During this week you have to be all: designer, marketing, commercial, and party person in one. ตลอดสัปดาห์นี้ คุณจะได้เป็นทุกอย่าง ทั้งนักออกแบบ นักการตลาด นักขาย และนักปาร์ตี้ตัวยง ในคนเดียวกัน
เว็บไซต์ unofficialreport.org/milano
CONTENTS สารบัญ
6 8 10
The Subject Creative Resource
Featured Book/ Books/ DVD
Insight
22
Creative Entrepreneur
24
Creative City
26
The Creative
30
Creative Will
34
DDW 2014
ธนบดี: ปนดินสูดวงดาว
Matter
จากทักษะและวัสดุพื้นถิ่นของเชียงใหม สูอุตสาหกรรมสรางสรรค Taipei: The Capital of Design
12
Classic Item
แลนดมารก
Max Fraser: The Communicator in the World of Design
14
Cover Story
The Making of Design Week
Zady: The Design of Slow Fashion
บรรณาธิการอำนวยการ l อภิสทิ ธิ์ ไลสตั รูไกล ทีป่ รึกษา l ชมพูนทุ วีรกิตติ, พิชติ วีรงั คบุตร, วราภรณ วศินสังวร, จรินทรทพิ ย ลียะวณิช บรรณาธิการบริหาร l ศุภมาศ พะหุโล ผูชวยบรรณาธิการ l พัชรินทร พัฒนาบุญไพบูลย กองบรรณาธิการ l ศิริอร หริ่มปราณี, มนฑิณี ยงวิกุล, เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร, กริยา บิลยะลา, ปยวรรณ กลิ่นศรีสุข, นันทนรี พานิชกุล เลขากองบรรณาธิการ l วรรณเพ็ญ บุ ญเพ็ญ บรรณาธิการศิลปกรรม l พจน องคทวีเกียรติ ศิลปกรรม l พัชราภรณ เตชะเลิศไพศาล l เบญจ แดงบุบผา สมาชิกสัมพันธ l ปยะพร สวัสดิ์สิงห ประสานงานกองบรรณาธิการ l ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ จัดทำโดย l ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (TCDC) ชั้น 24 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอร 622 สุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. 02 664 7667 แฟกซ. 02 664 7670 ติดตอลงโฆษณาไดที่ creativethailand@tcdc.or.th พิมพที่ l บริษัท ทูโฟร พริ้นติ้ง จำกัด โทร. 02 416 7300 แฟกซ. 02 416 7320 จำนวน 30,000 เลม นิตยสารฉบับนี้ใชหมึกพิมพจากน้ำมันถั่วเหลืองที่ไมเปนอันตรายตอสุขภาพ ทั้งยังเปนมิตรตอสิ่งแวดลอม และใชกระดาษรีไซเคิล ซึ่งเปนผลผลิตของผูประกอบการไทย จัดทำภายใตโครงการ “Creative Thailand สรางเศรษฐกิจไทยดวยความคิดสรางสรรค” โดยศูนยสรางสรรคงานออกแบบ สำนักงานบริหารและพัฒนาองคความรู (องคการมหาชน) ซึ่งมีเปาหมาย ในการเผยแพรความรูเกี่ยวกับเศรษฐกิจสรางสรรค (Creative Economy) และผลักดันการใชความคิดสรางสรรค ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย สามารถดูสถานที่จัดวางทั้งหมดไดที่ creativethailand.org อนุญาตใหใชไดตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส แสดงที่มา-ไมใชเพื่อการคา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย
ผูออกแบบปก | ณัฐพล โรจนรัตนางกูร นักออกแบบจากบริษัท แพรคทิเคิล ดีไซน สตูดิโอ ผูใหความสำคัญกับการมองหาความหมายจากสิ่งตางๆ รอบตัว เพื่อนำมาประยุกตใชในการสื่อสาร ผลงาน: facebook.com/mooplint, practical-studio.com
structuretech1.com
EDITOR'S NOTE บทบรรณาธิการ
OLD GARAGE BUT NEW CAR ทุกๆ ปี งานเมคเกอร์ เดย์ (Maker Day) ของสหรัฐอเมริกาจะจัดขึ้นเพื่อแสดงผลงานด้านนวัตกรรมของนักประดิษฐ์หัวก้าวหน้าตามเมืองต่างๆ แต่ในปีนมี้ นั ผิดแผกออกไป เมือ่ งานถูกจัดขึน้ ทีท่ �ำ เนียบขาว โดยมีประธานาธิบดีบารัค โอบามา กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานพร้อมทัง้ ประกาศนโยบายสร้าง เศรษฐกิจใหม่จากเหล่านักประดิษฐ์ โดยรัฐบาลพร้อมลงทุนสนับสนุนเพื่อให้เกิดสิทธิบัตรจากนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์อย่างเต็มที่ และยังประกาศให้ วันที่ 18 มิถุนายน เป็น “National Day of Making” เพื่อบ่งบอกทิศทางใหม่ของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ไม่ได้เป็นการลงทุนข้ามชาติ หรือสร้างกำ�ไร มหาศาลในชั่วพริบตา แต่เป็นเศรษฐกิจที่มาจากเนื้อหาความสามารถส่วนบุคคลซึ่งลงมือทำ�อย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งที่จับใจของสุนทรพจน์พูดถึงคำ�ว่า “The New Garage” ซึ่งเป็นคำ�ที่รู้กันดีว่าคือที่ทำ�งานของนักสร้างสรรค์ทั้งหลาย เช่นเดียวกับที่ สตีฟ จอบส์ เคยสร้างตำ�นานแอปเปิลจากโรงรถของเขา ดังนั้น เมื่อ Garage คือสัญลักษณ์ของนักคิดนักทำ� ก็เท่ากับโอบามาได้ชี้ให้เห็นถึงที่มาและ หนทางที่อเมริกาเคยประสบความสำ�เร็จ เพราะทุกวันนี้ อเมริกาเลยจุดที่จะไปดึงการจ้างงานเพื่อผลิตไอโฟน ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ หรือเสื้อผ้า จากตลาดจีนหรือเอเชียให้หวนมาตั้งฐานผลิตที่อเมริกาได้แล้ว ดังนั้น อเมริกาจึงต้องหวนกลับไปให้ลึกกว่านั้น เพื่อไปในตำ�แหน่งที่ “ความคิด” และ “ความรู้” คือความได้เปรียบนั่นเอง โลกไม่อาจย้อนกลับไปสู่ความหอมหวานของการสร้างรายได้แบบเดิม เพราะสัดส่วนการตลาดและผู้บริโภคต่างเปลี่ยนไป การสร้างความแข็งแรง จากสิ่งที่เป็นความสามารถแท้ๆ ในระดับ “ความคิด” อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นทางเลือกที่ปะทุขึ้นมาจนเกิดเป็นปรากฏการณ์ โดยมีประสิทธิภาพของ เทคโนโลยีการผลิตและการสือ่ สารเป็นเครือ่ งมือ และเมือ่ ทุกๆ ความสามารถได้รบั การบริหารจัดการให้เป็นพลังแสดงออกอย่างเป็นระบบ ความอุน่ หนา ฝาคัง่ ของเฟสติวลั ทีว่ า่ ด้วยงานศิลปะ ภาพยนตร์ งานฝีมอื แฟชัน่ และงานออกแบบจึงเกิดเป็นเทศกาลในเมืองต่างๆ อย่างคึกคัก ทัง้ ในระดับอุตสาหกรรม หลักพันล้านเหรียญฯ จนถึงตู้โชว์เล็กๆ ของนักสร้างสรรค์ ซึ่งล้วนแต่มุ่งหวังให้ผลลัพธ์ของความสามารถได้ปรากฏแก่สาธารณะ และความสามารถของ คนๆ หนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งจะได้เคลื่อนตัวจากเวทีหนึ่งไปสู่การผลิตและการจ้างงานในอีกที่หนึ่งอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางเวทีแห่งเฟสติวัลทั่วโลก ปรากฏการณ์ดีไซน์ เฟสติวัล ถือเป็นเวทีอันโดดเด่นและเป็นเครื่องการันตีว่าคือเวทีแห่งการแสดงความสามารถ ของนักสร้างสรรค์อย่างแท้จริง อย่างลอนดอนหรือมิลาน ที่ประสบความสำ�เร็จเพราะอุตสาหกรรมออกแบบเติบโตแข็งแกร่งโดยมีภาคเอกชนคือตัวจักร สำ�คัญในการขับเคลือ่ นเทศกาลให้เกิดผล ทัง้ มูลค่าการส่งออก กระตุน้ การท่องเทีย่ วและภาคบริการ ขณะทีภ่ าครัฐและเมืองช่วยสนับสนุนอยูห่ า่ งๆ หรือ เมืองที่พยายามพลิกผันตัวเองโดยใช้การออกแบบเป็นเครื่องมือกอบกู้สถานะ ดังเช่นเชฟฟีลด์ที่มีพื้นฐานด้านงานฝีมือจากเหล็กและโรงงานร้าง หรือ เวียนนาที่ใช้การออกแบบมาจรรโลงเมืองให้สดชื่นและเติบโตมาจากฐานของศิลปะ เรื่อยมาจนฝั่งเอเชีย ทั้งสิงคโปร์ โตเกียว เซี่ยงไฮ้ ที่ล้วนมีแง่มุม การนำ�เสนองานออกแบบของตนให้โลกชื่นชมในรูปแบบที่ต่างกัน แต่หัวใจสำ�คัญคือสิ่งเดียวกันนั่นคือ การนำ�เสนอสินค้าและบริการที่เกิดจากไอเดีย ของผู้คน ผ่านการบริหารจัดการเครือข่าย ชุมชน และเมือง เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการเชื่อมโยงความรู้และผลทางธุรกิจที่จับต้องได้ งานออกแบบทีด่ ซี งึ่ เกิดจากการสร้างสรรค์ทมี่ คี ณุ ภาพ อาจยังไม่พอสำ�หรับการสร้างให้งานออกแบบเป็นตัวช่วยทางเศรษฐกิจ เว้นว่าถ้าเมือ่ ใดมีเวที ให้ชิ้นงานออกแบบได้แสดงความโดดเด่น ย่อมหมายถึงการปูทางให้ผลงานออกแบบนั้นเดินออกไปได้ไกลกว่าแค่โรงรถที่ปลุกปั้นงานออกแบบสักชิ้น เพื่อเดินหน้าไปสู่จุดหมายในห้องรับแขกของใครสักคนในประเทศใดประเทศหนึ่งนั่นเอง อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล
บรรณาธิการอำ�นวยการ Apisit.L@tcdc.or.th พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l5
THE SUBJECT ลงมือคิด
เรื่อง: ปิยพงศ์ ภูมิจิตร
The International Centre for Graphic Design (CIG)
© icsid
ในอนาคตอันใกล้นี้ ชาวเมืองโชมง (Chaumont) ก�ำลังจะได้ร่วมเป็นเจ้าของ The International Centre for Graphic Design (CIG) ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในโครงการปรับปรุงพื้นที่ใหม่บริเวณรอบสถานีรถไฟประจ�ำ เมือง อาคารหลังใหม่แห่งนี้จะยังเป็นโชว์เคสของงานเทศกาล International Poster and Graphic Design Festival of Chaumont หรือที่คุ้นเคยว่า Chaumont Poster Festival ที่จัดขึ้นเป็นประจ�ำทุกปีในช่วงฤดู ใบไม้ผลิ และท�ำหน้าที่เก็บและแสดงโปสเตอร์ที่ได้รางวัลจากการประกวดของทุกๆ ปีที่ผ่านมา รวม The World Design Capital ทั้งเป็นศูนย์ข้อมูลการศึกษาด้านกราฟิกดีไซน์ให้กับชาวเมืองที่สนใจในอนาคตอีกด้วย วิสัยทัศน์และการตัดสินใจที่กล้าเสี่ยงของบอร์ด เทศกาลโปสเตอร์ของเมืองโชมง จัดขึน้ เป็นครัง้ แรกเมือ่ ปี 1989 ด้วยการสนับสนุน บริหาร The International Council of Societies หลักจากกระทรวงวัฒนธรรมและสือ่ สารของรัฐบาลฝรัง่ เศส ปัจจุบนั งานเทศกาลโปสเตอร์นี้ of Industrial Design (Icsid) จากแคนาดาถือเป็นจุด กินระยะเวลาจัดงานเกือบ 3 สัปดาห์ และเปลี่ยนเมืองเล็กๆ ที่ต้องเดินทางจากปารีส เริ่มต้นที่ท�ำให้โลกนี้เกิดโครงการที่แสนจะเป็นนามธรรม กว่า 2 ชั่วโมงทางรถไฟ ให้กลายเป็นเมืองที่นักออกแบบกราฟิกทั่วโลกเดินทางมา แต่มีมูลค่ามหาศาลอย่าง เวิลด์ ดีไซน์ แคปิตอล (World ร่วมชมงานนิทรรศการ เวิร์กช็อป และอีเวนต์ต่างๆ ซึ่งถูกจัดอยู่ที่โบสถ์และห้อง Design Capital) โครงการโปรโมตเมืองให้เป็นเมืองหลวงของ สมุดประจ�ำเมือง ตลอดถึงอาคารโรงงานเก่าที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว การออกแบบโลก โดยการพิจารณาอย่างละเอียดถีถ่ ว้ นจากทีมงาน ที่มา: หนังสือ Introducing: Culture Identities โดยส�ำนักพิมพ์ Gestalten ของ Icsid ซึง่ ไม่ตา่ งจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลหรือฟีฟา่ ท�ำการ บทความ Chaumont Poster Festival 2010 จากหนังสือ Scratching the Surface เฟ้นหาเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูรอ้ นหรือเจ้าภาพฟุตบอลโลก โดยผูส้ มัครเข้า โดย Adrian Shaughnessy ส�ำนักพิมพ์ Unit Editions cig-chaumont.com ร่วมประกวดแต่ละเมืองจะต้องแสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความตั้งใจ จริงทีต่ ้องการจะเป็นเมืองหลวงแห่งการออกแบบโลก พร้อมเงินแรกเข้า
จ�ำนวน 10,000 ดอลลาร์แคนาดา และอีก 25,000 ดอลลาร์แคนาดา ถ้าหากได้รับเลือกเข้ารอบสุดท้าย และ ส�ำหรับเมืองทีไ่ ด้รบั การคัดเลือก ต้องเตรียมค่าลิขสิทธิใ์ นการใช้ชอื่ และค่าลิขสิทธิก์ ารจัดอีเวนต์ให้กบั Icsid อีก เป็นเงินจ�ำนวน 600,000 ดอลลาร์แคนาดา (สามารถแบ่งจ่ายเป็นงวดให้ครบจ�ำนวนได้ภายในเวลา 3 ปี) โดยสิ่ง ที่ Icsid จะให้กบั เมืองทีไ่ ด้รบั คัดเลือก ก็คอื การเตรียมแพลตฟอร์มให้กบั ภาครัฐของเมืองทีไ่ ม่ใช่แค่สร้างการรับรู้ ในระดับโลกอย่างเดียวเท่านัน้ แต่ Icsid จะท�ำให้โลกเห็นว่าเมืองดังกล่าวให้ความส�ำคัญกับการใช้การออกแบบ มาพัฒนาเมือง ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของชาวเมืองอย่างไร ที6่มา:l worl ddesigncapital Creative Thailand .com l พฤศจิกายน 2557
THE SUBJECT ลงมือคิด
Anti Design Festival: The End of Success Culture ความส�ำเร็จของลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวลั (London Design Festival) วัดได้ไม่ยากจากผลตอบแทนทีเ่ ป็นตัวเลข เช่น จ�ำนวนอีเวนต์ ผู้เข้าชม และเม็ดเงินหลายสิบล้านปอนด์ที่หมุนเวียนในช่วงเทศกาล ซึ่งถือเป็นความส�ำเร็จที่ท�ำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมั่นใจได้ว่า เดินมาถูกทางแล้ว แต่เราแน่ใจจริงๆ หรือว่างานควรจะเป็นแบบนี้ นี่คือค�ำถามส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดงาน “แอนไท ดีไซน์ เฟสติวัล (Anti Design Festival)” ทีจ่ ดั ขึน้ ในช่วงเวลาเดียวกันกับงานลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวลั 2010 เทศกาลทีม่ วี ตั ถุประสงค์เพือ่ แสดง ความขัดแย้งต่อเทศกาลออกแบบระดับโลก จัดขึ้นโดยนักออกแบบกราฟิกผู้โด่งดังของอังกฤษอย่างเนวิลล์ โบรดี (Neville Brody) ณ บริเวณโดยรอบถนนเรดเชิร์ช ย่านอีสต์ ลอนดอน โดยมีสเปซหลักอยู่ที่ Londonewcastle Project Space และ มีกิจกรรมที่เริ่มช่วงกลางวันไปจนเกือบๆ เที่ยงคืนให้ชมตลอด 9 วัน ตั้งแต่งานซาวด์ งานภาพยนตร์ ดีไซน์ การแสดง เฟอร์นิเจอร์ งานเขียน เวิร์กช็อป โปรดักต์ ศิลปะ งานออกแบบตกแต่งภายใน นิทรรศการ สัมมนา และงานอินเทอร์ แอคทีฟ ที่ดูไปก็แทบไม่ต่างอะไรกับงานที่มีในเทศกาลหลักของเมือง แอนไท ดีไซน์ เฟสติวัล ไม่ได้เป็นพวกไม่เอาดีไซน์ เพียงแต่ทุกอีเวนต์ที่จัดขึ้นมาล้วนใช้วิธีคิดคนละแบบ กับงานส่วนใหญ่ในลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล ไม่มีกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ไม่พึ่งเงินทุนสนับสนุนจากองค์กรใหญ่ ไม่มีการวิจัยตลาด และทุกคนที่มีส่วนร่วมในงานนี้ก็มีความเชื่อเดียวกันว่า ถึงเวลาแล้วที่นักออกแบบต้องกลับ มาโฟกัสกันที่ไอเดีย กล้าคิดและกล้าเสี่ยงกับความล้มเหลว เพราะนักออกแบบในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของ อังกฤษตกอยู่กับความส�ำเร็จแบบเดิมๆ มาอย่างยาวนาน โบรดีกล่าวถึงอีเวนต์ที่เขาเป็นผู้จัดไว้ว่า "นี่คือค�ำตอบส�ำหรับช่วงเวลากว่า 25 ปี ที่ระบอบ แทตเชอร์ (Margaret Thatcher นายกรัฐมนตรีหญิงแห่งสหราชอาณาจักรตัง้ แต่ปี 1979-1990) ท�ำไว้กบั เรา การเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมให้กลายเป็นสินค้าที่ต้องท�ำก�ำไร ท�ำให้นักออกแบบไม่เหลือความกล้าที่ จะทดลองอะไรใหม่ นอกจากการเพลย์เซฟไปวันๆ โปรเจ็กต์ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านการเห็นชอบ ก่อนว่าเป็นโปรเจ็กต์ที่ท�ำแล้วมีก�ำไร" แอนไท ดีไซน์ เฟสติวัล ตั้งค�ำถามส�ำคัญที่ไม่ค่อยมีใครอยาก จะตอบเท่าไรนักว่า ถึงเวลาหรือยังทีเ่ ราจะหลุดออกจากวงจรซำ�้ ซากพวกนี้ เริม่ จากการตัดเรือ่ งก�ำไร ขาดทุนออกไปก่อนเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ดี แอนไท ดีไซน์ เฟสติวัล นั้นถูกจัดขึ้นครั้งแรกและครั้งเดียวในงาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล 2010 และไม่มีการจัดขึ้นอีกเลยจนถึงปัจจุบัน ที่มา: แคตตาล็อก “Anti Design Festival” โดย ADF Team และ นิตยสาร Design Week บทความ “Neville Brody 2011” จากหนังสือ Scratching the Surface โดย Adrian Shaughnessy
พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l7
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
FEATURED BOOK FAIR WORLD A HISTORY OF WORLD'S FAIRS AND EXPOSITIONS FROM LONDON TO SHANGHAI
เรื่อง: เลอชาติ ธรรมธีรเสถียร และ กริยา บิลยะลา ภาพ: วีระเดช จึงเลิศวัฒนา
1851-2010 โดย Paul Greenhalgh
เดอะ เกรท เอ็กซิบิชั่น (The Great Exhibition) ที่จัดขึน้ ในปี 1851 ถื อ เป็ น การเปิ ด ศักราชใหม่ของงานแฟร์แห่งยุคโมเดิร์น โดยมีอาคาร กระจกขนาดใหญ่ในนาม คริสตัล พาเลซ (Crystal Palace) บริเวณไฮด์ พาร์คของกรุงลอนดอนเป็นสถานที่จัดงาน เนื่องจากนิทรรศการนำ�เสนอ ความสำ�เร็จของการผลิตในระบบอุตสาหกรรมของประเทศต่ า งๆ ใน ช่วงที่ยุคอุตสาหกรรมกำ�ลังก้าวขึ้นสู่ จุดสูงสุด จึงมีผลงานจัดแสดงที่ น่าตื่นตาตื่นใจจากแวดวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นจำ�นวนมาก ภายใต้การจัดสรรชิ้นงานอย่างเป็นระบบใน 4 หมวดหมู่หลัก ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ เครื่องจักรกล วัสดุ และวิจิตรศิลป์ ซึ่งถือเป็นมาตรฐาน จนถึงปัจจุบัน เดอะ เกรท เอ็กซิบิชั่น สามารถดึงดูดผู้ชมได้กว่า 6,500,000 คนใน ระยะเวลา 5 เดือนครึ่ง และผู้ร่วมงานก็สามารถมั่นใจได้ว่าพวกเขาจะได้ เห็นสิ่งที่ดีที่สุด ใหญ่ที่สุด และใหม่ที่สุด ความสำ�เร็จอย่างท่วมท้นของ 8l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
เดอะ เกรท เอ็กซิบิชั่น เหมือนเป็นการส่งไม้ต่อสู่เจ้าภาพครั้งต่อๆ ไป และกว่าศตวรรษ ภารกิจดังกล่าวถูกส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ ทัว่ โลก ทัง้ ในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา จนเรียกได้ว่า เวิลด์ แฟร์ (World Fair) หรือการแสดงนิทรรศการนานาชาตินับเป็นมหกรรม ครั้งใหญ่ของผู้คนทั่วโลก พอๆ กับกีฬาโอลิมปิกและฟุตบอลโลก สิ่งปลูก สร้างหลายชิน้ จากเวิลด์ แฟร์ ยังคงอยูจ่ นถึงปัจจุบนั และกลายเป็นไอคอน ชิ้นสำ�คัญ ไม่ว่าจะเป็นหอไอเฟลที่ออกแบบโดยกุสตาฟ ไอเฟล (Gustave Eiffel) ซึ่งสร้างขึ้นในปี 1887 เพื่อให้ทันต่อการเป็นเจ้าภาพการจัดงาน ในปี 1889 หรือผลงานภาพศิลปะ Guernica (1937) ของปาโบล ปิกัสโซ ทีแ่ สดงให้เห็นความโหดร้ายของสงคราม สืบเนือ่ งจากเหตุการณ์ทชี่ าวเมือง เกอร์นิกาถูกระเบิดทิ้งถล่มในช่วงสงครามกลางเมืองของสเปน ภาพชิ้น ดังกล่าวได้จดั แสดงครัง้ แรกในพาวิลเลียนของสเปนในงานเวิลด์ แฟร์ทจี่ ดั ขึ้นในปี 1937 โดยแฝงนัยยะสำ�คัญ ทั้งความก้าวหน้าและภาวะสงคราม ก่อนที่จะถูกส่งต่อไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ศิลปะอื่นๆ อีกหลายแห่ง กระทัง่ มาถึงงาน เวิลด์ เอ็กซ์โป 2010 (World Expo 2010) ทีม่ หานคร เซี่ยงไฮ้ การจัดงานครั้งนี้ผู้จัดงานลงทุนมหาศาลกว่า 2 ล้านล้านบาท ด้วยการเนรมิตเมืองใหม่พร้อมสร้างระบบการคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้ร่วมงานสามารถเดินทางมายังสถานที่จัดงานได้ในทุกรูปแบบ สิ่งอำ�นวยความสะดวกทั้งหมดที่กล่าวมาไม่เพียงเพื่อรองรับประชากร ในประเทศและต่างประเทศที่จะเข้าร่วมงานเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดง ศักยภาพและประเทศจีนยุคใหม่ออกมาในทุกมิติ หนังสือเล่มนีไ้ ม่ตา่ งจาก สมุดจดบันทึกซึง่ สะท้อนให้เห็นรายละเอียดและเรือ่ งราวการจัดงาน ตัง้ แต่ จุดเริ่มต้น ปัจจัยสนับสนุนเบื้องหลัง ทั้งเรื่องการเงิน การเมือง ผู้คน รูปแบบและพัฒนาการของการจัดแสดง โปรไฟล์เด่นๆ ของแต่ละประเทศ การออกแบบ กระทัง่ ความหมายของผลงานศิลปะ ทัง้ หมดนีเ้ ป็นสิง่ สะท้อน สำ�คัญว่างานแฟร์มไิ ด้ฉาบด้วยข้าวของหรือซุม้ ขนาดใหญ่โตเท่านัน้ แต่ยงั มีแรงผลักดันและส่งผลสืบเนือ่ งในด้านต่างๆ ทัง้ เศรษฐกิจ การเมือง และ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างแยบยลด้วย
CREATIVE RESOURCE วัตถุดิบทางความคิด
โดย Lin Shijian
การออกแบบอั ต ลั ก ษณ์ สำ � หรั บ งานอี เ วนต์ มี ความแตกต่างจากการออกแบบเพื่อแบรนด์ ทั่วไปอย่างหนึ่ง คืองานออกแบบนั้นจะถูกใช้ ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงหนึ่งเท่านั้น จึงต้อง สร้างแรงดึงดูดและเรียกความสนใจทันทีใน ครัง้ แรกทีไ่ ด้เห็น นักออกแบบมักเลือกใช้รปู ทรง ที่แปลกตา รูปแบบและสีที่สะท้อนเอกลักษณ์ ของงาน ทำ�ให้เกิดความสงสัยหรืออธิบายสิ่ง ที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่นั้นๆ หนังสือเล่มนี้รวบรวม งานออกแบบอัตลักษณ์ และการใช้สื่อต่างๆ ของอีเวนต์ระดับนานาชาติทนี่ า่ สนใจไว้มากมาย ทั้งรูปแบบงานเทศกาล งานประกาศผลรางวัล งานนิทรรศการ รวมไปถึงงานประชุมขนาดใหญ่
CANNES LIONS 2013 OFFICIAL WINNERS
DVD
ไอคอนหรื อ สั ญ ลั ก ษณ์ ใ นงานเทศกาลต่า งๆ มักอยู่ในรูปทรงหรือสิ่งปลูกสร้างแปลกตา ส่วน ตัวหนังสือ ถ้อยคำ� และประโยคกลับมีหน้าที่ เพียงบอกเล่าเรื่องราวหรือการโฆษณาเท่านั้น แต่สตีเวน เฮลเลอร์ และเมียร์โค อิลคิ กลับมอง ว่าตัวอักษรและสิ่งก่อสร้างสามารถหลอมรวม เป็นผลงานศิลปะที่มีความหมายและความงาม ทั้งคู่จึงรวบรวมผลงานช่วงศตวรรษที่ผ่านมาซึ่ง ใช้ตัวอักษรเป็นองค์ประกอบหลัก ไม่ว่าจะเป็น ซุม้ ประตูตวั อักษรเอ็มเพือ่ ใช้แสดงถึงอำ�นาจและ ความเป็นผู้นำ�ของมุสโสลินีในปี 1928 ตัวอักษร รูปทรงพิกเซลสำ�หรับพาวิลเลียนของเกาหลีใต้ ในงานเวิลด์ เอ็กซ์โป เซี่ยงไฮ้ ปี 2010 หนังสือ เล่มนีแ้ บ่งออกเป็น 5 หมวดหมู่ ได้แก่ ความสำ�คัญ ของขนาด การใช้ตัวอักษรสำ�หรับงานภายนอก การสะกดผู้ชมด้วยตัวอักษร รูปแบบตัวอักษร ในฐานะวัตถุจัดแสดง และศิลปะในตัวอักษร
ON SPOT INTERNATIONAL EVENT DESIGN
BOOK
โดย Steven Heller และ Mirko Ilic
BOOK
LETTERING LARGE ART AND DESIGN OF MONUMENTAL TYPOGRAPHY
อาจเรียกได้ว่า คานส์ ไลออนส์ เป็นหนึ่งใน เทศกาลด้านความคิดสร้างสรรค์ที่ใหญ่ที่สุดใน โลก โดยไฮไลต์จะอยู่ที่การแจกรางวัลให้กับ ผลงานที่ ช นะการประกวดด้ า นโฆษณาและ การออกแบบเพื่อการสื่อสาร ซึ่งในดีวีดีชุดนี้จะ รวบรวมผลงานทีไ่ ด้รบั การคัดเลือกว่ายอดเยีย่ ม ที่สุดในปี 2013 ทั้งหมด 8 แผ่น ใน 17 สาขา อาทิเช่น ภาพยนตร์โฆษณายอดเยี่ยม งานที่ สร้างผลเชิงบวกให้กบั ธุรกิจมากทีส่ ดุ ผลงานสือ่ ภายนอกอาคารสุดสร้างสรรค์ แคมเปญออนไลน์ และสื่อดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าคุณจะอยู่ใน วงการใดก็ตาม เชือ่ ได้วา่ จะได้รบั แรงบันดาลใจ บางอย่างจากการชมผลงานทีท่ ะลุกรอบความคิด สร้างสรรค์ชุดนี้อย่างแน่นอน
พบกับวัตถุดิบทางความคิดเหล่านี้ได้ที่ TCDC Resource Center พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l9
MATTER วัสดุต้นคิด
จากทักษะและวัสดุพื้นถิ่นของเชียงใหม่ สู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เรื่อง: ชมพูนุท วีรกิตติ และ ปิยวรรณ กลิ่นศรีสุข
ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร เมือ่ ประกอบกับ รากเหง้าวัฒนธรรมท้องถิ่น การถ่ายทอดทักษะ จากรุน่ สูร่ นุ่ รวมถึงความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจ และโครงสร้างพืน้ ฐานของรัฐ ทำ�ให้เชียงใหม่คอื พื้นที่อีกแห่งหนึ่งที่รวบรวมซึ่งผู้ประกอบการ ท้องถิ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น กลุ่มสิ่งทอ ของตกแต่ง ศิลปะงานฝีมือ และ สถาปัตยกรรม ไว้มากที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ความอุดมสมบูรณ์ของวัตถุดิบตั้งต้น ได้ สร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการท้องถิ่น บริษัท กระเบื้องไม้งาม จำ�กัด เลือกหยิบวัสดุตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมท้องถิน่ อย่างกระเบือ้ งว่าว มาพั ฒ นาจนได้ เ ป็ น กระเบื้ อ งมุ ง หลั ง คาที่ มี คุ ณ สมบั ติ พิ เ ศษ ด้ ว ยส่ ว นผสมซี เ มนต์ สู ต ร เฉพาะทีช่ ว่ ยเพิม่ ความทนทานและทำ�ให้มนี า้ํ หนัก เบา ทัง้ ยังมีกรรมวิธขี น้ึ รูปในระบบอุตสาหกรรม โดยวิธอี ดั ภายใต้แรงดัน แต่ยงั คงไว้ซงึ่ หัตถศิลป์ 10 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
ที่สืบ ทอดกั น มาหลายชั่ ว อายุ คน ตอบสนอง ความต้องการของผูบ้ ริโภคในกลุม่ ธุรกิจโรงแรม รีสอร์ต หรือภาคครัวเรือน นอกจากนี้ ยังมีอีก หนึ่งบริษัท ที่ กำ � ลั ง เป็ น ที่ จั บ ตานั่ น คื อ ผู้ ผลิ ต “กันไฟ” ฉนวนกันไฟทีผ่ ลิตจากฟางข้าวและเยือ่ กระดาษ ของบริษัท ปิง-อาร์ต (Ping-Art) ซึ่ง ได้พัฒนาจนมีคุณสมบัติเฉพาะตัวเป็นฉนวน ความร้อนที่ไม่ลามไฟ โดยใช้สารป้องกันการ ลามไฟที่ ป ลอดภั ย ต่ อ สุ ข ภาพ ทั้ ง ยั ง ลดการ สะท้อนของเสียง จนทัง้ สองวัสดุนไี้ ด้รบั คัดเลือก เข้าสู่ฐานข้อมูลวัสดุของ Material ConneXion ทั ก ษะฝี มื อ เฉพาะถิ่ น ยั ง หล่ อ หลอมให้ ผู้ประกอบการเชียงใหม่มีผลิตผลที่ทั้งประณีต และสามารถสร้างผลงานจนเป็นที่รู้จักในระดับ สากล อย่างแบรนด์บัวผัด (Bua Bhat) ซึ่งมี ความมุ่ ง มั่ น ที่ จ ะผลิ ต สิ น ค้ า หั ต ถกรรม ของ แต่งบ้าน ให้มเี อกลักษณ์แตกต่างและมีคณุ ภาพ
เป็นที่ยอมรับในตลาดโลก โดยใช้วัตถุดิบจาก เศษผ้าและอื่นๆ มาเพิ่มมูลค่า ซึ่งช่างฝีมือก็คือ คนในชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆ โรงงาน และมี ชาติ พั น ธุ์ เ ฉพาะถิ่ น อย่ า งชาวยองหรื อ ไทลื้ อ ซึ่งมีความเป็นช่างฝีมือด้านการทอผ้าพื้นเมือง ในสายเลือด บวกกับใจรักในการทำ�งานหัตถกรรม เมือ่ ได้รบั การฝึกฝนงานอย่างเป็นระบบ จึงสร้าง คนที่ผลิตสินค้าออกมาได้อย่างประณีตและมี คุณภาพ ทำ�ให้เมือ่ เมษายนทีผ่ า่ นมา ผลิตภัณฑ์ “ป๊อบคอร์น” ผ้าฝ้ายสามมิติเย็บมือจากเศษผ้า ของบัวผัด ได้รับเลือกลงในคอลัมน์ Material ของนิตยสาร Surface ว่าเป็นวัสดุแห่งอนาคต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังสะท้อนเรื่อง ราววัสดุในพื้นที่และการมีส่วนร่วมของชุมชน ที่มา: buabhat.com, maingamtiles.com และ materialconnexion.com/th
หมดปญหาหยิบนิตยสารไมทัน สมัครสมาชิกรายป คาใชจายในการจัดสง 200 บาท (12 เลม) หรือสมัครออนไลนไดที่ tcdc.or.th/creative_thailand
ขอมูลผูสมัครสมาชิก Teak Carved Panels (MC# 6904-01) Deco Moda Studio Co., Ltd. Partnership ประเทศไทย
ไม้ สั ก จากป่ า ปลู ก ที่ แ กะลวดลายด้ ว ยมื อ อย่ า ง ละเอียดประณีตสำ�หรับใช้ในงานตกแต่ง ลวดลาย จะออกแบบและร่ า งลงบนแผ่ น ไม้ ด้ ว ยมื อ หรื อ คอมพิวเตอร์ มีสามสีให้เลือก ได้แก่ สีธรรมชาติ โอ๊กอ่อน และโอ๊กเข้ม นำ�ไปแปรรูปได้โดยใช้เครือ่ งมือ ช่างไม้ รวมทั้งทำ�สีและติดกาวได้ตามปกติ เหมาะ สำ�หรับงานตกแต่งภายใน เช่น กรุผนัง บานประตู และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
สมาชิกใหม ชื่อ นามสกุล เพศ โทรศัพท
สมาชิกเกา (ตองการตออายุสมาชิก) หญิง อายุ
ชาย
อีเมล
โทรศัพทมือถือ
อาชีพ นักเรียน ครู/อาจารย
นิสิต/นักศึกษา พนักงานบริษัท
นักออกแบบ/ครีเอทีฟ ผูประกอบการ
อาชีพอิสระ อื่นๆ โปรดระบุ
ขาราชการ/รัฐวิสาหกิจ
สาขา/อุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับอาชีพของทาน โฆษณา สถาปตยกรรม แฟชั่น ศิลปะการแสดง ดนตรี ภาพยนตร โทรทัศน/วิทยุการกระจายเสียง
ทองเที่ยว/โรงแรม/สายการบิน วรรณกรรม/การพิมพ/สื่อสิ่งพิมพ พิพิธภัณฑ/หองแสดงงาน ซอฟตแวร/แอนิเมชัน/วิดีโอเกม
หัตถกรรม/งานฝมือ การเงิน/ธนาคาร ทัศนศิลป/การถายภาพ อื่นๆ โปรดระบุ
อาหาร การแพทย การออกแบบ
คาปลีก/คาสง โทรคมนาคม
ที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ จังหวัด
Leather Paper (MC# 6379-01) Siamphomprathan Co., Ltd. ประเทศไทย
กระดาษสาพิมพ์ลวดลายนูนเหมือนหนังสัตว์ ผลิต โดยการลอกเส้นใยออกจากต้นสาแล้วทุบให้เป็น เยื่อกระดาษ จากนั้นจึงนำ�ไปอัดเป็นแผ่นแล้วปล่อย ให้แห้ง สามารถเติมสีและทำ�ลวดลายนูนได้ตาม ต้องการ กระบวนการผลิตไม่ทำ�ให้เกิดการปนเปื้อน ในสิ่งแวดล้อม เหมาะสำ�หรับใช้เป็นกระดาษห่อ ของขวัญ บรรจุภัณฑ์ เครื่องเขียน และปูผนัง ร่วมค้นหาวัสดุและผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของภาคเหนือตอนบนได้ อีกมากมายในงานเทศกาลออกแบบ Chiang Mai Design Week 2014 โอกาสแรกที่จะได้พบกับผลงานใหม่ล่าสุดทั้งจากนักออกแบบ มากฝี มื อ ผู ้ ผ ลิ ต และผู ้ ป ระกอบการระดั บ ไอคอนที่ จ ะสร้ า งแรง กระเพื่อมทางความคิดสร้างสรรค์ให้กับเชียงใหม่ 6-14 ธันวาคมนี้
ซอย
ถนน รหัสไปรษณีย
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
หนวยงาน/แผนก ตำบล/แขวง
อำเภอ/เขต
ที่อยูในการออกใบเสร็จ เหมือนที่อยูในการจัดสง หมูบาน/บริษัท เลขที่ ซอย จังหวัด
ถนน รหัสไปรษณีย
ตองการสมัครสมาชิกนิตยสาร Creative Thailand ระยะเวลา 1 ป จำนวน 12 เลม เริ่มตั้งแตฉบับเดือน โดยยินดีเสียคาใชจายในการจัดสงเปนจำนวนเงิน 200 บาท
วิธีการชำระเงิน เช็คสั่งจายศูนยสรางสรรคงานออกแบบ พรอมใบสมัครสมาชิก โอนเงินเขาบัญชีออมทรัพย ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ เลขที่บัญชี 101-808967-0 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสำนักงานใหญสีลม • แฟกซใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่ 02-664-7670 • หรือสงไปรษณียมาที่ ศูนยสรางสรรคงานออกแบบ (Creative Thailand) 622 อาคารเอ็มโพเรียมทาวเวอรชั้น 24 ถนนสุขุมวิท 24 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • หรือแนบไฟลใบสมัครพรอมหลักฐานการโอนเงินมาที่อีเมล creativethailand@tcdc.or.th สอบถามขอมูลเพิ่มเติมไดที่ 02-664-7667 ตอ 122
พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 11
CLASSIC ITEM คลาสสิก
แลนด์มาร์ก
เรื่อง: นันท์นรี พานิชกุล ภาพประกอบ: เบญจ แดงบุบผา
