Creative Thailand Magazine

Page 1


ทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า นิตยสาร CREATIVE THAILAND


YOU ARE DEAD IF YOU ONLY AIM FOR KIDS. ADULTS ARE GROWN-UP KIDS. จบเห่... ถ้าคุณคิดแค่จะทำ�ให้เด็กดู ผู้ใหญ่ก็คือเด็กที่โตแล้วนั่นแหละ WALT DISNEY


สารบัญ The Subject

6

The Object

7

Creative Resource

8

Presumers

Pororo the Little Penguin

Featured Book/ DVD/ Book/ Trend Book

Classic Item

11

Cover Story

12

Million Dollar Baby

filmofilia.com

10

Birthday Cake

19

Creative Entrepreneur

22

Creative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Familymembers: Family's Blissiness

Matter

ปุยนุน… สัมผัสละมุนแดลูกนอย

Insight

เด็กปน

Penang: Prince of Wales… Prince of Wealth

ทนง โชติสรยุทธ ทางเลือกการศึกษา ในอนาคตที่ไมหยุดนิ่ง

สลับเลี้ยง สรางสายใยรัก

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสิทธิ์ ไลสัตรูไกล ที่ปรึกษา l กิตติรัตน ปติพานิช, ชมพูนุท วีรกิตติ, พิชิต วีรังคบุตร, กนกพร เกียรติศักดิ์, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทิพย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, ดุษฎี มุทุกันต, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ผูออกแบบปก l วิทมน นิวัติชัย โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th ศิลปน นักวาดภาพประกอบ และคอลัมนิสต พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม ผูมีใจรักเกี่ยวกับการทำธุรกิจเสื้อผาและของใชสำหรับเด็ก ผลงาน: facebook.com/familymembersstudio นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

Life is Beautiful สถานี CNNMoney ได้รายงานถึงตัวเลขอันหดหูข่ องสังคมอเมริกนั ซึง่ พบว่า 3 ปีหลังภาวะเศรษฐกิจ ถดถอย ค่านิยมของคนอเมริกันได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ความต้องการสิ่งจรรโลงชีวิตเพื่อความ ชุ่มชื่นจิตใจต่างๆ กลายเป็นข้อควรระวังและแทบจะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับการลงทุนในบ้าน รถยนต์ สินเชื่อธุรกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีลูก เศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้แผนการชีวิตของอเมริกันชนเหมือนรถไฟตกราง สำ�นักวิจัย Pew Research Center ของสหรัฐฯ ระบุว่า อัตราการว่างงานที่สูงขึ้นทำ�ให้คนหนุ่มสาวพิจารณา ทางเลือกใหม่ในชีวิต เช่น การย้ายออกจากเมืองใหญ่ไปสู่ย่านชานเมือง ในขณะที่ร้อยละ 22 ของ คู่แต่งงานที่มีอายุระหว่าง 18 - 34 ปี ตัดสินใจเลื่อนการมีลูกออกไปจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้น เพราะ จากการประเมินค่าใช้จ่ายของครอบครัวชนชั้นกลางที่มีรายได้ประมาณ 77,100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ ปีนั้น จะต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมากกว่า 300,000 เหรียญสหรัฐฯ เพื่อเลี้ยงดูเด็กหนึ่งคนตั้งแต่แรก เกิดถึงอายุ 17 ปี ซึ่งนี่เป็นตัวเลขที่ประเมินไว้ก่อนเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย ทั้งยังเป็นค่าใช้จ่ายที่ ไม่ได้รวมค่าเล่าเรียน และคำ�นวณอัตราเงินเฟ้อที่แปรผันไปตามภาวะเศรษฐกิจ ดังนั้น การมีลูก ของคนอเมริกันในยุคนี้จึงต่างจากยุคทองของเศรษฐกิจตลอดทศวรรษ 1990 ที่อัตราของผู้หญิง ตั้งครรภ์ที่ทำ�งานในออฟฟิศต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นทุกปี จนสังคมอเมริกันเรียกปรากฏการณ์ในขณะนั้น ว่า "Echo Boom" อันเป็นช่วงเวลาทีห่ นุม่ สาวต่างเริม่ ต้นมีชวี ติ คูแ่ ละมีลกู และพวกเขาก็คอื เจเนอเรชัน่ ถัดมาของกลุม่ "Baby Boomer" เมือ่ ยุคหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ องนัน่ เอง และแม้วา่ สถานการณ์ตา่ งๆ ในปัจจุบนั จะทำ�ให้คแู่ ต่งงานยุคใหม่เริม่ ลังเลหรือชะลอการมีทายาท แต่นกั วิจยั ด้านประชากรศาสตร์ ของอเมริกันก็ยังเชื่อว่า 5 ปีต่อจากนี้ อัตราการเกิดของเด็กจะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่ก่อนที่จะถึงคำ�พยากรณ์นั้น โลกแห่งการบ่มเพาะเด็กน้อยให้เติบโตอย่างสมบูรณ์แบบก็ดูจะ ไม่ยน่ ย่อต่อสถานการณ์เศรษฐกิจนัก ยิง่ ความหวาดกลัวต่ออนาคตบีบรัดมากเท่าใด สถาบันครอบครัว ก็ยิ่งต้องเตรียมรับมือกับความผันผวนที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น ภูมิคุ้มกันทางร่างกายไม่ใช่เรื่องเดียวที่ ต้องคำ�นึงถึง แต่ภูมิคุ้มกันทางจิตใจ สติปัญญา และทักษะพิเศษที่จะส่งเสริมความสามารถอัน หลากหลาย ทั้งการศึกษา ดนตรี กีฬา ภาษา ศิลปะ แฟชั่น ฯลฯ เพื่อบ่มเพาะพรสวรรค์ส่วนตัว ก็ได้ถกู ตัง้ ค่าให้เป็นต้นทุนชีวติ ของเด็ก ยังไม่นบั รวมธุรกิจทีว่ างพืน้ ฐานความมัง่ คัง่ เช่น การประกันภัย การประกันสุขภาพ การลงทุนระยะยาว และการบริหารการเงินส่วนบุคคล รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้อง กับการเตรียมพร้อมของลูกหลานสู่อนาคตที่จะเติบโตไปพร้อมๆ กับวัยเยาว์ของพวกเขาในทุกๆ ก้าวย่าง ตั้งแต่แบเบาะจนถึงวันที่พวกเขาเริ่มต้นทำ�งานสร้างฐานะให้ตนเอง ไม่วา่ คนในรุน่ นีจ้ ะคาดหวังให้คนรุน่ ใหม่มเี กราะป้องกันชีวติ ทีแ่ ข็งแกร่งสักเท่าไร ทีส่ ดุ แล้วก็อาจ ไม่สามารถรับประกันความสำ�เร็จใดๆ ได้เลย เพราะความรู้ความสามารถเฉพาะตัว จำ�เป็นต้อง ควบคูม่ ากับความเข้าใจโลกและความสามารถในการควบคุมแรงกระตุน้ ทีเ่ กิดจากปัจจัยมากมายใน สังคมได้ดว้ ยเหตุและผล และถ้าพวกเขาเรียนรูท้ จ่ี ะใช้ปจั จัยทัง้ หมดนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ในการดำ�เนินชีวติ อนาคตต่อจากนี้ ก็ไม่หนักหนาสำ�หรับพวกเขาแล้ว อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ

ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 5


© ...

THE SUBJECT ลงมือคิด

Presumers เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

ในช่วงอายุทม่ี องว่าของเล่นทุกชิน้ นัน้ น่าสนใจไปหมดทัง้ ตะกร้า ค้นหาความหมายจากวัตถุทกุ อย่างทีผ่ า่ นตา คือหลักการรับรูข้ องเด็ก ในช่วงวัยหกเดือน เด็กทารกในวัยนีจ้ ะเริม่ มองเห็นวัตถุทม่ี สี สี นั ได้ และมองสิง่ ของได้ในระยะไกลถึงหกเมตร ทัง้ จะ “จดจำ�ได้” เมือ่ มอง ของชิ้นนั้นเป็นครั้งที่สอง สมองของเด็กทารกวัยนี้จะสามารถรับรู้ถึงความแตกต่างของสีขาว-ดำ�ได้ชัดเจนกว่าภาพที่มีสีสันสดใส ซึ่ง พัฒนาการที่เป็นไปตามธรรมชาติดังกล่าวนี้ กลายมาเป็นกลยุทธ์อันมีค่าสำ�หรับนักออกแบบและนักการตลาดในปัจจุบัน โดยเฉพาะ การออกแบบโลโก้สนิ ค้าให้เป็นทีร่ บั รูส้ �ำ หรับว่าทีก่ ลุม่ ลูกค้าในอนาคต ตัง้ แต่พวกเขาเหล่านีย้ งั ไม่เริม่ หัดพูดเสียด้วยซํา้

กลยุทธ์การตลาดแบบผสมผสานกับทักษะเชิงจิตวิทยานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ดังตัวอย่างจากกลุ่มวัยรุ่นในเจเนอเรชั่นก่อนหน้านี้ที่หลงใหลในการขับ แข่ง และแต่งรถ ซึ่งล้วนมีพื้นฐานมาจากช่วงระยะสิบปีก่อนหน้าที่พวก เขาได้เล่นหรือสะสมรถของเล่นทั้งสิ้น ในวันนีธ้ รุ กิจหรือบริษทั จึงตัดสินใจ อย่างชาญฉลาดในการเลือกวางสินค้าของตนให้เป็นที่ต้องตาต้องใจ สำ�หรับเด็ก เพือ่ ให้ตราสินค้าหรือโลโก้นน้ั ฝังเข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของความจำ� และวันหนึ่งความจำ�นั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของความฝันของพวกเขา ในอนาคต เพราะในวันทีเ่ ด็กเหล่านีเ้ ติบโตกลายเป็นผูใ้ หญ่ทเี่ รียี นรูเ้ รือ่ งการ ใช้จ่ายแล้ว สินค้าที่ฝังใจในวัยเด็กจะกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของ การตัดสินใจซือ้ เสมอ ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลบ่งชี้ว่า โลโก้สินค้าใดที่มี ออกแบบอย่างลงตัวตามคุณสมบัติเหล่านี้เพียง 3 ใน 5 ได้แก่ ความ กลมกลืน ความเป็นธรรมชาติ ความละเอียด สัดส่วนลงตัว และมีการซํ้า ของรูปทรง จะสามารถทำ�ให้เด็กที่เห็นสามารถจดจำ�และวาดออกมาได้ 6 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

เมื่อถึงอายุ 3 - 5 ปี และโลโก้ที่สามารถออกแบบได้ครบ 3 ใน 5 ตาม คุณสมบัติ และสร้างความตระหนักรู้ได้สำ�เร็จคือ Streets บริษัทผู้ผลิต ไอศกรีมชื่อดังอย่างคอร์นเน็ตโต้และแม็กนั่ม หลายธุรกิจจึงต้องการสร้างแบรนด์ให้มีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเด็ก เพราะความอยากได้ของลูกสาวลูกชายวัยเล็กนั้นมีผลเชื่อมโยงต่อไปถึง การตัดสินใจควักกระเป๋าของพ่อแม่ และยังส่งผลในระยะยาวถึงความ จงรักภักดีต่อแบรนด์ที่จะเกิดตามมาเมื่อพวกเขาเติบโต นักการตลาดรู้ ดีว่าการรับรู้ที่มีต่อแบรนด์ของกลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นปัจจัยสำ�คัญที่มี อิทธิพลหมุนรอบกลยุทธ์ทางการตลาดในอนาคตที่ต้องวางแผนอย่าง แยบยล เพือ่ รองรับต่อกลุม่ ลูกค้าทีม่ คี วามต้องการและมีเสียงร้องงอแงเป็น อาวุธ ที่มา: euromonitor.com marketingweek.co.uk


© ...

THE OBJECT คิดแล้วทำ�

Pororo the Little Penguin เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์

โพโรโระ (Pororo) การ์ตูนอนิเมชั่นเรื่องราวของเพนกวินผู้ฝันอยากจะเป็นนักบิน (ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นเพนกวินไม่สามารถบินได้) และผองเพื่อน ไม่ว่าจะเป็นหมีขั้วโลก หมาป่า ไดโนเสาร์ บีเวอร์ และนกฮัมมิ่งเบิร์ด ซึ่งร่วมผจญภัยในป่าหิมะที่มีชื่อว่า “โพรอง โพรอง (Porong Porong)” ผืนป่าที่สอดแทรกเรื่องราวการเรียนรู้และคติสอนใจสำ�หรับเด็ก โดยมีฉากหลังเป็นขั้วโลกใต้สีขาวโพลนตัดกับ มวลนํา้ มหาสมุทรสีนา้ํ เงินเข้ม นับเป็นอนิเมชัน่ เรือ่ งยาวทีไ่ ม่เพียงกำ�ลังเดินหน้าเอาชนะใจทัง้ เด็กน้อยและผูป้ กครองในฐานะสือ่ การเรียนรู้ สารพัดประโยชน์เท่านัน้ แต่โพโรโระยังเป็นอีกหนึง่ เครือ่ งมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและยกระดับต้นทุนทางทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ที่ได้ชื่อว่าเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลกอย่างเกาหลีใต้อีกด้วย

โพโรโระถือกำ�เนิดด้วยงบประมาณจากรัฐบาลของเกาหลีใต้และเริ่ม ออกอากาศในปี 2003 เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าเด็กช่วงวัยสามถึงเจ็ดขวบ ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เด็กๆ จะมีพัฒนาการได้ดีที่สุด โดยเฉพาะพัฒนาการทาง ด้านภาษาและพฤติกรรม บทเพลงของโพโรโระจะช่วยส่งเสริมการฝึก ภาษาพูด ตั้งแต่การนับเลข การเรียนรู้คำ�ศัพท์หรือรูปประโยคง่ายๆ ที่ เด็กๆ สามารถจดจำ�และนำ�ไปพูดต่อได้ ผ่านตัวการ์ตนู ทีม่ กี ารแสดงออกด้วย สีหน้าและท่าทางที่ชัดเจนสนุกสนาน นอกจากนี้ โพโรโระยังสอดแทรก พัฒนาการและทักษะเชิงจิตวิทยา เนือ่ งจากสมรรถภาพด้านกล้ามเนือ้ และ ประสาทสัมผัสของเด็กจะถูกกระตุ้นให้เติบโตได้อย่างรวดเร็วในช่วงวัยนี้ และยังเป็นช่วงวัยที่พวกเขาจะสามารถเกิดจินตนาการสร้างสรรค์ได้ไม่ สิ้นสุด พร้อมกับเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่จะปลูกฝังพื้นฐานด้านความฉลาด ทางอารมณ์ให้กับลูกได้เป็นอย่างดี เนื้อหาของโพโรโระในแต่ละตอนจึง มักสอดแทรกเรื่องราวที่ส่งเสริมด้านจริยธรรมให้เด็กๆ นำ�ไปเป็นต้นแบบ ใช้ในชีวติ จริงเช่นในตอน Loopy Has a New Friend ทีส่ อนให้เด็กเรียนรู้ วิธีสร้างความสัมพันธ์และอยู่ร่วมกับผู้อื่น ตลอดจนเรียนรู้การเป็นผู้ให้

ขณะที่ดนตรีและเพลงประกอบก็จะช่วยกระตุ้นให้เด็กมีปฏิกิริยาโต้ตอบ และส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสารของเด็กได้อีกด้วย ปัจจุบนั โพโรโระได้รบั ความนิยมอย่างสูงสุดจนขยายความนิยมออกไป กว่า 110 ประเทศทัว่ โลก มีสินค้าและบริการที่ต่อยอดมาจากการ์ตูนเรื่องนี้ มากกว่า 2,000 รายการ ไม่ว่าจะเป็นชุดช้อนส้อม กระเป๋า เสื้อกันหนาว เคสโทรศัพท์มอื ถือ ไปจนถึงการสร้างสวนสนุก มูลค่าของแบรนด์โพโรโระ จึงทวีเพิม่ สูงขึน้ ถึง 370 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหากคำ�นวณรวมกับมูลค่า ทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่เกิดขึ้นจากอนิเมชั่นเรื่องนี้ก็จะมีมูลค่าถึง 5.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ โพโรโระขึ้นแท่นสู่การเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมและสร้างความ เปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ให้กบั วงการอนิเมชัน่ ของเกาหลีใต้ ให้ลุกขึ้นมาสร้าง ปรากฏการณ์ด้านการผลิตอนิเมชั่นให้ได้มาตรฐานเดียวกับที่ญี่ปุ่นสร้าง มังงะเป็นผลสำ�เร็จ โดยไม่ใช่แค่เพียงกระบวนการคิดเนื้อหาที่ปรากฏ ในอนิเมชั่นเท่านั้น แต่ยังขยายขอบเขตไกลไปถึงวิสัยทัศน์ในการมอง ความต้องการของผูบ้ ริโภค และเติมเต็มให้ครบกระบวนการอย่างสมบูรณ์

ภาพและที่มา: pororo.net ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

FEATURED BOOK

BEGINNINGS

โดย Anne Geddes ภาพของเด็กน้อยแสนน่ารัก น่าทะนุถนอม ที่นอน หลับพริม้ ด้วยอิรยิ าบถทีแ่ ตกต่างกันราวกับต้องมนต์ จากเสียงเพลงที่ขับกล่อมอยู่อย่างสบายใจนั้น นับ เป็นภาพที่แสดงถึงแง่มุมที่อ่อนละมุนที่สุดของชีวิต ซึ่งเบื้องหลังภาพถ่ายที่ตราตรึงความรู้สึกเหล่านี้ ต้องอาศัยความอ่อนโยนและการทำ�งานอย่างมืออาชีพ ของช่างภาพชาวออสเตรเลียที่ชื่อ แอนน์ เกดเดส (Anne Geddes) เพื่อถ่ายทอดความบริสุทธิ์และ ช่วงเวลาที่เปี่ยมล้นด้วยความน่าเอ็นดูของเด็กแรก เกิดออกมาได้อย่างงดงาม แรงบันดาลใจแรกเริ่มของเธอเกิดจากการ ได้เห็นภาพของเด็กๆ ที่มักถูกพ่อแม่จับให้แต่งตัว จัดท่าทาง หรือแม้แต่สีหน้าและอารมณ์ในแบบที่ คิดว่าดีที่สุด ซึ่งสำ�หรับเธอแล้วภาพเหล่านั้นล้วน ขาดซึง่ ความสมจริงในแบบทีค่ วรจะเป็น และยังไม่ สามารถที่จะสะท้อนบุคลิกลักษณะที่แตกต่างกัน ของเด็กแต่ละคนได้อกี ด้วย

