ชีวิตหลังอิสรภาพ - LIFE AFTER FREEDOM

Page 1


ชีวิตหลังอิสรภาพ (Life After Freedom)

1


ชีวิตหลังอิสรภาพ (Life After Freedom)

เลขมาตรฐานสากลประจำ�หนังสือ ISBN : ที่ปรึกษา : คณะทำ�งาน : รูปเล่ม/แบบปก : พิมพ์ครั้งแรก : ดำ�เนินการผลิตโดย : พิมพ์ที่ : สนับสนุนการจัดพิมพ์ :

2

ทีมงานเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ : JOP masterpeace ตุลาคม 2559 เครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ (JUSTICE FOR PEACE : JOP) มูลนิธิเอเชีย (ประจำ�ประเทศไทย)


ชีวิตหลังอิสรภาพ (Life After Freedom)

3


คำ�นำ� กลุ่มเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ  สำ�หรับผู้ถูกกล่าวหาในคดีความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ JUSTICE FOR PACE เรียกสั้นๆ ว่า JOPเป็นเครือข่ายจากการรวมกลุ่มกันของผู้ตกเป็นผู้ต้องหาที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดี และในคดีที่สิ้นสุดแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ จังหวัดยะลา และผูท้ เี่ คยถูกจองจำ�อยูใ่ นเรือนจำ�ยะลา เพือ่ นำ�ประสบการณ์ทพี่ บเจอเกีย่ วกับขัน้ ตอนในกระบวนการยุตธิ รรม ไปถ่ายทอดแนะนำ�กับกลุม่ คนที่ถูกดำ�เนินคดีในลักษณะเดียวกัน ประสานหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และอำ�นวยการเข้าถึงความยุติธรรม ทางกลุ่มเชื่อว่า การสามารถเข้าถึงความยุติธรรมอย่างแท้จริง เป็นหัวใจสำ�คัญของผู้ตกเป็นจำ�เลย จึงพยายามหาช่องทางช่วยเหลือให้ความรู้ แก่ผู้ตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกัน เช่น ริเริ่มจัดเวทีอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายและขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรม รวมถึงมีการพบปะพูดคุย สะท้อน สภาพปัญหาทีป่ ระสบภายหลังออกมาจากเรือนจำ�และใช้ชวี ติ อย่างชาวบ้านปกติดว้ ย  ต่อมา  จึงนำ�มาซึง่ การก่อตัง้ เครือข่ายอย่างเป็นทางการเมือ่ พ.ศ. 2554 อย่างไรก็ตาม  หลังจากนั้นเครือข่ายได้สูญเสียสมาชิกจากการถูกลอบทำ�ร้ายโดยบุคคลไม่ทราบฝ่าย  ทำ�ให้หลายคนถึงขั้นเสียชีวิต  พิการ ทุพลภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ กระทัง่ ปัจจุบนั หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องก็ยงั ไม่สามารถรูเ้ บาะแสหรือจับตัวผูก้ ระทำ�ผิดมาลงโทษได้  ทำ�ให้สมาชิก เกิดคำ�ถามถึงความไม่ปลอดภัย ความยุติธรรม ความไว้วางใจ และมีอีกหลายๆ เหตุการณ์ที่เกิดต่อเนื่องกันมา เช่น การที่สมาชิกเครือข่ายถูกคุกคาม

4


จับซํ้าซ้อน ฯลฯ สะท้อนถึงความไม่ปลอดภัย ความหวาดระแวงในการดำ�เนินชีวิต การทำ�ลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงสภาพจิตใจภายใต้ความ กดดันที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบถึงทั้งเจ้าตัว ครอบครัว และบุคคลรอบข้าง ห้วง  พ.ศ.2558  ช่วงเดือนเมษายน-เดือนกรกฎาคม  ทางเครือข่ายได้ด�ำ เนินกิจกรรม  ‘โครงการสานสัมพันธ์สู่ชุมชนเพือ่ สันติ’  ซึง่ ได้รบั การ ตอบรับเป็นอย่างดี  และได้รับกำ�ลังใจจากผู้นำ�และชาวบ้านในพื้นที่  ที่เครือข่ายลงพื้นที่ทำ�กิจกรรมพัฒนาสถานที่สาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน  ทำ�ให้ชาวบ้านรู้จักและเข้าใจแนวทางการทำ�งานของเครือข่าย JOP ภายหลังเสร็จสิ้นโครงการข้างต้น วันที่ 18–20 กันยายน พ.ศ.2558 ได้มีโครงการ ถอดบทเรียนการทำ�กิจกรรม ณ จังหวัดสตูล โดยทั้ง 2 โครงการได้รับการสนับสนุนจาก ‘มูลนิธิเอเชีย’ กระทั่งนำ�ไปสู่การดำ�เนินงานโครงการใหม่ คือ ‘โครงการสื่อหนังสือภาพ’ ที่มุ่งสื่อสะท้อนถึงความปลอดภัยในชีวิตประจำ�วันของสมาชิก การขับเคลื่อนเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ และถ่ายทอดชีวิต ภายหลังได้รับอิสรภาพด้วยสื่อภาพ ทั้งนี้  มิใช่ต้องการปรักปรำ�ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด  ไม่ได้กล่าวหาบุคคลหนึ่งบุคคลใด  หากทว่าเป้าหมายที่แท้จริง  คือการสะท้อนให้สังคมได้รับรู้  ตระหนักถึงความเป็นธรรม  รวมถึงชะตากรรมที่ทุกคนได้รับจาก ‘เหตุการณ์ความไม่สงบ’  ที่เกิดขึ้นมายาวนาน  อย่างน้อยเพื่อแปรเป็นความเข้าใจ และร่วมมือกันแผ้วถางเส้นทางสู่ ‘สันติสุข’ ร่วมกัน

5


ตะเกียงกลางมรสุม

6


7


“ความฝันและความใฝ่ฝัน มันช่างต่างกันเหลือเกินกับความจริงที่เกิดขึ้น”

นายอับดุลตอเล็ฟ  โต๊ะขุน  ชายหนุม่ ซึง่ มีถนิ่ กำ�เนิดที ่ อ.รือเสาะ  จ.นราธิวาส  เป็นคนทีช่ อบการเล่าเรียน  พยายามสืบเสาะหาความรูใ้ นด้านการศึกษา

