Creative Thailand Magazine

Page 1

ตุลาคม 2560 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 1 แจกฟรี

Local Wisdom จส. 100 Insight ศาสตร์พระราชา The Creative Martin Hart-Hansen, UNDP



...การปฏิบตั งิ านทุกอย่างของข้าราชการ มีผลเกี่ยวเนื่อง ถึงประโยชน์ส่วนรวมของ ประเทศชาติและประชาชนทุกคน ข้าราชการ ทุ ก ฝ่ า ยทุ ก ระดั บ จึ ง ต้ อ งระมั ด ระวั ง การ ปฏิบัติทุกอย่าง ให้สมควรและถูกต้องด้วย หลักวิชา เหตุผล ความชอบธรรม ข้อสำ�คัญ เมื่อจะทำ�การใด ต้องคิดให้ดี โดยคำ�นึงถึง ผลที่จะเกิดขึ้น ให้รอบคอบและรอบด้าน เพื่อให้งานที่ทำ�บังเกิดผลดี ที่เป็นประโยชน์ แท้แต่อย่างเดียว...”

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานแก่ขา้ ราชการพลเรือน เนือ่ งในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน ปีพุทธศักราช ๒๕๕๙


Contents : สารบัญ

The Subject

รักออกแบบได้ รัฐออกแบบให้ สิงคโปร์มุ่งสู่การเป็นประเทศปลอดเงินสด ฮีโร่คนใหม่ ขวัญใจนักจัดการขยะ สุขภาพจัดการได้ที่เอสโตเนีย

6

Creative Resource 8 Featured Book / Book / Report / Documentary

MDIC 10 นวัตกรรมจากการมีส่วนร่วม

Local Wisdom

12

Cover Story

14

จส. 100 บริการด้วยใจเพื่อสังคม

The Whole New Mind รวมหัวคิดผลิตนโยบาย

Insight 20 ศาสตร์พระราชา ภาพสะท้อนของกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

Creative Startup 22 APM ตู้ไปรษณีย์อัตโนมัติแห่งยุค 4.0

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

The Barcelona Model เพราะเมืองคือผลรวมของย่าน และอนาคตคือการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

Gov Lab: ความหวังเพื่อยกระดับ บริการภาครัฐอย่างยั่งยืน

LDD Soil Guide: มือขวาเกษตรกรไทยยุค 4.0

บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมเี ดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


tnews.co.th

Editor’s Note : บทบรรณาธิการ

จากศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาของภาครัฐ มีคนไม่มากนักทีร่ กั ในการคิดและหลงใหลการลงมือทำ�ไปพร้อมๆ กัน พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นตัวอย่างของนักคิดและ นักปฏิบัติเหล่านั้น การเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ ทำ�ให้ได้ทรง สังเกตสภาพแวดล้อมและสัมผัสวิถชี วี ติ ของประชาชน เพือ่ มองให้เห็นถึงปัญหา ที่แท้จริงของพวกเขา ตลอดจนได้ทรงค้นหาคำ�ตอบด้วยการทดลองซ้ำ�แล้ว ซ้�ำ เล่า เป็นกระบวนการในการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ทีไ่ ม่ตา่ งอะไรกับหลัก สากลอย่างกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการออกแบบ บริการ (Service Design) ทว่าพระองค์ได้ทรงใช้หลักคิดนี้มานานมากแล้ว ทุกวันนี้ ทัง้ การคิดเชิงออกแบบและการออกแบบบริการ ซึง่ มีหวั ใจสำ�คัญ อย่างการมีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและการทำ�งานร่วมกันของหลากหลายความรู้ ความเชี่ยวชาญ ได้ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลของหลายๆ ประเทศทั่วโลกนำ�มาใช้รับมือกับปัญหาใหม่ๆ ที่ซับซ้อนและท้าทายยิ่งกว่าที่ เคยเป็นมา เกิดเป็นโครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Government Innovation Lab หรือ Gov Lab) ในหลายพื้นที่ทั่วโลก ตัวอย่างเช่น MindLab ของเดนมาร์ก Policy Lab แห่งสหราชอาณาจักร Seoul Innovation Bureau ในเกาหลีใต้ หรือ Service Design Lab ในสิงคโปร์ ในประเทศไทยเอง เรามองเห็นความพยายามของภาครัฐในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา ในการปรับตัวเพื่ออำ�นวยความสะดวกให้แก่ภาคประชาชน ขณะที่ หลายฝ่ายยังมองว่า การปรับตัวภายใต้ข้อจำ�กัดของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้าน งบประมาณ หรือการต้องเลือกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนนั้น สะท้อนให้เห็นถึง

ความพยายามในการแก้ปัญหาเพียงระดับต้นของการให้บริการ (Interface) เท่านัน้ ทัง้ ทีใ่ นความจริงแล้ว แนวคิดด้านการคิดเชิงออกแบบและการออกแบบ บริการ เป็นศาสตร์ที่ทำ�ให้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์ และยังช่วย ให้มองเห็นภาพอนาคตและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้อย่างไม่จำ�กัด อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่ไม่ควรทำ� โครงการ Gov Lab ของไทยที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น จะนำ�มาสู่การแก้ปัญหาเรื่อง ประสิทธิภาพการใช้งานและการเข้ารับบริการของภาครัฐต่างๆ ในปัญหาที่ จำ�เป็นและเร่งด่วนซึ่งต้องลงมือจัดการแก้ไขให้ได้เสียก่อน แต่สิ่งที่สำ�คัญและ ท้าทายยิ่งกว่าก็คือ จะทำ�อย่างไรให้การแก้ปัญหานั้น ได้รับการพัฒนาไป พร้อมๆ กับการมองภาพของวันข้างหน้า เพื่อการแก้ปัญหาที่อาจไม่ใช่สำ�หรับ ปัญหาเฉพาะหน้าของวันนี้ แต่คือปัญหาในอนาคตที่จะเกิดขึ้น หากรัฐไม่ ลงมือทำ� เช่นเดียวกับการออกแบบวิธแี ก้ปญั หาแห่งศาสตร์พระราชา ทีพ่ ระองค์ทรง เลือกแก้ปัญหาการเกษตรและการเพาะปลูกด้วยการพัฒนาคุณภาพของดิน ไม่ใช่คุณภาพของปุ๋ยหรือสารเคมี ทรงเลือกบริหารจัดการนํ้าอย่างครบวงจร แทนการแก้ปัญหาเฉพาะจุด ด้วยการสร้างฝนหลวง กักเก็บนํ้าด้วยเขื่อน และ เปลี่ยนนํ้าเสียให้กลายเป็นนํ้าดีด้วยกังหันนํ้า ทั้งหมดนี้ สะท้อนแนวคิดการ แก้ปัญหาในภาพกว้างอย่างยั่งยืนของพระองค์ ที่ยังคงเป็นตัวอย่างที่ดีที่ทรง พระราชทานไว้ให้แก่พสกนิกรได้อยูอ่ ย่างร่มเย็นเป็นสุข แม้ในวันทีพ่ ระองค์ทา่ น จะไม่อยู่แล้วก็ตาม กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ

CREATIVE THAILAND I 5


The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: วิชัย สว่างพงศ์เกษม

ต่างถิ่นต่างปัญหา เรื่องเล็กๆ ในเมืองหนึ่ง อาจเป็นปัญหาใหญ่สำ�หรับผู้คน ในต่างเมือง สำ�หรับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างเต็มตัวเนื่องจากอัตราการเกิดของทารกต่ำ� และจะนำ�ไปสู่ปัญหา การขาดแคลนแรงงานในอนาคต ความรักและการแต่งงานจึงไม่ใช่แค่ปญั หา ระหว่างคนสองคนอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของญี่ปุ่นจึงเปิดบริการให้ ความช่วยเหลือพลเมืองในการหาคู่ครอง โดยบริการของภาครัฐเช่นนี้มี ความน่าเชือ่ ถือกว่า และยังมีคา่ ใช้จา่ ยน้อยกว่าบริการของบริษทั หาคูเ่ อกชน ทั่วไป และแต่ละท้องถิ่นเองก็พยายามค้นหาวิธีพัฒนาระบบหาคู่ให้ดียิ่งขึ้น เช่น ศูนย์สง่ เสริมการแต่งงานแห่งเมืองมัตสึยามะ จังหวัดเอฮิเมะ ทีน่ �ำ ข้อมูล ขนาดใหญ่ทั้งหมดของเมือง (Big Data) อย่างข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรม หรื อ ประวั ติ คำ �ที่ ค้ น หาในอิ น เทอร์ เ น็ ต มาช่ ว ยในการตรวจสอบความ เข้ากันได้เพื่อจับคู่ให้หนุ่มสาวตั้งแต่ปี 2558 ทำ�ให้อัตราการจับคู่สำ�เร็จ เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 13 เป็นร้อยละ 29 และนำ�ไปสู่การแต่งงานของบ่าวสาว ถึง 228 คู่ในปีงบประมาณ 2558 และ 2559 หรือทางจังหวัดเฮียวโกก็มี การเปิดศูนย์หาคู่เพิ่มในเมืองโตเกียวเพื่อดึงดูดให้เกิดการแต่งงาน แล้ว ย้ายถิ่นฐานสู่จังหวัดเฮียวโก โดยการสำ�รวจในเดือนพฤษภาคมปี 2560 พบ ว่ามีคู่รักในญี่ปุ่นที่แต่งงานด้วยบริการส่วนท้องถิ่นเช่นนี้ถึง 7,749 คู่

เมือ่ เดือนมีนาคมทีผ่ า่ นมา กรมการขนส่งทางบกสิงคโปร์ (The Land Transport Authority - LTA) ได้ร่วมกับบริษัททรานซิตลิงก์ (TransitLink) ริเริ่มระบบ การจ่ายค่าโดยสารรถไฟฟ้าแบบปลอดเงินสดเป็นประเทศแรกในเอเชีย โดยใช้บัตรเครดิตและเดบิตมาสเตอร์การ์ดแทน อีกทั้งยังถอดจุดบริการ เติมเงินบัตรโดยสารออกจากสถานีรถไฟฟ้า 11 สถานี เพื่อกระตุ้นให้ ผู้โดยสารเลิกใช้เงินสดในการจ่ายค่าโดยสาร แต่ผู้โดยสารยังเติมเงินบัตร โดยสารได้ตามร้านสะดวกซือ้ เช่นเดิม นอกจากนี้ ยังเพิม่ ตัวเลือกให้สามารถ เติมเงินค่าโดยสารด้วยบัตรเดบิต Apple Pay และ Android Pay ผ่านตู้ ออกบัตรอัตโนมัตไิ ด้ตงั้ แต่เดือนมกราคม ส่งผลให้มกี ารเติมเงินบัตรโดยสาร โดยไม่ใช้เงินสดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 70 โดยที่กรมการขนส่งฯ ไม่ลืมที่จะ สังเกตการณ์ผลกระทบก่อนตัดสินใจนำ�ระบบเติมเงินค่าโดยสารแบบเก่า ออกไปจากสถานีที่เหลือ กรมการขนส่งฯ และบริษัททรานซิตลิงก์ตั้งใจจะทยอยลดทางเลือก ในการจ่ายค่าโดยสารรถบัสประจำ�ทางด้วยเงินสดรวมถึงค่าที่จอดรถในอีก ไม่กี่ปีนี้ โดยมีเป้าหมายคือการเป็นระบบขนส่งมวลชนแบบปลอดเงินสด ภายในปี 2563 ปัจจุบันสิงคโปร์มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแบบปลอดเงินสดแล้ว กว่าหนึง่ แสนคน ซึง่ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการเก็บรักษาเงินสดเพือ่ นำ� เงินส่วนนีไ้ ปพัฒนาด้านอืน่ ๆ ของระบบรถไฟฟ้าแล้ว ยังช่วยลดปัญหาความ ล่าช้าในการจ่ายค่าโดยสารหรือเติมเงินบัตรโดยสารในชัว่ โมงเร่งด่วนอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จึงนับเป็นหนึ่งในความเคลื่อนไหวตามนโยบายมุ่งสู่ การเป็นสมาร์ทซิตี้ของสิงคโปร์ โดยนำ�ระบบชำ�ระเงินผ่านช่องทางดิจิทัล เข้ามาใช้ในบริการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ และการชำ�ระค่าสินค้าทั่วไป

channelnewsasia.com

japantimes.co.jp

รักออกแบบได้ รัฐออกแบบให้ สิงคโปร์มุ่งสู่การเป็นประเทศ ปลอดเงินสด

ทีม่ า: บทความ “Municipal-run services taps big data for matchmaking” (29 พฤษภาคม 2017) จาก japantimes.co.jp

ที่มา: บทความ “LTA Pilots Account-Based Ticketing System for Public Transport with Mastercard” (28 กุมภาพันธ์ 2017) จาก newsroom.mastercard.com / บทความ ”Singapore aims for fully cashless transport system by 2020: LTA” (11 สิงหาคม 2017) channelnewsasia.com / บทความ “Use of credit, debit cards to pay transport fares: LTA to pilot system in Q4” (1 มีนาคม 2016) จาก channelnewsasia.com CREATIVE THAILAND I 6


citiscope.org

estonianworld.com

ฮีโร่คนใหม่ ขวัญใจนักจัดการขยะ การจัดการขยะเป็นปัญหาสำ�คัญของเมืองใหญ่ที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น อย่างเซี่ยงไฮ้ที่ผลิตขยะมากถึง 22,000 ตันต่อวัน โดยขยะเหล่านี้มักถูกนำ� ไปยังที่ทิ้งขยะที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนในดินและแหล่งน้ำ� รวมถึงเตาเผาขยะ หลักอีก 5 แห่งในเมืองซึ่งก่อมลภาวะทางอากาศ ถึงอย่างนั้นความพยายาม ที่จะเรียกร้องให้พลเมืองแยกขยะก็ยังไม่เป็นผล ในปีนี้ เซี่ยงไฮ้จึงมองหาวิธี การใหม่ในการจัดการขยะโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะมีการประมาณการว่า คนเก็บขยะในจีนนั้นมีจำ�นวน 0.56-0.93 เปอร์เซ็นต์ของประชากรในเขต เมือง คิดเป็นราว 3.3-5.6 ล้านคน แต่กลับมีส่วนในการรีไซเคิลขยะได้มาก ถึง 17-38 เปอร์เซ็นต์ของจำ�นวนขยะทั้งหมด โดยคนเก็บขยะเหล่านี้มีความ เชี่ยวชาญในการคัดแยกขยะที่รีไซเคิลได้ เช่น กระดาษลัง พลาสติก และ โลหะ เพื่อนำ�เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลภายใน 10-15 วันเท่านั้น ทางการ เซี่ยงไฮ้จึงเล็งเห็นความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับคนเก็บขยะเหล่านี้เพื่อ แก้ปัญหาการจัดการขยะและพัฒนาความเป็นอยู่ของพวกเขาไปพร้อมกัน แนวทางการจัดการขยะโดยการนำ�คนเก็บขยะนอกระบบเข้าสู่ระบบ ของภาครัฐนั้นเคยเกิดขึ้นมาแล้วในอินเดีย โดยมีการตั้งเป็นศูนย์รวบรวม ขยะแห้งขึ้น และดำ�เนินการโดยอดีตคนเก็บขยะในอินเดีย ซึ่งนอกจากที่ พวกเขาจะช่วยจัดการขยะให้กบั ชาวเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึน้ แล้ว ภาพลักษณ์ในอดีตของคนเก็บขยะยังได้รับการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้นในสังคม จากการทีภ่ าครัฐเข้ามาร่วมจัดการ ด้วยการมอบเครือ่ งแบบและบัตรประจำ�ตัว ผูเ้ ก็บขยะ ซึง่ มาพร้อมกับประกันสุขภาพและทุนการศึกษาสำ�หรับบุตรหลาน ทำ�ให้พวกเขาได้รบั ความเคารพมากขึน้ ด้วยบทบาทของผูช้ ว่ ยจัดการปัญหา ใหญ่คนใหม่ของสังคม ที่มา: บทความ “How can Shanghai formalise its army of rubbish collectors?” จาก eco-business.com / บทความ “How Shanghai aims to replicate the efficiencies of its legions of trash pickers” และบทความ “From waste picker to recycling manager” จาก citiscope.org / รายงาน “Sustainability insights: Shanghai's informal waste management” จาก coresponsibility.com / บทความ “70% of city waste to be burned next year” จาก shanghaidaily.com

สุขภาพจัดการได้ที่เอสโตเนีย หลังใช้เวลากว่า 20 ปีในการพัฒนาระบบบล็อกเชน (Blockchain) เทคโนโลยี ใหม่ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บข้อมูล ปัจจุบันเอสโตเนียถือเป็น ประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก โดยมีถนน ออนไลน์ (X-Road) ที่ทำ�หน้าที่ส่งต่อข้อมูลจากฐานข้อมูลของหน่วยงาน ที่เป็นอิสระต่อกัน เช่น ข้อมูลประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (e-Health Records) ที่ ทำ � ให้ แ พทย์ ที่ ใ ห้ ก ารรั ก ษาเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ทางสุ ข ภาพและ ประวัติการรักษา เช่น หมู่เลือด ประวัติการแพ้ยา และแม้แต่ฟิล์มเอ็กซเรย์ จากโรงพยาบาลอื่นของคนไข้ได้ทันที จึงช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่าง ทันท่วงที และทำ�ให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำ�ขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งเพียงคำ� บอกเล่าอาการของผู้ป่วย นอกจากนี้ ประชาชนเองก็เข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตัวเองได้ด้วย การเสี ย บบั ต รประชาชนเข้ า กั บเครื่ อ งอ่ า นข้ อ มู ล ที่ เชื่ อ มต่ อ กั บ อุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์อย่างโน้ตบุ๊กหรือแท็บเล็ต ทำ�ให้ผู้รับการรักษาที่ต้องรับยา ชนิดเดิมไม่จำ�เป็นต้องไปโรงพยาบาลซ้ำ� แต่สามารถนำ�ใบสั่งยาที่แพทย์ส่ง ให้ทางออนไลน์ไปแสดงกับร้านขายยาที่ใดก็ได้ตามสะดวก นี่เป็นเพียง ตัวอย่างในด้านสาธารณสุขเท่านั้น เพราะการลงคะแนนเลือกตั้ง การทำ� ธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำ�เนินการทางสัญญาอืน่ ๆ ในเอสโตเนียก็เป็น ไปในลักษณะเดียวกัน การนำ�ระบบบล็อกเชนมาใช้ในการบริหารข้อมูล เช่นนี้ ช่วยทัง้ ประหยัดเวลา ทำ�ให้ประชาชนเข้าถึง ติดตาม และใช้งานข้อมูล ส่วนตัวได้สะดวก ทั้งยังเป็นการส่งเสริมการพึ่งตนเอง ที่ทำ�ให้แม้แต่คนชรา ก็สามารถดูแลสุขภาพและเข้าถึงการรักษาต่างๆ ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ที่มา: e-estonia.com

