พฤษภาคม 2556 ปที่ 4 | ฉบับที่ 8 แจกฟรี
THE SUBJECT GOODBYE EURO?
CREATIVE CITY MASDAR CITY
THE CREATIVE JAMES H.FERRY
Life isn't about waiting for the storm to pass. It's about learning to dance in the rain. ชีวิตไม่ใช่การรอคอยว่าพายุจะผ่านพ้นไปเมื่อใด มันเป็นเรื่องของการเรียนรู้ที่จะเต้นรำ�ท่ามกลางสายฝน Vivien Greene
© Attilio Lombardo
นักสะสมบ้านตุ๊กตา
สารบัญ The Subject
6
The Object
7
Creative Resource
8
Goodbye Euro?
Hollywood Villains ผูรายหนาใหมของฮอลลีวูด
Featured Book/ Book/ DVD / Database
Cover Story
12
Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
28
Creative Will
34
Hope & Fear: From Runway to Railway
เมื่อ “ความเขาใจ” คือ สินคาล้ำคา
บำบัดความกลัวแบบบัลวี
Masdar City ความหวังกลางทะเลทรายเพื่อลมหายใจบริสุทธิ์
James H.Ferry เปลี่ยนวิธีคิด พลิกฟื้นธุรกิจ
Matter
10
Classic Item
11
นวัตกรรมสิ่งทอสรางสมดุลในรางกาย
ทองคำ
The Most Powerful Arm Ever Invented
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกุลพิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ, พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l อคีรัฐ สะอุ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร ผูออกแบบปก l คณิตา มีชูบท 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 นักออกแบบภาพประกอบผูนิยามตัวเองวา โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th "นักเลาเรื่องผานการสรางสรรคภาพ" พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม และมีความสนใจพิเศษในเทคนิคการตัดกระดาษ ผลงาน : www.meechubot.com นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมายในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
โอกาสเหนือความกลัว เรือ่ งราวของหน้าประวัตศิ าสตร์หลังช่วงยุคสงครามเย็นเป็นต้นมา หากจะว่าไปแล้วนัน้ ก็เต็มไปด้วย อรรถรสแห่งการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างยิ่ง ขั้วอำ�นาจการเมืองและเศรษฐกิจของโลกอย่างรัสเซียและอเมริกาเปลี่ยนจากความระแวง มาเป็นพันธมิตร เศรษฐกิจของประเทศหนึง่ เดียวไม่ใช่ทางออกของอำ�นาจต่อรองอีกต่อไป ทรัพยากร ทีจ่ �ำ กัดลงเรือ่ ยๆ นำ�มาซึง่ ข้อพิพาทเรือ่ งการทับซ้อนของเขตแดนระหว่างประเทศ กระทัง่ ความแตกต่าง ด้านความเชือ่ ในศาสนาทีน่ �ำ มาสูค่ วามหวาดกลัวในผูค้ นทีต่ า่ งจากเรา เรือ่ งราวทีท่ บั ซ้อนสร้างเงือ่ นไข ที่ซับซ้อนในการดำ�เนินชีวิตของผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ทัศนคติ ความเชื่อ ความศรัทธาถูกสั่นคลอน และถูกปรับเปลี่ยนเพื่อนำ�ไปสู่การยอมรับกติกาหรือความเป็นไปใหม่ๆ ของสังคม ดูตัวอย่างการประชุมครั้งที่ 5 ของกลุ่ม BRICS เมื่อปลายมีนาคมที่ผ่านมา ถ้าเป็นเมื่อหลายๆ ปีก่อน การจับตาดูความร่วมมือของ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ก็คงเป็นเพียง ความน่าชื่นชมที่กลุ่มประเทศที่มีความแตกต่างกันในทุกมิติได้พยายามสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ด้านการค้าระหว่างประเทศ แต่วันที่สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไป ความเย็นชาของเศรษฐกิจ ยุโรปและสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้การประชุมสุดยอดผู้นำ�ของกลุ่ม BRICS นั้นทรงพลังขึ้นในทุกฝีก้าว การจับมือกันเพื่อสร้างภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจใหม่ให้แก่โลกได้ถูกสานต่ออย่างกระตือรือร้น เพราะ เมื่อรวบรวมอาณาเขตพรมแดนที่กินพื้นที่ถึง 1 ใน 4 ของโลก จํานวนประชากรรวมกันมากกว่า ร้อยละ 43 ของประชากรโลก และมีสัดส่วนในจีดีพีโลกประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งหมด หรือราว 13.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมถึงการมีเงินทุนสำ�รองระหว่างประเทศรวมกันถึง 4.4 แสนล้านเหรียญ สหรัฐฯ นอกจากนี้ ในปี 2012 กลุ่มประเทศ BRICS ยังมีสัดส่วนในการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (FDI) คิดเป็นร้อยละ 11 ของโลก และมีสัดส่วนในการค้าโลกถึงร้อยละ 17 หากจะวิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์นี้ว่ามีความใกล้เคียงกับคำ�ว่า “ตลาดใหม่” ที่นักธุรกิจทั่วโลก กำ�ลังมองหาหรือไม่ คำ�ตอบอาจยังไม่ได้เป็นอย่างที่คิด เพราะบ่อยครั้งคำ�ว่า “ตลาดใหม่” ถูกใช้ แทนคำ�ว่า “โอกาสใหม่” ซึง่ แท้จริงแล้วทัง้ สองคำ�นิยามนีม้ คี วามแตกต่างกันพอประมาณ นัน่ เพราะ ตลาดใหม่มักถูกตีค่าว่าคือโอกาสที่จะทำ�กำ�ไรจากประเทศที่กำ�ลังอยู่ในช่วงขาขึ้น เพียงแค่ขนถ่าย สินค้าที่เคยขายได้ในตลาดเก่าไปขายในสถานที่ใหม่ที่รํ่ารวยกว่าเท่านั้นก็นับว่ายอดเยี่ยมแล้ว แต่ สำ�หรับคำ�ว่า “โอกาสใหม่” นั้น แตกต่างออกไป ความสามารถเชิงพินิจพิเคราะห์ ความเข้าใจต่อ ความเปลีย่ นแปลงในค่านิยมใหม่ๆ และการถ่ายทอดมาเป็นกระบวนการผลิตทีร่ องรับความต้องการ ของลูกค้าได้ต่างหากคือโอกาสที่แท้จริง ไม่ว่าตลาดนั้นจะเป็นดินแดนที่กำ�ลังซบเซาหรือกำ�ลัง พลุกพล่านด้วยกำ�ลังซื้อ เพราะในสถานการณ์ต่างๆ ที่โลกกำ�ลังหํ่าหั่นกันด้วยชั้นเชิงทางธุรกิจ เทคโนโลยีการสงครามสมัยใหม่ หรือมหกรรมการต่อรองอำ�นาจทางการเมืองระหว่างประเทศ ปรากฏการณ์ที่อยู่เหนืออำ�นาจควบคุมของชีวิตปกตินี้ จะส่งผลต่อวิถีชีวิตหรือวิธีคิดไม่ทางใดก็ ทางหนึ่ง และยังนำ�ไปสู่ความสนใจต่อความสำ�คัญและความหมายของสิ่งรอบๆ ตัว ที่ย่อมถูกให้ คุณค่าใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางครัง้ ความหม่นหมอง ความหวาดหวัน่ ความสัน่ คลอน ก็อาจนำ�มาซึง่ การแก้ปญั หาทีล่ มุ่ ลึก ยิ่งกว่าในหลายๆ กรณี และบางครั้งก็อาจนำ�มาซึ่งแผนที่แห่งโอกาสใหม่ๆ ที่รอการค้นพบอีกด้วย อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอํานวยการ พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
ยุโรปกำ�ลังปั่นป่วนเพราะคณะกรรมาธิการ ธนาคารกลางสหภาพยุโรป ไม่เพียงต้องรับมือกับปัญหาหนี้ที่ยังไม่มีทีทา่ ว่าจะมีจุดจบ แต่ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันที่ล้วนมีผลต่อการล่มสลายของเงินสกุลยูโรไปพร้อมๆ กัน
มกราคมที่ผ่านมา เดวิด คาเมรอน (David Cameron) นายกรัฐมนตรี สหราชอาณาจักร ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า ภายในสิ้นปี 2017 สหราช อาณาจักรจะเปิดโอกาสให้ชาวอังกฤษตัดสินใจว่าประเทศของพวกตนนั้น ยังควรจะเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป หรือ อียู (European Union: EU) ต่อไปหรือไม่ ด้วยเหตุผลสำ�คัญที่ว่า “เพื่อผลประโยชน์แห่งชาติ” จากที่ ก่อนหน้านี้ อังกฤษเคยแสดงถึงความพยายามในการถอยห่างจากความ สัมพันธ์กับอียู ด้วยการใช้สิทธิยับยั้งสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่เพิ่มอำ�นาจแก่ สหภาพยุโรป เพื่อสู้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปลายปี 2011 คำ�กล่าวของคาเมรอนสร้างกระแสต่างๆ ให้เกิดขึน้ ตัง้ แต่การประสาน เสียงตำ�หนิการกระทำ�ของเขาจากผู้นำ�ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ รวมทั้งการปลุกกระแสความคิดเห็นในประเด็นนี้ให้เกิดขึ้นทั่วไป โดยผล การสำ�รวจของหนังสือพิมพ์เดอะ ไฟแนนเชียล ไทม์ส (เอฟที) ร่วมกับ บริษทั แฮร์รสิ อินเทอร์แอคทีฟ ทีไ่ ด้รวบรวมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตระหว่าง วันที่ 29 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2013 จากกลุม่ ตัวอย่าง 2,114 คน พบว่า ร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างต้องการให้อังกฤษถอนตัวออกจากอียู และ ร้อยละ 33 ต้องการให้ประเทศคงสมาชิกภาพไว้ หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของ ชาวอังกฤษที่ต้องการให้ประเทศออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป ขณะเดี ย วกั น ความหวาดวิ ต กว่ า เศรษฐกิ จ ของเยอรมนี ที่ เ คย แข็งแกร่งกำ�ลังเข้าสู่ภาวะถดถอย เพราะตัวเลขเศรษฐกิจในปี 2012 ที่ ขยายตัวเฉลี่ยเพียงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับร้อยละ 3 เมื่อปี 2011 ก็ส่งผล ให้อาการไม่เห็นด้วยของประชาชนชาวเยอรมันในการช่วยเหลือประเทศ สมาชิกยูโรโซนมีมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมทีเ่ ป็นเพียงความคิดเห็นผ่านโพล จนพัฒนามาสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ที่ชื่อว่า “พรรคทางเลือกเพื่อ เยอรมนี” (Alternative for Germany) ทีเ่ พิง่ เปิดตัวเมื่อมีนาคมที่ผา่ นมา 6l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
© Halifaxsxc
เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล
blogs.channel4.com
Goodbye Euro?
และพร้อมส่งตัวแทนลงสมัครเข้ารับการเลือกตั้งจากทั่วประเทศที่จะมีขึ้น ในปลายปีนี้ ภายใต้นโยบายการยกเลิกเงินสกุลยูโรและการไม่รับประกัน ภาระหนี้ของประเทศอื่นที่เป็นสมาชิก นักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ จากหลายสำ�นักต่างพากันออกความเห็นว่า ถ้าหากยังไม่มกี ารปฏิรปู เพือ่ แก้ไขปัญหาพื้นฐานที่จริงจังมากไปกว่าการช่วยเหลือประเทศที่ประสบ ปัญหาแบบเร่งด่วน เงินยูโรก็ยงั คงเป็นประเด็นโต้แย้งระหว่างกลุม่ ทีเ่ ห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ซึ่งจะทำ�ให้ค่าเงินยูโรและเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ตกอยู่ในสภาพลุ่มๆ ดอนๆ ดังเช่นปัจจุบัน แม้ไทยจะไม่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากความ ไร้เสถียรภาพของเศรษฐกิจสหภาพยุโรป เพราะในปี 2012 ที่ผ่านมา ยอด การส่งออกรวมของไทยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 3.12 จากที่ตั้งเป้าไว้ที่ ร้อยละ 5 แต่ถึงอย่างนั้น ผลกระทบดังกล่าวจะไม่ยืดเยื้อนานนัก เพราะ ตลาดสำ�คัญของไทยในปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 30 อยู่ที่จีน ญี่ปุ่น และ ประเทศอืน่ ๆ ในอาเซียน โดยกระทรวงพาณิชย์คาดว่าการส่งออกของไทย ในปีนี้อาจขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.9 เนื่องจากตลาดจีนที่ยังคงขยาย ตัวต่อเนื่อง ส่วนอาเซียนก็กำ�ลังเป็นความหวังและตลาดที่มีศัก ยภาพ ในการเติบโตสูงจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในกลุม่ ลุ่มแม่นํ้าโขงและพม่า รวมถึงการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่ จะเอื้อให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวมากขึ้น ที่มา: บทความ พาณิชย์'จ๋อยส่งออกปี 55 พลาดเป้า จบแค่ 3.12% โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ (23 มกราคม 2556) จาก thairath.co.th บทความ Germany's anti-euro party is a nasty shock for Angela Merkel โดย Ambrose Evans-Pritchard (10 มีนาคม 2556) จาก telegraph.co.uk บทความ Was the euro ever 'about to collapse'? โดย Ramy Inocencio (13 กุมภาพันธ์ 2556) จาก edition.cnn.com news.thaipbs.or.th
THE OBJECT คิดแล้วทำ�
เอเย่นต์ค้ายาเสพติดข้ามชาติ พ่อค้าอาวุธสงครามระดับโลก หรือมาเฟียผู้ไม่ปราณีต่อทุกการทำ�ลายล้าง ภาพลักษณ์เหล่านี้มัก ปรากฏอยู่ในบทบาท “ตัวร้าย” ที่ถูกหมายให้กำ�จัดด้วยฝีมือและความชาญฉลาดของเหล่าพระเอกในโลกฮอลลีวูด ตลอดระยะเวลา ร่วมร้อยปีที่ผ่านมา ผลผลิตจากอาณาจักรอุตสาหกรรมภาพยนตร์แห่งนี้ได้สร้างภาพลักษณ์ของตัวร้ายให้สะท้อนถึงความกลัวใน มิติต่างๆ ตั้งแต่สภาพสังคมและการเมือง วิกฤตการณ์ธรรมชาติ ไปจนถึงภาวะแห่งสงครามที่โลกกำ�ลังเผชิญหน้า เพื่อถ่ายทอดลง บนแผ่นฟิล์ม สื่อที่มีอิทธิพลชี้นำ�สังคมและสามารถส่งต่อวาระซ่อนเร้นสู่สาธารณชนได้นับล้าน
ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษ 1950 ที่ชนวนแห่งสงครามเย็นกำ�ลังเริ่มต้น ภาพยนตร์ฮอลลีวดู แห่งยุคหลังสงครามโลกเปลีย่ นแปลงรูปแบบจากการขาย ความเพ้อฝันและความขบขันมาสูโ่ ศกนาฏกรรมจากการล่มสลายของรัฐบาล และอันตรายจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ตัวร้ายที่ปรากฏจึงล้วนเป็นขั้วอำ�นาจ จากฝัง่ ตรงข้ามอย่างสหภาพโซเวียตและเยอรมนี ภาพยนตร์เรือ่ งแรกจาก ซีรีย์เจมส์ บอนด์ Dr. No (1962) สะท้อนความหวาดหวั่นจากเหตุการณ์ จริงที่อเมริกาต้องเผชิญการคุกคามของสหภาพโซเวียตในวิกฤตการณ์ ขีปนาวุธคิวบา (Cuban Missile Crisis,1962) ด้วยเรือ่ งราวขององค์การร้าย ที่ส่งดร.โนให้เข้ามาตั้งฐานยิงขีปนาวุธบนเกาะซึ่งไม่ห่างไกลจากอเมริกา แต่ทศวรรษต่อมาทุกอย่างก็เปลี่ยนไป เมื่อภาพตัวร้ายกลายเป็น นายตำ�รวจผูฉ้ อ้ ฉล มาเฟียบ้าอำ�นาจ ไปจนถึงพ่อค้าเฮโรอีนระดับท้องถิน่ ซึ่งล้วนเป็นผลจากความกลัวที่อเมริกามีต่อยุคล่มสลายของเมือง (Urban Decay, 1970-1980) หรือยุคเสื่อมโทรม การอพยพหนีของประชากร เนื่องจากการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นผล ส่งผลให้ที่อยู่อาศัย ร้างผู้คน อาชญากรรมจากแก๊งค์มาเฟียข้างถนนเกิดขึ้นรายวัน ซึ่งล้วน สะท้อนออกมาอยูใ่ นภาพยนตร์หลายต่อหลายเรือ่ ง ไม่วา่ จะเป็น Live and Let Die (1973), Taxi Drive (1976) หรือ Die Hard (1988) ต่อมาในปี 2001 เมื่อเหตุการณ์ 9/11 ได้สร้างความสูญเสียอย่าง มหาศาล ในขณะที่ส งครามกับ ประเทศตะวันออกกลางยังคงยืดเยื้อ ฮอลลีวดู ก็เจ็บปวดเกินกว่าจะปลุกความหวาดผวาเหล่านีม้ าใช้ได้อกี และเลือก ที่จะเดินออกห่างจากความกลัวที่ซ่อนตัวอยู่ เพื่อมุ่งสู่เส้นทางที่มีวัตถุดิบ
