มิถุนายน 2559 ปีที่ 7 I ฉบับที่ 9 แจกฟรี
Creative Startup School of Changemakers
Creative City Newcastle CREATIVE THAILAND I 1
The Creative ชานนท์ เรืองกฤตยา
CREATIVE THAILAND I 2
“WHATEVER GOOD THINGS WE BUILD END UP BUILDING US.” สิ่งดีๆ ที่เราสร้าง ที่สุดแล้วย่อมกลับมาสร้างเรา Jim Rohn นักธุรกิจชาวอเมริกัน
CREATIVE THAILAND I 3
Contents : สารบัญ
The Subject
6
Eco-City รกร้าง เริม่ ต้น และโอกาสใหม่ / UNIQLO Free Friday Night / เมือ่ โลกถามหาความยัง่ ยืนจากสือ่ โฆษณา
Creative Resource
Featured Book / Books / Documentary
8
Matter 10 โอกาสใหม่จากวัสดุเหลือใช้
Local Wisdom
12
Cover Story
14
โครงการพัฒนาดอยตุงฯ สร้างคนเพื่อสร้างสังคม
ทุนนิยมคิดบวก Social Impact Investing ติดอาวุธองค์กรเพื่อสังคม
Insight 20 สมการใหม่ของการลงทุน
Creative Startup
22
Creative City
26
The Creative
30
School of Changemakers เปลี่ยนสังคม ด้วยพลังคนรุ่นใหม่
Newcastle: Where Temporariness is Permanent
สร้างกําไรจากความรู้ ชานนท์ เรืองกฤตยา
บรรณาธิการอำ�นวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, จรินทร์ทพิ ย์ ลียะวณิช, พจน์ องค์ทวีเกียรติ บรรณาธิการ l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา, อําภา น้อยศรี, ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันท์นรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร์ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ์. 02 664 7670 ติดต่อลงโฆษณาได้ที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพ์ที่ l บริษัท สยามพริ้นท์ จำ�กัด โทร. 02-509-0068 แฟกซ์. 02-509-2971-2 จำ�นวน 30,000 เล่ม นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
flickr.com/photos/Philippe Put
เมือ่ ต้นปีทผี่ า่ นมา ชาวเดนมาร์กในกรุงโคเปนเฮเกนต้องแปลกใจเมือ่ เกิดความ คึกคักในซูเปอร์มาร์เก็ตเล็กๆ ที่ชื่อแสนจะธรรมดาว่า Wefood กับการปรากฏ กายของเจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารีแห่งเดนมาร์ก รวมถึงนักการเมือง และ ซีอโี อบริษทั ใหญ่ ทีม่ ารวมตัวกันเพือ่ ซือ้ อาหารในซูเปอร์มาร์เก็ตจำ�หน่ายอาหาร ที่เสื่อมสภาพ หรือใกล้หมดอายุในราคาที่ถูกกว่าปกติครึ่งหนึ่งแห่งนี้ ด้วย แนวคิดเบือ้ งหลังคือต้องการแก้ปญั หาอาหารเหลือทิง้ ในเดนมาร์ก ทีใ่ นปีหนึง่ ๆ มีมากกว่า 700,000 ตัน และเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมของประเทศที่ต้องใช้ งบประมาณมหาศาลในการกำ�จัดขยะเหล่านี้ Wefood ไม่ได้ต้องการจับกลุ่ม ผูท้ ม่ี รี ายได้นอ้ ย แต่เน้นกลุม่ ลูกค้าผูห้ ว่ งใยสิง่ แวดล้อม และถือเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต อาหารเหลือแห่งแรกของโลก โดยหลังเปิดให้บริการได้เพียง 2 เดือนความนิยม ที่ ท่ ว มท้ น จากชาวเดนมาร์ ก ก็ ทำ � ให้ Wefood สาขาที่ ส องเปิ ด ขึ้ น อย่ า ง รวดเร็ว ความยากจน ความอดอยาก หรือ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ล้วน เป็นปัญหาขนาดใหญ่ที่มิอาจแก้ไขได้ด้วยนโยบายของรัฐ หรือความร่วมมือ ระดับนานาชาติด้วยซํ้าไป ปัญหาที่กินวงกว้างและเรื้อรังได้นำ�ไปสู่การสร้าง กิจกรรมทางธุรกิจใหม่ที่ไม่ได้หวังผลทางกำ�ไร แต่หวังผลให้เกิดธุรกิจที่เลี้ยง ตัวเองได้ และนำ�สัดส่วนของกำ�ไรนั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาสังคม Socially Responsible Investing หรือการลงทุนทีร่ บั ผิดชอบต่อสังคม จึงกลายเป็นหัวข้อ สนทนาของนักลงทุนรุ่นใหม่ทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ ทั่วโลก รูปแบบของกลุ่มธุรกิจนี้คือเน้นความยั่งยืน เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ ที่เชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นพลังงานสะอาด เทคโนโลยี ประหยัดพลังงาน และเป็นการลงทุนที่เน้นผลลัพธ์ทางสังคม (Impact Investment) ซึ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แนวโน้มที่ น่าสนใจคือ วงการการลงทุนนี้เติบโตอย่างก้าวกระโดด คาดการณ์ว่า เม็ดเงิน
จากการลงทุน 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2011 จะเพิ่มเป็น 500,000 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2020 ซึ่งการเติบโตที่รวดเร็ว ทำ�ให้เกิดกลุ่มนักลงทุนที่ เป็นกองทุนหรือมูลนิธิขนาดใหญ่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ หรือมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ ที่ได้ร่วมกันจัดทำ�เครื่องมือ และกรอบในการ ลงทุนธุรกิจเพือ่ สังคมเหล่านี้ เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคม กับมูลค่าของเงินลงทุนและทรัพยากรต่างๆ ที่ลงไปในธุรกิจ แน่นอนว่าไม่ใช่ ตัวเลขทางธุรกิจ แต่มันเป็นผลที่จะแก้ปัญหาสังคมอย่างจับต้องได้ เช่น การ ทำ�ให้เด็กทีเ่ คนยาได้เรียนหนังสือเพิม่ ขึน้ กีค่ น หรือเด็กทีเ่ อธิโอเปียได้รบั อาหาร ที่เพียงพอในกี่หมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อทำ�ให้การลงทุนเพื่อสังคมนำ�ไปสู่การแก้ ปัญหาจริงและเห็นผลชัดเจน ประเทศไทยตอบรับกระแสการลงทุนเพื่อสังคม โดยได้มีการกำ�หนด มาตรการภาษีเพือ่ สนับสนุนวิสาหกิจเพือ่ สังคม (Social Enterprise) โดยยกเว้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำ�หรับกำ�ไรสุทธิที่ได้รับ ซึ่งหากสามารถเอื้อให้การลงทุน หรือช่องทางการสนับสนุนกิจการเพือ่ สังคมเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย ย่อมจะเป็น ทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุด เพราะปัจจุบัน ความมุ่งมั่นในความรู้สึกดีที่ คนไทยแสดงออกผ่ า นมู ล ค่ า การบริ จ าคนั้ น สถาบั น วิ จั ย เพื่ อ การพั ฒ นา ประเทศไทย (ทีดอี าร์ไอ) ได้อา้ งอิงผลการศึกษาของ Charities Aid Foundation พบว่า ไทยเป็นอันดับสองของโลกในแง่การบริจาคเงิน ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข ของสำ�นักงานสถิตแิ ห่งชาติปี 2557 ทีร่ ะบุวา่ การบริจาคของคนไทยนัน้ มีมลู ค่า รวมถึง 75,760 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.58 ของจีดีพี และมากกว่า งบประมาณของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสียอีก ความรู้สึกดี ต้องอยู่บนพื้นฐานของความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงด้วย เพื่อนำ� ไปสู่การแก้ปัญหาที่เป็นจริง และนั่นจะให้ความรู้สึกดี มีพลัง และยั่งยืนอย่าง แท้จริง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ Apisit.L@tcdc.or.th
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: กริยา บิลยะลา และ ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
gmp-arquitetos.com
jetsongreen.com
Eco-City รกร้าง เริ่มต้น และโอกาสใหม่
จากแรงผลักด้านประชากรของจีนที่เพิ่มขึ้นจนแตะ 1.364 พันล้านคน (Worldbank, 2014) การพัฒนาเมืองและการขยายตัวที่รวดเร็ว รวมถึงการ มีเมืองใหม่เกิดขึน้ กว่า 600 เมือง ตัง้ แต่พรรคคอมมิวนิสต์ขนึ้ มาครองอำ�นาจ ในปี 1949 ซึ่งคาดว่าในปี 2030 จีนจะมีผู้อยู่อาศัยในเมืองกว่าพันล้านคน ผนวกกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นจนเข้าขั้นวิกฤต จึงดูเหมือนว่า แนวคิดการสร้างเมืองใหม่ตามแนวทาง Eco-City จะเป็นทางออกในภาวะ บีบคั้นนี้ บทความจาก CityMetric ประมาณการว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของ โครงการพัฒนาเมืองใหม่ในจีนจะประทับตรา “อีโค่ (Eco)” “เขียว (Green)” “คาร์บอนตํา่ (Low Carbon)” หรือ “ชาญฉลาด (Smart) ในการประชาสัมพันธ์ โครงการ หากเสียงตอบรับด้านบวกเหล่านี้ ไม่ได้เท่ากับการตระหนักถึง ปัญหาที่ประดังเข้ามาเท่านั้น แต่มาร์โค โจว (Marco Zhou) จาก Colliers บริษัทผู้ให้คำ�ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า “ถ้าสถานที่ใดใช้คำ�ว่า Eco เป็นองค์ประกอบ ราคาโครงการจะพุ่งสูงขึ้น” รวมทั้งดาน ร็อกก์วีน (Daan Roggeveen) ผู้ก่อตั้ง MORE Architecture ยังเพิ่มเติมว่า “หาก เป็น Eco-City ย่อมง่ายกว่าในการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลกลาง” ซึ่ง เท่ากับว่า Eco-City ทีก่ ล่าวไปนัน้ มีความยึดโยงร่วมกับรายได้ทางเศรษฐกิจ อย่างแยกไม่ออก นอกจากนี้ โครงการ Eco-City ล้วนเต็มไปด้วยความ ท้าทายด้านผลที่เป็นรูปธรรมและความอยู่รอด ตัวอย่างเช่น เมืองหนานฮุ่ย (Nanhui) ที่ตั้งอยู่บริเวณหางโจว ห่างจากเซี่ยงไฮ้ประมาณ 35 ไมล์ ซึ่งได้ รับการออกแบบภูมทิ ศั น์เป็นรูปแบบวงกลมโดยมีสระขนาดใหญ่อยูต่ รงกลาง และตั้งเป้าเป็นเมืองที่มีคาร์บอนตํ่า หรือเมืองหวงไป่ยู่ (Huangbaiyu) อีโค่วิลเลจทางเหนือของจีน ออกแบบโดย Hollywood Hobnobbing ร่วม กับวิลเลียม แมคโดโนห์ (William McDonough) ซึง่ ปรารถนาทีจ่ ะเป็นเมือง ปราศจากมลพิษ ไร้รถยนต์ และเน้นการบริโภคทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ
แต่เมืองในฝันข้างต้นกลับไม่ได้มาพร้อมเสียงตอบรับทีด่ ี เพราะแทบไม่มคี น อาศัยอยู่จริง เนื่องจากเหตุผลทั้งด้านราคา และการออกแบบที่ไม่ได้อิงกับ การใช้งานจริงของผู้อาศัยท้องถิ่น ถึงขั้นว่าบางโครงการปิดตัวไปตั้งแต่ยัง ไม่เริ่มปลูกสร้าง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงมีการสานต่อโครงการสร้างเมือง Sino-Singapore Tianjin Eco-City เมืองใหม่ในเขตอุตสาหกรรมเทียนจิน โครงการร่วมทุนระหว่างจีนและสิงคโปร์ ทีถ่ อื เป็นเมืองทดลองและความหวัง ใหม่ ซึง่ ผูพ้ ฒั นาโครงการต้องการสร้างพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยตามแนวทางระบบนิเวศ ด้วยพื้นที่สีเขียว อัตราการปล่อยคาร์บอนตํ่า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของ ผูอ้ ยูอ่ าศัย และลบภาพเมืองอุตสาหกรรมทีอ่ ยูโ่ ดยรอบ และคาดว่าโครงการ ดังกล่าวจะแล้วเสร็จในปี 2020 อย่างไรก็ดี แม้จะไม่ใช่เรือ่ งง่ายในการสร้างความเป็นไปได้ในโครงการ Eco-City ในจีน เนื่องจากต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน ตั้งแต่ด้านนโยบาย ความเข้าใจของผู้คน การออกแบบซึ่งหมายรวมตั้งแต่ที่ตั้งของโครงการ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตและการใช้งาน รวมถึงเหตุผล ด้านราคาที่เหมาะสม แต่อย่างน้อยโครงการ Eco-City ที่เกิดขึ้นก็นับเป็น จุดเริม่ ต้นทีด่ ใี นการผลักดันประเด็นสีเขียวและความยัง่ ยืนให้เข้ามาเป็นส่วน สำ�คัญในการออกแบบพื้นที่เมืองในประเทศที่มักถูกตั้งข้อกังขาด้านมลพิษ แม้การวัดผลสัมฤทธิ์ของโครงการจะเป็นไปในเชิงลบด้านการอยู่อาศัยจริง หากในเชิงการจ้างงานแล้วนับว่าเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสีเขียว ตามแผนงาน Five Year Plans ระหว่างปี 2006-2011 ที่พบว่ามีการจ้างงาน กว่า 9,000 อัตราในภาคพลังงานแสงอาทิตย์ โดยรัฐบาลจีนคาดหวังว่า ระหว่างปี 2011-2020 จะมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นทั้งทางตรง 6,000 อัตรา และ ทางอ้อมอีก 16,000 อัตราต่อปี ในอุตสาหกรรมสีเขียวทัง้ ด้านพลังงานทดแทน และการคมนาคมขนส่งสีเขียว
ทีม่ า: บทความ “Can Hundreds of New “Ecocities” Solve China’s Environmental Problems?” โดย Wade Shepard จาก citymetric.com / บทความ “China’s Eco-Cities Are Often Neither Ecologically Friendly, Nor Functional Cities” โดย Wade Shepard จาก blogs.reuters.com / บทความ “China’s Sustainable Cities of the Future” จาก huffingtonpost.com / บทความ “New Collaborative Projects to Broaden and Deepen Partnership in the Sino-Singapore Tianjin Eco-City” จาก tianjinecocity.gov.sg / บทความ “The Illusions That Are China’s Eco-Cities” จาก worldcrunch.com CREATIVE THAILAND I 6
เมื่อโลกถามหาความยั่งยืนจากสื่อโฆษณา
flickr.com/photos/marko8904
flickr.com/photos/shakapam
flickr.com/photos/shinyasuzuki
UNIQLO Free Friday Night
