Travel Recommend at Chomthong

Page 1

1


2


หนังสือแนะน�ำสถานที่ท่องเที่ยวเขต

จอมทอง

3


4


พระราชดำ�รัส

ในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2555 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม วันพุธ ที่ 5 ธันวาคม 2555 คำ�อวยพรและคำ�ปฏิญาณสัญญา ที่ทุกท่านได้กล่าวนั้น เป็นที่ประทับใจมาก ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลาย ตลอดจนประชาชนชาวไทยทุกคน ที่พรั่งพร้อมกันมาด้วยความปรารถนาดีและไมตรีจิต ความปรารถนาดี และความพร้อมเพรียงกันของทุกท่าน อย่างที่ได้เห็นในวันนี้ ทำ�ให้ข้าพเจ้าปลื้มใจ มีกำ�ลังใจมากขึ้น ด้วยมีความเชื่อเสมอมาว่าความเมตตาปรารถนาดีต่อกันนี้ เป็นปัจจัยอย่างสำ�คัญที่จะยังความพร้อมเพรียงให้เกิดมีขึ้น ทั้งในหมู่คณะและในชาติบ้านเมือง และถ้าคนไทยเรายังมีคุณธรรมข้อนี้ประจำ�อยู่ในจิตใจ ก็มีความหวังได้ว่า บ้านเมืองไทยไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดๆ ก็จะอยู่รอดปลอดภัย และดำ�รงมั่นคงต่อไปได้ตลอดรอดฝั่งอย่างแน่นอน ขออำ�นาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านและชาติไทย ให้มีแต่ความผาสุกร่มเย็นยั่งยืนไป.

5


สารจากปลัดกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย นอกจากจะเป็นศูนย์กลางของ ความเจริญในทุกด้านแล้ว ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทางด้านศิลปวัฒนธรรม ทีไ่ ด้รบั การสืบทอด มาอย่างยาวนาน ท�ำให้ชาวต่างชาติหลั่งไหลมาสัมผัสกับความงดงามของกรุงเทพมหานคร อย่างไม่ขาดสาย ด้ ว ยความมุ่ง มั่น ที่จ ะพัฒ นากรุง เทพมหานคร ให้ เ ป็ นเมื อ งน่ า อยู ่ อ ย่ า งยั่ งยื น กรุงเทพมหานครจึงได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ที่ เ ป็ นเอกลั ก ษณ์ ป ระจ�ำท้อ งถิ่น ซึ่ง ได้มีก ารริเริ่มแล้วในหลายพื้ นที่ ตั้ งแต่ ป ี พ.ศ. 2552 จนถึ ง ปั จ จุ บั น จากยุ ท ธศาสตร์ ก ารพั ฒ นาสู ่ ภ าคปฏิ บั ติ จ นน�ำไปสู ่ ผ ลที่ น ่ า ภู มิ ใ จยิ่ ง คื อ กรุงเทพมหานคร ได้รับการจัดอันดับให้เป็นเมืองที่น่าเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดติดต่อกัน 3 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ถึงปี พ.ศ. 2555 จากนิตยสาร Travel & Leisure และคว้ารางวัล อันดับ 1 สุดยอดเมืองจุดหมายปลายทางแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก Master Card Global Destination Cities Index ที่จัดทำ�ผลสำ�รวจประจำ�ปี พ.ศ. 2555

6


สำ�นักงานเขตจอมทองเป็นหนึ่งใน 50 สำ�นักงานเขตที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน สามารถเรียนรู้เรื่องราวในอดีตผ่านโบราณสถาน โบราณวัตถุ ในพื้นที่และผลิตภัณฑ์ ของดี ในชุ ม ชนมากมาย ที่บ ่ง บอกถึง เอกลัก ษณ์ ป ระจ�ำท้ อ งถิ่ น ที่ หาได้ ย ากในปั จจุ บั น กรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักถึงความสำ�คัญของสิ่งต่างๆ เหล่านี้ จึงได้จัดทำ�หนังสือแนะนำ� สถานที่ท่องเที่ยว เขตจอมทองขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวภายใน พื้นที่เขตจอมทอง ซึ่งหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้ที่สนใจเดินทางมาท่องเที่ยว ในเขตจอมทองได้รับความรู้ ที่เป็นประโยชน์ทางศิลปวัฒนธรรม เพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ สิ่งที่เป็นคุณค่าของชาติสืบไป

(นางนินนาท ชลิตานนท์) ปลัดกรุงเทพมหานคร

7


สารจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร

ในช่วงระยะเกือบ 20 ปี (พ.ศ. 2537 ถึง พ.ศ. 2556) ที่ได้รับโอกาสและ ความไว้วางใจจากพี่น้องประชาชนชาวจอมทอง ให้เข้ามาทำ�งานพัฒนาพื้นที่เขตจอมทอง ให้มีความสะดวกสบาย มีความเจริญก้าวหน้าทันสมัย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่พี่น้อง ประชาชนชาวจอมทองอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการด้านการจราจรขนส่ง การรณรงค์ ป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน การเพิ่มพื้นที่สีเขียวปรับภูมิทัศน์บริเวณเกาะกลางถนนทางเท้า และริมฝั่งคลอง ร่วมอนุรักษ์ประเพณีโบราณ ประสานเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเพื่อให้ ได้รับบริการจากภาครัฐอย่างทั่วถึง สำ�รวจจุดติดตั้งกล้อง CCTV ทั้งกรุงเทพมหานคร โดยเน้นพื้นที่เสี่ยงในชุมชน และประสานงบประมาณในการติดตั้ง ประสานผู้บริหาร กรุงเทพมหานครในการซ่อมแซม ติดตั้ง ประตูระบายน้ำ� ขุดลอกคูคลอง ไฟฟ้าแสงสว่าง รวมถึงวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำ�ท่วมเขตจอมทองที่ผ่านมา และให้ความสำ�คัญกับการมีส่วนร่วม กับทุกภาคส่วนของสังคม พื้ น ที่ เ ขตจอมทองเป็ น เขตหนึ่ ง ของกรุ ง เทพมหานคร ที่ มี ส ถานที่ ท ่ อ งเที่ ย ว โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒ นธรรมอัน โดดเด่ นของยุ ค สมั ย ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณีโบราณ ที่ยังอนุรักษ์ให้คงอยู่ มีสวนส้มบางมด สวนลิ้นจี่ ที่มีชื่อเสียงของเขต จอมทองในอดีต มีแหล่งเรียนรู้ด้านวัฒนธรรม เช่น พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขตจอมทอง พิพิธภัณฑ์วัดหนังราชวรวิหารและตลาดน้ำ�วัดไทร เป็นต้น ในวาระนี้ ผมมีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่สำ�นักงานเขตจอมทอง ได้จัดทำ�หนังสือ แนะนำ�สถานที่ท่องเที่ยวเขตขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่เขตจอมทองให้เป็นที่รู้จัก แก่ประชาชนทั่วไป จากของดีที่มีมากมายข้างต้นนั้น ผมขอเชิญชวนให้ประชาชนในพื้นที่ นอกพื้นที่ ได้มีโอกาสมาสัมผัสเขตจอมทองสักครั้ง

8


สุดท้ายนี้ผมขอขอบพระคุณท่านผู้อำ�นวยการเขตจอมทองและเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ทีเ่ กีย่ วข้อง ทีท่ �ำ ให้หนังสือแนะนำ�สถานทีท่ อ่ งเทีย่ วเขตฉบับนีส้ มบูรณ์ และสำ�เร็จลุลว่ งไปด้วยดี จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะยังเกิดประโยชน์แก่ผอู้ ่าน และขอให้ชาวจอมทองทุกท่าน จงประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไป (นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร) สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตจอมทอง ประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่ 18 (ปี 2553-2555)

9


สารจากสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ผมนายพิรกร วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตจอมทอง ขอส่งความรัก และความปรารถนาดีมายังทุกท่าน ด้วยตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่มีต่อพี่น้องชาวจอมทอง ผมจึงได้ทุ่มเทเพื่อพัฒนาพื้นที่เขตจอมทองมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าร่วมดำ�เนินกิจกรรม ต่างๆ กับสำ�นักงานเขตจอมทองเรื่อยมา เพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชาว จอมทองให้ดียิ่งขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุง ถนน ตรอก ซอย ทางเท้า การปรับภูมิทัศน์ สถานที่ต่างๆ รวมถึงปรับปรุงสวนสาธารณะ เป็นต้น อีกทางหนึ่งก็เพื่อเป็นการรองรับกับการ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต เขตจอมทองของเรามีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาน มีวัดวาอาราม โบราณสถาน พระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงผู้คนให้ความนับถือศรัทธาจากรุ่นสู่รุ่น วิถีชีวิตชุมชน และประเพณี ท้องถิ่นโบราณอันเกิดจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ยังคงรักษาไว้ให้คงอยู่ ถือได้ว่าเป็นเสน่ห์ ที่น่าดึงดูดให้ประชาชนทั่วไปเดินทางมาท่องเที่ยวยังเขตของเรา โดยมีกิจกรรมที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการล่องเรือคลองประวัติศาสตร์ ไหว้พระโบราณ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ แวะชิม และซื้อของดีในเขต สิ่งเหล่านี้เป็นการช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจ ในพื้นที่นำ�รายได้เข้าสู่ชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

10


ผมมีความรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ทางสำ�นักงานเขตจอมทองได้จัดทำ�หนังสือแนะนำ� สถานที่ท่องเที่ยวเขตขึ้น เพื่อประชาสัมพันธ์เขตจอมทองให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไป ทั้งในและนอกพื้นที่ และหวังว่าทุกท่านที่มีโอกาสมาเยือนจะเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยว ภายในเขตจอมทองอย่างมีความสุข สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณท่าน ผอ. นิวัฒน์ ไชยมิ่ง ผู้อำ�นวยการเขตจอมทอง และ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการทำ�หนังสือเล่มนี้จนสำ�เร็จขึ้นมา

(นายพิรกร วีรกุลสุนทร) สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตจอมทอง

11


คำ�นำ� เขตจอมทอง เป็นเขตการปกครองเขตหนึ่งใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ในอดีตเขตจอมทองเป็นที่ราบลุ่มเป็นนาข้าวและสวนผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ และสวนส้มบางมด มีลำ�คลองที่เป็นเส้นทางสัญจรระหว่างกรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรสาคร ออกสู่ทะเล อ่าวไทยได้ มีวัดวาอารามและศิลปวัฒนธรรมที่ขึ้นชื่อเป็นที่ประจักษ์แล้วทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน จนมีคำ�ขวัญประจำ�เขตจอมทองว่า “หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง ตลาดดังวัดไทร หวานชื่นใจส้มบางมด ราชโอรสวัดงาม”

12


หนังสือแนะน�ำสถานที่ท่องเที่ยวเขตจอมทองเล่มนี้ ได้จัดท�ำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะเชิญชวนพี่น้องประชาชนได้มาเยี่ยมชมโบราณสถาน และวัดส�ำคัญทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตของชุมชนสองฝั่งคลอง ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ที่เหลืออยู่ไม่มากนักในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่เขตจอมทองได้ฟื้นฟูบูรณะให้คงสภาพเดิม ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและน่าศึกษาที่อนุชนรุ่นหลังจะได้ภาคภูมิใจ หวงแหนไว้เป็นมรดก ของชาติตลอดไป

(นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง) ผู้อำ�นวยการเขตจอมทอง

13


สารบัญ ชวนเที่ยว กทม. 14-15 รู้จักเขตจอมทอง 16-23 ชื่อวัด 24-25 26-29 เตรียมตัวกันก่อนไปวัด ไปวัดตอนไหนดี ข้อควรปฏิบัติเมื่อไปวัด การแต่งกายเมื่อไปวัด วันพระคืออะไร ภาษาพระ รู้รอบรั้ววัด 1. วัดในเขตจอมทอง 30-97 ประวัติความเป็นมาวัด น่าชม น่าบูชา น่ามา น่าฟัง น่าอ่าน น่าคลิก น่าแชะ น่าช้อป น่าชิม น่าแวะ น่าลอง ข้อควรทราบ ที่ตั้ง / แผนที่ วันเวลา เปิด - ปิด / ค่าเข้าชม โทรศัพท์ ที่จอดรถ การเดินทาง

14


2. ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ เตรียมตัวก่อนไป การแต่งกาย อุปกรณ์ที่ควรนำ�ติดตัว สถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ รายละเอียด สถานที่ 3. อาหารและของฝาก 4. หมายเลขโทรศัพท์เขตจอมทอง หมายเลขโทรศัพท์สำ�คัญเขตจอมทอง สถานที่สำ�คัญเขตจอมทอง สถานศึกษาในพื้นที่เขต โทรศัพท์ฉุกเฉิน คณะผู้จัดทำ�

15

98-115

116-139 140-144


ี่ย!!!

หรอเน เ ๆ ง ิ ร จ ฯ ที่นี่กรุงเทพ 16


เที่ยวกรุงเทพฯกันดีกว่า เนื่องด้วยโอกาสที่กรุงเทพฯ ติด 10 อันดับ เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกในปี 2012 จากการโหวตของผู้อ่านนิตยสารเทรเวล แอนด์ เลชเชอร์ กรุงเทพฯ มีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ โบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตของผู้คน วัดวาอารามที่ประดับประดาอย่างประณีตบรรจง รายละเอียดของการตกแต่ง ความเชี่ยวชาญของช่างฝีมือในแต่ละวัด และถ้าคุณได้พบและสัมผัสรสชาติอาหาร หรือบรรยากาศในยามค�่ำคืน คุณก็จะชื่นชอบกรุงเทพฯ มากขึ้นด้วยเช่นกัน บางคนยังไม่อยากจะเชื่อว่ากรุงเทพฯ ยังมีแหล่งท่องเที่ยวดีๆ อีกมากมาย ที่ยังไม่เคยสัมผัสจริงๆ

17


ราวนี้

เลยค ะ อ ย เ ้ ู ร ม า ว้าว...คว

18


“มารู้จักเขตจอมทองกันนะ” เขตจอมทอง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร จัดอยู่ในกลุ่ม กรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นแหล่งจ้างงานใหม่ ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก และศูนย์ราชการทางทิศ ตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ชื่อเขตมาจากชื่อวัดจอมทอง ซึ่งบางครั้งก็เรียกวัดจอมทอง ว่าวัดกองทอง นักวิชาการสันนิษฐานว่าวัดนี้เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ปัจจุบันวัดจอมทองมีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

19


บริเวณเขตจอมทองเดิมเป็นพืน้ ทีท่ างทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอ�ำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี ซึ่งบริเวณนี้ต่อมามีชุมชนหนาแน่นและมีความเจริญขึ้น เนื่องจากเป็นที่ตั้ง ที่ว่าการอ�ำเภอ มีทั้งคลอง ถนน และเส้นทางรถไฟตัดผ่าน ทางราชการจึงได้จัดตั้งเทศบาล นครธนบุรีขึ้นในปี พ.ศ. 2479 โดยมีต�ำบลบางค้ออยู่ในท้องที่ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2508 ได้ตั้ง สุ ข าภิ บ าลบางขุ น เที ย นขึ้ น ในพื้ น ที่ บ างส่ ว นของต�ำบลบางขุ น เที ย นและต�ำบลบางมด

20


ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวง กรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานคร ยกเลิกการเรียกชื่อตำ�บลและอำ�เภอแบบเดิม ตำ�บลจอมทองจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงจอมทอง และอยู่ในเขตการปกครอง ของสำ�นักงานเขตบางขุนเทียน จนกระทั่งในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 จึงได้มี ประกาศกระทรวงมหาดไทยจัดตั้งเขตจอมทองขึ้น โดยแบ่งพื้นที่เขตบางขุนเทียนออกมา 4 แขวง ต่อมาในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 เขตจอมทองได้รับพื้นที่บางส่วนของ แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ และแขวงบุคคโล เขตธนบุรี มาเป็นพื้นที่ปกครองของ เขตจอมทอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่ อ ง เปลี่ ย นแปลงพื้ น ที่ เ ขตธนบุ รี เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ และตั้งเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในช่วงจัดพื้นที่การ บริหารในกรุงเทพมหานครใหม่ โดยแบ่งพื้นที่เขตการปกครองจากเดิม 38 เขตเป็น 50 เขต คำ�ขวัญ เขตจอมทอง หลวงปู่เฒ่าวัดหนัง ตลาดดังวัดไทร หวานชื่นใจส้มบางมด ราชโอรสวัดงาม

21


22


ที่ตั้งและอาณาเขต

• ทิศใต้

ติดต่อกับเขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ และเขตบางขุนเทียน มีคลองบางปะแก้ว คลองยายจำ�ปี คลองกอไผ่ขวด คลองตาสุก คลองบางมด และคลองบัว (คลองตาเปล่ง) เป็นเส้นแบ่งเขต

พื้นที่ 26.254 ตร.กม. ประชากร 157,840 คน (พ.ศ. 2556) ความหนาแน่น 6,012.03 คน/ตร.กม.

• ทิศตะวันตก

ติดต่อกับเขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตภาษีเจริญ มีคลอง วัดกก คลองสนามชัย คลองวัดสิงห์ และคลองบางระแนะเป็นเส้นแบ่งเขต

ตั้งอยู่บริเวณทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำ�เจ้าพระยาหรือฝั่งธนบุรี มีอาณาเขต ติดต่อกับพื้นที่การปกครองต่างๆ เรียงตาม เข็มนาฬิกาดังนี้

การแบ่งเขตการปกครอง

ท้องที่สำ�นักงานเขตจอมทองแบ่งเขต การปกครองย่อยออกเป็น 4 แขวง ได้แก่ 1. บางขุนเทียน (Bang Khun Thian) 2. บางค้อ (Bang Kho) 3. บางมด (Bang Mod) 4. จอมทอง (Chom Thong)

• ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตภาษีเจริญ

และเขตธนบุรี มีลำ�รางสาธารณะ คลองบางประทุน คลองตาฉ่ำ� คลองรางบัว คลองสวนหลวงใต้ คลองบางหว้า คลองวัดโคนอน (คลองวัดอ่างแก้ว) คลองตาม่วง คลองวัดนางชี(คลองวัดเพลง) คลองด่าน คลองวัดใหม่ยายนุ้ย 1 (คลองศาลเจ้าต้นโพธิ์) และคลองแยก บางสะแก 13 เป็นเส้นแบ่งเขต

N

W

• ทิศตะวันออก

ติดต่อกับเขตธนบุรี และเขตราษฎร์บูรณะมีคลองบางสะแก คลองดาวคะนองและถนนสุขสวัสดิ์ เป็นเส้นแบ่งเขต 23

E S


แหล่งท่องเที่ยวส�ำคัญ วัดโอรสารามราชวรวิหาร

ตั้งอยู่ริมคลองสนามชัยฝั่งตะวันตก ทางรถยนต์ใช้เส้นทางถนนเอกชัย-จอมทอง ทางเรือสามารถเช่าเรือหางยาวน�ำเที่ยวจากท่าช้างได้ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา และยังเป็นวัดประจ�ำรัชกาลที่ 3 สิ่งก่อสร้างและศิลปะการตกแต่งในวัด ผสมผสานศิลปะไทยและจีนได้อย่างประณีตกลมกลืนสวยงามมาก จอห์น ครอว์เฟิร์ด (John Crawfurd) ราชฑูตอังกฤษที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้เขียนยกย่องถึงวัดนี้ว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นได้อย่างงดงามที่สุดของบางกอก โทร. 0 2415 2286, 0 2893 7274