โดยมีฐานะเป็นนิสติ นักศึกษาถึง  2  สถาบัน  สถานศึกษาแห่งแรก  เป็นทีร่ จู้ กั ในนาม  ‘วิทยาลัยยามีอะห์’  อีกสถานทีห่ นึง่ เขากำ�ลังศึกษาอยูช่ นั้ ปีที่ 2 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง แต่ทา้ ยทีส่ ดุ   การศึกษาซึง่ เป็นข้อต่ออนาคตทีว่ าดหวังไว้อย่างสวยหรูกต็ อ้ งปิดฉากลง  เมือ่ เขาถูกควบคุมตัวเมือ่ วันที ่ 28  พฤศจิกายน  พ.ศ.2550  และต่อมาวันที่  4  มกราคม  พ.ศ.2551 ถูกส่งตัวเข้าฝากขังในเรือนจำ�กลางจังหวัดยะลา ถูกควบคุมตัวในเรือนจำ�ประมาณ 2 ปี 7 เดือน ปี  2553  เขาได้รบั อนุญาตจากศาล  สามารถใช้หลักทรัพย์ประกันตัวออกมาได้  และในช่วงก่อนจะพิพากษาคดี เขาได้แต่งงานกับหญิงสาว คนหนึง่   กระทัง่ มีลกู สาวด้วยกัน  1  คนแต่เป็นทีน่ า่ เสียดายว่า  เพียงได้ใช้ชวี ติ สร้างครอบครัวประมาณปีกว่าๆ  ก็ตอ้ งแยกทางกัน  เนือ่ งจากมีปญ ั หา ด้านเศรษฐกิจ  ทำ�ให้ภรรยาเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงและไม่มั่นใจในตัวของเขา

8


หลังได้รับอิสรภาพ  เขาตัดสินใจเดินทางกลับบ้านเกิด  พร้อมกับยึดอาชีพกรีดยางทำ�มาหาเลี้ยงชีพ  แต่การที่ต้องหยุดการเล่าเรียน เนื่องจากชีวิตเผชิญปัญหาหลายด้าน  โดยเฉพาะเรื่องรู้สึกไม่ปลอดภัย เกิดความหวาดกลัว  หวาดระแวง  ทั้งจากการเดินทางไปเล่าเรียนหรือในชีวิต ประจำ�วัน  และยังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัว  เนื่องจากในระหว่างเรียนเขาได้กู้เงินกองทุนการศึกษา  จึงต้องหาเงินผ่อนชำ�ระให้ได้ ทำ�ให้ชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง อย่างไรก็ตามถึงแม้อนาคตทีใ่ ฝ่ฝนั ยังไปไม่ถงึ   แต่เขาก็ตดั สินใจใช้ชวี ติ ทีเ่ หลืออยู ่ หันมาทำ�งานจิตอาสาช่วยเหลือผูค้ นทีป่ ระสบชะตากรรมในพืน้ ที่ ความไม่สงบ  ด้วยการร่วมงานกับภาคประชาสังคมในพื้นที่ พร้อมกับมุ่งมั่นประกอบอาชีพที่สุจริต เพื่อรอคอยว่า วันหนึ่ง ความฝันที่ตัวเองวาดหวังไว้ จะเป็นจริง.

9


สถานภาพนักศึกษาปี 3 ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง 10


11


การศึกษาคือกุญแจที่ไขไปสู่ความสำ�เร็จ  เช่นเดียวกับเขาที่กำ�ลังพยายาม 12


มรสุมที่พัดเข้าหาตะเกียงดวงน้อย 13


14


ชีวิตไม่สิ้น ต้องดิ้นต่อไป จากโลกของการศึกษา สู่โลกของวิชาชีพในโลกแห่งความจริง 15


16


17


รองเท้าที่ต้องเปลี่ยน 18


ให้ตายเถอะ ‘โรบิ้น’ 19


“การทำ�ขนมปังอบ” คือรายได้เสริมเพื่อประคองชีวิตอีกทางหนึ่ง 20


ชีวิตบนเส้นด้าย ภายใต้ความหวาดระแวงรอบด้าน 21


22


แม้จะเคยถูกกล่าวหา แต่เขายังคงมุ่งมั่นช่วยเหลือผู้คน 23


จิตอาสาเพื่อสังคม 24


นับจากนี้... ชีวิตก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 25


26


รูเมาะห์กู (บ้านฉัน)

บ้าน... เกิด... 27


“…บ้านที่น่าอยู่ ใช่ว่าอยากจะจากไป...”

ชายหนุ่มในวัย  32 ปี ชาวบ้าน ต.สะนอ อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ถูกควบคุมตัวเมื่อ  27  เดือนมกราคม พ.ศ.2551  ขณะนั้นเขากำ�ลังศึกษาระดับอุดม ศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และถูกส่งเข้าเรือนจำ�กลางจังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2551 ต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ�เป็น เวลา 2 ปี 7 เดือน จึงได้รับอนุญาตประกันตัวเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ.2553 ด้วยหลักทรัพย์ 800,000 บาท โดยได้รับการช่วยเหลือการประกันตัว จากกระทรวงยุติธรรม หลังได้รับอิสรภาพ  ‘นายซาบรี  กาซอ’  กลับมาอาศัยอยู่กับครอบครัวที่บ้านเกิด บ้านซึ่งสมัยเด็กๆ เคยได้อาศัยอยู่กับยาย แต่เมื่อผู้เป็นยาย รู้ว่าหลานรักถูกควบคุมตัว  ทำ�ให้ยายกินข้าวไม่ลงเป็นเวลาเกือบเดือน แถมเมื่อกลับมาอยู่บ้านได้ประมาณ 4–5 เดือน ในที่สุดเขาต้องตัดสินใจครั้ง สำ�คัญอีกครั้ง ด้วยการย้ายไปหาบ้านเช่า และหางานทำ�เลี้ยงชีพที่จังหวัดสงขลา เนื่องจากอยู่บ้านไม่ได้เพราะถูกคุกคามบ่อยครั้ง บ้างก็ต้องถูกเชิญตัว

28


ไปพูดคุย ทำ�ให้เกิดความรู้สึกไม่สบายใจถึงความปลอดภัย หวาดระแวง และหวาดกลัว 2  ปีหลังได้รับอิสรภาพ  เขาก็ได้แต่งงานสร้างครอบครัว พยายามใช้ชีวิตอย่างปกติ ประกอบอาชีพทำ�มาหากินเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัว กระทั่งมีบุตร 2 คน เป็นลูกชาย 1 คน และลูกสาว 1 คน ทุกวันนี้  เรื่องคดีความของเขา  ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ทำ�ให้รู้สึกสบายใจมาก และเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น ประกอบกับการได้พัก อาศัยอยู่ที่จังหวัดสงขลา ซึ่งสถานการณ์แวดล้อมไม่กดดันเหมือนที่บ้านเกิด แต่แท้แล้ว ในใจนั้นอยากกลับไปอิงอุ่นที่บ้านเกิดเช่นก่อนเก่า

29


อบอุ่นพร้อมครอบครัว 30


บ้านหลังนี้กำ�ลังจะเกิดความเปลี่ยนแปลง 31


ทางออกที่ต้องค้นหา 32


ที่ปรึกษาของชีวิต 33


ทุนชีวิต ณ ที่แห่งใหม่ กับจักรยานยนต์คู่ชีพ 34


ห้องหับเล็กๆ ในเมืองใหญ่ 35


พื้นที่ที่ 4 ชีวิต ถูกจำ�กัดในกรอบแคบๆ 36


ชีวิตก็ต้องดำ�เนินต่อไป จากว่าที่บัณฑิตสู่... 37


38


39


40


41


“ลูก... หลังพิงพ่อ พ่อ... หลังพิงฝา” 42


นับจากนั้นมา  ชีวิตก็ล่องลอยดั่งก้อนเมฆที่ถูกพัดพาไปตามสายลมแห่งโชคชะตา 43


รูเมาะห์กูห์ นาซิบกู ซือการัง : บ้านฉัน ชะตากรรมของฉัน ณ วันนี้ 44


บางสิ่งบางอย่างกำ�ลังถูกกัดกิน 45


46


ต้นไม้ไร้ยอด ชีวิตไร้หลัก

47


“หลังจากที่ผมโดนจับ ทำ�ให้เครือญาติและคนรอบข้าง ถูกลอบทำ�ร้ายไปด้วย”

