เวลาเน้นยํา้ กับงานทีเ่ ร็วและได้ จำ �นวนเยอะและจบง่าย ความเร็วของงานและค่าแรงที่ได้มันต่างกั น เตยคิดไว้ตงั้ แต่แรกเลยว่าถ้าต้องการงานฝีมอื แบบนีต้ อ้ งจ้างมาทำ�กับเราเลย จ้างด้วยราคาที่เขาหาจากที่อื่นไม่ได้ ช่างไทยมีความสามารถมาก แต่ด้วย ตลาดส่วนมากไม่ได้ให้ความสำ�คัญกับตรงนั้น เลยทำ�ให้ช่างฝีมือค่อยๆ หายไป เตยต้องการรักษาฝีมอื ของช่าง ให้เขาทำ�งานเต็มกำ�ลังทีเ่ ขาจะทำ�ได้ เพราะความชำ�นาญถ้าไม่ได้รับการฝึกฝน มันจะค่อยๆ หายไป ก็เลยต้อง ให้มาอยู่ในที่ของเรา ให้เขาได้ซึมซับและตระหนักว่างานฝีมือมันมีที่มีทาง ของมันจริงๆ” KNOW YOUR TARGETS หลังจากที่เปิดตัวในตลาดต่างประเทศจนเป็นที่รู้จักในวงการแฟชั่นแล้ว เมื่อแบรนด์ NASHA เริ่มมาลงตลาดในประเทศ ณัชชาพบว่าเสียงตอบรับ ที่ได้จากลูกค้าไทยและต่างชาตินั้นต่างกัน “ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าใน ต่างประเทศของของเราจะอยู่ใน Selected Shop แต่ที่นี่เรามีร้าน Stand Alone ซึ่งแน่นอนว่าลักษณะการขายจะไม่เหมือนกัน ที่นี่เป็นลูกค้ารีเทล เราต้องใช้เวลาพูดคุยกับเขานานกว่า สิ่งที่คนคาดหวังจากเราก็ต่างกัน เมืองนอกเขาซื้อเพราะคาแรกเตอร์ของเรา เขาต้องการคาแรกเตอร์แบบนี้ แต่ที่นี่คนจะมองในเรื่องฟังก์ชั่นมากๆ คือเขาชอบคลัชท์นะแต่มันใช้งาน ไม่ได้ ประมาณว่า ‘ฉันต้องการใส่ของของฉันให้ได้เยอะที่สุด แล้วมันต้อง เข้ากับคาแรกเตอร์ของฉันบ้าง’ ดังนั้นเราจึงพยายามไม่ไปกรอบความคิด
ของลูกค้าให้รสู้ กึ ยากทีจ่ ะถือกระเป๋าเรา ของทีข่ ายทีน่ เี่ ราอาจจะต้องมีสแี ละ ไซส์ให้เลือกหลากหลายขึน้ แต่ถา้ ต่างประเทศ อะไรเปรีย้ วทีส่ ดุ เราใส่ไปเต็ม ที่ได้เลย มันก็เลยทำ�ให้เราทำ�งานได้อย่างมีความสุข เพราะถ้าขายแค่รีเทล มีเรื่องของการตลาดอะไรเข้ามาเยอะกว่า มันก็อาจจะจำ�กัดความคิด สร้างสรรค์เราไป” ในฐานะดีไซเนอร์ทไี่ ม่ได้มพี นื้ ฐานด้านธุรกิจมาก่อน หนึง่ ในสิง่ ทีณ่ ชั ชา ให้ความสำ�คัญคือการสือ่ สารกับลูกค้าและรูว้ า่ ลูกค้าเป็นใครจริงๆ “ในการ สื่อสารกับลูกค้า นอกจากการทำ�แบรนดิ้งชัดเจนด้วยการคุมภาพให้มันไป ในทางเดียวกันทั้งหมดแล้ว เตยคิดว่าสิ่งสำ�คัญคือเขาต้องเข้าใจด้วยว่า เพราะอะไรแบรนด์เรามันถึงแพง เพราะฉะนั้นสิ่งที่สื่อสารกับเขามันต้อง บอกเหตุผลตรงนี้ ซึ่งมันต้องใช้เวลา” ณัชชาอธิบายให้เราฟังว่า วัสดุเกือบ ทุกชนิดที่เธอคัดเลือกมาใช้ล้วนนำ�เข้าจากแหล่งที่มีความเชี่ยวชาญในวัสดุ แต่ละประเภทโดยเฉพาะ ไม่ได้จำ�กัดว่าหนังที่ดีจะต้องมาจากอิตาลีเท่านั้น เช่น ถ้าหากเป็นหนังแพะ เธอจะเลือกใช้หนังจากฝรั่งเศสซึ่งเป็นหนังฟอก ฝาดซึง่ ใช้กรรมวิธโี บราณ โดยสีและพืน้ ผิวของหนังจะเข้มและเงาขึน้ สวยงาม ขึ้นตามกาลเวลาและการใช้งาน เพิ่มความรู้สึกของการเป็นเจ้าของ (Sense of Belongings) ในชิ้นงานมากขึ้น DESIGNER IS NOT GOD แม้จะดูเหมือนว่าทุกวันนี้ NASHA เป็นแบรนด์ที่ประสบความสำ�เร็จและมี ผลงานเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นต่างประเทศ แต่ณัชชาบอกว่ายังมีสิ่งที่ เธอต้องเรียนรูอ้ กี มาก “ในด้านธุรกิจ การทีเ่ ราจะรวมมาร์เก็ตติง้ กับงานดีไซน์ เข้าด้วยกันเป็นเรื่องยากมาก เพราะส่วนหนึ่งเราก็ต้องขาย แต่ส่วนหนึ่งก็ยัง ต้องฝัน ก็ต้องศึกษาและปรับไปเรื่อยๆ อยู่ เพราะเราทำ�ทุกอย่างเอง ส่วนเรื่องของดีไซน์ สิ่งที่เตยได้จากการอยู่ที่นู่นคือมีคนกล้าวิจารณ์งานของ เราตรงๆ ดีไซเนอร์เป็นเหมือนเมล็ดที่อยู่บนดิน ซึ่งมันทำ�ให้เราพัฒนาตัว เองตลอดเวลา แต่ที่นี่ไม่มีใครติงานเราเลย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เตยว่าการที่ เราเชิดชูดีไซเนอร์มันเป็นการฆ่าดีไซเนอร์มากๆ” สำ�หรับนักออกแบบไทยที่ฝันอยากจะบุกตลาดโลก ณัชชามองว่าอาวุธ สำ�คัญที่ขาดไม่ได้ คือทัศนคติ “เตยว่าคนไทยดูถูกตัวเอง เราคิดว่าต่าง ประเทศดีกว่าเราตลอด หลายคนมองว่าดีไซเนอร์ระดับโลกมันช่างไกลจาก เราเหลือเกิน แต่ไม่เลย เราไม่ได้มองว่าเขาเป็นพระเจ้าหรืออะไรทั้งนั้น เตยมองว่าเขาก็เป็นคนที่ทำ�งานดีคนหนึ่ง คือต้องเริ่มจากตรงนี้เลยว่าอย่า ไปคิดว่าเรากับเขาไกลกันขนาดนัน้ แล้วทุกอย่างมันก็จะตามมาเอง ทุกวันนี้ มีอะไรให้เราเดินดูในห้างเยอะแยะว่าของทีด่ เี ป็นยังไง แต่เพราะหลายคนไม่ ได้คดิ ว่าเราจะต้องไปให้ถงึ ทีส่ ดุ หลายคนอาจจะคิดว่าแค่ท�ำ งานแล้วมีความ สุข ขายได้ที่นี่ก็พอแล้ว ซึ่งก็ไม่ได้ผิดนะ แต่ถ้าอยากจะไปถึงระดับโลก เรา ต้องมองให้ไกลกว่านั้น”
NASHA MEKRAKSAVANICH Instagram: @nasha_official Facebook: Nasha Laboratoire Website: nasha-accessories.com
CREATIVE THAILAND I 23
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เปิดพืน้ ทีช่ มุ ชน “ช่างโบราณ” งานหัตถศิลป์ที่รอวันสืบสาน เรื่อง / ภาพ: ศรัณยู นกแก้ว
ในซอกหลืบของตึกสูงระฟ้ากลางมหานคร กรุงเทพฯ ได้ซอ่ นช่างฝีมอื โบราณไว้กบั หน้าประวัตศิ าสตร์ของชุมชนเก่าแก่มากมาย นายช่างบางคนสืบทอดงานหัตถศิลป์มาตั้งแต่ครั้งอพยพจากจีนแผ่นดินใหญ่ บางชุมชนเป็นหมู่บ้านช่างโบราณที่มีการ ถ่ายทอดภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยย้ายกรุงสู่รัตนโกสินทร์ ในขณะที่งานฝีมือบางประเภทต้องใช้ความพยายามจากทุกฝ่าย ในการพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เคยสูญหายไปกับกาลเวลา แต่ก็น่าเสียดายที่งานช่างอีกหลายแขนงต้องเหลือไว้เพียง ป้ายแห่งความทรงจำ� ที่ตอกยํ้าถึงการต้องเร่งปรับตัวในหมู่ช่างขนานใหญ่ เพื่อให้ความประณีตสามารถอยู่ร่วมกับยุคสมัย และไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ก่อนที่หัตถศิลป์จากช่างโบราณจะกลายเป็นแค่งานสะสมในตู้โชว์ CREATIVE THAILAND I 24
