ค
นไร้ ส าร ปุ๋ยอินทรีย์
จัดทำโดย
2
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ
ปุ๋ยอินทรีย์ คือปุ๋ยที่ได้จากการหมักอินทรีย์วัตถุ ซากพืช ซากสัตว์ โดยใช้ จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์เป็นตัวช่วยในการย่อยสลายและสังเคราะห์ธาตุ อาหาร รวมทั้งเป็นการขยายและเพิ่มจำนวนเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ในภาคเกษตรกรรม ใช้ในครัวเรือน และภาคอุตสาหกรรม ต่างๆ โดยปุ๋ยอินทรีย์แบ่งตามสถานะได้ เป็น 2 อย่าง คือ ปุ๋ยอินทรีย์ชนิด น้ำ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า น้ำหมักชีวภาพ น้ำสกัดชีวภาพ หรือน้ำหมัก จุลนิ ทรียเ์ ป็นต้น และปุย๋ อินทรียช์ นิดแห้ง หรือทีเ่ รียกต่างๆ กันว่า ปุย๋ หมัก จุลินทรีย์ ปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยอินทรีย์ เป็นต้น
ปุ๋ยอินทรีย์
จ
ากการค้นคว้านักวิทยาศาสตร์พบความจริงเกีย่ ว กับจุลนิ ทรียว์ า่ มี 3 กลุม่ คือ กลุม่ สร้างสรรค์ เป็นจุลนิ ทรีย์ ทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีประมาณ 10 % กลุม่ ทำลาย เป็นจุลนิ ทรียท์ ่ี เป็นโทษทำให้เกิดโรคต่างๆ มีประมาณ 10 % และจุลนิ ทรีย์ กลุม่ เป็นกลาง มีประมาณ 80 % กลุม่ นีห้ ากกลุม่ ใดมีจำนวน มากกว่า กลุ่มนี้จะสนับสนุนหรือร่วมด้วย ดังนั้นการเพิ่ม จุลนิ ทรียท์ ม่ี คี ณ ุ ภาพลงในดิน เพือ่ ให้จลุ นิ ทรียก์ ลุม่ สร้างสรรค์ มีจำนวนมากกว่ากลุ่มทำลาย
ซึ่งจะทำให้จุลินทรียก์ ลุม่ เป็นกลางหันมาร่วมมือใน การช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดิน ให้กลับมีพลังขึน้ มาหลัง จากทีถ่ กู ทำลายด้วยสารเคมีจนดินตายไป เราสามารถแบ่ง จุลนิ ทรียต์ ามลักษณะการใช้อากาศได้ 2 ประเภท 1. ประเภทต้องการอากาศ (Aerobic Bacteria) 2. ประเภทไม่ตอ้ งการอากาศ (Anaerobic Bacteria) โดยจุลนิ ทรียท์ ง้ั 2 กลุม่ นี้ ต่างพึง่ พาอาศัยซึง่ กันและกัน และสามารถอยูร่ ว่ มกันได้
3
4
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ
จุลินทรีย์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
จากการค้นคว้าทดลองนำเอาจุลินทรีย์ที่ได้รับการคัดและเลือกสรร อย่างดีจากธรรมชาติ ซึ่งเป็นชนิดที่มีประโยชน์ต่อพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม มารวมกัน 5 กลุ่ม 10 จีนัส 80 ชนิด ปรากฎผลดังนี้ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกเชื้อราที่มีเส้นใย ทำหน้าที่เป็นตัวเร่ง การย่อยสลาย สามารถทำงานได้ดใี นสภาพทีม่ อี อกซิเจน มีคณ ุ สมบัตติ า้ นทาน ความร้อนได้ดี ปกติใช้เป็นหัวเชื้อผลิตเหล้า ผลิตปุ๋ยหมัก ฯลฯ กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสังเคราะห์แสง ทำหน้าที่สังเคราะห์ สารอินทรีย์ให้แก่ดิน เช่น ไนโตรเจน กรดอะมิโน น้ำตาล วิตามิน ฮอร์โมน และอื่นๆ เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้แก่ดิน กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก ทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้ ดินต้านทานโรค ฯลฯ เข้าสู่วงจรการย่อยสลายได้ดี ช่วยลดการพังทลายของ ดิน ป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชบางชนิด ของพืชและสัตว์ สามารถบำบัด มลพิษในน้ำเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษต่างๆ ได้ กลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกตรึงไนโตรเจน มีทั้ง พวกทีเ่ ป็นสาหร่าย และแบคทีเรีย ทำหน้าทีต่ รึงก๊าซไนโตรเจน จากอากาศ เพื่อให้ดินผลิตสารที่เป็นประโยชน์ต่อการเติบโต เช่น โปรตีน กรดอินทรีย์ กรดไขมัน แป้ง ฮอร์โมน วิตามิน กลุ่มที่ 5 เป็นกลุ่มจุลินทรีย์พวกสร้างกรดแลคติก มี ประสิทธิภาพในการต่อต้านเชื้อรา และแบคทีเรียที่เป็นโทษ