ทุกๆ เย็นวันศุกร์เป็นช่วงเวลาทีพ่ พิ ธิ ภัณฑ์ศลิ ปะสมัยใหม่ (MoMA: Museum of Modern Art) ในกรุงนิวยอร์ก จะครึกครื้นเป็นพิเศษ เพราะนับตั้งแต่ปี 2013 จนถึงทุกวันนี้ “ยูนิโคล่ (UNIQLO)” แบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้าสัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งมีสาขาตั้งอยู่ใกล้กันบนถนน 53rd Street ได้ตกลงเป็นพันธมิตรและ ผูส้ นับสนุนรายใหญ่ของพิพธิ ภัณฑ์ โดยกำ�หนดให้ทกุ วันศุกร์เวลา 4 โมงเย็น ถึง 2 ทุ่ม เป็นช่วงเวลา “Free Friday Night” ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้าชม นิทรรศการของ MoMA ได้ฟรี MoMA ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดของ ศิลปะสมัยใหม่ จัดแสดงผลงานศิลปะสมัยใหม่และร่วมสมัยหลากหลาย ประเภท ตั้งแต่งานออกแบบสถาปัตยกรรม งานประติมากรรม ภาพวาด ภาพถ่าย สิ่งพิมพ์ ไปจนถึงภาพยนตร์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งยังเป็นหนึ่ง ในพิพิธภัณฑ์ที่มีค่าเข้าชมสูงที่สุดในนิวยอร์ก (25 เหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 900 บาท สำ�หรับผู้ใหญ่) การสนับสนุนจากธุรกิจเครื่องแต่งกาย ยักษ์ใหญ่อย่างบริษัท Fast Retailing หรือยูนิโคล่ในครั้งนี้ จึงเป็นการเปิด โอกาสให้พิพิธภัณฑ์ที่ได้ช่ือว่าเป็นแหล่งรวมความรู้ ได้ทำ�หน้าที่สร้าง แรงบันดาลใจชั้นเยี่ยมให้คนนับล้านที่เดินทางมาจากทั่วโลกได้ในวงกว้าง มากขึ้นนั่นเอง ที่มา: บทความ “UNIQLO to Become the Exclusive, Multi-Year Sponsor of the Museum of Modern Art’s Popular Free Friday Night Admission Program” (เมษายน 2013) จาก uniqlo.com / moma.org / wikipedia
กลายเป็นหนึง่ ในประเด็นร้อนของวงการโฆษณา เมือ่ เอ็นจีโออินเดีย iCONGO (Indian Confederation of NGOs) ทำ�คลิปวิดีโอเรียกร้องให้คณะกรรมการ จัดเทศกาลคานส์ ไลออนส์ (Cannes Lions) เพิ่มความถี่ในการจัดการ ประกวดผลงานจากปีละครั้ง เป็นปีละ 4 ครั้ง โดยให้เหตุผลว่า ในช่วงระยะ เวลาประมาณ 3 เดือนก่อนจะถึงงานประกวดทุกๆ ปี จะมีครีเอทีฟโฆษณา จำ�นวนมากเข้ามาทำ�แคมเปญจากไอเดียสุดสร้างสรรค์ เพื่อช่วยแก้ปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวติ ให้ประชากรผูม้ รี ายได้นอ้ ยของอินเดียในด้านต่างๆ จำ�นวนมาก แต่หลายโปรเจ็กต์กลับหยุดชะงักทันทีที่งานประกวดสิ้นสุดลง วิดโี อทีอ่ พั โหลดขึน้ ยูทปู เมือ่ เมษายน ปี 2015 โดยเอ็นจีโอรายนี้ นำ�เสนอ เรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ผ่านคำ�บอกเล่าจากปากของชาวอินเดียในชุมชนแออัดหลาย แห่ง เช่น ชายหนุม่ ชาวเมืองลัคเนาทีเ่ ข้าเรียนภาษาอังกฤษในโปรเจ็กต์ภาษา อังกฤษสำ�หรับผู้ใหญ่ แต่เมื่อเขาเริ่มเรียนอักษรภาษาอังกฤษไปถึงตัว ‘L’ การสอนก็หยุดลงโดยไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย หรือเด็กชายในกรุงเดลีที่ได้รับหมวก พลังงานแสงอาทิตย์ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นแสงไฟส่องสว่างในคํ่าคืนที่เขาต้อง ทำ�การบ้าน แต่แล้วเมือ่ ติดต่อกลับไปหาทีมงานเพือ่ ขอหมวกใบใหม่เพือ่ ทีจ่ ะ ไม่ตอ้ งแย่งกับน้องชาย สิง่ ทีท่ มี งานเหล่านัน้ ตอบกลับมาเป็นเพียงคำ�บอกเล่า ด้วยประโยคสัน้ ๆ ว่า “โปรเจ็กต์ของเราชนะรางวัลคานส์แล้ว” ราวกับว่าทุกสิ่ง ที่เกิดขึ้นนั้นเพียงเพื่อชนะใจกรรมการเท่านั้น จริงอยู่ว่าข้อเสนอให้จัดงานปีละ 4 ครั้งนั้นอาจเป็นเพียงการประชด ประชัน และหากมองในมุมของนักโฆษณา ก็คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่พวกเขา จะรังสรรค์ไอเดียทีน่ อกจากจะต้องโดนใจผูช้ มแล้ว ยังต้องแก้ปญั หาให้สงั คมได้ อย่างยัง่ ยืน ในงบประมาณและเวลาทีจ่ �ำ กัดด้วย แต่นกี่ เ็ ป็นภาพสะท้อนจาก เรือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ จริงทีก่ �ำ ลังส่งสัญญาณเตือนว่า ในวันนีส้ าธารณชนรูเ้ ท่าทัน กลยุทธ์การตลาดและโฆษณาของภาคธุรกิจมากขึ้น และคาดหวังการลงมือ ทำ�ความดี ที่ต้องเกิดจากความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหา อย่างจริงจัง ที่มา: วิดีโอ “A video appeal to Cannes Lions jury members.” (29 เมษายน 2015) โดย iCONGOtv จาก youtube.com
CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ อำ�ภา น้อยศรี
CREATIVE THAILAND I 8
F EAT U RED BOOK 1) พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศิ ล ปะไทยร่ ว มสมั ย : Museum of Contemporary Art (MOCA Bangkok) พิพิธภัณฑ์คือองค์กรทางสังคมที่มีความสมบูรณ์ อยูใ่ นตัว รูปแบบธุรกิจของพิพธิ ภัณฑ์อยูบ่ นพืน้ ฐาน ของการพัฒนาทีย่ ง่ั ยืนและเป็นตัวอย่างขององค์กร เพือ่ สังคมทีไ่ ด้รบั การยอมรับในแง่ของความสำ�เร็จ เป้าหมายของการดำ�เนินงานของพิพิธภัณฑ์ คือ การเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริมและสนับสนุน ความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมเพื่อการ พัฒนาสังคมทีย่ ง่ั ยืน Museum Of Contemporary Art (MOCA Bangkok) เกิดจากความรักในงาน ศิลปะและจิตสาธารณะของบุญชัย เบญจรงคกุล โดยเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมงานศิลปะ สะสมส่วนตัวและผลงานของศิลปินไทยร่วมสมัย มาจัดแสดง เพือ่ “แบ่งปัน” แก่สาธารณชน ด้วย ความคิดว่าสังคมไทยยังต้องการพิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะ
การสนับสนุนและรวบรวมผลงานที่มีคุณค่าของ ศิลปินไทย พื้นที่สำ�หรับศิลปินไทยในการแสดง ศักยภาพผ่านผลงานศิลปะแขนงต่างๆ ด้วยความ ที่ สุ น ทรี ย ภาพของงานศิ ล ปะไทยมี ร ากฐาน จากวัฒนธรรมในอดีตอันยาวนาน และแนวคิดทัง้ พุทธปรัชญาและสังคมวิทยาต่างสะท้อนออกมา ผ่านผลงานศิลปะทีห่ ลากหลาย MOCA Bangkok กล่าวถึงวิวฒั นาการของ ศิลปกรรมในประเทศไทยอย่างกระชับและเข้าใจง่าย เพื่อปูเนื้อหาเข้าสู่ความเข้าใจสุนทรียภาพของ ศิลปะ ความหลงใหลในศิลปะอย่างลึกซึ้งและ ยาวนานของผู้ก่อตั้ง นำ�มาซึ่งคอลเล็กชั่นสะสม ส่วนตัวตั้งแต่ยุคบุกเบิกในการสะสม ที่มาพร้อม ประวัตยิ อ่ ของเจ้าของผลงาน ภาพบางภาพนัน้ หา ดูได้ยากยิง่ และสิง่ ทีส่ ะท้อนถึงจิตสาธารณะของ ผูค้ รอบครองผลงานศิลปะ คือความอนุเคราะห์ใน การนำ�ผลงานสะสมมาจัดแสดงในนิทรรศการ ถาวร รวมทั้งการนำ�นิทรรศการหมุนเวียนที่น่า
สนใจมาจัดแสดงให้ชมบ่อยครั้ง ความงามเชิง ศิลปะ ความโดดเด่นด้านเทคนิค การนำ�เสนองาน ศิ ล ปะที่ ห ลากหลาย สั จ ธรรม นามธรรม จินตนาการ สีสนั ทุกอย่างล้วนผสมผสานออกมา เป็นรูปธรรมเพือ่ สะท้อนความคิดและทัศนคติของ ศิลปินผ่านงานศิลป์ ผลงานทีร่ วบรวมนัน้ แสดงให้ คนไทยและชาวต่ า งชาติ ต ระหนั ก ถึ ง ศิ ล ปะที่ แสดงออกซึ่งเอกลักษณ์และรากเหง้าของความ เป็นไทยได้อย่างเด่นชัด ด้านเงินทุนในการบริหารจัดการนัน้ มาจาก เงินทุนส่วนตัวและรายได้บางส่วนจากการดำ�เนินงาน ปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์และแกลเลอรี ศิลปะเกิดขึ้นหลายแห่ง บ้างเปิดดำ�เนินการได้ อย่างต่อเนือ่ ง บ้างปิดตัวลง บ้างทรุดโทรมและขาด การดูแลเอาใจใส่ หากองค์กรทางสังคมเช่น พิพธิ ภัณฑ์เหล่านี้ ไม่ได้รบั การสนันสนุนจากภาค ประชาชนหรือรัฐบาล แล้วองค์กรทางสังคมนัน้ จะ ขับเคลือ่ นเพือ่ คนในสังคมต่อไปได้อย่างไร
BOOK
D OCU M E N TA R Y
2) How to be a Social Entrepreneur: Make Money and Change the World โดย Robert Ashton
4) Real Value กํากับโดย Jesse Borkowski
ไม่ใช่เรือ่ งง่ายทีผ่ ปู้ ระกอบการรายใหม่จะสามารถสร้างสมดุลของผลกำ�ไรและความเปลีย่ นแปลงทีด่ ตี อ่ สังคมได้ในเวลาเดียวกัน ผู้ท่ีต้องการเริ่มต้นธุรกิจที่ต้องคำ�นึงถึงสังคมจึงต้องเผชิญกับอุปสรรคหลาย ประการ หนังสือเล่มนี้จะช่วยเป็นคู่มือให้ตั้งแต่ขั้นตอนแรกเริ่ม เนื้อหาแบ่งเป็น 5 ส่วน โดยอธิบายสิ่ง ทีค่ วรรู้ การหาเป้าหมายในการเปลีย่ นแปลง การสร้างทีมและเอกลักษณ์ การหาทุน จนถึงการทำ�ธุรกิจ ให้เติบโต รวมทั้งกรณีตัวอย่างที่จะช่วยให้เหล่าผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) เห็น ภาพชัดขึ้น และเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายต่างๆ ที่อาจต้องเผชิญในอนาคต เพื่อให้ประสบ ความสำ�เร็จในการสร้างผลกำ�ไร และยังสามารถสร้างสิ่งดีๆ ให้แก่โลกไปพร้อมๆ กัน
“คนที่คิดว่าการตลาดคือทุกอย่างจะค่อยๆ ถูก พรากสิง่ ทีเ่ ป็นพืน้ ฐานของความเป็นมนุษย์ออกไป” แดน แอรีลี่ (Dan Ariely) ศาสตราจารย์สาขา จิ ต วิ ท ยาและเศรษฐศาสตร์ พ ฤติ ก รรมได้ ใ ห้ สัมภาษณ์ไว้ในสารคดี Real Value ซึ่งนำ�เสนอ เรือ่ งราวของธุรกิจทีส่ ร้างคุณค่าและการเปลีย่ นแปลง ทางสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีจุดมุ่งหมายคือการ สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนที่สงสัยว่าจะเกิด อะไรขึ้น ถ้าเราให้ความสำ�คัญกับการสร้างความ เท่าเทียมของทั้งคน โลก และผลกำ�ไร ในอัตรา ส่วนเท่าๆ กัน ทั้งนี้มีการสัมภาษณ์เจ้าของธุรกิจ ในสายงานต่างๆ ตัง้ แต่ภาคการเกษตร เชือ้ เพลิง ชีวภาพ จนถึงประกันภัย ที่มีจุดร่วมคือการใส่ใจ กระบวนการทำ�ธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อชุมชน ให้นอ้ ยทีส่ ดุ ไม่ใช่แค่พจิ ารณาผลลัพธ์เพียงอย่าง เดียวอีกต่อไป
3) The J. Paul Getty Museum: Handbook of the Collections โดย Mark Greenberg J. Paul Getty Museum พิพิธภัณฑ์จัดงานแสดงศิลปะที่เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าชมฟรี ถือกำ�เนิดขึ้นเมื่อ เจ. พอล เก็ตตี้ (J. Paul Getty) เศรษฐีเจ้าของธุรกิจนํ้ามันเจ. พอล เก็ตตี้ (J. Paul Getty) ต้องการ สร้างความเปลีย่ นแปลงบางอย่างในสังคม ด้วยการให้ความรูแ้ ละแรงบันดาลใจแก่ผคู้ น ผ่านการเผยแพร่ ผลงานศิลปะที่มีคุณภาพโดดเด่นและมีความสำ�คัญทางประวัติศาสตร์ เขาจึงเปิดแสดงผลงานศิลปะ สะสมส่วนตัวให้สาธารณชนได้ชม หนังสือเล่มนี้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับงานศิลปะที่ถูกจัดแสดง โดยแบ่งย่อยเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ทั้งภาพวาด ประติมากรรม งานตกแต่ง รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพของหนึ่งในโครงการที่ทำ�เพื่อสังคมแห่งนี้ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
Matter : วัสดุต้นคิด
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ปัจจุบนั ผูป้ ระกอบการเพือ่ สังคม (Social Entrepreneur) มีการใช้กลยุทธ์ดา้ นรายได้ในการดำ�เนินงานเพือ่ เป้าประสงค์ทาง สังคมมากขึ้น โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสังคมหรือสิ่งแวดล้อม ทว่ามักมีคำ�ถามเรื่องการชี้วัดและประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งก็มีตั้งแต่การที่ผู้ประกอบการให้ความสำ�คัญกับแหล่งที่มาของวัสดุ กระบวนการผลิต การขนส่ง และการจัดการด้าน ของเสีย พร้อมกันนี้ภาครัฐเองอย่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ยังได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก กำ�หนดแนวทางและรับรองผลิตภัณฑ์อพ ั ไซเคิลคาร์บอนฟุตพรินท์ เพือ่ ช่วยยกระดับการออกแบบเชิงสร้างสรรค์และส่งเสริม ตลาดสีเขียวที่จะนำ�ไปสู่การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน ความสนใจในการดำ�เนินการธุรกิจต่อภาคสังคมและคำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อม ทำ�ให้เกิดธุรกิจเพื่อสังคมมากมาย อาทิ แบรนด์ Taktai ซึ่งใช้ผ้าจากเส้นใย ที่ได้จากการเพาะปลูกแบบอินทรีย์ ไม่ใช้ปุ๋ยและสารเคมี เก็บเกี่ยวในระยะ เวลาที่เหมาะสมตามธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้ฝ้ายที่ต้องนำ�เข้า เช่น เส้นใยไผ่ เส้นใยกัญชง เส้นใยกล้วย และเส้นใยข่า นำ�มาสร้างสรรค์เป็น ผลิตภัณฑ์อินทรีย์ให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภค นอกจาก Taktai จะเริ่มต้น จากการตระหนักถึงปัญหาจากสิ่งแวดล้อมและความต้องการที่จะรักษา ทรัพยากรธรรมชาติ ก็ยงั เห็นโอกาสจากเศษเหลือทางการเกษตรจำ�นวนมาก เช่น ใบสับปะรด ต้นกล้วย ซึ่งสามารถแปลงสภาพเป็นเส้นใยธรรมชาติ สำ�หรับสิ่งทอ ผ่านการทำ�วิจัยเพื่อพัฒนาเส้นใยธรรมชาติให้แข็งแรงทนทาน มีความยืดหยุ่น สวมใส่สบาย มีคุณสมบัติดูดซับนํ้า ระบายอากาศ และ ทนทานต่อเชือ้ แบคทีเรีย ซึง่ ล้วนเป็นการเพิม่ มูลค่าของผลิตภัณฑ์ดว้ ยการนำ� เทคโนโลยีมาใช้ แต่ยงั คงรูปแบบความเป็นงานฝีมอื และภูมปิ ญั ญาท้องถิน่ ที่ มีคุณค่าเอาไว้อย่างครบถ้วน อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่นำ�เอาเศษวัสดุเหลือใช้จากการทำ�ไร่สับปะรดที่มี มากกว่า 3 แสนตันต่อปีมาใช้ประโยชน์ ก็คือ Obect 2.1 “PUN” ที่รอง อเนกประสงค์จากกระดาษใยสับปะรดของแบรนด์ CCC OBJECTS โดยช่าง ฝีมอื ในพืน้ ทีจ่ ะ “พัน” แผ่นกระดาษจากใยสับปะรดทีม่ เี ส้นใยยาวและเหนียว ให้แน่นจนเป็นรูปวงแหวนหลากขนาดและหลากสีสนั เพือ่ เพิม่ การรับนํา้ หนัก และดูดซับนํ้าได้ดีขึ้น และยังทำ�ให้เห็นลวดลายบนขอบแผ่นกระดาษที่เป็น เอกลักษณ์ สามารถนำ�ไปใช้เป็นจานรองแก้ว แผ่นรองภาชนะ แผ่นรองจาน
