เที่ยวบางกอก ตอน วัดโพธิ์

Page 1

เที ย ่ ว บางกอก

เที ย ่ ว บางกอก

ตอน : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เรื่องและภาพ โดย ดนุนัย พลศรี


2

คำ�นำ� หนังสือชุด เที่ยวบางกอกเป็น หนังสือที่ รวบรวมความรู้ ความน่าสนใจเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในกรุง เทพที่ผ้เขียนไดไปเที่ยว และเก็บภาพรวบรวมข้อมูล มาเขียนเป็นหนังสือเพื่อให้ผู้อ่าน โดยให้ความรู้เกี่ยวสถานที่ นั้นๆ พร้อมภาพสวยๆอย่างเข้มข้น จนรุ้สึกอยากไปเที่ยวในทันที สุดท้ายผู้เขียนหวังว่า ท่านคงได้ความสนุก ความเพลิดเพลิน และไเ้รับความรู้จากหนังสือเล่มนี้ มีความ สุขกับการท่องเที่ยว แบบชิลล์ สไตล์เที่ยวบางกอก ดนุนัย พลศรี ผู้เขียน

ดนุนัย พลศรี เที่ยวบางกอก วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์). - กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร เกษมม, 2556 23 หน้า ปก-รูปเล่ม-คอมพิวเตอร์กราฟิก โดย ดนุนัย พลศรี


สารบัญ

เที ย ่ ว บางกอก

4แผนผัทีง่นี่คือ ? 6 พาชม 8 เกร็ดเก๋ๆ 20


4

ที่นี่คือ ?

เรามารู้จักวัดโพธิ์กัน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำ�คัญแห่งหนึ่งของ ประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำ�รัชกาลในรัชกาลที่ 1 ทั้งยังเปรียบเสมือน เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกความทรงจำ�โลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้น ทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำ�นวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำ�โลก ในทะเบียนนานาชาติ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำ�นวน ประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำ�คัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำ�พระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำ�ดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดย มีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน อู้หูววววว มั้ยหล่ะ แต่ละข้อมูล เริ่มอยากรู้กันแล้วใช่มั้ยจ๊ะ อ่านประวัติหน้า ถัดไปได้เลย


เที ย ่ ว บางกอก ประวัติมีอยู่ว่าวัดพระเชตุพนตามประวัติสร้างมาตั้งแต่ครั้งสมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการ สร้าง เดิมเรียกว่า “วัดโพธาราม” หรือ “วัดโพธิ์” ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้าง พระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2344 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” เป็นวัดประจำ�รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช นับจากนั้นวัดพระเชตุพนได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว และได้โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำ�ราต่าง ๆ ลงบนแผ่นหินอ่อนประดิษฐ์ไว้ตามศาลารายต่าง ๆ ครั้งถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แก้สร้อยนามพระอารามว่า “วัดพระเชตุพนวิมล มังคลารามราชวรมหาวิหาร” และภายในพระอารามยังได้เคยใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของพระนโรดม โดย นิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีทุกพระองค์ทรงถือว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงที่ มีความสำ�คัญมาก และทรงถือเป็นพระราชประเพณี ที่จะทรงบูรณะซ่อมแซมวัดนี้ทุกรัชกาล นอกจากนี้ วัดพระเชตุพน วิมลมังคลารามยังเป็นเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย เพราะเป็นแหล่งรวบรวมวิชาความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้ง ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม และการแพทย์ นามวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามนี้ ปรากฏในประกาศสมัยรัชกาลที่ 4 พ.ศ. 2411 ว่า “วัดนี้แม้จะมีนามพระราชทานมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 แต่ชื่อพระราชทานมีผู้เรียกแต่อยู่ในพระราชวัง คน ยังเรียกว่าวัดโพธิ์กันทั้งแผ่นดิน” และมีพระราชดำ�ริว่า “ชื่อพระราชทานเป็นชื่อตั้งไม่ปิดไม่แน่นจะคิดแปลงใหม่เห็นจะไม่ ชนะ” สุดยอดมั้ยล่ะท่านผู้อ่าน ไม่ธรรมดาเลยนะ กับที่เที่ยวของเราในเล่มนี้


