2/2556 TAT Tourism Journal

Page 1


เจ้าของ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

คณะที่ปรึกษา

สุรพล เศวตเศรนี อักกพล พฤกษะวัน สุวรรณชัย ฤทธิรักษ์ จุฑาพร เริงรณอาษา สรรเสริญ เงารังษี ประกิตติ์ พิริยะเกียรติ วิไลวรรณ ทวิชศรี ธวัชชัย อรัญญิก พงศธร เกษสำ�ลี อภิชาติ อินทร์พงษ์พันธุ์ สันติ ชุดินธรา

ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่ปรึกษาระดับ 11 ที่ปรึกษาระดับ 10 รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอเมริกา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน รองผู้ว่าการด้านบริหาร ผู้อำ�นวยการฝ่ายวางแผน

บรรณาธิการ

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล ผู้อำ�นวยการกองวิจัยการตลาด

กองบรรณาธิการ

อ้อยทิพย์ นิธิยานันท์ กุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ ชูวิทย์ ศิริเวชกุล ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ พรหมเมธ นาถมทอง โศรยา หอมชื่น ณัฎฐิรา อำ�พลพรรณ สุจิตรา แย้มงามเหลือ

ผู้อำ�นวยการกองประชาสัมพันธ์ในประเทศ ผู้อำ�นวยการ ททท.สำ�นักงานลอสแอนเจลิส ผู้อำ�นวยการกองกลยุทธ์การตลาด ผู้อำ�นวยการกองสารสนเทศการตลาด ผู้อำ�นวยการกองส่งเสริมบริการท่องเที่ยว หัวหน้างานวิชาการ พนักงานวางแผน พนักงานบันทึกข้อมูล

Tourism Jounal


คณะการจัดการการท่องเที่ยว

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)** เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาโท ภาคปกติ เรียนวันธรรมดา หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ วิชาเอก นโยบาย การวางแผนและการจัดการ การท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ วิชาเอก การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ ปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

สนใจติดต่อ โทร. 02-7273671-3 หรือ www.nits.nida.ac.th ** สถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์(NIDA)เป็นสถาบันการศึกษาของรัฐ ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2509 74 | Tourism Jounal


Content สารบัญ

4-13 14-17

| Tourism Situation

• สรุปสถานการณ์การท่องเที่ยวตลาดต่างประเทศ ปี 2555 และแนวโน้มปี 2556

| Tourism Research

• เส้นทางการก้าวกระโดดสู่การจัดการอย่างยั่งยืนและกรณีตัวอย่างเกาะสมุย

30-39

| Tourism Seminar

40-47

| Tourism Talk

• ทัศนะของผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่มีต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) • ทัศนะของผู้ประกอบการเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยว ไทยในปี 2556 • Cruise Shipping Asia-Pacific 2012

• รายได้ก้าวกระโดด ด้วยอาหารไทย

18-22 24-29

• เที่ยวบนอาน

| From the Cover

Retro Market ในกระแส Nostalgia Tourism

• ภาพตัวแทนของความเป็นไทย

48-53 54-59 61-71

| Tourism Trend

• เป็นไทย ไม่เป็นทาส

| Pop Culture Tourism | Tourism @ AEC

• โอกาสทางการตลาดท่องเทีย่ วไทยบนความท้าทายกับการก้าวสู่ AEC (ตอนที่ 1) • อาเซียนมีทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก !

Tourism Journal 2/2013 จุลสารฉบับนี้จัดทำ�ขึ้นโดยใช้กระดาษ EPO (EcoPaque offset) และหมึกพิมพ์จากนํ้ามันถั่วเหลืองที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตราสัญลักษณ์ จากเล่มเดิมอนุญาต ให้ใช้ได้ตามสัญญาอนุญาตครีเอทีฟ คอมมอนส์แสดงที่มา-ไม่ใช่เพื่อการค้าอนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย

2 | Tourism Jounal

| Low Carbon Tourism

จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

1600 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2250 5500 ต่อ 2620-2 โทรสาร : 0 2253 7468

Tourism Authority of Thailand 1600 New Phetchaburi Road, Makkasan, Ratchathewi, Bangkok 10400, Thailand tel: +66 2250 5500 ext. 2620-2 fax: +66 2253 7468 email: etatjournal@tat.or.th website: etatjournal.com ebook: www.issuu.com/etatjournal www.ebooks.in.th/etatjournal twitter: @etatjournal


บทบรรณาธิการ ในช่วงปี 2540 สมัยทีย่ งั รับผิดชอบงานด้านอนุรกั ษ์ ของ ททท. ได้ออกจดหมายข่าวรายเดือน ชื่อ ecotourism newsletter โดยทำ�หน้าที่เป็นบรรณาธิการ เนื้อหาส่วนใหญ่ ก็จะป้วนเปี้ยนอยู่ กับเรือ่ งกิจกรรมการอนุรกั ษ์ทเี่ ชือ่ มโยงกับเรือ่ งการท่องเทีย่ ว ชือ่ คอลัมน์กจ็ ะตัง้ ให้อยู่ใน theme เรื่อง ecotourism คอลัมน์ที่นำ�เสนอ เช่น eco movement / eco seminars / eco activities / eco talks เป็นต้น เมื่อหวนกลับไปคิดเรื่องนี้มีเรื่องบางเรื่องที่ ไม่เคยเลือนไปจากความทรงจำ� อย่างเรื่องที่ เขียนพาดพิงถึงแนวกำ�แพงที่หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ หรือ เรื่องที่พาดพิงกรมป่าไม้ (สมัยนั้น หน่วยงานที่ดูแลอุทยานแห่งชาติ คือ กรมป่าไม้) กรณี การส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการสัมมนาและการเก็บประเด็นไปทำ�งานต่อ เรื่องท่องเที่ยวจักรยานเป็นอีกเรื่องที่ ได้รับความนิยม มีการสรุปผลการเข้าประชุมเมือง จักรยานที่ออสเตรเลีย และ ททท. ก็ผลักดันกิจกรรมการท่องเที่ยวด้วยจักรยาน อย่างต่อเนื่อง ทริปจักรยานที่จัดต่อเนื่องกันทุกปี อย่างทริปที่ popular มีชาวต่างชาติเข้าร่วมกิจกรรมจำ�นวน เพิ่มขึ้นทุกปีคือทริปที่ขี่ข้ามประเทศ จากเชียงรายออกไปเชียงรุ้ง สิบสองปันนา จากนั้น ก็นั่ง เรือกลับ นี่ยังไม่รวมทริป around Thailand ที่ขี่กันเป็นเดือน หรือทริปขี่สั้น ๆ ในเมืองเล็ก ๆ ตอนนี้ ecotourism newsletter ก็เหลือเพียงแค่ความทรงจำ� เพราะได้เลิกทำ�ไปเมื่อ ประมาณปี 2544 สิ่งที่ดีอย่างหนึ่งสำ�หรับคนทำ�งาน ก็คือ เราได้ทำ�เรื่องที่เราอยากทำ� และเรา ได้เพื่อนที่ชอบอะไรเหมือน ๆ กันเพิ่มขึ้น และคบหากันจนถึงวันนี้ บทสนทนาเมื่อเจอกันตอนนี้ ก็มักจะรื้อฟื้นเรื่องเก่า ๆ มาคุยกัน ตลอดจนการ up date เรื่องสถานการณ์ปัจจุบัน กลับมาสู่ เรื่องราวในปัจจุบัน ททท. เดินหน้าต่อเนื่องเรื่องการอนุรักษ์ ด้วยโครงการ 7 greens พร้อม ๆ กับการส่งเสริม การตลาด สร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย การส่งเสริมให้คนไทยเทีย่ วเมืองไทย และสิง่ หนึง่ ทีม่ งุ่ เน้น ในปีนี้ คือ เรื่อง วิถีไทย หรือ Thainess / Thai ways of life TAT Tourism Journal ไตรมาสนี้ มีเรื่องที่เกี่ยวกับ วิถีไทย / ความเป็นไทย / ไทย ไทย หลายเรื่อง เช่น เป็นไทย ไม่เป็นทาส คอลัมน์ pop culture tourism หรือบทสัมภาษณ์ท่าน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่อง รายได้ก้าวกระโดดด้วยอาหารไทย รวมทั้งเรื่อง จากปก ไตรมาสนี้ เป็นเรื่อง retro market ในกระแส nostalgia tourism ลองพลิกอ่านกันดู ในช่วงที่ผ่านมา มีการนำ�ภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ และสร้างปรากฏการณ์เล็ก ๆ ที่น่า สนใจ คือ กรณี เหล้าพื้นถิ่น ที่ตั้งชื่อแบรนด์ว่า หมาใจดำ� อันนี้ ทำ�มาได้ประมาณ 5-6 ปีแล้ว โด่งดังในวงคนกลุ่มหนึ่ง เป็นเหล้าที่ทำ�จากนํ้าหวานของดอกมะพร้าว และโด่งดัง อื้ออึงที่จังหวัด เชียงใหม่ ที่ชอบมาก คือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทำ�ได้ modern มาก เป็นเหมือนขวดวอดก้า ไอเดียอันนี้ โดนจริง ๆ หรือ อีกกรณีหนึ่งคือ ยีนส์หนุมาน เป็นยีนส์สัญชาติไทย ใส่ความเป็นไทยในยีนส์ เช่น กระดุมรูปหนุมาน ลายสัก ลายยันต์ ตอนนี้ดังในระดับนานาชาติ ประเด็นเล็ก ๆ เรื่อง หมาใจดำ� และยีนส์หนุมาน เคยกล่าวถึงในบทสัมภาษณ์ คุณชาติฉกาจ ไวยกวี real touristic น่าจะเป็น ไตรมาส 2 ปี 2555 ไตรมาสนี้ ก็ประมาณนี้ ไม่มีเรื่องผู้ว่า กทมฺ. ไม่มีเรื่อง Harlem Shake ไม่มีเรื่อง Fifty Shades of Grey ไม่มีเรื่องการเตรียมรับมือกับวิกฤติไฟฟ้า 5-12 เมษายน 2556 และไม่มีเรื่อง ตอบโจทย์ประเทศไทย แค่นี้นะ จบนะ

ยุวดี นิรัตน์ตระกูล

Tourism Jounal | 3


To u r i s m S i t u a t i o n

สรุปสถานการณ์การท่องเที่ยว

ตลาดต่างประเทศ ปี และแนวโน้ม ปี เรื่อง สิรินาถ ฉัตรศุภกุล

ภาพรวมสถานการณ์การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั่วโลก จากข้อมูลขององค์การการท่องเที่ยวโลก คาดว่า ปี 2555 การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ จะขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4 มีจำ�นวนการเดินทางระหว่างประเทศถึง

4 | Tourism Jounal


To u r i s m S i t u a t i o n

ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงกว่าการคาดการณ์ แนวโน้มในระยะยาว 10 ปี (ปี 2553-2563) ว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการขยายตัวอย่างเข้มแข็ง เพิ่มขึ้นสูงสุดถึงร้อยละ 7 ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (PATA) คาดว่าในปี 2555 จำ�นวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยภูมิภาคที่ขยายตัวได้ดีที่สุด คือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ทั้งนี้ PATA ได้คาดการณ์จำ�นวนนักท่องเที่ยว เดินทางมายังประเทศไทยจะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

Tourism Jounal | 5


To u r i s m S i t u a t i o n

อัตรา การขยายตัว ทางด้าน จำ�นวน นักท่องเที่ยว

กลุ่มตลาดที่มีขนาดใหญ่ เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.52

อาเซียน

เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.78

ยุโรป

เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.12

สถานการณ์ ตลาดต่างประเทศ สถานการณ์ นั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งประเทศเดิ น ทางเข้ า มายั ง ประเทศไทย ปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 22.3 ล้านคน อัตรา การขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.98 เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา (จากข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ณ เดือนมกราคม 2556) โดยปรับตัวดีขนึ้ ทุกกลุม่ ตลาดทัง้ ทางด้านจำ�นวน นักท่องเที่ยวและค่าใช้จ่ายสำ�หรับการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทย เมื่อสิ้นวิกฤตอุทกภัยในประเทศไทย จึงคาดว่ารายได้จากตลาดต่าง ประเทศ ปี 2555 จะมีประมาณ 970,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 (ประมาณการจากผลการสำ�รวจโครงการค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ต่างประเทศเดินทางท่องเที่ยวไทย 3 ไตรมาส ของปี 2555) แม้ว่าจะ เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศไทยบ้าง อาทิ การลอบวาง ระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ การลอบวางระเบิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ภาคใต้ และเหตุการณ์ชมุ นุมจากปัญหาความขัดแย้งทางด้านการเมือง ไทย ซึง่ ก็เป็นเพียงผลกระทบในช่วงระยะเวลาสัน้ ๆ จึงทำ�ให้สนิ้ ปี 2555 นักท่องเทีย่ วต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศไทยได้บรรลุเกินเป้าหมาย ที่กำ�หนดว่าจะสร้างรายได้จากตลาดต่างประเทศ เพิ่มขึ้นในอัตรา ร้อยละ 9 หรือมีจ�ำ นวนนักท่องเทีย่ วต่างประเทศ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 7 เมือ่ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่สนับสนุนให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเติบโตได้ดี คือ 6 | Tourism Jounal

1. การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวม ทั้งการฟื้นตัวหลังประสบภัยสึนามิในประเทศญี่ปุ่น 2. ความสงบสุขของประเทศไทยจากการไม่เกิดปัญหาความขัดแย้ง ทางการเมือง 3. พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเอเชียที่นิยมเดิน ทางท่องเที่ยว ภายในภูมิภาค และในกลุ่มตลาดระยะไกลทั้งยุโรปและอเมริกาก็ยังมี ความชื่นชอบเดินทางท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย 4. การส่งเสริมตลาดเชิงรุกในตลาดจีน ทั้งการเปิดสำ�นักงานแห่ง ใหม่และการสนับสนุนให้เปิดเที่ยวบินเช่าเหมาลำ�บินตรงจากเมืองรอง ของประเทศจีนเข้ามายังประเทศไทย ส่งผลให้ประเทศไทยได้รับนัก ท่องเที่ยวจีน ขยับขึ้นมาเป็นตลาดที่ครองอันดับ 1 ในปี 2555 5. การไม่เกิดวิกฤตภัยธรรมชาติในประเทศไทยเหมือนเช่นปีทผ่ี า่ นมา 6. นโยบายการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 (Asean Economics Community: AEC) ส่งผลให้ตลาดในกลุ่มอาเซียนมีการ เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดเสรีและเกิดการเดินทางแลก เปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น โดยกลุ่ ม ตลาดที่ ผ ลั ก ดั น ให้ ภ าพรวมนั ก ท่ อ งเที่ ย วต่ า งประเทศของ ประเทศไทยขยายตัวในระดับทีด่ ี คือ กลุม่ ตลาดเอเชีย ขณะทีก่ ลุม่ ตลาด ยุโรปและอเมริกา เป็นเพียงการรักษาระดับอัตราการเติบโตเพราะกำ�ลัง


To u r i s m S i t u a t i o n

กลุ่มตลาดที่มีขนาดกลาง-เล็ก เอเชียใต้

ตะวันออกกลาง

เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.36

เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.58

อเมริกา

แอฟริกา

เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.40

เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.36

โอเชียเนีย

เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.13

ประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ตลาดในกลุ่มตะวันออกกลาง ยังดู น่าเป็นกังวลเพราะผลของการเกิดเหตุการณ์ความวุน่ วายภายในภูมภิ าค ประกอบกับมาตรการควํ่าบาตรอย่างจริงจังของประเทศสหรัฐฯ ที่มีต่อ ประเทศอิหร่าน ส่งผลให้ภาพรวมกลุม่ ตลาดตะวันออกกลางไม่ขยายตัว ในช่วงปี 2555 โดยในแต่ละกลุ่มตลาดมีอัตราการขยายตัวทางด้าน จำ�นวนนักท่องเที่ยว ดังต่อไปนี้ -กลุ่มตลาดที่มีขนาดใหญ่ : เอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ 6.24 ล้าน คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.52 อาเซียน 6.25 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.78 ยุโรป 5.61 ล้านคน เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 10.12 เมือ่ เปรียบเทียบกับปีทผี่ ่านมา -กลุ่มตลาดที่มีขนาดกลาง-เล็ก : เอเชียใต้ 1.28 ล้านคน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.36 อเมริกา 1.08 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.40 โอเชียเนีย 1.04 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.13 ตะวันออกกลาง 0.60 ล้านคน เพิ่ม ขึ้นร้อยละ 0.58 และแอฟริกา 0.16 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.36 เมื่อ เปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา แม้จะเกิดอุปสรรคขัดขวางการเดินทางท่องเทีย่ วไทยหลายประการ เช่น 1. ผลกระทบทางด้านภาพลักษณ์ความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง ท่องเที่ยวประเทศไทย จากการเกิดเหตุระเบิด และมีการเผยแพร่ขา่ ว นักท่องเที่ยวต่างประเทศเสียชีวิตในประเทศไทยหลายครั้ง 2. การชุมนุมประท้วงภายในประเทศ จากปัญหาความขัดแย้ง

ทางการเมืองไทย 3. การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตกตํา่ ในยุโรปและในสหรัฐอเมริกา รวม ทัง้ การเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในภูมภิ าคตะวันออกกลางทีย่ งั ไม่สน้ิ สุด 4. การปรับขึ้นค่าธรรมเนียมนํ้ามัน (Fuel Surcharge) 5. การแข่งขันสูงทางด้านการท่องเทีย่ ว และคูแ่ ข่งหน้าใหม่ทเ่ี พิม่ ขึน้ ซึ่ ง หากพิ จ ารณาเที ย บกั บ ประเทศคู่ แ ข่ ง ขั น ภายในภู มิ ภ าคเอเชี ย ในช่วงปี 2555 ประเทศไทยยังรักษาระดับอัตราการเติบโตทางด้านจำ�นวน นักท่องเที่ยวในระดับที่ดีและสูงกว่าอัตราการเติบโต ภาพรวมของ ภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ทีค่ าดว่าจะขยายตัวร้อยละ 8 โดยประเทศคูแ่ ข่งขัน สำ�คัญ ๆ ทีล่ ว้ นมีการปรับตัวในระดับดี อาทิ เวียดนาม ทัง้ ปี 2555 เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 9.5 ส่วนประเทศคูแ่ ข่งขันทีเ่ หลือ ก็มรี ายงานจำ�นวนนักท่องเทีย่ ว ต่างประเทศขยายตัวในระดับทีด่ เี ช่นกัน เช่น ญีป่ นุ่ ในช่วง 11 เดือนแรก ของปี 2555 เพิ่มขึ้นสูงร้อยละ 36 หลังฟื้นตัวจากภัยพิบัติสึนามิ ตาม มาด้วย ฮ่องกง เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 เกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 สำ�หรับมาเลเซีย ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวเพียง ร้อยละ 0.7 ทั้งนี้ประเทศที่เป็นตลาดใหม่กำ�ลังได้รับความสนใจในเวที โลก คือ เมียนมาร์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 กัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.6 และลาว เพิ่ ม ขึ้ น ร้ อ ยละ 12 ที่ ล้ ว นต่ า งมี อั ต ราการเติ บ โต ที่สูง ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 Tourism Jounal | 7


To u r i s m S i t u a t i o n

กลุ่มตลาดอาเซียน

สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวรายกลุ่มตลาด ปี 2555 กลุม่ ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

สถานการณ์นักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางเข้าประเทศไทย รายสัญชาติ ปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 6.24 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 31.51 จาก แรงเติบโตดีของเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดจีน มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นสูงสุด ร้อยละ 62 มีเพียงตลาดไต้หวัน ทีม่ อี ตั ราการขยายตัวติดลบร้อยละ 11 ปัจจัยทีท่ �ำ ให้กลุม่ ตลาดนี้ ขยายตัวได้สงู คือ การฟืน้ ตัวหลังสิน้ วิกฤตอุทกภัยในประเทศไทย สภาพเศรษฐกิจของกลุม่ ตลาด เอเชียทีก่ �ำ ลังเติบโต และการส่งเสริมตลาดเชิงรุกในจีน เช่น การเปิดสำ�นักงานเพิม่ ในประเทศจีน และการสนับสนุนการเพิ่มเที่ยวบินเช่าเหมาลำ� รวมทั้งการฟื้นกลับมาเดิน ทางท่องเที่ยว เป็นปกติของตลาดญี่ปุ่นหลังประสบภัยพิบัติสึนามิ ซึ่งนอกจากนี้ ผลจากการเกิดข้อพิพาท ระหว่างประเทศจีนและญีป่ นุ่ ในเรือ่ งเกาะเตียวหยู และระหว่างประเทศญีป่ นุ่ กับเกาหลี ในเรือ่ ง เกาะทาเกชิมะ ทำ�ให้นกั ท่องเทีย่ วในกลุม่ เหล่านีเ้ ปลีย่ นเส้นทางมาท่องเทีย่ วไทยแทนในบางส่วน คาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวในช่วงปี 2556 น่าจะมีการเติบโตได้ดีต่อเนื่องจากปัจจัย ผลักดันทางด้านบวกที่มีอยู่มาก รวมทั้งการขยายตัวของธุรกิจสายการบิน เช่น ในตลาดจีน มี การเปิดเส้นทางบินและเพิ่มเที่ยวบินของบริษัท Air Asia ในเส้นทางซีอาน–กรุงเทพฯ จำ�นวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ และหวูฮั่น–กรุงเทพฯ จำ�นวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ บริษัทการบินไทย เพิ่มความถี่ใน เส้นทางปักกิ่ง–กรุงเทพฯ จาก 11 เที่ยวบิน เป็น 14 เที่ยว/สัปดาห์ ในช่วงเดือนตุลาคม 2555 ในตลาดญี่ปุ่น บริษัทการบินไทย เพิ่มเที่ยวบินในเส้นทาง ซับโปโร–กรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยวบิน เป็น 4 เที่ยว/สัปดาห์ และเส้นทางนาโกยา–กรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยวบิน เป็น 4 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่มในตารางบินฤดูหนาว ปี 2555 ส่วนตลาดเกาหลีใต้ บริษัทการบินไทย เพิ่มเที่ยวบินในเส้น ทาง โซล–กรุงเทพฯ จาก 14 เที่ยวบิน เป็น 18 เที่ยว/สัปดาห์ เส้นทางปูซาน–กรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยวบิน เป็น 5 เที่ยว/สัปดาห์ และในเส้นทางโซล–ภูเก็ต จาก 5 เที่ยวบิน เป็น 7 เที่ยว/ สัปดาห์ เป็นต้น 8 | Tourism Jounal

สถานการณ์ นั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ่ ม ตลาด อาเซียนเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 6.25 ล้าน คน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.78 สาเหตุ เกิดจากทุกตลาดมีอัตราการขยายตัวในอัตรา เพิ่มที่ดี ยกเว้น ตลาดมาเลเซีย ที่มีอัตราการ เติบโตเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 2 เป็นผลมาจาก เหตุระเบิดอย่างรุนแรงที่อำ�เภอหาดใหญ่ โดย ปัจจัยที่ผลักดันให้ตลาดในภูมิภาคนี้ขยายตัว ได้สูง คือ สภาพเศรษฐกิจที่กำ�ลังเติบโต การ เดินทางที่สะดวกและมีระยะทางใกล้ กระแส นโยบายการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการยกเลิกพิธีการตรวจลงตราสำ�หรับ การเดินทางข้ามด่านชายแดนระหว่างไทยและ กัมพูชา คาดการณ์ ส ถานการณ์ ท่ อ งเที่ ย วใน ช่ ว งปี 2556 น่ า จะมี ก ารขยายตั วได้ ดี ต่ อ เนื่อง นอกจากปัจจัยสนับสนุนเดิมทั้งสภาพ เศรษฐกิจและการเดินทางเชื่อมต่อที่สะดวก แล้ว ในหลายตลาดยังมีการส่งเสริมการเปิด เที่ยวบินเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น เช่น ในตลาดฟิลิปปินส์ สายการบิน Cebu Pacific เปิดเส้นทางบิน เซบู–กรุงเทพฯ จำ�นวน 2 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนธันวาคม 2555 ตลาด เวียดนาม Vietjet Airlines เปิดเส้นทางบิน โฮจิมินห์–กรุงเทพฯ จำ�นวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 และตลาดเมียนมาร์ บริษัทการบินไทย จำ�กัด เพิม่ เทีย่ วบิน ย่างกุง้ – กรุงเทพฯ จาก 3 เที่ยว เป็น 4 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้น


