Everyone is the age of their heart. อายุของคนเรานั้นขึ้นอยู่ที่ใจ สุภาษิตกัวเตมาลา
CONTENTS สารบัญ
6
The Subject Insight
20
Creative Entrepreneur
22
Creative City
24
The Creative
29
Creative Will
34
Aging Change
8 10 11
12
Creative Resource
Movie/ Book/ Magazine/ Featured Book
โอกาสใหมสำหรับคนกลุมเกา
Matter
สวยดวยวิศวกรรมชีวการแพทย
Classic Item
Birth Control Pills
Cover Story
Rise of the Aging Empire เปดอาณาจักรนักชอปสูงวัย
โทยามะ: Compact City เมืองแหงอนาคตที่เปนมิตรกับผูสูงวัย
พญ.อรพินท ภูมสิ วุ รรณ เวชศาสตรชะลอวัย หัวใจแหงอนาคต
SENS Research Foundation เมื่อความชรา… รักษาได
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, ศุภาศัย วงศกลุ พิศาล, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, อคีรัฐ สะอุ สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l ชนันดา บุญประสพ, วันวิสาข ชิดทองหลาง จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
ริ้วรอยแห่งสติปัญญา ที่บ้านดงยาง จังหวัดยโสธร ความร้อนและความแห้งแล้งไม่ได้เป็นอุปสรรคของผืนนากว่า 20 ไร่ที่เขียวชอุ่มตลอดทั้งปี ด้วยวิธีคิดและการลงมือทำ�อย่างจริงจังของ เอี่ยม สมเพ็ง ชาวนาวัย 68 ปีที่ต่อสู้กับธรรมชาติและสารเคมีมากว่า 20 ปี ก่อนจะพลิกผืนนาด้วยแนวเกษตรอินทรีย์ การต่อสู้กับภูมิอากาศของอีสานนั้นไม่ได้ได้มาเพราะโชคช่วย แต่เกิดจากการเฝ้าสังเกตและประมวลผล เพราะ ตั้งแต่ปี 2536-2556 ลุงเอี่ยมได้บันทึกวันที่ฝนตกทุกวันแล้วนำ�มาทำ�เป็นกราฟแบบง่ายๆ จนเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน และนำ�ไปสู่การกำ�หนดวันหว่านข้าวหอมมะลิในแต่ละปีการคำ�นวณปริมาณฝนไม่ใช่ปัจจัยเดียว ลุงเอี่ยมยังได้คิดระบบ ชลประทานย่อมๆ ด้วยการขุดสระนํ้า แต่ก็ต้องพบกับต้นทุนค่านํ้ามันของเครื่องสูบนํ้าดังนั้น เมื่อ 4 ปีที่แล้ว เขาจึงได้ ทดลองประดิษฐ์กังหันลมที่นำ�วัสดุอุปกรณ์เท่าที่หาได้ ทั้งสังกะสี พลาสติก ป้ายโฆษณา เหล็กแกนกลางล้อจักรยานมา ลองผิดลองถูกจนได้กังหันลมที่มีต้นทุน 3,000 บาทมาไว้สูบนํ้าใช้ได้ตลอดทั้งปี ผลผลิตข้าวที่เคยได้ 5-6 ตันจากการใช้ ปุ๋ยเคมีบนผืนนา 23 ไร่ก็เปลี่ยนเป็นข้าวหอมมะลิอินทรีย์ 10-15 ตัน จากพื้นที่ 11 ไร่ และอีก 6 ไร่เปลี่ยนเป็นพืชผัก หมุนเวียนกว่าร้อยชนิดที่ส่งขายได้ทุกวัน เก็บรายได้วันละกว่าพันบาท ทุกวันนี้ ลุงเอี่ยมกับผืนนาและกังหันลมของเขาได้ รับความสนใจจากชาวนาในจังหวัดอื่น โดยมีองค์กรของรัฐและเอกชนเข้ามาเรียนรู้ถึงตัวอย่างของการใช้สติปัญญาและ ประสบการณ์เอาชนะความแล้งของผืนดิน สังคมอาจคุ้นเคยกับความสร้างสรรค์ที่เป็นเลิศ ไอเดียแหลมคมจากความเยาว์วัยที่ปูทางสู่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้า มากมายในโลกใบนี้ แต่สังคมก็ไม่อาจมองข้ามความเจนจัดและรอบด้านจากความอาวุโสได้ ย้อนกลับไปยาวนานกว่านั้น หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ในวัย 65 ปีทำ�การทดลองวัคซีนเพื่อเอาชนะโรคแอนแทรกซ์ที่ระบาดอย่างหนักในยุโรป หรืออเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง (Alexander Fleming) ผู้ค้นพบเพนนิซิลินและพัฒนายาอันเป็นคุณูปการต่อโลกก็ได้รับการ ยกย่องด้วยรางวัลโนเบลในวัย 64 ปี กระทั่งเบื้องหลังไอโฟนเครื่องแรกในปี 2007 ของ สตีฟ จ็อบส์ (Steve Jobs) ก็ยัง พึ่งพิงตรรกะอันลึกซึ้งแต่แสนเรียบง่ายของดีเตอร์ แรมส์ (Dieter Rams) นักออกแบบอาวุโสที่วันนี้มีวัยกว่า 82 ปีแล้ว โดย จ็อบส์ยังได้ส่งไอโฟนเครื่องแรกไปให้แรมส์ เพื่อเป็นการคารวะต่อความรู้ของแรมส์อีกด้วย ความเยาว์วัยอาจไม่ใช่เครื่องการันตีความคิดสร้างสรรค์ที่สดใหม่ ขณะที่ความอาวุโสก็ไม่ได้ยืนยันความถูกต้อง แต่สังคมนั้นไม่อาจละเลยการผสมผสานอย่างกลมกลืนขององค์ความรู้จากผู้คนต่างยุคสมัยกันได้ ยิ่งในสถานการณ์ที่โลก ก้าวเข้าสู่การเผชิญหน้ากับโครงสร้างประชากรของผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นทุกปี ขณะที่วัยแรงงานถดถอย การผลิตของโลก ส่วนหนึ่งจะต้องตอบโจทย์แก่กลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นพลเมืองและผู้บริโภคขนาดใหญ่ของโลก ข้อเท็จจริงก็คือความต้องการ ของกลุ่มผู้สูงอายุต้องถูกเปลี่ยนเป็นสินค้าและบริการ ซึ่งก็ล้วนมาจากความสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ที่คิดค้น แต่เพื่อให้ เข้าถึงใจของลูกค้า จึงต้องอาศัยประสบการณ์และความรู้ของผู้อาวุโสมาคิดให้รอบด้าน ดังนั้น จึงนับเป็นโชคดีของสังคม ทีจ่ ะเกิดปรากฏการณ์การไหลเวียนทางปัญญาทีอ่ ยูบ่ นรากฐานและร่องรอยของคนรุน่ ก่อน จนผลิดอกออกผลใหม่ๆ ให้กบั คนรุ่นต่อไป การก้าวสู่สังคมของความสูงวัยนั้นไม่ใช่เรื่องน่าตระหนกเพราะโลกพรั่งพร้อมด้วยแนวคิดและเทคโนโลยีอันลํ้าเลิศ ที่จะทำ�ให้ความสุขเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ แต่สิ่งที่ต้องตระหนักก็คือ ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยไหน เราได้สร้างคุณค่าให้กับ ตัวเองหรือสังคมมากพอแล้วหรือยัง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th (ตามเข็มนาฬิกา) เอี่ยม สมเพ็ง, อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง, หลุยส์ ปาสเตอร์ เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
สวยอมตะ...เป็นไปได้ ภาพลักษณ์ใหม่ของผู้หญิงวัย 60 ปี จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อคริสตี้ บริงค์ลีย์ (Christie Brinkley) ซูเปอร์โมเดลชื่อดังชาวอเมริกันได้ให้สัมภาษณ์กับนิตยสารพีเพิล (People) ฉบับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาหลังมีอายุครบ 5 รอบ พร้อมอวดหุ่นเพรียว สวยในชุดว่ายน้ำ�สีฟ้าเทอร์ควอยซ์บนหน้าปก โดยคุณแม่ลูกสามได้เผยเคล็ดลับการดูแล ตัวเองให้ยังคงความสวยเซ็กซี่ไม่เปลี่ยนแปลงว่าเธอให้ความใส่ใจกับสัดส่วนรูปร่าง เป็นพิเศษ โดยนอกจากการออกกำ�ลังกายให้เหมาะสมกับวัยอย่างการปั่นจักรยานในที่ร่ม ยกนํ้าหนัก เล่นโยคะ รวมถึงหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลาแล้ว เธอยังรักการทาน อาหารเพื่อสุขภาพ โดยทานมังสวิรัติมาตั้งแต่อายุ 13 ปี นอกจากนี้ สิ่งสำ�คัญที่เธอยํ้าคือ การมองโลกในแง่บวกและการจัดการกับความเครียด ที่มา: บทความ ”Christie Brinkley: Still Stunning in a Swimsuit at 60!” (29 มกราคม 2014) จาก people.com
แก่แต่เก๋า
TREND
แม้จะพ่ายแพ้มัตเตโอ เรนซิ (Matteo Renzi) คู่แข่งขันวัย 39 ปี ในการชิงตำ�แหน่งนายกรัฐมนตรี แต่การที่ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี (Silvio Berlusconi) อดีตนายกรัฐมนตรีวัย 77 ปีของอิตาลี เผยใบหน้า เปลือยเปล่าไร้เมคอัพระหว่างการแสดงปาฐกถาครั้งใหญ่กลางกรุงโรมเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เพื่อแสดง ถึงคุณค่าของการสูงวัยอย่างเป็นธรรมชาติ ก็เป็นประเด็นที่น่าขบคิดไม่น้อย เพราะการพลิกกลยุทธ์ ครัง้ นีน้ บั เป็นการเปลีย่ นภาพลักษณ์ครัง้ สำ�คัญของแบร์ลสุ โคนี ผูพ้ ยายามจะรักษาภาพลักษณ์แห่งความ อ่อนเยาว์ด้วยเข้ารับการศัลยกรรมและปลูกผมนับครั้งไม่ถ้วนมาตลอดการดำ�รงตำ�แหน่งร่วม สองทศวรรษ แต่ด้วยอายุที่ห่างกันมากเกือบเท่าตัวกับคู่ต่อสู้ การสร้างความมั่นใจให้ประชาชนด้วย วุฒิภาวะ ความอาวุโส และประสบการณ์ในการมองโลกที่แม่นยำ�กว่า จึงเป็นไม้เด็ดสุดท้ายของผู้นำ� ซูเปอร์สตาร์รายนี้ หากมองไปยังฝั่งสหรัฐอเมริกา ล่าสุดรัสมุสเซน รีพอร์ตส์ (Rasmussen Reports) ได้เผยแพร่ ผลสำ�รวจความคิดเห็นทางโทรศัพท์จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง พบว่าหากนำ� การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยต่อไปในปี 2016 มาจัดขึ้นในขณะนี้ ชัยชนะจะตกเป็นของ ฮิลลารี คลินตัน (Hillary Clinton) อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งและอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ โดย ร้อยละ 47 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันจะเลือกเธอเป็นประธานาธิบดีคนต่อไป แม้ว่าฮิลลารี จะมีอายุครบ 69 ปีในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2016 แต่กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 72 ก็ลงความเห็นว่าเธอ “ยังไม่แก่เกินไป” ที่จะทำ�หน้าที่ประธานาธิบดี และมีเพียงร้อยละ 16 เท่านั้น ที่คิดว่าอายุของเธอจะเป็นอุปสรรคต่อการทำ�หน้าที่ผู้นำ� กลยุทธ์การปรับภาพลักษณ์ใหม่ของแบร์ลุสโคนีและผลสำ�รวจคะแนนนิยมที่ชาวอเมริกันมีต่อ ฮิลลารี จึงอาจกำ�ลังบอกเป็นนัยว่าการให้คุณค่ากับความเก่าและความชราคือเข็มทิศที่โลกกำ�ลัง ก้าวเดินไป
6l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
ที่มา: บทความ “ผลสำ�รวจล่าสุด ชี้ ‘ฮิลลารี คลินตัน’ จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนต่อไปในปี 2016” (7 มีนาคม 2557) จาก manager.co.th, บทความ “Italy's Berlusconi Opts for Wrinkles in New Image Switch” (26 มกราคม 2557) โดย James Mackenzie จาก reuters.com, บทความ “2016? Hillary Clinton 47%, Jeb Bush 33%” (6 มีนาคม 2557) จาก rasmussenreports.com
THE SUBJECT ลงมือคิด
ถึงเวลาที่ผ้าอ้อมผู้ใหญ่เบียดตลาดผ้าอ้อมเด็ก ช่วงสิบปีที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่ในญี่ปุ่นขยับตัวสูงขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว ในปี 2013 ยูนิชาร์ม (Unicharm) พบว่ายอดขายผ้าอ้อมผู้ใหญ่สูงขึ้นเป็น 576 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมากกว่าผ้าอ้อมเด็ก ทั้งยังมีอัตราการเติบโตที่เร็วกว่าและคาดการณ์ ว่ายอดขายจะแซงหน้าผ้าอ้อมเด็กในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ร้านขายยาโทโมซึ (Tomod’s) ร้านขายยาในเมืองคาวาซากิเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ สำ�หรับผู้สูงอายุนั้นเพิ่มสูงขึ้น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่กลายเป็นหนึ่งในสินค้าจำ�เป็นที่ยึดพื้นที่บน ชั้นวางพอๆ กับผ้าอ้อมเด็ก โดยเมื่อผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมเด็กเติบโตจนถึงจุดอิ่มตัว ผู้ผลิต จึงเริ่มให้ความสนใจตลาดผ้าอ้อมผู้ใหญ่มากขึ้น เห็นได้จากการที่บริษัทโอจิ เนเปีย (Oji Nepia) เข้ามาสร้างโรงงานผลิตผ้าอ้อมผู้สูงอายุแห่งใหม่ที่เมืองฟูกุชิมะเมื่อปี ที่ผ่านมา และบริษัทไดโอะ เปเปอร์ (Daio Paper) ก็มีแผนที่จะสร้างโรงงานในฟุกุชิมะ เช่นกัน โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2017
INDUSTRY
ที่มา: บทความ “Aging Population Pushes Up Sales of Adult Diapers” (23 ธันวาคม 2013) จาก ajw.asahi.com
หุ่นยนต์ดินสอ มินิ นวัตกรรมจากนักสร้างสรรค์ชาวไทย ซีที เอเชีย โรโบติกส์ (CT Asia Robotics) ผู้คิดค้นหุ่นยนต์บริการผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถขยับตัวได้เนื่องจากเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หุ่นยนต์ดินสอ มินิ บรรจุระบบเรียกให้โทร กลับหรือ DinsowSpond ซึง่ ได้รบั การพัฒนาขึน้ เพือ่ ให้การติดต่อหาผูส้ งู อายุเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ผ่านการสือ่ สาร 2 รูปแบบ คือ Call Back to Respond กับ Chat to Respond และระบบปฏิบัติการแบบ Real Time Monitoring ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สมาร์ทโฟน ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android ช่วยให้ลูกหลานสามารถดูแลและเห็น สภาพความเป็นไปของผูส้ งู อายุจากสถานทีต่ า่ งๆ ได้ การติดตัง้ อุปกรณ์เช็คสัญญาณชีพจร Vital Signs ยังช่วยส่งข้อมูล ตรงไปยังแพทย์ผดู้ แู ล รวมทัง้ สามารถวัดไข้ ตรวจลมหายใจ วัดระดับความชืน้ เฝ้าดูการหลับ และวัดคลืน่ หัวใจได้ หุ่นยนต์ดินสอ มินิ วางจำ�หน่ายอย่างเป็นทางการด้วยราคาราว 185,000 บาท เพื่อรองรับจำ�นวนประชากร ผู้สูงอายุของไทยที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 13 ในปัจจุบัน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในปี 2025 ที่มา: สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
เสียงสื่อความห่วงใย
INNOVATION
โลกวันนี้กำ�ลังขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวลํ้าและมีความใกล้เคียงมนุษย์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความฉลาดทางการรับรู้อารมณ์และ ความรู้สึก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราใกล้ชิดกับเทคโนโลยีได้อย่างแนบเนียนแล้ว ยังมีส่วนสำ�คัญในการดูแลผู้สูงวัยด้วย เช่น แอพพลิเคชั่น Xpression ซึ่งสามารถระบุอารมณ์ ไม่ว่าจะดีใจ เสียใจ โกรธ หวาดกลัว หรือสงบสุข ของผู้สั่งการได้ ด้วยการวัดระดับความเข้มและความ ดังของน้ำ�หนักเสียงในช่วงเวลานั้นๆ แอพพลิเคชั่นนี้สามารถนำ�ไปปรับใช้กับศูนย์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงวัยในการติดตามสภาวะทางอารมณ์ ได้ หรือแม้แต่ Siri ที่ได้เพิ่มบทสนทนาเพื่อโต้ตอบคำ�ถามที่อาจเกี่ยวโยงไปถึงการคิดฆ่าตัวตายของผู้ใช้งาน โดยเมื่อ Siri ได้รับคำ�ถามที่มี แนวโน้มไปสู่ภาวะวิกฤตต่างๆ มันจะนำ�เสนอทางเลือกให้สามารถติดต่อกับสายด่วนศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ (National Suicide Prevention Lifeline) ได้ทนั ท่วงที นอกจากนี้ สำ�หรับผูส้ งู วัยทีม่ ปี ญั หาเรือ่ งการพิมพ์ตวั อักษรบนจอขนาดเล็กก็ยงั สามารถเลือกใช้ แอพพลิเคชัน่ ชือ่ Dragon Dictation ซึง่ สามารถบันทึกเสียงแล้วถอดเป็นตัวหนังสือได้ภายในเวลาไม่กว่ี นิ าทีดว้ ยความแม่นยำ� พร้อมฟังก์ชน่ั ส่งคำ�ที่ถูกถอดเสียงนั้นเป็นข้อความสั้นๆ หรืออีเมลได้ทันทีโดยไม่ต้องขยับแป้นพิมพ์ด้วย ที่มา: บทความ “Caring Technology: Trend Analysis” โดย Ali Morris (9 มกราคม 2557) จาก wgsn.com เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l7