จากนายห้างจิมฯ สู่ยุคทอง ของผ้าไหมบ้านครัว ชื่ อ เสี ย งของผ้ า ไหมบ้ า นแขกครั ว ริ ม คลอง แสนแสบอาจจะไม่ โ ด่ ง ดั ง และมี ร าคาสู ง เท่ า ผ้าไหมที่ตีตราจิม ทอมป์สัน แต่ชุมชนผู้สืบทอด การทอผ้ า มาจากบรรพบุ รุ ษ แขกจามแห่ ง นี้ กลับเป็นกุญแจสำ�คัญผู้อยู่เบื้องหลังความสำ�เร็จ ของผ้าไหมไทยยีห่ อ้ นายห้างจิมฯ ก่อนทีจ่ ะมีการ หยุดชะงักลงพร้อมกับการหายตัวไปอย่างลึกลับ ของชายชาวอเมริกนั ผูน้ ใ้ี นปี พ.ศ.2510 และนัน่ จึง เป็นการปิดตำ�นานผ้าไหมบ้านครัวอย่างถาวร พร้ อ มกั บ การย้ า ยฐานการผลิ ต ของผ้ า ไหม จิ ม ทอมป์ สั น ไปยั ง อำ � เภอปั ก ธงชั ย จั ง หวั ด นครราชสีมา “สมัยก่อนผ้าไหมบ้านครัวมีชื่อมาก ตลอด ท่านํ้าริมคลองแสนแสบนี่เต็มไปด้วยลานตาก เส้นไหม คนต่างจังหวัด โดยเฉพาะจากอีสานก็ พากันเข้ามาทำ�งานทอผ้าที่บ้านครัวเต็มไปหมด ยิ่งชาวต่างชาติรู้จักจิม ทอมป์สันมากเท่าไหร่ ผ้าไหมบ้านครัวก็โด่งดังตามไปด้วย แต่พอจิม ทอมป์สนั หายตัวไป ทุกอย่างก็หยุดชะงัก ในทีส่ ดุ คนบ้านครัวก็เลิกทอผ้าไปเกือบหมด” ชายผมสีดอกเลาวัย 76 ปี “มนัสนันท์ เบญจรงค์จินดา” หรือ “ลุงอู๊ด” บอกเล่าถึงยุค รุ่งเรืองของบ้านครัว ซึ่งเป็นเหตุให้ลุงได้ฝึกหัด ย้อมเส้นไหมตั้งแต่วัยเพียง 13 แล้วก้าวผ่านจาก ยุครุ่งเรืองที่ทุกครัวเรือนเคยคึกคักด้วยการทำ�
ผ้าไหมที่แบ่งไปตามความชำ�นาญ สู่ปัจจุบันที่ กลับเหลือเพียงบ้านลุงอูด๊ หลังเดียวทีย่ งั คงมีเสียง กี่กระตุกให้ได้ยิน เหตุผลสำ�คัญที่ทำ�ให้ผ้าไหมบ้านครัวยังคง หลงเหลือมาจนถึงรุ่นลุงอู๊ด ก็ด้วยการที่ภาครัฐ นำ�โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์โอท็อปเข้ามาผูกจับ กั บ ช่ า งฝี มื อ ที่ ใ กล้ สู ญ หาย และนั่ น จึ ง ทำ � ให้ ประวัตศิ าสตร์อนั ยาวนานของผ้าไหมบ้านครัวถูก ยกขึ้นมาเป็นจุดขาย พร้อมการันตีคุณภาพด้วย ชื่อของนายห้างจิม ทอมป์สัน เมื่อชื่อบ้านครัวกลับมาติดตลาด ลุงอู๊ดจึง ตอกยํ้าความเป็นหนึ่งเดียวของชุมชนด้วยการ เปิดตัวผ้าไหมลาย 9 สี อันเป็นมรดกตกทอดมา แต่ครั้งเริ่มต้น และมากกว่านั้นคือเรื่องของการ พัฒนางานดีไซน์ที่มีการทดลองผสมสีและจับคู่สี ชุดใหม่ให้ผ้าไหมได้ใกล้ชิดกับไลฟ์สไตล์ของคน รุน่ ใหม่มากยิง่ ขึน้ แต่กระนัน้ ปัญหาหลักของบ้าน ครัวก็ยังคงเป็นเรื่องของแรงงานและผู้สืบสาน ที่ไม่แน่ว่าลุงอู๊ดอาจเป็นรุ่นสุดท้ายของตำ�นาน ผ้าไหมบ้านแขกครัวแห่งนี้
พลิกฟื้นช่างบาตรด้วยการ ท่องเที่ยว อีกชุมชนทีง่ านหัตถศิลป์โบราณได้รบั การฟืน้ ฟูขนึ้ มาใหม่ หลังจากที่ช่างในชุมชนต่างก็ถอดใจทิ้ง เครื่องมือเลิกทำ�มาเนิ่นนาน คือ “บ้านบาตร” ชุมชนช่างทำ�บาตรพระด้วยมือที่ยังเหลืออยู่แห่ง CREATIVE THAILAND I 25
เดียวในไทย โดยชุมชนบ้านบาตรแห่งนี้เป็นหนึ่ง ในชุมชนช่างทีโ่ ยกย้ายมาตัง้ แต่ครัง้ กรุงศรีอยุธยา แตก กระทั่งมาสู่ยุครัตนโกสินทร์ ที่บ้านทุกหลัง ในชุมชนก็ยังคงไม่ว่างเว้นจากเสียงการตีเหล็ก ขึ้นรูปให้เป็นบาตร กระทั่งมาถึง พ.ศ.2514 ความเปลี่ยนแปลง ได้มาสู่บ้านบาตรพร้อมกับการเปิดโรงงานหล่อ บาตรสแตนเลสราคาไม่กี่ร้อยบาท ในขณะที่ บาตรเหล็กจากบ้านบาตรกลับมีราคาสูงขึ้นไป แตะหลักพันปลาย ยิ่งความนิยมในการบวชพระ มีการเปลี่ยนจากแรมเดือนไปเป็น 3 วัน 7 วัน บาตรเหล็กทีแ่ ข็งแรงใช้ได้ชวั่ อายุคนจึงไม่มคี วาม จำ � เป็ น อี ก ต่ อ ไป สุ ด ท้ า ยกลุ่ ม ลู ก ค้ า หลั ก ของ บ้านบาตรจึงเหลือเพียงพระสายป่าผูเ้ คร่งเครัดใน ธรรมวินัย ที่ยังคงใช้บาตรเหล็กที่มีรอยต่อของ แผ่นเหล็กคล้ายตะเข็บจีวรอันเป็นเอกลักษณ์ของ บ้านบาตรเท่านั้น คุ ณ หิ รั ญ เสื อ ศรี เ สริ ม ประธานชุ ม ชน บ้านบาตรบอกเล่าถึงการพลิกฟืน้ งานหัตถศิลป์ที่ ต้องหยุดชะงักไปร่วม 30 ปีของช่างทำ�บาตร ว่าต้องขอยกความดีให้กับ คุณชาญชัย วามะศิริ ผู้อำ�นวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ซึ่งเริ่มมอง เห็นช่องทางการตลาดใหม่ ที่ไม่ได้จำ�กัดอยู่แค่ กลุม่ พระสงฆ์แบบเมือ่ ก่อน ตรงกันข้ามคุณชาญชัย ได้มองไกลไปถึงกลุ่มนักสะสมและนักท่องเที่ยว ผู้นิยมชมชอบกรุงเก่า พร้อมกันนั้นก็พยายามดึง คุณค่างานช่างฝีมอื หนึง่ เดียวในไทยให้เป็นทีร่ จู้ กั ของทั่วโลก
บ้านบุกับงานหัตถศิลป์หนึ่ง เดียวในโลก
“ตอนนั้ น ท่ า นชาญชั ย เริ่ ม มี ก ารยกเอา ขัน้ ตอนการทำ�บาตรมาให้นกั ท่องเทีย่ วได้เห็นกัน ทีร่ มิ ถนน ตรงสีแ่ ยกเมรุปนู มีการออกสือ่ ออกทีวี ทั้งของไทยและต่างประเทศ พอนักท่องเที่ยวเริ่ม รู้จักว่าบาตรของบ้านบาตรต่างจากบาตรปั๊มใน โรงงานยังไง เขาก็เริ่มสนใจ ถามถึง ยิ่งรู้ว่าเป็น งานฝีมอื ของจริงทีส่ บื ทอดมาเป็นร้อยปีกเ็ ริม่ มีคน อยากได้ แต่ปัญหาต่อมาคือ เขาไม่รู้จะเอาบาตร ใบใหญ่ เก้านิ้ว สิบนิ้วไปทำ�ไม มันก็กลายเป็นว่า เราเองนี่ แ หละตั ว ช่ า งเองที่ ต้ อ งเริ่ ม เปลี่ ย น ออกแบบบาตรให้มีหลายประเภท ทั้งบาตรใบ เล็กๆ เป็นของที่ระลึก บาตรที่มีการใส่ลายไทย ลงไปสำ�หรับกลุ่มที่ต้องการซื้อไปเป็นงานโชว์ แต่บางคนก็ตอ้ งการซือ้ เฉพาะบาตรทีเ่ ห็นรอยต่อ ของแผ่นเหล็กชัดเจนเพื่อให้รู้ว่านี่เป็นบาตรจาก บ้านบาตร และเมื่อบาตรกลับมาขายได้อีกครั้ง คราวนี้เราก็ต้องมาแก้ปัญหาที่กำ�ลังการผลิต โดยการใช้เครื่องมือสมัยใหม่อย่างเครื่องเจียร ไฟฟ้า เครือ่ งเป่าลมไฟฟ้ามาช่วย ซึง่ ผมถือว่าเป็น เรื่องที่น่าภูมิใจนะ หลังจากบ้านบาตรหยุดทำ� บาตรไปเกือบ 30 ปี จากช่างที่เหลือเพียง 11 คน จากบ้านทำ�บาตรที่เหลือเพียง 1 บ้าน ตอนนี้เรา มีชา่ งทัง้ รุน่ เก่า และเด็กรุน่ ใหม่รวมแล้วประมาณ 30 คน ทำ�กันทั้งหมด 7 บ้าน และก็มีออร์เดอร์ ยาวตลอดทั้งปี”
