คู่มือครู การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กเล็ก

Page 1

คู่มือครู

การป้องกันการล่วง ละเมิดทางเพศในเด็กเล็ก

ศูนย์วิจัยร่วมองค์การอนามัยโลก ภาควิชาสูติ-นารีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ชื่อหนังสือ ผู้แต่ง พิมพ์ครั้งที่ ปีที่พิมพ์ จัดพิมพ์โดย

การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กเล็ก ไพลิน ศรีสุขโข วิภาดา เอี่ยมแย้ม จิตราภรณ์ บุญถนอม 2 2562 ศูนย์วิจัยร่วมองค์การอนามัยโลก ภาควิชาสูติ-นารีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


คานา การล่วงละเมิดทางเพศเป็นเรื่องสาคัญทั้งในเด็กผู้หญิงและในเด็กผู้ชาย แต่คนส่วนมากมักจะ ไม่คิดว่าเป็นสิ่งสาคัญ ทั้งนี้เพราะไม่มีรายงานของเด็กที่ถูกกระทาอย่างต่อเนื่องทาให้สังคมไม่ได้รับ ข้อมูลที่แท้จริงว่าการกระทานี้มีมากน้อยเพียงใด และมีผลกระทบต่อผู้กระทาอย่างไรทั้งในปัจ จุบัน และอนาคต พ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กเองก็ไม่ตระหนักถึงภัยนี้เพราส่วนมากคิด ว่า เหตุการณ์เหล่านี้ไม่ น่าจะเกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ มักจะห่วงบุตรหลานที่เข้าสู่วัยรุ่นมากกว่า

อย่างไรก็ตามถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองเข้าใจถึงความสาคัญของปัญหานี้และช่วยดูแลความปลอดภัย ของบุต รหลาน ตลอดจนให้ความรู้และการใช้ทักษะในการดูแลตนเองแก่บุต รหลาน นอกจากการ เรียนรู้จากโรงเรียนแล้ว ก็จะเป็นทางที่จะช่วยให้เด็กมีความปลอดภัยมากขึ้น และเป็นการเสริมสร้าง ให้เด็กเล็กคิดถึงความปอลดภัยในชีวิตประจ าวันของตนเองมากยิ่งขึ้น และติด เป็นนิสัยในการดูแล ตนเองให้ปลอดภัยให้ปลอดภัยจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ต่อไปในอนาคตด้วย คณะผู้จัดทา


การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กเล็ก สภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว กลายเป็นสังคมเมือง ในขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ซึ่งเพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัญหาเรื่องเพศเป็นปัญหาสาคัญหนึง่ ที่เป็นปัญหาที่ทวี ความรุนแรงขึ้น จากข้อมูลทั้งภาครัฐและเอกชนที่แสดงการเพิ่มขึ้นของปัญหาเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ เช่น สถิติ ของสานักงานตารวจแห่งชาติคดีอาญาที่ได้รับแจ้งทั่วประเทศเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศในปี พ.ศ.2538 - 2548 พบว่ามีเป็นจานวนมากตามลาดับดังนี้ 3,775 ราย 3,590 ราย 3,741 ราย 3,540 ราย 3,937 ราย 4,036 ราย 3,857 ราย 4,445 ราย 4,820 ราย 5,052 ราย และ 5,065 ราย จะเห็นได้ว่าผู้ที่ถูกล่วงละเมิดมีจานวนมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศมีอายุต่าลง ในปี พ.ศ.2539 พบว่าผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศมีอายุต่าสุด คือ 7 เดือน และในปี 2540 คือ 2 ปี จากสถิติของศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ที่มีการแจ้งในเรื่องเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ ในปี พ.ศ.2540 - 2547 พบว่ามีเด็กอายุ 1 - 6 ปี 123 คน จาก 747 คน ถึงแม้ว่าการล่วงละเมิดทางเพศที่ปรากฏใน สถิติข้างต้นจะพบเป็นจานวนมากที่หน่วยงานต่างๆได้รวบรวมไว้ แต่ก็เป็นในกรณีที่เข้าแจ้งความและต้องการความ ช่วยเหลือในพื้นที่ ในกรณีที่เด็กถูกล่วงละเมิดยังไม่ได้แจ้งความหรือให้การช่วยเหลือ คาดว่ายังมีอีกมากมายที่ไม่ได้รับ การเปิดเผย เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศขึ้น เรื่องราวจะถูกปกปิดไม่ให้สังคมรับรู้ นอกจากนี้ บุคคลที่รับรู้จะมีเพียงผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กอาจลังเลที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพราะอาจจะต้องมีส่วนเข้าไปเป็นพยานในศาล หรือบางรายผู้ปกครองเด็กเองไม่ต้องการเปิดเผย จึงทาให้การล่วงละเมิดทางเพศในเด็กยังเป็นเรือ่ งที่ยากลาบากใน การแก้ไข

