Creative Thailand Magazine

Page 1

นิตยสารสงเสร�มความคิดสรางสรรคผลักดันเศรษฐกิจไทย โดย TCDC ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบร�หารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน)

สิงหาคม 2557 ปที่ 5 | ฉบับที่ 11 แจกฟร�

CLASSIC ITEM กลองดำ

INSIGHT

Citymapper

THE CREATIVE Daan Roosegaarde



What does a baby computer call its father?

I don't know. What?

Data.

บนสนทนาระหว่างธีโอดอร์กับซาแมนธา ระบบปฏิบัติการในคอมพิวเตอร์ (OS) จากบทภาพยนตร์ her (2013) โดย Spike Jonze


CONTENTS สารบัญ

6

8

The Subject

Creative Resource

Featured Book/ Online Database / Documentary/ Movie

10

Matter

11

Classic Item

12

Insight

20

Creative Entrepreneur Cr

22

CCreative City

24

The Creative

28

Creative Will

34

Citymapper เขาทางคนเมือง

GRABTAXI เทคโนโลยีที่เขาใจทั้งผูขับและผูใชรถแท็กซี่ GRA

Nairobi ปฏิวัติดวยโทรศัพทมือถือ

วัสดุเบื้องหลังอุปกรณอิเล็กทรอนิกส

กลองดำ

Cover Story

God is in the Data ความหวังใหมสูแดนศิวิไลซ

The Future according to Daan Roosegaarde

WWF Species Tracker ศึกครั้งใหมของนักอนุรักษ์

บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช, ยิง่ ลักษณ สุนศิ ารัตน บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูช ว ยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิรอิ ร หริม่ ปราณี, มนฑิณี ยงวิกลุ , เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิน่ ศรีสขุ , นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l กมลกานต โกศลกาญจน บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล, อคีรฐั สะอุ สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ นักศึกษาฝกงาน l ธัญวรัตม กิจนุสนธิ์, ปยพัชร นุตตโยธิน จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 50,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

ผูออกแบบปก | Clubpopp อดีตฝายสรางสรรคปกอัลบั้มของคายเพลง smallroom (2004-2008) ปจจุบันรับบริการสรางความปอปใหกับ หนวยงานทั่วไป ผลงานเพิ่มเติม: clubpopp.com


EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ

Something Better, Something Bitter 7 กรกฎาคม 2005 การก่อการร้ายใจกลางลอนดอนได้สร้างความหวาดกลัวจนกลายเป็นฝันร้ายของชาวอังกฤษ และนำ�มาซึ่งมาตรการที่จะปกป้อง ชีวิตและทรัพย์สินของชาวเมืองให้ดำ�เนินต่อไปอย่างปกติสุข แม้ว่าลอนดอนจะเคยรับมือกับคำ�ข่มขู่และการวางระเบิดจากกลุ่มกองทัพสาธารณรัฐ ไอร์แลนด์ (IRA) มาตั้งแต่ทศวรรษ 1990 แต่การก่อการร้ายครั้งนี้ก็ส่งผลรุนแรงต่อทั้งชีวิตและจิตใจ จนนำ�ไปสู่การขยายผลโครงการ "ริง ออฟ สตีล (Ring of Steel)" ที่เดิมมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อตรวจตรา จดบันทึก และสืบค้นการเข้าออกของพาหนะที่เข้าสู่เขตนครลอนดอน (City of London) ให้รัดกุมและเข้มงวดมากขึ้น ปราการป้องกันเขตเมืองเพื่อความปลอดภัยนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะนครลอนดอนนั้นตั้งอยู่บนผังเมืองเก่าที่ชาวโรมันได้ออกแบบและสร้าง กำ�แพงเมืองโดยแบ่งออกเป็นชั้นๆ เพื่อคุ้มกันสินค้าและปกป้องศูนย์กลางของเมื อ ง ต่ อ มาในทศวรรษ 1990 เขตเมื อ งลอนดอนก็ ยั ง คงยึ ด หลักการป้องกันศูนย์กลางเขตพาณิชย์ของกลุ่มบริษัทข้ามชาติทเี่ ป็นเป้าหมายในการก่อการร้ายด้วยวิธีเดียวกันคือการใช้กำ�แพงริง ออฟ สตีล นี้ป้องกัน ก่อนที่โครงการจะถูกปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาจราจรในเขตเมืองไปพร้อมกันในปี 2003 ด้วยระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ทันสมัยผ่านกล้อง วงจรปิดและการวางผังควบคุมการเข้าออกเมืองให้เหลือเพียง 19 แห่งจากเดิมที่มีหลายร้อยเส้นทาง ด้วยการใช้แนวกั้นถนนที่เหมาะกับภูมิทัศน์ เช่น แนวต้นไม้ แปลงดอกไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก และมาตรการทางภาษี อันเป็นแนวคิดชาญฉลาดที่มาพร้อมกับการลดภาระของเจ้าหน้าที่ตำ�รวจ แต่หลังเหตุการณ์ก่อการร้าย 7/7 ปี 2005 ความเข้มข้นของมาตรการก็สูงขึ้น เสาไฟควบคุมการจราจรด้านบนได้ถูกออกแบบให้เป็นไฟส่องสว่าง มีกล้องติดตั้งอยู่ระดับกลางเพื่อบันทึกภาพใบหน้าบุคคล และกล้องล่างสุดใช้ถ่ายเลขทะเบียนรถ ทั้งหมดเพื่อแกะรอยว่า ใครขับรถคันไหนเข้ามาใน เขตลอนดอน ซึ่งประมาณว่าต้องใช้กล้องสำ�หรับเขตเมืองราวๆ 11,000 ตัว และน่าจะมีถึง 2.4 ล้านตัวทั่วสหราชอาณาจักรซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก และชาวอังกฤษต้องถูกถ่ายภาพด้วยกล้องเหล่านี้มากถึงวันละ 300 ครั้ง เมื่อการตรวจตราเปลี่ยนเป็นการจับตา ความปลอดภัยก็กลายเป็นความอึดอัด การเก็บเบาะแสคือภาระที่ต้องสะสาง เมื่อจำ�นวนข้อมูลหลั่งไหล มาจากทั่วสารทิศ มีการคาดการณ์ว่าต้องใช้หลักฐานจากกล้องมากถึง 1,000 ตัวสำ�หรับการทำ�คดีสักคดี จนบางครั้งข้อมูลก็ขัดแย้งกันเอง นอกจากนี้ ความเป็นส่วนตัวที่หายไปของผู้คนบนท้องถนนยังกลายเป็นเรื่องที่ถูกตำ�หนิ และการใช้งบประมาณหลายร้อยล้านปอนด์ของโครงการก็ยังสร้าง ความไม่พอใจให้มีอยู่ทั่วไป เมื่อความสุขในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน คือเป้าหมายสูงสุดของคุณภาพชีวิตที่ดี การคิดค้นนวัตกรรมจึงถูกนำ�เสนอและลำ�เลียงสู่ชีวิตผู้คนใน หลายรูปแบบ ทั้งด้วยจุดประสงค์ทางนโยบายของรัฐ การกระตุ้นยอดขายของกลุ่มธุรกิจ หรือความสนใจส่วนตัว แต่เมื่อชีวิตมีทางเลือกที่เต็มไปด้วย ความรวดเร็วและสะดวกสบายซึ่งกระตุ้นให้ผู้คนเร่งคิด เร่งบริโภค และเร่งชีวิตมากขึ้นเท่าไร การตัดสินใจที่เกิดจากการประมวลข้อมูลมหาศาลนัน้ ก็ยิ่งส่งให้ความเป็นมนุษย์นั้นมีคุณค่า เพราะยิ่งโลกพัฒนากลุ่มคนที่คิดค้นนวัตกรรมแห่งอนาคตมากขึ้นเท่าใด ก็ต้องเร่งผลิตกลุ่มคนที่รอบรู้ที่จะตัดสิน ใจใช้นวัตกรรมนั้นให้เท่าทัน เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นสังคมของผู้ใช้นวัตกรรมที่ถูกผลักไสเข้าไปในหลุมดำ�ของเทคโนโลยีโดยไม่รู้ตัว อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล

flickr.com/photos/dizdau

บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th


THE SUBJECT ลงมือคิด

PRODUCT

ที่มา: บทความ “Bra startup True&Co Launches simple intimates line based on lots of boob data” (10 มิถุนายน 2013) จาก fashionista.com บทความ “Lingerie Startup Uses Big Data to Engineer the World’s Best Bra” (10 มิถุนายน 2013) จาก wired.com

เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ

บราในฝัน…แนบสนิททุกสรีระ ทรู แอนด์ โค (True & Co) สตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซในซานฟรานซิสโกซึ่ง ประสบความสำ�เร็จในการจำ�หน่ายชุดชั้นในให้กับแบรนด์ต่างๆ ผ่านระบบ วิเคราะห์ขอ้ มูลบนเว็บไซต์ซงึ่ จะคัดเลือกสินค้าจากแบรนด์ทเี่ หมาะสมกับรูปร่าง ของผู้ตอบแบบสอบถามโดยเฉพาะ ได้นำ�ข้อมูลจากการสอบถามของลูกค้า มากกว่า 500,000 คนตลอดระยะเวลาสองปีมาวิเคราะห์และออกแบบเป็นชุด ชั้นในภายใต้แบรนด์ของตนเองเป็นครั้งแรกเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมา ทรู แอนด์ โค พบว่ารูปร่างของผูห้ ญิงสามารถจำ�แนกได้ถงึ 6,000 แบบ และ ข้อเท็จจริงทีว่ า่ ร่างกายแต่ละคนมีความแตกต่างกันก็เป็นเหตุผลทีท่ �ำ ให้ผหู้ ญิง ส่วนใหญ่ใส่ชุดชั้นในที่เพียงแค่ “ดีพอ” แต่อาจไม่ “พอดี” ชุดชั้นในไลน์ใหม่นี้ จึงแบ่งเป็นประเภทด้วยแถบสีแทนลักษณะของหน้าอกที่แตกต่างกันทั้งหมด 8 แบบ โดยลูกค้าสามารถเข้าไปตอบแบบสอบถามออนไลน์ เกีย่ วกับปัญหาทีพ่ บ ในการใส่ชุดชั้นในซึ่งจะบ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของหน้าอกของพวกเธอที่ trueandco.com หลังจากนัน้ ระบบจะทำ�การคัดเลือกชุดชัน้ ในทีเ่ หมาะสมกับ สรีระให้เลือกและทำ�จัดส่งมาให้ลองถึงบ้านจำ�นวนไม่เกิน 5 ชุด ซึ่งลูกค้า สามารถส่งคืนชุดที่ไม่พอดีหรือไม่ชอบได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ระบบจะ จดจำ�ประวัตกิ ารเลือกและส่งคืนในแต่ละครัง้ เพือ่ ประมวลผลและเสนอตัวเลือก ชุดชัน้ ในทีเ่ หมาะสมกับรูปร่างและตรงกับรสนิยมของลูกค้ามากขึน้ ในครัง้ ต่อๆ ไป เพื่อให้การค้นหาชุดชั้นในที่พอดีและพอใจเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วขึ้น กว่าที่เคย

“Big Data” เป็นประเด็นที่ธุรกิจทั่วโลกกำ�ลังให้ความสำ�คัญ เนื่องจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการสื่อสารทำ�ให้มีข้อมูลเกิดขึ้นจำ�นวน มหาศาล ทั้ ง จากสื่ อ สั ง คมออนไลน์ ระบบบั น ทึ ก การเปลี่ ย นแปลงของ ระบบงานต่างๆ (Transaction Logs) และระบบเซ็นเซอร์ทใี่ ช้กนั อย่างแพร่หลาย ในปั จ จุ บั น เช่ น ในธุ ร กิ จ ด้ า นการเงิ น การธนาคาร สุ ข ภาพ การขนส่ ง โทรคมนาคม สื่อสิ่งพิมพ์ ฯลฯ Big Data มี คุ ณ สมบั ติ สำ � คั ญ คื อ นอกจากจะมี ป ริ ม าณมหาศาล (Volume) แล้ว ยังมีรูปแบบที่หลากหลาย (Variety) โดยร้อยละ 90 เป็นข้อมูล ที่ไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) เช่น อีเมล ข้อความ รูปภาพ คลิปเสียง ฯลฯ และมีการเปลีย่ นแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) ทำ�ให้ธรุ กิจต้องก้าวให้ทนั การเติ บ โตของข้ อ มู ล ขนาดมหึ ม าโดยการแสวงหาระบบไอที เ พื่ อ เพิ่ ม ประสิทธิภาพในการรองรับและบุคลากรทีม่ ที กั ษะเฉพาะในการวิเคราะห์ขอ้ มูล เพื่อให้สามารถนำ�มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่มา: บทความ “Big Data 101: Unstructured Data Analytics” (มิถุนายน 2012) จาก intel.com บทความ “Big Data is (now) All Around” จาก g-able.com

6l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

mushroomnetworks.com

FACT & FIGURES Big Data อภิมหาข้อมูล


THE SUBJECT ลงมือคิด

SERVICE

ExperienceFellow เข้าถึง = เข้าใจ เมื่อการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินผลแบบเดิมๆ ไม่อาจเก็บข้อมูล ประสบการณ์ ที่ ลู ก ค้ า ได้ รั บ จากการใช้ บ ริ ก ารได้ อ ย่ า งครบถ้ ว น มาร์ก สติกดอร์น (Marc Stickdorn) และเจคอบ ชไนเดอร์ (Jakob Schneider) ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการออกแบบบริการและเจ้าของหนังสือ ติดอันดับขายดี This is Service Design Thinking จึงได้ร่วมกันสร้าง ระบบการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลจากลูกค้ารูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า ExperienceFellow เพื่อให้ผู้ใช้สินค้าหรือบริการที่เข้ามาลงทะเบียน สามารถบันทึกประสบการณ์การใช้บริการของพวกเขาแบบเรียลไทม์ด้วยแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ทั้งในรูปแบบข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และไฟล์เสียง พร้อมกับให้คะแนนความประทับใจในแต่ละขั้นตอน (Touch Point) ข้อมูลเรื่องราวการใช้บริการของลูกค้า ตามลำ�ดับก่อน-หลัง (Customer Journey) ทีถ่ กู บันทึกและวิเคราะห์ดว้ ยซอฟต์แวร์บนเว็บของเอ็กซ์พเี รียนซ์เฟลโลว์จะช่วยให้บริษทั เกิดความเข้าใจในเชิงลึกและมองเห็นภาพสิ่งที่เกิดขึ้นกับการรับรู้ ตัดสินใจ และการได้รับบริการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วนตั้งแต่ ต้นจนจบ โดยขณะนี้เอ็กซ์พีเรียนซ์เฟลโลว์อยู่ในระหว่างการพัฒนาและปรับปรุงระบบ โดยได้เปิดให้ทดลองใช้งานโดยไม่เสียค่าใช้ จ่ายจนถึงพฤศจิกายนนี้ที่ myservicefellow.com

tedxchiangmai.com

EVENT

TEDxChiangMai ส่งต่อความคิดเหนืออาณาเขต ในชีวติ ประจำ�วันทีเ่ ต็มไปด้วยความเร่งรีบและหน้าทีท่ ไี่ ด้รบั มอบหมายภายใต้เวลาอันจำ�กัด ไม่งา่ ยนักทีเ่ ราจะมีโอกาสสัมผัสไอเดีย ใหม่ๆ ที่ท้าทายความคิด จุดประกายความสร้างสรรค์ กระตุ้นการสนทนาและสร้างพลังใหม่ๆ ที่นำ�ไปสู่ความสุขและความเป็น เลิศในการใช้ชีวิตและสังคม งานสัมมนาเชิงความคิดสร้างสรรค์ที่จัดขึ้นสองครั้งต่อปีอย่าง TED (ted.com) และ TEDx ในเมือง ต่างๆ ทั่วโลก จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่กล่าวถึงอย่างมาก เพราะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักคิด และนักปฏิบัติได้แบ่งปัน “ความคิดที่ควรค่าแก่การบอกต่อ (Ideas Worth Spreading)” ซึ่งอยู่บนพื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี ความบันเทิง การออกแบบ และอืน่ ๆ ผ่านการบรรยายทีไ่ ด้รบั การขัดเกลาสาระสำ�คัญให้เข้าใจง่าย เปีย่ มด้วยคุณค่า และเพลิดเพลิน เพื่ อ ให้ ผู้ ช มได้ เ ปิ ด โลกทั ศ น์ ใ หม่ ซึ่ ง จะ สร้างแรงบันดาลใจและสามารถนำ�ไปปรับ ใช้กับการทำ�งาน โดยวิดีโอการบรรยายจะ ถูกบันทึกพร้อมทั้งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ให้ รับชมย้อนหลังได้ทุกที่ทุกเวลา สำ�หรับใน ประเทศไทยนัน้ การจัดงาน TEDxChiangMai (tedxchiangmai.com) ถือเป็นงาน TEDx ที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ โดยมีบริการล่าม แปลภาษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดการบรรยาย งาน TEDxChiangMai กำ�หนดจัดภายใต้หัวข้อ “สรรค์สร้างการ เชื่อมโยง - Creating Connections” ใน วันเสาร์ที่ 27 กันยายน นี้ ณ ห้องคอนเวนชั่นฮอลล์ โรงแรมเลอ เมอริเดียน เชียงใหม่

สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l7


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

FEATURED BOOK

เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา

THE NEW DIGITAL AGE: RESHAPING THE FUTURE OF PEOPLE, NATIONS AND BUSINESS โดย Eric Schmidt และ Jared Cohen

อาจดูเหมือนเรื่องตลกที่เมื่อไม่นานมานี้ผู้ผลิต เครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ได้เปิดตัว ตู้เย็น เครื่อง ซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น และเตาอบไมโครเวฟที่ สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ (Line) ทั้งๆ ที่เรายังไม่น่าที่จะเหงาขนาดต้อง แชทกับตู้เย็นและเครื่องซักผ้า โดยฟีเจอร์นี้มีไว้ เพื่อสั่งการหรือสอบถามสถานะ เช่น มีอะไรใน ตูเ้ ย็นบ้าง ยังมีนมเหลืออีกกีข่ วด หรือให้อปุ กรณ์ ต่างๆ เริ่มทำ�งานเมื่อไร ทั้งนี้ศักยภาพของ อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารที่เชื่อมถึงกันหมด ทำ�ให้อะไรก็เหมือนว่าจะเป็นไปได้ ถึงขนาดว่า ผู้ที่ประดิษฐ์มันขึ้นมาก็อาจคาดไม่ถึง เดิมทีอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นเพื่อการรับ-ส่ง ข้อมูลข้ามระบบเครือข่าย และมีววิ ฒั นาการจน แทบจะกลายเป็นหนึ่งในสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่ทำ�ลายขอบเขตด้านเวลา สถานที่ หรือแม้ กระทั่งภาษา ทำ�ให้โลกในปัจจุบันก้าวเข้าสู่การ เชื่อมโยงแบบ Hyperconnectivity อันเป็นการ สื่อสารหลายช่องทางและหลายรูปแบบ ตั้งแต่ การสื่อสารระหว่างคนกับคน คนกับเครื่องมือ 8 l Creative Thailand l สิงหาคม 2557

