A DECADE
OF LEARNING
หนั ง สื อเป็น เสมื อ นคลั ง ที่ ร วบรวมเรื่ อ งราว ความรู้ ความคิ ด วิ ท ยาการทุ ก ด้ า นทุ ก อย่ า ง ซึ่ ง ม นุ ษ ย์ ไ ด้ เ รี ย น รู้ ไ ด้ คิ ด อ่ า น แ ล ะ เ พี ย ร พ ย า ย า ม บั น ทึ ก รั ก ษ า ไ ว้ ด้ ว ย ล า ย ลั ก ษ ณ์ อั ก ษร หนั ง สื อแพร่ ไ ปถึ ง ที่ ใ ด ความรู้ ค วามคิ ด ก็ แ พ ร่ ไ ป ถึ ง ที่ นั่ น ห นั ง สื อ จึ ง เ ป ็น สิ่ ง มี ค่ า และมี ป ระโยชน์ ที่ จ ะประมาณมิ ไ ด้ ในแง่ ที่ เ ป็น บ่ อ เกิ ด แห่ ง การเรี ย นรู้ ข องมนุ ษ ย์
-
พระราชด�ำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิ ธีเปิดงานปีหนังสื อแห่งชาติ ๔ กุมภาพั นธ์ ๒๕๑๕ _
เราจ� ำไม่ เ คยเลื อ นจากความคิ ด ช่ วงวั ย นั ก ศึ ก ษาทุ ก ปี ต้ อ งไปเกาะรั้ ว ดู รุ ่ น พี่ ๆ เดิ นไปบนทางแห่ ง รอยยิ้ มในวั น ส� ำ เร็ จ การศึ ก ษา เราเองเหมื อ น คนอื่ น ที่ อ ยากไปถึ ง ตรงนั้ น เร็ ว ๆ เลยเร่ ง เรี ย นเร็ ว ๆ หาแนวข้ อ สอบเพื่ อ สอบผ่ า นเร็ ว ๆ แล้ ว จะได้ ท� ำ งานเร็ ว ๆ แน่ น อนว่ า สั ง คมต่ า งผลั กให้ เ รา ไปถึงอนาคตเร็วๆ เราอาจไม่ ไ ด้ ลุ ก ขึ้ น ยื น ต่ อ ต้ า นความเร็ ว ๆ เพราะบางอย่ า งก็ ร วบรั ดได้ หากจ� ำ เป็ น แต่ พ อหั น หลั ง กลั บ มามองบางสิ่ ง บนรายทางเราเองก็ ลื มไป... มัวแต่เร่งสาวเท้าเพื่อไปเสพความงามบนยอดเขา จนลืมเงาแห่งความสุขตรง ตี น เขา เหนื อ อื่ นใดการมานั่ ง โทษตั ว เองในวั น ที่ ผ่ า นไปแล้ วไม่ มี ป ระโยชน์ เล่มนี้เราเลยมานั่งมองทักษะการเรียนรู ้ ผ่านประสบการณ์การอ่านของหลายคน โดยเฉพาะโจทย์ใหญ่ท่ีเราตั้งขึ้นคือการอ่าน และการเรียนรู ้จะเกิดขึ้นในอนาคต ที่สอดคล้องกับแนวคิดของอุ ทยานการเรียนรู ้ ทีเคปาร์ค ที่เดินทางมาถึงปี ที่ 10 จากก้าวแรกจนถึงวันนี้ การอ่านและการเรียนรู ้ในสังคมได้รับการท้าทาย จากสื่อในโลกอนาคตมากมาย บางคนว่าการอ่านก�ำลังหดหาย บางคนบอก การอ่านไม่มีวันตาย บทสุดท้ายอาจไม่ได้ตัดสินว่ายังอยู ่หรือหมดไป แต่การ เรียนรู ้ทีละก้าวส�ำคัญไม่แพ้อนาคต ทุกท่านพร้อมหรือยังที่จะคล้องแขนไปด้วยกันในก้าวถัดไป.... อุ ทยานการเรียนรู ้
A DECADE
OF LEARNING
ดิฉันนั่งพิมพ์บทบรรณาธิการฉบับนี้ท่ีอุทยานการเรียนรู ้ หรือที่เรียกคุ้นปากว่า ‘TK park’ ส�ำหรับเด็กต่างจังหวัดอย่างดิฉัน การได้เห็นภาพบรรยากาศงานเปิ ดตัว ห้องสมุ ดในห้างเมื่อสิบปี ก่อน เป็นเรื่องที่สร้างความอิจฉาเด็กกรุ งเทพให้เกิดในใจดิฉันไม่น้อย ได้แต่หมายมั่นปั้ นมือว่า ถ้ามีโอกาสเข้ามา เที่ยวกรุ งเทพครั้งใด จะต้องหาเวลามานั่งในห้องสมุ ดสีแดงขาวนี้ให้ได้ ‘10 ปี คือเวลาสามารถการันตีอะไรบางอย่างได้’ ถ้าเราเปิ ดบริษัทหรือห้างร้านจนครบเวลา 10 ปี นั่นอาจหมายความว่า ธุ รกิจของเราด�ำเนินไปได้ด้วยดี และตัวผู ้ประกอบธุ รกิจก็เกิดความเชี่ ยวชาญไม่ใช่ น้อย หรือถ้าเราให้ความสนใจและศึกษาอะไรอย่างจริงจัง ระยะเวลา 10 ปี ก็คงท�ำให้เรามีความถนัด และเข้าใจในศาสตร์หรือเรื่องราวนั้นอย่างถ่องแท้ ส�ำหรับ 10 ปี ของ TK park ผ่านเหตุการณ์มากมาย และได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู ้คนทุกเพศทุก วัยอย่างต่อเนื่อง ดิฉันลองค้นหากิจกรรมที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาของการเปิ ดด�ำเนินการอุ ทยานการ เรียนรู ้แห่งนี้ หลากหลายองค์ความรู ้ได้ถูกต่อยอดขึ้นที่ น่ี เยาวชนหลายคนก็เติบโตเป็นผู ้ใหญ่ท่ี มีความ สามารถผ่านกิจกรรมที่ได้รับการสร้างสรรค์แขนงต่างๆ ทั้ง นักเขียน, วงดนตรี, นักแต่งเพลง, นักการ ตลาด และเกี่ยวกับมัลติมีเดีย เป็นต้น ข้อมู ลเหล่านี้เติมความมั่นใจให้ดิฉันได้อีกครั้ง ว่าเวลา 10 ปี สามารถการันตีอะไรบางอย่างได้จริงๆ อย่าง น้อยที่สุด 10 ปี ของ TK park ก็การันตีตัวเองได้แล้วว่าได้สร้างคุณค่าให้กับสังคมการเรียนรู ้ได้มากมาย เพียงใด ดิฉันปรารถนาอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้ท่ีผลิตขึ้นในโอกาส TK park ครบรอบการท�ำงาน 1 ทศวรรษ จะเป็นอีกหนึ่งในคุณค่า ที่เพิ่มให้แก่สังคมการเรียนรู ้ของประเทศไทย และสามารถแรงก�ำลังใจบางอย่างให้ ผู ้คนได้อย่างเช่ นที่สถานที่แห่งนี้ได้ท�ำตลอดมา พิมพ์พร คงแก้ว บรรณาธิการ
A DECADE
OF LEARNING ผลิตโดย
_ส�ำนักงานอุ ทยานการเรียนรู ้ สังกัดส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู ้ (องค์การมหาชน) เลขที่ 999/9 อาคารส�ำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้ น 17 ถนนพระราม 1 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุ งเทพฯ 10330 โทรศัพท์ : 02 264 5963-5 โทรสาร: 02 264 5966
ที่ปรึกษา
_ดร.ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล รองผู ้อ�ำนวยการส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู ้ และผู ้อ�ำนวยการส�ำนักงานอุ ทยานการเรียนรู ้ _อัศรินทร์ นนทิหทัย หัวหน้าฝ่ ายกิจกรรม www.tkpark.or.th www.facebook.com/tkparkclub www.facebook.com/readmeegazine
บรรณาธิการที่ปรึกษา _จั กรพันธ์ ขวัญมงคล บรรณาธิการ _พิมพ์พร คงแก้ว
กองบรรณาธิการ
_จารุ วรรณ ชื่ นชู ศรี / ชมบุ ญ พ. / ธัญรัตน์ ตันติวงศ์ / ธันย์ชนก รื่นถวิล / ธิดารัตน์ มู ลลา / ศราวุ ธ ดีหมื่นไวย์ / ศศิกานต์ เอื้อวิทยาวุ ฒิกุล / สหรัฐ นาสีเคน
ถ่ายภาพ
_วิชญ์พล พลพิทักษ์ชัย
ศิลปกรรม
_ชั ชนัย เจริญสุข ชุดอักษร BoonTook Mon Ultra และ ThaiSans Neue vector designed by Freepik.com
8
p.
10 บทสัมภาษณ์ พลังแห่งการอ่าน
64
p.
Books Come Alive 66
p.
68 ไม้ผลัดการอ่าน
แรงบันดาลใจที่ส่งต่อกันได้ ด้วยตัวหนังสือ
p.
70 10 ปี
p.
หลังม่าน TK Park 82
p.
เครือข่ายอุ ทยานการเรียนรู้ ห้องสมุ ดแห่งการเรียนรู ้สู่อนาคต
90
p.
CONTENT
TK Voice
การอ่าน กับโลกอนาคต
10 บทสั มภาษณ์ พลังแห่งการอ่าน
8
_ TK Park สถานที่ที่เรียกตัวเองว่าเป็นอุทยานการเรียนรู้ สถานที่ที่คนทั่วไป มองว่าเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่กลางห้างดัง และเป็นสถานที่ที่ท�ำให้เราเชื่ อได้ อย่างสนิทใจ ว่าพลังแห่งการอ่านและการเรียนรู้ ได้ส่งผลต่อชี วิตของผู้คน ในทุกช่ วงวัยได้จริง มันสะท้อนออกมาผ่านทางผลงาน และกิจกรรมตลอด หลายขวบปีของที่แห่งนี้ _ เราเคยได้ยินใครคนหนึ่งพู ดว่า เหตุที่หนังสื อสั กเล่มมีอิทธิผลต่อคนได้อย่าง มากมาย ก็เพราะว่าการอ่านเหมือนการได้พาคนออกไปท่องโลกกว้าง แม้ คนนั้นจะนั่งอ่านหนังสื อเล่มนั้นอยู่ที่บ้าน หรือนั่งอยู่ในห้องสมุดก็ตาม และ หนั ง สื อบางเล่ ม ก็ ท� ำ หน้ า ที่ เ ป็น บทเรี ย นชี วิ ต ฉบั บ ย่ อ แบบพกพา ที่ พ ร้ อ ม จะเปิดประสบการณ์ และคลายความลับที่เราเคยสงสั ยในใจ _ และในเมื่ อ ผู้ ค นมากมายว่ า กั น ว่ า ‘การอ่ า นนั้ น มี พ ลั ง ’ หนั ง สื อ ครบรอบ 10 ปี TK Park เล่มนี้จึงขอท�ำหน้าที่พิสูจน์ความเชื่ อนั้น ผ่านการพู ดคุยกับ 11 บุคคลจากหลากหลายอาชี พ หลากหลายวงการ ถึงช่ วงชี วิตที่ผ่านมาของ พวกเขา ว่าหนังสื อเล่มใด การเรียนรู้ในเรื่องไหนที่ส่งผลให้พวกเขามีตัวตน อย่างเช่ นในทุกวันนี้ _ ขอให้ 10 บทสั มภาษณ์ ต่ อ ไปนี้ ได้ ท� ำ หน้ า ที่ ถ่ า ยทอดพลั ง งานจากการ เรียนรู้ชีวิต จากพวกเขาถึงคุณ …
มะม่วง - ชิ งช้ า - ปรัชญา -แมว
โลกและลายเส้ นของ
วิศุทธิ์ พรนิมิตร
A DECADE OF LEARNING
เรื่อง : ชมบุ ญ พ.
เราพบกั บ วิ ศุ ท ธิ์ ท่ี บ้ า นในช่ วงสายของ วันจันทร์ เขาก�ำลังรดน�้ำต้นไม้… หากพู ดกันตามตรง เราคุ้นตากับเนื้อเรื่อง สุ ด ดาร์ ค แฝงความคิ ด ด้ า นปรั ช ญา ลายเส้นสีด�ำหนา เละบ้าง สวยบ้างของเขา ในฮีชีอิท (HESHEIT) แต่ในขณะเดียวกัน ความสดใสของเด็กหญิงมะม่วง การ์ตูน พู ดน้อยแต่ยิ้มเยอะกลับท�ำให้โลกสว่างขึ้น มาได้ง่ายๆ ยังไม่รวมถึงงานอย่างชิ งช้า ควั นใต้ ห มวก สั ต ว์ เ ลี้ ย งหลั ง บ้ า น ฯลฯ แตกต่างจนกระตุ้นความสงสัยที่ว่า ตัม้ วิศุทธิ์ พรนิมิตร เจ้าของงานที่เป็นที่รู้จัก ทั้งในไทยและญี่ป่ ุ นคนนี้ วาดเส้นชี วิตของ ตนเองไว้อย่างไร การพบกันครั้งนี้ ท�ำให้เรารู ้ว่างานทุกชิ้ น ของวิ ศุ ท ธิ์ ผ่ า นกระบวนการคิ ด และ สื่อ ตั ว ตนของเขาออกมาได้อย่า งชั ด เจน เกรี้ ย วกราด ลึ ก ล�้ ำ แต่ เ รี ย บง่ า ยและ นิ่งเย็น
หนังสือของวิศุทธิ์
___เราอ่านหนังสือไม่คอ่ ยเก่ง เพราะชอบดูรปู ดูหนังสือภาพมากกว่า อย่างหนังสือทีม่ ี ค�ำพูดสั้นๆ หนึ่งหน้ามีประโยคเดียว ส่วนใหญ่เป็นหนังสือปรัชญาและธรรมะ ซึ่งจริงๆ แล้วธรรมะก็ยาวนะ แต่บางเล่มน�ำมาเขียนให้สั้นแต่เป็นความสั้นที่ขยายได้ เช่น วันนี้ เราได้อ่านแค่ประโยคเดียว แต่เราจะนึกถึงประโยคนี้ได้อีกหนึ่งปี มันเป็นเมล็ดให้ชีวิต เรา อ่านได้แต่แบบนี้ เพราะอ่านอย่างอื่นแล้วไม่มีสมาธิ
เริ่มอ่านหนังสือตัง้ แต่เมื่อไร
___ตอนเด็กเราอ่านการ์ตูนที่พสี่ าวพีช่ ายซื้อมาวางไว้ทบี่ า้ น เป็นการ์ตนู ญี่ปุ่น พออ่าน แล้วรู้สึกชอบก็เลยชอบวาดการ์ตูนไปด้วย เราโตขึ้นมากับการ์ตูนหลายแบบ แต่เล่มที่ มีอทิ ธิพลต่อชีวติ คือเรือ่ ง Rough ของอาดาจิ มิซรึ ุ Blackjack ของเท็ตซึกะ โอซามุ และ เรื่องชั่วโมงเรียนพิศวง (Gakkou no Kaidan) ของทาคาฮาชิ ยูซึเกะ
ความรูส้ กึ ในฐานะ “นักอ่าน” และ “นักวาด”
___เวลาเราอ่านการ์ตูนสักเล่ม จะนึกถึงตัวการ์ตูน นึกถึงโลกในนั้น ว่าใครเป็นยังไง แต่พอมาเขียนการ์ตนู เองมันก็แตกต่าง เราเขียนงานหลายแบบ บางชิน้ เราเขียนได้เร็ว มาก ปล่อยให้ตัวละครคิดเองว่ามันจะท�ำอะไร ให้มันมีโลก มีชีวิตของมัน แต่บางชิ้นที่ เราจ�ำเป็นต้องเขียนช้า จินตนาการก็จะน้อยลง
กลับไปอ่านการ์ตูนอีกไหม
___พอเขียนการ์ตนู แล้วจะให้กลับไปอ่านการ์ตนู อีกก็อา่ นไม่ได้ มันกลายเป็นว่า เมือ่ เรา มองตัวการ์ตนู จะคิดต่อว่าตัวการ์ตนู นีอ้ ยูย่ คุ ไหน นิสยั เป็นยังไง ยิง่ เมือ่ เราเห็นลายเส้น เราก็มองทะลุไปถึงคนเขียนว่าคนเขียนนิสยั เป็นยังไง อยูส่ งั คมแบบไหนถึงได้เขียนออก มาแบบนี้ เกิดค�ำถามว่าท�ำไมต้องเขียนจ�ำนวนหน้าเท่านี้ มีรสนิยมและมีความสนใจ ด้านอะไรบ้าง ซึ่งไม่ใช่ว่าเราตัดสินใจไม่อ่านการ์ตูนต่อนะ เพียงแต่อ่านแล้วไม่สนุก
เป็นเพราะคิดลึกขึ้น?
___ไม่รู้ว่าลึกหรือคิดตื้น แต่เป็นแบบนี้ไปซะแล้วโดยธรรมชาติ คิดว่าจะไปฝืนอ่านก็ คงไม่ใช่
งานแต่ละชิ้ นสื่อถึงตัวตนได้มากแค่ไหน
___งานของเราคือกระจกว่าเราคิดอะไร เห็นอะไรบ้าง เหมือนเราเห็นคนนี้ เราก็จะคิด ไปเรือ่ ยๆ ว่าเขาเป็นยังไงนะ อย่างมะม่วง ถ้าถามว่ามันสือ่ ถึงเราไหม เราขอตอบว่าเรา วาดการ์ตูนจากชีวิตเรามาโดยตลอด
11
ตอนที่วาดฮีชีอิทคิดอะไรอยู ่
___ตอนนัน้ คือไม่สนอะไรทัง้ สิน้ ฮีชอี ทิ สอนให้เราเรียนรูว้ า่ ต้องวาดออก มาจากใจเท่านั้น บางตอนก็วาดไม่รู้เรื่อง เรารู้เรื่องคนเดียว ใครอ่านได้ ก็ถือว่าโชคดีนะเพราะฮีชีอิทเป็นการ์ตูนที่ดีที่สุดที่เราเขียนได้ แต่คงจะ เข้าใจยาก มันเป็นงานที่ภูมิใจ เพราะเราไม่เคยอ่านการ์ตูนแบบฮีชีอิท เลย มันเจ๋งอ่ะเราว่า (ยิ้ม)
เด็กหญิงมะม่วงเป็นงานด้านสว่าง
___เวลาเราวาดการ์ตูน เราก็วาดจากชีวิตเรา มะม่วงเกิดขึ้นในตอนที่ เราเริ่มเข้าใจว่า เราไม่ต้องการอะไรเยอะ ไม่ต้องสร้างโลก ไม่ต้องคิด อะไรหนักๆ ไม่ต้องท�ำรุนแรงเพื่อเรียกร้องความสนใจอย่างในฮีชีอิท ซึ่งเกิดในยุคที่เราเป็นวัยรุ่น ก็จะเรียกร้องความสนใจ อยากให้คนเห็น ว่าเราเศร้า เราแค้น เรารุนแรง เพราะอยากให้คนสนใจ ไม่ใช่ให้สนใจ งานของเรานะ แต่ฮีชีอิทเหมือนเป็นคนที่อยากให้คนอื่นมาสนใจชีวิต พออกหักก็ต้องบอกให้ทุกคนรู้ว่าเราอกหัก เราเศร้า เราเท่ เหมือนคน มีแผลแล้วโชว์ ไปโดนฉลามกัดมาแล้วเอาแผลมาโชว์ว่าเท่ไหม แต่พอ ผ่านไปสักพัก เราจะรู้ว่าการโดนฉลามกัดไม่เห็นจะต้องให้คนอื่นดูเลย เอาเวลาไปคิดเรื่องอื่น เลยกลายมาเป็นเด็กหญิงมะม่วง
ลดอีโก้ในตัวเองลง
___มะม่วงเป็นงานเรียบๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก ไม่มีอารมณ์เจ็บปวด อารมณ์รุนแรง หรือไม่ต้องมีจินตนาการเวอร์ๆ และอีโก้น้อยลง ตอน แรกเราเขียนเล่นๆ ไม่ได้สนใจอะไร เพราะมันเป็นตัวทีห่ น้าไม่มอี ารมณ์ จนเราไม่รู้ว่าจะฝันอะไรต่อ จะใส่อีโก้ลงไปยังใส่ไม่ได้เลย (หัวเราะ) เพราะมันเป็นตัวละครที่เล่นไม่ได้ แต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่ญี่ปุ่นเห็น แฟนเราเห็น ทุกคนเห็นก็บอกว่าน่ารัก ไปๆ มาๆ ก็มีคนบอกว่าเอาไป ท�ำเสื้อขายสิ จะซื้อใส่ ท�ำกระเป๋าก็ขายได้อีก ก็เลยวาดด้วยความไม่มี อีโก้ของตัวเองอยู่ในนั้นเลย ใครให้ท�ำอะไรก็ท�ำ จะไปอยู่บนชุดชั้นใน ก็ได้ ไม่ตอ้ งมานัง่ เก๊กว่าเราจะไม่ทำ� ชุดชัน้ ใน เพราะเราไม่ใช่คนแบบนัน้
เด็กหญิงมะม่วงคนพู ดน้อยแต่ส่อื สารกับคนเยอะ
___ถึงมะม่วงจะพูดน้อย แต่กเ็ ป็นงานของเรา เรายังมีสงิ่ ทีอ่ ยากพูด ตัว มะม่วงเองก็พอจะพูดได้บางประโยค เช่น เรามีเนื้อเรื่องในหัวที่ผ่านมา ในชีวิต 10 เรื่อง มีด้านมืด 5 เรื่อง ด้านสว่าง 5 เรื่อง ด้านสว่างจะให้ใคร พูดก็ไม่ได้ นอกจากมะม่วง เหมือนเขาเป็นดารา มะม่วงก็รับได้แต่บท ด้านสว่าง ง่ายๆ น้อยๆ ท�ำแป๊บเดียวเสร็จ เลยเป็นงานทีท่ �ำได้สม�ำ่ เสมอ คนก็เข้าถึงได้งา่ ยเพราะเขาจะพูดแต่เรือ่ งง่ายๆ เบาๆ จนกลายเป็นคนที่
12
สว่างกว่าเราไปแล้ว เพราะตัวเราเองไม่ใช่คนที่สว่างขนาดนั้น ในขณะ ที่มะม่วงมีพลังด้านนั้นอยู่มาก
นักวาดที่ดีต้องเริ่มจากตรงไหน
___ให้วาดจากสิ่งที่ตัวเองเป็น หนึ่ง-ตัวเองวาดเก่งแค่ไหน สอง-ตัวเอง มีเวลาวาดแค่ไหน สาม-ตัวเองมีสตางค์แค่ไหน สี่-ตัวเองคิดอะไร เช่น มีชวี ติ ยังไง มองโลกและสิง่ รอบตัวยังไง เพราะแต่ละคนมองไม่เหมือนกัน สมมติเราเป็นเศรษฐี เรามองรถเก๋งธรรมดาคันหนึ่งอาจจะดูถูกมัน แต่ หากเรายากจน รถคันนี้จะกลายเป็นอะไรที่เอื้อมไม่ถึง นี่คือชีวิต แล้ว ลองวาดออกมา เราว่าจะเป็นงานน่าสนใจ เหมือนเวลาเราคุยกัน ถ้า เราคุยกับคนที่เอาความคิดคนอื่นมาพูด มันก็ไม่ใช่ มันไม่สนุก
A DECADE OF LEARNING
ยังมีการ์ตูนแนวอื่นที่อยากวาดบ้างไหม
___จริงๆ เราไม่ค่อยมีอะไรอยากวาดหรอก ช่วงที่มีอารมณ์อยาก จะวาดจริงๆ ก็คือช่วงฮีชีอิท ส่วนตอนนี้ก็กลายเป็นโดนคนสั่งให้ วาดไปซะแล้ว กว่าจะอยากวาดอีกรอบก็ตอ้ งรอ เหมือนคนกินข้าว เรือ่ ยๆ ตอนทีย่ งั ไม่ทนั หิวก็เลยลืมความหิวไป วันหนึง่ คงจะหิวล่ะมัง้ พอคนเลิกจ้างก็อาจจะอยากวาด (หัวเราะ)
น้องมะม่วงจะโตไหม
___จริงๆ แล้ว มะม่วงเป็นแค่รูปวาด ไม่รู้ว่าอายุเท่าไร นิสัยยังไง โตขึน้ แล้วจะท�ำอะไรต่อ ไม่ตอ้ งก�ำหนด เพราะขีเ้ กียจบิวต์ ไม่อยาก หลอก แต่พอเรายอมรับไปแล้วว่ามันเป็นรูปวาด ก็แปลกที่มันดูมี ชีวิต เพราะที่จริงแล้ว คนอ่านเป็นคนให้ชีวิตมะม่วง เขาอ่านแล้ว เขาคิดต่อเอง เราว่าอันนี้น่าเคารพและน่าดีใจมากๆ
หนังสือแนะน�ำส�ำหรับนักอยากวาด
___อยากอ่านอะไรก็อ่านเถอะ ชีวิตคนเราไม่เหมือนกัน คนเรา ต้องเจออะไรตามดวง เราถึงบอกว่าชอบอะไรก็ท�ำไป เพียงแต่ ต้องเคารพมัน ไม่ใช่ไปดูถูกว่า ฉันอยากจน ถ้าฉันไม่รวยฉันก็ไม่มี อะไรดี หรือ ฉันหน้าตาไม่ดีแล้วจะอยู่ไปท�ำไม เพราะในทีวีมีแต่ คนหน้าตาดี มันน่าจะถึงยุคที่มองกันจากข้างในได้แล้ว คนเรา คิดไม่เหมือนกัน หน้าตาคนเรายังไม่เหมือนกันเลย ข้างในก็ต้อง ไม่เหมือนกันแน่ๆ แค่รู้ไว้ว่าส�ำหรับการเป็นผู้ผลิตแล้ว งานที่ดีมัน ต้องออกมาจากใจ
13
เราอ่านหนังสื อไม่คอ ่ ยเก่ง เพราะชอบดูรป ู ดูหนังสื อ ภาพมากกว่า อย่างหนังสื อที่มีค�ำพู ดสั้ นๆ หนึ่งหน้า มีประโยคเดียว ส่ วนใหญ่เป็นหนังสื อปรัชญาและ ธรรมะ ซึ่ งจริงๆ แล้วธรรมะก็ยาวนะ แต่บางเล่มน�ำ มาเขียนให้สั้นแต่เป็นความสั้ นทีข ่ ยายได้ เช่ น วันนีเ้ รา ได้อ่านแค่ประโยคเดียว แต่เราจะนึกถึงประโยคนี้ได้ อีกหนึ่งปี มันเป็นเมล็ดให้ชีวิตเรา
14
MAY MADE
WITH HEART
เรื่อง : พิมพ์พร คงแก้ว
ไม่ว่าวันนี้เราจะเดินอยู ่ย่านไหนในกรุ งเทพฯ มั่นใจ ได้ เ ลยว่ า ละแวกใกล้ ๆ แถวนั้ น จะต้ อ งมี ร้ า นขนม หวานซุ ก ซ่ อนอยู ่ เ ป็ น ที่ แ น่ น อน เมื่ อ เรื่ อ งราวของ การทานขนมและของหวานไม่ ไ ด้ เ ป็ น เรื่ อ งของ ผู ้หญิงหรือวัยรุ ่นอีกต่อไป เมื่อเราก�ำลังอยู ่ในยุ ค ที่ไม่ว่าใครก็เดินเข้าร้านขนมหวาน ร้านไอติม หรือ คาเฟ่ น่ารักๆ ได้อย่างไม่ต้องเคอะเขินอีกแล้ว หนึ่งในร้านที่ไม่วา่ ใครก็ตอ้ งรู จ้ กั เพราะว่ากันว่าร้าน นี้เป็ นมือหนึ่งในเรื่องของหวานที่มีสไตล์เป็ นของตัว เอง ทั้งยังเป็ นร้านที่ได้น�ำเทรนด์หลายอย่างให้กับ แวดวง dessert cafe ของไทย ร้านที่ว่าคือ After You ที่ในปั จจุ บันมีสาขากระจายตัวอยู ่ในย่านธุ รกิจ มากมาย แถมยังมีข่าวว่าร้านขนมสัญชาติไทยแห่ง นี้ก�ำลังจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในอีกไม่นาน อะไรที่ท�ำให้ After You มาไกลได้ขนาดนี้ คงไม่มี ใครรู ้ดีไปกว่า ‘เมย์- กุลพัชร์ กนกวัฒนาวรรณ’ เจ้าของร้านผู ้ท่ ีท�ำหน้าที่ทั้งบริหารกิจการทั้งหมด และคิดค้นสูตรขนมและเครื่องดื่มทั้งหมดด้วย มัน คงไม่ได้อาศัยเพียงแค่กระแสนิยมของผู ้คน เราเชื่ อ ว่ามันต้องผ่านการศึกษา การเรียนรู ้ การเข้าใจใน ธุ รกิจ เราก�ำลังจะได้รู้จักกับเธอและร้านที่เธอรักให้ มากขึ้นพร้อมๆกัน ในบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้
16
A DECADE OF LEARNING
วันวานกับการท�ำขนม
___เมย์เริม่ ท�ำขนมจากการท�ำขนมทีไ่ ม่ตอ้ งอบ ใช้วธิ กี ารแช่เย็น เอา พวกพายขนมคลาสสิกที่เด็กๆ จะเริ่มท�ำได้ เมนูแรกที่ท�ำ แทนที่จะเป็นบลูเบอรี่ชีสพาย เมย์ใช้โอรีโอ้แทน ข้างบนเป็นครีม ชีสแล้วก็ไวท์ช็อค เราทานแล้วมันก็รู้สึกอร่อย เราก็รู้สึกมั่นใจใน การท�ำขนมมากขึน้ ตอนนัน้ เมย์อยูช่ นั้ ม.5 ก็อยากเปิดร้านเลย แต่ คุ ณ พ่ อ คุ ณ แม่ ยั ง ไม่ อ นุ ญ าตเขาอยากให้ เ ราเรี ย นจบก่ อ น ระหว่างจะถึงเวลาที่เรามีความพร้อมในการเปิดร้าน เมย์ก็จะ จดจ�ำรายละเอียดต่างๆ ที่เราชอบ เก็บมันไปทีละเรื่อง เช่น เมย์ ไปเห็นโต๊ะที่นึงสวยมากโดนใจ อยากให้มันมาอยู่ในร้านเราก็จะ จดเอาไว้ หรือไปเจอโลเคชั่นว่าเราอยากท�ำร้านตรงนี้ ก็จะจดไว้ แล้วรอจนกว่ามันจะพร้อมในทุกๆ ด้าน
จุ ดเริ่มต้นของ After You
___วันแรกที่เมย์คิดว่าจะท�ำร้านจริงจังแล้วก็คือวันที่ได้โลเคชั่น ที่ J-Avenue ทองหล่อ มันเป็นที่ที่ใช่ส�ำหรับเรา จากที่เราคิด มาเรื่อยๆ เราเห็นภาพทุกอย่างอยู่ในหัว ทั้งการตกแต่งร้าน ทั้ง โปรดักขนมของเรามันอยู่ในหัวเราหมด ไม่มีใครมาเห็นภาพนั้น เหมือนเรา พอมันถึงวันทีร่ า้ นเปิด ทุกสิง่ มันออกมาเป็นรูปร่างแล้ว เป็นวันทีเ่ มย์ประทับใจทีส่ ดุ จากเด็กทีเ่ ริม่ ท�ำขนมตอนม.5 จนถึง เดือนตุลาคม ปี2547 มันใช้เวลา 5 ปีนะกว่าจะมี After You ได้
ผลก�ำไรจาก dessert cafe
___มากกว่ารายได้ เพราะทุกวันนีม้ นั เป็นก�ำไรของชีวติ เมย์แล้วนะ มันมาไกลมาก ช่วงแรกทีเ่ ปิดร้านเมย์เดินถามแทบทุกโต๊ะเลยนะ ว่าขนมอร่อยไหม ชอบไหม เพราะในตอนนั้นสินค้าเรามันแปลก มาก ส่วนใหญ่ในตอนนั้นขนมก็จะเป็นเค้กสามเหลี่ยม มีแช่โชว์ ในตู้เลย แต่ของเมย์เป็นขนมใส่จานมา เราก็กลัวมาลูกค้าจะไม่ เก็ทในสิง่ ทีเ่ ราน�ำเสนอ เราท�ำได้แค่แอบเล็งว่าลูกค้ากินหมดไหม (หัวเราะ) จนวันที่เราได้เห็นลูกค้าคนเดิม กลับมากินร้านเราอีก แล้วพาเพื่อนมาด้วย มันเป็นสิ่งที่ท�ำให้เมย์ดีใจมากที่สุด เรียก ได้ว่าช่วง 3 เดือนแรกที่เปิดร้านคือจังหวะที่ฟินที่สุดในชีวิต เลย พูดว่าทุกวันนี้คือก�ำไรของชีวิตแล้ว
ความรูส้ กึ ต่อกระแส Honey Toast ทีก่ ลายเป็นเมนู หลักของร้านขนมทัว่ ไทย
___เมย์รสู้ กึ ว่ามันเจ๋งเนอะ มันคือปรากฎการณ์ทเี่ ป็นทีส่ ดุ ในชีวติ เราแล้ว การที่มนุษย์คนหนึ่งจะประดิษฐ์คิดค้นอะไรขึ้นมาสัก อย่างแล้วส�ำเร็จมันยากนะ เพราะทุกๆ คนก็คิดอะไรใหม่ๆ กัน ทัง้ นัน้ แต่แค่สำ� เร็จไม่พอ เรายังเห็น Honey Toast อยูใ่ นรายการ เมนูของเจ้าใหญ่ๆ ด้วย มันคือทีส่ ุดแล้วส�ำหรับเรา แต่อย่างน้อย ลูกค้าเขาก็รวู้ า่ ทีไ่ หนเป็นต้นต�ำรับนะ คือถ้าเป็น Honey Toast ก็ ต้องเป็นร้านเรา
อะไรคือเคล็ดลับของความส�ำเร็จ
___ส�ำหรับเมย์จะใช้วิธีการท�ำทุกอย่างให้แตกต่างไม่เหมือน ใคร พยายามท�ำในสิ่งนั้นให้เป็นมุมของเรามากที่สุด ให้มันออก มาในแบบของเรามากที่สุด มันไม่มีประโยชน์เลยนะที่เราจะท�ำ บางสิ่งเหมือนเขา เพื่อไปแข่งกับเขา เราต้องพลิกหามุมที่เป็น ในแบบตัวของเราเอง ในเมื่อไอเดียมันมีมากมายในโลก ดังนั้น การที่เราเป็นตัวเองมันก็ท�ำให้เราสบายกว่า ดูแลมันได้ง่ายกว่า เพราะเราเข้าใจมันดี
ความสุขของการท�ำงานในวันนี้
___ความสนุกในการท�ำงานของเมย์ตอนนี้คือการได้ท�ำงานกับ ลูกน้อง ได้บริหารงานคน เพราะเรื่องของขนมที่จะออกมาใหม่ๆ เมย์ไม่สามารถบังคับได้วา่ ต้องเป็นแบบไหน ออกเมือ่ ไหร่ เมย์ทำ� มันแบบอาร์ตติสมากคือต้องใช้เวลาคิดไปเรื่อยๆ และมันก็ง่าย ส�ำหรับเมย์แล้วด้วย แต่เรื่องของการบริหารและท�ำงานกับคน มันเป็นเรื่องที่ต้องดูแลทุกวัน ทุกวันนี้เมย์แค่อยากเห็นใบแสดง ความคิดเห็นที่ complain มาน้อยลง (หัวเราะ) เมย์ดเู องหมดเลย นะทัง้ ความเห็นผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย และจากทีร่ า้ น เพราะ เราเชือ่ ว่าถ้าลูกค้าเขาไม่รกั เขาไม่บอกเราหรอกว่ามีขอ้ ไหนต้อง ปรับปรุง ถ้าเขาไม่รกั เขาแค่ออกจากร้านแล้วไปกินทีอ่ นื่ ก็ได้ แต่ที่ เขาอยากเขียนบอกเรา เป็นเพราะเขารักและหวังดีกบั After You
ธุรกิจใหม่กับ ร้าน ice cream ‘Crumb’
___เมย์ท�ำ After You มา 7 ปีแล้วนะ สินค้าบางอย่างที่เรา อยากท�ำ เช่นเมย์ชอบกิน Sundae มาก ก็อยากให้มีในร้าน แต่ วิธีบริหารตัววัสดุอุปกรณ์ การเก็บไอศกรีมมันก็ต้องขยายด้วย ถ้าเรามีเมนูนี้ มันเลยไม่เหมาะที่จะใส่ลงไปในเมนู ประกอบ กั บ Central Embassyให้ ที่ เ รามา ก็ เ ลยคิ ด ว่ า โอเคเราจะ ลุ ย ท� ำ ในสิ่ ง ใหม่ นี้ แ ล้ ว มั น เป็ น ความคิ ด ประหลาดที่ จ ะเอา
17
มั น ไม่ มี ป ระโยชน์ เ ลยนะที่ เ รา จะท�ำบางสิ่ งเหมือ นเขา เพื่ อ ไปแข่ ง กั บ เขา เราต้ อ งพลิ ก หามุ ม ที่ เ ป็น ในแบบตั ว ของ เราเอง มันท�ำให้เราสบายกว่า ดูแลมันได้ง่ายกว่า เพราะเรา เข้าใจมันดี
18
A DECADE OF LEARNING
ไอศกรีมซันเดย์มาท�ำให้กินได้แบบขนม แทนที่เราจะเอาขนมใส่ลงไป ในไอศกรีม เราเปลีย่ นเป็นลองใช้ไอศกรีมเป็นหลัก ให้ความรูส้ กึ เหมือน เราได้ทานขนมที่มันเย็นๆ ซึ่งกระแสตอบรับดีมาก ก็คงต้องขอบคุณ After You ที่ส่งผลให้ Crumb เป็นที่รู้จักได้ไว มีแฟนๆ ตามมาลองทาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมย์คิดว่าผลมันดีก็เพราะเราตั้งใจ เรารักใน งานของเราด้วยนะ