และชิ้นงานตกแต่งผนัง ทั้งหมดนี้เพื่อสื่อสารให้เห็นว่า “PUN” คือ คุณค่า ความงาม และโอกาส จากของเหลือใช้ที่รู้วิธีใช้ และโดยในปีนี้ ทาง CCC OBJECTS ได้นำ�ผลิตภัณฑ์ Obect 2.1 “PUN” เข้าร่วมโครงการพัฒนา ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรับ การประเมินอัพไซเคิลคาร์บอนฟุตพรินท์ วัสดุชิ้นสุดท้ายที่เกิดจากเศษวัสดุเหลือใช้ เป็นผลงานของสถาบัน ค้ น คว้ า และพั ฒ นาผลิ ต ผลทางการเกษตรและอุ ต สาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ได้คิดค้นนำ�ฟางข้าวมาวิจัยและพัฒนาเป็น “กระดาษซับไขมัน” ในอาหาร โดยเฉพาะอาหารทอดและการอุ่นอาหารใน ไมโครเวฟ ซึ่งกระดาษซับไขมันจากฟางข้าวนี้สามารถซับไขมันได้มากถึง 224.25 เปอร์เซ็นต์ และซับนํ้าได้ถึง 168.57 เปอร์เซ็นต์ โดยวัสดุนี้ได้เข้าร่วม ประกวดและจัดแสดงนิทรรศการในงาน 2015 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE) ณ เมืองเกาสง ประเทศไต้หวัน ในปีที่ ผ่านมา และได้รบั รางวัลเหรียญเงิน และรางวัลพิเศษอีก 2 รางวัล คือ รางวัล Leading Innovation Award จาก International Intellectual Property Network Forum (IIPNF) และรางวัล Special Award จาก Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills (TISIAS) นับว่า เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับฟางข้าวซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและ ยังช่วยให้สุขภาพของคนไทยดีขึ้นด้วย พบกับวัสดุเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC
CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • Au Bon Pain • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • True Coffee • Auntie Anne’s • Baskin Robbins • Coffee World • Mister Donut • Black Canyon • McCafe’ • ดอยตุง • Ninety four coffee • Puff & Pie • Red Mango • Iberry • Greyhound Cafe’ • Amazon Cafe’ • Chester’s Grill • Luv minibar โรงแรม/ที่พัก • NOVOTEL • Dusit Thani Princess Hotel • Sofitel Silom Bangkok • Grand Millenium Sukhumvit พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) • นำ�ทอง แกลเลอรี่ สมาคม/ห้องสมุด • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • ห้องสมุด - นิด้า • สมาคมโฆษณา แห่งประเทศไทย • สมาคมธนาคารไทย • สมาคมสโมสรนักลงทุน • ห้องสมุด สสวท. • สมาคมหอการค้าไทย • สถาบัน • Wall Street Institute • Raffle Design Institute • Vision Swimming Academy เชียงใหม่ ร้านหนังสือ • ดวงกมล • ร้านเล่า • ร้าน Book Re:public • ร้านหนังสืออุดมลายเซ็นต์ ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร/ ร้านขายของที่ระลึก • Happy Hut (ถ.นิมมานเหมินทร์ ระหว่างซอย 9-10) • 94 Coffee (ถ.นิมมานเหมินทร์) • Starbucks (ถ.นิมมานเหมินทร์) • เวียงจุมออน ทีเฮาส์ • Fern Forest Cafe’ • October • เชียงใหม่กาแฟ • IMPRESSO espresso bar • กาแฟวาวี • Love at First Bite • ร้านกาแฟดอยช้าง • ร้านกาแฟดอยตุง
• ร้านฝ้ายเบเกอรี่ (หอสมุดในมหาวิทยาลัย เชียงใหม่) • Things Called Art • minimal • ร้านยังไว้ลาย • ร้านรสนิยม • ร้านภคมน • ร้านโครงการหลวง • จัส ข้าวซอย (Just Kao Soy) • Ginger (The House Restaurant ) • หอมปากหอมคอ • ทีเฮาส์ สยามศิลาดล • Rabbithood studio • The Meeting Room Art Cafe’ • HuB 53 Bed&Breakfast • ร้าน Charcoa Cafe’ • ร้าน Akha Ama coffee • ร้านกาแฟพาคามาร่า • เดอะ สลัด คอนเซปท์ (Salad Concept) • Gallery Seescape • ร้านขนม (Kanom) • ร้าน Chin Ngan • ร้าน Mood Mellow โรงแรม/ที่พัก • สุริยันจันทรา ถ.นิมมานเหมินทร์ ซอย 1 • บรรทมสถาน เกสเฮาท์อารมณ์บ้าน • yesterday Hotel • โรงแรมดุสิต ดีทู (Dusit D2) • โรงแรมเชดี • ฮาโหล บาร์ (Hallo Bar Hotel) • โรงแรม At Nimman • โรงแรม Tamarind Village • โรงแรม The Rim • 9wboutique hotel • พิงค์ภูเพลส เชียงใหม่ • โรงแรม Casa 2511 พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • หอศิลปวัฒนธรรม เมืองเชียงใหม่ • หอนิทรรศการ ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหิน ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • บ้านใกล้วัง • ภัตตาคารมีกรุณา • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • กาแฟข้างบ้าน • IL GELATO ITALIANO • Together Bakery & Cafe’ โรงแรม/ที่พัก • โรงแรม วรบุระหัวหิน • Let’s Sea • โรมแรม ดูน หัวหิน • เดอะร็อค หัวหิน • บ้านจันทร์ฉาย • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • ลูน่าฮัท รีสอร์ท กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa • Rawee Warin Resort & Spa • A little Handmade Shop ขอนแก่น • Hug School of Creative Arts • ร้านสืบสาน • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า (Coffee Der La)
เชียงราย • ร้านหนังสือ herebookafe • ร้าน Coffee Dad นครราชสีมา • Hug station resort นครปฐม • ร้าน Dipchoc Cafe นครสวรรค์ • ร้าน Bitter Sweet น่าน • ร้าน Runway Coffee • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน • ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui หาดใหญ่/สงขลา • ร้าน NIQOLO อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
sujitwongthe.com
facebook.com/DoiTungClub
facebook.com/DoiTungClub
officielthailand.com
officielthailand.com
Building... the Strong Foundation
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ และ ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ การลงทุนทั้งหลายจะยั่งยืนได้อย่างไร หาก “คน” ผู้ขับเคลื่อนสังคมยังไม่อาจพึ่งพา ตัวเองได้อย่างแท้จริง แบรนด์สนิ ค้าดอยตุงทีเ่ ข้มแข็งในวันนี้ เกิดขึน้ จากโครงการพัฒนา ดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดําริที่ลงทุนสร้างคนโดยใช้ระยะเวลา บ่มเพาะมาเกือบ 30 ปี จวบจนปัจจุบันที่การลงทุนในครั้งนี้ตอบแทนผลด้วยการคืนทุน ให้ธรรมชาติ และได้มอบกำ�ไรชีวิตให้กับชาวบ้านบนดอยที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ด้วย การใช้ชีวิตที่พึ่งพิงและรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน
CREATIVE THAILAND I 12
จากการเสด็ จ พระราชดำ � เนิ น เยื อ น ดอยตุง จังหวัดเชียงราย เป็นครั้งแรก ตั้งแต่พ.ศ.2530 ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) ได้ทรงเล็งเห็นความยากจนแร้นแค้น ของชาวบ้านชนกลุม่ น้อยบนพืน้ ทีแ่ ห่งนี้ ที่ต้องประสบปัญหานานา ไม่ว่าจะ เป็นปัญหาการปลูกพืชเสพติด ปัญหา สั ง คมที่ ซั บ ซ้ อ นจากความยากจน ปัญหาธรรมชาติที่ถูกทำ�ลายจากการ ทำ�ไร่เลื่อนลอย และปัญหาจากความ รุนแรงของกลุ่มติดอาวุธที่ภาครัฐไม่ อาจเข้าไปแก้ไขได้ สมเด็จย่าจึงได้ทรง มีพระราชดำ�ริให้ริเริ่มโครงการพัฒนา ดอยตุงฯ ภายใต้การดูแลของมูลนิธิ แม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตัง้ แต่พ.ศ. 2531 โดยมีพระราชปรัชญา ในการทรงงาน คือการมุ่งพัฒนาคน และส่งเสริมให้คนอยูร่ ว่ มกับธรรมชาติ ได้อย่างยั่งยืน กรอบการดำ � เนิ น งานของโครงการ พัฒนาดอยตุงฯ ใช้เวลา 30 ปี ซึ่งแบ่ง แผนงานออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะ แรกใช้ เ วลา 5 ปี ใ นการฟื้ น ฟู แ ละ แก้ ปั ญ หาด้ า นสาธารณสุ ข พร้ อ ม จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้าง ความคุ้มกันให้ชาวบ้าน ระยะที่สอง ใช้เวลา 8 ปีกับการยกระดับคุณภาพ ชีวิตด้วยการหาวิธีสร้างรายได้และ มูลค่าให้กบั ผลิตภัณฑ์ทเี่ กิดจากทักษะ ฝี มื อ และภู มิ ปั ญ ญาของชาวบ้ า น ดอยตุง ระยะที่สามคือช่วงเวลาของ การสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ แบรนด์ดอยตุง เพื่อให้ชุมชนสามารถ เติ บโตได้ ด้ ว ยตั ว เอง โดยหลั ง จาก พ.ศ.2560 ก็จะถึงคราวที่ภารกิจของ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ สำ�เร็จเสร็จสิน้ ซึง่ จะมีการมอบการบริหารจัดการธุรกิจ ให้แก่ผู้นำ�ท้องถิ่นรุ่นใหม่ต่อไป
จากการลงพื้นที่เพื่อสร้างความเข้าใจ และค้ น ไปให้ ถึง ความต้ อ งการของ ชาวบ้านในพืน้ ที่ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล จึงได้เห็นถึงตัวตนและความสามารถ ของกลุ่มชาวบ้านในชุมชนดอยตุงว่า สามารถทำ�อะไรได้บา้ งและขาดทักษะ จำ�เป็นอะไรไป โดยยึดหลักในการ พัฒนาชุมชนคือการไม่เข้าไปแทรกแซง มาก แต่เสริมสิ่งที่ขาดและเพิ่มเติม จุดแข็งที่มีเพื่อสร้าง “แบรนด์สินค้า ดอยตุงฯ” ให้มเี อกลักษณ์ โดยผลิตภัณฑ์ ภายใต้แบรนด์ดอยตุงแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ธุรกิจหัตถกรรม ธุรกิจอาหาร ธุรกิจเกษตร และธุรกิจ ท่องเที่ยว ซึ่งต้นทุนสำ�คัญของทั้ง 4 ธุรกิจล้วนมีวัตถุดิบมาจากธรรมชาติ ดังนัน้ การรักษาธรรมชาติกค็ อื การรักษา ต้ น ทุ น ทางธุ ร กิ จ ปั ญ หาสัง คมและ สิง่ แวดล้อมทีเ่ คยเกิดขึน้ ในพืน้ ทีด่ อยตุง เช่น การปลูกพืชเสพติด การตัดไม้ ทำ�ลายป่า การทำ�ไร่เลือ่ นรอย จึงค่อยๆ หมดไปด้วยการเรียนรู้ท่จี ะพึ่งพาและ รักษาป่าให้เติบโตไปกับชุมชนอย่าง เหมาะสม โดยในปีพ.ศ. 2545 สำ�นักงาน ควบคุมยาเสพติดและอาชญากรรมแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Office on Drug and Crime หรือ UNODC) ได้มอบตราสัญลักษณ์ “UNODC” ให้ ติดบนผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ดอยตุง เพือ่ ยืนยันความสำ�เร็จในการแก้ปญั หา ความยากจนและการปลูกพืชเสพติด อย่างสันติวิธี
CREATIVE THAILAND I 13
facebook.com/DoiTungClub
Building Doi Tung with Creativity
การหยิบยกแง่มุมและแรงบันดาลใจ จากเรือ่ งราวในโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ผ่านการแสดงแฟชั่นของ ดร.กฤษณ์ เย็นสุดใจ ที่นำ�เอาผืนผ้าคุณภาพจาก งานหั ต ถกรรมในโครงการพั ฒ นา ดอยตุงฯ มาเพิม่ จุดเด่นด้วยการร้อยเรียง เรื่องราวความประทับใจต่างๆ ตั้งแต่ ภาพทหารรักษาพระองค์ ผืนป่า ไปจนถึง วิถีชีวิตของผู้คนบนดอย ผ่านแฟชั่น ภายใต้คอลเล็กชั่น “The Savage Guardian” ทีไ่ ด้อ วดโฉมในงาน L’Officiel Fashion Destination 2016 ซึ่งจัดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ใน เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถือเป็นอีก ก้าวสำ�คัญของการผสานงานหัตถกรรม จากดอยตุงสูแ่ ฟชัน่ เทียบเคียงโอต์กตู รู ์ ในสไตล์ที่น่าจับตามอง
ที่มา: บทความ “The Savage Guardian” (20 กุมภาพันธ์ 2016) จาก lofficielthailand.com / บทความ “ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล: ดอยตุง อดีต-แดนสนธยา ปัจจุบัน-แดนสนทนา” (10 มกราคม 2013) จาก tcdc.or.th/creativethailand/ maefahluang.org / doitung.org
maefahluang.org
เริม่ ต้นสร้างแบรนด์ดว้ ย “ต้นทุน” ความ หลากหลายของคนในชุมชนดอยตุงที่ มีทั้งชาวไทใหญ่ ไทลื้อ ไทลั๊วะ อาข่า ละหู่ ก๊กมินตั๋งหรือจีนโพ้นทะเลเหนือ ซึ่ ง แต่ ล ะกลุ่ ม ชนมี ทั ก ษะติ ด มื อ ที่ แตกต่างกัน แต่การสร้างผลิตภัณฑ์ ด้วยฝีมือดั้งเดิมของชาวบ้านนั้นไม่ เพี ย งพอที่ จ ะทำ � ให้ แ บรนด์ ด อยตุ ง เข้มแข็งได้ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิ ก ารและกรรมการมู ล นิ ธิ แม่ฟ้าหลวง จึงเริ่มต้นคิดจากความ ต้องการของตลาดโลกมาสูก่ ารพัฒนา ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นดอยตุง โดยศึกษา ถึงความต้องการและความชอบของ แต่ละกลุม่ ลูกค้า เพือ่ พัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สามารถออกขายได้ในประเทศและ ระดับสากล เช่น การทำ�งานร่วมกัน ระหว่างชาวบ้านและดีไซเนอร์จาก สแกนดิ เ นเวี ย ที่ ม าช่ ว ยออกแบบ ผลิตภัณฑ์เมื่อต้องการบุกตลาดยุโรป หรือการให้ชาวบ้านเข้าฝึกอบรมฝึกฝน ทักษะใหม่ๆ เพื่อใช้ในการต่อยอด สร้างผลิตภัณฑ์ให้มคี ณุ ภาพยิง่ ขึน้ และ ได้มีทักษะนั้นติดตัวเพื่อต่อยอดธุรกิจ ของตัวเองในอนาคต ทั้งหมดนี้เป็น เพียงหนึง่ ในขัน้ ของการต่อยอดต้นทุน ให้มี “มูลค่าเพิ่ม” ซึ่งเกิดจากการ ศึกษาตลาดและฝึกฝนทักษะเพิ่มเติม ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากดอยตุง สามารถย้อนกลับไปตอบโจทย์ตลาด สากลได้ตอ่ ไป
officielthailand.com
facebook.com/DoiTungClub
Building Brand from Global to Local and Local to Global
flickr.com/photos/Rob Schofield flickr.com/photos/Alex Proimos
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