8 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

ภาพของแอนน์ เกดเดส ได้รับการชื่นชม อย่างกว้างขวาง ด้วยผลงานทีม่ คี วามสร้างสรรค์และ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เธอได้รับการยกย่องให้เป็น หนึ่งในช่างภาพที่มีผลงานโดดเด่นที่สุดคนหนึ่งใน ปัจจุบัน โดยเฉพาะฝีมอื การถ่ายภาพทารกแรกเกิด ที่มีการตีพิมพ์ผลงานออกมาทั้งในรูปแบบหนังสือ และปฏิทนิ ซึง่ ถูกจำ�หน่ายไปแล้วหลายสิบล้านฉบับ ในกว่า 83 ประเทศทั่วโลก เมื่อความสนใจในเรื่องของเด็กตัวน้อยที่มีอยู่ เป็นทุนเดิม ประกอบเข้ากับความหลงใหลในเสน่ห์ ของธรรมชาติ รูปทรงอันเป็นเอกลักษณ์อย่างรังนก รังไหม กลีบอ่อนของดอกไม้ ตาของดอกไม้แรกผลิ จึงล้วนเป็นความมหัศจรรย์ทถ่ี กู เลือกนำ�มาเชือ่ มโยง กันไว้ในหนังสือเล่มนี้ Beginnings ในความหมาย ของเธอจึงเปรียบเสมือนการเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ และการเปลี่ยนจากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง ของธรรมชาติที่สวยงาม

การถ่ายภาพเด็กทารกแรกเกิดแต่ละโปรเจ็กต์ นัน้ แอนน์ตอ้ งเตรียมการและศึกษาหาแนวคิดหลัก นานแรมปี ภาพทัง้ หมดจะถูกถ่ายขึน้ ภายในสตูดโิ อ ที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ ขณะที่ ความพิเศษของโปรเจ็กต์นี้ เธอตั้งใจจะคงความ สวยงามของธรรมชาติไว้ให้มากที่สุดด้วยการไม่ ใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ แต่เป็นการถ่ายทอดภาพ ของทารกแรกเกิดท่ามกลางวัสดุธรรมชาติรอบตัว จากคอลเล็กชั่นของพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียที่ได้รับ ความร่วมมือในการรวบรวมจากอีกหลายหน่วยงาน ภาพทัง้ หมดจึงออกมาสวยงาม และสือ่ สารเรือ่ งราว ออกมาได้อย่างน่าประทับใจโดยไม่ต้องผ่านการ ปรุงแต่งที่มากเกินพอดี


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

DVD

BOOK

THE CLASS

DESIGNED FOR KIDS: A COMPLETE SOURCEBOOK OF STYLISH PRODUCTS FOR THE MODERN FAMILY

กำ�กับโดย Laurent Cantet ฟรองซัวส์ เบกอโด (Francois Begaudeau) ผูเ้ ขียน Entre les murs (Between the walls) หนังสือ ติดอันดับขายดีของฝรั่งเศส ซึ่งถูกนำ�มาทำ�เป็น ภาพยนตร์ภายใต้ชอ่ื The Class โดยผูก้ �ำ กับโลรองต์ กองเต (Laurent Cantet) ได้ให้ฟรองซัวส์รบั บทเป็น อาจารย์ซ่งึ เป็นตัวละครหลักในเรื่องด้วยตัวเองร่วม กับนักเรียนอีกกว่าสิบคนที่คัดเลือกมาเป็นพิเศษ เพื่อทำ�ให้ผลงานที่ออกมาดูเป็นธรรมชาติไม่ต่าง จากสารคดี ภาพยนตร์เล่าถึงห้องเรียนธรรมดา ห้องหนึง่ ในชานเมืองปารีสทีม่ คี วามหลากหลายของ นักเรียนทุกรูปแบบทัง้ เด็กเก่ง หัวรัน้ และคึกคะนอง โดยมีอาจารย์ทำ�หน้าที่เป็นผู้จัดการและไกล่เกลี่ย ในทุกเรื่องราวและความขัดแย้งต่างๆ ทั้งระหว่าง นักเรียนด้วยกันกระทั่งถึงระหว่างนักเรียนและตัว ฟรองซัวส์เอง ห้องเรียนจึงไม่ต่างจากภาพจำ�ลอง ของสังคมยุคใหม่ที่มีทั้งความขัดแย้งเล็กๆ และ พื้นที่อิสระที่ เ ปิ ด กว้ า งสำ � หรั บ การแสดงความ คิดเห็น หรือแม้กระทัง่ การทีช่ น้ั เรียนจะกลายเป็น จุดตั้งต้นที่ดีสำ�หรับการมองเห็นปัญหาของเด็กๆ รวมถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นนอกชั้นเรียนที่อาจจะมีตาม มาในอนาคต

โดย Phyllis Richardson

การออกแบบสำ�หรับผู้บริโภคตัวน้อยที่จะเติบโต เป็นพลังขับเคลื่อนโลกในอนาคตนั้น กำ�ลังได้รับ ความสนใจจากทั้งนักออกแบบมืออาชีพและมือ สมัครเล่น เพราะไม่เพียงจะต้องออกแบบให้แต่ละ ชิ้นงานสามารถใช้ได้จริงสำ�หรับเด็กแล้ว ยังต้อง ถูกใจคนเป็นพ่อแม่อีกด้วย หนังสือเล่มนี้นำ�เสนอ ตัวอย่างและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังงานออกแบบ สำ�หรับเด็กไว้อย่างจุใจ ตัง้ แต่กลุม่ รถเข็น เฟอร์นเิ จอร์ เครื่องครัว ของตกแต่ง ของเล่น ไปจนถึงกลุ่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะสิ่งสำ�คัญไม่ได้หยุดอยู่เพียง การทำ�ให้สิ่งของนั้นดูน่ารัก เล่นสนุก และสีสัน สดใส แต่นกั ออกแบบผลิตภัณฑ์ยงั ต้องทำ�การบ้าน อย่างหนักเพื่อตอบสนองต่อโจทย์ใหม่ๆ ที่เปลี่ยน ไปตามสถานการณ์และความต้องการที่แตกต่าง ในปัจจุบันอีกด้วย

TREND BOOK

COLLEZIONI BABY/ BAMBINI ปัจจุบนั จำ�นวนพ่อแม่มอื ใหม่ทห่ี ลงใหลการช้อปปิง้ ที่ เปีย่ มด้วยสไตล์ และพร้อมถ่ายทอดทุกความชืน่ ชอบ ส่วนตัวไปสู่ลูกตัวน้อยนั้นเติบโตมากขึ้นทุกขณะ เห็นได้จากแผนกเสื้อผ้าเด็กที่ขยายทั้งพื้นที่ และ เพิม่ รายการสินค้าในคอลเล็กชัน่ จนไม่ตา่ งจากเสือ้ ผ้า สำ�หรับผู้ใหญ่ แม้แต่เสื้อผ้าแบรนด์หรูก็ยังหันมา ผลิตเสือ้ ผ้าสำ�หรับเด็กเพิม่ มากกว่าแต่กอ่ น ด้วยเหตุน้ี นิตยสารแฟชัน่ ทีเ่ คยมุง่ นำ�เสนอเทรนด์แฟชัน่ เฉพาะ สำ�หรับผู้ใหญ่ จึงเริม่ หันมาใส่ใจกลุม่ แฟชัน่ สำ�หรับ เด็กมากขึ้น รวมถึง Collezioni ที่ออกฉบับ Baby เพื่อบอกเล่าถึงเทรนด์แฟชั่นสำ�หรับทารกแรกเกิด จนถึง 3 ขวบ พร้อมบทวิเคราะห์ทน่ี า่ สนใจ และฉบับ Bambini ที่อัพเดทแฟชั่นเด็กตั้งแต่วัย 4 ถึง 14 ปี จากแหล่งแฟชัน่ ชัน้ นำ�ในอิตาลี ฝรัง่ เศส สเปน และ เยอรมัน โดยออกวางแผง 2 เล่มต่อปีตามฤดูกาล แฟชั่น

ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 9


inhabitots.com

MATTER วัสดุต้นคิด

ปุยนุ่น... สัมผัสละมุนแด่ลูกน้อย เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์

หลังจากทีล่ กู น้อยได้พน้ จากสภาพแวดล้อมแบบธรรมชาติสร้างอย่างในครรภ์มารดาแล้ว ก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยทีพ ่ วกเขาจะได้อยู่ ท่ามกลางสิง่ แวดล้อมทีเ่ ป็นธรรมชาติและปราศจากสิง่ ปรุงแต่งมากทีส่ ดุ เช่นนัน้ อีก โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในโลกทีเ่ ต็มไปด้วยสิง่ สังเคราะห์ เช่นในปัจจุบัน

หมอนหนุน ผ้าห่มนอน เสื้อผ้า ขวดนม โมบาย ผ้าอ้อม ไปจนถึงตุ๊กตา ตัวโปรดของลูกที่ต้องสัมผัสกับลูกน้อย จึงกลายเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ ต้องใส่ใจให้ความพิถพี ถิ นั มากเป็นพิเศษ เพราะยิง่ ข้าวของเหล่านัน้ อยูใ่ กล้ ตัวหนูน้อยมากเท่าไร ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อภูมิคุ้มกันที่ ยังมีนอ้ ยของพวกเขาได้มากเท่านัน้ อย่างเช่นข่าวทีท่ างรัฐบาลจีนได้คน้ พบ ผู้ผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์รูปตุ๊กตาสัญลักษณ์กีฬาโอลิมปิก 2008 ที่จีน เป็นเจ้าภาพ ซึ่งเรียกว่า “ตุ๊กตาฟู่หวา 5 สหาย” ซึ่งถูกปลอมแปลงด้วย การยัดนุน่ เก่าๆ ทีไ่ ม่ได้คณุ ภาพ สกปรก และขึน้ ราดำ� หรือซา้ํ ร้ายบางราย ก็ยัดไส้ตุ๊กตาด้วยขยะอุตสาหกรรมที่ปนเปื้อนสารพิษ เมื่อข่าวที่ว่านี้แพร่สะพัดออกไปเป็นที่รับรู้ของคุณพ่อคุณแม่ทั่วโลก ก็เริม่ มีการตระหนักถึงความสำ�คัญในการเลือกซือ้ ของเล่นให้เด็กๆ มากขึน้ โดยเฉพาะของเล่นประเภทตุ๊กตาที่มีการยัดไส้ในเพื่อให้เกิดความนุ่มนิ่ม และน่าหยิบจับมากอด และแม้จะมีวัสดุหลายชนิดที่ถูกนำ�มาใช้เป็นไส้ใน ของตุ๊กตา อาทิ เศษผ้า ใยโพลีเอสเตอร์ หรือเม็ดโฟม EPS แต่วัสดุที่มี คุณสมบัติเป็นมิตรกับหนูน้อยมากที่สุดก็ยังคงเป็นวัสดุธรรมชาติอย่าง “เส้นใยนุ่นที่เก็บเกี่ยวด้วยมือ” (Kapok Fiber) ซึ่งได้กลายมาเป็นวัสดุที่ น่ า จั บ ตามองสำ � หรั บ การผลิ ต ข้ า วของเครื่ อ งใช้ ข องเด็ ก และทารกที่ 10 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

ต้องการความอ่อนนุ่มและปราศจากการระคายเคืองเป็นพิเศษ ทั้งยังเป็น วัสดุธรรมชาติทผ่ี ปู้ ระกอบการของไทยสามารถผลิตได้เองภายในประเทศ โดยเส้นใยประเภทนี้จะประกอบด้วยเซลลูโลสซึ่งเป็นเส้นใยจากธรรมชาติ ถึงร้อยละ 64 มีลักษณะฟูนุ่มตามธรรมชาติ นอกจากนี้ นุ่นยังเป็นเส้นใย ธรรมชาติที่เบาที่สุดในโลกโดยเบากว่าฝ้ายถึงห้าเท่า และไม่ก่อให้เกิด อาการแพ้ ไม่เป็นพิษ ไม่มีกลิ่น สามารถนำ�ไปทำ�ความสะอาดโดยล้าง นํ้าอุ่นและตากแดดให้แห้งเพื่อกำ�จัดฝุ่นและไรฝุ่น ทั้งยังย่อยสลายได้ทาง ชีวภาพจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เส้นใยฟูนมุ่ สีขาวครีมทีห่ อ่ หุม้ เมล็ดของต้นนุน่ ตามธรรมชาติ จึงไม่เพียง แต่ถูกนำ�มาบรรจุไว้ภายในเพื่อมอบความนุ่มละมุนในผลิตภัณฑ์ประเภท เบาะ ผ้าห่ม และฟูกที่นอนเท่านั้น แต่ตุ๊กตายัดนุ่นแท้สุดคลาสสิกจาก ธรรมชาติ ยั ง สามารถเป็ น เพื่ อ นเล่ น ที่ จ ะช่ ว ยเต็ ม เติ ม ความคิ ด และ จินตนาการแสนบริสุทธิ์ของเด็กๆ ได้ดีเช่นกัน ที่มา: ข้อมูลวัสดุ Kapok Fiber โดย บริษัท จารุภัณฑ์ แมทเทรส จำ�กัด หมายเลขวัสดุ MC# 6805-01 จากฐานข้อมูลของ Material ConneXion® Bangkok ตุ๊กตาฟู่หวายัดนุ่นเก่าๆ (5 กรกฎาคม 2550) โดย ฐานเศรษฐกิจ


CLASSIC ITEM คลาสสิก

• นอกจากหน้าตาที่สวยงามและรสชาติแสนอร่อยแล้ว ประเพณีการมอบ "เค้กวันเกิด" ยังเป็นเสมือนการ มอบของขวั ญ ที่ ม าพร้ อ มกั บ ความสุ ข และการ เซอร์ไพรส์ ตั้งแต่ การตระเตรียมจุดเทียนที่ประดับไว้ บนหน้าเค้ก การดับไฟทีม่ าพร้อมกับเสียงร้องเพลงสด ที่สอดประสานกัน การอธิษฐานก่อนเป่าเทียนแบบ รวดเดียวจบ ไปจนถึงการตัดเค้กเพือ่ แบ่งปันระหว่างกัน • เมื่อเชื่อว่าคำ�อธิษฐานที่ตั้งใจไว้จะเป็นความจริงต่อ เมื่อเจ้าของวันเกิดเป่าเทียนดับทั้งหมดภายในหนึ่ง อึดใจ เทียนแบบที่เป่าอย่างไรก็ไม่ดับ จึงถูกนำ�มาใช้ ในบางโอกาสเป็นการแกล้งเพื่อเรียกเสียงฮา

BIRTHDAY CAKE

• รูปแบบของเค้กวันเกิดนั้นไม่ตายตัว ในขณะที่ชาว อเมริกันนิยมเค้กที่มีการตกแต่งหน้าด้วยนํ้าตาลไอซิ่ง ชาวฝรั่งเศสกลับชื่นชอบที่จะใช้ทาร์ตผลไม้หรือเค้ก มะนาวในงานวันเกิด และเมื่อกระแสคัพเค้กได้รับ ความนิยมมากขึ้น ปัจจุบันเราจึงเห็นนักอบขนมปังรุ่น ใหม่เลือกที่จะใส่ไอเดียลงไปในการตกแต่งหน้าตา ของคัพเค้กเล็กๆ ให้กลายเป็นเค้กวันเกิดที่ไม่ซํ้าแบบ

• วลี Happy Birthday หรือแปลเป็นภาษาไทยภายหลัง ว่า สุขสันต์วันเกิด มาจากเนื้อร้องของเพลง Happy เรื่อง: ศุภมาศ พะหุโล Birthday ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยทำ�นองเพลงนั้นไม่ได้แต่งขึ้นมาสำ�หรับเนื้อร้องนี้ ขนมอบสุดคลาสสิกที่กลายมาเป็นส่วนสำ�คัญและสัญลักษณ์ โดยเฉพาะ แต่นำ�มาจากเพลง Good Morning to All ประจำ�งานฉลองวันคล้ายวันเกิด "เค้กวันเกิด" คือตัวแทนของ ที่ใช้สอนเด็กๆ ซึ่งแต่งขึ้นในปี 1893

การระลึกถึงการก้าวข้ามอีกหนึ่งขวบปีของชีวิตที่ได้เกิดขึ้นมา • หนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ได้มอบเค้กวันเกิดให้ บนโลกใบนี้