หรืออุปกรณ์ ไปจนถึงอุปกรณ์ต่างๆ สื่อสาร กันเอง สิง่ เหล่านีก้ ระตุน้ ให้เกิดการสร้างพฤติกรรม วัฒนธรรม และอารยธรรมใหม่ๆ ทีบ่ างครัง้ อาจ ดูขดั แย้งกับความเป็นจริงทางกายภาพ เช่นการ ทีผ่ คู้ นออนไลน์มกั สร้างโลกเสมือนเพือ่ แสดงตัว ตนอีกด้านหนึง่ โดยเคยมีการคำ�นวณเชิงคาดการณ์ ว่าความเร็วของการเชื่อมต่อในอนาคตอาจเพิ่ม มากขึ้น 2 เท่าในทุกๆ 9 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้ โลกเสมือนมีความสมจริงขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็อาจ ก่อให้เกิดผลทางบวกและลบได้ในคราวเดียว อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ เราคงจินตนาการไม่ออก แล้วว่า ถ้าขาดการเชื่อมต่อดังที่เป็นอยู่เช่น ปัจจุบัน จะทำ�ให้ชีวิตยากลำ�บากเพียงใด เอริก ชมิดต์ และจาเรด โคเฮน สองผู้ บริหารแห่งกูเกิล ร่วมกันแต่งหนังสือเล่มนี้ โดย ประมวลให้เราเห็นภาพที่กำ�ลังจะเกิดขึ้นใน อนาคต โลกเสมือนและโลกของความเป็นจริง

WGSN

ONLINE DATABASE

ทางกายภาพกำ�ลังซ้อนทับและส่งอิทธิพลต่อ กันและกัน ซึง่ อาจต้องทำ�ความเข้าใจและเตรียม การรับมืออย่างระมัดระวัง เนือ้ หาแสดงอนาคต ในหลากหลายมิติ เริ่มต้นที่ตัวเราและอุปกรณ์ เครือ่ งใช้ตา่ งๆ รอบตัว การเป็นส่วนหนึง่ ของเมือง การเป็นรัฐที่เส้นแบ่งเริ่มเลือนลาง แต่ยงั ทรงไว้ ซึง่ หน้าทีผ่ คู้ มุ กฎ รวมไปถึงมิตทิ เ่ี กีย่ วกับการมี สิทธิม์ เี สียง การเรียกร้องสถานะต่างๆ ทั้งคู่ยัง ชี้ให้เห็นภาพความน่ากลัวของการก่อการร้าย ในอนาคตที่มาจากผู้ร้ายที่มองไม่เห็น ก่อนทิ้ง คำ�ถามว่าเราจะฟื้นฟูโลกใบนี้ให้กลับคืนมา อย่างไร หนังสือเล่มนีจ้ งึ ไม่ใช่หนังสือเทคโนโลยี สุดลา้ํ แต่กลับนำ�เสนอมุมมองแบบผูม้ วี สิ ยั ทัศน์ ที่มีต่อปัญหาแท้จริงที่โลกนี้กำ�ลังเผชิญ ซึง่ เป็น ผลมาจากความเจริญของเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั ทีน่ อ้ ย คนจะพูดถึง เพราะบางครั้งมันอาจน่ากลัวเกิน กว่าที่เราอยากจะนึกถึงมัน สำ�นักเทรนด์ WGSN เสนอแนวคิด Rendering Reality สำ � หรั บ แนวโน้ ม แวดวงการพิ ม พ์ และกราฟิกฤดูกาล A/W 2014/15 โดยดึง คุณลักษณะของข้อมูลมาเป็นแรงบันดาลใจ หลัก ไม่ว่าจะเป็น Data Basics ซึ่งดึงรูปแบบ การแปลงบทวิเคราะห์ข้อมูลมาเป็นต้นทุน ทั้ง ลักษณะรูปทรงเรขาคณิต เส้น ตารางแบบแท่ง วงกลม และการใช้สแี บบช่องตาราง Real Type การใช้ลักษณะรูปแบบตัวอักษรในการสื่อสาร แบบตรงไปตรงมาในการประชาสัมพันธ์หรือ ผลิตภัณฑ์ออกแบบ Modern Collage เทคนิค การปะติด ซ้อนทับภาพ ซึ่งยังเป็นเทคนิค สำ � คั ญ ในการสร้ า งแพตเทิ ร์ น สำ � หรั บ งาน ดิ จิ ทั ล กราฟิ ก และ Print-Shift การบิ ด เปลีย่ นแปลง และสร้างเทคนิคภาพพิมพ์ให้เกิด ความแปลกใหม่ เช่น การเล่นกับเรื่องขนาด ตำ�แหน่งการจัดวาง เป็นต้น


CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด

DOCUMENTARY PRESSPAUSEPLAY (presspauseplay.com) A FILM BY HOUSE OF RADON กำ�กับโดย David Dworsky และ Victor Kohler

ตั้งคำ�ถามกับตัวเองเล่นๆ ว่าทุกวันนี้เราอ่านหนังสือ ดูหนัง และฟังเพลง กันอย่างไร ความจริงคือตัวเลขของการดาวน์โหลดเริ่มวิ่งแซงการซื้อสื่อที่ จับต้องได้และนำ�ห่างออกไปทุกที ผู้คนพกพาสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตไป ได้ทุกที่ เลือกเข้าถึงเนื้อหารูปแบบต่างๆ เมื่อไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ นี่คือ ผลพวงของการปฏิวตั ดิ จิ ทิ ลั ในช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมาทีท่ �ำ ให้พฤติกรรมการ บริโภคเปลีย่ นไปโดยสิน้ เชิง แต่ไม่ใช่แค่นนั้ ประชาธิปไตยใหม่ในโลกดิจทิ ลั ยังทำ�ให้ผทู้ เี่ คยเป็นแค่ผบู้ ริโภคกลายเป็นผูผ้ ลิตได้ดว้ ยวิธกี ารทีง่ า่ ยกว่าเดิม ต้นทุนถูกกว่าเดิม ใครๆ ก็สามารถเขียนหนังสือ ถ่ายทำ�ภาพยนตร์ หรือ ทำ�เพลงขึ้นมาอย่างไรก็ได้ สิ่งนี้ตั้งข้อสงสัยให้ผู้ทำ�สารคดีเรื่องนี้ว่า ปรากฏการณ์นี้ได้สร้างโอกาสใหม่มหาศาล หรือกลับทำ�ให้ผู้ทำ�งาน สร้างสรรค์จริงๆ ในด้านนี้จมหายลงไปท่ามกลางผู้คนจำ�นวนมากกันแน่ ภาพยนตร์ได้รวบรวมบทสัมภาษณ์ศิลปิน ผู้กำ�กับ ผู้สร้างสรรค์งานที่มีชื่อ เสียงแห่งยุคไว้มากมาย ซึ่งล้วนให้มุมมองความคิดเห็นที่น่าสนใจต่อ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ชมภาพยนตร์เต็มเรื่องได้ที่ vimeo.com/34608191

MOVIE

2001: A SPACE ODYSSEY กำ�กับโดย Stanley Kubrick

ภาพยนตร์คลาสสิก 2001: A Space Odyssey ของผู้กำ�กับชื่อดังสแตนลีย์ คูบริก (Stanley Kubrick) ซึ่งออกฉายในปี 1968 ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้น The Sentinel (1948) ของอาร์เธอร์ ซี. คลาร์ก (Arthur C. Clarke) ก่อน ที่ทั้งคู่จะร่วมขยายและต่อเติมให้เป็นบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ แม้จะได้ รับคำ�วิพากษ์หลากหลายแง่มมุ ในช่วงทีอ่ อกฉาย ด้วยเรือ่ งราวทีก่ า้ วไปไกล กว่าภาพยนตร์วทิ ยาศาสตร์ทวั่ ไปและภาพเทคโนโลยีทสี่ มั ผัสได้ในชีวติ จริง ในช่วงทศวรรษ 1960

นอกจากห้วงอวกาศ นักบิน อุปกรณ์เครือ่ งมือต่างๆ แล้ว ระบบปฏิบตั ิ การ Hal 9000 ซึ่งดักลาส เรน (Douglas Rain) เป็นผู้ให้เสียง ก็เป็นส่วน สำ�คัญของยานอวกาศที่ได้รับการพูดถึงเป็นอย่างมาก ภาพดวงไฟสีแดง เป็นรูปลักษณ์ของ Hal 9000 ซึง่ เป็นทัง้ ระบบควบคุมยาน ตอบโต้ และตอบ รับคำ�สั่งได้อย่างฉับพลันกับนักบินอวกาศนั้น ไม่ต่างจากระบบปัญญา ประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) แต่ความชาญฉลาดและรูเ้ ท่าทันทุกอย่าง ของระบบกลับกลายเป็นภัยคุกคามอย่างที่สุดในภายหลัง การให้ภาพในหลายมิติและสะท้อนความลํ้าสมัยในภาพยนตร์ของ คู บ ริ ก และคลาร์ ก ล้ ว นเป็ น ต้ น ทางจากภาพฝั น ในนิ ย ายไซไฟสู่ ก าร สร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์หลากหลายชิ้นในชีวิตจริงใน ศตวรรษนี้ หนึ่งในนั้นคือระบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่กำ�ลังกลาย เป็นทุกสิง่ ในชีวติ และตอบสนองได้ในทุกมิตเิ วลา สะท้อนผลลัพธ์ของระบบ ปฏิบัติการจาก Hal 9000 สู่ระบบปฏิบัติการ Siri ที่เสมือนเข้าอกเข้าใจ มนุษย์ในทุกเรื่อง แต่นี่เป็นเพียงผลด้านบวก เพราะหากระบบปฏิบัติการ ทำ�งานเหนือการควบคุม ก็เป็นไปได้ว่าความฉลาดก้าวลํ้าของเทคโนโลยี อาจกลับมาทำ�ร้ายมนุษย์ได้ ไม่ต่างจากที่เคยปรากฏให้เห็นมาแล้วใน 2001: A Space Odyssey สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l9


MATTER วัสดุต้นคิด

วัสดุเบื้องหลังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข

LTI Switchable Privacy Glass MC# 5941-01

เมือ่ ชีวติ โลกไร้สายเชือ่ มต่อระหว่างคนและข้อมูล พร้อมกันนัน้ ระบบคอมพิวเตอร์เองก็ยงั คงเชือ่ มต่อ ซึ่งกันและกันเพื่อรับรองการเกิดขึ้นของข้อมูลและส่งต่อไปยังผู้ใช้งาน วัสดุหน้าจอจึงเปรียบเสมือน ผู้นำ�สารที่สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลมหาศาลกับมนุษย์อย่างไร้ขีดจำ�กัด บริษทั คอร์นงิ่ (Corning) ทีม่ สี �ำ นักงานใหญ่อยูใ่ นนิวยอร์ก เป็นหนึง่ ในบริษทั ทีพ่ ฒั นาเทคโนโลยี ด้านวัสดุชั้นนำ�ของโลกมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งในปี 1851 โดยได้ผลิตกระจกหน้าต่าง เซรามิก และวัสดุ ชนิดอื่นๆ อย่างภาชนะเครื่องแก้วไพเร็กซ์ (Pyrex) สำ�หรับใช้ในครัว และโคมไฟสำ�หรับทางรถไฟ ทั้งยังเป็นผู้พัฒนาหลอดแก้วสำ�หรับทำ�หลอดไฟให้กับโธมัส เอดิสัน ก่อนที่จะขายธุรกิจส่วนใหญ่ไป ในปี 1998 เพื่อหันมาเน้นผลิตวัสดุที่มีสมรรถนะสูงสำ�หรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ โดยล่าสุด ได้นำ�เสนอกระจกโค้งและดัดงอขึ้นรูปเป็นสามมิติได้ สำ�หรับตลาดสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์จอภาพ ที่ต้องการความโค้งงอเรียกว่า Willow Glass ซึ่งใช้งานร่วมกับ 3D Shaped Gorilla Glass ที่พัฒนา ขึ้นมาเพื่อการปกป้องได้เป็นอย่างดี โดยสองยักษ์ใหญ่อย่างบริษัทแอปเปิลและซัมซุงซึ่งกำ�ลังมองหาวัสดุที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อ นำ�มาพัฒนาสมาร์ทโฟนให้ทันกับการให้บริการลูกค้าที่ไม่ใช่เฉพาะเพื่อการสื่อสาร แต่คือการเข้าถึง ข้อมูลในทุกการใช้งานในชีวิตประจำ�วัน นอกจากนี้ ยังต้องการให้สมาร์ทโฟนมีขนาดบางลงแต่ ทนทานขึ้น หน้าจอไม่เป็นรอยขีดข่วนและลดแสงสะท้อนที่ไม่ทำ�ลายสายตา หรือแม้แต่มีรูปทรงที่ แตกต่างไปจากเดิม ซึ่งก่อนที่แอปเปิลจะส่งไอโฟนออกสู่ตลาด สตีฟ จ็อบส์ ได้ติดต่อบริษัทคอร์นิ่ง ให้ช่วยพัฒนากระจกชนิดพิเศษสำ�หรับหน้าจอของไอโฟนในระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี หลังจากนั้น ซัมซุงและแบรนด์อื่นๆ ก็หันมาใช้ Gorilla Glass ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัทคอร์นิ่งเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ กระจกดังกล่าวได้รบั การพัฒนาเพิม่ เติมอีกสามครัง้ หลังจากเริม่ ใช้ในปี 2007 เพือ่ ให้ทนทานมากขึน้ นอกจากนี้บริษัทยังได้พัฒนากระจกที่ป้องกันเชื้อโรค และสามารถมองเห็นได้กลางแสงแดดขึ้นด้วย ทั้งนี้ คอร์นิ่งได้ใช้เงินลงทุนกว่า 726 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี สำ�หรับการวิจัยและพัฒนาวัสดุ ซึง่ เท่ากับร้อยละ 9.1 ของรายได้ทงั้ หมด การลงทุนในงานวิจยั และพัฒนาอย่างต่อเนือ่ งนีท้ �ำ ให้บริษทั มีศักยภาพในการนำ�เสนอวัสดุใหม่ๆ ซึ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตลาดในวงการ อิเล็กทรอนิกส์ได้ทันเวลา นับเป็นจุดสำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดวิวัฒนาการของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่าง ก้าวกระโดดในรอบหนึ่งทศวรรษ ทีม่ า: บทความ “Corning Developing Curved Screens to Keep Smartphone Edge” (6 มกราคม 2014) จาก bloomberg.com

10 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

แผ่นกระจกลามิเนตซ้อนหลายชัน้ นีจ้ ะเปลีย่ นจากใสไป เป็นฝ้าได้ทนั ทีเมือ่ ถูกกระตุน้ ด้วยกระแสไฟฟ้า ประกอบ ด้วยแผ่นกระจกหรือโพลีคาร์บอเนตสองแผ่นประกบอยู่ ด้านนอก โดยมีชั้นกาวเป็นตัวประสานกับแกนกลางที่ เป็นชั้นวัสดุคริสตัลเหลว กระแสไฟฟ้าแรงตํ่ามากที่ส่ง เข้าไปในชั้นแกนกลางจะเปลี่ยนจากใสเป็นฝ้าในเวลา ประมาณ 1/100 วินาที และเปลีย่ นจากฝ้าเป็นใสทีป่ ระมาณ 1/1,000 วินาที สามารถกันกระสุนและต้านทานพายุ เฮอริเคน เมื่อปิดขอบกระจกก็สามารถนำ�ไปใช้งานใน สภาพความชืน้ ได้ มีอายุการใช้งานนาน เหมาะสำ�หรับ ใช้เป็นกระจกภายในอาคารหรือใช้ในห้องนํ้า

IMPAtouch MC# 6213-01 อุปกรณ์ไฟฟ้าพร้อมกลไกบังคับการทำ�งานผ่านแผ่น กระจก ผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะ ในการทำ�แผ่นกระจกให้เป็นแผงหรือปุ่มควบคุมการ ทำ�งานของอุปกรณ์ตา่ งๆ โดยผสานเทคโนโลยีการผลิต กระจก อุปกรณ์เซ็นเซอร์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์เข้าไว้ ด้วยกัน โดยประกอบแผงบังคับลงด้านหลังของแผ่น กระจก จากนัน้ จึงพิมพ์ประกบแผงวงจรด้วยความร้อน และเชือ่ มชิน้ ส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลงบนแผง ส่วนอุปกรณ์ ตรวจจับจะทำ�หน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลเพื่อให้ตัว ประมวลผลทำ�การวิเคราะห์ สามารถกำ�หนดลักษณะ การใช้งานได้ตามต้องการโดยอาศัยซอฟต์แวร์ทที่ �ำ งาน ผ่านอุปกรณ์ควบคุมขนาดจิว๋ ทัง้ ยังสามารถปรับเปลีย่ น ระยะการตรวจจับของเซ็นเซอร์ได้ระหว่างการใช้งาน สามารถทำ�ความสะอาดพื้นผิวได้ง่ายกว่าแผงควบคุม ชนิดอื่น จึงเหมาะสำ�หรับเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ พบกับวัสดุต้นคิดเหล่านี้ได้ที่ Material ConneXion® Bangkok, TCDC


กล่องดำ� เรื่อง: ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์

©theguardian.com

“นีค่ อื กัปตัน ขอให้ทกุ คนนัง่ อยูก่ บั ที่ เรา มีระเบิดบนเครื่อง…” เสียงประกาศของ หนึ่งในผู้ก่อการร้ายบนเครื่องบินเพียง ลำ � เดี ย วที่ ไ ม่ บ รรลุ เ ป้ า หมายการพุ่ ง ชน อาคารในโศกนาฏกรรม 9/11 เมือ่ วันที่ 11 กันยายน 2011 ถูกบันทึกไว้ในกล่องดำ� และนำ�ไปสู่การตามล่ า ผู้ ที่ อ ยู่ เ บื้ อ งหลั ง ในเวลาต่อมา กล่องดำ�จึงเป็นมากกว่า สมุดรายงานข้อเท็จจริงทางการบิน แต่ยงั หมายถึงนาทีชีวิตและเหตุการณ์สำ�คัญ ของทุกอุบัติภัยทางอากาศ

ซึ่งเป็นข้อมูลสำ�คัญที่เผยให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนที่ เครื่องบินจะตก ส่วนกล่องบันทึกข้อมูลทางการบินทำ� หน้าที่จดจำ�ข้อมูลการบิน ไม่ว่าจะเป็นเวลา ระดับ ความสูง ความเร็ว ทิศทางและท่าทางของเครือ่ งบิน โดย มีความยาวในการบันทึกนานถึง 25 ชัว่ โมง และเป็น ข้อมูลทีช่ ว่ ยให้ผเู้ ชีย่ วชาญสามารถจำ�ลองภาพเหตุการณ์ ของเที่ยวบินในกระบวนการสืบสวนและค้นหาสาเหตุ ทัง้ นี้ กล่องดำ�ทั้งสองจะติดตั้งอยู่บริเวณแพนหางของ เครื่องบิน ซึ่งเชื่อว่าเป็นจุดที่ได้รับความเสียหายน้อย ที่สุดเมื่อเกิดอุบัติเหตุ •นอกจากกล่องดำ�แต่ละกล่องจะทนต่อแรงกระแทก ความร้อน และแรงกดอากาศ มันยังมีเครื่องระบุ ตำ�แหน่งที่เรียกว่า Underwater Locator Beacon (ULB) หรือปิงเจอร์ (Pinger) สำ�หรับในกรณีที่เกิด อุบตั เิ หตุในนา้ํ ปิงเจอร์จะส่งสัญญาณ ‘ปิง’ (Ping) ด้วย