ระบบทุนนิยมอาจดูไร้หัวใจที่เมินเฉยต่อความต่างของรายได้ แต่มิอาจปฏิเสธว่า ระบบที่ เ ปิ ด กว้ า งและให้ ค วามสำ�คั ญ กั บ ผลสั ม ฤทธิ์ นี้ ช่ ว ยปลดปล่ อ ยพลั ง สร้างสรรค์และนวัตกรรมมากมายที่ทำ�ให้ชีวิตความเป็นอยู่เจริญก้าวหน้าไปตาม ยุ ค สมั ย และกำ�ลั ง เป็ น เครื่ อ งมื อ ที่ ถู ก นำ�มาผสมผสานกั บ จิ ต ศรั ท ธาในการ แก้ปัญหาสังคมที่นับวันจะยิ่งใหญ่และซับซ้อนมากขึ้น CREATIVE THAILAND I 14
rockefellerfoundation.org
stoogles.com media.interiordesign.net
ยืมมือนักลงทุน
เป้าหมายในการทำ�ประโยชน์เพื่อสังคมที่มาเป็น อันดับหนึง่ ในการสำ�รวจแนวคิดการทำ�ธุรกิจของ คนรุ่ น ใหม่ i และทั ศ นคติ ใ นการทำ � งานของ พนักงานอายุน้อยที่ให้ความสำ�คัญกับจริยธรรม เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาสังคมและการ เปลี่ยนแปลงโลก สะท้อนถึงอนาคตที่สดใสของ องค์กรและผู้ประกอบการเพื่อสังคม ซึ่งในหลาย ประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักร สหรั ฐ อเมริ ก า และประเทศในสหภาพยุ โ รป องค์ ก รเพื่อ สั ง คมเป็ น แหล่ ง จ้ า งงานมากกว่ า ร้อยละ 10 ของกำ�ลังแรงงาน และมีสัดส่วน ร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) แต่เมือ่ เทียบกับปัญหาสังคมและสิง่ แวดล้อม ในปัจจุบนั ทีม่ ที ที า่ ว่าจะขยายความรุนแรงขึน้ ตาม จำ�นวนประชากรโลกที่เพิ่มเป็น 9 พันล้านคนใน ปี 2050 การประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรม ชัน้ นำ�ของโลกอย่างจีแปด (G8)i จึงเห็นพ้องต้องกัน ว่า การจัดการปัญหาสังคมและสิง่ แวดล้อมตัง้ แต่ ระดั บ ท้ อ งถิ่ น จนถึ ง ระดั บ โลกนั้ น ลำ � พั ง การ
rockefellerfoundation.org
flickr.com/photos/ kl-9355927639
จัดการของภาครัฐและการบริจาคของผูม้ จี ติ ศรัทธา ผ่านองค์กรการกุศลอาจจะไม่เพียงพอ และไม่มี ประสิทธิผลมากเท่ากับการบริหารจัดการด้วยวิธี คิดแบบนักลงทุน หรืออีกนัยหนึ่งคือควรชักชวน ให้นกั ลงทุนหันมาลงทุนด้านสังคม โดยพิจารณา มิติด้านผลกระทบ (Impact) เพิ่ม นอกเหนือไป จากเรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทน การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Investing) เพือ่ สังคมไม่ใช่เรือ่ งใหม่ เพราะใกล้เคียง กับการรวมกลุม่ แบบสหกรณ์หรือเครดิตยูเนียนที่ ให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกในรูปแบบของรายได้ และช่วยเหลือเกื้อกูล หรือการสนับสนุนเงินทุน เพือ่ หวังผลอย่างจริงจัง เช่น มูลนิธบิ ลิ และเมลินดา เกตส์ (Bill & Melinda Gates Foundation) ที่ เป็นแถวหน้าในการมอบทุนวิจัยบนพื้นฐานของ กลไกตลาดและใช้นวัตกรรมการเงินเพื่อทำ�ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างยั่งยืน แต่ แนวคิดการลงทุนเพือ่ สร้างผลกระทบทีส่ มาชิกกลุม่ จีแปดมุ่งเน้น คือการใช้มุมมองและกระบวนการ ของนักลงทุนมาขยายผลหรือต่อยอดความคิด ของผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อสังคม เพื่อให้
เกิดผลกระทบในวงกว้างมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน ซึ่งจำ�กัดอยู่เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะพื้นที่ หรือแม้กระทั่งขนาด โดยจะเห็นได้จากในช่วง 25 ปีทผ่ี า่ นมา ในสหรัฐอเมริกามีธรุ กิจใหม่จ�ำ นวน 50,000 รายที่สามารถเติบโตจนมีรายรับสูงกว่า 1,750 ล้านบาท (50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) แต่มี ผู้ประกอบการหรือองค์กรเพื่อสังคมเพียง 144 รายเท่านั้นที่ประสบความสำ�เร็จเช่นนี้ ความกระตือรือร้นของกลุ่มประเทศจีแปด เป็ น เหมื อ นการตอกยํ้ า ศั ก ยภาพของแนวคิ ด การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ ที่ถูกหยิบยกขึ้น มาพู ด ถึ ง เป็ น ครั้ ง แรกๆ ในการประชุ ม ของ เหล่านักการเงิน ผู้บริจาค และนักพัฒนาจาก ทั่วโลก ซึ่งสนับสนุนโดยมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ (Rockefeller Foundation) เมื่อปี 2007 และได้ รับการตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการเพื่อสังคม และผู้จัดการกองทุนต่างๆ ที่มองเห็นช่องทางใน การระดมเงินทุนจากธุรกิจและผู้มีจิตศรัทธา รวมถึงงบประมาณจากรัฐบาล เพือ่ นำ�มาต่อยอด ขยายผลโมเดลธุรกิจเพื่อสังคมและยังมีโอกาส ได้รับผลตอบแทนด้วย
i ผลสำ�รวจของบริษัทดีลอยท์ (Deloitte, The Millennium Survey 2014 ) ii จีแปด (G8) กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ�ของโลกที่เพิ่มมาจากกลุ่มจี 7 (เพิ่มรัสเซีย) ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 8 ประเทศ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้นับเป็นกว่าร้อยละ 50 ของเศรษฐกิจโลก (ณ ปี 2012) CREATIVE THAILAND I 15
เครือข่ายการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ (Global Impact Investing Network: GIIN) คือการ ลงทุนในบริษทั องค์กร และกองทุนทีม่ คี วามตัง้ ใจ ในการสร้างผลกระทบด้านสังคมและสิง่ แวดล้อม ที่ ส ามารถวั ด ผลได้ ค วบคู่ ไ ปกั บ ผลตอบแทน ทางการเงิน หรืออีกนัยหนึ่งคือการกำ�หนดกลุ่ม เป้าหมายในการลงทุนทีม่ วี ตั ถุประสงค์ดา้ นสังคม ที่ชัดเจน เป็นต้นว่าการจัดหาบริการพื้นฐาน เช่น สาธารณสุข การศึกษา บริการการเงิน เกษตรกรรม นํ้ า และสุ ข อนามั ย ที่ อ ยู่ อ าศั ย รวมถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด ฝ่ายวิจัยของเจ.พี. มอร์แกน บริษัทวาณิชธนกิจชั้นนำ�ในสหรัฐอเมริการะบุว่า การลงทุน เพื่อสร้างผลกระทบนั้นแตกต่างจากการลงทุนที่ รับผิดชอบต่อสังคม (Socially Responsible Investment: SRI) ซึ่งค่อนข้างแพร่หลายใน ปัจจุบนั ตรงทีเ่ อสอาร์ไอเน้นการจำ�กัดผลกระทบ ทางลบให้ น้ อ ยที่ สุ ด แต่ ก ารลงทุ น แบบนี้ จ ะ เป็นการรุกไปข้างหน้าเพื่อสร้างผลกระทบทาง บวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การวัดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัจจัยสำ�คัญของการวัดความสำ�เร็จของ การลงทุ น พอๆ กั บ ผลตอบแทนทางการเงิ น องค์กรและเครือข่ายจึงพยายามจะวัดผลตอบแทน จากการลงทุนเพื่อสังคม (Social Return on
Investment: SROI) เพื่อให้นักลงทุนใช้ในการ ตัดสินใจ ซึง่ ในการวัดผล SROI มีวธิ กี ารประมาณ ค่ า ของผลที่ ไ ด้ รั บ จากการลงทุ น ไม่ แ ตกต่ า ง จากการตีมลู ค่าสินทรัพย์ในการลงทุนหลักทรัพย์ แต่ ค วามแตกต่ า งคื อ การประมาณค่ า ของผล แบ่ ง ตามผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในแต่ ล ะกลุ่ ม ที่ มี มุมมองในการประมาณค่าต่างกัน แล้วจึงนำ�มา สรุปเป็นผลรวมของมูลค่าทางสังคมiii ส่วนเรื่องผลตอบแทนทางการเงินนั้น จาก รายงานของบริษัทที่ปรึกษาการลงทุนเคมบริดจ์ แอสโซซิเอทส์ (Cambridge Associates) และ เครือข่ายการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบ ระบุว่า ค่ อ นข้ า งใกล้ เ คี ย งกั บ กองทุ น ทั่ ว ไป โดย 51 กองทุนที่เปิดระดมทุนในระหว่างปี 1998-2010 มีผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 6.9 ต่อปีจนถึงปี 2010 เมื่อเทียบกับ 705 กองทุนที่ลงทุนทั่วไปซึ่ง มีผลตอบแทนร้อยละ 8.1 อย่างไรก็ตาม การ ศึกษาระบุวา่ กองทุนเพือ่ สร้างผลกระทบทีม่ ขี นาด ตาํ่ กว่า 3,500 ล้านบาท (100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) มีผลตอบแทนของการลงทุน โดยวัดจากอัตรา ผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) ทีร่ อ้ ยละ 9.5 เทียบกับกองทุนทัว่ ไปทีร่ อ้ ยละ 4.5 แต่ถ้าหากเป็นกองทุนที่มีมูลค่ามากกว่า 3,500 ล้านบาท กองทุนเพื่อสร้างผลกระทบมี ผลตอบแทนร้ อ ยละ 6.2 และกองทุ น ทั่ ว ไป ร้อยละ 8.3
A Combined Approach to Investing
Social Impact
flickr.com/photos/djevents
สังคมควบคู่กำ�ไร
ผลตอบแทนทางการเงินดังกล่าวดูเหมือน จะทำ�ให้เราต้องยอมเสียสละบ้าง เมื่อเทียบกับ กองทุนทั่วไป แต่ก็ยังดีกว่าการบริจาคหรือการ สนับสนุนแบบให้เปล่า และนับว่าน่าดึงดูดให้ องค์กรและผูม้ จี ติ ศรัทธาทัง้ หลายนำ�เงินมาลงทุน ซึ่งทำ�ให้ขนาดของกองทุนเพื่อสร้างผลกระทบใน ปัจจุบันมีมูลค่าประมาณ 8.75 แสนล้าน - 1.4 ล้านล้านบาท (2.5 หมื่นล้าน - 4 หมื่นล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยฝ่ายวิจัยเจ.พี. มอร์แกน ประมาณการว่า ในปี 2020 จะเติบโตขึ้นเป็น 14 ล้านล้านบาท - 35 ล้านล้านบาท (4 แสนล้าน ดอลลาร์สหรัฐฯ - 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ซึ่งดูแตกต่างจากขนาดการลงทุนในปัจจุบัน แต่ เจ.พี. มอร์แกน ก็มองว่ามีความเป็นไปได้ เพราะ กลุ่ ม เป้ า หมายใหญ่ ข องการลงทุ น นี้ เ ป็ น ผู้ ที่ ขาดแคลนหรือมีรายได้นอ้ ยในประเทศกำ�ลังพัฒนา ทว่ามีจำ�นวนมหาศาลที่เปรียบเหมือนฐานของ พีระมิดรายได้ (Bottom of the Pyramid: BOP) ทีร่ อนวัตกรรมหรือโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เพือ่ เปลีย่ น ความเสี่ยงสูงให้กลายเป็นกำ�ไร iii A Guide to Social Return on Investment จัดทำ�โดย The SROI Network Accounting for Value
Financial Return Social Financial Impact Return
Combined Approach
ที่มา: responsibility Investment AG CREATIVE THAILAND I 16
panahpur.org socialimpactinvestment.org
Social Impact Bond
รัฐบาลมีส่วนสำ�คัญในการส่งเสริมให้การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบทางสังคมเติบโต นอกเหนือไปจากการปรับปรุงกฎระเบียบให้ เอือ้ ต่อการลงทุน และการประชาสัมพันธ์เพือ่ สร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนเพือ่ สังคมมากขึน้ แต่ยงั สามารถสนับสนุนผ่านพันธบัตรเพือ่ สังคม (Social Impact Bond: SIB) ซึ่งแตกต่างจากพันธบัตรทั่วไปตรงที่จะมีการจ่ายผลตอบแทนเมื่อประสบผลสำ�เร็จ (Pay for Success Bond: PFS) พันธบัตรปีเตอร์โบโรห์ (Peterborough SIB) เป็นพันธบัตรเอสไอบีรุ่นแรกของโลกที่เกิดขึ้นจากการที่มูลนิธิและองค์กรการกุศล 17 แห่ง ลงขันเป็นเงิน 250 ล้านบาท (5 ล้านปอนด์) สำ�หรับโครงการสร้างชีวิตให้ผู้พ้นโทษ โดยผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนถ้าหาก ภายใน 12 เดือน อัตราการกลับมาถูกลงโทษในเรือนจำ�ปีเตอร์โบโรห์ลดลงไม่ตํ่ากว่าร้อยละ 7.5 แต่ถ้าตํ่ากว่านั้น นักลงทุนก็ไม่ได้อะไร เป็นการบริจาคตามปกติ พันธบัตรนีจ้ งึ จูงใจผูม้ จี ติ ศรัทธาทีม่ ลี นุ้ กับผลตอบแทนคูผ่ ลสำ�เร็จในการช่วยเหลือสังคม ในส่วนของรัฐบาลซึง่ เป็นผู้จัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาสังคม การลงทุนในพันธบัตรเป็นเหมือนการสนับสนุนให้องค์กรเพื่อสังคมคิดค้นนวัตกรรมใหม่ และทำ�ให้การใช้งบประมาณเพื่อแก้ปัญหาสังคมนั้นมีโอกาสสำ�เร็จมากขึ้น ปัจจุบันแนวคิดจ่ายเมื่อสำ�เร็จยังได้ขยายไปสู่พันธบัตรเพื่อการพัฒนา (Development Impact Bonds: DIBs) โดยผู้จ่ายเงินคือ มูลนิธิและองค์กรระหว่างประเทศ ไม่ใช่รัฐบาลท้องถิ่น เพื่อใช้ในการต่อสู้กับโรคไข้มาลาเรียในประเทศโมซัมบิก โรคไข้ง่วงหลับ ใน ประเทศยูกันดา และการเพิ่มโอกาสผู้เข้ารับการศึกษาในรวันดา ทีม่ า: รายงาน “Impact Investment: The Invisible Heart of Markets, Harnessing the Power of Entrepreneurship, Innovation and Capital for Public Good” จาก socialimpactinvestment.org
CREATIVE THAILAND I 17
flickr.com/photos/mountrainiernps
จากรายงานของเจ.พี. มอร์แกนที่ระบุถึง ศักยภาพของตลาดรากหญ้า (BOP) ซึ่งมีความ ต้องการขั้นพื้นฐานและต้องการเม็ดเงินลงทุน ในอีก 10 ปีข้างหน้าในด้านการอยู่อาศัยในเมือง การจัดหานํ้าสะอาด สุขภาพแม่และเด็ก การ ศึกษาขั้นพื้นฐาน และบริการการเงินรายย่อย โดยรวมแล้วน่าจะมีมูลค่ามากกว่า 14 ล้านล้าน บาท (4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และธุรกิจมี โอกาสที่จะประสบความสำ�เร็จและทำ�กำ�ไรบน ความต้องการเหล่านี้ได้สูงถึง 6.3 ล้านล้านบาท (1.82 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพราะปัจจุบันมี กองทุนหลายแห่งที่ประสบความสำ�เร็จในการ เจาะตลาดบีโอพีที่สามารถนำ�มาเป็นตัวอย่างใน การพัฒนากองทุนอื่นๆ และรัฐบาลของสมาชิก จีแปดก็กำ�ลังให้การสนับสนุนการเกิดและเติบโต ของกองทุ น เหล่ า นี้ อ ย่ า งเต็ ม ที่ เพื่ อ เป็ น แรง ขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น เอเลวาร์ อิควิตี้ (Elevar Equity) หนึ่งใน กองทุนที่มีผลประกอบการโดดเด่นถูกนำ�มาเป็น กรณี ศึ ก ษาถึ ง แนวทางการลงทุ น ที่ ใ ช้ ค วาม ต้องการของลูกค้าเป็นที่ตั้ง (User Centric) โดย
