มิถุนายน 2556 ปที่ 4 | ฉบับที่ 9 แจกฟร�
THE SUBJECT Biennale แคคลิก
CREATIVE CITY Naoshima
THE CREATIVE นำทอง แซตั�ง
ADVERTORIAL
Green Roadmap กลุ่ม ปตท. คิด-เปลี่ยน-โลก โลกของเราในวันนี้กำ�ลังเปลี่ยนไปด้วยความคิดใหม่ๆ เป็นการคิดอย่าง สร้างสรรค์เพื่อช่วยถนอมโลกที่เราอยู่ให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น เราสามารถสังเกต เห็นได้ชัดเจนจากการคิดค้นพลังงานใหม่เพื่อทดแทนการใช้พลังงานจาก ปิโตรเลียม นวัตกรรมในการพัฒนาวัสดุสังเคราะห์ เพื่อให้เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ประหยัดทรัพยากร นำ�กลับมาใช้ซํ้าได้ และที่สำ�คัญช่วยลด โลกร้อนอีกด้วย คุณไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำ�กัด (มหาชน) ให้ความสำ�คัญกับการสร้าง ความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ให้เกิดขึ้นด้วย “องค์ความรู้” โดยกล่าวว่า “จากนี้ไปอีก 4 ปี ผมมีวิสัยทัศน์ที่จะทำ�ให้ ปตท. เป็นบริษัทนํ้ามัน แห่งชาติที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาการ มีการลงทุนในกิจการใหม่ๆ ทั้งพลังงานชีวภาพ พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็น Technologically Advanced and Green National Oil Company (TAGNOC) เพราะเชื่อว่าการที่จะเป็นบริษัทนํ้ามันข้ามชาติหรือไม่ ไม่ใช่ เรือ่ งสำ�คัญเท่ากับการที่ ปตท. ต้องย้ายจากการเป็นธุรกิจทีเ่ ติบโตบนฐาน ทรัพยากรไปสูก่ ารเติบโตบนฐานองค์ความรู้ โดยเฉพาะในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จึงดำ�ริให้เกิด 3 ประสานแห่งการเรียนรู้สู่ความยั่งยืน เพื่ออนาคตของประเทศ” ปตท. ในวันนี้จึงต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานขององค์ความรู้ เพื่อสร้างนวัตกรรมทางด้านพลังงานและวัสดุสังเคราะห์ ที่ช่วยประหยัด การใช้ทรัพยากรของโลก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถหมุนเวียน นำ�กลับมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันกลยุทธ์ “3 ประสานแห่งการเรียนรู้สู่ความยั่งยืน” เป็นการเปิดโอกาสและสร้างฐานความรู้ให้กับคนในกลุ่มต่างๆ ทั้ง “การ จัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระยองและมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีระยอง” ส่งเสริมเยาวชนทีม่ ศี กั ยภาพในการเรียนรูด้ า้ นพลังงาน วิทยาศาสตร์ และกระตุ้นให้เกิดผลงานวิจัยพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ “สถาบันวิทยาการพลังงาน” เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องพลังงาน
ของผู้นำ�ทางความคิดจากทุกสาขาในสังคม เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วย ความรู้พื้นฐานที่ถูกต้องและเท่าเทียมกัน และ “PTT Leadership and Learning Institute: PLLI” เพื่อส่งเสริมให้บุคคลากรของ ปตท. พร้อมเป็น ผู้นำ�ที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารธุรกิจและพลังงาน นอกจากนี้ กลุ่ม ปตท. ยังมุ่งสู่การเป็นผู้นำ�องค์กรพลังงานสีเขียว โดยในสายโซ่ธุรกิจของ กลุ่ม ปตท. นับตั้งแต่ต้นนํ้าถึงปลายนํ้า มี ‘Green Roadmap’ ผ่าน 3 มิติหลักคือ Product, Process และ Public Awareness โดย P ตัวแรกคือ Product หมายรวมถึง วัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) และผลิตภัณฑ์ ส่วน P ตัวที่สองคือ Process ซึ่งเป็นเรื่อง ของกระบวนการผลิตต่างๆ (Production) และการบริหารจัดการ และ การกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Sink) และ P ตัวสุดท้ายคือ Public Awareness คือ การมุ่งสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับแนวคิดรักษ์ โลก โดยครอบคลุมตั้งแต่พนักงานของกลุ่ม ปตท. หรือภายในไปจนถึง ผู้ค้า คู่ค้า และสาธารณชนทั่วไป จากวิสยั ทัศน์ของคุณไพรินทร์ ทีเ่ น้นยํา้ บทบาทสำ�คัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด เป็นพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วิถีชีวิต ไปจนถึงสังคมโลก วันนี้ นวัตกรรมหลายๆ อย่าง ได้เริ่มปรากฏเป็น รูปธรรม และเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตเราให้ดีขึ้น ทั้งพลังงานทางเลือกจาก เอทานอล เช่น E20 E85 วัสดุสังเคราะห์ที่นำ�ไปใช้ผลิต Gadget ทันสมัย ให้มีนํ้าหนักเบา ทนทาน เช่น สมาร์ทโฟน ถังก๊าซฯ คอมโพสิต พลาสติก ชีวภาพที่ผลิตเป็นถ้วยกาแฟ ถังป็อบคอร์น ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ ไม่ สิน้ เปลืองพลังงานในการกำ�จัดขยะ หรือพลาสติกปลอดสารพิษทีป่ ลอดภัย เพียงพอที่จะใช้ผลิตขวดนมสำ�หรับเด็ก วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนนี้ คงทำ�ให้เรามองเห็นความยั่งยืนในอนาคตซึ่ง หลายๆ สิ่งได้เกิดขึ้นจริงแล้ว และ กลุ่ม ปตท. ยังคงมุ่งมั่นที่จะทำ�ต่อไป ด้วยพลังความรู้อันยิ่งใหญ่ เพื่อโลกใหม่ไร้มลพิษสำ�หรับทุกคนนั่นเอง
© Loz Pycock
I think art certainly is the vehicle for us to develop any new ideas, to be creative, to extend our imagination, to change the current circumstance. Sunflower Seeds (2012) โดย อ้าย เว่ยเว่ย
ผมคิดว่าศิลปะคือพาหนะที่แท้จริงสำ�หรับเรา ในการพัฒนาไอเดียใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์ ขยายจินตนาการ และเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Ai Weiwei
ศิลปินร่วมสมัยและนักเคลื่อนไหวชาวจีน
สารบัญ The Subject
6
The Object
7
Biennale แคคลิก
Selfridges
Cover Story
12
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
พื้นที่ศิลปะ พื้นที่ชีวิต
Bangkok Art Space
Creative Resource
Featured Database/ Book/ Book/ Magazine
8
Supernormal: The Expert in Art Handler
Naoshima: Where Art Space Lands on Seascape
นำทอง แซตั้ง: พื้นที่ศิลปะ… ของใคร เพื่อใคร
Matter
10
Classic Item
11
Art & Materials
สีสเปรยกระปอง
Thai Art Archives: "History is ours."
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกุลพิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร ผูออกแบบปก l พงษสรวง คุณประสพ 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 ครีเอทีฟมากฝมือ เจาของผลงานการตูนชอง โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th ผูมีความสามารถในการหยิบประเด็นทางสังคมขึ้นมา พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม หยิกและเสียดสีไดแบบเจ็บไปจนถึงจุก ผลงาน : www.dudesweet.org นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
ประชาธิปไตยในโลกศิลปะ
Stilleven met bloemen in een glazen vaas (1650 - 1683) โดย แจน เดวิดสซ์น. เดอ ฮีม
ประตูของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอัมสเตอร์ดัม หรือ ไรค์มิวเซียม (Rijksmuseum) เปิดขึ้นอย่างสง่า ผ่าเผยอีกครั้งเมื่อเมษายนที่ผ่านมา หลังจากโครงการปรับปรุงที่ยาวนานกว่า 10 ปี แต่สิ่งที่เป็น ปรากฏการณ์ใหม่ซึ่งน่าตื่นตาตื่นใจไปกว่าสถาปัตยกรรมและคอลเล็กชั่นศิลปะ ก็คือการเปิดตัว “ไรค์ สตูดิโอ (Rijks Studio)” คลังผลงานศิลปะในรูปแบบดิจิทัลขนาด 125,000 ชิ้น จากวัตถุสะสม ของพิพิธภัณฑ์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ผ่านฐานข้อมูลออนไลน์ โดยทุกชิ้นงานเป็นภาพที่มี ความละเอียดสูง สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีและไม่มีลิขสิทธิ์ เพื่อเปิดให้ผู้ที่สนใจทุกคนสามารถ นำ�ไปใช้ได้อย่างเสรี ทาโก ดิบบิตส์ (Taco Dibbits) ผู้อำ�นวยการคอลเล็กชั่นออนไลน์ได้กล่าวถึง ความสำ�คัญของโครงการนี้ว่า นี่คือสิ่งที่ทำ�ให้ไรค์มิวเซียมกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ของทุกคน และไรค์ สตูดิโอ ก็คือการเปิดโอกาสเพื่อการแบ่งปันงานศิลปะให้แก่บรรดาคนรักงานศิลป์ให้สามารถเข้าถึง ผลงานได้อย่างง่ายดายภายใต้นวัตกรรมและเทคโนโลยียุคดิจิทัล ไม่เพียงแต่การได้ชน่ื ชมและครอบครองงานศิลปะผ่านโลกออนไลน์ แต่หน้าที่ส�ำ คัญอีกด้านหนึง่ ของ ไรค์ สตูดิโอ ก็คือการเผยแพร่มรดกทางศิลปะไปสู่แรงบันดาลใจในผลงานใหม่ๆ ที่สอดคล้อง กับโลกปัจจุบัน และเพื่อนำ�เสนอมุมมองด้านนี้ “สตูดิโอ โดรก (Studio Droog)” จึงได้เข้ามาเสนอ งานชิ้นแรกจากการตีความศิลปะยุคคลาสสิกให้เข้ากับความร่วมสมัยด้วยผลงาน รอยสัก (Tattoo) ที่ได้แรงบันดาลใจจากภาพวาดดอกไม้ Stilleven met bloemen in een glazen vaas (Still Life with Flowers) โดย แจน เดวิดสซ์น. เดอ ฮีม (Jan Davidsz. de Heem) ในสมัยศตวรรษที่ 17 ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายมาเป็นโปสการ์ด สติ๊กเกอร์ และปรากฏบนชิ้นงานอื่นๆ อีกจำ�นวนมาก ซึ่ ง ความใจกว้ า งของไรค์ มิ ว เซี ย มนี้ อ ยู่ บ นแนวคิ ด เดี ย วกั บ ห้ อ งสมุ ด ของเมื อ งชตุ ท ท์ ก าร์ ท (Stadbibliothek Stuttgart) ที่เปิดให้ประชาชนสามารถยืมผลงานศิลปะไปตกแต่งในที่พักอาศัยได้ ไม่ต่างกับการยืมหนังสือไปอ่านที่บ้าน โดยสามารถยืมชิ้นงานศิลปะที่สนใจได้ยาวนานถึง 1 ปี ทั้งหมดนี้ด้วยเชื่อว่า เมื่อผู้คนได้ใกล้ชิดและซึมซาบในงานศิลปะ พวกเขาจะได้แรงบันดาลใจ ไม่ทางใดก็ทางหนึง่ และนั่นจะทำ�ให้วงการศิลปะเติบโตได้ในทุกๆ ที่ ไม่ใช่จ�ำ กัดอยูเ่ พียงการชืน่ ชม ในพิพิธภัณฑ์หรือแกลเลอรีเท่านั้น ในจิตวิญญานของโลกศิลปะนั้น มีความเสรีเกินกว่าจะเป็นเพียงเครื่องบ่งชี้สถานะของระบอบ ศักดินาหรือความมั่งคั่งของโลกทุนนิยม เพราะศิลปะไม่ใช่สิ่งแปลกปลอม ไม่ใช่เรื่องของระยะห่าง หรือไม่ใช่การอนุรักษ์ให้เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ศิลปะต้องลื่นไหลและ สร้างบทสนทนาให้กับผู้คนได้อย่างไร้ขอบเขต อันจะทำ�ไปสู่ความงอกเงยในมิติต่างๆ ทั้งการ จรรโลงจิตใจ อารมณ์ รวมไปถึงแรงบันดาลใจสู่นวัตกรรมใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้ บทสนทนาระหว่าง ผูช้ น่ื ชมกับชิน้ งานย่อมเกิดขึน้ ได้กต็ อ่ เมือ่ เกิดการพบเห็น การสัมผัสและเข้าถึง เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารพินจิ พิเคราะห์และให้คุณค่าใหม่ๆ ตามแต่สายตาของผู้มอง ดังนั้น ที่อยู่ของผลงานศิลปะอันเป็นศูนย์กลางของความสัมพันธ์ทั้งหมดที่ว่ามานี้ จึงไม่ควร ถูกจำ�กัดอยู่แค่พื้นที่ทางกายภาพของแกลเลอรี หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ หรือการสรรหาพื้นที่เพื่อ นำ�เสนอศิลปะในแขนงต่างๆ เท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่สนทนาบนโลกออนไลน์ที่เชื่อมต่อกับผู้คน ได้ทุกที่ ทุกเวลา และพื้นที่ที่สำ�คัญที่สุดอย่างพื้นที่ทางความคิดภายในใจของผู้คน ซึ่งจะเป็น จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของการเปิดกว้างให้โลกศิลปะได้เติบโตเพื่อทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l5
artplus.com
THE SUBJECT ลงมือคิด
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
เบียนนาเล่ (Biennale) เป็นสวรรค์สำ�หรับทั้งผู้ที่ชื่นชอบศิลปะและศิลปินจากประเทศต่างๆ ที่ได้มาแสดงผลงานร่วมกันภายใต้ธีมงานที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละสถานที่ แต่งาน เบียนนาเล่ครั้งที่จัดขึ้นเมื่อเมษายนที่ผ่านมา กลับไม่ได้ใช้พื้นที่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง ในการกำ�หนดทิศทางของงาน แต่เลือกใช้พื้นที่ใหม่ที่ทุกคนบนโลกสามารถเข้าถึงได้อย่าง “ระบบออนไลน์” ในการนำ�เสนองานในรูปแบบใหม่
จากการจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยขึ้นครั้งแรกในนามของเวนิส เบียนนาเล่ (Venice Biennale) เมือ่ ปี 1895 การจัดแสดงงานศิลปะทีจ่ ดั ขึน้ เป็นประจำ�ทุก 2 ปีนี้ก็ได้แพร่ขยายไปยังส่วนต่างๆ ของโลก และเป็น ส่วนผลักดันให้ตลาดงานศิลปะขยายตัวอย่างรวดเร็ว กระทั่งในปัจจุบัน มีสถานที่สำ�หรับการจัดงานเบียนนาเล่เช่นเดียวกันนี้ถึง 132 แห่งทั่วโลก จากฝัง่ ตะวันตกไล่มาจนถึงประเทศฝัง่ ตะวันออก ทีท่ ง้ั ศิลปินและกิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะต่างเบ่งบานไปพร้อมๆ กับเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น ผลงานศิลปะร่วมสมัยของศิลปินในยุคนี้จึงมีโอกาสที่จะถูกจัดแสดง มากขึน้ ตามพืน้ ทีข่ องเมืองต่างๆ ทีร่ บั เอา “เบียนนาเล่” เข้ามาเป็นหนึง่ ใน กิจกรรมสำ�คัญของเมือง และเมื่อแจน โฮเอ็ต (Jan Hoet) มารับหน้าที่ใน การจัดเบียนนาเล่ออนไลน์ (BiennaleOnline) ภายใต้ชื่อ "Reflection & Imagination” และเปิดให้เข้าชมผ่านอินเทอร์เน็ทเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2013 จึงยิ่งเป็นการเติมเต็มโอกาสในการจัดแสดงงานของศิลปินโดยไร้ ข้อจำ�กัดด้านระยะทางอีกต่อไป การจัดแสดงเบียนนาเล่ออนไลน์นี้เกิดขึ้นโดยการใช้โปรแกรมเว็บ อินเทอร์เฟซที่ออกแบบมาเพื่อให้ทีมภัณฑารักษ์ชื่อดังทั้ง 30 คนสามารถ คัดเลือกผลงานรวม 175 ชิ้นจากศิลปินดาวรุ่งทั่วโลกมาจัดแสดง ซึ่ง 6l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
ความพิเศษของการจัดงานในรูปแบบใหม่นี้ก็คือการอนุญาตให้ผู้เข้าชม เว็บไซต์สามารถติดตามการทำ�งานของภัณฑารักษ์แต่ละคนได้อย่าง ใกล้ชิด รวมถึงการค้นหาผลงานจากชื่อศิลปินหรือสถานที่ทำ�งาน อีกทั้ง ยังสามารถขยายภาพเพื่อดูรายละเอียดของชิ้นงานที่สนใจ และแชร์ภาพ ผลงานศิลปินที่ชื่นชอบผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว อีกด้วย เบียนนาเล่ออนไลน์ครัง้ นีม้ ที ม่ี าจาก “อาร์ตพลัส อิงค์” (ARTPLUS Inc.) เครือข่ายสังคมออนไลน์ในนิวยอร์กทีศ่ นู ย์รวมศิลปิน นักสะสมงานศิลปะ พิพิธภัณฑ์ และผู้ที่ชื่นชอบศิลปะ ซึ่งก่อตั้งโดยเดวิด เดแฮก (David Dehaeck) และนาธาลี แฮฟแมน (Nathalie Haveman) ที่ใช้เวลาเกือบ สองปีในการเตรียมงาน และคาดว่าจะมีผเู้ ข้าชมเว็บไซต์มากกว่าหนึง่ ล้าน คนใน 200 วันแรก นอกจากนีศ้ ลิ ปินทีร่ ว่ มแสดงงานยังจะได้รบั เงินส่วนแบ่ง ร้อยละ 30 จากรายได้ในการขายตั๋วเข้าชมงานออนไลน์ ซึ่งนับเป็นอีก หนึ่งช่องทางในการส่งเสริมให้ศิลปินหน้าใหม่ได้เกิดและเติบโตในแวดวง ศิลปะต่อไป ที่มา: biennialfoundation.org, วิกิพีเดีย
jamfashion.glamour.it
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
หากกล่าวถึงพื้นที่สำ�หรับงานศิลปะ “เซลฟริดจ์ส (Selfridges)” ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ�ของอังกฤษที่เพิ่งฉลองครบรอบ 100 ปี แห่งการก่อตั้งไปเมื่อปี 2009 ก็คงเป็นตัวแทนของการเปิดพื้นที่ออกสู่สาธารณชนในมุมมองที่กว้างขึ้น
