ชี้ช่องส่งออก SMEs ประจำเดือนกรกฎาคม 2012

Page 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำ�เดือนกรกฎาคม 2555

‘ดัม ดี ดัม’ เฉาก๊วยฮัมเพลง สไตล์ฟิวชั่น Supply Chain CLMV+Nanning น�้ำมันกฤษณา ‘เอเชีย ฟอเรสตรี้’ ธุรกิจรองเท้าไทย สร้างโอกาสก้าวไกล ไปต่างประเทศ

Indonesia

มหาอำ�นาจทาง เศรษฐกิจในอนาคต


DITP

DITP SMEs Club

สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพือ่ การส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 0-2507-8162-63 และ 8165-8168 โทรสาร 0-2547-4258

2

ชี้ช่องส่งออก SMEs

สิทธิประโยชน์สมาชิก DITP SMEs Club 1. สมาชิกจะได้รับสิทธิ์ในการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมของกรมฯ ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศเป็นระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ได้รบั การอนุมตั ิ เป็นสมาชิกฯ 2. สมาชิกจะได้รบั สิทธิ์ให้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ของกรมฯ โดยเฉพาะการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศ ซึ่งจะ ได้รบั การลดหย่อนค่าใช้จา่ ยสมทบจ�ำนวน 3 ครัง้ คือ ได้รบั การลดหย่อน ร้อยละ 50 ส�ำหรับครัง้ แรก ส่วนครัง้ ทีส่ องและสามจะได้รบั การลดหย่อน ร้อยละ 30 ของอัตราการเรียกเก็บเต็มจ�ำนวนของงานฯ 3. เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงลึกพร้อมฝึกปฏิบตั ิในเรือ่ งการจัดท�ำแผนการ ตลาดเพื่อการส่งออกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 4. สมาชิกฯ จะมีรายชื่ออยู่บนเว็บไซต์ของกรมฯ ในกลุ่มสมาชิก DITP SMEsClub และจะได้รบั ข่าวสารกิจกรรมกรมฯ และหน่วยงานเครือข่าย อย่างสม�่ำเสมอ


Editor Talk ท่ามกลางบรรยากาศของฟุตบอลยูโรที่ก�ำลังคึกคัก การเมื อ งและสถานการณ์ ใ นประเทศของกรี ซ ก็ มี ค วาม เคลื่อนไหวไม่น้อยเช่นกัน การเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านพ้นไป ช่วย สร้างความกระชุ่มกระชวยให้กับกรีซไม่น้อย เพราะการจัดตั้ง รัฐบาลช่วยขยับอัตราความเชื่อมั่นต่อประเทศให้สูงขึ้นได้อีก โลกจับตามองความเคลื่อนไหวและขยับแข้งขากัน ในศึกลูกฟุตบอล รวมถึงความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงในด้าน การเงินของประเทศในยุโรปที่ก�ำลังอยู่ในช่วงไม้ผลัดใบ ก่อน หน้านี้ไม่นาน ทั่วโลกก็จับตามายังเอเชีย โดยเฉพาะในงาน World Economic Forum ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการ จัดงานในปีนี้ สะท้อนให้เห็นความตื่นตัวของนานาประเทศที่มีต่อ ภูมภิ าคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ที่ก�ำลังเดินหน้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างเต็มรูปแบบในอีก 3 ปีข้างหน้า เมื่อโลกก�ำลังจับตามองเอเชีย เราในฐานะประเทศ สมาชิกอาเซียนเองก็ควรต้องมองเพื่อนบ้าน มิตรประเทศใกล้ เคียงกับเรา ยิง่ ก�ำลังจะกลายเป็นเหมือนคนบ้านเดียวกัน ความ เข้าใจหรือความเข้าถึงข้อมูล ศักยภาพ และโอกาสก็น่าจะ เป็นการรู้เขา รู้เรามากขึ้น อิ น โดนี เซี ย เป็ น ประเทศที่ ก� ำ ลั ง ผงาดขึ้ น ในเวที เศรษฐกิจ ด้วยขนาดของประเทศและจ�ำนวนประชากรเกือบครึง่ หนึง่ ของอาเซียน แม้บทบาทของการเป็นยักษ์ใหญ่ในอาเซียนยัง ไม่โดดเด่นมากนัก จากข้อมูลพื้นฐานและศักยภาพของตลาด แล้ว “อินโดนีเซีย” ก็เป็นประเทศที่ผู้ประกอบการไทยไม่น่า มองข้ามเป็นอย่างยิง่ หากแต่ตอ้ งมองหาโอกาสให้พบและท�ำให้ โอกาสนั้นเป็นบวกในการท�ำการค้า การลงทุนกับอินโดนีเซีย คณะท�ำงาน

ชี้ช่องส่งออก SMEs ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 เดือนกรกฎาคม 2555

04 @ Cover Indonesia มหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจในอนาคต 07 SMEs Success

‘ศรีฟ้าเบเกอรี่’ ความอร่อยที่ต้องบอกกว่า 2 ทศวรรษ

08 นวัตกรรมปั้น SMEs น้ำ�มันกฤษณา ‘เอเชีย ฟอเรสตรี้’ 09 สายตรงแหลงผลิต ‘บ้านทุ่งยาว’ ดีไซน์บ้านสัตว์เลี้ยง 10 Idea packaging ‘ดัม ดี ดัม’ เฉาก๊วยฮัมเพลง สไตล์ฟิวชั่น 11 ชี้ชองสงออก

ธุรกิจรองเท้าไทย สร้างโอกาสก้าวไกล ไปต่างประเทศ

พม่ายุคใหม่...พระเอกเนื้อหอมของ AEC

12 SMEs logistics Supply Chain CLMV+Nanning 13 ชี้ชองสองทาง 14 Activities Update 15 สาระน่ารู้จาก EXIM BANK

เจ้ า ของ : กรมส่ ง เสริ ม การส่ ง ออก กระทรวงพาณิ ช ย์ ที่ ป รึ ก ษา : อธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม การส่ ง ออก : นั น ทวั ล ย์ ศกุ น ตนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก : วุฒิชัย ดวงรัตน์ อัญชลี พรหมนารท ร.อ.สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ : มาตยวงศ์ อมาตยกุล ภูสิต รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ เอกฉัตร ศีตวรรัตน์ สมเด็จ สุสมบูรณ์ เพยาว์ สุขมาก จตุพร วัฒนสุวรรณ เพ็ญศรี ชุติธรพงษ์ มีชัย บุณยะมาน บรรณาธิการ : จิรภาพรรณ มลิทอง ส�ำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 ชี้ช่องส่งออก SMEs 3


@ Cover

Indonesia

มหาอำ�นาจทางเศรษฐกิจในอนาคต

ากพูดถึงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุด ในอาเซียน คงต้องยกนิ้วให้อินโดนีเซีย เสือ เศรษฐกิจตัวใหม่แห่งกลุ่ม BRICS นี้ มีอัตราการ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ อย่ า งก้ า วกระโดด มี ข นาด ประชากรถึง 237.5 ล้านคนหรือเกือบร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมดในอาเซียนที่มีประชากรรวม ราว 600 ล้ า นคน อั ต ราการเจริ ญ เติ บ โตของ ประชากรอยูท่ ี่ 1.34% โดย 90% มีศกั ยภาพ สามารถ อ่านออกเขียนได้ สองในสามมีอายุในวัย 15-64 ปี เป็ น วั ย ที่ มี อ� ำ นาจซื้ อ และจะมี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ในการ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ อินโดนีเซียยังเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ ที่ สุดในโลก มี เ กาะถึ ง 17,508 เกาะ (เกาะที่ มี ประชากรอยู่อาศัยมีประมาณ 6,000 เกาะ) คิดเป็น พื้นที่ราว 5.2 ล้านตารางกิโลเมตร รวมพื้นที่ทะเล หรือใหญ่กว่าไทยประมาณ 10 เท่า เกาะที่มีขนาด