ไม่วา่ จะธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างสรรค์ จุดสังเกตทีเ่ รียกติดปากว่า "แลนด์มาร์ก (Landmark)" ล้วนมีประโยชน์ใช้สอยจากสถานที่ตั้งและรูปลักษณ์อันดึงดูดชวนให้จดจำ�เป็นสำ�คัญ ในอดีต ผูค้ นใช้แลนด์มาร์กเป็นเครือ่ งมือและเครือ่ งหมายปักหมุดการเดินทาง นานวันเข้า จากเพียงจุด บอกตำ�แหน่ง แลนด์มาร์กที่สามารถยืนหยัดท้าทายกาลเวลา ได้กลายเป็นจุดหมายปลายทางที่ ผู้คนต้องดั้นด้นมาเยี่ยมเยือน เมื่ อ คำ � ว่ า แลนด์ ม าร์ ก ยั ง เท่ า กั บ สถานที่ท่องเที่ยว เมืองใหญ่หลาย เมืองและเทศกาลงานแฟร์ต่างๆ ทั่ว โลก จึงวางแผนเลือกนักออกแบบ หรื อ สถาปนิ ก มี ชื่ อ ให้ ม ารั ง สรรค์ อาคาร อนุสาวรีย์ หรืองานศิลปะ เพื่อหมายจะสร้างแลนด์มาร์กยิ่ง ใหญ่ ประชาสัมพันธ์ ให้เมืองหรือ งานของตนเป็นทีก่ ล่าวขวัญต่อไปใน อนาคต
cape of good hope • แหลมกู๊ ด โฮปนอกชายฝั่ ง มหาสมุ ท ร แอตแลนติก ไม่ไกลจากเคปทาวน์ในประเทศ แอฟริกาใต้ คือหนึ่งในแลนด์มาร์กธรรมชาติ ที่โด่งดังที่สุดในโลก แม้จะไม่ใช่แหลมปลาย สุ ด ของแอฟริ ก าซึ่ ง เป็ น จุ ด ที่ ม หาสมุ ท ร แอตแลนติ ก ปะทะกั บ มหาสมุ ท รอิ น เดี ย (แหลมปลายสุ ด คื อ แหลมอะกู ลั ส ) แต่ แหลมกู๊ดโฮปกลับมีความสำ�คัญทางจิตใจต่อ นักเดินเรือมาก ตั้งแต่สมัยบาร์โตโลมิว ดิแอซ (Bartolomeu Dias) นักสำ�รวจชาวโปรตุเกส ที่ ไ ด้ ค้ น พบเส้ น ทางเดิ น เรื อ มายั ง โลก ตะวันออกไกลในปี 1488 เพราะเป็นสัญลักษณ์ แรกทีบ่ อกว่าจากนีไ้ ป แทนทีจ่ ะล่องลงใต้ เส้น ทางเรือจะเริ่มบ่ายทิศไปทางตะวันออกเข้าสู่ มหาสมุทรอินเดีย LA TOUR EIFFEL • หอไอเฟลซึ่งเปิดให้เข้าชมอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มีนาคม 1889 ถู ก สร้ างขึ้ น เป็ น งานศิ ล ปะจั ด วางชั่ ว คราวที่ แสดงความก้ า วหน้ า ทาง วิศวกรรมและสถาปัตยกรรมในงานมหกรรมการแสดงสินค้านานาชาติที่ ฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพในปีเดียวกัน แม้คำ�วิจารณ์ต่อโครงสร้างเหล็กสูง 300 เมตรทีน่ บั ว่าสูงทีส่ ดุ ในโลกตอนนัน้ จะมีทงั้ บวกและลบ หากสัญลักษณ์แห่ง การเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสอันอลังการนี้ ก็กลายเป็น สัญลักษณ์ของฝรั่งเศสที่แต่ละปีมีผู้เยี่ยมชมจากทั่วโลกเกือบเจ็ดล้านคน ทำ�ให้เป็นอนุสาวรีย์ที่มีการเก็บค่าเข้าชมที่มีผู้มาเยือนมากที่สุดในโลก
12 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
CLASSIC ITEM คลาสสิก
Christ the Redeemer • ตั้งแต่ปี 1931 "ไครส์ เดอะ รีดีมเมอร์" เป็นประติมากรรมอาร์ต เดโคทางศาสนาที่ ใหญ่ที่สุดในโลก รูปปั้นพระเยซูสูง 30 เมตร สร้างจากหินสบู่และคอนกรีตเสริมแรงนี้ตั้ง อยู่บนเขากอร์โวกาโด สูงเหนือเมืองริโอ เดอ จาเนโร ถึง 2,310 ฟุต ด้วยถูกออกแบบมาให้ ทุกคนสามารถมองเห็นได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเมือง เพือ่ เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ ในบราซิลอันสะท้อนให้เห็นพลังสร้างสรรค์ จากศรัทธาอันน่าทึ่ง
Sydney Opera House • เมื่อสร้างเสร็จในปี 1973 โรงอุปรากรซิดนีย์ คือสัญลักษณ์แห่งงาน สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในออสเตรเลีย ยอร์น อุตซอน (Jorn Utzon) สถาปนิกชาวเดนมาร์กผูอ้ อกแบบ เข้าใจและเล็งเห็นถึงศักยภาพของพืน้ ที่ ซึง่ มีฉากหลังเป็นอ่าวซิดนียอ์ นั งดงาม เขาออกแบบโรงอุปรากรให้โดดเด่น เป็นงานประติมากรรมทีแ่ ปลกตา หากก็ยงั กลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อม ทั้งกลางวันและกลางคืน จนเป็นสมบัติของชาติที่ชาวออสเตรเลียรักและ ภูมใิ จ แม้จะมีอายุเพียงไม่ถงึ ครึง่ ศตวรรษ หากอาคารหลังงามก็ได้รบั การ ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโกตั้งแต่ปี 2007
A Place Called Home • ตั้งแต่ปี 2007 เทศกาลออกแบบลอนดอน (London Design Festival) หยิบยืมแนวคิดการ สร้างแลนด์มาร์ก มาทำ�เป็นโครงการแลนด์มาร์ก (Landmark Projects) ในปี 2014 พวกเขาจับ มือกับแอร์บแี อนด์บี (Airbnb) เว็บไซต์ชมุ ชนทีพ่ กั ชื่อดังระดับโลกจากซานฟรานซิสโก เพื่อเชิญ สตูดโิ อและนักออกแบบอังกฤษชือ่ ดัง 4 เจ้า ได้แก่ แจสเปอร์ มอริสสัน สตูดิโอไอลส์ แพทเทิรน์ นิต้ี และรอว์-เอดจ์ มาสร้าง "อะ เพลส คอล โฮม" งานศิลปะจัดวางกลางจัตุรัสทราฟัลการ์ของ กรุงลอนดอน ไอคอนของเมืองซึ่งเป็นที่แสดง โครงการแลนด์มาร์กมาเกือบทุกปี บ้านทั้ง 4 หลังสื่อถึงนิยามคำ�ว่าบ้านและเส้นคั่นอันเลือน รางของการแบ่งปันพื้นที่ต่อสาธารณะร่วมกับ พืน้ ทีส่ ว่ นตัว และเป็นดัง่ เครือ่ งมือเผยแพร่ทงั้ ตัว งานเทศกาลและสปอนเซอร์งานให้เป็นที่รู้จัก แพร่หลายในวงกว้าง เมื่อทั้งคู่ร่วมมือกันเชิญ นักออกแบบและสถาปนิกผูม้ ชี อ่ื เสียงมาสร้างงาน ที่เผยกระบวนการใช้วัสดุและการออกแบบ
ที่มา: en.cristoredentoroficial.com.br, londondesignfestival.com/landmark-projects, tanap.net, toureiffel.paris, บทความ "A Place Called Home London Design Festival" จาก londondesignfestival.com, บทความ "Clipper route" จาก en.wikipedia.org บทความ "Introduction To The Resolutions of The Council of Policy of Cape of Good Hope" จาก sydneyoperahouse.com/homepage.aspx พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 13
The Making of Design Week เป็นทีน่ า่ จับตาว่าเพราะเหตุใดเทศกาลและสัปดาห์แห่งการ ออกแบบจึงถูกจัดขึ้นแทบทุกมุมโลก Dezeen นิตยสาร ออนไลน์ด้านการออกแบบ ซึ่งเริ่มต้นจัดทำ�คู่มือแนะนำ� อีเวนต์ทางด้านการออกแบบและสถาปัตยกรรมระดับ สากลตัง้ แต่ปี 2013 พบว่า มีการจัดงานแสดง การประชุม และเทศกาลดังกล่าวกว่า 80 แห่งต่อปี ตามเมืองสำ�คัญๆ แทบทุ ก ภาคพื้ น ทวี ป บนแผนที่ โ ลก แม้ แ ต่ เ มื อ งกลาง ดินแดนทะเลทรายอันแห้งแล้งในตะวันออกกลาง เช่น ดูไบ แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตสและ ริยาดแห่งราชอาณาจักร ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งชาวโลกส่วนใหญ่ยังคงรู้จักประเทศ ทั้งสองแค่ในฐานะผู้ผลิตนํ้ามันรายใหญ่
14 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
เรื่อง: ภารุต เพ็ญพายัพ
ปรากฏการณ์ดงั กล่าวคงไม่ถอื เป็นเรือ่ งแปลก หากพิจารณาถึงความแพร่หลาย ของการออกแบบที่ ส อดแทรกอยู่ แ ทบจะทุ ก อณู ข องสั ง คมยุ ค ใหม่ จอห์น เฮสเคตต์ (John Heskett) กล่าวในหนังสือ Design: A Very Short Introduction 2005 ว่า กิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบนัน้ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมศิลป์ พาณิชย์ศิลป์ การออกแบบวิศวกรรม การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ การออกแบบสิ่งพิมพ์ การออกแบบแฟชั่น และการ ออกแบบสือ่ ปฏิสมั พันธ์ ทัง้ นีร้ ายชือ่ สาขาอาชีพทีเ่ กีย่ วข้องกับการออกแบบ คงยาวเป็นหางว่าว หากนับรวมกิจกรรมทีเ่ รียกว่าเป็นการออกแบบเพื่อให้ ดูดีมีราคามากขึ้น เช่น การออกแบบทรงผม การออกแบบเล็บ การ ออกแบบการจัดดอกไม้ หรือแม้แต่การออกแบบงานศพ เป็นต้น ปัจจุบันแม้แต่ วิธีคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) ก็เริ่มได้รับการ ยอมรับว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำ�คัญที่สร้างความสำ�เร็จให้แก่ภาคธุรกิจ ข้อมูลจากหนังสือ The Design of Business: Why Design Thinking Is the Next Competitive Advantage 2009 โรเจอร์ แอล. มาร์ติน (Roger L. Martin) ชี้ให้เห็นว่า บริษัทชั้นนำ�อย่าง Procter & Gamble (P&G) และ Research in Motion (RIM) ต่างก็ใช้วิธีคิดเชิงออกแบบเป็นนโยบายหลัก เพื่อเสริมศักยภาพทางการแข่งขัน หากการสร้างนวัตกรรมคือบันไดสูค่ วามสำ�เร็จทางเศรษฐกิจ คงไม่ใช่ เรื่องบังเอิญที่นักคิด นักวางนโยบาย หรือหน่วยงานภาครัฐต่างมุ่งมั่นหา แหล่งเงินทุน และวางแผนเตรียมความพร้อมแก่เมืองของตนเพื่อจัด มหกรรมการออกแบบ เปิดโอกาสให้มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ของบริษัท เอกชนและเหล่าดีไซเนอร์ รวมทั้งสร้างเวทีการให้ความรู้และแลกเปลี่ยน แนวคิดเกีย่ วกับการออกแบบกันอย่างจริงจัง ทัง้ นีค้ งเพราะเป็นทีเ่ ข้าใจกัน ดีวา่ หากประเทศไม่มศี กั ยภาพในการสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ ย่อมขาดศักยภาพ ในการแข่งขัน เป็นได้เพียงประเทศแรงงานราคาถูกทีผ่ ลิตสินค้าตามใบสัง่ หรือลอกเลียนแบบสินค้าจากประเทศพัฒนาแล้วเพือ่ ขายในราคาทีถ่ กู กว่า อะไรคือความเป็นมาและเป็นไปของมหกรรมการออกแบบในแต่ละ แห่ง ผู้บุกเบิกในยุคแรกได้สร้างต้นแบบของการจัดงานไว้อย่างไร และผู้ มาทีหลังเป็นได้เพียงนักลอกเลียนหรือสามารถสร้างสรรค์สงิ่ ใหม่ใดได้บา้ ง
COVER STORY เรื่องจากปก
The 60s:
เพื่อการค้า หรือเปลี่ยนแปลงโลก
cosmit.it
ตำ�นานของการจัดมหกรรมการออกแบบเริ่มต้นขึ้นที่ทวีปยุโรปใน ทศวรรษ 1960 งานเฟอร์นเิ จอร์แฟร์ในมิลาน (Salone Internazionale del di Milano) อันโด่งดัง หรือทีป่ จั จุบนั รูจ้ กั กันในนามมิลาน ดีไซน์ วีก (Milan Design Week) นั้น ถูกจัดขึ้นเมื่อ 53 ปีที่แล้ว โดยไม่ใช่ การริเริ่มของนักออกแบบ แต่เป็นความมุ่งมั่นของสมาคมผู้ผลิต เฟอร์นิเจอร์สัญชาติอิตาลี ซึ่งกำ�ลังดิ้นรนขยายตลาดการส่งออก สินค้าของตน
ในยุคแรกเริ่ม Salone Internazionale del Mobile เป็นเพียงงานแสดงสินค้าทั่วไป ไม่ได้ ยิง่ ใหญ่และได้รบั การยอมรับเทียบเท่างานแสดง เฟอร์นิเจอร์อย่าง International Mobelmesse Koln แห่งเมืองโคโลญจน์ ประเทศเยอรมนี หรือ Salon du Meuble แห่งกรุงปารีส ประเทศ ฝรัง่ เศส แต่กถ็ อื เป็นการเปิดพืน้ ทีใ่ ห้ผผู้ ลิตซึง่ แต่ เดิมผลิตแต่เฟอร์นิเจอร์สไตล์คลาสสิกเพื่อขาย ในตลาดท้องถิ่น ได้มีโอกาสปรับตัวเพื่อผลิต สินค้าตอบสนองความต้องการของตลาดโลก จากการวิจัยและสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ เฟอร์นเิ จอร์อติ าลีของฮาราล์ด บาเธลต์ (Harald Bathelt) ฟรานเชสกา กอลเฟตโต (Francesca Golfetto) และดิเอโก รินาลโล (Deigo Rinallo) ใน “Trade Shows in the Globalizing Knowledge Economy” พบว่ า บริ ษั ท
เฟอร์นเิ จอร์ของอิตาลีในทศวรรษ 1960 นัน้ เต็ม ไปด้วยผู้ผลิตที่เป็นช่างฝีมือ ซึ่งมีทักษะและ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานไม้ แต่ไม่มีความ เข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับความต้องการของลูกค้า ต่างประเทศ ผู้ผลิตเหล่านี้ต่างกระตือรือร้นเมื่อ ได้เข้าร่วมแสดงสินค้าแห่งนครมิลาน เพราะเป็น โอกาสที่ พ วกเขาจะได้ พ บปะพู ด คุ ย กั บ ผู้ ซื้ อ (Buyers) นานาชาติที่อธิบายถึงรสนิยมเฉพาะ ของลูกค้าต่างแดน สี่ ปี ห ลั ง จากการเริ่ ม ต้ น จั ด งาน การ ออกแบบและการร่วมงานกับนักออกแบบได้ กลายเป็นจุดขายและหนึ่งในกลยุทธ์การสร้าง มูลค่าที่สำ�คัญของผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์อิตาลี โดย ในปี 1965 ผู้จัดงานได้เริ่มต้นจัดนิทรรศการ “Retrospective Exhibition on Furniture Design in Italy from 1945 to the Present” อธิบาย
ประวัตคิ วามเป็นมาและวัฒนธรรมการออกแบบ ที่ซึมลึกอยู่ในดีเอ็นเอของชาวอิตาลี นับแต่นั้น เป็นต้นมา ก็มกี ารจัดแสดงนิทรรศการเพือ่ เฉลิม ฉลองเอกลักษณ์และคุณภาพของงานฝีมือและ การออกแบบของชาวอิตาลีอย่างต่อเนื่อง ความสำ�เร็จของการจัดงานเฟอร์นิเจอร์ แฟร์ในมิลานครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ยังส่งผลให้ “อิตาเลียน ดีไซน์” และนครมิลานได้รับการ กล่าวขานและยอมรับบนเวทีโลก กระแสตอบ รับต่องานออกแบบและผลงานเฟอร์นิเจอร์ลํ้า สมัยในแต่ละปียังถือเป็นปัจจัยกำ�หนดความ สำ � เร็ จ ของผู้ ผ ลิ ต และดี ไ ซเนอร์ ในปี 1987 หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทม์ส ได้รายว่า “แม้ งานออกแบบทีถ่ กู จัดแสดงในงานดังกล่าวเพียง ส่วนน้อยเท่านั้นที่จะถูกซื้อและนำ�มาใช้ในห้อง รับแขกของชาวอเมริกัน แต่ผลงานเหล่านี้จะ สร้างอิทธิพลในตลาดโลก เช่นเดียวกับการแสดง ผลงานแฟชั่นชั้นสูงของฝรั่งเศส” การขยายตัว ของจำ�นวนผู้คนและพื้นที่จัดงาน โดยเปรียบ เทียบระหว่างปี 1961 กับปี 2014 ถือเป็นเครื่อง ชี้วัดความสำ�เร็จของงานและนครมิลานได้เป็น อย่างดี จากจำ�นวนผู้เข้าร่วมแสดงผลงานเพียง 328 ราย ได้เพิ่มสูงขึ้น 4 เท่าเป็น 1,363 ราย ส่วนจำ�นวนผู้เข้าเยี่ยมชมจาก 12,100 ราย ได้ เพิ่มสูงขึ้นถึง 25 เท่าเป็น 311,781 ราย และ ขนาดพื้นที่ของการจัดงาน 11,860 ตร.ม. ได้ถูก ขยายอาณาบริเวณเพิม่ ขึน้ 12 เท่า เป็น 144,229 ตร.ม. ในช่ ว งเวลาไล่ เ ลี่ ย กั น กั บ การจั ด งาน เฟอร์นิเจอร์แฟร์ในมิลาน ในปี 1968 องค์กรไม่ แสวงหากำ�ไรชื่อ Interieur Foundation แห่ง เมืองคอร์ทไรค์ (Kortrijk) ประเทศเบลเยียม ได้ ริ เ ริ่ ม จั ด งาน Biennale Interieur โดยมี วัตถุประสงค์ทแ่ี หวกแนวออกไปจากมหกรรมใน ยุคเดียวกัน กระแสวิพากษ์วจิ ารณ์ระบบทุนนิยม และการเคลื่ อ นไหวของเหล่ า นั ก ศึ ก ษาและ ชนชั้นแรงงานในชาติตะวันตกด้วยความหวังที่ จะเปลี่ยนแปลงโลก เป็นจุดกำ�เนิดของงาน Biennale Interieur ซึ่งผู้จัดมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 15
COVER STORY เรื่องจากปก
16 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
Growth by Design: สร้างสรรค์…สร้างเศรษฐกิจ
กระแสโลกาภิวัตน์ ได้นำ�มาซึ่งความท้าทายทาง เศรษฐกิจ ปรากฏการณ์การย้ายฐานการผลิต สู่ประเทศแรงงานราคาถูก ทำ�ให้กลุ่มประเทศ พัฒนาแล้วต้องดิ้นรนค้นหานโยบายการสร้าง ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใหม ประเทศ อังกฤษในปี 1997 รัฐบาลพรรคแรงงานภายใต้ การนำ�ของนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ ได้จัดตั้ง คณะทำ � งานเฉพาะกิ จ ด้ า นอุ ต สาหกรรม สร้างสรรค์ (Creative Industries Task Force) ขึ้นเพื่อสำ�รวจการขยายตัวและวาง นโยบายพั ฒ นาภาคอุ ต สาหกรรมดั ง กล่ า ว ซึ่งแบ่งเป็น 13 แขนง ได้แก่ งานโฆษณา งาน สถาปัตยกรรม งานศิลปะและโบราณวัตถุ งาน ฝีมือ งานออกแบบ แฟชั่น ภาพยนตร์ ดนตรี ศิลปะการแสดง สิง่ พิมพ์ ซอฟต์แวร์ สือ่ โทรทัศน์ และวิทยุ และเกมคอมพิวเตอร์
flickr.com/photos/timrich26
ความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มหัวก้าวหน้าด้าน การออกแบบตกแต่งภายใน นอกเหนือจาก ความสวยงามและกระตุ้นการขายแล้ว การ แสดงผลงานใน Biennale Interieur ยังเป็นไป เพื่อส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงความคิดในวง สาธารณะเกี่ยวกับวิธีใช้การออกแบบในการ สร้างโลกที่ดีขึ้น วิธีการจัดแสดงและถ่ายทอด เรือ่ งราวของงานออกแบบเฟอร์นเิ จอร์และเครือ่ ง ใช้ภายในบ้านที่งาน Biennale Interieur ถือ เป็นการท้าทายค่านิยมเก่าของกลุม่ อนุรกั ษ์นยิ ม ด้วยอุดมการณ์ที่ว่าภาคครัวเรือนคือต้นกำ�เนิด ของการปฏิวตั ทิ างสังคม เฟอร์นเิ จอร์และเครือ่ ง ใช้ในบ้านจึงควรสะท้อนความเป็นปัจเจกบุคคล และราคาไม่แพงเพือ่ ให้ประชาชนทุกคนสามารถ เป็นเจ้าของได้ แม้งาน Biennale Interieur จะไม่ได้ยงิ่ ใหญ่ เทียบเท่างาน Salone Internazionale del Mobile โดยปั จ จุ บั น มี ผู้ เ ข้ า เยี่ ย มชมเพี ย ง ประมาณ 90,000 รายต่อปีเท่านัน้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2010 เฟลิกซ์ บูรริชเตอร์ (Felix Burrichter) สถาปนิ ก และนั ก เขี ย นคอลั ม น์ ป ระจำ � หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทม์สได้วิจารณ์ว่า เสน่ห์ของงาน Biennale Interieur นั้นอยู่ที่ จำ�นวนบริษัทออกแบบชื่อดังที่มาร่วมงาน เพื่อ แสดงผลิตภัณฑ์ล่าสุดของพวกเขาแบบเงียบๆ ก่อนที่จะเป็นกระแส นอกจากนี้งาน Biennale Interieur ยังเปรียบเสมือนศูนย์รวมนักออกแบบ ดาวรุ่ง แขกกิตติมศักดิ์ที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน ที่เมืองคอร์ทไรค์ ซึ่งถูกจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อ แสดงผลงานและปรัชญาเบือ้ งหลังการออกแบบ ของพวกเขา มั ก กลายเป็ น ดี ไ ซเนอร์ ชื่ อ ดั ง ระดับโลก เช่น ฟิลปิ ป์ สตาร์ก (Philippe Starck) แขกกิตติมศักดิ์ปี 1986 ซึ่งสร้างชื่อจากการ ออกแบบเครื่องคั้นนํ้าผลไม้ทรงปลาหมึกยักษ์ เมื่ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ดั ง กล่ า วที่ รู้ จั ก กั น ในนาม “Juicy Salif” เริ่ ม วางขายในตลาดในช่วง ระยะเวลา 4 ปีให้หลัง
ภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นดั่งความหวัง ใหม่ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์ ที่จะ ฟื้นฟูความยิ่งใหญ่ทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ อังกฤษ การเก็บข้อมูลและวิจัยอย่างเป็นระบบ ทำ�ให้รัฐบาลชุดดังกล่าวทราบว่า ลอนดอนคือ ศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ โดย ในปี 1998 อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ แ ห่ ง นครหลวงของอดีตเจ้าจักรวรรดินยิ มสร้างมูลค่า
เพิม่ ทางเศรษฐกิจได้สงู ถึง 2 หมืน่ ล้านปอนด์ ซึง่ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงหนึ่งในสามของมูลค่าเพิ่ม ที่เกิดจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้งประเทศ เพือ่ เสริมศักยภาพของมหานครลอนดอนในการ เปลี่ยนแปลงความสร้างสรรค์เป็นเม็ดเงินทาง เศรษฐกิจ เซอร์ จอห์น ซอร์เรลล์ (Sir John Sorrell) และเบน อีแวนส์ (Ben Evans) ผู้ร่วม ร่างนโยบายการออกแบบแห่งชาติฉบับแรกแก่
COVER STORY เรื่องจากปก
ประเทศอังกฤษ จึงได้เริ่มต้นจัดงาน London Design Festival ขึ้นในปี 2003 หน่ว ยงานจากภาครั ฐและเอกชนต่า งพร้อมใจร่วมวางแผนและ สนับสนุนการจัดงาน London Design Festival เพราะแต่ละฝ่ายต่างเห็น ถึงผลพลอยได้ทางเศรษฐกิจทีจ่ ะเกิดขึน้ โดยเทศกาลดังกล่าวประสบความ สำ�เร็จในการดึงนักคิด นักปฏิบัติ นักการศึกษา และผู้ค้าปลีก ให้เข้าร่วม กิจกรรมที่มีหลากหลายกว่า 300 รายการตลอดช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ ของทุกปี ในขณะที่ Salone Internazionale del Mobile เป็นมหกรรม สำ�คัญของอุตสาหกรรมเฟอร์นเิ จอร์ London Design Festival เป็นเทศกาล ที่มีการจัดแสดงผลงานดีไซน์แทบทุกแขนง ซึ่งประสบความสำ�เร็จในการ ดึงดูดผู้เข้าเยี่ยมชมงานจาก 60 ประเทศ ได้สูงกว่า 350,000 คนในปี 2012 ในยุคที่เศรษฐกิจตกตํ่ากลายเป็นปัญหาเรื้อรังของโลกตะวันตก London Design Festival กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจของตัว เมือง ปี 2011 ซอร์เรลล์กล่าวว่าเพราะเศรษฐกิจคือหัวข้อหลักที่กำ�ลังเป็น ที่สนใจของทุกคน ดังนั้นเนื้อหาของงาน London Design Festival จะ ไม่ใช่แค่การเผยแพร่ความสำ�คัญของการออกแบบต่อสังคมและวัฒนธรรม เท่านั้น แต่จะนำ�เสนอถึงความจำ�เป็นของการออกแบบที่มีต่อการสร้าง ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอนาคตของประเทศด้วย คำ�กล่าวนี้ คงไม่ใช่การพูดเกินจริง เมือ่ เทศบาลมหานครลอนดอน (Greater London Authority) ได้เปิดเผยในปี 2013 ว่า London Design Festival ได้สร้าง เม็ดเงินให้แก่เศรษฐกิจของตัวเมืองสูงถึง 40 ล้านปอนด์ต่อปี อาจกล่าวได้วา่ ความสำ�เร็จของ London Design Festival เกิดขึน้ จาก การสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของตัวเมืองอย่างเป็นระบบ เมื่อ เปรียบเทียบระหว่างงาน Salone Internazionale del Mobile กับ London Design Festival ประจำ�ปี 2013 มาร์คสั แฟร์ส (Marcus Fairs) บรรณาธิการ บริหารนิตยสารออนไลน์ดีซีน กล่าวว่า “การเยือนนครมิลานในช่วงของ การจัดงาน Salone Internazionale del Mobile นั้น เปรียบเสมือนการ ดื่มดํ่าประสบการณ์ที่ตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการออกแบบ” โดยแฟร์ส กล่าวเสริมว่า “ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นที่นครมิลานก็คือตัวเมืองมิลานเอง” เนื่องจากภาครัฐและผู้จัดงานไม่ได้มีการบริหารจัดการอย่างจริงจังเพื่อ รองรับผู้มาเยือนจำ�นวนมหาศาล โรงแรมแต่ละแห่งต่างโก่งราคาที่พัก ระบบการจองรถแท็กซี่อันยุ่งยากทำ�ให้ชาวต่างชาติต้องปวดหัว ซํ้าร้ายยัง ไม่มีไกด์บุ๊กและแผนที่สำ�หรับแจกฟรี ทั้งนี้แฟร์สสรุปว่า “ในขณะที่ขนาด ของมหานครลอนดอนกว้างใหญ่กว่ามิลานถึง 10 เท่า แต่การมาเยือน London Design Festival กลับสะดวกและเข้าถึงง่ายกว่ากัน 10 เท่าตัว” ประวัตศิ าสตร์หน้าใหม่ของมหกรรมการออกแบบได้เกิดขึน้ ทีป่ ระเทศ อังกฤษ ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 มหานครลอนดอนได้รับการสถาปนาให้ เป็นต้นแบบใหม่ของการจัดมหกรรมการออกแบบ เมื่อมีการตั้งคำ�ถามว่า London Design Festival สร้างอิทธิพลใดบ้างบนเวทีสากล เซอร์ จอห์น ซอร์เรลล์ กล่าวว่า “นับตั้งแต่ทีมงานของเขาเริ่มต้นจัดเทศกาลดังกล่าว
มหกรรมการออกแบบได้ ถู ก จั ด ขึ้ น อย่ างแพร่ ห ลายในนานาประเทศ มากกว่า 80 งาน ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะประเทศต่างๆ ได้ศกึ ษาถึงแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศอังกฤษ และเริ่มนำ�ไปปรับใช้เป็นนโยบายในประเทศตนเอง” ตัวอย่างเช่นการเริ่ม ต้นจัดงานเทศกาลหรือสัปดาห์แห่งการออกแบบที่นครเบอร์ลินในปี 2003 เฮลซิงกิในปี 2005 บาร์เซโลนาในปี 2006 เวียนนาในปี 2007 โคเปนเฮเกน ในปี 2009 ปารีสในปี 2011 ปักกิ่งในปี 2011 และนิวยอร์กในปี 2013 เป็นต้น
Ageing is Opportunities: ผลิบาน...หลังการร่วงโรย แม้ชว่ งต้นศตวรรษที่ 21 อังกฤษจะประสบปัญหาเศรษฐกิจตกตํา่ เช่นเดียว กับประเทศอืน่ ๆ ในยุโรป แต่ภาคอสังหาริมทรัพย์ของมหานครลอนดอน กลับไม่ตอ้ งประสบภาวะซบเซาทีร่ นุ แรง แตกต่างจากนครไอนด์โฮเวนใน เนเธอร์แลนด์ ที่อาคารสำ�นักงานและโรงงานเกือบกลายเป็นพื้นที่รกร้าง เมื่อบริษัทฟิลิปส์ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ซึ่งมีแหล่งกำ�เนิดในเมือง ดังกล่าวตัง้ แต่ปี 1891 ตัดสินใจย้ายสำ�นักงานใหญ่ไปยังกรุงอัมสเตอร์ดมั ในปี 1997 อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมสร้างสรรค์แห่งเนเธอร์แลนด์ ได้พลิกผันแนวโน้มการล่มสลายให้กลายเป็นโอกาสของการฟื้นฟูเมือง ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับการเริ่มต้นนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ อังกฤษ งาน Day of Design ได้ถูกจัดขึ้นที่เมืองไอนด์โฮเวนในปี 1998 แล้วจึงถูกยกระดับขึ้นเป็น Dutch Design Week ในปี 2001 เทศกาลดัง กล่าวถือเป็นส่วนหนึง่ ของกลยุทธ์การพลิกฟืน้ นครไอนด์โฮเวน จากเมือง อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีจำ�นวนประชากรตกงานถึง 30,000 คน ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการออกแบบและนวัตกรรม แม้ไอนด์โฮเวนจะไม่ได้มีความงามทางสถาปัตยกรรม แต่เมืองดัง กล่าวเป็นสถานทีต่ งั้ ของสถาบันการออกแบบชือ่ ดังอย่าง Design Academy Eindhoven ซึ่งนิตยสารไทม์ ขนานนามให้เป็น “สถาบันแห่งความ เท่ทันสมัย” (The School of Cool) เพราะสถาบันดังกล่าวมีประวัติการ ผลิตนักออกแบบชั้นนำ�ของโลกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น มาร์เทน บาส (Maarten Baas) มาร์เซล แวนเดอร์ส (Marcel Wanders) ริชาร์ด ฮัต เทน (Richard Hutten) เจอร์เกน เบย์ (Jurgen Bey) และเฮลลา จอง เกอเรียส (Hella Jongerius) ในขณะที่ฟิลิปส์ได้ย้ายสำ�นักงานใหญ่ออก จากเมือง แต่สำ�นักงานการออกแบบของบริษัทดังกล่าวยังคงปักหลัก พัฒนาผลงานอยู่ในไอนด์โฮเวน หากพิจารณาถึงนวัตกรรม ไอนด์โฮเวน ยังถือเป็นศูนย์รวมของบริษัท 3D-Printing ระดับแนวหน้า รวมทั้งเป็น แหล่งพัฒนาเทคโนโลยีระดับสูง เช่น เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น
พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 17
COVER STORY เรื่องจากปก
flickr.com/photos/inucare
Culture for Export: สู่ความบันเทิงครบวงจร
หากโลกตะวันตกคือผู้ครองตำ�แหน่งผู้นำ�ในการกำ�หนดทิศทางของ อุตสาหกรรมการออกแบบ ความท้าทายของประเทศในภูมิภาคเอเชีย คงจะได้แก่การค้นหาจุดยืนและสร้างวิธีการนำ�เสนอตัวตนผ่านผลงาน และมหกรรมแห่งการออกแบบที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในกรณี ของประเทศญี่ปุ่นความพยายามดังกล่าวได้สะท้อนผ่านการจัดงาน Tokyo Designers Week
แม้จะเริ่มต้นจากการจัดงานเล็กๆ ในปี 1986 ภายใต้ชื่อ Designers Saturday Tokyo ซึ่งเป็นเพียงงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ที่ลอกเลียนรูป แบบมาจากงานเฟอร์นิเจอร์แฟร์ในมิลาน แต่ปัจจุบันสัปดาห์แห่งนัก ออกแบบประจำ�กรุงโตเกียวกลายเป็นมหกรรมสร้างสรรค์ครบวงจร ที่นำ� เสนอทั้งงานออกแบบ ศิลปะ แฟชั่น หรือแม้แต่ดนตรี เคนจิ คาวาซากิ (Kenji Kawasaki) ประธานสมาคมการออกแบบของประเทศญีป่ นุ่ (Design Association NPO) องค์กรไม่แสวงหากำ�ไรผู้จัดงาน Tokyo Designers Week ให้สมั ภาษณ์ถงึ การตัดสินใจเพิม่ กิจกรรมดนตรี ศิลปะ และเทศกาล ประเพณีดั้งเดิมของญี่ปุ่นเข้าในงานสัปดาห์แห่งนักออกแบบว่า “งาน มหกรรมแห่งศตวรรษที่ 21 ควรแตกต่างจากงานเดิมๆ ของศตวรรษที่ 20” โดยผู้บริโภคทั้งในและนอกวงการดีไซน์ควรได้มีโอกาสเข้าร่วมมหกรรม แห่งการออกแบบอย่างเต็มที่ เพือ่ ไม่ให้มหกรรมดังกล่าวเป็นเพียงงานแสดง สินค้าและโอกาสการพบปะกันของภาคธุรกิจแบบ “Business to Business” (B2B) เท่านั้น คาวาซากิเสริมว่า “ถ้าคน 100 คนมาเยือนงานเพื่อชมการ แสดงดนตรี อาจจะมีคน 10 คนในจำ�นวนนั้นที่ร่วมชมงานศิลปะ และมี เพียง 1 คนเท่านั้นที่สนใจดูงานดีไซน์” แม้จะยอมรับว่าการแสดงผล งานการออกแบบที่ประเทศญี่ปุ่นมีผู้คนให้ความสนใจน้อย อย่างไรก็ตาม คาวาซากิกล่าวว่าเขาคิดว่าดนตรี ศิลปะ และการออกแบบไม่ควรถูกมอง ว่าเป็นสาขาที่แยกขาดจากกัน จำ�นวนผู้เข้าเยี่ยมชมงาน Tokyo Designers Week เพิ่มขึ้นอย่างก้าว กระโดด เมื่อมีจัดแสดงความบันเทิงอย่างครบวงจร จากเพียง 40,000 ถึง 60,000 รายในปี 2011 สู่จำ�นวนมากกว่า 100,000 รายในปี 2012 ทั้งนี้ เบือ้ งหลังของแสงสีเสียงและกิจกรรมไลฟ์สไตล์ทงั้ หลายคือความพยายาม ทีจ่ ะเผยแพร่และส่งออกวัฒนธรรม นับตัง้ แต่ปี 2007 ส่วนหนึง่ ของมหกรรม Tokyo Designers Week ยังนำ�ไปจัดแสดงที่งาน Salone Internazionale del Mobile แห่งนครมิลาน และในปี 2014 ยังได้เข้าร่วมจัดแสดงที่ London Design Festival ที่มหานครลอนดอน โดยสมาคมการออกแบบ 18 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
แห่งประเทศญี่ปุ่นประกาศอย่างชัดเจนว่า วัตถุประสงค์หลักของการเข้า ร่วมงานมหกรรมในต่างแดน คือ “การส่งออกวัฒนธรรมความสร้างสรรค์ ของญี่ปุ่น” สินค้าวัฒนธรรมหลากหลายได้ถูกใช้เป็นเสน่ห์เย้ายวนให้ชาว ต่างชาติได้ดื่มดํ่างานออกแบบของญี่ปุ่น ซูชิจากเชฟชื่อดังประจำ�ร้าน อาหารระดับมิชลินสตาร์ 3 ดาว และสาเกอย่างดีได้ถูกเสิร์ฟแก่แขก ผู้เข้าชมนิทรรศการที่มิลานและลอนดอน ควบคู่กับการรับชมผลงาน การออกแบบเครื่องครัวและภาชนะอาหารของดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่น
Follow the Money: เพราะลูกค้าคือพระเจ้า
ในยุคโลกาภิวตั น์ซงึ่ การคมนาคมข้ามประเทศเป็นไปได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ใช่เรื่องแปลกที่งานแสดงสินค้าและมหกรรมการออกแบบระดับตำ�นาน แห่งทวีปยุโรปจะเต็มไปด้วยผูม้ าเยือนชาวต่างชาติซงึ่ มีก�ำ ลังซือ้ สูง อาจเป็น เพราะภาวะการแข่งขันในตลาดโลกทีพ่ งุ่ ทะยานขึน้ อย่างไม่หยุดยัง้ ทีท่ �ำ ให้ SAFI บริษัทย่อยของ Ateliers d’Art de France และ Reed Expositions ผู้ริเริ่มจัดงานแสดงสินค้า Maison & Objet ที่มหานครปารีสตั้งแต่ปี 1995 และ Paris Design Week ตั้งแต่ปี 2011 ตัดสินใจเริ่มจัดงานนอกภูมิภาค ยุโรป จากการรวบรวมสถิติข้อมูลของผู้ซื้อที่เข้าร่วมงาน Maison & Objet ทีม่ หานครปารีสตลอดระยะเวลา 19 ปีทผี่ า่ นมา ทำ�ให้ SAFI ทราบเป็นอย่าง ดีวา่ ตลาดใหญ่ทกี่ �ำ ลังขยายตัวในระดับตัวเลข 2 หลักอยูใ่ นทวีปเอเชียและ อเมริกา แทนที่ลูกค้าผู้มีกำ�ลังซื้อสูงจะต้องเดินทางไปยังมหานครปารีส ปี 2013 SAFI ได้ร่วมมือกับผู้จัดงาน Singapore Design Week เพื่อจัดงาน แสดงสินค้า Maison & Objet ครัง้ แรกในสิงคโปร์ ประเทศซึง่ เป็นศูนย์กลาง สำ�คัญทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ปี 2015 SAFI ยังมีแผน งานจัด Maison & Objet America ที่ไมอามี เมืองซึ่งเปรียบเสมือนชุมทาง ระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ด้วย
COVER STORY เรื่องจากปก triennale.it
Not a Copycat! เป็นให้ได้มากกว่าผู้ผลิตตามใบสั่ง
flickr.com/photos/beijingdesignweek