เมื่อครั้งที่ห้างเซลฟริดจ์สเปิดตัวบนถนนอ็อกซ์ฟอร์ดในปี 1909 นับได้ว่า เป็นการตัง้ มาตรฐานใหม่ให้แก่รา้ นค้าปลีกในยุคนัน้ เพราะแฮร์รี กอร์ดอน เซลฟริดจ์ (Harry Gordon Selfridge) ผู้ก่อตั้งได้พลิกทัศนคติเกี่ยวกับ จับจ่ายซือ้ ของจากทีถ่ กู มองว่าเป็นกิจวัตรทีน่ า่ เบือ่ ให้กลายเป็นการพักผ่อน พบปะสังสรรค์ และเปิดประสบการณ์ใหม่ นับตั้งแต่วันแรกที่เปิดทำ�การ เซลฟริดจ์สจึงเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะห้างค้าปลีกที่ “แตกต่าง” และ “แปลกใหม่” การริเริ่มนำ�ศิลปะมาผสมผสานกับการจัดกระจกหน้าร้าน (display window) ของเซลฟริดจ์ส เป็นจุดขายที่สร้างความประหลาดใจให้ นักท่องเที่ยว นักออกแบบ แฟชั่นนิสต้า และสื่อระดับโลกเสมอมา ที่ เซลฟริดจ์ส ศิลปะถูกนำ�เข้ามาใช้ในทุกๆ มุมมอง ทั้งกลยุทธ์การสร้าง บรรยากาศ การจัดวางสินค้าตัวอย่างให้ลูกค้าได้สัมผัสและทดลองใช้จริง การตั้งร้านกาแฟและร้านอาหารเพื่อดึงให้ลูกค้าอยู่ในห้างให้นานที่สุด เทคนิ ค เหล่ า นี้ล้ว นส่ ง อิ ท ธิ พ ลมาสู่ห้า งสรรพสิ น ค้ า ทั่ว โลกในปั จ จุ บัน ยิ่งไปกว่านั้น อะไรก็ตามที่กำ�ลังอยู่ในความสนใจ เซลฟริดจ์จะนำ�มา จัดแสดงเป็นเจ้าแรกเสมอ อาทิ งานแสดง Bleriot XI เครื่องบินลำ�แรก ของโลกที่บินผ่านช่องแคบอังกฤษในปี 1909 ซึ่งดึงดูดผู้เข้ามาชมมากกว่า 150,000 คนภายในเวลาเพียง 4 วัน หรือการเปิดตัวและสาธิตการทำ�งาน ของโทรทัศน์เครือ่ งแรกของโลกเป็นเวลา 3 สัปดาห์โดย จอห์น โลจี แบร์ด (John Logie Baird) เป็นต้น วันเวลาที่ผ่านไปไม่ได้ทำ�ให้จิตวิญญาณของการเป็นห้างสรรพสินค้า ที่เปิดพื้นที่ให้แก่การแสดงงานศิลปะจางหาย แต่กลับเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม เสียด้วยซํ้า เพราะกระบวนการคิดเพื่อสังเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ และนำ�เสนอสินค้าในรูปแบบเดียวกับภัณฑารักษ์ผู้อุทิศตนเพื่องานศิลปะ ในพิพิธภัณฑ์ ได้ถูกหยิบมาหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับสินค้าและตัวตน
ของเซลฟริดจ์สจนไม่อาจแยกจากกันได้ เมื่อต้นปี 2013 ที่ผ่านมา โปรเจ็กต์ “No Noise” ซึ่งมีแรงบันดาลใจจากความจริงของโลกยุค ปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้า ได้เปิดประสบการณ์ให้ผู้ที่เข้ามาในห้างได้ สัมผัสคุณค่าของความสงบเงียบ หลีกหนีจากข้อมูลข่าวสาร และการ โฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เกินจำ�เป็น เพื่อกลับมาชื่นชมความงามของ ประโยชน์ใช้สอยและค้นพบความสงบท่ามกลางความวุ่นวาย โดยกระจก หน้าร้านจัดแสดงผลงานศิลปะของ เคที แพเทอร์สัน (Katie Paterson) ที่ สะท้อนความงามของความสงบเงียบและเรียบง่ายผ่านเรื่องราวของ จักรวาล สินค้าแบรนด์ดังหลากหลายประเภทตั้งแต่สินค้าเพื่อความงาม อย่าง คลีนิกข์หรือลา แมร์ ไปจนถึงแบรนด์คู่ครัวอย่างไฮนซ์ ต่าง พร้อมใจกันผลิตสินค้ารุ่นพิเศษที่ไม่มีโลโก้บนบรรจุภัณฑ์ (de-branded collection) เพื่อตัด “เสียง” ที่ไม่จำ�เป็นออกไป เพราะแบรนด์ที่เข้มแข็ง ย่อมเพียงพอแล้วที่จะสื่อสารกับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเปิดตัว “Silence Room” ห้องพักผ่อนสำ�หรับให้ลูกค้าเข้ามาสงบจิตใจและผ่อนคลายจาก ความเหน็ดเหนื่อย ทั้งยังมีกิจกรรมนั่งสมาธิหมู่ (mass meditation) ภายในห้างอีกด้วย เมื่อพื้นที่สำ�หรับศิลปะได้ขยับขยายออกมาสู่อาณาเขตใหม่ๆ อย่าง ห้างสรรพสินค้า ก็ไม่เพียงทำ�ให้สุนทรียะจากงานมีโอกาสได้เข้าถึงคน จำ�นวนมากขึน้ เท่านัน้ แต่ยงั เพิม่ บทบาทของพืน้ ทีจ่ ดั แสดง จากทีเ่ ป็นเพียง แหล่งให้ความรูแ้ ละสร้างแรงบันดาลใจซึง่ เป็นการสือ่ สารทางเดียว ให้กลาย เป็นจุดเชื่อมต่อที่นำ�ไปสู่การตีความและนำ�เสนอผลงานในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปะ ศิลปิน และผู้ชมด้วยเช่นกัน ที่มา: บทความ Shopping VS Art จากนิตยสาร Blueprint ฉบับมิถุนายน 2006, วิกิพีเดีย, bbc.co.uk, selfridges.com มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา
FEATURED DATABASE
Stash เทคโนโลยี ร ะบบดิ จิ ทั ล ได้ ก ลายมาเป็ น ส่ ว น หนึ่งในชีวิตประจำ�วันของผู้คน ซึ่งไม่เพียงเข้า มาช่ ว ยจั ด สรรระบบการเก็ บ ข้ อ มู ล เท่ า นั้ น หากในแวดวงศิลปะ เทคโนโลยีเหล่านี้ก็ได้ช่วย ขยายฐานทางศิ ล ปะในแนวดิ จิ ทั ล อาร์ ต ให้ ชิ้นงานมีชีวิตและสามารถกระตุ้นความรู้สึกที่ หลากหลายให้กับผู้ที่ได้ชมงานมากขึ้น อันเป็น ผลมาจากการผสมผสานเทคนิ ค และองค์ ประกอบไม่ว่าจะเป็นภาพนิ่ง เสียง หรือภาพ เคลื่อนไหว เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์และสื่อสาร กับผู้ที่รับชมได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด และด้วยมองเห็นถึงความน่าสนในใจใน แวดวงงานดิจิทัลอาร์ต Stash บริษัทจากฝั่ง อเมริกา จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมผลงานดิจิทัล อาร์ตหลากหลายแขนงไว้ในรูปแบบฐานข้อมูล ออนไลน์ ซึ่งมีสตีเฟน ไพรซ์ (Stephen Price) เป็นบรรณาธิ ก ารหลั ก โดยผลงานทุก ชิ้นที่ คั ด เลื อ กมาล้ ว นแต่ ส ร้ า งแรงบั น ดาลใจ (inspiration) และเจาะลึกถึงรายละเอียด (insight) ทำ�ให้ฐานข้อมูล Stash ไม่ต่างจาก ไปพื้นที่สำ�หรับผู้ที่สนใจในแวดวงดิจิทัลอาร์ต ได้ใช้เป็นพื้นที่ในการศึกษา สร้างแรงบันดาลใจ ไปจนถึงการเรียนรู้ขั้นตอนการทำ�งาน และ หากผลงานเข้าตา ก็อาจได้รับการคัดเลือก 8 l Creative Thailand l มิถุนายน 2556
และได้แสดงผลงานในพื้นที่ศิลปะดิจิทัลแห่งนี้ ด้วยเช่นกัน โดยตัวอย่างผลงานที่โดดเด่นของ Stash ได้แก่ ผลงาน 3D Projection Mapping ซึ่งเป็นเทคนิคการฉายภาพจากโปรเจ็คเตอร์ที่ มี ค วามเข้ ม ข้ น ของแสงสู ง ขึ้ น บนวั ต ถุ ต่ า งๆ พร้อมกับซอฟต์แวร์ภาพกราฟิกให้พอดิบพอดี กับทุกรายละเอียด เพื่อเปลี่ยนโฉมหน้าของ คน วัตถุ ไม่เว้นแม้แต่อาคารสถานที่ไปในชั่ว พริบตา นับเป็นการสร้างการรับรู้ใหม่ให้กับ ทั้ ง ผู้ ค นในแวดวงศิ ล ปะและบุ ค คลทั่ ว ไปว่ า ผลงานศิลปะในยุคนี้ไม่ได้ถูกจำ�กัดอยู่เฉพาะ ในสตูดิโอหรือแกลเลอรีอีกต่อไป หากแต่ทุก พื้นที่คือสามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่การแสดงออก ทางผลงานศิ ล ปะรวมถึ ง ชั้ น เชิ ง ของศิ ล ปิ น หรือแม้กระทั่งผลงานในเชิงพาณิชย์อย่างงาน โฆษณาที่ เ ทคนิ ค ด้ า นดิ จิ ทั ล อาร์ ต ได้ ค่ อ ยๆ เข้าเจือจางการแบ่งแยกระหว่างโลกพาณิชย์ กั บ โลกแห่ ง ศิ ล ปะจนกลายเป็ น ผลงานเชิ ง “พาณิชย์ศิลป์” ที่น่าสนใจ เช่น งานโฆษณา ของฮุนได แอคเซนต์ (Hyundai Accent) “Discovery Hyundai” ที่ได้เปิดตัวรถรุ่นใหม่ โดยการใช้รถเครนถึง 6 คัน เพื่อขึงสลิงไว้กับ รถในลักษณะแนวดิ่งและแนบไปกับผนังตึก พร้อมการฉายภาพกราฟิกสุดแนบเนียนผ่าน
โปรเจ็คเตอร์ 6 ตัว ด้วยเทคนิค 3D Projection Mapping ซึ่งได้เปลี่ยนผนังปูนสีขาวธรรมดา ให้กลายเป็นถนนสุดไฮเทค พร้อมแสง สี ครบ ทุกองค์ประกอบ จนทำ�ให้ผู้ชมนับพันที่อยู่ใน บริเวณนั้นต้องตื่นตะลึง นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายเทคนิคที่จะพบได้ จากฐานข้อมูลออนไลน์ Stash ที่ไม่ต้องการให้ ผู้ ชมสั มผั ส เพี ย งผลผลิ ต ที่ เสร็ จ สมบู ร ณ์ แ ล้ ว เท่านั้น หากแต่ต้องการให้ได้เรียนรู้ทุกขั้นตอน ในการผลิ ต จากที ม ผู้ ส ร้ า งสรรค์ โ ดยตรง นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารสอนและการแนะนำ � กระบวนการผลิตที่เรียกว่า “ดิจิทัล ติวเตอร์ส (Digital Tutors)” การรวบรวมผลงานทีโ่ ดดเด่น ในแต่ละแขนง รวมถึงงานชั้นเยี่ยมในแต่ละปี ไว้พร้อมสรรพ ถือได้ว่า Stash ได้จับกระแส ดิจิทัลอาร์ตเกือบทุกแขนงมากลั่นกรองและ รวบรวมอย่างถึงแก่น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำ�หรับ ผู้คนในธุรกิจสร้างสรรค์ที่จะเข้าไปเก็บเกี่ยว ทุกข้อมูล ไม่ว่าจะเพื่อผลรางวัล ผลกำ�ไร หรือ ผลผลิตสำ�หรับการต่อยอดชิน้ งาน โดยผูท้ ส่ี นใจ สามารถใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ Stash ได้ที่ TCDC Resource Center ทั้งที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และ miniTCDC ทั้ง 13 จังหวัด
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
BOOK
MAGAZINE
MY NAME IS CHARLES SAATCHI AND I AM AN ARTOHOLIC
STUTTGART CITY LIBRARY โดย Eun Young Yi
ELEPHANT
“ผมชื่อชาร์ลส์ ซาตชิ และผมเป็นคนหนึ่งที่บ้า งานศิลปะ” ซาตชิให้คำ�จำ�กัดความเกี่ยวกับ ตัวเองเมื่อถูกถามว่าเขาคือใคร ซึ่งเป็นที่มาของ ชื่อหนังสือเล่มนี้ หลายคนคงคุ้นกับชื่อซาตชิ มาบ้างในโลกธุรกิจโฆษณา แต่สำ�หรับวงการ ศิลปะร่ว มสมัยแล้ว เขาคือ หนึ่งในตัว จริงที่ เติมเต็มนิเวศของความสร้างสรรค์ให้สมบูรณ์ ในฐานะนักสะสมตัวยงที่สะสมงานศิลปะมา แล้วกว่า 30 ปี และยังได้เปิดแกลเลอรีท่ลี อนดอน ให้ผู้ที่หลงใหลงานศิลปะเช่นเดียวกับเขาได้เข้า ชมฟรีตั้งแต่ปี 2008 และไม่ว่าเขาจะหันไปหยิบ จั บ หรื อ เลื อ กสะสมผลงานของศิ ล ปิ น คนใด ศิ ล ปิ น คนนั้ น ก็ จ ะดู น่ า สนใจขึ้ น มาทั น ที นอกจากนี้ ซาตชิยังให้การสนับสนุนศิลปิน หน้าใหม่จนเป็นที่รู้จักมากมาย หนังสือเล่มนี้ เป็นบทสนทนาถาม-ตอบกับซาตชิ พูดคุยถึง ทุกเรื่องที่เราอยากรู้เกี่ยวกับศิลปะ ไขข้อข้องใจ ในงานศิ ล ปะบางชิ้ น ถึ ง เหตุ แ ละผลของการ ทุ่มเงินจำ�นวนมหาศาลเพื่อให้ได้เป็นเจ้าของ เขาเล่าว่ามันไม่ใช่ธุรกิจ ไม่ใช่การลงทุน แต่ เขาทำ� เพราะความชอบล้วนๆ และแน่นอน ศิลปะไม่ได้เกี่ยวกับมูลค่า มันเกี่ยวกับคุณค่า ต่างหาก
แผนพัฒนาพื้นที่เมืองแห่งใหม่ของนครชตุทท์การ์ท ภายใต้โครงการ Stuttgart 21 เป็นการ ร่วมมือของรัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทรถไฟแห่ง เยอรมนี (Deutsche Bahn AG) ซึ่งเริ่มวางแผน มาตัง้ แต่ทศวรรษ 1980 แผนพัฒนานีป้ รับบุคลิก ของเมืองครั้งใหญ่ให้มีมิติที่หลากหลายยิ่งขึ้น จากภาพเดิมซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม อันเคร่งขรึม โดยมีหอ้ งสมุดประจำ�เมืองชตุทท์การ์ท (Stuttgart City Library) ผลงาน การออกแบบของอึนยองอี สถาปนิกชาวเกาหลี ที่ ถู ก วางให้ เ ป็ น จุ ด กึ่ ง กลางของการปรั บ ภูมิทัศน์ในครั้งนี้ นอกจากสถาปัตยกรรมอันน่า ตื่นตะลึงและระบบเทคโนโลยีทันสมัยที่นำ�มา ใช้ อ ย่ า งพร้ อ มพรั่ ง จะเป็ น สิ่ ง ที่ น่ า ชื่ น ชมแล้ ว การให้บริการของห้องสมุดก็น่าสนใจเช่นกัน Graphothek คือส่วนของห้องสมุดทีเ่ ก็บรวบรวม ผลงานศิลปะของศิลปินที่มีชื่อเสียงของเมือง รวมถึงศิลปินรุน่ ใหม่นบั พันชิน้ ตัง้ แต่ปี 1976 และ เปิ ด โอกาสให้ ผู้ ค นได้ ชื่ น ชมผลงานศิ ล ปะ เหล่านั้นด้วยการยืมกลับไปแขวนที่บ้านได้นาน ถึงครั้งละ 8 สัปดาห์ นับเป็นบริการสร้างสรรค์ ที่ช่วยลดช่องว่างในการเข้าถึงชิ้นงานระหว่าง ประชาชนกับศิลปะได้เป็นอย่างดี
ไม่วา่ ศิลปะจะถูกใช้เป็นเครือ่ งมือในการถ่ายทอด ความรู้สึก บันทึกเหตุการณ์ หรือเติมเต็มด้าน สุนทรียภาพ แต่บางทฤษฎีก็พยายามแบ่งแยก ศิ ล ปะออกเป็น สองฝั่งอย่างชั ด เจน นั่นคือ ความงามแบบร่ ว มสมั ย ตามพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ห รื อ แกลเลอรี แ สดงงานศิ ล ปะกั บ ความงามเชิ ง พาณิชย์ เอลาเฟน (Elephant) นิตยสารในเครือ ผู้ผลิตเดียวกันกับนิตยสารเฟรม (Frame) ซึ่งมี มาร์ก วัลลี (Marc Valli) เจ้าของร้านหนังสือ แมกมา (Magma) ในกรุงลอนดอนเป็นบรรณาธิการ จึงถือกำ�เนิดขึ้นด้วยความปรารถนาที่จะ เป็นคนกลางในแวดวงศิลปะเพื่อหาโอกาสที่ดี ในการศึกษา รวมถึงสัมผัสศิลปะทั้งสองด้าน อย่างชัดเจน จากพืน้ ฐานทีเ่ ป็นกลางนี้ จึงทำ�ให้ ผู้อ่านที่สนใจงานศิลปะสามารถมองเห็นทุก กระแสอย่างรอบด้านจากเนื้อหาหลักซึ่งแบ่ง ออกเป็น 5 ส่วนตามลำ�ดับ ได้แก่ ส่วนการแนะนำ� ผลงานหรือโชว์เคส ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหา เฉพาะ ส่วนการศึกษากระบวนการทำ�งานหรือ การเยี่ยมชมสตูดิโอรวมถึงศิลปินกลุ่มต่างๆ ส่วนธุรกิจสร้างสรรค์ในเชิงพาณิชย์ และปิดท้าย ด้วยส่วนเมืองสร้างสรรค์ ซึง่ จะเปลีย่ นไปในแต่ละ ฉบับ โดยเล่มล่าสุดยกให้เคปทาวน์ในแอฟริกาใต้ เป็นธีมหลักของเล่ม มิถุนายน 2556 l Creative Thailand l 9
โดย Charles Saatchi
MATTER วัสดุต้นคิด
ART & MATERIALS ศิลปะและวัสดุ
MC#6790-01
MC#6790-02
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะให้ตอบโจทย์กับแนวคิดที่ศิลปินตั้ง ไว้นั้น นอกจากจะต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ทเ่ี ป็นเอกลักษณ์ ของศิลปินแล้ว ก็ยังต้องให้ความสำ�คัญกับการเลือกใช้วัสดุที่ แปลกใหม่ยิ่งขึ้น โดยอาจเป็นวัสดุแนวใหม่ที่เกิดจากการทดลอง ด้วยตัวของศิลปินเอง เช่นการพลิกแพลงสิ่งที่อยู่รอบตัวมาผลิต เป็นวัสดุซง่ึ ยังไม่มจี �ำ หน่ายในตลาดงานศิลป์เพือ่ ถ่ายทอดออกมา เป็นศิลปะในเชิงแนวคิดที่ตอบกับความต้องการของศิลปินได้ มากทีส่ ดุ แต่กย็ งั คงเป็นวัสดุทเ่ี ชือ่ มโยงเข้ากับวิถชี วี ติ วัฒนธรรม และการพัฒนาของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้ดี
ผลงานของ แมนดี เดน เอลเซน (Mandy Den Elzen) ศิลปินชาว เนเธอร์แลนด์ เป็นหนึ่งในผลงานที่สะท้อนให้เห็นมุมมองของศิลปิน ผ่านวัสดุพื้นฐานในการดำ�รงชีวิตที่ได้แรงบันดาลใจจากอาหารการกิน เช่น การนำ�เอาเครื่องในสัตว์ที่มีโครงสร้างและพื้นผิวคล้ายกระดาษรังผึ้ง อย่างกระเพาะสองส่วนแรกของวัวและกระบือ ที่เรียกว่า Rumen และ Reticulum (MC#6790-01) ซึ่งเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำ�นวน สี่กระเพาะ มีผิวลายนูน และเป็นรูปทรงหกเหลี่ยมมาผ่านกระบวนการ ฟอกเป็นเวลาสองเดือน จนได้เป็นวัสดุที่มีพื้นผิวคล้ายเส้นกระดาษบางๆ ยื่นออกมาโดยรอบคล้ายขนสัตว์ มีความโปร่งแสงเล็กน้อย ยืดหยุ่น และ ไม่ลามไฟ สามารถนำ�มาใช้เหมือนกับผืนผ้าใบเพื่อวาดรูป หรือขึ้นรูป เป็นงานประติมากรรมที่ให้ความรู้สึกแตกต่างไปจากวัสดุแบบเดิม นอกจากนี้ เขายังได้สร้างสรรค์วัสดุจากสาหร่ายชนิดแรกที่จำ�หน่าย ในลักษณะรูปทรงตามธรรมชาติ โดยนำ�สาหร่ายทะเลสีนา้ํ ตาล (Luminaria) (MC#6790-02) มาต้มให้เดือดก่อนนำ�ไปผ่านกระบวนการในขณะที่ยัง ไม่แห้ง เมื่อนำ�ไปขึ้นรูปในแม่พมิ พ์จนได้รปู ทรงทีต่ อ้ งการแล้วจึงเคลือบผิว ด้วยเรซินอะคริลิกเพื่อเพิ่มความคงทน ยืดหยุ่น และรับแรงได้ดี โดยวัสดุ จากสาหร่ายนี้มีความโปร่งแสงเหมาะกับการใช้งานที่มีแสงส่องสว่าง ขณะที่หน้ากว้างของวัสดุที่มีทั้งขนาด 10 ถึง 20 เซนติเมตร และยาว 30 เซนติเมตร ตลอดจนมีสีเขียวและนํ้าตาลตามธรรมชาติแตกต่างกันไป ไปในแต่ละแผ่น ก็เหมาะสำ�หรับการใช้ปูผนังภายในอาคาร และผลิต งานศิลปะหลากหลายรูปแบบ นอกจากวัสดุธรรมชาติที่อาจไม่มีใครนึกถึงจะกลับน่าสนใจขึ้นได้ ด้วยมุมมองของศิลปินแล้ว ในวงการอุตสาหกรรมก็มีการผลิตวัสดุเพื่อ 10 l Creative Thailand l มิถุนายน 2556