wantchinatimes.com
moviepilot.de
picstopin.com
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
เป็นความกลัวใหม่ทม่ี ตี อ่ ภัยพิบตั จิ ากธรรมชาติ เหตุการณ์นา้ํ มันรัว่ ในอ่าว ความบ้าคลัง่ ในลัทธิศาสนา หรือความหวาดผวาจากภาวะเศรษฐกิจตกตา่ํ จนมาถึงวันที่รสชาติความเจ็บปวดจากเหตุการณ์ต่างๆ เริ่มจางหาย ฮอลลีวูดจึงมองหาผู้ร้ายหน้าใหม่ที่หนีไม่พ้นยักษ์ใหญ่จากอีกฟากโลก อย่างจีน แต่เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและกลุ่มตลาดขนาดใหญ่ของจีนนั้นก็ ไม่เอือ้ ให้ฮอลลีวดู จะทำ�ตามใจตัวเอง เกาหลีเหนือจึงกลายมาเป็นว่าทีผ่ รู้ า้ ย หน้าใหม่คนต่อไป เห็นได้ชัดจากภาพยนตร์เรื่อง Red Dawn (2012) ที่ ต้องเปลี่ยนประเทศชนวนแห่งสงครามโลกครั้งที่สามจากจีนให้กลายเป็น เกาหลีเหนือ ด้วยเหตุผลทางธุรกิจที่ว่ากลุ่มผู้ชมชาวจีนนั้นมีขนาดใหญ่ เกินกว่าที่จะเสี่ยง ผู้สร้างจึงต้องเสียเงินอีกกว่าล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อ เพิ่มเติมบทบรรยายประวัติศาสตร์สมมติ ตัดต่อฉากใหม่ และใช้เทคนิค พิเศษเพื่อเปลี่ยนแปลงสัญลักษณ์ของจีนให้กลายเป็นเกาหลีเหนือทั้งหมด ความพอเหมาะพอดีในการปรับเปลีย่ นโฉมหน้าของผูร้ า้ ยจากฮอลลีวดู ไม่เพียงสัมพันธ์กับความหวาดกลัวของโลกที่ถูกจับมาลงจอเพื่อให้ผู้ชม ได้สัมผัสอย่างใกล้ชิด แต่ภาพยนตร์เหล่านี้ยังเป็นเครื่องมือชั้นเยี่ยมที่ บ่งบอกความรู้สึกเบื้องลึกที่อเมริกามีต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่กำ�ลังรายล้อม ประเทศ พร้อมยังเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมขนาดยักษ์ที่สร้างเม็ดเงิน จำ � นวนมหาศาลและหมั่ น ทำ � สถิ ติ ทุ บ บ็ อ กซ์ อ อฟฟิ ศ ทั่ ว โลกอยู่ เ สมอ อีกด้วย ที่มา: hypervocal.com พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา
FEATURED BOOK
DAMIEN HIRST โดย Ann Gallagher
ภาพงานอินสตอลเลชั่นอย่างการแช่ปลาฉลามในฟอร์มาลีน ผ่าวัวออก เป็นสองส่วน หรือเก็บแกะทัง้ ตัวไว้ในกล่อง อาจทำ�ให้ผคู้ นจดจำ� เดเมียน เฮิร์สต์ (Damien Hirst) ได้ไม่ยาก ศิลปินชาวอังกฤษผู้นี้มีผลงานที่ได้รับ การพูดถึงและถกเถียงในวงกว้าง และยังได้รับการบันทึกว่าเป็นศิลปินที่ มีทรัพย์สินมากที่สุดในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ผลงานศิลปะของเขาประกอบ ด้วยงานประเภทอินสตอลเลชั่น ภาพวาด งานจิตรกรรม ไปจนถึงงาน ประติมากรรม โดยประเด็นทีเ่ ฮิรส์ ต์มกั กล่าวถึงก็คอื ความตาย ซึง่ เป็นหนึง่ ในวัฏจักรชีวติ งานศิลปะของเขาจึงมีรายละเอียดเกีย่ วกับการสำ�รวจระยะ เวลาของการมีลมหายใจกับการจากไป รวมทัง้ จุดเชือ่ มต่อระหว่าง ศาสนา วิทยาศาสตร์ และศิลปะ ในขณะเดียวกันก็ตั้งใจให้เกิดความสัมพันธ์กับ บริบทของกระแสนิยม โดยใช้งานศิลปะเป็นสื่อกลางให้เกิดบทสนทนา และคำ�วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับภาพลักษณ์และความเชื่อของศาสนา New Religion (2005) เป็นหนึ่งในผลงานของเฮิร์สต์ที่ได้รับแรง บันดาลใจจากจินตนาการเรือ่ งความเชือ่ และความหวาดหวัน่ ต่อการจากไป แสดงออกผ่านหัวกะโหลกเด็กที่ถูกหล่อขึ้นจากเงิน หัวใจที่ถูกผ่าและ เจาะด้วยเข็มฉีดยา กล่องยารูปไม้กางเขน ภาพรอยบาดแผลบนร่างกาย เสมือนการถูกตรึงกางเขน ผลงานเหล่านี้แท้จริงแล้วบอกเล่าถึงความ บอบบางและการสูญสลายตัวตนของมนุษย์ ความอจีรังของร่างกาย 8l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
เลือดเนื้อ รวมถึงจิตวิญญาณ โดยโยงภาพไปที่ความทรมานซึ่งพระเยซู คริสต์ได้รับก่อนจากไป ไฮไลต์ของนิทรรศการกล่าวถึงความสัมพันธ์อัน ย้อนแยงระหว่างวิทยาศาสตร์และศาสนา ซึ่งต่างก็คล้ายคลึงกันในแง่ของ ความสามารถในการชักจูงผูค้ นและความสามารถในการรักษาและทำ�ให้ฟน้ื คืน ทัง้ ผลจากเม็ดยาทีแ่ พทย์จา่ ยให้กบั ผูป้ ว่ ยและความเชือ่ เรือ่ งปาฏิหาริย์ การรักษาโรคของศาสนา ซึง่ ถูกตัง้ ข้อสงสัยผ่านผลงานศิลปะและข้อความ สั้นๆ ที่ว่า “ทำ�ไมคนบางคนถึงได้เชื่อในยารักษาโรคได้อย่างปราศจาก คำ�ถามใดๆ แต่ไม่เชื่อในศิลปะ” หนังสือ Damien Hirst รวบรวมผลงานผ่านความคิดและความเชื่อ ของเฮิร์สต์ นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าเขาอาจจะกำ�ลังเดินตามรอยเท้า ของศิลปินชื่อก้องอย่างแอนดี้ วอร์ฮอล (Andy Warhol) และซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali) ผู้ซึ่งหลงใหลในจินตนาการเกี่ยวกับศาสนาและ สร้างงานศิลปะเกี่ยวกับความเชื่อและความย้อนแยง หลังจากการตาย ของวอร์ฮอล ผู้คนจึงได้ค้นพบว่าแท้จริงแล้วเขาเป็นผู้ที่นับถือและรับใช้ ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกอย่างเคร่งครัด แต่กระทำ�อย่างลับๆ ภายใต้ ฉากของมหานครนิวยอร์ก ใครกันเหล่าจะล่วงรู้ชีวิตเบื้องหลังของคนอีก คนหนึ่ง และใครกันเหล่าจะล่วงรู้เหตุผลที่แท้จริงที่เฮิร์สต์สร้างผลงานที่มี ผลทางลบต่อวงการศาสนาเช่นนี้
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
BOOK
DVD
DATABASE
HOLD EVERYTHING DEAR โดย John Berger
50/50 กำ�กับโดย Jonathan Levine
WGSN
จอห์น เบอร์เจอร์ (John Berger) เป็นหนึ่งใน นักเขียนที่นำ�เนื้อหาจากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิด ขึ้นหลังเหตุโศกนาฏกรรม 9/11 มาถ่ายทอดได้ อย่างน่าสนใจ ภายใต้การศึกษาเนือ้ หาวัฒนธรรม ระหว่างประเทศ ในหนังสือเล่มนี้เขาได้ผสาน บทบาทความเป็นศิลปินและนักกิจกรรมทางการ เมืองเข้าด้วยกัน เพือ่ ทำ�ความเข้าใจสถานการณ์ ต่างๆ บนโลก โดยอธิบายจุดเริม่ ต้นของกระบวน การก่อการร้ายและจุดก่อความสิน้ หวังอย่างลึกซึง้ ทีผ่ ลักดันให้มนั ประสบความสำ�เร็จ ขณะเดียวกัน ก็กล่าวถึงสภาวะยากไร้ด้านความเป็นอยู่ของ คนไร้บ้านอีกหลายล้านชีวิต ที่ถูกความจนและ สงครามบีบบังคับจนทำ�ให้ต้องลี้ภัย เบอร์เจอร์ ยังกล่าวถึงอัฟกานิสถาน อิรัก ปาเลสไตน์ เซอร์เบีย บอสเนียจีน อินโดนีเซีย ที่ซึ่งผู้คนอยู่ อย่างอัตคัดและมีเสรีภาพไม่เท่าเทียมกัน เขา ถ่ายทอดความรู้สึกทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นทั่วโลก ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งยังนำ�เสนอวิธีแก้ไขที่ อาจช่วยให้สถานการณ์เหล่านั้นไปถึงจุดจบที่ สวยงามมากขึ้นได้
การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐเป็นมาตรวัด ความสุขและระดับคุณภาพชีวิตของคนในทุก ระดับ อดัม ชายหนุม่ วัย 27 ปีผมู้ ชี วี ติ เรียบง่าย และกำ�ลังเริ่มต้นวางรากฐานเรื่องความรักและ การงาน จะทำ�อย่างไรเมือ่ ผลการตรวจร่างกาย ครั้งล่าสุดแจ้งว่าเขาเป็นโรคมะเร็งไขสันหลัง ประเภทหายากและมีโอกาสรอดชีวิตเพียงครึ่ง ต่อครึ่งเท่านั้น ภาพยนตร์ไม่ได้พยายามเล่าถึง ความทุกข์และการใช้ชว่ งเวลาเจ็บป่วยให้ผา่ นไป อย่างไร้หวัง แต่กลับถ่ายทอดวิธีตั้งรับกับสิ่งที่ ไม่คาดคิดและการเตรียมใจของมนุษย์ธรรมดา คนหนึ่ง พร้อมสร้างสมดุลด้วยบทภาพยนตร์ ที่สนุกและขบขัน แม้ดูเหมือนว่าภาพยนตร์จะ สื่อสารผ่านตัวละครหลักเพียงฝ่ายเดียว แต่อัน ที่จริงก็ครอบคลุมถึงตัวละครอื่น ทั้งเพื่อนสนิท คนรัก ครอบครัว กระทั่งที่ปรึกษาทางด้าน จิตวิทยา ในภาวะทีช่ วี ติ ใกล้ถงึ ทางตัน บ่อยครัง้ อาจนำ�มาซึง่ คำ�ตอบของการตัดสินใจอย่างสุดขัว้ ในชีวติ เพือ่ ตั้งความหวังและเป้าหมายใหม่กบั ตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเรือ่ งทีเ่ คยมองข้าม มาโดยตลอด
เมือ่ กระแสความต้องการของผูบ้ ริโภคแปรเปลีย่ น ไปทุกขณะ สิง่ ใดจะเป็นหลักประกันและสร้างความ มั่นใจได้ว่าสินค้าที่ผลิตออกมาจะขายได้หรือไม่ และตรงกับความต้องการของผู้บริโภคมากน้อย แค่ไหน โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางผู้มีกำ�ลังซื้อ สำ�คัญ และเป็นกลุม่ ผูบ้ ริโภคกลุม่ ใหญ่ทใ่ี ห้ความ สำ�คัญกับการเป็นส่วนหนึ่งของกระแสแฟชั่น "เทรนด์" จึงนับเป็นคำ�เด่นทีเ่ กิดจากความกลัวทีจ่ ะ ขายไม่ได้ และเป็นความหวังรวมถึงแนวทางสำ�หรับ อนาคตในการผลิตสินค้าให้ตรงใจผูบ้ ริโภค WGSN ฐานข้อมูลออนไลน์ถือเป็นเครื่องมือใหม่ส�ำ หรับ ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมแฟชั่น ซึ่งโดดเด่นด้วย ความฉับไวในการอัพเดตข้อมูลอย่างรอบด้าน ตั้งแต่การคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต ธุรกิจ ร้านค้า สตรีทแฟชัน่ รวมถึงธุรกิจสร้างสรรค์ ซึง่ ปัจจัยเหล่านีจ้ ะเป็นตัวช่วยสำ�คัญในการวางแผน การตลาด การเพิม่ ความรวดเร็วในการตัดสินใจ ผลิต และช่วยลดความเสี่ยงที่จะขายไม่ได้ใน สายพานการผลิต
พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
นวัตกรรมสิ่งทอ สร้างสมดุลในร่างกาย
© Celliant
เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ปัจจุบันผู้คนใส่ใจรายละเอียดในการดำ�รงชีวิตมากยิ่งขึ้น เห็นได้จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาให้ความสำ�คัญเรื่องคุณภาพสินค้า เป็นอันดับต้นๆ สิ่งทอทุกวันนี้จึงไม่ได้คำ�นึงแค่ความสวยงามหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งาน หากแต่ใส่ใจตั้งแต่กระบวนการผลิตซึ่ง จะส่งผลต่อผู้ใช้โดยตรง ทั้งเรื่องความปลอดภัยจากสารเคมี รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม และที่สำ�คัญคือการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษใน การรักษาหรือบำ�บัดความเจ็บป่วย
ความตื่นตัวเรื่องสุขภาพผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยหันกลับมาใช้ เส้นใยธรรมชาติเพิม่ มากขึน้ ส่งผลให้ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์ทเ่ี ป็นสิง่ ทอ ธรรมชาติหลากหลาย และหนึง่ ในนัน้ คือผ้าทอมือจากไหมทีม่ สี ว่ นประกอบ ของถ่านจากเปลือกถั่วแมคคาเดเมีย ซึ่งผ่านการคิดค้นและพัฒนาโดย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลิตจากเส้นไหม 50% และ เส้นใยโพลีโพรพิลีนที่มีส่วนผสมของถ่านแมคคาเดเมีย 50% ทำ�ให้มี คุณสมบัติการดูดซับกลิ่นในตัว ช่วยระบายอากาศ ลดกลิ่นอับ ต้านทาน ต่อแบคทีเรียและไฟฟ้าสถิต นอกจากนี้ ยังมีคุณสมบัติในการแผ่รังสี อินฟราเรดชนิดความยาวคลื่นสูงซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการสั่นของโมเลกุล นํ้าและสารต่างๆ ในร่างกายให้เคลื่อนที่ได้เร็วขึ้น ทำ�ให้การไหลเวียน ของเลือดเพิ่มขึ้น และช่วยฟื้นฟูเซลล์ในร่างกาย สิ่งทอชนิดนี้จึงเหมาะ สำ�หรับนำ�มาผลิตเป็นเสื้อกีฬา ถุงมือ ถุงเท้า ผ้าพันคอ หรือผ้ารัดข้อเข่า เพราะจะสามารถบรรเทาอาการปวดเมื่อยได้เป็นอย่างดี การปรับเปลีย่ นจากการสังเคราะห์มาเป็นสกัดหรือเพิม่ คุณสมบัตดิ ว้ ย วัสดุธรรมชาติ เป็นอีกหนึง่ นวัตกรรมทีช่ ว่ ยพัฒนาสิง่ ทอให้มปี ระสิทธิภาพ ยิง่ ขึน้ บริษทั ในยุโรปได้มกี ารนำ�ส่วนผสมของคาเฟอีน เรตินอล กรดไขมัน ว่านหางจระเข้ และวิตามินอี มาผสมลงในเส้นใยโดยใช้เทคโนโลยีไมโคร เอนแคปซูเลชัน่ (Micro-Encapsulation) ซึง่ มีขนาดเล็กในระดับไมโครเมตร และจะค่อยๆ ปล่อยสารสกัดดังกล่าวเมือ่ เกิดการขัดถูและเสียดสีจากการ สวมใส่ สามารถเพิ่มการดูดซึมออกซิเจนของเนื้อเยื่อต่างๆ และทำ�ให้ 10 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
ร่างกายเผาผลาญไขมันได้เร็วขึ้น ประกอบกับมีเส้นใยโพลีเอไมด์ไมโคร ไฟเบอร์และอีลาสเทน (ไลครา) ที่ทำ�ให้เนื้อผ้าบางเบาและระบายอากาศ ได้ดี ต้านทานรังสียูวีได้ จึงเหมาะสำ�หรับทำ�ชุดชั้นในและชุดกีฬา นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมสิ่งทอที่มีคุณสมบัติปรับสมดุลในร่างกาย ได้อย่างเส้นใยโพลีเอสเตอร์ที่มีส่วนผสมของอนุภาคนาโนของแร่ธาตุ ซึ่ง เมื่อนำ�มาทอเป็นเครื่องแต่งกายและเครื่องนอนจะช่วยปรับอุณหภูมิและ เพิ่มปริมาณออกซิเจนภายในร่างกายได้ ทั้งยังช่วยสะท้อนความร้อนจาก ร่างกายและส่งผ่านพลังงานแสงสว่างในสภาพแวดล้อมเข้าสู่ร่างกายได้ ทำ�ให้รู้สึกสบาย ช่วยบำ�บัดและผ่อนคลายความเครียด ซึ่งผลการทดสอบ ทางการแพทย์ระบุวา่ เส้นใยนีม้ ปี ระสิทธิภาพในการบรรเทาความเจ็บปวด ทำ�ให้รา่ งกายฟืน้ ตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้นอนหลับได้ดขี น้ึ ช่วยเสริมสร้าง สมรรถนะทางกีฬา และทำ�ให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้นได้ เมื่อเทคโนโลยีถูกนำ�มาใช้อย่างถูกที่ถูกทาง ความหวังที่จะได้เห็น นวัตกรรมสิ่งทอ ที่เพียงสวมใส่ก็ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย บรรเทา อาการเจ็บป่วย หรือแม้แต่ช่วยยืดอายุของผู้สวมใส่ จึงไม่ได้เป็นเพียง ความหวังอีกต่อไป เพราะวันนี้และวันข้างหน้าเส้นใยบางเบาที่ใช้ปกคุลม ร่างกาย อาจกลายเป็นเกราะกำ�บังที่ช่วยให้มนุษย์รอดพ้นจากอันตราย ต่างๆ ได้อย่างแท้จริง ที่มา: celliant.com, materialconnexion.com