ผลกระทบจากการล่วงละเมิดทางเพศ มีคนจานวนไม่น้อยที่คิดว่า เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถ้าไม่ใช่กรณีที่รุนแรงจนบาดเจ็บหนัก ถ้าเงียบเสีย ไม่พูดให้เป็นเรื่องใหญ่เด็กอาจจะลืมไปเอง เพราะยังไม่เข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเอง แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็น เช่นนั้น แต่ในความเป็นจริงไม่ว่าเด็กจะอยู่ในวัยใดหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศในรูปแบบใดก็ตาม หลังจากเหตุการณ์ เหล่านั้น เด็กจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงและยาวนานในหลายด้าน เช่น ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางด้านจิตใจนั้นเป็นการยากลาบาก อย่างยิ่งในการเยียวยารักษาให้เป็นปกติ ผลที่เกิดขึ้นจะมีทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาวใน ระยะแรกการบาดเจ็บทางด้านร่างกาย อาจจะรักษาให้หายได้ในระยะไม่ยาวนาน แต่ผลกระทบที่ รุนแรงจะเกิดขึ้นกับจิตใจ รวมถึงบุคลิกภาพจะมีอยู่ต่อในระยะเวลานาน หลังจากถูกกระทาในระยะแรก เด็กจะมี อาการหวาดผวา ซึมเศร้า ฝันร้าย ตกใจง่าย รู้สึกหวาดระแวงผู้คนรอบข้างและคิดเสมอว่าเหตุการณ์การถูกล่วงละเมิด ทางเพศจะเกิดขึ้นกับตนเองขึ้นได้อีก อาจมีอาการทางจิตประสาทในช่วงหนึ่ง บางรายอาจจะส่งผลกระทบถึง พฤติกรรม เช่น ปัญหาการเรียน ปัญหาการนอน ปัญหาการเข้าสังคม เป็นต้น ซึ่งผลกระทบดังกล่า วที่เกิดขึ้นในเด็กมี การศึกษาวิจัยพบว่า เด็กมีความผิดปกติ คือ มีพฤติกรรมถดถอย ร้อยละ 15 พฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 14 ปัญหา


การนอน ร้อยละ 20 นอกจากนี้ยังพบว่ามีผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว กล่าวคือทาให้พัฒนาการหยุดชะงัก ทั้งด้าน อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยเฉพาะความรู้สึกการมีคุณค่าในตนเอง เพราะเด็กจะรู้สึกด้อยค่าและรังเกียจตนเอง ในขณะเดียวกันเด็กอาจจะมีความรู้สึกที่แตกต่างไป โดยเปรียบตนเองเป็นเสมือนสิ่งของหรือร่างกายที่ชารุดแล้วซึ่ง อาจจะเป็นปมด้อย นาไปสู่ความรู้สึกที่อ่อนแอ ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หวาดกลัว อับอาย และสิ้นหวังในชีวิต เมื่อเด็ก เหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่จะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีความผิดปกติทางจิตใจ และเป็นการยากที่เขาหล่านั้นจะสามารถสร้าง สัมพันธภาพที่มั่นคงกับคู่ได้ไม่มคี วามสุขในชีวิตสมรส เกิดการหย่าร้าง และส่งผลต่อบุตรที่เกิดมาให้กลายเป็นปัญหา ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ในเด็กชายที่เคยถูกล่วงละเมิดทางเพศก็มีผลกระทบไม่ต่างจากเด็กหญิงหรืออาจจะมีมากกว่าโดยเฉพาะความ ไม่แน่ใจในอัตลักษณ์ทางเพศของตน เด็กจะสับสนว่าตนเองเป็นหญิงหรือชายกันแน่

ผู้กระทาและสถานที่ ผู้ที่ล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก ส่วนมากจะเป็นผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกับเหยื่อเป็นอย่างดี จึงทาให้สบโอกาสในการ ล่วงละเมิดทางเพศกับเด็ก ผู้ที่กระทาการล่วงละเมิดทางเพศกับเด็กโดยทั่วไปจะเป็นผู้ที่ไม่มีความผิดปกติที่จะแสดง ออกมาให้ผู้อื่นเห็น และจะเป็นคนที่เด็กรู้สึกและอาจจะมีความสนิทสนมกันกับเหยื่อเป็นอย่างดี ทาให้เหยื่อเกิดความ ไว้วางใจ จึงเป็นโอกาสที่ทาให้เกิดเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศได้โดยไม่มีใครรู้

การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศ การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็กนั้นต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กนั่นคือ ผู้ปกครอง ครู ตัวเด็ก และปัจจัยทางสังคมที่ทาให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศ จึงเป็นสิ่งจาเป็นที่เกี่ยวข้องกับการ ป้องกันหลายๆแบบ หลายๆทาง อันดับแรกควรเริ่มจากครอบครัว ผู้ปกครองควรต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเพื่อ ใช้เป็นข้อมูล เพื่อการสื่อสารกับเด็ก ให้เด็กสามารถดูแลและป้องกันตนเอง ที่สาคัญเด็กจาเป็นต้องเข้าใจในเรื่องของ การดูแลตนเองและสิทธิของตนเอง ตลอดจนเด็กจาเป็นที่ต้องมีการพัฒนาทักษะ สาหรับป้องกันตนเองในสาถนการณ์ เสี่ยงต่างๆ ซึ่งนอกเหนือจากที่ผู้ปกครองได้ปูพื้นฐานให้แก่เด็กแล้วโดยการพูดคุย ยกตัวอย่างและเล่านิทาน การได้รับความรู้และการฝึกทักษะจากโรงเรียนโดยผ่านคุณครูเป็นอีกส่วนที่จะช่วยตอกย้าให้เด็กมี ความสามารถในการป้องกันตนเองได้ดียิ่งขึ้น การเสริมให้มีหลักสูตรการป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศให้เด็กนั้น จาก ผลการวิจัยพบว่า เด็กสามารถเล่าเหตุการณ์การล่วงละเมิดทางเพศหรือสามารถประเมินสถานการณ์ที่อาจถูกล่วง ละเมิดทางเพศได้ โดยมีวิธีป้องกันตนเองก่อนการถูกล่วงละเมิดทางเพศ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เด็กมีความปลอดภัย อีก ทั้งเด็กสามารถจดจาและนาไปใช้ได้ดี เมื่อพวกเขายางเข้าสู่วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ต่อไปในอนาคต สิ่งนี้นับว่าเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับเด็กที่จะนาไปใช้ในอนาคตต่อไป

2


โดยหลักสูตรที่จะนามาสอนให้กับเด็กมีเนื้อหาครอบคลุมองค์ความรู้และทักษะต่างๆ เพื่อให้ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งยังมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กมีความสุข สนุกสนาน ระหว่าง เรียน ซึ่งเนื้อหาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. ส่วนของข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ การเรียกชื่อให้ถูกต้อง หน้าที่ของอวัยวะต่างๆ 2. ส่วนของทักษะความสามารถในการแยกแยะสัมผัสที่ดีและไม่ดี การตอบปฏิเสธ การหลีกเลี่ยง การป้องกัน และการขอความช่วยเหลือเมื่อประสบเหตุการณ์ล่วงละเมิดทางเพศ ในต่างประเทศทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็เผชิญปัญหาเดียวกันนี้เช่นกัน โดยพบว่าการล่วง ละเมิดทางเพศในเด็กเล็กทั้งชายและหญิง ประมาณได้ว่า 25% และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ใกล้ชิดกับเด็กทาให้มี โอกาสจะกระทาได้มาก การที่จะสอนให้เด็กระมัดระวังและดูแลตนเอง โปรแกรมการสอนเพื่อให้เด็กเข้าใจ ถึงความสาคัญของการดูแลตนเอง โปรแกรมถูกพัฒนาขึ้นและมีการศึกษาวิจัยมาเป็นระยะเวลานาน และ นามาใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงมาใช้เป็นหลักสูตรพื้นฐานในสหรัฐอเมริกา โปรแกรมการสอนนี้เป็นการให้ความมั่นใจที่จะบอกแก่ผู้ใหญ่เพื่อขอความช่วยเหลือ โดยมีเนื้อหา ดังนี้ คือ 1. เพื่อให้เด็กเข้าใจสิทธิของตนเอง ความสาคัญของร่างกายตน ซึ่งตนเองเป็นเจ้าของดังนั้นจะต้อง ดูแลตนเอง ให้เด็กรู้จักพื้นที่ส่วนตัวซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ให้ใครจับต้อง โดยมีข้อยกเว้นในกรณีบาดเจ็บ หรือ การ ตรวจร่างกาย พื้นที่ส่วนตัวของเด็กชายคือ ก้นและอวัยวะเพศชาย ส่วนพื้นที่ส่วนตัวของเด็กหญิง คือ หน้าอก อวัยวะเพศและก้น 2. สอนให้รู้จักการสัมผัส ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น การสัมผัสที่รู้สึกดี รู้สึกไม่ดี และความรู้สึกที่สับสน ไม่แน่ใจ บางครั้งเด็กจะรู้สึกว่าเข้าใจยาก บางครั้งการล่วงละเมิดทางเพศมักเริ่มจากการสัมผัสที่ดีใน ระยะแรก แต่ต่อมาจะรู้สึกสับสนในสัมผัสนั้น ต้องสอนให้เด็กแยกแยะและเชื่อในความรู้สึกของตนเอง 3. รู้จักสิทธิในการกล่าวปฎิเสธ “ไม่” ต่อบุคคลอื่น แม้ว่าจะเป็นผู้มีอายุมากกว่า เมื่อบุคคลนั้นขอดู หรือสัมผัสร่างกายที่อวัยวะส่วนตัว รวมทั้งวิ่งหนีออกจากสถานที่นั้น 4. รู้เท่าทันเล่ห์อุบาย ผู้กระทาการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลที่รู้จักคุ้นเคย ซึ่ง อาจอยู่บ้านเดียวกัน หรือมีบ้านอยู่ใกล้กัน บุคคลเหล่านั้นมักใช้กลอุบายเพื่อให้เด็กตอบสนองความต้องการที่ เขาเหล่านั้นต้องการ เช่น ของกิน ของเล่น พาไปเที่ยว บางครัง้ อาจจะถูกออกอุบายขอความช่วยเหลือจาก เด็ก เช่น ขอให้ช่วยหาสิ่งของ หรือล่อลวงไปที่ลับตาคน หรือนาสิ่งที่เด็กกระทาผิดมาเป็นเครื่องต่อรองและ บังคับให้เด็กทาในสิ่งที่ตนต้องการ มิฉะนั้นเด็กจะได้รับความเดือดร้อน จึงจาเป็นต้องให้เด็กฝึกปฎิเสธในกรณี ต่างๆที่ผู้กระทาการล่วงละเมิดมักใช้เป็นข้ออ้าง 5. การขอความช่วยเหลือ จะต้องสอนให้เด็กกล้าที่จะบอกผู้ใหญ่ เพื่อขอความช่วยเหลือจากการถูก ล่วงละเมิดทางเพศ เด็กส่วนมากจะไม่กล้าบอกใครเมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือเด็กอาจจะถูกข่มขู่ให้ปกปิดเรื่อง ดังกล่าวไว้เป็นความลับไม่ให้เปิดเผยแก่บุคคลอื่น ในขณะเดียวกันก็กลัวผู้ใหญ่จะไม่เชื่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องสอนให้เด็กทราบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิด ของเด็ก ดังนั้นไม่จาเป็นต้องปิดบัง ถ้าเด็กบอกผู้ใหญ่แล้วเขาไม่เชื่อ ให้เด็กบอกผู้ใหญ่คนอื่นต่อๆไปจนกว่า จะมีผู้ใหญ่ที่เชื่อเรื่องราวของเด็กและให้ความช่วยเหลือ

