สูจิบัตร ปรากฏ-กาล

Page 1

G R O W

C H A N G E

D I S S O L V E



แนวคิดของนิทรรศการ พจนานุกรม ฉบับราชบั ณ ฑิ ต ยสถาน พ.ศ. 2544 ให้ ความหมาย “เวลา” ว่า “ชั่วขณะความยาวนานที่มีอยู่ หรือเป็นอยู่ โดยนิยมกำ�หนดขึ้นเป็นครู่ คราว วัน เดือน ปี เป็นต้น” ดังนั้น “เวลา” จึงเป็นสิ่งสมมติที่จับต้องไม่ได้ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ไหลผ่านเราและไหลผ่านไปอย่าง ไม่มีวันหวนกลับอยู่ทุกชั่วขณะ มนุษย์พยายามอธิบายเวลาและสร้างกายภาพของเวลาผ่านการ เคลื่อนไหวของเข็มนาฬิกาหรือตัวเลขบอกเวลาที่เพิ่มขึ้น แต่แท้จริงแล้ว “เวลา” ปรากฏให้เห็น อย่างชัดเจนที่สุดผ่านชีวิตทุกชีวิต การเปลี่ยนแปลงอันเกิดขึ้นจากเวลาย่อมปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐานบนพื้นผิวและรูป อันเป็นกายภาพของทุกสิ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือแม้แต่สิ่งที่ไร้ชีวิต และยัง ส่งผลลึกลงไปในแก่นอันหมายถึงจิตวิญญาณที่ไม่อาจเห็นของทุกสิ่ง เวลาจะทำ�ให้กายภาพแปร เปลี่ยนไปในรูปแบบต่างๆ เกิดการเสื่อมสลาย ไม่อาจคงรูปเดิมได้ตลอดไป และแม้ว่าจะพยายาม ทัดทาน แต่การเปลี่ยนแปลงของรูปอย่างไม่มีวันหวนกลับย่อมเกิดขึ้น เช่นเดียวกับการเพิ่มพูน เจริญเติบโต การแปรเปลี่ยนทางกายภาพของชีวิตผ่านวันเวลาคือการปรากฏของกาลเวลาที่เรา สัมผัสได้มากที่สุด การแปรเปลี่ยนนี้เป็นสิ่งที่เราควรยอมรับ เห็นคุณค่าและมองให้เห็นความงามว่า เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เพราะย่อมเกิดขึ้นกับทุกคนและทุกสิ่งไม่ต่างกัน แนวคิ ด ของนิ ท รรศการถู ก ถ่ า ยทอดผ่ า นผลงานของศิ ล ปิ น หญิ ง สามคน ได้ แ ก่ สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ ธนิษฐา นันทาพจน์ และใจทิพย์ ใจดี โดยผลงานวีดิทัศน์ (Video) และ ประติมากรรม (Sculpture) ของ สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ แสดงถึงความไม่จีรังยั่งยืนของรูป ผ่า นการเสื่อมสลายและละลายจนไม่ เ หลื อ เค้ า โครงเดิ ม ของประติมากรรมพระปรางค์ ซึ่งเป็น สถาปัตยกรรมอันสำ�คัญทางศาสนาและมีภาพจำ�ว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่คงทนยาวนานหลายศตวรรษ เช่นเดียวกับสังขารและอัตตาภายในของมนุษย์ที่เราอาจยึดถือว่าเป็นสิ่งที่จริงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ย่อมผุพังและสลายลงได้เช่นเดียวกัน ส่วนผลงานประติมากรรมของ ธนิษฐา นันทาพจน์ ทำ�ให้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของชีวิต แก้วที่แตกเป็นชิ้นๆ ถูกนำ�มาชุนเชื่อม ชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยความพยายามให้กลับมาเป็นรูปเดิม แต่ย่อมไม่มีวันเหมือนเดิม เนื่องจาก มีร่องรอยของการชุนให้เห็นเป็นส่วนหนึ่ง แสดงถึงกายภาพของชีวิตและตัวตนที่เปลี่ยนแปลงไป จากเดิมอย่างไม่มวี นั หวนกลับ ผลงานวาดเส้น (Drawing) และศิลปะจัดวาง (Installation Art) ของ ใจทิพย์ ใจดี ทำ�ให้เห็นถึงการค่อยๆ เพิม่ พูนของเส้นบนกระดาษและชัน้ (Layer) ของศิลปะจัดวาง ผ่านเวลาและประสบการณ์ การเพิ่มพูนเจริญเติบโตทางกายภาพของผลงานย่อมเชื่อมโยงกับ การเติบโตภายในตัวตนของศิลปินเช่นกัน นิทรรศการนี้จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ขบคิดและตระหนักถึงกายภาพของชีวิต อีกทั้งยังชวนให้หวนระลึกถึงตัวตนที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านกาลเวลา โดยผ่านการชมผลงานศิลปะ ของศิลปินหญิงทั้งสามคนซึ่งล้วนเป็นศิลปะเชิงแนวคิด (Conceptual Art) ที่นำ�เสนอผ่านสื่อ และวัสดุต่างๆ อย่างน่าสนใจ