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจและสังคมโลก ภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งความเชื่อมั่นในสถาบันการเงินและค่าเงินสกุลหลักที่ลดลง ทองคำ�กลับเป็นสินทรัพย์ที่ยังคงมีมูลค่าที่แท้จริงในตัวเอง และเป็นแหล่งที่พักพิงทางการเงินที่ทุกคนปรารถนาจะถือครองในภาวะที่ เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน เปรียบได้เหมือนดัชนีชี้วัดความกลัวและความหวังในจิตใจของผู้คนได้อย่างดีตลอดมา • มนุษย์รู้จักนำ�ทองคำ�มาใช้เป็นเครื่องประดับตั้งแต่ 5,000 ปีก่อน แร่โลหะสีเหลืองสุกปลั่งแวววาวนี้มี ความคงทน ไม่ผุกร่อน และไม่เป็นสนิมเพราะไม่ทำ� ปฏิกริ ยิ ากับออกซิเจน จึงได้รบั การยอมรับว่าเป็นโลหะ มีค่าและสามารถนำ�มาตีราคาเพื่อซื้อขายแลกเปลี่ยน กับสินค้าอืน่ เหรียญทองคำ�แท้เหรียญแรกถูกประดิษฐ์ ขึ้นเมื่อ 560 ปีก่อนคริสตกาลโดยชาวลิเดียน ซึ่งเป็น ชนชาติแรกของโลกที่คิดประดิษฐ์เหรียญกษาปณ์ขึ้น ใช้ในการค้า
• ชาวอียิปต์โบราณเป็นชนชาติที่มีความเชี่ยวชาญ และนำ�แร่ทองคำ�มาใช้อย่างแพร่หลายทีส่ ดุ โดยนำ�มา หลอมรวมกับโลหะอื่นๆ เพื่อให้มีความแข็งแรงและ ปรับเปลีย่ นเป็นเฉดสีตา่ งๆ นอกจากนีย้ งั คิดค้นกรรมวิธี หล่อขึน้ รูปทองคำ�ด้วยขีผ้ ง้ึ ทีเ่ รียกว่า “Lost-Wax Casting” ซึง่ เป็นหัวใจของการทำ�อัญมณีและเครือ่ งประดับจวบจน ทุกวันนี้
• การขุดหาทองคำ�นํ้าหนักเพียงหนึ่งบาทจำ�เป็นต้อง ขนย้ายหินและสินแร่มากกว่า 100 ตัน อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำ�ให้ทองคำ�มากกว่าครึ่งหนึ่ง ของโลกถูกสกัดออกมาใช้ภายในเวลา 50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเท่ากับว่าโอกาสที่จะค้นพบแหล่งแร่ทองใหม่ๆ ก็ ลดลงมากเช่นกัน
RBIS
©
เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
• บทบาทสำ�คัญของทองคำ�ในระบบการเงินโลกเริ่ม ขึ้นเมื่อมีการบังคับใช้ “ระบบมาตรฐานทองคํา (Gold Standard)” ในยุโรปและประเทศอาณานิคมช่วงทศวรรษ 1870 โดยใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed Exchange Rate) และมีทุนสํารองเป็นทองคําเพียง อย่า งเดียว จนกระทัง่ เกิดสงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ ระบบ มาตรฐานทองคำ�จึงล่มสลายลง
CO lka/
s Ku
ทองคำ� • มากกว่าครึ่งหนึ่งของทองคำ�ที่หมุนเวียนในตลาด โลกถูกใช้ในอุตสาหกรรมเครือ่ งประดับ โดยในปี 2012 ผู้บริโภคทองคำ�รายใหญ่ที่สุดของโลกคืออินเดียและ จีนที่จำ�นวน 864.2 ตัน และ 776.1 ตัน ตามลำ�ดับ
• ทองคำ�เปลว (Gold Leaf) ได้จากการนำ�ทองมาตีให้ เป็นแผ่นบาง 0.0001 มิลลิเมตร ใช้ตกแต่งอาหารและ เครือ่ งดืม่ เพือ่ เพิม่ สีสนั และมูลค่า สามารถรับประทาน ได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย
• หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อุปสรรคด้าน การค้าและพัฒนาประเทศจากการไม่มีระบบการเงิน ร่วมกันทำ�ให้ 44 ประเทศทั่วโลก จัดประชุมเพื่อ กำ�หนดระบบอั ตราแลกเปลี่ ยนเงิ น ตราแบบคงที่ ที่ เรียกว่า ”ระบบเบรตตัน วูดส์ (Bretton Woods System)” โดยให้เงินเหรียญสหรัฐฯ เป็นเงินสกุลหลักของโลก (Dollar-Based System) และกำ�หนดค่าเสมอภาคไว้ ที่ 35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อทองคำ�บริสทุ ธิ์ 1 ทรอยเอานซ์ (1 ทรอยเอานซ์ = 31.1 กรัม) โดยมีเพียงเงินเหรียญ สหรัฐฯ เท่านั้นที่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นทองคำ�ได้ ประเทศอื่นๆ ต้องกำ�หนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่เมื่อ เทียบกับเหรียญสหรัฐฯ และรักษาค่าเสมอภาคนี้ไว้ ไม่ให้เคลื่อนไหวขึ้นลงเกินร้อยละ 1
thia Mat
• ประธานาธิบดีนิกสัน (Richard Nixon) ประกาศ ยกเลิกการรับแลกเปลีย่ นเงินเหรียญสหรัฐฯ เป็นทองคำ� ในปี 1971 เนื่องจากเศรษฐกิจทั่วโลกมีการขยายตัว อย่างรวดเร็วหลังสงครามโลก ทำ�ให้ความต้องการเงิน เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นเงินสกุลหลักเพิ่มมากขึ้น แต่ ทองคำ�ซึ่งหนุนหลังค่าเงินกลับมีจำ�กัด ระบบเบรตตัน วูดส์จึงล่มสลายและเป็นจุดเริ่มต้นของ “ระบบอัตรา แลกเปลี่ยนลอยตัวแบบจัดการ” ซึ่งประเทศส่วนใหญ่ ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบทบาทในฐานะ สินทรัพย์หนุนค่าเงินของทองคำ�จะจบลง แต่การสะสม ทองคำ�ในฐานะสินทรัพย์สำ�รองระหว่างประเทศก็ยัง คงมีอยู่ • หลายปีมานี้ ความตื่นตัวเรื่องการลงทุนในตลาด ทองคำ�ในประเทศมีเพิ่มมากขึ้น โดยมีการตั้งกองทุน รวมสำ�หรับทองคำ� การนำ�เสนอรายการแนะนำ�การ ลงทุนจากสื่อมวลชน ไปจนถึงการจัดตั้งตลาดซื้อขาย ทองคำ�ล่วงหน้าในปี 2009 ที่มา: บทความ The History of Gold โดย National Mining Association จาก nma.org bloomberg.com, komkid.com, numbersleuth.org พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 11
COVER STORY เรื่องจากปก
ความแปรปรวนสร้างความเปลี่ยนแปลง
นอกจากบรรยากาศที่เคร่งขรึมของโชว์แล้ว สีดำ�และสไตล์ที่บ่งบอกถึง ความแกร่งแบบมาสคิวลีน (Masculin - การแต่งกายที่หยิบยืมสไตล์ของ ผู้ชายมาใช้) ก็ตามมาประกบให้เห็นว่าความหวานชืน่ ได้จากไปแล้วในห้วง เวลานี้ ที่มิลานแฟชั่นวีก ขณะที่กุชชี่ (Gucci) เล่นกับความดำ�มืดของฤดู ใบไม้ร่วงและแรงบันดาลใจจากศิลปินป็อปอาร์ตของอังกฤษอย่างอัลเลน โจนส์ (Allen Jones) ด้านโดลเช่ แอนด์ กับบานา (Dolce&Gabbana) ก็ได้หันไปหยิบยืมศิลปะยุคไบแซนไทน์ ซึ่งเป็นศิลปะคริสเตียนยุคแรกที่ นำ�เสนอเรือ่ งราวเกีย่ วกับศาสนจักร วิหาร พิธเี จิมนํา้ ศักดิส์ ทิ ธิ์ การสวดมนต์ ขอพร และภาพปาฏิหาริย์ของพระผู้เป็นเจ้าที่นำ�มาจากพระคัมภีร์เก่า และใหม่ ส่วนปารีสแฟชั่นวีกที่เกิดขึ้นต่อมาในเวลาอันใกล้ในสภาวะเศรษฐกิจ ที่ยังคงฝืดเคือง ทำ�ให้ห้องเสื้อขนาดเล็กต่างถอนตัวจากการร่วมโชว์บน แคตวอล์ก เพราะในแต่ละฤดูกาลห้องเสื้อต่างๆ ต้องเสียค่าใช้จ่ายราว 75,000 เหรียญสหรัฐฯ หรือราวสองล้านกว่าบาทเพื่อเข้าร่วมบนโชว์ระดับ โลกนี้ และในขณะที่หลายปีที่ผ่านมาห้องเสื้อโอต์ กูตูร์ (Haute Couture) หรือ ไฮ-แฟชั่น (High-Fashion) ทั้งหลายได้หันมาแตกไลน์จบั กลุม่ ตลาด ระดับกลางเพื่อสร้างยอดขายให้มีมูลค่าสูงขึ้น แต่ในปีนี้ เอช แอนด์ เอ็ม (H&M) สตรีทแฟชั่นแบรนด์ดังจากสวีเดนกลับลุกขึ้นมาทำ�แฟชั่นโชว์บน รันเวย์ระดับโลกเป็นครั้งแรกท่ามกลางเหล่าไฮ-แฟชั่นที่กำ�ลังอ่อนล้า ซึ่ง แน่นอนว่าเอช แอนด์ เอ็มได้รับเสียงตอบรับเกินความคาดหมาย เพราะ ความพอดิบพอดีที่ไม่เกินจริงและราคาที่เป็นไปได้ นอกจากนี้ ปารีส แฟชั่นวีกยังปลาบปลื้มกับโชว์ของดรีส แวน โนเทน (Dries van Noten) ดีไซเนอร์ชาวเบลเยียมไม่แพ้กัน ซึ่งแม้ ดรีส แวน โนเทนจะทำ�โชว์เพื่อ รันเวย์ใหญ่ แต่ก็ปฏิเสธแนวคิดของห้องเสื้อโอต์ กูตูร์ที่มักเน้นการทุ่มทุน สร้างเพื่อนำ�ไปสู่สิ่งที่ขายไม่ได้จริง ปฏิกิริยาของโลกแฟชั่นกำ�ลังนำ�เสนอ หนทางบำ�บัดความหวาดหวัน่ ของโลกอุตสาหกรรม เพราะยอดขายสินค้า และบริการของพวกเขาพึ่งพิงอยู่กับอารมณ์ด้านการจับจ่ายของผู้คน เป็นหลัก การปรับตัวเพือ่ ทิศทางใหม่ทส่ี อดรับกับความนิยมจึงเป็นทางเลือก ที่ชาญฉลาด และไม่ใช่แค่เพียงโลกแห่งแฟชั่นเท่านั้น ศาสนจักรและการบริหาร ประเทศที่ยิ่งใหญ่ก็จำ�ต้องสร้างศรัทธาใหม่เช่นกัน ที่นครรัฐวาติกัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่หนึ่ง พระสันตะปาปาองค์ใหม่ที่ได้รับ การแต่งตัง้ ขึน้ ท่ามกลางปัญหาและมรสุมข่าวลือทีร่ มุ เร้าศาสนจักร ทัง้ ข่าว การล่วงละเมิด ทางเพศของพระสงฆ์ ความแตกแยกภายในวาติกัน ปัญหาการคอร์รัปชั่น และจำ�นวนศาสนิกชนโรมันคาทอลิกที่ก�ำ ลังลดลง
© Alessandra Benedetti/Alessandra Benedetti/Corbis
ที่แคตวอล์กของปารีสแฟชั่นวีกและมิลานแฟชั่นวีกประจำ�ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวปี 2013-2014 แบรนด์ระดับโลกต่างพร้อมใจกัน ตกอยู่ภายใต้เงาของความทึมทึบของเศรษฐกิจยุโรปซึ่งล้วนแต่เคยเป็นลูกค้าชั้นยอด
คาดหวังว่าจะสามารถปรับภาพลักษณ์ของคริสตจักรโรมันคาทอลิกให้ ดำ�รงอยู่ร่วมกับโลกปัจจุบันได้อย่างราบรื่น เนื่อ งจากตามประวัติของ พระองค์แล้ว ทรงอยู่ในกลุ่มของนักปฏิรูปคริสตจักรที่ทรงให้ความสำ�คัญ กับปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศและทรงต่อต้านการรักร่วมเพศอย่าง เปิดเผย ขณะเดียวกันก็ได้รับการยกย่องอย่างสูงเรื่องการใช้ชีวิตอย่าง สมถะ โดยเห็นได้จ ากความเป็นอยู่ในที่พำ�นักซึ่งเป็นอพาร์ต เมนต์ ขนาดเล็ก และยังทรงเดินทางโดยรถเมล์และรถไฟใต้ดินเป็นประจำ� ดังนั้น พระสันตะปาปาองค์ใหม่จึงเปรียบเสมือนตัวแทนที่จะกอบกู้วิกฤต ศรัทธาคืนแก่วาติกนั และเผยแผ่ให้ผู้คนได้ยึดมั่นและนับถือในหลักคำ�สอน ตามนิกายโรมันคาทอลิกให้เพิ่มขึ้นได้ การเรียกคืนความเชือ่ มัน่ ด้วยการเปลีย่ นแปลง เกิดขึน้ กับมหาอำ�นาจ เศรษฐกิจที่เรืองรองที่สุดในโลกเช่นกัน ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับการเริ่มต้น บนรันเวย์ที่ปารีสและเสียงภาวนาและสรรเสริญที่วาติกัน ที่โตเกียว นายก รัฐมนตรีซินโซะ อาเบะ (Shinzo Abe) ได้ประกาศนโยบายปฏิรูป เศรษฐกิจที่ได้รับการเรียกขานว่า “อาเบะโนมิ ก ส์ (Abenomics)” เพื่ อ กระตุ้ น เศรษฐกิ จ อั น หงอยเหงาของประเทศให้ ก ลั บมายื น อยู่ บ น แถวหน้าอีกครัง้ ซึง่ เป็นการปฏิรปู โครงสร้างการใช้จา่ ยงบประมาณภาครัฐ ผ่านมาตรการกระตุน้ ทางการเงินและการคลัง เพือ่ นำ�ไปสูก่ ารทำ�ลายภาวะ เงินฝืดในประเทศญี่ปุ่น เช่นเดียวกับที่มหาศาลาประชาชน กรุงปักกิ่ง ที่สี จิ้นผิง (Xi Jinping) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ ได้รับการแต่ง ตั้ ง ให้ ดำ � รงตำ � แหน่ ง ประธานาธิ บ ดี ค นใหม่ ข องประเทศจี น อย่ า งเป็ น ทางการ แทนหู จิ่นเทา (Hu Jintao) จากข้อสรุปของที่ประชุมสภา ประชาชนแห่งชาติจีน ครั้งที่ 12 ซึ่งบรรดานักวิเคราะห์การเมืองเคย กล่าวแสดงความเห็นต่อผู้นำ�คนใหม่ว่า เป็นผู้นำ�ที่มีบุคลิกเรียบง่าย เป็น กันเอง แตกต่างไปจากเลขาธิการพรรคฯ คนก่อนๆ ทีต่ อ้ งการพิธกี รรมที่ พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 13
© Lan Hongguang/Xinhua Press/Corbis
COVER STORY เรื่องจากปก
สมเกียรติในการปรากฏตัวต่อสาธารณะ อาทิ การเดินทางไปตรวจเยี่ยม เซินเจิ้น สัญลักษณ์แห่งความมั่งคั่งของการดำ�เนินนโยบายเปิดประตู ของเติ้ง เสี่ยวผิง และเป็นการเดินทางตรวจการณ์ครั้งแรก หลังจาก ที่เขาได้ครองตำ�แหน่งเลขาธิการพรรค และสิ่งที่ประทับใจประชาชนมาก ทีส่ ดุ ของสี จิน้ ผิงก็คอื การทีเ่ ขาได้สง่ั การให้การเดินทางเป็นไปอย่างเงียบๆ ห้ามไม่ให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นปูพรมแดง และจัดงานเลี้ยงใหญ่โต ผู้นำ�พรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐบาลชุดใหม่นั้น ต้องการปฏิรูป ภาพลักษณ์ประเทศเพื่อเร่งกอบกู้ความเชื่อมั่นจากทั้งในและนอกประเทศ ทั้งจากปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม และ การสร้างสมดุลของเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะทิศทางการพัฒนา เศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการเป็นโรงงานผลิตของโลกเมื่อทศวรรษก่อนที่ได้นำ� มาซึ่งปัญหาแรงงานในปัจจุบัน เพราะความจริงในวันนี้ก็คือ สถานการณ์ การตกงานของบั ณ ฑิ ต ปริ ญ ญาตรี มี อั ต ราสู ง กว่ า คนที่ จ บชั้ น ประถม ด้วยซํ้าไป โดยหนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล รายงานว่าในปี 2011 หนุม่ สาวจีนอายุระหว่าง 21-25 ปี ซึง่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขน้ึ ไป มีอัตราตกงานมากกว่าร้อยละ 16 ขณะที่ผู้ที่จบมัธยม 3 และ มัธยม 6 มี อัตราตกงานเท่ากันคือร้อยละ 8 และผู้จบชั้นประถมมีอัตราตกงานน้อย ที่สุดคือร้อยละ 4 ปรากฏการณ์ทเ่ี กิดขึน้ กับบัณฑิตจีนทัว่ ประเทศนี้ สาเหตุส�ำ คัญมาจาก 14 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2556
การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วซึ่งทำ�ให้เกิดความต้องการแรงงาน ราคาถูกเป็นจำ�นวนมาก แต่ขณะเดียวกัน ตลอดทศวรรษที่ผ่านมารัฐบาล ก็ส่งเสริมให้ประชาชนมุ่งสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษา จนปัจจุบัน มีผู้จบปริญญาตรีมากกว่า 6 ล้านคนต่อปี โดยบัณฑิตเหล่านีม้ คี วามหวัง ว่าจะได้ทำ�งานในภาครัฐวิสาหกิจหรือราชการตามค่านิยมที่ถูกปลูกฝัง แต่ความจริงที่น่าตกใจก็คือ ปัจจุบันหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ จีนปฏิเสธที่จะรับบุคลากรเพิ่มเพราะอยู่ระหว่างการปฏิรูปองค์กร และ เมื่อค่านิยมของคนรุ่นใหม่ในจีนสวนทางกับคนหนุ่มสาวในกลุ่มประเทศ พัฒนาแล้วที่ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือประกอบอาชีพอิสระ นัน่ จึง อาจก่อให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระยะยาว เพราะจะทำ�ให้ ภาคการผลิต โดยเฉพาะในส่วนของนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ ของเอกชนจีนไม่ลื่นไหลและเติบโต ด้วยเหตุนี้ความใหญ่โตของปัญหา ที่รัฐบาลชุดใหม่ของจีนต้องแบกรับ จึงต้องการวิธีบริหารการเติบโตทาง เศรษฐกิจด้วยการสร้างโอกาสที่หลากหลายและมั่นคงพอสำ�หรับคน ทุกกลุ่มนั่นเอง ความบีบคั้นกับสถานการณ์ที่ล่อแหลม บางครั้งได้นำ�มาซึ่งความ ชัดเจนที่จะเดินหน้าต่อไป โลกของแฟชั่น โลกของศาสนจักร โลกของ การเมืองและการบริหารได้ทำ�ให้เห็นแล้ว และที่สำ�คัญความเปลี่ยนแปลง นี้อาจได้นำ�มาซึ่งวิธีคิดที่จะชื่มชมกับอนาคตใหม่อีกด้วย
