ERW: รายงานประจำปี 2554

Page 1

รายงานประจำป 2554 l บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)


ตลอด 30 ป...

ดิ เอราวัณ กรุป ยึดมั่น "จริยธรรม" ในการดำเนินธุรกิจ อันเปนรากฐานสำคัญที่ทำใหบริษัทฯ เติบโต กาวผาน การเปลี่ยนแปลงมาไดอยางมั่นคง

A


SUCCESS WITH INTEGRITY

ในวันนี้

ดิ เอราวัณ กรุป มุงมั่นกาวสูความเปนผูนำในการพัฒนาและลงทุน ในธุรกิจโรงแรมและรีสอรท พรอมไปกับการพัฒนาบุคคลากร ที่มีคุณภาพ เพื่อความเจริญเติบโตอยางยั่งยืน

วิสัยทัศน 2558 เปนผูนำธุรกิจการพัฒนาและลงทุน ในโรงแรมและรีสอรทในประเทศไทย พันธกิจ ขยายเครือขายโรงแรมที่มีคุณภาพในประเทศไทย ซึ่งสามารถสรางผลตอบแทนที่ดีใหผูถือหุน และเกิดประโยชนแกผูที่มีสวนไดเสียอื่นๆ อยางเหมาะสมและตอเนื่อง คานิยมองคกร • บริหารจัดการอยางเปนระบบ มีประสิทธิภาพ ไมยึดติดกับตัวบุคคล • บุคลากรทีม่ ที กั ษะและความชำนาญ มุง มัน่ ทีจ่ ะเรยี นรูแ ละพัฒนาตนเองอยางตอเนอ่ื ง • ฐานขอมูลที่ถูกตอง เพียงพอ และทันสมัยสำหรับการบริหารและตัดสินใจ • วัฒนธรรมองคกรที่เขมแข็ง สนับสนุนการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน • เปนสมาชิกที่ดีมีความรับผิดชอบตอสังคม มีสวนรวมสนับสนุนชุมชน และสิ่งแวดลอมใหดียิ่งขึ้น B


2:+"9 (:&+/) beed

ãňĐĄĜĈúĕèâĕĆğèėüġ÷ąčĆěþ ûěĆâėéġĆèĠĆĄĢüğåĆĚĐ čĕĆéĕâþĆēûĕüâĆĆĄâĕĆ čĕĆéĕâþĆēûĕüğéňĕĎüňĕúĘħýĆėĎĕĆ ĆĕąèĕüéĕââĆĆĄâĕĆÿĜňéĔ÷âĕĆĢĎîŇ ĆĕąèĕüéĕâåöēâĆĆĄâĕĆøĆĊéčĐýøŇĐÿĜňùĚĐĎěňü ĆĕąèĕüåĊĕĄĆĔýÿė÷ëĐýãĐèåöēâĆĆĄâĕĆøŇĐĆĕąèĕüúĕèâĕĆğèėü

D =L*/ 9""+<19

þĆēĊĔøėýĆėČĔú ûěĆâėéúĘħ÷ĬĕğüėüèĕüĢüþŌééěýĔü âĈąěúûŋĢüâĕĆ÷ĬĕğüėüûěĆâėé ġåĆèčĆňĕèâĕĆùĚĐĎěňüĠĈēâĕĆéĔ÷âĕĆ âĕĆùĚĐåĆĐèĎěňüãĐèåöēâĆĆĄâĕĆ ĠĈēÿĜňýĆėĎĕĆ

(:&+/) 5 @+ <

ûěĆâėéġĆèĠĆĄ þŌééĔąåĊĕĄğčĘħąè

3-9 "++19 (<":- =L =

üġąýĕąýĆĆČĔúăėýĕĈ åŇĕøĐýĠúüãĐèåöēâĆĆĄâĕĆĠĈēåöēâĆĆĄâĕĆëě÷ąŇĐą åĊĕĄĆĔýÿė÷ëĐýøŇĐÿĜňĄĘčŇĊüģ÷ňğčĘą âĕĆåĊýåěĄăĕąĢü ĆĕąâĕĆúĘħğâĘħąĊġąèâĔü

Ċ5)A- : :+D <! E-8 Ċ5)A- 9L/H#

!"

ĆĕąèĕüãĐèÿĜňčĐýýĔîëĘĆĔýĐüěîĕø âĕĆğþľ÷ğÿąãňĐĄĜĈãĐèÿĜňčĐýýĔîëĘ èýâĕĆğèėü ãňĐĄĜĈúĔħĊģþ


SUCCESS WITH INTEGRITY

ภาพรวมป 2554

03


ขอมูลทางการเงินโดยสรุป บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)

(หนวย : พันบาท)

รายการ

สรุปผลการดำเนินงาน

รายไดจากการดำเนินกิจการ รายไดรวม กำไรขั้นตน กำไรกอนหักดอกเบี้ย ภาษี และคาเสื่อมราคา กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

สรุปฐานะการเงิน

สินทรัพยรวม หนี้สินรวม สวนของผูถือหุน สวนของผูถือหุนของบริษัทฯ (ไมรวมสวนของผูถือหุนสวนนอย) ทุนเรือนหุนเรียกชำระแลว จำนวนหุนเรียกชำระแลว (พันหุน) มูลคาหุนที่ตราไว หุนละ (บาท) กำไร (ขาดทุน) ตอหุน (บาท) เงินปนผลตอหุน (บาท) มูลคาสินทรัพยสุทธิตอหุน (บาท) (ไมรวมสวนของผูถือหุนสวนนอย)

อัตราสวนทางการเงินที่สำคัญ

อัตราสวนสภาพคลอง (เทา) อัตราสวนสภาพคลองหมุนเร็ว (เทา) อัตราสวนสภาพคลองกระแสเงินสด (เทา) อัตรากำไรขั้นตนตอรายไดรวม อัตรากำไรสุทธิตอรายไดรวม อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย อัตราผลตอบแทนตอสวนของผูถือหุน อัตราสวนหนี้สินตอสวนของผูถือหุน (เทา) อัตราสวนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยตอสวนของผูถือหุน (เทา) อัตราสวนความสามารถในการชำระดอกเบี้ย (เทา)

04

2552

2553

2554

3,149,033 3,191,623 1,658,132 782,991 (229,411)

3,321,248 3,364,328 1,677,912 804,829 (275,017)

3,755,544 4,487,232 1,965,740 1,635,878 491,325

13,288,817 9,749,858 3,538,959 3,406,397 2,244,779 2,244,779 1 (0.10) 1.52

12,949,266 9,676,317 3,272,950 3,130,975 2,244,779 2,244,779 1 (0.12) 1.39

12,237,865 8,468,390 3,769,475 3,588,610 2,244,779 2,244,779 1 0.22 1.60

0.52 0.27 0.38 52.66% n/a n/a n/a 2.76 2.42 2.38

0.41 0.27 0.63 50.52% n/a n/a n/a 2.96 2.63 2.70

0.53 0.40 0.66 52.34% 10.95% 3.90% 14.62% 2.25 2.00 2.35


SUCCESS WITH INTEGRITY

(หนวย : ลานบาท)

2550

2551

3,194

3,377

2552

2553

3,149

3,321

2554

รายไดจากการดำเนินงาน 4,000 3,000

3,756

2,000 1,000 0

กำไรกอนหักดอกเบี้ย ภาษี และคาเสื่อมราคา

1,636

1,600 1,400 1,200

1,207 1,011

1,000

782

800

805

600 400 200 0

กำไรสุทธิ 500

491

402

250 0

79

(229)

(275)

ข้อมูลทางการเงินโดยสรุป

05


ธุรกิจโรงแรมในเครือ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)

กรุงเทพฯ

แกรนด ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ

คอรทยารด โดย แมริออท กรุงเทพ

ไอบิส กรุงเทพ สาทร

ไอบิส กรุงเทพ นานา

ไอบิส กรุงเทพ ริเวอรไซด

เมอรเคียว กรุงเทพ สยาม และ ไอบิส กรุงเทพ สยาม (อยูระหวางการพัฒนา)

พัทยา

ฮอลิเดย อินน พัทยา กรุงเทพฯ

ไอบิส พัทยา

หัวหิน

พัทยา หัวหิน

ไอบิส หัวหิน เปดดำเนินการ มกราคม 2555

สมุย

สมุย

ภูเก็ต

เรเนซองส เกาะสมุย รีสอรท แอนด สปา

ไอบิส สมุย บอผุด

ภูเก็ต

เดอะ นาคา ไอแลนด, ไอบิส ภูเก็ต ปาตอง เอ ลักซชัวรี่ คอลเลคชั่น รีสอรท แอนด สปา, ภูเก็ต ธุรกิจโรงแรมในเครือ 06

ไอบิส ภูเก็ต กะตะ


สารจากประธานกรรมการ

SUCCESS WITH INTEGRITY

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)

ปี 2554 ถือเป็นปีทม่ี กี ารขยายตัวของจำ�นวนนักท่องเทีย่ ว สูงที่สุดของประเทศไทย โดยจำ�นวนนักท่องเที่ยวที่เดินทาง เข้าประเทศมีจ�ำ นวนสูงถึง 19.1 ล้านคน เพิม่ ขึน้ จากปีทผ่ี า่ นมา ถึงร้อยละ 20 ซึง่ นับเป็นการเติบโตทีส่ งู ทีส่ ดุ ในภูมภิ าคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ในช่วงไตรมาส 4 จำ�นวนนักท่องเทีย่ ว ลดลงเมือ่ เปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีกอ่ นอันเนือ่ ง มาจากเหตุการณ์อุทกภัยในภาคกลางรวมถึงบริเวณรอบ นอกของกรุงเทพมหานครก็ตาม สำ�หรับ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนา ธุรกิจและองค์กรเพื่อความเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว อย่างต่อเนื่อง ในปีนี้เราได้ดำ�เนินการตามแผนระยะยาว 5 ปี (2554–2558) สำ�เร็จตามทีว่ างไว้ ด้วยสภาวะอุตสาหกรรม ที่ดีและการดำ�เนินการตามกลยุทธ์เพื่อเพิ่มผลตอบแทนแก่ ผู้ถือหุ้น ทำ�ให้ผลการดำ�เนินงานมีกำ�ไรสุทธิ 491 ล้านบาท ในปีนี้ การยึดมัน่ แนวทางการดำ�เนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส พร้อมทั้งกำ�กับดูแลให้การดำ�เนินงานในทุกๆ ด้านเป็นไป ตามหลักบรรษัทภิบาลทีด่ มี าโดยตลอด ส่งผลให้เรายังคงได้รบั คัดเลือกให้เป็นบริษัทที่มีคะแนนระดับดีเลิศ “Excellent” จากโครงการรายงานการกำ�กับดูแลกิจการบริษทั จดทะเบียน ไทยประจำ�ปี 2554 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2011) ที่ประเมินโดยสมาคม ส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยเป็นปีที่ 3 ต่อเนื่อง และ ได้รับผลการประเมินคุณภาพการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำ�ปี 2554 ระดับดีเยีย่ ม “Excellent” เป็นปีท่ี 4 ต่อเนือ่ ง เช่นกัน เราได้มุ่งเน้นการสร้างระบบป้องกันและให้ความ สำ�คัญในเรื่องการจัดการบริหารความเสี่ยง พร้อมทั้งการ ปฏิ บั ติ ต่ อ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ทุ ก ฝ่ า ยอย่ า งเหมาะสมเสมอมา ในช่วงทีเ่ กิดเหตุการณ์อทุ กภัยในปีทผี่ า่ นมา เราได้ด�ำ เนินการ ป้องกันดูแลทรัพย์สินที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงอย่างเต็มที่ รวมทั้ง

วางแผนรองรับเหตุการณ์ในรูปแบบต่างๆ ไว้ล่วงหน้า ทั้ง ในส่วนของทรัพย์สิน ลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน นอกจากนี้ เพือ่ เป็นการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยน้�ำ ท่วมเป็นการทัว่ ไป เราได้ ร่วมบริจาคเงินและสิ่งของผ่านสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย องค์กรของรัฐ เอกชน และศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ รวมถึงการลงพื้นที่ของพนักงานเพื่อช่วยเหลือโดยตรงกับ ชุมชน สำ�หรับพนักงานของเราที่ได้รับผลกระทบนั้นได้มี การให้ที่พักพิงและเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ด้วยเช่นกัน เรายึดมั่นในปรัชญาการดำ�เนินธุรกิจภายใต้คุณธรรม และจริยธรรม และเชื่อว่าความสำ�เร็จต้องมาพร้อมด้วย คุณธรรม (Success With Integrity) ซึ่งเป็นส่วนสำ�คัญ ให้การดำ�เนินธุรกิจของเราประสบความสำ�เร็จอย่างยั่งยืน ตลอดไป

นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการบริษัท

Excellent CGR Report 2009-2011

07


สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

ในปี 2554 แม้ ว่ า จะเป็ น อี ก ปี ที่ ธุ ร กิ จ โรงแรมและ อุ ต สาหกรรมการท่ อ งเที่ ย วของประเทศไทยต้ อ งประสบ กับผลกระทบที่รุนแรงอีกครั้งสืบเนื่องจากปัญหาน้ำ�ท่วม ในช่วงปลายปี 2554 แต่ในภาพรวมของผลการดำ�เนินงานนัน้ บริษัทฯ ยังสามารถบริหารจัดการให้มีการเจริญเติบโตของ รายได้รวมร้อยละ 13 จากปีที่ผ่านมา และมีผลกำ�ไรสุทธิ 491 ล้านบาท อันเป็นผลจากการดำ�เนินการตามยุทธศาสตร์ หลักทั้ง 3 ด้าน อันได้แก่ การดำ�เนินการด้านยุทธศาสตร์การลงทุนและพัฒนา ขยายเครือข่ายโรงแรมเพื่อขยายฐานลูกค้าในระดับต่างๆ พร้อมทั้งการกระจายเครือข่ายสู่แหล่งธุรกิจและท่องเที่ยว ที่ สำ � คั ญ และมี ศั ก ยภาพ ส่งผลให้ร ายได้รวมจากกิ จ การ โรงแรมเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 จากปี 2549 ทั้ง ๆ ที่ รายได้จากกิจการโรงแรมของ 2 โรงแรมที่มีอยู่เดิมมีรายได้ ลดลงในช่ ว งเวลาเดี ย วกั น อั น เป็ น ผลจากวิ ก ฤตการณ์ ต่าง ๆ และสภาวะการแข่งขันทีร่ นุ แรงมากขึน้ ในช่วงทีผ่ า่ นมา ปัจจุบันบริษัทฯ มีเครือข่ายโรงแรมซึ่งบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้น ทั้งสิ้น 14 โรงแรม โดยมีจำ�นวนห้องพักที่ให้บริการทั้งสิ้น 3,512 ห้อง การริเริ่มการลงทุนในการสร้างเครือข่ายโรงแรม ประหยัดภายใต้เครื่องหมายการค้า ibis ซึ่งปัจจุบันเปิด ดำ�เนินการแล้ว 8 แห่ง นอกจากจะได้รับการตอบรับที่ดี จากตลาดทั้งในและต่างประเทศแล้ว ยังได้รับประโยชน์ โดยตรงจากการขยายตัวของกลุ่มนักท่องเที่ยวจากประเทศ

ไอบิส หัวหิน

สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 08

ขนาดใหญ่ทีม่ อี ตั ราการเจริญเติบโตสูง อันได้แก่ จีน อินเดีย รัสเซีย นอกจากนี้โรงแรมระดับ 4 ดาว ทั้งฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา และคอร์ทยาร์ด โดยแมริออท กรุงเทพ ยังได้รับการ ตอบรับที่ดีจากกลุ่มลูกค้าในระดับกลางเป็นอย่างดีเช่นกัน ความสำ�เร็จในการขยายเครือข่ายโรงแรมเกิดจากการทุ่มเท ในการพัฒนากลไกภายในและความสามารถในด้านต่าง ๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง บริ ษั ท ฯ สามารถจั ด หาที่ ดิ น เพื่ อ พั ฒ นา โครงการต่าง ๆ ได้ตามกำ�หนดเวลาที่วางไว้และยังสามารถ ควบคุมต้นทุนได้ต่ำ�กว่างบประมาณลงทุนรวมที่ตั้งไว้เกือบ 500 ล้านบาท ทำ�ให้บริษัทฯ มั่นใจว่าการลงทุนที่ผ่านมา จะยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาว ของโครงการต่างๆ ได้ในระดับทีเ่ หมาะสมทัง้ ๆ ทีอ่ ตุ สาหกรรม ท่ อ งเที่ ย วและโรงแรมได้ รั บ ผลกระทบอย่ า งรุ น แรงจาก ภาวะที่ ไ ม่ ป กติ ใ นช่ ว ง 3–4 ปี ท่ี ผ่ า นมา ซึ่ ง เป็ น ช่ ว งที่ โรงแรมต่าง ๆ เริ่มเปิดดำ�เนินงาน สำ�หรับโครงการลงทุน ที่ผลการดำ�เนินงานไม่เป็นไปตามที่คาดหวังนั้น บริษัทฯ ได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดพร้อมจัดทำ�แผนเพื่อปรับปรุง และแก้ ไ ขอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยในช่ ว งปี ที่ ผ่ า นมานั้ น บริษัทฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงบริษัทผู้บริหารโรงแรมของ โครงการรีสอร์ทที่เกาะนาคา จังหวัดภูเก็ต โดยเปลี่ยนเป็น เดอะ นาคา ไอแลนด์, เอ ลักซ์ชัวรี่ คอลเลคชั่น รีสอร์ท แอนด์ สปา บริหารงานโดยกลุม่ สตาร์วดู ซึง่ เริม่ เปิดดำ�เนินการ ตั้ ง แต่ เ ดื อ นพฤศจิ ก ายน 2554 บริ ษั ท ฯ คาดว่ า ภายใต้

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา

เดอะ นาคา ไอแลนด์, เอ ลักซ์ชัวรี่ คอลเลคชั่น รีสอร์ท แอนด์ สปา, ภูเก็ต


SUCCESS WITH INTEGRITY

ผู้บริหารใหม่จะทำ�ให้รสี อร์ทแห่งนีส้ ร้างผลกำ�ไรในระดับก่อน ค่าเสือ่ มราคา ดอกเบี้ยและภาษีได้ในปี 2555 นี้ ยุ ท ธศาสตร์ ก ารเสริ ม สร้ า งผลตอบแทนแก่ ผู้ ถื อ หุ้ น โดยการจำ�หน่ายและรับรูม้ ลู ค่าทรัพย์สนิ ในราคาตลาด ซึง่ ได้ กำ � หนดเพิ่ ม ขึ้ น ในปลายปี 2553 เพื่ อ เป็ น แนวทางการ เสริมสร้างผลตอบแทนให้เหมาะสมและต่อเนื่อง เนื่องจาก การลงทุ น ในการพั ฒ นาโรงแรมเป็ น การลงทุ น ระยะยาว ซึ่งโดยปกติของการลงทุนประเภทนี้ต้องอาศัยระยะเวลา ในการดำ � เนิ น งานระยะหนึ่ ง จึ ง จะสามารถสร้ า งผลกำ � ไร ในระดั บ กำ � ไรสุ ท ธิ ไ ด้ การดำ � เนิ น การตามยุ ท ธศาสตร์ นี้ จะเป็นแนวทางทีส่ �ำ คัญในการเสริมสร้างผลกำ�ไรแก่ผูถ้ อื หุน้ ในระยะสัน้ โดยในปีทีผ่ า่ นมาบริษทั ฯ ได้เริม่ ดำ�เนินการตาม ยุทธศาสตร์ดังกล่าวโดยได้มีการขายกิจการอาคารเพลินจิต เซ็ น เตอร์ ให้ แ ก่ ก องทุ น อสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ และบั น ทึ ก ผล ต่างระหว่างราคาขายสุทธิและมูลค่าทรัพย์สินทางบัญชี เป็นผลกำ�ไรสุทธิในปี 2554 ซึ่งทำ�ให้ความสามารถในการ จัดสรรกำ�ไรต่อผู้ถือหุ้นในรูปของการจ่ายเงินปันผลสูงขึ้น อย่างเห็นได้ชดั เมือ่ เปรียบเทียบกับปีทีไ่ ม่มกี ารขายทรัพย์สนิ ทัง้ นี้ ในอนาคตบริษทั ฯ มีการวางแผนและตัง้ ใจทีจ่ ะดำ�เนินการ ตามยุทธศาสตร์นี้ตามระยะเวลาและโอกาสที่เหมาะสม อย่างต่อเนื่อง บริษทั ฯ เชือ่ ว่าการดำ�เนินงานทัง้ 2 ยุทธศาสตร์ควบคู่ กั น ไปตามที่ ก ล่ า วข้ า งต้ น นี้ จ ะเป็ น การสร้ า งความสมดุ ล

ระหว่ า งประโยชน์ ร ะยะยาวและระยะสั้ น แก่ ผู้ ถื อ หุ้ น เป็ น อย่างดี สำ�หรับยุทธศาสตร์การสร้างองค์กรทีม่ คี วามเข้มแข็ง เพือ่ การเจริญเติบโตทีย่ ัง่ ยืนนัน้ บริษทั ฯ ได้มุง่ มัน่ ทีจ่ ะพัฒนา กลไกภายในองค์ ก รในด้ า นต่ า ง ๆ อย่ า งต่ อ เนื่ อ งไม่ ว่ า จะเป็ น การพั ฒ นาระบบงานด้ า นต่ า ง ๆ การพั ฒ นาและ เสริ ม สร้ า งบุ ค คลากรที่ มี ค วามรู้ ค วามสามารถตลอดจน การจัดทำ�แผนสืบทอดตำ�แหน่งผู้บริหารระดับสูง การสร้าง ฐานข้ อ มู ล ที่ สำ � คั ญ ในการตั ด สิ น ใจ และการหล่ อ หลอม วั ฒ นธรรมขององค์ ก รเพื่ อ สนั บ สนุ น การทำ � งานให้ มี ประสิ ท ธิ ภาพ การดำ � เนิ น ธุ ร กิ จโดยยึ ดหลั กธรรมาภิบาล โดยคำ � นึ ง ถึ ง ประโยชน์ แ ละผลกระทบต่ อ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย ตลอดจนสิ่ ง แวดล้ อ มและสั ง คมอย่ า งสมดุ ล ซึ่ ง ทั้ ง หมด จะเป็นพืน้ ฐานทีส่ �ำ คัญในการสร้างความเจริญเติบโตทีย่ งั่ ยืน ในระยะยาวของ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป และองค์ประกอบเหล่านี้ ทำ�ให้บริษัทฯ สามารถผ่านพ้นช่วงวิกฤต และเหตุการณ์ ไม่ปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 2551 มาจนถึงปัจจุบัน จากศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของ ประเทศไทยในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวและการทำ�ธุรกิจ ประกอบกั บ การดำ � เนิ น งานตามยุ ท ธศาสตร์ ทั้ ง 3 ด้ า น บริษัทฯ มั่นใจว่านอกจากจะสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ ผู้ถือหุ้นและผู้ที่มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ได้แล้ว ยังมีส่วน ช่วยเสริมสร้างมาตรฐานที่ดีของอุตสาหกรรมโรงแรมไทย อีกทางหนึ่งด้วย

นายกษมา บุณยคุปต์

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

สารจากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

09


รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

(ก) รายงานผลการดำ�เนินงานในปี 2554 ปี 2554 ถือเป็นปีที่ดีของธุรกิจโรงแรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์น้ำ�ท่วมในไตรมาส 4 ของปี โดยจำ�นวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยสำ�หรับปี 2554 มีจำ�นวนรวม 19 ล้านคน เพิ่มขึ้น 20% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในภูมิภาคและสูงที่สุดสำ�หรับ ประเทศไทยในรอบระยะเวลา 5 ปี นับเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วของประเทศไทย อีกครั้งหนึ่ง ในปี 2554 เราได้ดำ�เนินการตามแผนยุทธศาสตร์การขยายงาน 5 ปี (2554–2558) ดังนี้ การดำ�เนินการตามกลยุทธ์เพิ่มการเติบโต • เราได้ดำ�เนินการพัฒนาโรงแรมใหม่ 3 แห่ง ที่หัวหินและกรุงเทพฯ ตามแผนและกำ�หนดการที่วางไว้ โดยโรงแรม ไอบิส หัวหิน จำ�นวนห้องพัก 200 ห้อง ได้เปิดดำ�เนินการอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 16 มกราคม 2555 ส่วน โรงแรมเมอร์เคียว สยาม และไอบิส สยาม กรุงเทพฯ จำ�นวนห้องพักรวม 380 ห้อง จะเปิดดำ�เนินการในไตรมาส 4/2555 นี้ ซึ่งจะทำ�ให้จำ�นวนห้องพักรวมของทั้งกลุ่มเพิ่มขึ้นจาก 3,312 ห้อง ณ สิ้นปี 2554 มาเป็น 3,892 ห้อง ณ สิ้นปี 2555 การดำ�เนินการตามกลยุทธ์เพิ่มผลตอบแทน • ในส่วนของการขายทรัพย์สินเพื่อรับรู้มูลค่าในราคาตลาด เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 เราได้ดำ�เนินการขายและ โอนกรรมสิทธิใ์ นอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ และสิทธิการเช่าทีด่ นิ ทีต่ ัง้ อาคารรวมมูลค่า 1,423 ล้านบาท ให้แก่กองทุน รวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ ซึง่ จัดตัง้ โดย บริษทั หลักทรัพย์จดั การกองทุนรวม ไทยพาณิชย์ จำ�กัด โดยได้บันทึกกำ�ไรสุทธิจากการขายสินทรัพย์นี้จำ�นวน 664 ล้านบาท ในไตรมาส 2/2554 และได้นำ�เงินสดรับหลัง หักค่าใช้จา่ ยไปชำ�ระหนีเ้ งินกูย้ มื ระยะยาวกับสถาบันการเงินจำ�นวน 460 ล้านบาท สำ�หรับเงินส่วนทีเ่ หลือได้ส�ำ รองไว้ สำ�หรับการสนับสนุนการขยายงานตามแผนยุทธศาสตร์การขยายงาน 5 ปี ตามที่วางไว้ • ในส่วนของการปรับปรุงทรัพย์สนิ เพือ่ เพิม่ ศักยภาพในการสร้างผลตอบแทน เมือ่ เดือนกรกฎาคม 2554 เราได้เข้าทำ� สัญญาบริหารโรงแรมร่วมกับกลุ่มสตาร์วูดโฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำ�ด้านธุรกิจการบริหารโรงแรม ระดับโลก เพือ่ เป็นผูบ้ ริหารโรงแรมของเราภายใต้แบรนด์ “ลักซ์ชวั รี่ คอลเลคชัน่ ” โดยการเป็นพันธมิตรและการเพิม่ แบรนด์ในครั้งนี้เป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มโรงแรมของเราซึ่งปัจจุบันบริหารงานโดยกลุ่มโรงแรมชั้นนำ� ระดับโลกอยู่แล้วคือ กลุ่มไฮแอท แมริออท แอคคอร์ และไอเอชจี และเป็นการเพิ่มความหลากหลายและขยาย ฐานของแบรนด์เพื่อการขยายงานในอนาคตของเราอีกด้วย โดยเราได้ทำ�การเปลี่ยนแบรนด์ของรีสอร์ทของเราที่ ภูเก็ต จากแบรนด์ “ซิกเซ้นท์ แซงชัวรี่ ภูเก็ต” มาเป็น “เดอะ นาคา ไอแลนด์ เอ ลักซ์ชวั รี่ คอลเลคชัน่ รีสอร์ท แอนด์ สปา ภูเก็ต” ซึง่ ส่งผลให้มผี ลการดำ�เนินงานทีป่ รับตัวดีขึน้ อย่างมีนยั สำ�คัญจากช่วงเวลาเดียวกันของปีทีผ่ า่ นมา ทัง้ ในด้านอัตราการเข้าพักเฉลี่ยและรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (“RevPAR”)

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ 10


SUCCESS WITH INTEGRITY

นอกจากนี้ เพื่อสนับสนุนการดำ�เนินงานแผนยุทธศาสตร์และการเติบโตในอนาคตเพื่อให้บริษัทฯ มีโครงสร้างเงินทุนที่ เหมาะสมต่อการขยายงาน เมือ่ วันที่ 26 เมษายน 2554 ทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำ�ปี 2554 ได้มมี ติอนุมตั กิ ารออกใบสำ�คัญ แสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ โดยไม่คิดมูลค่า จำ�นวนไม่เกิน 224,477,900 หน่วย (รายละเอียดตามหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมือ่ วันที่ 19 พฤษภาคม 2554) ทัง้ นีใ้ บสำ�คัญแสดงสิทธิดงั กล่าว ได้เริ่มซื้อขายเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2554 (รายละเอียดตามหนังสือแจ้งตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทยเมือ่ วันที่ 25 พฤษภาคม 2554) และอนุมตั กิ ารออกหุน้ สามัญเสนอขายแก่พนักงานของกลุม่ บริษทั จำ�นวนไม่เกิน 35,743,099 หุ้น เพื่อให้พนักงานมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้ในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าให้ ประสบความสำ�เร็จ (รายละเอียดตามหมายเหตุประกอบงบการเงินหมายเลข 24) ในส่วนของผลการดำ�เนินงาน เรามีรายได้จากการดำ�เนินงานสำ�หรับปี 2554 เท่ากับ 3,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงแม้จะไม่มีรายได้จากอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ จำ�นวน 9 เดือนในปีนี้เนื่องจากการโอนขาย อาคารให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 2/2554 โดยเป็นรายได้จากธุรกิจโรงแรมเท่ากับ 3,536 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำ� ท่วมและไม่มีรายได้จากรีสอร์ท เดอะ นาคาทีภ่ เู ก็ต เป็นเวลา 3 เดือนในช่วงการปิดดำ�เนินงานเพือ่ ทำ�การเปลีย่ นแบรนด์ดงั ทีก่ ล่าวข้างต้น รายได้รวมซึง่ รวมถึง กำ�ไรจากการขายทรัพย์สินและรายได้อื่นเท่ากับ 4,487 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% และเราสามารถทำ�กำ�ไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดบัญชี (“EBITDA”) เป็นจำ�นวน 1,636 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 103% จากปีที่ผ่านมา หลังจาก หักต้นทุนทางการเงิน ค่าเสือ่ มราคา และภาษีเงินได้แล้ว เรามีก�ำ ไรสุทธิส�ำ หรับงวด 12 เดือนของปี 2554 จำ�นวน 491 ล้านบาท เปรียบเทียบกับผลขาดทุนสุทธิ 275 ล้านบาทในปี 2553

คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ

แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

11


ล้านบาท รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รวมรายได้จากการดำ�เนินงาน

2553 2554 เปลี่ยนแปลง 2,930 3,536 +21% 391 219 - 44% 3,321 3,756 +13% 43 3,364

664 67 4,487

N.A. +56% +33%

(2,559) 805

(2,851) 1,636

+11% +103%

ค่าเสื่อมราคา กำ�ไรจากการดำ�เนินงาน

(684) 121

(646) 990

-6% +716%

ต้นทุนทางการเงิน กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนหักภาษีเงินได้

(361) (293)

(407) 584

+13% N.A.

ภาษีเงินได้ ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิ กำ�ไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)

(20) (16) (275) (0.12)

(53) (39) 491 0.22

+169% +148% N.A. N.A.

กำ�ไรจากการขายทรัพย์สิน รายได้อื่น รวมรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำ�เนินงาน กำ�ไรก่อนดอกเบี้ย ภาษีเงินได้ และค่าเสื่อมราคา

รายละเอียดเพิ่มเติมในรายงานนี้

รายได้ สัดส่วนรายได้ประเภทต่าง ๆ ของเราในปี 2554 มีการเปลี่ยนแปลงตามแผนกลยุทธ์การกระจายรายได้ที่เราวางไว้ โดยรายได้จากโรงแรมระดับกลางและโรงแรมชั้นประหยัดมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่รายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ จากอาคารให้เช่าลดลงจากการขายอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ แก่กองทุนอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาส 2/2554 รายได้แบ่งตาม ประเภทของทรัพย์สินได้แสดงไว้ตามตารางและแผนภาพต่อไปนี้

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ 12


SUCCESS WITH INTEGRITY

2552 ล้านบาท สัดส่วน

2553 ล้านบาท สัดส่วน

2554 ล้านบาท สัดส่วน

จากโรงแรม 5 ดาว ในกรุงเทพฯ จากรีสอร์ท 5 ดาว ในต่างจังหวัด จากโรงแรมระดับกลาง จากโรงแรมชั้นประหยัด

1,997 182 272 297

62.6% 5.7% 8.5% 9.3%

1,848 206 449 428

54.9% 6.1% 13.3% 12.7%

2,110 220 631 576

47.0% 4.9% 14.1% 12.8%

รายได้จากโรงแรม รายได้คา่ เช่าและค่าบริการจากอาคารให้เช่า

2,748 401

86.1% 12.6%

2,930 391

87.1% 11.6%

3,536 219

78.8% 4.9%

43 -

1.3% -

43 -

1.3% -

67 664

1.5% 14.8%

3,192

100.0%

3,364

100.0%

4,487

100.0%

รายได้อื่น กำ�ไรจากการขายทรัพย์สิน รวมรายได้

ลานบาท 4,500

4,487

4,000 3,500

3,192

+ 5%

3,364

+ 33%

3,000 2,500

143

2,000

132

1,500

172

1,000

โรงแรม 5 ดาว กรุงเทพฯ โรงแรม 5 ดาว ตางจังหวัด โรงแรมระดับกลาง โรงแรมชั้นประหยัด

อาคารใหเชา

500

รายไดอื่น

0

2552

2553

2554

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

13


สำ�หรับผลการดำ�เนินงานในปี 2554 ของทรัพย์สินทั้งหมด มีดังนี้ ธุรกิจโรงแรม รายได้รวมของธุรกิจโรงแรมทัง้ หมดในปี 2554 เท่ากับ 3,536 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ 21% จากปี 2553 โดยรายได้สว่ นห้องพัก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 ของรายได้ทั้งหมดมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 23% รายได้ส่วนอาหารและเครื่องดื่มคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 38 ของรายได้ทั้งหมดปรับตัวเพิ่มขึ้น 15% รายได้โรงแรมแยกตามประเภทของรายได้ ในปี 2553 และ 2554 แสดงตามแผนภาพด้านล่างนี้ ลานบาท 4,000 3,500 3,000 2,500 2,000

220 160

1,347

1,170

1,500 1,000 500

1,600

1,969

อื่นๆ จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม จากการขายหองพัก

0

2553

2554

โรงแรมระดับ 5 ดาว ในกรุงเทพฯ โรงแรมระดับ 5 ดาว 2 แห่ง ของเราในกรุงเทพฯ ซึง่ ประกอบด้วย โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ และโรงแรม เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ มีผลการดำ�เนินงานที่เติบโตขึ้นในปี 2554 โดยอัตราการเข้าพักเฉลี่ย (“Average Occupancy”) เพิ่มขึ้นจากระดับ 60% ในปี 2553 มาเป็น 68% ในปี 2554 และรายได้ต่อห้องพักเฉลี่ย (“RevPAR”) เพิ่มขึ้น 13% จากปี 2553 ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากสภาวะน้ำ�ท่วมในไตรมาส 4/2554 โดยเรามีรายได้ส่วนห้องพักเพิ่มขึ้น 12% และรายได้จากค่าอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 11% จากปี 2553

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ 14


SUCCESS WITH INTEGRITY

โรงแรมระดับ 5 ดาว ในต่างจังหวัด เรามีรีสอร์ท 5 ดาว ในต่างจังหวัด 2 แห่ง ซึ่งมีผลการดำ�เนินงานปรับตัวดีขึ้นทั้ง 2 แห่ง ในปีนี้ โรงแรมเรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา ที่เกาะสมุย มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น 11% ส่งผลให้รายได้เฉลี่ย ต่อห้องพัก (“RevPAR”) และรายได้ค่าห้องพักเพิ่มขึ้น 13% จากปี 2553 สำ�หรับรีสอร์ทที่เกาะนาคา ภูเก็ต ซึ่งในช่วงกลางปี 2554 เราได้เข้าทำ�สัญญาบริหารโรงแรมร่วมกับกลุ่มสตาร์วูด โฮเต็ล แอนด์ รีสอร์ท เพื่อเปลี่ยนแบรนด์ของโรงแรมจาก ซิกส์เซ้นส์ แซงชัวรี่ มาเป็น ลักซ์ชัวรี่ คอลเลคชั่น โดยรีสอร์ท ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เดอะ นาคา ไอแลนด์, เอ ลักซ์ชัวรี่ คอลเลคชั่น รีสอร์ท แอนด์ สปา, ภูเก็ต” และเปลี่ยนรูปแบบการบริการ จากรีสอร์ทแบบสุขภาพมาเป็นพูลวิลล่าระดับไฮเอนด์เพื่อรองรับตลาดลูกค้าที่กว้างกว่า ซึ่งจะทำ�ให้สามารถขยายตลาดได้เร็ว และสร้างผลตอบแทนทางการเงินที่ดีขึ้น โดยได้ปิดปรับปรุงรีสอร์ทตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2554 และเปิดให้บริการอีกครั้ง ในเดือนพฤศจิกายน 2554 โดยผลการดำ�เนินงานในปี 2554 มีการปรับตัวที่ดีขึ้นโดยอัตราการเข้าพักทั้งปีรวมช่วงระยะเวลา ปิดปรับปรุงมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 2% จากปีที่ผ่านมา ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (“RevPAR”) เพิ่มขึ้น 3% โดยรวมโรงแรม 5 ดาว ทั้ง 4 แห่ง มีรายได้รวมเท่ากับ 2,330 ล้านบาท สำ�หรับปี 2554 เพิ่มขึ้น 13% จากปี 2553 โรงแรมระดับกลาง เรามีโรงแรมระดับกลางจำ�นวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงแรมคอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ และโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา โดยเป็นกลุม่ ทีม่ กี ารเติบโตของรายได้มากทีส่ ดุ ในปี 2554 โดยรวมกลุม่ โรงแรมระดับกลางมีการเติบโต 41% จากปี 2553 โดยมี รายได้รวมจากการดำ�เนินงานทั้งสิ้น 631 ล้านบาท รายได้ส่วนห้องพักเพิ่มขึ้น 46% และรายได้จากค่าอาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 30% โดยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 20% และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (“RevPAR”) เพิ่มขึ้น 46% โรงแรมชั้นประหยัด โรงแรมชั้นประหยัดทั้งหมดของเราเปิดดำ�เนินการภายใต้แบรนด์ “ไอบิส” โดย ณ สิ้นปี 2554 เราได้เปิดดำ�เนินการ โรงแรมชั้นประหยัดภายใต้แบรนด์ไอบิสอย่างเป็นทางการแล้วทั้งสิ้น 7 แห่ง รวมเป็นจำ�นวนห้องพักทั้งหมด 1,704 ห้อง โรงแรมไอบิส 4 แห่งแรก ซึ่งได้เปิดดำ�เนินการในปี 2551 ได้แก่ ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง ไอบิส พัทยา ไอบิส กรุงเทพ สาทร และไอบิส สมุย บ่อผุด ในปี 2552 เราได้เปิดดำ�เนินการเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ ไอบิส กรุงเทพ นานา และไอบิส ภูเก็ต กะตะ และในปี 2553 เราได้เปิดดำ�เนินการเพิ่มอีก 1 แห่ง คือ ไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์ กลุ่มโรงแรมชั้นประหยัดเป็นกลุ่มที่มี การเติบโตที่ดีเช่นกัน โดยมีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10% และรายได้เฉลี่ยต่อห้องพัก (“RevPAR”) เพิ่มขึ้น 16% เมือ่ เทียบกับปีทีผ่ า่ นมา กลุม่ โรงแรมชัน้ ประหยัดทัง้ 7 แห่ง ทำ�รายได้รวมเท่ากับ 576 ล้านบาท สำ�หรับปี 2554 เพิม่ ขึน้ 35% จากปี 2553 โดยรายได้ส่วนใหญ่ยังคงเป็นรายได้จากห้องพัก อย่างไรก็ดีรายได้จากค่าอาหารและเครื่องดื่มมีการเติบโตขึ้น เช่นกันในปี 2554 ที่ 46%

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

15


รายได้โรงแรมแยกตามกลุ่มประเภทโรงแรม ในปี 2553 และ 2554 แสดงตามแผนภาพด้านล่างนี้

รายได (ลานบาท) 2,500 2,000 1,500 1,000 500 0

2553 2554 โรงแรม 5 ดาว

เดอะ นาคา ไอแลนด์ เอ ลักซ์ซัวรี่ คอลเลคชั่น รีสอร์ท แอนด์ สปา ภูเก็ต

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ 16

2553 2554

โรงแรมระดับกลาง

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา

2553 2554

โรงแรมชั้นประหยัด

ไอบิส พัทยา


SUCCESS WITH INTEGRITY

รายได้โรงแรมแยกตามแหล่งท่องเที่ยว ในปี 2553 และ 2554 แสดงตามแผนภาพด้านล่างนี้

รายได (ลานบาท) 3,000 2,500 2,000 1,500 1,000 500 0

2553 2554 กรุงเทพฯ

2553 2554 ตางจังหวัด

ธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ ณ สิ้นปี 2554 ธุรกิจพื้นที่เช่าของเรามีเพียงอาคารเอราวัณ แบงค็อก ซึ่งเป็นศูนย์การค้าระดับไฮเอนด์ตั้งอยู่ติดกับ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ ศูนย์การค้าเอราวัณ แบงค็อก ยังคงมีผลการดำ�เนินงานที่ดีในปีนี้ โดยมีอัตราการเช่าพื้นที่ 89% สูงกว่าปีที่ผ่านมา 3% และมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 10% รายได้รวมจากธุรกิจการให้เช่าพื้นที่ (รวมทั้งร้านค้าต่าง ๆ ในอาเขตของโรงแรม) เท่ากับ 219 ล้านบาท ในปี 2554 ลดลง 44% จากปีทผี่ า่ นมา เนือ่ งจากการขายอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เข้ากองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ ในเดือนเมษายน 2554 ส่งผลให้เราบันทึกรายได้ของอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เพียง 3 เดือน ในปีนี้

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

17


ผลกำ�ไรจากการดำ�เนินงาน กำ�ไรก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดบัญชี (“EBITDA”) เท่ากับ 1,636 ล้านบาท ในปี 2554 โดยมี EBITDA จากการดำ�เนินงานปกติซึ่งไม่รวมกำ�ไรจากการขายทรัพย์สินเท่ากับ 972 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21% จากปีที่ผ่านมา และส่งผลถึงอัตรากำ�ไรระดับ EBITDA จากการดำ�เนินงานปกติที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 24 ในปี 2553 มาเป็นร้อยละ 25 ในปี 2554 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่ายในปี 2554 เท่ากับ 646 ล้านบาท ลดลง 38 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุ ส่วนใหญ่มาจากการลดลงของค่าเสื่อมราคาของอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ จากการโอนขายอาคาร ส่งผลให้ในปี 2554 นี้ เรามีกำ�ไรจากการดำ�เนินงานก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (“EBIT”) จำ�นวน 990 ล้านบาท และ EBIT จากการดำ�เนินงานปกติ ซึ่งไม่รวมกำ�ไรจากการขายทรัพย์สินเท่ากับ 326 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 169% จากปีที่ผ่านมา ต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนทางการเงินสำ�หรับปี 2554 เพิ่มขึ้นเป็น 407 ล้านบาท จาก 2 สาเหตุหลักคือ การรับรู้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของ โรงแรมที่เปิดใหม่ในไตรมาส 4/2553 จำ�นวน 1 แห่ง ซึ่งรับรู้เพียง 2 เดือน ในปี 2553 และรับรู้เพิ่มขึ้นเป็นทั้งปีคือ 12 เดือน ในปี 2554 และการปรับเพิ่มของอัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นรวมประมาณ 1.1% นับตั้งแต่สิ้นปี 2553 ส่งผลให้ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย (รวมเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว) ของเราปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.9% มาอยู่ที่ระดับ 5.4% ในปี 2554 กำ�ไรจากการขายทรัพย์สิน ในปี 2554 เราบันทึกกำ�ไรจากการขายอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ให้แก่กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์ม ออฟฟิศ จำ�นวน 664 ล้านบาท

เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ 18


SUCCESS WITH INTEGRITY

(ข) รายงานสถานะทางการเงิน รายจ่ายเงินทุน รายจ่ายเงินทุนในปี 2554 เท่ากับ 544 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเงินทุนสำ�หรับการพัฒนาโครงการไอบิส หัวหิน ซึ่งเปิดดำ�เนินการแล้วในเดือนมกราคม 2555 และโครงการเมอร์เคียว สยาม และไอบิส สยาม ซึ่งจะเปิดดำ�เนินการในเดือน ธันวาคม 2555 รวมถึงการรีแบรนด์รีสอร์ทที่เกาะนาคา ภูเก็ต และการซ่อมแซมบำ�รุงรักษาประจำ�ปีของทรัพย์สินต่าง ๆ โดยแหล่งเงินทุนของโครงการลงทุนเหล่านี้มาจากกระแสเงินสดจากการดำ�เนินงานและเงินกู้โครงการ จากผลการดำ�เนินงาน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นทั้งจากธุรกิจโรงแรมและธุรกิจพื้นที่เช่า ส่งผลให้เรามีกระแสเงินสดจากการดำ�เนินงานก่อนการเปลี่ยนแปลง ของสินทรัพย์และหนี้สินดำ�เนินงานสำ�หรับปี 2554 เท่ากับ 991 ล้านบาท นอกจากนี้ในปี 2554 เรายังมีเงินสดรับสุทธิจาก การขายอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ให้แก่กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศในไตรมาส 2/2554 จำ�นวน 1,352 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์การเพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุน เราได้ใช้กระแสเงินสดดังกล่าวในการ 1) การจ่าย ชำ�ระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวทั้งหมดของอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เป็นจำ�นวน 460 ล้านบาท 2) การชำ�ระคืนเงินกู้ระยะยาว ตามกำ�หนดชำ�ระคืนปกติและชำ�ระคืนเงินกู้ระยะสั้นบางส่วน และ 3) เป็นแหล่งเงินทุนสนับสนุนโครงการลงทุนต่าง ๆ รายจ่ายเงินทุนแยกตามทรัพย์สิน ในระหว่างปี 2554 แสดงตามแผนภาพด้านล่างนี้

11%

เดอะ นาคา ไอแลนด

37%

ไอบิส หัวหิน

22% โรงแรมอื่น ๆ 5% สำนักงานและศูนยการคา 25% เมอรเคียว สยาม และไอบิส สยาม

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่

19


สินทรัพย์รวมของเราลดลงจาก 12,950 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2553 มาเป็น 12,238 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2554 จากการ ตัดค่าเสือ่ มราคาประจำ�ปีและการขายอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เงินกูจ้ ากสถาบันการเงินลดลงจากยอด 8,599 ล้านบาท มาเป็น 7,499 ล้านบาท และหนี้สินรวมลดลงจาก 9,676 ล้านบาท มาเป็น 8,468 ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2553 เปรียบเทียบกับ ณ สิน้ ปี 2554 ซึง่ เป็นผลมาจากการจ่ายคืนชำ�ระเงินกูใ้ นปี 2554 ตามกำ�หนดและก่อนกำ�หนดในกรณีการจ่ายคืนเงินกูอ้ าคาร เพลินจิต เซ็นเตอร์ กำ�ไรสุทธิทเี่ พิม่ ขึน้ ในปี 2554 เป็นผลให้สว่ นของผูถ้ อื หุน้ เพิม่ ขึน้ จาก 3,273 ล้านบาท มาเป็น 3,769 ล้านบาท ในช่วงเวลาเดียวกัน การเพิม่ ขึน้ ของส่วนของผูถ้ อื หุน้ และการลดภาระหนีส้ นิ ช่วยให้สถานะทางการเงินของเรามีความแข็งแกร่ง มากขึ้น โดยอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อส่วนของผู้ถือหุ้นปรับตัวลดลงจากระดับ 2.9 เท่า เมื่อสิ้นปี 2553 สู่ระดับ 2.2 เท่า และมีอตั ราส่วนเงินหนีส้ นิ ทีม่ ภี าระดอกเบีย้ สุทธิตอ่ ส่วนของผูถ้ อื หุน้ อยูท่ ี่ 1.9 เท่า ณ สิน้ ปี 2554 จากการทีบ่ ริษทั ฯ มีก�ำ ไรสุทธิ ในปี 2554 นี้ คณะกรรมการบริษทั ฯ ได้มมี ติเห็นชอบให้เสนอต่อทีป่ ระชุมสามัญผูถ้ อื หุน้ ประจำ�ปี 2555 พิจารณาจ่ายเงินปันผล สำ�หรับผลการดำ�เนินงานปี 2554 ในอัตรา 0.08 บาทต่อหุ้น หรือเท่ากับ 37% ของกำ�ไรสุทธิต่อหุ้นในปีนี้

นางกมลวรรณ วิปุลากร กรรมการผู้จัดการใหญ่

รายงานจากกรรมการผู้จัดการใหญ่ 20


รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบต่อผูถ้ อื หุน้

SUCCESS WITH INTEGRITY

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

เรียน ท่านผู้ถือหุ้น บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระจำ�นวน 3 คน มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศของตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี ปฏิบตั หิ น้าทีต่ ามขอบเขตอำ�นาจหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของตน และที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ในรอบปี 2554 มีการประชุม 4 ครั้ง เพื่อพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. พิจารณาสอบทานงบการเงินรายไตรมาสและงบการเงินประจำ�ปี 2554 โดยประสานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กับผู้สอบบัญชี ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน และผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจได้ว่างบการเงินของบริษัทฯ และ บริษทั ย่อย มีการเปิดเผยข้อมูลอย่างถูกต้อง เพียงพอ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป และเป็นไปตามประกาศ ก.ล.ต. และ ตลท. 2. สอบทาน และประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน เพื่อให้บริษัทฯ มีระบบการควบคุมภายในที่ดี เหมาะสมกับการดำ�เนินธุรกิจ รวมถึงการดูแลทรัพย์สิน การป้องกันความผิดพลาด ความเสียหาย โดยพิจารณา จากรายงานของผู้ตรวจสอบภายใน ผู้สอบบัญชี ตลอดจนสอบถามจากฝ่ายจัดการ ทั้งนี้ไม่พบประเด็นปัญหา หรื อ ข้ อ บกพร่ อ งที่ เ ป็ น สาระสำ � คั ญ จึ ง มี ค วามเห็ น ว่ า การควบคุ ม ภายในของบริ ษั ท ฯ มี ค วามเพี ย งพอและ มีประสิทธิภาพ 3. พิจารณาสอบทานการทำ�รายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจทำ�ให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ รวมถึง การเปิดเผยข้อมูลของการทำ�รายการว่าเป็นรายการทางการค้าปกติทั่วไป การพิจารณาอนุมัติรายการเป็นไป โดยรอบคอบตามเกณฑ์ ที่ บ ริ ษั ท ฯ และภาครั ฐ กำ � หนด มี ค วามสมเหตุ ส มผลและก่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด ต่อบริษัทฯ 4. พิจารณาให้คำ�ปรึกษาและอนุมัติแผนตรวจสอบภายในประจำ�ปี รับทราบและเสนอผลการตรวจสอบภายในต่อ คณะกรรมการ พิจารณางบประมาณประจำ�ปี ตลอดจนกำ�กับดูแล สอบทาน และประเมินผลงานของหัวหน้า สายงานตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบ พิ จ ารณาคั ด เลื อ กผู้ ส อบบั ญ ชี ป ระจำ � ปี 2555 และความเหมาะสมของค่ า สอบบั ญ ชี เสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อขออนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นแต่งตั้ง นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 4068 และ/หรือ นางสาววรรณาพร จงพีรเดชานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตทะเบียนเลขที่ 4098 และ/หรือ นายวิเชียร ธรรมตระกูล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ทะเบียนเลขที่ 3183 แห่งบริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำ� กัด เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ

นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม

ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555

รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบต่อผู้ถือหุ้น

21


รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการ ต่อรายงานทางการเงิน บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

คณะกรรมการ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) เป็นผู้รับผิดชอบต่องบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ซึ่งจัดทำ�ขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไปในประเทศไทย โดยได้มีการพิจารณาเลือกใช้นโยบายบัญชีที่เหมาะสม และถือปฏิบัติอย่างสม่ำ�เสมอ รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลสำ�คัญอย่างเพียงพอในหมายเหตุประกอบงบการเงิน คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งประกอบด้วยกรรรมการอิสระ 3 คน เพื่อทำ�หน้าที่สอบทานรายงาน ทางการเงิ น ของบริ ษั ท ฯ สอบทานความเพี ย งพอของระบบควบคุ ม ภายใน และติ ด ตามการบริ ห ารความเสี่ ย งที่ สำ � คั ญ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีความมั่นใจได้ว่ามีการบันทึกข้อมูลทางบัญชีถูกต้องเพียงพอ ทันเวลา ซึ่งความเห็นของคณะกรรมการ ตรวจสอบปรากฏในรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งได้แสดงไว้ในรายงานประจำ�ปีนี้แล้ว คณะกรรมการมีความเห็นว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ โดยรวมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ และสามารถสร้าง ความมั่นใจอย่างมีเหตุผลต่อความเชื่อถือได้ของงบการเงินรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ

รายงานความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อรายงานทางการเงิน 22

นางกมลวรรณ วิปุลากร กรรมการผู้จัดการใหญ่


SUCCESS WITH INTEGRITY

เกี่ยวกับบริษัท

23


ประวัติบริษัท

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)

2534

2540

โรงแรมแกรนด ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ

2547 อาคารเอราวัณ แบงค็อก

กอตั้งบริษัท

2525

เปดดำเนินการ อาคารอัมรินทร พลาซา

แปรสภาพ เปนบริษัทมหาชน

2528 2531 จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย แหงประเทศไทย

2534

เปดดำเนินการ โรงแรมแกรนด ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

กอตั้งเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2525 ดำเนินการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย และธุรกิจโรงแรมมาตลอด

30 ป 24 ประวัติบริษัท

2537

เปดดำเนินการ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ

2539

2540

เปดดำเนินการ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร


SUCCESS WITH INTEGRITY

ขายกิจการ อาคารอัมรินทร พลาซา เปดดำเนินการ โรงแรมคอรทยารด เปดดำเนินการ โดย แมริออท กรุงเทพ อาคารเอราวัณ แบงค็อก

2547

2548

2550

เปดดำเนินการ โรงแรมเรเนซองส เกาะสมุย รีสอรท แอนด สปา

โรงแรมคอรทยารด

2550

เปดดำเนินการ โรงแรมฮอลิเดย อินน พัทยา เปดดำเนินการ โรงแรมไอบิส 2 แหง ไดแก โรงแรมไอบิส กรุงเทพ นานา โรงแรมไอบิส ภูเก็ต กะตะ

2551

2552

เปดดำเนินการ โรงแรมซิกสเซนส แซงชัวรี่ ภูเก็ต เปดดำเนินการ โรงแรมไอบิส 4 แหง ไดแก โรงแรมไอบิส ภูเก็ต ปาตอง โรงแรมไอบิส พัทยา โรงแรมไอบิส กรุงเทพ สาทร และโรงแรมไอบิส สมุย บอผุด

โรงแรมฮอลิเดย อินน พัทยา

2552

ขายกิจการ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร โดยยังคงเปนผูบริหาร งานอาคาร รีแบรนด กิจการโรงแรมเปน เดอะ นาคา ไอแลนด, เอ ลักซชัวรี่ คอลเลคชั่น รีสอรท แอนด สปา, ภูเก็ต จากเดิมโรงแรมซิกสเซนส แซงชัวรี่ ภูเก็ต

2553 2554 เปดดำเนินการ โรงแรมไอบิส กรุงเทพ ริเวอรไซด

โรงแรมไอบิส 7 แหง

2551-2553

ประวัติบริษัท

25


ธุรกิจที่ดำเนินงานในปจจุบัน บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)

บริษัทฯ และบริษัทยอยประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุนพัฒนาและดำเนินธุรกิจโรงแรมที่สอดคลองกับทำเล สถานที่ตั้ง และกลุมเปาหมายเปนธุรกิจหลัก ปจจุบันมีโรงแรมที่เปดดำเนินการรวม 13 โรงแรม โดยมีธุรกิจอื่น ไดแก ธุรกิจ พื้นที่ใหเชา และธุรกิจบริหารอาคาร รายละเอียดตามประเภทของธุรกิจตาง ๆ ที่ดำเนินงานแลว มีดังนี้

ธุรกิจโรงแรมและรีสอรท

แกรนด ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ

เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ

มาตรฐานโรงแรม : Luxury Hotel จำนวนหองพัก : 380 หอง สถานที่ตั้ง : ถนนราชดำริ กรุงเทพฯ สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 30 ป

มาตรฐานโรงแรม : Luxury Hotel จำนวนหองพัก : 441 หอง สถานที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท ซอย 2 กรุงเทพฯ สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 33 ป

(Grand Hyatt Erawan Bangkok)

www.bangkok.grand.hyatt.com

เรเนซองส เกาะสมุย รีสอรท แอนด สปา (Renaissance Koh Samui Resort and Spa)

มาตรฐานโรงแรม : Luxury Resort จำนวนหองพัก : Deluxe 45 หอง และ Pool Villa 33 หอง สถานที่ตั้ง : หาดละไม เกาะสมุย สุราษฎรธานี www.marriott.com/usmbr 26 ธุรกิจที่ดำ�เนินงานในปัจจุบัน

(JW Marriott Hotel Bangkok)

www.marriott.com/bkkdt

เดอะ นาคา ไอแลนด, เอ ลักซชวั รี่ คอลเลคชัน่ รีสอรท แอนด สปา, ภูเก็ต (The Naka Island, a Luxury Collection Resort & Spa, Phuket)

มาตรฐานโรงแรม : Luxury Resort and Spa จำนวนหองพัก : Pool Villa 67 หอง สถานที่ตั้ง : เกาะนาคาใหญ ภูเก็ต www.nakaislandphuket.com


SUCCESS WITH INTEGRITY

คอรทยารด โดย แมริออท กรุงเทพ

ฮอลิเดย อินน พัทยา

มาตรฐานโรงแรม : Midscale Hotel จำนวนหองพัก : 316 หอง สถานที่ตั้ง : ซอยมหาดเล็กหลวง ถนนราชดำริ กรุงเทพฯ สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 26 ป

มาตรฐานโรงแรม : Midscale Hotel จำนวนหองพัก : 367 หอง สถานที่ตั้ง : ถนนพัทยาสาย 1 ชลบุรี

(Courtyard by Marriott Bangkok)

www.courtyard.com/bkkcy

(Holiday Inn Pattaya)

www.holidayinn.com/pattaya

ไอบิส ภูเก็ต ปาตอง

ไอบิส ภูเก็ต กะตะ

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 258 หอง สถานที่ตั้ง : หาดปาตอง ภูเก็ต

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 258 หอง สถานที่ตั้ง : หาดกะตะ ภูเก็ต

(Ibis Phuket Patong)

www.ibishotel.com

(Ibis Phuket Kata)

www.ibishotel.com

ธุรกิจที่ดำ�เนินงานในปัจจุบัน

27


ไอบิส พัทยา

ไอบิส สมุย บอผุด

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 259 หอง สถานที่ตั้ง : ถนนพัทยาสาย 2 ชลบุรี www.ibishotel.com

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 205 หอง สถานที่ตั้ง : หาดบอผุด เกาะสมุย สุราษฎรธานี

ไอบิส กรุงเทพ สาทร

ไอบิส กรุงเทพ นานา

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 213 หอง สถานที่ตั้ง : ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 27 ป

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 200 หอง สถานที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท ซอย 4 กรุงเทพฯ สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 27 ป

(Ibis Pattaya)

(Ibis Bangkok Sathorn)

www.ibishotel.com 28 ธุรกิจที่ดำ�เนินงานในปัจจุบัน

(Ibis Samui Bophut)

www.ibishotel.com

(Ibis Bangkok Nana)

www.ibishotel.com


SUCCESS WITH INTEGRITY

โรงแรมที่อยูระหวางพัฒนา

ไอบิส กรุงเทพ ริเวอรไซด

ไอบิส หัวหิน

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 266 หอง สถานที่ตั้ง : ถนนเจริญนคร ซอย 17 (ริมแมน้ำเจาพระยา) กรุงเทพฯ สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 23 ป

มาตรฐานโรงแรม : Economy Hotel จำนวนหองพัก : 200 หอง สถานที่ตั้ง : หัวหิน ประจวบคีรีขันธ ลูกคาเปาหมาย : นักทองเที่ยว

(Ibis Bangkok Riverside)

(Ibis Hua Hin)

(เปดดำเนินการเดือนมกราคม 2555)

www.ibishotel.com

เมอรเคียว กรุงเทพ สยาม และ ไอบิส กรุงเทพ สยาม (Mercure Bangkok Siam and ibis Bangkok Siam) มาตรฐานโรงแรม : Midscale and Economy Hotel จำนวนหองพัก : 380 หอง สถานที่ตั้ง : ยานศูนยการคาสยามสแควร ติดกับสถานีรถไฟฟา สนามกีฬาแหงชาติ ลูกคาเปาหมาย : นักธุรกิจและนักทองเที่ยว สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 31 ป ธุรกิจที่ดำ�เนินงานในปัจจุบัน

29


ธุรกิจพื้นที่ใหเชา อาคารเอราวัณ แบงค็อก (Erawan Bangkok)

รานคา : พื้นที่เชา 6,849 ตร.ม. สถานที่ตั้ง : ถนนเพลินจิต/ถนนราชดำริ กรุงเทพฯ สิทธิการเชาที่ดินคงเหลือระยะเวลา : 30 ป www.erawanbangkok.com

ธุรกิจบริหารอาคาร อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร

(Ploenchit Center) เจาของ : กองทุนรวมสิทธิการเชาอสังหาริมทรัพยไพรมออฟฟศ บริหารงานโดย บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)

อาคารสำนักงาน : พื้นที่เชา 42,590 ตร.ม. สถานที่ตั้ง : ถนนสุขุมวิท ซอย 2 กรุงเทพฯ

ธุรกิจที่ดำ�เนินงานในปัจจุบัน 30


กลยุทธ์ในการดำ�เนินธุรกิจ

SUCCESS WITH INTEGRITY

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

3 กลยุทธ์หลักในการดำ�เนินธุรกิจ 1. ทรัพย์สนิ ทีม่ อี ยูใ่ นปัจจุบนั : พัฒนาทรัพย์สนิ ให้ตรงกับความต้องการอย่างต่อเนือ่ ง และบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดมูลค่าสูงสุด 2. ทรัพย์สนิ ทีจ่ ะพัฒนาในอนาคต : มุง่ พัฒนาและลงทุนในธุรกิจโรงแรม และ/หรือรีสอร์ททีต่ รงตามความต้องการของ ลูกค้าโดยคำ�นึงถึงการกระจายความเสี่ยงของรายได้อย่างเป็นระบบ และได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม 3. สร้างปัจจัยสนับสนุนความมัน่ คงและเจริญเติบโตทีย่ ัง่ ยืน ซึง่ ประกอบด้วย การบริหารงานด้านต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ การเสริมสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพโดยมุ่งเน้นที่ทักษะในการทำ�งาน การพัฒนาระบบฐานข้อมูลความรู้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ และการมีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง บริษัทผู้บริหารที่เป็นคู่ค้าของ ดิ เอราวัณ กรุ๊ป

นโยบายในการว่าจ้างบริษทั ผูบ้ ริหาร จะมุง่ เน้นทีบ่ ริษทั ผูบ้ ริหารโรงแรมระดับนานาชาติ (International hotel operator) ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำ�ที่มีชื่อเสียง ประสบการณ์ และทำ�งานอย่างเป็นระบบ โดยการคัดเลือกแบรนด์ (Brand) จะพิจารณาจาก ความชำ�นาญของบริษัทผู้บริหารและมีความเหมาะสมกับทรัพย์สินนั้น ๆ

กลยุทธ์ในการดำ�เนินธุรกิจ

31


โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

โครงสร้างการถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษทั ฯ มีทนุ ทีเ่ รียกชำ�ระแล้ว 2,244,779,001 บาท เป็นหุน้ สามัญทัง้ หมด มูลค่าหุน้ ละ 1 บาท โดยมีผู้ถือหุ้น 10 รายแรกตามทะเบียนหุ้นของบริษัทฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ได้แก่ 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10.

ชื่อผู้ถือหุ้น นายสุขกาญจน์ วัธนเวคิน บริษัท ซิตี้ โฮลดิ้ง จำ�กัด นางวรรณสมร วรรณเมธี บริษัท น้ำ�ตาลมิตรผล จำ�กัด บริษัท เอ็ม บี เค จำ�กัด (มหาชน) SKANDINAVISKA ENSKILDA BANKEN AB (PUBL)

นายอิสระ ว่องกุศลกิจ นางสาวจินตนา กาญจนกำ�เนิด PAN-ASIA SUGAR FUND LIMITED นายสุพล วัธนเวคิน รวมผู้ถือหุ้น 10 อันดับแรก

จำ�นวนหุ้น (หุ้น) 379,185,716 210,481,318 131,611,349 131,353,314 130,937,938 120,222,500 101,257,910 83,296,177 73,000,000 58,698,916 1,420,045,138

% หุ้น 16.89 % 9.38 % 5.86 % 5.85 % 5.36 % 5.36 % 4.51 % 3.71 % 3.25 % 2.61 % 62.78 %

ผูล้ งทุนสามารถดูขอ้ มูลปัจจุบนั ได้จากเว็บไซต์ของบริษทั ฯ www.TheErawan.com ก่อนการประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี อย่างไรก็ตาม โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทฯ มีลักษณะดังต่อไปนี้

กลุ่มผู้ถือหุ้น กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มวัธนเวคิน รวมผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศและต่างประเทศ กลุ่มบริษัท เอ็ม บี เค จำ�กัด (มหาชน) กลุ่มผู้บริหารของบริษัทฯ อื่น ๆ รวม

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 32

จำ�นวนหุ้น (หุ้น) 871,994,642 709,907,357 1,581,901,999 312,982,867 141,468,738 16,330,705 192,094,692 2,244,779,001

% หุ้น 39 % 31 % 70 % 14 % 6% 1% 9% 100 %


SUCCESS WITH INTEGRITY

รายนามกลุม่ ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ ทีม่ อี ทิ ธิพลต่อการกำ�หนดนโยบายบริหารหรือการดำ�เนินงานของบริษทั ฯ อย่างมีนยั สำ�คัญ ประกอบด้วย

ชื่อกรรมการ 1. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ 2. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ 3. นายกวิน ว่องกุศลกิจ 4. นายสุพล วัธนเวคิน 5. นางพนิดา เทพกาญจนา

กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มว่องกุศลกิจ กลุ่มวัธนเวคิน กลุ่มวัธนเวคิน

โครงสร้างการจัดการ คณะกรรมการได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้น จำ�นวน 13 คน โดยคณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย 4 คณะ เพื่อช่วยในการกำ�กับดูแล และจัดการด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการลงทุน คณะกรรมการ สรรหาและบรรษัทภิบาล และคณะกรรมการพัฒนาผูบ้ ริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน โดยมีต�ำ แหน่ง และวุฒกิ ารศึกษา สูงสุดตามรายละเอียดดังนี้ ชื่อ ตำ�แหน่ง วุฒิการศึกษา 1. นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ • ปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ กรรมการอิสระ มหาวิทยาลัยเวยน์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ • ปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ ประธานคณะกรรมการ มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต ตรวจสอบ สหรัฐอเมริกา 3. รศ.มานพ พงศทัต กรรมการอิสระ • สถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต กรรมการตรวจสอบ มหาวิทยาลัยแคนซัส สเตท สหรัฐอเมริกา 4. นายเดช บุลสุข กรรมการอิสระ • ปริญญาตรี พาณิชยศาสตร์และการบัญชี กรรมการตรวจสอบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 5. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการอิสระ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการอิสระ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 7. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ • เภสัชศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

33


ชื่อ ตำ�แหน่ง วุฒิการศึกษา 8. นายสุพล วัธนเวคิน กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (นักบริหาร) สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 9. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงิน) มหาวิทยาลัยเซนต์ หลุยส์ มิสซูรี่ สหรัฐอเมริกา 10. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • ปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย • เนติบัณฑิตไทย สำ�นักงานอบรมศึกษากฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตยสภาไทย 11. นายกวิน ว่องกุศลกิจ กรรมการ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงิน) มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ออสเตรเลีย 12. นายกษมา บุณยคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ธุรกิจระหว่างประเทศ) มหาวิทยาลัยบริดจ์พอร์ต รัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา 13. นางกมลวรรณ วิปุลากร กรรมการผู้จัดการใหญ่ • บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การเงิน), มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น อิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เลขานุการบริษัท: นางสาวกนกวรรณ ทองศิวะรักษ์

กรรมการผู้มีอำ�นาจลงนามผูกพันบริษัท ประกอบด้วย นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ นางพนิดา เทพกาญจนา นายกษมา บุณยคุปต์ นางกมลวรรณ วิปุลากร สองใน สี่คนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกัน นโยบายจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายในการจ่ายเงินปันผล ประมาณร้อยละ 35 ของกำ�ไรสุทธิ ของงบการเงินรวมหลังหักเงินสำ�รองต่าง ๆ ทุกประเภทที่กฎหมายและบริษัทฯ ได้กำ�หนดไว้ อย่างไรก็ตาม อัตราการจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสด และภาระการลงทุนของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ รวมถึงข้อจำ�กัดทางกฎหมายและความจำ�เป็นอื่น

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 34


SUCCESS WITH INTEGRITY

อำ�นาจหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อย คณะกรรมการ มีอำ�นาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. จัดการบริษทั ฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ ข้อบังคับ และมติของทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ ด้วยความซือ่ สัตย์สจุ ริต ระมัดระวัง และรักษาผลประโยชน์ 2. กำ�หนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำ�เนินธุรกิจ 3. พิจารณาแผนธุรกิจ พัฒนาขีดความสามารถ และประเมินผลการดำ�เนินงานของบริษัทฯ 4. พิจารณางบประมาณ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุดให้แก่กิจการ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้แก่ผู้ถือหุ้น 5. กำ�หนดนโยบายพัฒนา และแผนสืบทอดตำ�แหน่งผู้บริหารระดับสูง 6. กำ�กับดูแล และพัฒนาการบริหารความเสี่ยง 7. กำ�กับดูแล และพัฒนาการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาล 8. กำ�กับดูแล ควบคุมให้มีระบบควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายในที่ดี 9. ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย ให้สามารถใช้สิทธิในการดูแลรักษาผลประโยชน์ของตน และรับรู้ข่าวสารอย่างถูกต้องครบถ้วน โปร่งใส เปิดเผย และสามารถตรวจสอบได้ 10. แต่งตั้งคณะกรรมการชุดย่อย กำ�หนดขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ และติดตามการดำ�เนินงาน 11. ประเมินผลการดำ�เนินงานผู้บริหารระดับสูง และพิจารณานโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของคณะกรรมการ มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี และในการประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปีทกุ ครัง้ กรรมการจะต้องออกจากตำ�แหน่ง จำ�นวนหนึ่งในสามของจำ�นวนกรรมการทั้งหมด ทั้งนี้กรรมการซึ่งพ้นจากตำ�แหน่งอาจได้รับเลือกใหม่ได้ คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วย 1. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 2. รศ.มานพ พงศทัต 3. นายเดช บุลสุข

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ

คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำ�นาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. กำ�กับดูแลสอบทานรายงานทางการเงินรายไตรมาส/รายปี ที่ผ่านการสอบทานและตรวจสอบจากผู้สอบบัญชี ตามมาตรฐานการบัญชีทกี่ �ำ หนด ตลอดจนพิจารณากลัน่ กรองการนำ�เสนอข้อมูลข่าวสารในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับรายงาน ทางการเงิน ร่วมกับคณะกรรมการการเงินและบริหารความเสี่ยง และผูส้ อบบัญชีกอ่ นนำ�เสนอต่อบุคคลภายนอก 2. พิจารณาความเป็นอิสระ คัดเลือก เสนอให้แต่งตัง้ และเสนอค่าตอบแทนผูส้ อบบัญชี และประชุมร่วมกับผูส้ อบบัญชี ปีละ 4 ครั้ง โดยไม่มีฝ่ายจัดการ 3. พิจารณาปัญหาและอุปสรรคทีม่ นี ยั สำ�คัญทีผ่ สู้ อบบัญชีประสบระหว่างการปฏิบตั หิ น้าที่ และให้ขอ้ ยุตเิ มือ่ มีความเห็น ที่แตกต่างระหว่างผู้สอบบัญชีและฝ่ายจัดการ 4. กำ�กับดูแล และสอบทานให้มีระบบควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสม และมีประสิทธิผลตามมาตรฐานสากล 5. กำ�กับดูแลให้มีระบบงานเชิงป้องกันที่เป็นประโยชน์ให้กับหน่วยงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ ปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น 6. พิจารณาแผนงานตรวจสอบ ควบคุม กำ�กับดูแลความเป็นอิสระของสายงานตรวจสอบภายใน เห็นชอบการแต่งตัง้ โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าสายงานตรวจสอบภายใน

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

35


7. 8. 9. 10. 11. 12. 13.

ส่งเสริมให้มีการพัฒนาระบบรายงานทางการเงินให้ทัดเทียมกับมาตรฐานบัญชีสากล สอบทานให้บริษทั ฯ ปฏิบตั ติ ามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และกฎหมายอืน่ ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับ ธุรกิจของบริษัทฯ กำ�หนดมาตรการป้องกันการทุจริต และสอบทานสรุปผลตรวจสอบการทุจริต สอบทานความถูกต้อง และประสิทธิผลของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทีเ่ กีย่ วข้องกับการควบคุมภายใน ให้ขอ้ เสนอแนะ ปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ สอบทานรายการทีเ่ กีย่ วโยงกันหรือรายการทีอ่ าจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ให้มคี วามถูกต้อง สมเหตุสมผล และเป็นไปตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง จัดทำ�รายงานการกำ�กับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ ลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ เปิดเผยไว้ใน รายงานประจำ�ปี ปฏิบตั กิ ารอืน่ ตามทีก่ ฎหมายกำ�หนด และ/หรือคณะกรรมการมอบหมาย และในการปฏิบตั ติ ามขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำ�นาจเรียกสั่งการให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง หัวหน้าหน่วยงาน หรือพนักงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่งเอกสารตามที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำ�เป็น

วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของคณะกรรมการตรวจสอบ มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี คณะกรรมการลงทุน ประกอบด้วย 1. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ 2. นายบรรยง พงษ์พานิช 3. นายสุพล วัธนเวคิน 4. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ 5. นางพนิดา เทพกาญจนา 6. นายกษมา บุณยคุปต์ 7. นางกมลวรรณ วิปุลากร

ประธานกรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

คณะกรรมการลงทุน มีอำ�นาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. พิจารณากลัน่ กรองโครงการลงทุนและการขายทรัพย์สนิ ตามแผนยุทธศาสตร์ ซึง่ รวมถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ ของโครงการผลตอบแทนทางการเงิน ความเสีย่ งในด้านต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนทางการเงิน และการเข้าทำ�นิตกิ รรม สัญญาที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติ 2. กำ�กับดูแล และประเมินแผนบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ 3. กำ�กับดูแล ติดตามการบริหารความเสี่ยง ปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของคณะกรรมการลงทุน มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล ประกอบด้วย 1. นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการ 2. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ 3. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 4. นายกวิน ว่องกุศลกิจ กรรมการ โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 36


SUCCESS WITH INTEGRITY

คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล มีอำ�นาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. พิจารณาโครงสร้างคณะกรรมการ กำ�หนดคุณสมบัตเิ ฉพาะตำ�แหน่งของกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อย 2. พิจารณาและสรรหาผูท้ รงคุณวุฒเิ ข้าดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยทีค่ ณะกรรมการ แต่งตั้งขึ้น 3. กำ�หนดค่าตอบแทนกรรมการ และค่าตอบแทนคณะกรรมการชุดย่อย 4. นำ�เสนอนโยบายและแนวปฏิบตั ใิ นด้านการกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ตี อ่ คณะกรรมการ และพิจารณาปรับปรุงให้ทนั สมัย อยู่เสมอ 5. ประเมินผลงานและติดตามการปฏิบตั งิ านของคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบตั ิ ในการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี 6. สนับสนุนการเรียนรู้ในเรื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจ ข้อบังคับ และแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของคณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน ประกอบด้วย 1. นายสุพล วัธนเวคิน ประธานกรรมการ 2. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 3. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการ 4. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการ คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน มีอำ�นาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ 1. ดำ�เนินการประเมินผลการปฏิบัติงาน พิจารณากำ�หนดค่าตอบแทนประจำ�ปี และกำ�หนดโครงสร้างค่าตอบแทน ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ พร้อมทั้งให้คำ�ปรึกษาแก่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ในการกำ�หนดค่าตอบแทนผู้บริหารระดับสูง 2. พิจารณาแผนพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของผู้ที่ถูกเสนอชื่อให้ดำ�รงตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ในกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลง) 3. พิจารณานโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลทีส่ �ำ คัญ และพิจารณานโยบายเกีย่ วกับโครงสร้างผลตอบแทนพนักงาน ได้แก่ นโยบาย และงบประมาณการปรับผลตอบแทนประจำ�ปี การจ่ายเงินรางวัล (โบนัส) ประจำ�ปี 4. พิจารณาการจัดสรร การให้สทิ ธิซือ้ หุน้ แก่พนักงาน (ESOP) ในส่วนได้รบั การจัดสรรเกินกว่าร้อยละ 5 ของโครงการ วาระการดำ�รงตำ�แหน่งของคณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี กรรมการอิสระ มี 6 คน คิดเป็นร้อยละ 46 ของคณะกรรมการ ประกอบด้วย 1. นายประกิต ประทีปะเสน กรรมการอิสระ 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ 3. ร.ศ.มานพ พงศทัต กรรมการอิสระ 4. นายเดช บุลสุข กรรมการอิสระ 5. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการอิสระ 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการอิสระ

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

37


ผู้บริหาร ประกอบด้วย 1. นายกษมา บุณยคุปต์ 2. นางกมลวรรณ วิปุลากร 3. นายไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์ 4. นายเพชร ไกรนุกูล 5. นางวริศรา เจือจารุศักดิ์ 6. นายอภิชาญ มาไพศาลสิน 7. นายสุชัย วุฒิวรชัยรุ่ง 8. นางสาวภคินี พราหมณ์เทศ 9. นายวิบูลย์ ชัยศุจยากร

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน รองกรรมการผู้จัดการ สายธุรกิจโรงแรม ผู้อำ�นวยการการออกแบบ สายพัฒนาและบริหารโครงการ 1-2 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายพัฒนาและบริหารโครงการ 1 ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สำ�นักทรัพยากรบุคคล ผู้อำ�นวยการอาวุโส ฝ่ายบัญชี ผู้อำ�นวยการ ฝ่ายการเงิน

บทบาทหน้าที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (Chief Executive Officer) 1. กำ�หนดวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร 2. กำ�หนดทิศทางธุรกิจและแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวขององค์กร 3. ส่งเสริมและพัฒนาคณะผู้บริหารระดับสูงและรับผิดชอบแผนการสืบทอดตำ �แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และตำ�แหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ 4. หาช่องทางการดำ�เนินธุรกิจตลอดจนกำ�กับดูแลภาพรวมของโครงการลงทุนใหม่ 5. ให้คำ�ปรึกษาและคำ�แนะนำ�แก่กรรมการผู้จัดการใหญ่ในการบริหารจัดการโดยรวม บทบาทหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการใหญ่ (President) 1. จัดทำ�แผนธุรกิจและกำ�หนดกลยุทธ์เพื่อให้บรรลุแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรในระยะยาว 2. จัดทำ�งบประมาณประจำ�ปีและจัดสรรทรัพยากรต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจและรับผิดชอบในการดำ�เนินการเพื่อบรรลุ เป้าหมายประจำ�ปีที่วางไว้ 3. บริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่การสรรหา การกำ�หนดเงินเดือน ค่าจ้าง ผลตอบแทนและสวัสดิการต่าง ๆ กำ�หนดวิธีประเมินผลและจัดสรรผลประโยชน์พิเศษ การแต่งตั้ง ถอดถอน โอนย้าย ตลอดจนการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับประกาศต่าง ๆ ตามความเหมาะสม 4. จัดโครงสร้างบริหารงาน กำ�หนดบทบาทและหน้าที่ ตลอดจนกำ�หนดอำ�นาจอนุมัติต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและ เหมาะสมกับคุณสมบัติของบุคลากรและสถานการณ์ทางธุรกิจ 5. พัฒนาระบบงานต่าง ๆ เพื่อให้การทำ�งานของหน่วยงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 6. เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็งเพื่อสนับสนุนการเป็นองค์กรที่ยั่งยืน 7. พัฒนาทักษะความรู้และขีดความสามารถของบุคลากรตามความต้องการของแผนธุรกิจ 8. พัฒนาฐานข้อมูลและระบบการจัดเก็บที่เพียงพอและทันสมัย ตลอดจนระบบการเรียกใช้และการแสดงผลอย่าง มีประสิทธิภาพ 9. เสริมสร้างภาพลักษณ์องค์กรและประชาสัมพันธ์องค์กร ตลอดจนทำ�หน้าทีเ่ ป็นตัวแทนขององค์กรในกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรต่อบุคคลภายนอก 10. พัฒนาและเสริมสร้างการเป็นองค์กรที่ยึดถือและปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี และบุคลากรมีสำ�นึกและ ความรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดจนสังคมและสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ 38


SUCCESS WITH INTEGRITY

หน้าที่ความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัท มีหน้าที่ความรับผิดชอบไม่น้อยกว่าที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 กำ�หนด และ/หรือกฎหมาย หรือข้อกำ�หนดอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย 1. สนับสนุนให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและความระมัดระวัง เยี่ยงวิญญูชนผู้ประกอบธุรกิจ จะพึงกระทำ�ภายใต้สถานการณ์อย่างเดียวกัน (Fiduciary Duties) ตลอดจนให้ค�ำ ปรึกษาแก่กรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงานให้ปฏิบตั ติ ามกฎหมาย กฎและระเบียบ และข้อกำ�หนดของสำ�นักงานคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมทั้งข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือกฎหมายอื่น ที่เกี่ยวข้อง 2. กำ�กับดูแลในส่วนทีเ่ กีย่ วข้องกับการตรวจสอบภายใน ระบบการควบคุมภายใน การปฏิบตั ติ ามหลักบรรษัทภิบาลทีด่ ี และการเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมแผนบริหารความเสี่ยง 3. ประสานงานในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับกรรมการ ได้แก่ การเปลีย่ นแปลงคุณสมบัติ การเปลีย่ นแปลงบทบาทหน้าทีก่ ารดำ�รง ตำ�แหน่งในคณะกรรมการชุดย่อย การพ้นจากตำ�แหน่งตามวาระ การลาออกจากตำ�แหน่งก่อนครบวาระการแต่งตัง้ กรรมการใหม่ เป็นต้น 4. กำ�หนดและแจ้งสถานที่จัดเก็บเอกสารสำ�คัญของบริษัทฯ ตลอดจนเปิดเผยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการ ก.ล.ต. 5. ติดตามการปฏิบัติงานของฝ่ายจัดการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ (Good Practices) 6. จัดทำ�รายงานประจำ�ปีให้เพียงพอต่อการเผยแพร่แก่ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 7. พิจารณาจดหมายเชิญประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำ�ปี (AGM-Annual General Meeting of Shareholders) และ การประชุมวิสามัญผูถ้ อื หุน้ (EGM-The Extraordinary General Meeting of Shareholders) ความเพียงพอของเอกสาร ข้อมูล เอกสารประกอบการประชุม การให้ข้อมูลต่อที่ประชุม และบันทึกรายงานการประชุม 8. เปิดเผยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องตามหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งกรรมการ ข้อ 18 กรรมการนั้น ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ 18.1 ให้ประธานในทีป่ ระชุมเสนอต่อทีป่ ระชุมซึง่ รายชือ่ และประวัตคิ วามเป็นมาของผูไ้ ด้รบั การเสนอชือ่ ตามที่ คณะกรรมการได้เสนอเพื่อขออนุมัติ 18.2 ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับจำ�นวนหุ้นที่ตนถือ 18.3 การเลือกตั้งกรรมการอาจดำ�เนินการโดยการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคน เป็นกรรมการก็ได้ ตามทีท่ ปี่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ จะเห็นสมควร ผูถ้ อื หุน้ แต่ละคนต้องใช้คะแนนเสียงทีม่ อี ยูท่ งั้ หมด ตามข้อ 18.2 เลือกตั้งกรรมการแต่ละคน และไม่อาจแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดโดยเฉพาะ 18.4 บุคคลซึง่ ได้รบั คะแนนเสียงสูงสุดตามลำ�ดับลงมาเป็นผูไ้ ด้รบั การเลือกตัง้ เป็นกรรมการเท่าจำ�นวนกรรมการ ทีจ่ ะพึงมี ในกรณีทบ่ี คุ คลซึง่ ได้รบั การเลือกตัง้ ในลำ�ดับถัดลงมา มีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำ�นวนกรรมการ ทีจ่ ะพึงมี ประธานกรรมการในทีป่ ระชุมมีสทิ ธิออกเสียงชีข้ าด ข้อ 48 มติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้น ให้ประกอบด้วยคะแนนเสียงดังต่อไปนี้ 48.1 ในกรณีปกติ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุม (ด้วยตนเองหรือโดยการมอบฉันทะ) และออกเสียงลงคะแนน

โครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ

39


การถือครองหุ้นของคณะกรรมการและผู้บริหาร บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

ชื่อ-นามสกุล

ตำ�แหน่ง

1. นายประกิต ประทีปะเสน 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 3. รศ.มานพ พงศทัต 4. นายเดช บุลสุข 5. นายบรรยง พงษ์พานิช 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร 7. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ 8. นายสุพล วัธนเวคิน 9. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ 10. นางพนิดา เทพกาญจนา 11. นายกวิน ว่องกุศลกิจ 12. นายกษมา บุณยคุปต์ 13. นางกมลวรรณ วิปุลากร 14. นายไกรลักขณ์ อัศวฉัตรโรจน์ 15. นายเพชร ไกรนุกูล 16. นางวริศรา เจือจารุศักดิ์ 17. นายอภิชาญ มาไพศาลสิน 18. นายสุชัย วุฒิวรชัยรุ่ง 19. นางสาวภคินี พราหมณ์เทศ 20. นายวิบูลย์ ชัยศุจยากร

ประธานกรรมการ/ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน รองกรรมการผู้จัดการ ผู้อำ�นวยการการออกแบบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ผู้อำ�นวยการอาวุโส ผู้อำ�นวยการ

หุ้นสามัญ (หุ้น) 31 ธ.ค. 2554 31 ธ.ค. 2553 150,058 150,058 - 319,729 660,000 - - 11,457,870 58,698,916 5,493,550 3,797,416 97,213 9,999,999 - - 839,082 - 1,000,000 1,745,716 - 1,088,697

- 319,729 660,000 3,001,500 - 11,457,870 58,698,916 5,493,550 3,797,416 97,213 11,510,211 - - 839,082 - 1,000,000 1,825,716 - 1,088,697

หมายเหตุ: ข้อมูลจากรายงานการถือครองหลักทรัพย์ของกรรมการและผู้บริหาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การถือครองหุ้นของคณะกรรมการและผู้บริการ 40

เพิ่ม (ลด)

-

(3,001,500) (1,510,212) (80,000) -


SUCCESS WITH INTEGRITY

ภาพรวมของธุรกิจ

41


ธุรกิจโรงแรม

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ในปี 2554 นับเป็นปีที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นอย่างมาก ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยครั้งรุนแรงในช่วงปลายปีที่เป็นฤดูกาลท่องเที่ยว (High Season) โดยรวมทั้งปี จำ�นวนนักท่องเทีย่ วชาวต่างชาติทีเ่ ข้ามาท่องเทีย่ วประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนือ่ ง โดยในปี 2554 มีจ�ำ นวนนักท่องเทีย่ ว ชาวต่างชาติสงู ถึง 19.1 ล้านคน* หรือร้อยละ 20 เมือ่ เทียบกับปีทีแ่ ล้ว ซึง่ ถือว่าเป็นจำ�นวนทีม่ ากกว่าการคาดการณ์เดิมช่วงต้นปี ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ประมาณไว้ที่ 16–17 ล้านคน แต่ก็ถือว่าน้อยกว่าการคาดการณ์ใหม่ในช่วงกลางปี ที่ ป รั บ เป้ า หมายเพิ่ม ขึ้นเป็น 19.5 ล้านคน สาเหตุ ห ลั กที่ ทำ � ให้ จำ � นวนนั กท่ องเที่ ยวไม่ เ ป็ นไปตามเป้ า หมายใหม่ ที่ ป รับ เพิม่ ขึน้ คือ เหตุการณ์มหาอุทกภัยในช่วงปลายปี และยังส่งผลทำ�ให้การท่องเทีย่ วในประเทศลดลงเหลือเพียง 100 ล้านคน-ครัง้ * น้อยกว่าการคาดการณ์จากศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ตั้งไว้ที่ 105 ล้านคน-ครั้ง อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวโดยรวม ยั ง สามารถสร้ า งรายได้ จ ากการท่ อ งเที่ ย วทั้ ง จากนั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งชาติ แ ละนั ก ท่ อ งเที่ ย วชาวไทย รวมทั้ ง สิ้ น มากกว่ า 1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 8 เป็นผลมาจากปัจจัยสนับสนุน เช่น การเมืองในประเทศมีความสงบเรียบร้อย การขยายตัวของเศรษฐกิจในฝัง่ เอเชียซึง่ ส่งผลถึงการเติบโตของจำ�นวนนักท่องเทีย่ วจากเอเชีย และรวมถึงจำ�นวนนักท่องเทีย่ ว ชาวรัสเซียที่เติบโตสูงเช่นกัน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดโรดโชว์ในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของการท่องเที่ยวไทย ซึ่งกรุงเทพฯ ยังคงได้รับ การลงคะแนนเสียงจากผู้อ่านนิตยสารทราเวลแอนด์เลเชอร์ (Travel & Leisure) ให้เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวที่สุดในโลก ประจำ�ปี 2554 นับเป็นปีที่ 2 ติดต่อจากปี 2553 เหล่านี้เป็นต้น