ภาพชายชรานั่งหงอยเหงาเพื่อรอวันสุดท้ายมาถึง คงเป็นภาพที่ดูสวนทางอย่างสุด โต่งกับภาพยนตร์จากสาธารณรัฐเช็กเรือ่ งนี้ เพราะแค่เพียงโปสเตอร์กท็ ลายภาพหนุม่ ใหญ่วัยผมสีดอกเลาด้วยท่าทางขี้เล่นสนุกสนาน ล้อไปกับบทที่ช่วยส่งให้วลาสติมิล บรอดสกี ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติอย่าง Czech Lion จากการรับบทฟานดาที่เลือก ใช้ชีวิตช่วงสุดท้ายด้วยการวางแผนเล่นสนุกกลั่นแกล้งคนอื่นๆ ร่วมกับเพื่อนคู่หูโดย ไม่สนใจว่าคนรอบข้างจะคิดอย่างไร พฤติกรรมของทั้งคู่ต่างจากภรรยาของฟานดา ที่ทุกวันหมกมุ่นอยู่กับการเก็บเงิน วางแผน และคิดถึงบทอำ�ลาอาลัยของตัวเองและ สามี ความร่วงโรยตามวัยอาจมาพร้อมกับการปลดระวางตัวเองหรือแม้กระทั่งการ ใช้ทุกนาทีอย่างมีคุณค่าจากประสบการณ์ที่ผ่านมานับสิบปี ในชีวิตจริง บรอดสกีถือ เป็นนักแสดงฝีมอื ดีรนุ่ ลายครามทีโ่ ลดแล่นอยูใ่ นแวดวงละครมาตัง้ แต่อายุ 20 ปี และ เข้าสู่วงการแผ่นฟิล์มครั้งแรกในปี 1950 การรับบทอันเข้มข้นและประสบการณ์การ แสดงส่งผลให้เขาได้รับรางวัลมามากมาย และแสดงให้เห็นว่าความเก๋าระดับมือ อาชีพไม่ได้ใช้เวลาชัว่ ข้ามคืน แต่ลว้ นมาจากการสัง่ สมประสบการณ์ จนได้ชอื่ ว่าเป็น ตำ�นานและได้รับการยอมรับจากผู้ชม
BOOK
TRANSGENERATIONAL DESIGN: PRODUCTS FOR AN AGING POPULATION
โดย David R.Shah
กำ�กับโดย Vladimir Michalek
VIEWPOINT NO.33
AUTUMN SPRING
MAGAZINE
MOVIE
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
ความชราไม่ได้เป็นปฏิปักษ์หรืออยู่คนละฝั่งกับแฟชั่น บทความจากนิตยสาร Viewpoint กล่าวว่ากลุ่มลูกค้าซึ่งมีอายุมากกว่า 55 ปีที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Silver Market นี้เป็นคนชรารุ่นใหม่ซึ่งมีวิถีชีวิตค่อนข้างทันสมัย ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังเป็นกลุ่มตลาดที่น่าสนใจ เพราะมีกำ�ลังซื้อสูงและกำ�ลังขยายตัว หากแต่ผู้ผลิต สินค้าแฟชัน่ ไม่ได้ให้ความสนใจมากนัก ตัวเลือกสำ�หรับสินค้าแฟชัน่ ในกลุม่ นีจ้ งึ น้อย หรือมีแค่สีและแบบเดียวกันไปหมด และเรียกรวมๆ ว่าสินค้าสำ�หรับคนสูงวัย ทั้งที่ ความเป็นจริงแล้ว ลูกค้ากลุ่มนี้มีสไตล์และความต้องการที่หลากหลายไม่ต่างจาก วัยอื่นๆ ทั้งเสื้อผ้าสำ�หรับการทำ�งานและเสื้อผ้าสำ�หรับการเข้าสังคมในโอกาสต่างๆ ดังนั้นคงจะเป็นเรื่องดี ถ้านักออกแบบรุ่นใหม่หันมาผลิตสินค้าแฟชั่นเพื่อตอบสนอง คนกลุม่ นีม้ ากขึน้ ซึง่ จะถือเป็นการเข้าใจความต้องการของผูบ้ ริโภคและทิศทางตลาด ที่เปลี่ยนไปของโลกอย่างแท้จริง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นิตยสาร Viewpoint ที่ออกเพียงปีละ 2 เล่ม เจมส์ โจเซฟ เพิร์คล์ (James Joseph Pirkl) ศาสตราจารย์เกียรติคุณและอดีต คณบดีภาควิชาออกแบบอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) กล่ า วถึ ง การออกแบบข้ า มสายพั น ธุ์ เ พื่ อ เชื่ อ มความต้ อ งการระหว่ า งผู้ ใ ช้ ส อย กับดีไซเนอร์ นักวิทยาศาสตร์กบั ผูอ้ อกแบบบริการ หรือแม้กระทัง่ เชือ่ มความต้องการ ของคนต่างวั ย เข้ า ไว้ ด้ ว ยกั น ผ่ า นตั ว อย่ า งการคิ ด ค้ น อุ ป กรณ์ ม ากมาย เช่ น เครื่องครัวรูปแบบใหม่ๆ ไปจนถึงรองเท้าที่คำ�นึงถึงการรักษาสุขอนามัยและได้รับ การออกแบบให้เหมาะกับรูปเท้าของ ผูส้ วมใส่ ทัง้ หมดนีต้ อ้ งตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐาน หลักสามประการ หนึง่ คือดีไซเนอร์ตอ้ ง เข้าใจวิธีการใช้สอยผลิตภัณฑ์แต่ละ ชิ้นอย่างถ่องแท้ สองคือผลิตภัณฑ์ที่จะ ต้ อ งช่ ว ยลดข้ อ จำ � กั ด และเพิ่ ม ความ สะดวกสบายให้แก่มนุษย์ และสามคือ การคำ� นึงถึ ง สภาพแวดล้ อ มที่ จ ะถู ก นำ�ไปใช้งานในระดับที่ละเอียดลึกซึ้ง (Microenvironments) ซึ่งจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพชีวติ ให้กับคนทุกเพศทุกวัย
โดย James J. Pirkl
8l
Creative Thailand l เมษายน 2557
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
FEATURED BOOK
เรื่อง: ศุภาศัย วงศ์กุลพิศาล และ กริยา บิลยะลา
SECRET KNOWLEDGE: REDISCOVERING THE LOST TECHNIQUES OF THE OLD MASTERS โดย David Hockney
มีสิ่งสำ�คัญสิ่งหนึ่งนอกเหนือจากฝีมือที่วิจิตรบรรจงของเหล่าศิลปินผู้ทำ�ให้ผลงาน ศิลปะกลายเป็นผลงานทรงคุณค่าและเพิ่มมูลค่าตัวมันเองมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะ เดียวกันก็บั่นทอนคุณค่าของผลงานศิลปะชิ้นนั้นไปพร้อมๆ กัน สิ่งแปลกประหลาด นั้นคือ “กาลเวลา” ผลงานศิลปะจากฝีมือศิลปินชั้นเอกที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นผลงาน ของคาราวัจโจ เวลาสเควซ ดา วินชี หรือศิลปินก้องโลกคนอื่นๆ มักถูกสะสมโดย นักสะสมผลงานศิลปะ ทัง้ ทีเ่ ป็นพิพธิ ภัณฑ์ มหาเศรษฐี หรือแม้แต่นกั ขโมยงานศิลปะ พวกเขาตามล่าหาซือ้ ชิน้ งานศิลปะมาเก็บไว้เป็นสมบัตสิ ว่ นตัว สร้างความภาคภูมใิ จ ให้กบั เจ้าของ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้าภาพเขียนหรือผลงานประติมากรรมชิน้ นัน้ ทำ�ขึน้ ในยุคสมัยเก่าแก่หรือมีเพียงชิ้นเดียวในโลก กาลเวลาจึงทำ�ให้มันกลายเป็นสิ่งที่มี คุณค่า หายาก ไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้ใหม่ หรือซ่อมแซมให้ดีดั่งเดิมด้วยฝีมือ ของช่างสมัยปัจจุบัน ขณะเดียวกัน กาลเวลาก็ทำ�ให้เทคนิคที่ผ่านการคิดค้นด้วย กระบวนการลองผิดลองถูก จนกลายเป็นเทคนิคเฉพาะตัวนั้นขาดการส่งต่อสืบทอด และแม้เทคนิคบางเทคนิคจะถูกส่งต่อ แต่ก็มักจะลางเลือน สูญหาย หรือเกิดความ เข้าใจผิด เมื่อชิ้นงานศิลปะถูกเก็บอยู่ในมือของผู้ที่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง การดูแลรักษาอย่างแท้จริง เดวิด ฮอคนีย์ คือศิลปินอังกฤษหนึ่งในหัวเรี่ยวหัวแรงของขบวนการศิลปิน ผูส้ ร้างสรรค์ผลงานป็อปอาร์ตจนทำ�ให้เกิดปรากฏการณ์ศลิ ปะนิยมในทศวรรษ 1960 เขาสร้างสรรค์ผลงานชื่อดังอย่าง We Two Boys Together Clinging (1961) และ
A Bigger Splash (1973) ซึ่งต่อมากลายเป็นสมบัติของ Tate Collection ประเทศ อังกฤษ ฮอคนียม์ ขี อ้ สงสัยในผลงานภาพเขียนของเหล่ามาสเตอร์ชอื่ ก้องต่างๆ ทีจ่ ดั แสดงอยูใ่ นพิพธิ ภัณฑ์แห่งชาติในกรุงลอนดอนว่า “เหตุใดภาพเขียนของศิลปินระดับ ปรมาจารย์เหล่านั้นถึงดูละเอียดและมีชีวิตชีวาสมจริงเหลือเกิน” ในขณะที่ศิลปิน หลายๆ คนหรือแม้แต่ตัวเขาเองยังประสบปัญหาด้านเทคนิคเพื่อให้ได้มาซึ่งความ ละเอียดเหล่านั้น สองปีหลังจากนั้น ฮอคนีีย์ในวัย 63 ปี จึงตัดสินใจวางพู่กัน หยุด วาดภาพด้วยเทคนิคของเขาเอง และเริม่ แกะรอยวิธกี ารเขียน วาดภาพ และลงสีของ บรรดาศิลปินสมัยโบราณ การวางพู่กันของฮอคนีย์ถือเป็นข่าวครึกโครมอยู่ช่วงหนึ่ง ที่สื่อให้ความสนใจ ก่อให้เกิดบทสนทนาระหว่างนักวิทยาศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ ศิลปะ และภัณฑารักษ์ทั่วโลก ฮอคนีย์เปิดเผยบทเรียนประวัติศาสตร์และเทคนิคการวาดภาพจากบรรดา มาสเตอร์ตา่ งๆ เป็นครัง้ แรกในหนังสือเล่มนีใ้ นปี 2001 เขาเล่าเรือ่ งของตัวเองทีค่ อ่ ยๆ แกะรอยจากภาพสูภ่ าพ จากชัน้ สีสอู่ กี ชัน้ สี โดยใช้ภาพเขียนทีห่ ลงเหลืออยูใ่ นปัจจุบนั เป็นเครือ่ งมือ สายตาอันเฉียบคมทีไ่ ด้มาจากการฝึกปรือเขียนภาพทำ�ให้เขาเข้าใจถึง แก่นทีว่ า่ เพราะเหตุใดเหล่าศิลปินใหญ่ถงึ ใช้แว่นขยายและเลนส์ขนาดใหญ่เป็นเครือ่ ง มือให้วาดรูปได้เสมือนจริง จนกลายมาเป็น Secret Knowledge: Rediscovering the Lost Techniques of the Old Masters ทีถ่ า่ ยทอดเทคนิคผลงานของศิลปินต่างๆ ที่โลกชื่นชอบให้คนยุคปัจจุบันได้นำ�มาปรับใช้กับงานของตัวเอง เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
สวยด้วยวิศวกรรมชีวการแพทย์
เรื่อง: ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป และ ดร.พสุ สิริสาลี ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) vเรียบเรียง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ความต้องการเพิ่มโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยที่มีความ บกพร่องทางร่างกาย รวมทั้งการผ่าตัดเพื่อความสวยงามที่ได้รับความนิยม มากขึน้ ส่งผลให้เกิดแรงผลักดันและการพัฒนาทางการแพทย์รว่ มกับวิศวกรรม ชีวการแพทย์ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีส่วนช่วยในการผ่าตัดศัลยกรรม ประเภทต่างๆ โดยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวการแพทย์ซึ่งเป็นสหวิทยาการนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. เทคโนโลยีภาพถ่าย เช่น การสร้างภาพเสมือนจริง 3 มิติจากข้อมูล ภาพถ่าย CT/MR ทั้งรูปร่างและขนาดของกระดูกและเนื้อเยื่อเพื่อใช้ประกอบ การวินิจฉัยโรค ตลอดจนออกแบบจำ�ลองและวางแผนการผ่าตัดได้ล่วงหน้า จึงช่วยลดข้อผิดพลาดและเวลาในการผ่าตัดได้ 2. เทคโนโลยีเครื่องมือและอุปกรณ์ การประยุกต์เทคโนโลยีการสร้าง ต้นแบบทีร่ วดเร็วเข้ากับข้อมูลพืน้ ฐานจากภาพถ่าย 3 มิติ เพือ่ สร้างต้นแบบและ จำ�ลองการผ่าตัด หรือการศัลยกรรมโดยเลเซอร์เพื่อให้เหลือร่องรอยจากการ ผ่าตัดน้อยที่สุด 3. วัสดุชีวการแพทย์ ถือว่าเป็นพัฒนาการที่สำ�คัญและเกี่ยวข้องใน การศัลยกรรมด้านกระดูก (hard tissue) และเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) เช่น การนำ � กระดู ก ส่ ว นอื่ น ของร่ า งกายมากรอให้ ไ ด้ รู ป แล้ ว ใส่ ไ ปในตำ � แหน่ ง ทีต่ อ้ งการซึง่ นับว่าเป็นวัสดุทรี่ า่ งกายต่อต้านน้อยทีส่ ดุ หรือการใช้วสั ดุสงั เคราะห์ เช่น ซิลิโคน ซีเมนต์กระดูก (โพลิเมทิลเมทาไครเลต หรือพีเอ็มเอ็มเอ) และ โพลีเอทิลีน นำ�มาผ่านกระบวนการขึ้นรูปแล้วนำ�ไปปลูกฝังตามร่างกาย การพัฒนาให้วสั ดุมลี กั ษณะพรุนเพือ่ ให้กระดูกเจริญเติบโตตามรูพรุนช่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของวัสดุกับร่างกายผู้ป่วย ตลอดจนการ พัฒนากระดูกจากวัสดุวิศวกรรมเนื้อเยื่อโดยการฝังวัสดุในตำ�แหน่งที่ต้องการ จากนั้นเลี้ยงเซลล์ของผู้ป่วยให้วัสดุเจริญเติบโตเป็นกระดูกแล้วนำ�ไปปลูกถ่าย ในตัวผู้ป่วย ส่วนเนื้อเยื่ออ่อน (soft tissue) ได้มีการพัฒนาวัสดุเพื่อแก้ไข ความผิดปกติของผิวหนัง หรือกล้ามเนือ้ ภายนอก เช่น วัสดุปดิ แผลจากไฟไหม้ หรือนํ้าร้อนลวก เป็นวัสดุช่วยควบคุมสภาวะที่เหมาะสมต่อการซ่อมแซมของ เนื้อเยื่อในแผล และเพิม่ ความสามารถในการถ่ายเทของเสียทำ�ให้กระบวนการ สร้างเนื้อเยื่อเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแผลหายเร็วขึ้น ประเทศไทยมีหน่วยงานวิจยั และริเริม่ นำ�เทคโนโลยีวศิ วกรรมชีวการแพทย์ มาประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยศัลยกรรมตกแต่งตั้งแต่ปี 2542 จนถึงปัจจุบันมากกว่า 1,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นแนวทางที่ดีในการ สร้างองค์ความรูใ้ หม่ และการทำ�งานร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกร เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วย ติอต่อขอรับบริการและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ห้องปฏิบัติการอุปกรณ์การแพทย์ ศูนย์เทคโนโลยี โลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) โทร. 0-2564-6500 ต่อ 4378 ที่มา: บทความ “วิศวกรรมชีวการแพทย์เพื่องานศัลยกรรมตกแต่ง” (2548) โดย ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป และ รศ.นพ.จรัญ มหาทุมะรัตน์ จาก วารสารเทคโนโลยีวัสดุ
10 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
Biocellulose (MC# 6185-01) Thainanocellulose Co. Ltd. ประเทศไทย สิ่ ง ทอเซลลู โ ลสชี ว ภาพสำ � หรั บใช้ ปิดบาดแผลเพื่ อ เพิ่ ม ประสิท ธิภาพการ รักษาแผล สร้างขึ้นโดยแบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงไว้ในนํ้าสับปะรด เป็นเจลชนิด ชุ่ ม นํ้ า ที่ พิ สู จ น์ แ ล้ ว ว่ า เพิ่ ม ความชุ่ ม ชื้ น และสมานแผลทั้ ง ชนิ ด เฉี ย บพลั น และชนิดเรือ้ รังได้ รวมทัง้ บรรเทาอาการถูกเผาจากแสงแดดและสามารถช่วย ปรับสภาพผิวให้เนียนนุ่ม ยกกระชับ เพื่อคุณภาพผิวที่ดีขึ้น เหมาะสำ�หรับ ใช้ในงานทางการแพทย์
Dyneema Purity (MC# 5041-01) เส้นใยสำ�หรับการผ่าตัดเพือ่ ปลูกถ่ายอวัยวะและใช้ท�ำ ไหมเย็บแผล ทำ�จากเส้นใย โพลีเอทิลนี ชนิดเส้นยาวต่อเนือ่ ง ซึง่ จัดเป็นเส้นใยทีแ่ ข็งแรงทีส่ ดุ ในโลก (เปรียบเทียบ ความทนทานแรงดึงกับจำ�นวนเส้นใย) และทนทานกว่าเส้นลวดทีผ่ ลิตด้วย การรีดดึงถึง 15 เท่า ทัง้ ยังทนทานต่อกรดและด่างเกือบทุกชนิด และไม่ดดู ซึมนํา้ จึงเหมาะใช้ประกอบกับอุปกรณ์ทฝ่ี งั ไว้ในร่างกาย โดยใช้วสั ดุในปริมาณน้อยกว่า เส้นใยที่ทำ�จากโลหะหรือโพลิเมอร์อื่น จึงช่วยย่นเวลาในการรักษาและพักฟื้น พบกับวัสดุเหล่านี้ ได้ที่ ห้องสมุดวัสดุ TCDC
CLASSIC ITEM คลาสสิก