หนังสือที่สร้าง May After You
___เมย์อา่ นพวก Recipe Book เยอะมาก การเริม่ ต้นท�ำขนมของเมย์ก็ เริม่ มาจากหนังสือสูตรการท�ำขนมเล่มเก่าๆ ของคุณแม่ทอี่ ยูใ่ นตูท้ บี่ า้ น คุณแม่ซอื้ มาเพราะชอบ ท่านไม่ได้หลงใหลการท�ำขนมนะ แต่สำ� หรับเมย์ หนังสือสูตรเก่าๆ พวกนั้นเป็นเหมือนไบเบิลของชีวิตเลย นอกจากนี้ หนังสือทีเ่ มย์อา่ นก็เป็นพวก นิยายบ้าง นิตยสารบ้าง เมย์ชอบนัง่ ดูรปู นะ มันช่วยให้เราเกิดความคิด เกิดไอเดียได้เหมือนกัน
ชี วิตในวันนี้กับการเรียนรู้ในวันก่อน
___อย่างที่บอกว่าตอนช่วงแรกที่เมย์เริ่มท�ำขนม นอกจากการอ่าน หนังสือสูตรอาหาร และการดูสูตรขนมที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเมย์แล้ว การเรียนรู้จากรายการโทรทัศน์ก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย สมัยก่อนจะมี IBC แล้วจะมีรายการ Caprial Pence พี่ชอบรายการนั้นมาก ดูตลอด เมย์วา่ 2 สิง่ นีท้ ำ� ให้เราอยากทีจ่ ะเริม่ ท�ำขนมให้เป็น แล้วหลังจากได้ลอง เมย์ก็เริ่มเรียนรู้ท�ำความเข้าใจ เริ่มมีไอเดียดีๆ เริ่มสร้างสรรค์สูตรขนม มากมายในแบบของเราเอง
May Made หนังสือต�ำราสูตรขนมโดย May After You
___เมย์เขียนหนังสือออกมา 4 เล่ม เป็นต�ำราท�ำขนม ชือ่ ว่า May Made และ May Made ฉบับพิเศษชื่อว่า Sweeter Tokyo การเขียนสูตรขนม ของเมย์ก็พยายามอธิบายทุกอย่างให้มันเข้าใจง่าย อ่านแล้วเห็นภาพ เพราะเรารู้ว่าคนอ่านที่เขาก�ำลังจะไปท�ำตามสูตรของเราเขาต้องการ อะไร เป็นเหมือนการเล่า การบอกมากกว่า โดยใช้ภาษาทีม่ นั ง่ายๆ เช่น ตีครีมข้นๆ จนเป็นลักษณะเหมือนโฟมโกนหนวด (หัวเราะ) คนอ่านก็ จะเห็นภาพได้ง่ายขึ้น
แนะน�ำหนังสือเกี่ยวกับการท�ำขนมให้น้องๆ ที่สนใจ
___ถ้าจะให้เมย์แนะน�ำให้น้องๆ อ่านก็คงเป็นบรรดาต�ำราการท�ำขนม ทัง้ หลายนีแ่ หละ ทัง้ หนังสือไทย และหนังสือฝรัง่ อย่างตัวเมย์เองพูดได้ เลยว่าชอบอ่าน Recipe ทีส่ ดุ ในโลก น้องๆ เริม่ จากอ่านหนังสือของเมย์ ก็ได้ ทีแ่ นะน�ำเพราะมันเข้าใจง่าย การอธิบายก็ใช้คำ� ง่ายๆ มีสตู รหลาก หลาย มีหลายๆ แนวให้ลองเลือกท�ำ แล้วการที่เราพยายามใช้ถ้อยค�ำ ง่ายๆ มันจะช่วยให้เข้าใจและเห็นภาพตามตัวอักษรทีเ่ ขียนบรรยายไป ได้อย่างไม่ยากเลย
ค�ำสอนถึงน้องๆ ที่อยากเริ่มต้นท�ำขนม และน้องที่ อยากท�ำธุรกิจของหวาน
___ส�ำหรับการเริม่ ท�ำขนม พีเ่ มย์แนะว่าให้เริม่ ท�ำขนมทีเ่ ป็นสูตรทีต่ วั เอง ชอบก่อน เช่น ถ้าเป็นคนชอบกินกล้วย แนะน�ำให้ลองฝึกท�ำบานอฟฟี่ หรือ อะไรก็ได้งา่ ยๆ ทีม่ กี ล้วยเป็นส่วนผสม วิธที ำ� ก็ไม่ตอ้ งอบให้ยงุ่ ยาก เมื่อเราชอบกินกล้วยอยู่แล้ว ยังไงท�ำออกมาเราก็จะรู้สึกว่ามันอร่อย แล้วเราก็จะมีก�ำลังใจ มีความมั่นใจที่จะท�ำในครั้งต่อไป ___ส่วนคนทีจ่ ะท�ำร้านขนม มันเริม่ จากเล็กๆ ได้ แต่แค่รกั ในการท�ำขนม มันไม่พอ มันต้องชอบค้าขาย ชอบขายของด้วย เพราะ โอเคใช่ ว่าการ ท�ำขนมมันสนุก ได้เห็นหน้าตาขนม ได้ตีแป้ง แต่การท�ำร้านคือเราต้อง ทุม่ เท กว่าจะเก็บร้าน กว่าจะซือ้ อุปกรณ์ การจัดการ ไหนจะมีปจั จัยพวก ท�ำขนมแบบนีแ้ ล้วลูกค้าจะชอบไหม เป็นต้น มันมีหลายอย่างให้ตอ้ งคิด
19
THE
READING ROOM
ห้องสมุดศิลปะ กับ เกี๊ยว – นราวัลลภ์ ปฐมวัฒน์
A DECADE OF LEARNING
เรื่อง : ธัญรัตน์ ตันติวงศ์
“ตั้ ง แต่ ส มั ย เด็ ก โตมาก็ ไ ม่ มี อ ะไรมาก รอบตั ว แบบพี่ น้ อ งไม่ มี เพื่ อ นบ้ า นไม่ มี อยู ่ ห้ อ งอพาร์ ท เม้ น ท์ อ ะไรอย่ า งนี้ แล้ ว ก็ เด็กๆ อ่านเร็วเขียนเร็ว ก็เลยอ่านหนังสือ มากกว่ า คื อ มั น ก็ ม าจากอะไรอย่ า งนี้ สิ่งที่เราสามารถจะใช้เวลาด้วยได้ แล้วท�ำให้ รู ้อะไรมากขึ้น ก็คือ พวกหนังสือหรือสิ่ง พิมพ์ต่างๆ” นั้นคือจุ ดเริ่มต้นการอ่านของ นราวัลลภ์ ปฐมวัฒน หรือ ‘เกี๊ยว’ ผู ้ก่อตั้งห้องสมุ ด ศิลปะร่ ว มสมั ย ‘The Reading Room’ ห้องสมุ ดแห่งนี้รวบรวมหนังสือที่ เกี่ยวกับ ศิลปะ สูจิบัตร ทฤษฎีศิลป์ รวมถึงหนังสือ ที่ส่งอิทธิพลเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่ อย่าง ปรัชญา สังคม การเมือง เธอได้เลือกที่จะ ตีความค�ำว่า ‘ห้องสมุ ด’ ในมุ มที่แตกต่าง จากห้องสมุ ดทั่วไปนอกจากพื้นที่การอ่าน แล้ว ที่น่ียังเป็ นสถานที่จัดกิจกรรมเสวนา ฉายภาพยนตร์ ท�ำเวิร์กช็อปเปิ ดโอกาสให้ ผู ้คนจากที่ต่างๆ เข้ามาแสดงความคิดเห็น ร่วมกัน
The Reading Room มีท่มี าที่ไปอย่างไร
___เกิดขึ้นได้ยังไง เออ…ก็ใช้ชีวิตแล้วก็ท�ำงาน 10 ปี ทุกอย่างที่เราเจอ Reading Room ก็เป็นผลจากที่เราสะสม มันไม่ได้เป็นอยู่ๆ ตื่นขึ้นมาก็ท�ำ มันมีหลายเรื่องนะ เรือ่ งแรกคือเรือ่ งงาน เรือ่ งสอง คือเรือ่ งสะสมหนังสือ เรือ่ งงาน พอเราเรียนจบใช่มะ ก็ ไปเรียนต่อแล้วก็ทำ� งานแนวนัน้ (เกีย่ วกับด้านศิลปะ) แล้วชีวติ มันก็สะสมไอ้สงิ่ ต่างๆ ที่เรียนรู้จากอาชีพการท�ำงาน กว่าจะมาท�ำตรงนี้ทุกอย่างมาจากประสบการณ์ คุณ เรียน คุณเรียนรู้อะไร จากการท�ำงาน ซึ่งก็ทำ� งานอยู่หลายประเทศ ส่วนใหญ่ก็เกี่ยว กับด้านองค์กรไม่แสวงหาก�ำไร (Non-profit) ที่เกี่ยวกับด้านศิลปะมาตลอด 10 ปี
ท�ำไมที่น่ีจึงเปิ ดโอกาสให้คนเข้ามาพู ดคุย ท�ำกิจกรรมเสวนา ต่างๆ ได้
___ถ้าคุณมองว่าห้องสมุดคืออะไร ในความเห็นของคนส่วนใหญ่ มันจะเป็นอะไรบาง อย่างที่ อ่า… เป็นห้องที่เก็บสมุด หนังสือ มีบรรณารักษ์อยู่ เข้าไปต้องเงียบ น่าเบื่อ อะไรอย่างนีใ้ ช่มะ เข้ามาต้องอ่านหนังสือเท่านัน้ แต่จริงๆ แล้ว โกล์ (Goal) ของความ เป็นห้องสมุดคืออะไรถ้าเรามองว่า คุณไม่ยึดติดกับรูปแบบ มันมีประโยชน์ที่จะเป็น อะไรได้เยอะไง มันไม่ใช่แค่เราแตกต่างจากทีอ่ นื่ ยังไง มันแค่วา่ ทีอ่ นื่ เขาไม่พยายาม ตีโจทย์ของสิ่งที่ห้องสมุดควรเป็น ค�ำว่า Library จริงๆ ไม่ชอบค�ำภาษาไทย ค�ำว่า ‘ห้องสมุด’ มันจ�ำกัดมาก ใช่มะ คุณเอาค�ำว่าห้อง กับสมุด มารวมกัน เพราะฉะนัน้ มัน เป็นได้แค่หอ้ งทีเ่ ก็บสมุด ความเป็นจริงมันใช่หรือเปล่า? ความเป็นจริงมันมีแค่ความ จ�ำเป็นแค่นนั้ หรอ? นัน้ คือค�ำภาษาไทยมันจ�ำกัดเกินไปส�ำหรับเรานะ ห้องสมุดจริงๆ คือสิ่งที่ควรจะเป็นคืออะไร เรามองว่าพื้นที่ลักษณะนี้มันเกิดมาเพื่ออะไร Library เกิดมาเพือ่ ทีจ่ ะเก็บข้อมูล เก็บความรูใ้ ห้คนได้เข้ามาใช้ ถูกรึเปล่าเรือ่ งทีส่ �ำคัญมันอยู่ ที่ หนึ่ง คือการแชร์ข้อมูลความรู้ และสองคือเรื่อง การเข้าถึงข้อมูล (Accessibility)
ในหลายปี ที่ผ่านมา The Reading Room มีโครงการต่างๆ มากมาย โครงการนัน้ มีลักษณะไหน
___งานที่ เ กิ ด ที่ นี่ มี ห ลากหลายลั ก ษณะมาก มี ทั้ ง ที่ จั ด เอง เป็ น แบบซี รี ย ์ เช่ น Re-reading group หรือ Book club อย่างที่สอง คือ One off เป็นแบบเกิดขึ้น แล้วจบไป ซึ่งบางทีคนอื่นมาขอจัดร่วม อย่างที่สาม ก็เป็นลักษณะโปรเจคต์ อย่าง Book Map คือมันมีงานหลายๆ ลักษณะพูดไม่ได้ว่ามันจัดอะไรบ้าง มันเยอะ แต่ อย่าง Re-reading group มันก็จะเป็นแบบ ทุกปีเราจะมีซีรีย์ยาวๆ เอาเท็ก(Text) ที่มีความส�ำคัญในด้านต่างๆ แล้วก็มาอ่านใหม่ ตีความใหม่ มันคือ Reread แล้ว ให้อาจารย์ด้านนั้นๆ มาคุยกัน ซึ่งจัด 6 ครั้ง 6 เดือนซึ่งมีหลายด้าน แต่ละปีก็จะ แตกต่างกันไป ปีนี้ก็เป็นเรื่องอื่น เป็นเรื่องวรรณกรรม เอาหนังสือที่เกี่ยวกับประเทศ และวัฒนธรรมอื่นๆ ที่สามารถสะท้อนการกลับมาดูประเทศตัวเอง
21
ในเมื่อการท�ำห้องสมุดต้องมีค่าใช้จ่ายตามมา ท�ำไม ถึงไม่เก็บค่าเข้าบริการ
___การทีม่ ีห้องสมุดประชาชนขึน้ มาเพราะอะไร เพราะมันไม่มีปญ ั ญา ที่จะเข้าถึง เข้าถึงไม่ได้ หนึ่ง แพง สอง ไม่สามารถที่จะเข้าถึงไอ้ข้อมูล ลักษณะแบบนี้ แล้วเราก็เก็บมารวมในที่เดียวแล้วให้ประชาชนเข้าใช้ ฟรี อันนั้นมันจึงเป็นโกล (Goal) หลักๆ ปรัชญาการท�ำห้องสมุดมันคือ เรื่องของการให้คนได้เข้าถึงความรู้ได้ฟรี กับเรื่องของการสร้างชุมชน ชุมชนของการอ่าน ของการเข้าถึง ของนักอ่าน เพราะงั้นถ้าคุณมองว่า คุณอยากจะสร้างพืน้ ทีๆ่ มันก็ทำ� ในรูปแบบไหนก็ได้ มันไม่มวี นั ทีจ่ ะเป็น ห้องทีเ่ ก็บสมุดอ่ะ ก็เลยคิดว่า มันจึงเป็นเรือ่ งของการตีโจทย์มากกว่าว่า คุณจะสร้างห้องสมุดของคุณให้ตอบโจทย์ลักษณะนี้อย่างไร เราก็เลย สร้างพื้นที่ให้ชุมชน สร้างพื้นที่ให้คนเข้ามาคุยกัน มาแชร์กันได้
แล้วเราน�ำทุนมาจากไหน
___ก็ออกเองค่ะ คือ เราจะมาเก็บเงินคนใครจะมา ใช่มะ คือคิดถึง ตัวเองว่า ถ้าเราจะไปห้องสมุดเล็กๆ แล้วเขาเก็บตังค์เราจะไปหรอ ถึงจะ 50 บาท 100 บาท เราก็ไม่อยากเสีย คือคิดจากตัวเอง ตั้งแต่เรา ยังเป็นเด็กเวลาไปห้องสมุดเขาต้องเสียตังค์ เราก็ไม่ไปนะ อยู่มหาลัย อย่างเนลสันเฮย์ เราก็ไม่ไปนะ ก็ยังไม่เคยเข้าเลย เออ…แล้วท�ำไม เราต้องเสียตังค์ มานั่งคิดตังค์คน คงไม่มีใครมาพอดีอ่ะ ความรู้ต่างๆ ตั้งใจจะเอามาแชร์ไม่ใช่ว่ามันจะได้ตังค์เป็นกิจลักษณะ ขนาดนั้น ไม่ สามารถ คือเป็นข้อเสียส่วนตัวด้วยมั้ง เวลาตรงนี้เราอยากให้มันฟรีทุก อย่างมากกว่า มันเป็นชุมชนที่เราอยากจะให้มันมาแบ่งปัน มาแชร์กัน
ปั ญหาหรืออุ ปสรรคในการท�ำห้องสมุด คืออะไรบ้าง
___ส่วนใหญ่มันก็มีรากฐานมาจากเงินทั้งนั้นแหละค่ะ คือทุกอย่างถ้า มันไม่มีตังค์ เราก็ไม่สามารถที่จะจัดการอะไรให้มันมีกิจลักษณะเท่า พืน้ ทีๆ่ มีทนุ มากกว่านี้ เพราะฉะนัน้ ก็มสี ต๊าฟหนึง่ ท่าน มีคนท�ำกราฟฟิค ท�ำพาร์ทไทม์ เพราะงั้นเรายังไม่มีระบบ เรายังไม่มีออแกไนซ์เซชั่น (Organization)ที่ชัดเจน ฉะนั้นเรายังไม่มีบรรณารักษ์ฟูลไทม์ ไม่มี ระบบดาต้าเบส คือตอนนี้มันมีอะไรให้พัฒนาได้เยอะมาก แล้วก็ต้อง ค่อยๆ ท�ำ แล้วก็ไม่ได้ซีเรียสอะไร มันขึ้นอยู่กับ เงิน ความพร้อม และ โอกาส ที่จะเข้ามา ถ้าเราไม่มีปัญญาก็อย่าเพิ่งไปท�ำ ท�ำอะไรเล็กๆ ใน สเกลที่ตัวเองจัดการได้ง่ายกว่าและก็เป็นสิ่งที่มันเมคเซนส์เท่านั้นละ ปรัญชาของการท�ำสเปซ ท�ำอะไรเล็กๆ ท�ำเท่าที่ท�ำได้ ค่อยๆ เป็นค่อย ไป ต้องท�ำไปเรื่อยๆ ด้วยความมั่นคงในสิ่งที่ท�ำ
22
การอ่านมันให้ประโยชน์ให้อะไรกับตัวเราบ้าง
___“มันก็เป็นสกิลหนึ่งในการใช้ชีวิต อย่างนั้นดีกว่า คือให้ประโยชน์ อะไร มีทั้งประโยชน์ ทั้งโทษ”
มีโทษอย่างไร
___ก็แน่นอน อย่างโทษ ถ้าคุณไม่รู้จักคิดคุณก็ตายอ่ะ หรือแบบอ่าน อะไรทีม่ นั ไร้ประโยชน์ มันก็มผี ลเสีย จะมาบอกว่าการอ่านเป็นเรือ่ งดีงาม มันไม่ใช่ ถ้าคุณอ่านแต่อะไรที่แบบมันส่งผลเสียต่อชีวิตแล้วอ่านไม่ หยุดก็ท�ำให้เกิดทัศนะคติอันแย่ คุณก็เห็น ฆาตกรโรคจิตอ่านหนังสือ ก็มี ผู้น�ำเผด็จการรักการอ่านเยอะแยะ เพราะงั้นถามว่าการอ่านมีแต่ เรื่องดีๆ หรอ มันอยู่ที่ตัวคุณมากกว่าว่าเราอ่านแล้วเอาไปใช้ท�ำอะไร อ่านแล้วไปพัฒนาอะไรแค่ไหน การอ่านมันเป็นการรับข้อมูล พอเรา รับข้อมูลแล้วเราก็ต้องเอาไปใช้ชีวิต เจอคน แลกเปลี่ยน เพราะการ อ่านอย่างเดียว มันก็คือกินอย่างเดียวอ่ะ กิน กิน กิน แล้วมันก็ไม่ได้ ท�ำอะไร คุณต้องเอาข้อมูล นั้นไปท�ำอย่างอื่นด้วย แล้วเอามาปรับใช้ เข้ากับชีวิต ใช้ชีวิตค่ะ ถ้าคุณไม่แลกเปลี่ยนกับชาวบ้าน เราก็ต้องคิด ว่าเราถูกอยู่แล้ว
ชอบอ่านหนังสือประเภทไหน
___ตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือได้ตอนประถม มี 3 อย่าง ที่เรายังต้องการ ข้อมูลด้านนั้นอยู่ตลอด คือข้อมูลด้านอื่นมันแล้วแต่ตอนนั้นว่าเรา สนใจอะไร แล้วแต่งานช่วงนัน้ หรือทีก่ ำ� ลังเรียนอยู่ แต่สงิ่ ทีอ่ ยูก่ บั เรา มาตลอด อย่างแรก คือ ดิกชันนารี (Dictionary) พจนานุกรม มันเป็น สิง่ ทีท่ ำ� ให้เราสนใจในเรือ่ งเวิรด์ (Word) เรือ่ งค�ำ ทีม่ าของค�ำ ค�ำและ ความหมาย คือเราสนใจเรื่องค�ำแล้วก็เรื่องภาษาจริงๆ ปัจจุบันก็ยัง สนใจอยู่ นอนไม่หลับก็ยังอ่านดิก อย่างที่สอง คือ หนังสือที่เกี่ยวกับ ความรูร้ อบตัว สารานุกรมเด็กอ่ะ อ่านตลอดเวลาตัง้ แต่เด็ก อ่านแล้ว ก็ไม่เบือ่ ซึง่ อย่างทีบ่ อกมันไม่ใช่ความรูท้ เี่ ป็นหนังสือเล่มเดียว แต่เป็น ความรูใ้ นลักษณะทีเ่ ราชอบมากกว่า แล้วก็อย่างทีส่ าม หนังสือพิมพ์ กีฬา โดยเฉพาะสมัยเด็กๆ นะ ก็จะอ่านแบบสตาร์ ซอคเกอร์ (Star Soccer) อ่านทุกวัน แล้วโตขึ้นมาก็รับข้อมูลที่เกี่ยวกับกีฬา
เมื่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามา หนังสือจะยังมีบทบาท อยู ่ไหม
___ค� ำ ถามนี้ ก็ จ ะมี ม าตลอดเวลา เพราะคนก็ จ ะพยายามเสี้ ย ม
A DECADE OF LEARNING
หนึง่ นะ ช่วยอย่าเข้าใจผิด ชอบคิดว่ามนุษย์ทที่ ำ� งานเกีย่ วกับหนังสือ จะต้องต่อต้านอิเล็กทรอนิกส์ ดิจติ อล โนว! คือมันไม่มคี วามจ�ำเป็น ท�ำไม จะต้องให้ฉนั ชอบอันนัน้ หรอ ท�ำไมฉันต้องเกลียดดิจติ อล มันไม่มอี ะไร ขาว-ด�ำ การอ่านมันก็เป็นการเข้าถึงข้อมูลความรูเ้ ท่านัน้ เอง แล้วความ ต้องการอ่านไม่ได้แปลว่าต้องอ่านหนังสือ หรือการเข้าถึงข้อมูลความรู้ ก็ไม่ใช่แปลว่า มันมีแค่หนังสือเท่านัน้ ทีท่ ำ� ได้ เพราะฉะนัน้ ไม่อยากให้ คนมองว่า ต้องอ่านเท่านัน้ การอ่านเป็นเรือ่ งดีงาม จริงหรอ ถ้าการอ่าน เป็นเรือ่ งดีงาม ประเทศไทยนีค่ นอ่านหนังสือเยอะมากนะ คงฉลาดทีส่ ดุ ในโลกแล้ว ไม่ใช่ ประเทศไทย คุณไปดูขอ้ มูลเลยไปนะ ทีโ่ ลกนีเ้ ขาได้ ท�ำกันมาประเทศไทยอยูใ่ นหนึง่ ในห้าทีอ่ า่ นหนังสือเยอะทีส่ ดุ นะ แล้ว ท�ำไมเป็นแบบนีล้ ะ่ ประเด็นมันอยูท่ วี่ า่ ไม่ใช่วา่ คุณอ่านหรือเปล่า เปล่า ประเด็นอยู่ที่ว่าคุณอ่านอะไร คนไทยอ่านอะไร คนไทยไม่ได้อ่าน หนังสือแบบที่จะพัฒนา หนึ่ง คือพวกความรู้ เหตุผล ความคิดที่มัน ลึกซึ้ง หรือเปล่าถามเฉยๆ
___สมมติว่าอยู่ประเทศอื่น เดินเข้าไปในร้านหนังสือ คุณจะเห็นแล้ว ว่ามันมีเชลฟ์หนังสือดี หนังสือคลาสสิค ประเทศไทย มีไหมมีแต่ Best seller หนังสือคลาสสิคคุณมีไหม วรรณกรรมต่างๆ คุณมีหรือเปล่า เรา จัดบุค๊ คลับ (Book club)ทีนเี้ นีย่ ปัญหาอย่างหนึง่ คือมีวา่ หนังสือต่างๆ นานา ไม่มีพิมพ์ ไม่มีในท้องตลาด ไม่มีพิมพ์ใหม่แม้ว่าจะเป็นนักเขียน ที่มีชื่อเสียง คลาสสิคมากๆ เนี่ย ไม่มี เมื่อมันไม่ขึ้นเชลฟ์คนทั่วไปก็ ไม่สามารถที่จะเข้าถึงการท�ำพื้นที่ตรงนี้มันก็เป็นทางเลือกในการแก้ ปัญหาระดับหนึ่ง โอเค คุณมาที่นี่ คุณมีสิทธิที่จะเข้าถึงสิ่งที่ปกติแล้ว
23
ประเด็นมันไม่ใช่ อยู่ที่ว่า คุณอ่านหรือเปล่า แต่มน ั อยู่ที่ว่าคุณอ่านอะไร คน ไทยอ่านอะไร คนไทยไม่ ได้อ่านหนังสื อแบบที่จะ พั ฒนา คื อ พวกความ รู้ เหตุผล ความคิดที่มัน ลึ ก ซึ้ งหรื อ เปล่ า อั น นี้ ถามเฉยๆ
24
หนัง(สื อ)
พาไป
เรื่อง: ธันย์ชนก รื่นถวิล
หนังเป็ นเสมือนโลกหนึ่ งโลกที่ผู้ก�ำกับได้สร้างขึ้นมา มี ทัง้ ตัวละครที่ตา่ งมีชีวติ ของตัวเองในเรื่อง บ้างสุขสมหวัง บ้ า งทุ ก ข์ ร ะทมขมขื่ น บ้ า งได้ เ จอทางออกในท้ า ยที่ สุ ด บ้างวนเวียนอยู ่แบบเดิมซ�้ ำแล้วซ�้ ำเล่า เหมือนประโยคทิ้ง ท้ายของรายการโทรทัศน์หนึ่งที่ว่า “จุ ดหมายปลายทาง อาจไม่ใช่ ที่สุดของความงดงาม” และจะเป็นอย่างไร ถ้า หนังจะท�ำให้คนสองคนได้เดินทางออกไปเจอโลกกว้าง ได้ ใ นชี วิ ต จริ ง จนท� ำให้ เ กิ ด รายการท่ อ งเที่ ย วสไตล์ เรียลลิตี้ ผ่านการเล่าเรื่องแบบอารมณ์ดี มีแอบจิกกัด เล็กน้อย ชื่ อรายการ “หนังพาไป” จากการเดินทางเพื่อ พาหนังเรื่อง ‘กลางวันแสกๆ’ ตระเวนส่งเทศกาลหนังใน ต่างประเทศหลายที่ของสองคูซ่ ี้ ยอด - พิศาล แสงจันทร์ หนุ่ ม นั ก ศึ ก ษาคณะอุ ตสาหกรรมการเกษตร สาขา วิทยาศาสตร์ การอาหาร และ บอล - ทายาท เดชเสถียร คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ แห่ง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิ ญเก็บกระเป๋ า ใส่รองเท้า แล้วออกเดินทางไปพร้อมๆ กัน
26
A DECADE OF LEARNING
จากการที่ได้เดินทางไปในหลายๆ ที่ ได้เห็น ถึงวัฒนธรรมการอ่านของแต่ละที่บ้างไหม ___ยอด : ที่เด่นชัดนี่จะเป็น ‘ญี่ปุ่น’นะ
___บอล : ใช่ ไปทีไ่ หนเขาก็จะอ่านหนังสือบนรถไฟ รถเมล์ ___ยอด : เขาจะอ่านหนังสือกันเยอะมาก บนรถไฟฟ้า เขาก็จะมีบอกอยู่ว่าห้ามใช้โทรศัพท์ เพราะอาจจะรบกวน ผูป้ ว่ ยโรคหัวใจได้ เห็นเยอะเลยหลายๆ คน วัยรุน่ ก็จะอ่าน หนังสือกันเยอะมาก บางคนถึงขนาดที่ต้องห่อปกหนังสือ ด้วยกระดาษโดยที่ไม่ให้คนอื่นรู้ว่าเขาก�ำลังอ่านหนังสือ อะไร เขาคงไม่อยากให้ใครรู้ว่าก�ำลังอ่านอะไร อาจจะ ถือว่าไม่สุภาพ หรือรู้สึกว่าเป็นการบุกรุกในโลกส่วนตัว ของเขามั้ง ___บอล : อย่างที่อินเดียเนี่ย หนังสือที่อินเดียถูกมาก พวกหนังสือภาษาอังกฤษนี่แหละ คนจะบินไปซื้อหนังสือ ที่อินเดียกัน อย่างพวกต�ำรา พอไปจริงก็พบว่ามันมีตลาด ขายหนังสือข้างทางเต็มไปหมด และราคาถูกจริงๆ พอ กลับมาก็มาศึกษาที่หลังว่าที่อินเดียเขาส่งเสริมให้มีการ จัดพิมพ์ที่นี่ ต้นทุนมันก็เลยต�่ำ พวกหนังสือภาษาอังกฤษ คนอินเดียก็เลยมีความรู้เยอะ ในราคาถูก แต่คุณภาพ ของกระดาษอาจลดลงมานิดนึง แต่ก็โอเคตัวหนังสือครบ ได้ความรู้เท่ากัน ___ยอด : เหมือนค่าต้นทุนการผลิตเขาต�่ำ ยิ่งค่าลิขสิทธิ์ ยิ่ ง ต�่ ำ คนอิ น เดี ย เลยมี สิ ท ธิ ที่ จ ะอ่ า นหนั ง สื อ ได้ ม าก จะเห็นคนอินเดียเข้าไปเลือกหนังสือเยอะนะ แต่ก็ไม่ทุก คนนะ เพราะก็มีคนหลากหลายจริงๆ ในอินเดียมีทั้งคนที่ พูดภาษาอังกฤษได้และ ไม่ได้เหมือนกัน เพราะประเทศ มันใหญ่มากจริงๆ อินเดียก็มีห้องสมุดนะ เป็นอาคารทรง ยุโรปเก่าแก่เลย พอเข้าไปเหมือน ย้อนยุคไปสมัย ป.1 เก่าๆ เลย มีทอี่ า่ นหนังสือแยกหญิงแยกชายนะ คนเยอะนะ คนนอกอย่างเราก็สามรถเดินเข้าไปได้เลยนะ ไม่ตรวจบัตร ใครสนใจเข้าไปอ่านก็อา่ น น่าทึง่ อยูน่ ะ ถึงมันจะเก่าแต่คน ก็อ่านหนังสือเยอะอยู่นะ แล้วระบบเปิดกว้างให้กับทุกคน
อย่างในยุโรปเท่าที่เห็นตามทั่วไปก็คล้ายไทยเรานะ อ่าน บ้างไม่อ่านบ้างตามระบบขนส่งสาธารณะ แต่ที่น่าทึ่งคือ แหล่งการอ่านของเขา ตามห้องสมุด ตามมหาวิทยาลัย เขาเจ๋งกว่าเยอะ ถ้าเทียบกับห้องสมุดแถวบ้านเราเนีย่ มัน คนละเรือ่ ง เหมือนสุสานหนังสือ แต่ของเขามันเป็นทีๆ่ เขา ไปอ่านกันจริงๆ และเรือ่ งกฏเกณฑ์ของเขามันส่งเสริมการ อ่าน ไม่จ�ำเป็นต้องมีบัตรก็ได้ ท�ำให้ห้องสมุดของเขาไม่ เหมือนพื้นที่ที่เข้าไปแล้วต้องเงียบ สามารถท�ำนู่นท�ำนี่ได้ มีคนเข้าออกตลอดเวลาซึง่ น่าแปลกใจ เขาเห็นห้องสมุดเป็น สถานที่ให้ความรู้ ไม่ใช่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องอยู่บนหิ้ง ___บอล : เคยไป Work & Travel ที่อเมริกาก่อนที่จะมา ท�ำหนังพาไป แล้วบังเอิญบ้านที่ไปพักมันติดกับห้องสมุด ในเมืองเล็กๆ ที่อเมริกา รู้สึกว่าห้องสมุดเขาไม่เหมือนห้อง สมุดบ้านเราเลย ปรากฏว่าพอเข้าไปด้วยความที่เป็นคน ต่างชาติท�ำให้มีปัญหาเรื่องท�ำบัตร เพราะไม่มีทะเบียน บ้านอยู่ แต่พอเจ้าหน้าที่ห้องสมุดรู้ว่าเรามาสามเดือนเขา ก็พยายามหาวิธที ำ� บัตรให้เรา บรรณารักษ์ ก็จะใจดีแนะน�ำ หนังสือ เหมือนเขารู้จักหนังสือในห้องสมุดของเขาทุกเล่ม ซึง่ ตอนนัน้ ก็ไปหาพวกหนังสือภาษาอังกฤษ พวก Grammar อ่าน พอสัปดาห์ถัดไปเขาเตรียมเล่มต่อไปไว้ให้เราที่ เคาน์เตอร์เลย แล้วพอเอาไปคืนบรรณารักษ์ ก็จะแนะน�ำ เล่มต่อไปให้เลยว่าเล่มนี้น่าจะเหมาะกับคุณนะ มันสนุก กว่า เขียนง่ายกว่า ท�ำให้รสู้ กึ ว่า เฮ้ย! คือบรรณารักษ์ในฝัน อ่ะ เขารักหนังสือ เมืองไทยเคยมีแบบนีห้ รอ บรรณารักษณ์ คอยแต่จะบอกว่าคุณอย่าใส่รองเท้าแตะนะ บรรณารักษ์ ไทยเป็นยาม ท�ำให้ช่วงเวลาสามสี่เดือนที่ไปอยู่อะ ท�ำงาน มันก็เหนื่อยนะ แต่ได้ห้องสมุดของเมืองนี้แหละเป็นที่พึ่ง ท�ำให้รู้สึกว่า เข้าไปแล้วสบายใจ มีกิจกรรม มีหนังสือดีๆ เขาท�ำให้คนอยากเข้าไปอ่านหนังสือ ท�ำให้คนของเขา รักการอ่าน ท�ำให้รู้สึกว่า รักห้องสมุดตั้งแต่กลับมากจาก อเมริกา เมื่อคนใกล้หนังสือได้ง่ายก็จะรักการอ่านหนังสือ ไปเองแหละ ___ยังมีอีกที่นึงที่ ที่ประเทศจีน เดินอยู่แถบชานเมือง ปักกิ่ง บังเอิญได้ไปเจอห้องสมุดริมถนน เป็นตู้ยืมหนังสือ
27
ขนาดใหญ่มากเลย ซึง่ มาค้นพบทีห่ ลังว่าทีไ่ ต้หวันก็มนี ะ มันจะเป็น เหมือนตู้กระจกเลื่อนไปมาให้เราเลือกหนังสือในนั้น แล้วก็ใช้บัตร สมาชิกในการยืม แล้วตู้พวกเนี้ยก็จะไปอยู่ในชุมชนต่างๆ แถบที่ มีคอนโดเยอะๆ ก็ลองไปยืนดูว่าจะแค่ตั้งไว้เฉยๆไม่มีใครใช้หรือ เปล่า ปรากฏว่าที่ยืนงงๆ อยู่ก็มีคุณลุงคนนึงเดินเอาหนังสือมาคืน แล้วก็นั่งเลือกหนังสือเล่มใหม่เสร็จแล้วก็กลับขึ้นคอนโดไป รู้สึกว่า เฮ้ย! จีนเจ๋งอะ คือการท�ำห้องสมุดเนี่ยจะต้องรอคนเข้ามา แต่นี่ เขาเอาหนังสือเข้าไปหาคน แล้วก็มีระบบการเก็บสถิติตลอดเวลา ด้วย เพราะหนังสือที่จะเข้าไปตามชุมชนต่างๆ ก็ต้องถูกคัดมาแล้ว ว่าเป็นหนังสือที่คนในชุมชนสนใจ ถูกกลุ่มเป้าหมายแน่นอน และ มีการหนังสือเรื่อยๆ คนที่อยู่ปักกิ่เขาก็จะบอกนะ ว่ามันจะมีตู้แบบ นี้อยู่ทั่วเมืองแหละ
มีหนังสือเล่มไหนที่มีอิทธิพลต่อชี วิตบ้าง
___บอล : หนังสือเล่มแรกในชีวิตที่เคยอ่าน เป็นหนังสือนอกเวลา ตอน ม.1 ม.2 คือ ‘แมงมุมเพื่อนรัก’ เป็นเล่มบางๆ นั่นคือหนังสือ เล่มแรกในชีวิตเลยที่อ่านจบ อ่านจบในไม่กี่ชั่วโมงเลยนะ อ่านจบ แล้วก็ร้องไห้ ตอนนั้นรู้สึกว่าพึ่งค้นพบความอัศจรรย์ของการอ่าน หนังสือ ก่อนหน้านัน้ ตอนประถมนี่ จะรูส้ กึ ว่าการอ่าหนังสือเป็นยาขม เป็นการอ่านเพื่อเรียน ก็จะไม่อ่านหนังสือ แต่พอได้อ่านเล่มนี้แล้ว สนุก เล่มนี้แหละเปลี่ยนชีวิตเลย ท�ำให้พบว่าหนังสือหนึ่งเล่มมัน เหมือนกับโลกหนึ่งใบ เวลาเราเลือกหนังสือจากในชั้นมาหนึ่งเล่ม มันเหมือนเราจะกระโดดไปในโลกใบไหนของใคร เขาจะพาเราไป ไกลขนาดไหน เขาจะพาเราไปเจออะไรบ้าง มันน่าตื่นเต้นไปหมด ท�ำให้ทุกวันที่หยิบหนังสือขึ้นมารู้สึกว่า เฮ้ย ! วันนี้เราจะกระโดดไป ในโลกของคนนี้ โลกของอะไร ก็ตอ้ งขอบคุณชาร์ลอ็ ตต์ทเี่ ปลีย่ นชีวติ กับการอ่านหนังสือไปเลย ท�ำให้ประทับใจการอ่านหนังสือ ___ยอด : หนังสืออ่านนอกเวลาเรื่อง ‘มอม’ ของ คึกฤทธิ์ ปราโมช อยูใ่ นหนังสือเรียนภาษาไทย เรือ่ งเกีย่ วกับหมาทีเ่ จ้าของไปรบ อ่าน จบแล้วก็ร้องไห้ ประทับใจ นั่นแหละคือหนังสือเล่มแรกที่ได้อ่าน
แล้วหนังสือที่มีอิทธิพลต่อการเดินทาง
___ยอด : เรื่อง ‘จะไปให้ไกลท�ำไมกัน’ ของ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ เวอร์ชั่นแรกเป็น ‘จะไปให้ไกลถึงไหนกัน’ เป็นหนังสือของอาจารย์ ทีป่ รึกษา รูจ้ กั กันทีป่ ารีส อ่านแล้วยิง่ รูส้ กึ ว่าการเดินทางมันให้อะไร
28
