ชี้ช่องส่งออก SMEs ประจำเดือนพฤษภาคม 2012

Page 1

ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 ประจำ�เดือนพฤษภาคม 2555

‘Urgent Fire-Pak’ เครื่องชวยหายใจหนีไฟ หนึ่งเดียวฝมือคนไทย ‘ภูโคลน’ สปา โปรดักส แมฮองสอน กฎหมายความปลอดภัยดานอาหารของอเมริกา ผลกระทบตอผูนำ�เขา ‘แอสมีโก’ พลิกวิกฤตเปนโอกาส ในตลาด เพื่อนบาน

ขุมทองพมา

ในสายตา ผูประกอบการไทย


DITP

DITP SMEs Club

สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพือ่ การส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ โทรศัพท์ 0-2507-8162-63 และ 8165-8168 โทรสาร 0-2547-4258

2

ชี้ช่องส่งออก SMEs

สิทธิประโยชน์สมาชิก DITP SMEs Club 1. สมาชิกจะได้รับสิทธิ์ในการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมของกรมฯ ทั้งใน ประเทศและต่างประเทศเป็นระยะเวลา 3 ปี นับจากวันที่ได้รบั การอนุมตั ิ เป็นสมาชิกฯ 2. สมาชิกจะได้รบั สิทธิ์ให้เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาการส่งออก ของกรมฯ โดยเฉพาะการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในประเทศ ซึ่งจะ ได้รบั การลดหย่อนค่าใช้จา่ ยสมทบจ�ำนวน 3 ครัง้ คือ ได้รบั การลดหย่อน ร้อยละ 50 ส�ำหรับครัง้ แรก ส่วนครัง้ ทีส่ องและสามจะได้รบั การลดหย่อน ร้อยละ 30 ของอัตราการเรียกเก็บเต็มจ�ำนวนของงานฯ 3. เข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงลึกพร้อมฝึกปฏิบตั ิในเรือ่ งการจัดท�ำแผนการ ตลาดเพื่อการส่งออกโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น 4. สมาชิกฯ จะมีรายชื่ออยู่บนเว็บไซต์ของกรมฯ ในกลุ่มสมาชิก DITP SMEsClub และจะได้รบั ข่าวสารกิจกรรมกรมฯ และหน่วยงานเครือข่าย อย่างสม�่ำเสมอ


Editor Talk คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า ข่าวการปฏิรูปทางการเมือง ครั้งใหญ่ของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ เป็นองศาทาง เศรษฐกิจที่ร้อนแรง และน่าจับตามองอย่างยิ่ง ที่จะส่งผลให้มี การเคลื่อนย้ายฐานการผลิต แรงงาน และการลงทุนแห่งใหม่ ของนักลงทุนโลก เมื่อพม่าเปิดประเทศเพื่อต้อนรับการเข้าสู่ ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป มีนกั ลงทุนทัว่ โลกมุง่ สูก่ ารลงทุน ด้วย ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ประกอบกับความพยายาม ในการปฏิรูปการเงินของพม่า ด้วยการประกาศลอยตัวเงิน จ๊าด ก�ำหนดราคาอ้างอิงที่สะท้อนกลไกตลาด จึงเป็นแม่เหล็ก ส�ำคัญที่จะท�ำให้ทั่วโลกเบนเข็มการลงทุนพร้อมกับการเข้าสู่ AEC ของอาเซียน อุณหภูมิของการแข่งขันในสนามการค้า การลงทุนใน ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประเด็นหนึ่ง ท�ำให้กลุ่ม ประเทศในลุ่มน�้ำโขงให้ได้รับอานิสงส์และยังท�ำให้มนต์เสน่ห์ ของอาเซียนที่ก�ำลังจะผนึกก�ำลังกันอย่างจริงจังในอีก 3 ปีข้าง หน้า ทวีความน่าสนใจจากภาคีอื่นๆ เป็นอย่างมาก ตลาดฝั่ง ประเทศตะวันออกกลายเป็น Emerging Market ที่มีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย อาเซียน หรือในประเทศที่ก�ำลังเปิด ประตูบ้านอย่างพม่า ผู้ประกอบการส่งออกไทยที่เคยมีตลาดหลักอยู่ยุโรป หรืออเมริกา คงต้อง ปรับโฟกัสใหม่ ให้มอง ตะวันตก (ที่อยู่ ไม่ไกล) โดยเฉพาะพม่า และเอเชียใต้ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ ศรีลังกา ให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นตลาดใหม่แล้ว ผู้ประกอบการไทยควรใช้ข้อได้เปรียบจากการขนส่งที่ไม่ไกล นัก ประกอบกับการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงเขตการค้าต่างๆ ทีช่ ว่ ยหนุนการลงทุนและการค้า ทัง้ ภาคธุรกิจและการบริการ

ชี้ช่องส่งออก SMEs ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 เดือนพฤษภาคม 2555

04 @ Cover ขุมทองพม่าในสายตาผู้ประกอบการไทย 07 SMEs Success “kha-hnom-tein” ปั้นเทียนให้เป็นขนม 08 นวัตกรรมปั้น SMEs

‘Urgent Fire-Pak’ เครื่องช่วยหายใจหนีไฟ หนึ่งเดียวฝีมือคนไทย

‘แอสมีโก้’ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส ในตลาดเพื่อนบ้าน

กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของอเมริกา ผลกระทบต่อผูน้ ำ� เข้า

09 สายตรงแหลงผลิต

10 Idea packaging ‘ภูโคลน’ สปา โปรดักส์ แม่ฮ่องสอน 11 ชี้ชองสงออก

12

SMEs logistics

ท่าเรือระนอง ทางเลือกหนึ่งของการค้าไทย สู่ตลาดโลก (ตอนจบ)

13 ชี้ชองสองทาง 14 Activities Update 15 สาระน่ารู้จาก EXIM BANK

คณะท�ำงาน

เจ้ า ของ : กรมส่ ง เสริ ม การส่ ง ออก กระทรวงพาณิ ช ย์ ที่ ป รึ ก ษา : อธิ บ ดี ก รมส่ ง เสริ ม การส่ ง ออก : นั น ทวั ล ย์ ศกุ น ตนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก : วุฒิชัย ดวงรัตน์ อัญชลี พรหมนารท นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ : มาตยวงศ์ อมาตยกุล ภูสิต รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์ เอกฉัตร ศีตวรรัตน์ สมเด็จ สุสมบูรณ์ เพยาว์ สุขมาก จตุพร วัฒนสุวรรณ เพ็ญศรี ชุติธรพงษ์ มีชัย บุณยะมาน บรรณาธิการ : จิรภาพรรณ มลิทอง ส�ำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก 44/100 ถนนนนทบุรี 1 ต�ำบลบางกระสอ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000 ชี้ช่องส่งออก SMEs

3


@ Cover

ขุมทองพม่า

ในสายตาผู้ประกอบการไทย

นช่ ว งหนึ่ ง ปี ที่ ผ ่ า นมา ประเทศพม่ า หรื อ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ได้สร้างความ เปลี่ ย นแปลงทางการเมื อ งครั้ ง ส� ำ คั ญ ภายใต้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ปี 2551 การปล่อยตัวนาง อองซาน ซู จี ผู ้ น� ำ พรรคสั น นิ บ าตแห่ ง ชาติ เ พื่ อ ประชาธิปไตย (NLD) วัย 66 ปี ซึ่งถูกกักบริเวณใน บ้านพักครั้งล่าสุดนานถึง 7 ปี นอกจากนี้ การเยือนพม่าครัง้ ประวัตศิ าสตร์ ของนางฮิ ล ลารี คลิ น ตั น รั ฐ มนตรี ต ่ า งประเทศ สหรัฐอเมริกา ยังเป็นการเยือนพม่าของผู้แทนระดับ สูงในรัฐบาลสหรัฐคนแรกในรอบ 56 ปี ทีส่ ะท้อนการ ให้ความส�ำคัญกับความเปลี่ยนแปลงในพม่าของ สหรัฐอเมริกา ซึ่งหากพม่าพยายามปฏิรูปประเทศ และด� ำ เนิ น นโยบายต่ า งประเทศที่ เ กี่ ย วกั บ จี น และเกาหลี เ หนื อ ในทิ ศ ทางที่ น ่ า พอใจมากขึ้ น สหรัฐอเมริกาก็อาจยกเลิกการคว�่ำบาตรและมอบ ความช่วยเหลือแก่พม่าเพิ่มขึ้นจนอาจกลับมายก

