ติดตามเรา
> ไปดอนเมือง
ถ.แจงวัฒนะ
นอรธปารค
สถานีรถไฟ หลักสี่ สถาบันวิจัย จุฬาภรณ รร.มิราเคิลแกรนด สถานีตำรวจ นครบาลทุงสองหอง
ถ.แจงวัฒนะ
สี่แยกหลักสี่
ม.รชภ.พระนคร ซ.วิภาวดี 64
วงเวียน อนุสาวรีย หลักสี่
วัดพระศรี มหาธาตุ
ถ.รามอินทรา สนง.เขต บางเขน
ซ.วิภาวดี 62
ถ.วิภาวดีรังสิต
ศูนยราชการ
รานเจเลง
กลับรถ
สโมสรตำรวจ
ไทยพีบีเอส
ถ.พหลโยธิน
ไอทีสแควร
โทร : 0-2790-2000 แฟกซ ์: 0-2790-2020 เอสเอ็มเอส : 4720123
ม.ศรีปทุม
สะพานลอย ซ.วิภาวดี 60 รร.รามาการเดนส
ม.เกษตรศาสตร
การไฟฟาสวน ภูมิภาค
รพ. วิภาวดี
สี่แยกเกษตร
ถ.พหลโยธิน
ถ.งามวงศวาน ถ.วิภาวดีรังสิต
ถ.งามวงศวาน
ถ.ประเสริฐมนูกิจ รพ.เมโย
คูมือการรายงานขาวเพื่อสลายความขัดแยง : กรณีปญหาความไมสงบในสามจังหวัดชายแดนใต
www.thaipbs.or.th www.twitter.com/ThaiPBS www.facebook.com/ThaiPBSFan www.youtube.com/ThaiPBS RSS http://news.thaipbs.or.th/Rss
ติดตอเรา
คูมือการรายงานขาว เพื่อสลายความขัดแยง
: กรณีปญหาความไมสงบในสามจังหวัดชายแดนใต
สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
องคการกระจายเสียงและแพรภาพสาธารณะแหงประเทศไทย 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท: 02-790-2000 โทรสาร: 02-790-2020
https://www.facebook.com/academic.tpbs
CANADA FUND
1
CANADA FUND
2
ภาพถ่าย : นาซือเราะ เจะฮะ
3
4
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ
สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ
คู่มือการรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง : กรณีปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้
—กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์, 2555 -- หน้า 1. การรายงานข่าว 2. ความขัดแย้ง I. ชื่อเรื่อง. ISBN 978-616-7737-04-1 ชื่อเรื่อง คู่มือการรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง: กรณีปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ ผู้เขียน สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ปีที่พิมพ์ กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 จ�ำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม เจ้าของ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เลขที่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์ 02-790-2423 โทรสาร 02-790-2085 เรียบเรียง ธาม เชื้อสถาปนศิริ, นิดา หมอยาดี, ภัทราภรณ์ สุวรรณโชติ พิสูจน์อักษร นิดา หมอยาดี, ภัทราภรณ์ สุวรรณโชติ ปกและรูปเล่ม ธาม เชื้อสถาปนศิริ ภาพประกอบ นาซือเราะ เจะฮะ, ทีมข่าว Thai PBS ศูนย์ภาคใต้ (หาดใหญ่) พิมพ์ที่ หจก.ภาพพิมพ์ จ�ำกัด 296 ซ.อรุณอัมรินทร์ 30 ถ.อรุณอัมรินทร์ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700
5
คณะท�ำงาน คู่มือการรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง
: กรณีปญ ั หาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ 1. อโณทัย อุดมศิลป ประธานคณะท�ำงาน 2. สาธิต ดิษโยธิน คณะท�ำงาน 3. ธาม เชื้อสถาปนศิริ คณะท�ำงาน 4. นิดา หมอยาดี คณะท�ำงาน 5. ธีรนาฏ แดงสวัสดิ์ คณะท�ำงาน 6. ธนพงษ์ ทิพย์สุขุม คณะท�ำงาน 7. ภัทราภรณ์ สุวรรณโชติ เลขานุการคณะท�ำงาน 8. ธารินี จันทรักษา ผู้ช่วยเลขานุการคณะท�ำงาน
6
สารจากผู้อ�ำนวยการ ส.ส.ท. ในการน�ำเสนอข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง เป็ น สถานการณ์ ที่ เ สี่ ย งอย่ า งสู ง ส� ำ หรั บ ผู ้ สื่ อ ข่ า ว ที่ ท� ำ หน้ า ที่ รายงานข่ า วทั้ ง ในเชิ ง เนื้ อ หาและทางปฏิ บั ติ ขณะเดี ย วกั น สื่อมวลชนทุกแขนงก็ต้องแข่งขันอย่างสูงในทุกๆ ด้าน ที่จะเป็นผู้น� ำ การเสนอข้อมูลข่าวสารให้ทันต่อเหตุการณ์ สถาบันวิชาการสือ่ สาธารณะ (สวส.) ซึง่ เป็นหน่วยงานในสังกัด ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยได้ จัดท�ำคู่มือรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง ฉบับนี้ โดยได้รวบรวมผล การวิจัยจากการลงพื้นที่ในเขตความขัดแย้งรุนแรงชายแดนภาคใต้ และ ถอดบทเรียนจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ มาจัดท�ำเป็นคู่มือ เพื่อเป็น แนวทางศึกษาในการรายงานข่าวและสื่อสารกับประชาชน ด้วยความ ถูกต้อง เที่ยงตรง ตามกรอบจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม โดยไม่ขยายความขัดแย้งและเกิดความสับสนกับประชาชน เราหวังว่าคู่มือการรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้งฉบับนี้จะ ท�ำให้สื่อมวลชนทุกแขนง ท�ำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรับผิด ชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับข่าวสารที่ถูกต้อง เที่ยงตรง หลากหลาย สมดุล และรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ รวมทั้งเป็น แนวทางปฏิบัติให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในภาวะวิกฤตที่อาจจะเกิด ขึ้นในอนาคต สมชัย สุวรรณบรรณ ผู้อ�ำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ แห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
7
ค�ำน�ำจากผู้อ�ำนวยการ สวส. การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลายนับเป็นเรื่องปกติ ในสังคมประชาธิปไตยทีย่ ดึ มัน่ และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพในการแสดงความ คิดเห็น อย่างไรก็ตามในหลายกรณีหรือหลายเหตุการณ์ ความเห็นที่ แตกต่างได้นำ� ไปสูค่ วามแตกแยก ขัดแย้ง จนบางครัง้ กลายเป็นความรุนแรง โดยเฉพาะหากขาดข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องอันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ของทุกฝ่าย เพื่ อ ส่ ง เสริ ม ไทยพี บี เ อสในการน� ำ เสนอข้ อ มู ล ความรู ้ ความคิดเห็นที่หลากหลายครบถ้วน ไม่ล�ำเอียงเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ให้สังคมมีทางออกจากความขัดแย้ง และน�ำพาสันติภาพสู่ประชาชน สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) จึงได้จัดท�ำเอกสารคู่มือ ฉบับนี้ขึ้น โดยศึกษาวิเคราะห์ถอดบทเรียนและแนวทางการรายงานข่าว ความขัดแย้งในพืน้ ทีภ่ าคใต้ ทัง้ จากการวิจยั และสัมภาษณ์เชิงลึกผูท้ ปี่ ฏิบตั ิ งานในพืน้ ทีโ่ ดยตรง การสัมมนาเชิงวิชาการและปฏิบตั กิ าร ตลอดจนการ เรียบเรียงข้อคิดจากนักวิชาการต่างๆ ทีท่ ำ� การศึกษาประเด็นดังกล่าว เพือ่ เสนอแนะองค์ประกอบลักษณะการน�ำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อลดความ ขัดแย้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน สวส. ขอขอบคุณผูม้ สี ว่ นสนับสนุนข้อมูลในการจัดท�ำเอกสารคูม่ อื ฉบั บ นี้ ทั้ ง สื่ อ มวลชน และนั ก วิ ช าการในพื้ น ที่ แ ละในส่ ว นกลาง รวมทั้งขอบคุณกองทุนแคนาดา ซึ่งให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณ ด� ำ เนิ น งาน ทั้ ง นี้ หวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า ผลการศึ ก ษาและการจั ด ท� ำ ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ปรากฏในเอกสารคู่มือฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ ในการใช้ เ ป็ น แนวทางการปฏิ บั ติ ง านของเจ้ า หน้ า ที่ ไ ทยพี บี เ อส รวมทั้ ง สามารถใช้ เ ป็ น เอกสารอ้ า งอิ ง ส� ำ หรั บ สื่ อ มวลชนและ ประชาชนที่ ส นใจโดยทั่ ว ไป เพื่ อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของการส่ ง เสริ ม การรายงานข่าวเพื่อน�ำมาซึ่งความเข้าใจอันดีและก่อให้เกิดสันติภาพ ในสังคมต่อไป อโณทัย อุดมศิลป ผู้อ�ำนวยการสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
8
กิตติกรรมประกาศ หนังสือ “คู่มือการรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง : กรณี ปั ญ หาความไม่ ส งบในสามจั ง หวั ด ชายแดนใต้ ” ได้ รั บ ทุ น สนั บ สนุ น จากรัฐบาลแคนาดา และส�ำเร็จลุล่วงลงได้ ด้วยความช่วยเหลือจาก คณะนักวิชาการและนักวิชาชีพ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เนื้ อ หาในหนั ง สื อ ประกอบด้ ว ยมุ ม มองและข้ อ คิ ด เห็ น เชิ ง วิ ช าการต่ อ ปั ญ หาความไม่ ส งบในพื้ น ที่ ส ามจั ง หวั ด ชายแดนใต้ ต่อการรายงานข่าว การสื่อสารข้อมูลข่าวสารตลอดระยะเวลากว่า 9 ปี และข้อเท็จจริง ความรู้สึก และประสบการณ์ของนักข่าว ผู้สื่อข่าว ช่างภาพในท้องที่ที่ท�ำหน้าที่รายงานข่าวสถานการณ์ไฟใต้มายาวนาน ข้อเท็จจริงในหนังสือ ประกอบกับแนวคิดทฤษฎีและแนวทาง ปฏิ บั ติ วิ ช าชี พ เสมื อ นเป็ น กระจกบานใหญ่ ที่ ส ะท้ อ นการท� ำ หน้ า ที่ ของสื่อ ตลอดเวลาที่ผ่านมา ว่ามันได้น�ำพาสัง คมไปสู่ สันติ ภาพและ ความสงบสุขมากน้อยเพียงใด คณะผู ้ วิ จั ย ขอขอบพระคุ ณ ท่ า นนั ก วิ ช าการที่ ไ ด้ เ อ่ ย นาม ในหนังสือเล่มนี้ และท่านที่ไม่ได้เอ่ยนาม แต่อยู่ในกระบวนการผลิต หนังสือเล่มนี้ด้วยความจริงใจอย่างสุดซึ้ง ความผิดพลาดใดๆ ในหนังสือ ทางคณะผู้วิจัยขอน้อมรับเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว และยินดีรับฟ้องข้อเสนอ แนะไปสู่การปรับปรุงการพิมพ์เนื้อหาในครั้งต่อไปตามโอกาสอันควร ด้วยมุ่งหวังในสันติภาพชายแดนใต้ ธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิจัยช�ำนาญการ สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
9
สารบัญ สารจากผู้อ�ำนวยการ ส.ส.ท.
หน้า 6
ค�ำน�ำจากผู้อ�ำนวยการ สวส.
7
กิตติกรรมประกาศ
8
บทที่ 1 บทเรียนและแนวทางการรายงานข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง : กรณีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
12
บทที่ 2 แนวคิดการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง
46
บทที่ 3 การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ
86
บทที่ 4 จริยธรรม/แนวปฏิบัติในการรายงานข่าวในภาวะสงคราม ภัยก่อการร้าย และเหตุการณ์ฉุกเฉินของสื่อสาธารณะ บีบีซี
122
บทที่ 5 คุณค่าข่าวและวิธีคิดเกี่ยวกับข่าวในสถานการณ์ ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้
130
บทที่ 6 ท�ำอย่างไรเมื่อต้องสอน “สันติวารสารศาสตร์”
146
ภาคผนวก
154
การพัฒนาทางวิชาการ พัฒนาสื่อสาธารณะ
214
10
ภาพถ่าย : นาซือเราะ เจะฮะ
11
12
บทที่ 1
บทเรียนและแนวทาง
การรายงานข่าว
เพื่อสลายความขัดแย้ง: กรณีปญ ั หาความไม่สงบ ในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดนใต้ เรียบเรียงจาก การประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch – DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในวันที่ 27 มกราคม 2556
13
บทเรียนและแนวทางการรายงานข่าว เพื่อสลายความขัดแย้ง : กรณีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ที่มา : การลงพื้นที่เก็บข้อมูล ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2556 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ฝ่ายวิจยั และฝ่ายส่งเสริมความรูส้ อื่ สาธารณะ สถาบันวิชาการ สื่อสาธารณะ ได้ลงพื้นที่จังหวัดสงขลาและปัตตานี ณ ศูนย์ข้อมูล เฝ้าระวังสถานการณ์ชายแดนใต้ (Deep South Watch) เพือ่ รวบรวม ข้อมูลประสบการณ์และมุมมองวิชาการวิชาชีพในการรายงานข่าวใน พื้นที่ความขัดแย้ง โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาแนวทางการรายงานข่าว เพือ่ สลายความขัดแย้ง จากทุนรัฐบาลแคนาดา ทีส่ ง่ ผ่าน ส.ส.ท.และ สวส. ในการประชุมเชิงปฏิบัติการมีผู้เข้าร่วม คือ อาจารย์จากคณะ วิทยาการสื่อสาร (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) 1. ผศ.วลักษณ์กมล จ่างกมล คณบดี 2. ผศ.กุสุมา กูใหญ่ 3. คุณสมัชชา นิลปัทม์ และนักวิชาชีพ 4. คุณรอมฎอน ปันจอร์ ผู้ปฏิบัติการศูนย์เฝ้า ระวังสถานการณ์ภาคใต้ 5. คุณมูฮ�ำมัดอายุบ ปาทาน อดีตบรรณาธิการ สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กรอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ คือ (1) ข่าวความไม่สงบใน สามจังหวัดชายแดนใต้ มีลักษณะเนื้อหา รูปแบบปัจจุบันอย่างไร และ (2) องค์ประกอบใดในเนื้อหาข่าว รูปแบบการน�ำเสนอ แหล่งข่าว การ รายงานทีท่ ำ� ให้ขา่ วนัน้ ๆ ส่งผลต่อการช่วยสลายความขัดแย้งได้-หรือไม่ได้
14
วงประชุมเชิงปฏิบัติการได้เน้นวิพากษ์ที่ (1) กรอบวิเคราะห์ เนื้อหา เช่น การก�ำหนดประเด็นข่าวหลัก ข่าวรอง การให้ความส�ำคัญ กับข่าว (ล�ำดับข่าว) หรือ คุณค่าข่าวที่น�ำเสนอ การเลือกใช้แหล่งข่าว การวิเคราะห์ภาษา พาดหัวหลัก พาดหัวรอง (2) กรอบวิเคราะห์ผลกระทบของข่าว เช่น ผลกระทบต่อ แหล่งข่าว เหยื่อ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ในเชิงเหตุการณ์ และในเชิงนโยบาย ผลกระทบเชิงความมั่นคง ต่อยุทธศาสตร์ หรือแนวทางการสมานฉันท์ (3) กรอบการวิเคราะห์ จาก การรายงานข่าวเชิงสันติภาพ เนื่องจากคณะอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญมองว่า ข่าวสถานการณ์ภาคใต้ นัน้ ถูกรายงานโดยมีกรอบยึดติดจากข่าวอาชญากรรม และจากกรุงเทพฯ เป็นส่วนกลาง (กรอบยึดติด เหมารวมในการรายงานข่าว)
รายละเอียดประเด็นที่ส�ำคัญ มีดังนี้
1. ความขัดแย้งในข่าว กับ นักข่าวในความขัดแย้ง อาจารย์สมัชชา นิลปัทม์ เริ่มต้นที่ “การตั้งค�ำถามว่า ความ ขัดแย้งในที่นี้ หมายความว่าอย่างไร?” เพราะส่วนตัวเท่าที่อยู่กับปัญหา และบรรยากาศการท�ำงานของนักข่าวและในฐานะอาจารย์ผู้สอนและ ประชาชนในพื้นที่ปัตตานีมาหลายปี พบว่า ความขัดแย้ง น่าจะถูกนิยาม ออกเป็นสองวง คือ (1) ความขัดแย้งจากตัวเหตุการณ์ในสถานการณ์พื้นที่สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีปัญหามาอย่างยาวนาน และมากกว่าเพียง แค่เก้าปี จากเหตุการณ์กลุม่ ผูก้ อ่ การร้ายปล้นปืนและอาวุธของทหารจาก ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ต�ำบลปิเหล็ง อ�ำเภอเจาะไอร้อง
15
จังหวัดนราธิวาส เมือ่ วันที่ 4 มกราคม 2547 จนถึงปัจจุบนั ทีค่ วามไม่สงบ ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ดำ� เนินมาโดยตลอด ซึง่ เฉพาะความขัดแย้ง ในลักษณะนี้ ก็มีความสลับซับซ้อนของปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่ตลอดเวลาหลายปีมานี้ ต่างก็ ผสมปนเปกันทัง้ หมดระหว่างข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบรายวัน ภัยความ มั่นคง ปัญหายาเสพติด การฟอกเงิน น�้ำมันเถื่อน อาชญากรรมท้องถิ่น การทุจริตคอรัปชั่น และกระทั่งผลประโยชน์และความขัดแย้งส่วนตัว ความขัดแย้งในวงนี้ นับวันก็ถูกขยายและมีพัฒนาการความ ซับซ้อนของปัญหาทีก่ ดทับ และเหลือ่ มซ้อนกันจนแทบมองไม่เห็นว่าเนือ้ แท้ของปัญหาของความขัดแย้งในเหตุการณ์ และเมื่อถูกน�ำเสนอผ่าน ข่าวสารบนหน้าสื่อมวลชนไทย มันเป็นอย่างไร จนอาจท�ำให้คนอื่นเสพ ข่าวสารจากส่วนกลางและทัว่ ประเทศ หรือกระทัง่ คนในพืน้ ทีเ่ องก็สบั สน ในข้อมูลข่าวสารไปหมด (2) ความขั ด แย้ ง ที่ อ ยู ่ ใ นกระบวนการท� ำ งานข่ า วของ สื่ อ มวลชน หมายถึง การท�ำงานของสื่ อ มวลชนที่ มี ปั จจั ย แวดล้ อ ม ของความขัดแย้งมาจากลักษณะทางพื้นที่ การประสานงานกับกอง บรรณาธิการข่าวส่วนกลาง หรือกระทั่งโครงสร้างกดทับที่ไม่เท่าเทียม ของนักข่าวในพื้นที่ (stringer) กับนักข่าวส่วนกลาง หรือนักข่าวสื่อหลัก ในกรุงเทพมหานคร ที่กดทับทั้งเรื่องสวัสดิภาพวิชาชีพ ความปลอดภัย และปัจจัยสนับสนุนในวิชาชีพข่าว เหล่านี้ก็สะท้อนว่า ตัวนักข่าวเอง ก็มี “ความขัดแย้งในการท�ำงาน” ในการรายงานข่าวสถานการณ์ความ ขัดแย้งเช่นกัน อื่นๆ ที่ส่วนตัวมองเห็น ก็คือ ความเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์สื่อ ที่วันนี้มีสื่อใหม่เข้ามาช่วยในการใช้เป็นช่องทางการรายงานข่าว หรือสื่อ ชุมชน กระทั่งโทรทัศน์มลายู ที่เป็นสื่อท้องถิ่นชุมชนที่สื่อสารด้วยภาษา
16
มลายู ก็กลายมาเป็นปัจจัยใหม่ในการก�ำหนดบทบาทและการท�ำงาน ของสื่อมวลชนให้ต้องทันต่อสถานการณ์ ต่อความเข้าใจในเหตุการณ์ที่ ถูกต้องมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อค้นพบจากงานวิจัยของคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ใน 6 ประเด็นที่เกี่ยวกับสื่อใน 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ได้แก่ เคเบิลทีวี วิทยุกระจายเสียงและวิทยุชุมชน สื่อ พื้นบ้าน ขีดความสามารถของสื่อในการน�ำเสนอสื่อออนไลน์ และการ เสริมสร้างศักยภาพของตัวผูส้ อื่ ข่าว โดยใช้กรณีศกึ ษาของโรงเรียนนักข่าว ชายแดนภาคใต้ พบว่า มีความต้องการพัฒนาด้านเนื้อหาของสื่อส�ำหรับ คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากยิ่งขึ้น ส่วนประเด็นการรายงานข่าวเกีย่ วกับผูห้ ญิงใน 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ยงั มีนอ้ ยเกินไป ส�ำหรับสถานีวทิ ยุ จึงตัง้ ข้อสังเกตว่า ความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้น น�ำไปสู่การนิยามเรื่องสันติภาพ ที่น่าจะชัดเจนว่า เป็นนิยาม สันติภาพของรัฐมากกว่าเป็นเรื่องของประชาชนทั่วไป
2. บทบาทนักข่าวในความขัดแย้ง
อาจารย์วลักษณ์กมล จ่างกมล เห็นด้วยว่า ความขัดแย้งทีน่ กั ข่าว เผชิญนั้น มี 2 ลักษณะส�ำคัญดังกล่าว แต่เพิ่มเติมด้วยว่า ประสบการณ์ ของนักข่าว และ ความเคยชิน กระทั่งการใช้ชีวิตท�ำงานข่าวในพื้นที่การ ท�ำข่าวสามจังหวัด ก็เป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้นักข่าวอยู่ในความขัดแย้ง แบบทั้งๆ ที่รู้ หรืออาจจ�ำยอม อดทน กล�้ำกลืน หรืออาจรู้สึกว่ายากที่จะ แก้ไขปัญหา จนกลายเป็นความเคยชิน เนื่องจากนักข่าวส่วนมากที่ท�ำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
17
เป็นนักข่าวท้องถิ่น และเป็นนักข่าวที่เป็นคนที่เกิดและเติบโตมาในพื้นที่ ดังนั้น พวกเขาจึงเสมือนว่ายืนอยู่ในวงปัญหาเสียเอง และใช้ชีวิตอยู่ กับปัญหานั้นด้วย จนบางครั้งก็อาจท�ำให้นักข่าวสับสนว่า ตนเองควรมี บทบาทหน้าที่อย่างไรในฐานะสื่อมวลชน อาจารย์ตั้งข้อสังเกตว่า ตามทฤษฎีสันติวิธี และ แนวคิดเรื่องสื่อ เพื่อสันติภาพ (peace study and peace journalism) นักข่าวควรตั้ง ค�ำถามกับตนเองว่า “ในความขัดแย้งนี้ เรา(นักข่าว) จะยืนอยู่ตรงไหน ของเหตุการณ์” เพราะจุดยืนของนักข่าวในปัญหาความขัดแย้งนัน้ มีความ ส�ำคัญ หากก�ำหนดจุดยืนและบทบาทของตนเองผิด ก็จะท�ำให้ข่าวสาร ที่ตนเองต้องท�ำหน้าที่รายงานนั้น อาจมีส่วนที่ไม่ได้น�ำไปสู่การสลาย ความขัดแย้ง เพราะเอาตัวเองยึดโยงเข้าไปอยูใ่ นสมการความขัดแย้งด้วย อาจด้วยความรู้สึกโกรธแค้น เกลียดชัง หรือจะด้วยความรู้สึกอยากช่วย เหลือสังคม หรือ อดรนทนไม่ได้กับสภาพปัญหาความขัดแย้งนั้น อาจารย์วลักษณ์กมลยกแนวคิดของ การสื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อ ความขัดแย้งของ รอส โฮเวิร์ด ที่อาจารย์แปลมาเป็นคู่มือในชื่อเดียวกัน ว่า “บทบาทที่ส�ำคัญของนักข่าวในความขัดแย้ง คือ การสื่อข่าวที่สร้าง ทาง เปิดพื้นที่ทางออกและการแก้ไขปัญหาที่น�ำไปสู่การสลายความขัด แย้ง มิใช่เพื่อเป็นตัวแก้ไขความขัดแย้งเสียเอง” ซึ่งสองอย่างนี้มีความ แตกต่างกัน แต่มีเพียงเส้นคั่นบางๆ กั้นไว้ นั่นคือ ต้องแยกให้ชัดระหว่าง “เนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่ตนเองรายงาน กับ จิตใจและจุดยืนของตนเอง ในการแก้ไขปัญหา” อาจารย์วลักษณ์กมลมองว่า ปัญหาคือนักข่าวในบ้านเรานั้นไม่ ได้มีการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ที่เพียงพอต่อการท�ำงานข่าวสารความ ขัดแย้ง มิใช่เฉพาะความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น แต่กับทุกๆ เรื่อง ค�ำถามที่ส�ำคัญคือ มีนักข่าวกี่มากน้อย องค์กรสื่อเท่าใดที่ให้ความส�ำคัญ
18
กับการอบรม พัฒนาทักษะวิชาชีพข่าวของสื่อ ที่ต้องน�ำเสนอความ ขัดแย้ง ค�ำตอบก็คือแทบไม่มีเลย ทั้งๆที่ความขัดแย้งในสังคมไทยก็มี มากมายหลายประเด็นทั้งเรื่องปัญหาภาคใต้และปัญหาการเมือง แต่นัก ข่าวก็ไม่มีความรู้และทักษะวิชาชีพที่จะน�ำเสนอข่าวสารเพื่อน�ำไปสู่การ แก้ไขปัญหา มิหน�ำซ�้ำ ในบางครั้ง ข่าวที่สื่อมวลชนเสนอ อาจน�ำไปสู่การ ขยายวงความขัดแย้งเสียเองโดยไม่รู้ตัว อาจารย์วลักษณ์กมลตัง้ ข้อสังเกตเพิม่ เติมว่า นักข่าวอาจมีความ เข้าใจต่อความขัดแย้งที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ความขัดแย้งทางความคิด โครงสร้าง วัฒนธรรม กระทั่งความขัดแย้งที่น�ำมาสู่การฆ่าฟัน สงคราม ซึง่ เหล่านีต้ อ้ งมีความรูเ้ รือ่ งธรรมชาติของความขัดแย้งว่า การรายงานข่าว ความขัดแย้งมิได้หมายความว่า ท�ำให้การรบราฆ่าฟันหายไป นั่นเพียง แค่ส่วนหนึ่ง แต่การรายงานข่าวความขัดแย้งยังหมายถึงสภาวะที่ความ ขัดแย้งทางโครงสร้าง สังคม ความเชื่อ วัฒนธรรม เศรษฐกิจนั้น บรรเทา ลดไปอยูใ่ นระดับทีส่ มาชิกในสังคมยอมรับ หรือ จัดการมันได้ดว้ ยสันติวธิ ี ต่างหาก ข่าวสถานการณ์ภาคใต้ เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการท�ำงานของ นักข่าวให้ต้องพึ่งพิงแหล่งข่าวสายรัฐและเจ้าหน้าที่ความมั่นคงมากขึ้น แต่นนั่ อาจท�ำให้สอื่ /นักข่าวเอง น�ำพาตนเองเข้าไปสูก่ ารมีทศั นคติและการ แก้ปัญหาแบบมิติเดียว คือจากมุมมองของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งหลายๆ ครั้ง ในการแก้ไขปัญหาภาคใต้ พิสูจน์ว่า เจ้าหน้าที่รัฐมิได้เป็นฝ่ายถูกเสมอไป หากแต่นกั ข่าวจะต้องท�ำตัวเองออกมาจากการพึง่ พิงพึง่ พาแหล่งข่าวฝ่าย เดียว ที่ขาดความสมดุลรอบด้าน แต่มองแหล่งข่าวอย่างกว้าง รอบด้าน มากขึ้น ทั้งแหล่งข่าวคนท�ำงานภาคประชาชน ชาวบ้าน ที่ไม่ค่อยมีสิทธิ์ มีเสียงพูด หรือแหล่งข่าวจากคนท�ำงานภาคประชาสังคมต่างๆ ทีม่ ขี อ้ มูล อีกด้าน
19
นอกจากนี้ กระบวนการคัดกรอง “นักข่าวในพืน้ ที”่ ให้มคี วามน่า เชือ่ ถือ เลือกคนทีม่ คี วามรู้ ความสามารถและท�ำหน้าทีต่ ามหลักจริยธรรม สื่อสารมวลชนอย่างแท้จริง ก็จะช่วยให้องค์กรสื่อและประชาชนได้รับ ข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริงมิใช่มาจากผลประโยชน์เบื้องหลังที่ตั้งอยู่บนพื้น ฐานของความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ด้านคุณมูฮ�ำมัดอายุบ ปาทาน มองว่า ปัจจัยหนึ่งที่อาจท�ำให้ นักข่าวเกิดความรู้สึกเอาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา หรือ ท�ำให้ปัญหารุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งก็มาจากความรู้สึก “ไม่ยุติธรรม” ที่เจ้าหน้าที่รัฐบางส่วนกระท�ำโดยใช้ความรุนแรงกับชาวบ้านหรือกลุ่มผู้ ต้องหา ซึง่ ความรูส้ กึ ว่าไม่เป็นธรรมนี้ อาจก่อเกิดขึน้ ในตัวนักข่าวและจาก แหล่งข่าวชาวบ้านที่ถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารให้สื่อ “นักข่าวในพืน้ ทีเ่ อง ก็ยอมรับว่าบางส่วนมีความใกล้ชดิ กับทหาร หรือ บางส่วนก็ไม่รตู้ วั ว่าตกเป็นเหยือ่ หรือเครือ่ งมือของกลุม่ ผูก้ อ่ การร้าย เพราะในสถานการณ์ภาคใต้นั้น ทหาร และสื่อมวลชน คือคนที่ยืนอยู่ใน ที่แจ้ง ต่างกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ที่ยืนอยู่ในที่มืด แม้กระทั่งรายชื่อกลุ่มผู้ ก่อความไม่สงบต่างๆ ก็ไม่มีตัวตนที่ชัดเจนระบุได้ว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด ขบวนการใด ในบางครัง้ ผูส้ อื่ ข่าวในพืน้ ทีอ่ าจรู้ ทหารเองก็รู้ แต่ดว้ ยความ จ�ำเป็นบางอย่าง ท�ำให้ไม่สามารถรายงานข้อเท็จจริงได้ทั้งหมด” มูฮำ� มัดอายุบ ปาทาน สรุปว่า “จุดยืนของนักข่าวในสถานการณ์ ความขัดแย้งนั้น มีปัจจัยแวดล้อมก�ำหนดกดดันมากมาย ทั้งเรื่อง สภาพความกดดันเชิงพื้นที่ ความเสี่ยงภัยในการท�ำงาน แรงกดดัน ทางเศรษฐกิจ ภาษาและวัฒนธรรม และความคาดหวังในคุณภาพ ข่าวที่ต้องดีมากและน�ำไปสู่การแก้ไขปัญหา และยังมีความคาดหวัง จากบรรณาธิการข่าวส่วนกลางแบบหนึง่ ว่า ข่าวภาคใต้ตอ้ งมีลกั ษณะ เนื้อหาเช่นใด”
20
21
ภาพบรรยากาศ : การประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (Deep South Watch – DSW) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในวันที่ 27 มกราคม 2556
22
3. เราอยู่ตรงไหนของความขัดแย้ง? รอมฎอน ปันจอร์ ผู้ปฏิบัติการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มี ป ระเด็ น ที่ น ่ า สนใจว่ า ตลอดเวลาที่ ผ ่ า นมาของปั ญ หาสามจั ง หวั ด ชายแดนใต้ ค�ำถามทีค่ นเฝ้าถามอยูค่ อื “เราก�ำลังท�ำสงครามกับใคร อะไร หรือ เราอยู่ช่วงจังหวะวงจรใดของความขัดแย้ง” ความขัดแย้งในสามจังหวัดชายแดนใต้นั้น มีลักษณะที่แตกต่าง จากความขัดแย้งทางสังคมอืน่ ๆ คือ มีเส้นกราฟความขัดแย้งขึน้ ลงตลอด เวลา ไม่สามารถวัดหรือประเมินได้วา่ เราผ่านจุดสูงสุดของความขัดแย้งมา แล้วหรือไม่ หรือเราอยูช่ ว่ งก่อนหน้าความขัดแย้งปะทุ หรือช่วงหลังความ ขัดแย้งสูงสุดไปแล้ว เพราะความขัดแย้งมีลักษณะเคลื่อนไหวตัวมันเอง อยู่ตลอดเวลา รอมฎอน ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ข้อมูลข่าวสารทั้งหมดที่เราเสพ ผ่านสือ่ กันนัน้ ยังยากทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง เพราะมีรฐั เข้ามาเป็นตัวแปรส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ขวั้ อ�ำนาจคูค่ วามขัดแย้งบานปลายมากขึน้ ไปอีก จากการกระท�ำและมีส่วนร่วมในการแทรกแซงข้อมูลข่าวสารด้วย ห่วงกังวลเรือ่ งความปลอดภัย และแยกความรูส้ กึ ของคนไทยในพืน้ ทีส่ าม จังหวัดชายแดนใต้ออกเป็นไทยพุทธ กับไทยมุสลิม ให้ถี่ห่างขึ้นและสร้าง ความรู้สึกเป็นศัตรูให้เกิดขึ้นระหว่างพี่น้องชาวไทยมุสลิม คูข่ องความขัดแย้งหลักๆ ทีป่ รากฏในสือ่ มีสองฝัง่ คือ ฝัง่ ผูก้ อ่ การ ร้าย กับ รัฐไทย ซึ่งผู้ก่อการร้ายก็มีหลายกลุ่มและมีความสลับซับซ้อน มากกว่าในอดีต ขณะทีฝ่ ง่ั รัฐไทย ก็มที งั้ ฝ่ายทหารฝ่ายต�ำรวจ กองอ�ำนวย การความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอรมน.) ภาคที่ 4 และกระทั่ง หน่วยงานรัฐในส่วนภูมิภาค เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีส่วนที่ ท�ำให้การท�ำงานไม่ประสานกันในเชิงบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหา
23
ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ ก็ถูกแบ่งแยก โดยข่าวสารภาครัฐไทยที่ท�ำให้ดู เหมือนว่าเฉพาะคนไทยพุทธเท่านัน้ ทีถ่ กู กระท�ำ ถูกเข่นฆ่า ส่วนไทยมุสลิม ก็ถกู รัฐไทยผลักให้เป็นผูร้ า้ ยเช่นเดียวกับผูก้ อ่ การร้าย ซึง่ ปัญหานีแ้ สดงให้ เห็นว่า การสือ่ ข่าวสารโดยรัฐไทยพยายามทีจ่ ะจัดคูค่ วามขัดแย้งและแบ่ง แยกคนไทยพุทธ ไทยมุสลิมออกจากกัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้ ขยายความเกลียดชังให้รุนแรงมากขึ้น ความขัดแย้งทีเ่ กิดขึน้ นี้ อาจเรียกว่าสือ่ มวลชนไทย ได้มสี ว่ นสร้าง หรือตกเป็นเครื่องมือ “การสร้างบรรยากาศแห่งความหวาดกลัว” (war of fear /war of terror) ที่เกิดจากข่าวสารการก่อการร้าย กลายเป็นว่า สือ่ นัน้ เป็นผูห้ นึง่ ทีอ่ าจมีสว่ นเสริมสร้างสือ่ ข่าวสารทีท่ ำ� ให้ประชาชนในอีก 73 จังหวัดที่เหลือรู้สึกว่า พื้นที่ภาคใต้เป็นพื้นที่แห่งอันตราย การฆ่าฟัน เพราะมีแต่ข่าวระเบิดและเหตุการณ์ไม่สงบรายวัน อย่างไรก็ตาม ค�ำถามว่า “สือ่ อยูต่ รงไหนในความขัดแย้ง” อาจ ไม่ส�ำคัญเท่ากับว่า “รัฐไทยผลักหรือดึงให้สื่อยืนอยู่ตรงไหนในความ ขัดแย้ง และยืนอยู่ข้างไหน อย่างไรด้วย?” และค�ำถามสุดท้ายคือ ใช่สื่อ หรือไม่ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตซ�้ำเรื่องความรุนแรงในข้อมูลข่าวสาร เรื่องสถานการณ์ภาคใต้
4. นักข่าวในพื้นที่ ความขัดแย้งที่ไม่มีใครพูดถึง มูฮ�ำมัดอายุบ ปาทาน อดีตบรรณาธิการ สถาบันข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ตั้งประเด็นเรื่องความ ขัดแย้งที่ไม่มีใครพูดถึงว่า “ความขัดแย้งของนักข่าวในพื้นที่” ที่อยู่ใน สภาวะแห่งการท�ำงานที่ขัดแย้ง
24
นักข่าวในพื้นที่ภาคใต้นั้นท�ำงานด้วยสภาวะที่มีข้อจ�ำกัดต่างๆ มากมาย นักข่าวในพืน้ ที่ โดยเฉพาะสตริงเกอร์ ไม่ได้รบั ค่าตอบแทนเป็นเงิน เดือนเช่นเดียวกับนักข่าวที่สังกัดองค์กรสื่อ เวลาท�ำข่าวต้องใช้ทรัพยากร ของตนทุกอย่างตั้งแต่การเช็คแหล่งข่าว ยานพาหนะ อุปกรณ์วิชาชีพ มีความเสีย่ งภัยในพืน้ ทีท่ ตี่ อ้ งดูแลตนเอง และเมือ่ บาดเจ็บจากภัยอุบตั เิ หตุ ต่างๆ ก็มิสามารถได้รับสวัสดิการเช่นเดียวกับผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาค หรือ กรุงเทพมหานคร ปัญหาที่ส�ำคัญที่สุดคือ การรายงานข่าวสถานการณ์ภาคใต้ ของสือ่ มวลชนในพืน้ ที่ “ถูกกระท�ำและตีกรอบความคิดจากสือ่ มวลชน ส่วนกลาง” เช่น บรรณาธิการข่าว หัวหน้าโต๊ะข่าว หัวหน้าช่างภาพ ที่คอยบอกว่าให้ตามข่าวไหน ท�ำประเด็นอะไร ข่าวแบบไหนเป็นที่ ต้องการ แบบใดไม่ใช่ ทัง้ ๆ ทีน่ กั ข่าวส่วนกลางนีแ้ ทบไม่เคยมีภาพความ เข้าใจที่ลึกซึ้งถูกต้อง หรือใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นเลย นักข่าวในพื้นที่ ส่วนมากเชี่ยวชาญและเก็บเนื้อหาข่าวโดยเชื่อ และยึดติดกรอบความคิดมานานจากห้องข่าวส่วนกลางว่า ข่าวปัญหา ความไม่สงบในภาคใต้ ก็เหมือนข่าวทั่วๆ ไป โดยเฉพาะการรายงานข่าว ในรูปแบบสถานการณ์รายวัน หรือข่าวแบบอาชญากรรม เช่น การพาด หัวข่าว เขียนข่าวสไตล์ข่าวอาชญากรรมสืบสวนสอบสวน บางครั้ง ข่าวภาคใต้ ถูกเขียนขึ้นในลักษณะเหมือน “รูปแบบ เดิมๆ” และแทบจะมีการสรุปไปในตัวเองว่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับภาคใต้ในพื้นที่ 3 จังหวัด มักเกี่ยวข้องกับ “เหตุการณ์ความไม่สงบใน พื้นที่ภาคใต้” ทั้งๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งส่วนตัว ผลประโยชน์ หรือปัจจัยอื่นๆ แต่ข่าวหลายชิ้นและส่วนมากก็ถูก “จับแพะชนแกะให้ เป็นข่าวความรุนแรงจากการก่อการร้าย”
25
มูฮำ� มัดอายุบ ปาทาน อธิบายว่า นักข่าวภาคใต้ทำ� ข่าวด้วยความ หวังว่าจะช่วยให้สถานการณ์ดขี นึ้ เพราะพวกเขาส่วนหนึง่ ก็เป็นคนในท้อง ถิน่ บ้านเกิดเมืองนอน แต่คนจากกรุงเทพฯ สือ่ มวลชนส่วนกลางมิได้สนใจ ข่าวภาคใต้นอกจากว่ามันสามารถขายได้เพียงสองสามวัน จากนั้น ก็เข้า สู่สภาวะเดิม จนรอเหตุการณ์ความรุนแรงหรือมีระเบิดจนท�ำให้ชาวบ้าน หรือทหารบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอีกครั้ง ก็ถึงคราวที่สื่อมวลชนส่วนกลาง จะหันกลับมาสนใจข่าวภาคใต้อีกครั้ง ข่าวภาคใต้กลายเป็น “ความฉาบฉวยบนหน้าหนังสือพิมพ์” เป็นครั้งคราว หรือข่าวเฮดไลน์ภาคค�่ำรายวัน เมื่อมีเหตุการณ์ระเบิด รุนแรง มันอาจถูกน�ำไปใช้เพือ่ หวังผลทางการเมืองของฝ่ายการเมือง หรือ ฝ่ายผูก้ อ่ การร้าย หรือในอีกทางมันก็ถกู น�ำไปสร้างรายได้เพือ่ ประทังชีวติ คนข่าวในพื้นที่ให้พอหาเลี้ยงปากท้องคนท�ำงานข่าวที่ต้องเสี่ยงภัยกับ ระเบิดและฝ่ากระสุนอีกต่อไปในระยะหนึ่ง ที่ส�ำคัญคือ “มายาคติ” (ความคิดความเชื่อที่เข้าใจผิด) เกี่ยว กับข่าวภาคใต้ที่นักข่าวส่วนกลางได้สร้างและติดตั้งให้กลายเป็นความ ชาชินและเคยชินให้แก่นกั ข่าวในท้องถิน่ ได้กลายมาเป็นวิถปี ฏิบตั ปิ กติของ นักข่าวพื้นที่ ท�ำให้คนกรุงเทพอ่าน ท�ำให้คนชนชั้นกลางเสพ เพื่อเรียก ร้องความสนใจที่จะเข้ามาแก้ปัญหา ข่าวภาคใต้แบบนี้ กลายเป็นกรอบ/กับดักให้นักข่าวในพื้นที่ไม่ สามารถหลุดกรอบ และพัฒนาข่าวตนเองไปสูร่ ปู แบบข่าวเพือ่ สลายความ ขัดแย้งได้ แม้นักข่าวในพื้นที่อยากที่จะท�ำข่าวแบบสันติภาพ (peace journalism) แต่สำ� นักข่าวส่วนกลาง ก็ยงั เป็นตัว “ดัดแปลงเรือ่ งราวเข้า กรอบความคิดความเชื่อแบบข่าวคนกรุงเทพที่มีสายตา มุมมองแบบ หนึ่งมาที่ภาคใต้”
26
มูฮำ� มัดอายุบ ปาทาน บอกว่า ทีจ่ ริงนักข่าวในพืน้ ทีภ่ าคใต้ อยาก จะได้รบั การสนับสนุนการพัฒนาทักษะความรูจ้ ากส่วนกลาง สถาบันการ ศึกษา หรือองค์กรวิชาชีพสื่อเช่นเดียวกัน แนวคิดการสื่อข่าวสันติภาพ นัน้ จะเป็นประโยชน์มากๆ แต่ปญ ั หาคือ การท�ำงานพัฒนาทักษะคนข่าว ไม่ต่อเนื่อง ไม่จริงจัง และคนที่มีส่วนในการแก้ไขปรับปรุงทิศทางข่าวให้ เป็นตามแนวทางสันติวิธี ไม่รู้ ไม่เคย ไม่เข้ารับการอบรมเลย ปัญหาจึงไม่ ได้รับการแก้ไขอย่างถูกจุด เพราะรีไรท์เตอร์ หัวหน้าข่าว บรรณาธิการ ข่าวยังอยู่ในกรอบยึดติดการรายงานข่าวแบบเดิมๆ อยู่ดี ข่าวที่ถูกเขียน ส่งไปแบบส่งสัญญาณสันติภาพ จึงอาจถูกตัดตอนกลายเป็นส่งสัญญาณ ความรุนแรงเช่นเดิม ความขัดแย้งอีกลักษณะหนึ่งที่ผู้ร่วมสัมมนาตั้งข้อสังเกต คือ บทบาทขององค์กรวิชาชีพที่ควรเป็นตัวกลาง ศูนย์หลักในการประสาน เรือ่ งโต๊ะข่าวภาคใต้ ให้กลายเป็นโต๊ะข่าวภาคใต้เฉพาะกิจ? เช่นเดียวกับที่ สถาบันอิศราเคยท�ำ คือโต๊ะข่าวภาคใต้ทรี่ ายงานข่าวเหตุการณ์เรือ่ งนีโ้ ดย เฉพาะ แต่แค่นี้ยังไม่พอ เพราะพื้นที่ข่าวส่วนมากยังถูกก�ำหนดโดยสถานี ฟรีทีวีไม่กี่ช่อง และหนังสือพิมพ์ไม่กี่ฉบับ จ�ำเป็นจะต้องขยายหรือท�ำให้ เกิดกลไกการรายงานข่าวเชิงสันติภาพให้มากขึ้น มิใช่แค่อบรมพัฒนา ทักษะวิชาชีพนักข่าวในพื้นที่แต่เพียงอย่างเดียว
5. องค์ประกอบของความขัดแย้งในพื้นที่ภาคใต้ ผศ.กุสุมา กูใหญ่ เห็นว่า ปัจจัยที่ท�ำให้ข่าวเหตุการณ์ความไม่ สงบในพื้นที่ภาคใต้ นอกจากจะมาจากกระบวนการทางวารสารศาสตร์ ที่ ดู จ ะมี ป ั ญ หาติ ด ขั ด ดั ง ที่ คุ ย กั น มา ยั ง มี เรื่ อ งของปั จ จั ย และสภาพ
27
แวดล้อมอืน่ ๆ เป็นตัวก�ำหนด เช่น เรือ่ งสภาวะความขัดแย้งระหว่างหน่วย งานให้ข่าวของรัฐ ที่มักไม่ตรงกัน หรือ มีความต้องการปกปิดหรือให้ข่าว อีกแบบหนึ่ง ที่อาจจะอาศัยเรื่องความมั่นคงมาเป็นข้ออ้าง กระทั่งการใช้พรบ.ความมั่นคง หรือ กฎอัยการศึก ก็มีส่วนท�ำให้ ชาวบ้านเกิดความรูส้ กึ หวาดกลัว ทัง้ ทีต่ อ้ งตกเป็นเหยือ่ จากการก่อการร้าย และจากการเป็นเหยื่อจากการตกเป็นข่าว เพราะนักข่าวโทรทัศน์อาจมา ถ่ายภาพและค�ำสัมภาษณ์ของบรรดาครู หรือผู้น�ำชุมชน เมื่อถูกน�ำเสนอ ผ่านสื่อ จึงท�ำให้กลุ่มผู้ก่อการร้ายสามารถจดจ�ำใบหน้าและเป็นที่รู้จัก กลายเป็นว่าการถูกน�ำเสนอผ่านสื่อเสมือนการชี้เป้ากลายๆ ให้ผู้ก่อการ ร้ายสามารถก�ำหนดเป้าหมายท�ำลายได้ ซึง่ เป็นทีน่ า่ กังวลว่า สถานการณ์ที่ เป็นอยูเ่ ช่นนี้ จะท�ำให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อสือ่ มวลชนในการเก็บข้อมูล เพื่อใช้ในการรายงานข่าวได้ยากมากขึ้น อาจารย์ยงั อธิบายด้วยว่า ปัจจัยอืน่ ๆ นัน้ น่าจะมาจากสภาวะทาง โครงสร้างเป็นตัวก�ำหนดขององค์กรสื่อเอง เช่น สื่อเชิงพาณิชย์ ย่อมหวัง ผลเรตติ้งและความสนใจจากผู้อ่านผู้ชม ดังนั้นข่าวภาคใต้จึงถูกน�ำเสนอ ด้วยฐานคิดที่ว่าข่าวขายความไม่สงบ และขายความรุนแรงบาดเจ็บเสีย ชีวิต คุณค่าข่าวของภาคใต้กลายเป็นตัวชีว้ ดั ระดับความขายได้ ความ น่าสนใจจากสือ่ เชิงพาณิชย์สว่ นกลาง ไม่มสี อื่ ฉบับใดหรือช่องไหนจะใส่ใจ น�ำเสนอข่าวเชิงบวก หรือเชิงสันติภาพก็เพราะว่าข่าวเล็กๆ พวกนี้ไม่น่า สนใจ หรือไม่ก็ไม่สามารถขึ้นหน้าหนึ่งได้ ซึ่งกลายเป็นความคิดที่ผิดของ คนท�ำข่าวส่วนกลางที่ก�ำหนดออกแบบข่าวตามความสนใจของผู้อ่าน
28
นโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้น�ำองค์กรสื่อก็เป็นอีกเรื่องที่มีความส�ำคัญ ปัญหาภาคใต้ที่ผ่านมา ที่ข่าวไม่สามารถช่วยลดบรรเทาความรุนแรงลง ไปได้นั้น น่าจะมาจาก การขาด “ทิศทางหรือยุทธศาสตร์ข่าวภาคใต้” ร่วมกันขององค์กรสื่อส่วนกลาง ท�ำให้ข่าวภาคใต้เป็นข่าวรายวันและผิว เผินมากกว่าที่จะสามารถรายงานในลักษณะกลุ่มก้อนขบวนการก่อการ ร้าย ซึ่งท�ำให้ข่าวภาคใต้ไม่มีความลึก อีกอย่างคือ การทีอ่ งค์กรไม่สนับสนุนลักษณะการท�ำข่าวสืบสวน (investigative news) ทัง้ ๆ ทีค่ วามจริงแล้ว ข่าวความไม่สงบของภาคใต้ นั้นมีความสลับซับซ้อนของข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล ความน่าเชื่อ ถือของแหล่งข่าว และความสัมพันธ์เชือ่ มโยงกลุม่ ขบวนการผลประโยชน์ ต่างๆ มากมายในพื้นที่ อีกทั้งความรู้เชิงมิติประวัติศาสตร์ ศาสนา ชาติพนั ธ์ุ กระทัง่ ภาษาท้องถิน่ ทีน่ กั ข่าวควรมีความรูค้ วามสามารถในการ สื่อสาร ปัจจัยเหล่านี้จ�ำเป็นที่องค์กรต้องมองเห็นคุณค่าและความส�ำคัญ แต่นา่ เสียดายทีผ่ นู้ �ำองค์กรไม่เคยสร้างบรรทัดฐานหรือนโยบายเชิงรุกใน การท�ำข่าวภาคใต้อย่างเป็นรูปธรรมเลย อาจารย์กุสุมา เห็นว่า การท�ำรายงานข่าวภาคใต้ องค์กรสื่อ ควรตั้งทีมข่าวเฉพาะกิจ อาจเป็นทีมข่าวความขัดแย้ง ที่ใช้ทักษะการ รายงานข่าวเพื่อลดทอนความขัดแย้งในมิติปัญหาทางสังคมอื่นๆด้วย ก็ได้ แต่ปญ ั หาเฉพาะภาคใต้ จะต้องมีบรรณาธิการข่าวหนึง่ คนเฉพาะ ทีม่ ี ความรูต้ า่ งหากเรือ่ งเหตุการณ์ภาคใต้ แยกออกมาเลย และให้ทำ� และดูแล เฉพาะข่าวภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งเรื่องการก�ำหนดประเด็นข่าว การเขียน ข่าว พาดหัว การเลือกใช้ค�ำ ภาษา ภาพ และเรื่องอื่นๆ ในการน�ำเสนอ ทั้งเรื่องเหตุการณ์ความรุนแรงและข่าวสารเชิงบวกจากพื้นที่ หากท�ำได้เช่นนี้ ก็น่าจะการันตีได้ว่า ข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบ ในภาคใต้ จะถูกน�ำเสนออย่างมีความรู้ ความเข้าใจและมีทศิ ทางทีเ่ ด่นชัด
29
น� ำ ไปสู ่ การแก้ไขปัญหามากขึ้น หรืออาจพู ด ได้ ว่ า องค์ ก รสื่ อ ต่ า งๆ ในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จะต้อง “ตั้งจุดหลัก” ร่วมกันว่า ต่อจาก นี้ไป “ทิศทาง“ ของการรายงานข่าวในสถานการณ์ภาคใต้ จะต้องยืนอยู่ บนหลักการพื้นฐานและจุดมุ่งหมายประโยชน์ร่วมกันคือ (1) เป้าหมายเพื่อก่อเกิดสันติภาพในพื้นที่สามจังหวัด (2) กระบวนการสื่ อ ข่ า วเพื่ อ สั น ติ ภ าพทั้ ง ระบบสื่ อ มวลชน ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ทั้งระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ ปฏิวัติ กระบวนการท�ำข่าวทั้งหมดในระบบให้เอื้อหนุนและเคารพต่อกัน (3) เครือ่ งมือสันติภาพต่างๆ เช่น การเจรจาสันติภาพ การมีพนื้ ที่ สาธารณะ การท�ำประชามติ หรือกลไกสันติภาพอื่นๆ (4) ท�ำ ข่าวบนพื้นฐานจริยธรรมวิชาชีพ ถู กต้อง เที่ ยงตรง เป็นธรรม และค�ำนึงถึงผลกระทบ (5) การสนับสนุนจากองค์กรวิชาชีพสื่อ ในเรื่ององค์ความรู้การ สื่อข่าวเชิงสันติภาพ และการสนับสนุนกระบวนการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ
6. 9 ปีข่าวไฟใต้ สันติภาพ หรือ สงคราม? ค�ำถามในทางวิจัยที่โยนเข้าสู่วงสนทนาคือ ตลอดเวลา 9 ปีที่ ผ่านมาของสถานการณ์ความไม่สงบในเหตุการณ์ภาคใต้นนั้ ข่าวสารผ่าน สื่อที่ถูกน�ำเสนอต่างกรรมต่างวาระทั้งสื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ เป็น ข่าวสารเชิงสันติภาพ หรือข่าวเชิงสงครามกันแน่? แทบจะตอบในทั น ที โดยผู ้ เข้ า ร่ ว มเสวนาหลายๆ ท่ า น มองว่า เป็น ข่าวสารเชิงสงคราม (war journalist) เสียเป็นส่วนมาก เพราะข่าวเหตุการณ์ในภาคใต้เป็นข่าวใหญ่ผู้คนให้ความสนใจเมื่อเกิด
30
เหตุการณ์ความรุนแรง ระเบิด การลอบยิง ลอบสังหาร ขณะที่พื้นที่ข่าว เชิงสันติภาพนั้นมีในสัดส่วนที่น้อยกว่ามาก และหากมี ก็ไม่ค่อยได้รับ ความสนใจจากสือ่ ส่วนกลาง ไม่ได้นำ� เสนอหรือตกไปอยูใ่ นช่วงเวลาข่าวที่ ไม่ส�ำคัญ เช่น ข่าวภาคดึกหรือข่าวต้นชั่วโมง แต่หากเป็นข่าวระเบิด ก็จะ อยู่ในข่าวภาคค�่ำ และเป็นข่าวน�ำประเด็นอยู่ราวสองสามวัน ก็จะหายไป มูฮำ� มัดอายุบ ปาทาน ชีว้ า่ “ข่าวภาคใต้ทสี่ อื่ สารเชิงสันติภาพนัน้ พอจะมีให้เห็นอยู่ในสื่อบ้าง เช่น สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จากรายการ ข่าวต่างๆ เช่น ตอบโจทย์ หรือ เวทีสาธารณะ หรือส�ำนักข่าวพลเมือง ที่ เ ปิ ด โอกาสให้ เ สี ย งของผู ้ ค นในภาคใต้ ไ ด้ สื่ อ สารกั บ คนทั้ ง ประเทศ แต่สอื่ ทีท่ ำ� หน้าทีแ่ บบนีย้ งั มีนอ้ ยอยู่ สือ่ สาธารณะ เช่น ช่อง 5 หรือ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์กย็ งั ไม่มรี ายการเช่นนีม้ ากพอ ทีเ่ ห็นอยูก่ ม็ แี ต่เจ้าหน้าที่ รัฐ มาเป็นฝ่ายพูด ให้ข้อมูลอยู่ฝ่ายเดียว” สือ่ ทุกช่อง หนังสือพิมพ์หลายฉบับ ก็ยงั คงรายงานข่าวภาคใต้ให้ หวือหวา และเน้นส่งสัญญาณความรุนแรงเสมอ เหมือนทีเ่ ราตัง้ ข้อสังเกต ว่า “ข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบในพืน้ ทีภ่ าคใต้ ถูกเขียน บอก เล่า น�ำเสนอ แบบข่าวอาชญากรรม” ก็เพราะว่ามันคือเหตุการณ์ความรุนแรง มีการฆ่า มีคนตาย มีคนบาดเจ็บ และนักข่าวในพื้นที่ก็มีแหล่งข่าวไม่กี่ทางเลือก ที่จะสามารถมาให้ข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ ถ้าไม่ใช่ทหาร ก็เป็นต�ำรวจ หรือเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายปกครองอื่นๆ เพราะฉะนั้นไม่แปลกที่ทั้งส�ำนวน ภาษา พาดหัว ภาพข่าว ตลอดจนวิธีการ มุมมองที่น�ำเสนอจึงออกมาดู คล้ายข่าวอาชญากรรม มูฮ�ำมัดอายุบ ปาทาน ชี้ให้เห็นว่า นักข่าวในพื้นที่ อยากรู้ อยาก ท�ำข่าวแบบสื่อสารแบบสันติภาพ แต่เราไม่รู้ว่าจะเขียนบอกเล่ามันมา อย่างไร นักข่าวที่มีแนวคิดความเข้าใจเรื่องนี้ ก็มีอยู่ไม่กี่คนที่ได้มีโอกาส ไปอบรม พัฒนาทักษะข่าวเชิงสันติภาพ แต่คนเหล่านั้นก็ได้มาแต่เพียง
31
ใบประกาศนียบัตร แต่ปัญหาคือที่สุดแล้วเขาไม่สามารถน�ำมันไปใช้ใน การท�ำงานเขียนข่าวจริงๆ ได้ เพราะมีโครงสร้างและกลไกการท�ำงานและ มายาคติของการท�ำงานข่าวแบบอาชญากรรมนี้ ครอบง�ำกองบรรณาธิการ ส่วนกลาง-กรุงเทพ และส่วนภูมิภาค (หาดใหญ่-สงขลา) อยู่โดยที่เราอาจ มิได้ตั้งใจสังเกตมันมากนัก “เวลาที่เกิดเหตุการณ์ระเบิด วางระเบิดลอบสังหาร ทหาร หรือ ครู โดนยิงเสียชีวิต หรือโดนฆ่าตัดคอ นั่นคือความรุนแรง จะพาดหัวข่าว อย่างไรที่ท�ำให้มันดูไม่รุนแรง ค�ำว่าลอบฆ่า ลอบสังหาร ใช้ไม่ได้ ฆ่าตัด คอ ใช้ไม่ได้ แล้วจะให้ใช้ค�ำว่าอะไร?” ปัญหาแบบนี้ เชื่อว่านักข่าวและ รีไรท์เตอร์หรือบรรณาธิการสื่อหลายฉบับหลายส�ำนักอยากจะรู้ ถ้าจะ ต้องให้นกั ข่าวเขียนข่าวสือ่ สารเชิงสันติภาพ ก็ตอ้ งมีบรรทัดฐาน มาตรฐาน เดียวกันทัง้ หมด มิใช่สอื่ หนังสือพิมพ์บางฉบับ โทรทัศน์บางช่อง แต่จะต้อง บังคับใช้เป็นแนวทางการสื่อข่าวเชิงสันติภาพเหมือนกันทั้งหมด อาจารย์สมัชชา เสริมว่า “การทีม่ องว่าสือ่ ส่วนกลางสือ่ สาร หรือ ส่งสัญญาณความรุนแรงนี้ มีปญ ั หามาก เพราะท�ำให้คนกรุงเทพฯ และส่วน ใหญ่ของประเทศเชื่อว่า พื้นที่ภาคใต้มีแต่ความรุนแรง เหตุการณ์ระเบิด ฆ่ากันตายรายวัน แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐไทย ที่มีส่วนในการแก้ไขปัญหา เรือ่ งนี้ ก็มคี วามรูส้ กึ หวาดกลัวคนในพืน้ ทีท่ มี่ าจากภาคใต้ กลายเป็นมายา คติและความรู้ผิดๆ เกี่ยวกับผู้คนในภาคใต้” “ที่ส�ำคัญกว่านั้น คือ ขณะที่สื่อข่าวสารส่งสัญญาณที่มีแต่ความ รุนแรงออกไปให้ชาวกรุงเทพฯและชนชั้นกลางได้เสพสารความกลัว ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส เองก็ ก�ำลังถูกหล่อหลอมให้อยู่ในโลกของความหวาดกลัวยิ่งกว่า พวกเขารู้สึก แปลกประหลาดใจกับบรรยากาศของข้อมูลข่าวสารที่สื่อสารออกไปให้ คนไทยที่เหลือรับทราบ ขณะที่การใช้ชีวิตประจ�ำวันในพื้นที่สามจังหวัด
32
ก็ต้องด�ำเนินต่อไปทุกวัน อาจบอกได้ว่า ไม่ค่อยเป็นธรรมและถูกต้องนัก ที่คนในพื้นที่สามจังหวัดจะเสพข่าวสารแห่งบรรยากาศความน่ากลัวด้วย สายตา มุมมอง และทัศนคติแบบคนกรุงเทพฯเท่านั้น” รอมฎอน ปันจอร์ เสริมว่า ข่าวภาคใต้ทนี่ �ำเสนอมาตลอดเวลา 9 ปีนนั้ ได้สร้างบรรยากาศแห่งความระแวงและหวาดกลัวให้กบั ผูค้ นในพืน้ ที่อื่นๆ ของประเทศต่อคนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ว่าเป็นผู้ก่อการ ร้ายไปเสียหมด “คนเชียงใหม่ คนโคราช อาจรู้สึกว่าคนภาคใต้กลายเป็นโจรกัน ไปหมด รถยนต์ที่มีป้ายทะเบียน นราธิวาส ยะลา หรือปัตตานี กลายเป็น รถยนต์ของผูท้ จี่ ะมาก่อการร้าย เจ้าของรถถูกตัง้ ค�ำถามและหวาดระแวง ว่าจะมาเป็นผู้ก่อการร้าย ลองคิดเรื่องความน่ากลัวเดียวกันนี้กับในข่าว การเมืองความขัดแย้งเรื่องสีเสื้อเหลืองแดง ก็เช่นเดียวกันที่อาจก�ำลัง สือ่ สารเรือ่ งความเกลียดชังกันในหมูป่ ระชาชน ฉะนัน้ การรายงานข่าวเชิง สันติภาพ ควรจะถูกน�ำไปใช้กับข่าวสารทุกๆ เรื่องที่มีความขัดแย้ง” อาจารย์กุสุมา เห็นด้วยในเรื่องนี้ ที่ว่าข่าวสารภาคใต้ส่วนมาก ถูกเขียนบอกเล่าในทางส่งสัญญาณความรุนแรง และตั้งค�ำถามต่อไป ว่า องค์กรสื่อ ผู้น�ำ นโยบาย หรือกระทั่งมาตรฐานทางจริยธรรมในการ รายงานข่าวของแต่ละองค์กรนั้นเอง ที่แทบจะเป็นปัจจัยหนุนหรือจ�ำกัด การท�ำงานของนักข่าว “หากผู้น�ำนโยบายองค์กร ไม่คิดว่าการเขียนข่าว การถ่ายภาพข่าว การเรียบเรียงหรือก�ำหนดประเด็นและการใช้ภาษาใน ข่าวนั้นเป็นเรื่องที่ควรมีจริยธรรมบรรทัดฐานเป็นตัวก�ำหนด คนปฏิบัติ งานก็ไม่ลกุ ขึน้ มาเปลีย่ นแปลงตนเองไปได้ เพราะท�ำแล้วอาจจะไปขัดกับ บรรณาธิการ หรือ ความคุ้นชินของเพื่อนร่วมงาน ที่ชินกับการเขียนข่าว แบบเดิมๆ กลายเป็นว่า ทุกคนยินดี หรือรู้สึกปกติที่จะเขียนข่าวท�ำข่าว กันแบบเดิมๆ”
“
ยุทธศาสตร์ขา่ วสันติภาพชายแดนใต้ คือ สิง่ ทีส่ อื่ ต้องการ การรายงานข่าวของสือ่ ทัง้ ระบบ ต้อง น�ำไปสู่จุดหมายเดียวกัน คือ สันติภาพ มิใช่แค่ กระบวนการข่าวที่ต้องนึกถึง แต่สื่อทั้งหมดใน ระบบ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะต้องช่วย กันสร้างหนทางสูส่ นั ติภาพ ทัง้ ระบบ ตัง้ แต่ผสู้ อื่ ข่าวในพื้นที่ ไปจนถึง ผู้น�ำนโยบายองค์กรสื่อ
สั
นติ ภ าพจะต้ อ งถู ก แสดงให้ เ ห็ น บทหน้ า กระดาษ หนังสือพิมพ์ ในพาดหัวข่าว ค�ำบรรยาย เนือ้ หาข่าว กระทัง่ สัญลักษณ์แห่งสันติภาพภายใต้ความรุนแรง ไม่มีประโยชน์อันใดที่สื่อจะรายงานข่าวความรุนแรงในมุม มองเชิงอาชญากรรมแบบเดิมๆ ที่ท�ำมา” ยุทธศาสตร์ข่าวดับไฟใต้ เป็นสิ่งที่บรรณาธิการ เจ้าของ องค์กร ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ รีไรท์เตอร์ จะต้องถอดหมวก ความทะนงและศักดิศ์ รีออกไป เพราะเป็นสิง่ เดียวทีจ่ ะสร้าง ความยอมรับในแนวทางสันติภาพ
สันติภาพในกระบวนการวารสารศาสตร์
จึ ง ส� ำ คั ญ เพราะมั น เสมื อ นเข็ ม ทิ ศ น� ำ ทาง ข้อมูลข่าวสารความขัดแย้งไปสู่ความสงบสันติ
33
34
7. การสื่อสารเพื่อเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง ผูว้ จิ ยั ตัง้ ค�ำถามว่า แล้วจะท�ำรูปแบบการสือ่ สารเช่นใด เพือ่ จะ สลายความขัดแย้งในเหตุการณ์ภาคใต้ลงไปได้บ้าง? คุณรอมฎอน ปันจอร์ ผูป้ ฏิบตั กิ ารศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาค ใต้ ยกแนวคิดเรื่อง การสื่อสารสร้างวาทกรรมเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง (Discursive Formation Model for Conflict Transformation) จากแผนภาพ “โครงสร้างสังคมชายแดนใต้ ภายใต้สถานการณ์ความ ขัดแย้ง” ยอดพีระมิด คือ คู่ความขัดแย้งที่มี 2 ฝ่าย คือ รัฐไทย กับ กลุ่ม ผู้ก่อการร้าย (ขบวนการปาตานี) ซึ่งเป็นผู้ยึดกุมข่าวสารความขัดแย้ง ทั้งหมดที่เกิดขึ้นส่วนมากในสื่อ โดยเฉพาะรัฐไทย โครงสร้างสังคมชายแดนใต้ ในสถานณ์การความไม่สงบ
รัฐไทย
ขบวนการปาตานี
องค์กรภาคประชาสังคม ประชาชนรากหญ้า
ชั้นล่างลงมา คือ องค์กรภาคประชาสังคมที่ท�ำงานในพื้นที่สาม จังหวัด (civil society organizations) ทั้งที่ท�ำงานเรื่องการเยียวยา การ สื่อสารข้อมูลความจริง การเปิดพื้นที่ การสร้างเครือข่ายคนท�ำงานด้านผู้ หญิง สิง่ แวดล้อม เด็กและเยาวชน หรือท�ำงานด้านกระบวนการสันติภาพ รวมทั้งองค์กรพันธมิตรด้านนักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัย
35
ชั้นล่างสุดคือ กลุ่มประชาชนรากหญ้า ที่เป็นชาวบ้าน สมาชิก ชุมชน จริงๆ ที่เป็นคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นคนส่วนมาก แต่กลับมีพื้นที่ข้อมูล ข่าวสารน้อยที่สุด และข่าวสารที่ประชาชนรากหญ้าในพื้นที่เสพ ก็คือ ข่าวภาคใต้จากนักข่าวในพื้นที่ที่ถูกส่งไปให้ส่วนกลางผลิตซ�้ำหรือเข้า กระบวนการแบบหนึ่งแล้วจึงส่งกลับมาถ่ายทอดไปทั่วประเทศและลง มายังพื้นที่ภาคใต้ ท�ำให้ข่าวสารเหตุการณ์ภาคใต้ในบางครั้งนั้น ไม่ถูก ต้อง ไม่สะท้อนข้อเท็จจริงทั้งหมด ซึ่งเป็นกระบวนการท�ำข่าวจากบน ลงล่าง จากเจ้าหน้าที่รัฐสู่ประชาชนแต่ฝ่ายเดียว วิธแี ก้ปญ ั หาคือ จะต้องเปลีย่ นหรือสร้างกระแสข้อมูลข่าวสาร จากทิศทางด้านล่างสู่ชั้นข้างบนให้มากขึ้น โดยต้องสร้างรูปแบบ วาทกรรมก่อความเปลี่ยนแปลงในความขัดแย้ง ซึ่งยืนอยู่บน พื้นฐาน ข้อมูล 3 ประเภท คือ “วิชาการและความรู”้ จากนักวิชาการ หน่วยงาน ศึกษาวิจยั ต่างๆ มาให้ขอ้ มูล ผ่าน “การสือ่ สารและสือ่ ” ทัง้ สือ่ กระแส หลัก สื่อในท้องที่ สื่อชุมชน และผลักประเด็นสร้างความเคลื่อนไหว ส่งต่อข้อมูลผ่าน “ภาคประชาสังคม” ที่ท�ำงานในพื้นที่ และข้อมูลทีต่ อ้ งสือ่ สารให้มากขึน้ มี 3 ประเด็นคือ เรือ่ งการเจรจา สมานฉันท์ หรือการสนทนาสันติภาพ (peace dialogue) โดยเฉพาะการ เปลี่ยนรูปแบบการปกครองในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้เป็นเขตการ ปกครองพิเศษ ซึ่งจะท�ำให้เกิดการสื่อสารแบบนี้ได้ ต้องสร้างพื้นที่เสวนา สาธารณะทีเ่ ปิดโอกาสให้ผคู้ นได้เข้ามาแลกเปลีย่ นความคิดเห็นโดยไม่ตอ้ ง มีความหวาดกลัว ระแวง หรือคิดว่าจะออกมาเป็นเป้าหมายโจมตีทางการ เมืองของรัฐหรือกลุ่มผู้ก่อการร้าย
36
และที่ส�ำคัญที่สุด จะต้องสื่อสารให้เกิดความกระจ่างในความ ยุ ติ ธ รรม ทั้ ง กระบวนการทางกฎหมาย กรณี ค วามรุ น แรงต่ า งๆ ที่ คลางแคลงใจประชาชน หรือเหยื่อ ญาติผู้เสียชีวิต จะต้องแสดงข้อเท็จ จริงและท�ำกระบวนการยุติธรรมให้โปร่งใส ตัวก่อรูปแบบวาทกรรมในความขัดแย้ง
Discursive Formation Model for Conflict Transformation
Academic/Knowledge วิชาการและความรู้
Autonomy เขตการปกครองพิเศษ
Local-National Media การสื่อสารและสื่อ
Peace Talk/Dialogue เสวนาพูดคุยสันติภาพ
Civil Society ภาคประชาสังคม
Justice ความยุติธรรม
รอมฎอน ปันจอร์ ยังอธิบายถึง “วิถที าง” การสือ่ สาร ในลักษณะ “ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง 3 แนวทาง” (ดังภาพ) ดังนี้ (1) วิถที างที่ 1 : รัฐบาล ทหาร กับผูก้ อ่ การร้าย ขบวนการใต้ดนิ กลุ่มต่อต้านรัฐ ต้องมีการเจรจาสันติภาพต่อกัน โดยเน้นที่ “ผลลัพธ์ของ กระบวนการสันติภาพ” ภายใต้การหาข้อมูลที่เป็นจริงจากทุกฝ่าย โดย อาจมีคนกลางที่ไม่มีส่วนได้เสียมาเป็นตัวกลางในการเจรจาสันติภาพ
37
(2) วิถีทางที่ 2 : ฝ่ายองค์กรภาคประชาสังคม กลุ่มนักวิชาชีพ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน เข้ามาสนับสนุนที่ “กระบวนการ สันติภาพ” เช่น การปรึกษาหารือกัน การประชุมเสวนาแลกเปลีย่ นความ คิดเห็น การแสวงหารูปแบบและข้อเสนอแนะทางออกจากภาคประชาชน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (3) วิถที างที่ 3 : องค์กรภาคประชาชน ประชาชนรากหญ้า เน้น ที่ “กระบวนการและโครงสร้าง” ในการสร้างความเข้มแข็ง กระบวนการ เยียวยา กระบวนการยุติธรรมและการท�ำงานด้านสิทธิมนุษยชน ตัวแบบการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง 3 แนวทาง วิถีทางที่ 1 Track 1
วิถีทางที่ 2 Track 2
ตัวแสดงบทบาท ที่ส�ำคัญ
รัฐบาล ทหาร กับผู้ก่อการร้าย ขบวนการใต้ดิน กลุ่มต่อต้านรัฐ
องค์กรประชาสังคม กลุ่มนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน
กลยุทธ์ที่ส�ำคัญ
เน้นผลการเจรจาต่อรอง สันติภาพ เน้นที่กระบวนการ การปรึกษาหารือ การหาข้อมูลความจริง บังคับให้เป็น การประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนความ ไปตามข้อตกลง เห็น ข้อเสนอรูปแบบการปกครอง โดยภาคประชาชน
วิถีทางที่ 3 Track 3 องค์กรประชาชน ระดับรากหญ้า
เน้นที่กระบวนการ โครงส้ราง การ สร้างความเข้มแข็ง พัฒนาบุคลากร งานด้านความยุติธรรมและสิทธิ มนุษยชน
รอมฎอน ปันจอร์ แสดงความหวังว่า รูปแบบการแก้ปญ ั หาแบบนี้ น่าจะสามารถช่วยบรรเทาระดับความขัดแย้งในพืน้ ทีส่ ามจังหวัดชายแดน ใต้ลงไปได้ และลดระดับความขัดแย้งจากการเข่นฆ่า มาสูค่ วามขัดแย้งใน ระดับการเจรจาสันติภาพ
38
8. บทเรียนที่นักข่าวต้องเรียนในสถานการณ์ความขัด แย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ คณะอาจารย์และตัวแทนสื่อมวลชนอาวุโสทั้ง 5 ท่านในพื้นที่ เสนอว่า บทเรียนที่นักข่าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ควรจะได้เรียน มากที่สุด มี 3 เรื่องส�ำคัญ คือ (1) กระบวนการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ (peace journalism) เช่น การคัดเลือกแหล่งข่าว – แหล่งข้อมูลคุณค่าข่าว ในข่าวความขัดแย้ง การ ใช้ภาษาข่าวในข่าวความขัดแย้ง ผลกระทบของข่าวความขัดแย้งที่ควร หวังผล ความสมดุล เป็นธรรมและการปกป้องแหล่งข่าวในข่าวความ ขัดแย้ง เทคนิคความปลอดภัยส�ำหรับนักข่าวในสนามข่าวความขัดแย้ง (2) ปัญหาและสภาพสังคม ประวัตศิ าสตร์ ภูมศิ าสตร์ วัฒนธรรม ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ (3) ความขัดแย้ง ความรุนแรง และสันติวิธี และเพิม่ เติมเรือ่ งการแลกเปลีย่ นประสบการณ์การท�ำงานสือ่ ข่าว ที่ล้มเหลว และประสบความส�ำเร็จ ในการสื่อสารเชิงสันติภาพ ตลอดจน ความรู้ประเภทการป้องกันตัว ความปลอดภัย ในการรายงานข่าว และ วิชาการรายงานข่าวเชิงลึก การรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน โดยเสนอแนะรูปแบบกระบวนการว่าควร “ออกแบบหลักสูตร การสื่อข่าวสันติภาพชายแดนใต้” ที่มีวิชาที่หลากหลาย ให้นักข่าวได้ เรียนและอบรมอย่างต่อเนื่องจนจบหลักสูตร ที่ส�ำคัญคือ การออกแบบ กระบวนการทีใ่ ห้ผเู้ ข้ารับการอบรมมีความผสมผสานเหลือ่ มล�ำ้ กันระหว่าง นักข่าวในพื้นที่ และนักข่าวส่วนกลาง ผู้สื่อข่าวและช่างภาพ หัวหน้าข่าว และรีไรท์เตอร์ และระดับผู้บริหารองค์กรข่าว หัวหน้าโต๊ะข่าว
39
บก. และ นักข่าวสายระดับปฏิบัติการ เพื่อออกแบบยุทธศาสตร์ข่าวภาค ใต้ร่วมกัน และที่ส�ำคัญ ต้องมีความผสมผสานกันระหว่างองค์กรสื่อทุก รูปแบบทั้งสื่อสาธารณะ สื่อรัฐและสื่อเชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ อีกความรู้หนึ่งที่ส�ำคัญ คือ “การออกแบบกลไก การน�ำเสนอข่าวภาคใต้” ที่น่าจะลดทอนปัญหา อุปสรรคในการสื่อข่าว จากพื้นที่สู่ส่วนกลาง และ การเรียนรู้เพื่อทลายมายาคติการน�ำเสนอข่าว ภาคใต้ต่อสังคมโดยรวม ผู้ที่ควรรับผิดชอบหลักสูตรนี้ คือ หน่วยงาน หรือองค์กรสื่อ/ วิชาชีพสือ่ ทีม่ คี วามพร้อมและมีความสนับสนุนอย่างต่อเนือ่ ง เช่น สมาคม นักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ ไทย สถาบันอิศรา โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้ ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ ภาคใต้ (Deep South Watch) หรือกระทั่งสื่อสาธารณะเช่นไทยพีบีเอส เพราะเห็นว่ามีพื้นที่การรายงานข่าวภาคใต้อย่างเข้มข้น และมีหน่วย งานสนับสนุนทางวิชาการและการพัฒนาอบรมทักษะสื่อมวลชนอยู่เป็น ทุนเดิม และควรเป็นการร่วมมือกันในระดับองค์กรในประเทศและต่าง ประเทศ ผู ้ ร ่ ว มเสวนามองว่ า การสื่ อ ข่ า วเพื่ อ สลายความขั ด แย้ ง มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ หากมองย้อนลึกลง ไปจริงๆ ในการท�ำงานสือ่ ข่าวแล้ว ไม่ใช่เรือ่ งใหม่และเรือ่ งยากแต่อย่าง ใด เพราะมันอาศัยมาตรฐานและจริยธรรมในวิชาชีพวารสารศาสตร์ อยู่อย่างหนักแน่น หลักความถูกต้อง เที่ยงตรง สมดุล เป็นธรรม เป็นพื้นฐานส�ำคัญ นอกจากนั้นคือ การใช้ภาษาข่าว หลักเคารพสิทธิ มนุษยชนแก่เหยื่อ ผู้บาดเจ็บ และอาจรวมเอาแนวคิดเรื่องการสื่อข่าว ในภาวะสงครามและเหตุการณ์ภัยพิบัติ
40
9. ยุทธศาสตร์ข่าวเพื่อดับไฟใต้ของสื่อมวลชน?
ค� ำ ถามส� ำ คั ญ ในวงเสวนา คื อ “ที่ ผ ่ า นมาสื่ อ มวลชนไทย โดยเฉพาะสื่อกระแสหลัก เราเคยมียุทธศาสตร์การรายงานข่าวใน สถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้หรือไม่?” วงเสวนาไม่ได้ต้องการค�ำตอบ แต่ตั้งประเด็น/แนวทางว่าหาก จะมีสื่อใดสนใจในเรื่องนี้ ก็จะเป็นเรื่องที่ดี “ยุทธศาสตร์ข่าวไฟใต้” น่าจะหมายถึง ยุทธศาสตร์การท�ำงานข่าวของสือ่ มวลชนกระแสหลัก และ อาจจะสามารถน�ำไปใช้ประยุกต์เข้ากับการท�ำงานร่วมกันกับสื่อในพื้นที่ อย่างน้อย 3 แนวทางนี้ น่าจะเป็นการสร้างยุทธศาสตร์ข่าวไฟใต้ได้ ดังนี้ แนวทางการสร้างยุทธศาสตร์ข่าวดับไฟใต้ peace purposive
“editorial” peace process 1. สันติภาพเป็นเป้าหมาย peace purposive
peace presentation
: ก�ำหนดเป้าหมาย/นโยบายองค์กร ผูบ้ ริหารสือ่ บรรณาธิการข่าวอาวุโส สมาคม วิชาชีพสือ่ ร่วมกับหน่วยงานรัฐ สถาบันการศึกษา เอกชน และภาคประชาสังคม ก�ำหนดยุทธศาสตร์การข่าวเพื่อสันติภาพไปในแนวทางเดียวกัน
2.กระบวนการข่าวเชิงสันติภาพ : สร้างกลไก-กระบวนการสื่อข่าวเชิงสันติภาพในองค์กร ในระบบข่าว เช่น การ มีโต๊ะข่าวยุทธศาสตร์ภาคใต้โดยเฉพาะ มีกองบรรณาธิการข่าว ทีมงานข่าวไฟ peace process ใต้ มีบก.ประจ�ำและรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ท�ำหน้าที่ควบคุมและผลิตเนื้อหา 3.น�ำเสนอข่าวเชิงสันติภาพ peace presentation
: ยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางหลักในการน�ำเสนอข่าวของสื่อมวลชน โดยใช้ใน ทุกขัน้ ตอนทัง้ ภาพ เนือ้ หา แหล่งข่าว การก�ำหนดคุณค่าข่าว ประเด็นข่าว ภาษา รูปประโยค การเล่าเรื่อง จริยธรรมในการน�ำเสนอ และการมองหาสัญญาณแห่ง สันติภาพในพื้นที่สนามข่าวอย่างต่อเนื่อง
41
(1) เป้าหมายร่วมกันในการน�ำเสนอข่าวเพือ่ สันติภาพ (peace purposive) สือ่ มวลชน ผูส้ อื่ ข่าว ช่างภาพ จะต้องตระหนักและรูบ้ ทบาท ของตนเองในการสื่อข่าวปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนใต้ว่า “จะต้องน�ำเสนอเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศแห่งสันติภาพ” แต่นั้นมิได้ หมายความว่าจะละทิ้ง “ข้อเท็จจริง” อีกด้านของความโหดร้าย หรือข้อ เท็จจริงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หากการน�ำเสนอจะไปสู่การเปิดเผยข้อมูล ทีก่ อ่ ให้เกิดความขัดแย้ง แต่เป็นความขัดแย้งที่น�ำไปสู่การสร้างสันติภาพ ในระยะยาวและยั่งยืน ทีส่ ดุ แล้ว เป้าหมายของข่าว คงมิสามารถ “บิดเบือนข้อเท็จจริง” หรือ “เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงบางชุด” เพียงเพราะมันไม่น�ำไปสู่สันติภาพ แต่หมายความว่า การสร้างความจริง ความยุตธิ รรม ความสมดุลเป็นธรรม ของข้อมูลต่างหาก ที่จะต้องมุ่งไปสู่การสร้างสันติภาพ “สันติภาพ คือเป้าหมายของการน�ำเสนอข่าว แต่ตอ้ งไม่ละเลย ความถูกต้อง ความสมดุลรอบด้าน และผลกระทบของข่าวต่อสังคม” (2) กระบวนการ-กลไกสนับสนุนการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ อย่างบูรณาการและมีความยั่งยืน (Peace process) ไม่มีประโยชน์ หากมีนักข่าวเพียงคนเดียวอยากจะเป็นนักข่าวสันติภาพ เพราะข่าวหนึ่ง ชิ้น สกู๊ปหนึ่งเรื่อง มีต้นน�้ำจากแหล่งข้อมูล มีกลางน�้ำคือกระบวนการส่ง ข่าว กองบรรณาธิการ และมีปลายน�้ำ คือผู้อ่านผู้ชม กระบวนการสื่อข่าว ต้องใช้ความร่วมมือทุกกระบวนการ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่น ต้องท�ำงานข่าวเชื่อมโยงไปในทิศทางเดียวกับ ผู้สื่อข่าวส่วนภูมิภาค บก.ข่าวภูมิภาคท�ำงานร่วมกับบก.ข่าวส่วนกลาง ช่างภาพ ส่งภาพข่าวเชิงสันติภาพโดยใช้แนวคิดการคัดเลือกภาพข่าว เดียวกับบก.ภาพข่าว กระทั่งแนวคิดเรื่อง “คุณค่าข่าว” ซึ่งเคยถูกยึดถือ
42
กันมานานตามต�ำรานิเทศศาสตร์และความเคยชิน-วิถีปฏิบัติของการ ท�ำงานข่าว ที่เน้นขายเรื่อง “ความขัดแย้ง-ความรุนแรง-ความมั่นคง” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ครอบง�ำการน�ำเสนอข่าวภาคใต้มาตลอดหลายปี (3) วิธกี ารน�ำเสนอข่าวเชิงสันติภาพ (peace presentation) ข้อนี้เป็นการตั้งค�ำถามย�้ำว่า คนสื่อมวลชนทั้งในระบบ หรือเฉพาะที่ต้อง รับผิดชอบการรายงานข่าวเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนใต้ (หรือกระทั่งความขัดแย้งทางสังคมอื่นๆ) นักข่าว ช่างภาพ รี ไรท์ เ ตอร์ แ ละบรรณาธิ ก ารข่ า วมี ค วามรู ้ แ ละทั ก ษะการสื่ อ ข่ า วเชิ ง สันติภาพนี้มากน้อยอย่างไร? เรื่ อ งนี้ ต ้ อ งถู ก ก� ำ หนดโดยนโยบายขององค์ ก รสื่ อ /ผู ้ บ ริ ห าร สื่ อ เพราะการน� ำ เสนอข่ า วเพื่ อ สั น ติ ภ าพนั้ น นั ก ข่ า ว ช่ า งภาพ กองบรรณาธิการจะต้องได้รับการสนับสนุนความรู้ แนวทางปฏิบัติ หลักจริยธรรมและกลไกการสนับสนุนอื่นๆ ทั้งภาพข่าว ประเด็นข่าว การคัดเลือกแหล่งข่าว การตรวจสอบ ข้อมูลความน่าเชื่อถือและถูกต้องของแหล่งข่าว การเขียนข่าว การเขียน พาดหัว การบรรยายใต้ภาพ การใช้ค�ำ ภาษาเรียกแหล่งข่าวหรือกระทั่ง การคัดเลือกค�ำกริยา การกระท�ำของผูก้ อ่ ความไม่สงบ หรือ ค�ำเรียกเหยือ่ หรือผู้ต้องสงสัย เหล่านี้ จ�ำเป็นที่สื่อต้องมีความรู้และแนวทางในการ ท�ำงานทั้งสิ้น องค์กรสื่อจ�ำเป็นต้องก�ำหนดให้ผู้สื่อข่าวและช่างภาพ และกอง บรรณาธิการต้องยึดถือหลัก/แนวทางปฏิบัติทางวิชาชีพในการน�ำเสนอ ข่าวเชิงสันติภาพ แม้กระทั่งหลักจริยธรรมพื้นฐาน เช่น การตรวจสอบ ความถูกต้องแม่นย�ำของแหล่งข่าว การน�ำเสนออย่างรอบด้าน สมดุล และ เป็นธรรม เหล่านี้เป็นสิ่งจ�ำเป็นพื้นฐานต่อการรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ
43
ส่วนที่ยากที่สุดคือจะท�ำอย่างไรให้ยุทธศาสตร์การน�ำเสนอ ข่าวภาคใต้เริ่มมีทิศทาง และน�ำไปสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเสนอจากวงเสวนา คือ ต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม 3 วงดังนี้ หนึง่ : วงวิชาการ ความร่วมมือจากองค์กรวิชาชีพสือ่ และสถาบัน การศึกษา เช่น สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สถาบัน อิศรา หรือสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและ โทรทัศน์ไทย ร่วมกับคณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ จัดให้มกี ารประชุม ร่วมกัน เพื่อก�ำหนดยุทธศาสตร์ข่าวดับไฟใต้ร่วมกัน สอง : วงวิชาชีพ การประชุมหารือร่วมกันของ ผู้บริหารองค์กร สื่อ บรรณาธิการข่าวอาวุโส ในแต่ละองค์กรสื่อระดับประเทศ และ สื่อ ส่วนภูมิภาค สื่อท้องถิ่น สื่อชุมชน เพื่อมองหาแนวทางการปฏิบัติที่เป็น ไปได้จริงในการปฏิบัติงาน สาม : วงแหล่งข่าว การหารือร่วมกันระหว่างองค์กรสื่อ และ หน่วยงานองค์กรแหล่งข่าว หน่วยงานให้ข่าวภาครัฐ องค์กรท�ำงานภาค ประชาสังคมในพื้นที่ องค์กรระหว่างประเทศ ในการก�ำหนดยุทธศาสตร์ การให้ข่าว การสื่อข่าวเชิงสันติภาพเป็นพันธกิจส�ำคัญของสื่อทุกสาขา ทั้งสื่อพาณิชย์ สื่อสาธารณะ และสื่อชุมชน ระดับประเทศและในพื้นที่ ต้องอาศัยความกล้าหาญที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติ วัฒนธรรมและ มายาคติในการท�ำงานอย่างมาก ลดทอนความเห็นแก่ประโยชน์ส่วน ตน/องค์กร เพราะข่าวความขัดแย้งนัน้ ด�ำรงอยูไ่ ด้ดว้ ยความไม่สงบสุข ของผู้คน ความทุกข์ของประชาชน ด้วยเลือดและน�้ำตา หากสื่อยังคง น�ำเสนอข่าวแบบไร้ยทุ ธศาสตร์เช่นเดิม สังคมไทยก็มอิ าจเดินออกจาก ปัญหาความขัดแย้งได้ ข่าวเชิงสันติภาพเป็นกุญแจส�ำคัญสู่การสลาย ความขัดแย้ง และความสงบสุขของสังคม
44
45
ภาพถ่าย : ติชิลา พุทธสาระพันธ์ ทีมช่างภาพผู้สื่อข่าว Thai PBS ศูนย์ภาคใต้ (หาดใหญ่)
46
บทที่ 2
แนวคิดการรายงาน ข่ า วในสถานการณ์
ความขัดแย้ง เรี ยบเรียงจาก 1. ธีรเดช เอี่ยมส�ำราญ (บรรณาธิการ).2551. คู่มือการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้ง. หน้า
53-63. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.tja.or.th/index.php?option=com_rokdownloads&view=folder&Ite mid=27&id=149: 2. รอส โฮเวิร์ด. 2551. การสื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง. แปลโดย วลักษณ์กมล จ่างกมล. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.tja.or.th/index.php?option=com_ content&view=article&id=1640:h-9-5-32&catid=57:2009-09-10-04 38-57&Itemid=30 3. ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา. “Peace Journalism: เป้าหมายสู่สันติภาพ”. GotoKnow. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/123173 4. ธาม เชื้อสถาปนศิริ และเมสิริณ ขวัญใจ. 2553. ถอดบทเรียนการรายงานข่าวการชุมนุมทาง การเมือง “สงคราม” หรือ “สันติภาพ”: ศึกษาจากนักข่าว กองบรรณาธิการ และเนื้อหาข่าว ในช่วงมีนาคม – เมษายน 2553 จากหนังสือพิมพ์มติชนและไทยรัฐ 5. พรรณพิมล นาคนาวา. 2544 .“สื่อมวลชนกับสันติภาพ” ใน ยกเครื่องสื่อไทย โลกของสื่อ ล�ำดับที่ 4. วิภา อุตมฉันท์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หน้า 111-115.
47
1. การสื่อข่าวกับความขัดแย้ง
(จาก วลักษณ์กมล จ่างกมล, การสื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง, 2551)
พลังอ�ำนาจของสื่อมวลชน
สังคมส่วนใหญ่พยายามพัฒนาวิธกี ารทีจ่ ะจัดการกับความขัดแย้ง โดยปราศจากความรุนแรง ปกติแล้วบุคคลทีถ่ อื ว่าเป็นผูม้ คี วามเป็นธรรม เช่น ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ผู้พิพากษา หรือศาลระหว่างประเทศจะเป็นผู้ ได้รับการมอบหมายอ�ำนาจให้เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับการคลี่คลายความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ ทุกคนต้องเคารพการตัดสินใจดังกล่าว หากการ ตัดสินใจไม่เป็นธรรมและไม่ได้รับการยอมรับความขัดแย้งก็อาจกลาย เป็นความรุนแรงได้ ผู้ประกอบวิชาชีพหลายแขนง เช่น ผู้ให้ค�ำปรึกษา ผู้น�ำชุมชน นักการทูต นักเจรจาต่อรองและนักวิชาการได้พยายามคิดและหาวิธกี ารที่ จะยุตคิ วามขัดแย้งทีร่ นุ แรง กลุม่ คนเหล่านีค้ น้ พบว่าความขัดแย้งทีเ่ กิดขึน้ ไม่วา่ จะภายในครอบครัว ระหว่างเพือ่ นบ้าน ระหว่างกลุม่ ภายในประเทศ หรือระหว่างประเทศ จะยุติลงได้นั้นต้องมีบางสิ่งเกิดขึ้นเพื่อที่จะท� ำให้ ความขัดแย้งนั้นยุติลง สิง่ ส�ำคัญประการหนึง่ ทีจ่ ะต้องเกิดขึน้ ก็คอื การสือ่ สาร เพราะการ ทีจ่ ะท�ำให้ทงั้ สองฝ่ายสามารถเดินไปสูก่ ารแก้ปญ ั หาทีไ่ ม่ใช้ความรุนแรงได้ ก็คอื ทัง้ สองฝ่ายต้องพูดคุยกัน และตรงนีเ้ องทีว่ ชิ าชีพวารสารศาสตร์หรือ การสื่อสารข่าวต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง
48
บทบาทโดยจิตใต้ส�ำนึกของสื่อ ผู้สื่อข่าวมืออาชีพนั้นไม่ได้มุ่งหวังที่จะเป็นผู้ลดปัญหาความ ขัดแย้ง พวกเขามุ่งที่จะน�ำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และไม่ล�ำเอียง เข้าข้างใคร แต่บอ่ ยครัง้ ทีก่ ารสือ่ ข่าวทีด่ เี ช่นนีช้ ว่ ยท�ำให้ความขัดแย้งลดลง ในการที่จะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งนั้นมีหลายช่องทางด้วยกัน ซึ่งใน กระบวนการสือ่ ข่าวทีด่ ี ผูส้ อื่ ข่าวสามารถทีจ่ ะมีบทบาทส�ำคัญตรงนีไ้ ด้โดย อัตโนมัติผ่านกระบวนการท�ำงานที่ท�ำเป็นประจ�ำอยู่แล้ว ดังนี้ 1. การเป็นช่องทางในการสือ่ สาร (channeling communication) สื่อมวลชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นสื่อข่าวสาร (news media) นัน้ มักเป็นสือ่ กลางทีส่ ำ� คัญระหว่างฝ่ายต่างๆ ทีข่ ดั แย้งกัน บางครัง้ สือ่ ถูก ใช้โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ เพือ่ ส่งสารทีค่ กุ คามข่มขู่ แต่ในบางครัง้ คูก่ รณีความ ขัดแย้งสื่อสารกันโดยผ่านสื่อหรือผู้สื่อข่าวเฉพาะคน 2. การให้การศึกษา (educating) แต่ละฝ่ายทีอ่ ยูใ่ นเหตุการณ์ ความขัดแย้งจ�ำเป็นต้องรู้ว่าเงื่อนไขและข้อจ�ำกัดของอีกฝ่ายในการสร้าง ความสมานฉันท์คืออะไร เช่น การเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอ�ำนาจ นั้นสามารถให้ความรู้แก่อีกฝ่ายเพื่อหลีกเลี่ยงข้อเรียกร้องการแก้ปัญหา ท�ำให้การแก้ปัญหาง่ายและรวดเร็ว 3. การสร้างความเชื่อมั่น (confidence-building) การขาด ความไว้วางใจซึง่ กันและกันเป็นสาเหตุทสี่ ำ� คัญของปัญหาความขัดแย้ง สือ่ สามารถช่วยลดความสงสัยและความไม่ไว้วางใจกันได้โดยเจาะลึกข้อมูล ต่างๆ และเปิดเผยให้มากทีส่ ดุ เพือ่ จะได้ไม่มคี วามลับให้กลัวกัน นอกจาก นี้ การรายงานข่าวทีด่ ยี งั สามารถทีจ่ ะน�ำเสนอตัวอย่างของทางออกจากที่ อืน่ ๆ และอธิบายให้เห็นถึงความพยายามและความเป็นไปได้ของการสร้าง ความสมานฉันท์ทางสังคม
49
4. การแก้ไขการรับรู้และความเข้าใจที่ผิดๆ (correcting misperceptions) สื่อสามารถตรวจสอบและรายงานให้ทราบถึงความ เข้าใจและการรับรูท้ ผี่ ดิ ๆ ทีท่ งั้ สองฝ่ายมีตอ่ กันเพือ่ เป็นการกระตุน้ ให้ฝา่ ย ที่ขัดแย้งทบทวนมุมมองและหันหน้าเข้าหากันเพื่อลดความขัดแย้ง 5. การสร้างความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ (making them human) การท�ำให้แต่ละฝ่ายรูจ้ กั ตัวตนกันมากขึน้ เป็นจุดเริม่ ต้นทีส่ ำ� คัญ การสื่อข่าวที่ดีต้องสะท้อนเรื่องราวของคนที่เกี่ยวข้องเหล่านี้และอธิบาย ว่าเขาเหล่านั้นได้รับผลกระทบอะไรบ้าง 6. การอธิบายผลประโยชน์พื้นฐาน (identifying underlying interests) ในเหตุการณ์ความขัดแย้งนั้นแต่ละฝ่ายจ�ำเป็นต้องรู้ถึง ผลประโยชน์พนื้ ฐานทีแ่ ท้จริงของแต่ละฝ่าย การสือ่ ข่าวทีด่ จี ะต้องซักถาม และหาค�ำตอบที่แท้จริง มองให้พ้นผลประโยชน์ของผู้น�ำและเสาะหาผล ประโยชน์ของกลุ่มที่ใหญ่กว่า 7. การเป็นพื้นที่ระบายอารมณ์ความรู้สึก (emotional outlet) การที่จะให้ความขัดแย้งคลี่คลายได้นั้น จ�ำเป็นที่จะต้องมีช่องทาง หรือพืน้ ทีใ่ ห้ฝา่ ยต่างๆ ได้ระบายความรูส้ กึ โศกเศร้า หรือความโกรธ เพราะ ไม่เช่นนั้นอาจท�ำให้เกิดการระเบิดความอัดอั้นและท�ำให้สถานการณ์ เลวร้ายลง สื่อสามารถเป็นพื้นที่ที่ส�ำคัญในการเปิดโอกาสให้แต่ละฝ่าย ได้พูดแทนที่จะให้เกิดการถกเถียงอย่างซึ่งหน้าระหว่างฝ่ายตรงข้ามกัน การโต้แย้งหลายอย่างสามารถต่อสู้ทางสื่อได้แทนการต่อสู้บนถนน และ ความขัดแย้งจะได้รับการแก้ไขก่อนที่จะกลายเป็นความรุนแรง 8. การก�ำหนดกรอบในการสื่อสารความขัดแย้ง (framing the conflict) การอธิบายเหตุการณ์ความขัดแย้งในรูปแบบที่แตกต่าง สามารถช่วยลดความตึงเครียดได้ ดังนั้นในการสื่อข่าวที่ดี ทั้งผู้สื่อข่าว และบรรณาธิการต้องพยายามแสวงหาแง่มุมที่แตกต่าง ทัศนะที่เป็น
50
ทางเลือกอื่น หรือมีความเข้าใจในแบบใหม่แต่ยังคงดึงดูดให้คนสนใจใน เรื่องเดิม การสื่อข่าวที่ดีนั้นสามารถก�ำหนดกรอบความคิดใหม่เกี่ยวกับ ความขัดแย้งส�ำหรับคู่ขัดแย้งทั้งสองฝ่ายได้ 9. การรักษาหน้าและสร้างความเห็นชอบ (face-saving, consensus-building) เมื่อฝ่ายต่างๆ ที่ขัดแย้งพยายามที่จะหาทาง แก้ปญ ั หานัน้ ทัง้ สองฝ่ายต้องพยายามลดความหวาดกลัวของผูส้ นับสนุน ในการรายงานข่าวผู้สื่อข่าวต้องให้ผู้น�ำรักษาหน้าได้และสร้างความเห็น ชอบและต้องเข้าถึงแม้แต่ผู้อพยพและผู้อาศัยอยู่แดนไกล 10. การเสนอทางออก (solution building) ในเหตุการณ์ ความขัดแย้งนัน้ แต่ละฝ่ายมักจะมีขอ้ เรียกร้องเฉพาะของตนทีเ่ สนอขึน้ มา ดังนัน้ ในการรายงานข่าวแต่ละวันสือ่ จะต้องพยายามสรุป และรายงานให้ เห็นถึงสิ่งที่เป็นข้อเสนอทางออกของปัญหา แทนการน�ำเสนอวาทะเกี่ยว กับความเดือดร้อนยุ่งยากซ�้ำไปซ�้ำมา การสื่อข่าวที่ดีเป็นกระบวนการใน การแสวงหาทางออกตลอดเวลา 11. การสร้างสมดุลอ�ำนาจ (encouraging a balance of power) เมื่อมีการเจรจาเกิดขึ้นทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งต่างก็ คาดหวังว่าพวกเขาจะต้องได้รับความสนใจและให้ความส�ำคัญอย่างเท่า เทียมกัน การสื่อข่าวที่ดีช่วยในการเจรจาต่อรอง เพราะการรายงานไม่ เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ นัน้ จะมีความสมดุลให้ความส�ำคัญกับทุก ฝ่ายและช่วยให้เกิดสมดุลอ�ำนาจเพื่อประโยชน์ในการรับฟังข้อร้องเรียน และหาทางออก
51
ท�ำความเข้าใจอิทธิพลของสื่อ
บทบาทส�ำคัญทั้ง 11 ประเด็นดังกล่าวนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่ง ของกระบวนการลดความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือกลุม่ ผูส้ อื่ ข่าวสามารถ ท�ำได้โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ท�ำอยู่ตามปกติอยู่แล้ว หากผู้สื่อข่าวมี ความเข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานดังกล่าวจะท�ำให้ตระหนัก มากยิ่งขึ้นถึงความส�ำคัญของบทบาทหน้าที่ของตนเองในสถานการณ์ ความขัดแย้ง ผู้สื่อข่าวต้องแสวงหาความจริงที่ถูกต้องและน�ำเสนอโดย เลือกใช้ถ้อยค�ำอย่างระมัดระวัง นอกจากนี้ ผูส้ อื่ ข่าวต้องตระหนักว่าบทบาทเหล่านีม้ กั จะเกิดขึน้ ในกระบวนการเจรจาต่อรองและการเจรจาเพื่อสันติที่เป็นการประชุมที่ ไม่เปิดเผย เมื่อรู้เช่นนี้แล้วผู้สื่อข่าวจะสามารถรายงานการเจรจาได้อย่าง เข้าใจมากขึ้น จากตัวอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศศรีลังกาเมื่อมีการเจรจา ครั้งแรกเกิดขึ้น ผู้เจรจากังวลว่าสื่อมวลชนจะไม่เข้าใจกระบวนการและ อาจสร้างความเข้าใจผิดและท�ำลายความเชื่อมั่นของการเจรจาต่อรองได้ ค�ำถามส�ำหรับผู้สื่อข่าว: มีบทบาทสัก 2-3 บทบาทจากทั้งหมด 11 บทบาทที่กล่าวไปแล้วหรือไม่ ที่สื่อในประเทศของท่านได้น�ำไปปฏิบัติ มี การรายงานข่าวเกีย่ วกับทางออกของปัญหามากน้อยเพียงใด ผูส้ อื่ ข่าวได้ เร่งเร้าให้ผู้น�ำของฝ่ายความขัดแย้งทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับการน�ำเสนอราย ละเอียดของทางออกหรือไม่ ผู้สื่อข่าวได้รายงานความจริงและสิ่งที่เป็น หลักฐานของปัญหาที่แท้จริงหรือไม่
52
ความขัดแย้งจะคลี่คลายได้อย่างไร?
สิ่งส�ำคัญที่จะต้องรู้ก็คือการยุติความขัดแย้งนั้นมีหลายทางออก ลองพิจารณาถึงตัวอย่างความขัดแย้งทีส่ มมุตขิ นึ้ มานี้ คือ กลุม่ คนสองกลุม่ ขัดแย้งกันเรื่องผลส้ม ต้นส้มอยู่ในที่ดินของกลุ่มหนึ่ง ในขณะที่ผลส้มลูก นี้อยู่ในกิ่งที่ยื่นไปในที่ดินของอีกกลุ่มหนึ่ง ทั้งสองกลุ่มต่างอ้างความเป็น เจ้าของผลส้มนี้ ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งนี้มี 4 หนทางที่จะท�ำให้ความ ขัดแย้งยุติ ดังนี้ 1. ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะ (One party prevails) • ทั้งสองกลุ่มต่อสู้แย่งชิงกันด้วยความรุนแรง ฝ่ายที่แข็งแรงกว่า ได้รับชัยชนะได้ผลส้ม ขณะที่ฝ่ายที่แพ้ก็โกรธแค้นและผูกพยาบาท • มีการแต่งตั้งผู้ตัดสินที่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขึ้นมา ซึ่งผู้ตัดสิน อาจได้รบั สินบนหรือไม่เป็นธรรม หรือกระบวนการล่าช้าและหมดเปลือง งบประมาณจ�ำนวนมาก ผู้ที่ได้รับการตัดสินว่าแพ้ก็ไม่พอใจ • การจ่ายค่าชดเชย ฝ่ายหนึง่ จ่ายค่าตอบแทนให้อกี ฝ่ายหนึง่ เพือ่ ที่จะได้ผลส้มมา แต่อาจเป็นค่าชดเชยที่มีราคาสูง 2. การถอนตัวออกมา (Withdrawal) • ฝ่ายหนึง่ ฝ่ายใดหรือทัง้ สองฝ่ายปลีกตัวออกไป แต่ความขัดแย้ง ก็ไม่ได้รับการแก้ไขและยังไม่มีใครพอใจ • ฝ่ายหนึ่งท�ำลายผลส้มหรือโยนทิ้งไป การท�ำลายผลส้มอาจ เป็นการใช้ความรุนแรง ทั้งสองฝ่ายสูญเสียผลส้มไป • ทั้งสองฝ่ายไม่ท�ำอะไร ผลส้มก็เน่าไปและทั้งสองฝ่ายต่างก็สูญ เสีย
53
3. การประนีประนอม ทางออกที่เป็นประโยชน์มากกว่า (Compromise. A more useful way) • ผ่าผลส้มนั้นเพื่อที่ทั้งสองฝ่ายจะได้แบ่งสรรปันส่วนกันได้ • ปอกส้มแล้วแบ่งกันทีละกลีบสลับไปมาแต่ละฝัง่ จนกระทัง่ หมด ในกรณีนสี้ ม้ กลายเป็นทรัพยากรทีส่ ามารถน�ำมาแบ่งปันกันได้มากขึน้ อาจ จะแบ่งได้ไม่เท่าเทียมกันแต่ก็ท�ำให้ทั้งสองฝ่ายพอใจ 4. การก้าวพ้นกรอบความคิด ทางออกที่แท้จริงของความขัด แย้ง (Transcendence. Real resolution of conflict) • ดึงให้มีคนเข้ามามีส่วนร่วมในผลประโยชน์นี้มากขึ้น ไม่มีกลุ่ม ใดกลุ่มหนึ่งได้รับผลประโยชน์จากผลส้มเพียงกลุ่มเดียว เพื่อนบ้านที่อยู่ ในชุมชนของคู่ความขัดแย้งนี้อาจตัดสินใจว่าส้มผลนี้เป็นทรัพยากรของ ชุมชน และกระตุ้นให้ทั้งสองฝ่ายแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยไม่ใช้ความ รุนแรง • หาส้มมาเพิ่มอีกหนึ่งผล โดยเพื่อนบ้านอาจจะไปหาซื้อส้มมา จากตลาดหรือจากที่อื่นๆ ในโลกที่มีส้มเกินความต้องการ เพื่อจะได้เอา มาแบ่งปันให้กับทั้งสองฝ่ายและช่วยท�ำให้ความขัดแย้งจบลง • สองฝ่ายตกลงเห็นพ้องกัน อาจจะโดยการสนับสนุนของชุมชน ในการที่จะท�ำเค้กส้มขึ้นมา เพื่อน�ำไปขายในตลาดและน�ำเอาเงินที่ได้มา แบ่งกันระหว่างสองฝ่าย ผลส้มในสถานการณ์นี้ถูกมองออกไปจากเดิม ถือเป็นทรัพยากรที่ท�ำให้ทั้งสองกลุ่มได้รับผลก�ำไร กรณีสมมุตินี้ไม่เพียงแนะน�ำว่าเพื่อนบ้านในชุมชนสามารถที่จะ ก้าวเข้ามาและบอกกับคู่ความขัดแย้งว่าจะท�ำอย่างไรเท่านั้น แต่ถือเป็น เรื่องส�ำคัญส�ำหรับคู่ความขัดแย้งที่จะต้องฟังความคิดเห็นและข้อเสนอ ของคนกลุม่ ใหญ่วา่ มีทางออกอย่างไร รวมทัง้ ขอความช่วยเหลือจากชุมชน ในการก้าวสู่ทางแก้ปัญหานั้น
54
อะไรคือประเด็นส�ำคัญที่ต้องวิเคราะห์?