MC#6966-02
รองรับการใช้งานด้านศิลปะมากขึ้นด้วย เช่น การผสมผสานของผ้าและ คอนกรีต โดยการฝังผ้ากำ�มะหยี่หรือผ้าลินินบนผิวของคอนกรีตตาม ลวดลายที่ต้องการ (MC#6966-02) เริ่มจากนำ�ผ้ากำ�มะหยี่หรือผ้าลินินที่ ทอด้ ว ยเส้ น ด้ า ยซึ่ ง ผ่ า นการทดสอบความทนทานต่ อ สภาพเป็ น ด่ า ง ในคอนกรีตแล้ว มาผ่านกระบวนการพิมพ์เพื่อกัดผิวผ้าด้วยตัวทำ�ละลาย อินทรียท์ ป่ี ราศจากสารไฮโดรคาร์บอนทีม่ คี ลอรีนเป็นส่วนประกอบ เพือ่ ให้ เหลือเฉพาะลวดลายและนำ�ไปย้อมสี จากนั้นนำ�ลายที่ได้ไปวางฝังบนผิว คอนกรีตที่มีการเสริมแรงด้วยใยแก้วเพื่อให้มีคุณสมบัติช่วยดูดซับเสียง ก่อนจะเทหล่อแล้วเคลือบผิวต้านทานรอยเปือ้ นในขัน้ ตอนสุดท้าย ซึง่ วัสดุ ลูกผสมระหว่างผ้าและคอนกรีตนี้เหมาะที่จะนำ�ไปใช้ตกแต่งผนังภายใน อาคาร นำ�ไปประกอบในผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือแม้แต่หล่อขึ้นรูปทำ�เป็นชิ้น งานศิลปะได้ การจัดการกับวัสดุเพื่อให้ปรากฏเป็นผลงานศิลปะนั้นยังเป็นเรื่องที่ ต้องอาศัยประสบการณ์และความชํานาญเฉพาะตัวเป็นสําคัญ โดยเฉพาะ การเลือกวัสดุมาใช้ที่ต้องเหมาะสมสอดคล้องกับรูปแบบและเนื้อหา ของผลงานที่ต้องการจัดแสดง เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าและสําเร็จตาม วัตถุประสงค์ของศิลปิน จนอาจกล่าวได้ว่า วิธีการจัดการกับวัสดุนับเป็น ส่วนประกอบหนึ่งที่สําคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ศิลปินไม่ อาจมองข้ามไปได้ ดูตัวอย่างวัสดุและขอข้อมูลวัสดุเพิ่มเติมได้ที่ Material ConneXion® Bangkok โทร 02 664 8448 ต่อ 225 ที่มา: mandydenelzen.com, materialconnexion.com, tactilityfactory.com
CLASSIC ITEM
เรอ่ืง
า
า า
า
า
Spraycan Art
า
า า
า
า า
The Mammoth Book of Street Art Banksy: The Man Behind the Wall
มถินุายน 2556
l
Creative Thailand
l 11
COVER STORY เรื่องจากปก
เรื่อง: วิสาข์ สอตระกูล
ทุกครั้งที่พูดถึงคำ�ว่าศิลปะ หลายคนมักจะนึกถึงงานชิ้นโบว์แดงของเหล่าศิลปิน ระดับเทพ เช่น งานจิตรกรรมสีนา้ํ มันของวินเซนต์ แวน โกะห์ (Vincent Van Gogh) งานประติมากรรมสำ�ริดของซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) งานภาพพิมพ์ ของแอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) หรืองานศิลปะจัดวางของเดเมียน เฮิร์สต์ (Damien Hirst) ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกจัดแสดงอย่างทรงเกียรติตามหอศิลป์หรือ พิพิธภัณฑ์ชื่อดังทั่วโลก จนทำ�ให้เข้าใจไปว่า โลกของศิลปะนั้นเป็นสิ่งที่สุดแสน จะ “เอ็กซ์คลูซฟ ี ” และจะเข้าถึงได้กต็ อ่ เมือ่ เราต้องพยายามเอาตัวเข้าไปเกี่ยวข้อง กับแวดวงศิลปะเท่านัน้ โดยลืมไปว่าพืน้ ทีเ่ หล่านัน้ ล้วนแล้วแต่เป็นพืน้ ทีส่ าธารณะ ทีใ่ ครๆ ก็สามารถเข้าชมได้ หากมองจากอีกมุมหนึง่ นัยยะแห่งการมีอยูข่ องศิลปะบนโลกใบนี้ มีอะไร ที่อยู่นอกเหนือจากห้องแขวนภาพผนังสีขาวและห้องประมูลงานตาม โรงแรมมากนัก เพราะศิลปะนั้นเรียงรายอยู่รอบๆ ตัว และมีที่ทางอยู่ใน ชีวิตประจำ�วันโดยที่เราไม่ต้องพยายามเข้าหา เพียงแต่คนส่วนใหญ่ใน สังคมกลับไม่ค่อยตระหนักถึง “บทบาท” และ “ความสัมพันธ์” ที่มนุษย์ กับศิลปะมีให้แก่กนั และนีถ่ อื เป็นจุดเปลีย่ นทีท่ �ำ ให้สงั คมในปัจจุบนั พยายาม สะกิดให้ผู้คนหันมาตีความ “พื้นที่ศิลปะ” กันใหม่ เพื่อจะลดช่องว่าง ระหว่าง “ความเป็นมนุษย์รว่ มสมัย” กับ “ความเข้าใจในศิลปะ” ทีน่ บั วัน จะยิ่งเดินห่างจากกันไปทุกที
12 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
© Berezhkov Alexei/ITAR-TASS/CORBIS
COVER STORY The Gates (1979-2005) โดย คริสโต เรืและ ฌอง-โคลด เปิดแสดง ่องจากปก ต่อสาธารณชนที่เซ็นทรัลพาร์ก นิวยอร์ก เป็นเวลา 16 วัน ในปี 2005 โดยมีผู้เข้าชมกว่า 4 ล้านคน หลังรื้อถอนผลงาน วัสดุโครงสร้างที่ทำ� จากเหล็กถูกนำ�ไปรีไซเคิล
หน้าที่ของศิลปะ
minimalexposition.blogspot.com
เพื่อที่จะเข้าใจถึงพื้นที่ความสัมพันธ์ที่มนุษย์กับศิลปะเคยเชื่อม โยงถึงกันมาโดยตลอดในหลายๆ วัฒนธรรม ในช่วงเวลาที่แตก ต่างกันออกไป เราอาจจะต้องมองย้อนไปในอดีต เพื่อรับรู้ว่า มนุษย์เคยมีมมุ มองต่อบทบาทของศิลปะอย่างไร และเรายังสัมผัส ได้ถึงพลังและความหมายเหล่านั้นอยู่หรือไม่
มนุษย์ไม่ได้มองศิลปะเป็นแค่การแสดงออกทางอารมณ์หรือความรู้สึก เท่านั้น เพราะก่อนที่จะมีภาษาหรือตัวอักษร ศิลปะคือเครื่องมือชิ้น สำ�คัญในระบบการสื่อสาร เรื่องราวและข้อมูลต่างๆ จากอดีต ล้วนถูก เล่าขานและจดบันทึกผ่านจังหวะดนตรี การเต้นรำ� สัญลักษณ์ รูปวาด และการแกะสลัก ที่พบได้ใน “พื้นที่ชีวิต” ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ทางจิตวิญญาณ พื้นที่ทางการเมืองการปกครอง พื้นที่การอยู่อาศัย หรือ แม้กระทั่งบนร่างกายของมนุษย์ ในขณะที่บรรพบุรุษก็ตั้งใจอุทิศพื้นที่ให้ ศิลปะได้ทำ�หน้าที่สื่อสารความคิด ความเชื่อ และความเป็นไปในสังคม หากไร้ซึ่งศิลปะที่ตกทอดจากยุคประวัติศาสตร์แล้ว ก็คงเป็นไปได้ยากที่ จะเข้าใจถึง “อารยะ” และ “ชีวิต” ของผู้คนต่างชนชั้น ต่างยุคสมัย และ ต่างบทบาทหน้าที่ในแต่ละวัฒนธรรมได้อย่างลึกซึ้ง
มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 13
© Bob Daemmrich/CORBIS
COVER STORY เรื่องจากปก
Obama Hope (2008) โดย โอเบย์ จากโปสเตอร์รณรงค์หาเสียงให้กับบารัค โอบามา สมัยเลือกตั้งครั้งแรกที่ติดตามท้องถนนกว่า 300,000 แผ่น ปัจจุบันภาพแห่ง ความหวังนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ส่วนหนึ่งถูกนำ�ไปขายบนอีเบย์ในราคาสูงถึง 4,000 เหรียญสหรัฐฯ
เมื่อโลกหมุนมาสู่ยุคปัจจุบัน ศิลปะถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ยังคงส่ง อิทธิพลต่อความเป็นไปในสังคม และสามารถเป็นแรงผลักดันให้มวลชน ก้าวออกมาสร้างความเปลี่ยนแปลงได้ ในปี 2008 ศิลปินสตรีทอาร์ต 'โอเบย์' ('OBEY') หรือ เชฟเพิร์ด แฟร์รีย์ (Shepard Fairey) เคยมีส่วน ช่วยบารัค โอบามา หาเสียงชิงตำ�แหน่งประธานาธิบดีผ่านการสร้างงาน ศิลปะข้างถนน ทั้งโปสเตอร์ ใบปลิว และงานศิลปะบนกำ�แพง ในครั้งนั้น อเมริกาทั้งประเทศก็เปลี่ยนตัวเองเป็นพื้นที่ศิลปะ ในขณะที่ภาพใบหน้า ของโอบามาพร้อมข้อความ “ความหวัง (Hope)” ก็สง่ สารปลุกให้อเมริกนั ชน อยากจะเปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ด้วยการออกมาลงคะแนนเลือก ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกให้กับประเทศ
“เมือง” “ที่ว่าง” และ “โลกศิลปะ” ทุกวันนี้ หลายเมืองทั่วโลกได้เริ่มบรรจุการบริหารจัดการพื้นที่ ศิลปะเข้าเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายของการพัฒนาเมือง ที่อำ�นวย ต่อผู้สร้างงานหรือศิลปินให้สามารถทำ�งาน ใช้ชีวิต และสร้าง อาชีพได้สะดวกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยให้ผู้เสพงานหรือ สาธารณชนทั่วไปสามารถเชื่อมต่อและมีส่วนร่วมกับโลกศิลปะ รวมทั้งสามารถเป็นเจ้าของผลงานศิลปะได้ง่ายขึ้นด้วย
เพื่ อ จั ด สรรพื้ น ที่ ทำ � งานและพื้ น ที่ แ สดงงานให้ กั บ ศิ ล ปิ น ในรู ป แบบที่ เหมาะสม ทัง้ ในแง่ของสถานทีแ่ ละค่าใช้จา่ ย “โครงการครีเอทีฟ สเปซเซส (Creative Spaces)” ได้ถกู จุดประกายขึน้ ในปี 2009 โดย ซิต้ี ออฟ เมลเบิรน์ 14 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
(City of Melbourne) หน่วยงานภาครัฐของออสเตรเลีย และองค์กรผู้ อัดฉีดเงินทุนอย่าง อาร์ตส์ วิกตอเรีย (Arts Victoria) ที่ได้จับมือกับคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอที (RMIT Architecture) และ เดอะ ฟิวเจอร์ โฟกัส กรุ๊ป (The Future Focus Group) ผู้พัฒนา โครงการเอ็ม: เออร์เบิรน์ - โมดิฟายอิง้ เดอะ ซิต้ี (M: Urban - Modifying the City) ซึ่งมีแนวคิดสอดคล้องกันในเรื่องการแลกเปลี่ยนพื้นที่ว่าง ระหว่างเจ้าของอาคาร บ้านเรือน รวมทั้งที่ว่างภายในอาคารต่างๆ (Vacancy Exchange) โดยมีจุดประสงค์เพื่อบริหารจัดการ “ที่ว่าง ในเมือง” ให้กับศิลปิน โครงการครีเอทีฟ สเปซเซส เริม่ ต้นด้วยการพัฒนาเว็บไซต์ creative spaces.net.au ให้เป็นแพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อกลุ่มศิลปินเข้ากับ เหล่าเจ้าของพื้นที่ปล่อยเช่า โดยทุกฝ่ายมีวิสัยทัศน์เดียวกันว่าโครงการนี้ จะเป็นไปเพื่อการสนับสนุนความงอกงามของศิลปะในตัวเมือง และเป็น การดึงกลุ่มศิลปินท้องถิ่นให้ได้กลับเข้ามาใช้ชีวิตและทำ�งานภายในเขต เมืองอีกครั้ง หลังจากที่ต้องระหกระเหินออกไปรอบนอกเนื่องจากไม่ สามารถสู้ค่าเช่าสตูดิโอที่แพงลิบลิ่วได้ ปัจจุบันครีเอทีฟ สเปซเซส นอกจากจะมีพื้นที่เช่าให้กับกลุ่มศิลปินที่ ครอบคลุมไปในรัฐต่างๆ ของออสเตรเลีย เช่น วิกตอเรีย ควีนส์แลนด์ ไปจนถึงเกาะทางตอนใต้อย่างแทสเมเนีย พวกเขายังพยายามนำ�เสนอ รูปแบบของพืน้ ทีท่ ม่ี คี วามหลากหลายเพือ่ ให้ศลิ ปินต่างแขนงสามารถเลือก ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ตามลักษณะงานด้วย ยกตัวอย่างเช่น โรงภาพยนตร์ โรงละคร โถงชุมชน สตูดิโอเต้นรำ� แกลเลอรี ทางเดินเท้า พื้นที่ภายใน ห้างสรรพสินค้า โกดังเก็บสินค้า หรือแม้กระทั่งบริเวณกรอบหน้าต่างของ บ้านเรือนก็สามารถถูกเช่าเพื่อใช้จัดแสดงงานได้เช่นกัน
COVER STORY เรื่องจากปก
เมตร) โดยแนวคิดสำ�คัญของพื้นที่นี้คือการเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่าง โลกศิลปะกับโลกร่วมสมัย เพราะจากสถิติของประชากรที่สัญจรผ่านทาง เดินนี้ราว 35,000 คนต่อสัปดาห์นั้นหมายถึงโอกาสที่ผลงานศิลปะจะ เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น แพลตฟอร์ม อาร์ต แกลเลอรีเปิดให้ใช้พื้นที่มา ตั้งแต่ปี 1995 ปัจจุบันมีงานรูปแบบต่างๆ มาจัดแสดงสลับสับเปลี่ยนกัน ทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ การแสดง และการเล่นดนตรี ฯลฯ ไม่เฉพาะแต่ในกลุ่มประเทศตะวันตกเท่านั้นที่ยอมรับว่า “ความ สร้างสรรค์” คือหัวใจของการพัฒนาในยุคสมัยใหม่ ยักษ์ใหญ่แห่งซีกโลก ตะวันออกอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนเอง ก็มีนโยบายการพัฒนาที่เบน เข็มมาสู่พื้นที่ของศิลปวัฒนธรรมเช่นกัน “เขตศิลปะ 798 (798 Art District)” ในกรุงปักกิ่งคือกรณีศึกษาที่พิสูจน์ชัดแล้วว่าศิลปะสามารถสูบ ฉีดชีวติ ใหม่ให้กบั ความยากไร้ และสามารถนำ�พาเม็ดเงินมหาศาลหมุนเวียน เข้าสู่ประเทศได้อย่างเหลือเชื่อ Citytalking (2006) โดย แอสตรา โฮเวิร์ด creativespaces.net.au
ตัวอย่างพื้นที่ศิลปะและการจัดแสดงงานที่น่าสนใจจากโครงการนี้ เช่น Citytalking, 2006 เป็นการจัดแสดงงานศิลปะในรูปแบบอินเทอร์ แอคทีฟระหว่างผู้ชมกับศิลปิน โดยศิลปินหญิงชาวออสเตรเลีย แอสตรา โฮเวิร์ด (Astra Howard) ซึ่งได้พลิกรูปแบบการนำ�เสนอผลงานจากเดิมที่ เคยจัดอยูใ่ นพืน้ ทีป่ ดิ เช่นห้องจัดแสดงภาพ มาอยูใ่ นรูปแบบของ “รถเข็น” ที่ตั้งไว้ในพื้นที่สาธารณะย่านธุรกิจของเมลเบิร์น Citytalking มีลักษณะ เป็นซุ้มเคลื่อนที่ (Kiosk) ที่สามารถเข็นไปไว้ตามแหล่งชุมชนต่างๆ ได้ เช่น ริมทางเดินเท้า พื้นที่รอบนอกของห้างสรรพสินค้า ฯลฯ โฮเวิร์ดเผย ว่าผลงานศิลปะชิ้นนี้ได้ทำ�หน้าที่เป็นกระบอกเสียงส่งผ่านข้อความจาก สาธารณชนสู่สาธารณชน ผ่านหน้าจอแอลอีดีที่ติดตั้งไว้ แต่ที่สำ�คัญที่สุด เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ “นัยยะแฝง” ของพื้นที่การจัดแสดง ที่ได้เปิดประตูให้ “ความคิดเห็น” ต่างๆ ที่เคยแอบซ่อนอยู่ในบ้าน มีโอกาสเผยตัวออกสู่ สาธารณชนมากขึ้นนั่นเอง นอกจากนี้ การประยุกต์พื้นที่ทางเดินในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของ เมลเบิรน์ ให้กลายเป็นพืน้ ทีศ่ ลิ ปะทีเ่ รียกกันว่า “แพลตฟอร์ม อาร์ต แกลเลอรี (Platform Art Gallery)” ซึ่งส่วนจัดแสดงงานนั้นจะถูกฝังอยู่ในกำ�แพงที่ แบ่งเป็นช่องหน้าต่างขนาดต่างๆ กัน 18 ช่อง (มีความกว้างตั้งแต่ 2-4
© Mike Kemp/In Pictures/CORBIS
creativespaces.net.au
เวลาที่เรานึกถึงย่านศิลปะสุดฮอตของโลก “โซโห นิวยอร์ก” หรือ “อีสต์เอนด์ ลอนดอน” คงจะเป็นชื่อแรกๆ ที่กระโดดขึ้นมาในหัว แต่ ณ ปี 2013 นี้ “เขตศิลปะ 798” ได้กลายเป็นอีกหนึ่งชื่อที่ ผู้คนจะคิดถึง
มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 15
© Anais Martane/CORBIS
COVER STORY เรื่องจากปก
นับตั้งแต่ที่เยว่ หมิ่นจวิน (Yue Minjun) ศิลปินจีนจากหยวนหมิงหยวน (Yuanmingyuan)* ขายภาพเขียนสีนา้ํ มัน The Pope (1997) ไปที่ราคาประมูล 2.14 ล้านปอนด์ในปี 2007 ระยะเวลาไม่ถึง ทศวรรษ ราคางานศิลปะจากประเทศ จีนก็พงุ่ สูงขึน้ แบบติดจรวด และร้อนแรง เสียยิ่งกว่าขนาดเศรษฐกิจที่กำ�ลังเติบโต อย่างก้าวกระโดดของประเทศด้วยซํ้า
*พระราชวังฤดูร้อนเดิมของจักรพรรดิจีน พื้นที่
ส่ ว นใหญ่ ต กเป็ น ของชาวนาหลั ง สิ้ น สุ ด การ ปกครองโดยราชวงศ์ ต่อมาจึงกลายเป็นแหล่ง รวมศิลปินรุ่นเยาว์ที่เช่าที่ชาวไร่ในราคาถูก เพื่อใช้เป็นสตูดิโอในการทำ�งาน
จากพื้นที่โรงงานไฟฟ้าเก่าที่รัฐบาลจีนปล่อยทิ้งร้างไปตั้งแต่ช่วงปี 1990 กลุ่มศิลปินจีนยุคใหม่ค่อยๆ ทยอยเข้าเปลี่ยนโฉมหน้า “ตึกโรงงาน ร้าง” ในเขต 798 เพื่อใช้เป็นทั้งที่ทำ�งาน ที่พักอาศัย และที่จัดแสดงงาน ในเวลาเดียวกัน พวกเขามองเห็นภาพ “โกดังร้าง ค่าเช่าถูก” บน โครงสร้างอาคารจากสมัยทศวรรษ 1950 ซึ่งดูจะเป็นคุณสมบัติที่ลงตัว เหลือเกินสำ�หรับการสร้าง “ชุมชนศิลปะ” แห่งใหม่ในเวลานั้น แรกเริ่มในช่วงปี 2002 กลุ่มศิลปินและองค์การด้านวัฒนธรรมค่อยๆ ร่วมมือกันจัดสรรการใช้พื้นที่ในเขต 798 แต่ก็ยังไม่มีการประชาสัมพันธ์ ออกไปอย่างจริงจัง จนกระทั่งเมื่อความสำ�เร็จถูกเล่าขานออกไปปาก ต่อปาก ศิลปินอิสระจากทั่วสารทิศจึงค่อยๆ อพยพมารวมตัวกันที่นี่ ด้วยค่าเช่าที่ถูกแสนถูกในช่วงแรก เขตศิลปะนี้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มดึงดูด “ผู้คนรอบนอก” รวมทั้ง “ธุรกิจอื่นๆ” เพิ่มเข้ามาในพื้นที่ อย่างไม่ขาดสาย ในช่วงปี 2002-2008 งานศิลปะที่เขต 798 เติบโตขึ้นในบรรยากาศ ของการก่อสร้างมาโดยตลอด ศิลปินก็ทำ�งานกันไป ในขณะที่พื้นที่ก็ถูก ปรับปรุงไปเรือ่ ยๆ จนกระทัง่ เมือ่ ช่วงกีฬาโอลิมปิกปี 2008 หรือปักกิง่ เกมส์ เขต 798 จึงถูกเร่งพัฒนาให้เข้าสู่สภาพที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อใช้เป็นหน้า เป็นตาให้กับเมืองในการต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก โดยนอกจาก พิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี และสตูดิโอน้อยใหญ่ที่แอบซ่อนอยู่ในทุกอณูแล้ว ปัจจุบันเขตศิลปะ 798 ยังมีกิจกรรมเชิงพาณิชย์แทรกตัวอยู่ด้วยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ บาร์ ร้านอาหาร ร้านหนังสือ โรงภาพยนตร์ รวมไปถึง ธุรกิจต้นนํ้า-ปลายนํ้าต่างๆ เช่น ร้านอาร์ตซัพพลาย ร้านค้าของที่ระลึก การจัดอีเวนต์ ปาร์ตี้ และงานเทศกาลด้านศิลปวัฒนธรรมทุกรูปแบบ ล่าสุดมีแม้กระทั่ง บูติกโฮเทล เพื่อรองรับตลาดนักค้าศิลปะ รวมถึงผู้ที่ สนใจในบรรยากาศสร้างสรรค์ใหม่ๆ ของปักกิ่งด้วย 16 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