ลานคน

อัตราการเจริญเติบโต

จำนวนนักทองเที่ยวตางชาติ (ลานคน)

20 18

+19%

+20%

+16%

+13%

16 14

+5%

12

-1%

10 2547 สึ น ามิ

2548

-3%

2549

2550 ปฏิ ว ั ต ิ

2551

2552

2553

ป ด สนามบิ น การเมื อ งและ การเมื อ ง ไข ห วั ด ระบาด

ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว

* ประมาณการเบื้องต้นในเดือนมกราคม 2555 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ธุรกิจโรงแรม 42

+8%

+1%

2554 E อุ ท กภั ย

2555 F


SUCCESS WITH INTEGRITY

ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 จำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 เป็นไตรมาสที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยมากที่สุดของปี 2554 โดยตลอด ทั้งไตรมาสมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยทั้งหมด 5.4 ล้านคน เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากภาวะการขยายตัว ของเศรษฐกิจเอเชีย โดยเฉพาะนักท่องเทีย่ วชาวจีน ชาวรัสเชีย และชาวอินเดียทีม่ อี ตั ราการเจริญเติบโตทีม่ อี ตั ราเพิม่ ขึน้ สูงมาก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ต่อมาในไตรมาสที่ 2 การท่องเที่ยวของไทยยังคงแข็งแกร่ง แสดงให้เห็นถึงความมั่นใจ ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยจำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้นสูงถึงอัตราร้อยละ 54 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดปัญหาความรุนแรงทางการเมืองและกระทบต่อจำ�นวนนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยไตรมาสที่ 2 นี้ถือเป็นไตรมาสที่มีการเจริญเติบโตของนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติสูงที่สุดของปี ส่วนในไตรมาสที่ 3 จำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยยังคงเติบโต อย่างแข็งแกร่ง ถึงแม้วา่ อาจจะมีความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงก่อนและหลังเลือกตัง้ แต่อตั ราการเติบโตของนักท่องเทีย่ ว ต่างชาติก็ยังสูงถึงร้อยละ 28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ได้เกิดปัญหาอุทกภัย อย่างรุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพฯ จนเป็นเหตุให้มีการออกเอกสาร เตือนภัยนักท่องเที่ยวของแต่ละประเทศ (Travel Warning) บวกกับการแพร่ภาพสนามบินดอนเมืองและสถานที่ท่องเที่ยว ถูกน้ำ�ท่วมสูง จึงส่งผลกระทบต่อจำ �นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยในเขตกรุงเทพฯ จากการยกเลิก การเดินทางของนักท่องเที่ยวจำ�นวนมาก ในขณะที่จังหวัดอื่น ๆ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำ�คัญของประเทศเช่นกัน เช่น ภูเก็ต สมุย และเชียงใหม่ สามารถเรียกได้ว่าไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางโดยวิธีเช่าเหมาลำ� (Charter flight) และเที่ยวบินตรง (Direct flight) จากต่างประเทศไปยังจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวมากขึ้นโดยจำ�นวน นักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสที่ 4 ลดลงร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เหลือเพียงแค่ 4.3 ล้านคน

ธุรกิจโรงแรม

43


ส่วนทางด้านการท่องเทีย่ วในประเทศของคนไทยในปี 2554 นัน้ ในช่วงครึง่ ปีแรกมีการเจริญเติบโตจากปีทีแ่ ล้วประมาณ ร้อยละ 2 แต่การท่องเที่ยวในประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง ถูกบั่นทอนจากภาวะน้ำ �ท่วมรุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศในช่วง ไตรมาสที่ 4 ของปี ถึงแม้ในช่วงนั้นจะมีการเดินทางอพยพจากพื้นที่น้ำ�ท่วมในกรุงเทพฯ ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงที่ปลอดภัยจาก สถานการณ์น้ำ�ท่วม เช่น พัทยา หัวหิน หรือจังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ ก็ตาม จึงทำ�ให้จำ�นวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศตลอด ทั้งปี 2554 ลดลงจากการคาดการณ์ไว้ และคงเหลือเพียง 100 ล้านคน-ครั้ง ซึ่งนับว่าลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว สำ�หรับภาพรวมอุตสาหกรรมการท่องเทีย่ วในปี 2555 คาดการณ์วา่ จะยังคงขยายตัวเพิม่ ขึน้ จากปี 2554 จากปัจจัยบวก ที่สนับสนุนการเติบโตจากจำ�นวนนักท่องเที่ยวในเอเชีย รวมทั้งการขยายตัวของสายการบินต้นทุนต่ำ�ที่มีทั้งการเพิ่มเที่ยวบิน เพิ่มเส้นทางการบิน รวมทั้งเพิ่มท่าอากาศยานหลัก (Hub) อย่างต่อเนื่อง จะยังคงช่วยผลักดันให้จำ�นวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพิม่ สูงขึน้ จากปี 2554 โดยในปี 2555 คาดว่านักท่องเทีย่ วชาวจีน ชาวรัสเชีย และชาวอินเดีย (RIC) ซึง่ ครองสัดส่วนมากทีส่ ดุ ประมาณร้อยละ 18 ของจำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทย จะมีบทบาทสำ�คัญในการผลักดันการขยายตัว ของอุ ต สาหกรรมการท่อ งเที่ย วไทย การคาดการณ์ ข องการท่ องเที่ ยวแห่ ง ประเทศไทยและสภาอุ ตสาหกรรมท่ องเที่ยว แห่งประเทศไทย เกี่ยวกับจำ�นวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่จะเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยในปี 2555 จะเติบโตขึ้น โดยอยูท่ ปี่ ระมาณ 20.5–20.8 ล้านคน* หรือเพิม่ ขึน้ คิดเป็นร้อยละ 8–10 และคาดว่าจะสร้างรายได้ดา้ นการท่องเทีย่ วเข้าประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 760,000 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7 จากปี 2554 ทัง้ นีก้ ารท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยจะยังคงใช้แคมเปญ “Amazing Thailand: Always Amazes You” พร้อมมุ่งรักษาคุณค่าทางการท่องเที่ยว และความประทับใจเป็นจุดแข็ง ที่เหนือคู่แข่งขัน

ลานคน-ครั้ง

จำนวนผูเยี่ยมเยือนชาวไทย (ลานคน-ครั้ง)

อัตราการเจริญเติบโต

110 +17%

100 90

+8%

80

+7% +6% +2%

70

+2%

+1%

+3%

60

-1%

50 2547 สึ น ามิ

2548

2549

2550 ปฏิ ว ั ต ิ

2551

ที่มา: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว

* ประมาณการเบื้องต้นในเดือนมกราคม 2555 ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ธุรกิจโรงแรม 44

2552

2553

ป ด สนามบิ น การเมื อ งและ การเมื อ ง ไข ห วั ด ระบาด

2554 E อุ ท กภั ย

2555 F


SUCCESS WITH INTEGRITY

เรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา

สำ�หรับแนวโน้มตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศในปี 2555 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะเร่งทำ�การส่งเสริมการตลาด อย่างเต็มที่ โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมการขายการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิดการท่องเที่ยวจิตอาสาในพื้นที่ประสบภัยน้ำ�ท่วม โดยทางสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่า การท่องเที่ยวภายในประเทศจะสามารถฟื้นตัวกลับมาได้ อย่างเต็มที่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคการศึกษา และเทศกาลสงกรานต์ โดยขึ้นอยู่กับความสามารถในการ เร่งฟืน้ ฟูสถานทีท่ อ่ งเทีย่ วและบริการในด้านต่าง ๆ รวมทัง้ การเร่งประชาสัมพันธ์ให้นกั ท่องเทีย่ วตืน่ ตัวในการกลับมาท่องเทีย่ ว ในประเทศอย่างทั่วถึง โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งเป้าจำ�นวนการท่องเที่ยวในประเทศของคนไทยอยู่ที่ 107.48 ล้านคน-ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปี 2554 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจะใช้แคมเปญ “เที่ยวหัวใจใหม่ เมืองไทยยั่งยืน” เจาะตลาดในประเทศ ในส่วนของอุปทานใหม่ของโรงแรมในระดับ International Chain และ Regional Chain ที่คาดการณ์ว่าจะเปิดใน ปี 2555 นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นโรงแรมในระดับห้าดาว (Luxury) และระดับกลาง (Midscale) โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ที่โรงแรม ห้าดาว (Luxury) และระดับกลาง (Midscale) ทยอยเปิดตัง้ แต่กลางปี 2554 และคาดว่าจะเปิดต่อเนือ่ งในปี 2555 อีกหลายแห่ง ซึ่ ง จะทำ � ให้ ก ารแข่ ง ขั น แย่ ง ชิ ง ส่ ว นแบ่ ง ตลาดโรงแรมในระดั บ ดั ง กล่ า วสู ง กว่ า ในโรงแรมระดั บ อื่ น ๆ เนื่ อ งจากชาวจี น ชาวอินเดีย และชาวรัสเซีย ซึ่งเป็นสัดส่วนมากที่สุดและมีการคาดการณ์การเติบโตที่สูงที่สุดในจำ�นวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามา ในประเทศไทย โดยส่วนมากนิยมเที่ยวเป็นหมู่คณะและเข้าพักในโรงแรมราคาประหยัด อย่างไรก็ดี ประเทศไทยยังคงมีพื้นฐานที่ดีทั้งทางด้านชื่อเสียงทางการท่องเที่ยวที่มีมาอย่างยาวนาน ความเป็นมิตรของ คนไทย ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และธรรมชาติที่สวยงาม มีความคุ้มค่าในการใช้จ่าย รวมทั้งการเติบโตของจำ�นวน นักท่องเที่ยวในเอเชียและพฤติกรรมการท่องเที่ยวระยะใกล้ภายในภูมิภาคเดียวกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวไทยสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ธุรกิจโรงแรม

45


ปัจจัยความเสี่ยง บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการลงทุน มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพิจารณากลั่นกรองโครงการลงทุนและการ ขายทรัพย์สินตามแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งรวมถึงการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ ผลตอบแทนทางการเงิน ความเสี่ยงใน ด้านต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนทางการเงิน และการทำ�นิตกิ รรมสัญญาทีเ่ กีย่ วข้อง ตลอดจนกำ�กับดูแล ประเมิน และติดตาม การบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ โดยผู้บริหารที่กำ�กับดูแลสายงานสูงสุดเป็นเจ้าของความ เสี่ยง และมีหน้าที่ในการวิเคราะห์ความเสี่ยงและหาแนวทางแก้ไข ประเภทความเสี่ยงและแนวทางการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนมาตรการรองรับผลกระทบ พอสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. ความเสี่ยงด้านการบริหาร การจัดการ กรณีต้องพึ่งพาผู้บริหารจากภายนอก สำ�หรับกิจการโรงแรม บริษัทฯ ไม่มีนโยบายในการบริหารกิจการโรงแรมด้วยตนเอง แต่มีนโยบายในการกระจายความเสี่ยงโดยการคัดเลือก Brand และบริษัทผู้บริหารที่แตกต่างกัน โดยจะว่าจ้างบริษัทผู้บริหารโรงแรมระดับนานาชาติ (International hotel operator) อาทิ Hyatt International, Marriott International, Accor Hotels, InterContinental Hotels Group และ Starwood Hotels & Resorts Worldwide ซึง่ เป็นองค์กรทีม่ ชี ือ่ เสียง ประสบการณ์ มีระบบงาน และความชำ�นาญในตลาดแต่ละประเภท อย่างไรก็ตาม สัญญาจ้างบริหารเป็นสัญญาระยะยาวจึงอาจมีความเสีย่ งทีช่ ือ่ เสียงของ Brand หรือความสามารถในการแข่งขัน ในระดับสากลลดลงในระหว่างช่วงสัญญา และอาจส่งผลต่อผลการดำ�เนินงานโรงแรมของบริษัทฯ ได้ บริษัทฯ จึงได้กำ�หนด เงือ่ นไขในสัญญาจ้างบริหารทีส่ ามารถยกเลิกสัญญาจ้างบริหารได้ หากความสามารถของผูบ้ ริหารโรงแรมส่งผลกระทบทางลบ ต่อผลประกอบการโรงแรมของบริษทั ฯ อย่างมีนยั สำ�คัญและต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้บริษทั ฯ สามารถจัดหาบริษทั ผู้บริหารที่มีชื่อเสียง บริษัทอื่นมาบริหารแทนได้ 2. ความเสี่ยงจากอุปสงค์ที่ลดลง และอุปทานในธุรกิจที่เพิ่มขึ้น ในส่วนของความเสี่ยงทางด้านการลดลงหรือเพิ่มขึ้นที่ไม่สัมพันธ์กันของอุปสงค์และอุปทานในตลาด เป็นเหตุให้ มีสภาพการแข่งขันสูงระหว่างผู้ประกอบการโรงแรมเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด ซึ่งส่งผลกระทบกับรายได้และกำ�ไรจากการ ดำ�เนินธุรกิจโรงแรม อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้ว่าจ้างผู้บริหารโรงแรมระดับนานาชาติ เพื่อบริหารงานโรงแรมของบริษัทฯ ซึ่งผู้บริหารโรงแรมแต่ละบริษัทมีจุดแข็งในกลุ่มตลาดที่แตกต่างกันตามแต่ละโรงแรมที่บริหารอยู่ และยังมีฐานลูกค้า ของตนเองทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ รวมทัง้ ได้ผา่ นสถานการณ์ตา่ ง ๆ ทีเ่ ป็นความเสีย่ งต่อรายได้และกำ�ไรของการดำ�เนิน กิจการมาแล้วทั่วโลก จึงมีความได้เปรียบเชิงแข่งขันต่อคู่แข่งในธุรกิจหลาย ๆ ด้าน นอกจากนี้ทางบริษัทฯ มีการเตรียมการ รองรับความเสี่ยงด้วยการปรับปรุงและเพิ่มจุดแข็งของโรงแรมอย่างต่อเนื่อง และมีมาตรการเพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนต่าง ๆ รองรับอยู่เสมอ บวกกับกลยุทธ์ในการกระจายการลงทุนไปในโรงแรมระดับต่าง ๆ ในแหล่งท่องเที่ยวที่สำ �คัญ ทำ�ให้สามารถ จัดการกับความเสี่ยงนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบกับทรัพย์สิน และการดำ�เนินธุรกิจ ปั จ จั ย ภายนอกต่ า ง ๆ ที่ จ ะมี ผ ลกระทบกั บ ทรั พ ย์ สิ น และการดำ � เนิ น งานของธุ ร กิ จ โรงแรมและอาคารสำ � นั ก งาน รวมทั้งร้านค้าเช่า เช่น ภัยธรรมชาติต่าง ๆ การก่อการร้าย หรือความไม่สงบทางการเมืองนั้น เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ ล่วงหน้า หรือป้องกันการเกิดเหตุได้ อย่างไรก็ดี บริษัทฯ มีการออกมาตรการที่รัดกุมต่าง ๆ ที่จะสามารถช่วยบรรเทา ผลกระทบต่อทรัพย์สินและการดำ�เนินงานของธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น เช่น มาตรการการรับมือกับภัยน้ำ�ท่วม โดยมีการเพิ่ม ลำ�ดับของมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ เริ่มจากการสร้างแนวป้องกันน้ำ�ในจุดสำ�คัญ ๆ ของโรงแรม การจัดเตรียมอาหาร น้ำ�ดื่ม และเครื่องอุปโภคบริโภคที่สำ�คัญให้พร้อม การเตรียมเครื่องกำ�เนิดพลังงานในกรณี ไฟฟ้าดับ ไปจนถึงการปิดโรงแรมชั่วคราวและเคลื่อนย้ายลูกค้าไปยังโรงแรมอื่น ๆ ที่ปลอดภัย หรือมาตรการเฝ้าระวัง เพือ่ รับมือต่อความไม่สงบทางการเมืองทีอ่ าจเกิดขึน้ โดยจะมีการเพิม่ ลำ�ดับความเข้มงวดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทีเ่ กิดขึน้ เริม่ ตัง้ แต่การตรวจค้น จำ�กัดการเข้าออกในอาณาเขต ติดตัง้ สิง่ กีดขวางทางเข้าออกอาคารไปจนถึงการอพยพย้ายคนออกจาก สถานที่ เพื่อป้องกันความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดทำ�ประกันภัยคุ้มครองความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยง 46


SUCCESS WITH INTEGRITY

ทุกประเภท (All risks) คุ้มครองการขาดรายได้จากการหยุดดำ�เนินธุรกิจ (Business Interruption) และคุ้มครองภัยจาก การก่อการร้าย (Terrorism) เพื่อลด/บรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยตรงกับทรัพย์สินและการดำ �เนินงานของบริษัทฯ 4. ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบทำ�ให้รายได้ของธุรกิจโรงแรมลดลงอย่างไม่ปกติ ปัจจัยภายนอกที่จะมีผลกระทบทำ�ให้รายได้ของธุรกิจโรงแรมลดลงอย่างไม่ปกติ ตัวอย่างเช่น การเกิดภัยธรรมชาติ ความไม่สงบทางการเมือง หรือการเกิดโรคติดต่อ ซึง่ เป็นเหตุการณ์ทีบ่ ริษทั ฯ ไม่สามารถควบคุม และ/หรือป้องกันไม่ให้เกิดขึน้ ได้ โดยเหตุการณ์เหล่านี้หากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลให้จำ �นวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศลดลงอย่างมาก และมีผลกระทบ โดยตรงต่อรายได้และกำ�ไรของธุรกิจโรงแรม อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมา เหตุการณ์เหล่านี้จะส่งผลกระทบ ในระยะสัน้ ประมาณ 3–9 เดือน ขึน้ อยูก่ บั ความรุนแรงของเหตุการณ์ ทัง้ นีน้ โยบายในการจัดการรองรับความเสีย่ งของบริษทั ฯ คือการมีระบบที่มีความคล่องตัว มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการตลาด และปรับลดหรือเลื่อนค่าใช้จ่าย ในส่วนต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เพือ่ ให้ธรุ กิจสามารถดำ�เนินต่อไปได้ และลดผลกระทบต่อรายได้ และกำ�ไรของธุรกิจได้สว่ นหนึง่ 5. ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนี้เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยในตลาดอนาคต ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ของอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อผลการดำ�เนินงานและกระแสเงินสดของบริษัทฯ เพื่อเป็นการบริหารความเสี่ยง เนื่ อ งจากอั ต ราดอกเบี้ ย อยู่ ใ นช่ ว งขาขึ้ น บริ ษั ท ฯ ได้ เ ข้ า ทำ � สั ญ ญาแลกเปลี่ ย นอั ต ราดอกเบี้ ย สำ � หรั บ เงิ น กู้ ยื ม ระยะยาว บางส่วนจากอัตราดอกเบีย้ ลอยตัวเป็นอัตราดอกเบีย้ คงที่ ส่งผลให้ ณ 31 ธันวาคม 2554 บริษทั ฯ มีเงินกูย้ มื อัตราดอกเบีย้ คงที่ อยูป่ ระมาณร้อยละ 34 ของเงินกูย้ มื ระยะยาวทัง้ หมด และอัตราดอกเบีย้ ลอยตัวอยูป่ ระมาณร้อยละ 66 ของเงินกูย้ มื ระยะยาว ทั้งหมด โดยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลอยตัวของบริษัทฯ เป็นอัตราที่อ้างอิงกับดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว (MLR) และอัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ�ประเภท 6 เดือน และ 12 เดือน 6. ความเสี่ยงด้านบุคลากร บริษทั ฯ ได้ให้ความสำ�คัญในเรือ่ งการพัฒนาและบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากการทีบ่ ริษทั ฯ ได้ด�ำ เนิน การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผู้บริหารให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ช่วงปีที่ผ่าน ๆ มา การเพิ่มบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ในทุกระดับในส่วนงานที่มีการขยายตัว การพัฒนาความรู้ความสามารถทักษะบุคลากรที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การสูญเสียผู้บริหารระดับสูงหรือบุคลากรที่สำ�คัญถือเป็นอีกความเสี่ยงที่สำ�คัญของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงได้มีการจัดทำ� แผนสืบทอดและพัฒนาตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยมีคณะกรรมการพัฒนาผู้บริหาร ระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทนเป็นผู้กำ�กับดูแล สำ�หรับการพัฒนาตำ�แหน่งบริหารอื่นเป็นหน้าที่ของผู้บริหารตามสาย บังคับบัญชาที่จะกำ�กับดูแลการพัฒนาบุคลากรให้สามารถขึ้นมาทดแทน โดยมีการพิจารณาลงไป 3 ระดับ จากระดับ รองกรรมการผู้จัดการถึงผู้ที่จะขึ้นมาระดับผู้อำ�นวยการฝ่าย นอกจากนี้การเป็นบริษัทฯ ที่บริหารงานโดยผู้บริหารมืออาชีพ ดำ�เนินการภายใต้ระบบงานทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ไม่ยดึ ติดกับความสามารถหรือการตัดสินใจของบุคคลใดบุคคลหนึง่ มีการกระจาย ความรับผิดชอบและการตัดสินใจที่ชัดเจนภายใต้การกำ�กับดูแลของคณะกรรมการ จึงเป็นโครงสร้างการบริหารงานที่ช่วยลด ความเสี่ยงและผลกระทบหากมีการสูญเสียบุคลากรที่สำ�คัญ นอกจากนี้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อในการทำ�งานให้มีบรรยากาศที่ดี เน้นการทำ�งานแบบเป็นทีม การทำ�งาน ด้วยคุณธรรมจริยธรรม จะช่วยให้บริษัทฯ เป็นองค์กรที่เป็นที่สนใจแก่ผู้มีความรู้ ความสามารถ มืออาชีพ และมีคุณธรรม สุดท้ายนโยบายการให้ผลตอบแทนและสวัสดิการที่แข่งขันได้ตามความรู้ความสามารถ การให้ผลตอบแทนพิเศษ (โบนัส) ตามผลงานทีเ่ ชือ่ มโยงกับยุทธศาสตร์ขององค์กร และการให้สทิ ธิซือ้ หุน้ ในระยะยาวแก่คณะผูบ้ ริหารและพนักงาน ก็เป็นอีกส่วน ที่ทำ�ให้บุคลากรมีความมุ่งมั่น รู้สึกร่วมเป็นเจ้าของ และทำ�งานให้บริษัทฯ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนโยบายต่าง ๆ เหล่านี้ ถือเป็นกลไกสำ�คัญในการรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพให้ทำ�งานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในเรื่องบุคลากร ได้อีกทางหนึ่ง ปัจจัยความเสี่ยง

47


รางวัลด้านบรรษัทภิบาล บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

ปี 2554 • การจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำ�ปี 2554 “ดีเยี่ยม” โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำ�ปี 2554 • “บริษัทที่มีการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดีเลิศ ปี 2554” โครงการรายงานการกำ�กับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน • เป็น 1 ในบริษัทที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล “รายงานบรรษัทภิบาล ดีเด่น” ปี 2554, โครงการ SET Awards 2011

Excellent CGR Report 2009-2011

ปี 2548-2553 • “ควอไทล์ที่ 2 ปี 2548” (2nd Quartile, Top rating = 1st Quartile) โครงการรายงานการกำ�กับดูแลกิจการบริษทั จดทะเบียน • การจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำ�ปี 2549 “ดี” โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำ�ปี 2549 • “บริษัทที่มีการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดีมาก ปี 2549” โครงการรายงานการกำ �กับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน • การจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2550 “ดีมาก” โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2550 • “คณะกรรมการแห่งปี – ดีเด่น” 2549/50 โครงการประกาศเกียรติคุณคณะกรรมการแห่งปี • “บริษัทที่มีการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดีมาก ปี 2551” โครงการรายงานการกำ �กับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน • การจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2551 “ดีเยีย่ ม” โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2551 • “บริษัทที่มีการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดีเยี่ยม ปี 2552” โครงการรายงานการกำ�กับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน • การจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2552 “ดีเยีย่ ม” โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2552 • เป็น 1 ใน 3 บริษัทที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล “บริษัทจดทะเบียนดีเด่นด้านนักลงทุนสัมพันธ์” โครงการ SET Awards 2009 • การจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2553 “ดีเยีย่ ม–สมควรเป็นตัวอย่าง” โครงการประเมินคุณภาพการจัดประชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญประจำ�ปี 2553 • “บริษัทที่มีการปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดีเลิศ ปี 2553” โครงการรายงานการกำ�กับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน • “บริษัทจดทะเบียนดีเด่นด้านนักลงทุนสัมพันธ์” โครงการ SET Awards 2010 • เป็น 1 ใน 2 บริษัทที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล “รายงานบรรษัทภิบาลดีเด่น” โครงการ SET Awards 2010

รางวัลด้านบรรษัทภิบาล 48


SUCCESS WITH INTEGRITY

หลักบรรษัทภิบาลที่ดี

49


นโยบายบรรษัทภิบาล บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

บริษทั ฯ บริหารจัดการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล การกำ�กับดูแลกิจการทีด่ ี (Good Corporate Governance) ดำ�เนินธุรกิจ ด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรม การเปิดเผยข้อมูลด้วยความโปร่งใสตรงไปตรงมา พัฒนาระบบ ควบคุ ม ภายใน และมี ก ลไกการตรวจสอบที่ ดี แ ละเหมาะสม การดำ � เนิ น งานคำ � นึ ง ถึ ง ความรั บ ผิ ด ชอบต่ อ ผู้ ถื อ หุ้ น และ ผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย โครงสร้างคณะกรรมการ กลไกการกำ�กับดูแล การบริหารงาน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและ ความรับผิดชอบในเรื่องต่าง ๆ ได้ดี ซึ่งนอกจากจะเป็นไปตามกรอบมาตรฐานที่ดีของ OECD (Organization for Economic Cooperating and Development) แล้ว บริษัทฯ ได้ศึกษาและนำ�แนวปฏิบัติที่ดีทั้งในประเทศและต่างประเทศนำ�มาปฏิบัติ อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการชุดย่อย 4 ชุด เพื่อช่วยกำ�กับดูแลการบริหารจัดการในแต่ละเรื่องให้ละเอียดมากขึ้น ตลอดจน การกำ�หนดโครงสร้างกรรมการซึ่งมีกรรมการอิสระมากถึงร้อยละ 46 และในการกำ�กับดูแลเรื่องบรรษัทภิบาล คณะกรรมการ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล (Nominating and Corporate Governance Committee หรือ NCG) เพื่อกำ�หนดนโยบายและทบทวนแนวปฏิบัติอย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายมั่นใจว่าบริษัทฯ มีมาตรฐานที่ดี ทันสมัยและมีการนำ�ไปปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งการดำ�เนินการตามนโยบายนั้น ผู้บริหารระดับสูง 2 คน ประกอบด้วย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ร่วมกันสนับสนุนการเสริมสร้างธรรมาภิบาลแก่พนักงานทุกระดับ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารกำ�หนดให้มคี มู่ อื จริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) ตามนโยบายของคณะกรรมการ เพือ่ สือ่ สาร ให้พนักงานทุกระดับทราบ และกำ�หนดเป็นแนวปฏิบัติงานภายใต้กรอบนโยบายธรรมาภิบาลที่ชัดเจน โดยการชี้แจงเพื่อสร้าง ความเข้าใจผ่านการประชุมพนักงาน (Town Hall Meeting) ซึง่ กำ�หนดไว้ไม่นอ้ ยกว่าปีละ 2 ครัง้ นอกจากนี้ บริษทั ฯ ได้ประกาศ หลักบรรษัทภิบาลสำ�หรับผู้บริหาร 10 ประการ เพื่อใช้หลักคุณธรรมและจริยธรรม (With Integrity) เป็นแนวทางในการ ทำ�งาน และเป็น 1 ใน 4 ของวัฒนธรรมองค์กร บริษัทฯ มุ่งเน้นให้พนักงานเข้าใจการดำ�เนินธุรกิจที่คำ�นึงถึงผลประโยชน์ ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเหมาะสม (Corporate Social Responsibility (CSR)) ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ครอบครัวพนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คูค่ า้ คูแ่ ข่งขัน รัฐ ชุมชน สังคม และสิง่ แวดล้อม บริษทั ฯ มีหน่วยงานทีค่ อยติดตามและสำ�รวจ ความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างสม่ำ�เสมอ เพื่อนำ�ข้อเสนอแนะที่ได้รับมาปรับปรุงและพัฒนาการดำ�เนินงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังใช้เป็นปัจจัยหนึ่งในการประเมินผลการทำ�งานประจำ�ปีของพนักงาน ERW’s กับ CSR เริ่มต้นอย่างไร เริ่มที่ผู้นำ�ขององค์กรต้องมีความเข้าใจในกรอบ CSR ที่ถูกต้อง แก่นของ CSR คือ การประพฤติปฏิบัติตนอย่างมี ความรับผิดชอบด้วยความจริงใจต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น พนักงาน ครอบครัวพนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คู่ค้า คู่แข่งขัน รัฐ ชุมชน สังคม หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เราอยู่ร่วมกัน ปัจจุบันคนทั่วไปถ้าได้ยินคำ�ว่า CSR ยังเข้าใจว่า CSR คือกิจกรรมที่องค์กรทำ�เพื่อประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และ สิง่ แวดล้อม ไม่วา่ จะเป็นการบริจาคเงินรูปแบบต่าง ๆ การรณรงค์อนุรกั ษ์สิง่ แวดล้อม การสนับสนุนการกีฬา หรือการลงมือสร้าง ทีอ่ ยู่ สร้างโรงเรียนแก่ผดู้ อ้ ยโอกาส การปลูกป่าหรือรณรงค์ใช้วสั ดุทไี่ ม่ท�ำ ลายสิง่ แวดล้อม หรือพูดภาษาง่าย ๆ ว่าโครงการคืนกำ�ไร ให้แก่สังคม ความจริงแล้วกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของ CSR การกำ�หนดนโยบายและยุทธศาสตร์ตลอดจนแผนการดำ�เนินงาน ได้คำ�นึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและ ทางอ้อมที่อาจเกิดกับผู้อื่น มิใช่คำ�นึงถึงแต่ประโยชน์และผลกำ�ไรให้แก่ผู้ถือหุ้นแต่อย่างเดียว คณะกรรมการต้องมีความเห็น ในทิศทางเดียวกันในการกำ�หนดนโยบายที่สร้างความสมดุลแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่เฉพาะในสถานการณ์ที่ทุกอย่างดี ธุรกิจมีกำ�ไร แต่ต้องสามารถปฏิบัติได้จริงตลอดเวลาแม้ในช่วงภาวะวิกฤติ เรามีความเชื่อมั่นว่า CSR เป็นแนวทางสู่ความสำ�เร็จที่ยั่งยืนในระยะยาว เพราะการเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับ โดยผูท้ ีม่ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่ายอยากทีจ่ ะติดต่อ อยากทำ�ธุรกรรมด้วย ตัวอย่างเช่น การรักษาพนักงานทีด่ ไี ว้ได้ ต้องทำ�ให้พนักงาน นโยบายบรรษัทภิบาล 50


SUCCESS WITH INTEGRITY

มีความสุขในการทำ�งาน คนที่ดีมีความสามารถอยากมาร่วมงานด้วย ลูกค้ามีความพึงพอใจอยากมาใช้สินค้าและบริการ อย่างต่อเนือ่ ง คูค่ า้ ต่างมีความสบายใจทีจ่ ะค้าขายด้วยความตรงไปตรงมา โปร่งใส ให้ราคาและบริการทีด่ ที สี่ ดุ เพราะการตัดสินใจ จะซือ้ จะขายเป็นไปอย่างมีเหตุผลตามข้อเท็จจริง ไม่ตอ้ งวิง่ เต้น ผูถ้ อื หุน้ รายย่อย ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่มคี วามสบายใจทีไ่ ด้รบั ข้อมูล ที่เท่าเทียมกันแบบตรงไปตรงมา ทันต่อเหตุการณ์สม่ำ�เสมอ ทั้งในภาวะที่ผลประกอบการดีและไม่ดี เจ้าหนี้มีความมั่นใจ ในความโปร่งใสของข้อมูลทีไ่ ด้รบั มีความรับผิดชอบต่อการชำ�ระหนี้ และการปฏิบตั ติ ามสัญญากูย้ มื เงิน การเป็นนิตบิ คุ คลทีด่ ี ปฏิบัติตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐ มีการบันทึกบัญชีถูกต้องตรงไปตรงมา เสียภาษีครบถ้วน ถ้าทุกองค์กรสามารถ ดูแลรับผิดชอบผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายได้เป็นอย่างดี สังคมและเศรษฐกิจก็จะเข้มแข็ง มีประสิทธิภาพ และจะเห็นว่ากิจกรรม คืนกำ�ไรให้สังคมที่ส่วนใหญ่เข้าใจว่าคือ CSR กลับเป็นประเด็นที่ไม่สำ�คัญเลยหากองค์กรยังไม่ได้ให้ความสำ�คัญหรือ เอาเปรียบผู้มีส่วนได้เสียอื่น เรามุง่ มัน่ ทำ�เรือ่ งนีอ้ ย่างต่อเนือ่ งมากว่า 6 ปี เริม่ จากการสร้างความเข้าใจทีถ่ กู ต้องภายในองค์กร ทีส่ �ำ คัญจะทำ�อย่างไรทีจ่ ะ หล่อหลอมให้ทุกคนในองค์กรสามารถนำ�ไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นธรรมชาติ คือเป็นปกติทุกวัน เราได้ยกเรื่องนี้ เป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจ กำ�หนดเป็น ERW MOTTO 1 ใน 4 ของวัฒนธรรมองค์กร ถือเป็น DNA ของเรา เรายังกำ�หนด ให้เป็นส่วนสำ�คัญของยุทธศาสตร์องค์กร ที่คำ�นึงถึงความพอใจของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายเป็นส่วนสำ�คัญในการประเมิน ผลงานพนักงานเพื่อจัดทำ� Balance Score Card (BSC) เชื่อมโยงไปยังการประเมินผลการดำ�เนินงานของทุกคนในองค์กร การหล่อหลอมและสร้างสำ�นึกความรับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เป็นกระบวนการที่ใช้เวลา ไม่สามารถบังคับได้ จะสำ � เร็ จ ได้ เ มื่ อ ทุ ก คนในองค์ ก รทำ � และเห็ น ผลดี ที่ เ กิ ด ขึ้ น กั บ องค์ ก ร กั บ งานที่ รั บ ผิ ด ชอบด้ ว ยตนเอง จึ ง เกิ ด ความเชื่ อ ความรู้สึกมั่นใจและอยากทำ� เมื่อทำ�แล้วรู้สึกดี มีประโยชน์ มีความสุขที่ได้ทำ� ที่สำ�คัญทุกคนในองค์กรพูดจาภาษาเดียวกัน เราเชือ่ มัน่ และมุง่ มัน่ ในเส้นทางเดินทีม่ คี ณ ุ ธรรม มีความถูกต้อง แม้อาจไม่เห็นผลในระยะสัน้ ก็ตาม เพือ่ ให้ความสำ�เร็จของเรา มีความยั่งยืน และเป็นความสำ�เร็จที่มาพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมตาม Motto ของเรา สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่รางวัลใด ๆ ที่ได้รับ หรือจะได้รับ แต่ต้องเป็นของจริงมีอยู่จริงในองค์กร คนที่มาติดต่อกับองค์กรสัมผัสได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องอาศัยการ โฆษณาประชาสัมพันธ์ เพราะผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่ติดต่อกับองค์กรเกิดความพึงพอใจคือเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ที่มี ประสิทธิภาพที่สุด

กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 2554 ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบภาวะปัญหาต่าง ๆ มากมายติดต่อกันหลายปีที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อเศรษฐกิจโดยรวม แม้ว่าเราต้องเผชิญวิกฤติการณ์ต่าง ๆ เรายังคงดำ�เนินนโยบายการทำ�กิจกรรมเพื่อประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม (Corporate Contributions) อย่างต่อเนื่อง เราได้กำ�หนดนโยบายที่ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการนำ�ไป ปฏิบตั ิ โดยตัง้ งบประมาณไว้ประมาณร้อยละ 0.5 ของกำ�ไรสุทธิ สำ�หรับกิจกรรมต่าง ๆ ซึง่ เป็นงบประมาณทีไ่ ม่มาก เราจึงมุง่ เน้น แนวคิดและการดำ�เนินกิจกรรมที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดตามความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถ ทำ�ได้อย่างต่อเนื่องและวัดผลได้ ทั้งนี้ เราสนับสนุนให้พนักงาน ครอบครัวพนักงาน และบุคคลทั่วไป ร่วมแรงร่วมใจกัน ทำ�กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในฐานะสมาชิกที่ด่ีของสังคมโดยสมัครใจ และประเด็นสำ�คัญคือเราไม่นำ�กิจกรรมที่เราตั้งใจทำ� เพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมมาเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์หรือเพื่อส่งเสริมทางการค้าใด ๆ กิจกรรมเพื่อ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในมุมมองของเรา คือการให้โดยไม่หวังผล การให้คือการตอบแทนสังคมที่เราอยู่เท่าที่เราพอจะ กระทำ�ได้ แม้จะอยู่ในช่วงภาวะวิกฤติ เราแบ่งกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดำ�เนินการต่อเนื่องเป็นประจำ�ทุกปี ไว้เป็น 4 กลุ่มกิจกรรม ดังต่อไปนี้ นโยบายบรรษัทภิบาล

51


1. กิจกรรมส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 1.1 โครงการ Welcome Guide to Thailand เป็นโครงการสอนภาษาอังกฤษให้กับผู้ขับรถรับจ้าง (แท็กซี่) โดยไม่คิด ค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มทักษะการพูดภาษาอังกฤษให้ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ อันเป็นการส่งเสริมภาพพจน์ที่ดีของประเทศ โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน เป็นรุ่นที่ 10 มีผู้ขับรถแท็กซี่เข้าร่วมกิจกรรมแล้วทั้งสิ้น 295 ราย ในปี 2554 จัดขึ้น 3 ครั้ง ที่โรงแรมไอบิส 1 ครั้ง และเนื่องจากผลตอบรับค่อนข้างดี กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่จึงได้แจ้ง ความจำ�นงค์ให้เราขยายผลไปสูว่ งกว้างโดยร่วมกับบริษทั ท่าอากาศยานไทย จำ�กัด (มหาชน) จัดสอนภาษาอังกฤษ ให้กับผู้ขับรถแท็กซี่ประจำ�ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งมีสมาชิกจำ�นวนมาก เราจึงแบ่งการอบรมออกเป็น 2 ครั้ง โดยจัดที่อาคารสถานีดับเพลิงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ 1.2 ร่วมอนุรักษ์สืบสานประเพณีไทย เนือ่ งในวันขึน้ ปีใหม่ไทย หรือทีเ่ ราเรียกว่าวันสงกรานต์ปี 2554 เราทำ�ของขวัญ เพื่อสวัสดีปีใหม่ไทยพร้อมสอดแทรกเนื้อหา เพื่อสืบสานประเพณีไทยในเรื่องของการรดน้ำ�ขอพรจากผู้ใหญ่ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยให้เป็นที่แพร่หลายสืบไป 2. กิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนใกล้เคียงกับทรัพย์สินของบริษัทฯ และชุมชนทั่วไป 2.1 โครงการ ดิ เอราวัณ ร่วมใจช่วยผูป้ ระสบภัยน้�ำ ท่วม ในปีนปี้ ระเทศไทยได้รบั ผลกระทบจากมหาอุทกภัยครัง้ ใหญ่ เราได้ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามความจำ�เป็นเร่งด่วน ทั้งที่เป็นตัวเงินและสิ่งของ โดยการผ่านสื่อ และ/หรือ หน่วยงานที่จัดกิจกรรม และมีช่องทางที่เราเห็นว่าจะสามารถเข้าถึงผู้ประสบภัยอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย การช่วยเหลือผ่านโครงการต่าง ๆ ดังนี้ • พนักงานบริษัทฯ ผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วม เราเร่งช่วยเหลือด้วยการจัดที่พักชั่วคราวให้แก่พนักงานที่ประสบภัย ไม่สามารถเข้าอยู่อาศัยในบ้านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมอบเงินช่วยเหลือหลังน้ำ�ลดอีกจำ�นวนหนึ่ง • จัดโครงการลดราคาห้องพักโรงแรมในอัตราพิเศษสำ�หรับลูกค้าทั่วไปผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วม • บริจาคเงินผ่านสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำ�ท่วม 500,000 บาท • บริจาคเงินและจัดหาอาหารกล่องมูลค่า 620,000 บาท แบ่งเป็น เงินสด 200,000 บาท ข้าวกล่อง จำ �นวน 14,000 กล่อง มูลค่า 420,000 บาท จัดส่งผ่านทางครอบครัวข่าว 3 เป็นเวลา 28 วัน วันละ 500 กล่อง • มอบถุงยังชีพให้ชุมชนวัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผ่านกรมยุทธบริการทหาร และชุมชนลาดกระบัง ผ่านสำ�นักงานเขตลาดกระบัง • ร่วมโครงการ 1 ต่อ 1 ช่วยเหลือผู้ประสบภัยหลังน้ำ�ลด กับบริษัท ทีวีบูรพา จำ�กัด ด้วยการจัดหาและมอบ เครื่องมือหาเลี้ยงชีพ (รถซาเล้ง) ให้แก่นางสอน แดงสะอาด และสนับสนุนวัสดุก่อสร้างเพื่อซ่อมแซมบ้านให้แก่ นายสุขชัย พรรณทรัพย์สาร อำ�เภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งทั้งสองคนเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจาก บริษัท ทีวีบูรพา จำ�กัด และได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ประสบภัยในพื้นที่จำ�นวนมาก เนื่องจากเป็นผู้อุทิศตน ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่น ๆ ในชุมชน แม้ว่าตัวเองจะเป็นผู้ประสบภัย • ร่วมสนับสนุนกิจกรรมเมืองไทยสวยงาม จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2554 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นกิจกรรมฟื้นฟูจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่ได้รับความเสียหายอย่างมากจาก อุทกภัยให้กลับมาสวยงามดังเดิม