เรื่องราวเริ่มต้น ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่ง กับครอบครัวเล็กๆ ที่เคยอยู่อาศัยกันด้วยความอบอุ่นภายใต้อาณาบริเวณของปอเนาะ ต.กอลำ� อ.เมือง จ.ปัตตานี กลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ส่งผลสะเทือนต่อสมาชิกในครอบครัวและชุมชนอย่างรุนแรง กลางเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2553 เป็นเดือนแห่งอิสรภาพของชายคนหนึ่ง หลังเขาถูกคุมขังเป็นเวลานานกว่า 10 เดือน ขณะนั้นคดียังไม่ได้ สิ้นสุด แต่ท้ายสุดศาลพิพากษายกฟ้องเมื่อปี 2554 เขาได้รับอิสรภาพแล้ว  แต่ชีวิตที่เหลืออยู่กลับเหมือนล่องลอยไปตามกระแสชะตากรรม  โดยมิอาจทราบเลยว่า เหตุการณ์ร้ายๆ ทั้งหมดที่ เกิดขึ้น เป็นฝีมือของใคร หรือฝ่ายใด ‘คอเละ  วาโด’  กลับมาประกอบอาชีพแถวบ้านแบบชาวบ้านปกติ  เพื่อทำ�มาหาเลี้ยงชีพครอบครัว  และแบ่งเบาภาระหลานๆ  ที่กำ�พร้า เนื่องจากเสาหลักที่จากไปด้วยสถานการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ถึงแม้คดีสิ้นสุดแล้ว ทางครอบครัวและภรรยายังมีความรู้สึกเป็นห่วงถึงความไม่ปลอดภัยกับชีวิตของเขา เนื่องจากครอบครัวที่อยู่ในรั้วเดียว

48


กันที่เรียกว่า ‘ครอบครัวปอเนาะปูลาฆาซิง’ มีเครือญาติสนิทถูกลอบทำ�ร้ายถึงเสียชีวิต 2 ชีวิตด้วยกัน คนแรกมีฐานะเป็น “พี่เขย” คนที่สอง คือ “โต๊ะครู” เจ้าของปอเนาะ ซึ่งเป็นอาของภรรยา ก่อนหน้าที่นายคอเละฯ จะถูกควบคุมตัว พี่เขยถูกลอบทำ�ร้ายเสียชีวิต ลูกชายล้วน 3 คนที่ยังอยู่ในวัยเรียนจึงกลายเป็น ‘กำ�พร้า’ และหลัง จากที่นายคอเละฯ ได้รับอิสรภาพ เหตุการณ์ร้ายเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อโต๊ะครูเจ้าของปอเนาะซึ่งเป็นอาของภรรยา ถูกลอบทำ�ร้ายเสียชีวิตเช่นเดียวกัน ใน บริเวณระเบียงของปอเนาะที่สอนหนังสือ การจากไปของโต๊ะครูฯ  ทำ�ให้ชาวบ้านเสียใจอย่างมาก เนื่องจากโต๊ะครูฯ  นั้นเป็นที่พึ่งของชาวบ้านเมื่อมีปัญหา และเป็นคนที่คอยขัดเกลา ผู้คนในการดำ�รงชีวิตประจำ�วัน ผ่านคำ�สอนสั่งทางศาสนา ที่สำ�คัญโต๊ะครูฯ เป็นผู้คอยดูแลกับกลุ่มวัยรุ่นที่ติดยาเสพติดอย่างใกล้ชิด ส่วนการเสียชีวิต ของพี่เขย  นำ�มาซึ่งความไร้หลักของชีวิตสำ�หรับเด็กๆ อีกหลายคน

49


“ผมไม่เคยลืมความเจ็บปวดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว” 50


ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีปอเนาะเป็นศูนย์รวมจิตใจ 51


เหตุการณ์เกิดขึ้น ณ บ้านหลังนี้  ในชุมชนที่เคยสงบสุขอบอุ่น สังคมที่เป็นอันหนึ่งอันเดียว รักใคร่ปรองดอง มีความเกื้อกูลกัน 52


ปัง ! เสียงปืนหนึ่งนัดนำ�มาซึ่งความเปลี่ยนแปลงของชุมชน 53


54


ตอนสายๆ  ของเช้าวันหนึ่ง  บาบอ  (น้า)  ล้มลงพร้อมกับ ลมหายใจเฮือกสุดท้ายที่นอกจากจะพรากจากชีวิตของชาย คนหนึ่งซึ่งเป็นที่พึ่งของชุมชน  หากทว่ายังกระชากความหวัง ของผู้คนให้ปลาสนาการไปด้วย 55


หากไร้ยอดแล้วไซร้ ‘ต้นกล้า’ จะเติบโตโดยสมบูรณ์ได้อย่างไรเล่า? 56


ขาดหลักยึด.. นำ�มาซึ่งการหยุดชะงักทางการศึกษา เคว้งคว้าง ไม่แน่นอน 57


58


59


แหว่งวิ่น 60


แม้ว่าข้างนอกจะสว่างเพียงใด แต่ชีวิตของครอบครัวหนึ่งถูกปกคลุมด้วยความมืดมิด 61


นี่คือปมปัญหา 62


ภาพอนาคตอันพร่ามัว 63


ต้นกล้ายางรอฟ้าฝนเพื่อเติบโต ชีวิตมิอาจรอโชคชะตา 64


65


ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ณ ชุมชนแห่งนี้ โดย ‘มือที่มองไม่เห็น’  สั่นคลอนฐานรากชีวิตผู้คนมากมาย  โดยมิอาจเรียกความทรงจำ�ดีๆ ในอดีตย้อนคืนมาได้อีกเลย 66


ตาชั่งไม่เที่ยงตรง เปรียบดั่งคนที่ไม่ได้รับความยุติธรรม 67


68


เรื่องของ ‘โชค’

69


“ชีวิตเปรียบดั่งสายน้ำ�ที่ไม่มีวันไหลย้อนกลับ...”