สิง่ ทีเ่ ห็นได้ชดั เจนก็คอื เราต้องมองความขัดแย้งมากกว่ามุมมอง เดียว • เมื่อต้นตอของความขัดแย้งถูกมองว่าเป็นทรัพยากรที่ต้องแบ่ง ปันกัน เมื่อนั้นโอกาสที่ความขัดแย้งจะกลายเป็นความรุนแรงมีน้อยลง • เมื่อคนกลุ่มใหญ่ในชุมชนเข้ามาเกี่ยวข้องกับต้นตอของความ ขัดแย้ง จะกลายเป็นความกดดันไม่ให้คู่ความขัดแย้งใช้ความรุนแรงได้ • เมือ่ มีทางเลือกหลายๆ ทางในการแก้ปญ ั หาความขัดแย้ง ความ รุนแรงก็เป็นทางออกที่ได้รับความสนใจน้อยลง
ทางเลือกที่มากขึ้นหมายถึงความขัดแย้ง ที่ลดลง
ทางหนึ่งที่จะเพิ่มทางเลือกในข้อพิพาทต่างๆ ก็คือการดึงคนเข้า มาเกีย่ วข้องกับสถานการณ์นใี้ ห้มากขึน้ ท�ำให้มกี ารแบ่งปันทางออกทีค่ น้ พบใหม่ เมื่อทั้งสองฝ่ายอยู่ในภาวะที่ถึงทางตัน สมาชิกคนอื่นๆในชุมชน เช่น ผูน้ ำ� ทางศาสนา กลุม่ ทางธุรกิจ กลุม่ ประชาสังคม ประเทศเพือ่ นบ้าน ที่เป็นมิตร หรือองค์กรระหว่างประเทศ สามารถน�ำเสนอวิสัยทัศน์ที่แตก ต่างและวิธีการแก้ปัญหาทางเลือกอื่นๆ การคลี่คลายความขัดแย้งอาจมีความซับซ้อนสูง เช่น กรณี เหตุการณ์ในประเทศโมแซมบิก (Mozambique) หลังจากเกิดสงคราม มาประมาณ 30 ปี ความขัดแย้งระหว่างสองกลุ่มในประเทศนี้ได้รับการ แก้ไขในปี พ.ศ. 2535 โดยวิธีการคือ
55
• มีกลุ่มต่างๆ 14 กลุ่ม 6 ประเทศ และ 6 กลุ่มองค์กรพัฒนา เอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องในการคลี่คลายความขัดแย้ง • มีผเู้ กีย่ วข้องและข้อเสนอแนะจ�ำนวนมาก ซึง่ ท�ำให้เป็นการยาก ที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะก้าวออกไปจากการเจรจาได้ • ในการเจรจาเพื่อสันติที่โมแซมบิกมีทั้งกลุ่มที่อยู่ภายในและ ภายนอกการเจรจา เพือ่ ช่วยให้ทงั้ สองฝ่ายได้สอื่ สาร เตรียมความคิดและ การโต้ตอบกันได้ • ทุกฝ่ายเริ่มต้นด้วยการหาข้อตกลงในประเด็นเล็กๆ หลังจาก นั้นค่อยพัฒนาไปสู่ประเด็นที่ใหญ่ขึ้น
การวิเคราะห์ความขัดแย้งส�ำหรับผู้สื่อข่าว
ส�ำหรับผู้สื่อข่าวแล้ว การวิเคราะห์ความขัดแย้งหมายถึงอะไร • ผู้สื่อข่าวควรแสวงหาฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและความคิดเห็นที่ แตกต่าง ไม่ควรน�ำเสนอซ�้ำๆ แต่เฉพาะข้อเรียกร้องของฝ่ายผู้น�ำเดิมๆ • ผูส้ อื่ ข่าวควรตรวจสอบสิง่ ทีแ่ ต่ละฝ่ายก�ำลังแสวงหา และความ เป็นไปได้ทจี่ ะถอนตัว ประนีประนอม หรือการก้าวข้ามกรอบความคิดเดิม ผู้สื่อข่าวต้องเขียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้เหล่านี้ • การวิเคราะห์ความขัดแย้งท�ำให้ผสู้ อื่ ข่าวเข้าใจว่าผูเ้ จรจาต่อรอง ก�ำลังท�ำอะไรอยู่และสามารถรายงานข่าวได้อย่างน่าเชื่อถือมากขึ้น • การวิเคราะห์ความขัดแย้งท�ำให้ผสู้ อื่ ข่าวสามารถระบุแหล่งข่าว ที่จะไปหาข้อมูลได้มากขึ้น “การทีผ่ สู้ อื่ ข่าวให้ขอ้ มูลข่าวสารเหล่านีแ้ ก่สาธารณะจะท�ำให้ พวกเขามีความรูแ้ ละความเข้าใจยิง่ ขึน้ เกีย่ วกับความขัดแย้งทีอ่ ยูเ่ บือ้ ง หลังความรุนแรงและมีส่วนช่วยแก้ปัญหาได้”
56
2. การรายงานข่าวในสถานการณ์ ไหวรู้ต่อความขัดแย้ง งานวิจัยเรื่อง สื่อเพื่อสันติภาพ : จริยธรรม การจัดการและ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ของวลักษณ์กมล จ่างกมล คณะวิทยาการ สื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาการเขตปัตตานี ได้มีการแบ่ง ประเภทและตัวบ่งชีแ้ บบ การสือ่ ข่าวเพือ่ สันติภาพ (Peace Journalism) และการสือ่ ข่าวเพือ่ สร้างความขัดแย้ง (War Journalism) ทีห่ มายถึงการ รายงานข่าวทีก่ ระตุน้ ให้เกิดความรุนแรง หรือความขัดแย้งให้เพิม่ ขึน้ ด้วย การเน้นประเด็นความรุนแรง เสนอผลที่ปราฏจากความรุนแรง (visible impact) เป็นหลัก นั่นคือปัจจัยที่ว่า ท�ำไมข่าวนี้จึง “เป็นข่าว” ซึ่งผลการ ศึกษาดังกล่าว ระบุวา่ การน�ำเสนอข่าวกระแสหลักของสือ่ มวลชนทัว่ โลก ยังไม่ให้ความส�ำคัญมากนักกับการเป็นกลไกในการสร้างสันติภาพให้เกิด ขึ้นในสังคม สาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้การน�ำเสนอข่าวที่โน้มเอียงไปในทิศทาง ข่าวเชิงสงครามมาก ก็คือความคุ้นชินของผู้สื่อข่าวและองค์กรสื่อ ที่ ประเมินคุณค่าความเป็นข่าวจากองค์ประกอบของข่าวตามทฤษฎีว่า วารสารศาสตร์ที่มีประเด็นเกี่ยวกับ “ความขัดแย้ง” (conflict) เป็นองค์ ประกอบหลัก โดยเชื่อว่าจะท�ำให้ข่าวนั้นดูน่าสนใจและน่าติดตาม องค์ประกอบของข่าวด้าน “อารมณ์และความสนใจของมนุษย์” (human interest) ทัง้ ในแง่ของการใช้ภาษาทีแ่ สดงอารมณ์เกินจริง การ ใช้ภาษาทีแ่ สดงถึงการตัดสินว่าใครผิด ใครถูก หรือใครดี ใครชัว่ รวมทัง้ การให้ความส�ำคัญกับแหล่งข่าวที่เป็นระดับผู้น�ำ เป็นอีกประเด็นหนึ่ง ที่ท�ำให้การรายงานข่าวถูกจัดว่าเป็นประเภทของข่าวเชิงสงคราม
57
รอส โฮเวิร์ด นักวิชาชีพและนักวิชาการด้านการสื่อสารข่าว เพื่อสันติภาพ เจ้าของหนังสือชื่อ Conflict Sensitive Journalism ได้ ขึ้นต้นบทน�ำหนังสือของเขาซึ่งตรงกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย ณ เวลานี้ว่า “…เมื่อสังคมถูกคุกคามจากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิด จากความขัดแย้ง วิชาชีพผู้สื่อข่าวก็เผชิญกับความยากล�ำบากในการ ปฏิบัติหน้าที่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากฝ่ายที่ขัดแย้งกันพยายามที่จะควบคุม สื่อ ข้อมูลข่าวสารจึงอาจเชื่อถือไม่ได้ หรืออาจถูกกลั่นกรอง ตัดตอนและ เลือกน�ำเสนอ ประกอบกับมีประเด็นความเสีย่ งต่อความปลอดภัยของผูส้ อื่ ข่าว แต่ทว่าในสภาวการณ์เช่นนีก้ ารสือ่ ข่าวทีด่ แี ละมีคณ ุ ภาพก็ยงิ่ มีความ จ�ำเป็นมากที่สุดต่อสังคม” “การสื่อข่าวที่ดีและมีคุณภาพ” มิใช่เพียงการสื่อข่าวที่ฉายภาพ บางด้านที่สอดคล้อง และจะเอื้อประโยชน์ให้กับความเชื่อและรสนิยม ทางการเมืองของผู้มีส่วนร่วมตัดสินใจในกองบรรณาธิการข่าว หรือมิใช่ เพียงการน�ำเสนอแบบยุให้ร�ำต�ำให้รั่ว โดยใช้ส�ำนวนภาษาหรือถ้อยค�ำ บรรยายบุคคล เหตุการณ์ และอารมณ์ เช่น ในแวดของภาพยนตร์สงคราม ล้างโลก ประเด็นที่ส�ำคัญคือ สังคมไม่ได้คาดหวังว่าผู้สื่อข่าวต้องเข้า มาเป็นผู้ลดความขัดแย้ง แต่เขาหวังให้สื่อน�ำเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนมากเท่าทีจ่ ะหาได้และไม่ลำ� เอียงเข้าข้างใคร (รูเ้ ท่าทันอคติใน ใจในฐานะปุถุชนของตน) ซึ่งเชื่อว่าการสื่อข่าวที่ดีจะช่วยท�ำให้ความ ขัดแย้งลดลง
58
ผู้สื่อข่าวจึงจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเป็นผู้มองเห็นสถานการณ์ อย่างพินิจพิเคราะห์ มากกว่าผู้ที่เป็นตัวแสดงในสถานการณ์ เราไม่ได้ ต้องการเจ้าของบริษทั ผูผ้ ลิตสือ่ มวลชน คอลัมนิสต์ หรือผูป้ ระกาศข่าว มา ท�ำหน้าที่เป็นผู้ก�ำกับ ผู้แสดง หรือผู้จัดการในฉากแห่งสถานการณ์ความ ขัดแย้ง เช่นเดียวกับทีเ่ ราไม่ตอ้ งการให้ผสู้ อื่ ข่าวทีย่ ดึ มัน่ ถือมัน่ ต่ออคติสว่ น ตนและจงรักภักดีต่อผลประโยชน์ของผู้ครอบครององค์กรสื่อ น�ำเสนอ ข้อมูลข่าวสารเพื่อตอบสนองที่มาเช่นนั้นต่อสังคม แน่นอนว่าไม่มีผู้สื่อข่าวคนใดสามารถเป็นกลางได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากผู้สื่อข่าวก็เป็นปุถุชนธรรมดาคนหนึ่งที่มีค่านิยม ความเชื่อ และ ศรัทธาเฉพาะของตนเอง ด้วยเหตุนจี้ งึ เป็นทีม่ าว่าท�ำไมเราต้องมีมาตรฐาน ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในด้านความถูกถ้วน เทีย่ งธรรม และความ รับผิดชอบของวิชาชีพผู้สื่อข่าว เพื่อที่จะขจัดหรืออย่างน้อยควบคุมไม่ให้ ค่านิยมและคติสว่ นบุคคลเข้ามาเป็นส่วนผสมหลักในการรายงานข่าว ด้วย เหตุ (ตามหลักการ) เช่นนี้ บทบาทที่สามารถเป็นทางออกส�ำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ สือ่ ข่าวเพือ่ น�ำไปสูก่ ารสือ่ ข่าวทีม่ คี ณ ุ ภาพนัน้ นอกจากบทบาทพืน้ ฐานใน การเป็นช่องทางการสือ่ สาร การให้การศึกษา หรือการเชือ่ มโยงวิเคราะห์ เหตุการณ์ให้สงั คมเข้าใจทีม่ าทีไ่ ปได้มากยิง่ ขึน้ แล้ว รอส โฮเวิรด์ ยังได้เสนอ บทบาทอื่นๆไว้อย่างน่าสนใจ ดังเช่น บทบาทในการเป็นพื้นที่ระบาย อารมณ์ความรู้สึก (ของกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในความขัดแย้งมิใช่ของตัวผู้สื่อ ข่าวเอง) ซึง่ ฝ่ายต่างๆ ในความขัดแย้งจะต้องมีชอ่ งทางในการระบายความ รู้สึกคับแค้น โศกเศร้า ความคิด ความเชื่อ การเปิดโอกาสให้มีพื้นที่ผ่าน สื่อจะท�ำให้ข่วยลดการถกเถียงซึ่งหน้าหรือการต่อสู้บนท้องถนน
59
ในการยึดเอาสันติภาพเป็นเป้าหมายในการท�ำงานของผู้สื่อข่าว นั้น ผู้สื่อข่าวจะต้องมีบทบาทในการก�ำหนดกรอบของการสื่อสารความ ขัดแย้งเสียใหม่ กล่าวคือจ�ำเป็นต้องอธิบายและน�ำเสนอความขัดแย้งในแง่ มุมที่แตกต่างหลากหลาย เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในประเด็นเดิมๆ ของสถานการณ์ (แทนทีจ่ ะรายงานภาพการปะทะกันของกลุม่ ตรงข้ามซ�ำ้ แล้วซ�้ำเล่า ก็น�ำเสนอปัญหาสุขภาพของผู้ชุมนุมและสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ของสถานที่ชุมนุม เพื่อให้เห็นปัญหาร้ายแรงอีกด้าน อันเป็นตัวกระตุ้น ให้เกิดการเร่งแก้ไขความขัดแย้ง) บทบาทในการเป็นผู้รักษาหน้าและสร้างความเห็นชอบร่วมกัน ยังเป็นอีกบทบาทที่มีความจ�ำเป็นในการรายงานข่าวสถานการณ์ความ ขัดแย้ง สื่อต้องช่วยเป็นบันไดให้แต่ละฝ่ายที่ขัดแย้งก้าวลงมาโดยไม่ถูก กระทืบซ�้ำ (แม้บทตอบแทนในเชิงกฎหมายและเชิงศีลธรรมก็ยังคงต้อง ด�ำเนินต่อไป แต่ต้องด้วยองค์กรอื่นที่ไม่ใช่สื่อมวลชน) เพราะนั่นหมาย ถึงว่าผู้สื่อข่าวได้ท�ำหน้าที่ในฐานะมนุษยชาติ และได้ปฏิบัติต่อฝ่ายความ ขัดแย้งแต่ละฝ่ายอย่างมนุษยชาติเช่นเดียวกัน ผู้สื่อข่าวจึงต้องพยายามไหวรู้ต่อความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้น โดยการให้ขอ้ มูลในด้านทีจ่ ะพยายามลดความขัดแย้งลง นัน้ หมายถึงว่าผู้ สือ่ ข่าวมิได้เป็นแค่ผเู้ ฝ้ามองเหตุการณ์แล้วรายงานทีเ่ กิดขึน้ ให้สงั คมทราบ เท่านัน้ แต่ผสู้ อื่ ข่าวทีไ่ หวรูต้ อ่ ความขัดแย้งและมีสนั ติภาพเป็นเป้าหมายใน การท�ำงานยังจะต้องเรียนรูแ้ ละศึกษาทีจ่ ะ “วิเคราะห์ความขัดแย้ง” และ ค้นหาความจริง ความคิดเห็น และมุมมองใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความขัด แย้ง รายงานความเคลื่อนไหวของบุคคลที่พยายามจะแก้ไขความขัดแย้ง สังเกตการณ์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและรายงานว่าความขัดแย้งที่คล้ายคลึง กันนี้ที่ผ่านมามีการแก้ปัญหากันอย่างไร
60
รอส โฮเวิร์ด ให้ความสรุปในตอนหนึ่งของหนังสือว่า ผู้สื่อข่าว ที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้งและมีเป้าหมายเพื่อสันติภาพจะรายงานข่าวโดย ให้ความสนใจกับการค้นหาทางออก และที่สำ� คัญผู้สื่อข่าวประเภทนี้จะ เลือกใช้ถ้อยค�ำในการรายงานข่าวอย่างระมัดระวัง ในสภาวการณ์ความขัดแย้งที่น�ำไปสู่ความรุนแรงในสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่ภาคใต้ หรือเหตุการณ์กลางเมืองหลวง หรือ เหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆ ล้วนจ�ำเป็นต้องมีสื่อที่ “ไหวรู้ต่อความ ขัดแย้ง” เพือ่ ช่วยน�ำพาสภาวการณ์ความขัดแย้งไปสูก่ ารคลีค่ ลาย และไม่ ตกเป็นต้นตอหลักของความรุนแรงเสียเอง เช่นที่เป็นอยู่ ไม่เช่นนั้น จะเป็นเช่นที่ โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) เคย กล่าวไว้ว่า การรายงานข่าวความขัดแย้งของสื่อมวลชนคล้ายคลึงกับ การรายงานข่าวกีฬา ที่มุ่งหาผู้แพ้ผู้ชนะ แทนที่จะรายงานข่าวความ ขัดแย้ง ให้เหมือนการกระท�ำเช่นเดียวกับการรายงานข่าวสุขภาพ ซึ่ง ผู้สื่อข่าวจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าก�ำลังเผชิญกับโรคอะไร และ สาเหตุของโรคคืออะไร? ขณะเดียวกัน ต้องน�ำเสนอด้วยว่า จะมีทางเลือก อะไรบ้างทีจ่ ะป้องกันและรักษาโรคร้ายนี้ ดังนัน้ การสือ่ ข่าวเพือ่ สันติภาพ จะต้องค�ำนึงถึงความครอบคลุม เป็นธรรมและถูกต้องให้มากทีส่ ดุ เพือ่ น�ำ เสนอเหตุการณ์และมองลึกไปถึงการวิเคราะห์ ดังนั้น การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ สื่อมวลชนต้องก้าวให้ พ้นและผ่านความคิดไปจากการตอบค�ำถาม 5 W 1H (What, When, Where, Why, Who, How) ตามหลักวารสารศาสตร์แบบดั้งเดิม รอส โฮเวิร์ด มีนิยามและวิธีการส�ำหรับผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ ความขัดแย้งว่า การท�ำงานของผู้สื่อข่าวมืออาชีพ ไม่ได้มุ่งหวังที่จะลด ปัญหาความขัดแย้ง แต่การรายงานข่าวที่ดีถูกถ้วน ไม่เอนเอียงนั้น บ่อย ครั้งน�ำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง
61
อีกแง่มมุ ทีส่ ำ� คัญของการสือ่ ข่าวทีไ่ หวรูต้ อ่ ความขัดแย้ง หรือ Conflict Sensitive Journalism ก็คือ ความพยายามของผู้สื่อข่าว ที่จะให้ข้อมูลในด้านที่จะพยายามลดความขัดแย้งลง นั่นหมายถึงว่า ผู้สื่อข่าวมิได้เป็นแค่ผู้เฝ้ามองเหตุการณ์แล้วรายงานที่เกิดขึ้น ให้สังคม ทราบเท่านั้น แต่ผู้สื่อข่าวที่ไหวรู้ต่อความขัดแย้งและมีสันติภาพเป็น เป้าหมายในการท�ำงาน ยังจะต้องเรียนรูแ้ ละศึกษาทีจ่ ะ “วิเคราะห์ความ ขัดแย้ง” และค้นหาความจริง ความคิดเห็น และมุมมองใหม่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง กับความขัดแย้ง รายงานความเคลื่อนไหว ของบุคคลที่พยายามจะแก้ไข ความขัดแย้ง สังเกตการณ์ทกุ ฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง และรายงานว่าความขัดแย้ง ที่คล้ายคลึงกันนี้ที่ผ่านมา มีการแก้ปัญหากันอย่างไร รอส โฮเวิรด์ ให้ความสรุปในตอนหนึง่ ของหนังสือว่า “ผูส้ อื่ ข่าวที่ ไหวรูต้ อ่ ความขัดแย้งและมีเป้าหมายเพือ่ สันติภาพจะ รายงานข่าวโดย ให้ความสนใจกับการค้นหาทางออก และทีส่ ำ� คัญผูส้ อื่ ข่าวประเภทนีจ้ ะ เลือกใช้ถ้อยค�ำในการรายงานข่าวอย่างระมัดระวัง” สั น ติ ว ารสารศาสตร์ หรื อ “peace journalism” คื อ การแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในทางวารสารศาสตร์ ที่จะเกิดกรอบ ความคิดของนักวิชาการและนักวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อให้การสื่อข่าว เป็นส่วนหนึ่งของความหวังในการคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
62
3. แนวคิดเรื่องการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ 3.1 ความเป็นไปได้ของการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ รอส โฮเวิร์ด นักวิชาชีพและนักวิชาการด้านการสื่อสารข่าวเพื่อ สันติภาพ เจ้าของหนังสือ Conflict Sensitive Journalism เขียนเตือน ใจแก่ผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ความขัดแย้งว่า การท�ำงานผูส้ อื่ ข่าวมืออาชีพไม่ได้มงุ่ หวังทีจ่ ะลดปัญหาความ ขัดแย้ง แต่การรายงานข่าวที่ดี ถูกถ้วน ไม่เอียงเอนนั้น บ่อยครั้งก็น�ำ ไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้ง รอส โฮเวิรด์ ย�ำ้ ว่า สังคมถูกคุกคามจากสถานการณ์ความรุนแรง ที่เกิดจากความขัดแย้งมากขึ้นทุกขณะ ก็ส่งผลให้วิชาชีพวารสารศาสตร์ เผชิญกับความยากล�ำบากมากขึน้ ในการปฏิบตั หิ น้าที่ เพราะฝ่ายทีข่ ดั แย้ง กันต่างก็พยายามเข้ามาควบคุมสือ่ ข้อมูลข่าวสารจึงเชือ่ ถือไม่ได้ หรืออาจ ถูกกลัน่ กรอง ตัดทอน ประกอบกับมีประเด็นความเสีย่ งในความปลอดภัย ของผูส้ อื่ ข่าว ซึง่ การสือ่ ข่าวทีด่ แี ละมีคณ ุ ภาพก็ยงิ่ มีความจ�ำเป็นมากทีส่ ดุ ต่อสังคม การสือ่ ข่าวทีน่ า่ เชือ่ ถือแก่สาธารณะในช่วงเวลาทีเ่ กิดสถานการณ์ ความขัดแย้งรุนแรงนั้น จ�ำเป็นต้องใช้ทักษะทางวิชาชีพมากเป็นพิเศษไป มากกว่าการรายงานในภาวะปกติ ซึง่ ผูส้ อื่ ข่าวต้องมีความเข้าใจมากขึน้ ว่า อะไรคือต้นตอของความขัดแย้ง และความขัดแย้งนัน้ จะด�ำเนินไปหรือจะ มีจุดจบลงอย่างไร ผู้สื่อข่าวจ�ำเป็นต้องรู้ว่าจะไปหาข้อมูลถึงสาเหตุและ ทางออกของความขัดแย้งได้จากที่ไหน การที่ผู้สื่อข่าวให้ข้อมูลข่าวสาร เหล่านีแ้ ก่สาธารณะจะท�ำให้ประชาชนมีความรูแ้ ละความเข้าใจมากยิง่ ขึน้
63
ต่อสถานการณ์ความขัดแย้งที่อยู่เบื้องหลังความรุนแรง และมีส่วนช่วย แก้ปัญหาได้ งานวิจัย เรื่อง สื่อเพื่อสันติภาพ: จริ ย ธรรม การจั ดการ และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา โดยวลักษณ์กมล จ่างกมล ผู้ช่วย ศาสตราจารย์ประจ�ำคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตปัตตานี ชี้ให้เห็นว่า แนวคิดเรื่องการสื่อข่าว เพื่อสันติภาพมีการใช้กันมาตั้งแต่ ค.ศ.1970 โดยศาสตราจารย์โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) นักวิชาการชาวนอร์เวย์ ผูก้ อ่ ตัง้ และผูอ้ ำ� นวยการ TRANSCEND Peace and Development Network ซึ่งเป็นองค์การ ที่เผยแพร่และรณรงค์แนวคิดเรื่องสื่อเพื่อสันติภาพ หวังที่จะกระตุ้นและ สนับสนุนให้สื่อมวลชนเห็นความส�ำคัญของสันติภาพ กั ล ตุ ง กั ง วลว่ า สงครามการรายงานข่ า วความขั ด แย้ ง ของ สื่อมวลชนคล้ายคลึงกับการรายงานข่าวกีฬา ที่มุ่งหาผู้แพ้ผู้ชนะ เขาจึง เสนอว่าการรายงานในสถานการณ์เช่นนี้ควรเหมือนกันการรายงานข่าว สุขภาพทีผ่ สู้ อื่ ข่าวจะต้องอธิบายให้ผปู้ ว่ ยทราบว่าก�ำลังเผชิญกับโรคอะไร และสาเหตุของโรคคืออะไร ขณะเดียวกันก็ก็ต้องน�ำเสนอด้วยว่า จะมี ทางเลือกอะไรบ้างที่จะป้องกันและรักษาโรคร้ายนี้ ดังนั้นการสื่อข่าวเพื่อ สันติภาพต้องค�ำนึงถึงความครอบคลุม เป็นธรรม และถูกต้องให้มากขึ้น เพื่อน�ำเสนอเหตุการณ์และมองลึกไปถึงการวิเคราะห์ความขัดแย้งที่เกิด ขึ้น รวมถึงหาหนทางที่จะก้าวพ้นไปจากความขัดแย้งนั้น วลักษณ์กมล วิเคราะห์วา่ การรายงานข่าวเพือ่ สันติภาพต้องก้าว พ้นไปจากการตอบค�ำถาม 5W1H (What, Where, Who, When, Why, How) ตามหลักวารสารศาสตร์แบบเดิม แต่ต้องเพิ่มเติม “S” Solution หรือ การแก้ปัญหา และ “C” Common Ground หรือ การน�ำเสนอ เบื้องลึกของความขัดแย้ง ผนวกเข้าไปด้วย
64
ในงานวิจัยของวลักษณ์กมล ยังพบว่า งานวิชาการที่ศึกษาเรื่อง การเสนอข่าวความขัดแย้งในต่างประเทศ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาเนื้อหาของ หนังสือพิมพ์ จ�ำนวน 10 ฉบับในเอเชีย 4 ประเทศ ที่น�ำเสนอผ่านเว็บไซต์ คือ อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา และอินโดนีเซีย โดยก�ำหนดประเด็นข่าว ความขัดแย้งทีใ่ ช้ในการศึกษา 4 เหตุการณ์ คือ เหตุการณ์ความขัดแย้งใน แคชเมียร์ระหว่างปากีสถานและอินเดีย เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่าง กลุ่มปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลมกับรัฐบาลศรีลังกา เหตุการณ์ความ ขัดแย้งระหว่างอาเจะห์และมาลุกกุ บั รัฐบาลอินโดนีเซีย และเหตุการณ์ใน เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ ผลการศึกษาพบว่า การน�ำเสนอข่าวเหล่านี้โน้มเอียงไปใน ทางการสื่อข่าวเพื่อขยายความขัดแย้ง หรือ War Journalism มากกว่า โดยเฉพาะเหตุการณ์ในแคชเมียร์ ที่หนังสือพิมพ์น�ำเสนอข่าวในทาง War Journalism อย่างเข้มข้น คือ น�ำเสนอแต่เหตุการณ์เฉพาะหน้า ขาดการสืบค้นหาที่มาที่ไปของเรื่อง ไม่น�ำเสนอหนทางการแก้ปัญหาใน ระยะยาว และให้ความส�ำคัญกับผู้น�ำทางการเมืองและการทหาร ซึ่งจัด เป็นคุณลักษณะของ War Journalism อย่างชัดเจน “หนังสือพิมพ์ละเลยทีจ่ ะน�ำเสนอข้อมูลของกองก�ำลังทีต่ อ้ งบาด เจ็บในสนามรบ หรือ ประชาชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากสังคม ขณะเดียวกัน ก็มักน�ำเสนอข่าวโดยแสดงการแบ่งแยก และชี้ชัดฝ่ายดีกับฝ่ายร้าย ซึง่ เป็นการสะท้อนถึงอคติสว่ นตัวในการด่วนตัดสินว่าใครเป็นต้นเหตุของ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น” งานวิจัยในต่างประเทศ ระบุ นอกจากนี้ ผศ.วลักษณ์กมล ยังได้ศกึ ษาทิศทางการน�ำเสนอข่าว ของหนังสือพิมพ์ในประเทศไทย จ�ำนวน 3 ฉบับ คือ กรุงเทพธุรกิจ ไทยรัฐ และมติชน ในการรายงานข่าวเหตุการณ์ปล้นปืนเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2547 ที่ จ.นราธิวาส เหตุการณ์ทมี่ สั ยิดกรือเซะเมือ่ วันที่ 28 เมษายน 2547
65
ที่ จ.ปัตตานี และเหตุการณ์ที่สถานีต�ำรวจภูธรอ�ำเภอตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2547 จ�ำนวน 232 ชิ้นข่าว พบว่า มีเพียง 43 ชิ้น ข่าว หรือร้อยละ 18.53 จัดอยู่ในการรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ ขณะที่ อีก 169 ชิ้นข่าว หรือร้อยละ 72.85 จัดอยู่ในการรายงานข่าวเพื่อขยาย ความขัดแย้ง และจ�ำนวน 20 ชิ้นข่าวหรือร้อยละ 8.62 จัดอยู่ในประเภท ของเนื้อหาที่เป็นกลาง แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในระยะหลังพบว่า หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมีแนวโน้มรายงานการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพเพิ่มขึ้น “หนังสือพิมพ์มติชนเป็นหนังสือพิมพ์ที่รายงานข่าวเชิง Peace Journalism มากที่สุด ร้อยละ 30 รายงานข่าวแบบ War Journalism ร้อยละ 60 รองลงมาเป็นหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ น�ำเสนอข่าว แบบ Peace Journalism ร้อยละ 17.65 และน�ำเสนอข่าวแบบ War Journalism ร้อยละ 74.11 ส่วนหนังสือพิมพ์ไทยรัฐน�ำเสนอข่าวแบบ Peace Journalism น้อยที่สุด เพียงร้อยละ 5.97 น�ำเสนอข่าวแบบ War Journalism มากที่สุด 86.57” ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ อาจารย์ประจ�ำภาควิชาวารสาร สนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า “แนวคิด การสือ่ ข่าวเพือ่ สันติภาพมีความจ�ำเป็นกับนักวิชาชีพสือ่ มวลชน เพราะ สื่อมวลชนเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชน และเราพบว่าเนื้อหาในสื่อมวลชนมีแนวโน้มการแบ่งฝ่ายเขาฝ่ายเรา มากขึ้น ขณะที่แนวคิดเรื่องคุณค่าข่าวในทางวารสารศาสตร์ หรือ บัญญัติ 10 ประการ มีโอกาสทีจ่ ะเอือ้ ให้สอื่ มวลชนละเมิดศักดิศ์ รีความ เป็นมนุษย์ของผู้อื่น และที่ส�ำคัญขาดการผนวกประเด็นเรื่องความเข้า อกเข้าใจกัน ความสมานฉันท์ เป็นส่วนหนึ่งคุณค่าข่าว”
66
“โลกเราเต็มไปด้วยความขัดแย้ง และความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นสื่อมวลชนต้องปรับตัว และน�ำแนวคิด Peace Journalism ไป ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ แม้ Peace Journalism จะไม่ใช่ความ หวังเดียว แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ” ต่อข้อถามที่ว่า ถ้ามี Peace Journalism แล้วจะเกิดผลดี อย่างไร ดร.พิรงรอง มองว่า แนวคิดนีจ้ ะช่วยปรับปรุงคุณภาพทางวิชาชีพ สื่อมวลชน ที่เดิมนั้นมุ่งเน้นการผลิตเนื้อหาบันเทิง ที่เกี่ยวพันกับ Rating Culture เพียงอย่างเดียว แต่ไม่น�ำไปสู่ความสมานฉันท์ แนวคิด Peace Journalism เป็นแนวคิดทีจ่ ะเปลีย่ นค่านิยมสือ่ มวลชนให้เห็นความส�ำคัญ ของศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ ศีลธรรม และจริยธรรม และเป็นการเปิดพืน้ ที่ สาธารณะให้กบั กลุม่ คนต่างๆ อย่างเท่าเทียมกันในพืน้ ทีส่ อื่ มวลชน รวมถึง เป็นการเปิดกรอบความคิดทางวิชาการ และวิชาชีพเพิ่มมากขึ้น เพราะ แนวคิด Peace Journalism เป็นแนวคิดใหม่ที่ต้องร่วมกันศึกษา ปรับ ประยุกต์ให้เข้ากับสังคมไทย และผลักดันไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ดร.พิรงรอง แสดงความเป็นห่วงว่า แนวคิดนี้จะเป็นรูปธรรม ได้จริงมากน้อยเพียงใด เพราะสื่อมวลชนเป็นลักษณะอุตสาหกรรมภาย ใต้ลัทธิโลกาภิวัตน์ เป็นธุรกิจผูกขาด มุ่งเน้นผลก�ำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ขณะเดียวกันสื่อส่วนใหญ่มีรัฐเป็นเจ้าของ และบรรทัดฐานสื่อมวลชนยัง ให้ความส�ำคัญกับผู้มีอ�ำนาจ นี่เป็นปัญหาทั้งระดับโครงสร้าง และกรอบ คิดของนักวิชาชีพ ที่ต้องร่วมกันตั้งค�ำถามว่า ถ้าเราจะมีสื่อมวลชนเพื่อ สันติภาพ เราควรจะมีสื่อทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่ นี่เป็นสิ่งที่เราควรร่วม กันแสวงหาทางออกร่วมกัน
67
นายมูฮ�ำมัดอายุบ ปาทาน อดีตบรรณาธิการศูนย์ข่าวอิศรา มองว่า การมีสถาบันสื่อมวลชนเพื่อสันติภาพ คงไม่ได้หมายถึงการมี องค์กรสื่อมวลชนขึ้นมาเพียงล�ำพัง แต่จะต้องเกิดจากการเชื่อมโยงเป็น เครือข่ายร่วมกันกับสือ่ กระแสหลัก สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน ซึ่งตลอด 2 ปีที่ผ่านมาศูนย์ข่าวอิศราได้ท�ำหน้าที่ในการแบ่งเบาความรู้ สึกคับข้องใจในสถานการณ์ชายแดนใต้ ศูนย์ข่าวอิศราเป็นเวทีสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนใน พืน้ ที่ เป็นสือ่ กลางแห่งการเรียนรูข้ องคนต่างกัน ทัง้ ในเชิงพืน้ ที่ ความเชือ่ วัฒนธรรม ศาสนา ให้ขอ้ มูลข่าวสารทีม่ าจากชีวติ จริง และเป็นสือ่ แนวราบ และแนวดิ่ง คือ การปฏิบัติหน้าที่มีการเชื่อมประสานกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ท�ำงานร่วมกับสื่อมวลชนกระแสหลัก “โจทย์สำ� คัญ คือ สือ่ สันติภาพจะต้องเป็นพลังขับเคลือ่ นของภาค ประชาชน เป็นโต๊ะข่าวที่อธิบายปรากฏการณ์ในเชิงลึก ขณะเดียวกันก็มี การพัฒนาสื่อเดิมที่มีอยู่ด้วยจะดีหรือไม่”
3.2 “ข่าวสันติภาพ” บทเรียนข่าวชุมนุม ทางการเมืองภายในกองบรรณาธิการ งานศึกษาเรื่อง “ถอดบทเรียนการรายงานข่าวชุมนุมทางการ เมือง “สงคราม” หรือ “สันติภาพ”: ศึกษาจากนักข่าว กองบรรณาธิการ และเนื้อหาข่าว ในช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน 2553 จากหนังสือพิมพ์ มติชนและไทยรัฐ” โดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ และ เมสิริณ ขวัญใจ มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบความคิดของบรรณาธิการข่าว 2) แนว ปฏิบตั ิของนักข่าว/ผูส้ ื่อข่าวภาคสนาม และ 3) ลักษณะเนื้อหาข่าวชุมนุม
68
ของหนังสือพิมพ์มติชนและไทยรัฐ ว่ามีลักษณะที่เป็นไปในลักษณะของ แนวคิดการสื่อข่าวเชิงสงครามหรือสันติภาพ โดยใช้วิธีการสังเกตการณ์การประชุมโต๊ะข่าว และการพุดคุย สัมภาษณ์กับนักข่าว บรรณาธิการ และการวิเคราะห์เนื้อหาจากข่าว หนังสือพิมพ์ ค�ำว่า “ข่าวเชิงสันติภาพ” หมายถึง การรายงานข่าวทีมเี นือ้ หา ข่าว ภาษาข่าว และเป้าหมายของการรายงานข่าวเพือ่ การสร้างความ สงบ สันติ ให้เกิดขึ้นในสังคม และ “ข่าวเชิงสงคราม” หมายถึง การ รายงานข่าวที่เนื้อหาข่าว ภาษาข่าว และเป้าหมายของการรายงาน ข่าวเพื่อการสร้างความรุนแรง ความไม่สงบ สงคราม ให้เกิด/ด�ำรงอยู่ ในสังคม ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. เรื่อง “ทัศนคติ/นโยบายของกองบรรณาธิการ” กอง บรรณาธิการข่าว มีทัศนคติความคิดเกี่ยวกับกระบวนการสื่อข่าวเชิง สันติภาพในเชิงบวก แต่อาจยังขาดรูปธรรมและนโยบายที่ชัดเจนต่อการ แนะน�ำแนวทางการสื่อข่าวเชิงสันติภาพมาปฏิบัติใช้จริงส�ำหรับผู้สื่อข่าว บรรณาธิการยอมรับว่ายังคงใช้แนวทางการสื่อข่าวแบบปกติ ส�ำหรับข่าวทั่วๆ ไปมารายงานข่าวความขัดแย้งทางการเมือง และสาเหตุ ส�ำคัญคือกองบรรณาธิการยังขาดความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับแนวทางการ สื่อข่าวเชิงสันติภาพ และการยึดติดกรอบความคิดการรายงานข่าวแบบ ปกติ (ที่เน้นฉาย/น�ำเสนอความขัดแย้ง) มากเกินไป และยอมรับว่าเป็น อุปสรรคส�ำคัญต่อการพัฒนาการปรับประยุกต์ใช้แนวความคิดเรื่องการ สื่อข่าวเชิงสันติภาพแก่นักข่าว 2. เรื่อง “หลักการ/แนวทางการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ” ของ ผู้สื่อข่าว/ช่างภาพ ค่อนข้างมีความตระหนักรู้ต่อแนวคิดการสื่อข่าวเชิง
69
สันติภาพในระดับต�่ำ เพราะไม่ได้รับการฝึก หรือเรียนรู้จากมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา หรือกระทัง่ รุน่ พีใ่ นสนามข่าว แต่มที ศั นคติเชิงบวกเปิด รับต่อการเรียนรูก้ ารสือ่ ข่าวเชิงสันติภาพ ยอมรับว่าหากมีการสนับสนุนก็ จะเป็นเรื่องดีจากองค์กร และพร้อมจะเข้าร่วม 3. เรือ่ ง “วิธกี ารน�ำเสนอ/เนือ้ หาข่าว” พบว่าโดยมากไม่ได้เป็น ไปในทิศทางเพื่อการสื่อข่าวเชิงสันติภาพในระดับที่เด่นชัด ยังคงเป็นข่าว เหตุการณ์รายงานทัว่ ไป การใช้ภาษายังคงเน้นการฉายให้เห็นความรุนแรง ของสถานการณ์/เหตุการณ์ความขัดแย้งทีเ่ กิดขึน้ ทิศทางข่าวยังคงเน้นไป ที่ความขัดแย้ง การรายงานข่าวเชิงรับ ส่วนสาเหตุทนี่ กั ข่าว/ผูส้ อื่ ข่าว (ภาคสนาม-การชุมนุม) ไม่ได้คำ� นึง ถึงการรายงาน ประเด็นข่าวเชิงลึก หรือน�ำเสนอข่าวในเชิงสันติภาพ คือ 3.1) ไม่ ไ ด้ รั บ การมอบหมายประเด็ น เป็ น พิ เ ศษจากกอง บรรณาธิการ อีกทั้งประเด็นข่าวหลักๆ หรือคุณค่าข่าว ที่ถูกมอบหมาย ให้ติดตามเป็นพิเศษ คือ ตัวเหตุการณ์ของความขัดแย้งในการชุมนุม เช่น (1) ความเคลื่อนไหวของการชุมนุม เช่น การเคลื่อนขบวน การออกไปเรียกร้องยังสถานที่ต่างๆ ในพื้นที่ การต่อรองระหว่าง กลุ่มผู้ชุมนุมกับกลุ่มต่างๆ การวางกองก�ำลังความปลอดภัย ฯลฯ (2) แถลงข่าว/แถลงการณ์/ค�ำปราศรัยที่ส�ำคัญๆ ของแกน น�ำ การโต้ตอบ โต้เถียงกันระหว่างแหล่งข่าว (3) เหตุการณ์ความไม่สงบเล็กๆ น้อยๆ หรือความตึงเครียด ในพื้นที่การชุมนุม ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งประเด็นข่าว ดังกล่าวถือเป็นสัดส่วนเนือ้ หาข่าวหลักๆ ทีต่ อ้ งติดตามในแต่ละวัน ซึ่งนักข่าวยอมรับว่าเป็นสาเหตุส�ำคัญที่ท�ำให้ไม่ได้ท�ำข่าวเชิงลึก
70
3.2) ภาระงานข่าวประจ�ำวันทีม่ ากอยูแ่ ล้ว ผูส้ อื่ ข่าว/นักข่าว ไม่ ได้ตระหนัก หรือคิดว่าจ�ำเป็นต้องท�ำข่าวในเชิงสันติภาพ เพราะจ�ำนวนชิน้ ข่าวประจ�ำ (routine job) ทีต่ อ้ งส่งกองบรรณาธิการในแต่ละวันนัน้ มีมาก อยู่แล้ว ราว 4-5 ชิ้น และยังไม่สามารถคิดประเด็นข่าวเชิงลึกได้ เพราะ ประสบการณ์ขา่ วยังน้อย ไม่มคี นช่วยคิดประเด็น (เช่น บรรณาธิการ หรือ นักข่าวอาวุโส) ประกอบกับไม่มคี วามรูด้ า้ นการสือ่ ข่าวเชิงลึก/การสือ่ ข่าว เชิงสันติภาพ ผู้สื่อข่าวเชื่อว่า หากต้องหาประเด็นข่าวเชิงสันติภาพ หรือ เขียนข่าวในเชิงสันติภาพนั้น น่าจะต้องใช้เวลาการเขียนท�ำนานขึ้น และอาจจะมีปญ ั หากับกองบรรณาธิการ หรือรีไรท์เตอร์อกี เพราะต้อง แก้ประเด็นและลีลาภาษาให้เร้าอารมณ์ หรือน่าสนใจมากขึ้นอยู่ดี 3.3) “การหมุนเวียนนักข่าวในกอง” พบว่าในช่วงเหตุการณ์ ชุมนุมทางการเมืองนั้นกินระยะเวลายาวนานหลายวัน กองบรรณาธิการ จึงใช้วธิ กี าร “เวียนนักข่าว” จากโต๊ะข่าวต่างๆ นอกจากโต๊ะข่าวการเมือง เช่น โต๊ะข่าวการศึกษา โต๊ะข่าวสังคม โต๊ะข่าวการเมือง โต๊ะข่าวเฉพาะกิจ ฯลฯ เข้ามาท�ำข่าวม็อบ/ความขัดแย้งในการชุมนุมทางการเมือง ท�ำให้ ไม่มคี วามต่อเนือ่ งในการสืบข่าว ไม่มเี วลาเพียงพอในการเก็บข้อมูลอย่าง ต่ อ เนื่ อ ง และไม่มีแรงจูงใจเพียงพอที่จะเขีย นข่ า วหรื อ สกู ๊ ปข่ า วเชิ ง สันติภาพ หรืออาจสรุปได้ว่า “นักข่าวม็อบ” นั้น เกิดจากภาระงานเฉพาะ กิจ มากกว่างานที่ควรรับผิดชอบประจ�ำ กองบรรณาธิการมองว่า “เป็น โอกาสฝึก/ลองสนามกับนักข่าวรุ่นใหม่-รุ่นกลาง” ที่ดี จึงส่งนักข่าวไปท�ำ ข่าวเหตุการณ์ เพราะไม่มปี ระเด็นอะไรมากนอกจากความเคลือ่ นไหว หาก จะท�ำข่าวเชิงลึก ก็จะมอบหมายนักข่าวอาวุโสให้ท�ำมากกว่า
71
4. เรื่อง “วิธีการสื่อข่าวในสนามความขัดแย้ง” โดยเฉพาะใน พืน้ ทีก่ ารชุมนุม นักข่าวจะเดินตระเวน ส�ำรวจบริเวณพืน้ ทีแ่ ละฝังตัวอยูท่ ี่ ศูนย์ข่าว (press center) ที่บริเวณพื้นที่หลังเวทีปราศรัย ซึ่งจะมีสถาน ที่และอุปกรณ์การสื่อสารเตรียมเอาไว้ส�ำหรับการนั่งเขียนข่าว ส่งข่าว นอกจากนีย้ งั เป็นพืน้ ทีร่ บั ประทานอาหาร พูดคุย พบปะ นัดหมายกันของ นักข่าว ช่างภาพ และแหล่งข่าว และนักข่าวจะถูกก�ำหนดความคิด (หรือ ความเชือ่ /ความเข้าใจ) ว่าแหล่งข่าวส�ำคัญในข่าวม็อบ คือ ข่าวบุคคล โดย มีความคิดว่าแกนน�ำม็อบคือแหล่งข่าวทีม่ คี วามส�ำคัญสูงสุด ในกรณีทนี่ กั ข่าวประจ�ำที่หน่วยงานรัฐ/รัฐบาล ก็จะเป็นนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล 5. เรื่อง “ความรับรู้ต่อแนวคิดการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ” นักข่าวภาคสนามส่วนมากแทบไม่รับรู้ ว่ามีแนวทางการสื่อข่าวเชิง สันติภาพอยู่ ไม่เข้าใจว่าต้องท�ำอย่างไร พวกเขายังคงท�ำข่าวตามวิธีการ ปกติเหมือนข่าวอื่นๆ ทั้งหลักการสืบข่าว การเขียนข่าว การใช้ภาษาข่าว ซึ่งก็เป็นหลักการทั่วไป ซึ่งทางรีไรท์เตอร์กับกองบรรณาธิการจะเป็นผู้ ดูแลส่วนนี้เอง ดังนั้นจึงมีหน้าที่เฉพาะ “ค้นหาข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ และรายงาน” เท่านัน้ แต่มนี กั ข่าวอาวุโสบางส่วนทีม่ คี วามเข้าใจแนวทาง การสื่อข่าวเชิงสันติภาพอยู่บ้าง แต่ไม่สามารถลงมือปฏิบัติได้ เพราะมี ข้อจ�ำกัดเรื่องของเวลา สถานการณ์ และกระบวนการคัดเลือกและกลั่น กรองเนื้อหาจากรีไรท์เตอร์ รวมถึงปัจจัยจากความต้องการของบริษัท หรือโรงพิมพ์ที่ต้องการข่าวเร้าอารมณ์และขายได้ 6. เรื่อง “ข้อปฏิบัติเมื่อเจอเหตุการณ์ปะทะรุนแรง” นักข่าว มติชนและไทยรัฐทุกคนรับรู้ว่าควรเอาตัวออกจากพื้นที่ข่าวเมื่อเกิด เหตุการณ์รนุ แรง เพราะการค�ำนึงถึงความปลอดภัยในการท�ำข่าว และทาง องค์กรยังไม่มนี โยบายสนับสนุนอุปกรณ์ปอ้ งกันภัยทีช่ ดั เจน เช่นหมวกกัน กระแทก สามารถซือ้ และเอาไปเบิกเงินคืนได้ แต่เสือ้ เกราะ หน้ากาก แว่นตา
72
ยังไม่มขี อ้ ตกลงว่าเป็นเช่นไร และตอนนีก้ ม็ คี า่ เบีย้ เลีย้ งพิเศษเพิม่ ขึน้ มาใน การท�ำข่าว ส่วนอุปกรณ์โทรศัพท์สอื่ สารอืน่ ๆ ทีม่ คี วามสามารถพิเศษ เช่น โทรศัพท์แบล็คเบอร์รี่ ไอโฟน นั้นไม่ใช้ เพราะเพียงแต่ใช้โทรศัพท์โทรส่ง ข่าวหรืออีเมล์ก็เพียงพอแล้ว 7. เรื่อง “การท�ำสกู๊ปพิเศษ รายงาน หรือสารคดีข่าวเชิงลึก” สีสันม็อบหรือประเด็นข่าวเบาๆ เป็นความสนใจส่วนตัวหรือภาระพิเศษ จากโต๊ะข่าวแต่ละกอง เนือ้ หาส่วนนีน้ กั ข่าวมักจะคิดประเด็นกันเอง ขณะ ที่การรายงานข่าวเชิงสืบสวน สอบสวน หรือเชิงเจาะลึกนั้น ยอมรับว่า ท�ำได้ยากเพราะข้อจ�ำกัดของเวลา สถานการณ์ และนโยบายองค์กร สรุปได้วา่ “การสือ่ ข่าวเชิงสันติภาพ” นัน้ ยังมีปญ ั หาอยูใ่ นองค์กร สื่อหนังสือพิมพ์ขนาดใหญ่ และน่าจะเป็นภาพสะท้อนที่ดีว่า ถึงโอกาสที่ สือ่ มวลชนจะรับเอาแนวคิดเรือ่ งการสือ่ ข่าวเชิงสันติภาพนีเ้ ขาไปใช้ในการ ท�ำงานข่าวทีเ่ กีย่ วข้องกับความขัดแย้งได้ และเพือ่ จะให้สำ� เร็จ ก็ตอ้ งได้รบั ความตระหนักถึงความส�ำคัญจากผูด้ แู ลสือ่ ผูน้ ำ� องค์กร บรรณาธิการข่าว ช่างภาพ รีไรท์เตอร์ และผู้สื่อข่าวร่วมกันทั้งระบบ จึงจะท�ำให้การสื่อข่าว เชิงสันติภาพมีประสิทธิภาพในการท�ำหน้าที่ของมันได้อย่างเต็มที่
3.3 บทบาทสื่อมวลชนกับสงคราม/สันติภาพ ในหนังสือ “โลกของสื่ อ : ยกเครื่ อ งสื่ อ ไทย” มี บทความ ชื่อ “สื่อมวลชนกับสันติภาพ” ของอาจารย์พรรณพิมล นาคนาวา อาจารย์ประจ�ำภาควิชาสือ่ สารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย (หน้า 111-115., 2544) เขียนไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ของสื่อในการสนับสนุนแนวทางสันติ เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทสังคมไทย โดยอาจารย์ได้ตั้งข้อสังเกตดังต่อไปนี้
73
1. การรายงานข่าวสงครามต้ อ งไม่ มุ่ งเน้ น ที่ ก ารรายงาน ประสิ ท ธิภาพการท�ำลายล้างของอาวุ ธ แต่ ต้ องเสนอให้เ ห็น ด้า น มนุษยธรรม ความสูญเสียอย่างสมดุลกันด้วย เพราะการเน้นความ สามารถในการท�ำลายล้าง จะโน้มน�ำให้ผู้รับสารมองความรุนแรงเป็น เพียงเกมที่มุ่งแต่จะแสวงหาชัยชนะจนหลงลืม หรือไม่เห็นความส�ำคัญ ของชีวติ สือ่ มวลชนต้องมองปัญหาสันติภาพอย่างเป็นกระบวนการ กล่าว คือในความพยายามที่จะรายงานเหตุการณ์ที่เรียกว่าสู่สันติภาพนั้น สื่อ ต้องรายงานด้วยวิธที สี่ นั ติดว้ ยเช่นกัน โดยไม่เน้นความตืน่ เต้น เร้าอารมณ์ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย สร้างความเกลียดชัง หรือการเผชิญหน้ากัน 2. การรายงานประเด็ น ปั ญ หาความขั ด แย้ ง มิ ใช่ เ ฉพาะ เหตุการณ์หรือสถานการณ์เท่านัน้ แต่ตอ้ งมองให้เห็นสาเหตุแห่งปัญหา ตลอดจนบริบทแวดล้อม 3. การมองปัญหาของสื่อมวลชน หากสื่อสามารถมองปัญหา ในเชิงโครงสร้างได้ จะมีสว่ นช่วยเปลีย่ นแปลงสังคมไปในทางทีด่ ขี นึ้ แต่ ปัญหาที่มักพบจากสื่อคือ มักมองปัญหาที่ตัวบุคคล เช่น มีการประณาม การเร่งเร้าให้เปลี่ยนแปลงตัวบุคคล ซึ่งท�ำให้ปัญหาที่แท้จริงไม่ได้รับการ แก้ไข 4. นอกจากนี้ หากสื่อตระหนักได้ว่าอะไรคือวาระของสังคม ที่สื่อควรหยิบยกขึ้นมาน�ำเสนอนอกเหนือจากการรายงานเหตุการณ์ ประจ�ำวัน เช่น ปัญหาความยากจน ปัญหาสิง่ แวดล้อม ปัญหาคอรัปชัน่ และ ก�ำหนดทิศทางข่าวให้เรือ่ งเหล่านีข้ นึ้ สูร่ ะดับนโยบาย ก็จะมีสว่ นช่วยพัฒนา สังคมไทยได้ระดับหนึ่ง สื่อมวลชนไทยที่อยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ ต้องแสดงบทบาทมากกว่าการรายงานเหตุการณ์ประจ�ำวัน หากต้องเป็น ผู้ให้ความรู้แก่สังคม ให้รู้เท่าทันกระแสหลักและรู้ทิศทางที่สังคมไทยจะ ก้าวเดินต่อไป
74
5. ในการมองปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สื่อต้องไม่ พิจารณาจากมุมมองทางวัฒนธรรม สถานภาพทางสังคม หรือโลก ทัศน์ของตนเองเป็นพื้นฐาน หากต้องพยายามมองเรื่องราวจากบริบทที่ แวดล้อมเหตุการณ์ หรือผู้ที่ตกเป็นข่าวส�ำคัญ 6. สือ่ ต้องไม่นำ� เสนอเนือ้ หาในลักษณะการสร้างภาพเหมารวม ให้แก่บคุ คลหรือกลุม่ วัฒนธรรม เช่น ลาวกับความล้าหลัง มุสลิมกับความ รุนแรง เป็นต้น เพราะการผูกโยงเช่นนี้จะก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ หรือ ความเกลียดชังต่อกัน ซึ่งหลายกรณีเป็นเรื่องตัวบุคคล หรือปัญหาในเชิง โครงสร้าง ที่สื่อมวลชนไม่สมควรที่จะกล่าวอย่างเหมารวม 7. สื่อต้องไม่รายงานข่าวแบบระบุเอกลักษณ์ทางศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ เพราะจะท�ำให้เกิดการแบ่งเป็นพวกเขาพวกเรา เช่น กะเหรี่ยงพุทธ มุสลิมหัวรุนแรง โจรมุสลิม เป็นต้น 8. สื่อต้องลดระดับการน�ำเสนอเนื้อหาที่รุนแรง ซึ่งเสนอกัน อย่างตอกย�ำ้ สม�ำ่ เสมอ โดยเฉพาะสือ่ หนังสือพิมพ์ จะเห็นได้จากประเด็น ข่าว การใช้ภาษา การพาดหัวข่าวและภาพ เพราะการกระท�ำเช่นนั้น จะ ท�ำให้สมาชิกในสังคมชาชินกับความรุนแรงทีเ่ กิดขึน้ ในสังคม หรือลดระดับ ความกลัวความรุนแรง 9. ในบางกรณีสื่อสามารถใช้ศักยภาพของตนเองในการแก้ไข ปัญหาความขัดแย้งแบบสันติได้ โดยใช้ช่องทางที่ตนเองมีอยู่ นั่นคือ การรายงานข้อเท็จจริง การวิพากษ์วิจารณ์ การเรียกร้อง การเสนอ แนะทางออกของปัญหา โดยกระท�ำอย่างต่อเนื่องสม�่ำเสมอ 10. ปัจจุบนั สังคมไทยปรับตัวไปในทิศทางทีป่ ระชาชนมีสว่ นร่วม ในกิจการต่างๆ มากขึ้น ทั้งด้านการเมือง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นต้น ขณะเดียวกันปัญหากระทบกระทัง่ ความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาของ รัฐทีส่ ง่ ผลกระทบต่อชุมชนก็เริม่ คุกรุน่ ขึน้ เป็นระยะๆ ขบวนการทางสังคม
75
ก็ยังมีบทบาทอย่างต่อเนื่อง หากสื่อสามารถเป็นเวทีสาธารณะส�ำหรับ สื่อสารความหลากหลายในสังคมให้มีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น ความต้องการสะท้อนความจริง จะมีส่วนช่วยลดการเผชิญหน้า และ สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในความแตกต่างแก่สังคม เปิดกว้าง ส�ำหรับความคิดเห็นของผู้รู้แขนงต่างๆ ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น นอกเหนือจากความคิดเห็นที่จ�ำกัดอยู่แค่เพียงสื่อมวลชนเพียงกลุ่มเดียว เพือ่ ร่วมกันหาทางออกในกรณีทเี่ ป็นปัญหาความขัดแย้งได้อย่างรอบด้าน 11. ปัจจุบันกระแสการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในความหลาก หลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ชุมชน เป็นกระแสที่ได้รับการ สนับสนุนจากหลายฝ่าย สื่อต้องเปิดรับกระแสดังกล่าว และมีความ รู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมอื่นๆ เพื่อให้รายงานข้อมูลข่าวสารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ถูกถ้วน ตรงตามความเป็นจริงไม่สง่ ผลกระทบต่อความรูส้ กึ ของผู้ถูกกล่าวถึง
3.4 แนวคิด “War/Peace Journalism“ แนวคิดการสื่อข่าวเพื่อสันติภาพเป็นแนวคิดที่ ... 1.เปลีย่ นค่านิยมสือ่ มวลชนให้เห็นความส�ำคัญของศักดิศ์ รีความ เป็นมนุษย์ ศีลธรรมและจริยธรรม 2.เป็นการเปิดพืน้ ทีส่ าธารณะให้กบั กลุม่ คนต่างๆ อย่างเท่าเทียม กันในพื้นที่สื่อมวลชน 3. เป็นการเปิดกรอบความคิดทางวิชาการและวิชาชีพเพิ่มขึ้น Peace Journalism เป็นแนวคิดใหม่ที่ต้องร่วมกันศึกษา ปรับประยุกต์ ให้เข้ากับสังคมไทย และผลักดันไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
76
ตัวบ่งชี้ War Journalism และ Peace Journalism War Journalism
แนวความคิด เกี่ยวกับ…..