เมือ่ การปรับตัวและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นทาง เดียวที่จะทำ�ให้ช่างโบราณสามารถอยู่รอดได้ใน ทุกยุคสมัย คุณเจียม แสงสัจจา ทายาทรุ่นที่ 6 นับตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแห่งสกุลช่างเครื่องทอง ลงหินบ้านบุ จึงต้องลุกขึ้นมาเปลี่ยนรูปแบบ ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตขันลงหินแห่ง ชุมชนบ้านบุขนานใหญ่ จนก้าวผ่านวิกฤตที่มา พร้อมกับการเปิดกิจการโรงงานปั๊มทองเหลือง ด้วยเครื่องจักร ซึ่งมีสีสันเหมือนกับเครื่องทอง ลงหินไม่ผิดเพี้ยน จะต่างกันก็ตรงที่โรงงานปั๊ม ทองเหลืองนั้นเร่งกำ�ลังการผลิตได้ในปริมาณที่ มากกว่า และได้สนิ ค้าทีม่ รี าคาถูกกว่าเครือ่ งทอง ลงหินหลายเท่าตัว “สมัยก่อนชุมชนบ้านบุเต็มไปด้วยช่างทำ� เครื่องทองลงหิน หรือที่เรียกขันลงหิน ที่นี่ทำ�กัน มากเป็ น ร้ อ ยหลั ง คาเรื อ น ขั น ลงหิ น นี่ เ ป็ น ภูมิปัญญาของคนโบราณที่สืบสานต่อกันมากว่า สองร้อยปีและมีแห่งเดียวในโลก แต่ปรากฏว่า ตอนนี้เหลือเพียงบ้านเดียว กงสีเดียวที่ยังคง สืบทอดงานขันลงหิน เหตุผลหลักมาจากการที่ โดนโรงงานทองเหลืองตีตลาด แต่เรายังโชคดีที่ คุณเจียม ทายาทรุน่ ที่ 6 เปลีย่ นความคิดทีจ่ ะเลิก กิจการมาเป็นการเปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ ทัง้ หมด รวมทัง้ ปรับขัน้ ตอนการผลิต จนสามารถ สร้างมูลค่าเพิม่ ให้กบั ขันลงหิน และทำ�ให้งานช่าง
CREATIVE THAILAND I 26
โบราณกลายเป็นสินค้าหัตถศิลป์ส่งออกไปไกล ถึงยุโรป” คุณเมตตา เสลานนท์ (แสงสัจจา) ทายาท ของคุ ณ เจี ย มเล่ า ขานถึ ง การปรั บ ตั ว ของช่ า ง โบราณ ซึ่งนอกจากจะโดนทองเหลืองตีตลาด ก็ยังมีเหตุจากการที่วัสดุหลักในการผลิตอย่าง ทองม้าล่อ เริ่มขาดตลาดจนทำ�ให้คุณเจียมต้อง ไปปรึกษากับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแยกสาร ตั้งต้นของทองม้าล่อและกลายเป็นสูตรใหม่ที่ ช่างแห่งกงสีแสงสัจจาใช้มาจนถึงปัจจุบัน ไม่เพียงเท่านัน้ คุณเจียมยังเลือกทีจ่ ะหันหน้า ชนกับงานทองเหลืองในโรงงานอุตสาหกรรมด้วย การคงเหลือเนื้อสีดำ�ให้กลายเป็นเอกลักษณ์งาน ทำ�มือทีม่ เี ฉพาะบ้านบุเท่านัน้ พร้อมกับเพิม่ มูลค่า สินค้าให้มีราคาสูงขึ้นไปอีกด้วยการเพิ่มขั้นตอน การผลิต จากเดิมที่ใช้ช่างเพียง 4 คนต่อการทำ� เครื่องทองลงหิน 1 ชิ้น ก็กลายมาเป็นการใช้ ช่างถึง 7 ความชำ�นาญ ในการสร้างสรรค์จน กลายเป็นงานประณีตศิลป์เพียงไม่กี่ชิ้นในโลกที่ ต้องใช้ช่างฝีมือมากมายถึงเพียงนี้ ทั้งนี้ช่างลำ�ดับที่ห้าซึ่งเพิ่มเติมเข้ามาคือ การแต่งเนื้อให้เนียนเรียบ ต่อด้วยช่างที่หก เป็น ช่างเคลือบเงา ลำ�ดับสุดท้ายคือช่างเขียนลายไทย ซึง่ มหัศจรรย์ตรงทีไ่ ม่มกี ารร่างลายไว้ลว่ งหน้า แต่ ช่างต้องใช้ประสบการณ์และความชำ�นาญเดิน แท่งเหล็กให้เป็นลายกนก และนํ้ามะลิวัลย์อัน อ่อนช้อย ทีป่ จั จุบนั เหลือคนทีเ่ ขียนลายเหล่านีไ้ ด้ เพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น
และที่ถือว่าเป็นการปรับตัวขนานใหญ่ของ บ้านบุคอื เรือ่ งของดีไซน์ ทีไ่ ม่จ�ำ กัดว่าจะต้องเป็น ขัน และพานรองอย่างทีค่ นรุน่ เก่านิยม เครือ่ งทอง ลงหินในปัจจุบันจึงพัฒนาให้กลายเป็นของที่ ระลึกและสิ่งของในชีวิตประจำ�วันมากขึ้น ไม่ว่า จะเป็นจอกใบเล็ก ชามสลัด ชุดใส่นํ้าเย็น ที่เขี่ย บุหรี่ ชามผลไม้ เป็นต้น และเมื่อถามถึงการสานต่องานศิลป์ของ แผ่นดินสู่ลูกหลาน คุณเมตตาตอบว่าช่างที่กำ�ลัง ทำ�งานอยู่หน้าเตาไฟเหล่านี้คือรุ่นสุดท้าย ช่าง ลำ�ดับอื่นๆ ยังพอที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ได้ แต่ลม หายใจของบ้านบุจะอยู่หรือไปนั้นขึ้นอยู่กับช่างตี ขึ้นรูปลำ�ดับที่ 1 เท่านั้น “เสียดายเราไม่สามารถทำ�ตลาดให้โตกว่านี้ ได้ เพราะเราต้องพึ่งคนงาน ถ้าเขาหมดแรงเราก็ ต้องหยุด ช่างตีขน้ึ รูป หรือช่างคนทีห่ นึง่ คือคำ�ตอบ ว่าขันลงหินบ้านบุจะจบ หรือทำ�ต่อไป”
ความเชือ่ ออนไลน์และยุคใหม่ ของกระดาษไหว้เจ้า จากยุคหนึ่งที่อากง อาม่าเคยบ่นไว้ว่า พอหมด รุ่นนี้แล้ว ลูกหลานเชื้อสายจีนก็คงเลิกไหว้เจ้า แต่ความเป็นจริงกับตรงกันข้าม และดูเหมือน จะกลายเป็ น ความนิ ย มที่ ม ากขึ้ น ด้ ว ยซํ้ า ไป นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำ�ให้ร้านขายเครื่องกระดาษ สำ�หรับไหว้เจ้าในย่านเจริญชัย “ตั้งเคีย่ วมิ้น” เลือกที่จะให้รุ่นลูกเข้ามาสืบต่อกิจการ พร้อมกับ ปรับกลยุทธ์การบริหารและการขายให้ทันสมัย จากที่เคยอยู่เงียบๆ รับเฉพาะลูกค้าเก่า บอกต่อแบบปากต่อปากในตรอกเจริญชัยมานาน กว่า 80 ปี ตั้งเคี่ยวมิ้นก็เริ่มเข้าสู่โลกออนไลน์ ที่มีการใส่ไอเดียดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งลงไปครบทั้ง ช่ อ งทางการซื้ อ ขายในไลน์ แ ละเฟซบุ๊ ก เพื่ อ เตรียมรองรับกลุ่มลูกค้าที่กำ�ลังจะเปลี่ยนจาก รุ่นเก่าไปสู่รุ่นใหม่ พร้อมกันนั้นก็สร้างการรับรู้ ใหม่ให้ลูกค้านึกถึงตั้งเคี่ยวมิ้นในทุกวัน ไม่จำ�กัด เฉพาะเทศกาลสารทจี น ตรุ ษ จี น หรื อ ไหว้ พระจันทร์อย่างที่ผ่านมา