• เชื่อกันว่า ชาวกรีกโบราณนิยมเตรียมขนมปังอบที่มี แก่ Besse Cooper เมื่อเธอย่างเข้าสู่ปีที่ 116 และได้ ส่วนผสมของนํ้าผึ้งเพื่อใช้ในงานพิธีและงานเฉลิม รับการบันทึกให้เป็นบุคคลที่มีอายุมากที่สุดที่ยังคงมี ฉลองต่างๆ โดยขนมปังอบทีเ่ ตรียมถวายเทพีอาเทมิส ชีวิตอยู่ ในปี 2011 หรือเทพีแห่งจันทรา จะมีการปักเทียนลงไปเพือ่ ให้เกิด แสงสว่างคล้ายดวงจันทร์ ซึง่ มีลกั ษณะใกล้เคียงกับเค้ก • ในปี 2012 โอริโอ (Oreo) ฉลองครบรอบ 100 ปี ด้วย การผลิตโอริโอรสพิเศษออกจำ�หน่ายในจำ�นวนจำ�กัด วันเกิดในปัจจุบัน "เบิร์ธเดย์ เค้ก โอริโอส์" (Birthday Cake Oreos) คือ • ถึงจะเรียกว่าเค้กวันเกิด แต่แท้จริงแล้ว เค้กวันเกิดไม่ แซนวิ ช คุ้ ก กี้ ช็ อ กโกแลตสอดไส้ ค รี ม วานิ ล าผสม ได้ถกู ทำ�ขึน้ สำ�หรับทารกแรกเกิด หากแต่เป็นการฉลอง นํ้ า ตาลตกแต่ ง หลากสี ที่ เ ลี ย นแบบรสชาติ ข องเค้ ก วันคล้ายวันเกิดซึ่งนิยมให้กันตั้งแต่ขวบปีแรก โดย วันเกิด ประเพณีทน่ี ยิ มทำ�สืบต่อกันมา คือการปักจำ�นวนเทียน ่มา: เกินอายุของเจ้าของวันเกิดไป 1 เล่ม เพื่อเป็นการ ทีfoodtimel ine.org อวยพรให้มีชีวิตยืนยาวและมีโชคลาภในปีที่กำ�ลังจะ guinessworldrecords.com มาถึง ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

เรื่อง: ณัฐพร ศรีศิริรังสิมากุล ภาพประกอบ: วิทมน นิวัติชัย

การมีลูกเปรียบเหมือนการลงทุนครั้งใหญ่ ด้วยภาวะเศรษฐกิจตึงตัวในปัจจุบัน จำ�นวนเด็กเกิดใหม่ทั่วโลกจึง มีแนวโน้มลดลงทุกปี เพราะคนพอใจที่จะอยู่เป็นโสดมากขึ้น ผู้คนแต่งงานช้าลงและชะลอการมีลูกเพื่อรอ ให้ฐานะมั่นคงเสียก่อน และเมื่อตัดสินใจจะมีทายาทก็มักมีเพียงคนเดียว แต่ในขณะที่อัตราการเกิดตํ่าลง กำ�ลังซื้อของพ่อแม่กลับสูงขึ้น ธุรกิจและอุตสาหรรมสร้างสรรค์เกี่ยวกับเด็กจึงเกิดขึ้นมากมายเพื่อรองรับ ความเฟื่องฟูของการฟูมฟักและอุ้มชูลูกของพ่อและแม่ในวันนี้ 12 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555


COVER STORY เรื่องจากปก

ONLY THE BEST

luxist.com

“พ่อแม่จากครอบครัวชนชั้นกลางมักรู้สึกผิดที่ต้องออกไปทำ�งานและ ไม่มีเวลาอยู่กับลูกเท่าที่ควร” จอห์น บรูเออร์ (John Bruer) อาจารย์ ประจำ�ภาควิชาจิตวิทยามหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ อธิบาย “พวกเขาวิตกกังวลว่าจะทำ�หน้าทีพ่ อ่ แม่ได้ไม่ดพี อ และจะทำ�ให้ลกู ผิดหวัง จึงชดเชยความรู้สึกผิดนั้นด้วยการสรรหาแต่สิ่งที่ดีที่สุดมาให้ลูก”

popsop.com

เมือ่ พ่อแม่เลือกทีจ่ ะมีลกู โดยเน้น “คุณภาพ” มากกว่า “ปริมาณ” ด้วยการมีลกู แต่นอ้ ย เพือ่ ทีจ่ ะเลีย้ งดูฟมู ฟักได้อย่างเต็มที่ พวก เขาจึงไม่ลงั เลทีจ่ ะจ่ายเงินเพือ่ ให้ลกู ของตนได้แต่สง่ิ ทีด่ ที ส่ี ดุ ไม่วา่ จะเป็นอาหาร การศึกษา หรือข้าวของเครื่องใช้ ส่วนหนึ่งเพราะ เชื่อว่าของที่ราคาสูงกว่านั้นมักจะมาพร้อมกับคุณภาพที่ดีกว่า เสมอ ยิ่งครอบครัวมีอันจะกินและมีลูกน้อยคนเท่าไหร่ ค่าใช้จ่าย ก็จะยิ่งหมดไปกับลูกมากขึ้นเท่านั้น และแม้แต่ครอบครัวที่มี กำ�ลังทรัพย์นอ้ ย พวกเขาก็ยงั เลือกทีจ่ ะประหยัดค่าใช้จา่ ยของตน เพื่อนำ�เงินไปประคบประหงมและปรนเปรอลูก

การนำ�เสื้อผ้าเก่าของพี่คนโตมาให้น้องเล็กสุดท้องใส่ เคยเป็นเรื่อง ปกติของครอบครัวขยายในสมัยก่อน แต่ปจั จุบนั พ่อแม่หลายคนกลับไม่ยอม ให้ลูกของตนใส่เสื้อผ้าหรือใช้ของมือสอง และถึงขั้นควักกระเป๋าเพื่อซื้อ ผ้าอ้อมสำ�เร็จรูปที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์มาให้ลูกวัยตั้งไข่ของตนสวมใส่ ในปี 2007 ฮักกี้ส์ (Huggies) เปิดตัว Huggies Little Movers ในอิสราเอล ก่อนที่จะออกวางขายในอเมริกาที่ห้างวอลมาร์ต ผ้าอ้อมลายยีนส์และ ลายทหารแบบลิมิเต็ดเอดิชั่นนี้เองที่ทำ�ให้ยอดขายของฮักกี้ส์ขยับสูงขึ้น ถึงร้อยละ 15 คูแ่ ข่งรายใหญ่อย่างแพมเพิรส์ (Pampers) จึงไม่ยอมน้อยหน้า คว้าแฟชั่นดีไซเนอร์ ซินเธีย โรว์ลีย์ (Cynthia Rowley) มาออกแบบ ลวดลายบนผ้าอ้อมสำ�เร็จรูปสีพาสเทลให้ถึง 11 แบบ เพื่อวางขายในห้าง ทาร์เก็ต ผ้าอ้อมสำ�เร็จรูปฝีมือดีไซเนอร์เหล่านี้จะมีราคาขายเฉลี่ยสูงกว่า ผ้าอ้อมสำ�เร็จรูปปกติกว่าเท่าตัว แถมใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็ต้องโยนทิ้ง แต่พ่อแม่ก็ยังยอมจ่ายเพื่อแต่งตัวให้ลูกของตนดูสวยเก๋ไม่ซํ้าใคร ด้วยเหตุนี้ จึีงไม่น่าแปลกใจที่ตลาดสินค้าพรีเมียมสำ�หรับเด็กอ่อน ถึงก่อนวัยเรียนจะเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลถึง 44.7 พันล้านเหรียญ สหรัฐฯ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 66.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีกห้าปี ข้างหน้า

Did you know? จากรายงานประจำ�ปีของศูนย์นโยบายและการสร้างเสริมด้านโภชนาการ (Center for Nutrition Policy and Promotion) ของสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายโดย ประมาณของครอบครัวชนชั้นกลางในการเลี้ยงดูเด็กที่เกิดในปี 2011 จนอายุ 17 ปี จะอยู่ที่ประมาณ 234,900 เหรียญสหรัฐฯ หรือกว่า 7.2 ล้านบาท ซึ่ง ตัวเลขนี้สามารถซื้อรถเฟอร์รารี่ได้หนึ่งคันเลยทีเดียว ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 13


COVER STORY เรื่องจากปก

ในปี 2010 แคนาดาเป็นประเทศแรกที่ประกาศห้ามผลิตและจำ�หน่าย ขวดนมที่มีสาร BPA หรือ Bisphenol A ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักที่ทำ�ให้ขวด นมใส แข็งแรง และไม่แตกง่าย เพราะผลการวิจยั พบว่า สาร BPA สามารถ หลุดออกจากขวดนมระหว่างที่ต้ม นึ่ง หรืออุ่นกับไมโครเวฟ และไปปน เปื้อนกับนมซึ่งจะเป็นอันตรายหากเข้าไปสะสมในร่างกายของเด็กอ่อน ผูผ้ ลิตขวดนมและแก้วหัดดืม่ จึงนำ�คำ�ว่า “ปลอดสาร BPA” มาชูเป็นจุดขาย ควบคูไ่ ปกับการใช้งานทีค่ รอบคลุมอืน่ ๆ เช่น จับถนัดมือ ทำ�ความสะอาด ง่าย มีวาล์วปิดเปิดช่วยป้องกันการหกเลอะเทอะ และลดฟองอากาศที่ อาจทำ�ให้เกิดแก๊สในท้องของคุณหนูๆ Klean Kanteen ผูบ้ กุ เบิกการผลิตกระติกนํา้ สเตนเลสไร้สนิม เปิดตัว ขวดนมและแก้วหัดดื่ม Kid Kanteen ที่ปลอดสารตะกั่วและสาร BPA เพื่อเป็นทางเลือกให้พ่อแม่ที่เป็นห่วงสุขภาพของลูก ส่วน Thinkbaby มา พร้อมขวดนมปลอดสาร BPA แบบ 3-in-1 ที่สามารถปรับการใช้งานเป็น แก้วหัดดื่มและกระติกนํ้าได้ มาพร้อมกับสโลแกนว่า “Safer Products for Healthier Babies” แม้แต่ SIGG กระติกนํ้าอลูมิเนียมดีไซน์เรียบเก๋ แบรนด์ดงั จากสวิตเซอร์แลนด์ ทีไ่ ด้รบั เลือกไปวางขายในพิพธิ ภัณฑ์ศลิ ปะ สมัยใหม่ (MoMA) ในนิวยอร์ก ก็ทำ�กระติกนํ้าสำ�หรับเด็กที่มาพร้อม ลวดลายการ์ตูนสีสันสดใส จนถูกอกถูกใจคุณแม่คนดังอย่างมาดอนน่า สนนราคาของขวดนมเหล่านี้อยู่ประมาณขวดละ 600 กว่าบาท แต่ก็เป็น ราคาทีพ่ อ่ แม่ยอมจ่ายเพือ่ ความปลอดภัยของลูก ทัง้ ยังได้ดไี ซน์สวยเก๋และ การใช้งานที่ครอบคลุมมาเป็นของแถม ตลาดอาหารออร์แกนิก หรืออาหารทีป่ ราศจากสารเคมีและการตกแต่ง ทางพันธุกรรม ก็มกี ารเติบโตอย่างน่าจับตามอง จากการสำ�รวจของกระทรวง เกษตรในสหรัฐฯ พบว่า ความนิยมของอาหารออร์แกนิกนัน้ เริม่ ต้นมาจาก การที่พ่อแม่พิถีพิถันในการเลือกซื้ออาหารเด็กปลอดสารเคมีสำ�หรับลูก ตัวน้อย แล้วจึงขยายไปสู่อาหารสำ�หรับคนทั้งครอบครัว

14 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของพ่อแม่ที่งานรัดตัวจนไม่มีเวลา ไปจ่ายตลาดเพื่อปรุงอาหารให้ลูกด้วยตนเอง ไทเลอร์ ฟลอเรนซ์ (Tylor Florence) เซเลบริตเ้ี ชฟและคุณพ่อลูกสาม จึงอาสาทำ�หน้าทีน่ น้ั ให้ Sprout เป็นแบรนด์อาหารกึ่งสำ�เร็จรูปสำ�หรับเด็กอายุ 6 เดือนไปจนเริ่มหัดเดิน ที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน ปลอดสารกันบูดและสารปรุงรสแต่งกลิ่น ทั้งยังมาในบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดสาร BPA นํา้ หนักเบา ปลอดภัยเพราะขอบ โค้งมนไม่บาดมือ แถมยังมีค�ำ อธิบายชวนนํา้ ลายสอราวกับกำ�ลังอ่านเมนู ในร้านอาหารเลยทีเดียว

inhabitats.com

แม้หวังจะให้ลูกได้แต่สิ่งทีดีที่สุด แต่ด้วยภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า พ่อแม่หลายคนจึงเริ่มตั้งคำ�ถามและเมินหน้าหนีสินค้าหรูราคา แพงลิบลิว่ ทีม่ ดี แี ค่แพง ผูผ้ ลิตจึงต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เสียใหม่ โดยเน้นเข้าถึงความรู้สึกของผู้บริโภคที่เป็นพ่อแม่ที่ ห่วงใยลูก และนำ�เสนอว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขานัน้ ทัง้ ปลอดภัย มีผลดีต่อสุขภาพเด็ก แถมยังผลิตขึ้นโดยคำ�นึงถึงสิ่งแวดล้อม แทนที่จะมุ่งหวังเอาแต่กำ�ไรเพียงอย่างเดียว

kleankanteen.com

SAFE AND SUSTAINABLE


© Louis Quail / In Pictures / Corbis

COVER STORY เรื่องจากปก

LITTLE EMPEROR SYNDROME “นโยบายลูกคนเดียว” หรือ One Child Policy ที่จีนประกาศใช้สมัยเติ้งเสี่ยวผิงในปี 1979 ที่อนุญาตให้แต่ละครอบครัวมีลูกเพียง 1 คน เพื่อควบคุม การเติบโตของจำ�นวนประชากร ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโครงสร้างสังคมจีนครั้งใหญ่ จากครอบครัวขยายที่มีสมาชิกหลายคน มาเป็นครอบครัว จีนสูตร 4-2-1 คือ ปู่ย่า ตายาย 4 คน และพ่อแม่ 2 คน ร่วมกันเลี้ยงเด็กเพียงแค่คนเดียว จนเกิดเป็นปรากฏการณ์ “Little Emperor Syndrome” เพราะต้องการให้ลูกโทนของตนเองได้แต่สิ่งที่ดีที่สุด ครอบครัวชาวจีนจึงประคบประหงมเอาใจ “จักรพรรดิน้อย” ประจำ�บ้านเป็นอย่างดี และ แต่งตัวให้ด้วยเสื้อผ้าราคาแพงเพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งและสถานะทางสังคม ประกอบกับเศรษฐกิจจีนที่เติบโตอย่างรวดเร็ว จากในปี 2010 ที่มีจำ�นวน เศรษฐีที่มีทรัพย์สิน 10 ล้านหยวน (ราว 49 ล้านบาท) อยู่ 875,000 คน ได้เพิ่มเป็น 960,000 คน ในปี 2011 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 85,000 คน ภายในหนึ่งปี จีนจึงเป็นขุมทองแห่งใหม่ของแบรนด์เนมหรูจากตะวันตกที่ยกขบวนเข้ามาเพื่อหวังบุกขยายตลาดและเพิ่มยอดขาย “สำ�หรับแบรนด์หรูส่วนใหญ่แล้ว ผู้บริโภคชาวจีนถือเป็นอันดับหนึ่ง ทั้งในแง่ยอดขายและการเติบโตที่เร็วที่สุด” รูเพิร์ต ฮูเกเวิร์ฟ (Rupert Hoogewerf) ผู้ก่อตั้ง Huran Report ที่จัดอันดับทำ�เนียบมหาเศรษฐีของจีนกล่าว ในปี 2011 ชาวจีนใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าแบรนด์เนมถึง 10,700 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ และยอดขายสินค้าหรูในจีนเติบโตถึงร้อยละ 22 ซึ่งสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 15


Pinterest.com/projectnursery

COVER STORY เรื่องจากปก

ONLINE HELPERS ในยุคออนไลน์ เมื่อสื่ออินเทอร์เน็ตกลายเป็นผูม้ อี ทิ ธิพลรายใหม่ ต่อการตัดสินใจ “ทำ�” หรือ “ไม่ทำ�” อะไรสักอย่าง พ่อแม่ในยุค 2.0 จึงหันหน้าเข้าหาสื่อออนไลน์ ที่เป็นสื่อกลางในการช่วยสร้าง เครือข่ายให้พ่อแม่ได้มาปรึกษาและพูดคุยกันเพื่อหาข้อมูลและ คำ�แนะนำ�เกี่ยวกับการดูแลเจ้าตัวน้อยของพวกเขา

Urbansitter คือเว็บไซต์จากซานฟรานซิสโก ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2011 โดย พ่อแม่วัยทำ�งานสี่คน ที่เข้าใจถึงความยากลำ�บากของการหาพี่เลี้ยงเด็ก มาดูแลลูกในวันที่ต้องทำ�งาน Urbansitter ทำ�หน้าที่เป็นศูนย์กลางให้พ่อ แม่และพี่เลีย้ งได้มาเจอกัน โดยคิดค่าธรรมเนียมครัง้ ละ 7.50 เหรียญสหรัฐฯ วิธีการใช้งานก็ง่าย เพียงล็อกอินผ่านเฟสบุ๊ก กดค้นหาพี่เลี้ยงตามวันและ เวลาที่ต้องการ และจองผ่านเว็บไซต์ได้เลยทันที การจ่ายเงินก็สามารถ ทำ�ออนไลน์ได้โดยใส่เลขบัตรเครดิต สำ�หรับพ่อแม่คนไหนทีอ่ ยากได้พเ่ี ลีย้ ง ที่พูดภาษาฝรั่งเศสได้ หรือเป็นคนที่ได้รับการแนะนำ�จากพ่อแม่คนอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน ก็สามารถทำ�ได้เช่นกัน ปัจจุบัน Urbansitter มีสมาชิก กว่า 22,000 คน และเพิ่งออกแอพพลิเคชั่นทางมือถือให้พ่อแม่จองพี่เลี้ยง ได้สะดวกยิ่งขึ้นจากสมาร์ทโฟน 16 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