CLASSIC ITEM คลาสสิก

•ทศวรรษ 1950 ดร.เดวิด วอร์เรน (David Warren) นักวิทยาศาสตร์แห่งห้องปฏิบัติการวิจัยทาง อากาศยาน (Aeronautical Research Laboratory) ออสเตรเลีย คิดวิธีการสร้างอุปกรณ์บันทึกเสียง ในห้องนักบิน ขณะที่เขาเป็นหนึ่งในทีมผู้สืบสวนการตกของเครื่องบินไอพ่นโคเมต (Comet) ซึ่งหา สาเหตุไม่ได้ โดยกล่าวว่าได้แรงบันดาลใจจากการเห็นเครื่องบันทึกเสียงขนาดจิ๋วในงานแสดงสินค้า แห่งหนึ่ง •ในปี 1957 วอร์เรนและทีมงานสร้างสรรค์กล่องดำ�ต้นแบบขึน้ เป็นครัง้ แรก โดยเรียกว่า หน่วยบันทึก การบินเออาร์แอล (ARL Flight Memory Unit) แม้จะไม่ได้รบั ความสนใจจากทางการออสเตรเลียแต่ สิง่ ประดิษฐ์ตน้ แบบนีก้ ลับเรียกความสนใจจากสหราชอาณาจักรให้น�ำ ไปพัฒนาต่อ จนกระทัง่ ในปี 1960 หลังเกิดเหตุเครื่องบินตกที่รัฐควีนส์แลนด์ ทำ�ให้ทางการออสเตรเลียออกกฎหมายบังคับใช้กล่องดำ� กับเครื่องบินทุกลำ�เป็นประเทศแรก ตามมาด้วยสหรัฐฯในปี 1966 และประเทศอื่นๆ ในเวลาต่อมา •แม้ ‘กล่องดำ�’ จะเป็นคำ�ที่ใช้อย่างแพร่หลายจนทำ�ให้เข้าใจว่ามี สีเหมือนชื่อ แต่ในความเป็นจริง กล่องปริศนาที่มีขนาดเท่ากล่อง รองเท้านี้ถูกออกแบบให้มีสีส้มสด เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาในทุก สภาพแวดล้อมหลังเกิดอุบัติเหตุ จึงมีข้อสันนิษฐานว่าชื่อเรียกดัง กล่าวอาจมีที่มาจากการออกแบบในยุคแรกที่เป็นสีดำ�สนิท หรือ เป็นการอ้างถึงสภาพดำ�เกรียมของเครื่องบินหลังเกิดการเผาไหม้ •กล่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน (Cockpit Voice Recorder) และ กล่องบันทึกข้อมูลทางการบิน (Flight Data Recorder) คือชื่อ ทางการของกล่องดำ� กล่องบันทึกเสียงในห้องนักบินทำ�หน้าที่ บันทึกเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยรับเสียงจากไมโครโฟนของนักบิน และไมโครโฟนบนแผงอุปกรณ์บนเพดานที่นั่ง เช่น เสียงสนทนา การตอบโต้ทางอากาศ สัญญาณเตือนภัย และเสียงเครื่องยนต์

คลืน่ ความถีอ่ ลั ตราโซนิกทันทีเมือ่ สัมผัสผิวนํา้ เพือ่ แจ้ง ตำ�แหน่งไปยังอุปกรณ์ค้นหาสัญญาณ โดยสามารถส่ง สัญญาณได้จากความลึกมากสุดถึง 6,100 เมตร ใน รัศมีประมาณ 2,000 เมตร เป็นเวลานาน 30 วัน •แม้จะเป็นนวัตกรรมที่น่าเชื่อถือที่สุดสำ�หรับความ ปลอดภัยทางการบินในเวลานี้ แต่ปญั หาแบตเตอรีอ่ ายุ สั้ น ก็ เ ป็ น โจทย์ สำ � คั ญ สำ � หรั บ อนาคตของกล่ อ งดำ � ดังเช่นกรณีเครื่องบินของแอร์ ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 447 ที่ใช้เวลางมหากล่องดำ�นานเกือบ 2 ปี และเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซียแอร์ไลน์ที่ยังคงหายไปอย่างไร้ ร่องรอย ทำ�ให้เร็วๆ นี้ สำ�นักงานความปลอดภัยด้าน การบินแห่งสหภาพยุโรป หรือ EASA ประกาศมาตรการ ยืดชีวิตของกล่องดำ�จาก 30 วัน เป็น 90 วัน รวมถึง ยืดเวลาการบันทึกของกล่องบันทึกเสียงในห้องนักบิน จาก 2 ชั่วโมง เป็น 20 ชั่วโมง

•จากเหตุการณ์ดังกล่าว มาร์ค โรเซนเกอร์ (Mark Rosenker) อดีตประธานคณะกรรมการความปลอดภัย ทางคมนาคมแห่งชาติสหรัฐฯ (NTSB) จึงได้เรียกร้อง ให้อุตสาหกรรมการบินเชื่อมโยงข้อมูลในกล่องดำ� เข้ากับระบบคลาวด์ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลสำ�คัญแบบ เรียลไทม์ในกรณีฉุกเฉิน และป้องกันการสูญหายของ ข้อมูล ซึง่ นอกจากจะช่วยแก้ปญั หาแล้ว ยังนับเป็นก้าว สำ�คัญการเก็บข้อมูลในกล่องดำ�อีกด้วย •เทคโนโลยีแห่งอากาศยานไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เมื่อทางการสหรัฐฯ อนุมัติให้มีการติดตั้งกล่องดำ�ใน ยานยนต์ โดยมีผลบังคับใช้กับรถยนต์ใหม่ทุกคันใน เดือนกันยายนที่จะถึงนี้ เช่นเดียวกับสหภาพยุโรปที่มี ผลบังคับใช้ภายในเดือนตุลาคมปีหน้า โดยหวังว่า เทคโนโลยีนี้จะช่วยปรับพฤติกรรมการขับขี่และลด อุบัติเหตุบนท้องถนนให้น้อยลงได้

ที่มา: abc.net.au, aticourses.com, autos.yahoo.com, globaltimes.cn, iasa.com.au, mirror.co.uk, says.com, telegraph.co.uk และ วิกิพีเดีย สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 11


COVER STORY เรื่องจากปก

เรื่อง: มนฑิณี ยงวิกุล

เมื่ อ ระบบการจ่ า ยเงิ น ด้ ว ยโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ เข้ า มาในชี วิ ต ชาวไนจีเรีย แม้ว่าจะไม่ได้พลิกชีวิตคนทั้งประเทศให้อยู่ดีกินดี แต่อย่างน้อยก็ทำ�ให้พวกเขามีความปลอดภัยขั้นพื้นฐานใน การทำ�ธุรกรรมทางการเงินมากกว่าในอดีตที่ต้องพกเงินสด ซึง่ สุม่ เสีย่ งต่อการถูกจีป้ ล้น ความสะดวกสบายจากการเชือ่ มต่อ ข้ อ มู ล เข้ า ด้ ว ยกั น นี้ ไ ม่ เ พี ย งเปลี่ ย นวิ ถี ชี วิ ต ของชาวไนจี เ รี ย แต่ก�ำ ลังขยายผลไปสูก่ ารสร้างโลกใหม่ทเี่ ปีย่ มไปด้วยความหวัง

12 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557


COVER STORY เรื่องจากปก

It Starts with a Chip เมื่อเทคโนโยลีการผลิตแผงวงจรรวม (Integrated Circuit Technology) ได้รับการพัฒนาจนมีขนาดเล็กระดับ 1 ใน ล้านของเมตร หรือที่เรียกว่า ระบบไฟฟ้าเครื่องกลจุลภาค (Micro-Electro-Mechanical System: MEMS) นั่น เท่ากับเปิ ด ประตู ใ ห้ กั บ โลกใหม่ ที่ ขั บ เคลื่ อ นด้ ว ยอุ ป กรณ์ สำ�คัญ 2 ชนิด คือเซ็นเซอร์ตรวจจับข้อมูล และแอคซูเอเตอร์ (กลไกควบคุมและสั่งการตามการเปลี่ยนแปลงของสถานะ ต่างๆ เช่น อุณหภูมิ สนามแม่เหล็ก เป็นต้น) ที่สามารถแฝง เข้าไปเป็นส่วนหนึง่ ของพืน้ ผิวของวัตถุตา่ งๆ อย่างไม่คาดคิด มาก่อน

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย ระบบเซ็นเซอร์ และ การประมวลผลทีล่ า้ํ หน้า ทำ�ให้เสือ้ ผ้า รองเท้า แก้วนํา้ หรืออุปกรณ์ตา่ งๆ กลายเป็นเครือ่ งมือในการสร้างมูลค่ามหาศาลจากข้อมูล ด้วยการเก็บ วิเคราะห์ และส่งสัญญาณถึงกันอย่างไม่ผดิ พลาด จนกลายเป็นเครือข่าย ของสิ่งของที่สามารถสื่อสารระหว่างมนุษย์และอุปกรณ์ ไปจนถึงการ สื่อสารกันเองระหว่างอุปกรณ์ (Machine to Machine: M2M) ตั้งแต่ เครือ่ งใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจนถึงระบบการผลิต เกิดเป็นสภาพแวดล้อม ใหม่ทส่ี ง่ ผลต่อสังคมและเศรษฐกิจหรือทีเ่ รียกว่า “อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (Internet of Things)” ซึ่งกำ�ลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกที บริษัทซิสโก (Cisco) บริษัทไอทีชั้นนำ�ของโลกคาดว่าเครือข่าย ของอินเตอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ จะเติบโตอย่างต่อเนือ่ งโดยคาดว่าในปี 2020 จะมีเครื่องใช้ที่เชื่อมต่อกันมากกว่า 50 พันล้านชิ้น ขณะที่มอร์แกน สแตนลีย์ (Morgan Stanley) บริษัทหลักทรัพย์อเมริกันวิเคราะห์ว่า มูลค่าของอุตสาหกรรมทีข่ อ้ มูลของทุกสิง่ ทุกอย่างเชือ่ มต่อกันนีน้ า่ จะ สูงถึง 14.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า และได้ แนะนำ�ให้นกั ลงทุนสนใจบริษทั ทีเ่ กีย่ วข้องแต่เนิน่ ๆ เพือ่ จะได้ไม่พลาด โอกาสเหมือนเมื่อครั้งแอปเปิลและแอมะซอนขายหุ้นตั้งแต่ครั้งแรก

ที่มา: cisco.com

สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 13


ในกรณีที่ไม่สามารถสังเกตตัวเองได้อย่างแดนซี่ ในท้องตลาด เริ่มมีอุปกรณ์การแพทย์ต่างๆ ที่สามารถส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ของ ศูนย์การแพทย์ที่เป็นเจ้าของไข้ ให้มอนิเตอร์และส่งข้อความเตือน ตัง้ แต่การนัดหมายแพทย์ไปจนถึงเวลารับประทานยาได้อย่างต่อเนือ่ ง อุปกรณ์เก็บและส่งข้อมูลด้านสุขภาพนอกจากจะใช้ในการตรวจ วินิจฉัยสุขภาพตัวเองแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการติดตาม ความเป็นไปของคนในครอบครัว เช่น ผลิตภัณฑ์ของมิโมเบบี้ส์ (MimoBabies) ทีจ่ บั กลุม่ พ่อแม่เวลาน้อยแต่ตอ้ งการรูว้ า่ ลูกน้อยมีชวี ติ อย่างไรมากกว่าการดูจากกล้องวงจรปิด 14 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่ มีโปรแกรม รวมเว็บแอพพลิเคชั่นให้เป็นส่วนหนึ่งของ ฟังก์ชั่นกูเกิล กลาส

Narrative Clip

กล้องติดตามตัวเพื่อบันทึกภาพทุกวินาที

m

ch.co

dyte mobo

lu

Lumoback

เซ็นเซอร์แบบเข็มขัดที่คาดอยู่ ที่เอวจะสั่นถ้าหากคุณยืน หรือนั่งหลังโก่ง

motorola.com

คริส แดนซี่ (Chris Dancy) วัย 45 ต้องการดูแลสุขภาพตัวเอง ให้ดียิ่งขึ้น จึงเริ่มต้นเก็บข้อมูลชีวิตตัวเองมาตั้งแต่ 5 ปีก่อน ทุกวันเขาจะติดอุปกรณ์ประมาณ 10 ชนิดเพื่อเก็บข้อมูลความ เคลือ่ นไหว ตัง้ แต่ระดับความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ การนอนหลับ การออกกำ�ลังกาย การกินอาหาร รวมถึงกิจกรรมออนไลน์ เช่น ถ่ายภาพ ส่งอีเมล และซือ้ ของจากเว็บไซต์แอมะซอน ข้อมูลทุกอย่างจะถูกบันทึก เป็นแถบสีตามวันและเวลาในปฏิทนิ กูเกิล โดยแบ่งเป็นหมวดสุขภาพ สภาพแวดล้อม บันเทิง สื่อออนไลน์ การทำ�งานเกี่ยวกับความรู้ การท่องเที่ยว ความคิดเห็น การสร้างเนื้อหา เงิน และจิตใจ เมื่อนำ� ข้อมูลทั้ง 5 ปีมาร้อยต่อกันก็จะช่วยให้เขาเห็นภาพอุปนิสัยในการใช้ ชีวิตที่ต้องปรับปรุง เช่น การกินอาหารและสภาพอากาศจะส่งผลต่อ คุณภาพการนอนหลับ จนในที่สุดเขาสามารถลดนํ้าหนักลงเกือบ 10 กิโลกรัม และดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีขึ้นได้ เขาตัดสินใจเปลี่ยน สายงานจากด้านไอทีมาเป็นผูบ้ รรยายเกีย่ วกับ “ข้อมูลเพือ่ การดำ�รงชีวติ (Assisted Living Data)” ซึง่ ได้รบั การตอบรับทีด่ ใี นกลุม่ ผูบ้ ริโภค ทัง้ นี้ จากการศึกษาของสถาบันวิจัย พิว รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ (Pew Research Center) พบว่าร้อยละ 46 ของคนทีส่ ามารถติดตามข้อมูลสุขภาพของ ตัวเอง ยอมรับว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อทำ�ให้สุขภาพดีขึ้น

Google Glass

getnarrative.com

บางครั้ ง มู ล ค่ า มหาศาลของอุ ต สาหกรรมอิ น เทอร์ เ น็ ต ออฟ ธิงส์ ที่ประมาณการณ์โดยเหล่านักวิเคราะห์อาจจะ ตํ่าไป เมื่อเทียบกับวิถีแห่งการใช้ข้อมูลเพื่อการแข่งขันทาง ธุรกิจในการมัดใจลูกค้า เจตนารมณ์ที่ดีในการช่วยเหลือ เพื่ อ นมนุ ษ ย์ แ ละการรั ก ษาโลกใบนี้ ตลอดจนความ กระตื อ รื อ ร้ น ของเหล่ า สตาร์ ท อั พ ในการสร้ า งตั ว จาก เทคโนโลยี การบริหารจัดการเมืองและโครงการขนาดใหญ่ ที่ต้องการความแม่นยำ� จนถึงการขยายตัวของพลเมืองที่ ตอบรับข้อมูลจากอุปกรณ์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

google.com

Butler of Everything

Moto X

สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์ ที่สั่งการด้วยเสียง


mimobaby.com jawbone.com

apple .com

Jawbone UP

เครื่องมือวัดการเคลื่อนไหว ของร่างกาย

iPhone 5s

fitbit.com

getpebble.com

ศูนย์รวมข้อมูลจากระบบเซ็นเซอร์ เกี่ยวกับสุขภาพ

Smart Watch

(Pebble Steel/ Samsung Galaxy Gear) สมาร์ทโฟนที่อยู่ในรูปของนาฬิกาข้อมือ

เครื่องมือนับก้าวเดินและ การเผาผลาญแคลอรีที่ใช้ไป wahoofitness.com

bodymedia.com

Fitbit

BodyMedia FIT

สายรัดแขนวัดการเผาผลาญ แคลอรี turne

rmed

Wahoo Blue HR

ical.