คุณวันดี ติรโสภี ทายาทรุ่นที่ 3 ผู้เติบโต ในชุ ม ชนทำ � กระดาษไหว้ เ จ้ า มาตั้ ง แต่ เ ด็ ก บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงใน กิจการทำ�กระดาษไหว้เจ้า ว่ามีเหตุมาจากการไม่ สามารถควบคุมคุณภาพงานกระดาษที่ต้องใช้ แรงงานคนและการทำ � มื อ ในทุ ก ขั้ น ตอนได้ ทางเลือกสุดท้ายทีจ่ ะรักษาคุณภาพความสวยงาม จึ ง ต้ อ งหั น ไปพึ่ ง กระดาษที่ ผ ลิ ต ได้ ม าตรฐาน เดียวกันทุกแผ่นจากโรงงาน จากนั้นจึงค่อยนำ� กลับมาพับและจัดเข้าชุดด้วยตัวเอง ซึ่งนั่นเป็น เหตุผลว่าทำ�ไมอาชีพช่างพับกระดาษแห่งย่าน เจริญชัยจึงยังคงอยู่ แม้จะมีโรงงานทำ�กระดาษ เกิดขึ้นมาก็ตาม “คนเดี๋ยวนี้กล้าซื้อกันมากขึ้น คนสมัยก่อน จะซื้อแบบถูกๆ แต่คนสมัยนี้เขาจะเน้นไหว้ด้วย ของดีๆ สวยๆ จากที่เคยคิดว่ารุ่นลูกจะเลิกไหว้ ก็กลายเป็นของไหว้ขายดีขนึ้ แต่ทางเราเองก็ตอ้ ง ปรับตัวให้เข้ากับลูกค้าใหม่ๆ ให้มากขึน้ ด้วย เช่น ธูปก็ต้องมีกลิ่นหอม ในกลุ่มที่เขารักสุขภาพเขา ก็ตอ้ งการธูปไม่มคี วัน ขีธ้ ปู น้อย หรืออย่างบางคน ทำ�งานนอกบ้านมีเวลาไหว้น้อย เราก็เปลี่ยนจาก ธูปก้านยาวแบบเก่ามาเป็นธูปก้านสั้นให้เขาออก ไปทำ�งานทัน ทีส่ �ำ คัญทุกอย่างต้องสำ�เร็จรูป เพราะ
คนเดี๋ยวนี้ไม่มีเวลา จะให้เขามาซื้อกระดาษไป นั่งพับเองแบบรุ่นอากง อาม่าไม่มีแล้ว เราก็ต้อง ทำ�ให้เขาเสร็จสรรพพร้อมนำ�กลับไปไหว้ได้เลย” นอกจากการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับ ไลฟ์สไตล์ลูกค้ากลุ่มใหม่แล้ว การให้คำ�ปรึกษา และการส่งต่อเรื่องราวของความเชื่อที่พร้อมจะ หายไปกับกาลเวลาก็เป็นอีกสิ่งที่จะขาดไม่ได้ นั่นจึงเป็นที่มาของการค่อยๆ ปล่อยข่าวสารให้ กระจายออกไปในโลกออนไลน์ เพือ่ กระตุน้ เตือน ให้ลูกค้ารุ่นใหม่ๆ ได้รู้ว่า พรุ่งนี้เป็นวันดี พรุ่งนี้ ควรไหว้อะไร อีกกี่วันจะถึงวันเกิดเจ้า และเพื่อ ให้ทันใจ ทันเวลา การส่งของแบบเดลิเวอรี่ให้กับ ลูกค้ากลุ่มออนไลน์จึงเป็นอีกบริการที่ตามมา “เรื่องอินเทอร์เน็ตนี่ยกให้เป็นหน้าที่ลูกสาว ที่เข้ามาช่วย พอเขาเข้ามา ร้านก็เริ่มมีการปรับ หลายอย่าง ทั้งเรื่องการสต็อกของ การสั่งของที่ เป็นความต้องการของตลาด การทำ�บัญชี เมื่อ ตรุษจีนทีผ่ า่ นมา เราก็เริม่ มีการทำ�ไลน์ กับเฟซบุก๊ ค่อยๆ ปล่อยข้อมูล ถ่ายรูปลงไปด้วยให้สวยๆ ให้ลูกค้าได้เห็นตัวอย่าง ไม่ต้องรอให้ถึงวันสารท ไม่ ต้ อ งมาถึ ง ที่ ร้ า นก็ ซื้ อ สิ น ค้ า ของเราได้ ทั น ที ซึง่ เป็นการปรับเพือ่ รองรับลูกค้ากลุม่ ใหม่ๆ ทีเ่ ชือ่ ใจเรา ไว้ใจเรามาตั้งแต่รุ่นอากง อาม่า”
ข้อมูลติดต่อ: ลุงอู๊ดบ้านครัวไหมไทย ชุมชนบ้านครัว ซอยเกษมสันต์ 3 ถนนพระราม 1 กรุงเทพฯ โทร.0-2159-864, 08-6334-3423 กลุ่มอนุรักษ์ไทยและภูมิปัญญาไทย (ชุมชนบ้านบาตร) ซอยบ้านบาตร ถนนบริพัตร กรุงเทพฯ (ร้านตั้งอยู่แยกเมรุปูน) โทร.08-6104-9639 และ 09-9224-7864 เว็บไซต์: banbatt.com ร้านเครื่องกระดาษตั้งเคี้ยวมิ้น ตรอกเจริญชัย 2 ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร.0-2221-6759 เฟซบุ๊ก : facebook.com/tkmonline กลุ่มขันลงหินบ้านบุ ถนนจรัญสนิทวงศ์ 32 กรุงเทพฯ (ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งใต้ ใกล้กับวัดสุวรรณาราม สามารถจอดรถในวัดได้) โทร.0-2424-1689
CREATIVE THAILAND I 27
The Creative : มุมมองของนักคิด
กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ และ สมรรถพล ตาณพันธุ์ เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ / ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายค�ำนามค�ำว่า “ช่าง” ว่า “ผู้ชํานาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อ ช่างไม้ ช่างไฟ” ถ้าความช�ำนาญในการฝีมือคือหมุดหมายส�ำคัญ นิยามของค�ำว่าช่างไทยใน รูปแบบร่วมสมัยคืออะไร และพืน้ ทีแ่ บบไหนหรือปัจจัยอืน่ ใด ทีจ่ ะเอือ้ ให้เกิดผูช้ �ำนาญการช่างรุน่ ใหม่และงานช่างแห่งอนาคตที่ อาจจะช่วยขับเคลือ่ นประเทศไทยไปข้างหน้า คงไม่มใี ครเหมาะไปกว่า กัลยา โกวิทวิสทิ ธิ์ (เจน) และ สมรรถพล ตาณพันธุ์ (เบล) สองผู้ก่อตั้ง FabCafe Bangkok ที่จะเปิดมุมมองต่อช่างและความเป็นช่างฝีมือในโลกยุค 4.0 ในฐานะผู้ให้บริการพื้นที่ที่เปิด กว้างให้คนทุกเพศทุกวัยได้มาทดลอง “ฝึกฝน” และ “สร้าง” สิ่งต่างๆ ด้วยเครื่องมือที่ครั้งหนึ่งจ�ำกัดอยู่เพียงแค่ในโรงงาน ทั้งสองก�ำลังบอกเราว่าสิ่งส�ำคัญของเรื่องช่างหรือการสร้างช่างงานฝีมือ อาจอยู่ที่การเปิดพื้นที่และการเชื่อมโยงองค์ความรู้ ต่างสาขา ไม่แพ้กับการให้การสนับสนุนในระยะยาวและการร่วมมือกันให้ได้ผลลัพธ์เฉพาะตัว
CREATIVE THAILAND I 28