Imaginechina/CORBIS ป้า©ยโฆษณาเทศกาลศิ ลปะที่เขตศิลปะ 798 ในปักกิ่ง ตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา รัฐบาลปักกิ่งร่วมมือกับบริษัทในฮ่องกงวางแผนที่จะเปลี่ยนเขตศิลปะ 798 ให้กลาย เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ที่พร้อมรองรับความต้องการทุกๆ ด้าน ทั้งที่พักและความ บันเทิง โดยคาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2015
ทุกวันนี้ผลงานของศิลปินจีนอย่าง อ้าย เว่ยเว่ย (Ai Weiwei) หรือ กู่ เหวินต๋า (Gu Wenda) กลายเป็นสิ่งที่ผู้ค้างานศิลปะรายใหญ่อย่าง คริสตีส์ (Christie's) หรือซัทเธอร์บีส์ (Sotheby's) จ้องตะครุบตาเป็นมัน พวกเขาเฝ้าคอยทีจ่ ะเก็บสะสมผลงาน และพร้อมจะจ่ายไม่อน้ั ให้กบั “ศิลปะ เลือดใหม่” จากแผ่นดินมังกรนี้ คงยากทีจ่ ะปฏิเสธว่า “ศิลปะจีนร่วมสมัย (Chinese Contemporary Art)” กำ�ลังจะกลายเป็น “The Next Big Thing” ในเวทีศลิ ปะโลก และการเกิดขึน้ ของชุมชนศิลปะอย่าง 798 ก็คอื “หัวใจ” และ “ขุมพลัง” ของปรากฏการณ์นี้
COVER STORY เรื่องจากปก
ART TOWN RATCHABURI
“สตรีทอาร์ต” พื้นที่แห่งแรงสั่นสะเทือน จากความมุ่งมั่นของวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปิน เซรามิกรางวัลศิลปาธรและทายาทธุรกิจเถ้าฮงไถ่ที่ ต้องการจะผลักดันให้เมืองราชบุรีบ้านเกิดของตน กลายเป็นเมืองศิลปะร่วมสมัย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เขาเป็นหัวหอกสำ�คัญที่สร้างสรรค์ “กิจกรรมศิลปะ” ในเขตจังหวัดราชบุรีมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น นิทรรศการ ART Normal (ปกติศิลป์) หรือนิทรรศการ ติดศิลป์บนราชบุรี ซึ่งส่วนใหญ่ก็ถือเป็นการทำ�งานที่ พยายามสร้างความเชือ่ มโยงระหว่าง “ศิลปะกับชุมชน” ในพื้นที่ชีวิตของชาวบ้านทั่วๆ ไป ผลงานล่าสุดที่วศินบุรีในฐานะภัณฑารักษ์ได้ ทำ�งานร่วมกับราล์ฟ ทูเทน (Ralf Tooten) ช่างภาพ ชาวเยอรมัน คืองานนิทรรศการภาพถ่าย The R.C.A. (Ratchaburi Construction Workers Open Air) ซึ่ง นำ�เสนอ “ภาพพอร์ตเทรตของผู้ใช้แรงงานในราชบุรี” ผ่านพื้นที่สาธารณะต่างๆ โดยพวกเขาเลือกที่จะติด แสดงผลงานไปทัว่ ทัง้ เมืองแบบสตรีทอาร์ต ส่งผลให้ผคู้ น ที่เดินผ่านไปมาเกิดความสงสัยใคร่รู้ว่า “นี่คืออะไร... ป้ายหาเสียงก็ไม่ใช่… ป้ายโฆษณาก็ไม่เชิง” วศินบุรีให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงแนวคิดการ จัดนิทรรศการครัง้ นีว้ า่ “คนราชบุรอี าจจะอยากเห็นบ้าน ตัวเองในมุมมองทีค่ นต่างถิน่ เขามองบ้าง และอย่างน้อย การที่ศิลปินมาแสดงงานในแต่ละครั้ง ผมก็ไม่อยาก ให้เขาเข้ามาใช้แค่พื้นที่ แต่อยากให้เขาได้สร้างความ ผูกพันบางอย่างกับพืน้ ทีด่ ว้ ย เช่นว่าอาจจะใช้พน้ื ทีเ่ ป็น แรงบันดาลใจในการสร้างงานบางสิ่งบางอย่างได้ ผม มองว่างานศิลปะใดๆ ที่คนในชุมชนรู้สึกว่าเขาได้เป็น ส่วนหนึง่ ในนัน้ มันน่าจะช่วยลดช่องว่างระหว่างตัวงาน กับผู้เสพงานได้ ผมเชื่อและอยากให้ความเชื่อนี้มัน เดินต่อไป” ในขณะที่ตัวศิลปินราล์ฟ ทูเทน กล่าวหลัง เปิดนิทรรศการว่า เขารู้สึกโล่งใจอย่างยิ่งที่สามารถ ผ่านอุปสรรคมากมายตลอดช่วงเวลาการทำ�งานและ การติดตัง้ งานมาได้ “กับงานครัง้ นีผ้ มไม่ได้ใช้แค่ภาษามือ รอยยิ้ม หรือการหยอกล้อกับตัวแบบเพื่อให้ได้มาซึ่ง ภาพถ่ายที่ต้องการเท่านั้น (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า) แต่ผมและทีมงานยังต้องติดต่อกับคนอีกหลายกลุ่ม เพื่อจะบอกให้พวกเขาเข้าใจว่าผมกำ�ลังพยายามทำ� อะไร ซึ่งมันก็ไม่ได้ราบรื่นนัก แถมพอติดตั้งเสร็จก็หนี ไม่พ้นถูกสงสัยอีกว่า ตกลงผมอยู่สีไหนกันแน่”
อย่างไรก็ดี แม้นิทรรศการ The R.C.A. จะได้รับ เสียงชื่นชมไม่ขาดสายจากคนที่เข้าใจศิลปะ แต่การ ทำ�งานกับพืน้ ทีส่ าธารณะเช่นนีก้ ย็ อ่ มหนีไม่พน้ “ฟีดแบ็ก เชิงลบ” เช่นกัน มีคนราชบุรีบางกลุ่มที่โจมตีทันทีว่า ศิลปินและผูจ้ ดั ต้องติดสินบนราชการแน่ คงเป็นมาเฟีย ที่ใช้อำ�นาจบาตรใหญ่ถึงมาแขวนภาพขายเลอะเทอะ ทัว่ เมืองได้ แทนทีจ่ ะมองว่าเป็นภาคีความร่วมมือระหว่าง ภาคเอกชน ภาครัฐ และคนในชุมชนในการส่งเสริม งานศิลปะ “มีหลายเสียงที่บ่นว่าความสงบของเมือง ราชบุรกี �ำ ลังถูกรบกวน ซึง่ ผมก็รบั ฟังและเห็นเป็นเรือ่ ง ที่ดีนะ เพราะอย่างน้อยมันก็เป็นการสะท้อนว่าคนใน ท้องถิน่ ยังต้องการเก็บรักษาอะไรเอาไว้บา้ ง ในอนาคต หากมีสิ่งแปลกปลอมที่ถาวรกว่านี้เข้ามา ชาวราชบุรี เองจะได้ช่วยกันโวยวาย ไม่ปล่อยให้วิถีดีๆ ของเรา ถูกทำ�ลายไปแล้วค่อยมานั่งโหยหาอดีตกันทีหลัง” วศินบุรีเชื่อเช่นนั้น แน่นอนว่าสตรีทอาร์ต (Street Art) หรือ ศิลปะ สาธารณะ (Public Art) มักจะสร้างแรงสั่นสะเทือน หรือผลลัพธ์ต่อเนื่องที่คาดเดาไม่ได้อยู่เสมอ ซึ่งตรงนี้ ก็ถือเป็น “การเรียนรู้” ที่นักทำ�งานศิลปะสาธารณะ คงต้องเปิดใจกว้างและพยายามรับฟังความเห็นให้ได้ ทุกรูปแบบ เพราะท้ายที่สุดแล้ว เมื่อศิลปินอยากจะ ส่งผ่านความคิดบางอย่างสูม่ วลชน ความคิดนัน้ ก็ยอ่ ม ถูกตีความไปต่างๆ นานา บนระดับภูมิหลังความรู้ ประสบการณ์ และรสนิยมที่ต่างกัน ซึ่งนี่ก็คือเสน่ห์ และเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของการทำ�งานศิลปะ “บน ท้องถนน”
ที่มาภาพ: TCDCCONNECT มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
Artspace.com ช้อปปิ้งงานศิลป์บนโลกออนไลน์ ตัวเลขจาก The European Fine Art Foundation เผย ว่า ทุกวันนี้ตลาดการค้างานศิลปะของโลกมีมูลค่าสูงถึงแปด หมืน่ ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่นา่ แปลกทีว่ า่ ทำ�ไมธุรกิจอีคอมเมิรซ์ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดศิลปะนั้น กลับยังไม่ค่อยก้าวตามกระแส ความต้องการนี้เท่าไรนัก
ด้วยเหตุนี้นักสะสมงานศิลปะตัวยงอย่างแคเธอรีน เลวีน (Catherine Levene) และหุ้นส่วนคริส วรูม (Chris Vroom) จึงมองเห็น “โอกาสทอง ทางธุรกิจ” ที่จะทำ�ให้ทั้งตัวเองและนักสะสมคนอื่นๆ สามารถ “เป็น เจ้าของ” ชิ้นงานศิลปะจากทั่วโลกได้ง่ายขึ้น และนั่นก็คือที่มาของ artspace.com คำ�ตอบสำ�หรับนักล่าศิลปะ ในฐานะสมบัติยุคใหม่ สำ�หรับนักสะสมมือใหม่ที่อยากจะเริ่มสร้างคอลเล็กชั่นของตัวเอง artspace.com ถือเป็นอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบของการค้างานศิลปะใน ปัจจุบัน ซึ่งหากคุณสมัครเป็นสมาชิกแล้ว คุณจะสามารถสืบค้นและ “คลิกซือ้ ” ผลงานศิลปะทีเ่ ข้าตาได้จากแทบทุกมุมโลก ไม่วา่ จะเป็นชิน้ งาน ตัวจริงราคาสูงลิ่ว หรือจะเป็นงานพิมพ์ลิมิเต็ด เอ็ดดิชั่น ที่ราคาย่อมเยา ลงมา ส่วนในกระบวนการทำ�งานนัน้ ทางทีมภัณฑารักษ์ของ artspace.com 18 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
จะคอยอัพโหลดภาพของผลงานใหม่ๆ ที่ทางพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี และ องค์กรวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลกเสนอขาย โดยในลิสต์ของกลุ่มผู้ค้านั้น ไม่ได้มแี ค่แกลเลอรีขนาดเล็กหรือขนาดกลางทัว่ ไป แต่ยงั รวมไปถึงองค์กร วัฒนธรรมระดับบิก๊ อย่าง พิพธิ ภัณฑ์กกุ เกนไฮม์ (Guggenheim Museum) หรือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโปลิแตน (Metropolitan Museum of Art) เลยทีเดียว หลังจากเปิดตัวมาได้สองปีกว่า ปัจจุบัน artspace.com มียอด สมาชิกตบเท้าเข้าร่วม “ซื้อ-ขาย” แล้วเกือบ 150,000 คน จาก 25 ประเทศทั่วโลก ราคาสินค้าบนเว็บมีตั้งแต่ระดับสองร้อยเหรียญไปจนถึง เกือบสามล้านเหรียญสหรัฐฯ “แนวคิดของเราคือการทำ�ให้คนวงกว้าง สามารถเข้าถึงตลาดศิลปะได้ง่ายในระดับราคาที่เป็นไปได้ก่อน แต่วันใด เมื่อคุณอยากจะไต่บันไดขึ้นไปสูงๆ เราก็มีตลาดตรงนั้นตอบสนองให้ เหมือนกัน artspace.com จะไม่สต็อกงานใดๆ ไว้กับตัว เราแค่อำ�นวย ความสะดวกให้ผู้ซื้อและผู้ขาย และขอเก็บค่าคอมมิสชั่นจากตรงนั้น ซึ่ง เราเชื่อว่านี่คือโมเดลที่ประหยัดและคุ้มสำ�หรับทุกฝ่าย” แคเธอรีนกล่าว อย่างไรก็ดี หากใครคิดจะเริ่มก้าวไปในเส้นทางนักสะสมงานศิลปะ และพร้อมที่จะสร้าง “พื้นที่ชีวิต” ที่เพียงพอให้กับมัน ต้องไม่ลืมว่า วัฒนธรรมการซื้อขายงานศิลปะนั้นไม่เหมือนกับวัฒนธรรมการซื้อของ ออนไลน์ทั่วๆ ไป เพราะส่วนใหญ่แล้ว “งานศิลปะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนคืน ไม่ได้ (non-refundable)” แต่มันเป็นเรื่องของการให้ค่าส่วนบุคคล และ มันจะมีความหมายเกินราคาก็ต่อเมื่อคุณสร้างพื้นที่ความผูกพันร่วมกับ มันจริงๆ เท่านั้น ตราบใดที่เราทุกคนเชื่อว่า “ศิลปะ” คือบทสนทนาระหว่างมนุษย์กับ จินตนาการ และเป็นเชื้อเพลิงที่จะนำ�พาสังคมไปสู่ความงอกงามในมิติ อื่นๆ ได้ เมื่อนั้นเราทุกคนก็มีหน้าที่ร่วมกันที่จะต้องบ่มเพาะความสนิท สนมต่อโลกศิลปะนี้ ให้คงอยู่กับอารยธรรมของเราไปชั่วลูกชั่วหลาน วิวัฒนาการของ “พื้นที่ศิลปะ” ที่ทั้งพลิกแพลงและขยายวงออกไปอย่าง กว้างขวางนี้มิได้เป็นผลงานของนักจัดการวัฒนธรรมหรือเหล่าศิลปิน เท่านั้น หากแต่รสนิยมของผู้บริโภคเอง รวมไปถึงวิสัยทัศน์การพัฒนา เมือง การพัฒนาเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีต่างๆ ในยุคดิจิทัล ก็ล้วนมี บทบาทที่สำ�คัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้ “โลกศิลปะ” เติบโต เข้มแข็ง และเปิดกว้างสำ�หรับ “ทุกชีวิต” ได้อย่างแท้จริง ที่มา: artspace.com cnbc.com creativespaces.net.au manager.co.th tcdcconnect.com 798district.com
พบกับนิตยสาร Creative Thailand
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล
รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย for education USA • Book Re:public • ทรู คอฟฟ • 94 Coffee • Little Cook Café • รานกาแฟวาวี • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • Sweets Café • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • วีวี่ คอฟฟ • Kanom • The meeting room art café • แมคคาเฟ • รานมองบลังค • Things Called Art • Babushka • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • มิลลเครป • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • ก.เอย ก.กาแฟ • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • อะเดยอินซัมเมอร • Minimal • บรรทมสถาน • ชีสเคกเฮาส • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • The Salad Concept • Hallo Bar • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • ไอเบอรรี่ • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • Take a Seat • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • Greyhound (Shop and Café) • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • รานกาแฟบางรัก • เวียง จูม ออน บายนิตา • Acoustic Coffee • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Mango Tango • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • I Love Coffee Design • อิฐภราดร ลําปาง • Caffé D’Oro • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน โรงภาพยนตร / โรงละคร แอนด มอร • โรงภาพยนตรเฮาส • เพลินวาน • Egalite Bookshop • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ภัทราวดีเธียเตอร • ทรู คอฟฟ หัวหิน • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ หองสมุด • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ แอนดคาเฟ ภูเก็ต • หองสมุดมารวย • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • ศูนยหนังสือ สวทช. • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • SCG Experience • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel • The Reading Room สปา เลย พิพิธภัณฑ / หอศิลป • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • มิวเซียม สยาม • บานชานเคียง • อุทยานการเรียนรู (TK park) • เลท ซี หัวหิน • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • หอศิลปวัฒนธรรม • บานใกลวงั แหงกรุงเทพมหานคร • Hug Station Resort • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • บานจันทรฉาย ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • รานเล็กเล็ก • ลู น า ฮั ท รี ส อร ท • HOF Art • ราน all about coffee • The Rock โรงแรม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น • หลับดี โฮเทล สีลม (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม โรงพยาบาล • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลศิริราช อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลปยะเวท • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลกรุงเทพ • โรงพยาบาลเกษมราษฎร หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น ประชาชื่น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)
ขอมูลผูสมัครสมาชิก
สมาชิกใหม
ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศััพทบาน โทรสาร
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
*สำหรับสมาชิกเกาสามารถกรอกเพียง ชื่อและนามสกุล
หญิง อายุ โโทรศััพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ
อีเมล
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน
โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท
วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand
สำหรับเจาหนาที่การเงิน
1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….