ปุ๋ยอินทรีย์
ส่วนใหญ่เป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการอากาศหายใจ ทำหน้าที่เปลี่ยนสภาพดิน เน่าเปื่อย หรือดินก่อโรค ให้เป็นดินทีต่ า้ นทานโรค ช่วยลดจำนวนจุลนิ ทรียท์ ่ี เป็นสาเหตุของโรคพืช นอกจากนีย้ งั ช่วยย่อยสลายเปลือกเมล็ดพันธุพ์ ชื ช่วย ให้เมล็ดงอกได้ดีและแข็งแรงกว่าปกติอีกด้วย จุลินทรีย์ท้องถิ่น เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่หาได้ในสวนของเกษตรกร นักเกษตรธรรมชาติ ยอมรับกันว่าจุลนิ ทรียท์ อ้ งถิน่ มีความแข็งแรงกว่าจุลนิ ทรียเ์ ดีย่ วหรือจุลนิ ทรีย์ คัดสายพันธุท์ ว่ี างขายตามท้องตลาดในรูปหัวเชือ้ จุลนิ ทรียช์ นิดต่างๆ จุลนิ ทรีย์ ท้องถิน่ มีความทนทาน สามารถปรับตัวและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพใน สภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น และปัจจัยอื่นๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปในสวน
5
6
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ
ของเกษตรกรแต่ละรายได้ดีกว่ามาก ในดิน 1 กรัม มีจุลินทรีย์อยู่ 100 ล้าน ถึง 1,000,000 ล้านเซลล์ ซึ่งจะช่วยปรับสมดุลดินและน้ำในสวนเกษตรให้ เหมาะต่อการเพาะปลูก ดังนั้นนักเกษตรธรรมชาติควรเก็บรวบรวมจุลินทรีย์ ท้องถิ่นให้หลากหลายสายพันธุ์เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ การเก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นในป่า 1. เลือกสถานทีเ่ ก็บทีม่ น่ั ใจว่าไม่เคยมีการปนเปือ้ นสารเคมี เช่น ตาม ป่าใกล้บ้าน ร่องเขา บนเขา โดยเลือกเก็บตามกองใบไม้ รากไม้ ใต้กอไผ่หรือ ตอซังข้าวทีผ่ พุ งั โดยสังเกตทีเ่ ส้นใยสีขาวของเชือ้ รา ซึง่ เป็นกลุม่ จุลนิ ทรียช์ นิด สร้างสรรค์ 2. ใส่ปั้นข้าวเหนียวนึ่งในกล่องไม้ คลุมด้วยกระดาษสาหรือผ้าขาว บางๆ ฝังหรือกลบใต้กองใบไม้ผุ แล้วคลุมด้วยพลาสติกป้องกันฝน ทิง้ ไว้ 4-5 วัน จะมีเชื้อราสีขาวเต็มในกล่อง ถ้าอากาศร้อนเชื้อจะเจริญได้ดีและเร็วขึ้น
ปุ๋ยอินทรีย์
3. ย้ายก้อนข้าวลงไปในโอ่ง ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงกับ จุลินทรีย์ท้องถิ่นในอัตราส่วน 1:1 ปิดปากโอ่งด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์รัด ด้วยเชือกหรือยาง เก็บไว้ในที่ร่ม เขียนระบุสถานที่ และวันเวลาที่เริ่มเก็บ 4. หลังจาก 1 อาทิตย์ เชือ้ จะแพร่ขยายมากขึน้ นำไปหมักขยายต่อไป การเก็บหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่นตามตอซังข้าว 1. คว่ำกล่องไม้ใส่ข้าวเหนียวนึ่งบนตอซังข้าวที่เกี่ยวเสร็จใหม่ๆ คลุม ด้วยผ้ากันฝน 2. ทิ้งไว้ 1 อาทิตย์ จะได้เชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น จากนั้นให้นำมาเทลง ในโอ่งดิน ผสมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงกับจุลินทรีย์ท้องถิ่นในอัตรา ส่วน 1:1 ปิดปากโอ่งด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์รัดด้วยเชือกหรือยาง เก็บไว้ ในที่ร่ม