Curatorial Statement The Royal Institute Dictionary BE 2544 (2001) defined “Time” as “measurable period during which condition exists or continues. It is usually measured in moments, occasions, days, months and years.” Therefore, “time” is an intangible human construct that flows irreversibly through us every moment. Humans try to explain and make time tangible by presenting it as the movement of clock pointers or the increasing numbers. However, “time” makes the most apparent presence through all lives. The presence of time evidently appears on surface and form which are the physical aspects of everything and this is unavoidable for every living creatures and non-living things. Time also has an impact on the core, the soul that cannot be seen. Time will change the physical aspects into different conditions. One will dissolve and cannot keep one’s form eternally. Although there is an effort to resist but transformation and growth cannot be stopped. The change in physical aspects of life is the most tangible presence of time for us. The change should be accepted and seen as valuable and beautiful as it is an inevitable part of life that happens to everyone and everything. Three artists share an interest in The Presence of Time. The video and sculpture by Sanitas Pradittasnee show the truth of temporary existence through the decline and dissolution of the form of Phra Prang which is an important religious architecture and a symbol that lasts for centuries. Similarly, body and ego of humans which may be believed as real and unchangeable assets, as time passes, everything will decay and cease. The sculptures of Thanistha Nuntapojn give the reflection on transformation in life. The shattered glass was fixed together by darning as the attempt to recover but it cannot be exactly the same as the darning became a part of it. It is the metaphor of physical aspects of life and identity that irreversibly changed. Lastly, drawings and an installation of Jaitip Jaidee show growth on papers and layers which increases by time and experience. The growth of works strongly connects with the growth of the artist. This exhibition is an examination of the physical aspects of life, as well as the reflection on identity, which changes over time. Three female artists present their conceptual art pieces in different media and materials allowing us to contemplate life.