24


พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา วัดหนังราชวรวิหาร

พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง นี้ จั ด ตั้ ง ขึ้ น โดยมี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ รวบรวมของมี ค ่ า ของวั ด และชุ ม ชนในเขตจอมทอง อัน เป็น เอกลัก ษณ์ของท้ อ งถิ่ น โดยจั ด แสดงเป็ นกลุ ่ มย่ อ ย ตามลักษณะสภาพความเป็นจริงของชาวสวน ย่านชุมชนข้าหลวงเดิม ซึ่งเป็นชุมชนที่มีความ สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์จักรีในอดีต รูปแบบการน�ำเสนอมุ่งเน้นความเป็นไทยท้องถิ่น ที่มีการท�ำอาชีพเกษตรกรรมในเมืองธนบุรี คือการท�ำสวนผลไม้ที่มีประวัติความเป็นมา ยาวนานมีการจัดแสดงวัตถุ เช่น เครื่องใช้ของพระสงฆ์ สมุดข่อย สมุดไทย ประเภท ต�ำรายา-เครื่องมือปรุงยาแสดงวิถีชีวิตในอดีต ที่ชุมชนต้องพึ่งพาอาศัย “หมอพระ” และ ในอีกหลายๆ แง่มุม ทั้งความเป็นอยู่รวม ถึงเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะท�ำให้ ผู้เข้าชมสัมผัสและเข้าถึงสิ่งเหล่านั้นได้โดย มี วิ ท ยากรเป็ น คนท้ อ งถิ่ น ซึ่ ง มี ค วามรู ้ แ ละ ประสบการณ์คอยให้ค�ำแนะน�ำพร้อมการ สาธิตอธิบายอย่างถูกต้อง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตจอมทอง

ตั้งอยู่บริเวณวัดยายร่ม ถนนพระรามที่ 2 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีพระกระแสรับสัง่ ให้มกี ารขุดเส้นทางคลองด่านขึน้ ในเขตจอมทอง ซึง่ ถือเป็น เส้นทางสายประวัติศาสตร์ ที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตชาวคลองของชุมชนในเขตจอมทองมาแต่ครั้ง สมัยอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ วิถีชีวิตของชาวชุมชนเขตจอมทองประกอบอาชีพ ชาวสวนเป็นส่วนใหญ่ และผลิตผลทางด้านการเกษตรทีส่ �ำคัญของชาวจอมทองทีเ่ ลือ่ งชือ่ ก็คอื “ส้มบางมด” และ “ลิ้นจี่บางขุนเทียน” โดยภายในพิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ จ ะพบเรื่ อ งราว ความเป็นมาของเขตจอมทองภาพถ่ายวัด และสิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมถึงเครื่องมือ ท�ำมาหากิ น แบบภู มิ ป ั ญ ญาชาวบ้ า น อี ก หลายรายการที่ ไ ม่ ค วรพลาดชม 25


26


วัดในเขตจอมทอง

1.วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 258 ซอยเอกชัย 4 ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 2.วัดนางนองวรวิหาร 76 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 3.วัดหนังราชวรวิหาร 200 ซอยวุฒากาศ 42 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 4.วัดศาลาครืน 102 ซอยวุฒากาศ 42 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 5.วัดไทร หมู่ 2 ซอยเอกชัย 23 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 6.วัดสิงห์ 35 หมู่ 3 ซอยเอกชัย 43 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 7.วัดแก้วไพฑูรย์ 9 หมู่ 10 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 8.วัดบางประทุนนอก 104 หมู่ 2 ซอยเอกชัย 9 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 9.วัดบางขุนเทียนนอก 1 หมู่ 7 ซอยจอมทอง 19 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150

27

10.วัดบางขุนเทียนกลาง 2 หมู่ 7 ซอยจอมทอง 19 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 11.วัดบางขุนเทียนใน 37 หมู่ 1 ซอยจอมทอง 13 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 12.วัดมงคลวราราม 82 ถนนจอมทอง แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 13.วัดนาคนิมิตร 5 หมู่ 5 ซอยสุขสวัสดิ์ 8 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 14.วัดโพธิ์แก้ว 16 หมู่ 3 ซอยวัดโพธิ์แก้ว ถนนพระรามที่ 2 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 15.วัดโพธิทอง 67 หมู่ 4 ซอยสุขสวัสดิ์ 26 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 16.วัดยายร่ม 24 หมู่ 6 ซอยพระรามที่ 2 (ซอย 33) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 17.วัดสีสุก 23 หมู่ 6 ซอยวัจนะ (ซอย 28) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150


ไปวัดตอนไหนดี

•ไปวัดทุกครั้งควรหาเวลาให้เป็นวันว่างของตน เพื่อจะได้มีโอกาสได้ฟังธรรมและ นั่งสมาธิ ภาวนา •หากถวายภัตตาหารเช้าก็ต้อง ก่อนเวลา 7.30 น. การไปถวายเพล ควรไปก่อนเวลา อย่างน้อย 30 นาที ก่อนเวลาฉันเพลของพระคือ เวลา 11.00 น. และควรสอบถามเส้นทาง ให้ชัดเจนก่อนไปทุกครั้ง ถ้าจะถวายหลังเวลาเที่ยงไปแล้ว ก็อาจจะถวายเครื่องไทยธรรม ดอกไม้ธูปเทียน น�้ำปานะต่างๆ ที่ไม่ขัดต่อพระวินัย เป็นต้น •การไปวัด คือ การไปสร้างบุญ ไปศึกษาธรรมะ เพราะฉะนั้นก่อนไปวัดทุกครั้ง ควรตั้งใจว่า “เราจะไปศึกษาเรียนรู้ธรรมะจากพระ จะไปเอาบุญเอากุศลให้แก่ตัวเอง และ ครอบครัว จะไม่ไปเอาบาป เอากรรมไม่ดีกลับมา”

28


ข้อควรปฏิบัติเมื่อไปวัด(แถมให้) 5. เมื่อไปถึงวัดแล้ว ควรระมัดระวังการพูดจา ไม่ควรส่งเสียงดังใช้แต่วาจาที่สุภาพ เพื่อเป็น การแสดงความเคารพต่อสถานที่ ไม่ควรคุย หยอกล้อ เล่นหัว แบบไม่เคารพ แบบกันเอง กับพระเจ้าพระสงฆ์

1. ควรก�ำหนดจิ ต ก่ อ นไปว่ า “การไปวั ด ในครั้งนี้ ในวันนี้จะต้องเกิดบุญ เกิดปัญญา เกิดความมหัศจรรย์ เปลี่ยนจิต เปลี่ยนชีวิต ของเราอย่างมากมาย” 2. ควรโทรศั พ ท์ ไ ปนั ด หมายแจ้ ง วั น เวลา ให้ทางวัดได้ทราบก่อน อย่างน้อย 2-3 วัน เพื่อความสะดวกในการจัดตารางวันเวลา และการต้อนรับให้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น

6. ต้องเข้าไปกราบพระพุทธรูป ถวายเครื่อง สักการะบูชาที่ได้เตรียมมาแล้ว และไหว้ พระสวดมนต์เท่าที่สวดได้ นั่งสมาธิ เพื่อให้ จิตใจสงบตามสมควร ก่อนพบพระสงฆ์

3. ทุกครั้งที่ไปวัด หากสะดวก ควรจัดหาดอกไม้ธูปเทียน หรือผลไม้เพื่อไปไหว้สักการะ บูชาพระพุทธรูปพระประธาน ในวัด ดอกไม้ควรตรวจดูให้ดี เลือกดอกไม้ที่สดสวยสะอาด ไม่นิยมดอกไม้มีหนามหรือดอกไม้พลาสติก

7. การสนทนาธรรม หรื อ การปรึ ก ษา กับพระเจ้าพระสงฆ์ควรใช้เวลาให้เหมาะสม และควรดูด้วยว่า ได้เวลาพระสงฆ์ท่านต้อง ทำ�กิจวัตรแล้วหรือยัง 8. เมื่อมีพิธีกรรมทางศาสนา พระสวดมนต์ พระแสดงธรรม ควรปิดโทรศัพท์งดการพูด คุยกัน ตั้งใจฟังโดยความเคารพอย่างแท้จริง

4. ต้องแต่งตัวให้ดูเรียบร้อย เสื้อผ้าที่ใส่ควรเป็นเสื้อผ้า ที่มีสีสันที่ไม่ฉูดฉาดบาดตา บาดใจ รัดรูปเกินไป หากเป็นสีขาวบริสุทธิ์ยิ่งดี เพื่อไม่เป็นที่ตำ�หนิของเทวดา ฟ้าดินและผู้มีศีลมีธรรม

9. เมื่อเสร็จธุระ ควรกราบลา พระพุทธรูป หรือพระประธาน ภายในวัด และกราบลา พระสงฆ์ภายในวัด ก่อนกลับ ทุกครั้งไป

29


การแต่งกายเมื่อไปวัด

การแต่งกายไปวัดนั้นน่าจะเป็นการแต่งชุดที่แต่ละคนมีอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อหาเป็นพิเศษ แต่ให้เลือกเฟ้นเสื้อผ้าที่ใส่แล้วแลดูสุภาพ สบายตาแก่ผู้พบเห็น ควรใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ถ้ามีลายก็เป็นลายเรียบๆ เนื้อผ้าไม่ควรโปร่งบางจนเกินไป ไม่หรูหราจนเกินไป เสื้อผ้าไม่ควร หลวมหรือรัดรูปจนเกินไป เพื่อความสะดวก ในการกราบไหว้พระและนั่งสมาธิ สำ�หรับผู้หญิงควรแต่งกายให้สุภาพ เรียบร้อย และไม่ควรตกแต่งด้วยเครือ่ งประดับ และเครื่องส�ำอาง ตลอดจนใส่น�้ำหอมมาก จนเกินไป ไม่ควรแต่งหน้า เขียนคิ้ว ทาปาก ทาเล็บจนเกินงาม เหตุที่ควรปฏิบัติเช่นนี้ เพราะวัดเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม คนไปวัด เพื่อท�ำบุญท�ำจิตใจ ให้สงบ จึงควรตัดเรื่อง ปรุงแต่งกิเลสเหล่านี้ออกไปเสียก่อน

วันพระคืออะไร

วันพระในพระพุทธศาสนา เดิมเรียกว่า วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันที่ถูกก�ำหนดให้เข้าอยู่ประจ�ำเพื่อรักษาศีลปฏิบัติธรรม หรือเรียกว่า อุโบสถศีล คือ ศีลที่ ต้องสมาทานรักษาในวันอุโบสถ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการจำ�ศีลซึ่งถือเป็นกิจกรรมสำ�คัญที่ พุทธศาสนิกชน จะได้ถือโอกาสเข้าวัดฝึกหัดกายวาจา ฟังธรรม ตลอดจนฝึกหัดขัดเกลากิเลส ในใจให้บรรเทาเบาบางลง และถือโอกาสท�ำบุญบ�ำเพ็ญกุศลไปด้วยในวันขึ้นหรือแรม 8 ค�่ำ และวันขึ้น หรือแรม 14 หรือ 15 ค�่ำ ของทุกเดือน นอกจากนี้ ใ นประเทศไทยยั ง มี คำ�เรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า “วันโกน” ในวันขึ้น 14 ค�่ำ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค�่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทย ที่จะโกนผมหรือปลงผมในวันนี้

30


ภาษาพระ (ถ้อยค�ำที่ ใช้ส�ำหรับพระภิกษุ)

จำ�วัด ความหมาย จำ�พรรษา นมัสการ อาพาธ มรณภาพ ฉัน ถวาย จังหัน ปัจจัย น้ำ�ปานะ ฉันเพล ฉันเช้า

นอนหลับ อยู่ประจำ�ที่วัด 3 เดือนในฤดูฝน การเเสดงความอ่อนน้อมด้วยการกราบไหว้ เจ็บป่วย ตาย กิน ให้ ภัตตาหาร อาหาร เงิน น้ำ�ดื่มตอนเย็น รับประทานข้าวเที่ยง รับประทานข้าวเช้า

รู้รอบรั้ววัด ค�ำศัพท์น่ารู้

หน้าบัน หมายถึง ฐานชุกชี หมายถึง เจดีย์ หมายถึง ช่อฟ้า หมายถึง วิหาร หมายถึง อุโบสถ หมายถึง ใบสีมา, ใบเสมา หมายถึง

จั่ว ใช้กับอาคารก่อสร้างประเภทปราสาท อุโบสถ วิหาร ฐานปูนส�ำหรับประดิษฐานพระประธานพระพุทธรูป สิ่งก่อสร้างรูปทรงกลมคล้ายลอมฟาง มียอดแหลม ภายในมักใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิของบุคคลต่างๆ เครื่องไม้ที่ติดอยู่บริเวณหน้าบัน รูปเหมือนหัวนาค ชูขึ้นเบื้องบน มักใช้ประดับกับสิ่งก่อสร้างประเภท พระราชวัง โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ อาคารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป คล้ายเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า คู่กับอุโบสถ สถานที่ส�ำหรับพระสงฆ์ประชุมกันท�ำสังฆกรรม เรียกย่อว่า โบสถ์ แผ่นหินที่ทําเป็นเครื่องหมายบอกเขตอุโบสถ 31


32


วั ด ใ น เ ข ต จ อ ม ท อ ง

33


วั ด ใ น เ ข ต จ อ ม ท อ ง 1. วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 2. วัดนางนองวรวิหาร 3. วัดหนังราชวรวิหาร 4. วัดศาลาครืน 5. วัดไทร 6. วัดสิงห์ 7. วัดแก้วไพฑูรย์ 8. วัดบางประทุนนอก 9. วัดบางขุนเทียนนอก 10. วัดบางขุนเทียนกลาง 11. วัดบางขุนเทียนใน 12. วัดมงคลวราราม 13. วัดนาคนิมิตร 14. วัดโพธิ์แก้ว 15. วัดโพธิทอง 16. วัดยายร่ม 17. วัดสีสุก

34


35


วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เป็น วัดประจำ�รัชกาลที่ 3 เดิมชื่อ วัดจอมทอง เป็นวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยเหตุที่ เมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำ�รงพระราชอิสริยยศเป็น พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ในรัชกาลที่ 2 ทรงยกทัพไปสกัดทัพพม่าที่ด่าน พระเจดี ย ์ ส ามองค์ กาญจนบุ ร ี ในพ.ศ. 2363 เมื ่ อ กระบวนทั พ เรื อ มาถึ ง วั ด จอมทอง เจ้าอาวาสวัดจอมทองในขณะนั้นได้ถวายคำ�พยากรณ์ว่ากิจของพระองค์นั้นจะประสบความ สำ�เร็จ พระองค์จึงตรัสว่าหากเป็นเช่นนั้นจริงจะกลับมาสร้างวัดถวายให้ใหม่ ดังนั้นหลังจาก เลิกทัพเสด็จกลับโดยปลอดภัยแล้ว พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ขึ้นใหม่ทั้งวัด และถวายเป็นพระอารามหลวงแด่พระราชบิดา รัชกาลที่ 2 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดราชโอรส” หมายถึง วัดที่พระราชโอรสทรงสถาปนา นั่นเอง นับเป็นวัดแรกที่มีการประยุกต์ศิลปกรรมไทย-จีนได้อย่างประณีตจนกลายเป็นเอกลักษณ์ ประจำ�วัด และเป็นแนวศิลปกรรมประจำ�รัชสมัย พระอุโบสถ พระวิหาร ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แต่หลังคาพระอุโบสถประดับกระเบื้องเคลือบแบบไทย พระพุทธรูปสำ�คัญคือ พระประธานในพระอุโบสถ มีพระนามว่า “พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร” ซึ่งที่ใต้ฐาน พระพุทธรูปก็มีพระบรมราชสรีรังคารของรัชกาลที่ 3 บรรจุไว้ด้วย 36


น่าชม

พระอุโบสถ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมผสมระหว่างไทยและจีน หน้าบันพระอุโบสถด้านหน้าประดับ กระเบื้องเคลือบสีต่างๆ

จิตรกรรมฝาผนังลายเครื่องบูชาจีน ภายในพระอุโบสถ

ศาลาราย เป็นศาลาแบบเก๋งจีนเรียงราย อยู่ด้านหน้าและด้านข้างพระอุโบสถ

บานประตูด้านนอกพระอุโบสถ ลงรัก ประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆล้อมกรอบด้วย ลายดอกเบญจมาศ

พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ และเจดีย์ ฐานย่อมุมไม้สิบสอง ซุ้มหน้าประตูพระอุโบสถ ยังมีตุ๊กตากังไส “นายทวารบาล” ตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ 2 ตัว ด้านหลังอีก 2 ตัว

37


ตุ๊กตาจีน ด้านหน้าพระวิหารพระพุทธไสยาสน์

พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล เชื่อว่าเป็น พระแท่นที่ประทับของสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อครั้งเสด็จมา คุมงานก่อสร้างวัดราชโอรสารามคงจะ ทรงโปรดต้นพิกุลนี้มาก ถึงกับมีคำ�เล่า ต่อๆ กันมาว่าพระองค์เคยรับสั่งว่า “ถ้าข้าตายแล้ว ข้าจะมาอยู่ที่ต้นพิกุลนี้”

ประตูหน้าต่างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์

แท่นเสือ เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียกแท่นหิน ขนาดใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่ใต้ต้นประดู่ใหญ่ ริมหน้าวัด วิหารพระประทับยืน หรือที่เรียกกันว่าวิหารพระยืน

38


ถะ (สถูปเจดีย์) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นสถูปแบบจีน มีทรงเหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น สูงประมาณ 5-6 วา

พระวิหารพระสิทธารถ เป็นที่ประดิษฐาน พระสิทธารถ คือพระพุทธรูปปางขัดสมาธิ เพชร ประทับนั่งบนบัวคว่ำ�บัวหงาย

ศาลาการเปรียญ ตั้งอยู่ทางด้านขวา ของพระอุโบสถ เป็นอาคารที่มีลักษณะ ผสมทางศิลปกรรม ระหว่างไทยและจีน เช่นเดียวกัน

ถะ (เจดีย์แบบจีน) ภายในวัดราชโอรสารามมีถะอยู่ 5 องค์

39


น่าบูชา

พระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร (ปางห้ามญาติ) ภายในพระวิหารพระยืน ตอนหน้า พระพุทธรูปหล่อโลหะขนาดใหญ่ ศิลปะแบบอู่ทอง

พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปเดี่ยว ไม่มีพระพุทธรูปหรือพระสาวกอื่น ประดิษฐานอยู่ด้วย แสดงถึงความสงบเงียบ ไม่มีใครรบกวนขณะทำ�สมาธิ

พระพุทธชัยสิทธิธรรมนาท พระประธานเป็นพระพุทธรูปถือตาลปัตร ปางประทานพระธรรมเทศนา ประดิษฐานภายในศาลาการเปรียญ

พระพุทธไสยาสน์นารถชนินทร์ ชินศากยบรมสมเด็จสรรเพชญพุทธบพิตร หรือ พระนอน ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ซึ่งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ปางโปรดอสุรินทราหู วัดความยาวจากพระบาทถึงเปลว พระรัศมีได้ 20 เมตร สูง 6 เมตร

น่ามา

งานประจำ�ปี ช่วงวันมาฆบูชา ทางวัดจัดกิจกรรมเวียนเทียน ปฏิบัติธรรม ถือศีล แบบพักค้าง ช่วงเข้าพรรษา เฉพาะวันเสาร์ จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ ฟังธรรม ถือศีล 8 แทนการสวดมนต์ ช่วง 9.00 น. – 16.00 น. 40


น่าอ่าน

การเดินทาง

รถประจำ�ทาง สาย 43, 120 รถสองแถวเล็ก ดาวคะนอง - วัดสิงห์ ทางเรือ (1) เรือหางยาวโดยสาร : ท่าราชินี (ปากคลองตลาด) > ท่าวัดราชโอรสฯ เที่ยวไป 08.00 น. เที่ยวกลับ 17.00 น. (2) เรือหางยาวโดยสาร : ท่าราชินี (ปากคลองตลาด) > ท่าวัดปากน้ำ� ทางรถยนต์ (1) มาทางถนนสุขสวัสดิ์ผ่านแยกประชาอุทิศ บางปะกอก แยก ถ.พระราม 2 บางปะแก้ว ข้ามสะพานข้ามคลองดาวคะนองชิดซ้าย เลี้ยวซ้ายที่ไฟแดงเข้า ถ.จอมทอง (2) มาจากทางวงเวียนใหญ่ผ่านสี่แยกบุคคโล ผ่านบิ๊กซีทางด้านขวา ขับต่อไปอีกสักพัก จะเห็นป้ายไป ถ.จอมทอง ให้ชิดขวาที​ี่แยก ไฟแดงเพื่อเข้า ถ.จอมทอง ขับไปเรื่อยๆ จนเจอสามแยกไฟแดง ถ.วุฒากาศ ทางขวา ให้อยู่เลนซ้ายเพื่อตรงต่อไปจะเป็น ถ.เอกชัย เจอสะพานสูง ลงสะพานไปให้มองฝั่งขวา พอข้ามทางรถไฟแล้วเลี้ยวขวาทันที เข้าซอยเอกชัย 4 ขับไปเรื่อยๆ จะเจอ โรงเรียนวัดราชโอรส วัดจะอยู่ทางขวา ขับไปเรื่อยๆ จนสุดทาง

