พฤศจิกายน 2560 ปีที่ 9 I ฉบับที่ 2 แจกฟรี
Creative Startup mMilk Creative City Melbourne The Creative นวพล ธํารงรัตนฤทธิ์
“IDENTIFY YOUR NICHE AND DOMINATE IT. AND WHEN I SAY DOMINATE, I JUST MEAN WORK HARDER THAN ANYONE ELSE COULD POSSIBLY WORK AT IT.”
Nate Parker นักแสดง ผู้กำ�กับ และนักเขียนชาวอเมริกัน
Natalia Figueredo
“ค้นหาจุดต่างของคุณและเอาจริงกับมัน ซึ่งการเอาจริงที่ว่าก็คือ ต้องทำ�มันให้มากกว่าที่คนอื่นจะทำ�ได้”
Contents : สารบัญ
The Subject
เพราะสัตว์เลี้ยงก็ต้องการอาหารเฉพาะ ไม่ดังแต่ปังมาก Refill Station ปั๊มนํ้ายาลดพลาสติก
6
Creative Resource 8
Insight 20 The (Niche) World is Ready… Will you Join us?
Creative Startup 22
Book / Magazine / Application
mMilk ฉีกกล่องธุรกิจนมไร้แลคโตส
MDIC 10
Creative City
24
Local Wisdom
12
The Creative
28
Cover Story
14
Creative Will
34
ยานยนต์ไร้คนขับ... ปฏิวัติทุกกฎของการเดินทาง
สังคมเฉพาะบนโลกออนไลน์ ความสนใจส่วนตัวที่เลือกเสพได้
Find your Niche, Dare to Risk
Melbourne รัก หลงใหล คลั่งไคล้ในกาแฟ
Nawapol Thamrongrattanarit “You do you and I’ll do me”
Folkrice เปิดประตูสู่ทุ่งนาข้าวพื้นเมือง
บรรณาธิการที่ปรึกษา l อภิสทิ ธิ์ ไล่สตั รูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ l กิตติรตั น์ ปิตพิ านิช ที่ปรึกษา l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, พจน์ องค์ทวีเกียรติ, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร บรรณาธิการบริหาร l พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ กองบรรณาธิการ l มนฑิณี ยงวิกลุ , ชลดา เจริญรักษ์ปญั ญา, รัตมิ า เผือกนาโพธิ,์ ปิยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ศิลปกรรม l ชิดชน นินนาทนนท์ สมาชิกสัมพันธ์ l ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์ ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ช่างภาพและมัลติมเี ดีย l ชาคริต นิลศาสตร์ จัดทำ�โดย l ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทร. 02 105 7400 แฟกซ์. 02 105 7450 พิมพ์ที่ l โรงพิมพ์ดับบลิวพีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โทร. 02 313 4405 แฟกซ์. 02 313 4445 จำ�นวน 22,500 เล่ม ติดต่อลงโฆษณา: Commu.Dept@tcdc.or.th นิตยสารฉบับนีใ้ ช้หมึกพิมพ์จากนา้ํ มันถัว่ เหลืองทีไ่ ม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทัง้ ยังเป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม และใช้กระดาษ รีไซเคิล ซึ่งเป็นผลผลิตของผู้ประกอบการไทย จัดทำ�ภายใต้โครงการ “Creative Thailand สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์” โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ซึง่ มีเป้าหมายในการเผยแพร่ความรูเ้ กีย่ วกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และผลักดันการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส CREATIVE THAILAND I 4 แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
Miguel Sousa
Editor’s Note : บทบรรณาธิการ
จำ�กัดตนเองไม่ให้ถูกจำ�กัด ความต้องการทีไ่ ม่เคยมีใครมองเห็น หรือความต้องการพิเศษเฉพาะกลุม่ กำ�ลัง เป็ น ต้ น ทุ น สำ � คั ญ ให้ ผู้ ป ระกอบการยุ ค ใหม่ ไ ด้ ห ยิ บ มาใช้ พั ฒ นาเป็ น ธุ ร กิ จ แหวกแนวไม่ตามกระแส ทำ�ให้เราพบเห็นธุรกิจทีไ่ ม่มใี ครเคยคาดคิดว่าจะมีขนึ้ ในโลกใบนี้ หรือแม้แต่ธุรกิจที่เจาะจงผลิตสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์เฉพาะ คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก หากผู้ประกอบการรุ่นใหม่จะเริ่มต้นธุรกิจจากสิ่งที่ ตัวเองหลงใหลหรือชืน่ ชอบก่อนเป็นอันดับแรก แทนทีจ่ ะดูขนาดของตลาดหรือ ปริมาณของลูกค้าในอนาคต เพราะนั่นก็คือกฎข้อแรกของการทำ�สิ่งต่างๆ ให้ สำ�เร็จ และเป็นโชคดีมากขึ้นไปอีกที่ว่า เทคโนโลยีในวันนี้กำ�ลังเอื้อให้เราได้ ลงมือทำ�ในสิ่งที่รัก และยังช่วยให้เราเจอกับกลุ่มคนที่ชอบในสิ่งเดียวกันได้ง่าย มากขึ้นกว่าในอดีตมาก อย่างไรก็ดี ใช่ว่าการเจอกลุ่มลูกค้าที่ใช่ได้ง่ายๆ จะ กลายเป็นสูตรสำ�เร็จที่ช่วยให้เราทำ�อะไรก็ได้เพื่อคนเหล่านั้น เพราะความ ต้องการของมนุษย์มคี วามซับซ้อนและแบ่งแยกย่อยออกไปได้มากมายไม่สนิ้ สุด สิ่งที่ควรทำ�จึงไม่ใช่แค่เพียงรู้จักลูกค้าของเรา แต่นั่นหมายถึงการเข้าไป นั่งอยู่ในใจ ที่กว่าจะไปถึงได้ ก็ต้องเริ่มต้นจากค้นหาโอกาสที่เป็นไปได้ใหม่ๆ และอยู่บนความสนใจของเราเอง รวมถึงการระบุตัวลูกค้าแบบเจาะลึกที่สุด เท่าทีจ่ ะทำ�ได้ ทีไ่ ม่ได้หมายถึงแค่วา่ เขาเป็นใคร ชอบอะไร และต้องการสิง่ ไหน แต่คอื การหยัง่ ลึกลงไปถึงการรับรูค้ ณุ ค่า (Value Perception) ในสิง่ ต่างๆ ของ
พวกเขา เพราะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) นั้น ไม่ได้มุ่งตอบสนอง ความต้องการด้านการใช้งานเท่านั้น แต่คือการตอบไปถึงคุณค่าที่ลูกค้าจะ รับรู้ได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเราเข้าไปอยู่ในประสบการณ์ของลูกค้าได้อย่าง แท้จริงนั่นเอง คำ�ถามต่อไปก็คือ แล้วเราจัดการระยะทางระหว่างความชอบ (Passion) และการรับรูค้ ณุ ค่า (Value Perception) ของลูกค้าให้สมดุลกับธุรกิจแบบนิชนี้ อย่างไร สิง่ ทีจ่ ะบอกได้เบือ้ งต้นก็คอื การตัง้ เป้าหมาย (Expectation) ทีช่ ดั เจน และเป็นไปได้จริงตั้งแต่เริ่มต้น เพราะขนาดของความสำ�เร็จนั้นมีขนาดเท่ากับ ความคิด ไอเดียตั้งต้นที่เล็กก็อาจขยายเป็นความสำ�เร็จขนาดใหญ่ได้ และ ไอเดียที่ใหญ่กอ็ าจแตกยอดต่อไปเป็นไอเดียเล็กๆ ได้อีกหลากหลาย นัน่ ขึน้ อยู่ กับกระบวนการคิดที่สามารถก้าวถึงจุดเปลี่ยนที่เหมาะสมได้ในเวลาที่ต้องการ หรือที่เรียกว่า Pivot ซึ่งหมายถึงการปรับทิศทางเพื่อค้นหาจุดลงตัวระหว่าง ธุรกิจที่สร้างขึ้นและตลาดใหม่ที่เหมาะสม แต่หากเป้าหมายของธุรกิจไม่ใช่การขยายขนาดเพื่อผลักให้ตลาดนิช ก้าวเข้าสูก่ ระแสหลักทีโ่ ดนใจคนทุกกลุม่ สิง่ ทีค่ วรคำ�นึงถึงมากทีส่ ดุ และควรจะ เป็นหัวใจสำ�คัญของการทำ�ธุรกิจในทุกยุคสมัยก็คอื การรักษาไว้ซงึ่ คุณภาพของ สินค้าหรือบริการให้ดีที่สุดให้ได้ เพราะนั่นก็คือการจำ�กัดตนเองให้คงขนาดที่ ต้องการ ทว่าก็สร้างโอกาสทางธุรกิจที่เข้มแข็งและไร้ขีดจำ�กัดได้นั่นเอง กิตติรัตน์ ปิติพานิช บรรณาธิการอํานวยการ
CREATIVE THAILAND I 5
The Subject : ลงมือคิด เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ และ ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
เพราะสัตว์เลี้ยง ก็ต้องการอาหารเฉพาะ ไม่ใช่แค่เรื่องรสนิยมหรือความชอบส่วนบุคคลอีกต่อไป เมื่อกระแสความ “เฉพาะกลุม่ ” ได้รบั การพัฒนามากขึน้ เพือ่ สร้างประโยชน์สงู สุดในทุกๆ ด้าน เช่นเดียวกับในแวดวง “อาหารสัตว์เลี้ยง” จากที่เคยเป็นเศษอาหาร หรือ อาหารปรุงสุกในเมนูที่ใกล้เคียงกับคน เช่น ข้าวคลุกตับ หรือเนื้อสัตว์ปิ้ง ไปจนถึงความนิยมของอาหารเม็ดสำ�เร็จรูปมากมายหลายยี่ห้อ ล่าสุดก็มา ถึงยุคของอาหารบาร์ฟ (Barf: Biologically Appropriate Raw Foods) หรือ อาหารสดดิบ ที่กำ�ลังจะเป็นเมนูใหม่ของสัตว์เลี้ยงแสนรักโดยเฉพาะ โดยเพจดัง “Doctorbarf by หมอเป็ด” ของสัตวแพทย์หนุ่มผู้มีความ เฉพาะทางทั้งในด้านความเชื่อและแนวทางการรักษาอย่าง “หมอเป็ด” นสพ. พัฒน์สมิทธิ์ นันท์ปภากุล แห่งเพ็ทนิสต้าคลินิก ได้ให้ความเห็นว่า ศาสตร์ของการเลีย้ งดูและรักษาสัตว์เลีย้ งในปัจจุบนั มักจะให้ความสนใจกับ การรักษามากกว่าการป้องกัน ขณะที่ปัจจุบันเริ่มมีผู้เลี้ยงสัตว์ใหม่ๆ ตื่นตัว ในการหาวิธีการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงที่เหมาะสมมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องอาหาร ที่เป็นสาเหตุสำ�คัญที่ทำ�ให้สัตว์เลี้ยงแข็งแรงดีหรือเจ็บป่วยได้ง่าย โดยหมอ เป็ดกล่าวว่า หากสัตว์เลีย้ งได้รบั อาหารทีไ่ ม่ถกู หลักโภชนาการก็จะเป็นทีม่ า ของโรคภัยต่างๆ เช่น โรคผิวหนัง นิ่ว โรคตับ ไต หรือมะเร็งได้ และการ เปลีย่ นวิธใี ห้อาหารสุนขั มาเป็นอาหารบาร์ฟ ก็มสี ว่ นอย่างมากในการป้องกัน ไม่ให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยก่อนวัยอันควร อาหารบาร์ฟกำ�ลังได้รบั ความนิยมแพร่หลายมากขึน้ ทัว่ โลก จากแนวคิด คืนกลับสู่ธรรมชาติหรือการเลียนแบบอาหารตามสัญชาตญาณดั้งเดิมของ สัตว์ ทำ�ให้ส่วนประกอบสำ�คัญของอาหารบาร์ฟจะเป็นจำ�พวกกระดูกติด เนื้อดิบ เนื้อสดดิบทุกประเภท เครื่องในดิบ และผักผลไม้ดิบที่ไม่ผ่านความ ร้อนหรือการปรุงรสใดๆ แต่จะเน้นที่ความเรียบง่าย การเลือกใช้วัตถุดิบที่ หาได้ตามฤดูกาล สด สะอาด และมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้ผู้เลี้ยง จะต้องให้บาร์ฟในปริมาณและสัดส่วนที่ถูกต้อง ทั้งควรมีการหมุนเวียน อาหารไม่ให้ซาํ้ บ่อยจนเกินไป เพือ่ ป้องกันการเกิดอาการแพ้อาหาร และควร
ทำ�ความเข้าใจด้วยว่า ระบบการย่อยอาหารของสัตว์เลีย้ งอย่างสุนขั และแมว นั้นมีความแตกต่างจากมนุษย์ อาหารสดดิบจึงเป็นอาหารที่เหมาะกับ ธรรมชาติและระบบย่อยอาหารของสัตว์เลี้ยงมากกว่า แม้ว่าการให้อาหารสัตว์ด้วยแนวทางนี้จะยังมีความเฉพาะกลุ่มสำ�หรับ คนรักสัตว์บางคนเท่านั้น แต่ก็ต้องยอมรับว่าจากประสบการณ์ที่คลุกคลี ให้การรักษาและดูแลสัตว์เลีย้ งมานานของหมอเป็ด พร้อมกับความช่วยเหลือ ของเทคโนโลยีทที่ �ำ ให้คนรักสัตว์เข้าถึงข้อมูลข่าวสารทีเ่ ชือ่ ถือได้งา่ ยขึน้ และ บริการทีร่ ใู้ จคนรุน่ ใหม่ทตี่ อ้ งการความสะดวกอย่างการจำ�หน่ายอาหารบาร์ฟ แบบส่งตรงถึงบ้าน หรือการใช้โซเชียลมีเดียในการให้ข้อมูลความรู้และเป็น ช่องทางติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของหมอเป็ด ก็อาจจะช่วยให้คนรัก สัตว์หลายๆ คนเปิดใจ และหันมาสนับสนุนเมนูเฉพาะทางอย่างบาร์ฟให้กบั สัตว์เลี้ยงตัวโปรดในเร็ววัน ติดตามข้อมูลที่เป็นประโยชน์อน่ื ๆ เกีย่ วกับบาร์ฟได้ที่ Facebook: Doctorbarf by หมอเป็ด
ไม่ดังแต่ปังมาก ไม่ตลกค่ะ (@fernnfernnfern) ของขวัญเอง (@kkhwan) หรือ VOP (@MrVop) ไม่แปลกถ้าคุณจะไม่รู้จักแอคเคาท์ชื่อไม่คุ้นเหล่านี้ในสื่อสังคมออนไลน์ ยุคใหม่ทใ่ี ช้งานอยูท่ กุ วัน เพราะพวกเขาและเธอไม่ได้โด่งดังระดับซูเปอร์สตาร์ ไม่ได้ปรากฏตัวในสื่อหลักถี่ๆ หรือมีคนติดตามเป็นหลักแสนหรือล้าน แต่ เชื่อหรือไม่ว่าแทบทุกข้อความ ทุกรูปภาพ และทุกความคิดเห็นที่ถูกโพสต์ ลงไปในสื่อออนไลน์ส่วนตัวของพวกเขา กลับสร้างปฏิกิริยาตอบกลับได้ มากกว่าบรรดาคนดังอีกหลายคน และพวกเขาถูกขนานนามว่า “Micro Influencer” ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอาจอธิบายได้ง่ายๆ ว่า ทำ�ไมคุณถึงเลือกซื้อ สินค้าทีเ่ พือ่ นสนิทแนะนำ� แทนทีจ่ ะเลือกซือ้ สินค้าทีม่ ดี าราดังเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพราะต้องไม่ลืมว่าแม้ซูเปอร์สตาร์จะมียอดผู้ติดตามเป็นหลักแสนหลักล้าน แต่ทกุ ครัง้ ทีพ่ วกเขาทวีตหรือโพสต์ ความรูส้ กึ เหินห่างและไม่มคี วามสัมพันธ์ โดยตรงกับคนดังเหล่านั้น ก็มักทำ�ให้สิ่งที่ได้รับการสื่อสารออกมาไม่เปรี้ยง ตรงกับความสนใจของผู้ติดตามเท่าที่ควรจะเป็น บทบาทของ Micro Influencer จึงถูกนำ�มาใช้แทนที่ และบรรดาแบรนด์ต่างๆ ก็กำ�ลังมองหา
CREATIVE THAILAND I 6
Dũng Trần Việt
คนเล็กๆ ทีไ่ ม่โด่งดังเหล่านี้ แต่มคี วามรูล้ กึ รูจ้ ริงในสิง่ ทีต่ นเองสนใจ เพือ่ เข้ามา ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริการ ในสเกลทีเ่ ล็กลง ทว่าเข้มข้นมาก ขึ้น โดยให้ทำ�หน้าที่เป็นกระบอกเสียงที่แม้จะเสียงไม่ดังจัด แต่ก็จับใจกลุ่ม เป้าหมาย และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรณีครูโยคะที่โพสต์วิดีโอการฝึกโยคะของตนเองในแอคเคาท์ที่มีกลุ่ม ผูต้ ดิ ตามเพียงหลักพัน แต่กลับมีอตั ราการคลิกชมวิดโี อ ยอดไลก์ คอมเมนต์ หรือแชร์ (Engagement Rate) สูงกว่าในโพสต์หรือทวีตของเหล่าคนดัง ในกรณีของอินสตาแกรมพบว่า ผู้ใช้ที่มีผตู้ ดิ ตามน้อยกว่า 1,000 คนจะ สร้างยอดไลก์ได้ 8% ต่อโพสต์ ส่วนแอคเคาท์ที่มผี ตู้ ดิ ตาม 1,000-10,000 คน ได้ไลก์ 4% ผูต้ ดิ ตาม 10,000-100,000 คน เรียกไลก์ท่ี 2.4% และลดลงเหลือ 1.7% ในกรณีที่มีผู้ติดตาม 1-10 ล้านคน นอกจากนี้ยังพบว่า Micro Influencers กระตุ้นให้เกิดบทสนทนามากถึง 22.2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ใช้งานทั่วไป เนือ่ งจากพวกเขามีทงั้ ความหลงใหลและความรูเ้ ฉพาะทางในเรือ่ งนัน้ ๆ และ มากไปกว่านั้นสัดส่วนของผู้ที่กดติดตาม Micro Influencer ก็มักมีแนวโน้ม ที่จะสนใจในเรื่องที่ Micro Influencer สื่อสารอย่างมากอีกด้วย ทำ�ให้พร้อม ที่จะมีแอคชั่นตอบกลับในอัตราที่มากขึ้นอย่างชัดเจน...คงไม่ต้องบอกแล้ว ว่า “ความไม่ดังแต่ปัง” ที่แท้จริงจากความเฉพาะทางนั้นมีประโยชน์และ คุ้มค่าแค่ไหน โดยเฉพาะหากคำ�นวณจำ�นวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับเหล่า ซูเปอร์สตาร์ 1 คนเพื่อแลกกับการโพสต์หนึ่งข้อความ ที่อาจเทียบเท่าการ จ่ายให้คนเล็กๆ เหล่านี้มากถึงหลัก 100 คนเลยทีเดียว
ขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติกล้นเมือง เป็นปัญหาใกล้ตัวที่พวกเขามองว่า ทุกคนสามารถเริ่มเปลี่ยนที่ตัวเองได้ไม่ยาก สามสหายจึงทดลองตั้งโต๊ะ ออกร้านอย่างง่ายๆ ในคอนเซ็ปต์ “แบ่งขาย จ่ายน้อย ลดขยะพลาสติก” เชิญชวนให้คนที่เดินผ่านไปผ่านมาลองซื้อสารพัดนํ้ายาที่พวกเขานำ�มาแบ่ง ขายตามนํ้าหนัก โดยให้เติมใส่บรรจุภัณฑ์ที่พกมาจากบ้าน (สำ�หรับคนที่ ไม่ได้เตรียมตัวมา ทีมงานก็เตรียมขวดใช้แล้วเผื่อไว้ให้ด้วย) โดยเปิดร้าน ทุ ก วั น จั น ทร์ เ วลา 4 โมงเย็ น ถึ ง 2 ทุ่ ม ที่ ต ลาดย่า นราชเทวี ป ระมาณ หนึ่งเดือน ก่อนจะย้ายทำ�เลมาที่สุขุมวิทเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา “คนส่วนใหญ่ที่เดินผ่านจะไม่ค่อยเข้าใจว่าเราทำ�อะไร เขาสงสัยว่า ทำ�ไมเราต้องแบ่งขาย แล้วซือ้ แบบนีม้ นั ถูกกว่าจริงไหม เราเลยเริม่ ทำ�ใบปลิว เพื่อสื่อสารและแจกคูปองลดราคา ทำ�ให้มีคนสนใจเยอะขึ้นมาก หลังๆ ก็ เริ่มมีคนที่รู้จักเราจากในออนไลน์ บางคนเข้ามาให้กำ�ลังใจและช่วยแนะนำ� หลายคนก็เริ่มเตรียมขวดจากบ้านมาเติมเลย” หลังจากทดลองออกร้านเพือ่ นำ�เสียงตอบรับทีไ่ ด้กลับมาพัฒนา ตอนนี้ ที ม งานปั๊ ม นํ้ า ยากำ � ลั ง เตรี ย มเปิ ดร้ า นใหม่ อ ย่ า งเป็ น ทางการในเดื อ น พฤศจิกายนนีท้ ซี่ อยสุขมุ วิท 77/1 โดยวางแผนว่าจะออกแบบให้มที งั้ ส่วนของ คาเฟ่ลดขยะ (Low waste) และร้านจำ�หน่ายสินค้าลดบรรจุภณั ฑ์ ทีใ่ ห้ลกู ค้า นำ�ภาชนะมาเอง รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดขยะพลาสติก เช่น หลอดดูดนํ้า ซิลิโคน แปรงสีฟันไม้ไผ่ กล่องข้าวซิลิโคนแบบพับได้ ฯลฯ กลุ่มผู้ก่อตั้งยัง บอกกับเราอีกว่า ในอนาคตอยากจะให้มีร้านรีฟิลแบบนี้หรือตู้ขายสินค้า อัตโนมัติที่ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติก กระจายในพื้นที่อื่นๆ ในประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกสำ�หรับผู้ที่ต้องการลดการใช้พลาสติก รวมถึงผู้ที่มีรายได้ น้อยด้วย แม้ว่าปัญหาขยะพลาสติกจะเป็นเรื่องใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ แต่สำ�หรับในประเทศไทย ความพยายามในการลดการใช้บรรจุภัณฑ์ พลาสติกจากภาคส่วนต่างๆ ก็ยังไม่แพร่หลายหรือมีตัวเลือกไม่หลากหลาย นักสำ�หรับผู้บริโภค นี่จึงนับว่าเป็นก้าวเล็กๆ จากความตั้งใจของคนรุ่นใหม่ ที่น่าติดตามในบ้านเรา