4

ชี้ช่องส่งออก SMEs

ใหญ่ที่สุด 5 ล�ำดับ ได้แก่ กาลิมันตัน (Borneo) สุมาตรา (Sumatra) อิเรียนจายา (Irian Jaya) สุลา เวสี (Sulawesi) และเกาะชวา (Java) ซึ่งเป็น ศูนย์กลางการค้า การเงิน และอุตสาหกรรม เป็นที่ ตั้งกรุงจาการ์ตา Jakarta Special Capital Region Province : DKI Jakarta) เมืองหลวงและศูนย์กลาง ของหน่ ว ยงานราชการการบริ ห ารประเทศ ที่ มี ประชากรกว่า 9 ล้านคน พื้นที่ในเมืองส่วนใหญ่จึง เป็นที่อยู่อาศัยและที่เหลือเพื่อภาคอุตสาหกรรม มี สาธารณูปโภค สิ่งอ�ำนวยความสะดวกครบครันเพื่อ สนั บ สนุ น การลงทุ น รวมทั้ ง สนามบิ น ระหว่ า ง ประเทศ 2 แห่ ง คื อ สนามบิ น ซู ก าร์ โ น-ฮั ต ตา (Soekarno-Hatta) และสนามบินใหม่ ฮาร์ลิมเปอร์ ดานา กุสุมา (Halim Perdana Kusuma) ท่าเรือ ตันจุง พริออก (Tanjung Priok) ระบบการขนส่งทาง บกและรถไฟ


จากปัจจัยตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ทีส่ ดุ เมือ่ เทียบกับประเทศอาเซียน การมีความมัน่ คง ทางการเมือง ทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ มีค่าจ้าง แรงงานไม่สงู มากและมีแรงขับเคลือ่ นของภาคเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้และประมง จึงช่วยปกป้องอินโดนีเซีย จากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ผันผวนและคง ความน่าดึงดูดใจ เกือ้ หนุนต่อการลงทุนของต่างชาติ ต่างจากเศรษฐกิจเพื่อนบ้านที่พึ่งพาการส่งออกเป็น หลัก ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของ อินโดนีเซียในปี 2554 โตขึ้นถึง 6.5% ซึ่งในปี 2551 ทีห่ ลายประเทศรวมทัง้ ไทยต้องเผชิญมรสุมเศรษฐกิจ จากผลพวงของวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ อินโดนีเซียยัง สามารถสร้างกระตุ้น GDP ได้ถึง 4.5% เป็นเครื่อง ยืนยันว่าอินโดนีเซียเป็นในหนึ่งในประเทศที่เติบโต เร็วที่สุดในเอเชียและยังคงน่าดึงดูดใจส�ำหรับนัก ลงทุน การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมจากต่างชาติ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 20 ส่วนใหญ่เป็นการลงทุน ประเภทเหมืองถ่านหินและอุตสาหกรรมรถยนต์ เนื่องจากอินโดนีเซียมีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ ส�ำหรับสินค้าส่งออกส�ำคัญนอกจากน�้ำมันและก๊าซ ธรรมชาติ ได้แก่ ไม้อัดพลายวูด เสื้อผ้า ผ้าผืน ยาง แปรรู ป รองเท้ า สิ น ค้ า อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละส่ ว น ประกอบ สิ น แร่ โ ลหะและ ผลิ ต ผลทางการเกษตร มี ตลาดส่ ง ออกส� ำ คั ญ ได้ แ ก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ขณะที่สินค้าน�ำ เข้ า ส่ ว นใหญ่ เ ป็ น เครื่ อ งจั ก ร เ ค รื่ อ ง มื อ เ ค รื่ อ ง ใ ช ้ ไ ฟ ฟ ้ า เคมี ภั ณ ฑ์ แ ละรถยนต์ มี แ หล่ ง น�ำเข้าคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเกาหลีใต้ ด้านความสัมพันธ์ทางการ ค้ากับไทยในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา ไทย เป็นฝ่ายเกินดุลการค้าอินโดนีเซีย เป็นส่วนใหญ่ อินโดนีเซียเป็นคู่ค้า อันดับ 3 ของไทยในอาเซียนและเป็น

อันดับ 10 ในโลก ขณะทีไ่ ทยก็เป็นคูค่ า้ อันดับ 3 ของ อินโดนีเซียในอาเซียนเช่นกัน อินโดนีเซียเป็นตลาด ส่งออกอันดับ 8 ของไทย ซึง่ ไทยต้องเร่งกระตุน้ ความ สัมพันธ์ทางการค้าและใช้โอกาสจากตลาดประชากร ขนาดใหญ่ของอินโดนีเซีย โดยร้อยละ 15 มีฐานะดี มีก�ำลังซื้อสูงมาก ต้องการสินค้า High End สินค้า ทุน สินค้าอุปโภคบริโภคสูง และที่ส�ำคัญคือชาว อินโดนีเซียนิยมสินค้าและบริการจากไทยเป็นทุนเดิม อยู่แล้ว ส�ำหรับการลงทุนของไทยและอินโดนีเซีย ไทยเป็นประเทศที่เข้าไปลงทุนสูงเป็นอันดับ 10 มี มู ล ค่ า การลงทุ น จากปี 2519 ถึ ง ปั จ จุ บั น กว่ า

ชี้ช่องส่งออก SMEs

5


2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปี 2551 ถึงต้นปี 2552 สูงถึง 328.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าส่วนใหญ่ เป็นการลงทุนจากธุรกิจไทยขนาดใหญ่ มีภาคการ ลงทุนส�ำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต เช่น วัสดุ ก่อสร้าง ปิโตรเคมีและเคมีภณ ั ฑ์ ยางอัดแท่ง เนือ้ สัตว์ และอาหารสัตว์ ชิน้ ส่วนรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรม เหมืองแร่ อุตสาหกรรมพลังงาน ธุรกิจ Trading ธุรกิจ Franchise และอุตสาหกรรมประมง ส่วนการ ลงทุนของอินโดนีเซียในไทย บรรดาประเทศอาเซียน อินโดนีเซียลงทุนในไทยสูงเป็นล�ำดับ 3 รองจาก สิงคโปร์และมาเลเซีย ในสาขาอุตสาหกรรมและ ผลิ ต ผลจากการเกษตร อุ ต สาหกรรมเคมี ภั ณ ฑ์ อุ ต สาหกรรมกระดาษ อุ ต สาหกรรมพลาสติ ก อุ ต สาหกรรมเหมื อ งแร่ อุ ต สาหกรรมเซรามิ ก อุตสาหกรรมโลหะขั้นมูลฐาน อุตสาหกรรมเบา และ อุตสาหกรรมเครื่องจักร ส่วนลู่ทางการค้าการลงทุนที่น่าจะสดใสใน อินโดนีเซีย ได้แก่ อุตสาหกรรมแร่ที่ไม่ใช่โลหะ อุตสาหกรรมเหมืองแร่ อุตสาหกรรมด้านพลังงาน

6

ชี้ช่องส่งออก SMEs

เช่น ถ่านหิน น�ำ้ มัน ก๊าซธรรมชาติและพลังงานไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมีภณ ั ฑ์และยา อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุ ป กรณ์ การก่ อ สร้ า งเพื่ อ พั ฒ นาโครงสร้ า ง พืน้ ฐาน อุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าประมง อุตสาหกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและธุรกิจขนส่งและการ ติดต่อสื่อสาร ซึ่งรัฐบาลอินโดนีเซียก�ำลังพยายาม ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบเรื่องเศรษฐกิจการค้า การ เงิน การธนาคาร และการลงทุน ให้มีความเสรีและ สะดวกขึ้น เป็นการผ่อนคลายรูปแบบเศรษฐกิจจาก ที่รัฐเคยควบคุมมาก เป็นการเปิดโอกาสให้ภาค เอกชนต่างชาติเข้ามาลงทุนในกิจการหลายภาคทีเ่ คย จ�ำกัด เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ การก้ า วสู ่ ป ระชาคมเศรษฐกิ จ อาเซี ย น นอกจากต้ อ งปรั บ ตั ว และตั้ ง รั บ ผลกระทบหลาก หลายแล้ว คงต้องจับตามองพร้อมประเมินวิเคราะห์ กันอย่างใกล้ชิดต่อไปด้วยว่า อินโดนีเซียจะเป็น ตัวแทนประเทศอาเซียนและภูมิภาคเอเชีย ก้าวขึ้น เป็นมหาอ�ำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ตามหลังรุน่ พีอ่ ย่าง จีนหรืออินเดียในอนาคตได้จริงหรือไม่