หนังสือ “วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร” คำ�นำ�โดย “พระธรรมกิตติวงศ์” เจ้าอาวาส วัดราชโอรสาราม 26 มกราคม 2549 สามารถรับหนังสือได้ที่ประชาสัมพันธ์ ของทางวัด

น่าคลิ๊ก

http://www.watratoros.cjb.net/ http://ratorot.cjb.net/

น่าแวะ

ท่าน้ำ�วัดทำ�ทานให้อาหารปลา สถานที่ใกล้เคียง วัดนางนอง วัดไทร วัดหนัง บริเวณท่าน้ำ�วัดปลาเยอะมาก เพราะเป็นเขตอภัยทาน คลองไม่กว้างมาก เรียกได้ว่ายืนคุยกับฝั่งตรงข้ามได้เลย

ที่ตั้ง วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

เลขที่ 258 ซอยเอกชัย 4 ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2415 2286, 0 2893 7274 (ประชาสัมพันธ์) บริเวณวัดเปิดให้ประชาชนเข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 05.00 น. - 18.00 น. พระอุโบสถเปิดทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 น. - 09.00 น. และ 16.30 น. - 17.30 น. ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

41


วัดนางนองวรวิหาร

วัดนางนองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สันนิษฐานว่ามีมา ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยแขวง บางนางนอง เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระศรีสุลาลัย หรือเจ้าจอมมารดาเรียม พระราชชนนี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบูรณะวัดนางนองใน พ.ศ. 2375 เนื่องในสมเด็จพระราชมารดา ได้โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม ดังปรากฏ งานศิลปกรรมแบบพระราชนิยมในพระองค์ซึ่งเป็นศิลปกรรมที่เลียนแบบศิลปะจีนเห็นได้จาก พระอุโบสถและพระวิหาร การบูรณปฏิสังขรณ์ใช้เวลาหลายปีจึงแล้วเสร็จ ได้สถาปนาเป็น พระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา พระอุโบสถเมื่อ พ.ศ. 2384 พระประธานในพระอุโบสถ มีพระนาม “พระพุทธมหาจักรพรรดิ์” กล่าวได้ว่า เป็นงานประติมากรรมชิ้นเยี่ยมที่มีความงามอย่างวิจิตรอลังการและในพระอุโบสถมีภาพเขียน เรื่อง สามก๊ก เขียนด้วยศิลปะลายรดน้ำ�ผสมสี ที่เรียกว่า ลายกำ�มะลอ โดยฝีมือช่างชาวจีน

น่าชม

พระอุโบสถ เป็นศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 ลักษณะการก่อสร้างแบบสถาปัตยกรรม ไทยทรงเก๋งจีน มีมุขโถงทั้งด้านหน้า และด้านหลัง โครงสร้างเป็นแบบก่อผนังรับน้ำ�หนัก รับโครงหลังคา โครงหลังและฝ้าเพดานเป็นไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบมีลาย ประดับบันปั้นลม

42


บานประตูด้านนอกประดับมุกทั้งบาน ลายประตูด้านในเขียนลายรดน้ำ� ลงรัก ปิดทองรูปต้นกัลปพฤกษ์

ภาพเขียนภายในพระอุโบสถ ตอนบนเป็นจิตรกรรมภาพเขียนสีฝุ่น เล่าเรื่องราว พุทธประวัติ ตอนทรมานพระยาชมพูบดี ตอนล่างจิตรกรรมภาพเขียนลายรดน้ำ�แบบจีน เรื่อง สามก๊ก จำ�นวน 48 ภาพ ด้านหน้าเขียนภาพ ฮก ลก ซิ่ว บานประตู 4 ด้านเขียนภาพ ลายรดน้ำ�เรื่องรามเกียรติ์ บานหน้าต่างเขียนภาพลายรดน้ำ�แบบไทยภาพสวรรค์ ป่าหิมพานต์ บานแผละประตู 4 ด้าน เขียนภาพเครื่องหมายพระเจ้าจักรพรรดิ เช่น ภาพขุนพลแก้ว นารีแก้ว บานแผละหน้าต่างเขียนภาพเครื่องทรงกษัตริย์ เช่น เครื่องราชกกุธภัณฑ์

43


พระเจดีย์ เป็นแบบย่อมุมไม้ 20 ฐานเป็นทักษิณ 8 เหลี่ยม

พระปรางค์คู่ ถ้ามองจากคลองด่าน ซึ่งเป็นด้านหน้าวัด พระปรางค์คู่นี้จะขนาบ พระเจดีย์ประธานไม้ยี่สิบ เยื้องลงไป ด้านหลังเล็กน้อย องค์แรกอยู่หลังวิหาร หลวงพ่อผุด เป็นพระปรางค์ด้านเหนือ องค์ที่สองอยู่หลังวิหารศาลาการเปรียญ เป็นพระปรางค์ด้านใต้ ลักษณะทรง แปดเหลี่ยมอยู่บนฐานกลมยอดนภศูล

ซุ้มประตูและกำ�แพงแก้ว ล้อมรอบพระอุโบสถและเป็นเขตพุทธาวาส ทำ�ซุ้มประตูยอดโค้ง มีอิทธิพลจีนผสมฝรั่ง ทรวดทรงเตี้ยหากดูมั่นคง ช่องทางเข้า เป็นโค้งยอดแหลม

พระวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน หน้าบันประดับปูนปั้นรูปมังกร ส่วนเจดีย์จีนประดับด้วยกระเบื้องสี พระวิหารเก่า มีพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย 2 องค์ มีผู้เล่าว่ามีคนพบ ของโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน เมื่อทำ�การขุด ก็พบพระพุทธรูป 2 องค์ จึงขนานนามว่า “พระผุด”

44


น่าบูชา

น่ามา

พระประธานทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เป็นศิลปะสมัยสุโขทัยสร้างในสมัย รัชกาลที่ 3 พระพุทธรูปสำ�ริดปิดทอง พระนามว่า “พระพุทธมหาจักรพรรดิ” พระพักตร์พุทธศิลป์อย่างสมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 2 เมตร 25 เซนติเมตร (4 ศอกครึ่ง) เครื่องทรงทุกชิ้นแยกออกจาก องค์พระสวมทับลงไว้ ประดิษฐานอยู่บนฐาน ชุกชีปั้นลายปิดทองประดับกระจก

• งานประจำ�ปี 11-13 มี.ค. • งานพิธีเสริมดวงชะตา (31 ธ.ค.)

น่าชิม

ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อ หน้าวัดหนัง

น่าแวะ

สถานที่ใกล้เคียง : วัดไทร วัดราชโอรสาราม วัดหนัง

น่าลอง

ปฏิบัติธรรม “วันศุกร์สงบสุข” ทุกวันศุกร์ เวลา 6.00 น. - 20.00 น. จัดกิจกรรมสวดมนต์แปล ปฏิบัติกรรมฐาน

ที่ตั้ง วัดนางนองวรวิหาร

เลขที่ 76 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2875 4317 โบสถ์เปิดทุกวัน 8.00 น. - 8.30 น. (เข้าชมวิหารควรโทรแจ้งล่​่วงหน้า) ไม่เสียค่าเข้าชม ที่จอดรถบริเวณภายในวัด

พระผุด พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย 2 องค์ ประดิษฐานภายในพระวิหาร

การเดินทาง

รถประจำ�ทาง มีรถผ่าน สาย 43, 111 ทางเรือ เรือหางยาวโดยสาร ท่าราชินี (ปากคลองตลาด) ท่าสะพานพุทธ-วัดเลา มีเฉพาะช่วงเช้า

“หลวงพ่อโต” พระพุทธรูปคู่วัด มาตั้งแต่เริ่มแรก ตั้งอยู่ที่วิหาร หลวงพ่อโต หรือวิหารพระสังกัจจายน์ บริเวณด้านหน้าพระเจดีย์ 45


วัดหนังราชวรวิหาร

ย่านฝั่งธนบุรี นับว่ามีวัดเก่าแก่วัดสวย ๆ งาม ๆ ที่ซ่อนกายแฝงเร้นอยู่ตามเรือกสวน ตามชุมชน เป็นจำ�นวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นก็คือ “วัดหนังราชวรวิหาร” หรือ “วัดหนัง” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ และได้รับการสถาปนาเป็น พระอารามหลวงเมื่อปี พ.ศ. 2460 เมื่อรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็ จ ขึ้ น ครองราชย์ เ ป็ น พระมหากษั ต ริ ย ์ สื บ ต่ อ จาก รั ช กาลที่ 2 เมื่ อ ปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท�ำการฉลองวัดหนัง ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2380 การเริ่มสถาปนาคงอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2367 ถึง พ.ศ. 2378 มูลเหตุที่ทรงสถาปนาวัดหนังเป็นพระอาราหลวง เนื่องด้วยราชานิกุลสายท่านเพ็งพระชนนี สมเด็จพระศรีสุลาลัย (พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) เป็นชาวสวน วัดหนัง มีนิวาสสถานอยู่ในถิ่นนั้น ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน “พระพุทธปฏิมากร” พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย เป็ น พระประธาน ประดิ ษ ฐานอยู ่ บ นฐานแว่ น ฟ้ า 2 ชั้ น ฐานพระ 1 ชั้ น แบบชุ ก ชี ในพระอุโบสถวัดพระเชตุพนฯ แต่ย่อส่วนให้เล็กลง

46


พระเจดีย์ ตั้งอยู่มุมกำ�แพงแก้วพระวิหาร และพระอุโบสถ บรรจบกันทั้ง 4 มุม ก่อเป็นฐานชั้นประทักษิณสูงเลยกำ�แพงแก้ว ขึ้นไป

น่าชม

พระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนเป็นชนิดมุมอัด 5 ห้อง ช่อฟ้าหน้าบันประดับกระจกพื้นลาด ปูนขาว กรอบประตูหน้าต่างปั้นลวดลาย ประกอบ ผนังภายในพระอุโบสถเขียนลาย ทองประเภทดอกไม้ร่วงมีลายคอสองโดย รอบเพดานลงชาดโรยดาวทอง

ซุ้มประตูทรงมงกุฏ จำ�ลองจากวัดโพธิ์

พระปรางค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บริเวณหน้าพระปรางค์นั้นมีแท่นหิน ประกอบเป็นรูปเก้าอี้จีนอยู่ 1 แท่น เรือนไฟหิน 1 คู่ ตุ๊กตาหินนักรบจีนโบราณ 1 คู่ เป็นของพระราชทานจากรัชกาลที่ 3

วิหาร หลวงปู่เอี่ยม หลวงปู่ฉัตร และหลวงปู่ผล (หลวงปู่เอี่ยม หรือพระ ภาวนาโกศลเถระนั้น เป็นพระสงฆ์ที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง)

47


พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร

มาที่วัดหนังแล้วต้องไม่พลาดชม “พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังราชวรวิหาร” เดิมเป็นกุฏิเจ้าอาวาสเก่า หลวงปู่ช้วน พิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวมของมีค่าเก่าแก่ของวัด และ อีกส่วนหนึ่งเก็บข้าวของเครื่องมือของชาวชุมชนในอดีต และจัดแสดงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เขตจอมทอง ผู้ที่มาชมยังจะได้กราบสักการะหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่เอี่ยมขนาดเท่าองค์จริงอีกด้วย

น่าบูชา

รูปหล่อหลวงปู่เอี่ยม อดีตเจ้าอาวาส

พระพุทธรูปประดิษฐานประจำ�พระอุโบสถ พระพุทธปฏิมากร ซึ่งเป็นพระประธานใน พระอุโบสถหล่อด้วยโลหะ ปางมารวิชัย สูง 2.50 เมตร หน้าตักกว้าง 1.80 เมตร เป็นพระฝีมือสุโขทัย

48


น่ามา

ที่ตั้ง

เหรียญที่ระลึกหลวงปู่เอี่ยม หลวงพ่อฉัตร หลวงพ่อสุโข

วัดหนังราชวรวิหาร เลขที่ 200 ซอยวุฒากาศ 42 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2875 4405, 0 2468 3419 พระอุโบสถ เปิดทำ�วัตรเช้า – เย็น 8.00 น. - 9.30 น. และ 16.00 น. – 17.00 น. พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษาวัดหนังฯ เปิดเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 13.00 น. - 16.00 น. ควรติดต่อมาล่วงหน้าก่อนเข้าชม ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

น่าชิม

การเดินทาง

งานประจำ�ปี จะจัดงานก่อนวันวิสาขบูชา 3 วัน เพื่อระลึกถึงหลวงปู่เอี่ยม

น่าคลิ๊ก

http://www.watnang.com https://www.facebook.com/pages/ วัดหนัง-ราชวรวิหาร /261971113858841

น่าช้อป

รถประจำ�ทาง สาย 111, 43 และรถสองแถวเล็กสายวัดสิงห์ – ตลาดพลู

ก๋วยเตี๋วยเนื้อเจ้หมวย หน้าวัดหนัง

น่าลอง

ทุกวันพระ ทางวัดจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม ถือศีล ณ ศาลาการเปรียญ ทุกวันอาทิตย์ 17.00 น. - 19.30 น. โดยประมาณ มีสวดมนต์ทำ�วัตรเย็น + นั่งสมาธิ + เดินจงกรม ทุกวันหยุดราชการที่มีวันหยุดติดกัน 3 วัน ทางวัดจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง สามารถรับได้ประมาณ 60 - 70 คน

49


วัดศาลาครืน

พระวัดนี้นับถือมหานิกาย พื้นที่วัดเป็นที่ราบริมคลองบางหว้า เป็นวัดโบราณ ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ต่อมากลายเป็นวัดร้างท�ำให้ไม่ทราบชื่อดั้งเดิม ส�ำหรับชื่อ วัดศาลาครืน สันนิษฐานว่าคงจะถือเอานิมิตที่หลังคาพระอุโบสถและศาลาการเปรียญได้พัง ครืนลงมาจนท�ำให้มองเห็นพระประธาน ท�ำให้เรียกวัดร้างนี้ต่อๆ กันมาว่า วัดศาลาครืน จนกระทั่ ง ปี พ.ศ. 2375 พระบาทสมเด็จ พระนั่ง เกล้ า เจ้ า อยู ่ หัว รั ชกาลที่ 3 โปรดให้ ท�ำการบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดศาลาครืน ให้สร้างพระอุโบสถใหม่เป็นแบบพระราชนิยม คื อ ไม่มี ช ่ อ ฟ้ า ใบระกา หางหงส์ หน้ า บั น ประดั บ ด้ ว ยปู น ปั ้ น และกระเบื้ อ งเคลื อ บ หลังจากที่บูรณะวัดจอมทอง (วัดราชโอรสาราม) เสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพระองค์ทรงเสด็จ มาคุมงานด้วยพระองค์เอง และพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ. 2378 วัดศาลาครืน บูรณะเสร็จในปี พ.ศ. 2379 และกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่ฝ่าพระบาทซ้อนกันถึงสี่พระบาท สร้างใน สมัยกรุงสุโขทัย เรียกว่า หลวงพ่อสี่เข่า หน้าตักกว้าง 4 ศอก 39 นิ้ว สูง 4.50 เมตร ประชาชนทั่วไปนับถือหลวงพ่อสี่เข่ามาก ในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์เคยมีเสียงร่ำ�ลืออยู่บ่อยๆ ว่าวันดีคืนดีจะมีรัศมีเปล่งประกายออกมาจากอุโบสถให้คนได้เห็น ซึ่งทางวัดเองจะจัดงาน เพื่อนมัสการหลวงพ่อสี่เข่าทุกปี

50


น่าชม

น่าบูชา

พระอุโบสถ เป็นแบบเก่ามีจั่วปั้นปูน มี ถ้ ว ยชามประดั บ และมี เ พิ ง ยื่ น ออกหน้ า หลัง เสา รับเพิงเป็นเสาเหลี่ยมย่อมุม 12 บัวหัวเสากลีบยาว สมัยอยุธยาตอนปลาย

พระประธานประจ�ำพระอุ โ บสถ พระพุทธรูปปางมารวิชัยสมัยอยุธยา ที่ฝ่า พระบาทซ้อนกันถึงสี่พระบาท สร้างในสมัย กรุงสุโขทัย เรียกว่า หลวงพ่อสี่เข่า หน้าตัก กว้าง 4 ศอก 39 นิ้ว สูง 4.50 เมตร

ส่วนภาพเขียนในอุโบสถนั้นเข้าใจ ว่าเป็นช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ที่บานหน้าต่าง มี รู ป เขี ย นชายหญิ ง เป็ น คู ่ ๆ ในลั ก ษณะ สิบสองภาษา มีไทย จีน ลาว มอญ ฝรั่ง พราหมณ์ ฯลฯ หมู่กุฏิสงฆ์ในวัดก็น่าสนใจไม่น้อย ในงานสถาปัตยกรรม เพราะเป็นแบบเรือน ยอดและเรือนมะลิลาของไทยที่เรียกกันว่า เรือนสมัยรัชกาลที่ 5 บน ศ า ล า การเปรี ย ญหลั ง เก่ า มีธรรมาสน์เก่าสมัยอยุธยาทรงยาวหรือทรง บุ ษ บกแบบวั ด เชิ ง ท่ า 1 หลั ง ตั้ ง อยู ่ เ ป็ น ธรรมาสน์แกะสลักไม้สวยงามมาก ทั้งในแง่ รูปทรงและลวดลายสลัก ประดับตกแต่ง ทุกส่วน

น่าช้อป

ตลาดนัดบริเวณวัด ขายทุกวันอังคาร พุธ ศุกร์ อาทิตย์

51


น่าแวะ

เมือ่ มาวัดแล้วก็ตอ้ งแวะเยีย่ มชมโขนจิว๋ ของทีร่ ะลึกอันทรงคุณค่าและการแสดงโขนเด็ก โรงเรียนวัดศาลาครืน แหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยอีกแห่ง โดยครูสหวัฒน ธรรัตน์ศรัณย์ ผู้มีความรู้ความสามารถในการปั้นจากสถาบันเพาะช่าง เป็นผู้ริเริ่ม เดิมคุณครูเล่าว่าต้องการ ดึ งความสนใจเด็ กๆ ให้ห ่างไกลจากยาเสพติด จึง ได้ จัด กิ จกรรมสอนเด็ ก ท�ำหั ว โขนและ แสดงโขนขึ้น ในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์เพื่อให้เด็กมีกิจกรรมต่างๆ และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนการสอนวิชาบูรณาการดนตรี นาฏศิลป์ อีกทั้งยังได้สอนให้กับบุคคลทั่วไปในแหล่ง ชุมชนใกล้เคียง เพื่อให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ติดต่อการแสดงได้ที่ โทร. 0 2476 3707

น่าลอง

ทุกวันพระ ทางวัดจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม

ที่ตั้ง

วัดศาลาครืน เลขที่ 102 ซอยวุฒากาศ 42 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2476 3707, 0 2476 8067 ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