4

ชี้ช่องส่งออก SMEs

ระดับความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้ง ซึ่งจะท�ำให้ เม็ดเงินลงทุนมหาศาลจากต่างชาติหลั่งไหลสู่พม่า และท�ำให้เศรษฐกิจเฟื่องฟูขึ้น ล่าสุดเมื่อเมษายนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี เต็งเส่งของพม่ายังได้เยือนญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 28 ปี พร้อมทัง้ ยังมีสญ ั ญาณเชิงบวกจากญีป่ นุ่ ในการ ให้ความช่วยเหลือ 5 ประเทศในลุ่มน�้ำโขง คือ ไทย กัมพูชา พม่า ลาว และเวียดนาม ทั้งนี้ ญี่ปุ่นแม้ไม่ได้ คว�ำ่ บาตรพม่าเหมือนประเทศตะวันตก แต่หลายฝ่าย เชื่อว่าจะมีการประกาศยกเลิกหนี้ให้แก่พม่าและจะ กลับมาให้ความช่วยเหลือในโครงการที่เคยระงับไป ก่อนหน้านี้ ขณะที่เงินทุนมหาศาลก�ำลังหลั่งไหลเข้า สูพ่ ม่า ภาพลักษณ์ในการปฏิรปู การเมืองและสิง่ แวดล้อม ด้านการค้า การลงทุน ล้วนเป็นแม่เหล็กในการดึง นักลงทุนย้ายฐานการผลิตเข้าสู่พม่า ประกอบกับ ปัจจุบันพม่ามีการประกาศลอยตัวเงินจ๊าดให้เป็น


มาตรฐานสากลเพื่อเป็นกลไกทางการตลาด ก�ำหนด ค่าเงินจ๊าดให้มีเสถียรภาพมากขึ้น จากเดิมที่อัตรา แลกเปลี่ยนตรึงไว้ที่ 6.41 จ๊าดต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ใน ขณะที่ในตลาดมืดอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 820 จ๊าด ต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งการประกาศลอยตัวค่าเงินดัง กล่าวธนาคารกลางได้กำ� หนดราคาอ้างอิงที่ 818 จ๊าด ต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ การลอยตัวค่าเงินจ๊าดจะท�ำให้ผปู้ ระกอบการ ไทย มีความเชือ่ มัน่ ทางเศรษฐกิจของพม่ามากขึน้ ซึง่ ก็จะมีผลทางการค้าชายแดน จะท�ำให้มีอัตราการ ขยายตัวสูงขึน้ และมีการท�ำธุรกรรมผ่านสถาบันการ เงินอย่างมาตรฐานสากล ยิ่งท� ำให้พม่ากลายเป็น ประเทศเนือ้ หอมของนักลงทุนทัว่ โลก สอดรับกับการ เป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การทีพ่ ม่าจะด�ำรงต�ำแหน่งประธานอาเซียน ในปี 2557 ซึง่ เป็นปีทมี่ คี วามส�ำคัญต่ออาเซียนอย่าง มากเพราะเป็นปีก่อนการก้าวสู่การเป็นประชาคม อาเซียนในปี 2558 และเป็นปีที่พม่าจะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ที่ประกอบ ด้วยประเทศสมาชิกอาเซียน สหรัฐ จีน รัสเซีย และ ประเทศอืน่ ๆ ด้วย ปรากฏการณ์สำ� คัญทีจ่ ะพลิกโฉม ประเทศพม่าให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ทางด้านเศรษฐกิจซึ่ง จะเป็นผลดีกับประเทศไทยในด้านโลจิสติกส์ การค้า และการบริการ รวมทั้งส่งผลต่อภูมิภาคอาเซียน พม่ามีประชากร 58 ล้านคน อีกทั้งมีแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มหาศาล ทั้งสินแร่ อัญมณี พลังงานส�ำคัญอย่างก๊าซธรรมชาติ มีท�ำเลที่ ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดยุทธศาสตร์ส�ำคัญที่ได้ เปรียบ มีชายแดนเชื่อมต่อกับ 5 ประเทศ และ สามารถเข้าถึงประชากร 2.6 พันล้านคน หรือ 40% ของประชากรโลก พม่าจึงเป็นประตูสำ� คัญของทัง้ จีน และอินเดีย โดยเฉพาะอาณาเขตทางทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงเหนือติดกับอินเดียในระยะทางถึง 1,463 กิโลเมตร ติดกับบังกลาเทศราว 200 กิโลเมตร และมีทางออกสู่อ่าวเบงกอล อาจช่วยสนับสนุน บทบาทการเป็นประตูการค้าของภูมภิ าคเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้สู่ภูมิภาคเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและ ยุโรป โดยไม่ตอ้ งอ้อมผ่านช่องแคบมะละกาทีก่ ำ� ลังมี

ปัญหาจราจรแออัด รวมถึงมีศักยภาพดึงดูดการ ลงทุนในธุรกิจอีกหลายสาขา เช่น พลังงาน เหมืองแร่ ก่อสร้าง โลจิสติกส์ และการท่องเทีย่ ว ซึง่ มีคา่ แรงต�ำ่ ดังนัน้ การขยายตัวของเศรษฐกิจพม่า การ จัดการประชุมอาเซียนและการเป็นเจ้าภาพกีฬา ซีเกมส์ครั้งที่ 27 ในปี 2556 สร้างโอกาสการค้า การลงทุ น ระยะสั้ น ในธุ ร กิ จ เกี่ ย วกั บ การพั ฒ นา สาธารณูปโภคพื้นฐานและการก่อสร้าง เช่น การ ก่อสร้างสาธารณูปโภค อาคารสิง่ ปลูกสร้าง การปรับ ทัศนียภาพโดยรอบของนครเนปิดอว์ เมืองหลวงของ พม่า สถานที่หลักในการจัดงาน สินค้าที่พม่ามีความ ต้ อ งการเพื่ อ รองรั บ กิ จ กรรมก่ อ สร้ า งต่ า งๆ เช่ น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ วัสดุก่อสร้าง เครื่อง ใช้ไฟฟ้า เหล็กกล้า ยานพาหนะในการเดินทางและ ขนส่ง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้า อุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่ง พม่ามีความสามารถในการผลิตสินค้าได้เพียงร้อยละ 20 ของความต้องการบริโภคภายในประเทศ จึง จ�ำเป็นต้องน�ำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ในพื้ น ที่ จั ง หวั ด ชายแดนไทย-พม่ า ทั้ ง 7 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ระนอง และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งระนอง เป็นจังหวัดชายแดนส�ำคัญทีไ่ ทยส่งออกสินค้าออกไป พม่าค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในช่วงทีด่ า่ นชายแดนที่ ด่านเมียววดี-แม่สอดถูกปิด ท�ำให้ผปู้ ระกอบการเลีย่ ง มาขนส่ ง สิ น ค้ า ผ่ า นระนองเข้ า สู ่ พ ม่ า ด้ ว ยความ สามารถในการรองรับการขนส่งสินค้า เป็นจุดเชือ่ มต่อ

ชี้ช่องส่งออก SMEs

5


ทางยุทธศาสตร์ของไทยกับพื้นที่ตอนใต้สุดของพม่า ซึง่ ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเทีย่ วทางทะเลทีส่ ำ� คัญ จึง เป็ น โอกาสขยายการส่ ง ออกสิ น ค้ า ของไทย โดย เฉพาะสินค้ากลุม่ อุปโภคบริโภค ส่วนชายแดนอ�ำเภอ แม่สอด จังหวัดตาก อาจมีการพัฒนาระบบขนส่งคมนาคม การขยายรันเวย์ท่าอากาศยานแม่สอด รองรับการเจริญเติบโตของการค้าชายแดน ท�ำให้ นักธุรกิจ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางไปที่อ�ำเภอแม่สอดมากขึ้น โครงการท่าเรือน�้ำลึกทวายเป็นการลงทุน ก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน�้ำลึกพร้อม สาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนน รางรถไฟ โรงไฟฟ้า โครงการ Mega Project ไทยกับพม่าทีส่ ำ� คัญภายใต้ กรอบการพั ฒ นาแนวพื้ น ที่ เ ศรษฐกิ จ ลุ ่ ม น�้ ำ โขงอินเดีย และเป็นส่วนเพิ่มเติมจากเส้นทางตามแนว ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) หนึ่งในเส้นทางการ เชื่ อ มโยงระหว่ า งกั น ภายในอาเซี ย น (ASEAN Connectivity) ซึ่งจะส่งผลดีกับการค้าจากประเทศ ลาว ผ่านไทยและพม่า ไทยมีโอกาสได้ประโยชน์จาก ที่มาแหล่งข้อมูล :

การขยายการลงทุนในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของไทยที่มี พรมแดนใกล้เคียงกับพม่ามากขึ้น ส� ำ หรั บ ผู ้ ป ระกอบการไทยอาจมองเห็ น โอกาสในการลงทุนเข้าสูพ่ ม่าได้สะดวกและปลอดภัย ยิ่งขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการที่เคยพึ่งพาแรงงานจาก พม่า จ�ำเป็นที่จะต้องปรับตัวรับกับผลกระทบที่อาจ จะมีต่อแรงงานเหล่านี้ รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการ จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ความเคลือ่ นไหวเปลีย่ นแปลง ของพม่ายังคงเป็นที่น่าจับตามองต่อไป บทบาทของ นางอองซานซูจีที่จะได้รับ และความพยายามชิงใจ มวลชนของนายพลเต็ง เส่ง และประชาคมโลก ซึ่งมี ท่าทีอ่อนข้อลงกว่ารัฐบาลทหารชุดที่ผ่านมา ความ จริงใจของรัฐบาลพม่าในการแก้ปัญหา ท่าทีของ มหาอ�ำนาจตะวันตกและจีนต่อพม่าและแนวโน้ม บทบาทในภูมิภาคอาเซียนและเวทีโลก ซึ่งสุดท้าย แล้วคนพม่าและไทยที่อยู่ใกล้กันเพียงเอื้อมจะได้ ประโยชน์แท้จริงเพียงใด ต้องอยู่ที่มุมมองและการ ปรับตัว เพื่อใช้ประโยชน์และรักษาประโยชน์ของ ตนเอง

• ศูนย์ศกึ ษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. บทวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาเพือ่ การขยายการค้าและการลงทุน เขตพืน้ ที่ ชายแดนไทย-พม่า เพื่อเชื่อมต่อประเทศในกลุ่ม BIMSTEC. คอลัมน์ The Globe : Driving towards ASEAN+, Thailand Economic & Business Review. ปีที่ 8 ฉบับที่ 7 มกราคม 2012. Pp 21-25 • สริญญา สุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา. โอกาสการลงทุนพม่ายุค 2011. คอลัมน์การค้ามิตใิ หม่. วารสารการค้าระหว่างประเทศ. ฉบับที่ 3 พฤศจิกายน/ ธันวาคม 2554. Pp 30-33 • ส�ำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI). รายงาน Country Profile สหภาพพม่า. ออนไลน์. http://www.boi.go.th/thai/ clmv/Back_up/file_index/2010_myanmar_0_0.html (สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2555) • Moneychannel. คลัง เชียร์ นักธุรกิจไทยไปลงทุนพม่า. ออนไลน์. http://www.moneychannel.co.th/Menu6/NewsUpdate/ tabid/89/newsid491/168654/Default.aspx (สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2555) • ชาจีน (นามแฝง). ชี้ช่องโอกาสลงทุนพม่า อนาคตสดใส. ออนไลน์. http://www.oknation.net/blog/sutida/2011/06/24/entry-1 (สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2555) • ประชาชาติธรุ กิจ. ไทยตืน่ ! บุกลงทุนพม่า ให้ “สิทธิภาษี” 8 ปีดงึ ต่างชาติยา้ ยฐาน. ออนไลน์. http://www.prachachat.net/news_detail. php?newsid=1328754200&grpid=00&catid=00 (สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2555) • ธนาคารเพือ่ การส่งออกและน�ำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.). กฎระเบียบการลงทุนทีส่ ำ� คัญของพม่า. ออนไลน์. http://www.exim.go.th/ doc/newsCenter/9959.pdf (สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2555) • ไทยพีบเี อส. ออนไลน์. http://news.thaipbs.or.th/ (สืบค้นเมือ่ 7 เมษายน 2555) กระทรวงต่างประเทศ. ข อ้ มูลประเทศพม่า. ออนไลน์. http://www.mfa.go.th/web/848.php?id=49 (สืบค น้ เมื่อ 7 เมษายน 2555) • วิกิพีเดีย. ประเทศพม่า. ออนไลน์ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80% E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2 (สืบค น้ เมื่อ 7 เมษายน 2555) http://thaienews.blogspot.com/2012/04/2533-2555.html • ดร. วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์, สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค า้ และการพัฒนา. เงินจ า๊ ดลอยตัว:ที่มาทีไ่ ปและความคาดหวัง. ออนไลน์. http:// www.bangkokbiznews.com (สืบค น้ เมื่อ 23 เมษายน 2555) • ประชาชาติธุรกิจ. วิเคราะห์ผลดี “เงินจ า๊ ตลอยตัว” โอกาสค า้ ขายพม่าเสรี-ถูกกฎหมาย. ออนไลน์. http://www.prachachat.net/ news_detail.php?newsid=1334163101&grpid=03&catid=04 (สืบค น้ เมื่อ 24 เมษายน 2555)

6

ชี้ช่องส่งออก SMEs


SMEs Success

“kha-hnom-tein” ปน เทียนใหเ ปนขนม

าพูดถึงเทียนหอม หลายๆ คนคงเคยชินกับ รูปลักษณของตัวเทียนลักษณะแทงกลม หรือ รูปทรงดอกไม ทีม่ หี ลากสีหลายกลิน่ เห็นกันอยูท วั่ ไป ขณะที่รูปทรงที่มีความแปลกใหมอาจยังไมคอยเห็น มากนัก แตเมื่อคิดจะท�ำธุรกิจก็ตองคิดใหแตกตาง จากเทียนหอม แบบเดิมๆ จึงไดถูกปรับโฉมใหมใหมี ลูกเลนที่สวยงามแปลกตา โดยคุณอาริสรา นุกูล ผูร เิ ริม่ แนวคิด ‘ปน เทียนใหเปนขนม’ ภายใตแบรนด “kha-hnom-tein” (ขนมเทียน) “จุดเริ่มตนเกิดจากความชื่นชอบทางดาน ศิลปะและการออกแบบ ประกอบกับเรียนจบมา ทางดานสถาปตยกรรม จึงตองการหาอาชีพที่สราง ไอเดีย ท�ำเองไดง า ย โดยตอนแรกเพือ่ นซือ้ หนังสือสอน ท�ำเทียนหอมในรูปแบบขนมไทยมาให ก็เริม่ ฝกลองผิด ลองถูกท�ำเเจกเพือ่ นๆ กอน จากนัน้ ในป 2546 จึงเริม่ ท�ำขายอยางจริงจังทีถ่ นนคนเดิน จังหวัดเชียงใหม ซึง่ ก็ได้รบั ความนิยมจากนักท่องเทีย่ วและกลุม่ วัยรุน่ ” ตอนเริ่มท�ำธุรกิจ คุณอาริสรา บอกวามีเงิน ลงทุนเพียง 300 บาทเทานัน้ แตเธอกลาตัดสินใจเดิน ตามความฝน ที่ส�ำคัญมีความรักในสิ่งที่ท�ำ จนกอให้ เกิ ด เป  น ผลิ ต ภั ณ ฑ  คุ ณ ภาพที่ แ ฝงไปด  ว ยไอเดี ย สรางสรรคที่แปลกใหมไมเหมือนใคร จึงไดรับความ สนใจทัง้ ชาวไทยและตา งชาติตงั้ แตวนั แรกทีว่ างขาย “หลั ง จากนั้ น  ได มี โ อกาสเข  า ร  ว มงาน แสดงสิ น ค า กั บ กรมส ง เสริ ม การส  ง ออก ท� ำ ให  ไดประชาสัมพันธสินคาเพิ่มมากขึ้น จากสื่อสิ่งพิมพ และรายการโทรทัศน เปนการยืนยันวาเราอยูใน ธุรกิจนี้จริง เนื่องจากเราท�ำการคาออนไลนเปน สวนใหญ และมีเพียงหนาราน เล็ ก ๆ ที่ ถ นนคนเดิ น เท  า นั้ น พอไดรวมงานออกบูธท�ำใหมีคน รูจ กั และสรางชือ่ ไดมากขึน้ ” ส� ำ ห รั บ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ  kha-hnom-tein candle คุณอาริสรา นุกูล cuisine นั้ น มี ใ ห เ ลื อ กหลาก

หลายรูปแบบทั้งของคาวและของหวาน โดยแบง ออกเปน 6 หมวดใหญๆ ไดแก เบเกอรี่ ไอศกรีมเเละ เครื่องดื่ม ขนมไทย อาหารนานาชาติ อาหารไทย และของช�ำรวย ทีล่ กู คาสามารถออกเเบบสินคาตาม ความตองการได ทั้ ง นี้ จุ ด เด  น ของผลิ ต ภั ณ ฑ  น อกจากสี สั น จะสวยงามแลว รูปแบบของสินคายังมีความคลายคลึง กับของจริงเปนอยางมาก อีกทั้งยังมีกลิ่นหอมของ ช็อคโกแลตและกลิ่นวานิลาใหลูกคาไดเลือก นับ เปนการเพิม่ มูลคาใหกบั สินคาไดดที เี ดียว จากแนวคิ ด ที่ บ รรเจิ ด และใช  ง านได  จ ริ ง สงผลใหผลิตภัณฑ kha-hnom-tein เปนที่สนใจ และไดรับการยอมรับทั้งในและตางประเทศ โดย ปจจุบนั มีการสง ออกไปยังประเทศในแถบเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ในสัดสวนประมาณ 60% กอเกิด เปนรายไดที่เพิ่มขึ้นทุกป และน�ำมาซึ่งชื่อเสียงของ ตั ว สิ น ค  า ที่ ไ ด รั บ การกล า วถึ ง เสมอมา ที่ ส� ำ คั ญ ไดเปนบทพิสูจนถึงความส�ำเร็จในการท�ำธุรกิจของ คุณอาริสรา แตในแนวคิดของเธอกลับมองวา “เราไมม เี ปา หมายความส�ำเร็จทีเ่ ปน รูปธรรม ทุกวันนี้มีความภูมิใจที่มีโอกาสไดสรางงานใหกับคน ในทองถิ่น ไดสรางสินคาที่มีคุณภาพ มีคนรูจักและ ชืน่ ชอบในตัวแบรนด ตรงนีถ้ อื เปนจุดทีพ่ งึ พอใจแลว” คุณอาริสรา กลาวทิง้ ทาย ส�ำหรับทานใดสนใจ เทียนรูปแบบใหม  ในความ สวยแบบอาหารแตรั บ ประทานไม ได  สอบถาม รายละเอียดเพิ่มเติมได ท ี่ 08-1289-5055 หรือใน เว็บไซต์ www.sweetcandle.net ชี้ช่องส่งออก SMEs