To u r i s m S i t u a t i o n

กลุ่มตลาดอเมริกา

กลุ่มตลาดยุโรป สถานการณ์นักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดยุโรปเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ปี 2555 มี จำ�นวนนักท่องเที่ยว 5.61 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.12 ผลจากแรงขยายตัวของตลาด รัสเซียที่ทะลุ 1.3 ล้านคน ด้วยอัตราการเติบโตร้อยละ 25 จึงทำ�ให้สถานการณ์ท่องเที่ยวของ ภูมิภาคยุโรปขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ สำ�หรับตลาดอื่น ๆ ส่วนใหญ่สามารถรักษาระดับอัตรา การเติบโตให้ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป แต่ในหลายตลาดก็ยังสามารถส่งเสริม ตลาดให้มีการรักษาอัตราการเติบโตได้ดีทั้งในตลาดที่มีขนาดใหญ่ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมนี และ สหราชอาณาจักร ขณะที่ตลาดกลุ่มที่มีขนาดกลางถึงขนาดเล็ก เช่น เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ออสเตรีย ยุโรปตะวันออก หรือแม้แต่กลุ่มตลาดในแถบยุโรปใต้ที่กำ�ลังประสบภาวะเศรษฐกิจ ล้มเหลวที่เราเรียกกันว่า PIIGS (โปรตุเกส อิตาลี ไอร์แลนด์ กรีซ และสเปน) ยังมีการขยาย ตัวเพิ่มขึ้นได้ดี ทั้งนี้เป็นเพราะจุดแข็งของประเทศไทยทางด้านความคุ้มค่าเงินในการเดินทาง มี สินค้าทางการท่องเที่ยวที่ตอบสนองต่อความต้องการ และการเน้นส่งเสริมตลาดแบบเจาะกลุ่ม ในกลุ่มที่มีศักยภาพทั้งการออกเดินทางท่องเที่ยวและการใช้จ่าย คาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวในช่วงปี 2556 คาดว่าสถานการณ์วิกฤตยูโรโซนไม่น่าจะ จบสิน้ ลงในระยะเวลาอันสัน้ จึงคงต้องประคับประคองสถานการณ์ทอ่ งเทีย่ วของภูมภิ าคนีต้ อ่ ไป รวมทั้งป้องกันการเข้ามาช่วงชิงตลาดของประเทศคู่แข่ง เช่น มาเลเซีย ที่มีการพัฒนารายการ ท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจมากขึ้นโดยเชื่อมโยงสินค้าท่องเที่ยวทางทะเลของประเทศไทยและ ดึงเทีย่ วบินเช่าเหมาลำ�บางส่วนให้เปลีย่ นเส้นทางบินจากประเทศไทยไปยังประเทศมาเลเซียแทน เหมือนดังที่ได้ดำ�เนินการกับตลาดสแกนดิเนเวีย นอกจากนี้ ผลจากการที่เงินยูโรอ่อนค่าลงอาจ ทำ�ให้นักท่องเที่ยวจากยุโรปหันไปเดินทางท่องเที่ยวภายในภูมิภาคกันเองมากขึ้น

สถานการณ์ นั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ่ ม ตลาด อเมริกาเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 1.08 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับที่ดีถึงร้อยละ 13.40 แม้ว่าจะกำ�ลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกตํ่า โดยเป็นผลจากตลาดหลักอย่างสหรัฐฯและ แคนาดาขยายตัวดี รวมทั้งตลาดขนาดเล็ก อย่างอาร์เจนตินา และบราซิล ปัจจัยทีส่ นับสนุน ให้ตลาดขยายตัว คือ การฟื้นตัวจากสภาพ เศรษฐกิ จ ที่ ไ ด้ ผ่ านพ้ น จุ ด ตํ่ าสุ ด มาแล้ ว และ นโยบายการกระตุน้ เศรษฐกิจของภาครัฐอย่าง ต่อเนื่อง ส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีการเดินทาง ท่องเที่ยวกัน มากในช่วงฤดูก าลท่องเที่ยวที่ ผ่านมา ทั้งการปิดภาคเรียน เทศกาลขอบคุณ พระเจ้ า และวัน หยุดยาวในช่วงคริสต์ม าส และปี ใหม่ ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจของ กลุ่มละตินอเมริกาที่มีการขยายตัว จึงเริ่มมี การเปิดเที่ยวบินตรงจากเอเชีย เช่น ในตลาด อาร์เจนตินา สายการบิน Emirates Airlines เปิดเส้นทาง บัวโนสไอเรส–กรุงเทพฯ จำ�นวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ ในเดือนมกราคม 2555 รวม ทั้งการขยายตัวที่ดีของกลุ่มตลาดเล็กอื่น ๆ เช่น เม็กซิโก และ ชิลี สำ�หรับเหตุการณ์พายุ เฮอริเคนแซนดี้ที่พัดเข้าชายฝั่งตะวันออกของ สหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2555 นั้น ในขณะนี้ยังไม่ปรากฏผลกระทบต่อตลาด แต่อย่างใด คาดการณ์สถานการณ์ทอ่ งเทีย่ วปี 2556 น่าจะเติบโตต่อเนื่องจากปี 2555 เนื่องจาก สภาพเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ปรับตัวไปในทิศทาง ที่ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องจับตามอง ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เรื้อรังทั้งในภูมิภาค อเมริกาเองและในภูมภิ าคยุโรป ตลอดจนการ เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาฟุตบอลโลก ครั้งที่ 20 ในปี 2557 ที่ประเทศบราซิลเป็น เจ้าภาพ ทีอ่ าจจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ ท่องเที่ยวกลุ่มตลาดอเมริกา

Tourism Jounal | 9


To u r i s m S i t u a t i o n

กลุ่มตลาดเอเชียใต้ สถานการณ์ นั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ่ ม ตลาด เอเชียใต้เดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 1.289 ล้าน คน อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.36 เป็นผลจากตลาดอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดหลัก ของกลุ่มมีการฟื้นตัวกลับมาเติบโตเป็นปกติ ตั้ ง แต่ ไ ตรมาสที่ 2 เมื่ อ เข้ า สู่ ช่ ว งฤดู ก าล ท่องเที่ยว การมีวันหยุดช่วงปิดภาคฤดูร้อน และปิดภาคเรียน อีกทั้งหลายสายการบินมี การปรับเพิ่มความถี่และเปิดเส้นทางบินใหม่ หลังจากที่สภาพเศรษฐกิจของอินเดียมีการ ปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนตลาดขนาด เล็กอืน่ ทัง้ บังคลาเทศ เนปาล และปากีสถาน สถานการณ์ท่องเที่ยวยังไม่สู้ดีนักจากปัญหา ความไม่สงบด้านการเมืองภายในประเทศ มี เพียงตลาด ศรีลังกา ที่มีอัตราการเดินทาง เพิม่ ขึน้ เนือ่ งจากระบบเศรษฐกิจและการเมือง ภายในประเทศที่มีเสถียรภาพและเข้มแข็ง กว่าประเทศอื่นในภูมิภาค รวมทั้งสายการบิน Thai Air Asia เปิดเส้นทางบินใหม่ กรุงเทพฯ –โคลัมโบ จำ�นวน 4 เที่ยว/สัปดาห์ ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน คาดการณ์สถานการณ์ทอ่ งเทีย่ วปี 2556 น่าจะขยายตัวต่อเนือ่ ง จากปัจจัยสนับสนุนทาง ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลอินเดียได้ประกาศ ว่าในปี 2556 จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 7 รวมทั้งการเติบโตของ ธุรกิจสายการบิน ทั้งในเมืองหลักและเมือง รอง โดยสายการบินไทยมีแผนเปิดเส้นทาง บินใหม่ บินตรงเข้าแหล่งท่องเที่ยวหลักของ ประเทศไทย ในเส้นทาง นิวเดลี–ภูเก็ต และ มุมไบ–ภูเก็ต ในช่วงปี 2556

10 | Tourism Jounal

กลุ่มตลาดโอเชียเนีย สถานการณ์นกั ท่องเทีย่ วกลุม่ ตลาดโอเชียเนียเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 1.046 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.13 เกิดจากแรงขยายตัวที่ดีของตลาด ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้ค่าเงิน ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าต่อเนือ่ ง ประชาชนจึงเกิดความมัน่ ใจในการใช้จา่ ยเงินอุปโภคบริโภค และออกเดินทางท่องเที่ยวกันมากทั้งในช่วงฤดูปิดภาคเรียน และเทศกาลวันหยุดยาวช่วงปลาย ปี คริสต์มาส ปีใหม่ พร้อมกับมีการเสนอขายรายการนำ�เที่ยวประเทศไทยในราคาพิเศษของ สายการบินและบริษัทนำ�เที่ยวต่าง ๆ เช่น เกาะสมุย เกาะภูเก็ต สำ�หรับเหตุการณ์หลาย ๆ กรณี ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยทั้งข่าวเหตุระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ เหตุการณ์ระเบิดที่ห้างลีการ์เด้น อำ�เภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ข่าวลือการเกิดสึนามิในจังหวัดภูเก็ต และเหตุการณ์ทำ�ร้ายนัก ท่องเที่ยวออสเตรเลียจนเสียชีวิต ในจังหวัดภูเก็ต ขณะนี้ยังไม่ปรากฏสัญญาณการชะลอการ เดินทางของตลาดแต่อย่างใด คาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวปี 2556 น่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องด้วยศักยภาพ ของตลาดที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และมีพฤติกรรมนักท่องเที่ยวนิยมเดินทาง ท่องเที่ยวในต่างประเทศ และมีความชื่นชอบประเทศไทยอยู่เป็นทุนเดิม แม้จะมีอุปสรรคที่อาจ ต้องคอยติดตามบ้างจากผลกระทบเชิงลบทางด้านภาพลักษณ์ดา้ นความปลอดภัยของประเทศไทย การออกกฎหมายภาษีเพือ่ ลดมลพิษ ของรัฐบาลออสเตรเลีย (Carbon Tax) การกลับมาสูเ่ วทีการ แข่งขันของเกาะบาหลี (อินโดนีเซีย) และการแข่งขันกันอย่างสูงของประเทศอื่น ๆ ทั้งมาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่มีการเปิดเที่ยวบินตรงไปยังเมืองซิดนีย์และเมืองสำ�คัญอื่น ๆ


To u r i s m S i t u a t i o n

กลุ่มตลาดแอฟริกา กลุ่มตลาดตะวันออกกลาง สถานการณ์นักท่องเที่ยวกลุ่มตลาดตะวันออกกลางเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ของปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 0.60 ล้านคน ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.58 เหตุ จากการเกิดปัญหาความไม่สงบภายในภูมิภาคทั้งในประเทศอียิปต์ เยเมน จอร์แดน บาห์เรน อิหร่าน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และโอมาน โดยเฉพาะ ซีเรีย ที่ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติในระยะเวลา อันสั้น และยังได้เกิดเหตุระเบิดในพื้นที่กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ประเด็นความขัดแย้ง ระหว่างอิหร่านและอิสราเอล รวมทั้งผลของมาตรการควํ่าบาตรทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังของ ประเทศสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศอิหร่าน ทำ�ให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศอิหร่านยํา่ แย่ มีการ ค้าขายในต่างประเทศลดลง อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินสกุลเรียล (Rial) ตกตํ่าลงมากกว่า 3 เท่า ในช่วงปี 2555 เมื่อเทียบกับปี 2554 รวมทั้งสายการบินมาฮาน แอร์ มีการปรับลดจำ�นวนเที่ยว บินในเส้นทางเตหะราน–กรุงเทพฯ จาก 9 เที่ยว/สัปดาห์ เหลือ 7 เที่ยว/สัปดาห์ ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม การสร้างโอกาสของกลุม่ ตลาดตะวันออกกลางยังพอมีอยูบ่ า้ งจากการ ขยายตลาดที่มีขนาดเล็กอื่น ๆ ที่กำ�ลังมีการเติบโตได้ดี ทั้งกาตาร์ โอมาน บาร์เรน จอร์แดน คูเวต ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์ คาดการณ์สถานการณ์ทอ่ งเทีย่ วปี 2556 เนือ่ งจากสถานการณ์ความรุนแรงภายในภูมภิ าคยัง ไม่นา่ ไว้วางใจ ประกอบกับความเข้มข้นในมาตรการควํา่ บาตรของสหรัฐฯ ทีม่ ตี อ่ ประเทศอิหร่าน อาจจะทำ�ให้สถานการณ์ท่องเที่ยวของภูมิภาคไม่สดใส แม้ว่าในบางตลาดจะมีปัจจัยเสริมทาง บวก เช่น สายการบินไทย เปิดเส้นทางกรุงเทพฯ–อาบูดาบี จำ�นวน 4 เทีย่ ว/สัปดาห์ สายการบิน อิมิเรตส์ เปิดเส้นทางภูเก็ต–ดูไบ จำ�นวน 7 เที่ยว/สัปดาห์ สายการบินการ์ต้าแอร์เวย์ เปิดเส้น ทางภูเก็ต–โดฮา และ เชียงใหม่–โดฮา ในช่วงปลายปี 2555 ก็ตาม

สถานการณ์ นั ก ท่ อ งเที่ ย วกลุ่ ม ตลาด แอฟริกาเดินทางเข้าประเทศไทยรายสัญชาติ ปี 2555 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 0.16 ล้านคน เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 17.36 เกิดจากปัจจัยการขยาย ตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศ แอฟริ ก าใต้ ซึ่ ง เป็ น ตลาดหลั ก ของภู มิ ภ าค และการได้เข้ารวมกลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ BRICS (Brazil Russia India China and South Africa) ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นใน การอุปโภคและบริโภค ขณะที่ตลาดอื่น ๆ ใน กลุ่มก็ยังมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นในระดับที่ดี เช่น เคนยา เอธิโอเปีย และไนจีเรีย คาดการณ์สถานการณ์ท่องเที่ยวปี 2556 น่าจะมีการขยายตัวได้ดีต่อเนื่องทั้งจากตลาด แอฟริ ก าใต้ และตลาดอื่ น ๆ โดยเฉพาะ ตลาดเล็กในแถบแอฟริกาเหนือที่กำ�ลังเริ่มมี การขยายตัวทางด้านธุรกิจการบินเชื่อมโยง ไปยังภูมิภาคใกล้เคียง โดยมีสิ่งที่ต้องระวัง ก็คือวิกฤตเศรษฐกิจในยุโรปที่อาจจะส่งผล กระทบต่อเนื่องมาในภูมิภาคนี้เนื่องจากระบบ เศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงกันสูง

Tourism Jounal | 11


To u r i s m S i t u a t i o n

แนวโน้มสถานการณ์ทอ่ งเทีย่ วตลาดต่างประเทศ ปี 2556 หากสถานการณ์ทอ่ งเทีย่ วยังดำ�เนินเป็นไปอย่างปกติเหมือนเช่นปี ทีผ่ า่ นมา จำ�นวนนักท่องเทีย่ วต่างประเทศทีจ่ ะเดินทางเข้าประเทศไทย ในปี 2556 จะมีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 24.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และสร้างรายได้จากตลาดต่างประเทศ จำ�นวน 1,137,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 เนื่องจากตลาดในกลุ่มเอเชียมีการขยายตัวสูง ทั้ง จากตลาดจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย หรือแม้แต่ตลาด ในกลุม่ อาเซียน ซึง่ เป็นผลพวงจากนโยบายการเปิดประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ดังนั้นรายได้จากกลุ่มตลาดเอเชียน่าจะเข้ามามีบทบาทสำ�คัญ ต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยนับแต่นี้ไป โดยอัตราการเติบโตของรายได้จากตลาดต่างประเทศ ในปี 2556 จะเกิดขึ้นจากแรงขับเคลื่อนทั้งจากจำ�นวนนักท่องเที่ยว และค่าใช้จ่าย เฉลีย่ ต่อทริปทีเ่ ริม่ มีการปรับตัวเพิม่ ขึน้ หลังจากทีต่ กอยู่ในภาวะทรงตัว ในช่วง 4 -5 ปีทผี่ า่ นมา อันเป็นผลจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ไทย ซึง่ สอดคล้องกับการสอบถามกับภาคธุรกิจโรงแรมทีล่ ว้ นต่างมีการ ปรับขึ้นราคาขึ้นไปแล้ว ประมาณร้อยละ 5-10 เนื่องจากภาวะต้นทุน ที่ปรับตัวสูงขึ้น และสถานการณ์ของประเทศไทยที่ได้ลดความผันผวน ลง ซึ่งการประมาณการในครั้งนี้จะสูงกว่าการคาดการณ์ของสมาคม ส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งเอเชียแปซิฟิค (PATA) ที่ประมาณการว่า จำ�นวนนักท่องเที่ยวจะเดินทางเข้าประเทศไทย ในปี 2556 ขยายตัว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.7 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2555

12 | Tourism Jounal

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อตลาดต่างประเทศในปี 2556 คือ 1. วิกฤตเศรษฐกิจตกตํ่าในยุโรปและอเมริกา และปัญหาความไม่ สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง 2. ความผันผวนของราคานํา้ มันในตลาดโลก และอัตราแลกเปลีย่ น ค่าเงิน 3. วิกฤตภัยธรรมชาติ 4. สภาวะการแข่งขันกันสูงทางด้านการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ภายใต้ปัจจัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากภายนอก การ ท่องเที่ยวของประเทศไทยยังมีโอกาสช่วงชิงความได้เปรียบจากการ ส่งเสริมตลาดเชิงรุกในกลุม่ ตลาดเอเชีย ด้วยนโยบายการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน เพราะนอกจากจะหมายรวมถึงกลุ่มประเทศใน อาเซียนแล้ว ยังรวมไปถึงกลุ่มประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ที่ได้มีข้อตกลง ความร่วมมือร่วมกัน เช่น กลุ่ม ASEAN +3 คือรวม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และ ASEAN +6 คือรวม จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ซึง่ น่าจะทำ�ให้ตลาดนักท่องเทีย่ วในกลุม่ เอเชียเข้ามาทดแทน ความผันผวนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในกลุ่มยุโรป อเมริกา และ ตะวันออกกลาง ในช่วงปี 2556 เป้าหมายตลาดต่างประเทศ ปี 2556 จากทีป่ ระชุม TATAP’56 ได้ก�ำ หนดเป้าหมายตลาดต่างประเทศ ในปี 2556 ให้มอี ตั รา การเติบโตทางด้านรายได้จากตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 (รายได้ประมาณ 1,090,000 ล้านบาท) หรือมีจำ�นวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 (จำ�นวนนักท่องเที่ยวประมาณ 23.8 ล้านคน)


Tourism Jounal | 13


To u r i s m R e s e a r c h

เส้นทางการก้าวกระโดด สู่การจัดการอย่างยั่งยืน และกรณีตัวอย่าง

เกาะสมุย เรื่อง ผศ. ดร.จุฑามาศ วิศาลสิงห์*

ความท้าทายของการนำ�แนวคิดการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสู่การปฏิบัติมีให้ เห็นและเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ความพยายามที่จะให้ผลประโยชน์ จากการเติบโตของการท่องเที่ยวเห็นประจักษ์ว่าได้นำ�พามาซึ่งคุณภาพสังคม สภาพ ที่ดีของสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การแปลงแนวคิดการจัดการอย่างยั่งยืน ได้นำ�ไปสู่การกำ�หนดนิยามใหม่ ๆ ที่นำ�เสนอจากหลากหลายกลุ่มเพื่อเป็น แนวปฏิบัติที่ เชื่อว่าในที่สุดจะนำ�ไปสู่จุดหมายแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ หากทบทวนและรวบรวม Buzzwords เหล่านี้จะได้เป็น 4 แนวทาง คือ * MD–Perfect Link Consulting Group 14 | Tourism Jounal


To u r i s m R e s e a r c h

1

แนวทางที่สร้างเส้น ทางเพื่อนำ�ไปสู่การ เปลีย่ นแปลง (Trend 1 Transition Network) แนวคิดนีอ้ ยูใ่ นกลุม่ ทีเ่ ห็นว่า การจัดการอย่าง ยั่งยืนต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และพฤติกรรม โดยสร้างวิถกี ารดำ�รงชีวติ บนฐานของการลดการปล่ อ ยก๊ า ซ คาร์บอนไดออกไซด์ ลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน หรือที่เราได้ยิน กันเสมอตามแนวคิด Low Carbon Lifestyle การเปลี่ยนวิถีชีวิตและ การบริหารจัดการอย่างเป็นมิตรกับสภาพอากาศเป็นอีกคำ�ศัพท์หนึ่ง ที่จัดอยู่ ในกลุ่มนี้เช่นกัน (Climate Friendly Management) การ เปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมนี้ ได้มีกลุ่มที่ตั้งขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรที่เรียกว่า กลุ่ม Permaculture (Permanently Sustainable Culture) แนววิถีของกลุ่มนี้มีแนวคิดการดำ�รง ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคาร การออกแบบการใช้ผลิตภัณฑ์ ต่าง ๆ ทีส่ ง่ ผลกระทบน้อยต่อสิง่ แวดล้อมและคุณภาพชีวติ กลุม่ แนวคิด เรื่อง Slow Food Slow Travel ควรจัดไว้ในกลุ่มแนวคิดนี้เช่นกัน

3

แ นว คิ ด กา ร ป รั บ ตั วใ ห้ อ ยู่ กั บ กา ร เปลี่ ย นแปลงของสภาพอากาศและ สิง่ แวดล้อม (Trend3ClimateAdaptation) ภาวะวิ ก ฤตและภั ย ธรรมชาติ ที่ เ กิ ด ขึ้ น ทัว่ โลก ทำ�ให้หลากหลายหน่วยงานหันหน้า มาช่วยกันคิดหากลยุทธ์แห่งการปรับตัว (Adaptation Strategies) ทั้งในภาพกว้างคือคิดเชิงนโยบายและใน การกำ�หนดแนวทางเพื่อประเมินสถานการณ์ในอนาคตและเตรียมแผน รับมือโดยแน่นอนทีส่ ดุ มีปจั จัยขับเคลือ่ นให้ตอ้ งมีแผนการรับมือนีท้ งั้ ใน ระดับสากล ผลการศึกษาต่าง ๆ ที่พร้อมกันให้ความเห็นถึงผลที่จะตาม มาจากการเปลีย่ นแปลงของสภาพอากาศและผลกระทบทีจ่ ะเกิดในเชิง เศรษฐกิจ ประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยเริ่มหันมาให้ความสนใจ กับความมั่นคงทางพลังงาน (Energy Security) การขาดแคลนนํ้ามัน จะส่งผลอย่างไรและจะนำ�ไปสู่แผนในการปรับตัวต่อไปอย่างไร โดยมุ่ง เน้นให้เกิด Inclusive Green Economy คิดครบด้าน เช่น เริ่มมีการตั้ง คำ�ถามเตรียมแรงงานทีม่ คี วามเชีย่ วชาญด้านสิง่ แวดล้อม (Green Jobs) โดยพบแล้วว่าควรให้แรงงานทุกระดับมีความเข้าใจการปรับตัวนี้อย่าง ชัดเจน

4

2

แนวคิ ด การทำ � งานกั บ กลุ่ ม ชุ ม ชน การสร้างการมีส่วนร่วมในระดับชุมชน (Trend 2 Grassroots Community Scale Opportunities) กลุ่มแนวคิดนี้ ให้ความสำ�คัญกับการทำ�งานแบบมีสว่ นร่วม โดยไม่เชื่อว่าการจัดการแบบบนลงล่าง (Top-down) จะได้ผล แต่เชือ่ ในการจัดการแบบระเบิดจากข้างใน โดย เฉพาะการทำ�ให้ทุกฝ่ายมีสว่ นร่วมในการคิดจากล่างสู่บน (Bottom up) Grassroots Innovations หรือที่เราอาจคุ้นเคยในความหมาย ปราชญ์ ชาวบ้าน ค้นหาความเป็นวิถีเดิมและนำ�มาประยุกต์สืบต่อให้เห็นว่าการ ดำ�รงอยู่อย่างเดิมนำ�ไปสู่การจัดการอย่างยั่งยืนอยู่แล้ว