ประกอบด้วยกองทุนยูนิทัส อิควิตี้ ฟันด์ (Unitus Equity Fund) ลงทุนด้านสินเชือ่ เงินรายย่อย และ เอเลวาร์ อิควิตี้สอง (Elevar Equity II) ที่ขยาย ขอบเขตการลงทุนบริการการเงินอื่นๆ เช่น การ จดจำ�นองและการชำ�ระเงิน รวมถึงที่อยู่อาศัยและ สุขภาพ รวมสองกองทุนมูลค่า 3,290 ล้านบาท (94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยมีกลุม่ เป้าหมายใน ประเทศอินเดียและละตินอเมริกา ความสำ�เร็จของเอเลวาร์ อิควิตี้ นอกจาก จะมาจากความเชีย่ วชาญด้านสินเชือ่ รายย่อยของ ผู้บริหาร ยังมาจากแนวทางการลงทุนที่เน้นการ ร่วมมือมากกว่าให้เม็ดเงินอย่างเดียว โดยเริ่ม จากกฎเหล็กในการเลือกผู้ประกอบการที่ต้องมี ประสบการณ์ในการทำ�ธุรกิจ เนื่องจากซานดีป ฟาเรียส (Sandeep Farias) กรรมการผู้จัดการ และหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกองทุนเชื่อว่า “การทำ�ให้ นักธุรกิจมาทำ�เพื่อสังคมนั้นง่ายกว่าให้นักสังคม มาทำ�ธุรกิจ” ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องร่วมระดม สมองเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจที่รองรับลูกค้าที่มี กำ�ลังซื้อน้อย และมีระบบการจัดการกับลูกค้า จำ�นวนมาก ด้วยการทำ�งานแบบคลุกฝุ่นเพื่อ สำ � รวจความต้ อ งการของลู ก ค้ า ในพื้ น ที่ อ ย่ า ง
CREATIVE THAILAND I 18
flickr.com/photos/127713400@N06
thegeniusworks.com
BOP & User Centric
จริงจัง เช่น กรณีของการลงทุนในโรงพยาบาล แบบโลว์คอสต์ในชนบทของอินเดีย ที่ทีมกองทุน ใช้ เ วลาอย่ า งมากในการสำ � รวจพื้ น ที่ เ พื่ อ เก็ บ ข้อมูล ซึ่งพบว่ามากกว่าร้อยละ 95 ของสาเหตุที่ ลูกค้าต้องมาใช้บริการสถานพยาบาลมีทั้งหมด 42 สาเหตุ เช่น งูกัด คลอดบุตร ฯลฯ ดังนั้นการ ออกแบบโรงพยาบาลและบริการจึงเน้นรองรับ เฉพาะสาเหตุเหล่านี้ ขณะเดียวกันก็สร้างเครือข่าย กับโรงพยาบาลอืน่ สำ�หรับส่งต่อในการรักษาอาการ อื่นๆ การจัดบริการตามความต้องการเช่นนี้ ช่วยลดต้นทุนในการจัดตัง้ โรงพยาบาลถึงร้อยละ 50 และสามารถดำ�เนินธุรกิจโดยเก็บค่ารักษาใน อัตราที่ชุมชนพอจะจ่ายได้และยังมีกำ�ไร “สิ่งสำ�คัญที่สุดของระบบนี้คือการลงไปเจอ กับลูกค้า ซึง่ ต้องคิดว่าพวกเขาคือลูกค้าไม่ใช่ผรู้ บั ผลประโยชน์ เมื่อตั้งต้นได้ถูก ก็จะเติบโตอย่าง รวดเร็วเพราะว่ามีลกู ค้าจำ�นวนมาก” ฟาเรียสกล่าว ถึงวิธกี ารลงทุนของพวกเขาทีพ่ ลิกสมมติฐานทีว่ า่ คนยากจนไม่มคี วามสามารถในการออมและไม่มี กำ�ลังซื้อ มาสู่ตลาดที่มีศกั ยภาพเพราะคนเหล่านี้ เต็มใจที่จะจ่าย เพียงแต่ต้องหาสิ่งที่พวกเขา ต้องการอย่างแท้จริง
Elevar Method Aligned, customer centric investment approach
กระจายผลกระทบ ผู้นำ�ด้าน ผลตอบแทน ทางการเงิน สร้างความไว้วางใจ การระดมทุน และการถอนตัว
แนวคิดลูกค้า เป็นศูนย์กลาง ผู้ประกอบการ
ค้นหากลุ่มลูกค้า ที่ถูกมองข้าม มีขนาดใหญ่
สังเกตความต้องการ ของลูกค้าและตั้งสมมติฐาน การลงทุน
ลงทุนในธุรกิจ ที่มีโมเดลธุรกิจ ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
โมเดลธุรกิจ ที่ขยายได้
ประเมินองค์กร ด้านเศรษฐกิจ และสังคม
วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ระดับมหภาค และจุลภาค
แนวร่วมจากธุรกิจ
ขณะทีก่ ารผลักดันของรัฐบาลประเทศสมาชิกจีแปดทำ�ให้เกิดการตืน่ ตัวในการลงทุนเพือ่ สร้างผลกระทบทางสังคมทีจ่ ริงจังมากขึน้ นัน้ ทางด้านเอกชนก็มีแนวคิดที่สอดรับได้ไม่ต่างกัน เว็บไซต์ sustainablebrands.com ซึ่งเขียนเกี่ยวกับกลยุทธ์การทำ�แบรนด์ในปัจจุบัน กล่าวว่า เราควรจะหันมาทำ�ดีแบบสร้างกำ�ไร มากกว่าเน้นไปที่การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัท (CSR: Corporate Social Responsibility) เพราะทีมผู้บริหารก็มองว่า CSR ไม่ได้ส่งผลดีต่อบริษัทอย่างจริงจัง และไม่ได้แก้ปัญหาสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วย เพียงแต่ช่วยสร้างขวัญและกำ�ลังใจให้พนักงานเท่านั้น บริษัทควรก้าวมาสู่การแก้ปัญหาสังคมแบบจริงจังผ่านผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งจะช่วยสร้างอนาคตให้กับธุรกิจ ด้วยเหตุผล 3 ข้อ คือ 1. จากผลสำ�รวจ พบว่าผู้คนในโลกดิจิทัลที่ถูกรุมเร้าไปด้วยแบรนด์ต่างๆ นั้นไม่สนใจถ้าหากแบรนด์กว่าร้อยละ 74 จะหายไป เพราะผู้บริโภคให้ความสำ�คัญกับแบรนด์ที่มีความหมายต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจริงๆ ซึ่งแบรนด์ประเภทนี้มีอยู่น้อยกว่าร้อยละ 28 2. นอกจากลูกค้าแล้ว พนักงานบริษัทต่างก็คาดหวังให้บริษัทของตัวเองไม่เพียงสร้างกำ�ไรเท่านั้น แต่ต้องสร้างประโยชน์ต่อสังคม ด้วย ดังนั้นการตัดสินใจเข้าร่วมงานของกลุ่มพนักงานเจนวายที่กำ�ลังเข้ามาเป็น 2 ใน 3 ของกลุ่มคนทำ�งาน ก็ขึ้นอยู่กับบทบาทการ ช่วยเหลือสังคมของบริษัทด้วย 3. มีบริษทั มากมายทีส่ ามารถดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาพนักงานไว้ได้ดว้ ยการทำ�ดีแบบสร้างกำ�ไรนี้ ตัง้ แต่รนุ่ แรกๆ อย่างไอศกรีม เบนแอนด์เจอรี่ส์ (Ben & Jerry’s) มาจนถึงบริษัทรุ่นใหม่อย่างเทสล่า (Tesla) บริษัทรถยนต์ที่มุ่งมั่นในการผลักดันให้มีการใช้รถไฟฟ้า ในตลาดหลัก เพือ่ ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และกลุม่ สตาร์ทอัพอิมพอสซิเบิลฟูด้ ส์ (Impossible Foods) ทีร่ ะดมเงินได้ถงึ 6,400 ล้านบาท (183 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในการสร้างโรงงานเนือ้ สัตว์ทที่ �ำ จากพืช เพือ่ ลดผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมจากการทำ�ปศุสตั ว์ ที่มา: บทความ “Why Embracing Profitable Good-Not CSR-Will Help You Stay Ahead” โดย Phillip Haid จาก sustainablebrands.com ที่มา: Case study: Elevar Equity: Unitus Equity Fund and Elevar Equity Fund II, Impact Investing 2.0, November 2013 / Understanding Impact Investing: A Nascent Investment Industry and Its Latin American Trends, Issue Brief 11.04.45, Rice University’s Baker Institute for Public Policy / บทความ “Impact Investing” จาก thegiin.org / บทความ “Impact investing Is No Drag on Returns: Study” โดย Lawrence Delevingne จาก cnbc.com / บทความ “Impact Investments: An Emerging Asset Class” โดย J.P. Morgan Global Research จาก rockefellerfoundation.org / รายงาน “Impact Investment: The Invisible Heart of Markets, Harnessing the Power of Entrepreneurship, Innovation and Capital for Public Good” จาก socialimpactinvestment.org CREATIVE THAILAND I 19
เรื่อง: วงอร พัวพันสวัสดิ์
การลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบหรือ Impact Investing ยังถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย ลองจินตนาการดูว่า วันหนึ่ง ในอนาคต หากพนักงานบริษทั ทีใ่ ส่ใจปัญหาการลดลงของพืน้ ทีป่ า่ ไม้ในประเทศจะสามารถเลือกลงทุนในบริษทั ทีด่ ำ�เนินกิจการ เพือ่ ฟืน้ ฟูปา่ ไม้ในภาคเหนือได้ และชาวบ้านทีอ่ ยากร่วมแก้ปญ ั หาสังคมผูส้ งู อายุ ก็สามารถซือ้ พันธบัตรรัฐบาลทีอ่ อกมาเพือ่ ส่งเสริมการจัดจ้างธุรกิจทีม่ งุ่ ยกระดับคุณภาพชีวติ ของผูส้ งู วัย โดยผูล้ งทุนทัง้ คู่ จะได้รบั ผลตอบแทนเป็นเปอร์เซ็นต์ทชี่ ดั เจน เหมือนการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เพียงแต่เปอร์เซ็นต์ผลตอบแทนจะมาก น้อย หรือเป็นศูนย์นั้น ขึ้นอยู่กับผลงานของ บริษัทที่พวกเขาลงทุนไป ว่าสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมตามพันธกิจของตนได้มากน้อยเพียงไร กว่าจะถึงวันนัน้ ได้ ความเข้าใจเกีย่ วกับธุรกิจและ การลงทุนจะต้องต่างจากความเข้าใจในวันนี้ โดยสิ้นเชิง รวมถึงโครงสร้างและระบบต่างๆ ใน ภาคธุรกิจและการเงิน ก็จะต้องต่างไปจากที่เป็น อยู่ในวันนี้ด้วยเช่นกัน SR Center หรือ “ศูนย์พฒั นาความรับผิดชอบ ต่อสังคม” ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) คือหน่วยงานหลักอีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำ� หน้าทีข่ บั เคลือ่ นให้ประเทศไทยก้าวไปสูเ่ ศรษฐกิจ แห่งการลงทุนเพื่อสังคม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การ ก้าวไปสู่อนาคตที่การลงทุนและธุรกิจไม่ได้เป็น เพียงเรื่องของเม็ดเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็น เรื่องผลกระทบทางสังคมด้วย โดย SR Center
(Social Responsibility Center) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ .ศ. 2550 เพื่ อ ตอบรั บ กระแสของโลก ธุ ร กิ จ ที่ หั น มาให้ ค วามสำ � คั ญ ต่ อ เรื่ อ งความ รับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate Social Responsibility - CSR) โดยเดิมใช้ชื่อว่า “สถาบัน ธุรกิจเพื่อสังคม” และต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “ศู น ย์ พั ฒ นาความรั บผิ ด ชอบต่ อ สั ง คม” ที่ มี พันธกิจหลักคือการกำ�หนดแนวทางการพัฒนา ด้ า นความยั่ ง ยื น ให้ แ ก่ ผู้ มี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ใน ตลาดทุ น อั น ได้ แ ก่ บริ ษั ท จดทะเบี ย นใน ตลาดหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสถาบันและรายย่อย วาณิ ช ธนกิ จ ต่ า งๆ และตั ว ตลาดหลั ก ทรั พ ย์ เองด้วย
CREATIVE THAILAND I 20
flickr.com/photos/Rafael Matsunaga
Insight : อินไซต์
ผลงานที่โดดเด่นของ SR Center ตลอด เกือบสิบปีที่ผ่านมา อย่างแรกคือ การเผยแพร่ องค์ความรูด้ า้ นการดำ�เนินธุรกิจอย่างยัง่ ยืนให้แก่ ภาคเอกชน ผ่านการจัดทำ�หลักสูตรที่เป็นระบบ และได้มาตรฐานสากล ครอบคลุมหัวข้อการ จัดการอย่างยั่งยืนและการทำ� CSR เชิงกลยุทธ์ ทั้งหมด 6 หลักสูตรที่เหมาะสำ�หรับทั้งผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน ผลงานอย่างที่สองคือ การส่งเสริมให้ธุรกิจ จั ด ทำ � รายงานด้ า นความยั่ ง ยื น ด้ ว ยการเปิ ด หลักสูตรฝึกอบรมสำ�หรับบริษัทจดทะเบียนและ มีมาตรการส่งเสริมอืน่ ๆ ควบคูไ่ ปด้วย ทัง้ การจัด ทำ�รายงานตามแบบฟอร์มการเปิดเผยข้อมูลเรือ่ ง ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือแบบ 56-1 ของ สำ�นักงานกำ�กับตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ ตามกรอบสากลที่เรียกว่า Global Reporting Initiative (GRI) Index ซึ่งคล้ายๆ กับ ISO ด้าน ความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ISO26000 ปัจจุบนั มีองค์กรทั่วโลกที่จัดทำ� GRI Index เป็นจำ�นวน 5,753 แห่ง โดยส่วนใหญ่จะเป็นบริษทั ขนาดใหญ่ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ภารกิจอีกด้านก็คือการส่งเสริม ให้บริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ก้าวเข้าสู่ตัวชี้วัด ด้านความยั่งยืน Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ซึ่งเป็นดัชนีหลักทรัพย์ของบริษัท ชั้นนำ�ในระดับโลกที่ผ่านการประเมินด้านความ
ยั่งยืนตามตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อม และได้รับการยอมรับจากผู้ลงทุน สถาบันทั่วโลกในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการ ลงทุน ด้วยการจัดฝึกอบรมให้ผู้บริหารระดับสูง ของบริ ษั ท ไทยหลายหลั ก สู ต ร ได้ แ ก่ DJSI Executive Training, DJSI Coaching Workshop และ CEO Forum และสุดท้ายคือ การให้รางวัลด้านความ ยั่งยืน (Sustainability Awards) และรางวัลด้าน การสนับสนุนกิจการเพือ่ สังคม (Social Enterprise Investment Awards) เพื่อประกาศเกียรติคุณ บริษทั จดทะเบียนทีม่ คี วามโดดเด่นในการดำ�เนิน ธุรกิจอย่างยั่งยืน และการลงทุนเพื่อสนับสนุน กิจการเพื่อสังคม ในภาพรวมแล้ว SR Center จึงมีกลยุทธ์ใน การทำ�งาน 2 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านความ ยั่งยืน (Sustainability Development) ซึ่งเป็น กลยุทธ์ใหญ่ และการลงทุนเพื่อสังคม (Social Impact Investment) ซึ่งเป็นกลยุทธ์ย่อยของ ภาคการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ โดยกลยุทธ์ ด้าน Social Impact Investment ของ SR Center เน้นไปที่การสร้างความรู้ความเข้าใจใน หมู่บริษัทจดทะเบียนและผู้ลงทุน ผ่านโครงการ “Social Impact Initiatives” โดยชูแนวคิดที่ว่า “ลงทุน = สังคมได้ + ธุรกิจได้” และสนับสนุนให้ เกิ ด การสร้ า งเครื่ อ งมื อ การลงทุ น เพื่ อ สั ง คม รูปแบบอื่นๆ เช่น การให้การร่วมทุน (Venture CREATIVE THAILAND I 21