Peace Journalism
ชี้ความเป็นฝ่ายดี ฝ่ายร้าย หรือฝ่ายกระท�ำกับเหยื่อ
การกล่าวถึง แหล่งข่าว
หลีกเลีย่ งการตราหน้าว่าเป็น คนดีหรือผู้ร้าย
เนื้อหาที่รายงาน
หลีกเลีย่ งการตราหน้าว่าเป็น คนดีหรือผู้ร้าย
การให้ความส�ำคัญ กับแหล่งข่าวบุคคล
ค� ำ นึ ง ถึ ง ความหลากหลาย ของผูท้ เี่ กีย่ วข้องในเหตุการณ์
แนวทางการ รายงานข่าว
เสนอข่าวเชิงลึก ริเริ่ม และ น�ำเสนอมากกว่าเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น
เน้นรายงานเฉพาะสิ่งที่เกิด ขึ้น ณ ปัจจุบัน ให้ความส�ำคัญกับผู้น�ำ เสนอข่ า วเชิ ง รั บ เฉพาะ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แสดงอคติ เข้าข้างฝ่ายใดฝ่าย หนึ่งชัดเจน ใช้ภาษาแสดงอารมณ์/ความ รู้สึกเกินจริง
การเลือกข้าง
ไม่ ฝ ั ก ใฝ่ ฝ ่ า ยใดฝ่ า ยหนึ่ ง ชัดเจน
ภาษาข่าว
หลีกเลีย่ งการใช้ภาษาทีแ่ สดง ถึ ง การตกเป็ น เหยื่ อ ท� ำ ให้ รู้สึกเวทนา รายงานข้อมูลผลกระทบรอบ ด้านทั้งกายภาพ จิตใจ สังคม และวัฒนธรรม หลีกเลีย่ งการใช้ภาษาทีแ่ สดง ถึงความเป็นผู้ร้าย
รายงานเฉพาะผลกระทบที่ ชัดเจน เช่น ผู้บาดเจ็บ ผู้เสีย ชีวิต ทรัพย์สินเสียหาย ใช้ภาษาที่แสดงถึงความเป็น ผู้ร้าย เช่น โจรใจโฉด ทมิฬ หรือโจรใต้
การรายงาน ผลกระทบ
เน้ น เป้ า หมายเดี ย วคื อ หา ทางชนะ
เป้าหมายของ การรายงาน
เน้นแนวทางประนีประนอม ทั้ง 2 ฝ่าย
เน้นผูท้ เี่ กีย่ วข้องเพียง 2 ฝ่าย คือฝ่ายแพ้กับผู้ชนะ
การให้ความส�ำคัญ
ให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ เสี ย ง ประชาชนทั่วไป ทั้งในฐานะ ผู ้ อ ยู ่ ใ นเหตุ ก ารณ์ แ ละการ เป็นแหล่งข่าว
ภาษาข่าว
77
(ต่อ) ตัวบ่งชี้ War Journalism และ Peace Journalism War Journalism หยุดรายงานเมื่อเหตุการณ์ สงบ รายงานข่าวเชิงรับ (Reactive) รอให้เกิดเหตุรุนแรง หรือ เกือบจะเกิดเหตุแล้ว จึงรายงาน รายงานเฉพาะผลกระทบที่ มองเห็น เช่น การบาดเจ็บ/ เสียชีวิต ความเสียหายต่อ ทรัพย์สิน เน้นการเสนอคนในในข่าว ที่ เ ป็ น ชนชั้ น น� ำ (Elitedoriented)
แนวความคิด เกี่ยวกับ…..
Peace Journalism
เกาะติ ด และรายงานอย่ า ง ต่ อ เนื่ อ งแม้ เ หตุ ก ารณ์ ส งบ ลงแล้ว วิธีการคิดประเด็น รายงานข่าวเชิงรุก (proactive) รายงานเพื่ อ เตรี ย ม ข่าว การป้องกันก่อนจะเกิดเหตุ รุนแรง การเกาะติดการ รายงานข่าว
การรายงานผลกระ ทบจากเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น
รายงานผลกระทบที่ ม อง ไม่ เ ห็ น เช่ น ความกระทบ กระเทือนทางจิตใจ ความเสีย หายต่อสังคมและวัฒนธรรม
จุดศูนย์กลางของ เรื่องข่าว
เน้นการน�ำเสนอคนในข่าวที่ เป็นประชาชนทั่วไป (People-Oriented)
เน้นการน�ำเสนอความแตก ผลจากการน�ำเสนอ รายงานข้อตกลงต่างๆ ที่อาจ ต่างที่จะน�ำไปสู่ความขัดแย้ง ข้อมูลต่างๆ จะ น� ำ ไปสู ่ ก ารคลี่ ค ลายความ สร้างให้เกิดอะไร ขัดแย้ง รายงานสาเหตุ แ ละผลกระ เน้ น เฉพาะสถานการณ์ ที่ ประเด็นข่าว/ ทบของความขัดแย้ง เกิดขึ้นปัจจุบัน (Here and เนื้อข่าว Now) แยกแยะออกเป็นฝ่ายดี ฝ่าย รายงานโดยการ หลีกเลี่ยงการตราหน้าว่าใคร ร้ า ย หรื อ ฝ่ า ยผู ้ ก ระท� ำ กั บ แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นฝ่ายดี ฝ่ายเลว หรือไม่ ฝ่ายเหยื่อ เน้นการน�ำเสนอเพียงคน 2 เน้นแหล่งข่าวคู่ขัด ค�ำนึงถึงความหลากหลายของผู้ กลุ่ม กลุ่มหนึ่งฝ่ายชนะ อีก แย้ง หรือเน้นทุก ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และให้ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง พื้นที่กับทุกฝ่าย กลุ่มเป็นฝ่ายแพ้
78
(ต่อ) ตัวบ่งชี้ War Journalism และ Peace Journalism War Journalism
แนวความคิด เกี่ยวกับ…..
Peace Journalism
เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (partisan)
การเลือกข้าง
ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (non-partisan)
เน้นเป้าหมายทางเดียวคือ ต้องชนะเท่านั้น (zero-sum orientation)
รายงานเฉพาะผลกระทบที่ มองเห็น เช่น การบาดเจ็บ/ เสียชีวิต ความเสียหายต่อ ทรัพย์สิน หยุดรายงานเมื่อการสู้รบสิ้น สุด มีการลงนามในข้อตกลง สันติภาพ หรือหยุดยิงแล้ว ผละไปยังที่อื่นต่อ
ใช้ภาษาที่แสดงให้เห็นความ เป็นผู้ร้าย เช่น ร้ายกาจ โหด เหี้ยม ป่าเถื่อน บ้าคลั่ง ผู้ ก่อการร้าย หัวรุนแรง ใช้ค�ำเร้าอารมณ์ (emotive words) เช่น การฆ่าล้างเผ่า พันธ์ุ ลอบสังหาร
เป้าหมายของการ รายงานข่าวเมื่อ เหตุการณ์สิ้นสุดลง
การรายงานผลกระ ทบจากเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้น
ความต่อเนื่องและ การให้ความส�ำคัญ ในการรายงานข่าว
การใช้ภาษาเรียก บรรยายแหล่งข่าว
การใช้ภาษาข่าวที่ เร้าอารมณ์
มีเป้าหมาย ประเด็น และ ท า ง อ อ ก ที่ ห ล า ก ห ล า ย มากกว่ า หนทางเดี ย ว เน้ น การประนีประนอม (win-win orientation) รายงานผลกระทบที่ ม อง ไม่ เ ห็ น เช่ น ความกระทบ กระเทือนทางจิตใจ ความเสีย หายต่อสังคมและวัฒนธรรม เกาะติ ด สถานการณ์ แ ละ รายงานผลที่ เ กิ ด ขึ้ น จาก สงครามแม้การสู้รบจะสงบ ลงแล้ว เช่น การฟื้นฟูการ ก่อสร้างใหม่ การใช้ข้อตกลง สันติภาพ เลี่ยงการใช้ภาษาแสดงความ เป็ น ผู ้ ร ้ า ย (demonizing language) ใช้ ก ารอธิ บ าย ต�ำแหน่งชื่อที่ชัดเจน ใช้ ค� ำ ที่ เ ป็ น ภววิ สั ย และอยู ่ ในระดั บ พอดี (objective and moderate) จะใช้ภาษา ที่ แ สดงความรุ น แรงเฉพาะ ในสถานการณ์รุนแรงจริงๆ เท่านั้น
79
สิง่ ทีส่ อื่ ต้องคิดมากกว่าค�ำถาม “5w+1h” ยังต้องเพิม่ “s” (solutions) หรือทางออกของปัญหา และ “c” (common ground) หรือจุด ร่วมทางความคิดใส่เข้าไปในข้อมูลทีร่ ายงานด้วย เพือ่ ร่วมกันแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งไปสู่สันติภาพ
6 เทคนิคคิดมุมข่าวเพื่อสลายความขัดแย้ง
1. หาค�ำตอบว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร บ้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นใครบ้าง และแต่ละฝ่ายมีเป้าหมายอะไร 2. โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม หรือประวัตศิ าสตร์ คือสาเหตุ ที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกของความขัดแย้งนี้หรือไม่ 3. มีทางออกที่หลากหลายและสร้างสรรค์ใดบ้าง ที่จะก้าวผ่าน ความขัดแย้งนี้ และจะสามารถป้องกันไม่ให้ความรุนแรงเกิดขึ้น 4. ถ้าความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว ผลกระทบที่มองไม่เห็นที่อาจ จะเกิดขึ้น มีอะไรบ้าง เช่น ความเจ็บปวด ความสูญเสียทางจิตใจและ วัฒนธรรมอันอาจน�ำไปสู่ความเคียดแค้นชิงชัง 5. องค์กรใด หรือใครบ้างที่ท�ำหน้าที่ในการป้องกันความรุนแรง และมีแนวทางอย่างไร สังคมและสื่อมวลชนควรจะมีหนทางใดในการ สนับสนุนองค์กรเหล่านี้ได้บ้าง 6. ใครเป็นผู้เยียวยา บูรณะ และซ่อมแซมความสูญเสีย และ สร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นได้บ้าง
80
17 เทคนิควิธกี ารน�ำเสนอข้อมูลทีส่ อื่ มวลชน น่าจะท�ำเพื่อการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ
1. หลีกเลี่ยงการน�ำเสนอภาพความขัดแย้งที่เป็นการเอาชนะ คะคานกันของ 2 ฝ่าย ไม่ด่วนสรุปและแบ่งฝักฝ่าย แต่ต้องเปิดใจเพื่อหา บทสรุปที่หลากหลาย 2. หลีกเลี่ยงการยึดติดกับความแตกต่างระหว่างตัวเรากับผู้อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ท�ำให้เกิดความขัดแย้ง 3. หลีกเลี่ยงกับการเข้าไปจัดการกับความขัดแย้ง แต่ต้อง พยายามเชือ่ มโยงความสัมพันธ์และผลทีต่ ามมาทัง้ ในปัจจุบนั และอนาคต 4. หลีกเลี่ยงการประเมินค่าความรุนแรงเพียงผลกระทบที่เป็น รูปธรรม แต่ต้องรายงานผลกระทบที่มองไม่เห็นด้วย เช่น ผลกระทบใน อนาคต หรือ ความเจ็บปวดทางใจ 5. หลีกเลี่ยงการกล่าวถึงผู้ที่เกี่ยวข้องโดยอาศัยแค่ค�ำกล่าวของ ผู้น�ำ แต่จะต้องสืบสวนหาเป้าหมายที่ลงลึกลงไป เช่น คนระดับล่างที่ได้ รับผลกระทบจากเหตุการณ์ 6. หลีกเลีย่ งการตอกย�ำ้ เกีย่ วกับสิง่ ทีจ่ ะสร้างความแตกแยกของ คนสองกลุ่ม แต่ต้องพยายามที่จะถามสิ่งที่จะน�ำไปสู่การผสมกลมกลืน ซึ่งจะท�ำให้การรายงานข่าวสามารถให้ค�ำตอบกับเป้าหมายหรือหนทาง ร่วมกันได้ในที่สุด 7. หลีกเลี่ยงการรายงานเพียงแค่พฤติกรรมความรุนแรงและ อธิบายแต่ความน่ากลัว แต่ต้องแสดงให้เห็นว่าผู้คนถูกปิดกั้นและหมด ความหวังขนาดไหนที่ต้องเผชิญกับความขัดแย้ง
81
8. หลีกเลี่ยงการเน้นความเจ็บปวด ความกลัว และความเศร้า โศกของฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ แต่ตอ้ งน�ำเสนอข่าวทีส่ ะท้อนให้เห็นถึงความเจ็บ ปวด เศร้าโศก และความกลัวของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 9. หลีกเลี่ยงการกล่าวหาคนใดคนหนึ่งว่าเป็นผู้เริ่มต้นความ รุนแรง แต่ตอ้ งพยายามมองว่าแต่ละฝ่ายมีสว่ นร่วมกับปัญหาและประเด็น ต่างๆ อย่างไร 10. หลีกเลีย่ งการใช้ภาษาทีแ่ สดงถึงการตกเป็นเหยือ่ แต่จะต้อง รายงานเพียงสิ่งที่เกิดขึ้น และถามด้วยว่าเขาจะจัดการกับเหตุการณ์ดัง กล่าวอย่างไร หรือคิดเห็นอย่างไร 11. หลีกเลีย่ งการใช้ค�ำแสดงอารมณ์ทคี่ ลุมเครือ เพือ่ อธิบายสิง่ ที่ เกิดขึ้นกับบุคคล เช่น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ การสังหารหมู่ การลอบสังหาร แต่ต้องอธิบายอย่างตรงไปตรงมา และสะท้อนเหตุการณ์จริง 12. หลีกเลี่ยงการใช้ค�ำขยาย เช่น เลวทราม ทารุณ โหดร้าย ป่าเถื่อน ค�ำแบบนี้สะท้อนความล�ำเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้อง รายงานการกระท�ำที่ไม่เหมาะสมโดยอธิบายข้อมูลให้ชัดเจน 13. หลีกเลี่ยงการใช้ค�ำที่ตีตรา เช่น ผู้ก่อการร้าย พวกหัวรุนแรง พวกบ้าคลั่ง ซึ่งเป็นค�ำที่ไม่มีใครยินดีให้เรียกชื่อของตนเอง แต่ผู้สื่อข่าว จะต้องพยายามเรียกขานชื่อพวกเขาด้วยชื่อที่พวกเราเรียกตนเอง หรือ อธิบายด้วยภาษาที่ตรงไปตรงมา 14. หลีกเลีย่ งการเน้นย�้ำไปทีก่ ารละเมิดสิทธิมนุษยชน ผูก้ ระท�ำ ความผิด หรือพฤติกรรมที่ผิดพลาดฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องพยายามที่จะ แสดงให้เห็นชื่อของผู้กระท�ำความผิดจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 15. หลีกเลีย่ งการแสดงความคิดเห็นหรือการกล่าวอ้างทีด่ คู ล้าย เป็นความจริง แต่ต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นความเห็นของใคร หรือใคร กล่าวหาใคร
82
16. หลีกเลี่ยงการรับรองเอกสารที่เป็นของผู้น�ำ ที่จะน�ำไปสู่ ชัยชนะของการใช้กำ� ลัง แต่จะต้องถามถึงสิง่ ทีจ่ ะแก้ไข หรือรับมือกับความ ขัดแย้งอย่างสันติ 17. หลีกเลี่ยงการรอคอยให้ผู้น�ำเสนอแนะทางออก แต่ต้อง พยายามหาแนวทางสร้างสันติจากทุกฝ่ายทั้งภาคประชาชน และผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
ข้อ(มัก)ผิดพลาด 12 ประการ ที่นักข่าวควรแก้ไขจากข่าวความขัดแย้ง บทความ “ผู้สื่อข่าว: ตัวช่วยกระบวนการสันติภาพหรือผู้ขยาย ความขัดแย้ง” จาก “A Peace Diversity Journalism Manual” เขียนไว้อย่างน่าสนใจเกี่ยวกับ “ข้อมักผิดพลาดของสื่อมวลชน“ ศาสตราจารย์โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) นักวิจัยด้าน สันติภาพศึกษาชาวนอร์เวย์ เชื่อว่าผู้สื่อข่าวมีบทบาทในการสนับสนุน ให้เกิดความสันติภาพได้ หากท�ำงานตามหลักการสื่อสาร และกรอบ จริยธรรม ที่มักเน้นย�้ำในเรื่องความถูกถ้วน ความเป็นอิสระ ข้อเท็จจริง และการรายงานอย่างยุติธรรมเสมอภาค โยฮัน กัลตุง ได้ระบุถึงข้อผิดพลาดของการรายงานข่าวความ ขัดแย้ง 12 ประการที่ผู้สื่อข่าวควรแก้ไข ดังนี้ 1. “ไม่เชื่อมโยงสัมพันธ์/ที่มาที่ไป” การรายงานข่าวเหตุการณ์ อย่างไม่มีเหตุมีผล ไม่ค�ำนึงถึงที่มาที่ไปของเหตุการณ์ และ/หรือเหตุผล ในการสลายความขัดแย้งและการแบ่งขั้วตรงข้าม
83
2. “รายงานแบบแบ่งเขา/แบ่งเรา” การรายงานแบบแบ่งฝักแบ่ง ฝ่าย ซึ่งแบ่งแยกผู้ที่เกี่ยวข้องออกเป็นเพียง 2 ฝ่ายและรายงานเฉพาะ ปัจจัยภายนอกเท่านั้น 3. “ชอบติดป้าย/เหมารวม/ตีตรา” การตีตราว่าเป็นฝ่ายใดเป็น “ฝ่ายดี” และ “ฝ่ายเลว” หรือการเหมารวมกลุ่มบุคคลใด ศาสนา เชื้อ ชาติในแบบภาพตายตัว/ภาพตัวแทน 4. “ความรุนแรงเป็นหนทางยากหลีกเลี่ยง” การรายงานเหตุ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และไม่มี ทางเลือกอื่นๆ 5. “เน้นความรุนแรง/ขายความรุนแรง/ปรากฏการณ์ความ รุนแรง” การรายงานเฉพาะการกระท�ำของบุคคลหรือกลุม่ บุคคลทีก่ อ่ เหตุ ความรุนแรง โดยไม่รายงานถึงสาเหตุหรือที่มาที่ไปของการกระท�ำนั้น 6. “ไม่รายงานบริบท/สภาพแวดล้อม” การรายงานเฉพาะพื้นที่ ที่เกิดเหตุขัดแย้งและเน้นเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันโดยไม่อธิบายถึง ปัจจัยอื่นๆที่อาจมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์นั้น 7. “มองความรุนแรงแบบไม่เห็นที่มา ไม่มองหารายงานถึงแรง จูงใจ” หลีกเลี่ยงการรายงานเฉพาะเหตุสูญเสีย โดยไม่รายงานถึงสาเหตุ ของการกระท�ำและการขยายวงของความรุนแรงนั้น 8. “ไม่ค�ำนึงถึงผลกระทบต่อเหยื่อ/ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง” ไม่เสาะ หาสาเหตุของความรุนแรงหรือข้อขัดแย้งทีเ่ พิม่ ขึน้ และไม่คำ� นึงถึงอิทธิพล ของสื่อต่อผู้ที่เกี่ยวข้องจากการรายงานข่าวในประเด็นดังกล่าว 9. “ไม่อิสระ และถูกครอบง�ำ” ไม่ค�ำนึงถึงการถูกแทรกแซงโดย อิทธิพลอื่นๆ 10. “มองไม่เห็นสัญญาณแห่งสันติภาพ” ไม่ค�ำนึงถึงประเด็น ด้านสันติภาพหรือไม่น�ำเสนอผลของความสันติภาพ
84
11. “สับสนระหว่าง ความรุนแรง สันติภาพ และการเจรจา” ไม่ แยกแยะให้ประชาชนเข้าใจอย่างชัดเจนระหว่าง “การหยุดก่อเหตุ” และ “การต่อรองด้วยวิธีการสันติภาพ” 12. “ไม่สนใจเรือ่ งสมานฉันท์ สันติภาพ ปรองดอง” นักข่าวส่วน มากละเลยเรือ่ งการปรองดอง และมักจะหยุดรายงานทันทีเมือ่ การสูร้ บสิน้ สุดโดยไม่นำ� เสนอถึงวิธกี ารฟืน้ ฟูหรือเยียวยาพืน้ ทีแ่ ละประชาชนในพืน้ ที่ ที่เกิดเหตุรุนแรงนั้น ซึ่งอาจท�ำให้เกิดความรุนแรงระลอกใหม่ตามมาได้ เหล่านีค้ อื เทคนิคทีผ่ สู้ อื่ ข่าวสามารถน�ำไปปรับประยุกต์ใช้เข้า กับการท�ำงานที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ซึ่งมิใช่เฉพาะความขัดแย้ง ทางการเมือง แต่ยังใช้ได้กับความขัดแย้งทุกรูปแบบ ทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา วัฒนธรรม
85
86
บทที่ 3
การรายงานข่าว
เพือ่ สันติภาพ เรี ยบเรียงจาก 1. ฟีโอนา ลอยด์. 2550. “การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ”. คู่มือประกอบการอบรมการรายงานข่าว
เพื่อสันติภาพ.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbW Fpbnx0aGFpbWVkaWFzdXBwb3J0cHJvamVjdHxneDo1MmQ3OWZjMjRjZ DkwZjRi
87
การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ
ฟโอนา ลอยด “การรายงานขาวเพื่อสันติภาพ” ประเทศไทย2007
Peace Journalism คืออะไร
ในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักสื่อสารมวลชนต่างๆได้แสวงหาวิธี การใหม่ๆ ในการน�ำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับความขัดแย้ง วิธกี ารเหล่านีม้ ชี อื่ เรียกต่างกันออกไป เช่น การสือ่ สารทีต่ ระหนัก ถึงความขัดแย้ง (Conflict Sensitive Journalism) หรือสื่อมวลชนเพื่อ สันติภาพ (Peace Journalism) อย่างไรก็ตาม ทุกวิธีการต่างก็ยอมรับว่า ในการน�ำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับความขัดแย้งนั้น ผู้สื่อข่าวทุกคนต่างต้องมี ความรับผิดชอบและทางเลือกที่พิเศษต่างจากการเสนอข่าวแบบอื่น ในโลกทีส่ บั สนและซับซ้อน การจะหลีกเลีย่ งอิทธิพลทีม่ าจากการ เลี้ยงดูและวัฒนธรรมของเราเองเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นผู้สื่อข่าวจึง ต้องต่อสูก้ บั ทัศนคติทมี่ อี ยูใ่ นตัวตนและต้องพยายามจะให้ความเป็นธรรม ความสมดุล ความเป็นจริง และ ความรับผิดชอบไปพร้อมๆ กัน แต่เราจะท�ำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร ในระหว่างการประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยเรื่อง“การรายงาน ข่าวเพื่อสันติภาพ” ในประเทศอินโดนีเชีย ผู้สื่อข่าวได้ร่วมกันคิดหา แนวทางว่าด้วยเรื่องการรายงานข่าวที่เกี่ยวกับความขัดแย้งและพวกเขา ตกลงสรุปกันออกมาได้หนึ่งชุด: ก่อนที่คุณจะรายงาน • ให้ฟังและสังเกต • มองหาเรื่องราวที่ยังไม่ได้รับการรายงาน • ตื่นตัวเสมอเพื่อมองหาเรื่องราวที่ซุกซ่อนอยู่ • ตระหนักถึงความมีอคติของตนเอง
88
เมื่อคุณรายงาน : • สิ่งแรกคือ ต้องไม่มีเจตนาท�ำร้ายใคร • แสดงภาพรวมโดยไม่ต�ำหนิผู้ใด • ต้องมัน่ ใจว่าภาษาและการเรียกขานบุคคลหรือกลุม่ คนมีความ เป็นกลาง • ให้ท้าทายกรอบความคิดเหมารวม • เน้นความต้องการหรือจุดร่วมที่ตรงกัน • เปิดกว้างหาความเป็นไปได้เพื่อแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ถ้าปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว เราจะสามารถ : • แก้ความเข้าใจที่ผิด ๆ และท้าทายมายาคติ (หรือข้อมูลที่ไม่ ถูกต้อง) • ขยายความสิ่งที่น่าสนใจที่ซ่อนอยู่รวมทั้งต้นตอของความ ขัดแย้ง • แนะน�ำทางเลือกและทางแก้ปัญหา ในแนวทางการน�ำเสนอข่าวเพื่อสันติภาพนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่า : • ในสถานการณ์ความขัดแย้ง สื่อมวลชนสามารถแสดงบทบาท ส�ำคัญในการ “ลดอุณหภูมิความร้อนแรงของเหตุการณ์” ด้วยการ น�ำเสนอภาพองค์รวม สื่อสามารถกระตุ้นให้เกิดการพูดคุยเพื่อมุ่งหาทาง แก้ปัญหาได้ • สื่อมวลชนสามารถไกล่เกลี่ยเหตุการณ์ก่อนที่จะเกิดความ ขัดแย้งและหลังความขัดแย้ง สื่อสามารถสะท้อนและท้าทายอคติ ช่วย ส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ ความปรองดอง และความสมานฉันท์ได้
89
ส�ำหรับผู้สื่อข่าว ในทางปฏิบัติสิ่งนี้หมายถึง : • การขยายค�ำจ�ำกัดความทั่วไปว่าใครและอะไรบ้างที่เป็นข่าว เพื่อที่จะให้โอกาสต่อเสียงทุกเสียงในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุดจากความขัดแย้ง ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่มีอ�ำนาจ • ระลึกว่าข่าวเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ไม่ใช่เป็นแต่เพียง การเสนอเรื่องราวเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน • การตระหนักว่ามีวธิ กี ารทีห่ ลากหลายในการวางกรอบเรือ่ งทีเ่ รา ก�ำลังรายงาน และตระหนักด้วยว่าในการน�ำเสนอเรือ่ งราวใดๆ นัน้ เราจะ ต้องทิ้งข้อมูลที่มีอยู่ในมือไปเป็นจ�ำนวนมาก มากยิ่งกว่าข้อมูลที่เราจะใส่ เข้าไปในรายงานด้วยซ�้ำ • พยายามแสดงว่าในทุกๆกลุ่มนั้นมีความซับซ้อนและมีการ เปลี่ยนแปลง มีความคิดเห็นและประสบการณ์ที่หลากหลาย และสิ่งเหล่านี้เองได้ท�ำให้บทบาทของผู้สื่อข่าวและบทบาทของ นักไกล่เกลี่ยมารวมเป็นหนึ่งเดียวกัน
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องความขัดแย้งหลายคนกล่าวว่า
“ผู้สื่อข่าวมักจะกลายเป็นผู้ไกล่เกลี่ยความขัดแย้งไม่ว่าพวกเขา จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม” พวกเขาบอกว่า แค่ค�ำพูดที่ไม่ระมัดระวังหรือไม่ ถูกต้องบางค�ำในข่าวก็สามารถก่อให้เกิดความรุนแรงได้ แต่ในทางตรงกัน ข้าม การรายงานทีม่ คี วามรับผิดชอบและระมัดระวังก็สามารถจะ “ท�ำให้ บรรยากาศเย็นลงได้” และช่วยให้ประชาชนเข้าใจถึงสถานการณ์ทซี่ บั ซ้อน ของโลกที่ตนเองอาศัยอยู่ และช่วยให้พวกเขาตัดสินใจในเรื่องต่างๆอย่าง คนที่มีข้อมูลได้โดยอาศัยรายงานข่าวเหล่านั้น
90
สิ่งที่ท้าทาย : หากเรายึดหลัก “รายงานข่าวเพื่อสันติภาพ” จะหมายถึงว่า เราได้สูญเสีย “ความเป็นกลาง” หรือไม่ เราจะสร้างสมดุลระหว่าง ความเป็นกลางทางวิชาชีพสื่อมวลชนกับการมุ่งมั่นสร้างสันติภาพได้ อย่างไร ผู้สื่อข่าวหลายคนแย้งว่าบทบาทของพวกเขาเป็นเพียงแค่ ผู้สังเกตการณ์และรายงานในสิ่งที่พวกเขาเห็น แต่จริงๆ แล้วมันไม่ ง่ายอย่างนั้นผู้สื่อข่าวก็เป็นมนุษย์ที่มีทัศนะที่ได้รับอิทธิพลมาจาก วัฒนธรรมและมีคุณค่าที่ตนเองนับถือเช่นกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็ มีผลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อสิ่งที่พวกเขาเลือกที่จะเห็นและเลือก ที่จะรายงาน ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษชื่อ แมกกี้ โอเคน ให้ค�ำแนะน�ำว่าเราควรให้ค�ำจ�ำกัดความค�ำว่า “ความเป็นกลาง” เสียใหม่ “พวกเราเป็นทัง้ ปุถชุ นและเราก็เป็นทัง้ คนทีเ่ ป็นมืออาชีพ.... ฉันคิดว่าพวกเรายังมีความรู้สึกและขณะเดียวกันก็น่าจะซื่อตรงกับ ความเป็นจริงได้ ฉันคิดว่าค�ำว่า “ความเป็นกลาง” ได้รบั ความส�ำคัญ มากเกินไปในอาชีพของเรา สิ่งที่เราควรจะแสวงหาคือ “ความจริง” และความจริงก็ไม่ใช่จะเป็นกลางเสมอไป” ส� ำ หรั บ โอเคน ผู ้ สื่ อ ข่ า วสามารถเป็ น ตั ว แทนของความ เปลี่ยนแปลงในด้านบวกได้ ถ้าพวกเขาเขียนเรื่องราวที่ถูกต้องและ ไม่เอนเอียงที่ตีแผ่ความไม่เป็นธรรมและชี้น�ำไปสู่หนทางที่เป็นไปได้ ในอันที่จะแก้ปัญหา
91
ในอีกนัยหนึ่ง • แม้ผสู้ อื่ ข่าวโดยส่วนตัวแล้วจะไม่สามารถหยุดความรุนแรง ได้ แต่การรายงานข่าวของพวกเขาสามารถท�ำให้สาธารณะได้รับ ข้อมูลอย่างดีได้ และพวกเขาช่วยหาทางแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างมี ความรับผิดชอบได้ • ผู ้ สื่ อ ข่ า วไม่ ส ามารถมองข้ า มความขั ด แย้ ง และความ รุนแรงในฐานะที่เป็นข่าวได้ แต่ต้องตระหนักด้วยว่าตัวความขัดแย้ง อย่างเดียวไม่ใช่เรื่องราวทั้งหมด • ผูส้ อื่ ข่าวจึงควรจะมองหาหนทางแก้ปญ ั หาและจุดร่วมของ ผู้คนเพราะการท�ำเช่นนั้นจะท�ำให้สังคมได้เห็นภาพรวม แต่มันเป็นไปได้หรือที่ผู้สื่อข่าวจะก้าวไปถึงขั้นนั้นได้ และ ควรหรือไม่ ผู้ฝึกอบรมทางด้านสื่อ เจค ลินช์ และ แอนนาเบล แม็ค โกลด์ริค เห็นว่าผู้สื่อข่าวควรที่จะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการสร้าง สันติภาพ ในบทความชื่อ “สื่อมวลชนเพื่อสันติภาพ” (Peace Journalism) และในหนังสือ Reporting the World ลินช์ให้เหตุผลว่า ผูส้ อื่ ข่าวควรทีจ่ ะมีความรับผิดชอบในผลกระทบจากรายงานของตน “คนที่เป็นสื่อนั้น ในการสืบเสาะ สอบถามและแสวงหา ความชัดเจน พวกเขาได้กลายเป็นคนหนึ่งที่มีบทบาทในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับฟังเท่านั้น”
92
ถ้าผู้สื่อข่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่พวกเขารายงาน จริง บทบาทของพวกเขา ในช่วงเวลาของความขัดแย้งก็ยิ่งมีความ ส�ำคัญมากขึ้น
การวางกรอบความขัดแย้ง ในฐานะผูส้ อื่ ข่าว เมือ่ เราเขียนข่าว เตรียมบทออกอากาศหรือ ถ่ายภาพ เรามักจะต้องตัดทอนบางส่วนของเนือ้ หาออกไปมากกว่าที่ จะเพิ่มเข้าไป สิ่งท้าทายอีกอย่างหนึ่ง : เราจะเปิดเผยภาพรวมทีซ่ บั ซ้อนและขัดแย้งในตัวเองภายใต้ กรอบทีจ่ ำ� กัดด้วยเวลาและพืน้ ทีไ่ ด้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ เรา ต่างก็ถูกกดดันด้วยเส้นตายและความจ�ำเป็นที่จะต้องเสนอเรื่องราว ก่อนคูแ่ ข่ง เราจะเขียนข่าวทีใ่ หม่แต่มบี ริบทและมีภมู หิ ลังส่วนทีส่ ำ� คัญ ของเรื่องที่จะท�ำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องราวที่แท้จริงได้อย่างไร ในเรื่องที่เรารายงานนั้น เราทั้งเป็นคนเลือกว่าจะให้ใครและ อะไรอยูใ่ นรายงานนัน้ แล้วยังตัดสินใจด้วยว่าจะตัดใครและอะไรออก ไปด้วย สิง่ ทีม่ ผี ลต่อการคัดเลือกของเราคือค่านิยมส่วนตัว มาตรฐาน ทางอาชีพ และจริยธรรมในการรายงานข่าวขององค์กรที่เราท�ำงาน ให้ แต่ไม่วา่ จะเป็นแบบไหน ก็ควรจะระลึกเสมอว่าการเลือกสรรใดๆ ย่อมให้ผลตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรายงานเรื่องความขัดแย้ง
93
ลองจินตนาการว่า: “มีการชุมนุมย่อยๆ นอกสถานทูตต่างประเทศในเมืองเมือง หนึ่ง มีชายและหญิงประมาณ 30 คนถือดอกไม้และร้องเพลงเพื่อ สันติภาพและการปรองดองกัน ชีวติ บนถนนด�ำเนินไปตามปกติ พ่อค้า แม่ค้าก�ำลังขายก๋วยเตี๋ยว เด็ก ๆ ก�ำลังเดินทางจากโรงเรียนกลับบ้าน มีเจ้าหน้าที่ต�ำรวจสองสามคนยืนประจ�ำการ ต่อมาผู้สื่อข่าวโทรทัศน์มาถึง และเริ่มถ่ายภาพเหตุการณ์ ทันทีทเี่ ห็นกล้องผูช้ มุ นุมหนุม่ สาวสองสามคนรีบเดินเข้ามาเพือ่ ตะโกน ค�ำขวัญอย่างตื่นเต้น ช่างภาพถ่ายภาพเลือกชอตถ่ายแบบใกล้หรือ โคลส อัพ (close up shot) เพือ่ ให้ในภาพมีแต่ภาพผูป้ ระท้วงทีก่ �ำลัง ตะโกนอยู่ โดยไม่รวมถึงฝูงชนที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นคนขายก๋วยเตี๋ยว หรือเด็กนักเรียน ภาพนัน้ ไม่แสดงถึงสิง่ รอบข้างทีด่ ำ� เนินไปอย่างปกติ ค�ำพูดเริ่มต้นของนักข่าวคือ “มันเริ่มต้นด้วยการชุมนุมอย่างสันติ แต่ขณะนี้ความตึงเครียดก�ำลังเพิ่มขึ้น…” การรายงานข่าวที่มุ่งให้เกิดผลทางอารมณ์แบบนี้ฟังดูคุ้นหู หรือไม่ อะไรเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่ท�ำให้ผู้สื่อข่าวทีวี เหล่านีร้ ายงานข่าวในลักษณะนี้ ผูช้ มจะได้รบั ผลกระทบอะไรจากข่าว นี้ ในบรรยากาศของการท�ำงานของสือ่ ในเชิงพาณิชย์ในปัจจุบนั บรรณาธิการหลายคนทึกทักเอาว่ามีแต่ “ข่าวร้าย” เท่านั้นที่ขายได้ และประชาชน (ผูช้ มทีว,ี ผูฟ้ งั วิทยุ หรือ ผูอ้ า่ นหนังสือพิมพ์) ชอบภาพ ความรุนแรงและการกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการรายงาน ข่าวที่เป็นกลาง เน้นข้อมูล และสมดุล
94
พวกเขาคิดถูกหรือไม่ นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่าการบริโภคภาพความรุนแรงอย่าง สม�ำ่ เสมอทีจ่ ริงแล้วท�ำให้เกิดการเสพติดได้ แต่กเ็ หมือนกับยาเสพติด โดยทั่วไปที่ผู้เสพมักรู้สึกไม่สมใจแม้ในเวลาที่ต้องการเสพมากขึ้น ดังนั้น อะไรคือสิ่งที่ผู้ชมต้องการจริงๆจากสื่อ และอะไรที่ พวกเขาไม่ชอบ ผูบ้ ริโภคสือ่ หลายกลุม่ ได้ตอบค�ำถามเพือ่ แสดงความ คิดเห็นของตนเอาไว้
สิ่งที่ไม่ชอบเกี่ยวกับสื่อ
สิ่งที่ต้องการจากสื่อ
สื่ อ มวลชนส่ ว นมากแค่ ติ ด ตาม เหตุการณ์แต่ไม่อธิบายถึงสิ่งที่ก่อให้ เกิ ด เหตุ ก ารณ์ เ หล่ า นั้ น และแทบ จะไม่เคย ติดตามความคืบหน้าเรื่อง ราวนั้นอีก
ให้ มี เ นื้ อ หาที่ แ สดงถึ ง กระบวนการ ทิ ศ ทาง รู ป แบบ และการพั ฒ นา เพราะเหตุการณ์ต่าง ๆ ไม่ได้เกิดขึ้น เองอย่างไม่มีมูลเหตุ
พวกเขาเน้ น ข่ า วร้ า ย ยิ่ ง มี ค นตาย มากเท่ า ไหร่ ยิ่ ง เป็ น ข่ า วใหญ่ ม าก เท่านั้น พวกเขาติดกับปัญหาและไม่ หาวิธีแก้ หรือทางเลือกเพื่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง
ให้มีข่าวดีเพิ่มขึ้น หาเหตุผลดีๆให้มี การฉลองกันบ้าง เสนอประวัติบุคคล ที่ ไ ม่ เ ป็ น ที่ รู ้ จั ก ซึ่ ง ท� ำ ให้ เ กิ ด ความ เปลี่ยนแปลงที่ดีในชุมชน
บ่ อ ยครั้ ง ท่ ว งท� ำ นองของรายงานมี ลักษณะกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึก
ควรจะสงบนิง่ และใช้เหตุผลโดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อรายงานข่าวความขัดแย้ง
95
สิ่งที่ไม่ชอบเกี่ยวกับสื่อ
สิ่งที่ต้องการจากสื่อ
พวกเขามักจะเน้นแต่ผู้มีอ�ำนาจ เช่น ผู ้ น� ำ ทางการเมื อ ง คนร�่ ำ รวยและ มีชื่อเสียง
หันไปเน้นบุคคลที่ไม่มีอ�ำนาจและคน ยากจน คนที่ไม่มีตัวตนและไม่มีชื่อ เสียง พวกเขาอยากรู้เรื่องของผู้หญิง
(ดาราภาพยนตร์ หรือนักดนตรี) แหล่ง ข่าวส่วนมากเป็นผู้ชาย (ผู้หญิงเป็น เพียงไม้ประดับ) และคนเป็นข่าวส่วน มากดูเหมือนจะอาศัยอยู่แต่ในเมือง
(และจาก ผู้หญิง)มากขึ้น อยากให้มี เรื่องราวจากชนบท รวมถึงเรื่องเกี่ยว กับเด็กมากขึ้นด้วย
พวกเขามั ก จะสนั บ สนุ น ทั ศ นะการ เหมารวม
อยากให้สื่อท้าทายอคติการเหมารวม พร้ อ มทั้ ง มองหามุ ม มองที่ เ ป็ น มนุ ษ ย์ และใหม่
ข้อคิดเห็นเหล่านี้สะท้อนถึงความต้องการให้สื่อ: • ขยายกรอบการท�ำรายงานเพือ่ ให้ครอบคลุมกลุม่ คนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงซึ่งมักจะถูกละเลย ทั้ง ๆ ที่เป็นประชากร ส่วนใหญ่ • รายงานแบบอธิบายมากขึ้น แต่กระตุ้นอารมณ์ให้น้อยลง การสือ่ สารมวลชนทีด่ นี นั้ ข่าวควรจะให้ขอ้ มูลทีน่ า่ สนใจ โดยทีไ่ ม่ตอ้ ง ฉวยโอกาสจากคนหรือสถานการณ์ • เป็นผูก้ ระท�ำมากขึน้ แทนทีจ่ ะยอมให้กลุม่ คนทีม่ อี ทิ ธิพลใน สังคมก�ำหนดทิศทางข่าวให้ • กลับไปหาคุณค่าเดิมของการสื่อสารมวลชนเช่น ยึดมั่นใน ความถูกต้องและความสมดุล
96
เมื่อเรา “ขยายกรอบ” การรายงาน เรื่องราวของเราจะมี ความซับซ้อนและน่าสนใจมากขึน้ เราจะรวมเอาเสียงและมุมมองของ คนอืน่ ๆเข้ามามากขึน้ และเราจะท้าทายการเหมารวมและการแบ่งขัว้ หรืออีกนัยหนึง่ เราแยกย่อย สะท้อนความคิดเห็นทีห่ ลากหลายอย่าง แท้จริง และเราแสดงให้เห็นสิ่งที่ผู้คนต่างๆมีเหมือนกัน สิ่งนี้ถือเป็นสิ่งส�ำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาของความขัดแย้ง ดังที่ เจค ลินช์อธิบายไว้ว่า “การเสนอภาพของประสบการณ์ชีวิตจริงที่แตกต่างและ ซับซ้อน โดยที่ยังคงให้ความเคารพต่อความต้องการรวมทั้งความ ล�ำบากของผู้คนฝ่ายต่างๆ เป็นวิธีที่จะท�ำให้เราสามารถหลีกเลี่ยง การแบ่งคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดอย่างหยาบๆออกเป็นสองฝ่าย เท่านั้น” สื่ อ มวลชนมั ก จะปฏิ บั ติ กั บ เรื่ อ งความขั ด แย้ ง ราวกั บ ว่ า เป็นการแข่งขันของกลุ่มคนชั้นสูง อันได้แก่ผู้น�ำต่างๆ นักการเมือง ผู้น�ำทางทหาร และสื่อยังมักจะอิง “ความจริง” เฉพาะจากคนชั้นสูง เหล่านี้ การท�ำอย่างนี้ท�ำให้สื่อกลายเป็นส่วนหนึ่งของสภาพเงื่อนไข นั้นๆ ที่ไม่ได้สนใจจะเสาะหาทางเลือกใหม่เพื่อสันติภาพ ในทางตรงกันข้าม “การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ” คือการ ออกสู่สถานที่ ออกไปรับฟังคนที่ได้รับผลกระทบและคนที่ถูกละเลย ประเมินความต้องการ รับฟังมุมมองของพวกเขาและส�ำรวจความคิด ของพวกเขาเพื่อหาทางเลือก
97
จ�ำไว้ว่า: • ข่าวลือรุนแรงขึ้นเมื่อมีความหวาดกลัวและรู้ไม่เท่าทัน • ในขณะเดียวกัน ข่าวลือยังเพิ่มความกลัวและความรู้ ไม่เท่าทันนี้ได้ด้วย • คนที่หวาดกลัวมักจะเป็นคนที่ใช้ความรุนแรง • ข้อมูลที่สมดุลช่วยให้คนมองเห็นภาพรวม จากนั้นพวก เขาจะหวาดกลัวน้อยลง ใช้ความรุนแรงน้อยลงและควบคุมชีวิตของ ตัวเองได้ นอกจากนี้ กรอบของการ “รายงานข่ า วเพื่ อ สั น ติ ภ าพ” นั้ น ไม่ มี ค วาม “อ่ อ น” แต่ อ ย่ า งใด และที่ จ ริ ง แล้ ว มั น เรี ย กร้ อ งฝี มื อ และมาตรฐานที่ เ คร่ ง ครั ด ในการ สื่ อ สารอย่ า งมากที่ สุ ด เพราะว่ า ผู ้ ร ายงานจะต้ อ งสื บ ค้ น เรื่ อ ง ราวให้ ลึ ก มากขึ้ น พวกเขาจะต้ อ งตั้ ง ค� ำ ถามกั บ ความคิ ด ของคนส่ ว นใหญ่ และยั ง ต้ อ งตื่ น ตั ว อยู ่ เ สมอเพื่ อ ให้ แ น่ ใจว่ า เรื่องราวนั้นๆ ไม่ได้ถูกแต่งเติมสีสันจากอคติและการสันนิษฐาน ของตัวเอง
98
เข้าใจความขัดแย้ง ดูเพิ่มเติม ใน การรายงานข่าว เพื่อสันติภาพ”
ประเทศไทย 2007 คู่มือประกอบการอบรม ฟิโอนา ลอยด์
“ความขัดแย้งเป็นส่วนหนึ่งของทุกสังคม เป็นสิ่งจ�ำเป็น ที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์และมีประโยชน์ แต่ความขัดแย้งนั้นจะกลายเป็นความรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับ ความสามารถของสังคมทีจ่ ะจัดการกับปัญหานัน้ ๆ โดยไม่ใช้ความ รุนแรง” ศาสตราจารย์โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) อย่างที่กล่าวกันไปแล้วว่า สื่ออาจจะช่วยเสริมความเข้มแข็ง หรืออ่อนแอของสังคมในการรับมือกับปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง มันขึ้นอยู่กับผู้สื่อข่าวอย่างเราว่าจะช่วย “ลดอุณหภูมิ” หรือว่าจะ ท�ำให้มันแย่ลง ส�ำหรับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องความขัดแย้งอย่างกัลตุง ความ ขัดแย้งไม่จ�ำเป็นต้องน�ำไปสู่ความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามี ทางเลือกในทางบวกและตัวเลือกในการแก้ปัญหา ยิ่งมีผู้เกี่ยวข้อง ผู้ได้หรือเสียประโยชน์ และมีความสนใจในเรื่องนั้นๆ มากเท่า ไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสมากขึ้นในอันที่จะพบหนทางการประณีประณอม การท�ำความเข้าใจใหม่ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปโฉมของความขัดแย้ง และเปิดหนทาง
99
ให้กับการหาความเป็นไปได้ในการสร้างสันติภาพที่เป็นธรรม นี่เป็น แนวคิดหลักในการลดความขัดแย้ง ดังนั้น ความขัดแย้งไม่จ�ำเป็นต้องน�ำไปสู่ความรุนแรง แต่ใน ขณะเดียวกัน สถานการณ์ที่ไม่มีความรุนแรงก็ไม่จ�ำเป็นว่าจะต้อง หมายถึงการมี “สันติภาพ” ลองดูตัวอย่างประโยคนี้ “ถึงแม้จะไม่มีเสียงปืนที่ชายแดน แต่ผู้หญิงในจามมูและ แคชเมียร์ก็ยังต้องเผชิญหน้า กับผลที่ตามมาจากความรุนแรงต่างๆ เป็นเวลาหลายปีแล้ว พวกเธอต้องทนล�ำบาก จากความยากจนอย่าง รุนแรง ความสิ้นหวังและความรู้สึกไม่ปลอดภัย” เมื่ อ ผู ้ ห ญิ ง กล่ า วว่ า พวกเธอต้ อ งการ ‘อามาน’ หรื อ ‘สันติภาพ’ พวกเธอไม่ได้หมายความว่าให้หยุดใช้ความรุนแรงเท่านัน้ แต่ยังหมายถึงระบบที่อยู่บนรากฐานที่มีความปลอดภัยทางสังคม การได้รบั โอกาสทีเ่ ท่าเทียมกัน ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากร การกระจายรายได้ สิทธิทางเศรษฐกิจ และความโปร่งใส“ จากหนังสือ (New Beginnings,
โดย อชิมา คาอูล บาเทีย, Women’s Feature Service)
ดังนั้น เมื่อพวกเราพูดถึง “การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ” เราจ�ำเป็นต้องคิดถึงเรือ่ งค�ำศัพท์เฉพาะทาง และขยายค�ำจ�ำกัดความ ของเรา เรายังต้องตัง้ ค�ำถามต่อสมมติฐานของตัวเองเกีย่ วกับ “ความ ขัดแย้ง” และต้องยอมรับว่า
100
• ความขัดแย้งไม่จ�ำเป็นต้องท�ำให้เกิดความรุนแรงเสมอไป • การแก้ปัญหาความขัดแย้งไม่ได้หมายความว่า “ฝ่ายหนึ่ง ชนะ และที่เหลือแพ้” • ในความขัดแย้งไม่ใช่จะมีแต่ฝ่าย ก และฝ่าย ข แต่ความ ขัดแย้งทั้งหลายอาจจะมีผู้มีส่วนได้และเสียหลายฝ่ายเกี่ยวข้อง ในแต่ละฝ่ายก็อาจจะมีความคิดเห็นที่ต่างกันไป (รวมทั้งอาจจะ เปลี่ยนไปเรื่อยๆด้วย) • การรายงานข่าวความขัดแย้งไม่ใช่การเปิดเผยความ แตกต่างระหว่างบุคคล หรือกลุ่มคนที่พวกเขาเป็นตัวแทนเท่านั้น แต่ควรที่จะเน้นในสิ่งที่คนหรือกลุ่มคนเหล่านั้นมีเหมือนกันด้วย เช่นมีความฝันอะไรที่พวกเขามีร่วมกัน และสิ่งที่พวกเขาต้องการ ในปัจจุบันคืออะไร
แนวทางการรายงานข่ า วเพื่ อ สั น ติ ภ าพ ส�ำหรับนักข่าว ดูเพิ่มเติม “Peace Journalism, What is it? How to do it?” โดย แอนนาเบล แมคโกลด์ริค และ เจค ลินช์ www.reportingtheworld.org.uk
• หลีกเลี่ยงการรายงานข่าวความขัดแย้งที่มีแค่คนสองกลุ่ม หาฝ่ายอื่นที่ได้รับผลกระทบและบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขา ทั้ง ความคิดเห็นและจุดมุ่งหมายของพวกเขา สัมภาษณ์นักธุรกิจที่ได้รับ
101
ผลกระทบจากการประท้วงหยุดงาน คนงานทีไ่ ม่สามารถไปท�ำงานได้ ผู้ลี้ภัยจากชนบทที่ต้องการให้ความรุนแรงยุติ และอื่น ๆ • หลีกเลี่ยงการให้ค�ำจ�ำกัดความของค�ำว่าความขัดแย้งโดย การยึดค�ำพูดของบรรดาผูน้ ำ� ทีม่ กั จะเรียกร้องเรือ่ งเดิมๆ ลองมองออก ไปให้ไกลกว่ากลุม่ คนทีม่ อี ภิสทิ ธิ์ รายงานค�ำพูดของคนธรรมดาทัว่ ไป ที่ความคิดเห็นของพวกเขาอาจจะเป็นตัวแทนของคนหลายๆ คนได้ • หลีกเลีย่ งการรายงานถึงแต่สาเหตุทที่ ำ� ให้กลุม่ คนแตกแยก ถามกลุ ่ มที่เ ป็น ปรปั กษ์ กัน เพื่ อเสาะหาสิ่ งที่พ วกเขามีเ หมื อนกั น รายงานผลประโยชน์และเป้าหมายร่วมของพวกเขา • หลีกเลีย่ งการรายงานทีเ่ น้นแต่ความทุกข์และความกลัวของ คนกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ ให้ถอื ว่าความเดือดร้อนของทุกฝ่ายมีคณ ุ ค่าความ เป็นข่าวที่เท่าเทียมกัน • หลีกเลี่ยงการใช้ค�ำว่า “ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง”, “โศกนาฏกรรม” และ “การถูกกระท�ำด้วยการก่อการร้าย” ในการ บรรยายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เพราะค�ำพูดเหล่านี้ท�ำให้ นักข่าวเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราต้องไม่ใช้ค�ำพูดเหล่านี้ ใช้กรณี ที่เป็นค�ำพูดของคนอื่นที่เราอ้างอิงเท่านั้น • หลีกเลี่ยงค�ำพูดที่แสดงอารมณ์และคลุมเครือ อาทิ “การ ลอบสังหาร” ซึ่งหมายถึงการลอบฆ่าผู้น�ำประเทศเท่านั้นไม่รวมถึง คนอื่น “การฆาตกรรมหมู่” หมายถึงการตั้งใจฆ่าประชาชนผู้บริสุทธ์ ที่ไม่มีอาวุธ การฆ่าทหารและต�ำรวจไม่ถือว่าเป็นการฆาตกรรมหมู่ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” หมายถึงการฆ่าคนทุกคนในชุมชน อย่าไป ลดทอนความทุ ก ข์ แ ละเจ็ บ ปวดของคนอื่ น แต่ ก็ ต ้ อ งใช้ ภ าษา
102
ที่เป็นค�ำพูดที่รุนแรงอย่างระมัดระวัง • หลีกเลี่ยงการใช้ค�ำพูดเช่น “ผู้ก่อการร้าย”, “พวกหัว รุนแรง” หรือ “พวกคลั่งไคล้” ค�ำเหล่านี้แสดงถึงการเลือกข้างซึ่ง ท�ำให้ดเู หมือนว่าอีกฝ่ายหนึง่ เป็นคนทีเ่ จรจาด้วยไม่ได้ ให้กล่าวถึงคน กลุ่มต่างๆตามที่พวกเขาเรียกตัวเอง • หลีกเลี่ยงการน�ำเสนอความเห็นราวกับเป็นข้อเท็จจริง ถ้า ใครอ้างอะไรก็ให้ใส่ชอื่ ของเขาลงไปเพือ่ แสดงว่าเป็นความคิดเห็นของ เขา ไม่ใช่ข้อเท็จจริงจากเรา • หลีกเลีย่ งการรอให้ผนู้ ำ� ฝ่ายใดฝ่ายหนึง่ เสนอทางแก้ปญ ั หา ส�ำรวจหนทางเพื่อสันติภาพจากทุกฝ่าย แล้วเสนอความเห็นพวกนี้ ต่อพวกผู้น�ำและรายงานปฏิกิริยาของพวกเขา
เรียนรู้จากตัวกลางไกล่เกลี่ย
เครือข่ายการแก้ปญ ั หาความขัดแย้ง (The Conflict Resolution Network) ของประเทศออสเตรเลียได้ให้คำ� แนะน�ำทีม่ ปี ระโยชน์ ดังนี้ 1. สร้างความชัดเจน ข้อเท็จจริง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆ จุดยืนของพวกเขา และประเด็น 2. ส�ำรวจทางเลือก ที่ขยายผลหรือต่อยอดมาจากบุคคลที่ เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและจากผู้สื่อข่าวคนอื่น ๆ ขณะที่เปิดเผยภาพรวม ของปัญหา
103
3. เดินสู่หนทางที่เป็นบวก ถามค�ำถามเช่น “จะต้องท�ำอย่างไรเพื่อเป็นการคลี่คลายปัญหานี้” “อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการ” “อะไรที่จะท�ำให้สถานการณ์ดีขึ้น” “อะไรที่จะท�ำให้คุณยินยอม”
4.หันกลับไปหาสิ่งที่เป็นความต้องการและความกังวลที่ เท็จจริง โดยค�ำถามเช่น “คุณต้องการอะไร”, “ท�ำไมมันถึงเป็นเรื่องส�ำคัญส�ำหรับ คุณ” หรือ “บอกได้ไหมว่าท�ำไมสิ่งนี้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดส�ำหรับ คุณ”, “มันเกี่ยวข้องกับคุณอย่างไร”, “คุณหมายถึงว่าสิ่งที่คุณ ต้องการคือ...” (ใช้ค�ำถามนี้เพื่อตรวจสอบสมมติฐานของคุณ) หรือ “จะมีทางเลือกอื่นหรือไม่ที่คุณพอใจ” ให้ระลึกว่าการรายงานข่าวเพือ่ สันติภาพนัน้ พยายามทีจ่ ะ • เสนอข่าวความขัดแย้งในด้านที่เป็นเรื่องของคนโดยการ รายงานผลกระทบที่เกิดกับชีวิตจริง • เป็นช่องทางในการระบายทางอารมณ์ (ระบายความขัดแย้ง ผ่านสื่อย่อมดีกว่าไประบายตามท้องถนน) • มองหาแง่มมุ หรือเค้าโครงเรือ่ งใหม่ๆ ในการเข้าถึงประเด็น และในการบอกเล่าเรื่องราว • อธิบายความซับซ้อนแทนทีจ่ ะไปท�ำให้ความซับซ้อนนัน้ ง่าย ขึ้น
104
“การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ” : ค�ำถามที่มีประโยชน์
โรสแมรี่ ชมิดท์ จาก เครือข่ายการแก้ปัญหาความขัดแย้ง (Conflict Resolution Network) (แคนาดา) ได้ให้เครื่องมือที่เป็น ประโยชน์แก่นักข่าวด้วยการใช้แนวค�ำถามดั้งเดิมที่เราใช้กัน (5Ws +H) ในการรายงานข่าว แต่ปรับประยุกต์ให้เป็นค�ำถามเชิงสันติภาพ ดังนี้ 5Ws เพื่อการรายงานข่าวความขัดแย้ง (5Ws for Conflict Reporting) ใคร (Who) ใครได้รับผลกระทบในความขัดแย้งนี้ ใครเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากผลของความขัดแย้ง ความสัมพันธ์ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร รวมไปถึงคนที่มี อ�ำนาจ มีอิทธิพล และพวกที่มั่งคั่ง
อะไร (What) อะไรจุดชนวนความขัดแย้ง อะไรท�ำให้คุณสนใจปัญหานี้ในเวลานี้ ปัญหาอะไรที่ทุกฝ่ายจ�ำเป็นต้องแก้ไข
105
เมื่อไร (When) ความขัดแย้งนี้เกิดขึ้นเมื่อไร สถานการณ์ด�ำ เนินมานาน เท่าไหร่ก่อนจะน�ำไปสู่ความขัดแย้งนี้ ที่ไหน (Where) ความขัดแย้งนีม้ ผี ลกระทบต่อพืน้ ทีท่ างการเมืองและดินแดน หรือไม่แค่ไหน ความขัดแย้งเช่นเดียวกันนีไ้ ด้รบั การจัดการอย่างไรใน สังคมอื่น ๆ ท�ำไม (Why) ท�ำไมฝ่ายต่างๆ จึงมีจดุ ยืนเช่นนัน้ จุดยืนของพวกเขาจะตอบ สนองความจ�ำเป็น ขานรับผลประโยชน์ ความหวาดกลัว และความ กังวลของพวกเขาได้อย่างไร อย่างไร (How) พวกเขาจะแก้ไขปัญหาอย่างไร เช่น จะใช้การเจรจา การ ไกล่เกลี่ย การใช้ระบบไตรภาคี การที่ฝ่ายบริหารเปิดรับฟังปัญหา ระบบศาล การต่อสู้ด้วยอาวุธ อะไรเป็นข้อดีข้อเสียของวิธีที่เลือกใช้ นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวยังต้องพิจารณาว่าทางเลือกที่แต่ละ ฝ่ายได้สำ� รวจทางเลือกอย่างไรบ้าง ทางเลือกต่างๆ นัน้ สัมพันธ์กบั ผลประโยชน์ที่ระบุมาอย่างไร และสิ่งที่มีร่วมกัน แต่ละฝ่ายมีอะไร เป็นจุดร่วมบ้าง และที่ตกลงกันได้แล้วมีอะไรบ้าง
