Multi-purpose table
Tharinee
By Thisana
510310094
วิหารวัดบุญยืน วัดบุญยืนตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำ�บลกลางเวียง อำ�เภอเวียงสา จังหวัด น่าน สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2329 และตั้งขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองซึ่งเรียกว่า “เวียงป้อ” โดยพระยาองค์หนึ่งชื่อว่า พระยาป้อ จึงเรียกชื่อเมืองตามชื่อ ผู้สร้าง และวัดที่สร้างขึ้นก็เป็นเพียงสำ�นักสงฆ์เล็กๆชื่อว่า วัดบุญนะ ตั้ง อยู่ที่ตลาดสดในปัจจุบันนี้ ครั้นต่อมาเมื่อ ผู้ครองนครน่านนามว่า เจ้าฟ้า อัตถวรปัญโญ เสด็จประพาสเวียงป้อทรงเห็นว่าวัดบุญนะนั้นคับแคบไม่ อาจขยายให้กว้างขวางได้ ประกอบกับเจ้าอาวาสขณะนั้น คือ พระอธิการ นาย(ครูบานาย) และราษฎรได้เห็นพ้องต้องกันด้วย ดังนั้นเจ้าฟ้าอัต ถวรปัญโญจึงให้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ห่างจากวัดเดิมประมาณ 100 เมตร ทาง ด้านทิศเหนือบนฝั่งขวาของลำ�น้ำ�น่าน เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๓๒๘ บริเวณที่ตั้งวัดนั้นมีป่าไม้สักที่สมบูรณ์ จึงได้ใช้ไม้สักบริเวณนั้นมาสร้างวิหาร กุฏิสงฆ์และศาสนวัตถุอื่นๆเป็นจำ�นวนมาก และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดป่าสักงาม ต่อมาเมื่อพ.ศ. ๒๓๔๓ ได้โปรดเกล้าให้หมื่นสรรพช่าง ก่อสร้าง พระวิหารกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๐ เมตร และสร้างพระพุทธรูปยืน ปาง ประทับยืน พระประธานในวิหาร หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ ขนาด สูง ๕ ศอก ดังนั้น จึงเปลี่ยนจากชื่อวัดป่าสักงามเป็น “วัดบุญยืน” ตามลักษณะพระพุทธรูป และทรงโปรดเกล้าฯให้เจ้าราชวงศ์เชียงของ เป็นผู้ แกะสลักบานประตูใหญ่พระวิหาร พระพุทธรูปไม้สัก พระพุทธรูปจำ�ลองเจ้า ฟ้าอัตถวรปัญโญ และศาสนวัตถุอื่นๆอีกเป็นจำ�นวนมาก
งานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนับว่าเป็นผลผลิตของการ สะสมทางศิลปวัฒนธรรมประจำ�ท้องถิ่น จากอดีตได้ผ่านยุคสมัยต่างๆ ของประวัติศาสตร์มาจนถึงยุคปัจจุบัน จากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง ล้วน ต้องใช้เวลาและบางทีอาจจะดูเป็นความบังเอิญ แต่จากการศึกษา ร่องรอยในอดีตสามารถบ่งบอกได้ว่าทั้งหมดนั้นไม่ใช่ความบังเอิญ เนื่องจากการสืบทอดต่อเนื่องและจารีตขนบประเพณีแต่ละท้องถิ่น ต่างหากที่เป็นตัวกำ�หนดงานศิลปสถาปัตยกรรมและงานช่างฝีมือ ทุกแขนง จึงทำ�ให้เกิดความลงตัวในสัดส่วนต่างๆของงานศิลปกรรม และงานสถาปัตยกรรม ทำ�ให้เกิดการพัฒนาการของความคิดใน เชิงสร้างสรรค์ของแต่ละท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีธรรมชาติขิงสภาพ แวดล้อมเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดและมีสภาพที่แตกต่างกันออกไป ตาม คติความเชื่อและปัจจัยพื้นฐานที่มีอยู่ ดังเช่นวิหารวัดบุญยืน ซึ่ง เป็นวัดหลวงและมีการผสมผสานรูปแบบในงานศิลปกรรมและงาน สถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาในแต่ละยุคละสมัยได้อย่างลงตัว จึง กลายมาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมในแบบของเมืองน่านเอง