การเดินทาง

รถประจำ�ทาง มีรถผ่านสาย 111, 43 และรถสองแถวเล็ก สายวัดสิงห์ – ตลาดพลู

52


วัดไทร

วัดไทร เป็นวัดราษฎร์ พระสงฆ์ที่จำ�วัดนี้เป็นพระสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2246 แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2251 มีจารึกแผ่นไม้ระบุไว้ชัดเจนว่าวัดไทรได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ครั้งที่หนึ่ง และสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) โดยมีช่างจีนรับเหมาทำ�การ ปฏิสงั ขรณ์อกี ครัง้ หนึง่ วัดไทรเป็นวัดใหญ่ทม่ี คี วามสำ�คัญมาตัง้ แต่สมัยอยุธยาเพราะมีหลักฐาน พระพุทธรูปสลักหินทรายสีแดงปางต่างๆ เช่น ปางสมาธิ ปางมารวิชยั พระทรงเครือ่ ง ฯลฯ อยู่ในพระวิหารเป็นจำ�นวนมาก ปัจจุบันมีใบเสมาสลักหินทรายสีแดงสมัยอยุธยาอยู่ด้าน ตะวันตกพระอุโบสถเหลืออยู่ 1 หลัง “ตำ�หนักทอง” ที่เชื่อว่าเป็นของพระเจ้าเสือทรงพระราชอุทิศให้เป็นกุฏิสงฆ์ ตั้งอยู่ ริมคลองด่านหรือคลองสนามชัยด้านหน้าวัดไทร ที่เรียกว่าตำ�หนักทองก็เพราะเป็นตำ�หนักที่ สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ลงรักปิดทองด้านในและด้านนอก ดูแพรวพราวสวยงาม แต่อยู่ ในสภาพลบเลือนมากโดยเฉพาะตอนล่างของฝาด้านนอก กรอบหน้าต่าง มีฐานสิงห์เป็นหย่อง จะยกขอบสูงจากพื้นผนังจนดูเหมือนประหนึ่งจะเบาลอยแปะติดตั้งอยู่บนฝาเลยทีเดียว หมู่กุฏิสงฆ์นั้น น. ณ ปากน้ำ�กล่าวว่าเป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่พระเจ้าเสือ ทรงนำ�มาสร้างไว้ข้างๆ ตำ�หนักทองด้วย ธรรมาสน์สลักไม้อยุธยา ซึ่งเดิมถูกถอดแยกเป็นชิ้น ส่วนเพราะชำ�รุดเสียหายอยูก่ อ่ น แต่บดั นีเ้ จ้าอาวาสปัจจุบนั ได้ให้ประกอบเก็บรักษาไว้บนศาลา การเปรียญที่อยู่ใกล้กับตำ�หนักทองแล้ว

53


น่าชม

พระอุโบสถใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2539 เป็น ศิลปะอยุธยาตอนปลายย้อนยุค ประดับด้วย กระเบื้องเซรามิคลายเบญจรงค์ทั้งหลัง

วิหาร สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย บูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 6

ตำ�หนักทองวัดไทร หรือตำ�หนักพระเจ้าเสือ ตั้งอยู่ริมคลองสนามไชย (คลองด่าน) เป็นสถาปัตยกรรมไม้สมัยอยุธยา

เจดีย์

หอกลอง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นศิลปะทรงดอกบัวคว่ำ�

พระอุโบสถเก่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ในปี พ.ศ. 2246

54


น่าชิม

หอระฆังเก่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 เป็นทรงจีน

กาละแมสูตรโบราณ หวานมัน ร้านลูกสาวแม่กิมลั้ง (คุณเฮียะ) เป็นสินค้า OTOP เขตจอมทอง ขายประจำ�ที่ตลาดน้ำ�วัดไทร

น่าบูชา

พระประธานปางมารวิชัย มีนามว่า พระพุทธ มงคลอภิปูชนีย์ ทำ�ด้วยทองเหลืองทั้งองค์

น่าแวะ

น่ามา

งานประจ�ำปีเทศกาลสงกรานต์ วันที่ 13-16 เมษายน วัดจัดกิจกรรม ปิดทอง สรงน้ำ�พระ ใส่บาตรเช้า สวดมนต์ ฟังธรรม เทศน์อุโบสถ ถ้าหากงานจัดตรงกับวันพระ จะจัดเพิ่มให้มีการปฏิบัติธรรม ถือศีลแบบพักค้าง 55

ตลาดน้ำ�วัดไทร


น่าลอง

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว (1) จากวงเวียนใหญ่ - ถนนตากสิน ถนนจอมทอง -ถนนเอกชัย - วัดไทร (2) จากถนนกาญจนาภิเษก - ถนนเอกชัย - วัดไทร รถประจำ�ทาง สาย 43, 120, 167, 544 (1) รถประจำ�ทางสาย 43 จากร.ร.ศึกษานารี 2 - ถนนเอกชัย (วัดไทร) - ถนนวุฒากาศ - ถนนเทอดไท - ถนนอินทรพิทักษ์ - วงเวียนใหญ่ - ถนนลาดหญ้า สะพานพุทธ - เสาชิงช้า - เทเวศน์ (2) รถประจ�ำทางสาย 120 จากมหาชัย เมืองใหม่ - ถนนเอกชัย (วัดไทร) - ถนน จอมทอง - ถนนตากสิน - วงเวียนใหญ่ ถนนลาดหญ้า - ท่าน�้ำ คลองสาน รถไฟ เส้นทางสายมหาชัย - วงเวียนใหญ่ ลงที่สถานีย่อยวัดไทร ทางเรือ (1) จากท่าเรือท่องเที่ยวบริเวณท่าช้าง ล่องตามแม่น้ำ�เจ้าพระยาเข้าสู่คลอง ดาวคะนอง - คลองบางขุนเทียน คลองลัดเช็ดหน้า - คลองบางมด คลองสนามชัยมุ่งสู่ (ตลาดน้ำ�วัดไทร) (2) จากตลาดน�้ำวัดไทร - คลองด่าน สวนงู - คลองสนามชัย - คลองดาวคะนอง - แม่น�้ำเจ้าพระยา หรือคลองสนามชัย - คลองด่าน คลองบางกอกใหญ่ - แม่น�้ำ เจ้าพระยา

ทุกวันสำ�คัญทางพุทธศาสนา จัดกิจกรรม เดินเวียนเทียน และฟังเทศน์ 1 กัณฑ์

ที่ตั้ง วัดไทร

หมู่ 2 ซอยเอกชัย 23 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2415 7173, 08 1268 8995 (เจ้าอาวาส) ที่จอดรถ ภายในบริเวณวัด

56


วัดสิงห์

วัดสิงห์ เป็นอีกวัดหนึ่งที่มีความเก่าแก่ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2326 หรือต้นสมัย รัตนโกสินทร์ ไม่ปรากฏประวัติว่าใครเป็นผู้สร้าง วัดสิงห์อยู่ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2513 วัดสิงห์ได้เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480 โบราณสถานที่สำ�คัญของวัด คือหลังคาอุโบสถ กุฏิที่ท�ำเป็นทรงปั้นหยา พระประธานในอุโบสถมีหน้าตักกว้าง 1.5 เมตร วัดสิงห์มีหลักฐานที่ส�ำคัญทั้งโบราณวัตถุและโบราณสถานที่น่าสนใจ หลายยุค หลายสมัย โดยตัวอุโบสถหลังเก่าก่อผนังหนาทรงวิลันดาสมัยอยุธยา หน้าบันปั้นปูนรูปลาย พะเนียงประดับถ้วย ตอนล่างหน้าบันปั้นลักษณะจ�ำลอง เขามอ ส�ำหรับใบเสมา นั้นเข้าใจว่า จะสร้างในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ คล้ายกับที่วัดพรหมนิวาสน์ (วัดขุนญวน) ที่หัวแหลม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอักษรจารึกใช้ค�ำว่ากวางตุ้ง ชื่อนายฮวด ผู้สร้าง ด้วยคิดว่าคงจะ สั่งท�ำมาจากกวางตุ้งและได้ส่งอิทธิพลมายังสมัยรัชกาลที่ 1 ในปัจจุบันทางวัดสร้างอุโบสถ หลังใหม่และใช้เสมาเก่าเฉพาะที่สมบูรณ์ดีเท่านั้น

57


จากนีจ้ งึ พบว่าทีอ่ โุ บสถเก่าใช้ลกู นิมติ รเป็นก้อนหินธรรมชาติ ยังไม่ได้สกัดเกลาให้กลม แต่อย่างใด ส่วนพระประธานในอุโบสถเก่า ท�ำด้วยก่ออิฐฉาบปูน ลงรักปิดทองและมี พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ซึ่งสมัยก่อนอยู่ในวิหารเก่า แล้วได้ย้ายมาไว้ที่หน้าอุโบสถเก่า ปัจจุบันนี้ได้อัญเชิญขึ้นไว้ในวิหารหลังใหม่ และได้มาทราบตอนหลังนี้ว่าพระพุทธรูปองค์นี้ เป็นเนื้อหินทรายแดง (ศิลาแลง) ลักษณะน่าจะเป็นพระสมัยสุโขทัย หรือสมัยอยุธยาตอนต้น เป็นพระพุทธรูปปางอู่ทอง นั่งขัดสมาธิ มีร่องรอยทารักสีดำ�มาก่อนจนชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อดำ�” กันตลอดมา เมื่อได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชีในวิหารแล้วก็จะลงรัก ปิดทอง ช่างปิดทองได้ฉาบโป๊วแต่งองค์พระเพือ่ ให้องค์พระเรียบเนียนแล้วจึงจะลงรักปิดทองได้ เมื่อทำ�มาตามขั้นตอนแล้วปรากฏว่า ปูนและเคมีที่ฉาบโป๊วไว้นั้นยุ่ยเป็นขุยไม่ติดและจะเปลี่ยน มุขและนิลทีพ่ ระเนตรของหลวงพ่อก็ปรากฏว่าเนือ้ พืน้ ผิวยุย่ อีก ได้เคาะทีพ่ ระพักตร์ของหลวงพ่อ ปรากฏเสียงดังเหมือนเป็นโพรงข้างในก็ได้ค่อยๆ เคาะสกัดออก เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 เมื่อสกัดเนื้อปูนที่หุ้มอยู่ออกหนา 2 เซ็นติเมตร ก็ได้เห็นข้างในเป็นองค์พระ ที่ปิดทองไว้อีกชั้นหนึ่งค่อนข้างสมบูรณ์ และพระเนตรข้างในก็มีอีกชั้นหนึ่งยังคงสภาพที่ดีมาก ริมพระโอฏฐ์ทาสีแดง เจ้าอาวาสก็เลยให้ช่างสกัดเนื้อปูนที่หุ้มอยู่นั้นออกให้หมดแล้วฉาบโป๊ว เนื้อผิวองค์พระใหม่จึงลงรักปิดทองได้ ลักษณะของการที่คนสมัยนั้นได้ฉาบปูนทับองค์พระ ที่ปิดทองไว้ คนหลายคนส่วนมากเข้าใจว่ากลัวพวกคนพม่าจะมาท�ำลายองค์พระเพื่อเอาทอง ไป เมื่อครั้งที่พม่าเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ส่ ว นเจดี ย ์ เ หลี่ ย มหน้ า โบสถ์ เ ก่ า นั้ น น่าจะเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น นอกจากนี้ ยังมีชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินทรายแดงสมัยอยุธยา อยู่บริเวณโคนต้นโพธิ์และต้นมะขามหน้าวิหาร หลวงพ่อด�ำอีกมาก ทั้งอิฐและเนื้อปูนที่ก่อฉาบ ตัวอาคารอุโบสถและวิหารเก่า ตามที่กล่าวมานี้ จึงพอเป็นแนวให้สันนิษฐานได้ว่า วัดสิงห์นี้คง สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลายก็ไม่สามารถ ที่จะระบุชี้ชัดลงไปให้เป็นที่แน่นอนได้และคาดว่า คงจะมีอายุไม่ต�่ำกว่า 300 - 400 ปี อย่างแน่นอน ตามหลักฐานวัตถุต่างๆ ที่ยังพอมีเหลือให้เห็นอยู่ ปัจจุบันนี้ทางวัดเปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนก นักธรรมเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2480 เป็นต้นมา 58


น่าชม

อุโบสถหลังเก่า ก่อผนังหนาทรงวิลันดา สมัยอยุธยา หน้าบันปั้นปูนรูปลายพะเนียง ประดับถ้วย ตอนล่างหน้าบันปั้นลักษณะ จำ�ลอง

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถเก่า เป็นภาพสวรรค์ป่าหิมพานต์ แม้ว่าจะเขียน ขึ้นมาใหม่แต่ก็มีความสวยงามไม่แพ้ภาพยุค สมัยเก่าเลยโดยช่างฝีมือจากกรมศิลปากร

เจดีย์เหลี่ยมหน้าโบสถ์เก่า สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น

พระวิหารทรงจัตุรมุข

บานประตูอุโบสถ จิตรกรรมลายรดน้ำ� ลงรักปิดทองอย่างสวยงาม

ภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติ ภายในวิหาร

59


น่าบูชา

พระประธานในอุโบสถหลังเก่าปางสมาธิ เรียกกันว่า หลวงพ่อด้วง

พระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานภายในพระวิหาร

องค์เจ้าแม่กวนอิม ประดิษฐานภายในเก๋งจีนติดกับท่าน้ำ� หลวงพ่อดำ� พระพุทธรูปปางอู่ทอง นั่งขัดสมาธิ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจัตุรมุข

60


น่ามา

งานประจำ�ปีเทศกาลตรุษจีน ปิดทองพระ ทอดผ้าป่า

ที่ตั้ง วัดสิงห์

เลขที่ 35 หมู่ 3 ซอยเอกชัย 43 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2415 5511, 0 2415 3832 ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

น่าคลิ๊ก

https://www.facebook.com/watsing43 http://www.watsing.net

น่าลอง

ทุกวันส�ำคัญทางพุทธศาสนา จัดกิจกรรม เวียนเทียน ปฏิบัติธรรม-บวชชีพราหมณ์ วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ มีสวดมนต์ นั่งสมาธิ ถือศีล ฟังเทศน์ฟังธรรม

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว (1) จากวงเวียนใหญ่ - ถ.ตากสิน ถ.จอมทอง - ถ.เอกชัย - วัดสิงห์ (2) จากถ.กาญจนาภิเษก - ถ.เอกชัย วัดสิงห์ รถประจ�ำทาง สาย 43, 120, 167, 544 (1) สาย 43 จากร.ร.ศึกษานารี 2 - ถ.เอกชัย (วัดไทร) - ถ.วุฒากาศ ถ.เทอดไท - ถ.อินทรพิทกั ษ์ - วงเวียนใหญ่ - ถ.ลาดหญ้า - สะพานพุทธ - เสาชิงช้า - เทเวศร์ (2) สาย 120 จากมหาชัยเมืองใหม่ ถ.เอกชัย (วัดไทร) - ถ.จอมทอง - ถ.ตากสิน - วงเวียนใหญ่ - ถ.ลาดหญ้า - ท่านำ�้ คลองสาน

61


วัดแก้วไพฑูรย์

วัดแก้วไพฑูรย์อยู่ริมคลองบางประทุน ท้องที่แขวงบางขุนเทียน เป็นวัดราษฎร์ เนื่องจากวัดนี้ตั้งอยู่ริมคลองบางประทุน ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่าวัดบางประทุนใน และเรียกวัด ทีอ่ ยูต่ รงปากคลองบางประทุนทางด้านทีต่ ดิ กับคลองสนามชัยอีกวัดหนึง่ ว่า วัดบางประทุนนอก ประวัติวัดแก้วไพฑูรย์สร้างขึ้นสมัยใด และใครเป็นผู้สร้างนั้นไม่ปรากฏในหลักฐานที่อ้างอิงได้ แต่พจิ ารณาตามลักษณะและศิลปะของการก่อสร้างของอุโบสถหลังเดิม สันนิษฐานว่าสร้างใน สมัยตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์อย่างแน่นอน ประมาณอายุไม่ต�่ำกว่า 150 ปี โบราณสถานและโบราณวัตถุได้แก่เจดีย์ทรงเครื่อง ขนาดใหญ่พอๆ กันกับที่ วัดนางนองและย่อมุมไม้ 20 เหมือนกัน ตั้งเด่นอยู่กลางวัด แต่จะทรงระฆังยืดเพรียวสูงกว่า และมีลายสร้อยสังวาลประดับที่ขอบระฆังตามแนวย่อมุม และมีศาลาการเปรียญพื้นที่ต�่ำ หลังคาทรงจั่วที่มีปีกนกรอบ มีลายสลักอย่างละเอียดประณีตที่ฝาปะกนเป็นรูปดอกไม้ใบไม้ เรือ่ งราวชาดก ฯลฯ ทัง้ 4 ด้าน เป็นงานสลักไม้ทมี่ จี งั หวะของลวดลายประสานกลมกลืนกัน รูปทรงสถาปัตยกรรมสมบูรณ์ควรแก่การชื่นชมศึกษา บานประตูเขียนลายทองรูปเซี่ยวกาง แบบคติจนี ซึง่ เป็นเหมือนเทพทวารบาลของคติไทยทีส่ วยงามน่าสนใจ ภายในศาลาการเปรียญ มีธรรมาสน์สลักไม้สมัยอยุธยาตอนปลายที่วิจิตรตระการไม่น้อยกว่าสิ่งอื่นๆ

62


น่าชม

ธรรมาสน์สลักไม้สมัยอยุธยาตอนปลาย

เจดีย์ทรงเครื่อง ย่อมุมไม้ 20 ทรงระฆังยืด เพรียวสูงกว่าและมีลายสร้อยสังวาลประดับ ที่ขอบระฆังตามแนวย่อมุม

วิหารหลวงปู่บุญ

อุโบสถ

ศาลาการเปรียญ พื้นที่ต�่ำหลังคาทรงจั่ว ที่มีปีกนกรอบ มีลายสลักอย่างละเอียด ประณีตที่ฝาปะกนเป็นรูปดอกไม้ ใบไม้ เรื่องราวชาดก ฯลฯ ทั้ง 4 ด้าน ปัจจุบัน ทางกรมศิลปากรได้อนุมัติให้บูรณะใหม่ เป็น 2 ชั้น ฐานด้านล่างเป็นปูน แต่ด้านบนยังคงใช้ไม้ของเดิมทั้งหมด

63


น่าบูชา

ที่ตั้ง วัดแก้วไพฑูรย์

พระประธานประจำ�อุโบสถ ปางมารวิชัย

เลขที่ 9 หมู่ 10 ถนนเอกชัย แขวง บางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2416 4244 เปิดเวลา 5.00 น. - 19.00 น.

การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว (1) จากวงเวียนใหญ่ - ถนนตากสิน ถนนจอมทอง - ถนนเอกชัย - วัดแก้วไพฑูรย์ (2) จาก ถนนกาญจนาภิเษก - ถนนเอกชัย - วัดแก้วไพฑูรย์ รถประจำ�ทาง สาย 43, 120, 167, 544

น่ามา

งานประจำ�ปี ระหว่างวันที่ 6-8 เมษายน ของทุกปี นมัสการปิดทองพระประธาน ทำ�บุญถวายสังฆทาน ตักบาตร

น่าลอง

วันสำ�คัญทางพุทธศาสนาทางวัดจัดให้มี การทำ�บุญตักบาตร เวียนเทียน ทุกวันพระจัดกิจกรรมทำ�บุญถือศีล ในตอนกลางวัน แต่ถ้าเป็นช่วงเข้าพรรษาจะมีการถือศีล แบบพักค้าง

64


วัดบางประทุนนอก

วัดบางประทุนนอก เป็นวัดราษฎร์ ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ราว พ.ศ. 2394 ที่ได้นามว่า วัดบางประทุนนอก ก็เพราะว่าวัดตั้งอยู่ในตำ�บลบางประทุน (ชื่อตำ�บลเดิม) และอยู่ปากคลองบางประทุน ส่วนคำ�ว่า “นอก” ที่ต่อท้ายนั้นเนื่องจากช่วงตอนในคลอง บางประทุนมีวัดอยู่อีกวัดหนึ่งว่า “วัดบางประทุนใน” ปัจจุบันคือ “วัดแก้วไพฑูรย์” ส่วน หลักฐานผู้ที่สร้างวัดบางประทุนนอก ไม่ปรากฏว่ามีชื่อของใครเป็นผู้สร้าง จึงเข้าใจว่าชาวบ้าน ในระแวกนั้นร่วมใจกันสร้างขึ้นมา สันนิษฐานว่าคงจะสร้างสมัยต้นๆ กรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2521 อุโบสถหลังแรกเป็น มหาอุด คือไม่มีประตูด้านหลัง ด้านหน้าเป็นเพิงพาไล ยื่นออกมา ไม่มีซุ้มสีมา เพราะเขตสีมาติดกับผนังอุโบสถ ใบสีมาจึงติดอยู่ที่ผนังอุโบสถทั้งหมด ส่วนวิหารอยู่คู่เคียงข้างกับอุโบสถ รูปลักษณะก็เช่นเดียวกันกับอุโบสถ ผิดแต่ช่องหน้าต่าง เป็นรูปโค้งยอดแหลมทั้งหมด หน้าอุโบสถและวิหารมีพระเจดีย์และพระปรางค์อยู่ 2 คู่ หน้าอุโบสถ 1 คู่ หน้าวิหาร 1 คู่ แต่ทั้งหมดนี้ช�ำรุดทรุดโทรมผุพังรื้อถอนไปหมดแล้ว ด้านการศึกษา ทางวัดเปิดสอนพระปริยัติธรรม พระนวกะต้องเรียนพระปริยัติธรรม ทุกรูป ศาลาการเปรียญศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เป็นที่ตั้งของ กศน. แขวงบางขุนเทียน

65


น่าชม

วิหารอดีตเจ้าอาวาส

อุโบสถหลังปัจจุบัน

บานประตู บานหน้าต่างจิตรกรรมลายรดน้ำ� ลงรักปิดทอง

น่าบูชา

พระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 45 นิ้ว พระอัครสาวก ขวา-ซ้าย

ศาลาการเปรียญ ศูนย์ กศน. แขวงบางขุนเทียน

66


น่ามา

งานประจำ�ปีวัดระหว่างวันที่ 14-16 มกราคม ของทุกปี นมัสการปิดทองพระประธาน พระพุทธชินราช พระพุทธบาทจำ�ลอง ทำ�บุญถวายสังฆทาน ตักบาตรพระประจำ�วันเกิด และเติมน้ำ�มันเพื่อเป็นการสักการะพระธาตุประจำ�ปีนักษัตร วันที่ 16 มกราคมของทุกปี วัดบางประทุนนอก จัดงานวันกตัญญู ทำ�บุญเลี้ยงพระเพล เพื่อเป็นการรำ�ลึกถึงคุณความดี ของครูบาอาจารย์ และผู้มีอุปการคุณที่ล่วงลับไปแล้ว

น่าชิม

ที่ตั้ง วัดบางประทุนนอก

ข้ามฝั่งสะพานตรงบริเวณศาลาท่าน้ำ� มีร้านอาหารตามสั่งและก๋วยเตี๋ยว บรรยากาศริมคลอง

เลขที่ 104 หมู่ 2 ซอยเอกชัย 9 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2416 3180, 0 2415 2726 ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

การเดินทาง รถยนต์ส่วนตัว (1) จากวงเวียนใหญ่ - ถนนตากสิน - ถนนจอมทอง - ถนนเอกชัย - วัดบาง ประทุนนอก (2) จาก ถนนกาญจนาภิเษก - ถนนเอกชัย - วัดบางประทุนนอก รถประจำ�ทาง สาย 43, 120, 167, 544

น่าลอง

ทุกวันพระ ฟังเทศน์ฟังธรรม พร้อมกับ พระนวกะ

67


วัดบางขุนเทียนนอก

วัดบางขุนเทียนนอก เป็นวัดราษฎร์ ที่สร้างมาแต่โบราณ ประมาณ พ.ศ. 2246 ชื่อเดิมว่า “วัดยมโลก” โดยมีผู้ศรัทธา 2 คน ได้ร่วมกันสร้างวัดนี้ ต่อมาผู้ร่วมสร้างวัด คนหนึ่งได้ด�ำเนินการสร้างวัดขึ้นมาใหม่อีกวัดหนึ่งคือ “วัดบางขุนเทียนกลาง” เกี่ยวกับชื่อวัด ได้เปลี่ยนใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สมัยที่พระอธิการส�ำเนียงเป็นเจ้าอาวาส เพื่อให้ สอดคล้องกับชื่ออ�ำเภอบางขุนเทียนของทางราชการ วัดบางขุนเทียนนอกได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ. 2250 พระอุโบสถวัดบางขุนเทียนนอกนั้น เป็นแบบเก๋งจีน ซ่อมแซมในสมัยรัชกาลที่ 3 หน้าบันมีลวดลายประดับด้วยถ้วยชามเบญจรงค์ รูปต้นไม้ดอกไม้ ภายในมีภาพจิตรกรรม ฝาผนังอันทรงคุณค่ามาก เจดีย์ทรงปรางค์ทั้งสี่ มีลักษณะโปร่งเพรียวอันเป็นรูปแบบของเจดีย์ ทรงปรางค์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และพระประธานในพระอุโบสถปางมารวิชัย ศิลปะ สมัยสุโขทัยล้อมรอบด้วยพระพุทธรูป อีก 15 องค์ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ

68


น่าชม

พระอุโบสถของวัดบางขุนเทียนนอก สันนิษฐานแต่เดิมเป็นทรงไทยมาก่อน จะมีการบูรณะเป็นรูปแบบปัจจุบัน มีศิลปะสมัย 2 ยุคปนกัน คืออยุธยากับสมัยรัชกาลที่ 3

ประตูด้านหลังพระอุโบสถ และใบเสมา แสดงเขตวิสุงคามสีมา

ลายปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบ ลายพันธุ์พฤกษา ลายคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกันในแต่ละประตู คาดว่า น่าจะเกิดจากช่างที่ทำ�คนละคนกัน ลายประตูลงรักปิดทอง

พาไลบังสาดที่ด้านหน้าและหลังและ ส่วนฐานแบบโค้งสำ�เภาบอกยุคสมัย อยุธยาตอนปลาย หน้าบันแบบพระราชนิยม ประดับกระเบื้องสีลวดลายอย่างจีน และเจดีย์ทรงปรางค์ประจำ�ทั้งสี่มุม บอกยุคสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 3

69


จิตรกรรมฝาผนังลบเลือนไปมาก แต่ยังมองเห็นได้ถึงความงดงาม

น่าบูชา

เข้ามาภายในพระอุโบสถ พระประธานคือ พระพุทธยมโลกปางมารวิชัย ศิลปะสมัย อยุธยาตอนปลาย และพระองค์เล็ก ด้านหน้าพระประธานปางสมาธิ เป็นศิลปะ สมัยสุโขทัย ล้อมรอบด้วย พระพุทธรูป อีก 15 องค์ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ

เจดีย์ทรงปรางค์ ประจำ�มุมทั้งสี่ทิศ

พระพุทธวัจนะ อยู่ด้านหน้าของวัด

รูปหล่อโลหะหลวงปู่ทวดเหยียบน�้ำทะเลจืด องค์ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ

70


น่ามา

งานประจำ�ปีสืบสานประเพณีวันลอยกระทง

น่าแวะ

แวะพักทำ�ทานให้อาหารปลาบริเวณท่าน้ำ�ของวัด

น่าลอง

สวดมนต์ข้ามปีวันที่ 31 ธันวาคม สวดมนต์ธรรมจักรทุกวันพระ

ที่ตั้ง

วัดบางขุนเทียนนอก เลขที่ 1 หมู่ 7 ซอยจอมทอง 19 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2875 3290, 08 6014 0121 (เจ้าอาวาส) ที่จอดรถบริเวณวัด

การเดินทาง รถประจำ�ทาง สาย 10, 111, 120, 167 รถสองแถวเล็กสายวัดสิงห์-ดาวคะนอง ลงรถหน้าปากซอย จอมทอง 19 ต่อรถมอร์เตอร์ไซด์รับจ้างเข้าไปอีกที ถ้าจะเดินก็ได้เหงื่อกันเลยทีเดียว ตรงเข้าไปตามทาง วัดจะอยู่ก่อนถึงทางโค้งด้านซ้ายมือจะมีป้ายวัดเขียนไว้ชัดเจน ทางเรือ มีเรือรับจ้างไม่ประจ�ำทางอยู่ตามจุดใหญ่ๆ เช่น วัดอรุณ วัดไทร จ้างเหมาล�ำและล่องมาตามคลองบางขุนเทียนเรื่อยไปจนถึงปากอ่าว 71


วัดบางขุนเทียนกลาง เดินข้ามเขตก�ำแพงวัดบางขุนเทียนนอกมา ก็จะพบกับ วัดบางขุนเทียนกลาง เรียกได้ว่าใช้ก�ำแพงวัดร่วมกันทีเดียว เป็นวัดราษฎร์ สร้างขึ้นปี พ.ศ. 2300 โดยผู้สร้างวัดได้ เคยร่วมกันสร้างวัดบางขุนเทียนนอกมาก่อน แล้วแยกตัวมาสร้างวัดบางขุนเทียนกลาง วัดบางขุนเทียนกลางได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2307 วัดเป็นวัดร้าง อยู่หลายปีอันเกิดจากภัยสงคราม เพราะคลองบางขุนเทียนที่ไหลผ่านหน้าวัด เป็นเส้นทาง ล�ำเลียงพลของพม่าที่ใช้ยกไปตีพระเจ้ากรุงธนบุรี จนถึง พ.ศ. 2407 พระอธิการวันได้มา บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ ท�ำให้วัดบางขุนเทียนกลางได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาตามล�ำดับ พระอุโบสถวัดบางขุนเทียนกลางนั้น เหมือนพระอุโบสถวัดบางขุนเทียนนอก หน้าบัน มี ล วดลายประดั บ ด้ วยถ้วยชามเบญจรงค์ รูป ต้น ไม้ด อกไม้ พระประธานในพระอุ โ บสถ หลวงพ่อฉัตรทอง เป็นพระที่อยู่คู่วัดมานาน รูปแบบพระอุโบสถแบบเก๋งจีนที่จะไม่นิยมประดับ ช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ หน้าบันก่ออิฐถือปูนประดับกระเบื้องเคลือบตามแบบพระราชนิยม นิยมทำ�กันในสมัยปลายรัชกาลที่ 2 และรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 3

72


น่าชม

พระอุโบสถ แบบเก๋งจีน

ด้านขวามือของพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง

บานประตูลายปูนปั้น ประดับกระเบื้องเคลือบลายพันธุ์พฤกษา ปัจจุบันได้ทำ�การซ่อมแซมทาสีใหม่

ศาลาเก็บเรือ สำ�หรับงานแข่งเรือประจำ�ปี เป็นเรือขุดทำ�จากไม้ทั้งต้น

ถัดจากศาลาท่าน้ำ�มาทางขวา พิพิธภัณฑ์ เรือเก่า มีทั้งเรือเก่าไว้สำ�หรับให้พระไว้ สำ�หรับบิณฑบาต และเรือแข่งสมัยก่อน เจดีย์ 8 องค์ รอบอุโบสถ เป็นศิลปะย่อมุม 20 สมัยอยุธยา

73


น่าแวะ

น่ามา

ทำ�ทานให้อาหารปลา ชมทัศนียภาพ บ้านเรือนริมคลองที่ศาลาท่าน้ำ�วัด

งานประจำ�ปีสืบสานประเพณี งานลอยกระทง งานแข่งเรือ

ที่ตั้ง วัดบางขุนเทียนกลาง

เลขที่ 2 หมู่ 7 ซอยจอมทอง 19 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2476 4308 พระอุโบสถเปิดเวลา 8.00 - 16.00 น. ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

การเดินทาง

รถประจำ�ทาง สาย 10, 111, 120, 167 รถสองแถวเล็กสายวัดสิงห์-ดาวคะนอง ลงรถหน้าปากซอยจอมทอง 19 ต่อรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้าไปอีกที ตรงเข้าไปตามทาง วัดจะอยู่เลยทางโค้ง ไปอีกนิด วัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ รั้ววัดติดกับวัดบางขุนเทียนนอก ทางเรือ มีเรือรับจ้างไม่ประจำ�ทางอยู่ ตามจุดใหญ่ๆ เช่น วัดอรุณ วัดไทร จ้างเหมาลำ�และล่องมาตามคลอง บางขุนเทียนเรื่อยไปจนถึงปากอ่าวได้ทีเดียว

น่าบูชา

หลวงพ่อฉัตรทอง พระประธาน ในพระอุโบสถที่อยู่คู่กับวัดนี้มานาน แสนนาน พระประธานประจำ�พระอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 76.5 นิ้ว สูง 102 นิ้ว

74


วัดบางขุนเทียนใน

วัดบางขุนเทียนใน เป็นวัดราษฎร์ ตั้งอยู่ริมคลองบางขุนเทียนฝั่งตะวันตก เดิมชื่อ วัดขนุน โดยฝั่งตะวันออกเยื้องๆ กันนั้น มีวัดบางขุนเทียนนอก กับวัดบางขุนเทียนกลาง วัดขนุนจึงได้นามต่อมาว่า วัดบางขุนเทียนใน สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 ในสมัย อยุธยา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาได้รับเมื่อประมาณ พ.ศ. 2378 วัดบางขุนเทียนใน เป็นวัดที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย และได้รับการ ปฏิสังขรณ์สร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 3 – รัชกาลที่ 4 พระอุโบสถหันไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นบริเวณคลองบางขุนเทียน อุโบสถเป็นอาคารขนาดกลางที่มีเสาเหลี่ยมพาไลโดยรอบ ซุ้มประตูหน้าประดับด้วยลายปูนปั้นอย่างงดงาม พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธปฏิมาปางป่าเลไลยก์ และมีจิตรกรรม ฝาผนังที่สวยงาม ซึ่งจิตรกรรมฝาผนัง ณ พระอุโบสถวัดบางขุนเทียนในนั้น สันนิษฐานว่า เขียนในสมัยรัชกาลที่ 4 ตอนต้นโดยฝีมือช่างชั้นครู ลักษณะจิตรกรรมยังคงเขียนตามแบบแผน การเขียนภาพจิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ เบื้องหลังพระประธานเขียนภาพไตรภูมิ บนผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพมารผจญ ผนังด้านข้างเขียนภาพเทพชุมนุมพุทธประวัติ และทศชาติชาดกเป็นช่วงสุดท้ายของจิตรกรรมแบบดั้งเดิม ก่อนที่จะได้รับอิทธิพลการเขียน ภาพแบบตะวันตก

75


น่าชม

ใบเสมา วัดบางขุนเทียนในคาดว่า สร้างราวสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมกับการ บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ลักษณะพิเศษ คือ มีรูปสามเหลี่ยมตะแคงอยู่กลางเสมา เรียกว่า นมเสมา

พระอุโบสถ เป็นอาคารขนาดกลาง ที่มีเสาเหลี่ยมพาไลโดยรอบ

ซุ้มประตูทางเข้า ด้านหน้าพระอุโบสถ มีลวดลายปูนปั้นเป็นแบบตะวันออก ลาย พันธุ์พฤกษาและเฟื่องอุบะ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง บนผนังด้านหน้า พระประธานเขียนภาพมารผจญ ผนังด้าน ข้างเขียนภาพเทพชุมนุม พุทธประวัติ และ ทศชาติชาดก

เจดีย์ย่อมุม อยู่บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ หอระฆังโบราณ

76


น่าบูชา

น่าลอง

พระประธานเป็นพระพุทธปฏิมา ปางป่าเลไลยก์ อันมีลักษณะที่แปลกกว่า พระอุโบสถและพระวิหารแห่งอื่นๆ

ทำ�บุญและปฏิบัติธรรมทุกวันพระ ทางวัดจะจัดให้ประชาชนร่วมปฏิบัติธรรม ฟังธรรมเทศนา

ที่ตั้ง วัดบางขุนเทียนใน

เลขที่ 37 หมู่ 1 ซอยจอมทอง 13 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 08 1989 7232 (เจ้าอาวาส) ที่จอดรถบริเวณวัด

น่ามา

งานประจำ�ปีวันที่ 7-12 ธันวาคม งานก่อพระเจดีย์ทรายเดือนเมษายน

การเดินทาง รถประจ�ำทาง สาย 10, 111, 120, 167 รถสองแถวเล็กสายวัดสิงห์-ดาวคะนอง ลงรถหน้าปากซอย จอมทอง 13 ต่อ รถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ทางเรือ มีเรือรับจ้างไม่ประจำ�ทางอยู่ ตามจุดใหญ่ๆ เช่น วัดอรุณ วัดไทร จ้างเหมาลำ�และล่องมาตามคลอง บางขุนเทียน

น่าแวะ

ทำ�ทานให้อาหารปลาบริเวณศาลาท่าน้ำ�

77


วัดมงคลวราราม เมื่อเดินทางเลี้ยวจากถนนสุขสวัสดิ์ เข้ามาทางถนนจอมทอง วัดแรกที่เราเจอก็คือ วัดมงคลวราราม วัดมีฐานะเป็นวัดราษฎร์ตั้งอยู่ย่านดาวคะนอง แขวงบางค้อ เขตจอมทอง เดิมชื่อว่าวัดมะเกลือ ที่ได้ชื่อเช่นนี้เพราะว่าสมัยก่อน บริเวณที่ตั้งวัดเป็นป่าต้นมะเกลือ แต่ในปัจจุบันต้นมะเกลือมีเหลืออยู่เพียง 1 ต้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ได้เปลี่ยนชื่อจากวัด “มะเกลือ” มาเป็น “วัดมงคลวราราม” แต่ชาวบ้านส่วนมากที่อยู่ในถิ่นนี้ก็ยังเรียกวัดมะเกลือ อยู่อย่างเดิม เพราะความเคยชิน วัดมงคลวรารามนี้ นับเป็นวัดเก่ามากวัดหนึ่ง ตามหลักฐานจากการสอบถาม คนเฒ่าคนเก่าในย่านนี้ไม่มีใครทราบแน่ชัดว่าวัดนี้สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. เท่าใด เพียงแต่บอกว่า สร้างมานานมาก คือ ตั้งแต่สมัย ปู่ ย่า ตา ทวด จึงเข้าใจว่าวัดนี้คงจะสร้างมาตั้งแต่ สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ และหลักฐานอีกอย่างหนึ่ง คือ พระอุโบสถของวัดหลังเก่า (รื้อไป เมื่อปี พ.ศ. 2527) ที่หน้าบันด้านตะวันออกได้ระบุ พ.ศ. 2460 ไว้ เป็นปีที่ท�ำการซ่อมครั้งที่ 2 ได้ท�ำการก่ออิฐถือปูนตามกาลสมัย ส่วนการซ่อมครั้งแรกนั้นไม่ได้ระบุไว้ แต่ค�ำนวณจาก ระยะเวลาที่ซ่อมครั้งที่ 2 มาจนถึงปี 2527 ที่ท�ำการรื้อไปก็ 80 กว่าปีมาแล้ว ฉะนั้นจาก หลักฐานตามที่กล่าวมาแล้วนี้จึงพอที่จะเชื่อได้ว่าวัดมงคลวรารามนี้ เป็นวัดที่เก่าแก่มาก วัดหนึ่งในแถบนี้

78


น่าชม

น่าบูชา

พระอุโบสถ

ภายในพระอุโบสถมีพระประธานขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย

น่ามา

งานประจำ�ปีต้นเดือนเมษายน 1-7

น่าชิม

บานประตูและหน้าต่างไม้แกะสลัก จากไม้ชิ้นเดียว บอกเล่าเรื่องราว พุทธประวัติ

ข้างวัดปากซอยจอมทอง 2/1 จะมีร้าน ส้มตำ�ไก่ย่างแสนแซ่บเปิดขายราว 15.00 น. ถัดเข้าไปอีกนิดเป็นร้านขายข้าวแกงคุณเติม และยังเป็นร้านขายของเบล็ดเตล็ดอีกด้วย

น่าลอง

วันเข้าพรรษาทางวัดจะจัดให้มีการฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรมประจำ�ทุกปี

ที่ตั้ง วัดมงคลวราราม

วิหารพระครูมงคลวุฒิคุณ

เลขที่ 82 ถนนจอมทอง แขวงบางค้อ เขต จอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2468 2855, 0 2875 7801 ที่จอดรถ ภายในบริเวณวัด

การเดินทาง

รถประจำ�ทาง สาย 167, 10, 120, 111 ทางเรือ นั่งมาลงโป๊ะดาวคะนอง ข้ามถนนมาทางทิศตะวันตก ผ่านชุมชน จะเป็นทางเข้าหน้าวัด 79


วัดนาคนิมิตร

เดินทางเข้ามาทางตลาดสุขสวัสดิ์ ก็คราคร�ำ่ ไปด้วยผูค้ นต่างเดินไปเดินมากันขวักไขว่ ซื้อปลาบ้าง ซื้อเนื้อสัตว์บ้าง มีทั้งผู้คนที่มาเดินจับจ่ายใช้สอยและพ่อค้าแม่ค้าที่ตั้งแผงขายของ กันอย่างคึกคักเต็มสองฝั่งทาง เดินลึกเข้าไปภายในซอยสุขสวัสดิ์ 8 เลี้ยวไปทางขวามือ เราจะเห็นวัดนาคนินิตร ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ภายในซอย “วัดนาคนิมิตร” ตั้งอยู่ เลขที่ 5 ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 8 เขตจอมทอง บนเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน แบ่งให้เป็นพื้นที่ตั้งของโรงเรียน ประมาณ 2 ไร่เศษ ความเป็นมาของวัดนาคนิมิตรหรือเรียกกันสั้นๆ ทั่วไปว่า “วัดนาค” เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2405 ซึ่งได้มีตระกูล “สุขประมูล” เป็นผู้สร้างและ ได้ถวายเครื่องเบญจรงค์ประดับหน้าบันพระอุโบสถ แต่เดิมนั้นวัดนี้แวดล้อมไปด้วยสวนผลไม้ ปัจจุบนั เต็มไปด้วยบ้านเรือนประชาชน ได้รบั พระราชทานวิสงุ คามสีมาเมือ่ ประมาณ พ.ศ. 2410 เมือ่ ประมาณปี พ.ศ. 2400 ชาวบ้านได้พบพระพุทธรูปเป็นเนือ้ ปูนปัน้ อยูใ่ นพงหญ้า จึงได้อัญเชิญประดิษฐาน เพื่อเป็นที่สักการะของชาวบ้าน ในละแวกนั้นซึ่งกาลต่อมาชาวบ้าน ได้ร่วมกันสร้างวัด คือ “วัดนาคนิมิตร” ส่วนพระพุทธรูปนั้นได้ขนานนามว่า “หลวงพ่อหิน” เป็นพระคู่วัดนาคนิมิตรมาจนถึงปัจจุบันนี้