ที่มา: บทความ “Micro-Influencer Marketing: A Comprehensive Guide” โดย Sophia Bernazzani จาก blog.hubspot.com
ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ชาวกรุงเทพฯ หลายคนคงจะได้ยินเรื่องราวการเกิดขึ้น ของโครงการทดลองเล็กๆ ที่ชื่อว่า “ปั๊มนํ้ายา” ซึง่ ริเริม่ โดย สุภชั ญา เตชะชูเชิด ปภาวี พงศ์ธนาวรานนท์ และชนินทร์ ศรีสมุ ะ กลุม่ คนรุน่ ใหม่ทใี่ ส่ใจสิง่ แวดล้อม และอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันกระแสรักษ์โลกในบ้านเราอย่างเป็น รูปธรรมในจุดที่พวกเขายืนอยู่
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook: Refill Station ปั๊มนํ้ายา
CREATIVE THAILAND I 7
Creative Resource : วัตถุดิบทางความคิด
planetecouleur.com
เรื่อง: ชลดา เจริญรักษ์ปัญญา และ รัติมา เผือกนาโพธิ์
BOOK The Munsell Book of Color: Glossy/Matte Collection โดย Munsell Color / X-rite หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดคนที่มองวัตถุเดียวกัน แต่กลับเห็นสีที่ แตกต่างกัน เหตุผลก็เพราะมนุษย์เรามีประสาทในการรับแสงต่างกัน จึง ทำ�ให้มองเห็นสีไม่เหมือนกัน กระบวนการรับรู้สีของมนุษย์จะเริ่มจากการที่ แสงตกกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าสูด่ วงตา โดยจะมีเซลล์รบั แสงส่งสัญญาณ ผ่านเส้นประสาทไปสูส่ มอง เพือ่ แปลงสัญญาณเป็นการมองเห็น และเมือ่ การ แปลงสัญญาณของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จึงทำ�ให้เกิดการรับรู้สีต่างกัน เพือ่ ให้เกิดความเข้าใจทีต่ รงกันในการมองเห็นสีตา่ งๆ จึงมีการใช้เครือ่ ง มือเพื่อกำ�หนดค่ามาตรฐานของสีขึ้น ศาสตราจารย์ เอ.เอช. มันเซลล์ (A.H. Munsell) ได้คิดค้นระบบสีของมันเซลล์ (The Munsell Color System) ขึ้น เพื่อช่วยกำ�หนดค่าสีให้กับนักออกแบบ ช่างภาพ และผู้ที่ใช้สีในงาน อุตสาหกรรมและงานทางด้านวิทยาศาสตร์ตา่ งๆ เช่น การตรวจสอบคุณภาพ สีของอาหารที่จำ�เป็นต้องใช้สมุดเทียบสี (Munsell Book of Color) เพื่อให้ ได้อาหารที่มีสีตรงตามมาตรฐาน หรือการตรวจสอบสีของดิน โดยใช้สมุด เทียบสีดนิ (Munsell Soil Color Charts) เนือ่ งจากการมองด้วยตาอาจจำ�แนก สีของดินได้ไม่ถูกต้อง อันจะส่งผลต่องานวิจัยได้ ระบบสีของมันเซลล์นี้ เป็นระบบทีม่ กี ารจัดการสีเหมือนกับสายตาของ มนุษย์มองสี ซึ่งจะสามารถช่วยให้ระบุสีที่ต้องการได้ง่าย โดยมีพื้นฐานจาก
โมเดล 3 มิติ ในแต่ละสีประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ฮิว (Hue) เนื้อสี 10 สี ที่ ประกอบด้วยสีหลัก 5 สี (แดง/เหลือง/เขียว/ฟ้า/ม่วง) และสีทผ่ี สมจากสีหลัก 5 สี (เหลืองแดง/เขียวเหลือง/ฟ้าเขียว/ม่วงฟ้า/แดงม่วง) แวลู (Value) ความ สว่างของสี มีค่าน้ำ�หนักจาก 0 (สีดำ�) ถึง 10 (สีขาว) และ โครมา (Chroma) ความเข้ม/อ่อนของสี แบ่งด้วยตัวเลข 2-14 จากสีอ่อนไปสีเข้ม รายละเอียด ในหนังสือนี้จะประกอบด้วยชุดแผ่นสีกว่า 1,600 แผ่น และสามารถดึงแผ่น สีออกมาเทียบสีได้ ด้านหลังจะระบุตัวเลขของค่าสีเป็นสัญลักษณ์ H V/C เช่น 5R 6/14 หมายถึง ค่าสีแดง ระดับ 5 ค่าความสว่างระดับ 6 และค่า ความเข้มระดับ 14 เพื่อให้เข้าใจระบบการทำ�งานของมันเซลล์มากขึ้น อาจ ลองนึกถึงการเปลี่ยนสีตัวอักษรแบบกำ�หนดด้วยตัวเองในโปรแกรมอย่าง Microsoft Office หรือแอพพลิเคชันตกแต่งรูปภาพทีส่ ามารถปรับความเข้ม ของสีได้ตามต้องการนั่นเอง การมองเห็นสีที่ต่างกันนั้น หากเป็นเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำ�วันอาจ ไม่เป็นปัญหาหรือส่งผลกระทบต่อเรามากนัก แต่หากเป็นเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับ การประกอบธุรกิจ ก็อาจกลายเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่าง มากได้ ระบบสีของมันเซลล์น้ันมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล สามารถ นำ�ไปใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายธุรกิจ และมีหลักการใช้งานที่เรียบง่าย ในการจับคู่สีหรือกำ�หนดค่าของสี ด้วยเหตุนี้ ในการออกแบบต่างๆ จึงต้อง มีเครื่องมือที่ใช้กำ�หนดค่าสีที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้ชิ้นงานเป็นที่เข้าใจ ตรงกันของทุกฝ่าย
CREATIVE THAILAND I 8
Niche: Why the Market No Longer Favours the Mainstream โดย James Harkin หลายคนมองว่าเป้าหมายของการทำ�ธุรกิจคือการครอบครองตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งต้องอาศัยกำ�ลังการผลิตที่ มากเพื่อลดต้นทุนและราคาต่อหน่วยให้น้อยที่สุด แต่หนังสือเล่มนี้ได้เสนออีกหนึ่งตลาดทางเลือกที่ต่าง ออกไป นั่นคือการเข้าถึงตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ที่เน้นการมองหาความต้องการเฉพาะของ กลุม่ ลูกค้าและตอบสนองความต้องการนัน้ ดังนัน้ จากทีต่ อ้ งการครอบคลุมจำ�นวนของผูบ้ ริโภคให้ได้มากทีส่ ดุ ก็เปลี่ยนมาเป็นการผลิตสินค้าหรือบริการให้กับคนเพียงกลุ่มเดียว โดยในแต่ละบทของเล่มจะช่วยให้เรา ทำ�ความเข้าใจความเป็นมาของตลาด ระบบ และที่สำ�คัญคือสามารถใช้เป็นแนวทางในการแสวงหาความ ต้องการเฉพาะกลุ่ม เพื่อใช้เป็นจุดตั้งต้นในธุรกิจต่อไป
M AGA ZIN E B&W: Black & White Magazine for Collectors of Fine Photography ด้วยอุปกรณ์ถ่ายภาพที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้คุณภาพของภาพถ่ายดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งความ ละเอียดของภาพ และความคมชัดของสี ซึ่งล้วนถูกปรับให้มีคุณภาพสูงตามเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ ทุกวันนี้กลับมีคนบางกลุ่มที่ยังคงหลงใหลในภาพถ่ายแบบเก่า โดยเฉพาะภาพถ่ายขาวดำ� นิตยสาร Black and White ที่เริ่มตีพิมพ์มาตั้งแต่ปี 1999 จึงมีจุดประสงค์หลักเพื่อสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ ด้วย การตีพิมพ์ภาพถ่ายเฉพาะที่เป็นสีขาวดำ�เป็นหลัก โดยเอกลักษณ์ของนิตยสารก็คือ ไม่ว่าจะเป็นภาพ หรือตัวอักษรที่ปรากฏอยู่ในทุกๆ ฉบับ จะไม่มีสีอื่นนอกจากสีขาวและดำ� ทั้งภาพถ่ายจากอดีตหรือ ภาพที่เพิ่งถูกถ่ายขึ้นใหม่ ก็จะถูกปรับให้เป็นขาวดำ�ทั้งเล่ม และกลายเป็นเสน่ห์ที่บรรดานักถ่ายภาพ ขาวดำ�ชื่นชอบ จนทำ�ให้นิตยสารพัฒนาจากที่เคยเป็นที่รู้จักแค่ในชมรมถ่ายภาพต่างๆ ก็ได้ขยาย ออกมาเพื่อจัดจำ�หน่ายให้กับผู้อ่านในวงกว้างออกไป
A PP L ICATION Joylada โดย Ookbee ในช่วงเวลาที่แพลตฟอร์มสำ�หรับอ่านนิยายออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย แอพพลิเคชันจอยลดาได้เสนอทางเลือก ใหม่ให้กบั นักอ่านในรูปแบบทีต่ า่ งออกไป โดยการผสานเว็บแชทเข้ากับการแต่งนิยาย มีการแบ่งหมวดหมูต่ าม ลักษณะของเรือ่ งซึง่ มีความหลากหลาย และเน้นจุดเด่นด้วยการเปิดให้ผู้อา่ นเข้ามารับรูเ้ รือ่ งราวทีเ่ กิดขึน้ ผ่าน ทางบทสนทนาในห้องแชท เพือ่ ช่วยสร้างความรูส้ กึ ร่วมไปกับเรือ่ งราว ราวกับว่าได้เป็นส่วนหนึง่ ของบทสนทนา ที่กำ�ลังพูดคุยกันอยู่จริงๆ ซึ่งรูปแบบเช่นนี้ไม่เพียงช่วยเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่นักอ่าน แต่ผู้เขียนก็ยัง สนุกไปกับความท้าทายจากการสร้างตัวละครและบทสนทนาที่ดึงดูดให้ผู้อ่านเข้าใจและคล้อยตามไปกับ เรื่องราวโดยอาศัยเพียงข้อความแชทอย่างเดียวเท่านั้น พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center CREATIVE THAILAND I 9
MDIC : นวัตกรรมและวัสดุ
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ค่ายรถบีเอ็มดับบลิวได้วิเคราะห์ว่าผู้ขับขี่รถยนต์สูญเสียเวลาบนท้องถนน ถึง 49 ชัว่ โมงต่อปี และประกาศว่าจะนำ�เวลาที่สูญเสียไปกลับคืนมา รวมทัง้ คาดการณ์ว่ายุคแห่งยานยนต์ไร้ค นขั บ จะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน วงกว้าง โดยจะเปิดตัวรถยนต์ซีรีส์ iNEXT ในปี 2021 ไม่เพียงบีเอ็มดับบลิว เท่านั้น แต่จะเห็นว่าทุกบริษัทใส่เกียร์ลุยงานวิจัยด้านยานยนต์ไร้คนขับ (Autonomy) ในช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมา ซึง่ เป็นหนึง่ ในสามเทรนด์แห่งอนาคต อันใกล้ ที่จะเข้ามาทำ�ให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป จากคนกลุ่มเล็กๆ จนขยายไปสู่วงกว้างในที่สุด ทั้งนี้กระบวนการเปลี่ยนผ่านที่จะนำ�ไปสู่ยุคยานยนต์ไร้คนขับแบ่งเป็น 5 ระดับ เริ่มที่ระดับที่ 1 Driver-No Assistance คนขับยังคงทำ�หน้าที่บังคับ เครื่องยนต์ ดูสภาพแวดล้อมต่างๆ และตัดสินใจ ระดับที่ 2 Feet Off-Assisted ระบบสามารถควบคุมทิศทางและความเร็วได้อัตโนมัติ ระดับที่ 3 Hands Off-Partly Automated ระบบสามารถทำ�งานได้อัตโนมัติทั้งหมด แต่จะยัง มีการแจ้งมายังคนขับเป็นบางครั้ง เพื่อขอให้เข้าควบคุมระบบการทำ�งาน ในกรณี ที่ ร ะบบประเมิ น แล้ ว ว่ า ไม่ ส ามารถจั ด การกั บ สถานการณ์หรือ สภาพแวดล้อม ณ ช่วงเวลานั้นได้ ระดับที่ 4 Eyes Off-Highly Automated การควบคุมการทำ�งานของระบบได้อย่างอัตโนมัติทั้งหมด แต่มีข้อแม้วา่ รถต้องอยูใ่ นสภาพแวดล้อมที่แน่นอน มีการควบคุมในระดับหนึง่ สามารถ คาดการณ์ได้ จึงยังจำ�เป็นต้องมีคนขับอยู่เพื่อเข้าควบคุมการทำ�งานใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน และระดับที่ 5 Attention Off- Fully Automated เป็น ระดับทีเ่ ป็นยานยนต์อตั โนมัตโิ ดยสมบูรณ์ สามารถทำ�งานได้เทียบเท่ามนุษย์ ในทุกสถานการณ์และทุกสภาพแวดล้อม สามารถจัดการ ควบคุม และตัดสินใจ ในเหตุการณ์ต่างๆ ระดับนี้จึงไม่จำ�เป็นต้องมีคนขับอีกต่อไป การเกิดขึ้นของรถยนต์ไร้คนขับกำ�ลังสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคน ส่วนใหญ่ แต่ยังคงมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอีกมาก โดยจากกระแสตอบรับ ณ ปัจจุบัน ผู้คนยังคงเห็นด้วยกับการค่อยๆ แนะนำ�สังคมส่วนใหญ่ให้รู้จักกับ ยานยนต์ไร้คนขับทีละขัน้ โดยล่าสุดจะมีการนำ�ยานยนต์ประเภทนีม้ าใช้ขบั จริง เป็นครัง้ แรกบนถนนไฮเวย์ ขณะทีบ่ ริษทั ผูผ้ ลิตรถยนต์ส�ำ คัญๆ ของโลก อย่าง วอลโว่ ฮุนได เดมเลอร์ (เมอร์เซเดส) เฟียต-ไครสเลอร์ และบีเอ็มดับบลิว กล่าวว่า ในปี 2020-2021 จะเป็นช่วงสำ�คัญของการเปิดตัวเทคโนโลยี ยานยนต์ไร้คนขับ ซึ่งจะมีความท้าทายมากยิ่งขึ้นจากสภาพถนนและพื้นที่ ของเมืองที่เปลี่ยนไปในทศวรรษหน้า หรือพูดอีกนัยหนึ่งว่า ยานยนต์ ไร้คนขับนี้จะเป็นสิ่งที่ธรรมดาสำ�หรับคนทั่วไปในปี 2030 ที่โลกจะมีรถยนต์ ไร้คนขับที่สมบูรณ์แบบ อย่างน้อยก็สำ�หรับขับบนถนนที่ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ซึง่ ประเด็นสำ�คัญทีห่ ลายคนกำ�ลังคาดหวังกับยานยนต์ใหม่นกี้ ค็ อื การช่วยลดอุบตั เิ หตุบนท้องถนนและลดผลกระทบจากการจราจรทีห่ นาแน่น รวมทั้งการเปลี่ยนรูปแบบจากการครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์ส่วนตัว ให้กลายเป็นโมเดลธุรกิจแบ่งปัน (Sharing Car) จึงต้องคอยจับตาดูว่าการ เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและก้าวล้ำ�นี้จะพัฒนาไปได้ไกลมากแค่ไหน และแม้ สิ่งเหล่านี้จะสร้างความกังวลให้กับการออกกฎหมายส่วนงานคมนาคมใน หลายแง่มุม แต่ก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ยานยนต์ไร้คนขับจะกลายเป็นสิ่ง ธรรมดาทั่ ว ไปในประเทศที่ พั ฒ นาแล้ ว ภายในปี 2050 ซึ่ ง ถื อ เป็ น การ เปลีย่ นแปลงครัง้ ยิง่ ใหญ่ส�ำ หรับการเคลือ่ นทีข่ องผูค้ นในรอบ 150 ปี นับตัง้ แต่ การเกิดขึ้นของยานยนต์สมัยใหม่บนโลกของเรา
ที่มา: บทความ “Trend Update: The Driverless Revolution” จากฐานข้อมู ล WGSN Consumer Insight / บทความ “Future BMW iNEXT Will Be an Electric Crossover, Feature Level 3 Autonomy” โดย Nico DeMattia จาก bmwblog.com
พบกับนวัตกรรมและวัสดุสร้างสรรค์ ได้ที่ชั้น 2 ห้อง Material & Design Innovation Center, TCDC CREATIVE THAILAND I 10
พบกับนิตยสาร “คิด” Creative Thailand ได้ที่ ร้านหนังสือ ห้องสมุด สมาคม อาคารสำ�นักงาน และร้านกาแฟใกล้บ้าน ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หัวหิน และจังหวัดอื่นๆ รวมถึง miniTCDC
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม)
ดูสถานที่จัดวางทั้งหมดได้ที่: www.tcdc.or.th/creativethailand/magazine/place
หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
กรุงเทพฯ ร้านหนังสือ • Asia Books • Kinokuniya • B2S • แพร่พิทยา
• MAIIAM Contemporary Art Museum • ชีวิต ชีวา • Minimeal Cafe • Impresso • Restr8to • Penguin Villa (Penguin Getto) ร้านกาแฟ/ร้านอาหาร • กาแฟอาข่า อ่ามา • Au Bon Pain La Fattoria สาขา2 • Starbucks • TOM N TOM’S COFFEE • Happy Hut ถ.นิมมานฯ • True Coffee • ราชดำ�เนิน • Auntie Anne’s • Mai Bakery In Garden • Baskin Robbins • Starbucks The Plaza • Coffee World • Yesterday Hotel • Mister Donut • October • Black Canyon • สุรยิ นั จันทรา นิมมานฯ ซอย 1 • McCafe’ • ร้านมีชามีชัย (กู) • ดอยตุง • Cafe’de nimman • Ninety four coffee • The Booksmith • Puff & Pie • ร้านชา (Drink Club) • Red Mango • Cotto Studio • Iberry • Starbucks Nimmanhemin • Greyhound Cafe’ • Fern Forest Cafe’ • Amazon Cafe’ • 9th Street Cafe • Chester’s Grill นิมมานฯ ซอย 9 • Luv minibar • ดวงกมล (Duang Kamol) • Rustic & Blue - Handgrown พิพิธภัณฑ์/หอศิลป์ • Produce & Artisan Food • หอศิลปวัฒนธรรม นิมมานฯ ซอย 9 แห่งกรุงเทพมหานคร • หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู้ (TK park) มช. • นำ�ทอง แกลเลอรี่ หัวหิน • ร้านกาแฟ ชุบชีวา หัวหิน สมาคม/ห้องสมุด • อยู่เย็น หัวหิน บัลโคนี่ • ศูนย์ศิลปะนานาชาติ • บ้านใกล้วัง สมาคมฝรั่งเศส • ภัตตาคารมีกรุณา • ห้องสมุดเนลสัน เฮลส์ The Neilson Hays Library • บ้านถั่วเย็น @ แนบเคหาสน์ • ร้านอาหารหัวหิน (โกทิ) • ห้องสมุด - นิด้า • กาแฟข้างบ้าน • สมาคมโฆษณา • IL GELATO ITALIANO แห่งประเทศไทย • Together Bakery & Cafe’ • สมาคมธนาคารไทย • โรงแรม วรบุระหัวหิน • สมาคมสโมสรนักลงทุน • Let’s Sea • ห้องสมุด สสวท. • โรมแรม ดูน หัวหิน • สมาคมหอการค้าไทย • เดอะร็อค หัวหิน • สถาบัน • บ้านจันทร์ฉาย • Wall Street Institute • หัวหิน มันตรา รีสอร์ท • Raffle Design Institute • ลูน่าฮัท รีสอร์ท • Vision Swimming Academy กระบี่ • Nakamanda Resort & Spa เชียงใหม่ • Rawee Warin Resort & Spa • woo cefe • A little Handmade Shop • Kagee • Ristresto lab • ท่าแพอีสต์+ dibdee.binder ขอนแก่น • Hug School • C.A.M.P ,MAYA • True Coffee ,หอสมุด มช. of Creative Arts • ร้านสืบสาน • Punspace, นิมมานฯ • ร้านกาแฟ คอฟฟี่ เด้อ หล่า • asama cafe • มาหาสมุด (บ้านข้างวัด) (Coffee Der La) • see scape gallery เชียงราย • nimmanian club • ร้านหนังสือ herebookafe • 8 days a week • ร้าน Coffee Dad • Bulbul book cafe’ • Graph cafe’ นครราชสีมา • Cefe de museum • Hug station resort • local cafe Think park • Librarista นครปฐม • Artisan วัวลาย • ร้าน Dipchoc Cafe • paper spoon • กาแฟรสนิยม, นครสวรรค์ หลัง มช ทางขึ้นกาแล • The barn : Eatery Design • ร้าน Bitter Sweet • Book Republic น่าน • wake up หน้ามอ • ร้าน Runway Coffee • Fab cafe’ • kum cafe คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ • ร้านคลาสสิค โมเดล น่าน