1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..
ร าก ิลป ลัย ศ ยา แล ะภา
าก ร
2517
2520
2522
2530
2535
2538
วิโร ทร ริน ีนค
2540
2541
รี ง ทอ เลอ นำ แกล
สุร
พล
มแ
ี
เลอ
อร
กล
ลเล
แก
ะสีล
โกะ
เรีย ารต
คอ
ล็อ
เฮม
รานอาหารที่มีพื้นที่แสดงงาน
หอ ศิล ปก
2539 เดอ
อัก
แกลเลอรี หางคางานศิลปะ
รรม
หา วิท หอ ศิล ปม
ในสถานศึกษา
ศร
รรม
ยา ลัย กร
ปร
ุงเท
พ
ะติม
าก
ฒ
รรม
ิลป
โคร
สวนราชการ
ะจิต รก
หอ ศ (เป ิลป ลี่ยน แห ชื่อ ง
ภาคเอกชน
พพ ิมพ มห าวิท
รี ( ปด เปน ชาต ตวั ล (แต งการ พิพ ิ ิธภัณ งใน งตั้ง จัด ป 2 เปน ต ฑส 531 หอศ ั้งห ถา น ) แหง ิลปฯ อศ ช าต ประ ิลป ิ หอ มาณ มห ศิลป า ป ว หอ 253 ิทย ) 8-2 า ศิล 539 ลัย ปค ) ศ ณ
หอ ศิล ปพ ีระศ
INSIGHT อินไซต์
งต
รอ
เตอ
เรส
พื้นที่ศิลปะไมมุงหวังผลกำไร
ดี ี ราว อร ภัท กลเล แ
พื้นที่ศิลปะในโรงละคร
ยุคนิยมสะสมงานเพื่อรสนิยมและฐานะ ยุคเฟื่องฟูของหอศิลป์พีระศรี เกิดห้องค้า งานศิลปะจำ�นวนมาก โดยนิยมสะสมงานศิลปะเพื่อประดับตกแต่งภายในอาคาร
เรื่อง: วรภัทร ธีรชัยศุภกิจ
พื้นที่ศิลปะ (Art Space) หมายถึง “พื้นที่แสดงงานศิลปะ” ซึ่ง หมายรวมได้ถึง หอศิลป์ โถงแสดงงานศิลปะ ห้องค้างานศิลปะ ห้องนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ศิลปะ หรือพื้นที่แสดงงานศิลปะ อื่นๆ ที่มีการจัดแสดงต่อเนื่อง
วงจรพื้นที่ศิลปะ ข้อมูลจากการสำ�รวจในปี 2556 ที่รวบรวมบนฐานข้อมูลศิลปะร่วมสมัย ไทยออนไลน์ rama9art.org พบว่า ระหว่างปี 2546-2556 จำ�นวนพื้นที่ ศิลปะในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นจาก 48 แห่งเป็น 114 แห่ง แต่มีเพียง 77 แห่ง ที่ยังเปิดแสดงงานในปัจจุบัน และมีเพียง 27 แห่งที่เปิดแสดงงานยาว ต่อเนื่องเป็นเวลาถึงสิบปี นอกจากนี้ จำ�นวนพื้นที่ศิลปะที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ ประโยชน์ร่วมในกิจการอื่น เช่น สมาคม โรงแรม ร้านอาหาร สตูดิโอ 20 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
และที่อยู่อาศัย ยังมีจำ�นวนมากกว่าพื้นที่ศิลปะที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ ในการใช้แสดงงานโดยเฉพาะ เช่น พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ ศิลปะกับผู้ชม ผู้ ช มถื อ เป็ น กุ ญ แจดอกสำ � คั ญ ในการกำ � หนดทิ ศ ทางของพื้ น ที่ ศิ ล ปะ เนื่องจากผลตอบรับจากผู้ชมมีผลโดยตรงต่องบประมาณสนับสนุนและ กำ�ลังใจของผู้ทำ�งาน พื้นที่แสดงงานแบบมุ่งหวังผลกำ�ไรนั้นย่อมอยู่ไม่ได้ หากขาดผู้สนับสนุนโดยการซื้อผลงานศิลปะและของที่ระลึก ส่วนพื้นที่ แสดงงานแบบไม่มุ่งหวังผลกำ�ไรของภาคเอกชนที่มีผู้เข้าชมน้อยก็ย่อม ขาดสปอนเซอร์ผู้สนับสนุนเช่นกัน พื้นที่ศิลปะที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ ในการใช้แสดงงานโดยเฉพาะมักมีจำ�นวนผู้ชมน้อยกว่าพื้นที่ศิลปะที่จัด ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ร่วมในกิจการอื่น โดยในปี 2546 ไม่มีพื้นที่ศิลปะแห่ง ใดเลยที่มีผู้ชมมากถึง 10,000 ครั้งต่อปี ซึ่งถือเป็นจำ�นวนเข้าชมที่น้อย มาก เมื่อเทียบกับจำ�นวนผู้ชมของพื้นที่ศิลปะขนาดใหญ่ในปัจจุบัน ในปี
2544
2545
2551
2555
หอ ศ
ิลป รวม สม ัยร าชด ำ
เฉล ิมพ ร
พิพ ะเกีย ร (M ิธภัณ ติ 84 OC ฑศ A) ิลป พรรษ ะ ไท า ยร วม สม ัย
ิติ์ ิริก
BA
CC
)
หอ หอ ศิล พรศิลปส กร ปวัฒ ะบร มเ ุงเท น มร ด็จพ พม ธรร าชิน ระ หา มแ ีนา นาง นค หง ถ เจา ร( ส
ใน ร
สเป ซ
ไซแ อม อา รต
2543
หอ ศิล หอ ปบา ศิล นจ ปก ิม ท รุงไ อม เนิน ทย ปส
ัน
ะมัณ ฑน หอ ร.ส ศิล ศิล อ นศ ปะส ป ม ลิ ป หา ถา ะ วิท ปต ยา ยก ลัย รรม ศิล พร ปา ะ กร พ หอ ร ห ศิล ม พิจ ปจ ิตร าม จุร มห ี จุฬ าวิท าฯ ยา ลัย ศิล ปา กร
คณ บบ กแ ออ าร ะก แล ปะ ศิล หอ
2542
วิวฒ ั นาการพืน้ ทีศ่ ลิ ปะในกรุงเทพฯ dy
ee
Sp a
dm
an
Gr
ry
lle
Ga
ery
all
ี
อร
ลเล
rt
iA
Ko
RG
VE
แก
ลิเย
afé
FC
WT & lle
Ga
ี
อร
ry
ลเล
ร นต นย ยา ูไทย โิ อ 4 าด ตดู 30 ปต ท ส ต ศิล บา เจ็ก หอ อะเ โปร
ก อก ด แ างก อน นบ ร แ บา รบา ะนค
พร
ี
อร
รี ลอ ี อร กลเ ลเล แ แก อารต
เอช
ถัง
รี
เลอ
ี 55
อร
กล
ลเล
เตอ
อา
แก
ิบู แ
ทว ลเล
แก
ยุคทางเลือก ถึงแม้ยุคนี้จะมีพื้นที่ศิลปะเกิดขึ้นจำ�นวนมากอย่างต่อเนื่อง แต่ล้วนเป็นการก่อตั้งของ ภาคเอกชนและสถานศึกษาโดยที่ยังขาดหอศิลป์ที่มีความมั่นคงถาวร ปัจจุบันหลายแห่งได้ปิดตัวลง อย่างไม่เป็นทางการ
2554 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ มีผู้เข้าชมเฉพาะส่วนนิทรรศการ จำ�นวน 34,475 ครั้งต่อปี และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มี จำ�นวน 938,940 ครั้งต่อปี ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าจำ�นวนผู้เข้าชมของ พื้นที่ศิลปะทั้ง 2 แห่ง มีตัวเลขที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ซึ่งอาจเป็น เพราะปัจจัยด้านตำ�แหน่งที่ตั้ง งบประมาณ ค่าเข้าชม การประชาสัมพันธ์ รวมถึงลักษณะผลงานที่จัดแสดง มองไปข้างหน้า แม้วา่ ปัจจุบนั ความก้าวหน้าของสังคมออนไลน์จะช่วยกระตุน้ ให้การเข้าชม งานศิลปะเริ่มเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนเมือง โดยเฉพาะกระแสการ บันทึกภาพและแบ่งปันกับเพื่อนในสังคมออนไลน์ที่ทำ�ให้พื้นที่ศิลปะถูก บอกเล่า ส่งต่อ และกระจายตัวอย่างรวดเร็วในวงกว้าง จนทำ�ให้จ�ำ นวนผูช้ ม งานศิลปะบางแห่งมีมากถึงหลักแสนคนจนเป็นประวัติการณ์ แต่อย่างไร ก็ตาม คุณภาพของพื้นที่แสดงงานศิลปะก็ไม่อาจวัดได้จากจำ�นวนผู้ชม
ยุคของหอศิลป์ขนาดใหญ่ ทั้งในความดูแล ของราชการและเอกชน ทำ�ให้สามารถรองรับ การจัดงานนิทรรศการขนาดใหญ่ได้
เพียงอย่างเดียว เพราะสิ่งสำ�คัญที่สุดของการจัดแสดง คือประโยชน์ที่ ผูช้ มได้รบั จากการเรียนรูแ้ ละสุนทรียะทีไ่ ด้จากเสพงานศิลปะ ซึง่ เป็นหัวใจ สำ�คัญที่นักจัดการพื้นที่ทางศิลปะไม่ควรประนีประนอมกับคุณภาพที่ ผูช้ มควรได้รบั ส่วนผูช้ มเองก็ไม่ควรละเลยคุณค่าของงานศิลป์ดว้ ยเห็นว่า เป็นเพียงกระแสนิยม
ที่มา: วิทยานิพนธ์ การนำ�เสนอข้อมูลศิลปะทางหนังสือพิมพ์รายวัน (2554) โดย วรภัทร ธีรชัยศุภกิจ เอกสารค้นคว้าเฉพาะบุคคล หอศิลปะร่วมสมัยในกรุงเทพมหานคร (2545) โดย วรภัทร ธีรชัยศุภกิจ หนังสือ จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่: ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่และ ร่วมสมัย (2546) โดย สุธี คุณาวิชยานนท์ โครงการข้อมูลของพื้นที่จัดแสดงงานทางศิลปะ จาก yipintsoi.com บทความ ปลุกตำ�นาน หอ "ศิลป์ พีระศรี (เมษายน 2546) จาก info.gotomanager.com
มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
จากความสนใจทีจ่ ะตีโจทย์พน้ื ทีส่ �ำ หรับจัดแสดง งานศิลปะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในวิชาเรียนให้ไปไกล กว่าห้องจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์หรือแกลเลอรี พัสภัคได้เปลี่ยนพื้นที่ภายในอู่ซ่อมรถเก่าที่เต็ม ไปด้วยคราบนํา้ มันและโกดังรกร้างขนาด 4,000 ตารางเมตรให้ ก ลายเป็ น พื้ น ที่ จั ด แสดงงาน ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้เข้าชมงาน รวมถึง ผูใ้ หญ่ในวงการศิลปะเป็นอย่างดี จนเป็นเสมือน ใบเบิกทางอันเป็นจุดเริ่มต้นก้าวสำ�คัญให้กับ เขาเอง หลังจบการศึกษา พัสภัคจึงได้เริ่ม ฟอร์มทีมเพื่อทำ�งานด้านการจัดการงานศิลปะ ขึน้ อย่างจริงจัง “ผมเริม่ จากการมองว่า การเรียน ศิลปะเพื่อจะเป็นศิลปินอย่างเดียวมันแคบไป แต่จะให้เป็นนักคิด ภัณฑารักษ์ หรือนักวิจารณ์ ผมก็ไม่ถนัด เลยมาคิดว่าต้องทำ�อย่างไรให้อยู่ ได้ในวงการนี้ จึงเริ่มสร้างทีมขึ้นมา” ด้วย ประสบการณ์ที่สั่งสมมาจากการลองผิดลองถูก บวกกับการได้รับทุน JENESYS Programme
เพื่อไปศึกษาดูงานที่ญี่ปุ่นในปี 2009 ทำ�ให้เขา ได้ ไ ปดู ก ารทำ � งานที่ เ ป็ น ระบบของบริ ษั ท ซันเคียวและได้ฝึกงานกับนักจัดการงานศิลปะ ชาวญี่ปุ่นซึ่งได้ชื่อว่าเป็นชาติที่มีมาตรฐานสูง ในการจัดการงานลักษณะนี้ ทั้งหมดจึงกลาย มาเป็นส่วนเสริมให้ทีมแข็งแกร่งขึ้นอีก กระทั่ง ปัจจุบันชื่อของซูเปอร์นอร์มอลได้รับการยอมรับ จากพิพธิ ภัณฑ์ชน้ั นำ�ในประเทศให้เข้าไปจัดการ งานนิทรรศการขนาดใหญ่ ด้วยเชื่อในฝีมือและ ความรับผิดชอบของทีม แต่เหนือสิง่ อืน่ ใด พัสภัค ยังเชื่อว่า สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคือทัศนคติที่ดีและ เปิดกว้างทีเ่ ขามีตอ่ กระบวนการทำ�งานในแต่ละ ครัง้ ซึง่ ไม่ตา่ งจากเวลาทีเ่ ขาคัดเลือกทีมงานใหม่ ให้เข้าร่วมในสายอาชีพเดียวกัน “การคัดเลือก เพื่อนร่วมทีม ผมเริ่มต้นจากทัศนคติ เพราะ ผมเชื่อว่าเรื่องทักษะหรือความสามารถนั้นสอน กันได้ ขอให้เป็นคนทีร่ กั งานศิลปะและชอบเป็น นักสร้างสรรค์”
supernorm เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง
ในการจัดงานนิทรรศการศิลปะแต่ละครัง้ สิง่ ทีอ่ ยูน่ อกเหนือจากความรูส้ กึ ของผูเ้ ข้าชมงานหรือความสำ�เร็จของศิลปิน ก็คอื กระบวนการ ที่อยู่เบื้องหลัง ซึ่งเต็มไปด้วยขั้นตอนและการวางแผนที่รัดกุมของผู้จัด ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกและจัดเตรียมผลงาน สถานที่ อุปกรณ์ ไปจนถึงขั้นตอนการติดตั้งและการดูแลรักษาที่ต้องอาศัยทั้งความละเอียดอ่อนและความเป็นมืออาชีพ 'ซูเปอร์นอร์มอล (Supernormal)' ซึง่ ก่อตัง้ โดย พัสภัค กล่อมสกุล (พีม) คือกลุม่ คนทีน่ ยิ ามตัวเองว่าเป็นทัง้ ‘นักจัดการงานศิลปะ (Art Handler)’ และนักคิด "เราไม่ใช่แรงงาน เราอาจจะเป็นคนที่ถือสว่าน ถือตลับเมตร ตอกนั่งร้าน แต่เรามีวิธีทำ�งานแบบนักคิด”
22 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
แม้วา่ ในระยะเวลาทีผ่ า่ นมา การจัดการงานศิลปะ ในประเทศไทยจะไม่มีทฤษฎีที่เป็นแนวปฏิบัติ ชัดเจน แต่ประสบการณ์ก็ได้ค่อยๆ หล่อหลอม ขึ้ น เป็ น วิ ธี ก ารจั ด การเฉพาะตั ว ของซู เ ปอร์ นอร์มอล ตั้งแต่การดูแลผลงานศิลปะประเภท ต่างๆ ไปจนถึงการซ่อมแซมผลงานทีช่ �ำ รุดด้วย สายตาที่ ม องเห็ น คุ ณ ค่ า อั น แท้ จ ริ ง ของงาน ศิลปะอย่างรอบด้าน รวมถึงการรูจ้ กั ต่อยอดชุด ความรู้ท่สี ่งั สมมาและส่งต่อสู่อีกหลายคนในทีม “ถ้าคุณเข้าใจในคุณค่าและมูลค่าของงานศิลปะ คุณจะเข้าใจว่างานศิลปะไม่ใช่ของที่ใครๆ ก็ จัดการได้” และเมือ่ การจัดนิทรรศการแต่ละงาน นั้นไม่ได้มีเพียงศิลปินกับผู้เข้าชมงานเท่านั้น ในฐานะนักจัดการงานศิลปะจึงต้องทำ�งานร่วมกับ ผูค้ นทีเ่ กีย่ วข้องอีกมากมาย ทัง้ ศิลปิน ภัณฑารักษ์ เจ้าของผลงาน เจ้าของสถานที่ ไปจนถึงผูร้ บั เหมา ต่างๆ ซึ่งต้องผสมผสานทั้งเรื่องของหลักการ
mal
บริหารจัดการ การบริการ และความสามารถ ในการออกแบบสิ่งที่จะเติมเต็มความต้องการ ของทุกฝ่ายได้อย่างสมบูรณ์ในทุกรายละเอียด “ผลงานมาถึงมือเราจะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ ในวันทีส่ ง่ กลับไปจะต้องเป็นแบบนัน้ บางชิน้ งาน ต้องใช้ถุงมือถึง 4 ชนิดในการจับแต่ละด้าน ทั้งหมดนี้ต้องไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น เรา ปกป้องและรักษาผลงานให้ดีที่สุด ซึ่งทุกอย่าง เป็นเรื่องของประสบการณ์และความรู้สึก” ในปัจจุบนั การขยายตัวของพืน้ ทีแ่ สดงงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่และจำ�นวนนักสะสมงานศิลปะ (Art Collector) ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การเก็บรักษางานซึ่งเพิ่มจำ�นวนขึ้น ส่งผลโดย ตรงต่อมาตรฐานการจัดการผลงานศิลปะใน ประเทศไทยให้สูงตามไปด้วย “ขณะนี้ถือเป็น