ในปี 1951 ยุคสมัยที่การคุมกำ�เนิดเป็นเรื่องซึ่งถูกควบคุมและห้ามเผยแพร่โดย กฎหมาย มาร์กาเร็ต แซนเงอร์ (Margaret Sanger) นางพยาบาลชาวอเมริกัน ผู้เติบโตท่ามกลางพี่น้อง 11 คน และเห็นความลำ�บากจากการไม่มีเงิน มากพอสำ�หรับดูแลสมาชิกทั้งหมด ได้ร่วมมือกับนักชีววิทยา แคธรีน แมคคอร์มิก (Katharine McCormick) เพื่อค้นหา หนทางแก้ไขปัญหาการมีลูกมาก ด้วยการวิจัยเพื่อหาตัวอย่าง และวิธีการคุมกำ�เนิดร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมน เกรกอรี พินคัส (Gregory Pincus) จนให้ผลลัพธ์เป็นยาเม็ดคุมกำ�เนิด และคลินิกที่ให้คำ�ปรึกษาซึ่งภายหลังคือสหพันธ์วางแผนครอบครัวแห่ง อเมริกา (Planned Parenthood Federation of America)
เมื่อปี 1967 ผู้นำ�ชาวแอฟริกัน-อเมริกันได้ออกมาประณามว่าการคุมกำ�เนิดนั้นเป็น “Black Genocide” หรือการจำ�กัดการเกิดของประชากรกลุ่มผิวสีอย่างไม่เป็นธรรม ด้วยการ ออกนโยบายจากรัฐบาลให้ผู้หญิงผิวสีในสหรัฐฯ ใช้ยาเม็ดคุมกำ�เนิด เพราะหลังจากการหลุดพ้นจาก การควบคุมโดยคนผิวขาว ประชากรผิวสีนั้นจำ�เป็นต้องเร่งผลิตประชากรเพื่อเพิ่มจำ�นวนและโอกาส ในการเข้าไปมีบทบาททั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของสหรัฐฯ ในอนาคต
hotinkreviews.blogspot.com
แม้ว่ายาคุมกำ�เนิดจะได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา ของสหรัฐอเมริกา (FDA) ในปี 1960 แต่ท่ามกลางช่วงเวลาที่การจัด ระเบียบสังคมยังคงเป็นอำ�นาจของศาสนจักร จึงทำ�ให้เกิดข้อขัดแย้ง กับคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก ที่เชื่อว่าการคุมกำ�เนิดที่ถูกต้องคือ การบังคับใจตนเองและการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่มีไข่ตกเท่านั้น แต่หญิงสาวส่วนหนึ่งเลือกที่จะไม่เห็นด้วยและสนับสนุนว่ายาคุมกำ�เนิดนัน้ เป็นวิธกี ารทางธรรมชาติเช่นกัน การค่อยๆ เปิดใจยอมรับทำ�ให้ช่วงระหว่างปี 1960-1965 อัตราการใช้ยาคุมกำ�เนิดโดยหญิงนิกายโรมันคาทอลิกเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 13 และกลายเป็นร้อยละ 98 ในปัจจุบัน
เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์
สิทธิและเสรีภาพในการคุมกำ�เนิดทีต่ กมาอยูใ่ นมือผูห้ ญิงด้วยยาเม็ดแผงเล็กๆ นับเป็นการคิดค้นนวัตกรรมเภสัชภัณฑ์ เพือ่ แก้ไขปัญหาอัตราการเกิดของ ประชากรที่ไม่สามารถควบคุมได้ในอดีต ยาคุมกำ�เนิดจึงกลายเป็นเครื่องมือสำ�คัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรโลก นับตั้งแต่การ เพิม่ ขึน้ ของประชากรหลายเท่าตัวในยุคเบบี้ บูมเมอร์ (ผ้ทู เี่ กิดระหว่างปี 1946-1964) ทัง้ ยังเป็นนวัตกรรมทีส่ ง่ ผลให้โลกกำ�ลังก้าวเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุอย่าง หลีกเลี่ยงได้ยากในวันนี้ ครั้งที่จีนออกนโยบายลูกคนเดียว (One Child Policy) เมื่อปี 1979 การคุมกำ�เนิดได้กลายเป็นสวัสดิการจาก รัฐบาลเพื่อชะลออัตราการเกิดใหม่ของประชากร ทั้ง บริการให้ค�ำ ปรึกษาการวางแผนครอบครัว บริการแจก จ่ายอุปกรณ์คมุ กำ�เนิด ไปจนถึงในกรณีทที่ ารกในครรภ์ ไม่ใช่เพศชายก็สามารถทำ�แท้งได้อย่างถูกกฎหมาย แม้นโยบายนี้จะได้รับการผ่อนปรนในปัจจุบัน แต่ผลที่ ตามมาก็คือ หลังจากปี 2012 มีประชากรจีนสูงอายุ กว่า 123 ล้านคนที่ไม่มีคนคอยเลี้ยงดู
ในปี 2011 มูลค่าผลิตภัณฑ์คุมกำ�เนิดในตลาดโลกนั้น มีมากถึง 16 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะ เติบโตมากถึง 23 พันล้านเหรียญฯ ในปี 2018 โดย สัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดคือ ยาเม็ดคุมกำ�เนิด
ปัญหาการลืมกินยาให้ตรงเวลานับเป็นโจทย์สำ�คัญที่ ต้องแก้ไขผ่านกระบวนการออกแบบ บริษทั ผลิตยาคุม ยีห่ อ้ Dialpak จึงเปิดตัวยาเม็ดคุมกำ�เนิดทีถ่ กู ออกแบบ
มาให้บรรจุอยู่ในแผงวงกลมเป็นครั้งแรกในปี 1962 โดยใน 1 แผง บรรจุ 28 เม็ด มีวันระบุเป็นเกลียวหมุน อยู่ด้านในเพื่อให้สามารถจดจำ�วันที่รับประทานได้ ก่อนที่แผงยาคุมกำ�เนิดจะถูกปรับเป็นสี่เหลี่ยมในปี 1965 โดยบรรจุเม็ดยาลงในตารางปฏิทินเพื่อให้ง่าย ต่อการจดจำ� จนปัจจุบันแผงยาคุมกำ�เนิดถูกปรับ เปลีย่ นอีกครัง้ ให้บรรจุแบบเรียง 4 แถว แบ่งแยกสีตาม ประเภทฮอร์โมน โดยมีลกู ศรระบุล�ำ ดับการรับประทาน อย่างชัดเจน
ที่มา: pbs.org, hhs.gov, bbc.co.uk, huffingtonpost.com, guttmacher.org, วิกิพีเดีย เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 11
COVER STORY เรื่องจากปก
RISE OF THE AGING EMPIRE เปิดอาณาจักร นักช้อปสูงวัย
flickr.com/photos/Whonl
เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
ความพยายามในการคงความเป็นหนุ่มสาวและความแตกต่างระหว่างวัยกำ�ลังเป็นประเด็นที่ได้รับ ความสนใจมากขึ้น ขณะที่ผลวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกต่างยืนยันถึงอายุเฉลี่ยของประชากรโลกที่กำ�ลัง ก้าวเข้าสูว่ ยั ชราอย่างรวดเร็ว การเดินทางของเวลาทีไ่ ม่อาจชะลอได้น้ี ไม่ได้ท�ำ ให้ผคู้ นบนโลกยอมแพ้ ทว่าได้ก่อให้เกิดทั้งโอกาสทางธุรกิจ นวัตกรรม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ทีส่ อดรับกับความต้องการของผูส้ งู วัย เพือ่ ทีม่ นุษย์จะสามารถดำ�เนินชีวติ ควบคูไ่ ปกับกาลเวลาได้อย่าง ราบรื่นและเต็มไปด้วยคุณภาพ 12 l Creative Thailand l เมษายน 2557
COVER STORY เรื่องจากปก
เข้าถึงอินไซต์นักช้อปสูงวัย เมื่อจำ�นวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้นพร้อมกับความต้องการรูปแบบใหม่ๆ ผู้ที่ตระหนักถึงความสำ�คัญและอำ�นาจในการจับจ่าย ได้รวดเร็วกว่าเท่านั้น ที่จะเอาชนะใจผู้บริโภคในวัยที่เอาใจได้ยากยิ่งเช่นนี้ได้
สำ�นักข่าวนิคเคอิรายงานว่า บริษทั เซเว่น แอนด์ ไอ โฮลดิง้ ส์ (Seven & I Holdings Co.) ยังเตรียมเพิ่มแผนกจำ�หน่ายอุปกรณ์เพื่อการดูแลผู้สูงอายุ เพิม่ ขึน้ ทีห่ า้ งสรรพสินค้าในเครืออย่างอิโต-โยกาโดะ (Ito-Yokado) ขณะที่ จากผลการสำ�รวจของบริษทั เซเว่น-อิเลฟเว่น ญีป่ นุ่ (Seven-Eleven Japan Co.) พบว่าผูส้ งู อายุวยั 50 ปีขน้ึ ไปคือกลุม่ ลูกค้าทีส่ �ำ คัญและคิดเป็นร้อยละ 30 ของลูกค้าทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 ในปี 1999 และร้อยละ 28 ในปี 2009 โดยเมือ่ ไม่นานมานี้ ซูเปอร์มาร์เก็ตในญีป่ นุ่ ยังได้เพิม่ เมนูอาหาร เพื่ อ สุ ข ภาพและอาหารสดที่ แ บ่ ง เป็ น บรรจุ ภั ณ ฑ์ เ ดี่ ย วเพื่ อ ผู้ สู ง วั ย ใน ครอบครัวขนาดเล็กหรือผู้ที่ใช้ชีวิตตามลำ�พัง ตลอดจนเพิ่มบริการจัดส่ง สินค้ารวมถึงการโทรสั่งยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ก่อนจัดส่งถึงบ้านเพื่อตอบ สนองกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้บ่อยครั้งเท่ากลุ่มผู้บริโภค กลุ่มอื่นๆ
©REUTERS/YuyaShino
แม้ว่าปัจจุบันผู้บริโภคสูงวัยชาวจีนจะมีบทบาทด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพิ่มมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา แต่พวกเขายังคงมองหาการสนองตอบ ความต้องการจากผู้ผลิตและการบริการต่างๆ เพราะจากรายงานล่าสุด โดยบริษัทวิจัยมินเทล (Mintel) พบว่า ร้อยละ 8 ของนักช้อปสูงอายุ ชาวจีนยังรู้สึกว่าโฆษณาและกลยุทธ์การสื่อสารที่แบรนด์ต่างๆ ใช้อยู่นั้น ไม่ได้พยายามที่จะสื่อสารถึงพวกเขา และอีกร้อยละ 8 ก็รู้สึกว่าบรรดา ร้านค้าและบริษัทต่างๆ มักละเลยผู้สูงอายุ ซึ่งต่างกับกลุ่มนักช้อปสูงวัย ชาวญีป่ นุ่ ทีเ่ ริม่ ได้รบั ความสนใจจากภาคธุรกิจและแบรนด์ส�ำ คัญๆ มากขึน้ อย่างเห็นได้ชัด เช่น ห้างสรรพสินค้าอิออน (Aeon) ที่ได้เปิดตัวสาขา ร้านแว่นตาในซูเปอร์มาร์เก็ตจำ�นวนมากเพื่อจำ�หน่ายแว่นตาสำ�หรับ อ่านหนังสือให้แก่ผู้สูงอายุ ทั้งยังได้เริ่มกระบวนการสังเกตและวิเคราะห์ พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้สูงวัยเพื่อที่จะออกแบบร้านค้าได้อย่าง เหมาะสม หรือ มารุเอตซึ ซูเปอร์มาร์เก็ต (Maruetsu Supermarket) ทีจ่ ดั ให้มีการฝึกอบรมพนักงานกว่า 260 สาขาในญี่ปุ่น เพื่อที่จะเข้าใจผู้สูงอายุ ตระหนักถึงปัญหาทางกายภาพ และสามารถให้บริการได้อย่างถูกวิธี ด้วยการให้พนักงานได้ทดลองเป็นผู้สูงอายุด้วยอุปกรณ์พิเศษต่างๆ เช่น แว่นตาจำ�ลองการเป็นต้อกระจก อุปกรณ์อดุ หูเพือ่ ลดความสามารถในการ ได้ยิน เครื่องถ่วงนํ้าหนักบริเวณข้อมือและขาที่ไม่เท่ากันเพื่อให้เสียสมดุล ในการทรงตัว ที่พันข้อศอกและนิ้วเพื่อให้งอแขนได้ยากและหยิบสินค้า ได้ลำ�บากขึ้น นอกจากนี้ ทางร้านยังจัดให้มีบริการพิเศษอื่นๆ เช่น การช่วยเหลือผู้ที่นั่งรถเข็นเป็นพิเศษ การจัดให้มีรถเข็นที่มีนํ้าหนักเบา มากกว่ารถเข็นทั่วไปไว้บริการ ป้ายบอกตำ�แหน่งสินค้าที่มองเห็นได้ง่าย และมีตัวอักษรขนาดใหญ่ การมีแว่นขยายไว้เป็นบริการเสริม และปุ่มที่ สามารถกดขอความช่วยเหลือจากพนักงานได้ตลอดเวลา
บริษัทที่ปรึกษาซึ่งเชี่ยวชาญด้านการวางแผนธุรกิจระดับโลก เอ.ที. เกียร์นีย์ (A.T. Kearney) กล่าวว่า "นักช้อปสูงวัยเหล่านี้มักใช้เวลาอยู่ในร้านค้ามากขึ้นเพื่อ ประเมินคุณภาพของสินค้าและแบรนด์มากกว่าคุณภาพของบรรจุภัณฑ์และความง่ายต่อการใช้งาน” นอกจากนี้ ยังพบว่านักช้อปสูงวัยยังมีความอ่อนไหวเรื่อง ราคาตํ่ากว่าผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ รายงานชิ้นนี้ยังระบุถึงประเด็นสำ�คัญที่ร้านค้าต้องคำ�นึงถึงในการจัดสรรประสบการณ์ที่พร้อมสรรพให้กับผู้บริโภควัยชรา เช่น การจัดเส้นทางการเดินเลือกสินค้าภายในร้าน การหลีกเลี่ยงสินค้าที่ยากต่อการหยิบซื้อหรือฉลากที่อ่านได้ยาก โดยเฉพาะลูกค้าที่มีอายุมากกว่า 70 ปี ซึ่งมี ความต้องการจุดพักระหว่างการจับจ่าย เช่นการจัดเก้าอี้นั่งภายในร้านหรือจำ�นวนร้านกาแฟที่ควรเพิ่มมากขึ้น เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการให้ร้านค้าเข้าใจถึง ความต้องการในช่วงวัยของเขา ทว่าก็ไม่ต้องการได้รับการดูแลเสมือนผู้สูงวัยที่อ่อนแอ เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 13
karenwalkereyewear.com
COVER STORY เรื่องจากปก
เมื่อสไตล์ไม่ขึ้นอยู่กับอายุ แม้เดิมทีผหู้ ญิงสูงวัยมักถูกมองว่าจะต้องแต่งตัวให้นอ้ ยลงเพื่อให้ เหมาะสมกับอายุทเ่ี พิม่ ขึน้ แต่แนวคิดนีก้ ลับกำ�ลังหันหลังสวนทาง เพราะผู้สูงอายุทั่วโลกต่างลุกขึ้นมาแต่งเนื้อแต่งตัว โดยไม่เพียง เพือ่ เป็นการเสริมความมัน่ ใจให้ตวั เอง แต่การได้แต่งตัวตามสไตล์ ที่ ช อบอย่ า งอิ ส ระนี้ ยั ง ได้ เ ปิ ด ตลาดและช่ อ งว่ า งสำ � หรั บ ธุ ร กิ จ ออกแบบและผลิตเสื้อผ้าสำ�หรับผู้สูงวัยที่ต้องการเสื้อผ้าแบบ ไม่ซํ้าใครให้กว้างมากขึ้น
14 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
"เรามักจะตั้งคำ�ถามเสมอว่าจะออกแบบผลิตภัณฑ์สำ�หรับผู้สูงวัยอย่างไร ซึ่งคำ�ตอบที่ดีที่สุดก็คือการออกแบบอะไรที่น่าสวมใส่ ให้ความรู้สึกเท่ น่าปรารถนา เซ็กซี่ และที่สำ�คัญต้องไม่ตกเทรนด์แฟชั่น” โจเซฟ คอฟลิน (Joseph Coughlin) ผู้อำ�นวยการของ MIT's AgeLab กล่าว เมื่อสไตล์กลายเป็นสิ่งสำ�คัญสำ�หรับวิถีชีวิตในแต่ละวันของผู้สูงวัย นักออกแบบสินค้าแฟชั่นหัวก้าวหน้าทั้งหลายจึงเริ่มหันมาให้ความสนใจ ในแฟชั่นของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการออกแบบและผลิตเสื้อผ้าที่ไม่ได้ให้ แค่ความสวยงามในการสวมใส่ แต่ยังต้องพิสูจน์และยืนยันถึงข้อเท็จจริง ให้ได้ว่า แท้จริงแล้วสไตล์ของคนเรานั้นไม่ได้สูญหายไปตามอายุและ กาลเวลาโดยเฉพาะในกลุม่ ผูบ้ ริโภคยุคเบบีบ้ มู เมอร์ทนี่ บั เป็นผูบ้ กุ เบิกสไตล์ การแต่ ง ตั ว อั น เป็ น ตำ � นานที่ ส ะท้ อ นถึ ง การสวมใส่ ต ามรสนิ ย มและ การแสดงออกถึงความเชือ่ วัฒนธรรม ตลอดจนวิถคี วามเป็นอยูท่ ไี่ ม่ละทิง้ จิตวิญญาณแห่งความเยาว์วัยแม้เวลาจะล่วงเลยมาแค่ไหนก็ตาม
americanapparel.net
COVER STORY เรื่องจากปก
แจ็คกี้ โอชอเนสซี นางแบบคนล่าสุด วัย 62 ปี ของ อเมริกัน แอพพาเรล
ล่าสุด คาเรน วอร์กเกอร์ (Karen Walker) ดีไซเนอร์ชาวนิวซีแลนด์ จึงได้ผลิตคอลเล็กชัน่ แว่นตาสำ�หรับฤดูใบไม้รว่ ง 2013 ในชือ่ “FOREVER” เพื่อตอกยํ้าถึงการมองโลกในแง่บวกเมื่ออายุมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะใช้ นางแบบที่เป็นผู้หญิงในวัย 65-92 ปีแล้ว ยังได้เลือกใช้ช่างภาพ อาริ เซธ โคเฮน (Ari Seth Cohen) แห่ง Advanced Style (advancedstyle.blogspot. com) เพื่อทำ�หน้าที่ในการสื่อสารความเยาว์วัยที่ยังคงอยู่เสมอผ่าน ภาพถ่ายไปยังกลุม่ ลูกค้า และแน่นอนว่าคอลเล็กชัน่ ดังกล่าวได้รบั การตอบ รับเป็นอย่างดี เนือ่ งจากมันสามารถแสดงออกถึงส่วนผสมทีล่ งตัวระหว่าง ผู้สูงวัย สปิริตของความเป็นหนุ่มสาว และสินค้าแนวสตรีทแฟชั่นที่กำ�ลัง ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แบรนด์ดัง อย่างอเมริกัน แอพพาเรล (American Apparel) ก็ยังได้เลือกใช้กลยุทธ์ การสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าสูงวัยที่มีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้นในสหรัฐอเมริกา ด้วยการเลือกให้ แจ็คกี้ โอชอเนสซี (Jacky O’Shaughnessy) นางแบบ คนล่าสุดวัย 62 ปี มาเป็นพรีเซ็นเตอร์สินค้าประเภทชุดชั้นในแทนที่จะ เลือกใช้เด็กสาววัยรุ่นแบบที่เคย เพื่อแสดงให้เห็นว่าความเซ็กซี่นั้นไม่มี วันหมดอายุ ผูบ้ ริโภคสูงวัยทีเ่ พิม่ มากขึน้ ทัว่ โลกยังทำ�ให้กลุม่ ธุรกิจเสือ้ ผ้าแบบเมน สตรีมหันมาให้ความสำ�คัญกับผู้บริโภคกลุ่มนี้มากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะ การเพิม่ ไลน์สนิ ค้าสำ�หรับช่วงอายุทหี่ ายไป พร้อมกับการนำ�เสนอคุณภาพ ของเสื้อผ้าไลน์ใหม่นี้ที่ไม่ใช่แบรนด์สำ�หรับคนแก่ แต่เป็นแบรนด์ที่ผลิต เสือ้ ผ้าคุณภาพสูงอันเป็นสิง่ ทีผ่ บู้ ริโภคกลุม่ นีม้ องหาและต้องการ โดยในปี