• ร้านกาแฟปากซอย • ร้าน Nan Coffee Bean ปาย/แม่ฮ่องสอน • ร้านคอฟฟี่อินเลิฟ • ร้าน all about coffee • ร้านปายหวานบ้านนมสด • ร้านเล็กเล็ก • ปายวิมานรีสอร์ท พังงา • Niramaya Villa and Willness Resort • Ranyatavi Resort Phang Nga • The Sarojin เพชรบุรี • Grand Pacific Sovereign • Resort & Spa • DevaSom Hua Hin Resort ภูเก็ต • ร้านหนัง(สือ) ๒๕๒๑ ภูเก็ต • The oddy Apartment & Hotel • At Panta Phuket • Banyan Tree Phuket • Le Meridien Phuket • Millienium Ressort Patong Phuket • Novotel Phuket Resort • Patong Paragon Resort & Spa Phuket • Sheraton grand Lagana Phuket • Sri wanwa Phuket Villa • Thanyapura ระยอง • Le Vimarn Cottage ลำ�ปาง • อาลัมภางค์ เกสท์เฮ้าส์ แอนด์ มอร์ ลำ�ปาง • ร้านเอกาลิเต้ Egalite Bookshop • Lampang Art Center เลย • บ้านชานเคียง • มาเลยเด้ เกสต์เฮาท์ ลพบุรี • ซนดิคอฟฟี่ สมุทรสงคราม/อัมพวา • Baan Amphawa Resort and Spa สุโขทัย • Ananda Co.,Ltd. สุราษฎร์ธานี • Muang Samui Spa Resort • Pavilion Samui Boutique Resort • The Sunset Beach Resort and Spa Taling ngam • Nora Beach Resort Samui อุทัยธานี • ร้านบุ๊คโทเปีย Booktopia • Avatar Miracles
ขอมูลผูสมัครสมาชิก สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-105-7450 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) อาคารไปรษณียกลาง 1160 ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10501 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th CREATIVE THAILAND I 11 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-105-7400 ตอ 122
Local Wisdom : ภูมิความคิด
เรื่อง: ชาคริต นิลศาสตร์
อาจเป็นความจริงดังที่อริสโตเติล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีกได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” จึงเป็นเรื่องปกติที่คน เราอยากจะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ที่พบเจอกับคนอื่นๆ ขณะที่ความแตกต่างของแต่ละคนก็ทำ�ให้เรามี ความสนใจเฉพาะเรือ่ งทีไ่ ม่ซาํ้ กันไปด้วย เมือ่ ปัจจุบนั โซเชียลมีเดียได้กลายมาเป็นอีกหนึง่ ช่องทางหลักในการค้นหาสังคมหรือ กลุ่มคนที่มีความชอบและความสนใจใกล้เคียงกัน ความชอบส่วนตัวจึงเริ่มขยายขอบเขตเป็นความชอบส่วนรวมของกลุ่มที่มี จุดมุง่ หมายในการแสวงหาข้อมูลแบบเดียวกัน พูดคุยเรือ่ งคล้ายกัน หรือแบ่งปันความคิดเห็นทีค่ ล้อยตามกัน ภายในอาณาเขต ของเพจออนไลน์หลายเพจที่กำ�ลังค่อยๆ ได้รับการพูดถึงในวันนี้ CREATIVE THAILAND I 12
การขับขี่บนท้องถนนที่ทุกคนควรเท่าเทียม_ เมื่อผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เกิดความรู้สึกไม่ได้รับความเท่าเทียมในการใช้ท้องถนนร่วมกันยานพาหนะ ประเภทอื่นๆ ในทางกฏหมาย กลุ่ม “ปลดแอกชาวสองล้อ” จึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้ รถจักรยานยนต์ในการเดินหน้าสร้างความเป็นธรรมให้แก่ชาวสองล้อ ให้ได้มีพื้นที่ในการพูดคุยและ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเจอ ทั้งยังสนับสนุนให้สมาชิกผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับทราบวิธีการรับมือ เหตุการณ์ตา่ งๆ ระหว่างการใช้รถใช้ถนนอย่างถูกวิธแี ละปลอดภัย ตลอดจนทำ�หน้าทีเ่ ป็นกระบอกเสียง ในการรวมตัวกัน เพื่อช่วยเหลือและทำ�กิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับรถจักรยานยนต์ เช่น การรับส่ง ประชาชนให้เดินทางเข้า-ออกสนามหลวงในงานพระราชพิธฯี ช่วงทีผ่ า่ นมาโดยไม่คดิ ค่าบริการ เป็นต้น
glasgowfilm.org
i2.tinypic.com
เพราะเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องน่าอาย_ แม้การพูดคุยถกเถียงกันเกี่ยวกับประเด็นเรื่องเซ็กส์ในสังคมไทยจะยังไม่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และ เรื่องเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นเรื่องของคนสองคนที่ต้องพูดคุยกันแบบส่วนตัว แต่การศึกษาหาความรู้เพื่อ เตรียมตัวก่อนการการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการคุมกำ�เนิด ป้องกันโรค ไปจนถึงความพร้อมและ ความเต็มใจให้เกียรติ รวมถึงประเด็นอ่อนไหวอื่นๆ ก็ล้วนเป็นสิ่งสำ�คัญที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ของเราทั้งสิ้น เพจ “Thaiconsent” จึงเกิดขึ้น โดยคุณวิภาพรรณ วงศ์สว่าง ที่มีจุดประสงค์ในการ ขับเคลื่อนสังคมด้วยฐานข้อมูลเรือ่ งเพศที่มีเนือ้ หาอันเป็นประโยชน์และน่าสนใจ เพื่อให้สังคมได้เข้ามา เรียนรูแ้ ละเกิดการตืน่ ตัวในประเด็นทีย่ งั คงได้รบั การปกปิดจากคนส่วนใหญ่ ทัง้ นีก้ เ็ พือ่ ให้ทกุ คนมีอสิ ระ ที่จะค้นหาความหมายเกี่ยวกับเรื่องเซ็กส์ของตัวเองซึ่งไม่ใช่เรื่องน่าอายหรือเป็นการหมกหมุ่น แต่เป็น หนึง่ ในทางออกของการแก้ปญั หาทางเพศต่างๆ ตลอดจนผลักดันให้ผคู้ นในสังคมมีพฤติกรรมทีถ่ กู ต้อง และเหมาะสม ผ่านการนำ�เสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อนำ�ไปประกอบการตัดสินใจที่เลือกได้ด้วยตนเอง
ยิ่งน่ากลัวเท่าไหร่ ยิ่งหลงใหลมากเท่านั้น_ สำ�หรับบางคน ความกลัวทีม่ ากับหนังสยองขวัญคือความสนุก และการเสพความน่ากลัวจากภาพยนตร์ ก็คือความบันเทิงที่เป็นรสนิยมเฉพาะไปแล้ว ดังที่นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน แฟรงก์ ฟาร์ลีย์ (Frank Farley) ได้กล่าวไว้ว่า “คนเราชอบความกลัว เพราะมั่นใจแล้วว่ากิจกรรมจำ�ลองเหล่านั้นไม่สามารถ ทำ�อันตรายพวกเขาได้ และการตีความแบบนี้เลยทำ�ให้สมองเกิดความสนุกจากการถูกกระตุ้นให้กลัว ในภาวะคับขัน” “เพจหลอน” “กลุ่มนี้ชอบดูหนังผี” หรือ “ผมเป็นคนชอบหนังผี” จึงเป็นหนึ่งกลุ่มคน บนโลกออนไลน์ทชี่ อบแชร์เรือ่ งราว แนะนำ� รีววิ ภาพยนตร์ หรือแบ่งปันฉากสัน้ ๆ ทีน่ า่ กลัว มาให้สมาชิก ได้รับชมและร่วมหลอนกัน โดยยังเป็นคอมมูนิตี้สำ�หรับการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดและการวิจารณ์ หนังแนวสยองขวัญทัง้ ไทยและเทศ บ้างก็เพือ่ ความบันเทิง และบ้างก็ลงลึกจนถึงระดับสาระสำ�คัญทีเดียว เพจเหล่านีไ้ ม่เพียงทำ�หน้าทีส่ อื่ สารกันภายในกลุม่ ความสนใจเฉพาะเท่านัน้ แต่ยงั บอกกับผูค้ นบนโลกออนไลน์ดว้ ยว่า ไม่วา่ คุณจะหลงใหลหรือคลัง่ ไคล้ ในเรือ่ งใด คุณอาจไม่ใช่คนเดียวทีม่ คี วามหลงใหลนัน้ เพราะหากลองค้นเข้าไปในโลกออนไลน์ดๆี ก็อาจจะได้เจอกับกลุม่ คนทีม่ คี วามชอบแบบเดียวกัน และ นำ�ไปสู่การขยายขอบเขตความรู้ในเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งมากขึ้นก็เป็นได้ ที่มา: เพจ “จุดกางเต้นท์” / เพจ “ปลดแอกชาวสองล้อ” / เพจ “Thaiconsent” / เพจ “เพจหลอน” “กลุม่ นีช้ อบดูหนังผี” “ผมเป็นคนชอบหนังผี” / บทความ “Thrill-Seekers Thrive on the Scary” จาก webmd.com / บทความ “Impulsiveness, Sociability, and the Preference for Varied Experience.” จาก journals.sagepub.com CREATIVE THAILAND I 13
ปลดแอกชาวสองล้อ
Thaiconsent ภาพโดย นิชาภา ปิยะวาทินทร์
จุดนัดนักกางเต้นท์พักผ่อนเคียงธรรมชาติ_ เมื่อการกางเต้นท์นอน กลายเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวธรรมชาติที่ไม่น้อยคนเลยจะให้ความ สนใจ “จุดกางเต้นท์” จึงเป็นกลุ่มเฉพาะบนเฟซบุ๊กสำ�หรับผู้ท่ีชื่นชอบและหลงใหลการกางเต้นท์เป็น ทีพ่ กั ระหว่างเดินทางท่องเทีย่ วไปในสถานทีต่ ามธรรมชาติตา่ งๆ ในประเทศ โดยภายในกลุม่ จะร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อมูลต่างๆ ที่พบเจอมา เช่น การแนะนำ�จุดกางเต้นท์ การแจ้งข้อมูล เกี่ยวกับเวลาเปิด-ปิด จุดเด่นจุดด้อยของสถานที่นั้นๆ หรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเดินทาง เทคนิคการประกอบอาหารแบบภาคสนาม และการเตรียมตัวอื่นๆ รวมถึงการแชร์วิธีการกางเต้นท์ใน แบบฉบับของแต่ละคน ซึ่งข้อมูลแต่ละโพสต์ที่เกิดขึ้นต่างสะท้อนไลฟ์สไตล์เฉพาะตัวของสมาชิก ทั้งยังเป็นตัวอย่างและแรงบันดาลใจให้กับนักท่องเที่ยวเอาท์ดอร์มือใหม่ให้ได้มีพลังใจออกเดินทางไป กางเต้นท์ ณ จุดท่องเที่ยวที่สะดวก สวยงาม และปลอดภัยต่อไปด้วย
pexels.com
Cover Story : เรื่องจากปก
เรื่อง: จิราภรณ์ วิหวา
ลองนึกถึงภาพตู้กาชาปองเรียงราย แต่ละตู้มีไข่ใส่ของเล่น น่ารักบ้าง ตลกบ้าง ให้เราเลือกหยอดเหรียญ บางคนอาจจะเลือก โมเดลคาแรกเตอร์ยอดฮิตวัยเด็ก บ้างเลือกตู้โมเดลแมวเหมียวแสนน่ารัก หรือไม่ก็ตัวการ์ตูนหน้าตาเพี้ยนๆ แต่ก็คงมี บางคนทีย่ อมเสียเงินให้กบั โมเดลรูปก๊อกนํา้ แบบต่างๆ รูปลิน้ ไอน์สไตน์หลากสี กิบ๊ ติดผมรูปถัว่ แระญีป่ นุ่ ไปจนถึงพวงกุญแจ อุนจิทอง 24K! CREATIVE THAILAND I 14
ภาพความหลากหลายนี้ อาจเป็นแบบจำ�ลองเพือ่ อธิบายความหมายของตลาดเฉพาะกลุม่ (Niche Market) ได้ชัดเจนที่สุด Niche Market คือการผลิตและขายสินค้า หรือบริการให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ที่มีความ ต้องการและรสนิยมที่เจาะจงลงไปกว่าตลาด ทั่วไป (Mass Market) ที่มีสินค้าและบริการใน รูปแบบมาตรฐานเพื่อตอบสนองคนส่วนใหญ่ ซึ่งตลาดน้อยๆ และกลุ่มเป้าหมายนิดหน่อย เหล่านี้ เป็นได้ทั้งกลุ่มลูกค้าเดิมๆ ที่มีอยู่แล้วใน ตลาด แต่ผปู้ ระกอบการทีจ่ บั ตลาดแมสไม่เคยให้ ความสำ�คัญและตอบสนองความต้องการเฉพาะ เหล่านั้น หรือไม่ก็เป็นกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม รสนิยม หรือเทคโนโลยีทลี่ าํ้ หน้าขึน้ ทุกวัน ซึง่ สิง่ ทีน่ า่ สนใจ ของปรากฏการณ์นี้ คือโอกาสที่ผู้ประกอบการ รายย่อยสามารถ ‘สร้างสรรค์’ ธุรกิจได้อย่าง หลากหลายเพื่ อ ตอบโจทย์ ค วามต้ อ งการอี ก มากมายที่แยกย่อยออกไปได้ไม่รู้จบ โดยไม่ต้อง ไปแข่ ง ขั น ในสนามราคากั บ ผู้ ป ระกอบการ เบอร์ยักษ์รายใหญ่ให้เจ็บตัว นอกจากกาชาปองรูปอุนจินำ�โชคที่มีกลุ่ม ลูกค้าผูช้ อบความเพีย้ นพิลกึ กับเชือ่ ถือโชคลางอยู่ หน่อยๆ โลกใบนีย้ งั มีสนิ ค้าและบริการเฉพาะทาง อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นนํ้ามันแต่งหนวดเครา คัดสรรทีช่ ว่ ยบำ�รุงให้นมุ่ สลวยและเงางามสำ�หรับ หนุ่มเมโทรเครางามที่เรียกว่า Urban Beardsmen โดยเฉพาะ หรือซาลอนมากสาขาที่ให้บริการ เฉพาะสาวผมหยิกที่อยากไดร์ผมให้ตรงสลวย เท่านั้น ทั้งยังมีนวัตกรรมรองเท้าที่ออกแบบมา สำ � หรั บ เด็ ก หั ดเดิ น และป้ อ งกั น การสะดุ ดล้ ม ไปจนถึงบริการเน็ตเวิร์กออนไลน์ให้ผู้ประกอบ การอินโทรเวิร์ตผู้เกลียดการเข้าสังคมได้พบปะ และจับมือร่วมธุรกิจกัน ฯลฯ แต่ความสำ�เร็จของสินค้าและบริการในโลก ของ Niche Market ไม่ได้อยู่ที่ความเฉพาะกลุ่ม เท่านั้น เพราะสิง่ ทีแ่ สนสำ�คัญ คือ ‘คุณค่า’ ทีส่ นิ ค้า หรือบริการเหล่านั้น มอบให้กับกลุ่มเป้าหมาย ที่แท้จริงของพวกเขาต่างหาก
MASS vs NICHE ลักษณะตลาด
Niche Market
ผู้ประกอบการ
มีน้อยราย
เงินทุนและทรัพยากร
Mass Market
มีจำ�นวนมาก
ไม่สูงมากนัก
ใช้เงินทุนสูง เพื่อวิจยั และพัฒนาสินค้า
ผลิตเพื่อตอบสนอง ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
ผลิตเพือ่ กลุม่ ลูกค้า จำ�นวนมาก
กลุ่มที่มีรสนิยมและ ความต้องการคล้ายคลึงกัน
ลูกค้าทัว่ ไป
กำ�หนดราคาได้สูงกว่าตลาด เพราะลูกค้าจ่ายจากความพึงพอใจ ในคุณค่าและประโยชน์ ของสินค้าหรือบริการ
ต้องกำ�หนดราคาตา่ํ เพราะต้องแข่งขัน ด้านราคาสูงมาก
สูง เพราะใช้งบการตลาดน้อย และไม่ต้องแข่งขันด้านราคา กับคู่แข่ง
ไม่สงู มาก ต้องทุม่ งบการตลาด เพือ่ ส่งสารไปยังลูกค้าทุกกลุม่ และต้องแข่งขันด้านราคา กับคูแ่ ข่ง
รูปแบบสินค้า
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
การกำ�หนดราคาสินค้า
กำ�ไร
CREATIVE THAILAND I 15
Find the Right Niche For the Right Needs ตัวอย่าง niche-niche ของธุรกิจเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้เข้าถึงโลกแห่งความเฉพาะกลุ่มที่มีคุณค่า และมู ล ค่ า ทางธุ ร กิ จ มากขึ้ น นี่ เ ป็ น ตั ว อย่ า ง niche-niche ของธุรกิจเฉพาะกลุม่ ทีเ่ กิดขึน้ และ ดำ�เนินการแล้วทั้งไทยและเทศ Lefty’s ในโลกนี้มีคนถนัดซ้ายแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ถา้ คูณเป็นจำ�นวนออกมา ก็ถอื ว่าเป็นตัวเลขที่ ไม่ควรมองข้าม ร้าน Lefty’s ร้านค้าออนไลน์ จึงคัดสรรเฉพาะเครื่องเขียน เครื่องครัว ไปจน ถึ ง อุ ป กรณ์ ใ นชี วิ ต ประจำ � วั น สำ � หรั บ คนถนั ด ซ้ายมาขายควบไปกับหน้าร้านอีก 3 สาขาใน ซานฟรานซิสโก และฟลอริดา ดูจากของที่ขาย คงไม่ต้องอธิบายว่ามัน Niche อย่างไร แต่ที่น่า สนใจมากไปกว่านั้น คือวิธีทำ�การตลาดของ Lefty’s ที่พสิ จู น์วา่ เครื่องมือ PPC (Pay Per Click) หรื อ การลงโฆษณาบนหน้ า ผลการค้ น หากั บ เสิร์ชเอ็นจินต่างๆ โดยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเมื่อ มีการคลิกเกิดขึน้ ซึง่ หลายคนเชือ่ ว่ามักได้ผลกับ แบรนด์ใหญ่ๆ เท่านั้น ที่จริงแล้วก็เวิร์กกับตลาด นิชอยู่เหมือนกัน เพราะแค่เสิร์ชคำ�ว่า Lefthanded ต่อด้วยอุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม ลูกค้าก็จะ ได้เห็นลิงก์ของ Lefty’s ที่ชวนให้คลิกเข้าไปเสมอ
