โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Page 1

คู่มือบริหารจัดการ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล


สารบัญ คู่มือบริหารจัดการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ISBN

บรรณาธิการ : นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.นิทัศน์ รายยวา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ นพ.เกษม เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการสำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นางสุธิมา สงวนศักดิ์ สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นส.ดารณี คัมภีระ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ภก.สุรัติ ฉัตรไชยาฤกษ์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เจ้าของผู้จัดพิมพ์ : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ชั้น 3 อาคาร 4 ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ภายในกระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ จ.นนทบุรี 11000 http://hph.moph.go.th ออกแบบ/ภาพประกอบ : ปุณณดา สายยศ พิมพ์ที่ :

บทนำ ปฐมบทการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข...................................... 7 บทที่ 1 แนวคิดและแนวนโยบาย................................................................. 19 นโยบายรัฐบาลและความสอดคล้องกับการพัฒนา ระบบบริการสาธารณสุขไทย............................................................. 21 การจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อการสนับสนุนรพ.สต. ...............28 กลไกการเงินการคลังภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2554 ......................................................................................... 30 บทที่ 2 แนวคิด และกระบวนงาน.................................................................. 37 แนวคิดการทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล.......................... 39 กระบวนงานสำคัญ........................................................................... 45 การเพิ่มคุณภาพบริการสุขภาพ ............................................... 45 ระบบข้อมูลสุขภาพชุมชน......................................................... 48 การทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น........................... 52 การทำงานผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่............... 56 การทำงานผ่านสมัชชาสุขภาพ.................................................. 58 การเยี่ยมบ้านและดูแลสุขภาพที่บ้าน และการใช้บ้านเป็นเรือนผู้ป่วย.................................................. 62 การบริหารจัดสรรเวชภัณฑ์....................................................... 75 ระบบการตรวจติดตามและนิเทศเพื่อการพัฒนา................................ 77


บทที่ 3 ภารกิจตามกลุ่มอายุและภารกิจตามประเด็น....................................83 ภารกิจตามกลุ่มอายุ................................................................. 85 ภารกิจตามประเด็น................................................................ 93 ด้านการควบคุมและป้องกันโรค........................................ 93 ด้านการจัดบริการผู้สูงอายุ..............................................100 ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน.................................. 104 ด้านการจัดบริการงานสุขภาพจิต................................. 108 ด้านการจัดบริการการแพทย์แผนไทย........................... 111 ด้านการจัดบริการวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน.......... 114 ภาคผนวก.............................................................................. 121

คำนำ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นนโยบายที่รัฐบาลให้ความ สำคัญโดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นหลัก ซึ่งเป็นการ ลงทุนที่คุ้มค่ากว่าในระยะยาว นโยบายนี้เริ่มดำเนินการมากว่าปี มีการ พัฒนายกระดับสถานีอนามัยขึ้นเป็นรพ.สต.จำนวนหนึ่ง โดยการพัฒนาที่ แตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ และระดับของการพัฒนาที่อาจยังไม่

เท่าเทียมกัน กอร์ปกับจำนวนเป้าหมายรพ.สต.ที่มีมากขึ้น ทั่วประเทศเกือบ 10,000 แห่ง จึงต้องมีแนวทางที่จะทำความเข้าใจ และความชัดเจนใน แนวทางปฏิบัติให้มีทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับนโยบาย การทำงานของรพ.สต.มีความหลากหลายมากมายเสมือนกระทรวง สาธารณสุขย่อส่วนในพื้นที่ ดังนั้นการทำงานที่มีบุคลากรจำนวนน้อยจึง

ไม่ ส ามารถดำเนิ น การได้ ทั้ ง หมด แต่ ค วรจะบู ร ณาการงานทั้ ง หมดและ ดำเนิ น งานเพื่ อ แก้ ไ ขปั ญ หาสาธารณสุ ข ของชุ ม ชน รวมทั้ ง เป็ น ผู้ จั ด การ สุขภาพเพื่อดึงผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมแก้ปัญหาสุขภาพของท้องถิ่น เน้นการ ส่งเสริมป้องกันโรคอันจะส่งผลให้ประชาชนมีการดูแลสุขภาพของตนเอง ดังนั้น “คู่มือการบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” นี้จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับแนวคิดการดำเนินงานของรพ.สต.และ

ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ต้องให้การสนับสนุนรพ.สต. มีการจัดบริการเชิงรุกเชื่อมโยง กับรพ.แม่ข่าย การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหา สาธารณสุ ข ของแต่ ล ะชุ ม ชนที่ ห ลากหลายตามบริ บ ทของพื้ น ที่ ไ ด้ อ ย่ า ง

เหมาะสมยั่งยืน คู่มือฉบับนี้เกิดจากการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากกรม ผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ ของอำเภอ จั ง หวั ด ได้ ร่ ว มประชุ ม และอภิ ป รายความเห็ น บางส่ ว นมี

ผู้ทำงานจริงมาร่วมเขียนโดยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกคน จึงขอ ขอบพระคุณมา ณ ที่นี้


“.....โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นทัพหน้าของกระทรวงสาธารณสุข ในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในตำบล หมู่บ้าน ชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสาธารณสุข ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และมีศักยภาพมากขึ้น เพื่อให้บริการเชิงรุกด้านสุขภาพแก่ประชาชน สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ได้อย่างทั่วถึงเท่าเทียม และเข้ามามีส่วนร่วม ในการดูแลสุขภาพของตนเอง....”

ปฐมบท โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

โครงการยกระดับสถานีอนามัย ซึง่ ปัจจุบนั มีอยู่ 9,770 แห่ง ทั่วประเทศขึ้นเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยในปี 2553 สิ้น เดือนกันยายนนี้จะต้องยกระดับสถานีอนามัยขึ้นเป็นโรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพตำบล จำนวน 2,000 แห่ง และทีเ่ หลืออีก 7,770 แห่ง จะดำเนิน การตัง้ แต่วนั ที่ 1 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป จนกระทัง่ ครบถ้วน 9,770 แห่ง ทั่วประเทศ โดยในปีงบประมาณ 2553 ได้มีการจัดสรรเงินจากโครงการ ไทยเข้มแข็ง ทีไ่ ด้รบั อนุมตั จิ ากการประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว จำนวน 1,490 ล้านบาท ส่วนในปีงบประมาณ 2554 ได้บรรจุไว้ในพระราชบัญญัติงบ ประมาณรายจ่ายประจำปี 2554 ประมาณ 5,700 ล้านบาท เมือ่ รวมกับ 1,490 ล้านบาท รวมเป็นงิน 7,200 ล้านบาท เพื่อเป็นงบประมาณในการยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบลภายในระยะเวลาสิ้นปีนี้ ซึ่งน่าจะทำได้ทั้งหมดเพื่อให้ เกิดประโยชน์ ดังนี ้


1. ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นทัพหน้าของกระทรวง สาธารณสุข ในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในตำบล หมู่บ้าน ชุมชน 2. เพือ่ เป็นการพัฒนาระบบสาธารณสุข ให้มคี ณ ุ ภาพมาตรฐาน และ มีศกั ยภาพมากขึน้ เพือ่ ให้บริการเชิงรุกด้านสุขภาพแก่ประชาชน 3. เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานได้ อย่างทัว่ ถึงเท่าเทียม 4. เพื่อให้ประชาชนและผู้รับบริการได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล สุ ข ภาพของตนเอง ภายใต้ ก ารยกระดั บ สถานี อ นามั ย เป็ น โรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยมีภารกิจสำคัญดังนี ้ 1. ด้านการส่งเสริมสุขภาพ 2. ด้านการรักษาพยาบาล 3. ด้านการควบคุมป้องกันโรค 4. ด้านการฟืน้ ฟู 5. ด้านการคุม้ ครองผูบ้ ริโภค ซึ่งต้องทำพร้อมกันทั้ง 5 ด้าน เป็นภารกิจเพื่อสร้างสุขภาวะที่ด ี ให้ครอบคลุมทัง้ สุขภาพกาย สุขภาพใจ และทางด้านสังคมควบคูก่ นั ไป อันนี้ ถื อ ว่ า เป็ น ภารกิ จ ของโรงพยาบาลส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำบลที่ ส ำคั ญ อย่ า งยิ่ ง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของโครงการตาม

โรงพยาบาล 3 ดี หรือ โรงพยาบาลสาธารณสุขยุคใหม่ เพือ่ คนไทยสุขภาพ ดี มีรอยยิม้

3 ดี

ทีว่ า่ ก็คอื

ดีที่ 1 คือ บรรยากาศดี ได้แก่ การปรับภาพลักษณ์และโครงสร้าง เพือ่ การสร้างบรรยากาศทีด่ ี ดีที่ 2 คือ การให้บริการทีด่ ี ดีที่ 3 คือ การบริหารจัดการทีด่ ี จะต้องมีการปรับการบริหารจัดการ ให้เป็นการบริหารจัดการทีด่ ี โดยมีการกำหนดภารกิจใว้ชดั เจนทัง้ 3 ด้านว่า ด้านที่ 1 ในเรื่องการปรับปรุงด้านบรรยากาศ หรือกายภาพนั้นโรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะต้องทำมี 3 ข้อ 1. ปรับโฉมด้านกายภาพ พืน้ ทีบ่ ริการรองรับผูป้ ว่ ยให้ดทู นั สมัย ผ่อน คลาย รวมทัง้ การจัดภูมทิ ศั น์ดว้ ย 2. พื้นที่รอรับบริการ ห้องตรวจ ห้องพักผ่อนในบริเวณโรงพยาบาล ห้องน้ำ จะต้องสวยงามเป็นระเบียบ 3. จัดมุมความรู้ด้านสุขภาพในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น นิทรรศการ โปสเตอร์ หรือแผ่นพับ ด้านที่ 2 ในเรื่องการให้บริการ ต้องแยกเป็นการให้บริการทางด้าน การแพทย์ และการให้บริการทางด้านทั่วไป ซึ่งการให้บริการทางด้านการ แพทย์นนั้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจะต้องรับไปปฏิบตั ิ 4 ข้อ 1. ลดเวลาการรอคอย ซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คงไม่ ค่อยมีปัญหาเรื่องการรอคอยเพราะผู้ป่วยไม่แออัดเหมือนโรงพยาบาล 60 เตียงขึน้ ไป หรือโรงพยาบาลศูนย์ แต่ตอ้ งไปปรับใช้ เช่น เวลารอพบแพทย์ คงต้องรอรวมถึงเวลารอพบพยาบาล หรือเวลารอพบเจ้าหน้าทีด่ ว้ ย เวลารอ รับยาต้องมีการกำหนดเป้าหมายให้ชดั เจน


10

2. ต้องมีการจัดคิวการรอตรวจ การนัดช่วงเวลาให้ผู้รับบริการทราบ ชัดเจน เช่น 9–10, 10–11 ให้บริการอะไร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ก็อาจจะไม่มปี ญ ั หาเพราะไม่มผี ปู้ ว่ ยแออัด แต่กต็ อ้ งมาปรับใช้ให้เหมาะสม 3. มีจดุ ให้คำแนะนำการปฏิบตั ติ วั ของผูป้ ว่ ยก่อนกลับบ้าน เท่าทีท่ ราบ พวกเราก็ทำกันอยูแ่ ล้ว แต่เป็นเกณฑ์ทกี่ ำหนดเพือ่ ประโยชน์ในการประเมิน ผลในอนาคตต่อไป 4. มีการจัดบริการส่งต่อ ส่งกลับ และนัดหมายอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการให้บริการทัว่ ไปนัน้ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้กำหนดบังคับ ไว้ว่า ต้องมีเจ้าหน้าที่ต้อนรับ ซึ่งขณะนี้ได้มีการออกแบบชุดต้อนรับไว้แล้ว และโรงพยาบาลทุกระดับต้องทำ ยกเว้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล แต่ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องต้อนรับ ต้องต้อนรับแต่เรามีบุคลากรจำกัดไม่มาก พอที่จะแบ่งคนไปเป็นพนักงานต้อนรับ 1–2 คน แต่เราสามารถปรับใช้ได้

ใช้จิตอาสา อสม. ผู้สูงอายุที่จะมาร่วมงานกับพวกเราในรูปแบบที่มีความ เหมาะสมแต่ ไ ม่ ไ ด้ บั ง คั บ แต่ ถ้ า ทำได้ ก็ จ ะเป็ น เกณฑ์ ที่ ก ำหนดไว้ ใ นโรง พยาบาล 3 ดี ว่าเป็น The Best สำหรับพวกท่าน ส่วนชุดเจ้าหน้าทีต่ อ้ นรับ ที่ออกแบบไว้สำหรับโรงพยาบาลระดับอื่น ๆ ถ้ารพ.สตจะนำมาปรับใช้ก็ไม่ สงวนลิขสิทธิ์ เช่น 1 สัปดาห์อาจจะใส่ชุดนี้วันหรือสองวันแล้วแต่ความ เหมาะสม ไม่ถอื ว่าผิดกติกา ก็จะเป็นการช่วยเปลีย่ นบรรยากาศการทำงาน และเปลี่ยนบรรยากาศให้ผู้มารับบริการที่ได้เห็นความแตกต่างเป็นครั้งคราว เกิดขึน้ ในรอบสัปดาห์ ด้านที่ 3 ในเรื่องการบริหารจัดการ ที่ต้องทำสำหรับโรงพยาบาล

ส่งเสริมสุขภาพตำบล มี 3 ข้อ 1. ต้องมีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาล เราอาจมีคณะ กรรมการบริหารโรงพยาบาลอยู่แล้วในทุกระดับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล เป็นประธานและมีบคุ ลากรภายในเป็นคณะกรรมการบริหาร แต่ตอ่ ไปนีต้ อ้ ง มี อี ก ชุ ด หนึ่ ง คื อ คณะกรรมการพั ฒ นาโรงพยาบาล ซึ่ ง ก็ ร วมทั้ ง คณะ

11

กรรมการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วย บุคคลภายนอกจะ เข้ามาเป็นประธาน ผูอ้ ำนวยการเป็นรองประธาน แล้วจะมีตวั แทนหน่วยการ ปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนผู้รับบริการหรืออาจจะรวมทั้งผู้นำศาสนาใน หมู่บ้านตำบลตามความเหมาะสม เช่นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บางแห่งในจังหวัดลำปางมีพระเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงานและท่านก็ช่วย ประชาสัมพันธ์และให้ความรูแ้ ก่ผมู้ ารับบริการเป็นอย่างดี ถือว่าเป็นตัวอย่าง เพือ่ ส่งเสริมการมีสว่ นร่วม เพราะฉะนัน้ คณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลจะ ต้องเกิดขึ้นในโรงพยาบาลทุกระดับ เพื่อเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นและ ระดมสมองทรัพยากรในการพัฒนาโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพต่อไปใน อนาคต 2. ต้องมีระบบประกันคุณภาพ ปัจจุบันนี้ทราบว่าส่วนใหญ่ใช้ระบบ PCA ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจะสั่งการ ลงไปอีกครัง้ โดยไม่ให้เป็นภาระเกินสมควร แต่จะไม่มรี ะบบประกันคุณภาพ ไม่ได้ ในจุดที่มีหน่วยบริการของรัฐไม่ว่าจะเป็นกระทรวงไหนก็ตามต้องมี ระบบประกันคุณภาพชัดเจน เพือ่ ประกันคุณภาพในการปฏิบตั หิ น้าทีแ่ ละให้ ประชาชนผู้เสียภาษีได้รับความพึงพอใจ เป็นหน้าที่ของพวกเราที่ต้องทำ โดยจะมีคำสัง่ ในกระบวนการต่อไป 3. จัดการรับฟังความเห็นในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตูร้ บั ฟังความคิดเห็น ระบบออนไลน์ หรือ Web site เพือ่ สะท้อนปฏิกริ ยิ าจากผูร้ บั บริการให้เรา ได้ทราบว่าเราได้ทำอะไรที่เป็นที่พึงพอใจ ประสบผลสำเร็จ และอะไรที่เรา จำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไปในอนาคต อันนี้คือภารกิจของพวกเรา นอกจากภารกิจสำคัญ 5 ด้าน ก็คอื โรงพยาบาลยุคใหม่ คนไทยสุขภาพดี มีรอยยิม้ ทีก่ ำหนดว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้องทำ 11 ข้อ และ ถ้าเป็น The Best ก็จะมีอกี 5 ข้อทีเ่ พิม่ เติมไปตามศักยภาพ


12

13

รูปแบบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 โรงพยาบาลเดีย่ ว รูปแบบที่ 2 โรงพยาบาลเครือข่าย ทีต่ อ้ งจัดเป็นรูปเครือข่ายผสมมา บ้างในบางพื้นที่ก็เพราะบางแห่งสถานีอนามัยมีขนาดเล็กมาก ตำบลเดียวมี 2-3 สถานีอนามัยจำเป็นต้องรวม 2-3 แห่ง มาเป็นเครือข่ายเดียวกัน บริหารจัดการบางส่วนร่วมกัน เช่น บุคลากรเป็นต้น เพือ่ ประหยัดบุคลากร ซึ่งในรูปของโรงพยาบาลเดี่ยวและโรงพยาบาลเครือข่าย ก็จะมีทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ สำหรับขนาดเล็กก็คอื ประชากรต่ำกว่า 3,000 คน ลงมา ขนาดกลางประชากร 3,000-7,000 คน ถ้า 7,000 คนขึน้ ไปก็เป็น ขนาดใหญ่ เพราะจะมีผลกับการจัดบุคลากรและงบประมาณ ซึง่ ได้เตรียมงบ ประมาณ 7,200 ล้านบาทเป็นกรณีพิเศษ นอกจากงบประมาณประจำปี ก้อนแรกสำหรับการไปพัฒนาสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล โรงพยาบาลขนาดเล็กจะได้ 500,000 บาท ขนาดกลาง 700,000 บาท ขนาดใหญ่ 900,000 บาท เพือ่ นำไปปรับปรุงและพัฒนาด้านต่าง ๆ ตามความเหมาะสมและความขาดแคลนของแต่ ล ะโรงพยาบาลซึ่ ง จะไม่ เหมือนกันและจะพยายามให้ยืดหยุ่นที่สุด แต่สำนักงบประมาณได้ตัดไป ขนาดละ 10,000 บาท ส่วนที่ 2 รถพยาบาล โครงการไทยเข้มแข็งได้จดั รถ พยาบาลเพื่อให้บริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยจัดไว้ที่โรง พยาบาลชุมชนแม่ข่าย 829 คันทั่วประเทศ ซึ่งจะมีทำเครื่องช่วยหายใจ เครือ่ งกระตุกหัวใจ รอจอดไว้ เพือ่ ให้บริการผูม้ ารับบริการทีโ่ รงพยาบาลส่ง เสริมสุขภาพตำบลโดยเฉพาะ บุคลากร สำหรับโรงพยาบาลเดีย่ วมีอย่างน้อย 4 ตำแหน่ง นับเฉพาะ ทีใ่ ห้บริการ ไม่นบั ลูกจ้างทีจ่ า้ งมาเพือ่ สนับสนุนการทำงาน (ทำความสะอาด, กรอกข้อมูล ฯลฯ) ได้แก่

1. ผูบ้ ริหารสูงสุดของโรงพยาบาล 2. แพทย์ หรือพยาบาลเวชปฏิบตั ิ หรือพยาบาลวิชาชีพ คนใดคนหนึง่ 1 ตำแหน่ง ไม่เน้นแพทย์ แต่บางแห่งที่เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลขนาดใหญ่และเริม่ มีแพทย์ปฏิบตั บิ า้ งแล้วก็ถอื ว่าเป็นเรือ่ งดี 3. นักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพควบคุม ป้องกันโรค 4. สหวิชาชีพระหว่างทันตาภิบาลหรือเภสัชกร หรือแพทย์แผนไทย หรืออื่น ๆ ตามความเหมาะสม โดยเฉพาะแพทย์แผนไทยที่เป็นแพทย์ ปริญญากำลังทำการบรรจุ 150 ตำแหน่ง และส่งไปที่โรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพตำบล 2,000 แห่ง รุน่ แรกเพือ่ ไปช่วยงาน สำหรับระบบเครือข่ายจะใช้การบริหารจัดการร่วมกันในเรื่องบุคลากร เพราะถ้าให้ทกุ แห่ง 4 ตำแหน่ง อัตราไม่พอ จะให้ 7 อัตราต่อ 1 เครือข่าย ถ้ามี 3 แห่งก็บริหารร่วมกันใน 7 คน แต่ 3 แห่งต่อ 1 เครือข่ายมีนอ้ ยมาก ส่วนใหญ่เป็น 2 แห่ง 3 ตำแหน่งแรกเหมือนกันส่วนที่เหลือจะเป็นสห วิชาชีพ+ลูกจ้างอืน่ ๆ ตามความเหมาะสม สัญลักษณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นรูปหัวใจ 4 ดวง ร้อยรัดเข้าด้วยกัน หัวใจ 4 ดวงมีตราสัญลักษณ์ของกระทรวงสาธารณสุข อยู่ตรงกลาง หัวใจ 4 ดวงถึอเป็นกลไกหลักของการพัฒนาสุขภาวะของ ประชาชนในตำบล ซึง่ ต่อไปนีจ้ ะต้องเดินหน้าด้วย 4 หลักสำคัญ


14

15

หัวใจดวงที่ 1 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หัวใจดวงที่ 2 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ่ า้ น หรือ อสม. หัวใจดวงที่ 3 แผนสุขภาพตำบลที่ขณะนี้กำลังร่วมกับอสม.ทุก

ตำบลจัดทำให้เสร็จสิ้นภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม

พร้อมกันทั่วประเทศ เราจะมีแผนสุขภาพตำบล

7,000 กว่าแผน เพื่อเป็นทิศทางในการเดินหน้า

งานสุขภาพของตำบลภายใต้การปฏิบัติงานของโรง

พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และร่วมกับอสม. หัวใจดวงที่ 4 กองทุนสุขภาพตำบลที่ปัจจุบันนี้ เรามีตำบลอยู ่ ทัง้ หมด 7,776 ตำบล มีการจัดตัง้ กองทุนสุขภาพ

ตำบลเสร็จสิน้ แล้ว 5,509 กองทุน คิดเป็นร้อยละ

71 ยังขาดอีกร้อยละ 29 ต้องเร่งรัดจัดการเรื่อง

กองทุนสุขภาพตำบลให้เร็วที่สุด เพื่อให้งานด้าน

สุขภาพตำบลเดินหน้าไปได้ครบทั้ง 4 ส่วน เพื่อ

หัวใจทัง้ 4 ดวงจะได้หลอมรวมกันเป็นเครือ่ งหมาย

สุขภาพหรือสุขภาวะทีด่ ใี ห้กบั ประชาชนได้ กองทุน

สุขภาพตำบลคือ กองทุนที่สป.สช.ได้จัดไว้ให้คิด

เป็ น 40 บาทต่ อ หั ว ประชากรในตำบล แต่ ถ้ า

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สมทบเงินร้อยละ

20 ขึน้ ไปมารวมด้วย งบประมาณทีเ่ พิม่ ขึน้ ก็จะไม่

ถูกส่งมาที่ตำบล ก็เท่ากับเราทำให้ตำบลนั้นขาด

โอกาสที่จะเดินหน้าในการแก้ปัญหาสุขภาพชุมชน

ขอความร่วมมือให้ทุกท่านช่วยกระตุ้นให้หน่วยการ

ปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะเป็นอบต.หรือเทศบาล

เร่งจัดตั้งกองทุนสุขภาพตำบลเพื่อจะได้เป็นเงินอีก

ก้อน นอกเหนือจากงบประมาณอืน่ ๆ ทีก่ ระทรวง

สาธารณสุขหรือรัฐบาลจัดให้ เพื่อมาช่วยดำเนิน

การตามแผนสุ ข ภาพตำบลและภารกิ จ ของ โรง

พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและอสม. ให้เดิน

หน้าไปด้วยความราบรืน่ และมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ก็เป็นการหลอมรวมหัวใจทั้ง 4 ดวงเข้าด้วยกัน โดยมี กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จ ทำให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีมีรอยยิ้มต่อไปในอนาคต ตราสัญลักษณ์ โรง พยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จะเป็นเครื่องหมายเตือนใจพวกเราทุกคนให้ ปฏิบัติภารกิจที่ยิ่งใหญ่ให้ประสบความสำเร็จเพื่อสุขภาพของประชาชนคน ไทยทุกคน


16

17


18

19

บทที่ 1

แนวคิดและแนวนโยบาย


20

21

กลุม่ ปกติตอ้ งให้สขุ ศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพให้ดอี ยูส่ ม่ำเสมอ กลุม่ เสีย่ งซึง่ ต้องปรับเปลีย่ นพฤติกรรมสุขภาพ ให้ลดความเสีย่ งจากปัจจัยคุกคามสุขภาพ กลุม่ ทีป่ ว่ ยก็ตอ้ งดูแลรักษาให้เหมาะสม หากโรคทีเ่ ป็นไม่รนุ แรง ก็สามารถรักษาที่ รพ.สต.ได้

บทที ่ 1

แนวคิ ด และแนวนโยบาย

นโยบายรัฐบาลและความสอดคล้อง กับการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขไทย u

ระบบบริการทีพ่ งึ ประสงค์ทมี่ ใี นรพ.สต.

การพั ฒ นารพ.สต.ให้ มี ขี ด ความสามารถมากขึ้ น ในเรื่ อ งบริ ก าร

ปฐมภูมิ มิได้เพียงแต่ปรับบริการจากที่ทำอยู่เดิมให้ดีขึ้น แต่เป็นการปรับ ระบบบริการให้แตกต่างจากระบบปัจจุบันที่ผู้ป่วยจำนวนมากไปรับบริการที่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทั้งในอำเภอและจังหวัดอย่างแออัดจนไม่สามารถให้ บริการได้อย่างมีคณ ุ ภาพ นอกจากจะทำให้คา่ ใช้จา่ ยสูงโดยไม่จำเป็น และอาจต้องใช้เวลาในการ รอรับบริการนาน ที่สำคัญคุณภาพบริการในหลาย ๆ กรณียังเป็นปัญหา เช่น ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สามารถรับบริการที่ดีกว่าที่รพ.สต.ซึ่งหมายความ รวมถึงระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านที่เรียกว่า Home Health Care หรือ Home Ward ซึ่งมีกรณีตัวอย่างมากมายที่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ทีม

สหวิชาชีพที่รพ.สต.สามารถดูแลผู้ป่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่าการดูแลใน ระบบเดิม ทีซ่ งึ่ โรงพยาบาลขนาดใหญ่ทมี่ ขี อ้ จำกัดมากมายในการให้บริการที่ ล้นเกินศักยภาพของระบบทีม่ ี รวมถึงการทำงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน โรคเชิ ง รุ ก โดยเฉพาะการแก้ ปั ญ หาโรคไม่ ติ ด ต่ อ เรื้ อ รั ง ที่ เ ป็ น ภาระโรค (Disease Burden) ลำดับต้น ๆ ของประเทศและในระยะยาวจะยิ่งเป็น ปัญหามากยิ่งขึ้น หากไม่มีระบบบริการที่ครอบคลุมและมีคุณภาพมากพอก็ จะเกิดความหายนะต่อระบบสุขภาพของประเทศไทยได้


22

u

23

ความแตกต่างระหว่างรพ.สต.กับสถานีอนามัยเดิม

ด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค กลุม่ เป้าหมายของบริการในรพ.สต.จะต้องถูกกำหนดให้มคี วามชัดเจน เช่น กลุม่ เด็ก กลุม่ วัยรุน่ กลุม่ สตรี (วางแผนครอบครัวและตัง้ ครรภ์) กลุม่ ผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง กลุม่ ผูส้ งู อายุ กลุม่ ผูพ้ กิ าร เป็นต้น เพราะในแต่ละกลุม่ ซึง่ จะต้องมีข้อมูลและวางแผนการให้บริการที่แตกต่างกัน ความครอบคลุมทั้ง ในเชิงตัวเลขและคุณภาพบริการที่ต้องได้มาตรฐานทางเทคนิค ซึ่งกรม

วิชาการต่าง ๆ กำหนด จะต้องมีการตรวจคัดกรองโดยเฉพาะโรคทีส่ ามารถ ทำการป้องกันระดับ Secondary Prevention (Early Diagnosis) เช่น คัด กรองเบาหวาน ความดั น มะเร็ ง ปากมดลู ก เป็ น ต้ น ผลการคั ด กรอง ประชาชนได้มีการแบ่งกลุ่มและจัดการแตกต่างกันออกไป กลุ่มปกติต้องให้ สุขศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพให้ดอี ยูส่ ม่ำเสมอ กลุม่ เสีย่ ง ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ลดความเสี่ยงจากปัจจัยคุกคาม สุขภาพ กลุ่มที่ป่วยต้องดูแลรักษาให้เหมาะสม หากโรคที่เป็นไม่รุนแรง สามารถรักษาที่รพ.สต.ได้ โดยการให้คำปรึกษาผ่านระบบการให้คำปรึกษา จากโรงพยาบาลแม่ข่าย กลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อนหรือพิการต้องวางแผนการ รักษา ซึ่งอาจจะเป็นการรักษาระยะยาวร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่าย การจัด กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพต่าง ๆ ไปจนถึงการรณรงค์ในโอกาสที่เหมาะสม ต้ อ งดำเนิ น การโดยร่ ว มมื อ กั บ ภาคส่ ว นต่ า ง ๆ เพื่ อ ให้ เ กิ ด พลั ง ในการ เปลีย่ นแปลง ด้านการรักษาพยาบาล แม้รพ.สต.จะไม่ได้เน้นการรักษาพยาบาลเป็นหลัก แต่การพัฒนาต้อง ครอบคลุ ม คุ ณ ภาพบริ ก ารด้ า นการรั ก ษาด้ ว ย จะทำให้ เ กิ ด ศรั ท ธาจาก ประชาชน ในการพัฒนารพ.สต.ต้องอาศัยความร่วมมือจากโรงพยาบาล

แม่ ข่ า ยให้ ก ารสนั บ สนุ น ทั้ ง ทางเทคนิ ค บุ ค ลากร และระบบสนั บ สนุ น

ต่าง ๆ มีตัวอย่างมากมายที่โรงพยาบาลแม่ข่ายให้การสนับสนุนรพ.สต.