ช่วงรอยต่อของวงการศิลปะไทย เพราะเราเริ่ม มีพื้นที่สาธารณะในการแสดงงานอย่างแท้จริง พอมีพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น คอลเล็กชั่นโชว์จาก ต่างประเทศก็เริ่มเข้ามา และความต้องการ บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถซึ่งเข้าไปดูแล ผลงานได้ก็เพิ่มมากขึ้น กลายเป็นมาตรฐานที่ เกิดขึ้นใหม่ ในขณะเดียวกันเวลายืมงานมาจัด แสดง พวกนักสะสมเขาก็เริ่มเรียกร้องขอคนที่ มีความรูเ้ ข้ามาช่วย ไม่ใช่ให้ใครจัดการก็ได้ แต่ ต้องหาคนจัดการผลงานหรือบริษัทที่รับประกัน งานศิลปะได้จริง การยืมชิ้นงานเพียงชิ้นเดียว ก็ตอ้ งมีเอกสารทีถ่ กู ต้อง จะเอาไปทำ�อะไร ทีไ่ หน อย่างไร ต้องมีการยืนยันจากเจ้าของไปจนถึง ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องทั้งหมด” ในวันที่การจัดแสดงงานศิลปะไม่ได้ถูก จำ�กัดไว้ท่หี อศิลป์หรือแกลเลอรีเพียงอย่างเดียว อีกต่อไป และขอบเขตของคำ�ว่างานศิลปะนั้น กว้างใหญ่เกินกว่าจะให้เรื่องของพื้นที่มาเป็น เงือ่ นไขจำ�กัด เหล่านักจัดการงานศิลปะจึงต้อง ควบคุมคุณภาพงานในแต่ละครัง้ ให้ละเอียดยิง่ ขึน้ ขณะที่ ก็ ต้ อ งเปิ ด รั บ โอกาสที่ กำ � ลั ง ขยายตั ว เร่งด่วนนี้ด้วยความสมดุล เพื่อที่จะไม่พลาดใน การดึงเอาแก่นแท้และความหมายของผลงาน แต่ละชิน้ มานำ�เสนอต่อผูช้ มงานได้อย่างตรงจุด ที่สุด “อย่าคิดว่างานศิลปะจะสื่อสารแค่เฉพาะ ในแกลเลอรีหรืออาร์ตสเปซเท่านั้น แต่ศิลปะ สามารถสื่อสารได้ในทุกๆ ที่ และทุกพื้นที่ที่มี งานศิลปะอยู่ต้องเล่าเรื่องราวได้ งานศิลปะ หนึ่งชิ้นจะต้องเล่าเรื่องทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง เพราะสุ ด ท้ า ยแล้ ว พื้ น ที่ ก็ เ ป็ น เพี ย งแค่ สิ่ ง สนับสนุนหนึ่งเท่านั้น” Supernormal: sprnormal.blogspot.com ขอบคุณ: สถานที่ 100 ต้นสนแกลเลอรี และนิทรรศการ “Time Remapping” โดย วิชญ์ พิมกาญจนพงศ์ และเรียวสุเกะ คิโดะ (Ryusuke Kido)
มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
จากเมืองนิรนามที่แทบจะไม่เคยถูกกล่าวถึง แต่เมื่อสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ ระดับโลกหลายสำ�นัก อาทิ ไทม์ (TIME), เดอะ การ์เดียน (The Guardian), ทราเวล + ลีเชอร์ (Travel + Leisure) หรือแม้แต่ โลนลี แพลเน็ต (Lonely Planet) ต่างยกให้นะโอะชิมะเป็นปลายทางใหม่ที่เหล่านักเสพ ศิลปะร่วมสมัยไม่ควรพลาด ทั้งยังเป็นขุมทรัพย์แห่งศิลปะที่รวบรวม ผลงานของศิลปินระดับแม่เหล็ก จากเกาะเล็ ก ๆ ที่ตั้งอยู่แ ถบทะเล เซโตะ-ไนไก (Seto Inland Sea) ไร้เงาของฝูงชนแออัดอย่างเกียวโตหรือ โอซาก้า ทุกวันนี้ นะโอะชิมะจึงกลายเป็นเมืองที่ติดอันดับหนึ่งในสถานที่ ท่องเทีย่ วยอดนิยมแห่งใหม่ของแดนปลาดิบไปอย่างรวดเร็ว คำ�ถามทีเ่ กิดขึน้ ก็คือ ทำ�ไมเมืองที่มีสภาพเป็นเกาะ ไกลห่างจากเมืองที่คราครํ่าไปด้วย นักท่องเที่ยว ทั้งยังต้องใช้เวลาในการเดินทางนานหลายต่อ จึงถูกเลือก ให้เป็นเมืองศิลปะ และทีส่ �ำ คัญรัฐบาลญีป่ นุ่ มองเห็น “อะไร” บนเกาะแห่งนี้
“ศิลปะมีอยูใ่ นทุกที”่ คงจะไม่ใช่ถ้อยคำ�ที่กล่าวเกินจริงนัก เพราะทุกวันนี้ ศิลปินสามารถนำ�สิง่ รอบตัวมาใช้เป็นวัตถุดบิ สื่อกลาง และพื้นที่สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างอิสระ และ เมื่ อ ความเป็ น ไปได้ ใ นการสร้ า งสรรค์ นั้ น ไร้ ขี ด จำ � กั ด กรอบที่มีชื่อว่า “ค่านิยม” ของการเดินชมศิลปะจึงถูก ทลายลงจากประตูพพ ิ ธิ ภัณฑ์ ผนังห้องจัดแสดง ไปสูพ ่ น้ื ที่ FROM NOWHERE LAND สามสิบกว่าปีกอ่ น นะโอะชิมะยังเป็นทีร่ จู้ กั ในฐานะทีต่ ง้ั โรงงานอุตสาหกรรม กลางแจ้ง สวนสาธารณะ หรือแม้แต่เกาะกลางทะเลอย่าง ของมิตซูบิชิ ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะรายได้หลักทางตอนเหนือของเมือง แต่ นะโอะชิมะ (Naoshima) ในความเป็นจริงประชากรส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพประมงและทำ�ไร่ นาเกลือเป็นหลักบนวิถีชีวิตที่เรียบง่าย แม้การเติบโตและการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและสังคมเมืองในช่วงทศวรรษ 1980 จะนำ�มาซึ่งความเฟื่องฟู ของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตการปกครองส่วนท้องถิน่ แต่ผู้คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะหนุม่ สาว ก็พากันอพยพออกจากเกาะเพือ่ แสวงหาโอกาสทีด่ กี ว่า บ้านเรือนถูกทิ้งร้าง จำ�นวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็น ปรากฏการณ์ที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในนะโอะชิมะเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง
NAOSHIMA เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
flickr.com/photos/mctren
WHERE ART LANDS ON SEASCAP E
24 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
หมู่เกาะต่างๆ ที่ตั้งอยู่ในแถบนี้เกือบทั้งสิ้นด้วย ชิคัตสึกุ มิยาเกะ (Chikatsugu Miyake) นายกเทศมนตรี จึงพยายามคิดหาวิธีฟื้นฟูพื้นที่ ทางตอนใต้ของนะโอะชิมะให้กลับมาชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยในปี 1985 เขา ได้รว่ มมือกับเท็ตสึฮโิ กะ ฟุคทุ ะเคะ (Tetsuhiko Fukutake) ผูก้ อ่ ตัง้ เบเนซเซ โฮลดิงส์ อินคอร์ปอเรชัน (Benesse Holdings, Inc.) กลุ่มบริษัทรายใหญ่ ที่มีบทบาทสำ�คัญในการพัฒนาด้านศึกษาเชิงกลยุทธ์ในญี่ปุ่น เพื่อฟื้นฟู นะโอะชิมะจากความกร่อนสลาย เท็ตสึฮิโกะนั้นหลงใหลการสะสมศิลปะและใฝ่ฝันที่จะสร้างพื้นที่ อิสระเพือ่ ให้เด็กๆ ได้เรียนรูศ้ ลิ ปะท่ามกลางธรรมชาติ ไกลห่างจากแสงสี และความเจริญทางวัตถุ ซึง่ คุณสมบัตขิ องเกาะแห่งนีก้ ต็ อบโจทย์ได้เกือบ ทุกด้าน หลังจากที่เท็ตสึฮิโกะเสียชีวิตลง โซอิชิโระ ฟุคุทะเคะ (Soichiro Fukutake) บุตรชายคนโตจึงเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อไป โดยวางเป้า หมายของโครงการฟื้ น ฟู น ะโอะชิ ม ะให้ เ ป็ น แหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วสี ข าวที่ สนับสนุนการสร้างปฏิสมั พันธ์ระหว่างชุมชนกับนักท่องเทีย่ ว ผ่านการศึกษา และทำ�กิจกรรมด้านศิลปะ มากกว่ามุ่งกอบโกยรายได้จากการท่องเที่ยว เชิงพาณิชย์เท่านัน้ ไม่นานนัก พืน้ ทีศ่ ลิ ปะก็คอ่ ยๆ ผุดเพิม่ ขึน้ โดยมีเบเนซเซ เฮาส์ (Benesse House Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่เปิดให้ นักท่องเที่ยวเข้าชมและบริการที่พักไปในตัว ปัจจุบัน นะโอะชิมะกลายเป็นปลายทางสำ�คัญของนักท่องเที่ยวที่ สนใจและชืน่ ชมศิลปะร่วมสมัย โดยมีนกั ท่องเทีย่ วเพิม่ ขึน้ จาก 46,873 คน ในปี 2002 เป็น 4 แสนกว่าคนในปี 2012 นับเป็นการเรียกความมีชีวิตชีวา ที่สูญหายไปกว่าทศวรรษให้กลับคืนสู่หมู่บ้านชาวประมงอีกครั้ง
REINTERPRET ARTS, CREATE NEW IDENTITY
หากมองแค่ผิวเผิน จุดเด่น (และจุดขาย) ของเมืองศิลปะแห่งนี้คือการ ระดมสุดยอดผลงานของเหล่าศิลปินร่วมสมัยมาจัดแสดงให้นักท่องเที่ยว ได้ชื่นชมท่ามกลางทิวทัศน์อันงดงามของทะเลเซโตะ-ไนไก ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาดชุดดอกบัว (The Water Lilies series, 1914-1919) โดยศิลปิน อิมเพรสชันนิสม์ โคลด โมเนต์ (Claude Monet) หรือ ศิลปะการจัดแสง สี โอเพน สกาย (Open Sky, 2004) โดยศิลปินอเมริกัน เจมส์ เทอร์เรลล์ (James Turrell) แต่ในความเป็นจริงทุกการออกแบบและทุกกิจกรรมที่ เกิดขึ้นล้วนผ่านกระบวนการคิดและการตีความภายใต้คอนเซ็ปท์ “ชีวิต ที่ดี (Living Well)” ตามวิสัยทัศน์การบริหารของเบเนซเซ เพื่อสะท้อนให้ เห็นว่า ชีวิตของมนุษย์นั้นเชื่อมโยงกับศิลปะและธรรมชาติ โดยศิลปะที่ดี จะช่วยขัดเกลาจิตวิญญาณของมนุษย์ให้กลับคืนสู่ธรรมชาติอีกครั้ง รูปแบบสถาปัตยกรรมของพิพิธภัณฑ์บนเกาะ ยังได้รับการออกแบบ โดยสถาปนิกแถวหน้าของญี่ปุ่น ทะดะโอะ อันโด (Tadao Ando) กลุ่ม อาคารจึงดูทันสมัย ด้วยการออกแบบพื้นที่แบบเปิดโล่ง ให้ความรู้สึกเป็น อิสระเช่นเดียวกับภูมิทัศน์รอบนอก ตัววัสดุนั้นเลือกใช้คอนกรีต ไม้ และ หินเป็นหลัก เพื่อสื่อถึงความเรียบง่าย เพราะอันโดมองว่าพื้นที่ของศิลปะ ที่ดีนั้นไม่ควรแย่งความสนใจจากชิ้นงาน แต่ต้องมีความสมดุลระหว่าง ขนาดของพื้นที่และตำ�แหน่งการจัดวางชิ้นงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ ศึกษาและตีความหมายของผลงานอย่างเต็มที่ นอกจากนี้ เพดานรูปทรง ไข่ (Oval) ที่พิพิธภัณฑ์เบเนซเซ เฮาส์ ก็เรียกเสียงวิจารณ์ด้านดีจาก นักท่องเที่ยวและนักเสพศิลปะได้ทุกครั้ง เพราะงานออกแบบชิ้นนี้ไม่ใช่ แค่สวยงามแปลกตา แต่เผยให้เห็นแก่นแท้ขององค์ประกอบศิลป์ทเ่ี รียกว่า
มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 25
“ธรรมชาติ” ส่วนพิพิธภัณฑ์ศิลปะชิชู (Chichu Art Museum) นั้นได้รับ การออกแบบพื้นที่ให้ซ่อนอยู่ใต้ดิน เพื่อป้องกันการรบกวนภูมิทัศน์อัน งดงามของเมือง ยิง่ ไปกว่านัน้ ทีท่ า่ เรือประจำ�เมืองยังมีประติมากรรม ฟักทอง (Pumpkin, 1994) ของ ยาโยย คุซะมะ (Yayoi Kusama) ศิลปินหญิงแนวป๊อป-อาร์ต ชาวญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์จัดจ้าน ยืนตั้งตระหง่านอวดสีสันและลวดลาย สะดุดตาทุกคนที่พบเห็น จนถูกยกให้เป็นแลนด์มาร์กของเมืองนี้ไปโดย ปริยาย ซึ่งยิ่งตอกยํ้าว่า นะโอะชิมะไม่ได้จมอยู่กับอดีตของหมู่บ้านชาว ประมงที่ถูกทอดทิ้งอีกต่อไป หากถูกสร้างภาพจำ�ใหม่ในฐานะเมืองที่ฟื้น คืนจากความล่มสลาย อันเนื่องมาจากผลกระทบของโลกาภิวัตน์และ ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม ด้วยการโอบรับเอา “การไหลบ่าทาง วัฒนธรรม” มาเป็นโอกาสใหม่ในการสร้างอัตลักษณ์ของเมืองให้เป็น ศูนย์กลางของศิลปะร่วมสมัยระดับโลก และก้าวไปสู่ความเป็นโมเดิร์น เจแปนอย่างเต็มตัว
ART SPACE X COMMUNITY
‘The Art House Project’ คือตัวอย่างทีเ่ ด่นชัดทีส่ ดุ ทีส่ ะท้อนถึงการผลักดัน ให้เกิดพื้นที่ศิลปะระดับชุมชน โดยรวบรวมเหล่าศิลปินร่วมสมัยที่มีฝีไม้ ลายเซ็นเป็นเอกลักษณ์ มาร่วมฟื้นฟูอาคารบ้านร้างในเขตฮอนมูระ (Honmura) ให้เป็นพื้นที่ศิลปะในชุมชน แม้ว่าบ้านหลายหลังจะถูกทิ้งจน ทรุดโทรมไร้มูลค่า แต่บรรดาของเก่าเก็บในบ้านพักอาศัยเหล่านี้ถือเป็น วัตถุดิบชั้นเยี่ยมสำ�หรับศิลปินในการหยิบเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ผลงานที่ ถูกสร้างสรรค์ขึ้นในหมู่บ้านแห่งนี้ จึงเกี่ยวโยงกับประวัติศาสตร์และ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ในอดีตของนะโอะชิมะ โดยมีคนท้องถิ่นเป็นไกด์ 26 l Creative Thailand l มิถุนายน 2556
en.wikipedia.org
beinbrooklyn.com
heykumo.org
flickr.com/photos/thecaro
แบบร่างของอันโดสำ�หรับพิพิธภัณฑ์เบเนซเซ เฮาส์ The Art House Project
assemblepapers.com.au
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
นำ�ทัวร์ คอยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ของบ้านแต่ละหลังให้นักท่องเที่ยว ได้ฟังอย่างสนุกสนาน หากเปรียบเทียบกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ บนเกาะที่ โฟกัสการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” กับ “ธรรมชาติ” แล้ว การ ตระเวนชมงานศิลป์ตามตรอกซอกซอยในหมู่บ้านชาวประมงนั้นให้ความ สำ�คัญกับความสัมพันธ์ระหว่าง “คน” กับ “คน” มากกว่า โปรเจ็กต์นี้จึง เป็นแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนที่ทั้งน่ารักและเป็นกันเอง เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ข้อมูลจากผู้รู้ตัวจริงแล้ว ยังเป็นวิธีการ กระชับมิตรและย่นระยะห่างระหว่างคนในท้องถิน่ กับคนนอกพืน้ ทีอ่ กี ด้วย
CITY IS LONG WHEN ART LASTS