COVER STORY เรื่องจากปก
เมื่อจีนใช้ยาแรง
ก่อนเข้ารับตำ�แหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของสี จิ้นผิง ที่ประชุมสมัชชาประชาชน แห่งชาติจีนแถลงการณ์ว่า รัฐบาลจีนกำ�ลังเตรียมปรับโครงสร้างรัฐบาลใหม่ด้วย การยุบรวมบางกระทรวงและบางหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ประชาชน และการลดความวิตกกังวลของคนจีนรุ่นใหม่ต่อการบริหารประเทศที่ กำ�ลังอยู่ในช่วงเวลาของการเติบโตทางเศรษฐกิจ ่ถูกยุบรวมล้วนเป็นหน่วยงานที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากสังคม *และมีหน่ปวยงานที ัญหาการคอร์รัปชั่นเรื้อรัง เช่น กระทรวงการรถไฟ ซึ่งมีปัญหาสะสมทั้งเรื่อง
ทุจริตและภาวะหนี้จากการลงทุนรถไฟความเร็วสูงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำ�ให้รัฐบาลจีน ต้องเตรียมแปรรูปกิจการรถไฟเพื่อให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน การรวมคณะกรรมการวางแผนครอบครัวเข้าไว้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อ ปรับปรุงการทำ�งานด้านสิทธิมนุษยชนให้เป็นสากล โดยเฉพาะเมื่อหลังจากเกิดกรณี หน่วยการวางแผนครอบครัวถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าพยายามบังคับให้หญิงสาวที่ ตั้งครรภ์ไปทำ�แท้งเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายอัตราการเกิดที่กำ�หนดไว้ การเพิ่มอำ�นาจหน้าที่แก่หน่วยงานด้านการกำ�กับดูแลอาหารและยา หลังจาก เกิดเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารและยาที่ผลิตในจีนมากมาย
* *
การปรับโครงสร้างภายในรัฐบาลดังกล่าวนับเป็นการเปลี่ยนแปลงภายในครั้งใหญ่ ที่สุดนับตั้งแต่ปี 1998 ที่สำ�คัญคือ เป้าหมายในการปฏิรูปโครงสร้างการบริหาร ประเทศที่มาพร้อมกับคณะผู้บริหารใหม่นั้นมีทิศทางที่ชัดเจนนั่นคือการปฏิรูปเพื่อ เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับคนจีนและกลุ่มลูกค้าของจีนทั่วโลกนั่นเอง
การตอกยํ้าภาพอนาคตของเศรษฐกิจที่จับต้องได้จะชัดเจนขึ้น โดย ตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดคือการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 เพราะขนาดตลาดที่ใหญ่โตกว่า 600 ล้านคน ระบบเศรษฐกิจ ที่มีมูลค่ากว่า 60 ล้านล้านบาท แรงงานกว่า 300 ล้านคน และพื้นที่เพาะ ปลูกรวมกว่า 400 ล้านไร่ และถ้ารวมการเชือ่ มต่อกับจำ�นวนประชากรจีน นั่นหมายถึงโอกาสที่จะเข้าถึงประชากรเอเชียได้กว่า 1,300 ล้านคน บนสมมติฐานขนาดเศรษฐกิจที่น่าอิ่มเอมใจนี้ รัฐบาลจีนได้ตัดสินใจ ที่จะทำ�การบางอย่างอย่างห้าวหาญนั่นคือ การวางเส้นทางรถไฟใหม่เพื่อ เชื่อมต่อจีนเข้ากับภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยุโรป ด้วยจุดมุง่ หมายเพือ่ สร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ผา่ นการขนส่งทาง ระบบราง และลดการพึง่ พาการขนส่งโดยนํา้ มันจากอากาศยานและรถยนต์ ซึ่งนับวันจะต้องแบกต้นทุนสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ระบบรางจะเชื่อมต่อ ภูมิภาคเข้ากับภูมิภาค เมืองกับเมือง กระทั่งสถานีกับสถานี อันจะทำ�ให้ ทุกชุมชนที่รถไฟหยุดหรือผ่านนั้นได้รับความเจริญในระดับใกล้เคียงกัน จากความหลากหลายของธุรกิจตามเส้นทางรถไฟ ทั้งในด้านการผลิต และบริการ การขนส่ง รวมถึงการท่องเที่ยว
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ, 11 มีนาคม 2556
เชื่อมต่อสู่ความหวัง เมื่อต้นปีที่ผ่าน มีรายงานวิจัยของ Atlantic Council เรื่อง Global Trend 2030: Alternative Worlds ที่คาดการณ์ถึง โลกในอีก 18 ปีข้างหน้าว่าจะมีการเปลี่ยนโฉมหน้าไป ทั้งจาก การใช้อำ�นาจทางการเมือง เศรษฐกิจ และกำ�ลังซื้อของตลาดผู้ บริโภค กล่าวคือ ขั้วอำ�นาจของโลกจะเปลี่ยนจากการที่สหรัฐฯ เป็นมหาอำ�นาจใหญ่เพียงประเทศเดียว กลายเป็นการกระจาย ขั้ ว อำ � นาจผ่ า นความร่ ว มมื อ ในรู ป แบบของพั น ธมิ ต รระหว่ า ง ประเทศต่างๆ
© Li Bo/Xinhua Press/Corbis
ขณะที่ด้านเศรษฐกิจโลก ขนาดของเศรษฐกิจเอเชียจะมีขนาดใหญ่กว่า เศรษฐกิจของอเมริกาเหนือและยุโรปรวมกัน โลกจะพึ่งพาเศรษฐกิจของ กลุ่มประเทศที่กำ�ลังพัฒนามากกว่ากลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และ คาดการณ์ว่าประชากรโลกราวร้อยละ 60 จะอาศัยอยู่ในเมืองเพราะ ความเจริญได้ปูทางสู่การเกิดขึ้นของเมืองใหม่ๆ และชนชั้นกลางจะมี จำ�นวนเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว เนือ่ งจากผูค้ นได้รบั การศึกษาดีขน้ึ มีเทคโนโลยี ทันสมัย และเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้น พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
เยอรมนี GERMANY โปแลนด POLAND
ต เบลารุส เบBรRสEST BELARUS รา ยูเครน นAสNคSK โดDบOBRA UKRAINE ย ี ร เบBRY
ด OROD อ ร ก G เบBิรUกRG ควCOW ี นอYฟโNOV น ิ โ ร ส ต N าเ RI มอMOS นิชนIZHN เยEคKATE ทูเมTUนMEN N ิงกิ I โอOซSINK ็ตสค อิลILเEจZK
รั ส เ ซี ย
R U S S I A
ค SK อยาYรAสRSK ค ส ีบีร IBIR สน O สค ออOมMSK โนโวOซVOS ครKาRASNไทยเชY็ตSHET N TA
ค า ซั ค ส ถ า น KAZAKHSTAN
าไกGAY อัคAตKTO
โอกาสไกลบนรางรถไฟสุดขอบฟ้า • จีนต่อรางรถไฟไปยุโรปจากมณฑลฉงชิ่งเชื่อมโยงมุ่งสู่เมืองลอดซ์ โปแลนด์ ซึ่ง เปิดให้บริการรถขบวนสินค้าเที่ยวปฐมฤกษ์เมื่อธันวาคม 2012 โดยขบวนรถสินค้า จะเดินทางผ่าน 5 ประเทศ ได้แก่ จีน คาซัคสถาน รัสเซีย เบลารุส และโปแลนด์ รวมระยะทางกว่า 10,000 กิโลเมตร และยังเป็นเส้นทางสายที่ 2 ที่เชื่อมระหว่าง ภูมภิ าคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนสูท่ วีปยุโรปเพือ่ ขยายเส้นทางเศรษฐกิจผ่านระบบราง หลังการเปิดใช้เส้นทางขนส่งโลจิสติกส์ระบบรางสายนครเฉิงตู-ดุยส์บูร์ก เยอรมนี • เจ้าหน้าที่การรถไฟโปแลนด์เผยว่า การขนส่งโลจิสติกส์ของโปแลนด์มปี ริมาณมาก เป็นอันดับสองของยุโรป โดยมีสถานีรถไฟเมืองลอดซ์เป็นเสมือนเมืองท่าทางบกใน ระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในการเป็นช่องทางการนำ�เข้าสินค้าจีนสู่ตลาดยุโรป ทำ�ให้ ปัจจุบันเมืองลอดซ์กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และกำ�ลังจะ กลายเป็นเมืองสำ�คัญในแผนที่เศรษฐกิจของยุโรปในอีกไม่ช้า • จีนยังเปิดใช้งานเส้นทางรถไฟสายเชื่อมระหว่างมณฑลยูนนานกับภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ หรือเครือข่ายเส้นทางรถไฟสายแพน-เอเชีย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ ครอบคลุมถึงเส้นทางรถไฟสายกลาง สายตะวันตก และเส้นทางรถไฟนานาชาติ ซึ่งจะเชื่อมจีนเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียน • การสร้างเครือข่ายในประเทศนัน้ คณะกรรมาธิการเพือ่ พัฒนาและปฏิรปู แห่งชาติจนี ได้อนุมัติโครงการพัฒนาระบบการคมนาคมภายในเมืองสวีโจว (ปี 2013 - 2020) โดยหลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้น จะทำ�ให้จีนมีเมืองที่มีระบบรถไฟใต้ดิน 35 แห่ง ครอบคลุมนครที่ขึ้นตรงกับส่วนกลาง 4 แห่ง เมืองอิสระตามแผนพัฒนาฯ 5 แห่ง (ต้าเหลียน เซี่ยเหมิน หนิงโป ชิงเต่า และเซินเจิ้น) เมืองเอกของบางมณฑล และ เมืองที่มีระดับการพัฒนาสูงอย่างซูโจว ตงก่วน และอู๋ซี
็อต โลLกOKOT ึกค าด สOตSTYK D
สต ีอรคKุตUTSK -อูเด E IR ูลาน N-UD อ ULA ม อ ง โ ก เ ลี ย MONGOLIA
จีน
CHINA
ึย Y อชOนCHN ต ส T วอVOS
ชีตCาHITA
ี่ วOหลULI จ โ น หMมาANZH ฮารAบRินBIN H ง หยNาYANG น ่ ิ ส เ SHE ิ่ง ปกBEกIJING ลียนN ตาDเAหLIA า AO นจิน ชิงQเตINGD I เทTียIANJIN ไฮ HA เซSี่ยHงANG G
QIN
ิ่ง G ฉงCชHON
• สำ�หรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีนได้เข้าไปลงทุนในลาวกว่า 210,000 ล้านบาท เพื่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงยาว 420 กิโลเมตร เชื่อมจากจีนตอนใต้ ผ่าน ภาคเหนือของลาว ต่อเนื่องไปยังเวียงจันทน์ และเชื่อมต่อกับไทยที่หนองคายใน อนาคต • มาเลเซียและสิงคโปร์จับมือกันลงทุนในโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง เพื่อกำ�หนด ยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงการขนส่งภายในภูมิภาค คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ ในปี 2020 ซึง่ จะช่วยร่นระยะเวลาการเดินทางระหว่างเมืองหลวงของทัง้ สองประเทศ เหลือเพียง 90 นาที จากเดิมที่กินเวลาราว 4 ชั่วโมงสำ�หรับการเดินทางด้วยรถยนต์ และ 5 ชัว่ โมงสำ�หรับรถประจำ�ทาง และแม้วา่ การโดยสารเครือ่ งบินจากกัวลาลัมเปอร์ ไปสิงคโปร์จะใช้เวลาไม่ถึง 1 ชั่วโมง แต่การเดินทางด้วยระบบรางจะช่วยย่นเวลา ที่ต้องเสียไปกับขั้นตอนการเช็กอิน การตรวจคนเข้าเมือง และการรับกระเป๋า โดยนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) กล่าวอย่างอารมณ์ดี ในการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า “ต่อไปคนสิงคโปร์จะสามารถรับประทาน อาหารเที่ยงกับมิตรสหายที่กัวลาลัมเปอร์ และกลับมาบ้านได้ภายในวันเดียวกัน” ที่มา: ข้อมูลจากนิทรรศการ Thailand 2020 ก้าวใหม่เชื่อมไทยสู่โลก (2556) บทความ รถไฟสินค้าเทีย่ วประวัตศิ าสตร์ ‘จีน-โปแลนด์’, ประชาชาติธรุ กิจออนไลน์, 1 กุมภาพันธ์ 2556 เอเอฟพี/ ASTVผู้จัดการออนไลน์, 20 กุมภาพันธ์ 2556
COVER STORY เรื่องจากปก
การจับมือลงทุนของประเทศต่างๆ ในโลก เพื่อวาดแผนที่ลายแทง โลกใหม่ทเ่ี กิดขึน้ วันนี้ จะนำ�ไปสูก่ ารเปลีย่ นแปลงรูปลักษณ์และหน้าตาของ ระบบเศรษฐกิจในระดับมหภาค ไปจนถึงระดับชุมชนอย่างที่ไม่เคยเป็น มาก่อน จากเดิมที่โลกเคยพึ่งพิงเมืองท่าที่มีท�ำ เลติดกับทางออกมหาสมุทร การทำ�ธุรกิจการค้าผ่านท่าเรือ (Sea Port) และท่าอากาศยาน (Airport) ซึง่ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ กระจุกตัวอยู่ใกล้กับท่าเรือและ ท่าอากาศยาน และชุมชนหรือจังหวัดอื่นที่ไกลออกไปจะเป็นเพียงผู้ผลิต ตามคำ�สั่งซื้อเท่านั้น แต่รูปแบบการค้าใหม่ที่เปลี่ยนมาพึ่งพิงพื้นที่แผ่นดินใจกลางทวีปนี้ จะอาศัยสถานีขนส่งของระบบราง การขนถ่ายสินค้าจากสถานีสู่สถานีได้ อย่างง่ายดาย วิถีการค้าใหม่นี้อาจนำ�มาซึ่งอำ�นาจการต่อรองกับตลาด ที่อยู่ไกลออกไปให้กลับไปอยู่ในมือของคนตัวเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ สถานี รอบๆ เมือง หรือเมืองเล็กกลางทะเลทรายก็จะกลายเป็นเมืองท่าสำ�คัญ แห่งใหม่ เมื่อไม่ต้องอาศัยทางออกทางทะเลอีกต่อไป และนั่นยังหมายถึง
ชีวิตธุรกิจที่ไม่ต้องสุ่มเสี่ยงกับการลอบปล้นสะดมภ์ของโจรสลัดในน่านน้าํ ไม่ต้องลงทุนมหาศาลกับการประกันภัยทางเรือ และไม่ต้องรอคอยสินค้า อย่างยาวนานอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้แม้กระทั่งเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่ครั้ง หนึ่งเคยเป็นเจ้าของเมืองท่าทางทะเลค่อนโลกก็ยังได้หันมาปักธงให้ อัมสเตอร์ดัม กลายเป็นจุดศูนย์กลางระบบโลจิสติกส์ผ่านระบบรางเพื่อ เชือ่ มต่อกับภูมภิ าคยุโรปอย่างสมบูรณ์ เพื่อลดการหวังพึ่งทางออกทางทะเล และลดการใช้ปริมาณนํ้ามันเชื้อเพลิงซึ่งเป็นยาขมของธุรกิจและชีวิต ประจำ�วัน ขณะทีจ่ นี ลงทุนเชือ่ มต่อโอกาสทองอย่างฟูฟ่ า่ ยุโรปผูซ้ บเซาก็ไม่ลดละ ที่จะคิดค้นนวัตกรรมเพื่ออนาคต โดยเฉพาะการเป็นเจ้าของสิทธิบัตร นวัตกรรมด้านพลังงานทดแทน เพราะเมือ่ โลกต้องรับมือกับภาวะขาดแคลน พลังงานเชื้อเพลิงเข้าสักวัน ดังนั้นการหาหนทางสร้างพลังงานจากลม แสงอาทิตย์ นํ้า กระทั่งสาหร่ายบางประเภทที่สามารถผลิตนํ้ามันได้เอง ก็ทำ�ให้กลุ่มภูมิภาคยุโรปน่าจะเชิดหน้าชูตาได้ไม่แพ้รางรถไฟของจีน
COVER STORY เรื่องจากปก