กลุ่มเป้าหมายของบริการใน รพ.สต. จะต้องถูกกำหนดให้มีความชัดเจน เช่น กลุ่มเด็ก กลุ่มวัยรุ่น กลุ่มสตรี (วางแผนครอบครัวและตั้งครรภ์) กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ เป็นต้น

อย่างใกล้ชิด เช่น มีการวางแผนการรักษาดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ดูแล

ผู้ป่วยเบาหวานร่วมกัน คนไข้เบาหวานจำนวนมากไม่ต้องไปเจาะเลือด รับ ยาทีโ่ รงพยาบาล แต่ได้กลับมารับบริการทีร่ พ.สต.และโรงพยาบาลแม่ขา่ ยจะ ทำหน้าทีช่ ว่ ยตรวจสอบ (Audit) คุณภาพการรักษาผูป้ ว่ ยให้ โดยแพทย์ใช้ เวลาที่ว่างช่วยตรวจสอบรายที่มีปัญหา ซึ่งโดยทั่วไปมีจำนวนไม่มากนัก ทำให้แพทย์ไม่ต้องมาตรวจคนไข้ที่รพ.สต.และคนไข้ก็ไม่ต้องไปรับการรักษา ทีโ่ รงพยาบาลซึง่ อยูไ่ กลเสียเวลาค่าใช้จา่ ยในการเดินทางโดยไม่จำเป็น การส่งต่อกรณีที่ผู้ป่วยมีความจำเป็น ไม่ว่าจะเป็นการส่งผู้ป่วยไปรับ การตรวจรักษาหรือส่งตรวจชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ ต้องมีระบบที่จะ ทำให้เกิดขึ้นได้ง่าย รวมถึงการส่งผู้ป่วยกลับจากโรงพยาบาลมายังรพ.สต. เพื่ อ อยู่ ใ นความดู แ ลของที ม สหวิ ช าชี พ ของรพ.สต.ต่ อ ไป กระทรวงได้ สนับสนุนรถพยาบาลพร้อมอุปกรณ์ชว่ ยชีวติ ให้ประจำทีโ่ รงพยาบาลแม่ขา่ ย แห่งละ 1 คัน เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการบำรุงรักษารถพยาบาลแก่รพ.สต. เมือ่ รพ.สต.ต้องดูแลผูป้ ว่ ยได้มากขึน้ กว่าแต่กอ่ นภายใต้การสนับสนุนของโรง พยาบาลแม่ข่าย บัญชียาที่รพ.สต.ก็ควรมีปรับปรุงให้มีรายการยามากขึ้น เพือ่ รองรับระบบการดูแลผูป้ ว่ ยทีม่ คี วามซับซ้อนมากกว่าเดิม


24

u

25

การสาธารณสุขมูลฐานและความร่วมมือในชุมชน

การสาธารณสุขมูลฐานที่อาจถูกให้ความสำคัญลดลงไปมากหลังจาก การดำเนินการตามนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในขณะที่มีอาสา สมัครสาธารณสุข (อสม.) ในระบบเกือบหนึง่ ล้านคน และรัฐบาลปัจจุบนั ได้ มีงบประมาณค่าตอบแทนแก่อสม.เดือนละ 600 บาท รพ.สต.ต้องพัฒนา สุขภาพของประชาชนร่วมกับชุมชนโดยใช้การสาธารณสุขมูลฐาน (Primary Health Care) เป็นกลไกทีส่ ำคัญ ซึง่ ปัจจุบนั มีทงั้ หมด 14 elements โดย พัฒนาศักยภาพของอสม.และกลุ่มองค์กรที่ทำงานด้านสุขภาพต่าง ๆ ใน ชุมชนให้มีคุณภาพมากขึ้น จะทำให้ภารกิจที่สามารถมอบหมายให้อสม. ช่วยดำเนินการบรรลุผลตามเป้าหมายมากขึน้

u

ระบบข้อมูลสุขภาพและแผนพัฒนาสุขภาพชุมชน

การแก้ปัญหาสุขภาพของคนในชุมชนที่รพ.สต.รับผิดชอบอยู่ หาก ไม่มีระบบข้อมูล และตัวข้อมูลที่ดี (มีความแม่นยำครอบคลุม เพียงพอ เหมาะสม และเป็นปัจจุบนั ) แล้วการแก้ปญ ั หาก็ยอ่ มทำได้ไม่ถกู ต้อง ข้อมูล ชุมชน ข้อมูลแฟ้มครอบครัว (Family folder) ตลอดจนข้อมูลรายบุคคล ทีม่ ารับบริการทีร่ พ.สต.ในระบบ 18 แฟ้ม จะต้องได้รบั การปรับปรุง พัฒนา ให้ถกู ต้อง แม่นยำ และทีส่ ำคัญสามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปญ ั หาของ ชุมชนได้ จ ริ ง เพื่ อจะได้วางแผนแก้ปัญหาที่มีล ำดั บ ความสำคั ญ ได้ อ ย่ า ง

ถูกต้อง ผ่านกระบวนการทำแผนสุขภาพของชุมชน เช่น การทำกระบวนการ

SRM การรายงานข้อมูลบริการต่าง ๆ ขึน้ มายังส่วนกลางเป็นวัตถุประสงค์ รอง แต่การจัดการเพือ่ ให้ได้ขอ้ มูลเพือ่ นำมาใช้ในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของรพ.สต. เป็นเรื่องหลัก เช่น รพ.สต.แห่งหนึ่งรับผิดชอบประชากร 6,000 คน มี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นทะเบียนรักษาที่รพ.สต.เพียง 50 กว่าคน โดยสถิติ จากการสำรวจสุขภาพคนไทยพบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป เป็น

เบาหวานร้อยละ 7 ดังนัน้ ในพืน้ ทีด่ งั กล่าวควรมีผปู้ ว่ ยเบาหวาน 0.07x4,000 (สมมุตวิ า่ มีประชากรอายุ>15 ปี 4,000 คน) จะเท่ากับ 280 คน แสดงว่า อีกกว่า 200 คน ยังไม่ได้รบั การคัดกรองและไม่ได้มารับการรักษา ทีมสห วิชาชีพของรพ.สต.ก็ควรทำการคัดกรอง ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มขึ้นหรือหากผู้ป่วย ดังกล่าวไปรับการรักษาที่หน่วยบริการอื่น เจ้าหน้าที่ก็ควรมีข้อมูลแฟ้มครัว เรือนอยู่ก็ต้องทราบเพื่อจะได้ติดตามผลการรักษาเช่นเดียวกับการทำข้อมูล ความครอบคลุมการได้รบั วัคซีนของเด็กในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ u

การบริหารอย่างมีสว่ นร่วมในรพ.สต.

ข้ อ กำหนดที่ ส ำคั ญ ประการหนึ่ ง ของการพั ฒ นารพ.สต.ท่ า มกลาง กระแสการกระจายอำนาจก็คือ การเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามี ส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพบริการ พัฒนาระบบ สุขภาพของประชาชนในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ คณะกรรมการบริหารรพ.สต. หรือ ชือ่ ทีก่ ว้างขวางขึน้ คือ คณะกรรมการพัฒนารพ.สต. ซึง่ เป็นคณะกรรมการที่ รพ.สต.ทุกแห่งต้องจัดให้มขี นึ้ โดยต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ส่วนคือ ตัวแทนของรพ.สต. หรือกระทรวงสาธารณสุขฝ่ายหนึ่ง ตัวแทนองค์กร ปกครองท้องถิน่ ฝ่ายหนึง่ และตัวแทนภาคประชาสังคมอีกฝ่ายหนึง่ จำนวน ก็มีได้ตามความเหมาะสมและหากจะเพิ่มเติมผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือเห็นว่ามี บทบาทต่อการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นทางเทคนิคทางการสนับสนุนทรัพยากร กำลังคนหรืออื่นใด ก็สามารถพิจารณาให้เข้าร่วมเป็นกรรมการได้ โดย ผอ.รพ.สต.ควรทำหน้าที่เป็นเลขาคณะกรรมการ โดยการออกคำสั่งแต่งตั้ง กรรมการชุดนี้ก็ดูตามความเหมาะสม หลายแห่งก็ให้ชุมชนเลือกกันเข้ามา


26

27

รวมถึงเลือกประธานกรรมการด้วย สิ่งสำคัญคือ กรรมการที่มีขึ้นควรได้ ปฏิบัติงานร่วมกันในการพัฒนารพ.สต.อย่างจริงจัง ไม่ใช่ตั้งขึ้นแต่เพียงใน นาม หากการพัฒนารพ.สต.ภายใต้การบริหารร่วมกันโดยคณะกรรมการ พัฒนารพ.สต. เกิดผลดีแก่ระบบบริการโดยสามารถเป็นเจ้าของร่วมกัน ทำงานร่วมกันสนับสนุนให้เกิดบริการตามที่ชุมชนต้องการอย่างแท้จริง นี่ อาจเป็นรูปแบบหนึง่ ของการกระจายอำนาจ โดยไม่ตอ้ งถ่ายโอนสถานบริการ ไปอยู่กับท้องถิ่นอย่างที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการกระจายอำนาจฉบับที่ 2 ก็ได้ u

การสนับสนุนทางการเงินการคลังและการลงทุน

งบประมาณในการดำเนินการในการให้บริการประชาชนด้านการ รักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค (P&P) เกือบทัง้ หมดจัดสรร ไปโดยระบบกองทุนประกันสุขภาพ แบบเหมาจ่ายรายหัว ดังนัน้ งบประมาณ สำหรับดำเนินการก็ตอ้ งส่งผ่านไปตามระบบทีว่ างไว้ การปรับเปลีย่ นประการ ใด เช่นการเสนอให้งบส่วนหนึง่ ส่งตรงลงไปรพ.สต.ก็เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งพิจารณา กั น ให้ ถี่ ถ้ ว น เพี ย งแต่ โ รงพยาบาลแม่ ข่ า ยจะต้ อ งให้ ค วามมั่ น ใจ ว่ า จะ สนับสนุนการดำเนินการตามกิจกรรมที่พึงประสงค์ในรพ.สต.ให้เพียงพอ ส่วนงบลงทุนที่ทางรัฐบาล โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ สนับสนุน เพือ่ ให้ได้มาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีจะครอบคลุม สถานี อนามัยทีจ่ ะยกฐานะเป็นรพ.สต.ทุกแห่งภายในปีงบประมาณ 2554 โดยจะ ได้รบั การสนับสนุนภายใต้ พรก.เงินกู้ 1,490 ล้านบาท สำหรับ 2,000 แห่ง แรก และทีเ่ หลือทัง้ หมด โดย พรบ.งบประมาณปี 2554 อีก 6,000 ล้าน บาท ซึง่ รวมถึงการก่อสร้างสถานีอนามัยทดแทน กรณีทสี่ ร้างมานาน (มาก กว่า 20 ปี) และคับแคบไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ในการยกฐานะเป็น รพ.สต.

รายละเอียดของการสนับสนุนโดย พรก.เงินกู้ และพรบ.งบประมาณปี 2554

ขนาด ประชากรรับ ครุภัณฑ์ ระบบปรึกษา งบดำเนินการ รพ.สต. ผิดชอบ ทางไกล เล็ก > 3,000 300,000 40,000 150,000 กลาง 3,000 - 7,000 400,000 40,000 243,000 ใหญ่ >7,000 500,000 40,000 300,000

การพั ฒ นาให้ เ กิ ด ความเข้ ม แข็ ง ของระบบบริ ก ารปฐมภู มิ ซึ่ ง เป็ น รากฐานสำคัญของระบบบริการสุขภาพของไทย เป็นจุดเชื่อมต่อกับการ สาธารณสุขมูลฐานในหมูบ่ า้ น ชุมชน จึงมีความสำคัญ เป็นทิศทางทีถ่ กู ต้อง ในการพัฒนา แต่การพัฒนาใด ๆ หากมีแต่เพียงนโยบายก็ไม่อาจเกิด มรรคผลได้ การบริหารจัดการของทุกฝ่ายเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องสื่อสาร ทำความเข้าใจหลักการ และแนวทางการจัดการให้ชัดเจน ครบถ้วนและ ลงมือดำเนินการอย่างจริงจังจึงจะเกิดผลสำเร็จ เพื่อสุขภาพดีของประชาชน ในระยะยาว


28

29

การจัดการของหน่วยงานต่าง ๆ เพือ่ การสนับสนุน รพ.สต.

u

บทบาทและการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

สาธารณสุขอำเภอเป็นผูบ้ งั คับบัญชา และประสานงานการจัดทำแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับอำเภอ การประสานงานเครือข่าย สนับสนุน บุคลากรและทรัพยากร รวมถึงการสนับสนุนการจัดทำแผนปฏิบัติการการ เฝ้าระวัง สอบสวนโรค และควบคุมโรค โดยเฉพาะกรณีทมี่ กี ารระบาดกว้าง ขวางกว่าขอบเขตของรพ.สต.เอง ไปจนถึงการช่วยติดตาม กำกับ นิเทศงาน ในพื้นที่ภาพรวมของอำเภอ กลไก คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุข ระดับอำเภอ (คปสอ.) ยังมีความสำคัญในการจัดการสุขภาพในระดับอำเภอ ซึ่งจะทำให้การบริหารงานระดับอำเภอ ระหว่างโรงพยาบาลแม่ข่ายและ รพ.สต.เป็นรากฐานทีจ่ ะทำให้เกิดความครอบคลุมและมีคณ ุ ภาพ

u

บทบาทและการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

การบริหารราชการส่วนภูมิภาค มีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็น หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด โดยเป็นผู้แทนของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้การบริหารงานในพื้นที่มีเอกภาพมาก การดำเนินงานของรพ.สต.ต้อง ได้รับการสนับสนุนและบริหารจัดการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้งใน แง่ของการใช้อำนาจจัดการทีม่ ตี ามกฎหมายและการสนับสนุนทางวิชาการใน การจัดการ เช่น การมอบอำนาจให้ผอู้ ำนวยการรพ.สต.ดำเนินการใดได้บา้ ง การวางระบบเชื่อมต่อทางด้านไอที ระบบเฝ้าระวังและรายงานโรคการ สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรที่ต้องอาศัยการจัดการระดับจังหวัด งบลงทุน ทดแทนที่อยู่ในอำนาจของจังหวัดก็สามารถพิจารณาจัดสรรสนับสนุนให้แก่ รพ.สต.ตามความเหมาะสมได้ รวมถึงการเป็น กลไกที่ จ ะควบคุ ม กำกั บ ติดตาม นิเทศงานให้เกิดการดำเนินตามนโยบายด้วยความเรียบร้อยในภาพ รวมของจังหวัด

สำนั ก งานสาธารณสุ ข จั ง หวั ด ควรมี ก ารรวบรวมแผนการพั ฒ นา รพ.สต.ของแต่ละอำเภอเพือ่ วิเคราะห์บคุ ลากรและทรัพยากร เพือ่ ทำให้ทราบ สถานการณ์ของจังหวัด รวมถึงการวางแผนการพัฒนา สนับสนุนทรัพยากร ของแต่ละแห่ง และนำแผนพัฒนาเสนอต่อผู้ตรวจราชการเพื่อให้สอดคล้อง กับแผนการตรวจนิเทศ ซึง่ จะทำให้ระบบการสนับสนุนมีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ u

บทบาทและการสนับสนุนจากเขตตรวจราชการ

เขตตรวจราชการมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาที่ต้องใช้อำนาจใน ระดับเขต หรือการจัดการที่ทำด้วยระดับเขตตรวจราชการแล้วได้ผลดีมาก กว่า เช่น การพัฒนาบุคลากรบางสาขาเพื่อสนับสนุนรพ.สต.การจัดสรรงบ ลงทุนทดแทนที่เป็นอำนาจเขตตรวจราชการ การนิเทศและประเมินผลใน ภาพรวมของเขต ตลอดจนการเชือ่ มต่อกับกระทรวงในส่วนกลางเป็นต้น u

บทบาทและการสนับสนุนจากส่วนกลาง

ส่ ว นกลางควรมี ก ารจั ดทำแผนยุ ทธศาสตร์ก ารพั ฒ นารพ.สต.เพื่ อ

ผลักดันการสนับสนุนระยะยาวซึ่งจะต้องมีเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความ เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์ เพื่อเสนอต่อสำนักงบประมาณให้การสนับสนุน โครงการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบุคลากรจะต้องใช้ระยะเวลาในการผลิต หลายปี การแก้ไขกฎระเบียบ โครงสร้างการทำงานของรพ.สต.เพื่อให้มี ความคล่องตัวในการทำงานมากขึน้


30

กลไกการเงินการคลังภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2554

กลไกการเงินที่สนับสนุนการดำเนินงานรพ.สต.ของสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนรพ.สต.หรือหน่วย บริการปฐมภูมมิ คี ณ ุ ภาพและมาตรฐาน สร้างแรงจูงใจให้โรงพยาบาลแม่ขา่ ย (หรื อ หน่ ว ยบริ ก ารประจำ (CUP)) สนั บ สนุ น การพั ฒ นาศั ก ยภาพของ รพ.สต.ในเครือข่าย และกระตุ้นให้รพ.สต.มีการพัฒนาศักยภาพของตนเอง อย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ และสามารถเข้าถึง บริการที่มีคุณภาพมากขึ้น กลไกการเงินในการสนับสนุนมีหลายช่องทาง ได้ แ ก่ 1) งบประมาณที่ จ่ า ยเพิ่ ม เติ ม ตามเกณฑ์ ศั ก ยภาพ (On top payment) 2) งบประมาณทีจ่ า่ ยตามผลงาน (Itemize) 3) งบประมาณที่ จ่ า ยตามโครงการ และ 4) งบจ่ า ยตามเกณฑ์ คุ ณ ภาพบริ ก ารปฐมภู ม ิ นอกจากนี้รพ.สต.ได้รับงบประมาณผ่านโรงพยาบาลแม่ข่าย หรือหน่วย บริการประจำ (CUP) และหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง 1. งบประมาณที่ จ่ า ยเพิ่ ม เติ ม ตามเกณฑ์ ศั ก ยภาพ (On top payment) ได้แก่ งบเหมาจ่ายเพิม่ เติม (On top payment) ให้กบั รพ.สต. หรือ หน่วยบริการปฐมภูมิที่มีศักยภาพในการจัดบริการได้ผ่านเกณฑ์ โดย รพ.สต.หรือหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นหน่วยบริการประจำ (CUP) โดยมี แพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานประจำตามเงื่อนไข จะได้รับงบ สนับสนุนในอัตราเหมาจ่ายเพิ่มเติมไม่เกิน 100 บาทต่อคน และรพ.สต. หรือหน่วยบริการปฐมภูมิที่เป็นเครือข่ายของหน่วยบริการประจำ (CUP) โดยมีพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปหรือพยาบาลชุมชน และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานประจำตามเงื่อนไขจะได้รับงบสนับสนุนในอัตราเหมาจ่ายเพิ่มเติม ไม่เกิน 50 บาทต่อคน โดยรพ.สต.หรือหน่วยบริการปฐมภูมติ อ้ งมีศกั ยภาพ ผ่านเกณฑ์ที่สปสช.กำหนด ซึ่งเกณฑ์อาจปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละปีโดยองค์ ประกอบของเกณฑ์โดยทัว่ ไป มีดงั นี ้

31

เกณฑ์ศกั ยภาพพืน้ ฐาน : มีอตั รากำลังบุคลากร ครุภณ ั ฑ์ และจัด

บริการได้ตามเกณฑ์ขนึ้ ทะเบียนหน่วยบริการปฐมภูม ิ u เกณฑ์การจัดบริการ : มีความพร้อมในงานเชิงรุก Home ward

(5 กลุม่ เป้าหมาย : ผูพ้ กิ าร ผูส้ งู อายุ ผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง เด็ก และ

สตรีมคี รรภ์) จัดระบบบริการทีเ่ ชือ่ มต่อกับ รพ.แม่ขา่ ย เช่น การ

ส่งต่อส่งกลับข้อมูล/ผูป้ ว่ ย มีระบบนัดหมายและช่องทางด่วน u เกณฑ์การบริหาร : มีคณะกรรมการบริหารหน่วยบริการปฐมภูม

ิ ที่ท้องถิ่นและชุมชนมีส่วนร่วมบริหาร และมีการเชื่อมโยงกองทุน

สุขภาพ อบต./เทศบาล u เกณฑ์ผลงาน : มีผลงานในปีทผ ี่ า่ นมาไม่นอ้ ยกว่าค่าเฉลีย่ u

2. งบประมาณทีจ่ า่ ยตามผลงาน (Itemize) 2.1 งบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับบริการที่มีความ ต้องการใช้บริการเด่นชัด แบบจัดสรรตามผลการบริการ (Itemize) โดย ในปีงบประมาณ 2554 มี 9 รายการ ได้แก่ 1) ANC 2) PNC 3) การ ตรวจคัดกรองภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมน (TSH) ในทารกแรกเกิด 4) EPI Vaccine 5) คัดกรองความเสีย่ งเบือ้ งต้น 6) ปรับเปลีย่ นพฤติกรรม 7) คัด กรองมะเร็งปากมดลูก 8) FP และ 9) ตรวจคัดกรอง/ประเมินโรคซึมเศร้า งบส่วนนีเ้ มือ่ รพ.สต.ให้บริการ และบันทึกผลการให้บริการลงในระบบข้อมูล Individual Data และสปสช.ได้ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลเรียบร้อย แล้วทาง สปสช.จะคำนวณและจัดสรรงบเป็นค่าชดเชยบริการให้แก่หน่วยบริการ โดย อัตราการจ่ายและประเภทกิจกรรมการบริการเป็นไปตามที่สปสช.กำหนด ซึง่ อาจมีการปรับเปลีย่ นในแต่ละปี 2.2 งบทีจ่ า่ ยตามข้อมูลการบริการรายบุคคล OP/PP (Individual Data) โดยสปสช.จะจ่ายตามข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว ใน

อัตราทีส่ ปสช.กำหนด ซึง่ อาจมีการปรับเปลีย่ นได้ในแต่ละปี


32

งบส่งเสริมระบบบริการปฐมภูมิ...เป็นงบเพื่อเติมส่วนขาดให้แก่ รพ.สต.หรื อ หน่ ว ยบริ ก ารปฐมภู มิ โดยมุ่ ง เน้ น การพั ฒ นา ศักยภาพของทั้งเครือข่าย... เพื่อพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล ส่ ง ต่ อ -ส่ ง กลั บ ผู้ ป่ ว ย ระบบการให้ ค ำปรึ ก ษา และนั ด หมาย ระหว่างรพ.สต.กับรพ.แม่ข่ายหรือหน่วยบริการประจำ... 2.3 งบชดเชยบริการแพทย์แผนไทย สำหรั บ รพ.สต.ที่ มี ก ารจั ด บริการนวดไทยและยาสมุนไพร โดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาแพทย์แผน ไทย ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์ไทยประยุกต์ หรือผู้ช่วยแพทย์ แผนไทย หลักสูตรไม่ต่ำกว่า 330 ชั่วโมง เมื่อให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ์ UC แล้ว สามารถบันทึกข้อมูลในโปรแกรมบันทึกข้อมูลการให้บริการแพทย์แผน ไทย แล้วทางสปสช.จะจ่ายชดเชยค่าบริการให้ตามหลักเกณฑ์ทกี่ ำหนด 3. งบประมาณสนับสนุนตามโครงการ งบส่วนนี้ จ่ายเพือ่ สนับสนุน การพัฒนาบริการหรือการแก้ปัญหาระดับพื้นที่ที่จ่ายรพ.สต.สามารถจัดทำ โครงการตามเงือ่ นไขของแต่ละกองทุน เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จากสปสช.ได้ โดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงแนวทางในแต่ละปี ซึ่งมีหลาย โครงการ เช่น 3.1 งบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามปัญหาของแต่ละพื้นที่ (Area problem) ซึ่งรพ.สต.สามารถจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของ พื้นที่ โดยเสนอโครงการผ่าน CUP สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือ สปสช.เขตตามลำดับ หรือตามแนวทางทีส่ ปสช.เขตกำหนด 3.2 งบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่สนับสนุนกองทุนหลัก ประกันสุขภาพระดับตำบลรพ.สต.สามารถจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา ของพืน้ ที่ โดยใช้งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลได้ 3.3 งบส่งเสริมระบบบริการปฐมภูมิ งบส่วนนี้เป็นงบเพื่อเติมส่วน ขาดให้แก่รพ.สต.หรือหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพ

33

ของทั้งเครือข่าย (โรงพยาบาล+รพ.สต.หรือหน่วยบริการปฐมภูมิ) เพื่อ พัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล ส่งต่อ-ส่งกลับผู้ป่วย ระบบการให้คำปรึกษา และนัดหมาย ระหว่างรพ.สต.กับรพ.แม่ข่ายหรือหน่วยบริการประจำ การ จัดหาและพัฒนาศักยภาพบุคลากร การเพิ่มการเข้าถึงบริการและคุณภาพ บริการ เพือ่ ทัง้ สร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั ประชาชนในการไปรับบริการปฐมภูมิ ที่หน่วยบริการปฐมภูมิเป็นที่แรก ทั้งนี้ กิจกรรมในการพัฒนา ยกตัวอย่าง เช่น จัดให้มพี ยาบาลเวชปฏิบตั ิ (NP) ประจำทุกรพ.สต.สนับสนุนระบบ IT เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาลกับหน่วยบริการปฐมภูมิ การ จัดระบบช่องทางด่วนสำหรับผูป้ ว่ ยทีส่ ง่ ต่อจาก PCU ไปโรงพยาบาล โดยไม่ ต้องเข้าคิวใหม่ การพัฒนาระบบ Consultation เป็นต้น 3.4 งบกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ งบกองทุนนี้มีงบ ส่วนหนึ่งที่จัดสรรให้รพ.สต.หรือหน่วยบริการปฐมภูมิสำหรับพัฒนารูปแบบ หรือสร้างนวัตกรรมการจัดบริการเชิงรุกสำหรับผูพ้ กิ าร ผูส้ งู อายุ และผูป้ ว่ ย โรคเรือ้ รังในชุมชน 4. งบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพบริการปฐมภูมิ เป็นงบเพิ่มเติมตาม เกณฑ์คณ ุ ภาพผลงานบริการระดับปฐมภูมิ เพือ่ สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจ ให้ ห น่ ว ยบริ ก ารจั ด บริ ก ารที่ มี คุ ณ ภาพและมาตรฐาน และส่ ง เสริ ม ให้ ประชาชนได้รบั บริการสาธารณสุขทีม่ คี ณ ุ ภาพ โดยวัดผลการดำเนินงานการ ดูแลผูป้ ว่ ยในโรค/หรือประเด็นคุณภาพทีก่ ำหนด เปรียบเทียบผลงานระหว่าง หน่วยบริการปฐมภูมิ และสะท้อนข้อมูลกลับให้หน่วยบริการปฐมภูมริ ว่ มกับ การจ่ายเงินตามหลักการ คือ หน่วยบริการปฐมภูมจิ ะได้รบั งบประมาณ ใน อัตราเหมาจ่ายรายหัวทีแ่ ตกต่างกันตามระดับคุณภาพ


34

5. งบประมาณที่รพ.สต.ได้รับผ่านหน่วยบริการประจำ (CUP) หรือ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง งบประมาณส่วนนีเ้ ป็นงบทีส่ ปสช.สนับสนุนแก่ หน่วยบริการประจำ (CUP) หรือสนับสนุนหน่วยงานวิชาการหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการจัดบริการ หรือการพัฒนาศักยภาพบริการของ รพ.สต.ทัง้ ทางตรงและทางอ้อม 5.1 งบประมาณทีร่ พ.สต.ได้รบั ผ่านหน่วยบริการประจำ(CUP) เช่น งบบริการผูป้ ว่ ยนอก งบส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแบบเหมาจ่ายรายหัว (PP express demanded) เป็นงบปกติที่รพ.สต.จะได้รับจากโรงพยาบาล