เยอะ เหมือนยังมีโลกอีกหลายโลกทีเ่ รายังต้องไป ไปเปิดโลก เป็นนัก เดินทาง ท�ำสารคดี จะเขียนเรือ่ งทีร่ ะหว่างทาง ปรากฏว่าเรือ่ งทีเ่ ขียน มันน่าตืน่ เต้น มันไม่ได้หวือหวา แต่มนั ลุม่ ลึก มันยังมีโลกเดินทาง ของจริง แล้วก็โลกการเดินทางในจิตใจ ทีม่ นั ควบคูก่ นั ไปด้วย บาง คนอ่านแล้วก็บอกว่า อ่านแล้วไม่อยากเดินทาง เก็บกระเป๋าเรียบร้อย แล้ว แต่พออ่านหนังสือเล่มนีจ้ บปุบ๊ แล้วรือ้ กระเป๋าเก็บข้าวของไม่ไป ไหนแล้ว ไม่อยากไปไหน หลายๆ คนบอกแบบนีน้ ะ แต่สำ� หรับพีม่ นั เหมือนมีพลัง ไม่นา่ เชือ่ ว่าส�ำหรับคนวัยหนุม่ ปลายๆ ก็ยงั มีพลังขนาดนี้ เหมือนยังมีโลกทีก่ ว้างกว่านีจ้ ากในหนังสือเล่มนี้ ___บอล : อีกเล่มนึงชือ่ ว่า ‘ข้างหลังโปสการ์ด’ ของ อิง๋ กาญจนะวณิชย์ เป็นหนังสือเก่าแล้วนะ เรื่องที่เขาเล่ามันเก่ามาก พอมาอ่านจาก ท�ำรายการหนังพาไปได้บางส่วนแล้ว พบว่ามันเหมือนกับหนังพาไป มาก แต่แรงกว่ามาก เขาเที่ยวไปแล้วเรียนรู้โลก และพยายามที่จะ เปลีย่ นโลกด้วยจากการเดินทางของเขา เขาเห็นว่าอะไรไม่ถกู ไม่ควร ก็จะเขียนวิพากษ์วิจารณ์ตรงๆ ในหนังสือ หรือบางครั้ง เช่น เขาไป เที่ยวภูเก็ต เขาไปเจอโรงแรมที่ท�ำไม่ถูกต้อง กั้นหาดทรายเป็นของ ส่วนตัว เขาในฐานะนักท่องเที่ยวก็พยายามเข้าไปเปลี่ยนมัน ไป ทะเลาะกับยาม ทะเลาะกับเจ้าหน้าที่ เพื่อที่จะเข้าไปตั้งค�ำถามว่า ท�ำไม คุณท�ำผิดกฏหมายนะ แต่เขาก็ได้รบั บทเรียนหลายอย่าง มัน ก็เป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดจากการที่เขาพยายามที่จะท�ำให้มัน ถูกต้อง แต่หนังสือเล่มนี้เปลี่ยนชีวิต เพราะว่าท�ำให้พบว่ามันไม่ได้ มีแต่เราที่คิดแบบนี้ ไม่ได้มีแต่เราที่เห็นสิ่งที่มันผิดปกติ และอยาก จะท�ำให้มันถูกต้อง มันยังมีคนๆ นึงที่เขาเขียนหนังสือเล่มนี้มาเป็น สิบปีทแี่ ล้วด้วยซ�้ำไป และหนังสือเขาก็โดนโจมตีเยอะแยะ ชีวติ เขา ก็มีขวากหนามในสิ่งที่เขาเชื่อ เขาต้องต่อสู้กับหลายสิ่งหลายอย่าง ท�ำให้รู้สึกว่า เออ… การเที่ยวแบบนี้มันสร้างคุณค่านะ ขนาดเขา เขียนบันทึกสิ่งที่เขาท�ำคุณค่าเขายังส่งต่อมาจนถึงรุ่นเราได้เลย
มีหนังสือเล่มไหนที่อยากแนะน�ำไหม
___ยอด : แนะน�ำเลยว่าถ้าเป็นวัยรุ่นอยากให้อ่าน ‘ข้างหลัง โปสการ์ด’ แต่ถ้าเกิดหมดไฟแล้วอ่าน ‘จะไปให้ไกลท�ำไมกัน’ มัน ต่างกันเขียนเกี่ยวกับการเดินทางเหมือนกันแต่จะเห็นความลุ่ม ลึก ท�ำให้เห็นการเดินทางทางโลก และการเดินทางภายในจิตใจ ไปพร้อมๆกัน อีกเล่มนึงมีทงั้ ความดุดนั เผ็ดร้อน ตรงจุด ปฏิเสธไม่ได้ มันเฆี่ยนเราต่อหน้า ทั้งๆ ที่ก็เขียนไว้เมื่อนานมาแล้ว
A DECADE OF LEARNING
___บอล : ตอนเด็กๆ เคยได้ยินว่า อ่านหนังสือให้หลากหลายมากที่สุด ลองหยิบหนังสือประเภทที่ไม่เคยคิดว่าจะอ่านขึ้นมาอ่านดู ก็เคยท�ำอยู่ พักนึงและพบว่ามันสนุกมาก การเขียนหนังสือแต่ละเล่มกว่าจะได้หนึ่ง บทนี่ต้องกลั่น ต้องคิดมาแล้ว คิดมาว่าจะเขียนยังไง กระชับไหม แก้ แล้วแก้อีก เพราะฉะนั้น หนังสือหนึ่งเล่มไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เราสนใจหรือ เปล่า มันเป็นโลกหนึ่งใบที่เขาตั้งใจประดิษฐ์มาให้เราเรียบร้อยแล้ว มัน ไม่ใช่งานหยาบๆ เลยนะ เพราะฉะนั้นถ้าเราอ่านหนังสือที่ต่างออกไป จากความสนใจของเราเรื่อยๆ จะพบว่ามีโลกหลายๆ ใบที่เขาคัดให้เรา มาแล้วเต็มไปหมด ส่วนนึงทีท่ ำ� ให้ตดั สินใจไม่ทำ� งานเป็นวิศวะ ไม่ทำ� งาน สายวิทย์ เป็นเพราะได้อา่ นหนังสือพวกนีแ้ หละ มันท�ำให้พบว่าจริงๆ แล้ว โลกมันมีหลายอย่างน่าตื่นเต้นให้เราท�ำมากกว่าในโรงงานเยอะเลย ถ้า เกิดอ่านแต่หนังสือวิศวะ คณิตศาสตร์ พิสกิ ส์ ก็จะพบว่าโลกเรามันก็มแี ค่ เนี้ยแหละ เท่าที่จะจินตนาการได้ โลกนี้มันน่าตื่นเต้นมาก มันส�ำคัญนะ ส�ำหรับเด็กทีก่ ำ� ลังเรียน เพราะคนเรามันมีชวี ติ เดียว ถ้าเราสามารถเลือก ทางเดินของชีวติ ได้เร็วและเป็นสิง่ ทีเ่ ราชอบ ตายไปก็ไม่เสียดาย ดีกว่ามา ค้นพบเอาตอนทีเ่ ราไม่มแี รงจะท�ำแล้ว มันก็จะกลับตัวยากและเสียดาย เวลาที่เราใช้ไปกับอะไรก็ไม่รู้
หนังสื อหนึ่งเล่มมันเหมือนกับโลก หนึ่งใบ เวลาเราเลือกหนังสื อจาก ในชั้ นมาหนึ่งเล่ม มันเหมือนเราจะ กระโดดไปในโลกใบไหนของใคร เขาจะพาเราไปไกลขนาดไหน เขา จะพาเราไปเจออะไรบ้ า ง มั น น่ า ตื่นเต้นไปหมด ทำ�ให้ทุกวันที่หยิบ หนังสื อขึ้นมารูส ้ ึ กว่า เฮ้ ย ! วันนี้เรา จะกระโดดไปในโลกของคนนี้ โลก ของอะไร 29
อ่านศิ ลป์ เสพเงาแสง กับ
จ้อย นรา
A DECADE OF LEARNING
เรื่อง : ศราวุ ธ ดีหมื่นไวย์
จ้อย นรา หรือ พรชั ย วิริยะประภานนท์ หยัดยืนบน เส้ น ทางนั ก เขี ย นในฐานะนั ก วิ จ ารณ์ ภ าพยนตร์ ร ะดั บ หั ว แถว ก่ อ นผั น ตั ว เองมาเขี ย นหนั ง สื อ ด้ า นศิ ล ปกรรมไทย ตามความสนใจส่วนตัว ซึ่ ง ‘ยังเฟื้ อ’ เป็ นเล่มแรกที่ปลุก ความสนใจให้กับผู ้คนที่ได้อ่าน หันมาเสพศิลป์ และค้นหา เงาแสงแห่ ง อดี ต ซึ่ งนั่ น คื อ ผลพลอยได้ ท่ ี เ ขาย�้ ำให้ เ ห็ น ในบทสัมภาษณ์ต่อจากนี้
เริ่มต้นการอ่านได้อย่างไร
อ่านเป็นการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจ แต่ละ คนก็มีรสนิยมความชอบของตนเองและสามารถเลี้ยวไปได้หลายทาง
เฟิ ร์สอิมเพรสชั่ นของคุณคือ
___หนังสือการ์ตนู ตุก๊ ตา, เบบี,้ ชัยพฤกษ์ แรก ๆ ก็ชอบภาพวาดประกอบ โดยเฉพาะเล่มทีม่ งี านวาดของ ครูเหม เวชกร หลังจากนัน้ เริม่ อยากรูว้ า่ เนื้อหาข้างในจะเหมือนภาพปกหรือเปล่า นั่นน�ำไปสู่การอ่าน
___เคยรู้สึกบ้างตอนเป็นวัยรุ่นครับ เพราะบ้านเราจ�ำนวนคนที่เป็นนัก อ่านมีน้อย จนไม่รู้จะคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกับใคร เหมือนอยู่ตาม ล�ำพัง แต่เมื่อโตขึ้น อ่านมากขึ้น อาการนี้ก็หาย เพราะการอ่านท�ำให้ เราเจอเพื่อนอีกลักษณะหนึ่ง หนังสือหลายๆ เล่มที่ดีนั้น เป็นเสมือน กัลยาณมิตร
มีหนังสือที่มีอิทธิพลแต่ละช่ วงชี วิตไหม
คิดว่าการอ่านก�ำลังจะตายหรือเปล่า
___เริ่มจากสมัยวัยเด็กโตมาในครอบครัวที่ยากจน ยุคนั้นมองไปรอบ ตัวไม่มีสื่อบันเทิงอะไร ก็เลยอ่านหนังสือ เริ่มจากหนังสือเรียน โตขึ้น อีกหน่อยเริ่มอ่านเรื่องแต่งและนิยาย
___มีครับ แต่ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและอายุ การอ่านหนังสือนี่อ่านไป เรื่อยๆ เหมือนได้พัฒนาตัวเอง สมัยเรียนมัธยมงานของ อ.คึกฤทธิ์ ปราโมช, ไม้ เมืองเดิม, ยาขอบ, พนมเทียน มีอิทธิพลกับผมมาก เมื่อ เรียนต่อพาณิชย์ เป็นยุคทีเ่ ริม่ ดูหนังฟังเพลงฝรัง่ ก็เริม่ อ่านหนังสือแปล เช่น นิยายชุดปัวโรต์ของอกาธา คริสตี แล้วก็รบั อิทธิพลจากงานเหล่านี้ พอเรียนปวส. ความสนใจเริม่ หันเหมาทางวรรณกรรมเพือ่ ชีวติ เช่น งาน นายผี อัศนี พลจันทร, จิตร ภูมศิ กั ดิ์ เริม่ อ่านวรรณกรรมคลาสสิกของโลก เช่น แมกซิมกอร์กี จนกระทั่งล่าสุดเริ่มสนใจงานโบราณคดีศิลปะไทย โดยเฉพาะงานเขียนของ อาจารย์ น. ณ ปากนํ้า สรุปคือ ผมเชื่อว่าการ
การเป็นหนอนหนังสือบางครัง้ รู ้สึกแปลกแยกไหม
___ไม่ครับ จริงๆ ธรรมชาติมนุษย์ชอบอ่านจะตาย เรามีธรรมชาติความ เป็นนักอ่านอยู่ในตัวกันทุกคน แต่มีปัจจัยหลายอย่างอันสลับซับซ้อน ท�ำให้สิ่งนั้นหายไประหว่างการเติบโต ไม่กลายเป็นนิสัยรักการอ่าน ถาวร เป็นนักอ่านที่เข้มข้นลงลึก เป็นนักอ่านที่มีคุณภาพ ถ้ามองในแง่ ปริมาณ ผมคิดว่ายุคนี้ผู้คนอ่านหนังสือมากขึ้น แต่ประเด็นส�ำคัญคือ จ�ำนวนคนอ่านที่มีเยอะขึ้นนี้ ชอบอ่านอะไร? อ่านวรรณกรรม นิยาย เรื่องสั้น บทความ หรือ อ่านเรื่องซุบซิบส่วนตัวของดารา อ่านกระทู้ ด่าทอกันในอินเตอร์เน็ต อ่านข่าวเคราะห์ร้ายหายนะของผู้อื่น ยุคนี้คน อ่านมีเยอะ หนังสือมีเยอะ ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น แต่กลับรูแ้ ละจ�ำแนก
31
แยกแยะยากว่า หนังสือเล่มไหนดี ควรอ่าน หนังสือเล่มไหน แฝงพิษภัย พึงหลีกเลี่ยง
อ่านรู้สึกสนุก รู้สึกว่าน่าสนใจ และเกิดความคิดอยากเรียนรู้ ศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง
แม้จะมีหน่วยงานจัดอันดับหนังสือ
สิ่งที่ท�ำคือการสร้างรากฐานหรือเปล่า
___ใช่ครับ เพราะคนที่จัดอันดับก็มีข้อจ�ำกัด คุณอ่านแทบ เป็นแทบตาย ท้ายที่สุดอ่านได้จ�ำนวนหนึ่ง อาจจะเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของทัง้ หมด ไม่สามารถครอบคลุมได้หมด และย่อม มีหนังสือดีๆ ตกหล่นหลงหูหลงตาจากการส�ำรวจเป็นธรรมดา กลายเป็นว่าโลกมันมีอะไรเยอะแยะ แต่โอกาสที่จะท�ำความ รู้จักในหลายๆ สิ่งกลับน้อยลง ตัวอย่างเช่น นักอ่านยุคนี้รู้จัก นักเขียนยิ่งใหญ่อย่างไม้ เมืองเดิม น้อยจนน่าใจหาย
เพราะคนในวงการไม่หยิบยกคนเหล่านัน้ ขึน้ มา ___เปล่าครับ มีการหยิบยกคนเหล่านัน้ มายกย่องพูดถึงตลอด เพียงแต่คา่ นิยมวงกว้างในบ้านเรา เป็นสังคมทีส่ นใจอะไรแบบ มุ่งมองไปข้างหน้า นิยมเรื่องที่ก�ำลังอยู่ในกระแสมากๆ พอ สนใจอะไรอย่างหนึง่ ก็คร�ำ่ เคร่งใส่ใจมันอย่างหนักมากในเวลา รวดเร็ว เหมือนตั๊กแตนลงไร่ข้าวโพด พรึบ ไร่ข้าวโพดหาย ก็ ไปไร่ใหม่ แต่ไม่ค่อยมองไปข้างหลัง ไม่ค่อยสนใจเรื่องราวใน อดีตที่ผ่านพ้นล่วงเลยไปแล้ว
ปั ญหานี้มีผลต่อสังคมไทย
___อันนี้เป็นปัญหากับทั้งหนัง เพลง และวรรณกรรม มันเลย เป็นสังคมที่ขาดการบันทึกที่ดี อายุงานมันสั้นอย่างหนังสือที่ ดีวันนี้อีก 5 ปีถ้าไม่ได้ซีไรต์ก็ถูกลืม หรือบางเล่มที่ได้ซีไรต์ก็ เงียบ หนังเหมือนกันอย่างเรื่องแฟนฉัน เด็กอีกยุคหนึ่งในสิบ ปีข้างหน้าก็จะไม่รู้จัก ยิ่งเพลงเก่าไม่ต้องพูดถึง เรามัวแต่มอง ว่าพรุ่งนี้อะไรจะเป็นกระแส เราเป็นสังคมที่กลัวเชย แล้วโหย หาความทันสมัยมาก เลยท�ำให้มีปัญหาเพราะพื้นฐานความ เข้าใจอดีตที่มาของตนไม่แข็งแรง
แล้วจะสร้างรากกันอย่างไร
___ถ้ามองกันภาพใหญ่ๆ ของสังคมทั้งหมด ผมก็เลิกคิด เลิก มอง เพราะเป็นเรื่องที่เกินปัญญาความเข้าใจของผม แต่ใน ระดับส่วนตัว ผมคิดว่าพอจะท�ำในสิ่งที่มีก�ำลังความสามารถ นัน่ คือ กลับไปนัง่ อ่านนัง่ ศึกษาในเรือ่ งประวัตศิ าสตร์โบราณคดี ศิลปะไทย เพื่อท�ำความเข้าใจ แล้วน�ำมาเขียนบอกเล่าให้ผู้
32
___เป็นผลพลอยได้หรือประโยชน์ทางอ้อมมากกว่าครับ เพราะ เบื้องต้นจริงๆ ในการท�ำงานอะไรก็ตาม จะเริ่มจากเป็นเรื่องที่ เราสนใจ ไม่ว่าจะยุคที่เขียนวิจารณ์หนังจนมาถึงช่วงที่เขียน เรื่องศิลปะไทย มันเริ่มมาจากความอยากรู้ส่วนตัวในสิ่งนั้นๆ ก่อน อะไรที่ฟังดูหรูหราอย่าง การยกระดับรสนิยมของผู้คน การปลูกฝังให้ผู้อ่านสนใจศิลปะไทย สิ่งเหล่านี้มาทีหลัง หรือ อาจจะไม่มาเลยก็ได้ และจะเกิดขึ้นจริงได้ต่อเมื่อผมท�ำงาน เขียนออกมาได้ดีเท่านั้น คนอ่านจะเป็นผู้ตอบได้ดีกว่าตัวผม
การเริ่ ม ต้ น เขี ย นหนั ง สื อ เกี่ ย วกั บ ศิ ล ปะไทย ถือว่ายากไหม
___ยากด้วยหลายๆ ประการครับ เช่น ตัวชิน้ งานช�ำรุดเสียหาย ไปเยอะ ขาดเอกสารอ้างอิงหรือบันทึกที่แน่ชัด ความรู้ในวิชา ช่างโบราณหลายๆ อย่าง สูญหายขาดการสืบทอด กับความ ยากอีกอย่างซึ่งขึ้นอยู่กับตัวผมเอง นั่นคือ ผมจะเข้าถึงซาบซึ้ง คุณค่าความงามของศิลปะเหล่านีไ้ ด้อย่างไร และสมมติวา่ ผม ท�ำได้ส�ำเร็จ ความยากต่อมาคือ ผมจะถ่ายทอดอย่างไรให้ผู้ อ่านเข้าใจและสัมผัสความงามได้เช่นเดียวกับผม และที่ยาก ที่สุดคือ จะก�ำหนดขอบเขตไว้แค่ไหน เขียนให้อ่านง่ายอ่าน สนุก หรือเขียนให้หนักแน่นด้วยข้อมูลและประเด็นที่ลงลึก
คนอ่านประวัติศาสตร์ต้องตัง้ ข้อสงสัย
___ต้องอ่านแล้วคิด สงสัย แล้วน�ำไปสู่การตั้งค�ำถาม เพราะ เป็นวิชาความรู้ที่ไม่มีข้อยุติตายตัว ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า เป็นค�ำ ตอบสุดท้าย มีแต่ค�ำตอบซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานต่างๆ นานา จึงจ�ำเป็นเลือกไตร่ตรองจากเหตุผลค�ำอธิบายว่า ข้อสันนิฐาน ใดเขามีความรัดกุม และน่ารับฟัง พูดง่ายๆ มันเป็นเรื่องที่ไม่มี อะไรถูกผิดร้อยเปอร์เซ็นต์ และเป็นวิชาที่ทัศนะความเห็นไม่ หยุดนิ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มีการค้นพบข้อมูลใหม่หลัก ฐานใหม่อยู่เสมอ การตั้งข้อสงสัยจึงจ�ำเป็นมาก
A DECADE OF LEARNING
33
สั งคมไทยมักสนใจเรื่องที่ เป็นกระแสเหมือนตั๊กแตน ลงไร่ ข้ า วโพด พรึ บ ! ไร่ ข้าวโพดหาย ก็ไปไร่ใหม่ แต่ ไม่ค่อยมองไปข้างหลัง ไม่ ค่อยสนใจเรือ ่ งราวในอดีต
34
คุยเรือ ่ งชี วิต สไตล์อนาล็อก
กับ
ธวัชชั ย พั ฒนาภรณ์
เต้ -
เรื่อง : ศศิกานต์ เอื้อวิทยาวุ ฒิกุล
ทันทีท่ีผลักประตูบานเฟี้ ยมเข้าไปในตึกแถวสไตล์คลาสสิค ย่านเก่าเมืองกรุ ง เราเห็นภาพถ่ายขาวด�ำ 3 ภาพ ที่สะท้อนชี วิต ความรู ้สึกผ่านแสงและเงา ใส่ กรอบอย่างดี แขวนไว้บนผนัง ทุกภาพเป็นงานท�ำมือที่ทั้งล้างและอัด ของ เต้- ธวัชชั ย พัฒนาภรณ์ อดีตหนุ่มสถาปั ตย์ ที่เลือกสะพายกล้องเดิน ตามความฝั น พร้อมสะสมประสบการณ์ และชั ดเจนกับวิถีทางของตัวเอง มาตลอด 10 ปี โดยสารคดีชิ้นแรกของเขาเป็นการบันทึกเรื่องราวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ของไทย ใช้ช่ื อว่า ที่เกิดเหตุ แต่ไม่ว่าโลกจะหมุ นเร็วด้วยเทคโนโลยี เขาก็ยังคงยืนหยัดในแนวที่ตัวเองถนัด เลือกบันทึกภาพความทรงจ�ำต่างๆ ผ่านกล้องอนาล็อก ที่อาศัยเพียงมือ
36
A DECADE OF LEARNING
และหัวใจเป็นกระบวนท่าส�ำคัญ ปั จจุ บันเขาเปิ ดสตูดิโอ เล็กๆ ชื่ อว่า Patani Studio (ปาตานี สตูดิโอ) เป็น พื้นที่เฉพาะส�ำหรับท�ำงานเกี่ยวกับภาพถ่ายและฟิ ล์ม ก่อนบทสนทนาจะเริ่มขึ้น เขานั่งบ้าง ยืนบ้าง และเดิน ไปมาในแล็บภาพถ่ายอนาล็อก พร้อมเปิ ดฝาโหลแก้ว ที่บรรจุ เมล็ดบัวอบแห้งวางบนโต๊ะ เป็ นกับแกล้มใน การถ่ายทอดเรื่องราวชี วิต วิธีคิด เคล้าบรรยากาศ คลาสสิคๆ รู้ตัวเองว่าชอบถ่ายภาพตัง้ แต่ เมื่อไหร่
___ตอนที่ เ รี ย นคณะสถาปั ต ยกรรม นั ก ศึ ก ษาต้ อ งมี ก ล้ อ งกั น ทุ ก คนอยู ่ แ ล้ ว เวลาทางคณะพาไปดูงานก็ตอ้ งมีกล้องเพือ่ ไปถ่ายไว้เก็บข้อมูล ทุกคนก็เหมือนจะสนุก กับการมีกล้อง และชอบถ่ายภาพกัน แต่ ในรุ่นเหมือนจะมีเราคนเดียวที่มาท�ำงาน ภาพถ่าย คือไม่ชอบท�ำงานตามที่เรียนมา เพราะรู้ว่าไม่ถนัดทางนี้แน่
ในขณะที่โลกเคลื่อนไปข้างหน้า เทคโนโลยีเข้ามามากมาย ท�ำไม ยังเลือกอยู ใ่ นโลกอะนาล็อก และ ยังใช้กล้องฟิ ล์มอยู ่
___ช่ ว งเรี ย นมหาวิ ท ยาลั ย ปี 4 ซึ่ ง ก็ ประมาณสิบปีทแี่ ล้ว เป็นยุคทีก่ ล้องดิจติ อล เริ่มเข้ามาส�ำหรับผู้บริโภคทั่วไป คือตอน นั้นเรายังไม่เห็นว่าอนาคตภาพดิจิตอลมัน จะไปอย่างไร เพราะตอนนั้นคุณภาพมัน ไม่ได้ดีมาก ข้อดีหลักๆ คือแค่ไม่ต้องเสีย ค่าฟิล์ม ค่าล้าง ค่าอัดภาพ ถ่ายจากไซต์ งานมา โหลดลงคอมเอามาใช้งานได้เลย แต่แง่ความสวยงาม เก็บเป็นความทรงจ�ำ
เราก็จะถ่ายด้วยฟิล์ม ซึ่งเพื่อนหลายคนก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน ส�ำหรับ เราฟิล์มมันเป็นอะไรที่จับต้องได้ มันมีเสน่ห์บางอย่าง เป็นธรรมชาติ มี ความจริง มันให้อารมณ์ต่างกัน
กว่าจะได้แต่ละภาพมีวธิ คี ดิ อย่างไร ภาพจะเกิดขึน้ ใน หัวก่อนไหม หรือมาพร้อมๆ กับตอนที่เราได้เข้าไปอยู ่ ในสถานที่นนั้ ๆ ___หลักๆ เราก็ต้องมีเวลาอยู่กับสถานที่นั้น แล้วก็ค่อยๆ หา เป็นส่วน หนึ่งของที่ๆ เราอยู่ เขาไม่แปลกแยกเรา เราไม่แปลกแยกเขา คือภาพ ที่เราถ่ายมันสั่งไม่ได้ มันเป็นวิถีในสถานที่นั้นๆ จึงต้องมีกล้องพร้อม อยู่ในมือตลอด เพราะภาพมันมาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ หรือถ้าถ่ายสัมภาษณ์ เราก็จะชอบนั่งฟังการพูดคุยของผู้สัมภาษณ์ และผู้ถูกสัมภาษณ์ก่อน เพื่อได้รู้จักตัวตนความคิดเขา ซึ่งมันน่าสนใจเสมอ แล้วค่อยถ่ายรูป
ทุกวันนี้ชอบภาพถ่ายแนวไหน
___สองปีทผี่ า่ นมาเราชอบภาพทีเ่ ป็น art เป็นงานทีม่ คี อนเซปต์แล้วน�ำ ภาพถ่ายมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสื่อ งานที่ดีดูแล้วลึก ไม่ใช่แค่กระชาก เราต่อหน้า แต่วา่ มันพาเราไปลึกกว่านัน้ เรือ่ งประวัตศิ าสตร์ เรือ่ งสังคม เรื่องการเมือง เมื่อก่อนจะชอบภาพข่าว ภาพความขัดแย้งทางการ เมือง หรือภาพสงคราม ประเภทภาพถ่ายที่เปลี่ยนโลก ส่วนใหญ่มุม มองต่องานภาพถ่ายของเราก็เปลี่ยนไปอายุ รสนิยม จริงๆ เราว่ามัน ก็ไม่นิ่งนะ เหมือนเรื่องอ่านหนังสือก็เปลี่ยนไปตามอายุ บางเล่มมัน เคยมีพลังทางความคิดกับเราช่วงหนึ่ง แต่ให้กลับไปอ่านตอนนี้ก็อาจ ไม่ใช่ อะไรแบบนั้น
แล้วเป็ นคนชอบอ่านหนังสือไหม มันมีแรงกระเพื่อม ทางความคิดต่อเราขนาดไหน
___ชอบอ่านหนังสือ เมื่อก่อนอ่านบ่อย แต่เดี๋ยวนี้น้อยลง เพราะค่อน ข้างยุ่งตั้งแต่มีร้าน บางทีก็เล่นเฟซบุ๊กเยอะไป (ฮา) เราเพิ่งรู้สึกว่า หนังสือมีอิทธิพลต่อความคิดมากเมื่อไม่กี่ปีนี้ คือเด็กๆ อ่านหนังสือ เพราะมีคนบอกว่าอ่านแล้วดี พวกการ์ตูน สารานุกรมเด็ก พอเริ่มโต เรารู้สึกว่าสิ่งที่เราอ่านมันเริ่มตกตะกอน มันสร้างเราขึ้นมา สร้างให้ เรามีความคิดเป็นตัวของตัวเอง เหมือนพอได้เจออะไรที่ตรงกับความ คิดและชีวิตเรา มันก็เกี่ยวโยงไปหมด ทั้งคนที่อยู่ใกล้ตัว เพื่อน คนรัก คือมันมาจากรสนิยมการอ่านหมดเลย มีผลต่อชีวิตมาก เหมือนประตู ทีเ่ ปิดไปข้างนอก แล้วเราได้ไปหยิบอะไรเข้ามาใส่ตวั เรา เอาอะไรออกไป
37
และมันช่วยสกรีนคน สกรีนสังคม เปิดโอกาสให้เราไปนู่น ไปนี้ ด้วยหนังสือนั่นละ พูดได้เลย
มีหนังสือเล่มไหนบ้างที่มีอิทธิพลต่อความคิด
___ช่วงอายุ 20 ต้นๆ เราอ่านนิตยสาร open เรียกว่าเป็นแฟน ประจ�ำ เห็นปกใหม่แล้วซื้อเลย พ็อกเกตบุ๊กเล่มแรกๆ ที่ชอบ จ�ำ ได้ว่า เป็นของ พี่โย (ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา) ชื่อ คุรุ ผีเสื้อ และ ลมตะวันตก ตอนนั้นชอบมาก ก็อ่านโอเพ่นมาตลอด สนใจอ่าน พวกแนวความคิด สารคดีหน่อยๆ พลังวัยหนุ่ม ท้าทายความคิด เหมือนสิง่ ทีโ่ อเพ่นเขาเลือกน�ำเสนอ เลือกคนมาคุย เลือกเลย์เอาท์ มันดูแปลก หรือแม้กระทั่งรูปถ่ายก็ดูมีพลัง และที่มีพลังมากอีก เล่มก็คือ เสียงในความทรงจ�ำ ของ พี่หนึ่ง วรพจน์ พวกหนังสือ สัมภาษณ์ของพี่หนึ่งหลายเล่ม อ่านแล้วมีพลัง ได้รู้จักคนๆ หนึ่ง รู้จักมุมมองเขา รู้จักตัวเราเอง หรืออย่างพันธุ์หมาบ้า ของ พี่ชาติ กอบจิตติ ก็ชอบ เป็นเรื่องของเพื่อน ชีวิตวัยหนุ่ม พลังบ้า พี่ชาติ เป็นคนท�ำให้เราเข้าใจมิติของเพื่อนที่กว้างขึ้น
ทุกวันนี้อ่านอะไรบ้าง
___หลังๆ ก็อา่ นไปหมด นิยาย วรรณกรรม เรือ่ งสัน้ ประวัตศิ าสตร์ แล้วแต่ว่าได้หนังสืออะไรมา ช่วงหลังพยายามจะอ่านหนังสือ ภาษาอังกฤษ เริ่มต้นจากที่มีภาพเยอะๆ เช่นพวกปรัชญาศิลปะ, ภาพถ่าย อยากจะอ่านจากภาษาอังกฤษให้ได้ โลกจะได้กว้างขึน้ ไปอีก เป็นสิ่งหนึ่งที่อิจฉาคนที่เก่งภาษาอื่นๆ เชื่อว่าถ้าเชี่ยวชาญ ภาษาหนึ่ง ก็เปิดโลกอีกใบหนึ่ง ได้เดินทางโดยไม่ต้องท่องเที่ยว จะหวังพึ่งแต่หนังสือภาษาไทย สังคมแบบไทยๆ อย่างเดียว ไม่ ไหวหรอก
ปกติช่างภาพอ่านอะไรกัน หรือมีหนังสือสักเล่ม ไหมที่พอจะแนะน�ำเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กบั คน ที่อยากท�ำอาชี พนี้
___ช่างภาพส่วนใหญ่ดูแต่รูป แล้วจ�ำรูปเอา ก็จะได้ในแง่เทคนิค และคอมโพสิชั่น แต่ไม่ได้แนวความคิดที่ลึก เพราะบางทีมันต้อง ใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบาย บ้านเรามันไม่มีหนังสือที่ช่างภาพต้อง อ่านหรืออะไรแบบนั้น ทุกคนเริ่มถ่ายภาพจากงานอดิเรก จาก ความชอบ ถ้ามีฝีมือหน่อย ก็จะยึดเป็นอาชีพได้ สมัยนี้ก็คงตาม งานภาพจากเว็บต่างประเทศ ไม่ต้องซื้อหนังสือ แต่ก็คงจะเจอ
38
ปัญหาเดิม คือดูแต่ภาพไม่ได้อ่าน แต่ช่วงเราไปอยู่ญี่ปุ่น ที่นั่น วัฒนธรรมการดูภาพถ่ายกลับมาจากหนังสือ ท�ำงานภาพถ่าย แล้วต้องพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือ เราก็ซื้อหนังสือพวกเกี่ยวกับ ภาพถ่ า ยกลั บ มาเยอะนะ เสี ย ดายเหมื อ นกั น ที่ อ ่ า นไม่ อ อก ส�ำหรับหนังสือภาพถ่ายจะมี 2 แบบ แบบแรกหนังสือเชิงเทคนิค ภาพถ่าย เป็นการอ่านเอาเรื่อง เอาวิธีการ แบบที่ 2 จะเป็นงาน ศิลปะภาพถ่าย ช่างภาพผลิตงานออกมาชุดหนึ่ง หรือหลายชุด แล้วมาพิมพ์เป็นหนังสือ มันก็มีพลังแตกกัน ดูวิธีคิด วิธีท�ำงาน ภาพถ่าย ภาพแต่ละภาพเกี่ยวข้องกันอย่างไร เล่าจากจุดหนึ่งไป จุดหนึ่ง แล้วสิ้นสุดจะพาเราไปถึงไหน
แล้วปาตานีสตูดิโอ เริ่มต้นได้อย่างไร และวาง เป้าหมายในอนาคตของการเป็ นช่ างภาพอาชี พ ไว้แบบไหน
___ก่อนหน้านี้เราก็ท�ำงานอยู่ที่บ้าน ก็มีคนเอาฟิล์มมาให้อัด เรื่อยๆ ท�ำมาหลายปี มันก็ไม่ค่อยสะดวก หนึ่งเพราะท�ำเล สอง คือไม่ได้อยูค่ นเดียว จะพาลูกค้าเข้ามาเยีย่ มก็ไม่ได้ จนเมือ่ ปลาย ปีที่แล้ว เราไปเวิร์คช็อปกับช่างภาพฝรั่งที่เขาเคยอยู่แถวนี้ (ย่าน หัวล�ำโพง - วงเวียน 22) เขาก็บอกว่าแถวนีม้ นั มีตกึ ว่างอยู่ ตอนนัน้ เริม่ มีไอเดียอยากจะเปิดร้าน ชอบย่านนี้ เป็นตึกสมัยเก่า และเดิน ทางสะดวก เดินจากรถไฟใต้ดนิ หัวล�ำโพงแค่หา้ นาที ปัจจุบนั คนใช้ กล้องฟิล์มมีจำ� นวนหนึ่ง แต่ทางเลือกในการหาแลปที่ท�ำงานกับ ฟิล์มน้อย จะหาที่ดีๆ ก็ยาก หรือบางทีไปอัดมาก็ได้ภาพสีเพี้ยนๆ สแกนออกมาไม่ตรง แต่บางคนบอกว่าสวย จริงๆภาพนั้นอาจจะ สวยก็ได้ พอดีสวย แต่คุณท�ำซ�้ำไม่ได้นะ เพราะมันไม่มีการคุม คุณภาพ เราอยากรักษาทางเลือกนี้ไว้ให้คนที่ยังถ่ายภาพด้วย กล้องฟิล์มให้ได้เห็นคุณภาพที่ดี ___อีกอย่างเราเริ่มอยากอยู่กับที่มากขึ้น เริ่มหาวิธีการท�ำงาน ใหม่ ว่าจะเอาภาพถ่ายไปใช้ในงานศิลปะได้อย่างไร เมื่อก่อน เราต้องออกไปล่าภาพ แต่ตอนนี้เราอยากจะคิดคอนเซ็ปต์ขึ้น มาก่อน แล้วค่อยหาภาพมาตอบโจทย์ความคิดของเราต่อ ที่ท�ำ ปาตานี สตูดิโอก็เพื่ออย่างนี้ด้วย มีสตูดิโอได้คิดงาน ไม่ต้องเดิน ทางมาก มีเวลาว่างก็สร้างงาน เป็นแผนที่วางไว้ในเฟซต่อไปของ ชีวิต ถ้าท�ำได้จริงก็คงจะดี
A DECADE OF LEARNING
สิ่ งที่ เ ราอ่ า นมั น สร้ า งเราขึ้ น มา สร้างให้เรามีความคิดเป็นตัวของ ตั ว เอง เหมื อ นพอได้ เ จออะไรที่ ตรงกับความคิดและชี วิตเรา มัน ก็เกีย ่ วโยงไปหมด ทัง ้ คนทีอ ่ ยูใ่ กล้ ตั ว เพื่ อน คนรั ก คื อ มั น มาจาก รสนิยมการอ่านหมดเลย มีผลต่อ ชี วิตมาก
39
NAT
SAKDATORN : ANOTHER READER ICON
A DECADE OF LEARNING
เรื่อง : สหรัฐ นาสีเคน
แนะน�ำตัวกันหน่อย
___สวัสดีครับ ณัฐ ศักดาทร ปัจจุบันเป็นศิลปิน นักร้อง นักแต่งเพลง ใน สังกัด GMM Grammy ผลงานล่าสุดคือซิงเกิลเพลง ยิ่งคุยยิ่งเหงา เน้น ด้านงานเพลงเป็นหลัก แต่งานอื่นๆ ก็แล้วแต่จะมีเข้ามาเช่น งานถ่าย แบบ ร้องเพลงตามอีเว้นท์ต่างๆ และคอนเสิร์ต
ไอเดียของหนังสือเล่มนี้คือ Reading for life แล้ว การอ่านในชี วิตนัทเป็นอย่างไร?