ถ้าพูดถึงคำ�ว่า New Kind of Craft (กลุ่มงานช่างฝืมือ แบบใหม่) คิดถึงอะไร มันน่าจะเป็นแบบไหน เจน: ถ้าตามความเข้าใจงานช่างฝีมือคืองานทักษะที่มีความพิเศษ อาจจะมี ข้อผิดพลาดที่แตกต่างจากสินค้ากลุ่มที่ผลิตคราวละมากๆ ซึ่งตรงนี้มันคือ เสน่ห์ พอเป็นงานดิจิทัล คราฟต์ ที่ใช้เครื่องจักรมาร่วมด้วย นั่นยิ่งขยาย ขอบเขต อาจจะเปลีย่ นจากการต้องไปนัง่ ปัน้ เป็นใช้เครือ่ งพิมพ์สามมิตพิ มิ พ์ เซรามิกขึ้นมาแทน จุดที่เราเข้าไปเล่นเปลี่ยนไป เมื่อก่อนอาจจะทดลอง เรื่องดิน แต่ตอนนี้สปีชีส์วัสดุเปิดกว้างขึ้น อาจจะเป็นกลุ่มโพลีเมอร์+ดิน เป็นวัสดุเชิงสังเคราะห์มากขึ้น หรือการขึ้นรูปแบบปูนปั้นอาจจะเปลี่ยน กระบวนการไป ซึ่งตรงนั้นทำ�ให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่าง ทำ�ให้สิ่งที่เกิดขึ้นกับ การมีส่วนร่วมของคนเปลี่ยนไป มีช่างแบบใหม่ที่เมื่อก่อนอาจจะขึ้นโมเดล เก่ง แต่ตอนนี้อาจจะเน้นเขียนโปรแกรมเก่ง ทำ�ให้วิชาชีพวิวัฒนาการตาม ไปด้วย คุณค่าของช่างสมัยใหม่อาจจะไม่ได้เน้นทักษะฝีมอื แต่เน้นการ ผสมผสานองค์ความรู้หลายๆ ด้าน ต้องทันโลก ทันเทรนด์ รู้จักใช้เครื่องมือ คิดว่าคุณค่างานทำ�มือจะหายไปไหม เบล: ต้องเข้าใจคำ�ว่าช่างก่อน คำ�ว่า Craftsmanship (ทักษะความเชี่ยวชาญ ในงานช่างชนิดหนึ่งๆ) จริงๆ ไม่ได้หายไปเลย ช่างคือการลงมือทำ�อะไร สักอย่างด้วยความประณีต ดังนัน้ ทุกวันนีไ้ ม่วา่ เราจะเขียนโปรแกรมก็จะต้อง ใช้ความประณีต การขึ้นต้นแบบสามมิติหรือแม้แต่ตอนพิมพ์ก็ต้องทำ�ด้วย ความประณีต ทุกอย่างต้องวางแผน ตั้งค่าด้วยความประณีต เพราะฉะนั้น ถามว่าพอมีเครื่องมือสมัยใหม่ อะไรๆ มันก็ง่ายขึ้นไหม คิดว่าไม่ได้ง่าย ขนาดนั้น มันคือวิถีชีวิตที่แม้ว่าเครื่องมือจะเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างไร ความเป็นงานมือก็ยังคงมีอยู่ ถ้าลองย้อนกลับไปก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติ อุตสาหกรรม เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่างานที่เกิดจากระบบอุตสาหกรรม ไม่มีความประณีต เพราะการสร้างต้นแบบ การสร้างสายพานการผลิต ทุกอย่างต้องเป๊ะมาก การผลิตรถยนต์สักคันหนึ่งจริงๆ แล้วกว่าที่เราจะ ได้มา ทุกขั้นตอนมีความละเอียด ซึ่งแน่นอนมันก็ถ่ายทอดมาจนถึงวันนี้ ไม่ใช่ว่ามีเครื่องปุ๊บกดปั๊บได้เลย ซึ่งจุดนี้ล่ะที่ผมมองคำ�ว่า Craftsmanship ว่าอย่างไรก็คงเป็นวิถี เราจะสร้างสมดุลเทคโนโลยีกับตัวคนใช้งานได้อย่างไร อัตรา เร่งของเทคโนโลยีเร็วจนบางครัง้ นักออกแบบหรือคนใช้งานก็ อาจจะตามไม่ ทั น หรื อ ใช้ ไ ม่ เ ป็ น ด้ ว ยซํ้ า ไป ช่ า งยุ ค เก่ า จะ ปรับตัวอย่างไร เจน: เจนว่าช้าๆ ก็ได้นะ ไม่ต้องเร็วขนาดนั้น มันมีของเล่นเยอะที่ตกรุ่นไป แล้วยังเล่นได้อีก หยิบมาเล่น หยิบมาลองเลย คิดว่าที่น่ากลัวกว่าคือหยิบ มาเล่นแล้วไม่รู้ว่าทำ�อะไร อีกอย่างคือไม่หยิบมาเล่นเลย
เบล: ผมมอง 2 ประเด็น หนึ่ง ช่างยุคเก่าจะสาบสูญไหม เยอะแน่นอน แต่ ก็จะมีบางกรณีทขี่ องมีเสน่หจ์ ริงๆ เขาอาจจะไม่ตอ้ งปรับตัวเลยด้วยซํา้ สอง ช่างยุคใหม่จะปรับตัวอย่างไร จะเอาของของยุคเก่าและยุคใหม่มาผสมผสาน ปรับกันได้อย่างไร ตรงนีเ้ ป็นประเด็นทีส่ �ำ คัญ ความเป็นช่างสมัยใหม่ อะไรๆ ก็ดูจะเหมือนง่ายไปหมด แต่อย่างที่ผมบอก มันยังต้องการทักษะและเวลา ในการพัฒนาฝีมืออยู่ยาวนานเหมือนกัน เพราะฉะนั้น มันจะกลายเป็นว่า ของที่เกิดขึ้นทุกวันจะกลายเป็นของฉาบฉวย บางคนอาจมองว่าการขึ้นต้น พิมพ์สามมิติง่ายมากเลย แต่เอาเข้าจริงๆ มันก็ยังมีเนื้อหาสาระ เช่น ถ้า จะพิมพ์เราจะต้องทำ�อย่างไร ถ้าจะต้องมาประกอบกันต้องทำ�อย่างไร ทำ�อย่างไรถึงจะประณีต ทำ�อย่างไรถึงจะสมบูรณ์แบบ เจน: เจนมองว่านัน่ คือสาเหตุทท่ี �ำ ให้ดไี ซเนอร์แตกต่างจากคนอืน่ ได้ สิง่ สำ�คัญ คือเรือ่ งราว อย่างทีเ่ ราชอบพูดกันก็คอื Co-create (ร่วมสร้าง) คือเขาก็ตอ้ ง นำ�เสนอโปรดักส์ที่ไม่สำ�เร็จ แล้วให้คนซื้อไปทำ�ให้มันสำ�เร็จ เขาก็ไม่ได้ แสวงหาความประณีต หมายถึงว่าไม่ได้ต้องการความสมบูรณ์แบบของของ แต่ต้องการความเชื่อมโยงกับตัวเขาเอง เขาสามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนได้ มองว่าการ Co-create คือหนึ่งในทางเลือกของการทำ�งาน ช่างฝีมือ หรือจะกลายเป็นทางออกที่ดีที่สุด เจน: คิดว่าเป็นทางเลือก เจนเคยอ่านเจอใน SACICT (ศูนย์สง่ เสริมศิลปาชีพ ระหว่างประเทศ) ว่าสำ�หรับประเทศญี่ปุ่น งานช่างฝีมือของเขาจะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยเริ่มมาตั้งแต่แบบดั้งเดิมที่อนุรักษ์ขั้นตอนการทำ�ทุกอย่างทุกขั้น ตอน วัสดุ บุคคล วิวฒั นาการไปจนเปลีย่ นวัสดุ เปลีย่ นกระบวนการ คืองาน ช่างฝีมือยังมีอยู่ทุกรูปแบบ เพราะคุณค่าของคนที่อยากได้ของมันต่างกัน เจนเชื่อว่าไม่มีคนที่อยากได้ของเหมือนกัน 100 เปอร์เซ็นต์ จริงๆ ตอนนี้บ้านเราก็เริ่มทยอยมิกซ์แอนด์แมตช์ลุคแบบดั้งเดิมแต่ ข้างในยัดไส้ของไฮเทค เป็นจุดเริ่มต้นที่สนุกสนาน แต่ถ้าเป็นกลุ่มของเรา เราจะมุ่งไปที่การผสมผสาน การรวมตัวในเชิงของคอนเซ็ปต์ให้ได้มากกว่า ที่จะเป็นเหมือนเปลือก อยากจะให้มันไปไกลหน่อย คือต้องเข้าใจก่อนว่า ตัวเองสามารถทำ�อะไรได้บ้างและอยากทำ�อะไร ถ้าตอบ 2 อย่างได้ เครื่องมือก็พร้อมที่จะช่วยเหลือ ต่างประเทศเขาก็ติดตรงนี้เหมือนกัน ไม่ใช่ แค่บ้านเรา คือคนที่จับ คลิก เข้าใจ ไปได้จะไปไกลเลย แต่ตอนนี้แค่มี ดีไซเนอร์มาจับเครื่องพิมพ์สามมิติก็หลุดแล้วในระดับหนึ่ง ถือว่าทำ�ให้การ Co-create หลุดมาเป็นนวัตกรรมใหม่เลยได้ อันนี้เขาน่าจะเข้าใจการนำ� ไปใช้
CREATIVE THAILAND I 29