วิหารวัดบุญยืน เป็นสถาปัตยกรรมแบบน่าน ซึ่งมีรูปแบบที่ใกล้เคียง กับวิหารวัดพระธาตุแช่แห้ง ซึ่งแสดงความเป็นปึกแผ่นด้วยการซ้อนมุขของ หลังคาหลายมุข และชายคาซ้อนกันหลายชั้น มีลักษณะลดหลั่นกันลงไป หน้า บันวิหารด้านหน้าตกแต่งตามแบบเมืองน่านคือ แบบหน้าแหนบ แต่หน้าบัน ด้านหลังนั้นกลับมีลวดลายแบบภาคกลาง ในยุคลวดลายกนกเฟื่องฟู และ ปั้นลมนั้นทำ�เป็นตัวนาคทอดยาวลงมา มีช่อฟ้าหางหงส์แบบล้านนาธรรมดา คันทวยเป็นรูปพญานาคฝีมือช่างท้องถิ่น ที่เชิงบันไดทางขึ้นวิหารด้านหน้าทำ� เป็นสิงห์แบบพม่า ด้วยเหตุที่วัดบุญยืนเป็นวัดเก่าแก่ดั้งเดิมของอำ�เภอเวียงสา ซึ่งเคยเป็นเวียงเก่ามาก่อน เรียกว่า เวียงป้อ ในสมัยเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ ครองนครน่านได้ร่วมกับเจ้าราชบริพารสร้างวิหารวัดบุญยืนปัจจุบัน ดังนั้น รูป ร่างวิหารซึ่งสร้างโดยนายช่างหมื่นสรรพช่าง ชาวน่านผู้เป็นข้าราชบริพารของ เจ้าหลวงที่สร้างตามแบบล้านช้าง
โดยดูได้จากพระพุทธรูปยืนปางเปิดโลกในวิหาร และงานแกะ สลักไม้ทวารบาลด้านหน้าเป็นรูปเทพดาฝีมือเจ้าราชวงศ์เชียงของ ดัง นั้น ฝีมือช่างล้านช้าง จึงมาปรากฏที่วัดนี้เป็นแห่งแรก เป็นหลักฐานที่ สำ�คัญ เนื่องจาน่านเป็นหัวเมืองตะวันออกของล้านนาที่สำ�คัญมาก ดัง นั้น ศิลปสถาปัตยกรรมและงานตกแต่งรวมทั้งงานประติมากรรมแบบ ล้านนาและล้านช้างจึงมาผสมผสานกันที่จังหวัดน่านนี้ เป็นจุดแรก เพราะเป็นประตูที่จะไปสู่ล้านช้างซึ่งเป็นอาณาจักรคู่กันของดินแดน ล้านนามาแต่โบราณ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชกษัตริย์ล้านช้างซึ่ง เคยมาปกครองเชียงใหม่ตอนปลายๆ ทำ�ให้ศิลปะแบบล้านช้างนั้นได้ แพร่เข้ามาในล้านนา
Inspiration ได้รับแรงบันดาลใจจากหลังคาวิหารวัดบุญยืน ซึ่งมีโครงสร้างที่ ซับซ้อน คือด้านหน้าจะซ้อนชั้นกัน 3 ชั้นลดหลั่นกันลงมา และด้านหลัง จะซ้อนชั้นกัน 2 ชั้นลดหลั่นกันลงมาเช่นกัน ซึ่งเป็นโครงสร้างมาตรฐาน ของการสร้างหลังคาวิหารในล้านนา ด้วยลักษณะของงานศิลปกรรม ที่เป็นเอกลักษณ์นี้จึงได้นำ�มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบเป็น โต๊ะอเนกประสงค์ที่ได้ลดทอนรูปทรง และสามารถใช้ได้ในงานที่หลาก หลายและในชีวิตประจำ�วัน