ถ้าเราไม่ได้น่ังคุยกับศิลปิ น นักร้อง นักแสดง ดารา นางแบบ หรือคนบันเทิงทัง้ หลายจริงๆ เราคงไม่มที าง รู ้ว่าเขาคิดอะไรกันแน่ เพราะการจ่อไมค์สัมภาษณ์ เพี ย งไม่ ก่ี ป ระเด็ น กั บ เวลาไม่ ก่ี น าที เพื่ อ ถามถึ ง ประเด็นที่ผู้คนอยากรู ้ เหมือนกับเป็นเพียงเพื่อตอบ สนองความต้องการอยากรู ้อยากเห็นของคนทั่วไป เกี่ยวกับตัวศิลปิ นเท่านั้น วันนี้เรามีโอกาสได้มานั่งคุยกับ นัท-ณัฐ ศักดาทร แบบจริงๆ ไม่ใช่ การยืนจ่อไมค์สัมภาษณ์ตามงานอี เว้นท์ท่ัวไป หลายคนอาจรู ้จักเขาในนามของนักร้อง ศิลปิ นในสังกัด GMM Grammy แต่นอกจากงาน เพลงที่เขารักแล้ว เขายังมีความเป็นนักคิด นักอ่าน นักเขียน นักเรียนรู ้ ที่บางคนยังไม่รู้จักมุ มนี้ของเขา การันตีได้จากรางวัล Reader Icon 2009 สาขา บันเทิง จากอมรินทร์ และรางวัลชมเชยจากกระทรวง ศึกษาธิการ ประเภทหนังสือส�ำหรับวัยรุ ่น อายุ 12-18 ปี (บันเทิงคดี) ในฐานะผู ้ประพันธ์ หนังสือ “มองทุก อย่างจากทุกมุ ม”
___ตอนเด็กไม่คอ่ ยชอบ คืออ่านแค่หนังสือการ์ตนู หนังสือเรียนก็คอื อ่าน ตามหน้าที่ ไม่ถึงกับเกลียด แต่เราก็ไม่ถึงกับใช้เวลาว่างกับมัน แต่พอ ไปเรียนทีอ่ เมริกา ก็ได้อา่ นหนังสือทีม่ นั หลากหลายมากขึน้ ได้คน้ คว้าหา อ่านเอง เพื่อเขียน essay ก็เปิดโลกเรากว้างขึ้น แล้วมารักการอ่านตอน กลับมาเมืองไทย เข้าไปที่ร้านหนังสือแห่งหนึ่ง ตอนนั้นเป็นช่วงที่ท้อกับ ชีวิตมาก เป็นช่วงที่ตามล่าหาฝัน แต่มันไม่เป็นจริงสักที เราก็อยากอ่าน หนังสือดีๆ สักเล่ม เราก็ถามคุณป้าคนที่ขายหนังสือ ว่า ‘มีหนังสืออะไร แนะน�ำไหม’ เขาก็แนะน�ำ ‘คุยกับประภาส’ ของพีจ่ กิ -ประภาส ชลศรานนท์ เราก็รู้จักพี่จิกในฐานะนักแต่งเพลง(เฉลียง) เลยลองซื้อไป กลับไปอ่าน ก็รสู้ กึ ว่าเป็นครัง้ แรกทีเ่ ราตกหลุมรักการอ่าน อ่านไปมันเหมือนได้นงั่ คุย กับใครสักคนที่ร้านกาแฟ คุยถึงหลายๆ ประเด็น เหมือนมันได้ทบทวน ตัวเอง แลกเปลี่ยนประเด็น เป็นการเปิดโลกของเรา อย่างที่เราไม่ได้คิด
หนังสือเล่มที่ท�ำให้เปลี่ยนชี วิตของนัท
___ในหนังสือของพี่จิก มีข้อคิดหนึ่งที่จ�ำได้แม่นคือ เรื่องของไม้บรรทัด ที่เขาบอกว่าคนเราแต่ละคนมีไม้บรรทัดที่ไม่เหมือนกัน เราไม่ควรเอา ไม้บรรทัด หรือมาตรฐานของเรา ไปใช้กับคนอื่น ที่เขาอาจจะเติบโตมา ไม่เหมือนกับเรา ซึมซับสิง่ ต่างๆ ในชีวติ ไม่เหมือนกับเรา พูดง่ายๆ คือเรา ไม่ควรเอามาตรฐานตัวเอง ไปตัดสินคนอื่น
มีหนังสือเล่มที่จะแนะน�ำให้คนได้อ่านไหม
___วันนี้เอาตรวจภายใน ของพี่เอ๋ นิ้วกลม มาครับ เพราะว่าเล่มนี้เป็น เล่มที่มันเข้ากับยุคสมัยดีมาก พูดถึงสังคมที่มันเป็นสังคมกึ่งดิจิตอลไป แล้ว สังคมที่ทุกคนอยู่กับหน้าจอต่างๆ ตลอดเวลาเป็นหนังสือที่ชวนคิด ว่าสิ่งที่เราท�ำอยู่ มันดีหรือไม่ดี การตรวจภายในเป็นการเปรียบเทียบว่า เราทุกคนเป็นเหมือนปลาทีว่ า่ ยอยูใ่ นกระแสน�ำ้ แต่บางทีมนั ก็ตอ้ งมีชว่ ง เวลาทีเ่ ราต้องโดดขึน้ มาเหนือน�ำ้ เพือ่ ให้เราเห็นว่าน�ำ้ ทีเ่ ราว่ายอยูท่ กุ วัน คุณภาพมันดีหรือเปล่า มันใสสะอาดแค่ไหน หรือมันก�ำลังไปทิศทางไหน เหมือนกันกับเราในสังคม สังคมมันขับเคลือ่ นตลอดเวลา บางทีเ่ ราก็ไหล
41
เรื่อง : สหรัฐ นาสีเคน
ไปตาม แต่ไม่ทนั คิดว่า สิง่ ต่างๆ มันดีหรือไม่ดี เราต้องกลับมาตัง้ ค�ำถาม กับตัวเอง กับสังคมที่อยู่รอบข้างตัวเรา เพื่อที่เป็นการตรวจว่าเราก�ำลัง โอเคอยู่ไหม เพื่อรู้ทันโลก และรู้ทันตัวเอง
นัท ศักดาทรในฐานะนักเขียนเกิดขึ้นได้อย่างไร
___ที่ได้เขียนหนังสือเพราะชอบการอ่าน ผมไปออกสื่อต่างๆ เราก็ได้ พูดถึงหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้ จนที่อมรินทร์ มีการจัดการโหวต ‘Reader Icon คนดังนักอ่าน’ และเราก็ได้รับรางวัลในสาขาคนบันเทิง หลังจาก นัน้ ก็ถกู ชวนให้เขียนหนังสือ อยากลองเขียนไหม ซึง่ เป็นไอเดียทีไ่ ม่เคย คิดเลยในชีวิต เขาบอกว่าสนใจชีวิตที่อยู่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มันก็ เป็นช่วงเวลาทีเ่ ราไม่ค่อยได้เล่าแบบละเอียดให้ใครได้ฟังเท่าไหร่กเ็ ลย ลองดู เพราะหนึ่งค�ำถามที่มักมีเสมอมาก็คือ ค�ำถามที่ว่า ‘ไม่เสียดาย ในสิ่งที่เรียนมาเหรอ’ จบเศรษฐศาสตร์มาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยชื่อเสียงอันดับหนึ่งของโลกแห่งหนึ่ง แล้วมาเป็นนักร้อง หนังสือเล่มนั้นจึงเป็นโอกาสที่เราจะตอบโจทย์มากๆ เพราะสิ่งที่รู้สึก ทุกวันนี้ มันไม่ได้หายไปไหนหรอกสิ่งที่เรียน มันอาจจะไม่ได้อยู่ในการ วิเคราะห์เศรษฐกิจ แต่สิ่งที่มันยังอยู่คือแนวคิดของเราที่ได้มาจากวิชา นั้นๆ ก็เอามาเขียนในหนังสือเล่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น เรื่อง concept ของ เศรษฐศาสตร์ supply –demand ซึง่ ก็โยงเข้าเรือ่ งหนึง่ ของวงการบันเทิง ที่เราเห็นข่าวฉาวเต็มบ้านเต็มเมือง แล้วคนก็ชอบมาด่าสื่อ ว่าสื่อสมัย นี้ไร้จรรยาบรรณคือมันเป็นการมองปัญหาในด้าน supply อย่างเดียว ซึง่ พอพูดถึงปัญหานี้ ก็เลยเอาเศรษฐศาสตร์เข้ามาโยง ชีใ้ ห้เห็นว่าจริงๆ แล้ว ปัญหามันไม่ใช่ที่ supply อย่างเดียว ปัญหาอยู่ที่ demand ด้วย คือเราทุกคนทีเ่ ป็นคนบริโภคเพราะตราบใดทีเ่ รายังมี demand ในเรือ่ ง ฉาวๆ เหล่านี้ ข่าวก็ยงั จะขายได้ตอ่ เพราะฉะนัน้ มันต้องรับผิดชอบด้วย กันทั้งหมด ก็เป็นมุมมองหนึ่งของเศรษฐศาสตร์ที่ยังอยู่
ความคุ้มค่าที่ได้จากการเขียนหนังสือคืออะไร
___หนังสือเล่มนั้นท�ำให้เราได้สร้างอิทธิพลให้กับชีวิตคนอื่นๆ มัน มากกว่าคนบันเทิงทั่วไปท�ำ มากกว่าที่การร้องเพลงจะท�ำได้ เพราะ มันคือการได้ถ่ายทอดความคิดออกไปเป็นตัวหนังสือ ก็รู้สึกว่ามันเป็น โอกาสที่ดีมาก และก็จากเล่มนั้นก็ท�ำให้ได้อีกรางวัลหนึ่งที่ภูมิใจมาก ในชีวติ คือเป็นรางวัลประเภทหนังสือส�ำหรับวัยรุน่ (บันเทิงคดี) และได้ เข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพฯ ด้วยครับ
มีความประทับใจอะไรบ้างจากวันนัน้
___ทุกวันนี้ก็ยังมีคนเอาข้อความต่างๆ ในหนังสือมา ยกขึ้นมาและ
42
บอกว่าเขายังเอาข้อคิดพวกนี้ไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ�ำวันอย่าง สม�่ำเสมอ หลายๆ คนก็ยังถามอยู่ว่าเมื่อไหร่จะเขียนหนังสืออีก มีอีก เรื่องที่ประทับใจมากๆ คือมีบทหนึ่งที่ชื่อเรื่องพูดถึงความเสียดาย และ เราก็พูดถึงว่าจริงๆแล้วสิ่งที่มันน่าเสียดายที่สุดในชีวิตคนเราคือเวลา ที่เรามานั่งพูดค�ำว่าเสียดาย เพราะถ้าทุกๆ นาทีที่เรานั่งซึมกับค�ำว่า เสียดายหนึ่งชั่วโมง มันคือหนึ่งชั่วโมงที่เราเสียไปโดยไม่ได้ท�ำอะไรให้ เกิดประโยชน์แล้ว ที่สุดของความประทับใจคือพี่เอ๋ นิ้วกลม ได้อ่าน บทนี้ โดยน�ำบทนี้และเรื่องของเราเขียนลงไปในหนังสือของเขาด้วย ที่ภูมิใจมากเพราะพีเอ๋เป็นนักเขียนคนโปรดของเราด้วย
การอ่านให้อะไรกับนัท
___การอ่านท�ำให้เราได้ถกคิดกับตัวเอง ได้คิดวิเคราะห์ ได้ใช้สมองคุย กับตัวเองบ้าง เพราะว่าทุกวันนี้เราเอาความคิด เอาหัวใจไปอยู่กับจอ ต่างๆ ส่งออกนอกตลอดเวลา จนบางทีเราก็ลืมน�ำเข้าตัวเอง และคิด วิเคราะห์ดูว่า ที่เรามันเป็นอยู่มันเป็นอย่างไร มีอะไรที่ต้องพัฒนาบ้าง
A DECADE OF LEARNING
การอ่านหนังสือจะท�ำให้เราฉุกคิดเรื่องเหล่านั้นขึ้นมา และบางทีมันเปลี่ยนเรา ไปได้เลยแค่หนึ่งประโยค ที่เราก็คิดมานานแต่ท�ำไมเราคิดไม่ตกสักที พอเจอ บางประโยคในหนังสือสักเล่ม มันก็กลายเป็นค�ำตอบที่เปลี่ยนชีวิตเราไปได้เลย
อยากฝากอะไรถึง TK Park ไหม
___จริงๆ แล้วเคยไปออกงานเสวนาหัวข้อการ ‘อ่านเพื่อจิตอาสา’ ที่ TK Park ก็มีร้องเพลงสลับกับนั่งคุยกัน คนเต็มเลยนะ คุยทุกเรื่อง ทั้งเรื่องความฝันและ มุมมองของเราในเรื่องต่างๆ บทสนทนาในวันนั้น ก็มีแฟนคลับถอดค�ำพูด และ เอามาอ่านเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง ส่วนตัวก็ภูมิใจที่มีโอกาสได้ ท�ำ เพราะรู้สึกว่ามันเป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราได้พูด เพราะเวลาเราออกสื่อทั่วไป สื่อบันเทิง เราอาจจะไม่ค่อยได้มีโอกาสได้แตะประเด็นเหล่านี้เท่าไหร่ ก็ต้อง ขอขอบคุณ TK Park เพราะเราว่ามันเป็นศูนย์รวมอีกแห่งของคนรักการเรียนรู้ เป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ดีและน่าสนใจ ดีใจที่มีพื้นที่ให้คนที่ชอบอ่าน ชอบ หาความรู้ใหม่ๆ ได้มาเจอกันพูดคุยกัน ได้ค้นคว้า ได้พัฒนาความชอบ และขอ ให้เป็นสถานที่ที่ส่งต่อสิ่งดีต่อไป
43
เราได้สร้างอิทธิพลให้กับชี วิตคน อื่นๆ มันมากกว่าคนบันเทิงทั่วไป ทำ� มากกว่ า ที่ ก ารร้ อ งเพลงจะ ทำ�ได้ เพราะมันคือการได้ถา่ ยทอด ความคิดออกไปเป็นตัวหนังสื อ ว่า จริงๆแล้วสิ่ งทีม ่ น ั น่าเสี ยดายทีส ่ ด ุ ในชี วิตคนเราคือเวลาที่เรามานั่ง พู ดคำ�ว่าเสี ยดาย
นัท ศักดาทร ยังมีงานเขียนๆอยู ่เรื่อยๆ ติดตามได้ทาง facebook.com/nat.sakdatorn , twitter และ instagram : @natsakdatorn
44
มาสเตอร์พีช แห่งวงการ CGI :
สุรชั ย พุ ฒิกุลางกูร
เรื่อง : จารุ วรรณ ชื่ นชู ศรี
ออฟฟิ ศของสตูดิโอ CGI ชื่ อดังแห่งวงการโฆษณา อย่ า ง illusion ตั้ ง อยู ่ บ นอาคารสู ง ย่ า นหลั ง สวน ต� ำ แหน่ ง ที่ ตั้ ง นั้ น ถู ก ค� ำ นวณมาอย่ า งดี ว่ า อยู ่ ใ นจุ ด ใจกลางระหว่างเอเจนซี่ โฆษณาทุกแห่ง ทันทีท่ีเราเดิน เข้าไปข้างในนอกจากภาพผลงานซึ่ งแขวนเรียงราย อยู ่บนผนังแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เตะตาเราไม่แพ้กันก็คือ ชั้ นวางรางวัลที่มีถ้วยรางวัลจากหลากหลายเวทีท่ั ว โลกวางเรียงรายจนแน่นขนัด เป็นการการันตีถึงฝี มือ และคุณภาพของงาน รวมไปถึงข่าวเรื่องที่ illusion ได้รับการจัดอันดับจาก Lurzer’s Archive ไบเบิล ของนักโฆษณาให้เป็นอันดับหนึ่งในปี 2013 จากการ มีแคมเปญลงหนังสือมากที่สุดในปี นั้น และมากที่สุด เท่าที่เคยมีมา การที่สตูดิโอสัญชาติไทยอย่าง illusion ก้าวมาถึง จุ ดนี้ได้ทั้งหมดไม่ใช่ ความบังเอิญหรือโชคช่ วย แต่มัน เกิดจากการค�ำนวณ ศึกษา และวางแผนจาก illustrator ผู ้นับได้ว่าเป็น มาสเตอร์พีช แห่ง วงการ CGI สุรชั ย พุ ฒิกุลางกูร ชี วิตวัยเด็กกับเส้นทางศิลปะ
___ตอนเด็กๆ เราเคยถามตัวเองว่าชอบท�ำอะไรแล้วก็พบว่าวิชาที่ สนุกและท�ำได้ดีที่สุดก็คือศิลปะ ก็เลยตั้งค�ำถามกับตัวเองว่าถ้าได้ เรียนศิลปะทั้งวันเลยคงจะมีความสุข แทนที่จะอาทิตย์นึงเรียนชั่วโมง เดียว ถ้าเรียนได้ทั้งอาทิตย์ เรียนทุกวันเลยคงสนุก ปีนั้นโชคดี พอดี เชียงใหม่เปิดวิจติ รศิลป์ปแี รก ตอนนัน้ เขาเปิดสอบครัง้ แรกคือจิตรกรรม ศิ ล ปะไทย วิ ธี ที่เลื อ กของคนที่อยากเรียนวาดรูปเยอะๆ ก็คือดูว่า จิตรกรรมเรียน 5 ปี ศิลปะไทยเรียน 4 ปี งัน้ ก็เลือกจิตรกรรมแล้วกัน เรียน 5 ปี แค่นี้เองง่ายๆไม่มีอะไรซับซ้อนพอเริ่มเรียนไปเรื่อยๆ ก็เหมือนเด็ก
46
ทั่วไป สภาพแวดล้อมชักน�ำก็คือพอเรียนจิตรกรรมทุกคนคิดก็คือต้อง เป็นศิลปิน พอเรียนไปเรื่อยๆก็เริ่มรู้สึกว่า เราไม่ใช่ศิลปินว่ะ บังเอิญว่า ชอบวาดรูป ชอบคิด ก็เลยคิดว่าเราจะเบนเข็มแล้ว
จุ ดเริ่มต้นงานโฆษณา
___เราไม่อยากเป็นศิลปินก็เลยถามตัวเองว่ามันมีอาชีพอะไรอีกไหม ที่ จ บออกไปแล้ ว ก็ ยั ง ได้ คิ ด ได้ ว าดรู ป ก็ พ บว่ า มี คื อ โฆษณา โฆษณามันน่าสนใจ ตอนประมาณสักปี4-5 เราก็เลยลองท�ำงาน ประกวดพวกออกแบบโปสเตอร์ออกแบบโลโก้ก็ได้รางวัล เราชอบที่ โจทย์มันเปลี่ยนไปเรื่อยๆ มันอยู่ที่ว่าเราท�ำโปรดักส์ไหน การออกแบบ ของมัน โจทย์ของมันก็แตกต่าง สไตล์ของมันก็แตกต่าง เริม่ รูส้ กึ ว่าโจทย์ สัน้ ๆ แบบนีน้ า่ สนใจเพราะเราได้ทำ� หลากหลาย ถ้าเป็นศิลปินเราต้องหา วิธี ต้องพัฒนารูปแบบของตัวเองเรื่อยๆซึ่งมันจะไปทางเดียว มีความ หลากหลายสู้งานโฆษณาไม่ได้ จากนั้นก็ไปเรียน Visual Design ที่ ญีป่ นุ่ ประมาณ 4 ปีแล้วกลับมาท�ำงานกราฟิกดีไซน์กบั บริษทั พีช่ าย ซึง่ พบว่าเราสนใจเรือ่ งภาพมากกว่าตัวหนังสือ มักจะถามตัวเองว่าถ้ามันมี อาชีพไหนไหมทีไ่ ม่ตอ้ งเกีย่ วกับตัวหนังสือเลย ก็คอื รีทชั ท�ำแต่รปู อย่าง เดียว ถ้าเราเลือกว่าจะท�ำรีทชั ก็นา่ จะได้ใช้ลกั ษณะเด่นของเราจริงๆ ไม่ ต้องใช้ลกั ษณะด้อยของเราทีค่ วามรูเ้ รือ่ งภาษาอ่อน ก็เลยมาท�ำรีทชั ชิง่
สู่ความส�ำเร็จ
___ก่อนที่จะกลับมาจากญี่ปุ่นตอนที่ไปท�ำบริษัทคอมพิวเตอร์ มีอาร์ต ไดเรกเตอร์แก่ๆ คนหนึง่ มาถามว่าจบไปอยากเป็นอะไร ก็บอกว่าเราจบ จิตรกรรมมา เขาก็บอกว่าในเมืองไทยคงมีศลิ ปินเป็นพัน เลิกคิดเลยไม่ ต้องท�ำต่อ จากนั้นเขาถามว่ามาญี่ปุ่นท�ำอะไร เราก็บอกว่าก็อยากเป็น อาร์ตไดเรกเตอร์ เขาก็ถามว่ามีครีเอทีฟเก่งๆในเมืองไทยเยอะไหม ตอน นั้นนะมีเยอะ เขาบอกเลิกคิดเลยเขาถามต่อว่าบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ เมืองไทยมีคนท�ำเยอะหรือยัง ตอนนั้นก็มีน้อยมาก มีอยู่ไม่กี่คน เขา บอกงั้นกลับไปแล้วท�ำคอมพิวเตอร์ ภายใน 5 ปีเราจะได้เป็น 1ใน 5 ของประเทศไทย นี่คือวิธีการมอง สิ่งที่เขาเล่ามาตอนนั้นเราก็ไม่ได้คิด อะไรมากแต่พอกลับมาเริ่มคิด เมื่อเริ่มท�ำงานมากขึ้นก็คิดว่าถ้าเราจะ เป็นหนึ่งถ้าเราจะเก่งเราต้องรู้จักเลือกสนาม จริงๆ มันก็คล้ายๆกีฬา ถ้าเราจะชกมวยคนชกมันมีเยอะแยะ โอกาสได้เหรียญก็ยาก ถ้าชอบ ศิลปะการต่อสู้ มันมีศิลปะการต่อสู้อื่นอีกไหมที่เราจะสามารถแข่งกับ
A DECADE OF LEARNING
เราอยากจะเป็ น อะไร ถ้ า เราทำ�สิ่ ง นั้ น ทุ ก วั น มีความสุขกับมันเขาจะ เรียกเราเป็นอะไรก็ได้
คนอื่นได้ เหมือนเมืองไทยแข่งเทควันโด้ เราก็ไปชาแนลที่มันมีคู่แข่ง น้อย ไม่ใช่แค่คแู่ ข่งน้อยอย่างเดียว คูแ่ ข่งในสนามนัน้ ต้องมีความถนัดที่ ด้อยกว่าเรา ของเราโอกาสอย่างทีบ่ อกก็คอื จบจิตรกรรมมา ชอบวาดรูป อย่างน้อยก็คอื วาดเหมือนจริง หลังจากนัน้ ก็ศกึ ษามาเรือ่ ยๆ ก็พบว่าการ วาดภาพแบบเหมือนจริงมีวิวัฒนาการของมันอยู่ ถ้ามนุษย์ค้นพบ คอมพิวเตอร์ละ่ ภาพเหมือนจริงจะเปลีย่ นเป็นยังไง อันนีค้ อื สมมติฐานที่ ตัง้ ไว้ในชีวติ คือพยายามค้นหา ไม่ใช่ไปข้างหน้าอย่างเดียว แต่กค็ อื กลับ ไปศึกษาในประวัติศาสตร์ พอได้มาท�ำ illusion เราก็เริ่มถามตัวเองว่า คนทีเ่ ป็นรีทชั เชอร์ตกแต่งภาพอนาคตมันจะต้องเป็นยังไง นัน่ ก็คอื CGI
วิสัยทัศน์ของสตูดิโอ illusion
___ตอนที่เราท�ำขึ้นมาไม่ได้ตั้งใจว่าต้องเป็นที่หนึ่ง แต่สิ่งที่ตั้งใจก็คือ อยากจะท�ำบริษัทแบบนี้ให้มันดีที่สุด ค�ำว่าดีที่สุดมันไม่ได้ตอบว่า สุดท้ายเราต้องไปเป็นที่หนึ่งประเทศไทย ไม่ได้ตั้งความหวัง ก็คือจัด กลุ่มให้อยู่ที่มันดีที่สุดก็พอ ท�ำงานดี แล้วก็มีตังค์ มันสัมพันธ์กันน่ะ ถ้า
มันท�ำธุรกิจไม่หวังตังค์กไ็ ม่รจู้ ะท�ำไปท�ำไม เราว่าคนเรียนศิลปะข้อเสีย ของมันก็คอื เราถูกสอนให้เป็นให้ทำ� ทุกอย่างด้วยคนๆเดียว เก่งด้วยคนๆ เดียว และก็เดินไปข้างหน้าด้วยคนๆเดียว พอมาท�ำ illusion มันต่างกัน ออกไป เรามองว่าการท�ำบริษัทเหมือนกีฬา มันต้องมีทีม ทุกคนต้อง ช่วยกัน ทุกคนต้องเล่น ไม่มีใครในโลกหรอกที่จะเก่งด้วยคนๆเดียว ถ้า เราอ่านหนังสือประวัติบุคคลส�ำคัญในโลกไม่ว่าจะองค์กรขนาดเล็ก ไหนก็แล้ว มันต้องเริ่มต้นด้วยอย่างน้อยเริ่มต้นด้วยคนสองคนถ้าท�ำ บริษัทจะรู้ว่ามันคือทีม เพราะฉะนั้นมันคือส่วนผสมของทีมต่างหากที่ มันจะท�ำให้เราฝันใหญ่ขึ้น เพราะฉะนั้นเราต้องรู้ว่าเรามีจุดด้อยอะไร คนอื่นมีจุดเด่นอะไร และก็เอามาเสริมกัน ถ้าเราสามารถที่จะเสริมข้อ ด้อยของเราและก็พฒ ั นาจุดเด่นของคนอืน่ ให้ดขี นึ้ เรือ่ ยๆ จุดเด่นเราจะ มีเยอะมากมันจะไม่ได้มีแค่หนึ่ง
งานที่อยากเล่าให้ฟังมากที่สุด
___‘Samsonite Heaven and hell’ งานชิ้นนี้เป็นปริ้นแอดที่ได้รางวัล
47
มากที่สุดในโลก งานชิ้นนี้มีโพรเซสที่น่าเล่าเยอะแต่จะเล่าอีกมุมหนึ่ง ละกัน ตอนที่ท�ำงานชิ้นนี้เสร็จครีเอทีฟของ JWT เซี่ยงไฮ้เขาก็เมลมา ให้เราดูว่าเครดิตนี้ถูกต้องไหม ก็จะมีชื่อครีเอทีฟ อิลัสเตเตอร์สุรชัย แต่ เฮ้ย ท�ำไมอาร์ตไดเรกเตอร์มันมีสุรชัยอีก ก็เมลไปบอกเขาว่าสุรชัยให้ ใส่แค่อิลสั เตเตอร์กพ็ อไม่ตอ้ งใส่อาร์ตไดฯ เขาก็บอกว่าควรจะมีเครดิต เราเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์เพราะเราท�ำงานชิ้นนี้เหมือนอาร์ตไดเรกเตอร์ ไม่ใช่แค่อิลัสเตเตอร์ ไม่ใช่แค่เขาบรีฟมาแล้วเราinput และเขาก็บอก ว่าเสียใจด้วยนะเขาส่งเครดิตนี้ไปแล้ว สุดท้ายงานนี้ก็ไปได้กรังปรีซ์ที่ คานน์โดยมีชื่อเราเป็นอาร์ตไดเรกเตอร์ อันนี้ก็เป็นรางวัลที่ไม่ได้คาด หวัง เป็นต�ำแหน่งที่ไม่ได้คาดหวังแต่ก็ภูมิใจอยู่ลึกๆ ว่าสิ่งที่เราอยาก เป็นมันยังมีอยู่ในตัวเรามันไม่ได้หายไป เราไม่ได้ทิ้งมัน มันอยู่ในตัว เราและมันแสดงออกมาในวิธกี ารท�ำงานสิง่ นีเ้ ราคิดว่าอยากจะฝากให้ เด็กๆ น้องๆ คิดดูวา่ เราอยากจะเป็นอะไรถ้าเราท�ำสิง่ นัน้ ทุกวัน มีความ สุขกับมันเขาจะเรียกเราเป็นอะไรก็ได้
นางนวล ของริชาร์ด บาค หนังสือเหล่านี้มีอิทธิพล พอโตมาเราไป ญี่ปุ่นก็เริ่มเห็นโลกกว้างขึ้นก็เริ่มสนใจหนังสือเรื่องคลื่นโลกที่สาม ของอัลวิน ทอฟฟ์เลอร์ แล้วก็ไปสนใจเต๋าแห่งฟิสกิ ส์ ของฟริตจ๊อฟ คาปร้า หนังสือพวกนีม้ นั จะท�ำให้เรามองอนาคตมากกว่าทีจ่ ะมองว่าเราอยาก จะท�ำอะไร มันต้องสัมพันธ์กัน พอเริ่มอ่านพวกนี้ก็เริ่มมองแล้วว่าถ้า เราท�ำอาชีพๆ หนึ่งเราต้องมอง beyond แล้วว่าในสุดท้ายแล้ว อาชีพ นี้ มันจะพัฒนาไปเป็นอะไรเมื่อมันมีเครื่องมือใหม่อาชีพเราจะเปลี่ยน ไปทางไหน
การพาสตูดิโอสัญชาติไทยไทยไปสู่เวทีโลก
___คิดว่าหนังสือมันต้องอ่าน มันต้องหาความรู้ คือเรื่องทีเ่ ราไม่รู้กต็ ้อง ไปอ่าน เรื่องการตลาด บริหาร การเงิน ขณะเดียวกันหนังสือการเปิด โลกอย่างหนังสือ Being Digital ของ นิโคลัส เนโกรพอนตี ก็ชอบอ่าน หนังสือทีเ่ ขาท�ำนายอนาคตว่าอนาคตจะมีชวี ติ แบบไหน จะเกิดอะไรขึน้ อย่างทีบ่ อกเราต้องยืมตาคนอืน่ เราไม่มที างเห็น เราไม่มที างจะรูเ้ ลยว่า อนาคตเป็นอย่างไรนอกจากยืมตาคนอื่น สิ่งที่ใช้ทุกวันนี้ก็คือเราอ่าน หนังสือเพือ่ ยืมตาคนอืน่ มองในเรือ่ งต่างๆ แต่สดุ ท้ายสิง่ ทีเ่ ราต้องตัดสิน ใจก็ยังยืนอยู่บนพื้นฐานวิธีคิดของเราเองซึ่งวิธีคิดของเราเองก็ส�ำคัญ
___พอเริ่มได้ท�ำในสิ่งที่ตัวเองชอบและก็เริ่มมีทีม เราก็คิดใหญ่ขึ้น ตอนที่ได้กรังปรีซ์ที่คานน์เราเรียกมันว่าฟลุ๊ก ปีนั้นเราคาดหวังว่าเรา จะได้โกลสักตัวนึง พอได้กรังปรีซ์มาปั๊บ ชอบมองว่ากรังปรีซ์นี่มัน บอกอะไรเรา ก็ได้ค�ำตอบว่า อ๋อ มันก�ำลังบอกว่าเราควรจะออกไปสู่ โลกนี้ได้แล้ว เราควรจะไปในระดับอินเตอร์ได้แล้วสิ่งที่ท�ำหลังจากได้ กรังปรีซ์ 2011จากนั้น ปี 2012 ไปออกบูทที่คานน์ ปีนั้นน่าจะเป็น ครัง้ แรกของคานน์ทจี่ ดั สีห่ า้ สิบปีทจี่ ะมีโปรดักชัน่ เฮ้าส์เล็กๆ มาเปิดบูท ใหญ่ทนี่ นั่ เราก็คดิ ว่าโอเคเราจะคิดให้ใหญ่คอื ไปออกบูทด้วยแล้วก็ขนึ้ ไปรับรางวัลด้วย เพราะฉะนั้นสปอตไลท์มันยิ่งส่องมาชัดเจน หลังจาก นัน้ เมือ่ เรากลับมาเราก็มี Represent ติดต่อเข้ามามากขึน้ เราก็เริม่ มอง เห็นแล้วว่าศักยภาพของทีมเรามี ฉะนั้นเราจะคิดไกลขึ้นกว่านั้น เราก็ เลยคิดแคมเปญ Make Your Create Masterpiece พูดกับครีเอทีฟ ทุกคนเลยว่าเอาไอเดียคุณมา เราจะท�ำให้เป็นมาสเตอร์พซี เอง เรามอง ว่าถ้ามีสาขาต่างๆ ทั่วโลก และออเดอร์วิ่งเข้าหาเราทุกวันเวิร์กมาก และตอนนี้จริงๆ เรามีอยู่ที่รัสเซีย ตะวันออกกลาง ฝรั่งเศส อิตาลี อเมริกาและก็อังกฤษ และก็ตอนนี้ก�ำลังติดต่อคือสวิตเซอร์แลนด์และ เนเธอแลนด์ ส่วนของออสเตรเลียยังเป็นลูกค้าตรงอยู่ ติดต่อโดยตรง จีนก็เริ่มมี และตอนนี้บราซิลก็ก�ำลังติดต่อกันอยู่
หนังสือที่มีอิทธิพลในแต่ละช่ วงวัย
___สมัยแรกๆ ตอนเด็กๆ อ่านหนังสือโจนาธาน ลีฟวิงสตัน หนังสือ
48
___ในตอนนั้นพอเริ่มเห็นโลกก็รู้สึกว่าหลายอย่างเราคิดไม่ได้ ก็เริ่มไป หาหนังสือสอนวิธคี ดิ ก็ไปเจอเอ็ดเวิรด์ เดอ โบโน เป็นนักคิดทีส่ อนวิธคี ดิ และหลังจากนั้นก็ไปเจอโทนี่ บูซานคนที่เขียน Mind Map หลังจากนั้น ก็ไปอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับวิธีคิดมากขึ้น พอเริ่มคิดได้ พอเริ่มท�ำบริษัท ก็ไปอ่านหนังสือเกี่ยวกับบริหารการตลาด
หนังสือเล่มไหนที่เปลี่ยนวิธีคิด
___ก็น่าจะเป็นเอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน่ นี่แหละ มีอิทธิพลประมาณสักช่วง สิบปี ช่วงนั้นตอนที่กลับมาจากญี่ปุ่นใหม่ๆ เขาเขียนหนังสือเยอะมาก หนังสือชื่อหมวกหกใบ คือเขาเป็นคนที่คิดว่าการคิดเราควรจะคิดทีละ มุม ก็คอื ว่าถ้าเราสวมหมวกทีละใบ หมวกมีหกใบ แบ่งเป็นหกสี บ่งบอก ถึงการมองโลกหกด้าน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือเมื่อเรานั่งประชุม กันหมวกหนึ่งอัน น้องก็จะพูดมุมของน้อง พี่ก็จะพูดมุมของพี่ มีสิบคน สิบมุม แต่เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน่บอกใส่หมวกใบเดียว สมมติสีเขียวนี้ ดี เรื่องๆนี้ทุกคนมองแง่ดีกันเข้าไป พอเราใส่สีด�ำทุกคนมองแง่ง่าย ยิงกันไปๆ ให้จบ เราได้มุมในเรื่องนั้นครบถ้วน
ฝากอะไรถึงน้องๆ ที่อยากท�ำงานด้านกราฟิ ก
___ในอาชีพด้านกราฟิกดีไซน์หรืองานออกแบบสิ่งที่ส�ำคัญที่สุดเลย
A DECADE OF LEARNING
ก็คือเราต้องชอบมันจริงๆ เพราะว่าถ้าเราอยากจะท�ำเพราะเท่ โอกาสทีเ่ ราจะเก่งจะยาก เพราะว่างานแบบนีม้ นั ต้องใช้การฝึกฝน เมื่อเราท�ำงานไปมากเราต้องรักในสิ่งที่เราท�ำ เมื่อวันไหนที่เรารัก ในสิ่งที่เราท�ำ งานเราจะดี เราจะทุ่มเทกับมัน ถ้ารู้สึกว่าอยากท�ำ มันทั้งวันทั้งคืนไม่ว่าจะถูกแก้กี่ครั้ง นั่นคือโอกาสที่บอกได้เลยว่า คุณสามารถเข้าไปอยูใ่ นวงการนีไ้ ด้ เหมือนพีท่ ำ� งานมายีส่ บิ ปีพถี่ กู แก้งานไม่รเู้ ท่าไรแต่พกี่ ม็ คี วามสุขทีแ่ ก้ เพราะว่าถ้ามึงจะแก้กกู จ็ ะ เก่งขึน้ งานนัน้ อาจไม่ได้ดขี นึ้ มากกว่าทีม่ นั ควรจะเป็นแต่สงิ่ หนึง่ ที่ จะเกิดขึ้นก็คือ เราได้ทำ� เยอะ มันต้องเก่งขึ้นแน่นอน เพราะฉะนั้น อยากจะฝากน้องๆ เหมือนกันว่า แอดติจดู ในการท�ำงานทุกอาชีพ ต้องมีแอดติจูดที่ดีก็เหมือนกีฬา ถ้าเราซ้อมมากขึ้นทุกวันๆเราจะ เก่งขึ้น ถ้าเรารักอาชีพนี้จริงๆเราจะผ่านไปได้ ถ้าไปถึงเวลานึงเรา รักมันมากๆ ทุ่มเทกับมันไม่เหลือเวลาไปท�ำอย่างอื่นตัวงานมัน จะบอกเองว่าเราแตกต่าง ภาพถ่าย ภาพแต่ละภาพเกี่ยวข้องกัน อย่างไร เล่าจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง แล้วสิ้นสุดจะพาเราไปถึงไหน
สิ่ งที่ใช้ ทุกวันนี้ก็คือเราอ่าน ห นั ง สื อ เ พื่ อ ยื ม ต า ค น อื่ น มองในเรือ ่ งต่างๆ แต่สด ุ ท้าย สิ่ งที่เราต้องตัดสิ นใจ ก็ยัง ยืนอยู่บนพื้ นฐานวิธีคิดของ เราเอง ซึ่งวิธค ี ด ิ ของเราเอง ก็สำ�คัญ
49
“ ”
I behind “ ” you เหลียวมองข้างหลัง จิตแพทย์นักเขียน
“ผมอยู่ข้างหลังคุณ”
A DECADE OF LEARNING
เรื่อง : ธิดารัตน์ มู ลลา