2008 มาร์กส์ แอนด์ สเปนเซอร์ (Marks & Spencer) ได้ออกไลน์เสื้อผ้า ที่ชื่อพอร์ตโฟลิโอ (Portfoilo) สำ�หรับลูกค้าผู้สูงวัยแต่กลับไม่ได้รับ ความนิยมเท่าที่ควร และผลปรากฏว่าคนกลุ่มนี้หันไปนิยมช้อปเสื้อผ้าที่ ออโตกราฟ (Autograph) ซึง่ เป็นพรีเมียมแบรนด์ของมาร์ก แอนด์ สเปนเซอร์ มากกว่า นั่นเป็นเพราะสิ่งสำ�คัญที่ผู้บริโภคกลุ่มนี้มองหาไม่ใช่แค่สไตล์ที่ เข้ากับบุคลิกและรสนิยมของตนเอง ทว่าคือสินค้าที่มีคุณภาพสูง แม้จะ ต้องจ่ายมากขึ้นก็ตาม ขณะเดียวกัน ธุรกิจเสือ้ ผ้าแนวคลาสสิกก็ยงั คงไปต่อได้ในวันทีผ่ สู้ งู วัย ล้นเมือง เนือ่ งจากคนสูงอายุทนี่ ยิ มเสือ้ ผ้าสไตล์คอนเซอร์เวทีฟซึง่ ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 65 ปียังคงชื่นชอบที่จะรักษาสไตล์การแต่งตัว แบบคลาสสิกเอาไว้ เช่น สไตล์การแต่งตัวที่ดูหรูหราและผลิตจากเนื้อผ้า คุณภาพดีที่ไม่ยับง่าย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้บริโภคกลุ่มนี้จะ ยังคงให้ความสนใจซื้อหาเสื้อผ้าแนวเดิม แต่ผู้ผลิตเองก็ต้องไม่ลืมที่จะ คำ�นึงถึงความสะดวกสบายในการสวมใส่ของลูกค้าที่มีอายุมากขึ้น เช่น การออกแบบเสือ้ ผ้าให้งา่ ยต่อการสวมอย่างการติดซิปด้านหลังชุดกระโปรง เพื่อจะได้ไม่ต้องถอดขึ้นมาทางศีรษะ หรือการออกแบบขนาดของชุดที่ พอดีตัวแต่ไม่ให้รัดรูปจนเกินไป และการมีขนาดของเสื้อผ้าให้เลือกมาก เพียงพอ นอกจากนี้ก็ยังต้องคำ�นึงถึงไลฟ์สไตล์ของคนในแต่ละช่วงวัย มากกว่าดูที่ตัวเลขอายุเท่านั้น เช่น การผลิตเสื้อผ้าสำ�หรับผู้สูงอายุที่ชอบ ออกไปทำ�กิจกรรมนอกบ้าน ทำ�งานสังคม ดูแลหลาน ทำ�สวน หรือออก ไปสังสรรค์กับเพื่อน เป็นต้น เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 15
ตอบสนองความต้องการผ่านเทคโนโลยี ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติพบว่าร้อยละ 33 ของประชากร ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีอายุมากกว่า 60 ปี ภายในปี 2050 โดยผู้สูงวัยเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตตามที่ใจปรารถนามาก ขึ้นโดยอาศัยการใช้เทคโนโลยีที่ก้าวลํ้าในยุคปัจจุบัน
เอ็มม่า โซมส์ (Emma Soames) บรรณาธิการนิตยสารซากา (Saga) อธิบายถึงลักษณะของผู้เกษียณอายุในยุโรปที่ยังรู้สึกท้าทายและสนุกกับ การดำ�รงชีวิต พวกเขาอาจออกเดินทางท่องเที่ยว ย้ายไปต่างประเทศ เริ่มต้นอาชีพใหม่ หรือแม้แต่เริ่มต้นชีวิตใหม่ และมีคู่ชีวิตคนใหม่ ขณะที่ อำ�นาจในการจับจ่ายของคนกลุ่มนี้ยังมีอยู่มากเนื่องจากเป็นกลุ่มคนรุ่น ทายาทของพ่อแม่ที่ประสบความสำ�เร็จทางเศรษฐกิจอย่างสูงในช่วง เศรษฐกิจรุ่งโรจน์ของยุโรป (Europe's 'economic miracle years) โดย บริษัทวิจัยเวอร์ดิคต์ (Verdict Research) เสนอว่า อุตสาหกรรมค้าปลีก ควรเตรียมการต้อนรับกำ�ลังซื้อมหาศาลของผู้บริโภควัย 65-74 ปีที่จะ เพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 40 ในปี 2017 ผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงวัยจากทั่วโลกนั้นใช้จ่ายเงินมากกว่า 8 ล้านล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในปี 2010 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำ�นวนการใช้จ่ายมาก ขึ้นเรื่อยๆ พวกเขามีอายุยาวนานขึ้น ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพมากขึ้น แข็งแรงขึ้น และที่สำ�คัญคือเป็นส่วนสำ�คัญของธุรกิจหลากหลายประเภท ในวันนี้ และแม้ว่ากลุ่มผู้บริโภคผู้สูงวัยจะมีแนวโน้มที่จะมีความภักดีใน แบรนด์มากกว่าคนกลุม่ อืน่ ๆ แต่จากผลการสำ�รวจล่าสุดกลับพบว่า พวกเขา ยังพร้อมทีจ่ ะออกค้นหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทีต่ อบความต้องการได้ดมี ากกว่า และพร้อมทีจ่ ะเปลีย่ นใจ นอกจากนี้ ยังพบว่าผูบ้ ริโภคสูงวัยกว่าร้อยละ 20 มีการตรวจเช็กข้อมูลเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ตา่ งๆ ก่อนตัดสินใจซือ้ “กลุม่ เบบี้ 16 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
บูมเมอร์ถือเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาและมีอัตราการ บริโภคสูงถึงร้อยละ 67 ของประชากรทั้งหมด แต่กลับมีงบการตลาดที่มุ่ง ไปยังคนกลุ่มนี้เพียงร้อยละ 5 ขณะที่การทำ�สำ�รวจมากกว่า 5,500 ครั้ง พบว่ากลุ่มผู้บริโภคสูงวัยชื่นชอบและพร้อมจะจ่ายเพื่องานออกแบบที่มี ความสวยงามและมอบสุนทรียภาพได้ดี” แอสซาฟ แวนด์ (Assaf Wand) แห่งซาบิ (Sabi) ผู้ผลิตอุปกรณ์ดีไซน์สำ�หรับผู้สูงอายุกล่าว อีกราวสองทศวรรษนับจากนี้ไป เหล่าเจเนอเรชั่นเอ็กซ์และกลุ่มยัง เบบี้บูมเมอร์ มีแนวโน้มที่จะใช้งานบนโลกออนไลน์มากขึ้นกว่าผู้ที่มีอายุ 55 ปีในวันนี้ นิตยสารไวร์ด (Wired) รายงานว่า จำ�นวนชาวเบบี้บูมเมอร์ ในสื่อสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊กกำ�ลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุมี แนวโน้มทีจ่ ะเชือ่ มโยงกับโลกออนไลน์เพิม่ มากขึน้ เรือ่ ยๆ ขณะทีบ่ ริษทั วิจยั ข้อมูลด้านการตลาดนีลเส็น (Nielsen) ยังระบุว่า ชาวอเมริกันที่เกิดใน ช่วงกลางปี 1970 ถึงปลายปี 1980 เป็นกลุ่มที่มีความกระตือรือร้นใน การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมากที่สุด โดยเป็นกลุ่มที่ใช้สมาร์ทโฟนและ แท็บเล็ตเป็นส่วนใหญ่ของตลาด ทัง้ ยังมีพฤติกรรมการรับชมวิดโี อออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์อย่างยูทูบและใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กสูงที่สุดอีก ด้วย เช่นเดียวกับทีพ่ บว่าผูส้ งู อายุในยุโรปเริม่ มีความคุน้ เคยกับอินเทอร์เน็ต การใช้สมาร์ทโฟน และการติดตามไลฟ์สไตล์ทชี่ นื่ ชอบผ่านเครือข่ายสังคม ออนไลน์มากขึ้น
flickr.com/photos/yourdon
COVER STORY เรื่องจากปก
COVER STORY เรื่องจากปก
Chapit เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียวจะมีจำ�นวน ผู้สูงอายุมากถึง 80 ล้านคนในปี 2050 หรือคิดเป็น 1 ใน 5 ของประชากรทัง้ หมด และค่าใช้จา่ ยในการดูแล ประชากรผู้สูงอายุจะคิดเป็นมูลค่ามหาศาลกว่า 3 แสน ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ปัญหาการขาดแคลนคนวัย หนุม่ สาวทีจ่ ะเข้ามาดูแลประชากรสูงอายุเหล่านีจ้ งึ ต้อง ได้รบั การแก้ไขด้วยเทคโนโลยีลาํ้ สมัยต่างๆ เพือ่ ช่วยให้ ผู้สูงวัยใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ
doro.com
โทรศั พ ท์ มื อ ถื อ สำ � หรั บ ผู้ สู ง วั ย ที่ ส ามารถระบุ ตำ � แหน่ ง ของผู้ ใ ช้ ง านได้ โ ดยอาศั ย เครื อ ข่ า ย จีพีเอส ทั้งยังง่ายต่อการใช้งานด้วยปุ่มขนาด ใหญ่ และฟังก์ชั่นที่ไม่ซับซ้อน ที่ด้านหลังของ โทรศัพท์ยังมีปุ่มฉุกเฉินที่เพียงกดปุ่มรัว 3 ครั้ง จะสามารถโทรออกไปยังเบอร์ที่กำ�หนดได้ทันที และปุ่ม ICE (in cases of emergency) ที่ สามารถเก็บข้อมูลส่วนตัวที่มีความสำ�คัญอย่าง วันเกิด นํา้ หนัก ส่วนสูง ข้อมูลการประกันสุขภาพ เบอร์ผู้ติดต่อ เบอร์แพทย์ประจำ�ตัว และข้อมูล ที่จำ�เป็นอื่นๆ เช่น หมู่เลือดหรือการแพ้ยาต่างๆ วางจำ�หน่ายแล้วตั้งแต่มกราคม 2013 ในราคา 60 เหรียญสหรัฐฯ
New Cools for Old School
raytron.co.jp
Doro PhoneEasy 618
การออกแบบหุ่ น ยนต์ ที่ เ ป็ น เสมื อ นเพื่ อ นหรื อ สัตว์เลี้ยงสำ�หรับผู้สูงวัย ด้วยรูปร่างหน้าตาที่ น่ารักคล้ายสัตว์แสนซนอย่างลิง และยังสามารถ ตอบโต้กับผู้ใช้งานได้ทั้งเสียงและท่าทาง โดยมัน สามารถเรียนรู้คำ�ศัพท์เพื่อโต้ตอบกับมนุษย์ได้ มากถึง 10,000 คำ� และยังมีโปรแกรมช่วยทำ�งาน ภายในบ้ า นผ่ า นการออกคำ � สั่ ง ด้ ว ยเสี ย ง เช่ น การปิด-เปิดไฟ เครื่องปรับอากาศ การเปลี่ยน ช่ อ งโทรทั ศ น์ แ ละช่ ว ยค้ น หาสิ่ ง ที่ ต้ อ งการบน อินเทอร์เน็ต ออกแบบและผลิตโดยบริษทั เรย์ตรอน (Raytron) ในเมืองโอซาก้า และประมาณราคา ขายที่ 2,000 เหรียญสหรัฐฯ
Smart Walking Stick by Fujitsu นอกจากความสวยงามแล้ว ไม้เท้าในวันนี้ยังต้อง มาพร้อมกับฟังก์ชน่ั อัจฉริยะ บริษทั ฟูจติ สึจงึ ทำ�การ ติดตั้งเครื่องนำ�ทางลงในไม้เท้า เพื่อช่วยนำ�ทาง ผูส้ งู อายุทเี่ ริม่ จะหลงลืมให้คน้ หาเส้นทางกลับบ้าน ได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ไม้เท้าดังกล่าวยัง สามารถวัดอัตราการเต้นหัวใจและอุณหภูมิใน ร่างกาย รวมถึงการติดตามการเคลื่อนไหวของ ร่างกาย พร้อมส่งอีเมลเตือนไปยังผู้ดูแลหากผู้ใช้ ไม้เท้าเกิดสะดุดล้มลงอีกด้วย
prote.in
พัฒนาจากแนวคิดอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบพกพา เพื่อให้ ผู้ที่อยู่ห่างไกลจากแพทย์สามารถตรวจสอบและเฝ้าระวัง อาการของโรคต่างๆ ได้ในรูปแบบของอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีความสวยงามเสมือนเครื่องประดับ โดยอุปกรณ์นี้จะช่วย ให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุสามารถตรวจเลือด นํ้าลาย ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจได้ด้วยตนเอง ซึ่งผลจากการตรวจจะ ถูกส่งไปอ่านผลและวิเคราะห์โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านทาง สัญญาณบลูทูธ
fujitsufans.com
Kernel of Life
เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 17 15
COVER STORY เรื่องจากปก
คนแก่แห่งภูมิภาค
flickr.com/photos/woodsbarrack
@Nattapol Suphawong
flickr.com/photos/massimo_riserbo
กลับมาที่สถานการณ์ความชราภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนับเป็น หนึ่งในวิกฤตการณ์ของหลายๆ ประเทศที่ต้องเผชิญ โดยเฉพาะประเทศไทย ซึ่งถือเป็น ประเทศที่จะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุรวดเร็วที่สุดในภูมิภาคนี้
โดยภายในปี 2040 1 ใน 4 ของประชากรไทย จะมีอายุมากกว่า 65 ปี และกำ�ลังเดินหน้าสู่ ภาวะการหดตั ว ของประชากรวั ย ทำ � งานใน ทศวรรษถัดไป หลังอัตราภาวะเจริญพันธุ์ของ ประชากรในประเทศลดลงอย่างมากในช่วงยุค 70 โดยลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.6 ในปี 2011 จากร้อยละ 2 ในปี 1992 ใกล้เคียงกับประเทศ เพือ่ นบ้านอย่างสิงคโปร์ทมี่ อี ตั ราภาวะเจริญพันธุ์ ที่ร้อยละ 1.2 ซึ่งได้เริ่มมีความพยายามที่จะ แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้วยการขยาย ช่วงอายุการทำ�งานของชาวสิงคโปร์ให้ยาวนาน ยิ่งขึ้น รวมถึงการเปิดนโยบายให้ชาวต่างชาติ สามารถโอนสัญชาติเข้าไปทำ�งานในประเทศ ได้ “เราเคยเห็นการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ที่ร้อยละ 5-6 ต่อปีมาตลอด แต่การเข้าสู่สังคม ผูส้ งู อายุของไทยอย่างรวดเร็วนีย้ งั คงเป็นคำ�ถาม สำ�หรับนักลงทุนทั่วโลก” ซองเส็งหวุ่น (Song Seng Wun) นักเศรษฐศาสตร์ประจำ�ภูมิภาค ของธนาคารซีไอเอ็มบีในสิงคโปร์กล่าว โดย เฉพาะอย่างยิ่งการที่สังคมไทยยังคงขาดการ วางแผนเชิงนโยบายในการดูแลผูส้ งู อายุจ�ำ นวน มาก นักวิเคราะห์ดา้ นประชากรศาสตร์ได้แสดง ความเห็นถึงการแก้ปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุของไทยไว้ว่า รัฐบาลควรให้การสนับสนุน นโยบายการอพยพเข้าเมืองของชาวต่างชาติ อย่างถูกกฎหมาย รวมถึงต้องเร่งปฏิรูปการ ศึกษาเพื่อสร้างแรงงานคุณภาพให้กับประเทศ ต่อไป
ที่มา: advancedstyle.blogspot.com บทความ “ยุค ‘ดิจิทัล’ ครองเมือง โลกของคน ‘Gen-C’” (7 มีนาคม 2555) จาก prachachat.net บทความ “Adjusting the Cut: Fashion, the Body and Age on the UK High Street” โดย Julia Twigg หนังสือ Ageing & Society 32, 2012 หน้า 1030-1054 โดย Cambridge University Press บทความ “Caring Technology: Trend Analysis” โดย Ali Morris (9 มกราคม 2557) จาก wgsn.com บทความ “Future Scenarios: Living Forever - The Ageing Consumer” (30 สิงหาคม 2556) โดย Libby Banks จาก wgsn.com บทความ “Japanese Retailers Target Older Shoppers” (29 มีนาคม 2555) จาก wgsn.com บทความ "Legs in the Air? Great, Let's Go”: Jacky O'Shaughnessy on Modeling for American Apparel at 62” (19 กุมภาพันธ์ 2014) โดย Leah Chernikoff จาก elle.com/fashion บทความ “Marketers and Retailers Fail to Cater for Older Chinese Consumers” (1 กุมภาพันธ์ 2556) จากwgsn.com บทความ “New Global Report: Age Blurring - How the Breakdown of Age Boundaries is Affecting Global Consumer Markets” (9 เมษายน 2554) จาก euromonitor.com บทความ “New Technology for Aging People: Innovations in Elderly Care” โดย Bobby Miller (28 มีนาคม 2556) จาก nvate.com บทความ “This Asian Nation Faces a Growing Crisis from Aging” โดย Dhara Ranasinghe (23 ตุลาคม 2556) จาก cnbc.com 18 l Creative Thailand l เมษายน 2557
พบกับนิตยสาร Creative Thailand
ทุกสัปดาหแรกของเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล
รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลป กรุงเทพฯ • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • บานใกลวงั • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • HOF Art ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • Numthong Gallery • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก
สมาชิกใหม
ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศััพทบาน โทรสาร
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)
หญิง อายุ โโทรศััพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ
อีเมล
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน
โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand
สำหรับเจาหนาที่การเงิน
1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….