ต้องเข้าใจค�ำว่าช่างก่อน ค�ำว่า Craftsmanship (ทักษะ ความเชี่ยวชาญในงานช่างชนิดหนึ่งๆ) จริงๆ ไม่ได้ หายไปเลย ช่างคือการลงมือท�ำอะไรสักอย่างด้วย ความประณีต ในอนาคต คนเป็นช่างต้องเป็นนักออกแบบด้วยไหม หรือ นักออกแบบต้องเป็นช่างด้วย เบล: ขออธิบายในเชิงสถาปนิกแล้วกัน มีหนังสือเล่มหนึ่ง เขากล่าวว่า สถาปนิกไม่ใช่ Architect แต่คือ Builder (ผู้สร้าง) คือต้องได้ครบทุกอย่าง ทั้งศิลปะ ดีไซน์ เอ็นจิเนียร์ และคน เราต้องนำ�ทุกอย่างมาหลอมรวมกัน เขายกตัวอย่างลีโอนาร์โด ดาวินชี ที่ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าตัวเองเป็นสถาปนิก แต่ยังเป็นนักประดิษฐ์ และจิตรกรด้วย ทุกอย่างมันถูกหลอมรวม เพราะ ฉะนั้น องค์ความรู้สหวิทยาเกิดมานานแล้ว แต่ว่าเราก็แยกออก ทุกวันนี้พอ มาเป็นสถาปนิก มันถูกจับแยก อันนี้ดีไซน์นะ คิดคอนเซ็ปต์ อันนี้เขียนแบบ เสร็จแล้วไปคุยกับผู้รับเหมาต่อ จริงๆ แล้วมันจะต้องมีความรู้แบบสามารถ หลอมรวมทัง้ หมดได้ แล้วค่อยแยกออกไปอีกทีหนึง่ สูค่ นทีม่ คี วามเชีย่ วชาญ เฉพาะด้านจริงๆ เพราะฉะนั้น ผมว่ามันต้องได้ครบ เจน: ตอนนี้องค์ความรู้มันเยอะเกินไปกว่าที่จะเรียนรู้ได้ทัน คือเราเรียนรู้ได้ ในระดับหนึ่ง แต่เราไม่ได้รู้ลึกพอที่จะทำ�ให้ของมันสำ�เร็จ เจนเชื่อในเรื่อง ของ Multidisciplinary (พหุวิทยาการหรือการรวมวิชาการหรือศาสตร์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน) แล้วก็เรื่องการทำ�งานร่วมกันมากกว่า ซึ่งยากว่าจะไปหาทีม แบบนี้ที่ไหน ทีมที่จะมองของได้ใกล้เคียงกัน แล้วจะสู้ด้วยกันจนจบ ความ ง่ายของการทำ�งานคนเดียวคือมันจบที่เรา แต่ถ้าเกิดทำ�งานเป็นทีมก็จะเป็น อีกแบบหนึ่ง
ทุกวันนี้การสร้างช่างของประเทศเราตอบความต้องการถึง จุดไหน รัฐพยายามบอกว่าประเทศขาดช่าง ต้องส่งเสริม วิชาชีพทีส่ ร้างผลผลิตจริงๆ แต่วา่ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต จริงๆ ต้องการอะไร เราควรสนับสนุนด้านไหนกันแน่ เบล: อาจจะไกลคำ�ว่า Craftsmanship ไปเยอะเหมือนกัน แต่ถ้าเกิดอยาก จะส่งเสริมจริงๆ ต้องเริ่มจากการที่เรายอมรับความหลากหลายของวิชาชีพ ให้ได้ก่อน คือไม่ใช่มองว่าต้องเข้ามหาวิทยาลัยให้ได้ เป็นหมอ วิศวกร หรือ สถาปนิก ถึงจะเรียกว่าประสบความสำ�เร็จ ในขณะที่มองว่าเด็กที่ไปไหน ไม่ได้แล้วถึงไปเรียน ปวช. ปวส. เราต้องลบภาพนี้ให้ได้ ทุกวันนีเ้ ราจบมหาวิทยาลัยมา แต่หาคนมาทำ�งานให้เราแทบไม่ได้เลย จะหาช่างฝีมือมาฉาบปูน ต่อไม้ เชื่อมจอยต์ อ๊อกเหล็ก ก็หาลำ�บากมากๆ เพราะฉะนั้นถามว่าจะเพิ่มอย่างไร ต้องเริ่มปรับทัศนคติทั้งหมดเลยว่าการ ศึกษาไม่มีอะไรดีกว่าอะไร ขึ้นอยู่กับว่าจริงๆ แล้วเรามีความเชี่ยวชาญหรือ มีความรักความชอบที่จะทำ�อะไร ทีนี้ถามว่าในความเป็นจริง เราต้องการ แรงงานกลุ่มนี้ไหม ผมคิดว่าตอนนี้ก็น่าจะต้องการอยู่ เพราะว่าก็น่าจะเป็น แรงงาน 60-80 เปอร์เซ็นต์ของประเทศไทยเลยที่ช่วยผลักดันให้ประเทศก้าว ต่อไป เจน: เจนมองว่าระบบการศึกษาเปลี่ยนไปก็เท่านั้น เพราะว่าผู้ที่เข้ารับ การศึกษาหลายคนยังไม่รู้ด้วยซํ้าว่าตัวเองทำ�อะไรอยู่ ศึกษาไปเพื่ออะไร สุดท้ายต้องอยู่ที่ตัวเด็กเอง เราไม่รู้หรอกในอนาคตอาชีพจะถูกเรียกว่าอะไร เพราะเด็กที่เรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ไปทำ�แฟชั่น เรียนสถาปัตย์ก็ไปทำ� ออกแบบโปรดักส์ อีกหน่อยเราเรียกแค่ดีไซเนอร์หรือเปล่า แล้วหน้าที่ของ อาจารย์คืออะไร เพราะว่ากูเกิลรู้มากกว่าเราอยู่แล้ว องค์ความรู้เกิดขึ้นใหม่ ไม่มีทางตามทัน สถาบันและโรงเรียนต้องเปลี่ยน แต่เรารู้หรือเปล่าว่า ต้องเปลี่ยนอย่างไร แต่ถ้าต่างประเทศ เขามองว่าเขาต้องทำ�หน้าที่เป็น Facilitator (ผูร้ บั ผิดชอบในการจัดรูปแบบและวิธกี ารเรียนรูข้ องกลุม่ หรือทีม)
CREATIVE THAILAND I 30
คิดว่าช่างฝืมือเดิมหรือองค์ความรู้เดิมจะหายไปไหม หรือ อย่างโครงการ OTOP คิดว่ารัฐบาลมาถูกทางไหม
มองว่าเวิร์กช็อปจะมีส่วนช่วยเป็นเครื่องมือให้งานช่าง หรือ ช่วยให้เกิดเป็นชุมชนช่าง หรือเกิดเป็นธุรกิจทีอ่ ยูไ่ ด้ยงั่ ยืนด้วย หรือไม่ เบล: จริงๆ มีทงั้ ข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคอื เป็นการให้ความรูอ้ ย่างหนึง่ เป็นการ พัฒนาตัวเองรูปแบบหนึง่ มันเป็นพืน้ ทีว่ า่ งทีท่ �ำ ให้คนมาเจอกันในเรือ่ งทีส่ นใจ แบบเดียวกัน เกิดคอมมูนิตี้แล้วก็นำ�ไปสู่รูปแบบการพัฒนา หรือแม้แต่การ สร้างระบบการศึกษาที่มีรูปแบบสบายๆ มากขึ้น แต่ก็มีข้อเสีย ผมคุยกับ รุ่นน้องคนหนึ่งที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Workshop Phenomena เป็นความ ฉาบฉวยอีกรูปแบบหนึ่ง คือในกลุ่มที่เข้าเวิร์กช็อปจะมีทั้งสองแบบ แบบที่ ชอบมากเลย อยากตอกหนัง เย็บหนัง แต่อีกกลุ่มหนึ่งก็จะเป็นลักษณะที่ว่า อยากจะบอกว่าฉันนี่มาร่วมเวิร์กช็อปอะไรสักอย่างหนึ่ง ต้องมีของติดไม้ ติดมือไป ผมมองว่ามันต้องผ่านจุดทีค่ วามฉาบฉวยเริม่ เบาบางลง ก็จะเหลือ เฉพาะแก่นจริงๆ ความแข็งแรงของพื้นที่ก็จะชัดขึ้น ตอนนี้มันค่อนข้างเป็น กระแสอยู่ แต่ในกระแสก็จะมีตัวจริงอยู่ค่อนข้างเยอะ เจน: สมมติเป็นฝั่งของ FabCafe Bangkok เอง เจนมองว่าเป็นจุดในการ เพิ่มมูลค่า เหมือนตอนที่เรานำ�มูจิมาจัดเวิร์กช็อป หรือเวลาที่เราจับมือกับ ลาบราดอร์ทำ�โปรเจ็กต์ เพราะว่าตลาดที่ซบเซาแบบนี้ ยอดขายมันตํ่า การให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมเหมือนกับช่วยให้ปล่อยของง่ายขึ้น ก็ช่วย กระตุ้นการขาย อย่างถ้าทำ�เป็นสเตชั่นๆ หยิบกระเป๋ามาปั๊ม ปั๊มเสร็จแปะ สติ๊กเกอร์ อันนี้คนจะมาเยอะ เวิร์กช็อปเราที่ยิงยาวเป็นวันๆ ก็จะมีแต่แบบ ตัวจริงมา ตอนนีอ้ กี แบบคืออยากได้ประกาศนียบัตร อยากได้ไปอยูใ่ นประวัติ ว่าผ่านการรับรองใช้เครือ่ งพิมพ์สามมิติ ก็มองว่ามันเป็นการสร้างองค์ความรู้ แทนที่ไม่ได้ทำ�อะไรแล้วเล่นเฟซบุ๊ก เจนว่ามันดีกว่า แต่ในกลุ่มนี้ก็ยังมีอะไร หลายๆ อย่างที่เราประทับใจ เช่น มาร่วมเวิร์กช็อปแล้วอยู่ๆ ก็รู้สึกชอบขึ้น มาจริงๆ แล้วก็มาคุยกับเราว่า เปิดเป็นเวิร์กช็อปเฉพาะให้เขาได้ไหม เริ่มยากขึ้นแล้ว อยากจะแบบใช้เวลากับมันมากขึ้น อันนี้ก็มีเหมือนกัน ก็ คละกัน จนถึงอายุเยอะๆ เลยก็มี