CREATIVE THAILAND I 7


Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา

F EAT U RED BOOK Service Design Insights from Nine Case Studies โดย Tanja Enninga / Menno Manschot / Christa van Gessel / Jens Gijbels / Remko van der Lugt / Froukje Sleeswijk Visser / Fenne Verhoeven / Berit Godfroij (HU University of Applied Sciences Utrecht) การบริการสาธารณะเป็นสิง่ ทีม่ คี วามสำ�คัญ และรัฐบาลก็เป็นหน่วยงานทีใ่ ห้ บริการหลักของประเทศ แต่ในบางภาคส่วนยังมีการใช้การจัดการแบบเก่า ซึ่งอาจทำ�ให้จัดการได้ไม่ทั่วถึง การค้นหาวิธีพัฒนาการบริการที่ได้ผลและ ตรงจุดมากกว่าเดิมจึงเป็นเรือ่ งสำ�คัญ เนือ้ หาหลักของหนังสือนำ�เสนอข้อมูล ของโครงการความร่วมมือระหว่างตัวแทนชุมชนและสถาบันต่างๆ รวมถึง ภาครัฐ ที่เข้ามาใช้หลักของการออกแบบบริการ (Service Design) เพื่อ แก้ปัญหาหรือพัฒนาการบริการ ซึ่งจะอธิบายกระบวนการทำ�งานของ โครงการ ผลที่ได้นับเป็นตัวอย่างของการใช้ความคิดในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมและบริการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ เนื้อหาในหนังสือกล่าวถึงขั้นตอนการออกแบบการให้บริการพร้อมกับ ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง เช่น กรณีศึกษาของบริษัทเดินรถไฟเนเธอร์แลนด์, ผู้จัดการโครงสร้างทางรถไฟของดัตช์ และสำ�นักงานสถาปนิกทางรถไฟ

ของรัฐ ที่ได้ร่วมมือกันพัฒนาการบริการรถไฟ โดยโจทย์ที่ตั้งไว้คือการสร้าง ประสบการณ์ทดี่ ใี นทุกส่วนของการเดินทางด้วยรถไฟ กระบวนการออกแบบ แบ่งเป็น 3 ช่วงตามหลักของ Service Design ช่วงที่ 1 คือช่วงเก็บข้อมูลมา วิจัยจากการสัมภาษณ์ทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ช่วงที่ 2 คือการสร้าง แนวคิดการบริการ โดยใช้ผลสำ�รวจเพื่อค้นหาทางออกที่มีประสิทธิภาพ ช่วงที่ 3 เป็นการนำ�ผลที่ได้มาสร้างต้นแบบและใช้ทดลองต่อไป ซึ่งระหว่าง กระบวนการเหล่านั้น ผู้เข้าร่วมจะต้องสวมบทบาทของผู้ใช้บริการ และนำ� ประสบการณ์นั้นมาใช้เป็นแนวทางหลักในการวิเคราะห์ กรณีตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ยกมาเน้นงานบริการสาธารณะที่เกี่ยวข้อง กับส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมย่านรวมแหล่งพิพิธภัณฑ์ (Museum District) การแก้ปัญหาการขึ้นลงรถสาธารณะในชั่วโมงเร่งด่วน ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพของการให้บริการในโรงพยาบาลที่ส่งผลดีต่อ สุขภาพของผู้ป่วย ทัง้ หมดแสดงให้เห็นว่าการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและ สถาบันต่างๆ สามารถก่อให้เกิดผลดีต่อการให้บริการของภาครัฐได้ ซึ่งเรา สามารถใช้ เ ป็ น ต้ น แบบหรื อ ต่ อ ยอดเพื่ อ พั ฒ นาการให้ บ ริ ก ารที่ ดีใ นทุ ก ภาคส่วนได้ในอนาคต

CREATIVE THAILAND I 8


BOOK Heart of Public Service โดย Public Service Division Singapore กว่า 50 ปีที่ผ่านมา สิงคโปร์พยายามสร้างชาติของพวกเขาให้ยิ่งใหญ่ รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐต่างรู้ดี ว่าการที่คนในชาติจะรวมพลังกันขับเคลื่อนจนเกิดความยิ่งใหญ่แบบนี้ได้ บ้านของพวกเขาจะต้องอยู่สบาย เสียก่อน “เราจะร่วมกันสร้างประเทศให้มีความสงบสุข มีความก้าวหน้าทันสมัย และเป็นสังคมที่มีชีวิตชีวา” เป็นส่วนหนึ่งของคำ�ปฏิญาณที่คนทำ�งานด้านการบริการประชาชนทุกคนได้ให้ไว้ พวกเขาพร้อมอุทิศตนใน การทำ�งานเพื่อประชาชนและประเทศชาติ หนังสือเล่มนี้รวบรวม 50 เรื่องราวน่าประทับใจและแรงบันดาลใจ ดีๆ จากเจ้าหน้าที่ที่มีหัวใจเพื่อการบริการประชาชน ผู้ทำ�ให้สิงคโปร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีสวัสดิการภาครัฐ ดีที่สุดในโลก

REPORT The Future of Service โดย The : Future : Laboratory The : Future : Laboratory ได้ตีพิมพ์รายงานล่าสุดที่ชื่อว่า “The Future of Service” พูดถึงอนาคตของ การบริการ ซึง่ แค่รอยยิม้ อาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป เนือ่ งจากลูกค้าไม่ได้สมั ผัสกับแบรนด์ผา่ นทางช่องทาง ทางกายภาพเท่านั้น แต่ช่องทางออนไลน์อื่นๆ อาจสร้างประสบการณ์เป็นลำ�ดับแรกๆ ก่อนที่ลูกค้าจะเข้า มาใช้บริการจริงเสียด้วยซ้ำ� รายงานระบุว่าภายในปี 2020 ประสบการณ์ของลูกค้าจะกลายเป็นปัจจัยใน การสร้างความแตกต่างและเป็นตัวชี้วัดความสำ�เร็จของแบรนด์ที่มีความสำ�คัญไม่น้อยไปกว่าราคาและ คุณภาพของสินค้า นอกจากนี้ รายงานยังให้ข้อมูลแนวโน้มที่น่าสนใจ แรงขับเคลื่อนที่ทำ�ให้เกิดการ เปลีย่ นแปลง และเครือ่ งมือตัวอย่างทีจ่ ะสามารถนำ�มาประยุกต์ใช้กบั การบริการเพือ่ ตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าในอนาคตด้วย สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับนี้ได้ที่ shop.thefuturelaboratory.com

DOCU M E N TARY The Human Scale: Bringing Cities to Life โดย Andreas M. Dalsgaard ในสังคมเมืองใหญ่ที่มีความเจริญทางวัตถุสูง พื้นที่ของเมืองมักถูกจับจองเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ต่างๆ ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่ในการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองกลับลดลงไปทุกที เกิดความแออัด และปัญหาทางสังคมตามมามากมาย ญาน เกห์ล (Jan Gehl) สถาปนิกชาวเดนมาร์ก ผู้ทำ�การศึกษาเรื่องพฤติกรรมของคนในเมือง ตั้งคำ�ถามถึงการนำ�วิถีชีวิตของผู้คนกลับคืนมาท่ามกลาง ช่องว่างความเจริญของเมืองเหล่านั้น สารคดีเรื่องนี้ทำ�ให้เรามองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ของการออกแบบ เมืองโดยมีผู้คนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่างดี พร้อมกับชี้ให้เราเห็นว่าการออกแบบต้องการการทดสอบ ทางความคิด และทำ�ให้เห็นจริง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการทำ�ความเข้าใจ เพื่อนำ�ไปขยายผลกับผู้คนใน วงกว้างต่อไป พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9


MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ

เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

การใช้นวัตกรรมในหน่วยงานรัฐบาลคือการค้นหาวิธีการใหม่ที่จะสร้าง ผลกระทบเชิงบวกกับชีวิตของประชาชน รวมทั้งวิธีการใหม่ที่จะทำ�งานร่วม กับประชาชนในฐานะหุน้ ส่วนเพือ่ สร้างอนาคตไปด้วยกัน นับเป็นการทำ�งาน ร่วมกันของโครงสร้างแบบเดิมและการเปิดกว้างรับรูปแบบความคิดและ เทคโนโลยีใหม่ๆ แม้ภาครัฐจะต้องพบกับความท้าทายอย่างมากในการนำ� นวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ แต่หากเอาชนะความท้าทายนี้ได้ ภาครัฐก็จะเป็น ตัวแปรสำ�คัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีศักยภาพได้อย่างมหาศาล ตัวอย่างนวัตกรรมของรัฐบาลจาก The Organization for Economic Co-operation and Development (OECD) และ The Mohammed Bin Rashid Centre for Government Innovation (MBRCGI) ซึ่งถูกหยิบยกมา เป็นกรณีศึกษาในงาน World Government Summit ที่เมืองดูไบ สหรัฐ อาหรับเอมิเรตส์ เมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมา เพือ่ ให้รฐั บาลทัว่ โลกได้ศกึ ษา และนำ�ไปปรับใช้ในการลดความผิดพลาดและเร่งการปรับเปลีย่ นกระบวนการ สร้างนวัตกรรมให้เร็วขึ้น เพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับประชาชนได้มากที่สุด หนึ่งในนั้นเป็นผลงานทีช่ อื่ “PetaBencana.id” จากอินโดนีเซีย ซึง่ เป็น เครื่องมือที่รวบรวมข้อมูลจาก Hydraulic Sensors (เซ็นเซอร์ตรวจวัดนํา้ ) และ การรายงานของภาคประชาชนจากโซเชียลมีเดียและแอพพลิเคชัน่ ของพลเมือง รวมทั้งข้อมูลจากทวิตเตอร์ นำ�มาประกอบกันเพื่อแสดงผลเป็นแผนที่บอก ระดับนํ้าท่วมแบบเรียลไทม์ในเมืองจาการ์ตา และจะถูกนำ�ไปใช้ในเมือง ต่างๆ ทั่วอินโดนีเซีย แนวคิดตั้งต้นเกิดจากการที่จาการ์ตาเป็นเมืองที่มี ขนาดใหญ่เป็นที่ 2 ของโลกและมีน้ำ�ท่วมทุกฤดูมรสุม ราว 40 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ตํ่ากว่าระดับนํ้าทะเล จึงทำ�ให้ประชาชนกว่า 30 ล้านคน รวมถึง ภาคธุรกิจและหน่วยงานรัฐบาลได้รับผลกระทบอย่างหนักจากนํ้าท่วม ในแต่ละครัง้ อีกทัง้ ความซับซ้อนของระบบจัดการนํา้ ในเมืองใหญ่และสภาวะ อากาศแบบร้อนชื้น ทำ�ให้ยากต่อการบริหารจัดการ แต่การที่จาการ์ตา เป็นเมืองที่มีการใช้ทวิตเตอร์มากที่สุดในโลก และเป็นที่มาของข้อมูล

มหาศาลจากประชาชนที่นำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ หน่วยงานที่พัฒนา PetaBencana.id จึงเล็งเห็นประโยชน์นี้ และได้สร้างระบบให้ตอบสนองต่อ ข้อมูล เมื่อมีผู้คนในจากาตาร์ทวีตโดยใช้คำ�ว่า “bsnjir” (ซึ่งแปลว่านํ้าท่วม) และแท็ก @PetaJkt ระบบจะตอบกลับโดยอัตโนมัติ และถามกลับไปเพื่อให้ ยืนยันข้อมูลทีแ่ จ้งโดยการส่งรูปถ่ายสภาพภูมศิ าสตร์ทรี่ ายงาน จากนัน้ ระบบ จะรวบรวมข้อมูลเหล่านี้และข้อมูลจากหน่วยงานรัฐของเมืองจาการ์ตา เพื่อ สร้างเป็นแผนทีอ่ อนไลน์ได้อย่างรวดเร็วสูส่ ายตาประชาชน PetaBencana.id จึงถือเป็นเครือ่ งมือออนไลน์ชนิ้ แรกทีใ่ ห้ขอ้ มูลแผนที่ ของนํ้าท่วมในเมืองได้แบบเรียลไทม์ โดยพลังขับเคลื่อนของโซเชียลมีเดีย และความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน ช่วยพัฒนาคุณภาพ การให้บริการของรัฐในพืน้ ทีน่ า้ํ ท่วมต่างๆ ได้อย่างทัว่ ถึงยิง่ ขึน้ โดยในปี 2016 โครงการ Twitter feed for Jakarta (@PetaJkt) มีผตู้ ดิ ตามมากกว่า 50,000 คน และได้รบั ข้อความทวีตส่งมาให้ขอ้ มูลเกีย่ วกับนํา้ ท่วมแล้วเกือบ 10,000 ครัง้ แสดงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนชาวเมืองจาการ์ตาเป็นอย่างดี ความท้าทายที่สำ�คัญของการพัฒนาโปรเจ็กต์ดังกล่าว ก็คือความ พยายามในการสร้างปฏิสมั พันธ์และการทำ�งานร่วมกันในระยะยาวระหว่างผูใ้ ช้ ซึง่ เป็นภาคประชาชน เข้ากับการมีสว่ นร่วมและสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เมืองจาการ์ตา ไปจนถึงความเชือ่ ใจกันระหว่างคนทีท่ �ำ งานร่วมกัน การทำ�งาน ที่ทุกฝ่ายร่วมมือกันในการออกแบบและพัฒนานี้ ทำ�ให้ PetaBencana.id สร้างผลกระทบในทางบวกสำ�หรับประชาชนและผู้กำ�หนดนโยบาย เพราะ ทุกฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในการทำ�งานนี้ โดยเฉพาะใน วันที่ข้อมูลจากประชาชนเป็นเสมือนกระดูกสันหลังของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ ขึ้นอยู่กับความร่วมมือและการสร้างความเชื่อใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทุกภาคส่วน ที่มา: petabencana.id/map/jakarta / รายงานการประชุม World Government Summit วันที่ 12-14 กุมภาพันธ์ 2017 “Embracing Innovation in Government - Global Trends, Case Study: PetaBencana.id - Indonesia จาก oecd.org

พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10


พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)

ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place

หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา

• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน

• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles

ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ

ชาย

อีเมล

โทรศัพทมือถือ

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122


Local Wisdom : ภูมิความคิด

เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

กว่า 26 ปีแล้วที่สถานีวิทยุ จส.100 ไม่เพียงให้บริการด้านข่าวสารและการจราจรแก่ผู้ฟังรายการทั้งในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล หากยังพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้บริการและความช่วยเหลือต่างๆ ในกรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุไป ทั่วประเทศไทย และการให้บริการข่าวสารไปไกลทั่วโลก จส.100 จึงนับเป็นตัวอย่างของการบริการที่เล็งเห็นถึงความต้องการ ที่แท้จริงของผู้ใช้ที่เป็นประชาชนคนไทย ด้วยการพัฒนาปรับตัวอย่างไม่หยุดนิ่ง มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาตอบสนอง ความต้องการของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมกับความกล้าที่จะทดลองนำ�ข้อมูลข่าวสารและการร่วมมือกันระหว่างผู้คน มาใช้งานผ่านการติดต่อสื่อสารอันรวดเร็วในปัจจุบัน ทำ�ไมต้อง จส. 100 ชื่อสถานีเต็มๆ คือ “สถานีวิทยุจส. 100 วิทยุ ข่าวสารและการจราจร” เกิดขึน้ ในวันที่ 2 กันยายน ปีพ.ศ. 2534 โดยกองทัพบกได้มอบสถานีวิทยุคลืน่ ความถีร่ ะบบเอฟเอ็ม 100 Mhz. ซึง่ อยูใ่ นความดูแล ของกรมการทหารสือ่ สารกองทัพบกให้แก่ บริษทั แปซิฟิคคอร์ปอเรชั่น จำ�กัด ซึ่งทำ�ธุรกิจด้านการ ผลิตสือ่ โฆษณาประชาสัมพันธ์ รวมถึงสถานีวทิ ยุ และโทรทัศน์ เพื่อไว้ให้บริการแก้ไขปัญหาการ จราจรภายใต้คำ�ขวัญ “ด้วยใจเพื่อสังคม”

แบ่งปันกัน ไปด้วยกัน รูปแบบรายการทีใ่ ห้ผฟู้ งั รายการเข้ามามีสว่ นร่วม ในการแบ่งปันข้อมูลข่าวสาร คือจุดแข็งของจส. 100 ทีเ่ ปิดให้ผใู้ ช้ทอ้ งถนนทำ�หน้าทีเ่ ป็นเหมือนนักข่าว อิสระซึ่งกระจายตัวอยู่ทุกที่ ได้รายการข่าวสาร เข้ามายังผู้ที่รับฟังรายการได้ตลอดเวลา เพียง ลงทะเบียนเป็นสมาชิก จส.100 เพื่อช่วยรายงาน ข่าวในยุคที่การสื่อสารแบบไร้สายยังไม่ฉับไว โดยปัจจุบันใครก็ตามที่มีสมาร์ทโฟนก็สามารถ โทรศัพท์เข้ามาแจ้งข่าวสาร และช่วยเพิ่มเติม ข้อมูลในแบบเรียลไทม์ได้โดยไม่มคี า่ ใช้จา่ ย เพียง กด *1808 เครือข่าย DTAC TRUEMOVE และ AIS

CREATIVE THAILAND I 12

รู้ใจผู้ใช้บริการ เพราะปัญหาหลักของผู้ใช้บริการคือการจราจร รูปแบบรายการในช่วงกลางวันจึงเน้นไปทีก่ ารแจ้ง ข่าวสารการจราจรเป็นหลัก แบ่งตามพฤติกรรม การใช้ถนนประจำ�วันทีห่ นาแน่นมากได้เป็น 3 ช่วง ได้ แ ก่ ช่ ว งเวลาเดิ น ทางออกจากที่ พั ก อาศั ย (05.30 - 10.00 น.) ช่วงเวลาสัญจรระหว่างวัน (10.00 - 16.00 น.) และช่วงเวลาเดินทางกลับ ที่พกั อาศัย (16.00 - 21.00 น.) เพื่อให้ผฟู้ งั ตัดสินใจ เลือกเส้นทางได้ทันท่วงที สลับกับการรายงาน ข่าวสารบ้านเมืองทัว่ ไทยและทัว่ โลกจากศูนย์ขา่ ว แปซิฟิก และรายการสารคดีความรู้ขนาดสั้น รวมถึงยังเปิดหัวข้อต่างๆ ในกระแสความสนใจ ของสังคม ให้ผู้ฟังเข้ามาร่วมสนทนาแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นทั้งหน้าไมค์และผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ ของจส. 100 ได้ในช่วงค่ำ�คืนต่อไปยังเช้ามืดด้วย


js100.com

Road Safety Life Safety ในเดือนกรกฎาคม ปี 2558 จส. 100 ได้เปิดตัว JS100 Application ซึ่งเป็นผลงานการพัฒนาของ นอสตร้าแมพร่วมกับสถานีวทิ ยุ จส. 100 ซึง่ ไม่เพียงแต่รับฟังรายการวิทยุออนไลน์ได้ทั่วโลก แต่ยังมี ฟังก์ชั่นการใช้งานเพิ่มเติม เช่น การให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างฟีเจอร์ SOS ที่สามารถระบุพิกัด และตำ�แหน่งของผู้ขอความช่วยเหลือได้อย่างแม่นยำ�ครอบคลุมทั่วประเทศไทย โดยปัจจุบันมียอด ดาวน์โหลดแอพฯ ดังกล่าวแล้วกว่าสองแสนครั้ง ทั้งในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์และไอโอเอส และ มีผู้ใช้งานแอคทีฟรายวันสูงถึงร้อยละ 60 ของจำ�นวนผู้ดาวน์โหลด