เขียนระบุสถานที่และวันเวลาที่เริ่มเก็บ 3. หลังจาก 1 อาทิตย์ เชือ้ จะแพร่ขยายมากขึน้ นำไปหมักขยายต่อไป การเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ท้องถิ่น 1. เจือจางหัวเชื้อจุลินทรีย์ท้องถิ่น โดยผสมน้ำ 1 : 500 ส่วน ผสม รำข้าวหรือแป้งมันให้มีความชื้นร้อยละ 60 จากนั้นรดด้วยน้ำหมักจากพืช สีเขียวหรือน้ำหมักปลาหรือหอยเชอรี่ รดกองรำที่กองสูงประมาณ 1 ฟุต บน พื้นดิน 2. คลุมกองรำด้วยเสื่อกก หรือฟางข้าว หมั่นพลิกกลับกองเชื้อทุกวัน ทิง้ ไว้ 5-7 วัน ก็จะได้หวั เชือ้ จุลนิ ทรียท์ อ้ งถิน่ ทีส่ ามารถนำไปเป็นหัวเชือ้ น้ำหมัก หรือหมักปุ๋ยอินทรีย์ได้ โดยสามารถเก็บไว้ได้นาน 1 ปี
7
8
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ
ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้ง และชนิดน้ำ การทำน้ำสกัด ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดน้ำ หรือน้ำหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ ปลา หรือเศษอาหารโปรตีนอื่นๆ วัสดุอุปกรณ์ 1. เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก ปลาหรือเศษอาหารโปรตีนอื่นๆ 2. กากน้ำตาล 3. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 4. ถังหมักที่มีฝาปิด 5. น้ำ วิธีการทำ ผสมกากน้ำตาล 1 กก. กับหัวเชือ้ จุลนิ ทรียธ์ รรมชาติ 1 ลิตร ใส่ลงใน ถังหมัก นำหอยเชอรี่ที่ทุบหรือบดให้ละเอียดพร้อมเปลือก 3 กก. เทลงไป ผสมแล้วเติมน้ำ 10 ลิตร คนให้เข้ากันดี ปิดฝาให้แน่นแล้วเก็บไว้ในที่ร่มเป็น เวลา 3 เดือนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ วิธีการใช้ น้ำหมักชีวภาพจากหอยเชอรี่ ปลา หรือเศษอาหารโปรตีนอืน่ ๆ ใช้เร่ง การเจริญเติบโตของพืช เร่งการแตกยอด เร่งรากและเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน ถ้า ใช้ในพืชอายุนอ้ ยหรือระยะการเจริญเติบโตแรกๆ ใช้ 10 ซีซ/ี น้ำ 20 ลิตร ฉีด พ่น 7 – 10 วัน/ครั้ง สำหรับพืชที่มีอายุมาก ใช้ 20 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร น้ำหมักสมุนไพรไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา 1. สะเดา ป้องกันและขับไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก และหนอนอื่นๆ
ปุ๋ยอินทรีย์
2. ขมิ้นชัน ป้องกันและขับไล่หนอนกระทู้ผัก หนอนใยผัก และหนอนอื่นๆ 3. หนอนตายหยาก ป้องกันและขับไล่หนอนหลอดหอม และหนอนอื่นๆ 4. โล่ติ๊น ป้องกันและขับไล่ตั๊กแตนปาทังกา และแมลงกินใบ 5. สาบเสือ ป้องกันและขับไล่หนอนกระทู้ผัก เพลี้ยอ่อน 6. ตะไคร้หอม มีฤทธิ์ในการไล่แมลง 7. ข่าเหลือง มีฤทธิ์ในการไล่แมลง 8. ยาสูบ เป็นสารฆ่าแมลง ขับไล่แมลง และฆ่าไร 9. ดอกดาวเรือง ป้องกันและขับไล่หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย เพลีย้ ต่างๆ แมลงหวีข่ าว ตัก๊ แตน ด้วงปีกแข็ง แมลงวันผลไม้ 10. กระเทียม ป้องกันและขับไล่ด้วงปีกแข็ง เพลี้ยอ่อน ไส้เดือนฝอย แมลงหวี่ขาว โรคราสนิม โรคราน้ำค้าง 11. ไพล ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา สาเหตุโรคข้าวบาร์เลย์
9
10
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ
12. มะรุม ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา 13. ละหุ่ง ป้องกันและขับไล่แมงกะชอน หนู ปลวก ไส้เดือนฝอย 14. มะเขือเทศ ป้องกันและขับไล่ด้วงหมัดผัก หนอนใยผัก ไส้เดือนฝอย 15. มะม่วงหิมพานต์ เปลือก เมล็ด ไล่ยุง ด้วงงวงข้าว มอดเจาะไม้ 16. หัวหญ้าแห้วหมู ไล่แมลง 17. ผลสบู่ดำ ขับไล่แมลงวัน และยุง ตัวอย่างสูตรน้ำหมักสมุนไพรและวิธีการทำ สูตรที่ 1 การทำสารสกัดไล่แมลง และป้องกันเชื้อรา ส่วนผสม 1. ใบสะเดาแก่หรือเมล็ดสะเดาบด 2. ใบน้อยหน่า 3. ใบฝรั่ง 4. ใบกระเพรา
ปุ๋ยอินทรีย์
5. หัวข่าแก่ 6. หัวตะไคร้หอม 7. เปลือกต้นแค 8. เปลือกลูกมังคุด 9. กากน้ำตาล 10. หัวเชื้อจุลินทรีย์ วิธีทำ นำสมุนไพรทั้ง 8 ชนิด จำนวนเท่าๆ กัน สับหรือหั่นรวมกันในอัตรา 3 ส่วน ผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล 1 ส่วน เติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ส่วน ใส่ ถังพลาสติกหมักไว้ 3 เดือน กรองเอาน้ำหมักไปใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นพืชในช่วงเย็นหรือเช้าที่ยังไม่มีแสงแดด ทุก 7 – 10 วัน/ครั้ง เพื่อไล่แมลงและป้องกันกำจัดเชื้อรา สูตรที่ 2 น้ำหมักสมุนไพรกำจัดแมลง ส่วนผสม 1. ใบสะเดาแก่หรือเมล็ด 2 กก. 2. หัวข่าแก่ 2 กก. 3. ตะไคร้หอมทั้งต้น 2 กก. 4. หางไหลหรือต้นบอระเพ็ด 2 กก. 5. น้ำสะอาด 1 ปี๊บ (20 ลิตร) 6. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 2 ลิตร 7. กากน้ำตาล 2 กก. วิธีทำ หั่นสมุนไพรทั้ง 4 ชนิด เป็นชิ้นเล็กๆ รวมกัน ตำหรือบดให้ละเอียด แช่นำ้ เติมหัวเชือ้ จุลนิ ทรีย์ และกากน้ำตาล ใส่ถงั พลาสติกหมักไว้ 3 เดือน กรองเอาน้ำยาเข้มข้นสูง 1 ลิตร ผสมน้ำ 1 – 2 ปี๊บ นำไปฉีดต้นไม้ป้องกัน กำจัดเพลีย้ หนอน แมลงต่างๆ ควรฉีดห่างกัน 3 – 5 วัน อย่างน้อย 2 ครั้ง ขึ้นไป
11
12
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ
การทำปุ๋ยอินทรีย์ชนิดแห้ง หรือปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ปุ๋ยอินทรีย์ วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ส่วน 2. น้ำตาล 1 ส่วน 3. น้ำ 4. แกลบสด 1 กก. 5. แกลบดำ 1 กก. 6. รำละเอียด 1 กก. 7. ขยะสดต่างๆ 1 กก. 8. มูลสัตว์ต่างๆ กากถั่วต่างๆ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว 3 กก. 9. อินทรีย์วัตถุที่หาได้ในพื้นที่ หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้ 1 กก. วิธีทำ 1. นำแกลบสด แกลบดำ รำละเอียด ขยะสด มูลสัตว์ กากถัว่ ขีเ้ ลือ่ ย หรือขุยมะพร้าว และอินทรียว์ ตั ถุทห่ี าได้ในพืน้ ที่ (หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้) คลุกให้ เข้ากันจากนัน้ ผสมหัวเชือ้ จุลนิ ทรีย์ น้ำตาล และน้ำ ในถังพลาสติก ใช้บวั รดน้ำ ตักรดกองปุ๋ย คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันอย่าให้แห้งหรือเปียกเกินไป 2. เกลีย่ กองปุย๋ หมักบนพืน้ ให้หนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยกระสอบ ป่านหรือกระสอบปุ๋ย หรือคลุมด้วยแกลบสดหรือฟาง ไม่ให้ถูกแสงแดดหมัก นาน 7 วัน ถ้าปุ๋ยกองใหญ่มากใช้เวลา 20 วัน
ปุ๋ยอินทรีย์