นั บ ตั้ ง แต่ ส าธารณรั ฐ ประชาชนจี น เข้ า ร่ ว มเป็ น สมาชิ ก องค์ ก ารการค้ า โลก (World Trade Organization) อย่างเป็นทางการในปี 2001 ความเติบโตทางเศรษฐกิจ ของประเทศได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด เหล่าชนชั้น กรรมาชี พ หลายล้ า นชี วิ ต ได้ ก ลายเป็ น แรงงานราคาถู ก ผู้ผลิตสินค้าให้แก่บริษัทข้ามชาติจากโลกตะวันตกที่แห่ ย้ายฐานการผลิตมายังสาธารณรัฐประชาชนจีน จนปัจจุบนั ประเทศดังกล่าวถูกขนานนามว่าเป็น “โรงงานของโลก” อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์คู่ขนานที่เกิดขึ้นคือภาคการ ผลิ ต จี น นอกรั้ ว โรงงานบริ ษั ท ข้ า มชาติ ก ลั บ แห่ กั น ลอก เลียนแบบสินค้าแบรนด์เนมจากโลกตะวันตกเพื่อขายใน ราคาถูก จนเวทีโลกรู้จักประเทศจีนในอีกฐานะหนึ่ง คือ ยอดนักลอกเลียนแบบ
รัฐบาลจีนคงเข้าใจดีวา่ ความมหัศจรรย์ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ไม่อาจเกิดขึน้ อีกต่อไปได้ หากภาคอุตสาหกรรมจีนไม่มนี วัตกรรมเป็นของ ตนเอง การจัดงาน Beijing Design Week ถือเป็นหนึ่งในความพยายาม ก้าวข้ามกับดักของการพัฒนา โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มกำ�ลังจาก กระทรวงการศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ เทศบาลมหานครปักกิ่ง หนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน ได้แก่ การปรับทัศนคติของชาวโลกเกี่ยวกับภาคอุตสาหกรรมของประเทศ จาก เพียงแค่ “ผลิตในประเทศจีน (Made in China)” สู่ “ออกแบบในประเทศ จีน (Designed in China)” เมื่อให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์ก ไทมส์ เอริก เฉิน (Aric Chen) ผู้อำ�นวยการการจัดงานกล่าวว่า ปัจจัยที่ จะกำ�หนดความสำ�เร็จของงานสัปดาห์แห่งการออกแบบที่มหานครปักกิ่ง ได้แก่ “การขจัดความเข้าใจทีว่ า่ งานออกแบบของจีนเป็นแค่การลอกเลียน แบบ” ความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะปรับทัศนคติของชาวโลกทีม่ ตี อ่ อุตสาหกรรมจีนไม่ใช่ แค่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่เลื่อนลอย Kanjian กิจการเพื่อสังคม ใน ประเทศจีนจึงดึงเหล่าดีไซเนอร์ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งผู้ที่มีผล งานการออกแบบระดับโลก เช่น ทอม ดิกสัน (Tom Dixon) ไมเคิล ยัง (Michael Young) และรอสซานา ฮู (Rossana Hu) ให้มาร่วมงานกับช่าง ฝีมือท้องถิ่นของจีน เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ผลงานผลิตภัณฑ์ชุดแรก ซึ่งเปิดตัวในปี 2013 และเป็นที่รู้จักกันในนาม “Kanjian Creation” ได้ นำ � มาจั ด แสดงในงานสั ป ดาห์ แ ห่ ง การออกแบบของมหานครปั ก กิ่ ง นอกจากนีย้ งั ได้รบั การสนับสนุนจากคณะผูจ้ ดั งานเพือ่ นำ�ไปจัดแสดงทีน่ คร มิลาน ณ Triennale Design Museum ในปีนี้ จูเจ๋อชิน (Zhu Zheqin) หนึ่ง ในภัณฑารักษ์ผู้รับผิดชอบการจัดแสดงผลงาน Kanjian Creation ที่นคร มิลานกล่าวว่า “นิทรรศการดังกล่าวจะเผยแพร่ตัวอย่างงานออกแบบที่ แสดงถึงความเป็นไปได้และการตีความใหม่ ซึ่งได้มาจากการต่อยอด แนวคิดการใช้วสั ดุและเทคนิคดัง้ เดิมของจีน” ทัง้ นีเ้ จิง้ หุย (Zeng Hui) รอง ผู้อำ�นวยการการจัดงาน Beijing Design Week ยังกล่าวว่า Kanjian Creation จะช่วยเปิดโอกาสให้ชาวโลกสนใจและชื่นชมงานออกแบบ ของจีน พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 19
COVER STORY เรื่องจากปก
Models & Evolution: เลือกปรับใช้...เพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจ
ต้นแบบของการจัดมหกรรมการออกแบบซึง่ เริม่ ขึ้นที่ทวีปยุโรปถูกนำ�ไปปรับใช้อย่างแพร่หลาย ในภูมิภาคต่างๆ จนกลายเป็นเรื่องยากยิ่งที่คน หนึ่งคนจะเข้าร่วมงานทุกแห่งได้ครบภายในปี เดียว การแข่งขันของเมืองต่างๆ เพือ่ ดึงดูดผูค้ น จากนานาประเทศให้ยกย่องและยอมรับว่าเมือง นั้นๆ เป็นนครแห่งการสร้างสรรค์ นำ�มาซึ่ง พัฒนาการของการจัดมหกรรมของแต่ละเมือง ให้แตกต่างและมีเอกลักษณ์เฉพาะตน ทั้งนี้ ปัจจัยกำ�หนดความสำ�เร็จของการจัดงานแต่ละ ครัง้ ไม่ใช่เพียงการจัดแสดงผลงานดีไซน์ชนิ้ โบว์ แดงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสร้างความร่วมมือ กับภาคส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการเมือง
เพื่ อ รองรั บ การมาเยื อ นของคนจำ � นวนมาก เนื่องจากคงเป็นไปไม่ได้ที่ประชากรทุกคนของ เมืองหนึง่ ๆ จะเป็นนักออกแบบหรือผูช้ นื่ ชมงาน ออกแบบ ดังนั้นแรงจูงใจสำ�คัญที่จะทำ�ให้ภาค ส่วนต่างๆ ยินดีร่วมมือ คงจะได้แก่การชักจูง และแสดงให้ประชากรจากหลากหลายสาขา อาชีพเห็นถึงผลประโยชน์ทพี่ วกเขาและตัวเมือง จะได้รับ หากประสบความสำ�เร็จในการจัด มหกรรมการออกแบบ ความท้าทายสำ�คัญของ การจัดงานในแต่ละแห่งคงหนีไม่พ้นการตอบ โจทย์ความต้องการทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น และประเทศ
ที่มา: barcelonadesignweek.es, bjdw.org , ddw.nl , designdaysdubai.ae, dezeenguide.com, dmy-berlin.com , helsinkidesignweek.com, londondesignfestival.com, maison-objet.com, nycxdesign.com, salonemilano.it, saudidesignweek.com, stockholmdesignweek.com, tdwa.com, viennadesignweek.at, interieur.be, บทความ “Chinese Design to Shine in Milan” (1 เมษายน 2014) จาก english.jschina.com.cn, บทความ “Copenhagen Design Week Report” (10 กันยายน 2009) จาก wallpaper.com, บทความ “Eindhoven Has Design, It Has Science and It Has Industry” (24 ตุลาคม 2013) และบทความ “Joseph Grima to Curate Biennale Interieur 2014” (31 มกราคม 2014) จาก dezeen.com, บทความ “Kanjian Continuity” (23 กันยายน 2014) จาก bjdw.org, บทความ “Kawasaki Has a Plan for Tokyo Designers Week” (24 ตุลาคม 2013) จาก japantimes.co.jp, บทความ “Kortrijk Report: Design Without the Traffic Jams” (22 ตุลาคม 2010) จาก tmagazine.blogs.nytimes.com, บทความ “London Design Festival Returns with an Emphasis on Economic Growth” (5 กันยายน 2011) จาก culture24.org.uk, บทความ “London Is the New Milan (After a Fashion)” (16 สิงหาคม 2003) จาก theguardian.com, บทความ “Not Just Made in China, But Designed There, Too” (28 กันยายน 2011) จาก tmagazine.blogs.nytimes.com, บทความ “Paris & Beijing Legitimise Commitments to Design” (3 ตุลาคม 2011) จาก luxurysociety.com, บทความ “School of Cool” (17 เมษายน 2007) จาก content.time.com, บทความ “The Future Is a Small, Ugly Town in the South of Holland” (24 ตุลาคม 2013) จาก dezeen.com,บทความ “The World’s 25 Best Design Schools” (23 พฤศจิกายน 2012) จาก businessinsider.com, บทความ “Tokyo Designers Week Uses Music, Art as Draws” (24 ตุลาคม 2013) จาก japantimes.co.jp, บทสัมภาษณ์ “Interview: Ben Evans” (9 กันยายน 2013) จาก designcurial.com, บทสัมภาษณ์ “Q & A: Sir John Sorrell Talks to Design Week ahead of the London Design Festival” (31 สิงหาคม 2011) จาก designweek.co.uk, รายงาน “Growth by Design: the Powerful Impact & Untapped Potential of NYC’s Architecture & Design Sectors” (2011) จาก nycfuture.org, หนังสือ Design: A Very Short Introduction (2005) โดย JohnHeskett, หนังสือ The Design of Business: Why Design Thinking Is the Next Competitive Advantage (2009) โดย Roger L. Martin และ หนังสือ Trade Shows in the Globalizing Knowledge Economy (2014) โดย Haralkd Bathelt, Francesca Golfetto และ Diego Rinallo, บทความ “There’s a Real Reason to Invest in New York’s Design Sector” (28 มิถุนายน 2013) และ “To Visit Milan Is to Experience the Antithesis of Design” (12 เมษายน 2013) จาก dezeen.com
พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 21
INSIGHT อินไซต์
"สิ่งที่คุณเห็นในงาน DDW ตอนนี้ ก็คือสิ่งที่จะปรากฏในมิลาน อีก 2 ปีข้างหน้า"
มีเรียม ฟาน เดอ ลูบบ์ (Miriam van der Lubbe) ดีไซเนอร์ชาวดัตช์ชื่อดัง และหนึ่งในผู้ก่อตั้งงานดัตช์ ดีไซน์ วีก (Dutch Design Week: DDW)
คำ�กล่าวอ้างนี้ไม่ได้เกินจริงเลย เพราะแม้ว่าชื่อเสียงของงานเฟอร์นิเจอร์ แฟร์ในมิลาน จะเป็นทีร่ จู้ กั ไปทัว่ โลกมานาน แต่มเี รียมก็สามารถพลิกเมือง อุตสาหกรรมอย่างไอนด์โฮเฟน ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่ที่สุดใน ยุโรปเหนือ โดยเชื่อมโยงโลกของการออกแบบ ธุรกิจ อุตสาหกรรม และ เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการส่งนักออกแบบไป โชว์ผลงานไกลในต่างแดน จำ�นวนผู้เข้าร่วมงานที่เพิ่มขึ้นแทบทุกปี โดย เฉพาะปี 2013 ที่พุ่งสูงถึง 200,000 คน ก็ยิ่งบ่งชี้ว่าขณะนี้ ผู้คนทั่วโลก กำ�ลังจับตามองมาที่เนเธอร์แลนด์ หนึ่งในผู้นำ�เทรนด์ที่จะกำ�หนดทิศทาง ของงานออกแบบสมัยใหม่ โดยในปีนี้ ดัตช์ ดีไซน์ วีก ได้จัดขึ้นเป็นปีที่ 14 ภายใต้คอนเซ็ปต์ "UP” เพื่อตอกยํ้าว่านับจากนี้ งานออกแบบจะต้อง ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้น ทั้งในแง่สุนทรียศาสตร์ ความก้าวหน้าทางนวัตกรรม และประโยชน์ใช้สอย ในฐานะเครือ่ งมือแก้ไข ปัญหาอันชาญฉลาด ท่ามกลางงานออกแบบนับร้อยชิ้นที่จัดแสดงในนิทรรศการที่ตึก คล็อกเคอบาว (Klokgebouw) มีผลงานชิน้ หนึง่ ทีด่ ไู ม่หวือหวา ทว่ากุมความ สนใจของผูช้ มได้อยูห่ มัดด้วยความธรรมดาเรียบง่าย นัน่ คือเก้าอีไ้ ม้พร้อม เบาะและพนักพิงสีแดงสดใสที่ชื่อ "Granny's Chair” ของบัส ลาเมอร์ส 22 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
DDW 2014 เรื่อง: ปิยพร อรุณเกรียงไกร
(Bas Lamers) และบัส ฟาน รอย (ฺBas van Rooij) เจ้าของสตูดิโอบูโรบัส (BuroBas) แต่ทนี่ า่ ทึง่ ไปกว่านัน้ ก็คอื เก้าอีต้ วั นีไ้ ด้รบั การออกแบบเพือ่ ผูส้ งู วัยที่ประสบภาวะโรคสมองเสื่อม (Dementia) โดยเฉพาะ ฟาน รอยได้อธิบายว่าการทำ�งานออกแบบให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงวัย ทำ�ให้พบว่าสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการก็คือเครื่องช่วยยํ้าเตือนความทรงจำ� ความคุ้นเคย และความปลอดภัยมากเป็นพิเศษ จึงเลือกออกแบบเก้าอี้ที่ มีทั้งร่องรอยของอดีตและเชื่อมโยงกับโลกปัจจุบัน บนแนวคิดสำ�คัญ ที่ว่า "ฉันไม่แน่ใจว่าฉันอยู่ที่ไหน แต่ให้ความรู้สึกเหมือนกับบ้าน" เมือ่ ถอดรหัสการออกแบบเก้าอีค้ ณุ ยายตัวนีอ้ อกมาจะพบว่าผูอ้ อกแบบ ให้ความสำ�คัญกับประสิทธิภาพการใช้งานและความต้องการของผู้ใช้เป็น หลัก สังเกตได้จากส่วนของโครงสร้างทำ�จากไม้ทม่ี นี า้ํ หนักเบา แต่แข็งแรง ทนทาน และออกแบบรูปทรงของเก้าอีใ้ ห้สอดรับกับสรีระของผูใ้ ช้งาน โดย อ้างอิงตามตารางสรีรศาสตร์ของผู้สูงอายุชาวดัตช์โดยเฉพาะ ทำ�ให้รอง รับนํ้าหนักบริเวณซี่โครงได้พอดี ซึ่งเป็นส่วนที่บอบบางและเสี่ยงต่อการ กระแทกอีกด้วย ขณะทีค่ วามเรียบง่ายและมีสสี นั ก็จะช่วยให้ผใู้ ช้งานสัมผัส ถึงบรรยากาศของความอบอุ่นและปลอดภัยราวกับอยู่ในบ้านของตนเอง แม้จะยังเป็นสตูดโิ อน้องใหม่ แต่หลักการสำ�คัญทีบ่ โู รบัสยึดถือในการ
INSIGHT อินไซต์
ทำ�งานออกแบบก็คือวางแผนการทำ�งานอย่าง รอบด้านโดยไม่ลืมเก็บรายละเอียดทุกเม็ด เพื่อ ให้ชิ้นงานสมบูรณ์และมีความต่อเนื่อง เริ่มจาก แนวคิดการออกแบบที่คำ�นึงถึงกลุ่มผู้สูงอายุซึ่ง มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การศึกษาพฤติกรรม ของกลุม่ เป้าหมาย ความรูเ้ ชิงกายภาพ การร่าง สเก็ตช์ พัฒนาต้นแบบ ทดลองใช้งานและผลิต จริง ไปจนถึงการวางช่องทางจำ�หน่ายให้กับ บริษัท เฟอร์ นิ เ จอร์ เ ฟอร์ฟ อร์ต (Vervoort Meubelen) เพือ่ กระจายโอกาสการเข้าถึงสินค้า สำ�หรับผูส้ งู วัยไปสูเ่ มืองอืน่ ไม่เพียงเท่านัน้ เมือ่ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงาน ดัตช์ ดีไซน์ วีก ก็ท�ำ ให้พวกเขาพร้อมรับมือกับโอกาสทีค่ าดไม่ถงึ สังเกตได้จากการจัดเตรียมข้อมูลและภาพถ่าย สำ�หรับแจกจ่ายให้สื่อมวลชนอย่างรวดเร็วและ เป็นระเบียบ รวมทั้งวางแผนพัฒนาเก้าอี้คอล เล็กชั่นถัดไปสำ�หรับผู้สูงอายุ "ดัตช์ ดีไซน์ วีก ถือเป็นงานแฟร์เทรดที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่งในไอนด์ โฮเฟน เราได้พบผู้คนมากมายที่กลายมาเป็น เพื่อนร่วมงานและคู่ค้าทางธุรกิจ ในฐานะของ สตูดโิ อออกแบบทีป่ กั หลักอยู่ในเมืองนี้ เรารูส้ กึ ว่ายังไงก็ตอ้ งมาจัดแสดงงานทีน่ ใ่ี ห้ได้"
ฟาน รอย เฉลยให้ฟังทีหลังว่า อันที่จริง พวกเขาทำ�งานออกแบบตกแต่งภายในมาโดย ตลอด ตั้งแต่สถานพักฟื้น หอพัก โรงเรียน ออฟฟิศ ไปจนถึงออกแบบเฟอร์นเิ จอร์ ด้วยนิสยั ที่ ไ ม่ ยึ ด ติ ด กั บ กรอบเดิ ม ๆ สนุ ก กั บ การตั้ ง คำ�ถาม พวกเขาจึงเลือกที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม กับผู้คนและสถานที่ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ หรือ "ดีเอ็นเอ" ของพื้นที่และสภาพแวดล้อม ที่กลุ่มเป้าหมายอาศัยอยู่ และนำ�ไปใช้ในการ
ออกแบบ ส่วนการออกแบบภายในศูนย์ดูแล ผู้สูงอายุนั้น พวกเขามองว่าสิ่งสำ�คัญก็คือการ ใส่ใจในองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่เข้ามาเติม เต็ ม ความหมายให้ กั บ ชี วิ ต ประจำ � วั น ให้ มี สีสนั ได้ ไม่วา่ จะเป็นบริเวณนัง่ เล่น ห้องครัวและ โต๊ะอาหาร หรือมุมซักรีด ทำ�ให้เกิดบรรยากาศ คุน้ เคย เป็นกันเอง และมอบความรูส้ กึ ปลอดภัย เป็นพิเศษ ตลอดจนออกแบบสภาพแวดล้อมที่ เป็นมิตร เชื้อเชิญให้ครอบครัว ญาติมิตร และ เพื่อนบ้านอยากมาเยือนมากขึ้น "เวลาทำ�งาน ให้กับศูนย์ดูแล เราไม่ได้มองว่าเป็นโปรเจ็กต์ที่ เกิดขึน้ และสิน้ สุดลงในช่วงเวลาหนึง่ แต่เป็นงาน ออกแบบที่เติบโตไปตามบริบทของพื้นที่อย่าง เป็นธรรมชาติมากกว่า" เสียงตอบรับครึกครื้นที่ดังขึ้นทุกปีในงาน ดัตช์ ดีไซน์ วีก อาจเป็นสัญญาณอันน่ายินดีว่า อุตสาหกรรมการออกแบบยังคงเดินหน้าขับ เคลื่อนภาคเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง ขณะ เดียวกัน พลังสร้างสรรค์ของงานออกแบบซึง่ ครัง้ หนึง่ เคยจุดติดขึน้ ในเมืองอัมสเตอร์ดมั โดยกลุม่ นักออกแบบ "โดรก (Droog)" ที่ลุกขึ้นมาปฏิวัติ วงการออกแบบในปลายยุค 90 ก็ยังไม่จางหาย