แม่ขา่ ย (CUP) โดยอาจจ่ายให้เป็นงบ Fixed cost หรือเป็นยาและเวชภัณฑ์ ทั้งนี้ตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างรพ.สต.กับโรงพยาบาลแม่ข่าย (CUP) นอกจากนีย้ งั มีงบค่าเสือ่ มที่ CUP ได้รบั จัดสรรจากสปสช.เพือ่ ซ่อมบำรุงและ ทดแทนครุภณ ั ฑ์ทใี่ ช้การไม่ได้ เป็นต้น 5.2 งบประมาณทีร่ พ.สต.ได้รบั ผ่านหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง เช่น u สปสช.สนับสนุนงบประมาณให้สภาการพยาบาล ประสานจัดการ อบรมพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไป สำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานในรพ.สต.หรือ สถานีอนามัย u สปสช.สนับสนุนงบดำเนินการ ในการจัดบริการแพทย์แผนไทยใน รพ.สต.โดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ผ่านทางกรม พัฒนาการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก โดยปี 2553 มีเป้าหมาย

นำร่องในรพ.สต. จำนวน 150 แห่ง (75 จังหวัด ๆ ละ 2 แห่ง) รพ.สต.ที่ เข้าร่วมโครงการจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 100,000 บาท/แห่ง และการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ในการจัดอบรมให้กับผู้ช่วย แพทย์ แ ผนไทยให้ มี ค วามรู้ แ ละทั ก ษะตามที่ ก รม ฯ กำหนดอย่ า งน้ อ ย

330 ชม. โดยปี 2554 สปสช.จัดงบสนับสนุนผ่านสำนักงานสาธารณสุข จังหวัด

35

u สนับสนุนงบ National Priority & central procurement (NPP) ผ่านทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมอนามัย สำนักนโยบายและ ยุทธศาสตร์ และสำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อใช้ในการ ดำเนิ น โครงการลดโรคไม่ ติ ด ต่ อ เรื้ อ รั ง โครงการส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพตำบล โครงการสายใยรักของครอบครัว โครงการพัฒนาสมรรถนะสร้างเสริม

สุขภาพ&ป้องกันโรค โดยเป็นโครงการที่มีกิจกรรมการดำเนินงานอยู่ใน ระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ (รพ.สต.) ตัวอย่างการได้รบั งบสนับสนุนจากสปสช.ของรพ.สต.แห่งหนึง่ ซึง่ ดูแล ประชากร 5,000 คน มี พ ยาบาลวิ ช าชี พ ปฏิ บั ติ ง านประจำ 1 คนมี

เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขปฏิบตั งิ านประจำ 3 คน ให้บริการนวดแผนไทย โดย

ผูช้ ว่ ยแพทย์แผนไทยทีผ่ า่ นการอบรม 330 ชัว่ โมง จำนวน 2 คน มีแพทย์ จาก CUP เป็นที่ปรึกษาดูแลกำกับคุณภาพบริการ มีการจัดบริการและ

ผลงานบริการเป็นไปตามเกณฑ์ on top payment ของสปสช.งบประมาณที่ รพ.สต.จะได้รับสนับสนุนจากสปสช.อาจได้รับโดยตรงจากสปสช.หรือได้รับ ผ่าน CUP หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ดังนี ้ 1) งบ on top payment จำนวน 50 บาท x 5,000 คน = 250,000 บาท 2) งบตามผลงาน PP (Itemize) (อัตราจ่ายปี 2553 ตามทีส่ ปสช. กำหนด) u EPI vaccine ในเด็ก < 1 ปี 10 คน x 5 ครัง ้ x 10 บาท = 500 บาท u คัดกรองความเสีย ่ งเบือ้ งต้น 200 คน x 50 บาท = 10,000 บาท u คัดกรองมะเร็งปากมดลูก 20 คน x 250 บาท = 5,000 บาท u FP 30 คน x 40 บาท = 1,200 บาท 3) งบตามผลงานนวดไทย 1,000 ครัง้ x 50 บาท = 50,000 บาท 4) งบตามข้อมูล Individual data 3,000 Record x 8 บาท = 24,000 บาท


36

5) งบตามโครงการจากกองทุนตำบล 30,000 บาท 6) งบตามโครงการ Area problem 50,000 บาท 7) งบตามเกณฑ์คณ ุ ภาพผลงาน 30,000 บาท รวมงบทีร่ พ.สต.ได้รบั จาก สปสช. = 355,700 บาท หมายเหตุ : 1. ตั ว อย่ า งงบข้ อ 1 เป็ น การตั้ ง ค่ า ตั ว เลขสมมติ ซึ่ ง การจ่ า ยงบ

สนับสนุนให้รพ.สต.ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายที่สปสช.กำหนด แต่ละปี 2. ตัวอย่างงบข้อ 2, 3, 4 และ 7 เป็นการตั้งค่าตัวเลขสมมติ เนื่องจากอัตราจ่ายขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพผลงานตามเงื่อนไขการจ่าย และวงเงินที่มี ซึ่งมีสูตรคำนวณเฉพาะของแต่ละงบ ทำให้อัตราการจ่ายให้ แต่ละหน่วยบริการและแต่ละไตรมาสจะได้รบั ไม่เท่ากัน ขึน้ อยูก่ บั หลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายทีส่ ปสช.กำหนดแต่ละปี 2. ตัวอย่างงบข้อ 5 และ 6 เป็นเพียงตัวเลขสมมติ ทัง้ นี้ วงเงินทีไ่ ด้ รับการสนับสนุนของแต่ละโครงการขึน้ อยูก่ บั หลักเกณฑ์และการแนวทางการ จัดสรรของแต่ละงบทีก่ ำหนด

37

บทที่ 2

แนวคิดและกระบวนงานสำคัญ


38

รพ.สต.มีเป้าหมายของการดูแลสุขภาพ ให้กับประชาชน ที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทุกช่วงวัยที่ครอบคลุมทั้ง กลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มปกติ โดยการจัดให้มีบริการทั้งบริการในรพ.สต. บริการในชุมชน และบริการในบ้านเพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพ ให้แก่บุคคล ครอบครัว และชุมชน แบบครบวงจรต่อเนื่องและเป็นองค์รวม

39

บทที่ 2

แนวคิ ด และกระบวนงานสำคั ญ

แนวคิดการทำงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

รพ.สต.เป็นหน่วยบริการด่านหน้าของกระทรวงสาธารณสุขที่อยู่ใกล้ ชิดกับประชาชน และชุมชนมากที่สุด มีหน้าที่ในการดูแลประชากรในเขต พื้นที่รับผิดชอบให้เข้าถึงสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (กาย ใจ สังคม และ

สิ่งแวดล้อม) เพื่อนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีในการดำรงชีพร่วมกันภายใต้ ความมีตน้ ทุน และอัตตลักษณ์ทงั้ ด้าน สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และ การเมืองที่เป็นแบบแผนของตนเองได้ อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรืของความ เป็นมนุษย์ โดยมุ่งเน้นการจัดบริการเชิงรุก ทั้งในด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่ ด้วยการประสาน ความร่วมมือกับชุมชน อปท. ส่วนราชการและองค์กรต่าง ๆ ในลักษณะของ การเป็นภาคีร่วมหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดระบบการดูแลสุขภาพของ ชุมชนอันจะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพได้ในที่สดุ ซึ่งเป็นเป้าหมาย สำคัญของการจัดระบบสุขภาพแนวใหม่ตามทิศทางของการปฏิรูประบบ สุขภาพและการกระจายอำนาจลงสูอ่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ด้านสุขภาพ u

เป้าหมายของการจัดบริการของ รพ.สต. (Goals)

รพ.สต.มีเป้าหมายของการดูแลสุขภาพให้กับประชาชนที่อยู่ในเขต พื้นที่รับผิดชอบทุกช่วงวัยที่ครอบคลุมทั้งกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติ โดยการจัดให้มบี ริการทัง้ บริการในรพ.สต.บริการในชุมชนและบริการในบ้าน เพือ่ ให้เกิดการดูแลสุขภาพให้แก่บคุ คล ครอบครัวและชุมชน แบบครบวงจร ต่อเนือ่ งและเป็นองค์รวม ทัง้ ในด้านการส่งเสริมสุขภาพการป้องกัน ควบคุม


40

41

โรค การฟืน้ ฟูสมรรถภาพและการรักษาซึง่ จะเป็นการนำมาซึง่ ความสามารถ ในการพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพ (ความสามารถในการดูแลสุขภาพของ ตนเองไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นอันจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายใน การจัดการดูแลระบบสุขภาพของรัฐในระยะยาว) ของทัง้ ระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัวและชุมชน อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการจัดระบบสุขภาพที่มี คุณภาพประสิทธิภาพ มีความยั่งยืนสอดคล้องกับสภาพการณ์ของปัญหา สุขภาพ ปัญหาสาธารณสุขและบริบทของแต่ละพืน้ ที ่ u

พันธกิจในการจัดบริการของรพ.สต. (Mission)

เพือ่ ให้การจัดบริการของรพ.สต.เป็นไปอย่างมีคณ ุ ภาพและประสิทธิภาพ ภายใต้พื้นฐานและต้นทุนของการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของสถานี อนามัยเดิม ทีไ่ ด้รบั การยกระดับขีดความสามารถให้สงู ขึน้ โดยอาศัยแนวคิด การจัดบริการสุขภาพแบบยึดตามลักษณะของประชากร ปัญหาโรคและ สาธารณสุขของพื้นที่ (Population Based Health System, Problem Based Health System และ Area Based Health System) เป็นกรอบการ จัดบริการซึง่ รพ.สต.ควรจะมีพนั ธะกิจทีส่ ำคัญ ดังนี ้ 1. การพัฒนาฐานข้อมูลบริการ (Data Base) เพือ่ ให้ได้ระบบข้อมูล สุขภาพที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงถึงกันและกันได้ระหว่าง เครือข่ายบริการทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน และการส่งต่อผู้ป่วย เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแม่ข่าย (OPD-Card, Refer note, Family folder, Community folder และแฟ้มข้อมูล 18 แฟ้ม ฯลฯ) เพือ่ ให้สามารถ รวบรวม ประมวล วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ รวมทั้งข้อมูลสุขภาพชุมชนได้ อย่างถูกต้องครบถ้วนทันต่อเหตุการณ์ อันจะนำมาซึ่งการวางแผนการจัด บริการของรพ.สต.ทัง้ ในด้านการรักษา ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีความครอบคลุมสอดคล้องกับสภาพการณ์ บริบทของปัญหาสุขภาพในพืน้ ทีไ่ ด้อย่างมีคณ ุ ภาพและประสิทธิภาพ

2. การพัฒนาการจัดบริการในรพ.สต. (Hospital Base) เพื่อให้ ประชาชนหรือผูป้ ว่ ยได้รบั บริการทีม่ ขี ดี ความสามารถสูงขึน้ โดยการประสาน ความร่วมมือขอรับการสนับสนุนทั้งในด้านบุคลากร ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เครื่องมือติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย (Skype, Tele Medicine) ยานพาหนะ รถยนต์ส่งต่อ จากรพ.แม่ข่าย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตลอดจนถึง กองทุนประกันสุขภาพตำบล เพื่อให้เกิดการรักษาผู้ป่วย การให้บริการ ภาวะฉุกเฉิน การส่งต่อผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการปัญหาโรคของพื้นที่ ในลักษณะของคณะกรรม การพัฒนารพ.สต.แบบมีสว่ นร่วม (รพ.แม่ขา่ ย, รพ.สต. อปท. และองค์กร ชุมชน) 3. การพั ฒ นาการจั ด บริ ก ารในชุ ม ชน (Community Base, Community Health Care) เพือ่ ให้ชมุ ชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ได้เกิดการรับรู้ ตระหนักถึงการมีสว่ นร่วม และสามารถให้การสนับสนุนใน การวางแผน ดำเนินงาน ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคของพืน้ ที่ โดยอาศัยแกนนำอสม.ในชุมชนทีไ่ ด้รบั การเสริมสร้างศักยภาพในด้านการจัด ทำแผนที่ ท างเดิ น ยุ ท ธศาสตร์ (SRM/SLM) เป็ น กลไกสำคั ญ ในการ


42

ขับเคลื่อนผ่านทางกองทุนสุขภาพตำบล สมัชชาสุขภาพตำบล เพื่อให้เกิด แผนงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ชุมชนทีด่ ำเนินงานโดยการมีสว่ นร่วม ของชุมชนทุกภาคส่วน ตัง้ แต่รว่ มคิด ร่วมทำ ร่วมประเมินผล และร่วมรับ ผลประโยชน์ในลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดระบบสุขภาพชุมชน ได้อย่างมีคณ ุ ภาพ ประสิทธิภาพและยัง่ ยืน สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของ ชุมชน ในที่สุดจะนำมาซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดให้มีมาตรการ และระบบเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านสุขภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภคด้าน สาธารณสุข (คบส.) ขึน้ ในชุมชน 4. การพัฒนาการจัดบริการในบ้าน (Home Base, Home Health Care, Home Ward) ให้กลุ่มแม่และเด็ก ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้ด้อย โอกาสและผู้สูงอายุ ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องใกล้ชิดเป็นองค์รวมแบบ

เอื้ออาทร ด้วยบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ (Humanized Health Care) โดยการประสานการดำเนินงานจัดให้มที มี ดูแลผูป้ ว่ ย (Patient Care Team : PCT) จากรพ.แม่ขา่ ย ทีมดูแลสุขภาพ (Health Care Team : HCT) จากรพ.สต.และแกนนำผู้ดูแลสุขภาพประจำครอบครัวหรือจิตอาสา ดูแลสุขภาพในครอบครัวจากชุมชน ตามแผนการดูแลตามความจำเป็นที่จะ ได้รับการดูแลอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยอาศัยการถ่ายทอดกระบวนการ ดูแลให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละระดับ ผ่านการอบรมและการจัดทำแนวทาง การดูแลผูป้ ว่ ย (Practice Guideline) ทีม่ ปี ระสิทธิภาพ มีการจัดการความรู้ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ดูแลอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับการประสานการดูแลโดยหน่วยงานและองค์กรชุมชนอืน่ ๆ ทีจ่ ะช่วย ในการดูแลยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น เช่น อปท., พคม. และอืน่ ๆ ตามความจำเป็นทัง้ ในด้านเศรษฐกิจและสังคม

43

แผนงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคชุมชนที่ดำเนินงานโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วน ตัง้ แต่รว่ มคิด ร่วมทำ ร่วมประเมิน ผล และร่วมรับผลประโยชน์ ในลักษณะของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน การจัดระบบสุขภาพชุมชนได้อย่างมีคณ ุ ภาพ ประสิทธิภาพ และยัง่ ยืน สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพของชุมชน และในที่สุดนำมาซึ่งความ เข้มแข็งของชุมชน ขอบเขตบริการรพ.สต.เน้น 5 กลุม่ เป้าหมายหลัก (สามารถเพิม่ เติม ปัญหาเฉพาะพื้น ที่ของรพ.สต.แต่ละแห่งได้) โดยเริ่ มจากการวิเคราะห์ ธรรมชาติของกลุม่ เป้าหมาย ความรูส้ กึ นึกคิด ค่านิยม ปัญหาสุขภาพ การ จำแนกออกเป็นกลุม่ ปกติ-เสีย่ ง-ป่วย ศักยภาพแต่ละกลุม่ และความต้องการ ความช่วยเหลือในแต่ละกลุม่ ออกแบบบริการตามพันธกิจสำคัญ (3 ช. เชิง รุก-เชือ่ มโยง-ชุมชน) 1) งานเชิงรุก คือ สร้างการเข้าถึงบริการ หรือการเข้าหาประชาชน ในรูปแบบบริการในสำนักงาน/นอกสำนักงานและหมายรวมถึงการมุง่ จัดการ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุปัญหาสุขภาพ บริการต่อเนื่องเป็นองค์รวมด้วยมุม มองของผูป้ ว่ ย/ผูร้ บั บริการ (Humanized health care) ประสานบริการยึด ชุมชนเป็นฐานตัวอย่างรูปธรรม ทีมเยีย่ มบ้าน (ทีมสุขภาพประจำครอบครัว ประชาชนทุ ก ครั ว เรื อ นมี เ บอร์ โ ทรศั พ ท์ ข องที ม สุ ข ภาพประจำครอบครั ว

โทรปรึกษาได้ตลอด) มีข้อมูลสภาพปัญหาเข้าใจความต้องการของกลุ่ม

เป้าหมาย


44

2) งานเชื่อมโยง คือการเชื่อมโยงบริการกับหน่วยงานสาธารณสุข (โรงพยาบาลชุ ม ชนรพศ./รพท.), หน่ ว ยราชการอื่ น ที่ เ กี่ ย วข้ อ งปั ญ หา (พม.ศธ. อปท.ฝ่ายปกครอง) องค์กรเอกชน ภาคธุรกิจ/เอกชน NGOs ทีจ่ ะ มาร่วมคิด ร่วมดำเนินการแก้ปญ ั หาสุขภาพด้วยกัน ตัวอย่างรูปธรรม ระบบ ให้คำปรึกษาและส่งต่อในอำเภอ เช่น ศูนย์ให้คำปรึกษาและส่งต่อ มีทีม

สุขภาพของรพ.ที่รับผิดชอบในการให้คำปรึกษาและมีบทบาทในการพัฒนา ศักยภาพของรพ.สต.ทีเ่ ฉพาะ สนับสนุนให้มกี ารเชือ่ มโยงการทำงานกับภาคี ทีเ่ กีย่ วข้อง 3) งานชุมชน คือ การเสริมพลังชุมชนให้ผู้ป่วย ครอบครัวและ

ชุมชนเข้ามาเรียนรู้ปัญหาสุขภาพตนเองสามารถจัดการปัญหาสุขภาพใน ระยะยาวได้อย่างไร (ร่วมคิด วางแผน ระดมทุน ดำเนินการและติดตาม) ตัวอย่างรูปธรรม คณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพตำบล มีกรรมการ ที่มาจากท้องถิ่น ชุมชน สาธารณสุข (รพ,สสอ.) ผู้ทรงคุณวุฒิ (ปราชญ์

ชาวบ้ า น) มาด้ ว ยวิ ธี ก ารเป็ น ที่ ย อมรั บ และมี บ ทบาทในการร่ ว มกั น คิ ด วางแผน ระดมทุน ดำเนินงานและติดตามปัญหาสุขภาพของตำบล (แผน สุขภาพตำบล) อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องออกแบบบริการปฐมภูมิให้มีภาพลักษณ์ ให้เหมือนกันทุกรพ.สต. (กำหนดวันรณรงค์ดว้ ยวิธกี ารเดียวกัน) เจ้าหน้าที่ ในรพ.สต.ถ้าเข้าใจคุณลักษณะบริการที่ดี รูปแบบการดูแลและการจัดการ สามารถไปประยุกต์ให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ แต่รพ.สต.ต้องวิเคราะห์กลุ่ม เป้าหมาย สามารถออกแบบบริการที่มีกระบวนการสำคัญได้ครบ (3 ช.) ทำให้เกิดนวัตกรรมการทำงานในพื้นที่มากมายสอดคล้องกับความต้องการ ตามศักยภาพของพืน้ ที ่

45

กระบวนงานสำคัญ

u

การเพิม่ คุณภาพบริการสุขภาพ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลไม่ใช่โรงพยาบาลชุมชนย่อส่วน แต่ เป็นหน่วยบริการที่เน้นคุณลักษณะบริการที่ต่างออกไป โดยมีครัวเรือนและ ประชาชนทุกคนเป็นเป้าหมาย และใช้แนวคิดงานเวชปฏิบัติครอบครัวมา เพิม่ คุณภาพบริการ ซึง่ มีคณ ุ ลักษณะบริการทีด่ ี 5 ประการ ดังนี ้ คุณลักษณะของบริการ 1. การเข้าถึงบริการ - เข้าถึงบริการได้ง่าย

สะดวก โดยปราศ-

จากอุปสรรคทาง

ภูมิศาสตร์ การเงิน

สังคมวัฒนธรรม

ภาษา

รายละเอียดที่เป็นรูปธรรม 1.1 เป็นจุดแรกของการเข้ารับบริการสุขภาพที่

ประชาชนพึ่งพิงได้และจำเป็น มีการเยี่ยม

เยียนบ้าน (Home visit) และดูแลผู้ป่วย

นอนที่บ้าน (Home Ward) 1.2 เวลาการทำงานสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวบ้าน

ง่าย สะดวก โดยอยู่ใกล้ชุมชนและประชาชน ในเขตรับผิดชอบ การติดต่ออาจใช้โทรศัพท์

มือถือและสะดวกต่อการปรึกษา 1.3 เมื่อมีความจำเป็นทางสุขภาพในการเข้ารับ

บริการตามกรอบบริการของหลักประกัน

สุขภาพแห่งชาติ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม หรือ

ได้รับค่าชดเชยการรักษาจากกองทุนชุมชน 1.4 มีสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้พิการ ผู้สูง

อายุ เช่น ทางลาดชัน ห้องน้ำ เป็นต้น และ

มีล่ามแปลภาษาเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง

บริการ ซึ่งเป็นการลดข้อจำกัดด้านภาษาที่

เป็นชนเผ่าต่าง ๆ


46

คุณลักษณะของบริการ รายละเอียดที่เป็นรูปธรรม 2. การดูแลต่อเนื่อง 2.1 ประชาชนมีทีมสุขภาพประจำครอบครัว - ประชาชนได้รับการ 2.2 จัดให้มีทีมรักษาและทีมทำงานเชิงรุกที่ทำงาน

ดูแลโดยทีมสุขภาพ แบบบูรณาการประสานงานกันได้เป็นอย่างดี

ประจำครอบครัวซึ่ง รู้จักคนไข้ เข้าใจสภาพสังคม วิถีชีวิต สร้าง

ทำหน้าที่ดูแลประจำ การยอมรับเพื่อรวมกันแก้ปัญหาและดูแล

และรู้จักกันมาต่อ สุขภาพ มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงและยาวนาน

เนื่องยาวนาน ดูแลได้ กับประชาชน ทุกปัญหา 2.3 จัดทำแฟ้มครอบครัว ที่ต้องการดูแลต่อเนื่อง

มีปัญหาซับซ้อน ต้องการความช่วยเหลือเร่ง

ด่วน โดยทะเบียนของกลุม่ เป้าหมาย แยกตาม ความจำเป็นของการให้บริการ โรคเรื้อรัง

ผู้สูงอายุ ผู้พิการผู้ด้อยโอกาส โดยอาจจัด

เป็นระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์ GIS 2.4 มีระบบการจัดเก็บข้อมูลของครัวเรือนที่มี

ความถูกต้อง และทันเวลาเพือ่ ใช้ในการ

ติดตามและประเมินสถานการณ์ในชุมชน

47

คุณลักษณะของบริการ รายละเอียดที่เป็นรูปธรรม 3. การดูแลแบบองค์ 3.1 จัดระบบการเฝ้าระวังภาวะสุขภาพและความ

รวมและผสมผสาน เสี่ยงของประชากรทุกกลุ่มตามที่จำแนก - ขอบเขตการดูแลที่ 3.2 คัดกรอง ประชากรเป้าหมาย เพื่อค้นหา

ครอบคลุมหลายมิติ สภาพปัญหา ปัจจัยเสี่ยง ประชากรกลุ่มเสี่ยง

ปัญหาโรคทางกาย และผู้ป่วยรายใหม่ได้ จิตใจ อารมณ์ สังคม 3.3 ดำเนินกิจกรรม/โครงการ/จัดระบบบริการที่

และจิตวิญญาณและ ตอบสนองการดูแลประชากรตามความเสี่ยง

ในมิติรักษา ส่งเสริม ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบท

ป้องกันและฟื้นฟู

ของพื้นที่โดยเฉพาะการแพทย์แผนไทยและ

สภาพ การแพทย์ทางเลือก 3.4 ดูแลผู้ป่วยที่มีความซับซ้อนของปัญหา กาย–

จิต–สังคม เช่นผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส ผู้ป่วย

เรื้อรัง โดยทีมสหสาขา และหน่วยงาน

ภายนอก ในมิติรักษา ส่งเสริม ป้องกัน

ควบคุมและฟื้นฟูสภาพ 4. การประสานบริการ 4.1 มีการประเมิน วินจิ ฉัย และดูแลผูป้ ว่ ยโดย

- การดูแลที่เชื่อมโยง เชีอ่ มต่อกับหน่วยบริการอืน่ ๆ และส่งกลับมา

บริการหน่วยงานที่ ทีห่ น่วยบริการปฐมภูมิ และชุมชนเพือ่ ให้การ

เกี่ยวข้อง บ้าน

ดูแลอย่างต่อเนือ่ ง ชุมชน โดยมีการส่ง 4.2 มีระบบการส่งต่อและการให้คำปรึกษาของ

ต่อข้อมูลและระบบ เครือข่ายบริการปฐมภูมแิ ละการแพทย์ฉกุ เฉิน

คำปรึกษา อย่างเป็นระบบ 4.3 อสม.มีสว่ นร่วมในการดูแลการส่งไปและรับ

กลับ พร้อมข้อมูลสุขภาพของผูป้ ว่ ย 4.4 มีคมู่ อื /แนวทางในการดูแลปัญหาสุขภาพที ่ สำคัญร่วมกัน (แม่ขา่ ยรพ.และรพ.สต.)