สิ่งที่น่าประทับใจของโครงการพัฒนาเมืองนี้ก็คือ วิสัยทัศน์อันกว้างไกล ของรัฐบาลและชาวญี่ปุ่น ซึ่งไม่ได้ยึดติดอยู่กับการพัฒนาเมืองโดยอาศัย ต้นทุนทางอารยธรรมในอดีตเช่นปราสาทยุคเอโดะ ซึ่งเป็นประสบการณ์ ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติคุ้นชินกันเป็นอย่างดีเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึง “ศักยภาพ” ของทรัพยากรบุคคล (ศิลปิน) และพื้นที่ (เมือง) ที่มีอยู่ใน ปัจจุบนั แล้วนำ�มากลัน่ กรองตีความใหม่ จนตกผลึกเป็น “ชุดประสบการณ์ ใหม่” นั่นคือมีลักษณะเป็น “วัฒนธรรมรวมตัว (Cultural Homogenerization)” ที่ถูกจริตสากลมากขึ้น (และแน่นอนว่าขายได้) แต่ก็ไม่ทิ้ง อัตลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นสมัยใหม่ ซึ่งความสำ�เร็จข้อนี้ก็สอดคล้องกับ นโยบายกอบกูเ้ ศรษฐกิจและอัตลักษณ์แห่งชาติ “คูล เจแปน” ของรัฐบาล ได้พอดิบพอดี อย่างไรก็ตาม นะโอะชิมะนั้นไม่ได้ฟูมฟักและเติบโตมาจากพื้นฐาน ทางสังคมที่นิยมชมชอบศิลปะ ทำ�ให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในศิลปะร่วมสมัย และไม่ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเมือง
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
SETOUCHI INTERNATIONAL ART FESTIVAL
englishbakery.wordpress.com
arthitecture.tumblr.com
House project by Shinro Otake
เทศกาลศิลปะนานาชาติเซโตอุชิ (Setouchi International Art Festival) คือ ตัวอย่างการขยายสเกลโครงการการพัฒนาเมืองในบริเวณทะเลเซโตะ-ไนไก ไปสู่ความร่วมมือพหุภาคี ภายใต้การบริหารจัดการระหว่างขององค์กรส่วน ปกครองท้องถิ่นจังหวัดคะงะวะกับจังหวัดโอคะยะมะ ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2010 โดยมีเบเนซเซ อินคอร์ปอเรชั่น เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการผลักดันให้เกิด นิทรรศการศิลปะร่วมสมัยและกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่นำ�คอลเล็กชั่นสะสมของ เท็ตสึฮิโกะ ฟุคุทะเคะ อดีตผู้บริหารเบเนซเซผู้ล่วงลับมาจัดแสดง หรือการเชิญ ศิลปินร่วมสมัยจากต่างประเทศมาร่วมงาน รวมทั้งขยายขอบเขตการจัดแสดง งานศิลปะจากนะโอะชิมะไปยังเกาะใกล้เคียง อาทิ เทชิมะ (Teshima) ชามิจมิ ะ (Shamijima) ฮอนจิมะ (Honjima)
ความน่าสนใจของเทศกาลนี้อยู่ตรงที่การจัดงานทุกๆ 3 ปี (Triennale Festival) บนเกาะเล็กๆ ทั้ง 12 แห่ง โดยผลัดเปลี่ยนสถานที่และเมืองไปตาม ฤดูกาลที่เหมาะสม ตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ไปจนถึงฤดูใบไม้ร่วง เป็นเวลา 7 เดือน เพื่อเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ชมงานศิลปะท่ามกลางทิวทัศน์อัน งดงามที่สุดในฤดูกาลของแต่ละเกาะ ซึ่งนับว่าช่วยสร้างรายได้และอาชีพให้กับ ชุมชนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี และเพื่อตอกยํ้าความสำ�เร็จที่ผ่านมา เทศกาลจึง ถูกจัดขึ้นอีกครั้งในปีนี้ โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากกระทรวง การต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม รวมทั้งกระทรวงการท่อง เที่ยวญี่ปุ่น เพื่อยกระดับคุณภาพงานสู่สากล รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเป็นระบบ และเชื่อมโยงเส้นทาง รถไฟจากเมืองท่องเที่ยวสู่เส้นทางเดินเรือไปยังเกาะต่างๆ ไว้อย่างครบครัน
ที่มา: setouchi-artfest.jp
อย่างเต็มรูปแบบ หากเปรียบกับการปลูกต้นไม้ ก็ไม่ต่างจาการตัดชำ�กิ่ง โดยมีศิลปะระดับท็อปเป็นพันธุ์ไม้ชั้นดี มาตัดชำ�บนเมืองที่มีทัศนียภาพ อันงดงามเท่านัน้ แต่ยงั ขาดการนำ�อัจฉริยภาพแห่งท้องถิน่ ของชาวประมง มาบูรณาการเข้ากับกลยุทธ์การพัฒนาเมืองอย่างจริงจัง จึงเป็นทีน่ า่ ติดตาม ต่อไปว่า การพัฒนาเมืองแห่งนีจ้ ะดำ�เนินต่อไปในทิศทางใด องค์กรบริหาร ส่วนท้องถิ่นจะหาวิธีจัดการสร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน ในระยะยาวได้หรือไม่ หรือแท้จริงแล้ว พื้นที่ศิลปะต่างๆ ในมุมเมือง ก็เป็นเพียงแหล่งท่องเที่ยวตามกระแสนิยมอีกแห่งหนึ่ง เพราะถึงแม้วา่ “ศิลปะยืนยาว ชีวติ สัน้ ” จะเป็นจริงดังทีฮ่ ปิ โปกราตีส ได้กล่าวไว้ ทว่าการรักษาศิลปะให้ยืนยาวนั้น ควรจะเริ่มจากการสร้าง รากฐานทางวัฒนธรรมของชุมชนให้มั่นคงเสียก่อน
ที่มา: บทความ 4 reasons to visit Naoshima, Japan’s island of art จาก lonelyplanet.com บทความ Five Reasons to Visit Naoshima จาก time.com บทความ Hiroshi Sugimoto: Eternity in Naoshima จาก rawness.org บทสัมภาษณ์โซอิชิโระ ฟุคุทะเคะ จาก Revitalizing Remote Island with Contemporary Art โดย เอเจนซีการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (Yokoso Japan!) benesse-artsite.jp japan-guide.com japantimes.co.jp
มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
นำพื้น�ที่ศทอง แซ่ ต ง ้ ั ิลปะ... ของใคร เพื่อใคร เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล ภาพ: พิชญ์ วิซ
ห า ก เ อ่ ย ถึ ง พื้ น ที่ ศิ ล ป ะ ชั้ น นำ � ข อ ง กรุงเทพฯ แล้ว หนึ่งในนั้นคงหนีไม่พ้น "นำ � ทอง แกลเลอรี (Numthong Gallery)" ห้องจัดแสดงงานศิลปะของ นำ�ทอง แซ่ตั้ง ผู้ครํ่าหวอดในวงการศิลปะ ไทยมากว่าสามสิบปี ซึง่ ปัจจุบนั ได้โยกย้าย ที่ตั้งจากพื้นที่เดิมบริเวณสามเสนมายัง บ้านใหม่ทใ่ี หญ่กว่าในซอยอารีย์ 5 ฝัง่ เหนือ จากอาสาสมัครของหอศิลป์พีระศรี เมือ่ วัยต้นยีส่ บิ จนมาเป็นเจ้าของแกลเลอรี และนักจัดการงานศิลปะที่มีส่วนผลักดัน ให้ ศิ ล ปิ น ไทยรุ่ น น้ อ ยใหญ่ เ ป็ น ที่ รู้ จั ก ในทุกวันนี้ นำ�ทองถือเป็นผูห้ นึง่ ทีม่ โี อกาส ได้ พ บเห็ น และผ่ า นประสบการณ์ ต่ า งๆ ด้ า นการจั ด การพื้ น ที่ ศิ ล ปะมาแล้ ว มากมาย และบทสนทนากับเขาในครั้งนี้ คงช่ ว ยให้ เ รากลั บ มาคิ ด ทบทวนถึ ง ความหมายและหน้าที่ที่แท้จริงของคำ�ว่า “พื้นที่ศิลปะ”
28 l
Creative Thailand
l มิถุนายน 2556
ย้ อ นกลั บ ไปตอนเริ่ ม ทำ � งานเป็ น อาสาสมั ค ร ที่หอศิลป์พีระศรี พื้นที่ศิลปะในกรุงเทพฯ ช่วง เวลานั้นเป็นอย่างไร
ผมเริ่มทำ�งานที่ห อศิ ล ป์พี ร ะศรี ในปี 2 5 2 2 เมื่ อ ก่ อ นไม่ มี พื้ น ที่ แ สดงงานศิ ล ปะเหมื อ น สมัยนี้ จะดูงานทีต้องไปดูที่เพาะช่างซึ่งถือเป็น แห่งแรกๆ ที่จัดนิทรรศการศิลปะด้วยซํ้าไป การจัดงานแสดงศิลปกรรมหรือการประกวด ศิ ล ปกรรมแห่ ง ชาติ ก็ ต้ อ งไปใช้ ที่ ทำ� การของ การท่ อ งเที่ ย วแห่ ง ประเทศไทยหรื อ โถงหอ สมุดแห่งชาติท่าวาสุกรี ส่วนแกลเลอรีเอกชน ตามห้องแถวย่านบางกะปิ (ถนนสายสุขุมวิท ในปัจจุบัน) ก็เกิดขึ้นภายหลัง สมัยนั้น แนวคิดเรื่องการมีพื้นที่เพื่อศิลปะ โดยเฉพาะนับว่าใหม่มาก ตอนหอศิลป์พีระศรี เปิดเมื่อปี 2517 คนก็ยังไม่รู้จัก ผมเองก็เพิ่งไป ตอนปี 2518 ไปเป็นอาสาสมัครก่อน คือตอนนัน้ ผมไปทุกวันจนคุณฉัตร (ฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที ผู้อำ�นวยการหอศิลป์พีระศรีในยุคนั้น) ถามว่าสนใจทำ�งานที่นี่ไหม ผมก็ว่าดีสิ เพราะ ผมสนใจงานศิลปะและชอบขีดเขียนตั้งแต่เด็ก ผมจะได้เจอศิลปิน ได้ดูงานศิลปะทุกครั้งที่มี การเปลี่ยนนิทรรศการ หอศิลป์พีระศรีตอนนั้น เป็นที่ซึ่งทั้งศิลปิน นักดนตรี แม้กระทั่งพวกกวี จะมา เพราะมั น ไม่ใช่พื้นที่แสดงงานเพี ย ง อย่างเดียว แต่เป็นพื้นที่ซึ่งเปิดสำ�หรับกิจกรรม ทางศิลปะ มีดนตรี มีการแสดงละคร มีพื้นที่ ให้มานั่งคุยกัน แล้วผลงานที่แสดงก็ไม่ใช่แค่ งานจิตรกรรม มีงานสำ�คัญๆ จากต่างประเทศ เช่น งานดีไซน์ของญี่ปุ่น หรืองานเฟอร์นิเจอร์ ดีไซน์ พวกโคมไฟ โซฟา หรือชัน้ วางซึง่ พิเศษ มาก จากหอศิลป์พีระศรี คุณหันมาเปิดพื้นที่ศิลปะ ของตัวเองทันทีเลยหรือเปล่า
หลังออกจากหอศิลป์พีระศรี ผมพยายามเป็น ศิลปินอยู่หลายปีนะ ผมขายงานครั้งแรกได้ที่ ผับแถวหลังสวนชือ่ บราวน์ ชูการ์ (Brown Sugar) คนซื้อเป็นคนไทยทำ�งานวงการโฆษณา วันเปิด
นี่คนมาดูเยอะมาก คือบราวน์ ชูการ์เขาฉลาด ทุ ก ครั้ง เขาจะเชิ ญ นั ก ร้ อ งรั บ เชิ ญ มาแจมใน วันเปิด รอบที่ผมแสดงเดี่ยวเนี่ย เขาเชิญคุณปุ๊ อัญชลี จงคดีกิจ ผมก็ตื่นเต้นว่าทำ�ไมคนดูงาน ผมเยอะจัง จริงๆ ไม่ใช่หรอก คนมาดูปุ๊ อัญชลี พอหลังจากงานนั้น ผมก็มานั่งย้อนดู ผม เหมือนมีอีกหน้าที่หนึ่งที่มากกว่าหน้าที่ศิลปิน คือหน้าที่นักจัดการ เพราะก่อนตัดสินใจเปิด แกลเลอรีของตัวเอง ผมก็เริ่มต้นด้วยการจัด นิทรรศการให้ศิลปิน ทั้งในโรงแรม ในห้าง สรรพสินค้า จัดการเรือ่ งรายละเอียด การติดตัง้ งาน การออกแบบ เอางานไปเสนอให้กบั นักสะสม ทั้งบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือหนังสือพิมพ์ สมั ย นั้ น มี ผ มทำ � แบบนี้ อ ยู่ แ ทบจะคนเดี ย ว ถ้าคนซื ้ อ งาน ผมก็ ขนไปเอง ติ ด ตั้งให้เอง คนเดียวหมด ปัจจุบันดูเหมือนว่าจะมีพื้นที่สาธารณะที่เปิด โอกาสให้ศลิ ปินแสดงงานได้มากขึน้ ส่วนตัวแล้ว คุณคิดว่ามันทำ�ให้คนทั่วๆ ไปเข้าถึงงานศิลปะ ได้มากขึ้นหรือไม่
ผมยกตัวอย่างง่ายๆ สมัยนั้นใครก็รู้ว่าถ้ามา หอศิลป์พรี ะศรี คือมีหอ้ งสมุด มีทน่ี ง่ั ดืม่ กาแฟได้ คุณอาจจะไม่ได้มาดูดนตรี แต่แวะมานั่งอ่าน หนังสือ มาพักผ่อน แล้วก็ดูงานได้ ปัจจุบัน มันไม่ค่อยมีพื้นที่แบบนี้ อย่างตอนที่รัฐบาล พยายามทำ � ตลาดนั ด ศิ ล ปะบริ เ วณหอศิ ล ป์ เจ้าฟ้าแล้วมันไม่ได้ผล ผมเสียดายมาก เพราะ คุณมีพื้นที่แต่คนไม่ไปใช้ แล้วกลับไปทำ�ให้มัน กลายเป็นตลาด คุณต้องพยายามทำ�ให้มันเป็น พื้นที่เปิดที่คนมาเมื่อไหร่ก็ได้ กลุ่มไหนก็มาได้ จริงๆ คนไปเที่ยวสนามหลวงเยอะมากนะ ถ้า หอศิลป์ฯ มีนํ้า มีที่ให้นั่งกินอะไร ไม่ต้องทำ�ให้ มันกำ�ไรอะไรหรอก แค่ให้อยู่ได้ อย่างน้อยๆ เจ้าหน้าที่เองก็จะได้มีชีวิตชีวาหน่อย สมัยผมเปิดแกลเลอรีใหม่ๆ ผมจะไปตาม เด็กๆ จากโรงเรียนแถวนั้นมาดูงาน เพราะ ก็เหมือนกับการได้พูดคุย ถ้าเด็กได้เริ่มสัมผัส ตั้งแต่เล็กๆ โตขึ้นได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็นแบบไหน มิถุนายน 2556
l
Creative Thailand
l 29
Marco Polo (2012) โดย ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์
เขาก็รับไปแบบนั้น แต่บ้านเราไม่มีวัฒนธรรม ให้ลกู หลานดูงานศิลปะกันแต่เด็ก ไม่ตอ้ งพูดถึง ขั้นรู้จักชื่นชมนะ เอาแค่ไปเห็น ให้รู้จักยังไม่ ค่อยมี ตอนนี้หอศิลป์กทม. (หอศิลปวัฒนธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร) เขามีกิจกรรมในพื้นที่ ใหม่อนั หนึง่ ก็คอื พีเพิลส์ แกลเลอรี (People's Gallery) ให้ศิลปินไปนำ�เสนอผลงาน ผมก็ไป นั่งสังเกตดูนะ แต่สุดท้ายตรงพื้นที่นิทรรศการ ก็เหมือนเดิม คนเฝ้าโต๊ะนิทรรศการก็เฝ้าไป คนทีม่ าดูบางทีกอ็ ยากได้ขอ้ มูล แต่ไม่รจู้ ะไปคุย กับใคร คืออย่างน้อยที่สุด มีคนมาคุยกันก็ยัง นับว่ามีการโต้ตอบ ตรงนี้ต่างหากที่มันจะได้ อะไรกลับไป แต่ตราบใดที่มีพื้นที่แสดงงาน แล้วปล่อยไปเฉยๆ คนก็ยังไม่ได้อะไรอยู่ดี ทุกวันนีผ้ มจะบอกลูกผม บอกเด็กหลายคน ที่เข้ามาที่แกลเลอรีผมว่า พาเพื่อนมานะ เดี๋ยว พ่อเอาของมาให้กิน วันก่อนผมเจอเพื่อนก็บอก ให้แวะมา ประเด็นคือมันต้องเริม่ เราไม่สามารถ บอกให้ทุกคนมาได้ แต่เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ก่อน เริ่มจากเด็กๆ เริ่มกันใหม่ ไม่ช้าหรอก เพราะฉะนั้นการมีพื้นที่ศิลปะก็คือการมีพื้นที่ ให้คนทั่วๆ ไปได้มีโอกาสดู ได้ชื่น ชมผลงาน ศิลปะ
เวลามีคนมาดูงานแสดงที่แกลเลอรีผม ผมจะ ไม่เข้าไปยุ่งเลย จะปล่อยให้ดูเต็มที่ เพราะเคย ไปบางที่ในบ้านเราแล้วรู้สึกเลยว่ามีคนกำ�ลัง มองอยู่ว่าไอ้นี่ไม่ซื้อหรอก ไอ้นี่ดูไม่เป็นหรอก ทำ�ไมไม่ปล่อยเขาเดินไปล่ะ ผมบอกทุกคนที่ 30 l Creative Thailand l มิถุนายน 2556
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
คุณต้องคิดเหมือนเดินเข้าไปในสวนสาธารณะ เวลาทีค่ ณ ุ เดินเข้าไป ในสวนลุมพินีคุณหวังอะไร คุณจะไปเอาอะไร ไม่มีใช่ไหม คุณแค่ เข้าไปรับอากาศและความสดชื่น เช่นเดียวกันคุณเข้าไปดูงานใน แกลเลอรี คุณไม่ต้องทำ�อะไรเลย เงินก็ไม่ต้องเสีย แค่ใช้เวลากับมัน