การสร้างเครือข่ายผูป้ ระกอบการ (Trend 4 Collaborative Entrepreneurship and Sustainable Clusters) ในภาคส่วนที่มกั ถูกมองว่าหวังผลประโยชน์ระยะสั้นคือ ภาคเอกชน ในกลุ่มนี้ ได้เห็นการรวมตัว เพื่อร่วมกันขยายพลังและนำ�ความสำ�เร็จ จากองค์กรหนึง่ ไปสูอ่ งค์กรหนึง่ มีการสร้างมาตรฐานเพือ่ เป็นเครือ่ งมือ ทางการตลาดมากขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง (Inclusive Green Market) การจะ นำ�ไปสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้ กลไกการยอมรับจากผูบ้ ริโภคคือหนึง่ ในเครือ่ งมือที่ สำ�คัญ การบีบคัน้ และกดดันเรียกร้องให้กระบวนการผลิตรักสิง่ แวดล้อม มากขึ้นจะช่วยให้เกิดความหมายในเชิงเศรษฐกิจกับกลุ่มผู้ประกอบ การมากขึ้น โดยปัจจุบันได้เริ่มมีการนำ�แนวคิด รับประกันผล Energy Saving Guarantee Program โดยมีกลุ่มการทำ�งานที่ให้บริการโดยรับ ประกันการลงทุนและผลตอบแทนทีจ่ ะเกิดจากการลงทุนทีเ่ กีย่ วข้องกับ สิ่งแวดล้อม ที่เรียกว่า ESCO (Energy Service Company) เช่น กรณี ของโรงแรมที่ต้องการจะลดค่าไฟในแต่ละเดือน ESCO พร้อมเปลี่ยน เครือ่ งปรับอากาศและขอค่าตอบแทนเป็นเงินส่วนแบ่งจากจำ�นวนค่าไฟ ที่โรงแรมสามารถลดไปได้ การประกันเช่นนี้สร้างแรงจูงใจได้อย่าง กว้างขวางแนวคิดต่าง ๆ ที่ว่านี้ ได้รวบรวมไว้เพื่อเป็นฐานในการนำ� ไปสู่การจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยขอยกตัวอย่างต้นแบบ โครงการนำ�ร่องทีเ่ กาะสมุยได้ปรับกลวิธี และนำ�วิถที เี่ หมาะสมจนคิดค้น เป็น Samui Green Model Tourism Jounal | 15


To u r i s m R e s e a r c h

กรณีตวั อย่าง การจัดการท่องเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน เส้นทางก้าวกระโดดของเกาะสมุย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้กำ�หนดแผนดำ�เนิน การทางการส่ ง เสริ ม การท่ อ งเที่ ย วอย่ า งยั่ ง ยื น ในพื้ น ที่ เ กาะสมุ ย จ.สุราษฎร์ธานี ตามแนวคิด 7 Greens โดยบูรณาการทำ�งานกับหน่วย งานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อให้เกิด การดำ�เนินการที่เป็นรูปธรรม อันจะส่งผลให้พื้นที่เกาะสมุยได้รับการ ยอมรับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี และได้รับการดูแลปกป้องอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเป้าหมายองค์กร ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ ทรงคุณค่า พร้อมทั้งปลูกจิตสำ�นึกในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมของ แหล่งท่องเที่ยวให้คงอยู่อย่างยั่งยืนตามข้อเสนอโครงการนี้ได้นำ�เสนอ แนวคิดดังกล่าวข้างต้นโดยใช้แนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่าง ยั่งยืนเป็นฐานคิดสำ�คัญในการทำ�ให้เกิดการจัดการที่เป็นรูปธรรม สู่ การท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) โดยเล็งเห็นความสำ�คัญใน การค้นหากลไกในการปฏิบัติการให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ซึ่ง การดำ�เนินการเพื่อผลนี้มีความจำ�เป็นต้องออกแบบการทำ�งานอย่าง มีส่วนร่วม ตามหลักคิด “โดยชุมชน เพื่อชุมชน” แม้การดำ�เนินงาน เพื่อก้าวสู่การจัดการสู่ความยั่งยืนอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ในมิติต่าง ๆ จะได้เกิดขึ้นและมีหลายภาคส่วนร่วมกัน นำ�พาแนวคิดนี้ ให้เห็นผล อย่ า งกว้ า งขวางมาระยะหนึ่ ง แล้ ว แต่ ก ลไกในการจั ด การพื้ น ที่ สี เขียวที่มาจากความปรารถนาของชุมชน เพื่อชุมชน ตลอดจนการ รวบรวมผลการดำ�เนินกิจกรรมไว้อย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่าง เป็นระบบ อันจะนำ�ไปสู่การประกาศความเป็นสินค้าและบริการเพื่อ การท่องเที่ยวที่รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง จำ�เป็นต้องดำ�เนินการ อย่างต่อเนือ่ งและจริงจัง ดังนัน้ โครงการนีจ้ งึ ดำ�เนินการบนพืน้ ฐานความ ยัง่ ยืนในการจัดการ ทีค่ วรมีการกำ�หนดแผนอย่างรอบคอบและละเอียด ถี่ถ้วน เนื่องจากการจัดการเช่นนี้จำ�เป็นต้องนำ�ลักษณะเฉพาะของ พื้นถิ่นมาเป็นปัจจัยหลักประกอบกับการคิดให้ได้ผลสัมฤทธิ์ทั้งในเชิง การตลาดและการพัฒนาได้ครบถ้วน

การดำ � เนิ น งานนำ � เกาะสมุ ย สู่ ก ารท่ อ งเที่ ย วยั่ ง ยื น ตามแนวคิ ด การ ท่ อ งเที่ ย วที่ รั ก ษาสิ่ ง แวดล้ อ มในกรอบเฉพาะแนวคิ ด “7 Greens Concept” นั้นจำ�เป็นต้องนำ�หลักคิดความเชื่อมโยงของหลากหลาย องคาพยพทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและข้างเคียงในการท่องเที่ยว ทั้งนี้ ทุ ก หน่ ว ยงานย่ อ มมี ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย ในการจั ด การการท่ อ งเที่ ย ว ในพื้นที่ทั้งสิ้น ดังนั้นแผนงานจัดทำ�ตามกรอบการทำ�งานที่เกี่ยวข้องกับ หลากหลายภาคส่วน ดังรูปประกอบการนำ�พืน้ ทีส่ กู่ ารจัดการสิง่ แวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ ต้องมิใช่การมุง่ ไปทีผ่ มู้ สี ว่ นโดยตรงทีเ่ ป็น Primary หรือผูท้ เี่ กีย่ วข้องในภาคอุตสาหกรรมแต่อย่างเดียว จำ�เป็นต้องเชือ่ มโยง ไปถึง Secondary คือ ผูท้ อี่ าจมีสว่ นเกีย่ วข้องรองลงมาหรือโดยอ้อม เช่น ร้านค้า ธนาคาร สือ่ มวลชน และผูท้ ี่ได้รบั ผลกระทบจากการพัฒนาการ ท่องเที่ยวในพื้น ที่ เช่น การจัดการรถสาธารณะ การสาธารณสุข การศึกษา ที่เรียกว่าเป็นกลุ่ม Tertiary ดังภาพประกอบด้านล่างนี้ Think outside the inner circle…

Primary (hotel, attractions, amenities, activities, entertainment, tourism, transport…) Direct impact Secondary (agriculture, retail, banking, manufacturing, construction, communication, recreation…) Indirect impact Tertiary (infrastructure, public transport, health services, education, police & fire…) Dynamic impact

กรอบแนวคิดการดำ�เนินงาน ดังกล่าวแล้วข้างต้นเพือ่ ให้เกิดพืน้ ทีส่ เี ขียวอย่างครอบคลุมและเกิด การกระจายตัวของแนวคิดอย่างรวดเร็วและทัว่ ถึง คณะทำ�งานและทีมที่ ปรึกษาทำ�หน้าทีส่ ร้างกลไกในการขับเคลือ่ นโดยเน้นการมีสว่ นร่วมและ ดำ�เนินงานโดยชุมชน และมีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยภาคส่วน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้เล็งเห็นความเร่งด่วนและความจำ�เป็นในการ ริเริ่มและดำ�เนินการให้สำ�เร็จและกำ�หนดเป้าหมายให้ดำ�เนินงานได้ใน กรอบระยะเวลาที่กำ�หนด โดยในระยะที่ 1 นี้ ใช้หลักคิดซึ่งประยุกต์ จากองค์กรรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อมนานาชาติต่าง ๆ เช่น Earth Check, Green Leaf Foundation คือ หลักการ A B C (Affiliation, Benchmarking, Certification) โดยทั่วไปหน่วยงานเหล่านี้นำ�พาไปสู่ เป้าหมายการรับรอง (Certification) 16 | Tourism Jounal


To u r i s m R e s e a r c h

จากการระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เห็นตรงกันว่า หน่วย งานเหล่านี้ มักมีมาตรฐานและข้อกำ�หนดที่ทำ�ให้หน่วยงานขนาดเล็ก ไม่สามารถก้าวไปถึงฝันได้ ดังนั้นกรอบแนวคิดของโครงการนี้จึงนำ� ความคิดในรูปแบบเราเป็นสีเขียวกันอย่างง่าย ๆ “ก้าววันละนิด ทำ�กัน วันละอย่าง” ซึ่งจะเป็นการสร้างเส้นทาง (Pathway) ไปสู่การรับรอง มาตรฐานได้ต่อไป โดยเริ่มจากการยอมรับ รักษา ปรารถนาที่จะร่วม คือ Advocacy and Acceptance และ การเข้าสู่การประเมินตัวเอง และการแข่งขันกับตนเองอย่างมีระบบ (Self-benchmark) และท้าย สุดมีระบบในการจัดการที่จะดำ�เนินการต่ออย่างต่อเนื่องเห็นผล วัดได้ (Carry Forward)

Our A B C Samui Model A = Advocacy, Acceptance “Yes, we can.” B = (Self) Benchmarking “Yes, we are good.” C = Carry Forward “Yes, we will continue to do better.” Source: Perfect Link Consulting Group, 2012

บทส่งท้าย เส้นทางสู่การจัดการอย่างยั่งยืนไม่เป็น เพียงทางเลือกอีกต่อไป แต่เป็นความจำ�เป็น ที่ต้องดำ�เนินการ ในแต่ละองค์กรแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศต้องพยายามคิดค้นกลวิธีที่จะ ทำ�ให้สมั ฤทธิผ์ ลตามความเหมาะสมของสภาพ ของสังคมกันต่อไป

Samui Going Green Model Tourism Jounal | 17


From the Cover

เรื่อง ชาตรี ประกิตนนทการ

18 | Tourism Jounal


From the Cover

ปรากฏการณ์สำ�คัญอย่างหนึ่งในกระแสท่องเที่ยวไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือ การเกิดขึ้นอย่างมากมายของแหล่ง ท่องเที่ยวชนิดใหม่ที่เรียกว่า “Retro Market” (ตลาดย้อนยุค) Retro Market มิใช่การฟื้นฟูตลาดเก่าที่ซบเซาให้กลับมามีชีวิตใหม่เพียงอย่างเดียว เช่น ตลาดสามชุก หรือตลาดเก่า ทั้งหลายที่นิยมพ่วงท้ายชื่อตลาดแบบใหม่ด้วยคำ�ฮิตว่า “100 ปี” แต่ในกรณีนี้ยังหมายรวมถึงการก่อสร้างพื้นที่ตลาดขึ้นมาใหม่ โดยตั้งใจออกแบบให้มีลักษณะของการจำ�ลองกลิ่นอายและบรรยากาศอันหวนรำ�ลึกย้อนไปถึงตลาดในอดีตเมื่อเกือบ 100 ปี ที่ผ่านมา อาทิ ตลาดนํ้า 4 ภาค พัทยา, ตลาดนํ้าอโยธยา, เพลินวาน, หรือแม้กระทั่ง Cicada Market หัวหิน เป็นต้น ที่น่าสนใจเป็นพิเศษจนต้องนำ�มาเขียนถึง ก็เพราะในทัศนะผม Retro Market มิได้เกี่ยวข้องสักเท่าไรเลยกับสำ�นึกว่าด้วยความ ต้องการที่จะอนุรักษ์หรือรื้อฟื้น แบบแผนวิถีชีวิตดั้งเดิมที่ปรากฏอยู่ในตลาดเก่าทั้งหลายในแบบที่คนส่วนใหญ่มักจะพูดถึงกัน เวลาเมื่อกล่าวถึงโครงการรื้อฟื้นตลาดเก่าให้กลับมามีชีวิตใหม่อีกครั้งแต่อย่างใด โครงการเหล่านี้ โดยเนื้อแท้มิได้เกิดขึ้นมาเพื่อตอบสนองเป้าหมายและผู้ใช้สอยแบบเก่าอีกต่อไป แต่ตัวมันเองคือพื้นที่ชนิด ใหม่ที่มิใช่ทำ�หน้าที่ขายแต่สิ่งของเครื่องใช้หรือของกินตามนิยามของตลาดแบบเดิมเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นพื้นที่ที่เสนอขาย ภาพลักษณ์และความแปลกใหม่ในสถานะของการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวของคนชั้นกลางในเมืองไปพร้อม ๆ กัน กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นก็คือ Retro Market เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมการท่องเที่ยวของคนชั้นกลางในเมืองโดยเฉพาะ อันเป็นผลพวงสืบเนื่องโดยตรงมาจากปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่เราเรียกว่า “Nostalgia Tourism” (การท่องเที่ยว แบบโหยหาอดีต) Tourism Jounal | 19


From the Cover

Retro Market: Nostalgia Tourism แบบไทย ๆ อาจกล่าวได้วา่ สถานทีแ่ ห่งแรก ๆ ทีเ่ ป็นตัวจุดกระแสนีข้ นึ้ ในสังคม ไทย คือ ตลาด 100 ปีสามชุก ที่สุพรรณบุรี ซึ่งเริ่มมีการปรับปรุงขึ้นจน เป็นลักษณะดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบันราว พ.ศ. 2543 และนับตั้งแต่ตลาด สามชุกเป็นต้นมา การรื้อฟื้นตลาดเก่าในรูปแบบเช่นที่ตลาดสามชุกทำ� ก็ได้แพร่หลายกระจายไปทั่วประเทศ ที่ชัดเจนและประสบความสำ�เร็จ ที่สุดก็คือ เชียงคาน และในทีส่ ดุ ปรากฏการณ์นกี้ ็ได้ยกระดับไปสูก่ ารออกแบบก่อสร้าง Retro Market ขึน้ ใหม่โดยที่ไม่จ�ำ เป็นจะต้องยึดโยงอยูก่ บั พืน้ ทีต่ ลาดเก่า อีกต่อไป อาทิ

Nostalgia Tourism: การท่องเทีย่ วบนจินตนาการ ตลาดนํา้ สีภ่ าค พัทยา เมือ่ พ.ศ. 2551 เพลินวาน ว่าด้วยวันชื่นคืนสุข เมือ่ พ.ศ. 2552 ตลาดนํา้ หัวหินสามพันนาม พ.ศ. Nostalgia Tourism คือปรากฏการณ์ในเชิงการท่องเที่ยวรูปแบบ 2554 และ Cicada หัวหิน พ.ศ. 2554

หนึ่ง ที่ตอบสนองความต้องการ “โหยหาอดีต” (Nostalgia) และนำ�มา สู่ความต้องการที่จะหวนย้อนกลับไปมีประสบการณ์ “วันชื่นคืนสุข” ใน อดีตนั้นๆ อีกครั้ง วันชื่นคืนสุขในที่นี้มิได้หมายถึงอดีตในลักษณะประสบการณ์ตรง ทีน่ กั ท่องเทีย่ วแต่ละคนเคยประสบพบเจอมาเองในวัยเด็กแต่เพียงอย่าง เดียว แต่ยงั หมายรวมไปถึงวันชืน่ คืนสุขทีถ่ กู สร้างขึน้ มาเป็นจินตนาการ ร่วมกันของสังคมว่า ณ ยุคสมัยหนึ่งสมัยใดในอดีต คือช่วงเวลาแห่ง ความสุข เจริญรุ่งเรือง หรือสวยงามที่สุด เป็นต้น ยิ่งสังคมไหน ตกอยู่ ในสภาวะที่ขาดความมั่นใจหรือมีวิกฤตต่อ สภาพสังคมในยุคปัจจุบันและรู้สึกหมดหวังต่อสังคมในอนาคตของ ตนเองมากเท่าไร ปรากฏการณ์โหยหาอดีตก็จะยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่ม มากขึ้น และแน่นอนว่า จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเพิ่มขึ้นของสิ่ง ที่เรียกว่า Nostalgia Tourism ผลการศึกษาของ University College London เมื่อ ค.ศ. 2007 พบว่า 90% ของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษเลือกที่จะท่องเที่ยวในสถานที่ ที่ เ กี่ ย วพั น เชื่ อ มโยงกั บ ประสบการณ์ ห วานชื่ น ในอดี ต ของตนเอง มากกว่าที่จะเลือกท่องเที่ยวในสถานที่แปลกใหม่ที่ ไม่เคยไปมาก่อน ปรากฏการณ์ Nostalgia Tourism นี้มิใช่เกิดขึ้นในสังคมใดสังคมหนึ่ง แต่มันกำ�ลังเป็นกระแสการท่องเที่ยวในระดับสากลที่มีอัตราการเจริญ เติบโตเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี ไม่เว้นแม้กระทั่งในสังคมไทย ซึ่งเมื่อมอง สำ�รวจย้อนกลับไปประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่า Nostalgia Tourism ของไทยที่โดดเด่นที่สุด คือ การเกิดขึ้นของ Retro Market ในรูปแบบต่าง ๆ 20 | Tourism Jounal

ทัง้ นีย้ งั ไม่นบั รวมเทรนด์ในการออกแบบโรงแรมแนวใหม่ทเี่ ริม่ มอง เห็นการใช้รปู แบบและบรรยากาศของตลาดเก่ามาเป็นแนวคิดหลักของ โรงแรม เช่น พระนครนอนเล่น เป็นต้น หากพิจารณาดูแนวโน้มการเกิดขึ้นของ Retro Market ในสังคม ไทย เราจะพบข้อสังเกตสำ�คัญประการหนึ่งคือ เป็นกระแสที่เกิดขึ้น เชื่อมโยงไปสู่วิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2540 อย่างมีนัยสำ�คัญ ที่เป็น เช่นนี้เพราะ Retro Market คือปรากฏการณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวพัน โดยตรงกับปรากฏการณ์ Nostalgia ในสังคมไทย หลังวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อ พ.ศ. 2540


From the Cover

ภาพ : บัณฑิต วงษ์บัณฑูรย์

วิกฤตดังกล่าว ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนชั้นกลางถึงคนชั้นสูงในเมือง คนกลุ่มนี้ตกอยู่ ใน สภาวะที่ขาดความมั่นใจต่อสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน และเกิดความ รูส้ กึ หมดหวังต่ออนาคต คนชัน้ กลางไปจนถึงคนชัน้ สูงในเมืองต่างพากัน ผิดหวังต่อระบบทุนนิยมและกระแสโลกาภิวัตน์ หากย้อนกลับไปศึกษา บรรยากาศในยุคดังกล่าว เราจะพบเห็นบรรยากาศในลักษณะทีต่ อ่ ต้าน ทุนนิยมโลกาภิวัตน์อย่างขนานใหญ่ในสังคมไทย กระแสชาตินิยมทาง เศรษฐกิจถูกปลุกขึน้ มาอย่างเป็นรูปธรรม กระแสเศรษฐกิจพอเพียงได้ รับการพูดถึงในวงกว้าง วิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในสังคมแบบบ้านนอกต่าง จังหวัดถูกสร้างขึ้นเป็นภาพ ในจินตนาการของคนชั้นกลางที่อยากจะ ย้อนหวนกลับไปสัมผัสอีกครั้ง ภาพของชุมชนต่างจังหวัด บ้านเรือน ทุ่งนา และตลาดเก่า ได้ถูก สร้างขึ้นเป็นแบบจำ�ลองในจินตนาการที่สวยงามเป็นสุขของสังคมไทย และถูกโฆษณาสัง่ สอนผ่านสือ่ ต่าง ๆ แทบไม่เว้นแต่ละวัน จนภาพเหล่านี้ ได้ถกู สถาปนาขึน้ เป็นภาพแห่ง “วันชืน่ คืนสุข” ของสังคมไทยในอุดมคติ ทุนนิยม/บริโภคนิยม คือ กิเลสบาปหยาบช้า โลกาภิวัตน์ คือ ผู้ร้ายที่จ้องทำ�ลายความเป็นไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ทางออกใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง คือ พระเอกที่จะช่วยเยียวยาไม่ให้สังคมไทยดำ�ดิ่ง ลงไปยังเหวลึกของความเลวร้าย สิ่งเหล่านี้ คือ สมการในความคิดของ คนชัน้ กลางและสูงในสังคมไทยเป็นจำ�นวนมากภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งภาพดังกล่าวนี้ได้ถกู ประกอบสร้างขึ้นจนเป็นมาตรฐานการรับรู้หลัก ของคนชั้นกลางไทยในสมัยต่อมาด้วย แม้ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นคนรุ่น ต่อมาทีม่ ไิ ด้ประสบพบวิกฤตเศรษฐกิจเมือ่ พ.ศ. 2540 ด้วยตนเองก็ตาม

หากกล่าวเฉพาะในมิติของการท่องเที่ยว ภาพของการท่องเที่ยว ในรูปแบบเดิม ๆ ถูกมองว่าเป็นสิง่ ฟุง้ เฟ้อภายใต้กระแสทุนนิยม บริโภค นิยม และด้วยบริบทเช่นนี้เองที่ Retro Market ได้ถือกำ�เนิดขึ้น และเข้า มาเติมเต็มช่องว่างในกระแสการท่องเที่ยวไทยยุคหลังวิกฤตเศรษฐกิจ Retro Market มิได้ทำ�ให้ ทุนนิยม/บริโภคนิยม อันเป็นกิเลสบาป ลดน้อยหายไปแต่อย่างใด เพราะตัวมันเองก็คือผลผลิตโดยตรงของ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม/บริโภคนิยม เพียงแต่ Retro Market มีเปลือก นอกของรูปแบบที่ทำ�หน้าที่เป็นรูปสัญลักษณ์อันสอดคล้องและตอบรับ กับภาพ “วันชื่นคืนสุข” ของวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมในสังคมแบบบ้านนอก ต่างจังหวัด อันเป็นภาพสมมติในจินตนาการของคนชัน้ กลางในเมืองได้ เป็นอย่างดีกเ็ ท่านัน้ เอง Retro Market ได้เข้าช่วยเติมเต็มและเยียวยาอาการโหยหาอดีต ของคนชัน้ กลางในเมืองทีป่ ระสบกับสภาวะไม่มนั่ คงและไร้ความไว้วางใจ ต่อปัจจุบันและอนาคตของตนเอง โดยไม่ต้องทำ�การสำ�รวจอย่างจริงจัง ก็จะพบได้ชัดเจนว่า Retro Market ทัง้ หลาย กลุม่ ทีเ่ ข้าไปใช้สอยหลักล้วนแล้วแต่เป็นคนชัน้ กลางขึน้ ไปทัง้ สิน้ ตลาดเหล่านีม้ ไิ ด้ท�ำ หน้าทีส่ นองตอบต่อผูค้ นในละแวกตลาดใน ความหมายเดิมอีกต่อไป แต่ท�ำ หน้าทีเ่ ป็นแหล่งท่องเทีย่ วในรูปแบบโหย หาอดีตของคนชั้นกลางในเมือง ตลาดสามชุก เชียงคาน และเพลินวาน คือตัวอย่างที่ชัดเจนของปรากฏการณ์นี้