48

49

คุณลักษณะของบริการ 5. ยึดชุมชนเป็นฐาน - การสร้างการมีส่วน

ร่วม และเสริมพลัง

ให้ กลุ่มเป้าหมาย

และภาคีให้พึ่ง

ตนเองทางสุขภาพ

ได้

u

รายละเอียดที่เป็นรูปธรรม 5.1 หน่วยบริการปฐมภูมิ สร้างความสัมพันธ์ทดี่ ี กับชุมชน จัดกระบวนการเรียนรู้ สนับสนุน

ข้อมูลวิชาการ เสริมสร้างศักยภาพของชุมชน

ในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพและจัดการ

พัฒนาระบบสุขภาพของชุมชนทีเ่ น้นการ

พัฒนาศักยภาพ (Empowerment) ของ

ชุมชน รูส้ ถานการณ์สขุ ภาพและศักยภาพของ

ชุมชน สะท้อนปัญหา สาเหตุและสร้างการมี

ส่วนร่วมในการจัดการปัญหาและสร้าง

กระบวนการและเปลีย่ นเรียนรูใ้ นการ มีสว่ น

ร่วมจัดการปัญหาสุขภาพ ออกแบบการจัด

บริการและดูแลสุขภาพชุมชนโดยชุมชน 5.2 ร่วมระดมทรัพยากรในชุมชน และมีสว่ นร่วม

ในการจัดการกองทุนสุขภาพ ดำเนินการ

สุขภาพกับประชาชนร่วมกับภาคีเครือข่ายใน

พืน้ ที่ เช่น อบต. เทศบาล และติดตาม

ประเมินผลการดำเนินงาน

ระบบข้อมูลสุขภาพชุมชน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นสถานบริการด่านแรกในด้าน การให้บริการด้านสุขภาพ ซึง่ ยกระดับจากสถานีอนามัย การดำเนินงานเน้น การปฏิบตั กิ ารเชิงรุก ซึง่ เน้นการดูแลประชากรด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน โรค ฟืน้ ฟู รวมทัง้ การรักษาผูเ้ จ็บป่วย จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของทุก ภาคส่วนในชุมชน ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำทางศาสนา ครู รวมถึง ประชากรในพื้นที่ การค้นหาปัญหาในระดับชุมชนมีความจำเป็นสำหรับการ

ปฏิบตั กิ ารเชิงรุกการจัดทำแผนทีท่ างเดินยุทธศาสตร์ (SRM) เป็นเครือ่ งมือ ที่ดีในการช่วยค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาของชุมชนรวมถึงช่วย เก็บรวบรวมข้อมูลทีส่ ำคัญ ระบบข้อมูลสุขภาพชุมชนที่มีความสำคัญในชุมชน เพื่อใช้ในการ บริหารจัดการหน่วยบริการและดูแลสุขภาพของประชากรในพื้นที่ รวมทั้ง การส่งต่อข้อมูลเป็นภาพรวมของอำเภอ จังหวัดและประเทศ ดังนี ้ 1. ขอ้ มูลทัว่ ไปหรือข้อมูลพืน้ ฐาน : รพ.สต.ควรมีขอ้ มูลพืน้ ฐานทีใ่ ช้ใน การตัดสินใจเพื่อรองรับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน/โครงการที่ สำคัญของชุมชน และใช้ในการวางแผนการดำเนินงานของหน่วยบริการ เนือ่ งจากทุกหน่วยงานจะเป็นเครือข่ายด้านสุขภาพ เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น การดำเนินงานมักเชื่อมโยงกันจึงควรต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วน เพื่อจัดการ บูรณาการแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกัน ลดภาระการทำงานซ้ำซ้อน 2. ข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวัง เป็นข้อมูลโรคที่ต้องเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ โรคทีเ่ ป็นภัยอันตรายต่อสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เพือ่ การติดตาม สังเกตการเกิดและการกระจายของโรค มารายงานหรือแจ้งข่าว เกีย่ วกับสถานการณ์ของโรคจากข้อมูลทีไ่ ด้ และดำเนินการต่อในการป้องกัน ควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ตรวจพบโรคหรือความผิดปกติตั้งแต่ ในระยะเริม่ แรกสามารถป้องกันหรือควบคุมได้อย่างทันท่วงที 3. ข้ อ มู ล สถานะสุ ข ภาพเพื่ อ สนั บ สนุ น ประกอบการวางแผนงาน โครงการกำหนดนโยบายต่าง ๆ ในระดับชาติและระดับท้องถิน่ เป็นข้อมูล หลักทีส่ ำคัญทีจ่ ะบ่งบอกถึงสภาวะสุขภาพและอนามัยของประชาชน ประกอบ ด้วย ข้อมูลประชากร ข้อมูลการเกิด ข้อมูลการตาย ข้อมูลการเจ็บป่วย เช่น โครงสร้างทางประชากร อัตราการเกิด น้ำหนักเด็กแรกเกิด อัตราทารกตาย


50

อัตรามารดาตาย อัตราการตายและอัตราการตายด้วยสาเหตุการตายต่าง ๆ อัตราการป่วยด้วยสาเหตุการป่วยต่าง ๆ อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ข้อมูลดังกล่าวเป็นตัวชี้วัดปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ประเทศไทยได้ใช้ดัชนี จำนวนและสาเหตุการตาย ความชุกและอุบัติการของการเจ็บป่วย ความ พิการ และเทคโนโลยีทมี่ อี ยูใ่ นการควบคุมป้องกันโรค 4. ข้อมูลประชากรตามกลุม่ วัย เป็นข้อมูลทีส่ ะท้อนมิตสิ ขุ ภาพแต่ละ กลุ่มอายุ ซึ่งมีประเด็นสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ข้อมูลสุขภาพเด็กและเยาวชน ประกอบด้วย ภาวะโภชนการ ภาวะสุขภาพ โรคและการบาดเจ็บ และปัจจัยเสีย่ งทัง้ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรม ทางสังคม ข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุประกอบด้วยภาวะสุขภาพ ภาวะทุพพลภาพ โรคและการบาดเจ็บ ข้อมูลสุขภาพวัยเจริญพันธุ์ ประกอบด้วยภาวะ เจริ ญ พั น ธุ์ ภาวะสุ ข ภาพ โรคและการบาดเจ็ บ และปั จ จั ย เสี่ ย งทั้ ง ด้ า น พฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมทางสังคม 5. ข้อมูลประวัติครอบครัวของประชากรในพื้นที่ เป็นข้อมูลเชิงกว้าง ได้จากการสำรวจ โดยใช้ Family folder เป็นการเก็บประวัติสุขภาพของ ประชากรทุ ก คนในพื้ น ที่ และติ ด ตามการเปลี่ ย นแปลงของสุ ข ภาพเป็ น

ระยะ ๆ เพือ่ ประโยชน์ในการวางแผนดำเนินงาน หรือการแก้ไขปัญหาทีต่ รง กับความต้องการของชุมชนเอง

51

การทำงานของรพ.สต.จะมีประสิทธิภาพได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีข้อมูลที่มี คุ ณ ภาพ คื อ ถู ก ต้ อ ง ครบถ้ ว น ทั น เวลา โรงพยาบาลส่ ง เสริ ม

สุขภาพตำบลเป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ของชุมชนที่มีความสำคัญที่สุด เป็นผู้วิเคราะห์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลของ ตนเองเป็นลำดับแรก 6. ข้อมูลด้านอนามัยสิง่ แวดล้อม ข้อมูลสิง่ แวดล้อมชุมชน ได้จากการ สำรวจสภาพแวดล้อมของชุมชนทีร่ บั ผิดชอบ เช่น โรงเรียน สถานทีท่ ำงาน โรงพยาบาล ตลาด บ้าน วัด สวนสาธารณะ ฯลฯ เพือ่ นำมาเป็นข้อมูลใน การเฝ้าระวังภาวะมลพิษ ทีจ่ ะมีผลต่อประชากรในพืน้ ที่ เอือ้ ต่อการมีสขุ ภาพ ดี ทัง้ นีโ้ ดยกระบวนการมีสว่ นร่วมพัฒนาของผูค้ นในสถานทีเ่ หล่านัน้ 7. ข้อมูลเพือ่ การบริหารจัดการ เช่น การเบิกจ่ายงบประมาณ ข้อมูล ด้านการบัญชีและการเงินของหน่วยบริการ ข้อมูลด้านสถานการด้านการเงิน การคลัง เวชภัณฑ์ ครุภณ ั ฑ์และวัสดุสำนักงานต่าง ๆ ในหน่วยบริการ การทำงานของ รพ.สต. จะมีประสิทธิภาพได้ จำเป็นอย่างยิง่ ทีต่ อ้ งมี ข้อมูลที่มีคุณภาพ คือ ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา โรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพตำบลเป็นหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ จะเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูล พื้นฐานของชุมชนที่มีความสำคัญที่สุด เป็นผู้วิเคราะห์และใช้ประโยชน์ จากข้อมูลของตนเองเป็นลำดับแรก ซึง่ ทีจ่ ะส่งผลกระทบต่อภาพรวมของ ทัง้ ประเทศต่อไป


52 u การทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน ่

“รูเ้ ขา รูเ้ รา รบร้อยครัง้ ชนะร้อยครัง้ ” รูเ้ ขา คือ รพ.สต.ต้องเข้าใจ อปท.คืออะไร องค์ประกอบ บทบาทหน้าที่ กระบวนการทำงาน และสุดท้าย เข้าใจความต้องการของคนท้องถิ่น เข้าใจวัฒนธรรมของการทำงานแบบคน ไทย ความเป็นเครือญาติพวกพ้อง อปท.มาจากการเลือกตั้งของชาวบ้าน องค์ประกอบเหมือนทำงานคณะรัฐบาลน้อยในพื้นที่ มีนายกอบต. (นายก เทศมนตรี) มีสภาอบต. (สภาเทศบาล) พิจารณางบประมาณควบคุมทีม บริหาร และมีฝา่ ยราชการประจำมีปลัดเป็นหัวหน้า มีหวั หน้าฝ่ายสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม รู้เรา คือ รพ.สต.มีภารกิจทำให้เกิดสุขภาวะของชุมชน

เป้าหมายสุดท้ายชุมชนเข้มแข็งสามารถจัดการสุขภาพตนเองได้ แต่รพ.สต. มีข้อจำกัดเรื่องกำลังคนและงบประมาณต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น และชุมชน เป้าหมายการทำงานกับท้องถิ่นไม่ใช่เพื่อของบประมาณมาทำงานเอง แต่ทำอย่างไรจะให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง เข้าใจงานสาธารณสุข วิเคราะห์จัดการ ปัญหาได้เอง ติดตามประเมินงานได้ โดยการทำงานร่วมกัน ท้องถิน่ /ชุมชน เป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนงาน และมีรพ.สต.เป็นฝ่ายสนับสนุนวิชาการ/ องค์ความรู ้ ความต้องการของแต่ละฝ่ายต้องมีความเข้าใจตรงกันและได้รับการ ตอบสนองในการทำงานแบบภาคีเครือข่าย อปท.ต้องการนโยบายที่ดี ส่งผลต่อฐานเสียงในชุมชนมีงบประมาณ และเครือ่ งมือทางนโยบาย รพ.สต. ต้องการผลงานด้านสาธารณสุขทีต่ อ้ งรายงานต่อระบบ มีองค์ ความรูส้ ขุ ภาพและทรัพยากร ชาวบ้านต้องการโครงการทีด่ มี ผี ลกระทบต่อสุขภาพ ช่วยแก้ไขปัญหา สุขภาพได้จริง มีทนุ ทางสังคม (ปราชญ์ ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ ทรัพยากร) รูปธรรมการทำงานคือ การวางแผนและดำเนินงานร่วมกันทัง้ 3 ฝ่าย อปท.เน้นงานนโยบาย นำเสนอต่อประชาชน เช่น เป็นประธานเปิดงาน

53

พบปะมวลชน ฝ่ายสาธารณสุขสนับสนุนวิชาการ ร่วมดำเนินการ ชาวบ้านมี ส่วนร่วมออกแบบโครงการ มีสว่ นร่วมในการดำเนินการ และรับได้ประโยชน์ จากการดำเนินงาน ทำอย่างไรจะได้พวก รพ.สต.ต้องยื่นมือออกไป การออกไปทำงาน ร่วมกัน พบปะไม่เป็นทางการ เชิญมาทำงานร่วมกัน นำข้อมูลสุขภาพไป

เสนอให้อปท.ได้รับทราบ เมื่อสร้างความสัมพันธ์ได้ระดับหนึ่ง การเชิญมา ทำงานเป็นคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.จะได้รับความสะดวก ได้รับความ ร่วมมือ เริม่ จากการให้กอ่ น ให้ความช่วยเหลือ ให้ความไว้วางใจว่าท้องถิน่ ดูแลสุขภาพประชาชนได้

“รูเ้ รา” ก่อน “รูเ้ ขา” ก้าวแรกทีส่ ำคัญ

สิ่ ง ที่ ย ากในการทำงานแบบภาคี เ ครื อ ข่ า ย คื อ การก้ า วออกจาก อาณาจักรที่เราคุ้นชิน ก้าวออกจากการเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องชื่นชมจาก คนภายนอกมาสู่การเป็นผู้ต้องชื่นชมผู้อื่น เราต้องก้าวออกไปเรียนรู้เครือ ข่ายของเรา ท้องถิน่ ชุมชน เขารูส้ กึ นึกคิดมีมมุ มองเรือ่ งสุขภาพเป็นอย่างไร มีศกั ยภาพอะไรบ้าง ความสนใจ ความต้องการ คำถามสำคัญคือ จะให้เขามี ส่วนในการตัดสินใจเรื่องสุขภาพของเขาอย่างไร ด้วยตัวเขาเองให้มากที่สุด และที่ ส ำคั ญ ทำอย่ า งไรให้ เ ราได้ เ รี ย นรู้ ที่ จ ะทำงานแบบใหม่ แสวงหา ศักยภาพของตนเองในการทำเรือ่ งยาก ๆ ของสุขภาพให้เกิดผลเป็นจริงได้


54

55

ด้วยเคล็ดลับการทำงาน 3 ป.

คือ ป.1 “เปิดความคิด” ของตนเองทีจ่ ะสร้างการ “รับรู”้ ต่อสิง่ ใหม่ ๆ อย่างปราศจากอคติ ...อย่าด่วนตัดสินจากประสบการณ์เดิม ๆ ของเราทีต่ อ้ ง ฝึกตนเองให้เปิดรับฟัง รับรู้ เรื่องราวของภาคีเครือข่ายใช้ศักยภาพของทุก คนในเครือข่าย ป.2 “เปิดหัวใจ” ของตนเองทีจ่ ะสัมผัสได้ถงึ “ความรูส้ กึ ” ของภาคี เครือข่ายทีม่ าทำงานร่วมกัน โดยยึดหลักทีว่ า่ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” จะส่ง ผลให้การทำงานร่วมกันอย่างไว้วางใจและพึงพอใจทีจ่ ะทำงานร่วมกัน ป.3 “เปิดเจตจำนงค์” การเปิดจุดมุง่ หมายของตนเองของภาคีเครือ ข่ายที่มาทำงานร่วมกัน หาจุดมุ่งหมายของการทำงานร่วม เช่น การมา ทำงานเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของชาวบ้าน และสะท้อนผลประโยชน์ที่ภาคี เครือข่ายจะได้รบั สาธารณสุข (รพ.สต.) จะได้อะไรจากการที่ประชาชนมี สุขภาวะ ภาระการรักษาโรคที่ป้องกันได้ลดลง เจ้าหน้าที่เหนื่อยน้อยลง

ท้องถิน่ สร้างนโยบายทีด่ ี ชาวบ้านเจ็บป่วยน้อยลง อปท.ได้ฐานคะแนนเสียง

“รูเ้ ขา” เพือ่ ให้เข้าใจเขา...

การทำงานของอปท.และการสนับสนุนงบประมาณต้องดำเนินการ

ผ่านแผนพัฒนา 3 ปี และแผนงบประมาณประจำปี รพ.สต.ต้องทราบ

ขัน้ ตอน กรอบเวลาการทำแผน ผูด้ ำเนินการ และผูอ้ นุมตั แิ ผนต่าง ๆ การ ทำงานของรพ.สต. ต้องปรับให้เข้ากับ แผน-คน-เวลา ของอปท.

จากภาพ เป็นขัน้ ตอนการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปีทเี่ ปรียบได้กบั การจัด ทำแผนปฏิบตั กิ ารประจำปี ทีไ่ ด้รวมแผนคน แผนงานและแผนงบประมาณ เข้าด้วยกัน สูก่ ารประกาศใช้ทมี่ คี วามต่างเพียงชือ่ เรียกเท่านัน้ หากเราได้รบั รูแ้ ละเรียนรูท้ งั้ “คน” “งาน” และ“กรอบเวลา”จากผังขัน้ ตอนการจัดทำแผน ดังกล่าวได้อย่างเข้าใจ การเสนอแผนงานโครงการและทำงานร่วมกันกับ อปท.ก็จะไม่เป็นปัญหา และสามารถได้รบั ความร่วมมือในการทำงานสุขภาพ ร่วมกับอปท.


56

u

57

การทำงานผ่านกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพืน้ ที ่

จากบทบัญญัตขิ องพระราชบัญญัตหิ ลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 13(3) มาตรา 18(8) มาตรา 47 และมาตรา 48(4)ได้ กำหนดให้ อ งค์ ก รปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุน กำหนดหลั ก เกณฑ์ ใ ห้ องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน และภาคเอกชนทีไ่ ม่มวี ตั ถุประสงค์เพือ่ แสวงหา กำไร ดำเนินงาน บริหารจัดการเงินทุนในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ได้ตาม ความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการ โดยส่งเสริมกระบวนการมี ส่วนร่วมเพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่บุคคลในพื้นที่ ให้คณะ กรรมการสนับสนุนและประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ กำหนด หลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบ หลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจาก กองทุนจากบทบัญญัติ ฯ ดังกล่าว สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จึ ง สนั บ สนุ น งบประมาณให้ มี ก ารจั ด ตั้ งกองทุ น หลั ก ประกั น สุขภาพในระดับพืน้ ที่ เป็นรูปแบบของการทำงานทีเ่ กิดการมีสว่ นร่วมของทัง้ 3 ภาคส่ ว นที่ อ ยู่ ใ นพื้ น ที่ คื อ องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อบต.หรื อ เทศบาล) ประชาชน สถานีอนามัยหรือรพ.สต.ซึ่งควรมีการปรึกษาหารือ กำหนดบทบาทหน้ า ที่ ใ ห้ ชั ด เจนระหว่ า งกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพและ รพ.สต. ตัวอย่างรูปแบบการดำเนินงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ 1. มีการยกร่างแผนพัฒนาสุขภาพของตำบลร่วมกัน การยกร่างแผนฯ เน้นการมีสว่ นร่วมของทัง้ ท้องถิน่ ชุมชนและรพ.สต.เพือ่ ให้แผนพัฒนาสุขภาพฯ มี ค วามเป็ น ไปได้ ใ นทางปฏิ บั ติ ควรต้ อ งผลั ก ดั น ให้ เ ข้ า ไปอยู่ ใ นแผนงบ ประมาณของท้องถิ่นในรอบปีงบประมาณ เพื่อมีงบประมาณสนับสนุนการ ดำเนินงานพัฒนาสุขภาพของตำบลทีม่ คี วามต่อเนือ่ งและปฏิบตั ไิ ด้จริง 2. การดำเนิ น งานผ่ า นกองทุ น หลั ก ประกั น สุ ข ภาพในพื้ น ที่ มี ก าร กำหนดบทบาทหน้าทีท่ ชี่ ดั เจน เช่น ท้องถิน่ ดูแลเรือ่ งการควบคุมและป้องกัน

โรค รพ.สต.ดูแลเรื่องการให้บริการ การรักษาพยาบาล และกองทุนหลัก ประกันสุขภาพดูแลเรือ่ งการส่งเสริมสุขภาพ การมีสว่ นร่วมของชุมชน โดย กิจกรรมทัง้ หมดอยูภ่ ายใต้แผนพัฒนาสุขภาพของตำบล 3. การจัดตั้งคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.โดยมีองค์ประกอบของ

คณะกรรมการ ฯ ที่ประกอบด้วย ผู้แทนของอบต. ผู้นำชุมชน ปราชญ์

ชาวบ้าน เจ้าหน้าทีส่ าธารณสุขและผูแ้ ทนของชุมชนในพืน้ ที่ คณะกรรมการ พัฒนารพ.สต.ควรต้องมีบทบาทในการสนับสนุนการทำงานของรพ.สต.ทัง้ ใน ด้านการบริหารและการบริการ ด้านการบริหาร เช่น การจัดหาทุนสนับสนุน การดำเนินงานของรพ.สต.ในรูปแบบการรับบริจาคทั่วไป การจัดทอดผ้าป่า การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากอบต.การมีบทบาทในการคัดเลือก เยาวชนในชุมชนที่จะรับทุนของท้องถิ่นเพื่อไปเรียนพยาบาลและกลับมา ทำงานในชุมชน ด้านการบริการ เช่น การสนับสนุนให้มีการค้นหาคนที่ม ี จิตอาสาในชุมชน ให้เข้ามาร่วมเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย เรือ้ รังทีบ่ า้ น ซึง่ ในบางพืน้ ทีส่ ามารถหาอาสาสมัครได้หมูบ่ า้ นละ 2-3 คน จะ ทำให้รพ.สต.มีบคุ ลากรช่วยงานได้เพิม่ ขึน้ จากเดิมทีม่ อี สม.ช่วยทำงานอยูเ่ ดิม แล้ว 4. การเป็นทีป่ รึกษาและสนับสนุนข้อมูลสถานะสุขภาพหรือข้อมูลทาง วิชาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อมูลสถานะสุขภาพของพื้นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการพัฒนา ระบบสุขภาพของพื้นที่ เจ้าหน้าที่ของรพ.สต.ควรต้องหาเงื่อนไขและโอกาส ในการนำเสนอข้อมูล สถานะสุขภาพของประชาชนในตำบล ให้แก่ท้องถิ่น เพือ่ ให้มกี ารใช้ประโยชน์ขอ้ มูลในการวางแผนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ต่อไป 5. การทำหน้าทีเ่ ป็นผูป้ ระสานและเชือ่ มโยงการทำงานกับภาคีตา่ ง ๆ ที่ทำงานเรื่องสุขภาพ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม


58

59

พัฒนาชุมชน พัฒนาสังคมและความมัน่ คงมนุษย์จงั หวัด (พมจ.) ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) เจ้าหน้าที่รพ.สต.ควรพัฒนาบทบาทของ ตนเองให้เป็นนักจัดการสุขภาพระดับพืน้ ที่ (Local Health Manager) คือ ทำหน้าที่ประสานเชื่อมโยงภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพและ พัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ให้มีการสานพลังร่วมกันของทุกภาคีใน ตำบล อำเภอและจังหวัด โดยมีเป้าหมายสุดท้ายคือสุขภาวะของประชาชน ในตำบล u

การทำงานผ่านสมัชชาสุขภาพ

พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้ให้ความหมายของ “สมัชชา สุขภาพ” ว่าเป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์ เพื่อนำไปสู่การเสนอ แนะนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพหรือความมีสุขภาพดีของประชาชน โดย จัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและอย่างมีส่วนร่วมและมีบทบาทที่สำคัญ ต่อสังคม ดังนี ้ 1. สมัชชาสุขภาพมีฐานะเป็น “พื้นที่สาธารณะเพื่อการแลกเปลี่ยน เรียนรูข้ องภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม” เป็นการเปิดพืน้ ทีส่ าธารณะทางสังคม อย่างกว้างขวางและหลากหลาย เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้มาพบปะพูด คุยแลกเปลีย่ นประสบการณ์และค้นหาทางออกร่วมกันในประเด็นปัญหาร่วม ที่แต่ละฝ่ายให้ความสำคัญ นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายและข้อเสนอต่อฝ่าย ต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ข้อเสนอนัน้ อาจดำเนินการได้ทนั ทีในระดับท้องถิน่ 2. สมัชชาสุขภาพมีฐานะเป็น “กลไกในการผลักดันนโยบายสาธารณะ” คุณค่าของกระบวนการสมัชชาสุขภาพที่สำคัญและแตกต่างจากการจัดเวที แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั่ว ๆ ไป คือ การมีบทบาทในการผลักดันนโยบาย สาธารณะเพื่อสุขภาพ หรือให้เกิดทางเลือกเชิงนโยบายที่เอื้อหรือสนับสนุน

การสร้างสุขภาวะของประชาชน ทั้งนี้เพราะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้นย่อม สามารถทำที่ไหนก็ได้และปัจจุบันก็มีกลุ่มองค์กรและเครือข่ายที่มีบทบาทใน การสนับสนุนและเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนผ่านการจัดเวที แลกเปลีย่ นเรียนรูต้ า่ ง ๆ ในระดับพืน้ ทีอ่ ยูแ่ ล้ว 3. สมัชชาสุขภาพในฐานะ “กระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วน ร่ ว ม” สมั ช ชาสุ ข ภาพสนั บ สนุ น ให้ ป ระชาชนมี ส่ ว นร่ ว มในกระบวนการ นโยบายสาธารณะ โดยอาศั ย ขบวนการประชาสั ง คมมาขั บ เคลื่ อ นเพื่ อ ประสานงานทุกภาคส่วนเป็นแบบเครือข่ายด้วยท่าทีและบรรยากาศแบบ พันธมิตร ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายมุ่งให้มีลักษณะเป็นแบบพหุภาคี ซึง่ สอดคล้องกับแนวคิดเรือ่ ง “ประชาธิปไตยแบบมีสว่ นร่วม” ทีร่ ฐั ธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2550) ระบุให้มีการขยายสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคแก่ ประชาชน และกำหนดให้รฐั ต้องสนับสนุนการมีสว่ นร่วมของภาคประชาชน


60

การพัฒนาสมัชชาสุขภาพ ได้นำเอายุทธศาสตร์ “สามเหลีย่ มเขยือ้ น ภูเขา” มาประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐานในการขับเคลื่อนกระบวนการ และกลไก การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ซึง่ องค์ประกอบของยุทธศาสตร์สามเหลีย่ ม เขยือ้ นภูเขา ดังภาพ การประยุ ก ต์ ใ ช้ ยุ ท ธศาสตร์ “สามเหลี่ ย มเขยื้ อ นภู เ ขา” ภายใต้ สถานการณ์ที่มีความแตกต่างกันนั้น จะเริ่มจากยุทธศาสตร์ในมุมใดก่อน ก็ได้ แต่จะขาดเสียมุมใดมุมหนึง่ ไม่ได้ จะต้องครบทัง้ สามมุมจึงจะทำให้เกิด กลไกและกระบวนการที่เสริมพลัง (Synergy) ซึ่งกันและกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพและนำไปสูป่ ระสิทธิผลสูงสุดในการพัฒนานโยบายสาธารณะ กล่าวโดยสรุปว่า “สมัชชาสุขภาพ” เป็นกระบวนการที่สร้างการ

เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยยึดถือการใช้ ข้อมูลเชิงประจักษ์ของพื้นที่ เป็น สำคัญ มากกว่าการแสดงความคิดเห็น ทั้งยังมุ่งเน้นสู่การกำหนดนโยบาย สาธารณะของท้องถิ่นร่วมกัน กล่าวคือทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและมีบทบาท ทัง้ การคิดริเริม่ การปฏิบตั กิ าร การประเมินผล และการได้รบั ผลประโยชน์ ร่วมกัน กระบวนการสมัชชาสุขภาพให้ความสำคัญที่ขั้นเริ่มต้น คือ การ

61

การประยุกต์ ใช้ยทุ ธศาสตร์ “สามเหลีย่ มเขยือ้ นภูเขา” ภายใต้สถานการณ์ทมี่ คี วาม แตกต่างกันนัน้ จะเริม่ จากยุทธศาสตร์ ในมุมใดก่อนก็ได้ แต่จะขาดเสียมุมใดมุมหนึง่ ไม่ ได้ จะต้องครบทั้งสามมุมจึงจะทำให้เกิดกลไกและกระบวนการที่เสริมพลัง (Synergy) ซึง่ กันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสูป่ ระสิทธิผลสูงสุดในการ พัฒนา นโยบายสาธารณะ วิเคราะห์ตนเองและการกำหนดเป้าหมายที่จะไปให้ถึงร่วมกันว่าคือสิ่งใด (ต้องการให้เกิดอะไรขึ้น?) และการจะบรรลุสิ่งที่ต้องการได้ (จะไปถึงสิ่ง นั้นได้อย่างไร?) ต้องมีการออกแบบกลไกสมัชชาสุขภาพที่สัมพันธ์กับ โครงสร้างของเครือข่ายและการจัดการเครือข่ายทีม่ ปี ระสิทธิภาพ รวมทัง้ การ อาศัย “ประเด็นร่วม” เป็นตัวเชื่อมร้อยประชาชนฝ่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

ดั ง นั้ น หากว่ า เราทุ ก ฝ่ า ยมี ค วามปรารถนาที่ จ ะร่ ว มมื อ กั น ทำให้ ก ารส่ ง เสริมสุขภาพและป้องกันโรคตามแนวคิดการบริการเชิงรุกและการมีสว่ นร่วม ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเป็นรูปธรรมขึน้ มาได้ สมัชชาสุขภาพ จึงเป็นกระบวนการทางเลือกสำคัญที่เราไม่อาจมองข้ามไปได้ เพียงแต่เรามี ความเข้าใจทีถ่ กู ต้องและรูจ้ กั ประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม


62

การเยีย่ มบ้าน ดูแลสุขภาพทีบ่ า้ น และการใช้บา้ นเป็นเรือน ผูป้ ว่ ย การดูแลสุขภาพที่บ้าน (Home health) เป็นรูปธรรมของการให้ u

บริการทีผ่ สมผสาน เพือ่ ช่วยให้การดูแลต่อเนือ่ งเป็นองค์รวมและตอบสนอง ต่อปัญหาความต้องการของประชาชนได้อย่างสอดคล้อง เป็นกระบวนการทัง้ ที่เป็นการเพิ่มคุณภาพ และประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพประชาชนมุ่ง หวังให้เกิดการกระตุ้นความสามารถในการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชน (Self-care) การพึ่งพากันเองภายในครอบครัว และระหว่างครอบครัวใน ชุมชน การเยีย่ มบ้าน (Home visit) ถือได้วา่ เป็นการใช้บา้ นแต่ละหลังเป็น เตียงผูป้ ว่ ย (Home ward) โดยมีพนื้ ทีร่ บั ผิดชอบทัง้ หมดเป็นอาณาเขตของ โรงพยาบาลหรือถ้ามองให้เล็กลง คือ หอผูป้ ว่ ยหนึง่ ๆ นัน้ เอง ซึ่งการเยี่ยมบ้านทำได้ทั้งที่เป็นการเยี่ยมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำครอบครัวอย่างต่อเนื่อง หรือ เป็นการดูแลโดยทีมสหสาขาที่มาจาก โรงพยาบาลมาร่วมให้บริการต่อเนือ่ งกับผูป้ ว่ ยในบ้านของผูป้ ว่ ย ในการจะเยี่ยมบ้าน มีคำถามใหญ่ 6 ข้อ ที่ควรตอบและเตรียมไว้ ดังนี ้ ข้อที ่ 1 การเยีย่ มบ้านนัน้ เพือ่ การดูแลผูป้ ว่ ยประเภทใด ข้อที ่ 2 ผูท้ จี่ ะไปเยีย่ มมีความต้องการในการดูแลมากน้อยแค่ไหน ข้อที ่ 3 ใช้บคุ ลากรประเภทใดบ้างในการให้การดูแล ข้อที ่ 4 กระบวนการดูแล ควรเป็นอย่างไร ข้อที ่ 5 จะติดตามผล และผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร ข้อที ่ 6 ประโยชน์ทนี่ า่ สนใจของการเยีย่ มบ้านอืน่ ๆ ข้อที่ 1 การให้การดูแลต้องมีการจัดแบ่งประเภทผู้ป่วยว่าเป็นระดับใด เพือ่ เตรียมการดูแลได้สอดคล้อง สามารถแบ่งประเภทการเยีย่ มบ้านออกได้ เป็น 4 ประเภท ดังนี ้