Concept รูปแบบของโต๊ะอาหารอเนกประสงค์นี้ ถูกออกแบบให้มีควา สามารถในการใช้ ง านในโอกาสที่ ห ลากหลายมี ลั ก ษณะเป็ น รู ป ทรง สี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีความซับซ้อนและได้มีการลดทอนรูปทรงจากหลังคา วิหารวัดบุญยืน ให้มีความเรียบง่าย สามารถดึงเข้าออก และพับเก็บ ได้สะดวก สามารถปรับขนาดของโต๊ะในแนวยาวได้ในหลายระดับ ตามความเหมาะสมในการใช้งาน ในส่วนของวัสดุที่ใช้ในการทำ�โต๊ะ อเนกประสงค์นี้จะเป็นลักษณะของการไม้ และอลูมิเนียม เพื่อให้มีความ ทนทานในการใช้งามมากขึ้น
Multi-purpose table โต๊ะอเนกประสงค์ Material วัสดุ Main Material : วัสดุหลัก
ไม้เอ็มดีเอฟ (MDF) Medium Density
Fibreboard
ไม้เอ็มดีเอฟ (MDF ย่อจาก medium-density fiberboard) หรือ ไฟเบอร์บอร์ด ความหนาแน่นปานกลาง เป็นไม้วิศวกรรมประเภท หนึ่งสร้างขึ้นจากการบดไม้เนื้ออ่อน แล้วมาอัดเป็นชิ้นไม้โดยประสาน กันด้วยสารเคมีภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง เอ็มดีเอฟมีลักษณะ คล้ายไม้อัด แต่ลักษณะของโครงสร้างของไม้จะต่างกันโดยส่วน ประกอบของเอ็มดีเอฟทำ�มาจากเยื่อไม้ คุณสมบัติของไม้ MDF คือ มีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความหนา ความแน่น และความเรียบสม่ำ�เสมอ ตลอดทั้งแผ่น สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียบ งานที่ออกมาจึงดู เรียบร้อยไม่เป็นขุย สามารถนำ�มาพ่นสีในเนื้อไม้ได้สวยงาม
อลูมิเนียม (Aluminium) อลูมิเนียมลักษณะภายนอกของอลู มิเนียมคือมีสีเงิน มีความหนา แน่นน้อย น้ำ�หนักเบา และมีกำ�ลังวัสดุต่อหน่วยน้ำ�หนัก (Strenght-toWeght Ratio)สูง อลูมิเนียมเป็นตัวนำ�ความร้อนได้ดีและเหมาะอย่างยิ่ง กับงานขึ้นรูป และงานปาดผิวโลหะเช่นอัด รีด ดึง ตัด เจาะ กลึง ไส กัด คุณสมบัติของอลูมิเนียม คือ มีความหนาแน่นน้อย น้ำ�หนักเบา และ มีกำ�ลังวัสดุต่อน้ำ�หนักสูง ทนทานต่อการเกิดเป็นสนิมและการผุกร่อน ใน บรรยากาศที่ใช้งานโดยทั่วไปได้ดีมาก แต่ไม่ทนทานต่อการกัดกร่อนของ กรดแก่ และด่างทั่วๆไป หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด และราคาไม่แพงนัก ใช้ในการตกแต่ง ในงานเฟอร์นิเจอร์ ตลอดจนใช้เป็นอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นโลหะที่ยังมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นโลหะที่ไม่มีพิษต่อร่างกาย และไม่มีค่าการนำ�ความร้อนสูง ใช้ทำ�ภาชนะหุงต้มอาหาร และห่อรองรับ อาหาร
วัสดุที่มีความน่าสนใจ แผ่นลามิเนต (Laminate) แผ่นลามิเนทผลิตจากกระดาษพิมพ์ลายไม้ เคลือบผิวหน้า ด้วย Melamine resin ทนต่อรอยขีดข่วนป้องกันความชื้นและคราบ สกปรก ง่ายต่อการทำ�ความสะอาด แกนกลางผลิตจากไม้เนื้อแข็ง บดละเอียดผสมสารกันแมลงแล้วคืนรูปเป็นแผ่นไม้ โดยใช้ความร้อน และแรงดันสูงอัด เพื่อให้ได้เป็น HDF (High Density Fiber ) Boar dแผ่นพลาสติกเสริมความแข็งแกร่ง