ตูลูซเป็นเมืองสำ�คัญสำ�หรับเทคโนโลยีในฝรั่งเศส ด้วยเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรม การบินของประเทศ แต่เมื่อชีวิตต่อจากนี้อาจไม่ได้ขึ้นกับยอดขายเครื่องบินแอร์บัส เท่านั้น ความรู้และเทคโนโลยีของการบินจึงถูกพัฒนามาใช้กับการสร้างสรรค์สิ่งที่ เล็กกว่าแอร์บัสมากมาย อเล็กซานเดอร์ มาร์เซล (Alexander Marciel) รองนายกเทศมนตรีของตูลูซ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบโครงการนวัตกรรมแหล่งพลังงานของเมือง โดย โครงการ “ทร็อต อีเลค (Trott Elec)” หรือ ทางเท้าผลิตพลังงานนับเป็นโครงการที่ อยู่บนรากฐานของแนวคิดการดักจับพลังงานของมนุษย์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ “เราอยู่ที่จุดเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ ตอนนี้ ความเข้าใจของ สังคมก็คอื เมืองใหญ่เป็นนักบริโภคพลังงาน แต่เราก็เชือ่ ว่าเมืองใหญ่คอื ผูผ้ ลิตพลังงานได้ โครงการทร็อต อีเลค สามารถสรุปได้งา่ ยมาก ผมใช้สง่ิ ทีผ่ มผลิต และผมบริโภคมัน ในขณะที่ผมผลิตมัน” จากการวิจัยระบุว่า ทุกย่างก้าวของแต่ละคนจะผลิตไฟฟ้าได้ 6 วัตต์ ทางเท้าไฟฟ้าจึงถูกออกแบบขึ้นเพื่อเปลี่ยนย่างก้าวทั้งหมดนี้ให้เป็นพลังงาน สำ�หรับไฟถนน โดยแรงบันดาลใจของโครงการนี้มาจากไนต์คลับในรตเตอร์ดัมที่ เนเธอร์แลนด์ ในปี 2006 ซึ่งคลับแห่งนี้เปลี่ยนการเคลื่อนไหวของนักเต้นให้เป็น พลังงานไฟฟ้า ผ่านจานกลไกไฟฟ้าบนลานเต้นรำ� ตูลสู มีไฟถนนเกือบเจ็ดหมืน่ ต้น คิดเป็นครึง่ หนึง่ ของค่าไฟฟ้าตลอดทัง้ ปีของเมือง แค่นน้ั ก็เป็นเหตุผลเพียงพอให้กบั สภาเมืองทีจ่ ะต้องช่วยกันประหยัดไฟ โดยที่ไม่ต้อง ปิดไฟถนนเนื่องจากอาจส่งผลต่อร้ายต่อความปลอดภัย ไฟแอลอีดีที่มีประสิทธิภาพ ในทางพลังงาน เครือ่ งหมายถนนพลังงานแสงอาทิตย์ และเครือ่ งตรวจจับการเคลือ่ นไหว บนไฟถนน นับเป็นส่วนหนึง่ ของมาตรการประหยัดพลังงานดังกล่าว ปัจจุบนั นอกจาก โครงการทร็อต อีเลค จะช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าของเมืองลงร้อยละ 30 แล้ว การนำ�ความรู้ด้านอุตสาหกรรมเครื่องบินมาใช้ยังช่วยให้เมืองสามารถปฏิบัติตาม แนวคิดนี้ เพราะวัสดุเกือบทั้งหมดที่ใช้ในทางเท้าไฟฟ้านั้นเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกับ ที่ใช้ในเครื่องบิน ตัวอย่างเช่นสปริงของเครื่องปั่นไฟที่ฝังอยู่ในทางเท้าซึ่งเป็นสปริง แบบเดียวกับประตูของเครื่องบินเอ 380 เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกและ มีวสั ดุทต่ี อ้ งทนต่อนํา้ หนักได้มาก นัน่ เป็นเหตุผลว่าทำ�ไมสปริงเครือ่ งบินจึงเหมาะสม เป็นพิเศษกับแผ่นดักจับพลังงานที่ผู้คนเหยียบยํ่ามันทุกวัน “ผมคิดว่ามันเกี่ยวกับ
จะเป็นศรัทธาทีถ่ กู กอบกู้ หรือการปฏิรปู ทีเ่ รียกคืนความเชือ่ มัน่ ท่ามกลาง สถานการณ์ที่สร้างความหวาดหวั่นใจในอนาคต การเดินทางของโอกาส นั้นไม่เคยหยุดนิ่ง แต่หากกำ�ลังเคลื่อนที่ไปมาอย่างร่าเริง เพราะวัน ข้างหน้าต่อจากนี้ โลกจะไม่ใช่แค่เป็นโลกของคนตัวใหญ่เท่านั้น แต่จะ เป็นโลกของคนตัวเล็กๆ ที่กำ�ลังมองหาเส้นทางเชื่อมต่อกับอนาคตอย่าง เต็มเปี่ยมด้วยความหวังนั่นเอง
18 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
eltis.org
แหล่งพลังงานใหม่ ใกล้แค่ขยับตัว
อิสรภาพของมนุษย์ด้วย อิสรภาพของความคิดสร้างสรรค์ อิสรภาพของการเข้าใจ โลกที่แตกต่างออกไป การเก็บเกี่ยวพลังงาน คืออิสรภาพแห่งอนาคต นั่นหมายถึง การพัฒนาเทคโนโลยีสะอาด และนำ�พลังงานทุกส่วนของเมืองรวมถึงพลังงานของ มนุษย์กลับมาใช้ใหม่ทลี ะน้อย เราสามารถเริม่ ต้นได้จากสิง่ เล็กๆ น้อยๆ เช่น ตัวต้นแบบ ในห้องทดลอง จากนั้นก็ออกไปสู่สาธารณะกับหุ้นส่วนใหม่ๆ เพื่อทำ�ให้โลกของเรา ดีขึ้นไปเรื่อยๆ” ที่มา: บทความ Project Toulouse จาก sustainabledanceclub.com สารคดีชุด The Source of Human Energy จาก TrueVisions ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ, 19 กุมภาพันธ์ 2556 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, 3 และ 16 มีนาคม 2556 บทความ China Opens Longest High-Speed Rail Line (26 December 2012) จาก nytimes.com บทความ Eurasian Economic Boom and Geopolitics: China’s Land Bridge to Europe: The China-Turkey High Speed Railway (27 April 2012) จาก globalresearch.ca epa.eu thaibizchina.com voicetv.co.th
พบกับนิตยสาร Creative Thailand
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล
รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • คอฟฟ เวิลด • อาฟเตอร ยู เชียงใหม • ดอยตุง คอฟฟ • รานนายอินทร • October • โอ บอง แปง • รานเลา • Tea House Siam Celadon • ซัมทาม คอฟฟ • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • บานไรกาแฟ เอกมัย for education USA • Book Re:public • ทรู คอฟฟ • 94 Coffee • Little Cook Café • รานกาแฟวาวี • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • Sweets Café • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • วีวี่ คอฟฟ • Kanom • The meeting room art café • แมคคาเฟ • รานมองบลังค • Things Called Art • Babushka • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • มิลลเครป • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • ก.เอย ก.กาแฟ • Impresso Espresso • เดอะเชดี • อะเดยอินซัมเมอร Bar • บรรทมสถาน • ชีสเคกเฮาส • บานเส-ลา • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Minimal • Luvv coffee Bar • Yesterday The Village • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • Gallery Seescape • Hallo Bar • The Salad Concept • บานศิลาดล • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • Cotto Studio (นิมมานฯ) • Take a Seat • 9w Boutique Hotel • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • กาแฟโสด • รานสวนนม • Good Coffee • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • Greyhound (Shop and Café) • กาแฟวาวี ทุกสาขา • ไหม เบเกอรี่ • ช็อกโก คาเฟ • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite บายนิตา • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน • Hub 53 Bed & Breakfast • Mango Tango • Fern Forest Café • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • I Love Coffee Design • Just Kao Soi โรงภาพยนตร / โรงละคร ลําปาง • อิฐภราดร • โรงภาพยนตรเฮาส • อาลัมภางค เกสตเฮาส • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร หัวหิน แอนด มอร • ภัทราวดีเธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ชุบชีวา หัวหิน หองสมุด นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดมารวย • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • ศูนยหนังสือ สวทช. ภูเก็ต แอนดคาเฟ • SCG Experience • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • The Reading Room • The Oddy Apartment • สตาร บ ค ั ส หอนาิ ก า พิพิธภัณฑ / หอศิลป • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel • มิวเซียม สยาม เลย สปา • อุทยานการเรียนรู (TK park) • มาเลยเด เกสตเฮาส • หั ว หิ น มั น ตรา รี ส อร ท • หอศิลปวัฒนธรรม • บานชานเคียง • เลท ซี หั ว หิ น แหงกรุงเทพมหานคร • กบาล ถมอ รี ส อร ท โคราช • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • บานใกลวงั • Hug Station Resort • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • บานจันทรฉาย ปาย • HOF Art • ภัตตาคารมีกรุณา • รานเล็กเล็ก โรงแรม • ลูนา ฮัท รีสอรท • ราน all about coffee • หลับดี โฮเทล สีลม • The Rock • ปายหวานบานนมสด โรงพยาบาล • บานถั่วเย็น นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช (ถนนแนบเคหาสน) • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท • ราน Rhythm & Book อุทัยธานี • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น
หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org
กระบี่
• A Little Handmade Shop
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 180 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได)
ขอมูลผูสมัครสมาชิก
สมาชิกใหม
ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศััพทบาน โทรสาร
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
*สำหรับสมาชิกเกาสามารถกรอกเพียง ชื่อและนามสกุล
หญิง อายุ โโทรศััพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ
อีเมล
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน
โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 180 บาท
วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand
สำหรับเจาหนาที่การเงิน
1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….
1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..
tokyoluv.com
© Imaginechina/CORBIS
INSIGHT อินไซต์
20 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
INSIGHT อินไซต์
เมื่อ “ความเข้าใจ” คือ สินค้าลํ้าค่า เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ
กำ�ลังซื้อที่ถดถอยของชาติตะวันตก ได้นำ�ไปสู่การจับจ้องมาที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียอย่างใกล้ชิด แต่กระนั้น การเอาชนะใจผูบ้ ริโภคชาวเอเชียทีอ่ าจเป็นลูกค้ารายใหม่กลับไม่ใช่เรือ่ งง่าย ความหวังในการแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่จงึ เกิดขึน้ พร้อมกับ ความรู้สึกกล้าๆ กลัวๆ เพราะการเติบโตแบบก้าวกระโดดของเอเชียในทศวรรษที่ผ่านมา ได้นำ�มาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางด้าน พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว จนทำ�ให้กลยุทธ์ทางการตลาดแบบเดิมๆ กลายเป็นเรื่องล้าสมัย
ท่ามกลางภาวะความงุนงง ความรู้และความเข้าใจในกลุ่มนักบริโภค ชาวเอเชียคือของลํ้าค่าที่ภาคธุรกิจเอกชนทั่วโลกเต็มใจจ่าย และคงไม่มี หน่วยงานใดที่จะเข้าใจถึงความกระหายโอกาสในการเจาะตลาดเอเชีย มากไปกว่า “Asian Consumer Insight” หรือ ACI สถาบันวิจัยประจำ� มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) ซึ่งขยายแตกไลน์ธุรกิจจากภาคการศึกษาไปสู่ธุรกิจที่ปรึกษา ACI ถูกจัดตั้งขึ้นในปี 2011 จากความพยายามในการผลักดัน อุตสาหกรรมความรูข้ องคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจสิงคโปร์ (Singapore Economic Development Board, EDB) โดยนอกจากงานหลักด้าน การวิจัย ไปจนถึงการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท และการเปิดคอร์สฝึก อบรมผู้บริหารแล้ว ACI ยังมีบทบาทเสมือนผู้ประกอบการธุรกิจซึ่งสร้าง รายได้จากการขายบทวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับผู้บริโภคชาวเอเชีย และ การสร้างนวัตกรรมทางการตลาดให้แก่บริษัทเอกชน ซึ่งหนึ่งในลูกค้าคน สำ�คัญก็คือบริษัทข้ามชาติรายใหญ่อย่างยูนิลิเวอร์ (Unilever) ผู้ผลิต สินค้าอุปโภคบริโภคมากกว่า 400 แบรนด์ และมีลูกค้าอยู่ทั่วทุกมุมโลก กว่า 2 พันล้านคน ซึ่งได้ทำ�การว่าจ้างให้ ACI จัดทำ�บทวิเคราะห์ถึง แนวคิดและการรับรู้เรื่องความงามแบบเอเชีย เพื่อใช้ในการปรับแบรนด์ สินค้าเพื่อสุขภาพและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลตนเอง หากเป็นในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ซึ่งนักช้อปชาวอเมริกันคือ “เทรนด์เซ็ตเตอร์” ของโลก หน่วยงานอย่าง ACI คงไม่ใช่ตัวเลือกของ บริษัทยักษ์ใหญ่ที่จะได้รับว่าจ้างให้วางกลยุทธ์ทางการตลาดให้อย่าง แน่นอน แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ชนชั้นกลางใหม่ในภูมิภาคเอเชียซึ่งมี จำ�นวนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 8 เท่าตัวจากทศวรรษ 1990 คือกลุ่มคนที่มีกำ�ลัง ซื้อมหาศาลและมีอำ�นาจเพียงพอในการโน้มนำ�เทรนด์การบริโภคสินค้า ในศตวรรษที่ 21 ความเข้าใจถึงความเหมือนและความต่างของนักบริโภค หน้าใหม่ในจีน อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่พึ่งจะได้ลิ้มรสการ จับจ่ายใช้สอยสินค้าฟุ่มเฟือยได้ไม่นาน จึงกลายมาเป็นจุดขายของ ACI ซึ่งใช้ในการสร้างแบรนด์ให้แก่บริษัทที่ได้ร่วมงานด้วย
เบิร์นด์ ชมิตต์ (Bernd Schmitt) กูรูทางการตลาดชื่อดัง ซึ่งดำ�รง ตำ�แหน่งกรรมการบริหารประจำ� ACI ได้กล่าวว่า สิ่งที่บริษัททั้งหลาย ต้องทำ�เป็นอันดับต้นๆ เพื่อความสำ�เร็จในการเจาะตลาดเอเชีย ก็คือ การจัดสถานะของแบรนด์ (Brand Portfolio) ให้สามารถตอบสนองความ พึงพอใจที่แตกต่างกันไปของชนชั้นกลางใหม่ในแต่ละกลุ่มอย่างรอบด้าน จากประสบการณ์ในการเป็นที่ปรึกษาทางการตลาดให้บริษัทเอกชน หลากหลายสาขามากกว่า 50 แห่ง ทำ�ให้ชมิตต์เล็งเห็นว่า ชนชั้นกลาง ใหม่แห่งเอเชียไม่ได้มีเพียงคนกลุ่มเดียวที่มีความต้องการเหมือนๆ กัน หากแต่พฤติกรรมการบริโภคของชนชั้นดังกล่าวสามารถแบ่งแยกออกมา เป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีก เมื่อพิจารณาถึงรูปแบบไลฟ์สไตล์ ทัศนคติ และ ความคาดหวังที่หลากหลาย โดยชนชั้นกลางกลุ่มหนึ่งอาจต้องการสินค้า ที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานดีเลิศ ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ อาจมองหาสินค้าที่มี ดีไซน์เก๋ถกู ใจ หรือบางกลุม่ อาจเพียงต้องการซือ้ สินค้าเพือ่ แสดงถึงสถานะ ความรํ่ารวยที่ตนเองพึ่งได้มาให้สาธารณชนได้รับรู้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญแม้แต่น้อยที่ ACI ถูกก่อตั้งขึ้นในสิงคโปร์ ประเทศ ซึง่ ลงทุนกับการทำ�วิจยั ทางด้านธุรกิจอย่างมหาศาล เบอร์ทลิ แอนเดอร์สสัน (Bertil Andersson) อธิการบดีประจำ�มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง กล่าวว่า สภาพแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเชื้อชาติ ในสิงคโปร์จะช่วยสนับสนุนให้ ACI มีความได้เปรียบกว่าสถาบันอื่นๆ ใน การวิเคราะห์เจาะลึกถึงรสนิยมที่มีลักษณะเฉพาะ และทราบถึงปัจจัยที่ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคชาวเอเชีย เช่นเดียวกัน ชมิตต์มองเห็นข้อได้เปรียบของสิงคโปร์ในฐานะแหล่ง ทดสอบองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางการตลาด โดยเขากล่าวว่า มันเป็นสิ่งที่ วิเศษมาก เมือ่ คุณได้ขอ้ สรุปเบือ้ งต้นบางอย่างเกีย่ วกับพฤติกรรมผูบ้ ริโภค แล้ ว คุ ณ สามารถออกไปข้ า งนอกเพื่ อ ทดสอบทฤษฎี นั้ น กั บ ตลาดที่ มี อยู่จริงได้ทันที ที่มา: Asia Business Insights 2012 โดย Institute on Asian Consumer Insight Bernd Schmitt sets off for Singapore to join Nanyang (28 กรกฎาคม 2011) จาก ft.com Investigating Asian concepts of beauty (11 กุมภาพันธ์ 2013) จาก ft.com Shopping for digital data in Singapore (11 กุมภาพันธ์ 2013) จาก ft.com พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