Project Nursery เว็บไซต์ที่ให้คำ�แนะนำ�ในการแต่งห้องและเลือกซื้อ เฟอร์นิเจอร์และของแต่งบ้านสำ�หรับพ่อแม่ที่ต้องการเตรียมห้องเด็กอ่อน โดยมีจดุ ขายในการเป็นเว็บทีใ่ ห้ค�ำ แนะนำ�ดีๆ จากมุมมองของ “real mom” ทั้งยังเปิดโอกาสให้พ่อแม่อัพโหลดภาพห้องสวยๆ ธีมการจัดปาร์ตี้ หรือ งานฝีมอื มาแบ่งปันให้พอ่ แม่คนอืน่ ๆ ดูเป็นแรงบันดาลใจ ล่าสุด Project Nursery ได้ขยายเป็น Project Junior ที่ให้ทิปในการตกแต่งและเปลี่ยน ห้องให้เหมาะกับลูกที่โตขึ้น แต่เมื่อการสนทนาออนไลน์อาจไม่เพียงพอ Red Tricycle จึงชักชวน พ่อแม่ให้พาลูกๆ ออกไปทำ�กิจกรรมร่วมกัน และพบปะกับครอบครัว อื่นๆ ที่มีความสนใจหรืองานอดิเรกตรงกัน เว็บไซต์นี้จะทำ�จดหมายข่าว ส่งไปทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้ พร้อมกิจกรรมเด่นประจำ�สัปดาห์ ร้าน อาหารเด็ด งานเทศกาล ข่าวสารจากทางโรงเรียนในเมืองต่างๆ ได้แก่ ซีแอตเทิล ซานฟรานซิสโก ซาน ดิเอโก พอร์ตแลนด์ ลอสแอนเจลิส และ นิวยอร์ก โดยข้อมูลของ Red Tricycle จะสั้น กระชับ อ่านง่าย เหมาะกับ พ่อแม่ที่งานรัดตัวแต่ยังต้องการแบ่งเวลามาใช้กับครอบครัว


© Splash News/Corbis

COVER STORY เรื่องจากปก

MINI ME สำ�หรับพ่อแม่ยุคปัจจุบัน ลูกเป็นเหมือน “เครื่องประดับ” ที่ใช้ สะท้อนถึงลักษณะและตัวตนของตัวเอง ผลิตภัณฑ์หลายอย่าง จึงปรับเปลี่ยนดีไซน์ และเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานเพื่อให้ “ถูกใจ” พ่อแม่มากขึ้น

ไม่วา่ จะเป็นคอลเล็กชัน่ เฟอร์นเิ จอร์ส�ำ หรับตกแต่งห้องนอนเด็กทีม่ ใี ห้เลือก หลากหลายสำ�หรับแต่งห้องเจ้าตัวน้อยให้เหมาะกับช่วงอายุ ความชอบ

และสไตล์การตกแต่งบ้านโดยรวม เตียงนอนเด็กที่ปรับได้หลายขนาด ตามการเจริญเติบโต ไม่ต้องซื้อใหม่บ่อยๆ ให้สิ้นเปลืองและวุ่นวาย หรือ รถเข็นที่ออกแบบมาให้เหมาะกับสรีระของลูก และมีฟังก์ชั่นการใช้งาน เพิม่ ขึน้ เพือ่ ให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของพ่อแม่ยคุ ใหม่ เช่น Origami รถเข็น สุดไฮเทคจาก 4MOMS ที่ขจัดปัญหาการประกอบที่ยุ่งยาก เพราะเพียง กดปุ่มก็สามารถกางออกพร้ อ มใช้ ง านและพั บ เก็ บ ได้ เ มื่ อ เลิ ก ใช้ โ ดย อัตโนมัติ แถมยังมีระบบกำ�เนิดไฟฟ้าอยูใ่ นล้อให้คณุ พ่อคุณแม่ชาร์จโทรศัพท์ มือถือไปพร้อมๆ กับเข็นรถพาลูกไปปิกนิกได้ ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 17


COVER STORY เรื่องจากปก

หลังจากที่รถเข็นรุ่น Bugaboo Frog เผยโฉมในซีรียส์ Sex and the City ในปี 2002 เหล่าแม่ๆ ก็ต่างยอมควักกระเป๋ากว่า 700 เหรียญสหรัฐฯ (21,500 บาท) เพื่อซื้อรถ เข็นสัญชาติดัตช์ราคาแพงลิ่วนี้มาไว้ในครอบครอง Bugaboo กลายเป็นสัญลักษณ์ ที่แสดงถึงความคูลและนำ�สมัย และเป็นที่น่าหมายปองไม่ต่างกับรองเท้าส้นสูง Manolo Blahnik จนต้องมีการลงชื่อเพื่อรอคิวซื้อกันเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่คุณแม่เท่านั้นที่คลั่งไคล้ Bugaboo คุณพ่อก็ชื่นชอบเจ้ารถเข็น ดีไซน์สวยนี้เช่นกัน Bugaboo ออกแบบขึ้นโดยสองหนุ่มแม็กซ์ บาเรนเบิร์ก (Max Barenbrug) และเอ็ดดูอาร์ด ซาเน็น (Eduard Zanen) แถมทีมงานที่ร่วม ออกแบบก็ยังเป็นผู้ชายเสียส่วนใหญ่ จึงเข้าใจหัวอกคุณพ่อที่ต้องการรถเข็นที่ดู เรียบเท่ คงทน เข็นง่าย และมีอุปกรณ์เสริม เช่น ล้อที่สามารถเข็นบนทราย หิมะ และพืน้ ไม้ ให้คณุ พ่อได้สนุกสนานกับการประกอบและแต่งรถให้เหมาะกับการใช้งาน ของทั้งตนเองและลูกได้ Bugaboo Donkey รถเข็นรุ่นล่าสุดที่ได้รับรางวัล Red Dot Award: Best of Best ประจำ�ปี 2011 มาพร้อมพื้นที่เก็บของกว้างขวาง ราวเข็นสามารถปรับระดับ ความสูงได้เพือ่ ให้เข็นได้ถนัดมือ เบาะนัง่ ที่สามารถถอดสลับและปรับระดับความเอียงได้ จะจัดเบาะเพือ่ ให้ลกู นัง่ หันหน้าเข้าหาตัวเองหรือหันออกชมวิวก็ได้ ทีส่ �ำ คัญ Bugaboo Donkey สามารถปรับการใช้งานได้ถึง 3 แบบ สำ�หรับลูกคนเดียว ลูกสองคนที่อายุ ต่างกัน และฝาแฝด

แต่ตลาดที่เติบโตรวดเร็วจนน่าตกใจคือ เสื้อผ้าเด็ก ในปี 2011 Burberry ขายเสื้อผ้าเด็กอ่อน รวมไปถึงกระเป๋าใส่ผ้าอ้อมลายตาราง อันเป็นเอกลักษณ์ประจำ�แบรนด์ได้ถึง 91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น จากปี 2012 ร้อยละ 23 และมีการคาดคะเนกันว่าตลาดเสือ้ ผ้าเด็กทัว่ โลก จะมีมูลค่าถึง 156.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2015 จึงไม่น่า แปลกใจทีใ่ นช่วงสองสามปีทผ่ี า่ นมา แบรนด์หรูตา่ งๆ ไม่วา่ จะเป็น Gucci, Fendi หรือ Stella McCartney เริ่มทยอยกันออกคอลเล็กชั่นเสื้อผ้า สำ�หรับเด็ก ที่มีทั้งเลกกิ้ง เสื้อเบลเซอร์ ชุดเดรส เพื่อให้พ่อแม่จับลูก แต่งตัวให้เข้ากับตนเองได้ อีกหนึ่งเหตุผลของการเติบโตแบบก้าวกระโดดของคอลเล็กชั่น เสื้อผ้าสำ�หรับเด็ก คือ “The Suri Cruise Effect” หนังสือพิมพ์ เดลี เมล ของเกาะอังกฤษ รายงานว่า พ่อแม่เมืองผู้ดีจ่ายเงินมากกว่า 427 ปอนด์ หรือกว่า 20,000 บาท ต่อฤดูกาล ในการซื้อเสื้อผ้าให้ลูก นัน่ หมายความว่า ในแต่ละฤดูกาล พวกเขาซือ้ เดรส 7 ชุด รองเท้า 5 คู่ สำ�หรับลูกสาว ไม่กเ็ สือ้ ยืด 10 ตัว และกางเกงยีนส์ 5 ตัวสำ�หรับลูกชาย เพราะต้องการแต่งตัวลูกของตนเองให้ดูดีเหมือน ซูริ ครูส ลูกสาวคน ดังของทอม ครูส และเคธี่ โฮล์มส์ ที่ได้รับการโหวตให้เป็นเซเลบริตี้เด็กที่ แต่งตัวดีที่สุดนั่นเอง 18 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

bugaboo.com

STROLL LIKE STARS

รถเข็นสัญชาติดัตช์นี้ยังขยันร่วมงานกับดีไซเนอร์ชื่อดังคนอื่นๆ เพื่อออกแบบ รถเข็นคอลเล็กชัน่ พิเศษมาดึงดูดใจพ่อแม่ อาทิ My First Car Bugaboo รถเข็นสีเทา ดีไซน์เรียบเท่ ร่วมสมัย โดย Viktor & Rolf และ Bugaboo + Missoni ที่นำ� “ฟังก์ชน่ั ” มารวมกับ “แฟชัน่ ” โดยทีบ่ งั แดดและเปลนอนของรถเข็นรุน่ นีจ้ ะมีลวดลาย ตารางและซิกแซกสีสันสะดุดตา อันเป็นเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของ Missoni และ มาพร้อมผ้าห่มจาก Missoni โดยหาซื้อได้ในห้างไฮโซ นีมาน มาร์คัส เท่านั้น ด้วยการออกแบบที่โดดเด่นและการใช้งานที่ลงตัว Bugaboo ได้รับเลือกให้ เป็นหนึ่งในงานออกแบบบนลิสต์ Style & Design 100 ของนิตยสารไทม์ ทั้งยังได้รับ การพิมพ์ลงบนแสตมป์ของเนเธอร์แลนด์ในปี 2007 ด้วย

ถึงจำ�นวนเด็กเกิดใหม่ที่น้อยลงจะสร้างความปวดหัวให้แก่ภาครัฐ และผูว้ างนโยบาย ทีต่ อ้ งกุมขมับกับปัญหาโครงสร้างประชากรในระยะยาว ไม่ นั บ รวมถึ ง ปั ญ ญาด้ า นแรงงานที่ เ หล่ า นายจ้างต่ า งกลั ว ว่ า จะต้ อ ง เผชิญกับแรงงานที่เอาใจยาก เหลาะแหละ และไม่สู้งานที่สุดเท่าที่ เคยมีมา เพราะเด็กที่เกิดในช่วงกลางทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา หรือ Generation Z ซึ่งที่ก�ำ ลังจะเข้าสู่วัยทำ�งานนั้น เคยชินกับการมีพ่อแม่ที่ คอยปกป้องลูกจากผลกระทบของเหตุการณ์ 9/11 และภาวะเศรษฐกิจ ตกตํ่า คอยตามใจและดูแลดังไข่ในหิน แต่ Generation Z กลับทำ�ให้ นักการตลาดและกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจสร้างสรรค์เกี่ยวกับเด็กยิ้มร่า เพราะนอกจากจะเห็นช่องทางในการผลิตสินค้าออกมาให้พอ่ แม่ยคุ ใหม่ท่ี มีก�ำ ลังทรัพย์มากขึน้ ให้ได้เลือกจับจ่าย เพือ่ เตรียมความพร้อมให้กบั อนาคต ของลูกหัวแก้วหัวแหวนเพียงคนเดียวของบ้านแล้ว ยังมี Generation Z กลุ่มผู้บริโภคที่มีความเป็นปัจเจกบุคคลสูง ชื่นชอบเทคโนโลยี เตรียม เติบโตมาเป็น “ลูกค้าในอนาคต” ที่มีอำ�นาจซื้อสูงและพร้อมใช้จ่ายเพื่อ สร้างความสุขให้แก่ตัวเองด้วยความเต็มใจ ที่มา: dailymail.co.uk marketwatch.com busineessweek.com hurun.net รายงาน Baby and New Moms โดย Euromonitor International บทความ เจาะลึก ตลาดสินค้าหรูจีน โดย เทพรัตน์ ตันติกัลยาภรณ์ จาก prachachart.net


INSIGHT อินไซต์

ย้อนกลับไปเมือ่ 10 กว่าปีกอ่ นทีห่ นุม่ สาววัยเริม่ ทำ�งานได้สมั ผัสกับวิกฤตการเงิน และการแข่งขันอย่างดุเดือดในเวทีเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง จนเมื่อพวกเขาเติบโต มาเป็นพ่อแม่ในยุคดิจิทัลก็ยิ่งตระหนักว่า สถานการณ์ที่เคยเจอนั้นช่างน้อยนิด เมื่อเทียบกับสิ่งที่ลูกหลานของพวกเขาจะต้องเจอในอนาคต

เด็กปั้น เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

ไม่ว่าจะเป็ น กระแสของโลกยุค ใหม่ที่ต้องการบุคลากรที่ใช้ค วามคิด สร้างสรรค์มากขึ้น การที่รัฐบาลหันไปทุ่มเงินให้กับการพัฒนาระบบการ ศึกษา และการบังคับให้เรียนภาษาที่สามเพิ่มเติมนอกเหนือจากภาษา ประจำ�ชาติและภาษาอังกฤษ รวมไปถึงการถือกำ�เนิดของเศรษฐีใหม่ที่ อายุน้อยลงเรื่อยๆ จากการทำ�ธุรกิจบนโลกออนไลน์ ล้วนได้พัดพาความ หวาดวิตกมาสู่จิตใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ในปัจจุบันให้ต้องวางแผนการ เลี้ยงดูลูกน้อยด้วยระบบการศึกษาที่มั่นใจได้ว่าพวกเขาจะเติบโตและ สามารถ “เอาตัวรอด” ได้อย่างแน่นอน จำ � นวนของโรงเรี ย นอนุ บ าลเอกชนหลั ก สู ต รภาษาอั ง กฤษหรื อ โรงเรียนนานาชาติทเ่ี พิม่ ขึน้ สะท้อนถึงความต้องการพืน้ ฐานใหม่ทเ่ี ปลีย่ น จากความยินดีกับการสอบเข้าเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนมีชื่อ เสียงของรัฐบาลในอดีต มาเป็นการลงทุนกับพัฒนาการของลูกแบบรอบด้าน ตั้งแต่อนุบาลเรื่อยไปจนจบปริญญาตรี และการศึกษาต่อปริญญาโทใน ต่างประเทศ ซึ่งความคิดที่ว่านี้นำ�ไปสู่การใช้จ่ายเงินจำ�นวนไม่ตํ่ากว่า 10 ล้านบาทสำ�หรับการฟูมฟักเด็กหนึ่งคน เริ่ม จากค่ า ใช้ จ่า ยระดั บ โรงเรี ย นอนุ บ าลหลั ก สู ต รภาษาอั ง กฤษ เมือ่ รวมค่าแรกเข้า ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์ ค่าเรียนบัลเลต์และเรียนพิเศษ เพิ่มเติมแล้ว จนกว่าจะจบอนุบาลจะต้องใช้เงินประมาณ 6 แสนบาท และเมื่อตัดสินใจเข้าสู่ระบบการศึกษาที่ได้ทั้งการฝึกทักษะภาษาอังกฤษ และการเปิ ด โลกทั ศ น์ ก ารเรี ย นรู้ แ บบซี ก โลกตะวั น ตกในรั้ ว โรงเรี ย น นานาชาติแล้ว อย่างน้อยๆ ผู้ปกครองจะต้องเตรียมเงินจำ�นวน 8 ล้าน บาทสำ�หรับการเรียนตั้งแต่ชั้นประถมต้นจนถึงมัธยมปลายของนักเรียน ประจำ� นอกจากนี้ การเรียนการสอนในโรงเรียนอาจจะไม่ช่วยสร้างเสริม ประสบการณ์ในการช่วยเหลือตนเองและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้น

การเข้าร่วมโปรแกรมค่ายฤดูร้อนในต่างประเทศ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการเสริมสร้างทักษะที่จำ�เป็นสำ�หรับโลกปัจจุบัน ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ จะแบ่งเป็นค่ายในประเทศแถบเอเชียและประเทศในยุโรป ซึ่งมีราคาค่า ธรรมเนียมห่างกันกว่าครึ่งหนึ่ง คือ 7 หมื่นบาท และ 1.5 แสนบาท และ ถ้าหากต้องการเข้าร่วมค่ายในยุโรปตลอดทุกช่วงปิดเทอมของชั้นประถม ศึกษา 6 ปี ค่าใช้จ่ายโดยรวมจะตกอยู่ที่ประมาณ 9 แสนบาท จวบจนก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย โดยไม่นับรวมค่าใช้จา่ ยในการเรียน พิเศษติวเข้มที่ผ่านมา ถ้าหากผู้ปกครองสมัยใหม่เล็งเห็นว่ามหาวิทยาลัย เอกชนบางแห่งมีคณาจารย์และอุปกรณ์เพื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย กว่ามหาวิทยาลัยของรัฐบาลแล้ว อย่างน้อยตลอด 4 ปีในการเรียนหลักสูตร ภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยเอกชน ผู้ปกครองจะต้องแบกรับค่าใช้จ่าย อีกประมาณ 5 แสนบาททีเดียว ท้ายที่สุด เมื่อมาถึงขั้นการศึกษาต่อต่างประเทศที่เป็นเหมือนใบเบิก ทางในการเลือกอาชีพ องค์กร และเพิ่มอำ�นาจในการต่อรองเงินเดือนได้ มากขึ้น ผู้ปกครองอาจต้องลงทุนด้วยเงินอีกราว 2 ล้านบาท เพื่อเป็นค่า เดินทาง ค่าเล่าเรียน และค่าอยูอ่ าศัยโดยไม่ตอ้ งหางานพิเศษทำ�เป็นเวลา อย่างน้อยๆ 2 ปี ในประเทศยอดนิยมอย่างสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการ เตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในอนาคตเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง นั้น ยังมีค่าใช้จ่ายอีกจำ�นวนมากที่จะค่อยๆ เกิดขึ้นมาระหว่างทาง และ ในจำ�นวนเหล่านัน้ ไม่วา่ จะมากขึน้ เท่าไหน พ่อแม่ยคุ ใหม่กย็ นิ ดีทจ่ี ะลงทุน เพื่อให้ลูกๆ ของพวกเขาเติบโตและสามารถมีชีวิตที่โลดแล่นไปได้ดั่งใจ ปรารถนาอยู่เสมอเช่นกัน ที่มา: จากการรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของโรงเรียน มหาวิทยาลัย และ pantip.com ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 19