63

1. การเจ็บป่วย เช่น กรณีฉกุ เฉิน โรคฉับพลัน และโรคเรือ้ รัง 2. ผูป้ ว่ ยใกล้เสียชีวติ 3. การประเมินสิง่ แวดล้อมทีม่ ผี ลต่อสุขภาพของผูป้ ว่ ย 4. ผูป้ ว่ ยหลังออกจากโรงพยาบาล ในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีทรัพยากรจำกัด การจะใช้ให้เกิดความ

คุ้มค่ามากที่สุด ควรจัดแบ่งประเภทของผู้ป่วยและนำมาจัดทำทะเบียนเป็น

กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเยี่ยมบ้าน แล้วจัดเรียงลำดับ วางแผนการดูแล จัดทำ เกณฑ์ในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้บริการในการเยี่ยมบ้านตามความ เหมาะสมของแต่ละพืน้ ทีแ่ ละมาตรฐานการดูแลแต่ละกลุม่ ประชากร 1. การเยีย่ มบ้านกรณีเจ็บป่วย การเจ็บป่วยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่ 1.1 กรณีฉุกเฉิน การเยี่ยมบ้านประเภทนี้มักจะเป็นการช่วยเหลือ

เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินกับผู้ป่วยในครอบครัว เช่น หมดสติ หอบ

มาก เป็นต้น เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้มักต้องอาศัยการช่วย

เหลือที่บ้านหรือที่เกิดเหตุทันที ต้องมีระบบการติดต่อสำหรับ

เจ้าหน้าที่ที่ให้การช่วยเหลือ ทีมที่ช่วยเหลือควรจะมีความรู้และ

ทักษะเป็นอย่างดีในการช่วยเหลือเบือ้ งต้นในทีเ่ กิดเหตุ 1.2 โรคฉับพลัน เช่น โรคหวัด ท้องร่วง เป็นต้น การเยีย่ มบ้านจะ

ช่วยประเมินและในการช่วยเหลือเบือ้ งต้น 1.3 โรคเรื้ อ รั ง เช่ น โรคเบาหวาน ความดั น โลหิ ต สู ง อั ม พาต

เป็นต้น การเยี่ยมบ้านทำเพื่อประเมินและวางแผนในการช่วย

เหลือให้กบั ผูป้ ว่ ย ญาติ หรือหน่วยงานใดในการช่วยเหลือผูป้ ว่ ย


64

2. การเยีย่ มบ้านผูป้ ว่ ยใกล้เสียชีวติ ผู้ป่วยที่ใกล้เสียชีวิตเช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคไตวาย เรื้อรังระยะสุดท้าย เป็นต้น จุดประสงค์ในการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยประเภทนี ้ ได้แก่ 2.1 การดูแลระยะสุดท้าย ผู้ป่วยประเภทนี้มักจะทรมานจากอาการ

ปวดมาก บวม หรือหอบ การช่วยเหลือผู้ป่วย เช่นให้ยาลด

อาการปวด ลดอาการบวมให้ผู้ป่วย เจาะดูดน้ำในช่องท้อง ให้

ออกซิเจน เป็นต้น 2.2 ประกาศการเสี ย ชี วิ ต เมื่ อ เกิ ด การเสี ย ชี วิ ต ในบ้ า นการบอก

สาเหตุของการเสียชีวิตอาจจะผิดพลาดได้เนื่องจากผู้ประกาศ

การเสียชีวิตมักจะเป็นสมาชิกในครอบครัว การเยี่ยมบ้านโดย

ทีมรพ.สต.จะช่วยบอกสาเหตุการตายได้ และทำให้อัตราการ

ตายที่รวบรวมไว้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะใช้บอกแนวโน้มการ

เสียชีวติ และวางแผนในการป้องกันโรคเหล่านัน้ 2.3 ประคับประคองภาวะโศกเศร้า ทีมเยี่ยมบ้านสามารถให้การ

ประคั บ ประคองทั้ ง ร่ า งกายและจิ ต ใจแก่ ส มาชิ ก ในครอบครั ว

ตั้งแต่ระยะที่รู้ว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตจนถึงผู้ป่วย

เสียชีวิตลงไป และประเมินความผิดปกติที่เกิดขึ้นแก่สมาชิกใน

ครอบครัว เมือ่ ภาวะโศกเศร้าไม่หายไปในระยะเวลาทีส่ มควร 3. การเยี่ยมบ้านเพื่อประเมิน ประเมินสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ ของผู้ป่วย ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพกายต้อง ประเมินการใช้ยาของผูป้ ว่ ยซึง่ มักจะมีการใช้ยามาก ประเมินศักยภาพ และ พฤติกรรมของครอบครัวในการร่วมดูแล ประเมินความเสี่ยงของสมาชิกใน บ้านที่อาจจะถูกทำร้ายจากสมาชิกในครอบครัว ประเมินผู้ป่วยที่จำเป็นต้อง ไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล ประเมินร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเมื่อเกิน ความสามารถของสมาชิกในครอบครัวจะดูแลผูป้ ว่ ยได้

65

4. การเยีย่ มบ้านหลังจากออกจากโรงพยาบาล เป็นการติดตามเยี่ยมบ้านระยะพักพื้น ดูอาการผู้ป่วยที่บ้าน เช่น หลังคลอดหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัด ทีมสหวิชาชีพรพ.สต.มีส่วนช่วยดูแล ต่อ เนือ่ งทีบ่ า้ นได้ ให้ความรูญ ้ าติผดู้ แู ล ข้อที่ 2 มีความต้องการในการดูแลมากน้อยแค่ไหน เป็นการจัด ระดั บ ความสำคั ญ ของแต่ ล ะกลุ่ ม เป้ า หมายที่ ไ ด้ ขึ้ น ทะเบี ย นไว้ ในการ กำหนดการดำเนินการเยี่ยมบ้าน ซึ่งในการจะกำหนดวิธีการดำเนินการให้มี ผลสัมฤทธิ์ต้องเข้าใจสภาพของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่าต้องการการดูแล อย่างไร การไปเยี่ยมจะมีวัตถุประสงค์ในการบริการอย่างไร ซึ่งต้องจัดการ ให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น กรณีกลุม่ ผูป้ ว่ ยหลอดเลือดสมอง เป้าหมายที่สำคัญที่สุด คือ การฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาช่วย

เหลือตนเองได้ และมีคณ ุ ภาพชีวติ ใกล้เคียงปกติมากทีส่ ดุ วัตถุประสงค์ของการบริการ คือ การเตรียมที่อยู่ที่ปลอดภัย การ

เตรียมเครื่องช่วยในการดำเนินชีวิต เตรียมวางแผนการฟื้นฟูสภาพที ่ บ้าน และการเตรียมผู้ช่วยเหลือ จากวัตถุประสงค์นั้นก็ส่งผลต่อ

กระบวนการให้บริการ ต้องคำนึงถึงคือ “ความทันเวลา ความต่อเนือ่ ง

ของการได้รบั การฟืน้ ฟู” ผลจากพยาธิสภาพของโรคและผูป้ ว่ ยทีม่ ผี ล


66

การฟืน้ ฟูได้ผลดีจะต้องมีลกั ษณะดังนี ้ 1. ได้รบั การสนับสนุนจากครอบครัว และสังคมทีอ่ ยูใ่ กล้ชดิ กับผูป้ ว่ ย 2. มีการฟืน้ ตัวของความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ เร็ว ภายใน 1-2 สัปดาห์ 3. มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อลำตัว สะโพก หัวไหล่ โดยเร็วโดย เฉพาะกล้ามเนือ้ ส่วนต้นได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ 4. มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อแต่ละมัดโดยเร็วสามารถควบคุมกล้าม เนือ้ แต่ละมัดได้ภายใน 4-6 สัปดาห์ 5. มีอารมณ์ดี ไม่มอี าการซึมเศร้า 6. มีการรับรูท้ ดี่ ี ข้อที่ 3 ใช้บคุ ลากรประเภทใดบ้างในการให้การดูแล เป็นลักษณะ ของระบบบริหารจัดการให้บริการต้อง คำนึงถึงศักยภาพของบุคลากรที่ให้ บริการ การจัดการวิธีการสนับสนุนการให้บริการ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการ บริการที่ดี และเหมาะสมกับสภาพปัญหาของผู้ป่วย ทีมสุขภาพที่ให้บริการ ประกอบด้วยใครบ้าง เช่นต้องมีนักกายภาพ พยาบาล หรือแพทย์ไปร่วม ด้วยหรือไม่ ถ้ามีข้อจำกัดของบุคลากรในพื้นที่ ควรมีวิธีการอย่างไรใน

การสนับสนุนเพื่อให้สามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การพัฒนา ศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขในการเยีย่ มบ้าน

67

ข้อที่ 4 กระบวนการดูแลควรเป็นอย่างไร ข้อที่ควรต้องพิจารณา ประกอบ คือ ลักษณะของโรค สภาพปัญหาของผูป้ ว่ ย มาตรฐานและเกณฑ์ การเยีย่ มบ้าน ซึง่ มีผลต่อกระบวนการวางแผนการดำเนินการจัดบริการว่าจะ ต้องดูแลแบบเข้มข้น ถีเ่ พียงใด ไปดูแลอะไรบ้าง ดูแลโดยใคร รวมทัง้ คำนึง ถึงศักยภาพของหน่วยบริการ และต้นทุนของหน่วยบริการตลอดจนต้นทุน ทางสังคม ตัวอย่างเช่น u กรณีผป ู้ ว่ ยกลุม่ วัณโรค มาตรฐานการเยีย่ มบ้าน มีการกำหนดให้

แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเข้มข้น สัปดาห์ละ 1 ครัง้ ระยะ

ต่อเนือ่ ง เดือนละ 1 ครัง้ u กรณีกลุ่มหญิงหลังคลอด เกณฑ์การเยี่ยมบ้านกำหนดให้มารดา

และทารกหลังคลอดได้รับการตรวจอย่างน้อย 2 ครั้งจากแพทย์/

พยาบาล/เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือผดุงครรภ์โบราณที่ผ่านการ

อบรมภายในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด u ต้นทุนทางสังคม ประกอบด้วย ครอบครัว องค์กรท้องถิ่น และ

แหล่งทุนเครือข่ายอืน่ ๆ ในชุมชนจะมีสว่ นร่วมในการดูแลสมาชิก

ในชุมชนอย่างไร ข้อที่ 5 การติดตามผล และผลการดำเนินงานเป็นอย่างไร การจะตอบได้ ต รง ครอบคลุ ม สามารถตอบสนองและนำไปใช้ ประโยชน์ได้ทั้งในระดับของพื้นที่ เครือข่ายในพื้นที่และแสดงภาพรวมของ การบริการตลอดจนผลสัมฤทธิท์ ชี่ ดั เจน ขึน้ อยูก่ บั การตอบคำถามทัง้ 4 ข้อ มีความเหมาะสมหรือไม่ ถ้ามีการกำหนดเป้าหมายวัตถุประสงค์ชัดเจน กระบวนการการดำเนินการที่มีมาตรฐานถูกต้องทันเวลาและต่อเนื่องของ การเยีย่ มบ้านในแต่ละกลุม่ เป้าหมาย ก็จะตอบคำถามข้อนีว้ า่ เกิดผลสัมฤทธิ์ อย่างไร และติดตามเรื่องใดตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ไม่ใช่เพียงการรายงาน ผลสรุปว่ามีการเยีย่ มบ้านผูป้ ว่ ยกีค่ นกีค่ รัง้


68

69

ตัวอย่างเช่น u โครงการพั ฒ นาการจั ด ระบบการบริ ก ารสุ ข ภาพที่ บ้ า นคื อ

โรง พยาบาล : กรณีศึกษาอำเภอดำเนินสะดวก กำหนดวิธีการ

การประเมินโดยใช้แบบการประเมินความสามารถในการปฏิบัต ิ กิจวัตรประจำวัน (ADL) ใช้การวิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลีย่ u กรณีกลุม ่ ผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง : สามารถแสดงให้เห็นว่าความสามารถ

ในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการดีขึ้นหลังการดูแลที ่ บ้าน หมายความว่าผู้ป่วยและญาติสามารถให้การดูแลตนเองได้

และมีการฟืน้ ฟูตนเองได้อย่างมีประสิทธิผล u กรณีการดูแลกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง : พบว่าความสามารถ

ในการปฏิ บั ติ กิ จ วั ต รประจำวั น ในด้ า นการอาบน้ ำ และการรั บ

ประทานอาหาร รองลงมาในด้านการขับถ่ายอุจจาระและด้านการ

ขับถ่ายปัสสาวะ ในด้านการลุกนัง่ /เคลือ่ นย้าย ด้านการใช้หอ้ งสุขา

ด้านการเดิน ด้านการขึน้ /ลงบันได และด้านการอาบน้ำ หลังการ

จำหน่ายผู้ป่วยมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากขึ้น แสดงว่าผู้ป่วยที่มีผลการ

ฟื้นฟูได้ผลดีตามระยะเวลาที่ควรจะเป็นตามที่มีงานทางวิชาการ

กล่าวว่า การฟื้นตัวของความสามารถในการควบคุมการขับถ่าย

ปัสสาวะได้เร็ว ภายใน 1-2 สัปดาห์ มีการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ

ลำตัว สะโพก หัวไหล่ โดยเร็วโดยเฉพาะกล้ามเนื้อส่วนต้นได้

ภายใน 2-4 สัปดาห์ และมีการฟืน้ ตัวของกล้ามเนือ้ แต่ละมัดโดย

เร็วสามารถควบคุมกล้ามเนื้อแต่ละมัดได้ภายใน 4-6 สัปดาห์

เป็นต้น

ข้อ 6 ประโยชน์ทนี่ า่ สนใจของการเยีย่ มบ้านอืน่ ๆ การเยี่ยมบ้านนำสู่เส้นทางเดินของข้อมูลพื้นที่ที่ครอบคลุมทั้งระบบ เช่น ข้อมูลตัวผูป้ ว่ ยทุก ๆ ด้าน ครอบครัว วิถชี วี ติ และสภาพแวดล้อมของ พืน้ ที่ นำไปสูก่ ารวิเคราะห์ปญ ั หาของพืน้ ทีไ่ ด้ เป็นการสะท้อนสถานะสุขภาพ ของประชาชนในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบของการบริการสุขภาพ ตัวอย่างเช่น การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 1 ราย เป็นรายงานการดูแลผู้ป่วยที่ บ้าน 1 ราย (Home Health Care) และการดูแลครอบครัว 1 ครอบครัว (Home Visit) ทำให้ ไ ด้ ข้ อ มู ล คุ ณ ลั ก ษณะส่ ว นบุ ค คลของประชากรที่

รับผิดชอบในทุกกลุม่ อายุทอี่ ยูภ่ ายใน 1 ครอบครัว เช่น u กลุม ่ มารดาหลังคลอดและทารก ประเมินพฤติกรรมการเลีย้ งดูเด็ก

ของมารดาและครอบครัว การส่งเสริมเลีย้ งลูกด้วยนมแม่ การรับ

วัคซีน การวางแผนครอบครัว และปัญหาจิตเวชหลังคลอด เป็นต้น u กลุ่ ม โรคเรื้ อ รั ง เป็ น การประเมิ น พฤติ ก รรมการดู แ ลสุ ข ภาพและ

พฤติกรรมเสีย่ งของประชาชนในพืน้ ที่ เช่น การรับประทานอาหาร

การสูบบุหรี่ และการดืม่ สุรา เป็นต้น ทำให้สามารถวิเคราะห์และ

ขึน้ ทะเบียนกลุม่ ได้อย่างครอบคลุม u ด้านสิง ่ แวดล้อม ทำให้สามารถประเมินสภาพแวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อการ

เจ็บป่วยหรือไม่อย่างไร โดยเฉพาะโรคระบาดต่าง ๆ ตามฤดูกาล

เช่น ไข้เลือดออก ไข้ฉหี่ นู เป็นต้น u ด้ า นลั ก ษณะของชุ ม ชน ประเมิ น ลั ก ษณะความสั ม พั น ธ์ ข อง

ประชาชนในพืน้ ที่ ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นต้น


70

องค์ประกอบการประเมินขณะเยีย่ มบ้าน การประเมินสมาชิกในครอบครัวและสิง่ แวดล้อมให้รอบด้าน ประกอบ ด้ ว ยการประเมิ น ด้ า นต่ า ง ๆ ดั ง ต่ อ ไปนี้ เพื่ อ ช่ ว ยให้ จ ำได้ ง่ า ย ย่ อ เป็ น INHOMESSS หรือจำเป็นระบบร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

(bio psycho social spiritual) คือ I : การเคลือ่ นไหว (immobility) ได้แก่ การประเมินกิจวัตรประจำ วัน (Activities of daily living) เช่นการอาบน้ำ การเคลือ่ นย้าย การแต่ง ตัว การเข้าห้องน้ำ การกินอาหาร และการปัสสาวะและอุจจาระ ประเมินว่า ต้องการความช่วยเหลือในกิจกรรมเหล่านีห้ รือไม่ ถ้ามีการช่วยเหลือเรียกว่า มีภาวะพึ่งพาในกิจวัตรประจำวัน หรือประเมินการใช้เครื่องมือในกิจวัตร ประจำวัน (Instrumental activities of daily living) ได้แก่ การใช้โทรศัพท์ การรับประทานยา การไปตลาด ชำระบิล เตรียมอาหาร และทำงานบ้าน ทีมเยี่ยมบ้านสามารถสังเกตกิจวัตรประจำวันได้หรือขอร้องให้ผู้ป่วยทำให้ด ู เมื่อพบว่ามีปัญหาในการพึ่งพาสามารถที่จะแก้ไขปัญหาให้กับผู้ป่วยและ สมาชิกในครอบครัวได้ N : อาหาร (nutrition) ได้แก่ การประเมินลักษณะอาหาร ชนิด ของอาหารที่ผู้ป่วยและครอบครัวรับประทานว่าเหมาะสมกับโรคหรือภาวะที่ เป็นหรือไม่ ประเมินการเก็บอาหาร เป็นต้น H : สภาพบ้ า น (housing) ได้ แ ก่ การประเมิ น สภาพบ้ า น ครอบครัวทีด่ แู ลเหมาะสมกับโรคทีผ่ ปู้ ว่ ยเป็นหรือไม่ เช่น ผูป้ ว่ ยเป็นวัณโรค ควรอยู่ในห้องที่มีหน้าต่างอากาศถ่ายเทได้สะดวก ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่า เสือ่ มควรทีจ่ ะนอนอยูช่ นั้ ล่างของบ้านไม่เดินขึน้ บันได เป็นต้น O : เพือ่ นบ้าน (other people) ได้แก่ การประเมินดูเพือ่ นบ้านของ ครอบครัวที่ดูแลความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อครอบครัว

ผูป้ ว่ ยมีปญ ั หาเพือ่ นบ้านสามารถให้การช่วยเหลือได้หรือไม่ M : การใช้ยา (medication) ได้แก่ ประเมินวิธกี ารใช้ยา ผูป้ ว่ ยกิน ยาสม่ำเสมอและถูกต้องหรือไม่ ภาชนะที่บรรจุยาเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วย

71

เป็นหรือไม่หรือเหมาะสมกับยานัน้ หรือไม่ เช่น ผูป้ ว่ ยเป็นโรคข้อการหยิบยา จากซองยาทำได้ยากต้องบรรจุยาไว้ในขวดยา ยาบางอย่างไม่ให้ถูกแสง เป็นต้น E : การตรวจร่างกาย (examination) ได้แก่ การประเมินจากการ ตรวจร่างกายของสมาชิกในครอบครัว S : แหล่งให้บริการ (services) ได้แก่ การประเมินว่ามีแหล่ง บริการอะไรบ้างที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยภายในครอบครัวหรือในชุมชนได้ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข บ้านประธานชุมชน หมอพื้นบ้าน อสม. เป็นต้น S : ความปลอดภัย (safety) ได้แก่ การประเมินสภาพบ้านของ

ผูป้ ว่ ย ตัวบ้าน เฟอร์นเิ จอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวก เป็นต้น ว่ามีความ ปลอดภัยเพียงพอสำหรับครอบครัวในการอยู่อาศัยเหลือไม่ เช่น สายไฟที่ เดินในบ้านใช้มานานควรจะเปลี่ยนหรือไม่ พื้นห้องน้ำลื่นเกินไปหรือไม่ บันไดบ้านชันหรือมีราวให้จบั หรือไม่ เป็นต้น S : จิตวิญญาณ (spiritual) ได้แก่ การประเมินในเรื่องของการ ค้นหาความหมาย วัตถุประสงค์และความจริงในชีวติ ความเชือ่ และคุณค่าใน สิ่งที่แต่ละบุคคลอาศัยอยู่ เรื่องของความรู้สึก สิ่งที่อยู่ในจิตใจ รวมถึงสิ่งที่ บุคคลแสดงออกมาจากความเชื่อทางจิตวิญญาณของแต่ละบุคคล ส่วนของ จิตวิญญาณจะมีผลต่อสุขภาพได้ เช่น นิกายในศาสนาบางนิกายห้ามเติม เลือดจากผู้อื่น เมื่อผู้ป่วยท่านนั้นจำเป็นต้องผ่าตัดอาจต้องเตรียมการใช้ เลือดของผูป้ ว่ ยเองเมือ่ จำเป็น เป็นต้น เทคนิคทีใ่ ช้ขณะเยีย่ มบ้าน ขณะที่ เ ยี่ ย มบ้ า นสามารถใช้ วิ ธี ก ารต่ า ง ๆ เพื่ อ ให้ ไ ด้ ข้ อ มู ล สภาพ ครอบครัวและวางแผนในการช่วยเหลือ วิธีที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและให้การ ช่วยเหลือได้แก่


72

1. การสัมภาษณ์ โดยมีหลักคือฟังด้วยความเข้าใจ ใช้คำถามเปิด

อย่ า แสดงความรี บ ร้ อ น อย่ า ขั ด จั ง หวะ ฟั ง ให้ เ ข้ า ใจทั้ ง ที่ เ ป็ น

ปรากฏการณ์ และเบือ้ งหลังความคิดหรือทีม่ าของอาการต่าง ๆ 2. การสังเกต ในสิ่งที่ผู้ป่วยและสมาชิกภายในครอบครัวทำ สังเกต

สีหน้า อาการ ท่าทีระหว่างบุคคล สังเกตสภาพบ้านและเพือ่ นบ้าน 3. การให้คำแนะนำและให้คำปรึกษา 4. การใช้จิตบำบัด สำหรับกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่มีเวลา การใช้แบบ

สัมภาษณ์ในระยะเวลาประมาน 15 นาทีในการสัมภาษณ์และ

ให้การช่วยเหลือทางด้านจิตใจผู้ป่วยได้แก่เทคนิค BATHE ได้แก่

สถานการณ์ขณะเกิดเหตุการณ์ (Background situation) อารมณ์

ของผูป้ ว่ ย (Affect) ปัญหาอะไรทีร่ บกวนผูป้ ว่ ยมากทีส่ ดุ (Troubling

for the patient) วิธีการที่ผู้ป่วยจัดการกับปัญหานั้น (Handing

the problem) ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy) 5. การตรวจร่างกาย 6. การรักษาและพยาบาล อาจประสานกับแพทย์ให้เขียนใบสั่งยาให้

ผู้ป่วยหรือญาติไปรับเองที่โรงพยาบาลหรือร้านขายยา หรือมีการ

ทำหัตถการโดยต้องเตรียมอุปกรณ์ไป ขัน้ ตอนหลังการเยีย่ มบ้าน หลังจากออกจากบ้านผูป้ ว่ ย ทีมเยีย่ มบ้านควรมีขนั้ ตอนต่อไป โดยมา สรุปปัญหาทีพ่ บและการรักษาทีใ่ ห้ แล้วเขียนบันทึกข้อมูล u สรุ ป ปั ญ หาครอบครั ว ที ม งานเยี่ ย มบ้ า นกลั บ มาสรุ ป ปั ญ หา ครอบครัวที่พบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ในการ เยีย่ มบ้านแต่ละครัง้ ไม่จำเป็นต้องประเมินให้ครอบคลุมทุกด้าน ควรประเมิน ตามความจำเป็นและวัตถุประสงค์ที่เยี่ยมบ้านแต่ละครั้ง รวมถึงสรุปการ รักษาและความช่วยเหลือที่ให้แก่ครอบครัว และวางแผนในการเยี่ยมบ้าน ครัง้ ต่อไป

73

u บั น ทึ ก ข้ อ มู ล การบั น ทึ ก ข้ อ มู ล ควรต้ อ งมี ส มุ ด หรื อ แฟ้ ม ประจำ ครอบครัว เพือ่ ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลการดูแลครอบครัว ในการเยีย่ มแต่ละ ครัง้ รูปแบบทีใ่ ช้ในการบันทึกอาจใช้รปู แบบ SOAP อันประกอบด้วย ประวัติ (Subjective) ได้แก่ ประวัตกิ ารเจ็บป่วยสำคัญ ปัจจุบนั

อดีต ครอบครัว รวมถึงการทบทวนตามระบบ การตรวจร่างกายและผลทางห้องปฏิบัติการ (Objective) ได้แก่

การตรวจร่างกายและผลทางห้องปฏิบตั กิ ารทีไ่ ด้ทำ การประเมิน (Assessment) ได้แก่ การประเมินการวินิจฉัยทั้ง

ด้าน บุคคล ครอบครัว และสิง่ แวดล้อม ซึง่ อาจจะวินจิ ฉัยไว้เดิม

แล้ว หรือเป็นปัญหาใหม่ สามารถบันทึกการวินจิ ฉัยเป็นปัญหา

เช่น ปวดท้อง (abdominal pain) การทะเลาะกันในครอบครัว

อาการซึมเศร้า การจัดการตนเอง การเคลือ่ นไหว กรณีทไี่ ม่ทราบ

การวินิจฉัยที่แน่ชัด ควรจะบอกสภาวะของปัญหานั้นว่า active

หรือ inactive ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของผู้ป่วย หรือบุคคลที่ได้รับ

การเยีย่ ม การวางแผน (Plan) ได้แก่ การวางแผนการวินจิ ฉัยโรค หรือการ

ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่งไปฟื้นฟู หรือแผนการพูดคุยกับ

ครอบครัว การวางแผนการดูแลโดยดูจากสภาวะของปัญหา ถ้า

ปัญหา active ต้องให้การดูแล รักษาให้ทันเวลา ส่วนปัญหาที

่ inactive อาจจะสังเกตดูอาการ ผู้ป่วยอาจจะกินยาเดิม หรือ

รักษาแบบเดิมต่อไป หรือแผนการค้นหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ

เพิม่ เติม การบันทึกข้อมูล จะทำให้ทมี เยีย่ มบ้านทราบถึงข้อมูลทีเ่ กิดขึน้ และ

การวางแผนการเยีย่ มครัง้ ต่อไป รวมถึงสามารถให้บคุ ลากรอืน่ ทีจ่ ะ

ร่วมเยีย่ มทราบข้อมูลทีผ่ า่ นมา


74

75

สรุป ความรู้ ทั ก ษะและเจตคติ ที่ ดี ข องที ม บุ ค ลากรในรพ.สต.และภาคี

เครือข่าย จะทำให้การดูแลผูป้ ว่ ยในบ้านของผูป้ ว่ ยดียงิ่ ขึน้ u

การบริหารจัดการเวชภัณฑ์

การดำเนินงาน

1. การจัดระบบเพือ่ ให้ประชาชนได้รบั ยาอย่างเหมาะสมและเพียงพอ การจั ด ทำบั ญ ชี ร ายการยาของรพ.สต.ในระดั บ คปสอ.ให้ มี ค วาม

เหมาะสมกับปัญหาด้านสุขภาพของชุมชน ควบคุมการสั่งยาตามกำหนด หลักเกณฑ์หรือขอบเขตในการสัง่ ใช้ยาทีส่ อดคล้องกับศักยภาพของผูส้ งั่ ใช้ยา ดำเนินงานโครงการ Antibiotics Smart Use แก้ปัญหาเน้นการ ดำเนินการ 2 ส่วนควบคูก่ นั คือ u การให้ความรูแ ้ ละทำความเข้าใจกับบุคลากรทางการแพทย์ พร้อม ทัง้ ปรับทัศนคติและความเชือ่ เกีย่ วกับการใช้ยาปฏิชวี นะ และสร้างความเชือ่ มัน่ ในการรักษาโรคเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ใช้ยาปฏิชวี นะ u การลดแรงกดดันจากการเรียกร้องยาปฏิชว ี นะจากผูป้ ว่ ย โดยสร้าง ความเข้ า ใจกั บ ผู้ ป่ ว ยเกี่ ย วกั บ โรคและการใช้ ย าปฏิ ชี ว นะที่ ถู ก ต้ อ ง เพื่ อ ป้องกันมิให้ผู้ป่วยเรียกร้องยาปฏิชีวนะซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการเปลี่ยน พฤติกรรมการสัง่ ใช้ยา 2. มาตรฐานในการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ ให้มกี ารบันทึกการเบิกจ่ายทีเ่ ป็นปัจจุบนั บันทึกถูกต้อง เบิกจ่ายตาม หลัก first expire in first out (FIFO) ยามีจำนวนเพียงพอ อัตรายา คงคลังไม่เกิน 3 เดือน และไม่มยี าหมดอายุ