Nitehawk Cinema ทำ�ไมต้องเป็นป็อปคอร์นและนํา้ อัดลมเท่านัน้ ทีเ่ รา จะนำ�ไปกินแกล้มความบันเทิงเมื่อชมภาพยนตร์ โรงหนังเล็กๆ ในบรูคลินจึงเลือกเสิรฟ์ อาหารและ เครือ่ งดืม่ ไปพร้อมๆ กับการฉายหนังตามโปรแกรม (ทีม่ ที งั้ หนังใหม่ลา่ พร้อมโรงอืน่ ๆ และหนังคัดสรร ในวาระต่างๆ) ซึง่ เมนูทเ่ี สิรฟ์ ก็ไม่ใช่จะสัง่ อะไรก็ได้ แต่เป็นเมนูทจี่ บั คูม่ าแล้วว่าเกีย่ วข้องเชือ่ มโยงกับ ซีนในหนังทีฉ่ าย เช่น ฉายเรือ่ ง Mother! ก็มเี สิรฟ์ เลมอนเนดสูตรโฮมเมด รื้อครัวและแซนด์วิชโปะ อาร์ติโชกที่เราเห็นเจนลอว์ ดารานำ�หั่นๆ ผัดๆ อยู่ในฉาก นับเป็นไอเดียที่สร้างประสบการณ์ให้ คอหนังและนักกินต้องอยากซื้อชิมสักครั้ง
Lamoon สินค้าและบริการสำ�หรับแม่และเด็กคืออีกตลาด นิ ช ที่ ฮิ ต ไปทั่ ว โลก เมื่ อ จั บ มาบวกกั บ อี ก หนึ่ ง ประเด็นฮิตอย่างออร์แกนิกก็ยิ่งตอบโจทย์เข้าไป ใหญ่ Lamoon ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิกสำ�หรับ คุณแม่และคุณลูกขีแ้ พ้เกิดจากอินไซต์ของคุณแม่ ที่รู้สึกว่า ทำ�ไมต้องรอให้ลูกเจ็บป่วยจากการแพ้ สารเคมีก่อนจึงค่อยรักษา จึงหาทางหลีกเลี่ยง สารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้และคิดค้นสูตร ผลิตภัณฑ์หลากหลายทีม่ สี ว่ นผสมทัง้ หมดมาจาก ธรรมชาติ 100% จนกลายเป็นขวัญใจของคุณแม่ ในเมืองไทย
ตลาดนิดนิด สร้างคอมมูนิตี้กินดีอยู่ดีแบบ niche-niche ผ่าน ตลาดนัดออร์แกนิกแห่งเมืองปากช่อง ที่เปลี่ยน ภาพของตลาดนัดสีเขียวดูลูกทุ่งและฟาร์มเมอร์ส มาร์เก็ตเก๋ๆ ในเมืองใหญ่ ด้วยความน่ารักแบบ ญี่ปุ๊น ญี่ปุ่น บวกความเชือ่ ของผูจ้ ดั ว่า ออร์แกนิก คือทางเลือกทีต่ อบโจทย์มนุษย์และโลกใบนี้ ทีซ่ งึ่ คนปลูกและคนกินจะมีชีวิตที่ดีได้เมื่อรวมกลุ่ม และเกื้อกูลกัน
Zeek Doc ธุรกิจเฉพาะทางที่ทำ�งานบนความเฉพาะทาง เพราะสตาร์ทอัพสัญชาติไทยรายนี้ คือเว็บไซต์ ค้นหาแพทย์เฉพาะทางในเว็บเดียว แค่เสิร์ช อาการหรือความเจ็บป่วยที่ต้องการรักษาลงไป เว็บจะประมวลผลให้ว่ามีแพทย์เฉพาะทางอยู่ที่ โรงพยาบาลไหน ที่ไหนใกล้ ที่ไหนไกล พร้อม ข้อมูลละเอียดให้ทำ�ความเข้าใจเบื้องต้นก่อน นัดหมายแพทย์ หมดปัญหาทีค่ นไข้จะต้องเข้าไป มะงุมมะงาหราในเว็บไซต์โรงพยาบาลทีละเว็บ หรือโทรไปทีละแห่ง เพือ่ หาคำ�ตอบทีง่ า่ ยนิดเดียว
nitehawkcinema.com/williamsburg/
facebook.com/nichenicheweekend
lamoonbaby.com
zeekdoc.com
leftyslefthanded.com
theguardian.com
Threads บริการแฟชัน่ สไตลิสต์สว่ นตัวในรูปแบบออนไลน์ ของอดีตแฟชัน่ บายเออร์จากเกาะอังกฤษทีร่ ะดม แฟชั่นสไตลิสต์ที่เป็นมนุษย์แท้ๆ ให้มาทำ�งาน ควบคู่กับระบบอัลกอลิธึมที่ทรงพลัง เพื่อมิกซ์ แอนด์แมตช์การแต่งตัวให้กับลูกค้าออนไลน์กว่า 50,000 ชีวิตทั่วโลก ซึ่งพร้อมจ่ายเพื่อรสนิยมที่ดี เพียงแค่ลูกค้าบอกไซส์ สไตล์ที่ชอบ และราคาที่ จ่ายไหว สตาร์ทอัพสุดเก๋เจ้านี้ก็จะแนะนำ�ว่า ลูกค้าควรซื้อแฟชั่นไอเท็มชิ้นไหน และจะแมตช์ อย่างไรในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนัดเดต ไป เที่ยวชายหาด หรือเจรจาธุรกิจนัดสำ�คัญ threadsstyling.com
CREATIVE THAILAND I 16
How to Find Your Niche หากันจนเจอ เพราะตลาดแบบนิชกำ�ลังเนื้อหอมและน่าสนใจ แต่วิธีหาแพสชั่น เป้าหมาย และคุณค่าที่ไม่ เหมือนใครนั้น ก็ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ และนี่คือ เคล็ดลับเล็กๆ ทีอ่ าจช่วยให้มองหาจุดสตาร์ทของ ตัวเองเจอ
gettingnowhere.net
หลงใหล หากจะกระโดดลงในโลกธุรกิจ สิง่ แรก ทีค่ วรรูใ้ ห้ชดั คือความสนใจและความหลงใหลที่ ขับเคลื่อนเรา ลิสต์ออกมาเป็นหัวข้อคร่าวๆ สัก 10 หัวข้อ และดูวา่ ในแต่ละประเด็นนัน้ มีชอ่ งโหว่ หรือปัญหาที่กลุ่มเป้าหมายผู้สนใจเรื่องเดียวกัน กำ�ลังประสบอยู่บ้าง และเรามองเห็นลู่ทางที่ สามารถแก้ได้หรือไม่
Granny Bike.Bed โฮสเทลสำ�หรับนักปัน่ จักรยานรอบโลกโดยเฉพาะ ที่ซ่อนตัวอยู่ในย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ ก่อตั้ง โดยนักปัน่ จักรยานมากประสบการณ์ และเจ้าของ ร้านจักรยาน BACC Co-Cycling Space ด้วย ความทีอ่ ยูใ่ นแวดวงนักปัน่ มายาวนานและเดินทาง ไปปั่นมาแล้วหลายประเทศ ทำ�ให้เขาเริ่มก่อร่าง สร้างทีพ่ กั เล็กๆ ทีต่ อบโจทย์นกั ปัน่ ทัง้ คำ�แนะนำ� เส้นทาง ไปจนถึงความช่วยเหลือในการซ่อมและ ประกอบจักรยานให้กับแขกที่มาเยือน facebook.com/grannybikebed/
Joyrukclub Holidays Workshop คลับเล็กๆ แต่มแี ฟนประจำ�ผ่านการเปิดเวิรก์ ช็อป มาอย่างต่อเนือ่ ง ขยายความสนใจมาสูโ่ ปรแกรม ทัวร์เฉพาะทาง อย่าง Indian Textile Holidays Workshop ที่ชวนผู้ที่สนใจเดินทางไปยังแคว้น ราชาสถานในอินเดีย เพื่อร่วมเวิร์กช็อปพิมพ์ผ้า บล็อกไม้ ตั้งแต่แกะไม้ทำ�บล็อก ไปจนเสร็จ กระบวนการพิมพ์ผ้าด้วยสีธรรมชาติแบบดั้งเดิม รวมไปถึงการมัดย้อมครามจากประเทศต้นกำ�เนิด ชมมิวเซียมผ้า และอีกนานากิจกรรมทีต่ อบโจทย์ คนรักงานผ้าอินเดียล้วนๆ facebook.com/JoyRukClub/
ทำ�ได้ดี มารูจ้ กั ตัวเองต่อว่าอะไรคือทักษะทีถ่ นัด และสิ่งที่ทำ�ได้ดี ใครตอบได้แล้วก็เอาไปแมตช์ กับสิ่งที่ลิสต์ไว้ก่อนหน้า แต่ใครที่ไม่รู้ด้วยซํ้าว่า ตัวเองเก่งเรื่องอะไร ลองถามตัวเองว่า ที่ผ่านมา อะไรคือสิ่งที่ทำ�แล้วจัดหมวดอยู่ในความสำ�เร็จ หรือการบรรลุเป้าหมาย และอะไรคือบทเรียนหรือ ความผิดพลาดที่แสนมีค่า แล้วถอดรหัสดูว่า รูปแบบการแก้ไขหรือจัดการปัญหา ไปจนถึงการ บรรลุเป้าหมายของเราเป็นแบบใด นั่นคือทักษะ และรูปแบบที่สามารถนำ�มาปรับใช้กับธุรกิจได้ ตีราคาคู่แข่ง ไปส่องคู่แข่งให้ทั่ว ว่าลูกค้ามี สินค้าและบริการอะไรบ้าง และพอจะมีโอกาสที่ เราจะสร้างความแตกต่างหรือมีขอ้ เสนอทีเ่ ฉพาะ เจาะจงกับกลุ่มเป้าหมายมากกว่าหรือเปล่า หรือ อย่างน้อยก็ท�ำ ได้ดกี ว่าคูแ่ ข่งเหล่านัน้ ทีส่ �ำ คัญคือ หาคุณค่าและตอบเป้าหมายของตัวเองให้ชดั เจน ที่สุด เพราะมันคือหัวใจสำ�คัญของธุรกิจแบบ Niche Market แจกแจงเลเยอร์ อีกวิธที นี่ า่ สนใจของเคย์วอน เค (Kayvon K) ในฐานะทีม Forbes Coaches Council Contributor เขาแนะนำ�ว่าให้คน้ หาความ สนใจ ทักษะ และสิ่งที่ตัวเองทำ�ได้ดี แล้วเปลี่ยน หัวข้อเหล่านั้นให้กลายเป็นเลเยอร์ทั้ง 4 ตัวอย่าง คือ CREATIVE THAILAND I 17
ชั้นที่ 1: ฉันเป็นเทรนเนอร์ส่วนตัว ชัน้ ที่ 2: ฉันเป็นเทรนเนอร์สว่ นตัวสำ�หรับผูห้ ญิง ชั้นที่ 3: ฉันเป็นเทรนเนอร์สว่ นตัวสำ�หรับผูห้ ญิง ที่ต้องการลดนํ้าหนัก
ชั้นที่ 4: ฉันเป็นเทรนเนอร์สว่ นตัวสำ�หรับผูห้ ญิง
ที่ต้องการลดนํ้าหนักหลังคลอดบุตร
ความเฉพาะเจาะจงนีค้ อื สินค้าหรือบริการที่ พร้อมจะลงแข่งในตลาด และเป็นได้กระทั่งคำ� บรรยายของแบรนด์ใต้โลโก้ คำ�อธิบายในเพจเฟ ซบุก๊ หรือช่องทางออนไลน์อน่ื ๆ ได้เลยด้วยซํา้
HOW TO DARE YOUR RISK...รู้ว่าเสี่ยง แต่คงต้องขอลอง เมื่อหาจุดแตกต่างที่รักจะทำ�ได้แล้ว ต่อไปก็คือ วิธีกระโดดลงไปในสนามนิช นิช เหล่านี้ เผชิญหน้ากับความกลัว กลัวเขิน กลัวเจ๊ง กลัวจน กลัวไม่ประสบความสำ�เร็จ คือความรูส้ กึ ที่มาแน่ เมื่อทุกอย่างเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง แต่คำ� แนะนำ�ไม่มีอะไรดีไปกว่าเลิกกลัวและพาตัวเอง ออกมาจากคอมฟอร์ตโซนที่สบายแต่ไม่สนุก ไม่มัวมารอเวลา เวลาที่เหมาะเจาะไม่เคยมี จริง เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าเวลาไหนใช่สำ�หรับ ธุรกิจของเรา ชุดคำ�อย่าง ‘ถูกที่ ถูกเวลา’ เขาไว้ใช้ พูดเวลาเห็นว่าสิง่ นัน้ ๆ ประสบความสำ�เร็จไปแล้ว เท่านัน้ การลงมือทำ�เลยดีกว่าการรอและไม่ได้ท�ำ ซะทีอยู่แล้ว ออกไปลองตลาด ลองเอาสินค้าและบริการ ไปลองตลาดจริงในฐานะผลิตภัณฑ์ตัวอย่างหรือ การบริการในช่วงทดลอง เพื่อได้รับฟีดแบ็กไป ปรับปรุงและพัฒนาก่อนลงสนามจริง แต่อย่าเพิง่ ทุ่มงบจำ�นวนมากลงไปในการทดลองนี้ เพราะ ต้องเผื่อใจว่ามันอาจจะไม่เวิร์กและต้องทดลอง ใหม่อีกครั้ง จะได้ไม่หมดพลังและหมดทุนลงไป ในการทดสอบแค่ครั้งเดียว
ลุย! ใช่! ง่ายๆ เท่านี้ ลุยเลย!
Find a Niche Needle งมเข็มให้เจอแบบ Need a New Needle
Need a New Needle เป็นแบรนด์สินค้าทำ�มือ ขนาดเล็กจิว๋ ทีก่ อ่ ตัง้ โดยพลอย พลอยศิริ รังคดิลก บัณฑิตสาวจากคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร แรกเริ่ม เธอสนใจและชอบปักผ้าเป็น งานอดิเรก และรู้ดีว่าตัวเองไม่เหมาะกับอาชีพ กราฟิกดีไซเนอร์เหมือนเพื่อนร่วมรุ่น จนเมื่อได้ โพสต์รปู กระเป๋าทีเ่ ย็บและปักเองลงในอินสตาแกรม แล้วมีคนมาถามว่าทำ�ขายไหม ประโยคสัน้ ๆ นัน้ ได้จุดประกายให้เธอรู้ว่า สิ่งที่เธอถนัดและสนใจ ได้กลายเป็นสินค้าที่ตลาดต้องการแล้ว ระหว่างปักไปเล่นไปในฐานะงานอดิเรกที่มี รายได้ พลอยลองทำ�งานเป็นพนักงานขาย เพราะ อยากหัดคุยกับคนและสือ่ สารกับลูกค้า จนเริม่ ได้ ทักษะในการขายของติดตัวมา เมือ่ บวกกับความ ถนัดจากการเรียนเอกภาพพิมพ์ทชี่ อบจับคูส่ ี รูส้ กึ สนุกกับกระบวนการ และถนัดการวาดรูปกึง่ การ์ตนู
นิดๆ เธอก็คอ่ ยๆ งมเข็มจนเจอจุดแข็งของตัวเอง ได้เป็นสินค้าน่าใช้และสไตล์การปักผ้าแบบ Need a New Needle ทีม่ ลี ายเส้นง่ายๆ คูส่ นี า่ รัก และ คาแรกเตอร์ของความขี้เล่นปนอยู่ในทุกชิ้นงาน จนเรียกแฟนๆ ที่เป็นกลุ่มหญิงสาวที่มีความเป็น เด็กในตัวและมองหาความแตกต่างจากสินค้า ไลฟ์สไตล์ที่มีในตลาดทั่วไปได้จำ�นวนมาก หลังทำ�แบรนด์อยู่พักใหญ่ พลอยเริ่มมอง ไกลไปกว่าการขายออนไลน์ในประเทศ จึงแพ็ก กระเป๋าไปออกงานแฟร์ในต่างประเทศไปพร้อมๆ กัน พลอยเริ่มแชร์ประสบการณ์ในการไปออกร้านที่ Public Garden อีเวนต์ขนาดใหญ่ที่สิงคโปร์ที่ รวบรวมแบรนด์อิสระทั่วเอเชียมาออกร้านกัน ซึง่ ทำ�ให้เธอเห็นพลังของการทำ�งานสร้างสรรค์ใน Niche Market ทีน่ า่ สนใจ และยังเป็นแรงบันดาล ใจในการทำ�งานต่ออย่างมาก เช่นเดียวกับงาน อีเวนต์ Pinkoi Market ที่ไต้หวัน ที่แม้จะไม่ ใหญ่โตเท่าที่สิงคโปร์เพราะที่ไต้หวันมีอีเวนต์ สำ�หรับแบรนด์อินดี้บ่อยกว่า แต่การได้เจอลูกค้า ตัวจริงเสียงจริง (จากที่เคยสื่อสารกันแค่ทางโลก CREATIVE THAILAND I 18
ออนไลน์) ก็เป็นกำ�ลังใจและทำ�ให้เห็นอนาคต ของ ‘อุตสาหกรรมทำ�มือ’ ที่เธอเชื่อว่าเติบโตได้ ไกลกว่านี้ และทั้งหมดนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อเธอหาเข็มเล่ม เล็กทีถ่ นัดมือเจอ และใช้มนั เย็บปักความต้องการ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าที่รักในสิ่งเดียวกัน
ถามนิช-ตอบหน่อย
พลอยศิริ รังคดิลก เจ้าของแบรนด์ Need a New Needle
ความเฉพาะทางของงานคราฟต์กลาย เป็นตลาดทีม่ ผี ซู้ อื้ ผูข้ ายชัดเจนได้อย่างไร ในมุมที่ตัวเองก็เป็นผู้ซื้อด้วยเหมือนกัน การได้ เห็นกระบวนการ เห็นความตั้งใจ และเห็นความ น่ารักน่าใช้ของสินค้า เหมือนเราสัมผัสได้ถึงใจ คนทำ�แล้วอยากอุดหนุน และเราเชือ่ ว่าหลายๆ คน ก็นา่ จะคิดคล้ายๆ กัน จนเกิดเป็นตลาดเฉพาะกลุม่ ขึน้ มาได้ แต่ถา้ เป็นมุมของเมคเกอร์ งานของพลอย เป็นงานปักมือ มันมีความเชือ่ งช้า มีขน้ั ตอนที่อาจ จะไม่ทนั ใจลูกค้าอยู่ และไม่สามารถผลิตจำ�นวน มากได้ในเวลาอันสั้น เป็นอุตสาหกรรมทำ�มือ พลอยปักมาหลายพันชิ้นแล้ว แต่มันก็จะเนิบๆ แบบนี้แหละ ต้องรอนะ แต่เราตั้งใจทำ�เองทุกชิ้น และมีจำ�นวนจำ�กัด ลูกค้าบางคนก็ซื้อไว้เพื่อเก็บ สะสม ไม่ชอบใช้เลยก็มี มันเป็นตลาดอีกแบบหนึง่ ที่เราซื้อขายกันด้วยความพึงพอใจ อะไรเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้ตลาดแบบ นิชเติบโต พลอยคิดว่าคนเราไม่เหมือนกัน ความชอบก็ตา่ ง กัน มีดเี ทลทีต่ า่ งกัน ของแมสทีผ่ ลิตจำ�นวนมากๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์ในบางครั้ง เรามี Uniqlo, Zara, H&M อยู่ทุกที่ ถ้าซื้อแต่แบรนด์ใหญ่ก็มี
โอกาสที่ใช้แล้วเหมือนคนอื่น สินค้าพลอยมี มูด และโทนทีด่ เู ป็นเด็ก แต่ลกู ค้าส่วนใหญ่เป็นผูใ้ หญ่ ทั้งนั้น ตั้งแต่ 20 ปลายๆ ไปจนถึงวัยเกษียณ ลูกค้าที่มาหาเราคือเขาไม่อยากใส่อะไรเหมือน ใครแล้ว และเขาไม่ได้สนว่าราคาเท่าไหร่เป็น อันดับแรก ถ้าชอบและสมเหตุสมผลก็จะซื้อเลย เคยมีคนมาหาเราด้วยนํ้าเสียงเศร้า บอกว่าสัตว์ เลีย้ งทีร่ กั มากเพิง่ เสีย คุณช่วยทำ�อะไรทีเ่ ป็นความ ทรงจำ�ให้หน่อยได้ไหม เราก็ดีใจที่เขานึกถึงเรา ตั้งใจมาหา อยากให้เราทำ�ให้ มันมีดีเทลแบบนี้ อยู่ตลอด เป็นตลาดแบบ Made to Order คนนี้ อยากเพิม่ ความยาวนิดหนึง่ เปลีย่ นสีตรงนีไ้ ด้ไหม เอาใจเฉพาะบุคคลจริงๆ พลอยคิดว่าแบรนด์ที่ เอาใจเรื่องเล็กน้อยเหล่านี้เลยมีโอกาสค่อยๆ เติบโตได้ โลกออนไลน์ ช่ ว ยเรื่ อ งธุ ร กิ จ แบบนิ ช ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน สำ�หรับพลอยช่วยได้มากค่ะ พลอยไม่มีหน้าร้าน และไม่ได้ออกร้านบ่อยนักเพราะเป็นงานทำ�มือ เน้ น ขายออนไลน์ เ ป็ น หลั ก ผ่ า นเฟซบุ๊ ก และ อินสตาแกรม และก็มีขายกับแพลตฟอร์มต่างๆ ทีช่ ว่ ยดึงลูกค้าต่างชาติให้รจู้ กั เราได้มากขึน้ อย่าง Pinkoi มีเบสอยู่ที่ไต้หวัน คนซื้อหลักๆ คือ ประเทศที่ใช้ภาษาจีน อย่างไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า จีน แต่ก็มีหลายภาษา เปลี่ยนค่าเงินได้ ช่วยให้สื่อสารกับลูกค้าได้หลายประเทศทั่วโลก
เวลาเกิดปัญหาระหว่างดีไซเนอร์กับลูกค้า ถ้าให้ เทียบก็จะเหมือน Etsy ฝั่งเอเชียค่ะ พลอยว่าคน ไทยได้เปรียบถ้าอยากทำ�ธุรกิจส่งออก เพราะวัสดุ อุปกรณ์ถูกกว่า ค่าแรงถูกกว่า ราคาก็จะดึงดูด ให้ขายดีได้ง่าย เคยคุยกับเพื่อนต่างชาติเรื่องนี้ ถึงรู้ว่าต้นทุนของเขาสูงกว่าเรามาก ตลาดอย่าง สำ�เพ็งหรือเจริญรัถถือว่าอะเมซิ่งสุดๆ สำ�หรับ เขาเลย กับ pinkoi พลอยแค่ลงขายปกติ แต่พอมี แคมเปญอะไรน่าสนใจที่เราซัพพอร์ตพอไหวเรา ก็จะเข้าร่วม เช่นส่งฟรีในบางเทศกาล ทำ�ถุง โชคดีในวันครบรอบ ฯลฯ เวลา Pinkoi โปรโมต กิจกรรมนั้นๆ ลูกค้าจะมีโอกาสเห็นเรามากขึ้น อะไรแบบนี้เป็นวิธีเล็กๆ น้อยๆ สำ�หรับคนที่ สนใจตลาดออนไลน์ อีกทริกเล็กๆ ของพลอยคือ ตั้งใจถ่ายรูปดีๆ ไม่ต้องถึงกับเช่าสตูดิโอก็ได้ค่ะ แค่ดมู ไี ลฟ์สไตล์ทชี่ ดั เจนให้ลกู ค้าพอจินตนาการ ได้ ว่ า ถ้ า ซื้ อ ไปใช้ แ ล้ ว จะออกมาเป็ น แบบไหน เขียนคำ�บรรยายของสินค้าให้ครบถ้วน วัสดุอะไร ทำ�ที่ไหน ขนาดเท่าไหร่ ลองแทนตัวเองว่าถ้า เราเป็นคนซื้อ เราจะอยากรู้อะไรบ้าง ดูเป็นสิ่ง เล็กๆ แต่ถ้าตั้งใจว่าจะขายออนไลน์เป็นหลัก รายละเอียดพวกนี้จะช่วยเราได้เยอะมากค่ะ
ทำ�ไมออนไลน์ถึงตอบโจทย์ Niche Market • ง่ายต่อการสื่อสารไปยังลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ไม่ ติ ด อยู่ กั บ โลเกชั่ น ของร้ า นหรื อ แม้ แ ต่ ประเทศที่อยู่ • สร้างคอมมูนิตี้ที่ดึงกลุ่มเป้าหมายมารวมกันได้ ผ่านข้อมูล ภาพถ่าย วิธีคิด และทัศนคติที่ คล้ายคลึงกัน • สื่อสารและส่งต่อคุณค่าของสินค้าให้ชัดเจน ได้ง่ายผ่านการไลก์ แชร์ และคอมเมนต์