ข้อมูลคือหัวใจ การทำ�งานในสายข้อมูลข่าวสารและการจราจร มากกว่า 26 ปี ทำ�ให้จส. 100 มีข้อมูลจำ�นวน มหาศาล ไม่ว่าจะเป็นจุดเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุหรือ สถิติเกี่ยวกับอุบัติเหตุต่างๆ ซึ่งสามารถนำ�มา ประยุกต์ใช้ในการสร้างแอพพลิเคชั่นได้อย่าง เหมาะสม โดยข้อมูลเหล่านี้ได้รับการพัฒนามา เป็น MAP ฟีเจอร์แผนที่และบริการเส้นทางการ เดินทาง ที่ระบุข้อมูลจุดเสี่ยงและจุดที่เคยเกิด อุบัติเหตุบ่อยครั้งกว่า 300 จุดทั่วประเทศ ซึ่งได้ รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากพันธมิตรอย่าง บริษัท วิริยะประกันภัย จำ�กัด (มหาชน) และ บริษัท เอ็น. ดี. รับเบอร์ จำ�กัด (มหาชน) เข้าใจพฤติกรรมออนไลน์ สะดวก ใช้ง่าย ได้ข้อมูลรวดเร็ว คือปัจจัยสำ�คัญ ในการเลื อ กใช้ แ อพพลิ เ คชั่ น ของผู้ คนในวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการต้องตัดสินใจวางแผนการ เดินทางบนท้องถนนของกรุงเทพฯ อย่างฉับไว ทั้ ง ก่ อ นการเดิ น ทางและระหว่ า งการเดินทาง โลกออนไลน์จงึ กลายมาเป็นพืน้ ทีห่ ลักในการค้นหา ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้รถใช้ถนน ไม่เพียงมีฟีเจอร์ INCIDENTS ในแอพพลิเคชั่นที่ ช่วยจัดการข้อมูลข่าวสารซึ่งเพื่อนร่วมท้องถนน ได้แจ้งเหตุมายังจส. 100 ประมวลขึ้นหน้าจอใน รูปแบบไทม์ไลน์ทใ่ี ช้งานง่าย และคัดสรรแล้วว่าเป็น ข้อมูลที่เกิดขึ้นในพื้นที่ที่ผู้ใช้งานอยู่จริง จส. 100 ยังใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เหมาะสมและ ทรงประสิทธิภาพทั้งทวิตเตอร์ช่วยแจ้งข่าวสาร ซึ่งปัจจุบันมีผู้ติดตามบัญชีกว่าหนึ่งล้านคน และ เฟซบุ๊กซึ่งยังให้บริการ เฟซบุ๊กไลฟ์ ช่วยรายงาน เรื่องเด่นประเด็นร้อนในแต่ละวันแบบเรียลไทม์ ซึ่งมีผู้กดไลค์และติดตามราวสามแสนคน ที่มา: www.js100.com

CREATIVE THAILAND I 13


Cover Story : เรื่องจากปก

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

“อยากได้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง แต่ดันทุรังทำ�เหมือนเดิม” คำ�พูดที่เรามักได้ยินเวลานึกถึงบริการของภาครัฐ อาจใช้ไม่ได้แล้ว กับการบริการงานภาครัฐในหลายประเทศที่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเอง อ้าแขนรับนวัตกรรมความคิดใหม่ ยอมถอดทัศนคติแห่ง ความเป็นศูนย์กลางมาสู่การวิจัยพฤติกรรมประชาชน และคิดร่วมไปกับทุกฝ่ายด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่อให้ได้นโยบายและโครงการภาครัฐที่ทันสมัยสอดรับกับความเป็นพลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21 CREATIVE THAILAND I 14


ให้เกิดการทดลองอะไรใหม่ โดยเฉพาะการทดสอบ กับประชาชน ก่อนที่จะนำ�นโยบายไปใช้จริง นานวันเข้าพนักงานขององค์กรภาครัฐจึงคุ้นชิน กับการทำ�งานตามลำ�ดับ และมองไม่เห็นภาพรวม เชิงโครงสร้างของปัญหาและสภาพแวดล้อม ภารกิจของ MindLab ในยุคแรกใช้เวลาไป กับการจัดทำ�เวิร์กช็อปกว่า 280 ครั้งสำ�หรับ หน่วยงานภายในกระทรวง ตลอดจนองค์กรทัง้ ใน และนอกเครือ เพื่อชี้ประเด็นให้เห็นว่า การพัฒนา นโยบายให้ประสบความสำ�เร็จนัน้ มีวิธีที่มากกว่า การอ่าน การเขียนรายงาน และการจัดประชุม พร้อมกับได้ริเริ่มการฝึกหัดการบริหารโครงการ แบบใหม่ดว้ ยกระบวนการมีสว่ นร่วมของผูม้ สี ว่ นได้ ส่วนเสีย (Stakeholder) การเก็บข้อมูล การตั้ง วัตถุประสงค์ และกระบวนการดำ�เนินงาน ซึง่ ช่วย ทำ�ให้เกิดการปรับทัศนคติและวัฒนธรรมภายใน กระทรวง ซึ่งนับเป็นขั้นแรกของความสำ�เร็จใน การเข้าถึงกลุ่มคนที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ เกิดขึ้นในระดับประเทศได้ ในปี 2006 กระทรวงภาษีอากรต้องการที่ จะตัง้ หน่วยงานคล้ายๆ กันนีข้ นึ้ ในกระทรวง แต่ ผู้บริหารของกระทรวงทั้งสองแห่งได้หารือและ เห็นพ้องกันว่าแทนที่จะมี MindLab ของแต่ละ กระทรวง ก็ควรจะมาใช้หน่วยงานนี้ร่วมกัน มากกว่า ทำ�ให้งานของ MindLab ขยายและมี ความชัดเจนยิง่ ขึน้ ในการเป็นห้องแล็บนวัตกรรม เพื่ อ สนั บ สนุ น การพั ฒ นาและริ เ ริ่ ม งานหรื อ นโยบายใหม่ของกระทรวงทีเ่ กีย่ วกับผูป้ ระกอบการ

CREATIVE THAILAND I 15

mind-lab.dk

“ถ้าหากรัฐยังบริหารงานแบบเดิม ในสถานการณ์ ใหม่เช่นทุกวันนี้ ก็อาจจะไม่ได้ทำ�อะไรในสิ่งที่ ผูป้ ระกอบการและประชาชนต้องการ” เป็นข้อเขียน ในบทความของแฮลล์ ไวเบก คาร์สเทนเซน (Helle Vibeke Carstensen) ผู้อำ�นวยการฝ่าย นวัตกรรม กระทรวงภาษีอากร (Ministry of Taxation) และคริสเตียน เบสัน (Christian Bason) ผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายนวัตกรรมของ MindLab ทีบ่ อก เล่าที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ ระบบราชการในประเทศเดนมาร์ก ด้วยการจัดตัง้ MindLab หน่วยงานนวัตกรรมด้านการจัดทำ� นโยบายและโครงการของภาครัฐขึ้น MindLab ก่อตัง้ ในปี 2002 ภายใต้กระทรวง เศรษฐกิจและธุรกิจ (Ministry of Economic and Business Affairs) เพือ่ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นเจ้าภาพในการ เชิญชวนหน่วยต่างๆ มาร่วมกันคิดค้นนวัตกรรม ใหม่ ที่ไม่ใช่แค่การสะสางปัญหางานประจำ�วัน ของกระทรวงเท่านั้น สอดคล้องกับงานวิจัยของ สำ�นักงานตรวจสอบแห่งชาติ (National Audit Office) ที่ระบุว่า นวัตกรรมขององค์กรภาครัฐ ส่วนใหญ่พุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหากระบวนการ ทำ�งานภายใน มากกว่าจะปรับปรุงหรือสร้าง บริการใหม่เพื่อสังคม นอกจากนี้ วัฒนธรรมการทำ�งานในองค์กร ของรัฐยังเป็นอุปสรรคสำ�คัญในการคิดนวัตกรรม ใหม่ ทัง้ เรือ่ งทีต่ า่ งฝ่ายต่างทำ�งานของตัวเอง และ ไม่อยากจะแชร์งานกับใคร หรือโครงสร้างทีไ่ ม่เอือ้

mind-lab.dk

ก้าวข้ามความเคยชิน

และประชาชน ภายใต้แนวคิดที่พลิกไปจากเดิม อย่างสิน้ เชิง โดยในอดีตงานของกระทรวงภาษีอากร กระทรวงเศรษฐกิจและธุรกิจ และกระทรวงแรงงาน (Ministry of Employment) ร้อยละ 80 เป็นการ ออกกฎหมายและระเบียบจากแนวคิดของฝัง่ ราชการ ก็ถกู ปรับให้เป็นการร่วมมือกับภาคเอกชนในการ ลดระเบียบเพื่อให้เกิดความคล่องตัว แต่ยังคง ทำ�งานอย่างเป็นระบบภายใต้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ในบางกรณี นวัตกรรมทีก่ ลุม่ MindLab คิด ก็ไม่ใช่เรือ่ งไฮเทคหรือไกลตัว แต่เป็นการแก้ปญั หา อย่างตรงไปตรงมา อย่างเช่นการแก้ปัญหาการ ขาดแคลนแรงงานทักษะสูงในเดนมาร์ก ที่ไม่ใช่ แค่ ก ารสร้ า งแรงจู ง ใจให้ ค นที่ มี ทั ก ษะย้ า ยมา ทำ�งานในประเทศอย่างเดียว เพราะปัญหาสำ�คัญ อยู่ที่ว่า บริษัทในเดนมาร์กไม่สามารถรักษาคน กลุ่ ม นี้ ไ ว้ ไ ด้ น าน จึ ง ไม่ ส ามารถแก้ ปั ญ หา ขาดแคลนแรงงานนี้ ไ ด้ อ ย่ า งเด็ ดขาด ดั ง ที่ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและธุรกิจได้มอบ นโยบายไว้ว่า “เดนมาร์กต้องการคนฉลาด มี ประสบการณ์จากต่างประเทศ และที่สำ�คัญที่สุด คือการทำ�ให้พวกเขาอยูใ่ นประเทศนานเพียงพอ” MindLab จึงเริม่ ต้นจากการเฝ้าสังเกตกลุม่ ผู้ว่าจ้าง องค์กร กลุ่มนักวิชาการ และแรงงาน เพื่อทำ�ความเข้าใจบริบทของปัญหา และทำ�ให้ ได้ คำ � ตอบที่ ต รงกั บ สถานการณ์ ม ากกว่ า การ สัมภาษณ์จากห้องประชุม ที่มักมีข้อแตกต่างใน เวลาที่ลงมือปฏิบัติจริง หลังจากนั้นจึงนำ�มา วิเคราะห์ และได้ข้อสรุปเป็นการสร้างเครือข่าย กลุ่มแรงงานต่างชาติทักษะสูงอย่างเป็นทางการ แห่งแรกของเดนมาร์ก โดยมีลกั ษณะเป็นเครือข่าย สังคมที่มีเว็บไซต์เป็นเหมือนกระดานบอร์ดแจ้ง ข่าวการจัดกิจกรรมของเครือข่ายในพื้นที่ต่างๆ รวมถึ ง ยั ง มี ก ารให้ ค วามรู้ เ กี่ ย วกั บ องค์ ก ร


วัฒนธรรมเดนมาร์ก ตลาดแรงงาน และระบบ ภาษี เครือข่ายและเว็บไซต์นี้ดำ�เนินการร่วมกัน ระหว่างกระทรวงเศรษฐกิจและธุรกิจ (Ministry of Economic and Business Affairs) สมาคม อุตสาหกรรม (Danish Industry) ไปรษณีย์ โคเปนเฮเกน (The Copenhagen Post) สมาคม ธนาคารเดนมาร์ก (Danish Banker Association) และสนับสนุนเงินทุนโดยบริษัทขนาดใหญ่ กระบวนการทำ�งานของ MindLab ที่นำ� มุมมองจากภายนอกมาเป็นฐานในการจัดทำ� นโยบายนี้ กำ � ลั ง ได้ รั บ การตอบรั บ มากขึ้ น

พัฒนาผู้ประกอบการแบบลงมือ

โดยปัจจุบันคณะกรรมการบริหารของที่นี่ คือ รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ธุรกิจ และการคลัง (Ministry of Industry, Business, and Financial Affairs) รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน (Ministry of Employment) กระทรวงศึกษาธิการ (Ministry of Education) และซีอโี อของเมืองโอเดนส์ (Odense Municipality) โดยยังคงทำ�งานร่วมกับกระทรวง อื่นๆ เพื่อช่วยให้การตัดสินใจเชิงนโยบายที่มี ผลกระทบต่อชาวเมือง มีมุมมองของพลเมือง ร่วมอยู่ด้วย ซึ่งวิธีการแบบ MindLab นี้กำ�ลัง เกิดขึ้นและแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก

เมื่อปี 2008 Helsinki Design Lab กลุ่มงานเพื่อกระตุ้นให้ภาครัฐนำ�กลยุทธ์ทางการออกแบบ (Strategic Design) ไปใช้ในการตัดสินและจัดทำ�บริการแก่ ประชาชนถูกจัดตั้งขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก Sitra กองทุนนวัตกรรมแห่งฟินแลนด์ (Finnish Innovation Fund) การมองและแก้ปญั หาเชิงโครงสร้างด้วยกลยุทธ์การออกแบบ ช่วยให้ภาครัฐคิดค้นเครือ่ งมือในการดำ�เนินนโยบายที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละหัวข้อ ดังเช่นนโยบายการพัฒนาผู้ประกอบการในฟินแลนด์ที่สนใจอยากทำ�ธุรกิจด้านอาหาร จึงได้ดำ�เนินโครงการที่เรียกว่า Open Kitchen ที่เป็นการจำ�ลอง ร้านอาหารจริงขึ้นมา และเปิดให้ผู้ที่สนใจอยากจะทำ�ธุรกิจร้านอาหารมาเข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลา 3 สัปดาห์ ตั้งแต่วางแนวคิดร้าน โดยใช้สถานที่ จริงและบุคลากรที่จะต้องเจอในการทำ�ธุรกิจจริง ตั้งแต่เชฟ ผู้จัดการร้าน ซัพพลายเออร์ เพื่อกำ�หนดเมนูอาหาร ทำ�รายการไวน์ ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้าน ความสะอาดและสุขอนามัย ทดลองทำ�อาหาร ไปจนกระทั่งเปิดร้าน ปัจจุบัน Helsinki Design Lab ปิดตัวลงแล้ว แต่เว็บไซต์ของโครงการยังคงเผยแพร่ สิ่งพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษาและการนำ�ไปปรับใช้ต่อไป

CREATIVE THAILAND I 16


helsinkidesignlab.org

การเปลี่ยนผ่านจากคนยุคเก่าสู่คนรุ่นใหม่ในช่วง ที่สภาพเศรษฐกิจและสังคมมีอาการเหวี่ยงขึ้นลง เช่นนี้ ทำ�ให้ภาครัฐเริ่มหันมาให้ความสำ�คัญกับ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ในฐานะเครือ่ งมือเพือ่ การพัฒนาบริการของภาครัฐ มีการเปิดห้องแล็บเชิ ง นโยบายขึน้ หลายแห่ง โดย เป็นการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชัน้ นำ�ต่างๆ ไม่วา่ จะเป็น MIT Gov Lab ในมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ GO Lab ภายใต้มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และ Policy Lab ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร ที่ถูกตัง้ ขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ให้กับทีมนโยบายในการพัฒนา ความรูแ้ ละทักษะเพื่อต่อยอดสู่นโยบายบนพื้นฐาน ของข้อมูลด้านดิจิทัลและผู้ใช้เป็นสำ�คัญ ซึง่ เป็น ส่วนหนึง่ ของแผนปฏิรปู ระบบราชการ ที่จะทำ�ให้ การจัดทำ�นโยบายเปิดกว้างมากขึ้น นอกจากห้ อ งแล็ บ เพื่ อ การทดลองและ ทดสอบแล้ว เหล่านักวางนโยบายยังตระหนักถึง ข้อมูลที่สำ�คัญในวางแผนจัดทำ�นโยบายที่ต้อง ขวนขวายให้ได้มาอย่างเต็มกำ�ลัง นั่นก็คือข้อมูล พฤติกรรมของประชาชนที่จะเป็นผู้รับผลกระทบ จากนโยบายโดยตรง โรงเรียนบริหารธุรกิจร็อตแมน (Rotman School of Management) หนึ่งในกลุ่มสถาบัน การศึ ก ษาที่บุก เบิ ก เรื่อ งข้ อ มู ล ทางพฤติ ก รรม

mitgovlab.org

พฤติกรรมนำ�นโยบาย

(Behavioral Insight) ศูนย์รวมงานวิจัยและ เครือ่ งมือในการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจ ได้จัดทำ�รายงานเรื่อง Policy by Design, The Dawn of Behaviorally -Informed Government ที่รวบรวมความเคลื่อนไหวของรัฐบาลทั่วโลกใน การจัดตั้งหน่วยงานหรือเครือข่ายเพื่อสังเกต พฤติกรรมของพลเมือง เพื่อนำ�มาประกอบการ จัดทำ�นโยบายและแผนปฏิบัติงาน รายงานฉบับนีก้ ล่าวถึงการจัดทำ�นโยบายของ ภาครัฐแบบดั้งเดิม (Traditional Approach to Policy) ว่าเป็นการตัง้ สมมติฐานทีเ่ ชือ่ ว่าประชาชน มีความเข้าใจในนโยบายของภาครัฐอย่างดีและจะ ปฏิบตั ติ ามเครือ่ งมือทีร่ ฐั คิดมาแล้ว จากการสร้าง แรงจูงใจ (Incentive) หรือการลงโทษผ่านการออก กฎหมาย ระเบียบ และข้อจำ�กัดต่างๆ แต่ทจ่ี ริงแล้ว ไม่ใช่ทกุ คนทีเ่ ข้าใจในข้อมูลทีม่ จี �ำ นวนมาก และ CREATIVE THAILAND I 17