106
เลือกว่าจะตัดอะไรออกไปจากรายงาน เราได้ พู ด ถึ ง วิ ธี ข ยายกรอบการรายงานเพื่ อ จะให้ วิ ธี ก าร รายงานข่าวความขัดแย้งนั้นสมดุลและถูกต้องไปแล้ว แต่นักข่าวยังจะต้องเลือกสรรสิ่งที่จะไม่น�ำเสนอในรายงาน ด้วย ไม่ใช่เพราะข้อจ�ำกัดในเรือ่ งเวลาและพืน้ ทีเ่ ท่านัน้ แต่เพราะบาง ครั้งเราเจอสถานการณ์ที่ล�ำบากในด้านจรรยาบรรณ เช่น ค�ำถาม: “เราควรจะให้ข้อมูล รายละเอียดสักขนาดไหน ในการรายงานข่าวการข่มขืนหรือความรุนแรงทางเพศ อื่นๆ มาก น้อยเพียงใด? ค�ำแนะน�ำ: บ่อยครั้งที่เป็นเรื่องยากที่จะวัดว่าจุดไหนที่การ บรรยายข่าวอาชญากรรมมีมากเกินความจ�ำเป็นหรือละลาบละล้วง เกินไป ข้อมูลก็คอื ข้อมูล และผูค้ นมีสทิ ธิทจี่ ะได้รบั รูเ้ รือ่ งราวต่างๆ แต่ เหยื่อหรือผู้รอดชีวิตก็มีสิทธิ์เช่นกัน เราต้องพยายามไม่ “ท�ำให้เหยื่อ ตกเป็นเหยื่ออีกครั้ง” ผู้สื่อข่าวก็เป็นมนุษย์ปุถุชนเช่นกัน บางครั้งเมื่อเราได้เห็น อาชญากรรมบางอย่างที่มีความโหดร้ายความรู้สึกโกรธแค้นเข้ามา มีอทิ ธิพลเหนือความรับผิดชอบทางศีลธรรมทีค่ วรมีตอ่ เหยือ่ เมือ่ ไหร่ ก็ตามที่ไม่แน่ใจลองปรึกษาคนที่เราไว้ใจในการตัดสินใจของเขา
107
ค�ำถาม: “เราควรหรือไม่ที่จะปิดบังข้อมูลเพื่อเห็นแก่ สันติภาพ?” ค�ำแนะน�ำ: ในหนังสือ“แนวทางเพื่อผู้สื่อข่าวในการท�ำข่าว ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติ” (Guidelines for Journalists Covering Ethnic Conflict) 16 ผูเ้ ขียน ยอมรับว่าการรายงานความ จริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงอาจเป็นการยั่วยุให้เกิดความ รุนแรงมากขึ้น แต่ผู้เขียนยังคงยืนยันว่าการเซ็นเซอร์หรือปกปิดให้ ผลที่ร้ายแรงกว่า ผูส้ อื่ ข่าวเป็นพลังสายกลางได้ถา้ พวกเขา ได้รบั ความไว้วางใจ จากผู้อ่านหรือผู้รับข่าวของพวกเขา ดังนั้นความพยายามของรัฐบาล ในการเซ็นเซอร์การรายงานที่ถูกต้อง และความพยายามของตัวผู้สื่อ ข่าวเอง ในการปกปิดความจริงเพื่อลดความขัดแย้งรังแต่จะท�ำให้ สาธารณะอยากรู้ข้อมูลมากขึ้น
ข้อคิดเรื่องความสมดุล
การรายงานข่าวที่เป็นธรรมและสมดุลไม่ใช่การให้เวลาหรือ ความสนใจแก่ฝ่าย ก และฝ่าย ข เท่าๆกันเท่านั้น ผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสียหรือกลุม่ ต่างๆ ยังจะต้องได้รบั โอกาสอย่าง สมเหตุสมผลในการอธิบายถึงจุดยืนและแนวทางของตน รวมทัง้ ตอบ เสียงวิจารณ์ด้วย
108
หรืออีกนัยหนึ่ง ความเป็นธรรมและความสมดุลไม่ได้วัดด้วยจ�ำนวน เวลาที่เราให้แต่ละฝ่าย แต่เป็นคุณภาพของเวลาต่างหากที่เป็นตัววัด “ความสมดุลในการรายงานข่าวไม่ใช่จะได้มาด้วยการ ให้เวลาและพื้นที่ข่าวแก่แต่ละฝ่ายเท่ากันเท่านั้น ถ้าเอาคนที่เดิน สายกลาง มีบุคลิกดี มีความสามารถในการพูดจามาเป็นตัวแทน ฝ่ายหนึ่ง ขณะที่ตัวแทนของอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคนเจ้าอุดมการณ์ พูดจาไม่เข้าหู ไม่ยอมประนีประนอม ปะฉะดะ อารมณ์รุนแรง ลักษณะแบบนี้ไม่มีทางจะหาความสมดุลได้แน่” (จาก “Journalists’ Code of Fair Practice”
ค�ำแนะน�ำที่สรุปกันมาได้จากการประชุมเพื่อนักข่าวที่ท�ำข่าวสถานการณ์ความ รุนแรง “Megaphones and Muffled Voices (Media Development 3/2002))
ภาษากับการเรียกขาน ค�ำพูดเป็นสิ่งที่ทรงอิทธิพล บางครั้งค�ำพูดอาจชี้เป็นชี้ตายได้ โดยเฉพาะเมื่อค�ำพูดนั้นถูกใช้เพื่อเผยแพร่ความเกลียดชัง เมื่ อ ไม่ กี่ ป ี ที่ แ ล้ ว มี ตั ว อย่ า งกรณี ห นึ่ ง ที่ แ สดงให้ เ ห็ น ว่ า สื่อมวลชนถูกใช้แบบนี้ ตัวอย่างนี้เกิดขึ้นในประเทศรวันดาซึ่งอยู่ใน แอฟริกากลาง ในปี 1994 ประชาชนที่ฟังรายการวิทยุซึ่งเป็นที่นิยม รายการหนึ่งชื่อว่า “Milles Collines” (“พันเนิน”) ได้ยินผู้ด�ำเนิน รายการเรียกร้องให้พวกเขาลุกขึ้นมาฆ่าเพื่อนบ้านซึ่งเป็นชาวเผ่าอื่น
109
“ฆ่าไอ้พวกแมลงสาบซะ” เป็นเสียงเรียกร้อง “พวกคุณต้อง ท�ำงานหนักกว่านี้ หลุมฝังศพยังไม่เต็มเลย” สามเดือนต่อมา ชาวรวันดานับล้านคนถูกฆ่า การพูดว่า “เรื่องแบบนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นในชุมชนของฉัน” นั้นเป็นเรื่อง ง่าย แต่จริงๆแล้วมันก็อาจจะเกิดขึ้นก็ได้ กรณีรวันดาเป็นตัวอย่าง ส�ำหรับสื่อมวลชนทุกๆที่ ภาษาไม่เพียงแต่สะท้อนสิ่งที่เราคิดแต่มัน ยังก�ำหนดกรอบความคิดของเราได้ด้วย ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด ค�ำพูดที่ไม่ระมัดระวังหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องสามารถจุดระเบิดความ รุนแรงได้ แต่ขณะเดียวกันรายงานที่ชัดเจนและเป็นกลางก็สามารถ ช่วยคลี่คลายความตึงเครียดและลดความหวาดกลัวได้เช่นกัน การใช้ค�ำเรียกขานบางอย่าง (ยกตัวอย่างเช่นค�ำว่า “ผูก้ อ่ การร้าย” หรือ “พวกหัวรุนแรง”) ค�ำเหล่านี้เป็นค�ำที่มีอันตรายอย่างยิ่ง นักวิเคราะห์สื่อชื่อ ริต้า แมน ชาดา กล่าวว่าการใช้ค�ำเรียกแบบนี้เป็น “การเดินทางลัดที่ท�ำให้ สับสน” ที่ว่าทางลัดก็เพราะว่าเป็นถ้อยค�ำสั้นๆ ส่วนที่ว่าสับสนก็ เพราะว่า มันท�ำให้สงิ่ ทีซ่ บั ซ้อนดูงา่ ยเกินไป ซ�้ำยังไปเสริมทัศนะทีแ่ บ่ง แยกพวก “เราและเขา” อีกด้วย จึงเป็นสิง่ ทีท่ า้ ทายส�ำหรับนักสือ่ สารมวลชนทีจ่ ะต้องสะท้อน “ความจริงที่สลับซับซ้อน” ด้วยภาษาที่ชัดเจน เป็นกลาง ไม่ตัดสิน ใครแต่โดยที่ไม่เยิ่นเย้อหรือเปลืองเวลา ความเร่งรีบในการเสนอข่าว ตามเส้นตายภายใต้รปู แบบทีก่ ระชับเข้าใจได้งา่ ยไม่ใช่ขอ้ อ้างทีจ่ ะต้อง
110
ใช้ถ้อยค�ำที่จะจัดประเภทให้คน ทั้งในเรื่องทางเพศ การเมืองสังคม ซึ่งเป็นการส่งเสริมความคิดแบบคับแคบในเรื่องของการใช้ภาษา อย่างระมัดระวังนี้มีคู่มือของสถาบันหนังสือพิมพ์ของอินเดีย ว่าด้วย เรื่อง “การรายงานความรุนแรงและความตึงเครียดระหว่างคนต่าง เผ่าพันธุ์” (Reporting Communal and Ethnic Tensions and Violence) ซึ่งอาจจะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ก็ได้ จ�ำไว้ว่า: ผู้สื่อข่าวควรรับผิดชอบภาษาและการเรียกขานใน รายงานของตัวเอง ซึ่งอันนี้รวมไปถึงการรายงานค�ำพูดและการเรียก ขานของแหล่งข่าวด้วย ถ้าผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ใช้คำ� พูดทีแ่ สดงความเกลียด ชังในการให้สัมภาษณ์นั้น ผู้สื่อข่าวต้องคิดอย่างรอบคอบว่าจะใช้ค�ำ พูดเหล่านั้นอย่างไร หรือจะใช้หรือไม่ ในข่าวของตน
การสัมภาษณ์: สิ่งท้าทายและค�ำแนะน�ำ
ในการ “รายงานข่าวเพือ่ สันติภาพ” เรามักจะต้องสัมภาษณ์ คนที่ผ่านเหตุการณ์ที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากความรุนแรงที่พวก เขาเผชิญมาในฐานะผู้สื่อข่าว เราต่างก็ยอมรับว่าเรื่องอย่างนี้ควรจะ ต้องได้รับการเปิดเผย แต่ในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง เรารู้ว่ามันเป็นเรื่อง ยากในการที่จะสัมภาษณ์แบบนี้ ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ผู้สื่อข่าวหลายคนกล่าวเอาไว้
111
• “ฉันรู้สึกผิดมากที่ก้าวล่วงเข้าไปในความทุกข์ของคนบาง คน ถึงจะรู้ว่ามันเป็นหน้าที่ที่จะต้องรายงานเรื่องราวเหล่านี้ก็ตาม” • “การควบคุมอารมณ์ตวั เองเป็นเรือ่ งล�ำบาก เพราะอย่างนัน้ มันท�ำให้ฉนั เสียสมาธิ หรือบางทีอาจจะรวมไปถึงเสียความเป็นกลาง ด้วย” • “ในฐานะที่เป็นผู้ชาย มันไม่ใช่ง่ายที่จะพูดกับผู้หญิงที่ถูก ข่มขืนหรือถูกล่วงละเมิด ไม่มีทางที่จะท�ำให้พวกเธอไว้ใจผมได้เลย” • “คุณจะสัมภาษณ์ให้ได้เร็วๆไม่ได้เลยถ้าคนให้สัมภาษณ์ ก�ำลังร้องไห้อยู่ แต่ในฐานะนักข่าว เรามักจะต้องท�ำงานอย่างรีบเร่ง ให้ทนั เส้นตายเสมอ มันยากทีจ่ ะหาสมดุลระหว่างการท�ำงานของเรา กับการแสดงความเห็นอกเห็นใจ” • “ยากทีจ่ ะบอกได้วา่ ความรับผิดชอบของฉันต่อเหยือ่ มันจบ ตรงไหน แค่รายงานเรื่องของพวกเขาแค่นั้นพอหรือเปล่า พูดอย่างนี้ ฟังดูโหดร้าย แต่ฉันจะท�ำอะไรได้อีกหรือโดยที่ไม่ให้กระทบสถานะ ความเป็นนักข่าว” การที่คนที่เคยประสบเหตุการณ์เลวร้ายจะต้องมาเล่าเรื่อง ราวของพวกเขาอีกครั้งมันเป็นเรื่องที่เจ็บปวด แต่มันยากยิ่งกว่า ส�ำหรับคนที่เคยเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ เพราะความรู้สึกถูก เหยียบย�่ำและความด้อยค่าที่พวกเขาได้รับในฐานะผู้สื่อข่าว เราต้อง เข้าใจว่าผู้หญิงที่เพิ่งโดนข่มขืนอาจจะรู้สึกอึดอัดใจมากที่จะต้องพูด กับผู้สื่อข่าวที่เป็นผู้ชายไม่ว่านักข่าวคนนั้นจะมีความเห็นอกเห็นใจ มากแค่ไหนก็ตาม เธออาจจะต้อง “ขออนุญาต” สามีของเธอหรือ ญาติที่เป็นผู้ชายก่อนที่จะให้สัมภาษณ์ก็ได้
112
เราจะแก้ปญ ั หาแรงกดดันทางวัฒนธรรมและสังคมทีป่ ดิ ปาก เหยื่อความรุนแรงทางเพศเหล่านี้ได้อย่างไร วิธีหนึ่งก็คือการสร้าง ความสัมพันธ์กับกลุ่มต่างๆที่ท�ำงานเพื่อสังคม เช่น องค์กรที่ท�ำงาน เพื่อสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี ให้มากขึ้น แต่อาจจะต้องใช้เวลา ในการท�ำให้พวกเขาเชื่อใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขาเคยมี ประสบการณ์ที่ไม่ดีนักกับสื่อมวลชน
เคล็ดลับส�ำหรับการสัมภาษณ์เหยื่อ เหตุการณ์เลวร้าย ต่อไปนี้เป็นค�ำแนะน�ำบางส่วนจากคนที่ท�ำงานเพื่อสังคม, นักจิตบ�ำบัด และผู้สื่อข่าว: • หาคนในชุมชนที่คนที่จะให้สัมภาษณ์รู้จักและไว้ใจเป็นผู้ ช่วยจัดการติดต่อนัดหมายการสัมภาษณ์ให้ • ให้ผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้เลือกสถานที่และเวลาที่พวกเขาจะ ให้สัมภาษณ์ • อธิบายต่อผู้ให้สัมภาษณ์ว่าท�ำไมคุณต้องการที่จะพูดกับ เขา และแจ้งให้ทราบด้วยว่าจะใช้เวลาในการสัมภาษณ์นานเท่าไหร่ พยายามให้แน่ใจว่าเขาเข้าใจสิ่งที่คุณอธิบาย และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ของกระบวนการ • ถ้าคุณเป็นคนจัดการนัดแนะเตรียมการสัมภาษณ์ด้วย ตนเอง ให้แสดงตัวว่าเป็นผู้สื่อข่าวให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้า คนคนนั้นปฏิเสธที่จะพูดก็อย่าบังคับเขา ให้อธิบายด้วยท่าทีเคารพ
113
ซึ่งกันและกันว่า ท�ำไมคุณรู้สึกว่าจ�ำเป็นจะต้องบอกเล่าเรื่องราวของ เขา (เช่นว่ามันอาจจะช่วยเหยื่อรายอื่นๆก็ได้) ถ้าเขายังปฏิเสธก็ทิ้งที่ อยู่ที่ติดต่อได้เอาไว้เผื่อว่าเขาอาจจะเปลี่ยนใจภายหลัง • จัดสรรเวลาให้ตัวเองมากพอสมควรในการสัมภาษณ์ และ ให้เตรียมเอาไว้ว่าอาจจะต้องกลับไปหาคนให้สัมภาษณ์อีกครั้ง • เหยื่อเหตุการณ์เลวร้ายส่วนใหญ่ไม่ต้องการความสงสาร จากคุณ ถ้าพวกเขาตัดสินใจว่าจะเปิดเผยเรื่องราว ก็เป็นเพราะ ว่าพวกเขาต้องการรักษาจิตใจตัวเองเพื่อจะกลับไปเข้มแข็งอีกครั้ง ดังนัน้ ควรหลีกเลีย่ งค�ำพูดทีแ่ สดงความเห็นอกเห็นใจเกินไปเช่น “น่า อายจัง แย่มากเลยนะส�ำหรับคุณ” ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกจริงใจ แต่คุณ ก�ำลังจะท�ำให้ผู้ให้สัมภาษณ์รู้สึกแย่ลงอีก • พยายามแสดงให้เห็นว่าคุณตั้งใจฟังเรื่องราวของเขาจริง ๆ สบตาพอสมควรและพยักหน้า อย่าหมกมุ่นอยู่แต่กับการจดบันทึก หรืออัดเสียง • ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้และเริ่ม ร้องไห้ในระหว่างการให้สมั ภาษณ์ อย่าเพิง่ คิดเอาว่าพวกเขาต้องการ หยุดให้สัมภาษณ์ สิ่งที่ควรท�ำคือ ให้พวกเขาได้มีทางเลือก เอาน�้ำไป ให้ดมื่ อาจจะพูดอะไรสักอย่าง เช่น “จะให้ปดิ เครือ่ งอัดเทปสักครูไ่ หม หรือว่าอยากจะพูดต่อ” หลายครัง้ ทีก่ ารเสนอทางเลือกแบบนีช้ ว่ ยให้ เขารู้สึกว่ากลับมาควบคุมสถานการณ์ได้อีกครั้ง • ในกรณีที่รุนแรงมากๆ เหยื่อบางรายเวลาเล่าเรื่อง ภาพ เหตุการณ์นั้นๆ อาจจะย้อนกลับมาหาได้อีก อาการแบบนี้เกิด ขึ้ น ได้ ถ ้ า พวกเขารู ้ สึ ก ว่ า ก� ำ ลั ง ถู ก สอบสวน (โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง
114
ถ้ามีประสบการณ์ที่ไม่ดีมาก่อนกับเจ้าหน้าที่ต�ำรวจ) ดังนั้นคุณต้อง แน่ใจว่า ได้ตั้งค�ำถามในลักษณะที่มีมนุษยธรรมและเห็นอกเห็นใจ • ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์หยุดพูดระหว่างประโยคและดูเหมือนจะ ไม่สามารถพูดต่อได้ ก็ลองทวนค�ำพูดค�ำสุดท้ายของเขาอย่างนุ่มนวล เช่น: ผู้ให้สัมภาษณ์: แล้วเขาก็เดินเข้ามาหาพร้อมด้วยปืน.... เงียบไปนาน ผู้สื่อข่าว: เขาเดินเข้ามาหาคุณพร้อมกับปืนเหรอ ผู้ให้สัมภาษณ์: ใช่ แล้วบอกฉันให้ไปเรียกพี่ชายออกมา • ต้องเข้าใจว่าความเจ็บปวดมีผลต่อความทรงจ�ำ ดังนั้นให้ เตรียมใจถ้าเรือ่ งราวทีเ่ ขาเล่าขัดแย้งกันเองหรือไม่เสมอต้นเสมอปลาย ลองย้อนค�ำพูดของคนเล่าอย่างนุ่มนวลที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ตัวอย่าง เช่น “ลองดูซิว่าฉันเข้าใจถูกหรือเปล่า คุณบอกว่ามีคนถือปืนมาที่ บ้านเมื่อคืนวันพฤหัสบดีใช่ไหม” • เหยื่อเหตุการณ์เลวร้ายมักจะใช้เวลานานกว่าจะเข้าเรื่อง ได้ มันเป็นสิทธิของเขา เขาอาจจะ “หลงประเด็น” และเริ่มให้ราย ละเอียดที่คุณรู้สึกว่าไม่เกี่ยวกับเรื่อง ขอให้อดทน ปล่อยให้เขาเล่า เหตุการณ์ด้วยหนทางของเขาเอง • ให้แน่ใจว่าผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความยินยอมพร้อมใจโดยที่ เราได้ให้ข้อมูลเกี่ยวข้องล่วงหน้าและเขาเข้าใจความหมายของการ ให้มีการ “บันทึก” เรื่องราว บางครั้งบางคนอาจไม่เข้าใจผลของการ ท�ำเช่นนั้น คุณอาจจะต้องย�้ำในระหว่างการสัมภาษณ์ โดยเฉพาะ
115
อย่างยิ่งถ้าพวกเขาเริ่มให้รายละเอียดที่อาจท�ำให้ตัวเองหรือคนอื่น เสี่ยงอันตราย • เตรียมเบอร์โทรศัพท์หรือที่อยู่ของกลุ่มช่วยเหลือและผู้ให้ ค�ำปรึกษาด้านจิตบ�ำบัดที่อยู่ในท้องที่ ทั้งนี้เพราะว่าคุณอาจจะเป็น คนแรกทีผ่ ใู้ ห้สมั ภาษณ์เปิดเผยเรือ่ งราวของพวกเขาด้วย และเขาอาจ จะต้องการความช่วยเหลือจากคนที่เป็นมืออาชีพในการเยียวยาทาง จิตใจแต่ไม่รู้ว่าจะไปหาที่ไหน ข้อควรจ�ำ: งานของคุ ณ คื อ ช่ ว ยผู ้ ใ ห้ สั ม ภาษณ์ ใ ห้ เ ล่ า เรื่ อ งอย่ า ง ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ วิธีที่ดีที่สุดที่คุณจะท�ำได้คือ การสร้าง บรรยากาศที่ปลอดภัยและเงียบสงบที่ท�ำให้ผู้ให้สัมภาษณ์รู้ว่า สามารถควบคุมสถานการณ์และตัวเองได้ ลองหารือคนที่ท�ำงาน เพื่อสังคม ผู้น�ำทางศาสนา หรือนักเยียวยาทางจิตที่อยู่ในชุมชน ของคุณ ให้พวกเขาแนะน�ำคุณเกี่ยวกับรูปแบบการสัมภาษณ์ คุณอาจจะพูดได้ว่าคุณเสียใจด้วยกับการสูญเสียของเขา แต่อย่าพูดว่า ‘ฉันเข้าใจ’ หรือ ‘ฉันรู้ว่าคุณรู้สึกยังไง’ และอย่า แปลกใจถ้าขณะที่ท�ำข่าวเรื่องความรุนแรงทางการเมืองแล้วผู้ให้ สัมภาษณ์ตอบค�ำพูดแสดงความเสียใจของคุณว่า ‘ค�ำว่าเสียใจยังไม่ ดีพอ’ พยายามปฏิบัติอย่างให้ความเคารพเขาต่อไป
116
มีคนในชุมชนของคุณบางคนรูส้ กึ กลัวไม่กล้าให้สมั ภาษณ์คณ ุ หรือเปล่า ถ้ามี นั่นแหละคือข่าว ถามดูว่าท�ำไมพวกเขาให้ความเห็น ไม่ได้ ค�ำตอบของพวกเขาจะบอกเล่าถึงสถานการณ์ได้อย่างมาก การที่พวกเขาไม่ต้องการให้สัมภาษณ์ยังอาจจะมีเหตุผล อื่นๆ อีก : • พวกเขาอาจจะไม่ไว้ใจในความสามารถ (หรือความเต็มใจ) ของผู้สื่อข่าวในการเป็นสื่อสะท้อนความคิดเห็นของเขาอย่างตรงไป ตรงมา • ถ้าพูดอย่างเปิดอกเกี่ยวกับปัญหาที่ถือว่าเป็น “เรื่องส่วน ตัว” พวกเขาอาจจะกลัวการแก้แค้นจากสามีตัวเองหรือไม่ก็สมาชิก ในชุมชน • พวกเขาอาจจะไม่รู้สึกว่าความคิดเห็นของตนนั้น “ส�ำคัญ พอ” โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่เคยมีใครให้ความสนใจในความรู้สึก หรือความเห็นของพวกเขามาก่อน • พวกเขาอาจจะพอใจทีจ่ ะเก็บความทุกข์นนั้ ไว้กบั ตัวเองเพือ่ รักษาความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ถ้าเพิง่ จะถูกข่มขืนหรือเจอ ความรุนแรงทางเพศอื่นๆ มา เวลาสัมภาษณ์เรื่องที่อ่อนไหวเราใช้ค�ำถามแบบนี้เช่น กัน อย่างเช่นในการสัมภาษณ์เหยื่อที่ยังเจ็บปวดกับประสบการณ์ ร้าย สิ่งที่แตกต่างคือน�้ำเสียงของผู้สัมภาษณ์และเป้าหมายในการ สัมภาษณ์ เราต้องการจะจับให้มนั่ หรือเปล่า หรือว่าเราต้องการจะ ให้เขาไว้ใจเราและพูดกับเรา
117
การสัมภาษณ์บุคคลที่“มีอ�ำนาจ”
แน่นอนว่าส�ำหรับคนที่มอี �ำนาจนั้น การจะจับให้มนั่ มันไม่ใช่ เรือ่ งง่าย แต่คณ ุ สามารถจะถามค�ำถามทีต่ รวจสอบได้โดยทีไ่ ม่จำ� เป็น จะต้องก้าวร้าว ไม่ควรขึน้ เสียงหรือพูดเสียงดังกว่าเสียงผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ ถ้าจ�ำเป็นต้องพูดแทรก (ซึ่งมักจะต้องท�ำในบางครั้ง) ให้รอจนกระทั่งผู้ให้สัมภาษณ์ ก�ำลังจะหยุดเพื่อสูดหายใจเป็นจังหวะที่จะถามค�ำถามใหม่ ให้มั่นใจ ว่าเตรียมตัวมาเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณจะถามค�ำถามยาก ๆ ไม่ได้ นอกเสียจากว่าคุณมีข้อเท็จจริงอยู่ในมือและแน่นอนว่าคุณควรจะ ต้องใช้ค�ำถามพื้นฐานของสื่ออันได้แก่ : ใคร อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ท�ำไม และ อย่างไร ในบรรดาค�ำถามพวกนี้ มีอยู่เพียงสามค�ำถามที่จะท�ำให้เรา ได้ค�ำตอบที่ได้ข้อมูลมากกว่า ค�ำถามพวกนี้ได้แก่ : อะไร อย่างไร และ ท�ำไม เหล่านี้ถือเป็นค�ำถามเปิด ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างในการตั้งค�ำถามแบบ “จับให้มั่น” กรณีที่ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบค�ำถามไม่ชัดเจน วิธีวางกรอบ ค�ำถามใหม่คือ ตั้งค�ำถามที่จ�ำเพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น “คุณบอก ว่าการเจรจาเพื่อสันติภาพจะเริ่มสัปดาห์หน้าใช่หรือไม่?” หรือ กรณีทผี่ ใู้ ห้สมั ภาษณ์ใช้คำ� ทีม่ คี วามหมายกว้างไป แก้ไข เป็น “ที่พูดว่า “กองก�ำลังภายนอก” นั้นหมายถึงอะไร ช่วยชี้แจง ได้หรือไม่?”
118
หรือในกรณีที่ ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวหาโดยไม่มีข้อมูลรองรับ หรือ ไม่ชัดเจน ควรตั้งค�ำถามใหม่ เช่น “ข้อมูลจ�ำนวนผู้หญิงที่ถูก ข่มขืนในค่าย “มากเกินจริง” ถ้าอย่างนั้นตามตัวเลขที่คุณมีอยู่ มีผู้ หญิงทีถ่ กู ข่มขืนเท่าไหร่ (ค�ำถามต่อไป: ได้ตวั เลขเหล่านีม้ าจากไหน)” หรือในกรณีที่ ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ให้คำ� ตอบทีด่ แี ต่กบั ค�ำถามทีค่ ณ ุ ไม่ได้ถาม และคุณอยากจะกลับไปถามค�ำถามเดิมทีต่ งั้ ใจจะถามตอน แรก ให้แก้เป็น เช่น “กลับไปหาค�ำถามเมื่อสักครู่: คุณจะถอนก�ำลัง ต�ำรวจเมื่อไหร่” หรือเมือ่ ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ไม่ยอมให้ความเห็น “ให้แก้เป็น คุณ บอกว่าตอบค�ำถามนีไ้ ม่ได้ ท�ำไม? (ค�ำถามต่อไป: เมือ่ ไหร่ถงึ จะตอบ ได้?)” ผู้ให้สัมภาษณ์ให้ค�ำตอบที่ยาวและสับสนคุณสงสัยว่าเขา ก�ำลังพยายามปกปิดอะไรบางอย่าง ให้แก้เป็น ดูเหมือนว่าจะมีความ สับสนเรื่องนี้ คุณได้ยินครั้งแรกเมื่อไหร่ ว่าผู้สนับสนุนของคุณมีส่วน ในการก่อความรุนแรง หรือในกรณีี ผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ให้คำ� ตอบทีข่ ดั แย้งกับสิง่ ทีเ่ ขาเคย พูดก่อนหน้านี้ ให้แก้เป็น “คุณบอกว่าคุณมีแผนจะให้มกี ารเรียนการ สอนเรื่องการสร้างสันติภาพในโรงเรียน แต่เมื่อเดือนที่แล้วในสภา คุณบอกว่าไม่มีงบประมาณส�ำหรับเรื่องนี้สถานการณ์นี้มันเปลี่ยน ตั้งแต่เมื่อไหร่”
119
ความปลอดภัยของตัวเอง การรายงานข่าวที่เกี่ยวกับความขัดแย้งไม่เพียงแต่เป็นเรื่อง ชวนให้เครียด แต่มันยังเป็นเรื่องที่เสี่ยงภัยอีกด้วย หนังสือคู่มือการรายงานข่าวความขัดแย้งของสมาพันธ์ผู้สื่อ ข่าวนานาชาติระบุไว้ว่า : “ความปลอดภัยไม่ใช่เรื่องเฉพาะสถานการณ์ตอนที่กระสุน เริม่ ปลิวว่อนเท่านัน้ แต่มนั หมายถึงการสร้างวัฒนธรรมทีต่ ระหนักใน เรื่องความเสี่ยงภัยทุกรูปแบบที่เกี่ยวกับการสื่อสารมวลชน ไม่ว่าจะ เป็นในเขตการสู้รบ ในการรายงานแบบสืบสวนสอบสวน หรือแม้แต่ การรายงานเหตุการณ์ต่างๆบนท้องถนน” ประเด็นส�ำคัญที่ต้องจดจ�ำ : ไม่มีข่าวใดที่มีค่าขนาดต้อง เอาชีวิตเข้าแลก นี่คือเคล็ดลับในเรื่องการรักษาความปลอดภัยจากผู้สื่อข่าว หลายคนจากเอเชียใต้ : • อย่าไปไหนโดยไม่บอกใครเกีย่ วกับสถานทีท่ จี่ ะไปและเวลา ที่คุณคาดว่าจะกลับมา • หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆให้พร้อมก่อนที่คุณจะ เดินทาง ให้หาข้อมูลกับคนท้องถิ่น • อย่าเดินทางในพาหนะที่มีเครื่องหมายว่าเป็นของฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่งในความขัดแย้ง • อย่าเดินทางคนเดียวในเขตสู้รบอย่ารับต�ำรวจหรือทหาร หรือตัวแทนของกลุ่มกบฏขึ้นรถของคุณ
120
• ถ้าจะรับคนที่ต่อสู้ซึ่งบาดเจ็บขึ้นรถของคุณให้ท�ำเมื่อไม่มี ทางเลือกอื่นอีก • ให้ระวังคนที่รับคุณโดยสารไปกับเขาในพื้นที่ขัดแย้งและ สถานการณ์ของความไม่สงบเพราะการต่อต้านรัฐบาล (โดยเฉพาะ ที่มีฝูงชนเกี่ยวข้อง) ให้วางแผนเส้นทางที่จะหนีไว้ด้วย • ให้ความเคารพกับจารีตประเพณีทอ้ งถิน่ แต่งกายให้เหมาะ สมให้กลมกลืนกับสถานที่ อย่าท�ำตัวเป็นจุดสนใจ • อย่าสวมใส่เครื่องแต่งกายคล้ายทหารหรือนักสู้ • น�ำน�้ำและเครื่องปฐมพยาบาลชุดเล็ก ๆ ติดตัวเสมอ และ เรียนรู้วิธีการใช้ด้วย • สวมรองเท้าที่เหมาะสม • น�ำโทรศัพท์มือถือไปด้วย ตรวจสัญญาณอย่างสม�่ำเสมอ แต่อย่าให้แบตเตอรี่หมด น�ำบัตรเติมเงินไปให้พอ • ถ้าสถานการณ์ตึงเครียดอย่าแสดงสมุดบันทึก ไมโครโฟน หรือกล้องให้เป็นที่สังเกต หลีกเลี่ยงการจดบันทึก เพราะคุณอาจตก เป็นเป้าหมายของคนที่ก�ำลังตกใจกลัว • ถ้าถูกข่มขูห่ รือมีภยั ให้รายงานต่อฝ่ายจัดการทันที การข่มขู่ สื่อมวลชนถือเป็นข่าวได้ • ในสถานการณ์ความขัดแย้งอย่าเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด พยายามเข้าใจมุมมองของทุก ๆ ฝ่าย • อย่าไว้ใจคนแปลกหน้า • เรียนรู้วิธีการที่พึ่งพาได้ในการคาดคะเนจ�ำนวนคน ระยะ ทาง และความรุนแรงของการบาดเจ็บ
121
• ผู้สื่อข่าวควรที่จะมีสิทธิปฏิเสธงานที่เสี่ยงภัยได้โดยไม่ถูก ลงโทษ • ผู้สื่อข่าวชาวแอฟริกาใต้ ไฟเซล คุก ได้ให้ค�ำแนะน�ำเกี่ยว กับการจัดการเมื่อถูกข่มขู่ว่า : “ถ้าคุณถูกคนข่มขู่ ติดต่อกับผูน้ ำ� ของกลุม่ นัน้ ทันที ปล่อยให้ ผู้น�ำเป็นคนจัดการก่อนที่สถานการณ์จะเลยเถิดจนท�ำอะไรไม่ได้ อีก อย่าง อย่าเพิกเฉยกับข่าวลือ ถ้าคุณได้ยนิ ว่าผูม้ อี ำ� นาจบางคนไม่พอใจ คุณ ให้ท�ำอะไรสักอย่าง บ่อยครั้งที่การพบกันซึ่งหน้าเป็นวิธีที่ดีที่สุด ถ้าจ�ำเป็นให้ด�ำเนินการผ่านทางคนในชุมชนที่เป็นเสมือนตัวกลาง” เนื้อหาในหนังสือการรายงานข่าวเพื่อสันติภาพของ ฟิโอน่า ลอยด์ ได้พัฒนาขึ้นในช่วงกว่าสิบปีที่ผ่านมาระหว่างการอบรม นักข่าวในแอฟริกา อินโดนีเซีย และยุโรปตะวันออก ยังมีเนื้อหา ที่น่าสนใจในส่วนของการจัดการความเครียดของนักข่าวในสภาวะ การท�ำงาน หรือ ตัวอย่างการใช้สื่อวิทยุจัดรายการข่าว สารคดี เพื่อ สันติภาพ ซึ่งถอดบทเรียนประสบการณ์ของนักข่าวต่างประเทศที่ ลงพื้นที่การรายงานข่าวจากสนามความขัดแย้งมากมายทั่วโลก สือ่ มวลชนทีส่ นใจสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้เพิม่ เติม จาก การค้นหาค�ำว่า “การรายงานข่าวเพื่อสันติภาพ” หรือใช้ค�ำว่า “peace journalism” ซึ่งเป็นต้นแบบแนวคิดการรายงานข่าวที่ น�ำไปสูก่ ารสลายความขัดแย้งทางสังคมได้ในหลายรูปแบบปัญหา
122
บทที่ 4
จริยธรรม/แนวปฏิบัติ
ในการรายงานข่าวในภาวะ สงคราม ภัยก่อการร้าย
และเหตุการณ์ฉกุ เฉิน ของสื่อสาธารณะบีบีซี เรียบเรียงจาก 1. BBC’s Editorial Guidelines, Section 11: War, Terror and Emerge cies. BBC’s Editorial Guidelines . [online]. Available from http://www.bbc.co.uk/editorialguidelines/page/ guidelines-war-introduction/
123
จริยธรรม/แนวปฏิบัติในการรายงานข่าว ในภาวะสงคราม ภัยก่อการร้าย และเหตุการณ์ฉุกเฉินของสื่อสาธารณะบีบีซี บีบซี ี หรือ “The British Broadcasting Corporation (BBC)” สื่อสาธารณะของประเทศอังกฤษ มีแนวปฏิบัติที่ว่าด้วยการรายงาน ในสภาวะสงคราม การก่อการร้าย การจับตัวประกัน ภาวะฉุกเฉิน การชุมนุมและการจลาจล โดยระบุว่าในเหตุการณ์สภาวะความขัดแย้ง เช่นนี้ ผู้รับสารต้องการให้สื่อมวลชนรายงานข้อมูลที่เที่ยงตรง ครบถ้วน ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่อให้สาธารณะได้เข้าใจเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ อย่างชัดเจน การน� ำ เสนอข่ า วและรายการต่ า งๆของสถานี ใ นช่ ว งที่ เ กิ ด เหตุการณ์ ผู้รับผิดชอบด้านผังรายการและกองบรรณาธิการควรค�ำนึง ถึงความเหมาะสมของการน�ำเสนอรายการทุกประเภท เช่น งดหรือลด สัดส่วนการน�ำเสนอภาพยนตร์ ละคร รายการตลก หรือรายการประเภท อืน่ ๆทีไ่ ม่เหมาะสมกับบรรยากาศในตอนนัน้ โดยผูส้ อื่ ข่าวและผูป้ ฏิบตั งิ าน ด้านสื่อของบีบีซีควรปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้ ความเที่ยงตรงและความเสมอภาค แนวทางปฏิบัติ 1) การรายงานข่าวสงครามและเหตุการณ์ฉกุ เฉินทัง้ ในระดับชาติ และนานาชาติ ภัยการก่อการร้าย ภัยพิบัติและอุบัติเหตุร้ายแรง ต้องให้ ข้อมูลเที่ยงตรง ครบถ้วนและไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และมีแหล่งที่มา ของข้อมูลอย่างชัดเจน
124
2) ผู้สื่อข่าวและผู้ปฏิบัติงานไม่ควรประเมินสถานการณ์ด้วย ตนเอง ควรใช้แหล่งข่าวหลายแหล่งเพื่อประเมินสถานการณ์รอบด้าน ควรรายงานข้อมูลของแหล่งข่าวให้ฝา่ ยบริหารรับทราบและพิจารณาก่อน นอกจากนีย้ งั ควรอธิบายให้สาธารณชนทราบและเข้าใจถึงข้อจ�ำกัดในการ รายงานของสื่อ รวมถึงกระบวนการตรวจสอบหรือควบคุมเนื้อหาโดย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 3) การรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งหรือเหตุการณ์ ร้ายแรงเป็นสิง่ ส�ำคัญและมีผลกระทบต่ออารมณ์ความรูส้ กึ ของประชาชน ผู้รับข่าวสาร การรายงานข่าวจึงควรมีน�้ำเสียง (tone) ที่เป็นกลาง เรียบเฉย ไม่เร้าอารมณ์ หรือท�ำให้ผู้ชมผู้ฟังรู้สึกตื่นตระหนก 4) ในการรายงานข่าวการชุมนุมประท้วง ผู้สื่อข่าวจะประจ�ำอยู่ เพียงมุมใดมุมหนึ่งของพื้นที่ชุมนุม ย่อมไม่สามารถมองเห็นและรายงาน สถานการณ์ได้อย่างรอบด้าน ผู้สื่อข่าวจึงควรมีวิธีในการหาข้อมูลในอีก ด้านทีไ่ ม่สามารถเห็นได้ดว้ ยตนเอง พยายามรายงานให้ได้ภาพเหตุการณ์ หลากหลายมุมให้กว้างที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ 5) ผูส้ อื่ ข่าวไม่ควรรายงานข่าวด้วยการคาดคะเนสถานการณ์ลว่ ง หน้าเอาเอง 6) ควรระมัดระวังการรายงานจ�ำนวนตัวเลขของผู้ชุมนุม หาก รายงานต้องอ้างอิงแหล่งข่าวเสมอ 7) ควรหานักวิชาการและนักวิเคราะห์ที่เป็นอิสระจากคู่ความ ขัดแย้งจากการชุมนุมนั้น มาอธิบายภาพรวมของเหตุการณ์เพื่อให้การ รายงานมีความรอบด้าน และควรตรวจสอบสถานภาพของแหล่งข่าวผู้ นั้นว่ามีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกลุ่มผู้ชุมนุมหรือไม่อย่างไร
125
8) ส�ำหรับสภาวะเหตุฉกุ เฉินร้ายแรง ผูส้ อื่ ข่าวควรรายงานข้อมูล ทีส่ ำ� คัญทีเ่ กีย่ วข้องต่อความปลอดภัยและสวัสดิภาพของสาธารณชน ผูส้ อื่ ข่าวควรท�ำงานร่วมกับเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้องเพือ่ วิเคราะห์สถานการณ์และ รูปแบบของเหตุการณ์เพื่อรายงานข้อมูลที่ถูกต้อง 9) ผูส้ อื่ ข่าวควรค�ำนึงถึงกฎหมายและการอ้างอิงกฎหมายในการ รายงานข่าวความขัดแย้งและเหตุการณ์รา้ ย โดยเฉพาะอย่างยิง่ กฎหมายที่ เกีย่ วกับความมัน่ คงของชาติ กฎหมายทีว่ า่ ด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวกรองของภาครัฐ ดังนั้นผู้ปฏิบัติ งานจึงควรปรึกษาฝ่ายกฎหมายและ/หรือผู้บริหารก่อนตัดสินใจเผยแพร่ ออกอากาศ การใช้ภาษาในการรายงานข่าว แนวทางปฏิบัติ หลักส�ำคัญในการรายงานข่าวอีกประการหนึ่งคือการใช้ภาษาที่ สะท้อนถึงความเป็นจริง หลีกเลีย่ งภาษาเร้าอารมณ์ การใช้ถอ้ ยค�ำรุนแรง และสยดสยอง รวมถึงระมัดระวังการเรียกกลุ่มผู้ก่อเหตุด้วยค�ำเหมารวม และตัดสิน เช่น ค�ำว่า “ผูก้ อ่ การร้าย” โดยไม่มกี ารอธิบายถึงทีม่ าทีไ่ ปและ เหตุผลที่ชัดเจนของการใช้ค�ำเรียกนั้น ผู้สื่อข่าวควรเลือกใช้ค�ำกลางๆ ที่ สื่อถึงการกระท�ำของผู้ก่อเหตุ เช่น มือระเบิด ผู้ลักพาตัว ผู้ก่อการจลาจล มือปืน ผู้ต่อสู้ เป็นต้น หรือ กล่าวถึงกลุ่มหรือบุคคลโดยใช้ค�ำอย่างที่เขา เรียกขานตนเอง นอกจากนี้ผู้สื่อข่าวไม่ควรใช้ค�ำที่มาจากแหล่งข่าวมาเป็นค�ำ ของผู้สื่อข่าวเสียเอง (ซึ่งมักเป็นความผิดพลาดง่ายๆ ที่นักข่าวส่วนใหญ่ มักเผลอเรอ ข้อนี้มักเป็นปัญหาเมื่อประโยค/ข้อความนั้นเป็นสิ่งที่สร้าง ความเข้าใจผิดต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือได้รับผลกระทบจากข้อความนั้น)
126
เว้นแต่เป็นการอ้างอิงค�ำพูดของแหล่งข่าวโดยควรค�ำนึงถึงความรับผิด ชอบในการรายงานข่าวอย่างเป็นวัตถุวสิ ยั และรายงานข้อเท็จจริงโดยให้ ผู้อ่านใช้วิจารณญาณในการตัดสินเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยตนเอง
การรายงานข้อมูลของเหยื่อ
แนวทางฏิบัติ ผู้สื่อข่าวและผู้ปฏิบัติงานควรค�ำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของผูป้ ระสบเหตุ และก่อนการรายงานชือ่ ผูเ้ สียชีวติ บาดเจ็บ หรือสูญหาย ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าทีไ่ ด้แจ้งข่าวนัน้ กับญาติพนี่ อ้ งของผูเ้ สีย ชีวิต บาดเจ็บ หรือสูญหายนั้นแล้วหรือไม่ หากยังมิได้แจ้งหรือเจ้าหน้าที่ ยังไม่สามารถแจ้งได้ ผู้สื่อข่าวต้องรายงานอย่างระมัดระวัง โดยค�ำนึงถึง ความรู้สึกของญาติพี่น้องของผู้ตาย ผู้บาดเจ็บหรือผู้สูญหายที่ต้องรับรู้ ข่าวร้ายจากสื่อมวลชน
การรายงานเหตุข่มขู่คุกคาม
แนวทางปฏิบัติ 1) หากบีบีซีได้รับค�ำเตือน หรือค�ำข่มขู่ว่าจะมีการก่อเหตุการณ์ ร้ายหรือการวางระเบิด โดยการส่งสารมายังทางโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ เทปบันทึกเสียง จดหมาย หรือข้อความทางโทรศัพท์ ผู้มีอ�ำนาจหน้าที่ที่ เกีย่ วข้องจะต้องดูแลไม่ให้มกี ารออกอากาศเผยแพร่คำ� เตือน ค�ำข่มขูห่ รือ คุกคามนั้นโดยทันที แต่ต้องส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ต�ำรวจหรือหน่วยงาน มั่นคงทราบก่อน 2) ไม่รายงานหรือเสนอรายการที่เปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เกี่ยวกับความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือสถานที่ส�ำคัญที่อาจเป็นการ สนับสนุนการโจมตีของผู้ก่อเหตุร้าย
127
3) ผู้สื่อข่าวต้องไม่รายงานชื่อผู้ก่อเหตุในลักษณะบุคคลเว้นแต่ เขาจะสร้างสถานการณ์ใดๆที่มีผลกระทบชัดเจน 4) ไม่รายงานหรือเสนอรายการที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล หรือสถานที่ส�ำคัญ เพราะอาจเป็นเป้าหมายใหม่ในการโจมตีเว้นแต่จะได้ รับการคัดกรองและการตัดสินใจจากกองบรรณาธิการแล้ว 5) ตามปกติแล้วบีบีซีจะไม่รายงานเหตุการณ์หรือค�ำขู่ที่มีแนว โน้มว่าจะเป็นการหลอกลวง เว้นแต่เหตุการณ์นนั้ อาจมีผลกระทบร้ายแรง ต่อสาธารณชน
การจับตัวประกัน การลักพาตัว การจี้เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่น
แนวทางปฏิบัติ 1) ในกรณีเกิดเหตุการจับตัวประกัน การลักพาตัว การวางระเบิด การจี้เครื่องบินหรือยานพาหนะอื่น หรือเหตุการณ์ร้ายแรงอื่นๆผู้สื่อข่าว ต้องระมัดระวังการน�ำเสนอข้อความหรือภาพที่อาจเป็นช่องทางให้ผู้ที่ ก่อเหตุหรือพรรคพวกมีโอกาสรับรู้ข้อความส�ำคัญไม่ว่าจะทางตรงหรือ ทางอ้อม นอกจากนี้ สิ่งส�ำคัญคือ การรายงานสถานการณ์ตามบริบท แวดล้อมที่เกิดขึ้น โดยการเผยแพร่ออกอากาศหรือรายงานข้อเรียกร้อง ของผู้ก่อเหตุนั้นต้องด�ำเนินการอย่างรอบคอบ และพิจารณาถึงเรื่อง จริยธรรมในประเด็นต่างๆ ดังนี้ - ไม่ควรสัมภาษณ์ผู้ก่อเหตุ เพื่อการออกอากาศสด - ไม่ควรเผยแพร่ ออกอากาศเทปเสียง ภาพ หรือข้อเรียกร้อง จากผู้ก่อเหตุโดยไม่ผ่านการตรวจสอบอย่างรอบคอบ และควรได้รับการ อนุมัติจากกองบรรณาธิการหรือผู้บริหารสถานีก่อนทุกครั้ง
128
- การถ่ายทอดสดจากพื้นที่เกิดเหตุเพื่อรายงานเหตุการณ์ร้าย เช่น การบุกยึดโรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ และสถานที่ส�ำคัญ ต่างๆ ต้องออกอากาศผ่านเครือ่ งหน่วงเวลาเพือ่ ให้มกี ารตัดภาพและ/หรือ เสียงที่ไม่เหมาะสมออกได้ทัน 2) เมือ่ รายงานสถานการณ์ทเี่ กีย่ วข้องกับการจับตัวประกัน การ ลักพาตัว การวางระเบิด การจีเ้ ครือ่ งบินหรือยานพาหนะอืน่ ผูส้ อื่ ข่าวควร ฟังและท�ำตามค�ำแนะน�ำของต�ำรวจหรือเจ้าหน้าทีท่ เี่ กีย่ วข้อง เพราะการ รายงานข่าวในบางครั้งอาจท�ำให้สถานการณ์เลวร้ายลงได้ หากมีค�ำร้องขอจากเจ้าหน้าที่ต�ำรวจให้ปิดข่าวหรือหยุดการ ถ่ายทอดออกอากาศควรแจ้งบรรณาธิการหรือผู้บริหารทันที แม้บีบีซีจะมีกิจการหลัก คือ สื่อกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ แต่บีบีซียังให้ความส�ำคัญกับการน�ำเสนอเนื้อหาบนหน้าจอเว็บไซต์ของ องค์กร ไม่วา่ จะเป็นการใช้ขอ้ ความ ภาพและเสียง รวมถึงระมัดระวังข้อคิด เห็นจากผูร้ บั ข่าวและเตรียมพร้อมส�ำหรับการปรับข้อมูลหน้าเว็บไซต์เสมอ เมื่อมีเหตุจ�ำเป็น
129
130
บทที่ 5
คุณค่าข่าวและวิธคี ดิ
เกี่ยวกับข่าวในสถานการณ์
ความไม่สงบในสาม จังหวัดชายแดนใต้ โดย เสริมศิริ นิลด�ำ
เรียบเรียงจาก
1. เสริมศิริ นิลด�ำ.2555.คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤติทางสังคม.กรุงเทพ: ส�ำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเหตุผู้เขียน เสริมศิริ นิลด�ำ นศ.ด.นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ โปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. Email: aj_sermsiri@yahoo.com04-38-57&Itemid=30
131
สถานการณ์ ค วามไม่ ส งบที่ เ กิ ด ขึ้ น ในจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ข อง ประเทศไทยถือเป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนานถึงปัจจุบันนี้ และข่าว เกี่ยวกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นถือเป็นสารสนเทศที่สังคม ไทยจับตามองให้ความสนใจในระดับแตกต่างกันตามแต่ชว่ งเวลาและ สถานการณ์ จากการส�ำรวจเนือ้ หาของข่าวทีเ่ สนอเกีย่ วกับสถานการณ์ ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนใต้นนั้ ประมวลได้วา่ ในเนือ้ หาข่าวของ สือ่ มวลชนไทยมีวธิ กี ารน�ำเสนอข่าว กรอบของข่าว หรือแก่นความคิด เกี่ยวกับข่าวที่ใช้ที่เป็นธรรมเนียมการคิดในการเสนอข่าวดังนี้
1. การจ�ำกัดกรอบในการเล่าข่าว
การก�ำหนดกรอบ (Framing) ของข่าวเป็นส่วนหนึ่งในความ พยายามขององค์กรข่าวหรือผูส้ อื่ ข่าวทีจ่ ะก�ำหนดกรอบเพือ่ เสนอลักษณะ ของความเป็นจริงบางประการไปสู่สังคม โดยผู้สื่อข่าวจะเลือกบางแง่มุม หรือลักษณะบางประการของความเป็นจริงในเหตุการณ์ที่ตนได้รับรู้จาก เหตุการณ์ ผ่านกระบวนการเล่าเรื่องเพื่อท�ำให้ผู้รับสารมองเห็นความ ส�ำคัญหรือความน่าสนใจในแง่มุมของเหตุการณ์เฉพาะที่ตนเลือกมาเป็น ข่าวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนั้น หากเหตุการณ์หนึ่งๆ ถูกเล่าเรื่องด้วยวิธีต่างกันก็อาจจะ ท�ำให้ผู้รับสารรับรู้ข่าวนั้นแตกต่างกันออกไปได้ ขึ้นอยู่ที่ว่าผู้ส่งสารอาศัย กรอบใดในการเล่าเรื่องนั้นๆ และผู้รับสารย่อมจะได้รับรู้ข่าวต่างๆ ตาม กรอบที่นักข่าววางเอาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีงานวิจัยพบว่า ยิ่งนักข่าว ต้องท�ำข่าวแข่งกับเวลา การรวบรวมข้อมูลจึงเป็นการเกาะติดและเร่งรัด แหล่งข่าว แล้วรีบเขียนข่าวโดยมีพล็อตเรื่อง (plot) ไว้ในใจให้เป็นไปใน ทิศทางใดทิศทางหนึง่ ก่อนเรือ่ งข่าวจะชัดจริง เพือ่ จะสามารถน�ำเสนอข่าว ได้อย่างทันเหตุการณ์
132
ในสถานการณ์การก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ มีการพบ ว่า กรอบของข่าวที่ผู้สื่อข่าวนิยมใช้เสนอข่าวมีเพียง 3 ประเภทคือ ความ ขัดแย้ง (Conflict) มนุษย์ปถุ ชุ นสนใจ (Human Interest) และผลกระทบ (Effect) เช่น กรอบความขัดแย้งระหว่างรัฐไทยกับขบวนการแบ่งแยกดิน แดน ความขัดแย้งระหว่างไทยพุทธกับมุสลิม ความขัดแย้งระหว่างภาครัฐ กับชาวบ้าน ฯลฯ ผลที่เกิดขึ้นคือ เมื่อการเล่าข่าวจ�ำกัดอยู่เพียงกรอบใน การเล่าไม่กแี่ บบ ท�ำให้ความจริงทีส่ งั คมไทยรับรูไ้ ม่สอดคล้องกับความเป็น จริงที่เกิดขึ้น ลักษณะของข่าวจึงน�ำไปสู่ความขัดแย้งหรือที่เรียกว่า War Journalism ทีไ่ ม่สอดคล้องกับเป้าหมายของฝ่ายต่างๆ ในสังคมทีต่ อ้ งการ คลี่คลายวิกฤตการณ์
2. การยึดติดกับแหล่งข่าว
ในข่าวเกีย่ วกับสถานการณ์กอ่ การร้ายจะพบว่าเนือ้ หาจะมีแหล่ง ข่าวที่จ�ำกัดเพียงไม่มีกี่คน ซึ่งส่วนใหญ่สถานภาพของแหล่งข่าวจะเป็น (1) ผูท้ มี่ หี น้าทีร่ บั ผิดชอบแก้ไขปัญหาโดยตรงซึง่ มาจากรัฐบาลหรือหน่วย งานราชการ (2) ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ด้านการเมืองการ ปกครองที่มาจากสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง ความจ�ำเป็นทีต่ อ้ งยึดแหล่งข่าวทีม่ ลี กั ษณะดังกล่าวเนือ่ งจากใน สถานการณ์กอ่ การร้าย ผูส้ อื่ ข่าวส่วนใหญ่จะไม่สามารถเข้าถึงสถานการณ์ ได้ด้วยตนเอง สื่อมวลชนจึงต้องรอคอยการยินยอมเปิดเผยข้อมูลของรัฐ นอกจากนั้น การที่แหล่งข่าวมีความจ�ำกัดอยู่ไม่กี่แวดวง ยังมีเหตุผลว่า มาจากการที่สื่อมวลชนขาดความสามารถที่จะเข้าใจและวิเคราะห์สิ่งที่ เกิดขึ้นได้ จึงต้องอาศัยแหล่งข่าวซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ โดยตรงในการจัดการปัญหา นักวิชาการ ตลอดจนถึงผู้ที่ก่อวิกฤตขึ้น ให้ เป็นผู้ที่อธิบายต่อสังคม
133
ดังนัน้ ในภาวะเช่นนี้ รัฐบาลหรือหน่วยงานราชการจึงเป็นผูร้ กั ษา ประตูข่าวสาร (Gatekeeper) ให้แก่สื่อมวลชน กลายเป็นแหล่งข่าวที่ ผูกขาดข้อมูลและก�ำหนดมุมมองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ข่าวบางชิน้ ทีเ่ ผยแพร่ออกไปในภาวะนีจ้ งึ อาจขาดคุณสมบัตขิ อง ข่าวที่ดีในด้านความเป็นกลางและความครบถ้วนรอบด้าน เพราะข้อมูล บางอย่างอาจมีอคติหรือการบิดเบือนปกปิด รวมทั้งการประเมินระดับ ความอันตรายและความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ต�ำ่ หรือสูงกว่าความเป็นจริงตาม วัตถุประสงค์ของแหล่งข่าว
3. การเน้นผลกระทบที่เป็นรูปธรรม
มีการศึกษาพบว่า การเสนอข่าวสถานการณ์ก่อการร้ายของ สื่อมวลชน พบว่าส่วนใหญ่มีความตั้งใจจะเร้าอารมณ์ของสังคมด้วยการ เน้นผลกระทบของสถานการณ์ทเี่ กิดขึน้ โดยใช้วธิ กี ารเสนอตัวเลขทางสถิติ เพื่อก่อให้เกิดผลทางอารมณ์ (Emotional Statistics) เช่น การรายงาน ตัวเลขผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากแต่ละเหตุการณ์มาก เกินจริงโดยการอ้างอิงที่ไม่ชัดเจนและมีตัวเลขที่ขัดแย้งกันเองระหว่าง ส�ำนักข่าวต่างๆ นอกจากนี้ยังเน้นการเสนอภาพข่าวหรือเนื้อหาข่าวที่ พรรณนาเหตุการณ์เลวร้ายทีเ่ กิดขึน้ อย่างเป็นขัน้ เป็นตอนเพือ่ ให้ผรู้ บั สาร เห็นได้ชัดเจนหรือเกิดการจินตนาการภาพในสมอง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นผลมาจากธรรมเนียมการรายงานข่าวที่หาจุด ขายที่ความโดดเด่นของเหตุการณ์ รวมทั้งความคุ้นชินกับการยึดหลัก ฐานเชิงประจักษ์ในการรายงานข่าว ซึ่งมีหลักฐานอีกจ�ำนวนมากที่ไม่ใช่ เชิงประจักษ์และเป็นผลสืบเนือ่ งในระยะต่อมาจากเหตุการณ์ทสี่ อื่ มวลชน ควรติดตามให้ความสนใจ เพื่อให้สังคมเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในมิติ อื่นๆ ที่มิใช่เพียงความรุนแรง
134
4. การเร้าความรู้สึกรักชาติ
มีขอ้ สังเกตว่า สือ่ มวลชนมักจะลงข่าวทีเ่ กีย่ วข้องกับความรุนแรง การสูญเสียของฝ่ายรัฐ ข้าราชการหรือบุคลากรที่อยู่ในความดูแลของ รัฐโดยเฉพาะอาชีพครูในลักษณะเร้าอารมณ์เป็นพิเศษ เช่น แง่มุมความ เสียใจของบุคคลรอบตัว การบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิต ความโศกเศร้า เป็นห่วงของครอบครัวทหาร พิธศี พของทหาร ฯลฯ ซึง่ การทีม่ จี ำ� นวนข่าว ของคนกลุม่ นีม้ ากกว่ากลุม่ อืน่ ๆ อาจเพราะเป็นกลุม่ เป้าหมายทีผ่ กู้ อ่ ความ ไม่สงบจ้องท�ำร้ายมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ด้วย ผลที่ตามมาจากการรับชมข่าว ลักษณะนี้ อาจท�ำให้ผชู้ มเกิดความรูส้ กึ รักชาติและเกลียดชังผูท้ ำ� ร้ายโดย ปริยาย รวมทัง้ สังคมจะเพิม่ ความไว้วางใจเจ้าหน้าทีร่ ฐั มากยิง่ ขึน้ ลดความ คิดทางลบหรือความสงสัยต่อการกระท�ำของรัฐบาล ธรรมเนียมวิธีคิดที่กล่าวมาข้างต้นอาจมาจากปัจจัยที่ต้องการ เพิ่มมูลค่าของข่าวในเชิงธุรกิจหรือเน้นคุณค่าของข่าวในบางด้านเป็น พิเศษตามทีป่ ฏิบตั กิ นั มาในสายวิชาชีพ รวมทัง้ อาจมีปจั จัยอืน่ ๆ แทรกแซง ในกระบวนการข่าว