SMEs Success

‘ศรีฟา้ เบเกอรี’่

ความอร่อยทีต่ อ้ งบอกกว่า 2 ทศวรรษ

เบเกอรี”่ นับเป็นธุรกิจหนึง่ ทีน่ า่ สนใจ เนือ่ งจาก เป็นขนมที่สามารถทานได้ทุกเพศ ทุกวัย ยิ่งถ้า ร้านใดปรุงแต่งรสชาติทอี่ ร่อยถูกปากผูบ้ ริโภค มักจะ ได้รบั ความนิยมเพิม่ ขึน้ เช่นเดียวกับร้านขนม ‘ศรีฟา้ เบเกอรี’่ ทีอ่ ยูค่ คู่ นไทยมานานถึง 25 ปี ภายใต้การ บริหารกิจการของ ‘คุณวิเชียร เจนตระกูลโรจน์’ ทีม่ งุ่ พัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์มาโดยตลอด ท�ำให้ได้รบั การยอมรับจากกลุม่ ผูบ้ ริโภคในวงกว้างจนถึงปัจจุบนั หากแต่ ก ารที่ จ ะประสบความส� ำ เร็ จ นั้ น ไม่ใช่เรือ่ งง่าย คุณวิเชียรเล่าถึงจุดเริม่ ต้นว่า “เดิมที ครอบครัวมีอาชีพค้าขายอาหารที่ จ.กาญจนบุรี และคุณพ่อต้องการให้สานต่อกิจการ แต่เราไม่อยาก ท�ำ จึงตัดสินใจออกมาหางานท�ำทีก่ รุงเทพฯ โดยเป็น พนักงานขายนาฬิกาทีห่ า้ งสรรพสินค้า และพนักงาน บาร์นำ�้ ทีโ่ รงแรมแห่งหนึง่ ท�ำอยูห่ ลายปี ก็มคี วาม รูส้ กึ อยากท�ำธุรกิจส่วนตัว จึงตัดสินใจออกจากงาน และกลับมาตัง้ หลักทีบ่ า้ นกาญจนบุร”ี ในช่วงทีอ่ อกมานัน้ ความคิดของคุณวิเชียร อยากประกอบธุรกิจหลายอย่าง เช่น ขายนาฬิกา ขาย จิวเวอรี่ หรือร้านถ่ายรูป แต่เนือ่ งจากธุรกิจเหล่านีต้ อ้ ง ลงทุนสูง จึงมองหาอาชีพใหม่ทลี่ งทุนน้อย แต่สร้าง ก�ำไรได้ เลยนึกถึงอาชีพท�ำขนมขาย และเริม่ เรียนรู้ วิธกี ารท�ำขนม รวมถึงได้มโี อกาสฝึกฝนประสบการณ์ จากร้านเบเกอรีห่ ลายแห่ง “ผมใช้เวลาในการเก็บ เกีย่ วประสบการณ์จากร้านขนม หลายแห่งอยูป่ ระมาณ 4 ปี จนได้ เรียนรูข้ นั้ ตอนและเทคนิคต่างๆ ในการท�ำขนม โดยอาศัยครูพกั คุณวิเชียร ลักจ�ำเอาบ้าง จนแน่ใจว่ามีความ เจนตระกูลโรจน์ รู ้ ม ากพอ จึ ง กลั บ ไปเปิ ด ร้ า น

เบเกอรี่ ชื่อว่า ‘ศรีฟ้าเบเกอรี่’ เป็นร้านห้องแถว เล็กๆ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2529” ตลอดระยะเวลาในการด� ำ เนิ น กิ จ การ คุณวิเชียรได้มีหลักในการท�ำธุรกิจที่เขายึดถือเป็น หัวใจส�ำคัญคือ การน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ทมี่ คี ณ ุ ภาพ ดี เ ท่ า นั้ น ที่ จ ะสร้ า งความพึ ง พอใจแก่ ลู ก ค้ า ได้ ดั ง นั้ น ศรี ฟ ้ า เบเกอรี่ จึ ง เพี ย บพร้ อ มไปด้ ว ยสิ น ค้ า คุณภาพหลากหลายชนิด ภายใต้การผลิตจากโรงงาน ศรีฟา้ โฟรเซนฟูด้ อาทิ เช่น เค้กฝอยทอง เค้กแช่แข็ง กึง่ ส�ำเร็จรูป ตลอดจนแป้งพาย แป้งเดนิช แป้งขนมปัง แช่แข็งกึง่ ส�ำเร็จรูป ทีผ่ า่ นกระบวนการผลิตทีไ่ ด้รบั การ รับรองตามมาตรฐาน GMP และ HACCP นอกจากนีย้ งั มีผลิตภัณฑ์ขนมอบกรอบและ ทองม้วนตราสุธรี า ทีผ่ ลิตโดยบริษทั สุธรี าเอนเตอร์ไพรซ์ จ�ำกัด โดยผลิตภัณฑ์ทองม้วนตราสุธีราเป็นสินค้า ที่มีการส่งออกถึง 80% ของก�ำลังผลิต ไปในหลาย ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และจีน เป็นต้น จากประสบการณ์และการสร้างสินค้าที่มี คุณภาพท�ำให้ปัจจุบันศรีฟ้าเบเกอรี่มีสาขาถึง 25 สาขา ครอบคลุมในแถบภาคตะวันตก เช่น กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และ ชานเมืองกรุงเทพฯ ความส�ำเร็จของศรีฟ้าเบเกอรี่ ล้วนแล้วแต่ เกิดขึ้นจากความพยายามและความอดทนของคุณ วิเชียรและทีมงานทุกคนทีร่ ว่ มมือร่วมใจกันขับเคลือ่ น ให้องค์กรแห่งนีเ้ ดินหน้าอย่างไม่หยุดยัง้ ดังนโยบาย ทีว่ า่ ‘ศรีฟา้ สินค้าคุณภาพ บริโภคปลอดภัย ใส่ใจ บริการ การค้าซือ่ สัตย์ ยืนหยัดพัฒนา ลูกค้าพอใจ ก้าวไกลสูส่ ากล’ ชี้ช่องส่งออก SMEs

7


นวัตกรรมปั้น SMEs

น�้ำมันกฤษณา ‘เอเชีย ฟอเรสตรี้’

เอเชีย ฟอเรสตรี’้ ผูน้ ำ� ธุรกิจผลิตและจ�ำหน่ายน�ำ้ มัน กฤษณาสูต่ ลาดโลกแบบครบวงจรทีย่ งั คงครองความ เป็นเจ้าตลาดในไทยได้อย่างเหนือชั้น และผลักดันจน กลายเป็นธุรกิจไม้เศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมอันดับ หนึง่ ในประเทศ เป็นเจ้าแรกทีเ่ ปิดในประเทศไทย และ เป็นธุรกิจที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยเข้ามาร่วม ทุนโดยมีผลตอบแทนอย่างชัดเจน คุณฐิตาภา โรจนปัญญากุล ผูบ้ ริหาร บริษทั เอเชีย ฟอเรสตรี้ แมนเนจเม้นท์ จ�ำกัด ได้กล่าวถึงทีม่ า ของธุรกิจว่า “บริษทั ฯ เติบโตมาถึงปีที่ 6 แล้ว ทีผ่ า่ นมา นักลงทุนทุกท่านต่างพึงพอใจกับการลงทุนในรูปแบบ นี้กับทางเอเชีย ฟอเรสตรี้เป็ น อย่ า งมาก เพราะ บริษัทฯ ได้คืนผลตอบแทนในรูปแบบของรายได้ให้ กับนักลงทุนที่ลงทุนปลูกไม้กฤษณากับเรา” เอเชีย ฟอเรสตรี้ ใช้นวัตกรรมการสกัดน�้ำมัน ไม้กฤษณาโดยใช้หม้อต้มกลั่น ซึ่งแต่เดิมมี 10 กว่า หม้อ ปัจจุบันเพิ่มเป็น 50 หม้อ และ 120 หม้อ ตาม ล�ำดับ และเพื่อเป็นการเพิ่มก�ำลังการผลิตและเพิ่ม ประสิทธิภาพในกระบวนการสกัด บริษัทฯ ได้ติดตั้ง เครื่องต้มกลั่นน�้ำมันจากประเทศเยอรมันเพิ่มขึ้น เป็น ระบบต้มกลั่นที่ทันสมัย รวมถึงการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่โรงงานใน จ.ตราด เพื่อตอบสนองการเติบโต ทางธุรกิจ และรักษาความเป็นผู้น�ำตลาด ปัจจุบนั เอเชีย ฟอเรสตรีถ้ อื ได้วา่ เป็นบริษทั ที่ มีหม้อต้มกลัน่ มากทีส่ ดุ ในประเทศ และหม้อต้มกลัน่ ทุก หม้อได้อยูใ่ นเกณฑ์มาตรฐาน จนได้รบั การยอมรับจาก ทั่วโลก ที่ส�ำคัญสินค้าของ บริษทั ฯ ยังได้รบั เครือ่ งหมาย ฮาลาล สามารถส่ ง น�้ ำ มั น กฤษณาไปสู่ยังประเทศแถบ ตะวั น ออกกลางได้ อ ย่ า ง ถูกต้องตามมาตรฐาน “ ก า ร ป ลู ก ไ ม ้ คุณฐิตาภา กฤษณา ปั จ จุ บั น ก็ ยั ง คง โรจนปัญญากุล เป็นไม้ที่เพาะปลูกยาก แต่