ไปไหน เพราะนักออกแบบมืออาชีพ คนรุ่นใหม่ ไฟแรง รวมทั้งผู้คนที่หลั่งไหลจากทั่วสารทิศซึ่ง มารวมตัวกันในเทศกาลงานออกแบบแห่งนีต้ า่ ง ก็พยายามมีส่วนร่วมในการออกแบบโลกที่พวก เขาอยากอยู่และอยากให้เป็นเพื่อร่วมกันสร้าง โลกที่ทุกฝ่ายสามารถช่วยกันแก้ปัญหาและอยู่ ร่วมกันได้ด้วยความใส่ใจ
"โดรก" คื อ กลุ่ ม นั ก ออกแบบชาวดั ต ช์ ที่ ป ฏิ วั ติ แ นวคิ ด การ ออกแบบในยุคโพสต์โมเดิรน์ โดยนำ�เสนอเทคโนโลยีเก่า กลับมาสร้างมูลค่าและคุณค่าใหม่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ ในชีวิตประจำ�วัน งานออกแบบที่โดดเด่นด้วยการแฝง อารมณ์ ขั น กั บ ประโยชน์ ใ ช้ ส อยไว้ ภ ายใต้ ดี ไ ซน์ ที่ สวยงามและเรียบง่าย ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์สำ�คัญ ของงานออกแบบดัตช์ ปัจจุบัน โดรกเป็นหนึ่งใน สตูดิโอที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลก มีเรียม ฟาน เดอ ลูบบ์และเอ็ดวาร์ด สเวป (Eduard Sweep) คือหัวหอกคนสำ�คัญที่ร่วมกันก่อตั้ง DDW ขึ้นมาอย่าง เป็นทางการในปี 2000 เพือ่ ให้นกั ออกแบบชาวดัตช์และ นักเรียนนักศึกษามีพื้นที่จัดแสดงงานโดยไม่ต้องส่งนัก ออกแบบไปจัด แสดงงานแฟร์ที่มิลานซึ่ง ต้องใช้ทุน สู ง มาก นอกจากนี้ DDW ยั ง มี ส่ว นช่ ว ยส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรมออกแบบและช่ ว ยกระจายโอกาส ทางธุ ร กิ จ ของนั ก ออกแบบรุ่ น ใหม่ ไ ม่ ใ ห้ ก ระจุ ก ตั ว อยู่แค่ในอัมสเตอร์ดัมเท่านั้น เมืองไอนด์โฮเฟน ได้รับความเสียหายรุนแรงจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ ก็ ส ามารถกลั บ มารุ่ ง โรจน์ ใ นฐานะเบรนพอร์ ต (Brainport) เพราะความพร้อมด้านทรัพยากร บุคคล และ องค์ความรู้ เช่น สถาบันการศึกษาด้านการออกแบบ (Design Academy Eindhoven) มหาวิทยาลัย ด้านเทคโนโลยี (High Tech Campus Eindhoven) โรงงานอุตสาหกรรมและพิพิธภัณฑ์ส่งเสริมความรู้ ของบริษัทยักษ์ใหญ่ ฟิลิปส์ (Philips) โดยได้รับการ สนับสนุนจากรัฐบาลมาโดยตลอด ดัตช์ ดีไซน์ วีก แบ่งพื้นที่จัดแสดงผลงานออกเป็น 3 โซนใหญ่ รวม ทั้งหมด 78 แห่ง ประกอบด้วยผลงานของนักออกแบบ ราว 200 คน ทั้งในรูปแบบกิจกรรม เวิร์กช็อป งาน สัมมนา และนิทรรศการราว 400 งาน ในแต่ละปีมีผู้ เข้าชมประมาณ 150,000 - 200,000 คน ที่มา: ขอบคุณข้อมูลและความช่วยเหลือจากสตูดิโอบูโรบัส, คลิปวิดีโอสัมภาษณ์ "Movie with Mirium van der Lubber on design in Eindhoven” โดย dezeen.com, บทความเชิง วิชาการ “DROOG DESIGN: DUTCH DESIGN” แปลและ ขยายความโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประเทือง ครองอภิรดี ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิกิพิเดีย, cross-innovation.eu, ddw.nl, dsign-magazine.com, iamexpat.nl, vevdl.com พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 23
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
ธนบดี ปั้นดินสู่ดวงดาว เรื่อง: สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์ ภาพ: อดิเดช ชัยวัฒนกุล
เมือ่ เอ่ยถึงงานเซรามิกในประเทศไทย คงมองข้ามจังหวัดลำ�ปางไปไม่ได้ โดยกรมทรัพย์สนิ ทางปัญญาถึงกับมอบรางวัลชนะเลิศ ให้ลำ�ปางเป็นเมืองเซรามิกและเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์อันดับหนึ่ง ทั้งยังได้รับสิทธิบัตรสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ “ชามไก่” เป็นผลิตภัณฑ์จากลำ�ปางเท่านัน้ หลายคนอาจสงสัยว่า “ชามไก่” นัน้ มีทม่ี าอย่างไร และวันนีธ้ รุ กิจได้แตกหน่อต่อยอดไปถึงไหน พนาสิน ธนบดีสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนบดีเดคอร์เซรามิค จำ�กัด ทายาทรุ่นที่สอง ผู้สานต่อเอกลักษณ์ชามไก่ที่ปั้น ธุรกิจสร้างสรรค์ให้แก่แบรนด์ “ธนบดี” จะร่วมตอบคำ�ถามนี้กับเรา ตำ�นาน “ชามไก่” จากยุครุ่งเรืองสู่ความเงียบงัน
“อาปาอี้” ซิมหยู แซ่ฉิน เดินทางจากกรุงเทพฯ ขึ้นไปเชียงใหม่หลังได้ รับคำ�ชักชวนจากเพือ่ นให้รว่ มทำ�เซรามิกประเภทศิลาดล จากนัน้ ในปี 1955 ซิมหยูค้นพบแร่ดินขาวที่บ้านปางค่า อำ�เภอแจ้ห่ม จังหวัดลำ�ปาง อันเป็น วัตถุดิบสำ�คัญในการทำ�เซรามิก เขาตัดสินใจก่อตั้งโรงงานเซรามิกแห่ง แรกขึ้นที่นั่น พร้อมหุ้นส่วนและผู้ช่วยราว 10 คน ผลิต “ชามไก่” จัด จำ�หน่ายทั่วประเทศไทย โดยนำ�รูปแบบจากมณฑลฮกเกี้ยน (ฝูเจี้ยน) ที่ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจีนมาใช้ กิจการของโรงงานเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง ในยุ ค จอมพล ป. พิ บู ล สงครามกั บ นโยบายรั ฐ นิ ย มที่ ป ลุ ก ให้ ค นไทย รู้สึกรักชาติและใช้ของไทย แต่หลังจากนั้นราว 5 ปี ประเทศไทยได้เปิด การค้าเสรี เซรามิกจากต่างประเทศเริม่ เข้ามาตีตลาด ส่งผลให้กจิ การเริม่ ซบเซาจนกระทั่งชามไก่ตกยุคหยุดผลิตตั้งแต่นั้นมา ปลุกชีวิต “ชามไก่” สานต่อ “งานเซรามิก” ก้าวสู่รุ่นทีี่สอง
แม้แรกเริม่ เดิมที พนาสินปฏิเสธทีจ่ ะสืบทอดกิจการจากรุน่ พ่อ แต่ดเี อ็นเอ ของงานเซรามิกในสายเลือดผลักดันให้เขาตัดสินใจปลุกธุรกิจเซรามิกให้ มีชีวิตอีกครั้ง โดยฉีกรูปแบบจากที่เคยผลิตแต่ชามไก่ สู่ผลิตภัณฑ์ของ ตกแต่งบ้านและชุดเครื่องใช้ในห้องนํ้า เพื่อขยายตลาดและสร้างภาพ ลักษณ์ใหม่ให้กับงานเซรามิก ในปี 1990 พนาสินก่อตั้งบริษัท ธนบดีอาร์ต เซรามิค จำ�กัด โดยริเริม่ นำ�รูปลอกเซรามิกมาใช้เป็นเจ้าแรกทางภาคเหนือ ช่วง 3 ปีแรก สินค้าของเขาขายไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ เขาพบว่า “สินค้าสวย สินค้าดี ราคาถูก” ไม่ได้เป็นเครื่องการันตีว่าจะขายได้เสมอไป อีกทั้ง ตัวเองไม่มพี นื้ ฐานทางด้านธุรกิจและการตลาด ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึง ตัวแทนจำ�หน่ายเพื่อช่วยกระจายสินค้าได้ และนั่นถือเป็นโจทย์ใหม่ที่ พนาสินจะต้องปรับปรุงผลิตภัณฑ์ พร้อมหาช่องทางในการเข้าถึงผู้จัด จำ�หน่าย ฝ่ายจัดซือ้ และผูบ้ ริโภค ในทีส่ ดุ ทีมงานตัดสินใจเลือกใช้งานจัด แสดงสินค้าเป็นเครื่องมือทางการตลาด เช่น การออกงานจัดแสดงสินค้า 24 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
CREATIVE ENTREPRENEUR คิด ทำ� กิน
BIG+BIH เข้าร่วมงานกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ฯลฯ และนั่นทำ�ให้ แบรนด์ “ธนบดี” เริม่ เป็นทีร่ จู้ กั ทัง้ ในและนอกประเทศ ในปี 1997 พนาสิน เริ่มผลิตชามไก่ในรูปแบบดั้งเดิม ด้วยเล็งเห็นความสำ�คัญของต้นกำ�เนิด ของแบรนด์ธนบดี ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดี ทำ�ให้กระแสความนิยม ของชามไก่ฟื้นกลับมาอีกครั้ง พนาสินตัดสินใจสร้างพิพิธภัณฑ์เซรามิก ธนบดีในเวลาต่อมา เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวพร้อมทั้งอนุรักษ์องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นแก่คนรุ่นหลัง ในปี 2003 พนาสินได้ก่อตั้งบริษัท ธนบดี เดคอร์เซรามิค จำ�กัด เพื่อขยายฐานการผลิตสินค้าพร้อมตอบสนอง ความต้องการของตลาดโลก ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยและรักษา สิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของธนบดีแบ่งออกเป็น 4 หมวดหมู่ คือ ผลิตภัณฑ์สำ�หรับตกแต่งบ้าน อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร ของที่ระลึก และ กระเบื้องเซรามิก โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ไปกว่า 67 ประเทศทั่วโลก อัตลักษณ์ของแบรนด์ “ธนบดี”
ใช่ว่าเทคโนโลยีที่ก้าวไกลจะทำ�ให้อัตลักษณ์ของธนบดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะแก่นแท้ของแบรนด์คือ ผลิตภัณฑ์เซรามิกของตกแต่งบ้านแนว ธรรมชาติที่ผสมผสานงานออกแบบและภูมิปัญญาที่อยู่รอบตัว ซึ่งเป็น เหตุผลหลักที่ธนบดียังคงใช้ช่างฝีมือกว่า 100 ชีวิตในการสร้างลวดลาย พร้อมระบบการผลิตแบบกึ่งอุตสาหกรรม ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นมี เสน่ห์เฉพาะตัว แตกต่างจากการติดรูปลอกเซรามิกที่ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์ทุก ชิ้นเหมือนกัน (รูปลอกเซรามิกจะถูกนำ�มาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภท ของที่ระลึกและชุดบูชา) โดยเครื่องมือที่ใช้ในงานตกแต่งเซรามิกล้วนมา จากสิ่งของรอบตัวที่เราอาจคาดไม่ถึง และบางครั้งเกิดจากการพลิก อุปสรรคให้เป็นโอกาส เช่น การใช้หวีเสนียดและที่กลิ้งผ้าแบบฟันแหลม ในการสร้างลวดลาย การใช้ทปี่ ลอกมะละกอในการตกแต่งพืน้ ผิว หรือการ ใช้ฝุ่นผงสนิมมาประยุกต์ใช้กับเทคนิคฝัง (Inlay) สร้างลวดลายสีนํ้าตาล แดงในบริเวณที่มีการเซาะร่อง ฯลฯ “งานวิจัย” หัวใจหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
พนาสินมีนโยบายสร้างนวัตกรรมที่สามารถจดสิทธิบัตรพร้อมขายได้ใน เชิงพาณิชย์อย่างน้อยปีละ 1 เรื่อง แต่นั่นไม่ใช่เรื่องง่าย ช่วง 6 ปีหลังจาก
มีนโยบายนี้ แม้ธนบดีจะสามารถคิดค้นนวัตกรรมได้เพียง 2 ชิ้น แต่เป็น นวัตกรรมที่สามารถสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างไปตลาดเซรามิกที่ เคยพบ นวัตกรรมชิ้นแรก เป็นการตกแต่งพื้นผิวเซรามิกด้วยวิธีพ่นทราย โดยประยุกต์ลวดลายจากวิถีชีวิตชาวบ้าน อาทิ การนำ�งานสานไม้ไผ่มา เป็นต้นแบบในการพ่นทรายบนเซรามิก ส่วนชิ้นที่ 2 คือการคิดค้นเทคนิค การทำ�กระเบื้องพอร์ซเลนแบบแฮนด์เมด ด้วยกรรมวิธีการรีดเนื้อดินเป็น แผ่น ซึ่งแตกต่างจากวิธีเดิมที่ใช้เทคนิคการอัดด้วยผงดิน วิธีใหม่นี้ทำ�ให้ เนื้อดินมีความหนาแน่นเสมอกัน ช่วยให้กระเบื้องบางลงร้อยละ 50 มีค่า ความแกร่งสูงกว่าเดิม 2 เท่า นํ้าหนักเบากว่าเดิมราวร้อยละ 30 และยัง ช่วยประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงด้านการขนส่ง เพราะความบางของ กระเบื้องทำ�ให้การขนส่งต่อเที่ยวมีปริมาณมากขึ้นกว่าเดิม Tips for Entrepreneurs • “สินค้าสวย สินค้าดี ราคาถูก” ไม่ได้เป็นเครือ่ งการันตีวา่ จะขายได้เสมอ ไป เราจำ�เป็นต้องเรียนรู้ด้านธุรกิจและการตลาดเพื่อหาช่องทางการ จำ�หน่ายสินค้าที่เหมาะสม • การออกงานจัดแสดงสินค้าเป็นอีกเครื่องมือทางการตลาดหนึ่งเพื่อเข้า ถึงผู้จัดจำ�หน่าย ฝ่ายจัดซื้อ และผู้บริโภค • งานวิจัยเป็นหัวใจหลักในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นบนผลิตภัณฑ์ • อย่าลืมกำ�พืดของตนเอง เพราะนัน่ คือ “รากเหง้า” ในการสร้างอัตลักษณ์ ให้เกิดขึ้นกับแบรนด์ของเรา และไม่มีใครสามารถขโมย “คุณค่า” จากตัว ตนของเราไปได้ สิง่ เหล่านีค้ อื คุณค่าทีแ่ สดงถึงอัตลักษณ์ภมู ปิ ญั ญาท้องถิน่ ที่เราสามารถพลิกให้เป็นธุรกิจได้เสมอ dhanabadee.com พบแนวคิ ด ใหม่ จ ากผู ้ ป ระกอบการไทยที่ น�ำความคิ ด สร้ า งสรรค์ ม าสร้ า งเป็ น มู ล ค่ า เพิ่ ม ให้ กั บ สิ น ค้ า และ บริการได้ที่ TCDCconnect.com เว็บไซต์ทรี่ วบรวมรายชือ่ และผลงานของนักออกแบบ ผู้ผลิต และผู้ประกอบการ จากทุ ก อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ ใ นประเทศไทยไว้ ใ น ที่เดียวกัน
พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 25
TAIPEI
The Capital of Design เรื่อง: ณัฏฐนิช ตัณมานะศิริ
เช่นเดียวกับที่ไต้หวันก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตชิปและ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ท่ีใหญ่ที่สุดของโลกมาเป็นเวลานับสิบปี การที่ไทเปได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมด้านการ ออกแบบระดับนานาชาติอย่าง IDA (International Design Alliance) Congress 2011 และ WDC (World Design Capital) ในปี 2016 นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่ เกิดจากการกำ�หนดยุทธศาสตร์และความเอาจริงเอาจังของ รัฐบาลทีม่ องเห็นความสำ�คัญ รวมถึงการให้ความร่วมมือของภาค เอกชนและประชาชน อย่างไรก็ดี คำ�ถามสำ�คัญอยูท่ ว่ี า่ เพราะเหตุใดในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา ประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการผลิต ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลกอย่างไต้หวัน จึงต้องหันมาให้ ความสำ�คัญกับการออกแบบ ถึงขัน้ ทีก่ �ำ หนดให้ปี 2011 ซึง่ ตรงกับ โอกาสครบรอบ 100 ปีของการสถาปนาประเทศไต้หวันเป็น “ปีแห่งการออกแบบ”
26 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
flickr.com/photo/andyenero
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
flickr.com/photos/33748728@N02
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
แหล่งกำ�เนิดชิ้นส่วนไอที
เมื่อการออกแบบคือคำ�ตอบ
ไต้หวันนับเป็นหนึง่ ในผูเ้ ล่นสำ�คัญของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของโลก คงจะไม่ผดิ หากจะกล่าวว่า ทุกวันนีไ้ ม่วา่ จะเป็นโทรศัพท์มอื ถือ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไอทีชั้นนำ�ยี่ห้อใด ก็จะต้องมีชิ้นส่วนชิ้นใดชิ้นหนึ่งที่ผลิตขึ้น ในโรงงานบนเกาะไต้หวันเกือบทั้งสิ้น เมื่อครั้งที่รัฐบาลไต้หวันต้องการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศจาก อุตสาหกรรมประเภทใช้แรงงานเข้าสู่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี ในปี 1973 ได้มกี ารจัดสรรเงินทุนเพือ่ รวมสถาบันวิจยั ด้านเทคโนโลยี 3 แห่งเข้าด้วยกัน และก่อตั้งเป็น ITRI (Industrial Technology Research Institute) สถาบัน เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ให้เป็นหัวหอกสำ�คัญใน การสร้างความเข้มแข็งแก่อตุ สาหกรรมไฮเทคของไต้หวัน โดยมีเป้าหมาย มุ่งสร้างธุรกิจใหม่บนฐานของการสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีของ ตนเอง ทำ�ให้ไม่ต้องพึ่งพาการนำ�เข้าเทคโนโลยีจากต่างชาติ เริ่มต้นจาก การร่วมทุนกับบริษัทฟิลิปส์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชิปไมโคร อิเล็กทรอนิกส์มาผลิตในประเทศ โดย ITRI เป็นผู้วิจัยและผลักดันจนเกิด เป็น TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Company) บริษัทไต้หวันบริษัทแรกที่ได้เข้าสู่ตลาดหุ้นนิวยอร์กในปี 1997 และครอง ตำ�แหน่งผูน้ �ำ การผลิตชิปไมโครอิเล็กทรอนิกส์ทใี่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลกในปัจจุบนั
การเกิดขึ้นของ TSMC และผู้ประกอบการรายอื่นๆ ทั้งในไต้หวันและต่าง ประเทศ อาทิ UMC, Intel และ SanDisk ที่ตั้งตัวเป็นผู้รับจ้างผลิตชิ้นส่วน ต่างๆ (OEM: Original Equipment Manufacturer) ให้แก่บรรดาบริษทั ชัน้ นำ�เพือ่ ประกอบเป็นอุปกรณ์อเิ ล็กทรอนิกส์โดยไม่ตอ้ งพัฒนาและออกแบบ ผลิตภัณฑ์เองนัน้ เรียกว่าเป็นการปฏิวตั โิ ครงสร้างสายการผลิตของบริษัท ชัน้ นำ�ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เลยก็วา่ ได้ เพราะเท่ากับว่าบทบาทใน สายการผลิตสินค้าจะถูกแบ่งย่อยออกไปยังผู้ผลิตจำ�นวนมากขึ้น บริษัท ชั้นนำ�ไม่จำ�เป็นจะต้องมีส่วนงานด้านกำ�ลังการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ภายใต้ การดำ�เนินการของตนเองอีกต่อไป แต่ขณะเดียวกันฝ่ายผูร้ บั จ้างผลิตอย่าง TSMC ก็ต้องหันมาลงทุนกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิม่ ความสามารถใน การผลิตให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดมากขึน้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลที่อุตสาหกรรม ชิ้ น ส่ ว นอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ เ ป็ น อุ ต สาหกรรมต้ น นํ้ า ซึ่ ง ขาดไม่ ไ ด้ สำ � หรั บ อุตสาหกรรมอืน่ ซึง่ สามารถนำ�ไปสูก่ ารสร้างมูลค่าเพิม่ ได้มากและมีความ เสี่ยงน้อย ทั้งยังช่วยลดการพึ่งพาและทดแทนการนำ�เข้าเทคโนโลยีจาก ต่างประเทศ ทำ�ให้จำ�นวนผู้ผลิตคู่แข่งที่กระโจนเข้าสู่สนามการผลิตเพิ่ม ขึน้ ตามความต้องการของตลาดเทคโนโลยี เพือ่ รับมือกับความเปลีย่ นแปลง พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 27
ทีเ่ กิดขึน้ รัฐบาลไต้หวันจึงร่วมมือกับภาคเอกชนผลักดันให้ผปู้ ระกอบการ ไต้หวันค่อยๆ พัฒนาตัวเองจากการเป็นผู้รับจ้างผลิต มาเป็นผู้ผลิตที่ สามารถพัฒนาดีไซน์และรูปแบบสินค้าได้เอง (ODM: Original Design Manufacturer) ด้วยนโยบายสนับสนุนผู้ประกอบการด้านนวัตกรรม ทั้ง ในด้านเงินทุน การตลาด และโดยเฉพาะการวิจยั และพัฒนาซึง่ มี ITRI เป็น หัวเรือใหญ่ ดร.ลูอิส เฉิน ผู้อำ�นวยการศูนย์บ่มเพาะและพัฒนาธุรกิจใหม่ของ ITRI รายงานว่าปัจจุบัน ITRI มีสิทธิบัตรรวมกันมากกว่า 20,000 ฉบับ โดย มีการยื่นจดสิทธิบัตรเฉลี่ยวันละ 5 เรื่อง ซึ่งนำ�ไปสู่การสร้างธุรกิจใหม่ จำ�นวนมาก โดยในช่วงปี 1982-2013 ITRI สามารถก่อตั้งบริษัทได้ถึง 89 แห่ง ทั้งยังถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เอกชนภายนอกอีก 681 เทคโนโลยี ด้วยผลจากความร่วมมือและสนับสนุนอย่างเต็มกำ�ลังของภาครัฐและ เอกชน จนถึงทุกวันนี้ ผูป้ ระกอบการไต้หวันจำ�นวนมากจึงไม่เพียงก้าวขึน้ เป็นผู้ผลิตที่พัฒนาดีไซน์และรูปแบบสินค้าเอง แต่ยังเติบโตไปเป็นผูผ้ ลิต ที่สร้างแบรนด์เป็นของตนเอง (OBM: Original Brand Manufacturer) และเป็นที่คุ้นเคยในระดับโลก เช่น บริษัท Acer ผู้นำ�ตลาดพีซีหนึ่งในห้า อันดับแรกของโลก ตลอดจน HTC, Asus, Trend Micro, Giant, Merida, D-Link และ Transcend
ปีแห่งการออกแบบ ไต้หวันเดินหน้าเพือ่ ก้าวเข้าสูก่ ารเป็นทีย่ อมรับในอุตสาหกรรมการออกแบบ อย่างต่อเนือ่ ง โดยในปี 2007 ได้มกี ารเสนอชือ่ ไทเปให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน IDA 2011 งานประชุมใหญ่ดา้ นการออกแบบระดับโลกทีจ่ ดั ขึน้ ทุก 6 ปี ซึง่ ไทเปเอาชนะเมืองอื่นๆ ที่เสนอชื่อเป็นเจ้าภาพอย่างมอนทรีออล เซวิลล์ เมลเบิรน์ ปารีส บูเอโนสไอเรส และกรุงเทพฯ มาได้ ด้วยการสนับสนุนจาก รัฐบาลไต้หวันทีพ่ ร้อมสนับสนุนเงินทุนในการจัดงานเป็นจำ�นวนถึง 4.5 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ จากเงินทุนที่ต้องใช้ทั้งหมด 7.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 28 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
flickr.com/photos/rayyu
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
ส่ ว นที่ เ หลื อ ได้ รั บ การสนั บ สนุ น จากภาคอุ ต สาหกรรมท้ อ งถิ่ น ที่ มี ความเข้มแข็ง โดยนอกจาก IDA 2011 จะถือเป็นงานด้านการออกแบบ ระดับนานาชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดขึ้นในไต้หวันซึ่งเป็นโอกาสดีที่จะ ประชาสั ม พั น ธ์ วิ สั ย ทั ศ น์ ด้ า นการออกแบบของประเทศและกระตุ้ น เศรษฐกิจของเมืองแล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่คณะกรรมการเลือกจัดงานใน ประเทศในเอเชียอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลไต้หวันยังกำ�หนดให้ปี 2011 ซึ่งตรงกับโอกาส ครบรอบ 100 ปีของการสถาปนาประเทศให้เป็น “ปีแห่งการออกแบบ” โดยตลอดปีจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนงานด้านการออกแบบทั่วทั้ง ประเทศ มีการยกระดับ “งานนิทรรศการงานออกแบบไต้หวัน (Taiwan Design Exposition)” ซึ่งปกติจัดขึ้นทุกปีให้เป็น “งานนิทรรศการงาน ออกแบบนานาชาติ (Taipei World Design Expo)” ซึ่งรวบรวมผลงาน ออกแบบกว่า 6,000 ชิ้นจากนักออกแบบชาวไต้หวันและชาวต่างชาติกว่า 1,200 คน โดยมีผเู้ ข้าร่วมงานทีเ่ ป็นนักออกแบบจากองค์กร 55 แห่ง บริษทั ด้านการออกแบบ 50 แห่ง โรงเรียนสอนการออกแบบ 26 แห่ง องค์กร สนับสนุนงานด้านการออกแบบ 43 รวมทั้งหมด 34 ประเทศ นอกจากนี้ ในโอกาสที่แสงสปอตไลท์จะฉายมาที่เกาะเล็กๆ แต่ไม่ ธรรมดาแห่งนี้ รัฐบาลยังถือโอกาสเปิดตัว TDC (Taiwan Design Center) หน่วยงานแห่งชาติซึ่งในอดีตทำ�หน้าที่บ่มเพาะและพัฒนาอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์ในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ และการทำ�การ ตลาดให้ แ ก่ ผู้ ป ระกอบการในนิ ค มอุ ต สาหกรรมซอฟต์ แ วร์ ห นานกั่ ง (Nankang Software Park) ซึ่งเป็นแหล่งรวมวิสาหกิจด้านซอฟต์แวร์ใน
CREATIVE CITY จับกระแสเมืองสร้างสรรค์
เขตชานเมืองตะวันออกของไทเป ก่อนที่จะย้ายมาตั้งอยู่ที่ Songshan Cultural and Creative Park ศูนย์รวมสร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางเมือง ไทเปในปี 2010 เพื่ อ ให้ เ ข้ า ถึ ง ประชาชนทั่ ว ไปมากขึ้ น ด้ ว ยบริ ก ารที่ หลากหลาย เช่น ห้องสมุดด้านการออกแบบ ห้องสมุดวัสดุ พิพิธภัณฑ์ นิ ท รรศการนั ก ออกแบบรุ่ น ใหม่ ศู น ย์ ใ ห้ คำ � ปรึ ก ษาด้ า นการทำ � ธุ ร กิ จ กิจกรรมสัมมนา ชมรมนักออกแบบ ฯลฯ โดยสองในสามของเงินทุนที่ TDC ใช้ในการดำ�เนินงานได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล และส่วนที่เหลือ มาจากบริษัทเอกชนชั้นนำ� อาทิ Acer, BenQ, Asustek Computer ฯลฯ
ก้าวที่ยั่งยืน แม้ว่าปีแห่งการออกแบบของไต้หวันจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่จิตวิญญาณที่ มุง่ มัน่ จะปลูกฝังให้การออกแบบกลายเป็นองค์ความรูแ้ ละเครือ่ งมือทีจ่ ะช่วย นำ�พาประเทศไปสู่ความมั่นคงก็ไม่ได้จางหายไปด้วย เพราะหลังจากนั้น ไม่นานไทเปก็ได้เสนอชื่อและได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงาน WDC (World Design Capital) ในปี 2016 ทีก่ �ำ ลังจะมาถึง โดยเกณฑ์การคัดเลือก จากคณะกรรมการพิจารณาจากการออกแบบที่มีผลสะท้อนที่มีต่อพื้นที่ เศรษฐกิจ และประชาชนผู้อาศัยในเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีว่าการ เปลีย่ นแปลงของไทเปและไต้หวันจากการคิดเชิงออกแบบจะเป็นทีจ่ บั ตามอง ของทัว่ โลกไปยิง่ ขึน้ กว่าทีเ่ คย “ในช่วงสองปีทผี่ า่ นมา นับตัง้ แต่เสนอชือ่ เป็นเจ้าภาพงาน WDC 2016 เมืองไทเปพยายามทีจ่ ะส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบในการกำ�หนด นโยบายของรัฐ ซึง่ ทำ�ให้เกิดการนำ�เสนองานด้านนวัตกรรมใหม่ๆ จำ�นวน มาก ในขณะเดียวกัน นักออกแบบท้องถิ่นก็มีความกระตือรือร้นที่จะ กระตุ้นให้ประชาชนมาร่วมกันค้นหาวิธีทำ�ให้เมืองมีความน่าอยู่ย่ิงขึ้น เราได้ค้นพบว่าการร่วมมือระหว่างนักออกแบบ การสนับสนุนจากรัฐ และ ความร่วมมือของประชาชน กำ�ลังค่อยๆ พลิกโฉมหน้าใหม่ให้แก่ไทเป ทีละน้อย และเราจะพยายามต่อไปในสองปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาและ เปลี่ยนแปลงไทเปให้เป็นเมืองที่มีความสามารถในการปรับตัวโดยมี ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (People-Oriented Adaptive City) ให้ได้” นายกเทศมนตรีเมืองไทเป เหวยกง หลิวกล่าว
วิจัยคือหัวใจ หัวใจสำ�คัญที่แท้จริงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไต้หวัน คือการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มกำ�ลังจากรัฐบาล โดย มุ่งเน้นให้นักวิจัยผลิตผลงานที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมและสามารถนำ�ไปใช้ได้จริง โดยในปี 2012 ไต้หวันเป็นประเทศที่มีค่าใช้จ่ายสำ�หรับการวิจัยและพัฒนาคิดเป็น ร้อยละ 3.1 ของจีดีพี ซึ่งสูงเป็นอันดับสามของเอเชียแปซิฟิก รองจากเกาหลีใต้ (ร้อยละ 4.4) และญีป่ นุ่ (ร้อยละ 3.4) นำ�หน้าสหรัฐอเมริกาและสิงคโปร์ซง่ึ มีคา่ ใช้จา่ ย อยู่ที่ร้อยละ 2.8 และร้อยละ 2 ของจีดีพีตามลำ�ดับ ไต้หวันไม่เพียงโดดเด่นในด้านอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว แต่ยงั เป็นหนึง่ ใน ผูน้ �ำ ในการพัฒนาพันธุไ์ ม้ดอกไม้ประดับหลากชนิด ซึง่ เริม่ เป็นทีส่ นใจของตลาดต่าง ประเทศตัง้ แต่ปี 1966 เมือ่ ดอกกุหลาบตีตลาดในฮ่องกง และผูน้ �ำ เข้าญีป่ นุ่ เริม่ จัดซือ้ ดอกเบญจมาศและดอกแกลดิโอลัสจากไต้หวันในปี 1972 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความสำ�เร็จในการพัฒนาพันธุก์ ล้วยไม้ของผูป้ ระกอบการไต้หวันมีความโดดเด่นมาก จนได้รบั สมญานามใหม่วา่ “ดินแดนแห่งกล้วยไม้” โดยคว้าตำ�แหน่งการเป็นผูส้ ง่ ออก กล้วยไม้อันดับหนึ่งของโลกแทนที่ประเทศไทยในปี 2005 ด้วยมูลค่าการส่งออก 8.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งสูงกว่าปีก่อนหน้าถึงสองเท่าตัว ปัจจุบนั ไต้หวันยังถือครองสิทธิบตั รในพันธุก์ ล้วยไม้จ�ำ นวนมาก โดยจากสถิตขิ อง สภาเกษตรไต้หวัน จนถึงสิน้ เดือนมิถนุ ายน 2012 มีการจดสิทธิบตั รพันธุก์ ล้วยไม้ใน ไต้หวันจำ�นวน 628 รายการ แบ่งเป็นสกุล Doritaenopsis ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมระหว่าง กล้วยไม้สกุลม้าวิง่ (Doritis) กับสกุลฟาแลนนอปซิส 418 รายการ สกุลฟาแลนนอปซิส (Phalaenopsis) 155 รายการ สกุลออนซิเดียม (Oncidium) 42 รายการ และสกุล อื่นๆ อีก 13 รายการ ที่มา: บทความ “Taiwan’s R&D spending tops 3 percent of GDP” (16 กรกฎาคม 2014) จาก taiwantoday.tw, เอกสาร “ภาวะตลาดสินค้ากล้วยไม้ในไต้หวัน” (กุมภาพันธ์ 2556) โดย กรม ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ จาก ditp.go.th flickr.com/photosreal-poneglyph
ที่มา: หนังสือ How We Compete: What Companies Around the World Are Doing to Make it in Today’s Global Economy (2005) หน้า 78-82 โดย Suzanne Berger, บทความ “ความสัมพันธ์ จีนแผ่นดินใหญ - ไต้หวัน ในยุคแห่งความร่วมมือ และบทบาทของมณฑลฝูเจี้ยน” (18 กรกฎาคม 2013) จาก thaibiizchina.com, บทความ “คัมภีร์รบนอกบ้านฉบับไต้หวัน” (9 ตุลาคม 2013) จาก bangkokbiznews.com, บทความ “บทเรียนจากไต้หวัน” (12 กันยายน 2013) จาก nstda. or.th, บทความ “ไต้หวันกับการเป็นศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจของภูมิภาค” (18 พฤศจิกายน 2007) จาก manager.co.th, บทความ “ITRI” (12 มิถุนายน 2014 จาก bangkokbiznews.com, บทความ “Taipei beats Montreal, Melbourne to host International Design Alliance congress” (18 ตุลาคม 2007) จาก taiwantoday.tw, บทความ “Taiwan semiconductor industry undergoing structural shift” (24 กันยายน 2012) จาก pwc.tw, บทความ “The 2011 Taipei World Design Expo” (14 กันยายน 2011) จาก english.taipei.gov.tw, บทความ “World Design Capital: Passing the Baton to Taipei City” (20 ตุลาคม 2014) จาก businesswire.com, เอกสาร “อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์” โดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จาก dtn.go.th, วิกพิ เี ดีย
พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 29
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
MA X
TH
E
CO M
MU
NI
CA TO R
IN
FR
TH
E
W OR
LD
เรื่อง: ธัญญพร จารุกิตติคุณ แปลและเรียบเรียง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ และ ธัญญพร จารุกิตติคุณ
30 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
AS E
OF
DE
SI
GN
R
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
เมื่อพูดถึงเทศกาลงานออกแบบ “ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล” ถือเป็นอีกหนึ่งงานที่หลายคนจะนึกถึงเป็นอันดับแรกๆ “แม็กซ์ เฟรเซอร์” คือผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำ�เร็จของงานที่ทุกคนใน วงการออกแบบให้การยอมรับ นอกจากที่จะเต็มไปด้วยพลัง ในการผลักดันวงการออกแบบร่วมสมัยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ด้วยประสบการณ์และมุมมองของเขา แม็กซ์ยังเข้าถึงอินไซต์ ของทั้งผู้จัดงานและผู้เข้าชมงาน ตลอดจนกลยุทธ์มากมายที่จะ มัดใจสือ่ ทัว่ โลกเพือ่ ปักหมุดเทศกาลออกแบบแห่งเมืองลอนดอน ให้เป็นที่รู้จัก บทสัมภาษณ์นจี้ งึ สะท้อนถึงพรสวรรค์ของแม็กซ์จากการได้ คลุกคลีกับงานออกแบบ ผ่านการวิพาษ์วิจารณ์ การจัด อีเวนต์ เขียนหนังสือ รวมไปถึงการตั้งสำ�นักพิมพ์เป็นของตนเอง และหา โอกาสทีจ่ ะร่วมบทสนทนากับเหล่าดีไซเนอร์ ทัง้ ในวงการออกแบบ อังกฤษและทัว่ โลก เพราะผูจ้ ดั งานเทศกาลงานออกแบบทีด่ ไี ด้นนั้ ต้องไม่เพียงแค่จดั การชิน้ งานจัดแสดง แต่ยงั ต้องจัดการ สือ่ สาร และออกแบบเนื้อหาอันเป็นแก่นของงานให้คนทั่วไปได้เข้าใจและ เข้าถึงได้อีกด้วย ช่วยแนะนำ�ตัวให้ ได้รู้จักคุณแบบสั้นๆ
ผมเป็นคนลอนดอน อายุ 34 ปี ตอนนี้เป็นรองผู้อำ�นวยการการจัดงาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล และบรรณาธิการหนังสือ ลอนดอน ดีไซน์ ไกด์ ซึง่ เป็นหนึง่ ในหนังสือเล่มแรกของสำ�นักพิมพ์ทผี่ มตัง้ ขึน้ งานของผมหลักๆ ตอนนี้ คือการสนับสนุนงานดีไซน์ผ่านการประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ ตั้งแต่หนังสือ นิตยสาร นิทรรศการ ไปจนถึงเทศกาล คุณเข้ามาทำ�งานในลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล ได้อย่างไร