นโยบายบรรษัทภิบาล 52


SUCCESS WITH INTEGRITY

2.2 โครงการรอบบ้านน่ามอง มีวตั ถุประสงค์เพือ่ ปลูกฝังจิตสำ�นึกในการรักษาความสะอาดและสร้างทัศนียภาพทีส่ วยงาม โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับทรัพย์สินของบริษัทฯ ในปี 2554 – 2555 เราได้ร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการ ย่านราชประสงค์ และสำ�นักงานเขตปทุมวัน ดำ�เนินโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณเกาะกลางถนนราชประสงค์ ถึงแยกชิดลม ซึ่งโครงการอยู่ในระหว่างดำ�เนินการ 2.3 กิจกรรมเติมฝันปันรัก เป็นกิจกรรมเพือ่ สร้างโอกาสและสนับสนุนการพัฒนาเยาวชนทีข่ าดแคลน โดยเฉพาะในด้าน การศึกษา ในปี 2554 นี้ เราได้ดำ�เนินการปรับปรุงห้องสมุดโรงเรียนบ้านเกาะนาคา จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงเรียน เพียงแห่งเดียวบนเกาะนาคาใหญ่และยังไม่มีห้องสมุดที่ได้มาตรฐาน ซึ่งห้องสมุดดังกล่าวเป็นความต้องการ ของเด็ก ๆ โรงเรียนบ้านเกาะนาคา เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และค้นคว้าข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์และหนังสือ 3. กิจกรรมที่ส่งเสริมการลดใช้พลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม 3.1 โครงการขยะแลกไข่ เราร่วมกับบริษทั สถานีรไี ซเคิล วงษ์พาณิชย์ สุวรรณภูมิ จำ�กัด ให้เข้ามารับซือ้ ขยะทีไ่ ด้จาก การทำ�กิจกรรมคัดแยกขยะ เพื่อส่งเสริมให้พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และบุคคลทั่วไปที่ใช้บริการภายในอาคาร เพลินจิต เซ็นเตอร์ และอาคารใกล้เคียง ทำ�การคัดแยกขยะทั้งที่บ้านและสำ�นักงานเพื่อนำ�มาแลกกับไข่ ซึ่งนับว่า เป็นการสร้างรายได้จากสิ่งของเหลือใช้ ช่วยลดปริมาณขยะและเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ผลตอบรับ อยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ มีปริมาณขยะที่ได้รับการคัดแยกเพิ่มขึ้นอย่างมาก เราจึงเพิ่มความถี่ในการรับซื้อจาก 2 เดือนครั้ง เป็นเดือนละครั้ง ปริมาณที่รับซื้อเฉลี่ยเดือนละ 4 ตัน นอกจากนี้ เราได้จัดทำ�จุดคัดแยกขยะในอาคาร เพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เรื่องวิธีการคัดแยกประเภทของขยะเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น 3.2 Let’s Green เป็นกิจกรรมสัมมนาเพื่อส่งเสริมความรู้เรื่องวิธีลดการใช้พลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปด้วยกัน โดยให้กับพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้เช่าพื้นที่ภายในอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ เข้าอบรมในหัวข้อ ร่วมใจใช้ซ้ำ� คัดแยกขยะอย่างถูกวิธี โดย ดร.สมไทย วงษ์เจริญ ประธานบริษัท สถานีรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ สุวรรณภูมิ จำ�กัด 4. โครงการอนุรักษ์ช้างไทย โครงการ ดิ เอราวัณรักษ์ช้าง มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมอนุรักษ์ช้างไทยอันเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของชาติ ไม่ให้สูญพันธุ์ ไปจากประเทศไทย โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่ปี 2548 ในรูปแบบต่าง ๆ ในปี 2553 และ 2554 โดยความร่วมมือกับมูลนิธิ คืนช้างสู่ธรรมชาติ เราจัดกิจกรรมปลูกป่าให้ช้างและสร้างฝายชะลอน้ำ� ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำ�ติดต่อกันมา 2 ปี เพื่อเป็นการติดตามผลและสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ผืนป่า เพื่อสร้างอาหาร ให้แก่ช้างอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้ได้รับความสนใจจากพนักงาน สมาชิกในครอบครัว เพื่อนพนักงาน ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่เคย เข้าร่วมโครงการ Welcome Guide to Thailand และอาสาสมัครอื่น ๆ เข้าร่วมโครงการด้วยจิตอาสา กิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นการร่วมแรงร่วมใจทำ�ด้วยจิตอาสา โปร่งใส มีการติดตามวัดผลอย่างต่อเนือ่ ง และนำ�มาประมวลผล สรุ ป ข้ อ ดี แ ละประโยชน์ ที่ ไ ด้ รั บ ทั้ ง ในส่ ว นของชุ ม ชนและสิ่ ง แวดล้ อ ม เพื่ อ ปรั บ ปรุ ง แนวทางและวิ ธี ก ารทำ � กิ จ กรรมให้ มี ประสิ ท ธิ ผ ลมากขึ้ น ซึ่ ง สิ่ ง ที่ พ นั ก งานและผู้ เ ข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมได้ รั บ คื อ การเรี ย นรู้ และการสร้ า งจิ ต สำ � นึ ก ทำ � ให้ เ กิ ด กลุ่ ม จิตอาสาเพิ่มขึ้น ซึ่งยอมรับว่าที่ผ่านมาแม้ว่าเราจะได้ทำ�กิจกรรมกันอย่างจริงจัง ตั้งใจ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง แต่เราพบว่า ยังมีเรือ่ งทีค่ วรต้องปรับปรุง โดยเรามีหน่วยงานทีไ่ ด้รบั มอบหมายจากประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ ให้คอย ติดตามดูแลและประสานงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความคาดหวัง

นโยบายบรรษัทภิบาล

53


การมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม (Corporate Contributions “CC”) ของคนในองค์กร เราเชือ่ ว่าพนักงาน ดิ เอราวัณ กรุป๊ ทุกคนมีจติ อาสา ใจดี มีน้�ำ ใจ การสร้างบรรยากาศทีส่ ง่ เสริมเพือ่ กระตุน้ ให้มสี ว่ นร่วม จึงไม่ใช่เรื่องยาก เราเริ่มตั้งแต่การเปิดโอกาสให้เสนอความคิดเห็น เสนอโครงการ หรือกิจกรรมที่สนใจและคิดว่าจะสามารถ ทำ�ให้ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ได้รับการดูแลภายใต้กรอบนโยบายที่กำ�หนด การส่งเสริมให้เข้าร่วมทำ�กิจกรรม ด้วยความสมัครใจ ตลอดจนร่วมรณรงค์ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสเข้าร่วมทำ�กิจกรรม ไม่ทำ�กัน เฉพาะพนักงานเรา รวมถึงสมาชิกในครอบครัว เพื่อนพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า และบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม ทุกคนจึง ทำ�ด้วยใจที่บริสุทธิ์ ทำ�แล้วรู้สึกมีความสุขที่ได้ทำ�กิจกรรมร่วมกัน นับเป็นภาพที่สวยงาม สิ่งสำ�คัญคือเราจะทำ�อย่างไร ให้ผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายสนใจและอยากเข้าร่วมกิจกรรมของเราด้วยความสมัครใจ

แนวปฏิบัติด้านบรรษัทภิบาลของเอราวัณ แบ่งเป็น 9 เรื่อง ดังต่อไปนี้ 1. จริยธรรมธุรกิจ บริษทั ฯ กำ�หนดแผนในการดำ�เนินธุรกิจตามหลักบรรษัทภิบาลทีด่ ี โดยรวบรวมข้อควรปฏิบตั แิ ละจริยธรรมในการดำ�เนิน ธุรกิจที่ดี เหมาะสมสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์องค์กร และมั่นใจว่าสามารถปฏิบัติได้ มาจัดทำ�เป็นคู่มือจริยธรรมธุรกิจ ในปี 2548 และปรับปรุงขึน้ ใหม่ในปี 2551 โดยเตรียมแผนทีจ่ ะปรับปรุงใหม่เพือ่ สร้างความเข้มแข็ง และตรงตามวิธปี ฏิบตั จิ ริง ของบริษทั ฯ อีกครัง้ ในปี 2555 ซึง่ ถือเป็นการพัฒนาอย่างไม่หยุดยัง้ ตามคำ�ขวัญทีว่ า่ “ความสำ�เร็จต้องมาพร้อมด้วยคุณธรรม” (Success with Integrity) และประกาศให้กบั กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกคนใช้เป็นแนวทางปฏิบตั ริ ว่ มกัน เพือ่ ให้บริษทั ฯ ก้าวไปสู่ความสำ�เร็จด้วยสำ�นึกของความถูกต้องและดีงาม และเผยแพร่คู่มือจริยธรรมธุรกิจไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ (http://www.TheErawan.com) เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนในบริษัทฯ มีวัฒนธรรมองค์กร และมีจริยธรรมในการทำ�งานและ ทัศนคติที่ดี เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกลไกสำ�คัญที่จะหล่อหลอมให้ผู้บริหารและพนักงาน มีความเชื่อมั่น ในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนที่พึงมีต่อผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม 2. คุณสมบัติ โครงสร้าง หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ บริษทั ฯ กำ�หนดคุณสมบัตขิ องกรรมการ สอดคล้องและเข้มกว่าข้อกำ�หนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรรมการ มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี มีขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ชัดเจน มีการถ่วงดุลอำ�นาจระหว่างกันของกรรมการที่ไม่เป็น ผู้บริหาร ประกอบด้วย ประธานกรรมการที่เป็นกรรมการอิสระ และเป็นคนละคนกับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีบทบาท อำ�นาจ และหน้าที่แบ่งแยกออกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อส่งเสริมให้เกิดดุลยภาพระหว่างการบริหารและการกำ�กับดูแลกิจการ มีกรรมการอิสระ 6 คน กรรมการทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร 5 คน และกรรมการทีเ่ ป็นผูบ้ ริหาร 2 คน (ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่) รวมเป็น 13 คน คณะกรรมการแต่งตั้งคณะกรรมการชุด ย่อ ย 4 คณะ เพื่ อให้ มี การแบ่ ง แยกตำ � แหน่ ง และหน้ า ที่ ความรั บผิ ดชอบ อย่างชัดเจนเหมาะสม และมีนโยบายในการพิจารณาสับเปลี่ยนกรรมการ (Rotation) เพื่อดำ�รงตำ�แหน่งในคณะกรรมการ ชุดย่อยตามความเหมาะสม โดยประธานคณะกรรมการชุดย่อย มีหน้าที่ในการนำ �เสนอนโยบายที่ได้รับมติเห็นชอบจาก คณะของตนต่อคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อยแต่งตั้งเลขานุการ ทำ�หน้าที่รับผิดชอบในการติดตามและประสานงาน ระหว่างกรรมการกับฝ่ายจัดการ เพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการปฏิบัติตามนโยบายที่วางไว้ และมีการบันทึกรายงานการประชุมเป็น ลายลักษณ์อักษร คณะกรรมการชุดย่อยประกอบด้วย

นโยบายบรรษัทภิบาล 54


SUCCESS WITH INTEGRITY

คณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยกรรมการอิสระทั้งคณะไม่น้อยกว่า 3 คน ที่มีความรู้ทางด้านบัญชี การเงิน และลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ อย่างเพียงพอ เพื่อทำ�หน้าที่รับผิดชอบการสอบทานรายงานทางการเงิน สอบทาน ความเพียงพอของระบบควบคุมภายใน และติดตามการบริหารความเสีย่ งทีส่ �ำ คัญอย่างต่อเนือ่ ง พิจารณาความเป็นอิสระของ หน่วยงานตรวจสอบภายใน ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้ง/โยกย้าย/เลิกจ้างหัวหน้าสายงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการตรวจสอบ สอบทานการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และระเบียบที่เกี่ยวข้อง พิจารณาคัดเลือกแต่งตั้งและ เสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชี พิจารณาสอบทาน และเปิดเผยข้อมูลการทำ�รายการที่เกี่ยวโยงกัน (Connected Transaction) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ�หนดอย่างครบถ้วน โปร่งใส คณะกรรมการลงทุน เปลีย่ นชือ่ จากคณะกรรมการการเงินและบริหารความเสีย่ ง ประกอบด้วยกรรมการ 7 คน มีหน้าที่ รับผิดชอบในการพิจารณากลั่นกรองโครงการลงทุนและการขายทรัพย์สินตามแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งรวมถึงการพิจารณา ความเป็นไปได้ของโครงการ ผลตอบแทนทางการเงิน ความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ รวมถึงการสนับสนุนทางการเงินและการทำ� นิติกรรมสัญญาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำ�กับดูแล ประเมิน และติดตามการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และ มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล ประกอบด้วยกรรมการ 4 คน ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ และ สมาชิกอีก 3 คน ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาโครงสร้างคณะกรรมการ กำ�หนด คุณสมบัติเฉพาะตำ�แหน่ง พิจารณาและสรรหาบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิเข้าดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการ ตลอดจนประเมินผลงานของ คณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อยทีค่ ณะกรรมการแต่งตัง้ ขึน้ และกำ�กับดูแลให้กรรมการ ผูบ้ ริหาร และพนักงานทุกระดับ ปฏิบัติตามแนวทางการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) และจริยธรรมธุรกิจ (Code of Conduct) คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน ประกอบด้วยกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 2 คน และกรรมการอิสระ 2 คน รวมเป็น 4 คน ทำ�หน้าทีร่ บั ผิดชอบในการนำ�เสนอนโยบายเพือ่ พัฒนา ประเมินความรูค้ วามสามารถ และกำ�หนดค่าตอบแทนของผูด้ �ำ รงตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหาร และกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ จัดทำ�แผนสืบทอดตำ�แหน่ง ผู้บริหารระดับสูง ตลอดจนพิจารณานโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล คณะกรรมการแต่งตั้งเลขานุการบริษัท เพื่อทำ�หน้าที่ตามที่พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 กำ�หนด และ/หรือกฎหมายหรือข้อกำ�หนดอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนติดตามและประสานงานระหว่างคณะกรรมการ กับฝ่ายจัดการและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก 3. คุณสมบัติของกรรมการ หลักการ ควรมีความรูแ้ ละประสบการณ์ทีห่ ลากหลายทัง้ ด้านการเงิน เศรษฐกิจ การจัดการ บริหารธุรกิจ การตลาด การบริการ การท่องเที่ยว และกฎหมายอย่างเพียงพอที่จะให้ทิศทาง นโยบายที่เหมาะสมกับการพัฒนาธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท มีทักษะ เฉพาะตัว มีความสามารถในการมองภาพรวม และมีความเป็นอิสระเพียงพอที่จะทำ�หน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการดำ�เนินงาน ของฝ่ายจัดการ โดยมีบทบาทที่สำ�คัญ 2 ประการ คือ เพื่อร่วมกำ�หนดกลยุทธ์ให้บริษัทฯ สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทางธุรกิจและสนับสนุนให้มีการบริหารงานตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี คุณสมบัติทั่วไป 1. เป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย เป็นมืออาชีพ และมีจริยธรรม 2. เข้าใจบทบาทหน้าที่ และทำ�หน้าทีข่ องตน (Practices) อย่างเต็มที่ ด้วยความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะสร้างมูลค่าสูงสุดให้กจิ การและ ผู้ถือหุ้นในระยะยาว 3. มีเวลาเพียงพอในการทำ�หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นโยบายบรรษัทภิบาล

55


4. ควรมีการประเมินตนเอง และแจ้งต่อคณะกรรมการเมือ่ มีการเปลีย่ นแปลง หรือมีเหตุการณ์ทีท่ �ำ ให้ไม่สามารถปฏิบตั ิ หน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วาระในการดำ�รงตำ�แหน่ง และการเกษียณอายุของกรรมการ 1. ให้มีวาระการดำ�รงตำ�แหน่งคราวละ 3 ปี ทั้งนี้ คณะกรรมการอาจเสนอชื่อให้ผู้ถือหุ้นพิจารณาเลือกตั้งใหม่หลังจาก หมดวาระ โดยให้พิจารณาการดำ�รงอยู่จากการประเมินผลการทำ�งานของกรรมการเป็นรายปี และกำ�หนดให้วาระ การดำ�รงตำ�แหน่งของกรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยเป็นคราวละ 3 ปี เท่ากัน 2. กรรมการเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 75 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำ�ปี และให้นับ หลังจากวันที่ที่กรรมการผู้นั้นมีอายุครบ 75 ปีบริบูรณ์ คุณสมบัติเฉพาะ ประธานกรรมการ มีหน้าที่นอกเหนือจากที่กล่าวในหลักการข้างต้นและกรรมการอื่น คือ (1) การทำ�หน้าที่ประธาน ในทีป่ ระชุมคณะกรรมการ (2) การลงคะแนนเสียงชีข้ าด ในกรณีทที่ ปี่ ระชุมคณะกรรมการมีการลงคะแนนเสียง และคะแนนเสียง 2 ข้างเท่ากัน (3) การเป็นผู้เรียกประชุมคณะกรรมการ (4) การทำ�หน้าที่ประธานในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้นคุณสมบัติของ ประธานกรรมการที่แตกต่างจากกรรมการ ดังนี้ • ต้องเป็นกรรมการที่ไม่ได้ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นผู้บริหาร (Non Executive Director - NED) • ไม่มสี ว่ นร่วมในการบริหารงาน ไม่เป็นลูกจ้าง พนักงาน ทีป่ รึกษาทีไ่ ด้รบั เงินเดือนประจำ� ผูส้ อบบัญชี ผูใ้ ห้บริการทาง วิชาชีพอืน่ หรือเป็นผูม้ อี �ำ นาจควบคุมของบริษทั หรือบริษทั ในเครือ บริษทั ร่วม บริษทั ตรวจสอบบัญชี หรือเป็นบุคคล ที่อาจมีความขัดแย้ง โดยต้องไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในลักษณะดังกล่าว

กรรมการที่เป็นผู้บริหาร • กรรมการที่ดำ�รงตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไม่ควรดำ�รงตำ�แหน่งกรรมการในบริษัทจดทะเบียนอื่นมากกว่า 3 บริษัท

กรรมการอิสระ • มีสดั ส่วนการถือหุน้ ในบริษทั ไม่เกินร้อยละ 1 ของจำ�นวนหุน้ ทีม่ สี ทิ ธิออกเสียงทัง้ หมดของบริษทั บริษทั ใหญ่ บริษทั ย่อย บริษัทร่วม นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง โดยให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้อง • ไม่เป็นกรรมการทีม่ สี ว่ นร่วมบริหารงาน พนักงาน ลูกจ้าง ทีป่ รึกษาทีไ่ ด้รบั เงินเดือนประจำ� ผูม้ อี �ำ นาจควบคุมของบริษทั บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำ�ดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งในปัจจุบัน และ ช่วง 2 ปี ก่อนได้รับการแต่งตั้ง • ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต หรือโดยการจดทะเบียนในลักษณะที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส พี่น้อง และบุตร รวมทัง้ คูส่ มรสของบุตร กับผูบ้ ริหาร ผูถ้ อื หุน้ รายใหญ่ ผูม้ อี �ำ นาจควบคุม หรือบุคคลทีจ่ ะได้รบั การเสนอชือ่ เป็นผูบ้ ริหาร หรือผู้มีอำ�นาจควบคุมของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อย • ไม่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทฯ ภายใน 2 ปีก่อนหน้า ได้แก่ - ความสัมพันธ์ในลักษณะการให้บริการทางวิชาชีพ ได้แก่ ผู้สอบบัญชี (ทุกกรณี) ผู้ให้บริการทางวิชาชีพอื่น เช่น ที่ปรึกษากฎหมาย ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ประเมินราคาทรัพย์สิน ที่มีมูลค่ารายการต่อปีเกิน 2 ล้านบาท - ความสัมพันธ์ทางการค้า ทางธุรกิจ ได้แก่ รายการที่เป็นธุรกรรมปกติ รายการเช่า ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการ เกีย่ วกับสินทรัพย์ บริการ และรายการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงินทีม่ มี ลู ค่าการทำ�รายการตัง้ แต่ 20 ล้านบาท หรือตั้งแต่ร้อยละ 3 ของ NTA ของบริษัทฯ แล้วแต่จำ�นวนใดจะต่ำ�กว่า โดยให้รวมมูลค่ารายการย้ อนหลั ง ไม่น้อยกว่า 6 เดือน ก่อนวันที่มีการทำ�รายการครั้งล่าสุด นโยบายบรรษัทภิบาล 56


SUCCESS WITH INTEGRITY

• ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำ�ให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระได้ • ต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรทีจ่ ดั โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษทั ไทย (IOD) อย่างน้อย 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร Directors Certification Program (DCP) หรือ Directors Accreditation Program (DAP) หรือ Audit Committee Program (ACP) กรรมการตรวจสอบ • ต้องเป็นกรรมการอิสระที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น • ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำ�เนินกิจการของบริษัทฯ บริษัทใหญ่ บริษัทย่อย บริษัทร่วม บริษัทย่อยลำ�ดับเดียวกัน หรือนิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง • มีหน้าที่ไม่น้อยกว่าที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำ�หนด

ธุรกรรมที่มีผลต่อความเป็นอิสระ • มีอำ�นาจอนุมัติรายการต่าง ๆ หรือลงนามผูกพันบริษัทจริง ยกเว้น การลงนามตามมติของคณะกรรมการ หรือเป็น การลงนามร่วมกับกรรมการรายอื่น • เข้าร่วมประชุม หรือร่วมลงคะแนนในเรื่องที่มีส่วนได้เสีย หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ลักษณะต้องห้าม กรรมการและผูบ้ ริหารของบริษทั ฯ ต้องไม่มคี ณ ุ สมบัตทิ ีข่ ดั หรือแย้งกับข้อกำ�หนดของบริษทั ฯ และประกาศคณะกรรมการ กำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถดูได้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ 4. บทบาทของคณะกรรมการ และฝ่ายจัดการ คณะกรรมการมีส่วนร่วมในการกำ�หนดนโยบายและข้อพึงปฏิบัติของผู้บริหาร ครอบคลุมถึงหน้าที่และภาระกิจหลัก โดยเปิดโอกาสให้ฝ่ายจัดการมีอิสระในการกำ�หนดแผนยุทธศาสตร์การบริหารตามวัตถุประสงค์และพันธกิจของบริษัทฯ และ เสนอขออนุมัติแผนจากคณะกรรมการ คณะกรรมการจัดให้มีการประชุมระหว่างกรรมการอิสระด้วยกันเอง และมีโอกาสได้พบปะกับผู้บริหารระดับรองลงมา จากประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ตามลำ�พัง ภายใต้การรับรูข้ องประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ 5. การประชุมคณะกรรมการ บริษัทฯ กำ�หนดจำ�นวนครั้งที่จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อย โดยการนัดหมายและแจ้งให้ กรรมการและผูท้ ีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องทราบล่วงหน้าตลอดทัง้ ปี โดยกำ�หนดวาระให้กรรมการอิสระได้ประชุมร่วมกัน เพือ่ แลกเปลีย่ น ความเห็นโดยอิสระ จัดขึ้นก่อนการประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 7/2554 เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554 และจัดให้ คณะกรรมการได้ประชุมกันเองโดยไม่มีประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายจัดการอยู่ร่วมในที่ประชุม ในการประชุม ครั้งที่ 8/2554 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 เพื่อพิจารณาผลการดำ�เนินงานและงบประมาณประจำ�ปี ปี 2554 บริษทั ฯ จัดให้มกี ารประชุมคณะกรรมการ 8 ครัง้ คณะกรรมการตรวจสอบ 4 ครัง้ คณะกรรมการการเงินและบริหาร ความเสี่ยง 6 ครั้ง (เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการลงทุน) คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล 2 ครั้ง คณะกรรมการพัฒนา ผู้บริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน 2 ครั้ง ทุกครั้งมีการจดบันทึกรายงานการประชุมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และ เก็บไว้ ณ สำ�นักงานเลขานุการ และบน Data Server ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก รายละเอียด การเข้าประชุมของกรรมการ ปี 2554 ตามตารางดังต่อไปนี้ นโยบายบรรษัทภิบาล

57


นโยบายบรรษัทภิบาล 58

90%

5/5

1/1 7/8

7/8 7/8 8/8 7/8 6/8 6/8 8/8 8/8 6/8 8/8 6/7

92%

-

-

4/4 4/4 3/4 -

86%

-

6/6

4/6 6/6 5/6 5/6 5/6 -

100%

-

-

2/2 2/2 2/2 -

100%

-

-

2/2 1/1 2/2 2/2 -

คณะกรรมการ คณะกรรมการ ลงทุน คณะกรรมการ พัฒนา คณะกรรมการ คณะกรรมการ (คณะกรรมการ สรรหาและ ผูบ้ ริหารระดับสูง ตรวจสอบ การเงินและ บรรษัทภิบาล และกำ�หนด บริหารความเสีย่ ง) ค่าตอบแทน

จำ�นวนครั้งที่เข้าร่วมประชุม/จำ�นวนครั้งที่จัดให้มีการประชุม

* เสนอให้กลับเข้าดำ�รงตำ�แหน่งอีกวาระหนึ่งต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำ�ปี 2555 ในวันที่ 24 เมษายน 2555 ** นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ลาออกจากตำ�แหน่งกรรมการ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 และคณะกรรมการมีมติแต่งตั้งนายกวิน ว่องกุศลกิจ เป็นกรรมการแทนตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2554

สัดส่วนการเข้าประชุมเฉลี่ยต่อคณะ

เม.ย. 2554 - 2557

กรรมการผู้จัดการใหญ่

14. นางกมลวรรณ วิปุลากร

เม.ย. 2552 - 2555* เม.ย. 2552 - 2555* เม.ย. 2552 - 2555* เม.ย. 2552 - 2555* เม.ย. 2553 - 2556 เม.ย. 2554 - 2557 เม.ย. 2554 - 2557 เม.ย. 2553 - 2556 เม.ย. 2553 - 2556 เม.ย. 2554 - 2557 เม.ย. 2553 - 2556

กรรมการ ธ.ค. 2554 - เม.ย. 2556 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เม.ย. 2554 - 2557

ประธานกรรมการ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการอิสระ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ กรรมการ

1. นายประกิต ประทีปะเสน 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม 3. รศ.มานพ พงศทัต 4. นายเดช บุลสุข 5. นายบรรยง พงษ์พานิช 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร 7. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ 8. นายสุพล วัธนเวคิน 9. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ 10. นางพนิดา เทพกาญจนา 11. นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย**

1 2. นายกวิน ว่องกุศลกิจ** 13. นายกษมา บุณยคุปต์

ตำ�แหน่ง

รายชื่อกรรมการ

วาระการดำ�รง ตำ�แหน่ง

ตารางแสดงการเข้าประชุมของกรรมการ ประจำ�ปี 2554


SUCCESS WITH INTEGRITY

6. การประเมินผลงานคณะกรรมการ บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินผลงานคณะกรรมการทุกปี โดยกรรมการทุกคนเป็นผู้ประเมินผลการทำ�งานของตนเอง และคณะกรรมการทั้งคณะโดยอิสระ และส่งตรงให้เลขานุการคณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล เพื่อทำ�การประเมินผล และนำ�ผลการประเมินเสนอต่อทีป่ ระชุมคณะกรรมการ เพือ่ นำ�มาปรับปรุงพัฒนากระบวนการตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย และสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย การประเมินผลประจำ�ปี 2554 ความเห็นของคณะกรรมการร้อยละ 82 เห็นด้วยกับโครงสร้างและองค์ประกอบของกรรมการ ว่ามีความเหมาะสม มีกรรมการอิสระทีเ่ พียงพอทำ�ให้มกี ารถ่วงดุลอำ�นาจแบบสมดุล ร้อยละ 84 เห็นว่ากรรมการเข้าใจบทบาท หน้าที่ของตน มีความอิสระในการตัดสินใจโดยไม่ถูกครอบงำ�โดยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ร้อยละ 84 เห็นว่าจำ�นวนครั้งของ การประชุมมีความเหมาะสม และเอกสารที่ได้รับล่วงหน้าเพียงพอต่อการตัดสินใจ กรรมการได้ศึกษาข้อมูลก่อนการประชุม และสามารถเข้าร่วมประชุมได้อย่างสม่ำ�เสมอ ร้อยละ 82 เห็นว่ากรรมการทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความรับผิดชอบ ในการดูแลการบริหารกิจการให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้ถือหุ้น ร้อยละ 81 เห็นว่ากรรมการมีความสัมพันธ์ที่ดี กับฝ่ายจัดการ และสามารถหารือกับประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและกรรมการผูจ้ ดั การใหญ่ได้อย่างตรงไปตรงมา และร้อยละ 79 เห็นว่ากรรมการมีการพัฒนาตนเองและพัฒนาผู้บริหารอย่างเหมาะสม ทำ�ให้มีความเข้าใจในธุรกิจอย่างเพียงพอ สรุปได้ ตามแผนภาพดังต่อไปนี้

82%

84%

84%

82%

81%

โครงสราง/คุณสมบัติ ของคณะกรรมการ

บทบาท หนาที่ของกรรมการ

การประชุม คณะกรรมการ

การทำหนาที่ ของกรรมการ

ความสัมพันธ กับฝายจัดการ

79%

การพัฒนาตนเอง และการพัฒนาผูบริหาร

นโยบายบรรษัทภิบาล

59


7. การสรรหากรรมการ และผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล มีหน้าที่ในการกำ �หนดนโยบายและกระบวนการ สรรหากรรมการทีช่ ดั เจน ประกอบด้วยกระบวนการในการตรวจสอบคุณสมบัตเิ บือ้ งต้นของผูท้ ถี่ กู เสนอชือ่ เพือ่ ให้แน่ใจว่าเป็นไป ตามคุณสมบัตขิ องกรรมการ และถูกต้องตามกระบวนการคัดเลือก เพือ่ ติดต่อทาบทามให้เข้าดำ�รงตำ�แหน่ง และเสนอขอแต่งตัง้ จากคณะกรรมการ และ/หรือพิจารณารับรองคุณสมบัติของกรรมการที่พ้นจากตำ�แหน่งตามวาระให้กลับเข้าดำ�รงตำ�แหน่ง อีกวาระหนึง่ จากทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ โดยจะนำ�ข้อสรุปจากการประเมินผลงานของกรรมการในขณะทีด่ �ำ รงตำ�แหน่งเป็นรายบุคคล มาประกอบการพิจารณา อนึ่ง ในการพิจารณาสรรหากรรมการและผู้บริหารระดับสูง เป็นไปโดยอิสระ ไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้หนึ่งผู้ใด และฝ่ายจัดการโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ/หรือกรรมการผู้จัดการใหญ่ จะจัดให้มีประชุมเพื่อปฐมนิเทศกรรมการ หรือ ผูบ้ ริหารระดับสูง โดยการบรรยายสรุป (Briefing) ใช้เวลาประมาณ 2 ชัว่ โมง เพือ่ ให้กรรมการ หรือผูบ้ ริหารระดับสูงเข้าใจธุรกิจ และการปฏิบัติหน้าที่ แนวทางในการดำ�เนินธุรกิจ และแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน มีหน้าที่สรรหาและจัดทำ� แผนสืบทอดงาน หรือแผนสืบทอดตำ�แหน่งผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ตำ�แหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และตำ�แหน่งกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ เพื่อให้การทำ�หน้าที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ป้องกันไม่ให้การดำ�เนินธุรกิจของบริษัทฯ หยุดชะงัก 8. ค่าตอบแทนของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน คณะกรรมการมอบหมายให้คณะกรรมการชุดย่อย ทำ�หน้าที่ในการกำ�หนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ดังนี้ คณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล ทำ�หน้าที่ในการกำ�หนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ โดยมีการ พิจารณาทบทวนความสมเหตุสมผลของการจ่ายค่าตอบแทน ตามขอบเขตอำ�นาจหน้าที่ความรับผิดชอบ สถานะทางการเงิน และผลการดำ�เนินงานของบริษัทฯ เปรียบเทียบกับบริษัทในกลุ่มธุรกิจ และระดับรายได้ที่ใกล้เคียงกันทุกปี โดยกำ�หนดให้มี การจ่ายค่าตอบแทน 2 รูปแบบ คือ ค่าเบี้ยประชุม และโบนัส อย่างไรก็ตาม กรรมการที่ได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการ ในคณะกรรมการชุดย่อย จะได้รบั ค่าตอบแทนเพิม่ ตามความรับผิดชอบทีเ่ พิม่ ขึน้ และเสนอขออนุมตั จิ ากทีป่ ระชุมผูถ้ อื หุน้ สามัญ เป็นประจำ�ทุกปี คณะกรรมการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและกำ�หนดค่าตอบแทน ทำ�หน้าที่ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ตามเป้าหมายที่กำ�หนดไว้ 4 ด้าน คือ ด้านการเงิน ด้านความพึงพอใจของลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาองค์กร เพือ่ ประกอบในการพิจารณากำ�หนดโครงสร้าง ค่าตอบแทนและค่าตอบแทนประจำ�ปี และร่วมกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำ�หนดนโยบาย ในการจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้บริหารและพนักงานตามสายงาน ประธานเจ้ า หน้ า ที่ บ ริ ห ารและกรรมการผู้ จั ด การใหญ่ พิ จ ารณาจ่ า ยค่ า ตอบแทนผู้ บ ริ ห ารตามนโยบายที่ กำ � หนด โดยผ่านกระบวนการการประเมินผล 2 ส่วน คือ 1) การประเมินผลงานตามยุทธศาสตร์ (BSC - Balance Score Card) เป็นการพิจารณาตามความสำ�คัญของยุทธศาสตร์ของสายงานต่อยุทธศาสตร์ขององค์กร ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเชื่อมโยง ของยุทธศาสตร์จากระดับองค์กรลงสูร่ ะดับต่าง ๆ 3 ระดับ ได้แก่ ยุทธศาสตร์องค์กร ยุทธศาสตร์สายงาน และยุทธศาสตร์ฝา่ ยงาน และ 2) การประเมินผลงานเชิงทักษะและเชิงพฤติกรรม (CSB - Competency Skill Behavior) ที่สนับสนุนวัฒนธรรมองค์กร

นโยบายบรรษัทภิบาล 60


SUCCESS WITH INTEGRITY

การประเมินเป็นรายบุคคลโดยผูบ้ งั คับบัญชาโดยตรง ซึง่ จะมีหวั ข้อการประเมินบางส่วนตามนโยบายของบริษทั ฯ และบางส่วน แตกต่างกันตามที่ผู้บังคับบัญชาระดับสายงานเป็นผู้กำ�หนด และเพื่อให้การประเมินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีข้อมูล ประกอบจากผูร้ ว่ มงานในระดับต่าง ๆ การประเมินจึงทำ�ในลักษณะ 360 องศา โดยให้ผูบ้ งั คับบัญชาประเมินผูใ้ ต้บงั คับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินผู้บังคับบัญชา และให้มีการประเมินตนเองทุกระดับ ผลการประเมินทั้ง 2 ส่วน นำ�มาเป็นเครื่องมือ ในการกระจายผลตอบแทนรวมขององค์กรสู่ระดับสายงาน ฝ่าย และส่วนงาน อนึ่ง ปี 2554 บริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง เป็นจำ�นวนเงินรวม 36,547,295.45 บาท ประกอบด้วย 1. ค่าตอบแทนกรรมการ เป็นเงิน 4,461,250.00 บาท รายละเอียดการจ่ายค่าตอบแทนรายบุคคลแสดงไว้ตามตาราง แสดงค่าตอบแทนของคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อย 2. ค่าตอบแทนกรรมการบริษัทย่อย เป็นเงิน 1,575,000.00 บาท 3. ค่าจ้างของผู้บริหาร 9 คน ที่จ่ายจากบริษัทฯ และบริษัทย่อย เป็นเงิน 29,490,519.53 บาท 4. เงินกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพของผู้บริหาร 9 คน เป็นเงิน 1,020,525.92 บาท

นโยบายบรรษัทภิบาล

61


ค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย 62

160,000

3,100,000

240,000

-

-

100,000 80,000 60,000 180,000 240,000 180,000 180,000 180,000

ไม่มีค่าตอบแทน ในฐานะผู้บริหาร ไม่มีค่าตอบแทน ในฐานะผู้บริหาร 960,000

-

75,000

-

-

22,500 22,500 -

-

-

86,250

-

-

-

-

22,500 11,250 22,500 30,000

340,000 320,000 300,000 442,500 251,250 502,500 450,000 442,500 442,500 220,000

4,461,250

160,000

20,000 240,000

คณะกรรมการ ค่าตอบแทน พัฒนา ที่เป็น ผู้บริหารระดับสูง ตัวเงินรวม และกำ�หนด ค่าตอบแทน 330,000 -

หมายเหตุ: * นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ลาออกจากตำ�แหน่งกรรมการ ตัง้ แต่วนั ที่ 29 พฤศจิกายน 2554 และคณะกรรมการมีมติแต่งตัง้ นายกวิน ว่องกุศลกิจ เป็นกรรมการแทนตัง้ แต่วนั ที่ 1 ธันวาคม 2554

14. นางกมลวรรณ วิปุลากร

1 2. นายกวิน ว่องกุศลกิจ* 13. นายกษมา บุณยคุปต์

20,000 240,000

240,000 240,000 240,000 240,000 240,000 240,000 240,000 240,000 240,000 220,000

กรรมการ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ รวม

300,000

คณะกรรมการ

ตำ�แหน่ง

ประธานกรรมการ/ กรรมการอิสระ 2. นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ 3. รศ.มานพ พงศทัต กรรมการอิสระ 4. นายเดช บุลสุข กรรมการอิสระ 5. นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการอิสระ 6. นายเอกสิทธิ์ โชติกเสถียร กรรมการอิสระ 7. นายวิฑูรย์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 8. นายสุพล วัธนเวคิน กรรมการ 9. นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ 10. นางพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ 11. นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย* กรรมการ

1. นายประกิต ประทีปะเสน

รายชื่อกรรมการ

ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน คณะกรรมการ ลงทุน คณะกรรมการ คณะกรรมการ (คณะกรรมการ สรรหาและ ตรวจสอบ การเงินและ บรรษัทภิบาล บริหารความเสี่ยง) 30,000

ตารางค่าตอบแทนของคณะกรรมการ และคณะกรรมการชุดย่อย ปี 2554

ค่าตอบแทนของคณะกรรมการและคณะกรรมการชุดย่อย

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)


ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

SUCCESS WITH INTEGRITY

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

9. ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Corporate Social Responsibility “CSR”) คณะกรรมการกำ�หนดยุทธศาสตร์ในการดำ � เนิ นธุ ร กิ จ ไว้ หลายประการ “CSR” หรื อความรั บผิ ดชอบของบริษัท ฯ ต่อผูม้ สี ว่ นได้เสีย ได้แก่ ผูถ้ อื หุน้ พนักงาน ครอบครัวพนักงาน ลูกค้า เจ้าหนี้ คูค่ า้ คูแ่ ข่งขัน รัฐ ชุมชน สังคม และสิง่ แวดล้อม นับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของบริษัทฯ เพื่อให้บริษัทฯ ดำ�เนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ที่ถูกต้องตรงกัน จึงได้กำ�หนดแนวทางในการปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ดังต่อไปนี้ ความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อผู้ถือหุ้น (Duties and responsibilities of the board to shareholder) คณะกรรมการคำ�นึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นโดยไม่จำ�กัดเฉพาะสิทธิขั้นพื้นฐานที่กฎหมายได้กำ�หนดไว้ ได้แก่ การซื้อขาย หรือโอนหุน้ การมีสว่ นแบ่งในกำ�ไร การได้รบั ข่าวสารข้อมูลของบริษทั ฯ อย่างเพียงพอ การเข้าร่วมประชุมเพือ่ ใช้สทิ ธิออกเสียง ในที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการ แต่งตั้งผู้สอบบัญชี และเรื่องสำ�คัญที่มีผลกระทบต่อบริษัทฯ เช่น การจัดสรรกำ�ไร การกำ�หนดหรือการแก้ไขข้อบังคับ และหนังสือบริคณห์สนธิ การลดทุนหรือเพิ่มทุน และการอนุมัติรายการ พิเศษ ทัง้ นี้ คณะกรรมการได้ก�ำ กับดูแลให้มกี ารให้ขอ้ มูล วัน เวลา สถานที่ และวาระการประชุม ตลอดจนเอกสารข้อมูลทัง้ หมด ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องตัดสินใจในที่ประชุมแก่ผู้ถือหุ้น และแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการประชุม รวมถึง ขัน้ ตอนการออกเสียงลงมติทไี่ ม่ยงุ่ ยาก สถานทีใ่ นการจัดประชุมสะดวก และไม่เสียค่าใช้จา่ ยมากนักในการเดินทางมาร่วมประชุม คณะกรรมการเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอวาระการประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำ�ปีล่วงหน้าก่อนวันประชุมผู้ถือหุ้น โดยกำ�หนดเกณฑ์ท่ีชัดเจน เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่ออำ�นวยความสะดวกให้แก่ผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นสามารถส่ง เอกสารเพื่อเสนอวาระการประชุมได้ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี ทั้งนี้ คณะกรรมการสนับสนุนให้ผู้ถือหุ้นใช้หนังสือ มอบฉันทะแบบ ข ซึง่ จะทำ�ให้ผูถ้ อื หุน้ สามารถกำ�หนดทิศทางการลงคะแนนเสียง โดยมีชือ่ และข้อมูลของกรรมการอิสระ 6 คน เพือ่ เป็นทางเลือกในการมอบฉันทะของผูถ้ อื หุน้ และกำ�หนดให้มกี ารเผยแพร่ขอ้ มูลไว้ทางเว็บไซต์ของบริษทั ฯ เป็นการล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันประชุม และจัดส่งเอกสารให้ทันเวลาเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นได้มีเวลาศึกษาข้อมูลประกอบ การประชุมล่วงหน้าอย่างเพียงพอ ระหว่างการประชุม บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญในทุกขั้นตอนการนำ�เสนอ ไม่มีการรวม เพิ่ม หรือสลับวาระแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระแต่งตั้งกรรมการ บริษัทฯ เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเลือกกรรมการภายใต้ข้อมูลที่เพียงพอ เป็นรายบุคคล และเก็บบัตรลงคะแนนไว้เป็นหลักฐานครบทุกคะแนนเสียง ทั้งเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง ในการประชุมผูถ้ อื หุน้ ทุกครัง้ ประธานกรรมการ ประธานคณะกรรมการชุดย่อย กรรมการ ประธานเจ้าหน้าทีบ่ ริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน เข้าร่วมประชุมครบทุกคน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นแสดงความเห็นและ สามารถซักถามต่อที่ประชุมในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2550–2554) กรรมการทุกท่านเข้าร่วม ประชุมครบทัง้ คณะ เพือ่ เปิดโอกาสให้ผูถ้ อื หุน้ มีเวลาได้ซกั ถามอย่างเพียงพอ เหมาะสม แต่ไม่ได้ท�ำ ให้ระยะเวลาในการประชุม นานเกินไป มีการบันทึกประเด็นคำ�ถามคำ�ตอบ มติของที่ประชุม และคะแนนเสียงที่ได้รับแต่ละวาระเป็นลายลักษณ์อักษร ไว้ในรายงานการประชุม และเผยแพร่รายงานการประชุม ภายใน 14 วันนับจากวันประชุมผู้ถือหุ้น พร้อมวีดีทัศน์บรรยากาศ ในการประชุมผ่านเว็บไซต์ของบริษัทฯ นอกเหนือจากความรับผิดชอบของคณะกรรมการต่อผู้ถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นแล้ว คณะกรรมการได้กำ�หนดนโยบาย ความรับผิดชอบระดับบริษัทที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย (Corporate Social Responsibility) ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งรวมถึงความรับผิดชอบที่มีต่อผู้ถือหุ้นด้วย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

63


ความรับผิดชอบของบริษัทฯ ต่อผู้ถือหุ้น (Responsibilities to Shareholders) 1. บริหารจัดการบริษทั ฯ ให้เป็นสถาบันทีม่ คี ณ ุ ภาพ ยึดมัน่ ในความถูกต้อง สร้างความเข้มแข็ง และความเจริญเติบโตทีย่ ง่ั ยืน ให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว 2. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสามารถและความระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชน ผู้ประกอบธุรกิจพึงกระทำ�ภายใต้สถานการณ์ อย่างเดียวกัน 3. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อย และเพื่อผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง โดยรวม 4. จัดการดูแลไม่ให้ทรัพย์สินของบริษัทฯ ต้องสูญค่าหรือสูญเสียไปโดยไม่เกิดประโยชน์ 5. รายงานสถานะและผลการดำ�เนินงานของบริษัทฯ อย่างถูกต้องสม่ำ�เสมอ ครบถ้วนตามความเป็นจริง 6. ไม่เปิดเผยสารสนเทศที่เป็นความลับของบริษัทฯ ต่อผู้อื่นโดยมิชอบ 7. ไม่ดำ�เนินการใด ๆ ในลักษณะซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยมิได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบ 8. เคารพสิทธิ และความเท่าเทียมกันของผูถ้ อื หุน้ ทุกราย ทัง้ ผูถ้ อื หุน้ ทีเ่ ป็นผูบ้ ริหารและผูถ้ อื หุน้ ทีไ่ ม่เป็นผูบ้ ริหาร รวมทัง้ ผู้ถือหุ้นต่างชาติ ให้ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ความรับผิดชอบของบริษัทฯ ต่อผู้ลงทุนสัมพันธ์ (Responsibilities to Investor Relation) บริษัทฯ แต่งตั้งหน่วยงานดูแลผู้ลงทุนสัมพันธ์ (Investor Relations) เพื่อทำ �หน้าที่รวบรวมข้อมูลที่สำ�คัญของบริษัทฯ ไว้อย่างครบถ้วนและเพียงพอทีผ่ ูล้ งทุนรายย่อย/สถาบัน ผูถ้ อื หุน้ นักวิเคราะห์ และภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้องสามารถติดต่อได้โดยตรง ณ สำ�นักงานที่ทำ�การของบริษัทฯ หรือค้นหารายละเอียดและข่าวสารได้ทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ผ่าน IR@TheErawan.com บริษัทฯ ทำ�แบบสอบถามเพื่อสำ�รวจความพึงพอใจต่อข้อมูลที่ได้รับ (IR Survey) เป็นประจำ�ทุกปีตั้งแต่ปี 2549 และ ในปี 2554 บริษทั ฯ ได้ท�ำ การสำ�รวจจากนักวิเคราะห์ทเี่ ข้าร่วมประชุมกับบริษทั ฯ ไม่นอ้ ยกว่า 2 ครัง้ ในรอบปี โดยส่งแบบสอบถาม อิเลคทรอนิกส์ให้นักวิเคราะห์ในเดือนพฤศจิกายน 2554 หลังการประชุมนักวิเคราะห์ประจำ�ไตรมาส 4 ทำ�ให้เชื่อได้ว่า ผูต้ อบแบบสอบถามทุกคนอยูใ่ นกลุม่ เป้าหมายทีต่ อ้ งการ มากกว่าร้อยละ 50 ของผูต้ อบแบบสอบถามได้ตดิ ตามข้อมูลของบริษทั ฯ มาไม่น้อยกว่า 3 ปี และร้อยละ 85.11 มีความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ และพึงพอใจต่อรูปแบบในการนำ�เสนอ ความรับผิดชอบของบริษัทฯ ต่อสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสีย (Responsibility of the right to access information of stakeholders) บริษทั ฯ ให้สทิ ธิการเข้าถึงข้อมูลของผูม้ สี ว่ นได้เสียทุกฝ่าย กำ�หนดแนวทาง และข้อควรปฏิบตั สิ �ำ หรับผูบ้ ริหารและพนักงาน เมื่ อ ต้ อ งติ ด ต่ อ สั ม พั น ธ์ กั บ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย อย่ า งเท่ า เที ย ม เป็ น ธรรม และเปิ ด โอกาสให้ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย สามารถติ ด ต่ อ กั บ คณะกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการสรรหาและบรรษัทภิบาล เพื่อให้ข้อแนะนำ�ที่เป็นประโยชน์ต่อการ บริหารจัดการ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ โดยตรงที่สำ�นักงานที่ทำ�การของบริษัทฯ เลขที่ 2 อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ชั้น 6 ถนนสุขุมวิท คลองเตย กรุงเทพฯ หรือติดต่อที่สำ�นักบรรษัทภิบาล GCG@TheErawan.com ข้อมูลที่ได้รับถือเป็น ความลับส่งตรงให้กับคณะกรรมการ