76

3. คลังเวชภัณฑ์ การจัดเก็บเวชภัณฑ์ยาในสถานทีม่ คี วามมัน่ คง ถาวร มีระบบป้องกัน ยาสูญหาย สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก ป้องกันแสงแดดและความชื้น ควบคุมอุณหภูมิ บันทึกอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง และจัดเก็บอย่างเหมาะสม คือ แยกยาอย่างเป็นหมวดหมู่ ไม่วางยาบนพืน้ 4. บริการเภสัชกรรม การส่งมอบและให้คำแนะนำการใช้ยา บุคลากรทีส่ ง่ มอบยาได้รบั การ อบรมให้ความรูใ้ นการส่งมอบและให้คำแนะนำการใช้ยาโดยเภสัชกร มีคมู่ อื ในการใช้ยาทีจ่ ำเป็นสำหรับการค้นคว้าข้อมูลด้านยา มีระบบในการเฝ้าระวัง และป้องกันความคลาดเคลือ่ นทางยา ฉลากยา มีข้อมูลการใช้ยาที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ชัดเจน ควรเป็น ระบบพิมพ์ฉลากยา ซึง่ มีรายละเอียดทีจ่ ำเป็น ดังนี ้ u ชือ ่ สถานทีจ่ า่ ยยา u ชื่ อ ผู้ ใ ช้ ย า (Name of patient)ต้ อ งระบุ ชื่ อ ผู้ ใ ช้ ย าไว้ เ ป็ น การ

เฉพาะตัว ชื่อของคน เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย และเพื่อความ

ปลอดภัยของผูบ้ ริโภคยานัน่ เอง u ชือ ่ ยาทีจ่ า่ ยและข้อบ่งใช้ เพือ่ ประโยชน์ในกรณีทผี่ ปู้ ว่ ยแพ้ยา และ

กรณีที่รับประทานยาหลายตัวหรือผู้ป่วยไปรักษาหลายแห่งเพื่อ

ป้องกันการใช้ยาซ้ำ u วิธีใช้ยา เนื่องจากขนาดในการรักษาของผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือน

กัน ขึน้ กับ อายุ น้ำหนัก พยาธิสภาพของโรค เป็นต้น u วัน เดือน ปี ทีจ ่ า่ ยยา u คำเตือน คำแนะนำพิเศษ ให้มรี ะบบการขอคำปรึกษาจากเภสัชกร กรณีพบปัญหาในการส่งมอบ และให้คำแนะนำการใช้ยา จัดทำเครือ่ งมือเพือ่ ส่งเสริมการใช้ยาของผูป้ ว่ ยให้ ถูกต้อง ปลอดภัย เช่น มีฉลากเสริม เอกสารความรู้ และนวัตกรรมอืน่ ๆ

77

ให้คำแนะนำเป็นพิเศษเฉพาะราย สำหรับผูป้ ว่ ยทีไ่ ด้รบั ยาทีม่ วี ธิ กี ารใช้ ยาเป็นพิเศษ เฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยา เช่น การแพ้ยา ผลข้างเคียง ของยา โดยตรวจสอบและประเมินการแพ้ยาเบือ้ งต้น ก่อนส่งต่อไปยังหน่วย บริการหลัก ประเมินผลและคัดกรองเพือ่ ป้องกันการเกิดปฏิกริ ยิ าระหว่างกัน ของยาทีส่ ำคัญได้ มีกระบวนการในการสือ่ สาร ให้ความรูแ้ ก่ผปู้ ว่ ยหรือญาติ เพือ่ ให้มกี ารจัดการยาอย่างถูกต้องเหมาะสม 5. การดูแลผูป้ ว่ ยต่อเนือ่ งทางเภสัชกรรม โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการดูแลต่อเนื่อง เช่น กลุ่มผู้ป่วยโรค เรื้อรัง ร่วมกันกับสหวิชาชีพ ในรพ.สต.จัดทำทะเบียนผู้ป่วยที่ต้องดูแล

ต่อเนื่อง ติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่อง เช่น การเยี่ยมบ้านด้านยา โทรศัพท์ สอบถาม เป็นต้น มีแนวทางการคัดกรองปัญหาทีเ่ กิดจากการใช้ยาในผูป้ ว่ ย เฉพาะโรค รวมถึงส่งเสริมการจัดการยาของผูป้ ว่ ยและญาติ ในกระบวนการ ติดตามดูแลผูป้ ว่ ยต่อเนือ่ ง 6. การส่งเสริมให้ประชาชนมีการจัดการยา ใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยเผยแพร่ความรู้เรื่องการใช้ยาสามัญประจำบ้าน การใช้ยา การ เก็บรักษายา การดูยาหมดอายุอย่างถูกต้อง การใช้ยาปฏิชวี นะอย่างเหมาะสม (Antibiotic smart use) เป็นต้น

ระบบการตรวจติดตามและนิเทศเพือ่ การพัฒนา

การติดตามการดำเนินการรพ.สต.ในระยะต้นของการพัฒนา อาจต้อง มีการติดตามกระบวนการทำงาน (Process evaluation) และทรัพยากรนำ เข้าที่สำคัญที่ได้รับการสนับสนุน (Input evaluation) การติดตามผลผลิต ผลลัพธ์เชิงปริมาณ อาจจะให้ความสำคัญระยะต่อไปโดยดูกระบวนการที่ สำคัญได้แก่ ผูป้ ฏิบตั ิ เข้าใจแนวคิดหลักการทำงาน (3 ช.) เป้าหมายระยะ ยาวของรพ.สต.ประชาชนมีสุขภาพดี สามารถจัดการตนเองทางสุขภาพได้


78

(self care) ระบบสนับสนุนในการทำงานของ CUP และ สสจ. การสร้าง การมีส่วนร่วม หน่วยบริการมีคุณลักษณะที่ดีเจ้าหน้าที่ปรับบทบาทการ ทำงานของตนเอง จากผูใ้ ห้บริการ (Health Provider) ไปสูผ่ จู้ ดั การสุขภาพ (Health Manager) ได้หรือไม่ เจ้าหน้าที่ รูจ้ กั เข้าใจ เข้าถึงกลุม่ เป้าหมาย ได้ดีหรือไม่ สามารถทำงานเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายเป็น เสริมพลังให้ชุมชน เข้มแข็งได้ ทีมนิเทศควรลงไปเยีย่ มติดตามพืน้ ที่ หาข้อมูลการทำงานของทีม รพ.สต.ว่าเจ้าหน้าที่สามารถประสานเชื่อมโยงหน่วยงานต่าง ๆ มาร่วม ทำงานหรือไม่ อสม. ชาวบ้านสามารถแสดงออกในความสามารถจัดการ สุขภาพด้วยตนเองหรือไม่ อาจจะแสดงให้เห็นด้วยการที่ชาวบ้านจะมีส่วน ร่วมในการเสนอการดำเนินงานเจ้าหน้าที่ทำงานเป็นผู้สนับสนุนเอื้อให้เกิด งานและมีความสุขในการทำงาน และเมื่อวิเคราะห์ตามแนวทางของแผนที่ ทางเดินยุทธศาสตร์ปฏิบตั กิ าร (Strategic linked model) จะพบว่าประเด็น สำคัญ 4 ประเด็น จะเป็นตัวบ่งชี้กระบวนการทำงานและปัจจัยนำเข้าที่ สำคั ญ ในการนำไปสู่ ก ารขั บ เคลื่ อ นกระบวนการและการสนั บ สนุ น ที่ มี ประสิทธิภาพต่อความสำเร็จของการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลได้ ดังต่อไปนี ้

79


80

ประเด็นสำคัญ กิจกรรม/กระบวนการ/การสนับสนุน 1. รพ.สต. มีสมรรถนะ 1.1 มี จ ำนวนบุ ค ลากรเหมาะสมกั บ งาน (1 :

และมี บ รรยากาศเอื้ อ 1,250) อำนวย 1.2 มี พ ยาบาลเวชปฎิ บั ติ 1:5,000 (ที ม ละ 2-3

คนต่อประชากร 10,000 คน) 1.3 ทีมงานมีการเรียนรู้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์

(SRM) และการจั ด การความรู้ เ พื่ อ ใช้ ใ นการ

พัฒนาการทำงานเป็นทีม 1.4 ที ม งานมี ข วั ญ กำลั ง ใจและมี ค วามสามารถ

สร้างจริยธรรมในการทำงานร่วมกัน 1.5 ทีมงานมีความรู้ ทักษะและพัฒนาต่อเนือ่ ง 1.6 มีระบบสือ่ สารทีม่ ปี ระสิทธิภาพ (โทรศัพท์ ติดต่อประชาชน Web cam) 1.7 สร้างกระบวนการจัดการข้อมูลที่ทันสมัยใช้ใน

การดูแลสุขภาพประชาชน 1.8 ที ม สหวิ ช าชี พ (แพทย์ ทั น ตแพทย์ เภสั ช )

เป็นพีเ่ ลีย้ งช่วยเหลือ 2. รพ.สต. มี ร ะบบ 2.1 ปฏิบตั งิ านเชิงรุก “ใช้บา้ นเป็นทีท่ ำงาน” บริหารจัดการองค์กรมี 2.2 ประสาน “การส่งต่อเอือ้ อาทร” ประสิทธิภาพ 2.3 สนั บ สนุ น ส่ ง เสริ ม การสร้ า งนวั ต กรรมบริ ก าร

วิธกี ารและผลผลิต 2.4 จัดเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรูอ้ ย่างมีประสิทธิภาพ 2.5 มี ก ารพั ฒ นาระบบสื่ อ สารสาธารณะเข้ า ถึ ง

ประชาชน 2.6 มีระบบการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนือ่ ง

81

ประเด็นสำคัญ กิจกรรม/กระบวนการ/การสนับสนุน 3. ภาคี ทุ ก ภาคส่ ว น 3.1 อปท. ประชาคม มูลนิธิ ชมรม ร่วมขับเคลือ่ น

ร่วมตัดสินใจขับเคลื่อน ทำแผน ทำประชาคมให้เกิดการปฏิบตั กิ ารอย่าง

และสนับสนุน ต่อเนือ่ ง 3.2 มีกองทุนสุขภาพร่วมแก้ไขปัญหาในพืน้ ที ่ 3.3 องค์กรต่าง ๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพดูแล “สุขภาวะ“ 3.4 ผูน้ ำชุมชน อสม. ร่วมงานแข็งขันดุจญาติมติ ร 3.5 มี ร.ร. อสม. เพื่อพัฒนาให้ชุมชนพึ่งตนเอง

รวมทัง้ สนับสนุนการดำเนินการของ ร.ร.อสม.ใน

ระยะยาว 4 . ชุ ม ช น เ ข้ ม แ ข็ ง 4.1 มี ก ารสร้ า งแกนนำเฝ้ า ระวั ง ปั ญ หาสุ ข ภาพใน

ประชาชนสามารถปรับ ชุมชน เปลีย่ นพฤติกรรมได้ 4.2 ชุมชนกำหนดมาตรการทางสังคมอย่างมีสว่ นร่วม 4.3 ชุมชนทำแผนชุมชนเอง


82

83

วัตถุประสงค์ของการประเมินโรงพยาบาลส่งเสริม

สุขภาพตำบล u

1. การประเมินเป็นเครื่องมือเพื่อให้รพ.สต.และผู้สนับสนุนรู้สภาพ ของรพ.สต.แต่ละแห่งเพือ่ เป็นแนวทางในการพัฒนา กิจกรรม กระบวนการ สิ่งสนับสนุนไม่ใช่ตัวชี้วัด แต่เป็นองค์ประกอบเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และ พัฒนาอย่างต่อเนือ่ ง 2. พิจารณาประเมินโดยการประเมินตนเองของรพ.สต.จากกรรมการ อำเภอและกรรมการจังหวัดเพือ่ ปรับปรุงกระบวนการ 3. จัดระดับผลการดำเนินการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาม เกณฑ์การประเมิน 4 ประเด็น ได้เป็น 3 ระดับ ดังนี ้ 3.1 รพ.สต. ระดับ ดี โดยมีกิจกรรมการประเมินครบอย่างน้อย 14 ข้อย่อย ใน 22 ข้อย่อย 3.2 รพ.สต. ระดับ ดีมาก ผ่านการประเมินระดับ “ดี” โดยมีขอ้ 3.4.1 ผ่านด้วย “มีการสร้างแกนนำเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพในชุมชน” 3.3 รพ.สต. ระดับ ดีเยีย่ ม ผ่านการประเมินระดับ “ดี” โดยมีขอ้ 3.4.1, 3.4.2 และ 3.4.3 ผ่านทั้งหมดแสดงถึงความเข้มแข็งของชุมชน ประชาชนสามารถปรับเปลีย่ นพฤติกรรมสุขภาพทีไ่ ม่พงึ ประสงค์ 4. สรุปจังหวัดทีไ่ ด้รบั การนิเทศ มีสถานะภาพ รพ.สต.ระดับ “ดี” กี่ แห่ง “ดีมาก” กีแ่ ห่ง “ดีเยีย่ ม” กีแ่ ห่ง

บทที่ 3

ภารกิจตามกลุม่ อายุ และภารกิจตามประเด็น


84

การสร้างความเข้มแข็ง คือกระบวนการพัฒนา ศักยภาพของบุคคล กลุม่ และชุมชน ให้สามารถจัดการแก้ ไข ปัญหาของตน โดยการร่วมมือทำกิจกรรมและควบคุมสิง่ ต่าง ๆ เพือ่ เปลีย่ นแปลงวิถชี วี ติ และสิง่ แวดล้อมทีอ่ าศัยอยู่ ค้นพบความสามารถของตนเองและตัดสินใจ ใช้ทางเลือกทีเ่ หมาะสมในการปรับเปลีย่ นพฤติกรรม และสิง่ แวดล้อมเพือ่ ควบคุมปัจจัยเสีย่ ง และนำไปสูก่ ารมีสขุ ภาพดี

85

บทที ่ 3

ภารกิจตามกลุม่ อายุและภารกิจตามประเด็น

ภารกิจตามกลุม่ อายุ ุ

การจัดการบริการ/การส่งเสริมสุขภาพตามกลุม่ อายุของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล u

การส่งเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการส่งเสริมให้ประชาชนเพิ่ม ความสามารถของตนเองในการควบคุมดูแล และพัฒนาสุขภาพของตนเองให้ ดีขนึ้ ภายใต้กลยุทธ์ การชีน้ ำ การเพิม่ ความสามารถ และการไกล่เกลีย่ กลยุทธ์หลักได้แก่ 1. การสร้างนโยบายสาธารณะเพือ่ สุขภาพ 2. การสร้างสิง่ แวดล้อมทีเ่ อือ้ ต่อสุขภาพ 3. การสร้างความเข้มแข็งกับกิจกรรมชุมชนเพือ่ สุขภาพ 4. การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล 5. การปรับเปลีย่ นบริการสาธารณสุข การส่งเสริมสุขภาพ เป็นวิธกี ารทำงานเชิงรุก ทีส่ ามารถดำเนินได้ทงั้ ในสถานบริการชุมชน (รพ.สต.) และนอกสถานบริการ โดยเฉพาะในชุมชน โดยมีวธิ กี ารปฏิบตั ิ ดังนี ้ 1. การกระตุน้ ชุมชน ประชาชน และองค์กรในชุมชน ให้มคี วามเข้าใจ เกิดความตระหนัก และให้ความสำคัญ กับการสร้างนโยบายสาธารณสุข เรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพในระดับชุมชน เช่น การ กระตุ้นและชี้แนะ ให้คนในชุมชนเห็นปัญหา จากข้อมูลต่าง ๆ ที่มีผลต่อ


86

สุขภาพ ตัวอย่างเรือ่ งนโยบายสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวติ ของชุมชน ใน การออกกำลังกายเพือ่ สุขภาพ มีการรณรงค์การออกกำลังกายด้วยวิธตี า่ ง ๆ เช่น การใช้ไม้พลองในผูส้ งู อายุ การมีลานกีฬา ตะกร้อ ฟุตบอล หรือการ กำหนดนโยบายสุขภาพของชุมชนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหา มลภาวะต่าง ๆ ทีเ่ กิดจากโรงงานอุตสาหกรรมในพืน้ ที่ หรือการใช้สารเคมี ในภาคเกษตรกรรม เป็นต้น 2. การสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อสุขภาพ ทั้งด้านกายภาพและทาง สั ง คม เพื่ อ ปกป้ อ งและส่ ง เสริ ม การมี สุ ข ภาพดี และการดู แ ล/จั ด การ

สิ่งแวดล้อมที่ไม่สร้างภัยคุกคามต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการดูแลบ้าน ที่อยู่ อาศัย ทีท่ ำงานให้เอือ้ ต่อการมีสขุ ภาพดีไม่เป็นทีเ่ พาะพันธุย์ งุ แมลงและสัตว์ ทีก่ อ่ ความรำคาญและนำเชือ้ โรค เช่น แมลงสาบ หนู มีการเก็บกวาดบ้าน และทีท่ ำงานให้สะอาดน่าอยู่ เป็นบ้านน่าอยู่ สถานทีท่ ำงานน่าอยู่ น่าทำงาน (Healthy Workplace) ศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่ โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ วัด

ส่งเสริมสุขภาพ ตลาดสดน่าใช้ รวมถึงการกำหนดพื้นที่เพิ่มการส่งเสริม

สุขภาพของชุมชน มีลานกีฬา ศูนย์ข้อมูลความรู้เรื่องสุขภาพ ลานเอนก ประสงค์ ส้วมสาธารณะทีส่ ะอาดและปลอดภัย มุมเลีย้ งลูกด้วยนมแม่ ตาม สถานทีต่ า่ ง ๆ ทีเ่ หมาะสม เป็นต้น 3. การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้านสุขภาพรพ.สต.มีบทบาท สำคัญในการสร้างความเข้มแข็ง (Empowerment) หรือการสร้างพลังให้แก่ ชุมชน การสร้างความเข้มแข็ง คือกระบวนการพัฒนาศักยภาพของบุคคล กลุม่ และชุมชน ให้สามารถจัดการแก้ไข ปัญหาของตน โดยการร่วมมือทำ กิจกรรมและควบคุมสิ่งต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ อาศัยอยู่ ค้นพบความสามารถของตนเองและตัดสินใจใช้ทางเลือกที่เหมาะ สมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงและ นำไปสู่การมีสุขภาพดี ทั้งนี้รพ.สต.จะต้องเรียนรู้ที่จะเป็นผู้สนับสนุนการ

87

สร้างความเข้มแข็งของชุมชน การมีส่วนร่วมของของชุมชนและบทบาทของ ชุมชนกับการดูแลส่งเสริมสุขภาพของตนเอง เช่น รพ.สต.นำกระบวนการ สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนสามารถนำไปแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเองได้ ด้วยการใช้ขอ้ มูลสุขภาพของชุมชน การนำกระบวนการกลุม่ มาให้ชมุ ชนเกิด ความตระหนักว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาของชุมชนที่ชุมชนมีศักยภาพทั้ง กำลังเงินและกำลังคนในการจัดการได้ด้วยตนเอง โดยมีรพ.สต.เป็นพี่เลี้ยง เช่น กิจกรรมการลดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในชุมชนที่จะนำไปสู่ ปัญหาอืน่ ๆ ชุมชนสามารถแก้ไขปัญหาได้ดว้ ยศักยภาพของตนเอง มีการให้ ความรู้เรื่องอนามัยการเจริญพันธุ์ การคุมกำเนิด มีกลุ่มอาสาสมัครให้คำ ปรึกษาวัยรุน่ ในโรงเรียน เป็นต้น หรือการมีชมรมผูส้ งู อายุในชุมชนจะแก้ไข ปัญหาสุขภาพในชุมชนได้อย่างไร ตั้งแต่การช่วยดูแลผู้สูงอายุด้วยกันด้วย กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนหรือการช่วยดูแลปัญหาเยาวชน เป็นต้น โดยมีแหล่ง เงินสนับสนุนถ้าจำเป็นจากอปท.หรือทีอ่ นื่ 4. การปรับบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในการให้บริการ นอกจากจะ เป็นการให้บริการเชิงรับ คือการรักษาพยาบาลแล้ว ต้องปรับบทบาทหน้าที่ ในเชิงรุกควบคูก่ นั ไปด้วย ทัง้ ในสถานบริการ (รพ.สต.) และในชุมชน โดย เน้นกระบวนการเชิงรุก ด้วยการกระตุ้น ชี้แนะ ชี้นำ การให้คำปรึกษาใน ชุมชนและองค์กรชุมชนมีบทบาทมีสว่ นร่วม ทัง้ กำลังแรง กำลังทรัพย์ กำลัง สติปัญญา ในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของตนเอง ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้อง

ของปัญหากับปัจจัยอืน่ ๆ ในชุมชน ได้แก่ รายได้ การศึกษา ศาสนา และ ความเชื่อ รพ.สต.จะเป็นหน่วยงานที่เชื่อมโยงการบริการด้านสุขภาพกับ

โรงพยาบาลแม่ข่ายในพื้นที่ในด้านข้อมูลและการประสานงานและเชื่อมโยง กับหน่วยงานอื่น ๆ ในชุมชน โดยเฉพาะอปท. องค์กรอื่น ๆ กลุ่มอาสา สมัคร เป็นเครือข่ายด้านสุขภาพเชิงรุกของชุมชน


88

5. การพัฒนาคนให้มที กั ษะชีวติ ให้มคี วามสามารถในการปรับตัวการ เผชิญกับสิ่งท้าทายในชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ มีพฤติกรรมที่ถูก ต้องทั้งในด้านการสื่อสาร การมีสัมพันธภาพ มีความตระหนัก มีความ เห็นใจผูอ้ นื่ มีความภูมใิ จในตนเอง มีความคิดริเริม่ สร้างสรรค์ ตัดสินใจได้ มีการแก้ไขปัญหาการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ซึง่ จะเป็นภูมคิ มุ้ กัน ปัญหาต่าง ๆ ทีม่ สี งิ่ ยัว่ ยุให้เสียทัง้ สุขภาพกาย สุขภาพจิต หลักการและแนวปฏิบตั ริ พ.สต.ในการส่งเสริมสุขภาพ จึงต้องให้ความ สำคัญกับพฤติกรรมของบุคคล เป็นอันดับแรก โดยมีขอ้ ควรพิจารณา เพือ่ ให้เกิดการวางแผน กำหนดกิจกรรมทีส่ อดคล้องกับปัญหาของบุคคล สภาวะ แวดล้อม และสถานการณ์ของพืน้ ทีเ่ ป็นหลัก ดังนี ้ 1. การมีขอ้ มูลทัว่ ไป ตัง้ แต่ ข้อมูลประชากร เศรษฐกิจ สังคม ปัญหา สุขภาพทีพ่ บบ่อยในพืน้ ที ่ 2. ข้อมูลเครือข่ายบุคคล และหน่วยงานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชมุ ชน อปท. โรงเรียน สถานประกอบการ สถานีตำรวจ เพือ่ เป็น เครือข่ายสุขภาพ 3. การนำกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาเลือกใช้ให้เหมาะกับ กลุม่ ประชากรตัง้ แต่กลุม่ ปกติ กลุม่ เสีย่ งและกลุม่ ป่วย 4. การกำหนดจัดทำกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อสร้างความ ยัง่ ยืนของการพัฒนาสุขภาพ 5. เครือข่ายบริการสุขภาพที่มีความต่อเนื่อง ตั้งแต่การแลกเปลี่ยน ข้อมูล การติดตามผลกับโรงพยาบาลในพืน้ ทีแ่ ละหน่วยงานอืน่

89

ประเด็นการพิจารณาเพือ่ การการดูแลและจัดการสุขภาพตามกลุม่ อายุ กลุม่ เป้าหมาย สถานที ่ ประเด็นสำคัญ เครือข่าย อายุ ทีต่ อ้ งพิจารณา สนับสนุน - การเลีย้ งลูกด้วยนมแม่อย่าง - อาสาสมัคร 0-1 ปี - บ้าน - ศูนย์เด็กเล็ก เดียว 0-6 เดือน และควบคู ่ - ชมรมนมแม่ กับอาหารเสริมอืน่ ตามวัย - ศูนย์เด็กเล็ก จนอายุครบ 2 ปี - อบต. - ตรวจ/ประเมิน คัดกรอง

ความเสีย่ งในเด็กแรกเกิด

ประเมินพัฒนาการเด็กตาม

คูม่ อื กรมอนามัย - เสริมสร้างการพัฒนาด้านสติ

ปัญญา (หนังสือเล่มแรกของ

หนู) - ตรวจคัดกรอง ค้นหาความ - อาสาสมัคร - บ้าน 1-3 ปี - ศูนย์เด็กเล็ก ผิดปกติและพัฒนาการตาม - ศูนย์เด็กเล็ก เกณฑ์ - อบต. - ตรวจสุขภาพช่องปาก - ดูแลภาวะโภชนาการ - การได้รบั วัคซีนตามวัย - ติดตามผลการได้รบั การตรวจ - อาสาสมัคร 3-5 ปี - บ้าน - โรงเรียน คัดกรองค้นหาความผิดปกติ - โรงเรียน/ครู และพัฒนาการรับรู้ พัฒนา- - อบต. การตามวัย - ตรวจสุขภาพช่องปาก - เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ


90

กลุม่ เป้าหมาย อายุ

91

สถานที ่

ประเด็นสำคัญ ทีต่ อ้ งพิจารณา - ติดตามเด็กทีต่ อ้ งได้รบั การ

ดูแลพิเศษ - ติดตามการรับวัคซีนตาม

เกณฑ์ - เล่านิทาน

วัยเรียน 6-14 ปี

- ความรูพ้ นื้ ฐานด้านสุขภาพ - บ้าน - โรงเรียน (สุขบัญญัติ 10 ประการ)

วัยรุน่ 15-20 ปี

เครือข่าย สนับสนุน

- พ่อ-แม่ - ผูป้ กครอง - ให้ความรูแ้ ละรณรงค์การสร้าง - อาสาสมัคร พฤติกรรมสุขภาพของเด็ก โดย - โรงเรียน/ครู เฉพาะการบริโภคอาหารทีไ่ ม่ - อบต. - องค์กรอืน่ ใน

เป็นประโยชน์ การสูบบุหรี

่ แอลกอฮอล์ สารเสพติด ชุมชน - ดูแลสุขภาพช่องปากทันตกรรม

ตรวจสุขภาพพืน้ ฐาน ได้แก่

การได้ยนิ การมองเห็นของเด็ก

การรับวัคซีน - ความรูเ้ รือ่ งสุขภาพและการ

- บ้าน - พ่อ-แม่ - โรงเรียน/ เปลีย่ นแปลงตามวัย ทีม่ ผี ลมา ผูป้ กครอง - โรงเรียน/ครู สถานศึกษา จากฮอร์โมน อาสาสมัครวัยรุน่ - แหล่งชุมนุม - การดูแลตนเองด้านความ

- อบต. ของวัยรุน่ ใน สะอาดและการป้องกันโรค - การสร้างความเข้มแข็งของวัย - ร้านขายยากับ

พืน้ ที ่ รุน่ ต่อปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะ การให้ความรู ้ เพศสัมพันธ์กอ่ นวัยอันควรทีม่ ี วัยรุน่ - ตำรวจสัมพันธ์ ผลต่อการตัง้ ครรภ์ไม่พงึ -

ประสงค์ การทำแท้ง การติด - กลุม่ วัยรุน่ เชือ้ HIV

กลุม่ เป้าหมาย อายุ สตรีวยั เจริญ พันธุ ์ 14-44 ปี

สตรีวยั ทอง 45-59 ปี

สถานที ่

เครือข่าย สนับสนุน - บ้าน - ความรูเ้ รือ่ งสุขภาพทัว่ ไป และ - อาสาสมัคร - สถานศึกษา การป้องกันโรค โดยเฉพาะ 6 - เครือข่ายชมรม

อ. (อาหาร ออกกำลังกาย ในหมูบ่ า้ น - โรงงาน อารมณ์ อนามัยสิง่ แวดล้อม - อบต. - สถานที ่ อโรคยา อบายมุข) ทำงาน - ความรูเ้ รือ่ งการเตรียมความ - มูลนิธติ า่ ง ๆ

- บ้าน - สถานที ่ ทำงาน

ประเด็นสำคัญ ทีต่ อ้ งพิจารณา

พร้อมก่อนสมรส การวางแผน

ครอบครัว การป้องกันตนเอง

จากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคเอดส์ - ความรูเ้ รือ่ งโรคมะเร็งทีเ่ ป็น