บำ�บัดความกลัว แบบบัลวี เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์ ภาพ: ศูนย์ธรรมชาติบำ�บัดบัลวี
22 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
หากพูดถึงแวดวงที่มีความเกี่ยวข้องกับความหวังและความกลัว ของมนุษย์มากที่สุดวงการหนึ่ง คงหนีไม่พ้น “วงการแพทย์และ การบำ�บัดรักษาโรค” ซึ่งมีหน้าที่ในการรั ก ษาความกลั ว เจ็บ กลัวป่วย ไปจนถึงกลัวตาย พร้อมๆ กับการมอบความหวังทีจ่ ะหาย จะแข็งแรง และมีอายุยืนยาว ธุรกิจการแพทย์จึงแทบไม่เคยก้าว เข้าสู่ภาวะถดถอย แต่กลับมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับ ความต้องการใหม่ๆ ของผู้คนอยู่เสมอ รวมถึงการกลับมาได้รับ ความนิยมอย่า งมากอีกครั้ง ของ “แพทย์ทางเลือก” ที่อาจ กลายเป็นคำ�ตอบใหม่ของคนในปัจจุบัน เช่นเดียวกับที่ “ศูนย์ ธรรมชาติบำ�บัดบัลวี” ซึ่งก่อตั้งโดย นพ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล กำ � ลั ง นำ � เสนอคำ � ตอบและมอบความหวั ง ครั้ ง ใหม่ ใ ห้ กั บ ผู้ ที่ ต้องการดำ�รงชีวิตอย่างยั่งยืนด้วยวิธีการธรรมชาติ
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ความหวังใหม่ของผู้คน
เมื่อการแพทย์ขายความกลัว
งานวิจัยล่าสุดพบว่า เมื่อชาวอเมริกันไม่สบาย พวกเขาจะไปพบแพทย์ ทางเลือกมากกว่าแพทย์แบบแผนถึง 3 เท่า และยังจ่ายค่ารักษาที่ถูกกว่า ถึง 10 เท่า โดยคุณหมอบรรจบได้บอกถึงสาเหตุที่การแพทย์ทางเลือก กลับมาได้รบั ความนิยมว่า “เพราะคนเริม่ กลัวและไม่แน่ใจในการรักษาของ แพทย์แผนปัจจุบัน เมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว การที่แพทย์จ่ายยาทาลิโดไมด์ (Thalidomide) เพื่อรักษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง แล้วปรากฏว่า ยามีผลข้างเคียงทำ�ให้เด็กเกิดมาแขนขากุด นั่นเป็นครั้งแรกที่ทำ�ให้คน สะดุง้ ว่าการใช้ยาไม่ได้ปลอดภัยอย่างทีค่ ดิ เสมอไป กรณีที่สองคือการเกิด โรคเอดส์และโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการแพทย์แผนปัจจุบันไม่ สามารถให้ค�ำ ตอบในเรือ่ งกระบวนการรักษาทัง้ หมดได้ และนีเ่ ป็นหัวเลีย้ ว ใหญ่ทท่ี �ำ ให้คนเริม่ ตระหนักว่าเรามาผิดทาง เมื่อรวมกับการคิดนอกกรอบ ของแพทย์บางกลุ่มอย่างเช่น แมกซ์ เบอร์เชอร์ เบนเนอร์ (Max Bircher Benner) แพทย์ชาวสวิสที่รักษาคนไข้วัณโรคด้วยการให้รับแสงตะวัน กินอาหารธรรมชาติ และออกกำ�ลังกายอย่างหนักโดยไม่ต้องใช้ยา หรือ ซาเกน อิชิซูกะ (Sagen Ishizuka) ผู้เป็นต้นตำ�รับวิชาแม็กโครไบโอติกส์ ที่เสนอว่าอาหารเป็นพื้นฐานของการรักษาไม่ใช่ยาแต่เป็นธัญพืช และ การรับประทานอาหารให้สอดคล้องตามฤดูกาล การแพทย์ทางเลือกจึง กลับมาอยู่ในทางหลักอีกครั้ง”
ยิ่งคลุกคลีอยู่ในวงการแพทย์ทางเลือกมากขึ้น คุณหมอก็ยิ่งค้นพบสิ่งที่ เรียกว่า “ความฉ้อฉลของวงการแพทย์” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำ�ให้ผู้คน เจ็บป่วยมากขึ้นผ่านกระบวนการขายความกลัวให้กับคนไข้ “ทุกวันนี้ การแพทย์แบบแผนกำ�ลังขายความกลัว อย่างการให้คนไข้กนิ ยาลดไขมัน ซึ่งเหมือนกับการกวาดพื้นบ้านแล้วเอาขยะโยนเข้าไปใต้พรมแล้วกลบ มันไว้ ไขมันไม่ได้หายไปแต่จะไปพอกรวมกันอยู่ที่ตับ แล้วก็จะกลายเป็น โรคตับแข็งหรือมะเร็งตับตามมา มันคือความฉ้อฉลของวงการแพทย์และ บริษัทยาบางแห่งที่คิดจะเพิ่มยอดขายยาลดไขมัน และไปใต้โต๊ะกับคณะ กรรมการที่มีอำ�นาจกำ�หนดค่าคอเลสเตอรอลในอเมริกาให้ลดค่าปกติ ของคอเลสเตอรอลในร่างกายจาก 250 เป็น 200 ทำ�ให้คนปกติกลายเป็น คนป่วยในเวลาชั่วข้ามคืน นี่คือการขายความกลัวด้วยการบอกว่าคุณ ไม่สบาย และสร้างความหวังด้วยการให้กินยาแบบตลอดชีวิต” เช่นเดียว กับโรงพยาบาลที่ค่อยๆ แปรรูปกลายเป็นธุรกิจมากขึ้น “ไทยเป็นหนึ่งใน ไม่กี่ประเทศที่ให้โรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์และมันมีผลโดยตรง ต่อระบบการบริหารของโรงพยาบาล เกิดเป็นความเห็นแก่ตัวของทั้ง ผู้ป่วยและตัวแพทย์เอง เช่น การแอดมิดเพื่อให้เบิกค่ารักษาได้ทั้งๆ ที่ เป็นแค่หวัด หรือการไปเกณฑ์พนักงานบริษัทมาตรวจสุขภาพประจำ�ปี ด้วยการให้เจาะเลือดตรวจเช็กหลายๆ รายการแล้วอ่านผลเพียงอย่างเดียว โดยไม่ต้องวินิจฉัย ทุกวันนี้คนไปตรวจสุขภาพแทบจะไม่เจอหน้าหมอ ทั้งที่จริงๆ แล้วก่อนการตรวจแล็บ หมอต้องวินิจฉัยก่อนว่าคนไข้ มีความจำ�เป็น ถึงจะตรวจได้ ทีนี้พอค่าที่เครื่องวัดได้ออกมาไม่ปกติ คนไข้ก็กังวล ก็กลายเป็นความกลัวอีก ทั้งที่จริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้ เป็นอะไรเลย”
กินน้อย อยู่นาน
การเลือกไปศึกษาต่อด้านการฝังเข็มที่ประเทศจีน หลังจบการศึกษาจาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และการ หมั่นเพิ่มเติมองค์ความรู้เกี่ยวกับการบำ�บัดรักษาอาการโดยไม่ใช้ยา ทำ�ให้คุณหมอบรรจบเลือกที่จะเปิดคลินิกเล็กๆ ซึ่งได้พัฒนาต่อมาเป็น ศูนย์ธรรมชาติบำ�บัดบัลวี เพื่อช่วยรักษาอาการของผู้ป่วยด้วยการฝังเข็ม ปรับสมดุลในร่างกาย พร้อมๆ กับเผยแพร่ความรู้เรื่องการปรับพฤติกรรม การกินอยูข่ องคนไทยให้ถกู ต้องมากขึน้ “ได้อ่านหนังสือเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะ ความรู้เรื่องธรรมชาติบำ�บัด แล้วก็ได้ทดลองล้างพิษกับตัวเองจนพบว่า มันช่วยเรื่องลดนํ้าหนักและข้ออักเสบ ก็เลยนำ�มาใช้กับคนไข้ ที่บัลวี จะเน้นการล้างพิษด้วยการอดอาหาร เพราะทุกวันนี้คนเรามีพฤติกรรม ‘กินล้นเกิน’ จนทำ�ให้เกิดโรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน และการกินยาก็ไม่ใช่คำ�ตอบอีกต่อไป แต่ถ้าอยากแข็งแรงต้องอดอาหาร กินผักให้มาก ไม่สบายต้องปล่อยให้ร่างกายรักษาตัวเอง เป็นไข้ก็ต้อง ปล่อยให้เป็นเพราะมันคือการสู้กับโรค ท้องเสียก็ปล่อยให้ถ่ายจะได้ไม่มี พิษสะสมในร่างกาย และทีส่ �ำ คัญต้องเชือ่ ว่าคนทุกคนมีแพทย์ประจำ�กาย ถ้าคุณเอือ้ ภาวะให้พร้อม เราจะรักษาตัวเองได้ตามแนวทางของธรรมชาติ”
เพราะการจะได้มาซึ่งร่างกายที่แข็งแรงและปราศจากโรคภัยนั้น อาจต้อง แลกมาด้วยสิง่ ทีม่ ากกว่าแค่กนิ ยา หรือพึง่ พานวัตกรรมการแพทย์สมัยใหม่ แต่คือความเข้าใจจริง ตั้งใจจริง พร้อมที่จะละทิ้งความกลัว และมี ความหวังอยู่เสมอ เช่นเดียวกับสิ่งที่คุณหมอพูดไว้ว่า “ร่างกายของเรามี ความสามารถในการรักษาตัวเองได้ ไม่จ�ำ เป็นต้องใช้ยาเพือ่ ให้หายจากโรค แต่ควรปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรม หมั่นหาความรู้ให้ทันโลกแล้วก็ หาโอกาสปฏิบตั ดิ ว้ ยตนเอง แล้วเราก็จะมีความมัน่ ใจในสุขภาพของตัวเอง โดยที่แทบจะไม่ต้องพึ่งพาใครหรืออะไรเลย” ศูนย์ธรรมชาติบำ�บัดบัลวี: balavi.com facebook.com/balavifanclub
พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 23
MASDAR CITY เรื่อง: วิสาข์ สอตระกูล
“มาสดาร์ ซิต”้ี หากใครไม่เคยได้ยนิ ชือ่ นีก้ ไ็ ม่ตอ้ งแปลกใจ เพราะ มันยังไม่ใช่เมืองทีป่ รากฏอยูบ่ นแผนทีโ่ ลก ไม่เคยอยูใ่ นแบบเรียน วิชาสังคม และยังไม่ใช่เมืองท่องเทีย่ วทีเ่ หล่าบล็อกเกอร์นกั เดินทาง จะพรํ่าเพ้อถึง ตรงกันข้ามกับทุกข้อทีก่ ล่าวไป “มาสดาร์ ซิต”้ี (Masdar City) คือเมืองในฝันที่กำ�ลังก่อร่างสร้างตัวเป็นเมืองแห่งโลกอนาคต และเป็นเมืองที่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสะอาดล้วนๆ แต่ ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นก็คือ เมืองแห่งนี้กำ�ลังจะผุดขึ้น ณ ใจกลาง ทะเลทรายอาหรับ ดินแดนแห่งเศรษฐีนักค้านํ้ามัน ผู้ซึ่งกำ�ลังใช้ ชีวติ รํา่ รวยและหรูหราอยูก่ บั การ “ถลุงทรัพยากรโลก” ทุกรูปแบบ
24 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
© EPA/PROFILE
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ราว 17 กิโลเมตรจากดาวน์ทาวน์อาบูดาบี (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ - UAE) ท่ามกลางไอระอุ ข องทะเลทรายไม่ไกลจากนํ้า ทะเลสีค รามของอ่ าว เปอร์เซีย สุลต่านอาห์เหม็ด อัล จาเบอร์ (Sultan Ahmed Al Jaber) ซีอีโอผู้บริหารโครงการ “มาสดาร์ ซิตี้” เพิ่งได้เปิดประตูต้อนรับเหล่า แขกผู้มาเยือนภายใต้ร่มเงาของอาคารสีเทอราคอตต้าหน้าตาประหลาด กลุ่มอาคารดังกล่าวนี้เป็นที่ตั้งของ “สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งมาสดาร์ (Masdar Institute of Science and Technology)” ซึ่ง ปัจจุบันมีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยที่ทำ�การศึกษาค้นคว้า เกีย่ วกับ “พลังงานทางเลือก” และ “ความยัง่ ยืนของโลกอนาคต” โดยตรง “วิสยั ทัศน์แห่งมาสดาร์ได้ถอื กำ�เนิดขึน้ ทีน่ ”่ี สุลต่านกล่าวอย่างภาคภูมใิ จ ปัจจุบนั สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งมาสดาร์น้ี เป็นเสมือน บ้านหลังที่สองของคณาจารย์และนักศึกษาเกือบสองร้อยชีวิตที่จะต้องทำ� หน้าทีเ่ ป็นทัง้ “นักทดลอง” และ “หนูทดลอง” ในเวลาเดียวกัน เขาเหล่านี้ ถือเป็น “ประชากรกลุ่มแรกของเมือง” ที่ลงทะเบียนมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ในพื้นที่ดังกล่าวตั้งแต่ปี 2010 โดยมีหน้าที่เก็บเกี่ยวประสบการณ์ตรง พัฒนาเทคโนโลยี และทดสอบนวัตกรรมใหม่ๆ ที่คิดค้นขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชากรทดลองของมาสดาร์ ซิตี้มีเป้าหมายสำ�คัญเดียวกัน คือเพื่อพิสูจน์ว่าไลฟ์สไตล์ที่ยั่งยืนนั้น “ไม่ใช่เรื่องเกินจริง” แม้ในภูมิประเทศที่แห้งแล้งที่สุดเช่นในทะเลทราย
ที่ผ่านมาภายใต้แผนการออกแบบของสถาปนิกดังอย่างนอร์แมน ฟอสเตอร์ (Norman Foster) บวกกับพลังการขับเคลื่อนของ Mubadala Development Company ซึง่ เป็นบริษทั ของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาสดาร์ ซิตถ้ี กู วางเป้าให้เปิดตัวเต็มรูปแบบในปี 2016 เพือ่ รองรับการอยู่ อาศัยของประชากรคุณภาพราว 40,000 คน และอีก 50,000 คนที่คาดว่า จะเดินทางเข้าออกเมืองในแต่ละวัน โดยเมืองแห่ง “พลังงานสะอาด 100%” นี้จะมีผังเมืองที่สมบูรณ์พร้อมในตัวเอง ประกอบด้วยบ้านเรือนพักอาศัย พืน้ ทีส่ �ำ หรับสำ�นักงานและร้านค้า โครงสร้างพืน้ ฐานทีเ่ ป็นมิตรต่อสิง่ แวดล้อม แหล่งพลังงานหมุนเวียนของตนเอง รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่อความสะดวก สบายครบถ้วน ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวล้วนเป็นนวัตกรรมลํ้ายุค เช่น ระบบรถยนต์ไฟฟ้าทีไ่ ม่ตอ้ งใช้คนขับ ระบบปรับสภาพอากาศบนท้องถนน ไปจนถึงระบบตรวจวัดระดับการใช้พลังงานของพลเมือง ฯลฯ อย่างไรก็ดี ด้วยปัจจัยลบของเศรษฐกิจโลกที่รุมเร้าในช่วงสี่ถึงห้าปีที่ ผ่านมา แม้แต่ประเทศอภิมหาเศรษฐีอย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ก็ยังถึง กับสะดุดและต้องออกมายอมรับว่า “เอาไม่อยู่” การขาดสภาพคล่องใน วงจรผู้บริโภคของโลก ได้ส่งผลให้โครงการระดับชาติอย่างมาสดาร์ ซิตี้มี อันต้องปรับกระบวนยุทธ์ใหม่ และต้องแปะป้าย “ดีเลย์” ออกไปอีกราว หนึ่งทศวรรษ เป้าหมายใหม่จึงอยู่ที่ปี 2025
fosterandpartners.com
ก้าวที่กล้าของเศรษฐีอาหรับ
“ความฝันแรกของเราอาจจะยิ่งใหญ่เกินไปสำ�หรับ ขนาดโครงการและเวลาที่เรามีในมือ และอย่างที่เห็นๆ กันว่า ณ จุดนี้ การสร้างอะไรที่แพงเกินเอื้อม สำ�หรับปุถุชนทั่วไป มันคงไม่ใช่อะไรที่ยั่งยืนแน่”
แม้จะล้มลุกคลุกคลานในเรื่องเงินทุนและการคาดการณ์ตลาดที่ พลาดเป้าไปพักใหญ่ แต่ขณะนี้มาสดาร์ ซิตี้ก็เริ่มมีผู้เช่าเงินหนาตบเท้า เข้าร่วมอุดมการณ์บ้างแล้ว โดยส่วนมากเป็นกลุ่มธุรกิจที่มุ่งหน้าสู่ “เทคโนโลยีสะอาด” เหมือนๆ กัน เช่น Siemens, SK Energy, General Electric (GE) และ International Renewable Energy Agency (IRENA) เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นนิมิตหมายอันดีว่า มาสดาร์ ซิตี้จะมีโอกาสเปลี่ยน สถานะจาก “เมืองทดลอง” มาสู่ความเป็น “เมืองมนุษย์ที่แท้จริง” ได้ใน ปี 2025 อย่างที่ตั้งใจไว้
พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 25
thebigprojectme.com
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ลัดเลาะไปตามถนนและทางเดินแคบๆ ของมาสดาร์ ซิต้ี เหล่าผูเ้ ยีย่ มชม จะสัมผัสได้ถึง “สภาพอากาศพิเศษ” ที่แตกต่างจากบริเวณโดยรอบ อย่างสิ้นเชิง สถาปัตยกรรมสไตล์อาหรับดั้งเดิมที่ถูกหลอมรวมเข้ากับ องค์ความรูส้ มัยใหม่ ส่งผลให้มาสดาร์ ซิตก้ี ลายเป็นเมืองทีต่ อบรับกับวิถี ชีวิตกลางแจ้งได้อย่างเหลือเชื่อ ต้องขอบคุณแนวคิดการออกแบบของ Foster + Partners ที่ทำ�ให้ถนนทุกสายในเมืองนี้มีฟังก์ชั่นเป็นเสมือน “อุโมงค์ช่องลม” ซึ่งเมื่อผสานเข้ากับเทคโนโลยีการควบคุมอุณหภูมิที่ สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งมาสดาร์คดิ ค้นขึน้ แล้ว มวลอากาศ ที่วิ่งผ่านตัวเมืองทั้งหมดก็จะกลายเป็นลมเย็นสบาย (Cool Air) ซึ่งเอื้อ ต่อการเดินเท้ามากขึน้ นอกจากนี้ สิง่ ปลูกสร้างต่างๆ ในมาสดาร์ ซิตย้ี งั ถูกออกแบบให้มชี น้ั ดูดซับความร้อนชนิดพิเศษ รวมไปถึงมีขนาดหน้าต่าง ที่ถูกปรับให้พอเหมาะกับการเปิดรับแสงธรรมชาติ แต่ไม่รับความร้อน จากภายนอกเข้าสู่ตัวตึกมากเกินไปอีกด้วย แม้แหล่งพลังงานหลักของเมืองจะถูกส่งมาจาก “โซลาร์ ฟาร์ม” ส่วนตัว แต่การประหยัดพลังงานในชีวติ ประจำ�วัน ก็ยังเป็นหัวใจที่มาสดาร์ ซิตี้ไม่เคยมองข้าม