20 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • B2S • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • Zero Book • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ดอยชาง • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย • 94 Coffee • Mood Mellow • ทรู คอฟฟ • รานแฮปปฮัท • Little Cook Cafe' • ยูอารสเตชั่น • คาเฟ เดอ นิมมาน • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • รานกาแฟวาวี • Kanom • สุริยันจันทรา • Sweets Cafe • รานมองบลังค • Rabbithood Studio • วีวี่ คอฟฟ • หอมปากหอมคอ • Things Called Art • แมคคาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • Babushka • จิงเกิ้ล • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • คอฟฟ คิส • Impresso Espresso • โรงแรมดุสิต ดีทู • มิลลเครป Bar • เดอะเชดี • ไล-บรา-ลี่ คาเฟ • Minimal • บรรทมสถาน • ก.เอย ก.กาแฟ • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • อะเดยอินซัมเมอร • Gallery Seescape • Yesterday The Village • ชีสเคกเฮาส • คอฟฟแอลลียอินเดอะการเดน • The Salad Concept • Hallo Bar • casa 2511 • บานศิลาดล • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Cotto Studio (นิมมานฯ) • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • กาแฟโสด • รานสวนนม • 9wboutique Hotel • ไอเบอรรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Take a Seat • Just Milk • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • ช็อกโก คาเฟ • Love at first Bite • ไหม เบเกอรี่ • ซูเฟ House Bakery • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Greyhound (Shop and Café) • เวียง จูม ออน • Fern Forest Cafe' บายนิตา • รานกาแฟบางรัก • Just Kao Soi • Hub 53 โรงภาพยนตร / โรงละคร • อิฐภราดร • โรงภาพยนตรเฮาส • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร หัวหิน ลําปาง • ภัทราวดีเธียเตอร • เพลินวาน • A little Handmade Shop • ชุบชีวา หัวหิน • อาลัมภางค เกสตเฮาส หองสมุด คอฟฟ แอนด มอร • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • ทรู คอฟฟ หัวหิน • Egalite Bookshop • หองสมุดมารวย • ดอยตุง คอฟฟ • ศูนยหนังสือ สวทช. นาน • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • SCG Experience • รานกาแฟปากซอย แอนดคาเฟ • The Reading Room • Nan Coffee Bean • อยูเ ย็น บัลโคนี่ พิพิธภัณฑ / หอศิลป ภูเก็ต • สตารบคั ส หอนาิกา • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • วรบุระ รีสอรท แอนด • The Oddy Apartment สปา • หอศิลปวัฒนธรรม & Hotel • หั วหิน มันตรา รีสอรท แหงกรุงเทพมหานคร เลย • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • เลท ซี หัวหิน • กบาล ถมอ รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • นับเบอรวัน แกลเลอรี่ • บานชานเคียง • บานใกลวงั • ไวท สเปซ แกลเลอรี่ โคราช • บานจันทรฉาย • HOF Art • Hug Station Resort • ภัตตาคารมีกรุณา โรงแรม • ลู น า  ฮั ท รี ส อร ท ปาย • หลับดี (Hotel สีลม) • The Rock • รานเล็กเล็ก • บานถัว่ เย็น นครปฐม (ถนนแนบเคหาสน) • Dipchoc Café

อุทัยธานี

หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

• Booktopia

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม) และรอรับนิตรสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โ ัพทบาน โทรศั โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

*สำหรับสมาชิกเกาสามารถกรอกเพียง ชื่อและนามสกุล

หญิง อายุ โ ัพทที่ทำงาน ำ โทรศั โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/ อาจารย

นิสิต/นักเรียน ผูประกอการ

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอการ

อาชีพอิสระ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

พนักงานบริษัท

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา แฟชั่น การออกแบบ โทรทัศน/วิทยุ การกระจายเสียง

สถาปตยกรรม ศิลปะการแสดง ภาพยนตร อื่นๆ โปรดระบุ

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน

หัตถกรรม/งานฝมือ คาปลีก/คาสง ซอฟแวร/แอนิเมชัน/ วิดีโอเกม

อาหาร โทรคมนาคม การแพทย การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/ ดนตรี การถายภาพ

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษญีย

หนอยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนอยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษญีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพยธนาคารกรุงเทพสาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมใบนำฝาก-โอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 2555 Creative Thailand 3.ธันวัวาคม นที่โอนเงิ น ………………………………………..

l

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

FAMILYMEMBERS: FAMILY'S BLISSINESS เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง

หากเอ่ยถึงคำ�ว่า “ธุรกิจครอบครัว” หลายคนคงนึกถึงธุรกิจที่ดูแลสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน บ้างเติบโตขึ้น เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ บ้างปิดตัวลงตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจและสังคม ร้านเสื้อผ้าแฮนด์เมดสำ�หรับเด็กที่ใช้ชื่อว่า Familymembers ก็เป็นธุรกิจครอบครัวอีกรูปแบบหนึ่ง แตกต่างตรงที่ วิทมน นิวัติชัย เจ้าของร้านเป็นผู้ริเริ่มการทำ�ธุรกิจนี้เอง โดยนำ�แรงบันดาลใจที่ได้จากการตัดชุดให้ลูกสาวมาจับคู่กับทักษะการตัดเย็บที่ติดตัวมาตั้งแต่เด็ก ลงมือทำ�เสือ้ ผ้าทุกชุดอย่างตัง้ ใจ เสมือนกับความห่วงใยที่สมาชิกในครอบครัวมอบให้กันและกัน เปิดประตูร้าน

ร้าน Familymembers ตั้งอยู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจบนถนนสุขุมวิท ซึ่ง เต็มไปด้วยผูค้ นพลุกพล่านและตึกระฟ้ามากมาย แต่เพียงเปิดประตูเข้าไป ในร้าน ก็จะได้พบกับบรรยากาศที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง ด้วยการตกแต่ง ทีด่ รู าวกับห้องแต่งตัวของเด็ก เสือ้ ผ้าหลากหลายลวดลายได้รบั การจัดเรียง อย่างน่าดู และของกระจุกกระจิกทีจ่ ดั วางอยูต่ ามมุมต่างๆ ก็ท�ำ ให้สมั ผัส ได้ถึงความขี้เล่น สนุกสนาน และรอยยิ้มของเด็กๆ ที่เวียนแวะเข้ามา ฝากไว้ที่นี่ วิทมนเล่าว่า ในตอนแรกเธอเพียงชอบตัดเสื้อให้ลูกสาวใส่เอง แต่เมือ่ ได้รบั แรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง จึงลองทำ�เป็นธุรกิจ “เราโชคดี ที่ใช้ความรู้จากการเรียนศิลปะภาพพิมพ์มาใช้ในการทำ�งานจริงๆ ทำ�ให้ รู้ระบบการพิมพ์ผ้าแบบแฮนด์เมด ประกอบกับคุณยายมีอาชีพเป็นช่าง ตัดเสือ้ อยูแ่ ล้ว จึงทำ�ให้มพี น้ื ฐานมาก่อน แต่คอนเซ็ปต์ของ Familymembers คือการทำ�เสื้อผ้าที่เหมือนพ่อแม่ทำ�ให้ลูกๆ ใส่เอง โดยไม่ต้องพึ่งการผลิต ของโรงงาน” 22 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

ทุกชุดคืองานศิลปะที่ใส่ได้จริง

วิทมนเรียนจบด้านศิลปะภาพพิมพ์ และทำ�งานเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสือ้ ผ้าของ Familymembers จึงดูแตกต่างจากเสือ้ ผ้าอืน่ ๆ ในท้องตลาด ทัง้ ยังสะท้อนแนวคิดและตัวตน ของเธอได้ชดั เจน นัน่ คือ ความใส่ใจในกระบวนการทำ�งานทุกรายละเอียด ตัง้ แต่การเลือกวัสดุ เนือ้ ผ้า ลวดลาย การตัดเย็บด้วยฝีมอื ช่าง และจุดเด่น ทีน่ า่ สนใจอีกอย่างหนึง่ ก็คอื การใช้แพทเทิรน์ แบบวินเทจ เช่น เสือ้ คอกระเช้า ทีส่ วมใส่ได้ทกุ ยุคสมัยและได้รบั ความนิยมจากลูกค้าอย่างมาก เธอมองว่า การทำ�เสือ้ ผ้าไม่ใช่แฟชัน่ แต่เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะและหัตถกรรม เข้าด้วยกัน ในส่วนของการตอบโจทย์การใช้งาน วิทมนได้ดงึ ประสบการณ์ และความคิดเห็นจากลูกสาวของเธอมาปรับใช้ในการออกแบบ ทำ�ให้เสือ้ ผ้า ของร้านมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ สวมสบาย เป็นที่ถูกใจทั้งพ่อแม่และ เด็กๆ ตัวน้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในย่านที่ตั้ง ของร้าน ซึ่งจะชื่นชอบการออกแบบตัดเย็บที่สร้างสรรค์และประณีตเป็น


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

พิเศษ “เสื้อผ้าเป็นปัจจัยที่จำ�เป็นต่อมนุษย์อยู่แล้ว แต่เราอยากทำ�เสื้อผ้า ทีม่ คี ณุ ภาพดีและใส่ได้นาน เหมือนที่คนสมัยก่อนมักจะตัดเสือ้ ผ้าให้ลกู ๆ ใส่ พอใส่ไม่ได้แล้วก็ส่งต่อให้อีกคนหนึ่ง แต่ที่สำ�คัญ เด็กจะต้องสามารถทำ� กิจกรรมต่างๆ ได้อย่างอิสระและสมกับวัย ถ้าเราทำ�ชุดที่สวมใส่และ ถอดได้ง่าย เช่น กางเกงยางยืด เขาก็จะช่วยเหลือตัวเองได้ แล้วเราก็ไม่ ต้องเพิ่มต้นทุนในการใช้วัสดุอย่างเช่น กระดุม ตะขอ การมีลูกถือเป็น ประสบการณ์ที่มีค่าที่หนังสือหรือตำ�ราการออกแบบใดๆ ก็ไม่สามารถ บอกเราได้ มันเป็นสิ่งที่นักออกแบบแต่ละคนต้องเก็บเกี่ยวเอง” นอกจาก นี้แล้ว วิทมนยังมองว่า การออกแบบสินค้าสำ�หรับเด็กยังช่วยกระตุ้น ความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย “เวลาทำ�งานเราก็อยากให้เด็กๆ ได้ลองใส่สี แปลกๆ ที่ไม่ได้มีตามท้องตลาด เพือ่ เด็กจะได้รจู้ กั กับเฉดสีทห่ี ลากหลาย ขณะเดียวกันเราก็ได้เรียนรูจ้ ากเด็กๆ ไปด้วย การทำ�งานกับเด็กเป็นพลังบวก ที่ทำ�ให้เรามีกำ�ลังใจในการทำ�งานต่อไป” เดินด้ายด้วยรอยยิ้มและจังหวะที่สมํ่าเสมอ

จากการออกร้านเพื่อจำ�หน่ายสินค้าในงานแฟร์ปีละ 1-2 ครั้ง มาถึงวันนี้ Familymembers มีหน้าร้านเป็นของตัวเอง ซึ่งเป็นทั้งพื้นที่สำ�หรับให้ เด็กๆ ได้สนุกกับการเลือกใส่เสื้อผ้า และยังเป็นแหล่งพบปะสำ�หรับกลุ่ม ลูกค้าที่มีความชอบคล้ายคลึงกัน จนทำ�ให้มีลูกค้าหน้าเก่าใหม่เวียนแวะ เข้ามาไม่เว้นวัน แต่วิทมนก็ยังคงยึดมั่นในจุดยืนของตนเองเช่นเดิม “เรา ไม่คิดจะขายส่งเลย เพราะถ้าทำ�แบบนั้น เราก็ต้องส่งให้โรงงานผลิต จำ�นวนมาก แล้วเสือ้ ผ้าของเราก็จะกลายเป็นแมสโปรดักส์ทนั ที เราเชือ่ ใน ความเป็นคราฟท์ของงานฝีมือมากกว่า เวลามีปัญหาก็จะคุยกับช่างเอง เขาก็จะได้เห็นกระบวนการของเสื้อผ้าตัวนั้นตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ถ้าผลิต แบบโรงงาน ช่างแต่ละส่วนก็จะแยกกันทำ� ซึ่งเขาจะไม่มีโอกาสได้เห็น ชิน้ งานทีส่ มบูรณ์ ไม่ได้ใส่ใจ ไม่ได้เห็นคุณค่าของผลงาน” แม้วา่ Family members จะเป็นร้านเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการแข่งขันทางธุรกิจใน สังคมของเมืองใหญ่ แต่วิทมนก็ยังพอใจที่ธุรกิจของเธอค่อยๆ เติบโตไป พร้อมกับความฝันที่รอให้สมาชิกตัวน้อยในครอบครัวมาช่วยสานต่อใน อนาคต การทำ�ธุรกิจที่เกิดขึ้นและดำ�เนินไปด้วยความรักความเอาใจใส่ เสมือนการได้เฝ้ามองการเติบโตของลูกๆ ไปทีละก้าวอย่างมีความสุข นับเป็นเสน่ห์ของการทำ�ธุรกิจที่หาได้ยากในวันนี้ “เราอยากให้ลูกทำ�ต่อ เพราะเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณของการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น เหมือนกับวิถี ชีวติ ของคนไทยสมัยก่อนทีช่ ว่ ยกันสืบทอดกิจการของครอบครัว สำ�หรับเรา การพัฒนาไม่จำ�เป็นต้องทำ�ให้ยิ่งใหญ่ แต่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงตาม ยุคสมัยและทำ�ให้ดีมากขึ้น” Familymembers: โครงการ Ellsie Boutique Mall สุขุมวิท 33/1 กรุงเทพฯ

ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 23


PRINCE OF WALES PRINCE OF WEALTH เรื่อง: ศิริอร หริ่มปราณี

24 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

อากาศร้อนชื้นกับลมมรสุมได้นำ�ทางกองทัพเรือจาก ชาติมหาอำ�นาจยุโรปมาขึน้ ฝัง่ บนเกาะแห่งนี้ และหลังจาก เวลากว่าร้อยปีของการผสมผสานความรู้สมัยใหม่ เข้ากับความเจ็บปวดของการเป็นเมืองขึน้ ปีนงั (Penang) หรือ ปริน๊ ซ์ ออฟ เวลส์ (Prince of Wales) ทีอ่ งั กฤษ เรียกขาน ก็เดินหน้าสูก่ ารปฏิรปู เมืองใหม่ บนรากฐาน ของเชื้อชาติและความเชื่อที่แตกต่าง สถาปัตยกรรม ที่น่าหลงใหลกับระบบการศึกษาที่ทรงประสิทธิภาพ สำ�หรับเมืองท่าที่ร่าํ รวยจากการเป็นศูนย์กลางการค้า เครือ่ งเทศในยุคอาณานิคมเมือ่ ครัง้ นัน้ ในวันนี้ เมืองของ เจ้าชายได้สร้างความมัง่ คัง่ อีกครัง้ ด้วยตำ�แหน่งเมืองท่า แห่งการศึกษาและเศรษฐกิจของภูมิภาคที่น่าไว้วางใจ

© KerenSu/CORBIS

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

แด่ความรุ่งเรืองของลูกหลาน

และไทย ส่งผลให้ความคึกคักและความเจริญ ของปีนังก่อนยุคสงครามโลกแซงหน้า เมื อ ง อื่นๆ ในภูมิภาค เพราะในยุคนั้นยังไม่มีการ สถาปนาสิงคโปร์ขึ้นเป็นประเทศ ขณะที่เกาะ ฮ่องกงก็ยังคงเป็นอาณานิคมของโปรตุเกส อย่างไรก็ดี ความรุง่ เรืองของปีนงั ในยุคนัน้ ก็ ดู เ หมื อ นจะกระจุ ก ตั ว อยู่ เ พี ย งกลุ่ ม พ่ อ ค้ า ชาวจีนกับนักธุรกิจและผู้ปกครองชาวอังกฤษ โดยไม่ได้กระจายไปยังชาวมาเลย์แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมาเลเซียได้รับอิสรภาพในปี 1957 กระแสชาตินิยมก็เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนปะทุ เป็นการจลาจลในปี 1969 ทำ�ให้รฐั บาลประกาศ ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และเปลี่ยนมาใช้ภาษามลายูแทน หลังจากนั้น โรงเรียนทุกโรงเรียนจึงเน้นการเรียนการสอน ด้วยภาษามาเลย์ และลดความสำ�คัญของภาษา อังกฤษให้กลายเป็นวิชาหนึง่ เท่านัน้ การเปลีย่ น แปลงดังกล่าวนับเป็นจุดเริ่มต้นของการชะลอ ตัวด้านการพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศ ซึ่งนอกจากที่การศึกษาของปีนังจะมีอาการ เสมือนถูกแช่แข็งแล้ว การเปลี่ยนจุดศูนย์กลาง เศรษฐกิจไปอยูท่ ก่ี วั ลาลัมเปอร์ และการต่อต้าน ชาวจีนทีย่ ง่ิ ทวีความรุนแรงขึน้ จนถึงขัน้ นองเลือด ก็ลว้ นเป็นเหตุให้ปนี งั เกิดอาการช็อก เพราะขณะที่ เงินทุนใหม่ยา้ ยฐานไปทีเ่ มืองหลวงของประเทศ ทุนเก่าของชาวจีนก็เริ่มทยอยไหลออกจากปีนัง ด้วยความหวาดกลัว ตามมาด้วยการปิดกิจการ อาคารสำ�นักงานถูกทิง้ ร้าง และชีวติ ชีวาก็คอ่ ยๆ เลือนหายไปจากปีนัง