6

แผนผัง


เที ย ่ ว บางกอก 1. Phra Ubosot - พระอุโบสถ 2. Ubosot-Wall (Kampaeng Kaeo) - กำ�แพงแก้ว 3. Eastern Viharn - พระวิหารทิศตะวันออก 4. Southern Viharn - พระวิหารทิศใต้ 5. Western Viharn - พระวิหารทิศตะวันตก 6. Northern Viharn - พระวิหารทิศเหนือ 7. Phra Prang - พระปรางค์ 8. Five Chedi on Single Base - พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว 9. Phra Chedi Rai - พระเจดีย์ราย 10. Phra Rabieng (Gallery) - พระระเบียง 11. L-shaped Viharn - พระวิหารคด 12. Model Hills - เขามอ 13. Phra Maha Chedi Group - พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล 14. Phra Mondop (Library) - พระมณฑป (หอไตรจตุรมุข) 15. Library Pavillon (Museum) - พระวิหารทิศพระนาคปรก (ห้องจัดแสดงโบราณวัตถุ) 16. Viharn of the Reclining Buddha - พระวิหารพระพุทธไสยาส 17. Sala Kan Parien (Preaching Hall) - ศาลาการเปรียญ 18. Misakawan Park (The Bodhi Tree) - สวนมิสกวัน 19. Crocodile Pond - สระจระเข 20. Belfry - หอระฆัง 21. “Crowned” Gate with Chinese Stone Giants - ซุ้มประตูทรงมงกุฎ และ ตุ๊กตาจีน 22. Thai Traditional Medical Science School - โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ และ การนวดแผนโบราณ 23. Sala Rai (Multipurpose Pavillon) - ศาลาราย


8

พาชม

เริ่มกันที่แรกเลยวิหารพระพุทธไสยาส สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่โปรดฯ ให้ขยาย พระอารามออกมาทางทิศเหนือ (เข้ามาซ้อนทับเขตวัดโพธารามเดิม ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้) โดยพระองค์โปรดให้พระองค์เจ้าลดาวัลย์ เป็นแม่กองในการก่อสร้าง โดยได้สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง โดยมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ บริเวณ ผนังของวิหารนั้น ด้านบนมีภาพเขียนสีเรื่อง มหาวงศ์ และผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพสีเกี่ยวกับพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่านและอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน อยู่ด้วยสวยงามมากๆ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐ ถือปูน ปิดทองทั่วทั้งองค์ สวยงามมากๆ และมีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ ได้แก่ พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน โดยที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ตรงกลางเป็นรูปจักรตามตำ�รามหาปุริสลักขณะ โดยลวดลายของมงคล 108 ประการนั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่าง คติความเชื่อที่รับมาจากชมพูทวีปและจีน ใครไปไหว้ขอพรจะเจริญรุ่งเรืองมากๆขอบอก


เที ย ่ ว บางกอก


10


เที ย ่ ว บางกอก

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำ�แพง

แก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดี นั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ ประกอบด้วย“พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ” องค์พระเจดีย์ ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหา เจดีย์ประจำ�รัชกาลที่ 1 องค์ที่สองมีนามว่า “พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน” ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว สร้างขึ้น เพื่อพระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำ�รัชกาลที่ 2 องค์ที่สามมีนามว่า “พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน” ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดย นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำ�รัชกาลที่ 3 องค์ที่สี่มีนามว่า “พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย” เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดย องค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ไดประดับด้วย กระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำ�เงินเข้ม นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำ�รัชกาลที่ 4 สวยงามและยิ่งใหญ่มาก ไปชมทีไรต้องหลบทางให้ ฝรั่งถ่ายภาพเพราะมันเป็นอะไรที่อเมซิ่งสำ�หรับพวกเขามากๆ


12

เขตพระอุโบสถ

เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่ พระอุโบสถภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมา จากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่) เข้มข้น ไปด้วยความรู้จริงๆ พระวิหารทิศ พระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำ�คัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้า และมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออก เป็น 4 ทิศได้แก่ พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ (ซึ่งทรุดโทรมไม่มากนัก) พระ วิหารทิศตะวันตก (ทิศนาคปรก) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมือง สุโขทัย โดยได้อัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช พระวิหารทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลย) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธปาลิไลย เป็น พระพุทธรูปปางป่าเลไลย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ พระวิหารทิศใต้ (ทิศปัญญจ วัคคีย์) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย ผู้เขียนได้เข้าไป กราบศํกการะขอพร ที่เด็ดคือเซียมซี ไปลองแล้วจะรู้