ขณะนีง้ านก่อสร้างในมาสดาร์ ซิตไ้ี ด้กลับมาเดินเครือ่ งเต็มสูบอีกครัง้ เฟสสองของชุดอาคารในกลุ่มสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่ง มาสดาร์ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์ ส่วนอาคารที่จะกลายเป็นสำ�นักงานใหญ่ ส่วนภูมิภาคของบริษัท Siemens ก็จะได้ชื่อว่าเป็นอาคารที่ “ประหยัด พลังงานที่สุดในเมือง” ซึ่งนั่นหมายความว่าอาคารดังกล่าวจะใช้พลังงาน น้อยกว่าอาคารทั่วๆ ไปในกรุงอาบูดาบีถึงร้อยละ 65 26 l Creative Thailand l พฤษภาคม 2556
masdarcity.ae
เทคโนโลยีแห่งความหวัง: สะอาด ฉลาด ประหยัด
ชีวิตโลว์คาร์บอน: ทุกสิ่งต้องหมุนเวียนได้ ตามแผนการออกแบบ มาสดาร์ ซิตี้จะประกอบไปด้วยแหล่งพลังงาน หมุนเวียนหลายประเภท อันดับแรกคือโรงผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ ขนาดมหึมา (ส่วนที่สร้างเสร็จแล้วในปัจจุบันสามารถจ่ายไฟให้กับ งานก่อสร้างทั้งหมดได้โดยง่าย) อันดับต่อไปคือการพัฒนาและทดสอบ เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงการเตรียมขยายโครงข่ายการผลิต และการติดตัง้ แผงโซลาร์เซลล์บนชุดอาคารทั้งหมดด้วย โดยคาดว่าโซลาร์เซลล์ในชุด อาคารจะผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มให้แก่เมืองได้อีกร้อยละ 20 นอกจากนี้ “พลังงานลม” “พลังงานความร้อนใต้พิภพ” และ “พลังงานไฮโดรเจน” ก็เป็นอีกสามทางเลือกที่มาสดาร์ ซิตี้ได้เตรียมพัฒนาไว้สำ�หรับชาวเมือง ด้วยเช่นกัน โดยเมื่อโครงการแล้วเสร็จ มาสดาร์ ซิตี้จะมีโรงไฟฟ้าพลัง ไฮโดรเจนที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกเหนือจากเรือ่ งพลังงาน มาสดาร์ ซิตย้ี งั พยายามทีจ่ ะลดปริมาณ ขยะให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (Zero Waste Policy) โดยขยะ อินทรีย์จากวงจรการบริโภคจะถูกนำ�ไปใช้ในกระบวนการผลิตปุ๋ย ผลิต พลังงาน และผลิตดินเพื่อการเกษตร ในขณะที่ขยะอุตสาหกรรม เช่น
flickr.com/wrightfamily
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เมืองบันดาลใจ: การลงทุนที่อาจเปลี่ยนโลกทั้งใบ
พลาสติกหรือโลหะ ก็จะถูกนำ�ไปรีไซเคิลใหม่เพื่อการใช้งานในรูปแบบที่ แตกต่างกันไป ในส่วนของการจัดการนํ้า เมืองแห่งนี้ก็มีแผนงานที่เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมไม่แพ้กัน เริ่มต้นจากการสร้างโรงงานผลิตนํ้าแบบ “Desalination” ซึ่งหมายถึงการแยกเกลือและแร่ธาตุต่างๆ ออกจาก นํ้าทะเลเพื่อให้เหลือแต่นํ้าสะอาดสำ�หรับการบริโภค โดยโรงงานผลิตนํ้า ที่ว่านี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์เท่านั้น ที่สำ�คัญราวร้อยละ 80 ของนํ้าที่ถูกใช้แล้วจะกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำ�กลับมาใช้ใหม่ ส่วนนํ้าเสียจริงๆ ก็จะถูกนำ�ไปใช้ต่อในภาคการเกษตรและอื่นๆ กล่าวได้ ว่าเป็นการใช้นํ้าให้ “คุ้มทุกหยด” อย่างแท้จริง เกี่ยวกับมาสดาร์ ซิตี้ • ก่อตั้งโครงการเมื่อปี 2006 ด้วยเงินลงทุนตั้งต้น 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (เฉพาะจากภาครัฐ) • พื้นที่โครงการทั้งหมด 3.7 ล้านตารางเมตร แบ่งเป็นพื้นที่อยู่อาศัยร้อยละ 52 พืน้ ทีธ่ รุ กิจและพาณิชย์รอ้ ยละ 38 พืน้ ทีช่ มุ ชนร้อยละ 8 และร้านค้าปลีกร้อยละ 2 • วัตถุประสงค์เมืองเพื่อเป็นแกนหลักสู่เป้าหมายด้านพลังงานในปี 2020 ของ กรุงอาบูดาบี ที่กำ�หนดให้ “พลังงานหมุนเวียน” มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 7 ของ การใช้พลังงานทั้งหมด • มีการจัดสรรเม็ดเงินกว่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อการพัฒนาโครงการ นวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด ซึง่ คาดว่าจะมีมลู ค่าตอบแทนรวมสูงถึง 6,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ • ชาวต่างชาติสามารถก่อตั้งธุรกิจในเขตฟรีโซนของเมืองผ่านกฎหมายพิเศษ ซึ่งอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ เคลื่อนย้ายเงินทุน เข้าออกได้โดยอิสระ งดเว้นภาษีนำ�เข้า ภาษีธุรกิจ และภาษีส่วนบุคคล พร้อมทั้งปกป้องการลงทุนด้วยนโยบายด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่รัดกุม
แนวคิดการสร้างเมืองสีเขียวอาจไม่ใช่เรื่องใหม่แกะกล่องสำ�หรับโลกยุคนี้ แต่ถ้ามองว่านี่คือเรื่องที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นในทะเลทรายอาบูดาบี มหานคร ที่ได้ชื่อว่า “คนรวยจัด” “อากาศร้อนจัด” และ “นํ้ามันเยอะจัด” สิ่งนี้ ต่างหากที่ทำ�ให้เมืองอย่าง “มาสดาร์ ซิตี้” กลายเป็นเป้าสายตาของคน ทั้งโลก ลอเรนซ์ ทูบีอานา (Laurence Tubiana) ตัวแทนจากสถาบัน การพัฒนาความยั่งยืนและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Institute for Sustainable Development and International Relations) กรุงปารีส เคยแสดงทรรศนะเกีย่ วกับเมืองแห่งนีว้ า่ “มาสดาร์ ซิตก้ี เ็ หมือนกับยูโทเปีย โจทย์ทแ่ี ท้จริงไม่ได้อยูท่ ว่ี า่ เราจะสร้างมันได้ส�ำ เร็จหรือไม่ หรือเราจะมีเมือง แบบนี้ได้อีกกี่เมือง สำ�คัญคือเรากำ�ลังจะพิสูจน์ว่าโครงสร้างพื้นฐานของ คำ�ว่าเมืองนัน้ เปลีย่ นแปลงได้ไม่วา่ คุณจะอยูท่ ไ่ี หนในโลก สิง่ นีจ้ ะปลดแอก ความคิดของผู้คนออกจากระบบความเชื่อเดิม และจะส่งอิทธิพลให้เมือง อื่นๆ ในโลกกล้าขยับตาม” ฝ่ายกรรมาธิการด้านสภาพภูมิอากาศแห่ง สหภาพยุโรป คอนนี่ เฮเดการ์ด (Connie Hedegaard) ก็แสดงความ เห็นว่า “มาสดาร์ ซิตค้ี อื แรงบันดาลใจ มันจะทำ�ให้คนทัว่ ไปมองโครงการ ประเภทโลว์คาร์บอนว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ได้ เพราะใน โลกของความเป็นจริงแล้ว ภาคนโยบายก็ทำ�ได้แค่การตั้งเป้า แต่ทุกสิ่ง จะเกิดขึน้ จริงก็ตอ่ เมือ่ ภาคธุรกิจเขาเล่นด้วยเท่านัน้ ซึง่ ถ้าเขาเห็นหลักฐาน ว่าสิ่งนี้ดีกับธุรกิจเมื่อไร เมื่อนั้นทุกอย่างก็จะหมุนตามไปโดยอัตโนมัติ” ล่าสุดตัวแทนภาคธุรกิจอย่าง International Renewable Energy Agency (IRENA) ทีก่ �ำ ลังสร้างสำ�นักงานใหญ่แห่งใหม่ในมาสดาร์ ซิต้ี ได้ ออกมาแถลงยา้ํ ความเชือ่ นีว้ า่ “แน่นอนว่าทะเลทรายไม่ใช่โลเคชัน่ ทีส่ วยหรู สำ�หรับการสร้างเมืองสีเขียว แต่ถ้าคุณทำ�ให้มันเวิร์กได้ที่นี่ ที่ไหนในโลก คุณก็ทำ�ได้เหมือนกัน นี่จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำ�คัญของประวัติศาสตร์” อาจจะฟังดูเหลือเชื่อที่ไซต์ก่อสร้างฝุ่นคลุ้งขนาดมหึมาจะอาจหาญ เรียกตัวเองเป็น “ต้นแบบเมืองสีเขียวของโลก” แต่ด้วยเงินลงทุนระดับ “หนึง่ หมืน่ เก้าพันล้านเหรียญสหรัฐฯ” แล้ว เราก็คงสบประมาทความฝันของ ประเทศมหาเศรษฐีนี้ได้ไม่เต็มปากเช่นกัน และอย่างที่ใครบางคนเคย กล่าวว่า ถ้าเราอยากจะเปลีย่ นแปลงอะไรสักอย่าง ก็จงใช้ “เสียงทีด่ งั ทีส่ ดุ ” เพราะมันจำ�เป็นยิ่งกว่า “เสียงข้างมาก” ด้วยซํ้า นี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก�ำ ลังใช้บอกประเทศภาคีของตนอยูก่ ไ็ ด้วา่ “ตอนนี้ เงินทองยังล้น อนาคตยังเหลือ ความฝันอะไรก็เป็นไปได้ทง้ั นัน้ ” ที่มา: energy.aol.com guardian.co.uk masdar.ae renewableenergyworld.com wikipedia.org พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
James H.Ferry เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
28 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ย้อนกลับไปเมื่อปี 1995 โรงงานผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ระดับพรีเมียมเพื่อส่งป้อนให้กับบริษัท ชั้นนำ�ของโลกอย่างฮิวเล็ต แพคการ์ด (Hewlett Packard) และไมโครซอฟท์ (Microsoft) ที่มีพนักงาน เกือบ 2,000 คน และตั้งอยู่ที่ปทุมธานี กำ�ลังประสบปัญหาครั้งใหญ่ เจมส์ เอช.เฟอร์รี (James H.Ferry) ผู้บริหารระดับสูงของโรงงานในซาน โฮเซ (San Jose) ในเวลานั้น จึงได้รับมอบหมายจากสำ�นักงานใหญ่ที่ ตั้งอยู่ในซิลิคอน วัลเลย์ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา* ให้เดินทางมายังไทย เพื่อจัดการพลิกฟื้นโรงงานแห่งนี้ คุณได้รับมอบหมายให้มาจัดการเรื่องอะไรในเวลานั้น
ตอนนั้นโรงงานที่ไทยเสียลูกค้ารายใหญ่ไป เราจำ�เป็นต้องหาลูกค้าใหม่ ผมจึงต้องเข้ามาปรับปรุงคุณภาพและต้องหาวิธีการบริหารโรงงานให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น คุณเริ่มต้นจัดการกับปัญหาอย่างไร
เมื่อผมมาถึงที่นี่ สิ่งที่ทำ�ให้ผมต้องหงุดหงิดจากที่ผมเคยเป็นผู้บริหาร ระดับสูงก็คือ แม้ว่าที่นี่จะเป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการแบบสั่งการ จากผู้บริหาร (Top Down) แต่ทว่าสารต่างๆ ไม่เคยส่งต่อไปยังพนักงาน หรือคนงานเลย นอกจากนี้ ยังเป็นครั้งแรกที่ผมต้องทำ�งานกับทีมบริหาร คนไทย ผมบอกพวกเขาว่าผมต้องการให้โรงงานได้มาตรฐาน ISO 9000 ผมต้องการโปรแกรมสำ�หรับการให้กำ�ลังใจคนงาน และยังต้องการอีก หลายอย่าง แต่ผมไม่เคยทำ�ให้พวกเขาตืน่ เต้นได้เลย แต่โชคยังดีทผ่ี มพบ กับผู้อำ�นวยการฝ่ายการเงินคนหนึ่งในช่วง 3 เดือนแรก เขาแนะนำ�ว่าผม ควรไปอบรมเกี่ยวกับการบริหารแบบข้ามวัฒนธรรม (Cross-culture) ผมจึงปรึกษา ดร.เฮนรี่ โฮลมส์ (Dr.Henry Holmes) ซึ่งมีบริษัทที่ปรึกษา ให้กับคนต่างชาติที่มาทำ�งานในไทย ผมกับผูบ้ ริหารคนไทยไปอบรมอยู่ 2 วัน เราได้ท�ำ กิจกรรมหลายอย่าง ร่วมกัน แต่หลังจากนั้น 3 เดือนพอผมกลับไปทำ�งานตามปกติ ผมกลับ รู้สึกอึดอัด ผมจึงโทรไปหาดร.โฮลมส์ อีกครั้ง บอกเขาว่าผมไม่ใช่คนของ ที่นี่ ผมไม่สามารถบริหารได้ เขาตอบกลับมาว่า คุณเป็นผู้บริหารที่ โรงงานในเมืองไทยต้องการ ดังนั้นกลับไปนั่งใจเย็นๆ แล้วคิดดูใหม่ ซึ่ง ผมก็กลับมานั่งดูแล้วพบว่า ก่อนที่จะเปลี่ยนโรงงานอย่างถึงรากถึงโคน ผมต้องเปลี่ยนตัวเองเสียก่อน เพราะสถานการณ์ที่ผมกำ�ลังเจออยู่นั้น ผมไม่สามารถฆ่าทุกคนทิ้งแล้วไปหาคนใหม่ได้
เมื่อคุณตระหนักว่าต้องเปลี่ยนวิธีการบริหาร หลังจากนั้นคุณ เดินหน้าต่ออย่างไร
นอกจากปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารของตัวเองแล้ว สิ่งที่ผมต้องเปลี่ยนเป็น ลำ�ดับถัดมาคือ การไม่ต่อสัญญากับทีมผู้บริหารสิงคโปร์ทั้งหมด ซึ่งเป็น กลุ่มคนที่สกัดไม่ให้ความคิดของผมไปถึงพนักงาน หลังจากนั้น ผมก็ให้ ฝ่ายบุคคลนำ�แฟ้มของพนักงานทุกคนที่จบการศึกษาระดับวิทยาลัยมา ให้ดู ผมพบว่าพนักงานที่จบวิศวกรรมมากลับอยู่ในตำ�แหน่งงานเอกสาร คอยดูแลลูกค้าและจัดการงานภายในสำ�นักงาน ขณะที่มีพนักงานผู้หญิง หลายคนทีจ่ บปริญญาโทสาขาบริหารมาโดยตรง ผมจึงจัดการปรับเปลีย่ น ตำ�แหน่งงานใหม่ทั้งหมด ผมย้ายให้ผู้หญิงมาอยู่ฝ่ายดูแลลูกค้า โดยให้ พวกเธอพาลูกค้าไปเที่ยววัดหรือพระราชวังแทนที่จะไปพัฒน์พงศ์ เพราะ อยากให้ลูกค้าเห็นถึงด้านดีของไทย ซึ่งพวกเธอทำ�ได้ดีจนกลายเป็นพลัง สำ�คัญของสำ�นักงาน ส่วนกลุม่ วิศวกร ผมก็ให้ไปทำ�งานทีต่ รงกับสาขาและ ระบุตำ�แหน่งในนามบัตรว่าเป็นวิศวกร ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการจะทำ� และต้องการจะเป็น
ก่อนที่จะเปลี่ยนโรงงานอย่างถึงรากถึงโคน ผมต้องเปลี่ยนตัวเองเสียก่อน เพราะสถานการณ์ที่ผมกำ�ลังเจออยู่นั้น ผมไม่สามารถฆ่าทุกคนทิง้ แล้วไปหาคนใหม่ได้
* ไม่สามารถเปิดเผยชื่อโรงงานเนื่องจากนโยบายของบริษัท พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
หลังจากนั้นผมก็เริ่มอีกหลายโครงการที่เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการ ทำ�งานของพวกเขาอย่างมาก ผมทำ� “โครงการเสนอแนะ (Suggestion Program)” สำ�หรับพนักงานทุกระดับ โดยจัดให้มกี ารคัดเลือกคนทีท่ �ำ งาน กับคนงานในโรงงานมาฝึกการเป็นผูน้ �ำ และให้มกี ารตัง้ ตัวแทนจากคนงาน ผลัดกันมาประชุมทุก 2 สัปดาห์ เพราะผมต้องการให้คนงานในโรงงาน เข้ามามีส่วนร่วมแทนที่จะไปบอกพวกเขาว่าต้องทำ�อะไร เพราะพวกเขา สัมผัสสินค้าทุกวัน พวกเขารูด้ กี ว่าใครว่าอะไรเกิดระหว่างกระบวนการผลิต คุณประชุมกันเป็นภาษาอังกฤษ
ใช่ ผมจัดให้มีสอนภาษาอังกฤษ ฝึกการพูดสำ�หรับคนในโรงงาน แต่ สำ�หรับพนักงานในสำ�นักงานและคนทีต่ อ้ งเจอกับลูกค้า ผมให้ฝกึ โปรแกรม ที่เรียกว่า “การนำ�เสนองานจากกระดาษ (Paper Presentation)” เพราะ พนักงานหลายคนไม่คุ้นชินกับการยืนหน้าชั้นเพื่อนำ�เสนองาน ผมจึงจัด ให้มีช้นั เรียนสำ�หรับหัดเขียนนำ�เสนอความคิดของตัวเองเป็นภาษาอังกฤษ 2 หน้ากระดาษ โดยให้เขียนเกี่ยวกับองค์กรของตัวเองในการก้าวไปสู่ โรงงานระดับโลก ซึ่งมันได้ผลมาก พวกเขาเริ่มเขียนมากขึ้นจาก 2 เป็น 4 ไปจนถึง 10 หน้า และเมื่อถึงเวลาต้องเผชิญหน้ากับลูกค้าพวกเขาก็มี ความมั่นใจและกระตือรือร้นจนลูกค้าถึงกับเอ่ยปากชม ผลจากการให้พนักงานเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างไร