3


บ้านอยู่ใกล้กัน บุคคลเหล่านั้นมักใช้กลอุบายเพื่อให้เด็กตอบสนองความต้องการที่เขาเหล่านั้นต้องการ เช่น ของ กิน ของเล่น พาไปเที่ยว บางครั้งอาจจะถูกออกอุบายขอความช่วยเหลือจากเด็ก เช่น ขอให้ช่วยหาสิ่ง ของ หรือ ล่อลวงไปที่ลับตาคน หรือนาสิ่งที่เด็กกระทาผิด มาเป็ นเครื่องต่อรองและบัง คับให้เด็กทาในสิ่ง ที่ต นต้องการ มิฉะนั้นเด็กจะได้รับความเดือดร้อน จึงจาเป็นต้องให้เด็กฝึกปฎิเสธในกรณีต่า งๆที่ผู้กระทาการล่วงละเมิด มักใช้ เป็นข้ออ้าง การขอความช่วยเหลือ จะต้องสอนให้เด็กกล้าที่จะบอกผู้ใหญ่ เพื่อขอความช่วยเหลือจากการถูกล่วง ละเมิดทางเพศ เด็กส่วนมากจะไม่กล้าบอกใครเมื่อเกิดเหตุการณ์ หรือเด็กอาจจะถูกข่มขู่ให้ปกปิดเรื่องดังกล่าวไว้ เป็นความลับไม่ให้เปิดเผยแก่บุคคลอื่น ในขณะเดียวกันก็กลัวผู้ใหญ่จะไม่เชื่อเรื่องราวที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้อง สอนให้เด็กทราบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิด ของเด็ก ดังนั้นไม่จาเป็นต้องปิดบัง ถ้าเด็กบอกผู้ใหญ่แล้วเขาไม่เชื่อ ให้เด็กบอกผู้ใหญ่คนอื่นต่อๆไปจนกว่าจะมี ผู้ใหญ่ที่เชื่อเรื่องราวของเด็กและให้ความช่วยเหลือ —————————————————————————

4


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.