Tourism Jounal | 21


From the Cover

มิ ใ ช่ เ ป็ น ความโบราณเก่ า แก่ ที่ ล้ า สมั ย ในแบบอยุ ธ ยาหรื อ ต้ น รัตนโกสินทร์ที่มีนัยในเชิงเก่าแล้วเก่าเลย ไร้ซึ่งความเท่ เก๋ ในแบบที่ คนชั้นกลางในเมืองต้องการ ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจว่า Theme ของ Retro Market ที่มุ่งตลาดคนชั้นกลางในเมือง เช่น เพลินวาน หรือ Cicada จึงเป็นไปในลักษณะดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิง่ ตลาด 2 แห่งนีต้ งั้ อยู่ในพืน้ ทีห่ วั หิน ซึง่ ในปัจจุบนั หัวหินมีภาพลักษณ์อนั เป็นจุดขายทีเ่ ชือ่ มโยงกับยุคสมัยรัชกาลที่ 7 อย่าง ชัดเจนมากกว่ายุคสมัยอืน่ ซึง่ ก็ยงิ่ เป็นเหตุผลหนุนเสริมให้แนวคิดในการ ออกแบบชัดเจนยิ่งขึ้น

องค์ประกอบสำ�คัญของ Nostalgia Tourism ในกรณี Retro Market ทั้งหลายของสังคมไทย คือ การออกแบบพื้นที่ ฉากร้านค้า ตลอดจนองค์ประกอบต่างๆ ของพืน้ ที่ให้เต็มไปด้วยวัตถุสญ ั ลักษณ์แห่ง อดีตกาลในระดับทีล่ น้ เกิน ไม่วา่ จะเป็น การระดมจัดวางสิง่ ของย้อนยุค แผ่นเสียง ป้ายโฆษณาย้อนยุค ขนมโบราณ พัดลมเก่าแก่ ขวดนํา้ อัดลม ยุคเก่า ฯลฯ ซึง่ การระดมใส่ในระดับทีล่ น้ เกินเช่นนี้ เป็นไปเพือ่ เป้าหมาย ในการทำ�เป็นฉากสำ�หรับถ่ายภาพโดยเฉพาะ ซึง่ การถ่ายภาพถือว่าเป็น วัฒนธรรมการโหยหาอดีตที่เป็นลักษณะเฉพาะโดดเด่นมากของคนชัน้ กลางในเมืองในสังคมไทย การถ่ายภาพตนเองโดยมีฉากหลังเป็นตลาดเก่า ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ตลาดเก่าจริงหรือตลาดเก่าแบบปลอม ๆ ทั้งหลาย หรือการถ่ายภาพ ตนเองร่วมกับวัตถุสงิ่ ของทีย่ อ้ นกลับไปสูอ่ ดีตเมือ่ 100 ปีทแี่ ล้ว ล้วนแล้ว แต่เป็นการตอบสนองต่ออาการโหยหาอดีตของคนชัน้ กลางในสังคมไทย ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ Social Media ทั้งหลาย เอื้อต่อการแชร์ภาพเหล่านี้ให้เพื่อนฝูงพี่น้องได้เห็นกันอย่างรวดเร็วใน ชั่วไม่กี่วินาที ก็ยิ่งทำ�ให้ Retro Market กลายเป็นพื้นที่ที่ได้รับความ นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้ อ น่ า สั ง เกตอี ก ประการคื อ Retro Market ในสั ง คมไทย จะมิได้ถูกออกแบบให้ย้อนยุคเก่าแก่ไปไกลจนถึงตลาดโบราณยุคต้น กรุงรัตนโกสินทร์หรือเก่าไปกว่านั้น โดย Period อันเป็นที่นิยมจะหวน ย้อนกลับไปมากที่สุดคือ ไม่เกินสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นหลัก ทำ�ไมต้องยุคสมัยนี้ คำ�ตอบในทัศนะส่วนตัว คือ เพราะยุคสมัย ดังกล่าวมีนัยในเชิงสัญลักษณ์และความหมายบางอย่างที่เชื่อมโยงไป สู่ความทันสมัยในระดับสากลด้วย เพราะความรับรู้ของสังคมไทยที่มี ต่อสมัยรัชกาลที่ 5-7 คือ ภาพสังคมในอุดมคติของคนชั้นกลางไทยที่ มีส่วนประกอบทั้ง อดีตหวานชื่น สงบสุข และสวยงาม กับ ภาพความ เจริญที่ทัดเทียมนานาอารยประเทศในระดับสากล พูดง่าย ๆ ก็คือ เป็น ยุคสมัยที่เก่าแต่ไม่เชย โบราณแต่เก๋ ย้อนยุคแต่ไม่ล้าสมัย

22 | Tourism Jounal

จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่า Retro Market เป็ น ผลผลิ ต ทางสั ง คมวั ฒ นธรรมที่ สั ม พั น ธ์ สอดคล้องโดยตรงกับกระแส Nostalgia Tourism ในสังคมไทยยุคหลังวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ตั ว มั น เองเกิ ด ขึ้ น อย่ า งมี บ ริ บ ทภายใต้ ค วาม เปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมชุดหนึ่ง หากข้อสังเกตถ้าบทความนี้นำ�เสนอถูกต้อง Retro Market ใน สังคมไทยก็ดจู ะยังมีอนาคตทีส่ ดใสอีกนานพอสมควร เพราะบริบทสังคม ไทยปัจจุบนั ยังคงตกอยูภ่ ายใต้วกิ ฤตทีท่ �ำ ให้คนชัน้ กลางในเมืองส่วนใหญ่ รู้สึก ไม่พอใจ/ไม่มั่นคง ต่อปัจจุบันและอนาคตสักเท่าไร และทำ�ให้ อาการอยากย้อนอดีตกลับไปหาวันชื่นคืนสุขในจินตนาการยังคงเป็น กระแสที่สำ�คัญอยู่อย่างมาก ซึ่ง Retro Market คงจะกลายเป็นเครื่อง มือเล็กๆ อย่างหนึ่งที่ช่วยเยียวยาอาการโหยหาอดีตของคนกลุ่มนี้ ได้ ไม่มากก็น้อย


Tourism Jounal | 23


Tourism Trend

ภาพตัวแทนของ

ความเป็น

ไทย วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ

ในชั้นเรียนวิชาการเขียนสารคดีท่องเที่ยว ผมในฐานะวิทยากรและน้องนักศึกษา ช่วยกันยกตัวอย่างสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ของประเทศไทยที่น่าสนใจ เพื่อนำ�มาเป็น กรณีศึกษาในการหาประเด็น และเรียบเรียงข้อมูลเพื่อเขียนเป็นเรื่องราว นักศึกษาคนหนึ่งยกตัวอย่างจังหวัดราชบุรีขึ้นมา โดยกล่าวถึงโครงการ Art Normal งานศิลปะภายในเมือง ที่จัดโดยคุณวศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ แห่งเถ้าฮงไถ่ นอกเหนือจากการอภิปรายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรายละเอียดของกิจกรรม จุดชม งานศิลปะภายในเมืองราชบุรี ที่เต็มไปด้วยร้านรวง และสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วย ศิลปะในชีวิตประจำ�วัน พวกเราก็ยังช่วยกันอภิปรายถึงประเด็นทางสังคมด้านอื่น ๆ อีกหลากหลาย

24 | Tourism Jounal


Tourism Trend

Tourism Jounal | 25


Tourism Trend

ภาพ : วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์

ยกตัวอย่างเช่น บางคนแสดงความคิดเห็นในประเด็นเรือ่ งพลังของ ภาคประชาชน การจัดงานกิจกรรมทางศิลปะขนาดใหญ่เช่นนี้ สะท้อน ให้เห็นความเข้มแข็งของภาคประชาชน ความตืน่ ตัวในเรือ่ งสิทธิเสรีภาพ มีความพยายามจัดการเมือง ส่งเสริมการศึกษา ศิลปวัฒนธรรมของ ท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต ในขณะที่บางคน แสดงความคิดเห็นแย้งไปอีกทาง ว่าการจัด กิจกรรมทางศิลปะกลางเมืองเช่นนี้ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ด้านการ ท่องเทีย่ วมากกว่าหรือเปล่า? เราจะรูไ้ ด้อย่างไร? ว่างานนีส้ ะท้อนความ เป็นจังหวัดราชบุรีได้จริง และชาวเมืองราชบุรีทั่วไปเห็นด้วยกับการจัด งานโครงการงานศิลปะนี้เพียงไร?

ความเห็ น แย้ ง เช่ น นี้ มั ก จะมี ใ ห้ เ ห็ น เป็ น ปกติ ธรรมดา ในยุคสมัยที่ : - รูปแบบการสื่อสาร ที่มีความจำ�เป็นจะต้อง สือ่ สารกันผ่านสือ่ กลาง ด้วยการใช้ภาพตัวแทน และ - ระบบเศรษฐกิจของเรา แปลงทุกสิ่งทุกอย่าง ให้กลายเป็นสินค้าหมุนเวียนซื้อขายกันได้ เหมือนกับเมื่อหลายปีก่อน ผมจำ�ได้วา่ กระทรวงพาณิชย์ของไทย พยายามรณรงค์ขาย “ความเป็นไทย” ของสินค้าไทย ทั้งตลาดใน ประเทศและต่างประเทศ โดยจัดทำ�โฆษณาเผยแพร่ทางโทรทัศน์ชนิ้ หนึง่ ส่งเสริมเน้นไปที่ผลไม้ไทย เป็นภาพชายชาวต่างชาติสูงอายุกำ�ลังเดิน ตลาด และแวะเลือกซื้อผลไม้ไทยจากแม่ค้าสาวสวยชาวไทย ผลไม้และแม่คา้ สาวสวย ถูกนำ�มาใช้เป็นภาพตัวแทนของความเป็น ไทย ที่ถูกทำ�ให้กลายเป็นสินค้าเพื่อขาย ในขณะที่ลูกค้าชาวต่างชาติ มี ภาพตัวแทนเป็นชายสูงอายุ ที่มายืนเลือกซื้อหาสินค้านี้ ได้ตามใจชอบ มีการใช้มุมกล้องแทนสายตาของลูกค้า โลมไล้ไปบนผลไม้ชนิดต่าง ๆ กำ�ลังสุกปลัง่ น่ารับประทาน ตัดสลับกับภาพแม่คา้ สาวสวย กำ�ลังยิม้ แย้ม อย่างเชิญชวน ราวกับว่าวัตถุสองสิ่งนี้เทียบเคียงกันอยู่ ประเด็นคำ�ถามเดิมก็วนกลับมาอีกครัง้ ว่าผลไม้ไทยและผูห้ ญิงไทย เป็นภาพตัวแทนของความเป็นไทยหรือเปล่า และความเป็นไทยถูกทำ�ให้ กลายเป็นสินค้าด้วยวิธีเล่าเรื่องแบบนี้ มีความเหมาะสมเพียงไร 26 | Tourism Jounal

ภาพตัวแทนเกิดขึ้นด้วยวิธีการ - เลือกหยิบบางมุมมอง หรือบางองค์ประกอบของสิ่งนั้นออกมา - แล้วนำ�มาขยาย ให้ความสำ�คัญ จนดูโดดเด่นขึ้นมา นอกจากสินค้าที่เป็นวัตถุจับต้องได้อย่างผลไม้แล้ว ธุรกิจบริการ อย่างการท่องเที่ยว ก็ใช้วิธีการสร้างภาพตัวแทนเช่นนี้ ในการรณรงค์ ส่งเสริมเช่นกัน นักศึกษาในชั้นเรียนได้ยกอีกหลายกรณีตัวอย่าง เช่น ป้าย หลักกิโลเมตรยักษ์ ตามสถานที่ท่องเที่ยวที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นจุด ถ่ายภาพ อย่างเช่นทีห่ น้าโรงพยาบาลสวนผึง้ จังหวัดราชบุรี หรือทีป่ าย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่เชียงคาน จังหวัดเลย นอกจากนี้ ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นมาอย่าง จงใจ อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์มังกร จังหวัดสุพรรณบุรี ทัวร์คาวบอย ของ ฟาร์มโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา รวมไปถึงสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว ทีอ่ ้างอิงอยูก่ บั ความเป็นท้องถิน่ นัน้ ๆ อย่างเช่น ทัวร์หมู่บ้านกระเหรี่ยงคอยาว จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตลาดนํ้า อัมพวา สมุทรสงคราม สถานที่และกิจกรรมท่องเที่ยวเหล่านี้ สร้างขึ้นมาจากการใช้ภาพ ตัวแทน โดยเลือกหยิบบางมุมหรือบางองค์ประกอบของท้องถิน่ ทีม่ พี นื้ ฐานมาจากข้อเท็จจริงบางประการ เช่น พิกดั สถานทีบ่ นแผนที่ ลักษณะ ทางประชากรศาสตร์ วิถีชีวิต สินค้า อาชีพ ฯลฯ เรื่อยไปถึงตำ�นาน โบราณ หรือตำ�นานร่วมสมัยของท้องถิ่น แล้วนำ�ขึ้นมาขยายว่าคือสิ่งที่สำ�คัญที่สุดของท้องถิ่นนั้น ๆ ใส่ รายละเอียด เรื่องราว กำ�หนดออกมาเป็นเส้นทางและพิธีกรรมที่ต้อง


Tourism Trend

านิชวรภาชน์

ภาพ : วศินบุรี สุพ

ทำ � ตาม ให้ กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วที่ เ ข้ า มาซื้ อ บริ ก ารท่ อ งเที่ ย ว ได้ เ กิ ด ประสบการณ์ตามไปเรื่อย ๆ เช่น การไปถ่ายภาพหมู่ ณ จุดหลักกิโลเมตรตามทีก่ �ำ หนดไว้ การ เข้าชมพิพธิ ภัณฑ์ในห้องปรับอากาศทีเ่ ต็มไปด้วยการแสดงแสง สี เสียง มัลติมเี ดีย หรือเข้าร่วมทัวร์แบบกลางแจ้ง เพือ่ ดูสถานทีก่ ารทำ�งานจริง วิถีชีวิตจริง รับฟังตำ�นานเรื่องเล่าของแต่ละท้องถิ่น เมื่อมาถึงสุดเส้นทางและเสร็จสิ้นพิธีกรรมท่องเที่ยวตามกำ�หนด นักท่องเที่ยวก็จะซึมซับประสบการณ์เข้าไปอย่างเต็มเปี่ยม จนกระทั่ง ถึงจุดที่พึงพอใจ ยอมรับภาพตัวแทนเหล่านั้นอย่างสนิทใจ สิ้นสงสัย และซื้อของที่ระลึก ของฝาก ที่เป็นภาพตัวแทนของสถานที่ท่องเที่ยว นั้นกลับบ้านไป

ภาพตัวแทนของความเป็นไทย ไล่เรียงไปจนถึง ความเป็นท้องถิ่นของแต่ละแห่ง ถูกทำ�ให้กลาย เป็นสินค้าเพื่อการท่องเที่ยว ด้วยวิธีการแบบนี้ ในกรณีของกิจกรรม Art Normal จังหวัดราชบุรี คุณวศินบุรี ยืนยัน ว่าเขาไม่ได้คาดหวังผลประโยชน์จากการท่องเทีย่ วเป็นหลัก แต่ มีจุดประสงค์เพื่อนำ�ศิลปะกลับคืนสู่ผู้คนในท้องถิ่นเป็นสำ�คัญ การจัดงานโดยมีภาคประชาชนหลายฝ่ายเข้ามาร่วมมือกัน จะ ทำ�ให้ทุกคนมีความตื่นตัว ไม่รอคอยการจัดการโดยภาครัฐเพียงฝ่าย เดียว อีกทั้งการเข้าถึงศิลปะ จะทำ�ให้เมืองราชบุรีมีเสน่ห์ ชาวบ้านมี ความสุข ทุกคนตระหนักรู้ถึงคุณค่า ความงามต่าง ๆ ในชีวิตประจำ�วัน

ถึ ง แม้ ว่ า กิ จ กรรมนี้ จ ะมี ค วามน่ า สนใจ จนสามารถดึ ง ดู ด นั ก ท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมงานได้มาก แต่คุณวศินบุรีกล่าวว่าเขารู้ดี ว่าการท่องเที่ยวที่มีการจัดการอย่างไม่เหมาะสม จะทำ�ให้วิถีชีวิตของ ชาวบ้านในท้องถิน่ ได้รบั ผลกระทบ เหมือนกับกรณีของสถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว หลาย ๆ แห่ง ที่เสื่อมโทรมและทำ�ลายวิถีชีวิตชาวบ้าน ดังนั้น การจัดงาน Art Normal จึงระมัดระวังผลกระทบนี้ และ เอาใจใส่ชาวบ้านในท้องถิ่นเป็นหลัก กลับมาในห้องเรียน นักศึกษามีค�ำ ถามทีต่ อ้ งร่วมกันอภิปรายต่อไป ว่ามีความเป็นไปได้หรือเปล่า ทีเ่ ราจะสร้างการท่องเทีย่ วที่ไม่ได้มพี นื้ ฐาน ตัง้ อยูบ่ นข้อเท็จจริงใด ๆ ของสังคม ประเทศ หรือของท้องถิน่ นัน้ ๆ เลย มันจะมีรูปแบบอย่างไร และมันจะสร้างปัญหาอะไรหรือเปล่า คำ�ตอบคือเป็นไปได้แน่นอน มันคือสิ่งที่เราเห็นกันอยู่อย่างชินตา ในปัจจุบัน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสุดโปรดของเราด้วยซํ้า โดยเรา ไม่ทันฉุกคิด ยกตัวอย่าง เพลินวาน ที่หัวหิน ซานโตรินี ชะอำ� กรีนเนอรี่ เขาใหญ่ ตลาดนํ้าอโยธยา จังหวัดอยุธยา รีสอร์ทสไตล์สวิตเซอร์แลนด์ ที่เต็มไปด้วยฝูงแกะสีขาวโพลน มีเปิดให้บริการกันทั่วอำ�เภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี ในต่างประเทศก็มีจัดการท่องเที่ยวแบบนี้มากมาย เช่น เซนโตซ่า ของสิงคโปร์ ทีส่ ร้างเป็น Theme Park ขนาดใหญ่ บรรจุโรงแรมหรูหราเกิน กว่าห้าดาว บ่อนคาสิโน สวนสนุก และกิจกรรมสันทนาการหลากหลาย เอาไว้ บนเกาะที่ ไ ม่ ไ ด้ มี ค วามเป็ น มาเกี่ ย วข้ อ งกั บ รู ป แบบการ ท่องเที่ยวเหล่านั้นเลย

หรืออย่างในประเทศพัฒนาแล้ว ที่ประชาชนมี ดัชนีความสุขมาก ๆ อย่างฟินแลนด์ ก็สร้างเกาะ สวนสนุกขึน้ มาจากคาแรกเตอร์การ์ตนู มูมนิ รวม ไปถึงบ้านจริง ๆ ของซานตาคลอส ตัวจริง (ซึ่ง ไม่มีอยู่จริง) Tourism Jounal | 27


Tourism Trend ด้วยความสมัครใจหรือความจำ�ยอมก็ตาม ประเทศไทยกลายเป็น ประเทศที่ “ถูกเที่ยว” โดยนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก เพื่อนำ�รายได้เข้า ประเทศของเรา เราจึงมีผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวมากมายหลายหลาก ทั้งที่มีและไม่มี พื้นฐานตั้งอยู่บนข้อเท็จจริงของสังคม ท้องถิ่น และ ประเทศ เช่นเดียวกันกับโฆษณาส่งเสริมสินค้าไทย รณรงค์ขายผลไม้ไทย ของกระทรวงพาณิชย์ การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทยก็สร้างงานโฆษณา มากมาย ผ่านสือ่ ต่าง ๆ หลากหลาย เพือ่ ส่งเสริมการท่องเทีย่ ว นำ�ความ เป็นไทยในแง่มมุ ต่าง ๆ มาสร้างเป็นภาพตัวแทน แล้วนำ�ออกไปขายทัว่ โลก

ประเด็นทีน่ กั ศึกษาสนใจอภิปรายกันในชัน้ เรียน คือประเทศเหล่านี้ มีความสูญเสียอะไรจากการจัดการท่องเทีย่ วในรูปแบบนีห้ รือเปล่า การ สร้างกิจกรรมการท่องเทีย่ วที่ไม่ได้สะท้อนความจริง ไม่ได้สะท้อนความ เป็นประเทศนั้น ๆ หรือจังหวัดนั้น ๆ เป็นการทำ�ลายหรือสร้างสรรค์ มากกว่ากัน ผลกระทบจากการท่องเที่ยวนั้น นอกจากเรื่องการทำ�ลายสิ่ง แวดล้อมแล้ว ยังมีผลกระทบทางสังคมให้คำ�นึงถึงอีกหลากหลายด้าน เพราะความขาดแคลนทางเศรษฐกิจ ทำ�ให้เรามีความจำ�เป็นที่จะ ต้องหาสินค้าหรือบริการมา เพือ่ ขายออกไป แล้วนำ�รายได้เข้ามาสูท่ อ้ งถิน่ จังหวัด หรือระดับประเทศ ถ้าหาสินค้าหรือบริการที่เป็นรูปธรรมไม่ได้ ก็ต้องนำ�เรื่องราว นามธรรม อย่างเช่นความเป็นไทย ความเป็นท้องถิ่น มาแปลงให้เป็น รูปธรรม เช่น หลักกิโลเมตร สถานที่ท่องเที่ยว ของที่ระลึก ฯลฯ แล้ว ก็ทำ�ให้กลายเป็นสินค้าและบริการ เพื่อขายออกไป 28 | Tourism Jounal

ความเป็นไทย ความเป็นท้องถิ่น ทั้งที่มีอยู่จริงและไม่มีอยู่จริง ถู ก นำ � ออกขายผ่ า นภาพตั ว แทนมากมาย ในทุ ก วั น นี้ สิ น ค้ า และ บริ ก ารสำ � หรั บ การท่ อ งเที่ ย ว ไม่ ไ ด้ จำ � กั ด ตั ว เองอยู่ แ ค่ ใ นสถานที่ ท่ อ งเที่ ย ว แต่ ก ลั บ กลายเป็ น ว่ า ทุ ก พื้ น ที่ ทุ ก ปริ ม ณฑล วิ ถี ชี วิ ต ประจำ � วั น ของเราที่ มี ค วาม Exotic ไม่ แ พ้ ช ายหาด ทะเล ภู เ ขา อุทยาน ฯลฯ ก็ถูกทำ�ให้กลายเป็นสินค้าได้ทั้งหมด จากประสบการณ์สว่ นตัวเมือ่ ปีทแี่ ล้ว ซึง่ ผมได้รว่ มชมโครงการ Art Normal จังหวัดราชบุรี ผมและกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มใหญ่ ขี่จักรยาน และขับรถยนต์ส่วนตัวตามกันไปเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อแวะดูวิถีชีวิตของ ชาวเมืองราชบุรีตามจุดต่าง ๆ ทั่วเมือง ชาวเมืองราชบุรีทำ�ตัวเป็นเจ้าบ้านที่ดีเยี่ยม ยอมให้เราเยี่ยมชม วิถีชีวิตที่เต็มไปด้วย “ความเป็นราชบุรี” ในแง่มุมต่าง ๆ เราเริ่มต้นแวะ ชมริมฝั่งแม่นํ้า ร้านอาหารเก่าแก่ ร้านตัดผมสไตล์โบราณ ซากตึกร้าง ที่มีวัยรุ่นไปวาดภาพกราฟฟิตี้ทิ้งไว้ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย เรื่อย ไปจนถึงร้านกาแฟนั่งชิลล์ ๆ และโรงงานเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียง โด่งดังประจำ�จังหวัด โดยส่วนตัว ผมไม่มั่นใจว่าชีวิตประจำ�วันของชาวราชบุรี จะถูก รบกวนมากหรือน้อยแค่ไหน เมือ่ มีนกั ท่องเทีย่ วกลุม่ ใหญ่ ไปยืนมุงทีห่ น้า บ้าน หรือหน้าร้านของพวกเขา โดยมีวทิ ยากรช่วยบรรยายให้ความรูต้ าม จุดต่าง ๆ อย่างละเอียด แต่กแ็ น่นอนว่า การจราจรในเมืองราชบุรวี นั นัน้ ติดขัดและสับสน เพราะขบวนรถจักรยานและรถยนต์ของนักท่องเที่ยว อย่างพวกเรา ค่อย ๆ เคลื่อนผ่านไปอย่างช้า ๆ