‘นายสิทธิโชค หมุดหวัง’ เป็นชาวบ้าน ต.ร่มไทร อ.สุคิริน จ.นราธิวาส จบการศึกษาด้านสามัญสูงสุดเทียบเท่าปริญญาตรี ที่สถาบันวิทยาลัยเทคนิค ยะลา ส่วนสถานภาพครอบครัว ปัจจุบันมีลูก 3 คน ชาย 1 และหญิง 2 คน เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2550 นายสิทธิโชคฯ ถูกควบคุมตัวที่บ้านพักของผู้อำ�นวยการวิทยาลัยเทคนิคยะลา ขณะกำ�ลังทำ�หน้าที่ล้าง รถยนต์ของผู้อำ�นวยการอยู่ ในระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำ�กลางยะลา  เขาถูกอายัดคดีเพิ่มรวมทั้งหมด 19 คดี แต่มีคดีอัยการสั่งไม่ฟ้อง 13 คดี และอีก 6 คดีอัยการ สั่งฟ้องดำ�เนินคดี  แต่คดีทั้งหมดที่ถูกสั่งฟ้องนั้น  ศาลยะลาพิพากษายกฟ้องทั้งหมด  แต่กว่าจะสิ้นสุดคดีต้องใช้เวลาในการต่อสู้นานถึง 8 ปี ยกฟ้อง คดีสุดท้ายเมื่อวันที่ 30 เดือนเมษายน พ.ศ.2558 รวมเวลาที่ถูกควบคุมตัวในเรือนจำ� 2 ปี 8 เดือน โดยเข้าเรือนจำ�เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2551 และ ได้รับอิสรภาพจากการประกันตัวจากศาล เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ.2553 หลังได้รับอิสรภาพ เขากลับมาอาศัยบ้านเช่าในตัวเมืองยะลากับภรรยา พร้อมกับประกอบอาชีพเป็นพนักงานขายสินค้าขายตรงของบริษัท แห่งหนึ่ง  ต้องเดินทางไปมาตลอดเพราะตระเวนเสนอขายสินค้าให้กับลูกค้า  เมื่อมีการคุกคามบ่อยครั้งและสอบถามความเป็นอยู่หรือการประกอบ อาชีพ ทำ�ให้เกิดความวิตกกังวลและรู้สึกไม่ปลอดภัยต่อชีวิต จึงตัดสินใจย้ายกลับไปอยู่บ้านเกิด ยึดอาชีพรับจ้างขนไม้ยางพารา ส่วนภรรยาก็ต้องทำ� เรื่องขอย้ายที่ทำ�งานไปอยู่ใกล้บ้านผู้เป็นสามี

70


ผู้เป็นภรรยาเล่าว่า ขณะสามีถูกควบคุมตัว ผลกระทบเกิดขึ้นกับเธอหลายด้านมาก แต่เธอก็ต้องเข้มแข็ง บางครั้งรู้สึกท้อและเหนื่อย เพราะ ช่วงนั้นกำ�ลังตั้งท้องลูกคนแรกได้  8  เดือน  และเธอเองก็พึ่งจะทำ�งานได้แค่ 1 ปี ทำ�ให้ลำ�บากใจในการที่จะทำ�เรื่องลางานเพื่อไปเยี่ยมสามีที่เรือนจำ�  เพราะหากทำ�เรื่องลางานบ่อยครั้งอาจจะทำ�ให้เกิดผลกะทบกับงานที่เธอทำ� ซึ่งคือที่มาของรายได้หลักที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัว และต้องรับภาระของ ครอบครัวที่บ้านเธออีกด้วย เรื่องร้ายๆ  ที่เกิดขึ้นซ้ำ�ตามมา  คือ  การที่มีผู้หลอกล่อว่า สามารถให้การช่วยเหลือด้านคดีให้สามีออกมาได้ เมื่อเธอหลงเชื่อและวางใจ ด้วย ความเป็นห่วงสามีอยากให้เขาได้รับอิสรภาพ ทำ�ให้เธอต้องสูญเสียเงินทีละน้อยๆ ให้กับนายหน้า ถึงขั้นต้องดิ้นรนไปขอหยิบยืมเงินจากคนที่เธอรู้จัก ทุกสิ่งทุกอย่างที่เธอหลงเชื่อนั้นสุดท้ายสูญเปล่า แถมยังต้องจ่ายหนี้รวมทั้งหมดประมาณ 500,000 บาท ณ ปัจจุบันนี้ก็ยังจ่ายหนี้ไม่หมดอีก ก่อนหน้าที่สามีจะถูกควบคุมตัว  ครอบครัวไม่มีหนี้สักบาท  แต่เมื่อสามีได้รับอิสรภาพแล้ว เธอเองก็ยังเป็นห่วง และวิตกกังวลถึงความไม่ ปลอดภัยกับชีวิตของสามี เพราะถูกคุกคามบ่อยมากเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นในพื้นที่ใกล้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นบ้านเช่าที่ยะลา บ้านเกิดของเธอ หรือที่บ้านของสามีเอง เมือ่ สามีจะออกไปนอกพืน้ ที่เธอไม่ยอมให้ไปคนเดียวจะเดินทางเคียงข้างไปด้วยกันเสมอ  เธอเชือ่ ว่าชีวติ เปรียบดัง่ สายนํา้ ทีไ่ ม่มวี นั ไหลย้อนกลับ และอาจบางที ทุกสิ่งทุกอย่างคงอยู่ที่ ‘โชค’ เช่นชื่อของคนที่เธอรักมากที่สุด

71


เขาน่าจะเป็นผู้ชายที่โชคดีที่สุดสมกับชื่อ ‘โชค’ 72


ชีวิตต้องพลิกผันเนื่องจากถูกกล่าวหาต้องคดี 19 คดี ทำ�ให้สถานภาพของเขา กลายเป็นคนไร้โชค ต้องซัดเซพเนจรไปตามโชคชะตาฟ้าลิขิต 73


74


75


จากบ้านที่อบอุ่น  ครอบครัวแสนสุข  ต้องถูกชะตาแกล้ง เมื่อต้องคดีความมั่นคง 76


ภรรยาซึ่งกำ�ลังตั้งท้อง 8 เดือน ต้องมาวิ่งเต้น ช่วยเหลือเรื่องคดี หนำ�ซ้ำ�ยังถูกหลอกลวง ทำ�ให้เสียทรัพย์โดยเปล่าประโยชน์ 77


78


เพื่อลูกแล้ว ผู้เป็นพ่อยอมทำ�ทุกอย่าง แม้กระทั่ง ต้องยอมแบกภาระเรื่องหนี้สินจากการกู้ยืม เพื่อหาทางช่วยเหลือลูกชายให้เป็นอิสระ 79