วิธีคิดเกี่ยวกับการสื่อข่าวในสถานการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ด้ ว ยความที่ สั ง คมคาดหวั ง ถึ ง หน้ า ที่ ก ารสื่ อ ข่ า วของสถาบั น สื่อมวลชนว่าจะมีบทบาทช่วยสังคมในการคลี่คลายสถานการณ์วิกฤต หรือภัยคุกคามที่ก�ำลังเกิดขึ้นได้ บทความนี้จึงน�ำเสนอผลการศึกษา จากงานวิจัยเรื่อง “คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤตทางสังคม” ที่ต้องการ ทบทวน แนวคิ ด (reconceptualize) และขยายองค์ ค วามรู ้ ท าง
135
วารสารศาสตร์เกีย่ วกับแนวคิดองค์ประกอบของการสือ่ ข่าวเพือ่ สันติภาพ (peace journalism) ให้ลึกซึ้งสอดคล้องกับบริบทต่างๆ ทางสังคมมาก ยิ่งขึ้น โดยกระบวนการเก็บข้อมูลประมวลจากทัศนะของกลุ่มต่างๆ ที่มี บทบาทเกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิชาการในวิกฤตการณ์ที่เป็นกรณีศึกษา นัก วิชาการด้านวารสารศาสตร์ เจ้าหน้าทีข่ องรัฐ และประชาชนผูซ้ งึ่ ได้รบั ผล กระทบจากวิกฤตการณ์ ผลจากการศึกษาพบองค์ประกอบของหลักคุณค่า ข่าวในภาวะวิกฤตการณ์ทางสังคมที่เป็นข้อเสนอแนะในการสื่อข่าวดังนี้
1. วิธีคิดเกี่ยวกับ “เนื้อหาข่าว” ในสถานการณ์ ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ จากผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาที่ควรเป็นข่าวในวิกฤตการณ์ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีทั้งสิ้น 8 องค์ประกอบ เรียงล�ำดับจากองค์ ประกอบที่สมควรเป็นข่าวจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1.1 องค์ประกอบ “การแก้ไขปัญหาของภาครัฐ” ในสถานการณ์กอ่ การร้ายทีป่ ระชาชนในพืน้ ทีต่ อ้ งเผชิญกับความ เสี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และไม่สามารถจัดการแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ สังคมจึงคาดหวังข่าวสารที่น�ำเสนอเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และการใช้ อ�ำนาจของภาครัฐทางกฎหมายในการควบคุมจัดการปัญหาด้านต่างๆ อาทิ หน้าทีใ่ นการแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยในการด�ำรงชีวติ ปัญหา การครองชีพ ปัญหาด้านความเสมอภาคและความยุติธรรมแก่ประชาชน ในพืน้ ที่ ความช่วยเหลือแก่ผทู้ ไี่ ด้รบั ผลกระทบ ฯลฯ ซึง่ ลักษณะทีก่ ล่าวมา จะเป็นการคาดหวังว่ารัฐจะท�ำหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของประชาชน (human security) โดยมุง่ ปรารถนาให้สงั คมทีม่ คี วามแตกต่างกันทัง้ ทาง ลักษณะประชากร และวิถที างวัฒนธรรมได้รบั ความเสมอภาคกันจากการ แก้ปัญหาของภาครัฐ
136
1.2 องค์ประกอบ “ความสันติสุข” เป็นที่รับรู้กันมายาวนานว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนใต้มี ความรุนแรงเรือ้ รังมานาน วิธกี ารต่างๆ ทางการปกครองทีภ่ าครัฐน�ำมาใช้ ไม่สามารถท�ำให้ความสงบเกิดขึ้นอย่างแท้จริง สิ่งที่สังคมเริ่มมองหาและ มีข้อเสนอจากนักวิชาการคือ “แนวคิดสันติวิธี” ที่ควรน�ำมาใช้เป็นทาง เลือกใหม่ส�ำหรับแก้ปัญหาในพื้นที่นี้ อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งในสังคม ไทยทีผ่ า่ นมามีการคลีค่ ลายด้วยสันติวธิ นี อ้ ยครัง้ มาก คนไทยจึงขาดความ รู้ความเข้าใจที่ถ่องแท้เกี่ยวกับมุมมองและกระบวนการที่จะน�ำไปสู่สันติ วิธีในการแก้ปัญหา สังคมจึงคาดหวังว่า ข่าวจะประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ เป็นการเสนอแนวทางและตัวอย่างของสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาความ รุนแรง การเผยแพร่แนวคิดสันติวิธีและปัญหาของการน�ำสันติวิธีมาใช้ใน พื้นที่ชายแดนใต้ รวมถึงการมีส่วนร่วมของสังคมไทยในการแก้ปัญหา 1.3 องค์ประกอบ “การตรวจสอบ” สาเหตุหนึ่งที่มักถูกน�ำมากล่าวอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้ แก่ผู้ก่อความรุนแรงในพื้นที่คือ ความไม่เท่าเทียมกันในความเป็นคนไทย ดังนั้น ข่าวที่จะมีคุณค่าต่อการคลี่คลายสถานการณ์จ�ำเป็นต้องค�ำนึงถึง ความเป็นวัตถุวิสัย (Objectivity) ของเนื้อข่าว โดยเฉพาะประเด็นความ โปร่งใสและเป็นธรรมในการปฏิบตั หิ น้าทีข่ องผูท้ รี่ บั ผิดชอบแก้ปญ ั หา ข่าว จึงต้องเน้นเรื่อง “การตรวจสอบ” หน่วยงานของรัฐ องค์กรเอกชน และ ภาคประชาชนที่ปฏิบัติการในพื้นที่ อาทิ เจ้าหน้าที่ของรัฐ สื่อมวลชน ผู้ ก่อการ ฯลฯ ซึ่งประเด็นที่ต้องการให้ตรวจสอบมีหลายด้าน อาทิ ด้าน มนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน ด้านความชอบธรรมในการบริหารจัดการ ปัญหา ด้านข้อมูลข่าวสารที่ผิดพลาด (จากเจ้าหน้าที่รัฐและสื่อมวลชน)
137
ตลอดจนการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่รัฐ ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็น ว่า แม้ในภาวะวิกฤตการณ์ทางสังคม สถาบันสื่อมวลชนก็ยังถูกคาดหวัง ว่า ข่าวของสื่อมวลชนจะท�ำหน้าที่ตรวจสอบเหมือนเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน ดัง ที่กระท�ำอยู่ในภาวะที่บ้านเมืองปกติ เป็นความคาดหวังถึงการท�ำหน้าที่ ระแวดระวังสอดส่องพฤติกรรมของคนกลุม่ ต่างๆ ของสังคม คอยควบคุม รัฐให้กระท�ำในสิ่งที่ถูกต้อง รวมทั้งการตรวจสอบตนเองของสื่อมวลชน 1.4 องค์ประกอบ “ผลกระทบ” หมายถึงเรือ่ งราวทีส่ ะท้อนแง่มมุ ด้านผลกระทบของวิกฤตการณ์ ต่อความเป็นอยูข่ องบุคคลทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบ การ เยียวยาทางจิตใจแก่ผไู้ ด้รบั ผลกระทบโดยเฉพาะส่วนของเจ้าหน้าทีร่ ฐั และ ประชาชนที่บาดเจ็บหรือเสียชีวิต ฯลฯ ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวมีลักษณะของ ความเร้าอารมณ์ องค์ประกอบนีแ้ สดงให้เห็นว่า แม้ขา่ วดราม่าหรือข่าวเร้า อารมณ์อาจจะก่อให้เกิดผลทางลบในด้านความเกลียดชัง แต่ขา่ วลักษณะ นีก้ ม็ ขี อ้ ดีในฐานะเป็นสารเพือ่ การปลอบประโลม (Supportive Message) ประเภทหนึ่งได้เช่นกัน เนื่องจากจะช่วยประสานความรู้ความเข้าใจและ ความรู้สึกระหว่างคนในสังคม ท�ำหน้าที่ถ่ายทอดความคิดความรู้สึกและ สภาพชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่อยู่ในสถานการณ์ เพื่อช่วย สร้างความเห็นใจ ลดความหวาดระแวง และเป็นการปลอบประโลมทาง สังคม ช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้น 1.5 องค์ประกอบ “ความรู้สึก” ในสถานการณ์ ค วามไม่ ส งบในจั ง หวั ด ชายแดนใต้ ทั ศ นคติ อารมณ์ ความรูส้ กึ ของประชาชนไทยทัง้ ประเทศมีผลต่อการตัดสินใจของ รัฐบาลและต่อปฏิกริ ยิ าของผูก้ อ่ ความไม่สงบ ดังนัน้ ข่าวควรต้องให้ความ
138
ส�ำคัญกับเรือ่ งของความคิด ความเชือ่ ความรูส้ กึ ของคนกลุม่ ต่างๆ ทีม่ ตี อ่ สถานการณ์ความไม่สงบ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลที่ผู้มีหน้าที่จัดการปัญหา รวมถึงข้อมูลส�ำหรับสังคมไทยที่จะเพิ่มความเข้าใจในความคิดความรู้สึก ของผู้ได้รับผลกระทบทางลบโดยตรง นอกจากนั้น ยังควรระวังให้มาก ถึงการเสนอข่าวที่จะท�ำให้เกิดภาพเหมารวมทางวัฒนธรรม (cultural stereotype) ที่เลวร้ายต่อศาสนาและศาสนิกชน ซึ่งการสะท้อนความ รู้สึกของคนกลุ่มต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจะช่วยบรรเทา ความคิดที่เหมารวมลงได้ 1.6 องค์ประกอบ “ปรากฏการณ์รายวัน” เป็นลักษณะของเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วกับการก่อเหตุรา้ ยรายวัน กิจกรรม ในการแก้ไขปัญหา ฯลฯ การทีส่ งั คมเห็นว่าเรือ่ งราวเช่นนีส้ มควรเป็นข่าว ในภาวะทีม่ สี ถานการณ์กอ่ ความไม่สงบ อาจมาจากสังคมต้องการเนือ้ หา ทีจ่ ะเป็นการเตือนภัย ขณะเดียวกันข่าวลักษณะนีย้ งั ส่งผลกระทบให้สงั คม ไทยและภาครัฐตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาทีย่ งั คงอยูแ่ ละเกิดขึน้ อย่างต่อเนื่องทุกวัน อย่างไรตาม การเสนอข่าวแบบเหตุการณ์รายวันที่ มักเน้นเพียงแค่ความรวดเร็วในการน�ำเสนอ แต่ไม่ได้มคี วามพยายามทีจ่ ะ อธิบายรากฐานของความขัดแย้งรุนแรง ข้อมูลเหล่านีอ้ าจไม่เพียงพอทีจ่ ะ ท�ำให้สังคมเข้าใจในวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง 1.7 องค์ประกอบ “ภูมิหลังของวิกฤตการณ์” โดยทั่ ว ไปแล้ ว สื่ อ ส่ ว นใหญ่ มั ก เซ็ น เซอร์ ตั ว เองจากการ เสนอข่าวที่มีความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม (cultural sensitivity) หมายถึง การหลีกเลี่ยงที่จะเสนอข่าวที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องและกระทบ กับประวัติศาสตร์ เชื้อชาติ ความคิด ความเชื่อ อัตลักษณ์ของกลุ่ม
139
ต่างๆ ซึ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่ามีความเข้มแข็งทาง ชาติพันธุ์สูงมาก เนื่องจากมีอัตลักษณ์ทางศาสนา ชาติพันธุ์ ภาษา และความเข้ า ใจทางประวั ติ ศ าสตร์ ที่ ผู ก พั น กั น มาหลายชั่ ว อายุ ค น อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในอีกด้านกลับสะท้อนให้เห็นว่า หากการสือ่ ข่าวในช่วงทีม่ สี ถานการณ์ความไม่สงบเกิดขึน้ นัน้ มาจากการ รายงานด้วยความเข้าใจรอบด้านและถ่องแท้ จากการสืบค้นปัจจัยเชิงลึก และหาหนทางด�ำเนินการกับปัจจัยทีส่ ง่ ผลให้เกิดความรุนแรงและให้ความ ชอบธรรมกับความรุนแรงทั้งเชิงโครงสร้างและเชิงวัฒนธรรม จะท�ำให้ สังคมไทยได้เรียนรู้ที่จะวินิจฉัยสาเหตุและความซับซ้อนของปัญหาว่ามี สาเหตุหลักและปัจจัยเสริมใดบ้าง ทีท่ ำ� ให้ความขัดแย้งนีเ้ ข้มข้นรุนแรงขึน้ 1.8 องค์ประกอบ “ความขัดแย้ง” “ความขัดแย้ง” ยังคงเป็นแง่มุมที่สมควรเป็นข่าว แต่การให้ นิยามอาจไม่เป็นไปตามที่รับรู้มาในหลักคุณค่าข่าวดั้งเดิม นั่นคือ เรื่อง ราวความขัดแย้งสมควรเสนอเป็นข่าวเมือ่ เป็นประเด็นความขัดแย้งของข้อ เท็จจริงจากฝ่ายต่างๆ ความขัดแย้งในแนวคิดและวิธปี ฏิบตั เิ พือ่ แก้ปญ ั หา ความขัดแย้งระหว่างคนกลุ่มในพื้นที่ ฯลฯ ซึ่งความขัดแย้งเหล่านี้เกิดขึ้น ระหว่างประชาชน ระหว่างองค์กรที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับปัญหาความ ไม่สงบ ตลอดจนสถาบันต่างๆ ในสังคม เหตุผลที่มีการประเมินว่าเรื่อง “ความขัดแย้ง” ยังคงสมควรถูกเสนอเป็นข่าวแม้ในภาวะเช่นนี้ อธิบาย ได้ตามหลักจิตวิทยาทีอ่ ยูใ่ นแนวคิดเรือ่ ง “การก�ำหนดกรอบของข่าว” ว่า เมือ่ ใดข่าวสารถูกน�ำเสนอด้วยการตีความเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ คนละกรอบ หรือใช้หลายกรอบในการตีความ จะท�ำให้สงั คมเกิดมุมมองทีท่ ำ� ให้ฉกุ คิด มีการพิจารณาข้อมูลของแต่ละฝ่ายอย่างละเอียดรอบคอบมากยิง่ ขึน้ เพือ่ หาทางลดภาวะความไม่สอดคล้องทางความคิด หนทางหนึ่งที่ผู้รับสาร
140
จะพยายามลดความสับสนในข้อมูลข่าวสารที่ขัดแย้งกันคือ การแสวงหา ข่าวสารอืน่ ๆ เพิม่ เติมเพือ่ หาค�ำอธิบายต่อเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ดังนัน้ ความ ขัดแย้งจึงมีผลทางบวกว่าน่าจะเป็นแนวโน้มที่ท�ำให้สังคมขวนขวายหา สารสนเทศอื่นๆ เพื่อน�ำมาคิดวิเคราะห์และเพิ่มพูนความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้น
2. วิธีคิดเกี่ยวกับ “ลักษณะการน�ำเสนอข่าว” ในสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ลักษณะการน�ำเสนอข่าวที่ถือว่ามีคุณค่ามีทั้งสิ้น 5 ด้าน แต่ละ ด้านมีวิธีคิดดังนี้ 2.1 ความรวดเร็วในการน�ำเสนอ เหตุการณ์ทสี่ มควรเสนอเป็นข่าวด้วยความรวดเร็วในวิกฤตการณ์ ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ (1) กิจกรรมต่างๆ ที่ สร้างก�ำลังใจ และ (2) การติดตามการบริหารงานของภาครัฐ เหตุผล เนื่องมาจากลักษณะของเหตุการณ์ความไม่สงบ ผู้ก่อการมีเป้าหมายใน การท�ำร้ายหรือสังหารด้วยวิธีการรุนแรงต่างๆ จึงท�ำให้ปริมาณข่าวของ สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้สว่ นใหญ่มแี ต่เรือ่ งราว ทางลบ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีเหตุการณ์ทางบวกที่จะเสริมสร้างก�ำลัง ใจให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้นั้น จึงสมควรต้องเสนอด้วยความรวดเร็ว มากกว่าเรื่องอื่นๆ 2.2 การให้รายละเอียดของข้อมูล ในภาวะวิ ก ฤตการณ์ ข ้ อ มู ล บางประเด็ น จ� ำ เป็ น ต้ อ งมี ก าร น�ำเสนอโดยให้รายละเอียดมากน้อยต่างกัน เนื่องจากรายละเอียด
141
บางอย่ า งส่ ง ผลต่ อ ความรู ้ ค วามเข้ า ใจและทั ศ นคติ ข องกลุ ่ ม ต่ า งๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนส่งผลต่อการให้ความร่วมมือในการจัดการปัญหา สิ่งที่ข่าวควรให้รายละเอียดเน้นว่าควรเป็นเรื่องเกี่ยวกับ (1) แนวคิดสันติ วิธีและมนุษยธรรม และ (2) ด้านการปฏิบัติงานของรัฐ เนื่องจากความ ยืดเยื้อของปัญหาและความไม่คุ้นชินกับแนวคิดสันติวิธีของสังคมไทย สังคมจึงต้องการเนือ้ หาข่าวทีใ่ ห้รายละเอียดของหลักคิดและกระบวนการ ทีจ่ ะน�ำไปสูส่ นั ติวธิ ใี นการแก้ปญ ั หา รวมทัง้ มีตวั อย่างทีเ่ ป็นกรณีศกึ ษา ซึง่ การให้รายละเอียดดังกล่าว นอกจากจะท�ำให้สังคมได้รับทราบความคืบ หน้าในการปฏิบัติการของภาครัฐแล้ว ยังส่งผลดีต่อการตรวจสอบความ ชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของภาครัฐด้วย 2.3 การมีหลักฐานอ้างอิง ในการเสนอข่าววิกฤตการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค ใต้ สิง่ ทีจ่ ำ� เป็นต้องน�ำเสนอ พร้อมการมีหลักฐานอ้างอิง ได้แก่ การปฏิบตั ิ หน้าทีข่ องเจ้าหน้าทีร่ ฐั เช่น หลักฐานเกีย่ วกับการจับกุมผูก้ อ่ ความไม่สงบ หรือแนวร่วม หลักฐานเกีย่ วกับปัญหาความเป็นธรรมในการปฏิบตั หิ น้าที่ หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่น�ำมาใช้ในพื้นที่ ฯลฯ เนื่องจากหลักฐาน เหล่านี้จะช่วยสนับสนุนด้านความชอบธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าหน้าที่รัฐ ขณะเดียวกันหลักฐานที่ชัดเจนและรัดกุม ก็จะสามารถ ลดความคิ ด แตกแยกระหว่ า งคนไทยมุ ส ลิ ม และมุ ส ลิ ม ในระดั บ โลก กับประชาชนไทยได้ 2.4 ความเหมาะสมในการเป็นแหล่งข้อมูล คุณลักษณะของบุคคลแต่ละกลุม่ เหมาะสมทีจ่ ะเป็นแหล่งข้อมูล ในเรื่องต่างๆ ดังนี้
142
- นักวิชาการ ผู้สื่อข่าวควรเลือกแหล่งข่าวนี้ในกรณีต้องการ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น องค์ ค วามรู ้ เ กี่ ย วกั บ สถานการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ภู มิ ห ลั ง ของ สถานการณ์ รวมทั้งการประเมินและวิเคราะห์นโยบายของรัฐที่น�ำมาใช้ ในการแก้ปญ ั หา ฯลฯ เพราะเหมาะสมทีจ่ ะน�ำความรูท้ างวิชาการในสาขา ต่างๆ มาอธิบายสภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งเป็นแหล่งสารที่มีความ น่าเชื่อถือสูงที่จะประกอบภาพรวมของวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ตลอดจน การน�ำกรณีศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศมาวิเคราะห์เทียบเคียง เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับสังคมได้ - ภาครัฐ แหล่งข่าวนี้มีคุณค่าในการให้ข้อมูลด้านความคืบหน้า ของสถานการณ์ ได้แก่ ความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในแต่ละวัน การวิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับสาม จังหวัดชายแดนใต้ รายละเอียดของเหตุการณ์ก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้น แต่ละครัง้ การวิเคราะห์สาเหตุหรือแรงจูงใจของการก่อความไม่สงบ ฯลฯ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่เกิดเหตุ เป็นผู้มีหน้าที่โดยตรง ในการเข้าไปจับกุมและสอบสวนผู้ก่อการหรือแนวร่วม เป็นผู้ที่รวบรวม ข้อมูลจากพยานและหลักฐานในสภาพแวดล้อม จึงน่าจะมีข้อมูลในเชิง ลึกกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ที่ปฏิบัติการอยู่ในพื้นที่ - ประชาชนในพื้นที่ มีความเหมาะสมในระดับมากที่จะให้ ข้อมูลด้านความเชื่อมั่นต่อรัฐ อาทิ การได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ต่อบุคคลและครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ ความเชื่อมั่นต่อการจัดการ ปัญหาของภาครัฐ การแก้ปญ ั หาของภาครัฐในด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชน ในพื้นที่ รวมทั้งการประเมินประสิทธิผลการด�ำเนินนโยบายของภาครัฐ ฯลฯ ทัง้ นี้ ข้อมูลด้านความรูส้ กึ เชือ่ มัน่ ต่อภาครัฐจะมีความสัมพันธ์อย่างยิง่
143
กับการให้ความร่วมมือของประชาชนในพื้นที่ - ผู้ก่อการและแนวร่วม เป็นแหล่งข่าวที่มีความเหมาะสมใน ระดับมาก ด้านความไม่ชอบธรรมของภาครัฐ โดยเฉพาะในประเด็นการ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ เนื่องจากที่ผ่านมาสังคมไทยได้ รับข้อมูลจากแหล่งข่าวกลุม่ นีน้ อ้ ยมาก การได้ทราบข้อมูลเกีย่ วกับสาเหตุ และแรงจูงใจที่มาจากผู้กระท�ำ จะท�ำให้เข้าใจถึงความคิดที่อยู่เบื้องหลัง และเงื่อนไขที่ท�ำให้เกิดการกระท�ำรุนแรงต่างๆ 2.5 แหล่งที่มาของข้อมูลแต่ละประเภท ประเภทของข้อมูลในข่าวโดยทัว่ ไปประกอบด้วยข้อมูลประเภท ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และการวิเคราะห์สถานการณ์ ซึ่งผู้ที่เหมาะสม จะให้ข้อมูลแต่ละประเภท ได้แก่ กลุ่มบุคคลต่อไปนี้ - แหล่งที่มาของข้อมูลประเภท “ข้อเท็จจริง” ผู้ที่เหมาะ สมที่จะให้ข้อมูลประเภทนี้ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ อาทิ ผู้น�ำชุมชน เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับปฏิบัติการ นักวิชาการมุสลิม นักวิชาการจาก สถาบันการศึกษาในพืน้ ที่ นักการเมืองท้องถิน่ ฯลฯ เห็นได้ชดั ว่าลักษณะ ร่วมของบุคคลดังกล่าวคือ ความใกล้ชิดกับพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลให้มีข้อเท็จ จริงที่รอบด้านเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ความใกล้ชิดก็ อาจจะส่งผลในด้านอคติของการเลือกรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน - แหล่งข้อมูลทีเ่ หมาะสมจะให้ขอ้ เท็จจริงกลุม่ ต่อมา คือ ผูก้ อ่ การ และแนวร่วม ได้แก่ แนวร่วมขบวนการ ผู้ก่อความไม่สงบ ขบวนการแบ่ง แยกดินแดนทีถ่ กู จัดตัง้ ขึน้ รวมถึงแหล่งข่าวทีไ่ ม่เปิดเผย การทีก่ ลุม่ ตัวอย่าง ประเมินว่าข้อเท็จจริงสมควรมาจากคนกลุ่มนี้ เนื่องจากข่าวสารเกี่ยวกับ
144
สถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้ที่ผ่านมามีข้อมูลจากคนกลุ่มนี้น้อยมาก - แหล่ ง ที่ ม าของข้ อ มู ล ประเภท “ความคิ ด เห็ น ” ผู ้ ที่ เหมาะสมจะให้ความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ อาทิ ผู้น�ำความคิดในชุมชนและผู้น�ำทางศาสนาในพื้นที่ ประชาชนที่ เป็นคนไทยมุสลิม ข้าราชการท้องถิ่นในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ของรัฐในระดับ ปฏิบัติการ ฯลฯ ซึ่งความคิดเห็นจากคนกลุ่มนี้คาดว่าจะเป็นผู้ให้ความ คิดเห็นที่มาจากการรับฟังความต้องการและความรู้สึกของคนในชุมชน - แหล่งที่มาของข้อมูลประเภท “การวิเคราะห์สถานการณ์” ผู้วิเคราะห์สถานการณ์สมควรมาจากนักวิชาการและผู้บริหารประเทศ อาทิ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่และนักวิชาการมุสลิม ผู้บริหารประเทศและข้าราชการระดับผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ของ รัฐในระดับปฏิบัติการ และนักการเมือง ฯลฯ รวมทั้งจากสื่อมวลชน และองค์กรนานาชาติ ได้แก่ องค์กรสื่อในประเทศ แหล่งข่าวที่ไม่เปิด เผยชื่อเพื่อความปลอดภัย องค์กรทางศาสนาในต่างประเทศ องค์กร ระดับนานาชาติ ส�ำนักข่าวต่างประเทศ ฯลฯ จะเห็นได้ว่าผู้ที่เหมาะ สมจะวิเคราะห์สถานการณ์ จะมีคุณสมบัติในด้านความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ในการจัดการปัญหาในพื้นที่ และหน่วยงานที่ไม่ฝักใฝ่ ฝ่ายใด เพื่อที่การวิเคราะห์สถานการณ์จะได้รอบด้านและไม่มีอคติ วิธีคิดเกี่ยวกับเนื้อหาข่าวและลักษณะการน� ำเสนอข่าวใน สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ที่กล่าวมาทั้งหมด นี้สะท้อนถึงสิ่งที่ควรเป็นข่าวในมุมมองของกลุ่มต่างๆ ในสังคมที่ ต้องการเรียกร้องจากสถาบันสื่อสารมวลชน แต่ไม่ได้หมายความว่า
145
ข่าวที่มีเนื้อหาและลักษณะการน�ำเสนอดังกล่าวคือ ข่าวที่มีคุณสมบัติ ที่ดีพอในสถานการณ์เช่นนี้ เนื่องจากยังต้องประกอบด้วย ความครบ ถ้วนของข้อเท็จจริง ความสมดุลและเที่ยงธรรม ความเข้าใจง่ายและ ชัดเจน และปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สื่อข่าวต้องปรับ วิธีคิดเกี่ยวกับข่าวและพัฒนากลยุทธ์ในการรวบรวมข้อมูล เพื่อตอบ สนองต่อความคาดหวังจากสังคมที่มีต่อสถาบันสื่อสารมวลชนในการ ส่งเสริมให้เกิดสันติสุขอย่างแท้จริงขึ้นในสังคม ============= บรรณานุกรม เสริมศิริ นิลด�ำ. 2550. คุณค่าข่าวในภาวะวิกฤติทางสังคม. วิทยานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Harrison, J. 2006. News. London: Routledge. Traugott, M. and Brader, T. 2002. The Media and Terrorism. University of Michigan: Harvard Symposium.
146
บทที่ 6
ท�ำอย่างไรเมือ่ ต้องสอน “สันติวารสารศาสตร์”
โดย สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
เรียบเรียงจาก Jake Lynch. 2007. “A course of Peace Journalism”. Conflict & Communication Online [Online], 6(1). Available: http://www.cco.regener-online.de/2007_1/pdf/lynch.pdf.
147
ท�ำอย่างไรเมื่อต้องสอน “สันติวารสารศาสตร์” Jake Lynch ผู ้ สื่ อ ข่ า วและอาจารย์ วิ ช าสื่ อ ข่ า วจาก มหาวิทยาลัยซิตี้ ลอนดอน และ ผู้อ� ำนวยการศูนย์ศึกษาสันติวิธี และความขัดแย้ง ผู้มีประสบการณ์ยาวนานหลายปีเกี่ยวกับการ รายงานข่าวเพื่อสันติภาพ กล่าวถึงหลักสูตรการเรียนการสอนวิชา สันติวารสารศาสตร์ (peace journalism) เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับ อาจารย์ในการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้าน วารสารศาสตร์และสันติศึกษา ให้สอดคล้องกับแนวทางสันติภาพ เพื่อช่วยสลายความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น ในรายวิชามีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ การศึกษาความขัดแย้งและสันติภาพ หลักการและการปฏิบตั กิ าร ทางวารสารศาสตร์และการสื่อสาร รวมถึงประเด็นด้านความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ ในการเรียนการสอนวิชาสันติวารสารศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพ และเข้าใจง่ายนัน้ อาจารย์ผสู้ อนควรใช้ตวั อย่างการรายงานข่าวในลักษณะ ต่างๆ เป็นเครื่องมือประกอบการสอน พร้อมทั้งแนะน�ำให้นักศึกษา เข้าใจแนวคิดหลักของความขัดแย้ง, รูปแบบการรายงานข่าวเชิงสงคราม (war journalism) และ การสื่อข่าวเชิงสันติภาพ (peace journalism), การวิพากษ์และอภิปรายลักษณะการเขียนข่าวในรูปแบบต่างๆจะ ท�ำให้นิสิตนักศึกษาสามารถจ�ำแนกความแตกต่างระหว่างการสื่อข่าวเชิง สงครามและการสื่อข่าวเชิงสันติภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
148
1. เรียนรู้ความขัดแย้ง และ ความรุนแรงในความขัดแย้ง การท�ำความเข้าใจในการสือ่ ข่าวเชิงสันติภาพ ผูส้ อนและนักศึกษา ควรได้รจู้ กั และเรียนรู้ เข้าใจถึงธรรมชาติของความขัดแย้งและการจัดการ ความขัดแย้ง โดยเชือ่ ว่าความขัดแย้งเป็นเรือ่ งสภาวะธรรมชาติ และไม่ใช่ สิ่งผิดปกติใด เป็นความสัมพันธ์อย่างหนึ่งของมนุษย์ในสังคม ที่อาจมีเป้า หมาย ความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม ความแตกต่างระหว่าง การสื่อข่าวเชิงสันติภาพ และ การสื่อ ข่าวเชิงสงคราม คือ “การสื่อข่าวเชิงสงคราม นั้นเป็นการรายงานข่าวใน ลักษณะทีก่ ระตุน้ ให้เกิดความรุนแรงหรือความขัดแย้งมากยิง่ ขึน้ ด้วยการ รายงานที่เน้นสถานการณ์และความรุนแรงของเหตุการณ์” “ขณะทีส่ นั ติวารสารศาสตร์ ผูส้ อื่ ข่าวจะต้องยึดหลักสันติภาพ ในการท�ำงาน โดยค�ำนึงถึงความหลากหลายของผู้ที่เกี่ยวข้องใน เหตุการณ์ ให้พื้นที่ข่าวกับทุกฝ่าย ท�ำงานโดยการพินิจพิเคราะห์ ถึงโอกาส เป้าหมายของการกระท�ำและความต้องการของผู้คนที่ เกี่ยวข้อง” ในวิชาการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ ผู้เรียนจะต้องพึงระลึกอยู่เสมอ ในประเด็นความขัดแย้งดังนี้ - ความรุนแรงไม่ได้มีสาเหตุมาจากตัวมันเอง หากแต่มีที่มา จากหลากหลายสาเหตุ ทั้งในเชิงโครงสร้าง กระบวนการและบริบท แวดล้อมอื่นๆ ร่วมด้วย - ความขัดแย้งอาจมิใช่ความรุนแรงเสมอไป - ผู้ที่อยู่ในวงความขัดแย้ง มักมีมากกว่า 2 ฝ่ายเสมอ ผู้สื่อข่าว จึงไม่ควรรายงานแบบแบ่งเขาแบ่งเรา
149
- ผูท้ อี่ ยูใ่ นวงความขัดแย้งทุกฝ่ายนัน้ ล้วนเป็นผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย จากเหตุการณ์ ขณะเกิดความขัดแย้ง คนทั่วไปมักเข้าใจว่าย่อมมีความรุนแรง ตามมาด้วยเสมอ แต่ความจริงแล้วความขัดแย้งไม่ได้เป็นสิง่ เดียวกับความ รุนแรงเสมอไป ผู้ศึกษา Peace Journalism ควรเข้าใจถึงสาเหตุที่ก่อให้ เกิดความรุนแรง รวมถึงพฤติกรรมการตอบโต้กับความขัดแย้งในรูปแบบ ต่างๆ บทความนี้ได้เสนอแนะให้พิจารณา “สามเหลี่ยมแห่งความขัดแย้ง ABC” ซึ่งเป็นแนวคิดของโยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) ที่อธิบายถึง ความเกี่ยวพันกันระหว่าง Attitude (ทัศนคติ), Behavior (พฤติกรรม) และ Contradiction (สถานการณ์ปญ ั หาหรือความแตกต่าง) โดยอธิบาย ว่าจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งคือทัศนคติที่มีอคติ เมื่อเกิดอคติจะน�ำไปสู่ การเลือกปฏิบัติและการเลือกปฏิบัติจะน�ำไปสู่การก่อความขัดแย้งเพื่อ ให้เข้าใจในสาเหตุของความรุนแรงมากยิ่งขึ้น “สามเหลี่ยมแห่งความขัดแย้ง ABC” แนวคิดของโยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) Behavior (พฤติกรรม)
ความขัดแย้ง Attitude (ทัศนคติ)
Contradiction (สถานการณ์ปัญหาหรือความแตกต่าง)
150
เมื่อพิจารณาจากแนวคิดข้างต้น การรายงานข่าวในเชิงสงคราม นั้ น มั ก เน้ น การรายงานเฉพาะประเด็ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ทั ศ นคติ แ ละ พฤติกรรมความรุนแรง โดยละเลยการรายงานสถานการณ์ปัญหาหรือ ความแตกต่าง อีกทั้งยังขาดการวิเคราะห์เจาะลึกถึงความรุนแรงในเชิง โครงสร้าง และให้น�้ำหนักไปกับการรายงานความรุนแรงทางตรงทีเ่ ห็นได้ ชัด รูปแบบของข่าวทีน่ ำ� เสนอจึงเน้นเพียงสถานการณ์ ขณะทีก่ ารน�ำเสนอ ข่าวเชิงสันติภาพนั้น จะรายงานในทุกประเด็นที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน
2. ท�ำความเข้าใจ “สันติภาพ”
การศึกษาเรื่องสันติวารสารศาสตร์ให้มีประสิทธิภาพนั้น มิใช่ เพียงการท�ำความเข้าใจกับความขัดแย้ง แต่ผู้ศึกษาควรท�ำความเข้าใจ ใน “สันติภาพ” ด้วย โดย โยฮัน กัลตุง ได้ระบุว่า สันติภาพมีความหมาย 2 นัยยะ ดังนี้
สันติภาพ = ชัยชนะ + การหยุดยิง สันติภาพ = ความไม่รุนแรง + การสร้างสรรค์
ในการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี เป็นสิ่งที่สามารถท�ำได้ โดยการรายงานข่าวเชิงสันติภาพจะเน้นการก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการความขัดแย้งและน�ำไปสูแ่ นวทางการแก้ไขปัญหา ถือได้วา่ ในกระบวนการนี้สื่อมวลชนได้ท�ำหน้าที่เป็น “ตัวน�ำการเปลี่ยนแปลง” (change agent) เพื่อช่วยปูทางในการสร้างสันติภาพ
151
3. ฝึกวิพากษ์ขา่ ว วิพากษ์วชิ าวารสาร และวิพากษ์สอื่ มวลชน
นอกจากการสร้างความเข้าใจในแนวคิดเรื่องความขัดแย้งและ สันติภาพให้กบั นักศึกษาแล้ว ผูส้ อนยังต้องให้ความส�ำคัญกับกิจกรรมการ อภิปรายประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับบทบาทหน้าทีข่ องข่าวและสือ่ สารมวลชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อกระบวนความขัดแย้งด้วย Robert Kari Manofff ศาสตราจารย์ด้านวารสารศาสตร์แห่ง University of New York และผู้อ�ำนวยการ Center of War, Peace and the News Media ระบุว่า “เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สถาบัน บรรทัดฐานเป็นส่วนประกอบของการสร้างความเป็นพลเมืองและชาติ โดยสือ่ เป็นสถาบันส�ำคัญในการสร้างพลเมืองทีจ่ ะช่วยป้องกันและควบคุม มิให้เกิดความรุนแรงในสังคม” ดั ง นั้ น การสร้ า งบุ ค ลากรด้ า นสื่ อ ที่ มี ค วามเข้ า ใจถึ ง บทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคมจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็นและ ส� ำ คั ญ ยิ่ง การเรียนเรื่องสันติวารสารศาสตร์ ควรมี ก ารอภิ ปรายใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของข่าวและ วารสารศาสตร์ ดังนี้ - วารสารศาสตร์สร้างประชาชนและชาติได้อย่างไร - วารสารศาสตร์มีหน้าที่รับผิดชอบต่ออะไรบ้าง - ผู้สื่อข่าวควรรายงานหรือน�ำเสนอข้อมูลใดให้กับผู้ชมผู้ฟังบ้าง - สื่อควรช่วยป้องกัน/ควบคุมความรุนแรงทางสังคมในเวลาใด - ผู้สื่อข่าวควรถูกคาดหวังจากสังคมในฐานะผู้สร้างสันติภาพหรือไม่
152
ขณะเดียวกันอาจารย์ผสู้ อนควรเน้นย�ำ้ ในประเด็นด้านจริยธรรม และจรรยาบรรณสื่อในแง่ความเป็นวัตถุวิสัย (objectivity) เนื่องจาก ประสบการณ์การเรียนการสอนในรายวิชาดังกล่าวในต่างประเทศยังคง มีการอภิปรายอย่างมากถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อในกระบวนการสันติ วารสารศาสตร์ ว่า ความเป็นวัตถุวิสัยนั้น หมายถึง การรายงานเฉพาะ ข้อเท็จจริง หรือสื่อควรท�ำหน้าที่ในการสร้างพื้นที่ให้กับทุกฝ่าย “อคติทปี่ รากฏในการรายงานข่าวแบบเชิงสงครามนัน้ สามารถ เกิดได้ตลอดเวลาของกระบวนการท�ำข่าว ทั้งอคติจากเหตุการณ์ อคติ จากแหล่งข่าว และอคติจากการแบ่งเขาแบ่งเราของผู้สื่อข่าวเอง ดังนั้นผู้สื่อข่าวควรฟังข้อมูลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และรายงานโดย ไม่ตัดสินหรือตีตราว่าเป็นฝ่ายดีหรือฝ่ายเลว” ในทางปฏิบัติผู้สอนควรกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายในชั้นเรียน อย่างสม�่ำเสมอและอาจให้งานเชิงวิพากษ์แก่นักศึกษา เพื่อเพิ่มความ เข้าใจในรูปแบบการรายงานข่าวเชิงสันติมากยิง่ ขึน้ พร้อมยกตัวอย่างข่าว ความขัดแย้งในพืน้ ทีต่ า่ งๆ จ�ำแนกความแตกต่างระหว่างการรายงานข่าว แบบสงครามและสันติภาพ พิจารณาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการ รายงานข่าวแต่ละแบบ โดยอาจมีประเด็นอภิปรายดังนี้ - การใช้ตวั อย่าง และอภิปรายถึงการพัฒนาการรายงานข่าวจาก ตัวอย่างนัน้ และให้นสิ ติ นักศึกษาอภิปรายถึงลักษณะการรายงานข่าวเชิง สันติภาพ - อภิปรายถึงผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ กับผูท้ เี่ กีย่ วข้องในเหตุการณ์ ความขัดแย้งจากการายงานข่าวและวิธีการเปลี่ยนแปลงผลกระทบเหล่า นั้น
153
- อภิปรายถึงวิธีการรายงานข่าวที่นักศึกษาเลือก พร้อมเหตุผล - อภิปรายถึงผลกระทบที่อาจเกิดจากวิธีการรายงานข่าวที่ นักศึกษาเลือก - อภิปรายถึงสาเหตุทผี่ สู้ อื่ ข่าวมักใช้การรายงานข่าวเชิงสันติภาพ ที่สุดแล้วหลักสูตรสันติวารสารศาสตร์ ต้องมีการเรียนการสอน ทั้งในเชิงทฤษฎี ควบคู่กับการอภิปรายและฝึกปฏิบัติ โดยผู้สอนและผู้ ศึกษาควรพิจารณารูปแบบการรายงานข่าวของสื่อในกระบวนการความ ขัดแย้ง ซึง่ อาจมีผลต่อการกระท�ำและอารมณ์ความรูส้ กึ ของผูท้ เี่ กีย่ วข้อง ในเหตุการณ์ อีกทั้งควรค�ำนึงถึงความเกี่ยวข้องในเชิงการเมืองและสังคม ด้วย ซึ่งจะช่วยให้มีความเข้าใจในวิธีการและน�ำความรู้ไปประยุกต์ใช้ใน การท�ำงานในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
ค�ำถามส�ำคัญคือ “มหาวิทยาลัยทีม่ กี ารเรียนการสอนวิชา วารสารศาสตร์ โรงเรียนนักข่าว กองบรรณาธิการ และองค์กร วิชาชีพสื่อ” อยากจะประยุกต์เอาแนวคิดวารสารศาสตร์เข้ากับ การเรียนการสอน การอบรมให้นักเรียนข่าว ผู้สื่อข่าว ได้อย่างมี ประสิทธิภาพและความสอดรับกับสภาพปัญหาความขัดแย้งใน สังคมไทยได้อย่างกลมกลืนและสอดคล้องและน�ำไปสู่การปฏิบัติ จริงในสนามข่าวแห่งความขัดแย้งหรือไม่
154
ภาคผนวก 1
ข้อบังคับจริยธรรมและ มาตรฐานวิชาชีพ ไทยพีบีเอส ที่เกี่ยวข้อง กับการผลิตและเผยแพร่ รายการ โดย สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
อ้างอิงจาก
1.ข้อบังคับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง ประเทศไทย ว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและการเผยแพร่รายการ พ.ศ. 2552 2. แนวทางปฏิบัติเพื่อธ�ำรงจริยธรรมวิชาชีพการผลิต จัดหาและการ เผยแพร่รายการของไทยพีบีเอส พ.ศ. 2552
155
1. ข้อบังคับองค์การกระจาย เสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง ประเทศไทยว่าด้วยจริยธรรม ของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิต และการเผยแพร่รายการ พ.ศ. 2552 ในข้อบังคับองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง ประเทศไทยว่าด้วยจริยธรรมของวิชาชีพเกี่ยวกับการผลิตและการเผย แพร่รายการ พ.ศ. 2552 ได้ก�ำหนดแนวทางการปฏิบัติงานเอาไว้ ดังนี้ ใครคือผู้ผลิตข่าวและรายการของไทยพีบีเอส • ผู ้ บ ริ ห ารด้ า นข่ า วหรื อ รายการ หมายถึ ง ผู ้ อ� ำ นวยการ ไทยพีบเี อส และผูท้ ผี่ อู้ ำ� นวยการมอบหมายให้เป็นผูร้ บั ผิดชอบ งานด้านข่าว หรือด้านรายการที่เผยแพร่ผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และสื่ออื่นของไทยพีบีเอส • ผูป้ ฏิบตั งิ าน หมายถึง ผูร้ บั ผิดชอบงานการผลิต จัดหาและเผย แพร่รายการ ทั้งที่เป็น “พนักงานเต็มเวลา” และ “พนักงาน ประจ�ำกะ” รวมถึงผู้ผลิตอิสระของไทยพีบีเอส
156
1. จริยธรรมด้านความถูกต้อง เที่ยงตรง 1. การน�ำเสนอข่าวหรือข้อมูล ต้องยึดถือข้อเท็จจริง ความถูก ต้อง เที่ยงตรง โดยเลือกแหล่งข่าว แหล่งข้อมูล ใช้ภาษาและเนื้อหา วิธกี ารหรือรูปแบบการน�ำเสนออย่างรอบคอบ ระมัดระวัง และมีการตรวจ สอบ ตรวจทานก่อนน�ำเสนอ 2. การรายงานข่าว หรือเหตุการณ์ ต้องรายงานตามความเป็นจริง ไม่สอดแทรกความคิดเห็นหรือบิดเบือน ไม่คาดเดา ไม่ชนี้ ำ� ไม่สร้างความ เข้าใจผิด และไม่ท�ำให้ผู้ชมผู้ฟังตื่นกลัวเกินเหตุ 3. การรายงานข่าวหรือเหตุการณ์ปัจจุบันต้องแยกแยะให้ชัดเจน ระหว่างข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น เนื้อหาข่าวกับการวิเคราะห์ตีความ เหตุผลที่แท้จริงหรือการกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุผล 4. ผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวและรายการ ต้องเปิดเผย ตรงไปตรงมา และซื่อตรงกับผู้ที่ตกเป็นข่าว แหล่งข่าว ผู้ร่วมรายการ ผู้แสดงความเห็น รวมถึงผู้ชมผู้ฟังรายการ
2. จริยธรรมด้านความสมดุล เป็นธรรม 1. การรายงานข่าวหรือการผลิตรายการ โดยเฉพาะประเด็นส�ำคัญ ที่มีความขัดแย้งสูง ต้องน�ำเสนอข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง อย่างรอบด้าน สมดุลและเป็นธรรม ในกรณีที่ไทยพีบีเอสหรือบุคลากรของไทยพีบีเอสตกเป็นข่าว นักข่าวหรือผู้น�ำเสนอรายการต้องรายงานหรือน�ำเสนออย่างซื่อตรง ถูกต้อง ไม่ล�ำเอียง
157
2. หากมีผู้ปฏิเสธการให้สัมภาษณ์หรือร่วมรายการ ผู้ปฏิบัติงาน ต้องเคารพสิทธิของบุคคลนั้นและจะต้องพิจารณาว่าควรแจ้งให้แก่ผู้ชม ผู้ฟังได้รับทราบในรายการหรือไม่ แต่การปฏิเสธนั้นต้องไม่เป็นสาเหตุที่ ท�ำให้ทางไทยพีบีเอสต้องยับยั้งการเชิญบุคคลอื่นหรือคู่กรณีที่มีประเด็น ขัดแย้งมาออกอากาศหรือแสดงความคิดเห็น โดยผู้ให้สัมภาษณ์ต้องท�ำ หน้าที่อย่างเป็นธรรม
3. จริยธรรมด้านความเป็นอิสระของวิชาชีพความรับ ผิดชอบต่อสาธารณะและการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน 1. ผู้บริหารหรือพนักงานต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริงจากรัฐบาล กลุ่มและพรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ หรือกลุ่มเคลื่อนไหวกดดัน ต่างๆ เพื่อให้ประชาชนมั่นใจในความเป็นอิสระ และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย 2. กองบรรณาธิการหรือคณะผูร้ บั ผิดชอบในการผลิตรายการ ต้อง สามารถคัดเลือกประเด็น ก�ำหนดเนือ้ หา วิธกี ารหรือรูปแบบการน�ำเสนอ ได้อย่างเป็นอิสระ โดยต้องอธิบายเหตุผลในการเลือกข้อมูลนั้นๆได้อย่าง สอดคล้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของไทยพีบีเอสต่อสาธารณะ 3. กองบรรณาธิการ หรือคณะผู้รับผิดชอบในการผลิตรายการ ต้องรักษาความเป็นอิสระในการท�ำงานโดยนึกถึงประโยชน์สาธารณะ ผลกระทบต่อความรู้สึกของผู้ชมผู้ฟัง และความเชื่อถือต่อไทยพีบีเอส และรายการของไทยพีบีเอสเป็นส�ำคัญ 4. ผู้บริหารด้านข่าวและรายการ พนักงาน และผู้ปฏิบัติงาน ด้านการผลิตและการเผยแพร่รายการของไทยพีบีเอสต้องส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ไทยพีบีเอส
158
ท�ำงานเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง 5. ผู้ปฏิบัติงานต้องค�ำนึงถึงการน�ำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ ความโหดร้าย ทารุณ การกระตุน้ ให้เกิดความแตกแยก เกลียดชังหรือการ กระท�ำที่รุนแรง 6. ผู้บริหารด้านข่าวและรายการ พนักงานและผู้ปฏิบัติงาน ต้องไม่น�ำเสนอข่าว รายงานหรือรายการเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างเปิด เผยหรือแอบแฝง หรือเพื่อได้เปรียบทางธุรกิจ การเมือง รวมทั้งไม่ใช้ข่าว รายงานหรือรายการของไทยพีบเี อสเป็นสิง่ แลกเปลีย่ นเพือ่ ประโยชน์สว่ น ตัวหรือพวกพ้อง 7. ผู้ปฏิบัติงานต้องหลีกเลี่ยงการน�ำเสนอภาพ ข้อความหรือตรา ยี่ห้อสินค้า บริการเพื่อธุรกิจการค้า และการส่งเสริมการขาย การน�ำเสนอชื่อหรือตราสัญลักษณ์ของสินค้า อาจท�ำได้เมื่อมี ความจ�ำเป็นเพือ่ การรายงานข่าวหรือรายการ แต่ตอ้ งปิดบังชือ่ ยีห่ อ้ และ สัญลักษณ์ เว้นแต่สินค้าหรือบริการนั้นเป็นข่าวหรือภาพ ชื่อ ตราสินค้า สัญลักษณ์ไม่ได้โดดเด่น ชัดเจน ไม่ส่อว่าตั้งใจน�ำเสนอ 8. พนักงานหรือผูท้ ไี่ ด้รบั มอบหมายให้คดั เลือกผูผ้ ลิตอิสระ ต้อง ท�ำหน้าที่ของตนเองอย่างซื่อสัตย์ ไม่มีประโยชน์แอบแฝง แต่ค�ำนึงถึง คุณภาพรายการ ประโยชน์สาธารณะ การใช้จา่ ยทีค่ มุ้ ค่า การตอบสนอง พันธกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของไทยพีบีเอส
159
4. จริยธรรมด้านการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นส่วนตัว และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล 1. การปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน การผลิตรายการในทุกประเภท และรู ป แบบ ต้ อ งเคารพศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ไม่ เ ลื อ กปฏิ บั ติ ไม่เสียดสีบุคคลหรือกลุ่มบุคคล เพราะความแตกต่างในเรื่องถิ่นก�ำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ สุขภาพ ฐานะของบุคคล รายได้ การศึกษาและ ความคิดเห็นทางการเมืองที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2. การน� ำ เสนอเนื้ อ หาเกี่ ย วกั บ เรื่ อ งเพศ เพศสภาพ เพศวิ ถี ต้องด�ำเนินการโดยเคารพศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ รวมถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการรับรู้ของประชาชน ความเหมาะสมกับค่านิยมของสังคมและเพื่อ ประโยชน์ทางการศึกษา ต้องเคารพสิทธิของบุคคลนั้นและจะต้องพิจารณาว่าควรแจ้งให้ แก่ผู้ชมผู้ฟังได้รับทราบในรายการหรือไม่ แต่การปฏิเสธนั้นต้องไม่เป็น สาเหตุที่ท�ำให้ทางไทยพีบีเอสต้องยับยั้งการเชิญบุคคลอื่นหรือคู่กรณีที่มี ประเด็นขัดแย้งมาออกอากาศหรือแสดงความคิดเห็น โดยผู้ให้สัมภาษณ์ ต้องท�ำหน้าที่อย่างเป็นธรรม 3. การน�ำเสนอเนื้อหาอาจละเมิดความเป็นส่วนตัว และ/หรือ ท�ำร้ายความรู้สึกของบุคคล รวมถึงการน�ำเสนอเรื่องราวหรือพฤติกรรม ของบุคคลสาธารณะ ที่ส่งผลกระทบต่อส่วนรวมหรือคนจ� ำนวนมาก จะท�ำได้กต็ อ่ เมือ่ ได้พจิ ารณาแล้วว่า ประชาชนจะได้รบั ประโยชน์จากการ รับรู้ข่าวนั้นๆ 4. การรายงานข่าวหรือเปิดเผยภาพผู้ที่มีความทุกข์ ผู้ประสบภัย จากหายนะ อยูใ่ นภาวะยากล�ำบาก ทุกข์ทรมานและผูป้ ว่ ย ต้องเคารพใน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ น�ำเสนออย่างเหมาะสมและระมัดระวัง