Tourism Trend

เพียงแค่เรามองดูสิ่งใด ก็เท่ากับเราได้เข้าไปสร้าง ความเปลี่ยนแปลงสิ่งนั้นแล้ว ผมเชื่อเช่นนี้ ในมุมของสิ่งที่ถูกมอง ชาวเมืองราชบุรีที่รู้สึกตัว ว่าตนเองกำ�ลัง ถูกนักท่องเที่ยวมองดูแบบ The Tourist Gaze จะมีความเปลี่ยนแปลง อย่างไร และก็ย้อนกลับมาที่คำ�ถามเริ่มต้นของน้องนักศึกษาในชั้นเรียน การเขียนสารคดีท่องเที่ยวว่า ภาพตัวแทนของ “ความเป็นราชบุรี” ที่ นักท่องเที่ยวอย่างพวกเราไปเยี่ยมชมนั้น สะท้อนความจริงของราชบุรี มากน้อยแค่ไหน คุณวศินบุรีแสดงความคิดเห็นว่า ถึงแม้ชาวบ้านในเมืองราชบุรีจะ ถูกรบกวนจากนักท่องเที่ยวบ้าง ในช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม แต่สิ่งสำ�คัญ ที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน คือความรู้สึกภาคภูมิใจ สายตาของนักท่องเที่ยว นักวิชาการ และศิลปินกลุ่มใหญ่ จะทำ�ให้ ชาวบ้านได้รบั รูว้ า่ วิถชี วี ติ ประจำ�วันของตนเอง ไม่ใช่เรือ่ งโบราณ ครํา่ ครึ หรือยากจน แต่มันกลับเต็มไปด้วยศิลปะ วัฒนธรรม ความน่าสนใจ มี คุณค่าควรรักษาไว้

ด้วยความตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากการท่องเที่ยว และการจัด กิจกรรมอย่างเหมาะสม คุณวศินบุรีเชื่อว่างาน Art Normal จะเป็น ประโยชน์ต่อท้องถิ่นมากกว่าผลเสีย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะได้หรือเสีย จังหวัดราชบุรีเป็นเพียงตัวอย่าง เล็ก ๆ ของสิ่งที่เกิดกับประเทศไทยทั้งประเทศ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่าน มา และประเทศไทยก็เป็นเพียงตัวอย่างเล็ก ๆ ของสิ่งที่เกิดกับธุรกิจ การท่องเที่ยวของทุกประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ปาย เชียงคาน สุพรรณบุรี ราชบุรี ไปจนถึงสิงคโปร์และฟินแลนด์ เมือ่ มีนกั ท่องเทีย่ วจำ�นวนมหาศาลจากทัว่ โลก ต่างก็เดินทางไปเยีย่ ม ชมภาพตัวแทนของกันและกัน ความเป็นสิง่ โน้น ความเป็นสิง่ นี้ ... ทัง้ มีจริง หรือไม่มีจริง ... ทั้งที่สะท้อนความจริงได้อย่างเที่ยงตรงหรือบิดเบือน ไม่เพียงแค่ราชบุรี ไม่เพียงแค่ประเทศไทย แต่เป็นโลกทั้งใบ ที่ กำ�ลังถูกเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการมองดูของสายตานักท่องเที่ยว นี่คือ สิ่งที่เราทุกคนจะต้องซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน เพราะการเติบโตของธุรกิจ การท่องเที่ยว ผู้ถูกเที่ยวทุกคน ทุกเมือง ทุกประเทศ ต่างก็ต้องมีต้นทุน ที่จะต้องจ่ายออกไป

Tourism Jounal | 29


To u r i s m S e m i n a r

ทัศนะ

ของผู้ประกอบการท่องเที่ยวที่มีต่อการเปิด

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เรื่องและภาพ กองวิจัยการตลาด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดงานแถลงผลการสำ�รวจทัศนะของผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวที่มีต่อการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายใต้ชื่อ “ท่องเที่ยว ไทยพร้อมเข้าสู่ AEC หรือยัง” เมื่อวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 10 อาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กลุ่มเป้าหมายในการ สำ�รวจครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจำ�นวน 400 ราย จากทั่วประเทศ โดยมีการจัดเก็บข้อมูลในระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม - 7 พฤศจิกายน 2555 และมีสาระสำ�คัญจากการสำ�รวจ ดังนี้

30 | Tourism Jounal


To u r i s m S e m i n a r

ท่องเที่ยวไทย

พร้ อ ม เข้าสู่ AEC หรือยัง

Tourism Jounal | 31


To u r i s m S e m i n a r

การประเมินสถานการณ์ ธุรกิจท่องเที่ยวไทยในปัจจุบัน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2555 สิ่งที่เป็นปัจจัยส่งผลกระทบด้านลบ สำ�หรับธุรกิจมากที่สุด คือ ภาวะเศรษฐกิจโลก (-2.33) รองลงมา คือ สถานการณ์หนี้ยุโรป (-1.57) ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย ในปัจจุบัน (-1.43) และอัตราแลกเปลี่ยน (-1.26) ขณะที่ปัจจัยที่ส่ง ผลกระทบด้านบวกสำ�หรับธุรกิจ คือ มาตรการของรัฐบาล (+3.04) รองลงมา คือ อัตราดอกเบี้ย (+2.24) และเสถียรภาพทางด้าน การเมือง (-1.55) ตามทัศนะของผู้ประกอบการต่อสถานภาพทางธุรกิจท่องเที่ยว ไทยในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ประกอบการร้อยละ 41.7 คิดว่ายอดขายเพิ่มขึ้น โดยได้รับจำ�นวน นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เมื่อมองภาพ รวมสถานการณ์การท่องเที่ยวทั้งปี 2555 เปรียบเทียบกับปี 2554 ผู้ประกอบการร้อยละ 44.9 เห็นว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวดีขึ้น โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนมีจำ�นวนเพิ่มขึ้นมากที่สุด รองมาคือ กลุ่มนักท่องเที่ยวอาเซียนและเอเชีย

ทัศนคติต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทย

ผู้ประกอบการมองว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวของ ประเทศไทยที่มีการพัฒนาดีขึ้น คือ สถานที่ท่องเที่ยว รองลงมา คือ การประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว สาธารณูปโภค และ การพัฒนา/อนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว โดยผู้ประกอบการมีระดับความ พึงพอใจมากที่สุดในเรื่องการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว (6.42) เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและจีน ผู้ประกอบการมีความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งในเรื่องความ เป็นมิตรของประชาชน และความคุ้มค่าในการท่องเที่ยว ในขณะที่เวียดนามเป็นอันดับหนึ่งในด้านแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและ กฎระเบียบที่เอื้อต่อการท่องเที่ยว กัมพูชาเป็นอันดับหนึ่งในด้านแหล่ง ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สิงคโปร์เป็นอันดับหนึ่ง ในด้านแหล่งซื้อสินค้า การบริการ การคมนาคมขนส่ง โรงแรมที่พัก การสื่อสาร และความปลอดภัยในทุกด้าน สำ�หรับสิ่งที่ผู้ประกอบการมองว่าประเทศไทยยังขาดการพัฒนา มากที่สุด และต้องการให้รัฐบาลดำ�เนินการอย่างเร่งด่วน คือ การพัฒนาบริการและแหล่งท่องเที่ยว การรักษาความปลอดภัย และ การประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทย

32 | Tourism Jounal


To u r i s m S e m i n a r

ทัศนคติต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ในการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ผู้ประกอบการมองว่าการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 จะก่อให้เกิดผลกระทบด้านบวกต่อธุรกิจมากที่สุด โดย เฉพาะในด้านการเพิ่มขึ้นของจำ�นวนนักท่องเที่ยวและรายได้ด้านการ ท่องเที่ยว ในขณะที่ผลกระทบด้านลบที่จะเกิดต่อธุรกิจเป็นเรื่องการแข่งขัน ที่สูงขึ้น คู่แข่งมากขึ้น และธุรกิจมีรายได้/กำ�ไรลดลง สำ�หรับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย จากการเปิดประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน คือ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านบวกในด้านการเพิ่ม ขึ้นของจำ�นวนนักท่องเที่ยว รายได้ด้านการท่องเที่ยว แรงงานใน อุตสาหกรรม และส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนามากขึ้น ในส่วนของ ผลกระทบด้านลบ คือ เกิดการแข่งขันสูงขึ้น การเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 52.7) มองว่าเป็นโอกาสสำ�หรับการท่องเที่ยว โดยเฉพาะใน เรื่องจำ�นวนนักท่องเที่ยว รายได้ด้านการท่องเที่ยว และการเดินทาง ท่องเที่ยวที่เสรีมากขึ้นโดยไม่ต้องมี VISA อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ไม่ควร มองข้าม คือ คู่แข่งที่มากขึ้น และบุคลากรด้านการท่องเที่ยวรวมถึง องค์กรธุรกิจของไทยยังไม่มีความพร้อมในด้านการแข่งขัน โอกาสของการท่องเที่ยวไทยจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน คือ การเข้ามาลงทุนด้านการท่องเที่ยวในประเทศไทย การออกไปลงทุนในประเทศอาเซียน ระบบการขนส่ง และการเข้ามา ทำ�งานของแรงงานในอาเซียน สำ�หรับสิ่งที่เป็นอุปสรรคของ การท่องเที่ยวไทย คือ ภาษาในการสื่อสาร

การเตรียมความพร้อมในการรับมือ กับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภาคธุรกิจไทยมากกว่าร้อยละ 85 มีการเตรียมความพร้อม ในระดับมากถึงปานกลาง โดยมีการเตรียมความพร้อมมากที่สุด เรื่องการพัฒนาสินค้าและบริการให้ได้มาตรฐานสากล และการพัฒนา เว็บไซต์ให้เป็นสากล ผู้ประกอบการมองว่ารัฐบาลให้ความสำ�คัญและเตรียมความ พร้อมรับมือกับ AEC ในระดับปานกลาง โดยต้องการให้รัฐบาล เร่งดำ�เนินการเรื่องการสร้างมาตรฐานการบริการและการท่องเที่ยว รวมทั้งการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคอาเซียนด้านการท่องเที่ยว สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำ�เนินการเป็นอันดับแรกเพื่อรองรับ AEC คือ การกระตุ้นตลาดการท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ รองลงมาคือ การยกระดับคุณภาพสิ่งอำ�นวยความสะดวก ความปลอดภัยในสถานที่ท่องเที่ยวให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล และการฟื้นฟูและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน

Tourism Jounal | 33


To u r i s m S e m i n a r

ทัศนะของผู้ประกอบการ เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวไทย ในปี 2556 เรื่องและภาพ กองวิจัยการตลาด

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับศูนย์พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดงานแถลงผลการสำ�รวจ ทัศนะของผู้ประกอบการท่องเที่ยวเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งผล ต่อการท่องเที่ยวไทยในปี 2556 ซึ่งนับว่าเป็นการแถลงผลการสำ�รวจ ความคิดเห็นเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 8 มกราคม 2556 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 10 อาคารการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยสำ�รวจจากผู้ประกอบ การจำ�นวน 600 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ การสำ�รวจพบว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2555 ที่ผ่านมา ผู้ ประกอบการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวส่วนใหญ่ร้อยละ 48.7 เห็นว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยว ในขณะที่ร้อยละ 32.8 เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อธุรกิจการท่องเที่ยวมาก ทั้งนี้ โดย ส่วนใหญ่ร้อยละ 84.2 ได้รับนักท่องเที่ยวตรงตามเป้าหมายทางธุรกิจที่ วางไว้ และอีกร้อยละ 2.5 ได้รับนักท่องเที่ยวเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ผูป้ ระกอบการส่วนใหญ่ มากกว่าร้อยละ 50 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจ โลกและเศรษฐกิจไทย จะเหมือนเดิม ในขณะเดียวกันมีผู้ประกอบการ ถึงร้อยละ 36 ที่มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น และร้อยละ 32.7 มองว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น สำ�หรับสถานการณ์การท่องเที่ยวของไทย มีผู้ประกอบการถึง ร้อยละ 46.8 มองเห็นโอกาสและมองว่าสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว ของไทยในปี 2556 จะมีทิศทางการเติบโตดีขึ้น โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ มีโอกาสการขยายตัวสูง คือ กลุม่ นักท่องเทีย่ วเอเชียตะวันออกและกลุม่ อาเซียน รวมถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยเองก็มีโอกาสขยายตัวและ น่าจับตามองเช่นเดียวกัน ในขณะที่ผู้ประกอบการยังคงกังวลต่อกลุ่ม ตลาดนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคยุโรปและอเมริกา นอกจากนี้ ตามทัศนะของผูป้ ระกอบการ มองว่ากลุม่ ตลาดนักท่องเทีย่ ว 34 | Tourism Jounal


To u r i s m S e m i n a r ที่มีศักยภาพ และควรได้รับการผลักดันมากที่สุด คือ กลุ่มท่องเที่ยว เชิงอนุรักษ์ (ร้อยละ 32.7) รองลงมา คือ กลุ่มฮันนีมูน/แต่งงาน (ร้อยละ 21.3) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านบวกต่อธุรกิจมากที่สุด คือ การเปิด ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นโยบายการส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลด้าน IT และการเติบโตของสื่อสังคม ออนไลน์ ส่วนปัจจัยทีส่ ง่ ผลกระทบด้านลบต่อธุรกิจมากทีส่ ดุ คือ ความ ขัดแย้งทางการเมืองไทย การปรับขึน้ ค่าจ้าง 300 บาท ทัว่ ประเทศ การ แข็งค่าขึ้นของเงินบาท และปัญหาความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว จากภาวะเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการมองว่า การเติบโตของ AEC เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบด้านบวกต่อธุรกิจท่องเที่ยวมากที่สุด ใน ขณะทีป่ จั จัยทีส่ ง่ ผลกระทบด้านลบมากทีส่ ดุ คือ ภาวะหนีย้ โุ รป รองมา คือ ภาวะหน้าผาทางการเงิน (Fiscal Cliff) ในสหรัฐอเมริกา จากปัจจัยความเสีย่ งต่อธุรกิจในเรือ่ งภัยธรรมชาติ สถานการณ์ทาง ด้านการเมือง ภาวะเศรษฐกิจโลกทีย่ งั คงชะลอตัว ค่าเงินบาททีผ่ นั ผวน และแข็งขึ้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ได้มีการเตรียมความพร้อมในการ รับมือกับสถานการณ์ความเสีย่ งต่าง ๆ ทีอ่ าจเกิดขึน้ และส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจในระดับปานกลาง สำ�หรับสถานการณ์ในปี 2556 ผู้ประกอบการ ส่วนใหญ่มีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและ ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลกเท่า ๆ กัน สิง่ ทีภ่ าคเอกชนต้องการให้รฐั บาล เร่งดำ�เนินการมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ส่งเสริมการท่องเที่ยว แก้ไข

ปัญหาเศรษฐกิจ แก้ไขปัญหาการเมือง ดูแลเรื่องความปลอดภัยของ นักท่องเทีย่ ว รวมทัง้ ระบบสาธารณูปโภคและการพัฒนาแหล่งท่องเทีย่ ว ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการในการพัฒนาการท่องเที่ยวในอนาคต ได้แก่ การสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในทุกสถานทีข่ องประเทศไทย การรักษาบรรยากาศทางการเมืองให้สงบ การรักษาความเป็นไทย วิถี ไทยที่เรียบง่ายและบริสุทธิ์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และพัฒนา แหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพด้านบุคลากรด้านการ ท่องเที่ยว และการดูแลรักษาธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

Tourism Jounal | 35


To u r i s m S e m i n a r

รูปแบบการจัดงาน

Cruise Shipping Asia-Pacific 2012 เรื่อง เด่นเดือน เหลืองเช็ง วิภาดา น้อยพานิช

การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้สง่ พนักงานเดินทางเข้าร่วมงาน Cruise Shipping Asia-Pacific 2012 ซึ่งจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน 2555 ณ Marina Bay Cruise Centre ประเทศ สิงคโปร์ โดยได้สรุปรายงานการเข้าร่วม งานตามรายละเอียด ดังนี้

กิจกรรมหลักที่สำ�คัญในงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1. การสัมมนาเกี่ยวกับสินค้าท่องเที่ยวด้านเรือสำ�ราญภายใต้ Theme “Optimizing Opportunities in the Asia-Pacific Cruise Industry” โดยมีวิทยากรที่เป็น Key Person ในธุรกิจเรือสำ�ราญเป็นผู้ บรรยาย 2. การอบรม Travel Agent Training ระดับ Beginner และ Intermediate ให้แก่ตัวแทนขายของบริษัทนำ�เที่ยวในสิงคโปร์ เพื่อให้มี ความรู้ในการนำ�เสนอสินค้าและบริการท่องเที่ยวด้านเรือสำ�ราญแก่ นักท่องเที่ยว 3. การเจรจาธุรกิจที่เกี่ยวข้องด้านเรือสำ�ราญ โดยมี Exhibitor เข้าร่วมงานเป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตเรือสำ�ราญ, Port Operator, Ship Broker, Recruit Company รวม 43 ราย ในจำ�นวนนี้มีองค์กร ส่งเสริมการท่องเที่ยว (NTO) ของประเทศสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เข้าร่วมด้วย

สาระสำ�คัญของการเข้าร่วมสัมมนา 1. โอกาส ข้อจำ�กัด และความท้าทายของการท่องเที่ยวด้านเรือ สำ�ราญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การสัมมนาภายใต้ Theme “Optimizing Opportunities in the Asia-Pacific Cruise Industry” มีสาระสำ�คัญเกี่ยวกับศักยภาพของ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้านเรือสำ�ราญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และการพัฒนาส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวด้านเรือสำ�ราญในภูมิภาคนี้ วิทยากรได้กล่าวถึงโอกาส ข้อจำ�กัด และความท้าทายของการท่องเทีย่ ว ด้านเรือสำ�ราญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สรุปได้ดังนี้

โอกาสทางการตลาดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในการรองรับ นักท่องเที่ยวกลุ่มเรือสำ�ราญในอนาคต 1. ตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มเรือสำ�ราญมีแนวโน้มขยายตัวสูง • ข้อมูลทัว่ ไป : ปี 2012 คาดการณ์ตวั เลขนักท่องเทีย่ วกลุม่ Cruise จะเพิม่ เป็น 20 ล้านคน โดยอยู่ในอเมริกาเหนือ 12.5 ล้านคน ยุโรป 5 ล้าน คน และภูมภิ าคอืน่ 2.4 ล้านคน และ ในปี 2015 คาดว่าจะมีนกั ท่องเทีย่ ว ในกลุ่ม Cruise ราว 22.3 ล้านคน โดยอยู่ ในตลาดอเมริกาเหนือ 13.7 ล้านคน ยุโรป 5.7 ล้านคน และภูมิภาคอื่น 2.9 ล้านคน • ตลาดนักท่องเทีย่ วเรือสำ�ราญในอเมริกาเหนือ เป็นตลาดที่ใหญ่ ทีส่ ดุ มีจ�ำ นวนนักท่องเทีย่ วมากกว่า 10 ล้านคน ครองส่วนแบ่งการตลาด ถึงร้อยละ 91 อย่างไรก็ตาม ตัง้ แต่ปี 2000 เป็นต้นมา จำ�นวนนักท่องเทีย่ ว กลุ่มเรือสำ�ราญที่อยู่นอกภูมิภาคอเมริกาเหนือมีอัตราเพิ่มขึ้น ถึง 3 เท่า โดยส่วนแบ่งการตลาดเพิม่ จากร้อยละ 9 เป็นร้อยละ 30 ในปี 2011 • สมาคม Cruise Line International Association วิเคราะห์

ภาพ : บัณฑิต วงษ์บัณฑูรย์ 36 | Tourism Jounal


To u r i s m S e m i n a r โอกาสทางการตลาดในภูมิภาคเอเชียว่าในปัจจุบัน มี Penetration Rate เพียง 0.01% เท่านั้น หากสามารถส่งเสริมตลาดในภูมิภาคนี้ ให้เพิ่ม Penetration Rate ขึ้นเป็น 1% ได้ก็จะเท่ากับจำ�นวนนักท่อง เที่ยวกลุ่มเรือสำ�ราญถึง 40 ล้านคน • จากการคาดการณ์ในเชิงเศรษฐกิจพบว่า การจับจ่ายใช้สอย ของชนชัน้ กลางจากทัว่ โลกจะเพิม่ สูงขึน้ จาก 21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็น 56 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2030 และ 80% ของจำ�นวนการ จับจ่ายใช้สอยของชนชัน้ กลางทีเ่ พิม่ ขึน้ นีจ้ ะมาจากชาวเอเชีย โดย เฉพาะ ชาวจีน ซึง่ ถือเป็นตลาดทีม่ ศี กั ยภาพทีจ่ ะพัฒนาให้เป็นตลาดนักท่องเทีย่ ว กลุม่ เรือสำ�ราญในอนาคต โดยคาดว่าชนชัน้ กลางในจีนราว 300 ล้านคน เป็นตลาดศักยภาพสำ�หรับกลุ่มตลาดเรือสำ�ราญในจีน • การเกิดตลาดใหม่ (New Asian Source Market) ซึง่ มีศกั ยภาพ ในการเติบโตสูง ได้แก่ 1. จีน ในปี 2011 มี Market size ประมาณ 500,000 คน และ คาดว่าจะเพิ่มเป็น 1 ล้านคน ในปี 2015 ซึ่งเป็นเพียงร้อยละ 0.3 ของ ประชากร Middle Class (300 ล้านคน) ในจีนซึ่งเป็นตลาดเป้าหมาย เท่านั้น นอกจากนี้ประเทศจีนมีนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลุ่ม Cruise Tourism เดินทางเข้ามาท่องเทีย่ วหรือใช้จนี เป็นจุดเริม่ ต้นในการเดินทาง โดยเรือสำ�ราญปีละกว่า 460,000 คน 2. ญี่ปุ่น ปัจจุบันมี Market size ประมาณ 200,000 คน โดยมี Cruise Liner ที่เป็นทั้ง Local Cruise Lines และ International Cruise Line ในตลาด โดยมีการพัฒนาท่าเรือภายในประเทศให้เป็น Homeport เต็มรูปแบบ 3. เกาหลี ปัจจุบันมี Market size ประมาณ 60,000 คน มี International Cruise Liner เข้าไปให้บริการ และเริ่มมี Local Cruise Liner เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2012 ภายใต้ชื่อ Harmony Cruise 4. อินเดีย ปัจจุบันมี Market size ประมาณ 80,000 คน และยัง ไม่มี Local Cruise Liner มีเพียงตัวแทนขายของบริษัท International Cruise Liner เท่านั้น ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2012 จำ�นวนนักท่องเที่ยวกลุ่มเรือสำ�ราญ ในเอเชีย จะมากกว่า 1.2 ล้านคน และเพื่อรองรับการเติบโตของตลาด ใหม่ดังกล่าว ในปัจจุบัน บริษัท Cruise Liner จึงได้เพิ่มจำ�นวนพนักงาน ประจำ�เรือที่สามารถสื่อสารภาษาจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี รวมทั้งเพิ่ม บริการอื่น ๆ เป็นภาษาดังกล่าวด้วย อาทิ เคเบิลทีวี Show & Entertainment ภัตตาคาร อาหารและเครื่องดื่ม ป้ายชี้ทาง เป็นต้น 2. จำ�นวนเส้นทางเดินเรือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เพิ่มมากขึ้น • บริษัท Cruise Liner รายใหญ่มแี นวโน้มนำ�เรือสำ�ราญขนาดใหญ่ เข้ามาให้บริการในภูมิภาคนี้เพิ่มขึ้น • ตัวอย่าง : เรือสำ�ราญ Sea Dreams เสนอขายเส้นทางใหม่ในเอเชีย -เส้นทางภูเก็ต-ย่างกุ้ง 6/7 คืน -เส้นทางบาหลี-กรุงเทพ 7 คืน -เส้นทางไป-กลับ สิงคโปร์ 7 คืน รวมถึงแวะภูเก็ต 3 / 4 คืน -เส้นทางอินโดนีเซีย-ปาปัวนิวกินี-ออสเตรเลีย 14 คืน -เส้นทางกรุงเทพ-กัมพูชา-เวียดนาม-Sanya (จีน)-มาเก๊า-ฮ่องกง 14 คืน การท่องเทีย่ วอินโดนีเซียกำ�ลังจะพัฒนาจุดแวะพักใหม่ คือ Probolinggo เพื่อนำ�เสนอประสบการณ์ท่องเที่ยวภูเขาไฟ โดยนำ�เสนอให้ Cruise Liner ผนวกเข้าในเส้นทางเดินเรือจากสิงคโปร์-บาหลี อีกด้วย