ปัญหาสำคัญของสตรี (มะเร็ง

เต้านม ปากมดลูก) และการ

ตรวจเต้านมด้วยตนเอง - การได้รบั วัคซีนตามวัย - ความรูเ้ รือ่ งสุขภาพทัว่ ไป และ

การป้องกันโรค โดยเฉพาะ 6

อ. (อาหาร ออกกำลังกาย

อารมณ์ อนามัยสิง่ แวดล้อม อโรคยา อบายมุข) - ความรูแ้ ละแนวปฏิบตั ติ นเองกับ

การเปลีย่ นแปลงของร่างกาย

อันมีผลมาจากระดับฮอร์โมน

ทัง้ การดำรงชีวติ และปัญหา

สุขภาพทีม่ กั จะเกิดเป็นโรค

กระดูกพรุน โรคเบาหวาน

ความดันโลหิตสูง สุขภาพจิต - ความรูแ้ ละการปฏิบตั เิ พือ่

ป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งที ่ เป็นปัญหาของสตรี (มะเร็งเต้า

นม ปากมดลูก) และการตรวจ

เต้านมด้วยตนเอง

- อาสาสมัคร - โรงเรียน/ครู - อบต. - อาสาสมัคร - เครือข่ายชมรม ในหมูบ่ า้ น - อบต. - มูลนิธติ า่ งๆ


92

กลุม่ เป้าหมาย อายุ

93

สถานที ่

บุรษุ วัยทำงาน - บ้าน 15-59 ปี - สถานที ่ ทำงาน

สูงอายุ 60 ปีขนึ้ ไป

- บ้าน - ชมรม

ประเด็นสำคัญ ทีต่ อ้ งพิจารณา

เครือข่าย สนับสนุน

- ความรูเ้ รือ่ งสุขภาพทัว่ ไป และ

การป้องกันโรค โดยเฉพาะ 6

อ. (อาหาร ออกกำลังกาย

อารมณ์ อนามัยสิง่ แวดล้อม อโรคยา อบายมุข) - การวางแผนครอบครัวและการ

ป้องกันโรคอันเกิดจากการมีเพศ

สัมพันธ์ - บทบาทชายกับการมีสว่ นร่วมใน

การดูแลครอบครัว - ความรูเ้ รือ่ งสุขภาพทัว่ ไป และ

การป้องกันโรคตามวัย - ปัญหาสุขภาพทีม่ กั จะเกิด

อุบตั เิ หตุ สุขภาพจิต - home health care/home

visit/home ward - ตรวจคัดกรองตามเกณฑ์ของ

สปสช. - การติดตาม และจัดการในกรณี

ทีผ่ สู้ งู อายุมปี ญ ั หาทีเ่ กิดจาก

การดูแล - สนับสนุน จัดตัง้ ชมรมผูส้ งู

อายุ เพือ่ นช่วยเพือ่ น และ สร้างความเข้มแข็งของ

ครอบครัวผูส้ งู อายุกบั การดูแล

ผูส้ งู อายุ

- อาสาสมัคร - ชมรม - เจ้าของสถาน

ประกอบการ

โรงงาน ร้านค้า - อบต. - ผูบ้ ริหารสถานที ่ ทำงานต่าง ๆ

ในชุมชน - ครอบครัว - อาสาสมัคร - เครือข่ายชมรมผู ้ สูงอายุ เพือ่ น

ช่วยเพือ่ น - อบต. - มูลนิธติ า่ งๆ - วัด

ภารกิจตามประเด็น

u

ด้านการควบคุมและป้องกันโรค

ขอบเขตการให้บริการของรพ.สต. ที่ประกอบด้วยกิจกรรมเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและภัยสุขภาพ กิจกรรมการป้องกันควบคุมโรคติดต่อเป็นมิตทิ ี่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ กรมควบคุ ม โรค โดยมี ห น่ ว ยงานส่ ว นภู มิ ภ าคในพื้ น ที่ คื อ สำนักงานป้องกันควบคุมโรค (สคร.) ทัง้ 12 แห่งในประเทศ กิจกรรมหลัก ของสคร. คือ การสนับสนุนด้านวิชาการจากส่วนกลางลงสูจ่ งั หวัดและอำเภอ /เป็ น ศู น ย์ ข้ อ มู ล และเทคโนโลยี ต ลอดจนการพยากรณ์ โ รคสำหรั บ พื้ น ที่ / ติดตามประเมินผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของ จั ง หวั ด และอำเภอ/สอบสวนควบคุ ม โรคในพื้ น ที่ / พั ฒ นาและสนั บ สนุ น

เครือข่ายเป้าหมายในพืน้ ที ่ ภารกิจที่ 1 การเฝ้าระวัง สอบสวนโรคและภัยสุขภาพ (รวมมิติ ภายในชุมชนเองและภายในสถานบริการ) การเฝ้าระวัง สอบสวนโรค หมายถึง การสังเกต การรวบรวมข้อมูล อย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์ การแปลผล และการรายงานสถานการณ์โรค/ ภัยสุขภาพทีเ่ ฝ้าระวังติดตามหรือคาดว่าจะเกิด และค้นหาการระบาดโรค/ภัย ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ และสามารถดำเนินการควบคุมได้ทนั เวลา การใช้แหล่งทรัพยากรจากชุมชนรพ.สต.จะต้องทำงานแบบมีส่วน ร่วมของเครือข่ายไม่ว่าจะเครือข่ายรพ.สต.ด้วยกันเองหรือ อสม./แกนนำ ชุมชน/ชาวบ้าน/อปท. มาดำเนินงานร่วมเป็นแกนกลางหรือแกนประสาน เดียวกับรพ.สต.โดยจำเป็นต้องหาแหล่งทุนที่มีหลากหลายในพื้นที่มาบริหาร จัดการ โดยเฉพาะนำงบประมาณมาสอนอบรมงานสาธารณสุขให้ทราบ ปัญหา/โรค/ภัย ให้เครือข่ายชุมชนสามารถดำเนินงานได้เอง รวมทั้งควรมี อุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างส่งตรวจโรคทีพ่ บบ่อยในชุมชน


94

การทำงานร่วมกับเครือข่ายและอสม. เพือ่ เฝ้าระวังและควบคุมโรค บุ ค ลากรผู้ รั บ ผิ ด ชอบงานระบาดวิ ท ยาและควบคุ ม โรคต้ อ งเป็ น สมาชิ ก SRRT. ของโรงพยาบาลแม่ ข่ า ย/อ่ า นรายงานเฝ้ า ระวั ง ทางระบาดวิ ท ยา ประจำ/ติดตามสถานการณ์ของโรคอุบัติใหม่ และแนวทางการดำเนินงาน ของสถานบริการทางสาธารณสุขทางเว็บไซด์กระทรวงสาธารณสุข http:// www.moph.go.th/ และกรมควบคุมโรค http://www.ddc.moph.go.th/ รพ.สต.นำเสนอข้อมูลทางระบาดวิทยาให้ อปท.ได้ทราบสถานการณ์และแนว โน้มของโรคอย่างน้อยเดือนละ 1 ครัง้ เป็นต้น วิธกี ารจัดการภายในรพ.สต.และวิธเี ชือ่ มโยงกับหน่วยทีส่ งู ขึน้ รวม ทัง้ ภาคีอนื่ ๆ 1. ในภาวะปกติ การเชือ่ มโยงดำเนินการผ่านการประชุมประจำเดือน โทรศัพท์ โทรสาร หรืออินเทอร์เน็ต 2. กรณีเกิดการระบาด ให้แจ้งข่าวการระบาดไปยังโรงพยาบาล

แม่ขา่ ยทันที และให้แจ้งสสจ.ภายใน 24 ชม. 3. หากพบการระบาดทีม่ ขี อบเขตกว้างขวางนอกพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบ ให้ แจ้งสสจ.ทันที หากพบการระบาดเกี่ยวข้องกับจังหวัดอื่น ๆ ให้แจ้งสคร. หรือสำนักระบาดวิทยา ทันทีทางโทรศัพท์หมายเลข 0-2590-1882 หรือ โทรสาร 0-2591-8579 หรือทางอินเทอร์เน็ต outbreak@health.moph.go.th การวิเคราะห์ปญ ั หาในชุมชนทีส่ ำคัญรพ.สต.จะวิเคราะห์ได้อย่างไรว่า ชุมชนมีปัญหา โรคอะไรที่สำคัญและเป็นภัยแก่ชาวบ้านรพ.สต.ต้องติดตาม รวบรวมข้อมูลโรคภัยไข้เจ็บอยู่ตลอดเวลามาประมวลและวิเคราะห์ เพื่อ ศึกษาโรคในชุมชนให้ทราบสภาพปัญหา เช่น เกิดโรคอะไร เกิดกับใคร ที่ไหน และเกิดเมื่อใดโดยใช้ศาสตร์ เช่น สถิติ มาวิเคราะห์ พร้อมทั้งจัด ลำดับความสำคัญ เพือ่ ให้เห็นปรากฎการณ์โรคทีส่ ำคัญของชุมชนนัน้ ๆ ซึง่ การหาข้อมูลสามารถหาได้จากการรวบรวมรายงาน 506 หรือ รายงานจาก

95

รพ.สต. จะวิเคราะห์ ได้อย่างไรว่า ชุมชนมีปัญหา โรคอะไรที่สำคัญและเป็นภัยแก่ ชาวบ้าน รพ.สต.ต้องติดตามรวบรวมข้อมูลโรคภัยไข้เจ็บอยู่ตลอดเวลามา ประมวลและวิเคราะห์ เพือ่ ศึกษาโรคในชุมชนให้ทราบสภาพปัญหา เช่น เกิดโรคอะไร เกิดกับใคร ที่ ไหน และเกิดเมือ่ ใดโดยใช้ศาสตร์ เช่น สถิติ มาวิเคราะห์ พร้อมทัง้ จัด ลำดับความสำคัญ เพือ่ ให้เห็นปรากฎการณ์โรคทีส่ ำคัญของชุมชนนัน้ ๆ เครือข่ายรพ.สต. อาทิ จากแกนนำชุมชน/จากผู้ใหญ่บ้าน และจากการ

สั่งการจากสสอ./สสจ./สคร. เป็นต้น และหาที่ปรึกษาในระดับสูงเช่นจาก รพช. การเฝ้าระวัง จะรู้ได้อย่างไรว่าผิดปกติ การเฝ้าระวังด้วยวิธีที่ง่าย ทีส่ ดุ คือ การสังเกต 1. ในระดับชุมชนรพ.สต.ต้องสร้างระบบที่จะให้เครือข่ายชุมชนที

่ รพ.สต.มีรายงานข้อผิดปกติในระบบและต้องให้รายงาน เช่น อสม.

เข้าใจระบบรายงานและแจ้งรายงานเมือ่ เกิดความผิดปกติ 2. ในระดับการบริการ ให้มีการรายงานโรคด้วยบัตรรายงาน 506

หากพบผู้ป่วยที่มีความผิดปกติมารับบริการ หรือพบว่ามีการตาย

ผิดปกติของสัตว์ให้รายงานโรงพยาบาลแม่ข่าย หรือให้ปรึกษา

หรือส่งต่อโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อการวินิจฉัยยืนยันความผิดปกติ

เช่น ผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายคลึงกันมากผิดปกติ หรือมาจากพื้นที ่ เดี ย วกั น พร้ อ มกั น เป็ น กลุ่ ม ก้ อ น หรื อ อาการรุ น แรงที่ ไ ม่ ท ราบ

สาเหตุ หรือพบผูป้ ว่ ยกล้ามเนือ้ ปวกเปียกเฉียบพลัน หรือการตาย

ผิดปกติของสัตว์ เก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย/สัตว์สงสัยก่อโรคส่ง

ตรวจหาเชื้อสาเหตุ ส่งต่อให้บุคลากรที่เชี่ยวชาญจากโรคและภัย

สุขภาพนัน้ ๆ


96

การสอบสวนโรค คือ การค้นหาข้อเท็จจริงเพื่อให้ทราบสาเหตุที่ เกิดจากโรคหรือปัจจัยเสีย่ ง และศึกษาต่อให้ทราบว่า เกิดขึน้ ได้อย่างไร โดย นำข้อมูลทีร่ วบรวมได้มาวิเคราะห์ให้ทราบลักษณะเฉพาะของปัญหา โดยอาจ ใช้การสำรวจในชุมชน การศึกษาวิจยั อาจเป็นการสอบสวนการระบาดหรือ การสอบสวนผูป้ ว่ ยเฉพาะราย การสอบสวนการระบาดรพ.สต.ต้องสามารถสอบสวนและควบคุม การระบาดเบื้องต้นของโรคและภัยได้ เช่น โรคอาหารเป็นพิษในพื้นที่ของ ตนเอง โดย 1) เก็บตัวอย่างอุจจาระจากผูป้ ว่ ยทีพ่ บมาเพาะเชือ้ 2) ค้นหา

ผูป้ ว่ ยเพิม่ เติมโดยใช้นยิ ามตามคูม่ อื นิยามผูป้ ว่ ย 3) สอบสวนผูป้ ว่ ยเฉพาะ รายจำนวนหนึ่ง (5-10 ราย) เพื่อค้นหาอาหารที่สงสัย 4) เก็บตัวอย่าง อาหารทีส่ งสัยเพือ่ ส่งตรวจหาสาเหตุ 5) แจ้งเตือนประชาชนให้หยุดบริโภค อาหารที่สงสัยที่ยังเหลืออยู่ 6) รายงานโรงพยาบาลแม่ข่ายและขอความ

ช่วยเหลือตามความจำเป็น การสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย รพ.สต. จะต้องดำเนินการสอบสวน

ผูป้ ว่ ยเฉพาะราย เมือ่ พบผูป้ ว่ ยรายแรกของหมูบ่ า้ น ผูป้ ว่ ยด้วยโรคทีป่ อ้ งกัน ได้ด้วยวัคซีน โดยใช้แบบสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะรายตามคู่มือ นิยามโรคติด เชือ้ ภารกิจที่ 2 ป้องกันควบคุมโรคติดต่อและภัยสุขภาพ (รวมมิติ ภายในชุมชนเองและภายในสถานบริการ) การป้องกันและควบคุมโรค การศึกษาการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค นั้น เพื่อให้ได้ข้อมูลมาวิเคราะห์แล้ว รพ.สต.จำเป็นต้องจัดทำแผนงาน ป้องกั น และควบคุ มโรค โดยกำหนดเป้าหมายจั ด ทำแผนงานตามวงล้ อ คุณภาพ PDCA (Plan Do Check Action) และกำหนดมาตรการลงชุมชน การดำเนินงานประกอบด้วย

97

1. การค้นหารายป่วย เช่น โรควัณโรค ค้นหาผูท้ อี่ าการสงสัยวัณโรค

ทีม่ าตรวจทีร่ พ.สต. 2. การรักษา เช่น จัดให้มีผู้ดูแลการกินยาให้ผู้ป่วยแต่ละรายตลอด

การรักษา 3. การป้องกัน เช่น ให้วัคซีนป้องกันวัณโรค บีซีจีแก่เด็กนักเรียน

ชัน้ ป. 1 ซึง่ ไม่มแี ผลเป็น 4. การให้สขุ ศึกษา เช่น ให้ความรูเ้ รือ่ งวัณโรคแก่ผปู้ ว่ ย และญาติ 5. การนิเทศและฝึกอบรม เช่น นิเทศและฝึกอบรมเรือ่ งการดำเนิน

งานวัณโรคในชุมชนแก่อสม.หรือผู้นำชุมชน/ครอบครัว โดยให้

ความรู้ ใ นชุ ม ชน และติ ด ตามอาการสงสั ย วั ณ โรคของสมาชิ ก

ครอบครัว อปท. ให้การสนับสนุนงานวัณโรค เช่น ลดความรูส้ กึ

รังเกียจผู้ป่วย/จัดรถพยาบาลรับส่งระหว่างบ้านผู้ป่วยกับรพช.หาก

ผูป้ ว่ ยยากจนไม่มคี า่ รถไปโรงพยาบาล 6. การควบคุม เช่น แมลงพาหะระบาด ให้รว่ มกับ SRRT ของโรง

พยาบาลแม่ข่าย ดำเนินการเช่นร่วมมือกับหน่วยงานด้านการ

ควบคุมยุงพาหะ ภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ค้นหาและทำลายแหล่ง

เพาะพันธุแ์ มลงพาหะ และติดตามประเมินผลและดำเนินงานอย่าง

ต่อเนือ่ งจนกว่าการระบาดจะยุต ิ 7. การป้องกันควบคุมโรคที่จำเป็นต้องให้วัคซีน โดยมีขอบเขตการ

ให้บริการ เช่น ให้วัคซีนตามกำหนดการปกติแก่ประชากรกลุ่ม

เป้ า หมายทุ ก คนที่ ม าขอรั บ บริ ก ารทั้ ง ที่ อ ยู่ ใ นและนอกพื้ น ที่ รั บ

ผิ ด ชอบ/รณรงค์ ใ ห้ วั ค ซี น โปลิ โ อและไข้ ห วั ด ใหญ่ ป ระจำปี แ ก่

ประชากรกลุม่ เสีย่ ง เป็นต้น


98

u

99

ด้านการจัดการดูแลผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง

ความหมายของโรคเรื้อรัง ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังเป็นความเจ็บ ป่วยทีม่ อี าการค่อยเป็นค่อยไป ระยะเวลาของการเจ็บป่วยและการดูแลรักษา ยาวนาน ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด การเจ็บป่วยมักเป็นอย่างถาวร

ค่อย ๆ ลุกลามจนมีอาการรุนแรงมากขึ้น หากได้รับการดูแลรักษาอย่าง เหมาะสมต่อเนื่องจะทำให้อาการทุเลา มีคุณภาพชีวิตที่ดี หากไม่ได้รับการ ดูแลรักษาทีเ่ พียงพอและไม่ดแู ลตนเอง อาการก็จะรุนแรง มีภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวติ ก่อนวัยอันควร โรคเรือ้ รัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต หอบหืด มุมมองและหลักการในเรื่องการดูแลโรคเรื้อรังที่ต่างจากโรคเฉียบ พลัน 1. เน้นการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน ควบคู่การทำให้มีคุณภาพ ชีวติ ทีด่ ี 2. เน้นการเสริมศักยภาพของผูป้ ว่ ยและครอบครัว ระบบดูแลสุขภาพผูท้ มี่ ปี ญ ั หาเรือ้ รัง มีหนุ้ ส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) ผูป้ ว่ ยและครอบครัว 2) ชุมชน และ 3) ระบบบริการสุขภาพ กรอบความคิดในการพัฒนาระบบเพือ่ ดูแลผูท้ มี่ ปี ญ ั หาเรือ้ รัง แก่นทีแ่ ท้จริงน่าจะเป็นโอกาส ทีผ่ ใู้ ห้บริการ ผูป้ ว่ ย และครอบครัว ได้ ประเมินความเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพร่วมกันและเรียนรู้การจัดการโรค

นัน้ ๆ รวมทัง้ ปัญหาอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เสริมศักยภาพให้ผปู้ ว่ ยและผูด้ แู ลมีความ สามารถในการจัดการปัญหาสุขภาพได้ด้วยตนเองอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ซึ่งแต่ละหุ้นส่วนมีบทบาท และการตอบสนองต่อบทบาทที่แตกต่างกันภาย ใต้เป้าหมายเดียวกันคือสุขภาพและคุณภาพชีวติ ของผูป้ ว่ ยและครอบครัว ทัง้ 3 หุน้ ส่วนจึงต้องมีการเชือ่ มโยงและสนับสนุนซึง่ กันและกัน

การเตรียมความพร้อมของผูป้ ว่ ยและครอบครัว เพือ่ ให้เกิดผลลัพธ์ทดี่ ี ขึ้นจากโรคเรื้อรัง เชื่อมโยงชุมชนที่มีผู้นำ/สนับสนุน ประสาน ทรัพยากร/ กระตุน้ ความตระหนัก ลดปมด้อย/ร่วมให้บริการเสริม และมีทมี บริการจาก สถานบริการสาธารณสุขระดับล่างที่สำคัญคือรพ.สต.ที่จำเป็นต้องกระตุ้นให้ เกิดทีมบริการเป็นระบบบริการสุขภาพสนับสนุนการดูแลตนเอง/จัดระบบ และ ทีมบริการที่ดี/ใช้ข้อมูลเพื่อดูแล ตัดสินใจ/ติดตาม ประเมินผล ซึ่งมี

เป้าหมายหลัก และแนวทางการดำเนินงานเพื่อจัดการโรคเรื้อรังเป็นแบบ ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ 1) การป้องกัน และลดความเสี่ยงการ เกิดโรค 2) การลดโรค 3) การลดความพิการ 4) เพิม่ คุณภาพชีวติ ทีด่ ี การออกแบบระบบบริ ก าร ตามคู่ มื อ การให้ บ ริ ก ารของรพ.สต.ปี 2552 หน้า 84 เพือ่ ให้เกิดผลลัพธ์ ได้แก่ 1) กลุม่ เสีย่ งลดลง 2) อุบตั ิ การณ์กลุ่มป่วยลดลง 3) อุบัติการณ์กลุ่มป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนลดลง

4) ลดอัตราความพิการและการสูญเสียชีวิตจากโรค 5) เพิ่มคุณภาพชีวิต ของประชากร แนวทางการปฏิบัติงาน (ให้รวมมิติภายในชุมชนเองและภายใน สถานบริการ) ได้แก่ 1. การสำรวจประชากรเพือ่ คัดกรองความเสีย่ ง และค้นหาผูป้ ว่ ย 2. การจัดการระบบข้อมูล เช่น ข้อมูลเพือ่ การบริการรายบุคคล และ

ข้อมูลรวมเป็นกลุ่มในภาพรวมทั้งระดับตำบล อำเภอ เสี่ยงสูง

เสีย่ งต่ำ 3. การจัดบริการใน รพ.สต. เช่น การเฝ้าระวัง คัดกรอง และค้นหา

ผูป้ ว่ ย และภาวะเสีย่ งจากผูม้ ารับบริการ 4. การจัดบริการที่บ้าน เช่น การติดตาม เยี่ยมบ้านผู้ป่วยที่ขาดนัด

ผูป้ ว่ ยทีม่ ารับบริการทีส่ ถานพยาบาลได้ยาก


100

101

5. การดำเนินงานในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมเพื่อคัดกรองภาวะ

เสีย่ ง ค้นหาผูป้ ว่ ยเชิงรุกในชุมชนได้อย่างครอบคลุม 6. การจัดระบบสนับสนุน และการเชื่อมต่อระหว่างโรงพยาบาลกับ

รพ.สต.เช่น สนับสนุนและให้บริการต่อเนือ่ งทัง้ รับและส่งต่อ โดยจำเป็นต้องทดสอบมาตรการก่อน แล้วจึงนำไปใช้ในชุมชน พร้อม ทัง้ ให้มกี ารรายงานในทีป่ ระชุมผูบ้ ริหาร เช่น สสอ. สสจ. และมีการกำกับ ติดตาม ประเมินผล เพือ่ นำมาปรับปรุงงานในชุมชน และใช้เป็นแนวทางใน การให้บริการสาธารณสุขต่อไป u

ด้านการจัดบริการผูส้ งู อายุ

แนวคิดการทำงาน การดูแลผู้สูงอายุไม่ใช่เพียงแต่การวินิจฉัยและให้การรักษาโรคเป็น ครั้ง ๆ เท่านั้น ต้องพยายามลดและป้องกันภาวะทุพพลภาพที่อาจเกิดขึ้น พยายามให้ผสู้ งู อายุทำกิจวัตรได้มากทีส่ ดุ สามารถแก้ปญ ั หาเกีย่ วกับสุขภาพ ในมิตสิ ขุ ภาพเชิงกว้าง ปัญหาจิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ พึง่ พาตนเองได้ มากที่สุด สร้างความมั่นคงในชีวิต รับรู้คุณค่าศักดิ์ศรีของตนนำไปสู่การมี คุณภาพชีวติ ทีด่ โี ดยการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วน

แนวทางในการพัฒนาระบบและกระบวนการดูแลผูส้ งู อายุ การให้บริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล u จัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุ/ผู้ดูแล โดยประสานเชื่อมโยงข้อมูลกับ

องค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อจัดการและจัดกิจกรรมการดูแล

อย่างต่อเนือ่ ง เช่น ผูส้ งู อายุยากไร้/ถูกทอดทิง้ /อยูค่ นเดียว/อยูก่ บั

คู่สมรสตามลำพัง/มีภาวะพึ่งพิง/มีภาวะทุพพลภาพ/มีโรคเรื้อรัง ฯ

รวมถึงการประสานส่งต่อเพื่อรับสวัสดิการด้านอื่น ๆ เช่น เบี้ย

ยังชีพผูส้ งู อายุ เบีย้ ยังชีพผูพ้ กิ าร สวัสดิการสงเคราะห์อนื่ ๆ u พั ฒ นาการดำเนิ น งาน home health care/home visit/home

ward (ใช้บ้านเป็นเตียงผู้ป่วย) ในการดูแลผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม

โดยประสานเชือ่ มโยงข้อมูลกับสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย

จัดให้มีตารางปฏิบัติงานของบุคลากร มีระบบประเมิน ติดตาม

และรายงานผลทุก 1, 3, 6, เดือน หรือรายปี มีระบบส่งต่อ


102

103

ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยไปยังเครือข่ายบริการ (โรงพยาบาลศูนย์ โรง

พยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน) เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่าง

ต่อเนือ่ ง u จั ด ที ม ให้ ก ารปรึ ก ษาปั ญ หาด้ า นกาย จิ ต สั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ มที

่ ชัดเจน พร้อมสนับสนุนให้เกิดการแก้ไข/ป้องกันสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้ดูแล ครอบครัว และชุมชนรวมถึงเครือข่ายบริการสุขภาพใน

ชุมชน ประสานส่งต่อองค์การบริหารส่วนตำบลและชุมชนให้การ

ช่วยเหลือปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านบริเวณที่อยู่อาศัยเพื่อ

ความปลอดภัยของผูส้ งู อายุ u จั ด หาวั ส ดุ อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งมื อ ทางการแพทย์ กายอุ ป กรณ์ เ พื่ อ

สนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้

ในการผลิต เช่น ราวคู่ขนานสำหรับฝึกยืนทรงตัวและหัดเดิน

ประสานเชือ่ มโยงข้อมูลกับกองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุน

บริการ ; สถาบันเวชศาสตร์ ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ และ

ประสานเชื่อมโยงการดำเนินงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล ;

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมัน่ คงจังหวัด u จัดกิจกรรมฝึกอบรมด้านการดูแลผูส ้ งู อายุสำหรับผูด้ แู ล ครอบครัว

อาสาสมัครสาธารณสุข และจิตอาสา

การให้บริการในครอบครัว/ชุมชน u ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและบันทึกผลในสมุด

บันทึกสุขภาพประจำตัวผูส้ งู อายุประสานเชือ่ มโยงข้อมูลกับสถาบัน

เวชศาสตร์ผสู้ งู อายุ กรมการแพทย์ u ตรวจคัดกรองผู้สูงอายุที่มีภาวะเสี่ยงตามกลุ่มโรคผู้สูงอายุ ได้แก่

ภาวะหกล้ ม การกลั้ น ปั ส สาวะ ภาวะความจำ ภาวะซึ ม เศร้ า

ปัญหาการนอน ประสานเชื่อมโยงข้อมูลกับสถาบันเวชศาสตร์

ผูส้ งู อายุ กรมการแพทย์ u นำข้อมูลสุขภาพมาจัดการแก้ไขปัญหา และติดตามดูแลผูส ้ งู อายุท ี่ บ้ า นอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตามแผน โดยบุ ค ลากรทางการแพทย์ แ ละ

สาธารณสุข อาสาสมัคร หรือกลุม่ จิตอาสา ประสานเชือ่ มโยงการ

ดำเนินงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล ; โรงพยาบาลชุมชน

แม่ขา่ ย u บริการดูแลผู้สูงอายุชั่วคราว (Respite care) โดยจัดผู้ช่วยดูแล

ผู้สูงอายุทดแทนผู้ดูแลหลักที่บ้าน หรือประสานงาน/ส่งต่อไปยัง

เครื อ ข่ า ยบริ ก าร เพื่ อ ผ่ อ นคลายความเครี ย ดของผู้ ดู แ ลหลั ก

ประสานเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงานกับองค์การบริหารส่วน

ตำบล ; สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงจังหวัด ; โรง

พยาบาลชุมชนแม่ขา่ ย


104

u

105

บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุหลังการเจ็บป่วย/มีภาวะทุพพล-

ภาพตามบริบทของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมขององค์การบริหาร

ส่วนตำบล หรือองค์กรเอกชน อาจจัดตัง้ เป็นศูนย์ฟนื้ ฟูสขุ ภาพทีว่ ดั

มัสยิด หรือศูนย์สขุ ภาพชุมชน u จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุหรือกลุ่มทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ เช่น

กลุ่มออกกำลังกาย ชมรมกีฬาโดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงาน

ภาครัฐ องค์การบริหารส่วนตำบล และชุมชน เพือ่ ดำเนินการสร้าง

สุขภาพอย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ

ดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือสังคม เช่น การเยี่ยมผู้สูงอายุป่วย/