1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..
INSIGHT อินไซต์
AGING CHANGE เรื่อง: พญ.วิภาดา วามวาณิชย์
ใบหน้า ผิวหนังจะบางลงและสูญเสียความยืดหยุ่น ชั้นไขมัน ใต้ผิวหนังลดลงทำ�ให้ผิวแห้งและเกิดรอยย่น เซลล์ กล้ามเนื้อลดขนาดลงทำ�ให้รูปหน้าเปลี่ยน เอ็นยึด กล้ามเนื้อใบหน้าหย่อนคล้อยทำ�ให้เห็นร่องริ้วรอย ชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณใต้ตา ร่องแก้ม และคางที่ ห้อยย้อย
กระดูก ปั จ จั ย สำ � คั ญ ที่ ทำ � ให้ เ กิ ด ความเสื่ อ มของกระดู ก ใน ผู้สูงอายุคือการสูญเสียมวลกระดูก เนื่องมาจากการ เปลีย่ นแปลงสัดส่วนของเซลล์สร้างกระดูก (osteoblast) และเซลล์สลายกระดูก (osteoclast) ทำ�ให้เกิดภาวะ กระดูกพรุน (osteoporosis) ซึ่งจะทำ�ให้กระดูกเปราะ แตกง่ายขึ้น พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
กระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะของคนสูงอายุจะจุนํ้าปัสสาวะได้ ลดลง กล้ามเนื้อยืดหยุ่นน้อยลง อีกทั้งยังบีบตัวไล่ ปัสสาวะออกได้ไม่หมด ทำ�ให้ต้องเข้าห้องนํ้าบ่อยๆ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะเพิ่มขึ้น ด้วย
ข้อ ภาวะข้อเสื่อมในผู้สูงอายุเกิดจากการสูญเสียกระดูก อ่อนรอบข้อ พื้นผิวข้อไม่เรียบ เอ็นยึดข้อหดแข็ง และ มีการลดลงของนํ้าในข้อ ทำ�ให้มีอาการปวดข้อ ข้อฝืด รับนํ้าหนักได้น้อยลง ส่งผลให้ทำ�กิจกรรมต่างๆ ได้ ลดลงไปด้วย
20 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
สมอง เซลล์สมองลดจำ�นวน เนือ้ สมองฝ่อลง (brain atrophy) การส่งกระแสประสาทช้าลงทำ�ให้การตอบสนองช้า ตาม สมองส่วนความจำ�ระยะสั้น (recent memory) ทำ � งานแย่ ล งทำ � ให้ มี อ าการหลงลื ม ง่ า ยและสั บ สน มีการเปลี่ยนแปลงของระบบการนอนทำ�ให้หลับได้ ไม่ลกึ และตืน่ เช้า เส้นเลือดทีไ่ ปเลีย้ งสมองยังมีการแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น อาจส่งผลให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต (stroke) จากภาวะสมองขาดเลือด
หัวใจ โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในผู้สูงอายุที่ มีอายุมากกว่า 65 ปีขนึ้ ไป เนือ่ งจากเส้นเลือดทีไ่ ปเลีย้ ง หัวใจเริม่ สูญเสียความยืดหยุน่ เส้นเลือดทีแ่ ข็งขึน้ ทำ�ให้ ได้รับอันตรายจากความดันโลหิตหรือไขมันได้มากขึ้น เกิดการสะสมของไขมันและแคลเซียมทำ�ให้เกิดคราบ (plaque) เกาะบริเวณผนังเส้นเลือดด้านใน (artherosclerosis) ส่งผลให้ขนาดของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยง หัวใจเล็กลง และจะทำ�ให้เลือดไปเลีย้ งหัวใจไม่พอ ขณะ ออกกำ�ลังกาย เกิดอาการเจ็บหน้าอก หากอุดตันก็จะเกิด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (myocardial infarction) และเสียชีวิตได้
มดลูกและรังไข่ ผู้หญิงอายุ 35 ปีขึ้นไป จะมีการตกไข่ลดลง และไข่มี คุณภาพแย่ลง ทำ�ให้โอกาสในการปฏิสนธิลดลง ผนัง มดลูกด้านในซึง่ เป็นทีฝ่ งั ตัวของไข่บางลง ทำ�ให้การฝัง ตัวเป็นไปได้ยากขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมด ประจำ�เดือนที่อายุเฉลี่ย 45 ปีขึ้นไป รังไข่จะผลิต ฮอร์ โ มนเพศลดลงทั้ ง ฮอร์ โ มนเอสโตรเจนและ โปรเจสเตอโรน ทำ�ให้ประจำ�เดือนมาไม่สมํ่าเสมอจน หมดไป ซึ่ ง การเปลี่ ย นแปลงนี้ จ ะทำ � ให้ อ ารมณ์ แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ผิวบางแห้ง ผมแห้ง ปวดศีรษะ ปวดเมือ่ ยตามตัว และ กระดูกเปราะแตกง่าย
INSIGHT อินไซต์
ตา หู เยือ่ แก้วหูจะหนาตัวขึน้ ส่วนประกอบของกระดูกหูแข็งขึน้ (ear ossicles) ทำ�ให้สูญเสียการได้ยิน (presbycusis) โดยเฉพาะเสียงสูง มีอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หูออ้ื หรือมีเสียงในหู (tinnitus) นอกจากนีย้ งั เกิดมีขหี้ อู ดุ ตัน (impact ear wax) ร่วมได้อีกด้วย
ช่วงอายุประมาณ 40 ปี กล้ามเนือ้ ยึดเลนส์ตาจะเริม่ เสือ่ ม เลนส์ตาแข็งขึ้นและเสียความยืดหยุ่นทำ�ให้โฟกัสภาพ ได้ช้าลง เกิดภาวะสายตายาวจากอายุ (presbyopia) มีอาการมองใกล้ไม่ชัดต้องใช้แว่นสายตายาวสำ�หรับ อ่านหนังสือ การผลิตนํา้ ตาอาจลดลงจนเกิดภาวะตาแห้ง หลังอายุ 60 ปี เลนส์ตาจะขุ่นทึบและแข็งขึ้นซึ่งเป็น อาการของโรคต้อกระจก (cataract) ทำ�ให้มตี าพร่ามัว มองไม่ชดั ทัง้ ใกล้และไกล หรืออาจเห็นสีเปลีย่ นแปลงไป
ประสาทรับรสและกลิ่น
ปอด
การรับรสและกลิ่นนั้นต้องทำ�งานร่วมกัน ต่อมรับรสที่ ลิ้นจะลดจำ�นวนลงอย่างชัดเจนเมื่ออายุ 60 ปี ขณะที่ ส่วนทีเ่ หลืออยูจ่ ะค่อยๆ ฝ่อลงทำ�ให้ลนิ้ รับรสได้นอ้ ยลง โดยเฉพาะรสเค็มและหวาน และจะเสียประสาทสัมผัส ส่วนรับรสเปรี้ยวและขมในเวลาต่อมา ทำ�ให้ผู้สูงอายุ รู้สึกเบื่ออาหารและนํ้าหนักตัวลดได้ การสร้างนํ้าลาย ทีล่ ดลงทำ�ให้ปากแห้ง ความสามารถในการรับกลิน่ จะ ลดน้อยลงเมื่ออายุ 70 ปี ซึ่งสัมพันธ์กับการสูญเสีย ปลายประสาทบริเวณจมูก และการสร้างเมือกในโพรง จมูกที่ลดลง
กระดูกหน้าอกจะบางลงและเปลี่ยนรูป กล้ามเนื้อที่ใช้ ในการหายใจจะอ่อนแรงลงส่งผลให้หน้าอกหดขยาย ลดลงขณะหายใจ โดยปกติเมื่ออายุประมาณ 20-30 ปี เราสามารถหายใจเอาอากาศเข้าปอดได้เป็นปริมาตร ประมาณ 1 ลิตรต่อครัง้ แต่จะลดลงเหลือเพียงครึง่ ลิตร เมือ่ อายุได้ 70 ปี นอกจากนี้ ถุงลมเล็กๆ ในปอดยังเสีย รูปทรงและกักลมไว้โดยไม่สามารถถ่ายเทออกซิเจน เข้าสูเ่ ส้นเลือดได้อย่างปกติ ทำ�ให้รสู้ กึ เหนือ่ ยง่าย และ อาจมีอาการหายใจหอบเหนื่อยได้
กล้ามเนื้อ เซลล์กล้ามเนือ้ จะไม่สามารถสร้างใหม่เพือ่ ทดแทนส่วน ที่สึกหรอได้ ซึ่งการเสื่อมของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุเกิด จากการไม่ได้ใช้งานกล้ามเนือ้ ในส่วนนัน้ ๆ ทำ�ให้เซลล์ กล้ามเนือ้ ลดขนาดลงและอ่อนแรง แต่ในร่างกายคนเรา นั้นยังมีกล้ามเนื้อสองส่วนที่ไม่ได้สูญเสียเซลล์ไปตาม กาลเวลา คือกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อกระบังลม เนื่องจากมันไม่เคยหยุดทำ�งานนั่นเอง
ลำ�ไส้ใหญ่ ปกติลำ�ไส้จะมีทั้งแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์และเป็น โทษอยู่ในภาวะสมดุล แต่เมื่ออายุย่างเข้า 55 ปี แบคทีเรียที่ดีจะลดจำ�นวนลงอย่างรวดเร็ว ทำ�ให้มี ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในลำ�ไส้ใหญ่ และมีอาการ ท้องผูกเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ต่อมลูกหมาก ผูช้ ายวัย 50 ปีขน้ึ ไปมักมีปญั หาปัสสาวะลำ�บากจากการ ที่ต่อมลูกหมากมีขนาดโตขึ้นจนกดเบียดท่อทางเดิน ปัสสาวะ ทำ�ให้มีอาการปัสสาวะไม่สุด และปัสสาวะ บ่อย
เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 21
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
โอกาสใหม่ สำ�หรับคนกลุ่มเก่า เรื่อง: พัชรินทร์ พัฒนาบุญไพบูลย์
flickr/photos/Chrisgold
เมื่อผู้สูงวัยทั่วโลกกำ�ลังจะกลายเป็นผู้บริโภคที่ใช้จ่ายเงินสูงสุดเป็น อันดับหนึง่ ในอีกไม่ถงึ สองทศวรรษข้างหน้า ธุรกิจหลากหลายประเภท ที่ถูกออกแบบมาให้รองรับความต้องการของผู้สูงวัยได้ดีท่สี ุดจึงกำ�ลัง เป็นที่น่าจับตามองสำ�หรับผู้ประกอบการรายใหม่ ไล่ตามความฝันผ่านการท่องเที่ยว
การออกเดินทางท่องเที่ยวคือหนึ่งในรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค วัยเกษียณ โดยเฉพาะการที่คนกลุ่มนี้สามารถใช้เวลาออกเดินทาง ท่องเที่ยวไปยังหลายๆ สถานที่ทั่วโลกได้ ในช่วงเวลาที่เสียค่าใช้จ่าย ไม่มากนัก เพือ่ เติมเต็มความฝันในการเดินทาง ธุรกิจโรงแรมและทีพ่ กั จึงพยายามดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ให้อยู่พำ�นักในระยะยาวมากขึ้น โดยล่าสุดพบว่า ค่าที่พักและโรงแรมทั่วโลกทะยานสูงขึ้นกว่าร้อยละ 183 จากช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา โดยลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่ใช้จ่ายเงิน สูงสุดยังคงเป็นกลุ่มผู้สูงวัยและครอบครัวที่ออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อ การผ่อนคลาย
flickr/photos/clarkem
เพิ่มประสิทธิภาพประสาทสัมผัส
22 l
ในวันทีป่ ระชากรโลกต่างเดินไปสูค่ วามชราภาพและประสาทสัมผัสเริม่ ทำ�งานได้ไม่เต็มกำ�ลัง ธุรกิจซึ่งเป็นที่ต้องการจึงหนีไม่พ้นกิจการเพื่อ เพิม่ ประสิทธิภาพของประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นการได้ยนิ อย่าง อุปกรณ์ขยายเสียงสำ�หรับโทรศัพท์มือถือและสมาร์ทโฟน หรือแม้แต่ ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้รับกลิ่นและรสของอาหารได้แม่นยำ�ขึ้นที่พัฒนาขึ้น สำ�หรับผู้ป่วยที่มีปัญหาความจำ�เสื่อม รวมไปถึงการมองเห็นอย่าง อุตสาหกรรมแว่นตา ทีเ่ ฉพาะในเม็กซิโกประเทศเดียวพบว่า ปีทผ่ี า่ นมา ประชากรทีม่ อี ายุมากกว่า 40 ปีขน้ึ ไปมีจ�ำ นวนเพิม่ มากขึน้ ถึง 35 ล้านคน โดยในจำ � นวนนี้ มีอ าการสายตายาวอั น เนื่ อ งจากวั ย ที่ เ พิ่ ม มากขึ้ น (presbyopia) เกือบร้อยละ 90 ทำ�ให้อุตสาหกรรมแว่นตาและเลนส์ สายตาของเม็กซิโกเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเลนส์แว่น กันแดด ไปจนถึงศูนย์รักษาพยาบาลที่เน้นรักษาเฉพาะโรคเกี่ยวกับ ดวงตาและการมองเห็นโดยเฉพาะ Creative Thailand
l เมษายน 2557
flickr/photos/photocalamecanica
flickr/photos/neonzu1
อ่อนเยาว์ไร้กาลเวลา
เบบี้บูมเมอร์ทั่วโลกกำ�ลังเสพติดอาการปีเตอร์แพน ซินโดรม (Peter Pan Syndrome) ที่ต้องการรักษาความเป็นหนุ่มสาวไว้กับตัวอยู่ ชัว่ นิรนั ดร์ แม้วา่ อุตสาหกรรมเพือ่ การชะลอวัยจะมีการปรับไปสูแ่ นวคิด โปร-เอจ (pro-age) หรือความภูมิใจแห่งวัยด้วยการเปลี่ยนริ้วรอยให้ กลายเป็นคุณค่าแห่งตัวตน แต่การประคับประคองความหนุม่ ความสาว ความสนใจในแฟชั่น การดูแลสุขภาพผิว เส้นผม รวมถึงการใช้เครื่อง สำ�อางและเครือ่ งประทินโฉมต่างๆ เพือ่ ลบเลือนริว้ รอยแห่งวัย ก็ยงั คง เติบโตในตลาดผู้บริโภคสูงวัยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยอุตสาหกรรม เครื่องสำ�อางต่างพยายามค้นคว้าและวิจัยผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบ โจทย์ความต้องการของผู้หญิงสูงวัยได้มากขึ้น ขณะที่สนิ ค้าธรรมชาติ ออร์แกนิกก็ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มนี้เมื่อเทียบกับ กลุ่มวัยหนุ่มสาว รวมถึงแวดวงการศัลยกรรมเสริมความงามและ ทันตกรรมเพื่อความงามด้วย
สุขภาพแข็งแรงคือของขวัญ
กิจกรรมการจัดสวน ฝึกโยคะ เดิน ปั่นจักรยาน ไปจนถึงโฮมีโอพาธีย์ และการรักษาแบบแพทย์แผนทางเลือกกำ�ลังได้รับความนิยมมากขึ้น ในกลุ่มผู้สูงวัย ในอิตาลีมีการเปิดคลาส นอนนิ อิน โมวิเมนโต (Nonni in Movimento) ซึ่งหมายถึงการชวนคุณตาคุณยายให้มา ออกกำ�ลังกายกันแบบฟรีๆ ในสวนสาธารณะ ขณะที่นิตยสารที่ได้รับ ความนิยมสูงสุดฉบับหนึ่งของเยอรมนีในวันนี้คือ อโพเธเคน-เอมเชา (Apotheken-Umschau) นิตยสารแจกฟรีทมี่ เี นือ้ หาเกีย่ วกับการรักษา สุขภาพซึง่ แจกตามร้านขายยาทัว่ ประเทศ นอกจากนีแ้ พ็กเกจการดูแล สุขภาพแบบองค์รวมอย่างการนวด สปา และการดูแลเรือ่ งอาหารการกิน ก็ยังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยจากตัวเลขของสถาบันไมเยอร์เฮนต์เชล (German Meyer-Hentschel Institute) ในเยอรมนี พบว่า ร้อยละ 32 ของชาวเยอรมันที่มีอายุมากกว่า 55 ปี มีอัตราการใช้จ่าย สูงถึง 1,000-3,000 ยูโร/สัปดาห์เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง
New Entrepreneurs เมื่อกลางปี 2009 แกรี่ เบตส์ (Gary Bates) กัปตันสายการบินวัย 37 ปีในสหรัฐอเมริกา สังเกตเห็นปัญหาของผู้โดยสารสูงอายุที่ต้องพบกับอุปสรรคและ ความไม่สบายใจต่างๆ ในการเดินทาง เช่น ระบบตรวจเช็กความปลอดภัยทีซ่ บั ซ้อน เครือ่ งบินดีเลย์ หรือความไม่คนุ้ เคยในสนามบิน จนทำ�ให้เกิดแรงบันดาลใจ ทำ�ธุรกิจ Care-to-Go ร่วมกับเบธ ภรรยาที่มีประสบการณ์การดูแลแบบมืออาชีพมานานกว่า 30 ปี Care-to-Go ให้บริการช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุที่เดินทางคนเดียวด้วยการส่งผู้ช่วยเข้าไปร่วมเดินทางเป็นเพื่อนตลอดการเดินทาง โดยคิดค่าบริการเป็น วันตัง้ แต่ 200-400 เหรียญสหรัฐฯ และลูกค้าจะเป็นผูอ้ อกค่าใช้จา่ ยในการเดินทางทัง้ หมดให้แก่ผทู้ ร่ี ว่ มเดินทางไปเป็นเพือ่ น บริษทั ของแกรีน่ บั เป็นธุรกิจเกิดใหม่ ขนาดย่อมทีเ่ กิดขึน้ จากความต้องการพิเศษของผูส้ งู วัยทัว่ โลกทีเ่ พิม่ จำ�นวนมากขึน้ เรือ่ ยๆ ทัง้ ยังมีก�ำ ลังในการใช้จา่ ยและต้องการบริการทีเ่ ข้าใจในความต้องการของ พวกเขาอย่างแท้จริง ที่มา: บทความ “What are Europe's Older Consumers or ‘Sceniors’ Up to?” (19 ธันวาคม 2550) จาก euromonitor.com บทความ “When aging provides a business opportunity” (7 พฤษภาคม 2013) โดย Mark Miller จาก reuters.com เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 23