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย 64


SUCCESS WITH INTEGRITY

ความรับผิดชอบของบริษัทฯ ต่อพนักงาน (Responsibilities to Employees) 1. กำ�หนดโครงสร้างผลตอบแทนทีเ่ หมาะสมสอดคล้องกับอัตราตลาด ตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การงาน และพฤติกรรม ผ่านกระบวนการประเมินยุทธศาสตร์ 3 ระดับ ได้แก่ ยุทธศาสตร์องค์กร ยุทธศาสตร์สายงาน และยุทธศาสตร์ฝา่ ยงาน และการประเมินผลงานเชิงทักษะและเชิงพฤติกรรม (CSB - Competency Skill Behavior) ในลักษณะ 360 องศา โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินผู้บังคับบัญชาและ การประเมินตนเองทุกระดับ 2. ปรับปรุงและจัดหาสวัสดิการทีด่ ี และประโยชน์อืน่ ทีเ่ หมาะสม เช่น การประกันอุบตั เิ หตุสำ�หรับพนักงานและผูบ้ ริหาร ทีเ่ ดินทางไปปฏิบตั งิ านนอกสถานที่ การทำ�ประกันสุขภาพ การให้วงเงินค่ารักษาพยาบาลคนไข้นอก การตรวจสุขภาพ ประจำ�ปี การจัดให้มีเครื่องดื่มบริการพนักงาน เป็นต้น 3. สร้างความเข้าใจในเป้าหมาย บทบาท และความรับผิดชอบ ให้โอกาสเจริญก้าวหน้าตามเหตุผล สร้างการยอมรับ และรับรู้ในผลงานที่ทำ� 4. การให้รางวัลและการลงโทษต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง และกระทำ�ด้วยความสุจริต 5. ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำ�งานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิต สุขภาพอนามัย ทรัพย์สิน และเอื้อประโยชน์ ในการทำ�งาน 6. มีระบบการทำ�งานทีช่ ดั เจนมีประสิทธิภาพ ให้โอกาสได้ใช้ความรูค้ วามสามารถ และสนับสนุนให้มกี ารเรียนรูเ้ พือ่ พัฒนา ความสามารถ ให้โอกาสและให้ความสำ�คัญกับการมีส่วนร่วมของพนักงาน 7. เผยแพร่ข้อพึงปฏิบัติทางจริยธรรมแก่พนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างทั่วถึง 8. ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานและสวัสดิภาพของพนักงาน 9. หลีกเลี่ยงการกระทำ�ใด ๆ ที่ไม่เป็นธรรมและไม่ถูกต้อง ซึ่งมีผลกระทบต่อความก้าวหน้าและมั่นคงในอาชีพ และ ให้ความเคารพต่อสิทธิส่วนบุคคล ความรับผิดชอบของบริษัทฯ ต่อลูกค้า (Responsibilities to Customers) 1. กำ�หนดนโยบายการตั้งราคาที่ยุติธรรม และเหมาะสม 2. การพิจารณาเงื่อนไขทางการค้า การเจรจาทางธุรกิจ ไม่มีรายการใดเป็นพิเศษ โดยยึดหลักเสมือนกับการทำ�รายการ กับบุคคลภายนอก (Arm’s Length Basis) ทุกรายการ 3. จัดหา และปรับปรุงระบบการให้บริการที่เหมาะสม และเป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้า 4. จัดทำ�สัญญาที่เป็นธรรมกับลูกค้า (ไม่ทำ�ให้ลูกค้าเสียประโยชน์ หรือมีข้อเสียเปรียบในทางการค้า) 5. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และไม่บิดเบือน ข้อเท็จจริง 6. รักษาสารสนเทศทีเ่ ป็นความลับของลูกค้าเสมือนหนึง่ สารสนเทศของบริษทั ฯ และไม่น�ำ ไปใช้เพือ่ ประโยชน์ของตนเอง และพวกพ้อง 7. ไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ให้ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่สุจริตกับลูกค้า

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย

65


ความรับผิดชอบของบริษัทฯ ต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ (Responsibilities to Suppliers and Creditors) 1. เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม โดยกำ�หนดวิธีการจัดซื้อ ว่าจ้างทำ�ของ และบริการที่เหมาะสม เน้นความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วิธีตกลงราคา วิธีสอบราคา วิธีประมูลงาน วิธีพิเศษ และวิธีจัดซื้อจาก ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ และมีการออกแบบสอบถามความเห็นต่อการเข้าร่วมประมูลงาน เพื่อปรับปรุงกระบวน การจัดซื้อ ว่าจ้างทำ�ของ และบริการอยู่เสมอ 2. ไม่เจาะจงผลิตภัณฑ์ หรือพยายามเลือกสรรคุณลักษณะที่ไม่โน้มเอียงไปทางผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่างจงใจ นอกจากจะมีเหตุผลสนับสนุนความจำ�เป็นอย่างเพียงพอ กรณีทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงผลิตภัณฑ์ หรือคุณลักษณะเฉพาะ ของตัวผลิตภัณฑ์ จะต้องบอกกล่าวให้ผู้ค้าทราบ และหากจำ�เป็นต้องให้เสนอราคาใหม่ ผู้เสนอราคารายเดิมจะต้อง ได้รับโอกาสในการเสนอราคาอย่างเท่าเทียมกัน 3. ต้องเลือกสรรผู้เสนอราคาที่ดี และสนใจต่อการเสนอราคาอย่างแท้จริง ไม่เชิญผู้เสนอราคาเพียงเพื่อให้ครบจำ�นวน ตามระเบียบ และผู้เสนอราคาทุกรายต้องได้รับรายละเอียด ข้อมูล และเงื่อนไขอย่างเดียวกันเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีมีการบอกกล่าวด้วยวาจาจะต้องมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง 4. ผูบ้ ริหารหรือพนักงานทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับการจัดซือ้ ว่าจ้างทำ�ของ และบริการ ต้องเปิดเผยข้อมูล และ/หรือลักษณะ ความสัมพันธ์สว่ นบุคคลของตนเอง คูส่ มรส ญาติสนิท หรือมีความสัมพันธ์สว่ นบุคคลกับผูเ้ สนอราคารายใดรายหนึง่ ทีส่ ง่ ผลให้เกิดความไม่โปร่งใสในการปฏิบตั หิ น้าทีโ่ ดยตรง และให้แสดงความรับผิดชอบโดยการไม่อยูร่ ว่ มในกระบวนการ พิจารณาตัดสินชี้ขาด 5. ไม่เรียก ไม่รับของขวัญ ของกำ�นัล การรับเลี้ยง ยกเว้นในโอกาสอันควรตามธรรมเนียมปฏิบัติ และละเว้นการให้ ความชอบพอเป็นพิเศษจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นคิดว่าน่าจะเกิดความไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะการทำ�ให้ผู้ค้ารายอื่นเกิด ความเข้าใจผิด และไม่ต้องการร่วมเสนอราคา และอาจนำ�ไปบอกกล่าวจนทำ�ให้บริษัทฯ เสียภาพพจน์ 6. จัดทำ�สัญญาที่เป็นธรรม และปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีต่อคู่ค้าและเจ้าหนี้ กรณีที่คาดว่าจะไม่สามารถปฏิบัติได้ ต้องรีบเจรจากับคู่ค้า/เจ้าหนี้โดยเร็ว เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย 7. ละเว้นการกระทำ�ใด ๆ ที่ช่วยให้คู่ค้าไม่ต้องเสียภาษีที่พึงจะเสียให้กับรัฐ 8. เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมา ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และไม่บิดเบือน ข้อเท็จจริง ความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม (Responsibilities to Social and Environment) บริษัทฯ กำ�หนดนโยบายที่เกี่ยวกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และมีแผนจัดทำ�โครงการ “ดิ เอราวัณ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม” โดยคณะกรรมการอนุมัติให้จัดสรรเงินงบประมาณประมาณร้อยละ 0.5 ของกำ�ไรสุทธิของทุกปี โดยประมาณ เพือ่ ตอบแทนสังคม ชุมชน และสิง่ แวดล้อม โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ประมาณร้อยละ 50 ของงบประมาณทีไ่ ด้รบั ใช้เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงกับทรัพย์สินบริษัทฯ และประมาณร้อยละ 50 ของงบประมาณ ที่ได้รับ ใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมทั่วไปอย่างต่อเนื่อง

ความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย 66


การควบคุมภายใน

SUCCESS WITH INTEGRITY

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

ปี 2554 คณะกรรมการมีการประชุม 8 ครั้ง โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบเข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง เพื่อให้ความเห็น เกี่ยวกับความเพียงพอและความเหมาะสมของระบบควบคุมภายใน ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบได้ชี้แจงและรายงาน สรุปผลการตรวจสอบภายในสำ�หรับปี 2554 ให้คณะกรรมการทราบเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ตามที่ได้แสดงไว้ใน รายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบต่อผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการมีความเห็นต่อระบบการควบคุมภายในเช่นเดียวกับ คณะกรรมการตรวจสอบ สรุปสาระสำ�คัญได้ดังนี้

1. ระบบควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่โดยตรงในการกำ�กับดูแลระบบการควบคุมภายในที่ดี ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านบัญชี การเงิน การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยกำ�หนดกลไกในการตรวจสอบที่ถ่วงดุลกันอย่างมี ประสิทธิภาพ มีสายงานตรวจสอบภายในทำ�หน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานของทุกสายงานตามแผนตรวจสอบที่พิจารณา ความเสี่ยงเป็นสำ�คัญ รวมทั้งให้คำ�ปรึกษาเกี่ยวกับการวางระบบการควบคุมภายในที่ดี ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ในการพิจารณาแผนงานตรวจสอบ ควบคุม กำ�กับดูแลความเป็นอิสระของ สายงานตรวจสอบภายใน เห็นชอบการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าสายงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนดูแลให้สายงาน ตรวจสอบภายในมีความเป็นอิสระ สามารถทำ�หน้าที่ตรวจสอบและถ่วงดุลได้ตามมาตรฐานที่กำ�หนด และให้รายงานตรง ต่อคณะกรรมการตรวจสอบไม่นอ้ ยกว่าไตรมาสละ 1 ครัง้ เพือ่ ให้มัน่ ใจได้วา่ ระบบการควบคุมภายในและงานตรวจสอบภายใน ของบริษัทฯ เป็นไปโดยรัดกุม ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้น

2. การปกป้องการใช้ข้อมูลภายใน บริษัทฯ ให้ความสำ�คัญในการใช้ข้อมูลภายใน และเพื่อเป็นการปกป้องกรณีที่กรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายใน เพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ (Abusive self-dealing) โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลภายในที่ยัง ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ หรือข้อมูลทีม่ ผี ลกระทบต่อแผนยุทธศาสตร์องค์กร การดำ�เนินธุรกิจ การเจรจาต่อรองทางการค้า และ ราคาหุ้น ซึ่งเป็นการเอาเปรียบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม บริษัทฯ กำ�หนดหลักบรรษัทภิบาลสำ�หรับ ผู้บริหาร (Executive Ethic Standard) ไว้เป็นข้อปฏิบัติ 10 ประการ และกำ�หนดบทลงโทษสถานหนักในกรณีที่มีการฝ่าฝืน หรือกระทำ�การใด ๆ ในลักษณะที่จงใจไม่ปฏิบัติ ไว้ในคู่มือจริยธรรมธุรกิจในหัวข้อ หลักบรรษัทภิบาลสำ�หรับผู้บริหารระดับสูง อนึ่ ง บริ ษั ท ฯ กำ � หนดระดั บ การเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ภายในสำ � หรั บ พนั ก งานระดั บ ต่ า ง ๆ ตามความเหมาะสมกั บ หน้ า ที่ ความรับผิดชอบ และได้กำ�หนดบทลงโทษไว้ในข้อบังคับการทำ�งานในหมวดวินัยและโทษทางวินัย ยกตัวอย่างเช่น วินัย เกี่ยวกับความลับและผลประโยชน์ของบริษัทฯ ข้อ 3.2 ที่ว่า “ไม่แสวงหาผลประโยชน์อันมิควรได้จากบริษัทฯ หรือบุคคลอื่น ที่มีความสัมพันธ์กับบริษัทฯ ห้ามประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือรับทำ�งานให้ผู้อื่นในธุรกิจที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับบริษัทฯ แม้ว่างานนั้น ๆ จะทำ�นอกเวลาของบริษัทฯ ก็ตาม” การให้ความเป็นธรรมในการพิจารณาโทษทางวินัยและการลงโทษ บริษัทฯ แต่งตั้งคณะกรรมการวินัยให้ดำ�เนินการสอบสวน และให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานที่ถูกกล่าวโทษ

การควบคุมภายใน

67


3. ความเกี่ยวโยงกันในลักษณะความสัมพันธ์หรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษทั ฯ กำ�หนดวิธปี ฏิบตั กิ ารทำ�รายการระหว่างกันกับบุคคลทีอ่ าจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ต้องผ่านการสอบทาน จากคณะกรรมการตรวจสอบหรือคณะกรรมการ ตามเกณฑ์ที่กำ�หนด และให้มีการเปิดเผยรายการและมูลค่าของรายการ ที่อาจมีความขัดแย้งในปีที่ผ่านมา โดยอธิบายความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผลของรายการที่เกิดขึ้นไว้ในรายงานประจำ�ปี อย่างชัดเจน ทัง้ นี้ บริษทั ฯ กำ�หนดให้กรรมการ ผูบ้ ริหารทีม่ สี ว่ นเกีย่ วข้องกับรายการดังกล่าวเปิดเผยข้อมูล และ/หรือ ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของตนเอง คู่สมรส ญาติสนิท หรือมีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับผู้เสนอราคา รายใดรายหนึง่ ทีส่ ง่ ผลให้เกิดความไม่โปร่งใสในการปฏิบตั หิ น้าทีโ่ ดยตรง ส่งให้ส�ำ นักบรรษัทภิบาล และให้งดออกเสียง และ/หรือไม่อยู่ร่วมในกระบวนการพิจารณาตัดสินชี้ขาด การทำ�รายการที่เกี่ยวโยงกันในปีที่ผ่านมา แสดงไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และตารางแสดงการทำ�รายการ ที่เกี่ยวโยงกัน โดยทุกรายการเป็นรายการที่สมเหตุสมผล และเป็นการดำ �เนินธุรกิจปรกติ การพิจารณาทำ�รายการเป็นไป เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ ผ่านการสอบทานจากคณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือคณะกรรมการ ว่าเป็นเสมือนการทำ� รายการกับบุคคลภายนอก (Arm’s Length Basis) ตามข้อกำ�หนดของบริษัทฯ และระเบียบของสำ�นักงานคณะกรรมการ กำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และไม่ขัดกับมาตรฐานการบัญชีเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับ บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ในปี 2554 บริษทั ฯ มีการทำ�รายการอืน่ ทีก่ อ่ ให้เกิดรายได้กบั กลุม่ บริษทั ฯ ทีม่ คี วามเกีย่ วข้องกันในลักษณะความสัมพันธ์ ซึ่งถือเป็นการดำ�เนินธุรกิจปรกตินอกเหนือจากรายการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนี้ • กลุ่มบริษัทน้ำ�ตาลมิตรผล จำ�กัด รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม 4,535,370.63 บาท ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด 1,003,442.02 บาท • กลุ่มบริษัทบ้านปู จำ�กัด (มหาชน) รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม 4,005,337.84 บาท ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด 332,859.00 บาท • บริษัท แปซิฟิก เวิลด์ (ประเทศไทย) จำ�กัด รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม 4,305,437.52 บาท ลูกหนี้ ณ วันสิ้นงวด 651,500.00 บาท

การควบคุมภายใน 68


45,131,880.54 11,721,476.39 -01,209,192.21 -09,037,920.83

547,226.90 -0-0-

สัญญาเช่าพืน้ ที่ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ อายุสญ ั ญาเช่า 1 - 3 ปี มูลค่ารายการประกอบด้วย • รายได้คา่ เช่าและบริการ • ลูกหนี้ ณ วันสิน้ งวด • เจ้าหนีเ้ งินมัดจำ�การเช่า

สัญญาเช่าพืน้ ที่ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ อายุสญ ั ญาเช่า 3 ปี มูลค่ารายการประกอบด้วย • รายได้คา่ เช่าและบริการ • ลูกหนี้ ณ วันสิน้ งวด • เจ้าหนีเ้ งินมัดจำ�การเช่า

2. กลุ่มบริษัท น้ำ�ตาลมิตรผล จำ�กัด ประเภทธุรกิจ ผลิตและจำ�หน่าย น้ำ�ตาลทราย กากน้ำ�ตาล ลักษณะความสัมพันธ์ • คุณวิฑรู ย์ ว่องกุศลกิจ คุณชนินท์ ว่องกุศลกิจ กรรมการ เป็นกรรมการผู้มีอำ�นาจลงนาม และกรรมการ กลุ่มบริษัทน้ำ�ตาลมิตรผล • กลุม่ ว่องกุศลกิจ ถือหุน้ ในบริษทั ร้อยละ 39

3. บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง ประเภทธุรกิจ เงินทุน และหลักทรัพย์ ลักษณะความสัมพันธ์ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กรรมการอิสระ เป็นประธานกรรมการของ บริษัท หลักทรัพย์ บัวหลวง จำ�กัด (มหาชน)

2,153,757.60 19,350.95 497,174.40

2,468,884.44 4,301,902.18 243,106.48 448,940.39

มูลค่าของรายการ (บาท) ปี 2553 ปี 2554

สัญญาเช่าพืน้ ทีส่ �ำ นักงานและ บริการกับ บมจ. โรงแรมเอราวัณ อายุสญ ั ญาเช่า 1 ปี มูลค่ารายการ ประกอบด้วย • รายได้คา่ เช่าและบริการ • ลูกหนี้ ณ วันสิน้ งวด

ลักษณะรายการ

1. บริษัท โรงแรมชายทะเล จำ�กัด (ไฮแอท รีเจนซี่ หัวหิน) ประเภทธุรกิจ ประกอบกิจการโรงแรม ลักษณะความสัมพันธ์ • คุณพนิดา เทพกาญจนา กรรมการ เป็น ญาติสนิทกับคุณวรรณสมร วรรณเมธี และคุณหญิงณัฐิกา วัธนเวคิน กรรมการผู้มี อำ�นาจลงนาม บริษทั โรงแรมชายทะเล จำ�กัด • กลุม่ วัธนเวคิน ถือหุน้ ในบริษทั ร้อยละ 31

บุคคล/นิติบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง และลักษณะความสัมพันธ์

รายการระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกันในลักษณะความสัมพันธ์

ราคาที่ตกลงกันเป็นราคาตลาดเมื่อ เทียบกับพื้นที่เช่าบริเวณใกล้เคียง และไม่ต่ำ�กว่าผู้เช่ารายอื่น ตามเกณฑ์ มาตรฐานธุรกิจ

เป็นผู้เช่ารายใหญ่ ราคาที่ตกลงกัน ไม่ต่ำ�กว่าอัตราเฉลี่ยที่ตกลงกับผู้เช่า รายอื่น ตามเกณฑ์มาตรฐานธุรกิจ

ราคาที่ตกลงกันเป็นราคาตลาดเมื่อ เทียบกับพื้นที่ให้เช่าบริเวณใกล้เคียง และไม่ต่ำ�กว่าผู้เช่าหรือผู้รับบริการ รายอื่น ตามเกณฑ์มาตรฐานธุรกิจ

ความเห็นของ คณะกรรมการตรวจสอบ

รายการที่เกี่ยวโยงกัน SUCCESS WITH INTEGRITY

บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

รายการที่เกี่ยวโยงกัน

69


ความจำ�เป็นและความสมเหตุสมผลของรายการระหว่างกัน ในกรณีที่บริษัทฯ เข้าทำ�สัญญาใด ๆ ก็ตาม หรือมีการทำ�รายการระหว่างกันกับบริษัทย่อย บริษัทที่เกี่ยวข้อง และ/หรือ บุคคลภายนอก บริษัทฯ จะพิจารณาถึงความจำ�เป็นและความเหมาะสมในการเข้าทำ�สัญญานั้น ๆ โดยคำ�นึงถึงผลประโยชน์ ของบริษัทฯ เป็นหลัก มาตรการหรือขั้นตอนการอนุมัติการทำ�รายการระหว่างกัน ในกรณีทบี่ ริษทั ฯ เข้าทำ�สัญญาใด ๆ ก็ตาม หรือมีการทำ�รายการระหว่างกันกับบริษทั ย่อย บริษทั ทีเ่ กีย่ วข้อง บุคคลภายนอก และ/หรือบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ คณะกรรมการกำ�หนดให้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ ประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติของบริษัทจดทะเบียน ในรายการที่เกี่ยวโยงกัน และให้มีราคาและเงื่อนไขเสมือนการทำ�รายการกับบุคคลภายนอก โดยกรรมการหรือพนักงานที่มี ส่วนได้เสียในรายการนั้นจะต้องไม่มีส่วนในการพิจารณาอนุมัติ นโยบายหรือแนวโน้มการทำ�รายการระหว่างกันในอนาคต -ไม่มีหมายเหตุ ปัจจุบนั รายการที่ 2 และ 3 ไม่ถอื เป็นรายการทางการค้าทีม่ คี วามเกีย่ วโยงกันในลักษณะความสัมพันธ์ เนือ่ งจากบริษทั ฯ ยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่กับกลุ่มบริษัทน้ำ�ตาลมิตรผล และ บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง เนื่องจากบริษัทฯ ได้ทำ�การโอนขาย อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ให้กบั กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ ตัง้ แต่วนั ที่ 1 เมษายน 2554 ส่งผลให้บริษทั ฯ เปลีย่ นสถานะจากเจ้าของอาคารผูใ้ ห้เช่าพืน้ ทีม่ าเป็นผูร้ บั จ้างบริหารอาคาร ดังนัน้ กิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับธุรกิจอาคารสำ�นักงาน รวมถึงการพิจารณาให้เช่าพื้นที่อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ และการกำ�หนดราคาเป็นอำ�นาจอนุมัติของกองทุนฯ การทำ�สัญญา เช่าพื้นที่ดังกล่าวของทั้ง 2 แห่งเป็นการทำ�สัญญาเช่าพื้นที่กับกองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ

รายการที่เกี่ยวโยงกัน 70


SUCCESS WITH INTEGRITY

ขอมูลทางการเงิน และขอมูลทั่วไป

71


รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

เสนอ ผู้ถือหุ้นบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมและงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะกิจการ งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ ผู้ถือหุ้นรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นเฉพาะกิจการ และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสด เฉพาะกิจการ สำ�หรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย และ ของเฉพาะบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) ตามลำ�ดับ ซึ่งผู้บริหารของกิจการเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและ ครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ ส่วนข้าพเจ้าเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าวจาก ผลการตรวจสอบของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำ�หนดให้ข้าพเจ้าต้องวางแผนและ ปฏิบัติงาน เพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผลว่า งบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำ�คัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการ ทั้งที่เป็นจำ�นวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กิจการใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำ�คัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำ�ขึ้น ตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำ�เสนอในงบการเงินโดยรวม ข้าพเจ้าเชื่อว่าการตรวจสอบดังกล่าวให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการข้างต้นนี้ แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะ กิจการ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 ผลการดำ�เนินงานรวมและผลการดำ�เนินงานเฉพาะกิจการ และกระแสเงินสดรวม และกระแสเงินสดเฉพาะกิจการ สำ�หรับปีส้ินสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของบริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และ บริษทั ย่อย และของเฉพาะบริษทั ดิ เอราวัณ กรุป๊ จำ�กัด (มหาชน) ตามลำ�ดับ โดยถูกต้องตามทีค่ วรในสาระสำ�คัญตามมาตรฐาน การรายงานทางการเงิน ตามที่อธิบายไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2 และ 3 กิจการได้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออก และปรับปรุงใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการสำ�หรับปีสิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ได้ปรับปรุงใหม่แล้ว

บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำ�กัด กรุงเทพมหานคร 28 กุมภาพันธ์ 2555

รายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 72

วรรณาพร จงพีรเดชานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เลขทะเบียน 4098


การเปิ ด เผยข้ อ มู ล ของผู ้ ส อบบั ญ ชี บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน)

SUCCESS WITH INTEGRITY

ค่าตอบแทนแก่ผู้สอบบัญชี รอบปีบัญชี สิ้นสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2554 1) ค่าตอบแทนจากการสอบบัญชี บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำ�กัด รวม 3,855,000 บาท แบ่งเป็น • ค่าตอบแทนจากการตรวจสอบบัญชีของบริษัทฯ 2,300,000.00 บาท • ค่าตอบแทนจากการตรวจสอบบัญชีของบริษัทย่อย 1,555,000.00 บาท 2) ค่าบริการอื่น -ไม่มี-

การเปิดเผยข้อมูลของผู้สอบบัญชี

73


งบแสดงฐานะการเงิ น บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท)

หมายเหตุ สินทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เงินทดรองจ่ายค่าก่อสร้าง ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น

6 5, 7 8

5, 9

รวมสินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 10 เงินลงทุนในบริษัทย่อย 11 เงินลงทุนในบริษัทร่วม 12 เงินลงทุนในกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน 5 เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อย 13, 16 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 14 ที่ดินรอการพัฒนา 15, 16 สิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร 17 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน 16 เงินมัดจำ�การเช่าทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์ 18 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

(ปรับปรุงใหม่)

(ปรับปรุงใหม่)

450,196,331 134,393,606 52,821,584 37,644,306 39,362,933 56,894,127

220,384,384 148,046,349 72,898,210 15,023,839 50,625,364 49,537,238

140,711,404 74,702,818 9,229,593 36,525,750 19,268,382

93,907,272 79,207,822 28,045,046 13,905,283 15,882,989

771,312,887

556,515,384

280,437,947

230,948,412

338,271 338,271 2,571,029 2,486,924 9,493,559,805 10,151,618,552 104,206,832 104,236,832 1,604,762,025 1,793,652,235 60,833,747 46,482,693 204,341,948 120,625,917 75,188,645 94,059,935

2,301,159,871 338,271 1,913,031 1,393,545,475 5,711,589,259 806,148,906 29,960,745 115,328,049 33,903,134

2,299,159,881 338,271 1,975,973 1,080,774,007 6,242,901,679 963,996,368 39,744,993 202,314,317 28,655,926

รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน

11,466,552,402 12,392,751,259 10,393,886,741 10,859,861,415

รวมสินทรัพย์

12,237,865,289 12,949,266,643 10,674,324,688 11,090,809,827

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

74


SUCCESS WITH INTEGRITY

งบแสดงฐานะการเงิ น (ต่อ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท)

หมายเหตุ

งบการเงินรวม 2554 2553

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554 2553

(ปรับปรุงใหม่)

(ปรับปรุงใหม่)

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น หนี้สินหมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง เจ้าหนี้เช่าซื้อที่ถึงกำ�หนดชำ�ระ ภายในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี หนี้สินหมุนเวียนอื่น รวมหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินไม่หมุนเวียน เจ้าหนี้เช่าซื้อ เงินกู้ยืมระยะยาวจากบริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน เจ้าหนี้ค่าสิทธิการเช่าที่ดิน เงินมัดจำ�รับจากผู้เช่า รายได้รอการตัดบัญชี หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน รวมหนี้สิน

19 5, 20

76,100,000 175,335,257 81,217,056

195,700,000 211,897,440 40,952,783

76,100,000 81,730,311 60,668,752

195,700,000 90,083,357 20,235,144

19

1,718,148

819,440

1,718,148

819,440

19 21

695,250,000 415,667,650

573,750,000 347,060,195

515,250,000 170,492,635

403,750,000 151,375,348

1,445,288,111 1,370,179,858

905,959,846

861,963,289

621,197 3,458,178 621,197 3,458,178 19 38,860,995 45,438,032 5, 19 19 6,727,667,051 7,829,517,051 4,357,900,000 5,314,750,000 180,000,000 360,000,000 180,000,000 360,000,000 16 99,232,325 40,031,238 42,222,972 100,677,747 15,320,798 26,481,927 15,320,798 26,481,927 16, 22 17,543,228 43,271,996 23 7,023,102,124 8,306,136,793 4,670,852,603 5,828,785,315 8,468,390,235 9,676,316,651 5,576,812,449 6,690,748,604

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

75


งบแสดงฐานะการเงิ น (ต่อ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

หมายเหตุ

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2553 (ปรับปรุงใหม่)

2554

2553 (ปรับปรุงใหม่)

หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนของผู้ถือหุ้น ทุนเรือนหุ้น ทุนจดทะเบียน ทุนที่ออกและชำ�ระแล้ว ส่วนเกินมูลค่าหุ้นสามัญ สิทธิซื้อหุ้นที่ออกให้พนักงาน องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น กำ�ไรสะสม จัดสรรแล้ว ทุนสำ�รองตามกฎหมาย ยังไม่ได้จัดสรร

24 2,505,000,000 2,244,779,001 2,505,000,000 2,244,779,001 2,244,779,001 2,244,779,001 2,244,779,001 2,244,779,001 25 358,142,539 358,142,539 358,142,539 358,142,539 4,920,510 4,920,510 24 (405,036) (352,802) (596,603) (433,287)

25

115,108,000 866,092,809

67,658,000 79,608,000 103,158,000 449,041,861 2,386,864,991 1,729,886,719

รวมส่วนของบริษัท ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุม

3,588,609,572 3,130,974,798 5,097,512,239 4,400,061,223 180,865,482 141,975,194 -

รวมส่วนของผู้ถือหุ้น

3,769,475,054 3,272,949,992 5,097,512,239 4,400,061,223

รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น

12,237,865,289 12,949,266,643 10,674,324,688 11,090,809,827

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

76


SUCCESS WITH INTEGRITY

งบกำ �ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553

2554

(ปรับปรุงใหม่) รายได้ รายได้จากการประกอบกิจการโรงแรม รายได้จากค่าเช่าห้องในอาคาร และค่าบริการ กำ�ไรจากการขายเพลินจิต เซ็นเตอร์ กำ�ไรจากอัตราแลกเปลี่ยนสุทธิ เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับ รายได้อื่น รวมรายได้

2553 (ปรับปรุงใหม่)

3,536,263,159 2,929,914,482 1,779,980,257 1,545,898,978 219,280,684 391,333,097 178,537,866 384,011,760 - 664,330,168 664,330,168 1,232,838 3,573,512 2,568,225 18,085,498 982,813 5 39,065,891 65,880,663 411,737 6,180,234 5 35,810,011 54,760,908 38,112,615 58,609,269 5, 27 4,487,231,739 3,364,328,256 2,743,489,862 2,024,104,976 5 16

ค่าใช้จ่าย 1,700,519,759 1,488,413,277 788,462,200 705,452,776 ต้นทุนจากการประกอบกิจการโรงแรม ต้นทุนจากการให้เช่าห้องในอาคาร 66,843,864 159,636,076 89,284,570 154,922,380 5 และค่าบริการ 645,511,741 683,504,716 352,611,758 404,735,841 ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย ค่าใช้จ่ายในการขาย 28 250,743,365 214,081,725 143,427,913 118,441,023 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร 5, 29, 30 810,805,775 702,081,688 415,900,378 375,311,892 ต้นทุนทางการเงิน 5, 32 406,682,214 360,761,571 267,486,417 245,184,988 รวมค่าใช้จ่าย 3,903,547,424 3,603,765,357 2,034,732,530 2,008,762,596 กำ�ไร (ขาดทุน) ก่อนภาษีเงินได้ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กำ�ไร (ขาดทุน) สำ�หรับปี

33

583,684,315 (239,437,101) (53,469,379) (19,866,597)

708,757,332 -

15,342,380 -

530,214,936

708,757,332

15,342,380

(259,303,698)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

77


งบกำ �ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ (ต่อ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม หมายเหตุ

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553

2554

(ปรับปรุงใหม่)

2553 (ปรับปรุงใหม่)

กำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมสุทธิ ของเงินลงทุนเผื่อขาย

163,316

(405,505)

52,234

(296,893)

กำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น สำ�หรับปี - สุทธิจากภาษี

163,316

(405,505)

52,234

(296,893)

กำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสำ�หรับปี

530,378,252 (259,709,203) 708,809,566

15,045,487

ส่วนของกำ�ไร (ขาดทุน) ที่เป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุม กำ�ไร (ขาดทุน) สำ�หรับปี

491,324,648 (275,016,542) 708,757,332 38,890,288 15,712,844 530,214,936 (259,303,698) 708,757,332

15,342,380 15,342,380

ส่วนของกำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมทีเ่ ป็นของ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุม

491,487,964 (275,422,047) 708,809,566 38,890,288 15,712,844 -

15,045,487 -

กำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสำ�หรับปี

530,378,252 (259,709,203) 708,809,566

15,045,487

กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท) กำ�ไรต่อหุ้นปรับลด (บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

78

34 0.22

(0.12)

0.32

0.01

0.22

-

0.32

-


358,142,539 358,142,539

2,244,779,001 2,244,779,001

24

25

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ปรับปรุงใหม่ สิทธิซื้อหุ้นที่ออกให้พนักงาน กำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จสำ�หรับปี กำ�ไร กำ�ไรเบ็ดเสร็จอื่น โอนไปสำ�รองตามกฎหมาย

358,142,539 -

2,244,779,001 -

3

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ตามที่รายงานในปีก่อน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

-

2,244,779,001 358,142,539

35 25

358,142,539

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น

2,244,779,001

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำ�ระแล้ว

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 กำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จสำ�หรับปี กำ�ไร (ขาดทุน) ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น เงินปันผล โอนไปสำ�รองตามกฎหมาย

หมายเหตุ

สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

กำ�ไรสะสม

องค์ประกอบอื่น ของส่วนของ ผู้ถือหุ้น

งบการเงินรวม

768,000

4,920,510 115,108,000

866,092,809

491,324,648 (35,500,000)

410,268,161 -

- 79,608,000 4,920,510 - 35,500,000

449,041,861 (38,773,700)

449,041,861

(275,016,542) (768,000)

724,826,403

- 79,608,000 -

- 79,608,000

-

- 78,840,000

ส่วนของ ส่วนได้เสียที่ ไม่มีอำ�นาจ ควบคุม

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น

(หน่วย : บาท)

491,324,648 38,890,288 163,316 -

530,214,936 163,316 (433,287) 3,588,609,572 180,865,482 3,769,475,054

163,316 -

(596,603) 3,092,201,098 141,975,194 3,234,176,292 4,920,510 4,920,510

-

(596,603) 3,130,974,798 141,975,194 3,272,949,992 - (38,773,700) - (38,773,700)

(596,603) 3,130,974,798 141,975,194 3,272,949,992

- (275,016,542) 15,712,844 (259,303,698) (405,505) (405,505) (405,505) - (6,300,012) (6,300,012) -

(191,098) 3,406,396,845 132,562,362 3,538,959,207

สิทธิซื้อหุ้น รวมส่วน ผลกำ � ไร (ขาดทุ น ) ที่ออกให้ ของผู้ถือหุ้น ที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก ของบริษัท พนักงาน ทุนสำ�รองตาม ยังไม่ได้จัดสรร การเปลี่ยนแปลง กฎหมาย ในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุน

งบแสดงการเปลี ่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

SUCCESS WITH INTEGRITY

79


80

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ปรับปรุงใหม่ สิทธิซื้อหุ้นที่ออกให้พนักงาน กำ�ไร เบ็ดเสร็จสำ�หรับปี กำ�ไร กำ�ไรเบ็ดเสร็จอื่น โอนไปสำ�รองตามกฎหมาย -

-

25

358,142,539

358,142,539 -

2,244,779,001 -

24

2,244,779,001

358,142,539 -

-

2,244,779,001

3

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ตามที่รายงานในปีก่อน ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

-

358,142,539

358,142,539

ส่วนเกิน มูลค่าหุ้น

2,244,779,001

2,244,779,001

25

หมายเหตุ

ทุนเรือนหุ้น ที่ออกและ ชำ�ระแล้ว

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553

ยอดคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 กำ�ไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จสำ�หรับปี กำ�ไร ขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น โอนไปสำ�รองตามกฎหมาย

สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

4,920,510

-

4,920,510

-

-

-

-

สิทธิซื้อหุ้น ที่ออกให้พนักงาน ยังไม่ได้จัดสรร

15,342,380 (768,000)

708,757,332 (35,500,000) 103,158,000 2,386,864,991

35,500,000

67,658,000 1,713,607,659 -

67,658,000 1,729,886,719 (16,279,060)

67,658,000 1,729,886,719

768,000

66,890,000 1,715,312,339

ทุนสำ�รองตาม กฎหมาย

กำ�ไรสะสม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

งบแสดงการเปลี ่ ย นแปลงส่ ว นของผู ้ ถ ื อ หุ ้ น (ต่ อ ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

รวมส่วน ของผู้ถือหุ้น ของบริษัท

15,342,380 (296,893) -

708,757,332 52,234 (352,802) 5,097,512,239

52,234 -

(405,036) 4,383,782,163 4,920,510

(405,036) 4,400,061,223 (16,279,060)

(405,036) 4,400,061,223

(296,893) -

(108,143) 4,385,015,736

ผลกำ�ไร (ขาดทุน) ที่ยังไม่เกิดขึ้นจาก การเปลี่ยนแปลง ในมูลค่ายุติธรรม ของเงินลงทุน

องค์ประกอบอืน่ ของ ส่วนของผูถ้ อื หุน้

(หน่วย : บาท)


SUCCESS WITH INTEGRITY

งบกระแสเงิ นสด บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท)

งบการเงินรวม

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำ�เนินงาน กำ�ไร (ขาดทุน) สำ�หรับปี รายการปรับปรุง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย (กลับรายการ) หนี้สงสัยจะสูญ (กำ�ไร) ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้น ของมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน สิทธิซื้อหุ้นที่ออกให้พนักงาน ผลขาดทุนจากภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่เรียกคืนไม่ได้ โอนเงินมัดจำ�และรายได้รอการตัดบัญชีเป็นรายได้ โอนเงินรับล่วงหน้าจากลูกค้าเป็นรายได้ เงินปันผลรับ ดอกเบี้ยรับ กำ�ไรจากการจำ�หน่ายเพลินจิต เซ็นเตอร์ (กำ�ไร) ขาดทุนจากการจำ�หน่ายอาคารและอุปกรณ์, สินทรัพย์ไม่มีตัวตนและสิทธิการเช่า ต้นทุนทางการเงิน ภาษีเงินได้

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553 (ปรับปรุงใหม่)

2554

2553 (ปรับปรุงใหม่)

530,214,936

(259,303,698)

708,757,332

15,342,380

645,511,741 331,466

683,504,716 717,106

352,611,758 101,432

404,735,841 (914,539)

(18,638) 3,405,062 4,920,510 3,794,537 (5,343,191) (951,501) (1,368,177) (560,951) (982,813) (411,737) (65,880,663) - (664,330,168)

3,302,220 (5,343,191) (1,368,177) (18,085,498) (39,065,891) -

89,011 6,754,843 4,920,510 376,795 (951,500) (560,950) (6,180,234) (664,330,168) 14,788,536 406,682,214 53,469,379

(286,337) 360,761,571 19,866,597

3,424,534 267,486,417 -

(200,787) 245,184,988 -

991,116,579

800,929,936

608,983,762

603,587,346

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

81


งบกระแสเงิ นสด (ต่อ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553

2554

(ปรับปรุงใหม่)

2553 (ปรับปรุงใหม่)

การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์และหนี้สินดำ�เนินงาน ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ เงินทดรองจ่ายค่าก่อสร้าง ภาษีมูลค่าเพิ่มรอเรียกคืน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินมัดจำ�การเช่าที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น เจ้าหนี้การค้า หนี้สินผลประโยชน์พนักงานจ่าย หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินมัดจำ�รับจากผู้เช่า

13,199,848 20,076,625 (22,620,467) 11,262,430 7,030,448 (6,283,969) (14,598,129) (36,562,187) (2,256,547) 60,624,065 (58,085,426)

(4,284,401) 5,349,251 19,593,673 147,376,418 (6,267,833) 26,998,281 15,790,124 (18,786,899) (3,245,963) 3,770,476

4,282,143 18,815,452 (22,620,467) (740,203) (3,013,733) 14,245,875 (8,353,046) (1,832,244) 19,571,515 (32,349,811)

(2,735,763) 5,747,357 867,392 78,120,621 1,952,884 25,907,656 12,906,147 14,982,351 344,593 3,743,384

เงินสดได้มาจากกิจกรรมดำ�เนินงาน จ่ายภาษีเงินได้

962,903,270 (34,943,819)

987,223,063 (52,837,616)

596,989,243 (19,493,080)

745,423,968 (14,450,821)

เงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดำ�เนินงาน

927,959,451

934,385,447

577,496,163

730,973,147

158,409 (537,963,906) (700,859) (5,484,071) 1,352,047,347

347,271 (488,502,754) (156,279,790) (8,544,905) -

115,176 (1,999,990) (348,218,296) 37,989,571 (399,806,077) (2,388,829) 1,352,047,347

252,494 (184,861,134) 184,861,134 (457,451,218) 123,433,352 (170,188,057) (150,000,000) (3,511,734) -

1,295,972 6,180,234

3,850,275 982,812 411,737

1,438,404 63,337,920

6,299,303 18,085,498 38,055,372

815,533,126

(647,735,354)

702,515,226

(595,024,990)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน เงินลงทุนในกิจการที่เกี่ยวข้อง เงินลงทุนในบริษัทย่อย เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย รับคืนเงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บริษัทย่อย เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อย รับคืนเงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บริษัทย่อย ซื้อที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ซื้อสิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร ซื้อสินทรัพย์ไม่มีตัวตน เงินสดรับสุทธิจากการจำ�หน่ายเพลินจิต เซ็นเตอร์ เงินสดรับจากการจำ�หน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ และสินทรัพย์ไม่มีตัวตน รับเงินปันผล รับดอกเบี้ย เงินสดสุทธิได้มา (ใช้ไป) ในกิจกรรมลงทุน หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

82


SUCCESS WITH INTEGRITY

งบกระแสเงิ นสด (ต่อ) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

(หน่วย : บาท) งบการเงินรวม หมายเหตุ

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553

2554

(ปรับปรุงใหม่) กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน ชำ�ระคืนเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน จ่ายชำ�ระหนี้สินตามสัญญาเช่าทางการเงิน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัทย่อย จ่ายชำ�ระเงินกู้ยืมระยะสั้นจากบริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะยาวจากบริษัทย่อย จ่ายชำ�ระเงินกู้ยืมระยะยาวจากบริษัทย่อย เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ชำ�ระคืนเงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน จ่ายต้นทุนทางการเงิน จ่ายเงินปันผลให้ส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุม

(119,600,000) (3,733,312) (980,350,000) (409,997,318) -

เงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน

(1,513,680,630)

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 1 มกราคม เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ วันที่ 31 ธันวาคม รายการที่ไม่ใช่เงินสด โอนเงินมัดจำ�รับจากผู้เช่าหักกลบกับยอดลูกหนี้ ซื้อยานพาหนะตามสัญญาเช่าซื้อ ซื้ออาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนและ สิทธิการเช่าที่ดินและอาคารโดยยังมิได้ชำ�ระเงิน

6

2553 (ปรับปรุงใหม่)

(119,600,000) (3,733,312) 143,470,578 (143,470,578) 85,466,073 (78,889,036) (845,350,000) (271,100,982) -

43,500,000 (1,130,340) 11,027,304 (11,027,304) 31,646,562 (47,917,357) 139,000,000 (162,400,000) (246,574,309) -

(343,754,261) (1,233,207,257)

(243,875,444)

(11,500,000) (1,130,340) 209,200,000 (168,650,000) (365,373,909) (6,300,012)

229,811,947

(57,104,168)

46,804,132

(107,927,287)

220,384,384

277,488,552

93,907,272

201,834,559

450,196,331

220,384,384

140,711,404

93,907,272

121,429 7,469,000

4,016,134 1,449,000

121,429 7,469,000

4,016,134 1,449,000

(37,630,162)

38,086,089

(40,433,608)

18,911,350

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้

83


หมายเหตุ ประกอบงบการเงิน บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553

หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงินนี้ งบการเงินนีน้ �ำ เสนอเพือ่ วัตถุประสงค์ของการรายงานเพือ่ ใช้ในประเทศ และจัดทำ�เป็นภาษาไทย งบการเงินฉบับภาษาอังกฤษ ได้จัดทำ�ขึ้นจากงบการเงินภาษาไทยและได้รับอนุมัติให้ออกงบการเงินจากกรรมการเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555