80


น่าชม

พระอุโบสถ หน้าบันประดับด้วยถ้วยชาม เบญจรงค์ ปัจจุบันเจ้าอาวาสกำ�ลังบูรณะ ซ่อมแซมใหม่

ภาพจิตรกรรมฝาผนัง บอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ

วิหารหลวงพ่อหิน ตั้งอยู่ด้านขวาติดกับพระอุโบสถ

บานประตู หน้าต่าง ลงรักปิดทอง อย่างสวยงาม

บานประตูด้านหน้าลวดลายเทวดา

ด้านหน้าก่อนเข้าวิหารแวะสักการะ เจ้าแม่กวนอิมพันมือ

81


น่าบูชา

น่ามา

พระประธานภายในพระอุโบสถ พระพุทธ รูปปางมารวิชัย

งานประจำ�ปีของทางวัด จัดขึ้นปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเมษายน ตรงกับวันเสาร์ - อาทิตย์ ในระหว่างเข้าพรรษาจัดให้มีกิจกรรม ปฏิบัติธรรมข้ามคืนแล้วกลับตอนเช้าอีกวัน

น่าช้อป

ก่อนทางเข้าวัดภายในซอยสุขสวัสดิ์ 6-8 เป็นย่านตลาดสุขวัสดิ์เต็มไปด้วยของสด และของกินนานาชนิด “หลวงพ่อหิน” พระพุทธรูปเนื้อปูนปั้น ชาว บ้านพบอยู่ในพงหญ้า ประมาณปี พ.ศ. 2400 จึงได้อัญเชิญประดิษฐาน มาไว้ที่ วิหาร

ที่ตั้ง วัดนาคนิมิตร

เลขที่ 5 หมู่ 5 ซอยสุขสวัสดิ์ 8 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2468 7813 ที่จอดรถ ภายในบริเวณวัด

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว ลงจากทางด่วนดาวคะนอง เลี้ยวเข้า เส้นถนนสุขสวัสดิ์ วัดสามารถเข้า ได้ทั้ง ซอย 14 จะมาบรรจบกันกับ ซอย 8 เข้าทางด้านซอย 14 จะสะดวกกว่า รถประจำ�ทาง สาย 20, 21, 37, 75, 82, 85

82


วัดโพธิ์แก้ว

เลี้ยวเข้าสู่ถนนพระรามที่ 2 จากถนนสุขสวัสดิ์ถือว่าเป็นวัดแรก ตั้งอยู่ภายในซอย 1 วัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ 16 ถนนธนบุรี-ปากท่อ หมู่ 3 แขวงจอมทอง เดิมวัดโพธิ์แก้วชื่อว่า “วัดโพธิ์แก้วสร้อยฟ้าศรัทธาธรรม” โดยที่ตาโพธิ์ ยายแก้ว ได้ยกที่ดิน ถวายให้เป็นที่สร้างวัด เนื้อที่ 4 ไร่ 76 ตารางวา เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2349 ต่อมาได้ เปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น “วัดกลางบางปะแก้ว” คงเป็นเพราะวัดตัง้ อยูท่ า่ มกลางชุมชนบางปะแก้ว ครั้นต่อก็ได้เปลี่ยนนามวัดอีกครั้งหนึ่งเป็น “วัดโพธิ์แก้ว” ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเกียรติอนุสรณ์ แก่สองตายายที่บริจาคที่ดินให้วัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2521 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 12 เมตร ยาว 21 เมตร

พระอุโบสถเป็นแบบทรงจีน หลังคา 2 ชั้น หน้าบันตอนบนประดิษฐานเครื่อง บูชาตรงกลางมีแจกัน สองข้างของแจกันมีรปู มังกรดัน้ เมฆสองตัวหันหน้าเข้าหากัน และประดับ ด้วยถ้วยชามโบราณโดยรอบพระอุโบสถ ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ไว้แล้ว นอกจากนี้ยังมีพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระอุโบสถ กำ�ลังบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่เนื่องจากพระอุโบสถเก่าทรุดโทรม กอปรกับทางวัดมีการเทยกพื้น ใหม่ทำ�ให้พระอุโบสถต่ำ�ลง จึงได้ทำ�การดีดตัวพระอุโบสถขึ้นและทำ�เป็น 2 ชั้นในปัจจุบัน และมีพระพุทธรูปคู่วัดอยู่อีกนามว่า “หลวงพ่อโพธิ์นิมิต” สร้างด้วยไม้แก่นจันทน์ ปางสมาธิ ประดิษฐานไว้ที่ศาลบัวคลุ้งริมคลอง ปัจจุบันย้ายมาประดิษฐานไว้ที่ศาลาภายในวัด ส่วนเรื่อง การศึกษาทางวัดเปิดสอนพระปริยัติธรรมเมื่อ พ.ศ. 2475

83


น่าชม

น่ามา

พระอุโบสถ บูรณปฏิสงั ขรณ์ใหม่เป็น 2 ชัน้

งานสืบสานประเพณีลอยกระทง

น่าแวะ

ทำ�ทานให้อาหารปลาที่ท่าน้ำ�วัด

ศาลบัวคลุ้งริมคลอง

น่าบูชา

พระประธาน ปางมารวิชัยนามว่า พระพุทธรัตนโพธิวรญาณ

84


น่าชิม

เดินข้ามสะพานไปทางด้านคลองหน้าวัด อิ่มท้องกับอาหารตามสั่งร้านเล็กๆ ตั้งอยู่เชิงสะพาน หากเดินออกด้านหลังวัด จะพบกับบ้าน 2 ชั้นเก่าอยู่บริเวณก่อนเข้าวัด แวะพักชิมขนมหวาน ชื่นใจ อร่อยราคาประหยัด โดยเฉพาะลอดช่องน้ำ�กะทิ หอมกลิ่นน้ำ�ตาลมะพร้าวจริงๆ

น่าลอง

กิจกรรมทำ�บุญทุกวันพระที่ปฏิบัติกันตลอดปี ตั้งแต่เวลา 07.00 น. – 20.00 น. ทำ�บุญตักบาตร รับฟังเทศน์อุโบสถ ปฏิบัติกรรมฐาน ฟังธรรมเทศนา และสวดมนต์เย็น

ที่ตั้ง วัดโพธิ์แก้ว

เลขที่ 16 หมู่ 3 ซอยวัดโพธิ์แก้ว ถนนพระรามที่ 2 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2427 4670, 0 2874 2251 ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

การเดินทาง

รถประจำ�ทาง สาย 17, 68, 76, 101, 140, 141, 142, 169, 172, 173, 528, 558

85


วัดโพธิทอง ตั้งอยู่ปลายคลองบางปะแก้ว ติดคลองลัดขี้เหล็ก และคลองเจ้าคุณ เลขที่ 67 หมู่ 4 แขวงบางมด เขตจอมทอง เดิมชื่อว่า วัดทุ่ง สร้างมากว่า 100 ปีแล้ว ไม่มีหลักฐาน แน่ชัดว่า เดิมเป็นที่ของใครและใครเป็นผู้สร้าง แต่พอจะสันนิษฐานได้จากการบอกเล่าของ หลวงพ่อโอภาสี (พ.ศ. 2498) ว่าคนในตระกูลบุนนาคเป็นผู้สร้าง ทั้งนี้เพราะตระกูลนี้มีที่นา และสวนอยู่ในบริเวณนี้ และได้ให้ชาวเขมรที่อพยพมาจากกัมพูชาเข้ามาทำ�ไร่ ทำ�นาอยู่ใน ละแวกคลองเจ้าคุณ ซึ่งต่อมาได้เรียกคลองนี้ว่า คลองเขมร และที่ตั้งของวัดก็คงอยู่ปลายสุด ของสวนและนาที่เขมรทำ�อยู่ ประวัติของวัดตอนต้นๆ นั้นไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ต้องสอบถามจากท่านที่มีอายุรุ่นเก่า จึงพอจะทราบได้บ้างว่าก่อนที่จะสร้างวัดในลักษณะนี้ ที่เห็นอยู่ในเวลานี้ แต่เดิมทีเดียวพระอุโบสถสร้างด้วยไม้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด มีคูน้ำ� เข้าถึงตัวพระอุโบสถ แต่ไม่ปรากฏชัดว่าสร้างเมื่อใด และคาดว่าพระอุโบสถหลังนี้ถูกยกเลิกไป หลังจากผูกพัทธสีมาอุโบสถหลังใหม่เมื่อ พ.ศ. 2450 วัดโพธิทองได้ชื่อว่า วัดทุ่ง เรื่อยมา จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2507 พระเทพญาณมุนีวัดราชโอรส ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำ�เภอบางขุนเทียน ในครั้งนั้น ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น วัดโพธิทอง โดยให้เหตุผลว่า ในคลองบางปะแก้วนี้มี วัดโพธิ์แก้ว ตั้งอยู่ทางต้นคลอง ในทางปลายคลองควรเป็น วัดโพธิทอง ควบคู่กันไป

86


ปัจจุบันพระอุโบสถได้ถูกสร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิม เมื่อปี พ.ศ. 2515 บูรณะ ซ่อมแซมในปี พ.ศ. 2543 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และในปี พ.ศ. 2555 ได้ท�ำการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่อีกครั้ง ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัย หน้าตัก กว้าง 60 นิว้ ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเป็นศิลปะร่วมสมัยโดยช่างฝีมอื จากสถาบันเพาะช่าง เป็นผู้วาดขึ้นมาใหม่ ภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านบนเป็นภาพพุทธประวัติ ด้านล่างเป็นภาพ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ตามผนังด้านต่างๆ รวมถึงภาพพระราชกรณียกิจ

น่าชม

พระอุโบสถ ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิม

หอฉันทรงไทย 2 ชั้น

ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนัง ศิลปะร่วมสมัยภายในอุโบสถ

ศาลาไม้เก่ายังคงอนุรักษ์ไว้จนถึงปัจจุบัน

87


ศาลาอดีตเจ้าอาวาส

ศาลาปฎิบัติธรรม ตั้งโดนเด่นเป็นสง่า อยู่บริเวณหน้าวัด

กุฏิท่านเจ้าอาวาส เรือนไทย 2 ชั้น

น่าบูชา

พระประธานประจำ�พระอุโบสถ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 60 นิ้ว

ด้านขวามือของกุฏิเจ้าอาวาส ประดิษฐานรูปหล่อรัชกาลที่ 1 ท่าทรงบัลลังก์ พระประธานประจำ�หอฉัน พระพุทธรูปปางฉันสมอ

88


วิหารเสด็จปู่มุจรินทร์นาคราช (ขวามือ) พระสังกัจจายน์ (กลาง) หลวงปูท่ วด(ซ้ายมือ)

น่าลอง

• ทุกวันสำ�คัญทางพุทธศาสนา ทางวัดได้ จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมแบบพักค้าง 3 วัน 2 คืน ทางวัดเตรียม อาทิ ชุดขาว อาหาร ที่พักไว้ให้พร้อม ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น หมายเหตุ : ทางวัดสามารถรองรับผู้ปฏิบัติ ธรรมได้ครั้งละประมาณ 60-70 ท่าน • มีคนแอบกระซิบมาว่าเจ้าอาวาสวัดโพธิ ทอง พระอาจารย์วราห์ ปุญญวโร ดูดวง แม่นมาก รับดูดวงวันละไม่เกิน 20 ท่าน วันพระงดรับ หากต้องการจะดูดวง ต้องโทรนัดหมายล่วงหน้ากันทีเดียว

น่ามา

• ทางวัดจัดกิจกรรมงานสืบสานประเพณี วันลอยกระทงพร้อมร่วมทำ�บุญภายในวัด • วันพ่อ 5 ธันวา และวันแม่ 12 สิงหา จัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมแบบพักค้างคืน

ที่ตั้ง วัดโพธิทอง

น่าชิม

เลขที่ 67 หมู่ 4 ซอยสุขสวัสดิ์ 26 แขวง บางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2427 8558 ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

จุดแวะพักผ่อนและฝากท้องในวันนี้ก็คงจะ ไม่พ้น ร้านอาหารตามสั่ง ที่ตั้งอยู่ตรงข้าม ฝั่งคลองของวัด เป็นบ้านไม้ริมคลอง ชั้นเดียว พร้อมทั้งมีบริการขายอาหารปลา ไว้สำ�หรับผู้ที่ต้องการทำ�ทานอีกด้วย

การเดินทาง

รถยนต์ส่วนตัว สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือเข้าจาก ซอยสุขสวัสดิ์ 26 และถนนพระรามที่ 2 ซอย 25 รถประจำ�ทาง สาย 20, 21, 36, 37, 68, 140 มาลงซอยสุขสวัสดิ์ 26 จากนั้นนั่งสองแถว สาย 5118 สุขสวัสดิ์ 26 – วัดโพธิทอง – วัดโอภาสี ต่อมาลงที่หน้าวัดได้เลย

น่าแวะ

สถานที่ใกล้เคียงที่ไม่ควรพลาด แวะกราบ สักการะ หลวงพ่อโอภาสี วัดหลวงพ่อ โอภาสี เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต 89


วัดยายร่ม

ใครที่เคยผ่านแถวถนนพระรามที่ 2 หรืออยู่แถวนี้ก็จะรู้จักกันดีกับซอยวัดยายร่ม เข้าซอยไปไม่ไกลจะเจอกับวัดยายร่ม ซึ่งเป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย แรกเริ่มเดิมทียายร่ม เป็นผู้สร้างวัดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2365 ถาวรวัตถุในวัดเริ่มต้นมีเพียงโบสถ์ฝาไม้กระดาน หลังเล็กๆ หนึ่งหลัง ศาลาการเปรียญหนึ่งหลังและกุฏิหนึ่งหลัง เดิมทีมีชื่อว่า วัดจุฬามณี ได้ สืบค้นประวัติว่า ได้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ปรากฏ อยู่ในหนังสือที่ทรงพระราชนิพนธ์เอาไว้ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดยายร่ม ตามนามผู้อุปถัมภ์ ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2478 ปูชนียวัตถุโบราณที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้าน คือ “หลวงพ่อพุ่ม” เป็ น พระพุ ท ธรู ป ปางสมาธิ หน้าตัก กว้าง 31 นิ้ว สู ง 49 นิ้ ว เป็ นองค์ ที่ ร องมาจาก พระประธาน เนื้อหล่อสัมฤทธิ์ มีประชาชนมาปิดทองไว้เต็มไปหมดทั้งองค์พระ จนมีความ หนาเนื้อนุ่มนิ่มไปทั้งองค์พระ เนื่องจากวัดยายร่มเป็นวัดเก่าแก่ที่มีพุทธศาสนิกชนศรัทธาร่วม บริจาคท�ำบุญเป็นจ�ำนวนมาก จึงเป็นเหตุของการสร้างอุโบสถ 2 ชั้น โดยชั้นบนเป็นสถานที่ ท�ำสังฆกรรม ส่วนชั้นล่างใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา และในกิจกรรมอื่นๆ เช่น เป็นที่อบรมนักเรียน เป็นต้น ภายในพระอุโบสถมีภาพแกะสลักด้วยไม้สัก เรื่องราวทาง พุ ทธศาสนาและวรรณคดีไ ทยกว่า 159 ภาพ และภาพลายไทยประกอบอี ก จ�ำนวนมาก ภาพแต่ละภาพสลักแกะโดยช่างฝีมือดี เป็นมรดกอันล�้ำค่า และเป็นที่ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ แก่คนรุ่นหลังไปอีกนานเท่านาน

90


น่าชม

พระพุทธบาทจำ�ลองตั้งอยู่ภายในพระอุโบสถ

พระอุโบสถ 2 ชั้นทรงไทย (ปัจจุบัน) ชั้นบนเป็นสถานที่ทำ�สังฆกรรม ชั้นล่างใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรม ทางพุทธศาสนา

ใบเสมาเก่าแต่เดิม อยู่คู่กับพระอุโบสถหลังแรก ภายในพระอุโบสถมีภาพแกะสลักไม้สักทอง เรื่องราวพุทธศาสนาและวรรณคดีไทย ก่อนเข้าชมพระอุโบสถ แวะกราบสักการะ องค์พ่อพระพิฆเณศวร

พระบรมสารีริกธาตุ

โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ 91


วิหารหลวงพ่อพระพุทธเมตตา ริมท่าน้ำ�วัด

น่าบูชา

พระประธานในพระอุโบสถด้านบน ปาง มารวิชัย

สักการะกิ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ได้รับการถวายจากคณะสงฆ์และรัฐบาล ประเทศศรีลังกา

“หลวงพ่อพุ่ม” พระพุทธรูปปางสมาธิ หน้า ตักกว้าง 31 นิ้ว สูง 49 นิ้ว พระคู่วัดยายร่มมานาน แต่ไม่ใช่ พระประธานในวัด

92


พระพุทธปกเกศมงคล ปางสมาธิ พระประธานภายในพระอุโบสถชั้นล่าง

น่าแวะ

ปล่อยปลาและให้อาหารปลา หลังวิหาร หลวงพ่อพุทธเมตตาด้านริมคลอง

น่ามา

• พิธีเสริมดวงชะตา บูชานพเคราะห์ จัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เพื่อต้อนรับเทศกาลปีใหม่ไทย • งานประจำ�ปีเทศกาลตรุษจีน • งานเทศกาลมหาสงกรานต์ 13-15 เมษายน ของทุกปี ทางวัดจัดกิจกรรมให้มกี ารทำ�บุญสรงน้�ำ พระ รดน้ำ�ดำ�หัวขอพรผู้ใหญ่ และบำ�เพ็ญกุศล ทำ�บุญอัฐิบรรพบุรุษ • งานเทศกาลลอยกระทง จัดให้มกี ารเทศน์ มหาชาติพระเวสสันดรชาดก และร่วม ลอยกระทงเพื่อบูชารอยพระพุทธบาท บูชาเทพเจ้า และขอขมาลาโทษ แก่พระแม่คงคา • งานเทศกาลสารทไทย ทางวัดจัดให้มีการ กวนกระยาสารท เพื่อสืบสานประเพณี และอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ทุกวันแรม 14 ค่ำ� แรม 15 ค่ำ� เดือน 10 ถึง ขึ้น 1 ค่ำ� เดือน 11 ของทุกปี 93


พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เขตจอมทอง ตั้งอยู่บริเวณวัดยายร่ม สถานที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตชาวคลองของชุมชน ในเขตจอมทอง ที่มีมาแต่ครั้งสมัยอยุธยามาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และวิถีชีวิตของชาว ชุมชนที่ประกอบอาชีพชาวสวนเป็นส่วนใหญ่

94


น่าลอง

ทุกวันสำ�คัญทางพุทธศาสนา วัดจะจัดให้มีการท�ำบุญตักบาตร รับศีล ฟังธรรม สวดมนต์ เจริญสติปัฏฐาน ในเวลาเย็น ทำ�พิธีเวียนเทียนถวายเป็นสักการะ แด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วงเข้า พรรษา เป็นประจำ�ทุกปี ได้จัดให้มีการ สาธยายพระไตรปิฎกตลอด 3 เดือน ตั้งแต่เวลา 16.30 น. - 20.00 น. ถ้าเป็น ช่วงนอกฤดูกาลเข้าพรรษา สาธยายเฉพาะวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ เป็นประจำ�ตลอดทั้งปี เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป

ที่ตั้ง วัดยายร่ม

เลขที่ 24 หมู่ 6 ซอยพระรามที่ 2 (ซอย 33) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2427 9518, 08 9233 1136 ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