3


JAITIP JAIDEE ใจทิพย์ ใจดี เกิดปี พ.ศ. 2532 จบการศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลังจบการศึกษาได้ร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการกลุ่มทั้งในและต่างประเทศ เช่น โครงการ “Brand New Art Project” ปี 2555 นิทรรศการ “Thaitai Fever-Stage Two: The Politics (Drama) of a Certain Site” ที่ OCAC กรุงเทพฯ ปี 2555 นิทรรศการ “Spot Art 2013” ที่ ARTtrium@MICA ประเทศสิงคโปร์ ปี 2556 นิทรรศการ “Things” ที่ 338 Oida Gallery ปี 2556 นิทรรศการ “A Drawing Show” ที่ Yeo Workshop ประเทศสิ ง คโปร์ ปี 2557 และนิ ท รรศการ “The Echo of Footsteps” ที ่ NOVA Contemporary ปี 2560 ผลงานส่วนใหญ่ใช้เทคนิคปากกาหรือดินสอกับวัสดุหลายแบบ เช่น กระดาษ กล่องไม้ อะคริลิก และวัสดุอื่นๆ เธอเชื่อว่าจินตนาการเป็นสมบัติสำ�คัญของมนุษย์ ดังนั้นแค่เพียงเสี้ยวหนึ่งที่เห็นหรือแม้กระทั่งส่วนที่มองไม่เห็นก็มากพอแล้วที่จะบอกว่า สิ่งใดสิ่ง หนึ่งมีอยู่ Born in 1989, she received a Bachelor’s Degree in Fine and Applied Arts from Bangkok University in 2010. After graduation, she has participated in various group exhibitions in Thailand and abroad such as “Brand New Art Project, 2012”, “Thaitai Fever-Stage Two: The Politics (Drama) of a Certain Site” at Ocac, Bangkok, in 2013, “Spot Art 2013” at ARTtrium@MICA, Singapore, “Things” at 338 Oida Gallery in 2013, “A Drawing Show” at Yeo Workshop, Singapore, in 2014 and “The Echo of Footsteps” at NOVA Contemporary in 2017. Most of the art-pieces are illustrated with either pen or pencil on a various kind of materials such as paper, wooden box, acrylic, etc. She believes that imagination is an important asset for humanity. Therefore, only a single part of thing or even an invisible part is more than enough to infer that it exists.

https://www.jaitipjaidee.com/


Layer of things / Message to Understanding

ใจทิ พ ย์ เ ลื อ กที่ จ ะวาดและเขี ย นเรื่ อ งราวแม้ รู้ ว่ า เมื่ อ ชี วิ ต ดำ�เนินต่อไป ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจะกลายเป็นเพียงความทรงจำ� เธอเชื่อว่า เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่ชัดเจนจะกลายเป็นไม่ชั​ัดเจน กายภาพจะเปลี่ยนไป แต่ เ รื่ อ งราวของมั น จะยั ง คงอยู่บ นพื้ น ที่ ข องกระดาษ และนั่ น คื อ สิ่ ง ที่ สะท้อนตัวตนของศิลปิน Although, life will continue and pass everything to memory, Jaitip loves to draw and write the story. Over time, what seems to be obvious is not obvious anymore. The physical aspects of it always change but the story of it will always remain on the space of paper. This is a reflection of an artist.

วาดเส้นบนกระดาษ (กระดาษลอกลายและหมึก) Drawing on paper (Tracing Paper, Ink)

23 x 28 cm 2013 5


8.4 x 13.5 cm 2013 วาดเส้นบนกระดาษ (กระดาษและหมึก) Drawing on paper (Paper, Ink)

Step of progress / Touching you, Touching me

8.5 x 10.5 cm 2013 วาดเส้นบนกระดาษ (กระดาษซับมัน และหมึก) Drawing on paper (Oilblotting paper, Ink)

Refection of your(self) / Message for understanding 6


#BASE(-MENT) ชุดผลงานนีเ้ กิดจากการทำ� งานกับแนวคิดเรือ่ ง “พืน ้ ฐาน/ฐาน” ของบางสิ่ง ไม่ใช่เพียงพื้นฐานของศิลปะแต่รวมถึงหัตถกรรมแขนงอื่น และ ศาสตร์ตา่ งๆ ทีเ่ กีย ่ วข้องกับแง่มม ุ อันเป็นรูปธรรมในชีวต ิ ประจำ�วัน ผลงาน นี้ประกอบด้วย 7 ส่วน แต่ละส่วนเกี่ยวข้องกับ “บางสิ่ง” ที่ใจทิพย์ตามหา หรือสนใจ It is a series of work that deals with the idea of the ‘foundation/base’ of something – not only the foundation of art, but also other crafts and disciplines that are relevant to the physical aspects of everyday life. The series is comprised of 7 parts and each part relates to “something” Jaitip has been searching for, or what she is interested in. ขนาด ผันแปร Dimension variable 2017