flickr.com/photo/tsushima201
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล
กว่าสิบปีแล้วทีโ่ ทยามะบริหารและพัฒนาเมืองแบบมองไปข้างหน้าด้วยกลยุทธ์ “Compact City” เพื่อสร้างเมืองที่อยู่ง่าย เดินทางง่าย และเป็นมิตรกับผู้สูงวัย ด้วยเชื่อว่าจะทำ�ให้ ประชากรผูส้ งู อายุใช้ชวี ติ ในวัยหลังเกษียณได้อย่างมีความสุขและไม่เป็นภาระต่อประชากร วัยหนุม่ สาวทีเ่ ป็นกำ�ลังสำ�คัญในการดูแล โดยหนึง่ ในความพยายามของเมืองทีส่ ะท้อนให้เห็น ถึงการออกแบบและการจัดการทีม่ ปี ระสิทธิภาพก็คอื การจัดระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ภายในเขตเมืองขึ้นใหม่แทนการใช้รถยนต์น่ังส่วนบุคคล ที่เรียกได้ว่าคิดก่อนเมืองอื่นๆ ในญี่ปุ่นไปหลายปี
รถรางแบบเก่า หนึ่งในระบบขนส่งมวลชน แต่เดิมมีผู้ใช้บริการเพียงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับรถยนต์ที่ชาวเมืองใช้เป็นหลักถึงร้อยละ 72
24 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
บริการจากใจเพื่อผู้สูงอายุ
flickr.com/photo/sousui
โทยามะ เมืองหลวงของจังหวัดโทยามะในภูมิภาคโฮคุริคุบนฝั่งทะเลทางตะวันตกของญี่ปุ่น ประสบปัญหา ประชากรลดลงตัง้ แต่ทศวรรษ 1990 ในปี 2005 แม้ในย่านทีม่ ปี ระชากรหนาแน่นทีส่ ดุ ก็มปี ระชากรเพียง 40.3 คน ต่อเฮกเตอร์ ซึ่งตํ่าที่สุดในบรรดาเมืองหลวงประจำ�จังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่น ตัวเลขประชากรที่ลดลงนี้ยังส่งผล ให้ย่านการค้าของเมืองประสบปัญหารายได้ลดลงถึงร้อยละ 40 ในช่วงปี 1994-2004 เมื่อบวกกับค่าใช้จ่าย ในการบริหารจัดการเมืองที่เพิ่มสูงขึ้นและอัตราการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลที่สูงเป็นอันดับสองของญี่ปุ่น (รถยนต์ 1.73 คันต่อครัวเรือนในปี 2005) ในขณะที่ระบบขนส่งมวลชนกลับไม่เป็นที่นิยม ทำ�ให้เมืองต้องหา มาตรการจัดการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่ให้ดีขึ้น ย้อนไปในปี 2002 เมื่อมาซาชิ โมริ (Masashi Mori) ได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีสมัยแรก โมริเล็งเห็น ปัญหาในระบบขนส่งมวลชนของเมืองทีม่ ปี ระชากรราว 420,000 คนแห่งนี้ โดยเฉพาะการทีป่ ระชากรส่วนใหญ่ พึง่ พารถยนต์สว่ นตัวทีย่ อ่ มเป็นปัญหาในอนาคตสำ�หรับผูส้ งู วัยทีอ่ าศัยในเขตรอบนอกและไม่สามารถขับรถได้ ด้วยตนเอง ด้วยประชากรของโทยามะราวร้อยละ 30 ไม่มีใบอนุญาตขับขี่และไม่มีรถยนต์ โดยร้อยละ 76 เป็น ผู้หญิงและร้อยละ 71 เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โมริจึงตัดสินใจปัดฝุ่นระบบขนส่งมวลชนของเมืองขึ้นเป็น ระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT: Light Rail Transit) อันประกอบด้วยสาย Portram ซึ่งปรับระบบจากรถไฟของ JR West โดยเริม่ ให้บริการในปี 2006 ในฐานะบริการรถรางเต็มรูปแบบแห่งแรกของญีป่ นุ่ และสายสาย Centram ซึ่งวิ่งวนรอบเมืองโดยเปิดให้บริการเมื่อปี 2009 ทั้งนี้ บริษัท โทยามะ ไลท์ เรล จำ�กัด (Toyama Light Rail) ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการนี้เป็นการร่วมทุนกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพียงในปีแรก รถราง LRT ก็มีส่วนกระตุ้น ให้ผู้สูงอายุออกมาทำ�กิจกรรมนอกบ้านมากขึ้น ร้อยละ 20.5 ของผู้ใช้บริการเป็นผู้โดยสารหน้า ใหม่ เช่น กลุม่ ผูส้ งู อายุ โดยเฉพาะการใช้บริการ ในวันธรรมดาซึ่งเพิ่มสูงขึ้น ผู้โดยสารวัย 60 ปี ใช้บริการเฉลีย่ วันละ 925 คน ในขณะทีผ่ โู้ ดยสาร วัย 70 ปี ใช้บริการเฉลีย่ วันละ 566 คน เทียบกับ สมัยเป็นรถไฟ JR ในปี 2005 จำ�นวนผู้โดยสาร สูงอายุในวันธรรมดาเฉลี่ยมีแค่ 260 คน และ 164 คนตามลำ�ดับ ซึง่ เป็นผลจากจำ�นวนการให้ บริ ก ารที่ ถี่ จ นไม่ ต้ อ งคอยเช็ ก ตารางเดิ น รถ เส้นทางการใช้งานที่ปลอดสิ่งกีดขวาง และ ราคาค่าโดยสารที่ไม่แพง ไม่เพียงเท่านัน้ ตัง้ แต่ ปี 2009-2012 สถิติผู้โดยสารที่ใช้บริการรถราง สาย Centram ก็เป็นผูส้ งู อายุมากถึงร้อยละ 61 ซึง่ ใช้บริการเพือ่ ไปช้อปปิง้ ในเมือง โดยหลังเก็บ สถิตมิ า 3 ปี เมืองโทยามะพบว่าผู้สูงอายุใช้เวลา ในเมืองเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 15 และมียอดใช้จา่ ยเพิม่ ขึ้นร้อยละ 20 เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 25
visit-toyama.com
flickr.com/photo/tmizo
flickr.com/photo/rockriver_2
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
คิดใหม่ ออกแบบใหม่ รถราง LRT โดดเด่นด้วยการออกแบบที่ดูแลแบบองค์รวม โดยให้บริการวันละ 132 เที่ยว ทิ้งช่วงห่างขบวนละ 10-15 นาที ไปจนถึง 23.15 นาที ซึ่งถี่กว่าสมัยเป็นรถไฟ 3.5 เท่า โดยพื้นรถรางสาย Portram ได้รับการออกแบบให้มีระดับตํ่าเพียง 30 เซนติเมตร และกว้าง 1.2 เมตร เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้ใช้รถเข็นก้าวขึ้นลงสะดวก ระดับพื้น ทีต่ าํ่ ยังช่วยลดเสียงรถรางขณะวิง่ ให้เบาลง รวมถึงใช้เทคโนโลยีวสั ดุพลาสติกเพือ่ ลดการสัน่ สะเทือนในจุดเชือ่ มต่อระหว่างตูแ้ ละบริเวณราง ส่วนคานยึดรางทีพ่ นื้ ถูกออกแบบ ให้กว้างถึง 4.1 เซนติเมตร เอือ้ ให้ผสู้ ญั จรบนรถเข็นข้ามรางได้สะดวกและยังช่วยป้องกันรถตกราง ส่วนบริเวณตัวสถานีกม็ กี ารปรับระดับทางลาดไม่ให้มสี ง่ิ กีดขวางผูส้ งู อายุ ที่ตอ้ งใช้รถเข็น พร้อมราวจับ ม้านัง่ และหลังคา ตลอดจนชานชาลาที่ออกแบบให้สามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ เช่นจักรยานและรถประจำ�ทางได้ง่าย และเพื่อให้ กลมกลืนกับทัศนียภาพของเมือง รางรถไฟบริเวณถนนช่วงต้นทางสถานีโทยามะเอกิ-คิตะ ยังเป็นรางชนิดปูด้วยหญ้าที่เขียวขจีอีกด้วย
“ในยุคที่จำ�นวนประชากรกำ�ลังลดลงและเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หากเรานิ่งเฉย ไม่จดั การอะไรเลย ภาระทีจ่ ะไปตกกับคนรุน่ หลังในอนาคตก็มแี ต่จะเพิม่ มากขึน้ ทัง้ ค่าใช้จา่ ยในการดูแล เช่น ถนนสายต่างๆ ในเมือง ค่าบำ�รุงรักษาสาธารณูปโภค ต่างๆ และเบีย้ ประกันสำ�หรับค่าดูแลรักษาพยาบาลผู้สูงอายุ ดังนั้น ผมจึงตั้งใจ ที่จะสร้างเมืองเพื่อคนรุ่นหลังก่อนที่จะสายเกินไป แม้ว่าบางอย่างจะสร้างความ ไม่พอใจให้ชาวเมืองรุ่นปัจจุบันก็ตาม” นายกเทศมนตรีมาซาชิ โมริ
26 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
The Grey Tsunami ญี่ปุ่นคือหนึ่งในประเทศที่แก่เร็วที่สุดในกลุ่มประเทศที่ พัฒนาแล้ว ตามรายงานการสำ�รวจของกระทรวง กิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น ในปี 2012 จำ�นวน ประชากรญีป่ นุ่ ลดลงเหลือประมาณ 127.5 ล้านคน โดย เป็นครั้งแรกที่จำ�นวนประชากรที่มีอายุมากกว่า 65 ปี สูงถึง 30 ล้านคน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ของ จำ�นวนประชากรทัง้ หมด หรือเกือบ 1 ใน 4 นอกจากนี้ รายงานของ The National Institution of Population and Social Security Research ยังคาดการณ์วา่ ภายใน ปี 2040 ประชากรญีป่ นุ่ กว่าร้อยละ 36 จะมีอายุมากกว่า 65 ปี
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
visit-toyama.com
visit-toyama.com
นอกจากภาครัฐ ชาวเมืองโทยามะทัง้ ภาคการศึกษา ภาคเอกชน และกลุม่ ธุรกิจในเมือง ยังมีสว่ นร่วม กับโครงการสร้างเมืองให้เป็นบ้านที่ผู้สูงอายุจะออกมาใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก สนุก และสดชื่น โครงการ Walking-Around Community โดยกลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโทยามะและองค์กรใน ท้องถิ่น กระตุ้นให้ผู้สูงอายุออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้นด้วยการใช้อุปกรณ์ช่วยเดินแบบรถเข็น สี่ล้อที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ มีตะกร้าใส่ของหรือกระเป๋าไว้ด้านหน้าและเบรกสำ�หรับเมื่อขึ้นเนิน รวมถึงสามารถปรับเป็นเก้าอี้นั่งพักเอาแรงได้ และยังมีการจัดทัวร์ชมย่านต่างๆ ให้ผู้สูงอายุโดย นักศึกษาอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีผู้สูงอายุยืมรถเข็นต้นแบบของโครงการเพื่อใช้งาน และให้ข้อมูลในการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้นราว 40 คน
เมืองโทยามะยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการที่เจาะตลาดผู้สูงวัย กลุ่ม ทาเทะยามะ คากากุ (Tateyama Kagaku Group) ผู้ผลิต “มินาโมริ ลิงค์ (Minamori Link)” ระบบ โปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยภายในบ้านคนเดียว ด้วยระบบปุ่มกดคล้ายระบบเรียกพยาบาลที่ใช้ ในโรงพยาบาล เอื้อให้ผู้สูงอายุขอความช่วยเหลือได้สะดวก โดยระบบเซ็นเซอร์ “จินกัง เซ็นเซอร์ (Jinkan Censor)” จะตรวจจับสัญญาณการเคลื่อนไหวของผู้อาศัยภายในบ้านตลอด 24 ชั่วโมง ซึง่ หากมีความเปลีย่ นแปลงจะติดต่อฉุกเฉินไปยังครอบครัวหรือผูด้ แู ลให้สง่ ผูช้ ว่ ยเหลือมาดูแลได้อย่าง รวดเร็ว และเพื่อเจาะตลาดผู้สูงอายุและผู้ใช้รถเข็น บริษัททาเคะโอกะ มินิ คาร์ จำ�กัด (Takeoka Mini Car Co., Ltd.) จึงผลิตรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กทีพ่ ฒั นาร่วมกับบริษทั ในท้องถิน่ โทยามะ ให้ผทู้ ่ี ใช้รถเข็นสามารถขึ้นรถจากด้านหลังและขับรถได้ด้วยตัวเองโดยยังนั่งอยู่บนรถเข็น รถขนาดเล็กนี้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และก้าวขึ้นมาเป็นทางเลือกและโอกาสในการสัญจรให้กับผู้สูงวัยที่มีปัญหา ในการขับรถยนต์ธรรมดาทั่วไป นอกจากนี้ เมืองโทยามะยังมองถึงอนาคตการจ้างงานผูส้ งู อายุ ด้วยการวางโครงการเกษตรกรรม ปลูกใบงาขีม้ อ้ น (Egoma) เพือ่ สกัดเอานํา้ มันทีม่ ปี ระโยชน์และดีตอ่ สุขภาพให้เป็นอุตสาหกรรมใหม่ ของเมือง โรงงานจะใช้พลังงานความร้อนจากนํ้าพุร้อนในเขตยามาดะซึ่งเป็นเขตที่ประชากรลดลง และจำ�นวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และจะปลูกใบงาขี้ม้อน เก็บเกี่ยว ผลิตนํ้ามัน และจัดจำ�หน่ายแบบ ครบวงจร โดยโครงการวางแผนจะจ้างงานผู้สูงอายุในท้องถิ่นเพื่อทำ�งานในโรงงานแห่งนี้ ซึ่งมีแผน จะเปิดทำ�การมีนาคมที่ผ่านมา การมาถึงของรถไฟความเร็วสูงสายโฮคุริคุสู่สถานีรถไฟโทยามะในปี 2015 จะยิ่งเปิด ประตูให้ผมู้ าเยือนได้เห็นแม่แบบของการอยูอ่ าศัยแห่งอนาคตของโทยามะ เมืองทีเ่ ต็มไป ด้วยตัวอย่างการอยู่อาศัยร่วมกับอนาคตความชรา ที่หาใช่ปัญหาน่าสะพรึง หากคือ ความท้าทายที่แสดงผ่านความเป็นไปได้มากมายในเมืองแห่งนี้
visit-toyama.com
รองรับความต้องการในอนาคต
KADOKAWA Care Prevention Center คาโดะคาวาเป็นศูนย์สุขภาพเชิงป้องกันเพื่อผู้ สู ง วั ย แห่งแรกในญี่ปุ่น ที่เน้นดูแลและบำ�รุงสุขภาพของผู้ใช้ บริการกลุ่มผู้สูงอายุด้วยการแช่นํ้าพุร้อนตั้งแต่ปี 2011 โดยมีเป้าหมายที่จะทำ�ให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตได้ยืนยาวขึ้น โดยมีสุขภาพแข็งแรงและได้มาสังสรรค์กับเพื่อนๆ วัย เดียวกัน ซึง่ ผลลัพธ์ทางอ้อมก็คอื ค่าใช้จา่ ยในการรักษา พยาบาลและความต้องการการดูแลเป็นพิเศษจะลดลง ศูนย์แห่งนี้ให้บริการสระนํ้าพุร้อน 22 สระ ที่ให้บริการ นวดบำ�บัดด้วยแรงดันนํ้า บริการสปานํ้าพุร้อน และ คอร์สออกกำ�ลังทีอ่ อกแบบมาสำ�หรับผูส้ งู วัยโดยเฉพาะ เช่น การออกกำ�ลังในนํา้ ทีช่ ว่ ยลดแรงกระแทกส่วนหลัง และข้อต่อและการออกกำ�ลังในนํา้ ร่วมกับเก้าอีส้ ำ�หรับ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวเป็นพิเศษ ที่มา: บทความ “Buy Flowers Downtown and Ride the Train for Free? A Look at Toyama's Creative Approaches to Being a Vibrant City in a Time of Depopulation” จาก japanfs.org, บทความ “Creating a Compact City through Innovative Public Transportation Networks” จาก ecomobility2013.iclei.org, บทความ “Creating City Management Toyama Style, with Compact City Strategy - Building Up a Future City, Where People Live Up 90 Years of Lifetime” จาก futurecity.rro.go.jp, บทความ “Efforts by Eco-Model Cities in Japan - Part 1” จาก japanfs.org, บทความ “Hottonesu Kadokawa (Toyama City Kadokawa Care Prevention Center) - The Nation’s First Facility Specializing in Care Prevention by Utilizing Hot-Spring Water” จาก visit-toyama.com, บทความ “Japan’s Depopulation Time Bomb” จาก japantimes.co.jp, บทความ “Japan’s Population Falls to Record Low in 2013” จาก japandailyexpress.com, บทความ “LRT Revitalizes Urban Area of Toyama City, Japan” จาก japanfs.org, บทความ “Promotion of Toyama, Medicine City” จาก visit-toyama.com บทความ “Public Transport in Provincial Areas: Compact City Development Using Public Transport” โดย Tetsuo Muro จาก jrtr.net, บทความ “Shinkansen Tested on Hokuriku Line for ’15 Opening” จาก japantimes.co.jp, บทความ “Toyama-Style Day Care Service” จาก visit-toyama.com, บทความ “Toyama’s Unique Compact City Management Strategy - Creating a Compact City by Re-imagining and Restructuring Public Transportation” จาก uncrd.or.jp, hangontan.co.jp, kadokawakaigo.jp, tateyama.jp/mimamolink, takeoka-m.co.jp, t-lr.co.jp, visit-toyama.com/en เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 27