เจน: คนไทยมักกลัวว่าพอคนอืน่ รูอ้ งค์ความรูข้ องตัวเองแล้วมูลค่าของตัวเอง จะลดลง ก็จะไม่ค่อยยอมสอน ไม่เหมือนกับของญี่ปุ่น คือองค์ความรู้เป็น ของชาติ เขามีหน้าที่ต้องกระจายไปให้ได้มากที่สุด ให้มันยังมีชีวิตอยู่ต่อไป เบล: ผมว่า OTOP ของมันดีนะ แต่ภาพลักษณ์มันดูหลงประเด็นไป เช่น ของบางอย่างดี แต่ดันไปสนับสนุนให้อีกอย่างหนึ่งมันชัดเจนมากขึ้น แล้วก็ ด้วยความทีข่ องมันเยอะมาก ทำ�ให้ไม่สามารถนำ�เสนอความพิเศษของตำ�บล จริงๆ ขึ้นมาได้ พอมันเยอะเข้า มันก็คือของทั่วไป เหมาะกับการนำ�เสนอที่ ทั่วไปอีกเหมือนกันและไม่สามารถชูจุดเด่นให้เห็นออกมาได้จริง มันก็ยาก ถ้าเป็นของญี่ปุ่น คือเราต้องเดินทางไปจริงๆ ถึงจะได้กินสาหร่ายนั้น คือสามารถนำ�มารวบรวมเป็น Concept Store ได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำ� เหมือนๆ กันได้ เจน: ผลิตภัณฑ์ของเราอาจจะยังไม่มีจุดแข็งจริงๆ แต่ถ้าสมมติว่ามอง OTOP เป็นเฟสระยะยาวในการพัฒนาประเทศ ตอนนี้อาจจะอยู่ในช่วงการ คัดสรร การพัฒนามูลค่าและคุณค่าคือขั้นตอนถัดไป เราต้องพัฒนาอย่าง ต่อเนื่อง ตอนนี้เจนสนใจเรื่องรุ่นที่สามมากๆ คือรุ่นปู่ย่าทำ� ส่งต่อให้รุ่นพ่อ แม่ รุ่นลูกมารับช่วงและมีการนิยามของใหม่ให้เข้ากับตลาดและทำ�ให้มัน โตขึ้น เจนชอบรุ่นนี้มากนะ เพราะเขามีอำ�นาจในการเปลี่ยนแปลง มีพลัง และวิสัยทัศน์ เจนว่าตลาดมันเป็นตลาดที่เป็นไปได้ มันเป็นโซลูชั่นของ สตาร์ทอัพหรือตลาดใหม่ หรือของคนทำ�ธุรกิจใหม่ งานช่างฝีมือเป็นทักษะ เริ่มต้นของคนที่เข้าไปทำ� ถ้าเข้าใจกระบวนการและผู้สนับสนุน อย่างที่ สิงคโปร์มีกฎหมายว่าอาคารขนาดใหญ่ต้องมี Art Piece (งานศิลปะ) คือ ต้องกระตุ้นให้อาร์ตเกิดขึ้นและอยู่ได้ มันถึงจะอยู่ได้ แต่บ้านเรายังไม่มี เบล: ถ้าผมจะทำ�งานช่างหรืองาน OTOP ขึ้นมาสักชิ้น การสนับสนุนเป็น อย่างไร ภาษีที่จ่ายไป คนสนับสนุนอย่างไร มันต้องมีความชัดเจนหรือเข้า ถึงง่าย ถามว่ามีช่วยไหม ผมว่ามีอยู่นะ แต่ชาวบ้านทั่วไปเขาอาจจะยังไม่ เข้าใจ
CREATIVE THAILAND I 31
ถ้ า เป็น ความรู ้ ใ นการใช้ โ ปรดั ก ส์ ไม่ต้องมีหรอก เพราะว่าหน้าที่นั้นคือ หน้าที่ของคนออกแบบ ต้องย่อยมา จนสามารถบริโภคได้อยู่แล้ว แล้วก็ สามารถเสนอให้ ผู ้ บ ริ โ ภคตั ด สิ น ใจ เลื อ กซื้ อ ได้ แต่ ว ่ า อยากให้ เ ข้ า ใจใน มูลค่าของงาน เพราะว่าอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ ท�ำให้ บ ้ า นเราตลาดดี ไ ซน์ ไม่เ จริ ญ เพราะว่าเรายังเป็น Passive Centric (ลู ก ค้ า ที่เ ป็ น เพี ย งผู ้ ค อยซื้ อ สิ น ค้ า ) อยู่เยอะมาก
ถ้ามองมุมผู้บริโภค คิดว่าต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องงาน ช่างฝีมือหรือกระบวนการทำ�งานของช่างหรือไม่ มากน้อย แค่ไหน ประโยชน์ของการมีความรูเ้ รือ่ งนีแ้ ม้จะไม่ได้เป็นคนทำ� คืออะไร เจน: ถ้าเป็นความรู้ในการใช้โปรดักส์ ไม่ต้องมีหรอก เพราะว่าหน้าที่นั้นคือ หน้าที่ของคนออกแบบ ต้องย่อยมาจนสามารถบริโภคได้อยู่แล้ว แล้วก็ สามารถเสนอให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อได้ แต่ว่าอยากให้เข้าใจในมูลค่า ของงาน เพราะว่าอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำ�ให้บ้านเราตลาดดีไซน์ไม่เจริญ เพราะ ว่าเรายังเป็น Passive Centric (ลูกค้าที่เป็นเพียงผู้คอยซื้อสินค้า) อยู่เยอะ มาก ทุกคนตัดกันที่ต้นทุน ว่าของดีก็ต้องถูกด้วย คือมันไม่มีของที่ดีแล้วถูก มันมีราคาทีข่ องเหมาะสมกับราคา ส่วนตัวเจนยังไม่เจอของทีถ่ กู มากๆ และ ดีมากๆ อย่างล่าสุดมีเวิรก์ ช็อปเย็บหนังสือ เจนไม่เคยรูเ้ ลยว่าเย็บหนังสือมัน ยากขนาดนี้ เจนก็บอกทำ�ไมสมุดเย็บมือทำ�ไมมันแพงจัง ทีนี้เจนก็บอกเจน ยอมจ่ายแล้ว
แรงบันดาลใจและความหวังต่ออนาคต เจน: เจนกับเบลจะสนใจเรื่องการศึกษา นั่นเป็นเป้าหมายของเจนเลย ความฝันคือก่อนตาย อยากให้บา้ นเรามีมเี ดียแล็บ ไม่ได้หมายความว่ายกมีเดีย แล็บมา แต่มีพื้นที่คล้ายมีเดียแล็บ คือพื้นที่ที่มีเด็กหรือหลายๆ ฝ่ายมาท�ำงาน ร่วมกันได้ และสร้างแก่นองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมาได้ มหาวิทยาลัยควรจะเป็น ผู้น�ำตลาด ไม่ใช่ผลิตขึ้นมาเพื่อที่จะท�ำงานในบริษัท ควรเป็นที่ที่มี Ecosystem (ระบบนิเวศ) มากกว่า หมายความว่ามหาวิทยาลัยมี knowledge (ความรู้) ที่ บริษัทหวังจะสนับสนุน ใช้พื้นที่เป็นพื้นที่ต้นแบบในการวิจัยและพัฒนาแบบนี้ เบล: แรงบันดาลใจของผมเกิดจากผู้คนและสิ่งรอบๆ ตัว เช่น จากนักศึกษา ที่มีหลายๆ ไอเดีย จากที่เด็กๆ มันดื้อจนถึงจุดๆ หนึ่งเราเริ่มคิดว่าเป็นไปได้ เหมือนกัน หรือความคิดที่เพ้อฝัน สดใหม่ ท�ำให้เราน�ำมาพัฒนาต่อยอดและ สอนรุ่นถัดไปได้ เพราะฉะนั้นโรงเรียนให้อะไรกับเราเยอะ อาจารย์ก็ส�ำคัญ แต่เด็กส�ำคัญที่สุด เป็นศูนย์กลาง และอาจารย์จะได้อะไรจากเด็กเยอะ เช่น ในกรณีทเี่ ด็กเก่งมาก สิง่ ทีเ่ ราต้องท�ำคือตามให้ทนั ต้องไปข้างหน้าเขาอีก 1 ขัน้ เราไม่สามารถหยุดได้ เพราะฉะนัน้ สิง่ นีค้ อื แรงกระตุน้ ให้เราต้องหาแรงบันดาลใจ ซึ่งมันก็คือทุกอย่างรอบตัวเรา อินเทอร์เน็ต หนังสือ เพลง และสถานที่ หรือ เด็กๆ เพือ่ นๆ พีๆ่ ป้าๆ ลุงๆ ใน FabCafe Bangkok ก็เป็นอีกแรงบันดาลใจ ที่รุนแรงมาก