จนกระทั่งต้นทศวรรษ 1990 ผลพวงของ การเดินหน้าสู่การเป็นมหาอำ�นาจเศรษฐกิจ ของเอเชียของนายกรัฐมนตรีมหาธีร์ มูฮัมหมัด (Mahathir Mohamad) ก็ทำ�ให้มาเลเซียกลาย เป็นประเทศที่มีความน่าสนใจและโดดเด่นขึ้น ในภูมิภาค ปีนัง ผู้มีต้นทุนสูงจึงหวนกลับมาสู่ แสงไฟอีกครัง้ และเมือ่ ความไว้เนือ้ เชือ่ ใจระหว่าง เชื้อชาติและศาสนาได้กลับคืนมาสู่ปีนัง ความ สงบนี้จึงเป็นฐานสำ�คัญสำ�หรับธุรกิจท่องเที่ยว เพราะผู้คนสามารถอิ่มเอมกับรสชาติอาหารที่ หลากหลายได้อกี ครัง้ ทัง้ จีนฮกเกีย้ น เครือ่ งเทศ ร้อนแรงแบบมาเลย์ หรือสไตล์ตะวันตก ขณะ เดียวกัน ระบบการศึกษาของรัฐก็ได้รบั การพัฒนา และปรับปรุงให้เข้มงวด ทันสมัย และเปิดกว้าง สำ�หรับหลักสูตรภาษาจีน ภาษามาเลย์ และ ภาษาอังกฤษ ในด้ า นการพั ฒ นาทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ นั้ น ปีนังได้ก่อตั้ง Penang Skills Development Center (PSDC) ขึ้นในปี 1989 เพื่อเป็นสถาบัน พั ฒ นาฝี มื อ แรงงานที่ มี ห ลั ก สู ต รอบรมและ ฝึกฝนด้านเทคนิควิชาชีพในสาขาต่างๆ ซึง่ เป็น ที่ ต้ อ งการของภาคการผลิ ต ในปี นั ง อย่ า ง ครบถ้วน เพือ่ เป็นการผลิตบุคลากรป้อนสูโ่ รงงาน อุตสาหกรรมต่างๆ โดยรัฐปีนงั และบริษทั ต่างชาติ ที่เข้ามาลงทุนต่างให้การสนับสนุนกิจการของ สถาบันอย่างเต็มที่ทั้งในด้านเงินสนับสนุนและ ความรู้ความชำ�นาญ อีกทั้งรัฐยังได้ขอความ ร่วมมือจากมหาวิทยาลัยและสถาบันเพื่อการ ศึกษาวิจัยและพัฒนาต่างๆ ในรัฐปีนัง เช่น

rojak3.tripod.com

ปีนัง เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็น สหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นเมืองที่ได้รับการ สถาปนาให้เป็นที่มั่นทางการค้าของอังกฤษ เมืองแรกในภูมิภาคตะวันออกไกลเมื่อปี 1786 อาณาเขตของรัฐปีนัง ประกอบด้วยเกาะปีนัง และส่ว นแผ่น ดิ น ที ่ เ รี ย กว่า เซบารั ง เพไร (Seberang Parai) (อดีตคือจังหวัดเวลเลสลี่ (Wellesley)) โดยมีสะพานปีนังซึ่งยาว 13.5 กิโลเมตรเชื่อมพื้นที่สองส่วนไว้ด้วยกัน ขณะที่ บนเกาะปีนังนั้นมีจอร์จทาวน์ (Georgetown) เป็นเมืองหลวงและเป็นจุดศูนย์กลางอันรํ่ารวย ด้วยประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ปัจจุบัน รัฐปีนังเป็นเขตการปกครองเพียงแห่งเดียวของ มาเลเซียที่มีประชากรเชื้อสายจีนอาศัยอยู่เป็น จำ�นวนมากใกล้เคียงกับชาวมาเลย์ โดยในปี 2010 อัตราส่วนของประชากรเชื้อสายจีนมีอยู่ ราว 623,000 คน หรือร้อยละ 41 ขณะที่มี ชาวมาเลย์อยู่ 653,000 คน หรือร้อยละ 43 นอกจากนี้ ยังมีชาวอินเดียอีกราวร้อยละ 10 เชื้อสายอื่นๆ อีกร้อยละ 5.5 และชาวต่างชาติ ที่อาศัยในปีนังประมาณร้อยละ 0.5 การลงหลักปักฐานของชาวจีนที่มีอยู่มาก เกือบครึ่งหนึ่งนั้น เกิดขึ้นจากการหมายมั่น ปัน้ มือของอังกฤษ ประเทศผูค้ รองอาณานิคมใน อดีต ที่ตั้งใจส่งให้ปีนังเป็นเมืองท่าของภูมิภาค โดยให้พ่อค้าชาวจีนได้ใช้เป็นฐานในการทำ� มาค้าขายและสร้างเนื้อสร้างตัว อาคารตึกแถว และบ้านของเศรษฐีจีนจึงเกิดขึ้นเป็นทิวแถว พร้อมๆ กับการทีพ่ วกเขายังได้ทมุ่ เทสร้างระบบ การศึกษาสำ�หรับลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเล ทั้งในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่ทันสมัย ที่สุดในยุคนั้น และเมื่อสอดรับกับเมล็ดพันธุ์ ระบบการศึกษาที่อังกฤษได้หว่านไว้ ก็ยิ่งส่งให้ ปีนงั กลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาทีช่ นชัน้ กลาง ผูร้ า่ํ รวยของจีนปรารถนาจะส่งลูกหลานมาเรียน วิชาความรู้ที่นี่ ปีนัง ฟรี สกูล (Penang Free School) ซึ่งก่อตั้งในปี 1816 และถือเป็น โรงเรียนระบบอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่อยู่ นอกประเทศอังกฤษ จึงเต็มไปด้วยลูกหลาน ชาวจีนผู้มั่งคั่ง ทั้งที่เดินทางมาจากจีน ฮ่องกง

ปีนัง ฟรี สกูล โรงเรียนระบบอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่อยู่นอกประเทศอังกฤษ ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 25


สร้างคน เพื่อ สร้างงาน

7terraces.com

flickr.com/photos/lastappetite

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ตุลาคมปีที่แล้ว รัฐบาลมาเลเซียประกาศงบประมาณใหม่ของปี 2012 และนั่นเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึง ทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง เมื่องบประมาณจำ�นวนมากได้ทุ่มเทไปที่การเปลี่ยนแปลงทางการ ศึกษาและภาคอุตสาหกรรม โดยสาระสำ�คัญคือการปรับปรุงระบบภาษีในภาคการศึกษา รวมทัง้ นวัตกรรมใน ภาคเศรษฐกิจเสียใหม่ เพือ่ กระตุน้ อุตสาหกรรมและธุรกิจของประเทศให้ดขี น้ึ และสามารถดึงดูดชาวมาเลเซีย ทีม่ คี วามสามารถ ตลอดจนเพือ่ ดึงดูดนักเรียนต่างชาติให้เข้ามาเรียนและทำ�งานเพิม่ ขึน้ ด้วยมาตรการดังต่อไปนี้ • การลดภาษีสำ�หรับค่าใช้จ่ายลงสองเท่า สำ�หรับบริษัทที่มีการรับนักเรียนระดับปริญญาตรีเข้า ฝึกงานอย่างน้อย 10 สัปดาห์ พร้อมกับเงินค่าจ้างไม่ตํ่ากว่า 500 ริงกิตมาเลเซีย • การลดทุนการศึกษาลงสองเท่า สำ�หรับนักเรียนชาวมาเลเซียที่ได้รับทุนการศึกษาจากบริษัท เอกชน ไปจนถึงปี 2016 • การลดภาษีสำ�หรับค่าใช้จ่ายด้านต่างประเทศลงสองเท่า สำ�หรับโรงเรียนเอกชนและโรงเรียน นานาชาติ เพื่อดึงดูดนักเรียนต่างชาติให้เข้ามาเรียนที่มาเลเซียมากขึ้น • ยกเว้นภาษีเงินได้ร้อยละ 70 สำ�หรับผู้จัดหาต้นทุนทางการผลิตในอุตสาหกรรมการบริการ เพื่อพัฒนานักคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ในภาคอุตสาหกรรมนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวอย่างยิง่ ใหญ่วา่ “ความรูค้ อื เสาหลักของอารยธรรมและรากฐานของความสำ�เร็จ ดังนัน้ เพือ่ ก้าวไปสูก่ ารเป็นประเทศทีม่ รี ายได้สงู และพัฒนาแล้ว รัฐบาลจึงให้ความสำ�คัญกับการพัฒนาระบบ การศึกษาอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ สร้างแรงงานทีม่ คี วามสามารถ ทักษะสูง มีความสร้างสรรค์ และรักความก้าวหน้า” มาตรการดังกล่าว ได้รบั การตอบสนองอย่างดีจากทัง้ สถานศึกษาและธุรกิจต่างๆ เพือ่ ร่วมกันก้าวไปสูก่ ารพัฒนา เศรษฐกิจทีแ่ ข็งแกร่งขึน้ โดยนอกจากสิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว รัฐบาลมาเลเซียยังปรารถนาอย่างยิง่ ทีจ่ ะสร้าง ความสุขในบรรยากาศการศึกษาทีเ่ ปิดกว้างมากขึน้ และกระตือรือร้นมากขึน้ พร้อมทัง้ การสร้างระบบส่งต่อและ อำ�นวยความสะดวกเพือ่ ให้นกั เรียน นักศึกษาสามารถพัฒนาทักษะต่างๆ ได้ระหว่างทีศ่ กึ ษาอยูใ่ นมาเลเซีย ที่มา: enn.co.th, studyinter.com/Malaysia

26 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

MARA University of Technology และ Japan-Malaysia Technical Institute เพื่อ ร่วมกันจัดหลักสูตรและโครงการวิจัยที่มีเนื้อหา ความรู้ที่ส่งเสริมและรองรับต่อความต้องการ ในตลาดแรงงาน เพือ่ ให้นกั ศึกษาทีจ่ บการศึกษา มีงานรองรับทันที ดังนั้นอัตราการว่างงานใน ปีนังจึงมีอัตราตํ่ากว่ารัฐอื่นๆ ในประเทศ ความมีชีวิตชีวาดูเหมือนจะคืนกลับมาสู่ ปีนงั อีกครัง้ เช่นเดียวกับลูกหลานชาวปีนงั รุน่ ใหม่ ที่เติบโตอยู่ในต่างประเทศก็กลับมาตั้งรกรากที่ ปีนงั ช่วงสิบปีทผ่ี า่ นมา ปีนงั ได้พลิกฟืน้ ย่านเก่า ให้ตน่ื จากหลับใหล โดยเฉพาะในเขตเมืองหลวง จอร์จทาวน์ ในย่านถนนมันทรี (Muntri) หรือ ถนนชูเลีย (Chulia) ซึ่งจะมีคนหนุ่มสาวยัปปี้ รุ่นใหม่มาทำ�ธุรกิจประเภทแกลเลอรี่งานศิลปะ ร้านกาแฟ และบูติกโฮเต็ลกันมากขึ้น และเมื่อ ยูเนสโกได้ประกาศให้เมืองจอร์จทาวน์ เป็น มรดกโลกในปี 2008 พละกำ�ลังของเมืองก็ถูก เสริมทัพด้วยลูกหลานชาวปีนังที่ต้องการหวน กลับบ้าน เช่น คริสโตเฟอร์ ออง (Christopher Ong) ซึง่ ไปใช้ชวี ติ เป็นนายแบงก์ในออสเตรเลีย ก่ อ นจะกลั บ มาฟื้ น ฟู อ าคารเก่ า แก่ ใ ห้ เ ป็ น โรงแรมโคลฟ ฮอลล์ (Clove Hall) บูติกโฮเต็ล ขนาด 9 ห้องในปี 2009 และยังขยายไปสู่ โปรเจ็กต์ใหม่ๆ ซึง่ เกีย่ วกับแนวคิดในการบูรณะ สินทรัพย์เก่ามาสู่การสร้างรายได้ใหม่ในย่าน อื่นๆ เช่น ภัตตาคารเซเว่น เทอเรสต์ส (Seven Terraces) ในสจ๊วต เลน (Stewart Lane) ซึ่ง เปิดให้บริการเมือ่ กลางปีทผ่ี า่ นมา และจากโอกาส ที่จอร์จทาวน์และปีนังน้อมรับไว้ในฐานะของ เมืองมรดกโลก เมืองแห่งนี้จึงได้สานต่อให้เกิด กิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ จอร์จทาวน์ เฟสติวัล และ ปีนัง แจ๊ส เฟสติวัล ซึ่งในแต่ละ เทศกาลจะมีการเชื้อเชิญศิลปินต่างชาติมาร่วม แสดงผลงาน เช่น Ernest Zacharevic ศิลปิน ชาวลิ ธัว เนี ย กั บ ผลงานการวาดภาพสี นํ้ า บน ผนังตามสถานที่ต่างๆ ทั่วปีนัง ซึ่งการตอบรับ ที่ ดี ยิ่ ง ทั้ ง จากชาวเมื อ งและนั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ อ ผลงานเหล่านี้จึงเป็นเหมือนพลุสัญญาณที่ส่อง สว่างไปสู่การเกิดใหม่อีกครั้งของเมือง


arch2o.com

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

ต่อเติมความรุ่งโรจน์

ปีนังถูกบดบังรัศมี เมื่อรัฐบาลกลางได้หันไป ทุม่ เทให้กบั กัวลาลัมเปอร์ และสร้างเมืองราชการ ใหม่อย่างปุตราจายา (Putrajaya) จนกระทั่ง นายกรัฐมนตรี อ ั บดุ ล ลาห์ อาหมัด บาดาวี (Abdullah Ahmad Badawi) ได้ใช้นโยบาย การคืนความเจริญสู่เขตมาเลเซียตอนเหนื อ หรือแผนพัฒนา "ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ" (Northern Corridor Economic Region-NCER) โดยมีเป้าหมายเพือ่ สร้างประโยชน์แก่ประชาชน ราว 4.2 ล้านคนในพืน้ ทีต่ อนเหนือใน 4 รัฐ ได้แก่ เคดาห์ เประ ปะลิส และปีนงั ซึง่ ส่วนใหญ่เป็น พืน้ ทีเ่ กษตรกรรม และลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ ระหว่างคนยากจนในชนบทกับคนรํา่ รวยในเมือง โดยนโยบายดังกล่าวถูกประกาศขึ้นและถือเป็น นโยบายหลักที่นายกรัฐมนตรีบาดาวีใช้รณรงค์ หาเสียงก่อนทีจ่ ะมีการเลือกตัง้ กลางปี 2008 เพือ่ เน้นหาเสียงสนับสนุนจากกลุ่มคนในชนบทอัน จะเป็นการรักษาที่นั่งในสภาให้ได้มากที่สุด ซึ่งหลังจากได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง แผนพัฒนาภาคเหนือก็ได้ถูกขับเคลื่อนโดยมี เป้าหมายจะใช้เม็ดเงินทั้งหมดประมาณ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึง่ คาดว่าจะสามารถสร้าง งานใหม่ได้ราวหนึ่งล้านตำ�แหน่งภายในปี 2020 เพื่อทำ�ให้แรงงานรุ่นใหม่ๆ สามารถทำ�งานอยู่ ในบ้านเกิดได้โดยไม่ต้องออกไปหางานในเขต เมือง ซึง่ รัฐบาลได้วางแผนปฏิรปู ด้านการเกษตร เพื่อยกระดับการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ การปรับปรุงเทคนิคการผลิต การหาตลาดสินค้า การสร้างความแข็งแกร่งในภาคการผลิตด้วย นวัตกรรม รวมถึงการวิจยั และพัฒนา เพือ่ เตรียม ยกระดับทักษะแรงงานในท้องถิ่นให้สามารถ ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงได้ นอกจากนี้ ยั ง มี แ ผนจะสร้ า งโรงแรมและพั ฒ นาระบบ สาธารณูปโภคด้านการขนส่งทีด่ ขี น้ึ เพือ่ ส่งเสริม การท่องเที่ยว ซึ่งในแต่ละปี มีนักท่องเที่ยวเข้า มาในพื้นที่ 4 รัฐภาคเหนือมากถึง 4.8 ล้านคน แต่ร้อยละ 85 ของทั้งหมดเป็นนักท่องเที่ยว จากมาเลเซียเองทีม่ รี ายได้นอ้ ย โดยแผนพัฒนา ทัง้ หมดนี้ รัฐปีนงั จะถูกยกความสำ�คัญขึน้ ในฐานะ