1. ข้อมูลทั่วไป บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) “บริษัท” เป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย และมีที่อยู่จดทะเบียนตั้งอยู่ เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร บริษัทฯ มีสำ�นักงานสาขา 10 แห่ง ที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดชลบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริษัทฯ จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อเดือนมิถุนายน 2537 บริษัทฯ ดำ�เนินธุรกิจหลักเกี่ยวกับการลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ดำ�เนินกิจการโรงแรมและให้เช่าอาคาร รายละเอียดของ บริษัทย่อยและบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีดังนี้ ชื่อกิจการ

ประเทศ ที่กิจการจัดตั้ง

บริษัทถือหุ้นร้อยละ 2554 2553

ลักษณะธุรกิจ

โรงแรม โรงแรม โรงแรม โรงแรม โรงแรม เจ้าของที่ดิน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

72.59 95.77 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

72.59 95.77 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

รับบริหารจัดการ

ไทย

99.99

-

โรงแรม โรงแรม

ไทย ไทย

1.05 4.22

1.05 4.22

ให้บริการ

ไทย

48.00

48.00

บริษัทย่อยทางตรง บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำ�กัด บริษัท เอราวัณ สมุย จำ�กัด บริษัท เอราวัณ นาคา จำ�กัด บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำ�กัด บริษัท เอราวัณ คอมเมอร์เชียล เมเนจเม้นท์ จำ�กัด

บริษัทย่อยทางอ้อม บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด

บริษัทร่วม บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 84


SUCCESS WITH INTEGRITY

2. เกณฑ์การจัดทำ�งบการเงิน (ก) เกณฑ์การถือปฏิบัติ งบการเงินนีจ้ ดั ทำ�ขึน้ ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน รวมถึงการตีความและแนวปฏิบตั ทิ างการบัญชีทป่ี ระกาศใช้โดย สภาวิชาชีพบัญชีฯ (“สภาวิชาชีพบัญชี”) กฎระเบียบและประกาศคณะกรรมการกำ�กับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ เกี่ยวข้อง ระหว่างปี 2553 และ 2554 สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินหลายฉบับ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานของกลุ่มบริษัท และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 ดังต่อไปนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน

เรื่อง

มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 7 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 8 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 10 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 18 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 23 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 24 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 26 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 33 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 34 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 37 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 38 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 40 (ปรับปรุง 2552) มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 2 การตีความมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31

การนำ�เสนองบการเงิน สินค้าคงเหลือ งบกระแสเงินสด นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี และข้อผิดพลาด เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สัญญาเช่า รายได้ ผลประโยชน์ของพนักงาน ต้นทุนการกู้ยืม การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ เงินลงทุนในบริษัทร่วม กำ�ไรต่อหุ้น งบการเงินระหว่างกาล การด้อยค่าของสินทรัพย์ ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ รายได้ – รายการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับบริการโฆษณา

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

85


การปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่นั้น มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบาย การบัญชีของกลุ่มบริษัท ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้เปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 นอกเหนือจากมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ข้างต้น ระหว่างปี 2553 สภาวิชาชีพบัญชี ได้ออกและปรับปรุงมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่น ๆ ซึ่งมีผลบังคับสำ�หรับงบการเงินที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป และไม่ได้มีการนำ�มาใช้สำ�หรับการจัดทำ�งบการเงินนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออก และปรับปรุงใหม่ดังกล่าวได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 40

(ข) เกณฑ์การวัดมูลค่า งบการเงินนี้จัดทำ�ขึ้นโดยถือหลักเกณฑ์การบันทึกตามราคาทุนเดิม

(ค) สกุลเงินที่นำ�เสนองบการเงิน งบการเงินนี้จัดทำ�และแสดงหน่วยเงินตราเป็นเงินบาท ข้อมูลทางการเงินทั้งหมดมีการปัดเศษในหมายเหตุประกอบ งบการเงินเพื่อให้แสดงเป็นหลักพันบาท ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

(ง) การประมาณการและการใช้วิจารณญาณ ในการจัดทำ�งบการเงินให้เป็นไปตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ผู้บริหารต้องใช้วิจารณญาณ การประมาณและ ข้อสมมติฐานหลายประการ ซึ่งมีผลกระทบต่อการกำ�หนดนโยบายการบัญชีและการรายงานจำ�นวนเงินที่เกี่ยวกับ สินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ผลที่เกิดขึ้นจริงอาจแตกต่างจากที่ประมาณไว้ ประมาณการและข้อสมมติฐานที่ใช้ในการจัดทำ�งบการเงินจะได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง การปรับประมาณการ ทางบัญชีจะบันทึกในงวดบัญชีที่ประมาณการดังกล่าวได้รับการทบทวนและในงวดอนาคตที่ได้รับผลกระทบ ข้อมูลเกี่ยวกับการประมาณความไม่แน่นอนและข้อสมมติฐานที่สำ�คัญในการกำ�หนดนโยบายการบัญชี มีผลกระทบ สำ�คัญต่อการรับรู้จำ�นวนเงินในงบการเงินซึ่งประกอบด้วยหมายเหตุประกอบงบการเงินต่อไปนี้ หมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 23 การวัดมูลค่าของภาระผูกพันของผลประโยชน์พนักงานที่กำ�หนดไว้

3. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี (ก) ภาพรวม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ผลจากการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ตาม ที่กล่าวในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 2 กลุ่มบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีดังต่อไปนี้ • การนำ�เสนองบการเงิน • การบัญชีเกี่ยวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ • การบัญชีเกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนพนักงาน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 86


SUCCESS WITH INTEGRITY

รายละเอียดของนโยบายการบัญชีใหม่ที่ถือปฏิบัติโดยกลุ่มบริษัท และผลกระทบต่องบการเงินได้กล่าวรวมในหมายเหตุ ประกอบงบการเงินข้อ 3 (ข) ถึง 3 (ง) ดังต่อไปนี้ ส่วนการถือปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกใหม่และ ฉบับปรับปรุงอื่น ๆ ไม่มีผลกระทบต่อนโยบายบัญชี ฐานะทางการเงิน หรือผลประกอบการของกลุ่มบริษัทอย่างมีนัยสำ�คัญ ผลกระทบต่องบการเงินสำ�หรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2554 สรุปได้ดังนี้ (หน่วย : พันบาท) งบการเงินรวม หมายเหตุ งบแสดงฐานะการเงิน ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ตามที่รายงานในงวดก่อน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรือ่ ง ผลประโยชน์ของพนักงาน

3(ง)

ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสำ�หรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 กำ�ไรก่อนภาษีเงินได้ลดลง ซึ่งรวมผลของการถือปฏิบัติ มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรือ่ ง ผลประโยชน์ของพนักงาน ภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น กำ�ไร (ลดลง)

3(ง)

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2554

3,272,950 (38,774)

4,400,061 (16,279)

3,234,176

4,383,782

(6,754)

(3,404)

(6,754)

(3,404)

(ข) การนำ�เสนองบการเงิน ตัง้ แต่วนั ที่ 1 มกราคม 2554 กลุม่ บริษทั ถือปฏิบตั ติ ามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 1 (ปรับปรุง 2552) เรือ่ ง การนำ�เสนอ งบการเงิน ภายใต้ข้อกำ�หนดของมาตรฐานที่ปรับปรุงใหม่ งบการเงินประกอบด้วย • งบแสดงฐานะการเงิน • งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ • งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น • งบกระแสเงินสด และ • หมายเหตุประกอบงบการเงิน ทั้งนี้เป็นผลให้กลุ่มบริษัทแสดงการเปลี่ยนแปลงของส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมดในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของ ผูถ้ อื หุน้ และแสดงการเปลีย่ นแปลงทัง้ หมดทีไ่ ม่ใช่สว่ นของผูถ้ อื หุน้ ในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ โดยก่อนหน้านีก้ ารเปลีย่ นแปลง ทั้งหมดดังกล่าวแสดงในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

87


ข้อมูลเปรียบเทียบได้มีการนำ�เสนอใหม่เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำ�หนดของมาตรฐานฉบับปรับปรุงใหม่ การเปลี่ยนแปลง นโยบายการบัญชีดังกล่าวมีผลกระทบต่อการนำ�เสนองบการเงินเท่านั้น โดยไม่มีผลกระทบต่อกำ�ไรหรือกำ�ไรต่อหุ้น

(ค) การบัญชีเกี่ยวกับที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 กลุ่มบริษัทถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 (ปรับปรุง 2552) เรื่อง ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ในการระบุและบันทึกบัญชีราคาทุนและค่าเสื่อมราคาของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การเปลี่ยนแปลงที่สำ�คัญจากการปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 16 และมีผลกระทบต่อกลุ่มบริษัท ดังนี้ (ก) การกำ�หนดค่าเสื่อมราคา ต้องพิจารณาแต่ละส่วนแยกต่างหากจากกันเมื่อแต่ละส่วนประกอบนั้นมีสาระสำ�คัญ (ข) มูลค่าคงเหลือของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ต้องมีการประมาณด้วยมูลค่าที่กิจการคาดว่าจะได้รับในปัจจุบันจาก สินทรัพย์นั้น หากมีอายุและสภาพที่คาดว่าจะได้รับในปัจจุบันเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ต้องมี การสอบทานมูลค่าคงเหลือและอายุการให้ประโยชน์อย่างน้อยทุกสิ้นปี การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถือปฏิบัติโดยวิธีเปลี่ยนทันทีตามที่กำ�หนดในวิธีปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานฉบับ ปรับปรุงใหม่ดังกล่าว จึงไม่มีผลกระทบต่อผลกำ�ไรและกำ�ไรต่อหุ้นสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554

(ง) การบัญชีเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงาน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 กลุ่มบริษัทได้ปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์ของพนักงาน ภายใต้นโยบายการบัญชีใหม่ หนี้สินของกลุ่มบริษัทเกี่ยวกับผลประโยชน์หลังออกจากงาน ได้บันทึกในงบการเงิน ด้วยวิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณการไว้ ซึ่งคำ�นวณโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยทุกปี ที่ผ่านมาหนี้สินรับรู้เมื่อจะต้อง จ่ายชำ�ระ หนี้สินของกลุ่มบริษัทเกี่ยวกับผลประโยชน์หลังออกจากงาน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นจำ�นวนเงิน 39 ล้านบาท และ 16 ล้านบาท ตามลำ�ดับ กลุ่มบริษัทเลือกที่จะบันทึกหนี้สินทั้งหมดดังกล่าวเป็นรายการปรับปรุงกำ�ไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 ตามวิธีปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 ผลกระทบต่องบการเงิน 2554 มีดังต่อไปนี้

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 88


SUCCESS WITH INTEGRITY

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม 2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2554

งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน (เพิ่มขึ้น)

(38,774)

(16,279)

กำ�ไรสะสมยังไม่ได้จัดสรรลดลง (ลดลง)

(38,774)

(16,279)

งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานเพิ่มขึ้นส่งผลให้ ต้นทุนจากการประกอบกิจการโรงแรมและต้นทุนจากค่าเช่าห้อง ในอาคารและค่าบริการ (เพิ่มขึ้น) ค่าใช้จ่ายในการขาย (เพิ่มขึ้น) ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (เพิ่มขึ้น)

(3,044) (410) (3,300)

(1,568) (71) (1,765)

กำ�ไร (ลดลง)

(6,754)

(3,404)

(0.0030)

(0.0015)

กำ�ไรต่อหุ้น (ลดลง) กำ�ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

4. นโยบายการบัญชีที่สำ�คัญ นโยบายการบัญชีที่นำ�เสนอดังต่อไปนี้ได้ถือปฏิบัติโดยสม่ำ�เสมอสำ�หรับงบการเงินทุกรอบระยะเวลาที่รายงาน ยกเว้น ที่ได้กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 เรื่อง การเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี

(ก) เกณฑ์ในการจัดทำ�งบการเงินรวม งบการเงินรวมประกอบด้วยงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (รวมกันเรียกว่า “กลุ่มบริษัท”) และส่วนได้เสียของ กลุ่มบริษัทในบริษัทร่วม บริษัทย่อย บริษทั ย่อยเป็นกิจการทีอ่ ยูภ่ ายใต้การควบคุมของกลุม่ บริษทั การควบคุมเกิดขึน้ เมือ่ กลุม่ บริษทั มีอำ�นาจควบคุมทัง้ ทางตรง หรือทางอ้อมในการกำ�หนดนโยบายทางการเงินและการดำ�เนินงานของกิจการนั้น เพื่อได้มาซึ่งประโยชน์จากกิจกรรมของ บริษัทย่อย งบการเงินของบริษัทย่อยได้รวมอยู่ในงบการเงินรวม นับแต่วันที่มีการควบคุมจนถึงวันที่การควบคุมสิ้นสุดลง นโยบายการบัญชีของบริษทั ย่อยได้ถกู เปลีย่ นตามความจำ�เป็นเพือ่ ให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุม่ บริษทั ผลขาดทุน ในบริษัทย่อยจะต้องถูกปันส่วนไปยังส่วนได้เสียที่ไม่มีอำ�นาจควบคุมแม้ว่าการปันส่วนดังกล่าวจะทำ�ให้ส่วนได้เสียที่ไม่มี อำ�นาจควบคุมมียอดคงเหลือติดลบก็ตาม หมายเหตุประกอบงบการเงิน

89


บริษัทร่วม บริษัทร่วมเป็นกิจการที่กลุ่มบริษัทมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำ�คัญ โดยมีอำ�นาจเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับ นโยบายทางการเงินและการดำ� เนินงานแต่ไม่ถึงระดับที่จะควบคุมนโยบายดังกล่าว การมีอิทธิพลอย่างมีนัยสําคัญถูก สันนิษฐานว่ามีอยู่เมื่อกลุ่มบริษัทมีอํานาจในการออกเสียงในกิจการอื่นตั้งแต่ร้อยละ 20 ถึงร้อยละ 50 เงินลงทุนในบริษัทร่วมบันทึกในงบการเงินรวมโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย (เงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสียของบริษัทที่ถูกลงทุน) โดยรับรู้รายการเริ่มแรกด้วยราคาทุน รวมถึงต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อที่เกิดจากการทำ�รายการดังกล่าว งบการเงินรวมได้รวมส่วนแบ่งกำ�ไรหรือขาดทุน และกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทร่วมภายหลังจากการปรับปรุง นโยบายการบัญชีให้เป็นนโยบายเดียวกันกับของกลุ่มบริษัท นับจากวันที่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำ�คัญจนถึงวันที่การมีอิทธิพล อย่างมีนยั สำ�คัญนัน้ สิน้ สุดลง เมือ่ ผลขาดทุนทีก่ ลุม่ บริษทั ได้รบั ปันส่วนจากบริษทั ร่วมมีจ�ำ นวนเกินกว่าส่วนได้เสียในบริษทั ร่วม มูลค่าตามบัญชีของเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย รวมถึงส่วนได้เสียระยะยาวใด ๆ จะถูกทอนลงจนเป็นศูนย์ และหยุดรับรู้ส่วนผลขาดทุน เว้นแต่กรณีที่กลุ่มบริษัทมีภาระผูกพันตามกฎหมายหรือต้องจ่ายเงินเพื่อชำ�ระภาระผูกพันแทน ในนามบริษัทร่วม การตัดรายการในงบการเงินรวม ยอดคงเหลือและรายการบัญชีระหว่างกิจการในกลุ่ม รวมถึงรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจาก รายการระหว่างกิจการในกลุ่ม ถูกตัดรายการในการจัดทำ�งบการเงินรวม กำ�ไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงซึ่งเป็นผลมาจากรายการ กับบริษัทร่วมถูกตัดรายการกับเงินลงทุนเท่าที่กลุ่มบริษัทมีส่วนได้เสียในกิจการที่ถูกลงทุนนั้น ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงถูก ตัดรายการในลักษณะเดียวกับกำ�ไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่เท่าที่เมื่อไม่มีหลักฐานการด้อยค่าเกิดขึ้น

(ข) รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศ รายการบัญชีที่เป็นเงินตราต่างประเทศแปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่เกิดรายการ สินทรัพย์และหนีส้ นิ ทีเ่ ป็นตัวเงินและเป็นเงินตราต่างประเทศ ณ วันทีร่ ายงาน แปลงค่าเป็นเงินบาทโดยใช้อตั ราแลกเปลีย่ น ณ วันนั้น กำ�ไรหรือขาดทุนจากการแปลงค่าจะบันทึกในกำ�ไรหรือขาดทุน

(ค) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในงบกระแสเงินสดประกอบด้วย ยอดเงินสด ยอดเงินฝากธนาคารประเภทเผื่อเรียก และเงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง

(ง) ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่นแสดงในราคาตามใบแจ้งหนี้หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญประเมินโดยการวิเคราะห์ประวัติการชำ�ระหนี้ และการคาดการณ์เกี่ยวกับการชำ�ระหนี้ในอนาคต ของลูกค้า ลูกหนี้จะถูกตัดจำ�หน่ายบัญชีเมื่อทราบว่าเป็นหนี้สูญ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 90


SUCCESS WITH INTEGRITY

(จ) สินค้าคงเหลือ สินค้าคงเหลือแสดงในราคาทุน (วิธีถัวเฉลี่ย) หรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดจะต่ำ�กว่า มูลค่าสุทธิที่จะได้รับเป็นการประมาณราคาที่จะขายได้จากการดำ�เนินธุรกิจปกติหักด้วยค่าใช้จ่ายที่จำ�เป็นโดยประมาณ ในการขาย

(ฉ) เงินลงทุน เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย และบริษัทร่วม ในงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ บันทึกบัญชีโดยใช้วิธีราคาทุน เงินลงทุนในบริษัทร่วม ในงบการเงินรวมบันทึกบัญชีโดยใช้วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในตราสารทุน ตราสารทุนซึ่งเป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดนอกเหนือจากที่ถือไว้เพื่อค้าหรือตั้งใจถือไว้จนครบกำ�หนด จัดประเภทเป็นเงินลงทุนเผื่อขาย ภายหลังการรับรู้มูลค่าในครั้งแรกเงินลงทุนเผื่อขายแสดงในมูลค่ายุติธรรม และการ เปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่ผลขาดทุนจากการด้อยค่า บันทึกโดยตรงในส่วนของผู้ถือหุ้น ส่วนผลขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้ ในกำ�ไรขาดทุน เมื่อมีการตัดจำ�หน่ายเงินลงทุน จะรับรู้ผลกำ�ไรหรือขาดทุนสะสมที่เคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นโดยตรง เข้าในกำ�ไรหรือขาดทุน ในกรณีที่เป็นเงินลงทุนประเภทที่มีดอกเบี้ย จะต้องบันทึกดอกเบี้ยในกำ�ไรหรือขาดทุนโดยวิธีอัตรา ดอกเบี้ยที่แท้จริง

(ช) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ การรับรู้และการวัดมูลค่า สินทรัพย์ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของกิจการ ที่ดินแสดงด้วยราคาทุน อาคารและอุปกรณ์แสดงด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ราคาทุนรวมถึงต้นทุนทางตรง ทีเ่ กีย่ วข้องกับการได้มาของสินทรัพย์ ต้นทุนของการก่อสร้างสินทรัพย์ทีก่ จิ การก่อสร้างเอง รวมถึงต้นทุนของวัสดุ แรงงานทางตรง และต้นทุนทางตรงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาสินทรัพย์เพื่อให้สินทรัพย์นั้นอยู่ใน สภาพที่พร้อมจะใช้งานได้ตามความประสงค์ ต้นทุนในการรื้อถอน การขนย้าย การบูรณะสถานที่ตั้งของสินทรัพย์ และต้นทุน การกู้ยืม นอกจากนี้ต้นทุนอาจรวมถึงกำ�ไรหรือขาดทุนจากการป้องกันความเสี่ยงกระแสเงินสดจากการซื้อที่ดิน อาคารและ อุปกรณ์ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ ซึ่งถูกโอนจากงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์แต่ละรายการที่มีอายุการให้ประโยชน์ไม่เท่ากัน ต้องบันทึกแต่ละ ส่วนประกอบที่มีนัยสำ�คัญแยกต่างหากจากกัน กำ�ไรหรือขาดทุนจากการจำ�หน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ คือผลต่างระหว่างสิ่งตอบแทนสุทธิที่ได้รับจากการจำ�หน่าย กับมูลค่าตามบัญชีของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ โดยรับรู้สุทธิเป็นรายได้อื่นในกำ�ไรหรือขาดทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน

91


สินทรัพย์ที่เช่า การเช่าซึ่งกลุ่มบริษัทได้รับส่วนใหญ่ของความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการครอบครองทรัพย์สินที่เช่านั้น ๆ ให้จัด ประเภทเป็นสัญญาเช่าการเงิน อุปกรณ์และยานพาหนะทีไ่ ด้มาโดยทำ�สัญญาเช่าการเงินบันทึกเป็นสินทรัพย์ดว้ ยมูลค่ายุตธิ รรม หรือมูลค่าปัจจุบันของจำ�นวนเงินขั้นต่ำ�ที่ต้องจ่ายตามสัญญาเช่าแล้วแต่จำ�นวนใดจะต่ำ�กว่า หักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสม และขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าเช่าที่ชำ�ระจะแยกเป็นส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายทางการเงิน และส่วนที่จะหักจากหนี้ตามสัญญา เพื่อทำ�ให้อัตราดอกเบี้ยแต่ละงวดเป็นอัตราคงที่สำ�หรับยอดคงเหลือของหนี้สิน ค่าใช้จ่ายทางการเงินจะบันทึกโดยตรงใน กำ�ไรหรือขาดทุน ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลัง ต้นทุนในการเปลีย่ นแทนส่วนประกอบจะรับรูเ้ ป็นส่วนหนึง่ ของมูลค่าตามบัญชีของรายการทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์ ถ้ามี ความเป็นไปได้คอ่ นข้างแน่ทีก่ ลุม่ บริษทั จะได้รบั ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตจากรายการนัน้ และสามารถวัดมูลค่าต้นทุน ของรายการนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ชิ้นส่วนที่ถูกเปลี่ยนแทนจะถูกตัดจำ�หน่ายตามมูลค่าตามบัญชี ต้นทุนที่เกิดขึ้นในการซ่อม บำ�รุงที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ�จะรับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ค่าเสื่อมราคา ค่าเสื่อมราคาคำ�นวณจากมูลค่าเสื่อมสภาพของรายการอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วยราคาทุนของสินทรัพย์ หรือต้นทุนในการเปลี่ยนแทนอื่น หักด้วยมูลค่าคงเหลือของสินทรัพย์ ค่าเสื่อมราคาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในกำ�ไรหรือขาดทุน คำ�นวณโดยวิธีเส้นตรงตามเกณฑ์อายุการใช้งานโดยประมาณ ของส่วนประกอบของสินทรัพย์แต่ละรายการ ประมาณการอายุการใช้งานของสินทรัพย์แสดงได้ดังนี้ อาคารและส่วนปรับปรุง เครื่องตกแต่ง ติดตั้งและอุปกรณ์ ยานพาหนะ

5 - 40 5 - 10 5

ปี ปี ปี

ดูหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 37 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 กลุ่มบริษัทไม่คิดค่าเสื่อมราคาสำ�หรับที่ดินและสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง วิธีการคิดค่าเสื่อมราคา อายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ และมูลค่าคงเหลือ ถูกทบทวนอย่างน้อยที่สุดทุกสิ้นรอบปี บัญชี และปรับปรุงตามความเหมาะสม เครื่องใช้ในการดำ�เนินกิจการโรงแรม ได้แก่ ลินิน เครื่องเคลือบ เครื่องแก้วและเครื่องเงิน และเครื่องใช้บางชนิดที่ใช้ ในการดำ�เนินกิจการโรงแรม ซึ่งบันทึกเป็นมูลค่าของทรัพย์สินด้วยมูลค่าที่ซื้อมาในจำ�นวนเท่าที่จำ�เป็นสำ�หรับการดำ�เนินงาน โดยปกติ ได้ถือเป็นมูลค่าหลักของเครื่องใช้ในการดำ�เนินกิจการโรงแรม การซื้อเพิ่มเติมในภายหลังจะบันทึกเป็นค่าใช้จ่าย เมื่อมีรายการซื้อเกิดขึ้น

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 92


SUCCESS WITH INTEGRITY

(ซ) สิทธิการเช่า สิทธิการเช่าแสดงด้วยราคาทุนหักค่าตัดจำ�หน่ายสะสมและขาดทุนจากการด้อยค่า ค่าตัดจำ�หน่าย สิทธิการเช่าตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายโดยวิธีเส้นตรงตามอายุของสัญญาเช่า

(ฌ) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กลุ่มบริษัทซื้อมาและมีอายุการใช้งานจำ�กัด แสดงในราคาทุนหักค่าตัดจำ�หน่ายสะสมและขาดทุน จากการด้อยค่าสะสม รายจ่ายภายหลังการรับรู้รายการ รายจ่ายภายหลังการรับรู้รายการจะรับรู้เป็นสินทรัพย์เมื่อก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต โดยรวมเป็น สินทรัพย์ที่สามารถระบุได้ที่เกี่ยวข้องนั้น ค่าใช้จ่ายอื่นที่เกิดขึ้นภายในรับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุนเมื่อเกิดขึ้น ค่าตัดจำ�หน่าย ค่าตัดจำ�หน่ายคำ�นวณโดยนำ�ราคาทุนของสินทรัพย์หรือจำ�นวนอื่นที่ใช้แทนราคาทุนหักด้วยมูลค่าคงเหลือ ค่าตัดจำ�หน่ายรับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุนโดยวิธีเส้นตรง ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะสะท้อนรูปแบบที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ ในอนาคตจากสินทรัพย์นั้นตามระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน โดยเริ่มตัดจำ�หน่ายสินทรัพย์ ไม่มีตัวตนเมื่อสินทรัพย์นั้นพร้อมที่จะให้ประโยชน์ ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์สำ�หรับปีปัจจุบันและปีเปรียบเทียบแสดงได้ดังนี้ คอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์

5 - 10

ปี

วิธีการตัดจำ�หน่าย ระยะเวลาที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ และมูลค่าคงเหลือ จะได้รับการทบทวนทุกสิ้นรอบปีบัญชี และปรับปรุงตามความเหมาะสม

(ญ) การด้อยค่า ยอดสินทรัพย์ตามบัญชีของกลุ่มบริษัทได้รับการทบทวน ณ ทุกวันที่รายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ในกรณีที่มีข้อบ่งชี้จะทำ�การประมาณมูลค่าสินทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่ารับรู้เมื่อมูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์ หรือมูลค่าตามบัญชีของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด สูงกว่ามูลค่าที่จะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าบันทึกในกำ�ไรหรือขาดทุนเมื่อมีการลดลงในมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ ทางการเงินเผื่อขาย ซึ่งได้บันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น และมีความชัดเจนว่าสินทรัพย์ดังกล่าวมีการด้อยค่า ยอดขาดทุน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

93


ซึ่งเคยบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้นจะถูกบันทึกในกำ�ไรหรือขาดทุนโดยไม่ต้องปรับกับยอดสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าว ยอดขาดทุนที่บันทึกในกำ�ไรหรือขาดทุนเป็นผลต่างระหว่างราคาทุนที่ซื้อกับมูลค่ายุติธรรมในปัจจุบันของสินทรัพย์ หักขาดทุน จากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงินนั้น ๆ ซึ่งเคยรับรู้แล้วในกำ�ไรหรือขาดทุน การคำ�นวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ทางการเงินสำ�หรับหลักทรัพย์เผื่อขาย คำ�นวณโดยอ้างอิงถึงมูลค่ายุติธรรม มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงิน หมายถึงมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์หรือมูลค่า ยุตธิ รรมของสินทรัพย์หกั ต้นทุนในการขาย แล้วแต่มลู ค่าใดจะสูงกว่า ในการประเมินมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์ ประมาณการ กระแสเงินสดที่จะได้รับในอนาคตจะคิดลดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตราคิดลดก่อนคำ�นึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนมูลค่า ที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบัน ซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อสินทรัพย์ สำ�หรับสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดกระแส เงินสดรับโดยอิสระจากสินทรัพย์อื่น จะพิจารณามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนรวมกับหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่ สินทรัพย์นั้นมีความเกี่ยวข้องด้วย การกลับรายการด้อยค่า ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน จะถูกกลับรายการเมื่อมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนเพิ่มขึ้นในภายหลัง และการเพิ่มขึ้นนั้นสัมพันธ์โดยตรงกับขาดทุนจากการด้อยค่าที่เคยรับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุน ส่วนสินทรัพย์ทางการเงินที่เป็น ตราสารทุนที่จัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เผื่อขาย การกลับรายการจะถูกรับรู้โดยตรงในกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ ที่เคยรับรู้ในงวดก่อนจะถูกประเมิน ณ ทุกวันที่ ที่ออกรายงานว่ามีข้อบ่งชี้เรื่องการด้อยค่าหรือไม่ ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการ หากมีการเปลี่ยนแปลงประมาณ การที่ใช้ในการคำ�นวณมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน ขาดทุนจากการด้อยค่าจะถูกกลับรายการเพียงเท่าที่มูลค่าตามบัญชีของ สินทรัพย์ไม่เกินกว่ามูลค่าตามบัญชีภายหลังหักค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำ�หน่าย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการบันทึกขาดทุนจาก การด้อยค่ามาก่อน

(ฎ) เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้างและเจ้าหนี้อื่น เจ้าหนี้การค้า เจ้าหนี้ค่าก่อสร้าง และเจ้าหนี้อื่นแสดงในราคาทุน

(ฏ) ผลประโยชน์ของพนักงาน กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพพนักงาน กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพสำ�หรับพนักงาน โดยกลุ่มบริษัทจะหักเงินสมทบในส่วนของพนักงานและ จ่ายสมทบเพิ่มเติมอีกส่วนหนึ่ง เงินสมทบดังกล่าวกลุ่มบริษัทบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้าง ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน กลุ่มบริษัทรับรู้ภาระผูกพันของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงานเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อพนักงานทำ�งานให้

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 94


SUCCESS WITH INTEGRITY

ผลประโยชน์พนักงานเกษียณอายุ ผลประโยชน์พนักงานเกษียณอายุของกลุ่มบริษัท คำ�นวณโดยการประมาณยอดผลประโยชน์ในอนาคต (เงินชดเชย เมื่อเกษียณอายุ) ที่พนักงานจะได้รับจากการทำ�งานในปีปัจจุบันและปีก่อน ๆ โดยผลประโยชน์ดังกล่าวได้มีการคิดลดเพื่อหา มูลค่าปัจจุบนั และอัตราคิดลดทีน่ �ำ มาใช้ อ้างอิงจากอัตราผลตอบแทนในตลาดของพันธบัตรรัฐบาล การคำ�นวณผลประโยชน์ พนักงานคำ�นวณตามวิธี The Projected Unit Credit Method การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์ มูลค่ายุตธิ รรมของสิทธิซือ้ หุน้ ณ วันทีใ่ ห้สทิ ธิแก่พนักงานรับรูเ้ ป็นค่าใช้จา่ ยพนักงานพร้อม ๆ ไปกับการเพิม่ ขึน้ ในส่วนของ ผู้ถือหุ้น ตลอดระยะเวลาที่พนักงานสามารถเข้าใช้สิทธิได้อย่างไม่มีเงื่อนไข จำ�นวนที่รับรู้เป็นค่าใช้จ่ายจะถูกปรับปรุงเพื่อให้ สะท้อนถึงจำ�นวนสิทธิซื้อหุ้นที่แท้จริงซึ่งเข้าเงื่อนไขการให้บริการที่เกี่ยวข้องและเงื่อนไขการได้รับสิทธิที่ไม่ใช่เงื่อนไขเรื่อง ตลาดทุน มูลค่ายุตธิ รรมของจำ�นวนทีจ่ า่ ยให้แก่พนักงานจากราคาหุน้ ทีเ่ พิม่ ขึน้ ทีช่ �ำ ระด้วยเงินสดรับรูเ้ ป็นค่าใช้จา่ ยพร้อม ๆ ไปกับ การเพิม่ ขึน้ ในส่วนของหนีส้ นิ ตลอดระยะเวลาทีพ่ นักงานมีสทิ ธิได้รบั ชำ�ระอย่างไม่มเี งือ่ นไข หนีส้ นิ ถูกวัดมูลค่าใหม่ทกุ ๆ วันที่ ในรายงานและวันที่จ่ายชำ�ระ การเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมของหนี้สินรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายพนักงานในกำ�ไรหรือขาดทุน

(ฐ) ประมาณการหนี้สิน ประมาณการหนี้สินจะรับรู้ก็ต่อเมื่อกลุ่มบริษัทมีภาระหนี้สินตามกฎหมายที่เกิดขึ้นในปัจจุบันหรือที่ก่อตัวขึ้นอันเป็นผล มาจากเหตุการณ์ในอดีต และมีความเป็นไปได้คอ่ นข้างแน่นอนว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจจะต้องถูกจ่ายไปเพือ่ ชำ�ระภาระหนีส้ นิ ดังกล่าว ประมาณการหนี้สินพิจารณาจากการคิดลดกระแสเงินสดที่จะจ่ายในอนาคตโดยใช้อัตราคิดลดในตลาดปัจจุบัน ก่อนคำ�นึงภาษีเงินได้ เพื่อให้สะท้อนจำ�นวนที่อาจประเมินได้ในตลาดปัจจุบันซึ่งแปรไปตามเวลาและความเสี่ยงที่มีต่อหนี้สิน ประมาณการหนี้สินส่วนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากเวลาที่ผ่านไปรับรู้เป็นต้นทุนทางการเงิน

(ฑ) รายได้ รายได้ที่รับรู้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม และแสดงสุทธิจากส่วนลดการค้า รายได้จากกิจการโรงแรม รายได้ในกิจการโรงแรมจากค่าห้อง ค่าอาหารและเครื่องดื่ม และรายได้ค่าบริการอื่น บันทึกเป็นรายได้เมื่อแขกเข้าพัก ในห้อง มีการขายอาหารและเครื่องดื่มและเมื่อมีการให้บริการแล้ว รายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ รายได้จากค่าเช่าห้องและค่าบริการทีเ่ กีย่ วข้องในอาคารสำ�นักงานและพืน้ ทีใ่ นศูนย์การค้า จะรับรูเ้ ป็นรายได้ตามเกณฑ์คงค้าง เงินปันผลรับ เงินปันผลรับบันทึกในกำ�ไรหรือขาดทุนในวันที่กลุ่มบริษัทมีสิทธิได้รับเงินปันผล ดอกเบี้ยรับ ดอกเบี้ยรับบันทึกในกำ�ไรหรือขาดทุนตามเกณฑ์คงค้าง หมายเหตุประกอบงบการเงิน

95


(ฒ) รายได้รอการตัดบัญชี บริษัทฯ รับรู้รายได้ค่าเช่ารอตัดบัญชีเป็นรายได้โดยวิธีเส้นตรงตามอายุสัญญาเช่า

(ณ) ต้นทุนทางการเงิน ต้ น ทุ น ทางการเงิ น ประกอบด้ ว ยดอกเบี้ ย จ่ า ยของเงิ น กู้ ยื ม และประมาณการหนี้ สิ น ส่ ว นที่ เ พิ่ ม ขึ้ น เนื่ อ งจากเวลาที่ ผ่านไป และสิ่งตอบแทนที่คาดว่าจะต้องจ่าย ขาดทุนจากการจำ�หน่ายสินทรัพย์ทางการเงินที่ถือไว้เพื่อขาย ขาดทุนจากมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินที่รับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุน หรือขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน (นอกเหนือ ลูกหนี้การค้า) รับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุน ต้นทุนการกู้ยืมที่ไม่ได้เกี่ยวกับการได้มา หรือการก่อสร้างสินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข รับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุน โดยใช้วิธี อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง

(ด) สัญญาเช่าดำ�เนินงาน รายจ่ายภายใต้สัญญาเช่าดำ�เนินงานบันทึกในกำ�ไรขาดทุนโดยวิธีที่เป็นระบบตลอดอายุสัญญาเช่า สำ�หรับสัญญาเช่า ทุกประเภททีม่ วี นั เริม่ ต้นสัญญาเช่าในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไปใช้วธิ เี ส้นตรง นอกจากว่าจะมีเกณฑ์อืน่ ทีเ่ ป็น ระบบซึ่งแสดงถึงประโยชน์ที่ผู้เช่าได้รับในช่วงเวลา ประโยชน์ที่ได้รับตามสัญญาเช่าจะรับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุนเป็นส่วนหนึ่ง ของค่าเช่าทั้งสิ้นตามสัญญาตลอดอายุสัญญาเช่า ค่าเช่าที่อาจเกิดขึ้นต้องนำ�มารวมคำ�นวณจำ�นวนเงินขั้นต่ำ�ที่ต้องจ่ายตามระยะเวลาที่คงเหลือของสัญญาเช่า เมื่อได้รับ การยืนยันการปรับค่าเช่า

(ต) ภาษีเงินได้ ภาษีเงินได้จากกำ�ไรหรือขาดทุนสำ�หรับปีประกอบด้วยภาษีเงินได้ปจั จุบนั ซึง่ ได้แก่ภาษีทีค่ าดว่าจะจ่ายชำ�ระโดยคำ�นวณ จากกำ�ไรประจำ�ปีที่ต้องเสียภาษี โดยใช้อัตราภาษีที่ประกาศใช้ ณ วันที่รายงาน ตลอดจนการปรับปรุงทางภาษีที่เกี่ยวกับ รายการในปีก่อน ๆ

(ถ) กำ�ไรต่อหุ้น กลุ่มบริษัทแสดงกำ�ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานและกำ�ไรต่อหุ้นปรับลด สำ�หรับหุ้นสามัญ กำ�ไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐานคำ�นวณโดย การหารกำ�ไรหรือขาดทุนของผูถ้ อื หุน้ สามัญของกลุม่ บริษทั ด้วยจำ�นวนหุน้ สามัญถัวเฉลีย่ ถ่วงน้�ำ หนักทีอ่ อกจำ�หน่ายระหว่างปี กำ�ไรต่อหุ้นปรับลดคำ�นวณโดยการหารกำ�ไรหรือขาดทุนของผู้ถือหุ้นสามัญที่ปรับปรุงด้วยจำ�นวนหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วง น้ำ�หนักที่ออกจำ�หน่ายและปรับปรุงด้วยผลกระทบของตราสารที่อาจเปลี่ยนเป็นหุ้นสามัญปรับลดทั้งหมด และสิทธิซื้อหุ้น ของพนักงาน

5. บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำ�งบการเงิน บุคคลหรือกิจการเป็นบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกันกับกลุ่มบริษัท หากกลุ่ม บริษัทมีอำ�นาจควบคุมหรือควบคุมร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อมหรือมีอิทธิพลอย่างมีสาระสำ�คัญต่อบุคคลหรือกิจการใน การตัดสินใจทางการเงินและการบริหารหรือในทางกลับกัน หรือกลุ่มบริษัทอยู่ภายใต้การควบคุมเดียวกันหรืออยู่ภายใต้ อิทธิพลอย่างมีสาระสำ�คัญเดียวกันกับบุคคลหรือกิจการนั้น การเกี่ยวข้องกันนี้อาจเป็นรายบุคคลหรือเป็นกิจการ หมายเหตุประกอบงบการเงิน 96


SUCCESS WITH INTEGRITY

ความสัมพันธ์ที่มีกับบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน มีดังนี้ ประเทศที่จัดตั้ง/ สัญชาติ บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) ไทย บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด ไทย บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด ไทย บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำ�กัด ไทย บริษัท เอราวัณ สมุย จำ�กัด ไทย บริษัท เอราวัณ นาคา จำ�กัด ไทย บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำ�กัด ไทย บริษทั เอราวัณ คอมเมอร์เชียล เมเนจเม้นท์ จำ�กัด ไทย บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด ไทย ชื่อกิจการ

บริษัท ราชประสงค์ สแควร์ จำ�กัด

ไทย

บริษัท โรงแรมชายทะเล จำ�กัด

ไทย

บริษัท พาเนล พลัส จำ�กัด บริษัท เพโทรกรีน จำ�กัด บริษัท น้ำ�ตาลมิตรผล จำ�กัด บริษัท ภูเขียว ไบโอ–เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด บริษัท บ้านปู จำ�กัด (มหาชน) บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำ�กัด ธนาคาร เกียรตินาคิน จำ�กัด (มหาชน) บริษัท แปซิฟิก เวิลด์ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท น้ำ�ตาลและอ้อยตะวันออก จำ�กัด

ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย ไทย

ลักษณะความสัมพันธ์ เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 72.59 เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 95.77 เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 เป็นบริษัทย่อย บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 99.99 เป็นบริษัทร่วม บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรงร้อยละ 48.00 และมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทฯ ถือหุ้นโดยตรง ร้อยละ 23.29 เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการเป็น ญาติสนิทกับกรรมการบริษัท เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน เป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกันโดยมีกรรมการร่วมกัน

นโยบายการกำ�หนดราคาสำ�หรับรายการแต่ละประเภท อธิบายได้ดังต่อไปนี้ รายการ บริษัทย่อย ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ รายได้สาธารณูปโภค ค่าเช่าและค่าบริการจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

นโยบายการกำ�หนดราคา อัตราร้อยละ 4.84 – 5.48 ต่อปี (2553: อัตราร้อยละ 4.15 – 4.53 ต่อปี) ตามที่ผู้ถือหุ้นอนุมัติ ราคาตามสัญญา 17 ล้านบาทต่อปี อัตราร้อยละ 4.84 – 5.48 ต่อปี (2553: อัตราร้อยละ 4.15 – 4.53 ต่อปี)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

97


รายการ บริษัทร่วม ค่าบริหาร กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้สาธารณูปโภค รายได้ค่าบริการอื่น ค่าเช่าที่ดิน

นโยบายการกำ�หนดราคา ราคาทุนตามสัดส่วนการถือหุ้น ตารางเมตรละ 350–560 บาทต่อเดือน (2553: ตารางเมตรละ 308–583 บาทต่อเดือน) ขึ้นอยู่กับทำ�เลที่ตั้งของอาคาร ราคาตามสัญญา ราคายุติธรรมตามเงื่อนไขที่ดีที่สุด 14 ล้านบาทต่อปี

รายการที่สำ�คัญกับกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 สรุปได้ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม 2554 บริษัทย่อย ดอกเบี้ยรับ เงินปันผลรับ รายได้สาธารณูปโภค ค่าเช่าและค่าบริการจ่าย ดอกเบี้ยจ่าย

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553

2554

2553

-

-

62,521 2,348 16,376 3,134

38,940 17,350 1,918 16,264 1,874

กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการ รายได้สาธารณูปโภค รายได้ค่าบริการอื่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าบริหาร

15,467 1,163 14,037 12,519 1,000

45,551 4,264 5,667 10,920 1,000

11,165 1,163 9,981 1,000

43,082 4,264 5,073 1,000

ค่าตอบแทนผู้บริหารสำ�คัญ ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน ผลประโยชน์หลังออกจากงาน โครงการให้สิทธิซื้อหุ้น

37,604 618 2,584

35,154 -

36,029 618 2,584

33,354 -

รวมค่าตอบแทนผู้บริหารสำ�คัญ

40,806

35,154

39,231

33,354

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 98


SUCCESS WITH INTEGRITY

ยอดคงเหลือกับกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม ลูกหนี้การค้า – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด บริษัท เอราวัณ สมุย จำ�กัด บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำ�กัด กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท น้ำ�ตาลมิตรผล จำ�กัด บริษัท บ้านปู จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เพโทรกรีน จำ�กัด บริษัท พาเนล พลัส จำ�กัด บริษัท ภูเขียว ไบโอ–เอ็นเนอร์ยี จำ�กัด บริษัท โรงแรมชายทะเล จำ�กัด บริษัท แปซิฟิก เวิลด์ (ประเทศไทย) จำ�กัด บริษัท น้ำ�ตาลและอ้อยตะวันออก จำ�กัด บริษัทอื่น ๆ รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

-

-

154 1,556 608 56

126 880 328 -

743 333 260 449 652 -

986 442 63 727 19 243 438 292 55

743 333 260 - 444 -

986 342 63 727 19 438 55

2,437

3,265

4,154

3,964

-

-

598

746

7,060

5,460

-

-

ลูกหนี้อื่น – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด

ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำ�กัด

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

99


(หน่วย : ร้อยละต่อปี)

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

2554

2553

5.48 5.48 5.48 5.48

4.53 4.53 4.53 4.53

-

-

114,354 19,798 854,522 238,709

79,316 20,036 598,568 228,740

5.48 5.48

4.53

-

-

3,779 162,383

154,114

เงินให้กู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท เอราวัณ สมุย จำ�กัด บริษัท เอราวัณ นาคา จำ�กัด บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำ�กัด บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด บริษัท เอราวัณ คอมเมอร์เชียล เมเนจเม้นท์ จำ�กัด บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำ�กัด