เบื้องหน้า คุณหมอพีรพล ภัทรนุธาพร เป็นที่รู้จักในฐานะ จิตแพทย์ / นักเขียน / นั ก วิ จ ารณ์ ภ าพยนตร์ มี ผ ลงานรวมเล่ ม มานับสิบเล่ม เรื่องราวที่เขาร้อยเรียงผ่าน ตัวหนังสือล้วนมาจากภาพยนตร์ ก่อนจะ ผสานเข้ า กับ การวิ เ คราะห์ ใ นแบบจิ ต วิ ทยา ตามวิชาชี พ บอกเล่าผ่านนามปากกา “ผม อยู ่ข้างหลังคุณ” ซึ่ งที่มาของชื่ อนี้ ก็ยังคง มาจากภาพยนตร์ ฉากซิ กเนเจอร์ในเรื่อง ‘เดอะ ริง’ (The Ring) ที่เสมือนว่าตัวเขาได้ ดูภาพยนตร์เรื่องนั้นไปพร้อมๆ กับคุณ เรารู ้จักเรื่อง ‘ข้างหน้า’ ของคุณหมอพีรพล แล้ว ครัง้ นีเ้ ราจะเหลียวหลังหันไปมองสิ่งที่อยู ่ ข้างหลังของ “ผมอยู ่ข้างหลังคุณ” ในมุ มที่ หล่อหลอมให้เขาเป็นจิตแพทย์นักเขียนอย่าง ที่รู้จักกันในทุกวันนี้
เรารู ้จักคุณหมอในฐานะ จิตแพทย์ นักเขียน นักวิจารณ์ ภาพยนตร์ แต่ละอย่างมีท่ีมาอย่างไรบ้าง ___ผมท�ำทั้งสามอย่างไปพร้อมๆ กัน แต่จุดเริ่มต้นของทั้งหมดมา จากความชอบดูหนังก่อนเลย ชอบดูมาตั้งแต่เด็กเพราะแม่กับพ่อ ชอบดู ชีวิตจะเกี่ยวกับหนัง สอบไม่ติดพ่อก็พาไปดูหนังปลอบใจ จนกระทัง่ มาเลือกเรียนด้านจิตเวช เพราะมีคนแนะน�ำว่าเรียนด้าน นี้ก็จะได้พบเจอคน เหมือนกับการดูหนังรูปแบบหนึ่ง แต่ผมไม่ ค่อยมีเพื่อนคอเดียวกันคุยเรื่องหนัง ช่วงที่เรียนเลยไปเขียนกระทู้ ในเว็บไซต์ พูดถึงหนังที่ได้ดู แล้วเปลี่ยนมาเขียนบล็อก จนมีคน แนะน�ำว่าให้เขียนรวมเล่ม ผมก็มาอีดิทใหม่จนได้ตีพิมพ์ ตอนนี้ก็ เลยมีผลงานเป็นหนังสือ แล้วก็ยังเขียนลงเว็บไซต์แต่เปลี่ยนเป็น เฟชบุ๊คอย่างเดียว เพจ “ผมอยู่ข้างหลังคุณ” ชอบอ่านหนังสือด้วยไหม ___ชอบครับ ชอบมาตั้งแต่เล็กแล้ว อาจเป็นเพราะที่บ้านมีสื่อแค่ สองอย่างคือหนังกับหนังสือ แต่หนังจะล�ำบากไปเช่าที่ร้าน ส่วน หนังสือเจอง่ายกว่า เพราะพ่อชอบซื้อสารานุกรมความรู้ให้อ่าน หนังสือเลยเป็นเพื่อนตั้งแต่เล็ก ท�ำให้ผมชอบเข้าห้องสมุดไปด้วย สารานุกรมทีอ่ า่ นก็เป็นการ์ตนู นะ มันสนุกและเกิดจินตนาการด้วย พอสนุกก็อยากรูต้ อ่ ไปขวนขวายหาข้อมูลต่อ ท�ำให้เรามีคลังข้อมูล กลายเป็นว่าผมกลายเป็นคนแพ้หนังสือไปเลย ไปงานหนังสือทีก็ ซื้อกลับมาเป็นกระบุง สนใจหนังสือแนวไหนบ้าง ___ความสนใจมันแล้วแต่ชว่ งนะ จริงๆ ก็ชอบแนวลึกลับ ฆาตกรรม
51
อย่างงานของ อกาธา คริสตี้ ก็อ่านจนครบหมด ก็ไป ไล่อ่านของคนใหม่ แต่ที่บอกว่าแล้วแต่ช่วง เพราะ พอมีกระแสน่าสนใจอะไรเข้ามาก็จะอ่านแนวนั้น อย่างช่วงหนึ่งก็อ่านงานที่เกี่ยวกับ สตีฟ จ็อบส์ หรือ ถ้านักเขียนคนไหนเขียนดี ผมก็จะตามอ่านงานของ คนคนนั้นต่อ การท�ำงาน การใช้ชีวติ หรือวิธคี ดิ ได้รบั อิทธิพล มาจากหนังสือบ้างหรือเปล่า ___ผมไม่มีหนังสือเล่มเดียวเปลี่ยนชีวิตนะ อย่างที่ บอกว่าความชอบจะมาเป็นช่วงๆ ถ้ามีอิทธิพลตั้งแต่ ตอนเด็กคืองานของ อกาธา คริสตี้ ที่อ่านแล้วรู้สึก ตืน่ เต้น ผมรูส้ กึ ว่าเนือ้ เรือ่ งฉลาดซับซ้อน เราไม่รวู้ า่ ใคร เป็นฆาตกร วิธกี ารเล่าเรือ่ งของคริสตีจ้ ะใช้บทสนทนา เยอะ มีตัวบุคคลมาก ค�ำพูดของแต่ละคนจะหลุด เบาะแสบางอย่าง แล้วค่อยๆ มาวิเคราะห์ เป็นการฝึก วิธีการคิดแบบมีเหตุมีผล ช่วยในอาชีพหมอเหมือน กันนะ เรารู้สึกว่า เฮ้ย...ทุกอย่างเป็นไปได้ สมมติถ้า คนไข้มาด้วยอาการหอบ เราด่วนสรุปว่าเป็นหอบอาจ จะผิด บางโรคแสดงอาการหอบแค่หนึ่งเปอร์เซ็นต์ แต่ถา้ เราละเลยหนึง่ เปอร์เซ็นต์นนั้ ก็มโี อกาสผิดพลาด ได้ เราไม่ควรรีบด่วนสรุป ทุกความเป็นไปได้เราไม่ ควรทิง้ มันไป มนุษย์มคี วามเปลีย่ นแปลง เราต้องมอง คนให้กว้างขึ้น รอบด้านมากขึ้น มีผลต่องานเขียนของคุณหมอด้วยหรือไม่ ___แล้วแต่เล่ม อย่างเล่ม ‘ชายหนุม ่ นักส�ำรวจชีวติ กับ หญิงสาวผู้ส�ำรวจความรัก’ ที่ผมจะเขียนเป็นนิยาย เข้าไปด้วย ด้วยความที่เราชอบอะไรลึกลับ เส้นเรื่อง
52
ก็จะมีปริศนา ตามหาความจริง ท�ำให้คนอ่านเกิด ความอยากรู้ หรือวิธกี ารเล่าเรือ่ งก็จะมีความเชือ่ มโยง กันเองแบบไม่ได้ตั้งใจ อย่างเรื่องนี้ไปเชื่อมกับเรื่อง ก่อนหน้า ทั้งๆ ที่ตอนเริ่มต้นเขียนก็ไม่ได้คิดไว้ก่อน ในฐานะนักเขียนบ้าง อยากให้คนอ่านได้รับอะไร จากงานเขียนของเรา ___อยากให้คนอ่านมองหลายๆ มุม ไม่รีบตัดสินใจ อะไรทันที อยากให้เขาได้เห็นมุมที่เขาไม่เคยได้เห็น ขอยกตัวอย่างจากเล่มล่าสุด ‘รักหวานน้อย ไม่ใส่ น�้ำตา’ เป็นคอนเซปต์ความรักก็จริง แต่เป็นมุมที่เรา อาจไม่ได้นกึ ถึง อย่างเรือ่ งการเปลีย่ นแปลงของชีวติ มี ผลต่อความรักไหม ถ้าอีกห้าสิบปีขา้ งหน้าคนทีเ่ รารัก เจ็บป่วย ชีวิตมีผลกระทบเกิดขึ้น เราจะอยู่กับความ รักแบบนั้นอย่างไร หรือความหลากหลายของความ รักที่ไม่ได้มีแค่รูปแบบที่เราคุ้นเคย คือคนอ่านต้อง มองให้ไกลกว่าเดิม และมองให้ครอบคลุม รูส้ กึ ได้วา่ คุณหมอเป็นคนที่มองรอบด้าน ___อาจมาจากการที่เรียนจิตเวชมาด้วย สิ่งที่ถูกสอน มาคือการเข้าใจคน งานเขียนของผมเลยไม่ใช่กูรูให้ ค�ำตอบ แต่ทำ� ให้เห็นว่าชีวติ คนมีทางเลือก มีทมี่ า ผม ไม่ได้บอกให้เลือกทางไหน ให้คนอ่านคิดต่อเองว่าจะ เลือกอะไร แต่เลือกแล้วต้องรับผิดชอบสิ่งที่เราเลือก เพราะทุกทางเลือกมันไม่ได้ดที งั้ หมด มันได้อย่างเสีย อย่าง เราก็ต้องยอมรับทางที่เราเลือกแล้ว พอเขียนหนังสือมากขึ้น ท�ำให้อยากอ่านมากขึ้น ด้วยไหม
A DECADE OF LEARNING
___มากขึ้น แต่เป็นความอยากอ่านที่หลากหลายแนว มากขึ้น พอจะเริ่มเขียนเราก็ต้องอ่านก่อนก็ได้รู้จักอีก หลายๆ เรือ่ ง แนวทีไ่ ม่เคยสนใจก็เริม่ มาสนใจ อย่างตอน ที่ผมเขียนเรื่อง ‘หลง : LOST & LOVE IN JAPAN’ ก่อน หน้านั้นหนังสือท่องเที่ยวไม่ได้อยู่ในความสนใจผมเลย พอผมได้มาอ่านก็เริ่มสนใจประวัติศาสตร์ประเทศที่ผม ไปท่องเที่ยว จากหนังสือท่องเที่ยว ไกด์บุ๊กค เลยได้มา อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ด้วย รู้สึกสนุกดีแหะ เราได้ หลุดเข้าไปในโลกอีกใบหนึ่ง ท�ำให้การท�ำงานจิตแพทย์ง่ายขึ้น หรือวิจารณ์หนัง สนุกมากขึ้นด้วยหรือไม่ ___พอได้อ่านหนังสือมากขึ้น ผมก็จะรู้อะไรมากขึ้นด้วย เลยท�ำให้การท�ำงานสนุกขึน้ มากกว่า เพราะตัวเรารูเ้ ยอะขึน้ มีขอ้ มูลมาก ก็ทำ� ให้เราหยิบประเด็นมาตีความได้มากขึน้ ไม่ว่าจะเป็นงานหมอหรือเขียนวิจารณ์หนัง
จริงๆ ไม่อ่านเลยก็ได้นะ ไม่ ถึ ง กั บ ตาย แต่ก็จะสูญ เสี ย อะไรหลายอย่างไป
คุณหมอคิดว่าการอ่านยังส�ำคัญไหม ในยุ คที่เราเปิ ด ทีวี ใช้การดูการฟั งแทนได้ ___สิง่ ทีต่ า่ งระหว่างการอ่านกับการฟังเป็นเรือ่ งของเวลา การอ่านสามารถหยุดแล้วกลับมาอ่านต่ออย่างละเอียด ได้ แต่ถ้าฟังนอกจากจะหยุดไม่ได้แล้ว ตัวกลางหรือคน ที่มาเล่านี่เขาอาจมีทัศนคติของเขาแล้วโน้มน้าวเราด้วย อารมณ์ความรูส้ กึ กลายเป็นว่าเรือ่ งทีฟ่ งั ก็ถกู แปลงข้อมูล มาแล้ว ส่วนการอ่านจะไม่มีเสียง ไม่มีภาพ สิ่งที่ทำ� งาน คือสมองของเรา ที่จะสร้างภาพขึ้นมา เราอ่านเราก็จะได้ จินตนาการ จริงๆ ไม่อ่านเลยก็ได้นะ ไม่ถึงกับตาย แต่ก็ จะสูญเสียอะไรหลายอย่างไป อีกอย่าง เรื่องที่อ่านมัน อาจจะต่อยอดกับเรื่องอื่นๆ ในชีวิตเราได้
53
มีหนังสือเล่มไหนที่คุณหมออยากแนะน�ำให้อ่าน ___เป็นเล่มที่มีผลต่อวิธีคิดของคนละกัน อย่างเรื่อง ‘คน ห้าคนทีค่ ณ ุ พบบนสวรรค์’ (The Five People You Meet in Heaven) เล่าถึงชายสูงวัยท�ำงานสวนสนุก เขาพยายาม ช่วยเด็กคนหนึ่งจากอุบัติเหตุ แล้วเขาเกิดอาการวูบ พอ ฟื้นขึ้นก็ได้พบกับคนห้าคนที่เคยผ่านเข้ามาในชีวิตเขา บางคนอาจเป็นคนทีเ่ ขาไม่เคยสังเกตเลย แต่การกระท�ำ ของเขาได้มีผลกับคนคนนั้นโดยไม่รู้ตัว มัน ท�ำให้เห็นว่าการกระท�ำของเรามันมีผลเชือ่ ม โยงกับคนอืน่ ด้วย ไม่วา่ จะด้านบวกหรือด้าน ลบ ถ้าเราเข้าใจตรงนี้ก็จะท�ำให้เราคิดถึงคน อืน่ ด้วย และจะไม่ดว่ นสรุปตัดสินใคร เพราะ แต่ละเรือ่ งมีทมี่ าทีไ่ ป อีกเรือ่ งทีอ่ ยากแนะน�ำ คือ ‘ดวงตาของคนทีเ่ รารัก’ (Letters to Sam) เป็นจดหมายทีน่ กั จิตวิทยาคนหนึง่ ซึง่ ประสบ อุบตั เิ หตุจนพิการ เขียนถึงหลานทีเ่ ป็นออทิสติก เพื่อให้เขาได้เข้าใจสังคมเข้าใจชีวิตมากขึ้น ผมว่าหนังสือสองเล่มนี้จะช่วยให้เราเห็น ความงดงามของชีวิตมนุษย์ได้ดีขึ้น
54
หลับตา อ่านหนังสื อ
กับ
อ.วิรย ิ ะ
นามศิ รพ ิ งศ์ พันธุ์
เรื่อง : ธัญรัตน์ ตันติวงศ์
“ตกกลางคืนต้องขึ้นไปบนดาดฟ้า แล้วจุ ดตะเกียง ใส่ในกล่องกระดาษแล้วเอาหนังสือวางไว้หน้ากล่อง กระดาษ แอบเตี่ยไม่ให้เขาเห็น ถ้าเขาเห็นว่าอ่าน หนังสือเขาจะชอบดุเตี่ยมีความคิดว่า พวกเรียน หนังสือพอจบไปแล้วชอบไปเป็นข้าราชการมาไถเงิน” น�้ำเสียงของ ‘อาจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์’ บอกเล่ า ด้ ว ยความสนุ ก สนาน ครั้ น เมื่ อ สมั ย ยั ง เป็นเด็ก อาจารย์เป็นเด็กที่ซุกซน ชอบเล่นทดลอง วิทยาศาสตร์ ชอบอ่านหนังสือ รักที่จะเรียนรู ้ส่ิง ต่างๆ แม้ตอนนี้ดวงตาจะมืดบอด แต่อาจารย์กลับมอง โลกได้ อ ย่ า งชั ด เจน ว่ า เรื่ อ งความพิ ก าร ไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ จ ะขวางกั้ น ความสามารถของคนเราได้ ทุ ก อย่าง อาจารย์เป็ นตัวอย่างของผู ้พิการที่ ประสบ ความส�ำเร็จ เป็ นอาจารย์ประจ�ำคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เป็นประธานมู ลนิธิสากลเพื่อคนพิการ เป็ น คนส� ำ คั ญ ที่ ช่ วยผลั ก ดั น สิ ท ธิ ข องผู ้ พิ ก ารใน เรื่องต่างๆ และยังเป็นบุ คคลดีเด่นของชาติ สาขา พัฒนาสังคม ปี พ.ศ.2546 56
A DECADE OF LEARNING
ทราบว่าอาจารย์ไม่ได้ตาบอดตัง้ แต่กำ� เนิด ช่ วย เล่าให้ฟังว่าเกิดอะไรขึน้
___“ตอนอาจารย์เด็กๆ อาจารย์ก็เรียนหนังสือเหมือนคนทั่วไป ใฝ่ ฝ ั น อยากจะเป็ น หมอและวิ ศ วะกรเหมื อ นคนอื่ น ๆ แต่ พ อ เริ่มเรียนที่เขาเรียก มศ.1 2 3 ก็เหมือนคนอื่นที่ก�ำลังเตรียม ตัวสอบเข้าเตรียมอุดม แต่อาจารย์เกิดอุบัติเหตุก่อน ไปเล่น ชนวนระเบิดไดนาไมต์ โดยไม่รู้ มันเลยระเบิด นิ้วขาดแล้ว ลูกตาสองข้างก็แตก”
ตอนนัน้ อาจารย์รู้สึกอย่างไร
___“พอตาบอดใหม่ๆ เราคิดว่าเราท�ำอะไรไม่ได้ เหมือนกับคนอืน่ ประสบการณ์เราก็ไม่คอ่ ยได้เจอ คนตาบอดท�ำอะไรไม่ได้ ตอนนัน้ เสียใจมาก คุณพ่อปลอบใจว่าจะให้ไปเรียนเป็นหมอดู เพราะเห็น ว่าเป็นคนตาบอด แต่พอดีพชี่ ายอยากให้เรียนหนังสือต่อเผือ่ จะได้ เป็นครูทโี่ รงเรียนสอนคนตาบอดเหมือนครูตาบอดคนอืน่ ๆ เลยขอ ให้อาจารย์เรียนแล้วติดต่อประสานเข้าโรงเรียนสอนคนตาบอด ตอนแรกเขาไม่รบั จะให้ไปฝึกอาชีพ แต่ตอนหลังเขารูว้ า่ เคยเรียน หนังสือมาแล้วและเรียนได้ดี ก็โอเค เขาคิดว่าถ้าเรียนพวกอักษร เบรลล์สักพักจะเรียนร่วมกับเด็กทั่วไปได้”
อุ ปสรรคของการมองไม่เห็นคืออะไร
“พอคนเรามองไม่เห็น เราคิดว่าเราท�ำอะไรไม่ได้ เดินเราก็กลัว กลัวว่าจะชนโน้นชนนี่ แล้วเรียนหนังสือเราจะเรียนยังไง เพราะ เราเคยชินกับการใช้ตา แล้วเราไม่รจู้ ะไปอ่านยังไง เรามาตาบอด ตอนโตแล้ว เลยท�ำให้อา่ นได้ชา้ แถมอ่านด้วยนิ้วมันไม่ค่อยถนัด ส่วนตอนเรียนก็ต้องจดเลคเชอร์เป็นเบรลล์ เสียงมันจะดัง กุ๊กกั๊ก กุ๊กกั๊ก กุ๊กกั๊ก อาจารย์จดได้ช้าเลยต้องใช้ตัวย่อเข้าช่วย”
อะไรท�ำให้อาจารย์กลับมามีกำ� ลังใจ
___“โชคดีที่อาจารย์เจอ Miss.Jenivieve Caulfield สตรีตาบอด ชาวอเมริ กั น ผู ้ ก ่ อ ตั้ ง โรงเรี ย นสอนคนตาบอดกรุ ง เทพฯท่ า น พยายามเชือ่ และปลูกฝังอย่างมากว่า คนตาบอดมีความสามารถ และสามารถท�ำอะไรได้สารพัดอย่าง ตอนนัน้ เราไม่เชือ่ ว่าตาบอด ท�ำอะไรได้ เขาปลูกฝังว่าคนตาบอดท�ำอะไรได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่ฝึกเดิน เอ๊ะ! เราก็แปลกใจ ตาบอดมันจะเดินยังไง ฝึกเดิน ด้วยไม้เท้า ฝึกเรียนอักษรเบรลล์ คล�ำจุดเอา โอเค พอเขาเห็น ว่าเราพอเรียนได้รู้เรื่องก็ส่งไปเรียนเซนต์คาเบรียลพร้อมกับเด็ก
ตาบอดอื่นๆ ในรุ่นเดียวกัน แล้วไปเรียนที่อัสสัมชัญหลังจาก ออกจากอัสสัมชัญก็เข้าธรรมศาสตร์ จบปริญญาตรีแล้วเรียน ประกาศนียบัตรเนติบัณฑิตยสภาไทย แล้วหลังจากนั้นก็เรียน โทต่อทีเมืองนอก”
ตอนนีม้ พ ี นื้ ที่สำ� หรับคนตาบอดในการเรียนรูม้ าก น้อยแค่ไหน ___“ยุคอาจารย์ไม่ค่อยมี แต่ยุคปัจจุบันบางมหาลัยน่าจะเริ่ม มี เช่น ธรรมศาสตร์ ที่เราเรียกว่า ‘DSS’ (Disabled Student Services) เป็นห้องบริการการศึกษาส�ำหรับเด็กตาบอด ซึ่งมัน เป็นบริการส�ำหรับนักศึกษาพิการอื่นๆ ด้วย ซึ่งช่วยให้คนพิการ เข้าใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย นักศึกษาพิการสามารถสอบ หรือ อ่านหนังสือได้ในรูปแบบของเขา”
เครื่องมืออะไรบ้างที่ช่วยเรื่องการรับข้อมูลความรู ้ ของคนตาบอดบ้าง
___“ตอนนี้เราจะต้องเร่งหนังสือเสียงก็คือ หนังสือที่มันยังไม่มี ในท้องตลาด ใน 3 แพลตฟอร์ม คือ อีบุ๊ค (E-book)ในรูปแบบ EPUB 3 คือถ้ามันมีอีบุ๊คในรูป EPUB 3 มันก็ไม่มีปัญหา เราใช้ เครือ่ งคอมพิวเตอร์แล้วมันก็มี ‘สกรีน รีดเดอร์’ (Screen Reader) มันอ่านให้ฟงั อยูแ่ ล้ว หรือโหลดเข้าไอโฟนมันก็อา่ นให้ฟงั หรือถ้า หนังสือเป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง อย่างที่อาจารย์บอกเรามี OCR (Optical Character Recognition) ภาษาไทยอยู่ในไอโฟน พอ ถ่ายรูป แชะมันก็อ่านให้เราฟังจากไฟล์ภาพได้เลย หรือบังคับ ให้โรงพิมพ์ พิมพ์หนังสือต้องติด 2D Barcode เหมือนที่เกาหลี มี อาจารย์ก็แค่เอาไอโฟนที่มีซอฟต์แวร์วอยซ์อาย (Software voice-eye) วางปึบ๊ มันก็อา่ นให้ฟงั แล้ว นอกเหนือจากตรงนีก้ ม็ ใี ห้ คนช่วยอ่านเป็นหนังสือเสียง ฉะนัน้ ต่อไปในภายภาคหน้า ปัญหา อาจจะน้อยลง เช่น เราไปบังคับรัฐบาลไทยว่า เฮ้ย! ออกมาตรฐาน อีบุ๊คหน่อย บอกว่าถ้าใครจะท�ำอีบุ๊คนะ ต้องเป็น EPUB 3 เพราะ ฉะนัน้ ใครจะท�ำหนังสือใหม่ๆ มา เราก็เข้าถึงแล้ว เพราะสโลแกน ของคนตาบอดคือ เราจะต้องท�ำยังไง ให้เราเข้าถึงหนังสือพร้อม คนอื่นในราคาที่เท่ากัน อันนี้คือเป้าหมาย”
แปลว่าหนังสือให้คนตาบอด มีต้นทุนที่สูงกว่า
___“ที่มันไม่เท่าเพราะว่าก่อนหน้านี้มันไปอิงหนังสือเสียงเป็น
57
หลัก เมื่อคุณอิงหนังสือเสียงเป็นหลัก ก็ต้องไปซื้อหนังสือมาก่อน แล้วจึงอ่าน คุณก็ต้องเสียค่าหนังสือ เสียทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการอ่าน แล้วกว่าคนอ่านจะอ่านเสร็จ กว่าจะได้ฟงั ไม่รอู้ กี กีเ่ ดือน แต่ถา้ หากเช่น เขาคิด 2D Barcode มา ผมก็ซื้อหนังสือเล่มเดียวกัน เหมือนกับที่เรา ซื้อ แล้วผมก็ใช้ไอโฟนค่อมลงไปแล้วมันก็อ่านให้ฟัง หรือเราซื้ออีบุ๊ค มาเป็นแบบ EPUB 3 เหมือนกัน ฉันก็อีบุ๊ค EPUB 3 ฉันก็อ่านได้เลย เธอก็ซื้อราคาเดียวกัน คนตาบอดก็ซื้อราคานั้น แล้วได้อ่านหนังสือใน เวลาเดียวกัน”
ทุกวันนี้สายตาเป็ นอุ ปสรรคในการอ่านหนังสือหรือ เปล่า ___“ไม่มีอ่ะ ส�ำหรับคนตาบอดที่อาจารย์บอกว่าไม่มีอุปสรรคมากเท่า ที่ควรนะ แล้วคือถ้าเทียบกับคนหูหนวกเนี่ย น้อยกว่าคนหูหนวกน้อย มาก เพราะเรายังมีหนังสือเสียง เรามีหนังสืออักษรเบรลล์ ในขณะทีค่ น หูหนวกจะเข้าถึงองค์ความรู้ เขาต้องอาศัยภาษามือ เขาต้องอาศัยล่าม และล่ามเขามีนอ้ ย ตอนนีอ้ าจารย์กต็ อ้ งเร่งผลิตล่าม ภาษามือทางไกล เพือ่ ให้คนหูหนวกสือ่ สารกับคนอืน่ ได้ ตาบอดยังมีปาก ยังสือ่ สารได้ เรา ยังใช้ตวั พิมพ์ได้ อย่างทีเ่ ราเห็นในไอโฟน ใครส่งเมล์มาก็อา่ นให้ฟงั เรา รู้เรื่อง แล้วไอ้คีย์บอร์ดเสียบก็ พิมพ์ๆ ส่งไปให้คนอื่น คนอื่นเขาก็รู้เรื่อง หนังสือเราโหลดเข้ามาเราก็เปิดฟังได้ตามปกติ”
คนหู ห นวกเขามี อุ ป สรรคการเรี ย นรู้ ม ากกว่ า คน ตาบอดอย่างไรค่ะ ___“อย่างคนหูหนวกเขาก็ต้องใช้ภาษามือในการเข้าถึงองค์ความรู้ แล้วภาษาไทยเขาก็จะไม่แข็งแรง เพราะว่ามันเป็นภาษาที่สองของ เขา เหมือนเราภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง คือหลายคนก็เรียนภาษาไทย ได้ดี แต่หลายคนก็เรียนไม่ได้ดี ซึ่งมันอยู่ที่ความถนัด ภาษาไทยเราก็ คือภาษามือเขา เพราะคนหูหนวกบางคนเขาไม่ได้เรียนหนังสือภาษา ไทย หรือเรียนก็เรียนได้ไม่ดี เพราะไวยากรณ์มันไม่เหมือนกัน เช่น เรา บอกว่า ‘เขาตีแมวด�ำ’ แต่เขาท�ำภาษามือของเขามาโดยตลอดว่า ‘ด�ำ แมวฉันตี’ เพราะฉะนั้นเวลาเขาเขียนภาษาไทยเขาจะเขียนว่า ด�ำแมว ฉันตี เช่นกัน พอเราอ่านเราก็อ่านไม่รู้เรื่อง หรือยาวหน่อย ด�ำแมวฉันตี ต้นไม้ฉนั ตก เป็นเราจะอ่านว่าอะไร ซึง่ เขาก�ำลังจะบอกว่า ฉันตีแมวด�ำ ฉันตกต้นไม้ ฉะนัน้ เขาต้องฝึก เหมือนเราต้องพยายามมุง่ จะฝึกคนไทย ให้อา่ นภาษาอังกฤษ ตอนนีเ้ รามุง่ ฝึกคนหูหนวกให้อา่ นภาษาไทยให้ได้ เพื่อจะได้เข้าถึงองค์ความรู้ได้โดยไม่ต้องไปพึ่งคนอื่นมาก“
58
อาจารย์ชอบอ่านหนังสือประเภทไหน
___“คือส่วนใหญ่อาจารย์ชอบอ่านหนังสือที่มันให้พลัง เราอยากที่จะ อ่านหนังสือที่มันมีพลัง เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับคนพิการเอง ที่เขาต่อสู้ ชีวติ ไม่วา่ จะเป็น Stephen Hawking หรือ Steve Job หนังสือแนวทีม่ นั อ่านแล้วได้พลัง หนังสืออะไรอ่านแล้วหดหู่ก็ไม่อ่าน ใจเรามันต้องการ พลังนะ ที่จะต้องเดินหน้า กายเราไม่ต้องการอะไรที่มานั่งเสียเวลา มานั่งหดหู่อะไรก็ไม่รู้ เรามีพลังเราลุย ท�ำงานไปข้างหน้า ท�ำอะไรไป ข้างหน้า ถ้าเราชอบงานอะไรที่ทำ� ไปแล้วมีความสุข เราสุขอยู่กับงาน เราไม่เบื่อเพราะเราท�ำงานด้วยพลัง จากที่เราอ่าน จากที่เราฟัง”
A DECADE OF LEARNING
จะต้ อ งท� ำ ยั ง ไง ให้ เ รา (คน ตาบอด) เข้ า ถึ ง หนั ง สื อ พร้ อ ม คนอื่นในราคาที่เท่ากัน อันนี้คือ เป้าหมาย
59
_เป็น เวลา 10 ปีม าแล้ ว ที่ อุ ท ยานการเรี ย นรู้ TK park ยึ ด มั่ น ในการ ส่ งเสริมการอ่ าน แม้ ว่ ายิ่ งนั บ วั น ความก้ า วหน้ า ทางเทคโนโลยี จ ะเข้ า มามี บทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ และ TK park เองก็ได้รับและปรับการเรียนรู้ให้มี ความทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ถึงอย่างนั้น “การอ่าน” และ “หนังสื อ” ก็ยังเป็นเรื่องที่แหล่งปลูกฝังการเรียนรู้แห่งนี้ให้การส่ งเสริม อย่างสม�่ำเสมอ _การเรี ย นรู้ แ ละปลู ก ฝัง ความคิ ด ด้ ว ยการอ่ า นส� ำ คั ญ มากขนาดไหน 11 ค� ำ ยื น ยั น จากบทสั ม ภาษณ์ ข องบุ ค คลหลากอาชี พ ที่ ไ ด้ อ่ า นไปแล้ ว นั้ น ได้ยืนยันมาแล้วว่า... _การอ่าน เป็นจุ ดเริ่มต้นของการคิด เขียน ต่อเติมจินตนาการ _การอ่าน เป็นพลังใจที่สร้างพลังกายให้ลุกขึ้นมาสานความฝันจนเป็น ความจริง _การอ่ า น เป็น สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ ค นคนหนึ่ ง ได้ มี ค ลั ง ความรู้เ พื่ อ น� ำ ไปใช้ กั บ ชี วิ ต ของเขาได้ทั้งชี วิต _และนั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ท�ำไมอุทยานการเรียนรู้ TK park จึงให้ความ ส�ำคัญกับการอ่าน
_เพราะการอ่านคือต้นทางของทุกสิ่ ง
READING GIVES US SOMEPLACE TO GO WHEN WE HAVE TO STAY WHERE WE ARE
MASON COOLEY -
Books Come
Alive
ใ น ช่ ว งไ ม่ กี่ ปี ที่ ผ่ า น ม า มั ก เกิ ด ค� ำ ถามขึ้ น บ่ อ ยครั้ ง ว่าหนังสือจะตายหรือไม่ เมื่อ ต้องปะทะกับโลกดิจิตอล และ เมื่อ Google เริ่มวางแผนที่จะ สแกนหนั ง สื อ นั บ ล้ า นเล่ ม เพื่ อ จุ ดประสงค์ในการสร้างห้องสมุด โลกไซเบอร์ขนาดยักษ์ ให้คน
เข้ า ถึ ง แบบดิ จิ ต อลได้ อ ย่ า ง ง่ายดาย และฟรี อย่างที่เห็นใน สารคดี Google and the World Brain ในหลายประเทศต้องการ ที่จะให้มีคนเข้ามาใช้บริการห้อง สมุ ด ประชาชนมากขึ้ น จึ งได้ เกิดห้องสมุ ดประชาชนบนห้าง สรรพสินค้าขึน้ มาหลายแห่ง
Hj rring Central Library
Østergade 30, DK-9800 Hjørring, Denmark http://flavorwire.com/386005/the-most-playfullibraies-in-the-world/view-all http://www.librarybuildings.info/denmark/hjorring-library-metropol Hjørring Central เป็นห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นสีแดง เขียว ส้ม จุดเด่นอยู่ ที่ ซ ่ อ นตั ว อยู ่ ใ นห้ า ง the Metropol ตรงที่มีริบบิ้นสีแดงที่ผาดยาวไปตาม shopping mall ตั้งอยู่ที่เมือง Hjør- จุดต่างๆ ของห้องสมุด ซึ่งมีบางจุดที่ ring ในประเทศเดนมาร์ก เปิดให้เข้า กลายเป็นชั้นวางหนังสือ บ้างแขวงอยู่ ใช้ตั้งแต่ปี 2008 ได้รับการออกแบบ บนเพดาน บ้างลาดไปตามพืน้ ของห้อง ตกแต่งภายในโดย Bosch & Fjord สมุด นอกจากนี้ห้องสมุดแห่งนี้ยังแบ่ง (Rosan Bosch and Rune Fjord) โซนออกเป็นตามวัยของผู้อ่าน เช่น ใน ที่ เ คยออกแบบออฟฟิ ศ ของบริ ษั ท โซนเด็กมี reading tree ต้นไม้สีเขียว Lego ในเดนมาร์กจนเป็นที่อิจฉามา สดใสอยู่กลางโถง หรือ fish pond ที่ แล้ว ท�ำให้ห้องสมุดแห่งนี้เต็มไปด้วย ออกแบบคล้ายบ่อปลาให้เด็กๆ มุดลง ความสนุกสนาน สีสันที่หลายหลาย ไปอ่านได้
Clementi Public Library Clementi Public Library ตั้งอยู่ที่ชั้น 5 ของห้าง Clementi Mall เปิดให้เข้าใช้ อย่างเป็นทางการตั้งแต่ 23 April 2011 เป็นห้องสมุดแห่งแรกในสิงคโปร์ที่มีบริการ Mystery Brown Bag Service คือ การให้บรรณารักษ์และอาสาสมัครจัดหนังสือ ตามหัวข้อที่ก�ำลังเป็นที่นิยม และธีมในแต่ละสัปดาห์บรรจุกระเป๋าไว้ เพื่อให้บริการ
64
ห้าง Clementi Mall ชั้น 5 สามารถเดินทางโดย MRT ลงที่สถานี Clementi และ Bus Interchange จันทร์ – อาทิตย์ 11:00 AM - 09:00 PM http://www.nlb.gov.sg/VisitUs.aspx
ส�ำหรับผูต้ อ้ งการอ่านหนังสือแต่ไม่มเี วลาทีจ่ ะเลือกหนังสือมากนัก นอกจากนีย้ งั เป็น ห้องสมุดที่มีการน�ำ The Digital Interactive Storytelling Kiosk มาใช้ในห้องสมุด ประชาชนแห่งแรกในสิงคโปร์ เพือ่ เป็นสือ่ ในการศึกษาทีน่ อกจากอ่านอย่างเดียวแล้ว ยังสามารถตั้งค�ำถาม โต้ตอบและเข้าไปมีส่วนร่วมกับสื่อได้
A DECADE OF LEARNING
ห้าง Sutera Mall Johor Bahru ชั้น 4, 81200 Johor Bahru จันทร์ – ศุกร์ 11.00 am - 10.00 pm My Library http://www.mylibrary.my ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้า จะประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวัน โดยห้องสมุด Sutera Mall เป็นห้องสมุดเต็มรูปแบบในห้าง แห่งนี้มีหนังสือสามภาษาด้วยกัน คือ อังกฤษ สรรพสินค้าแห่งแรกของเมืองยะโฮร์บาห์รู มาเลเซีย และจีน เมืองหลวงของรัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย ชื่อ นอกจากการบริการของห้องสมุดแล้ว ของเมืองยะโฮร์บาห์รูอาจเป็นที่คุ้นตาอยู่พอ ภายในห้องสมุดยัง แบ่งพืน้ ทีจ่ ดั กิจกรรมหลาย สมควร เนื่องจากเป็นเมืองที่เป็นเสมือนประตู รูปแบบ เช่น การจัดฉายหนังในช่วงสุดสัปดาห์ สู่ประเทศสิงคโปร์ เหตุผลในการสร้าง My กิจกรรมท�ำหุ่นกระบอกของเด็ก นิทรรศการ Library ขึ้นของห้าง Sutera Mall คือต้องการ สะสมแสตมป์ สามารถติดตามตารางกิจกรรม สร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ขึ้น เพื่อให้ประชาชน ในแต่ละเดือนได้จากหน้าเฟซบุก๊ ของห้องสมุด ชาวมาเลเซียมีแหล่งข้ อมู ลที่ เชื่ อถื อได้ ซึ่ ง My Library
The Mall Library Connection
ห้าง Vancouver Mall แวนคูเวอร์, รัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา จันทร์ – พฤหัสบดี : 10:00 am - 7:00 pm , ศุกร์ – เสาร์ : 10:00 am - 6:00 pm , อาทิตย์ : 1:00 pm - 6:00 pm http:// www.fvrl.ent.sirsi.net.