ในช่วงแรก ผมจะคลุกคลีอยู่กับการแสดงนิทรรศการและการเปิดตัว หนังสือเพื่อโปรโมทงานระหว่างที่มีเทศกาลจัดอยู่ ด้วยเหตุนี้ผมจึงผูกพัน กับงานนี้มาโดยตลอด แต่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของทีมจัดงานจริงๆ ก็ในปี 2012 ในฐานะรองผู้อำ�นวยการการจัดงานลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล เราสนับสนุนย่านที่ ใช้การออกแบบ แต่ก็ ไม่ ได้เข้าไป จัดการให้พวกเขา สิ่งที่เราทำ� คือเพียงหาวิธีสนับสนุน งานออกแบบของแต่ละย่านเท่านั้นเอง
จุดเริ่มต้นของงานลอนดอน ดี ไซน์ เฟสติวัล คืออะไร เกิดจาก ตั ว เมื อ งลอนดอนเองหรื อ ความสามารถของงานออกแบบใน ลอนดอน
งานลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัลเริ่มต้นในปี 2003 ซึ่งช่วงนั้นมีอีเวนต์ย่อย เกี่ยวกับงานดีไซน์เพียง 30 งานที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วเมือง รวมทั้งงาน 100% Design ตัวงานมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมให้ผู้ประกอบการได้พบกับ ผู้สนใจงานดีไซน์ในวงกว้างขึ้น หลายปีที่ผ่านมามีจำ�นวนงานอีเวนต์และ ผู้ เ ข้ า ร่ ว มงานจากทั่ ว โลกเพิ่ ม ขึ้ น อั น ที่ จ ริ ง ลอนดอนเป็ น เมื อ งที่ มี นักออกแบบที่มีความสามารถมากมายและหลากหลายทักษะ เป็นเมืองที่ บ่มเพาะดีไซเนอร์และธุรกิจสร้างสรรค์ อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมของคน หลากหลายเชื้อชาติ แต่ถ้าจะพูดในแง่ของเมือง ด้วยความที่ผังเมืองนั้น ซับซ้อนและยากในการจัดงานเทศกาล ผมจึงคิดว่าจุดเริ่มต้นที่แท้จริง ก็ คือ ศัก ยภาพของงานออกแบบในลอนดอนนี่แหละ ที่ ทำ� ให้ เกิ ดงาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัลขึ้น ท่ามกลางงานออกแบบทัง้ ในอังกฤษและยุโรป คุณคิดว่างานลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล มีบทบาทอย่างไร
ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัลเป็นหนึ่งในช่วงเวลาแห่งการเฉลิมฉลองให้แก่ การงานออกแบบในปฏิทินงานประจำ�ปี โดยในช่วงเริ่มต้นมีผู้จัดอีเวนต์ ทีม่ คี วามสามารถในยุโรปและทัว่ โลกมาเข้าร่วมกับลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวลั จำ�นวนมาก จนสามารถดึงดูดผู้ประกอบการและผู้เข้าชมงานมากมาย ตลอดหลายปีทจี่ ดั งานมา และในวันนี้ ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวลั ก็ได้กลาย เป็นหนึ่งในงานดีไซน์อีเวนต์ที่สำ�คัญที่สุดที่จะต้องเข้าร่วม ช่วยอธิบายเรื่องธีมงานในแต่ละปี ให้ฟังหน่อยได้ ไหมว่าได้ ไอเดีย หลักมาอย่างไร
แต่ละปี เราจะทำ�งานร่วมกับสตูดโิ อออกแบบ Pentagram ในการออกแบบ ธีมงาน โดยให้ทางสตูดิโอคิดธีมแบบไม่จำ�กัดไอเดียก่อนที่จะมาเสนอให้ เราเลือก และสตูดโิ อนีก้ ท็ �ำ เราเซอร์ไพรส์ทกุ ครัง้ ส่วนแกนหลักของธีมงาน ‘Design is Everywhere’ ของปีที่แล้ว คือการสื่อให้เห็นว่างานออกแบบ แทรกซึมอยู่ในทุกส่วนของวิถีชีวิตไม่ได้เฉพาะแค่ของหรูหราบนแท่นโชว์ งานดีออกแบบอาจเป็นสิง่ ทีเ่ ราไม่ทนั ได้สงั เกต ในทุกๆ วันเราใช้ประโยชน์ จากงานออกแบบจนกลมกลืนไปกับชีวิตของเราแล้ว และนั่นคืองาน ออกแบบที่ดีที่สุด สำ�หรับธีมในปีนี้คือ ‘Lose Yourself in Design’ เป็นการท้าทายให้ ผูค้ นได้เปิดใจเข้ามาสำ�รวจงานดีไซน์ทซี่ อ่ นอยูใ่ นความซับซ้อนคล้ายวงกต ของแปลนเมืองลอนดอน พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 31
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
ทราบว่าทีมจัดงานเป็นทีมงานเล็กๆ แล้วคุณจัดการกับงานใหญ่ เช่นนี้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างไร
บางครั้งผมก็สงสัยเหมือนคุณนั่นล่ะ ทีมงานของเราเล็กจริงๆ เพราะมีกัน แค่ 7 คน แต่เพราะเราเตรียมงานนี้กันอย่างจริงจังมาตลอดทั้งปี จึง สามารถจัดการเรือ่ งหลายเรือ่ งไว้ลว่ งหน้าก่อนทีช่ ว่ งเวลายุง่ จริงๆ จะมาถึง พอใกล้ถงึ วันงานเรายังจ้างคนมาช่วยมากขึน้ และทำ�งานร่วมกับผูร้ บั เหมา ย่อยอีกหลายราย
ลอนดอนเป็นเมืองทีม่ รี ากฐานของความคิดสร้างสรรค์ ที่แข็งแรงอยู่แล้ว แม้จะขึ้นชื่อเรื่องค่าครองชีพที่แสน แพง แต่กม็ คี วามหลากหลายทางวัฒนธรรมและดึงดูด ผู้มีพรสวรรค์จากทั่วโลก
เห็นว่าในงาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล มีการจัดงานอยู่ในหลายๆ ย่านทั่วลอนดอน คุณเลือกพวกเขาให้มาเข้าร่วมงานอย่างไร หรือ พวกเขาเป็นคนตัดสินใจอยากมาร่วมงานเอง
สำ�หรับงานที่ต้องอาศัยเงินทุนจากบริษัทใหญ่ๆ อย่างโครงการ Landmark คุ ณ ทำ � ให้ ส ปอนเซอร์ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ของงานดี ไ ซน์ ไ ด้ อย่างไร และคุณทำ�อย่างไรให้ดีไซเนอร์ท�ำ งานร่วมกับสปอนเซอร์ ได้
โดยทัว่ ไปแล้ว แต่ละย่านในลอนดอนมีการจัดอีเวนต์เกีย่ วกับงานออกแบบ อยู่แล้ว เราแค่เข้าไปสนับสนุนพวกเขา แต่ก็ไม่ได้เข้าไปจัดการให้ โดย เกณฑ์การคัดเลือกผู้ที่จะเข้าร่วมงานของเรา คือย่านนั้นๆ ต้องมีการจัด อีเวนต์อย่างน้อย 10 อีเวนต์เพื่อให้สามารถเดินถึงกันได้ในเวลา 15 นาที แต่ตอนนีม้ ยี า่ นเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ เราจึงต้องระมัดระวังเรือ่ งการคัดเลือกแต่ละ ย่านมาร่วมงาน เพราะมันมีเยอะมากจริงๆ
มีบริษัทที่เห็นประโยชน์และคุณค่าของงานดีไซน์สนใจอยากร่วมงานกับ เรามากขึน้ เรือ่ ยๆ เราเพียงกระตุน้ ให้พวกเขาเชือ่ และกล้าทีจ่ ะใช้ความคิด สร้างสรรค์ในโปรเจ็กต์ ซึ่งเราชอบความกระตือรือร้นและสิ่งที่คาดไม่ถึง ปกติเราจะมอบหมายให้เหล่าดีไซเนอร์ทำ�โปรเจ็กต์นี้ โดยพวกเขาต้อง เข้าใจเป้าหมายของสปอนเซอร์ จากนั้นเรื่องท้าทายต่อไปก็คือการนำ� ข้อสรุปที่พูดคุยกันนั้นไปสร้างสรรค์โปรเจ็กต์ให้น่าสนใจและคาดไม่ถึง
ใครที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของงาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล และคุณ ใช้กลยุทธ์ ใดทำ�ให้งานนี้เป็นที่สนใจของผู้คนในวงกว้าง
อะไรทำ�ให้งาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล แตกต่างจากงานเทศกาล งานดีไซน์อื่นๆ ทั่วโลก
เราพยายามผลักดันให้ผคู้ นในวงกว้างเข้าร่วมงาน แน่นอนว่าผูค้ นในวงการ ออกแบบให้ความสนใจงานนีเ้ ต็มทีอ่ ยูแ่ ล้ว แต่เราก็ไม่ลมื กระตุน้ ให้คนทัว่ ไป เข้าร่วมงานด้วย และก็ตอ้ งขอบคุณทีห่ ลายปีทผี่ า่ นมา ผูค้ นรูว้ า่ ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวลั คืออะไร และเข้าร่วมงานนีซ้ ง่ึ จัดขึน้ ทัว่ กรุงลอนดอนมากขึน้ วิธกี ารดึงดูดผูค้ นให้รว่ มงานทีป่ ระสบความสำ�เร็จของเราคือการเลือก สถานที่ในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งเราเลือกพิพิธภัณฑ์วิคตอเรียแอนด์ อัลเบิร์ต และจัตุรัสทราฟัลการ์ซึ่งเป็นหนึ่งในจัตุรัสที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในโลก สถานที่ทั้ง 2 แห่งนี้ดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก เราจัดแสดงงานและ เสวนาต่างๆ บนพื้นที่ทั้งสองแห่งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนรู้จักงาน ของเรา นอกจากนี้ เราและทีมประชาสัมพันธ์ยังทำ�งานอย่างหนักเพื่อ โปรโมตงานผ่านสือ่ ต่างๆ เพือ่ ให้คนจากทัว่ ทุกมุมโลกได้รจู้ กั งานของเราด้วย
ลอนดอนเป็นรากฐานสำ�คัญของความคิดสร้างสรรค์ที่แข็งแรงอยู่แล้ว แม้จะขึ้นชื่อเรื่องค่าครองชีพที่แสนแพง แต่ก็มีความหลากหลายทาง วัฒนธรรมและดึงดูดผู้มีพรสวรรค์จากทั่วโลก ลอนดอนยังเป็นเมือง ศูนย์กลางวัฒนธรรมโลกจึงดึงดูดให้มีการทำ�ธุรกิจระหว่างประเทศ มากมาย องค์ประกอบทั้งหมดนี้ช่วยให้งาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและโดดเด่นจากงานเทศกาลอื่นๆ
32 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
THE CREATIVE มุมมองของนักคิด
งาน ลอนดอน ดีไซน์ เฟสติวัล จัดมานานกว่า 10 ปีแล้ว คุณคิดว่า อะไรเป็นสิง่ สำ�คัญทีท่ �ำ ให้งานนีป้ ระสบความสำ�เร็จ และกังวลอะไรไหม กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป
สำ�หรับผมมันยากที่จะสรุปได้นะ เพราะผมเพิ่งมาทำ�งานนี้เมื่อปี 2012 นี้เอง แต่คิดว่าเป็นเพราะการจัดแสดงต่างๆ ของเราในงานนี้ค่อนข้างมี เอกลักษณ์ จึงกลายเป็นจุดสนใจให้ผู้คนอยากมาร่วมงานมากขึน้ และงาน ก็ประสบความสำ�เร็จ ซึ่งมันเกินความคาดหมายของเรา ส่วนสิ่งที่ผมกังวลตอนนี้คือกลัวว่างานมันจะใหญ่เกินไป ซึ่งถึงตอนนี้ ก็เสี่ยงที่จะเป็นแบบนั้น
CREATIVE INGREDIENTS ปกติคุณออกไปหาแรงบันดาลใจที่ไหน
แรงบั น ดาลใจมั ก จะอยู่ ใ นที่ ที่ ค าดไม่ ถึ ง ผมชอบพู ด คุ ย และแลกเปลี่ ย น ความคิดเห็นกับเหล่าดีไซเนอร์ แต่ไม่ได้คุยเรื่องงานนะ การได้คุยกันแบบนี้ ทำ�ให้ผมได้ไอเดียใหม่ๆ ที่อาจนำ�ไปใช้ได้จริงในอนาคต นอกจากนี้ผมคิด ว่าการออกไปท่องเทีย่ ว เรียนรูว้ ฒั นธรรมทีแ่ ตกต่าง และเห็นความคิดสร้างสรรค์ ที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้นๆ เป็นเรื่องสำ�คัญเช่นกัน เพราะมันจะช่วยให้คุณเกิด คำ�ถามกับตัวเองว่าจะรับมือกับวิธีการทำ�งานและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในโปรเจ็กต์ต่างๆ อย่างไร ใครเป็นฮีโร่เรื่องการดีไซน์ของคุณ
ผมมีฮีโร่เยอะมาก! แต่คนที่พิเศษสำ�หรับผมคือแจสเปอร์ มอร์ริสัน (Jasper Morrison) เขาเป็นดีไซเนอร์ที่สร้างสรรค์ผลงานได้ออกมาสวย ใช้งานได้จริง และคลาสสิก เขาใช้วสั ดุได้อย่างซือ่ สัตย์และยังสามารถหยอดอารมณ์ขนั นิดๆ เข้าไปในชิ้นงานได้อย่างแนบเนียน ถ้าในยุคเก่าหน่อยคนที่ผมชอบคือดีเทอร์ แรมส์ (Dieter Rams) เขาเป็นผู้นำ�ด้านการออกแบบแบบมินิมอลชิ้นงาน ที่เรียบง่ายและใช้งานได้จริง ผลงานของเขามีอิทธิพลต่อดีไซเนอร์รุ่นหลัง หลายคน ทั้งแจสเปอร์ มอร์ริสัน และแบรนด์แอปเปิล ฯลฯ ตอนที่ยังเด็ก คุณฝันอยากเป็นอะไร
ผมอยากเป็นนักบิน ผมคลั่งไคล้เครื่องบินมานานหลายปี จนกระทั่งตอนนี้ ผมก็ยังคิดว่าเครื่องบินเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่น่าอัศจรรย์อยู่
พฤศจิกายน 2557
l
Creative Thailand
l 33
CREATIVE WILL คิด ทำ� ดี
เรื่อง: วรรณเพ็ญ บุญเพ็ญ THE DESIGN
OF SLOW FASHION
ท่ามกลางความเร่งรีบในอุตสาหกรรมแฟชัน่ ทีก่ อ่ เกิดการผลิตเสือ้ ผ้า มากเกินความจำ�เป็นปีละกว่า 80 พันล้านตัว ด้วยเหตุสว่ นใหญ่เพราะ มันไม่ได้อยูใ่ นกระแสแฟชัน่ แล้ว ทำ�ให้เหล่าดีไซเนอร์และแบรนด์เสือ้ ผ้า กลุม่ หนึง่ คิดทีจ่ ะนำ�เสนอคอลเล็กชัน่ ฤดูใบไม้ผลิปหี น้าในงานนิวยอร์ก แฟชั่น วีก ด้วยงานออกแบบที่เน้นคุณภาพมากกว่าตามติดกระแส
ตัวแทนแบรนด์เสื้อผ้าที่ไม่พึ่งความเร็วของแฟชั่นอย่าง แม็กซีน เบดาต์ (Maxine Bédat) และโซรายา ดาราบิ (Soraya Darabi) ผู้ก่อตั้ง “ซาดี (Zady)” กล่าวว่า “เราทั้งคู่เติบโตในยุคของฟาสต์ แฟชั่น ตอนเด็กๆ จำ�ได้ว่าเคยขอให้พ่อกับแม่พาไป นิวยอร์กเพื่อไปซื้อเสื้อผ้าคอลเล็กชั่นล่าสุดของห้องเสื้อแบรนด์ดังทุกอาทิตย์ พวกเรา ช้อปปิ้งแบบนี้เป็นสิบๆ ปี แต่เมื่อใส่เสื้อผ้าได้สองครั้ง เราก็ไม่ใส่มันอีกเพราะมันดูเก่า และไม่มีคุณภาพเหมือนตอนซื้อมาครั้งแรก สุดท้ายเราก็บริจาคเสื้อผ้าพวกนี้ให้กับคน ยากไร้ ซึ่งจริงๆ แล้วเราบริจาคสิ่งที่เราไม่ต้องการให้พ้นๆ ไปต่างหาก” ด้วยตระหนัก ในจิตสำ�นึกของผูบ้ ริโภคและการเชือ่ ในคุณค่าของสโลว์ แฟชัน่ ทัง้ สองจึงตัดสินใจเปิด ซาดีขึ้น เพื่อต่อสู้กับแฟชั่นแห่งการเปลี่ยนผ่านที่เร่งรีบ ด้วยการเป็นช่องทางให้กับ ผูป้ ระกอบการทีไ่ ม่ยดึ ติดในดีไซน์ตามกระแสแต่ยดึ มัน่ ในการผลิตสินค้าเพือ่ ความยัง่ ยืน รวมถึงใส่ใจต่อสังคมไปพร้อมๆ กัน ซาดีมีคลังสินค้าอยู่ที่นิวยอร์ก โดยเปิดทั้งอีคอมเมิร์ซและร้านค้าที่สนามบิน ลากวาร์เดีย ขายสินค้าหลากหลายทั้งเสื้อผ้าชายหญิง เครื่องประดับ ไปจนถึงของ ตกแต่งบ้าน จุดเด่นสินค้าของซาดีคือลูกค้าสามารถรู้ถึงเบื้องหลังผลิตภัณฑ์ในทุกๆ รายละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ ทำ�ให้ผู้ซื้อเชื่อมั่นได้ว่าสินค้าที่จะซื้อผ่านซาดีเป็นสินค้า ที่มีคุณภาพ รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยังสามารถเล่าเรื่องราวของสินค้า ที่ซื้อมาได้ทุกรายละเอียด ไม่เพียงเท่านี้ ซาดีจะหักรายได้ร้อยละ 5 จากการขายสินค้า นำ�เงินไปสนับสนุนโครงการเดอะ บูตสแตรป (The Bootstrap Project) ซึง่ ดำ�เนินงานภายใต้การดูแล ของสองผู้ประกอบการนี้เช่นกัน เพื่อช่วยสนับสนุนผลงานของศิลปินในประเทศยากไร้ที่ทำ�งานฝีมือ เก่าแก่อายุนับร้อยปีจากทั่วโลกไม่ให้งานฝีมือท้องถิ่นหายไป ด้วยดีไซน์ที่เน้นความเรียบง่ายแต่แฝงด้วยรายละเอียดในการเล่าเรื่องราวขององค์ประกอบที่ ซ่อนอยู่ ไม่พงึ่ พาการเปลีย่ นผ่านแบบฉาบฉวย แต่ให้เวลาในการผลิตสินค้าแต่ละชิน้ เพือ่ สร้างคุณภาพ ทีจ่ ะนำ�ไปใช้ได้ไม่วา่ จะอยูใ่ นยุคสมัยใด ผูซ้ อื้ จึงย่อมรับรูถ้ งึ คุณค่าและคิดได้วา่ หากจะโยนมันทิง้ ไป ก็คงรู้สึกเสียดาย หนึ่งในตัวอย่างสินค้าที่ได้ถูกคัดเลือกมานำ�เสนอในคอลเล็กชั่นของซาดี - กระเป๋าเป้ทรงนักเรียน "STONE + CLOTH" ออกแบบโดยแมตต์ คลาวจ์ (Matt Clough) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากการปีนยอดเขาคิลิมันจาโร เมือ่ ปี 2012 แล้วพบกับเบนสัน (Benson) ไกด์น�ำ ทางผูช้ ว่ ยแบกสัมภาระให้เขา ผูม้ รี ายได้เพียงวันละ 1 เหรียญ สหรัฐฯ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการส่งลูกๆ เข้าโรงเรียน แมตต์จึงเกิดไอเดียทำ�กระเป๋าเป้นี้ขึ้นพร้อมคิดคำ�ขวัญ ประจำ�แบรนด์ว่า “Carry an Education” เพื่อนำ�รายได้จากการขายไปมอบให้กับมูลนิธิน็อก (Knock Foundation) ซึ่งให้ทุนการศึกษาแก่เด็กแอฟริกันตะวันออก โดยเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นอย่างผ้าใบจาก ใยธรรมชาติในโรงงานผ้าเก่าแก่ที่รัฐแมรี่แลนด์ ซิปจากรัฐจอร์เจีย ออกแบบเป็นกระเป๋าเป้เพื่อสื่อถึงการปีน ไปให้ถึงจุดสูงสุดของเป้าหมาย
34 l
Creative Thailand
l พฤศจิกายน 2557
ที่มา: บทความ “Fashion Brands' Message for Fall Shoppers: Buy Less, Spend More” (2014) จาก online.wsj.com, บทความ “For Zady, It's Quality Over Quantity” (2013) จาก entrepreneur.com, บทความ “Meet Zady” จาก designindaba.com, thebootstrapproject.com, zady.com