กรอบอลูมิเนียม กรอบไม้ แผ่นไม้ แผ่นอะคริลิก พิมพ์ข้อความ กล่องกระดาษและกล่องไม้ Aluminium Frame, Wooden Frame, Wooden Panel, Acrylic Sheet with Text Print, Paper and Wooden Box 7


THANISTHA NUNTAPOJN ธนิษฐา นันทาพจน์ เกิด พ.ศ. 2529 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการกลุ่มทั้งใน และต่างประเทศ เช่น NBC Tokyo International Screen Print Biennale ครั้งที่ 1 และ 2 ปี 2550 และ 2552 นิทรรศการ Young Artists Talent Art Exhibition ครั้งที่ 3 ที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ปี 2555 และนิทรรศการการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 เป็นต้น ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมการประกวดศิลปกรรมร่วมสมัยปี 2555 ธนาคาร กสิกรไทย และมีนิทรรศการเดี่ยว “สมานรอยร้าว” ในปี 2556 ที่หอศิลป์ร่วมสมัยอาร์เดล ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จากความประทับใจในเทคนิคและ ความหมายที่ซ่อนอยู่ในการชุน เธอจึงหยิบยกการชุนมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์

Born in 1986, she received her Bachelor’s Degree and Master’s Degree from Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University. She has participated in various group exhibitions in Thailand and abroad such as the 1st and 2nd NBC Tokyo International Screen Print Biennale in 2007 and 2009, the 3rd Young Artists Talent Art Exhibition at the Royal Thai Consulate – General Los Angeles in 2012 and the 58th National Exhibition of Art. She received the Excellence Prize from the Contemporary Art Contest 2012 by Kasikorn Bank. Her first solo exhibition is “Heal” at ARDEL Gallery of Modern Art in 2013. Now, she teaches art at Faculty of Fine Arts, Thaksin University. She was impressed by the technique and meaning of darning so she used it as an inspiration for her art.

https://www.facebook.com/Thanistha.Nun/


ธนิษฐานำ�วิธีการชุนผ้ามาดัดแปลง ให้ เ ป็ น การเชื่ อ มประสานร่ อ งรอยแตกร้ า วบน ภาชนะแก้วหรือเซรามิค เพื่อสื่อถึงการพยายาม ซ่อมแซมหรือสมานสิ่งที่แตกร้าวให้กลับคืนรูปเดิม ภาชนะที่มีรูปแบบและขนาดที่หลากหลาย เปรียบ เสมือนมนุษย์ที่มีลักษณะต่างกัน แต่ล้วนมีความ เปราะบาง การชุนเชื่อมคือการเชื่อมความสัมพันธ์ ทีแ่ ตกร้าว อาศัยความอ่อนนุม่ ของวัสดุทน่ี ำ�ไปเย็บ ความละเอียดอ่อน ความประณีตในวิธก ี ารของการ ชุนมาเป็นดังการใช้สายใย จนเกิดเป็นสัญลักษณ์ ที่แสดงถึงการสมาน Thanistha applied darning as the technique to fix together the cracks on glass and ceramic wares. It is to show her attempt to recover something that has already been damaged. Different types and sizes of container implied that each individual is different but everyone is all fragile. The braid can be interpreted as the attempt to heal the broken relationship. The soft material was used along with the delicacy and exquisiteness of darning technique to create what is similar to a bond and the symbol of healing.