7


นวัตกรรมปั้น SMEs

‘Urgent Fire-Pak’

เครื่องช่วยหายใจหนีไฟ หนึ่งเดียวฝีมือคนไทย

ากภาพข่าวเหตุการณ์ 911 ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีคนติดอยู่ในซากตึก แล้วพยายามโทรศัพท์ ติดต่อหาแม่ เพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ยังไม่ทันได้ พูด ก็หมดสติไปก่อนเพราะส�ำลักควันและขาดอากาศ หายใจ ซึ่งหากเขามีเวลาอีกแค่ 2-3 นาที ก็จะรอดชีวิต ได้ จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ คุณนพมาศศิริ ด�ำรัสธรรม น�ำมาต่อยอดเป็นนวัตกรรม ด้านความปลอดภัย ‘Urgent Fire-Pak’ หรือ ‘เครือ่ ง ช่วยหายใจ’ หนึ่งเดียวในโลกที่สามารถพกพาได้ คุณนพมาศศิริ ด�ำรัสธรรม กรรมการบริหาร บริษัท นิรินธน์ดีไซน์ จ�ำกัด กล่าวว่า ในต่างประเทศมี อุปกรณ์ลกั ษณะใกล้เคียงกัน ทว่ามีนำ�้ หนักมากถึง 3-5 กิโลกรัม และราคาสูงถึง 2-3 หมืน่ บาท ส�ำหรับ Urgent Fire-Pak ถูกออกแบบให้มีน�้ำหนักเบา สามารถพกพา และใช้งานได้สะดวก ที่ส�ำคัญราคาประหยัดเพียงแค่ หลักพันบาทเท่านั้น “เราใช้ เ วลากว่ า 8 ปี ใ นการพั ฒ นา นวัตกรรมนี้ ปัจจุบันก็ยังคงพัฒนารูปแบบอุปกรณ์ ต่อไป หลังจากเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในปี 2011 ได้เน้น การประชาสัมพันธ์สินค้ามากกว่าการท�ำตลาด ส่วน ในปีนี้ได้ตั้งเป้าส่งออกไปตลาดต่างประเทศ เพราะ สินค้าเรามีความพร้อมทัง้ ด้านวัตถุดบิ และมาตรฐาน การผลิต อีกทั้งความสนใจในเรื่องความปลอดภัย ชาวต่างชาติจะมีสูงกว่าคนไทย” ส�ำหรับขั้นตอนใช้งานเพียงสวมชุดอุปกรณ์ เข้ากับตัว สวมถุงครอบศีรษะ ดึงสายรัดทั้งสองด้านให้ พอดีรอบคอ อมจุกยางไว้หายใจออกทางปาก กดปุ่ม ล็อกค้างอากาศ จะออกมาตาม สายเองโดย อัตโนมัติ แต่ละ กระป๋องจะ บรรจุ อ ากาศ

8

ชี้ช่องส่งออก SMEs

บริสุทธิ์ อัตราส่วนออกซิเจนกับไนโตรเจน 80:20 ใช้ ติดต่อกันได้ 1 นาที โดยชุดอุปกรณ์ต่างๆ ยังเรืองแสง มองเห็นได้ในที่มืด และเก็บไว้ใช้งานนานถึง 5 ปี ส่วน กระเป๋าบรรจุอากาศ เก็บไว้ได้นาน 2 ปี ปัจจุบันเครื่องช่วยหายใจแบบพกพา มีให้ เลือก 3 แบบ คือ แบบ Quick Pak (3,300 บาท) แบบ Twin Pak ส�ำหรับเดินทาง (2,900 บาท) ทั้ง 2 แบบจะเป็ น ชุ ด หน่ ว งไฟ สามารถทนความร้ อ น ได้ถึง 260 องศาเซลเซียล ส่วนอีกแบบคือ Twin Pak (2,200) รุ ่ น ประหยั ด จะเป็ น ชุ ด เครื่ อ งช่ ว ย หายใจแต่ ไ ม่ ท นไฟ ขณะที่ ช ่ อ งทางการจ� ำ หน่ า ย เน้ น การออกงานเทรดแฟร์ ด ้ า นความปลอดภั ย ทั้ ง ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทางบริษัทก็ต้องขอ ขอบคุณหน่วยงานภาครัฐ โดยเฉพาะกรมส่งเสริม การส่งออกที่ได้ช่วยให้ค�ำแนะน�ำและเปิดโอกาสให้ เข้าร่วมกิจกรรมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศซึ่ง นับว่าเป็นการเปิดตัวผลิตภัณฑ์นวัตกรรมของไทย ในตลาดต่างประเทศอย่างสมศักดิ์ศรี โดยกลุ่มลูกค้า ส่วนใหญ่ 90% จะเป็นองค์กรต่างๆ “ส�ำหรับตลาดในประเทศมีการตอบรับไม่ มาก คนไทยยังไม่ตื่นตัวเรื่องของความปลอดภัย หรือ Safety Mind ซึ่งเรื่องนี้ภาครัฐต้องเข้ามาช่วย รณรงค์ ให้คนไทยเห็นคุณค่าของการป้องกันตัวเอง จากอุบัติภัย จากสถิติประเทศไทยเกิดเหตุการณ์ ไฟไหม้เฉลี่ยวันละ 3 ครั้ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูง ถ้าเรา มีการป้องกันและการเตรียมความพร้อมในเรื่องของ อุปกรณ์ช่วยชีวิต ความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็จะน้อยลง ด้วย” คุณนพมาศศิริ กล่าวทิ้งท้าย สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08-1422-1788, 08-5911-1678 หรือ www.urgentfirepak.com


‘แอสมีโก้’ พลิกวิกฤตเป็นโอกาส

สายตรง แหล่งผลิต

ในตลาดเพื่อนบ้าน

ว่าสิบห้าปีที่ บริษัท แอสมีโก้ (ประเทศไทย) จ�ำกัด เป็นที่รู้จักในตลาดผู้น�ำเข้ายาและเวชภัณฑ์ ด้วยแนวทางการด�ำเนินธุรกิจที่ยึดถือความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม เน้นความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ เพราะสินค้าที่ขาย คือ ‘ยารักษาโรค’ อันเกี่ยวเนื่อง กับสุขภาพและชีวิตของมนุษย์เรา คุณอัจฉรี ธัญธนาพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการ ตลาด บริษัท แอสมีโก้ฯ เริ่มต้นธุรกิจนี้ด้วยความสนใจ ส่วนตัว หลังจากจบการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ เธอ เข้าท�ำงานทีบ่ ริษทั ยาแห่งหนึง่ ในขณะทีค่ ณ ุ พ่อด�ำเนิน ธุรกิจเกี่ยวกับยา ได้มองเห็นลู่ทางในการน�ำเข้าตัวยา และรู้จักเอเยนต์ที่น่าเชื่อถือ คุณอัจฉรีจึงลาออกจาก งานมาช่วยธุรกิจเต็มตัว โดยน�ำเข้าจ�ำพวกยารักษาโรค ทั่วไป และโรคผิวหนัง ก่อนกระจายสินค้าไปยังผู้แทน จ�ำหน่ายทีม่ ปี ระสบการณ์ในการจ�ำหน่ายยาไปท�ำตลาด “การพิจารณาเลือกน�ำเข้ายามาจ�ำหน่ายใน ประเทศไทย คือ หนึ่ง..เป็นยารักษาโรคทั่วไปหรือยา เฉพาะทาง สอง...หากเป็นยาเฉพาะทาง ต้องพิจารณา ต่อถึงวัตถุดบิ ทีใ่ ช้ สรรพคุณในการรักษาว่าเหมาะสมที่ จะน�ำเข้าหรือไม่ และรูปแบบใด ทุกวันนี้ยาที่น�ำเข้ามี ทัง้ ลักษณะยาส�ำเร็จรูป และน�ำเข้าวัตถุดบิ มาผลิตเอง ซึ่งจะช่วยให้เราควบคุมต้นทุนได้ง่ายขึ้น” ทั้งนี้ วงการยาและเวชภัณฑ์ได้มีเทคโนโลยี ที่ก้าวล�้ำน�ำสมัยอยู่เสมอ จะเห็นว่ามีการพัฒนาตัวยา ใหม่ๆ ขึ้นมากมายเพื่อเอาชนะโรคภัยไข้เจ็บ ส่งผล ให้การแข่งขันในตลาดค่อนข้างสูง อีกทัง้ ผูป้ ระกอบการ ยั ง ต้ อ งตามติ ด ข้ อ ประกาศ และกฎหมายต่างๆ จากคณะ กรรมการอาหารและยา หรือ อย. ซึ่ ง มี ห น้ า ที่ ก� ำ กั บ ดู แ ล อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสอบยารั ก ษาโรค คุณอัจฉรี ธัญธนาพงศ์ ที่มีส่วนผสมของสารที่จะน�ำ