80


81


ความไร้เดียงสา ทำ�ให้ผู้เป็นลูกมิอาจรับรู้ชะตากรรมของผู้เป็นพ่อ 82


ยานพาหนะกับอาชีพใหม่ เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว 83


84


อุปสรรคชีวิตที่ต้องก้าวข้ามให้ผ่านพ้น 85


แสงสว่างแห่งความหวัง ยามเมื่อชีวิตต้องเผชิญมรสุม 86


ยังอยู่กับความไม่แน่นอนของชีวิตเพราะเป็นเรื่องของ ‘โชค’ 87


มิตรภาพ คราบนํ้าตา และอุดมการณ์

88


เรื่องราวเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีกลุ่มคนมารวมตัวกัน เพื่อทำ�งานช่วยเหลือ ให้ความรู้ สร้างความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่มและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากคดีความ มั่นคง หนึ่งในนั้นคือ ‘นายตอเล็บ สะแปอิง’ ซึ่งเป็นคณะทำ�งานของเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติด้วย ก่อตั้งเครือข่ายเพื่อวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือ และอำ�นวยความสะดวก สำ�หรับชาวบ้านที่ถูกกล่าวหา และ/หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในคดีความมั่นคง นอกจากนี้ก็เพื่อไม่อยากให้ชาวบ้านถูก กระทำ�เช่นเดียวกับตน ณ  ตอนนัน้   ผูไ้ ด้รบั ผลกระทบส่วนใหญ่  ทางเครือข่ายจะให้ความช่วยอำ�นวยความสะดวกทางด้านการประกันตัว  รวมถึงให้ค�ำ ปรึกษาทางด้านกฎหมาย ให้ชาวบ้านหรือครอบครัวในคดีความมั่นคงที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยทางเครือข่ายมีศูนย์ทนายความมุสลิมและผู้ช่วยทนายความมุสลิมยะลาเป็น ที่ปรึกษา นั่นจึงเป็นที่มาของเรื่องราวมากมายตามมา ทั้งที่เรียกรอยยิ้ม คราบน้ำ�ตา และรอยเลือด...

89


อับดุลเลาะ เจ๊ะตีแม นายอับดุลเลาะ เจะตีแม ซึ่งเป็นเด็กหนุ่มที่ชอบด้านการค้าขาย ถูกควบคุมตัวเมื่อปี  พ.ศ.2549  ด้วยข้อกล่าวหาว่า  เป็นมือวางระเบิดธนาคาร 22 แห่ง ทำ�ให้รัฐเสียหายกว่า 20 ล้านบาท มีคนได้รับบาดเจ็บ 39 คน เสียชีวิต 1 คน และควบคุมตัวในเรือนจำ�กลางจังหวัดยะลา รวมเวลาที่ถูกคุมขัง 3 ปี 7 เดือน หลังได้รับอิสรภาพ จากที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้ นายอับดุลเลาะฯ ตัดสินใจแต่งงาน กระทั่งภรรยาให้กำ�เนิดลูกชาย 1 คน และเปิดร้าน อาหารในเขตเทศบาลยะหา ซึ่งเป็นรายได้หลักในการเริ่มต้นชีวิตครอบครัว ก่อนหน้านี้ นายอับดุลเลาะฯ ได้รวมตัวกับเพื่อนที่เคยอยู่เรือนจำ�ในคดีความมั่นคง มาเป็น ‘กลุ่มภาคประชาสังคม’ เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่ ถูกกล่าวหาและไม่ได้รับความเป็นธรรมด้วย คดีของเขาได้สิ้นสุดลงเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา ‘ยกฟ้อง’ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2553 ชีวิตเหมือนจะคลี่คลาย  มีความหวังใหม่  หากทว่าเมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2555 ขณะนายอับดุลเลาะฯ ขับขี่รถ จักรยานยนต์กลับมาจากซื้อกับข้าวเพื่อที่จะเปิดบวชในห้วงเดือนรอมฎอน ได้มีคนร้ายขี่รถมอเตอร์ไซค์มาประกบยิงที่หน้าร้านอาหารริฟฮาน ซึ่งเป็น ร้านที่เขากับภรรยาทำ�ธุรกิจร้านอาหารร่วมกัน ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลอำ�เภอยะหา จังหวัดยะลา คนร้ายลงมือแล้วรีบขับรถหนีไป ระหว่างนั้นมีพลเมือง ดีรีบนำ�เขาส่ง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชยะลา ต่อมาเวลาประมาณ 20.00 น. จึงได้ส่งตัวไปที่ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา แต่ทีมแพทย์ไม่สามารถยื้อ

90


ชีวิตได้ ในที่สุดเขาเสียชีวิตประมาณเวลา 21.00 น. ภรรยาของนายอับดุลเลาะฯ  เล่าว่า  เธอได้รจู้ กั กับนายอับดุลเลาะฯ  ก่อนทีจ่ ะถูกควบคุมตัวอีก  หลังจากเขาได้รบั อิสรภาพจากการประกันตัว  จึงตัดสินใจ แต่งงานและสร้างครอบครัวได้ระยะเวลาประมาณแค่  1  ปีครึง่   ก่อนทีจ่ ะเสียชีวติ   ในวันทีส่ ามีถกู ลอบทำ�ร้ายลูกชายเพิง่ อายุ  5  เดือนหลังจากทีส่ ามี ซึ่งเป็นเสาหลักของครอบครัวเสียชีวิต  เธอทำ�อะไรต่อไม่ได้เลย  เธอคิดว่าสามีจากเธอไปเร็วเหลือเกิน นอกจากสุดเศร้าเสียใจแล้ว ยังต้องรู้สึกลำ�บาก มากเพราะรับภาระหลายอย่าง ต้องดูแลกิจการของสามีและเลีย้ งลูกทีย่ งั เล็กอีก แต่เธอก็สานต่อกิจการนัน้ ได้ประมาณปีกว่าๆ  เพราะนัน้ คือรายได้หลัก ในการเลี้ยงชีพเธอและลูก แต่ในทีส่ ดุ   เธอก็ตอ้ งปิดกิจการนัน้ ไป  เนือ่ งจากทางของครอบครัวเธอและครอบครัวสามี  เป็นห่วงความปลอดภัย  บวกกับเธอเองก็ไม่คอ่ ย มีความสามารถในด้านการบริหารด้วย หลังปิดกิจการ เธอและลูกกลับไปอาศัยอยู่กับครอบครัว พร้อมกับหางานทำ�ต่อ  โดยเป็นแม่บ้านของสำ�นักงานเทศบาลยะหาได้ระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอ จึงเปลี่ยนงานเป็นครูสอนหนังสือที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง จนถึงวันนี้เธอได้สอนหนังสือเป็นเวลาประมาณ 1 ปี มาแล้ว

91


ชายหนุ่มซึ่งเป็นความหวังของครอบครัว 92


รวงรังหลังเล็กกับครอบครัวที่เคยอบอุ่น 93


94


95


4 ชีวิตดำ�เนินไป พร้อมกับรายได้อันน้อยนิดเพื่อยังชีพ 96


วินาทีสุดท้ายที่ได้เห็น กับร่างอันไร้วิญญาณที่ล้มลง จนเป็นเรื่องเล่าที่ไม่น่าจดจำ� 97