การเดินทาง

รถประจำ�ทาง สาย 68, ปอ.68, ปอ.76 105, 105ก, ปอ.140, 141, 142, 147, 169, 171, 172, 173

95


วัดสีสุก

เมื่อเดินทางเข้าถนนพระรามที่ 2 เลี้ยวซ้ายเข้าซอย 28 มาได้นิดเดียว เราก็จะพบ กับวัดสีสุก วัดนี้มีพื้นที่ไม่ใหญ่มาก ตั้งอยู่เลขที่ 23 ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด สร้างขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2420 ประวัติความเป็นมาของวัดนี้ ผู้สร้างคือนายสี นางสุก ศรีมา ซึ่งเป็นผู้ ถวายที่ดินและสร้างวัดนี้ขึ้นมา โดยตอนแรกได้ยกบ้านตัวเองให้เป็นกุฏิสงฆ์ และได้ก่อสร้าง พระอุโบสถถวาย จึงได้ตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดสีสุก” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่สร้างวัดนี้ขึ้นมา วัดสีสุกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2420 ครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 16 มี.ค. พ.ศ. 2509 วัดสีสุกยังได้สร้างโรงเรียนชั้นประถม โรงเรียนมัธยม (โรงเรียนบางมดวิทยา) เพือ่ เป็นสถานศึกษาให้แก่เยาวชนย่านใกล้เคียงและย่านอืน่ ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งศูนย์บริการสาธารณสุข 29 (ช่วง นุชเนตร สาขาวัดสีสุก) ส่วนโบราณสถาน และโบราณวัตถุที่ส�ำคัญคือพระอุโบสถที่สร้างด้วยอิฐ ปัจจุบันเป็นพระอุโบสถหลังที่ 2 สร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2507 ภายในพระอุโบสถมีพระประธานขนาดใหญ่ ปางพระพุทธชินราช เรียกกันว่า “หลวงพ่อสีสกุ ” ทางวัดก�ำลังบูรณปฏิสงั ขรณ์ เพือ่ สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขนึ้ อีกครัง้ หลังจากน้ำ�ท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา

96


ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังบอกเล่า เรื่องราวพุทธประวัติ ล้วนแต่งดงาม ไม่แพ้แห่งอื่นๆ แม้ว่าจะเขียนใหม่ได้ไม่นาน

น่าชม

พระอุโบสถหลังที่ 2 สร้างขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2507 ปัจจุบันชำ�รุดทรุดโทรม ไปมาก

น่าบูชา

ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐาน ของพระประธานขนาดใหญ่ ปางพระพุทธ ชินราช ชาวบ้านเรียกกันว่า “หลวงพ่อ สีสุก”

บานประตูและหน้าต่างด้านนอกพระอุโบสถ แกะสลักลวดลายวิจิตรงดงาม

97


ผ่านเข้ามาจากประตูวัดด้านข้าง จะพบกับ วิหารพระครูสุกิจวรรัตน์(หลวงปู่ชิด ปุสุโส)

น่าลอง

ทางวัดจัดกิจกรรมให้มีการปฏิบัติธรรม สวดมนต์ นั่งสมาธิ ทุกวัน เวลา 20.00 น. - 21.30 น. สามารถเข้าปฏิบัติธรรม ได้ทุกเพศทุกวัย

น่าแวะ

แวะพักทำ�ทานให้อาหารปลา บริเวณท่าน้ำ�ของวัด

น่ามา

งานประจำ�ปีงานสืบสานประเพณี วันลอยกระทง วันสงกรานต์

98


ที่ตั้ง

การเดินทาง

วัดสีสุก เลขที่ 23 หมู่ 6 ซอยวัจนะ (ซอย 28) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0 2460 0336 ที่จอดรถภายในบริเวณวัด

รถประจ�ำทาง สาย 17, 68, 76, 101, 105, 140, 141, 142, 147, 169, 172, 173, 529, 558 รถยนต์ส่วนตัว (1) ถนนพระรามที่ 2 เข้าซอย 28 ประมาณ 50 เมตร วัดอยู่ทางด้านซ้ายมือ (2) ถนนจอมทอง เข้าซอยจอมทอง 19 ขับไปตามเส้นทางลัด ที่จะไปพระราม 2 จนเกือบสุดทางออก วัดอยู่ทางด้านขวามือ ทางเรือ จะเป็นเรือรับจ้างต้องเหมาลำ�จาก วัดไทร ไม่มีเรือประจ�ำทาง

99


ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

การท่องเที่ยวเพื่อรักษาระบบนิเวศ หรืออาจเรียกว่า “การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์” (Ecotourism) มาจากคำ�ภาษาอังกฤษว่า “Eco-tourism” ซึ่งเป็นคำ�ที่ผสมกันระหว่างคำ� ว่า Ecology หรือนิเวศวิทยา กับคำ�ว่า Tourism หรือการท่องเที่ยว นอกจากนี้ในวงการ ท่องเที่ยวยังมีการใช้คำ�ภาษาอังกฤษอื่นๆ ที่สำ�คัญ ได้แก่ “Nature Tourism” หรือ “Biotourism” หรือ “Green Tourism” แทน “Eco-tourism” ได้เช่นกัน เพื่อบ่งบอกให้เห็นว่า เป็นการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (Sustainable Tourism) นอกจากนั้น จะมุ่งเน้นที่คุณค่าของธรรมชาติ หรือลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของ แหล่งท่องเที่ยวเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว ไม่ใช่เน้นที่การเสริมแต่ง หรือการพัฒนาสิ่งอำ�นวย ความสะดวกต่างๆ 100


เตรียมตัวก่อนไป

การแต่งกาย

ข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 1. ก่อนการเดินทางควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ของสถานที่ที่จะไปท่องเที่ยว เช่นเส้นทาง วิธีการเดินทางเข้าถึง สภาพดินฟ้าอากาศ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้เหมาะสม และเพื่อ กันความผิดหวังควรจองที่พักและพาหนะ ไว้ล่วงหน้า

ควรเป็นชุดที่ใส่สบาย คล่องตัว และใช้โทน สีที่กลมกลืนกับธรรมชาติเช่น สีเขียวหรือ สีน้ำ�ตาล หมวกที่เลือกใช้จะเป็นหมวกปีก หรือหมวกแก็ปก็ได้ เสื้อและกางเกง ควรใส่ เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันแมลง หนาม และ แสงแดด เนื้อผ้าควรเป็นชนิดที่ซับน้ำ�ได้ดี เพื่อจะได้ดูดซับเหงื่อช่วยระบายความร้อน กางเกงควรเป็นกางเกงที่สวมสบาย ควรแต่งกายรัดกุม แต่ไม่รัดแน่นจนเกินไป

2. ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาจะช่วย ให้ท่องเที่ยวได้อย่างสนุกสนานมากขึ้น และ ยังได้รับประโยชน์จากการท่องเที่ยวเพิ่มพูน ขึ้นด้วย ได้ความรู้และเข้าใจ วัฒนธรรม ท้องถิ่น 3. การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ควรมีจิตสำ�นึก ต่ อ การรั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ มและวั ฒ นธรรม ท้องถิ่น โดยปฏิบัติตามกฏกติกาและข้อห้าม ของสถานที่นั้น ช่วยกันรักษา และไม่นำ� สิ่งของใดๆ ออกจากสถานที่นั้นๆ

อุปกรณ์ที่ควรนำ�ติดตัว เป้หลัง ควรเลือกชนิดที่เบา กะทัดรัด คล่องตัว เต็นท์ ถุงนอน เปลสนาม ไฟฉาย เสื้อกันฝน มีดพก กระติกน้ำ� หม้อสนาม ชุดยาสามัญ เชือก ถุงพลาสติก กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล สมุดบันทึก หรือคู่มือศึกษาธรรมชาติแบบที่เราสนใจเช่น คู่มือดูนก คู่มือดูผีเสื้อ ฯลฯ

101


ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชและสวนพันธุกรรมพืชเขตจอมทอง ตั้งขึ้นเมื่อ 1 มีนาคม พ.ศ. 2547 เพื่อใช้เป็นศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช โครงการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำ�ริโดย เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ที่ได้เข้าร่วมสนองพระราชดำ�ริฯ โครงการในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 โดยเป็นพื้นที่นำ�ร่องก่อนจะขยายผลไปยัง 49 เขต ของกรุงเทพมหานคร ในศูนย์จัดแสดงนิทรรศการโครงงานของโรงเรียนเกี่ยวกับพืชตัวอย่าง พันธุ์ไม้แห้ง พันธุ์ไม้มีชีวิต และเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์และฟื้นฟูสวนส้มบางมด ให้กลับ คืนมาอีกครั้ง ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 2 สำ�นักงานเขตจอมทอง ซอยพระรามที่ 2 (ซอย 3) แยก 3 ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทร. & โทรสาร 0 2427 1171 ต่อ 5297 เวลาทำ�การ 08.30 น. - 16.00 น. วันราชการ

102


103


104


สวนเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (สวนสมบูรณ์)

ดูแลสวนโดยคุณภัทรยุต เวณุจนั ทร์ คนหนุม่ รุน่ ใหม่ เดิมเป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย และลาออกมาทำ�งานด้านการเกษตรเต็มตัวในสวนของตนเองบนพื้นที่ 6 ไร่ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลาง หมู่บา้ นจัดสรรสมัยใหม่ และ ชุมชนแออัดทีอ่ ยูร่ ายรอบ ในสวนมีการทำ�การเกษตรประกอบด้วย การปลูกไม้ผล เช่น กล้วยหอม กล้วยน�้ำว้า ชมพู่ มะพร้าวน�้ำหอม ลิ้นจี่ ฯลฯ การปลูกพืชผัก เช่น ชะอม ตะไคร้ มะเขือ ดอกไม้จีน ถั่วพูสีม่วง ฯลฯ การปลูก พืชสมุนไพร เช่น อัญชัน ทองพันชั่ง รางจืด ฯลฯ และเลี้ยงปลาในบ่อ ทั้งยังเป็น สถานที่รวมกลุ่มกันทำ�กิจกรรมของเกษตรกรศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจ�ำแขวงบางมด เกี่ยวกับการท�ำน�้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง ที่สามารถไล่และก�ำจัดแมลง ได้หลากชนิด ที่ตั้ง สวนสมบูรณ์ เลขที่ 10/4 หมู่ 2 ซอยพระรามที่ 2 (ซอย 3) แยก 3 ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ โทร. 08 8089 8986

105


ฟาร์มเห็ดแม่ติ๋ม – แม่ตุ๋ย

ดูแลฟาร์มเห็ดโดยคุณรัดเกล้า วรแสง เป็นฟาร์มเห็ดขนาดย่อมที่ตั้งอยู่กลางชุมชน มีการเพาะเห็ดหลายชนิด เช่น เห็นนางฟ้าภูฐาน เห็ดนางฟ้าฮังการี เห็ดเป๋าฮื้อญี่ปุ่น เห็ดโคนญี่ปุ่น (ฮานางิ) เห็ดหูหนู เห็ดฟาง โดยสามารถผลิตเห็ดสดได้วันละประมาณ 40 กก. ลูกค้าจะมีทั้งร้านหมูกระทะและประชาชนที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียงเข้ามาซื้อเห็ดสด ถึงสวนในราคาย่อมเยา ที่ตั้ง ซอยพระรามที่ 2 (ซอย 3) แยก 1 ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ โทร. 08 1808 8462

106


107


สวนกล้วยไม้ตัดดอก

เป็นสวนกล้วยไม้ตัดดอกประเภทหวาย ทั้งสีม่วง และสีขาว ดูแลโดยคุณสุนันท์ ดีประหลาด เดิมมีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 10 ไร่ ต่อมาได้แบ่งพื้นที่เพื่อสร้างรายได้ด้านอื่นด้วย ทำ�ให้มพี น้ื ทีก่ ารผลิตเหลือประมาณ 4 ไร่ ทีม่ กี ารปลูกร่วมกับเตยสำ�หรับใช้กบั กล้วยไม้บชู าพระ มีการปลูกเดปใบเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่สวนอีกทางหนึ่ง มีการสอน การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ สำ�หรับผู้เข้าศึกษาดูงานแบบเข้าใจง่ายที่สามารถนำ�ไปปลูกเองได้ และท่านสามารถถ่ายภาพ ร่วมกับดอกกล้วยไม้ที่บานสะพรั่งชูช่อรอท่านอยู่ทุกเวลา ที่ตั้ง เลขที่ 33/1 หมู่ 5 ซอยพุทธบูชา 9 ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ โทร. 08 6799 8779

108


109


110


สวนลิ้นจี่โบราณ 180 ปี เป็นสวนลิ้นจี่โบราณที่มีมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการนำ�ลิ้นจี่จากเมืองจีนเข้ามาปลูก ในสยาม นับย้อนไปถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีการติดต่อค้าขายสินค้าโดยใช้เรือสำ�เภากับจีน ขากลับก็ได้น�ำพืชที่มีถิ่นก�ำเนิดจากจีน เช่น ลิ้นจี่ ล�ำไย ติดเรือกลับมาปลูกบนแผ่นดินสยามด้วย ปัจจุบันสวนลิ้นจี่โบราณในพื้นที่เขตจอมทองเหลือเพียงไม่กี่แห่ง และสวนของป้าบังอร เงินชูกลิ่น แห่งนี้ก็นับเป็นมรดกตกทอดที่มากด้วยคุณค่าทางประวัติศาสตร์ความเป็นมา และรสชาติ ข องลิ้ น จี่ ที่ มี คุ ณ ภาพดี ย ากที่ จ ะมี ลิ้ น จี่ แ หล่ ง ใดของเมื อ งไทยในยุ ค นี้ เ ที ย บได้ โดยเฉพาะลิ้นจี่พันธุ์กะโหลกใบยาว ที่มีรสหวาน หอมเนื้อแห้งไม่แฉะ ไม่มีรสฝาดเจือเลย ท�ำให้ผลผลิตลิ้นจี่ของที่นี่ขายได้ราคาสูงถึง กก.ละ 100 - 120 บาททีเดียว ที่ตั้ง หมู่ 6 ซอยพระรามที่ 2 (ซอย 28) แยก 18 (ถนนรัตนกวี) ถนนพระรามที่ 2 แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ โทร. 0 2875 2134

111


สวนส้มบางมดแหล่งสุดท้ายของ กทม.

สวนส้มบางมดของลุงประสิทธิ์ นาคมาโนช นับเป็นอีกสวนของเกษตรกรในพื้นที่ เขตจอมทองถิ่นเดิมของส้มบางมดที่เริ่มปลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2468 โดยนายเสม เป็นเกษตรกร รายแรกที่เริ่มปลูก แต่ด้วยคุณลักษณะเด่น คือรสชาติหวานแหลม ชานนิ่มเปลือกบาง ท�ำให้ คนนิยมซื้อรับประทานกันมาก ส่งผลท�ำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งมีทั้งยุคที่การปลูกส้มบางมดเฟื่องฟูมาก ที่ท�ำให้ย่านบางมดเต็มไปด้วยสวนส้มมากถึงกว่า 60,000 ไร่ แต่ต่อมาเมื่อเกิดน�้ำท่วมใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2485, พ.ศ. 2526 และเกิดภาวะ แห้งแล้งนาน ท�ำให้น�้ำเค็มจากทะเลไหลย้อนขึ้นตามคลองต่างๆ ในย่านบางมดและซึมเข้า สู่สวนส้มบางมด ในปี พ.ศ. 2533 ต่อมาความเจริญของเมืองรุกคืบเข้ามาก็ส่งผลท�ำให้ พื้ น ที่ ป ลู ก ส้ ม บางมดลดลงเรื่อ ยๆ และท�ำให้สวนส้ม หมดไปจากพื้ นที่ บ างมดโดยสิ้ นเชิ ง เมื่อประมาณ พ.ศ. 2535 ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 นายประยูร วงค์พุทธค�ำ นักวิชาการเกษตร ของส�ำนักงาน เขตจอมทอง ได้ริเริ่มโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสวนส้มบางมด ได้ส่งเสริมและสนับสนุน ให้เกษตรกรที่เหลืออยู่ในพื้นที่กลับมาปลูกส้มบางมดอีกครั้งแบบชีวภาพ จึงท�ำให้ได้ผลผลิต ส้มบางมดคุณภาพดี ให้ชาวไทยได้ชิมรสชาติกันอีกครั้งหนึ่งหลังห่างหายไปนานนับสิบปี ที่ตั้ง 53/1 หมู่ 5 ซอยเอกชัย 30 ถนนเอกชัย แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กรุงเทพฯ โทร. 0 2897 8163

112


113


สวนงูธนบุรี สวนงูแห่งนี้เริ่มเปิดการแสดงโชว์มาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2525 หรือปี ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ในช่วงแรกของการเปิดแสดงมีนกั ท่องเทีย่ วเข้ามาเทีย่ วชม เป็นจ�ำนวนมาก เป็นการแสดงโชว์หวาดเสียวของเจ้าหน้าที่สวนงูกับงู การรีดพิษงูเพื่อน�ำไป ท�ำเซรุ่มรักษาคนถูกงูกัด การให้ความรู้เกี่ยวกับงูทั้งมีพิษและไม่มีพิษหลากหลายชนิดที่มีอยู่ ในสวนงูหลายร้อยตัว ทั้งงูสิง งูทางมะพร้าว งูสามเหลี่ยม งูเห่า งูจงอาง ฯลฯ โดยวิทยากร ที่ชำ�นาญเรื่องงูโดยเฉพาะ คุณประสบชัย จุลศิริ ที่สามารถบรรยายได้ถึง 5 ภาษาทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน จีน ญี่ปุ่น และภาษาไทย ที่ตั้ง ริมคลองด่าน ถนนกัลปพฤกษ์ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ โทร. 0 2467 5665

114


115


สวนรวมพันธุ์ ไม้ 77 จังหวัด (สวนสุวรรณานนท์) พื้นที่ประมาณ 7 ไร่เศษริมถนนจอมทอง แขวงบางค้อ เป็นที่ดินของคุณปนัดดา สุวรรณานนท์ ท่านได้ยินยอมให้กรุงเทพมหานครใช้พื้นที่เป็นระยะเวลา 10 ปี ต่อครั้ง ในการใช้เป็นสถานที่ปลูกรวบรวมพันธุ์ไม้ประจ�ำจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เช่น ต้นทองกวาว ต้นไม้ประจำ� จ.เชียงใหม่ ต้นยางนา ต้นไม้ประจำ� จ.อุบลราชธานี ต้นไทรย้อยใบแหลม ต้นไม้ประจำ�กรุงเทพมหานคร ต้นหว้า ต้นไม้ประจำ� จ.เพชรบุรี ต้นศรีตรัง ต้นไม้ประจ�ำ จ.ตรัง และพันธุ์ไม้ประจ�ำท้องถิ่นที่มีมาแต่เดิมในพื้นที่นี้ เช่น มะดัน มะไฟ มะหวด มะกา ฯลฯ และพืชหายาก เช่น ชมพู่กะหลาป๋า ที่ผลมีสีเขียวเข้ม รสหวานมาก ปัจจุบันหาดูต้นแทบไม่เจอแล้ว นอกจากนี้ในสวนยังมีสภาพแวดล้อมที่ ร่มรื่น เหมาะสมต่อการออกกำ�ลังกายเป็นอย่างยิ่ง ในแต่ละวันทั้งช่วงเช้าและเย็นจึงมีประชาชน ในบริเวณใกล้เคียงมาใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำ�ลังกายกันมาก และยังถือว่า เป็นปอดอีกแห่งของชุมชนในพื้นที่เขตจอมทอง ที่ตั้ง ริมถนนจอมทอง แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ

116


117


อาหารและของฝาก

118


119


ร้านอาหารและของอร่อย ย่านซอยวัดยายร่ม Koffie House

ร้านกาแฟน่ารักในซอยวัดยายร่ม นั่งจิบกาแฟชิลๆ ทานเค้ก HOMEMADE อร่อย คุณภาพดี บรรยากาศร้านดูอบอุ่นเป็นกันเองด้วยบ้านเดี่ยวสองชั้น ยกใต้ถุนสูง มีระเบียงนั่ง ด้านหน้าสบายๆ ประเภท : ร้านกาแฟ-เค้ก วันเวลาเปิด-ปิด : จันทร์ – เสาร์ 8.00 น. – 17.00 น. หยุดทุกวันอาทิตย์ ที่ตั้ง : ซอยพระรามที่ 2 ซอย 33 (ซอยวัดยายร่ม) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ตรงเข้าไปประมาณ 1 ก.ม. เลี้ยวโค้งจะเจอร้านอยู่ด้านซ้ายมือ ติดกับฟาร์มลีลาวดี โทร : 0 2459 3225 สถานที่จอดรถ : บริเวณร้าน เมนูแนะนำ� : เค้กมะพร้าวอ่อน กาแฟ (เจ้าของร้านบอกอร่อยทุกอย่างเลยในร้านนี้) ราคา : 45 – 150 บาท