8

ชี้ช่องส่งออก SMEs

ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการท�ำ ธุรกิจ เลือกแปลงปลูกที่ จ.ตราด ซึ่งเป็นจังหวัดที่ อุดมสมบูรณ์เหมาะกับการปลูกไม้กฤษณา รวมถึง การคัดเลือกสายพันธุท์ นี่ ำ� มาปลูกให้ได้นำ�้ มันทีด่ ที สี่ ดุ ทางบริษัทฯ ท�ำการเพาะเมล็ดเองทุกเมล็ด ส่งผลให้ ได้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการสกัดที่ดีที่สุด เมื่อ น�ำไปสกัดเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ ผลิตภัณฑ์เครื่องหอม น�้ำมันหอม ฯลฯ” คุณฐิตาภา กล่าว บริษัทฯ จะดูแลกระบวนการปลูกไม้กฤษณา ตั้งแต่ต้นน�้ำถึงปลายน�้ำ โดยมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่ อ งการปลู ก กระบวนการกระตุ ้ น สาร และ เทคโนโลยีของหม้อต้มกลัน่ ตลอดจนการแปรรูปเนือ้ ไม้ ให้น�้ำมันออกมามีคุณภาพเกรด A เป็นที่ต้องการของ ตะวันออกกลาง สามารถสร้างผลก�ำไรให้กับนักลงทุน ได้อย่างมหาศาล รวมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับ ประชาชนในท้องถิ่น สร้างแบรนด์น�้ำมันไทยสู่ตลาด โลก และสิ่งส�ำคัญเป็นการน�ำเงินตราเข้าสู่ประเทศ “หลังจากที่ ‘เอเชีย ฟอเรสตรี้’ ได้ผลผลิต ในส่วนของน�้ำมันกฤษณาแล้วนั้น ก็จะน�ำน�้ำมันไปสู่ การส่งออก โดยเฉพาะประเทศแถบตะวันออกกลาง อย่างเช่น ประเทศคูเวต หรือ ดูไบ ซึ่งเป็นตลาดหลัก และเพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการของ ตลาดในอนาคต บริษัทฯ มีแผนที่จะขยายธุรกิจออก ไปภายในปี 2556 เพื่อจะก้าวไปเป็นผู้ผลิตน�้ำมัน กฤษณารายใหญ่ทสี่ ดุ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” คุณฐิตาภา กล่าวทิ้งท้าย ผู้สนใจร่วมลงทุน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2259-6455, 08-4647-2323


‘บ้านทุ่งยาว’

สายตรง แหล่งผลิต

ดีไซน์บ้านสัตว์เลี้ยง

ำหรับคนที่รักสัตว์ และมีสัตว์เลี้ยงแสนรักในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสุนัข แมว หรือนก หากก�ำลังมองหา บ้านส�ำหรับสัตว์เลี้ยงสักหลังที่มีขนาดกะทัดรัด ดีไซน์ สวยงาม รวมทั้งยังเป็นของแต่งบ้านได้ด้วย ผลิตภัณฑ์ บ้านสัตว์เลี้ยง “บ้านทุ่งยาว” สามารถรองรับความ ต้องการตรงนี้ได้ เพราะไม่เพียงแต่เป็นอุปกรณ์ให้ สัตว์เลี้ยงพักอาศัยที่มีรูปโฉมสวยเก๋ ไม่เหมือนใคร บ้านสัตว์เหล่านี้ยังเหมาะจะเป็นของตกแต่งบ้านและ สวนได้อย่างดีด้วย “คุณวรรณี ตันติจนิ ดา” เจ้าของธุรกิจ เล่าว่า เริม่ ท�ำมาตัง้ แต่ พ.ศ. 2531 เนือ่ งจากสมาชิกครอบครัว ทุกคนรักสัตว์ ขณะเดียวกันสามียงั รักการประดิษฐ์งาน ไม้แฮนด์เมดมาก จึงบุกเบิกท�ำผลิตภัณฑ์ไม้ต่างๆ เพื่อ สัตว์เลี้ยง ซึ่งเวลานั้นการผลิต 100% จะส่งออกไปต่าง ประเทศเท่านัน้ เช่น ประเทศแถบยุโรป ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ และมาเลเซีย เป็นต้น ทัง้ นี้ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์บา้ นสัตว์เลีย้ งของ บ้านทุ่งยาวอยู่ที่ การใส่ใจในรายละเอียดด้านการ ออกแบบ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากของเล่นเด็ก หรือ บ้านการ์ตูน เพื่อให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงมองแล้วเกิด ความรูส้ กึ น่ารัก มีความสุข อารมณ์ดี ซึง่ ตรงกับอุปนิสยั ของคนรักสัตว์ อีกทั้งพยายามออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ สวยงาม และมีประโยชน์เหมาะจะน�ำไปตั้งโชว์ในบ้าน พัก หรือแต่งสวนได้อย่างกลมกลืน โดยวัตถุดิบหลักที่ใช้ คือ ‘ไม้ยางพารา’ ที่ ผ่านกระบวนการอบแห้งฆ่าเชือ้ ป้องกันมอดหรือปลวก กัดกิน ส่วนสีที่ใช้ปลอดภัยแก่ สัตว์เลี้ยง และต่อประกอบ อย่างพิถพี ถิ นั โดยช่างผูเ้ ชีย่ วชาญ ท�ำให้มีความแข็งแรงทนทาน สูง อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี ขึ้ น ไป นอกจากนี้ ยั ง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถถอด คุณวรรณี ตันติจินดา ประกอบได้อีกด้วย

“บ้านสัตว์ของเราจะมีลักษณะเป็นท่อนไม้ กระบอกกลมมนหลายๆ ท่อน น�ำมาขัดประสานต่อ กันจนเป็นบ้าน ยึดต่อด้วยการขันน็อตกับสกรู โดย ไม่มีการใช้ตะปูตอกเลย จึงช่วยป้องกันอันตราย ที่สัตว์เลี้ยงอาจจะถูกตะปูเกี่ยว ข้อดีของการถอด ประกอบได้คือ ช่วยเพิ่มความสะดวกในการขนส่ง หรือต้องการแบบประกอบส�ำเร็จรูป ทางร้านก็มีไว้ บริการเช่นกัน” คุณวรรณี กล่าวต่ออีกว่า ผลิตภัณฑ์ที่ท�ำขึ้น ทั้งหมดจะเหมาะกับสัตว์เลี้ยงขนาดเล็ก ได้แก่ สุนัข พันธุ์เล็ก แมว กระต่าย กระรอก หมูแฮมเตอร์ และ นก เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมของคน เมืองยุคใหม่ นับถึงปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากกว่าพัน รายการ เช่น บ้านสัตว์ชนิดต่างๆ ถาดให้อาหารสัตว์ และอุปกรณ์เครื่องเล่นของสัตว์เลี้ยง ฯลฯ นอกจากนัน้ ยังได้ตอ่ ยอดพัฒนาสินค้าใหม่ไป สู่กลุ่มของแต่งบ้านและสวน รวมถึงสินค้ากิฟท์ช็อป ต่างๆ เช่น น�ำบ้านนกมาประยุกต์เป็นโคมไฟ โมบาย และกระถางต้นไม้แขวน เป็นต้น ปัจจุบันผลิตภัณฑ์บ้านทุ่งยาว มีหน้าร้าน ขายปลีก อยู่ที่ห้อง G26-27 ในห้างเจเจ มอลล์ ชั้น ล่าง นอกจากนั้น ยังขายส่งให้แก่ผู้สนใจซื้อสินค้าไป ขายต่อด้วย ส�ำหรับลูกค้าผู้ซื้อมีตั้งแต่วัยรุ่น วัยท�ำงาน และครอบครัว ตลอดจนผู้รักการแต่งบ้านและสวน สนใจธุรกิจติดต่อ โทร. 08-5223-6501 ชี้ช่องส่งออก SMEs