ที่มา: บทความ “7 Steps To Find Your Niche -- And Dare To Risk” (6 มิถุนายน 2012) จาก forbes.com / บทความ “9 Niche Marketing Examples” (16 มกราคม 2017) โดย Emily Carter จาก webpagefx.com / บทความ “Would you trust a stylist with 50,000 clients to get your look right?” ( 19 กรกฎาคม 2016) โดย Alex Hern จาก theguardian.com / บทความ “นิช มาร์เก็ต(Niche Market): ตลาดเฉพาะกลุ่มที่น่าสนใจ…สำ�หรับธุรกิจเอสเอ็มอี” โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จาก ttmemedia.wordpress.com / บทสัมภาษณ์ “มีเพื่อนร่วมกิน มันดียังไง? คำ�ตอบของต้องการ นักวาดการ์ตูนสายออร์แกนิกคนแรกของโลก” (5 มีนาคม 2017) โดย จิราภรณ์ วิหวา จาก greenery.org CREATIVE THAILAND I 19
Mika Matin
Insight : อินไซต์
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ
“ที่ไหนมีเรื่องให้เล่า ผมจะไปที่นั่น” คือสโลแกนการทำ�งานประจำ�ตัวของรูสส์ ยัสกาเลียน (Russ Juskalian) นักข่าวไฟแรง ชาวเยอรมัน ที่ในวัยเพียงสามสิบต้นๆ เขาได้ตระเวนออกเดินทางไปรอบโลกเพื่อเสาะหาเรื่องราวน่าสนใจมาเขียนเล่า ตั้งแต่ การตามล่าหาแสงเหนือทีแ่ ลปแลนด์ ดินแดนเหนือสุดของฟินแลนด์ สำ�รวจอารยธรรมแรกเริม่ ของมนุษย์ที่แอฟริกาใต้ ติดตาม ไปดูกระบวนการประดิษฐ์รถรางไม้ไผ่บนเส้นทางรถไฟเก่าทิ้งร้างในหมู่บ้านห่างไกลที่กัมพูชา ไปจนถึงการทดลองใช้ชีวิต 48 ชัว่ โมงโดยใช้เพียงบิตคอยน์ (Bitcoin สกุลเงินรูปแบบดิจทิ ลั ) ทีเ่ นเธอร์แลนด์ เหล่านีค้ อื ตัวอย่างงานเขียนจากประสบการณ์ ตรงที่ได้ลงในสื่อออนไลน์ชื่อดังมากมาย อาทิ Wired UK, The New York Times, Discover Magazine, MIT Technology Review, The New Yorker ฯลฯ ในขณะที่วงการการศึกษา นักเรียนสายคอนเทนต์อาจรู้จักเขาในฐานะ คุณครูสอนการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์และการท่องเที่ยว ผ่านโปรแกรมการเรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยแมสซาชูเซตส์ แอมเฮิร์สต์ (University of Massachusetts, Amherst) และในวงการช่างภาพ เขาคือช่างภาพฟรีแลนซ์ฝีมือเยี่ยมที่หา ตัวจับยาก CREATIVE THAILAND I 20
(Jeanne Meister) นักเขียนหนังสือ The Future Workplace Experience วิเคราะห์ โดยเธอยัง แนะนำ�คนทำ�งานในอนาคตอีกว่า “มันจะเป็นสิ่งที่ ฉลาดกว่า หากคุณสามารถเพิม่ ทักษะใหม่ๆ ใส่ตวั เพื่อทำ�ให้คุณกลายเป็นคนที่น่าจ้างมาทำ�งาน แทนทีจ่ ะโฟกัสเรือ่ งขอบข่ายงานทีค่ ณุ ต้องการทำ�” Choose Skills, Not Passions ทั้งหมดนี้เอง เราจึงควรย้อนกลับมาที่การศึกษา ปัจจุบนั กับคำ�ถามคุน้ หูทว่ี า่ “โตขึน้ อยากเป็นอะไร” คำ�ถามยอดฮิตในอดีตที่ทุกคนคงน่าจะเคยโดน ถามกันตั้งแต่เด็ก เพื่อให้เด็กๆ จินตนาการถึง อาชีพในฝันอาชีพใดอาชีพหนึ่ง อย่างการเป็น หมอ วิศวกร เชฟ นักร้อง หรือนักแสดง และหาก พ่อแม่ผปู้ กครองและคุณครูจะสนับสนุนให้อนาคต ตัวน้อยต้องเดินทางสูก่ ารมีอาชีพเดียวในอนาคต อันใกล้ ทีพ่ วกเขาจะต้องกลายเป็นแรงงานทีอ่ าจ จะจำ�เป็นต้องใช้ทักษะที่หลากหลายในไม่ช้านั้น คำ�ถามที่ว่านี้อาจจะไม่ใช่คำ�ถามที่ดีนัก ฌอง ฟิลลิป ไมเคิล (Jean Philippe Michel) โค้ชแนะแนวอนาคตให้เด็กวัยประถมชาวแคนาดา จึงเลิกใช้คำ�ว่า “อาชีพ (Profession)” เมื่อต้อง ถามคำ�ถามเกีย่ วกับอนาคตของเด็กๆ แต่กลับกัน เขาจะถามว่า เป้าหมายหรือสิ่งที่เด็กๆ ต้องการ ทำ�ในอนาคตมีอะไรบ้าง ซึ่งคำ�ถามในลักษณะนี้ จะนำ�ไปสูก่ ารมองเห็นทักษะต่างๆ ทีเ่ ด็กๆ สนใจ และควรจะฝึกฝนเอาไว้ใช้ในอนาคต โดยไม่ทำ� ให้เด็กๆ รูส้ กึ ถูกจำ�กัดกรอบว่า โตขึน้ มาพวกเขา จะต้ อ งประกอบอาชี พ ใดเพี ย งอาชี พ เดี ย ว “การตัดสินใจฝึกฝนทักษะที่คุณอยากมีติดตัว จะนำ�คุณไปสูก่ ารทำ�งานทีต่ รงใจและตรงโจทย์ได้ มากกว่า และสิง่ นีจ้ ะทำ�ให้ความรูส้ กึ ทีต่ อ้ งทนทำ� งานซํ้าๆ แบบเดิมมีน้อยลง แต่คุณจะได้ทำ�งาน ในลักษณะเป็นโปรเจ็กต์มากขึน้ ซึง่ เมือ่ คุณทำ�มัน เสร็จแล้ว มันก็จะนำ�คุณไปสู่การทำ�สิ่งใหม่ๆ ต่อ ไปได้อีก” ณองกล่าว ในทำ�นองเดียวกัน ผู้ใหญ่ อย่างเราๆ ก็อาจจะเคยได้ยนิ ใครบางคนบอกเอา ไว้วา่ “ให้ท�ำ งานตามแพสชัน่ ” แต่เอาเข้าจริงแล้ว กลับมีนอ้ ยคนทีจ่ ะรูว้ า่ แพสชัน่ ของตัวเองคืออะไร เบนจามิน ทอดด์ (Benjamin Todd) ซีอีโอและ ผูร้ ว่ มก่อตัง้ 80,000 Hours องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร
Pana Vasquez
“ตารางงานของผมสุดจะหลากหลายและเปลี่ยน ไปมาชนิดว่าเปลี่ยนเป็นรายอาทิตย์เลยก็ว่าได้ เพราะผมมีหลายสิง่ ทีต่ อ้ งทำ� อย่างเขียนบทความ ตั ดแต่ ง ภาพและวิ ดีโ อ พิ ช ชิ่ ง โปรเจ็ ก ต์ ใ หม่ เตรียมการสอน และให้เกรดนักเรียน” รูสส์ให้ สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ฟอร์บส ถึงกรณีศึกษาของ การทำ�งานในลักษณะทีเ่ รียกว่า “Portfolio Career” หรือปรากฏการณ์ทคี่ นรุน่ ใหม่เลือกออกมาทำ�งาน อิสระหลายๆ งาน (Micro-jobs) แทนที่จะติ๊ด บั ต รเข้ า ออฟฟิ ศ และนั่ ง ทำ � งานยาวตั้ ง แต่ เ ช้ า ยันเย็นเพียงงานเดียว และหากวิเคราะห์ให้ลกึ ลง ไปอีกสักหน่อยก็จะเห็นว่า การเลือกออกมา ทำ�งานอิสระในยุคทีม่ อี นิ เทอร์เน็ตเป็นตัวแจกจ่าย โอกาสทีเ่ ท่าเทียม ซึง่ ดูเหมือนจะไม่ซบั ซ้อนเพราะ อาศัยแค่แรงใจและความกล้าในการออกจาก คอมฟอร์ตโซน แต่เมื่อสังเกตให้ดี คนงานอิสระ รุ่ น ใหม่ ที่ จ ะไปได้ ไ กลในยุ ค นี้ แ ละในอนาคต จำ � เป็ น ต้ อ งมี ทั ก ษะมากกว่ า หนึ่ ง อย่ า งในการ ทำ�งานที่หลากหลายให้ได้ เหมือนอย่างที่รูสส์มี ทักษะการเขียน การถ่ายภาพ และการสอนใน คนๆ เดียว เมือ่ มองในแง่ของการจ้างงาน ปรากฏการณ์ การจ้างงานจากทักษะของคนทำ�งานอิสระไม่ใช่ เรือ่ งใหม่ แต่นบั วันยิง่ มีให้เห็นมากขึน้ ทุกที ยิง่ ไป กว่านัน้ ในตอนนีบ้ างบริษทั ยังเปิดรับนโยบายแบบ ใหม่ทใี่ ห้โอกาสคนทำ�งานในองค์กรสามารถเลือก ทำ�งานในโปรเจ็กต์ตา่ งๆ ได้อย่างอิสระ อย่างเช่น ที่ Cisco บริษัทผู้นำ�ทางด้านระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต และ MasterCard องค์กรให้บริการ ด้านการเงินรายใหญ่ของโลกกำ�ลังทดสอบระบบ นี้อยู่ โดยเรียกว่า “Internal Mobility Platforms” ซึ่งเป็นระบบการทำ�งานที่จะช่วยให้พนักงานได้ พัฒนาสกิลต่างๆ และเรียนรู้สิ่งใหม่ได้มากขึ้น “แทนที่ พ นั ก งานจะต้ อ งทำ � งานอยู่ แ ผนกเดิ ม ภายใต้เจ้านายคนเดิมๆ ระบบการทำ�งานแบบนี้ จะทำ�ให้พวกเขาได้ทำ�งานในโปรเจ็กต์ที่เหมาะ กับตัวเขาเองจริงๆ อาจจะเป็นโปรเจ็กต์ทพี่ วกเขา สนใจและมีความถนัดอยู่แล้ว หรือจะลองทำ� โปรเจ็กต์ใหม่ทจ่ี ะช่วยพัฒนาทักษะอืน่ ๆ ให้ตวั เขา ได้ ซึง่ มันจะช่วยให้พนักงานได้เรียนรูท้ จี่ ะทำ�งาน ร่วมกับคนทีห่ ลากหลายด้วยเช่นกัน” จีน ไมสเตอร์
ที่ให้คำ�ปรึกษาเรื่องอาชีพกับผู้คนทั่วโลก ก็ได้ให้ คำ�แนะนำ�ที่น่าคิดเอาไว้ว่า “อย่าเพียงแค่ทำ�ตาม แพสชั่นของคุณ แต่ทำ�ในสิ่งที่คุณคิดว่ามันมี คุณค่าดีกว่า ออกไปสำ�รวจโลกให้มาก สร้าง ทักษะใหม่ๆ และฝึกแก้ปัญหา สิ่งเหล่านี้จะ ค่อยๆ เติมเต็มชีวิตการทำ�งานของคุณเอง” ดูเหมือนว่า โลกในวันนี้มีทางเลือกที่เปิดรับ ให้เราได้ทำ�ตามใจ พร้อมด้วยโอกาสของตลาดที่ เปิดกว้างและหลากหลายมากยิง่ ขึน้ แต่กอ็ ย่าลืม ว่า ยิง่ โอกาสเปิดกว้างมากเท่าไหร่ สิง่ ทีจ่ ะพิสจู น์ ว่าเราคู่ควรกับโอกาสก็ไม่ใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ ดังนัน้ แล้ว ไม่วา่ ปรากฏการณ์การทำ�งานจะเปลีย่ น ไปอย่างไร สิง่ เดิมทีจ่ ะยังคงพิสจู น์ความสำ�เร็จได้ อยู่ก็คือ เราเอาจริงเอาจังกับมันมากแค่ไหน Food for Thought
แม้ว่าการเลือกรับงานที่ใช่และทำ�ในสิ่งที่ชอบจะ ดูเป็นเรื่องน่าสนุก แต่ฌองให้ความเห็นว่า การ ทำ�งานเป็นจ๊อบๆ และจบไปเป็นโปรเจ็กต์ ไม่นา่ จะส่งผลดีนกั ในแง่ของความรูส้ กึ เมือ่ มองในระยะ ยาว เพราะคนทำ�งานอิสระทีร่ บั งานเป็นโปรเจ็กต์ นั้นยากที่จะรู้สึกได้ถึงความสำ�เร็จ เมื่อพวกเขา ต้องทำ�งานให้จบเป็นครั้งๆ และเริม่ ต้นโปรเจ็กต์ ใหม่ตอ่ ไปเรือ่ ยๆ ไม่สน้ิ สุด ยิง่ ไปกว่านัน้ บางครั้ง อาชี พ อิ ส ระก็ ไ ม่ ส ามารถสะท้ อ นไปถึ ง ตั ว ตน (Identity) และบทบาทในสังคมได้ชัดเจน นี่จึง ทำ�ให้เหล่าคนทำ�งานอิสระรูส้ กึ กดดันไม่นอ้ ยเลย ทีเดียว
ทีม่ า: บทความ “Portfolio Careers: Is the Latest Work Trend Right For You?” (27 กุมภาพันธ์ 2013) โดย LearnVest จาก forbes.com / บทความ “The next generation of jobs won’t be made up of professions” (24 เมษายน 2017) โดย Alina Dizik จาก bbc.com / วิดโี อ “To find work you love, don’t follow your passion” โดย Benjamin Todd จาก ted.com / russjuskalian.com CREATIVE THAILAND I 21
Creative Startup : เริ่มต้นคิด
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
ท่ามกลางคู่แข่งจำ�นวนมากในตลาด ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำ�หรับผู้ผลิตสินค้าพื้นฐานอย่างนมสด ที่จะสร้างความแตกต่างเพื่อ ดึงดูดให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อ แต่ในวันนี้ mMilk แบรนด์น้องใหม่ของบริษัท แมรี่ แอน แดรี่ โปรดักส์ ที่กล้าเสี่ยงและ เชื่อมั่นในสินค้าของตนเอง ได้พิสูจน์แล้วว่านี่ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ นมไร้แลคโตส...ย่อยง่าย ได้ประโยชน์ ใครที่ดื่มนมวัวแล้วมีอาการเสียดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีความเป็นไปได้สูง ว่าร่างกายของคุณมีเอนไซม์แลคเตสไม่เพียงพอสำ�หรับการย่อยนา้ํ ตาลแลคโตส ในนม จึงทำ�ให้เกิดกรดและแก๊สในช่องท้อง นมไร้แลคโตส (Lactose-Free Milk) จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ผู้ผลิตในหลายประเทศได้มีการคิดค้นและนำ� เสนอแก่ผู้บริโภคที่ขาดเอนไซม์แลคเตส (Lactase Deficient) ควบคู่ไปกับ นมชนิดอื่นๆ อาทิ นมแพะ นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ นมข้าวโอ๊ต ฯลฯ แม้จะผลิตเพือ่ ผูบ้ ริโภคทีม่ คี วามต้องการเฉพาะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผลิตภัณฑ์นมแบบปราศจากแลคโตสนี้จะได้ใจแค่ลูกค้ากลุ่มเล็กๆ เท่านั้น
เพราะจากการสำ�รวจพบว่า พันธุกรรมของคนเอเชียถึง 90% มีภาวะขาด เอนไซม์แลคเตสหลังจากหย่านมแล้ว เนื่องจากบรรพบุรุษของเราไม่ได้ดื่ม นมวัวเป็นอาหารหลักเหมือนชาวยุโรป นี่จึงเป็นช่องว่างในตลาดที่รอการ เติมเต็ม mMilk จึงเริ่มผลิตนมชนิดนี้ออกจำ�หน่ายเป็นรายแรกๆ ของไทย โดยนำ�นํ้านมวัวแท้มาผ่านกระบวนการย่อยสลายนํ้าตาลแลคโตส เพื่อให้ ผู้บริโภคที่แพ้แลคโตสสามารถอิ่มอร่อยกับรสชาติของนมวัวและยังได้รับ สารอาหารอืน่ ๆ ทีม่ ปี ระโยชน์อย่างครบถ้วน เมือ่ บวกกับคุณภาพและรสชาติ ที่หอมหวานตามธรรมชาติ “นมแลคโตสฟรี” จึงกลายเป็นสินค้าชูโรงของ mMilk ที่ได้รับความนิยมจากตลาด
CREATIVE THAILAND I 22
ข้ามกฎเดิม แล้วยังทำ�ให้คนพูดถึงแบรนด์โดยทีไ่ ม่ตอ้ งเสียเงินค่าโฆษณาเพิม่ เลยด้วย เราก็เลยตัดสินใจลองในสิ่งที่อยากลอง เพราะถ้าไม่สำ�เร็จก็ยัง เดินกลับมาใหม่ได้” นี่จึงเป็นที่มาของ “นมฝาดำ�” ขวดแรกของ mMilk ก่อนจะตามมาด้วย บรรจุภณั ฑ์ขนาดอืน่ ๆ เพือ่ ให้เหมาะสมกับความต้องการทีห่ ลากหลาย ตัง้ แต่ ขนาด 800 มล. จนถึงขนาด 80 มล. สำ�หรับชาวออฟฟิศที่ต้องการนมเพื่อ ใส่ชากาแฟ
ฉีกกฎ ฉีกกล่อง หากพูดถึง mMilk คงจะไม่พูดถึงแพ็กเกจจิ้งไม่ได้ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้น บริษทั แมรี่ แอน แดรี่ โปรดักส์ นัน้ เดิมทีรบั จ้างผลิตสินค้าให้ผผู้ ลิตรายใหญ่ อย่างฟอนเทอร์ราและเบอร์ลี่ยุคเกอร์ และเป็นผู้ผลิตนมโรงเรียน ก่อนที่จะ ลุกขึ้นปลุกปั้นแบรนด์ผลิตภัณฑ์จากนมวัวของตนเองเป็นครั้งแรกในนาม “mMilk” สินค้าตัวแรกของพวกเขาคือนมสดพาสเจอร์ไรส์แบบธรรมดา ในขวด 2 ลิตร ซึ่งอนุวัต บูรพชัยศรี สุรพงษ์ ปิยะโชติ และอุดมลักษณ์ กมลรักษา กรรมการบริหารทั้งสามปักธงไว้ตั้งแต่วันแรกว่า ต้องใช้ของดี อร่อย และแตกต่าง “นมต้องมีคุณภาพและเป็นนมโค 100% ถ้าใช้นมผงมา ผสมแล้วบอกว่าเป็นนมโค 100% แบบนั้นไม่ได้ ผมคิดว่าวันนี้ถ้าจะทำ� ต้อง ทำ�ของดี เพราะเรารูว้ า่ ช่องว่างในตลาดคือคนอยากจะจ่ายเงินให้สงิ่ ทีด่ ที สี่ ดุ แต่ตลาดวันนี้ยังมีตัวเลือกให้เขาไม่มาก” แม้จะการันตีดว้ ยคุณภาพและประโยชน์ของสินค้า แต่กป็ ฏิเสธไม่ได้วา่ หากรูปลักษณ์ไม่ดึงดูด การจะโน้มน้าวให้ผู้บริโภคลองหยิบของใหม่ไปชิม คงไม่งา่ ยนัก ในมุมมองของผูบ้ ริโภค เรามักจะคุน้ เคยกับระบบสีของฝาขวด นมที่บ่งบอกว่าผลิตภัณฑ์ภายในขวดเป็นนมชนิดใด ในความเข้าใจของคน ส่วนใหญ่ ฝาสีนํ้าเงินหมายถึงนมไขมันเต็มส่วน สีฟ้าหมายถึงนมไขมันตํ่า และสีเขียวมักจะหมายถึงนมรสหวาน แต่ด้วยความไม่รู้ อนุวัตซึ่งรับหน้าที่ ดูแลภาพรวมด้านแบรนด์และการตลาดค้นพบหลักปฏิบัติเรื่องนี้หลังจากที่ การออกแบบแพ็กเกจจิ้งสำ�หรับสินค้าตัวแรกของ mMilk เสร็จสิ้นไปแล้ว และแม้จะมีเสียงทัดทาน เขาก็ยืนยันที่จะใช้ฝาขวดสีดำ�ตามที่วางแผนไว้ “ผมคิดกับตัวเองว่า เราเป็นผู้มาใหม่ ไม่มีอะไรจะเสีย ถ้าทำ�เหมือนคนอื่น ก็ธรรมดา ปกติเวลาซื้อนมเราก็อ่านฉลากอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสีของฝา ไม่ได้จำ�เป็นขนาดนั้น อีกอย่างถ้าทำ�สำ�เร็จก็เท่ากับว่าเราเป็นเจ้าแรกที่ก้าว
อะไรที่ยาก คนจะไม่มักง่าย อีกหนึ่งเรื่องราวเบื้องหลังแพ็กเกจจิ้งในตำ�นานของ mMilk คือกล่องนม พาสเจอร์ไรส์รสจืด (Plain Flavour) ที่สร้างความฉงนให้คนซื้อจำ�นวน ไม่นอ้ ย เพราะแพ็กเกจจิ้งของนมรุ่นนี้มี 2 แบบ คือพื้นขาวลายดำ� กับพื้นดำ� ลายขาว ผลคือแม้จะทำ�ให้รา้ นค้าทีร่ บั ไว้วางขายลังเลว่าจะรับแพ็กเกจจิง้ ทัง้ สองแบบเลยหรือไม่ ทัง้ ยังเพิม่ ความซับซ้อนในการผลิตและการจัดการสต็อก แต่กล่องทรงสี่เหลี่ยมดีไซน์เก๋แปลกตาที่วางคู่กันบนชั้นวางนี้ ก็สะกิดให้ ผู้บริโภคสนใจ ถึงขั้นว่าหลายคนตัดสินใจซื้อไปทั้งสองแบบเลยทีเดียว “ทุกวันนีท้ กุ อย่างมันง่ายไปหมด ดังนัน้ อะไรทีม่ นั ยากหรือทำ�ให้คนคิด สุดท้ายจะกลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์” อนุวัตยังเล่าอีกว่า เขาได้ไอเดีย บรรจุภณั ฑ์ทรงสีเ่ หลีย่ มนีจ้ ากการไปเดินสำ�รวจในซูเปอร์มาร์เก็ตอยูน่ านนับ ชั่วโมงในญี่ปุ่น หนึ่งในประเทศผู้นำ�การออกแบบบรรจุภัณฑ์ของโลก จนไป ถูกใจบรรจุภัณฑ์ทรงสี่เหลี่ยมของแบรนด์เครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมาก ในญี่ปุ่น นอกจากนี้กล่องทรงสี่เหลี่ยมยังกินพื้นที่ด้านหน้าชั้นวางมากกว่า ขวดทรงกลม ทำ�ให้มองเห็นได้ชัดเจนและแตกต่างจากคู่แข่งอีกด้วย นมสด อย่าหมดว้าว นอกจากแพ็กเกจจิ้งแบบหนึ่งรสสองแพ็กเกจแล้ว mMilk ยังคงมุ่งมั่นที่จะ สร้างความแปลกใหม่ให้ผู้บริโภคได้แปลกใจอยู่เสมอ โดยล่าสุดได้เปิดตัว นมกล่องยูเอชทีแลคโตสฟรีทใี่ ช้กล่องรุน่ ใหม่ทโี่ ดดเด่นด้วยรูปทรงแถบใบไม้ ด้านข้าง (Tetra Brik® Aseptic 200 Slim Leaf) เป็นแบรนด์แรก สื่อตัวตน ของแบรนด์ทที่ นั สมัยและแปลกใหม่ ทัง้ ยังได้เซ็นสัญญาซือ้ เครือ่ งจักรใหม่ที่ จะช่วยให้สินค้ามีอายุการเก็บรักษายาวนานขึ้นอีกด้วย อนุวัตบอกว่าแผนในอนาคตของ mMilk คือการสร้างสรรค์สินค้าใหม่ ต่อยอดจากสินค้าเดิม อาทิ นมวัวออร์แกนิก โยเกิร์ตพร้อมดื่มแลคโตสฟรี แบบไขมันตํ่าและไม่ใส่นํ้าตาล เพราะมองเห็นว่าโยเกิร์ตในท้องตลาดส่วน ใหญ่มักจะผสมนํ้าตาล ซึ่งขัดแย้งกับความต้องการของผู้บริโภคที่เลือก โยเกิร์ตเพราะใส่ใจในสุขภาพ รวมถึงการนำ�เสนอรสชาติใหม่ๆ สู่ตลาด เริ่มต้นจากนมพาสเจอร์ไรส์รสซากุระ ที่จะวางจำ�หน่ายเป็นสินค้ารุ่นลิมิเต็ด เอดิชั่นในช่วงหน้าหนาวนี้ “จากผลตอบรับที่ผ่านมา ผมมั่นใจว่าเรามาถูกทางแล้ว” เขาบอกกับ เราอย่างนั้น และเราก็เชื่อว่าเร็วๆ นี้ เราจะได้เห็นสีสันใหม่ๆ ในตลาด ผลิตภัณฑ์นมจาก mMilk ด้วยความกล้าที่จะตั้งคำ�ถามและมองหาความ แตกต่างอยู่เสมอ