เสียงแห่งความเงียบเหงา กับบานประตูที่ถูกปิดตาย 98


99


100


“ผมไม่ได้เสียใจที่น้องจากไป แต่ผมเสียใจที่น้องไม่ได้รับความเป็นธรรม” 101


ทิ้งทั้ง 3 ชีวิตให้ดำ�เนินตามลำ�พังบนโลกอันแสนโหดร้าย 102


รอพ่อ... 103


104


105


ธรรมรัตน์ อาลีลาเตะ นายธรรมรัตน์ อาลีลาเต๊ะ ถิ่นกำ�เนิดเดิมอยู่ที่ อ.ธารโต จ.ยะลา แต่เวลานี้ได้ย้ายมาอยู่ที่ชุมชนตลาดเก่า อ.เมือง จ.ยะลา พร้อมครอบครัวเล็กๆ ของ ตนกับภรรยาชาว อ.หนองจิก จ.ปัตตานี และลูกๆ อีก 2 คน นายธรรมรัตน์ฯ จบการศึกษาด้านสามัญสูงสุด ระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประกอบอาชีพเป็นครูสอนสามัญที่โรงเรียน เอกชนแห่งหนึ่งใน อ.ยะหา จ.ยะลา กระทั่งถูกควบคุมตัววันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2550 และส่งเข้าฝากขังที่เรือนจำ�กลางยะลาเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องลอบวางระเบิดในตัวเมืองยะลา 7 จุด แต่เขาให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา ถูกควบคุมตัวในเรือนจำ�เป็นระยะเวลา 2 ปี 2 เดือน เขาจึงได้รับอิสรภาพเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2553 จากการได้รับอนุญาตประกันตัว ชั่วคราวจากศาล  ภายหลังอิสรภาพ  ดำ�เนินชีวิตสานต่อการประกอบอาชีพครูที่โรงเรียนแห่งเดิม ระหว่างนั้น ด้วยได้เจอและพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ  ในคดีความมั่นคงที่ได้รู้จักกันในเรือนจำ�ยะลาที่ได้รับการประกันตัวเช่นเดียวกัน  จึงได้รวมตัวกันสร้างกลุ่มเครือข่ายเพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและ กัน  โดยตั้งกลุ่มชื่อว่า  ‘เพื่อนจำ�เลยในคดีความมั่นคง’ (ปัจจุบันชื่อ ‘เครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ : JOP’) เมื่อเกิดเหตุการณ์วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2555 นายอับดุลเลาะ  เจะตีแม ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกกรรมการบริหารเครือข่าย ถูกยิงเสียชีวิต ทำ�ให้นายธรรมรัตน์ฯ และเพื่อนๆ สมาชิกเครือข่ายได้รวมตัวกันประมาณ 40 คน ทำ�หนังสือร้องเรียนเรื่องขอความเป็นธรรม และขอให้มีมาตรการด้าน

106


ความปลอดภัยยื่นต่อ ศูนย์อำ�นวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เมื่อวันที่ 15กันยายน พ.ศ.2555 ช่วงการบริหารของ พ.ต.อ.ทวี สอด ส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. หลังจากยื่นหนังสือร้องเรียนแล้ว  มีสำ�นักข่าวขอตัวแทนเครือข่ายสัมภาษณ์  นายธรรมรัตน์ฯ อาสาเป็นคนให้สัมภาษณ์ใน วันนั้น จนมีการเผยแพร่ข่าวสารไปทั่ว จนกระทั่งถึงวันที่ 20 กันยายน เวลา 19.00 น. ได้เกิดเหตุการณ์กับนายธรรมรัตน์ฯ อีกครั้ง เขาถูกควบคุมตัวจากบ้านพักในชุมชนตลาดเก่า ถูกนำ�ตัวไปควบคุมเป็นเวลา 5 วัน ถูกซักถามในเรื่องคดีเดิมๆ ซึ่งกำ�ลังพิจารณาในกระบวนการชั้นศาลที่ยังไม่แล้วเสร็จ  ทำ�ให้เขาเกิดความสับสนใน การถูกควบคุมครั้งนี้ โดยตั้งเป็นข้อสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นการคุกคามข่มขู่หลังจากที่ตนแสดงชื่อและให้สัมภาษณ์ทางสื่อในวันที่ไปยื่นเรื่องร้องเรียน ขอความเป็นธรรมจาก ศอ.บต. หลังได้รับการปล่อยตัวอีกครั้ง นายธรรมรัตน์ฯ รู้สึกเกิดความไม่ปลอดภัยกับชีวิตของตน  และวิตกกังวลในเรื่องการเดินทางไปประกอบ อาชีพสอนหนังสือที่ต้องขับขี่รถจักรยานยนต์ตามลำ�พัง  ออกเช้า  เย็นกลับ  จึงตัดสินใจลาออกจากการสอนหนังสือ  กลายเป็นคนว่างงานเพราะยัง หางานใหม่ไม่ได้  ทำ�ได้เพียงค้าขายขนมเล็กๆ น้อยๆ อยู่หน้าบ้านพักอาศัย  มีรายได้พอได้ซื้อนมลูก  ส่วนเรื่องคดีนั้น  ศาลพิพากษา ‘ยกฟ้อง’ และ ได้สิ้นสุดลง เมื่อปี 2557

107


เดินตามทาง ตามหาความเป็นธรรม 108


บ้านร้างที่ถูกทิ้ง เพื่อแลกกับความอยู่รอด 109


110


111


สื่อสัมภาษณ์ 112


หลังยื่นหนังสือ ทำ�ให้ชีวิตเปลี่ยนอีกครั้ง 113


เหมือนถูกจำ�กัดอิสรภาพด้วยซี่กรงของความหวาดกลัว หวาดระแวง ชีวิตรู้สึกไม่ปลอดภัย 114


115


แหล่งพักพิงในความทรงจำ� 116


หนทางการต่อสู้อีกยาวไกล... 117


อุปสรรคดั่งป่าล้อมบ้าน 118


ในความมืด วันหนึ่งหวังว่าย่อมมีแสงสว่าง 119


120


ยืนหยัดต่อสู้ด้วยใจที่แรงกล้า เพื่อคนข้างหลัง 121


มะรอเซะ กายียุ กรณีของ นายธรรมรัตน์ อาลีลาเต๊ะ อาจดูน่าหวาดหวั่นไม่ปลอดภัย แต่อย่างน้อยก็ยังดีที่เขายังมีชีวิตอยู่  มีโอกาสพยายามดิ้นรนดูแลชีวิตตนเอง ครอบครัว และคอยช่วยเหลือกลุ่มเพื่อนๆ ต่างกับ ‘นายมะรอเซะ กายียุ’ เพื่อนร่วมชะตากรรมอีกคน ที่ต้องสังเวยชีวิตให้กับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้ นายมะรอเซะ  กายียุ บ้านเกิดอยู่ที่ ต.จะแหน อ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา ก่อนหน้าที่เขาจะเสียชีวิต ได้แต่งงานและมีบุตร 4 คน ชาย 1 คน หญิง 3 คน ประกอบอาชีพเป็นคนขับรถ และภรรยาเปิดร้านขายนํ้าชาและข้าวยำ�เล็กๆ ร้านหนึ่ง ผู้เป็นภรรยาเล่าว่า  นายมะรอเซะฯ  เคยถูกควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ 2 ครั้งด้วยกัน ครั้งแรก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 ถูกจับกุมพร้อมกับน้องชาย และได้รับการปล่อยตัว ต่อมาเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2552 ถูกควบคุมตัวอีกครั้งที่บริเวณร้านขายข้าวยำ�  จนกระทั่ง ถูกแจ้งข้อกล่าวหาและถูกฟ้องดำ�เนินคดีความมั่นคง  จากศาลจังหวัดยะลา  เขาถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ�กลางจังหวัดยะลามาโดยตลอด  รวมระยะ เวลา 1 ปี 3 เดือน จึงได้รับการอนุญาตประกันตัว หลังจากที่ได้รับอิสรภาพ กลับมาอาศัยอยู่กับครอบครัวและลูก  และได้เข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนๆ  ผู้ได้ รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย (กลุ่มเพื่อน จ. หรือเครือข่ายผดุงธรรม JOP) ด้วย