9


Idea Packaging

‘ดัม ดี ดัม’ เฉาก๊วยฮัมเพลง สไตล์ฟิวชั่น

ทุ

กวันนี้ ธุรกิจต่างๆ มีอยู่เต็มตลาดไปหมดแล้ว จะ มีที่เหลือให้ ‘ผู้ประกอบการหน้าใหม่’ เข้าไปได้ เพี ย งจุ ด เล็ ก ๆ ที่ ค นอื่ น ยั ง มองข้ า มเท่ า นั้ น ดั ง เช่ น ‘คุณภูรินทร์ แจ่มจ�ำรัส’ ที่หยิบขนมโบราณขายราคา ถูกอย่าง ‘เฉาก๊วย’ มาสร้างแบรนด์ ปรับรูปแบบให้ทนั สมัยขึ้นด้วยงานดีไซน์ และจัดแต่งของหวานสไตล์ ฟิวชั่น มุ่งตลาดพรีเมี่ยม จากช่องว่างทางการตลาดที่ มองเห็น ประกอบกับมีญาติท�ำโรงงานผลิตเฉาก๊วยซึ่ง เป็นปัจจัยเกื้อหนุนด้านวัตถุดิบ จึงเป็นที่มาของการ สร้างธุรกิจเฉาก๊วยโฉมใหม่ในชื่อ ‘ดัม ดี ดัม’ คุณภูรนิ ทร์ กล่าวว่า การด�ำเนินธุรกิจ จ�ำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีไอเดียเข้ามาประกอบการด�ำเนิน ธุรกิจ เพือ่ สร้างมูลค่าเพิม่ ของสินค้า ดังนัน้ การเปลีย่ น ต�ำแหน่งตลาดของเฉาก๊วย ดัม ดี ดัม จะเริ่มตั้งแต่การ ปรับเมนูให้แปลกใหม่ ควบคูไ่ ปกับการปรับภาพลักษณ์ ให้ดูออกมาทันสมัยเหมาะกับคนรุ่นใหม่ ด้วย 3 เมนู ได้แก่ ‘Simply ก๊วย’ เป็นเฉาก๊วยน�้ำเชื่อมใส่น�้ำแข็ง เกล็ดหิมะโรยด้วยน�้ำตาลอ้อย (25 บาท) ‘Smoothie ก๊วย’ น�ำเฉาก๊วยมาท�ำเป็นน�้ำปั่นเกล็ดหิมะ (35 บาท) และสุดท้ายเมนู ‘ก๊วยเจ๋ง’ เฉาก๊วยกินคู่กับไอศกรีม เจลลาโต้ รสชานมไทย (ราคา 35 บาท) รูปแบบของร้าน ดัม ดี ดัม มีความโดดเด่น มาก ทัง้ โลโก้รา้ น เคาน์เตอร์ เก้าอีน้ งั่ ถ้วยเฉาก๊วย และ ชุดพนักงาน จะใช้ธีมสีส้มแสดและสีด�ำทั้งร้าน พร้อม ลวดลายการ์ตูนที่น�ำเสนอเมนูเฉาก๊วยแบบต่างๆ ให้ ความรูส้ กึ ถึงความสนุกสนาน ตามคอนเซ็ปท์ของธุรกิจ คือ อร่อยจนต้องฮัม (ดัม ดี ดัม) ดึงความสนใจลูกค้าที่ เดินผ่านไปมาได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากรูปลักษณ์ ภายนอกแล้ว สิ่งส�ำคัญที่สุด คื อ คุ ณ ภาพของเฉาก๊ ว ย ซึ่ ง ผลิ ต จากเฉาก๊ ว ยแท้ ๆ ซึ่งจะเหนียวนุ่ม ไม่แข็ง ไม่มี รสขม และไม่ มี ก ลิ่ น เหม็ น คุณภูรินทร์ แจ่มจ�ำรัส ต่างจากเฉาก๊วยในท้องตลาด

10

ชี้ช่องส่งออก SMEs

ที่ส่วนใหญ่ผลิตจากวุ้นผสมสี คุณภูรินทร์กล่าวถึงช่องทางการท�ำตลาดว่า ช่องทางการจ�ำหน่ายหลักคือ การผลิตเฉาก๊วยส่งร้านค้า ต่างๆ ส่วนร้านดัม ดี ดัม ยังอยู่ในช่วงของการสร้าง แบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก จึงท�ำตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป อาศัยออกร้านขายตามงานแสดงสินค้าต่างๆ เพื่อ แนะน�ำธุรกิจ ประกอบกับใช้เป็นเวทีสอบถามความคิดเห็น จากลูกค้า ซึ่งที่ผ่านมาได้ผลตอบรับดี ปัจจุบันขยาย ธุรกิจในรูปแบบของแฟรนไชส์ ซึง่ มีดว้ ยกัน 2 สาขา คือ เซ็นทรัล สาขาพิษณุโลก และหัวหิน “2 ปีที่ผ่านมา ผมพยายามสร้างนวัตกรรม ทางอาหาร ไม่เสิร์ฟเฉาก๊วยแบบเดิมๆ เพื่อที่เปลี่ยน ให้ภาพของเฉาก๊วยดูทนั สมัยยิง่ ขึน้ เน้นความสะอาด ปลอดภัย และกินง่ายขึน้ เหมาะส�ำหรับคนเมือง รวม ถึงปรับรูปโฉมภายนอกให้สอดคล้องกับต�ำแหน่ง สินค้า ทัง้ รูปแบบร้าน โลโก้ บรรจุภณ ั ฑ์ และชุดเครือ่ งแบบ พนักงานให้ออกมาดูดี ราคาจะสูงกว่าเฉาก๊วยใน ท้องตลาด ประมาณ 5-15 บาท แต่ผมเชือ่ ว่า ถ้าลูกค้า ได้ทดลองชิมสักครัง้ เขาจะสัมผัสได้ถงึ ความแตกต่าง อย่างชัดเจน ในส่วนของการขยายธุรกิจ ผมขอท�ำแบบ ค่อยเป็นค่อยไป เน้นขยายธุรกิจในแถบภาคกลาง ก่ อ น เพราะติ ด ปั ญ หาเรื่ อ งของการส่ ง สิ น ค้ า ” คุณภูรินทร์ กล่าวทิ้งท้าย ดัม ดี ดัม 55 หมู ่ 1 ต.ทัพหลวง อ.เมือง จ.นครปฐม 73000 โทร. 08-1857-2365, 08-9854-3539 www.facebook/dumdeedum


ธุรกิจรองเท้าไทย

ชี้ช่องส่งออก

สร้างโอกาสก้าวไกล ไปต่างประเทศ

งปฏิเสธไม่ได้วา่ ในการแต่งกายนัน้ นอกจากเสือ้ ผ้า หน้า ผม ที่จะท�ำให้เราดูดี และยังมีอีกหนึ่งปัจจัย ส�ำคัญที่จะช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้น นั่นก็คือ “รองเท้า” สามารถบ่งบอกถึงรสนิยมของผู้สวมใส่ รองเท้าจึงจัดเป็นสินค้าแฟชั่นที่ผู้ประกอบการมีความ จ�ำเป็นต้องเรียนรู้และพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ทัน กับแนวโน้มของต่างประเทศ โดย Ms. Orietta Pallizzari และ Mr. Roberto Gussoni ได้กล่าวบรรยายพิเศษ ในงาน ‘ความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์รองเท้า การวิเคราะห์ตลาดและแนวโน้มของสินค้า’ ว่า “ในการผลิ ต รองเท้ า ผู ้ ป ระกอบการควร วิเคราะห์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่เรื่องของวัตถุดิบ การ ออกแบบ และกระบวนการผลิต รวมถึงการใส่ใจกับ องค์ประกอบรอบตัว อาทิ การใช้ชีวิตประจ�ำวันของ ผูบ้ ริโภคก็มสี ว่ นในการน�ำมาวิเคราะห์สนิ ค้าได้ดี หรือ สิง่ ของรอบตัว เช่น เฟอร์นเิ จอร์ เครือ่ งใช้ภายในบ้าน ก็สามารถน�ำมาเป็นแนวคิดในการพัฒนารูปแบบ รองเท้าได้ สาเหตุที่ต้องวิเคราะห์ ก็เพื่อให้ตอบโจทย์ ไปยังผูซ้ อื้ (Buyer) ให้ได้ตรงตามความต้องการมาก ทีส่ ดุ เพราะผูซ้ อื้ คือปัจจัยส�ำคัญในการตัดสินใจเลือก ซือ้ ถึงแม้วา่ ทีมวิเคราะห์จะท�ำออกมาดีแค่ไหนก็ตาม สุดท้ายผู้ซื้อจะเป็นคนตัดสินใจว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกใจ ส�ำหรับเขาหรือไม่” โดยสินค้าแบรนด์ต่างๆ ที่ผลิตออกมานั้น จะ มีการวางต�ำแหน่งทางการตลาดทีช่ ดั เจน ซึง่ จะสอดรับ กับความต้องการของผู้ซื้อที่มีหลายระดับแตกต่างกัน ไป แบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ Slow Fashion เป็นธุรกิจ ทีเ่ น้นลูกค้าเฉพาะกลุม่ ทีม่ คี วามชืน่ ชอบแฟชัน่ ในสไตล์ ทีไ่ ม่เหมือนใคร High Fashion เป็นธุรกิจทีม่ ฐี านลูกค้าระดับ กลาง ขณะเดียวกันก็จะเจาะ กลุ่มลูกค้าระดับสูง หรือบาง ครั้ ง ก็ จ ะสร้ า งคอลเลคชั่ น ใหม่เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าใน กลุ่ม Slow Fashion และ Fast Fashion ด้วย Fast Ms.Orietta Pallizzari Fashion เป็นธุรกิจที่มีฐาน