สมาน หมายเลข 2

Heal No. 2

ชุนบนเซรามิค Darning on Ceramic ขนาด ผันแปร Dimension variable 2013 9


สมาน หมายเลข 3

Heal No. 3

ชุนบนเซรามิค Darning on Ceramic 10

ขนาด ผันแปร Dimension variable 2013


สมาน หมายเลข 4

Heal No. 4

ชุนบนเซรามิค Darning on Ceramic ขนาด ผันแปร Dimension variable 2018

11


SANITAS PRADITTASNEE สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ เกิด พ.ศ. 2523 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่ Chelsea College of Art and Design สหราชอาณาจักร ก่อตั้ง Sanitas Studio สตูดิโอที่ทำ�งานด้านภูมิสถาปัตยกรรมควบคู่ไปกับ งานศิลปะประเภทประติมากรรม ศิลปะจัดวางและภูมิศิลป์ เข้าร่วมแสดงผลงานในนิทรรศการกลุม ่ ทัง้ ในและต่างประเทศ เช่น นิทรรศการ “สถานพักตากอากาศ : นิทรรศการศิลปะเพือ่ ภูมิทัศน์ของการ พัก” ทีห่ อศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปี 2556 นิทรรศการ “R E P A P E R” ที่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ปี 2559 และนิทรรศการ “Heads or Tails” ที่ Sundaram Tagore Gallery เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ปี 2561 มีนิทรรศการเดี่ยว ครั้งแรก “Capturing the Intangible” ในปี 2559 ที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย สนิทัศน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานจากบริบททางสังคม การวิจัย ทางวัฒนธรรมในเชิงลึกและพรมแดนที่ไร้รอยต่อของภูมิสถาปัตยกรรมและวิจิตรศิลป์ Born in 1980, she received a Bachelor’s Degree from Faculty of Architecture, Chulalongkorn University and her Master of Fine Art from Chelsea College of Art and Design, United Kingdom. She founded Sanitas Studio, a Landscape and Art studio that creates sculpture, installation and land art. She was invited to join various group exhibitions in Thailand and abroad such as “Resort, An Art Exhibition for Landscape of Rest” at Bangkok Art and Culture Center (BACC) in 2013, “R E P A P E R” at Thailand Creative & Design Center (TCDC) in 2016 and “Heads or Tails” at Sundaram Tagore Gallery, New York, United States in 2017. Her first solo exhibition is “Capturing the Intangible” at the Art Center, Chulalongkorn University in 2016. Sanitas was inspired by social context, deep cultural research and seamless boundary between landscape architecture and fine art.

http://www.sanitasstudio.com/


FORM OF BELIEF V (IMPERMANENCE), จากการศึกษาประวัติศาสตร์ของกระดาษและความเป็นมาของ การรีไซเคิล นำ�มาซึ่งการเปรียบเทียบระหว่างวงจรของกระดาษและวงจร ของชี ว ิ ต จากใยไม้ ผสานเป็ น กลุ่มก้อน แปรรูปเป็นกระดาษมาใช้งาน จากเศษกระดาษสลายเป็นฝุ่นผง จากดิน น้ำ� ลม ไฟ ก่อร่างเป็นชีวิต ดำ�เนินไปจนสลายเป็นเถ้าธาตุอีกครั้งหน่ึง วัฏจักรของสรรพสิ่งล้วนดำ�เนิน ไปตามกฎธรรมชาติ “The Impermanence” หยิบยกเรือ่ งวัฏจักรของสรรพสิง่ มาถ่ายทอดผ่านการอยู่ร่วมกันของ “การคงอยู่” และ “การสลายไป”

วีดีโอ ความยาว 03:10 นาที Duration 03:10 min.

น้ำ�แข็งและผงกระดาษ Frozen water and Paper dust 30 x 30 x 41 cm 2016 13


The cycle of creation goes on by the rule of nature. “The Impermanence” conveys this universal truth through a combination of “existence” and “decay”. Sanitas created this sculpture from recycled paper dust and water. Her research on the histories of paper and recycle led her to compare the cycle of paper and the cycle of creation. From dust combines into mass that is then turned into paper until disintegrating back into dust. From earth, water, wind and fire form a life that goes on until disintegrating into ashes. “The Impermanence” explores the cycle of things through the coexistence of “existing” and “decaying”.