ห้องสมุด The Mall Library Connection เป็นห้องสมุดขนาดกะทัดรัดตั้งอยู่บนห้าง สรรพสินค้า เปิดให้ใช้บริการมาตัง้ แต่ปี 1983 เดิมชื่อ Library at Vancouver จากนั้นในปี 2000 ได้ยา้ ยมาทีห่ า้ ง Vancouver Mall ท�ำให้ มีพื้นที่ใหญ่ขึ้น และกลับมาเปิดให้บริการ อีกครั้งเมื่อเดือนเมษายน ปี 2013 โดยการ ออกแบบของห้องสมุดได้ให้ผู้ที่เข้าใช้ห้อง สมุดและเจ้าหน้าทีม่ สี ว่ นร่วมในการออกแบบ ด้วยเพื่อให้เกิดห้องสมุดที่ผู้ใช้ต้องการ และ เป็นพืน้ ทีใ่ ช้ประโยชน์ได้จริง ภายในห้องสมุด ห้าง Glendale Shopping Center Glendale ชั้น 2 อินเดียแนโพลิส รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา อาทิตย์ : 12:00 am - 5:00 pm จันทร์ - พุธ : 10:00 am - 8:00 pm พฤหัสบดี - ศุกร์ : 10:00 am - 6:00 pm เสาร์ : 10:00 am - 5:00 pm http://www.imcpl.org/locations/glendale/ ห้องสมุดแห่งนี้เป็นสาขาหนึ่งของ The Indianapolis Public Library ที่ขยายสาขา ออกมาเปิดในปี 2000 จึงกล่าวได้ว่าเป็นห้อง สมุดครบวงจรแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ตั้ง อยู่บนห้างสรรพสินค้า ห้องสมุดนี้มีบริการที่ รองรับผู้พิการอีกด้วย และยังมีคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตให้บริการจ�ำนวน 37 เครื่อง
มีพื้นที่กิจกรรมเป็นโซนเช่น โซนเงียบส�ำหรับ อ่านหนังสืออย่างสงบ โซนส�ำหรับเด็กตั้งแต่ วัยก่อนอนุบาลถึงเด็กโต และยังมีกิจกรรม เช่น มายากล ,กิจกรรม reading clubs ด้าน บริการของห้องสมุดแห่งนี้สามารยืมหนังสือ ได้เป็นเวลา 1 เดือนเต็ม โดยยืมได้สูงสุด ครั้งละ 3 เล่ม มีบริการตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ การต่ออายุการยืมหนังสือทางออนไลน์ได้ (renew books online) มีบริการฟรี Wifi และ มีคอมพิวเตอร์ให้เข้าใช้ฟรี
Branch Library
พร้ อ มเครื่ อ งปริ้ น สแกน และบริ ก ารถ่ า ย เอกสาร เครื่องยืม – คืนหนังสืออัตโนมันติ นอกจากนี้ยังมีโซนส�ำหรับเด็กตั้งแต่วัยก่อน อนุ บาล มี การจั ดกิจกรรมให้ผู้ใช้ห้องสมุด ได้เข้าร่วมเป็นประจ�ำ เช่น eBook Tinker Station, Martial Arts Intro Class for Kids!, Beginner’s Microsoft Word 2010 เป็นต้น
65
1.
ในวั น ที่ เทคโนโลยี จ� ำ พวก สมาร์ ท โฟนก� ำ ลั ง คื บ คลาน เข้ า สู่ วิ ถี ชี วิ ต ของคนในทุ ก ช่ วงวัย ทุกระดับ ทุกฐานะอาชี พ ประกอบกับ การเข้าถึงได้ง่ายขึ้นของระบบอินเทอร์เน็ต ที่ส่งผลให้การใช้โซเชี ยลมีเดียไม่ใช่ เรื่องยาก อีกต่อไป แน่นอนว่าความรวดเร็ว สะดวก และสบายเหล่านี้ คงได้เข้ามาเปลี่ยนแปลง หลายกิจวัตรประจ�ำวันในชี วิตของคน และ ที่หนีไม่พน้ ก็คงเป็นกิจกรรมการอ่านหนังสือ
3.
นอกจากหนังสือพิมพ์ หรือ หนั ง สื อ ข่ า วต่ า งๆ แล้ ว หนังสือทั่วๆ ไป ก็เริ่มมีการ แข่งขันกับโลกยุ คใหม่ ที่มนุษย์เราต่างชอบที่ จะได้ดำ� เนินชี วติ ไปพร้อมๆ กับเครื่องมือทาง เทคโนโลยีจอกว้างไร้ป่ ุ มกดเพิ่มมากขึน้ จนมี หลายกลุ่มตัง้ ข้อสังเกตว่า เป็นไปได้ว่าในวัน ข้างหน้า E-Book จะเข้ามามีบทบาทมากกว่า หนังสือที่จับต้องได้เป็นรู ปเล่ม
การอ่าน กับ
2.
จากรายงานข่ า วพบว่ าใน ช่ วงเวลา 2-3 ปี ล่าสุด ยอด การขายหนั ง สื อ พิ ม พ์ แ ละ หนังสือรายสัปดาห์พวก weekly news มี อัตราที่ลดลงเป็นอย่างมาก อันน่าจะเป็นผล มาจากการที่เราสามารถติดตามข่าวสารได้ อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้นผ่านช่ องทาง สั ง คมออนไลน์ ไม่ ว่ า จะเป็ น facebook twitter หรือผ่านทางหน้า website ของ แต่ละส�ำนักข่าวนัน้ เอง
66
4.
ข้ อ ดี ข้ อ ด้ อ ยของหนั ง สื อ ธรรมดาและ E-Book ถ้า หากเปรี ย บเป็ น มวยคงมี สวนหมั ด แพ้ ช นะสลั บ กั นไป ข้ อ ดี ข อง หนังสือธรรมดาคือพกพาได้สะดวก อ่าน สบายตา ไม่เหมือนดิจิตอลตรงที่มันไม่ต้อง ผ่านกระบวนการซั บซ้อนในการท�ำไฟล์ทั้ง ข้อเขียนและภาพ ประกอบกับความลึกซึ้ ง ในเรื่องของประสาทสัมผัส ทัง้ การจับต้อง ได้ รู ปลักษณ์ กระดาษ และกลิ่นของหนังสือ ซึ่ งเหล่านีว้ า่ กันว่าเป็นเสน่หข์ องหนังสือทัง้ สิน้ จินตนาการว่าหากเราต้องอ่านวรรณกรรม หรือนิยายสักเล่มริมทะเล หรือระหว่างเดิน ทางไกล เราคงอยากหยิ บ ฉบั บ จั บ ที่ เ ป็ น หนังสือไปทอดกายอ่านมากกว่า
โล
A DECADE OF LEARNING
5.
แต่ใช่ ว่า E-Book จะไร้ข้อดี เพราะจากยอดการ ดาวน์โหลนิตยสารหลายฉบับ ก็มีสถิติชัดเจนว่า ตลาดของฟอร์ ม การอ่ า นผ่ า นทางหน้ า จอก็ มี จ�ำนวนขยายอย่างก้าวกระโดด หนังสือ E-book มีข้อได้เปรียบ เช่ น สามารถเปลี่ยนตัวอักษรให้ใหญ่หรือเล็กได้ สั่งพิมพ์ออกมา อ่านเป็นเล่มได้ด้วย หรือเพียงแค่คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ ๊คหนึ่งเครื่องก็ บรรจุ หนังสือที่คณ ุ ชอบเป็นร้อยเล่มลงได้รวดเร็ว พร้อมให้คณ ุ เลือก ่ อ่านได้ทันที จะมีข้อเสียอยู ่ก็ตรงทีแม้คุณจะบรรจุ ไว้ในโน้ตบุ ๊ค หรือ ปาล์มมือถือ บางครั้งเรื่องของแบตเตอรี่การใช้งานก็เป็นปั จจัยที่ ท�ำให้ไม่สะดวก ทัง้ สื่อดิจติ อลก็ยงั มีแสงซึ่ งท�ำลายสายตาของคุณได้
ลก อนาคต 6. เรื่อง : พิมพ์พร คงแก้ว
ไม่วา่ ข้อความและเรื่องราวที่รอ้ ยเรียงโดยตัวหนังสือ จะถูกน�ำเสนอโดยรู ปแบบใดก็ตาม มองในอีกแง่ มันก็เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู ้บริโภคงานเขียนเช่ นนัก อ่านอย่างเรา หรือผู ้ขายงานเขียนอย่างนักเขียนทั่วไป เพราะถือว่า เป็นการเพิ่มช่ องทางการเข้าถึงงานชิ้ นนั้นได้ตามความสะดวกและ ความถนัดของผู ้อ่านมากยิ่งขึ้น วันที่ไปพักผ่อนริมทะเล เราอาจจะ เลือกหนังสือติดกระเป๋ าไปสักเล่ม หรือในวันที่ตอ้ งเสนอผลงานอ้างอิง จากหลายแหล่งเราก็เพียงแค่เลือกใช้ E-book เพื่อยืนยันข้อมู ลได้โดย ไม่ต้องแบกหนังสือเป็นสิบเล่มไปประชุ มด้วย
7.
ส�ำหรับในประเทศไทยของเรา Format ของหนังสือ อาจยังไม่ใช่ ประเด็นใหญ่ไปกว่าการที่ท�ำอย่างไร เด็ก เยาวชน และคนทั่วไปจะเพิ่มอัตราการอ่าน หนังสือในแต่ละวันให้มากกว่าเดิม รวมไปถึงการพัฒนาวัฒนธรรม การอ่านของคนไทย ให้การรักหนังสือ การรักในการเพิ่มความรู ้ การรักในการใช้ชีวิตที่ด�ำเนินไปพร้อมการอ่าน จะมีมากขึ้นในสังคม ไทย เพราะการอ่านไม่ใช่ เป็นเพียงแค่การผ่อนคลายยามว่าง แต่ หนังสือที่เราอ่านจะเปิ ดโลก และพาเราเดินตามหาความหมายในชี วติ ได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น นี่น่าจะเป็นเสน่ห์ของหนังสือโดยไม่จ�ำกัด ว่ามันจะถูกพิมพ์อยู ่ในรู ปลักษณ์ใด
67
ไม้ผลัดการอ่าน แรงบันดาลใจ ที่ส่งต่อกันได้ด้วยหนังสื อ
68
เรื่อง: ธิดารัตน์ มูลลา
A DECADE OF LEARNING
นักเขียนร้อยทั้งร้อยมีจุดเริ่มต้น จากชอบอ่าน แน่นอนว่าการอ่านทำ�ให้เกิดความคิดและจินตนาการ จน ทำ�ให้ใครอีกหลายคนกลั่นออกมาเป็นตัวหนังสือและทำ�ให้มีรูป ร่างเป็น “เล่ม” พร้อมส่งต่อความคิดให้คนอ่านต่อๆ ไป คล้ายกับ “การส่งไม้ผลัด” ในกีฬาที่แทบทุกคนเคยเล่นกัน เพียงแต่เปลี่ยน จากคนหนึง่ สูค่ นหนึง่ เป็นคนหนึง่ สูอ่ กี หลายพันหลายหมืน่ คน และ ในจำ�นวนเหล่านัน้ อย่างน้อยอาจจะมีสกั คนหนึง่ ทีล่ กุ ขึน้ มาเขียน หนังสือและส่งต่อความคิดนั้นต่อไป เจ. เค. โรว์ลิ่ง อ่านหนังสือนิทานและวรรณกรรมมาตั้งแต่ ยังเด็ก จนในวันหนึ่งเธอก็ทำ�ให้พ่อมดน้อยแฮร์รี่ พอตเตอร์ ร่าย เวทมนตร์ให้คนทั้งโลกหลงรัก นักเขียนรางวัลซีไรต์สองสมัยอย่าง วินทร์ เลียววาริณ ชอบ อ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก และอ่านอย่างหลากหลาย ทำ�ให้เขามี แรงบันดาลใจทีจ่ ะถ่ายทอด “งานเขียนแนวทดลอง” เติมสีสนั ใหม่ๆ ให้กับแวดวงวรรณกรรมไทย นอกจาก “หนังสือ” หรือแม้แต่เรื่องราวที่ถูกส่งผ่านคนอ่าน ด้วยเว็บไซต์ สิ่งที่ช่วยสานต่อการอ่าน และสร้างแรงบันดาลใจไป ถึงคนอ่านได้ คือ “ร้านหนังสือ” จุดนัดพบระหว่างคนอ่านกับคน เขียน (ผ่านหนังสือ) และ “สำ�นักพิมพ์” จุดสานต่อความคิดของ นักเขียนให้ออกมาเป็นรูปเล่ม
อ่านจนเป็น “ร้านหนังสื อ”
“หนังสือเดินทาง” “ก็องดิด” “Bookmoby” 3 ร้ า นหนั ง สื อ เล็ ก ๆ ที่ แ ม้ จ ะต่ า งเจ้ า ของ แต่จุดเริ่มต้นมาจากแรงผลักดันเดียวกัน นั่นคือ เป็นคนรักหนังสือ รักการอ่านและ อยากมีอาณาเขตสำ�หรับคนที่มีความชอบ แบบเดียวกัน ให้ได้มาเลือกอ่าน หนังสือ พบปะพูดคุย เพื่อส่ง ต่ อ แรงบั น ดาลใจ จากตั ว อักษรในแต่ละหน้า หรือจาก การพู ด คุ ย กั บ นั ก เขี ย นเอง
ทุกเดือน ร้านก็องดิดจะจัดงานเสวนาขึ้นมา 2 ครั้ง เพื่อให้ นักเขียนและนักอ่านมาเจอกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและจุด ประกายจินตนาการของทั้งสองฝ่ายให้เกิดขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ พบได้ในร้านหนังสือเดินทาง และ Bookmoby เช่นกัน ถึงแม้จะมี พื้นที่ไม่มากนัก แต่ก็กว้างพอที่จะให้คนกลุ่มหนึ่งได้มาชาร์ตพลัง ความคิดอย่างเต็มที่ ก่อนจะกลับไปเริ่มต้นทำ�สิ่งที่ตั้งใจให้สำ�เร็จ ร้านหนังสือจึงเป็นไม่ได้เป็นแค่ที่ขายหนังสือ แต่เป็นพื้นที่ใน การส่งต่อการอ่านผ่านหนังสือและการพูดคุย จากคนหนึ่งส่งต่อ ไปอีกหลายต่อหลายคน
อ่านจนเป็น “สำ�นักพิ มพ์ ” “113” “KOOB” “happening” สำ�นักพิมพ์ทงั้ สามเกิดขึน้ มาจากนักเขียนและบรรณาธิการ ที่ ค่อยๆ ไล่ลำ�ดับความฝัน จากการชอบอ่าน ลงมือเขียน มีหนังสือ เป็นของตัวเอง และมีสำ�นักพิมพ์เพือ่ ผลิตหนังสือในแบบทีต่ อ้ งการ หากถามว่าการทำ�สำ�นักพิมพ์เป็นเรื่องยากและเสี่ยงไหม คำ� ตอบก็คอื อาจจะใช่ในยุคทีเ่ ทคโนโลยีคอ่ ยๆ ลดบทบาทของหนังสือ ลงไป แต่เสน่หจ์ ากการอ่านหนังสือทีเ่ ป็นแรงบันดาลใจจนเกิดเป็น สำ�นักพิมพ์อย่างทุกวันนี้ คือสิ่งที่ทำ�ให้สำ�นักพิมพ์ทั้งสาม(รวมถึง สำ�นักพิมพ์อื่นๆ) ยังทำ�หน้าที่สานต่อความคิดให้ออกมาเป็นรูป เล่มต่อไป ถึงการอ่านจะเป็นไม้ผลัดส่งต่อให้คนอ่านกลายเป็นคนเขียน แต่สำ�หรับหลายคนที่ไม่ได้รับไม้ผลัดมาเพื่อเป็นคนในแวดวง หนังสือ ความสำ�เร็จในวันนีข้ องพวกเขาก็ได้มาจากการอ่านเช่นกัน นักร้องนักแต่งเพลงอย่าง แสตมป์ อภิวัชร์ มีหนังสือเรื่อง โปรดมาช่วยให้การแต่งเพลงของเขามีศิลปะในการเล่าเรื่อง และ หลายครั้ง ไอเดียดีๆ ก็เกิดขึ้นตอนอ่านหนังสือ หรือ บารัค โอ บามา ประธานาธิบดีสองสมัยของสหรัฐอเมริกา เคยให้สมั ภาษณ์ ว่าหนังสือคือวิตามินบำ�รุงสมอง และต้นทุนชัน้ เยีย่ ม ทีผ่ ลักดันเขา ในเรือ่ งสิทธิมนุษยชน และสำ�นวนสวยๆ ในหนังสือทีเ่ ขาอ่าน ก็ชว่ ย หล่อหลอมให้เขาสามารถสือ่ สารกับประชาชนชาวอเมริกนั ได้อย่าง จับใจ เห็นไหมว่า การอ่านหนังสือ ต้องส่งไม้ผลัดกันต่อไป เพราะ นัน่ เป็นจุดเริม่ ต้นของแรงบันดาลใจไม่วา่ ชีวติ จะอยูใ่ นเส้นทางไหน ก็ตาม
69
หลังม่าน TK Park หน้าม่านผู ้หญิงร่างเล็กที่ยิ้มง่ายอย่าง ดร. ทัศนัย วงศ์พิเศษกุล ผอ. อุ ทยานการเรียนรู ้ TK park หรือป้าต้อย ที่หลายคนรูจ้ กั นอกจาก ความคล่องแคล่วในการท�ำงานแล้ว 10 ปี ท่ผ ี ่านมายังเป็นผู ้ฟูมฟั ก พื้นที่การเรียนรู ้แห่งนี้ให้แข็งแกร่ง แน่นอนว่าชี วิตหลังม่านย่อมมี หลายเรื่องราวน่าสนใจ ไม่แพ้รอยยิ้มของเธอ....
70
A DECADE OF LEARNING
เรื่อง : ศราวุธ ดีหมื่นไวย์
71
ดูเหมือน 10 ปีที่แล้ว เรือ ่ งห้องสมุดมีชีวิต คนไทยยังคาดไม่ถึง
แรกเริม ่ แนวคิด ห้องสมุดทีเคพาร์ค แนวคิดตัง้ แต่เริม่ ก่อตัง้ คือ การทำ�ห้องสมุดมีชวี ติ โดยความมีชวี ติ เกิดขึน้ จากคน ทัง้ ผูใ้ ห้บริการและผูร้ บั บริการทีป่ ฏิสมั พันธ์กนั สามารถ จูนถึงกันได้ และเมือ่ 10 ปีทแี่ ล้วหนังสือถือเป็นเรือ่ งสำ�คัญอยูจ่ นบัดนี้ แต่ว่าหนังสือถ้าไม่หยิบจับมันก็อยู่บนหิ้ง เราเลยมาคิดกระบวนการ จูงใจให้คนหันมาหยิบหนังสืออ่าน โดยผ่านกิจกรรมหลายรูปแบบที่ คิดขึ้น ซึ่งได้วางแนวคิดไว้ 4 แนวทางตั้งแต่แรกคือ กิจกรรมการอ่าน การเรียนรู้, ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม, เสริมทักษะชีวติ , เสริมทักษะไอที
พูดจริงๆ 10 ปีที่แล้วยังใหม่มากอยู่ คนยังไม่คุ้นกับห้องสมุดที่ เข้ามาใช้บริการสามารถใช้เสียงได้ ไม่ใช่ห้องสมุดที่เข้ามายืมหนังสือ แล้วต้องเงียบๆ ที่นี่ไม่ใช่ที่เก็บหนังสือ แต่เรามีทั้งบรรณารักษ์ นักจัด กิจกรรม ไอที และเจ้าหน้าทีเ่ กีย่ วกับการท�ำประชาสัมพันธ์ขอ้ มูลต่างๆ ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ตอนเปิดวันแรกมีคนเข้ามาเยี่ยมชมมากมาย เริ่มแรกเราอยู่ที่ ชั้น 6 ของอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ เป็นการอยู่ชั่วคราว ตอนนั้นยังคิดถึง การสร้างศูนย์เรียนรูท้ เี่ ต็มรูปแบบ แต่ยงั ไม่สามารถหาสถานทีไ่ ด้ เลย จ�ำเป็นต้องหาพืน้ ทีเ่ พือ่ แนะน�ำแนวคิดนีก้ อ่ น โดยใช้พนื้ ทีช่ นั้ 6 มีพนื้ ที่ ประมาณ 1,000 ตารางเมตร ให้เห็นถึงการตอบสนองความต้องการ ของทุกคน และเริ่มผลักดันด้วยกิจกรรมต่างๆ ตอนนั้นเปิดตัวด้วย การ์ตูนที่เป็นธีมแรกที่เริ่มท�ำ เพื่อแนะน�ำการ์ตูนทั้งของไทยและต่าง ประเทศเพื่อเข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย
เราคิดว่าแนวคิดเหล่านี้จะครอบคลุมทุกด้าน สอดคล้องกับ ภารกิจหลักทีม่ อี ยูค่ อื พัฒนาต้นแบบการเป็นห้องสมุดมีชวี ติ ส่งเสริม การอ่านการเรียนรู้ เป็นพืน้ ทีเ่ ปิดให้คนทุกวัยได้มโี อกาสแสดงผลงาน ในหลายรูปแบบ เมื่อ 10 ปีที่แล้วมีเซ็นเตอร์พ้อยท์เป็นศูนย์รวมของ เยาวชน ทีน่ เี่ ราคิดว่าถ้ามีพนื้ ทีใ่ นการเป็นศูนย์กลางแลกเปลีย่ นเรียนรู้ และแสวงหาความรูต้ า่ งๆ เพือ่ เป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรูข้ นึ้ มา ก็น่าจะดี เลยเป็นที่มาของอุทยานการเรียนรู้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
72
A DECADE OF LEARNING
การท�ำงานเมื่อ 10 ปี ก่อน มีความยากง่าย อย่างไร
ยุคแรกต้องมีการ ปรับตัวอย่างไร
ช่วงแรกเป็นการท�ำความเข้าใจให้คนที่จะเข้ามาใช้ได้เห็นว่า ที่ นี่เป็นห้องสมุดที่เหนือกว่าทั่วไป ความยากง่ายอยู่ที่การจะท�ำให้คน มาสนใจการอ่านการเรียนรู้ที่มากขึ้น เราพยายามด�ำเนินกิจกรรม ต่างๆ ตามกลุ่มเป้าหมาย และยังเน้นแนวคิดการเป็นพื้นที่ทดลอง ที่ นี่ไม่เหมือนที่อื่น ส่วนใหญ่ถ้ามีพื้นที่อย่างนี้จะจ้างบริษัทเอกชนเข้า มาดูแล แต่เราใช้เจ้าหน้าที่ตัวจริงเสียงจริงทั้ง บรรณารักษ์ นักจัด กิจกรรม เจ้าหน้าที่ไอทีประชาสัมพันธ์ ไม่ว่าระดับไหนแล้วแต่ต้องให้ บริการได้หมด ขณะเดียวกันยังเน้นวิเคราะห์ขอ้ มูลว่าผูท้ ใี่ ช้บริการเรา เป็นอย่างไร หนังสือทีม่ ตี อบสนองความต้องการไหม กิจกรรมทีจ่ ดั ขึน้ เป็นไปได้ผลอย่างไร
มีการปรับอยู่เหมือนกัน เพราะเราตั้งกลุ่มเป้าหมายหลักคือวัย รุ่น แต่พอเปิดให้บริการเหมือนเปิดก๊อกน�้ำที่กลายเป็นว่า พ่อแม่พา ลูกหลานเข้ามาใช้ห้องสมุด ขณะเดียวกันเรามีตัวรังผึ้ง ที่ยุคนั้นยัง ไม่มีใครท�ำ ซึ่งเด็กสามารถปีนป่ายขึ้นไปอ่านหนังสือได้บนตัวรังผึ้งที่ เป็นการเอาความสนุกมาผูกกับการเรียนรู้ ตอนอยู่ชั้น 6 เรามีกล้องในทุกพื้นที่ โดยมีการถ่ายทอดสด ซึ่งพ่อ แม่สามารถเปิดดูได้วา่ เด็กเข้ามาทีน่ จี่ ริง ยุคนัน้ เราก�ำลังจะอธิบายถึง การเป็นศูนย์เรียนรู้ว่า เป็นการบูรณาการกิจกรรมในทุกด้าน
ไม่ว่าบรรณารักษ์หรือพนักงานที่ให้บริการคือนักวิจัยที่ประมวล ผล แล้วน�ำไปปรับในการให้บริการและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อน�ำ มาปรับให้เป็นห้องสมุดต้นแบบจริงๆ
เหมือนแยกกิจกรรม แต่ละช่ วงวัยไว้ในนี้ ภาพที่คนยังติดคือ บรรณารักษ์จะดุๆ เราเจอภาพเหล่านี้ไหม
เป็นลักษณะที่เราแยกเป็นกลุ่มช่วงวัย หรือบางกิจกรรมอาจไม่ เห็นว่ามีการแบ่งกลุ่มช่วงวัยที่ชัดเจน แต่การท�ำกิจกรรมใดๆ จะแบ่ง กลุ่มเป้าหมายหลักเป็น ประถมวัย วัยรุ่น วัยท�ำงาน วัยสูงอายุ
ตอนอยู่ชั้น 6 จนถึงตอนนี้จะเห็นว่าบรรณารักษ์ของเราคือพี่ๆ บรรณารักษ์ หรือเป็นน้องบรรณารักษ์ หลานบรรณารักษ์ เพราะจุด ใหญ่คือการท�ำให้ใกล้ชิดกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งตอนนั้นเรามองว่าเป็น กลุ่มวัยรุ่น คนที่เข้าใจวัยรุ่นได้ดีจะต้องมีวัยใกล้เคียงกันที่พอมีอะไร เขาจะสื่อสารกันรู้เรื่อง แต่การมีบรรณารักษ์รุ่นเด็กมีข้อดีว่า แม้แต่ ผูใ้ หญ่กใ็ ห้ความเอ็นดู ดังนัน้ จึงไม่ทำ� ให้มคี วามรูส้ กึ เกร็ง แต่เป็นความ รูส้ กึ ทีม่ าเจอลูกเจอหลาน บรรณารักษ์ทนี่ จี่ ะได้รบั การฝึกในการท�ำตัว ให้เป็นลูกหลาน และเป็นพีน่ อ้ งกับผูใ้ ช้บริการ พอมีอะไรก็พดู ถึงกันได้ หมด บางครั้งผู้ใช้บริการก็มีขนมมาฝากให้กับบรรณารักษ์
73
เมื่ อ ที่ นี่ เ ป็น การทดลอง แล้ว ได้เผยแพร่ความรู้ ไปที่อื่นไหม ที่นี่ถือเป็นต้นแบบในขณะเดียวกันมีฝ่ายงานอื่นๆ ที่ท�ำหน้าที่ สอดคล้องกับภารกิจด้วย เช่นมีการสัมมนาประจ�ำปีเพื่อค้นคว้า นวัตกรรมของห้องสมุด และบริหารจัดการ รวมถึงดูแนวทางในการ บริหารจัดการศึกษาในศตวรรษหน้า โดยการจัดสัมมนาเหล่านี้มีการ จัดให้กับบรรณารักษ์และผู้สนใจ รวมถึงนักวิชาการต่างๆ แล้วยังมี งานวิจัยหลายงานที่เป็นเชิงสนับสนุนนโยบายของประเทศ ในการ เป็นศูนย์เรียนรู้ใหม่ๆ
ได้เรียนรูอ้ นั ดับแรกคือ พฤติกรรมของผูใ้ ช้บริการทีเ่ น้นจุดใดเป็น พิเศษ และเห็นถึงจ�ำนวนการใช้ และหนังสือใดหยิบมาอ่านมากที่สุด ได้วเิ คราะห์วา่ ท�ำอย่างไรให้ผใู้ ช้บริการสนใจในเรือ่ งอืน่ บ้าง ซึง่ เราต้อง วิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค และเห็นพัฒนาการการอ่านของเด็ก ที่ 10 ปีผ่านไปเร็วมาก สมัยนั้นอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องใหม่ ซึ่งจุด ขายอย่างแรกช่วงนั้นคือ ความเร็วของอินเทอร์เน็ต จะเป็นการเข้าถึง องค์ความรู้ได้หลายแบบ
มี ก ารท� ำ หนั ง สื อ มากมายทั้ ง การเป็ น สาระเรี ย นรู ้ แ ละนิ ท าน ตอนเริ่มต้นเราเริ่มต้นจากหนังสือ ซึ่งตอนนี้พัฒนาเป็นเป็นอีบุ๊ค แอพพลิเคชัน่ และยังมีการพัฒนาเกมเพือ่ การศึกษา ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งง่าย ที่จะท�ำเกมดีๆ แล้วขายได้ แต่เราท�ำขึ้นมาเพื่อให้เห็นว่าเกมเหล่านี้ เล่นแล้วสนุกได้ความรู้ไม่จ�ำเป็นต้องมีความรุนแรง ขณะเดียวกันมี การพัฒนา อี คอนเท้นท์ ต่างๆ ที่เป็นลักษณะในการสร้างองค์ความรู้ เมือ่ ได้ตน้ แบบใหม่ๆ เราเอามาประมวล และมีหลายกลุม่ เข้ามาเยีย่ ม ชมทัง้ ภาครัฐและท้องถิน่ เข้ามาชมเห็นแล้วก็อยากจะท�ำ เราเลยมีการ ขยายผลไปยังภูมิภาค
ขณะเดียวกันมีการท�ำรายการโทรทัศน์ในช่วงนั้นที่ชื่อว่า ทีเคทีน เป็นที่ทดลองของวัยรุ่น และมีโครงการบ่มเพาะที่เรียกว่าทีเคแจ้งเกิด เปิดโอกาสให้เยาวชนได้ศึกษาและเรียนรู้ในสาขาอาชีพที่เขาอยาก เป็น โดยเป็นการเปิดทางเลือกอีกทางหนึ่ง ซึ่งเด็กหลายคนอาจเลือก เรียนโดยทีไ่ ม่ชอบ ตรงนีเ้ ด็กสามารถได้มาเรียนรูฝ้ กึ ฝน โดยการอบรม และมีพี่เลี้ยงที่คอยมาให้ความรู้ เช่นนักเขียนก็ใช้นักเขียนจริงๆ เข้า มาอบรม แล้วเปิดให้ได้รับประสบการณ์ตรงในการทดลองท�ำทุกสิ่ง ทุกอย่างขึ้นเอง เช่นกระบวนการของกิจกรรม ทีเค ยังไรเตอร์
ภูมิภาคแห่งแรกที่ได้เลือกคือ อุทยานการเรียนรู้ยะลา แม้เป็น จังหวัดในชายแดนภาคใต้ แต่เราเห็นถึงศักยภาพ เพราะตรงกับ แนวคิดของเราที่เขามีผู้บริหารพร้อม มีสถานที่และงบประมาณ ตรง นี้เลยเกิดขึ้น และถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะศูนย์ที่ยะลา ไม่ได้ตา่ งจากทีน่ ถี่ งึ แม้อยูท่ ยี่ ะลา เขามีผใู้ ช้บริการปีหนึง่ สองแสนกว่า คน และมีการท�ำงานถ่ายทอดกระบวนการอย่างใกล้ชิดกับกรุงเทพฯ หลังจากนั้นมีการขยายผลไปยังที่อื่น ซึ่งเราต้องการให้ท้องถิ่นเข้ามา มีส่วนในการดูแลกันเอง การท�ำงานกับท้องถิ่นมีการปรับให้เข้ากับ การท�ำงานแต่ละท้องที่ โดยท้องถิ่นอื่นๆ เราสนับสนุนซอฟแวร์ แต่ ฮาร์ดแวร์เราไม่ได้สนับสนุน แต่ให้ท้องถิ่นสร้างขึ้นมาเอง อุทยานการเรียนรู้ที่กรุงเทพฯ เปิดเมื่อปี 2548 ห้องสมุดที่ยะลา เปิดเมือ่ ปี 2549 ตอนนีเ้ รามีเครือข่ายทัง้ หมด 26 แห่ง แล้วก�ำลังขยาย เพิ่มเรื่อย ๆ ซึ่งมีที่เปิดบริการแล้วระดับจังหวัดประมาณ 10 แห่ง
74
10 ปีที่ผ่านมาได้เรียนรู้ อะไรจากผู้ใช้ บริการ
ในกิจกรรมทีเคแจ้งเกิด มีกระบวนการในการให้เขาได้ต่อยอด ในเรื่องที่สามารถน�ำมาประกอบอาชีพได้ เป็นเหมือนการเปิดโอกาส ให้เด็ก สามารถท�ำเป็นอาชีพหรือเป็นอาชีพเสริมได้ เราพยายามท�ำให้ เห็นช่องทางว่าสิ่งเหล่านี้ไปถึงอะไร ซึ่งหมายความว่าการท�ำงานที่มี ความสุขไม่ได้ว่า มีทรัพย์สินเงินทอง แต่สามารถเลี้ยงชีพตัวเองได้ อย่างมีความสุข อาจไม่ได้ร�่ำรวย เพราะการที่เราเกิดมาชีวิตมีความ สุขแล้วเราต้องการอะไร สิ่งที่จะอิ่มมากกว่านั้นคือความอิ่มใจ นี่คือ สิ่งที่เราพยายามเสริม เช่ น เดี ย วกั บ บรรณารั ก ษ์ แ ละคนที่ ม าท� ำ งานที่ นี่ ที่ เ รามี ค่ า ตอบแทนให้ แต่ สิ่ ง ที่ ทุ ก คนได้ ม ากกว่ า นั้ น คื อ ความภู มิ ใ จ แล้วเขาได้ทำ� ในสิ่งดีๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันและเรียนรู้
A DECADE OF LEARNING
10 ปีทผ ี่ ่านมามีบางครัง ้ วิ ก ฤติ เ ช่ น ช่ ว งที่ ท� ำ มิ นิ ทีเค 10 ปีที่ผ่านมามีผ่านร้อนผ่านหนาว ระหกระเหินไปหลายที่ เพราะตอนที่ย้ายมาชั้น 8 แล้วทุกอย่างก�ำลังด�ำเนินไปได้ด้วยดี แต่มี ปัญหาวิกฤติการเมืองเข้ามา ท�ำให้ต้องปิดบริการไปนานเกือบปีเพื่อ จะต้องปรับปรุงใหม่ แม้พื้นที่ชั้น 8 จะไม่ถูกไฟไหม้ แต่พื้นที่ได้รับ ผลกระทบจากน�ำ้ ผ่านสปริงเกอร์ ท�ำให้พื้นที่ทั้งหมดเสียหาย แต่สิ่งที่ เสียหายมากที่สุดคือก�ำลังใจของพวกเรามากกว่า เพราะช่วงนั้นเรา ไม่คิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งในระหว่างปิดให้บริการถือเป็นโอกาสดีที่ เจ้าหน้าทีม่ าท�ำงานหมด เราปรับปรุงพืน้ ทีใ่ หม่หมดเหมือนเป็นการยก เครื่อง โดยอะไรที่เสียเอาออกหมด และช่วงนั้นมีงานสัปดาห์หนังสือ เราก็เพิ่งซื้อหนังสือมาใหม่เลยถือโอกาสในการปรับปรุง
วิกฤติช่วงนั้นความเป็น ผู้น�ำต้องบริหารจิตใจ คนอย่างไร ทีด่ อี ย่างหนึง่ คือ เรามีทมี งานทีด่ มี ากๆ น้องทีน่ ที่ ำ� งานด้วยใจรัก ฉะนัน้ เมือ่ เกิดวิกฤติจะเกิดความเหนียวแน่นทีเ่ ราจะฟืน้ และกอบกูท้ ตี่ รงนีก้ ลับคืนมา ให้ได้ และเมือ่ เจอปัญหาอย่างนีก้ ไ็ ม่รจู้ ะเหลียวไปทางไหน เพราะคนอืน่ ก็เป็นแบบเราเหมือนกัน คือตอนทีเ่ กิดเหตุการณ์แล้วเราไม่สามารถเข้ามาในพืน้ ที่ ได้เราต้องรอถึง 3 อาทิตย์ แต่พอมาเปิดพืน้ ทีจ่ ริงเริม่ มีเห็ดและราขึน้ หนังสือ พืน้ ทีน่ ำ�้ เจิง่ นอง หนังสือต่างๆ พังหมด เราเดินจากชัน้ ล่างมาชัน้ 8 โดยใช้ไฟฉาย น้องทีเ่ ข้ามาตอนแรกทุกคนร้องไห้หมด คือทุกคนมีความรูส้ กึ อัดอัน้ เพราะก่อนหน้านัน้ เราหวังว่าผูใ้ ช้บริการ จะเจอเซอร์ไพรซ์วา่ เราพร้อมทีจ่ ะเปิดให้บริการอย่างครอบวงจรต่อ ปรากฏทุกสิง่ ทุกอย่างเสียหายหมด ซึง่ ความเสียดายของบรรณารักษ์คอื พยายามจะเก็บ หนังสือ พยายามทีจ่ ะเลือกหนังสือ ส่วนฝ่ายไอทีกม็ าดูวา่ เครือ่ งใช้ไฟฟ้าใช้งานได้หรือไม่ คนทีล่ งมือท�ำความสะอาดหลังจากเกิดไฟไหม้คอื พนักงานของเราเองทัง้ หมด แล้วลองคิดดูวา่ เราท�ำความสะอาดด้วยไฟฉาย พยายามจะเก็บหนังสือ โดยต้องมีผา้ ปิดจมูกเพือ่ ป้องกันฝุน่ ควัน ซึง่ การท�ำความสะอาดจะอยูน่ านไม่ได้ตอ้ งออกไปหายใจกันทีล่ านจอดรถของห้าง เพราะข้างในมีแต่เขม่าและฝุน่ พอท�ำความสะอาดได้สกั พักเราเริม่ เห็นหนทาง เลยขอพืน้ ทีข่ า้ งล่างตรงอาคารส�ำนักงานของเซ็นทรัลในการเปิดมินทิ เี ค เพราะไม่อยากให้ผใู้ ช้บริการ ขาดหายไป
75