สำ�หรับบางคนก็ไม่อยากหรือลืมที่จะปฏิบัติตาม ดังนัน้ แนวคิดใหม่ทเ่ี กิดขึน้ จึงเป็นการจัดทำ�นโยบาย ทีต่ ง้ั อยูบ่ นสมมติฐานด้านเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral Economics) ที่มองประชาชนเป็น ผูท้ ตี่ ดั สินใจ และรัฐมีหน้าทีใ่ นการสร้างโครงสร้าง ทางเลือก (Choice Architect) โดยการสร้างบริบท ที่ ก่อให้เกิดการตัดสินใจที่สร้างผลลัพธ์ตามที่ ต้องการ ซึ่งริชาร์ด ทาห์เลอร์ (Richard Thaler) และแคสส์ ซันชไตน์ (Cass Sunstein) เรียก กระบวนการที่ทำ�ให้เกิดการเข้าใจและเข้าถึง พฤติกรรมของประชาชนนี้ว่า Nudge หรือการ กระตุน้ ซึง่ เป็นชือ่ เดียวกับหนังสือทีพ่ วกเขาเขียน ขึ้นเมื่อปี 2008 สหราชอาณาจั ก รก่ อ ตั้ ง หน่ ว ยงานด้ า น พฤติกรรมมนุษย์ (Behavioral Insight Team) หรือ หน่วย Nudge ขึ้นเมื่อปี 2010 ตามนโยบายของ


Canada: Federal & Province-level team Chicago: Chicago Nudge Unit NYC: BIT North America & ideas42 US: White House Social and Behavioural Science Team World Bank: Global Insights Initiative (GINI) Mexico: President’s Office Guatemala: Guatemalan tax administration Jamaica: Finance Ministry (UNDP/BIT)

Rio de Janeiro: Mayor’s Office Finland: Prime Minister’s Office Norway: Greenudge UK: The Behavioural Insights Team (BIT) & nudge units in 14 departments Denmark: The Danish Nudging Network Netherlands: Ministry of Economic Affairs & Ministry of Infrastructure & the Environment Germany: Chancellor’s Office

France: OECD Behavioural science coordination Italy: PM’s Committee of Experts Moldova: UNDP/BIT Collaboration European Commission: Behavioural Science and Foresight Team India: new BE unit Singapore: Prime Minister’s Office & Ministry of Manpower Sydney: BIT Australia & Behavioural Insights Unit, New South Wales Melbourne: Department of Premier and Cabinet, Victoria Australia: Behavioural Economics Team of the Australian Government (BETA)

เดวิด คาเมรอน (David Cameron) นายกรัฐมนตรี ทีต่ อ้ งการปรับปรุงบริการสาธารณะและประหยัด งบประมาณ หน่วยนี้มีฐานะเป็นบริษัทที่จัดตั้ง ร่วมกันโดยสำ�นักคณะรัฐมนตรี (Cabinet Office) และมูลนิธดิ า้ นนวัตกรรมของประเทศอย่าง NESTA งานของที่ น่ี ไ ม่ ไ ด้ เ น้ น ที่ ก ารเปลี่ ย นแปลงเชิ ง โครงสร้าง แต่เป็นการค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของ ประชาชนเพือ่ ให้เกิดผลในภาพใหญ่ดว้ ยเครือ่ งมือ เล็กๆ น้อยๆ เช่น การส่งข้อความเพือ่ กระตุน้ เตือน การปรับเปลี่ยนข้อความในจดหมายหรือการส่ง อีเมล ซึ่งพบว่าประสบความสำ�เร็จในหลายกรณี เช่น การปรับข้อความในจดหมายเตือนทีส่ ง่ ให้กบั กลุ่มผู้ที่ค้างจ่ายภาษีว่า “การไม่จ่ายภาษี ทำ�ให้ เราสูญเสียบริการสาธารณะด้านสุขภาพ ถนน และโรงเรียน” ซึ่งข้อความดังกล่าวมีผลช่วยลด จำ�นวนการค้างจ่ายภาษีลงได้ เช่นเดียวกับการ สร้างความสัมพันธ์กบั นักศึกษา เพือ่ ลดอัตราการ ยกเลิ ก รั บ ทุ น ของนั ก ศึ ก ษาลงมากถึ ง ร้ อ ยละ 36 จากการส่งข้อความทุกคืนวันอาทิตย์ที่ว่า

“เราหวังว่าคุณจะมีช่วงเวลาพักผ่อนที่ดี เจอกัน สัปดาห์หน้า โปรดเตรียมการสำ�หรับการเข้าร่วม ชั้นเรียน วิทยาลัยแมนเชสเตอร์” อย่างไรก็ตาม แม้วา่ เดวิด ฮาลเพิรน์ (David Halpern) หัวหน้าหน่วยจะกล่าวว่า วิธกี ารนีไ้ ม่ได้ สำ�เร็จทุกครั้งไป แต่ทว่าหน่วย Nudge นี้กำ�ลัง ถูกจัดตั้งขึ้นในหลายประเทศ ทั้งออสเตรเลีย สิงคโปร์ เยอรมนี และสหรัฐอเมริกาที่มีการ จั บ มื อ กั บ มู ล นิ ธิ บ ลู ม เบิ ร์ ก (Bloomberg Philanthropies) จัดทำ�โครงการระยะเวลา 3 ปี มูลค่า 1,470 ล้านบาท (42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) เพื่อผลิตนวัตกรรมระดับเมือง ตลอดจนช่วย เทศบาลและผู้นำ�ท้องถิ่นในการใช้ข้อมูลและผล การศึกษาไปเพือ่ การปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐ รวมถึงเพื่อแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต ของคนในเมือง อย่างเช่นปัญหาอาชญากรรมและ ความรุนแรง คนจรจัดและคนว่างงาน ความ เคลื่อนไหวเหล่านี้สะท้อนว่าหน่วยงานของรัฐ พยายามทำ�ความเข้าใจและนำ�ความเป็นมนุษย์

มาเป็นฐานในการคิด ซึ่งทำ�ให้มองเห็นโอกาสที่ จะพัฒนาบริการและสิ่งต่างๆ ที่เห็นผลมากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยเองเริ่มมีสัญญาณที่ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เมื่อสำ�นักงานคณะ กรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีความ พยายามที่จะทำ�โครงการที่ชื่อว่า Gov Lab เพื่อ ให้เป็นแพลตฟอร์มกลางในการพัฒนาข้าราชการ และพนักงานของรัฐ ให้นำ�กระบวนการคิดเชิง ออกแบบมาใช้ในการจัดทำ�นโยบายและโครงการ ต่างๆ ซึ่งอยู่ในระหว่างการจัดตั้งทีมทำ�งาน โดยร่วมมือกับสำ�นักงานโครงการพัฒนาแห่ง สหประชาชาติ (United Nations Development Programme - UNDP) ในด้านเทคนิคการจัดทำ� แพลตฟอร์มนี้ อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะอยู่ในช่วง เริ่มต้น แต่อย่างน้อยความคิดสดใหม่ที่ริเริ่ม จากหน่วยงานภาครัฐที่กำ�ลังค่อยๆ ก่อตัวขึ้น ก็ จุดประกายความหวังให้เกิดขึ้นว่า อย่างน้อย ประเทศไทยจะมีนโยบายหรือโครงการใหม่ที่จะ เดินไปพร้อมกับประชาชนเกิดขึ้น

CREATIVE THAILAND I 18


สำ�รวจบริการภาครัฐไทย

“เช้าชามเย็นชาม” สำ�นวนทีค่ นรุน่ เก่าใช้เรียกการทำ�งานและการให้บริการของภาครัฐทีใ่ ช้เวลานานและไม่ใส่ใจในการพัฒนาทีจ่ ะทำ�ให้ดขี นึ้ แต่ทว่าในปัจจุบนั หน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจหลายแห่งได้มีการพัฒนาบริการโดยมีเป้าหมายให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบายที่สุดเป็นที่ตั้ง เริ่มจากการทำ�บัตรประจำ�ตัวประชาชนหรือทำ�หนังสือเดินทางที่เคยใช้เวลาเกือบเต็มวัน ซึ่งได้ลดระยะเวลาลงเหลือ 15 -20 นาที ที่ทั้งกรุงเทพมหานคร และกรมการกงสุลต่างไม่ต้องรอให้ประชาชนเดินทางมาที่สำ�นักงาน แต่ให้งานบริการนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการเดินทางหลักของผู้ใช้บริการ ด้วย หน่วยบริการจัดทำ�หนังสือเดินทางที่ตั้งอยู่ในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีคลองเตย และหน่วยบริการ BMA Express สำ�หรับการทำ�บัตรประชาชนหรือ เอกสารอื่นๆ ที่จัดตั้งอยู่ ณ สถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีสยาม นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครยังมีแผนพัฒนาระยะยาวที่มอบหมายให้ 50 สำ�นักงานเขตไป คิดหาบริการใหม่เพื่อส่งเข้าประกวดภายใต้โครงการ Best Service เพื่อระดมความคิดในการพัฒนาบริการต่อไป ในฝั่งรัฐวิสาหกิจนั้น การไฟฟ้านครหลวงก็ได้พัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ทำ�ให้ผู้ใช้ก้าวสู่สมาร์ทไลฟ์อย่างแท้จริง ทั้งเป็นช่องทางในการชำ�ระเงินด้วย บัตรเครดิต ง่ายต่อการแจ้งเหตุไฟฟ้าขัดข้องและบริการซ่อมแซม พร้อมขยับประสิทธิภาพการให้บริการของรัฐวิสาหกิจให้คล้ายกับภาคเอกชนมากขึ้น นอกจากการนำ�เทคโนโลยีมาใช้แล้ว การใส่ใจในปัญหาของผู้ใช้ก็ยังเป็นหัวใจสำ�คัญที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยได้นำ�กระบวนการคิด เชิงออกแบบมาใช้เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการใช้เครื่องกดบัตรคิวในการเรียกแท็กซี่ส่งผู้โดยสารเข้าเมือง โดยมีความพยายามแก้ปัญหาที่ผู้ขับแท็กซี่ไม่อยากรับ ผู้โดยสารที่เดินทางไปในระยะใกล้ๆ สนามบิน และจะหาทางปฏิเสธลูกค้าในภายหลัง โดยการแบ่งช่องทางเดินในการเข้าไปกดบัตรคิวออกเป็น 3 ช่องทาง คือ สำ�หรับผู้โดยสารที่เดินทางไปไม่ไกลจากสนามบิน ผู้โดยสารทั่วไป และผู้โดยสารที่ต้องการรถคันใหญ่สำ�หรับสัมภาระเยอะ เพื่อช่วยเหลือทั้งสองฝ่าย โดยการจัดให้แท็กซี่และผู้โดยสารที่มีความต้องการเหมือนกันมาเจอกัน บริการเหล่านี้แม้จะเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาการให้บริการที่สอดคล้องกับ พฤติกรรมของผู้ใช้งาน และเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการกระตุ้นให้หน่วยงานบริการอื่นๆ หันมาให้ความสำ�คัญกับความสะดวกสบายและเวลาที่ประหยัดได้ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน

ที่มา: helsinkidesignlab.org / บทความ “BIT to partner with US cities through Bloomberg Philanthropies’ What Works Cities Initiative” (20 เมษายน 2015) จาก behaviouralinsights.co.uk / บทความ “Cabinet Office nudge report highlights fraud savings” (6 กุมภาพันธ์ 2012) โดย Jane Dudman จาก theguardian.com / บทความ “Government meets design at Helsinki Design Lab Global 2010” จาก sitra.fi / บทความ “MindLab: The evolution of a public innovation lab” (7 มีนาคม 2016) โดย Maria Hermosilla จาก http://thegovlab.org / บทความ “Powering Collaborative Policy Innovation: Can Innovation Labs Help?” โดย Helle Vibeke Carstensen และ Christian Bason จาก innovation.cc / บทความ “The rise of nudge - the unit helping politicians to fathom human behavior” (23 กรกฎาคม 2015) โดย Tamsin Rutter จาก theguardian.com / รายงาน “Policy by Design The Dawn of Behaviorally-informedGovernment” (27 มีนาคม 2017) โดย Katie Chen, Neil Bendle และ Dilip Soman จัดทำ�โดย Behavioral Ecomics in Action, Rotman School of Management CREATIVE THAILAND I 19


Insight : อินไซต์

เรื่อง: นันทกานต์ ทองวานิช

“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ไม่เพียงแต่เป็นยุทธศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระราชทาน ให้ข้าราชการและพสกนิกร เพื่อเป็นแนวคิดในการแก้ไขปัญหาและก้าวข้ามความท้าทายในการดำ�รงชีวิต แต่ยังเป็น พระราชจริยวัตรที่ทรงปฏิบัติให้เห็นอยู่เสมอผ่านวิธีการทรงงานในทุกๆ พระราชกรณียกิจของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ศาสตร์พระราชาไม่ใช่เรื่องเฉพาะ สำ�หรับประเทศไทย แต่ยังมีความเป็นสากลเช่น เดียวกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ด้วยการทรงยึดราษฎรเป็นศูนย์กลาง ในการแก้ปัญหา ภาพที่พระองค์เสด็จไปยังถิ่น ทุ ร กั น ดารทั่ ว ประเทศพร้ อ มแผนที่ ผื น ใหญ่ ทรงตรั ส ถามถึ ง ความเดื อ ดร้ อ นของราษฎร พร้อมทัง้ ทรงสังเกตสภาพแวดล้อมและถ่ายรูปไว้ เป็นข้อมูลประกอบการแก้ปญั หา ล้วนแต่เป็นภาพ คุน้ ตาทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงความเป็นนักมานุษยวิทยา และนักวิเคราะห์ทพ่ี ยายาม “เข้าใจ” และ “เข้าถึง” ปัญหาอย่างถ่องแท้ ซึ่งเทียบได้กับขั้นตอนการ เข้าใจปัญหา (Emphatize) ตามหลักการคิดเชิง ออกแบบ ในขณะเดียวกัน พืน้ ทีเ่ พาะปลูกและเลีย้ งสัตว์ ภายในพระตำ�หนักจิตรลดารโหฐาน ตลอดจน

องค์ ค วามรู้ ที่ พ ระราชทานจากโครงการใน พระราชดำ�ริอย่างฝนหลวงหรือเศรษฐกิจพอเพียง คือตัวอย่างทีแ่ สดงให้เห็นถึงการ “พัฒนา” ทีเ่ กิดจาก การระบุโจทย์ คิดหาทางเลือก และเชื่อมโยง ความเป็นไปได้แบบนักวิทยาศาสตร์ ไปจนถึงการ ลงมื อ ทำ � ให้ เ กิ ดขึ้ น จริ ง อย่ า งนั ก ประดิ ษ ฐ์ แ ละ นักปฏิบัติ ดังเช่นขั้นตอนการระบุความต้องการ (Define) หาแนวทางแก้ปัญหา (Ideate) พัฒนา ต้นแบบ (Prototype) และทดสอบ (Test ) การทำ�ความเข้าใจศาสตร์พระราชานัน้ อาจ ไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ท้าทายยิ่งกว่า คือการทำ� อย่ า งไรจึ ง จะสามารถน้ อ มนำ � หลั ก คิ ด เพื่ อ แก้ปัญหาที่มีความเป็นสากลนี้มาประยุกต์ใช้กับ ตัวเองได้ โดยเฉพาะกับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีหน้าที่ หลักคือการให้บริการและมอบการมีชีวิตที่ดีให้ กับประชาชน

CREATIVE THAILAND I 20

“...ทรงใช้หลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” นัน่ คือก่อนจะทำ� อะไร ต้องมีความเข้าใจเสียก่อน เข้าใจภูมปิ ระเทศ เข้าใจ ผูค้ นในหลากหลายปัญหา ทัง้ ทางด้านกายภาพ ด้านจารีต ประเพณีและวัฒนธรรม เป็นต้น และระหว่างการดำ�เนินการ นั้นจะต้องทำ�ให้ผู้ที่เราจะไปทำ�งานกับเขาหรือทำ�งาน ให้เขานั้น “เข้าใจ” เราด้วย เพราะถ้าเราเข้าใจเขาแต่ ฝ่ายเดียว โดยที่เขาไม่เข้าใจเรา ประโยชน์คงจะไม่เกิดขึน้ ตามทีเ่ รามุง่ หวังไว้ “เข้าถึง” ก็เช่นกัน เมือ่ รูป้ ญั หาแล้ว เข้าใจแล้ว ก็ตอ้ งเข้าถึง เพือ่ ให้น�ำ ไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ ห้ได้ และเมื่อเข้าถึงแล้ว จะต้องทำ�อย่างไรก็ตามให้เขาอยาก เข้าถึงเราด้วย ...ดังนั้น จะเห็นว่าเป็นการสื่อสารสองทางทั้งไป และกลับ ถ้าสามารถทำ�สองประการแรกได้ส�ำ เร็จ เรือ่ ง “การพัฒนา” จะลงเอยได้อย่างดี เพราะเมื่อต่างฝ่ายต่าง เข้าใจกัน ต่างฝ่ายอยากจะเข้าถึงกันแล้ว การพัฒนาจะ เป็นการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย ทั้งผู้ให้และผู้รับ...” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล


ปัตตานี เอฟซี : ก้าวแรกของสันติภาพ ท่ามกลางไฟแห่งความขัดแย้งที่โหมกระหนํ่า สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นเวลาเกินกว่า สิบปี การพยายามทำ�ความเข้าใจต้นเหตุทแี่ ท้จริง ของปั ญ หาเป็ น เรื่ อ งที่ ไ ม่ อ าจหลี ก เลี่ ย ง หาก ต้องการจะยุติปัญหาอย่างยั่งยืน อาจต้องใช้ เวลาไม่ น้อ ยสำ �หรั บ การทําความเข้ า ใจความ ขัดแย้งที่ซับซ้อนและหยั่งรากลึกเช่นนี้ แต่ใน อีกทางหนึง่ การเข้าถึงจิตใจชาวบ้านในพืน้ ทีเ่ พือ่ เยียวยาพวกเขาเท่าทีจ่ ะทำ�ได้ภายใต้ขอ้ จำ�กัดทีม่ ี ก็เป็นเรื่องจำ�เป็นที่รัฐไม่ควรเพิกเฉย ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ. 2552 การแข่งขัน ฟุ ต บอลลี ก ภู มิ ภ าคเปิ ด โอกาสให้ ที ม ฟุ ต บอล ประจำ�จังหวัดปัตตานีอย่างสโมสรปัตตานี เอฟซี กลั บ เข้ า สู่ ว งการฟุ ต บอลลี ก ของประเทศไทย อีกครั้ง โดยมีนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การ บริหารส่วนจังหวัด เป็นประธานสโมสร หลังจาก ยุติการเล่นไปเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่การกลับมา ในวันเวลาและบริบทแวดล้อมครั้งใหม่นี้ ทำ�ให้ สโมสรมีบทบาทที่พิเศษกว่าเดิม เพราะดูเหมือน การชมฟุตบอลจะกลายเป็นความบันเทิงหนึง่ เดียว ที่เหลืออยู่ของชาวปัตตานี โดยทุกครั้งที่มีการ แข่งขัน โดยเฉพาะการแข่งขันในบ้านของตัวเอง ราวกั บ ว่ า ชาวปั ต ตานี จ ะลื ม ความทุ ก ข์ ร้ อ นที่ เกิดขึ้น และออกมาเชียร์ฟุตบอลกันอย่างคึกคัก ในการแข่งขันรอบแชมเปีย้ นส์ ลีก ในปีพ.ศ. 2555 ที่สนามเรนโบว์สเตเดียม ซึ่งอยู่ในความดูแลของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ว่ากันว่ามี