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook: mMilk Brand และ maryanne.co.th
CREATIVE THAILAND I 23
flickr.com/photos/Brian Giesen
Creative City : จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: ชาลินี วงศ์อ่อนดี “เรารักที่จะชงกาแฟให้กับเมืองที่คลั่งการดื่มกาแฟ” ประโยคที่อยู่บนแก้วกาแฟของ Market Lane Coffee ประโยคนี้ สามารถ บอกเล่าถึงบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักและหลงใหลเรื่องกาแฟในเมลเบิร์นได้ดีอย่างไม่มีผิดเพี้ยน เมืองที่คนทำ�และคนดื่มกาแฟ ต่างเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้อย่างไม่น้อยหน้ากัน ปี 2015 Roy Morgan Research เผยผลสำ�รวจพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคน ออสเตรเลียว่า ชาวเมืองเมลเบิร์นชื่นชอบการไปคาเฟ่และร้านกาแฟมากกว่าเมืองอื่นๆ โดยร้อยละ 11.5 จะไปคาเฟ่ 16 ครั้งหรือ มากกว่าภายในระยะเวลา 3 เดือน “เพราะชาวเมลเบิร์นจำ�นวนไม่น้อยเลือกที่จะดื่มกาแฟที่ชงโดยบาริสตาตามคาเฟ่มากกว่าชงกาแฟ ดื่มเองที่บ้าน” แองเจล่า สมิธ (Angela Smith) จาก Roy Morgan Research กล่าว ความนิยมในการดื่มกาแฟและอาหาร นอกบ้านนี้ ยังส่งผลให้จำ�นวนคาเฟ่และร้านอาหารในเมลเบิร์นเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จาก 1,536 ร้านในปี 2006 เป็น 2,336 ร้านในปี 2016 CREATIVE THAILAND I 24
visualjournal.it broadsheet.com.au
เอสเปรสโซช็อตแรกของเมือง ร้านกาแฟเกิดขึน้ ในออสเตรเลียเป็นครัง้ แรกในยุค 1870 ในช่วงเวลาดังกล่าว ร้านกาแฟทำ�หน้าที่ เหมือนผับบาร์ให้ชาวเมืองแวะเข้ามาดื่มกาแฟ แทนการดื่ ม เบี ย ร์ ที่ ก ลายเป็ น ของต้ อ งห้ า ม อันเนื่องมาจากกระแสการต่อต้านการดื่มสุรา (Temperance Movement) ที่นำ�โดยสตรีชาว คริสต์ในเมลเบิรน์ ซึง่ ไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมการ ดื่มสุราจนเมามายของชาวเมือง ผับบาร์กาแฟ กว่า 50 แห่งจึงเกิดขึ้นในเมลเบิร์นและได้รับการ ตกแต่งอย่างหรูหรา เพื่อใช้เป็นสถานที่สำ�หรับ การสังสรรค์ของชาวเมือง แม้สดุ ท้ายกาแฟจะไม่ ได้แทนที่สุราและไม่ได้เป็นเครื่องดื่มที่คนติดกัน ทั้งบ้านทั้งเมือง แต่ผับบาร์กาแฟเหล่านั้น คือ จุดเริ่มต้นที่ทำ�ให้ผู้คนในเมลเบิร์นรู้จักการดื่ม กาแฟ กระแสการดื่ ม กาแฟกลั บ มาอี ก ครั้ ง เมื่ อ เครื่ อ งเอสเปรสโซจากอิ ต าลี เ ครื่ อ งแรกของ เมลเบิร์นมาถึงที่ร้าน Café Florentino (ภายหลัง เปลี่ยนชื่อเป็น Grossi Florentino) บนถนน
Bourke Street ในยุค 1930 และการเปิดร้าน Pellegrini’s Espresso Bar เอสเปรสโซบาร์แห่ง แรกของเมืองในยุค 1950 การมาถึงของเครื่อง เอสเปรสโซทำ�ให้ชาวอิตาเลียนที่ย้ายเข้ามาอยู่ อาศัยในเมลเบิร์นต่างแวะเวียนมาพบปะกันและ ดืม่ กาแฟทีน่ ี่ ความนิยมในการดืม่ กาแฟมีมากขึน้ หลั งสงครามโลกครั้ งที่ 2 เมื่อ ชาวยุโ รปต่า ง หลัง่ ไหลเข้ามาอยูใ่ นย่าน Collingwood และย่าน Fitzroy พร้อมกับวัฒนธรรมคาเฟ่จากบ้านเกิด เมืองนอนของตน มีเอสเปรสโซบาร์เปิดให้บริการ และเป็นที่พบปะสังสรรค์ของผู้อพยพ ความนิยม ในเอสเปรสโซเริม่ ขยายตัวจาก 2 ย่านนี้ และแพร่ สะพัดสู่ย่านอื่นๆ ส่งผลให้วัฒนธรรมการดื่ม กาแฟเริ่มหยั่งรากลงในเมือง เมื่อเข้าสู่ยุค 1990 การกินดืม่ นอกบ้านได้รบั ความนิยมมากขึน้ คาเฟ่ ร้านกาแฟ ร้านอาหาร จึงเริ่มผุดขึ้นตามตรอก ซอกซอย ให้ชาวเมืองได้นั่งดื่มกาแฟและกิน อาหารอย่างเพลิดเพลินเรือ่ ยมา จนกลายเป็นฉาก หนึ่งของเมลเบิร์นในทุกวันนี้
CREATIVE THAILAND I 25
ช่วงเวลาแห่ง Specialty Coffee การเข้ามาของเอสเปรสโซจากอิตาลีและวัฒนธรรม คาเฟ่จากยุโรป ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมการดื่ม กาแฟของเมลเบิ ร์ น ที่ ถู ก ส่ ง ต่ อ มาในยุ ค หลั ง เมื่อรวมวัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่แข็งแรงจาก อดีตเข้ากับความรัก ความหลงใหล และความ คลั่ ง ไคล้ ใ นเรื่ อ งกาแฟของผู้ ค นในปั จ จุ บั น เมลเบิร์นจึงเป็นเมืองที่มีพัฒนาการเรื่องกาแฟ อยูเ่ สมอ จากเอสเปรสโซบาร์ทเ่ี สิรฟ์ แต่เอสเปรสโซ ในอดีต ป้ายเมนูบอร์ดของคาเฟ่และร้านกาแฟ ในปั จ จุ บั น กลั บ เต็ ม ไปด้ ว ยเมนู ที่ ห ลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของส่วนผสมหรือวิธีชง ใครที่ ชอบดื่มกาแฟนม สามารถเลือกได้ว่าต้องการ ลาเต้นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ หรือนมมะพร้าว อัลมอนด์ คอกาแฟที่สนใจวิธีการชง สามารถ เลื อ กลองได้ ต้ัง แต่ ดริ ป เย็ น ไนโตร ไซฟอน ฟิลเตอร์ ฯลฯ คนที่ชอบลิ้มลองรสชาติที่ซ่อนอยู่ ในกาแฟฟิลเตอร์ สามารถเลือกเมล็ดกาแฟได้ตงั้ แต่เมล็ดเบลนด์เฉพาะของร้าน หรือเมล็ดซิงเกิล ออริจนิ จากหลากหลายแหล่งปลูกทัว่ โลก ท่ามกลาง ความหลากหลายในเรื่องกาแฟ สิ่งที่อยู่ในความ สนใจของโรงคั่วและร้านกาแฟในเมลเบิร์นคือ กาแฟ Specialty Coffee ดังจะเห็นได้จากร้าน กาแฟ Specialty Coffee ที่เปิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปี ทีผ่ า่ นมา ปี 2013 Broadsheet แม็กกาซีนออนไลน์ แถวหน้ า ของเมลเบิ ร์ น ร่ ว มกั บ สมาคมกาแฟ Specialty Coffee แห่งออสเตรเลีย (Australian Specialty Coffee Association-ASCA) จัดทำ� แผนที่ร้านกาแฟ Specialty Coffee ในเมลเบิร์น เพื่อแจกในงาน World Barista Championship 2013 โดยในแผนที่ดงั กล่าวมีรา้ นกาแฟ Specialty Coffee ถูกรวบรวมไว้มากถึง 50 ร้าน เจมส์ ฮอฟฟ์แมนน์ (James Hoffmann) เล่าถึงกาแฟ Specialty Coffee ในหนังสือ The World Atlas of Coffee: From Beans to Brewing-Coffees Explored, Explained and Enjoyed ว่าอุตสาหกรรมกาแฟแบ่งเป็น 2 ประเภท ตามคุณภาพและรสชาติ คือกาแฟ Commodity Coffee และกาแฟ Specialty Coffee ในขณะที่ กาแฟ Commodity Coffee คือสินค้าสามัญจาก ประเทศในแถบร้อนชืน้ ให้คาเฟอีนในกระแสเลือด ช่วยปลุกสมองให้ตนื่ พร้อมทำ�งานในตอนเช้าและ จะปลุกได้ดมี ากถ้ามีรสขม ส่วนกาแฟ Specialty Coffee คือกาแฟที่ดื่มเพื่อความเพลิดเพลิน
quietlyconfused.wordpress.com cdn.cnn.com
สร้างความรู้สึกพอใจให้เกิดขึ้นจากรสชาติใน กาแฟแก้วนัน้ สมาคมกาแฟ Specialty Coffee แห่ง สหรัฐอเมริกา (Specialty Coffee Association of America-SCAA) ให้ความหมายของกาแฟ Specialty Coffee ว่าเป็น “ผลลัพธ์ของความ ทุ่มเทจากทุกคนที่เกี่ยวข้องในการผลิตเพื่อให้ได้ มาซึ่งกาแฟที่มีคุณภาพดีที่สุด หาใช่ผลลัพธ์ที่ เกิดขึน้ ได้จากใครคนใดคนหนึง่ ความพยายามนี้ ทำ�ให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาการปลูก การคัว่ และเทคนิคการชง ความต้องการในกาแฟที่มี คุณภาพสูงทำ�ให้แหล่งผลิต ความพิถีพิถัน และ คุณภาพกลายเป็นสิง่ สำ�คัญ” ถ้ามองในเชิงคุณภาพ กาแฟ Specialty Coffee คือกาแฟที่ได้ผ่านการ ตรวจสอบคุณภาพจาก Q Grader หรือผู้มี ความสามารถในการประเมิ น คุ ณ ภาพกาแฟ โดยได้คะแนนอย่างน้อย 80 จาก 100 คะแนน เป็นใบการันตีคุณภาพ ความสนใจในกาแฟ Specialty Coffee ทำ�ให้โรงคั่วและร้านกาแฟในเมลเบิร์น หันมาซื้อ กาแฟจากแหล่งที่ปลูกโดยตรงและบอกเล่าเรื่อง ราวของกาแฟให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราว จากฟาร์มกาแฟ แหล่งผลิต ชีวิตของคนปลูก รวมถึงทุกเรื่องราวการผลิตกว่าเมล็ดกาแฟจะ
ร้านที่รักในการชงกาแฟให้กับเมืองที่คลั่งการดื่มกาแฟ
กลายมาเป็นเครื่องดื่มในแก้ว ความหลงใหลใน กาแฟ Specialty Coffee ของเมืองถูกถ่ายทอด ออกมาผ่ า นความกระตื อ รื อ ร้ น ของบาริ ส ตา ที่อยากเล่าถึงที่มาของเมล็ดกาแฟว่าเป็นเมล็ด จากทีไ่ หน ผ่านการผลิตมาอย่างไร ใช้วธิ อี ะไรชง และได้รสชาติอะไรบ้าง ทอม กันน์ (Tom Gunn) จาก Proud Mary Coffee โรงคั่วและร้านกาแฟ ในเมลเบิร์นเล่าว่า “พวกเรามาไกลมาก จาก เมื่อก่อนที่บาริสตาจะเก็บส่วนผสมของกาแฟ เบลนด์ของร้านตัวเองไว้เป็นความลับ หรือการที่ พวกเขาไม่รวู้ า่ ในกาแฟประกอบไปด้วยอะไรบ้าง” โรงคัว่ กาแฟต่างพากันเปิดบ้านให้ผคู้ นเข้าไปลอง Cupping หรือชิมรสชาติกาแฟ เพือ่ เป็นการแลก เปลีย่ นความรูเ้ รือ่ งการคัว่ กาแฟและรสชาติกาแฟ ในขณะที่ ค นคั่ ว คนชงก็ อ ยากจะเล่ า ถึ ง กาแฟ ของตน คนดืม่ เองก็อยากรูแ้ ละรอฟังเรือ่ งราวของ กาแฟในถ้วยทีต่ นดืม่ “ผมคิดว่าเมลเบิรน์ เป็นเมือง ที่ผู้คนมีเวลาให้กับเรื่องกาแฟ และมีความสนใจ อยากรูว้ า่ กาแฟมาจากแหล่งไหนมากกว่าเมืองอืน่ ๆ ในออสเตรเลีย พวกเขาอยากรูเ้ กีย่ วกับกระบวนการ ผลิตกาแฟเพื่อให้เพลินเพลิดกับรสชาติกาแฟใน แก้วที่ดื่มทุกวัน” ลีออน ฮอลด์สเวิร์ธ (Leon Holdsworth) บาริสตาแห่งร้าน St. Ali North กล่าว
Market Lane Coffee Prahran Market ตลาดเก่าแก่ทส่ี ดุ ของเมืองทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ ในปี 1891 บนถนน Commercial Road ทางตอนใต้ของเมือง คือทีต่ ง้ั ของ Market Lane Coffee โรงคั่วและร้านกาแฟที่เริ่มคั่วและเสิร์ฟกาแฟ Specialty Coffee ตั้งแต่ปี 2009 Market Lane Coffee หลงใหลในการทำ�กาแฟคุณภาพสูงที่ให้รสชาติดี ด้วยการ ใช้เวลาในการเฟ้นหาเมล็ดกาแฟคุณภาพดี นำ�มาคัว่ อย่างตัง้ ใจเพือ่ ดึงรสชาติทโี่ ดดเด่นออกมา เพือ่ นำ�มาชงเสิรฟ์ ให้กบั ลูกค้า โดยจะเลือกใช้แต่กาแฟทีม่ ใี นฤดูกาลเท่านัน้ นอกจากนี้ยังรักที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของกาแฟแต่ละตัวที่เสิร์ฟในร้านให้ลูกค้า การตอบรับที่ดีทำ�ให้ Market Lane Coffee เปิดสาขาที่ 2 บนถนน Therry Street ทาง ตอนเหนือของเมืองในปี 2011 โดยมุ่งให้เป็นบาร์กาแฟและพื้นที่สอนเวิร์กช็อปให้แก่ลูกค้า ด้วยคุณภาพกาแฟและการบริการที่ดี ทำ�ให้ Market Lane Coffee ประสบ ความสำ�เร็จเป็นอย่างมากจนในปัจจุบัน Market Lane Coffee มีสาขาในเมืองทั้งหมด 6 สาขา ครอบคลุมย่านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นย่าน Carlton หรือที่มีชื่อเล่นว่า Little Italy อันเต็มไปด้วยร้านอาหารอิตาเลียนเก่าแก่ ร้านพิซซ่า และคาเฟ่ต่างๆ รวมไปถึงย่าน Victoria Market ย่านใจกลางเมืองอย่าง Collin Street และล่าสุดที่ย่าน South Melbourne Market บริเวณ Coventry Street ในปี 2017 Duke Coffee Roasters บน Flinders Lane ตัดกับ Elizabeth Street ที่อยู่ไม่ไกลนักจากสถานีรถไฟ Flinders Street Railway Station คือที่ตั้งของ Duke Coffee Roasters โรงคั่วและร้านกาแฟที่ส่งต่อความรักและความหลงใหลในกาแฟให้กับผู้คนในเมือง โดยมุ่งมั่นที่จะนำ�กาแฟ Specialty Coffee ที่มีคุณภาพและรสชาติดีที่สุด ในแต่ละฤดูกาลมาชงให้กับลูกค้า โดยกาแฟคุณภาพดีของที่นี่หมายความไปถึงการให้ความสำ�คัญกับความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยการมุ่งให้การสนับสนุน ชุมชนต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการผลิตกาแฟ อีกทั้งพยายามลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการคั่วกาแฟ โดยการใช้ Loring Smart Roasters เครื่องคั่วที่ได้รับการออกแบบ ให้ใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์ทสี่ ดุ นอกจากนีใ้ นปี 2016 Duke Coffee Roasters ยังร่วมทำ�งานกับ WeForest องค์กรนานาชาติไม่หวังผลกำ�ไรทีม่ งุ่ สร้างความเคลือ่ นไหว ในการสร้างความยั่งยืนด้วยการปลูกป่าทดแทน (Reforestation) Proud Mary Coffee ปัจจุบัน ย่าน Collingwood ทางตอนเหนือของเมืองที่เป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมคาเฟ่จากยุโรป Proud Mary Coffee คืออีกหนึ่งโรงคั่วและ ร้านกาแฟ Specialty Coffee ในย่านนี้ ที่ทุ่มเทเวลาให้กับการผลิตกาแฟคุณภาพสูง อีกทั้งยังให้ความสำ�คัญกับการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างตนกับผู้ผลิตกาแฟ ทุกๆ ปี Proud Mary Coffee จะเดินทางไปเยี่ยมฟาร์มกาแฟและพูดคุยกับผู้ผลิตกาแฟอยู่เสมอ นอกจากนี้ ที่นี่ยังให้ความสำ�คัญกับการส่งต่อความรู้ให้แก่ผู้ที่สนใจผ่าน การจัดตั้ง Collingwood Coffee College ที่มุ่งสอนเรื่องกาแฟผ่านเวิร์กช็อปต่างๆ เช่น ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกาแฟ การฝึกทักษะของบาริสตา ลาเต้อาร์ต การชงกาแฟ ฟิลเตอร์ รวมไปถึงการคัดเลือกเมล็ดกาแฟและการคั่วกาแฟที่สอนโดย Q Grader
CREATIVE THAILAND I 26
พื้นที่พบปะและแลกเปลี่ยนเรื่องกาแฟ
ใช้ดี ทำ�ดี รู้สึกดี ในเดือนตุลาคม ปี 2016 สำ�นักข่าว ABC รายงาน ว่าปริมาณขยะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิง้ สูงขึน้ ตาม ความนิยมในการดื่มกาแฟของชาวออสเตรเลีย ชาวออสซีใ่ ช้แก้วใช้แล้วทิง้ ประมาณ 1 พันล้านใบ ต่อปีโดยประมาณ หรือ 2.7 ล้านใบต่อวัน แก้ว ใช้แล้วทิง้ เหล่านีม้ ลี กั ษณะเหมือนแก้วกระดาษแต่ มีสว่ นผสมของพลาสติก จึงไม่สามารถย่อยสลาย ได้ในธรรมชาติทั้งหมด แม้ขยะจากแก้วกาแฟใช้ แล้วทิง้ จะก่อให้เกิดปัญหาสิง่ แวดล้อมตามมา แต่ ชาวเมืองเมลเบิรน์ ต่างพร้อมทีจ่ ะช่วยกันเพือ่ ทุเลา ปัญหาที่เกิดขึ้น อบิเกล ฟอร์ไซธ์ (Abigail Forsyth) เปิด คาเฟ่ Bluebag กับน้องชายในเมลเบิรน์ ในปี 1998 ในขณะทีธ่ รุ กิจเริม่ ไปได้ดี ฟอร์ไซธ์ตระหนักได้วา่ ธุรกิจของเธอสร้างขยะจากแก้วกาแฟใช้แล้วทิ้ง เป็นจำ�นวนมาก เธอจึงมองหาตัวเลือกของแก้วที่ จะไม่สร้างขยะกลับไปยังสิง่ แวดล้อม โดยพัฒนา เป็นแก้ว KeepCup แก้วที่นำ�กลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งได้รับการออกแบบขึ้นให้มีขนาดมาตรฐานที่ เหมาะกับการชงกาแฟ เช่น 4oz สำ�หรับเอสเปรสโซ มัคคิอาโต พิโคโล 6oz สำ�หรับแฟลตไวท์ 8oz ที่เป็น ไซส์แก้วใช้เเล้วทิง้ ทีร่ า้ นกาแฟต่างๆ 12oz สำ�หรับ เครือ่ งดืม่ เย็นใส่นา้ํ แข็ง และ16oz ขนาดมาตรฐาน ที่ทำ�ให้บาริสตาคำ�นวณปริมาณช็อตเอสเปรสโซ และนา้ํ หรือนมได้ถกู ต้อง แก้ว KeepCup ประกอบ ด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แก้วทำ�จาก Polypropylene ฝาทำ�จาก Low-Density Polyethylene ที่ปิดทำ� จาก Thermoplastic Polyurethane และสายคาด แก้วทำ�จากยางซิลิโคน ซึ่งแก้ว ฝา และที่ปิดเป็น ชิน้ ส่วนทีน่ �ำ ไปรีไซเคิลได้ แก้ว KeepCup จึงเป็น