122


ต่อมาเมื่อวันที่  20 ธันวาคม พ.ศ.2552 ศาลจังหวัดยะลาพิพากษายกฟ้อง พนักงานอัยการอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องเช่นกัน ใน ระหว่างเขาถูกลอบทำ�ร้ายนั้น อยู่ในช่วงระหว่างรอพนักงานอัยการฎีกา  ซึ่งจะครบกำ�หนดคำ�ร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาครั้งที่ 4 ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ.2556 แต่เขาถูกลอบทำ�ร้ายเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2556 เวลาประมาณ 09.00 นาฬิกา ขณะอยู่ในร้านขายข้าวยำ�ของภรรยา ริมถนน สายบันนังดามา-สะบ้าย้อย อำ�เภอกาบัง จังหวัดยะลา ได้มีรถยนต์วีโก้แคป สีดำ� ไม่ติดป้ายทะเบียน มากลับรถยนต์บริเวณใกล้เคียงร้านของเธอ  และ ใช้อาวุธปืนไม่ทราบขนาดและชนิด ยิง 1 นัด จนล้มลงบนโต๊ะอาหารในร้าน ผู้เป็นภรรยาไม่ได้ยินเสียงปืนดัง แต่เห็นรอยเลือดบริเวณต้นแขนของชาว บ้านที่นั่งอยู่ใกล้กันจึงทราบว่าสามีถูกยิงบริเวณท้ายทอย  จึงให้ญาติรีบพาส่งโรงพยาบาลกาบัง แพทย์พยายามทำ�การปั้มหัวใจ  และส่งตัวไปที่โรง พยาบาลศูนย์ยะลา และได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา หลังการสูญเสียครั้งสำ�คัญในชีวิต  ทุกวันนี้เธอต้องแบกรับภาระหลายอย่าง ทั้งการเลี้ยงดู การสนับสนุนให้ลูกทั้ง 4 คนได้เล่าเรียนหนังสือ  หนี้สินที่สามีกู้จากธนาคารมาลงทุนและเป็นค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี  ตอนนี้ก็จ่ายหนี้ยังไม่หมด  แถมยังต้องหาทุนมาสร้างบ้านเป็นของตัวเองและ ลูกๆ ที่ยังไม่แล้วเสร็จ  ส่วนเรื่องคดีการลอบทำ�ร้าย นายมะรอเซะฯ ผู้เป็นสามี เธอได้เดินเรื่องเพื่อดำ�เนินคดีฟ้องหาคนกระทำ�ผิด แต่ท้ายที่สุด  ความพยายามนั้นก็ต้องยกเลิกความตั้งใจไป  เนื่องจากทางครอบครัวนายมะรอเซะฯ เป็นห่วงถึงความไม่ปลอดภัยของเธอ

123


124


125


126


มิตรภาพระหว่างเพื่อน 127


128


ที่แรกและที่สุดท้ายของชีวิต 129


เรื่องเล่าของผู้ที่อยู่ข้างหลัง 130


131


ขับรถรับจ้าง คืออาชีพและต้นทุนของชีวิต 132


ค้าขาย อีกหนึ่งรายได้เสริมของครอบครัว 133


เสียงปืนนัดเดียว 134


จุดเปลี่ยนของลมหายใจ 135


136


ยังคงยึดหลักในศรัทธา 137


138


ทนแบกรับภาระเพื่ออนาคตของสมาชิกในครอบครัว 139


ชีวิตต้องดำ�เนินต่อไป 140


ความผูกพันยังคงไม่เสื่อมคลาย 141


ตอเหล็บ สะแปอิง ดำ�เนินชีวิตอยู่ดีๆ  แต่เมื่อถูกควบคุมตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2550 จากนั้นมา เส้นทางชีวิตของ ‘นายตอเหล็บ สะแปอิง’ ชาวบ้าน ต.สะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา ก็ไม่อาจหวนคืนสู่สภาพเดิมอีกต่อไป เขาต้องใช้ชีวิตอยู่ในเรือนจำ�กลางยะลา 6 ปี ตลอดระยะเวลาดังกล่าวยังถูกอายัดคดีอีก 6 คดี รวมทั้งหมด 7 คดี มีคดีที่รู้สึกสับสนและเครียด ที่สุด คือเหตุการณ์ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้นขณะเขาเองยังถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ� แต่เจ้าหน้าที่บอกว่ามีส่วนในเหตุการณ์นั้นด้วย สรุปแล้วมีคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง 3 คดี และต้องสู้คดี 4 คดี ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 8 ปีกว่าคดีจะสิ้นสุดลง โดยคดีแรกศาลชั้นต้นพิพากษาตลอด ชีวิต หลังพิพากษานั้นอยู่ที่เรือนจำ�ยะลาประมาณ 20 วัน ต่อจากนั้นได้ส่งตัวไปยังเรือนจำ�กลางสงขลาประมาณ  1 ปี  ศาลชั้นอุทธรณ์พิพากษา ยกฟ้อง และอยู่ระหว่างการฎีกา ไม่นานต่อมา เขาถูกส่งตัวกลับมายังเรือนจำ�ยะลาใหม่ เพื่อจะดำ�เนินคดีที่อายัดต่อ สุดท้ายคดีแรกศาลชั้นฎีกายกฟ้อง และส่วนคดีที่สอง ซึ่ง เป็นคดีที่ถูกกล่าวหาขณะอยู่ในเรือนจำ�นั้น ศาลพิพากษาชั้นต้นยกฟ้อง ดังนั้นศาลอนุญาตให้ปล่อยตัวเป็นอิสระได้ เหมือนเคราะห์ร้ายจะพัดผ่าน  หากทว่าเพียงเขาเดินออกจากเรือนจำ�ไม่ทันที่จะพบปะญาติๆ  และครอบครัว  กลับมีเจ้าหน้าที่จาก