แฟนบอลล้นทะลัก ทัง้ นัง่ ทีอ่ ฒั จันทร์และยืนบริเวณ ลูว่ งิ่ รวมแล้วมากกว่า 10,000 คน สามารถเก็บค่า ตั๋วเข้าชมได้กว่า 400,000 บาท ซึ่งถือเป็นสถิติ สูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร โดยภายหลังในปี พ.ศ. 2557 สนามเรนโบว์สเตเดียมได้รบั งบประมาณ ในการเสริมอัฒจันทร์ จนสามารถจุแฟนบอลได้ ถึง 12,000 ที่นั่ง การแข่งขันฟุตบอลของปัตตานี เอฟซี จึงแทบ จะเป็นสถานการณ์เดียวทีส่ ามารถรวมชาวปัตตานี หลากเชื้อชาติต่างศาสนา ไม่ว่าจะพุทธ คริสต์ หรืออิสลาม ให้อยูร่ ว่ มกันอย่างสงบสุข แม้จะเป็น เพียงช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 90 นาที แต่ก็สร้าง ความสุขและผ่อนคลายความตึงเครียดให้กบั ชาว ปัตตานีได้บา้ ง อีกทัง้ ยังนับเป็นจุดเริม่ ต้นทีด่ ขี อง สันติภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะยาว ลานกีฬาพัฒน์ : เมื่อรัฐคือผู้บริการ และคนในพื้นที่คือหัวใจสำ�คัญ จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช ทีท่ รงให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้มสี ขุ ภาพกายทีแ่ ข็งแรงและสุขภาพใจทีด่ ี และ พัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งสามัคคี สำ�นัก ราชเลขาธิการ และสำ�นักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) ร่วมกับสถาบัน อาศรมศิลป์ และบริษัท ฉมาโซเอ็น จำ�กัด จึงได้ พัฒนาพืน้ ทีร่ กร้างไร้ประโยชน์บริเวณชุมชนเคหะ คลองจั่นและใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ ถนนพระราม

ลานกีฬาพัฒน์ 2

ทีม่ า: วิกพิ เี ดีย / นิตยสารคิด Creative Thailand ฉบับเดือนธันวาคม 2559 ปีท่ี 8 ฉบับที่ 3 / วิดโี อ “ลานกีฬาพัฒน์ ๑ (ชุมชนเคหะคลองจัน่ )” จาก youtube.com / วิดโี อ “บ้านและสวน : ‘ลานกีฬาพัฒน์’ ทีส่ ร้างขึน้ จากพระราชดำ�ริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั 20 พ.ย. 59” จาก youtube.com / บทความ “ลานกีฬาพัฒน์ พัฒนาคุณภาพชีวติ และชุมชน” จาก thaihealth.or.th / บทความ “ปัตตานี FC เชียร์ให้ลืมบึ้ม” จาก bangkokbiznews.com / บทความ “‘เอเอฟพี’ ตีข่าวเอไอเอส ลีก ช่วยสร้างสันติสุข ลดปัญหาภาคใต้” จาก thairath.co.th / บทความ “ไทยเที่ยวไทย : 10 สนามเมืองไทยวิวทิวทัศน์งดงามจนเกิดอารมณ์สุนทรีย์” จาก fourfourtwo.com CREATIVE THAILAND I 21

creativecitizen.com

facebook.com/PattaniFC

การแข่งขันรอบแชมเปี้ยนส์ ลีก ปีพ.ศ. 2555

ที่ 6 ให้กลายเป็นลานกีฬาพัฒน์ 1 และ 2 เพื่อ เป็นประโยชน์กับคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง ทุกเพศ ทุกวัย โดยเป็นทั้งสนามออกกำ�ลังกาย ด้วยกีฬาประเภทต่างๆ สวนสุขภาพ สวนสมุนไพร สนามเด็กเล่นเสริมสร้างทักษะ ลานพักผ่อน และ ลานกิจกรรม ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหา ทางสุขอนามัยและอาชญากรรม จากการทีค่ นใน ชุมชนรูจ้ กั กันอย่างทัว่ ถึง เกิดความเคลือ่ นไหวใน พื้นที่ และไม่มีจุดอับ แนวทางการออกแบบของลานกีฬาพัฒน์ คือ การให้ชาวบ้านในพื้นที่มีส่วนร่วมในการระดม ความคิดเห็น เพื่อให้นักออกแบบเข้าใจความ ต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งาน เมื่อได้โจทย์ที่ถูก ต้องและนำ�ไปพัฒนาเป็นงานออกแบบ ก็จะ กลับมาถามชาวบ้านอีกครัง้ เพือ่ รับฟังความคิดเห็น ในกรณีของลานกีฬาพัฒน์ 1 คำ�ตอบทีไ่ ด้นอกเหนือ ไปจากสมมติฐานตั้งต้นอย่างสนามเปตองและ แบดมินตันแล้ว ก็คือความต้องการพื้นที่นั่งเล่น และพืน้ ทีส่ �ำ หรับการใช้ชวี ติ ร่วมกันของครอบครัว รวมไปถึงแนวคิดที่คนในชุมชนต้องการจะร่วม เข้ามาบริหารจัดการพื้นที่ด้วยตนเอง อย่างการ ปลูกต้นไม้เพิ่มและดูแลความสะอาด เพราะการที่รัฐริเริ่มโครงการ อำ�นวยความ สะดวกให้เกิดขึน้ แล้วให้พวกเขามีสว่ นร่วมตลอด ทั้งกระบวนการ นั่นหมายถึงการสร้างความรู้สึก เป็นเจ้าของ หวงแหน และต้องการเข้ามาใช้งาน จริง ลานกีฬาจึงสามารถดำ�เนินไปได้ในระยะยาว ด้วยพลังของคนในชุมชนเอง


noozup.news

Creative Startup : เริ่มต้นคิด

เรื่อง: พัชริดา เอื้อพงศ์กิติกุล ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

เชื่อว่าผู้โดยสารจำ�นวนมากที่เดินทางโดยเครื่องบิน คงเคยประสบเหตุการณ์ที่ต้องทิ้งสิ่งของที่นำ�ติดตัวขึ้นเครื่องไปไม่ได้ ตามกฎข้อบังคับของสนามบิน ซึง่ อาจเป็นสิง่ ของสำ�คัญทีม่ มี ลู ค่าสูง แต่จ�ำ ใจต้องทิง้ ไปอย่างน่าเสียดาย คุณสมร เทิดธรรมพิบลู กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำ�กัด (ปณท.) ได้เล็งเห็นถึงความสำ�คัญในการแก้ไขปัญหานี้ จึงได้ริเริ่มให้มี บริการตู้ไปรษณีย์อัตโนมัติที่เรียกว่า APM (Automated Postal Machine) เพื่อให้ผู้โดยสารฝากส่งสิ่งของดังกล่าว กลับบ้านหรือส่งไปยังปลายทางอื่นได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยตนเอง บริการที่กลมกลืนไปกับไลฟ์สไตล์ แม้ไปรษณีย์ไทยจะเปิดให้บริการมากว่า 134 ปี ชนิดที่เรียกได้ว่าอยู่คู่สังคม ไทยมาแทบทุกยุคทุกสมัย แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ของผู้คนที่เปลี่ยนไปตาม กาลเวลา ทำ�ให้ไปรษณีย์ไทยต้องปรับตัวและปรับปรุงบริการให้ตอบโจทย์ คนรุน่ ใหม่อยูเ่ สมอ “ไลฟ์สไตล์ของผูค้ นในปัจจุบนั เริม่ เปลีย่ น มีความเชือ่ มัน่ ใน เทคโนโลยีต่างๆ มากขึ้น และการบริการตนเองแบบ Self-service ก็เริ่ม แพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย พอเราได้เห็นของ จำ�นวนมากที่ผู้โดยสารต้องทิ้งไปก่อนขึ้นเครื่องเพราะไม่ผ่านเกณฑ์กำ�หนด ของสนามบิน อย่างพวกครีม โลชัน่ ของมีคมต่างๆ มันเป็นการเสียประโยชน์ สำ�หรับผู้โดยสาร เราเลยอยากมีบริการที่แก้ไขปัญหาตรงนี้ จึงได้ร่วมมือกับ

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) วิจัยและ พัฒนาตู้ไปรษณีย์อัตโนมัติ APM ขึ้น ก็ใช้เวลานานเป็นปีๆ เหมือนกัน ซึ่ง ตอนนี้มีติดตั้งที่สนามบินสุวรรณภูมิแล้ว 2 ตู้ เรียกว่าเป็นตู้นำ�ร่อง” บริการไปรษณีย์ในยุคดิจิทัลต้องสะดวก ใช้งานง่าย และช่วยประหยัด เวลา จึงเป็นที่มาของแนวคิด Post&Fly “คอนเซ็ปต์ง่ายๆ ก็คือเราอยากให้ มีบริการฝากส่งของผ่านตู้โดยที่ไม่ต้องไปส่งเองที่ไปรษณีย์ เพราะสิ่งที่ แตกต่างจากการส่งพัสดุทั่วไปคือ ผู้โดยสารเขาไม่ได้เตรียมอะไรมาเลย ทั้งกล่องหรือซองสำ�หรับบรรจุของ ตู้ APM นี้จึงต้องมีหลายฟังก์ชั่น ทั้งมี ซองกันกระแทกจำ�หน่าย มีบริการชั่งน้ำ�หนัก คำ�นวณราคา และฝากส่งให้ ครบในตู้เดียว”

CREATIVE THAILAND I 22


ทิศทางการเติบโตท่ามกลางโลกดิจิทัล นอกเหนือจากบริการตู้ APM แล้ว ทางไปรษณีย์ไทยยังมีบริการไปรษณีย์ อัตโนมัตอิ นื่ ๆ ทีม่ งุ่ อำ�นวยความสะดวกให้กบั ผูใ้ ช้บริการทัว่ ไป ไปจนถึงกลุม่ สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีด้วย “สมัยนี้คนหันมาขายของออนไลน์มากขึ้น เราจึงอยากช่วยเรื่องอี-คอมเมิร์ชให้ง่าย อย่างแอพพลิเคชั่น Prompt Post ที่ คำ�นวณราคาค่าส่ง และส่งข้อมูลพัสดุมาให้ที่ทำ�การไปรษณีย์ล่วงหน้า เมื่อมาถึงก็ฝากส่งได้เลย ไม่ต้องรอชั่งน้ำ�หนักหรือรอต่อคิว โดยใช้บาร์โค้ด ยืนยันตัวตนแทนบัตรประชาชนคล้ายๆ กับตู้ APM ก็ช่วยประหยัดเวลาให้ กับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้” นอกจากนี้ยังสามารถลงขายสินค้าผ่านแอพฯ และนำ� URL ไปโพสต์ลงบนหน้าร้านออนไลน์ เพื่อเชื่อมโยงการสั่งซื้อของ ลูกค้ากับข้อมูลการส่งสินค้าได้อีกด้วย

“อีกบริการหนึ่งคือ iBox เป็นจุดบริการรับพัสดุ ที่ตอบรับไลฟ์สไตล์ คนรุ่นใหม่ที่ไม่ค่อยอยู่บ้าน ให้สามารถมารับของที่จุดให้บริการได้ เรียกว่า เป็นเหมือนห้องรอจ่าย โดยใช้แค่เลขบัตรประชาชน ใส่เบอร์โทรศัพท์ จะได้ รับรหัส OTP ผ่านทาง SMS พอเรากรอกรหัส ตู้ก็จะเปิดให้รับพัสดุของเรา ตอนนีม้ ใี ห้บริการนำ�ร่องแล้วทีแ่ รกทีบ่ กิ๊ ซี สาขาสุวนิ ทวงศ์ ส่วนในอนาคตจะ ทำ�เพิม่ อีก 30 ตู้ เพือ่ รองรับพัสดุทตี่ กี ลับหรือไม่มผี เู้ ซ็นรับ แต่อาจมีขอ้ จำ�กัด ในเรื่องเวลาการฝากและพื้นที่ที่จำ�กัด เนื่องจากเป็นตู้หมุนเวียน” เรียกได้ ว่าการพัฒนาบริการต่างๆ ของไปรษณีย์ไทยสะท้อนให้เห็นภาพของการ ปรับตัวเพื่อก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างน่าจับตามอง

changeintomag.com

หัวใจของงานบริการคือการไม่หยุดพัฒนา อย่างไรก็ตาม ในทุกการทำ�งานย่อมมีอุปสรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง เริ่มต้น “ต้องยอมรับว่าการใช้งานของตู้ในช่วงแรกมีขั้นตอนค่อนข้างมาก เพราะต้องกดซือ้ ซอง ชัง่ นา้ํ หนัก คิดราคา และฝากส่ง คือต้องกดหลายรอบ เราจึงได้คุยกับทางสจล. เพื่อจะปรับปรุงขั้นตอนการใช้งานให้กระชับขึ้น จะได้ย่นเวลาผ่านด่านขาออกของผู้โดยสาร ซึ่งก็ต้องพัฒนากันไปเรื่อยๆ รวมทั้งรูปแบบของตู้ด้วย แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้เวลา เนื่องจากต้นทุนในการผลิต ต่อเครื่องมีราคาสูง” คุณสมรยังได้วางแผนจะขยายการให้บริการตู้ APM ไปยังสนามบินอืน่ ๆ อย่างสนามบินดอนเมือง ไปจนถึงสนามบินในต่างจังหวัดที่เป็นเมืองท่องเทีย่ ว หรือมีผโู้ ดยสารเดินทางหนาแน่น เพือ่ ให้ประชาชนได้ใช้บริการตู้ APM อย่าง ทั่วถึงในอนาคต “ตอนนี้ทางท่าอากาศยานไทย (AOT) ติดต่อมาว่าอยากได้ ตู้ APM ไปติดตัง้ ตามสนามบินทีเ่ ขารับผิดชอบอยู่ ซึง่ มีอยูท่ ง้ั หมด 6 สนามบิน ด้วยกัน (ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ แม่ฟ้าหลวง เชียงราย ภูเก็ต และหาดใหญ่) โดยจะติดตั้งในสนามบินที่มีผู้ใช้บริการ มากก่อน และจะขยับขยายไปสู่จังหวัดอื่นๆ ต่อไป”

Creative Services • ตู้ APM ทั้ง 2 เครื่องเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ที่สนามบิน สุวรรณภูมิ ชัน้ 4 บริเวณผูโ้ ดยสารขาออกระหว่างประเทศ ฝัง่ ตะวันออก (Zone 2) และฝั่งทิศตะวันออกบริเวณแถว D

ในการส่งของผ่านตู้ APM จะใช้การติดสติกเกอร์แทนการประทับตรา ประจำ�วันแบบเดิม เพื่อความสะดวกรวดเร็ว

ผู้ใช้บริการ APM เพียงกรอกหมายเลขประจำ�ตัวประชาชนหรือ หมายเลขพาสปอร์ต ก็สามารถยืนยันตัวตนของผู้ส่งแทนการใช้ บัตรประชาชนได้ นอกจากการส่งของในประเทศแล้ว ผู้ใช้บริการ ตู้ APM ยังสามารถเลือกประเทศปลายทางในการรับพัสดุได้ เพือ่ อำ�นวย ความสะดวกสำ�หรับชาวต่างชาติหรือผู้เดินทางระหว่างประเทศ

• คุณสมร เทิดธรรมพิบลู กรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ บริษทั ไปรษณียไ์ ทย จำ�กัด

ตัง้ แต่เดือนเมษายนทีผ่ า่ นมา ทีไ่ ปรษณียไ์ ทยเริม่ ติดตัง้ ตู้ APM ให้บริการ แก่ประชาชน จนถึงตอนนี้ ตู้ APM ได้ให้บริการนำ�ส่งพัสดุไปแล้ว กว่า 1,000 ชิ้น

CREATIVE THAILAND I 23


Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

เรื่อง: Little Thoughts นี่คือหนึ่งในกีฬาโอลิมปิกที่ประสบความสำ�เร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ และน่าจะเป็นอันดับหนึ่งหากวัดกันด้วยความคุ้มค่าในการลงทุน ระยะยาว แต่เบื้องหลังความสำ�เร็จในระดับเทพนิยาย คือวิสัยทัศน์และการต่อสู้อย่างหนักเพื่อเปลี่ยนเมืองที่ไม่มีใครมองเห็นอนาคต แบบเมกโอเวอร์ ชนิดเกินกว่าที่ใครจะจินตนาการได้ หากย้อนหลังไปในเวลาแค่ไม่กี่สิบปี