ตรวจจับการเต้นหัวใจโดยใส่ไว้ ใต้เสื้อเชิ้ต com

Pulse Oximeter

เครื่องมือวัดความอิ่มตัวออกซิเจน ของฮีโมโกลบินจากชีพจร

มิโมเบบีส้ เ์ ป็นความร่วมมือระหว่างอินเทล ผูผ้ ลิตชิปคอมพิวเตอร์ รายใหญ่ โดยพัฒนาขึ้นจากมิโมกิโมโน (Mimo Kimono) ผลงานของ คาร์สัน ดาร์ลิง (Carson Darling) ศิษย์เก่าเอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology) และสตาร์ทอัพผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเรสต์ ดีไวซ์ (Rest Device) ในการนำ�ระบบเซ็นเซอร์มารวมกับชุดเด็กเพื่อ ติดตามการหายใจ อุณหภูมิ ท่านอน และข้อมูลต่างๆ ที่จำ�เป็นแบบ เรียลไทม์ ซึง่ จะเชือ่ มต่อกับ “เอดิสนั ” คอมพิวเตอร์รนุ่ ใหม่ลา่ สุดของ อินเทล ซึง่ มีขนาดเล็กเท่ากับเอสดีการ์ด (SD card) ทำ�หน้าทีเ่ ก็บและ ประมวลข้อมูล ก่อนจะส่งสัญญาณไปยังสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของ พ่อแม่ทอ่ี าจจะกำ�ลังอยูใ่ นงานเลีย้ งอาหารคํา่ เพือ่ บอกว่าหนูนอ้ ยเหล่านี้ มีอุณหภูมิร่างกายปกติและนอนหลับสุขสบายแค่ไหน นอกจากนี้ ระหว่างเดินทางกลับบ้าน พ่อแม่ที่ยุ่งกับงานอาจจะ ไม่ได้สังเกตว่ารถยนต์ที่น่ังไปนั้นมีอาการผิดปกติมานานแล้ว รถจึง อาจเสียกลางทาง แต่ปญั หานีจ้ ะได้รบั แก้ไขถ้าหากรถยนต์คนั ดังกล่าว ใช้แจสเปอร์ เทคโนโลยี (Jasper Technologies) จาฮังกีร์ โมฮัมเหม็ด (Jahangir Mohammed) คิดค้นแจสเปอร์ เทคโนโลยี ขึ้นมาเมื่อเขาประสบปัญหารถยนต์เสียและต้องยืนรอ ช่างเป็นเวลา 3 ชั่วโมง จึงเกิดไอเดียในการพัฒนาซอฟต์แวร์สำ�หรับ การเตือนที่สามารถนำ�ไปใช้กับเครื่องใช้ต่างๆ เช่น รถยนต์ที่ถึงเวลา เข้าอู่ซ่อม เครื่องขายนํ้าอัดลมอัตโนมัติของโคคา-โคลาที่ถึงเวลาต้อง เติมโซดา ตลอดจนลูกค้ากว่า 1,000 รายที่นำ�ซอฟต์แวร์ดังกล่าวนี้ไป ประยุกต์ใช้กบั สินค้าและบริการ รวมถึงการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ เช่น การจับมือระหว่างเจเนอรัล มอเตอร์ส ที่ใช้แจสเปอร์และบริการ เอทีแอนด์อี (AT&T) เพื่อให้รถยนต์รุ่นใหม่ล่าสุดกลายเป็นจุดรับ สัญญาณวายฟายที่สามารถรองรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ถึง 7 ชนิด โมเดลความร่วมมือเหล่านีท้ ำ�ให้บริษทั ของโมฮัมเหม็ดมีรายได้เพิม่ ขึน้ ถึงเท่าตัว เขาเชือ่ ว่าเมือ่ ทุกอย่างเชือ่ มต่อกันก็จะกลายเป็นบริการ และ เปิดโอกาสให้ทุกคนทำ�เงินไปด้วยกัน สิงหาคม 2557 l Creative Thailand l 15


carloratti.com

Me and the World

คาร์โล ราตติ (Carlo Ratti) หัวหน้าวิจัยโครงการกล่าวถึงที่มาว่า ภายในอาคารมีพลังงานจำ�นวนมากทีส่ ญู เสียไปกับส่วนทีไ่ ม่มใี ครอยูอ่ ย่าง เช่นมุมห้อง เทคนิคนีจ้ ะทำ�ให้การทำ�ความร้อนสมดุลกับผูอ้ าศัยอยูใ่ นอาคาร มากขึน้ แม้วา่ จะยังอยูใ่ นขัน้ ของการทดลองแต่ราตติเชือ่ ว่าราคาจะไม่แพง เกินกว่าที่จะนำ�มาใช้ได้จริง ผลงานนี้กำ�ลังจัดแสดงเป็นครั้งแรกในงาน เวนิส อาร์คิเทคเชอร์ เบียนนาเล่ ครั้งที่ 14 (14th Venice Architecture Biennale) ในปี 2014 นี้ slice.mit.edu

smartmeters.com

ข้ อ มู ล เกี่ย วกั บ บุ ค คลไม่ เ พี ย งถู ก แปรเปลี่ย นเป็ น บริ ก ารที่ สร้างรายได้ให้เหล่าสตาร์ทอัพและธุรกิจ แต่ยงั เป็นองค์ประกอบ สำ�คัญในการบริหารจัดการทรัพยากรโลก อย่างเช่นทีแ่ ปซิฟกิ แก๊ส แอนด์ อิเล็กทริก คอมพานี (Pacific Gas and Electric Company-PG&E) ในสหรัฐอเมริกา ใช้ระบบ สมาร์ท มิเตอร์ (Smart Meter) โดยอาศัยข้อมูลพฤติกรรมการใช้ไฟของ บ้านเรือนและโรงงานแบบเรียลไทม์ มาใช้ในการทำ�โปรโมชั่น ให้ลูกค้าเลือกใช้ไฟในช่วงที่ความต้องการน้อย (off-peak) ซึ่งประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่าการใช้ในช่วงความต้องการสูง

อย่างไรก็ตาม วิธีการของผู้ผลิตไฟฟ้าดังกล่าวนั้น สิทธิในการเลือกใช้ ยังเป็นของผูบ้ ริโภค แต่สำ�หรับพืน้ ทีส่ าธารณะ ผูใ้ ห้บริการสามารถเลือก ที่จะประหยัดพลังงานได้ด้วยผลงานงานใหม่ล่าสุดจากศูนย์วิจัยด้าน ประสาทสัมผัสเอ็มไอที (MIT SENSEable City Lab) ที่คิดค้นเครื่อง ทำ�ความอบอุ่นเฉพาะคน (Local Warming) ขึ้นจากการใช้ระบบ วายฟายในการค้นหาตำ�แหน่งคนแบบเรียลไทม์ หลังจากนัน้ จะส่งข้อมูล ไปยังเครื่องทำ�ความร้อนทีมีหลอดกำ�เนิดคลื่นอินฟราเรดและกระจก รวมแสง เพื่อให้ส่งความร้อนมายังตัวคนที่เดินเข้ามาภายในอาคาร เสมือนเครื่องทำ�ความร้อนส่วนตัวแทนที่จะกระจายความร้อนไปทั่ว วิธีนี้ช่วยให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น เพราะความร้อนจะกระจายอยู่ ที่ตัวคน และปล่อยให้พื้นที่ว่างรอบๆ ยังคงเย็นเช่นเดิม

16 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557


facebook.com/LuleaDataCenter

Who Moved My Data? นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยอุปกรณ์ไร้สายเอ็มไอที (MIT’s Wireless Center) ยังร่วมกับศูนย์วิจัยคอมพิวเตอร์เอไอ (Computer Science and Artificial Intelligence Laboratory: CSAIL) พัฒนาระบบการติดตามจากการผสม ระบบไร้สายกับระบบการเอ็กซเรย์ ซึง่ สามารถตรวจจับแม้กระทัง่ การกระเพือ่ ม ขึน้ ลงของหน้าอกเวลาหายใจเข้า-ออกและอัตราการเต้นของหัวใจได้ถกู ต้อง ถึงร้อยละ 99 ระบบนีย้ งั สามารถทะลุทะลวงเข้าไปในห้องทีป่ ดิ มิดชิด และ สามารถแยกแยะความแตกต่างของคนได้ถึง 4 คนในเวลาเดียวกัน ในแง่หนึ่ง ผลงานวิจัยดังกล่าวนี้จะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาบริการ ต่างๆ เพือ่ ประโยชน์ตงั้ แต่การพัฒนาคุณภาพชีวติ ของแต่ละบุคคลไปจนถึง นโยบายระดับสากล เช่น การรักษาสิ่งแวดล้อม และการป้องกันการก่อ การร้าย ทว่ายิง่ ข้อมูลถูกเก็บอย่างละเอียดและถูกนำ�ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ มากขึ้นเท่าไร นั่นยิ่งทำ�ให้ข้อมูลนั้นไม่สามารถใช้ระบบการบริหารจัดการ แบบเดิมที่ผ่านมาและนำ�ไปสู่การลงทุนครั้งใหญ่ของโลกอีกครั้ง

ข้อมูลปริมาณมหาศาล (Big Data) ที่ถ่ายโอนไปมาระหว่าง วัตถุตามแนวคิดอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ซึง่ พึง่ พาระบบคลาวด์ เป็นตัวขับเคลือ่ นในการเก็บ ส่งต่อ ประมวล แสดงผล และจัดเก็บ ข้อมูลนัน้ ไม่ได้วา่ งเปล่าดังชือ่ เรียก ทว่าต้องพึง่ พาวัสดุขนาด ใหญ่หลากหลายในการบริหารจัดเก็บภายในศูนย์ข้อมูล (Data Center) รวมทัง้ การสร้างเครือข่ายแบนด์วธิ (Bandwidth) เพื่อรองรับความเร็วในระดับเรียลไทม์และข้อมูล ระดับเพตะไบต์ (Petabyte หน่วยใหญ่กว่าเทราไบต์ อัตรา 1 PB = หนึ่งพันล้านล้านไบต์) ซึ่งทั้งศูนย์ข้อมูลและระบบ ทีใ่ ช้ในปัจจุบนั ได้เดินทางจนถึงขีดสุดและต้องการการพัฒนา ครั้งใหญ่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใหม่

แม้วา่ การพัฒนาเทคโนโลยีดจิ ทิ ลั จะเข้ามาเป็นส่วนหนึง่ ของการสร้าง คุณภาพชีวติ และช่วยลดการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ทว่า ในอีกแง่หนึง่ มันอาจจะเป็นเครือ่ งจักรใหม่ทเี่ ร่งการเผาผลาญพลังงาน ทั้งนี้มาร์ก มิลส์ (Mark Mills) ซีอีโอของดิจิทัล พาวเวอร์ กรุ๊ป บริษัท ลงทุนและให้คำ�ปรึกษาด้านเทคโนโลยี ประมาณการณ์วา่ คอมพิวเตอร์ เซิรฟ์ เวอร์ทเี่ ป็นหัวใจสำ�คัญของระบบคลาวด์ (Cloud) ในปัจจุบนั นัน้ ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 1,500 เทราวัตต์ตอ่ ปี เทียบเท่ากับพลังงาน ไฟฟ้าที่ใช้ทั้งโลกในปี 1985 หรืออาจจะมากกว่าพลังงานที่ใช้ ในอุตสาหกรรมการบิน

สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 17


Bye Bye Data Slavery

ดั ง นั้ น ในการลงทุ น ครั้ ง ใหม่ ข องบริ ษั ท ที่ ต้ อ งเกี่ ย วข้ อ งกั บ ศู น ย์ ข้ อ มู ล ขนาดใหญ่ทั้งไมโครซอฟต์ เฟซบุ๊ก และกูเกิล ล้วนแต่ต้องคำ�นึงถึงการรักษา สมดุลของระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม พร้อมกับระบบนิเวศแห่งไอทีเพื่อการให้ บริการที่สมบูรณ์ที่สุด เฟซบุ๊กเปิดตัวศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ในเมืองลูเลีย (Lulea) สวีเดน เมืองที่มี อุณหภูมิตํ่าที่สุดที่ระดับ -41 องศาเซลเซียส บนพื้นที่ 27,000 ตารางเมตร ด้วยสรรพคุณว่าเป็นศูนย์ที่ทรงประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อความยั่งยืนที่สุด จากการใช้พลังงานนํา้ และการพัฒนาผ่านโครงการโอเพ่น คอมพิวเตอร์ (Open Computer Project) โครงการที่เปิดให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง สาธารณูปโภคสำ�หรับคอมพิวเตอร์ โครงการดังกล่าวทำ�ให้ประสิทธิภาพ การทำ�งานของศูนย์ข้อมูลเฟซบุ๊กนั้นดีกว่าศูนย์ข้อมูลอื่นถึงร้อยละ 38 แต่มี ต้นทุนตํ่ากว่าร้อยละ 24 ขณะที่ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลที่ตั้งอยู่ในมลรัฐไอโอวา สหรัฐฯ ก็ใช้พลังงานลมเป็นหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีปริมาณมากพอ สำ�หรับรองรับการขยายตัวของข้อมูลที่นับวันจะเพิ่มมากขึ้น facebook.com/LuleaDataCenter

ในโลกที่เฟซบุ๊ก แอมะซอน สามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าผ่านพฤติกรรม การใช้งาน และการแชร์เรือ่ งราวไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจเพือ่ กลับมาเสนอ บริการทีโ่ ดนใจ เจนนิเฟอร์ ลิน มอโรน (Jennifer Lyn Morone) จึงคิดว่า ทำ�ไมคนเราไม่เอาข้อมูลของตัวเองมาหาเงินเสียเอง เธอตั้งบริษัทเจแอล เอ็ม อิงค์ (JLM Inc) ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าทุกคนสามารถเป็นซีอีโอบริษัท ขายข้อมูลของตัวเองได้ โดยเธอร่วมกับเพื่อนชาวเทคโนโลยีพัฒนาระบบ มัลติเซ็นเซอร์ที่เธอจะสวมไว้ตลอดเวลา และ แอพพลิเคชั่นที่ชื่อว่า โดม (Database of Me หรือ DOME) เพื่อเก็บและบริหารข้อมูลของเธอ ทั้งชีวิต ประสบการณ์ ความสามารถ รวมถึงข้อมูลทางพันธุกรรมและ ศักยภาพอื่นๆ แล้วนำ�มาตั้งราคาขาย เป้าหมายของเจนนิเฟอร์คือการสร้างแพลตฟอร์มที่ผู้คนทั่วไป จะใช้แอพพลิเคชัน่ นีเ้ ป็นนายหน้าขายตัวเอง เพราะแอพพลิเคชัน่ นีจ้ ะช่วย ในการกำ�หนดราคาในการขาย ให้เช่า หรือแลกเปลี่ยน ยกตัวอย่างเช่น เธอขายพลาสมาในเลื อ ดที ่ ร าคา 1,650 บาท (50 เหรียญสหรัฐฯ) บริจาคไขกระดูกมูลค่า 168,300 บาท (5,100 เหรียญสหรัฐฯ) และไข่ ในราคาที่แพงมาก 5,610,000 บาท (170,000 เหรียญสหรัฐฯ) ด้วยเหตุผล ที่ว่ามีจำ�นวนจำ�กัดตามอายุที่มากขึ้น อย่างไรก็ดแี ม้กจิ การของเธอยังอยูใ่ นช่วงทดลอง เพราะบริการบางอย่าง ยังอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์และตั้งราคา แต่อย่างน้อยความพยายาม ของเธอก็ทำ�ให้ตระหนักว่าข้อมูลส่วนบุคคลนัน้ มีคา่ มากกว่าทีห่ ลายคนคิด และถ้าหากเราสามารถควบคุมข้อมูลของเราได้เอง ก็จะสามารถหาเงินได้ ไม่ต่างจากบริษัทต่างๆ ที่นำ�หน้าเรื่องการใช้ข้อมูลของคนทั่วไปมาทำ� ธุรกิจไปแล้ว ที่มา: บทความ “Who Owns Your Personal Data?” จาก economist.com และ jenniferlynmorone.com

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในอนาคตที่อุปกรณ์เครื่องใช้อาจเชื่อมต่อกันมากกว่า 50 พันล้านชิ้น สภาพสังคมและเศรษฐกิจจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำ�นวยความ สะดวกที่คำ�นึงถึงผู้ใช้เกือบทุกย่างก้าวของชีวิตและความยั่งยืนของโลกใบนี้ แต่ความสะดวกสบายดังกล่าวก็มาพร้อมความวิตกกังวลเกี่ยวกับความเป็น ส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลที่อาจจะต้องมีการบริหารจัดการเช่นกัน สหภาพยุโรปได้จดั ตัง้ กลุม่ วิจยั อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ ยุโรป (IoT European Research Cluster) เพือ่ พัฒนาแผนการลงทุนสาธารณูปโภคต่างๆ ด้วยเป้าหมาย อันยิ่งใหญ่ในการสร้างภาษากลางของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำ�หรับสิ่งของ (Internet of Things) คน (Internet of people) สื่อ (Internet of Media) และ บริการ (Internet of Service) ให้สามารถสื่อสารกันอย่างไร้รอยต่อ ดังนั้น การวางแผนเพือ่ ส่งเสริมงานวิจยั ทีผ่ ลิตขึน้ จึงไม่ได้มแี ค่ดา้ นการพัฒนาเทคโนโลยี และการสร้างมาตรฐาน แต่ยังต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ของข้อมูลและการป้องกันความเป็นส่วนตัว เพือ่ สร้างความมัน่ ใจให้กบั ผูใ้ ช้งาน ในการปล่อยให้ข้อมูลส่วนตัวนั้นถูกเก็บจากเซ็นเซอร์ที่มีอยู่รอบทิศทางและ ไม่ให้ถูกนำ�ไปใช้อย่างบิดเบือน 18 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

ที่มา: บทความ “Internet of Things: Making Cars and Pajamas Smart” โดย Serena Saitto จาก businessweek.com บทความ “IoT Cluster Strategic Research Agenda 2011” จาก internet-ofthings-research.eu บทความ “Really, Really Know Thyself” จาก Bloomberg Businessweek, June 9-22, 2014 บทความ “Step inside the Invisible World that Runs the Internet” จาก fastcoexist.com บทความ “The Internet of Things Will Radically Change Your Big Data Strategy” โดย Mike Kavis จาก forbes.com บทความ “The Surprisingly Large Energy Footprint of the Digital Economy” จาก science.time.com opencompute.org


พบกับนิตยสาร Creative Thailand

ไดทุกเดือน ที่ TCDC กรุงเทพฯ TCDC เชียงใหม รานหนังสือ หองสมุด อาคารสำนักงาน และรานกาแฟใกลบาน ในเขตกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม หัวหิน และ Mini TCDC 13 แหงทั่วประเทศ กรุงเทพฯและปริมณฑล

รานหนังสือ สมาคม • Asia Books • สมาคมธนาคารไทย • รานนายอินทร • สมาคมโฆษณาแหงประเทศไทย • คิโนะคูนิยะ • สมาคมอุตสาหกรรมทอผาไทย • C Book (CDC) • สมาคมหอการคาไทย • แพรพิทยา • สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุงหมไทย • ศึกษิตสยาม • สมาคมสโมสรนักลงทุน • โกมล • สภาอุตสาหกรรมแหงประเทศไทย • สถาบันบุนกะแฟชั่น รานกาแฟ / รานอาหาร • สถาบันราฟเฟลส • Chaho • สถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน • อาฟเตอร ยู • ดอยตุง คอฟฟ เชียงใหม • โอ บอง แปง • รานนายอินทร • October • ซัมทาม คอฟฟ • รานเลา • Tea House Siam Celadon • บานไรกาแฟ เอกมัย • ACE! The Academy • ดอยตุง คอฟฟ • ทรู คอฟฟ for education USA • Book Re:public • รานกาแฟวาวี • 94 Coffee • Little Cook Café • Sweets Café • รานแฮปปฮัท • มหาวิทยาลัยเชียงใหม • วีวี่ คอฟฟ • คาเฟ เดอ นิมมาน • สุริยันจันทรา • แมคคาเฟ • Kanom • The meeting room art café • Babushka • รานมองบลังค • Things Called Art • มิลลเครป • หอมปากหอมคอ • หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม • ไล-บรา-รี่ คาเฟ • กูชาชัก & โรตี • หอการคาจังหวัดเชียงใหม • ก.เอย ก.กาแฟ • จิงเกิ้ล • โรงแรมดุสิต ดีทู • อะเดยอินซัมเมอร • Impresso Espresso Bar • เดอะเชดี • ชีสเคกเฮาส • Minimal • บรรทมสถาน • คอฟฟ แอลลีย อิน เดอะ การเดน • Luvv coffee Bar • บานเส-ลา • รมไมไออุน ทาวนอินทาวน • Gallery Seescape • Yesterday The Village • บานกามปู ทรอปคอล แกลเลอรี่ • The Salad Concept • Hallo Bar • ไอเบอรรี่ • Casa 2511 • บานศิลาดล • Take a Seat • กาแฟโสด • Cotto Studio (นิมมานฯ) • รานกวยเตี๋ยวเรือทุงพญาไท • รานสวนนม • 9w Boutique Hotel • ซูเฟ เฮาส เบเกอรี่ • กาแฟวาวี ทุกสาขา • Good Coffee • Greyhound (Shop and Café) • ช็อกโก คาเฟ • ไหม เบเกอรี่ • รานกาแฟบางรัก • Love at First Bite • ดับเบิ้ลซี คุกกี้ แอนด คอฟฟ • Acoustic Coffee • เวียง จูม ออน บายนิตา • I Love Coffee Design • Fern Forest Café • Hub 53 Bed & Breakfast • Caffé D’Oro • Just Kao Soi • รานกาแฟ เพนกวิน เกตโต • Pasaya Showroom (สยามพารากอน) • อิฐภราดร ลําปาง โรงภาพยนตร / โรงละคร • อาลัมภางค เกสตเฮาส หัวหิน • โรงภาพยนตรเฮาส แอนด มอร • เมืองไทย รัชดาลัย เธียเตอร • เพลินวาน • Egalite Bookshop • ภัทราวดีเธียเตอร • ชุบชีวา หัวหิน นาน • ทรู คอฟฟ หัวหิน หองสมุด • รานกาแฟปากซอย • ดอยตุง คอฟฟ • หองสมุดศศินทร จุฬาฯ • Nan Coffee Bean • ทูเก็ตเตอรเบเกอรี่ • หองสมุดมารวย แอนดคาเฟ ภูเก็ต • ศูนยหนังสือ สวทช. • อยูเ ย็น บัลโคนี่ • รานหนัง (สือ) ๒๕๒๑ • SCG Experience • สตารบคั ส หอนาิกา • The Oddy Apartment • The Reading Room • วรบุระ รีสอรท แอนด & Hotel พิพิธภัณฑ / หอศิลป สปา เลย • มิวเซียม สยาม • อุทยานการเรียนรู (TK park) • หัวหิน มันตรา รีสอรท • มาเลยเด เกสตเฮาส • เลท ซี หัวหิน • บานชานเคียง • หอศิลป กรุงเทพฯ • การเดน แกลเลอรี่ แอนด คาเฟ • กบาล ถมอ รีสอรท โคราช • บานใกลวงั • นัมเบอรวัน แกลเลอรี่ • Hug Station Resort • บานจันทรฉาย • HOF Art ปาย • ภั ต ตาคารมี ก รุ ณ า • Numthong Gallery • รานเล็กเล็ก • ลูนา ฮัท รีสอรท โรงแรม • ราน all about coffee • The Rock • หลับดีโฮสเทล สีลม • ปายหวานบานนมสด • บานถั่วเย็น โรงพยาบาล (ถนนแนบเคหาสน) นครปฐม • โรงพยาบาลศิริราช • ราน Rhythm & Book • Dip Choc Café • โรงพยาบาลปยะเวท อุทัยธานี กระบี่ • โรงพยาบาลกรุงเทพ • Booktopia • A Little Handmade Shop • โรงพยาบาลเกษมราษฎร ประชาชื่น หมายเหตุ: แสดงเพียงบางสวนของสถานที่จัดวางเทานั้น สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org

หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป โดยมีคาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) และรอรับนิตยสารสงถึงบาน (ถายเอกสารใบสมัครได) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand

ขอมูลผูสมัครสมาชิก

สมาชิกใหม

ชื่อ นามสกุล เพศ ชาย โโทรศั​ัพทบาน โทรสาร

สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก)

หญิง อายุ โโทรศั​ัพทที่ทำำงาน โทรศัพทมือถือ

อีเมล

อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย

นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท

นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ

อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ

ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ

สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง

ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม

หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ

อาหาร การแพทย การออกแบบ

คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม

ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด

ซอย

ถนน รหัสไปรษณีย

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง

อำเภอ/เขต

ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด

ถนน รหัสไปรษณีย

ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน

โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท

วิธีการชำระเงิน (ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม) เช็คสั่งจายนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม เลขที่บัญชี 101-808967-0 ในนาม ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ กรุณาแฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่เบอร 02-664-7670 หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122 สำหรับเจาหนาที่ Creative Thailand

สำหรับเจาหนาที่การเงิน

1. เลขที่สมาชิก ………………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. เริ่มตั้งแตฉบับเดือน ……………………………….

1. เจาหนาที่การเงิน …………………………………. 2. วันที่ ………………………………………………… 3. วันที่โอนเงิน ………………………………………..


INSIGHT อินไซต์

Citymapper

เข้าทางคนเมือง

การเดินทางในเมืองใหญ่ๆ มักจะก่อเกิด ความสับสนและกินเวลามากเกินกว่าที่ จำ�เป็น ไม่เพียงเฉพาะแต่กบั นักท่องเทีย่ ว หรื อ ผู้ อ าศั ย หน้ า ใหม่ เ ท่ า นั้ น แม้ แ ต่ เจ้าบ้านเองบางครั้งก็อาจเกิดความมึนงง หรือหลงทางได้บ้าง เมื่อต้องไปในพื้นที่ เล็กย่อยที่ไม่คุ้นเคย

20 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

เรื่อง: โยธา สัมพัสนีธำ�รง

ซิตี้แม็พเปอร์ (Citymapper) คือหนึ่งในผู้ให้ บริการรายใหม่ที่เสนอเข้ามาเป็นตัวเลือกใน ตลาดของแอพพลิ เ คชั น เพื่ อ การวางแผนใน การเดินทาง นอกเหนือไปจากผู้ให้บริการราย อืน่ ๆ อย่าง กูเกิลแม็พส์ (Google Maps) แม็พส์ (Maps) ของบริษทั แอปเปิล และบิง แม็พส์ (Bing Maps) โดยกว่าที่จะมาเป็น Citymapper นั้น บริษทั ได้เริม่ ต้นโครงการในปี 2011 จากการเป็น แอพฯ บัสแม็พเปอร์ (Busmapper) ที่เน้นการ วางแผนการเดินทางด้วยรถประจำ�ทางเฉพาะ ในลอนดอน จนปัจจุบันได้มีการเพิ่มบริการเพื่อ ให้ครอบคลุมการเดินทางในรูปแบบอื่นๆ ทั้งยัง ขยายขอบเขตไปยังมหานครหลายแห่ง เช่น ปารีส เบอร์ลิน มาดริด บาร์เซโลนา นิวยอร์ก บอสตัน และวอชิงตัน ดี.ซี. และยังเปิดโอกาส ให้คนทั่วไปมีส่วนร่วมในการลงคะแนนสำ�หรับ เมืองที่จะเป็นจุดหมายต่อไปอีกด้วย

สิ่งที่ทำ�ให้ Citymapper เริ่มเป็นที่นิยม ในหมู่ผู้ใช้ คือการเลือกดึงข้อมูลที่จำ�เป็นต่างๆ จากหลายแห่ ง มานำ � เสนอในที่ เ ดี ย วเพื่ อ ให้ ง่ายต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในส่วน ของระบบขนส่งมวลชนหลัก เช่น เส้นทางรถไฟ รถประจำ�ทาง แท็กซี่ รวมไปถึงสภาพอากาศ อันเป็นข้อมูลสำ�คัญสำ�หรับผู้ที่ต้องการเดินทาง ด้วยเส้นทางจักรยานหรือการเดินเท้า ในส่ ว นของการเดิ น ทางด้ ว ยรถไฟและ รถประจำ�ทางนัน้ ตัวแอพฯ ได้ถกู พัฒนาขึน้ เพือ่ ดึงเอาข้อมูลจากเว็บไซต์การขนส่งมวลชนที่มี อยู่แล้วในเมืองนั้นๆ มาแสดงผลเปรียบเทียบ บนหน้าจอ ซึ่งนับเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เมืองใหญ่ ในปัจจุบนั ได้ให้ความสำ�คัญและมีการจัดเตรียม ไว้เพือ่ บริการให้ประชาชนอยูแ่ ล้ว เช่นในลอนดอน จะมีเว็บไซต์ของ TfL (Transport for London) ที่ จะคอยแจ้งว่า รถสายไหนจะหยุด รถสายไหน เกิดอุบัติเหตุ สายไหนซ่อมแซม รถไฟหรือ


INSIGHT อินไซต์

รถประจำ�ทางคันถัดไปจะมาเมือ่ ไหร่ ลงสถานีน้ี แล้วต้องไปขึน้ รถเมล์ทปี่ า้ ยไหน รถไฟใต้ดนิ สาย ไหนมีปญั หาและสามารถใช้สายไหนแทนได้บา้ ง เพียงแต่การเลือกข้อมูลของทาง Citymapper จะคำ�นึงถึงการนำ�ข้อมูลที่มีอยู่มาจัดเรียง และ ประยุกต์ให้ใช้ได้กับชีวิตจริงเป็นหลัก คุณสมบัติที่ทำ�ให้ Citymapper แตกต่าง ไปจากแอพฯ เพือ่ การเดินทางอืน่ ๆ ก็คอื การเพิม่ การเดินทางสีเขียวอย่างการปัน่ จักรยาน ซึง่ หลัง จากผู้ใช้เลือกจุดหมาย ยังสามารถเลือกได้ว่า ต้องการใช้เส้นทางแบบไหน ระหว่างเส้นทางที่ เร็วที่สุด กับเส้นทางที่เงียบสงบไม่พลุกพล่าน ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นแต่ก็น่าจะเพิ่มความ รื่นรมย์ให้การชมเมืองหรือเดินทางได้ไม่น้อย รวมไปถึ ง ถ้ า เมื อ งนั้ น เป็ น เมื อ งที่ มี บ ริ ก าร จักรยานให้เช่าหรือยืมอย่าง ลอนดอน นิวยอร์ก หรือบอสตันแล้ว เรายังสามารถเลือกได้วา่ จะเริม่ โดยเช่าจักรยานจากจุดไหน และเมื่อไปถึงแล้ว จะไปคืนที่จุดไหนได้อีกด้วย นอกจากนี้ เมื่อผู้ใช้เลือกการเดินทางด้วย การเดินเท้าหรือการปัน่ จักรยาน จะมีการแสดงผล ให้ เ ห็ น ถึ ง ปริ ม าณการเผาผลาญพลั ง งานใน หน่วยแคลอรี หรือเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของสิง่ ที่ รับประทานเข้าไปต่อวันให้สนุกและเข้าใจง่าย เช่น เปรียบเทียบกับจำ�นวนพิซซ่ากี่ชิ้นหรือ

กาแฟกีแ่ ก้ว หรือแม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างการเลือกใช้คำ� เช่นคำ�ว่า ‘loading’ ก็ถูก แทนที่ด้วยคำ�ว่า ‘thinking’ ซึ่งมีความหมาย คล้ายกัน แต่กลับสามารถสือ่ ความรูส้ กึ ถึงความ เป็นมนุษย์ (Human Touch) ออกมาได้อย่าง ชัดเจนมากขึ้น และด้วยความน่าสนใจทั้งหลายเหล่านี้ ทำ � ให้ บั ล เดอร์ ตั น แคปิ ต อล (Balderton Capital) หนึ่งในบริษัทเงินทุนรายใหญ่ที่สุดใน ยุโรป ประกาศการสนับสนุนเงินทุนมูลค่ากว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ให้กบั Citymapper และ นี่ก็ไม่ใช่เพียงบริษัทเดียวที่พยายามจะเข้ามา ร่วมลงทุนกับ Citymapper แต่ยังมีกลุ่มทุนอีก หลายแห่งที่เล็งเห็นถึงโอกาสและอนาคตความ เป็นไปได้ของแอพพลิเคชันชิ้นนี้ ด้วยเอกลักษณ์ในการดึงเอาข้อมูลหลาก หลายประเภทเพื่ อ นำ � มาเสนอในแบบที่ เ อื้ อ ประโยชน์ต่อกัน รวมถึงการออกแบบที่คำ�นึงถึง ผูใ้ ช้เป็นหลัก (User-Centric Design) ทัง้ ยังซ่อน อารมณ์ขันในลักษณะบุคลิกของคนอารมณ์ดี แบบนี้ กลายเป็นการสร้างเสน่ห์รูปแบบหนึ่งที่ สามารถดึงดูดผูใ้ ช้ จนทำ�ให้เกิดการพูดถึงอย่าง ต่อเนื่อง และน่าจะเป็นการสร้างแนวโน้มหรือ ทิ ศ ทางที่ น่ า สนใจของวงการออกแบบและ พัฒนาบริการต่อไปในอนาคต

ที่มา: บทความ "Balderton leads $10m series-A round for Citymapper" (2014) จาก unquote.com citymapper.com สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 21


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เทคโนโลยีที่เข้าใจทั้งผู้ขับและผู้ ใช้รถแท็กซี่ เรื่อง: กมลกานต์ โกศลกาญจน์ ภาพ: กัลย์ธีรา สงวนตั้ง

แกร็บแท็กซี่ (GRABTAXI) ได้เปิดตัวในประเทศไทยไปเมื่อเก้าเดือนที่ผ่านมา และกลายเป็นหนึ่งในแอพพลิเคชั่นยอดนิยมของผู้ใช้ โดยได้พิสูจน์ถึงมาตรฐานการให้บริการอันน่าประทับใจ ด้วยการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก เพียงกดเข้าไปในแอพฯ เลือกต้นทางและปลาย ทาง แอพฯ จะค้นหาแท็กซี่ที่พร้อมให้บริการซึ่งอยู่ใกล้ที่สุด คำ�นวณค่าโดยสารโดยประมาณ หรือในกรณีที่มีเงื่อนไขพิเศษอย่างมี กระเป๋าสัมภาระ ต้องการโดยสารแบบไป-กลับ หรือต้องการจองรถล่วงหน้าก็สามารถระบุได้ เมื่อมีแท็กซี่กดตอบรับ คนขับก็จะโทร เข้ามาหาผู้โดยสารเพื่อแนะนำ�ตัวและยืนยันพิกัดจุดรับ-ส่ง โดยแอพฯ จะแสดงข้อมูลที่จำ�เป็นอย่างเลขทะเบียนรถ ชื่อพร้อมรูปภาพ คนขับ ขั้นตอนง่ายๆ เพียงเท่านี้ ผู้โดยสารก็จะได้รับการบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย วีร์ จารุนันท์ศิริ ผู้จัดการแกร็บแท็กซี่ ประเทศไทย ได้เป็นตัวแทนถ่ายทอดเรื่องราวการใช้บริการที่สะดวกง่ายดายและการพัฒนา ความสามารถในให้บริการของแกร็บแท็กซี่ในอนาคต ที่ไม่ใช่แค่เพียงยกระดับคุณภาพการให้บริการด้านการคมนาคมเท่านั้น แต่ยัง ได้ช่วยสังคมผู้ประกอบอาชีพเฉพาะทางอย่างคนขับแท็กซี่อีกด้วย

22 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557


CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน

เพราะปัญหามีให้แก้ ไข และ ความปลอดภัยเป็นเรือ่ งสำ�คัญ

ปัญหาการไม่จอดรับผูโ้ ดยสาร เลือกให้บริการแต่ชาวต่างชาติ ไม่คดิ ราคา ตามมิเตอร์ ไปจนถึงการก่ออาชญากรรมของแท็กซี่ในประเทศต่างๆ ทั้ง มาเลเซี ย เวี ย ดนาม และกรุ ง เทพฯ ทำ � ให้ ผู้ โ ดยสารส่ ว นใหญ่ รู้ สึ ก หวาดระแวงและหวาดกลัว และทำ�ให้แท็กซีก่ ลายเป็นตัวเลือกอันดับท้ายๆ ในการเดินทางของชาวเมืองในหลายประเทศ การเกิดขึน้ ของแกร็บแท็กซี่ จึงมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะเรื่อง ความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร ผ่านฟังก์ชั่นที่เรียกว่า Track My Ride ซึ่ง ผู้ใช้จะสามารถแชร์ข้อมูลสำ�คัญอย่างทะเบียนรถและแผนที่การเดินทาง ผ่านโซเชียล มีเดียอย่างเฟซบุ๊กหรือทวิตเตอร์ได้ทันที ขณะที่สติ๊กเกอร์ สัญลักษณ์ของแกร็บแท็กซี่ที่ติดกับตัวรถก็ยังทำ�หน้าที่เป็นหนึ่งในองค์ ประกอบที่สร้างความมั่นใจ หรือที่คุณวีร์เรียกว่า “Element of Security” ซึ่งจะเป็นเสมือนสัญลักษณ์หนึ่งของความไว้วางใจที่ผู้โดยสารจะมีให้กับ แท็กซี่ที่ได้ลงทะเบียนให้บริการผ่านแกร็บแท็กซี่ เทคโนโลยีเพื่อสังคมคนขับ

ไม่วา่ การพัฒนาของเทคโนโลยีจะพาความสามารถในการใช้ชวี ติ ของผูค้ น ไปไกลถึงเพียงไหน แต่แกร็บแท็กซีก่ ไ็ ม่ลมื วัตถุประสงค์แรกเริม่ ในการเป็น แอพฯ ที่มุ่งมั่นจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนขับแท็กซี่ โดยเชื่อว่าจะ เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะเมื่อคนขับมีคุณภาพชีวิตที่ดี ปัญหา อาชญากรรมต่างๆ ก็ย่อมลดลง ความมุ่งมั่นที่จะทำ�เช่นนี้ ทำ�ให้แกร็บ แท็กซี่ค่อยๆ เป็นที่รู้จักในหมู่คนขับแท็กซี่ พร้อมๆ กับการขยายจำ�นวน สมาชิกกลุม่ คนขับให้เพิม่ มากขึน้ “แกร็บแท็กซีเ่ ป็นกิจการเพือ่ สังคม บริษทั ต้องทำ�ความรู้จักกับพี่แท็กซี่ พูดคุย เป็นปากเสียงให้ เขามีปัญหาอะไร เราจะพยายามฟังและช่วยแก้ไข แกร็บแท็กซีม่ สี ามวัตถุประสงค์ส�ำ คัญคือ หนึ่ง เพิ่มรายได้ให้กับคนขับ โดยช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย แทนที่จะวนขับ หาผู้โดยสารไปเรื่อยๆ แอพฯ มีระบบจัดคิวรถด้วยจีพีเอสในสมาร์ทโฟน ทีก่ �ำ หนดตำ�แหน่งรับผูโ้ ดยสารได้อย่างชัดเจน สองคือ มีคา่ ธรรมเนียม 25 บาทให้คนขับแท็กซี่ซึ่งจะได้รับไปทั้งหมด และสามในบางครั้งเรามี แคมเปญพิเศษ เช่น สวัสดิการอย่างประกันภัย สอนภาษาอังกฤษ และ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำ�หรับครอบครัว เช่น ค่ารักษาพยาบาล ซึ่งใน อนาคตเราอยากเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเทอม หรือค่าหนังสือ สำ�หรับลูก ตามหลักของกิจการเพื่อสังคม ที่เป็นได้ทั้งธุรกิจจริง แต่ราย ได้ก็ต้องแบ่งปันให้ผู้ให้บริการด้วย” ส่งต่อมาตรฐานสากลสู่คนในพื้นที่

การชำ�ระค่าโดยสารเป็นเงินสด มีรหัสส่วนลดและโปรโมชั่นประจำ�เดือน อย่างต่อเนื่อง นับเป็นอีกวิธีท่ีจะช่วยเพิ่มจำ�นวนลูกค้าให้กับแท็กซี่ที่เป็น สมาชิกนอกเหนือจากค่าธรรมเนียม 25 บาททีม่ กี ารเรียกเก็บเพิม่ เช่นเดียว กับประเทศอื่นๆ ที่มีบริการของแกร็บแท็กซี่ อาทิ ในมาเลเซียคิด 4 ริงกิต (48 บาท) สิงคโปร์ 0.80 ดอลล่าร์สิงคโปร์ (30 บาท) โดยค่าธรรมเนียม