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เวลาดูงานศิลปะก็ไม่ต้องคิดอะไรมากเลย แค่มาแล้วดู เหมือนเวลา คุณฟังเพลง เพลงบางเพลงมีแค่ทำ�นอง แต่มันกลับทำ�ให้เรานิ่ง หรือฟังแล้วนํ้าตาร่วงได้เลย ดังนั้นมันไม่ได้อยู่ที่คุณเข้าใจหรือไม่
เข้ามาดูงานของผมเลยว่า คุณต้องคิดเหมือน เดินเข้าไปในสวนสาธารณะ เวลาทีค่ ณุ เดินเข้าไป ในสวนลุมพินีคุณหวังอะไร คุณจะไปเอาอะไร ไม่มีใช่ไหม คุณแค่เข้าไปรับอากาศและความ สดชืน่ เช่นเดียวกันคุณเข้าไปดูงานในแกลเลอรี คุณไม่ต้องทำ�อะไรเลย เงินก็ไม่ต้องเสีย แค่ใช้ เวลากับมัน เพราะมันเป็นเวลาห้านาทีทม่ี คี า่ มาก ที่คุณจะตัดทุกอย่างออกจากหัวหมด ปัญหายุ่ง ยากต่างๆ เพียงอยู่กับงานตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็น รูปอะไร ผมเชื่อเลยว่าคุณจะรู้สึกเลยว่า โอ้โห งานนีน้ า่ สนใจ งานนีส้ วย หรือบางทีก็ อะไรของ มันเนี่ย คิดอะไรของมัน แค่นั้นเอง นี่คือเวลาที่ คุณโต้ตอบกับตัวคุณเอง เวลาห้านาทีนี้มีค่า แต่ ทุ ก คนลื ม มั น ไปแล้ ว เพราะบ้ า นเราไม่ มี วัฒนธรรมตรงนี้ นี่เป็นความผิดพลาดที่คนมองว่า คนที่ไป ดูงานศิลปะต้องดูรู้เรื่อง ต้องเข้าใจ มันไม่ใช่ เวลาคุณ ไปเดิ น สวนสาธารณะ ไปนู่นไปนี่
คุ ณ ไม่เ ห็ น ต้องคิ ด เลย แต่ท ำ � ไมพอจะไป แกลเลอรี นี่ ต้ อ งนึ ก ก่ อ นเลยว่ า จะดู รู้ เ รื่ อ ง หรื อ เปล่า ทุ ก คนมีสิ่งเหล่านี้อยู่แล้วข้างใน แต่ประเด็นคือเราโดนครอบงำ�มาตั้งแต่เด็ก เช่นเวลาเขียนรูปต้องร่างเส้นให้เสร็จ มีเบอร์ ในช่องอีกว่าช่องไหนใส่สอี ะไร หรือเวลาเขียน ต้องให้เหมือน ผมไม่แปลกใจเลยว่าทำ�ไมเด็กฝรัง่ หรื อ ญี่ ปุ่ น ถึ ง มี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ สู ง มาก เพราะเขาไม่เคยถูกครอบงำ�เรื่องนี้ บ้านเรา ใครเขียนรูปเก่งครูกจ็ ะเอาใจ คุณอาจจะเคยเห็น ในหนังสือพิมพ์ว่าแข่งวาดรูปกัน 140 กว่า ประเทศนี่ไทยเรากวาดรางวัลมากันหมดเลย มันกลายเป็นค่านิยมที่ผิดเพราะเราทำ�ให้เด็ก แข่งเพื่อเอารางวัล แต่ไม่ได้สอนว่างานศิลปะ มันจะช่วยให้เราพั ฒ นาอะไรได้บ้าง ดั งนั้น เวลาดู ง านศิ ล ปะก็ ไ ม่ ต้ อ งคิ ดอะไรมากเลย แค่มาแล้วดู เหมือนเวลาคุณฟังเพลง เพลง บางเพลงมีแค่ทำ�นอง แต่มันกลับทำ�ให้เรานิ่ง
หรือฟังแล้วนํ้าตาร่วงได้เลย ดังนั้นมันไม่ได้อยู่ ที่คุณเข้าใจหรือไม่ ถ้าเช่นนั้น พื้นที่ศิลปะจะต้องเป็นพื้นที่แบบไหน
ส่วนตัว เวลาผมเลือกพื้นที่ทำ�แกลเลอรีอย่าง ที่เก่าที่สามเสน ผมเลือกพื้นที่ตรงนั้นเพราะ เป็นพื้นที่ปิด เวลาคนเข้ามาจะตัดทุกอย่าง ออกหมด ไม่รู้สึกถึงบรรยากาศภายนอก ผม ต้องการแค่นั้นแหละ แต่สมมติว่าแกลเลอรีไป เปิดในศูนย์การค้า คนอาจจะคิดแล้วคิดอีกว่า เราไม่ได้จะเข้าไปซื้อนะ แค่อยากเข้าไปดู แต่ไม่รู้จะดูอย่างเดียวได้หรือเปล่า หรืออย่าง แกลเลอรีทเ่ี ขาทำ�ไว้เยอะแยะทีส่ ลี ม สังเกตไหม ว่าเราก็ยังลังเลเลยว่าจะเข้าไปดูดีไหม ความที่ กระจกมันใสแล้วด้านในบางทีมันไม่มีคนดูอยู่ ก่อนเลย คือถ้าจะมองพื้นที่ทั่วไปในกรุงเทพฯ ณ ปัจจุบัน นอกจากหอศิลป์กทม.แล้วก็ยังไม่มี มิถุนายน 2556 l Creative Thailand l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ที่เป็นลักษณะเปิดจริงๆ ส่วนหอศิลป์เจ้าฟ้า ก็ไกล ไม่มีที่จอดรถ ส่วนหอศิลป์บนราชดำ�เนิน ถ้าเสร็จเปิดขึ้นมาก็อาจจะช่วยดึงคนเข้ามา หลักๆ คือส่วนใหญ่แล้วที่อื่นเขามีพื้นที่ที่เปิด ให้คนไปใช้บริการด้านอื่นด้วย ไม่ใช่มีแค่ที่ แสดงงานอย่างเดียว แกลเลอรีเองก็ต้องปรับตัว อันดับแรกคือ คุณต้องเป็นมิตรมาก ต้อนรับก่อน เสร็จแล้ว ที่เหลือคุณต้องให้เวลาเขาเดินดูเอง อย่าไป เดินตาม ไปถามเขาวุ่นวาย คือต้องดูแต่ละคน แล้วว่าใครสนใจมากน้อยแค่ไหน บางคนสนใจ ก็อยากจะคุย เราก็จะเปิดพื้นที่ บางคนสนใจ มากขึ้นเราก็เปิดมากขึ้น และการเปิดมากขึ้น ไม่ใช่อยู่ที่ผมไง พอถึงเวลาผมก็จะบอกว่า ไปดู ที่นี่นะ เดี๋ยวไปอ่านเล่มนี้นะ เอาเล่มนี้ไปดูได้ เพิ่มเติม แบบนี้เขาจะใช้เวลากับตัวเขาเองแล้ว ไม่ใช่เราต้องไปเปิดให้เขาตลอด อย่างนีส้ นุกกว่า ช่วยเล่าให้ฟังถึงบรรยากาศงานแฟร์ศิลปะที่ ฮ่องกงที่เพิ่งเดินทางกลับมา
ตอนนีถ้ า้ ถามถึงตลาดศิลปะในฮ่องกง ต้องบอกว่า กำ�ลังบูมมาก ไวท์ คิวบ์ (White Cube) แกลเลอรี เบอร์หนึ่งของลอนดอนก็เพิ่งมาเปิด อีกหน่อย
เขายังจะสร้างกุกเกนไฮม์ มิวเซียม (Guggenheim Museum) ทีฮ่ อ่ งกงเพือ่ เป็นสาขาในเอเชีย เพราะในสเปนก็มี เยอรมนีก็มี ถ้าไม่เอาฮ่องกง ก็ไม่มีแล้ว ต้องไปออสเตรเลีย ซึ่งไม่มีใครไป และไม่ใช่ว่ารัฐบาลจีนเขาสนับสนุนโดยตรงนะ แต่รัฐบาลเขาเปิดทางให้ เพราะคนก็จะใช้จ่าย อย่างมหาศาลกับงานแฟร์เที่ยวนี้ ผมรูส้ กึ ว่างานแฟร์ศลิ ปะสมัยก่อนกับสมัยนี้ ผิดกัน เมื่อก่อนงานแฟร์จะจัดทุกๆ 2 ปีเพราะ ต้องรอเก็บข้อมูล เก็บงาน แล้วถึงจะมาโชว์ และงานแฟร์ ส มั ย ก่ อ นจะเลื อ กจากงานเป็ น สำ�คัญ เช่นงานนี้เคยไปโชว์ที่นิวยอร์ก แล้วเป็น งานสำ � คั ญ ของยุ ค นั ้ น หรื อ ไปดอคู เ มนทา (Documenta) ที่เป็นงานแสดงศิลปะที่สำ�คัญ จัดที่เมืองคัสเซิล เยอรมนีมา หรือไปแสดง เบียนนาเล่มา หรือที่ไหนก็แล้วแต่ เพราะฉะนัน้ แกลเลอรีแต่ละแกลเลอรีจะเลือกเฟ้นงานที่ดี เพื่อมาแสดง แต่ปัจจุบันมันต่างโดยสิ้นเชิง มันกลายเป็นอีกตลาดหนึ่งแล้ว คือแกลเลอรี บางแห่ ง เริ่ ม ให้ ศิ ล ปิ น ไปทำ � งานเพื่ อ นำ � มา ออกงานแฟร์อย่างเดียวก็มี สมัยก่อนเวลาไปแฟร์ นี่วิจารณ์กันเลยนะ ว่าช่วงที่ผ่านมา งานใคร ทีเ่ ขาพูดถึง งานใครทีว่ า่ ดีจนถึงตอนนี้ แต่เดีย๋ วนี้
ไม่พูดกันแล้ว พูดถึงมูลค่า ผมอาจจะเป็น ประเภทเชย โลกเขาไปถึงไหนแล้ว เขาไม่มา พูดเรื่องแบบนี้กันแล้ว นอกจากตัวพื้นที่แล้ว คุณคิดว่ามีสิ่งใดที่จะมี ส่วนช่วยในการผลักดันให้พื้นที่ศิลปะเติบโต ในอนาคต
บ้ า นเราไม่ เ คยวางแผนเรื่ อ งบุ ค ลากรหรื อ เรื่อ งฐานข้อมูล ผมคิดว่าเราต้องสร้างเด็ก รุ่นใหม่ ให้โอกาสคนรุ่นใหม่สร้างทีมงานขึ้นมา พอเรามีบุคลากรมากขึ้น มีการรวบรวมข้อมูล โอกาสที่จะเข้าถึงคนทั่วไปได้มันก็จะกว้างขึ้น อย่างที่แกลเลอรีของผม ผมก็พยายามเปิดพืน้ ที่ ทำ�เป็นห้องสมุดเพิ่มเติม คนมาดูงานอาจจะ ดูแค่แป๊บเดียวจบ แต่ถ้ามีเวลาก็สามารถมาใช้ ห้องสมุด อ่านหนังสือศิลปะ ดูนติ ยสารศิลปะได้ เพราะฉะนั้นพื้นที่ที่เรากำ�ลังพูดถึง ไม่ใช่แค่ พื้นที่ แ สดงงาน แกลเลอรี ผ มเองจากนี้ไ ป อาจจะต้องมีขายกาแฟ ขายนํา้ เพื่อให้คนมาเพิ่ม ผมบอกนักศึกษาศิลปะสมัยนี้หลายคนเลยว่า คุณจบมาสมัยนี้โชคดีมาก ไม่จำ�เป็นหรอกที่จะ ต้องมาเป็นศิลปิน เราต้องการคนอีกเยอะที่จะ มาทำ�ให้วงการนี้มันโต ไม่ใช่มีแต่พื้นที่ Euphoria (2012) โดย นิติ วัตุยา
CREATIVE INGREDIENTS พื้นที่ศิลปะที่อยากเห็น
พืน้ ทีท่ ผ่ี มอยากเห็นเป็นพืน้ ทีศ่ ลิ ปะคือสวนลุมพินี ซึ่งมีทั้งสวนและมีอาคาร เก่าหลังหนึ่งที่สวยมาก เมื่อก่อนสมัยผมมีโอกาสได้ฝึกงานกับท่านกูฏ (ไพบูลย์ สุวรรณกูฏ) ท่านเล่าว่าสมัยท่านยังหนุ่ม เวลาเสาร์-อาทิตย์ก็ไป เวทีลีลาศสวนลุมพินีในอาคารนั้นแหละ เป็นโถงให้คนเต้นรำ�ตรงกลาง แล้วก็ด้านบนมีระเบียงแล่นรอบๆ แล้วคนก็อยู่บนระเบียง ส่วนข้างนอกมี โดมครึ่งหนึ่ง เขาก็มาเล่นดนตรีให้ฟัง ที่แบบนี้กทม.น่าจะเอากลับมาทำ� เป็นพื้นที่ศิลปะ
32 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
ศิลปินที่ชอบ
คำ�ว่าชอบ ศิลปินแต่ละคนแต่ละสาขาก็มีที่ชอบเป็นพิเศษ แต่ถึงขนาด พิเศษสุดไม่มี แต่ละช่วงมันก็มสี ง่ิ ทีด่ ขี องมันอยู่ เพราะฉะนัน้ ผมจะไม่แบ่งว่า ยุคนีห้ รือยุคนัน้ สมัยนีส้ สู้ มัยก่อนไม่ได้ งานศิลปะ คุณจะไปบอกภาพเขียน (painting) ดีกว่าภาพลายเส้น (drawing) สีนํ้ามันดีกว่าสีนํ้า มันไม่ใช่ มันขึ้นอยู่กับงานตรงนั้นต่างหาก ว่าเวลาคุณเห็นศิลปินวาดออกมาแล้ว ให้อารมณ์ให้ความรู้สึกตรงนั้นมากได้เท่าที่คุณคิด ลายเส้นที่คุณเห็นไม่กี่ เส้น มันให้คุณมากกว่าสีนํ้ามันทั้งผืนด้วยซํ้าไป มันเป็นความรู้สึกตรงนี้ ต่างหาก
CREATIVE WILL คดิ ทาำ ดี
"History is ours." เรอ่ืง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: ภรูวิตัิ บญุนกั
นอกจากการจัดแสดงผลงานท่ีต้องส่ือท้ังความคิดและประเด็น ทางสังคมในแง่มุมต่างๆ ของศิลปินร่วมสมัยในแต่ละครั้งแลว้ ข้ันตอนระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานก็ถือเป็นส่วนสำาคัญและ มคีณ ุ ค่าไม่แพ้กัน ซึ่งการเห็นความสำาคัญของกระบวนการคดิ อนัเปน็หลกัฐานแหง่การตกผลกึในแตล่ะชน้ิงานของศลิปนิ ซง่ึมกั ปรากฏอยู่ในรูปแบบของเอกสาร สมุดบันทึก ภาพถ่าย หรอื สมุดสเก็ตชภาพนั�น ลวนแตมีคุณคามากจนทำาให้ 2 ผู้ก่อตง้ั อยา่ง ดร.เกรกอรี กลัลแิกน และ ภทัรี เหวยีนระวี ตดัสนิใจ สรา้ง Thai Art Archives หรอื โครงการฐานขอ้มลูศลิปะไทย ขน้ึ ในฐานะองคกรอิสระแบบไมแสวงหากำาไร ที่มีเปาหมายในการ เก็บรักษาประวัติศาสตรแหงผลงานการสรางสรรคศิลปะของ ศลิปนิไวเ้พอ่ืใหเ้ปน็องคค์วามรทู้เ่ีขา้ถงึไดส้าำหรบัทกุคน
แมประเทศไทยจะมีระบบและวิธีการจัดการการปกปองผลงานทางศิลปะ แต่ก็เป็นเพียงการปกป้องรักษาเฉพาะตัวผลงานท่ีได้รับการจัดแสดง ของศลิปนิ ขณะทเ่ีอกสารหรอืสมดุบนัทกึ ไปจนถงึสง่ิของทเ่ีกย่ีวขอ้งกบั ขน้ัตอนการสรา้งสรรคง์าน ทเ่ีปรยีบเสมอืนองคป์ระกอบของผลงานนน้ัๆ บอ่ยครง้ักลบัถกูละเลย และมีความเสี่ยงสูงที่จะสูญเสียหรือสูญหายไป ตามกาลเวลา ผูกอตั้งทั้งสองคนจึงริเริ่มกระบวนการจัดเก็บรักษาวัตถุ ดงักล่าวนี้ผ่านกระบวนการการทำางานที่หลากหลาย โดยเรม่ิจากการลง พน้ืทเ่ีพอ่ืศกึษาและเกบ็ขอ้มลูทกุรปูแบบ ทง้ัการประชมุหรอืการสมัภาษณ์ ผทู้เ่ีกย่ีวขอ้งทง้ัหมด อาทิ สมาชกิในครอบครวั และกลมุ่คนทเ่ีคยทางาน ำ รว่มกับศิลปิน ด้วยการบันทึกเสียง ถอดเทปสัมภาษณ์ และบันทึกเปน็ เอกสาร เพื่อสรางเปนฐานขอมูลสำาหรับโครงการฐานขอมูลศิลปะไทย สมัยใหม่และร่วมสมัยทส่ีมบูรณม์ากยง่ิขึ้น น อ ก จ า ก นี้ ยังได้ริเริ่ม กระบวนการยืม-คืนตัวอย่างส่ิงของหรือวัตถุของศิลปินจากแกลเลอร่ี เครอืขา่ย อาทิ สมดุสเกต็ชผ์ลงานของอาจารยเ์ฟอ้ื หรพิทิกัษ์ ทห่ียบิยมื มาจาก 333 แกลเลอรี (จดัแสดงเปน็นทิรรศการอยใู่นขณะน)้ี เพอ่ืเปน็อกี หนึ่งช่องทางการกระจายความรู้ในมิติใหม่ๆ สู่สาธารณะ และยังเปน็ การสรางเครือขายที่เชื่อมโยงกันระหวางหนวยงานตางๆ ทั้งสถาบัน แกลเลอรี และพพิธิภณัฑ์ ใหม้คีวามกวา้งขวางมากยง่ิขน้ึ นอกจากการนำา วั ต ถุ ป ระกอบผลงานตางๆ มาจั ด แสดงเปน นทิรรศการแลว้ โครงการฐานขอ้มลูศลิปะไทยยงัมงุ่สรา้งองคค์วามรดู้ว้ย ความตง้ัใจจรงิ ผา่นการจดัการพน้ืทบ่ีรเิวณชน้ั 4 ของหอศลิปวฒันธรรม 34 l Creative Thailand l มถินุายน 2556
ลายเสน้จากสมดุสเกต็ชผ์ลงานของ เฟอ้ื หรพิทิกัษ์
แหง่กรงุเทพมหานครใหค้รบถว้นทกุการใชง้านมากทส่ีดุ ตง้ัแตเ่ปน็พน้ืท่ี สำาหรบัทำาการวจิยั ใหค้วามรเู้กย่ีวกบังานพพิธิภณัฑแ์ละงานภณัฑารกัษ์ สำาหรับนักเรียนในระดับมัธยมและมหาวิทยาลัย และยังใชการจัดงาน เสวนาเพ่ือเสริมสร้างองค์ความรู้เก่ียวกับศิลปะไทยสมัยใหม่และร่วมสมัย ตลอดจนเพ่ือสร้างความเข้าใจให้กับบุคคลท่ีสนใจอันจะก่อให้เกิดเป็น ประโยชนในระยะยาว ทั้งยังมีการนำาหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวขอ้ง กับศิลปะสมัยใหม่บางเล่มท่ีหาได้ยากในประเทศมาแบ่งปันให้ผู้ท่ีสนใจ ไดศึกษา เพื่อเปดโลกทัศนแหงศิลปะในมิติอื่นๆ โดย ในอนาคต Thai Art Archives ยังจะพัฒนารูปแบบการจัดเก็บและรักษาวัตถุทาง ประวัติศาสตรซึ่งควรคาแกการเรียนรูนี้ไวในรูปแบบดิจิทัล เพื่อใหเปน ฐานขอมูลสำาหรับผู้ท่ีสนใจสามารถศึกษาและเข้าถึงได้จากท่ัวทุกมุมโลก และพรอ้มทจ่ีะสง่ตอ่สคู่นรนุ่หลงัไดใ้นอนาคต ทม่ีา: สมัภาษณ์ ดร.เกรกอรี กลัลแิกน และ ภทัรี เหวยีนระวี โครงการฐานขอ้มลูศลิปะไทย ชน้ั 4 หอศลิปวฒันธรรมแหง่กรงุเทพมหานคร โทร 02 214 6630-1
ดาวนโหลดฟรี!
นิตยสาร Creative Thailand ผาน 2 แอปพลิเคชัน CT magazine และ TCDC Digital Resource
iPad
14:12 PM
3G
4:08 PM
iPad / iPhone