ไปผลิตยาเสพติดได้ แต่ยาดังกล่าวก็มีความจ�ำเป็นต่อ การรักษาผู้ป่วย การซื้อขายยาจ�ำพวกนี้จึงอยู่ในการ ควบคุมอย่างเข้มงวด ทั้งในแง่ของโควต้าการน�ำเข้า ประเภทวัตถุดิบ และโฆษณา เหล่านี้คืออุปสรรคที่ คุณอัจฉรีเล็งเห็น เพราะหนึ่งในผลิตภัณฑ์ยาของเธอ ได้เข้าข่ายดังกล่าว “ถึงแม้เราจะเลือกน�ำเข้าตัวยาที่ดี แต่ด้วย ข้อจ�ำกัดทางกฎหมายและมาตรการที่เข้มงวดของ ทางส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา อาจ ท�ำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนยาในตลาดได้ ดังนั้น เราจึงหันมาสนใจตลาดส่งออก โดยการไปออกบูธกับ ทางกรมส่งเสริมการส่งออก ท�ำให้ได้รู้จักกับบริษัท ผู้ผลิตยาหรือเอเยนต์โดยตรง และมีแผนจะขยาย ตลาดไปยังประเทศเพือ่ นบ้านของเรา เช่น ลาว พม่า เวียดนาม ฯลฯ ซึ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจและเป็นการ เตรียมพร้อมการมาของ AEC ในอนาคตอันใกล้นี้ อีกด้วย” คุณอัจฉรีกล่าวเสริมอีกว่า การทีบ่ ริษทั เข้ามา เป็นสมาชิกกรมส่งเสริมการส่งออก ประเภท DITP SMEs Club ได้คดั สรรให้เฉพาะผูป้ ระกอบการทีม่ คี วามตัง้ ใจ ทีจ่ ะเข้าสูก่ ระบวนการค้าระหว่างประเทศทีด่ มี าก ทีจ่ ะ ส่งเสริมและสนับสนุนให้สมาชิกได้มกี ารเข้าร่วมกิจกรรม เพื่ อรวมกลุ ่ มผู ้ ประกอบการให้ มี เ ครื อ ข่ า ยระหว่ า ง สมาชิกด้วยกัน หรือในระบบพีเ่ ลีย้ งทางธุรกิจ ตลอดจน ความเคลือ่ นไหวและระบบการเตือนภัยทางการค้า ให้ ผูป้ ระกอบการได้เตรียมพร้อม หรือตัง้ รับในเหตุการณ์ได้ อย่างรวดเร็ว ก็อยากจะฝากผูป้ ระกอบการ SMEs อย่าง เรา ควรที่จะหาที่ปรึกษาให้ค�ำแนะน�ำที่ถูกต้องอย่าง หน่วยงานกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์เป็น หน่วยงานภาครัฐที่มีเครือข่ายในต่างประเทศทั่วโลก พร้อมให้คำ� แนะน�ำ และยืนเคียงข้างผูป้ ระกอบการไทย คุณพร้อมหรือยังทีจ่ ะเปิดโอกาสให้กบั ตนเอง สนใจธุรกิจติดต่อ บริษัท แอสมีโก้ (ประเทศไทย) จ�ำกัด โทร. 0-2525-2128-9 หรือ 08-1647-5684 ชี้ช่องส่งออก SMEs

9


Idea Packaging

‘ภูโคลน’ สปา โปรดักส์ แม่ฮ่องสอน

‘ภู

โคลน แม่ฮ่องสอน’ เป็นแหล่งโคลนจากน�้ำพุ ร้อนที่ดีที่สุดในประเทศไทย และถูกจัดเป็นหนึ่ง ในสามแหล่งของโลกที่มีการค้นพบโคลนที่น�ำมาใช้ใน การเสริมสร้างสุขภาพความงาม นอกเหนือจากโคลน ใต้ทะเล Dead Sea และโคลนภูเขาไฟ จึงเป็นที่มาของผลิตภัณฑ์ ‘ภูโคลน’ ที่ผลิต จากโคลนเดือดบริสุทธิ์สีด�ำ อยู่ใต้พื้นดินที่มีความร้อน 60-140 องศาเซลเซียส น�ำขึ้นมาพร้อมกับสายน�้ำแร่ ธรรมชาติที่สะอาด ไม่มีกลิ่นก�ำมะถัน และมีแร่ธาตุที่มี ประโยชน์ต่อผิวพรรณ สามารถดูดสารพิษที่ตกค้าง ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพให้ ขาวใสอย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว จึง ท� ำ ให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ภู โ คลนมี ชื่ อ เสี ย งเป็ น ที่ รู ้ จั ก ทั้ ง ใน ประเทศและต่างประเทศ คุณวัชรพงศ์ กลิ่นปราณีต ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ภูโคลน คันทรีคลับ จ�ำกัด กล่าวว่า ธุรกิจ ภูโคลน เริม่ ต้นจากการเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทีใ่ ห้บริการ ด้านสปา อาบน�้ำแร่ และพอกโคลน ไม่ได้ท�ำผลิตภัณฑ์ ออกจ�ำหน่าย แต่ทำ� เป็นของทีร่ ะลึกแจกให้กบั ผูท้ มี่ าใช้ บริการเท่านั้น เมื่อมีการน�ำไปทดลองใช้ จึงเกิดการ บอกต่อกัน และมีการติดต่อขอซื้อไปใช้ ท�ำให้มองเห็น โอกาสทางธุรกิจ จึงเริ่มต้นผลิตและจ�ำหน่ายอย่าง จริงจัง ภายใต้แบรนด์ภูโคลน โดยสินค้าตัวแรกที่ผลิต คือ โคลนพอกหน้า และน�้ำแร่ 100% “การน�ำโคลนขึน้ มาใช้เชิงสุขภาพบ�ำบัด คือ เสน่ห์ที่สร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ภูโคลน ประเทศไทยมีความได้เปรียบกว่าโคลนจากอิสราเอล และโรมาเนีย ตรงที่ได้มีการน�ำเอาสมุนไพรไทยที่มี

10

ชือ่ เสียงเป็นทีย่ อมรับในต่างประเทศ เช่น ตะไคร้หอม ขมิ้น และมะนาว มาเป็นส่วนผสมท�ำให้มีกลิ่นหอม ละมุน ผสมผสานกับไอดิน” ปั จ จุ บั น สิ น ค้ า ของภู โ คลน ประกอบด้ ว ย ผลิตภัณฑ์โคลนส�ำหรับพอกผิวหน้าและผิวกาย สบู่ ท�ำความสะอาดผิว ครีมอาบน�ำ้ และผลิตภัณฑ์บำ� รุงผิว จากน�้ำแร่ธรรมชาติ โดยมีวางจ�ำหน่ายทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะตามแหล่งท่องเทีย่ ว และในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ผ่านตัวแทนจ�ำหน่ายที่เป็นร้านขายผลิตภัณฑ์ เกีย่ วกับสมุนไพรและความงาม สปา และรีสอร์ทต่างๆ คุณวัชรพงศ์กล่าวถึงการพัฒนาแบรนด์และ บรรจุภัณฑ์ว่า โลโก้ของภูโคลนจะเป็นรูปจองพารา 3 ชั้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด แม่ฮอ่ งสอน เป็นการบ่งบอกถึงแหล่ง ก�ำเนิดของสินค้า ส่วนบรรจุภณ ั ฑ์จะ เน้นสีพนื้ เป็นสีดำ� (โคลน) และสีขาว (น�้ำแร่ธรรมชาติ) เป็นสีหลัก เพื่อเป็นการตอกย�้ำให้ ผู้บริโภครู้ถึงแหล่งที่มาของตัวสินค้า “โครงการต้นกล้า ทู โกล เป็นโครงการที่ บริษทั ได้รว่ มกิจกรรมกับกรมส่งเสริมการส่งออก ผ่าน การเป็นสมาชิก DITP SME CLUB ซึ่งเป น็ โครงการ ที่พร อ้ มจะช่วยแนะน�ำเรื่องการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ แผนการตลาด การวิเคราะห์คู่แข่งขัน และช่องทาง การจัดจ�ำหน่ายในต่างประเทศ อีกทั้งผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่ที่เข้ามาร่วมโครงการนี้จะช่วยเหลือ และ พร อ้ มทีจ่ ะเป น็ ห่วงโซ่ทางธุรกิจซึง่ กันและกัน นับว่า เป็นการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้กบั เราด้วย อยาก จะเชิญชวนผูป้ ระกอบการ SMEs ทีก่ ำ� ลังมองหาตลาด ให ก้ บั ผลิตภัณฑ์ของบริษัทให้เข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่ง สิ่งที่ได้รับมีมากกว่าเสียแน่นอน” คุณวัชรพงศ์ กล่าว ทิ้งท้าย สนใจผลิตภัณฑ์ภูโคลน ติดต่อได้ที่ ภูโคลน คันทรี คลับ 132 ม.2 ต.หมอกจ�ำแป่ อ.เมือง จ.แม่ฮอ่ งสอน 58000 โทร. 0-5328-2579 หรือ www.phuklon. co.th