โครงการ "โกลบอล ซิตี้ เซ็นเตอร์" ชุมชนต้นแบบการจัดการมลพิษ

"เกตเวย์" ที่เชื่อมระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ เข้ า กั บ ภู มิ ภ าคในประเทศและต่ า งประเทศ ปีนงั จึงเต็มไปด้วยความทุม่ เทจากรัฐบาลกลาง เพือ่ ให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทโ่ี ดดเด่น ทัง้ การ สร้างศูนย์กลางการขนส่งที่เมืองบัตเตอร์เวอร์ธ ด้วยงบประมาณราว 588 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่ ง เป็ น การขยายท่ า เรื อ และสนามบิ น ปี นั ง ตลอดจนการสร้ า งสาธารณู ป โภคใหม่ เ พื่ อ เชื่อมโยงทั้งการขนส่งทางบก ทางนํ้า และทาง รถไฟเข้าด้วยกันให้เสร็จสมบูรณ์ภายใน 15 ปี หลังจากชนะเลือกตั้งในปี 2008 และเพื่อลด สภาพการจราจรที่แออัดบนเกาะปีนัง รัฐบาล เมื อ งจึ ง สร้ า งรถรางเดี ย วที่ จ ะวิ่ ง ผ่ า นย่ า น กลางเมือง โดยใช้รถโดยสารที่เรียกว่า Rapid Penang จำ�นวน 150 คัน ซึ่งจะช่วยพัฒนา ระบบรถโดยสารสาธารณะให้ ส ะดวกสบาย มากขึ้น นอกจากนี้ รัฐยังมีแผนที่จะสร้าง "ปีนัง โกลบอล ซิตี้ เซ็นเตอร์" ขึ้นเป็นชุมชนต้นแบบ ในเรือ่ งของมลพิษ ดำ�เนินการโดยอีไควน์ แคปิตอล บริษัทอสังหาริมทรัพย์ของมาเลเซีย และได้ สถาปนิกชาวอเมริกันมาดูแลในส่วนของการ ออกแบบให้เป็นมิตรกับธรรมชาติ ซึง่ ในโครงการ นี้จะมีช้อปปิ้งคอมเพล็กซ์ โรงละคร และสวน พฤกษชาติอกี ด้วย ขณะทีใ่ นส่วนของการผลักดัน ภาคการผลิต รัฐบาลยังมีแผนจะสร้าง "ศูนย์เพือ่ ความเป็นเลิศด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์" ทีจ่ ะช่วย ฝึกอบรมและเอือ้ ให้เกิดการวิจยั ทางด้านนีม้ ากขึ้น เพื่อให้ศูนย์นี้ช่วยขยายภาคอุตสาหกรรมการ ผลิตสินค้า ไปพร้อมกับการพัฒนาแรงงานท้องถิน่ ให้สามารถผลิตสินค้าไฮเทคที่มีมูลค่าเพิ่มได้

เมื่อปีผ่านมา ปีนังยังได้รับโอกาสงามจาก เหตุการณ์แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นและนํ้าท่วมใหญ่ ของไทย โดยหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล รายงานว่า ผูผ้ ลิตระดับโลกหลายรายเริม่ มองหา พื้นที่สำ�รอง ซึ่งเมืองปีนังของมาเลเซียเป็นหนึ่ง ในนัน้ เพือ่ กระจายความเสีย่ งในฐานการผลิตของ ธุรกิจ ตั้งแต่อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เซมิคอนดักเตอร์ ไปจนถึงฮาร์ดดิสก์ ซึ่งทำ�ให้ ลิม กวน เอง มุขมนตรีรัฐปีนัง ได้ส่งเสริมให้ปี 2012 เป็นปีแห่งการลงทุน โดยเริม่ จากการกำ�จัด ระเบียบซับซ้อนทางราชการ และสนับสนุนการ ก่อสร้างสวนอุตสาหกรรมแห่งใหม่เพื่อให้บริษทั ต่างๆ สามารถเข้ามาขยายธุรกิจในประเทศได้ ง่ายขึ้น จะด้วยโชคเข้าข้างหรือการเห็นการณ์ไกล ในวันนี้ ปีนังได้สร้างสะพานเชื่อมต่อตัวเองกับ อนาคตไว้อย่างแน่นหนาแล้ว เป็นสะพานซึ่งได้ วางอยู่บนรากฐานขององค์ความรู้และระบบ การศึกษาสมัยใหม่ การหลอมรวมวัฒนธรรมและ ประเพณีทแ่ี ตกต่าง และระบบการบริหารจัดการ ของภาครัฐที่เฉียบคม คงเหลือแต่เฝ้ารอให้คน รุ่นใหม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดจากความ บากบั่นของพวกเขานั่นเอง ที่มา: นโยบายการพัฒนารัฐปีนังและเกาะลังกาวีเพื่อส่งเสริม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวตามแผนวิสัยทัศน์ 2020 ค.ศ. 1991 - 2009 (ธันวาคม 2552) โดย ศุภการ สิริไพศาล George Town: Rebirth of an Old Town (01 June 2012) โดย Austin Bush จาก silverkris.com logisticsdigest.com projectpenang.my smashinghub.com tri.chula.ac.th ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ทนง โชติสรยุทธ์

ทางเลือกการศึกษา ในอนาคตที่ไม่หยุดนิ่ง เรื่อง: กรวิกา วีระพันธ์เทพา ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล

หลายคนรู้จัก ทนง โชติสรยุทธ์ ในฐานะผู้บุกเบิกเส้นทางธุรกิจสิ่งพิมพ์ในเมืองไทยจากการก่อตั้งบริษัท ซีเอ็ด ยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) แต่ในอีกบทบาทหนึ่ง เขามีส่วนสำ�คัญต่อวงการการศึกษาในฐานะผู้อำ�นวยการและ ประธานกรรมการบริหารเพลินพัฒนา โรงเรียนที่เสนอตัวเป็นทางเลือกทางการศึกษาให้กับหลายครอบครัว ทั้งจากสายตานักธุรกิจและนักบริหารการศึกษา เขามองเห็นปัญหาและทำ�ความเข้าใจกับระบบการศึกษา ของไทยมายาวนานกว่าสามสิบปี สิ่งสำ�คัญที่ยืนยันจากผู้บริหารคนนี้คือ “การบ่นไม่ช่วยแก้ปัญหาอะไร สิ่งที่ แก้ปัญหาได้คือการลงมือทำ�” และนั่นทำ�ให้เขาไม่เคยหยุดเรียนรู้วิธีการที่จะทำ�ให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีความสุข และมีความสามารถในการใช้ชวี ติ บนโลกทีเ่ ปลีย่ นไปอย่างรวดเร็วได้ ซึง่ คงเป็นคำ�ถามใหญ่ทอ่ี ยูใ่ นใจพ่อแม่หลายๆ คน เมื่อลูกรักกำ�ลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงในช่วงต่างๆ ของชีวิต แล้ววันนี้เราเตรียมตัวเรื่องการศึกษาให้เขา พร้อมหรือยัง

28 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

พ่อแม่ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงของโลก ก็จะเป็นห่วงว่า ด้วยศักยภาพของการศึกษาไทยในขณะนี้ จะทำ�อย่างไร ให้ลูกของเราอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และมีขีดความสามารถที่จะสู้กับคนอื่นได้ด้วย

ทำ�ไมการศึกษาทางเลือกจึงเป็นที่สนใจของพ่อแม่มากขึ้น ปัญหาการศึกษาในประเทศไทยมีหลายอย่าง ทัง้ ปัญหาขาดแคลนบุคลากร งบประมาณ แต่ที่เราขาดจริงๆ คือขาดแนวคิด แนวคิดที่สร้างสรรค์ท่ี นอกกรอบเพือ่ ให้ได้ผลลัพธ์ทต่ี อ้ งการ ภายใต้ทรัพยากรทีจ่ ำ�กัด เพราะเรา ยังยึดติดกับการแก้ไขแบบเดิมๆ และขาดความตัง้ ใจจริง แต่เดิมเรามีแต่ โรงเรียนกระแสหลัก หรือทีเ่ รียกว่า main stream ก็คอื เป็นโรงเรียนทีอ่ ยูใ่ น ระบบการศึกษาไทยปัจจุบนั เป็นการเรียนเพือ่ สะสมความรู้ เน้นเรือ่ งการ สอบแข่งขัน คนไหนสอบได้ดีก็มีโอกาสมากกว่าคนสอบได้ไม่ดี ระบบการ ศึกษานำ�พาให้เด็กเน้นแต่ได้คะแนนทีด่ จี ากความรูท้ ค่ี รูมอบให้ แต่พอไปสู่ ชีวติ จริงกลับเอาไปใช้ไม่ได้ เพราะเด็กเราไม่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นจุดที่จะแพ้เด็กชาติอื่นๆ เพราะเรามีความพร้อมน้อยกว่าเขา เมื่อพ่อแม่แสวงหาโรงเรียนแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น EP (English program) ที่เน้นภาษาอังกฤษ แต่เมื่อเรียน EP แล้ว เด็กยังต้องเรียนไทย ซํ้าอีก เด็กเรียนซํ้าทั้งไทยทั้งอังกฤษในวิชาเดียวกัน เพราะว่าครูฝรั่งก็ไม่ สามารถสอนวิชาการบางอย่างได้เท่าครูไทย ก็ต้องมีครูไทยมาสอนเสริม สอนยํ้าเพื่อแน่ใจว่าเด็กเรียนรู้และเข้าใจจริงๆ เพราะฉะนั้นเด็กก็จะเรียน 30 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

หนักมากในโปรแกรมนี้ บางคนก็ไปโรงเรียนอินเตอร์ฯ (International School) ซึ่งค่าใช้จ่ายก็จะสูง และอีกอย่างเมื่อเด็กที่อยู่ในโรงเรียนอินเตอร์ฯ ตั้งแต่ เด็กมาตลอด พอจบแล้วเขาก็จะรู้สึกว่าอยู่ในบรรยากาศที่ไม่เหมาะกับ สังคมไทย เช่น ไม่สามารถซึมซับภาษาไทย อ่านเขียนไทยไม่ได้ และไม่ เข้าใจวัฒนธรรมไทย เพราะฉะนัน้ พ่อแม่ทเ่ี ห็นการเปลีย่ นแปลงของโลก ก็จะเป็นห่วงว่าด้วย ศักยภาพของการศึกษาไทยในขณะนี้ จะทำ�อย่างไรให้ลกู ของเราอยูใ่ นสังคม ได้อย่างมีความสุข และมีขีดความสามารถที่จะสู้กับคนอื่นได้ด้วย เพราะ ฉะนั้นลูกต้องมีความสามารถเพิ่มกว่าการศึกษาในระบบอีกหลายด้าน ทำ�อย่างไรให้ลกู เราจะมีความรับผิดชอบ มีแรงบันดาลใจทีอ่ ยากจะทำ�อะไร บางอย่างให้สำ�เร็จลุล่วงด้วยตนเอง มีภูมิคุ้มกันที่ดีจากสิ่งแวดล้อม จาก บรรยากาศรอบข้าง ก็พยายามจะหาว่าจะมีการศึกษาแบบไหนที่มาตอบ สนองความต้องการตรงนี้ได้ เมื่อพ่อแม่มีการศึกษามากขึ้น ก็รู้ถึงปัญหา ต่างๆ มากขึน้ จึงแสวงหาโรงเรียนทางเลือกมากขึน้ เพราะน่าจะตอบโจทย์ ที่ต้องการได้


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ข้อดีข้อเสียของการศึกษาระบบหลักและโรงเรียนทางเลือกเป็นอย่างไร ระบบหลักเดิม ครูเป็นผูป้ อ้ นความรู้ อยูใ่ นบทบาทของการเป็นผูใ้ ห้สงู มาก เวลาที่อยู่ในห้องเรียนทั้งหมดคือเวลาของบทบาทการเป็นผู้ให้ แล้วเด็กก็ สะสมความรู้ไปเรื่อยๆ แล้วก็เอาไปสอบ ฉะนั้นเราจะเห็นว่าเมื่อถึงเวลา ที่เด็กเราต้องมีความคิดสร้างสรรค์หรือต้องใช้ความคิดทะลุโจทย์ปัญหา บางอย่าง เด็กเราจะขาดความสามารถตรงนี้ ที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง สถานการณ์จริง เพราะครูมีสิ่งที่อยากให้เด็กเยอะแยะไปหมด แต่เด็กมี เวลาจำ�กัด จนอาจไม่ได้พัฒนาความสามารถอื่นเพราะเน้นเฉพาะผล การสอบ เด็กก็ต้องไปเรียนกวดวิชา เรียนเสริมกัน แต่ทัก ษะที่ จำ�เป็ น ต่ อการใช้ชีวิตในอนาคตส่วนใหญ่ไม่ ได้ อ ยู่ ใน หลักสูตร ไม่ได้อยูใ่ นกระบวนการเรียนการสอนในโรงเรียนเท่าทีค่ วร ทัง้ ๆ ที่ตอนที่เขียนในร่างแนวคิดหลักสูตรมันมี แต่พอลงไปที่ตัวเนื้อมันหายไป เช่น เราบอกว่าอยากได้เด็กที่มีความรับผิดชอบ มีวินัย เป็นคนดี จะใช้ กระบวนการอย่างไรนึกไม่ออก เลยให้ครูไปนึกกันเองแล้วกัน เลยนึก ไม่ออกว่าทำ�อย่างไร ปัญหาอีกอย่างคือเรื่องของเนื้อหาสาระวิชาการไม่เชื่อมโยงกับสิ่งที่ ควรรู้ ที่เป็นประโยชน์กับการดำ�รงชีวิตจริงๆ หลายคนจบมาแล้วไม่ได้ใช้ ความรู้ที่เรียนมา เพราะเราไม่มีการเชื่อมโยงให้เด็กเห็นความสำ�คัญและ รู้สึกสนุกที่จะเรียนรู้ เป็นการสอนด้วยแบบเดียวกันหมด โดยไม่ดูความ แตกต่างของเด็กแต่ละคน บางทีถูกบังคับให้อ่านหนังสือเล่มนี้ แต่เด็กนึก ไม่ออกว่ามันจำ�เป็นกับชีวติ หนูอย่างไร ฉะนัน้ เราขาดสังคมทีอ่ า่ น วิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล การเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งการให้คุณค่าในตัวเองด้วย เด็กหลายคนมองว่าตัวเองเป็นส่วนเกินของสังคม ส่วนเกินของครอบครัว เพียงเพราะว่าฉันเรียนไม่เก่ง เพราะเขาขาดคนสนับสนุนให้เห็นคุณค่าของ ตัวเองอย่างเหมาะสม

แต่พอโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ระบบการศึกษาเดิมที่เคยดีในระดับหนึ่ง ก็เริ่มจะไม่สามารถสนองตอบได้ มันจำ�เป็นต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งไม่ได้ หมายความว่าระบบเดิมไม่ดีนะ มันเคยดีอยู่ยุคหนึ่ง แต่พอสังคมเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน เศรษฐกิจเปลี่ยน การแข่งขันระหว่างประเทศเปลี่ยน มันเลยเริ่มไม่เหมาะสมที่จะใช้งานได้