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
พญ.อรพินท์ ภูมิสุวรรณ เวชศาสตร์ชะลอวัย หัวใจแห่งอนาคต เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
เมื่อความแก่ชราคือปลายทางของชีวิตที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง ความ ปรารถนาที่จะคงความเป็นหนุ่มสาวไว้ให้ได้นานที่สุดจึงอาจไม่ได้ จำ�กัดเพียงภาพลักษณ์ทสี่ วยงามน่ามองหรือการมีชวี ติ เป็นอมตะ แต่ คื อ สุ ข ภาพและคุ ณ ภาพชี วิ ต ที่ ส มบู ร ณ์ แ บบจากภายในสู่ ภายนอก ปัจจุบัน “เวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging)” เป็นหนึ่งใน สาขาการแพทย์ที่กำ�ลังได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี และวิทยาการความรูท้ ไี่ ม่เพียงสอดรับกับทัศนคติและรูปแบบการ ใช้ชีวิตของผู้คนบนโลกที่กำ�ลังก้าวเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงของ สัดส่วนประชากรครั้งสำ�คัญ หากแต่ยังเปิดมุมมองในการดูแล สุขภาพส่วนบุคคลทีส่ ะท้อนถึงภาพรวมนโยบายด้านสาธารณสุข ในระดับประเทศอีกด้วย พญ.อรพินท์ ภูมสิ วุ รรณ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้าน ผิวหนังและรองผูอ้ �ำ นวยการศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาล กรุงเทพ จะอธิบายให้เราได้ทำ�ความรู้จักกับศาสตร์แห่งการ เยียวยาและป้องกันนี้ เพือ่ นำ�ไปสูป่ ระเด็นทีน่ า่ ขบคิดว่า แท้จริงแล้ว การวางแผนและเตรียมพร้อมล่วงหน้า ก็เป็นส่วนหนึ่งของการ เยี ย วยารั ก ษาที่ ส่ ง ผลกระทบสำ � คั ญ ต่ อ การก้ า วเข้ า สู่ สั ง คม แห่งความชราภาพเช่นกัน
เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เวชศาสตร์ชะลอวัย (Anti-Aging) คืออะไร
เวชศาสตร์ชะลอวัยมีแนวคิดมาจากการป้องกัน คือไม่อยากเป็นโรคแล้วถึงมารักษา คนไข้บาง กลุ่มมาตรวจร่างกาย ทุกอย่างดีหมด แต่อยู่มา วันหนึง่ หมอบอกว่า “คุณเป็นโรค” อย่างนีเ้ ขาจะ รูส้ กึ เหมือนว่าเจอแจ็คพอต เพราะทีจ่ ริงมันควร จะต้องมีสัญญาณอะไรบ่งชี้มาก่อนหน้านี้หรือ เปล่าว่าร่างกายเราเริ่มมีปัญหา เราจะดูแลและ ป้องกันอย่างไร เพื่อไม่ให้เราเป็นโรคนั้น หมายความว่าคนทีม่ าตรวจร่างกายประจำ� เขาอาจรูส้ กึ ว่ามาตรวจร่างกายตลอด แต่ ทำ�ไมจูๆ่ ก็เป็นโรคโดยไม่มสี ญ ั ญาณอะไร
ถูกต้อง ทำ�ไมเมื่อปีที่แล้วหมอบอกว่าปกติ แต่ ปีนี้ให้ไปหาหมอเบาหวาน แค่ช่วงเวลาไม่นาน ไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อนว่าที่เขาปฏิบัติตัวมา ทั้งหมดมันผิด ต้องปรับปรุง เพราะเมื่อไหร่ ก็ตามทีเ่ ป็นโรคแล้วตามรักษา เราจะไม่มวี นั ชนะ แต่เมือ่ ไหร่กต็ ามทีเ่ ราป้องกันไม่ให้เป็นโรค นัน่ จะ ดูแลง่ายกว่า เปรียบเทียบง่ายๆ ศูนย์ชะลอวัยก็ จะเหมือนกับศูนย์เช็กรถ ถ้าเกิดเราใช้รถคันนี้ ใช้อย่างเดียวจนพังแล้วไปซ่อม ค่าซ่อมก็จะแพง ซ่ อ มกลั บ มาอาจจะไม่ เ หมื อ นเดิ ม แต่ ร ถคั น เดียวกัน ถ้าขับครบทุกหมืน่ กิโลแล้วเราเอาไปเช็ก เพื่อจะดูว่ามีอะไรที่เริ่มเสื่อม มีอะไรที่เริ่มไม่ดี ไปเปลีย่ นนาํ้ มันเครือ่ ง สลับยางรถ รถก็จะสภาพ ดีตลอด อีกอย่างคือปกติการรักษาทางการแพทย์ เราจะแบ่งการรักษาเป็นเฉพาะทาง หมอตาก็ดู ตาอย่ า งเดี ย ว หมอผิ ว หนั ง ก็ จ ะดู แ ต่ ผิ ว หนั ง
หมอหัวใจก็จะดูแต่หัวใจ เพราะเขาอยากรักษา โรคนั้นๆ ให้ดีที่สุด แต่ว่าจริงๆ อวัยวะของคน เราไม่ได้ทำ�งานแยกกัน ทุกอย่างในร่างกาย สัมพันธ์กันหมด ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยจึง สนใจทุกอาการของคนไข้ที่เป็น เพราะเราเชื่อ ว่าทุกอย่างสัมพันธ์กันหมดและเราอยากแก้ที่ สาเหตุ เปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ สมมติคนไข้ เป็นหวัด ถ้าไปหาหมอทั่วไป หมอจะถามว่ามี อาการอย่างไรบ้าง มีนํ้ามูก มีไข้ จากนั้นก็จะ ให้ยาแก้ไข้และลดนา้ํ มูกมา แต่ถา้ เดินมาหาหมอ ศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัยเราจะมองตรงกันข้าม เราจะมองว่าเพราะคนไข้คนนี้ภูมิไม่ดี เขาถึง ติดหวัด สิง่ ทีเ่ ราแก้ไขคือจะทำ�ทุกอย่างให้คนไข้ ภูมดิ ที สี่ ดุ เพือ่ จะได้มภี มู มิ าปกป้องตัวเองไม่ให้ ติดโรคนี้ โรคเดียวกันแต่เรามีมมุ มองในการรักษา ที่ต่างกัน เราอยากรู้สาเหตุของการเกิดโรคและ แก้ไขที่สาเหตุ ขั้นตอนการให้บริการในศูนย์เวชศาสตร์ ชะลอวัย
การซักประวัติเป็นเรื่องสำ�คัญ เพราะจะช่วยให้ เรารู้ว่าเป้าหมายของผู้ที่เข้ารับบริการคืออะไร บางคนอยากผิวสวย บางคนอยากรักษาไมเกรน บางคนอยากให้ท�ำ ยังไงก็ได้ให้ดเู ป็นหนุม่ สาวไป ตลอด บางคนเกิดมามีครบทุกอย่างแล้วแต่มา บอกว่าไม่อยากตาย เพราะไม่รวู้ า่ เกิดมาชาติหน้า จะได้อย่างนี้หรือเปล่า ดังนั้นเป้าหมายของ แต่ละคนจึงต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่คนไข้ต้องการ เหมือนกันคือคุณภาพชีวติ ทุกคนอยากเดินด้วย สองขาของตัวเอง ต่อให้รวยแค่ไหนก็ไม่มีใคร
อยากนัง่ รถเข็น อยากใช้มอื ตักอาหาร อยากย่อย อาหารเอง ไม่อยากใส่สายยาง อยากตามองเห็น อยากมีสมองที่ดีจำ�ลูกหลานได้ ทั้งหมดนี้คือ คุณภาพชีวิตที่ทุกคนปรารถนา ถ้าคุณภาพชีวิต ดีแล้วอายุยืนยาว ทุกคนอยากได้ แต่ถ้าอายุ ยืนยาวแต่ 10 ปีสดุ ท้ายต้องอยูใ่ นห้องไอซียู ไม่มี ใครต้องการ ลักษณะการตรวจของทีน่ ค่ี ล้ายกับการตรวจ สุขภาพทั่วไปหรือเปล่า
จริงๆ ทีน่ ไี่ ม่ใช่การเช็กอัพ (ตรวจสุขภาพทัว่ ไป) คือดูเหมือนจะคล้ายแต่ก็ไม่ใช่ จริงๆ แล้วการ เช็กอัพเป็นสิง่ จำ�เป็นทีจ่ ะต้องตรวจ แต่เนือ่ งจาก ว่ามันใกล้โรคไปอย่างทีห่ มอได้อธิบายไปแล้ว เรา จึงอยากตรวจอะไรทีล่ ะเอียดกว่านัน้ เพราะก่อน ทีค่ นไข้จะเป็นโรค เขาจะต้องมีระบบเผาผลาญ (Metabolism) ที่ผิดปกติและจะทำ�ให้เราเตือน เขาได้ส่วนหนึ่ง ห้องแล็บของศูนย์เวชศาสตร์ ชะลอวัยจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและละเอียด เช่น การตรวจระบบเผาผลาญ การตรวจระดับ ฮอร์โมนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงการตรวจเลือด เพือ่ ดูระดับวิตามินในร่างกาย ซึง่ สามารถรูไ้ ด้เลย ว่าวิตามินในร่างกายของเราสูงหรือตํ่าแค่ไหน ปัจจุบนั เราสามารถตรวจจากยีน (Genetic Testing) ได้ว่ามรดกทางพันธุกรรมที่พ่อแม่ให้เรามามี อะไรบ้าง เหมือนดูพิมพ์เขียวในร่างกายว่าเป็น อย่างไร แล้วเราควรใช้รา่ งกายของเราไปทางไหน ควรจะต้องตรวจอะไร ต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ มีมะเร็งอะไรที่รับมรดกมาเป็นพิเศษ มันจะ แสดงผลเลย เราตรวจได้หลายโรคพอสมควร แต่
ศูนย์ชะลอวัยก็จะเหมือนกับศูนย์เช็กรถ ถ้าเกิดเราใช้รถคันนี้ ใช้อย่างเดียวจนพังแล้วไปซ่อม ค่าซ่อมก็จะแพง ซ่อม กลับมาอาจจะไม่เหมือนเดิม แต่รถคันเดียวกัน ถ้าขับครบทุกหมื่นกิโลแล้วเราเอาไปเช็กเพื่อจะดูว่ามีอะไรที่เริ่มเสื่อม มีอะไรที่เริ่มไม่ดี ไปเปลี่ยนนํ้ามันเครื่อง สลับยางรถ รถก็จะสภาพดีตลอด
30 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ก็ยังทำ�ไม่ได้ทุกโรค สามารถตรวจดูภูมิคุ้มกัน ของคนไข้ได้วา่ ภูมคิ มุ้ กันเป็นอย่างไร ภูมคิ มุ้ กัน ของเขาดีจริงไหมหรือโชคดีวา่ อยูใ่ นสิง่ แวดล้อม ทีด่ ี เลยไม่เจอโรค นอกจากนีเ้ รายังดูเรือ่ งการแพ้ แอบแฝงด้วย เพราะบางทีอาจจะมีอาหารบาง อย่างทีก่ นิ ทุกวัน แต่คนไข้ไม่รวู้ า่ แพ้ แล้วอาหาร เหล่ า นั้ น ก็ เ ป็ น อาหารที่ กิ น แล้ ว ส่ ง ผลผลเสี ย ต่อสุขภาพ การตรวจยีนมีความแม่นยำ�มากแค่ไหน
ร่างกายเรามียนี ชุดเดียว ดังนัน้ สมมติตรวจตอน 4 ขวบกับตอนอายุ 60 ปี ผลจะออกมาเหมือนกัน เพราะยีนเราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ นี่คือพิมพ์เขียว ที่ติดตัวเรามา คนที่ตรวจยีนถ้าตรวจตัวที่ตรวจ ไปแล้วก็ไม่ตอ้ งตรวจอีก ถึงอีก 10 ปีมาตรวจใหม่ ผลก็เหมือนเดิม นอกจากเขาจะไปเจอรังสีที่ ญีป่ นุ่ มาแล้วอาจส่งผลให้พนั ธุกรรมเปลีย่ นแปลง หรื อ เราเจอยี น ตั ว ใหม่ ที่ เ ราไม่ เ คยตรวจใน ปัจจุบัน ถ้าเป็นแบบนั้นค่อยเสียเงินกันอีกครั้ง การตรวจยีนจะต่างจากการตรวจเลือดที่ค่าจะ
ต่อให้รวยแค่ไหนก็ไม่มีใครอยากนั่งรถเข็น อยากใช้มือตักอาหาร อยากย่อยอาหารเอง ไม่อยากใส่สายยาง อยากตามองเห็น อยากมี สมองทีด่ จี �ำ ลูกหลานได้ ทัง้ หมดนีค้ อื คุณภาพ ชีวิตที่ทุกคนปรารถนา
ขึ้นหรือลงจะขึ้นอยู่กับตัวเรามากกว่า เช่นถ้า คนไข้รู้ว่าจะมาตรวจสุขภาพ เขาก็จะมีการโกง นิดๆ ช่วงที่หมอตรวจก็จะกินดีมาก ทุกอย่าง หยุดโดยไม่ตอ้ งบอก เชือ่ ฟังเป็นพิเศษ แต่สมมติ เจาะเลือดตรวจดูแล้วผลปรากฏว่าระดับนํา้ ตาล ดีมาก พอตรวจเสร็จกลับบ้านไป อาหารที่กินนี่ คนละเรือ่ งเลย เป็นต้น การตรวจยีนจะโกงไม่ได้ ทำ�ให้มนั เป็นตัวเรา เพราะเราอยากรูค้ วามปกติ ที่เราเป็น จะได้รู้ว่าเราควรแก้ไขอะไรและปรับ อะไรบ้าง ผลการตรวจจะแสดงให้เห็นว่าในอนาคต เรามีความเสี่ยงจะเป็นโรคอะไรบ้าง มากน้อย แค่ไหน มียนี อะไรทีไ่ ม่ดหี รือไม่ เดีย๋ วนีค้ นตรวจ ยีนกันมากขึ้น ส่วนใหญ่ถ้าหมอตรวจใครคนใด คนหนึง่ ในครอบครัวแล้วพบความผิดปกติ ทุกคน จะพาลูกมาตรวจเลย เพราะกลัวจะเป็นเหมือนกัน หมอคิดว่าการตรวจในเด็กจะได้ประโยชน์กว่า เพราะจะได้วางแผนและป้องกันล่วงหน้า เช่น ปกติเด็กที่มียีนเบาหวานจะเริ่มเป็นเบาหวาน เมื่ออายุราว 30 ปี แต่ถ้าเด็กกลุ่มนี้ถูกเลี้ยงโดย
ให้ลดแป้งและนํา้ ตาล จะเป็นเบาหวานตอนอายุ 50-60 ปี คุณภาพชีวิตต่างกันเยอะนะ ถ้าเป็น เบาหวานตอน 30 ปี อีก 15 ปีก็ต้องฉีดอินซูลิน แล้ว คือต้องใช้ยาเบาหวานเยอะขึน้ ถ้าเป็นตอน 60 ปี เราจะคุมโดยใช้ยากินอย่างเดียวตลอดชีวติ แล้วถึงการตรวจยีนจะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่ก็ต้องเห็นใจบริษัทที่ทำ�เรื่องเจเนติก เพราะ แล็บพวกนีจ้ ะไม่เหมือนแล็บอืน่ ๆ ทีจ่ ะต้องตรวจ ซํ้าเรื่อยๆ เพราะยีนของคนเราไม่มีการแปลี่ยน แปลง ดังนั้นลูกค้ามาตรวจ หลังจากนั้นก็ไม่ใช่ ลูกค้าของเขาแล้ว นอกจากจะเจอยีนใหม่ขนึ้ มา การตรวจยีนจะตรวจจากเลือดเช่นเดียวกับ การตรวจวิตามินใช่ไหม
ไม่ใช่ค่ะ วิตามิน ฮอร์โมน ภูมิแพ้แอบแฝง ทัง้ หมดนีเ้ ราตรวจจากเลือด ส่วนยีนเราจะตรวจ จากเซลล์ในกระพุ้งแก้มโดยให้บ้วนนํ้าลายแล้ว เก็บตัวอย่างเซลล์ไปตรวจ ที่นี่การตรวจเราจะ เป็นเฉพาะบุคคล อย่างการออกกำ�ลังกาย เรา ก็จะทดสอบความสามารถในการออกกำ�ลังกาย เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ด้านต่างๆ ดูว่าคนๆ นี้ไม่ถนัดด้านไหน และ เราก็พัฒนาด้านนั้นของเขาให้ดีขึ้น อายุของคนไข้ทเ่ี ข้ามารักษาทีศ่ นู ย์เวชศาสตร์ ชะลอวัย
เรามีคนไข้ตงั้ แต่ 2 ขวบจนถึงทีอ่ ายุเยอะสุดของ หมอคือ 86 ปี ส่วนใหญ่จะเป็นคนไข้ทอี่ ยูใ่ นช่วง วัยทองคืออายุ 50 ปีขึ้นไป เด็กอายุน้อยๆ ที่มา ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องออทิสติก เราจะให้ การรักษาร่วมกับจิตแพทย์เด็กด้วย เด็กเหล่านี้ ส่วนใหญ่การดูดซึมอาหารผิดปกติ คือพอแม่รู้ ว่าลูกเป็น แม่จะดูแลอย่างดี ไม่ละเลย เด็กจึง กินแต่อาหารทีด่ ตี อ่ สุขภาพมาก แต่ล�ำ ไส้ดดู ซึม แย่มาก เด็กเหล่านีต้ อ้ งรักษาลำ�ไส้และปรับเรือ่ ง อาหาร พอเราดูแลเรื่องนี้ร่วมกับจิตแพทย์เด็ก จิตแพทย์เด็กจะชอบมาก เด็กจะมีพัฒนาการ เร็วกว่าค่อนข้างชัดเจน แต่ข้อเสียคือโดยปกติ เด็กออทิสติกจะมีคา่ ใช้จา่ ยในการรักษาค่อนข้าง สูงอยูแ่ ล้ว ถ้ามาทำ�ร่วมกับเราบางทีบางครอบครัว ก็ทำ�ไม่ไหว ลักษณะของคนไข้ผู้สูงอายุที่นี่ต่างจากใน คลินิกทั่วไปหรือไม่
หมอว่าด้วยความที่ปัจจุบันโลกของเราเป็นโลก ของการสื่อสาร ผู้สูงอายุสมัยนี้จึงมีการรับรู้ ข่าวสารและดูแลตัวเอง อีกทั้งอายุขัยเฉลี่ยของ เราก็สงู ขึน้ ส่วนหนึง่ อาจเพราะการแพทย์ทเี่ จริญ ก้าวหน้าขึน้ ด้วย ปัจจุบนั ผูค้ นหันมาใส่ใจสุขภาพ มากขึ้น คนไข้ส่วนใหญ่ที่เดินเข้ามาที่นี่ เขา จะต้องคิดของเขามาก่อนแล้ว ว่าทำ�ทีน่ ไ่ี ม่ฟรี เสีย เงิน แถมยังต้องมาปรับตัวเอง ต้องออกกำ�ลังกาย ฯลฯ เพราะฉะนั้นส่วนใหญ่คือเขาคิดอยากจะ ปรับอยู่แล้ว แบบที่เดินเข้ามาเฉยๆ เพื่อตรวจ สุขภาพจะไม่ค่อยมี หน้าที่ของเราคือต้องถาม เขาให้ได้วา่ เป้าหมายของเขาคืออะไร ส่วนใหญ่ เขาจะรูอ้ ยูแ่ ล้วว่าต้องการอะไร อยากเติมสิง่ ไหน รูส้ กึ ว่าปีนท้ี �ำ ไมแก่ขน้ึ มากเลย ปีอน่ื ๆ ยังไม่รสู้ กึ ขนาดนี้ ปีนี้ทั้งเหนื่อยทั้งเพลีย นอนก็ไม่หลับ อาการทุกอย่างรุมเร้าเต็มไปหมด ซึ่งเป็นข้อดี ของกลุ่มคนที่เดินเข้ามาที่นี่ ทุกคนพร้อมที่จะ 32 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