ชี้ช่องส่งออก SMEs


ชี้ช่องส่งออก

กฎหมายความปลอดภัยด้านอาหารของอเมริกา ผลกระทบต่อผู้นำ�เข้า

หรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่น�ำเข้าอาหาร ร้อยละ 15 ของอุปทานอาหารทัง้ หมดของสหรัฐฯ โดยกว่า 75% เป็นอาหารทะเล และกว่า 60% เป็นผักผลไม้สด โดยปริมาณอาหารที่น�ำเข้าได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วใน ระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมา กฎหมายของความ ปลอดภัยด้านอาหารจึงมีความส�ำคัญอย่างยิง่ ต่อความ เปลีย่ นแปลงในการน�ำเข้าอาหารในสหรัฐอเมริกา โดย การมีกฎหมายใหม่จะส่งผลกระทบต่อผู้ที่ท�ำการผลิต เกษตรกรและผู้ปลูก ผู้ที่ท�ำการขนส่ง ผู้น�ำเข้า ห้อง ทดลอง บุคคลที่สามที่เป็นหน่วยรับรอง และรัฐบาล ต่างประเทศ Dr. James Marsden จากมหาวิทยาลัย แคนซัสสเตท กล่าวบรรยายเกีย่ วกับกฎหมายของความ ปลอดภั ย ด้ า นอาหาร (FSMA) แห่ ง ประเทศ สหรั ฐ อเมริ ก าและผลกระทบที่ มี ต ่ อ ผู ้ น� ำ เข้ า ใน งาน 2012 Conference on Food Safety ว่า “แนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหารมีปจั จัยหลายประการ อาทิ แหล่งจัดหาอาหารทั่วโลก การเปลี่ยนแปลงด้าน วิทยาศาสตร์ ความคาดหวังของผู้บริโภค ภัยคุกคาม ใหม่ๆ อิทธิพลของสือ่ ต่างๆ ขณะทีม่ คี วามก้าวหน้าและ ปรับปรุงในการตรวจจับสัญญาณสุขภาพของประชาชน (PulseNet) และมีรายงานความต้องการล่าสุดด้านกฎ ระเบียบของการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์อาหารพาณิชย์ (The Reportable Food Registry) รวมถึงการ ปรับปรุงกระแสทางการสื่อสารและเชื่อมต่อระหว่าง หน่วยงานก�ำกับดูแลทั่วโลก” การเปลี่ ย นแปลงของความปลอดภั ย ด้ า น อาหาร มีผลกระทบที่ส�ำคัญกับอุตสาหกรรม ทั้งความ เสียหายให้กบั แบรนด์ การก�ำกับดูแลกฎระเบียบเพิม่ เติม อาทิ การเรี ย กคื น ตั ว อั ก ษรค� ำ เตื อ น แจ้ ง เตื อ น การน�ำเข้า และกฎหมายของความปลอดภัยด้านอาหาร (FSMA) ซึ่งมีการลงนามกฎหมายในวันที่ 4 มกราคม 2011 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดของระบบ

ความปลอดภัยของอาหารตั้งแต่ปี 1938 ซึ่งเป็นการ สะท้อนให้เห็นถึงความเสี่ยงตามแนวทางบูรณาการ ระบบทั่ ว โลก โดยมี ข ้ อ ก� ำ หนดที่ ค รอบคลุ ม ถึ ง การ ป้องกัน การตรวจสอบและมาตรฐาน การตอบสนอง ความปลอดภัยของการน�ำเข้า และความร่วมมือที่เพิ่ม ขึน้ ส�ำหรับแผนความปลอดภัยด้านอาหาร เริม่ จากการ วิเคราะห์อันตราย (Hazard Analysis) การควบคุม ป้องกัน (Preventive Controls) การตรวจสอบ (Monitoring) การด�ำเนินการให้ถูกต้อง (Corrective Actions) การตรวจสอบ (Verification) และการ วิเคราะห์ใหม่อีกครั้ง (Reanalysis) ความเปลีย่ นแปลงดังกล่าวท�ำให้ผนู้ ำ� เข้าต้อง มีการตรวจสอบและรับรองจากองค์กรหรือบุคคลอื่น และมีมาตรฐานในสินค้าประเภทอาหารมากขึ้นใน สหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้ส่งออกไทย จ� ำเป็ น ต้ องศึ ก ษากฎระเบี ย บและปฏิ บัติ ต ามอย่ า ง เคร่งครัด เพื่อให้สินค้าอาหารไทยครองตลาดอเมริกา ได้ยั่งยืนต่อไป ทีม่ าข อ้ มูล: Dr. James Marsden. การบรรยายเรือ่ ง “กฎหมาย ของความปลอดภัยด้านอาหาร (FSMA) แห่งประเทศ สหรัฐอเมริกาและผลกระทบที่มีตอ่ ผู น้ �ำเข า้ ”. งาน 2012 Conference on Food Safety. วันที่ 6 มีนาคม 2555. ชี้ช่องส่งออก SMEs 11


SMEs Logistics

ท่าเรือระนอง ทางเลือกหนึ่ง ของการค้าไทยสู่ตลาดโลก (ตอนจบ)

มื่อฉบับที่แล้ว ได้น�ำเสนอข้อมูลของท่าเรือระนองกับ โอกาสที่ จ ะท� ำ ให้ ก ารค้ า ไทยสู ่ ต ลาดโลก แม้ จ ะมี อุปสรรคในเรือ่ งเส้นทางแต่กย็ งั มีโอกาส หากทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นแรงผลักดัน ซึ่งฉบับนี้จะเสนอ ในมุมมอง คุณอโศก อุปัทยา ในฐานะที่เป็นตัวแทนจาก สภาอุตสาหกรรม และเป็นผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์จากการท�ำ ธุรกิจกับอินเดีย โดยใช้ท่าเรือระนองเป็นเส้นทางหนึ่ง ท่าเรือระนองนั้นมีความเหมาะสมที่จะขนส่ง สินค้าไปยังอินเดีย บังคลาเทศ และพม่า เนื่องจากตั้งอยู่ ในพื้นที่เหมาะสม การขนส่งสินค้าไปยังประเทศในฝั่ง ตะวันตกของไทย ตามนโยบาย Look West เป็นตลาดที่ ก�ำลังเติบโตอย่างมีศักยภาพ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐต้อง มีการส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมที่จะมาสนับสนุนการใช้ ท่าเรือระนอง โดยเฉพาะในการเปิดประเทศของพม่าจะ ท�ำให้มกี ารลงทุนเพือ่ ใช้ทรัพยากรในพม่า เช่น การลงทุน ขุดเจาะน�้ำมัน ซึ่งจะท�ำให้พม่าต้องการใช้แท่นขุดเจาะ น�ำ้ มัน แรงงาน และใช้เหล็กจ�ำนวนมาก ไทยมีเหล็กรูปพรรณ ที่สามารถน�ำไปใช้ได้ แต่ในปัจจุบันเป็นการส่งออกจาก ระยอง ทว่ า หากการวางต� ำ แหน่ ง ของไทยเป็ น ศู น ย์ การแปรรูปอุตสาหกรรมเหล็กเข้าสู่ประเทศพม่า เพื่อไป ท�ำแท่นขุดเจาะน�้ำมัน และสนับสนุนโครงการด้านการค้า การลงทุนต่างๆ ซึ่งไทยมีศักยภาพมากกว่า นอกจากการรองรั บ การเติ บ โตของพม่ า ใน อนาคต คุณอโศกยังเสนอให้มีการจับคู่ระบบโลจิสติกส์ เพื่อจะรองรับสินค้าจากทางด้านตะวันออก เช่น ระยอง ชลบุ รี เพื่ อ ส่ ง ออกไปยั ง อินเดีย เนือ่ งจากตอนนีช้ นิ้ ส่วน ยานยนต์ (autopart) ใน อินเดียก�ำลังเจริญมาก จาก ประสบการณ์ของคุณอโศกที่ เคยเป็นซีอีโอของบริษัทไทย ซัมมิตในอินเดียท�ำให้ทราบว่า คุ ณ ภาพการผลิ ต ชิ้ น ส่ ว น คุณอโศก อุปัทยา ยานยนต์ในอินเดียยังสู้ไทยไม่