ลูกค้ากลุ่มแมสหรือคนส่วนใหญ่ และสามารถหาซื้อได้ ทั่วไป อาทิ H&M และ Guess ฯลฯ ส�ำหรับทิศทางของแฟชั่นรองเท้าในปี 2013 สามารถแบ่งเป็น 4 เทรนด์ เพื่อบ่งบอกถึงรูปแบบ แฟชั่นต่างๆ ได้แก่ Experimental craft เป็นสไตล์งานฝีมอื กึง่ แนวทดลอง ด้วยการหยิบยกวัสดุต่างๆ ในหลายยุคน�ำ กลับมาใช้และประยุกต์ขึ้นมาใหม่ คล้ายสไตล์ D.I.Y. (Do It Your Self) สีที่อยู่ในเทรนด์นี้ ส่วนใหญ่จะเป็น โทนสีแนวส้มอิฐ และสีเหลือง เป็นต้น Instant cool เป็นสไตล์เปรีย้ ว เฉีย่ ว เก๋ งาน ที่ออกมาดูโดดเด่น ล�้ำแฟชั่น สีที่อยู่ในเทรนด์นี้ ได้แก่ สีเขียวน�ำ้ ทะเล สีเทา สีทอง สีเงินไทเทเนียม และสีแสด เป็นต้น Farmer market เป็นสไตล์แฟชั่นทางการ กึ่งล�ำลอง ใส่ท�ำงานได้ แต่ก็ดูสบายๆ สีที่อยู่ในเทรนด์ นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นโทนสีนำ�้ เงินเข้ม สีนำ�้ ตาลอ่อนคาราเมล และสีเหลืองอ่อน เป็นต้น Preppy high tech เป็นสไตล์ออกแนวกีฬา สีทอี่ ยูใ่ นเทรนด์นี้ จะเป็นโทนสีเทา ด�ำ เขียว และเหลืองสด เป็นต้น นอกจากนี้ การสังเกตแบรนด์ใหญ่ๆ ตามงาน อีเว้นท์ หรือแฟชัน่ วีคต่างๆ ทีจ่ ดั ขึน้ ในแต่ละช่วงฤดู จะ ท�ำให้เรารู้เทรนด์ของแฟชั่นได้ โดยเมืองที่ได้รับความ นิยมและมีการจัดแฟชัน่ วีค ได้แก่ Milan Paris New York London SaoPaulo Berlin และ Copenhagen ธุรกิจแฟชั่นประเภทนี้จัดว่ามีมูลค่าสะพัดมาก ยก ตัวอย่าง Milan Fashion Week ที่มีเม็ดเงินสะพัดถึง 400,000,000 ยูโร โดยการจัดแฟชั่นวีคเหล่านี้จะสื่อ ให้เห็นถึงประวัติศาสตร์แฟชั่นของแต่ละประเทศ รวม ถึงกลยุทธ์การตลาดที่ท�ำให้ธุรกิจแฟชั่นของประเทศ นั้นๆ โดดเด่น จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการคนไทยควร จับตามองแบรนด์ใหญ่ๆ ทีโ่ ชว์ผลงานสูส่ ายตาโลกเหล่า นี้ และน�ำมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อพัฒนาสินค้าของตนเองให้เดินไปบนเส้นทางของ แฟชั่นได้อย่างเติบโตและมั่นคงตลอดไป ชี้ช่องส่งออก SMEs 11


SMEs Logistics

Supply Chain CLMV+Nanning โดย อ.ทรงเดช ตันสุรัต

รัง้ ได้ไปบรรยายเป็นผูน้ ำ� อภิปรายเสวนา ร่วมท่านทูต พาณิชย์ 4 ประเทศ CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนม่าร์ และเวียดนาม จัดโดยจังหวัดก�ำแพงเพชร ท่านพาณิชย์จังหวัด วนิดา ทิพย์ศักดิ์ ในหัวข้อ “ตลาด ข้าวและสินค้าเกษตรของประเทศ CLMV” เป็นโอกาส ดีและหายากที่ท่านทูตพาณิชย์จะมารวมตัวกันได้จาก 4 ประเทศ ที่เป็นเป้าหมายหลักของสินค้าข้าวและเกษตร ยิ่งประเทศไทยก�ำลังผลักดันอย่างเต็มที่ให้ประเทศไทย เป็นครัวไทยสู่ครัวโลก และรวมถึง ASEAN ที่ชื่นชอบ อาหารไทย ผลไม้ไทย เป็นพิเศษอยู่แล้ว โครงการนี้จะไม่ อาจส�ำเร็จได้ หากเราไม่ใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรี ประชาคมเศรษฐกิจ ASEAN ด้วยการใช้เสรีปจั จัยผลิตทัง้ 4 คือ สินค้า บริการ แรงงาน และทุนเสรี นั้นก็คือการใช้ CLMV เป็นฐานวัตถุดิบร่วมและฐานการผลิตร่วม บาง ท่านอาจแย้งว่า SMEs จะก้าวไปถึงตรงนั้นได้อย่างไร ก็ ขอเรียนว่าไม่วา่ เล็กใหญ่แค่ไหน ถึงจุดหนึง่ ก็จะหลีกเลีย่ ง ฐานการผลิตร่วม และวัตถุดบิ ร่วมไม่ได้อยูด่ ี ไม่วา่ รูปแบบ ใดทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ที่ปรับตัวไม่ทันก็จะต้อง เปลี่ยนเส้นทางธุรกิจไป โดยเฉพาะ SMEs ที่มีทุนส�ำรอง น้อย เหตุวา่ Scale การผลิตจ�ำเป็นต้องขยายเพิม่ ขึน้ ด้วย เทคโนโลยีใหม่ จากฐานวัตถุดิบร่วม ASEAN การปรับตัว ได้ช้ากว่าก็จะเสียเปรียบ และในกรณีที่เกิดปรากฏการณ์ ปลาใหญ่กินปลาเล็กก็จะยิ่งมีปัญหา ยังมีเวลา 2 ปีครึง่ ทีจ่ ะเตรียมรับมือการเปิดเสรี ดังนั้น SMEs ควรมองหาลู่ทางที่จะใช้ประโยชน์ โดย