เที ย ่ ว บางกอก


14


เที ย ่ ว บางกอก

ยักษ์วัดโพธิ์ หลายคนคงเคยได้ยินตำ�นานเรื่องยักษ์วัดโพธื์ ยักษ์วัดโพธิ์นั้นตั้งอยู่ที่ซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตา สลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์[8]นอกจาก นี้ ยังมีตำ�นานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำ�ให้เกิดท่าเตียนในปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำ� หน้าที่ดูแลวัดโพธิ์และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำ�หน้าที่ดูแลวัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้ง ไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำ�หนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตน จึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โตและพละกำ�ลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึง ทำ�ให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระ อุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา


16

มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย โดยเมื่อมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่ในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาแขนง ต่าง ๆ จารึกลงบนศิลาจารึกหรือแผ่นศิลา รวมทั้งได้ปั้นฤๅษีดัดตน ประดับไว้ภายในบริเวณวัด ซึ่งอาจจะแบ่งความรู้ ต่าง ๆ ออกได้เป็น 8 หมวด ได้แก่ หมวดประวัติการสร้างวัดพระเชตุพนฯ หมวดตำ�รายาแพทย์แผนโบราณ หมวด อนามัย หมวดประเพณี หมวดวรรณคดีไทย หมวดสุภาษิต หมวดทำ�เนียบ (จารึกหัวเมืองขึ้นของกรุงรัตนโกสินทร์ตอน ต้น) และหมวดพระพุทธศาสนา โดยเมื่อเทียบในปัจจุบันอาจจะแบ่งออกเป็นคณะต่าง ๆ ดังนี้ คณะประวัติศาสตร์ คณะ ศิลปกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ เที่ยวทั้งทีต้องได้ความรู้กลับไป


เที ย ่ ว บางกอก


18


เที ย ่ ว บางกอก รูปปั้นฤๅษีดัดตน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการ แพทย์แผนโบราณและศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำ�นวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำ�นวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อ รูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจาก นี้ยังมีการแต่งโคลงสี่สุภาพเพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตนทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อน ย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น ไปดูแล้วหัดทำ�ตามได้นะ เพื่อสุขภาพ


20

เกร็ดเก๋ๆ

อับเฉา รูปสลักหินจีนทั้งหลายที่ตั้งประดับตามซุ้มประตูและที่ต่างๆ มีทั้งสลักจากหินและปูนปั้น โดยหลายคนอาจจะไม่รู้ว่ารูปสลักหินจีน เหล่านี้ มีชื่อเรียกว่า ตัวอับเฉา หรือ เครื่องอับเฉา (Chinese Ship Ballast) ตัวอับเฉานั้น มีต้นกำ�เนิดจากการค้าสำ�เภา (การค้าขายสินค้าด้วยเรือสำ�เภาเดินทะเล) ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยเมื่อ ประเทศไทยจะส่งสินค้าไปขายยังเมืองจีนหรือยังต่างประเทศนั้น สินค้าจะเป็นพวก ไม้สัก ข้าวสาร งาช้าง ดีบุก พลวง ไม้ เครื่อง เทศ ซึ่งเป็นของมีน้ำ�หนัก หากไปค้าขายที่เมืองจีน เมื่อขายสินค้าแล้ว ขากลับก็จะซื้อสินค้าจากเมืองจีน (หรือจากประเทศคู่ค้า) กลับมา เป็นพวกผ้าแพร ผ้าไหม แร่ทอง แร่เงิน ไขมุก ซึ่งมีราคสูงและมีน้ำ�หนักเบา ซึ่งเรือสำ�เภาที่จะแล่นฝ่าคลื่นลมในทะเลได้ นั้นต้องมีน้ำ�หนักพอสมควร มิฉะนั้นเรือจะโคลงแล่นฝ่าคลื่นลมมาไม่ได้ จึงต้องมีการถ่วงน้ำ�หนักใต้ท้องเรือ โดยมีการใส่อับเฉามา ใต้ท้องเรือ อับเฉา ในยุคแรกๆ จะมีลักษณะเป็นแท่งหินยังไม่มีการทำ�เป็นตุ๊กตาหิน โดยนำ�ไปใช้เป็นแท่งหินปูพื้นทำ�ถนนทางเดิน ณ พระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน ซึ่งเชื่อว่าเพื่อนๆ หลายคนที่อ่านอยู่นี้ก็คงได้เหยียบมาแล้วโดยไม่รู้ว่าเรากำ�ลังเหยียบอับเฉพาะที่มี ประวัติมายาวนาน ต่อมามีการนำ�ตุ๊กตาหินมาใส่เป็นตัวอับเฉา ซึ่งตอนแรกๆ นั้น ทางจีนทำ�มาอย่างไร เราก็ซื้อมาตามนั้น แต่ ภายหลังมีการออกแบบจากไทยไปให้ช่างจีนทำ�ตุ๊กตาหินตามสั่ง ซึ่งตุ๊กตาหินเหล่านั้นได้นำ�มาตั้งตกแต่งพระอาราม พระราชวัง วัง หรือบ้านผู้มียศศักดิ์ โดยสลักเป็นรูปต่างๆ ทั้งรูปคน ฝรั่ง จีน เทพเทวดา และรูปสัตว์