นี้จะเป็นของคนขับแท็กซี่ทั้งหมดไม่ว่าจะสังกัดอยู่ภายใต้สหกรณ์หรือไม่ ก็ตาม ส่วนต้นทุนพื้นฐานในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับแกร็บแท็กซี่อย่าง สมาร์ทโฟน คุณวีร์ให้ข้อมูลว่า คนขับแท็กซี่ในสิงคโปร์กว่าร้อยละ 90 มี สมาร์ทโฟนเป็นของตนเอง และจำ�นวนการดาวน์โหลดแอพฯ แกร็บแท็กซี่ นั้นเป็นอันดับหนึ่งแซงหน้าทุกเกมฮิต สำ�หรับในประเทศไทย แม้จะเป็น เมืองที่ยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนเป็นอันดับต้นๆ (Smartphone Friendly) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ความสามารถในการเข้าถึง อุปกรณ์สมาร์ทโฟนก็ยังคงเป็นทั้งความท้าทายและอุปสรรคของธุรกิจ “คนขับแท็กซีส่ ว่ นใหญ่วนั นีม้ สี มาร์ทโฟนกันหมด และแนวโน้มราคาเครือ่ ง ก็ถกู ลง แต่ส�ำ หรับคนขับทีไ่ ม่มสี มาร์ทโฟนเราก็ไม่เคยละเลยและหาวิธกี าร แก้ไขปัญหามาโดยตลอด” โดยแกร็บแท็กซี่เลือกใช้วิธีการรับฟังความ คิดเห็นทั้งทางฝั่งออนไลน์อย่างกรุ๊ปแชทในแอพฯ ไลน์ (Line) หรือฝั่ง ออฟไลน์จากพื้นที่บูธที่ตั้งเพื่อให้คำ�ปรึกษาในบริเวณที่มีแท็กซี่หมุนเวียน เข้าออกมากๆ อย่างสถานีขนส่งสายใต้ใหม่หรือตามปั๊มก๊าซต่างๆ เพื่อ เข้าถึงกลุม่ เป้าหมายในการเป็นแอพฯ ทีช่ ว่ ยอำ�นวยความสะดวกให้ทงั้ กับ ผู้ใช้บริการและเป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อพร้อมช่วยเหลือผู้ให้บริการได้อย่าง สมบูรณ์แบบมากที่สุด TIPS FOR ENTREPRENEURS:

- ขั้นตอนการวิจัยพฤติกรรมผู้ใช้ในแต่ละพื้นที่นั้นสำ�คัญมาก เพราะจะเป็นปัจจัยใน การกำ�หนดทิศทางของผู้ให้บริการ - ในฐานะที่เป็นธุรกิจเพื่อสังคม ต้องไม่ลืมให้ความสำ�คัญกับผู้มีผลประโยชน์ร่วม (Stakeholder) ซึ่งก็คือคนขับแท็กซี่ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาว - รับฟังฟีดแบ็กจากผูใ้ ช้งานในทุกช่องทางอย่างสมํา่ เสมอ อาจเป็นแบบสอบถามหรือ คอมเมนต์ในโซเชียล มีเดีย เพราะจะเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงการให้บริการที่ ดีมากยิ่งขึ้น จุดเริ่มต้นของ GRABTAXI

ผลงานของ แอนโธนี ตัน (Anthony Tan) และโฮย หลิง ตัน (Hooi Ling Tan) สองนักศึกษาชาวมาเลเซียจากฮาร์วาร์ด บิสิเนส สกูล ที่คว้า รางวัลการแข่งขันแผนธุรกิจฮาร์วาร์ด บิสเิ นส แพลน (Harvard Business Plan) เมื่อปี 2011 เงินรางวัลจากการประกวดในครั้งนั้นได้กลายมา เป็ น ต้ น ทุ น สำ � หรั บ ดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ ภายใต้ รู ป แบบกิ จ การเพื่ อ สั ง คม ซึ่งกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวกับชีวิตประจำ�วันของผู้คน ทั้งขั้นตอนการใช้ งานและช่องทางการใช้บริการแบบออนไลน์ ก่อนจะพัฒนาจนกลาย เป็นธุรกิจจริงที่เปิดตัวครั้งแรกที่มาเลเซียในปี 2012 ในแอพฯ ที่ช่อื ว่า MyTeksi ซึง่ ได้รบั การตอบรับอย่างท่วมท้นและขยายออกสูอ่ กี 6 ประเทศ ในเอเชีย GRABTAXI

เว็บไซต์: grabtaxi.com เฟซบุก๊ : GrabTaxi Thailand สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 23


NAIROBI

ปฏิวัติด้วยโทรศัพท์มือถือ เรื่อง: วิป วิญญรัตน์

ประวัตศิ าสตร์ของไนโรบี (Nairobi) คือประวัตศิ าสตร์ของการนำ�เข้าเทคโนโลยี จากต่างประเทศ จากเมืองที่เดิมเป็นทุ่งและหนองนํ้ามาก่อน จักรวรรดิอังกฤษ ได้สร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่ออาณานิคมในยูกันดา (Uganda) เข้ากับ มหาสมุทรอินเดียในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ส่งผลให้ไ นโรบี ก ลายเป็ น สำ�นักงานใหญ่ของเครือข่ายรถไฟยูกันดา และเริ่มขยายตัวจนกลายเป็นเมือง หลวงและเมืองใหญ่ทสี่ ดุ ในเคนยา (Kenya) อีกหนึง่ ศตวรรษถัดมา เคนยาและ ไนโรบีคือสถานที่ที่เอริก ชมิดต์ (Eric Schmidt) ประธานกูเกิลเห็นว่า กำ�ลัง จะพัฒนาไปเป็นจุดศูนย์กลางของเทคโนโลยีและเป็นผู้นำ�ของทวีปแอฟริกา

The “Silicon Savannah" เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในแอฟริกา เคนยาเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมือง มาก รัฐประหารครั้งสุดท้ายที่นั่นเกิดขึ้นในปี 1983 และผู้ทำ�รัฐประหารถูกประหารชีวิตใน ปี 1987 (โดยเป็นการลงโทษประหารชีวิตครั้งสุดท้ายของประเทศนี้) ส่วนในแง่การเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจ หลังปี 2000 เป็นต้นมา เคนยาไม่เคยมีตัวเลขการเจริญเติบโตที่ ติดลบเลย ข้อสังเกตของประธานกูเกิลข้างต้นไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ เมืองหลวงอย่างไนโรบีจากที่ เคยเป็นสำ�นักงานใหญ่ของเครือข่ายรถไฟภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ กลายมาเป็นเมือง ที่ถูกเรียกว่า “Silicon Savannah” หนังสือพิมพ์ The Economist รายงานว่าในปี 2002 24 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

gabelliconnect.com

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

© REUTERS/Noor Khamis

มูลค่าการส่งออกการบริการที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีน้นั อยู่ท่ี 16 ล้านเหรียญ สหรัฐฯ ตัวเลขดังกล่าวพุ่งขึ้นสูงกว่า 22 เท่าในปี 2010 คิดเป็นมูลค่าถึง 360 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของกระแสการเจริญเติบโต ของบริษัทด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นทั่วทั้งเคนยา

สิ่งที่น่าสนใจคือในขณะที่การเจริญเติบโตและการพัฒนาเทคโนโลยี ในประเทศอื่นๆ อาจเริ่มต้นจากการพัฒนาคอมพิวเตอร์ การผลิตและ การบริโภคเทคโนโลยีในประเทศ แต่สำ�หรับเคนยา กลับเป็นการผลิต เทคโนโลยีเพือ่ โทรศัพท์มอื ถือ เพราะในขณะทีป่ ระชาชนในเคนยาส่วนใหญ่ ยังยากจนและไม่มีกำ�ลังซื้อเพียงพอสำ�หรับคอมพิวเตอร์ส่วนตัว แต่ ประชาชนกว่า 70 เปอร์เซ็นต์กลับเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือ (ซึ่งสูงกว่า ค่าเฉลี่ยของทั้งทวีปแอฟริกาที่ 65 เปอร์เซ็นต์) และการลงทะเบียนใช้ อินเทอร์เน็ตเกือบทั้งหมด (99 เปอร์เซ็นต์) คือการลงทะเบียนเพื่อใช้กับ โทรศัพท์มือถือ ยิ่งไปกว่านั้น เคนยาและประเทศอื่นๆ ในแอฟริกายังมี แนวโน้มว่าจะไม่ลงทุนเครือข่ายสายโทรศัพท์บ้าน (Landline) ในลักษณะ เดียวกันกับประเทศที่กำ�ลังพัฒนาอื่นๆ เพราะแทนที่จะลากสายโทรศัพท์ เข้าไปทุกบ้าน การลงทุนเครือข่ายเสาสัญญาณโทรศัพท์มอื ถือนัน้ สามารถ ทำ�ได้ในต้นทุนที่ตํ่ากว่ามาก

อีกด้านหนึง่ คือการก่อตัง้ iHub ในปี 2010 ทีก่ รุงไนโรบี iHub คือพืน้ ที่ เปิดสำ�หรับนักพัฒนาเทคโนโลยี นักออกแบบ นักลงทุน ไปจนถึงบริษัทที่ เกี่ยวข้องต่างๆ โดยทำ�หน้าที่เป็นทั้งสถานที่ทำ�งาน (Co-working Space) และพื้นที่บ่มเพาะ (Incubation) สำ�หรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการที่เน้นเทคโนโลยีของโทรศัพท์มือถือและ อินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ยังมีบริการด้านอื่นๆ เช่น การให้คำ�ปรึกษาอย่าง iHub Consulting ไปจนถึงงานวิจัย iHub Research เป็นต้น iHub มีชื่อเรียกที่ไม่เป็นทางการว่า “สำ�นักงานใหญ่ของขบวนการ เคลือ่ นไหวด้านเทคโนโลยี” ความสำ�คัญของการมีพนื้ ทีส่ าธารณะ (Public Sphere) ด้านหนึง่ แอฟริกาในต้นศตวรรษที่ 21 อาจเปรียบเทียบได้กบั การ เกิดขึน้ ของร้านกาแฟในยุโรปในฐานะพืน้ ทีส่ าธารณะช่วงต้นศตวรรษที่ 18 อันเป็นพืน้ ทีท่ เี่ ปิดให้ผคู้ นทีม่ คี วามคิดหลากหลายมานำ�เสนอและถกเถียง กันได้ ตั้งแต่การนำ�เสนอการทดลองหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ จนถึง การถกเถียงความคิดทางการเมืองที่อาจทำ�ไม่ได้ภายใต้ข้อจำ�กัดของรัฐ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ดังนั้น iHub จึงทำ�หน้าที่เป็นพื้นที่เปิดสำ�หรับเมล็ดพันธุ์ทางความคิด ต่างๆ และสิ่งสำ�คัญคือการเชื่อมต่อความคิดเข้ากับเงินเพื่อนำ�ไปสู่การ ลงทุนและการปฏิบตั ไิ ด้จริง ซึง่ นีน่ า่ จะเป็นเงือ่ นไขสำ�คัญทีท่ �ำ ให้ไนโรบีและ เคนยากลายเป็ น จุ ด ศู น ย์ ก ลางด้ า นการพั ฒ นาเทคโนโลยี ที่ สำ � คั ญ ใน แอฟริกา

อะไรทำ�ให้เคนยาและไนโรบีสามารถกระตุน้ การลงทุนทางด้านเทคโนโลยี เคลื่อนที่ได้ The Economist เห็นว่านั่นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย อย่าง แรกคือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลและเทคโนโลยีการสื่อสาร (Information and Communication Technology) จากรัฐบาล โดยก่อน ปี 2009 นั้น การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตนั้นเป็นไปด้วยความลำ�บาก การ เชือ่ มต่อสามารถทำ�ผ่านดาวเทียมได้เท่านัน้ ซึง่ ทำ�ให้คณุ ภาพของสัญญาณ มีจำ�กัด กระทั่งปี 2009 รัฐบาลจึงสามารถลงทุนการเชื่อมต่อเคเบิลใต้นํ้า ได้สำ�เร็จ และทำ�ให้ราคาการใช้บริการตํ่าลงพร้อมความเร็วของการเชื่อม ต่อที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

ihub.co.ke

iHub: Infrastructure and Public Space

สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 25


©REUTERS/Thomas Mukoya

CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

The Ascent of Mobile Money โครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที การเกิดขึ้นของพื้นที่สาธารณะที่ สนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีท้องถิ่น ตลอดจนความนิยมในการ ใช้โทรศัพท์มือถือของคนจำ�นวนมากในเคนยา ทำ�ให้การใช้ โทรศัพท์มือถือเพื่อทำ�กิจกรรมทางการเงินเกิดขึ้นและได้รับ ความนิยมเป็นอย่างมากและได้รับความนิยมอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่าการปฏิวัติเงินตราในเคนยาเกิดขึ้นในปี 2007 เมื่ อ ผู้ ใ ห้ บ ริ ก ารโทรศั พ ท์ มื อ ถื อ อย่ า งซาฟารี ค อม (Safaricom) เริ่มให้บริการ M-PESA (M ย่อมาจาก Mobile ส่วน Pesa ในภาษาสวาฮีลคี อื เงิน M-PESA คือ Mobile Money นั่นเอง) ประเทศทีก่ �ำ ลังพัฒนาอย่างเคนยา ประชากรส่วนใหญ่ไม่ สามารถเข้าถึงการบริการธนาคารได้ (Unbanked) ในระยะ แรก M-PESA ถูกใช้โดยสถาบันการเงินรายย่อย (Microfinance Institution) ทำ�ให้ต้นทุนของการให้บริการลดลงกว่าการใช้ เงินสด ผู้ใช้บริการสามารถฝากหรือถอนเงินเข้าไปในระบบ มือถือโดยไม่ตอ้ งผ่านธนาคาร และเงินทีอ่ ยูใ่ นมือถือก็สามารถ นำ�ไปจ่ายค่าบริการต่างๆ ไปจนถึงซื้อสินค้าและบริการได้โดย ไม่จำ�เป็นต้องใช้เงินสด ผู้ใช้บริการยังสามารถติดตามการใช้ จ่ายของตัวเองได้ผ่านบริการเอสเอ็มเอส ความสามารถในการเชื่อมต่อ (Connectivity) สามารถ นำ�มาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ในการพัฒนา การเชื่อมต่อผ่านทาง M-PESA ก็เช่นกัน บทความของหนังสือพิมพ์ Financial Times 26 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

เสนอว่า รัฐบาลเคนยาควรลงทุนกับการสร้างอัตลักษณ์ดิจิทัล (Digital Identity) สำ�หรับประชาชนทุกคนในประเทศ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้การติดต่อค้าขายปราศจากเงินสดโดย สิ้นเชิง การลงทุ น ให้ เ กิ ด การติ ด ต่ อ ค้ า ขายทางดิ จิ ทั ล และเงิ น ตราดิ จิ ทั ล (Digital Currency) นั้นไม่ได้เหมาะสำ�หรับประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแม้แต่เศรษฐกิจที่เจริญ รุ่งเรือง แต่เงินตราดิจิทัลอาจตอบโจทย์ประเทศที่ยากจนด้วย Financial Times ยกตัวอย่างว่า การซื้อขายในระบบเศรษฐกิจของเคนยาส่วนใหญ่เป็นการซื้อของ ราคาถูก เช่น ผลผลิตทางการเกษตร และการซื้อขายของราคาถูกนั้นใช้เหรียญเป็น ส่วนใหญ่ ซึ่งการใช้เหรียญมักเกิดการสูญหายระหว่างทาง การผลิตเหรียญจึงกลาย เป็นต้นทุนมหาศาลของรัฐบาลเคนยา การสร้างวิธีบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจที่ ไม่ใช่เหรียญ (Coinless) ได้จึงน่าจะได้ผลไม่ต่างจากการเปลี่ยนจากการใช้โทรศัพท์ สายดินไปสู่มือถือแทน ซึ่งช่วยลดต้นทุนที่รัฐต้องแบกรับ นอกจากการซือ้ ขายสินค้าและบริการผ่านทางโทรศัพท์มอื ถือแล้ว ยังเริม่ มีบริการ ด้านข้อมูลอื่นๆ สำ�หรับคนจนในเคนยาด้วย เช่น M-Farm ซึ่งเริ่มทดลองให้บริการ ข้อมูลสำ�หรับเกษตรกร โดยการส่งเอสเอ็มเอสเพื่อรายงานราคาของผลผลิตทางการ เกษตร และยังเป็นตัวกลางให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อขายสินค้าด้วย


CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์

mfarm.co.ke

M-Farm: Enhancing Market Access for Farmers หลักคิดทางเศรษฐศาสตร์ข้อหนึ่งคือ เชื่อกันว่า การที่ปัจเจกบุคคลได้รับข้อมูลเกี่ยว กับตลาดที่ครบถ้วนสมบูรณ์จะทำ�ให้ตลาดทำ�งานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น M-Farm อาจจะตอบโจทย์นี้สำ�หรับเกษตรกรในเคนยา แทนที่เกษตรกรจะได้รับ ข้อมูลราคาสินค้าจากผู้ซื้อเท่านั้น M-Farm สามารถส่งข้อมูลราคาสินค้าในตลาด ที่แท้จริงผ่านทางเอสเอ็มเอสหรือแอพพลิเคชั่นสู่มือถือของเกษตรกรโดยตรง นอกจากนี้ M-Farm ยังช่วยให้เกษตรกรขนาดเล็กรวมกลุ่มกันเพื่อขายของได้ โดยไม่จ�ำ เป็นต้องพึง่ พ่อค้าคนกลาง โดยกลุม่ เกษตรกรรวมผลผลิตกันแล้วไปส่งทีจ่ ดุ นัดพบ ลูกค้ายืนยันจำ�นวนผลผลิตผ่านทางเอสเอ็มเอส และสามารถจ่ายเงินผ่าน ทาง M-PESA ได้โดยตรง

ดังนั้น สำ�หรับคนจนแล้ว โทรศัพท์มือถือหรือแม้แต่แท็บเล็ตต่างๆ จึงไม่ใช่ของฟุ่มเฟือยหรือของเล่นสำ�หรับเล่นเกม หรือแชทกันขำ�ๆ เท่านั้น แต่ เครื่องมือเหล่านี้คือเครื่องมือในการทำ�มาหากิน หลายครั้งที่การพัฒนาทางเทคโนโลยีนั้นทำ�ให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด (ลองนึกถึงเครื่องจักร ไอนํ้าช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรรม) ในลักษณะเดียวกัน อนาคตของการพัฒนาเศรษฐกิจในเคนยาจึงอาจจะอยู่ที่ว่ารัฐบาลและสังคมจะสามารถตอบโจทย์ และจัดการเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศได้หรือไม่ พื้นที่สาธารณะที่เปิดกว้างอย่าง iHub จะอยู่ต่อไป อย่างไร และจะสามารถก่อให้เกิดนวัตกรรมอะไรใหม่ๆ มากขึ้นขนาดไหนนั่นเอง ที่มา: บทความ “Google's Eric Schmidt Sees Nairobi as Africa's Tech Leader” โดย Sarah Frier จาก bloomberg.com บทความ “How a digital currency could transform Africa” โดย Jonathan Ledgard และ John Clippinger จาก ft.com บทความ “Innovation in Africa: Upwardly Mobile” จาก economist.com บทความ “MFarm Empowers Kenya's Farmers with Price Transparency and Market Access” โดย Olivia Solon จาก wired.co.uk สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 27