Philanthropy) หรื อ การระดมเงิ น ทุ น จาก ประชาชนแบบเปิดกว้างขนาดใหญ่ (Crowd Funding) รวมถึงสนับสนุนการก่อตั้งและเข้าสู่ ตลาดทุ น ของ “กิ จ การเพื่ อ สั ง คม” (Social Enterprise) ซึง่ ถือเป็นรูปแบบธุรกิจหลักในตลาด ทุนเพื่อสร้างผลกระทบในหลายประเทศ โดยมี หน่วยงานพันธมิตรที่สำ�คัญ คือ สำ�นักงานสร้าง เสริมกิจการเพือ่ สังคมแห่งชาติ หรือ สกส. (TSEO) และกิจการเพื่อสังคมไนส์คอร์ป (Nise Corp.) Impact Investing ในฐานะนวัตกรรมของ ตลาดทุน จึงถือได้ว่าเป็นจิ๊กซอว์ตัวใหม่ที่จะมา เติมเต็มหนทางสู่การพัฒนาด้านความยั่งยืน ที่ ผู้ลงทุนไม่ว่าจะเป็นในรูปบริษัท สถาบัน หรือ นักลงทุนรายย่อย จะต้องเข้าใจและให้ความ สำ�คัญกับความยั่งยืนเสียก่อน รวมทั้งยังต้องมี เกณฑ์ตวั ชีว้ ดั ผลกระทบทางสังคมของธุรกิจทีเ่ ป็น มาตรฐาน ชัดเจน เชื่อถือได้ และสามารถใช้ เปรียบเทียบมูลค่าของธุรกิจข้ามองค์กรและสาขา เพือ่ ให้นกั ลงทุนเลือกตัดสินใจได้อกี ด้วย ซึง่ คงอีก ไม่นานเกินรอ ทีบ่ า้ นเราจะเกิดหลักทรัพย์ชนิดใหม่ ที่จะกลายมาเป็นหลักทรัพย์ทางเลือกสำ�หรับ นักลงทุนที่แคร์ทั้งสังคมและผลตอบแทน ที่มา: บทความ “เกี่ยวกับ SR Center” จาก sec.or.th / เอกสาร “แผนพัฒนาความยั่งยืนสำ�หรับบริษัทจดทะเบียน (Sustainability Development Roadmap)” โดย ก.ล.ต. จาก sec.or.th
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
SCHOOL OF CHANGEMAKERS เปลีย่ นสังคม ด้วยพลังคนรุน่ ใหม่ เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ / ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
ว่ากันว่า คนรุ่นใหม่คือกลุ่มคนที่เปี่ยมด้วยพลังและความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลงโลก แต่สำ�หรับ “อโชก้า (Ashoka)” องค์กร ไม่แสวงหาผลกำ�ไรทีท่ ำ�งานสนับสนุนให้เกิดความเปลีย่ นแปลงในสังคมผ่านการสร้าง “นวัตกรรม” มาเป็นเวลานานหลายสิบ ปี โดยมี Ashoka Fellow กลุ่มคนที่ได้รับการสนับสนุน อาทิ สารานุกรมเสรี Wikipedia และนิทรรศการ Dialogue in the Dark ค้นพบว่า ความกล้าที่จะลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมด้วยตนเองนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่ต้องได้รับการ ปลูกฝังตั้งแต่เด็ก การทำ�ความรู้จักกับอโชก้าและแนวคิดเบื้องหลังการทำ�งาน รวมถึงโปรเจ็กต์น่าสนใจที่พวกเขากำ�ลัง พัฒนาเพื่อคนรุ่นใหม่ที่มีใจมุ่งมั่นอยากสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยเฉพาะในชื่อ “School of Changemakers” จึงอาจกลายเป็นแรงบันดาลใจใหม่ที่เปิดให้ใครก็ตามลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงสังคมต่อไป
CREATIVE THAILAND I 22
ทำ�ไมต้อง “นวัตกรรม” “อโชก้าเป็นองค์กรที่เกิดขึ้นจากความเชื่อของบิล เดรตัน (Bill Drayton) ผู้ก่อตั้ง ซึ่งเคยทำ�งานเป็นที่ปรึกษาในภาคธุรกิจ เขาค้นพบว่าในบรรดา 3 ภาคส่วนใหญ่บนโลก ได้แก่ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคสังคมหรือภาคประชาชน ภาคส่วนที่มีอิทธิพลมากที่สุดในปัจจุบันคือภาคธุรกิจ ซึ่งเพิ่งจะเข้ามาครอง อำ�นาจแทนภาครัฐในช่วง 200-300 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น โดยกุญแจสำ�คัญที่ ทำ�ให้ภาคเอกชนมากุมอำ�นาจได้ทกุ วันนีค้ อื ‘นวัตกรรม (Innovation)’ และ ‘ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship)’ แต่บิลเชื่อว่าส่วนที่ควรจะ ต้องกุมอำ�นาจมากกว่าคือภาคสังคม เพราะว่าปัญหามากมายในสังคม ทุกวันนี้ ลำ�พังภาครัฐอย่างเดียวก็ไม่มกี �ำ ลังพอทีแ่ ก้ไขได้ทงั้ หมด ขณะทีภ่ าค ธุรกิจเองก็มเี ป้าหมายหลักคือเพือ่ การทำ�มาหากิน ไม่ได้เกิดมาเพือ่ แก้ปญั หา สังคมอยู่แล้ว บิลจึงเกิดความคิดที่จะสนับสนุนภาคสังคมให้รู้จักหยิบใช้ นวัตกรรมและความเป็นผูป้ ระกอบการมาสร้างความเปลีย่ นแปลงในสังคม” พรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์ รองผู้อำ�นวยการอโชก้า ไทยแลนด์ เท้าความ หลังจากอโชก้าก่อตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกาในปี 1980 จึงได้ขยายการ ทำ�งานไปในประเทศต่างๆ โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 1989 “เป้าหมายของเราอยูท่ กี่ ารมองหาผูท้ สี่ ร้างนวัตกรรมทางสังคม เพือ่ สร้างให้ เกิดความเปลี่ยนแปลง โดยไม่จำ�เป็นว่าท้ายที่สุดแล้วจะต้องมีโมเดลธุรกิจ เสมอไป เช่น ผู้สร้าง Wikipedia ที่ถ้าวันแรกเขาเกิดแนวคิดว่าจะสร้าง สารานุกรมที่ทุกคนบนโลกมาช่วยกันเขียน แล้วยังใช้งานได้ฟรีด้วย ถ้าเขา นำ � ไอเดี ย นี้ ม าเล่ า ให้ เ ราฟั ง แต่ เ ราไปโฟกั ส เรื่ อ งโมเดลธุ ร กิ จ ตั้ ง แต่ แ รก นวัตกรรมนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย” ไม่อิน ไม่อึด…ไม่ลอง ไม่กล้า “เมือ่ เรามองเรือ่ งนวัตกรรมเป็นหลัก สิง่ ทีเ่ ราส่งเสริมก็คอื ‘คนสร้างนวัตกรรม’ คนที่มีแพชชั่น มีภูมิหลังที่เป็นแรงใจในการลุกขึ้นมาแก้ปัญหา แอนเดรียส ไฮเนเก (Andreas Heinecke) หนึง่ ใน Ashoka Fellow ของเราซึง่ เป็นผูก้ อ่ ตัง้ นิทรรศการ Dialogue in the Dark เกิดในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนที่อายุได้ 13 ปี เขาค้นพบว่าครอบครัวของพ่อเคยเป็นผู้สนับสนุนพรรค นาซี ขณะที่แม่เป็นชาวยิวที่ต้องสูญเสียคนในครอบครัวไปจากการฆ่าล้าง เผ่าพันธุ์ จึงเกิดเป็นคำ�ถามในใจ จนเมื่อเรียนจบนิเทศศาสตร์แล้วไปทำ�งาน ในสถานีวิทยุแห่งหนึ่ง เพื่อนร่วมงานของเขาประสบอุบัติเหตุทำ�ให้ตาบอด เจ้านายจึงมอบหมายให้แอนเดรียสดูแลเพือ่ นตัง้ แต่นนั้ เป็นต้นมา วินาทีแรก เขาคิดว่าทำ�ไม่ได้ เพราะเพือ่ นกลายเป็นคนตาบอดไปแล้ว แต่ตอ่ มาก็คิดได้ ว่าสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับเขาและเพือ่ น ก็เหมือนกับนาซีและยิว เมือ่ วานเขาเป็นเพือ่ น เรา แต่วันนี้เขาเป็นคนอื่นไปแล้ว แอนเดรียสจึงมาทำ�นิทรรศการ Dialogue in the Dark เพื่อนำ�เสนอประเด็นที่คนเรามักจะขีดเส้นแบ่งแยกคนที่คิดว่า ไม่เหมือนกับเรา ผู้ประกอบการสังคมที่อโชก้าทำ�งานด้วย จึงเป็นคนที่มุ่ง สร้างนวัตกรรมในเรื่องที่เขารู้สึกอินแบบนี้ เพราะถ้าเป็นเรื่องที่อิน เราจะมี แรง แต่ถ้าทำ�เพราะมองแค่ว่ามันทำ�เงิน เจออุปสรรคนิดเดียวก็ไปแล้ว”
หลังจากที่ทำ�งานร่วมกับผู้ประกอบการเพื่อสังคมที่ริเริ่มไอเดียเปลี่ยน สังคมมากว่า 20-30 ปี อโชก้าค้นพบว่า สิ่งที่คนเหล่านี้มีเหมือนกันคือ ความเชือ่ และความกล้าทีจ่ ะลุกขึน้ มาทำ�อะไรบางอย่างด้วยตัวเองตัง้ แต่เด็ก “สิง่ เหล่านีท้ �ำ ให้พวกเขาเชือ่ ว่าเขาสามารถเปลีย่ นอะไรด้วยตัวเองได้ อโชก้า จึงอยากจะส่งต่อประสบการณ์เหล่านี้ให้คนเจเนอเรชั่นใหม่ เพราะเมื่อลอง ศึกษาจากงานวิจัยก็พบว่า ถ้าคนรุ่นใหม่ไม่ได้ทำ�อะไรตอนเด็กๆ โอกาสที่ พวกเขาออกมาทำ�ตอนโตจะน้อยมาก เพราะว่ายิง่ โตก็จะยิง่ ไม่อยากล้มเหลว ยิ่งไม่อยากเสี่ยง” นี่จึงเป็นที่มาของ “School of Changemakers” โปรเจ็กต์ใหม่ที่ริเริ่ม ขึน้ ด้วยความตัง้ ใจทีจ่ ะสร้างระบบสนับสนุนคนรุน่ ใหม่ ทีต่ อ้ งการสร้างสรรค์ โครงการเพือ่ สังคมในประเด็นทีต่ นเองสนใจ “จะแค่เป็นโปรเจ็กต์เล็กๆ หรือ เป็นผู้ประกอบการสังคมเลยก็ทำ�ได้หมด สำ�คัญเพียงแค่ว่าโปรเจ็กต์ไหนที่ จะเปลี่ยนชีวิต เปิดมุมมองความคิดให้พวกเขากล้าที่จะลงมือทำ�และเรียนรู้ เพราะเราทำ�แบบสอบถามกับเด็กมหาวิทยาลัย 97 เปอร์เช็นต์ตอบว่าอยาก ทำ�เพื่อสังคม แต่ 70 เปอร์เซ็นต์ยังไม่ได้ทำ� อุปสรรคใหญ่สุดของคนที่ยัง ไม่ได้ท�ำ เขาบอกว่าเพราะสังคมไม่ได้คาดหวังให้ท�ำ พ่อแม่บอกว่าให้เรียนให้ ดีก่อน เอาตัวเองให้รอดก่อน เขารู้สึกว่าไม่มีใครสนับสนุนให้เขาทำ� แต่เขา อยากทำ�นะ อุปสรรคทีส่ องคือไม่รจู้ ะเริม่ ยังไง ถ้าไปคุยกับพ่อแม่ เพือ่ น หรือ ครู ทุกคนจะตั้งคำ�ถามว่าทำ�ทำ�ไม” ตัวช่วยของคนอยากเปลี่ยน School of Changemakers ให้การสนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเริ่มต้น เปลี่ยนสังคมทั้งหมด 4 ด้านด้วยกัน หนึ่ง คือเงินทุนสนับสนุนในการทำ� โปรเจ็กต์ สอง คือความรู้ เพราะอโชก้าพบว่าสิ่งที่ยากที่สุดของสตาร์ทอัพ โดยเฉพาะผู้ประกอบการเพื่อสังคมคือการค้นหาอินไชต์ของปัญหา โดย ส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ย 3 เดือนกว่าจะได้อินไซต์ “เราพยายามช่วยให้เขาได้ เริ่มต้นแบบก้าวกระโดด ด้วยการเก็บข้อมูลทำ�การบ้านรอไว้ก่อนให้ได้มาก ที่สุด ในหนึ่งปีเราจะพยายามสรุปออกมาให้ได้ว่า 10 ปัญหาใหญ่ที่ควรจะ แก้คอื อะไร หรือรวบรวมเครือ่ งมือ รวบรวมกรณีศกึ ษาต่างๆ ทีจ่ �ำ เป็นสำ�หรับ น้องที่อยากแก้ปัญหานั้นๆ” พรจรรย์ หรือ “พี่นุ้ย” ของเด็กๆ ที่เข้ารับการ บ่มเพาะจากทีมงานอโชก้าอธิบาย “สาม คือโค้ช ซึ่งเป็นส่วนที่สำ�คัญที่สุด โค้ชคือคนที่นั่งอยู่กับเด็ก คน ที่นั่งฟังเด็กและให้คำ�แนะนำ�เขาในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการคิด โค้ช ไม่ได้รู้ดีกว่าน้อง แต่โค้ชของเราได้รับการเทรนให้แม่นเรื่องกระบวนการว่า สตาร์ทอัพควรจะคิดเป็นลำ�ดับยังไง และมีทักษะในการอดทนฟัง โค้ชไม่ใช่ ที่ปรึกษาที่จะบอกคำ�ตอบน้อง แต่เป็นคนที่รู้ว่าตอนนี้เขาอยู่ตรงไหน เขา อยากไปไหน แล้วจะพาเขาไปถึงเป้าหมายได้ยังไง โค้ชจะเป็นคนตั้งคำ�ถาม เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ ดึงศักยภาพของเขาออกมาให้ได้มากที่สุด และสี่ คือ คอมมูนิตี้ เพราะการเริ่มต้นอะไรด้วยตัวคนเดียวไม่ใช่เรื่องง่าย อโชก้าจึง เป็นตัวกลางเชื่อมต่อให้นักเปลี่ยนแปลงมือใหม่ได้เจอกับคนที่มีความคิด เหมือนกัน”
CREATIVE THAILAND I 23
หนึง่ ในโปรเจ็กต์ทไี่ ด้รบั การสนับสนุน ซึง่ ประสบความสำ�เร็จจนสามารถ ขยายผลได้ภายในเวลาเพียงแค่ 6 เดือน คือ “The Guidelight” โปรเจ็กต์ เพื่ อ ส่ ง เสริ ม คนตาบอดให้ ไ ด้ รั บ การศึ ก ษาอย่ า งเท่ า เที ย มของ เมธาวี ทั ศ นาเสถี ย รกิ จ หรื อ “จู น ” เธอจบการศึ ก ษาจากคณะนิ ติ ศ าสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก่อนที่จะมาศึกษาต่อด้านธุรกิจเพื่อสังคมและได้เจอกับ พี่นุ้ยซึ่งรับเป็นโค้ชประจำ�โปรเจ็กต์ในเวลาต่อมา “สมัยเรียนที่นิติศาสตร์ จูนได้ชว่ ยอ่านหนังสือให้นวิ เพือ่ นนักศึกษาตาบอดทีค่ ณะ จนทัง้ สองคนเรียน จบมาด้วยกัน หลังจากทีน่ วิ ส่งข่าวมาว่าสอบติดป.โททีจ่ ฬุ าฯ จูนจึงตัดสินใจ ว่าอยากจะทำ�โครงการเพื่อช่วยให้คนตาบอดคนอื่นๆ ได้มีโอกาสอย่าง นิว จูนตกใจมากที่รู้ว่าธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยที่รับนักศึกษาตาบอด มากที่สุดในประเทศไทย คือ 30 คน เพราะมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มันไม่มี ระบบรองรับ เราก็ให้น้องไปหาข้อมูลเยอะมากว่า จำ�นวนคนตาบอดใน เมืองไทยมีกคี่ น ได้เรียนกีเ่ ปอร์เซ็นต์ ไม่ได้เรียนเพราะอะไร แล้วปัญหาจริงๆ ของคนตาบอดคืออะไร” จูนเริม่ แก้ปญั หาด้วยการสร้างระบบเพือ่ ช่วยให้คนตาบอดเรียนจบ เธอ เริ่มทำ�โปรเจ็กต์ร่วมกับม.ธรรมศาสตร์ “จูนไปสัมภาษณ์เด็กตาบอดจนได้ อินไซต์ของปัญหา ก่อนนำ�มาแก้ไขทีละข้อ ผลตอบรับที่ได้หลังจากจบ ภาคเรียนแรกทีผ่ า่ นมา คือเด็กตาบอดทัง้ หมด 30 คนทีเ่ ข้าร่วมโปรเจ็กต์สอบ ผ่านทัง้ หมด ทุกคนมีเพือ่ นเรียน มีหนังสืออ่าน มีความสุข และมีแรงใจ ก่อน ทำ�เรามีตัวเลขเด็กตาบอดที่เรียนไม่จบประมาณ 1 ใน 3 แต่ก็ต้องรอดูเด็ก รุ่นแรกของเราไปจนครบ 4 ปี” พี่นุ้ยเล่าอย่างภาคภูมิใจ ขณะนี้ The Guidelight กำ�ลังอยู่ในช่วงปรับโมเดลธุรกิจ โดยตั้งเป้าว่า จะขยายผลไปยังเด็กตาบอดในม.รามคำ�แหงและม.สวนดุสิต รวมทั้งหมด 200 คน โดยปีที่ผ่านมา อโชก้าเป็นผู้ให้ทุนสำ�หรับดำ�เนินโครงการ จำ�นวน 50,000 บาท และยังได้พาไปคุยกับบริษัทซัมซุงซึ่งเพิ่งจะทำ�โปรเจ็กต์ Read for the Blind บนมือถือ “ซัมซุงเริ่มจากการทำ�วิดีโอพรีเซนเทชั่นโปรเจ็กต์ ให้กอ่ นหนึง่ ตัว เราก็หวังว่า ถ้าในอนาคตโปรเจ็กต์ของจูนประสบความสำ�เร็จ ก็จะมีพาร์ทเนอร์ทแี่ ข็งแรงและเหมาะสม เพราะจูนไม่ได้ฝนั แค่ให้เด็กตาบอด เรียนจบ แต่ต้องมีงานทำ�ด้วย ฉะนั้นแผนที่วางไว้คือจะต้องมีการร่วมมือกับ บริษทั ต่างๆ เพือ่ พัฒนาทักษะทีจ่ �ำ เป็นในการทำ�งานด้วย การเป็นผูป้ ระกอบ การสังคมจริงๆ แล้วมันใช้เวลาหลายปีกว่าจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง นักสร้างความเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคต ปีที่ผ่านมาเป็นปีแรกที่ทีมงานอโชก้าเริ่มปรับรูปแบบการสนับสนุน จากการ ให้คำ�ปรึกษาแบบตัวต่อตัว เป็นการจัดชั้นเรียนทุกเดือน เพื่อให้สามารถ รองรับจำ�นวนคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเริ่มต้นทำ�โครงการเพื่อสังคมได้มากขึ้น โดยเริม่ จากการเรียนรูว้ ธิ ที �ำ ความเข้าใจปัญหาในชัน้ เรียน Idea Development และ Problem Define “คลาสของเราค่อนข้างโหด เพราะจะต้องทำ�การบ้าน มาส่งด้วย หลังจากผ่านคลาสของเรามาได้แล้ว เขาก็จะได้ไอเดียและ เป้าหมายคร่าวๆ เราจะจับคู่โค้ชให้แต่ละโปรเจ็กต์ โดยเราเริ่มรับสมัคร ‘โค้ชอาสา’ เข้ามาเทรนเพื่อเป็นโค้ชประจำ�โปรเจ็กต์ด้วย เพราะเราพบว่ามี คนในช่วงอายุ 25-35 ปีจำ�นวนมากที่อยากจะทำ�งานอาสาสมัคร หลายคน ก็อยากจะสตาร์ทอัพโครงการเพื่อสังคมด้วยตัวเองด้วย แต่ยังไม่แน่ใจ