เที ย ่ ว บางกอก ตุ๊กตารูปสิงโตคาบแก้ว

รูปสลักสิงโตนิยมตั้งประทับที่เชิงบันได หรือหน้าประตูทางเข้าออกตาม แต่ขนาด ในปากมีหินก้อนกลมเล็กๆ สามารถเอามือสอดเข้าไปกลิ้งเล่นได้ มีตำ�นานเล่าว่า ถ้าใครสา มารถเอาลูกแก้วออกจากปากของสิงห์ได้ จะเป็นผู้มีบุญญาบารมี แต่จริงๆ เอาออกไม่ได้นะจ๊ะน่าจะเป็น กุศโลบายให้คนมาเข้าวัดมากกว่า ลองแวะไปเล่นดูได้ ผู้เขียนคิดว่ามัน่นารักดี


22


เที ย ่ ว บางกอก

ลั่นถันหมายถึงรูปจำ�หลักหินที่เป็นรูปคนต่างๆทั้งที่เป็นขุนนาง ฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น ซึ่งเรียกกันว่าตัวงิ้วขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ โดยมักนำ�มาวางไว้ตรงช่องทางเข้าออกหรือประตูอาคาร สถาปัตยกรรม สำ�หรับตัวงิ้วหรือลั่นถันนี้ ในประเทศ จีนมักนำ�ไปตั้งตามสุสานเพื่อรับใช้ร่างที่ฝังอยู่ในสุสานนั้นทั้งยังปกป้องไม่ให้สิ่งเลวร้ายมารบกวน ดวงวิญญาณคนตายด้วย ลั่นถันที่พบเรียงรายตลอดทางเข้าสุสาน เป็นรูปจำ�หลักหินขุนนางฝ่ายบู๊และฝ่ายบุ๋น ซึ่งพบเห็นได้ตามภาพที่แนบมานี้ เป็นทาง เข้าสุสานแห่งราชวงศ์หมิง ในวัดตุ๊กเหล่านี้เป็นทวารบาลเฝ้าประตูสามารถพบเจอได้เกือบทุกที่ของวัด และคนมักเข้าใจผิดว่า เป็นยักษ์วัดโพธิ์เนื่องจากลั่นถันบางตัวมีขนาดใหญ่มากๆ

เดินเที่ยวมาจนเหนื่อยและ อยากบอกว่าวัดโพธิ์มีชื่อเสียงเรื่องการนวดแผนไทยมากๆนะ มาลองดูได้ ฝรั่งติดใจตรึม คลายปวดเมื่อยได้ดีแท้เชียว ผู้เขียน ขอจบการเที่ยวไว้เพียงเท่านี้ หวังว่าสาระและความรู้ที่ได้รับจะทำ�ให้ท่านผู้อ่านได้ ความรู้ และอยากออกไปเที่ยวมากขึ้น โปรดติดตามหนังสือ เที่ยวบางกอกเล่มอื่นๆ ด้วยสนุกไม่กัน ไทยเที่ยวไทยเงินทองไม่รั่วไหล ช่วย ไทย ช่วยชาตินะจ๊ะสวัสดี


24

เที ย ่ ว บางกอก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.