พิการ (เพือ่ นช่วยเพือ่ น) u

ด้านการคุม้ ครองผูบ้ ริโภคในชุมชน

หลักการและแนวคิด งานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ คือ การสร้างความตระหนักหรือ

ส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในการติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ ประชาชนต้องบริโภคและใช้ในชีวติ ประจำวัน เช่น ยา อาหาร เครือ่ งสำอาง น้ำ น้ำแข็ง ยาสีฟนั สบู่ น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ทผี่ ลิต ในชุมชน เช่น สินค้า OTOP หน่อไม้ปบี๊ ปลาร้าหมัก เป็นต้น ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวจะต้องอาศัยภาคีเครือข่ายในชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วมในการช่วยกันสอดส่องดูแล ตรวจสอบเฝ้าระวัง ทั้งกับตนเอง ครอบครัว รวมไปจนถึงชุมชน โดยการสนับสนุนกิจกรรมการคุ้มครอง

ผูบ้ ริโภคในพืน้ ที่ เช่น การทำกิจกรรมของนักเรียน อย.น้อย การดำเนินงา นของอสม. เป็นต้น และการให้ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อ เป็นการสร้างศักยภาพให้ประชาชนและชุมชน ในการดำเนินงานคุ้มครอง

ผูบ้ ริโภคได้ดว้ ยตนเองอันจะส่งผลให้ชมุ ชนมีความเข้มแข็ง ลดอันตรายหรือ ความเจ็บป่วยทีจ่ ะเกิดกับผูบ้ ริโภคซึง่ สอดคล้องกับปรัชญาของรพ.สต.ในการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ลักษณะของการบริการ 1. การเพิ่มศักยภาพของประชาชนในเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์ สุขภาพ 1.1 การรวบรวม และจัดทำฐานข้อมูลทีส่ ำคัญในพืน้ ทีช่ มุ ชน เช่น

สถานทีจ่ ำหน่าย สถานทีผ่ ลิต ร้านค้า รถเร่ ตลาดนัด ตลาด

คลองถม เพื่ อใช้เ ป็นข้ อมู ลในการตรวจสอบและเฝ้ าระวัง

ผลิตภัณฑ์สขุ ภาพในชุมชน 1.2 ค้นหา และสร้างเครือข่ายงานคุม้ ครองผูบ้ ริโภคด้านผลิตภัณฑ์

สุขภาพในชุมชน เช่น กลุ่มอสม. ครู/นักเรียน อย.น้อย

กลุม่ แม่บา้ น กลุม่ เยาวชน ผูน้ ำชุมชน เป็นต้น 1.3 เพิม่ องค์ความรู้ ความเข้าใจเกีย่ วกับผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ ทีม่ ผี ล

ต่อสุขภาพให้กบั เครือข่ายดังกล่าว ในเรือ่ งการเลือกซือ้ เลือก

บริโภคทีถ่ กู ต้อง และขัน้ ตอนการติดตาม ตรวจสอบเฝ้าระวัง

ตลอดจนการจัดการกับผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ 1.4 ร่วมกับเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคในการจัดทำแผนงาน

คุ้มครองผู้บริโภค และผลักดันให้เข้าสู่แผนสุขภาพชุมชน

เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนมีการสรุปบทเรียน และ

ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคที่

ดำเนินงานร่วมกับกลุ่มเครือข่าย เพื่อปรับปรุง และพัฒนา

งานให้ดขี นึ้ 2. การดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ เข้าไปตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่าย ร้านค้า ร้านชำ รถเร่ สถานที่ผลิต และแหล่งผู้บริโภค เช่น ครัวเรือน โรงเรียน วัด ตลาดสด เป็นต้น ว่ามีความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ โดยประเด็นที่จะตรวจสอบ ผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ ประกอบด้วย


106

2.1 ตรวจสอบฉลาก การแสดงสรรพคุณบนฉลาก ลักษณะทาง

กายภาพของผลิตภัณฑ์ (สี และกลิน่ ) ตลอดจนความเหมาะสม

ของบรรจุภณ ั ฑ์ และการเก็บรักษา 2.2 ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สขุ ภาพด้วยชุดทดสอบเบือ้ งต้น (Test kit)

เช่น ชุดทดสอบตรวจอาหารสด ชุดทดสอบตรวจน้ำมันทอดซ้ำ

ชุดทดสอบตรวจหาสเตียรอยด์ ชุดทดสอบตรวจสารที่ห้ามใช้ใน

เครือ่ งสำอาง เป็นต้น กรณีทตี่ อ้ งสงสัยว่าจะมีสงิ่ ทีป่ นเปือ้ นในผลิตภัณฑ์ตา่ ง ๆ และไม่ สามารถตรวจสอบได้ ให้สุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อส่งให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การ แพทย์ ต รวจวิ เ คราะห์ ต่ อ ไป (หากไม่ ท ราบว่ า มี ก ระบวนการดำเนิ น งาน อย่างไร ขอให้ประสานกับโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพือ่ ทราบถึงกระบวนการ ฯ ทีถ่ กู ต้อง) 2.3 เฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีข้อความบ่งบอกถึง

ความโอ้อวดเกินจริง และอาจเกิดอันตรายตามเคเบิ้ลทีวี วิทยุ

ชุมชน หนังสือพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่

ผูบ้ ริโภคในการเลือกซือ้ เลือกบริโภคให้ปลอดภัยและเหมาะสม ผ่านสือ่ และ ช่องทางต่าง ๆ ตลอดจนรายงานต่อ สสอ. รพช. สสจ. เพือ่ ใช้ในการดำเนิน การลดความเสีย่ งให้แก่ผบู้ ริโภค 3. การให้ความรูก้ บั ผูผ้ ลิต และผูจ้ ำหน่ายผลิตภัณฑ์สขุ ภาพ ให้เข้าใจถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนบท ลงโทษของผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ผ่านหอกระจายข่าว วิทยุชมุ ชน การเคาะประตูบา้ น และผ่านสือ่ บุคคล เช่น อสม. อย.น้อย และ เครือข่ายคุม้ ครองผูบ้ ริโภค เป็นต้น

107

4. การรายงานผลข้างเคียงทีก่ อ่ ให้เกิดอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ต่อสุขภาพ หากพบผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพ ควรส่งต่อรายงานผลข้างเคียงดังกล่าวให้สสอ.และสสจ.เพื่อให้มีการแก้ไข ปัญหาต่อไป และต้องแจ้งให้ประชาชนในชุมชนทราบถึงปัญหา และแนวทาง การแก้ปญ ั หาทีเ่ กิดขึน้ บทบาทเครือข่ายคุม้ ครองผูบ้ ริโภคในชุมชน


108

109

แหล่งข้อมูลเพิม่ เติม 1. คูม่ อื หลักสูตรการอบรมฟืน้ ฟูความรู้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมูบ่ า้ น (อสม.) ปีพทุ ธศักราช 2553 หน้า 165 – 180 และหน้า 156 -213 2. Website สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : www.fda.moph.go.th 3. Website กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ : http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc2010/ 4. Website สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาล ต่างๆ : http://www.moph.go.th/moph-links-province.php

u

ด้านการจัดบริการงานสุขภาพจิตชุมชน

แนวคิดการทำงาน งานสุขภาพจิตชุมชนเป็นงานบริการสาธารณสุข ที่จำเป็นต้องดำเนิน ควบคู่กับงานดูแลสุขภาพกายโดยคำนึงถึงมิติทางสังคม วัฒนธรรมและ

สิ่งแวดล้ อ ม เพื่ อ นำไปสู่การดูแลสุขภาพประชาชนแบบองค์ ร วมอย่ า งมี คุณภาพ ทีป่ ระชาชนสามารถเข้าถึงได้ตามสิทธิภายใต้รฐั ธรรมนูญ ตลอดจน เพือ่ สุขภาวะของผูป้ ว่ ยทีจ่ ะกลับมามีชวี ติ อย่างเป็นปกติสขุ ในชุมชน การให้บริการเชิงรับ (การบริการใน รพ.สต.) u มีการคัดกรองผู้มีภาวะเสี่ยงหรือผู้แสดงอาการเบื้องต้นตามแบบ

ประเมินของกรมสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย ภาวะ

เครียด โรคทางจิตเวช การติดสุราและสารเสพติดอืน่ ๆ u มีบริการบำบัดรักษาเบือ ้ งต้นและระบบส่งต่อรองรับในภาวะฉุกเฉิน

เช่น ภาวะซึมเศร้ารุนแรง การฆ่าตัวตาย อาการก้าวร้าวรุนแรงใน

โรคทางจิตเวช และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์วิกฤต โดย

บริการบำบัดรักษาเบื้องต้น ได้แก่ การให้บริการปรึกษาแก่ผู้ป่วย

และครอบครัวในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การวางแผนการรักษา

การสนับสนุนแหล่งข้อมูลและการช่วยเหลือ การแนะนำวิธีการ

ดูแลทีถ่ กู ต้อง ฯลฯ

u มี ที ม ปฏิ บั ติ ก ารเยี ย วยาผู้ ไ ด้ รั บ ผลกระทบจากเหตุ ก ารณ์ วิ ก ฤต

ต่าง ๆ ภายใต้โครงสร้างและแนวทางปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจน รวมทัง้ คลัง

อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฐมพยาบาลทางกายและเยียวยาจิตใจ

รวมถึงความพร้อมของวิธแี ละอุปกรณ์การสือ่ สาร u มีระบบการส่งต่อผูป ้ ว่ ยจิตเวชตามขัน้ ตอนของระบบสาธารณสุข u มี ก ารติ ด ตามการรั ก ษาของผู้ ป่ ว ยอย่ า งต่ อ เนื่ อ งสม่ ำ เสมอ เพื่ อ

ป้ อ งกั น การขาดยาและสามารถแก้ ไ ขผลข้ า งเคี ย งจากยาได้

เหมาะสม โดยอาศัยระบบการนัดหมาย การโทรศัพท์ การติดตาม

เยี่ยมบ้าน การประสานการช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เช่น อสม. หน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

มูลนิธหิ รือองค์กรอืน่ ๆ u มี ฐ านข้ อ มู ล ทั้ ง ผู้ ป่ ว ยรายใหม่ แ ละรายเก่ า เพื่ อ การให้ บ ริ ก ารและ

ติดตามอย่างต่อเนือ่ ง ได้แก่ ข้อมูลพืน้ ฐาน การวินจิ ฉัย ยาทีไ่ ด้รบั

จากโรงพยาบาลทีร่ กั ษา กำหนดนัดจากแพทย์ การให้บริการเชิงรุก (บริการในครอบครัว/ชุมชน) u จัดให้มีหน่วยบริการเคลื่อนที่และเยี่ยมบ้านในชุมชนเพื่อคัดกรอง

ค้นหาผูม้ ภี าวะเสีย่ ง และติดตามดูแลผูป้ ว่ ยอย่างต่อเนือ่ ง u จัดให้มีบริการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตด้วย

กลยุทธ์การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เช่น เผยแพร่ทางสื่อเอกสาร

การจัดรณรงค์ เสียงตามสาย วิทยุชมุ ชน


110

111

u สร้างความมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข

ในการวางแนวทางปฏิบัติต่อผู้ป่วยจิตเวชที่ชัดเจน ได้แก่ การ

ค้นหา/คัดกรอง เฝ้าระวัง ดูแล ช่วยเหลือเบือ้ งต้น ส่งต่อ ติดตาม

ต่อเนือ่ ง u สนับสนุนการดำเนินงานอย่างมีโครงสร้างและเกิดทีมผู้ปฏิบัติงาน

เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานด้านสาธารณสุขและผู้แทนจากภาคี

เครือข่ายระดับต่าง ๆ เช่น ด้านการปกครอง ด้านสังคม ด้าน

การเกษตร ด้านการศึกษา ด้านศาสนา และภาคประชาชน เพือ่

วางแผนจัดทำแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกัน ตลอดจนประสานแหล่ง

ทรัพยากรในพื้นที่เพื่อให้การช่วยเหลืออย่างครอบคลุมทั้งด้านกาย

จิตใจ และสังคม u ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขหรือองค์กรต่าง ๆ ในการสนับสนุน

หรื อ จู ง ใจผู้ มี จิ ต อาสาในชุ ม ชนให้ มี ส่ ว นร่ ว มสร้ า งความเข้ า ใจที ่ ถูกต้องในการดูแลช่วยเหลือ เฝ้าระวังผู้ป่วย ผู้มีภาวะเสี่ยง ผู้ม ี ปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งครอบครัวของบุคคลเหล่านั้น ตลอดจน

สนับสนุนให้ชุมชนร่วมสร้างกิจกรรมเพื่อลดอคติหรือตราบาปที่มี

ต่อผู้ป่วยจิตเวช เช่น โครงการปลดโซ่ตรวนผู้ป่วยทางจิต การ

สร้างชมรมเพื่อนช่วยเพื่อน การประสานติดต่ออบต.เพื่อบริการ

รถรับส่งผูป้ ว่ ย หรือการสร้างงานอาชีพแก่ผปู้ ว่ ยจิตเวช ฯลฯ แหล่งข้อมูล www.klb.dmh.go.th

www.suicidethai.com/ebook (โดย โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์) www.dmhweb.dmh.go.th/MCC/project.asp บริการข้อมูลสุขภาพจิตอัตโนมัติ 1667 บริการปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323

u

ด้านการจัดบริการการแพทย์แผนไทย

แนวคิดการดำเนินงาน การแพทย์แผนไทย เป็นบริการหนึง่ ทีไ่ ด้รบั การผสมผสานอยูใ่ นระบบ บริการสาธารณสุขของรัฐ ซึ่งเป็นการแพทย์ที่ดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ครอบคลุมทั้งด้านเวชกรรมแผนไทย เภสัชกรรมไทย ผดุงครรภ์ไทย และ การนวดไทย มีการดำเนินงานทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน โรค การรักษาพยาบาล การฟืน้ ฟูสภาพ ซึง่ สอดคล้องกับแนวทางการดำเนิน งานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดังนั้นกรมพัฒนาการแพทย์แผน ไทยและการแพทย์ทางเลือกจึงมีนโยบายผสมผสานงานการแพทย์แผนไทยสู่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ของประชาชน อั น จะทำให้ ป ระชาชนมี สุ ข ภาพดี ล ดภาระค่ า ใช้ จ่ า ยของ ประชาชน ก่อให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับประชาชนในชุมชนและ ยังส่งผลให้สามารถลดการนำเข้ายาและเวชภัณฑ์จากต่างประเทศในอนาคต ซึ่งจะเป็นการประหยัดงบประมาณของชาติในระยะยาว ตลอดจนสามารถ อนุรกั ษ์และพัฒนาภูมปิ ญ ั ญาการแพทย์แผนไทยสูอ่ นุชนคนรุน่ หลังต่อไปได้ การดำเนินงานการแพทย์แผนไทยในรพ.สต. การพั ฒ นารพ.สต.เป็ น ยุ ท ธศาสตร์ ที่ ส ำคั ญ ในการปรั บ ปรุ ง ระบบ บริการสาธารณสุขให้มคี ณ ุ ภาพและประสิทธิภาพทีด่ ยี งิ่ ขึน้ ทีต่ อ้ งผสมผสาน ทัง้ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพทั้งในระดับ บุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมในพื้นที่ความรับผิดชอบ ดังนั้นการ ดำเนินงานการแพทย์แผนไทยจึงต้องผสมผสานไปกับขอบเขตการดำเนิน การบริการสาธารณสุขของรพ.สต. บุคลากรที่จะดำเนินงานการแพทย์แผน ไทยในรพ.สต. ได้แก่ แพทย์แผนไทยที่จบปริญญาตรีทางด้านการแพทย์

แผนไทยและได้รับใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขา การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ซึง่ ในปีงบประมาณ 2553 นำร่องดำเนินการ


112

จ้างแพทย์แผนไทยเป็นลูกจ้างชั่วคราวประจำที่รพ.สต.อำเภอละ 1 แห่ง จังหวัดละ 2 แห่ง รวมทัง้ สิน้ 150 แห่ง และจะส่งเสริมให้มแี พทย์แผนไทย ประจำรพ.สต.ให้ครบทุกแห่งต่อไป และถ้าหากรพ.สต.แห่งใดยังไม่มีแพทย์ แผนไทย ให้บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์ แผนไทย หรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะหรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 ได้แก่ พยาบาล หรือเจ้าหน้าทีส่ าธารณสุข อื่น ๆ ที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรการแพทย์แผนไทยของกระทรวง สาธารณสุขหรือทีไ่ ด้รบั การรับรองจากคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์ แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ รวมทัง้ ผูช้ ว่ ยแพทย์แผนไทย (หมอนวด) เป็นผู้ดำเนินงานการแพทย์แผนไทย ซึ่งขอบเขตการให้บริการ แพทย์แผนไทยของบุคคลที่ได้รับมอบหมาย จะต้องเป็นไปตามระเบียบ กระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ ดังนั้นการดำเนินงานการแพทย์แผนไทย ในภาพรวมของรพ.สต. มีดงั นี ้ 1. การให้บริการการแพทย์แผนไทยทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การ ป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและการฟืน้ ฟูสภาพ เช่น การใช้ยาสมุนไพร การให้ความรู้ สาธิต สอน แสดงด้านการแพทย์แผนไทยเกีย่ วกับเรือ่ งอาหาร เพือ่ สุขภาพ ผักพืน้ บ้าน พืชสมุนไพร การจัดกิจกรรมบริหารร่างกายด้วยท่า ฤๅษีดัดตน เป็นต้น ทั้งนี้การให้บริการการแทพย์แผนไทยของรพ.สต.ต้อง ปฏิบั ติ ต ามมาตรฐานงานบริการการแพทย์แผนไทยของกรมพั ฒ นาการ แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกทีก่ ำหนดไว้ 2. การบันทึกและรายงานข้อมูลสุขภาพด้านการแพทย์แผนไทยให้กับ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง

113

การดำเนินงานการแพทย์แผนไทยในชุมชน การดำเนินงานการแพทย์แผนไทยในชุมชนให้ทำงานเชื่อมโยงกับ ประชาชน หมอพื้นบ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิน่ และเครือข่ายอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ วางแผนแก้ไขปัญหาและการดูแล สุขภาพแก่ประชาชนโดยมีการดำเนินงาน ดังนี ้ 1. การดำเนิ น งานการแพทย์ แ ผนไทยเชิ ง รุ ก ทั้ ง ด้ า นการส่ ง เสริ ม

สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและฟืน้ ฟูสภาพ เพือ่ มุง่ จัดการ ปัจจัยทีเ่ ป็นเหตุผลของปัญหาสุขภาพ ได้แก่ 1.1 การดูแลผูป้ ว่ ยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผูป้ ว่ ยโรคเรือ้ รัง 1.2 การฟืน้ ฟูสภาพมารดาหลังคลอด 1.3 การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพ

ตนเองและครอบครัวด้วยวิถีแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นการดูแล

ในระดับการสาธารณสุขมูลฐานด้วยการส่งเสริมสุขภาพและ

ป้องกันโรค เพือ่ ป้องกันก่อนป่วย เช่น การรับประทานอาหาร

เพื่อสุขภาพ การบริหารร่างกายด้วยท่าฤๅษีดัดตน การนั่ง

สมาธิ การสวดมนต์ภาวนา การปลูกผักพื้นบ้าน การปลูก

สมุนไพรเพื่อใช้เป็นอาหารและเป็นยาของครอบครัว รวมทั้ง

การเรียนรู้ฝึกอบรมการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้น เช่น

การใช้ยาสมุนไพร การประคบสมุนไพร การนวดเพื่อรักษา

อาการเจ็บป่วยเบือ้ งต้น 2. การรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับตำรับตำราภูมิปัญญาแพทย์แผน ไทยและสมุนไพร รวมทัง้ ข้อมูลเครือข่ายบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยใน ชุมชน เช่น หมอพื้นบ้าน นักวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบ โรคศิลปะด้านการแพทย์แผนไทย/การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ผู้ปลูก/

ผู้แปรรูป/ผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายยาสมุนไพร และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ หมูบ่ า้ น เป็นต้น


114

u

115

ด้านการจัดบริการวิทยาศาสตร์การแพทย์ชมุ ชน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นนวัตกรรมการ พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ เพือ่ สุขภาวะของประชาชนในชุมชน องค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการใช้ ประโยชน์ของชุมชน นับเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการดำเนินงานของรพ.สต. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีบทบาทหน้าที่ในการศึกษา พัฒนา วิ จั ย ด้ ว ยกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ เ พื่ อ ให้ ไ ด้ “องค์ ค วามรู้ แ ละ เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อสุขภาวะของประชาชน” และมีกระบวนการ จัดการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวสู่หน่วยงาน องค์กร ชุมชนเป้าหมายนำไปปรับใช้ จึงเรียกชือ่ ว่า วิทยาศาสตร์การแพทย์ชมุ ชน (Community Medical Sciences) วิทยาศาสตร์การแพทย์ชมุ ชน (Community Medical Sciences) เพือ่ สนับสนุนงานรพ.สต.ในมิติ 3 ด้าน ซึง่ สัมพันธ์เกีย่ วข้องกันทัง้ 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. การเฝ้าระวังปัญหาความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในชุมชน 2. การคัดกรองสุขภาพและค้นหากลุม่ เสีย่ ง เฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และการบริการรักษาพยาบาล

3. การส่งเสริมสุขภาพประชาชนด้วยสมุนไพรและการพึ่งตนเองของ ชุมชน แนวทาง รู ป แบบ วิ ธี ก าร นำวิ ท ยาศาสตร์ ก ารแพทย์ ชุ ม ชน (Community Medical Sciences) ไปใช้ประโยชน์ ดังทีน่ ำเสนอนี้ ได้รบั ความร่ ว มมื อ ในการพิ จ ารณาเสนอแนะโดยนั ก วิ ช าการของสำนั ก งาน สาธารณสุขจังหวัด นักบริหารงานสาธารณสุขระดับอำเภอ ผู้ปฏิบัติงาน สาธารณสุขในระดับตำบล ผูแ้ ทนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ตลอดจน นักวิชาการของกรมทีเ่ กีย่ วข้อง การบริหารรพ.สต.โดยภาคีที่เกี่ยวข้องในรูป “คณะกรรมการบริหาร รพ.สต.” ที่ ไ ด้ รั บ การกระจายอำนาจอย่ า งเหมาะสมทั้ ง ในการบริ ห าร ทรัพยากรและบุคลากรของรพ.สต.และการมีแผนพัฒนาสุขภาพตำบลจะส่ง ผลต่อการใช้ วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน (Community Medical Sciences) ให้เป็นประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลได้โดยการ เลือกเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของ ชุมชน แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์/ศูนย์วทิ ยาศาสตร์การแพทย์ http://www.dmsc.moph.go.th 2. ศูนย์ชดุ ทดสอบและผลิตภัณฑ์ http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/testkit 3. สถาบันวิจยั สมุนไพร http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/Plant/MPRI


116

117


118

119


120

121


122

อธิบายคำย่อ

PCA Primary Care Award : เกณฑ์คณ ุ ภาพเครือข่ายบริการปฐมภูม ิ P&P, PP Diseases Prevention & Health Promotion : การป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ SRM Strategic Route Map : แผนทีท่ างเดินยุทธศาสตร์ SLM Strategic Linkage Model : แผนทีย่ ทุ ธศาสตร์ปฏิบตั กิ าร CUP Contracting Unit for Primary Care : หน่วยคูส่ ญ ั ญาของบริการระดับปฐมภูม ิ OP Out Patient : คนไข้นอก ANC Antenatal Care : การฝากครรภ์ PNC Postnatal Care : การดูแลหลังคลอด TSH Thyroid Stimulating Hormone : ฮอร์โมนกระตุน้ ต่อมไทรอยด์ EPI Expanded Program on Immunization : โปรแกรมการให้วคั ซีนพืน้ ฐาน FP Family Planning : การวางแผนครอบครัว ADL Activities for Daily Living : กิจกรรมปกติในชีวติ ประจำวัน

123 ทีป่ รึกษา นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ด้านบริหาร) นพ.พรเทพ ศิรวิ นารังสรรค์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุม่ ภารกิจด้านพัฒนาการสาธารณสุข นพ.ศิรวิ ฒ ั น์ ทิพย์ธราดล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุม่ ภารกิจด้านสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.ทนงสรรค์ สุธาธรรม รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข หัวหน้ากลุม่ ภารกิจด้านพัฒนาการแพทย์ นพ.เรวัต วิศรุตเวช อธิบดีกรมการแพทย์ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท อ์ ธิบดีกรมควบคุมโรค พญ.วิลาวัลย์ จึงประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก นพ.สถาพร วงษ์เจริญ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.อภิชยั มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต นพ.สมยศ ดีรศั มี อธิบดีกรมอนามัย นพ.พิพฒ ั น์ ยิง่ เสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รายชือ่ ผูเ้ ขียนและผูเ้ ข้าร่วมประชุมการจัดทำคูม่ อื นพ.นิทศั น์ รายยวา สำนักตรวจราชการ พญ.ประนอม คำเทีย่ ง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.ศุภกิจ ศิรลิ กั ษณ์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สุธาทิพย์ จันทรักษ์ กองสนับสนุนบริการสุขภาพ สุภานันท์ จันทรักษ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.ภาสกร อัครเสวี กรมควบคุมโรค นพ.รุง่ เรือง กิจผาติ กรมควบคุมโรค อภิญญา หอมวันจันทร์ กรมควบคุมโรค วิชยั จันทร์วติ วิ ฒ ั น์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก


124

เกสร แสงเพ็ชร จารุวรรณ อรวรรณ วีรวรรณ สมวินต์ ปราณี มาลี จุไร ฐิตวิ สั ส์ พญ.อัมพร อมรากุล อรเพ็ญ ภก.อาทิตย์ ดร.สมชาย อำพร ภก.นพคุณ อรอุมา นพ.เฉิดพันธ์ สายพิมพ์ วัฒนา สิรวิ ภิ า ภญ.อรพินท์ นพ.มารุต รัฐวรรณ พรทิพย์ ณรงค์ ภก.เด่นชัย

อังศุสงิ ห์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก ภูม่ า กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและ การแพทย์ทางเลือก จงวนิช กรมอนามัย ดวงจันทร์ กรมอนามัย รัตนอุดมวิทย์ กรมการแพทย์ โจมวัฒนรชัย กรมการแพทย์ ภาณุภาส กรมการแพทย์ บรรจบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โชติชนุ าทวีวงศ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุวคนธ์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เบญจพลพิทกั ษ์ กรมสุขภาพจิต อินโอชานนท์ กรมสุขภาพจิต หนูหล่อ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พันเดช สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา วงษ์พริ ยิ ะไพฑูรย์ สสจ.สุรนิ ทร์ ณ นิโรจน์ สสจ.พัทลุง เอกวรธนานนท์ สสจ.แพร่ มีเสือทอง(แทน) สสจ.นครสวรรค์ ภัทรพงศ์สนิ ธุ ์ รพ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูม ิ คงคุม้ รพ.อ่าวลึก จ.กระบี ่ สว่างศรี รพ.มหาสารคาม จ.มหาสารคาม โรจนรัตนางกูร รพ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม พุม่ ภัทรชาติ รพ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เหล็กเพชร รพ.สต.ตำบลพรุใน จ.พังงา แสงแปลง รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลแม่จะเรา จ.ตาก ตระกูลพันธ์ รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติฯ หนองเบน จ.นครสวรรค์ ตัง้ ศิรชิ ยั รพ.สต.เนินศาลา จ.นครสวรรค์ ดอกพอก รพ.ขุขนั ธ์ จ.ศรีษะเกษ

สมบัต ิ ชูเถือ่ น รพ.สต.เฉลิมพระเกียรติตำบลห้วยม่วง จ.นครปฐม โสภิตสุดา ฉลาดแพทย์ สำนักตรวจราชการ สวรินทร์ สินสมบูรณ์ทอง สำนักบริหารการสาธารณสุข นพ.เกษม เวชสุทธานนท์ สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล นงลักษณ์ ตรงศีลสัตย์ สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล สุธมิ า สงวนศักดิ ์ สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล กัญญรัตน์ เจริญผล สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล ภาวนา ชูเชิด สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล ธัญพร กล้าวิกรณ์ สำนักประสานการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล บำรุง ชลอเดช สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ ทัศนีย ์ ญาณะ(แทน) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.วณี ปิน่ ประทีป มูลนิธกิ ารสาธารณสุขแห่งชาติ อารีย ์ เหมะธุลนิ มูลนิธกิ ารสาธารณสุขแห่งชาติ วรางคนางค์ นิม้ หัตถา มูลนิธกิ ารสาธารณสุขแห่งชาติ ดารณี คัมภีระ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สุรตั ิ ฉัตรไชยาฤกษ์ สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ วรินทร ทองวิจติ ร สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ วิชชุดา บำรุงสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.