3. บรรจุปุ๋ยหมักชีวภาพลงในกระสอบปุ๋ย สามารถเก็บไว้นาน 1 ปี ปุย๋ หมักชีวภาพทีไ่ ด้จะประกอบด้วยจุลนิ ทรีย์ สารอินทรียต์ า่ งๆ ทีม่ สี ารอาหาร เหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาว ของเชื้อรา ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อน แสดงว่ามีข้อผิดพลาด อุณหภูมใิ นการหมักทีเ่ หมาะสมอยูร่ ะหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความ ชื้นสูงเกินไปจะเกิดความร้อนนาน วิธีใช้ 1. ผสมปุย๋ หมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูก อัตรา 1 กก. ต่อ 1 ตร.ม. 2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถัว่ ฝักยาว แตง ควรใช้ปยุ๋ หมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกผักประมาณ 2 กำมือ รดน้ำให้ชมุ่ 3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุย๋ หมัก ชีวภาพ 1 กก. สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ ตามแนวทรงพุ่ม 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. คลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม 4. ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปยุ๋ หมักชีวภาพเดือนละ 1 ครัง้ ต่อ 1 กำมือ ใช้ 1 กก. ต่อพื้นที่ 2x3 ตร.ม. ปุ๋ยหมักชีวภาพย่อยสารอาหาร ให้พชื ได้เร็วกว่าปุย๋ หมัก ปุย๋ คอก เมือ่ ใส่ลงดินทีม่ คี วามชืน้ พอเหมาะเชือ้ จุลนิ ทรีย์ จะทำหน้าทีย่ อ่ ยสลายอินทรียว์ ตั ถุในดินให้เป็นธาตุอาหาร สำหรับต้นไม้
13
14
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ
5. ไม่จำเป็นต้องให้ปริมาณมาก ในดินควรมีอนิ ทรียว์ ตั ถุพวกปุย๋ หมัก ปุย๋ คอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง และมีความชืน้ เพียงพอ พืชจึงจะได้ประโยชน์ เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แต่หากใส่ครั้งละมากเกินไปอาจทำให้ต้นไม้ ตายได้ ปุ๋ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า วัสดุที่ใช้ 1. ดินแห้งทุบให้ละเอียด สามารถใช้ดินได้ทุกชนิด จำนวน 5 ส่วน 2. ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด 2 ส่วน 3. แกลบดำ 2 ส่วน 4. ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กอ้อย 2 ส่วน 5. รำละเอียด 2 ส่วน 6. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 1 ลิตร น้ำตาล 1 กก.และน้ำ
ปุ๋ยอินทรีย์
วิธีทำ 1. ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี 2. ผสมหัวเชือ้ จุลนิ ทรียก์ บั น้ำ และกากน้ำตาล แล้วรดบนกองวัสดุให้ ความชืน้ พอประมาณ ไม่ให้แฉะเกินไป 3. เกลีย่ บนพืน้ ซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักไว้ 5-7 วัน จึงนำไปใช้ได้ 4. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิดขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถ เก็บไว้ใช้ได้นาน วิธีใช้ 1. ผสมปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่าๆ กัน คลุกจนเข้ากันดี เพื่อนำไปกรอกถุงหรือถาดเพาะกล้า หรือนำไปใส่ใน แปลงสำหรับเพาะกล้า จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง 2. นำไปเติมในกระถางต้นไม้ ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ 2 กำมือ
แหล่งที่มาของข้อมูล • http://www.ku.ac.th/e-magazine/march47/agri/puy.html • http://www.suanlukchan.com
15
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ 71 หมู่ 8 ต.ห้วยยาง อ.กระนวน จ.ขอนแก่น 40170 ผู้ประสานงาน นายทินกร ปาโท โทรศัพท์ : 089-5758201 อีเมล์ : hinghoy-007@hotmail.com แผนงานผักปลอดภัยจากสารพิษ จ.ขอนแก่น คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40002 โทรศัพท์/โทรสาร : 0-4334-8660 เวปไซด์ : http://www.healthinfo-ne.org
รูปเล่มโดย : ศิริพร พรศิริธิเวช และเริงฤทธิ์ คงเมือง
สนับสนุนโดย