142


สภ.เมืองยะลา มารับตัว เพื่อรอ สภ.ยะหา มารับตัวต่อ จากนั้นจึงถูกควบคุมตัว สภ.ยะหา ต่ออีก 2 คืน ก่อนจะส่งตัวเข้าเรือนจำ�ยะลาต่อ โดนอายัดอีก 2 คดี ในระหว่างที่อยู่ สภ.ยะหา ได้มีตัวแทนจากเครือข่ายผดุงธรรมเพื่อสันติ (JOP) ชื่อ นายอับดุลเลาะ เจะตีแม ติดตามและให้ความช่วยเหลือ จน เจ้าหน้าที่มาสอบถามเขาว่ารู้จักนายอับดุลเลาะ เจะตีแม ไหม เขาตอบว่ารู้จักเพราะเคยอยู่ในเรือนจำ�กลางยะลาด้วยกัน นายตอเหล็บฯ ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำ�กลางยะลาต่อ เพื่อสู้คดีที่ 3 และ 4 ในระหว่างพิจารณาสู้คดี ที่ 3 ได้ครึ่งทาง ศาลอนุญาตให้ประกันตัวได้ หลังจากได้รับอิสรภาพออกจากเรือนจำ�ระยะเวลาได้แค่ 5 เดือน นายตอเหล็บฯ ถูกลอบทำ�ร้าย (ถูกยิง) ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2556 เวลาประมาณ 16.30 น. เขากับเพื่อนๆ สมาชิกเครือข่าย JOP ออกเดินทาง จากยะลามุ่งหน้าห้องประชุมกรรมการกลางอิสลามจังหวัดปัตตานี เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเปิดบวชในเดือนรอมฎอนร่วมกับสมาชิกเครือข่ายภาคประชา สังคมอื่นๆ  ในพื้นที่  หลังร่วมกันทำ�กิจกรรมเสร็จสิ้นในคืนนั้น เขาได้นอนค้างคืนบ้านเพื่อนในเมืองเนื่องจากดึกแล้ว วันรุ่งขึ้นวันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2556 เขาเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ส่วนตัว  ก่อนจะกลับบ้านได้แวะเข้าศาลากลางจังหวัดยะลา เพื่อพบปะขอคำ�ปรึกษากับปลัดอำ�เภอ ด้าน โครงการสร้างอาชีพและเกี่ยวกับคดี หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับบ้านที่ตาเนาะปูเตะ  เพราะช่วงนั้นได้พักอาศัยบ้านพี่ชาย

143


ระหว่างทางปากทางเข้าบ้านพี่ชาย  ในใจเขาเกิดความรู้สึกคิดถึงลูก  อยากไปเยี่ยมลูกที่บันนังสตา  เนื่องจากลูกไม่ได้อยู่กับตน เพราะ ภรรยาได้ขอหย่าร้างขณะยังอยู่ในเรือนจำ� ในระหว่างกำ�ลังขับขี่รถจักรยานยนต์มุ่งหน้าไปบันนังสตา ช่วงเวลาประมาณ 13.45 น. เขาถูกยิงที่ลำ�ตัวใต้ราวนม 2 นัด โดยคนร้ายใช้พาหนะ รถกระบะ  4 ประตู ตอนนั้นเขาได้รับบาดเจ็บแต่ยังรู้สึกตัวดี จึงพยายามขอความช่วยเหลือชาวบ้าน  นำ�ตัวไปส่งยังโรงพยาบาลบันนังสตา และได้ ส่งตัวรักษาต่อที่โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จนอาการดีขึ้น แต่หลังออกจากโรงพยาบาล เขาต้องเดินทางไปที่ศาลจังหวัดยะลาทุกครั้งเมื่อมีนัด เพราะต้อง สู้คดีที่ยังไม่เสร็จสิ้นอีก 2 คดี ทุกครั้งที่ไปที่ศาล ต้องขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้องที่ว่าง เพื่อช่วยพาตนเองไปที่ศาล เพราะเขาไม่สามารถเดินได้เป็นปกติอีกแล้ว กลาย เป็นคนพิการต้องนั่งรถคนพิการ (วินแชร์) ตลอดชีวิต สำ�หรับคดี 2 คดีนั้น ศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้อง ถึงแม้คดีทั้ง 7 คดีได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่บางครั้งรู้สึกน้อยใจและหมดกำ�ลังใจ แอบร้องไห้บ้าง เนื่องจากคิดถึงสภาพของตนเองที่ไม่สามารถทำ�มาหากินส่งเสียลูกเรียน ซึ่งเป็นภาระของผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวควรกระทำ� ถึงแม้ลูกจะอยู่กับอดีต ภรรยาก็ตาม  ส่วนลูกๆ มาเยี่ยมผู้เป็นพ่อบ้าง แต่ไม่บ่อยนัก เพราะบ้านที่ลูกอยู่กับบ้านที่เขาอาศัย ณ ตอนนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางพอสมควร  วันเวลา

144


ส่วนใหญ่เขาจึงต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านคนเดียว ส่วนอาหารการกิน ถ้าลูกมาอยู่ลูกก็จะทำ�กับข้าวให้กิน บางทีก็มีพี่ชายหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียงนำ�อาหาร มาให้ทานบ้าง จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ประมาณ 3 ปีกว่าๆ ที่ต้องทนกับสภาพไม่สามารถเดินได้  และอาการเจ็บปวดครึ่งท่อนของร่างกายที่มาเป็นระยะๆ ยังไม่หาย การหาหมอรักษาอาการเจ็บปวดนั้น  ตัดสินใจเลิกไม่ไปหาแพทย์แผนปัจจุบัน  เนื่องจากไปแต่ละครั้งก็จะให้แค่ยาบรรเทาปวดเท่านั้น จึงหันไปหาหมอบ้านหรือหมอนวดแทน แล้วแต่ได้ยินว่าที่ไหนมีหมอบ้านดี ก็จะไป เพื่อให้อาการเจ็บปวดหายหรือทุเลาลงบ้าง ในแต่ละครั้งไปหา หมอบ้าน ก็ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควรเพราะต้องจ้างให้คนพาไป ส่วนด้านเศรษฐกิจ อยู่ในสถานการณ์ลำ�บากมาก ที่ดินและสวนที่เคยได้ทำ�มา หากินแต่เก่าก่อน  ก็ได้ขายไปแล้วเพื่อนำ�มาเป็นค่าเช่าหลักทรัพย์ในการประกันตัวของตน ก่อนหน้านี้ก็มีเจ้าหน้าที่ของภาครัฐมาเยี่ยมให้ความช่วยเหลือด้านเยียวยา จึงได้สร้างบ้านเล็กๆ เป็นที่พักอาศัย ณ ตอนนี้ และในบ้านเปิด ขายของชำ�เล็กๆ น้อยๆ ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง เขาหวังว่า  คงมีหน่วยงานที่สามารถให้ความช่วยเหลือด้านอาชีพให้เหมาะสมกับสภาพของตน เพื่อสร้างรายได้ให้พอเลี้ยงชีพอยู่ได้ และทำ� ให้หัวใจที่เคยเข้มแข็ง กลับมามั่นคงได้ดังเดิม

145


ความเจ็บปวดที่สะเทือนถึงข้างใน 146


เส้นทางที่ทอดยาว กลับจำ�กัดอิสระ 147


148


149


ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ 150


อ้างว้าง ว้าเหว่ โดดเดี่ยว 151


152


153


154


155


156


เพียงบรรเทา 157


158


159


แค่นี้ก็สุขใจ 160


ได้... แค่... มอง 161


ทอดสายตาไปข้างหน้า โหยหาความยุติธรรมที่ประสบ เหตุใดเล่าชีวิตต้องรันทด ไม่อาจจดและจำ� 162


ขอเป็นคนสุดท้าย ...!!! 163



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.