1,393,545 1,080,774

รายการเคลือ่ นไหวของเงินให้กยู้ มื แก่กจิ การทีเ่ กีย่ วข้องกันสำ�หรับแต่ละปีสิน้ สุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีดงั นี้ (หน่วย : พันบาท)

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

-

-

-

184,861 (184,861)

-

-

-

-

บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง

-

-

1,080,774 348,218 (35,447)

745,746 457,451 (122,423)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

-

-

1,393,545

1,080,774

เงินให้กู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

เงินให้กู้ยืมระยะยาว

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 100


SUCCESS WITH INTEGRITY

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

-

-

10 125 281 543

257 30

-

-

959

287

-

-

309 45

23

-

-

354

23

เจ้าหนี้การค้า – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน บริษัทย่อย บริษัท เอราวัณ สมุย จำ�กัด บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด

เจ้าหนี้อื่น – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท เอราวัณ คอมเมอร์เชียล เมเนจเม้นท์ จำ�กัด บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด

(หน่วย : ร้อยละต่อปี)

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

2554

2553

5.48

4.53

-

-

45,438

38,861

เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

101


รายการเคลื่อนไหวของเงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกันสำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

เงินกู้ยืมจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

-

-

-

-

-

-

38,861 85,466 (78,889)

55,132 31,646 (47,917)

-

-

45,438

38,861

เงินกู้ยืมระยะสั้น บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

143,471 (143,471)

11,027 (11,027)

-

-

เงินกู้ยืมระยะยาว บริษัทย่อย ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น ลดลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม

6. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

เงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง

8,499 236,298 205,399

7,559 194,741 18,084

3,183 130,199 7,329

3,684 90,223 -

รวม

450,196

220,384

140,711

93,907

เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดทั้งหมดของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 เป็นสกุลเงินบาท

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 102


SUCCESS WITH INTEGRITY

7. ลูกหนี้การค้า (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่น ๆ รวม หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ สุทธิ (กลับรายการ) หนี้สงสัยจะสูญสำ�หรับปี

5

2554

งบการเงินเฉพาะกิจการ 2553

2554

2553

2,437 134,229 136,666 (2,272)

3,265 146,722 149,987 (1,941)

4,154 71,867 76,021 (1,318)

3,964 76,460 80,424 (1,216)

134,394

148,046

74,703

79,208

331

717

101

(914)

การวิเคราะห์อายุของลูกหนี้การค้ามีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม กิจการที่เกี่ยวข้องกัน ค้างชำ�ระ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน

กิจการอื่น ๆ ค้างชำ�ระ น้อยกว่า 3 เดือน 3 - 6 เดือน 6 - 12 เดือน มากกว่า 12 เดือน หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ

สุทธิ

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

2,430 5 2 2,437

3,265 3,265

4,147 5 2 4,154

3,964 3,964

126,337 7,009 815 68 134,229 (2,272) 131,957

141,574 4,127 949 72 146,722 (1,941) 144,781

69,252 1,732 815 68 71,867 (1,318) 70,549

73,482 1,957 949 72 76,460 (1,216) 75,244

134,394

148,046

74,703

79,208

ลูกหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 เป็นสกุลเงินบาท หมายเหตุประกอบงบการเงิน

103


8. สินค้าคงเหลือ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

อาหารและเครื่องดื่ม วัสดุสิ้นเปลืองใช้ในการดำ�เนินงาน อสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย อื่น ๆ

31,242 12,225 9,355

32,801 15,365 17,684 7,048

7,108 1,583 539

9,118 989 17,684 254

รวม

52,822

72,898

9,230

28,045

9. สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ เงินทดรองจ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ลูกหนี้อื่น ภาษีซื้อที่ยังไม่ถึงกำ�หนดชำ�ระ อื่น ๆ รวม

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 104

5 5

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

526 26,401 1,522 5,618 22,827

1,240 24,009 1,577 9,735 12,976

326 9,158 681 4,964 4,139

322 9,083 843 3,843 1,792

56,894

49,537

19,268

15,883


72.59 95.77 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99 -

72.59 95.77 99.99 99.99 99.99 99.99 99.99

99.99

2.00

119.50 71.00 450.00 550.00 330.00 7.50 1.00 -

119.50 71.00 450.00 550.00 330.00 7.50 1.00 -

819,710 68,000 451,291 582,001 376,858 300 1,000

2553

2,301,160 2,299,160

2,000

819,710 68,000 451,291 582,001 376,858 300 1,000

2554

2554

2553

วิธีราคาทุน

-

-

-

2554

2,000

819,710 68,000 451,291 582,001 376,858 300 1,000

2554

-

819,710 68,000 451,291 582,001 376,858 300 1,000

2553

- 2,301,160 2,299,160

-

-

2553

ราคาทุน – สุทธิ

(หน่วย : พันบาท)

การด้อยค่า

งบการเงินเฉพาะกิจการ ทุนชำ�ระแล้ว

(หน่วย : ล้านบาท)

-

-

-

2554

17,350

-

17,350 -

2553

เงินปันผลรับ

ในระหว่างไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 บริษัทฯ ได้ลงทุนในหุ้นสามัญในอัตราร้อยละ 99.99 ของทุนจดทะเบียนของบริษัท เอราวัณ คอมเมอร์เชียล เมเนจเม้นท์ จำ�กัด จึงถือเป็นบริษัทย่อยแห่งหนึ่ง

รวม

บริษัทย่อย บริษทั โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำ�กัด บริษัท เอราวัณ สมุย จำ�กัด บริษัท เอราวัณ นาคา จำ�กัด บริษัท เดอะ รีเสิร์ฟ จำ�กัด บริษัท เอราวัณ คอมเมอร์เชียล เมเนจเม้นท์ จำ�กัด

สัดส่วนความเป็น เจ้าของ 2554 2553

(หน่วย : ร้อยละ)

เงินลงทุนในบริษัทย่อย ณ​ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 และเงินปันผลรับสำ�หรับแต่ละปี มีดังนี้

10. เงินลงทุนในบริษัทย่อย

SUCCESS WITH INTEGRITY

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

105


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 106

48.00

48.00

1.00

1.00 338

338

2553

2554

2554

2553

วิธีราคาทุน

ทุนชำ�ระแล้ว

(หน่วย : ล้านบาท)

338

2554

338

2553

วิธีส่วนได้เสีย

งบการเงินรวม

-

2554

-

2553

การด้อยค่า

(หน่วย : พันบาท)

338

338

วิธีส่วนได้เสีย - สุทธิ 2554 2553

-

2554

-

2553

เงินปันผลรับ

บริษัทร่วม บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด 48.00

48.00

สัดส่วนความเป็น เจ้าของ 2554 2553

(หน่วย : ร้อยละ)

1.00

2554

1.00

2553

ทุนชำ�ระแล้ว

(หน่วย : ล้านบาท)

338

2554

338

2553

วิธีราคาทุน

-

2554

-

2553

การด้อยค่า

งบการเงินเฉพาะกิจการ

338

2554

338

2553

ราคาทุน - สุทธิ

(หน่วย : พันบาท)

-

2554

-

2553

เงินปันผลรับ

ในระหว่างปี บริษัทฯ ได้พิจารณาส่วนได้เสียของเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามสัดส่วนที่ถือหุ้นแล้ว พบว่าจำ�นวนเงินไม่มีสาระสำ�คัญ จึงไม่ได้บันทึกยอดดังกล่าวไว้ ในงบการเงินรวม

บริษัทร่วม บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด

สัดส่วน ความเป็นเจ้าของ 2554 2553

(หน่วย : ร้อยละ)

เงินลงทุนในบริษัทร่วม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 และเงินปันผลสำ�หรับปี มีดังนี้

11. เงินลงทุนในบริษัทร่วม


SUCCESS WITH INTEGRITY

ข้อมูลการเงินโดยสรุปของบริษัทร่วมซึ่งกลุ่มบริษัทไม่ได้บันทึกลงทุนในบริษัทดังกล่าวตามวิธีส่วนได้เสีย โดยไม่ได้ ปรับปรุงให้แสดงข้อมูลตามสัดส่วนที่ถือหุ้นโดยกลุ่มบริษัท (หน่วย : ร้อยละ)

สัดส่วนความเป็น เจ้าของ

ปี 2554 บริษทั ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด

ปี 2553 บริษัท ราชประสงค์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำ�กัด

(หน่วย : พันบาท)

สินทรัพย์ รวม

หนี้สิน รวม

รายได้ รวม

ขาดทุนสุทธิ

48.00

2,233

228

2,000

(482)

48.00

1,772

248

2,005

(477)

12. เงินทุนในกิจการอื่นที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ราชประสงค์ สแควร์ จำ�กัด กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 2 หัก ค่าเผื่อการปรับมูลค่า

(หน่วย : ร้อยละ)

(หน่วย : พันบาท)

สัดส่วนเงินลงทุน

งบการเงินรวม

2554

2553

2554

2553

23.29 0.26

23.29 0.17

206 2,784 (503)

206 2,942 (577)

2,487

2,571

รวม

บริษัทที่เกี่ยวข้องกัน

บริษัท ราชประสงค์ สแควร์ จำ�กัด กองทุนรวมเอเชียรีคอฟเวอรี่ 2 หัก ค่าเผื่อการปรับมูลค่า รวม

(หน่วย : ร้อยละ)

(หน่วย : พันบาท)

สัดส่วนเงินลงทุน

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

23.29 0.13

23.29 0.13

206 2,060 (353)

206 2,174 (405)

1,913

1,975

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

107


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 108

9,771,769 18,503 (2,032) 47,528 (1,047,230) 8,788,538

1,553,199 -

1,553,199

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 เพิ่มขึ้น ปรับปรุง โอน จำ�หน่าย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

9,392,293 48,954 (1,138) 337,909 (6,249)

1,552,989 3,224 (3,014)

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น ปรับปรุง โอน จำ�หน่าย

13. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์

2,111,695

2,079,911 36,003 1,443 22,428 (28,090)

2,009,405 33,731 (287) 62,091 (25,029)

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์

41,612

35,475 7,953 2,718 (4,534)

33,864 2,968 (1,357)

ยานพาหนะ

งบการเงินรวม

236,409

230,081 1,027 13,961 (8,660)

215,494 6,916 7,671 -

เครื่องใช้ในการ ดำ�เนินกิจการ

512,796

81,338 522,977 (3,152) (88,367) -

142,830 354,801 (5,216) (411,077) -

สินทรัพย์ที่อยู่ ระหว่างการ ก่อสร้าง

13,244,249

13,751,773 586,463 (3,741) (1,732) (1,088,514)

13,346,875 450,594 (6,641) (3,406) (35,649)

รวม

(หน่วย : พันบาท)


2,563,794 297,880 (181) (380,160) 2,481,333

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี ปรับปรุง จำ�หน่าย

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

2,234,869 334,008 (12) (5,071)

-

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

ค่าเสื่อมราคา ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี ปรับปรุง จำ�หน่าย

ที่ดิน

1,585,323

1,369,333 239,604 187 (23,801)

1,156,399 235,641 (22,707)

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์

22,543

19,175 7,407 (4,039)

14,499 5,969 (1,293)

ยานพาหนะ

งบการเงินรวม เครื่องใช้ในการ ดำ�เนินกิจการ

-

-

-

สินทรัพย์ที่อยู่ ระหว่างการ ก่อสร้าง

-

-

-

4,089,199

3,952,302 544,891 6 (408,000)

3,405,767 575,618 (12) (29,071)

รวม

(หน่วย : พันบาท)

SUCCESS WITH INTEGRITY

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

109


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 110

การตัดรายการในงบการเงินรวม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

การตัดรายการในงบการเงินรวม

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

การตัดรายการในงบการเงินรวม

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของกลุ่มบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

6,307,205 6,307,205

1,553,199

7,207,975

1,553,199

1,553,199 -

7,207,975 -

7,157,424

1,552,989

1,553,199 -

7,157,424 -

1,552,989 -

ที่ดิน

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

526,372

526,372 -

710,578

710,578 -

853,006

852,956 50

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์

19,069

12,790 6,279

16,300

15,044 1,256

19,365

19,365 -

ยานพาหนะ

งบการเงินรวม

236,409

236,409 -

230,081

230,081 -

215,494

215,494 -

เครื่องใช้ ในการ ดำ�เนินกิจการ

512,796

512,796 -

81,338

81,338 -

142,830

142,830 -

สินทรัพย์ที่อยู่ ระหว่างการ ก่อสร้าง

9,493,560

338,510

9,155,050

9,148,771 6,279

10,151,619

352,148

9,799,471

9,798,215 1,256

10,306,491

365,383

9,941,108

9,941,058 50

รวม

(หน่วย : พันบาท)


-

32

32

ที่ดิน

-

-

-

เครื่องตกแต่ง ติดตั้ง และอุปกรณ์ ยานพาหนะ

-

-

-

-

เครื่องใช้ ในการ ดำ�เนินกิจการ

3,413

4,264

สินทรัพย์ที่อยู่ ระหว่างการ ก่อสร้าง

3,413

4,264

558,530

544,891 13,639

588,642

575,618 13,024

รวม

ราคาทรัพย์สินของกลุ่มบริษัทก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำ�นวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 มีราคาทุน 1,106 ล้านบาท (2553: 924.7 ล้านบาท)

ต้นทุนทางการเงินที่รับรู้ เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ รับรู้ในปี 2553 อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ในปี 2553 (ร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี) รับรู้ในปี 2554 อัตราดอกเบี้ยที่รับรู้ในปี 2554 (ร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี)

2554 ตัดรายการระหว่างกัน

ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี 2553 ตัดรายการระหว่างกัน

หมายเหตุ

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

งบการเงินรวม

(หน่วย : พันบาท)

SUCCESS WITH INTEGRITY

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

111


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 112

1,357,113 167,220 (380,157) 1,144,176

-

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

1,153,246 208,943 (12) (5,064)

4,736,969

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี จำ�หน่าย

1,234,550

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

5,775,824 7,695 675 (1,047,225)

-

1,234,550 -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 เพิ่มขึ้น ปรับปรุง โอน จำ�หน่าย

5,683,183 36,067 (904) 63,712 (6,234)

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

ค่าเสื่อมราคา ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ค่าเสื่อมราคาสำ�หรับปี ปรับปรุง จำ�หน่าย

1,237,563 (3,013)

ที่ดิน

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น ปรับปรุง โอน จำ�หน่าย

หมายเหตุ

681,725

566,093 134,296 (18,664)

(14,928)

444,701 136,320

962,555

966,098 18,354 646 (22,543)

953,878 22,318 (287) 7,030 (16,841)

8,315

8,722 3,500 (3,907)

(1,246)

7,669 2,299

19,047

15,453 7,507 (3,913)

15,249 1,450 (1,246)

-

-

-

114,395

114,403 660 (668)

111,648 2,720 35 -

-

-

-

478,289

68,502 414,261 (3,153) (1,321) -

63,712 80,809 (5,215) (70,804) -

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแต่ง สินทรัพย์ที่อยู่ เครื่องใช้ในการ ยานพาหนะ ติดตั้ง ระหว่างการ ดำ�เนินกิจการ และอุปกรณ์ ก่อสร้าง

1,834,216

1,931,928 305,016 (402,728)

1,605,616 347,562 (12) (21,238)

7,545,805

8,174,830 448,477 (3,153) (1,074,349)

8,065,233 143,364 (6,406) (27) (27,334)

รวม

(หน่วย : พันบาท)


ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ภายใต้กรรมสิทธิ์ของบริษัท ภายใต้สัญญาเช่าการเงิน

3,592,793 3,592,793

1,234,550

4,418,711

1,234,550 1,234,550 -

4,418,711 -

4,529,937

1,237,563

1,234,550 -

4,529,937 -

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

1,237,563 -

ที่ดิน

280,830

280,830 -

400,005

400,005 -

509,177

509,127 50

10,732

4,453 6,279

6,731

5,475 1,256

7,580

7,580 -

114,395

114,395 -

114,403

114,403 -

111,648

111,648 -

478,289

478,289 -

68,502

68,502 -

63,712

63,712 -

งบการเงินเฉพาะกิจการ สินทรัพย์ที่อยู่ เครื่องตกแต่ง เครื่องใช้ในการ ยานพาหนะ ระหว่างการ ติดตั้ง ดำ�เนินกิจการ ก่อสร้าง และอุปกรณ์

5,711,589

5,705,310 6,279

6,242,902

6,241,646 1,256

6,459,617

6,459,567 50

รวม

(หน่วย : พันบาท)

SUCCESS WITH INTEGRITY

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

113


หมายเหตุประกอบงบการเงิน 114

32

32

ที่ดิน

-

-

-

-

อาคารและ ส่วนปรับปรุง

-

-

-

-

-

-

3,413

1,799

3,413

1,799

รวม

ราคาทรัพย์สินของบริษัทฯ ก่อนหักค่าเสื่อมราคาสะสมของอาคารและอุปกรณ์ ซึ่งได้คิดค่าเสื่อมราคาเต็มจำ�นวนแล้ว แต่ยังคงใช้งานจนถึง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 มีราคาทุน 431 ล้านบาท (2553: 411.7 ล้านบาท)

รับรู้ในปี 2554 อัตราดอกเบีย้ ทีร่ บั รูใ้ นปี 2554 (ร้อยละ MLR-1.50 ต่อปี)

ต้นทุนทางการเงินที่รับรู้ เป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์ รับรู้ในปี 2553 อัตราดอกเบีย้ ทีร่ บั รูใ้ นปี 2553 (ร้อยละMLR-1.50 ต่อปี)

หมายเหตุ

งบการเงินเฉพาะกิจการ เครื่องตกแต่ง สินทรัพย์ที่อยู่ เครื่องใช้ในการ ยานพาหนะ ติดตั้ง ระหว่างการ ดำ�เนินกิจการ และอุปกรณ์ ก่อสร้าง

(หน่วย : พันบาท)


SUCCESS WITH INTEGRITY

14. ที่ดินรอการพัฒนา (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม ค่าซื้อที่ดิน ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่ดิน รวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

95,382 8,855

95,382 8,825

-

-

104,237

104,207

-

-

15. สิทธิการเช่าที่ดินและอาคาร (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม สิทธิการเช่า ที่ดิน

สิทธิการเช่า อาคาร

รวม

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น จำ�หน่าย ปรับปรุง

1,021,781 150,000 5,237

1,210,828 3,279 (768) (1,483)

2,232,609 153,279 (768) 3,754

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 เพิ่มขึ้น จำ�หน่าย

1,177,018 (191,540)

1,211,856 700 -

2,388,874 700 (191,540)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

985,478

1,212,556

2,198,034

ค่าตัดจำ�หน่าย ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ค่าตัดจำ�หน่ายสำ�หรับปี จำ�หน่าย ปรับปรุง

301,833 26,875 1,998

212,858 47,884 (768) -

514,691 74,759 (768) 1,998

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ค่าตัดจำ�หน่ายสำ�หรับปี จำ�หน่าย

330,706 19,887 (69,671)

259,974 48,285 -

590,680 68,172 (69,671)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

280,922

308,259

589,181

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

115


(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม สิทธิการเช่า ที่ดิน มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ตัดรายการระหว่างกัน

สิทธิการเช่า อาคาร

719,948

997,970

รวม

1,717,918 (4,992) 1,712,926

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ตัดรายการระหว่างกัน

846,312

951,882

1,798,194 (4,542) 1,793,652

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ตัดรายการระหว่างกัน

704,556

904,297

1,608,853 (4,091) 1,604,762 (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ สิทธิการเช่า ที่ดิน

สิทธิการเช่า อาคาร

รวม

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 เพิ่มขึ้น

845,645 150,000

278,481 -

1,124,126 150,000

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 จำ�หน่าย

995,645 (191,540)

278,481 -

1,274,126 (191,540)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

804,105

278,481

1,082,586

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 116


SUCCESS WITH INTEGRITY

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินเฉพาะกิจการ สิทธิการเช่า ที่ดิน

สิทธิการเช่า อาคาร

รวม

ค่าตัดจำ�หน่าย ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ค่าตัดจำ�หน่ายสำ�หรับปี

210,689 22,776

56,299 20,366

266,988 43,142

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ค่าตัดจำ�หน่ายสำ�หรับปี จำ�หน่าย

233,465 15,612 (69,671)

76,665 20,366 -

310,130 35,978 (69,671)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

179,406

97,031

276,437

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม 2553 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 และ 1 มกราคม 2554 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554

634,956 762,180 624,699

222,182 201,816 181,450

857,138 963,996 806,149 (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ค่าตัดจำ�หน่ายสำ�หรับปี หัก ค่าตัดจำ�หน่ายที่ถือเป็นต้นทุน ตัดรายการระหว่างกัน

68,172 (450)

74,759 (381) (450)

35,978 -

43,142 -

ค่าตัดจำ�หน่ายทีร่ วมอยูใ่ น กำ�ไรหรือขาดทุนสำ�หรับปี

67,722

73,928

35,978

43,142

16. การขายเพลินจิต เซ็นเตอร์ ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2554 บริษัทฯ ได้ขายและโอนกรรมสิทธิ์ในอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ พร้อมทั้งส่วนควบและ อุปกรณ์และสิทธิการเช่าที่ดินที่ตั้งอาคาร ซึ่งมีระยะเวลาสิทธิการเช่าคงเหลือประมาณ 13 ปี 10 เดือน ให้แก่กองทุนรวม สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ โดยมีราคาขายรวมจำ �นวน 1,423.1 ล้านบาท ต้นทุนสิทธิการเช่าที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์อื่นสุทธิ และค่าใช้จ่ายในการขายรวมจำ�นวน 758.8 ล้านบาท และมีกำ�ไรสุทธิในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ เป็นจำ�นวน 664.3 ล้านบาท

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

117


17. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (หน่วย : พันบาท)

คอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ราคาทุน ณ วันที่ 1 มกราคม เพิ่มขึ้น โอน จำ�หน่าย ปรับปรุง

150,775 3,731 1,733 (8,946) -

143,189 5,115 3,322 (44) (807)

102,680 2,389 (8,946) -

99,233 3,556 25 (44) (90)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

147,293

150,775

96,123

102,680

ค่าตัดจำ�หน่าย ณ วันที่ 1 มกราคม ค่าตัดจำ�หน่ายสำ�หรับปี จำ�หน่าย

89,941 19,259 (8,390)

69,049 20,936 (44)

62,935 11,617 (8,390)

48,947 14,032 (44)

ณ วันที่ 31 ธันวาคม

100,810

89,941

66,162

62,935

มูลค่าสุทธิทางบัญชี ณ วันที่ 1 มกราคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม

60,834 46,483

74,140 60,834

39,745 29,961

50,286 39,745

18. สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

เงินทดรองจ่าย ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

59,194 34,866

45,647 29,542

33,903

28,656

รวม

94,060

75,189

33,903

28,656

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 118


SUCCESS WITH INTEGRITY

19. หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ ส่วนที่หมุนเวียน เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ส่วนที่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่ถึงกำ�หนดชำ�ระภายในหนึ่งปี ส่วนที่มีหลักประกัน เจ้าหนีเ้ ช่าซือ้ ส่วนทีถ่ งึ กำ�หนดชำ�ระภายในหนึง่ ปี

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

76,100

195,700

76,100

195,700

695,250 1,718

573,750 819

515,250 1,718

403,750 819

773,068

770,269

593,068

600,269

6,727,667

7,829,517

4,357,900

5,314,750

3,458

621

45,438 3,458

38,861 621

6,731,125

7,830,138

4,406,796

5,354,232

7,504,193

8,600,407

4,999,864

5,954,501

ส่วนที่ไม่หมุนเวียน

เงินกู้ยืมระยะยาวจากสถาบันการเงิน ส่วนที่มีหลักประกัน เงินกู้ยืมระยะยาวจากกิจการที่ เกี่ยวข้องกันส่วนที่ไม่มีหลักประกัน เจ้าหนี้เช่าซื้อ

รวม

5

หนีส้ นิ ทีม่ ภี าระดอกเบีย้ ซึง่ ไม่รวมเจ้าหนีเ้ ช่าซือ้ แสดงตามระยะเวลาครบกำ�หนดการจ่ายชำ�ระ ณ วันที่ 31 ธันวาคม ได้ดงั นี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ครบกำ�หนดภายในหนึ่งปี ครบกำ�หนดหลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี ครบกำ�หนดหลังจากห้าปี

771,350 4,323,000 2,404,667

769,450 4,192,250 3,637,267

591,350 3,255,938 1,147,400

599,450 3,151,111 2,202,500

รวม

7,499,017

8,598,967

4,994,688

5,953,061

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

119


ภายใต้สัญญาเงินกู้ยืม กลุ่มบริษัทต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการตามที่ระบุในสัญญา เช่น อัตราส่วนการถือหุ้น ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท การค้ำ�ประกันหนี้สินหรือเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินแก่บุคคลหรือ นิตบิ คุ คลใด ๆ การจ่ายเงินปันผล และการรวมหรือควบบริษทั เข้ากับบริษทั อืน่ และการดำ�รงอัตราส่วนทางการเงินบางประการ ให้เป็นไปตามสัญญา เป็นต้น ในระหว่างปี 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยบางแห่งได้รับอนุมัติผ่อนผันจากสถาบันการเงินให้เลื่อนกำ�หนดระยะเวลา การชำ�ระคืนเงินต้นของเงินกูย้ มื ระยะยาวทีถ่ งึ กำ�หนดชำ�ระในปี 2553 ออกไปเป็นเริม่ ต้นชำ�ระคืนในปี 2554 นอกจากนี้ บริษทั ฯ และบริษัทย่อยบางแห่งได้รับอนุมัติผ่อนผันจากสถาบันการเงินดังกล่าวให้มีการขยายระยะเวลาคืนเงินต้นออกไปอีก 1–6 ปี หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยส่วนที่มีหลักประกัน ณ วันที่ 31 ธันวาคม มีรายละเอียดของหลักประกันซึ่งเป็นสินทรัพย์ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – มูลค่าสุทธิทางบัญชี สิทธิการเช่าที่ดิน – มูลค่าสุทธิทางบัญชี

7,886,399 686,942

8,611,172 677,546

4,891,501 624,698

5,541,237 612,180

รวม

8,573,341

9,288,718

5,516,199

6,153,417

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 กลุม่ บริษทั และบริษทั ฯ มีวงเงินสินเชือ่ ซึง่ ยังมิได้เบิกใช้เป็นจำ�นวนเงินรวม 1,011.3 ล้านบาท และ 900 ล้านบาท ตามลำ�ดับ (2553: 441.3 ล้านบาท และ 250 ล้านบาท ตามลำ�ดับ)

20. เจ้าหนี้การค้า (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม หมายเหตุ กิจการที่เกี่ยวข้องกัน กิจการอื่น ๆ รวม

5

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

175,335

211,897

959 80,771

287 89,796

175,335

211,897

81,730

90,083

เจ้าหนี้การค้าทั้งหมดของกลุ่มบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 เป็นสกุลเงินบาท

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 120


SUCCESS WITH INTEGRITY

21. หนี้สินหมุนเวียนอื่น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ค่าธรรมเนียมในการบริหารและการใช้สิทธิ ค่าใช้จ่ายทางการตลาด และค่าธรรมเนียมอื่น ค้างจ่าย – ธุรกิจโรงแรม เงินประกันผลงาน เงินรับล่วงหน้าจากลูกค้า ภาษีมูลค่าเพิ่มค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย เงินมัดจำ�รับ – ธุรกิจโรงแรม อื่น ๆ

19,098 58,619 18,973 11,547 124,350 42,506 87,330 53,245

25,358 65,957 23,709 14,852 100,542 9,468 56,656 50,518

9,230 15,350 4,477 5,565 70,228 36,374 29,269

10,099 13,457 6,775 8,160 58,569 24,232 30,083

รวม

415,668

347,060

170,493

151,375

22. รายได้รอการตัดบัญชี (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

สิทธิการเช่าอาคาร, การบริการ และอุปกรณ์ – กิจการอื่น ๆ หัก ค่าตัดจำ�หน่ายสะสม

28,000 (1,518)

56,720 (41,399)

28,000 (1,518)

56,720 (41,399)

มูลค่าสุทธิทางบัญชี

26,482

15,321

26,482

15,321

1,518

2,814

1,518

2,814

ค่าตัดจำ�หน่ายรับรู้ในกำ�ไรหรือขาดทุนสำ�หรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

121


23. หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

31 ธันวาคม 2554 31 ธันวาคม 2553 31 ธันวาคม 2554 31 ธันวาคม 2553 หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ในงบแสดงฐานะการเงินสำ�หรับ ผลประโยชน์พนักงานระยะยาว

43,272 43,272

-

17,543 17,543

(หน่วย : พันบาท)

สำ�หรับปีสน้ิ สุดวันที่ 31 ธันวาคม ค่าใช้จา่ ยในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จสำ�หรับ ผลประโยชน์พนักงานระยะยาว

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

6,754

-

3,404

-

6,754

-

3,404

-

กลุ่มบริษัทถือปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 19 เรื่องผลประโยชน์ของพนักงาน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 ผลกระทบต่องบการเงินได้เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 (ง) กลุ่มบริษัทบันทึกภาระผูกพันในช่วงเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นเงินรวม 39 ล้านบาท สำ�หรับ กลุ่มบริษัทและ 16 ล้านบาท สำ�หรับบริษัท ทั้งนี้ได้มีการปรับปรุงกำ�ไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2554 แล้ว

ผลประโยชน์พนักงานระยะยาว กลุ่มบริษัทจัดการโครงการบำ�เหน็จบำ�นาญพนักงานตามข้อกำ�หนดของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในการให้ผลประโยชน์เมื่อเกษียณแก่พนักงานตามสิทธิและอายุงาน การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าปัจจุบันของหนี้สินผลประโยชน์ สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

หนี้สินผลประโยชน์ ณ วันที่ 1 มกราคม ผลประโยชน์จ่าย ต้นทุนบริการปัจจุบัน และดอกเบี้ย โอนไปบริษัทย่อย

38,774 (2,256) 6,754 -

-

16,279 (1,832) 3,404 (308)

-

หนีส้ นิ ผลประโยชน์ ณ วันที่ 31 ธันวาคม

43,272

-

17,543

-

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 122


SUCCESS WITH INTEGRITY

ค่าใช้จ่ายที่รับรู้ในรายการต่อไปนี้ในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ

(หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ต้นทุนจากการประกอบกิจการโรงแรมและต้นทุน จากการให้เช่าห้องในอาคารและค่าบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร

(3,044) (410) (3,300)

-

(1,508) (73) (1,823)

-

รวม

(6,754)

-

(3,404)

-

ข้อสมมุติหลักในการประมาณการตามหลักการคณิตศาสตร์ประกันภัย ณ วันที่รายงาน

(หน่วย : ร้อยละ)

งบการเงินรวม / งบการเงินเฉพาะกิจการ 31 ธันวาคม 2554 4.7 3.5 – 5.0

อัตราคิดลด การเพิ่มขึ้นของเงินเดือนในอนาคต

ข้อสมมุติเกี่ยวกับอัตรามรณะในอนาคตถือตามข้อมูลทางสถิติที่เผยแพร่ทั่วไปและตารางมรณะ

24. ทุนเรือนหุ้น

(หน่วย : พันหุ้น / พันบาท)

2554

2553

มูลค่าหุ้น ต่อหุ้น (บาท)

จำ�นวนหุ้น

จำ�นวนเงิน

จำ�นวนหุ้น

จำ�นวนเงิน

ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ เพิ่มทุน

1 1

2,244,779 260,221

2,244,779 260,221

2,244,779 -

2,244,779 -

ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ

1

2,505,000

2,505,000

2,244,779

2,244,779

ณ วันที่ 1 มกราคม หุ้นสามัญ

1

2,244,779

2,244,779

2,244,779

2,244,779

ณ วันที่ 31 ธันวาคม หุ้นสามัญ

1

2,244,779

2,244,779

2,244,779

2,244,779

ทุนจดทะเบียน

ทุนที่ออกและชำ�ระแล้ว

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

123


ในการประชุมสามัญประจำ�ปีของผูถ้ อื หุน้ ของบริษทั ฯ เมือ่ วันที่ 26 เมษายน 2554 ผูถ้ อื หุน้ มีมติอนุมตั ใิ นเรือ่ ง ดังต่อไปนี้ (ก) อนุมัติให้ออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ จำ�นวนไม่เกิน 224,477,900 หน่วย และการออกหุ้นสามัญเพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำ�คัญแสดงสิทธิ (ข) อนุมัติให้ออกหุ้นสามัญเสนอขายแก่พนักงานของกลุ่มบริษัทจำ�นวนไม่เกิน 35,743,099 หุ้น (ค) อนุมัติให้เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทฯ โดยออกหุ้นสามัญใหม่จำ�นวนไม่เกิน 260,220,999 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อรองรับการใช้สิทธิตามใบสำ�คัญแสดงสิทธิและการใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญของพนักงาน ของกลุ่มบริษัท (ง) อนุมัติให้งดจ่ายเงินปันผลประจำ�ปี 2553 เนื่องจากกลุ่มบริษัทมีผลขาดทุนจากการดำ�เนินงานในปี 2553

การเพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัทฯ ได้จดทะเบียนเพิ่มทุนจำ�นวน 260,220,999 บาท กับกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554

โครงการสิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกให้พนักงาน (ESOP) ระหว่างปี 2554 บริษทั ฯ ได้ออกโครงการสิทธิซือ้ หุน้ สามัญให้พนักงานของกลุม่ โดยมีจ�ำ นวนหุน้ ทัง้ หมด 32,093,099 หุน้ และมีอายุโครงการไม่เกิน 5 ปี นับจากวันที่ 10 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันให้สิทธิโดยบริษัทฯ จะเสนอขายให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2558 บริษทั ฯ ได้บนั ทึกบัญชีโดยพิจารณามูลค่ายุตธิ รรมโดยประมาณของสิทธิซือ้ หุน้ ในโครงการนี้ โดยใช้แบบจำ�ลอง ทวินาม และคำ�นวณแยกแต่ละช่วงระยะเวลาการใช้สิทธิ 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 2 3 4

ระยะเวลาใช้สิทธิ

จำ�นวนหุ้นที่สามารถใช้สิทธิ

1 มกราคม 2555 – 30 ธันวาคม 2558 1 มกราคม 2556 – 30 ธันวาคม 2558 1 มกราคม 2557 – 30 ธันวาคม 2558 1 มกราคม 2558 – 30 ธันวาคม 2558

10% ของหุ้นที่ได้รับจัดสรร 20% ของหุ้นที่ได้รับจัดสรร 30% ของหุ้นที่ได้รับจัดสรร 40% ของหุ้นที่ได้รับจัดสรร

ราคาใช้สิทธิ 2.90 3.00 3.10 3.20

ตามสมมติฐาน ราคาหุ้น ณ วันที่ให้สิทธิ เท่ากับ 2.44 บาท ความผันผวนที่คาดหวังร้อยละ 24.7 อายุโครงการ 5 ปี และอัตราดอกเบี้ยปลอดความเสี่ยงร้อยละ 3.75 มูลค่ายุติธรรมของสิทธิซื้อหุ้นใน 4 ครั้ง เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.42–0.51 บาท ต่อหน่วย บริษัทฯ บันทึกมูลค่ายุติธรรมเป็นค่าใช้จ่ายพนักงานจากการใช้สิทธิซื้อหุ้นแก่พนักงานตลอดระยะเวลาที่พนักงาน สามารถเข้าใช้สิทธิได้ในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และบันทึกในส่วนของผู้ถือหุ้น ในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น สำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 เป็นจำ�นวน 4.92 ล้านบาท หมายเหตุประกอบงบการเงิน 124


SUCCESS WITH INTEGRITY

ใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ ระหว่างปี 2554 บริษัทฯ ได้ออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ ซึ่งมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

จำ�นวนใบสำ�คัญแสดงสิทธิ สิทธิของใบสำ�คัญแสดงสิทธิ ราคาใช้สิทธิ อายุของใบสำ�คัญแสดงสิทธิ

224,477,528 หน่วย ใบสำ�คัญแสดงสิทธิ จำ�นวน 1 หน่วย ต่อ หุ้นสามัญเดิม 10 หุ้น 2.80 บาท 2 ปี 7 เดือน (18 พฤษภาคม 2554 – 17 ธันวาคม 2556)

25. ส่วนเกินทุนและสำ�รอง ส่วนเกินมูลค่าหุ้น ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด พ.ศ. 2535 มาตรา 51 ในกรณีที่บริษัทฯ เสนอขายหุ้นสูงกว่า มูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้ บริษัทฯ ต้องนำ�ค่าหุ้นส่วนเกินนี้ตั้งเป็นทุนสำ�รอง (“ส่วนเกินมูลค่าหุ้น”) ส่วนเกินมูลค่าหุ้นนี้จะ นำ�ไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้ สำ�รองประกอบด้วย

การจัดสรรกำ�ไร และ/หรือ กำ�ไรสะสม สำ�รองตามกฎหมาย ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำ�กัด พ.ศ. 2535 มาตรา 116 บริษัทฯ จะต้องจัดสรรทุนสำ�รอง (“สำ�รองตามกฎหมาย”) อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำ�ไรสุทธิประจำ�ปีหลังจากหักขาดทุนสะสมยกมา (ถ้ามี) จนกว่าสำ�รอง ดังกล่าวมีจำ�นวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน เงินสำ�รองนี้จะนำ�ไปจ่ายเป็นเงินปันผลไม่ได้

องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรม ผลต่างจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่ายุติธรรมแสดงในส่วนของผู้ถือหุ้นประกอบด้วย ผลรวมการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของสินทรัพย์ทางการเงินเผื่อขายจนกระทั่งมีการตัดรายการหรือเกิดการด้อยค่า

26. รายงานทางการเงินจำ�แนกตามส่วนงาน กลุ่มบริษัทได้นำ�เสนอข้อมูลทางการเงินจำ�แนกตามส่วนงานธุรกิจและส่วนงานภูมิศาสตร์ รูปแบบหลักในการรายงาน คือส่วนงานธุรกิจพิจารณาจากระบบการบริหาร การจัดการและโครงสร้างการรายงานทางการเงินภายในของกลุ่มบริษัทเป็น เกณฑ์ในการกำ�หนดส่วนงาน การกำ�หนดราคาระหว่างส่วนงานอยู่บนเงื่อนไขที่ตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

125


ผลได้ (เสีย) สินทรัพย์และหนี้สินตามส่วนงาน รวมรายการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับส่วนงาน หรือที่สามารถปันส่วนให้ กับส่วนงานได้อย่างสมเหตุสมผล รายการที่ไม่สามารถปันส่วนได้ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ดอกเบี้ยหรือเงินปันผลทั้งส่วน ของสินทรัพย์และรายได้ เงินให้กู้ยืมที่มีดอกเบี้ย เงินกู้ยืมและดอกเบี้ยจ่าย และสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายของกิจการโดยรวม

ส่วนงานธุรกิจ กลุ่มบริษัทเสนอส่วนงานธุรกิจที่สำ�คัญ ดังนี้ ส่วนงาน 1 ธุรกิจให้เช่าอาคาร ส่วนงาน 2 ธุรกิจโรงแรม

ส่วนงานภูมิศาสตร์ กลุ่มบริษัทดำ�เนินธุรกิจเฉพาะในประเทศเท่านั้น ดังนั้นฝ่ายบริหารจึงพิจารณาว่ากลุ่มบริษัทมีส่วนงานทางภูมิศาสตร์ เพียงส่วนงานเดียว ข้อมูลเกี่ยวกับผลได้ (เสีย) ตามส่วนงานธุรกิจในงบการเงินรวมสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท)

ธุรกิจให้เช่าอาคาร

ธุรกิจโรงแรม

ตัดรายการระหว่างกัน

รวม

2554

2553

2554

2553

2554

2553

2554

2553

รายได้จากภายนอก รายได้ระหว่างส่วนงาน

219 21

391 20

3,536 -

2,930 -

(21)

(20)

3,755 -

3,321 -

รวมรายได้

240

411

3,536

2,930

(21)

(20)

3,755

3,321

91

138

280

41

(13)

(13)

358

166

732 (6) (3) (91) (407) (53)

43 (7) (1) (80) (361) (20)

(39)

(15)

491

(275)

กำ�ไรจากการดำ�เนินงานตามส่วนงาน รายได้และค่าใช้จ่ายที่ไม่ได้ปันส่วน รายได้อื่น ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำ�หน่าย ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ต้นทุนทางการเงิน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ กำ�ไรสุทธิส่วนที่เป็นของส่วนได้เสีย ที่ไม่มีอำ�นาจควบคุม กำ�ไร (ขาดทุน) สำ�หรับปี

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 126


SUCCESS WITH INTEGRITY

การจำ�แนกส่วนงานทางธุรกิจในงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีดังนี้ (หน่วย : ล้านบาท)

สินค้าคงเหลือ ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สิทธิการเช่าที่ดินและ อาคาร ที่ดินรอการพัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์อื่น

ธุรกิจให้เช่า อาคาร

ธุรกิจโรงแรม

สินทรัพย์ที่ ไม่ได้ปันส่วน

ตัดรายการ ระหว่างกัน

2554

2553

2554

2553

2554

2553

2554

2553

2554

2553

21

712

53 9,103

55 9,070

68

18 55

302

315

53 9,494

73 10,152

181

326

1,494

1,547

-

-

(71)

(79)

1,604

1,794

104 983

104 826

12,238

12,949

รวมสินทรัพย์

รวม

(หน่วย : ล้านบาท)

เงินกู้ยืมที่มีดอกเบี้ย เจ้าหนี้ค่าสิทธิการเช่าที่ดิน หนี้สินอื่น

ธุรกิจให้เช่า อาคาร

ธุรกิจโรงแรม

หนี้สิน ที่ไม่ได้ปันส่วน

2554

2553

2554

2553

2554

-

475 180

8,631 180

8,976 180

307 -

ตัดรายการ ระหว่างกัน 2553

2554

2553

268 (1,439) (1,120) -

7,499 180 789

8,599 360 717

8,468

9,676

2553

2554

รวม

รวมหนี้สิน

27. รายได้อื่น (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

รายได้ค่าภาษีโรงเรือน กำ�ไรจากการจำ�หน่ายอาคารและอุปกรณ์ อื่น ๆ

2,789 549 55,271

7,834 286 29,993

2,708 253 51,800

7,704 201 27,905

รวม

58,609

38,113

54,761

35,810

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

127


28. ค่าใช้จ่ายในการขาย (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ค่าใช้จ่ายการตลาด ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน

164,605 86,138

155,611 58,471

112,406 31,022

101,798 16,643

รวม

250,743

214,082

143,428

118,441

29. ค่าใช้จ่ายในการบริหาร (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน ค่าธรรมเนียมในการบริหารและค่าธรรมเนียมอื่น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำ�รุงรักษา อื่น ๆ

306,825 173,061 70,838 260,082

269,640 168,299 39,358 224,785

194,699 99,615 27,831 93,755

183,829 95,201 21,328 74,954

รวม

810,806

702,082

415,900

375,312

30. ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์ของพนักงาน (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม

ผู้บริหาร

เงินเดือน และผลประโยชน์อื่น โครงการสิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกให้พนักงาน

พนักงานอื่น

เงินเดือน ค่าแรงและผลประโยชน์อื่น โครงการสิทธิซื้อหุ้นสามัญที่ออกให้พนักงาน รวม หมายเหตุประกอบงบการเงิน 128

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

38,222 2,584

35,154 -

36,647 2,584

33,354 -

40,806

35,154

39,231

33,354

926,190 2,337

779,388 -

444,311 2,337

387,693 -

928,527

779,388

446,648

387,693

969,333

814,542

485,879

421,047


SUCCESS WITH INTEGRITY

โครงการสมทบเงินที่กำ�หนดไว้ กลุ่มบริษัทได้จัดตั้งกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพสำ�หรับพนักงานของกลุ่มบริษัทบนพื้นฐานความสมัครใจของพนักงานในการ เป็นสมาชิกของกองทุน โดยพนักงานจ่ายเงินสะสมในอัตราร้อยละ 3 ถึง อัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนทุกเดือน และกลุ่ม บริษัทจ่ายสมทบในอัตราร้อยละ 3 ถึง อัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนของพนักงานทุกเดือน กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพนี้ได้ จดทะเบียนเป็นกองทุนสำ�รองเลีย้ งชีพตามข้อกำ�หนดของกระทรวงการคลังและจัดการกองทุนโดยผูจ้ ดั การกองทุนทีไ่ ด้รบั อนุญาต

31. ค่าใช้จ่ายตามลักษณะ งบการเงินได้รวมการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายตามหน้าที่ ค่าใช้จ่ายตามลักษณะได้เปิดเผยตามข้อกำ�หนดในมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับต่าง ๆ ดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวม ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน ต้นทุนขายอาหารและเครื่องดื่ม ค่าเช่าจ่าย

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

969,333 556,040 44,150

814,542 462,068 47,037

485,879 257,434 20,143

421,047 231,104 31,326

32. ต้นทุนทางการเงิน (หน่วย : พันบาท)