12

ชี้ช่องส่งออก SMEs

ได้ การใช้ ท ่ า เรื อ ระนองเพื่อเป็นการ ลดต้นทุนการขนส่ง ไปสู่อินเดีย จะช่วย ให้มบี ริษทั อินเดียเข้า มาลงทุนท�ำชิ้นส่วน ยานยนต์ เ พิ่ ม ขึ้ น ได้ อีก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การเจรจาการค้าและ การวางต�ำแหน่งของอุตสาหกรรมทีจ่ ะเข้ามาระนองด้วย ในช่วงประมาณเดือนมิถุนายน 2012 จะมีการ ประกาศ FTA การลงทุน ระหว่างไทย-อินเดีย ซึง่ คุณอโศก ให้ความเห็นว่า จะมีบริษัทอินเดียมาแสวงหาประโยชน์ จากเอฟทีเอนี้ เพราะการลงทุนระหว่างกันจะเสรีมากขึน้ หากแต่ขึ้นอยู่กับการดึงผู้ประกอบการอินเดียมาลงทุนที่ ระนองได้หรือไม่ ภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่จะต้องร่วมกับภาค เอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรม และสภาหอการค้าร่วม เจรจาตกลง เพื่อจัดท�ำเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเริ่ม แรกอาจจะเน้นเรื่องการท่องเที่ยว เพื่อวางต�ำแหน่งของ ท่ า เรื อ ระนอง โดยใช้ ก ลไกทางด้ า นกฎหมายในการ ส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ แล้วให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี คุณอโศกยังให้ข้อสังเกตว่า ประเทศอินเดีย เป็นประเทศเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกและเป็น ประเทศก�ำลังพัฒนา ประกอบกับคนอินเดียนิยมและ บริโภคสินค้าไทย โดยหากท่าเรือระนองได้รับการพัฒนา และส่ ง เสริ ม ในทุ ก ภาคส่ ว น ก็ จ ะเป็ น โอกาสและ ทางเลือกหนึ่งของระบบโลจิสติกส์ เพื่อรองรับสินค้าไทย สู่ตลาดโลก ทีม่ าข อ้ มูล : เสวนาเรือ่ ง “โอกาสและศักยภาพเส้นทางการ ขนส่งสินค้าสู่อินเดีย”. งานสัมมนาเผยแพร่ผลการศึกษาเรื่อง “เส้นทางการขนส่งสินค้าจากจีนตอนใต้-ไทย-อินเดีย”. ห้อง ประชุม 30410 ส�ำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์. 1 มีนาคม 2555.


ชี้ช่องส่องทาง ปัจจุบันโลกของธุรกิจมีการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ กอปรกับต้องประเมินความได้เปรียบกันนาที ต่อนาที ซึ่งการค้าขายกับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศต้องอาศัยความสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งรูปแบบ การค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ ช่องทางการกระจายสินค้า ดังนั้นผู้ส่งออกทราบหรือไม่ว่ารูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง?

คำ�ถาม ที่หนึ่ง

คำ�ตอบ 1. Business to Business (B2B) คือ ตลาดกลางซือ้ ขายสินค้า ระหว่าง ผูท้ ที่ ำ� ธุรกิจด้วยกันเอง โดยลักษณะ การค้าขาย จะเป็นการค้าระหว่าง ธุรกิจกับธุรกิจโดยตรง เช่น การซือ้ สินค้า หรือ วัตถุดบิ จากผูผ้ ลิต เพือ่ น�ำไปแปรรูป หรือน�ำไปขายยังผู้บริโภคคนสุดท้าย (end user) โดยลักษณะการซื้อสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อในปริมาณมาก 2. Business to Consumer (B2C) คือ การขายสินค้าไปยังผูบ้ ริโภคทัว่ โลกโดยตรง โดยบริษทั หรือองค์กร ธุรกิจที่ขายด้วยวิธีนี้ จะตัดตัวกลาง ไม่ว่าเป็นผู้น�ำเข้า ผู้จัดจ�ำหน่าย พ่อค้าส่ง และพ่อค้าปลีกออกหมด ทั้งนี้เพื่อ ต้องการท�ำก�ำไรได้มากขึน้ ในขณะเดียวกันก็สามารถขายสินค้าได้ถกู ลงด้วย เนือ่ งจากไม่ตอ้ งแบ่งก�ำไรให้พอ่ ค้าคนกลาง 3. Business to Government (B2G) คือ การท�ำธุรกรรมระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ หรือทีเ่ รียกว่า eGovernment Procurement โดยส่วนใหญ่จะเป็นการจัดซือ้ จัดจ้างของภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในประเทศทีร่ ฐั บาล มีการน�ำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกาจะท�ำการประกาศ และจัดซื้อครุภัณฑ์โดยใช้ ระบบอีดีไอ ผู้ที่สนใจจะค้าขายด้วยนั้นต้องสามารถใช้ระบบอีดีไอในการรับส่งข้อมูลได้ 4. Government to Consumer (G2C) คือ การให้บริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบัน ในประเทศไทยมีการให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่น การค�ำนวณและเสียภาษีผา่ นอินเทอร์เน็ต การประมูลสินค้า ออนไลน์ การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น ข้อมูลการติดต่อการท�ำทะเบียน ต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐาน อะไรบ้างในการท�ำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากบนเว็บไซต์ได้ 5. Consumer to Consumer (C2C) คือ การติดต่อระหว่างผูบ้ ริโภคกับผูบ้ ริโภค มี หลายรูปแบบและหลายวัตถุประสงค์ เช่น เพือ่ การติดต่อแลกเปลีย่ นข้อมูล ข่าวสาร ในกลุม่ คนที่ มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะท�ำการแลกเปลีย่ นสินค้ากันเอง และขายของมือสอง เป็นต้น

คำ�ถาม ที่สอง

Thaitrade.com คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรกับผู้ส่งออก?

คำ�ตอบ

·‹ÒÂ×¹á¹Ð¹Ó Thaitrade.com คือ ตลาดกลางซือ้ ขายสินค้า online ผ่านทางระบบพาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ซึง่ เป็นการซือ้ ขายสินค้าทีจ่ ดั อยูใ่ นรูปแบบของ B2B E-Marketplace เพือ่ การส่งออกและเพือ่ จัดหาแหล่งวัตถุดบิ โดย การซือ้ ขายประเภทนีเ้ ป็นลักษณะการซือ้ ขายแบบค้าส่ง (Wholesale) หรือสัง่ ซือ้ สินค้าครัง้ ละเป็นจ�ำนวนมาก ซึง่ เป็น โครงการของส�ำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก นอกจากนี้ Thaitrade.com ยังเป็นช่องทางส่งเสริมส�ำหรับผู้ส่งออกให้มีโอกาสกระจายสินค้าไปสู่ผู้ซื้อทั่ว โลกตลอด 24 ชั่วโมงผ่านทางระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ในขณะเดียวกันยังสร้างภาพลักษณ์และ ความน่าเชือ่ ถือให้กบั ผูส้ ง่ ออก ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมเพือ่ เข้าสูโ่ ลกพาณิชย์อเิ ล็กทรอนิกส์ในยุคโลกาภิวตั น์ และเพิ่มช่องทางให้ผู้ส่งออกพร้อมรุกกับตลาด AEC ในปี 2558 ส�ำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถสมัครเข้ามาใช้ บริการได้ฟรี ที่เว็บไซต์ www.thaitrade.com หรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ DITP Call Center 1169 ข้อมูลโดย ส�ำนักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก

ชี้ช่องส่งออก SMEs 13


Activities update

ขอเชิญผูป ระกอบการเขา สมัครรับการคัดเลือกเพือ่ รับรางวัล Prime Minister’s Export Award ประจำ�ป 2555 ซึ่งรางวัลแบงออกเปน 5 ประเภท ไดแก 1. ประเภทผูสงออกไทยดีเดน (Best Exporter) 2. ประเภทที่ใชตราสินคาของตนเอง (Thai-Owned Brand) 3. ประเภทสินคาที่มีการออกแบบดี (Design Excellence Award หรือ DEmark) 4. ประเภทธุรกิจบริการสงออก (Best Service Provider) 5. ประเภทสินคา หนึง่ ตำ�บล หนึง่ ผลิตภัณฑ ทีม่ กี ารออกแบบและคุณภาพดี (OTOP Export Recognition) ผูใ ดสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดไดท ี่ สำ�นักสง เสริมมูลคา เพิม่ เพือ่ การสง ออก กลุม งาน สงเสริมการสรางสินคาตราไทย โทร. 0-2507-8271 ในวัน และเวลาราชการ หรือทางเว็บไซต www. pmexportaward.com หรือที่ www.ditp.go.th กิจกรรมพัฒนาผูประกอบการไทย หมดเขตรับใบสมัครวันที่ 15 พฤษภาคม 2555 งานแสดงสินค้าอาหาร (THAIFEX- World of Food Asia 2012) วันเจรจาธุรกิจ 23 - 25 พฤษภาคม 2555 เวลา 10.00 – 18.00 น. วันจ�ำหน่ายปลีก 26 – 27 พฤษภาคม 2555 เวลา 10.00 - 20.00 น. ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี

บอกเล่าเก้าสิบ

สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก ได้กำ�หนดจัดกิจกรรมให้กับสมาชิก DITP SMEs Club โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาองค์ความรู้ด้านการส่งออก และการบริหารทางด้านการเงิน และสร้างเครือข่ายธุรกิจระหว่างสมาชิกให้สามารถทำ�การค้าระหว่างประเทศ ซึ่งสำ�นักฯ ได้กำ�หนด จัดในวันที่ 30-31 พ.ค. 2555 ส่งรายละเอียดโดยตรงถึง สมาชิก DITP SMEs Club จำ�นวนเพียง 50 ราย เท่านั้น ช่องทางหนึง่ สำ�หรับการอ่านจุลสารชีช้ อ่ งส่งออก สามารถสืบค้นได้ทเี่ ว็บไซต์กรมส่งเสริม การส่งออก www.ditp.go.th กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการไทย DITP SMEs Club ท่านผู้ประกอบการท่านใด สนใจสมัครเป็นสมาชิกกรมส่งเสริมการส่งออก ประเภท DITP SMEs Club สามารถขอรับเอกสารใบสมัครได้ที่ สำ�นักส่งเสริมธุรกิจ SMEs เพื่อการส่งออก กรมส่งเสริมการส่งออก อาคาร 2 กระทรวงพาณิชย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 0-2507-8162-63, 0-2507-8166-68 ในวันและเวลาราชการ หรือทาง E-Mail: depsmeclub@ gmail.com กรมส่งเสริมการส่งออก ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาผู้ส่งออก ประจำ�ปี 2555 อาทิ กิจกรรมงานแสดงสินค้าในประเทศ/ต่างประเทศ และกิจกรรมการฝึกอบรม/สัมมนาการค้าระหว่าง ประเทศ ท่านสามารถเข้าไปสืบค้นได้ที่เว็บไซต์ www.ditp.go.th งานแสดงสินค้าในประเทศ และต่างประเทศ สำ�นักกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกเป็นผูด้ แู ล (บางกระสอ) หรือสอบถามข้อมูลเพิม่ เติม ได้ที่ หมายเลข 0-2507-7842 ในวัน และเวลาราชการ ส่วนกิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการไทย สถาบันฝึกอบรมสัมมนาการค้าระหว่างประเทศเป็นผู้ดูแล สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันฝึก อบรมการค้าระหว่างประเทศ (ถนนรัชดาภิเษก) หมายเลข 0-2512-0093-104 ต่อ 326, 329, 358 และ 360 ในวัน และเวลาราชการ

• • •

14

ชี้ช่องส่งออก SMEs


โครงสร้างประชากร...คู่มือเจาะตลาดอาเซียน (ตอนจบ) ในตอนที่แล้ว ได้เล่าให้ฟังถึงโครงสร้างประชากรของ อาเซียนที่จะใช้เป็นข้อมูลส�ำคัญในการเจาะตลาด ไปบ้างแล้ว ใน ฉบับนี้จะขยายความต่อถึงรายได้ประชากรในอาเซียน ซึ่งก็เป็น ข้อมูลส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในการก�ำหนดความต้องการ บริโภคสินค้าในตลาดอาเซียน เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวสามารถ บ่งบอกถึงก�ำลังซื้อของผู้บริโภคในแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ซึ่งผู้ประกอบการ SMEs สามารถน�ำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบ การวางแผนเพื่อก�ำหนดต�ำแหน่งสินค้า (Product Positioning) เพื่อเข้าสู่ตลาด และตั้งราคาสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับความ สามารถในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในแต่ละประเทศได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากข้อมูลของธนาคารโลก (พฤศจิกายน 2554) ระบุ ว่าสิงคโปร์และบรูไนจัดอยูใ่ นกลุม่ ประเทศทีม่ รี ายได้สงู (มีรายได้ ตั้งแต่ 12,276 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีขึ้นไป) สะท้อนก�ำลังซื้อ ของผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูง ท�ำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมบริโภค สินค้ายี่ห้อต่างประเทศ รวมถึงสินค้าที่ช่วยอ�ำนวยความสะดวก ในชีวิตประจ�ำวัน โดยมักค�ำนึงถึงคุณภาพและความทันสมัยของ สินค้าเป็นส�ำคัญ ขณะทีม่ าเลเซียจัดอยูใ่ นกลุม่ ประเทศทีม่ รี ายได้ ปานกลาง-สูง (มีรายได้อยูร่ ะหว่าง 3,976-12,275 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี) ทัง้ นี้ ผูบ้ ริโภคชาวมาเลเซียทีอ่ ยูใ่ นวัยท�ำงานส่วนใหญ่ มักให้ความสนใจสินค้าไอทีมาก สะท้อนได้จากการใช้จ่ายเพื่อ ซื้อสินค้าดังกล่าวที่อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับการใช้จ่ายด้าน อื่นๆ นอกจากนี้ อาหารส�ำเร็จรูปและอาหารพร้อมรับประทาน ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นจากวิถีชีวิตของชาวมาเลเซียที่เร่งรีบ ขึ้น ส�ำหรับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และ สปป.ลาว

สาระน่ารู้ จาก

จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต�่ำ (มีรายได้อยู่ ระหว่าง 1,006-3,975 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี) ขณะที่กัมพูชา และพม่า จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต�่ำ (มีรายได้ไม่เกิน 1,005 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี) ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้มี ก�ำลังซื้อไม่มาก จึงไม่นิยมบริโภคสินค้าน�ำเข้าราคาสูง สินค้าที่ ได้รับความนิยมส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งจ�ำเป็นต่อ ชีวิตประจ�ำวันและเหมาะกับระดับรายได้ เป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่ม ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-ต�่ำ และกลุ่มประเทศที่มีรายได้ ต�่ำโดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ซึ่งประกอบด้วยกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนาม เป็นตลาดส่งออกที่ผู้ประกอบการไทยควร ให้ความส�ำคัญเป็นล�ำดับต้นๆ เนือ่ งจากเป็นตลาดทีค่ อ่ นข้างใหม่ และการแข่งขันยังไม่รนุ แรงมาก ประกอบกับผูบ้ ริโภคในประเทศ เหล่านี้นิยมใช้สินค้าน�ำเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากมองว่า เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและราคาไม่สูง ผู้ประกอบการจึงควรวาง กลยุทธ์การเจาะตลาดด้วยการส่งออกสินค้าที่มีราคาไม่สูงนัก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถใช้ความ ได้เปรียบจากการที่มีความยืดหยุ่นสูงในการปรับเปลี่ยนการผลิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละตลาด โดย เฉพาะกลุ่ม CLMV โดยใช้ประโยชน์จากการเป็น AEC ซึ่งจะมี ส่วนช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการ ไทย อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวและศึกษาช่อง ทางการเข้าสู่ตลาด ตลอดจนเพิ่มส่วนแบ่งตลาดแต่ละแห่ง โดย เฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูง เช่น อาหาร สินค้าเกษตรแปรรูป ชิ้นส่วนยานยนต์ และผลิตภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์

Disclaimer : ข้อมูลต่าง ๆ ทีป่ รากฏ เป็นข้อมูลทีไ่ ด้จากแหล่งข้อมูลทีห่ ลากหลาย และการเผยแพร่ขอ้ มูลเป็นไปเพือ่ วัตถุประสงค์ในการให้ขอ้ มูลแก่ผทู้ ส่ี นใจเท่านัน้ โดยธนาคารเพือ่ การส่งออกและนำ�เข้าแห่งประเทศไทยจะไม่รบั ผิดชอบในความเสียหายใดๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการทีม่ บี คุ คลนำ�ข้อมูลนีไ้ ปใช้ไม่วา่ โดยทางใด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ DITP Call Center 1169

ชี้ช่องส่งออก SMEs 15



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.