CREATIVE THAILAND I 32
CREATIVE THAILAND I 33
komchadluek.net
kanchanapisek.or.th
thebestthaitour.com
facebook.com/sacict
Creative Will : คิด ทํา ดี
SACICT : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ จากงานหัตถศิลป์พื้นบ้านสู่สากล เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
การรักษ์ไว้ซึ่งคุณค่าเดิม เรียนรู้ที่จะประยุกต์เข้ากับสิ่งต่างๆ และการสืบทอดภูมิปัญญาคือ 3 หัวใจหลักแห่งการอนุรักษ์งาน หัตถศิลป์ไทยให้ยังมีชีวิตอยู่พร้อมก้าวเดินไปสู่วันข้างหน้า ด้วยก้าวเดินที่มั่นคง ย้อนกลับไปเมื่อ 40 ปีก่อน (พ.ศ. 2519) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ทรงก่อตั้ง “มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินนี าถ” เพือ่ ช่วยเหลือราษฎรให้มอี าชีพเสริมในช่วงทีไ่ ม่สามารถ เก็บเกีย่ วผลผลิตทางการเกษตรได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ด้วยการนำ�องค์ความรู้ ด้านงานหัตถศิลป์พนื้ บ้านมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทสี่ ามารถนำ�ออกสูต่ ลาด โดยเชื้อเชิญชาวบ้านจากการที่ทรงเล็งเห็นหญิงชาวบ้านนุ่งผ้าซิ่นผ้าไหม มัดหมี่ทอมือ ที่ทั้งทอและออกแบบกันเองอย่างสวยงามอันแสดงให้เห็นถึง ฝีมือทางด้านงานหัตถกรรมที่ชาวบ้านได้รับสืบทอดส่งต่อกันมา หลังจากนั้นอีก 27 ปีต่อมา ในปี พ.ศ. 2546 ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ ระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) The SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (Public Organization) หรือ SACICT ได้ก่อตั้งขึ้นมา เพือ่ ต่อยอดงานมูลนิธสิ ง่ เสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ิ์ พระบรม ราชินีนาถ ที่มีอยู่เดิมให้มีความก้าวหน้าไปอีกขั้น โดยเปิดเส้นทางนำ�งาน หัตถกรรมออกสู่ตลาดต่างประเทศ และเพิ่มมูลค่าด้านพาณิชย์ให้กับ ผลิตภัณฑ์อย่างเห็นผลชัดเจน กิจกรรมของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศนั้น ไม่เพียงนำ� ผลิตภัณฑ์สู่ตลาดที่เป็นสากล แต่ยังมุ่งเน้นพัฒนาฝีมืออย่างเป็นลำ�ดับและ ครอบคลุม มีการพัฒนาผลงานผลิตภัณฑ์พนื้ บ้าน ทัง้ ในเชิงรูปแบบ คุณภาพ มาตรฐาน และภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ และก็ยงั คงให้ความสำ�คัญกับการ อนุรักษ์เสน่ห์แบบดั้งเดิมอันเป็นเอกลักษณ์เอาไว้ ตลอดจนสนับสนุนเรื่อง ลิขสิทธิ์ให้กับเจ้าของผลงาน มีการจัดประกวดผลงานและจัดงานออกร้าน ตลาดนัดสินค้าอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังได้เกิดโครงการเพื่อการสานต่อ งานหัตถศิลป์แขนงต่างๆ จากบรรดาครูช่างผู้มีทักษะและความชำ�นาญ
เฉพาะในแต่ละด้าน ไม่ให้ต้องสูญหายไปตามกาลเวลา ผ่านวิธีการต่างๆ อาทิ การสนับสนุนทายาทหรือผู้สืบทอดช่างฝีมือแต่ละแขนงให้ได้ส่งต่อ ทักษะฝีมือแก่คนรุ่นใหม่จนสามารถนำ�มาประยุกต์และประกอบเป็นอาชีพ ต่อไป โดยโครงการทายาทช่างศิลป์จะรวบรวมข้อมูลทักษะหัตถศิลป์แขนง ต่างๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบของฐานข้อมูล หนังสือ และวิดีโอเผยแพร่ทักษะ ไว้ให้สำ�หรับผู้ที่สนใจเพื่อเรียนรู้และแบ่งปันมุมมองคุณค่าของงานจาก ทายาทผู้สืบทอด อีกทั้งยังมีบริการห้องสมุดเฉพาะทาง หรือที่เรียกว่า ห้องสมุด ศ.ศ.ป. ทำ�หน้าที่เป็นคลังความรู้ทางวิชาการด้านงานหัตถศิลป์ไว้ สำ�หรับค้นคว้าข้อมูลแก่ผู้ที่สนใจทั่วไป ด้วยเวลาที่เปลี่ยนไป โลกแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและ นวัตกรรมได้ส่งผลต่อวิถีชีวิตและความชื่นชอบ การดำ�รงรักษาไว้ซึ่งงาน ศิลปหัตถกรรมในแบบดัง้ เดิม คงต้องเดินไปข้างหน้าด้วยการปรับเปลีย่ นหรือ ผสมผสานสิง่ ใหม่ทเี่ ข้ากับยุคสมัยมากยิง่ ขึน้ การคงอยูข่ องเสน่หแ์ บบดัง้ เดิม นัน้ ไม่ได้เลือนหาย แต่อาจถูกนำ�มาประยุกต์ใช้ในบริบทใหม่ทตี่ า่ งกันออกไป โดยมีศนู ย์สง่ เสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หนึง่ ในผูด้ แู ลงานด้านหัตถศิลป์ คนสำ�คัญเป็นผูช้ ว่ ยค้นหาส่วนผสมทีล่ งตัว เพือ่ นำ�มาสูท่ างเลือกใหม่ของงาน หัตถศิลป์ที่ควบรวมไว้ทั้งเรื่องของการอนุรักษ์ ความมีเสน่ห์ของภูมิปัญญา เดิม และนวัตกรรมองค์ความรู้สมัยใหม่ให้สอดรับกัน เพื่อให้ผลผลิตนั้นถูก นำ�มาใช้งานได้จริง และเต็มไปด้วยเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปที่งดงาม พร้อมเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักสู่สากล ทีม่ า: บทความ “38 ปี ศูนย์ศลิ ปาชีพฯ หัตถศิลป์สแู่ บรนด์ ศักดิส์ ทิ ธิ”์ โดย ประชาชาติธกุ จิ (4 ส.ค. 2014) จาก prachachat.net / บทความ “‘พิมพาพรรณ’ กับงานท้าทาย หัตถศิลป์ไทย” โดย เดลินวิ ส์ (4 พ.ย. 2014) จาก dailynews.co.th / kanchanapisek.or.th / sacict.net
CREATIVE THAILAND I 34
CREATIVE THAILAND I 35