12

ชี้ช่องส่งออก SMEs

เฉพาะจากการเสวนากับท่านทูตทั้ง 4 ถึงแหล่งวัตถุดิบ จาก 4 ประเทศ เน้น Supply Chain ของการผลิตอาหาร เป็นหลัก เพราะจากการรวมแล้ว CLMV ที่จะเป็นตลาด เป้าหมาย ในการเปิดเสรี AEC ยังมีน้อยกว่าการเข้าเชื่อม เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และถ้ากล่าวถึงแหล่งวัตถุดิบหรือ Supply Chain ของฐานการผลิตของไทยที่จะรุกตลาด AEC 600 ล้านคนแล้ว หากไม่พดู ถึงประเทศจีนเข้าไปด้วย ไม่ได้ เพราะจาก Scale การผลิตสินค้าเกษตรทั้งหลาย และเทคโนโลยีทพี่ ฒ ั นาอย่างต่อเนือ่ ง บวกกับการส่งเสริม อย่างจริงจังของรัฐ ท�ำให้สินค้าเกษตรของจีนมีศักยภาพ สูงมาก อาจจะที่สุดในขณะนี้และด้วยเส้นทางระเบียบ เศรษฐกิจ ทีต่ ดั พาดผ่านประเทศไทยทัง้ ตะวันตก ตะวันออก ใต้ เหนือ อีสาน ไม่ว่าจะเป็น East-West Economic Corridor จาก ทะวาย พม่ า มายั ง ไทย ผ่ านไปสุ ด ทะเลอีกฝัง่ ทีท่ า่ เรือ ดานัง ประเทศเวียดนาม เส้นทาง R-8 จากหนองคายไปลาว ฮานอย หนานหนิง และกวางเจา R-9 มุกดาหาร ลาวบาว ไฮฟอง หนานหนิง และกวางเจา R-12 นครพนม ข้ามสะพานมิตรภาพ 3 ไปค�ำม่วน ไฮฟอง หนานหนิง และกวางเจา จะเห็นว่าเส้นทางจากอีสานไป เวียดนาม จีน ฝั่งมณฑลกวางสี จะผ่านเข้าประตูที่เมือง ผิงเสียง เข้าไปหนานหนิง ซึ่งจีนก�ำหนดให้เป็นประตูสู่ ASEAN และยั ง ก� ำ หนดให้ เ ป็ น ตะกร้ า ผั ก ของจี น ฝั ่ ง ตะวันตกเฉียงใต้อีกด้วย ดังนั้นหากรวมเอาศักยภาพของ CLMV กับหนานหนิง เข้าด้วยกัน โดยใช้ระเบียงเศรษฐกิจ Economic Corridors ทั้ ง หลายที่ ม องอย่ า งไร ประเทศไทยก็อยู่ในต�ำแหน่ง Hub ด้านภูมิศาสตร์และ เศรษฐกิจ รวมถึงในมิติของการเป็นศูนย์กลางของฐาน การผลิตร่วมในการเปิดเสรี AEC เมื่อวันที่ 18-23 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผมได้มี โอกาสร่ ว มกั บ คณะเดิ น ทางไปส� ำ รวจเส้ น ทาง R-12 นครพนม-หนานหนิง แล้วจะมาเล่าบอกถึงโอกาสทาง ธุรกิจที่ SMEs ไทยจะแสวงได้ในยุคเสรี AEC


ชี้ช่องส่องทาง คำ�ถาม ที่หนึ่ง

ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีเกาะอยู่มากมาย ผู้ส่งออกไทยควรจัดการในเรื่องการขนส่ง (โลจิสติกส์) และการจัดจ�ำหน่ายสินค้าอย่างไร ?

คำ�ตอบ อินโดนีเซียเป็นประเทศหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก และครอบคลุมพื้นที่กว่า 5,000 กิโลเมตร ดังนั้นการจะ ท�ำให้การขนส่งและการจัดจ�ำหน่ายสินค้าในประเทศมีประสิทธิภาพ หรือราคาถูกจึงเป็นเรื่องยาก การขนส่งระหว่าง เกาะและประเภทสินค้าทีแ่ ตกต่างกันส่งผลกระทบต่อราคาค่าขนส่งทีแ่ ตกต่างกันมาก จากข้อมูลของธนาคารโลก ค่า ขนส่งตูค้ อนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต ระหว่างเมืองปาดังบนเกาะสุมาตราตะวันตกมายังกรุงจาการ์ตานัน้ คิดเป็นมูลค่า 600 เหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ดังกล่าวจากกรุงจาการ์ตาไปยังประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีระยะ ทางที่ไกลกว่า กลับมีค่าขนส่งเพียง 185 เหรียญสหรัฐฯ นอกจากนี้ การขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพยังเป็นปัจจัยหลัก ที่ท�ำให้สินค้าต่างๆ ในประเทศ มีราคาแตกต่างกันมาก อีกทั้งยังเกิดปัญหาการขนส่งที่ล่าช้าอีกด้วย เช่น ราคาปูน ซิเมนต์ในเกาะปาปัวแพงกว่าเกาะชวาถึง 20 เท่า ราคาส้มจากประเทศจีนถูกกว่าราคาส้มจากเกาะกะลิมนั ตัน เป็นต้น ทั้งนี้ วิธีการขนส่งสินค้าจากประเทศไทยไปยังอินโดนีเซียที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ การขนส่งทาง เรือ เนื่องจากสามารถบรรทุกสินค้าได้จ�ำนวนมากและยังประหยัดค่าขนส่งอีกด้วย แม้ว่าระยะเวลาในการขนส่งทาง เรือจะใช้เวลานานประมาณ 5 – 10 วัน ขึ้นอยู่กับลักษณะและจ�ำนวนบรรทุกของเรือ ส�ำหรับการขนส่งทางอากาศ การบินไทยมีเที่ยวบินตรง กรุงเทพฯ – จาการ์ตา และกรุงเทพฯ – บาหลี ทุกวัน ในส่วนของการจัดจ�ำหน่ายสินค้า การหาผูแ้ ทนจ�ำหน่ายสินค้า (Distributor) ซึง่ เป็นชาวอินโดนีเซียทีม่ คี วามคุน้ เคยกับทุกสถานทีต่ ามเกาะต่างๆ นัน้ เป็นเรือ่ งยาก ดังนัน้ ผู้ ส่งออกไทยควรหาผูแ้ ทนจ�ำหน่ายสินค้าในแต่ละพืน้ ที่ ซึง่ เป็นผูท้ มี่ คี วามคุน้ เคยในเฉพาะพืน้ ที่ นั้นๆ รวมทั้งเป็นผู้รู้กฎเกณฑ์และข้อก�ำหนดเงื่อนไข ตลอดจนถึงวัฒนธรรม ธรรมเนียม ประเพณีของแต่ละพื้นที่เป็นอย่างดี

คำ�ถาม ที่สอง

การส่งออกสินค้าอาหาร Halal จากไทยไปอินโดนีเซียมักประสบปัญหา เกี่ยวกับมาตรฐานของสินค้า อยากทราบว่าจะมีวิธีแก้ปัญหาดังกล่าว อย่างไร ?

คำ�ตอบ

·‹ÒÂ×¹á¹Ð¹Ó การแก้ไขปัญหาสินค้าอาหารฮาลาลที่ได้รับมาตรฐานฮาลาลจากประเทศไทยไม่สามารถน�ำเข้าไปขายยัง ประเทศมุสลิมในกลุ่มอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย หรือมาเลเซียได้ เนื่องจากประเทศดังกล่าวอ้างว่าสินค้าอาหารฮาลาล ของประเทศไทย เป็นสินค้าที่ยังไม่ได้มาตรฐานตามมาตรฐานฮาลาลของประเทศตนเองนั้น จะต้องมีการประสาน งานในระดับประเทศ โดยต้องก�ำหนดข้อปฏิบัติอย่างชัดเจนเพื่อให้เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ ทั้งนี้ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย (CICOT) เป็นหน่วยงานที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานรับรอง ฮาลาลของอินโดนีเซีย (The Indonesian Ulemas Council หรือ MUI) ให้เป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานฮาลาล ในประเทศไทย โดย CICOT ได้รับการรับรองใน 2 กลุ่มเท่านั้น คือ การฆ่าสัตว์ (Slaughtering) และอาหารที่ผ่าน กระบวนการ (Processing Food) ส่วนอุตสาหกรรมผลิตกลิ่นอาหาร (Flavor Industry) นั้นอยู่ในระหว่างขั้นตอน และกระบวนการตรวจสอบจาก MUI ซึ่งจะประกาศรับรองต่อไป อย่างไรก็ตามสินค้าอาหารของไทยเป็นสินค้าที่มีโอกาสในตลาดอินโดนีเซียเนื่องจากได้รับความเชื่อถือ และไว้วางใจจากผูบ้ ริโภคชาวอินโดนีเซียในคุณภาพของสินค้า โดยการน�ำเข้าสินค้าอาหารจะต้องเป็นไปตามข้อบังคับ ตามกฎระเบียบของหน่วยงานอาหารและยาของอินโดนีเซีย (BPOM) คือ จะต้องมีหมายเลขทะเบียนอาหารและเครือ่ งดืม่ (MLNo.) ส่วนจะติดเครื่องหมายฮาลาลหรือไม่ไม่ได้เป็นกฎระเบียบ ข้อมูลโดย ส�ำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก

ชี้ช่องส่งออก SMEs 13


Activities update • อบรมเชิงปฏิบตั กิ ารเรือ่ ง “ส่งออกไทยกับการก้าวสู่ AEC” ระหว่างวันที่ 24-25 กรกฏาคม