efficientoz.com.au
คอกาแฟในเมลเบิร์นต่างรู้ดีกว่างาน Melbourne International Coffee Expo (MICE) คืองานที่พลาดไม่ได้ในแต่ละปี MICE ไม่ได้เป็นแค่งานแสดงสินค้า แต่เป็นงานที่รวม ทุกเรื่องราวของกาแฟไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเมล็ดกาแฟ การเก็บและการผลิต รวมถึงการชงกาแฟ โรงคั่วและร้านกาแฟต่างงัดผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมล่าสุดออกมาอวด โฉมในงานนี้ ไม่ว่าจะเป็นแก้วที่ย่อยสลายได้ไปจนถึงเครื่องเอสเปรสโซลายหินอ่อน MICE จึงเปรียบเสมือนสนามแลกเปลี่ยนผลงานและแนวคิดของโรงคั่วและร้านกาแฟ และ เป็นพื้นที่ให้ผู้คนในอุตสาหรรมกาแฟมาเจอกัน ทั้งคนปลูก คนผลิต คนชง และคนดื่ม รวมถึงเป็นสวรรค์ของคนที่หลงใหลอุปกรณ์สำ�หรับชงกาแฟ นอกจากจะเป็นพื้นที่ปล่อย ของและพบปะของผู้คนแล้ว MICE ยังเป็นเวทีการแข่งขันเรื่องกาแฟที่สำ�คัญที่สุดของออสเตรเลีย โดยจะมีทั้งการแข่งบาริสตา (Australian Barista Championship) การแข่ง ลาเต้อาร์ต (Australian Pura Latte Art Championship) และการแข่งชิมรสชาติ (Australian Cup Tasting Championship) ผู้ชนะการแข่งขันรายการต่างๆ เหล่านี้จะเป็น ตัวแทนประเทศไปแข่งต่อในเวทีระดับโลก MICE จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2012 และถูกจัดอย่างต่อเนื่องทุกปีในฐานะงานกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิกที่มีผู้เข้าร่วมงาน ราวหมื่นคน MICE จึงเป็นงานที่เปิดประตูต้อนรับทุกคนที่สนใจเรื่องกาแฟที่ดีที่สุดงานหนึ่ง โดยเฉพาะในเวลาที่ผู้คนไม่ได้สนใจแค่รสชาติของกาแฟ แต่ยังสนใจเรื่องราวที่มา ของกาแฟในถ้วยที่ตนดื่ม
แก้วที่สามารถนำ�กลับมาใช้ใหม่ที่ได้มาตรฐาน ของบาริสตาแก้วแรกของโลก ด้วยการใช้งานที่มี ประสิทธิภาพ รูปทรงที่สวยงาม ราคาที่เข้าถึงได้ และตอบโจทย์ทง้ั คนชงและคนดืม่ ส่งผลให้สามารถ เปลี่ยนพฤติกรรมของคนรักกาแฟในเมลเบิร์นให้ หันมาใช้แก้ว KeepCup แทนแก้วใช้แล้วทิง้ มากขึน้ โดยตัง้ แต่เดือนมิถนุ ายน ปี 2009 แก้ว KeepCup ถูกจำ�หน่ายไปแล้วกว่า 3 ล้านใบ และมีวางจำ�หน่าย ใน 65 ประเทศ นับเป็นความพยายามเล็กๆ ของ ร้านกาแฟในเมืองทีไ่ ม่ได้แค่ท�ำ ให้คนรักกาแฟรูส้ กึ ดีจากการใช้แก้ว แต่ยังช่วยให้พวกเขารูส้ ึกดีที่ได้ ทำ�ดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เมือ่ วัฒนธรรมการดืม่ กาแฟทีร่ งุ่ เรืองจากฝัง่ ยุโรปได้ถูกส่งผ่านมายังเมืองแห่งนี้ที่ผู้คนต่าง น้อมรับ จนกลายเป็นวัฒนธรรมของเมือง รวมกับ การตื่นตัวและพร้อมเปิดรับเรื่องกาแฟของผู้คน CREATIVE THAILAND I 27
ในเมืองอยู่เสมอ จึงไม่น่าแปลกใจที่เมลเบิร์นจะ ได้รับการขนานนามให้เป็นเมืองหลวงแห่งกาแฟ ของออสเตรเลีย ที่มา: au.keepcup.com / dukescoffee.com.au / market lane.com.au / proudmarycoffee.com.au / บทความ “Caffeine Wars: Which City Is Australia’s Coffee Capital? จาก roymorgan.com / บทความ “Coffee Culture: A History” จาก gourmettraveller.com.au / บทความ “Facts about Melbourne” จาก melbourne.vic.gov.au / บทความ “How Did Australia Become the Coffee Snobs We Are Today?” โดย Lulu Morris จาก nationalgeographic.com.au / บทความ “Melbourne Has Been Voted as Having the World’s Best Coffee” โดย Catherine Lambert จาก heraldsun.com.au / บทความ “Takeaway Coffee Cups Piling Up in Landfill as Australia’s Caffeine Habit Soars” โดย Sarah Whyte จาก abc.net.au / บทความ “Trends Brewing in the Coffee Capital of Australia, Melbourne” โดย Victoria Government จาก australiaplus.com / บทความ “What Is Specialty Coffee?” จาก scaa.org / หนังสือ The World Atlas of Coffee: From Beans to Brewing-Coffees Explored, Explained and Enjoyed (2014), James Hoffmann
The Creative : มุมมองของนักคิด
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ ภาพ: ชาคริต นิลศาสตร์
“คนทำ�หนั ง ก็ แ ค่ ทำ�หนั ง ในแบบที่ เ ขาต้ อ งการให้ มั น เป็ น แล้วปล่อยให้คนดูมีปฏิกิริยาไปกับมัน”
นี่ไม่ใช่คำ�พูดของเต๋อ-นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์ แต่เป็นของ สไปก์ โจนซ์ (Spike Jonze) แต่มนั ก็สะท้อนไปถึงบทสนทนา ครั้งนี้ที่เราพูดคุยกับเขาได้เป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าคุณจะ มองเขาเป็ น ผู้ กำ�กั บ นั ก เขี ย น นั ก เล่ า เรื่ อ ง ช่ า งภาพ นักสังเกตการณ์ หรือผู้นำ�เด็กแนว แต่นั่นคงไม่อาจแยก ตั ว ตนของเขาออกไปจากสิ่ ง ที่ เ ขาทำ� หรื อ วิ ธี คิ ด ที่ เ ขาใช้ สร้างสรรค์ผลงานออกไปได้ และมันคงเสียเวลาเกินไปที่จะ มานั่งจัดประเภทใครในสังคม เพราะในโลกที่คนธรรมดาได้ สร้ า งความเป็ น ไปได้ ใ หม่ ๆ ให้ เ กิ ด ขึ้ น ให้ เ ห็ น อยู่ เ สมอนั้ น ความน่าสนใจจึงอยู่ที่ว่า ความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ไปรอด ต่างมีจดุ เริม่ ต้นมาจากความพยายามลองผิดลองถูก และการไม่ยอมแพ้จากคนธรรมดาทัง้ สิ้น เหมือนอย่างทีเ่ ต๋อ เคยลองทำ�เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ซึ่งสิ่งที่เขาทำ�และแนวคิดที่เขา ใช้มาตลอด ในวันนี้ ก็ได้สะท้อนให้เราได้เห็นแล้วว่า มันมีความ เป็นไปได้ในการเป็นตัวเองให้สุดทางอยู่จริง ส่วนผลลัพธ์ที่ ออกมาจะเป็นอย่างไร เราก็แค่เรียนรู้และปล่อยให้มันเป็นไป ในแบบที่มันเป็น CREATIVE THAILAND I 28
ที่เคยบอกว่า เลิกสนใจเรื่องเมนสตรีมหรืออินดี้มานานแล้ว แต่ให้มองว่าจะทำ�ยังไงให้สิ่งๆ หนึ่งอยู่ได้ในระยะยาว แล้ว สิ่งนั้นคืออะไร “เหมือนแค่วา่ อยากจะทำ�อะไรมากกว่า ถ้าเป็นยุคแรกๆ สิง่ ทีท่ �ำ มันไม่จดั อยู่ ในหมวดของเมนสตรีม หรือสิ่งที่เราสนใจมันคุยกับคนอื่นรอบๆ ไม่ได้ แต่ก็ไม่ได้คิดว่าสิ่งที่เราทำ� ต้องมีคนชอบมากๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้นเราก็ เลยทำ�มันได้เรื่อยๆ ทำ�ในสิ่งที่เราสนใจ หนังที่เราสนใจ เรื่องสั้นที่เราชอบ บทความหัวข้อที่เราอ่านอยู่แล้วเขียนออกไป จะมีคนอ่านนิดเดียวก็โอเค แล้วมันก็พัฒนาแบบนี้มาเรื่อยๆ ในทุกๆ งานที่เราทำ� จนวันหนึ่งมันก็มี ตัวอย่างที่ทำ�ให้เราเห็นว่า อ๋อ ไม่ต้องเมนสตรีมหรือหมู่มากก็ได้ เช่นสมมติ ว่า ทำ�หนังเล็กๆ ออกมาให้มันซูเปอร์เวิร์กอย่างเรื่อง Whiplash (2014) ที่ เป็นหนังเล็กมาก ใช้เงินสร้างประมาณ 3 ล้านดอล์ล่าร์สหรัฐฯ แต่ทำ�รายได้ เป็นหลักร้อยล้าน ก็เห็นว่ามันมีทางของมันนี่หว่า ตัวอย่างอย่างนี้ก็ทำ�ให้ เรารู้สึกว่าไม่โดดเดี่ยวจนเกินไป ซึ่งข้อดีคือคุณเป็นตัวเองได้เต็มที่ แม้ว่าจะ ไม่ได้มีคนชอบมาก แต่ก็อาจจะมีคนซัพพอร์ตมันมากพอที่จะทำ�ให้คุณได้ ทำ�งานชิ้นต่อไป และมันก็สบายใจที่ได้เป็นตัวเอง แล้วพอคุณได้ทำ�สิ่งที่เป็น ตัวเองจริงๆ มันก็เหมือนไม่ต้องพยายามเดา ก็แค่ค่อยๆ ดูว่ามีข้อบกพร่อง อะไรจากงานที่แล้ว แล้วก็พัฒนางานชิ้นใหม่จากชิ้นเดิมให้มันยังเป็นเราแต่ เป็นเวอร์ชั่นที่ดีขึ้น ไม่ได้คิดว่าช่วงนี้คนฮิตอะไรกัน แล้วเราจะทำ�ยังไงให้ พิชิตใจคน” แล้ ว เราจะพั ฒ นางานให้ ดี ขึ้ น ได้ ยั ง ไงถ้ า เราทำ�สิ่ ง ที่ ช อบ อย่างเดียว ไม่ต้องดูเสียงตอบรับเลยเหรอ “คิดว่าการรับคอมเมนต์คน มันก็เป็นศิลปะอย่างหนึง่ พอเราทำ�งานช่วงแรก เราก็ยังแยกไม่ออกว่านี่ควรฟังหรือไม่ควรฟัง แต่พอเราทำ�ไปสักพักหนึ่ง เราจะแยกว่าเป็นคอมเมนต์คุณภาพและไม่มีคุณภาพ คอมเมนต์คุณภาพ ไม่ได้หมายถึงชม แต่เป็นตินี่แหละ เป็นการติที่เขาเข้าใจเราว่าเราอยู่ใน ไดเร็กชั่นไหนหรือเก็ตเซนส์กันและกัน เช่น ถ้าเราทำ�หนังช้า คอมเมนต์คือ มึงทำ�หนังเร็วๆ หน่อยไม่ได้เหรอวะ เราก็แบบ ไม่ได้ เพราะกูเร็วได้แค่นี้ แต่ ถ้าบอกว่า อยากให้ระหว่างทางสนุกขึ้นแต่ไม่ต้องทำ�หนังเร็วกว่านี้ก็ได้ เราก็จะคิดแล้วว่ามันคืออะไรนะ แบบนี้ก็ทำ�ให้ดิเวลอฟอะไรต่อไปได้” ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นคนดื้อรึเปล่า “ไม่อยากใช้ค�ำ ว่าดือ้ นะ คือตอนทีอ่ ยูใ่ นระบบ เราก็มสี งิ่ ทีอ่ ยากทำ�ในเวย์ของ ตัวเองด้วย ชีวติ เลยเหมือนอยูส่ องขาตลอด มันเลยชินมัง้ ฮะ แต่มนั จะเหนือ่ ย กว่าชาวบ้าน เพราะเหมือนต้องแบกสองฝั่งไว้ เดี๋ยวทำ�หนังเล็กเดี๋ยวทำ�หนัง ใหญ่ แต่ด้วยความที่ทำ�ในสิ่งที่ชอบก็จะไม่ได้รู้สึกเหนื่อยมาก คือเราแค่รู้สึก ว่า ใครอยากทำ�อะไรก็ทำ�เถอะครับ ต้องไม่กลัว แต่คุณก็ต้องพร้อมต่อสู้กับ สังคมทีค่ อยจะจัดประเภทคุณให้เป็นอะไรสักอย่างแล้วบอกว่า ทำ�ไมคุณเป็น คนไม่เหมือนพวกเรา มันเลยเกิดคำ�ว่าเมนสตรีม อินดี้ ที่ทะเลาะกันไม่รู้จบ คือเราว่างานทุกชิ้นมันมีประโยชน์ บางคนอาจจะบอกว่ารายการตลกคาเฟ่ มันไร้สาระ แต่วันที่เราเหนื่อยๆ เราก็ดูอันนั้นนะ ไม่ต้องการหนังฝรั่งเศส
ไม่อยากคิดอะไรทัง้ นัน้ กูตอ้ งการป้าตือ (รายการตือสนิท) เปิดไปเลยห้าคลิป แล้วนอน นี่ไงประโยชน์ของรายการ ถ้าคุณดูในเวลาที่ถูกต้อง มันโอเคนะ เราเลยรู้สึกว่า งานทุกชิ้นมันมีหน้าที่ของมัน แล้ววันหนึ่งคุณอาจจะใช้มัน ก็ได้ คือถ้าเป็นเรื่องรสนิยม เราว่าต่างคนก็ต่างอยู่กันไปไหม สิ่งที่ชอบวันนี้ พรุ่งนี้เราก็อาจจะไม่ชอบแล้ว หรือบางอย่างที่เคยไม่ชอบ วันนึงอาจจะชอบ ก็ได้ คนเราก็มีสิทธิ์เปลี่ยนได้เพราะเราก็โตขึ้น เลยไม่รู้สึกว่าการจัดประเภท หรือแบ่งรสนิยมจะมีประโยชน์อะไร หรือถ้าพูดถึงแมสหรือเมนสตรีม คนจะชอบคิดกันว่ามันต้องแบบนั้น แบบนี้แหละ เราต้องทำ�หนังแบบนั้นแบบนี้ เราต้องทำ�เพลงแบบนั้นแบบนี้สิ คนถึงจะชอบ ถ้านอกจากนี้ไม่ได้แล้ว แต่ต้องอย่าลืมว่าสิ่งใหม่ๆ ที่มันเกิด ขึ้นบนโลกนี้ สเต็ปที่หนึ่งมันก็ไม่ได้รับการตอบรับจากมหาชนไปทุกอัน มันอาจจะแปลกประหลาดซะจนคนไม่ใช้ด้วยซ้ำ� แต่พอมันดิเวลอฟไปได้ จุดหนึง่ คนก็ใช้ ซึง่ มันพิสจู น์วา่ จริงๆ แล้ว คนไม่ได้จะเอาแบบเดิมๆ หรอก เพียงแต่ว่าถ้าเราทำ�สิ่งใหม่ขนึ้ มา สิ่งที่เราจะต้องทำ�คือการสื่อสารออกไปให้ ได้มากที่สุด ว่าสิ่งๆ นั้นมันสัมพันธ์กับเขายังไง หรือคุณเอาไปใช้ในแง่ไหน ได้บ้าง ซึ่งสุดท้ายแล้ว คนจะชอบมันเยอะหรือน้อยก็ต้องยอมรับไป หรือ ถ้าอยากซื้อใจคนได้มากขึ้นก็ต้องไปพัฒนาเพิ่ม” แล้วเคยทำ�อะไรที่ไม่ใช่แนวทางตัวเองบ้างไหม “น้อยมาก แล้วยิ่งหลังๆ ยิ่งรู้สึกว่าเป็นเด็กที่ถูกสปอยมากขึ้นเรื่อยๆ มันชัด มากตอนทำ�โฆษณา เพราะโฆษณาอาจไม่ได้มาจากสิ่งที่เราสนใจ เพราะมี ธีม มีลูกค้าบรีฟมา และอย่างที่รู้กันว่าวงการโฆษณามีการต่อสู้ ด้วยความ ทีไ่ ม่ชอบการทะเลาะเบาะแว้งใดๆ เราก็คดิ ว่าไม่เอาแบบนัน้ ได้ไหม สิง่ ทีเ่ รา ทำ�ก็คือ ถึงลูกค้าจะเลือกเรา แต่เราก็เลือกลูกค้าด้วย แต่ไม่ใช่ว่าเขาเสนอ มาแล้วเราไม่ชอบ เราก็ไม่ทำ�เลย มันจะเป็นลักษณะว่าบางทีเวลาเจอบรีฟ อ่านแล้วอาจจะไม่ใช่ทางเราเท่าไหร่ วิธีการคือ คิดให้เขาว่าถ้าเราทำ� จะทำ� ยังไง ถ้าเป็นเมสเสจนี้เราอยากเล่าแบบนี้มากกว่า ก็ส่งกลับไปหาเขา เอาก็ทำ� ไม่เอาก็ไม่ทำ� แค่นั้นเลย ไม่ได้โกรธกัน เพราะโฆษณาบางแบบเรา รูว้ า่ มีคนอืน่ ทำ�ได้ดกี ว่าเรามาก เป็นศาสตร์และศิลป์ของเขา ก็อยากให้ลกู ค้า ได้งานที่ดีด้วย ซึ่งก็ถือว่าโชคดีที่ทำ�ตัวแบบนี้แล้วเขาก็เอา ข้อดีของการทำ� แบบนี้ก็คือ พอทำ�แล้วระหว่างทางแทบไม่มีปัญหาอะไรเลย แล้วฟีดแบ็กที่ เราได้รับก็ถือว่าโอเค ก็เลยใช้วิธีนี้มาเรื่อยๆ สำ�หรับเรามันก็วินวินนะ ลูกค้าได้โฆษณา แต่เราได้หนังสั้นมาตัวหนึ่ง เพราะโฆษณาทุกชิ้นที่เราทำ� เรามีความภาคภูมิใจในการพรีเซนต์ เรารู้สึก ว่าตัวละครที่อยู่ในโฆษณาเป็นตัวละครเดียวกับในโลกของหนังแบบเรา ก็เลยรูส้ กึ ว่า วิธกี ารนีม้ นั เวิรก์ เหมือนกัน การเป็นตัวเองและทำ�ให้มนั ดีในเวย์ ของเรา แล้ววันหนึ่งถ้าลูกค้าจะมาทำ�ในเวย์นี้ เขาก็จะมาหาเราเอง ในทาง กลับกัน ถ้าอยู่ดีๆ เราต้องไปทำ�หนังในแบบที่เราไม่เคยทำ�มาก่อนและ ไม่ถนัด สิง่ ทีเ่ ราต้องทำ�คือ ต้องเปลีย่ นตัวเองแล้วใช้เวลาทำ�ความเข้าใจใหม่ หมด ซึ่งจะเหนื่อยกว่าชาวบ้านด้วยนะ แต่สิ่งที่ทำ�ออกมาก็อาจได้แค่พื้นๆ แต่ถ้าเป็นแนวเรา เราก็ดูว่าคนอื่นที่ทำ�คล้ายๆ เรา มีอะไรไปแล้วบ้าง ช่วงนั้นมีหนังอะไรบ้าง แล้วเราจะทำ�ให้มันแตกต่างยังไงได้บ้าง”
CREATIVE THAILAND I 29
ในฐานะของคนท�ำงานสร้ า งสรรค์ บางทีก็รู้สึกเหมือนกันนะว่า ถ้าเรา มัวแต่ยืนอยู่ในเวย์ตัวเองมันจะจบแค่ ตรงนี้ไหม แต่พอย้อนกลับไปดูงาน พวกแก๊ ง เฉพาะทางที่ เ ขาก็ ป ระสบ ความส�ำเร็จในเวย์ของเขา มันก็ท�ำให้ เรารู้สึกว่า มั่นใจหน่อย ว่ามันก็มีทาง ของมัน กว่าจะเจอแนวทางของตัวเอง แล้วทำ�แบบนี้ได้ ต้องผ่าน อะไรมาบ้าง “ก็ไม่รู้ว่าเริ่มต้นจากตรงไหนเหมือนกัน แต่อยู่ๆ ก็สำ�นึกขึ้นมาได้ว่า บางครั้งเราก็ต้องมั่นใจในตัวเองหน่อยจริงๆ ว่ะ เพราะงานที่เราทำ�อาจจะ ไม่ได้แมสมาก วันหนึ่งมันก็จะไปอยู่กับงานที่แมสกว่า สนุกกว่า ฮากว่า ในฐานะของคนทำ�งานสร้างสรรค์ บางทีก็รู้สึกเหมือนกันนะว่า หรือเราควร เป็นแบบนั้นวะ งานเราต้องสวยเท่างานเวส แอนเดอร์สัน (Wes Anderson) เปล่าวะ งานเราต้องดราม่าขนาดนั้นไหม เราทำ�ได้ดีกว่านั้นไหม ถ้าเรามัว แต่ยืนอยู่ในเวย์ตัวเองมันจะจบแค่ตรงนี้ไหม บางทีมันก็สับสนนิดหนึ่ง แต่พอถึงจุดๆ หนึ่ง แล้วมองย้อนกลับไปดูงานพวกแก๊งเฉพาะทางที่ เขาก็ประสบความสำ�เร็จในเวย์ของเขา มันก็ทำ�ให้เรารู้สึกว่า มั่นใจหน่อย ว่ามันก็มีทางของมัน และก็ค้นพบว่า งานที่เขาบอกว่าดีหรืองานที่เข้าถึงคน หมู่มากได้มากๆ ก็มีคนไม่ชอบอยู่ดีเปล่าวะ งานที่ได้ Best Picture ได้ ออสการ์ บางคนก็บอกว่า แม่งได้ไปได้ไงวะ สุดท้ายก็คือ ไม่ว่าจะทำ�ยังไง มันก็ควบคุมไม่ได้ ไม่ว่าจะทำ�ดีที่สุดแค่ไหน ก็มีคนไม่ชอบ สุดท้ายหนังที่ เราทำ�ทุกวันนี้ ทีเ่ หมือนว่ามีคนชอบ เรากลับรูส้ กึ ว่า มีคนไม่ชอบอีกครึง่ หนึง่ เลยนะ สุดท้ายถ้าทำ�จนมันเอาชนะใจคนทีไ่ ม่ชอบได้กด็ ี แต่เราว่าแค่ท�ำ งาน ใหม่ให้เวิร์กกว่าครั้งที่แล้วก็ยากพออยู่แล้ว มันใช้แรงมากจนไม่มีโอกาสไป คิดว่า รอบนี้เขาจะชอบหรือไม่ชอบ คือแค่คิดว่าจะให้เวิร์กกว่าครั้งที่แล้ว ได้ยังไง ก็หมดเวลาแล้ว ก็ได้แต่ทำ�แบบนี้มาตลอด” พอเลือกที่จะทำ�งานในเวย์ตัวเองแล้ว ความท้าทายที่ต้องเจอ คืออะไร “เราว่าในการทำ�งานชิ้นหนึ่ง โปรเซสที่เราอยู่กับมันนานที่สุดคือระหว่างทำ� เราต้องอยู่กับโปรเจ็กต์หนึ่งอย่างน้อยก็ปีหรือสองปีขึ้น เราเลยแคร์ระหว่าง ทำ�ว่าเราจะเอ็นจอยและได้เรียนรู้อะไรบ้าง นั่นคือความสุขระหว่างทำ� คือ ถ้าเราตัง้ ใจทำ�จริงๆ ถึงงานจะไม่ได้ออกมาดีทสี่ ดุ แต่คนดูกจ็ ะรูว้ า่ มันไม่ชยุ่ และเราก็ไม่ได้ชอบทำ�งานซ้ำ�เดิม จะชอบตั้งโจทย์ใหม่กับตัวเอง เช่น จะทำ�
หนั ง ปรั ช ญาให้ วั ย รุ่ น ดู แ ล้ ว ชอบได้ ไ หมวะ หรื อ จะเล่ า หนั ง ที่ ทั้ ง เรื่ อ งมี 36 ช็อตให้คนเก็ตได้ไหมวะ มันจึงเป็นความยากระหว่างทำ�ด้วยที่เราต้อง คิดเยอะกว่าเดิม ก็ต้องลองทำ�ดู แล้วผลออกมาเป็นไงก็เรียนรู้กันไป ก็เวิร์กบ้างไม่เวิร์กบ้าง แต่มันก็หายคาใจไง เพราะเอาจริงก็ไม่รู้ว่าคนเราจะ ตายเมื่อไหร่ นี่ไม่ได้พูดเข้าหนังนะ แต่คิดอย่างนี้จริงๆ เพราะถ้าเกิดทำ�ใน สิง่ ทีเ่ ราไม่ได้ชอบเพือ่ เอาใจคน ระหว่างทำ�มันต้องซัฟเฟอร์มาก มันคงเหมือน การแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่เราไม่ได้อิน แทนที่จะใช้ความครีเอทีฟ มันจะ กลายเป็นการใช้สกิลเอาตัวรอด แล้วถ้าเราเกิดตายไปก่อนระหว่างทำ� ก็จะ กลายเป็นว่าเราตายไปแบบไม่มีความสุขเลย พอเทียบกับงานที่เราทำ�แล้วมี ความสุขแต่ตายก่อนเหมือนกัน เราว่าเราเอาแบบหลังมากกว่า” ระดับความแคร์ของเรา ค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามงานที่ทำ�บ้างไหม “มันก็แล้วแต่โปรเจ็กต์นะ แต่ด้วยความที่ตัวเรามีหลายโหมด ก็จะพยายาม ทำ�งานที่มันเหมาะกับเราและเหมาะกับเขา เช่น เราก็ทำ�งานกับสตูดิโอ มานาน ก็พอจะรูว้ า่ เขาประมาณไหน ก็เลือกสตอรีท่ มี่ นั เหมาะกับเขา เพราะ ฉะนั้นเวลาทำ� ก็ยังรู้สึกว่ามันก็เป็นของเรา แต่ถ้าทำ�โปรเจ็กต์ตัวเองก็จะ ไม่แคร์ คือจะทำ�อะไรก็ทำ� เป็นหนังที่ independent (อิสระ) จริงๆ ไม่ได้ รู้สึกว่ามีความกังวลอะไร มีแต่ว่าเราเคยทำ�อะไรไปแล้วมากกว่า และจะไม่ ทำ�แบบเดิม คือพยายามทำ�งานที่เราอยากทำ�แต่ปรับให้เข้ากับสภาวะต่างๆ ซึง่ บางครัง้ การอยูก่ บั สภาวะอืน่ ๆ มันก็เป็นโจทย์ของเรา ทีไ่ ม่ได้หมายถึงต้อง ทำ�เพือ่ พิชติ ใจคนนะ แต่เป็นโจทย์ในลักษณะทีว่ า่ งานแบบเราไปอยูใ่ นสภาวะ แบบนี้ มันจะออกมาเป็นยังไง เพราะสุดท้าย เราก็คิดว่าหนังมันเป็นมีเดีย ไว้สื่อสารผ่านภาพและเสียง ไม่ได้คิดว่าตอนทำ�หนังอินดี้หรือหนังอาร์ตมัน ดูไฮกว่าคนอืน่ หรือทำ�หนังแมสมันดูพาณิชย์จงั เพราะในชีวติ มันก็มที งั้ เรือ่ ง อาร์ตและแมส เราก็แค่หาแพลตฟอร์มที่ถูกต้องให้มันมากกว่า ฉะนั้นเราก็ เลยโดดข้ามไปข้ามมาได้” มีคนบอกว่าโลกยุคนี้มีก็แต่เส้นแบ่งเบลอๆ ที่เราไม่อาจจัด ประเภทได้อีกต่อไป แต่กลับกลายเป็นว่ามันคือโอกาสในการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น เช่น ธุรกิจเล็กๆ แต่แปลกใหม่ คุณมองปรากฏการณ์นี้อย่างไร “เราว่าในยุคอินเทอร์เน็ตแบบนี้ เราก็เริ่มเห็นแล้วว่าทุกคนมีคอมมูนิตี้ของ ตัวเองกันหมดแล้ว อย่างหนังเรื่องผู้บ่าวไทบ้าน (2014) ที่ฉายแค่อีสานได้ รายได้ 25 ล้าน นีค่ อื ความอินดีข้ องจริง คือเหมือนโลกมันแตกเป็นคอมมูนติ ้ี เป็นเซ็กเมนต์ เป็นแชนแนลของตัวเอง ที่ไม่ใช่แค่เมนสตรีมหรืออินดี้อีกแล้ว แล้วจะไปนัง่ ไล่หาชือ่ เรียกมันก็ล�ำ บากไป เอาเป็นว่าทุกคนมีโอกาส คุณก็ตอ้ ง ทำ�ให้ดพี อในเซ็กเมนต์ของตัวเอง แล้วหา audience (กลุม่ คนดู) ของตัวเอง ให้เจอ ซึ่ง audience ของคุณอาจจะไม่อยู่ในกรุงเทพฯ ก็ได้ คุณอาจจะดัง สุดๆ ที่ลอนดอนโดยที่ไม่มีคนรู้จักคุณที่กรุงเทพฯ เลยก็ได้ เช่น พี่มาฟต์ ไซ (ดีเจและผู้ก่อตั้งวงดนตรีหมอลำ� Paradise Bangkok) เคยเห็นเขาเล่นเมือง นอกนี่ เวทีใหญ่สุดๆ คนเพียบ เราเลยคิดว่า ก็โชคดีทยี่ งั เกิดมาทันยุคอินเทอร์เน็ต เพราะยุคนีเ้ ซ็นเตอร์ ในการผลิตหนังไม่ได้อยูท่ สี่ ตูดโิ อ หรือแล็บหนัง แต่ตอนนีก้ ลายเป็นว่าจะทำ� อะไรก็ทำ� แต่ทำ�ให้มันดี ซึ่งถ้าคิดไปอีกสเต็ปหนึ่ง เวลาคุยกับน้องๆ ก็จะ
CREATIVE THAILAND I 30
บอกว่า ให้รู้เรื่องบิสสิเนสนิดหนึ่งจะดีมาก ถ้ามีหัวใจเป็นโปรดิวเซอร์อีกนิด ก็จะทำ�ให้คุณบริหารได้ ซึ่งมันจำ�เป็นและไม่ได้น่าอายที่จะรู้ มันเป็นหลัก เศรษฐศาสตร์ที่ว่า คุณมีเท่าไหร่ คุณใช้เท่าไหร่ ซึ่งถ้าคุณรู้เรื่องพวกนี้ ก็จะ ทำ�ให้คุณวิ่งไปยาวๆ ได้ แล้วสำ�หรับเรามันก็ไม่ใช่ทางสบายๆ ในตอนแรก เพราะกว่าจะถึง ตอนนี้ มันก็ใช้เวลา 10 ปี เพราะเราเกิดในยุคก้ำ�กึ่งระหว่างยุคอนาล็อกและ อินเทอร์เน็ตด้วยแหละ แต่ถ้าเด็กที่เกิดหลังจากเราไป 10 ปี เขาอาจจะใช้ เวลาแค่ 5 ปีก็ได้ เพียงแต่ว่า คนมันต้องถอดกรอบก่อนว่า มันไม่ได้มีแต่วิธี การเดิมอย่างการเดินกลับไปหาเซ็นเตอร์ก่อนแล้วถึงจะทำ�ได้ หรือถ้าจะไป ทำ�เองแต่มีความรู้เรื่องบิสสิเนสน้อยเกินไปก็อาจจะไม่รอด ก็ต้องหาวิธี บาลานซ์ให้ได้ และดูว่าเราเหมาะกับการทำ�งานแบบไหน ซึ่งก็ไม่มีทางไหน ง่ายกว่ากัน” เห็นว่าเดินทางบ่อย มองเห็นความแตกต่างอะไรในอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ของไทยและต่างประเทศบ้าง “เราว่าทุกทีม่ นั เหมือนกันหมด แม้แต่ในประเทศทีส่ นับสนุนศิลปะ หนังแมส ก็ยงั ฉายเยอะกว่าหนังอินดี้ คราวนีส้ ดั ส่วนขึน้ อยูก่ บั ว่าประชากรทีน่ นั่ เขาเป็น ยังไง ถ้าคุณมีการศึกษาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แน่ๆ อยู่แล้วว่าใครจะอยากดูของ ง่ายตลอดเวลา ตอนที่เราเอาหนังไปฉายที่ลอนดอน ฟังดูเป็นที่ที่ดีสำ�หรับ หนังเล็กๆ แต่พอเราเข้าไป หนังเรากลายเป็นเซ็กเมนต์ที่เล็กมากๆ ของเขา ไม่ถึงเปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ� เพราะเขามีหนังแบบอินดี้เยอะมากๆ เยอะจนโรง อินดี้เองก็ฉายไม่พอ ดังนั้นหนังอินดี้ที่นั่นก็มีชนชั้นอีก อินดี้ไซส์ใหญ่ ไซส์ กลาง ไซส์เล็ก หรือไซส์เล็กมากแบบหนังเรา ก็ต้องไปแย่งโรงกันฉาย แล้ว หนังแบบเราคือแทบจะต้องไปแทรกรูฉายกับเขา แต่พอหนังเราอยู่เมืองไทย ไม่คอ่ ยมีหนังอินดีฉ้ าย โรงว่าง หนังเราเลยได้ฉายง่ายๆ เลย ได้หลายโรงด้วย
มันเลยกลายเป็นความโชคดีทเี่ ราอยูท่ นี่ เี่ หมือนกัน เพราะตอนอยูท่ ลี่ อนดอน เราต้องต่อสู้กับหนังของเวส เอนเดอร์สันที่ฉาย 50 โรง แล้วโรงไม่ว่างเลย กลับกันที่เมืองไทย หนังเราเคยฉายชนหนังอย่าง Blue Is The Warmest Color (2013) มาแล้ว แล้วมันออกก่อน แต่หนังเราอยู่ต่อได้อีกสองวีก นี่กู ชนะเห็นๆ เลย แต่พอไปอยู่ลอนดอน หนังเราอาจไม่ได้ฉาย แถมยังเห็น The Grand Budapest Hotel (2014) เป็นบิลบอร์ดในรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใหญ่ เท่า Blade Runner 2049 (2017) ในไทย คือมันมีพื้นที่ขนาดนั้น ข้อดีของที่ นู่นคือ ถ้าคุณทำ�ดีจริง มันมีโอกาสเลย แต่ก็ต้องยอมรับว่าการแข่งขันก็สูง ข้อดีของทีเ่ มืองไทยคือมันไม่มอี ะไรเลย สิง่ ทีต่ อ้ งต่อสูค้ อื ความไม่มอี ะไรเลย ไม่มีอะไรจะดู แต่สิ่งที่ได้ คือสเปซที่อาจจะดีกว่าที่ลอนดอน” อยากให้สะท้อนประสบการณ์ของตัวเองที่มีต่อภาพรวมของ ประเทศไทยให้ฟังหน่อย “ถ้าเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา เราก็เห็นว่านอกจากเฮ้าส์อาร์ซีเอที่ฉายหนัง อินดี้แล้ว โรงปกติก็เริ่มฉายหนังประเภทนี้มากขึ้น ในช่วง 2-3 ปีนี้ก็ถือว่าดี ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ใช้เวลานานมาก ก็ต้องต่อสู้กับคานงัดอันหนึ่งที่บอกว่า หนังอินดี้ใครจะดู หรือต่อสู้กับมาตรฐานหลักๆ ของคนไทยที่ไม่คิดจะ เปลี่ยนอะไรเลย แล้วถ้ามีของใหม่เข้ามา ก็จะไม่เอาไม่อยากเสี่ยง ไม่อยาก เปลีย่ นมาตรฐานอะไรทัง้ นัน้ เราคิดว่าถ้าจะเปลีย่ นทีน่ ี่ คือต้องทำ�ให้มนั เวิรก์ ให้เห็น เพราะมันเป็นเวย์เดียว ซึ่งตอนแรก คุณจะถูกทับถมแน่นอน จะถูก มองว่าเป็นตัวประหลาด แต่ถ้ามันเวิร์ก ทุกอย่างจะดีขึ้นทันที แต่ก่อนที่ มันจะเวิร์กคือมันจะไม่มีคนซัพพอร์ตไง มีแต่คนที่บอกว่า เห้ย ทำ�ไปมัน จะเวิร์กเหรอ พอมันเวิร์กก็ ฮัลโหลขอชื่อหน่อยค่ะ เดี๋ยวจะไปลงประกาศ ความดีให้ ซึ่งระหว่างทางไม่เคยช่วยเลย แต่พอเวิร์กแล้วก็มาเลย ก็จะ แปลกๆ นิดหนึ่งฮะ”
CREATIVE THAILAND I 31
ตัวอย่างผลงานของนวพล ธํารงรัตนฤทธิ์ กำ�กับภาพยนตร์ 36 (2012) Mary is happy, Mary is happy (2013) เดอะมาสเตอร์ (2014) ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (2014) Die Tomorrow พรุ่งนี้ตาย (2017) บทภาพยนตร์ รถไฟฟ้า มาหานะเธอ (2009) Top Secret วัยรุ่นพันล้าน (2011) รัก 7 ปี ดี 7 หน ตอน 14 (2012) Home ความรัก ความสุข ความทรงจำ� (2012) นิทรรศการ I WRITE YOU A LOT (2016)
I Just Wanna Say Something… “เรามีเรือ่ งจะบอกคุณผ่านหนังของเรา มาดูไหม” คือความรูส้ กึ ทีเ่ ต๋อ บอกว่า เป็นสิ่งเพียวๆ ในการทำ�หนังยาวเรื่องแรก 36 (2012) จาก ความสนใจเรือ่ งกล้องดิจทิ ลั กล้องอนาล็อก และถ่ายทอดออกมาเป็น สตอรี่ความรัก “เราก็บอกไปตามที่มันเป็น ถ้าคุณสนใจก็มาดูนะ ห้องทีฉ่ ายมันไม่ใช่โรงหนัง แต่เป็นห้องประชุมว่ะ เราขายตัว๋ ร้อยหนึง่ แต่แถมซีดีให้ด้วยนะ คือมันตรงไปตรงมามากๆ เพราะเรารู้ว่าเราทำ� อะไรได้หรือไม่ได้ หรือให้อะไรเขาได้บ้าง” It’s not WHO, It’s HOW เมื่อถามว่าในชีวิตนี้อยากร่วมงานกับใคร... “ถ้านึกเร็วๆ ตอนนี้ คง นึกถึงสไปก์ โจนซ์ เรารู้สึกว่าเขามีงานที่หลากหลาย อยู่ดีๆ ทำ�หนัง เสร็จก็ไปทำ� Viceland (ช่องรายการทีวีของบริษัท Vice Media ผู้ผลิตสื่อดิจิทัลและสื่อกระจายภาพและเสียงในทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มดำ�เนินรายการเมื่อปี 2016) ซึ่งมันใหม่ สนุก และเป็นตัวเขาด้วย แล้วมันเป็นไปตามธรรมชาติ ตรงไปตรงมามากว่าคุณจะชอบหรือไม่ ชอบมัน เพราะที่นี่ไม่มีใครโปรโมต Viceland อยู่แล้ว ทำ�ให้เรารู้ว่า ถ้าทำ�ให้เวิร์กไปถึงจุดๆ หนึ่ง คุณก็ไม่ต้องการโฆษณาอะไรทั้งนั้น เนื้องานมันจะบอกทุกอย่างเอง ซึ่งเราก็ไม่ได้ทำ�งานตรงสไตล์กับเขา หรอกฮะ แต่เราชอบดูวิธีการทำ�งาน ชอบไปอ่านเจอวิธีคิดของคนนั้น คนนี้ที่แจ๋วดีว่ะ เขาก็คิดแบบนั้นหรือทำ�แบบนี้ก็ได้ เป็นเรื่องความ หลากหลายมากกว่า” If You Die Tomorrow, I’ll Say Goodbye เมื่อถามว่า ถ้าคนที่คุณรู้จักจะตายวันพรุ่งนี้... “คงทำ�อะไรไม่ได้ นอกจากร่ำ�ลาให้ดีที่สุดเท่านั้นเอง เพราะมันเป็นโปรเซสที่เกิดขึ้น อยู่แล้ว และสำ�หรับเรา มันแฟร์มากเลยนะ ไม่เคยมีใครรอดสักคน เท่าเทียมกันที่สุดแล้ว อาจฟังดูน่ากลัว แต่เราว่ามันเป็นระบบที่ดี เพราะความตายมันกำ�หนดทุกอย่างและกำ�หนดทุกวิธคี ดิ ซึง่ บางครัง้ มันก็บังคับให้เราทำ�อะไรเบี้ยวๆ ไปเยอะเหมือนกัน” CREATIVE THAILAND I 32
Creative Will : คิด ทํา ดี
เปิดประตูสู่ทุ่งนาข้าวพื้นเมือง เรื่อง: ปิยะพร สวัสดิ์สิงห์
“ถ้าเรากินข้าวพื้นเมือง ก็จะมีคนปลูกข้าวพื้นเมือง เราได้กิน พืชได้อยู่รอด ความหลากหลายของสายพันธุ์ยังคงอยู่ เกษตรกรก็มีรายได้” นี่คือแนวคิด แบบ Eat to Live ของคุณอนุกูล ทรายเพชร ผู้ก่อตั้ง Folkrice ช่องทางการ เข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาพและสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืนในสังคม โดยมี แนวคิดที่เรียบง่ายต่อการอนุรักษ์ความหลากหลายของสายพันธุ์พืชชนิด ต่างๆ โดยเฉพาะข้าวให้ยังคงอยู่ในระบบนิเวศได้ดีที่สุดและยั่งยืนที่สุด เพื่อ ให้ข้าวพันธุ์ท้องถิ่นไม่หายไปจากสังคมไทย ประเทศไทยมีขา้ วสายพันธุพ์ น้ื เมืองอยูม่ ากมาย เป็นความหลากหลาย ทางชีวภาพที่มีมากกว่า 43,000 ชนิด แต่เราอาจจะเคยกินข้าวสายพันธุ์ที่ คุ้นเคยเพียงไม่กี่สายพันธุ์ โดยที่ไม่รู้ว่ายังมีอีกหลายสายพันธุ์ของข้าวที่มี คุณประโยชน์และอร่อยไม่แพ้ข้าวที่เรากินกันอยู่ทุกวัน Folkrice เป็นหนึ่งใน รูปแบบกิจการเพื่อสังคมที่มุ่งเน้นการส่งเสริมเกษตรกรพันธุ์ข้าวพื้นเมือง รายย่อยและสินค้าด้านการเกษตรอื่นๆ ในรูปแบบของแอพพลิเคชันและ เว็บไซต์ที่จะพาผู้บริโภคที่สนใจไปรู้จักกับข้าวสายพันธุ์ต่างๆ มากขึ้น ทั้งยัง ช่วยให้เราสัง่ ซือ้ ข้าวพันธุพ์ นื้ เมืองจากมือเกษตรกรได้โดยตรงแบบไม่ตอ้ งผ่าน พ่อค้าคนกลาง ซึ่งช่วยให้เกษตรกรได้รายได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากขึ้น วิธีการทำ�งานของ Folkrice คือการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เข้าถึง ได้ง่าย เพื่อว่าผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติจะสามารถ เข้ามาเลือกดูและซื้อข้าวสายพันธุ์ต่างๆ ได้เสมือนกับเลือกซื้อสินค้าผ่าน แคตตาล็อกออนไลน์ ขณะที่ฝั่งผู้ผลิตหรือเกษตรกรเองก็สามารถนำ�สินค้า
เข้ามาวางขาย จัดโปรโมชั่น หรือแนะนำ�สินค้าได้ตามแบบฉบับของตัวเอง บนแพลตฟอร์มนี้ มีเงื่อนไขเพียงว่า สินค้าทางการเกษตรที่จะนำ�มาวาง ขายได้ จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ที่ผ่านมาตรฐานของ Folkrice ทั้งเรื่อง คุณภาพและความปลอดภัย รวมถึงข้อกำ�หนดหลักๆ 2 ส่วน ได้แก่ หนึ่ง การเป็นเกษตรกรต้นน้ำ�ที่ทำ�การผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยตนเอง หรือ เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ สอง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีแบบองค์รวม คือดีต่อคน ดีต่อ ธรรมชาติ ดีตอ่ ชุมชน โดยทุกๆ รายได้จากการจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์จะถูกหัก 10 เปอร์เซ็นต์ เพือ่ นำ�มาใช้ตอ่ ยอดการพัฒนาด้านการเกษตรและความมัน่ คง ทางอาหาร ซึง่ เป็นอัตราทีต่ กลงกันแล้วว่าอยูใ่ นระดับทีช่ ว่ ยสนับสนุนให้ทกุ ๆ ฝ่ายให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ Folkrice ยังทำ�หน้าที่ให้ข้อมูลความรู้ จากเกษตรกรส่งตรงถึงผู้บริโภค ตลอดจนยังกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และเทคนิคต่างๆ กับเกษตรกรทีส่ มัครเข้าร่วมโครงการอีกด้วย ตั้งแต่เปิดตัวมา Folkrice มีเกษตรกรสนใจสมัครเข้าร่วมแล้วกว่า พันคน และมีเกษตรกรที่ผ่านการคัดเลือกจากทีมงานได้เข้ามาขายสินค้า แล้วกว่าร้อยราย ในปีนี้ Folkrice ยังได้ขยับจากการเป็นผู้ประกอบการเพื่อ สังคมเล็กๆ ไปสู่การเป็นตัวกลางที่ขับเคลื่อนคุณค่าและความเชื่อหลักของ ตนเองร่วมกับองค์กรต่างๆ เช่น องค์กรที่มีลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้า ออร์แกนิก องค์กรที่สนใจทำ�เรื่องโลจิสติกส์ แวร์เฮ้าส์ หรือแม้กระทั่งองค์กร ภาครัฐที่สนับสนุนประเด็นเรื่องสมาร์ทฟาร์มมิ่ง โดยความสำ�เร็จที่ Folkrice อยากให้เกิดขึ้น ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1) การพัฒนาเกษตรกรให้เป็น ผูป้ ระกอบการและเป็นผูป้ ระกอบการบนแพลตฟอร์มดิจทิ ลั ได้ 2) การพัฒนา แพลตฟอร์มหรือนวัตกรรมของแพลตฟอร์มอยู่เสมอ เพื่อให้เกษตรกรมี เครือ่ งมือในการทำ�งานทีด่ ี ไม่วา่ จะเป็นการเช็กสต็อก การจัดการสต็อก หรือ การพยากรณ์สภาพอากาศต่างๆ และ 3) การสื่อสารไปยังผู้บริโภค เพื่อให้ เกิดความเข้าใจและสามารถเลือกสรรสิ่งที่ดีให้กับตนเองได้ Folkrice จึง นับเป็นประตูบานใหม่ทเ่ี ปิดให้ทงั้ เกษตรกร ผูบ้ ริโภค และนาข้าวหลากหลาย สายพันธุ์ได้มาพบกัน ในวันที่เทคโนโลยีช่วยเชื่อมต่อทุกฝ่ายเข้าหากันได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่: folkrice.com และ Facebook: Folkrice ที่มา: folkrice.com / บทความ “‘อนุกูล ทรายเพชร’ กับธุรกิจเพื่อสังคม Folkrice แอพฯ ซื้อขายผลิตภัณฑ์อินทรีย์กับเกษตรกรโดยตรง” จาก creativecitizen.com / บทความ “อนุกูล ทรายเพชร ‘หลังสู้ฟ้า หน้าสู้จอ’” จาก bangkokbiznews.com
CREATIVE THAILAND I 34