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

THE FUTURE ACCORDING TO

DAAN ROOSEGAARDE เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล

28 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

เทคโนโลยีคือเครื่องมือสำ�คัญที่ช่วยปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมของมนุษยชาติ นับตั้งแต่มนุษย์ยุคโบราณรู้จัก ใช้ ไ ฟเผาถางพื้ น ที่ เ พื่ อ ทำ�การเกษตรและผู้ค นยุค ปฏิวัติอุตสาหกรรมคิดค้นเครื่อ งจักรไอนํ้าที่พลังของมันได้เปลี่ ยนทุ กสิ่ ง ทุกอย่าง หลังจากนัน้ ไปตลอดกาล อาจกล่าวได้วา่ เราได้ใช้เทคโนโลยีสารพัดรูปแบบเพือ่ ปรับเปลีย่ นโลกให้เป็นไปในทางทีเ่ ราต้องการ อย่างที่เราต้องการ และในเวลาที่เราต้องการเสมอมา ดาน โรสการ์ด (Daan Roosegaarde) ผู้ก่อตั้งสตูดิโอโรสการ์ด (studioroosegaarde.net) สตูดิโอผู้สร้างงานออกแบบ เชิงปฏิสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีเข้ากับความเป็นมนุษย์จากเนเธอร์แลนด์ อาจเป็นทั้งศิลปิน สถาปนิก ผู้ประกอบการ และ นักประดิษฐ์ หากเมื่อพิจารณาถึงงานออกแบบลํ้าสมัยที่เขาคิดค้นร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากศาสตร์ แต่ไม่ว่าเราจะนิยาม โรสการ์ดว่าทำ�สิ่งใด นั่นอาจไม่สำ�คัญเท่ากับอนาคตที่เขาได้จินตนาการไว้ ซึ่งเผยให้เห็นถึงความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุดของการอยู่ร่วม กันระหว่างมนุษย์ เทคโนโลยี และธรรมชาติ ที่เชื่อมโยงและหลอมรวมสุนทรียะเข้ากับนวัตกรรม รวมถึงการสร้างคุณค่าและ ความหมายใหม่ให้กับการดำ�รงอยู่ของมนุษย์ เราดีใจมากที่คุณกำ�ลังจะมาบรรยายใน งาน CU 2014 ช่วยแนะนำ�ตัวและเล่าสั้นๆ เกี่ ย วกั บ แนวคิ ด ของสตู ดิ โ อโรสการ์ ด ให้เราทราบได้ไหม

ผมเองเชื่อในการหลอมรวมโลกแห่งเทคโนโลยี เข้ากับโลกแห่งสุนทรียะมาโดยตลอด ด้วยเชื่อ ว่ามันจะสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่คืน ความเป็นมนุษย์ให้กลับคืนมาอีกครั้ง สำ�หรับ สตูดิโอออกแบบโรสการ์ดนั้น ผมก่อตั้งขึ้นโดย มีสำ�นักงานอยู่ 2 แห่ง คือที่เนเธอร์แลนด์และ ที่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งทั้งสองที่นั้นมุ่งสร้างสรรค์งาน ออกแบบเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive Designs) เช่น ดูน (Dune)1 และอินทิมาซี (Intimacy)2 ส่วน เหตุผลที่เราเลือกตั้งสตูดิโอที่เซี่ยงไฮ้ก็เพราะ เราสนใจในโลกใหม่ และจีนดูเป็นสถานที่ที่ น่าสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อนี้ และเป็น

1 ดู น

ที่ที่เหมาะจะติดตั้งงานจัดวางที่จะช่วยให้เมือง ซึ่งดูเหมือนแข็งกระด้างได้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง ตอนนี้ ส ตู ดิ โ อของเรามี ชื่ อ เสี ย งเป็ น ที่ รู้จักในระดับนานาชาติจากนวัตกรรมออกแบบ เชิงสังคม (Social Designs) ที่สำ�รวจความ สัมพันธ์ระหว่างผู้คน เทคโนโลยี และพื้นที่ โครงการที่เราทำ�นั้นหลากหลายมาก ตั้งแต่ งานแฟชั่นไปจนถึงงานสถาปัตยกรรม โดย โครงการทั้งดูน อินทิมาซี และสมาร์ท ไฮเวย์ (Smart Highway)3 เป็นการสร้างสรรค์ผัสสะ ลํ้ า สมั ย ให้ ส ภาพแวดล้ อ มทำ � ให้ ผู้ เ ฝ้ า ดู แ ละ พื้ น ที่ มี โ อกาสได้ ร วมกั น เป็ น หนึ่ ง เดี ย ว การ เชื่ อ มโยงที่ ก่ อ ร่ า งมาจากอุ ด มการณ์ แ ละ เทคโนโลยี เ ช่ น นี้ ได้ ใ ห้ ผ ลลั พ ธ์ เ ป็ น สิ่ ง ที่ ผ ม อยากจะเรียกว่า “บทกวีแห่งเทคโนโลยี” (technopoetry)

(Dune) งานออกแบบภู ม ิ ท ั ศ น์ สาธารณะที่ให้ธรรมชาติได้มีปฏิสัมพันธ์ กับผู้คน โดยเส้นใยไฟเบอร์หลายร้อยเส้น ที่จัดวางเรียงรายจะส่งเสียงและเรืองแสง ในรูปแบบต่างๆ ไปตามการสัมผัสของคนที่ เดินผ่านไปมาจากการตรวจจับของเซ็นเซอร์ อิเล็กทรอนิกส์และลำ�โพง

หนึ่งในโครงการที่เป็นที่รู้จัก แพร่ หลาย ที่ สุ ด ของสตู ดิ โ อโรสการ์ ด น่ า จะเป็ น โครงการสมาร์ท ไฮเวย์ ซึ่งคุณร่วมมือกับ เฮย์มานส์ อินฟราสตรักเจอร์ (Heijmans Infrastructure) คุณคิดว่าอะไรคือเหตุผล ที่ทางนั้นตัดสินใจลงทุนพัฒนาโครงการ สร้างทางหลวงอัจฉริยะนี้ให้เป็นจริง

สมาร์ ท ไฮเวย์ เป็ นหนึ่ งในโครงการล่า สุ ด ของเรา โดยเราออกแบบถนนที่มีความยั่งยืน และสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานได้ ซึ่งนับ เป็นการควบรวมนวัตกรรมกับประสบการณ์ การรับรู้เข้าด้วยกัน เราได้ทำ�งานกับเฮย์มานส์ อินฟราสตรักเจอร์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริ มทรั พย์ และรั บ เหมาก่ อ สร้ างยั กษ์ ใ หญ่ ของ ยุโรปซึ่งมีสำ�นักงานใหญ่ในเนเธอร์แลนด์ โดย เราอยากจะปัดฝุน่ ภูมทิ ศั น์ของถนนหนทางต่างๆ

2 อินทิมาซี (Intimacy)

งานแฟชั่นลํ้าสมัย ที่ สำ � รวจความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งความ ใกล้ชิดและเทคโนโลยี โดยผืนผ้าไฮเทค ‘อินทิมาซี แบล็ก’ และ ‘อินทิมาซี ไวท์’ ซึ่งถักทอขึ้นจากอี-ฟอยล์ทึบแสงอัจฉริยะ จะเปลีย่ นเป็นโปร่งใสมากน้อยขึน้ กับอัตรา การเต้นของหัวใจของผู้สวมใส่ ซึ่งอิงบน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สวมใส่และผู้คนที่ พบเจอว่ามีความใกล้ชดิ สนิทสนมเพียงใด สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 29


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ขึ้นใหม่ร่วมกัน ผ่านแนวคิดที่มีความแตกต่าง หลากหลายถึง 20 แนวคิดด้วยกัน ซึ่งตอนนี้ แนวคิดต่างๆ ดังกล่าวกำ�ลังอยู่ในขั้นตอนการ พัฒนาให้เป็นจริง3 ในฐานะมนุษย์ เราล้วนอยู่ในกระบวนการ การต่อรองเพื่อวิถีชีวิตที่เราต้องการอยู่ตลอด เวลา ไม่ว่าจะมองในเชิงสภาพแวดล้อมหรือ พลังงาน แนวคิดบางอย่างของสมาร์ท ไฮเวย์ สามารถนำ�ไปปรับใช้จริงได้ทันทีกับโครงสร้าง ถนนที่มีอยู่แล้ว ในขณะที่บางแนวคิดต้องฝังลง ไปบนโครงสร้างทีท่ �ำ ขึน้ ใหม่ โครงการแบบสมาร์ท ไฮเวย์ เป็นเหมือนข้อเสนอแรกๆ ต่อคำ�ถามที่ ว่า อนาคตควรมีหน้าตาอย่างไร ซึ่งสำ�หรับผม แล้วนี่ควรจะเป็นทางเลือกพื้นฐานเสียด้วยซํ้า ย้อนไปหลังจากที่เราออกแบบโปรเจ็กต์ ซัสเตนเนเบิล แดนซ์ ฟลอร์ (Sustainable Dance Floor)4 เราสนใจที่จะนำ�เอาหลักการที่ เราใช้ในการออกแบบเวทีไปทดลองกับถนน ซึ่ง เป็นโครงสร้างสาธารณูปโภคที่เราต่างทุ่มเงิน เป็นพันๆ ล้านไปกับการก่อสร้าง และมีส่วน เปลีย่ นภูมทิ ศั น์ของสภาพแวดล้อมทีเ่ ราอาศัยไป อย่างใหญ่หลวง ผมเชื่อว่าถนนเป็นตัวกำ�หนด บรรยากาศของเมืองได้มากกว่าตัวอาคาร แต่ดู เหมือนว่าไม่เคยมีใครให้ความสนใจจริงๆ จังๆ เลยว่าถนนควรจะหน้าตาอย่างไร หรือควรจะ ทำ�หน้าที่อย่างไร ดังนั้นเราจึงเริ่มศึกษาวิจัย

3 ตัง้ แต่วนั ที่ 10

หาทางทำ�ให้ถนนมีปฏิสัมพันธ์เชิงรุกกับผู้ใช้ งานให้มากขึน้ เราอยากสร้างภูมทิ ศั น์แห่งอนาคต ที่เป็นธรรมชาติและกลับไปมีความเป็นมนุษย์ อีกครั้ง ช่ ว ยยกตั ว อย่ า งแนวคิ ด ที่ พู ด ถึ ง ให้ ฟั ง ได้ไหม ว่ามีรายละเอียดอะไรบ้าง

ตัวอย่างเช่น เราใช้สีที่เก็บพลังงานจากแดดได้ ในตอนกลางวัน ซึ่งจะเรืองแสงตอนกลางคืน (เพื่ อ คุ ณ จะได้ ไ ม่ ต้ อ งติ ด ตั้ ง เสาไฟใหญ่ แ บบ เดิมๆ ริมถนนอีกต่อไป) เราทำ�เลนพิเศษให้ สำ�หรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า ที่ให้คุณ สามารถเปลีย่ นเลนมาชาร์จไฟได้ขณะขับขี่ และ อืน่ ๆ อีกมากมาย เทคโนโลยีใหม่ๆ กำ�ลังรอเรา อยู่ ขอเพียงเรารู้วิธีที่จะจัดการกับมันอย่างไร ซึ่งก็ขึ้นกับนักออกแบบแล้วว่าจะนำ�มันมาผสม ผสานเข้ากับการออกแบบประสบการณ์การรับรู้ สภาพแวดล้อมของเราอย่างไร นีไ่ ม่ใช่แค่ขอ้ เท็จ จริงบนหน้ากระดาษ แต่ต้องมีการลงมือทำ�จริง ออกแบบจริง โดยเราให้ผู้ใช้งานรวมถึงรถยนต์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทำ�งาน นัก ออกแบบต้องเป็นผูร้ บั ผิดชอบในการร่างข้อเสนอ ต่ออนาคตอันใกล้นี้ ว่าอนาคตนั้นควรจะเป็น แบบไหน ซึ่งผมคิดว่าเรายังต้องจินตนาการถึง อนาคตข้างหน้ากันให้หนักกว่านี้

เมษายนทีผ่ า่ นมา เฮย์มานส์ อินฟราสตรักเจอร์ และสตูดิโอโรสการ์ด ได้ ร่ ว มก่ อ สร้ า งถนนเรื อ งแสงต้ น แบบที่ ทางหลวงเชือ่ มต่อระหว่างจังหวัด หมายเลข N329 ใกล้กับเขตเทศบาลเมืองโอส (Oss) ในจังหวัดนอร์ด-บราบันท์ (Province of Noord-Brabant) ของเนเธอร์แลนด์

30 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

ในฐานะมนุษย์ เราล้วนอยู่ ในกระบวนการการต่อรอง เพื่อวิถีชีวิตที่เราต้องการ อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมอง ในเชิงสภาพแวดล้อมหรือ พลังงาน

4 ซัสเตนเนเบิล แดนซ์ ฟลอร์ (Sustainable

Dance Floor) เวทีเต้นรำ�ถอดประกอบได้ ที่สามารถชาร์จไฟจากผู้คนที่มาเต้นรำ� เก็บไว้เป็นพลังงาน ช่วยสร้างประสบการณ์ ให้ผเู้ ต้นรำ�ได้ทงั้ สัมผัสทัง้ ความสนุกสนาน และความยั่งยืน


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ในโลกที่กำ�ลังทวีความซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ และเปลี่ยนแปลงจากแอนะล็อกสู่ดิจิทัล คุณเชือ่ ในการทำ�งานแบบสหศาสตร์หรือไม่ และมันสำ�คัญต่อการนิยามอนาคตหรือไม่ เราจะทำ�อย่างไรให้คนจากแต่ละขัว้ มาทำ�งาน ร่วมกัน สื่อสารซึ่งกันและกัน คุณทำ�งาน ร่วมกับผูค้ นจากแต่ละสาขาตัง้ แต่ตน้ หรือ เปล่า หรือเริ่มจากการแยกทำ�งานก่อน แล้วมารวมตัวกันทีหลัง

ในช่วงเวลาทีร่ ะบบเก่าทัง้ ระบบพลังงานและระบบ เศรษฐกิจกำ�ลังล่มสลาย เราต้องการความคิด ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาชีวิต ส่วนตัวแล้วผมมองว่า ตัวเองไม่ได้เป็นทั้งนักออกแบบและศิลปินใน แบบทีเ่ รารูจ้ กั กันทัว่ ๆ ไป แต่เป็นเหมือนสายลับที่ โชคดีได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์การทำ�งานของ แต่ละองค์กรมากกว่า ผมคิดถึงอนาคต สร้างไอเดีย บางอย่าง แล้วเอามันไปทำ�งานกับผู้เชี่ยวชาญ ในแต่ละด้านแต่ละสาขาให้มันเกิดขึ้นจริง ความสงสั ย ใคร่ รู้ ใ นอนาคตจะเป็ น ตั ว เชือ่ มโยงชัน้ ดีให้คนจากทีต่ า่ งๆ มารวมตัวกันได้ จริงๆ แล้วผมอยากจะบอกว่าคุณต้องเริ่มจากมี วิสัยทัศน์หรือมีไอเดียก่อน มันเหมือนคุณเริ่ม รู้สึกถึงรสชาติของอะไรบางอย่างในปาก ที่คุณ ก็ยังบอกไม่ได้ว่ามันมาจากส่วนผสมแบบไหน คุณเลยต้องเริม่ จากการอ่าน เขียน ทดลอง หรือ ทำ�อะไรก็ตามทีจ่ ะทำ�ให้ได้สตู รส่วนผสมนัน้ ๆ มา และเทคโนโลยีเป็น “ส่วนผสม” ทีด่ มี ากในกรณีน้ี

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีได้กลายเป็น ส่วนสำ�คัญของวิถีชีวิตประจำ�วัน คุณคิด ว่าเราควรใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลง อนาคตอย่างไรในการสร้างโลกใหม่ให้มที ง้ั คุณค่าและความหมาย

เราควรมองว่าเทคโนโลยีคือส่วนต่อขยายของ เราเอง ของสมองเรา ของร่างกายเรา ในแง่หนึง่ เทคโนโลยีได้กลายเป็นเหมือนผิวหนังชั้นที่สอง ทีห่ อ่ หุม้ เราไว้ ให้เราทำ�สิง่ ต่างๆ มากมายทีก่ อ่ น หน้านี้เราไม่อาจแม้แต่จะจินตนาการได้ด้วยซํ้า จากโครงการคริสตัล (Crystal) 5 คุณมองว่า เราเป็นได้ทงั้ ผูท้ สี่ ร้างแรงบันดาลใจและได้ รับแรงบันดาลใจซึ่งกันและกันหรือไม่ ถ้า อย่างนั้นอนาคตของสิ่งต่างๆ จะเป็นแบบ ไหน มันหมายถึงเราจะสามารถสร้างสรรค์ และบริโภคข้าวของที่เราสร้างขึ้นสำ�หรับ ตัวเราเองโดยเฉพาะได้ง่ายขึ้นหรือเปล่า

โครงการอย่างคริสตัลทำ�หน้าทีเ่ ป็นเหมือน “การ เล่นรอบกองไฟแบบดิจิทัล” ซึ่งให้ผู้คนเข้ามา แบ่งปันเรือ่ งราวเกีย่ วกับแสงสว่างของพวกเขาได้ โดยตัวงานเป็นคริสตัล LED ก้อนเล็กๆ ราวเจ็ด ร้อยก้อน ที่จะส่องสว่างเมื่อคนไปสัมผัสมัน แต่ถึงจะเรียกว่าคริสตัล จริงๆ มันทำ�ขึ้นจาก ผลึ ก เกลื อ ชนิ ด หนึ่ ง ที่ ป ล่ อ ยให้ ก่ อ ตั ว เป็ น รูปทรงสมมาตรหุ้มไฟ LED ไว้ด้านใน และชาร์จ พลังงานแบบไร้สายจากพรมปูพื้นชนิดพิเศษ

(Crystal) ในอี ก สองสามปี ข้างหน้า สตูดิโอโรสการ์ด มีแผนจะปล่อย โปรเจ็กต์คริสตัลเป็นโอเพ่น ซอร์ส โดยจะ อนุญาตให้โรงเรียน บริษัทด้านเทคโนโลยี และองค์กรทางวัฒนธรรม สามารถพัฒนา คริสตัลให้มีรูปทรงและสีสันใหม่ๆ ที่ต่าง ออกไปได้ตามต้องการ