ตอนตัดสิ นใจแก้ปัญหา โดยเปิดมินิทีเคใช้ เวลา นานไหม ไม่นาน เพราะสิ่งส�ำคัญคือ เรามีสมาชิก เรามีผู้ใช้บริการที่รออยู่ การทีเ่ ราเป็นพืน้ ทีส่ ว่ นบริการแล้วปิดไปนานคงท�ำอย่างนัน้ ไม่ได้ เลย ตัดสินใจว่าพืน้ ทีใ่ หญ่ยงั ใช้ไม่ได้เลยใช้พนื้ ทีเ่ ล็กชัว่ คราว แต่สงิ่ ส�ำคัญ คือก�ำลังใจของคนทีใ่ ห้บริการกับผูใ้ ช้บริการต้องไม่หายไป ซึง่ กิจกรรม ต่างๆ ยังท�ำต่อเนื่อง แต่อาจจะใช้พื้นที่น้อยลง
ส�ำหรับแนวทางการ ศึ กษาในอนาคต ตอนนี้แนวโน้มในห้องเรียนการศึกษาเปลี่ยนไป ครูอาจไม่ใช่ปรมาจารย์ที่ยืนอยู่หน้าห้องแล้วก็สอนๆ เด็กมีโอกาสเข้าถึงองค์ความรู้มากผ่านโลก ของอินเทอร์เน็ต แต่พวกนี้ต้องมาดูว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้องหรือเปล่า ซึ่งครูเป็นผู้ให้ความรู้ว่าสิ่งที่เด็กได้มาจากอินเทอร์เน็ตนั้นถูกต้องหรือไม่ โดยครู ต้องท�ำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลในการเข้าสู่องค์ความรู้ ตอนนี้มีคอร์สนอกห้องเรียนเยอะมากที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้ ล่าสุดมีการสัมมนาของหน่วยงาน โดยเชิญนักการศึกษาที่มีชื่อเสียงจากประเทศ แคนนาดา ได้อธิบายถึงการอ่านหนังสือว่าคนสมัยก่อนจะอ่านหนังสือเป็นตัว z ซึ่งต่างจากเด็กสมัยนี้ที่อ่านหนังสือเป็นตัว F เพราะต้องมีรูปภาพและ ส่วนอืน่ ๆ ประกอบ จึงท�ำให้การวางอาร์ตเวิรค์ ของหนังสือเปลีย่ นไปเพือ่ กระตุน้ ความสนใจของเด็กยุคใหม่ สิง่ เหล่านีเ้ ราต้องดูพฤติกรรมการอ่านของเด็ก เด็กสมัยนี้มีพฤติกรรมการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง เราต้องมาเรียนรู้แล้วก็ปรับ แต่การปรับต้องคิดถึงสังคมด้วย เพราะถ้าให้เด็กเป็นสังคมก้มหน้าที่ ดูแต่มือถือจะมีโลกของเขาเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าเราท�ำพื้นที่ของการอ่านให้เป็นการสร้างชุมชนขึ้นมาจะเปลี่ยนไป อาจไม่มีหนังสือจ�ำนวนมากแต่เป็น หนังสือที่ตอบสนองความต้องการได้ และมีให้บริการด้านอื่นด้วย ห้องสมุดในรูปแบบใหม่จะเป็นเหมือนร้านค้าย่อยๆ ทุกคนเข้าไปจะมีมุมกาแฟให้ดื่ม มีห้องอ่านหนังสือ มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ที่จะพูดคุยกันได้ ส่วนของคนที่ท�ำงานไม่มีออฟฟิศประจ�ำเราจะมีพื้นที่ทำ� งานให้เขาหรือไม่ ซึ่งจะเป็นพื้นที่เล็กๆ ที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน โดยจะ เข้ามาหาความรู้ก็ได้ หรือเข้ามาให้ความรู้ก็ได้เช่นกัน พื้นที่ห้องสมุดสมัยใหม่อาจไม่มีพื้นที่กว้างเป็นหมื่นตารางเมตร แต่ต้องเป็นที่ที่ทกุ คนสามารถเข้ามาใช้งานได้ ซึ่งเป็นพืน้ ที่ซึ่งเกิดชุมชนในห้องสมุด นั้นๆ ที่เวลาไม่รู้จะไปไหนเขาจะคิดถึง เพราะเขาได้พบปะสังสรรค์ ยิ่งตอนนี้คอนโดในกรุงเทพฯ มีมาก ยิ่งท�ำให้เราเหมือนต่างชาติที่มีพื้นที่เล็กๆ เอาไว้ นอน แต่พอถึงเวลาแล้วเราเป็นสัตว์สังคมก็ต้องออกมาพื้นที่ที่มีสังคม ซึ่งถ้าการที่เขาออกมาในพื้นที่นี้เขาสามารถได้พูดคุยกับสังคม
76
A DECADE OF LEARNING
ต่ อ ใ ห้ สั ง ค ม อ น า ค ต เปลี่ ย นแปลงอย่ า งไร แต่จำ� เป็นต้องมีหอ ้ งสมุด สิง่ ทีเ่ ราต้องยอมรับว่าโลกอนาคตมันร้อนขึน้ การทีเ่ ราจะตัดต้นไม้ มาท�ำกระดาษก็นอ้ ยลง ซึง่ เรือ่ งอิเล็กโทรนิกส์ถา้ เราไม่ได้สวนกระแสก็ ต้องยอมรับว่ามีโอกาสดีๆ มากมาย ที่หนังสือดีๆ ไม่จำ� เป็นต้องพิมพ์ ด้วยกระดาษ แต่กเ็ ป็นหนังสือทีเ่ หมาะกับคนทุกวัยได้ เราอย่าไปมอง ว่าพอจับแท็บเล็ตเป็นคนไม่ดีหรือเด็กไม่ดี แต่ความจริงเขาเรียนรู้อยู่ ตอนนี้เริ่มมีกระแสแล้วเกี่ยวกับฟิวเจอร์ไลเบอรี่ที่ไม่มีหนังสือสักเล่ม แต่มีอุปกรณ์มีพื้นที่ให้ ซึ่งการเป็นห้องสมุดเราต้องเตรียมพื้นที่เหล่า นี้ให้กับเขา ขณะเดียวกันต้องมีกระบวนการที่จะท�ำให้เกิดชุมชนใน พื้นที่นั้น และสามารถเชื่อมเครือข่ายได้ทั่วกัน
บทบาทของบรรณารักษ์ ต้องเปลี่ยนไปไหม ความจริงบรรณารักษ์คือ คนที่ท�ำงานกับหนังสือและองค์ความ รู้ทั้งหลาย บรรณารักษ์ยุคใหม่ต้องมีบทบาทในการแนะน�ำ ซึ่งท�ำให้ คนที่เข้ามาได้รับทราบถึงองค์ความรู้หรือสามารถแลกเปลี่ยนความ รู้ระหว่างกันได้ แต่ความจริงแล้วบรรณารักษ์อยู่กับเราตั้งแต่เกิดจน ตาย ขณะเดียวกันบรรณารักษ์ตอ้ งกระตือรือร้นในเรือ่ งแสวงหาความ รู้ และมีการค้นหานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
อนาคต 10 ปีข้างหน้า ทีเคจะเป็นอย่างไร อนาคตมองไว้ว่าเราจะมีพื้นที่ถาวรของเราเอง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ เราไม่ต้องมาเช่าเขาตลอดชีวิต โดยอาจไม่ผูกกับศูนย์การค้า ที่พอ ท�ำต้นแบบของเราได้แล้ว และมีสมาชิกที่เหนียวแน่น ตรงนี้ถ้าเรามี พื้นที่ถาวรของเราได้ก็จะดี แต่ต้องค้นคิดนวัตกรรมและเกิดกระแส ในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น
วันนี้ทีเคมีแรงดึงดูด ขนาดที่ให้คนเข้าไปใช้ ในพื้ นที่ ซึ่ งไม่อยู่ในห้าง แล้วหรือยัง เรายังถือว่าดึงดูดในส่วนหนึ่ง แต่ถ้าถามว่าพอใจไหมถือว่า ยัง เพราะเรายังมองว่าคนของเราต้องได้รับการกระตุ้นให้คิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆ มากกว่านี้ และสามารถสร้างโมเดลใหม่ๆ ขึ้นมา ได้มากกว่านี้ โดยสิ่งส�ำคัญที่สุดของบุคลากรต้องมีจิตอาสา แล้ว ต้องมีความรู้สึกอยากจะท�ำ เพื่อจะสร้างอะไรใหม่ๆ ที่ดึงดูดคนได้
77
อนาคตมองไว้ว่าเราจะมีพื้นที่ถาวรของเราเอง ซึ่ งเป็ นพื้นที่ท่ีเรา ไม่ต้องมาเช่ าเขาตลอดชี วิต โดยอาจไม่ผูกกับศูนย์การค้า ที่พอท�ำ ต้นแบบของเราได้แล้ว และมีสมาชิ กที่เหนียวแน่น ตรงนี้ถ้าเรามีพื้นที่ ถาวรของเราได้ก็จะดี แต่ต้องค้นคิดนวัตกรรมและเกิดกระแสในการ เรียนรู ้มากยิ่งขึ้น
ALL I HAVE LEARNED I LEARNED FROM BOOKS
Abbraham Lincoln -
ศูนย์การเรียนรู ้ปัทมะเสวี ศูนย์ไอซี ทีเทศบาลนครพิษญุโลก อุ ทยานการเรียนรู ้สมุ ทรสาคร (SK park) ศูนย์การเรียนรู ้เมืองฉะเชิ งเทรา ห้องสมุ ดประชาชนเทศบาลนครระยอง อุ ทยานการเรียนรู ้ CUPK Knowledge Park อุ ทยานการเรียนรู ้สตูล อุ ทยานการเรียนรู ้นครหาดใหญ่ อุ ทยานการเรียนรู ้บ้านพรุ อุ ทยานก่ีเรียนรู ้ยะลา
A DECADE OF LEARNING
เครือข่ายอุทยานการเรียนรู:้ ห้องสมุดแห่งการเรียนรูส ้ ่อ ู นาคต
จากความเชื่ อที่ว่า ห้องสมุ ดไม่ใช่ เพียงสถานที่ เก็บหนังสือเท่านั้น จนเกิดเป็ นการ สร้างสรรค์ “อุ ทยานการเรียนรู ้ TK park” ขึ้นมาเมื่อ 10 ปี ท่ีแล้ว เพื่อให้เป็นห้องสมุ ดมีชีวิต ใจกลางมหานคร ที่ช่วยส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู ้และปลูกฝั งนิสัยรักการอ่าน ก่อน จะกลายเป็นต้นแบบห้องสมุ ดมีชีวิตให้กับห้องสมุ ดหลายแห่งทั่วประเทศไทย จนเกิดเป็นเครือ ข่ายความร่วมมือระหว่างอุ ทยานการเรียนรู ้ TK park และห้องสมุ ดต่างๆ ในการสร้างชี วิต ให้กับห้องสมุ ด หรือ “เครือข่ายอุ ทยานการเรียนรู ้” ปั จจุ บันอุ ทยานการเรียนรู ้ TK park มีเครือข่ายห้องสมุ ดมีชีวิตครอบคลุมทุกภูมิภาค ในรู ปแบบของ อุ ทยานการเรียนรู ้ระดับภูมิภาค จังหวัด อ�ำเภอ และต�ำบล รวมทัง้ ห้องสมุ ด ในโรงเรียน ห้องสมุ ดเด็ก และแหล่งเรียนรู ้ใกล้บ้าน ห้องสมุ ดเครือข่ายอุ ทยานการเรียนรู ้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อเปิ ดประตูเข้าไปจะมีกิจกรรมเหมือนที่กรุ งเทพฯ หรือเปล่า เครือข่ายทัง้ 10 แห่งจะเป็นตัวแทนตอบค�ำถามต่อไปนี้
83
ศูนย์การเรียนรูป ้ ัทมะเสวี เรื่อง: ศศิกานต์ เอื้อวิทยาวุ ฒิกุล
ศูนย์การเรียนรูป้ ทั มะเสวี จังหวัดล�ำปางไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา ไม่ใช่องค์กร แสวงผลก�ำไรทางการศึกษา แต่เป็นแหล่งรวมการเรียนรู้ในมิติที่หลากหลาย ในยุคไอที โดยที่มาของการจัดตั้งห้องสมุดชีวิตแห่งนี้เกิดจากทางคณะผู้ก่อตั้ง มูลนิธนิ ิยม ปัทมะเสวี มีความเชื่อมั่นว่าการศึกษาเป็นหัวใจของการสร้างชีวิต จึงมีนโยบายให้การสนับสนุนการศึกษาใน “การสร้างคน” โดยการให้โอกาส ทางด้านการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน เน้นกิจกรรมอันหลากหลาย ด้วยสื่อ สร้างสรรค์ พร้อมปลูกฝังนิสยั รักการอ่าน ส่งเสริมการเรียนรูแ้ ละการท�ำงานร่วม กัน รวมถึงปลูกฝังจิตส�ำนึกในการรับใช้ส่วนรวม ให้รู้จักรักและหวงแหนมรดก ท้องถิ่น เพื่อให้รู้จักการพัฒนาท้องถิ่นควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ นายไพศาล ด่านวิรทุ ยั ผูจ้ ดั การศูนย์การเรียนรูป้ ทั มะเสวี เล่าว่าตลอดระยะ เวลาที่ทางศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวี ได้เริ่มก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบันนี้ สถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งรวมการเรียนรู้ที่ ให้พลังทางปัญญาแก่ชาวล�ำปาง ซึง่ เกิดประโยชน์มากมาย ทัง้ ช่วยสนับสนุนให้ เด็กและเยาวชน ได้รจู้ กั ตนเอง รูจ้ กั คิด ค้นคว้า รูจ้ กั การเรียนรู้ จากกระบวนการ เรียนรู้แบบบูรณาการ โดยเป็นเหมือนการปลูกฝังการเรียนรู้ตลอดชีวิต และยัง ช่วยส่งเสริมการใช้จริยธรรมให้เป็นตัวน�ำในการด�ำเนินชีวิตอีกด้วย
ศูนย์ไอซี ทีเทศบาลนครพิ ษณุโลก เรื่อง: ธิดารัตน์ มู ลลา
ห้องสมุด 5 ชัน้ บนลานเศรษฐกิจชุมชนเทศบาลนครพิษณุโลก เป็นแหล่งการ ศึกษาทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี 2551 แม้ชอื่ “ศูนย์ไอซีทเี ทศบาลเมืองพิษณุโลก” จะท�ำให้ เข้าใจว่าที่นี่เป็นศูนย์อบรมเฉพาะด้านเทคโนโลยี แต่หากลองเปิดประตูเข้าไปดู ภายในจะพบว่าที่นี่คือ “ห้องสมุดมีชีวิต” “เราอยากให้ห้องสมุดเป็นที่ที่สามารถเข้ามาอยู่ได้ทั้งวัน มีทั้งหนังสือ เทคโนโลยี มีอาหารเครื่องดื่ม หรือแม้แต่เป็นที่ฝึกอบรมสร้างความรู้ให้กับเขา” คุณเกศินี ไพรสนธิ์ หัวหน้าฝ่ายการศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก เล่าถึงจุดเริ่ม ต้นของห้องสมุดมีชีวิตแห่งนี้ ว่าเกิดจากการได้เข้าร่วมเครือข่ายห้องสมุดมีชีวิต ของอุทยานการเรียนรู้ TK park โดยเข้าประกวดในโครงการห้องสมุดมีชีวิต TK Park Living Library Award และได้รางวัลรองชนะเลิศกลับมา จากจุดเริ่ม ต้นตอนนั้น ท�ำให้ห้องสมุดแห่งนี้มีชีวิตขึ้นมา จากกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและ ความทันสมัยสอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล
“ที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการหลากหลาย และค่อนข้างได้รับความสนใจจาก เยาวชนชาวล�ำปางอยู่สม�่ำเสมอ ด้วยสถานที่ที่มีบรรยากาศสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย และกิจกรรมต่างๆ ที่สร้างความสุข สนุกสนาน ท�ำให้ผู้ใช้บริการรู้สึก ถึงความเป็นกันเอง นอกจากนั้นผู้ใช้บริการยังเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาศูนย์ การเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเรา”
การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอย่าง อีบุ๊ค (E-book) การสร้างแอนิเมชั่น (Animation) การฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษ เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความ ต้องการของกลุ่มผู้ใช้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชน ที่นอกจากจะใช้พื้นที่ แห่งนีเ้ ป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูลและอ่านหนังสือแล้ว เยาวชนจ�ำนวนมากยังสนใจ กิจกรรมที่ช่วยเสริมความสามารถของพวกเขา โดยกิจกรรมต่างๆ ได้รับความ ร่วมมือจากอุทยานการเรียนรู้ TK Park ในการจัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ เพื่อ ให้มีความพร้อมในการท�ำหน้าที่ส่งต่อความรู้ให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงห้องสมุด อืน่ ๆ ทัง้ ในและจังหวัดใกล้เคียง ซึง่ ปัจจุบนั ศูนย์ไอซีทเี ทศบาลเมืองพิษณุโลก ได้ เป็นต้นแบบห้องสมุดมีชีวิตให้กับห้องสมุดต่างๆ ในภาคเหนือตอนล่างอีกด้วย
ส�ำหรับแผนพัฒนาในอนาคต ผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวี ชี้แจง เป้าหมายให้ฟังว่าอยากให้มีหน่วยงาน องค์กร ต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้กับเด็กและเยาวชน เหมือนกับศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวี ให้มากยิ่งขึ้น พร้อม ทั้งอยากสนับสนุนให้โรงเรียนต่างๆ ได้เข้าใจและสามารถคิดกระบวนการการ เรียนรู้ให้กับเยาวชน โครงการห้องสมุดสัญจร นอกจากนี้ยังมีแผนประสานงาน กับเครือข่าย TK Park ในการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมต่างๆ รวม ถึงการท�ำสื่อ ผลิตนวัตกรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ในระยะยาวต่อไป
ส�ำหรับอนาคตของศูนย์ไอซีทเี ทศบาลเมืองพิษณุโลกนัน้ คุณเกศินเี ล่าว่า ทีน่ ี่ จะเป็นห้องสมุดครบวงจร มีหอ้ งสัมมนา มีกจิ กรรมทีห่ ลากหลายมากขึน้ โดยแผน งานระยะใกล้คอื เพิม่ เติมหนังสือและจัดอบรมทีส่ อดคล้องกับความต้องการของ คนในปัจจุบัน เช่น การจัดอบรมเรื่องอีคอมเมิร์ท (E-commerce) การจ�ำหน่าย สินค้าผ่านเน็ต เพื่อขยายกลุ่มเป้าหมายไปสู่วัยท�ำงาน นอกจากนี้ยังมีการฝึก อบรมภาษาอาเซียน โดยเน้นภาษาจีน และภาษาพม่า เนื่องจากมีความจ�ำเป็น ต่อคนพิษณุโลก โดยเป้าหมายส�ำคัญของห้องสมุดมีชีวิตแห่งนี้ คือการสร้างชีวิตที่ดีให้กับ ชาวพิษณุโลก
84
A DECADE OF LEARNING
อุทยานการเรียนรูส ้ มุทรสาคร ่ (SK park) เรือง: พิมพ์พร คงแก้ว
ศู น ย์ ก ารเรี ย นรู้ เ มื อ งฉะเชิ งเทรา (KCC) เรื่อง: ชมบุ ญ
เมื่ อ ปั จ จุ บั น การเข้ า ถึ ง ความรู ้ นั้ น ง่ า ยขึ้ น ด้ ว ยว่ า เป็ น ยุ ค ของแท็ บ เล็ ต สมาร์ทโฟน อินเตอร์เน็ต จึงเกิดข้อจ�ำกัดในการพัฒนางานห้องสมุด และมันยาก ขึน้ ทีจ่ ะดึงความสนใจของคนในชุมชน แม้วา่ จ�ำนวนของผูใ้ ช้บริการจะมีมากขึน้ เรื่อยๆ แต่ก็ไม่ได้มีเพิ่มอย่างก้าวกระโดด อุทยานการเรียนรู้สมุทรสาคร หรือ SK Park จึงต้องพยายามหากิจกรรมที่น่าสนใจในการชักจูงประชาชนทั่วไปให้เข้า มาใช้บริการสถานที่แห่งนี้
แม้ฉะเชิงเทราจะเป็นจังหวัดขนาดเล็กๆ ในภาคตะวันออก แต่ถือว่าเป็น จังหวัดทีม่ กี ารปรับปรุงและพัฒนาเมืองอยูต่ ลอดเวลา โดยเฉพาะในยุคปัจจุบนั ที่ความทันสมัยจากกรุงเทพฯ ขยายตัวเข้ามาเรื่อยๆ จนแทบเป็นส่วนหนึ่งของ การด�ำรงชีวติ ของผูค้ นทีน่ ไี่ ปแล้ว ทัง้ ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ รวมถึงแหล่ง บันเทิงต่างๆ ในขณะที่พื้นที่ส�ำหรับการท�ำกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างแท้จริงนั้นมี ไม่มากนัก
“ผมมีโอกาสได้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยของ ท่านจาตุรนต์ ฉายแสง ท่านเคยกล่าวไว้ว่า ห้องสมุดจะต้องมีลักษณะที่มีชีวิต ชีวา คือแค่มีชีวิตยังอาจจะไม่ดึงความสนใจนัก ต้องมีชีวาด้วย มันหมายถึงว่า สถานที่แห่งนี้มีความเคลื่อนไหว มีความสดชื่นเมื่อเข้าใช้บริการ และเมื่อท�ำ ห้องสมุดให้มีชีวิตชีวาได้เราก็ถือว่าเป็นจุดที่ประสบความส�ำเร็จ” คุณอุดม ไกรวัตนุสสรณ์ ประธานที่ปรึกษาอุทยานการเรียนรู้สมุทรสาครบอกกับเราขณะ สัมภาษณ์ คุณอุดมยังคงตอบค�ำถามของเราไปเรื่อยๆ เมื่อเราถามถึงความ สัมพันธ์ในฐานะเครือข่ายห้องสมุดของอุทยานการเรียนรูห้ รือ TK Park กรุงเทพฯ “เราได้รับค�ำแนะน�ำจาก TK Park กรุงเทพฯ อย่างสร้างสรรค์ว่าเช่นไรห้องสมุด ของเราจึงจะน่าสนใจส�ำหรับเด็ก เยาวชนและบุคคลทัว่ ไปให้มากทีส่ ดุ ส่วนหนึง่ คือในตัวจังหวัดของเราไม่มีห้องสมุด เมื่อเกิดห้องสมุดแห่งนี้ซึ่งมีความทันสมัย จึงได้รับความสนใจค่อนข้างมากจากผู้ใช้บริการทั้งจากผู้ที่รักการอ่านและผู้ที่ อยากใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ เรา พยายามที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่จะสร้างความรู้ ความสนุกสนาน ให้เด็กๆ และ เยาวชนเพื่อที่เขาจะได้ใช้เวลาในวันหยุดท�ำกิจกรรมสร้างสรรค์กับเรา”
จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง ศูนย์การเรียนรู้เมืองฉะเชิงเทรา (KCC) ซึ่งเกิด จากความร่วมมือระหว่างเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรากับส�ำนักงานอุทยานการ เรียนรู้ ส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) และเพิ่งเปิด ตัวอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2557 ที่ผ่านมา โดยคุณวิโรจน์ ศรีโภคา รองนายกเทศมนตรีเมืองฉะเชิงเทราเล่าว่า เพือ่ มุง่ สร้างบรรยากาศสังคม แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่เด็ก ประชาชนทั่วไป ผู้ด้อยโอกาส และเพื่อเป็น ทางเลือกในการเรียนรู้ของชาวเมืองฉะเชิงเทรา
หนึ่งในองค์ความรู้ที่เกิดในพื้นที่สมุทรสาครที่ถูกผลักดันจนเป็นจุดเด่นของ SK Park คือนิทรรศการและกิจกรรม ‘เส้นทางสายเกลือ’ เนื่องจากสมุทรสาคร ประชาชนยังคงประกอบอาชีพนีอ้ ยูม่ าก ทาง SK Park จึงมองว่าเป็นชุดความรูท้ ี่ น่าจะได้สง่ ต่อและถ่ายทอดออกไป โดยกิจกรรมนีม้ บี างส่วนทีไ่ ด้เชิญผูป้ ระกอบ อาชีพนี้มาบรรยาย และมีเอกสารที่เป็นหนังสือเกี่ยวกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่ง ทาง TK Park ได้เข้ามาช่วยต่อยอด จนท�ำให้เกิดมีข้อมูลที่ได้เผยแพร่ต่อคนต่าง จังหวัดหรือคนนอกพื้นที่ที่มีโอกาสเข้ามาใช้บริการ SK Park ให้ได้รู้จักจังหวัด สมุทรสาครมากยิ่งขึ้น “ในอนาคตเรามีความคิดที่จะท�ำ ‘ห้องสมุด 24 ชั่วโมง’ ตามแนวคิดจากดู งานห้องสมุดประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งจะแบ่งส่วนด้านนอกให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงได้ตลอดเวลา โดยจะเป็นการจัดหนังสือชุดหนึ่งเรียกว่า ‘หนังสือ ไม่กลัวหาย’ วางให้บริการเอาไว้ เป็นจ�ำพวกหนังสือไม่ต้องผ่านระบบยืมคืน หนังสือปลดระวาง หนังสือที่ได้รับการบริจาคมาจากประชาชน เป็นต้น ซึ่งจุดนี้ ใครสนใจอยากจะอ่านก็หยิบไปอ่านได้เลย” ห้องสมุด 24 ชั่วโมงคือนโยบายใน อนาคตทีท่ างอุทยานการเรียนรูส้ มุทรสาครตัง้ ใจอยากให้เกิดขึน้ ซึง่ ถ้าเกิดขึน้ ได้ จริงคงเกิดสังคมการเรียนรู้ตลอดเวลาในเมืองแห่งนาเกลือแห่งนี้แน่นอน
ไฮไลต์ของที่นี่อยู่ที่การออกแบบอันน่าตื่นตาตื่นใจกับรูปทรงอาคารที่มอง ภายนอกเหมือนการเรียงซ้อนกันของหนังสือ 4 เล่ม โดยประตูทางเข้าอาคาร เปรียบเหมือนอุโมงค์ทจี่ ะพาทุกคนเข้าสูโ่ ลกแห่งการเรียนรู้ ด้านในแบ่งเป็นหลาย โซน เช่น บ้านของเรา จัดแสดงเรือ่ งราวทางประวัตศิ าสตร์ของเมืองแปดริว้ ตัง้ แต่ อดีตจนถึงปัจจุบนั ผ่านภาพเคลือ่ นไหวบนจอภาพระบบสัมผัสขนาดใหญ่ จัตรุ สั นัดฝัน พื้นที่เปิดกว้างให้เด็กๆ ได้ทำ� กิจกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ ห้องปล่อยแสง ห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน รวมถึงจัดแสดงงานของคนในท้องถิ่น ห้องสมุด มีชีวิต ที่เปิดกว้างให้นักเรียนรู้ทุกเพศทุกวัยได้เข้ามาค้นคว้ากับหนังสือและสื่อ มัลติมีเดียหลากหลายที่รวมไว้ในที่เดียว นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดดนตรี ที่เด่นไม่แพ้กรุงเทพฯ เพราะรวบรวมหนังสือ เกี่ยวกับดนตรีจากทั่วทุกมุมโลก และมีเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ ให้เล่นได้จริงเพื่อ พัฒนาทักษะทางดนตรีให้มากขึ้น รวมถึงโรงละครเคซีซี (KCC Theater) โรง ละครส�ำหรับฉายภาพยนตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ ด้วยระบบแสง สี เสียง อัน ทันสมัย อีกทั้งยังเป็นเวทีแสดงผลงานด้านศิลปะของคนรุ่นใหม่ แม้วา่ จะเปิดตัวได้ไม่นาน แต่ตอ้ งยอมรับว่าศูนย์การเรียนรูเ้ มืองฉะเชิงเทรา (KCC) ก่อให้เกิดความเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในเมืองเล็ก วัดจากจ�ำนวนของผูท้ ี่ สนใจเข้ามาใช้บริการและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ห้องสมุดจัดขึ้น ซึ่งตรงกับจุด มุง่ หมายของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราซึง่ ให้ความส�ำคัญด้านการพัฒนาคนและ สังคมที่มีคุณภาพ และพยายามส่งเสริมให้ทุกคนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด ส่งผลให้เมืองมีความเข้มแข็ง และพัฒนาไปสู่สังคมแห่งการ เรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป
85
ห้องสมุดประชาชน เทศบาลนครระยอง
เรื่อง: ธิดารัตน์ มู ลลา
อุทยานการเรียนรู้ CUPK Knowledge Park
เรื่อง: ชมบุ ญ
นอกจากความสวยงามของแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดระยอง ห้องสมุด ประชาชนเทศบาลระยอง เป็นสิ่งที่ชาวระยองภาคภูมิใจ เพราะเป็นแหล่งเรียน รู้ส�ำคัญของคนในจังหวัดที่มีรางวัลการันตีมากมาย หากย้อนกลับไปดูความ ส�ำเร็จเหล่านั้น จะพบว่ามาจากการท�ำให้ห้องสมุดแห่งนี้มีชีวิต
ในวันที่เมืองไข่มุกแห่งอันดามันก�ำลังดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก ให้มาสัมผัสผืนทะเลสีเขียวมรกตจนท�ำให้เมืองภูเก็ตเติบโตรวดเร็วอย่างฉุดไม่ อยู่ แต่ยงั มีหน่วยงานทีเ่ ล็งเห็นความส�ำคัญของการพัฒนาเมืองอย่างยัง่ ยืนผ่าน การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน
การใส่ชวี ติ ให้หอ้ งสมุดเกิดขึน้ เมือ่ เทศบาลระยองมีความตัง้ ใจว่าจะปรับปรุง ห้องสมุดที่มีความทันสมัย เป็นพื้นที่ที่ไม่ใช่เพียงแค่ห้องเก็บหนังสือที่มีแต่ ความเงียบงัน น�ำไปสู่ความร่วมมือกับอุทยานการเรียนรู้ TK park ในการเป็น เครือข่ายห้องสมุดมีชวี ติ และได้เรียนรูก้ ารท�ำให้หอ้ งสมุดมีชวี ติ ก่อนน�ำไปพัฒนา ทั้งบุคลากรและสถานที่ ท�ำให้ห้องสมุดประชาชนเทศบาลระยอง มีผู้ใช้บริการ มากขึ้น โดยมีรางวัลรองชนะเลิศ และสุดยอดบรรณารักษ์ดีเด่นแห่งปี จากการ ประกวดห้องสมุดมีชีวิต ระดับประเทศ (TK park Living Library Award 2006) เป็นสิ่งยืนยัน
อุทยานการเรียนรู้ CU Phuket Knowledge park หรือ CUPK Park เกิด ขึ้นจากความร่วมมือระหว่างส�ำนักงานอุทยานการเรียนรู้ ส�ำนักงานบริหารและ พัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) กับสหกรณ์เครดิตยูเนีย่ นเคหะรัษฎาภูเก็ต จ�ำกัด โดยคุณภาวัต ศุภสุวรรณ ประธานกรรมการด�ำเนินการสหกรณ์เครดิตยู เนี่ยนเคหะรัษฎาภูเก็ต จ�ำกัด เล่าว่า การจะท�ำให้บ้านเรากลายเป็นสังคมแห่ง การเรียนรู้ได้นั้นต้องปลูกฝังนิสัยผู้คนให้รู้จักรักการอ่าน CUPK Park จึงเป็น พื้นที่ส�ำหรับเด็กๆ ในการเรียนรู้เพื่อค้นหาและพัฒนาตัวเอง โดยส่งเสริมให้มี การใช้เทคโนโลยีอันทันสมัยให้เกิดสิ่งเป็นประโยชน์ เน้นการเรียนรู้และการท�ำ กิจกรรมเพือ่ ค้นหาความชอบและความถนัด อีกทัง้ ยังใช้เป็นสถานทีแ่ หล่งพบปะ ของเยาวชนแห่งใหม่ที่ทันสมัยและสร้างสรรค์อีกด้วย
ภายในห้องสมุดประชาชนเทศบาลระยอง แบ่งพื้นที่ออกเป็นโซนต่างๆ เช่น ห้องสมุดเงียบกริบ ห้องสมุดไอทีมีชีวิต มุมสบายที่ดึงดูดผู้ใช้บริการมาก ที่สุด เพราะสามารถเอกเขนกอ่านหนังสือได้เหมือนอยู่ที่บ้าน และสิ่งที่ดึงดูด ให้ประชาชนเข้ามาได้มากคือ กิจกรรม โดยห้องสมุดจะจัดกิจกรรมต่างๆ อย่าง ต่อเนื่อง อย่าง Play and Learn เพลินวันอาทิตย์ กิจกรรม Kid’s Can Do ที่ส่ง เสริมให้เด็กๆ รักการอ่าน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากความต้องการของผู้ ใช้บริการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชนและกลุ่มครอบครัว การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากห้องสมุดแห่งนี้มีชีวิต คือมี คนมาใช้ห้องสมุดมากขึ้น และการที่บรรณารักษ์ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอง หลังจากทีเ่ จ้าหน้าทีข่ องอุทยานการเรียนรูเ้ ข้ามาอบรม ท�ำให้เกิดโครงการอบรม ดีๆ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการห้องสมุด ในอนาคต ห้องสมุดประชาชนเทศบาลระยองได้มีการวางแผนที่จะเพิ่ม พื้นที่ห้องสมุดไอที เพื่อให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล และจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เหมาะกับทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ และที่ส�ำคัญคือต้องตรงกับความต้องการของ คนในชุมชน เพื่อให้ห้องสมุดประชาชนเทศบาลระยองเป็นห้องสมุดที่รักของพี่ น้องชาวระยอง