ต้องยอมรับว่าระบบการศึกษาที่มีอยู่ตอนนี้ก็เหมือนกับที่ผ่านมา ซึ่งก็สร้างคนเก่งได้เยอะ แต่พอโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปเยอะ ระบบการ ศึกษาเดิมทีเ่ คยดีในระดับหนึง่ ก็เริม่ จะไม่สามารถสนองตอบได้ มันจำ�เป็น ต้องปรับเปลี่ยน ซึ่งไม่ได้หมายความว่าระบบเดิมไม่ดีนะ มันเคยดี อยู่ยุคหนึ่ง แต่พอสังคมเปลี่ยน เทคโนโลยีเปลี่ยน เศรษฐกิจเปลี่ยน การแข่งขันระหว่างประเทศเปลี่ยน มันเลยเริ่มไม่เหมาะสมที่จะใช้งานได้ ในขณะทีโ่ รงเรียนทางเลือกพยายามจะตอบโจทย์การสร้างคนทีค่ วรจะ เป็นในอนาคต แต่กย็ งั มีขอ้ จำ�กัดบางอย่างทีไ่ ม่สามารถขยายตัวเป็นโรงเรียน ในกระแสหลัก เพราะโรงเรียนทางเลือกต้องใช้ทรัพยากรมากกว่า เช่นจำ�นวน นักเรียนต่อห้องน้อย ฉะนัน้ ค่าใช้จา่ ยต่อคนก็ตอ้ งสูงขึน้ ทำ�ให้เด็กบางกลุม่ เท่านั้นที่เรียนในโรงเรียนทางเลือกได้ ทักษะที่จำ�เป็นของเด็กไทยในอนาคตควรมีอะไรบ้าง เด็กที่จะเติบโตต่อไปท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของโลก ต้องมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ รวมทั้งต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งมันจำ�เป็นมากในอนาคต เพราะคนจาก หลากหลายภาษา หลากหลายวัฒนธรรมจะหลัง่ ไหลเข้ามา เราต้องปลูกฝัง ความเข้าใจคนอื่นและอยู่ร่วมกับเขาได้อย่างมีความสุข เข้าใจวิถีชีวิต ความคิดผู้อื่น สังคม ศาสนา รู้จักรับฟังคนอื่น อยู่ร่วมกับความแตกต่าง แต่ต้องยอมรับว่าในสภาวะตอนนี้เราบ่มเพาะเด็กให้เป็นอย่างนั้นได้ไม่ดี เท่าที่ควร เช่นมีกี่โรงเรียนที่สอนเรื่องศาสนาต่างๆ อย่างแท้จริง เข้าใจ ความคิด วัฒนธรรม ไม่ใช่ไปบอกคนอื่นว่าศาสนาของเราดีกว่าเขา แนวทางการศึกษาของเด็กแต่ละวัยเพื่อรับมือกับสังคมที่เปลี่ยนไปเป็น อย่างไร ในวัยเด็กควรจะเริ่มจากความสนุกที่จะเรียนรู้ เพราะพื้นฐานเด็กทุกคน ชอบความสนุก ทำ�อย่างไรให้สนุก เรียนรู้ได้ปลอดภัย เรียนรู้การอยู่ร่วม กันกับเพื่อนๆ มีระเบียบวินัย ช่วยเหลือตัวเองได้ พอเด็กโตขึ้นมาอีกขั้น ควรส่งเสริมให้เด็กรูจ้ กั แสวงหาตนเอง เราต้องกระตุน้ ให้เด็กสนุก ตอบตัวเอง ได้ว่าอันนี้ฉันชอบ อันนี้ฉันทำ�ได้ดี อันนี้ฉันพอทำ�ได้ เริ่มรู้จักความถนัด เพื่อให้เด็กอยากไปเรียนรู้อะไรที่มากขึ้นกว่าเดิม พอถึงชั้นมัธยม เด็กจะเริ่มรู้ความต้องการในระดับหนึ่งแล้ว ก็จะ เรียนรู้ไปอีกขั้นว่ามันใช่สิ่งที่เขาอยากเรียนรู้ไปลึกๆ จริงๆ ไหม คือบางที สนใจจริง สนุกจริง แต่อาจจะชอบเป็นงานอดิเรก ไม่ได้อยากเป็นงานหลัก ในเชิงการดำ�รงชีวิต แต่เด็กในวัยนี้ก็ต้องการการเรียนรู้ที่ลงลึกมากขึ้น เด็กจะต้องถูกฝึกด้านการประมวลความรู้ทั้งหลายจนสามารถตอบได้ว่า ตัวเองอยากเป็นอะไร เมื่อเด็กตอบได้ โรงเรียนก็ควรส่งเสริมให้เด็กไป ทางนั้นมากขึ้น จากนั้นเด็กก็จะไปเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในระหว่างทางนั้นก็มีเรื่องอื่นๆ ต้องรู้ เช่น การพัฒนาด้านภาษา ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ถ้าการศึกษาตั้งเป้าให้เด็กค้นคว้า ความรู้ด้วยตัวเองได้ สิ่งที่จะยัดเยียด มันจะน้อยลงไปเยอะเลย แล้วการให้เด็กได้ฝึกมีประสบการณ์ คิดแก้ไขปัญหา ก็น่าจะทำ�ให้เด็ก เป็นพลเมืองของประเทศ และของโลกได้อย่างมีคุณภาพ การอ่านเชิงวิเคราะห์ ที่จะต้องถูกบ่มเพาะมาตั้งแต่เด็ก การอยู่ร่วมกับ ผู้อื่น หรือการเข้าใจความคิดคนอื่นมากขึ้น ถ้าการศึกษาตัง้ เป้าให้เด็กค้นคว้าความรูด้ ว้ ยตัวเองได้ สิง่ ทีจ่ ะยัดเยียด มันจะน้อยลงไปเยอะเลย แล้วการให้เด็กได้ฝึกมีประสบการณ์คิดแก้ไข ปัญหา ก็น่าจะทำ�ให้เด็กเป็นพลเมืองของประเทศและของโลกได้อย่างมี คุณภาพ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้คือโจทย์ของการศึกษาที่ต้องวางหลักสูตร และวางสภาพแวดล้อมให้ดี แนวโน้มการศึกษาในอนาคต พ่อแม่ต้องรับมืออย่างไร ตอนนี้เป็นเทรนด์ของโลกว่าผู้ปกครองต้องพยายามหาทางเลือกให้เด็ก มากขึน้ ซึง่ ในบ้านเราโรงเรียนในระบบการศึกษาทางเลือกยังเป็นแนวใหม่ บางอย่างก็สำ�เร็จ บางอย่างก็ยังทดลองอยู่ แต่ผมเห็นว่าผู้ปกครอง ส่วนใหญ่กพ็ ร้อมจะบุกเบิกไปด้วยกัน และเห็นได้ชดั เจนว่าพ่อแม่มสี ว่ นร่วม ในการทำ�งานกับโรงเรียนมากกว่าอดีต เช่น ร่วมกิจกรรม ร่วมเสนอ ไอเดีย ส่วนโรงเรียนที่เน้นวิชาการเข้มข้น ตอนนี้ก็พยายามหาว่าจะทำ� อย่างไรให้เด็กมีความสุข บูรณาการวิชาการและชีวิตจริงให้เข้าหากันได้ อย่างไร เริ่มศึกษา ทดลอง และเปลี่ยนแปลงแล้ว เพราะสถานการณ์ หลายอย่างทำ�ให้เห็นว่าเราไม่สามารถตอบโจทย์การสร้างเด็กด้วยวิธีการ เดิมๆ ได้อีกต่อไป แต่ก่อนประเทศในแถบเอเชียก็เน้นเรื่องการแข่งขันเอาเป็นเอาตาย เหมือนกัน แต่ปัจจุบันแต่ละประเทศเริ่มสร้างโมเดลใหม่ๆ อย่างเช่นจีน เมื่อก่อนก็ต้องสอบเอาเป็นเอาตาย พ่อแม่ถูกฝึกความคิดมาตลอดว่าการ ศึกษาของลูกเป็นอันดับหนึง่ ไม่มตี งั ค์กต็ อ้ งไปกูม้ าให้ลกู ไปเรียนพิเศษ แต่ ตอนนีก้ เ็ ริม่ เปลีย่ นไปมากในบางพืน้ ทีข่ องจีนแล้ว ไม่นานมานีผ้ ลการทดสอบ PISA (Programme for International Student Assessment - โครงการ ประเมินผลนักเรียนนานาชาติ) ทีเ่ น้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี ทีจ่ ะใช้ความรูแ้ ละทักษะเพือ่ เผชิญกับโลกในชีวติ จริงมากกว่าการเรียนรู้ ตามหลักสูตรในโรงเรียน ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 32 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

จีนเซี่ยงไฮ้ขึ้นแซงฟินแลนด์ซึ่งเคยเป็นแชมป์มาตลอด เพราะเขาพัฒนา การศึกษาให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหามากขึ้น มันทำ�ให้เห็นเป็นตัวอย่างว่าทำ�ไมประเทศที่เคยมีความเห็นคล้ายๆ เรา มีวัฒนธรรม สังคมใกล้เคียงกัน แต่เขาเปลี่ยนไปได้แล้ว ก็ทำ�ให้เริ่ม มีการศึกษาแนวคิดใหม่ขึ้น อันที่จริงเราก็กำ�ลังพัฒนาแต่ก็ยังช้าเกินไป ประเทศอื่นๆ เปลี่ยนเร็วกว่าเราเยอะ นักการศึกษาไทยยังอยู่ในวังวน งบประมาณ บุคลากร ซึ่งผมเชื่อว่าเป็นการวนที่ผิดทาง ทั้งที่เรามีงาน วิจัยเกี่ยวกับการศึกษาจำ�นวนมากแต่เราไม่เคยเอางานวิจัยเหล่านี้มา ศึกษาอย่างเอาจริง การใช้ชีวิตเมื่อโตขึ้นของเด็กในระบบการศึกษาทางเลือก สิง่ ทีพ่ อ่ แม่วติ กเป็นอันดับต้นๆ เลยคือเรือ่ งวิชาการว่าลูกเราจะสูเ้ ขาได้ไหม คือแรกๆ ก็อยากให้ลูกมีความสุขนะ ไม่อยากให้ลูกเครียด แต่พอลูกโต ขึน้ ก็เริม่ กังวลว่าลูกจะเรียนได้ไหม (ยิม้ ) ไปเรียนในคณะทีต่ อ้ งการได้ไหม แต่จากตัวอย่างของเด็กในการศึกษาทางเลือกอย่างที่เพลินพัฒนาเอง ผมมั่นใจว่าเมื่อเด็กเรียนด้วยความสนุกในการเรียนรู้ มันได้ผลดีขึ้นแน่ๆ ตราบใดที่เด็กมีใจอยากเรียนรู้ เพราะเราเข้าใจบริบทในสังคมว่าวิชาการ ก็เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการดำ�รงชีวิตเช่นกัน เราก็ไม่ทิ้งตรงนี้ เด็กส่วนใหญ่เรียนอย่างมีความสุข ช่างซักช่างถาม มีเหตุผล มีความ เป็นตัวของตัวเอง คิด วิเคราะห์ด้วยตัวเองได้ มีความสามารถในการ เรียนรู้ เสนอขายไอเดีย ซึ่งผมว่ามันเป็นทักษะที่จำ�เป็น เพราะถ้าเรา เสนอไอเดียไม่ได้ ก็ทำ�ให้เป็นจริงได้ยาก เพราะในโลกอนาคตที่เป็นโลก แห่งการสื่อสาร เราต้องสื่อให้คนอื่นเข้าใจและเชื่อมั่นในตัวเรา ซึ่งการ หล่อหลอมเพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก จะต้องมีกระบวนการสร้าง แรงบันดาลใจ การเรียนรู้ด้วยตัวเอง และสนับสนุนให้เด็กใช้เวลานอก ห้องเรียนกับเรือ่ งนัน้ ด้วยตนเอง ทีส่ ำ�คัญเมือ่ เขาผิดพลาดแล้วต้องลุกเป็น โดยมีพ่อแม่และครูให้คำ�แนะนำ�และกำ�ลังใจในระยะแรก


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

Creative Ingredients วิชาที่ชอบเรียน ผมเกิดมาโชคดีที่คุณแม่ส่งเสริมการเรียนรู้ ทำ�ให้ชอบอ่านหนังสือมาก เริ่มตั้งแต่ชอบ คณิตศาสตร์ วาดรูป ฟิสกิ ส์ อิเล็กทรอนิกส์ ชอบแบบเอาเป็นเอาตาย ผมอ่านนิตยสารเกีย่ วกับ อิเล็กทรอนิกส์ทั้งของไทยและต่างประเทศย้อนหลัง 20 ปี อ่านหมดทุกเล่มที่หอสมุดแห่งชาติ อยูจ่ นหอสมุดปิดทุกวันเป็นปีๆ ซึง่ มันเป็นแรงบันดาลใจในอาชีพอย่างหนึง่ ว่าเมือ่ เรามีโอกาส เรียนรู้อะไรได้มาก เราก็อยากให้คนรุ่นต่อไปได้เรียนรู้เร็วขึ้นกว่ารุ่นเรา ชีวิตในวัยเรียนที่ประทับใจ เมือ่ ช่วงทีเ่ รียนอยูค่ ณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผมเป็นนักทำ�กิจกรรม เป็นนักกีฬายิงปืน เป็น ผูร้ ว่ มก่อตัง้ ชมรมอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นบรรณาธิการวารสารอิเล็กทรอนิกส์ทค่ี ณะ ทำ�ให้เห็น ความสำ�คัญของการถ่ายทอดความรู้ มีประสบการณ์การจัดทำ�วารสารทางวิชาการครบวงจร การทำ�งานร่วมกับผู้อื่น และในที่สุดก็เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้งซีเอ็ดเมื่อตอนปีสี่ด้วย วิธีการเลี้ยงลูก ผมก็มีปัญหาเหมือนกับหลายๆ บ้าน คือมักจะมีข้ออ้างว่าไม่ค่อยมีเวลามากนัก แต่จะทำ� อย่างไรให้เวลาทีม่ กี บั ลูกเป็นเวลาทีม่ คี ณุ ภาพ จึงแบ่งงานกับภรรยาว่า ผมจะทำ�หน้าทีบ่ ม่ เพาะ ลูกในเรือ่ งความคิดความอ่านและเป็นคนส่งลูกไปโรงเรียนเองทุกเช้า ตอนทีล่ กู ยังไม่โตนัก ผมชอบ พาลูกไปไหนมาไหนด้วยตลอด และให้สนุกกับการเรียนรูโ้ ดยอาศัยการตัง้ คำ�ถาม ผมจะใช้ทกุ ที่ ทีไ่ ปเป็นแหล่งเรียนรูข้ องลูกผมหมด ไม่วา่ จะเป็นศูนย์การค้า ร้านอาหาร โรงหนัง และใช้คนอืน่ เป็นผูฝ้ กึ สอนลูกผมในทักษะด้านต่างๆ (หัวเราะ) อย่างศูนย์การค้าจะเป็นแหล่งเรียนรูท้ ส่ี ำ�คัญ ผมจะลองถามลูกว่าของพวกนี้คืออะไร ใช้อย่างไร น่าสนใจอย่างไร แล้วให้ลูกสนุกกับการ ถามพี่ที่เป็นคนขาย ก็ได้ความรู้กลับมา แล้วลูกเรายังมีอัธยาศัยดีขึ้น รู้จักการให้เกียรติผู้อื่น เป็นการฝึกเรื่องสังคมไปด้วยในตัว อีกอย่างที่ทำ�บ่อย คือ เวลาทานอาหาร จะไม่แยกไปนั่ง โต๊ะเด็ก ให้เขาไปนั่งฟังผู้ใหญ่คุยกันเลย ได้เห็นการให้ความคิดเห็นของผู้ใหญ่แต่ละแบบ แล้วผมจะคอยเล่าในภายหลังว่าทำ�ไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ และหากเป็นไปได้ เขาจะได้มี โอกาสคุยกับผู้ใหญ่ ทำ�ให้เขาได้ฝึกการให้ความคิดเห็น ได้ฝึกการพูดคุยและการขอความรู้ จากผู้ใหญ่ ให้เขาได้มีโอกาสสัมผัสกับคนเก่งๆ ได้แรงบันดาลใจ ธันวาคม 2555

l Creative Thailand l 33


© Emilie Vanvolsem/ImageZoo/CORBIS

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

สลับเลี้ยง

สร้างสายใยรัก เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

การดำ�เนินชีวิตบนโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และยิ่งยากขึ้นอีกหลายเท่าตัว เมื่อมี เจ้าตัวเล็กเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นทำ�ให้พ่อแม่ยุคนี้ต้องทำ�งานหนักขึ้นเพื่อดูแลรับผิดชอบครอบครัว เชิงเดี่ยว (ยังไม่นับรวมบรรดาพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงลูกโดยลำ�พังที่นับวันยิ่งเพิ่มจำ�นวนมากขึ้น) โจทย์ยากของพ่อแม่ในวันนี้ จึงอยู่ที่ การจัดการกับความท้าทายในการรักษาสมดุลระหว่างเวลาทำ�งาน เวลาส่วนตัว และเวลาสำ�หรับครอบครัว เพื่อดูแลลูกตัวน้อยให้ เติบโตขึ้นในทางที่ควรจะเป็น

การรวมตัวของพ่อแม่ทอ่ี าศัยอยูใ่ นละแวกเดียวกัน โดยจัดตัง้ เป็นกลุม่ เล็กๆ เพือ่ ช่วยเหลือกันในเรือ่ งการดูแลลูกๆ เป็นหลัก คือทางออกทีผ่ คู้ นทัว่ โลก จำ�นวนไม่น้อยเลือกใช้กันมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร โดยเรียกการรวมกลุ่มในลักษณะนี้ว่า Co-op, Cooperative, Babysitter Swap หรือ Parent Swap ซึ่งครอบครัวที่ สนใจสามารถค้นหารายชื่อกลุ่มและระบุละแวกที่อยู่อาศัยที่ต้องการได้ จากเว็บไซต์เฉพาะต่างๆ ซึ่งมีอยู่จำ�นวนมาก กติกาการแลกเปลี่ยนของ ”กลุ่มผลัดกันเลี้ยง” นั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐาน ของการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยแต่ละกลุ่มจะออกแบบระบบ การจัดการเพือ่ นับจำ�นวนชัว่ โมงทีแ่ ต่ละคนดูแลลูกให้เพือ่ นสมาชิกแตกต่าง กันไป บ้างก็ใช้ระบบบันทึกแบบออนไลน์ บ้างก็ใช้เหรียญโปกเกอร์หรือ บัตรทีท่ �ำ ขึน้ เองเพือ่ เป็นการ “สะสม” คะแนน ก่อนจะนำ�ไป “แลก” กับการ ไหว้วานให้เพือ่ นคนอืน่ ๆ ช่วยดูแลลูกให้ตนเมือ่ ต้องการ หลักการเดียวกันนี้ ยังถูกนำ�ไปต่อยอดเพื่อการแลกเปลี่ยนในลักษณะอื่นๆ อาทิ บริการรถ รับส่งเด็กๆ เพื่อช่วยประหยัดเวลาและค่านํ้ามัน การแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า ของเล่น ไปจนถึงหนังสือและของใช้ส�ำ หรับเจ้าตัวเล็กรายการอืน่ ๆ เป็นต้น

34 l Creative Thailand l ธันวาคม 2555

ข้อดีอนั ดับแรกของการจัดตัง้ กลุม่ ในลักษณะนีก้ ค็ อื “ความสบายใจ” ที่ได้รู้ว่าลูกของตนอยู่ในการดูแลของเพื่อนบ้านที่รู้จักและวางใจได้ ทั้งยัง มีประสบการณ์เลีย้ งดูเด็กเช่นเดียวกัน และหากมองในฐานะผูท้ ร่ี บั เลีย้ งแล้ว การดูแลลูกให้เพื่อนสมาชิกก็ไม่ได้ทำ�ให้สิ้นเปลืองเวลาแต่อย่างใดกับการ ที่ต้องดูแลลูกของตนเองอยู่แล้ว นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ก็มักจะมี ความสุขกับการได้เล่นกับเพื่อนในวัยไล่เลี่ยกัน การได้ไปเที่ยวที่บ้านของ เพื่อนหรือมีเพื่อนมาเยี่ยมที่บ้านจึงทำ�ให้พวกเขามีความสุขมากกว่าการ อยู่บ้านกับพี่เลี้ยงตามลำ�พัง และยังมอบผลพลอยได้ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน อย่างการทีบ่ รรดาพ่อแม่และเด็กๆ จะได้ท�ำ ความรูจ้ กั กับเพือ่ นใหม่ เกิดการ แลกเปลี่ยนเรื่องราว ประสบการณ์ และความรู้ ซึ่งจะนำ�ไปสู่มิตรภาพที่ แน่นแฟ้น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือกันและกันต่อไป การมองเห็นปัญหาและพยายามหาทางออกด้วยจิตใจที่เอื้อเฟื้อ มักนำ�ไปสู่ไอเดียเล็กๆ ที่ปฏิบัติได้จริง ทั้งยังช่วยเติมความสุขให้แก่ ครอบครัวและสร้างสังคมแห่งการแบ่งปันที่ทุกคนพร้อมจะเติบโตไป ด้วยกันอย่างยั่งยืน ที่มา: sittingaround.com babycenter.com babysitting-swap.meetup.com




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.