160
5. จริยธรรมด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชนจาก รายการที่มีความรุนแรง การกระท�ำผิดกฎหมาย หรือศีลธรรม อบายมุขและภาษาหยาบคาย 1. ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้วิจารณญาณในการน�ำเสนอภาพ ภาษา ถ้อยค�ำ และน�้ำเสียงให้เหมาะสม โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีความรุนแรง เรื่อง เพศ เพศวิถหี รือเพศสัมพันธ์ และเรือ่ งทีเ่ สียหายต่อสถาบันครอบครัวหรือ เรื่องที่มีความอ่อนไหวอื่นๆ 2. ผู้ปฏิบัติงานต้องค�ำนึงถึงการน�ำเสนอเนื้อหา ภาษา ภาพ เสียง ที่อาจท�ำให้ผู้ชมผู้ฟังที่เป็นเด็กและเยาวชนเข้าใจผิด หรือก่อให้เกิด พฤติกรรมลอกเลียนแบบ เช่น รายการทีม่ เี นือ้ หารุนแรง ภาษาหยาบคาย กิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย อบายมุข และการกระท�ำผิดกฎหมาย 3. ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องไม่ออกอากาศหรือตีพมิ พ์ภาพและข้อมูลทีอ่ าจ มีผลเสียต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน หรือความ สัมพันธ์ของครอบครัว 4. ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องไม่นำ� เสนอภาพเด็ก เยาวชน ทีถ่ กู ท�ำร้ายทารุณ ถูกคุกคามทางเพศ ตกเป็นผู้ต้องหา ผู้ต้องสงสัย รวมถึงไม่น�ำเสนอภาพ ข้อมูล ข้อความ สัญลักษณ์ที่จะสามารถบ่งบอกถึงเด็กและเยาวชนผู้ตก เป็นข่าวได้ เว้นแต่จะท�ำไปเพื่อประโยชน์ของเด็กหรือเยาวชนคนนั้นเอง 5. การรายงานข่าวหรือการน�ำเสนอรายการใดๆที่เกี่ยวข้องกับ เด็กและเยาวชน ต้องค�ำนึงถึงการปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และ สวัสดิภาพของเด็กและเยาวชน 6. ข้อบังคับเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนทั้งหมดนี้ครอบคลุมสื่อทุก ประเภทของไทยพีบีเอส
161
6. จริยธรรมด้านการปฏิบัติต่อผู้เคราะห์ร้าย หรือผู้มีความเศร้าโศก 1. การรายงานข่าวภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ การปะทะ การสู้รบ การท�ำร้าย ต้องค�ำนึงถึงมนุษยธรรมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของผู้ที่ก�ำลังทุกข์โศก ล�ำบาก ทรมานและต้องน�ำเสนอเนื้อหาด้วยความ ระมัดระวัง การบรรยายภาพต้องสมเหตุสมผล โดยเฉพาะภาพที่มีความ สยดสยอง มีอารมณ์หดหู่ เศร้าใจหรือโกรธแค้น 2. การน�ำเสนอภาพการฆ่าบุคคล ภาพผู้เสียชีวิต หรือผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย ก�ำลังมีความทุกข์ ต้องน�ำเสนออย่างระมัดระวัง และเคารพต่อ ศักดิ์ศรีของบุคคลในภาพและครอบครัว
7. จริยธรรมด้านการปกป้อง และปฏิบัติต่อแหล่งข่าวอย่างเป็นธรรม 1. ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องค�ำนึงถึงแหล่งข่าวหรือผูร้ ว่ มรายการทีเ่ ป็นเด็ก เยาวชนและบุคคลที่ก�ำลังมีความทุกข์หรือผู้ที่มีความบกพร่องทางสมอง เป็นพิเศษ เพราะพวกเขาอาจไม่ได้นึกถึงผลกระทบที่จะตามมาหลังจาก การให้สัมภาษณ์หรือเข้าร่วมรายการ 2. การเสนอข่าว รายงาน หรือรายการทีม่ กี ารกล่าวหาบุคคล กลุม่ บุคคล หรือองค์กรใดๆ ต้องนึกเสมอว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาต้องมีสิทธิ์และ โอกาสที่จะตอบโต้ข้อกล่าวหานั้นในข่าว รายงานหรือรายการเดียวกัน 3. การปกปิดแหล่งข่าวหรือการหาข้อมูลแบบลับๆ ต้องมีเหตุมผี ล เพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่หรือความปลอดภัยของแหล่งข่าว
162
4. ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่จ่ายเงินให้กับแหล่งข่าว ไม่รับรางวัลหรือ ผลประโยชน์ตอบแทนเพื่อให้น�ำเสนอข่าว และไม่กระท�ำสิ่งใดที่ขัดต่อ จริยธรรมวิชาชีพ 5. การแอบบันทึกเทปหรือหาหลักฐานแบบลับ สามารถท�ำได้ แต่ควรใช้เป็นวิธีการสุดท้าย เพราะอาจมีผลต่อความน่าเชื่อถือของ ข่าวหรือรายการของไทยพีบีเอส ยกเว้นแต่เป็นการท�ำข่าวแบบสืบสวน สอบสวนที่ต้องมีการค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งการบันทึกเทปอย่างเปิดเผยจะ ท�ำให้ไม่ได้ข้อมูลตามความเป็นจริง 6. ก่อนออกอากาศเสียงพูดคุย หรือการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ในทุกเรื่อง หากเป็นการบันทึกลับ จะต้องแจ้งขออนุญาตผู้ให้สัมภาษณ์ หรือเจ้าของเสียงก่อน
8. จริยธรรมในการน�ำเสนอเนื้อหาอาชญากรรม หรือพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสาธารณะ และเหตุร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อบุคคลและสังคม 1. การเสนอข่าว หรือการรายงานประเด็นอาชญากรรมหรือภัย สาธารณะ ต้องไม่ท�ำให้ประชาชนตกใจเกินกว่าเหตุ ไม่สร้างผลกระทบ ต่อกระบวนการยุติธรรม ไม่ยั่วยุให้เกิดการประกอบอาชญากรรม ท�ำให้ เกิดพฤติกรรมเลียนแบบหรือก่อความไม่สงบ 2. ผู้ปฏิบัติงานต้องนึกถึงสิทธิส่วนตัวและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ของบุคคลที่เป็นเหยื่ออาชญากรรม ด้วยการรายงานข่าวโดยไม่ท�ำให้ บุคคลในข่าวนั้นอับอาย เป็นตัวตลกหรือรู้สึกถูกซ�้ำเติม 3. ผู้ปฏิบัติงานต้องค�ำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องสงสัย โดยไม่น�ำเสนอ
163
ภาพและไม่ใช้ภาษาทีม่ ลี กั ษณะตัดสินผูต้ อ้ งสงสัยทีย่ งั ไม่ได้ผา่ นการตัดสิน คดีของศาล และหลีกเลี่ยงการน�ำเสนอภาพผู้ต้องหาพร้อมของกลาง หรือการท�ำแผนประกอบค�ำรับสารภาพ ซึ่งอาจท�ำให้ผู้ชมผู้ฟังตัดสินว่า ผู้ต้องหาคนนั้นๆเป็นผู้กระท�ำความผิดจริง 4. ผู้ปฏิบัติงานต้องค�ำนึงถึงการน�ำเสนอภาพหรือข่าวที่เกี่ยวกับ การท�ำร้ายตนเอง การพยายามฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตาย ในรายการทุก ประเภท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้น
9. จริยธรรมในการน�ำเสนอเหตุการณ์และ เนื้อหาการเมืองและนโยบายสาธารณะ 1. การน�ำเสนอหรือรายงานข่าวเกี่ยวกับการเมืองและนโยบาย สาธารณะ ความขัดแย้งทางการเมือง ต้องรายงานข้อเท็จจริง ไม่เอน เอียง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด 2. ผู้สื่อข่าว ผู้รายงาน หรือผู้น�ำเสนอรายการ ต้องไม่แสดงความ คิดเห็นทางการเมืองในรายการ และต้องระมัดระวังการท�ำหน้าที่ ไม่ให้ ตนเองถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักการเมือง
10. จริยธรรมในการน�ำเสนอเหตุการณ์ความขัดแย้ง การชุมนุม การประท้วง-จลาจล การปะทะ การปราบ ปรามที่รุนแรง การก่อการร้ายและภาวะสงคราม 1. ในสภาวะทีส่ งั คมเกิดความขัดแย้งในสังคมที่สง่ ผลกระทบในวง กว้าง เป็นหน้าที่ของไทยพีบีเอสต้องน�ำเสนอข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น
164
ที่หลากหลาย ครบถ้วน ไม่ล�ำเอียงเข้าข้างฝ่ายใด เพื่อให้สังคมมีทางออก จากความขัดแย้ง 2. นักข่าวและผู้รายงานข่าว ต้องค�ำนึงว่าบุคคลมีสิทธิเสรีภาพใน การชุมนุม และแสดงความคิดเห็นอย่างสงบโดยไม่มีอาวุธ 3. การรายงานข่าวชุมนุม การประท้วง จลาจล ก่อการร้าย ต้องรายงานอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ด้วยความถูกต้องเที่ยงตรง และ รับผิดชอบต่อสังคม ค�ำพูดที่ใช้ต้องไม่ปรุงแต่ง ไม่ใส่อารมณ์ ไม่มีอคติ 4. การเสนอข่าว หรือรายงานต้องเลือกใช้ค�ำเพื่อกล่าวถึงผู้ก่อเหตุ อย่างถูกต้องและเหมาะสม ไม่เรียกบุคคลดังกล่าวว่า “ผู้ก่อการร้าย” จนกว่าจะมีการพิพากษาคดีของศาล ยกเว้นแต่เป็นการกล่าวของแหล่ง ข่าว หรือผู้ให้ข้อมูล ที่นักข่าวต้องอ้างถึงแหล่งข่าว ในกรณีที่ผู้ก่อเหตุมีชื่อเฉพาะกลุ่ม ก็ให้เรียกเฉพาะชื่อนั้น ไม่ควร ใช้ชื่อกลุ่มแบบเหมารวม ที่อาจส่งผลต่อชื่อเสียงและความรู้สึกของผู้ที่ ถูกเหมารวม 5. รายงานเหตุการณ์การปะทะ การปราบปราม หรือภาวะสงคราม ตามความเป็นจริง ไม่ปิดบังความโหดร้ายทารุณที่เกิดขึ้น แต่ต้องเคารพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของเหยื่อ และต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อน จะน�ำเสนอภาพที่สยดสยอง หรือสะเทือนใจ 6. ในสถานการณ์ที่มีการข่มขู่ คุกคาม หรือจับตัวประกัน ผู้ปฏิบัติ งานควรรับฟังค�ำแนะน�ำจากเจ้าหน้าที่ต�ำรวจและฝ่ายความมั่นคง ก่อน ออกอากาศภาพหรือข้อความ ที่อาจท�ำให้สถานการณ์รุนแรงมากยิ่งขึ้น แต่การปฏิบัติตามค�ำขอร้องของเจ้าหน้าที่และฝ่ายความมั่นคง ที่ไม่ให้รายงานข้อมูลหรือตีพิมพ์ภาพบางภาพ รวมทั้งการขอร้องให้ออก อากาศข้อมูลบางอย่าง จะท�ำได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผล
165
แต่หากรู้ว่าภาพหรือข้อความนั้นเป็นเท็จจะต้องไม่ออกอากาศภาพหรือ ข้อความนั้นโดยเด็ดขาด
11. จริยธรรมในการรายงานเหตุการณ์หายนะ อุบัติเหตุขนาดใหญ่ ภัยธรรมชาติ ภาวะฉุกเฉิน 1. การรายงานเหตุหายนะและภาวะฉุกเฉิน เช่น ภัยธรรมชาติ อุบตั เิ หตุขนาดใหญ่ ทีเ่ กิดขึน้ ทัง้ ในและต่างประเทศ ต้องใส่ใจกับแหล่งทีม่ า ความถูกต้องของข้อมูลน�ำเสนออย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะจ�ำนวนผู้ บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต และความเสียหาย 2. เมื่อเกิดเหตุหายนะ และภาวะฉุกเฉินต้องรีบรายงานเฉพาะ ข้อมูลที่ส�ำคัญแต่ต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนรายงานเสมอ 3. การท�ำงานในภาวะเช่นนี้ ไม่ใช่เพียงรายงานข่าวหรือเหตุการณ์ แต่ต้องช่วยส่งสัญญาณเตือนหรือขอความช่วยเหลือ เพื่อช่วยลดความ สูญเสีย ความเสียหาย แต่ต้องระมัดระวังในความถูกต้องเที่ยงตรงตาม ข้อเท็จจริง และรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด
12. จริยธรรมในการปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุการณ์ ข่มขู่ คุกคาม การจับตัวประกัน การลักพาตัว การจี้เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่น 1. การออกอากาศค�ำเตือน ค�ำข่มขู่ คุกคาม ต้องหารือกับเจ้าหน้าที่ ต�ำรวจ หน่วยงานความมัน่ คงและผ่านการตัดสินใจจากผูบ้ ริหารระดับสูง ของไทยพีบีเอส
166
2. การเสนอข่าว หรือรายงานเหตุการณ์ข่มขู่ คุกคาม การจับตัว ประกัน การลักพาตัว จี้เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่น ต้องคิดถึงความ ปลอดภัยของบุคคลทีเ่ กีย่ วข้อง และสวัสดิภาพของสาธารณะ รวมถึงต้อง ระมัดระวังไม่ให้กลายเป็นเครื่องมือหรือช่องทางการสื่อสารของผู้ก่อเหตุ หากผู้ปฏิบัติงานจงใจ เจตนา ละเลย ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม ข้อบังคับดังกล่าวข้างต้น จนท�ำให้ไทยพีบเี อสเสียหายหรือลดความน่า เชือ่ ถือ พนักงานจะถูกลงโทษทางวินยั อาจได้รบั โทษตัง้ แต่การ ภาคทัณฑ์ ตัดค่าจ้าง พักงาน ให้ออกหรือไล่ออก ถ้าเป็นผู้ผลิตอิสระอาจถูกลด ผลตอบแทนหรือเลิกจ้างได้ ===================================
167
2. แนวทางปฏิบัติเพื่อธ�ำรง จริยธรรมวิชาชีพการผลิต จัดหาและการเผยแพร่รายการ ของไทยพีบีเอส พ.ศ. 2552 ส่วนที่ 1 หลักการส�ำคัญของสื่อเพื่อสาธารณะ
1. ความทั่วถึง
สื่อสาธารณะต้องท�ำงานเพื่อประชาชนทั้ง ประเทศ เข้าถึงทุกคน และ “ถูกใช้” โดยคนจ�ำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็น ไปได้ เพือ่ ให้ประชาชนทุกคนได้รบั ข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่ แบ่งแยกชนชั้นทางสังคมหรือรายได้ 2. ความหลากหลาย สื่อสาธารณะต้องมีความหลากหลาย ทั้ง ในด้านประเภทรายการ กลุ่มเป้าหมาย เนื้อหา ประเด็น และกลุ่มผู้ผลิต อิสระ ไม่ผูกขาดกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไทยพีบีเอสได้เปิดโอกาสให้เข้าถึง ร่วมงาน เรียนรู้ โดยการน�ำเสนอรายการหลากหลายประเภทเพื่อตอบ สนองกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการแตกต่างกัน 3. ความเป็นอิสระ ไทยพีบีเอสต้องมีความเป็นอิสระในการน�ำ เสนอข้อมูลข่าวสาร/ความคิดเห็น มีรายได้ที่เป็นอิสระจากรัฐและธุรกิจ และต้องสร้างความยั่งยืนด้วยการได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ขณะเดียวกันผู้ผลิตสื่อสาธารณะต้องมีเสรีภาพและความเป็นอิสระด้วย จริยธรรมวิชาชีพ สื่อสาธารณะต้องเป็นเวทีกลางส�ำหรับการแสดงความ
168
คิดเห็นอย่างเป็นอิสระ เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ความ คิดเห็นและข้อวิจารณ์ที่แตกต่าง 4. การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลและสิทธิมนุษยชน สื่อสาธารณะ ต้ อ งเคารพศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ ไม่ ล ะเมิ ด สิ ท ธิ ส ่ ว นบุ ค คลและ ครอบครัว เว้นแต่จะท�ำไปเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ ในการผลิตรายการจึงต้องคิดถึงหลักการสิทธิมนุษยชน 5. ความแตกต่างเฉพาะตัว สื่อสาธารณะต้องมีความแตกต่าง โดดเด่นด้วยลักษณะของรายการที่มีมาตรฐาน เนื้อหารายการต้อง แตกต่างจากสื่ออื่น ไม่ใช่ผลิตรายการที่สื่ออื่นไม่ด�ำเนินการหรือไม่สนใจ เท่านั้น แต่ต้องมีการวางแผนและจุดมุ่งหมายเพื่อสังคม รวมถึงมีความ คิดสร้างสรรค์ ที่สร้างความแตกต่างในด้านเนื้อหาและรูปแบบการ น�ำเสนอโดยเป็นไปตามมาตรฐานตามหลักวิชาชีพ ผู้ผลิตสื่อสาธารณะ ต้องเป็นผู้น�ำในการพัฒนารายการต้นแบบ 6. ความมีส่วนร่วม สื่อสาธารณะเน้นการมีส่วนร่วมเป็นส�ำคัญใน 2 ประการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมในการท�ำงาน มีวัฒนธรรมการท�ำงาน แบบเป็นทีม ระดมสมองและค�ำนึงถึงความคุ้มค่าเป็นส�ำคัญ และสองคือ การมีส่วนร่วมกับสังคม ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับสื่อได้มีช่องทางใน การแสดงความคิดเห็น ความต้องการ ข้อเสนอแนะ และร้องเรียนเมือ่ เห็น ว่าไทยพีบเี อสปฏิบตั งิ านไม่ถกู ต้องและเปิดโอกาสให้ผผู้ ลิตอิสระและภาค ประชาสังคมร่วมผลิตรายการ 7. การพัฒนา การผลิต จัดหา และเผยแพร่สื่อเพื่อสาธารณะ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชน เปิดพื้นที่ให้ผู้ไร้สิทธิ์ไร้เสียงในสังคม มีการพัฒนาคุณภาพและ มาตรฐานการท�ำงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ไทยพีบีเอสได้รับ การยอมรับจากสังคมทั้งในระดับประเทศและนานาประเทศ
169
8. ความเชื่อถือและไว้วางใจได้ สื่อสาธารณะต้องสร้างความ น่าเชือ่ ถือและความไว้วางใจของสังคม ซึง่ เป็นผลจากการท�ำงานทีย่ ดึ หลัก จริยธรรม การรายงานข่าวและน�ำเสนอรายการต้องค�ำนึงถึงความถูกต้อง เทีย่ งตรงตามข้อเท็จจริง ไม่ฝกั ใฝ่ ล�ำเอียง เนือ้ หาต้องมีความรอบด้านเพือ่ ให้ผู้ชมได้รับข้อมูลอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ สื่อสาธารณะยังต้องให้ผู้ชมผู้ฟังมีโอกาสแสดงความ คิดเห็น ข้อแนะน�ำ ต่อการให้บริการและน�ำเสนอรายการต่างๆอย่าง ต่อเนื่อง โดยรวบรวมเสียงสะท้อนของผู้ฟังแล้วน�ำเสนอสู่สาธารณะเพื่อ มาปรับปรุงการท�ำงาน 9. ปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน ผู้ท�ำงานสื่อสาธารณะต้อง ไม่ปฏิบัติหน้าที่แอบแฝงเพื่อประโยชน์ส่วนตัว ครอบครัวและพวกพ้อง ทั้งในด้านการเงิน รายงาน หรือรายการของไทยพีบีเอส รวมไปถึงการรับ ของขวัญหรือการตอบแทนที่เกินขอบเขตที่ก�ำหนด สื่อสาธารณะต้องสร้างวัฒนธรรมความเป็นองค์การที่มีคุณธรรม และความซื่อสัตย์ มีกลไกการติดตามตรวจสอบ เพื่อไม่ให้รายการและ บุคลากรของไทยพีบีเอส รวมถึงผู้ผลิตอิสระน�ำเสนอหรือส่งเสริมสินค้า ผลิตภัณฑ์ โฆษณา รวมทั้งเป็นพิธีกรในการขายต่างๆทั้งในทางตรงและ แอบแฝง นอกจากนี้ เพื่อความโปร่งใสในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ไทยพีบเี อสต้องให้ผปู้ ฏิบตั งิ านทุกคนโดยเฉพาะผูท้ ที่ ำ� งานเกีย่ วกับการ ผลิต จัดหา และการเผยแพร่รายการ เช่น ผู้สื่อข่าว ผู้น�ำเสนอรายการ ผูผ้ ลิตรายการ ทัง้ ทีเ่ ป็นบุคลากรของไทยพีบเี อสและผูผ้ ลิตอิสระ ต้อง แจ้งข้อมูลผลประโยชน์ส่วนตัวและครอบครัวที่อาจจะมีผลต่อการท�ำ หน้าที่ในไทยพีบีเอส
170
ส่วนที่ 2 แนวทางปฏิบัติงานด้านการผลิต การจัดหา และเผยแพร่รายการ 1.แนวทางปฏิบัติเพื่อความถูกต้อง เที่ยงตรง ความถูกต้อง เทีย่ งตรงของเรือ่ งราวหรือเหตุการณ์ทงั้ ในปัจจุบนั และอดีตเป็นคุณสมบัติส�ำคัญที่มีผลต่อความน่าเชื่อถือของไทยพีบีเอส ในการรายงานข่าว ความรวดเร็วอาจเป็นสิ่งส�ำคัญ แต่การเร่งรีบเพื่อ ชิงตัดหน้าการน�ำเสนอข่าว รายงานหรือผลิตรายการ โดยไม่ระมัดระวัง หรือตรวจสอบอย่างรอบคอบ หากปรากฏในภายหลังว่าข้อมูลที่น�ำเสนอ ไม่เป็นความจริง อาจท�ำให้ไทยพีบีเอสเสื่อมเสียชื่อเสียงและความน่าเชื่อ ถือได้ แนวทางปฏิบัติ 1.1 การน�ำเสนอข่าวหรือข้อมูลต้องยึดถือความถูกต้อง ครบถ้วน ตามข้อเท็จจริง ทั้งเนื้อหา การใช้ภาษา วิธีการหรือรูปแบบการน�ำเสนอ ทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์และสื่ออื่นๆของไทยพีบีเอส ต้องไม่หลอกลวงผู้ชม ผู้ฟัง ต้องพยายามตรวจสอบความถูกต้องทั้งด้านข้อมูลและภาษากับ หน่วยงาน ผู้รู้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง แหล่งอ้างอิงหรือแหล่งข่าวอื่น 1.2 ความถูกต้อง เที่ยงตรงของแหล่งข่าว นักข่าวต้องรายงาน เหตุการณ์จากที่เห็นด้วยตาตัวเองและหาข้อมูลด้วยตัวเอง ใช้แหล่งข่าว ที่อยู่ในเหตุการณ์และรู้เห็นเหตุการณ์จริง มีหลักฐานสนับสนุน โดยเลี่ยง ข้อมูลในลักษณะบอกต่อๆกันมา และเปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่งข่าว
171
• ข่าวที่เป็นข้อกล่าวหาร้ายแรง ต้องแจ้งแก่ผู้ชมว่าแหล่งข่าว หรือผู้ร่วมรายการเป็นใคร พูดในนามของสถาบันหรือองค์กร ใด เพื่อให้ผู้ชมประเมินได้ด้วยตนเอง • การเสนอข่าวของส�ำนักข่าวอืน่ หรือการเสนอข้อมูลจากหน่วย งานสากล มารายงานหรือประกอบรายงานต้องเลือกเฉพาะ ส�ำนักข่าวที่มีชื่อเสียงและเชื่อถือได้ ภาคเอกชนที่ได้รับการ ยอมรับ และต้องอ้างอิงถึงนักข่าวหรือแหล่งข้อมูลนั้นๆ • ควรจดบันทึกข้อมูลจากแหล่งข่าวและจากการค้นคว้าทุกครัง้ ทุกขั้นตอนการท�ำงาน เพื่อให้ตรวจสอบได้ในภายหลังหาก เกิดข้อโต้เถียง • หลีกเลีย่ งการอ้างถึงแหล่งข่าวทีไ่ ม่เปิดเผย เว้นแต่การเปิดเผย นั้นจะเป็นอันตรายต่อแหล่งข่าว หรือข่าวนั้นเป็นประโยชน์ อย่างแท้จริง และหากตัดสินใจเผยแพร่ออกอากาศ ต้องปิดบัง หน้าตาแหล่งข่าว ชื่อ ที่อยู่ เพื่อความปลอดภัยของแหล่งข่าว และครอบครัว ด้วยการปิดเสียงหรือพรางภาพ • การใช้ขอ้ มูลจากเว็บไซต์ ต้องมีการระมัดระวังอย่างมากเพราะ เว็บไซต์อาจไม่ได้รับการตรวจสอบ 1.3 ความถูกต้อง เที่ยงตรงในเนื้อหา คือ ต้องรายงานหรือเสนอ ตามความเป็นจริง ไม่แทรกความคิดเห็น ไม่บิดเบือน ไม่คาดเดา ชี้น�ำ หรือสร้างความเข้าใจผิด ความตื่นกลัวให้ผู้ชมผู้ฟัง ไม่รายงานตัวเลขที่ คลาดเคลื่อน • ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและข้อเท็จจริง กับแหล่ง ข่าวหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง • ต้องแยกแยะให้ชัดเจน ระหว่างข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น
172
• แยกให้ชดั เจนระหว่างเนือ้ หาข่าวกับการวิเคราะห์ หรือเหตุผล กับการกล่าวอ้างว่าเป็นเหตุผล 1.4 ความถูกต้อง เที่ยงตรงในการรายงานข่าวหรือการรายงาน เหตุการณ์ปัจจุบัน ต้องน�ำเสนออย่างตรงไปตรงมา ไม่ใส่สีสัน หลีกเลี่ยง การเล่าเรื่องโดยการจัดฉาก สร้างตัวละครเลียนแบบ แต่หากจ�ำเป็นต้อง ไม่ให้เกินความเป็นจริง หรือรุนแรง โหดร้าย และต้องขึน้ ข้อความหรือแจ้ง ผู้ชมผู้ฟังว่าเป็นเหตุการณ์เลียนแบบ ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง • การใช้เอกสาร ภาพถ่าย เสียงเก่าหรือภาพเคลื่อนไหวที่มา จากห้องสมุดหรือคลังเก็บข้อมูล ต้องแจ้งแก่ผู้ชมผู้ฟังว่ามา จากแฟ้มภาพหรือคลังข้อมูล หากเป็นเหตุการณ์ส�ำคัญต้อง ระบุวันที่ของภาพหรือเสียงนั้นด้วย • เมื่อขึ้นข้อความหรือแจ้งว่าออกอากาศสด ต้องท�ำตามความ เป็นจริง 1.5 ความถูกต้อง เที่ยงตรงในการน�ำเสนอเนื้อหาหรือรายการ ต้องน�ำเสนออย่างครบถ้วน รอบด้านมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นส�ำคัญ หรือประเด็นที่มีความขัดแย้ง ควรท�ำเป็นรายงานพิเศษที่ทุกฝ่ายได้แสดง ความเห็นอย่างเต็มที่ รอบด้าน มากกว่าการออกอากาศสด เพราะมีความ กดดันมากกว่า • การรายงานตัวเลข สถิติ โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลอันตรายต่อ สังคม ควรน�ำเสนออย่างไม่สร้างความตื่นกลัวให้กับผู้ชมผู้ฟัง และควรบอกภูมิหลังและภาพรวมของสถานการณ์ และระบุ ชื่อของบุคคลที่ให้ข่าว
173
1.6 การเลือกเชิญผู้ให้สัมภาษณ์หรือร่วมถกเถียง แสดงความ คิดเห็น ในรายการสัมภาษณ์หรือรายการถกเถียงที่มีการน�ำเสนอข้อมูล ความคิดเห็น โดยเฉพาะรายการออกอากาศสด ต้องมัน่ ใจว่าบุคคลทีเ่ ชิญ มา มีความน่าเชือ่ ถือ หรือความเชีย่ วชาญในประเด็นทีน่ �ำเสนอ และไม่ควร เชิญบุคคลที่อาจจะพูดเกินเลยความเป็นจริง ชอบโอ้อวด • การทีผ่ ใู้ ห้สมั ภาษณ์หรือผูร้ ว่ มรายการ อ้างว่าเป็นตัวแทนของ สถาบันใด จะต้องมีการตรวจสอบกับต้นสังกัด ก่อนเชิญเข้า ร่วมรายการ 1.7 ไม่ควรออกอากาศสดสัมภาษณ์เกี่ยวกับข้อกล่าวหาร้ายแรง ทีม่ ผี ลกระทบต่อชือ่ เสียงของบุคคล หรือประเด็นทีม่ ผี ลกระทบอย่างร้าย แรงต่อสังคม ประเด็นทีส่ ร้างความตืน่ ตระหนก การกล่าวหาอย่างร้ายแรง ทีแ่ หล่งข่าวขอปกปิดชือ่ ควรน�ำเสนอในรูปแบบรายการ ทีม่ กี ารเขียนบท อย่างละเอียดถี่ถ้วน น�ำเสนอเนื้อหาตามล�ำดับ 1.8 ส�ำหรับช่วงเวลาที่อนุญาตให้บุคคลภายนอกแสดงทัศนะ หรือจัดรายการ เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อของไทยพีบีเอส ในรูปแบบการ รณรงค์ หรือการแสดงความเห็นเพียงฝ่ายเดียว ผู้ด�ำเนินรายการจะ ต้องแจ้งให้ผชู้ มทราบว่า ผูพ้ ดู หรือรายการนัน้ เป็นตัวแทนของสถาบัน หรือกลุ่มใด และไม่ใช่ความเห็นของไทยพีบีเอส
174
2. แนวทางปฏิบัติเพื่อความสมดุล เป็นธรรม 2.1 รายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันทั้งจากภายในประเทศ และต่างประเทศทัว่ โลก รวมทัง้ การน�ำเสนอประเด็นขัดแย้งหรือประเด็น สาธารณะด้วยการรวบรวมความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง หลากหลาย สมดุล รอบด้าน ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ให้ความยุติธรรมเสมอกัน ไม่แทรกความคิดเห็นของผูร้ ายงานหรือผูน้ ำ� เสนอ และต้องเปิดโอกาสให้ บุคคลที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามสามารถชี้แจงได้ 2.2 ต้องพยายามแสดงให้เห็นตลอดเวลาว่า การท�ำงานข่าว และรายการของไทยพีบีเอส ไม่มีอคติ ไม่ล�ำเอียง มีความสมดุล ในการ แสดงความเห็นประเด็นอื้อฉาว ซับซ้อน หรือประเด็นเกี่ยวกับนโยบาย สาธารณะที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะการแข่งขันทางการ เมือง การชิงคะแนนเสียงต่อการเลือกตั้ง การยื่นร่างกฎหมายหรือ ความขัดแย้งข้อพิพาทแรงงาน ข้อพิพาททางการค้า เรื่องโต้เถียงทาง ศีลธรรม วัฒนธรรม โดยในการรายงานหรือเสนอรายการ ต้องสร้างความ ไว้วางใจให้กับผู้ชมโดยการรวบรวมความเห็นที่ส�ำคัญ จากทุกกลุ่มอย่าง หลากหลาย ครอบคลุม และชั่งน�้ำหนักแล้วว่าความเห็นนั้นมีความสมดุล ไม่เลือกฝ่าย ไม่สอดแทรกความเห็นของผู้รายงาน 2.3 ส�ำหรับรายการสารคดี รายการถกเถียงอภิปราย การรายงาน เหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งออกอากาศเป็นตอนๆหรือเป็นชุดรายการ ผู้ปฏิบัติ งานด้านการผลิตรายการ ต้องรักษาความเป็นกลาง ไม่ล�ำเอียง โดยไม่ จ�ำเป็นต้องพยายามสร้างความสมดุลในแต่ละตอน ในการผลิตตั้งแต่เริ่ม วางโครงเรื่องในภาพรวมต้องสมดุล
175
2.4 ในรายการประเภทละคร เพื่อสะท้อนเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือเพื่อตีแผ่ปัญหาสังคม บางครั้งการสะท้อนภาพให้ตรงกับความเป็น จริง อาจดูเหมือนล�ำเอียง ดังนั้นก่อนการผลิตจึงต้องทบทวนเนื้อหาว่า เหมาะสมหรือไม่ และหากละครเรื่องนั้นท�ำให้เกิดการโต้เถียงในวงกว้าง ไทยพีบีเอสต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายคัดค้านได้น�ำเสนอข้อมูลโต้ตอบเช่นกัน 2.5 การแสดงทัศนะ หรือจัดรายการโดยบุคคลภายนอก มีแนว ปฏิบัติดังนี้ • เนื้อหารายการต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง • ควรแทรกเนื้ อ หาหรื อ ความเห็ น จากฝ่ า ยที่ ไ ม่ เ ห็ น ด้ ว ยใน รายการเดียวกัน • ควรเปิดโอกาสให้ฝ่ายหรือกลุ่มที่ต้องการโต้แย้ง ได้แสดง ทัศนะและข้อมูลคัดค้านในเวลาใกล้กัน • พยายามให้มีการจัดรายการในท�ำนองเดียวกันจากกลุ่มที่มี ความเห็นต่างกัน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
3. แนวทางปฏิบัติเพื่อความเป็นอิสระของวิชาชีพ ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ และการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ความเป็นอิสระของวิชาชีพ แนวทางปฏิบัติ 3.1 กองบรรณาธิการ หรือผู้รับผิดชอบในการผลิตรายการ ต้อง มีความเป็นอิสระในการคัดเลือกประเด็น ก�ำหนดเนื้อหาและวิธีการหรือ
176
รูปแบบการน�ำเสนอ โดยสามารถอธิบายเหตุผลในการตัดสินใจได้อย่าง สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของไทยพีบีเอส • การคัดเลือกผู้ผลิตอิสระให้ร่วมงานกับไทยพีบีเอส ผู้รับผิด ชอบต้องแจ้งว่าท�ำไมพวกเขาจึงได้รับเลือกหรือไม่ได้รับเลือก 3.2 นักข่าวและผู้สัมภาษณ์ต้องมีทักษะและความเท่าทันกัน สามารถซักค้านผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ทแี่ สดงความคิดเห็นแบบชวนวิวาทได้ และ ไม่ปล่อยให้มกี ารชีน้ ำ� ความเห็นทัง้ จากผูส้ มั ภาษณ์และผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ ซึง่ ผู้ สัมภาษณ์ตอ้ งศึกษาข้อมูลเกีย่ วกับผูใ้ ห้สมั ภาษณ์ เพือ่ สามารถซักถามหรือ คัดค้านได้ และควรให้เวลาอย่างเหมาะสม 3.3 กองบรรณาธิการ หรือคณะผู้รับผิดชอบในการผลิตรายการ ต้องรักษาความเป็นอิสระในการท�ำงาน โดยไม่ยอมให้ผใู้ ห้สมั ภาษณ์หรือผู้ ร่วมรายการตั้งเงื่อนไขบางอย่างในการเข้าร่วมรายการ หรือเพื่อไม่ให้ตั้ง ค�ำถามยากๆ ถามตรงๆ ถ้าผู้ร่วมรายการหรือผู้ให้สัมภาษณ์ขอตีกรอบ ตั้งค�ำถาม หรือไม่ยอมตอบค�ำถาม ผู้ปฏิบัติงานต้องคิดถึงผลกระทบต่อ ความรู้สึกของผู้ชมผู้ฟัง และความเชื่อถือที่มีต่อไทยพีบีเอส ถ้ายอมให้ผู้ ร่วมรายการหรือผู้ให้สัมภาษณ์แทรกแซงหรือกดดันการท�ำงาน 3.4 ไม่จ�ำเป็นต้องน�ำเสนอรายการให้แหล่งข่าวหรือผู้ร่วมรายการ ได้ชมได้ฟงั ก่อนออกอากาศ ยกเว้น ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม หรืออ�ำนาจ ศาล อาจต้องยอมให้แหล่งข่าวหรือผู้ร่วมรายการได้ชมได้ฟังก่อนออก อากาศ แต่ มีเงื่อนไขว่า ผู้ปฏิบัติงานยังสามารถก�ำหนดเนื้อหาและวิธี การน�ำเสนอได้อย่างเป็นอิสระ เว้นแต่การขอแก้ไขเป็นข้อเท็จจริงหรือมี เนือ้ หาเกีย่ วกับอารมณ์ ความรูส้ กึ ของเด็กและเยาวชน เพือ่ ความปลอดภัย
177
ของผู้ให้สัมภาษณ์ ผู้ร่วมรายการหรือพยาน 3.5 หากมีการติดต่อร้องขอจากหน่วยงานภาครัฐ ให้ออกอากาศ เทปเสียงหรือเทปโทรทัศน์หรือข้อความที่อาจโน้มน้าวความคิดเห็นหรือ ประเด็นขัดแย้ง หลักการส�ำคัญคือ ให้ค�ำนึงถึงผลเสียของความน่าเชื่อถือ ต่อไทยพีบีเอส เป็นส�ำคัญ 3.6 ผู้สื่อข่าว ผู้รายงาน หรือผู้น�ำเสนอรายการที่เป็นบุคลากร องค์การ ต้องท�ำงานโดยค�ำนึงถึงข้อบังคับด้านจริยธรรม ของกรรมการ บริหาร ผู้อ�ำนวยการ ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง และข้อบังคับ จริ ย ธรรมวิ ช าชี พ เกี่ ย วกั บ การผลิ ต และการเผยแพร่ ร ายการของ ไทยพีบเี อส ทัง้ ต้องนึกเสมอว่าเป็นตัวแทนของไทยพีบเี อส ในการปฏิบตั ิ งานจึงต้องระมัดระวังพฤติกรรม การแต่งกาย ค�ำพูด น�้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง ที่อาจมีผลต่อภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และความเป็นกลาง หรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดขององค์กร ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ แนวทางปฏิบัติ 3.7 ก่อนผลิตหรือน�ำเสนอการรายงานหรือการสัมภาษณ์บุคคลที่ มีความเห็นที่อาจจะกระทบความรู้สึกของผู้ชมผู้ฟังจ�ำนวนมาก ผู้ท�ำงาน ควรหารือกับผู้บริหารด้านข่าวหรือรายการ เพื่อประเมินว่าเรื่องดังกล่าว มีผลประโยชน์ต่อสาธารณะ มากกว่ากระทบต่อความรู้สึกของผู้ชม ผู้ฟังจ�ำนวนมาก
178
3.8 การรายงานหรือจัดท�ำรายการที่ มี เ นื้ อ หาสาระรอบด้ า น สะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่าง ควรออกอากาศในช่วงเวลาที่เหมาะสม 3.9 รักษาผลประโยชน์สาธารณะ ด้วยการน�ำเสนอข่าว เรื่องราว หรือประเด็นข้อถกเถียงที่ก�ำลังอยู่ในความสนใจของประชาชน หรือที่มี ผลกระทบต่อการด�ำเนินชีวติ ของคนส่วนใหญ่ในสังคม เช่น อาชญากรรม การทุจริต คอรัปชั่น การใช้อ�ำนาจในทางมิชอบ พฤติกรรมของบุคลากร ภาครัฐทีล่ ะเลยต่อหน้าทีจ่ นท�ำให้ประชาชนเสียประโยชน์ การขูดรีด การ ค้ามนุษย์ ฯลฯ • ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่ละเว้นการน�ำเสนอข่าว รายงาน ผลิต รายการในเนื้อหาหรือเรื่องราวที่สาธารณชนต้องรับรู้ สมควร ได้รับรู้ แม้การน�ำเสนออาจส่งผลกระทบต่อบุคคล หรือกลุ่ม บุคคลที่เกี่ยวข้อง ก็ตาม 3.10 เสนอข่าว รายงาน รายการที่สร้างเสริมความรู้ ความเข้าใจ สิทธิพนื้ ฐานตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ รวมทัง้ สิทธิในการรับรูข้ า่ วสารและ เสรีภาพการแสดงออก • เปิดเผยข้อมูลอย่างรอบด้านเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูล ข่าวสารที่ส�ำคัญในการใช้ชีวิต เพื่อให้รู้เท่าทัน สร้างความ ตื่นตัวและสนใจในการเข้าไปมีส่วนร่วมและตัดสินใจได้อย่าง เหมาะสมในประเด็นส�ำคัญทีเ่ กีย่ วกับนโยบายสาธารณะ หรือ ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม
179
3.11 ในสภาวะที่สังคมอยู่ในความสับสน ขัดแย้งรุนแรง หดหู่ หรือเผชิญอันตราย ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิต และจัดหารายการ ควร น�ำเสนอเนื้อหาที่สร้างก�ำลังใจ หรือให้สังคมร่วมกันหาทางออก ร่วมกัน สร้างสันติสุข หรือลดภาวะอึดอัด คับข้องใจ ขัดแย้ง กังวลใจ 3.12 พิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงผลกระทบต่อผู้ชมผู้ฟัง ในการเสนอ เนือ้ หาเกีย่ วกับปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติ การใช้เวทมนตร์ คาถาอาคม โดยเฉพาะรายการส�ำหรับเด็กและเยาวชน หรือในช่วงเวลาออกอากาศที่ มีเด็กและเยาวชนเป็นผู้ชมผู้ฟัง 3.13 การใช้ภาพกราฟิก ภาพเคลือ่ นไหว รวมทัง้ สี และจังหวะของ การเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงการน�ำเสนอภาพ หรือข้อความ ด้วย เทคนิคพิเศษ และการใช้เสียงประกอบ ควรค�ำนึงถึงผู้ชมผู้ฟังที่เป็นเด็ก ผู้ที่ด้อยความสามารถในการรับภาพและการอ่านข้อความ 3.14 เมื่อทราบว่ามีความผิดพลาดจากข้อเท็จจริง ในข่าวหรือ รายงานหรือรายการ ที่เผยแพร่ออกอากาศไปแล้วทางสื่อใดก็ตามของ ไทยพีบีเอส ผู้ปฏิบัติงานต้องด�ำเนินงานเพื่อชี้แจงหรือแก้ไขข้อผิดพลาด ให้เร็วที่สุด ทางสื่อนั้นๆของไทยพีบีเอส
180
การไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน แนวทางปฏิบัติ 3.15 ผู้ประกาศ ผู้ด�ำเนินรายการที่มีผลงานหรือปรากฏทางหน้า จอไทยพีบีเอส ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ต้องไม่รับเป็นพรีเซนเตอร์ ในชิน้ งานโฆษณาสินค้าหรือบริการทางธุรกิจ หรือเป็นพิธกี รหรือผูด้ ำ� เนิน รายการในกิจกรรมใดของพรรคการเมือง กลุ่มธุรกิจ กลุ่มผลประโยชน์ และหน่วยงานราชการ ยกเว้น กิจกรรมเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือ กิจกรรมทีไ่ ม่ทำ� ให้องค์การเสือ่ มเสียชือ่ เสียง ภาพลักษณ์ ความเป็นอิสระ และความเป็นกลาง โดยให้ผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ • หากจะว่าจ้างผู้ประกาศ ผู้รายงาน หรือผู้น�ำเสนอรายการที่ เป็นบุคคลภายนอก ต้องเป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ เป็นกลาง และไม่มีภาพลักษณ์ในทางเสื่อมเสีย
4.แนวทางปฏิบัติเพื่อการเคารพศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ ความเป็นส่วนตัว และการคุ้มครอง สิทธิส่วนบุคคล 4.1 ไม่กล่าวอ้างว่าสถานีหรือสื่ออื่น ล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และน�ำเสนอหรือรายงานออกไปก่อนแล้วมาท�ำให้ต้องละเมิดศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์และสิทธิส่วนบุคคล 4.2 ให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของผู้ที่ถูก กล่าวถึง ในกรณีผู้ร่วมรายการกล่าวถึงบุคคลที่สาม หรือต้องการน�ำภาพ
181
หรือเอกสารหรือหลักฐานของบุคคลที่สามน�ำเสนอในรายการ ผู้ปฏิบัติ งานที่รับผิดชอบการผลิตรายการควรท� ำให้บุคคลที่สามนั้นรับรู้และ ยินยอมก่อน 4.3 ผู้ปฏิบัติงานต้องแจ้งผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ให้สัมภาษณ์ทราบ ว่า จะน�ำข้อมูลส่วนตัว คือ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลของผู้ให้สัมภาษณ์ ไปใช้อย่างไรบ้าง และผู้ปฏิบัติงานต้องไม่ส่งข้อมูลเหล่านั้นให้กับใครหรือ หน่วยงานใดโดยเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอม การเคารพสิทธิส่วนบุคคลและครอบครัวในที่สาธารณะ แนวทางปฏิบัติ 4.4 แม้ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปิดบัง ชื่อ ที่อยู่ของบุคคลหรือสมาชิก ในครอบครัว แต่หากผู้ตกเป็นข่าวเข้าไปอยู่ในที่สาธารณะ เช่น ท้อง ถนน ห้างร้าน สถานีรถไฟ สนามบิน ฯลฯ จะไม่สามารถอ้างสิทธิส่วน ตัวได้เหมือนอยู่ในที่พักอาศัยของตน โดยผู้ปฏิบัติงานต้องค�ำนึงถึงความ ปลอดภัยและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลที่ตกเป็นข่าวในสถานที่ บางแห่ง เช่น โรงพยาบาล เป็นต้น 4.5 บุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม เช่น ดารา นักร้อง ที่มีพฤติกรรม สร้างข่าวให้ตัวเองเด่น จะไม่สามารถอ้างถึงสิทธิ์ส่วนตัวได้อย่างเต็ม ที่ หรือบุคคลที่สร้างปัญหาให้กับเพื่อนบ้าน ชุมชน สังคม เช่น นักเลง อันธพาล ก็ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ส่วนตัวได้อย่างเต็มที่เช่นกัน 4.6 การท�ำข่าวการผลิตรายการในที่ ส าธารณะควรติ ด ป้ า ย ประกาศแจ้งว่าก�ำลังบันทึกเทปเพือ่ ไม่ให้บคุ คลอืน่ เข้าไปในบริเวณถ่ายท�ำ
182
การเคารพในสิทธิ และ เสรีภาพของบุคคล ในความเชื่อหรือการนับถือศาสนา และการประกอบพิธี แนวทางปฏิบัติ 4.7 การรายงาน หรือน�ำเสนอเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา และการประกอบศาสนกิจของทุกศาสนา รวมทั้งการกล่าวถึงสัญลักษณ์ ชื่อ จารีต พิธีกรรม ประวัติ จารึก ภาษา วัตถุโบราณของศาสนาต่างๆ ควรท�ำอย่างถูกต้อง เที่ยงตรง ไม่มีอคติ ระมัดระวังการใช้ภาษา การน�ำ เสนอเสียง ภาพ และต้องไม่มีเป้าหมายเพื่อโน้มน้าวชักชวนให้ผู้ชมผู้ฟัง มานับถือศาสนานั้นๆ 4.8 การน�ำเสนอข่าวหรือรายการเรือ่ งวันส�ำคัญทางศาสนา รวมถึง พิธกี รรม การบูชา การปฏิบตั ธิ รรม หรือธรรมเนียมประเพณีในวันดังกล่าว พึงกระท�ำด้วยความเคารพ และระมัดระวังไม่ให้มกี ารพาดพิงถึงผูน้ ำ� ทาง ศาสนาใดในลักษณะดูหมิ่น ลบหลู่ ตลก เสียดสี 4.9 ไม่บิดเบือน หรือกีดกันการแสดงทัศนะและความเชื่อ ความ ศรัทธาทางศาสนา 4.10 ในรายการเกีย่ วกับศาสนา ไม่ควรมีเนือ้ หาเกีย่ วกับผูม้ อี ำ� นาจ เหนือธรรมชาติ ที่ยังมีชีวิตอยู่
183
5.แนวทางปฏิบัติเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน จากรายการที่แสดงออกถึงความรุนแรง การกระท�ำผิดกฎหมาย หรือขัดต่อศีลธรรม • • • •
เด็ก คือ ผู้มีอายุต�่ำกว่า 15 ปี วัยรุ่น คือ ผู้มีอายุระหว่าง 15-17 ปี เยาวชน คือ ผู้มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป
5.1 ต้องชั่งน�้ำหนัก ระหว่างการท�ำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชนกับ หน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชน จากรายการวิทยุ รายการ โทรทัศน์ ที่ไม่เหมาะสมกับวัย 5.2 ต้องค�ำนึงถึงสิทธิในการรับรู้ข่าวสารและการแสดงออกของ ความคิดเห็น ความต้องการ ทักษะ ความสามารถ จินตนาการ ฯลฯ ของ เด็กและเยาวชน 5.3 ก�ำหนดเวลาการออกอากาศรายการส�ำหรับเด็ก เยาวชนและ ครอบครัว แยกจากรายการเฉพาะผู้ใหญ่ หมั่นตรวจสอบ ดูแลความ เหมาะสมของเนื้อหารายการ ในช่วงเวลาส�ำหรับเด็ก เยาวชน และ ครอบครัว โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวกับเพศ การเลือกเพศ เพศสัมพันธ์ ภาษาหยาบคาย เนื้อหาที่เสนอความรุนแรงและเนื้อหาที่แสดงอคติหรือ ปฏิบัติต่อกลุ่มคนใดในสังคมอย่างไม่เหมาะสม
184
5.4 ค� ำ นึ ง ว่ า เด็ ก และเยาวชนมี ค วามอ่ อ นไหว และด้ อ ย ประสบการณ์ โดยปกป้องเด็กและเยาวชนจากเนื้อหาและการน�ำเสนอ ที่ไม่เหมาะสม เช่น เนื้อหารายการที่มีความรุนแรง ด้วยการประกาศ เตือนหรือแสดงข้อความเพื่อให้ผู้ชมผู้ฟังพิจารณาว่าเหมาะสมกับตนเอง หรือเด็ก และเยาวชนในครอบครัวหรือไม่ 5.5 การเชิญเด็ก และเยาวชนมาร่วมในการบันทึกเทปหรือออก อากาศสด ต้องแจ้งเหตุผล เนื้อหาและรูปแบบรายการอย่างชัดเจน ต่อเยาวชนที่มีอายุมากกว่า 18 ปี แต่ส�ำหรับเด็กอายุต�่ำกว่า 18 ปี ผู้ปฏิบัติงานต้องแจ้งพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อยินยอมให้เด็กและเยาวชนมา ให้สัมภาษณ์หรือร่วมรายการ 5.6 ในการผลิตรายการต้องไม่ทำ� ให้เด็กและเยาวชนทีร่ ว่ มรายการ มีความกดดัน เครียด หรือวิตกกังวล ไม่ควรตั้งค�ำถามที่ยากจนเกินไป หรือเป็นค�ำถามที่ซับซ้อน ยิ่งเด็กและเยาวชนมีอายุน้อยเท่าไหร่ ผู้ปฏิบัติ งานต้องระมัดระวังมากเท่านั้น 5.7 การให้ เ ด็ ก และเยาวชนมาสั ม ภาษณ์ ห รื อ ร่ ว มรายการ ต้องไม่เสนอเงินหรือสิง่ ของเป็นการตอบแทน ยกเว้นแต่การดูแลค่าใช้จา่ ย ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าใช้จ่ายการเดินทาง ค่าอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น 5.8 การชั ก ชวนให้ เ ด็ ก และเยาวชนมี ส ่ ว นร่ ว มในรายการ เช่น การส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์ (เอสเอ็มเอส) ต้องแจ้งค่าใช้จ่ายใน การโทรศัพท์ และควรแนะน�ำให้เด็กขออนุญาตพ่อแม่ผู้ปกครองก่อน
185
5.9 ควรให้รายละเอียดถึงผลกระทบทีอ่ าจตามมาหลังจากทีไ่ ด้รว่ ม รายการไปแล้ว กับเด็กและเยาวชนที่มาร่วมรายการ 5.10 ในรายการที่เป็นการตีแผ่ปัญหาครอบครัว และปัญหาสังคม ที่ซับซ้อน ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กหรือนักจิตวิทยาเด็กมาให้ค�ำปรึกษา ด้วย และอาจต้องเชิญพ่อแม่ผปู้ กครองของเด็กและเยาวชนทีร่ ว่ มรายการ มารับรู้ระหว่างการผลิตหรือการออกอากาศสด เพราะเด็กและเยาวชน อาจไม่ได้ใส่ใจถึงผลในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้น 5.11 บางครั้งเด็กและเยาวชนที่ร่วมรายการบางคน อาจพูดถึง ข่าวลือหรือกล่าวอ้างโดยไม่ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ผูป้ ฏิบตั งิ านหรือ ผู้รับผิดชอบการผลิตรายการต้องพยายามสร้างความสมดุลระหว่างการ แสดงออกและความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหา
การปฏิบัติต่อเด็กและเยาวชนส�ำหรับสื่อออนไลน์
ภารกิจหนึ่งของสื่อสาธารณะ คือ การให้เด็กและเยาวชนได้ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้ โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ตที่มี ประโยชน์มากมายทางการศึกษา แต่ในทางกลับกันก็มโี ทษอย่างมากหาก ใช้ในทางที่ผิด ไทยพีบีเอส ผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนจึงต้องร่วมกัน ปกป้องคุ้มครองการใช้งานของพวกเขา แนวทางปฏิบัติ 5.12 หน้าเว็บไซต์ของไทยพีบีเอส อาจมีเด็กและเยาวชนเปิด เข้าไปชมผู้ปฏิบัติงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ควรดูแลภาพและข้อความให้ เหมาะสม โดยหน้าเว็บไซต์ของไทยพีบีเอสต้องน�ำเสนออย่างเหมาะสม ต่อผู้เข้าชมทุกวัย
186
5.13 การเชือ่ มโยงจากหน้าเว็บไซต์ไทยพีบเี อสไปยังหน้าอืน่ ๆ หรือ หน้าเว็บไซต์ของหน่วยงานอื่น ผู้รับผิดชอบต้องดูแลอย่างสม�่ำเสมอว่า ข้อมูลและภาพนั้นเหมาะสมกับเด็กและเยาวชน
6.แนวทางปฏิบัติต่อเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายและผู้ที่อยู่ใน ภาวะเศร้าโศก