พรจรรย์ ไกรวัตนุสสรณ์ (นุ้ย)
หลังจากที่เราประกาศรับสมัครโค้ชอาสา ก็มีคนสมัครเข้ามาเป็นร้อยคน ตอนนี้เรามีโค้ชประมาณ 50 คน ทุกคนที่ได้เป็นโค้ชไม่ได้ค่าตอบแทนเลย แต่การได้นงั่ ฟังนัง่ คุยกับเด็กทำ�ให้เขาได้แรงใจ และยังได้ประสบการณ์ความ รู้จากการเทรน แต่ก็ต้องใช้แรงเยอะมาก เพราะเราขอให้เขาสละเวลา 2-3 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ เป็นเวลา 6 เดือน” หลังจากโปรเจ็กต์พัฒนาเป็นรูปเป็นร่างแล้ว จึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการทำ� โมเดลธุรกิจและการหาเงินทุน ซึ่งมีได้หลายรูปแบบ ตั้งแต่การรับการ สนับสนุนจากอโชก้า หาทุนด้วยตนเอง เสนอโปรเจ็กต์กบั นักลงทุน ไปจนถึง การรันโมเดลที่ไม่ใช้เงินทุนเลย โดยหลังจากโปรเจ็กต์สำ�เร็จแล้ว โค้ชจาก อโชก้ายังจะให้ความรู้ในเรื่องการจัดการโครงการ (Project Management) รวมถึงการประเมินผล (Project Evaluation) ให้ครบทั้งหมดทุกขั้นตอน “อีกหนึ่งเรื่องคือเราพยายามจะช่วยให้โปรเจ็กต์ที่ผ่านมาได้ 1-2 ปีได้เข้าถึง ผู้ให้ทุนหลักล้านให้ได้ เพราะว่าตอนนี้ในตลาดบ้านเรา มีหน่วยงานที่ให้ทุน สำ�หรับโปรเจ็กต์ในขัน้ แรก ประมาณหลักหมืน่ หลายร้อยทุน แต่ถา้ โปรเจ็กต์ ผ่านขั้นแรกไปแล้ว ต้องการเงินทุนมากขึ้น มันไม่มีแล้ว ถ้ามีอีกทีคือหลัก สิบล้านเลย และนักลงทุนก็ไม่กล้ามาลงทุนด้วย โดยเฉพาะโปรเจ็กต์เพื่อ สังคม ถ้าเราทำ�สำ�เร็จ ก็เท่ากับส่ง doer ให้กลายเป็น idol ในอนาคต จะ ได้มีโปรเจ็กต์ที่ประสบความสำ�เร็จบ้าง” พรจรรย์เล่าว่า เป้าหมายของอโชก้าในอนาคต คืออยากให้เด็กไทย 1 เปอร์เซ็นต์มีโอกาสที่จะได้เป็น “ผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง” โดยวางแผน จะขยายผลไปในมหาวิทยาลัย และร่วมมือกับหน่วยงานหรือบริษัทที่อยาก จะทำ�ระบบสนับสนุนเพื่อให้เกิดโครงการเพื่อสังคม “ขณะนี้อโชก้าร่วมมือ กับอาจารย์มหาวิทยาลัยหลายแห่ง ในการปรับชั้นเรียนเพื่อให้นักศึกษาได้ ลองทำ�โปรเจ็กต์เพื่อสังคม บางแห่งก็ทำ�เป็นกิจกรรมเสริมให้นักศึกษา ในลักษณะการฝึกงานแบบใหม่ เพื่อให้เด็กได้มีประสบการณ์ในการคิดเอง ลงมือทำ�เอง แก้ปัญหาเอง ตามสิ่งที่เขาสนใจ “เพราะฉะนัน้ สำ�หรับเรา การทีค่ นรุน่ ใหม่ได้เรียนรูผ้ า่ นการลงมือในรูป แบบของผู้ประกอบการเพื่อสังคม เป็นแค่เครื่องมือหนึ่งในการสร้างคน ให้คนไทยรูจ้ กั คิดอย่างสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมใหม่ เพือ่ เปลีย่ นสังคม ไปด้วยกัน” School of Changemakers: ชั้น 12 Knowledge Xchange for Innovation Center (KX) Facebook: School of Changemakers Website: schoolofchangemakers.com
CREATIVE THAILAND I 24
เปดรับสมัครสถาปนิกรุนใหมไฟแรงทุกสาขา เพื่อเปนวิทยากรพูดคุยและนำเสนอแนวคิดเรื่องการออกแบบ ความสัมพันธระหวางพื้นที่และมนุษยเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
YOUNG ARCHITECT AND INTERIOR DESIGNER สมัครออนไลนฟรี www.tcdc.or.th/socialclub
19 Mar 2016 – 25 Apr 2016
24 May 2016 ประกาศรายชื่อ
ผลงานที่ไดรับคัดเลือกทาง tcdc.or.th/socialclub
18 Jun 2016 นำเสนอผลงาน
14.00 - 17.00 น., Member Lounge TCDC Resource Center
14 - 26 Jun 2016 จัดแสดงผลงาน Lobby, TCDC
CREATIVE THAILAND I 25 สอบถาม: socialclub@tcdc.or.th หรือ โทร 02 664 8448 ตอ 213, 214 (ปดวันจันทร)
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล / ภาพ: สุรพัศ เคียงคู่
เว็บไซต์ Lonely Planet แนะนำ�เมืองเล็กๆ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์แห่งนีไ้ ว้วา่ “นิวคาสเซิลอาจจะมีขนาดเพียง 1 ใน 10 ของซิดนีย์ แต่เมืองทีเ่ ก่าแก่เป็นอันดับสองของออสเตรเลียแห่งนีก้ ำ�ลังมาแรงแซงพิกดั ” ไม่ใช่แค่สถาปัตยกรรมเก่าแก่ ชายหาดทีเ่ หมาะ กับการโต้คลืน่ บาร์และร้านอาหารสุดฮิป ทีป่ กั หมุดให้นวิ คาสเซิลคือเมืองทีท่ กุ คนควรแวะเวียนมาเยีย่ มเยียน หากเพราะอดีต เมืองท่าอุตสาหกรรมแห่งนี้อาจให้คำ�ตอบถึงนิยามความสำ�เร็จของเมืองแห่งอนาคต เมื่อเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง ผู้ประกอบการ เอกชน และรัฐ ขับเคลื่อนไปได้ด้วยบริษัทที่จัดการอย่างเยี่ยมยอด เพื่อเชื่อมต่อท้องถิ่นเข้ากับโลกได้อย่างมี เอกลักษณ์และไร้พรมแดน
flickr.com/photos/Trevor Dickinson CREATIVE THAILAND I 26
renewnewcastle.org
หนึ่ ง ในโมเดลที่ อ าจจะอธิ บ ายรู ป แบบและ ความเป็นไปได้ในการจัดการเมืองสร้างสรรค์ได้ ดี ที่ สุ ด โมเดลหนึ่ ง คื อ Renew Newcastle (renewnewcastle.org) ซึง่ เป็นบริษทั ทีก่ อ่ ตัง้ โดย ไม่แสวงหาผลกำ�ไร โดยมาร์คัส เวสต์เบอรี (Marcus Westbury) นักเขียน ผู้ประกาศข่าว และผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ที่ตัดสินใจลุกขึ้นมาช่วย เมืองบ้านเกิดของเขาในปี 2008 นิวคาสเซิลเมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว ประสบ ปัญหาเดียวกันกับเมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง อีกหลายแห่งทั่วโลก ความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิ จ ทำ � ให้ ย่ า นใจกลางเมื อ งซึ่ ง เคยเป็ น ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเหล็กและถ่านหินถูกทิง้ ให้ รกร้าง รถยนต์ส่วนบุคคลและช้อปปิ้งมอลล์ย่าน ชานเมืองได้ฆ่าธุรกิจค้าปลีกขนาดเล็กให้ต้อง ปิดตัว สำ�หรับที่นี่ นั่นหมายถึง ตึกรกร้างในย่าน กลางเมืองกว่า 150 หลัง แต่ละบล็อคถนนมีห้อง ว่างไร้ผู้เช่าหรือสำ�นักงานมากกว่าครึ่ง “ปัญหา คือ คุณมีตึกว่างๆ คุณมีคนที่เต็มด้วยไอเดีย แต่ ไม่ มี ใ ครที่ จ ะเชื่ อ มต่ อ ทั้ ง สองสิ่ ง เข้ า ด้ ว ยกั น ” เวสต์เบอรีเล่า
CREATIVE THAILAND I 27
renewnewcastle.org
renewnewcastle.org flickr.com/photos/Dan Thompson มาร์คัส เวสต์เบอรี
ได้เวลาปัดฝุ่นเมือง
สิ่งที่ Renew Newcastle ทำ� คือการเชื่อม ต่ อ อาคารร้ า งกั บ นั ก สร้ า งสรรค์ เ ข้ า ด้ ว ยกั น ด้วยแนวคิด “สร้างสิง่ ถาวรให้กบั ของเฉพาะกาล” (A Permanent Structure for Temporary Things) บริษัททำ�งานกับเจ้าของพื้นที่หรืออาคารพาณิชย์ รกร้างโดยตรง โดยเป็นตัวกลางเจรจาขอ “เช่ายืม” พืน้ ทีว่ า่ งแห่งนี้ (ตราบใดทีย่ งั ไม่มกี ารใช้งานอืน่ ๆ) จัดการขอใบอนุญาตต่างๆ จากทางการ ทำ�การ ปรับปรุงอาคารให้เข้าใช้งานได้ แล้วปล่อยให้ ศิลปิน โครงการสร้างสรรค์ต่างๆ และโครงการ ในชุมชนเข้าใช้พื้นที่เพื่อไม่ให้กลายเป็นพื้นที่ที่ ถูกทิ้งร้างไปเปล่าๆ เป็นการชั่วคราว และเพื่อ บ่มเพาะไอเดียหรือธุรกิจสร้างสรรค์ ซึง่ พิสจู น์แล้ว ว่าได้ผลดี เมื่อบางโครงการพัฒนาไปเป็นผู้เช่า ระยะยาว (ประมาณร้อยละ 30 - 40) จนถึง ปัจจุบันนี้ Renew Newcastle ได้สร้างโปรเจ็กต์ ชุมชนไปแล้วถึง 170 โครงการ และธุรกิจสร้างสรรค์ อื่นๆ ที่ทำ�ให้อาคารรกร้างกว่า 70 หลังในย่าน ดาวน์ ท าวน์ ฟื้ น คื น ชี พ ไม่ นั บ รวมคาเฟ่ แ ละ ร้านอาหารใหม่ๆ ที่ช่วยให้ย่านมีความคึกคัก และกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ไม่น่าแปลกใจที่ ในปี 2011 เว็บไซต์ของหนังสือไกด์บุ๊กระดับโลก อย่าง Lonely Planet จะเลือกให้นิวคาสเซิล เป็น 1 ใน 10 เมื่องน่าไปเยี่ยมของโลก
เมื่อพิสูจน์แล้วว่า โมเดลการจัดการของ Renew Newcastle เป็นไปได้ คำ�ถามน่าคิดคือ จะทำ� อย่างไรให้ธุรกิจ (ที่แม้จะไม่ได้หวังผลกำ�ไร) ดำ�เนินงานต่อไปได้ในระยะยาว และสร้างให้เกิด ความเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน Renew Newcastle ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ แต่ หัวใจหลักกลับอยู่ที่การทำ�หน้าที่เป็นตัวกลางใน การจัดการและประสานงานให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง “ผมคิ ด ว่ า สิ่ ง หนึ่ ง ที่ สำ � คั ญ ที่ สุ ด ที่ เ ราพยายาม ทำ�คือ ให้ทุกคนเห็นภาพเดียวกัน ไม่ใช่ว่าผม ไปหาเจ้าของอาคารแล้วพูดอย่ า งหนึ่ง แต่ ท้ัง นักสร้างสรรค์และเจ้าของพื้นที่ต้องเข้าใจเรื่อง เดียวกัน” เวสต์เบอรีเสริม แน่นอนว่าประเด็นที่ ต่างฝ่ายต่างต้องการทราบข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่นว่า เรื่องสภาพคล่อง หนี้สิน ความเสี่ยง และ มูลค่าทางเศรษฐกิจทีโ่ ครงการเหล่านีอ้ าจสร้างให้ เกิดขึ้นนั้น ก็มีความสำ�คัญไม่แพ้สิ่งที่โครงการ สร้างสรรค์ต่างๆ อาจสร้างให้เกิดขึ้น ซึ่งก็เป็น ประเด็นสำ�คัญที่ผู้บริหารโครงการต้องวางแผน รับมือและสื่อสารให้ดี อย่างไรก็ดี การใช้พื้นที่ที่ถูกทิ้งร้างของ โครงการของ Renew Newcastle ไม่เพียงช่วย ฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของเมือง แต่มันยัง ช่วยลดสถิติการเกิดอาชญากรรมในเมืองอย่าง ได้ผล อันทีจ่ ริง แต่ละปีอตั ราการเกิดอาชญากรรม
birdgehls.com renewnewcastle.org renewnewcastle.org
benyee.net
สื่อสาร + ทดลอง = สำ�เร็จ
ในเขตชุมชนลดลงราวร้อยละ 25 หากจะพูดให้ เป็นรูปธรรมก็อาจบอกได้วา่ หน้าต่างไม่ถกู ทุบแตก ของไม่ถูกขโมย และอาคารไม่ถูกบุกรุกอย่างผิด กฎหมาย ซึ่ ง หมายรวมว่ า เมื อ งปลอดภั ย ขึ้ น นั่นเอง ต้ น ทุ น ด้ า นพื้ น ที่ อ าจเป็ น จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ไ ด้ เปรียบของเมืองนิวคาสเซิล แต่ไม่ใช่เพราะพื้นที่ เท่ากับ ตึกเก่าหรืออาคารร้าง แต่พื้นที่ เท่ากับ การได้ทดลองว่าอะไรกันแน่ที่เหมาะสมหรือไม่ เหมาะสม “บางทีถ้าคุณเห็นพื้นที่ว่างเปล่าที่ดู ตายแล้ว และดูเหมือนไม่มใี ครจะรูว้ า่ ต้องจัดการ มันอย่างไร บางที สิ่งที่คุณต้องทำ�คือทดลองใช้ พืน้ ทีเ่ หล่านีใ้ นหลายๆ รูปแบบ แล้วดูวา่ กิจกรรม หรือโครงการแบบไหนทีไ่ ด้ผล มันเหมือนเราลอง หว่านเมล็ดปลูกต้นไม้ไป 100 เมล็ด มันไม่ใช่ว่า ทุกเมล็ดจะงอก แต่อย่างน้อยเราก็ได้รู้ว่ามันจะ เป็นยังไง” เขาอธิบาย Renew Newcastle ซึ่ง เป็ น โครงการที่ เ น้ น ไปที่ ก ารทดลองและปรั บ เปลี่ ย นรู ป แบบให้ เ ข้ า กั บ ผู้ เ ช่ า ที่ ห ลากหลาย ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องของการลงทุนในเทคโนโลยีอัน ซับซ้อน หรือโครงสร้างสาธารณูปโภคลํ้าสมัยแต่ อย่างใด แต่เป็นเรื่องของคนและการคัดสรร รูปแบบของงานสร้างสรรค์ ตลอดจนธุรกิจที่ เป็ น การช่ ว ยสร้ า งให้ เ มื อ งมี เ สน่ ห์ โ ดดเด่ น ไม่ เหมือนที่ใด เมื่อพื้นที่หลากหลายถูกสร้าง และ จับคู่ให้เข้ากับนักสร้างสรรค์สารพัดแบบ ตาม ศักยภาพ ทักษะ และความสามารถ
flickr.com/photos/Dan Thompson
CREATIVE THAILAND I 28
thedesignfiles.net
หากอัตราการเติบโตทางการท่องเทีย่ วนิวคาสเซิล ที่ในปี 2015 พุ่งขึ้นสูงถึงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ ปีก่อนหน้า จะสะท้อนให้เห็นอะไร สิ่งนั้นอาจจะ เป็นความสดใหม่ทเี่ มืองมีให้อยูต่ ลอดเวลา แต่ละ ครั้งที่มาเยือนนิวคาสเซิล เมืองจะเปลี่ยนแปลง ไปทุกครัง้ มีสง่ิ ใหม่ๆ เกิดขึน้ บนสิง่ เดิมๆ อยูเ่ สมอ ดังที่ Renew Newcastle ได้ตั้งเป้าไว้ ว่าพื้นที่ที่ เป็นที่ตั้งโครงการต่างๆ มีจุดประสงค์เพื่อสร้าง ให้เกิดโอกาสในการทดลองแนวคิดและไอเดียใน การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ โดยที่ไม่ต้องกังวลหรือ แบกรั บ ความเสี่ ย งเมื่ อ ล้ ม เหลวมากนั ก การ บริหารจัดการจึงเข้ามาอุดช่องโหว่ที่อาจจะเกิด ขึ้นนี้ได้ แต่แน่นอนว่า โครงการนั้นๆ ก็ต้อง เหมาะสมด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ใช่ทุกโครงการจะ สำ�เร็จ นิทรรศการและงานอีเวนต์ที่มีระยะเวลา ขนาดสั้น อาจจะเหมาะสมในตัวเองโดยไม่ต้อง
goget.com.au
thedesignfiles.net
ความไม่แน่นอน คือความแน่นอน