หมายเหตุ

ดอกเบี้ยจ่าย

กิจการที่เกี่ยวข้องกัน สถาบันการเงิน ค่าตัดจำ�หน่ายของต้นทุนการทำ�รายการ ส่วนที่บันทึกรวมกับเงินกู้ยืม หัก: จำ�นวนที่รวมอยู่ในต้นทุนของ สินทรัพย์ที่เข้าเงื่อนไข - ส่วนที่บันทึกเป็นต้นทุนของ สินทรัพย์ระหว่างก่อสร้าง สุทธิ

5

13

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

410,095

363,477

3,134 267,765

1,874 245,080

-

1,549

-

31

410,095

365,026

270,899

246,985

(3,413)

(4,264)

(3,413)

(1,800)

406,682

360,762

267,486

245,185

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

129


33. ภาษีเงินได้ การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล – ปัจจุบัน พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากรฉบับที่ 387 พ.ศ. 2544 ลงวันที่ 5 กันยายน 2544 ให้สิทธิทางภาษีแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จากอัตราร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 25 สำ�หรับกำ�ไรสุทธิทางภาษีเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลาห้ารอบระยะเวลา บัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และยังได้รับสิทธิในการลด ภาษีเงินได้นิติบุคคลแห่งพระราชกฤษฎีกาตามความในประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 475 แต่ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชี 2553 ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2553 จำ�นวนภาษีเงินได้ในงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะกิจการและงบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมไม่เท่ากับจำ�นวนภาษี เงินได้ที่คำ�นวณโดยการใช้อัตราภาษีเงินได้คูณกับยอดกำ�ไรสุทธิตามบัญชีสำ�หรับปีเนื่องจาก (ก) มีขาดทุนทางภาษีที่ยังไม่ได้ใช้ยกมาจากปีก่อน และได้ถูกนำ�มาใช้เพื่อลดจำ�นวนกำ�ไรที่ต้องเสียภาษีในปีปัจจุบัน (ข) ความแตกต่างระหว่างการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชีกับรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษีบางรายการ (ค) ขาดทุนของบริษทั ย่อยบางแห่งไม่สามารถจะนำ�มาสุทธิกบั กำ�ไรของบริษทั ย่อยแห่งอืน่ ๆ ในการคำ�นวณภาษีเงินได้

34. กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้น กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐานสำ�หรับแต่ละปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 คำ�นวณจากกำ�ไร (ขาดทุน) สำ�หรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญของบริษัทฯ และจำ�นวนหุ้นสามัญที่ออกจำ�หน่ายแล้วระหว่างปีในแต่ละปีโดยวิธี ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนัก แสดงการคำ�นวณดังนี้ (หน่วย : พันบาท / พันหุ้น) งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

กำ�ไร (ขาดทุน) ที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน)

491,325

(275,017)

708,757

15,342

จำ�นวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนัก (ขั้นพื้นฐาน)

2,244,779

2,244,779

2,244,779

2,244,779

0.22

(0.12)

0.32

0.01

กำ�ไร (ขาดทุน) ต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 130


SUCCESS WITH INTEGRITY

กำ�ไรต่อหุ้นปรับลด กำ�ไรต่อหุ้นปรับลดสำ�หรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 คำ�นวณจากกำ�ไรสำ�หรับปีที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ของบริษัทฯ และจำ�นวนหุ้นสามัญที่ออกจำ�หน่ายแล้วระหว่างปีโดยถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนัก หลังจากที่ได้ปรับปรุงผลกระทบ ของหุ้นปรับลด ดังนี้ (หน่วย : พันบาท / พันหุ้น) สำ�หรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม กำ�ไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นสามัญ ของบริษัท (ขั้นพื้นฐาน) ผลกระทบจากการออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิ ซื้อหุ้นสามัญ ผลกระทบจากสิทธิซื้อหุ้นของพนักงาน กำ�ไรที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท (ปรับลด) จำ�นวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนัก (ขั้นพื้นฐาน) ผลกระทบจากการออกใบสำ�คัญแสดงสิทธิ ซื้อหุ้นสามัญ ผลกระทบจากสิทธิซื้อหุ้นของพนักงาน จำ�นวนหุ้นสามัญโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำ�หนัก (ปรับลด) กำ�ไรต่อหุ้น (ปรับลด) (บาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

491,325

-

708,757

-

-

-

-

-

491,325

-

708,757

-

2,244,779

-

2,244,779

-

-

-

-

-

2,244,779

-

2,244,779

-

0.22

-

0.32

-

35. เงินปันผล ในการประชุมสามัญประจำ�ปีผู้ถือหุ้นของบริษัทย่อย เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2553 ผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการจัดสรรกำ�ไร เป็นเงินปันผลในอัตราหุ้นละ 0.30 บาท เป็นจำ�นวนทั้งสิ้น 23.9 ล้านบาท เงินปันผลดังกล่าวได้จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 2553

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

131


36. เครื่องมือทางการเงิน นโยบายการจัดการความเสี่ยงทางด้านการเงิน กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงจากการดำ�เนินธุรกิจตามปกติจากการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศ และจากการไม่ปฏิบัติตามข้อกำ�หนดตามสัญญาของคู่สัญญา กลุ่มบริษัทไม่มีการถือหรือออกเครื่องมือทางการ ที่เป็นตราสารอนุพันธ์ เพื่อการเก็งกำ�ไรหรือการค้า การจัดการความเสี่ยงเป็นส่วนที่สำ�คัญของธุรกิจของกลุ่มบริษัท กลุ่มบริษัทมีระบบในการควบคุมให้มีความสมดุลของ ระดับความเสีย่ งทีย่ อมรับได้ โดยพิจารณาระหว่างต้นทุนทีเ่ กิดจากความเสีย่ งและต้นทุนของการจัดการความเสีย่ ง ฝ่ายบริหาร ได้มกี ารควบคุมกระบวนการการจัดการความเสีย่ งของกลุม่ บริษทั อย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ให้มน่ั ใจว่ามีความสมดุลระหว่างความเสีย่ ง และการควบคุมความเสี่ยง

การบริหารจัดการทุน นโยบายของคณะกรรมการกลุ่มบริษัท คือการรักษาระดับเงินทุนให้มั่นคงเพื่อรักษานักลงทุน เจ้าหนี้และความเชื่อมั่น ของตลาดและก่ อ ให้ เ กิ ด การพั ฒ นาของธุ ร กิ จ ในอนาคต คณะกรรมการได้ มี ก ารกำ � กั บ ดู แ ลผลตอบแทนจากการลงทุ น ซึง่ กลุม่ บริษทั พิจารณาจากสัดส่วนของผลตอบแทนจากกิจกรรมดำ�เนินงานต่อส่วนของเจ้าของรวม ซึง่ ไม่รวมส่วนได้เสียทีไ่ ม่มี อำ�นาจควบคุม อีกทั้งยังกำ�กับดูแลระดับการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญ

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย หมายถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดในอนาคตของอัตราดอกเบี้ยใน ตลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำ�เนินงานและกระแสเงินสดของกลุ่มบริษัท เนื่องจากดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตรา ดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นลงตามอัตราตลาด กลุ่มบริษัทมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืม (ดูหมายเหตุประกอบ งบการเงินข้อ 19) กลุ่มบริษัทได้ลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยทำ�ให้แน่ใจว่าดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกู้ยืมส่วนใหญ่มีอัตรา ใกล้เคียงกับอัตราตลาดในปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของเงินให้กู้ยืม ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกำ�หนดชำ�ระหรือกำ�หนดอัตราใหม่ มีดังนี้ (หน่วย : ร้อยละต่อปี)

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจาก 1 ปี หลังจาก 5 ปี แต่ภายใน 5 ปี

ภายใน 1 ปี

รวม

ปี 2554

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน

5.48

-

1,393,545

-

1,393,545

4.53

-

1,080,774

-

1,080,774

ปี 2553

เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ เกี่ยวข้องกัน

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 132


SUCCESS WITH INTEGRITY

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของหนี้สินทางการเงินที่มีภาระดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม และระยะที่ครบกำ�หนดชำ�ระ หรือกำ�หนดอัตราใหม่ มีดังนี้ (หน่วย : ร้อยละต่อปี)

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง

งบการเงินรวม หลังจาก 1 ปี หลังจาก 5 ปี แต่ภายใน 5 ปี

ภายใน 1 ปี

รวม

5, MLR–1.50, เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน MLR–2.00, อัตรา เงินฝากประจำ�ประเภท 6 เดือน + 2.00

771,350

5,501,500

1,226,167

7,499,017

5, MLR–1.50, เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน MLR–2.00, อัตรา เงินฝากประจำ�ประเภท 6 เดือน + 2.00

769,450

4,192,250

3,637,267

8,598,967

ปี 2554

ปี 2553

(หน่วย : ร้อยละต่อปี)

(หน่วย : พันบาท)

อัตราดอกเบี้ย ที่แท้จริง

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจาก 1 ปี หลังจาก 5 ปี แต่ภายใน 5 ปี

ภายใน 1 ปี

รวม

ปี 2554

เงินกู้ยืมจากกิจการที่ 5.48 เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 5, MLR–1.50, MLR–2.00, อัตรา เงินฝากประเภท 6 เดือน + 2.00

-

45,438

-

45,438

591,350

4,116,500

241,400

4,949,250

รวม

591,350

4,161,938

241,400

4,994,688

ปี 2553

เงินกู้ยืมจากกิจการที่ 4.53 เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน 5, MLR–1.50, MLR–2.00, อัตรา เงินฝากประเภท 6 เดือน + 2.00

-

38,861

-

38,861

599,450

3,112,250

2,202,500

5,914,200

รวม

599,450

3,151,111

2,202,500

5,953,061

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

133


ในระหว่างปี 2554 บริษทั ฯ ได้เข้าทำ�สัญญาแลกเปลีย่ นอัตราดอกเบีย้ กับสถาบันการเงินแห่งหนึง่ เพือ่ เงินกูย้ มื ระยะยาว สกุลเงินบาทจำ�นวนรวมทั้งหมด 2,512 ล้านบาท จากอัตราดอกเบี้ยลอยตัวเป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ตามที่ระบุไว้ในสัญญา แต่ละสัญญามีระยะเวลา 4 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557 สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยช่วยป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของอัตราดอกเบี้ย ผลต่างที่จะต้องจ่าย หรือจะได้รับตามสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยได้บันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนทางการเงินตลอดระยะเวลาตามสัญญา มูลค่ายุติธรรมของสัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 และ 2553 มีดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ มูลค่ายุติธรรม

สัญญาแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย

31 ธันวาคม 2554

31 ธันวาคม 2553

15,656

16,479

ความเสี่ยงจากเงินตราต่างประเทศ กลุ่มบริษัทดำ�เนินธุรกิจหลักเป็นเงินบาท บริษัทฯ ไม่มีความเสี่ยงที่เป็นสาระสำ�คัญจากเงินตราต่างประเทศ

ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ ความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อ คือความเสี่ยงที่ลูกค้าหรือคู่สัญญาไม่สามารถชำ�ระหนี้แก่กลุ่มบริษัท ตามเงื่อนไขที่ตกลง ไว้เมื่อครบกำ�หนด ฝ่ายบริหารได้กำ�หนดนโยบายทางด้านสินเชื่อเพื่อควบคุมความเสี่ยงทางด้านสินเชื่อดังกล่าวโดยสม่ำ�เสมอ โดยการ วิเคราะห์ฐานะทางการเงินของลูกค้าทุกรายที่ขอวงเงินสินเชื่อในระดับหนึ่ง ๆ ณ วันที่รายงาน ไม่พบว่ามีความเสี่ยงจาก สินเชื่อที่เป็นสาระสำ�คัญ ความเสี่ยงสูงสุดทางด้านสินเชื่อแสดงไว้ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ทางการเงินแต่ละรายการ ในงบดุล อย่างไรก็ตาม เนือ่ งจากกลุม่ บริษทั มีฐานลูกค้าจำ�นวนมาก ฝ่ายบริหารไม่ได้คาดว่าจะเกิดผลเสียหายทีม่ สี าระสำ�คัญ จากการเก็บหนี้ไม่ได้

ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง กลุ่มบริษัท มีการควบคุมความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องโดยการรักษาระดับของเงินสดและรายการเทียบเท่า เงินสดให้เพียงพอต่อการดำ�เนินงานของกลุ่มบริษัท และเพื่อทำ�ให้ผลกระทบจากความผันผวนของกระแสเงินสดลดลง

การกำ�หนดมูลค่ายุติธรรม สินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่จะครบกำ�หนดในระยะเวลาอันสั้น และเงินกู้ยืมระยะยาวที่จ่ายดอกเบี้ยในอัตรา ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบีย้ ในตลาด แสดงมูลค่ายุตธิ รรมโดยประมาณมูลค่าตามบัญชีทีแ่ สดงในงบดุล บริษทั ฯ และบริษทั ย่อย ไม่มีการพิจารณามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์และหนี้สินทางการเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่มากกว่า 1 ปี ซึ่งมีจำ�นวนไม่เป็น สาระสำ�คัญเมื่อเทียบกับจำ�นวนเงินกู้ทั้งหมด หมายเหตุประกอบงบการเงิน 134


SUCCESS WITH INTEGRITY

มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำ�นวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์กันในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้ และเต็มใจในการแลกเปลีย่ น และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะทีไ่ ม่มคี วามเกีย่ วข้องกัน วิธกี ารกำ�หนด มูลค่ายุตธิ รรมขึน้ อยูก่ บั ลักษณะของเครือ่ งมือทางการเงิน มูลค่ายุตธิ รรมจะกำ�หนดจากราคาตลาดล่าสุด หรือกำ�หนดขึน้ โดยใช้ เกณฑ์การวัดมูลค่าที่เหมาะสม 37. การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 บริษัทฯ และบริษัทย่อยบางแห่งได้มีการเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานของอาคารและ ส่วนปรับปรุงอาคารจาก 30 ปี เป็น 40 ปี ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทำ�ให้งบการเงินของกลุ่มบริษัทและบริษัทฯ สำ�หรับ ปี 2553 มีขาดทุนสำ�หรับงวดลดลงจำ�นวน 20.09 ล้านบาท (งบการเงินเฉพาะกิจการ: กำ�ไรเพิ่มขึ้น 6.71 ล้านบาท ตาม ลำ�ดับ และขาดทุนต่อหุ้นลดลงจำ�นวน 0.008 บาทต่อหุ้น (งบการเงินเฉพาะกิจการ : กำ�ไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น 0.002 บาทต่อหุ้น) 38. ภาระผูกพันกับบุคคลหรือกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (หน่วย : ล้านบาท)

งบการเงินรวม

งบการเงินเฉพาะกิจการ

2554

2553

2554

2553

603.1

305.1

541.8

248.2

ภายในหนึ่งปี หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี หลังจากห้าปี

16.3 12.9 0.3

33.8 2.8 -

7.9 4.4 -

13.2 0.9 -

รวม

29.5

36.6

12.3

14.1

ภายในหนึ่งปี หลังจากหนึ่งปีแต่ไม่เกินห้าปี หลังจากห้าปี

32.6 155.8 1,853.8

46.5 213.9 2,669.5

12.9 74.1 1,567.0

27.3 135.5 1,852.9

รวม

2,042.2

2,929.9

1,654.0

2,015.7

ค้ำ�ประกันวงเงินกู้และวงเงินสินเชื่อ หนังสือค้ำ�ประกันจากธนาคาร

750.0 23.2

750.0 30.1

750.0 14.0

750.0 21.5

รวม

773.2

780.1

764.0

771.5

ภาระผูกพันรายจ่ายฝ่ายทุน สัญญาที่ยังไม่ได้รับรู้

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าดำ�เนินงาน

ภาระผูกพันตามสัญญาเช่าระยะยาว

ภาระผูกพันอื่น ๆ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

135


สัญญาระยะยาว บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีสัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาวและสัญญาบริการต่าง ๆ กับบุคคลภายนอก บริษัทในประเทศ บริษัทในต่างประเทศ และหน่วยราชการดังต่อไปนี้ สัญญาเช่าทรัพย์สินระยะยาว บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด ได้ทำ�สัญญาเช่าอาคารกับหน่วยราชการแห่งหนึ่ง โดยมีกำ�หนดเวลาเช่า 30 ปี นับแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2530 โดยบริษัทย่อยต้องจ่ายค่าเช่ารายเดือนตามอัตราค่าเช่าในแต่ละปีตามที่ระบุในสัญญา อย่างไร ก็ตาม เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2549 บริษัทย่อยดังกล่าวได้ลงนามในสัญญารับทำ�การปรับปรุงอาคารและเช่าที่ดินและอาคาร ที่ปรับปรุงแล้ว ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะชำ�ระค่าตอบแทนเป็นจำ�นวน 70.0 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อย ได้ชำ�ระเงินดังกล่าวทั้งจำ�นวนแล้ว นอกจากนี้ บริษัทย่อยผูกพันที่จะชำ�ระค่าเช่าเป็นรายเดือนในอัตราค่าเช่าแต่ละปีตามที่ ระบุในสัญญามีกำ�หนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) ได้ทำ�สัญญาเช่าที่ดินแปลงหนึ่งกับบริษัทที่เกี่ยวข้องกันแห่งหนึ่ง มีกำ�หนด ระยะเวลาเช่า 30 ปี สิ้นสุดในปี 2564 โดยเมื่อครบกำ�หนดสัญญาเช่าแล้ว บริษัทย่อยมีสิทธิต่ออายุสัญญาเช่าอีก 20 ปี บริษัทย่อยต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินในอัตราปีละ 14.1 ล้านบาท (2553: 10.9 ล้านบาท) และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุกระยะ 10 ปี และเมื่อครบกำ�หนดอายุสัญญาเช่าแล้ว อาคารและส่วนปรับปรุงบนที่ดินเช่า รวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง เครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีส่วนสำ�คัญในการดำ�เนินกิจการโรงแรมจะตกเป็นของผู้ให้เช่า บริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำ�กัด ได้ทำ�สัญญาเช่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งอาคารโรงแรมและอาคารสำ�นักงานภายใต้สัญญาเช่า 2 ฉบับ จากผู้ให้เช่า ตามสัญญานี้ บรรดาสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินที่เช่ารวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่งและเครื่องมือเครื่องใช้ ที่มีส่วนสำ�คัญในการดำ�เนินการตามโครงการจะตกเป็นของผู้ให้เช่าทันทีเมื่ออายุของสัญญาเช่าสิ้นสุดลง บริษัทย่อยผูกพัน ที่จะชำ�ระค่าเช่าที่ดินในอัตราปีละ 24.3 ล้านบาท (สำ�หรับปี 2548 – 2557) และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุกระยะ 10 ปี ซึ่งสัญญาเช่ามีกำ�หนดระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดในปี 2568 ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาเช่า บริษัทย่อยจะต้องรับภาระจ่าย ค่าตอบแทนการเช่า และเงินประกันการจ่าย ค่าเช่าดังนี้ 1. ค่าตอบแทนการเช่าจำ�นวน 360.0 ล้านบาท จะชำ�ระภายในปีที่ 30 ของการเช่า ซึ่งได้บันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งใน “เจ้าหนี้ค่าสิทธิการเช่าที่ดิน” ในงบแสดงฐานะการเงิน 2. เงินประกันการจ่ายค่าเช่าจำ�นวน 180.0 ล้านบาท บริษัทย่อยได้จ่ายเงินประกันดังกล่าวเต็มจำ�นวนแล้ว ซึ่งจะได้ รับคืนในปีที่ 30 ของการเช่าและได้แสดงเป็นส่วนหนึง่ ของ “เงินมัดจำ�การเช่าทีด่ นิ อาคารและอุปกรณ์” ในงบแสดง ฐานะการเงิน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2545 บริษัทเอราวัณ เพลินจิต จำ�กัด ได้ทำ�สัญญาเช่าที่ดินเฉพาะส่วนที่เป็นที่ตั้งของอาคาร โรงแรมเพื่อต่ออายุสัญญาเช่า ซึ่งตามสัญญาเดิมได้ระบุให้ผู้เช่าสามารถขอต่ออายุสัญญาเช่าได้อีกเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุ แล้ว บริษัทย่อยตกลงเช่าที่ดินโดยมีกำ�หนดระยะเวลา 20 ปี นับแต่วันที่ 24 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 23 มกราคม 2588 โดยบริษัทย่อยต้องจ่ายค่าตอบแทนการเช่าจำ�นวน 216.1 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยได้ชำ�ระเงินดังกล่าวทั้งจำ�นวนแล้ว

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 136


SUCCESS WITH INTEGRITY

นอกจากค่าตอบแทนการเช่าดังกล่าวข้างต้นแล้ว บริษัทย่อยผูกพันที่จะต้องจ่ายชำ�ระค่าเช่าที่ดินดังนี้ ค่าเช่าสำ�หรับปี 2568 ถึงปี 2577 ในอัตราปีละ 44.7 ล้านบาทหรือในอัตราที่คำ�นวณจากอัตราเฉลี่ยของดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปของประเทศไทยแล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า ค่าเช่าสำ�หรับปี 2578 ถึงปี 2588 ในอัตราปีละ 89.4 ล้านบาท หรือในอัตราที่คำ�นวณจากอัตราเฉลี่ยของดัชนีราคา ผู้บริโภคทั่วไปของประเทศไทยแล้วแต่อัตราใดจะสูงกว่า เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 บริษัทย่อยได้โอนภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ เมือ่ วันที่ 1 เมษายน 2545 บริษทั เอราวัณ เพลินจิต จำ�กัด ได้ท�ำ สัญญาเช่าทีด่ นิ กับบุคคลภายนอก มีก�ำ หนดระยะเวลา เช่า 22 ปี 10 เดือน สิ้นสุดในปี 2568 ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทย่อยตกลงชำ�ระค่าตอบแทนการเช่าโดยแบ่งจ่าย เป็น 3 งวด รวมเป็นเงิน 32.8 ล้านบาท บริษัทย่อยได้จ่ายชำ�ระค่าตอบแทนการเช่างวดแรกและงวดที่สองเรียบร้อยแล้ว เป็นจำ�นวน 23.2 ล้านบาท ยอดคงเหลือจำ�นวน 9.6 ล้านบาท มีกำ�หนดชำ�ระในปี 2568 นอกจากนี้ บริษัทย่อยต้องจ่าย ค่าเช่าที่ดินในระยะเวลา 3 ปีแรก ในอัตราปีละ 0.8 ล้านบาท และให้มีการปรับอัตราค่าเช่าทุกระยะ 10 ปีต่อไป และเมื่อ ครบกำ�หนดอายุสัญญาเช่าแล้ว สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่ารวมทั้งอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง เครื่องมือเครื่องใช้ที่มีส่วนสำ�คัญ ในการดำ�เนินการจะตกเป็นกรรมสิทธิข์ องผูใ้ ห้เช่า เมือ่ วันที่ 1 มกราคม 2551 บริษทั ย่อยได้โอนภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าว ให้แก่บริษทั ฯ ต่อมาเมือ่ วันที่ 1 เมษายน 2554 บริษทั ฯ ได้ขายและโอนกรรมสิทธิใ์ นอาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ให้แก่กองทุนรวม สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไพร์มออฟฟิศ บริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด ได้ทำ�สัญญาเช่าที่ดินกับมูลนิธิแห่งหนึ่งเพื่อทำ�การปรับปรุงพัฒนาที่ดินและดำ�เนิน การก่อสร้างอาคาร ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะชำ�ระค่าเช่าเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ 100,000 บาท สัญญากำ�หนดให้วนั เริม่ ต้นการเช่าและการจ่ายค่าเช่าคือในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นไป และให้มกี ารปรับอัตราค่าเช่า ทุกระยะ 10 ปี ซึ่งสัญญาเช่ามีกำ�หนดระยะ 30 ปี สิ้นสุดในปี 2577 และเมื่อสัญญาเช่าหมดอายุแล้วจะขอต่อสัญญาเช่า ได้อีก โดยบริษัทย่อยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปีก่อนครบกำ�หนด สัญญาเช่า และเมื่อครบกำ�หนดอายุสัญญาเช่าแล้ว อาคารและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดบนที่ดินดังกล่าวจะตกเป็นของผู้ให้เช่า เมือ่ วันที่ 9 มิถนุ ายน 2549 บริษทั ฯ ได้ท�ำ สัญญาเช่าทีด่ นิ กับบุคคลภายนอกมีก�ำ หนดระยะเวลา 30 ปี สิน้ สุดในปี 2581 ภายใต้เงือ่ นไขในสัญญา บริษทั ฯ ตกลงชำ�ระค่าตอบแทนการเช่าเป็นจำ�นวน 25.0 ล้านบาท บริษทั ฯ ได้จา่ ยชำ�ระค่าตอบแทน การเช่าดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ บริษทั ฯ ต้องจ่ายค่าเช่าทีด่ นิ ในระยะเวลา 3 ปีแรก ในอัตราปีละ 1.2 ล้านบาท และให้มกี ารปรับ อัตราค่าเช่าทุก 3 ปี และเมื่อครบกำ�หนดอายุสัญญาเช่า สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ทั้งหมดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า เมือ่ วันที่ 29 มีนาคม 2550 บริษทั ฯ ได้ท�ำ สัญญาเช่าทีด่ นิ กับบุคคลภายนอกมีก�ำ หนดระยะเวลา 30 ปี สิน้ สุดในปี 2582 ภายใต้เงือ่ นไขในสัญญา บริษทั ฯ ตกลงชำ�ระค่าตอบแทนการเช่าเป็นจำ�นวน 53.0 ล้านบาท บริษทั ฯ ได้จา่ ยชำ�ระค่าตอบแทน การเช่าดังกล่าวแล้ว นอกจากนี้ บริษทั ฯ ต้องจ่ายค่าเช่าทีด่ นิ ในระยะเวลา 3 ปีแรก ในอัตราปีละ 0.4 ล้านบาท และให้มกี ารปรับ อัตราค่าเช่าทุก 3 ปี และเมื่อครบกำ�หนดอายุสัญญาเช่า สิ่งปลูกสร้างบนที่ดินรวมทั้งอุปกรณ์ติดตั้งที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ทั้งหมดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

137


เมือ่ วันที่ 19 มีนาคม 2553 บริษทั ฯ ได้ท�ำ สัญญาเช่าทีด่ นิ กับบริษทั ในประเทศ 2 แห่ง มีก�ำ หนดระยะเวลา 30 ปี สิน้ สุด ในปี 2586 ภายใต้เงื่อนไขในสัญญา บริษัทฯ ตกลงชำ�ระค่าตอบแทนการเช่าเป็นจำ�นวน 150.0 ล้านบาท บริษัทฯ ได้จ่าย ชำ�ระค่าตอบแทนการเช่าดังกล่าวแล้ว เมือ่ ครบกำ�หนดอายุสญ ั ญาเช่า สิง่ ปลูกสร้างบนทีด่ นิ รวมทัง้ อุปกรณ์ตดิ ตัง้ ทีไ่ ม่สามารถ เคลื่อนที่ได้ทั้งหมดให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่า สัญญาบริหารโรงแรม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2531 บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) ได้ทำ�สัญญากับบริษัทหลายแห่งในกลุ่มของ บริษัท ไฮแอท อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด โดยบริษัทคู่สัญญาดังกล่าวจะให้บริการต่าง ๆ ที่จำ�เป็นเกี่ยวกับงาน ก่อสร้างและบริหารโรงแรมของบริษทั ย่อยแห่งนัน้ ตามเงือ่ นไขของสัญญา บริษทั ย่อยผูกพันทีจ่ ะจ่ายค่าธรรมเนียมการจัดการ ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิและค่าใช้จ่ายปันส่วนด้านการตลาดและส่งเสริมการขายแก่บริษัทคู่สัญญาตามอัตราที่ระบุไว้ใน สัญญา โดยสัญญาการจัดการจะมีอายุ 20 ปี นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำ�เนินการโรงแรม และมีสิทธิต่ออายุสัญญาได้อีกอย่างน้อย 10 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 บริษัท โรงแรมเอราวัณ จำ�กัด (มหาชน) ได้ทำ�สัญญาเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางประการกับ บริษัท ไฮแอท อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด โดยบริษัทย่อยดังกล่าวตกลงที่จะขยายอายุสัญญาบริหารโรงแรม ไปอีก 9.5 ปี และมีสิทธิต่ออายุสัญญาได้อีกอย่างน้อย 10 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุไว้ในสัญญา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2537 บริษัท เอราวัณ เพลินจิต จำ�กัด ได้ทำ�สัญญาการจัดการกับบริษัทหลายแห่งในกลุ่ม ของ Marriott Worldwide Corporation (“Marriott”) เพื่อว่าจ้างให้ “Marriott” เป็นผู้บริหารงานกิจการโรงแรมของบริษัทย่อย ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่บริษัทคู่สัญญาในอัตรา ระยะเวลา และ ตามวิธีการคำ�นวณที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมจะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2575 เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2551 บริษัทย่อยได้โอนภาระผูกพันตามสัญญาดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2548 บริษัท เอราวัณ ราชดำ�ริ จำ�กัด และ บริษัท เอราวัณ สมุย จำ�กัด ได้ทำ�บันทึกข้อตกลง กับกลุ่มของบริษัทในเครือ Marriott (“Marriott”) เพื่อว่าจ้างให้ “Marriott” เป็นผู้บริหารงานกิจการโรงแรมของบริษัทย่อย ให้เป็นโรงแรมตามมาตรฐานของ Courtyard by Marriott และ Renaissance Hotel ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อย ผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่บริษัทคู่สัญญาในอัตรา ระยะเวลา และตามวิธีการคำ�นวณที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมมีระยะเวลา 30 ปี นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำ�เนินกิจการโรงแรมและมีสิทธิต่ออายุสัญญานี้ได้อีกอย่าง น้อย 10 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุในสัญญา ในเดือนธันวาคม 2548 บริษัทฯ ได้ทำ�สัญญากับ Intercontinental Hotels Group เพื่อบริหารโรงแรมภายใต้แบรนด์ Holiday Inn ซึง่ มีทีต่ ัง้ อยูท่ ีพ่ ทั ยา โดยบริษทั ฯ ผูกพันทีจ่ ะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่บริษทั คูส่ ญ ั ญาในอัตรา ระยะเวลา และตามวิธีการคำ�นวณที่ระบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมมีระยะเวลา 15 ปี นับตั้งแต่เริ่มเปิดดำ�เนินกิจการ โรงแรม และมีสิทธิต่ออายุสัญญานี้ได้อีก 5 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุในสัญญา ในเดือนมิถุนายน 2549 ถึงเดือนมีนาคม 2551 บริษัทฯ และบริษัท เอราวัณ เจ้าพระยา จำ�กัด ได้ทำ�สัญญาเพื่อว่าจ้าง ให้ Accor Group เป็นผู้บริหารงานกิจการโรงแรมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำ�นวน 10 แห่ง ภายใต้แบรนด์ ibis ซึ่งมีที่ตั้ง ในประเทศไทย โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อยผูกพันที่จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ให้แก่บริษัทคู่สัญญาในอัตรา ระยะเวลา และตามวิธกี ารคำ�นวณทีร่ ะบุไว้ในสัญญา โดยสัญญาบริหารโรงแรมมีระยะเวลา 15 ปี นับตัง้ แต่เริม่ เปิดดำ�เนินกิจการโรงแรม หมายเหตุประกอบงบการเงิน 138


SUCCESS WITH INTEGRITY

และมีสิทธิต่ออายุสัญญานี้ได้อีก 5 ปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่ระบุในสัญญา ต่อมาวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมระยะเวลาสัญญาจาก 15 ปี เป็น 20 ปี บริษัทย่อยแห่งหนึ่ง ได้แก่ บริษัท เอราวัณ ภูเก็ต จำ�กัด ตกลงร่วมกับกลุ่มของบริษัทในเครือ Six Senses เพื่อยกเลิก สัญญาบริหารโรงแรมในเดือนกรกฎาคม 2554 และได้ทำ�สัญญาบริหารโรงแรมใหม่กับกลุ่มของบริษัทในเครือ Starwood ซึ่งจะให้บริการด้านการบริหารรีสอร์ทแก่บริษัทย่อย ตามเงื่อนไขของสัญญา บริษัทย่อยผูกพันที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามอัตราที่ระบุไว้ในสัญญา และจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2575 โดยมีสิทธิต่ออายุสัญญาได้ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไข บางประการที่ระบุไว้ในสัญญา

39. หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น คดีฟ้องร้องและข้อพิพาท ก)

ในปี 2551 บริษทั ฯ ได้ถกู บริษทั แห่งหนึง่ ซึง่ เคยเป็นลูกค้าในอาคารให้เช่าฟ้องร้องเรียกคืนเงินประกันการเช่าทีบ่ ริษทั ฯ นำ�ไปหักกับค่าไฟฟ้าค้างชำ�ระเป็นจำ�นวนเงินประมาณ 1.3 ล้านบาท ซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำ�พิพากษาให้ยกฟ้องคดี แล้ว เมือ่ วันที่ 28 ธันวาคม 2553 ซึง่ ปัจจุบนั คดีอยูร่ ะหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ อย่างไรก็ตามผูบ้ ริหารเชือ่ ว่า บริษัทฯ จะไม่ได้รับผลเสียหายจากคดีฟ้องร้องดังกล่าว

ข)

ในปี 2552 บริษัทย่อยแห่งหนึ่งได้ยื่นคำ�เสนอข้อพิพาทให้สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำ�นักระงับข้อพิพาท เพื่อ พิจารณาข้อพิพาทกับบริษัทผู้รับเหมารายหนึ่งให้ชำ�ระเงินค่าเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดสัญญาก่อสร้าง ซึง่ บริษทั ผูร้ บั เหมารายดังกล่าวได้ยน่ื คำ�คัดค้าน/ข้อเรียกร้องแย้งต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการเช่นกัน ข้อพิพาทดังกล่าว อยู่ในกระบวนการพิจารณาระงับข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการและยังไม่เป็นที่สิ้นสุด ดังนั้นบริษัทย่อยจึงยัง ไม่สามารถประมาณการผลกระทบจากข้อพิพาทดังกล่าวได้

40. มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ยังไม่ได้ใช้ กลุ่มบริษัทยังไม่ได้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำ�เนินงานของกลุ่ม บริษัทดังต่อไปนี้ ณ วันที่รายงาน เนื่องจากยังไม่มีการบังคับใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ ดังต่อไปนี้กำ�หนดให้ถือปฏิบัติกับงบการเงินสำ�หรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ในปีดังต่อไปนี้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 12 มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 21 (ปรับปรุง 2552)

เรื่อง ภาษีเงินได้ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ปีที่มีผลบังคับใช้ 2556 2556

ขณะนีผ้ ูบ้ ริหารกำ�ลังพิจารณาถึงผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ จากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินทีอ่ อกและปรับปรุง ใหม่ดังกล่าวต่องบการเงินรวมหรืองบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทฯ

หมายเหตุประกอบงบการเงิน

139


41. การจัดประเภทรายการใหม่ รายการบางรายการในงบการเงิ น ปี 2553 ได้ มี ก ารจั ด ประเภทรายการใหม่ เ พื่ อ ให้ ส อดคล้ อ งกั บ การนำ � เสนอใน งบการเงินปี 2554 การจัดประเภทรายการเหล่านี้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี ซึ่งเป็นผลจากการใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่ออกและปรับปรุงใหม่ ดังที่กล่าวไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินข้อ 3 การจัดประเภท รายการอื่นที่มีสาระสำ�คัญเป็นดังนี้ (หน่วย : พันบาท)

2553 งบการเงินรวม ก่อนจัด ประเภทใหม่ งบแสดงฐานะการเงิน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ที่ดินรอการพัฒนา โครงการอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น หนี้สินหมุนเวียนอื่น

10,255,826 95,184 30,703 (348,221)

จัดประเภท ใหม่

งบการเงินเฉพาะกิจการ หลังจัด ก่อนจัด ประเภทใหม่ ประเภทใหม่

(104,207) 10,151,619 104,207 (45,647) 44,486 1,161

104,207 49,537 75,189 (347,060)

จัดประเภท ใหม่

หลังจัด ประเภทใหม่

6,242,902

-

6,242,902

15,883 28,656 (151,375)

-

15,883 28,656 (151,375)

งบกำ�ไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ค่าใช้จ่ายในการบริหาร ค่าตอบแทนผู้บริหาร

666,928 35,154

35,154 (35,154) -

หมายเหตุประกอบงบการเงิน 140

-

702,082 -

341,958 33,354

33,354 (33,354) -

375,312 -


SUCCESS WITH INTEGRITY

ข้บริษอัท ดิมูเอราวัลทัณ กรุ่ว๊ป ไป จำ�กัด (มหาชน) บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) “ERW” ทะเบียนเลขที่ 0107537001943

สำ�นักงานใหญ่ อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ชั้น 6 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2257 4588 โทรสาร 66 (0) 2257 4577

สำ�นักงานสาขาที่ 6 โรงแรมไอบิส กรุงเทพ สาทร เลขที่ 29/9 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 66 (0) 2610 5188 โทรสาร 66 (0) 2610 5189

สำ�นักงานสาขาที่ 1 อาคารเอราวัณ แบงค็อก เลขที่ 494 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 66 (0) 2250 7777 โทรสาร 66 (0) 2250 7788

สำ�นักงานสาขาที่ 7 โรงแรมไอบิส กรุงเทพ นานา เลขที่ 41 ซอยสุขุมวิท 4 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2667 5888 โทรสาร 66 (0) 2667 5889

สำ�นักงานสาขาที่ 2 โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ เลขที่ 4 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2656 7700 โทรสาร 66 (0) 2656 9831

สำ�นักงานสาขาที่ 8 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา เลขที่ 463/68 ถนนพัทยาสาย 1 ตำ�บลหนองปรือ อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ 66 (0) 3872 5555 โทรสาร 66 (0) 3872 5556

สำ�นักงานสาขาที่ 3 โรงแรมไอบิส ป่าตอง ภูเก็ต เลขที่ 10 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ตำ�บลป่าตอง อำ�เภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต 83150 โทรศัพท์ 66 (0) 7630 3888 โทรสาร 66 (0) 7630 3889

สำ�นักงานสาขาที่ 9 โรงแรมไอบิส ภูเก็ต กะตะ เลขที่ 88/8 ถนนกะตะ ตำ�บลกะรน อำ�เภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83100 โทรศัพท์ 66 (0) 7636 3488 โทรสาร 66 (0) 7636 3489

สำ�นักงานสาขาที่ 4 โรงแรมไอบิส พัทยา เลขที่ 463/79 ถนนพัทยาสาย 2 ตำ�บลหนองปรือ อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ 66 (0) 3841 8188 โทรสาร 66 (0) 3841 8189

สำ�นักงานสาขาที่ 10 โรงแรมไอบิส หัวหิน เลขที่ 73/15 ซอยหมู่บ้านหนองแก ตำ�บลหนองแก อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทรศัพท์ 66 (0) 3261 0388 โทรสาร 66 (0) 3261 0389

สำ�นักงานสาขาที่ 5 โรงแรมไอบิส สมุย บ่อผุด เลขที่ 197 ถนนรอบเกาะ ตำ�บลบ่อผุด อำ�เภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84320 โทรศัพท์ 66 (0) 7791 4888 โทรสาร 66 (0) 7791 4889

โฮมเพจ www.TheErawan.com

ข้อมูลทั่วไป

141


ประเภทธุรกิจ

ประกอบธุ ร กิ จ เกี่ ย วกั บ การลงทุ น พั ฒ นาและดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ โรงแรมที่ เ หมาะสม กับทำ�เลและสถานที่ ตั้ ง และกลุ่ มเป้ า หมายเป็ น ธุ ร กิ จหลั ก โดยมี ธุ ร กิ จอื่ นได้ แ ก่ ธุรกิจให้เช่าพื้นที่อาคารและธุรกิจรับจ้างบริหารอาคาร

ทุนของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2553 ทุนจดทะเบียน 2,505,000,000 บาท หุ้นสามัญ 2,505,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท ทุนชำ�ระแล้ว 2,244,779,001 บาท หุ้นสามัญ 2,244,779,001 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท บุคคลอ้างอิงอื่น ๆ นายทะเบียนหุ้นสามัญ

บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำ�กัด เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2359 1200-02 โทรสาร 66 (0) 2359 1259

ผู้สอบบัญชี

นายเจริญ ผู้สัมฤทธิ์เลิศ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4068

นางสาววรรณาพร จงพีรเดชานนท์ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 4098

นายวิเชียร ธรรมตระกูล ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3183

บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำ�กัด ชั้น 48 เอ็มไพร์ทาวเวอร์ 195 ถนนสาทรใต้ กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 66 (0) 2677 2000 โทรสาร 66 (0) 2677 2222

ข้อมูลทั่วไป 142


SUCCESS WITH INTEGRITY

สำ�นักงานใหญ่ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำ�กัด (มหาชน) อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร์ ชั้น 6 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท ซอย 2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2257 4588 โทรสาร 66 (0) 2257 4577 www.TheErawan.com

ธุรกิจโรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพ เลขที่ 494 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 66 (0) 2254 1234 โทรสาร 66 (0) 2254 6267 www.bangkok.grand.hyatt.com เจดับบลิว แมริออท กรุงเทพ เลขที่ 4 ถนนสุขุมวิท ซอย 2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2656 7700 โทรสาร 66 (0) 2656 7711 www.marriott.com/bkkdt เรเนซองส์ เกาะสมุย รีสอร์ท แอนด์ สปา เลขที่ 208/1 หมู่ที่ 4 ตำ�บลมะเร็ต อำ�เภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84310 โทรศัพท์ 66 (0) 7742 9300 โทรสาร 66 (0) 7742 9333 www.marriott.com/usmbr เดอะ นาคา ไอแลนด์, เอ ลักซ์ชัวรี่ คอลเลคชั่น รีสอร์ท แอนด์ สปา, ภูเก็ต เลขที่ 32 หมู่ที่ 5 ตำ�บลป่า คลอก อำ�เภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 โทรศัพท์ 66 (0) 7637 1400 โทรสาร 66 (0) 7637 1401 www.nakaislandphuket.com

คอร์ทยาร์ด โดย แมริออท กรุงเทพ เลขที่ 155/1 ซอยมหาดเล็กหลวง 1 ถนนราชดำ�ริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 66 (0) 2690 1888 โทรสาร 66 (0) 2690 1899 www.courtyard.com/bkkcy ฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา เลขที่ 463/68 ถนนพัทยาสาย 1 ตำ�บลหนองปรือ อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ 66 (0) 3872 5555 โทรสาร 66 (0) 3872 5556 www.holidayinn.com/pattaya ไอบิส ภูเก็ต ป่าตอง เลขที่ 10 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ตำ�บลป่าตอง อำ�เภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต 83150 โทรศัพท์ 66 (0) 7630 3888 โทรสาร 66 (0) 7630 3889 www.ibishotel.com ไอบิส พัทยา เลขที่ 463/79 ถนนพัทยาสาย 2 ตำ�บลหนองปรือ อำ�เภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150 โทรศัพท์ 66 (0) 3841 8188 โทรสาร 66 (0) 3841 8189 www.ibishotel.com ไอบิส สมุย บ่อผุด เลขที่ 197 ถนนรอบเกาะ ตำ�บลบ่อผุด อำ�เภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84320 โทรศัพท์ 66 (0) 7791 4888 โทรสาร 66 (0) 7791 4889 www.ibishotel.com

ข้อมูลทั่วไป

143


ไอบิส กรุงเทพ สาทร เลขที่ 29/9 ซอยงามดูพลี ถนนพระราม 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 66 (0) 2610 5188 โทรสาร 66 (0) 2610 5189 www.ibishotel.com

ไอบิส กรุงเทพ ริเวอร์ไซด์ เลขที่ 27 ถนนเจริญนคร ซอย 17 แขวงบางลำ�ภูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพฯ 10600 โทรศัพท์ 66 (0) 2805 9888 โทรสาร 66 (0) 2805 9889 www.ibishotel.com

ไอบิส กรุงเทพ นานา เลขที่ 4 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 66 (0) 2667 5888 โทรสาร 66 (0) 2667 5889 www.ibishotel.com

ไอบิส หัวหิน เลขที่ 73/15 ซอยหมู่บ้านหนองแก ตำ�บลหนองแก อำ�เภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทรศัพท์ 66 (0) 3261 0388 โทรสาร 66 (0) 3261 0389 www.ibishotel.com

ไอบิส ภูเก็ต กะตะ เลขที่ 88/8 ถนนกะตะ ตำ�บลกะรน อำ�เภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต 83100 โทรศัพท์ 66 (0) 7636 3488 โทรสาร 66 (0) 7636 3489 www.ibishotel.com

ข้อมูลทั่วไป 144

ธุรกิจพื้นที่ให้เช่า อาคารเอราวัณ แบงค็อก เลขที่ 494 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทรศัพท์ 66 (0) 2250 7777 โทรสาร 66 (0) 2250 7788 www.erawanbangkok.com


145


บริษัท ดิ เอราวัณ กรุป จำกัด (มหาชน)

อาคารเพลินจิต เซ็นเตอร ชั้น 6 เลขที่ 2 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท 66 (0) 2257 4588 l โทรสาร 66 (0) 2257 4577 ทะเบียนเลขที่ 0107537001943

146 www.TheErawan.com


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.