พวกเขารู้สึกดีที่บริษัทให้การยอมรับ คือโดยปกติแล้ว คนชอบที่จะเป็น ส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ ตอนที่ผมไปถึงใหม่ๆ พวกเขา ไม่มีความรู้สึก พวกเขาแค่ทำ�งาน ผมเลยบอกพวกเขาว่า “ไม่ต้อง เกรงใจ” (พูดภาษาไทย) ในตอนแรก แต่การทลายกำ�แพงนั้นยากมาก แต่วธิ กี ารนีท้ �ำ ให้เขาเริม่ ทีจ่ ะกล้าแสดงออก จากเดิมทีผ่ มเคยถามพนักงาน ระดับสูงคนหนึ่งว่า คุณรู้สึกอย่างไรเมื่อเห็นผม เธอตอบว่า เธอกลัวมาก กลัวจนสั่นไม่กล้าพูด ผมจึงเข้าใจความรู้สึกของพวกเขามากขึ้น ผมรู้ดีว่าพวกเขาไม่ได้โง่ ผมมีคนเก่งทำ�งานด้วย แต่เขาไม่รู้วิธีแสดง ความเก่งของเขา ดังนั้นเราต้องหาวิธีการสื่อสารให้ได้ จากเดิมที่ทีม บริการชุดเก่าไม่เคยทำ�ในจุดนี้ และนั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ทำ�ให้โรงงานมีการ เปลี่ยนแปลง คนงานในโรงงานเริ่มกล้าที่จะพูด กล้าแนะนำ�มากขึ้น และ เมือ่ เขาทำ�ได้ดเี ราก็เริม่ โปรแกรมทีจ่ ะให้ก�ำ ลังใจ แต่ผมไม่ได้เน้นเป็นตัวเงิน ผมเน้นการให้ความรูส้ กึ ร่วม อย่างเช่นการสร้างความภูมใิ จจากการประกาศ รายชื่อพนักงานดีเด่นและมอบรางวัลเป็นเสื้อแจ็คเก็ต ผมให้รางวัลใน สิง่ ทีเ่ ขาต้องการ ซึง่ การค้นหาสิง่ ทีเ่ ขาต้องการเป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งใช้เวลาในการ ดูว่าพวกเขาอยู่ยังไง มีลูกไหม มีเครื่องใช้ไฟฟ้าครบหรือยัง มีอยู่ครั้งหนึ่ง 30 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
ผมให้รางวัลเป็นชุดคาราโอเกะกับสามีภรรยาคู่หนึ่งที่ทำ�งานในโรงงาน พวกเขามีความสุขมากจากการเชิญเพื่อนบ้านมากินข้าวเย็นและก็ร้อง คาราโอเกะกัน สิ่งที่คุณทำ�คือการสนับสนุนให้พวกเขาทำ�งานอย่างเต็มที่
ใช่ แม้กระทัง่ ฝ่ายบุคคลทีม่ าแทนคนเก่าทีเ่ กษียณไป ผมบอกว่าคุณไม่ตอ้ ง กลัวว่าจะล้มเหลว เพราะผมก็เคยผ่านจุดนั้นมา สิ่งที่ผมต้องการให้ทำ� นัน้ มากกว่างานเอกสาร เราต้องการอบรมพนักงานทุกคนทัง้ ในสำ�นักงาน และโรงงาน และผมต้องการโรงอาหารในโรงงานที่มีคุณภาพดี ผมไม่ใช้ แผนกอาหารภายในแต่ผมให้บริษัทภายนอกเข้ามาจัดการ ทุกอย่างจึง ออกมาสะอาดและอาหารก็มีคุณภาพดี ขณะที่ผมพยายามดึงเอาความสามารถและความกระตือรือร้นของ พนักงานออกมาให้ได้มากที่สุด เราก็เริ่มงานปรับปรุงโรงงานไปด้วย ผล ที่ได้คือ ภายใน 3 ปี ผมได้มาตรฐานสากลหมด ทั้ง ISO 9001 /2000 หลัง จากนั้นก็เป็น ISO14001 TL 9000 OHSAS 18001 TS 16949 และ ANSI ESD S 20.20 ซึง่ การได้มาตรฐานทัง้ หมดนีไ้ ม่ใช่เรือ่ งง่าย เพราะคุณต้องอบรม ทัง้ โรงงานในรูปแบบต่างๆ ตัง้ แต่การจัดเก็บเอกสาร การเขียนกระบวนการ การตรวจสอบ อีกทัง้ ยังต้องรักษาคุณภาพให้ตอ่ เนือ่ งเพราะต้องขอใหม่ทกุ ปี ทีมผู้บริหารช่วยส่งต่อความคิดของคุณไปสู่พนักงานทั้งหมด หรือไม่
ไม่ใช่ทง้ั หมด ผมยังเดินไปทัว่ โรงงาน คุยกับคนงานว่าเป็นอย่างไร มีอะไร ให้ช่วยไหม มีอะไรให้มาหาผมที่ออฟฟิศได้ตลอด พนักงานจึงคุ้นเคยกับ ผมและไว้ใจที่จะคุยกับผม มีเจ้าหน้าที่อาวุโสคนหนึ่ง เธอเดินมาหาผม
พวกเขารู้สึกดีที่บริษัทให้การยอมรับ คือโดยปกติแล้ว คนชอบที่จะเป็นส่วนหนึ่งของ สิ่งแวดล้อมที่พวกเขาอยู่ ตอนที่ผมไปถึงใหม่ๆ พวกเขาไม่มีความรู้สึก พวกเขาแค่ทำ�งาน
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ผมรู้ดีว่าพวกเขาไม่ได้โง่ ผมมีคนเก่งทำ�งานด้วย แต่เขาไม่รู้วิธีแสดงความเก่งของเขา ดังนั้นเราต้องหาวิธีการสื่อสารให้ได้
แล้วขอลาออกด้วยเหตุผลว่าเธอทำ�ความเสียหายจากการส่งของผิดพลาด เลยถูกปรับเป็นมูลค่า 10,000 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 300,000 บาท) ผมถามว่าคุณได้เรียนรู้อะไรบ้าง เธอบอกว่าเธอเรียนรู้ที่จะส่งของให้ดีขึ้น และวิธีทำ�งานกับคนอื่น ผมจึงขอให้เธอเล่าเรื่องนี้ให้พนักงานคนอื่นฟัง เพื่อเป็นการชดเชยแทนการให้ลาออก ผมบอกว่าเราได้ใช้เงินจำ�นวน 10,000 เหรียญสหรัฐฯ สอนคุณแล้ว นี่เป็นอีกเรื่องที่ผมต้องการให้เกิด การเปลี่ยนแปลง นั่นคือ การสร้างความรับผิดชอบในการทำ�งานและ นำ�ไปสู่การตัดสินใจบนความรับผิดชอบ ดังนั้น ผมจึงไม่ได้บังคับเรื่อง เวลาการทำ�งานแต่จะใช้ระบบเวลาที่ยืดหยุ่นแทน เช่นบางครั้งที่พนักงาน ต้องไปส่งลูกตอนเช้า ถ้าพวกเขามาทำ�งานช้า จากปกติที่ต้องเลิกงานห้า โมงครึ่งตอนเย็น พวกเขาก็ต้องอยู่ทำ�งานต่อถึงสองทุ่ม บริษัทพยายาม ให้ผมเอาระบบการตอกบัตรมาใช้ แต่ผมไม่ทำ� และผมไม่กังวลเพราะรู้ ว่าพนักงานเขาต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า
ดูเหมือนว่าคุณใช้วิธีการบริหารที่เน้นความเข้าใจและยืดหยุ่น คุณมีช่วงเวลาแห่งการลงโทษบ้างหรือไม่
ผมให้ความสำ�คัญกับการมาประชุม คุณต้องเข้ามาก่อน 5 นาทีทก่ี ารประชุม จะเริม่ ผมบอกเขาว่าพวกคุณไม่ตอ้ งมาเจ็ดโมงเช้า ผมให้มาประชุมเก้าโมง เช้าวันอังคาร เพราะวันจันทร์พวกคุณต้องเดินดูว่าแผนกของคุณเป็น อย่างไร และเมื่อเข้าประชุม รูปแบบก็คือ ผมจะบอกว่าเราต้องทำ�อะไร และพวกคุณแต่ละคนที่มาประชุมก็ต้องรายงานว่าปัญหาของพวกคุณอยู่ ที่ไหน แต่มีอยู่คนหนึ่ง เขาเป็นพนักงานที่ขึ้นกับผมโดยตรง เขาไม่มา ประชุม หรือมาประชุมสายเพราะปาร์ตี้จนดึก และในช่วงเวลาประชุมก็ มักจะง่วงนอน ผมเลยไล่เขาออก ผมยึดรถประจำ�ตำ�แหน่งและให้แท็กซี่ ไปส่งเขากลับบ้าน และนัน่ เป็นคนเดียวทีผ่ มไล่ออกในช่วงเวลาทีผ่ มทำ�งาน อยู่เมืองไทย พฤษภาคม 2556
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เชื่อไหมว่า คนงานไทยทำ�งานได้มากกว่า คนงานฮังกาเรียน 4-8 เท่า เพราะพวกเขา มีฝีมือและทักษะที่คล่องแคล่วมาก เลยทำ�งานได้หลายอย่าง แต่คนงานจาก ระบบสังคมนิยมเจอมาแค่ระบบเดียว จึงไม่สามารถพลิกแพลงได้ นั่นเป็นข้อดีของ คนงานไทยถ้าปล่อยให้เขาได้ทำ�งานเต็มที่
ช่วงที่ไปฮังการี ผมไปหลังจากที่เกษียณได้ปีหนึ่งในปี 2008 บริษัท ขอให้ผมไปช่วยดูโรงงานที่นั่นเพื่อปรับปรุงไลน์การผลิต ที่นั่นผมใช้วิธี การบริหารแบบสั่งการ เพราะคนงานที่นั่นได้รับการฝึกแบบสังคมนิยม จากรัสเซีย และเมื่อพวกเขาไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามเวลา ผมจึง พาคนงานไทยไป 30 คน ผู้คุมงานอีก 3 คน เพื่อทำ�งาน 3 กะ ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อไปช่วยงาน เชื่อไหมว่า คนงานไทยทำ�งานได้มากกว่าคนงาน ฮังกาเรียน 4-8 เท่า เพราะพวกเขามีฝีมือและทักษะที่คล่องแคล่วมาก เลยทำ�งานได้หลายอย่าง แต่คนงานจากระบบสังคมนิยมเจอมาแค่ระบบ เดียวจึงไม่สามารถพลิกแพลงได้ นั่นเป็นข้อดีของคนงานไทยถ้าปล่อย ให้เขาได้ทำ�งานเต็มที่ คุณช่วยสรุปสิ่งที่คุณทำ�ตลอด 12 ปีที่ทำ�งานได้ไหม
คุณย้ายจากซาน โฮเซมาไทยและไปทำ�งานที่ฮังการี คุณช่วยเล่า ความแตกต่างให้ฟังได้ไหม
ข้อดีของที่นี่คือ คุณเป็นสังคมแบบเชื้อชาติเดียว คนส่วนใหญ่เป็นพุทธ โรงงานที่ซาน โฮเซ เรามีมาเฟียฟิลิปปินส์ มาเฟียเวียดนาม อินเดีย อเมริกนั ทุกคนนัง่ ในโรงอาหารเหมือนกัน ไม่ได้นง่ั ด้วยกันแต่นง่ั เป็นกลุม่ และทุกกลุ่มมีเรื่องของตัวเอง ที่ไทยทุกคนเป็นไทยหมด จะมีอินเดียบ้าง นิดหน่อยแต่กเ็ ป็นคนไทยอยูด่ ี อีกอย่างคนไทยมีความคิดในเรือ่ ง “ไม่เป็นไร ชีวติ ก็ตอ้ งดำ�เนินไป” อย่างเช่นทีเ่ ราเจอนํา้ ท่วมเมือ่ ปี 1995 โรงงานถูกล้อม ด้วยนํา้ แต่พนักงานเกือบทัง้ หมดก็มาทำ�งาน ถ้าเป็นทีซ่ าน โฮเซ ไม่มใี คร มาแล้ว แต่นี่พวกเขาเอายางรถยนต์ กระสอบทรายมาทำ�ทางเดิน และก็ ต่อสะพานเข้าโรงงาน เรายังส่งของให้ลูกค้าได้ ไม่มีใครรู้ว่านํ้าท่วมถ้า ไม่มาเยี่ยมโรงงาน
ผมเปลี่ยนตำ�แหน่งคนให้ถูกกับความสามารถ ผมให้การยอมรับให้เขา เป็นส่วนหนึ่งของงาน ผมฝึกอบรมพนักงานทุกคน และผมดูแลพวกเขา เหมือนครอบครัว สิ่งเหล่านี้ทำ�ให้พวกเราทำ�งานด้วยความสนุกแต่อยู่บน มาตรฐานและการใส่ใจลูกค้า คนไทยนั้นน่าทึ่งมากถ้าเพียงแต่คุณให้ ความเคารพเขา รักษาสัญญา และถ้าหากคุณบริหารอย่างเข้าใจ แนวคิด เรือ่ ง “ไม่เป็นไร” ของคนไทยก็เป็นผลบวกต่อโรงงานเหมือนทีผ่ มพูดไปแล้ว นั่นคือเหตุผลว่าตลอด 12 ปี (1995-2007) ที่ทำ�งานมา โรงงานผมมีกำ�ไร ต่อเนื่องกัน 48 ไตรมาส และลูกค้าก็เชื่อถือเรา ที่สำ�นักงานของเราแขวน กรอบรูปประกาศเกียรติคุณจากลูกค้าประมาณ 50 ราย แต่ที่สำ�คัญผม และพนักงานมีช่วงเวลาการทำ�งานที่สนุกร่วมกัน
หนังสือโปรด
วันเวลาว่าง
ผมชอบอ่านพจนานุกรม ผมติดมาสมัยอยู่กองทัพ ตอนนั้นผมเรียนที่มหาวิทยาลัย อินเดียน่าได้ปีเดียวก็ต้องไปสงครามเวียดนาม ผมรู้ว่าถ้าจะกลับมาเรียนต่อผมต้อง รู้จักศัพท์เพื่อเขียนได้มากขึ้น ผมจึงอ่านพจนานุกรม และที่กองทัพผมได้เรียนรู้ เกีย่ วกับอิเล็กทรอนิกส์และความเป็นผูน้ �ำ เมือ่ ผมกลับมาผมจึงลงเรียนต่อทีม่ หาวิทยาลัย อินเดียน่าในสาขาธุรกิจ และเริ่มงานในธุรกิจรถยนต์ก่อน แล้วจึงมาทำ�งานสาย อิเล็กทรอนิกส์ในซิลิคอน วัลเลย์
ตอนผมทำ�งาน ผมออกจากบ้านตีหา้ ครึง่ มาทำ�งาน และกลับบ้านสีท่ มุ่ ครึง่ ทีท่ �ำ งาน เหมือนลูกผม ตอนนี้ผมเกษียณ ผมจึงใช้เวลากับลูกชายผมที่ตอนนี้อายุ 13 ปีแล้ว ส่วนเวลาที่เหลือผมเหมือนจะยุ่งตลอด ผมมักจะได้รับเชิญไปกินข้าวกลางวันที่นั่น ที่นี่ รวมทั้งพนักงานก็มาชวนผมและภรรยาไปทานข้าวบ่อยๆ แต่ถ้ามีเวลา ผมจะ นั่งรถไฟฟ้าไปสถานีต่างๆ และก็พยายามขึ้นลงบันไดให้ได้ 10,000 ขั้น นั่นเท่ากับ คุณเดิน 7 กิโลเมตรต่อวัน สำ�หรับตอนนี้ผมกำ�ลังคิดว่าจะกลับมาทำ�บริษัท ที่ปรึกษา เพราะเพื่อนๆ มักจะถามผมว่า “เจมส์ เมื่อไรคุณจะกลับมา”
32 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
THE MOST
theinspirationroom.com
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
POWERFUL ARM EVER INVENTED เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
สถานการณ์ตึงเครียดในเกาหลีเหนือและเหตุระเบิดปริศนาในงานบอสตันมาราธอน ทำ�ให้ประชาชนทั่วโลกตกอยู่ภายใต้เงาของ ความหวาดกลัวอีกครั้ง ไม่มีใครรู้ว่าสงครามจะปะทุขึ้นหรือไม่ เมื่อไร หรืออย่างไร แต่ในขณะเดียวกัน ความกลัวก็เป็นแรงขับไปสู่การ ต่อสู้เพื่อความอยู่รอดมาช้านาน หรือกระทั่งเพื่อประกาศความเหนือกว่าฝ่ายตรงข้าม ดังที่ วิลเลียม เวสต์มอร์แลนด์ (William Westmoreland) ผู้บังคับบัญชาการกองทัพทหารสหรัฐอเมริกาในสงครามเวียดนามเคยกล่าวไว้ว่า “แท้จริงแล้วสงครามก็คือ ความกล้าหาญในคราบของความกลัว”
เมื่อสามสัปดาห์ก่อนเหตุการณ์ระเบิดที่บอสตัน มูลนิธิ Save Our Sons ได้สร้างปรากฏการณ์บนโลกออนไลน์ด้วยการปล่อยคลิปวิดีโอที่มีชื่อว่า The Most Powerful Arm Ever Invented ผ่านช่องทางของเครือข่าย ออนไลน์อย่าง วิมีโอ ทวิตเตอร์ และเฟซบุ๊ก เพื่อให้คนทั่วโลกรับรู้ถึงการ ต่อสู้ของเด็กจำ�นวนหนึ่งในออสเตรเลียที่กำ�ลังเผชิญกับโรคกล้ามเนื้อ เจริญ พัน ธุ์ผ ิ ด เพี ้ ยนแบบดูชีนน์ห รือโรคกล้า มเนื้อลีบ (Duchenne Muscular Dystrophy) ซึ่งทำ�ให้เด็กเหล่านี้ไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อส่วน ต่างๆ ได้ตามปกติ จนถึงขั้นทุพพลภาพไปในที่สุด เนื่องจากออสเตรเลีย ยั ง ไม่ มี ก ฎหมายที่ ส นั บ สนุ น ด้ า นการศึ ก ษาวิ จั ย โรคร้ า ยนี้ โ ดยตรง ประกอบกับโอกาสที่สภาวะดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับชาวออสเตรเลียมีเพียง แค่ 1 ใน 3,000 คนเท่านั้น โดยร้อยละ 99 เป็นเด็กผู้ชาย โรคนี้จึงยัง ไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นกับเพื่อนมนุษย์ ฮาวาส เวิลด์ไวด์ (Havas Worldwide) เอเจนซี่โฆษณาชื่อดังในออสเตอรเลียจึงได้คิดหาวิธีบอกต่อ เรื่องราวนี้ไปสู่วงกว้าง พร้อมกับระดมความช่วยเหลือและเงินบริจาค ผ่านแคมเปญออนไลน์ ด้วยการสร้างอาวุธ (Arm) ที่ทรงแสนยานุภาพ มากที่สุดในโลกขึ้นมาในรูปแบบหุ่นยนต์มือ (Robotic Arm) ความน่าทึ่ง 34 l
Creative Thailand
l พฤษภาคม 2556
ของผลงานชิ้นนี้ไม่ได้อยู่ที่การสร้าง “มือใหม่” เพื่อทดแทนมือข้างที่ใช้ งานไม่ได้ แต่เป็นการสร้างมือที่จะหยิบยื่นความช่วยเหลือจากคนทั่วโลก และส่งต่อไปยังทุกชีวิตที่กำ�ลังเผชิญกับโรคนี้ โดยทุกครั้งที่มีผู้ลงชื่อ สนับสนุนแคมเปญในเฟซบุก๊ ระบบออนไลน์จะส่งรายชือ่ ไปยังหุน่ ยนต์มอื และเขียนชื่อของบุคคลนั้นลงในเอกสารคำ�ร้องเรียน เพื่อรวบรวมรายชื่อ ผู้สนับสนุนและผลักดันให้รัฐบาลออสเตรเลียดำ�เนินการออกกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการวิจัยโรคกล้ามเนื้อลีบดูชีนน์อย่างเป็นทางการ หรือถ้าจะ พูดให้เห็นภาพและเข้าใจง่ายขึ้นก็คือ หนึ่งมือของเราสามารถเยียวยา รักษามือของพวกเขาได้นั่นเอง นอกจากแคมเปญนี้ จ ะประสบความสำ � เร็ จ ในการนำ � นวั ต กรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์มาใช้เป็นอาวุธเพื่อต่อสู้กับขีดจำ�กัด และความกลัวของมนุษย์แล้ว ยังสะท้อนอีกด้านหนึ่งของอาวุธที่ไม่ได้ถูก สร้างขึ้นเพื่อทำ�ลายเท่านั้น หากเป็นการจุดประกายความหวังให้กับชีวิต อื่นๆ อีกนับร้อยพัน เพราะในขณะที่มนุษย์ต่อสู้บนพื้นฐานของความกลัว เราก็ไม่เคยสิน้ หวัง และไม่วา่ รูปแบบของสงครามจะแปรเปลีย่ นไปอย่างไร ในอนาคต ความหวังจะเป็นพลังให้เราหลุดพ้นจากความกลัว ที่มา: digitalbuzzblog.com, saveoursons.org.au, themostpowerfularm.com