พัฒนาเป็นโครงการระยะยาว โครงการของ Renew Newcastle บ้างอาจจะไปต่อเป็นโปรเจ็กต์สั้น บ้าง อาจจะปิดตัวไป และบ้างอาจจะต้องคืนพื้นที่ไป เมื่อผู้เช่าตัวจริงพร้อมเข้าพื้นที่ แต่บางโครงการ ก็ได้ปรับสถานะไปเป็นผูเ้ ช่าเชิงพาณิชย์แบบถาวร หนึ่ ง ในโครงการที่ ป ระสบความสำ � เร็ จ ของ Renew Newcastle คื อ สตู ดิโ อเมลต์ (studiomelt.com.au) สตูดโิ อจิวเวลรีขนาดเล็กๆ ที่หลังจากได้ทดลองไอเดียการใช้พื้นที่อยู่นาน ก็ลงตัวในฐานะพื้นที่ที่นอกจากจะเปิดเป็นที่ให้ นักออกแบบเครื่องประดับจากทั้งออสเตรเลียได้ ออกแบบ ผลิต และวางจำ�หน่ายเครื่องประดับ แล้ว ยังปรับปรุงพืน้ ทีเ่ พือ่ เปิดคลาสและเวิรก์ ช็อป สอนทำ�จิวเวลรีให้แก่ผทู้ สี่ นใจอีกด้วย สถิตปิ ี 2007 โดยรัฐบาลออสเตรเลีย แสดงให้เห็นแนวโน้มทีน่ า่ ตื่นตาตื่นใจ เมื่อในอัตราการเติบโตของงานทั้ง แบบฟูลไทม์และพาร์ตไทม์ในหมวดการทำ�จิวเวลรี สูงเกือบร้อยละ 700 (สถิติปี 2001 - 2007) ซึ่ง สอดคล้องกับกระแสโลกที่กลับมาให้ความสนใจ
กับงานคราฟต์และงานทำ�มือที่ยังคงเติบโตต่อ เนื่องมาจนปัจจุบัน เมื่อผู้คนแสวงหาข้าวของที่ดูไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน ในโลกที่เชื่อมต่อกันได้ผ่าน อินเทอร์เน็ต จึงเปิดโอกาสให้สตูดโิ อ นักออกแบบ และผู้ประกอบการขนาดเล็ก ได้มีที่ทางของตน ในยุคโลกาภิวฒั น์ สถิตจิ ากเว็บไซต์มาร์เก็ตเพลซ งานทำ�มือชื่อดัง Etsy ระบุว่า ร้อยละ 70 ของ สินค้าทำ�มือสัญชาติออสเตรเลีย เป็นการส่งออก ไปขายยังต่างประเทศ ของจากเมืองเล็กเดินทาง สู่เมืองใหญ่ สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าอยู่ในเงื่อนไข พื้นที่และมือของนักจัดการที่ใช่ ธุรกิจขนาดเล็ก ก็เติบโตในเมืองเล็กๆ ได้ และทุกวันนี้ มันก็ก�ำ ลัง เกิดขึน้ อยูต่ ลอดเวลา เมือ่ นิวคาสเซิลได้พสิ จู น์ให้ เห็นแล้วว่า บางทีก้าวเล็กๆ อย่างการเปิดพื้นที่ ให้ได้ทดลองและจัดการในระยะเวลาทีพ่ อเหมาะ อาจได้ผลลัพธ์มากกว่าการโหมลงทุน หากหวัง จะติดปีกให้เมืองติดลมบนในระยะยาว ท่ามกลาง กระแสลมเศรษฐกิจทีซ่ บเซาและอ่อนโรยเช่นนี้
ทีม่ า: บทความ “Creating Creative Enterprise Hubs: A Guide” โดย จาก Marcus Westbury จาก emptyspaces.culturemap.org.au / บทความ “Fostering Local Creativity To Revitalize Struggling Cities” (19 พฤษภาคม 2015) โดย Marcus Westbury จาก newcitiesfoundation.org / บทความ “Introducing Newcastle” จาก lonelyplanet.com/Australia / บทสัมภาษณ์ มาร์คัส เวสเบอรี วันที่ 15 พฤษภาคม 2016 ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) CREATIVE THAILAND I 29
The Creative : มุมมองของนักคิด
ชานนท์ เรืองกฤตยา เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล และ ศรินทิรา ปัทมาคม
ปัจจุบัน ซีเอสอาร์ (Corporate Social Responsibility) กลายเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างแบรนด์สินค้า แต่ส�ำหรับ “ชานนท์ เรืองกฤตยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จ�ำกัด มองว่าตลาดของคนรุ่นใหม่นั้นมีความรู้และซับซ้อนมากขึ้น การคืนก�ำไรสู่สังคมไม่เพียงต้องลุ่มลึกแต่ยังต้องมีผลกระทบ ในวงกว้าง
CREATIVE THAILAND I 30
แนวทางการดำ�เนินธุรกิจของอนันดาในปัจจุบันเป็นอย่างไร เราวางตัวเองว่าไม่ใช่แค่บริษัททำ�โครงการที่อยู่อาศัย แต่เราศึกษาวิถีชีวิต คนเมืองสมัยใหม่ที่เรียกว่า เจนซี (Generation C) ที่มีไลฟ์สไตล์เกี่ยวข้อง กับ 6 ด้าน คือ ความสะดวกสบาย (Convenience) ความใส่ใจในความ คิดสร้างสรรค์และการออกแบบ (Creative) โลกออนไลน์ (Connect) การ ใช้ชีวิตชิลล์ๆ (Casual) ความสามารถที่จะควบคุมชีวิตตัวเองได้ (Control) และการให้เงินทำ�งาน (Cash Smart) แล้วเราจึงมากำ�หนดเป็นคอนเซ็ปต์ใน การพัฒนาโครงการ เพือ่ ให้กา้ วทันกับสภาพสังคมสมัยใหม่ทเี่ ปลีย่ นไป แล้ว เราก็เติมส่วนทีส่ นับสนุนให้วถิ ีชวี ติ แบบนีด้ ีขนึ้ ไป วิสัยทัศน์ของเราจึงชัดเจน มากในการเสนอคำ�ตอบของวิถีชีวิตคนเมือง (Urban Living Solution) การเน้ น ไปที่ ก ลุ่ ม คนเมื อ งสมั ย ใหม่ ซึ่ ง ให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ ผลกระทบทางสั ง คมมากขึ้ น ทุ ก วั น ทำ � ให้ เ ราต้ อ งปรั บ ตั ว มาเน้นเรื่องสังคมมากขึ้นด้วยหรือไม่ เราต้องปรับตัวเป็นธรรมดา เพราะ Social Impact (ผลกระทบทางสังคม) มีผลกระทบกับการทำ�ธุรกิจและการตลาดมากขึ้น แต่การสื่อสารก็เป็น เรื่องจำ�เป็น ซึ่งต้องทำ�อย่างต่อเนื่องและตรงไปตรงมา เพื่อทำ�ให้เห็นว่าผล กระทบทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของเราในการเป็นคำ�ตอบให้วิถีชีวิตคนเมือง การสื่อสารที่ชัดเจนจึงต้องไปหมดทั้ง Image (ภาพลักษณ์) Product (ผลิตภัณฑ์) หรือแม้กระทัง่ ด้านการตลาด และไม่ใช่สอื่ สารแค่กลุม่ ลูกค้าเรา เท่านั้น แต่ต้องมุ่งสื่อสารออกไปสู่สังคมในวงกว้างมากขึ้นด้วย
ช่วยยกตัวอย่างของการขยายไปสู่สังคมในวงกว้างมากขึ้น ได้ไหม โครงการที่ผ่านมา เราให้ความสำ�คัญกับแนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม ของคนเมือง (Eco Urban Life) ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างรู้คุณค่า และใช้ชีวิตให้สมดุลกับธรรมชาติของคนเมือง เช่น รณรงค์ ให้คนแยกขยะและนำ�ทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ หรือการเปลี่ยนไปใช้หลอด แอลอีดีแทนหลอดไฟเก่าในโครงการ IDEO หลายแห่ง เท่าที่เราจะสามารถ ทำ�ได้ และส่วนของโครงการใหม่ๆ เราก็เน้นเรือ่ งการเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และประหยัดพลังงาน นอกจากนี้ เ รายั ง ร่ ว มมื อ กั บ มู ล นิ ธิ ที่ อ ยู่ อ าศั ย เพื่ อ มนุษยชาติ (ประเทศไทย) (Habitat for Humanity Thailand) ทำ�โครงการ “คุณได้บ้าน = คุณให้บ้าน” โดยทุกยูนิตที่ขายได้จะบริจาคเงินจำ�นวน 1,000 บาท เพื่อสมทบทุนในการจัดสร้างบ้านพักอาศัยให้คนที่เดือดร้อนในท้องที่ ต่างๆ รวมที่เราสนับสนุนมาเป็นเวลา 8 ปี สามารถช่วยสร้างบ้านให้คนอยู่ อาศัยได้ทั้งหมด 29 หลัง และสร้างศูนย์ประสานงานและศูนย์พักพิงเพื่อ ผู้ประสบอุทกภัยได้อีก 1 หลัง เมื่อตอนที่นํ้าท่วมกรุงเทพฯ ปี 2554 นอกจากนี้ในต่างประเทศเราก็ช่วย อย่างตอนที่ฟิลิปปินส์เจอพายุไต้ฝุ่น ไห่ เ ยี่ ย นเราก็ ช่ ว ย ซึ่ ง ทั้ ง หมดนี้ เ ราก็ ช่ ว ยได้ ต ามสภาพเศรษฐกิ จ และ ผลประกอบการที่เอื้ออำ�นวย โครงการเหล่านี้ เราเชื่อว่าสามารถสื่อสารแบรนด์ของเรากับกลุ่ม ลูกค้าได้ชัดเจน แต่การจะขยายผลสู่วงกว้างนั้น เรามองว่า การศึกษาเป็น ประเด็นที่ไม่จำ�กัดว่าคุณจะเป็นลูกค้าหรือไม่ แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนเข้าถึงได้ เราจึงมองหาพาร์ทเนอร์ที่จะมาช่วยกันทำ�เรื่องนี้ ผลจึงออกมาเป็นโครงการ “TCDC COMMONS” ที่เราเป็นเอกชนรายแรกที่เข้าไปจับมือกับหน่วยงาน ของรัฐบาลอย่าง TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) โดยเราสนับสนุนทั้ง ในส่วนของสถานที่ เงินทุนจัดตั้งและรายจ่ายในการดำ�เนินงานทั้งหมด
CREATIVE THAILAND I 31
ในโลกของความคิ ด สร้ า งสรรค์ ก็ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ผ มใช้ ในการพัฒนาโครงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ อาคาร งานศิลปะ เทคโนโลยี เรือ่ ยไปจนถึงการออกแบบ บริการ จากโครงการซีเอสอาร์ที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะเกี่ยวข้องกับ ธุ ร กิ จ อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ โ ดยตรง แล้ ว เรื่ อ งการสนั บ สนุ น ความรู้จะช่วยเสริมธุรกิจได้อย่างไร ความรูท้ เ่ี ราโฟกัสยังอยูใ่ นไลฟ์สไตล์ 6 C ทีผ่ มพูดไปแล้ว นัน่ ก็คอื “ความคิด สร้างสรรค์ (Creative)” และในโลกของความคิดสร้างสรรค์ ก็เป็นสิ่งที่ผม ใช้ในการพัฒนาโครงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบอาคาร งานศิลปะ เทคโนโลยี เรือ่ ยไปจนถึงการออกแบบบริการ ก็เป็นหมวดความรูท้ สี่ นับสนุน Urban Living Solution ได้อย่างมาก ในการกำ�หนดรูปแบบและเนื้อหาของ TCDC COMMONS แห่งแรกนั้น ก็อิงตามข้อมูลของ TCDC ที่พบว่ากลุ่มนักสร้างสรรค์ขนาดใหญ่ของ ประเทศไทยเป็ น กลุ่ ม ที่ ทำ � งานเกี่ ย วข้ อ งกั บ การออกแบบการสื่ อ สาร (Communication Design) ซึ่งเห็นได้จากจำ�นวนสมาชิก หนังสือ และสื่อ การเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่ถูกใช้งานมากที่สุดที่ TCDC ตลอด ระยะการให้บริการ 10 ปีที่ผ่านมาของที่นั่น ดังนั้นแนวคิดของ TCDC COMMONS แห่งแรกจึงถูกสร้างขึ้นเป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ และเป็นแหล่ง ชุมนุมของกลุ่มคนทำ�งานด้าน Communication Design ที่ TCDC เข้ามา ช่วยจัดการเรื่องบริการและโปรแกรมความรู้ต่างๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับที่เรา ต้องการปลูกฝังสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนในวิถีชีวิตคนเมือง อนันดามีโครงการหลายแห่งทำ�ไมถึงเป็นโครงการที่สามย่าน เราเลือกให้ TCDC COMMONS ตั้งอยู่ที่โครงการ IDEO Q จุฬา-สามย่าน เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ถงึ 1,600 ยูนติ จึงแน่นอนว่าลูกค้าจำ�นวนมาก จะได้ประโยชน์ แต่เราหวังว่าผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณสามย่านและบริเวณ ใกล้เคียง ซึง่ มีสถาบันการศึกษาหลายแห่ง โดยเฉพาะจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภาพจําลองโครงการ TCDC COMMONS
บริษัทโฆษณา และเอเจนซี ที่อยู่รอบๆ โครงการ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่าง ย่านธุรกิจสีลม สาทร รวมถึงย่านเจริญกรุง ก็สามารถมาใช้ประโยชน์ จาก การเข้ามาเรียนรู้จากหนังสือกว่า 4,500 เล่ม และโปรแกรมต่างๆ ทั้ง นิทรรศการและการบรรยาย รวมทั้งเข้ามานั่งทำ�งานหรือแลกเปลี่ยนไอเดีย กันได้ โดยไม่จำ�เป็นต้องเป็นผู้พักอาศัยที่โครงการ ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างให้เกิด ชุมชนใหม่ของกลุ่มคนที่สนใจด้านการออกแบบสื่อสารที่อยู่ในรัศมี 1-5 กิโลเมตร ซึ่งก็จะค่อยๆ ทำ�ให้สภาพแวดล้อมโดยรวมของพื้นที่รอบๆ ดีขึ้น ในที่สุด นอกจากนี้ใน Gen C Blog บล็อกที่เราใช้สื่อสารให้ลูกบ้านทราบว่า รอบๆ โครงการมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกในแบบที่คุณต้องการอยู่ตรงไหน บ้าง ก็จะมีตั้งแต่ร้านอาหารบรรยากาศดี ร้านอาหารสุขภาพ ไปจนถึง Co-Working Space ที่อยู่รอบๆ และที่สามย่านด้วย
CREATIVE THAILAND I 32
ภาพจําลองโครงการ TCDC COMMONS
ผมเชื่อว่า หากภาครัฐมีมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนที่ลงทุนสนับสนุน แหล่งการเรียนรู้แบบนี้มากยิ่งขึ้น ภาคเอกชนที่ใช้ความรู้ด้านนั้นๆ อยูแ่ ล้ว จะยิง่ สนใจลงทุนในกิจกรรมทางสังคมเพื่อให้เกิด Social Impact และท�ำให้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้อย่างแท้จริง TCDC COMMONS ถือเป็นโครงการซีเอสอาร์ส�ำ หรับอนันดา หรือเปล่า
คิดว่าอะไรจะทำ�ให้การสร้างผลกระทบทางสังคมกระจายไป มากขึ้น
ที่ผ่านมาอนันดาได้ทำ�กิจกรรมเพื่อสังคมผ่านโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาทั้ง คุ ณ ภาพชี วิ ต และสิ่ ง แวดล้ อ มในสั ง คมอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง แต่ ก ระแสการ เปลี่ยนแปลงด้านการสื่อสารของโลก ส่งผลให้การทำ�กิจกรรมเพื่อสังคมมี ความหลากหลายและซับซ้อนมากขึน้ เทรนด์ใหม่ของการลงทุนผ่านกิจกรรม ทางสังคมทีใ่ ห้ผลตอบแทนกลับมาในหลากหลายรูปแบบ ถือเป็นกระแสใหม่ ที่ให้ผลลัพธ์ได้มากกว่าซีเอสอาร์ ทั้งยังส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างยั่งยืน จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของอนันดาที่จะนำ�เสนอให้กับสังคมไทย และผม ว่าการส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นการสร้าง Social Impact ที่ยั่งยืนให้กับสังคม อีกทางหนึ่ง
ส่วนตัวผมมองว่าภาคธุรกิจของไทยควรจะมองเห็นความสำ�คัญและร่วมกัน ต่อยอดในลักษณะของการเป็นสปอนเซอร์ที่สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ใน รูปแบบต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการจัดตัง้ ขึน้ เอง หรือร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลที่ท�ำ อยูแ่ ล้วเพือ่ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ทีส่ ามารถนำ�ไปต่อยอดพัฒนาเป็น อาชีพทีช่ ว่ ยขับเคลือ่ นเศรษฐกิจไทยได้ และผมเชือ่ ว่า หากภาครัฐมีมาตรการ ส่งเสริมภาคเอกชนที่ลงทุนสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้แบบนี้มากยิ่งขึ้น ภาค เอกชนที่ใช้ความรู้ด้านนั้นๆ อยู่แล้วจะยิ่งสนใจลงทุนในกิจกรรมทางสังคม เพื่อให้เกิด Social Impact และทำ�ให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนใน สังคมได้อย่างแท้จริง
CREATIVE THAILAND I 33
34 l
Creative Thailand
l
กนัยายน 2556
15 Jul - 2 Oct 2016