120


121


The Village Garden Restaurant ร้านนี้อยู่ติดกันกับร้านกาแฟ Koffie House ใครที่ชื่นชอบอาหารสไตล์อิตาเลียน ต้องไม่พลาดมาชิมร้านนี้ค่ะ รสชาติกลมกล่อม ไม่เลี่ยน หอมมันกำ�ลังดีทั้งสลัดและพาสต้า นอกจากนี้ยังมีทั้งอาหารไทยและจีนไว้คอยบริการอีกด้วย ประเภท : อาหารไทย, อาหารอิตาเลียน, อาหารจีน วันเวลาเปิด-ปิด : 11.00 น. – 14.00 น. และ 17.00 น. – 22.00 น. ที่ตั้ง : เลขที่ 167/1 ซอยพระรามที่ 2 ซอย 33 (ซอยวัดยายร่ม) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ อีเมล์ : thevillagegardenrestaurant@hotmail.com โทร : 08 6525 5318, 0 2427 9989 สถานที่จอดรถ : บริเวณร้าน เมนูแนะนำ� : เป็ดทอดราดซอส ราคา : 50 - 450 บาท

122


123


ข้าวเหนียวมูน ซอยวัดยายร่ม ร้านขนมที่อยู่ลึกลับอีกร้าน ตั้งอยู่ในซอยลึกมากทีเดียว เข้าไปประมาณ 1.5 ก.ม. อยู่ตรงข้ามศูนย์โตโยต้า ติดร้านขายต้นไม้ ชอบที่สุดคงจะเป็นสังขยาและหน้าปลาแห้ง เพราะสังขยานุ่ม หวานมันดีมาก ส่วนหน้าปลาแห้งก็ได้รสชาติหน้าปลาจริงๆ ไม่ใช่กาก มะพร้าวและปลาก็ไม่เหม็นด้วย นอกจากขายเป็นห่อแล้ว สามารถซื้อข้าวเหนียวมูนสีขาว แบบเป็นกิโลกรัมได้อีกด้วย แถมด้วยข้าวเหนียวปิ้งร้อนๆ

ประเภท : ขนมไทย วันเวลาเปิด-ปิด : 07.00 น. – 11.00 น. ที่ตั้ง : ซอยพระรามที่ 2 ซอย 33 (ซอยวัดยายร่ม) ถนนพระรามที่ 2 แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ตรงข้ามศูนย์โตโยต้า เข้าไปประมาณ 1.5 ก.ม. สถานที่จอดรถ : ริมทาง เมนูแนะนำ� : ข้าวเหนียวหน้าสังขยาหน้าปลาแห้ง ราคา : 6 - 70 บาท

124


125


ร้านอาหาร ย่านถนนจอมทอง ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ด

ตั้งอยู่บนถนนจอมทอง ระหว่างซอย 5 และซอย 7 เป็นร้านตึกแถวเล็กๆ 2 ชั้น ติดถนนเลยค่ะ เลี้ยวเข้ามาจากถนนสุขสวัสดิ์ไม่ไกล ร้านอยู่ด้านซ้ายมือ จุดเด่นของทางร้าน คือเนื้อเป็ดที่นุ่มลิ้น ไม่มีกลิ่นสาบ นอกจากเป็ดพะโล้แล้วก็ยังมีเป็ดย่างอีกด้วย

ประเภท : อาหารจานเดียว, ก๋วยเตี๋ยว วันเวลาเปิด-ปิด : 10.00 น. เป็นต้นไป ประมาณบ่ายกว่าๆ ก็จะหมดแล้วค่ะ ร้านหยุดทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน ที่ตั้ง : ระหว่างซอย 5 และซอย 7 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ สถานที่จอดรถ : ริมถนน เมนูแนะนำ� : บะหมี่เป็ดรวมมิตร ข้าวหน้าเป็ด ราคา : 30 – 40 บาท

126


127


ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลากิมง้วน

ร้าน กิมง้วน ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลา เปิดขายมากว่า 13 ปีแล้ว มีลูกค้าประจ�ำ แวะเวียนมาที่ร้านตลอด 13 ปี ลูกชิ้นร้านนี้ทางร้านท�ำเองทั้งหมด ทางร้านไม่ใส่ผงชูรส แต่น�้ำซุปก็อร่อยกลมกล่อมมากๆ

ประเภท : ก๋วยเตี๋ยว วันเวลาเปิด-ปิด : 11.00 น. – 21.00 น. ปิดวันอาทิตย์ ที่ตั้ง : เลขที่ 75/70 ซอยจอมทอง 16 ถนนจอมทอง แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ อยู่ในซอยจอมทอง 16 มีธนาคารกสิกรไทยอยู่หน้าปากซอย ทางเข้าจะแคบนิดนึงค่ะ เข้าซอยไปประมาณ 100 เมตร ร้านจะอยู่ทางขวามือ สถานที่จอดรถ : ริมถนน เมนูแนะนำ� : ก๋วยเตี๋ยวบะหมี่เย็นตาโฟต้มยำ� ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กแห้งต้มยำ� และลูกชิ้นรวมลวกจิ้ม ราคา : 30 - 50 บาท

128


129


ร้านอาหารถนนวุฒากาศ หมวย ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ

1 ใน 2 ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ประจ�ำย่านถนนวุฒากาศ ขายมากว่า 10 ปีแล้ว ร้ า น เดิมอยูใ่ กล้กบั ถนนเทอดไท ร้านนีก้ ค็ รบเครือ่ งด้วย เนือ้ เปือ่ ย เนือ้ สด เครือ่ งใน ชิน้ ใหญ่เต็มค�ำ ร้านเป็นตึกแถว 1 คูหา มีป้ายร้านเห็นชัดเจน

ประเภท : ก๋วยเตี๋ยว วันเวลาเปิด-ปิด : 09.00 น. – 17.00 น. ที่ตั้ง : ข้างซอยวุฒากาศ 49 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ถ้ามาทางตลาดพลูเลยศูนย์บริการสาธารณะสุข ช่วง-นุชเนตร มาประมาณ 20 เมตร ร้านอยู่ติดริมถนน โทร : 08 5997 4454 คุณพิสิษฐ์ สถานที่จอดรถ : ริมถนน เมนูแนะนำ� : เกาเหลารวม ราคา : 40 – 70 บาท

130


131


ร้านเกาเหลาวัดหนัง

เป็นร้านคูหาเดียวอยู่ตรงข้ามทางเข้าวัดหนัง เป็นอีกร้านดังในย่านนี้ส�ำหรับตระกูล ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ลูกค้าส่วนใหญ่ประทับใจในเนื้อเปื่อยของร้านนี้เป็นพิเศษ

ประเภท : ก๋วยเตี๋ยว วันเวลาเปิด-ปิด : 09.00 น. – 20.00 น. ที่ตั้ง : เลขที่ 67/2 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ตรงข้ามซอยวุฒากาศ 42 ทางเข้าวัดหนัง โทร : 08 9799 6315 คุณธัญวัฒน์ สถานที่จอดรถ : ริมถนน เมนูแนะนำ� : เกาเหลาเนื้อเปื่อย ราคา : 40 – 50 บาท

132


133


อึ้งเลี่ยงเส็ง (ร้านเสื้อกล้าม) ร้านอึ้งเลี่ยงเส็ง เป็นร้านเก่าแก่อีกร้านหนึ่งที่เปิดมานานกว่า 40 ปี เมื่อก่อนเฮีย เจ้าของร้านเป็นผู้ลงมือท�ำกับข้าวเอง ใส่เสื้อกล้ามตลอด ลูกค้าที่มารับประทานจึงพากันเรียก ว่าร้านเสื้อกล้ามจนติดปากมาถึงทุกวันนี้ นอกจากนั้นหน้าร้านยังขายขนมจีบซาลาเปาร้อนๆ ตั้งบริการไว้หน้าร้านอีกด้วย ทั้งไส้หมูสับ หมูแดง ครีม เผือก ถั่วดำ� ถั่วงาดำ�

ประเภท : อาหารไทย-จีน วันเวลาเปิด-ปิด : จันทร์-เสาร์ 11.00 น. - 14.00 น. และ 16.30 น. - 21.00 น. วันอาทิตย์ 11.00 น. - 21.00 น. ที่ตั้ง : ปากซอยวุฒากาศ 38 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ เข้าถนนวุฒากาศเลยศูนย์ฯ ช่วง-นุชเนตร ก่อนถึงธ.กสิกรไทย ร้านตั้งอยู่ด้านซ้ายมือ โทร : 0 2468 4540 สถานที่จอดรถ : ริมถนน เมนูแนะนำ� : ผัดหอยลายน้ำ�พริกเผา ปลาเก๋าสามรส เปาะเปี๊ยะไส้ปูหมูสับ ไส้หมูพะโล้ทอด ราคา : 35 - 800 บาท

134


135


เอี้ยวฮินโภชนา

ร้านเอี้ยวฮินโภชนา ร้านเก่าแก่เปิดขายอาหารมาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ร้านเดิมอยู่ที่สวนมะลิเป็นร้านโด่งดังที่สุดในสมัยนั้น ปัจจุบันร้านเอี้ยวฮินโภชนาย้าย มาอยู่ที่ ถนนวุฒากาศ ได้ประมาณ 24 ปีแล้ว ทางร้านให้บริการอาหารจีนแคะต่างๆ

ประเภท : อาหารจีน ไทย วันเวลาเปิด-ปิด : 11.00 น. – 21.30 น. ที่ตั้ง : ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ ฝั่งตรงข้ามปั๊มน้ำ�มัน ปตท. เข้าถนนวุฒากาศไปประมาณ 900 เมตร ติดกับธ.กสิกรไทย ร้านอยู่ฝั่งซ้ายมือ โทร : 0 2476 6676 คุณวิเชียร สถานที่จอดรถ : ริมถนน เมนูแนะนำ� : หมูอบ, เส้นหมี่ผัดข้าวหมาก, ปลาจีนนึ่งข้าวหมาก (โทรสั่งจองล่วงหน้า) ราคา : 100 – 300 บาท

136


เส้นหมี่ผัดข้าวหมาก

137


ร้านก๋วยจับน�้ำข้นตลาลพลู ร้านเดิมตั้งอยู่ที่ไปรษณีย์เก่าย่านตลาดพลู ขายมากว่า 50 ปีแล้ว ความประทับใจ อยู่ที่ความเข้มข้นและหอมเครื่องเทศของน�้ำซุป เส้นก๋วยจั๊บที่นุ่มหนืด เครื่องในของทางร้าน ไม่มีกลิ่นคาว หมูกรอบไม่ต้องพูดถึงกรอบนอกนุ่มใน

ประเภท : อาหารจานเดียว, ก๋วยเตี๋ยว วันเวลาเปิด-ปิด : 08.00 น. – 16.00 น. ที่ตั้ง : เลขที่ 44/30 ถนนวุฒากาศ แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพฯ อยู่ระหว่างซอย 32-34 เข้าถนนวุฒากาศเลยศูนย์ฯ ช่วง-นุชเนตร เยื้องปั๊มแก๊สปิกนิค โทร : 0 2476 5141 คุณอุษณีย์ สถานที่จอดรถ : ริมถนน เมนูแนะนำ� : ก๋วยจั้บน้ำ�ข้น ราคา : 30 - 50 บาท

138


139


ร้านอาหารย่านถนนพุทธบูชา ครัวสายทอง(อร่อยลึกลึก)

เป็นอีกร้านหนึ่งที่อยู่ลึกๆ สมกับที่เขียนไว้ในป้ายหน้าร้านจริงๆ แม้จะอยู่ลึกลับ ขนาดนี้ ก็ไม่พ้นที่จะมีนักชิมแวะเวียนมาอยู่บ่อยๆ ไม่ขาดสาย อาหารไทยรสชาติจัดจ้านถึงใจ

ประเภท : อาหารไทย อีสาน ที่ตั้ง : ซอยพุทธบูชา 23 (ซอยมั่นคง) ถนนพุทธบูชา แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ จากปากซอยเข้ามาประมาณ 300 เมตร ร้านอยู่ด้านซ้ายมือ จากถนนพระรามที่ 2 สามารถเข้าได้ 2 ซอย คือ ซอยพุทธบูชาและซอยวัดยายร่ม วันเวลา เปิด – ปิด : 11.00 น. – 23.00 น. หยุดทุกวันพุธ โทร : 0 2874 0240 ที่จอดรถ : บริเวณร้านอาหาร เมนูแนะน�ำ : ฉูฉี่พุงปลาช่อน, ย�ำตะไคร้, ย�ำถั่วพลู, ไก่คั่วเกลือ, ปลากระพงทอดน้ำ�ปลา, ต้มแซบกระดูกอ่อนหมู ราคา : 80 - 250 บาท

140


141


หมายเลขโทรศัพท์ส�ำคัญเขตจอมทอง สำ�นักงานเขตจอมทอง (โทรศัพท์กลาง) ฝ่ายปกครอง ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายโยธา ฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล ฝ่ายรายได้ ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการคลัง ฝ่ายเทศกิจ ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม ศูนย์เยาวชนจอมทอง ห้องสมุดประชาชนวัดราชโอรสาราม ศูนย์ อปพร. กศน. สัสดีเขต สรรพากรเขต

0 2427 1171, 0 2427 4892 0 2427 9098 Ext. 5255-6 0 2427 2972 Ext. 5261-2 0 2427 6488, 0 2427 7517 Ext. 5263-66 0 2427 6671 Ext. 5267-69 0 2427 4925 Ext. 5271-72 0 2427 8421 Ext 5273-75 0 2427 7919 0 2427 7459 Ext. 5277-78 0 2427 3697 0 2427 9950 Ext. 5279-83 0 2427 6400 0 2427 6537 Ext. 5284-85 0 2427 6672 Ext. 5286-87, 5297 0 2416 5040 0 2416 0816 0 2427 6832 Ext. 5276 0 2874 2295 Ext. 5289 0 2874 2296 0 2427 3210 Ext. 5290 0 2428 2080 Ext. 5292

142


สถานที่ส�ำคัญเขตจอมทอง สำ�นักงานอัยการสูงสุด ศาลแพ่ง ศาลอาญา ศาลธนบุรี กองกำ�กับการตำ�รวจนครบาล 9 (บกน9) กองกำ�กับการตำ�รวจนครบาล 8 (บกน8) สถานีตำ�รวจนครบาลบางมด สถานีตำ�รวจนครบาลบางขุนเทียน ศูนย์ปฐมภูมิและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลตำ�รวจ สำ�นักงานประปา 9 สาขาตากสิน องค์การโทรศัพท์ที่ 3.2 ไปรษณีย์โทรเลขจำ�กัดสาขาเขตบางขุนเทียน สถานีดับเพลิงดาวคะนอง สรรพากรพื้นที่ 27 เอกชัย

143

0 0 0 0 0 0 0 0

2415 2415 2415 2415 2415 2477 2416 2415

0020 Ext. 214 0400-5 4090 0400-5 9961 1403 4713 3004

0 0 0 0 0 0

2476 2427 2415 2416 2468 2415

2644 6000 8472-3 7711-2 1671, 0 2476 7691 5410-2


สถานศึกษาในพื้นที่เขต โรงเรียนวัดไทร โรงเรียนวัดมงคลวราราม โรงเรียนวัดนาคนิมิตร โรงเรียนวัดสีสุก โรงเรียนวัดนางนอง โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง โรงเรียนวัดโพธิ์แก้ว โรงเรียนวัดบางขุนเทียนนอก โรงเรียนวัดบางประทุนนอก โรงเรียนวัดยายร่ม (วัฒนราษฎร์รังสรรค์) โรงเรียนวัดศาลาครืน โรงเรียนวัดราชโอรส โรงเรียนบางมดวิทยา โรงเรียนวัดหนัง โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ โรงเรียนบุญเสริมวิทยาธนบุรี โรงเรียนปัญญาวิทยา โรงเรียนอนุบาลพรพิมพ์ โรงเรียนจินดามณี โรงเรียนธนบุรีศึกษา โรงเรียนวัดแม่พระประจักษ์ บางสะแก โรงเรียนอนุบาลจินดามณี โรงเรียนอนุบาลเสริมสุธี โรงเรียนผ่องอำ�ไพศึกษา โรงเรียนสมบุญวิทย์ โรงเรียนอนุบาลรัศมีสุข โรงเรียนเลิศพัฒนาศึกษา โรงเรียนศิริสุขวิทยา

โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ โทรศัพท์ 144

: : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : : :

0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0

2415 2427 2468 2468 2468 2417 2427 2468 2415 2427 2468 2415 2478 2468 2468 2415 2415 2416 2415 2476 2875 2876 2476 2460 2451 2427 2428 2468 2893

0624 3264 5210 5157 0623 3264 5410 5219 2279 3264 6052 0621, 3877 2662 2653 1681, 2563 2052 1407, 6383, 8577 3021, 6383, 0978 0558, 1221 1345 1224 1264

0 2415 2762

0 2415 0683 0 2451 3914 0 2476 7231 0 2876 3024-5 0 2476 7231 0 2415 3040


โรงเรียนอนุบาลบ้านยิ้ม โรงเรียนอนุบาลประเสริฐศิลป์

โทรศัพท์ : 0 2460 1948 โทรศัพท์ : 0 2415 3911

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน แจ้งเหตุด่วน-เหตุร้าย ตำ�รวจดับเพลิง ตำ�รวจทางหลวง ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลตำ�รวจ ตำ�รวจท่องเที่ยว ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว แก้ไขปัญหาน้ำ�ท่วมเรียกหน่วยฟองน้ำ� อปพร. สายสัมพันธ์ (รถพยาบาล) ตำ�รวจกองปราบฯ เหตุด่วน-ฉุกเฉินรถหาย ศูนย์ข่าวจราจร (จ.ส.100) วิทยุชุมชน ‘ร่วมด้วยช่วยกัน’ แจ้งท่อประปาแตก ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ กทม. สอบถามเด็กหาย สายด่วน อย. สายด่วนร้องทุกข์ สคบ.

191, 0 2246 1338-42 199, 0 2246 0199 193 0 2255 1133-6 1699 0 2281 5051 0 2890 1396 0 2465 5132, 0 2465 0025 0 2860 7282 195, 0 2513 3844 0 2711 9160 0 2711 9151-8 1677, 0 2644 6996 1125 1555, 0 2224 3024-5 0 2282 3892-3 1556, 0 2202 9333 1166

145


คณะผู้จัดท�ำ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16.

นายนิวัฒน์ ไชยมิ่ง ผู้อำ�นวยการเขตจอมทอง นางสาวโชติรส เหล่ามานะ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการเขตจอมทอง นายจเร เกียรติธนะบำ�รุง ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการเขตจอมทอง นางสาวรุ้งลาวัลย์ มั่นใจอารย์ หัวหน้าฝ่ายปกครอง นายอดุล เทียนทรัพย์ หัวหน้าฝ่ายทะเบียน นายพิชิต ประเสริฐเจริญสุข หัวหน้าฝ่ายโยธา นางดรุณี กิจประยูร หัวหน้าฝ่ายการศึกษา นางสาวณัฐศฑิตา ปราบสัตรู หัวหน้าฝ่ายการคลัง นางละมัย ปานะศรี หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล นางสาวณัฏฐพิชญ์ ระเห็จหาญ หัวหน้าฝ่ายรายได้ นายดิเรก รัฐวิวัฒน์ หัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ นายวุฒิชัย เชื้อมั่นคง หัวหน้าฝ่ายเทศกิจ นางรำ�ไพ โกมุก หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม นายวิศิษฐ์ สุรฐิติเมธากุล นักพัฒนาสังคมชำ�นาญการ นายประยูร วงค์พุทธคำ� นักวิชาการเกษตรชำ�นาญการ นางเนาวรัตน์ บวรทรัพย์ เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ชำ�นาญงาน

146


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.