6.1 ในภาวะทุกข์โศกจากเหตุภัยธรรมชาติ อุบัติเหตุ การสู้รบ และความหายนะต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานด้านข่าวและรายการ ควรรายงาน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เพื่อ ให้ประชาชนได้รับรู้และรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม แต่ต้องค�ำนึงถึง มนุษยธรรมและเคารพศักดิ์ศรีของมนุษย์ผู้ที่ตกอยู่ในภาวะทุกข์โศก ต้อง ท�ำงานด้วยความระมัดระวัง การบรรยายเหตุการณ์ต้องสมเหตุสมผล 6.2 ระมัดระวังในการออกอากาศ หรือแพร่ภาพ หรือค�ำพูดของ ผู้เคราะห์ร้าย หรือผู้ประสบเหตุเพียงบางคนอาจท�ำให้ข่าวสารมีความ รุนแรงกว่าเหตุทแี่ ท้จริง ดังนัน้ ควรสร้างความสมดุลด้วยการน�ำเสนอความ เห็นจากผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิชาการน�ำเสนอ 6.3 พิ จ ารณาเรื่ อ งความรู ้ สึ ก ของบุ ค คลหรื อ กลุ ่ ม คนที่ ต ก เป็นข่าวกับความรู้สึกของผู้ชมผู้ฟัง เพราะบางครั้งผู้ตกเป็นข่าวอาจ ไม่รู้สึกว่าถูกละเมิดแต่ผู้ชมผู้ฟังอาจรู้สึกไม่สบายใจที่เห็นภาพหรือได้ยิน เหตุการณ์ร้ายๆ จึงควรมีค�ำเตือนผู้ชมว่าภาพที่ก�ำลังจะน�ำเสนอนั้น กระทบกระเทือนความรู้สึก
187
การสัมภาษณ์บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บ หรือ ก�ำลังไว้ทุกข์ แนวทางปฏิบัติ 6.4 ไม่สร้างความกดดันให้กับแหล่งข่าว โดยต้องขออนุญาตผ่าน ผู้อื่นก่อน เช่น ญาติพี่น้อง 6.5 ถ้าบุคคลนั้นปฏิเสธการให้สัมภาษณ์แล้ว ไม่ควรส่งค�ำขอ สัมภาษณ์ซ�้ำไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆอีก
การรายงานข่าวงานศพ
แนวทางปฏิบัติ 6.6 การรายงานข่าว หรือการออกอากาศงานศพของบุคคล ส�ำคัญทีเ่ ป็นรัฐพิธี หรือเป็นงานศพของบุคคลทีม่ ชี อื่ เสียง หรืออยูใ่ นความ สนใจของประชาชน ควรขออนุญาตเจ้าภาพก่อน การน�ำภาพเก่าที่เกี่ยวข้องกับความทุกข์โศกมาออก อากาศซ�้ำ แนวทางปฏิบัติ 6.7 ต้ อ งพิ จ ารณาอย่ า งถี่ ถ ้ ว นถึ ง ความส� ำ คั ญ ในการน� ำ ภาพ เหตุการณ์ความสูญเสีย หรือความทุกข์โศกที่เคยออกอากาศแล้วมาออก อากาศซ�้ำ เพราะอาจท�ำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ พอใจ แต่ถา้ ตัดสินใจเผยแพร่ไปแล้วควรขอความเห็นจากผูท้ สี่ ญ ู เสีย หรือ ประสบความทุกข์โศกหรือญาติพี่น้องของคนเหล่านั้นก่อน
188
6.8 ถ้าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับเหตุการณ์นั้นไม่ยอมให้น�ำภาพเหล่า นั้นมาเผยแพร่ออกอากาศ แต่ผู้จัดรายการเห็นว่าการน�ำเสนอภาพเหล่า นั้นส�ำคัญต่อประโยชน์ของประชาชน หรือมีความจ�ำเป็นในการล�ำดับ เหตุการณ์ ผู้ผลิตรายการต้องขออ�ำนาจจากผู้บริหารที่รับผิดชอบก่อน การผลิตและออกอากาศ
7.แนวทางปฏิบัติเพื่อปกป้องและปฏิบัติต่อแหล่งข่าว อย่างเป็นธรรม ความเป็นธรรมต่อแหล่งข่าว/ผู้ให้สัมภาษณ์/ ผู้ร่วมรายการ แนวทางปฏิบัติ 7.1 ต้องเปิดเผย ตรงไปตรงมา และซื่อสัตย์ต่อผู้ตกเป็นข่าว ผู้ให้ ข่าว ผู้ร่วมรายการ รวมทั้งผู้ชมผู้ฟังรายการ ต้องแจ้งสิ่งต่างๆต่อไปนี้ • เหตุผลที่เชิญ • เชิญในฐานะ/ต�ำแหน่ง/บทบาทใด • รูปแบบรายการสดหรือบันทึกเทป • ชื่อรายการ • วันและเวลาในการออกอากาศ แต่ไม่ควรรับปากผู้ร่วมรายการว่าจะได้ออกอากาศอย่างแน่นอน ส�ำหรับรายการสัมภาษณ์ ควรแจ้งผู้ให้สัมภาษณ์หรือผู้ร่วมรายการ ควร แจ้งผู้ให้สัมภาษณ์หรือผู้ร่วมรายการทราบถึงประเด็นที่จะซักถามแต่ไม่ ต้องให้ค�ำถามล่วงหน้า
189
ในกรณีที่มีประเด็นปัญหาส�ำคัญและซับซ้อน ต้องแจ้งให้ชัดเจน มากยิ่งขึ้น แต่ไม่จ�ำเป็นต้องให้รายละเอียดของค�ำถาม แจ้งเพียงหัวข้อ และแนวค�ำถามกว้างๆเท่านั้น 7.2 หากมีความจ�ำเป็นต้องปิดบังหรือด�ำเนินการอย่างไม่เปิดเผย ในการหาข่าวหรือข้อมูล ก็ต้องสามารถให้เหตุผลและพิสูจน์ได้ว่าท�ำไป เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือมีความจ�ำเป็นทางกฎหมาย 7.3 แม้เป็นที่เข้าใจว่า ถ้าบุคคลที่ตกเป็นข่าวหรือบุคคลอื่นๆให้ ความเห็นเกี่ยวกับข่าวยอมให้บันทึกเทปสัมภาษณ์หรือตอบรับการเข้า ร่วมรายการ สามารถอนุโลมได้ว่าเป็นการยินยอมให้มีการผลิตเพื่อเผย แพร่ออกอากาศ แต่ผู้ปฏิบัติงานควรแจ้งผู้ที่ให้ข้อมูล ความคิดเห็น หรือ ผู้ร่วมรายการ ให้เข้าใจ ยินยอมและยอมรับว่าสิ่งที่พูดออกอากาศอาจส่ง ผลกระทบตามมา สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานควรด�ำเนินการคือ บันทึกภาพ/เสียง การกล่าวยินยอมอนุญาต หรือบางกรณีอาจต้องให้อนุญาตเป็นลายลักษณ์ อักษร เพื่อเก็บไว้ยืนยันในภายหลัง 7.4 ถ้าผู้ร่วมรายการเป็นเด็กและเยาวชน หรือบุคคลที่ก�ำลังมี ความทุกข์ หรือบกพร่องทางสมอง ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะพวก เขาเหล่านั้นอาจไม่ได้นึกถึงผลกระทบจากการให้สัมภาษณ์หรือเข้าร่วม รายการ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจึงควรสร้างความเข้าใจและขอความยินยอม จากผู้ดูแลเขาเหล่านั้น 7.5 ไม่ควรขอความคิดเห็นจากบุคคลที่ไม่สามารถตอบปัญหาได้ อย่างมีน�้ำหนัก
190
ความเป็นธรรมในการปฏิเสธการร่วมรายการและการ ใช้สิทธิโต้ตอบ แนวทางปฏิบัติ 7.6 หากผูถ้ กู เชิญปฏิเสธในการให้สมั ภาษณ์หรือเข้าร่วมรายการใน สือ่ ของไทยพีบเี อส ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องใช้วจิ ารณญาณว่าควรแจ้งในรายการ หรือไม่วา่ ได้เชิญแล้วแต่บคุ คลดังกล่าวปฏิเสธ แต่ไม่ได้หมายความว่า เขา จะมีสิทธิในการยับยั้งไม่ให้เชิญบุคคลอื่นหรือคู่กรณีมาออกอากาศ 7.7 กรณีมกี ารยินยอมให้สมั ภาษณ์ หรือเข้าร่วมรายการและบันทึก เทปเรียบร้อยแล้ว และต่อมาผู้ให้สัมภาษณ์หรือผู้เข้าร่วมรายการ เกิด เปลี่ยนใจและขอไม่ให้ไทยพีบีเอสเผยแพร่ออกอากาศเทปดังกล่าว กรณี เช่นนี้ ผู้ปฏิบัติงานไม่จ�ำเป็นต้องไม่ออกอากาศเทปรายการนั้นตามค�ำขอ แต่ให้อยู่ในดุลยพินิจของกองบรรณาธิการ หรือผู้บริหารด้านข่าวและ รายการ และอาจหารือกับฝ่ายกฎหมาย 7.8 ก่อนการเผยแพร่ออกอากาศ ข่าว หรือรายการที่เสนอเนื้อหา ในทางกล่าวหาบุคคล กลุ่มบุคคล หรือนิติบุคคล ว่ากระท�ำความผิด ร้ายแรง หรือมีพฤติกรรมไร้คุณธรรม ทุจริต รวมทั้งการน�ำเสนอข่าว หรือรายการที่มีการต�ำหนิว่ากล่าวให้เสียหาย ควรเปิดโอกาสให้ผู้ที่ถูก กล่าวหาได้โต้ตอบข้อกล่าวหาอย่างเหมาะสม เป็นธรรม ก่อนน�ำข้อกล่าว หาดังกล่าวเผยแพร่ออกอากาศ 7.9 กรณีที่นักข่าวและคณะผู้ร่วมรับผิดชอบ ได้ข่าวที่เป็นการ กล่าวหาร้ายแรงและเชื่อได้ว่าเป็นจริงโดยที่ฝ่ายที่ถูกกล่าวหายังไม่ทันจะ ได้โต้ตอบ หรือให้โอกาสแล้วแต่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ยอมโต้ตอบ ส�ำหรับข่าว
191
และรายการที่มีเงื่อนไขเช่นนี้ จะออกอากาศได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุมัติจาก ผู้บริหารด้านข่าวหรือรายการก่อน แต่ไม่จ�ำเป็นต้องขออนุญาตล่วงหน้า หากมีการกระท�ำผิดกฎหมายเฉพาะหน้า นักข่าวหรือช่างภาพสามารถ บันทึกเหตุการณ์ไว้ได้ 7.10 เคารพสิทธิในการโต้ตอบอย่างตรงไปตรงมา โดยระบุชื่อ บุคคลที่รายการต้องการให้ออกมาโต้ตอบ พร้อมให้สาระส�ำคัญของ ข้อกล่าวหา แต่ต้องให้การตอบโต้นั้นตรงประเด็น และค�ำตอบที่ได้ควร น�ำออกอากาศในรายการเดียวกัน แต่ถา้ มีการบ่ายเบีย่ ง ถ่วงเวลาโต้ตอบ ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องพิจารณา และปรึกษากับผูบ้ ริหารฝ่ายข่าวหรือเหตุการณ์ ก่อนตัดสินใจเผยแพร่ออกอากาศ 7.11 การรายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันในลักษณะสืบสวน สอบสวนที่รวบรวมข้อมูลหลักฐานครบถ้วน และพิสูจน์ได้จริง ควรมี ฝ่ายกฎหมายของไทยพีบีเอสเข้าร่วมพิจารณาด้วย และเมื่อผู้ปฏิบัติ งานหรื อ ผู ้ ร ่ ว มรั บ ผิ ด ชอบ เผยแพร่ อ อกอากาศเป็ น การปกป้ อ งผล ประโยชน์ของสาธารณะ ก็อาจเผยแพร่ออกอากาศโดยไม่ต้องรอให้มี การโต้ตอบ แต่ควรได้รับอนุมัติจากผู้บริหารฝ่ายข่าวหรือรายการก่อน ถ้าฝ่ายถูกกล่าวหารูแ้ ละขอโต้ตอบก่อนออกอากาศ โดยใช้อำ� นาจ อิทธิพลแทรกแซงกองบรรณาธิการหรือข่มขู่พยาน หรืออาจขออ�ำนาจ ศาลเพื่อชะลอการออกอากาศเพราะไม่ต้องการให้ข้อเท็จจริงปรากฏต่อ สาธารณะ ในกรณีเช่นนี้ ก่อนตัดสินใจเผยแพร่ออกอากาศ ผู้ปฏิบัติงาน ที่รับผิดชอบต้องหารือกับฝ่ายกฎหมายเพื่อตรวจสอบความพร้อมที่จะ พิสูจน์ข้อเท็จจริงในศาล
192
ความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมรายการ แนวทางปฏิบัติ 7.12 การเชิญบุคคลเข้าร่วมในรายการใดก็ตามต้องมีการประเมิน ความเสี่ยง และควรแจ้งให้ผู้เข้าร่วมรายการรับทราบ 7.13 ผู้ปฏิบัติงานที่ร่วมรับผิดชอบในรายการต้องระมัดระวังการ ใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือในการผลิตรายการหรือออกอากาศสด เพื่อไม่ ให้เป็นอันตรายต่อตนเองและผู้ร่วมรายการ การบันทึกเทป และการหาหลักฐานแบบลับ รูปแบบหรือวิธีการบันทึกเทปลับ • การใช้กล้องหรือไมโครโฟนบันทึกภาพหรือเสียงโดยผู้ถูก บันทึกภาพหรือเสียงไม่รู้ตัว • การใช้เลนส์ระยะไกล กล้องจิ๋ว กล้องถ่ายภาพในโทรศัพท์ มือถือ เครื่องบันทึกเสียง โดยหลบซ่อนหรือไม่แจ้งให้ผู้ถูก บันทึกภาพหรือเสียงรู้ตัว • การจงใจบันทึกภาพหรือเสียงต่อไป แต่แสร้งท�ำเป็นว่าได้ ยุติการบันทึกแล้ว การบันทึกเทปและหาหลักฐานแบบลับ ควรเป็นวิธีการสุดท้าย เพราะหากท�ำพร�่ำเพรื่อจะท�ำให้ข่าว หรือรายการไม่น่าเชื่อถือ
193
แนวทางปฏิบัติ 7.14 เมื่อผู้ผลิตรายการ ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว เหตุการณ์ ปัจจุบัน หรือรายการบันเทิง นักข่าว วางแผนการท�ำรายการ โดยใช้วิธี การบันทึกเสียง หรือบันทึกภาพแบบลับ ต้องขออนุมัติแผนงานจากผู้ บริหารฝ่ายข่าวหรือรายการก่อน เพื่อยืนยันว่า การหาข้อมูลแบบลับนี้ จะมีผลต่อประโยชน์สาธารณะ 7.15 การแอบบันทึกเสียงหรือเทปโทรทัศน์แบบลับ จะกระท�ำได้ ภายใต้เงื่อนไขต่อไปนี้ • การท�ำข่าวแบบสืบสวนสอบสวน เพื่อเปิดโปงที่ประชาชนมี สิทธิรับรู้ • การรายงานข่าววิทยาศาสตร์ การรายงานพฤติกรรมทางสังคม การรายงานเพือ่ ปกป้องสิทธิผบู้ ริโภคทีถ่ า้ ใช้วธิ กี ารบันทึกเทป อย่างเปิดเผย จะไม่ได้ข้อมูลตามข้อเท็จจริง 7.16 ส�ำหรับรายการที่ไม่ใช่ข่าวหรือเหตุการณ์ปัจจุบัน เช่น รายการสารคดี บันเทิง หรือรายการตลก หากมีความจ�ำเป็นต้องบันทึก เทปลับ เพื่อให้ได้บรรยากาศตามเนื้อหา ก่อนน�ำไปออกอากาศผู้ปฏิบัติ งานที่รับผิดชอบการผลิตรายการควรขอความเห็นชอบจากบุคคลที่ถูก บันทึกเทปดังกล่าวโดยเฉพาะบุคคลที่โดดเด่นในเทปนั้น และต้องพราง ภาพบุคคลอื่นที่อยู่ในเทปภาพที่บันทึกไว้ 7.17 การแอบบันทึกในรายการข่าวและเหตุการณ์จริง นักข่าว หรือผูร้ ายงานต้องสามารถให้เหตุผลว่าผลประโยชน์ทจี่ ะเกิดต่อสาธารณะ มีน�้ำหนักมากพอที่จะใช้วิธีการบันทึกเทปลับ ทั้งในสถานที่สาธารณะ
194
หรือในสถานที่พยาบาล หรือการบันทึกภาพ และ/หรือเสียงของผู้ที่ตก อยู่ในภาวะโศกเศร้า เครียด 7.18 ก่อนการเผยแพร่ออกอากาศภาพหรือเสียงทีบ่ นั ทึกโดยไม่ได้ แจ้งผูร้ ว่ มรายการล่วงหน้า ผูป้ ฏิบตั งิ านทีร่ บั ผิดชอบการผลิต หรือการเผย แพร่รายการ ต้องขออนุมัติจากผู้บริหารฝ่ายข่าวหรือรายการ 7.19 ถ้าผูถ้ กู บันทึกเทปลับรูต้ วั และขอให้ยตุ กิ ารบันทึกหรือท�ำลาย เทปนั้น ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบต้องปฏิบัติตามค�ำขอ 7.20 โดยสรุป การขออนุมัติในการบันทึกเทปลับมี 2 ระดับ คือ ระดับแรก ขออนุมัติแผนการบันทึกภาพหรือเสียงแบบลับ ระดับสอง ขออนุมัติการน�ำเผยแพร่ออกอากาศ ผูบ้ ริหารทีม่ อี �ำนาจอนุมตั คิ วรเก็บเอกสารใบค�ำขอและเหตุผลของ การขออนุมตั เิ พือ่ การตรวจสอบในภายหลัง และเพือ่ ใช้เป็นข้อมูลทบทวน ในระดับนโยบายต่อไป ทั้งนี้ไม่ว่าค�ำขอนั้นจะได้รับอนุมัติหรือไม่ก็ตาม การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ แนวทางปฏิบัติ 7.21 ก่อนเริ่มบันทึกเทป ต้องแจ้งให้บุคคลที่โทรศัพท์ไปหาทราบ ว่าจะมีการบันทึกเสียงเพื่อออกอากาศ หรือเพื่อเก็บเป็นข้อมูล แต่อาจมี บางกรณีทไี่ ม่มกี ารแจ้งให้ทราบก่อนการบันทึกเทปเสียงแบบลับ โดยต้อง ท�ำตามหลักการในเรื่องการบันทึกเทปข้างต้น
195
7.22 เมื่อต้องการบันทึกเทปภาพหรือเสียงในสถานที่สาธารณะ ควรขออนุญาตจากเจ้าของสถานที่หรือผู้รับผิดชอบดูแล และแม้ว่า จะได้รบั อนุญาตเป็นทางการแล้ว ถ้าผูใ้ ห้อนุญาตเกิดเปลีย่ นใจให้หยุดการ บันทึก ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบต้องปฏิบัติตาม การเผยแพร่ออกอากาศเทปแบบลอบบันทึก ที่ส่งมาจากแหล่งข่าวภายนอก แนวทางปฏิบัติ 7.23 ไม่ควรเผยแพร่ออกอากาศเทปที่บันทึกแบบลับโดยบุคคล ภายนอกหรือจากแหล่งข่าวอื่น ที่ไม่มีผู้ผลิตรายการของไทยพีบีเอส ร่วมอยู่ในการบันทึกนั้น 7.24 หากจ�ำเป็นต้องใช้เทปลับที่บุคคลภายนอกส่งมา ต้องผ่าน การตรวจสอบมาตรฐานตามข้อก�ำหนดทุกอย่างขององค์กร และต้องได้ รับอนุมัติจากผู้บริหารด้านข่าวหรือรายการที่เกี่ยวข้องก่อนการเผยแพร่ ออกอากาศ 7.25 การบันทึกข้อมูล ภาพหรือเสียง เพื่อใช้อ้างอิงในการผลิต รายการ และเพื่อใช้ปกป้องตนเองเมื่อถูกฟ้องร้องหรือร้องเรียน ผู้ปฏิบัติ งานที่ท�ำการบันทึกดังกล่าว ต้องดูแลรับผิดชอบไม่ให้เทปดังกล่าวถูก น�ำไปเผยแพร่ออกอากาศ แต่หากจ�ำเป็น ผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบต้อง ขออนุมัติจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องให้ผู้ที่ถูกบันทึกเทปนั้น ให้ ความยินยอม ก่อนน�ำไปเผยแพร่ออกอากาศ
196
การดักรอเพื่อสัมภาษณ์ การหาข้อมูลแบบดักรอ ดักหน้าดักหลัง ควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อวิธีอื่นๆไม่ได้ผล หากมีความจ�ำเป็นในการผลิตรายการ แนวทางปฏิบัติ 7.26 ควรหลีกเลี่ยงวิธีการรุมล้อม ดักรอ เพื่อสัมภาษณ์บุคคล สาธารณะ รวมถึงการแย่งชิงกันตั้งค�ำถาม หรือการกระท�ำใดๆ ที่ท�ำให้ บุคคลที่เป็นแหล่งข่าวต้องตกอยู่ภายใต้ภาวะกดดันมากเกินไป 7.27 อาจหาวิธีเลี่ยงด้วยการนัดหมายเพื่อสัมภาษณ์โดยเฉพาะ หรือแยกจากการท�ำงานร่วมหรือพร้อมกับสื่อมวลชนอื่น
8.แนวทางปฏิบัติในการรายงานข่าวอาชญากรรม หรือพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสาธารณะ การน�ำเสนอ เหตุร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อบุคคลในสังคม
ในการรายงานข่าวอาชญากรรม ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องรายงานข้อเท็จ จริงพร้อมสภาพแวดล้อมทีเ่ ป็นข้อมูลเชิงลึกและรอบด้านของข่าวนัน้ ด้วย แต่ต้องไม่ท�ำให้ผู้ชมผู้ฟังตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ แนวทางปฏิบัติ 8.1 รายงานข้อเท็จจริง สภาพเหตุการณ์แวดล้อม 8.2 สร้างความสมดุลระหว่างสิทธิในการรับรู้ของประชาชน และ สิทธิส่วนบุคคลของเหยื่ออาชญากรรม
197
8.3 ระมัดระวังในการรายงานหรือการเสนอรายการที่เปิดเผย เทคนิค หรือให้รายละเอียดขั้นตอนการประกอบอาชญากรรม เพื่อไม่ให้ เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ 8.4 ไม่ควรสัมภาษณ์อาชญากร หรือผูท้ มี่ พี ฤติกรรมเป็นอาชญากร แต่ถ้ามีความจ�ำเป็นต้องสัมภาษณ์ควรขออนุญาตจากผู้บริหารฝ่าย ข่าวหรือรายการก่อน และแม้ได้รับการอนุมัติแล้วต้องไม่ให้เนื้อหาที่ สัมภาษณ์ทำ� ให้อาชญากรโดดเด่น ไม่เสนอขัน้ ตอนการท�ำผิด ทีอ่ าจท�ำให้ เกิดพฤติกรรมเลียนแบบ และไม่น�ำเสนอในสิ่งที่แทรกแซงกระบวนการ ยุติธรรม 8.5 ไม่สัมภาษณ์ผู้มีความผิดต้องโทษโดยไม่ได้รับความเห็นชอบ จากเจ้าหน้าที่ ผู้ดูแลเรือนจ�ำ ไม่สัมภาษณ์นักโทษที่หลบหนีจากเรือนจ�ำ แต่หากจ�ำเป็นต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารฝ่ายข่าวหรือรายการ 8.6 การสัมภาษณ์พยาน หรือบุคคลทีเ่ ป็นพยาน ผูต้ อ้ งหา พนักงาน สืบสวน ต้องระมัดระวังไม่ให้ส่อไปในทิศทางที่รบกวนหรือแทรกแซง กระบวนการยุติธรรม 8.7 ท�ำตามค�ำสั่งศาลเกี่ยวกับการรายงานข่าวอาชญากรรม หรือ การไต่สวนคดี 8.8 ไม่สร้างแรงกดดันหรือความอับอายให้แก่ผใู้ ห้ขอ้ มูลทีเ่ ป็นญาติ พีน่ อ้ งของผูท้ ถี่ กู กล่าวหา และไม่เหมารวมว่าญาติพนี่ อ้ งของผูถ้ กู กล่าวหา นั้นรู้เห็นเป็นใจด้วย
198
การรายงาน หรือ น�ำเสนอเนื้อหา ที่อาจกระทบกระเทือนจิตใจ หน้าที่ของไทยพีบีเอสในฐานะสื่อมวลชน คือ สะท้อนความเป็น จริงรอบตัว รอบโลก ซึ่งบางครั้งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงไม่ว่าจะเป็นไปตาม ธรรมชาติหรือฝีมอื มนุษย์ อาจเป็นเรือ่ งทีไ่ ม่นา่ ดูไม่นา่ ฟัง การสะท้อนภาพ ความเป็นจริงดังกล่าว ผูส้ อื่ ข่าว ผูร้ ายงาน และช่างภาพจะต้องชัง่ น�ำ้ หนัก ระหว่างสิทธิในการแสดงออก สิทธิในการรับรู้ข่าวสาร และหน้าที่ของ สื่อมวลชนที่จะต้องปกป้องผู้อ่อนแอ แนวทางปฏิบัติ เมื่อใดก็ตามที่ต้องรายงานหรือน�ำเสนอเนื้อหาที่อาจจะกระทบ กระเทือนจิตใจของผู้ชมผู้ฟังบางกลุ่ม สิ่งที่ผู้ปฏิบัติงานพึงด�ำเนินการคือ 8.9 ต้องพิสูจน์ได้ว่า จุดมุ่งหมายในการน�ำเสนอข้อมูลคือ เพื่อ ประโยชน์สาธารณะ 8.10 การน�ำเสนอเนือ้ หาทีเ่ กีย่ วกับการดืม่ สุรา สูบบุหรี่ การเสพยา พฤติกรรมอันธพาล ต้องระมัดระวัง ไม่ให้ส่อไปในทางสนับสนุน ไม่ท�ำให้ เห็นว่าเป็นเรือ่ งโก้เก๋ ทัง้ ต้องไม่มรี ายละเอียด ทีช่ กั น�ำให้เกิดการเลียนแบบ การน�ำเสนอเหตุการณ์โศกนาฏกรรม เหตุเศร้าสลดของสังคม เช่น การเสียชีวิตของบุคคลส�ำคัญ หรือ เหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ น�้ำท่วม รถไฟชนกัน เครือ่ งบินตก การก่อการร้ายครัง้ ใหญ่ทมี่ ผี คู้ นตายหรือบาดเจ็บจ�ำนวนมาก ฯลฯ ผู้รับผิดชอบการผลิตและการเผยแพร่สื่อขององค์การ ต้องทบทวน ผังรายการและเนื้อหาว่าเหมาะสมกับบรรยากาศในขณะนั้นหรือไม่
199
แนวทางปฏิบัติ 8.11 เมื่อเกิดโศกนาฏกรรมใกล้ตัว หรือกระทบกระเทือนจิตใจผู้ ชมผูฟ้ งั สถานีอาจต้องระงับการออกอากาศรายการประเภทบันเทิง ตลก เสียดสีลอ้ เลียน ออกจากผังรายการชัว่ คราว เพือ่ ไม่ให้กระทบต่อความรูส้ กึ ของประชาชนส่วนใหญ่ หรือมีส่วนร่วมในความเศร้าสลดจากเหตุการณ์ 8.12 อาจต้ อ งจั ด ผั ง รายการร� ำ ลึ ก เมื่ อ ถึ ง โอกาสครบปี ข อง เหตุการณ์ 8.13 ไม่ควรน�ำเสนอรายการบันเทิงก่อนหรือหลังรายการร�ำลึก เหตุการณ์เศร้าสลด
9.แนวทางปฏิบัติในการน�ำเสนอเหตุการณ์ และเนื้อหาทางการเมืองและนโยบายสาธารณะ
สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่าย ใด รายงานข่าวพรรคการเมือง กลุ่มการเมืองอย่างสมดุล ให้พื้นที่กลุ่ม ความคิด ความเชื่อทางการเมืองที่แตกต่าง เสนอข่าวสารให้ประชาชน รับรู้ และติดตามตรวจสอบการท�ำงานของรัฐบาล และนักการเมือง เปิด โอกาสให้พรรคฝ่ายค้านไม่วา่ เล็กหรือใหญ่ ได้มโี อกาสแสดงทัศนะในวาระ และสัดส่วนที่สมดุล แนวทางปฏิบัติ 9.1 ผู้รายงาน ผู้เสนอรายการข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบัน ควรน�ำ เสนอที่มาที่ไป และความหมายของเหตุการณ์ ประเด็น อย่างซื่อตรงต่อ ข้อเท็จจริง ไม่ล�ำเอียง เข้าข้างฝ่ายใด ไม่แทรกความคิดเห็นส่วนตัว
200
เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองได้ง่ายและ ดีขึ้น 9.2 ผู้ปฏิบัติงานต้องไม่กระท�ำ ไม่ยอมให้ถูกใช้เป็นเครื่องมือ หรือ ไม่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ทางการเมืองของกลุ่มการเมืองใด รวมถึงกลุ่ม อุดมการณ์ กลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มกดดันทางการเมือง 9.3 ระมัดระวังการเชิญนักการเมืองเข้าร่วมรายการอื่นที่ไม่เกี่ยว กับการเมือง เพราะอาจเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการเมือง โดย เฉพาะในช่วงเวลาหาเสียงเลือกตั้ง 9.4 นักข่าวหรือผู้ผลิตรายการต้องสามารถแสดงเหตุผลในการ เลือกประเด็นข่าวและเนื้อหาในข่าว ตามข้อบังคับจริยธรรมวิชาชีพที่มี มาตรฐาน เที่ยงธรรม ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด 9.5 การตัดสินใจก�ำหนดประเด็นข่าว การคัดเลือกข้อมูลหรือบุคคล มาให้ความคิดเห็นในรายการ ต้องค�ำนึงถึงน�ำ้ หนักและคุณค่าของข่าว ให้ โอกาสในการน�ำเสนอข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ระหว่างกลุม่ พรรคการเมือง ประชาชนในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การสัมภาษณ์ทางการเมือง แนวทางปฏิบัติ 9.6 ผู้สัมภาษณ์ต้องมีจุดมุ่งหมายชัดเจน ว่าต้องการข้อมูลหรือ ประเด็นอะไร รูปแบบรายการอย่างไร ภายใต้สภาพการเมืองอย่างไร
201
9.7 การก�ำหนดรูปแบบรายการ และประเด็นค�ำถามต้องหนักแน่น ชัดเจน ไม่ละเว้นหรือละเลยค�ำถามที่ผู้ชมผู้ฟังต้องการรู้ค�ำตอบ 9.8 ไม่ ผ ลิ ต รายการหรื อ ตั้ ง ค� ำ ถามที่ ท� ำ ให้ ผู ้ ช มผู ้ ฟ ั ง รู ้ สึ ก ว่ า ไทยพีบีเอสเกรงใจอ�ำนาจทางการเมือง หรืออ�ำนาจทุน 9.9 ถ้าผูใ้ ห้สมั ภาษณ์หลบเลีย่ งไม่ตอบค�ำถามตรงๆ ผูส้ มั ภาษณ์จะ ต้องดึงประเด็นกลับแล้วถามซ�้ำจนได้ค�ำตอบที่ตรงกับค�ำถาม 9.10 นักข่าวและผู้เสนอรายการต้องให้ความยุติธรรมแก่ผู้ร่วม รายการอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่าย ค้าน โดยใช้ค�ำถามรุกและไล่แบบเดียวกัน การเผยแพร่ออกอากาศของผู้น�ำรัฐบาลและผู้น�ำ พรรคฝ่ายค้าน แนวทางปฏิบัติ 9.11 เมือ่ เกิดเหตุการณ์สำ� คัญระดับประเทศทีไ่ ทยพีบเี อสพิจารณา แล้วว่าควรน�ำเสนอประกาศ หรือแถลงการณ์ของรัฐบาลทางสือ่ ต่างๆของ ไทยพีบีเอส ควรพิจารณา เปิดโอกาสให้ผู้น�ำฝ่ายค้านมีโอกาสแถลงต่อ ประชาชนเพื่อแสดงจุดยืนต่อเหตุการณ์ส�ำคัญนั้นด้วย แต่ควรตรวจสอบ ข้อความว่าถูกกฎหมายและมาตรฐานก่อนเผยแพร่
202
การเผยแพร่ออกอากาศการหาเสียงเลือกตั้ง แนวทางปฏิบัติ 9.12 ผู้บริหาร พนักงานและผู้ปฏิบัติงานการผลิต จัดหา และเผย แพร่รายการของไทยพีบีเอสต้องมีความเป็นกลางทางการเมือง ให้ความ ยุติธรรมเสมอภาคกับทุกฝ่าย 9.13 ในช่วงสถานการณ์ทางการเมืองหรือช่วงหาเสียงเลือกตั้ง การก�ำหนดประเด็นและสาระของข่าวหรือรายการ ต้องให้ทกุ ฝ่ายมีโอกาส ได้แสดงความคิดเห็นหรือเสนอนโยบายพรรคอย่างสมดุล และถูกซักถาม อย่างเสมอกันไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาล 9.14 การให้โอกาสแก่พรรคการเมืองต่างๆอย่างเท่าเทียมกัน อาจ ผลิตเป็นรายการเดียวจบ หรือในรายการทีเ่ ผยแพร่ออกเป็นชุดตลอดช่วง การหาเสียงเลือกตั้ง แต่ผู้ปฏิบัติงานต้องมั่นใจว่าภาพรวมของรายการมี ความเท่าเทียมกัน ไม่มีใครเสียเปรียบ การรายงานการเลือกตั้งในต่างประเทศ แนวทางปฏิบัติ 9.15 ควรน�ำเสนอสภาพแวดล้อมทางการเมืองของประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะในด้านความโปร่งใส สิทธิ เสรีภาพของประชาชนที่มีสิทธิลง คะแนน และความเป็นธรรมของกระบวนการเลือกตั้ง 9.16 ควรระมัดระวังประเด็นที่อาจสร้างความได้เปรียบ เช่น ก�ำหนดเวลาการออกอากาศที่มีผลท�ำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ โดยเฉพาะประเทศที่มีขนาดใหญ่และช่วงเวลาใกล้กัน
203
9.17 เคารพกฎหมายเลือกตั้งของประเทศนั้นๆ การรายงานผลการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชน แนวทางปฏิบัติ 9.18 กรณีไทยพีบเี อสท�ำส�ำรวจและรายงานผลเอง ต้องระมัดระวัง ไม่ให้การเสนอผลการส�ำรวจความคิดเห็นนั้น ถูกตีความว่านักข่าวหรือ ผู้รายงานมีความเห็นทางการเมืองไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หรือ ไทยพีบีเอสได้แสดงจุดยืนทางการเมืองหรือแทรกแซงทางการเมือง 9.19 การส�ำรวจความคิดเห็นในการลงคะแนนเสียงเลือกตัง้ นัน้ เป็น เพียงการศึกษาถึง “ความน่าจะเป็น” ของผล จึงไม่ควรเน้นการน�ำเสนอ สรุปผลการส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชนจ�ำนวนหนึง่ ในการลงความ เห็นเลือกตัง้ เป็นข่าวอันดับแรก แต่อาจน�ำตัวเลขสรุปผลการส�ำรวจนัน้ มา ประกอบท้ายข่าวที่อาจเป็นข่าวล�ำดับแรกได้ถ้าข่าวนั้นเป็นข่าวใหญ่สุด 9.20 ไม่ควรรายงานหรือน�ำเสนอผลตีความผลการส�ำรวจโดย เจ้าหน้าทีข่ องหน่วยงานทีด่ ำ� เนินการส�ำรวจ แต่ควรวิเคราะห์และตีความ โดยนักข่าวหรือนักวิเคราะห์อิสระที่มีประสบการณ์ 9.21 การรายงานผลการส�ำรวจความคิดเห็นในการลงคะแนน เสียงเลือกตั้ง ควรน�ำเสนอเปรียบเทียบผลจากหลายๆหน่วยงาน หรือ จากหลายส�ำนัก 9.22 ก่อนการเผยแพร่การรายงานผลการส�ำรวจความคิดเห็น ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของบางสถาบันที่สวนกระแสความนิยม
204
ควรมีการทบทวนก่อน 9.23 ในการรายงานผลการส�ำรวจความคิดเห็นการลงคะแนนเสียง เลือกตัง้ ควรเลือกใช้ภาษา หรือค�ำพูดทีไ่ ม่ทำ� ให้ผชู้ มผูฟ้ งั เกิดความเชือ่ มัน่ ว่าจะเป็นจริงตามผลส�ำรวจเช่น ให้ใช้คำ� ว่า “บ่งชีว้ า่ ” แทน “แสดงให้เห็น ว่า” หรือ “พิสจู น์ได้วา่ ” เพราะสองค�ำหลังเน้นย�ำ้ เหมือนเป็นความถูกต้อง 9.24 ทุกครัง้ ทีร่ ายงานผลการส�ำรวจในทุกสือ่ ของไทยพีบเี อส ควร แจ้งโอกาสความคลาดเคลื่อนของการส�ำรวจแต่ละส�ำนัก 9.25 ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของผลการส�ำรวจทุกครั้งที่รายงาน 9.26 หากเป็นการส�ำรวจโดยไทยพีบีเอส และวันที่เจ้าหน้าที่ออก ไปเก็บข้อมูลแล้วเกิดเหตุการณ์สำ� คัญทีอ่ าจส่งผลกระทบต่อความคิดเห็น ของประชาชน ผู้รับผิดชอบควรให้ผู้รายงานแจ้งหรือกล่าวถึงเหตุการณ์ นั้นด้วย 9.27 การรายงานผลการส�ำรวจความคิดเห็นการลงคะแนนเสียง เลือกตัง้ ต้องแจ้งวิธกี ารเก็บข้อมูล จ�ำนวน และลักษณะของผูต้ อบค�ำถาม ด้วย 9.28 การส�ำรวจความคิดเห็นโดยให้ส่งข้อความทางโทรศัพท์ (เอสเอ็มเอส) เป็นการ “สุ่มความเห็น” มากกว่าการส�ำรวจ จึงไม่ควรใช้ เป็นข้อมูลจริงหรือสรุปว่าเป็นความเห็นของประชาชนส่วนใหญ่ และไม่ ควรน�ำมาเป็นข่าว
205
9.29 ไม่ควรตีความผลการสุม่ ความเห็นทางอินเทอร์เน็ต หรือการ โหวตทางออนไลน์ กับประเด็นส�ำคัญทางการเมืองหรือสาธารณะ ว่าเป็น ตัวแทนของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นความ จริง
10.แนวทางปฏิบัติในการน�ำเสนอเหตุการณ์ ความขัดแย้ง การชุมนุม การประท้วง การจลาจล การปะทะ การปราบปราม การก่อการร้าย และภาวะ สงคราม การรายงานข่าวความขัดแย้ง ความขั ด แย้ ง คื อ ความแตกต่ า งทางความคิ ด หรื อ วิ ธี ก าร/ พฤติกรรม หรือเป้าหมายของการกระท�ำ ความขัดแย้งถือเป็นเรือ่ งธรรมดา แต่ถ้าไม่สามารถจัดการความขัดแย้ง ก็อาจน�ำไปสู่ความรุนแรงได้ แนวทางปฏิบัติ 10.1 แนวทางฏิบัติในการท�ำข่าว เสนอรายงาน หรือผลิตรายการ เกี่ยวกับ “ความขัดแย้ง” • หลีกเลี่ยงการรายงานความขัดแย้งโดยเสนอเพียงกลุ่มที่มี ความขัดแย้งหรือฝ่ายที่ตรงกันข้ามเท่านั้น ควรเสนอข้อมูล ความคิดเห็นของฝ่ายอืน่ ๆ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากความขัดแย้ง • หลีกเลี่ยงการนิยามความขัดแย้งโดยอ้างอิงค�ำพูดของกลุ่มที่ ขัดแย้งซึ่งเรียกร้องหรือเสนอข้อเสนอเดิมๆ • หลีกเลี่ยงการใช้แต่แหล่งข่าวที่เป็นแกนน�ำกลุ่มความขัดแย้ง โดยพยายามรายงานความคิดเห็น ความต้องการ ข้อเสนอ
206
• • •
•
• •
แนะจากประชาชนต่อเหตุการณ์ ไม่รายงานแค่สิ่งที่ท�ำให้เห็นความขัดแย้งแบ่งฝ่าย แต่ควร พยายามตั้งประเด็นหรือค�ำถามต่อกลุ่มขัดแย้งเพื่อให้มีการ ค้นหาจุดร่วม และสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ หลีกเลี่ยงการรายงานที่เน้นย�้ำถึงความทุกข์หรือหวาดกลัว ของกลุ่มขัดแย้งเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ให้ความส�ำคัญของ ทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน หลีกเลีย่ งการใช้คำ� ทีร่ นุ แรงและสยดสยอง เช่น โศกนาฏกรรม การลอบสังหาร การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพื่ออธิบายสิ่งที่กลุ่ม ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระท�ำหรือถูกกระท�ำ ยกเว้น เป็นการ อ้างอิงจากค�ำพูดของแหล่งข่าว หลีกเลี่ยงการใช้ค� ำที่เร้า อารมณ์และมีความหมายคลุมเครือทีผ่ สู้ อื่ ข่าว ผูร้ ายงาน หรือ ผู้น�ำเสนอไม่มีความรู้ ความเข้าใจที่ชัดเจน หลีกเลีย่ งการใช้คำ� ทีเ่ ป็นการตัดสิน หรือการแสดงถึงการเลือก เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งของผู้สื่อข่าว เช่น ผู้ก่อการร้าย พวก หัวรุนแรง ผู้คลั่งลัทธิ โดยให้กล่าวถึงกลุ่มถือบุคคลอย่างที่เขา เรียกขานตัวเอง หลีกเลี่ยงการแทรกความคิดเห็นของผู้รายงานไปในข้อเท็จ จริง ยกเว้นแต่เป็นความเห็นของแหล่งข่าว ที่ต้องอ้างถึงใน การรายงาน หลีกเลีย่ งการรอคอยให้มขี อ้ เสนอต่อทางออกโดยกลุม่ ขัดแย้ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ผสู้ ื่อข่าวหรือผูป้ ฏิบตั งิ านทีเ่ กีย่ วข้อง ควร ส�ำรวจหาแหล่งข่าวหรือแหล่งข้อมูล ที่เสนอความคิดเห็นเชิง สันติแล้วน�ำข้อเสนอทีไ่ ด้ไปสอบถามความเห็นจากแกนน�ำของ กลุ่มที่ขัดแย้ง เพื่อรายงานหรือน�ำเสนอต่อสาธารณะ
207
• พึงระลึกเสมอว่า ถ้อยค�ำ ภาพ และเสียง ที่ผู้สื่อข่าวใช้ในการ รายงาน เป็นเครื่องมือที่ส�ำคัญในการสร้างความเข้าใจให้มา แทนที่ความหวาดกลัว และความเกลียดชังของกลุ่มขัดแย้ง และกลุ่มผลประโยชน์อื่นๆ การรายงานข่าวการชุมนุม การประท้วง การจลาจล แนวทางปฏิบัติ 10.2 ระมัดระวังการรายงานจ�ำนวนหรือตัวเลขของผูเ้ ข้าร่วมชุมนุม เพราะยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถค�ำนวณจ�ำนวนผู้ชุมนุมได้แม่นย�ำ 10.3 ถ้ามีหลายแหล่งข่าว ที่ให้ตัวเลขหรือจ�ำนวนผู้ชุมนุมอย่าง แตกต่างกัน ให้รายงานตัวเลขที่มากที่สุดและน้อยที่สุด พร้อมอ้างแหล่ง ที่มาของตัวเลขนั้นๆ 10.4 ในการชุมนุมขนาดใหญ่ ที่นักข่าวอยู่เพียงมุมใดมุมหนึ่งของ การชุมนุม ย่อมไม่สามารถเห็นและรายงานสถานการณ์ตา่ งๆได้อย่างรอบ ด้าน จึงควรมีวธิ หี าข้อมูลทีเ่ ชือ่ ถือได้อกี ด้านหรือพืน้ ทีท่ นี่ กั ข่าวไม่สามารถ เห็นเหตุการณ์ได้ดว้ ยตนเอง โดยพยายามรายงานตามสภาพความเป็นจริง ของการท�ำงานและให้ภาพกว้างที่สุด 10.5 ไม่ควรรายงานแบบคาดคะเนสถานการณ์ล่วงหน้าก่อนจะ เกิดเหตุการณ์ขึ้น เพราะอาจท�ำให้เกิดเหตุรุนแรงมากขึ้น 10.6 ควรแจกแจงสภาพแวดล้อมและภูมิหลังของเหตุการณ์ วิเคราะห์อย่างไม่เข้าข้างฝ่ายใด โดยการสะท้อนความคิดเห็นทีห่ ลากหลาย
208
10.7 กิริยาท่าทางในการรายงานข่าวและเนื้อหานั้น มีความ ส�ำคัญเท่าๆกัน โดยควรมีนำ�้ เสียงและกิรยิ าในการรายงานทีส่ ขุ มุ ไม่สร้าง บรรยากาศเกินจริง 10.8 หากการท�ำข่าวหรือการรายงานจากพืน้ ทีช่ มุ นุม มีสว่ นท�ำให้ ผูช้ มุ นุมแสดงออกด้วยความรุนแรง ผูป้ ฏิบตั งิ านต้องออกจากทีช่ มุ นุมทันที 10.9 ควรเชิญนักวิชาการหรือนักวิเคราะห์อสิ ระมาให้ภาพรวมและ สภาพแวดล้อมของเหตุการณ์ประกอบรายงาน การรายงานข่าวปะทะ การปราบปรามที่รุนแรง การก่อการร้าย และภาวะสงคราม แนวทางปฏิบัติ 10.10 การเปิดให้ประชาชนทั่วไปแสดงความคิดเห็นในเรื่องเกี่ยว กับการปะทะ เหตุรุนแรง การก่อการร้าย ภาวะสงครามนั้น ผู้ปฏิบัติงาน ต้องกลั่นกรองอย่างรอบคอบไม่ปล่อยภาพหรือข้อความที่ใช้ภาษาไม่ เหมาะสม หรือเป็นการระบายอารมณ์ 10.11 ต้องระบุแหล่งที่มาของข่าวอย่างชัดเจน 10.12 ต้องรายงานอย่างรวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ด้วยความถูกต้อง เที่ยงตรงและรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งต้องระมัดระวังการเลือกใช้ค�ำพูด และน�้ำเสียงไม่ให้ใส่อารมณ์ อคติ หรือปรุงแต่ง
209
10.13 การใช้ค�ำเพื่อบ่งชี้ถึงผู้ก่อเหตุต้องพยายามให้เป็นไปใน ลักษณะการกระท�ำหรือการก่อเหตุ โดยไม่กล่าวหาหรือตัดสิน ในกรณี มีชื่อเฉพาะ ให้เรียกชื่อเฉพาะนั้นโดยไม่เรียกแบบเหมารวม 10.14 ในภาวะสงคราม หรือสถานการณ์รนุ แรงทีท่ ำ� ให้การรายงาน ข่าวจากภาคสนามบางชิน้ ต้องผ่านการตรวจสอบ ผูร้ ายงานหรือผูส้ อื่ ข่าว ควรแจ้งผู้ชมผู้ฟังให้รู้ถึงข้อจ�ำกัดในการรายงานและระเบียบข้อบังคับใน การรายงาน
11.แนวทางปฏิบัติการรายงานเหตุหายนะ อุบัติเหตุขนาดใหญ่ ภัยธรรมชาติ ภาวะฉุกเฉิน
11.1 ให้ความส�ำคัญกับแหล่งที่มา และความถูกต้องของข้อมูล โดยเฉพาะ จ�ำนวนผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิตและความเสียหาย ถ้ามีแหล่งข่าว มากกว่าหนึง่ แหล่งและตัวเลขทีส่ ง่ เข้ามาไม่ตรงกันต้องบอกตัวเลขประเมิน สูงสุด และต�่ำสุด ควบคู่กัน 11.2 ก่อนรายงานชื่อผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ หรือสูญหาย ควรตรวจ สอบว่าเจ้าหน้าทีไ่ ด้แจ้งญาติพนี่ อ้ งของผูบ้ าดเจ็บหรือสูญหายแล้วหรือยัง หากยังมิได้แจ้งหรือเจ้าหน้าทีย่ งั ไม่สามารถแจ้งได้ ผูส้ อื่ ข่าว ผูร้ ายงาน หรือ ผู้น�ำเสนอต้องรายงานอย่างระมัดระวัง โดยค�ำนึงถึงความรู้สึกของญาติ พี่น้องผู้ตาย ผู้บาดเจ็บ ผู้สูญหาย ที่ต้องรับรู้ข่าวร้ายทางสื่อมวลชน 11.3 การรายงานเหตุการณ์รุนแรง เสี่ยงภัย ที่มีการสูญเสียเลือด เนื้อ มีบาดแผล เจ็บปวดและทุกข์ทรมาน ต้องระมัดระวัง
210
และค�ำนึงถึงอารมณ์และขวัญของผู้ชมผู้ฟัง โดยเฉพาะผู้ชมผู้ฟังที่มีญาติ พี่น้องหรือคนรู้จัก ต้องเสียชีวิต หรือตกอยู่ในสภาพบาดเจ็บ ทุกข์ร้อน ทรมาน
12.แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ การข่มขู่ คุกคาม การจับตัวประกัน การลักพาตัว การจี้เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่น เมื่อเกิดเหตุการณ์ข่มขู่คุกคาม แนวทางปฏิบัติ 12.1 หากไทยพีบเี อสได้รบั ค�ำเตือน หรือค�ำข่มขูว่ า่ จะมีการก่อเหตุ ร้าย โดยการส่งข้อมูลมาทางโทรศัพท์ โทรสาร อีเมล เทปบันทึกเสียง จดหมายหรือข้อความทางโทรศัพท์ ผู้มีอ�ำนาจที่เกี่ยวข้อง ต้องดูแลไม่ให้ มีการเผยแพร่ออกอากาศค�ำเตือน ค�ำข่มขู่ หรือคุกคามโดยทันที แต่ต้อง ส่งเรื่องให้เจ้าหน้าที่ต�ำรวจหรือหน่วยงานความมั่นคงทราบก่อน 12.2 ไม่รายงานหรือเสนอรายการที่เปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เกีย่ วกับความปลอดภัยส่วนบุคคล หรือสถานทีส่ ำ� คัญ เพราะอาจเป็นการ สนับสนุนการโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย 12.3 สือ่ มวลชนเป็นสถาบันของสังคม อาจถูกใช้เป็นเครือ่ งมือเพือ่ ส่งค�ำขู่ ดังนัน้ ผูป้ ฏิบตั งิ านด้านสือ่ ของไทยพีบเี อส และผูบ้ ริหารทีเ่ กีย่ วข้อง ต้องคัดกรองและแยกแยะข้อมูลต่างๆที่เข้ามา
211
เมื่อเกิดเหตุ การจับตัวประกัน การลักพาตัว การจี้เครื่องบิน หรือยานพาหนะอื่น แนวทางปฏิบัติ 12.4 ระมัดระวังการน�ำเสนอข้อความหรือภาพที่อาจท�ำให้ผู้ก่อ เหตุและพรรคพวกรับรู้ข้อมูลส�ำคัญ 12.5 การเผยแพร่ออกอากาศ หรือรายงานข้อเรียกร้องของผู้ก่อ เหตุ ต้องด�ำเนินการอย่างรอบคอบ ไม่ให้กลายเป็นปากเป็นเสียงของผู้ ก่อเหตุ 12.6 ไม่ควรสัมภาษณ์ผู้ก่อเหตุเพื่อการออกอากาศสด 12.7 ไม่ควรออกอากาศสดเสียง ภาพ หรือข้อเรียกร้องใดๆจากผู้ ก่อเหตุ โดยไม่ผ่านการตรวจสอบอย่างรอบคอบ รวมทั้งต้องได้รับอนุมัติ จากผู้บริหารด้านข่าวหรือรายการก่อนการเผยแพร่ออกอากาศ 12.8 การถ่ายทอดสดจากพื้นที่เพื่อรายงานเหตุร้าย เช่น การยึด โรงเรียน โรงพยาบาล สถานที่ราชการ ฯลฯ ต้องออกอากาศโดยต้องตัด ภาพหรือเสียงที่ไม่เหมาะสมออกได้ทัน =================================
212
การพัฒนาทางวิชาการ
พัฒนาสือ่ สาธารณะ
ไทยพีบีเอส สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.)
213
หากกล่าวถึง หน่วยงานทีท่ ำ� หน้าทีส่ ง่ เสริมและพัฒนาความร่วมมืองาน ด้านวิชาการ สู่การยกระดับคุณภาพไทยพีบีเอสให้มีมาตรฐาน และ เป็นที่ยอมรับในแวดวงสื่อสารมวลชนทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะ เป็นในด้านการส่งเสริมแนวคิดสื่อสาธารณะเพื่อยกระดับประชาชนสู่ ความเป็นพลเมือง การพัฒนาสังคมประชาธิปไตย ตลอดจนการส่ง เสริมความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพสื่อสารมวลชน สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) คือหน่วยงานที่ตอบโจทย์ ในเรื่องนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยพีบีเอสไม่ได้เป็นเพียงสถานีโทรทัศน์ ทั่วไป แต่เป็นสถาบันสื่อสาธารณะที่ท�ำหน้าที่เสริมสร้างองค์ความรู้และ นวัตกรรมใหม่ๆ สู่การพัฒนาคุณภาพการน�ำเสนอข้อมูลข่าวสารของ ไทยพีบเี อส เพือ่ ให้กา้ วทันกับการเปลีย่ นแปลงทางสังคม โดยมีฝา่ ยวิจยั ประเมินผล และพัฒนา ในการศึกษาพัฒนาค้นคว้าข้อมูลเชิงวิเคราะห์เพือ่ มาใช้เป็นแนวทางในการด�ำเนินงานของไทยพีบีเอส น�ำไปสู่การพัฒนา หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากร ของไทยพีบเี อส ทีม่ มี าตรฐานการท�ำงานอย่างมืออาชีพและเป็นต้นแบบ การด�ำเนินงานด้านสื่อสารมวลชนของไทย สวส.มีการพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานวิชาการและสื่อสาร มวลชนทั้งในและต่างประเทศ โดยในปี 2555 สวส.เป็นหน่วยงานหลัก ในการประสานความร่วมมือกับองค์กรด้านสือ่ สารมวลชนในภูมภิ าค เพือ่ ผสานความร่วมมือในการพัฒนางานด้านสือ่ สารมวลชนของภูมภิ าค และ ในโครงการ “บทเรียนและแนวทางการรายงานข่าวเพื่อสลายความ ขัดแย้ง : กรณีศึกษาความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้” นี้ ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลแคนาดา ในหัวข้อ “Conflict Resolution” ซึ่งทาง สวส. ได้น�ำมาตีโจทย์ร่วมกันกับสถานการณ์ความขัดแย้ง
214
ในประเทศไทย คือเหตุการณ์ไฟใต้ ซึง่ นอกเหนือจากงานด้านวิชาการแล้ว สวส. มีอกี หนึง่ หน้าทีห่ ลักทีส่ ำ� คัญ คือ การส่งเสริมความรูแ้ ละความเข้าใจ หลักการสื่อสาธารณะและการส่งเสริมให้ประชาชนร่วมใช้ประโยชน์กับ สื่อสาธารณะโดยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ภายในอาคารศูนย์การเรียนรู้ ไทยพีบีเอสเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาและค้นคว้าด้านสื่อสารมวลชน ที่ครบวงจร เช่น พิพธิ ภัณฑ์สะท้อนบทบาทและอิทธิพลของสือ่ ในหลากหลาย มิติ ที่ส่งผลต่อมุมมองการบริโภคและใช้สื่อที่แตกต่างไป และห้องสมุด สื่อที่รวบรวมเนื้อหาข้อมูลเฉพาะด้านสื่อสารมวลชน ตลอดจนกิจกรรม การมีส่วนร่วมที่เป็นประโยชน์และสร้างภูมิคุ้มกันในการรู้เท่าทันสื่อของ ผู้ชม อย่ า งไรก็ ต าม ส� ำ หรั บ หนั ง สื อ คู ่ มื อ การรายงานข่ า วเล่ ม นี้ มีเป้าหมายเพื่อให้สื่อมวลชนได้รับทราบแนวคิดและปัญหาของการ รายงานข่าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ไม่ได้จ�ำกัดเฉพาะสื่อ สาธารณะเช่นไทยพีบีเอสเท่านั้น หากแต่หวังประโยชน์โดยรวมส� ำหรับ สื่อทั้งระบบ สวส. หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า หนังสือคูม่ อื การรายงานข่าวเพือ่ สลาย ความขัดแย้ง : กรณีไฟใต้นี้ จะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้สื่อมวลชนไทย ทัง้ ระบบ ทัง้ ส่วนกลางและภูมภิ าค สือ่ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ได้น�ำเอาแนวคิดพื้นฐานวิชาชีพ ข้อปฏิบัติและหลักจริยธรรม ตลอด จนข้อสังเกตและมุมมองทางวิชาการต่างๆ ที่ทรงคุณค่านี้ในการปรับ ประยุกต์ใช้ในการรายงานข่าวไฟใต้ เพื่อน�ำไปสู่ความสงบสุขและ สันติภาพในเร็ววัน
215
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
216
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
217
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
218
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
219
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
220
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
221
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
222
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
223
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
224
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
225
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
226
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
227
Note...
.................................................................................................... ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. ................................................................................................................. .................................................................................................................
228
ติดต่อเรา : สถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ (สวส.) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย เลขที่ 145 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์: 02-790-2423 โทรสาร: 02-790-2085 Facebook.com/academic.tpbs