86
ปัจจุบันอุทยานการเรียนรู้ CUPK Park ตั้งอยู่บนชั้น 2 และชั้น 3 ของ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเคหะรัษฎาภูเก็ต จ�ำกัด มีรูปแบบการใช้งานใกล้เคียงกับ อุทยานการเรียนรู้ TK park โดยใช้กระจกใสเป็นผนังให้ผู้คนภายนอกได้เห็น ความเคลื่อนไหวของอุทยานฯ ได้อย่างชัดเจน ด้านในแบ่งเป็นโซนต่างๆ เช่น โซนส�ำหรับเด็ก โซนเงียบ โซนภูเก็ต นอกจากนี้ยังมีโซนอาหาร และโซนฉาย ภาพยนตร์ มีทั้งพื้นที่ส�ำหรับจัดกิจกรรมเฉพาะและพื้นที่เอนกประสงค์ซึ่งใช้ เฟอร์นิเจอร์ที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบและเคลื่อนย้ายง่าย โดยค�ำนึงถึงผู้ใช้บริการ เป็นหลัก นอกจากนีย้ งั มีการจัดมุม “สุดยอดหนังสือแห่งปี” ซึ่งรวบรวมหนังสือทีย่ อด ขายระดับ Best Seller จากส�ำนักพิมพ์ชอื่ ดังมาไว้ทนี่ ี่ รวมถึงกิจกรรมพิเศษ อาทิ กิจกรรมพิพธิ อาเซียนสัญจร ทีใ่ ห้นอ้ งๆ ได้เข้าร่วมเล่นเกมตามฐานต่างๆ ซึง่ แฝง ไว้ด้วยความรู้เกี่ยวกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ถือเป็นการสร้างมิติ ใหม่ในการเรียนรู้ภายในชุมชนได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าในอนาคตอันใกล้นี้ เราจะได้เห็นกิจกรรมดีๆ จาก CUPK Park อีกหลายกิจกรรม เพื่อตอกย�้ำว่าภูเก็ตคือเมืองแห่งการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ แห่งส�ำคัญในแถบอันดามัน
A DECADE OF LEARNING
อุทยานการเรียนรู้ เทศบาลเมืองสตูล ด้วยความทีจ่ งั หวัดสตูลเป็นเมืองทีม่ งุ่ เน้นให้ความส�ำคัญของการศึกษา จึง ท�ำให้เกิดอุทยานการเรียนรู้ เทศบาลเมืองสตูล ขึน้ จากแนวคิดของหน่วยงานส่วน ท้องถิ่น ผสานความร่วมมือกับส�ำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (TK park) กรุงเทพฯ โดยมีจดุ มุง่ หมาย เพือ่ การพัฒนาแหล่งเรียนรูใ้ นพืน้ ทีใ่ ห้มศี กั ยภาพ และส่งเสริม พัฒนาการศึกษาให้แก่เยาวชนได้มีความรู้ความสามารถ มีโลกทัศน์ที่ก้าวไกล เพื่อร่วมเป็นพลังในการผลักดันให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผอ. ชุติมา เดชดี ผู้อ�ำนวยการกองการศึกษาเทศบาลเมืองสตูล เล่าถึง คอนเซ็ปต์ของห้องสมุดอุทยานการเรียนรู้ TK park เทศบาลเมืองสตูลว่าเป็น ‘ห้องสมุดมีชีวิต’ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่บริการ 7 โซนด้วยกัน ได้แก่ โซนที่ 1 ประชาสัมพันธ์และจุดนัดพบ ทีม่ บี รรยากาศผ่อนคลายและทันสมัย ให้บริการทัง้ สือ่ หนังสือและมัลติมเี ดีย โซนที่ 2 Relaxation โซนส�ำหรับอ่านหนังสือ นิตยสาร วารสาร โซนที่ 3 ให้บริการส�ำหรับผู้พิการทางสายตา โดยมีทั้งหนังสือและสื่อ มัลติมเี ดีย รวมทัง้ มีหอ้ งส�ำหรับอัดเสียงเพือ่ บันทึกหนังสือเสียงให้แก่คนตาบอด โซนที่ 4 Kid station โซนที่ 5 คือพื้นที่การเรียนรู้เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ใน ชีวิตประจ�ำวัน โซนที่ 6 ห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ เพื่อการค้นคว้าและการเรียน รู้ที่หลากหลาย และโซนที่ 7 ห้องมัลติมีเดียส�ำหรับการฉายภาพยนตร์ ที่พร้อม ปรับเปลี่ยนเพื่อใช้ในการประชุมสัมมนา
เรื่อง: ศศิกานต์ เอื้อวิทยาวุ ฒิกุล
ผอ. ชุติมา เสนอมุมมองปิดท้ายถึงภาพในการพัฒนาห้องสมุดมีชีวิต เพิ่มเติมว่า “บรรยากาศของห้องสมุดในปัจจุบันจ� ำเป็นต้องมีการพัฒนาให้ ก้าวหน้า โดยการผสมผสานกับความมีชีวิตชีวา สร้างบรรยากาศแห่งการอ่าน มิใช่เป็นเพียงห้องสมุดที่เก็บรวบรวมหนังสือไว้บริการการเพียงอย่างเดียว และ บรรณารักษ์จะต้องเปลี่ยนจากบรรณารักษ์ธรรมดา ให้มาสู่การเป็นผู้จัดการ ความรู้ ขยับขยายจากการเป็นแค่ห้องสมุดสู่การเป็นศูนย์ความรู้หรือ Knowledge Center ในอนาคต มีความเชี่ยวชาญในการจัดการการสร้างองค์ความรู้ และความเชีย่ วชาญทีเ่ พิม่ ขึน้ ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนัน้ บรรณารักษ์ ทุกคน ควร ร่วมแรง ร่วมใจ ท�ำให้หอ้ งสมุดสามารถไปถึงภาพอนาคตนีไ้ ด้ สังคม ไทยจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามหลักการและเจตนารมณ์ของพระราช บัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542”
“ตั้งแต่เปิดอุทยาการเรียนรู้มา เรามีการพัฒนาองค์ความรู้ ในการสร้าง ต้นแบบ ให้บริการแหล่งเรียนรู้ เน้นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและแสวงหา ความรู้ในบรรยากาศการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัย เพื่อกระจายโอกาส การเข้าถึงข้อมูลให้กับเยาวชนในท้องถิ่น โดยกลุ่มเป้าหมายคือประชาชนใน จังหวัด และจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนั้นได้เล็งเห็นถึงความเสมอภาคในการ รับบริการทีร่ วดเร็ว จึงได้น�ำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาเกีย่ วข้องในการด�ำเนิน งานของห้องสมุด ทัง้ ในด้านกระบวนการท�ำงาน และด้านการบริการผูใ้ ช้ มีระบบ โปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการงานด้านต่าง ๆ ของห้องสมุด การจัดเก็บ การ ค้นหา และการเผยแพร่ผา่ นระบบเครือข่ายมีการให้บริการข้อมูลในลักษณะการ ใช้ข้อมูลร่วมกัน ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดอ่านข้อมูลพร้อมๆ กัน ได้ในเวลาเดียวกัน ต่างสถานที่กัน โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต” ส�ำหรับแผนในอนาคตของอุทยานการเรียนรู้ เทศบาลเมืองสตูล พร้อมที่จะ มุ่งเน้นในเรื่องการกระจายการเรียนรู้สู่ชุมชนให้ได้มากขึ้น โดยค�ำนึงถึงความ สะดวก และความเชีย่ วชาญในการจัดการแหล่งวิทยาการต่างๆ อย่างเป็นระบบ มีคุณภาพ และอยากให้มีศูนย์กลางที่จัดท�ำสารบบ (Directory) ของ Home page ของห้องสมุดทุกแห่งที่อยู่ในเครือข่ายไว้ในที่เดียวกัน โดยมิได้ เน้น “การ เป็นเจ้าของ (Ownership)” หากแต่เป็น “การแบ่งปันทรัพยากร” (Resource sharing) รวมไปถึงการมีเครือข่ายความร่วมมือระดับ ASEAN
87
อุทยานการเรียนรูน ้ ครหาดใหญ่ เรื่อง: พิมพ์พร คงแก้ว
เดิมทีในตัวเมืองหาดใหญ่มีห้องสมุดกระจายตัวอยู่หลายแห่งด้วยกัน คือ ห้องสมุดประชาชน, ห้องสมุด ICT ทีจ่ ะมีเนือ้ หาบางส่วนเกีย่ วโยงกับสิง่ แวดล้อม, ห้องสมุดที่รวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น, พิพิธภัณฑ์ดาราศาสตร์ และหอศิลป์ จน วันหนึง่ ทีมงานจากเทศบาลนครหาดใหญ่ได้มโี อกาสศึกษางานจากทางอุทยาน การเรียนรู้ TK park กรุงเทพฯ แล้วจึงน�ำบางแนวคิดมาปรับใช้ในการพัฒนาห้อง สมุดที่มีอยู่ให้มีความทันสมัยมากขึ้น ประกอบกับเป็นเวลาที่ชาวบ้านส่งเสียง เรียกร้องกระหายหาห้องสมุดที่มีชีวิตชีวาและมีความสร้างสรรค์ “ห้องสมุดแห่งหนึ่งจะมีชีวิตชีวาได้ไม่ใช่แค่เพราะโครงสร้างที่สวยงาม แต่ บุคลากรเป็นส่วนส�ำคัญที่จะท�ำให้เกิดบรรยากาศที่ดีได้ การที่บุคลากรตื่นจาก การท�ำงานแบบเดิมๆ ผมมองว่านีค่ อื นิมติ รหมายทีด่ ใี นอนาคตของห้องสมุด มัน โชคดีที่ทาง TK park กรุงเทพฯ ได้มีการจัดให้ได้มีโอกาสพบปะเพื่อแลกเปลี่ยน ทัศนคติในการท�ำงาน งานเชิงนโยบายทีว่ า่ จะสร้างห้องสมุดมีชวี ติ มันจะเกิดขึน้ อย่างจริงจังก็ดว้ ยพลังการท�ำงานของบุคลากรทีเ่ ป็นบรรณารักษ์ การทีเ่ ราได้จดั ส่งให้ได้ไปพบปะกับห้องสมุดในสถานทีอ่ นื่ เป็นการเติมไฟในพลังการท�ำงานให้ กับเขา ซึ่งจะส่งผลต่อการจัดท�ำกิจกรรมต่างๆ ที่จะออกมาจากหัวใจของเขา ที่ ต้องการจะบริการความรูแ้ ละความคิดให้กบั ผูใ้ ช้บริการ” คือประโยคหนึง่ ในการ สนทนากับ ‘คุณพฤกษ์ พัฒโน’ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครหาดใหญ่ หลายครัง้ ทีน่ โยบายทางการเรียนรูม้ กั จะมุง่ มัน่ พัฒนาองค์ความรูเ้ พือ่ สร้าง เด็กและเยาวชน แต่ในความเป็นจริงเราจะลืมไม่ได้เลยคือพร้อมๆ กันนั้นเรา สามารถที่พัฒนาความรู้ให้ผู้คนทุกช่วงวัยในสังคม เพราะการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิตและTK park เทศบาลนครหาดใหญ่ไม่หลงลืมหลักใหญ่ ใจความนี้ ทัง้ ยังคงหาทางพัฒนารูปแบบการน�ำเสนอของห้องสมุดอยูเ่ สมอ เพือ่ เป็นช่องทางในการจุดประกายเรือ่ งการกระหายอยากเรียนรูใ้ ห้กบั ประชาชนผ่าน ทาง กิจกรรมที่เกิดในห้องสมุด ที่จะต้องมีความหลากหลายมากขึ้นเพื่อรองรับ เหตุการณ์ที่เปลี่ยนไปอย่างทันสถานการณ์ ตรงตามความต้องการและความ ชื่นชอบของผู้ใช้บริการ ให้สมกับความเป็น ‘ห้องสมุดที่มีชีวิต’ “เราพยายามจะสร้างแหล่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยความรู้ กิจกรรม และนันทนาการ ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากจะให้สถานที่แห่งนี้อยู่ในสวน สาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ เนื่องจากจะมีผู้คนเข้ามาใช้บริการทั้งด้าน ออกก�ำลังกาย การพักผ่อนท่องเที่ยว ที่เราจะมีความหลากหลายทั้งหอดูดาว พิพิธภัณฑ์เด็ก กระเช้าลอยฟ้า และถ้าเราสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้ที่นั่นได้ เรา ก็มนั่ ใจว่าจะเป็นการกระจายความรูเ้ ข้าสูส่ งั คม พร้อมทัง้ ดึงดูดความสนใจให้แก่ ประชาชนในการเข้าใช้บริการได้มากขึ้นกว่าเดิม” สิ้นค�ำตอบนี้ท�ำให้เรายินดีกับชาวหาดใหญ่ด้วยใจจริง ที่ผู้บริหารท้องถิ่น เต็มไปด้วยพลังในการพัฒนาองค์ความรู้ ไม่ใช่เพียงอดีตหรือปัจจุบัน แต่ยังมี นโยบายต่อไปถึงอนาคตด้วย
88
อุทยานการเรียนรูบ ้ ้านพรุ เรื่อง: พิมพ์พร คงแก้ว
เราก�ำลังจินตนาการถึงภาพอาคาร 3 ชั้น ซึ่งเดิมท�ำหน้าที่เป็นส�ำนักงาน เทศบาลเมืองบ้านพรุ ด้วยงบประมาณ 28 ล้านบาท ก�ำลังจะเนรมิตตึกหลัง เก่าแห่งนี้ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เทศบาลเมืองบ้านพรุ (TK park บ้านพรุ) โดย ชัน้ 1 ประกอบด้วย ลานสานฝัน ลานนิทรรศการ ห้องสมุดเสียง ห้องอ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ (e-book) โซนเด็ก (kid station) มุมพักผ่อน สวนอ่านหนังสือ และ มุมกาแฟ ส่วนชั้น 2 ประกอบด้วย ห้องสมุดทั่วไป ห้องสมุดเยาวชน ห้องสมุด เงียบ และชั้น 3 เป็นมินิเธียเตอร์ ความจุ 40 ที่นั่ง คุณวรวัฒน์ ชีวะอิสระกุล นายกเทศมนตรีเมืองบ้านพรุเล่าให้เราฟังด้วยเสียง กระตือรือร้นว่าการด�ำเนินการ TK park บ้านพรุอยู่ในช่วงตัวโครงสร้างจะเสร็จ ในปลายปี 2557 นี้ หลังจากจะเป็นช่วงของการตกแต่งภายใน ระหว่างนี้จึงเป็น ช่วงเตรียมบุคลากรและสื่อต่างๆ คู่ขนานไปด้วย รวมถึงระบบต่างๆ ทั้งพวกการ ลงทะเบียนสมาชิก ระบบยืมคืนหนังสือ เพื่อที่จะสามารถเปิดบริการอย่าง Soft Opening ได้ในเดือนมิถุนายน 2558 และช่วงกรกฎาคมปีเดียวกันก็จะสามารถ Grand Opening ได้อย่างเต็มระบบ “จุดมุ่งหมายคือเพื่อเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนในเขตเทศบาล เมืองบ้านพรุและท้องถิ่นใกล้เคียง เราต้องการให้สถานที่แห่งนี้เป็นอุทยานการ เรียนรู้ เป็นห้องสมุดที่มีชีวิตคือไม่ใช่ห้องสมุดที่ดูอึมครึมมืดๆ ที่เข้าไปแล้วห้าม ส่งเสียงดัง แต่เป็นแหล่งที่รวบรวมสื่อความรู้ทุกแขนงไม่ว่าจะเป็นหนังสือ สื่อ มัลติมีเดีย หรืออื่นๆ ที่เราจะสร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้ประชาชน ที่ส�ำคัญที่สุดคือเราพยายามทจะจัดกิจกรรมตลอดทั้งปี เพื่อตอบสนองให้คน ทุกช่วงวัยสามารถเข้ามาใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็นวัยเด็ก วัย ท�ำงาน และวัยหลังเกษียณ” นายกเทศมนตรีเมืองบ้านพรุกล่าวขึน้ เมืองเราถาม ถึงวัตุประสงค์ที่จัดสร้างสถานที่แห่งนี้ ทีน่ เี่ ป็นหนึง่ ในแผนงานส�ำคัญด้านการศึกษาเนือ่ งจากเทศบาลบ้านพรุไม่มี โรงเรียนเทศบาล จึงสามารถทุ่มเททั้งก�ำลังกาย ก�ำลังความคิด รวมไปถึงก�ำลัง งบประมาณลงมาที่ TK park แห่งนีไ้ ด้อย่างเต็มที่ โดยไม่ได้มองแค่ประชาชนใน พืน้ ทีเ่ ทศบาลเท่านัน้ แต่ยงั ปรารถนาให้ประโยชน์จากอุทยานการเรียนรูแ้ ห่งนีม้ นั กระจายไปถึงพืน้ ทีข่ า้ งเคียงด้วยเพือ่ เป็นทางทีเ่ ราจะได้ใช้ทรัพยากรของประเทศ ได้อย่างคุ้มค่าด้วย ความดีงามอย่างหนึ่งที่ก�ำลังจะเกิดขึ้นภายในสถานที่แห่งนี้ คือวิสัยทัศน์ที่ จะถ่ายทอดความเป็นมาและส�ำนึกรักบ้านเกิดให้ประชาชนผ่านการจัดกิจกรรม หรือนิทรรศการ “เราอยากที่จะเล่าเรื่อง ‘บ้านพรุ’ ให้ประชาชนได้เรียนรู้ให้มาก ขึ้น เพราะเรามีจุดเด่นในเรื่องของการพัฒนาท้องถิ่น จนเรียกได้ว่าเป็นท้องถิ่น แนวหน้าของจังหวัดสงขลา โดยบ้านพรุมีการจัดตั้งสุขาภิบาลมายาวนานแล้ว ตั้งแต่ปี 2515 และบรรยากาศการอยู่ร่วมกันในสังคมของเราก็เป็นไปอย่างราบ รื่น ดูแลกันแบบพี่น้อง ไม่มีเหตุรุนแรงใดๆ หลังจากการเลือกตั้งเสร็จแล้วก็ต่าง ช่วยกันพัฒนาบ้านเมือง เราจึงมองว่าส่วนนี้เป็นจุดเด่นที่เราอยากจะถ่ายทอด ผ่านทางอุทยานการเรียนรู้แห่งนี้ด้วย” คุณวรวัฒน์บอกเราก่อนจบการสนทนา
A DECADE OF LEARNING
อุทยานการเรียนรูย ้ ะลา เรื่อง: ธิดารัตน์ มู ลลา
แม้หลายปีทมี่ า ภาพความไม่สงบทีเ่ กิดขึน้ ในจังหวัดยะลา อาจท�ำให้เรามอง ข้ามด้านอืน่ ๆ ทีด่ งี ามไป อย่างเช่นการพัฒนาด้านการศึกษาของชาวยะลาดังเช่น การมี “อุทยานการเรียนรูย้ ะลา” ซึง่ เป็นหนึง่ ในหน่วยงานทีท่ ำ� ให้ภาพลักษณ์ของ ยะลากลายเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ คุณวัชรี ถ้วนถวิล ผู้จัดการอุทยานการเรียนรู้ยะลา เล่าถึงที่มาของแนวคิด ห้องสมุดมีชีวิตว่า “ท�ำอย่างไรให้ห้องสมุดมีความเคลื่อนไหว ไม่เป็นแค่ที่เก็บหนังสือ จนกระทั่งได้ มาพบกับส�ำนักอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) ทีห่ าพันธมิตรเครือข่ายส่วนภูมภิ าค ซึง่ รูปแบบห้องสมุดมีชวี ติ ตรงกับความต้องการของเรา เลยเกิดเป็นความร่วมมือขึน้ ” นับตัง้ แต่นนั้ มาทางอุทยานการเรียนรู้ TK park ได้สง่ เจ้าหน้าทีม่ าเป็นพีเ่ ลีย้ ง ในการท�ำให้ห้องสมุดมีชีวิต การท�ำฐานข้อมูล การจัดกิจกรรม โดยทางอุทยาน การเรียนรูย้ ะลาจะเป็นฝ่ายคิดสร้างสรรค์ขนึ้ มาก่อน เพือ่ ให้ตรงกับความต้องการ ของคนในพื้นที่มากที่สุด ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนหลังจากให้ชีวิตกับห้องสมุดแห่งนี้ คือ ความทันสมัย และบรรยากาศที่ท�ำให้เกิดความรู้สึกน่าเข้าใช้บริการ ซึ่งเป็น รูปแบบใกล้เคียงกับอุทยานการเรียนรู้ TK park ที่กรุงเทพฯ คือการจัดแบ่งพื้นที่ ให้มีหลากหลายโซน เช่น ห้องสมุดมีชีวิต ห้องเด็ก ลานสานฝัน ห้องมินิเธียเตอร์ และมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรูท้ ตี่ รงกับความต้องการของผูใ้ ช้บริการ ซึง่ ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชน และกลุม่ ครอบครัว เช่น กิจกรรมศิลปะในห้องสมุดเด็ก การจัดค่ายวิทยาศาสตร์ กิจกรรมที่เหมาะสมกับคนในพื้นที่ อย่างการประกวด หนูน้อยรายอ การแข่งขันอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านรวมถึงการจัดอบรมที่สอดคล้อง กับยุคสมัย เช่น การอบรม Creative Design การสร้างแอนิเมชั่น นับตั้งแต่ต้นปี 2550 ที่อุทยานการเรียนรู้ยะลาได้สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้กับคนในจังหวัดยะลาและจังหวัดชายแดนตอนใต้ เสียงตอบรับที่ดีจากผู้ใช้ บริการคือแรงผลักดันอย่างดีทชี่ ว่ ยให้หอ้ งสมุดแห่งนีย้ งั คงมีชวี ติ เพือ่ สร้างชีวติ ให้ กับคนในท้องถิน่ โดยในอนาคตได้มกี ารวางแผนให้อทุ ยานการเรียนรูย้ ะลา เป็น เครือข่าย Mini TK ในโรงเรียนต่างๆ ทั้งในยะลา ปัตตานี นราธิวาส ซึ่งจะกลาย เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกัน และจะปรับปรุงให้ระบบห้องสมุดมีความสะดวก ขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถยืมหรือคืนหนังสือข้ามเครือข่ายได้ เป็นการกระจาย โอกาสและสร้างการเรียนรู้ให้กับจังหวัดชายแดนใต้ให้ได้มากที่สุด ทัง้ นี้ ก็เพือ่ ให้ภาพแรกทีป่ รากฏในความคิดเมือ่ พูดถึงจังหวัดยะลาคือ “เมือง แห่งการเรียนรู้” นั่นเอง
89
ส�ำหรับอุ ทยานการเรียนรู้ TK park ที่ได้ท�ำหน้าที่เป็นแหล่งการเรียนรู้ ในแง่ต่างๆ ให้กับผู ้มาใช้บริการ ส�ำหรับในปี ที่ 11 ที่ก�ำลังจะมาถึงนี้เรา จึงอยากฟั งเสียงจากสมาชิ ก TK park ว่าพวกเขาคาดหวังที่จะเห็น อะไรใหม่ๆ หรืออยากให้มอี ะไรใหม่เกิดขึน้ ในอุ ทยานการเรียนรู้ TK park
ธำ�รงค์ พั นธุ์สุระ (ตั้ม) อายุ 37 ปี อาชี พ วิศวกร อยากให้มอี พั เดทหนังสือใหม่ๆ เรือ่ ยๆ เพราะคนส่วนใหญ่เข้า มาเพราะหนังสือใหม่ และอยากให้มีเกม Computer ใหม่ๆ เสริมทักษะสำ�หรับเด็ก
ธิติยา จารุไพบูลย์พันธ์ (แพรว) อายุ 17 ปี อาชี พ นักเรียน อยากให้มโี ซนหนังสือแบบฝึกหัด แนวข้อสอบ เพิม่ ขึน้ เพราะ หนังสือประเภทนีเ้ ป็นทีต่ อ้ งการของเด็กๆ ทีก่ ำ�ลังเตรียมสอบ ค่อนข้างขาดแคลน
นฤมล แซ่ เล้า (ตุ้น) อายุ 62ปี อาชี พ แม่บ้าน อยากให้มโี ซนฝากเด็ก สำ�หรับพ่อแม่ทมี่ าหาหนังสืออ่านแล้ว ค่อยไปรับทีหลัง
ชนิกานต์ เรืองโชติ (ออม) อายุ 17ปี อาชี พ นักเรียน อยากให้มีที่นั่งมากขึ้น มีโซฟากว้างๆ ที่นั่งสบายๆ เหมือน อยู่บ้าน
นพรุจ สดใส (บอย) อายุ 32ปี อาชี พ ธุรกิจส่ วนตัว อยากให้มี Playground ของเด็กเล็กๆ ทีย่ งั อ่านหนังสือไม่ได้ เด็ก ที่ยังเล็กกว่า 4-5 ขวบ
กชพร รีสุขสาม (น้องนาย) อายุ 10ปี อาชี พ นักเรียน อยากให้มีของเล่นเยอะๆ เช่น ชุดทำ�อาหาร ตุ๊กตา ปั้นดินน้ำ�มัน เพราะของเล่นมันหายไป อยากให้มีเกมใน computer เยอะๆ แล้วก็ให้โซนเด็กกว้างขึ้น
กวินทิพย์ โชติพิเชฐกุล (เทียนหอม) อายุ 7 ปี อาชี พ นักเรียน อยากได้หนังสือเยอะๆ กว่านี้ หนังสือภาษาอังกฤษสำ�หรับเด็ก และหนังสือนิทาน
A DECADE OF LEARNING
น้องใบเตย อายุ 5 ปี อยากให้มตี น้ ไม้ปลอมเยอะๆ จะได้ดเู ป็นธรรมชาติ มีตน้ ไม้ มาตั้งในโซนเด็ก มีส้มอยู่บนต้นไม้ มีงูปลอมที่เหยียบแล้ว ลื่นๆ แล้วก็มีรถแข่งขับเร็วๆ บรื้นๆ กับรถไฟ
สไบทิพย์ ตั้วเจริญ (บี๋) อายุ 21 ปี อาชี พ นักศึ กษา อยากให้เปิดทุกวัน อยากให้ปิดช้ากว่านี้ อยากให้มีสาขา อื่นๆ ในกรุงเทพฯ เพิ่ม แล้วก็อยากให้มีที่นั่งเพิ่มอีก
กรานต์ วิกรานตโนรส (การ) อายุ 37 ปี อาชี พ ธุรกิจส่ วนตัว จริงๆ ที่เป็นอยู่ก็ดีอยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มก็น่าจะมีโซนของเด็ก เพิ่มขึ้น เช่น ห้องที่มี TV เปิดสารคดีสำ�หรับเด็ก หรือโซน ของเล่น
กษิดิ์เดช เหมพรหมราช (จิ้ว) อายุ 28 ปี อาชี พ ศิ ลปิน อยากให้ อั พ เดทหนั ง สื อ มากขึ้ นโดยเฉพาะโซนวรรณกรรม อยากให้เพิ่มโซนศิลปะ และมีเวิร์คชอปศิลปะต่างๆ
ประสิ ทธิ์ ทรัพย์เทศารักษ์ อายุ 65 ปี อาชี พ อาสาสมัคร อยากให้ มีโ ซนของหนั ง สื อ พิ มพ์ โ ดยเฉพาะ มี ห นั ง สื อ พิ ม พ์ หลายหัวมากขึ้นโดยเฉพาะต่างประเทศ อยากให้ลดค่าปรับ หนังสือลง
ธนกร สุวรรณรมย์ (เก้า) อายุ 21 ปี อาชี พ นักศึ กษา อยากให้ขยายเวลาปิดตามห้าง เพราะเมืองนอกห้องสมุด จะเปิดตลอดเลย
สุภิญญา ธนะธีรวัฒน์ (เอ๋) อายุ 27 ปี อาชี พอิสระ อยากให้มีหนังสือและนิตยสารต่างประเทศพวกเกาหลี ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น อยากให้มีที่นั่งเพิ่มขึ้นลดโซน computer ลง อยากให้มีกิจกรรมอบรมฟรีในด้านต่างๆ เช่น computer, ภาษาต่างประเทศ และกิจกรรมเล่นเกมแจกของรางวัล
กรทิพย์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา (ต๋อย) อายุ 64 ปี อาชีพ ข้าราชการบำ�นาญ จริงๆ TK park เป็นห้องสมุดที่ดี เป็นแหล่งของความรู้ ถ้าจะ ให้มอี ะไรเพิม่ เติมก็คงอยากให้ปรับเรือ่ งมุมแนะนำ�หนังสือ การ ให้ผู้อ่านได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือทำ�ได้ง่ายขึ้น
ในชี วิตนี้ มีหนังสื อเล่มไหน ที่เป็นจุ ดเปลี่ยน ให้กับชี วิตคุณ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ลองเล่าให้เราฟังหน่อย
A DECADE OF LEARNING
เป็นหนังสือเกี่ยวกับ เครื่องยนต์ กลไก ที่ เ ป็ น แรงบั น ดาลใจให้ ศึกษาต่อทางด้านวิศวกรรม ชาญยุทธ อังสโวทัย, อายุ 42 ปี ธุ รกิจส่วนตัว ห นั ง สื อ นิ ท า น เ รื่ อ ง เ ม า ค ลี ลูกหมาป่ า เป็นหนังสือเล่มแรกๆ เลยค่ะที่คุณแม่สอนอ่าน ท�ำให้ เป็ น คนชอบอ่ า นหนั ง สื อ ชอบ หาความรู ้ใหม่ๆค่ะ กานติมา อิ่มใจ, อายุ 19 ปี นักศึกษา ห นั ง สื อ ก า ร์ ตู น เ รื่ อ ง วั น พี ช (ONEPICEC) เพราะตอนเด็กๆ เป็ นคนไม่ชอบอ่านหนังสือมากๆ คุ ณ พ่ อ เลยให้ ล องเริ่ ม ฝึ กอ่ า น จากหนังสือการ์ตูนก่อน เป็นจุ ด เริ่มต้นของการรักการอ่าน ณัฐพล บ�ำรุ งสงฆ์, อายุ 19 ปี นักศึกษา นักเขียนท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้ว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในชี วิต เกิดเพราะ เราเป็ น ผู ้ ก� ำ หนด ท� ำให้ มั น เป็ น ท�ำให้เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อม ผู ้คน รอบกายเราเป็นแค่พาหนะเท่านัน้ อัจฉรา กองสุข, อายุ 25 ปี พนักงานบริษัท
หนังสือการ์ ตูนเรื่ อง Card captor Sakura เป็ นการ์ตูน เรื่องแรกที่อ่านและสะสมครบ ทุกเล่ม เกี่ยวกับเด็กหญิงสาว ที่มเี วทมนตร์ตามหาไพ่ให้ครบ ท�ำให้ตอนนีเ้ ป็นคนชอบการ์ตนู ญี่ปุ่นมาก และท�ำอีเวนท์เกี่ยว กับการ์ตูนอยู ่ค่ะ อรชมัย ธีรลักษณ์, อายุ 23 ปี ฟรีแลนซ์
เป็ นหนังสือที่แนะน�ำในเรื่องของ การคิดสิ่งใหม่ๆ บอกถึงการท�ำ อะไรสั ก อย่ า งขึ้ น อยู ่ ท่ีค วามคิ ด ของเราเป็ นหลัก หากเราเปลี่ยน ความคิด ชี วิตก็เปลี่ยน อรจิรา ทิพย์ดี, อายุ 23 ปี ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน เป็ น หนังสือนิยายที่อิงประวัติศาสตร์ การเมืองไทย ประเด็นต่างๆ ใน หนังสือที่ถูกสอดแทรกนัน้ ทรง พลังอย่างไม่นา่ เชื่ อ จนมีอทิ ธิพล ต่อแนวคิดและมุมมอง ณรจญา บุ ญชั ย, อายุ 18 ปี นักเรียน สามก๊ก มัง้ ครับ เคยอ่านหลาย ฉบับ แต่ฉบับแรกเป็ นฉบับที่เรา ประทับใจ และยังได้แง่คดิ หลายๆ อย่าง ทัง้ ข้อคิด และแนวทางใน การด�ำเนินชี วติ ท�ำให้เราโตขึน้ มาก สกล เกสพานิช, อายุ 21 ปี นักศึกษา The Last Lecture ผู ้ เ ขี ย น หนังสือเป็นโรคร้าย เขียนหนังสือ มาเพื่อให้ก�ำลังใจตัวเอง ให้คน อื่นสู้ต่อ มีแง่คิดให้คิด ท�ำให้มี แรงผลักดัน มัฒธวณิฎาศ์ นวลสุข, อายุ 23 ปี นักศึกษา จริงๆ ก็ยังไม่มีนะ แต่ท่ไี ด้มาเป็น จุ ดเปลี่ยนจริงๆ คือทัศนคติหรือ สิ่งที่เจอมากกว่าสิ่งที่ได้อา่ นจาก หนังสือ ปรเมศ สมัญญาทร, อายุ 20 ปี นักศึกษา
คู่มือมนุษย์ ของท่านพุ ทธทาส ท�ำให้เราน�ำธรรมะ มาใช้ ในชี วิต ประจ�ำวันได้ และเข้าใจแก่นแท้ ของธรรมะมากขึน้ อติรุจ ปั ญญาวานิชกุล, อายุ 35 ปี โปรแกรมเมอร์
1) ธรรมของพระพุ ทธเจ้า คือ ธรรมชาติท่ีเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา ค�ำสอนให้มีสติและไม่ประมาท 2) หนังสือ Think and Grow Rich ของคุ ณ นโปเลี ย น ฮิ ล สอนให้คนไม่ท้อถอยไม่ยอมแพ้ ต่ออุ ปสรรค พรทิพย์ ลาภวรกิจชั ย, อายุ 54 ปี ตัวแทนประกันชี วิต
นิยายเล่มแรกที่ อ่านตอนขึ้นชั้ น ม.ปลาย จากเดิมที่ไม่เคยอ่าน อะไรนอกจากหนังสือเรียน จน วั น หนึ่ ง ที่ ห ยิ บ หนั ง สื อ เล่ ม หนึ่ ง มาเพื่อฆ่าเวลาเพราะไม่มอี ะไรท�ำ ทวิภพ ของทมยันตี ท�ำให้โลก ทัศน์เปลี่ยนไป หนังสือก็มีความ สนุ ก น่ า ติ ด ตามอยู ่ เ หมื อ นกั น จากวันนัน้ จึงก่อเกิดนิสัยรักการ อ่านเช่ นทุกวันนี้ นิรณา ศศิปรียจันทร์, อายุ 35 ปี ข้าราชการ
รวยกับการลงทุน หุ้นออนไลน์ บัญญัติ ราศี, อายุ 36 ปี พนักงานรักษาความปลอดภัย
BOOK DON’T CHANGE PEOPLE, PARAGRAPHS DO, SOMETIMES EVEN SENTENCES.
John Piper -