ภาพ : บัณฑิต วงษ์บัณฑูรย์

3. จำ�นวนเรือสำ�ราญใหม่ ๆ ที่เพิ่มขึ้นในตลาด • นับตัง้ แต่ปี 2000 มีเรือสำ�ราญใหม่ทเี่ ข้าเป็นสมาชิกของ Cruise Lines International Association (CLIA) จำ�นวน 143 ลำ� คิดเป็น อัตราการเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า • เฉพาะในปี 2012 มีเรือสำ�ราญใหม่ที่เข้าเป็นสมาชิกของ CLIA ถึง 13 ลำ� 4. การพัฒนาปรับปรุง/ขยายท่าเรือและสิ่งอำ�นวยความสะดวก ต่าง ๆ ในประเทศทีเ่ ป็น RegionalCruiseHub ของภูมภิ าค (สิงคโปร์, จีน, ฮ่องกง) เพือ่ ขยายการรองรับเรือสำ�ราญทีจ่ ะเข้าสูภ่ มู ภิ าคนีม้ ากขึน้ เช่น • สิงคโปร์ลงทุนสร้าง Marina Bay Cruise Centre เพื่อเป็น Cruise Terminal ด้วยงบประมาณ 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึง่ เริม่ เปิด ใช้งานในเดือนพฤษภาคม 2012 โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถรองรับ นักท่องเที่ยวกลุ่มเรือสำ�ราญได้จำ�นวน 1.3 ล้านคน ในปี 2013 (เพิ่ม จาก 1 ล้านคนในปี 2010) • จีนลงทุนสร้างท่าเรือใหม่ใน 4 เมืองหลัก ได้แก่ Shanghai, Xiamen, Tianjin, Qingdao เพื่อรองรับเรือสำ�ราญหรูหราขนาดใหญ่ โดยคาดการณ์ว่าท่าเรือที่เมืองเซี่ยงไฮ้จะมีเรือสำ�ราญเข้ามาเทียบท่า เพิ่มขึ้นจาก 62 ลำ�ในปี 2012 เป็น 150 ลำ�ในปี 2013 • นอกจากนี้ ในเดือนสิงหาคม 2012 รัฐบาลจีนออกกฎหมาย อนุญาตให้ Foreign Cruise Operator จัดตัง้ ตัวแทนธุรกิจเพือ่ ดำ�เนินการ ได้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครัง้ แรก ซึง่ ในขณะนี้ Cruise Lines ที่ใหญ่ทสี่ ดุ 3 แห่ง ได้แก่ Costa, Star Cruises และ Royal Caribbean ได้เข้าไป ดำ�เนินการรุกตลาดจีนอย่างเต็มที่ • รัฐบาลฮ่องกงอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง Hong Kong Kai Tak Cruise Terminal โดยจะเริ่มดำ�เนินการในเดือนมิถุนายน 2013

ข้อจำ�กัด

1. Cruise Liner มีความต้องการที่จะนำ�เรือสำ�ราญเข้ามายัง ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แต่ยังมีข้อจำ�กัดด้านจำ�นวนท่าเรือที่ ไม่เพียง พอต่อการรองรับเรือสำ�ราญขนาดใหญ่ได้ ซึ่งจำ�เป็นต้องใช้ระยะเวลา ในการสร้างและพัฒนาท่าเรือ อย่างไรก็ตาม Mr. Calvin Tan, Asia Pacific Regional Director ของบริ ษั ท Royal Caribbean International ได้ให้ความเห็นถึง Cruise Tourism ในประเทศไทยว่า ประเทศไทยยังคงเป็น Destination หลักของเส้นทางเดินเรือในภูมภิ าค เอเชีย แม้วา่ ในขณะนีย้ งั ไม่มกี ารพัฒนาท่าเรือสำ�หรับรองรับเรือสำ�ราญ โดยเฉพาะ แต่สงิ่ ทีส่ �ำ คัญยิง่ กว่าคือการปรับปรุงและพัฒนาการอำ�นวย ความสะดวกให้กบั นักท่องเทีย่ วให้มรี ะบบมากยิง่ ขึน้ อาทิ การตรวจคน เข้าเมือง ศุลกากร ฯลฯ ขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งบริเวณท่าเรือ อาทิ แท็กซี่ รถโดยสาร เป็นต้น 2. มีค่าใช้จ่ายด้านนํ้ามันสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ตลาดระยะไกล Tourism Jounal | 37


To u r i s m S e m i n a r

ความท้าทาย 1. การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในรูปแบบเรือสำ�ราญ ให้กบั นักท่องเทีย่ วในภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ ซึง่ เป็นกลุม่ นักท่องเทีย่ วทีม่ ี ศักยภาพ รวมทัง้ การให้ความรูแ้ ละทำ�ความเข้าใจเกีย่ วกับอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวด้านเรือสำ�ราญแก่ผู้เกี่ยวข้องในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในกลุม่ Travel Agents ทีจ่ ะเป็น ผูน้ �ำ เสนอขายแก่นกั ท่องเทีย่ ว โดยตรง 2. การพัฒนาและนำ�เสนอ Cruise Destination แหล่งใหม่ที่ สามารถดึงดูด Cruise Liner ให้เลือกบรรจุอยู่ในเส้นทางเดินเรือ 3. การพัฒนาปรับปรุง/ขยายท่าเรือและสิ่งอำ�นวยความสะดวก ต่าง ๆ เพื่อรองรับเรือสำ�ราญ จำ�เป็นต้องใช้เงินทุนสูง และต้องอาศัย ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน 4. การพัฒนา Home Based Market สร้างความต้องการของ ตลาด Cruise ภายในประเทศ เพื่อให้มีความต้องการของนักท่องเที่ยว จากภายในประเทศนัน้ ๆ นอกเหนือจากนักท่องเทีย่ วจากต่างประเทศที่ เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวอยู่แล้ว 2. แนวทางการพัฒนา Cruise Destination วิทยากรได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนา Cruise Destination โดยได้ยกตัวอย่างจากประเทศอินโดนีเซียโดยมี กระบวนการดังนี้ 1. การคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพโดดเด่น น่าสนใจ 2. การนำ�เสนอพื้นที่ / จัดให้ Cruise Liner มาสำ�รวจ โดยต้อง แสดงให้เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพ และจะสามารถสร้างกำ�ไรให้ กับ Cruise Liner ได้มากน้อยเพียงใด 3. การพัฒนา Facility พืน้ ฐานเพือ่ ใช้อ�ำ นวยความสะดวกเป็นการ ชั่วคราว เช่น ทุ่นลอยสำ�หรับขนส่งนักท่องเที่ยวขึ้นฝั่ง 4. การพัฒนา Permanent Facility เช่น ท่าเทียบเรือนํ้าลึก Cruise Terminal ทั้งนี้ ในปี 2012 ประเทศอินโดนีเซียประมาณการว่าจะมีเรือ สำ�ราญแวะพักจำ�นวน 214 Calls และมีจำ�นวนนักท่องเที่ยวราว 113,000 คน ทั้งนี้ Port of Calls ที่สำ�คัญในปัจจุบันได้แก่ บาหลี บุโรพุทโธ และเกาะโคโมโด ซึ่งทางอินโดนีเซียกำ�ลังจะพัฒนาจุดแวะ พักใหม่ คือ ภูเขาไฟ Probolinggo โดยผนวกเข้าในเส้นทางเดินเรือ จากสิงคโปร์-บาหลี นอกจากนั้น วิทยากรยังได้กล่าวถึงปัจจัยสำ�คัญในการเลือก Cruise Destination / Port of Call ดังนี้ 1. ต้นทุนค่าใช้จา่ ย โดยเฉพาะค่านํา้ มันและค่าบริการอำ�นวยความ สะดวกที่ท่าเรือ 2. ผลตอบแทน/กำ�ไรที่จะเกิดขึ้น ทั้งจากค่าแพ็คเกจที่ขายได้ ค่า จับจ่ายใช้สอยบนเรือ และค่า Shore Excursion 3. เป็นเมืองทีส่ ามารถเดินทางเชือ่ มโยงได้โดยเครือ่ งบิน (ในกรณี ที่จะขายแพ็คเกจ Fly & Cruise) 4. เป็นเมืองทีม่ โี รงแรมได้มาตรฐาน สามารถรองรับนักท่องเทีย่ ว จำ�นวนมากได้ 5. ท่าเรือไม่ควรใช้รว่ มกับท่าเรือขนส่งสินค้า และต้องเป็นท่าเรือที่ สามารถเข้าถึงได้งา่ ยเพือ่ ความสะดวกในการบริการผูโ้ ดยสาร สัมภาระ รวมทั้งการลำ�เลียงอาหาร นํ้า อุปกรณ์ต่าง ๆ ฯลฯ ขึ้นเรือ 38 | Tourism Jounal

ทั้งนี้ วิทยากรจาก Princess Cruises ให้ข้อมูลว่า ร้อยละ 80 ของ ผู้โดยสาร จะเลือกซื้อ Excursion Tours ล่วงหน้าผ่านทางเว็บไซต์ของ ทางบริษัท Cruise และสำ�หรับเส้นทางเดินเรือในเอเชียนั้น ผู้โดยสาร มีสัดส่วนการซื้อ Excursion ในแต่ละ Port สูงถึงร้อยละ 50 อย่างไร ก็ตาม รายได้ของ Cruise Liner ส่วนใหญ่มาจากค่าตั๋ว โดยค่า Tours & Excursion คิดเป็นร้อยละ 3 ของรายได้เท่านั้น ซึ่งทาง Cruise Liner ก็ ต้องการผลักดันให้รายได้ส่วนนี้เพิ่มขึ้นด้วย 3. ความร่วมมือกับพันธมิตรในการพัฒนา Fly & Cruise Package • ในปี 2011 จำ�นวนเรือสำ�ราญที่แวะจอดที่สิงคโปร์และฮ่องกง มีทั้งสิ้น 498 Calls มีจำ�นวนนักท่องเที่ยว 1,076,003 คน ซึ่งในจำ�นวน นี้ประมาณการว่าร้อยละ 50 หรือ 538,000 คน เป็น Fly & Cruise Passenger • วิทยากรจาก Costa Cruise ซึ่งเป็น Cruise Liner ที่ใหญ่ที่สุด ในยุโรป ได้นำ�เสนอ Model ความร่วมมือระหว่าง Cruise Liner และ สายการบิน Air France ในการพัฒนา Fly & Cruise Package ร่วม กันตั้งแต่ปี 2007 โดยความร่วมมือดังกล่าวรวมถึงการจัดตารางบินที่ เหมาะสม, Guaranteed Air-seat, Loyalty Programme, One Stop Service Operation ฯลฯ ทั้งนี้ในระยะเวลา 5 ปีแรก มีจำ�นวนแพ็คเกจ ที่จำ�หน่ายได้ 180,000 แพ็คเกจ • นอกจากนีย้ งั นำ�เสนอกรณีศกึ ษา Costa Cruise และสายการบิน Emirates ซึ่งในปี 2010 Costa มีจำ�นวนนักท่องเที่ยวเรือสำ�ราญ 140,000 คนซึ่งเดินทางโดยแพ็คเกจ Fly & Cruise ของ Emirates จากประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับจากจุดบินในยุโรปมายัง ตะวันออกกลางและเอเชีย ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย อังกฤษ ทั้งนี้ยอดขายแพ็คเกจในช่วงปี 2009/2010 เพิ่ม ขึ้นถึง 5 เท่า


To u r i s m S e m i n a r

สาระสำ�คัญของการเข้าร่วมการอบรม Travel Agent Training ผู้จัดงานได้จัดการอบรม Travel Agent Training ในวันที่ 17-18 กันยายน 2555 ระหว่างเวลา 14.15-16.30 น. ให้กับตัวแทนขายของ บริษั ทนำ�เที่ยวในสิงคโปร์ เพื่อให้มีความรู้ในการนำ�เสนอสินค้าและ บริการท่องเที่ยวด้านเรือสำ�ราญแก่นักท่องเที่ยว ในระดับ Beginner และ Intermediate โดยได้เชิญวิทยากรที่เป็น Key Person ในธุรกิจ เรือสำ�ราญเป็นผู้บรรยาย เนื้อหาการอบรมประกอบด้วยหัวข้อสำ�คัญ ต่าง ๆ ได้แก่ - Intro to Cruise: เป็นการแนะนำ�ให้ผู้ประกอบการรู้จักการ ท่องเทีย่ วด้านเรือสำ�ราญ กล่าวคือ การท่องเทีย่ วด้านเรือสำ�ราญเป็นการ ท่องเทีย่ วรูปแบบใหม่ สามารถเสนอขายให้กบั นักท่องเทีย่ วทุกกลุม่ ทุก เพศทุกวัย (แต่กลุ่มหลัก ๆ คือกลุ่มฮันนีมูน กลุ่มครอบครัว และกลุ่ม ผู้สูงอายุ) และสามารถเสนอขายได้ตลอดทั้งปี มีความคุ้มค่าเงิน เนื่องจากนักท่องเที่ยวไม่ต้องเสียค่าบัตรโดยสารเครื่องบินหรือค่ารถ แต่ก็สามารถเดินทางไปได้หลายประเทศในทริปเดียว - Onboard Product for Asian Cruisers: วิทยากรกล่าวถึงสินค้า ที่ให้บริการบนเรือซึง่ ครอบคลุมการอำ�นวยความสะดวกและความสบาย ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ที่พัก อาหารทุกมื้อ สปา สปอร์ตคลับ บาร์ การ แสดงโชว์ เกม คาสิโน บริการซักรีด บริการเลี้ยงเด็ก ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม เป็นต้น พร้อมกันนี้ ได้แนะนำ�ให้ผปู้ ระกอบการต้องรูจ้ กั การ ทำ�ฐานข้อมูลลูกค้า (CRM) เพื่อจะได้รู้ว่าลูกค้าของเราต้องการอะไร - Luxury Cruise Market: กล่าวถึงตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มเรือ สำ�ราญซึง่ เป็นนักท่องเทีย่ วกลุม่ Luxury สิง่ ทีน่ กั ท่องเทีย่ วกลุม่ นีต้ อ้ งการ

ภาพ : บัณฑิต วงษ์บัณฑูรย์

คือคุณค่า (อาจไม่สนใจเรื่องราคา) ต้องการได้รับประสบการณ์ที่ น่าประทับใจและน่าจดจำ� ต้องการได้รับการบริการที่เป็นเลิศ ความ สะดวกสบายอย่างที่สุด สถานที่ที่ต้องการไปต้อง Unique, Exotic เป็นต้น ดังนั้น ในการเสนอขายแพ็คเกจท่องเที่ยวเรือสำ�ราญ ผู้ขาย ต้องให้ความสำ�คัญกับเรื่องของคุณค่าและประสบการณ์ที่แขกจะได้รับ มากกว่าเรื่องของราคา และต้องเน้นการนำ�เสนอ Cruise Destination ที่แปลกใหม่ เช่น ขั้วโลกเหนือ แอฟริกาใต้ ฯลฯ รวมถึงการบริการบน เรือทีล่ กู ค้าจะได้รบั ตลอดการเดินทาง เพือ่ เป็นการกระตุน้ และสร้างแรง จูงใจในการซื้อขายแพ็คเกจ

ข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากการเข้าร่วมงาน ข้อมูลจากการสัมมนาแสดงให้เห็นว่าตลาด Cruise Tourism ใน ภูมภิ าคเอเชียแปซิฟกิ กำ�ลังกลายเป็นตลาดเป้าหมายของผูเ้ ล่นรายสำ�คัญ คือ Cruise Liner จากทัว่ โลก ในส่วนของประเทศไทยนัน้ แม้วา่ สิง่ อำ�นวย ความสะดวกและท่าเรือยังไม่ได้รบั การพัฒนาเพือ่ รองรับ Cruise Tourism อย่างเต็มรูปแบบ แต่เพื่อมิให้เสียโอกาสทางการตลาดดังกล่าวข้างต้น ททท. จึงควรพิจารณาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวสำ�หรับกลุ่ม ตลาดนี้อย่างเป็นรูปธรรมในข้อจำ�กัดที่ยังคงมีอยู่

Tourism Jounal | 39


Tourism Talk

รายได้ ก้าวกระโดด ด้วย อาหาร ไทย เรื่อง ยุวดี นิรัตน์ตระกูล

เป็นที่ยอมรับกันในระดับสากลว่า ประเทศไทยมีชื่อเสียงด้านอาหาร จากการ ติดตามผลการจัดอันดับในหลาย ๆ สำ�นัก ก็พบว่า อาหารไทยโดดเด่น เป็นที่รู้จัก และนิยมชมชอบ แม้จะมีบางครั้งที่ขัดอกขัดใจอยู่บ้าง อย่างในกรณี การจัดอันดับ ของ Future Brand ในปี 2011–2012 ด้านอาหาร ประเทศไทยติดอันดับ 6 ในขณะ ที่สิงคโปร์ ติดอันดับ 5 ทำ�ให้เกิดคำ�ถามอื้ออึงกันในวงการว่า อาหารสิงคโปร์ คือ อะไร ? แล้วที่สำ�คัญอาหารไทยแพ้สิงคโปร์ตรงไหน นอกจากนั้น แล้ว ก็ยังมีข้อ สงสัยในการจัดอันดับเรื่องอาหารของ TOP 50 นั้น มีอาหารไทยติดอันดับอยู่ 4 รายการคือ แกงมัสมั่น ติดอันดับ 1 ต้มยำ�กุ้ง ติดอันดับ 8 นํ้าตกหมู ติดอันดับ 19 และ ส้มตำ� ติดอันดับ 46 การจัดอันดับของ CNNgo ครั้งนี้ ทำ�ให้บุคคลในวงการ ท่องเที่ยวไทยหลายคน ตั้งคำ�ถามกันว่า แกงมัสมั่น มาได้อย่างไร 40 | Tourism Jounal


Tourism Jounal | 41


Tourism Talk

รศ. ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต

นอกจากประเด็นข้างต้นแล้ว ขณะนี้ ก็มีข้อมูลชุดใหม่ที่น่าสนใจ มาก ไม่ว่าจะเป็น เรื่องความโดดเด่นของ Street Food เมืองไทย หรือข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการส่งออกของวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารไทย ที่สูงขึ้น ดังนั้น คอลัมน์ Tourism Talk ในฉบับนี้ ตั้งประเด็นการพูดคุย เกีย่ วกับเรือ่ งอาหารไทย โดยขอเรียนสัมภาษณ์ รศ. ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งเป็น ที่ยอมรับกันอย่าง กว้างขวางว่า เป็นหนึง่ ในกลุม่ ผูบ้ กุ เบิกเรือ่ ง ครัวไทยสูค่ รัวโลก เราลอง มารับทราบแนวคิดและมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับการที่จะทำ�ให้รายได้ ก้าวกระโดดด้วยอาหารไทยนั้น ท่านมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร

ขอเรี ย นถามเรื่ อ ง จุ ด แข็ ง ของมหาวิ ท ยาลั ย ราชภัฏสวนดุสิต คืออะไร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มีประวัติที่ยาวนาน คือ เดิม เราเป็นโรงเรียนการเรือน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2477 กับ โรงเรียนอนุบาล ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2483 เมื่อนำ� 2 โรงเรียนมารวมกัน จึงเป็นวิทยาลัยครู สวนดุสิต มุ่งผลิตครูอนุบาลและครูการเรือนมาโดยตลอด จากประวัติ ความเป็นมาดังกล่าว ทำ�ให้ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่ 4 ด้าน คือ ด้านแรก คือ อาหาร ด้าน ที่สอง คือ การศึกษาปฐมวัย ด้านที่สาม คือ อุตสาหกรรมบริการ ท่องเที่ยว โรงแรม และด้านสุดท้ายคือพยาบาลศาสตร์ โดยส่วน ของพยาบาลนั้น จะร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถีและโรงพยาบาลวชิระ เป้าหมายของพยาบาลทีเ่ ราผลิต จะมุง่ เน้นในเรือ่ งการดูแลเด็กและผูส้ งู อายุ แต่หลักสูตรพยาบาลจะถูกบังคับด้วยสภาการพยาบาล การแยก หลักสูตรย่อย ๆ เป็นไปได้ยาก 42 | Tourism Jounal

ประเด็นเรื่อง “อาหาร” ขอขยายความจากท่าน ว่า ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้มีการ พัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหาร และผลิต บุคลากร ป้อนอุตสาหกรรมบริการอย่างไร การผลิตบุคลากรในสายอาหาร ปีหนึง่ จะผลิตประมาณ 400-600 คน เป็นระดับปริญญาตรี ส่วนการฝึกอบรมด้านอาหาร ปีหนึ่งจะมี จำ�นวนคนทีผ่ า่ นจากสวนดุสติ เป็นหลักพันคน เรามีโรงเรียนการอาหาร นานาชาติที่ ใช้สำ�หรับการอบรมโดยเฉพาะ เราดึงหน่วยงานที่ผลิต บัณฑิตสาขาอาหารและส่วนที่เกี่ยวข้องมาตั้งเป็นโรงเรียนการเรือน มีศักดิ์ศรีเทียบเท่าคณะ มีหลักสูตรหลัก ๆ คือ คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมอาหารและบริการ สุขาภิบาลอาหาร เหล่านี้ จะสังกัด โรงเรียนการเรือนโดยเฉพาะ เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทั้งหลายมารวม กัน เครื่องมืออุปกรณ์ใช้ร่วมกัน และเป็นเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย ที่สุดในประเทศก็ว่าได้ เราเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลิตอาหารระดับ ชาติมาตั้งแต่สมัยการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ที่มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ประมาณ พ.ศ. 2541 ในครั้งนั้น เราร่วมกับบริษั ท การบินไทยในการผลิตอาหาร หลังจากนัน้ ก็จะมีสว่ นในการรับผิดชอบ กีฬาระดับชาติ เช่น ซีเกมส์ ลูกเสือโลก หรือการแข่งขันกีฬาระดับใหญ่ เราได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วม เพราะเรามีความพร้อมทั้งบุคลากร ทักษะ ที่สามารถจะดำ�เนินการในลักษณะที่เป็น Mass ได้ นอกจากนั้น เรายังได้ส่งเด็กเข้าประกวด ที่ผ่านมา เป็นการแข่งขันโอลิมปิกอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เราได้ 4 เหรียญทอง สำ�หรับทีมอาหาร โอลิมปิกของไทย ที่เป็นยุวชน มีการแข่งขันกันเป็นปีแรก ในตัวจริง และตัวสำ�รอง 10 คน เป็นของสวนดุสิตแล้ว 7 คน ในตัวจริง 5 คน ก็ มาจากสวนดุสิต 4 คน


Tourism Talk

ถ้ามีการเชือ่ มโยงในเรือ่ งอาหาร กับการท่องเทีย่ ว ท่านมองว่า มันถูกเชื่อมโยงในมิติใดบ้าง และยังมี ปัจจัยใดที่จะนำ�อาหารเข้ามาในเรื่องการส่งเสริม การท่องเที่ยว ตามปกติ ผมมองว่า เรื่องการท่องเที่ยวของไทย จุดดึงดูดหลักคือ สถานทีท่ อ่ งเทีย่ ว การบริการ และอาหาร สามส่วนนีจ้ ะต้องมาประกอบกัน การบริการ คือทุกอย่าง และคนไทยมีคุณลักษณะพิเศษในเรื่องการให้ บริการ สำ�หรับอาหาร โดยเฉพาะกรุ๊ปทัวร์ และถ้าสังเกต จะพบว่า ไม่ ว่าจะไปท่องเที่ยวที่ไหน เมื่อถึงเวลากิน เขามักจะเน้นว่า ต้องมีอาหาร ของชาติเขา อย่างทัวร์ไทยไปต่างประเทศ ก็จะต้องเน้นอาหารไทย แต่ จะมีอาหารบางส่วนทีถ่ กู ประยุกต์เข้าไปกับอาหารของชาตินนั้ ๆ สำ�หรับ การประยุกต์อาหารไทยนั้น เราต้องประยุกต์ตามตัวตนของเราที่เรา เป็น เราต้องเข้าใจว่า สิ่งที่เขาต้องการคืออะไร เขากังวลในเรื่องของ ความสะอาดของอาหาร คุณภาพของอาหาร ของวัตถุดิบ เราต้องร่วม กับกรุงเทพมหานครในการเข้าไปตรวจ แนะนำ�การผลิตอาหารให้มี คุณภาพ ถูกสุขอนามัย เหล่านี้ ผมว่า มันเป็นกลไกอย่างหนึ่งของการ ท่องเที่ยวที่สำ�คัญ