CREATIVE THAILAND I 24


ย้อนหลังไปในปี 1975 เมื่อนายพลฟรานซิสโก ฟรังโก (Francisco Franco) ผู้นำ�เผด็จการของ สเปนเสียชีวติ และการปกครองระบบเผด็จการอัน ยาวนานของเขาสิ้นสุดลง บาร์เซโลนาและสเปน ทั้งประเทศก็ต้องเจอกับโจทย์ใหม่หลายเรื่อง พร้อมกัน นัน่ รวมถึงการเข้าสูส่ งั คมประชาธิปไตย การกระจายอำ�นาจที่มากขึ้น การกลับไปเป็น ส่วนหนึ่งของยุโรป การเผชิญหน้ากับโลกาภิวัตน์ ขนานไปกับการถดถอยของเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดขึ้นกับเมืองทั่วยุโรป ในวันที่บาร์เซโลนาได้รับคัดเลือกให้เป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทีจ่ ะจัดขึน้ ใน ปี 1992 นัน่ คือเวลาทีเ่ มืองอุตสาหกรรมอันดับต้น ของยุโรปภาคพื้นทวีปในอดีตแห่งนี้ กำ�ลังเผชิญ อัตราการว่างงานสูงกว่าร้อยละ 20 สิ่ ง ที่ ทำ � ให้ พ วกเขาเอาชนะเมื อ งอย่ า ง อัมสเตอร์ดัมและปารีสไปได้ มีเพียงความมุ่งมั่น และแผนการทีท่ �ำ ให้ทกุ อย่างเกิดขึน้ จริงได้เท่านัน้

mypostalcards.files.wordpress.com

SUM OF NEIGHBERHOODS

จนถึงทุกวันนี้ ชาวบาร์เซโลนาก็ยังไม่ลืมนายก เทศมนตรีทมี่ ีชอื่ ว่าปาสคาล มารากาล (Pasqual Maragall) เช่นเดียวกับที่โลกก็ยังจารึกเขาไว้ใน ฐานะบุคคลทีผ่ ลักดันให้เกิด “บาร์เซโลนาโมเดล” หากโอลิ ม ปิ ก คื อ การฟื้ น ฟู ค วามมั่ น ใจของ บาร์เซโลนา สิง่ ทีเ่ ปลีย่ นมันให้เป็นผลลัพธ์ทจ่ี บั ต้อง ได้กค็ อื บาร์เซโลนาโมเดล ต้นแบบการสร้างเมือง ขึ้นใหม่ที่มีเม็ดเงินลงทุนจากการเป็นเจ้าภาพ โอลิมปิกเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้ทำ� เสร็จในวันเดียว มันไม่ได้หมายถึงการลงทุนทางสาธารณูปโภค อย่างการสร้างสนามและหมูบ่ า้ นนักกีฬา การสร้าง ถนน การปรับปรุงชายหาด หรือใช้โอกาสนีใ้ นการ เกลี่ยความหนาแน่นประชากรเสียใหม่ด้วยการ ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาอยู่ เท่านั้น แต่สิ่งสำ�คัญก็คือ “วิธีคิด” ที่ไม่ลืมความ เป็นบาร์เซโลนา

CREATIVE THAILAND I 25

นัน่ คือความเป็นท้องถิน่ ทีเ่ ข้มข้น และความ เป็นสากลอย่างสูงในเวลาเดียวกัน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง การขยายตัวสู่ ชานเมืองก็คอื สิง่ ทีเ่ กิดขึน้ กับเมืองใหญ่ โดยเฉพาะ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป เมือ่ ถนนและวัฒนธรรม รถยนต์เติบโต สิ่งที่ตามมาก็คือ การทิ้งใจกลาง เมื อ งให้ เ สื่ อ มโทรมและการเปลี่ ย นพื้ น ที่ ภ าค เกษตรกรรมเป็นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยาย ตัวของเมือง รวมถึงการทีผ่ คู้ นจากชนบทจะละทิง้ ถิ่นฐานเข้ามาเป็นแรงงานมากขึ้น เมื่อเมือง สามารถขยายตัวเองออกไปได้ไม่สิ้นสุด แม้ จ ะเป็ น การขยายตั ว ออกไปไม่ ส้ิ น สุ ด แต่มันก็ขยายตัวในรูปแบบที่คล้ายกันไปหมดทุก พื้นที่ไม่ต่างจากการถมที่ดินที่เคยทำ�เกษตรเพื่อ เอาที่อยู่อาศัยไปตั้งเรียงกันไว้ หากนึกเป็นภาพ เคลื่ อ นไหว มั น ก็ คื อ การขยายเมื อ งออกจาก ศู น ย์ ก ลางไปรอบทิ ศ ทาง และเรายั ง คงเห็ น จุดศูนย์กลางของมันอยู่ โชคดีทบี่ าร์เซโลนาไม่เป็นอย่างนัน้ คงไม่ผดิ หากจะบอกว่า วิธคี ดิ ทีท่ �ำ ให้การฟืน้ ฟูบาร์เซโลนา ประสบความสำ � เร็ จ จนกลายเป็ น กรณี ศึ ก ษา สำ�หรับเมืองอื่นได้ ก็คือการมองเมืองแห่งนี้เป็น “ผลรวมของย่าน” ไม่ใช่สว่ นประกอบทีต่ อ้ งหลอม รวมเป็นหนึ่งแต่อย่างใด นั่นหมายถึงการที่ตัวแทนจากแต่ละย่านมี บทบาทสำ�คัญในการร่วมวางแผนพัฒนาเมือง บาร์เซโลนา และร่วมสร้างบาร์เซโลนาโมเดล ขึ้นมาด้วย สิ่งที่เป็นเครื่องพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีก็คือ ในปัจจุบันบาร์เซโลนายังประกอบด้วยชาวเมือง ที่ ม องว่ า ตนเองเป็ น สมาชิ ก ของย่ า นที่ ตั ว เอง อาศัยอยู่ ในหลายครั้ง คนจากย่านนอกใจกลาง เมื อ งจะบอกว่ า พวกเขากำ � ลั ง จะเดิ น ทางเข้ า “บาร์เซโลนา” ด้วยซํ้า


flickr.com/photos/Sandor Somkuti

ปีม่ ขี ลุย่ เพราะพวกเขาก็ผา่ นการทะเลาะถกเถียง กันมาไม่นอ้ ย โดยเฉพาะการลุกขึน้ มาเคลือ่ นไหว เรียกร้องสิทธิชุมชน สภาพความเป็ น อยู่ ที่ ยํ่ า แย่ แ ละบริ ก าร สาธารณะทีไ่ ม่เพียงพอนัน่ เองทีส่ ร้างความไม่พอใจ ให้กับชาวเมือง โดยเฉพาะที่อยู่รอบนอกและ ชนชั้นแรงงาน ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจาก การขยายเมืองแบบไม่มแี ผนรองรับในสมัยฟรังโก ครองอำ�นาจ การร้องเรียนและประท้วงยังคงดำ�เนิน อยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง แม้จะเข้าสูช่ ว่ งเวลาเปลีย่ นผ่าน ไปเป็ น สั ง คมประชาธิ ป ไตย ซึ่ ง นั่ น หมายถึ ง วัตถุดิบชั้นดีในการฟื้นฟูทุกอย่างใหม่อีกครั้ง โชคดีที่เมืองนั้น “ฟัง” แม้การรับฟังความ ต้ อ งการของทุ ก คนจะไม่ ใ ช่ เ รื่อ งง่ า ย แถมมี รายละเอียดมากมายทีย่ ากจะบอกว่ามันผิดหรือถูก แต่ประเด็นที่นา่ สนใจก็คอื การรับฟังและใคร่ครวญ ทำ�ให้บาร์เซโลนาเลือกทีจ่ ะปฏิเสธความคิดในเรือ่ ง การโฟกัสบน “การใช้งาน” และเลือกทีจ่ ะออกแบบ ทุกอย่างขึ้นใหม่บน “ความสัมพันธ์” การพัฒนาเมืองบนการใช้งานหมายถึงการ ออกแบบแต่ละพืน้ ทีส่ �ำ หรับการใช้งานแต่ละอย่าง อันเป็นแนวทางทีห่ ลายเมืองในยุโรปนำ�มาใช้ตง้ั แต่ หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งแม้จะตอบโจทย์ ในบางเรื่อง แต่ในขณะเดียวกัน ก็ทำ�ให้เกิดการ แบ่งแยกทางพื้นที่ แต่สำ�หรับโอเรียล โบฮิกัส (Oriol Bohigas) สถาปนิกผู้ได้รับมอบหมายให้

ออกแบบเมื อ งบาร์ เ ซโลนาขึ้ น ใหม่ ใ นครั้ ง นี้ เขากลับคิดว่าฟังก์ชนั่ ของพืน้ ทีค่ วรจะเชือ่ มเข้าหา กันอย่างใกล้ชิดที่สุด เช่น การมองถนนเป็นทัง้ พืน้ ทีแ่ ละทางสัญจร ซึง่ ทำ�ให้ในวันนีผ้ คู้ นชาวบาร์เซโลนามีทางเดินเท้า กว้างขวางและมีพื้นที่สาธารณะกลางถนนใน หลายจุด รวมไปถึงการสร้างศูนย์กลางเมืองขึน้ ใหม่ หลายแห่งในแบบที่แตกต่างกัน อันนำ�ไปสู่การ แบ่งพืน้ ทีเ่ ป็นย่านต่างๆ ทีม่ เี รือ่ งราวความเป็นมา ของตนเอง นั่นคือองค์ประกอบสำ�คัญของบาร์เซโลนา โมเดล และพวกเขาเรียกมันว่าดาวน์ทาวน์ใหม่ 12 แห่ง

THE NEW MODEL?

chispum.studio

INCLUSIVENESS

ในความเป็ น ท้ อ งถิ่ น นิ ย ม มั น ไม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ความพยายามที่จะฟื้นคืนอัตลักษณ์ของแคว้น กาตาลุญญาเท่านั้น แต่หมายถึงตัวตนของย่าน และของผู้คนที่อยู่ในแต่ละย่านด้วย บางพื้นที่ อย่าง “ลิตเติลบาร์เซโลนา” ถึงกับมีธงสัญลักษณ์ ประจำ�ย่านเป็นของตนเอง ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า สิ่งนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ ต่อเมื่อแผนการพัฒนาเมืองมีความครอบคลุมที่ มากพอ และสร้างการเข้าถึงอันเท่าเทียมด้วย อาจจะบอกว่าเป็นจุดอ่อนที่นำ�มาสู่ความ ได้เปรียบด้วยก็ได้ เมือ่ ขนาดพืน้ ทีท่ ถี่ กู จำ�กัดด้วย ภูเขาและทะเล ทำ�ให้บาร์เซโลนากลายเป็นเมือง ที่หนาแน่น โชคดีของความหนาแน่นก็คือโอกาส ในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนอันหลากหลาย โดยมั่นใจได้ว่าจะมีคนมาใช้มากพอ เมื่อพูดถึงความครอบคลุม สำ�หรับวันนี้มัน อาจไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งใหม่ สั ก เท่ า ไร แต่ ห ากย้ อ นไป ศตวรรษก่อน ความครอบคลุม (Inclusiveness) ซึ่ ง บ่ ง บอกวิ ธี คิ ด แบบไม่ ท้ิ ง ใครไว้ ข้ า งหลั ง นี้ ก็ ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ งที่ ถู ก พู ด ถึ ง กั น มากสั ก เท่ า ไร หาก ยอมรับความจริง มันคือเวลาทีอ่ ภิสทิ ธิเ์ หนือระดับ (Exclusiveness) เป็นคำ�คุ้นหูมากกว่าในฐานะ คำ�ที่บรรดานักโฆษณาโปรดปราน แต่ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆ บาร์เซโลนาก็ลุกขึ้นมา เป็นเมืองทีม่ งุ่ เข้าหาความครอบคลุมได้อย่างไม่มี

CREATIVE THAILAND I 26

ประเด็นสำ�คัญของการเป็นผลรวมของย่านก็คือ มั น กระตุ้ น ให้ เ กิ ด การสร้ า งชุ ม ชนมากกว่าตัว สิ่งปลูกสร้าง และการลงทุนสาธารณะจะเป็นไป เพื่อผลประโยชน์ของท้องถิ่น มากกว่าความ พยายามทีจ่ ะสร้างภาพรวมของเมืองใหญ่ในแบบ สำ�เร็จรูป แนวคิดนีย้ งั รวมถึงการกระจายอุตสาหกรรม การค้าและบริการไปยังส่วนต่างๆ ของเมือง เพราะเหตุนี้บาร์เซโลนาจึงยังคงเป็นเมืองที่ผู้คน จะมาจับจ่ายกันตามร้านรวงบนถนนสายต่างๆ มากกว่าการออกไปช้อปปิง้ ตามศูนย์การค้าเมกะ โปรเจ็กต์ขนาดใหญ่ (ซึ่งก็ไม่ค่อยมี) ย่านต่างๆ ยังคงมีแรงสัน่ ไหวในตัวเอง การ ให้ความสำ�คัญกับท้องถิ่นหรือย่าน ช่วยตอบ


wikipedia.org

คำ�ถามที่ว่าทำ�ไมการที่เพื่อนบ้านยังมานั่งเล่น หรือพูดคุยกันในยามเย็น ยังคงเป็นที่พบเห็นได้ ทัว่ ไปในเมืองใหญ่อย่างบาร์เซโลนา ในขณะทีก่ าร ให้ความสำ�คัญกับการเข้าถึงของผูค้ นตอบคำ�ถาม ว่า ทำ�ไมระบบขนส่งมวลชนของเมืองแห่งนี้จึงมี ให้เลือกอย่างหลากหลาย คำ�ว่า “หลากหลาย” หมายถึงการมีทงั้ รถไฟ รถไฟใต้ดนิ รถราง รถบัส ไปจนถึงรถบัสกลางคืน และนอกจากความ “ครอบคลุม” อันหมายถึง การรองรับทุกคนแล้ว ทั้งระบบยัง “บูรณาการ” เข้าด้วยกันเป็นหนึ่ง จนกลายเป็นปัจจัยที่ทำ�ให้ หลายคนอยากย้ายไปอยู่บาร์เซโลนา ยิง่ ไปกว่านัน้ ในขณะทีท่ กุ เมืองเริม่ วางแผน สูก่ ารเป็นสมาร์ทซิตี้ บาร์เซโลนาเริม่ ใช้ประโยชน์ จาก IoT (Internet of Things) ได้แบบไม่ต้องรอ บนความได้เปรียบที่ว่า เมืองได้มีการวางระบบ ไฟเบอร์ออพติกไว้แล้วตั้งแต่เมื่อสามสิบปีก่อน ตอนทำ�บาร์เซโลนาโมเดล อย่างไรก็ดี แม้บาร์เซโลนาโมเดลจะเปลี่ยน ผ่านบาร์เซโลนาให้เป็นเมืองทีผ่ คู้ นมีคณุ ภาพชีวติ ดี จนน่าอิจฉา แต่เมือ่ มาถึงวันนี้ เมืองก็ยงั ต้องเผชิญ กับโจทย์ใหม่ที่ท้าทายพวกเขาไม่น้อยกว่าเดิม นอกเหนือจากการตัดสินใจทางการเมืองว่า จะอยูห่ รือจากกันกับสเปน ปัญหาทีอ่ าจจะท้าทาย กว่านัน้ ก็คอื จะรับมืออย่างไรกับปัญหานักท่องเทีย่ ว ล้นเมือง โดยเฉพาะสำ�หรับเมืองทีม่ ขี นาดเล็กกว่า กรุงเทพมหานคร 15 เท่า แต่ตอ้ งต้อนรับนักท่องเทีย่ ว กว่า 30 ล้านคนต่อปีในปัจจุบัน ชาวบาร์เซโลนากำ�ลังลุกขึน้ มาเรียกร้องสิทธิ ในการมีคุณภาพชีวติ ของพวกเขาอีกครัง้ และถ้า หากเมืองยังคง “ฟัง” โลกก็อาจจะได้เห็นโมเดล ใหม่จากบาร์เซโลนา ทีห่ ลายเมืองสามารถเอาไป ใช้ต่อได้ ไม่วา่ จะในอดีตหรืออนาคต เมืองก็ตอ้ งการ ผู้นำ�ที่มีวิสัยทัศน์ และให้ความสำ�คัญกับคนเป็น อันดับแรก ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทุกอย่างเริ่มต้นจาก การ “ฟัง”

DID YOU KNOW?

• • • • •

• •

บาร์เซโลนาโมเดลไม่ใช่การเมกโอเวอร์เมืองครั้งแรกของบาร์เซโลนา ย้อนกลับไปกลางศตวรรษที่ 19 การ ทำ�ลายกำ�แพงเมืองเก่าและขยายเมืองออกไปในเขต Eixample (หมายความว่าส่วนขยาย) ได้สร้างให้เกิด ผังเมืองแบบใหม่ที่ประกอบด้วยบล็อกอาคารรูปทรง 8 เหลี่ยมเพื่อทัศนวิสัยโล่งกว้างสำ�หรับการสัญจร และ กลายมาเป็นอัตลักษณ์สำ�คัญของเมืองในปัจจุบัน ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม บาร์เซโลนาได้รับสมญานามว่า Manchester of the South เนื่องจากเป็นฐาน การผลิตและส่งออกสิ่งทอขนาดใหญ่ในยุโรปภาคพื้นทวีป จากที่เคยเป็นศูนย์กลางการค้าทางทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในยุคกลาง มาถึงวันนี้ นอกจากการเป็นเมืองท่า สำ�คัญ บาร์เซโลนายังครองตำ�แหน่งผู้นำ�อุตสาหกรรมเรือสำ�ราญของยุโรปด้วย ท่ามกลางความสับสนทางการเมือง รวมถึงภาวะเงินทุนไหลออกจากยุโรป บาร์เซโลนายังคงมีเงินทุนไหลเข้า ติดอันดับท็อปเทนของโลกตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในปี 2016 หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนของบาร์เซโลนา ได้รับการจัดให้เป็น IPA of the Year หรือหน่วยงาน ส่งเสริมการลงทุนแห่งปี จากนิตยสาร Financial Times แม้ ลา ซากราดา ฟามีเลีย (La Sagrada Família) โบสถ์ที่สร้างเท่าไรก็ไม่เสร็จเสียที จะถือเป็นไฮไลต์ของ ทุกคนที่ไปเยือนบาร์เซโลนา แต่มันก็คือสถาปัตยกรรมที่จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) นักเขียนและ นักวิจารณ์ด้านการเมืองและวัฒนธรรมคนสำ�คัญของโลก จัดให้อยู่ในกลุ่ม “สยดสยองที่สุดในโลก” ว่ากันว่าโบสถ์แห่งนี้จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2026 เพื่อฉลองวาระครบ 100 ปีที่อันโตนี เกาดี (Antoni Gaudí) สถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่ของบาร์เซโลนา และเป็นผู้ออกแบบโบสถ์ดังกล่าวจากโลกนี้ไป ทั้งชายหาดขึ้นชื่ออย่าง Barceloneta ที่ทำ�รายได้มหาศาลจากการท่องเที่ยว และย่านนวัตกรรมอย่าง Poblenou ที่ดึงดูดผู้คนเข้ามาอยู่บาร์เซโลนาอย่างครึกครื้นในปัจจุบัน ต่างก็เป็นพื้นที่เสื่อมโทรมริมทะเลที่ ได้รับการชุบชีวิตขึ้นใหม่เมื่อครั้งกีฬาโอลิมปิก

ที่มา: บทความทางการศึกษา “Barcelona. Key actors and dynamics in urban development 18th - 20th century” (30 พฤษภาคม 2015) โดย Carme Correa / บทความ “Story of cities #13: Barcelona’s unloved planner invents science of ‘urbanisation’” (1 เมษายน 2016) จาก theguardian.com / บทความ “How Smart City Barcelona Brought the Internet of Things to Life” (18 กุมภาพันธ์ 2016) โดย Laura Adler จาก datasmart.ash.harvard.edu / หนังสือ Thinking Barcelona: Ideologies of a Global City โดย Edgar Illas, Liverpool University Press, 2012 CREATIVE THAILAND I 27


The Creative : มุมมองของนักคิด

สัมภาษณ์: ณัฏฐวีร์ แตงน้อย และ พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ I เรียบเรียง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ และ ธีรวัฒน์ ประสิทธิ์ศิลป์สิริ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์