และป้องกันความชื้นจากพื้นด้าน ล่าง จุดเด่นของไม้ลามิเนต ทนต่อสารเคมี ทนต่อแสงแดด UV ทนต่อ ความร้อน เช่น บุหรี่ ทนต่อการขูดขีด ราคาถูก ประหยัด ให้ความรู้สึก เหมือนธรรมชาติ ลายไม้มีสีสดใสเหมือนจริง คุณสมบัติของแผ่นลามิเนต คือ แผ่นลามิเนทผลิตจากกระดาษ พิมพ์ลายไม้อาบด้วย Melarmine resin ให้ละเอียดความเหมือน จริงทั้งลวดลาย และสีสัน HDF (High Density Fiber ) Board HDF Board ทำ�หน้าที่หลักในการให้ความแข็งแรงของแผ่นพื้น มีความหนา แน่นสูง ทนต่อความชื้นแผ่นพลาสติกแพคกิ้ง ทนต่อความชื้น เรียบ สม่ำ�เสมอ ประกอบ ๓ ชั้น ยึดติดด้วยกาวทนน้ำ�ชนิด Urea formaldehyde ซึ่งเป็นกาว ๑๑๐ องศาเซลเซีส ชนิด Thermosetting
วัสดุอื่นๆ ได้แก่ น๊อต บานพับ ซึ่งใช้ในการประกอบเป็นโต๊ะ อเนกประสงค์
Design
1. Inspiration แรงบันดาลใจ
แรงบั น ดาลใจในการออกแบบรู ป ทรงของชิ้ น งานมา จากลักษณะรูปแบบของโต๊ะที่ทำ�จากไม้ และทำ�ให้มีลวดลาย เป็นเอกลักษณ์เฉพาะโดยการใส่ลวดลายที่มีอยู่ในวิหารวัดบุญ ยืนและมีการลดทอนของลวดลายแล้ว
2. Materials วัสดุ
จากแรงบันดาลใจที่ได้ นำ�มาคิดค้นวัสดุที่จะนำ�มาทำ�โต๊ะ ซึ่งกำ�หนด ไว้ดังนี้ 2.1 วัสดุหลัก ได้แก่ ไม้เอ็มดีเอฟ อลูมิเนียม 2.2 วัสดุประกอบ ได้แก่ น๊อต และบานพับ ซึ่งใช้ในการประกอบเป็นชิ้นงาน เข้าด้วยกัน
3.
Shapes รูปทรง
จากแรงบันดาลใจและวัสดุที่ได้ จึงนำ�มาหารูปทรงที่ใช้ในการออกแแบบ ซึ่งรูปทรงที่ได้มาจากรูปทรงของสี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเกิดจากการซ้อนทับกันและสามารถขยายหรือลดพื้นที่การใช้งานได้ ซึ่งเป็นเทคนิคจากการพับและการดึงของชิ้นงานนี้ ได้
4.
Patterns ลวดลาย
เลือกหาลวดลายที่เหมาะสมกับงานชิ้น ซึ่งลวดลายที่นำ�มาใช้ในชิ้นงานนี้ได้แก่ ลวดลายบริเวณหน้าบันด้านหน้า และลวดลายตรง ประตูด้านหลังของวิหารวัดบุญยืน
เทคนิคของลวดลาย เทคนิคของลวดลายใช้วิธีการพิมพ์ลายแบบสเตนซิล (Stencil Printing) โดยการทำ�แม่พิมพ์ตามแบบของลวดลายที่เลือกไว้ด้วย การตัดเจาะกระดาษหรือวัสดุอื่นเป็นช่องตามลักษณะของรูปที่ต้องการ แล้วทาบแม่พิมพ์ลงบนชิ้นงานในส่วนที่ต้องการให้มีลวดลายแล้วใช้ หมึกหรือสีพ่นหรือปาดลงบนแม่พิมพ์ ก็จะได้ลวดลายตามแบบที่ต้องการ
ตัวอย่างการใช้เทคนิคแบบสเตนซิล
5. Function การใช้งาน เฟอร์นิเจอร์ชิ้นนี้ถูกออกแบบมาให้สามารถปรับขนาดได้ สามารถยืดดึงออกหรือพับเก็บได้เพื่อประหยัดพื้นที่ในการจัดวาง และมีฟังก์ชั่นการ ใช้งานที่หลากหลาย เนื่องจากมีการปรับขนาดของชิ้นงานได้สะดวก
รูปแบบที่ 1 Elevation Perspective
Front
Side
Top
Bottom
รูปแบบที่ 2 Elevation
Front
Perspective
Side
Top
Bottom
รูปแบบที่ 3 Elevation
Front
Perspective
Side
Top
Bottom
Multi-purpose table