14


นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ปรากฏ-กาล

The Presence of Time Contemporary Art Exhibition

คัดสรรและจัดโดย

Curated and Organized by 11th (นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ 11th (The Graduate Students of Master’s Degree คณะจิ ต รกรรม ประติ ม ากรรมและภาพพิ ม พ์ Program in Art Theory, Faculty of Painting, มหาวิทยาลัยศิลปากร) Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University) Project Manager / Funding / Evaluation ผู้จัดการโครงการ จัดหาทุน ประเมินผล Suphitchaya Khunchamni สุพิชญา ขุนชำ�นิ Assistant Project Manager / เลขานุการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ Project Accountant / Public Relations สกาวรัตน์ ภูธนะกูล

วิชาการ ประสานงานศิลปิน แปล

Sakaorat Phuthanakul

ออกแบบสิ่งพิมพ์และกราฟิกนิทรรศการ กิจกรรมประกอบนิทรรศการ

Nuttamon Pramsumran

นัทธมน เปรมสำ�ราญ

Academic Affairs / Artist Relations / Translation

เศวตราภรณ์ ไอศุริยเอกสกุล

Graphic and Exhibition Design / Educational Activity

วีรชัย ชื่นจันทน์แดง

Svettaporn Iresuriyaakesakul

นิทรรศการนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก

Wirachai Chunjandang

ติดตั้งนิทรรศการ สถานที่ จัดเลี้ยง

ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ

ผู้สนับสนุนสถานที่จัดแสดง หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ) ผู้สนับสนุนการจัดเลี้ยง อร่อย (ท่าพระจันทร์) ณ วังบูรพา คาเฟ่

Exhibition Installation / Venue / Catering

This exhibition receives official supports from Art Theory Department, Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University Marsi Foundation and Bangkok Sculpture Center

Venue Support

Art Centre, Silpakorn University (Wang Thaphra)

Catering Support R-Roy (Tha Prachan) Wangburapa Cafe

15


สูจิบัตร จัดพิมพ์

11th (นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร)

โรงพิมพ์

เรือนแก้วการพิมพ์

เขียนและแปล

นัทธมน เปรมสำ�ราญ

บรรณาธิการและพิสูจน์อักษร

นัทธมน เปรมสำ�ราญ สกาวรัตน์ ภูธนะกูล สุพิชญา ขุนชำ�นิ เศวตราภรณ์ ไอศุริยเอกสกุล วีรชัย ชื่นจันทน์แดง

ออกแบบ

เศวตราภรณ์ ไอศุริยเอกสกุล

Exhibition Catalogue Published by

11th (The Graduate Students of Master’s Degree Program in Art Theory, Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn University)

Printed by

Ruenkaew Printing Written and Translated by Nuttamon Pramsumran

Edited and Proofread by

Nuttamon Pramsumran Sakaorat Phuthanakul Suphitchaya Khunchamni Svettaporn Iresuriyaakesakul Wirachai Chunjandang

Designed by

Svettaporn Iresuriyaakesakul

นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย ปรากฏ-กาล The Presence of Time Contemporary Art Exhibition

ระยะเวลาจัดแสดง: 25 พฤษภาคม - 23 มิถุนายน 2561 Exhibition Period: 25 May - 23 June 2018

ชั้น 1 หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)

1st Floor, Art Centre, Silpakorn University (Wang Thaphra)

จันทร์ - ศุกร์ 9.00 - 19.00 น. เสาร์ 9.00 - 16.00 น. เว้นวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ

Mon - Fri 9 am – 7 pm, Sat 9 am – 4 pm, closed on Sundays and Pubic Holidays.

ลิขสิทธิ์ 11th © 2561 Copyright 11th © 2018 16


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.