2555 ณ กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก รับจำ�นวนจำ�กัดเพียง 50 ท่าน โดยไม่เสีย ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สนใจติดต่อขอใบสมัครได้ที่ สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก โทร 0-2507-8162-63 และ 0-2507-8166-68 ในวัน และเวลาราชการ

บอกเล่าเก้าสิบ • สำ�หรับสมาชิก DITP SMEs Club สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพือ่ การส่งออก กรมส่งเสริม การส่งออก ขอเชิญสมัครเข้าร่วมฟังการเสวนา “เครือข่ายสำ�คัญอย่างไร? ใน AEC” พร้อมศึกษา ดูงาน ในวันที่ 7-8 สิงหาคม 2555 รับจำ�นวนจำ�กัดเพียง 80 ท่านเท่านั้น ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิม่ เติมได้ที่ กลุม่ งานบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพือ่ การส่งออก โทร 0-2507-8162-63 และ 8166-68 ในวัน และเวลาราชการ • ช่องทางหนึง่ สำ�หรับการอ่านจุลสารชีช้ อ่ งส่งออกฉบับย้อนหลัง สามารถสืบค้นได้ทเี่ ว็บไซต์ กรมส่งเสริมการส่งออก www.ditp.go.th กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการไทย DITP SMEs Club • ท่านผู้ประกอบการท่านใด สนใจสมัครเป็นสมาชิกกรมส่งเสริมการส่งออก ประเภท DITP SMEs Club สามารถขอรับเอกสารใบสมัครได้ที่ สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก ตึกกรม ส่งเสริมการส่งออก 2 กระทรวงพาณิชย์ บางกระสอ จ.นนทบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่หมายเลข 0-2507-8162-63 และ 8166-8168 ในวัน และเวลาราชการ • สำ�นักโลจิสติกส์การค้า เชิญชวนเข้าร่วมโครงการประกวดรางวัล Export Logistics Model Award ประจำ�ปี 2555 รางวัลแห่งความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์การันตีดว้ ย มาตรฐานระดับสากล โดยกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ รีบสมัครด่วนตั้งแต่บัดนี้จนถึง วันที่ 3 กรกฎาคม 2555 สามารถดูรายละเอียดและดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.tradelogistics. go.th หรือสอบถามได้ทสี่ ำ�นักโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ หมายเลข 0-2507-8416 และ 0-2507-8421 ในวัน และเวลาราชการ 14

ชี้ช่องส่งออก SMEs


พม่ายุคใหม่...พระเอกเนื้อหอมของ AEC ในช่วงไม่กปี่ ที ผี่ า่ นมา ข่าวคราวเกีย่ วกับการเปลีย่ นแปลง ของพม่าในทิศทางที่ดีขึ้นมีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการ เมืองทีพ่ ฒ ั นาไปสูค่ วามเป็นประชาธิปไตยมากขึน้ หรือความมุง่ มัน่ ในการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างจริงจังเพื่อมิให้ตกขบวนประเทศ สมาชิกอาเซียนทีเ่ ตรียมเข้าสู่ AEC โดยพร้อมเพรียงกันในปี 2558 รวมถึงกระแสจากนานาชาติซึ่งมีท่าทีตอบรับพม่ามากขึ้น โดย เฉพาะมหาอ�ำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและและสหภาพยุโรปที่ ออกมาประกาศว่าจะทบทวนมาตรการคว�่ำบาตรต่อพม่า ซึ่งถือ เป็นการปลดล็อคการท�ำธุรกรรมระหว่างประเทศของพม่าที่ถูก จ�ำกัดด้วยอุปสรรคดังกล่าวมาเป็นเวลานาน พม่าในวันนี้ก�ำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่และเป็นพระเอกเนื้อหอม ของ AEC ที่ใครๆ ก็อยากเข้าไปแสวงหาโอกาสทางการค้าการ ลงทุนที่เปิดกว้างขึ้น เมื่อพูดถึงด้านการค้า ความน่าสนใจของ พม่าอยู่ที่ตลาดขนาดใหญ่ด้วยจ�ำนวนผู้บริโภคมากถึง 55 ล้าน คน ขณะที่การผลิตสินค้าและบริการในประเทศยังไม่เพียงพอที่ จะตอบสนองความต้ อ งการของคนเหล่ า นี้ และหากนั บ รวม นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไปพม่าอีกเกือบ 4 แสนคนต่อ ปีแล้ว ยิง่ ท�ำให้พม่าจ�ำเป็นต้องพึง่ พาการน�ำเข้าสินค้าหลากหลาย ประเภท ซึง่ ผูเ้ ชีย่ วชาญเรือ่ งพม่าจากหลายหน่วยงานของไทยล้วน สรุปตรงกันว่า อะไรๆ ก็ขายได้ในตลาดพม่า นับตัง้ แต่ของกินหรือ ของใช้สว่ นตัว เช่น อาหาร เครือ่ งดืม่ เสือ้ ผ้า เครือ่ งส�ำอาง รองเท้า ไปจนถึงวัตถุดิบเพื่อการผลิต เช่น เหล็ก เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ซึ่งความต้องการน�ำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการลงทุนจาก ต่างประเทศที่ทยอยย้ายฐานการผลิตเข้าไปในพม่า และสินค้า อุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างรถยนต์และเครือ่ งจักรกลการเกษตร

สาระน่ารู้ จาก

ที่ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ขั้ น สู ง ซึ่ ง พม่ า ต้ อ งพึ่ ง พาการน� ำ เข้ า เป็ น หลั ก เนื่องจากยังไม่สามารถผลิตได้เองในประเทศ อย่างไรก็ตาม เส้นทางทีจ่ ะเข้าถึงตลาดพม่าคงมิได้โรย ด้วยกลีบกุหลาบไปเสียทั้งหมด แม้ว่าสินค้าไทยจะมีข้อได้เปรียบ คู่แข่งอื่นด้วยภาพลักษณ์ที่ดีและความนิยมชมชอบของชาวพม่า เป็นทุนเดิม ขณะที่ภาครัฐของทั้งไทยและพม่ามุ่งส่งเสริมการค้า ระหว่างกัน โดยตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าไทย-พม่าเป็น 13,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2558 ที่เข้าสู่ AEC อย่างสมบูรณ์ จาก ราว 6,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2554 แต่ผู้ประกอบการไทย พึงตระหนักไว้ว่าการส่งออกสินค้าไปพม่าให้ประสบความส�ำเร็จ นั้น ต้องอาศัยความอดทน ความมุ่งมั่น และขยันหาข้อมูล โดย เฉพาะกฎระเบียบเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของพม่าและ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่แตกต่างกันไปตามความหลากหลาย ของเผ่าพันธุ์ และที่ขาดเสียมิได้ คือ การหาพันธมิตรทางการค้า ชาวพม่าที่ไว้ใจได้ เพราะคงไม่มีใครช�ำนาญไปกว่าคนในพื้นที่ซึ่ง จะช่วยอ�ำนวยความสะดวกในการน�ำสินค้าไทยเข้าไปจ�ำหน่าย รวมถึงแก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ระหว่างการน�ำเข้าสินค้าเพือ่ กระจาย ต่อไปถึงมือผู้บริโภค หากเรามีความพร้อมในด้านต่างๆ เหล่านี้ แล้ว การเข้าไปจับจองส่วนแบ่งตลาดพม่าส�ำหรับสินค้าไทยก็คง อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิม่ เติมและเกร็ดความรูเ้ กีย่ ว กับการค้ากับพม่าได้ที่เว็บไซต์ของธนาคาร (www.exim.go.th) ภายใต้หัวข้อ “ข้อมูลเศรษฐกิจ” และเลือกค้นหาข้อมูลประเทศ พม่า (Myanmar)

Disclaimer : ข้อมูลต่างๆ ทีป่ รากฏ เป็นข้อมูลทีไ่ ด้จากแหล่งข้อมูลทีห่ ลากหลาย และการเผยแพร่ขอ้ มูลเป็นไปเพือ่ วัตถุประสงค์ในการให้ขอ้ มูลแก่ผทู้ ส่ี นใจเท่านัน้ โดยธนาคารเพือ่ การส่งออกและนำ�เข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รบั ผิดชอบในความเสียหายใดๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการทีม่ บี คุ คลนำ�ข้อมูลนีไ้ ปใช้ไม่วา่ โดยทางใด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ DITP Call Center 1169

ชี้ช่องส่งออก SMEs 15



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.