เมือ่ ผูม้ าเยือนยิง่ ทดลองเล่นกับก้อนผลึก ก่อมัน เป็นกอง เคลื่อนย้ายหรือแบ่งปันก้อนผลึกกัน ถือไปมามากขึน้ เท่าไหร่ แสงไฟจากก้อนคริสตัล เหล่านี้ก็ยิ่งเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จาก “ตื่นเต้น” เป็น “เบื่อหน่าย” ซึ่งได้สร้างสัมพันธภาพทาง อารมณ์ระหว่างผู้คน เทคโนโลยี และแสงสว่าง สำ�หรับผม คริสตัลเป็นเหมือนตัวต่อจาก ดาวอังคาร ทีไ่ ม่ใช่แค่สร้างให้เกิดการสร้างสรรค์ พืน้ ทีใ่ หม่ๆ ขึน้ แต่ยงั มาพร้อมกับความสามารถที่ จะส่งต่อและแบ่งปันต่อไปยังผูอ้ นื่ ด้วย เมือ่ ผูค้ น ได้รับคำ�เชิญให้มาร่วมกันจุดไฟทำ�ให้ก้อนผลึก เปล่งประกายและแบ่งปันสิง่ ทีพ่ วกเขาถือไว้ในมือ กั บ เพื่อนฝูง คริสตัลทำ�ให้คนสามารถแบ่งปัน ความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขากับผูอ้ น่ื ตัวอย่าง เช่น เคยมีคนใช้ก้อนผลึกพวกนี้เรียงเป็นคำ�ว่า “แต่งงานกับผมนะ” เพือ่ ขอแต่งงานกับแฟนสาว ซึง่ เราเรียกปรากฏการณ์เช่นนีว้ า่ “จัตรุ สั เฟซบุก๊ ” หรือพืน้ ทีส่ าธารณะใหม่ๆ ทีเ่ กิดขึน้ จากการรวม กันระหว่างสื่อโซเชียลมีเดียและแสง คุณคิดว่าโครงการของสตูดิโอโรสการ์ด ได้เผยให้เห็นเสีย้ วหนึง่ ของอนาคตหรือไม่ และอนาคตนั้นเป็นอย่างไร

แน่ๆ เลย งานของสตูดโิ อโรสการ์ด เป็นการศึกษา อนาคตของเมือง ว่าสภาพแวดล้อมที่ทั้งยั่งยืน และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อยู่อาศัยนั้นเป็นแบบไหน

5 คริ ส ตั ล

ความสงสั ย ใคร่ รู้ ใ นอนาคตจะเป็ น ตัวเชื่อมโยงชั้นดีให้คนจากที่ต่างๆ มารวมตัวกันได้

สิงหาคม 2557

l

Creative Thailand

l 31


THE CREATIVE มุมมองของนักคิด

ถ้าเราลงทุนไปกับไอเดียใหม่ๆ เราจะมีภมู คิ มุ้ กัน กับสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต เราควรใช้ความคิด สร้างสรรค์ของเรากับเทคโนโลยีเพือ่ ความยัง่ ยืน

คุณคิดว่าจากนี้ไปความสัมพันธ์ระหว่าง ผู้ ค น สภาพแวดล้ อ ม และเมื อ งจะเป็ น อย่ า งไร เมื่ อ ถู ก ร้ อ ยเข้ า ด้ ว ยกั น ผ่ า น เครื่องมืออย่างเทคโนโลยี

เทคโนโลยีจะทำ�ให้ทุกอย่างเป็นธรรมชาติมาก ขึ้นโดยจะสร้างสภาพแวดล้อมแบบที่มาร์แชล แม็คลูฮาน (Marshall McLuhan) นักปรัชญา ด้านทฤษฎีการสื่อสารและปัญญาชนสาธารณะ ชาวแคนาดาเคยกล่าวไว้ (ในปี 1965 โดยอ้างอิง ถึงหนังสือ Operating Manual for Spaceship Earth (1963) ของ บั๊กมินสเตอร์ ฟูลเลอร์ (Buckminster Fuller) ว่า “ในยานอวกาศที่เรียก ว่าโลกนัน้ ไม่มผี โู้ ดยสาร เราทุกคนล้วนเป็นลูกเรือ”

6 สม็อค

คุณเชือ่ ว่า “Internet of Things” จะนำ�มา ซึง่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ หรือไม่ พักหลังเรา ได้ยินเรื่อง “Big Data” กันค่อนข้างมาก คุณคิดว่าเราต้องทำ�อย่างไรเพื่อให้ชีวิต ของเราดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น

ผมคิดว่ามันน่าสนใจและน่าสงสัยว่าอะไรจะเกิดขึน้ เมื่อเทคโนโลยีกระโจนออกจากหน้าจอเข้าสู่วิถี ชีวิตของผู้คนจริงๆ โดยกลายเป็นส่วนหนึ่งของ เสือ้ ผ้าทีเ่ ราสวมใส่หรือพืน้ ถนนทีเ่ ราขับขีย่ วดยาน พาหนะ โดยหลักการแล้ว มันควรจะบอกอะไรกับ เรา สือ่ สารอะไรกับเรา ทัง้ ในเรือ่ งของตัวเราเอง สุขภาพของเรา หรือเพือ่ นฝูงของเรา ถ้าเราลงทุน ไปกับไอเดียใหม่ๆ เราจะมีภมู คิ มุ้ กันกับสิ่งที่จะ เกิดขึน้ ในอนาคต เราควรใช้ความคิดสร้างสรรค์ ของเรากับเทคโนโลยีเพือ่ ความยัง่ ยืน ทัง้ ในเรือ่ ง ของความมัน่ คงทางพลังงานและทางอาหาร ผม ได้นำ�เสนอแนวคิดนี้ผ่านโครงการอย่างสมาร์ท ไฮเวย์ หรือสม็อค ฟรี พาร์ก (Smog Free Park) 6 มาช่วยกันใช้กระบวนการคิดเช่นนี้เพื่อเปลี่ยน แปลงความเป็นจริงของเรากันเถอะ

ฟรี พาร์ก (Smog Free Park) โครงการสวนสาธารณะปลอดหมอกควัน ในกรุงปักกิ่ง ตั้งแต่ปลายปีนี้ สม็อค ฟรี โปรเจ็กต์จะช่วยเคลียร์ท้องฟ้าและอากาศ ในเขตเมืองหลวงของจีนให้สะอาดขึน้ ผ่าน วงแหวนดักจับหมอกควันไฮเทคที่หนึ่งวง สามารถกรองอากาศเสียให้สะอาดได้ถึง หนึ่งพันลูกบาศก์เมตร

Creative Ingredients สถานที่สร้างแรงบันดาลใจ

ผมชอบสถานทีบ่ างแห่งเป็นพิเศษ เช่น สนามบิน และสตูดโิ อของผม มันให้ความรูส้ กึ ถึงการเปลีย่ น ผ่านซึ่งผมชอบมากๆ หนังสือที่กำ�ลังอ่านตอนนี้

ผมกำ�ลังกลับมาอ่าน Out of Control (Out of Control: The New Biology of Machines, Social Systems, and the Economic World ปี 1995) ของ เควิน เคลลี่ (Kevin Kelly) โครงการหรือผลิตภัณฑ์ที่อธิบายนิยาม ของสิ่ ง ที่ มี ทั้ ง จิ น ตนาการและประโยชน์ ใช้สอยได้ดีที่สุด

โครงการสม็ อ คและวงแหวนสม็ อ คซึ่ ง เป็ น โครงการล่าสุดของเรา เราใช้เวลากับโครงการนี้ ไปไม่นอ้ ย ผมชอบมากเพราะมันเป็นการหลอม รวมสิง่ ซึง่ เป็นปัญหามากๆ เข้ากับสิง่ ซึง่ มีความ เป็นสุนทรียะมากๆ เข้าด้วยกัน ทัง้ ยังทำ�ให้ผคู้ น รู้สึกว่าเขาสามารถเป็นส่วนหนึ่งของทางแก้ ปัญหาได้ แทนที่จะเป็นแต่ตัวการสร้างปัญหา เพียงอย่างเดียว

ภาพ: studioroosegaarde.net

32 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557


เทศกาล

»Å‹ ÍÂáʧ 12 Ploy Saeng 12 Festival

¤Ô´/·Ó/¡Ô¹

ใชสารสกัดจากพริกผสมในอาหารสัตว ชวยลดตนทุนคาผลิตไดถึง 5%

พริก... พลิกธุรกิจ เงินล้าน

54%

5%

ตลาดสงออกพริกแหงที่สำคัญ ของไทย ไดแก เนเธอรแลนด สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย ออสเตรเลีย เยอรมนี และไตหวัน

The Chili Business

25 มิถุนายน - 15 สิงหาคม 2557 25 June - 15 August 2014 ห้องนิทรรศการ 2 / Gallery 2, TCDC

80

เข้าชมฟรี / Free Admission

ติดตามเสนทางเศรษฐกิจจากความเผ็ดรอน ใหคุณเห็นชองทางทำเงินจาก “พริก” ตัง้ แตระดับชุมชนไปจนถึงระดับโลก

MILLION

BAHT

320 MILLION

Taste the red hot success of “Chili” business to see new opportunities in both local and global markets.

BAHT

สถิติการสงออกในป 2540 เปนตนมามีมูลคาการสงออกพริก ประมาณ 320 ลานบาท และเพิ่มขึ้น ปละประมาณ 80 ลานบาททุกป

tcdc.or.th/ploy-saeng

48–60%

4

ของตนทุนการปลูกพริก คือคาแรงงาน

2.5–3 B A H T BILLION

ป 2556 ไทยสงออกผลิตภัณฑจากพริก ประมาณ 2.5-3 พันลานบาท

VITAMIN C 87-90 mg

0.19

ผู สง อ อ ก น้ำ พริ ก นอกจากจะไมต อ ง เสียอากรขาออกแลวยังสามารถขอรับเงิน ชดเชยคาภาษีอากรสำหรับน้ำพริกประเภท พิกัดอัตราศุลกากร 2103.90.90 คือ เครือ่ งแกงสำเร็จรูป ในอัตรารอยละ 0.19 ของราคาสงออก

ชั้น 6 ดิ เอ็มโพเร�ยม / 6F, The Emporium 10.30 - 21.00 (ปดวันจันทร / Closed Mondays) โทร / Tel : 02 664 8448

TCDC

tcdc.or.th

ระยะเฉลี่ยการเก็บผลผลิตพริก หลังปลูกคือประมาณ 60 วัน

1

พริกสด 3.5 – 4 กก. จะผลิต พริกแหงได 1 กก. ปริมาณผลผลิต กวา 5,000 ตันคิดเปนมูลคา กวา 300 ลานบาท

60M


wwfgap.org/tracker

CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี

WWF SPECIES TRACKER ศึกครั้งใหม่ของนักอนุรักษ์ เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร

50 กว่าปีทอี่ งค์การอนุรกั ษ์ "กองทุนสัตว์ปา่ โลก (World Wide Fund for Nature: WWF)" ได้เดินหน้าวางนโยบายและเคลือ่ นไหว กิจกรรมเชิงอนุรกั ษ์เพือ่ คุม้ ครองสัตว์ปา่ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิง่ แวดล้อม โดยมุง่ มัน่ สรรหาวิถที างให้มนุษย์สามารถอยูร่ ว่ มกับ ธรรมชาติได้อย่างสันติสุข ท่ามกลางปัญหาใหญ่ที่ยังน่าเป็นห่วงอย่างความคิดที่ว่าการคุ้มครองสัตว์ป่าและดูแลรักษาธรรมชาติ เป็นหน้าที่ของกลุ่มคนเพียงหยิบมือ ขณะที่การคุกคามธรรมชาติกลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นทุกที

"เราเรียนรู้มากขึ้นว่าการค้าสัตว์ป่าทุกวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ด้วย ความต้องการของชนชั้นกลางใหม่ที่กำ�ลังเพิ่มขึ้นในจีน ไทย เวียดนาม หรือกระทั่งอเมริกาเองก็ตาม รูปแบบการก่ออาชญกรรมก็ซับซ้อนกว่าที่ ผ่านมา และกลุ่มคนเหล่านี้มีเงินทุน อาวุธ และเทคโนโลยีลํ้าสมัยอยู่ใน มือทั้งสิ้น" คาร์เตอร์ โรเบิร์ตส์ (Carter Roberts) ประธานและซีอีโอแห่ง WWF - สหรัฐฯ ได้ให้สมั ภาษณ์ทางบล็อกฟิวเจอร์ เทนส์ (Future Tense) ของนิตยสารสเลต (Slate) ไว้เมื่อปี 2013 และไขข้อสงสัยว่าทำ�ไม WWF จำ�ต้องใช้เทคโนโลยีลํ้าสมัยเพื่อต่อกรกับการค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมาย ในพืน้ ทีห่ า่ งไกล รวมทัง้ คาดการณ์และรับมือกับการเปลีย่ นแปลงทางสภาพ อากาศแบบเฉียบพลันในศตวรรษนี้ จึงเป็นที่มาของ "WWF Species Tracker" โปรเจ็กต์ที่คิดการใหญ่ นำ� ผลรายงานการติดตามสัตว์ป่าทั้ง 6 ชนิด จากทีมศึกษาวิจัยที่ได้รับทุน สนับสนุนจากองค์การ ประกอบไปด้วย หมีขั้วโลก (Polar Bear) วาฬหัว คันศร (Bowhead Whale) วาฬนาร์วาล (Narwhal) เต่าทะเล (Marine Turtle) ปลาทูน่า (Tuna) และเสือจากัวร์ (Jaguar) เผยแพร่สู่สาธารณะ ทางเว็บไซต์ wwfgap.org/tracker โดยได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท กูเกิล (Google) ที่เข้ามาพัฒนาโปรแกรมต่อประสานกับกูเกิล แม็ปส์เพื่อ ให้ครอบคลุมตำ�แหน่งของสัตว์ทุกตัวที่อยู่ภายใต้การติดตามของ WWF ในทุกพื้นที่ทั่วโลก พร้อมเชื่อมต่อกับข้อมูล ภาพถ่าย และคลิปวิดีโอ นั่นหมายความว่าเราสามารถศึกษาพฤติกรรมของหมีข้ัวโลกในอาร์กติก และติดตามวาฬหัวคันศรทีแ่ คนาดาในวินาทีถดั ไปได้ทนั ที นับเป็นการเปิด ให้ชาวไซเบอร์ได้สำ�รวจความมหัศจรรย์ที่น่าหลงใหลของสัตว์ป่าหายาก และใกล้สูญพันธุ์แบบเรียลไทม์ได้อย่างใกล้ชิด รวมทั้งเฝ้าสังเกตการณ์ ระบบนิเวศทั้งหมด กระทั่งในป่าดิบชื้นขนาดยักษ์อย่างแอมะซอน ขณะ เดียวกันโปรเจ็กต์นยี้ งั ทำ�หน้าทีเ่ ป็นมอนิเตอร์ตรวจตราและเฝ้าระวังภัยจาก เหล่านักล่าและค้าสัตว์ป่าอย่างผิดกฎหมายด้วยอีกแรง 34 l

Creative Thailand

l สิงหาคม 2557

นับตัง้ แต่ปี 2003 องค์การได้เริม่ ปฏิบตั กิ ารอนุรกั ษ์หมีขวั้ โลกด้วยการ ติดตัง้ แผงคอพร้อมระบบติดตามเพือ่ ป้องกันภัยคุกคามจากธรรมชาติและ นาํ้ มือของมนุษย์ ทัง้ ยังช่วยคลีค่ ลายข้อขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหมีขวั้ โลก ได้จริง โดยทาง WWF ได้เข้าไปจัดเตรียมตู้เสบียงอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้ เหล่าหมีขั้วโลกที่กำ�ลังอพยพเข้ามารุกรานถิ่นอาศัยและพื้นที่เกษตรกรรม ของชุมชน จัดตั้งหน่วยลาดตระเวนขึ้นมาดูแลความสงบโดยเฉพาะ และ โปรเจ็กต์นี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาการเปลี่ยนของสภาพ อากาศจากวิถีการอพยพของเจ้าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพันธุ์นี้อีกด้วย ประวัตศิ าสตร์แห่งความผิดพลาดของมนุษย์ยาํ้ เตือนมาโดยตลอดว่า หากอาวุธที่ทรงประสิทธิภาพตกอยู่ในมือของศัตรูหรือถูกใช้ในทางที่ผิดก็ อาจย้อนกลับมาทำ�ร้ายเราได้ ในปี 2013 นิตยสารเนชั่นแนลจีโอกราฟิก รายงานว่ามีบุคคลนิรนามพยายามแฮ็กอีเมลของหัวหน้าผู้ตรวจการณ์ ประจำ�ศูนย์อนุรักษ์เสือ “Panna Tiger Reserve” ในอินเดีย ซึ่งมีข้อมูล ของเสือโคร่งเบงกอลตัวผูท้ ถี่ กู ติดตามด้วยเครือ่ งส่งสัญญาณดาวเทียม แต่ กลับล้มเหลวเพราะระบบป้องกันความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์แจ้งเตือน ได้ทัน ทั้งนักอนุรักษ์ สื่อมวลชน และสาธารณชนต่างลุกฮือขึ้นมาวิพากษ์ วิจารณ์เหตุการณ์ดงั กล่าวด้วยเกรงว่าสุดท้ายแล้วเทคโนโลยีนจี้ ะกลายเป็น เพียงเครื่องมือสำ�หรับการกอบโกยช่วงชิงผลประโยชน์ของเหล่านักล่าใน โลกไซเบอร์ (Cyber Poachers) ซึ่งแปลว่าการก่ออาชญากรรมมีแนวโน้ม จะอุกอาจยิ่งขึ้น กระทั่งอาจเร่งกระตุ้นให้อุตสาหกรรมการค้าสัตว์ป่าบน โลกออนไลน์ขยายขอบเขตไปอย่างไร้พรมแดนเป็นแน่ แต่อีกนัยหนึ่ง เรา ต่างปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์ลํ้าสมัยเหล่านี้เองมีบทบาทมหาศาลต่อการ อนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติอนั เป็นหัวใจของการอยูร่ อดของวัฏจักรชีวติ ทุก สายพันธุ...์ แล้วเมือ่ ไรกันทีม่ นุษย์จะเรียนรูว้ า่ อนาคตทีป่ ราศจากธรรมชาติ เราต่างก็เป็นฝ่ายปราชัยกันทั้งสิ้น ที่มา: บทความ “Networking Nature How Technology Is Transforming Conservation” จาก foreignaffairs.com, บทสัมภาษณ์ “How the World Wildlife Fund Is Using Technology to Save Animals” จาก slate.com, nationalgeographic.com, worldwildlife.org, wwfgap.org


สดใหม ทันใจ อานลึกทุกแงมุม คลิก www.creativethailand.org เขาถึงขอมูลนา “คิด” กับนิตยสาร Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค

TCDC

CT website 15:05

100%

creativethailand.org

Creative Thailand - สร้างเศรษฐกิจไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์

ุจ บัน จ ับป ิเศษ ิก บ ฉ ึง ามพ คล ถ น จ ทคว ปลาย ง ั ล นห และบ เพียง อ  ย ับ าสุด จงาย  บ ฉ อาน ความล ูลโดนใ อนไลน บท รขอม าชิกอ แช ัครสม สม

กล่องดำ

Citymapper

Daan Roosegaarde

1 ส.ค. 2557

1 ส.ค. 2557

1 ส.ค. 2557


CU 2014


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.