ปรับตัวและดูแลตัวเอง จึงเป็นเรื่องง่ายสำ�หรับ เราทีจ่ ะให้ค�ำ แนะนำ�ในการรักษา เราเหมือนเป็น โค้ชเฉพาะบุคคล เราตรวจทั้งหมดของร่างกาย และทำ�วิตามินเพือ่ เขาโดยเฉพาะ สมมติหมอทำ� วิตามินเฉพาะนายเอ ภรรยาของเขาแอบกินไม่ ได้นะ เพราะว่าหมอทำ�ตามผลเลือด การออก กำ�ลังกายและผลตรวจระบบเผาผลาญของนายเอ เท่านั้น เพราะเราเชื่อว่าไม่มีใครเหมือนกัน ทุก คนมีโรคประจำ�ตัว พื้นฐานการใช้ชีวิต และ ความฟิตต่างกัน การรักษาและการออกกำ�ลัง กายจะทำ�เหมือนกันได้อย่างไร กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรง จะสามารถ เข้ามาที่ศูนย์นี้ได้ไหม
ได้ค่ะ ที่นี่ก็มีคนไข้ที่เป็นมะเร็งด้วย เพราะการ รักษาของเราจะอยู่บนหลักการรักษาแบบองค์ รวม เราไม่ได้ให้คนไข้ปฏิเสธการรักษาทั่วไป คือคนไข้กจ็ ะรักษาตามปกติกบั คลินกิ เฉพาะโรค แต่อย่างคนไข้มะเร็งที่รักษาด้วยคีโม ส่วนใหญ่ สุขภาพเขาจะแย่ลงทุกคน ร่างกายแทบจะรับ ไม่ไหวแล้ว การรักษาของเราก็จะช่วยเสริมให้ สุขภาพเขาดีขนึ้ เพือ่ จะได้มแี รงต่อสูก้ บั โรคร้าย ต่อไป เราก็เลยมีคนไข้กลุ่มนี้อยู่ด้วย นอกจากการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ผู้สูง อายุแล้ว การใช้สเต็มเซลล์เพื่อชะลอวัยก็ ดูเหมือนจะได้รับความสนใจมากขึ้น ข้อ เท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร
สเต็มเซลล์คือเซลล์ต้นกำ�เนิดที่มีความสามารถ ในการแบ่งตัว สามารถเพิม่ จำ�นวนของตัวเองได้ แล้วสเต็มเซลล์สามารถพัฒนาไปเป็นอะไรก็ได้ คนเราเกิดจากไข่ของแม่โดยมียีนของแม่ครึ่ง หนึ่ง และสเปิร์มของพ่อซึ่งมียีนของพ่ออีกครึ่ง หนึ่ง ยีนของพ่อกับแม่อย่างละครึ่งที่มารวมกัน เป็นเซลล์เดียว แต่ละเซลล์มีความสามารถใน การเจริญเติบโตต่างๆ กัน เป็นตา ผิวหนัง สมอง หรือเป็นอะไรก็ได้ เราเรียกเซลล์มหัศจรรย์ นีว้ า่ สเต็มเซลล์ ปัจจุบนั การรักษาด้วยสเต็มเซลล์ แบบเดียวที่ใช้กันก็คือการปลูกถ่ายไขกระดูก สำ�หรับโรคทางโลหิตวิทยา ส่วนเรื่องการนำ�มา
ใช้ ใ นด้ า นความสวยงามหรื อ แอนไท เอจจิ้ ง (Anti-Aging) ให้ชวี ติ ยืนยาวนัน้ ทุกอย่างยังอยู่ ในขั้นตอนการทำ�วิจัย แต่ถ้าถามหมอ หมอว่า เราได้ผา่ นก้าวแรกไปแล้ว ฉะนัน้ เชือ่ ว่าในอนาคต คงจะได้ใช้แน่นอน เพราะความยากของทุกอย่าง คือก้าวแรก แล้วของทุกอย่างบนโลกนีม้ นั มีทงั้ ดี และไม่ดี จากการศึกษาที่ผ่านมาเรารู้แล้วว่า สเต็มเซลล์มนั เวิรก์ สเต็มเซลล์ถา้ หาได้ตงั้ แต่ตวั ต้นกำ�เนิดมันจะเหมือนเป็นเซลล์บริสุทธิ์ จะยัง ไม่สร้างลักษณะการแพ้อะไรขึน้ มา คือทางทฤษฎี มันดีมาก ส่วนทางปฏิบัติปัจจุบันกำ�ลังทำ�วิจัย เพียงแต่ตอนนีเ้ รายังไม่สามารถนำ�มาใช้ได้อย่าง ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเรากำ�ลังศึกษาอีก ด้านว่ามีผลข้างเคียงอะไรไหม เพราะจริงๆ แล้ว ความสามารถในการแบ่งตัวและพัฒนาไปเป็น อะไรก็ได้ของสเต็มเซลล์ จะว่าไปมันก็เหมือน เซลล์มะเร็ง มันอยู่ที่คำ�ๆ เดียวว่าร่างกายเรา ควบคุมเซลล์นไี้ ด้หรือเปล่า นีค่ อื เหตุผลว่าทำ�ไม เราถึงยังไม่กล้านำ�ออกมาใช้จริงๆ ทั้งๆ ที่เรารู้ ว่ามันเวิร์กขนาดนี้ เพราะเรากลัวผลข้างเคียงที่ ตามมา ตอนนีก้ ร็ อแค่การศึกษาวิจยั ต้องคิดให้ รอบด้าน ค้นหาให้หมดทุกด้านว่ามันไม่ดตี รงไหน มีอะไรทีเ่ ป็นตัวควบคุม ก่อนทีจ่ ะใช้เราต้องรูใ้ ห้ ครบทุกแง่มุม อย่างที่อเมริกาเองเขาก็ผ่านอย่างเดียวคือ ไขกระดูก ส่วนใหญ่เมืองไทยค่อนข้างอิงอเมริกา เพราะเราเชือ่ มัน่ ในหลักฐาน แต่ปจั จุบนั หลายแห่ง ก็มีเรื่องของการทำ�การตลาดเข้ามา หมอถึง อยากให้ใจเย็นนิดหนึง่ อย่าเอาตัวเองไปเป็นหนู ทดลองเลย ในอนาคตที่ไทยกำ�ลังจะก้าวเข้าสู่การเป็น สังคมผู้สูงอายุ ระบบการแพทย์โดยรวม จะต้องเตรียมตั้งรับอย่างไรบ้าง
ถ้ามุมมองของหมอ จริงๆ เราดูประเทศทีพ่ ฒั นา แล้วก็ได้ เพราะเขาเป็นสังคมผู้สูงอายุไปแล้ว จริงๆ ไทยเราช้าไปนิดหนึง่ ด้วยซา้ํ ถ้าลองสังเกต ดีๆ ประเทศเขาจะให้ทุกคนดูแลป้องกันตัวเอง เพราะประชากรวัยทำ�งานจะต้องแบกรับภาระ เยอะมากเพือ่ ดูแลผูส้ งู อายุ ยิง่ อายุมาก โรคและ
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ปัญหาก็ยง่ิ เยอะตามมา เงินทีใ่ ช้ในการสาธารณสุข ก็จะสูงมาก ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาทำ�วิจัยมา หมดแล้วว่าเงินที่ใช้ในด้านสาธารณสุขในการ ดูแลคนๆ หนึ่งจะน้อยกว่าเงินที่เรานำ�ไปใช้ รักษา หรือประเด็นเรื่องที่เรามีรายได้จากการ ขายบุหรีจ่ี นเก็บเงินได้เป็นกอบเป็นกำ� แต่ปรากฏ ว่าก็ต้องเสียเงินไปกับการสาธารณสุขเพราะคน ต้องไปรักษา ก็ไม่รวู้ า่ เงินก้อนนีม้ นั จะได้คมุ้ เสีย หรือเปล่า แต่ถ้าในประเทศที่พัฒนาแล้วเขาพบ ว่ามันไม่คุ้มนะ เพราะหนึ่งคือเสียเงิน สองคือ เวลาเจ็บป่วย เราถือว่าเสียประชากรคุณภาพดีไป เด็กกลุ่มใหม่ก็ต้องแบกภาระในการรับผิดชอบ ประชากรผู้สูงอายุมากขึ้น ดังนั้นจึงต้องเน้น เรื่องการป้องกัน การป้องกันที่ดีที่สุดคือเราต้องตื่นตัวเอง ไม่มีหมอคนไหนดีที่สุดเท่ากับหมอตัวเอง เรา ต้องคอยสังเกตว่ามีอะไรผิดปกติไหม คนไทย บางคนยังติดกินยารักษา ใช้ยาพรํ่าเพรื่อแทนที่ จะเน้นการดูแลตัวเอง หมอว่าปัจจุบันคนดูแล ตัวเองมากขึน้ แต่เป็นแค่คนกลุม่ หนึง่ ถ้าเทียบกับ คนไทยทัง้ ประเทศยังถือว่าไม่มาก เพราะฉะนัน้ เราต้องทำ�อย่างไรก็ได้ที่จะเปลี่ยนทัศนคติของ ผู้คนว่าเขาต้องเป็นคนหลักในการดูแลตัวเอง ไม่ใช่พง่ึ พารัฐบาลว่าจะจ่ายอะไรและให้อะไรบ้าง ถามว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคเป็นโครงการ ที่ดีไหม หมอว่าเป็นโครงการที่ดี เพราะมีไว้ รองรับคนที่เป็นโรคว่าเราจะช่วยรักษาเขาให้ดี ที่สุด แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือเราจะทำ�อย่างไรไม่ให้ เป็นโรคและรูจ้ กั ดูแลตัวเอง ไม่มใี ครดูแลตัวเอง ได้ดีเท่าเรา การที่เราจะรู้ว่าเราเป็นอะไร ก็เกิด จากการสังเกตด้วย เพราะบางอย่างเทคโนโลยี การแพทย์ก็บอกได้ไม่ละเอียด เราก็ยังตรวจได้ ไม่หมด เพราะฉะนั้นการสังเกตจากตัวเราจึง เป็นสิ่งสำ�คัญที่สุด
เราดูประเทศที่พัฒนาแล้วก็ได้ เพราะเขาเป็นสังคมผู้สูงอายุไปแล้ว จริงๆ ไทยเราช้าไปนิดหนึ่งด้วยซํ้า ถ้าลองสังเกตดีๆ ประเทศเขาจะให้ทุกคนดูแล ป้องกันตัวเอง เพราะประชากรวัยทำ�งานจะต้องแบกรับภาระเยอะมากเพือ่ ดูแลผู้สูงอายุ
Creative Ingredients เวลาว่าง
เวลาว่างจะแบ่งเวลาให้ตัวเองส่วนหนึ่ง ที่ชอบที่สุดคือออกกำ�ลังกาย หรือไม่ก็เล่นกับสุนัข ปกติจะออกกำ�ลังกายสลับกัน ทีบ่ า้ นจะทำ�คอร์สเทรนนิง่ ปัน่ จักรยาน เสร็จแล้วก็ตอ่ ด้วยโยคะ ทำ�ประมาณสามวันต่ออาทิตย์ อีกสองวันส่วนใหญ่จะเต้นแอโรบิก วันอื่นๆ ก็แล้วแต่ บางทีก็ จะทำ�เวทเทรนนิ่ง (Weight Training) แต่เวทนี่หมอทำ�เองไม่ได้ต้องมาเทรนกับเทรนเนอร์ หนังสือเล่มโปรด
จริงๆ เป็นหมอก็ต้องชอบอ่านอยู่แล้ว นอกจากหนังสือแพทย์ก็จะอ่านหนังสือธรรมะ ชอบ หนังสือของท่านพุทธทาสค่ะ
เมษายน 2557
l
Creative Thailand
l 33
sens.org
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
แม้วิทยาศาสตร์หรือกระทั่งหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจะ อธิบายว่าความชราเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ไม่อาจเลี่ยงได้ ทว่า ออเบรย์ เดอ เกรย์ (Aubrey De Grey) นักเขียนและนักทฤษฎี ด้านชราภาพวิทยาชาวอังกฤษวัย 51 ปี กลับเห็นตรงกับกลุ่ม แพทย์สมัยใหม่ว่า ความชราภาพเป็น “โรค” ที่สามารถรับมือ และเยี ย วยารั ก ษาได้ ยิ่ง ถ้า รู้ว่า ที่ม าของโรคนั้น เกิดจากอะไร ความเจ็บป่วยที่รุมเร้าในวัยชราก็จะไม่ใช่ปัญหาใหญ่อีกต่อไป
คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าความชราเกิดจากฮอร์โมนเจริญวัยที่ลดลงไป พร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น แต่แท้จริงแล้ว ความชรายังเป็นผลมาจากเซลล์ และเนือ้ เยือ่ บางส่วนในร่างกายเกิดความเปลีย่ นแปลงหรือได้รบั ความเสียหาย กระทั่งถูกทำ�ลายจนไม่สามารถฟื้นฟูได้ ประกอบกับระบบการเผาผลาญ พลังงานที่ด้อยประสิทธิภาพลง ซึ่งก่อให้เกิดการสะสมเซลล์ที่ใช้การไม่ได้ แล้วมากเกินไปและนำ�ไปสู่โรคสารพัดชนิดได้ในที่สุด ในปี 2009 เดอ เกรย์ ได้รว่ มก่อตัง้ มูลนิธิ SENS Research (Strategies for Engineered Negligible Senescence) ที่สหรัฐอเมริกา เพื่อ สนับสนุนการวิจัยและคิดค้นแนวทางการป้องกันโรคต่างๆ ที่เกิดจาก ความชราบนพื้นฐานของ ทฤษฎีชราภาพวิทยา เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ และ วิศวกรรม โดยเน้นการทดลองและพัฒนาตัวยาใหม่ที่สามารถลดปัจจัย เสี่ยงอันทำ�ให้เกิดความเจ็บป่วยและโรค รวมทั้งฟื้นฟูระบบการเผาผลาญ พลังงานและอวัยวะต่างๆ ให้กลับมาทำ�งานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ (Tissue Engineering) ซึ่งคุณสมบัติของยาเหล่านี้จะต้องสามารถกำ�จัดเซลล์ที่ ไม่พงึ ประสงค์หรือช่วยกระตุน้ ระบบภูมคิ มุ้ กันให้กลับมาทำ�งานอย่างเต็มที่ ได้อีกครั้งโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์และโมเลกุลอื่นภายหลัง SENS จึงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมและขจัดปัญหาที่เกิดจาก 7 ปัจจัย 34 l
Creative Thailand
l เมษายน 2557
ต้นเหตุของความชรา อันได้แก่ 1. การกลายพันธุ์ของโครโมโซมซึ่งอาจ ทำ�ให้เกิดโรคมะเร็ง 2. การกลายพันธุข์ องไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำ�คัญของเซลล์ 3. เศษโปรตีนและโมเลกุลสะสม ภายในเซลล์ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ซึ่งอาจทำ�ให้เกิดโรคทางระบบ ประสาท 4. เศษโปรตีนสะสมภายนอกเซลล์ซึ่งอาจทำ�ให้เกิดซีไนล์ พราก (Senile Plague) และโรคอัลไซเมอร์ 5.เซลล์บางชนิดทีห่ ายหรือถูกทำ�ลาย โดยที่ไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ อาจทำ�ให้เกิดโรคพาร์กินสันและปัญหา ระบบภูมิคุ้มกัน 6. เซลล์แก่และเสื่อมสภาพ 7. การเชื่อมข้ามสายโมเลกุล แบบสุ่มภายนอกเซลล์ทำ�ให้เนื้อเยื่อขาดความยืดหยุ่นและอาจนำ�ไปสู่ สภาวะหลอดเลือดแดงแข็งตัว นอกจากนี้ SENS ยังได้จัดสรรทุนให้กับ สถาบันและสถานศึกษาทัว่ โลกทีส่ นใจศึกษาเรือ่ งนีม้ าก่อนแล้ว เพือ่ ผลักดัน ให้เกิดการวิจยั เชิงลึกอย่างกว้างขวางและรักษาความสมดุลของโครงสร้าง สังคมผู้สูงอายุ เช่น โครงการสำ�รวจประชากรเพื่อชีวิตที่มีสุขภาพดีและ อายุยืนยาวมากขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเดนเวอร์ (University of Denver) ร่วมกับองค์กร International Futures (IFs) ซึ่งทำ�หน้าที่คาดการณ์และ วิเคราะห์อนาคตทั้งในเชิงระบบและกลยุทธ์ อย่างไรก็ตาม แนวคิดของออเบรย์และ SENS ก็ยังคงเป็นที่โต้เถียงทั้ง ในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์และสื่อมวลชน เพราะถึงแม้ว่าการเลี่ยง ความชราจะเป็นไปได้ แต่ย่อมไม่มีใครหนีความตายพ้น ครั้งหนึ่งเขาเคย ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ livescience.com ว่าเขาไม่ได้ต้องการชีวิตที่เป็น อมตะ เพียงแต่ความเจ็บป่วยและโรคภัยมักเกิดขึน้ เมือ่ เราแก่ตวั ลงซึง่ ทำ�ให้ สภาพจิตใจแย่ลงตามไปด้วย สิ่งที่เขาทำ�คือป้องกันการคุกคามของโรค และความอ่อนแอทางร่างกาย และใช้ชวี ติ ในวัยชราอย่างเป็นสุขต่างหาก ที่มา: การบรรยายเรื่อง “A roadmap to end aging” โดย ออเบรย์ เดอ เกรย์ จาก ted.com, บทความ “Hang in There: The 25-Year Wait for Immortality” จาก livescience.com, วิกิพีเดีย, sens.org
TCDC, 6TH FL, THE EMPORIUM SHOPPING COMPLEX, 10.30 — 21.00 (CLOSED MONDAY)
WHAT IS SERVICE DESIGN? MINI EXHIBITION 18 MARCH — 29 JUNE 2014 Remark: For visitor who are non-member of the TCDC Resource Center. Please contact the info Guru counter in front of our library for the free tickets.
FREE ENTRY นิทรรศการขนาดยอม 18 มีนาคม – 29 มิถนุ ายน 2557 10:30 – 21:00 น. หองสมุดเฉพาะดานการออกแบบ เขาชมฟรี หองสมุดเฉพาะดานการออกแบบ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชัน้ 6 ดิ เอ็มโพเรียม ช็อปปง้ คอมเพล็กซ เวลาทำการ 10.30 – 18.00 น. (ปดวันจันทร) หมายเหตุ: ผูสนใจเขาชมนิทรรศการที่ไมไดเปนสมาชิก หองสมุดเฉพาะดานการออกแบบ โปรดติดตอเคานเตอร Info Guru ดานหนาหองสมุด เพือ่ รับบัตรเขาชมโดยไมเสียคาใชจา ย