“ถ้าถามว่าคุณคาดหวังอะไรบ้างจากบริการภาครัฐ” คำ�ตอบที่ได้อาจแตกต่างกันตามประสบการณ์ของแต่ละคน แต่ถ้าถาม ใหม่ว่า จะดีแค่ไหนหากบริการภาครัฐจะได้รับการพัฒนาอย่างจริงจังด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่รับประกันผลลัพธ์ อย่างยัง่ ยืนหากได้รบั ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะคนทำ�งานอย่าง “ข้าราชการ” เชือ่ ว่าหลายคนคงจะมีความหวัง มากขึ้น เมื่อรัฐบาลได้เริ่มทำ� “โครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ” (Gov Lab) โดยมอบหมายให้สำ�นักงาน คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับ United Nations Development Programme (UNDP) และ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จัดทำ�โครงการต้นแบบ 7 โครงการ* เพื่อค้นหาวิธีการที่เหมาะสมในการยกระดับ มาตรฐานบริการภาครัฐของไทยนับจากนี้ คุณมาร์ติน ฮาร์ท-แฮนเซ่น (Mr. Martin Hart-Hansen) รองผู้แทนโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำ�ประเทศไทย จะเป็นผู้บอกเล่าความเป็นมา กระบวนการทำ�งาน ความท้าทาย และสิ่งที่คนไทย จะคาดหวังได้จากโครงการที่น่าจับตานี้

* 7 โครงการต้นแบบ ได้แก่ 1. การพัฒนาระบบการให้บริการในโรงพยาบาล 2. การพัฒนาการขึ้นทะเบียนสมุนไพร 3. การพัฒนาการออกมาตรฐาน ISO 4. การพัฒนาสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดพิจิตร 5. การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดพัทลุง 6. การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ จังหวัดยโสธร 7. การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว จังหวัดพิจิตร CREATIVE THAILAND I 28


ทำ�ไม UNDP ถึงตัดสินใจสนับสนุนให้มีการจัดตั้งโครงการ ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐ (Gov Lab) ในประเทศไทย คุณคาดหวังว่าจะได้เห็นอะไรในโครงการนี้บ้าง 5 ปีที่ผ่านมา UNDP ทั่วโลกได้มุ่งเน้นและขยายขอบข่ายงานขององค์กรใน ด้านนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา (Innovation for Development) โดยมีโจทย์ พื้นฐานง่ายๆ คือเราจะนำ�นวัตกรรมเข้ามาเป็นเครื่องมือในโครงการพัฒนา และการให้บริการด้านการพัฒนา และอื่นๆ ได้อย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ UNDP ทั่วโลกกำ�ลังมุ่งเน้นก็คือการพัฒนาต่อยอดงานในด้านนวัตกรรม สำ�หรับประเทศไทย UNDP ได้ริเริ่มโครงการนำ�ร่องด้านนวัตกรรมทาง สังคม (Social Innovation) มาเป็นเวลากว่า 2 ปีแล้ว โดยได้จัดการแข่งขัน และระดมแนวคิดการแก้ปญั หาด้วยนวัตกรรมทางสังคม มีโจทย์ทเี่ ป็นความ ท้าทายหลัก 2 ด้าน หนึ่งคือการค้นหานวัตกรรมทางสังคมเพื่อช่วยเหลือ ชุมชนในสถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และอีกโครงการหนึ่งเป็นการ ค้นหานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อต่อต้านคอร์รัปชั่น ซึ่งผลลัพธ์จากการ ดำ�เนินโครงการนี้ นอกจากทำ�ให้เราได้แบบจำ�ลอง (Prototype) ในการ แก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ก็ยังได้กระบวนการทำ�งานแบบใหม่ที่น่า สนใจมากสำ�หรับเรา เป็นแนวทางที่เราสามารถนำ�มาใช้ในการทำ�งานและ เข้าถึงคนรุ่นใหม่มากขึ้น กระบวนการทางนวัตกรรม (Innovation Process) ที่เราได้จากการเรียนรู้ในขั้นตอนต่างๆ และจากการได้สัมผัสวิธีคิดเกี่ยวกับ การพัฒนาจากคนทีม่ คี วามคิดสร้างสรรค์เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กบั เรา ในฐานะ ที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ผมเองรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ร่วมงานกับคนที่มีความคิด สร้างสรรค์เหล่านี้ในการช่วยกันหาวิธีการแก้ปัญหาที่น่าสนใจต่างๆ UNDP เคยได้หารือกับก.พ.ร. (สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบ ราชการ) ว่าเราจะนำ�กระบวนการนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาแนวทางการ ทำ�งานของภาครัฐได้อย่างไร เราคิดว่านี่เป็นโอกาสดีที่ UNDP จะได้เข้าไป มีสว่ นร่วมและใช้ความสามารถของเราในการสร้างเครือข่าย เพือ่ ดึงกลุม่ คน จากหลากหลายภาคส่วน ทั้งกลุ่มคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ เช่น บรรดา นักออกแบบ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ศูนย์บริการวิจัย และออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (REDEK) และ ศูนย์นวัตกรรมสังคมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (G-Lab) ให้มา ร่วมกันสร้างแนวทางการให้บริการของภาครัฐในอนาคต เพราะกลุ่มคน เหล่านี้อาจไม่รู้ว่าพวกเขามีบางอย่างร่วมกันและมีศักยภาพที่จำ�เป็นในการ พัฒนาโครงการ ซึ่งแน่นอนว่าเป้าหมายสูงสุดที่เราคาดหวังก็คือการที่ ประชาชนคนไทยจะได้รบั การบริการจากภาครัฐทีด่ ขี น้ึ และสัมผัสถึงผลกระทบ เชิงบวกที่มีต่อชีวิตของพวกเขา ตัง้ โจทย์ส�ำ หรับโครงการนำ�ร่องแต่ละโครงการอย่างไร โครงการนำ�ร่องแต่ละโครงการเกิดขึ้นจากกระบวนการทำ�งานร่วมกัน (Co-Creation) ระหว่างหน่วยงาน และผ่านการปรึกษากันแล้วว่าเป็น โครงการทีร่ ฐั บาลเห็นว่าเริม่ ต้นได้กอ่ น แต่หากมองอีกมุมหนึง่ ก็เป็นเรือ่ งของ การเลือกประเด็นที่ไม่ใหญ่เกินไป สามารถทำ�ได้จริง (Doable) และคาดว่า จะประสบผลสำ�เร็จแน่นอนด้วย เพราะว่าปัจจัยสำ�คัญในการพัฒนาบริการ ภาครัฐด้วยนวัตกรรมก็คอื “กรอบความคิด (Mindset)” ของข้าราชการ และ การจะรักษาความคิดของพวกเขาให้มองในด้านดี ต้องอาศัยความสำ�เร็จ

ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลแทบจะ ไม่ถามประชาชนโดยตรงเลยว่าพวกเขา ต้องการอะไร บริการและวิธีการให้ บริการเป็นสิ่งที่ต้องการหรือไม่ แต่ กรอบความคิ ด ของรั ฐ บาลทั่ ว โลก ก�ำลั ง เปลี่ ย นไป พวกเขาพยายาม ท�ำความเข้าใจว่า จริงๆ แล้วพวกเขา จ�ำเป็นต้องออกแบบบริการให้เหมาะสม กั บ ประชาชน และการจะออกแบบ บริ ก ารให้ เ หมาะสมได้ นั้ น ก็ เ ป็ น เพราะว่ า เขาได้ ถ ามประชาชนผู ้ ใ ช้ บริการโดยตรงในระหว่างกระบวนการ การออกแบบเชิงนวัตกรรม ถ้าเราเลือกประเด็นที่มีแนวโน้มว่าจะล้มเหลวตั้งแต่แรก และสุดท้ายมัน ล้มเหลวจริงๆ คนก็จะเกิดความคิดเชิงลบ ดังนัน้ เราจึงควรเลือกทำ�โครงการ นำ�ร่องที่มีโอกาสประสบความสำ�เร็จสูงก่อน สังเกตว่าเรายังไม่ได้พูดถึง บริการที่ได้จากการทำ�โครงการ (End Service) หรือประชาชนผู้รับบริการ (Service Receiver) เลยด้วยซ้ำ�นะครับ เพราะแม้ว่าโครงการนำ�ร่องจะมีไว้ เพื่อหาคำ�ตอบว่าเราสามารถสร้างบริการที่ดีกว่าได้หรือไม่ แต่ในความเป็น จริงแล้วเป้าหมายใหญ่ในตอนนี้ ก็คือการสร้างกรอบความคิดเบื้องต้นและ กระบวนการเรียนรู้และทำ�ความเข้าใจให้ข้าราชการเข้าใจหลักการและ กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ซึง่ จะเป็นแนวทางในการคิดหาวิธกี ารแก้ปญั หา อย่างได้ผล (Innovative Service Design Thinking Process) เพราะว่า แนวคิดเหล่านี้เกิดขึ้นในต่างประเทศ จึงอาจจะค่อนข้างไกลตัวสำ�หรับ ข้าราชการและคนส่วนใหญ่ เพราะอะไรโครงการ Gov Lab จึงนำ�วิธกี ารคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการออกแบบบริการ (Service Design) มาเป็นเครือ่ งมือในการพัฒนาบริการของภาครัฐ วิธกี ารคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และการออกแบบบริการ (Service Design) นั้นเป็นกระบวนการคิดที่แตกต่างจากแนวทางการพัฒนาการให้ บริการภาครัฐแบบเดิม ในช่วงที่มีการริเริ่มใช้คำ�ว่า “Design Thinking” เป็น ครั้งแรก มาร์โค สไตน์เบิร์ก (Marco Steinberg) หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญระดับ

CREATIVE THAILAND I 29


โลกเคยอธิบายให้ผมฟังอย่างง่ายๆ ว่า “นักออกแบบคือผู้ที่ออกแบบสิ่งของ ทีค่ นใช้ ไม่วา่ จะเป็นเก้าอีห้ รือเสือ้ แจ็กเก็ต พวกเขาจะไม่มวี นั ออกแบบสินค้า หรือปล่อยมันออกสู่ตลาด หากยังไม่ได้ดูความต้องการของผู้บริโภค” ดังนั้น การทำ�งานด้วยวิธีคิดเชิงออกแบบที่ต้องมี “การสร้างต้นแบบจำ�ลอง (Prototyping)” และ “การทดลองเพื่อตรวจสอบความต้องการของผู้ใช้ (Testing)” จึงเป็นสิ่งที่นักออกแบบทำ�อยู่ตลอดทุกวัน พวกเขาจะออกแบบ สินค้าและทดลองสินค้าหลายต่อหลายครัง้ จนกว่าจะมัน่ ใจว่าสินค้าเหล่านัน้ เหมาะสมและขายได้ และวิธีการคิดแบบนี้นี่แหละที่เรานำ�มาปรับใช้กับการ ออกแบบบริการ สิ่งที่การออกแบบบริการขาดไม่ได้คือ การขอคำ�แนะนำ�จากผู้บริโภค (End Users) ว่าบริการและวิธีการให้บริการที่เราสร้างขึ้นมีประโยชน์ต่อ ผู้บริโภคหรือไม่ เพราะว่าถ้าคุณสร้างบริการอย่างหนึ่งขึ้นมาเพียงเพราะ คุณคิดว่ามันดีในสายตาคุณและเชื่อว่าทุกคนจะต้องชอบ สุดท้ายอาจ กลับกลายเป็นว่ามันเป็นบริการที่ไม่มีใครต้องการเลย ซึ่งนั่นเท่ากับเป็นการ เสียเวลาและเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ และนั่นคือสาเหตุที่ “การคิดเชิง ออกแบบ” และ “การออกแบบบริการ” เข้ามามีความจำ�เป็นในการทดสอบ ไอเดียที่คุณใช้ในการสร้างแบบจำ�ลอง ซึ่งโดยปกติแล้วเวลาเราพูดถึง “แบบจำ�ลอง” เรามักจะนึกถึงแบบจำ�ลองของ “สินค้า” แต่เราก็สามารถสร้าง แบบจำ�ลองของ “บริการ” เพื่อนำ�ไปทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อทดสอบ ไอเดียที่คุณใช้ในการสร้างแบบจำ�ลองได้เหมือนกัน สิง่ สำ�คัญในกระบวนการการออกแบบคือการทดสอบและปรับแบบจำ�ลอง (Testing and Adjusting) ซึ่งต้องทำ�วนซ้ำ�ไปเรื่อยๆ และต้องทำ�ด้วยความ รวดเร็ว คือหลังจากที่การทดสอบแบบจำ�ลองแต่ละครั้งเสร็จสิ้น คุณต้อง ตัดสินใจได้วา่ คุณจะปรับแบบจำ�ลองนีต้ อ่ หรือทิง้ แบบจำ�ลองนี้ แล้วไปสร้าง แบบจำ�ลองใหม่ให้เร็วที่สุด ความสามารถในการทดสอบแบบจำ�ลองอย่าง รวดเร็วและปลอดภัยก่อนการนำ�สินค้าเข้าสู่ตลาด เป็นส่วนสำ�คัญของ กระบวนการออกแบบนวัตกรรม การทีภ่ าครัฐจะนำ�วิธกี ารนีม้ าใช้พฒั นาการ บริการ จึงจำ�เป็นต้องมีกลุม่ ตัวอย่างผูใ้ ช้บริการทีส่ ามารถทดสอบแบบจำ�ลอง บริการได้เรื่อยๆ เพื่อที่จะสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว แต่ในความเป็น

จริงแล้ว รัฐบาลแทบจะไม่ถามประชาชนโดยตรงเลยว่าพวกเขาต้องการอะไร บริการและวิธีการให้บริการเป็นสิ่งที่ต้องการหรือไม่ แต่กรอบความคิดของ รัฐบาลทัว่ โลกกำ�ลังเปลีย่ นไป พวกเขาพยายามทำ�ความเข้าใจว่า จริงๆ แล้ว พวกเขาจำ�เป็นต้องออกแบบบริการให้เหมาะสมกับประชาชน และการจะ ออกแบบบริการให้เหมาะสมได้นั้น ก็เป็นเพราะว่าเขาได้ถามประชาชนผู้ใช้ บริการโดยตรงในระหว่างกระบวนการการออกแบบเชิงนวัตกรรม หน่วยงานการศึกษาจะมีสว่ นในการสนับสนุนการพัฒนาบริการ ภาครัฐอย่างไรบ้าง จากที่ผมอธิบาย คุณจะเห็นได้ว่าการศึกษาค้นคว้าเป็นสิ่งจำ�เป็น เพราะ กระบวนการออกแบบจำ�เป็นต้องตัง้ อยูบ่ นข้อมูลทีไ่ ด้มาจากการศึกษาค้นคว้า อย่างมีแบบแผน ฉะนั้นภาคการศึกษาจึงมีบทบาทสำ�คัญในกระบวนการ ดังกล่าว ในฐานะภาคส่วนที่มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและการ จัดการข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ อย่างเช่น ศูนย์นวัตกรรมสังคมของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (G-Lab) ทีส่ ามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลของทุกภาค ในคณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยได้ และสามารถค้นหาข้อมูลเชิงลึกที่มี ประโยชน์ ไม่วา่ จะเป็นความคิดเห็นของคนทัว่ ไป คำ�แนะนำ�จากผูเ้ ชีย่ วชาญ เฉพาะทาง หรือข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทางการศึกษา เพื่อให้มีความเข้าใจ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมากขึ้นและใช้ประกอบการตัดสินใจ เราจะทำ�ให้ข้าราชการนำ�วิธีการทำ�งานดังกล่าวมาปรับใช้ใน กระบวนการพัฒนาและการทำ�งานจริงได้อย่างไร ก่อนอื่น คุณต้องเข้าใจว่าการเปลี่ยนกรอบความคิดของคนนั้นไม่สามารถ ทำ � ได้ ใ นชั่ ว ข้ า มคื น การอบรมและเวิ ร์ก ช็ อ ปเพี ย งครั้ ง สองครั้ง ไม่ช่วย เปลี่ยนแปลงอะไร การเปลี่ยนแปลงต้องใช้เวลาและต้องทำ�อย่างต่อเนื่อง อีกประเด็นคือการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากกลุ่มผู้นำ� เพื่อให้ผู้อยู่ใต้บังคับ บัญชาเห็นเป็นตัวอย่าง นอกจากนี้ ข้าราชการควรจะได้ฟังเรื่องราวการ บริหารงานด้วยวิธีการดังกล่าวจากข้าราชการประเทศอื่น การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การทำ�งาน ทัง้ ทีป่ ระสบความสำ�เร็จและทีล่ ม้ เหลวของประเทศ ที่มี Gov Lab มีความสำ�คัญต่อกระบวนการเปลี่ยนกรอบความคิดของ ข้าราชการไทยในระยะยาว นี่จึงเป็นเหตุผลที่คนอย่าง มาร์โค สไตน์เบิร์ก ก้าวขึ้นมีบทบาทในการ พัฒนานวัตกรรมภาครัฐ เขาก่อตั้ง Gov Lab ในฟินแลนด์และผ่านการ ทำ�งานจริงด้วยวิธกี ารเหล่านี้ ในขณะที่ Gov Lab อีกหลายประเทศในยุโรป ก็ได้สร้างสรรค์ผลงานมากมาย และได้เปลี่ยนแปลงวิธีการทำ�งานในหลาย กระทรวง เราก็ได้เสนอกับทาง ก.พ.ร. ว่าในอนาคตเราจะเชิญบุคลากรจาก Gov Lab ทั่วโลกที่ประสบความสำ�เร็จในการดำ�เนินงานมาช่วยสร้างกรอบ ความคิดใหม่ให้กับข้าราชการไทย มาเล่าให้ฟังว่าพวกเขาทำ�อะไรมาบ้าง อะไรได้ผล อะไรไม่ได้ผล หนึ่งในนั้นคือ MindLab ของเดนมาร์กที่เป็นหนึ่งใน Gov Lab ชั้นนำ�ของโลก MindLab เป็นหน่วยงานนวัตกรรมในสังกัดของภาครัฐ ซึ่งแม้วา่ จะได้รบั การสนับสนุนด้านเงินทุนจากรัฐบาลและคนที่ทำ�งานที่นี่จะ เป็นข้าราชการ แต่ที่นี่ก็ให้บริการเป็นที่ปรึกษาแก่ภาคเอกชนและประเทศ อื่นๆ ด้วย เช่น รัฐบาลบราซิลที่ MindLab ช่วยดูแลกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม

CREATIVE THAILAND I 30


รัฐและช่วยพัฒนาประสิทธิภาพในการทำ�งานของผูน้ �ำ ประเทศและข้าราชการ ระดับกลาง กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่ส่งผู้บริหารระดับสูง ทุกคนไปฝึกอบรมกับ MindLab เพื่อสร้างกรอบความคิดที่เหมาะสมกับ ตำ�แหน่งหน้าที่ ในการเปลี่ยนกรอบความคิดของข้าราชการไทยให้นำ�วิธีการทำ�งาน ดั ง กล่ า วมาปรั บ ใช้ ใ นกระบวนการทำ � งานจริ ง เราต้ อ งมี 3 สิ่ ง คื อ ประสบการณ์ ความเป็นผู้นำ� และผู้สนับสนุน (Champion) ทั้งผู้สนับสนุน ที่อยู่ในตำ�แหน่งระดับสูงและในระดับกลาง ผู้สนับสนุนคือคนที่พร้อมที่จะ พูดว่า “นี่คือสิ่งที่เราควรทำ�” และ “เราควรทำ�อย่างนี้” บุคลากรในทีม นวัตกรรม (Innovation Team) ของเราตอนนี้ผ่านการคัดเลือกมาจาก กระทรวงต่างๆ และเป็นบุคลากรที่สนใจและเห็นด้วยกับแนวคิดของเรา ซึ่งหากเราส่งต่อความคิดเชิงนวัตกรรมนี้ออกไปในวงกว้างและทำ�ให้คนหัน มาสนใจได้มากขึ้นเท่าไหร่ การส่งต่อความคิดเชิงนวัตกรรมก็ยิ่งเป็นไปได้ เร็วและกว้างขึ้น เพราะคนเหล่านั้นก็จะช่วยคุณเปลี่ยนคนอื่นๆ ด้วยอีกแรง นอกจากการคิดเชิงออกแบบแล้ว ยังมีเครือ่ งมือหรือวิธกี ารอืน่ ๆ ที่สามารถนำ�มาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการสาธารณะของไทยอีกหรือไม่ จริงๆ แล้วการคิดเชิงออกแบบเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการ ออกแบบบริการ แต่ความท้าทายในการให้บริการสาธารณะของไทยนั้น มีมากกว่านั้น เช่น ประเด็นทางวัฒนธรรมหรือกรอบความคิดทั่วๆ ไปใน สังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่แก้ได้ยาก เพราะมันเป็นผลมาจากวัฒนธรรมที่หยั่งราก ลึก แต่เราก็หวังว่าปัญหาเหล่านี้จะค่อยๆ คลี่คลายไปตามเวลา ผมคิดว่า เรือ่ งนีต้ อ้ งเริม่ จากการทีป่ ระชาชนคนไทยต้องคาดหวังจากรัฐบาล ว่าการให้ บริการประชาชนต้องยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง และข้าราชการต้องทำ�งานเพื่อ บริการประชาชนอย่างเต็มที่มากกว่านี้ ในเดนมาร์ก เราไม่มีอาชีพข้าราชการแบบที่มีในประเทศไทยแล้ว งานราชการเป็นเพียงอาชีพหนึ่งในเส้นทางความก้าวหน้าทางสายอาชีพ ไม่ใช่งานทีท่ �ำ ไปได้ตลอดชีวติ ซึง่ งานทัง้ หลายทีเ่ ราทำ�ล้วนหล่อหลอมวิธคี ดิ ของเรา ปัจจุบันในต่างประเทศ การเปลี่ยนอาชีพหรือการพยายามเรียนรู้ งานจากภาคเอกชนของข้าราชการจะมีประโยชน์ในการช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ การทำ�งานในระบบราชการอย่างมาก คนที่ทำ�งานในหลายๆ กระทรวงก็ เปลี่ยนไปทำ�งานเอกชน แล้วกลับเข้ามาทำ�งานในกระทรวงใหม่ ซึ่งผมมอง ว่าการเปลี่ยนงานในลักษณะนี้เป็นผลดี ทั้งต่อกรอบความคิดของคนคนนั้น เอง และต่อกรอบความคิดของหน่วยงานด้วย และควรเกิดขึน้ ในทุกภาคส่วน ทุกวันนี้ รัฐบาลไทยส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น ผมมั่นใจว่า จะมีเครื่องมือและเทคโนโลยีอื่นๆ อีกมากมายที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง ประสิทธิภาพการทำ�งานได้ เราควรจะศึกษาและทดลองนำ�เครื่องมือและ เทคโนโลยีต่างๆ มาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) เทคโนโลยี บล็อกเชน (Blockchain) ที่รัฐบาลประเทศอื่นกำ�ลังให้ความสนใจศึกษา ทดสอบและพร้อมทีจ่ ะนำ�ไปใช้งานจริง อย่างเช่นการสนับสนุนเรือ่ งพลังงาน ทดแทน ถ้าทุกครัวเรือนนำ�แผงโซลาร์เซลล์ไปติดตัง้ บนหลังคาบ้าน พวกเขา ก็จะมีไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใช้ในครัวเรือน และรัฐบาลก็สามารถ รับซื้อพลังงานที่เหลือจากการอุปโภคเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบได้ด้วย ปัจจุบันนี้

เราล้มเหลวได้ตราบเท่าทีเ่ ราได้ท�ำตาม กระบวนการตัง้ แต่ตน้ จนจบ ได้เรียนรู้ จากมันจริงๆ และสามารถบอกได้ว่า อะไรได้ผลและอะไรไม่ได้ผล เพื่อจะ ได้ ป รั บ วิ ธี ก ารท�ำงานในครั้ ง ต่ อ ไป ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ผมคิดว่าเราไม่มี ความจ�ำเป็นที่จะพูดถึงเรื่อง 2-3 ปี ข้างหน้า ถ้าเกณฑ์ขนั้ ตำ�่ เรายังท�ำไม่ได้ แล้ ว เราจะรั บ มื อ กั บ งานที่ มี ค วาม ท้าทายมากกว่านี้ได้อย่างไร

เรามีเทคโนโลยีที่จะช่วยบริหารจัดการการกระจายพลังงาน รวมถึงการ คำ�นวณบัญชีให้ครัวเรือนที่จ่ายไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้าสู่ระบบได้ แล้ว ถ้ารัฐบาลนำ�แนวคิดนีไ้ ปทำ�จริง เชือ่ ว่าตลาดพลังงานทดแทนก็จะขยาย ตัวอย่างรวดเร็ว เพราะว่าประชาชนมีแรงจูงใจที่จะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และรัฐบาลก็พร้อมซื้อพลังงานที่พวกเขาผลิตได้เกิน อะไรคือปัญหาทีท่ า้ ทายทีส่ ดุ ทีค่ ณ ุ พบในการดำ�เนินโครงการนี้ สิง่ ทีท่ า้ ทายคือ การรักษาโมเมนตัม ซึง่ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราพยายามจะจัดการด้วย การมองหาผู้บริหารโครงการ (Project Manager) ที่พร้อมทุ่มเทให้กับ โครงการอย่างเต็มที่ เพราะผมเชื่อว่าตอนนี้ก.พ.ร. ได้พยายามรักษาระดับ การพัฒนาอย่างเต็มทีแ่ ล้ว แต่เนือ่ งจากโครงการนีป้ ระกอบด้วยคณะทำ�งาน จาก 5 ภาคส่วน จึงมีความจำ�เป็นที่จะต้องหาคนที่จะเข้ามาดำ�รงตำ�แหน่ง นี้เพื่อเข้ามาบริหารจัดการการมองเห็นภาพรวม การบูรณาการการทำ�งาน ระหว่างภาคส่วนต่างๆ และขับเคลื่อนโครงการนี้ต่อไป และยังต้องเข้าถึง หรือคุ้นเคยกับบุคคลที่มีส่วนสำ�คัญในโครงการเช่น ดร. ทศพร ศิริสัมพันธ์ (เลขาธิการ ก.พ.ร.) และ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ (รัฐมนตรีประจำ�สำ�นักนายก รัฐมนตรี) ถ้าเป็นไปได้ก็อาจจะเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มอยู่แล้ว ซึ่งเราหวังว่า การสรรหาบุคคลที่จะมารับตำ�แหน่งจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนนี้ เพราะ การรักษาแรงกระเพื่อมเป็นสิ่งที่เราต้องคำ�นึงถึงเป็นอันดับแรก ผมคิดว่า ถ้าภายในสิน้ ปีนเ้ี ราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายของโครงการนำ�ร่องได้ เราคง จะหมดโอกาสไปต่อ ฉะนั้นเราจึงจำ�เป็นต้องทำ�ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ให้ สำ�เร็จ เพราะนั่นจะเป็นข้อพิสูจน์ว่าโครงการดังกล่าวมีศักยภาพที่จะพัฒนา ต่อไป

CREATIVE THAILAND I 31


โครงการห้องปฏิบัติการนวัตกรรมภาครัฐในอีกสองถึงสามปี ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร สิ่งสำ�คัญคือโครงการนำ�ร่องทั้ง 7 โครงการนี้จะต้องประสบความสำ�เร็จ ในแบบของมันเอง อาจไม่ประสบผลสำ�เร็จหรือได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นชิ้น เป็นอันทั้งหมดก็ได้ เราอาจจะล้มเหลว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่รับได้ เพราะความ ล้ ม เหลวถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของกระบวนการการเรี ย นรู้ ด้ว ยเหมื อ นกั น เราล้มเหลวได้ตราบเท่าทีเ่ ราได้ท�ำ ตามกระบวนการตัง้ แต่ตน้ จนจบ ได้เรียนรู้ จากมันจริงๆ และสามารถบอกได้วา่ อะไรได้ผลและอะไรไม่ได้ผล เพือ่ จะได้ ปรับวิธีการทำ�งานในครั้งต่อไป ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น ผมคิดว่าเราไม่มีความ จำ�เป็นที่จะพูดถึงเรื่อง 2-3 ปีข้างหน้า ถ้าเกณฑ์ขั้นต่ำ�เรายังทำ�ไม่ได้ แล้ว เราจะรับมือกับงานที่มีความท้าทายมากกว่านี้ได้อย่างไร เราอยากจะให้ผู้บริหารโครงการช่วยพัฒนากลยุทธ์สำ�หรับ 2-3 ปี ข้างหน้าและสนับสนุนภาคส่วนต่างๆ ในกระบวนการนวัตกรรม โดยเราจะ เชิญผู้เชี่ยวชาญจากข้างนอกที่มีประสบการณ์ด้านกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม ภาครัฐจากต่างประเทศมาสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านข้อมูลทาง เทคนิคที่จำ�เป็น ผมมองว่าโครงการ Gov Lab นี้ต้องได้ทำ�ต่อในปีหน้าอย่าง แน่นอน และก่อนเดือนธันวาคมนี้ผมอยากให้มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับ ทิศทางของโครงการและการสนับสนุนทางการเงิน ผมคาดหวังเป็นอย่างยิ่ง ว่ารัฐบาลจะให้การสนับสนุนทางการเงินกับโครงการนี้อย่างจริงจังและ ต่อเนือ่ ง เพือ่ เป็นการแสดงว่าโครงการนีจ้ ะไม่ได้เป็นเพียงโครงการเฉพาะกิจ

ผมหวังว่าโครงการในอีก 2-3 ปีขา้ งหน้าจะยังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน กับปัจจุบันที่เน้นการพัฒนาบริการผ่านวิธีการคิดเชิงออกแบบ และการ กระจายวิธีการทั้งสองไปสู่กระทรวงต่างๆ จังหวัดต่างๆ และอาจลงไปสู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยในอนาคต เพราะว่าตามหลักการแล้ว กลุ่มข้าราชการที่เป็นแกนกลางของระบบควรจะเป็นนักคิดเชิงออกแบบ ทั้งหมด ซึ่งการพัฒนาไปสู่ขั้นนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา แต่ที่ควรเป็นอย่าง นั้นเพราะว่าเราต้องการขับเคลื่อนกระบวนการนวัตกรรมในการทำ�งานของ ภาครัฐ ด้วยการกระจายประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากโครงการนำ�ร่องไปสู่ กระทรวงต่างๆ และมอบหมายให้ผู้สนับสนุน (Champion) ในกระทรวง และกรมต่างๆ ทำ�หน้าทีเ่ ป็นผูใ้ ห้ค�ำ ปรึกษาด้านนวัตกรรมรัฐ (Government Innovation Advisor) และเพราะว่าการขับเคลื่อนกระบวนการนวัตกรรม ดังกล่าวต้องเป็นกระบวนการสร้างสรรค์ร่วมกันจากทุกฝ่าย เราจะมัน่ ใจได้อย่างไรว่าโครงการนีจ้ ะสามารถดำ�เนินงานต่อไป ได้ในระยะยาว ผมคิดว่าโครงการ Gov Lab ให้ความสนใจกับการให้บริการเป็นหลัก ซึ่งการให้บริการเป็นเพียงขั้นแรกของทั้งหมด โครงการนี้ไม่ได้มีแค่เรื่อง การให้บริการ ยังมีเรื่องของการสร้างนโยบายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโมเดล การพัฒนา “ไทยแลนด์ 4.0” ทีเ่ รายังไม่ได้พดู ถึงมากนัก แต่จ�ำ เป็นต้องบรรจุ เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การพัฒนาประเทศ เพราะว่านโยบายคือจุดเริ่มต้น ของการให้บริการต่างๆ ดังนั้นแทนที่เราจะแก้ไขที่บริการของรัฐ เราควรจะ มาแก้ไขตั้งแต่นโยบายซึ่งเป็นต้นทาง เพื่อจะได้ไม่ต้องแก้ไขปลายทาง กันตลอดเวลา

CREATIVE THAILAND I 32



Creative Will : คิด ทํา ดี

เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี

เมื่อเกษตรกรเข้าถึงข้อมูลความสมบูรณ์ของดิน ในพื้ น ที่ ทำ � กิ น ผ่ า นหน้ า จอโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ ได้ การวางแผนการเพาะปลูกเพือ่ ให้ได้ผลผลิตทีด่ ขี นึ้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากสำ�หรับพวกเขาอีกต่อไป LDD Soil Guide แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาโดยภาครัฐ เพือ่ นำ� เสนอข้อมูลความสมบูรณ์ของดินในแต่ละพืน้ ที่ ได้ กลายเป็นมือขวาคนใหม่ทเี่ ป็นผูช้ ว่ ยเกษตรกรไทย ให้ ส ามารถเพาะปลู ก ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ ยิ่งขึ้น และเป็นหนึ่งในฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนภาค การเกษตรของไทยให้พร้อมสำ�หรับยุค 4.0

LDD Soil Guide เป็นผลงานนวัตกรรมด้าน ดินที่จัดทำ�ขึ้นโดยกรมพัฒนาที่ดิน ร่วมกับกลุ่ม Startup Thailand เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่ง ข้อมูลเรื่องดิน ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติของดิน การจัดการดินเพือ่ การเพาะปลูก รวมไปถึงคำ�แนะนำ� เรื่องปุ๋ยที่เหมาะสมกับสภาพดินในพื้นที่นั้นๆ ได้ สะดวกมากขึ้น โดยข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นผู้ช่วยที่ ทำ�ให้เกษตรกรสามารถวางแผนการเพาะปลูกได้ อย่างเหมาะสม ด้วยระบบจีพเี อสในแอพฯ ช่วยให้เกษตรกร สามารถค้นหาข้อมูลดินในพืน้ ทีผ่ า่ นรูปแบบแผนที่ ได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น Base Map หรือ Google Map ที่ปรากฏบนหน้าจอเริ่มต้นการ ใช้งาน เมื่อกดเลือกพิกัด แอพฯ จะแสดงข้อมูล ตำ�บล อำ�เภอ และจังหวัดตามพิกดั ทีเ่ ลือก พร้อม แสดงข้อมูลชุดดิน ตลอดจนความเหมาะสมของ ดินในการเพาะปลูก โดยแสดงสัญลักษณ์ความ เหมาะสมของดินในรูปแบบของสี เช่น สีแดง (ไม่เหมาะสม) เหลือง (ไม่ค่อยเหมาะสม) และ สีเขียว (เหมาะสมมาก) นอกจากนี้เมื่อคลิกเลือก พันธุ์พืชที่ต้องการ แอพฯ จะแสดงข้อมูลค่า วิเคราะห์ดินและคำ�แนะนำ�ปุ๋ยสำ�หรับชุดดินเพื่อ เป็นแนวทางในการดำ�เนินการเพาะปลูกเพื่อเพิ่ม ผลผลิต ข้อมูลลักษณะและคุณสมบัติของดินที่ได้ จากแอพฯ LDD Soil Guide จะช่วยให้เกษตรกร รู้ถึงความเหมาะสมและข้อจำ�กัดของดินในพื้นที่ นั้นๆ อันจะเป็นแนวทางให้เกษตรกรเลือกปลูก พืชในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะของดิน

CREATIVE THAILAND I 34

จึงเป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ทางหนึ่ง นอกจากนี้ ข้อมูลชุดดินในพื้นที่ยังแสดงให้เห็น ถึงปริมาณธาตุอาหารในดิน ทำ�ให้เกษตรกร สามารถหาวิธกี ารจัดการดินและปุย๋ ทีเ่ หมาะสมได้ เช่น สามารถคำ�นวณปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่เพื่อ บำ�รุงผลผลิตทีจ่ ะปลูกในพืน้ ที่ หรือเลือกใช้ปยุ๋ ให้ เหมาะกั บ การปลู ก พื ช แต่ ล ะชนิ ดได้ อ ย่ า งมี ประสิทธิภาพ ซึง่ จะช่วยให้ได้ผลผลิตทีม่ คี ณุ ภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด LDD Soil Guide เป็น 1 ใน 100 ผลงาน นวั ต กรรมที่ ไ ด้ รั บ การคั ด เลื อ กให้ จั ด แสดงใน นิทรรศการ Startup Showcase ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของงาน Thailand Innovation and Design Expo 2017 (T.I.D.E 2017) เมือ่ วันที่ 14-17 กันยายน 2560 ที่ จั ด โดยกรมส่ง เสริ ม การค้า ระหว่ า งประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผลงานชิน้ นีค้ อื ตัวอย่างทีแ่ สดง ให้เห็นว่า ในช่วงเวลาที่สมาร์ทโฟนคือสินค้าที่ เข้าถึงได้ และโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเริม่ ครอบคลุม ในหลายพื้นที่ของประเทศ การนำ�เทคโนโลยีเข้า มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวิถีการทำ�การ เกษตร เพื่อเป็นผู้ช่วยให้เกษตรกรไทยทำ�งานได้ ง่ายขึ้น จึงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไป

ทีม่ า: www1.ldd.go.th/th-TH/LDD-Soil-Guide / บทความ “พัฒนาแอพพลิเคชั่น จัดการดินและปุ๋ยเพื่อลดต้นทุน” (23 มิถุนายน 2016) จาก dailynews.co.th / รายงาน พิเศษหนังสือพิมพ์แนวหน้า “พด.เตรียมนำ� ‘LDD Soil Guide’ จัดแสดงในงาน Thailand Innovation and Design Expo 2017” (5 กันยายน 2017) จาก ryt9.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.