ท่านกล่าวถึง ความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ในการตรวจแนะนำ�เรื่องการผลิตอาหาร โดย เฉพาะเรื่ อ งความสะอาด ประเด็ น นี้ อยาก สอบถามความเห็นของท่านที่มีต่อ Street Food ของไทย เนือ่ งจากผลการวิจยั ของ ททท. ระบุวา่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้ความสนใจ Street Food มาก ในภาพรวม Street Food เมืองไทย มันค่อนข้างที่จะเป็นอาหาร หลักของนักท่องเทีย่ ว ซึง่ ผมหมายรวมถึงร้านค้าเล็ก ๆ ทีอ่ ยูร่ มิ ถนนด้วย ไม่จำ�เป็นต้องเป็นรถเข็นอย่างเดียว สำ�หรับร้านค้าเล็ก ๆ ที่อยู่ริมถนน ทำ�อย่างไรจะให้เขามีคุณภาพ เช่น มัสมั่นเนื้อ หรือ มัสมั่นไก่ ถ้าเลือก เนื้อ หรือ ไก่ ให้มีคุณภาพนิดหนึ่ง และทำ�อย่างที่มันควรจะทำ� ถ้าเก็บ ไว้ ก็ไม่ควรจะนาน ถ้านานสีจะเปลีย่ น และฝรัง่ เขาจะดูสขี องอาหาร ถ้า สีเข้ม หมายถึง เก็บไว้นานเกิน 2 วัน และวิธีการกิน ไม่ต้องกินกับข้าว ก็ได้ มัสมั่นกินกับขนมปังก็ได้ นี่คือการประยุกต์ สำ�หรับอาหารจำ�พวก เส้น มันกินสะดวก ง่าย เช่น ผัดไทย ขอให้เลือกสรรหน่อย ภาชนะที่ ใส่ ขอให้มันดูดีหน่อย ช่วงหลัง ผมเห็นใส่กระทงกระดาษ อันนี้ผมก็ไม่ ว่าอะไร เพราะพวกนี้ กินอาหารกล่องของจีน ก็เป็นกล่องกระดาษ แต่ ทำ�ให้มนั ดูดหี น่อย อย่างตะเกียบขอให้สะอาด บริเวณทีป่ รุงขอให้สะอาด อย่างเกาหลี ทีด่ งั เพราะเรามองดูแล้ว มันสะอาด ตอนนีเ้ ป็นจุดขายของ เกาหลี อาหารเกาหลีนี่ กิน Street Food ทัง้ นัน้ ภัตตาคารหรือร้านอาหาร ใหญ่ ๆ ในเกาหลี มีน้อย Tourism Jounal | 43


Tourism Talk

จุ ด ที่ ทำ � ให้ อ าหารไทย ทำ � ให้ ร ายได้ จ ากการ ท่องเที่ยวก้าวกระโดด คืออะไร ผมมองว่า จุดสำ�คัญของอาหารไทยอยู่ในวัตถุดิบ คือ การขาย วัตถุดิบของไทย อย่าไปกังวลเรื่องการเรียกชื่อ ถ้าคุณใช้วัตถุดิบของ ไทย มันกำ�ไรอยู่แล้ว จุดขายมันเบี่ยงเบนไปได้ ใช้ซอสของเรา ใช้นํ้า จิ้มของเรา เราขายได้หมด ไม่จำ�เป็นต้องใช้ชื่อร้านอาหารไทยก็ได้ มัน อาจจะเป็น อาหารไทยสไตล์ฮอ่ งกง อาหารไทยสไตล์เกาหลี เดีย๋ วนีล้ อง ไปดูแมคโดนัลด์ พิซซ่า เคนตั๊กกี้ ก็ยังมีรสไทย ๆ คนที่มากินก็เลือก กินในสิ่งที่เขารู้จัก เช่น รู้จักพิซซ่า ก็เลือกกินพิซซ่า อาจจะลองพิซซ่า หน้าไทยดูบ้าง ก็เหมือนกับกินอาหารไทย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้อง คิด ไม่ใช่คิดแต่จะขายอาหารไทย ถ้ามันทำ�เหมือนกันเมื่อไหร่ มันตาย ทั้งนั้นแหละ แข่งกันตาย

การมองเรือ่ งอาหารไทยให้มนั มีมติ ทิ เี่ คลือ่ นไหว ไม่ตายตัว เข้าไปอธิบายกับโลก กับเพือ่ นบ้าน มัน จะทำ�ให้เรามีพื้นที่ปฏิบัติการที่กว้างขึ้น ใช่ครับ เพราะเรือ่ งวัตถุดบิ ต้องใช้ของไทยอยูแ่ ล้ว วัตถุดบิ เราขาย เป็นตัวหลัก มันไม่ใช่ร้านอาหาร เวียดนามที่รวย ไม่ใช่เพราะเวียดนาม ขายอาหารไทย แต่เวียดนามค้าส่งวัตถุดิบไทยให้คนในอเมริกา คุณจะ ซื้อไปทำ�อะไรก็แล้วแต่คุณ การสนับสนุนให้ตั้งร้านอาหารไทยในต่าง ประเทศ ผมเคยตัง้ ข้อสังเกตว่า คิดใหม่ไหม อย่าไปสนับสนุนให้ตงั้ ร้าน 44 | Tourism Jounal

โดยคนไทย ทำ�ไมไม่ให้คนในประเทศนั้น ๆ ตั้ง แล้วสอนและสนับสนุน ให้คนของเขากินอาหารไทย สิ่งที่เราทำ�คือ เราไปฝึกให้คนต่างชาติกิน อาหารไทยให้เป็น ทำ�อาหารไทยเป็น ถ้าเราส่งคนไทยออกไปเป็นแม่ครัว กฎหมายก็ไม่รู้เรื่อง ภาษาก็ไม่รู้เรื่อง ความสะอาด การติดต่อ เหล่านี้ คนไทยไม่รู้เรื่อง


Tourism Talk

ลักษณะนี้ คือ เป็นการส่งออกองค์ความรู้ เกีย่ ว กับอาหารไทย ภูมิปัญญาไทย และในกรณีของ วัตถุดิบ ตอนนี้เป็นอย่างไร ดีครับ ตอนนี้คนไทยเริ่มเข้ามาทำ� เริ่มมาแย่งที่คนเวียดนาม วัตถุดิบของไทยที่ส่งไปต่างประเทศ อย่างตัวหลัก ๆ เช่น เครื่องแกง ทั้งหลาย ซอสทั้งหลายมาจากประเทศไทย เครื่องจิ้มหลายตัว ตอนนี้ เริ่มส่งออกไปมากขึ้น ทำ�รายได้มากขึ้น ล่าสุด ผมเห็นปูเค็มกระป๋อง แมงดา ผลิตในไทย ส่งออกไปขาย มีทุกอย่างที่ต้องการ หีบห่ออย่าง ดี คนไทยที่อยู่ต่างประเทศ พวกร้านอาหารไทย ต้องการมากที่สุดคือ วัตถุดิบจากไทย ในอเมริกา วัตถุดิบที่ใช้ทำ�อาหารไทยมีมอเตอร์ไซค์ ส่งถึงบ้าน เป็นธุรกิจที่ขยายตัวมาก โดยเฉพาะเมืองที่มีชาวต่างชาติ อยู่มาก เช่น แคลิฟอร์เนีย เท็กซัส และเดี๋ยวนี้มีดีลิเวอรีทั้งนั้น

สวนดุสติ มีโครงการไปตัง้ สถาบันสอนทำ�อาหาร ตัวชีว้ ดั ตอนนีต้ อ้ งเปลีย่ นแล้ว ไม่ใช่จำ�นวนร้าน ไทยในต่างประเทศ หรือเปล่า เราเคยทำ�ให้ ภายใต้โครงการ ครัวไทยสูค่ รัวโลก ร่วมกับกระทรวง อาหารไทย แต่ต้องเป็น....

พาณิชย์ เราทำ� 5 ประเทศ ตอนนั้น เรายืนยันว่า เราไปสอนให้ แต่ไม่ ตัง้ ร้านอาหารไทย เราไปสอน ไปอบรม โดยให้พอ่ ครัวของประเทศนัน้ ๆ มาเข้ารับการอบรม คนของเขากิน บางทีคนที่มาอบรมเป็นคนไทยด้วย ซํ้า เพราะสิ่งที่ทำ�ไป มันไม่ถูก แต่ตอนหลังก็ถูกตัดงบประมาณไป จาก 5 ประเทศ ก็เหลือญี่ปุ่นที่เราทำ�เอง

ต้องเป็นวัตถุดบิ ของไทยทีส่ ง่ ไปต่างประเทศ ร้านอาหารไทย เกิด และตายใกล้เคียงกัน ทำ�อย่างไรให้คนในประเทศนั้น ๆ เป็นคนเปิดทำ� ธุรกิจร้านอาหารไทยเอง พวกนี้ อยากได้รบั การฝึก ได้รบั การอบรม เรา ก็ออกไปฝึกอบรมให้เขา ไม่ตอ้ งแบกรับความเสีย่ งเรือ่ งการไปเปิดร้าน อาหารไทยเอง ร้านอาหารไทยในต่างประเทศเอง ก็ยนิ ดีสนับสนุนสถานที่ ในการฝึกอบรม เพราะช่วงเช้าถึงกลางวัน ก็ยังไม่มีแขก สามารถใช้ เป็นสถานที่ฝึกอบรมได้ Tourism Jounal | 45


Tourism Talk

นอกจากการทำ � อาหารไทยแล้ ว ท่ า นมี ความละเมียดละไมมันได้หายไป เนื่องจากความ เป็นเมือง ความเร่งรีบ ประสบการณ์อื่นจะแลกเปลี่ยนเพิ่มหรือไม่ การทำ�อาหารไทยในต่างประเทศ บางครั้งวัตถุดิบหาไม่ยาก เช่น มีไม่กปี่ ระเทศเท่านัน้ ที่ใช้ค�ำ ว่า Cuisine แต่ไทยเป็นประเทศหนึง่ ผมเคยคั้นกะทิสด ตอนนั้นไปอเมริกา มะพร้าวหาไม่ยาก เยอะแยะ ส่ง ที่ใช้คำ�ว่า Cuisine ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะในสำ�รับหนึ่ง มีครบ มาจากฮาวาย ก็เอามะพร้าวมา ใช้ฝาเบียร์ขูดมะพร้าว จากนั้นก็คั้น ได้ กะทิสด อย่างต้มยำ�กุ้ง ต้นตำ�รับจริง ๆ เป็นนํ้าใส ต้มยำ�กุ้งเวลาทำ� เรา จะใส่ไปหมดเลย ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ฝรัง่ นี่ อะไรทีอ่ ยู่ในถ้วย กินหมด ดังนั้น วิธีกิน คือ ต้องตักแต่นํ้าต้มยำ� เหมือนซุป ไม่ต้องลอยให้สวย เพราะลอยให้สวย มันกินไม่ได้ ต้องสอนวิธตี กั ต้องตักใส่ถว้ ยแบ่ง กรณี กุ้ง ก็ชอบเอาเปลือกกับหางลงไปด้วย ฝรั่งไม่เข้าใจ เพราะมันกินหาง ไม่ได้ ต้องเอาออกให้หมด การสอนทำ�อาหารไทย ต้องสอนอย่างทีเ่ ป็น Original ต้องสอนพื้นฐานที่ถูกต้องออกไปก่อน สอนว่า มันทำ�อย่างไร ส่วนการที่ผู้เรียนจะไปประยุกต์ มันเป็นอีกเรื่องหนึ่ง วิธีกินอาหารไทย สำ�คัญที่สุด เช่น จะกินแกงเขียวหวานไก่ เครื่องเคียงควรจะเป็นอะไร จะกินกับเนือ้ เค็มก็ได้ ปลาสลิดทอดก็ได้ หรือปลาเล็กปลาน้อยทอดก็ได้ คือ จะต้องตัดด้วยรสเค็ม อาหารไทยมีเครื่องเคียงด้วย ที่ผ่านมา เรา ลืมวิธีกิน เรากินอาหารมักง่ายมานาน

ขอเรียนถามความเห็นท่านเกี่ยวกับเรื่อง ข้าว ซึ่งประเทศไทยมีหลากหลาย เป็นไปได้หรือไม่ ที่เราจะมีสร้างสรรค์ เมนูอาหาร โดยระบุเรื่อง ความหลากหลายของข้าว เช่น ลูกค้าสามารถ สัง่ อาหารได้อย่างหลากหลาย เช่น ข้าวหอมมะลิ ข้าวสังข์หยด ข้าวกล้อง ผมเคยเห็นที่ S&P มีเมนูให้เลือกระหว่าง ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง หรือข้าวแดง แต่ผมขอเรียนอย่างนี้ว่า อาหารไทยบางประเภท ถ้าเอา ข้าวลงไปคลุก มันต้องใช้ขา้ วเก่า อย่างข้าวผัด จะต้องใช้ขา้ วเก่า ใช้ขา้ ว หอมไม่ได้ เพราะมันแฉะ ใช้ไม่ได้ การเสิร์ฟข้าว ตอนนี้ชอบตักข้าวใส่ ถ้วยก่อน แล้วเคาะลงบนจานทำ�ให้ข้าวมีรปู ร่างกลม ๆ อันนี้ ผมว่าไม่น่า จะถูก เพราะกลิ่นของข้าวสวยจะมาจากการซุย และตักวางลงบนจาน ข้าวใหม่หอม ๆ ของไทย เหมือนกินข้าวญี่ปุ่น เพราะมันจะมียาง

46 | Tourism Jounal


Tourism Talk

ประเด็นเรื่อง Cooking School ท่านเห็นเรื่องนี้ อย่างไร ของสวนดุสติ ส่วนใหญ่ ผูม้ าเรียนจะมาจากสถานทูตบ้าง กระทรวง การต่างประเทศบ้าง ค่าเรียนของเราจะแพง เพราะค่าตอบแทนอาจารย์ แพง วัตถุดิบจะคัดสรรแต่สิ่งดี สำ�หรับโรงเรียนสอนทำ�อาหารที่เปิด ทั่วไป ผมคิดว่า ต้องสนับสนุนให้ผู้สนใจทำ�เลย แต่ช่วยให้รับผิดชอบใน สิ่งที่ทำ�ด้วย กระทรวงศึกษาธิการต้องเปิดโอกาสให้ทำ� สนับสนุน แล้ว ความรับผิดชอบจะเกิดขึน้ เรามักจะเอากฎกติกาไปจับ พอมันไม่มอี สิ ระ ก็เลยต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ ให้เขาทำ�ไปตามปกติ แต่ช่วยดูแลหน่อย อย่า ไปบล็อกวิธีการทำ� ทำ�อย่างไรจะไปสนับสนุน ให้มีความรับผิดชอบ ใน กรณีของนักท่องเที่ยว ถ้าระหว่างที่ท่องเที่ยวอยู่แล้วอยากเรียนการทำ� อาหารไทย ก็สามารถจะเรียนได้เลย ไม่ต้องเดินทางมาที่สวนดุสิต ผม กำ�ลังจะบอกว่า ให้สนับสนุนให้มีมาก ๆ กระจายไปในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พักทีถ่ นนข้าวสาร ก็ไม่ตอ้ งเดินทางมาเรียนทีส่ วนดุสติ เสียค่าเดินทาง ก็ ให้เรียนทีถ่ นนข้าวสารเลย เขาต้องการรูว้ า่ มันทำ�อย่างไร เพือ่ เขาจะได้ เอากลับไปทำ�ได้บ้าง บางทีเขายังไม่ต้องการใบประกาศนียบัตรด้วยซํ้า ทีนพี้ อทำ�เป็น ก็ตอ้ งซือ้ วัตถุดบิ เราก็ขายได้ มันไปได้ แม้กระทัง่ ระหว่าง เรียน เราให้ผ้ากันเปื้อนสวย ๆ ผ้าคาดผมสวย ๆ เขาก็จะเก็บเป็นของที่ ระลึก

สุดท้ายขอความเห็นท่านเรื่อง ขนมไทย

ช็อกโกแลต เขาก็หวานนะ

ขนมไทยมีปัญหาเรื่องความหวาน เดิมคนไทยกินขนมเพื่อจะตัด ความเผ็ด เพราะอาหารไทยเผ็ด ขนมทีม่ รี สชาติหวาน ต้องลดความหวาน อย่าไปทำ�ให้มันกินโดด ๆ เช่น คุณเติมข้าวเหนียวได้ไหม หรือ ข้าวต้ม มัด หรือกินกับไอศกรีม

เขามีวธิ กี นิ ของเขามาแต่เดิม ถ้าเราบอกวิธกี นิ ให้เขา เขาจะกินได้ แต่วธิ ที �ำ ขนมไทย มันค่อนข้างยาก บางทีเราไม่ประยุกต์วธิ กี นิ คนไทยมี วัฒนธรรมในการกิน มากกว่าวัฒนธรรมในการทำ� แต่เราไม่เคยเรียนรู้ วัฒนธรรมในการกิน แต่เราไปมุง่ เน้นเรือ่ งวัฒนธรรมในการทำ� ผมสอน เด็กว่า คุณต้องเรียนวิธีกินก่อนที่คุณจะไปเรียนวิธีทำ� Tourism Jounal | 47


Low C a r b o n T o u r i s m

เที่ยวบนอาน เรื่อง โตมร ศุขปรีชา

ไม่ รู้ เ หมื อ นกั น ครั บ ว่ า อะไรดลใจ แต่ จู่ ๆ ผมก็ อ ยาก ขี่จักรยานทางไกล ไม่เลย ผมไม่ใช่นักกีฬา ไม่ได้เป็นคนแข็งแรง ไม่ได้ขี่จักรยาน หรือออกกำ�ลังกายทุกวัน ร่างกายก็น่าจะมีสัดส่วนของไขมัน มากกว่ากล้ามเนื้อตามประสาคนเมือง แล้วทำ�ไมผมถึงอยากขี่จักรยานทางไกลขึ้นมา เรื่องนี้ผม ก็ตอบยาก ผมรู้สึกแค่ว่าเมื่อซื้อจักรยานมาใช้งานในฐานะที่มัน เป็น ‘ยานพาหนะ’ แล้ว การขี่อยู่แค่ในกรุงเทพฯ ขี่จักรยานจาก บ้านไปทำ�งาน หรือขี่เล่นในวันเสาร์อาทิตย์นั้นไม่พออีกต่อไป ผมอยากไปเที่ยว และอยากลองเที่ยวด้วยจักรยานดูบ้าง ทันใดนั้น เหมือนพระเจ้ารู้ ใจ พระองค์ส่งลูกปลา เพื่อน ผู้หญิงรุ่นน้องคนหนึ่งเข้ามาในชีวิตพร้อมกับคำ�ถามว่า “พี่ ๆ ขี่จักรยานไปลำ�ปางกันไหม” ผมร้อง อ๊ะ! อยูใ่ นใจ เฮ้ย! นีค่ อื ความปรารถนายามปลายปี ของผมเลยนี่นา ความปรารถนาอันพ้องต้องตรงกันของเราเกิดขึน้ ในช่วง ปลายปีทีแ่ ล้ว และด้วยความทีเ่ ราคาดหมายว่า ฤดูหนาวทีก่ ำ�ลัง จะมาถึง น่าจะทำ�ให้การเดินทางของเราไม่ลำ�บากลำ�บนจนเกิน ไป เราจึงเริ่มวางแผน

48 | Tourism Jounal


Low C a r b o n T o u r i s m

Tourism Jounal | 49


Low C a r b o n T o u r i s m

ลูกปลาบอกผมว่าเราต้องฝึกฝนการเดินทางกันนะ อย่างน้อย ๆ ก็ ต้องฝึกร่างกาย ฝึกกล้ามเนื้อเพื่อให้เหมาะกับการเดินทาง ผมก็ได้แต่ เออ ๆ คะ ๆ ไปตามประสา เพราะในใจคิดว่าอยากออกเดินทางไปแบบ คนกล้ามเนือ้ เละเหลวไร้การฝึกฝน ทีส่ �ำ คัญก็คอื ไม่ได้พกพาหัวใจซามูไร อะไรใด ๆ ไปทั้งสิ้นทั้งปวง ผมเพียงแต่ไปก็เพราะอยากไป ผมแค่อยาก ทำ�ให้การขี่จักรยานไปลำ�ปางนั้นเหมือนการเดินไปหน้าปากซอย ไม่มี อะไรพิเศษพิสดาร ไม่ต้องเตรียมตัวราวกับมันเป็นงานใหญ่ ไม่ต้องทำ� อะไรทั้งนั้น แค่ขึ้นไปอยู่บนหลังอานจักรยานคันเดิม แล้วก็ขี่ออกไป! คุณอาจสงสัยว่าผมทำ�อย่างนั้นได้จริงหรือ คำ�ตอบก็คือไม่จริง ทั้งหมดหรอกครับ เพราะอย่างน้อยที่สุดผมก็ต้องเตรียมตัวหลาย ประการด้วยกัน อันดับแรกก็คือ ผมต้องไปซื้อแร็คติดจักรยานมาก่อน เพือ่ ให้แร็คเป็นตัวใส่กระเป๋า ตามมาด้วยการซือ้ กระเป๋า ซึง่ สองอย่างนี้ ก็มีมูลค่าครึ่งหมื่นเข้าไปแล้ว นอกจากนี้ยังต้องเตรียมยางในเอาไปเผื่อ ยางแตกอยูก่ ลางป่ากลางเขา แล้วก็ตอ้ งเตรียมเสือ้ ผ้า ครีมกันแดด และ อะไรอื่นอีกสารพัด ปกติแล้ว คนมักนึกภาพคนขี่จักรยานทางไกลเหล่านี้ว่าจะต้อง ลำ�บากลำ�บนทุรนทุราย คํ่าไหนนอนนั่น แล้วส่วนใหญ่ก็อาจไปนอนวัด นอนศาลาริมทาง หรือผจญภัยอะไรกันสารพัดอย่าง แต่ผมบอกกับลูกปลาว่าไม่ ไม่มีวันเป็นอันขาดที่ผมจะนอนในที่ ลำ�บากลำ�บนใด ๆ อีกอย่างหนึง่ ผมไม่อยากพกผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่ให้หนัก ไม่อยากต้องพกสบู่แชมพูอะไรไปให้เยอะแยะ เพราะฉะนั้นเราจะต้อง พักโรงแรมหรือรีสอร์ทระหว่างทาง และโรงแรมหรือรีสอร์ทเหล่านั้น 50 | Tourism Jounal

ก็จะต้องดีนิดสะอาดหน่อย ไม่ถึงขั้นเป็นโรงแรมห้าดาวก็ได้ แต่ไม่เอา โรงแรมจิ้งหรีดม่านรูดใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะอยากสบายตามประสาคน เมืองเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ เมือ่ ความต้องการเป็นแบบนีเ้ สียแล้ว สิง่ ทีต่ อ้ งทำ�ก็คอื การคิดเส้นทาง ล่วงหน้า เพือ่ จะได้จองโรงแรมตามรายทางเอาไว้ แต่กอ็ กี นัน่ แหละครับ ตามประสาคนขี้เกียจวางแผนอย่างผม ผมจึงทำ�แค่คิดว่าแต่ละวัน จะขีจ่ กั รยานกีก่ โิ ลเมตร แล้วไปนอนทีจ่ งั หวัดไหนบ้างเท่านัน้ ส่วนภาระ หน้าที่ในการเฟ้นหาโรงแรม ตกเป็นของเพือ่ นอีกคนหนึง่ ซึง่ เก่งกาจมาก เธอ คัดสรรโรงแรมตามรายทางไว้ให้ ล้วนแล้วแต่เป็นโรงแรมทีร่ าคาไม่แพง แต่คุณภาพเยี่ยม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงแรมที่อยู่ติดแม่นํ้าทั้งนั้นเลย วิว ทิวทัศน์จึงสวยงามอย่างยิ่ง คุณอาจสงสัยว่า แล้วทำ�ไมโรงแรมที่เราพักถึงจะต้องติดแม่นํ้า ด้วย คำ�ตอบอยู่ที่เส้นทางหรือ Route ที่เราเลือกนั่นเองครับ เวลา ที่เราขี่จักรยาน สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำ�หรับนักปั่น มากที่สุดก็คือทาง ขึ้นเขาลงเขา เพราะมันจะกินแรงเรามากมายมหาศาลทีเดียว และด้วยความทีเ่ รา ‘ดุม่ ด้น’ ขีจ่ กั รยานกันไปโดยไม่มีใครได้ส�ำ รวจ เส้นทางอะไรก่อนเลย เราจึงไม่มโี อกาสรูว้ า่ เส้นทางทีเ่ ราไปนัน้ มันจะขึน้ เขาลงห้วยขนาดไหน ที่จริงแล้ว เราลองไปสอบถามพวกมือเก๋าขี่จักรยานขึ้นเชียงใหม่ ในสองสามวัน (เร็วขนาดนัน้ !) มาหลายคน แต่คนเหล่านัน้ ก็เก๋ามากเสีย จนเลือกปั่นไปตามเส้นทางสายเอเชีย ซึ่งบอกตรง ๆ ผมคิดว่าจะทำ�ให้ การปั่นจักรยานเป็นแค่การจำ�ลองการเดินทางด้วยรถยนต์เท่านั้น แต่


Low C a r b o n T o u r i s m ไม่ได้ทำ�ให้เรา ‘เห็น’ ประเทศแห่งนี้มากไปกว่าที่เคยเห็น ด้วยความโลภ ผมอยากให้การเดินทางด้วยจักรยานของเรานัน้ เป็น ไปด้วยหลายองค์ประกอบ ได้แก่ เร็ว สบาย และได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ที่อยากเห็น เรือ่ งสบายนัน้ ข้อหนึง่ ก็คอื การเลือกพักในโรงแรมตามทีบ่ อกไปแล้ว แต่ข้อที่ว่าด้วยความเร็วและได้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างนั้นต่างหากที่ขัดแย้ง กับข้ออื่น ๆ เพราะถ้าเราอยากสบาย เราคงปั่นเร็วไม่ได้ และถ้าเรา อยากเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง เราก็ยิ่งต้องค่อย ๆ ไป แล้วเราจะทำ�อย่างไรดี?

ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเลือกเส้นทางทีก่ �ำ ลังพอดี ๆ ไม่ใช่ถนนใหญ่ระดับ ถนนสายเอเชีย แต่ก็ไม่ใช่ถนนสายรองจนเกินไปซึ่งจะทำ�ให้เส้นทาง คดเคีย้ วกินระยะทาง และถนนทีเ่ ลือกก็ควรจะเป็นถนนทีเ่ ลียบแม่นํ้าด้วย อย่างหนึง่ ก็เพราะลมแม่นาํ้ จะได้พดั โชยให้เราเย็นกายเย็นใจ และเมือ่ มี แม่นํ้า ก็ต้องมีอาหาร โดยเฉพาะอาหารจากแม่นํ้าอย่างกุ้งเผา ทอดมัน หรืออาหารประเภทปลาทั้งหลาย แต่ที่สำ�คัญที่สุดก็คือ แม่นํ้านั้นจะ ‘รับประกัน’ กับเราว่า เส้นทาง

ที่เราเลือกเดินทางไปนั้น จะเป็นเส้นทางที่ ‘ตํ่า’ ที่สุดของหุบเขาหรือ ลุ่มนํ้า เพราะนํ้าย่อมไหลเซาะลงไปในที่ตํ่าอยู่เสมอ พื้นที่ริมแม่นํ้าจึง มักไม่มีลักษณะเป็นเนิน แต่จะเป็นที่ราบ เราจึงน่าจะปั่นได้สบาย ปรากฏว่า การเลือกเส้นทางเลียบแม่นาํ้ ลำ�คลองนัน้ ให้ผลดีเกินคาด มันรื่นรมย์กว่าที่เคยคิด จากกรุงเทพฯ เลียบคลองเปรมฯ ไปจนถึง อยุธยาเลียบแม่นํ้าเจ้าพระยาไปจนถึงสิงห์บุรี และที่เป็นสุดยอดของ เส้นทางก็คือจากสิงห์บุรี ไปจนถึงชัยนาท เพราะก่อนจะเข้าถึงเขื่อน เจ้าพระยานั้น ถนนไม่ได้เลียบคลองฟากเดียว ทว่ามีคลองขนานไปกับ ถนนทัง้ สองฝัง่ บรรยากาศจึงโล่งกว้างและมีความสุขเหมือนทีอ่ ลั แบร์ต กามูส์ เคยบอกไว้ว่าเงื่อนไขหนึ่งของความสุขก็คือการได้อยู่ในที่โล่ง

เราเลาะเลียบแม่นํ้าเจ้าพระยาไปแทบตลอดทาง จากสิงห์บุรีนั่ง เรือข้ามฟากไปยังอุทัยธานี จากนั้นเข้านครสวรรค์ แล้วยกจักรยานขึ้น รถทัวร์ในวันทีร่ อ้ นร้ายไปกำ�แพงเพชร ก่อนชมอุทยานประวัตศิ าสตร์ที่ อลังการเก่าแก่และงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย แล้วขี่เลียบแม่นํ้าเข้า สู่ตาก จากนั้นก็ถึงคิวของการไต่เขาไปยังเถินและลำ�ปางตามกำ�หนด ร่างกายที่ ไม่ได้เตรียมพร้อมอะไรนักหนาของผมนั้นเป็นปกติสุข มาจนถึงเถิน แต่ในวันสุดท้ายก่อนจะเข้าลำ�ปาง มันมีอาการตะคริวกิน ขาอยูบ่ า้ ง ทำ�ให้เราต้องพักกันทีอ่ �ำ เภอเกาะคาอยูห่ ลายชัว่ โมง ก่อนจะ ปั่นเข้าลำ�ปางแล้วไปจบทริปกันที่กาดกองต้า Tourism Jounal | 51


Low C a r b o n T o u r i s m

ผมคิดว่าการขี่จักรยานเป็น Road Trip ชั้นเยี่ยมที่ทำ�ให้เราได้ ‘เห็น’ และ ‘รู้สึก’ อย่างละเอียดละออหลายมิติ และเพิง่ ถึงบางอ้อว่าทำ�ไมคนจำ�นวนมากในโลกถึงได้เลือกเดินทาง ท่องเที่ยวด้วยจักรยานกัน อย่างทีบ่ อกคุณว่า ก่อนเดินทางเราลองไปปรึกษาเพือ่ น ๆ นักปัน่ รุน่ เก๋าอยูห่ ลายคน แต่เราพบว่าคำ�ปรึกษาจากนักปัน่ ทีเ่ ก่งเกินไปนัน้ ไม่คอ่ ย เป็นประโยชน์กับนักปั่นไก่อ่อนเท่าไรนัก ด้วยว่านักปั่นเก่ง ๆ เขาไม่ยั่น กับรถสิบล้อ แดดร้อน และที่พักห่วย ๆ พวกเขาจึงสามารถปั่นไปได้วัน ละนับสิบชัว่ โมง ฝ่าแดด ฝุน่ ถนนอันมีทรุ ลักษณะชัว่ ช้าเพราะถูกสิบล้อ และการคอรัปชั่นบดขยี้ ก่อนจะไปนอนพักที่ ไหนก็ ได้ บางคนแบก เตนท์ไปด้วย จึงสามารถนอนกางเตนท์ได้ทุกหนทุกแห่ง แต่นกั ปัน่ ไก่ออ่ นอย่างผมนัน้ มีความต้องการมากกว่านัน้ เราอยาก ได้หลายอย่างทีเดียวที่พอถามนักปั่นเก่ง ๆ แล้วเขามักทำ�หน้างงว่ามัน จำ�เป็นด้วยหรือ สิ่งที่ผมอยากได้นอกเหนือจากโรงแรมดี ๆ แล้วยังมีอาทิ อาหาร อร่อยเด็ดตามรายทาง ซึง่ ต้องเป็นร้านทีจ่ กั รยานเข้าถึงได้ไม่ยากด้วยนะ ครับ เรามักได้รับคำ�แนะนำ�จาก ‘คนขับรถยนต์’ ด้วยวิสัยแบบ ‘นักขับ รถยนต์’ ทีม่ กั แนะนำ�เราด้วย ‘สเกลแบบรถยนต์’ ว่าตรงนัน้ ตรงนีอ้ ร่อย หรือให้แวะไปเยี่ยมคนนั้นคนนี้สิ เขาจะได้พาไปกิน สำ�หรับรถยนต์นั้น การออกนอกเส้นทางสัก 10-20 กิโลเมตร เป็นเรือ่ งกระจิบกระจอกมาก แต่สำ�หรับจักรยาน มันคือเรื่องใหญ่โตมโหฬาร เพราะ 20 กิโลเมตร เท่ากับ 1 ชัว่ โมงเป็นอย่างน้อย แล้วยังต้องกลับออกมาอีก เพราะฉะนัน้ หากมีรา้ นอาหารอร่อยตามรายทาง โดยเฉพาะทางสายเล็ก ก็จะช่วยให้ ชีวิตการปั่นนั้นรื่นรมย์ได้มากทีเดียว น่าเสียดาย ที่การท่องเที่ยวด้วยจักรยานยังไม่มีการส่งเสริมอย่าง จริงจัง เราจะเห็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่งเสริมการท่องเที่ยว ประเภททีป่ ล่อยคาร์บอนออกมามหาศาลอย่างการ ‘บินไป-บินกลับ ขับ รถเที่ยว’ ซึ่งก็คงรู้อยู่ว่าการบินและการขับรถนั้นผลาญนํ้ามันมหาศาล แค่ไหน แต่ถ้ามีองค์กรสักแห่งหนึ่งที่คอยทำ�หน้าที่สำ�รวจเส้นทางที่ ‘แมตช์’ และ ‘เหมาะ’ กับจักรยานจริง ๆ ก็น่าจะทำ�ให้การเดินทางของ เรายิ่งเยี่ยมยอดเข้าไปได้มากกว่านี้ 52 | Tourism Jounal

ผมค้นพบว่า แม้ร้านอาหารอร่อย ๆ มีชื่อหลายแห่งจะไปเปิดกันอยู่ตามถนน สายใหญ่กนั มาก แต่บนถนนสายรองก็กลับ มีร้านเล็ก ๆ ที่ ‘คาดไม่ถึง’ อยู่หลายแห่ง ทีเดียว อาทิเช่น ร้านเค้กร้านหนึง่ ในปัม๊ นํา้ มัน ในอำ�เภอโกรกพระของนครสวรรค์นนั้ คน ทำ�เค้กเรียนจบมาจากฝรัง่ เศสทีเดียว และ เครื่องดื่มกับอาหารในร้านนั้นก็รสชาติดี ไม่แพ้รา้ นดัง ๆ ในกรุงเทพฯ ด้วย นอกจาก นี้ การค่อย ๆ แวะชิมตามรายทางไปแต่ละ วัน ยังทำ�ให้เราค้นพบว่าทอดมันปลากราย ที่อร่อยที่สุดในลุ่มนํ้าเจ้าพระยา (สำ�หรับ เรา) อยู่ที่ร้านหนึ่งในอุทัยธานี แล้วองค์กรทีว่ า่ นีค้ วรทำ�อะไรบ้างในการส่งเสริมการท่องเทีย่ วด้วย จักรยาน? สิ่งที่ควรทำ�เป็นอันดับแรก ก็คือไปขี่จักรยานท่องเที่ยวเสียก่อน เพราะส่วนใหญ่แล้ว คนทีม่ หี น้าที่ให้ค�ำ แนะนำ�นักท่องเทีย่ วด้วยจักรยาน มักจะมีอยู่สองแบบ แบบแรกก็คือเป็นนักปั่นประเภทฮาร์ดคอร์ ซึ่งไม่ ค่อยสนใจจุดแวะพัก ร้านกาแฟ และความรืน่ รมย์ระหว่างทางสักเท่าไร ความรืน่ รมย์ของพวกเขาคือการได้ไปให้เร็วและไปให้ถงึ ภายในเวลาอัน สั้น จึงมักไม่เหมาะกับนักปั่นไก่อ่อนทั้งหลาย ส่วนแบบที่สองมักเป็นคำ� แนะนำ�ที่มาจากนักสำ�รวจเส้นทางโดยใช้รถยนต์ ซึ่งต้องบอกกันตรง ๆ ว่าล้มเหลวเสียเป็นส่วนใหญ่ คำ�แนะนำ�ของคนประเภทนี้มักจะบอกให้ ทำ�ในสิ่งที่จักรยานไม่ควรทำ�หรือทำ�ไม่ได้ เช่น แหม! แวะออกนอกเส้น ทางไปห้ากิโลฯ เอง หรือข้ามสะพานลอยอันใหญ่ยกั ษ์นนั้ ไปก็จะถึงแล้ว หรืออ้อมไปอีกสิบห้ากิโลฯ อะไรทำ�นองนี้ เพราะฉะนั้น ถ้าอยากให้การท่องเที่ยวด้วยจักรยาน ‘เกิด’ ขึ้นได้ จริงในเมืองไทย (ซึ่งก็ ไม่รู้หรอกนะครับว่าจะมี ใครอยากให้เกิดหรือ เปล่า) อันดับแรกสุด คนที่จะทำ�หน้าที่ ‘ส่งเสริม’ การท่องเที่ยวด้วย จักรยาน ก็จะต้องลุกขึ้นมาขี่จักรยานทางไกลกันเสียก่อน เพื่อทำ�ความ เข้าใจในอุปสรรค ข้อจำ�กัด และข้อได้เปรียบของการใช้จักรยาน เส้นทางหนึง่ ทีจ่ ะเห็นได้วา่ เฟือ่ งฟูมากก็คอื เส้นทางปัน่ จักรยานจาก กรุงเทพฯ ไปอยุธยาโดยใช้ถนนเลียบคลองเปรมฯ เส้นทางนั้นเป็นที่ ‘นิยม’ ของนักปัน่ กันมาก โดยเฉพาะคนทีอ่ ยากปัน่ ให้เกินร้อยกิโลเมตร ในหนึง่ วัน เมือ่ มีนกั ปัน่ มาก ก็เกิดมีรา้ นรวงเล็ก ๆ ของชาวบ้านเต็มไปหมด ตลอดทาง เป็นร้านอาหาร ร้านขายนํ้า ที่นั่งพัก ฯลฯ


Low C a r b o n T o u r i s m ผมไม่รหู้ รอกว่าตัวเลขทางเศรษฐกิจมันสะพัดมากน้อยแค่ไหน แต่ ทีร่ แู้ น่ ๆ ก็คอื เงินทีน่ กั ปัน่ ใช้เพือ่ ซือ้ นํ้าหรือขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ นัน้ ไปถึงมือ ของ ‘คนเล็กคนน้อย’ และเท่าทีส่ งั เกตดู พบว่าคนเริม่ หันมาปัน่ จักรยาน กันมากขึ้น และคนที่ปั่นจักรยานนั้น ไม่มีใครหรอกครับที่อยากปั่นอยู่ ในกรุงเทพฯ เพียงอย่างเดียว ไม่มีใครหรอกครับที่อยากปั่นลัดเลาะไป ตามรถติด ทุกคนอยากมี ‘เส้นทางจักรยาน’ ทีร่ นื่ รมย์สวยงามให้ปนั่ กัน ไกล ๆ ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าเรามีเส้นทางปั่นที่รื่นรมย์เป็นระยะทาง ยาว ๆ ให้เหมือนหรือดีกว่าถนนสายเลียบคลองเปรมฯ ก็จะทำ�ให้คนลุก ขึน้ มาปัน่ จักรยานกันมากขึน้ อันจะทำ�ให้สขุ ภาพโดยรวมดีขนึ้ พร้อมกับ ได้ ‘กระจายรายได้’ ให้กับคนอื่น ๆ มากขึ้นด้วย

ให้กับนักปั่นด้วย เช่น มีเมืองบางเมืองในอเมริกาที่ห้ามจักรยานเข้า เมืองเด็ดขาด (อ้าว! มีจริง ๆ นะครับ) ตัวอย่างเช่นเมือง ‘เหยี่ยว ดำ�’ หรือ Black Hawk ในรัฐโคโลราโด ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ แต่อยู่ ระหว่างเส้นทางที่นักปั่นจะต้องปั่นผ่าน องค์กรนี้ก็ร่วมกับองค์กรอื่น ๆ เช่น Bike Colorado ในการลุกขึ้นฟ้องร้องต่อสู้ทางกฎหมายแทนนัก ปั่น จนในที่สุด ศาลสูงของโคโลราโดก็สั่งให้เมืองนี้ต้องเปิดทางให้ จักรยาน เป็นต้น เส้นทางปั่นจักรยานที่องค์กรนี้แนะนำ�เป็นเส้นทางเดิมที่มีอยู่แล้ว แต่แนะนำ�ว่าเส้นทางต่าง ๆ นั้นจะเชื่อมร้อยกันอย่างไร เส้นทางที่ว่ามี ทั้งถนนที่รถวิ่ง เส้นทาง Bike Trail ต่าง ๆ รวมไปถึงเส้นทางลัดเลาะใน ป่า เส้นทางบนภูเขา ฯลฯ เพราะฉะนัน้ นักปัน่ แต่ละคนจึงสามารถเลือก

ในอเมริกา มีองค์กรอย่าง Adventure Cycling Association (เข้าไปดูในเว็บไซต์ได้ที่ adventurecycling.org) ซึ่งเป็นองค์กรไม่ แสวงหากำ�ไรที่คอยทำ�หน้าที่ ‘แนะนำ�’ เส้นทางในการปั่นจักรยานให้ กับนักท่องเที่ยวด้วยจักรยาน องค์กรนี้ไม่ได้ลุกขึ้นมา ‘ลงทุน’ สร้าง ทางจักรยานใหญ่ยักษ์ใหม่เอี่ยมประเภทที่ตัดภูเขาเข้าไปเป็นลูก ๆ ซึ่ง จะเปิดโอกาสให้มีการ ‘ผลาญงบประมาณ’ หรอกนะครับ แต่เขาใช้ แค่ ‘สติปัญญา’ ในการ ‘เชื่อมร้อย’ เส้นทางที่มีอยู่แล้วเข้าด้วยกัน ถัก ทอออกมาเป็น Route ต่าง ๆ ที่น่าขี่มาก อาทิ การปั่นไปตามเส้นทาง สาย Underground Railroad ซึ่งก็คือเส้นทางการหลบหนีของทาสใน ยุคสงครามกลางเมืองอเมริกนั เส้นทางนีส้ วยมากเพราะปัน่ ผ่านไปตาม แม่นํ้าอย่างโปโตแม็ก แม่นํ้าแชนานโดว์ หุบเขาต่าง ๆ แถมยังได้เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ด้วย ที่สำ�คัญก็คือ องค์กรนี้จะจัดเตรียมเส้นทางและแผนที่ ไว้อย่าง ละเอียด พร้อมคำ�แนะนำ�ในแต่ละเส้นทาง ว่าต้องทำ�อย่างไร ตรงไหน สวย ตรงไหนสูง ตรงไหนต้องเตรียมใจเตรียมแรง ตรงไหนมีจดุ แวะพัก แต่ไม่ค่อยมี ‘ร้านอร่อย’ เท่าไหร่หรอกครับ (คาดว่าเพราะวัฒนธรรม การกินของเขาไม่เหมือนเรา) ที่เจ๋งที่สุดก็คือ องค์กรนี้ยังทำ�หน้าที่ ‘ฟาดฟัน’ ในทางกฎหมาย

ภาพ : บัณฑิต วงษ์บัณฑูรย์

ระยะทาง ความสูง สภาพภูมิประเทศ วัฒนธรรม การศึกษาเรียนรู้ ระหว่างทาง ฯลฯ ทีเ่ หมาะสมกับความต้องการของตัวเองได้ ใครอยาก ปั่นหนึ่งวัน ห้าวัน หรือปั่นเป็นเดือน ๆ ก็สามารถทำ�ได้โดยไม่ต้องปั่นวน กลับมาที่เดิม พร้อมทั้งมีรายละเอียดต่าง ๆ ครบถ้วนสมบูรณ์ ผมคิดว่าเรือ่ งแบบนีเ้ กิดขึน้ ในเมืองไทยได้ไม่ยาก เพราะมันไม่ตอ้ ง ‘ผลาญงบประมาณ’ เยอะแยะมหาศาลเหมือนกับการตัดทางจักรยาน เข้าไปในภูเขาอย่างที่ ไต้หวันทำ� ไต้หวันทำ�นั้นไม่น่าแปลกหรอกนะ ครับ เพราะตอนนี้ ไต้หวันได้ชื่อว่าเป็น ‘ดีทรอยต์แห่งจักรยาน’ ของ โลกไปแล้ว ค่าที่เป็นประเทศที่ผลิตจักรยานส่งออกไปทั่วโลกมากที่สุด ประเทศหนึ่ง เขาจึงส่งเสริมเส้นทางจักรยานกันอย่างเป็นลํ่าเป็นสัน มี การตัดเส้นทางจักรยานผ่าภูเขาเข้าไปเลยเพือ่ ให้ปนั่ ทางเรียบได้ไม่ตอ้ ง ออกแรงขึ้นเขามากนัก ของเราไม่จำ�เป็นต้องทำ�เช่นนั้นหรอกครับ เพราะนอกจากจะ ผลาญงบประมาณโดยใช่เหตุแล้ว ยังอาจทำ�ลายธรรมชาติด้วย แต่ คำ�ถามทีเ่ กิดขึน้ ก็คอื ทีย่ งั ไม่มกี ารส่งเสริมเรือ่ งนี้ เป็นเพราะมันไม่มกี าร ‘ผลาญงบประมาณ’ ที่มากเพียงพอหรือเปล่าหนอ เพราะถ้าเป็นเช่นนัน้ ก็คงน่าสังเวชไม่นอ้ ย Tourism Jounal | 53


Pop C u l t u r e T o u r i s m เรื่องจากปก

เป็นไทย ไม่เป็นทาส เรื่อง นวพล ธำ�รงรัตนฤทธิ์

เดื อ นที่ ผ่ า นมาผมมี โ อกาสเดิ น ทาง ไปเ ทศกาลภาพยนตร์ ย่ า นยุ โ รป เป็ น ครั้ ง แรกที่ มี โ อกาสได้ เ ข้ า ร่ ว มอี เ วนท์ ท าง วัฒนธรรมแบบชนิดเจาะลึกมาก ๆ เพราะ หนังยาวเรื่อง 36 ได้ไปเข้าประกวด สมัย ก่อนเวลาได้ไปเทศกาลพวกนี้ก็จะไปพร้อม กั บ หนั ง สั้ น ก็ จ ะไม่ ค่ อ ยมี อ ะไรมาก เพราะ เหมื อ นไปเที่ ย ว ไม่ ต้ อ งเจอผู้ ค นในวงการ ภาพยนตร์ อิ ส ระหรื อ โปรแกรมเมอร์ ค น จั ด งาน อะไรมากมาย พอถึ ง รอบฉาย ก็ เ ต รี ย ม ไ ป ต อ บ คำ � ถ า ม ห ลั ง ห นั ง จ บ นั่นคือสมัยก่อน ตายังใสแบบเด็ก ๆ แต่วันนี้ ไปอีกที ต้องเจอกับผู้จัดงาน ต้องเจอกับ คนที่ เ ข้ า มาจะพาหนั ง ไปจั ด จำ � หน่ า ย ต้ อ ง เจอคณะกรรมการ ต้ อ งเจอกั บ เหตุ ผ ลที่ ทำ�ให้เราได้รางวัลและไม่ได้รางวัล และอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำ�ให้สายตาที่เรามองเทศกาล หนังไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

54 | Tourism Jounal


เรื่องจากปก

Tourism Jounal | 55


Pop C u l t u r e T o u r i s m

โดยพื้นฐานแล้ว งานเทศกาลภาพยนตร์นั้น เป็นงานที่มีไว้สำ�หรับ ฉายหนังจากนานาชาติ (หมายถงึ ที่ไม่ใช่หนังอเมริกนั ฮอลลีวดู ซึง่ จะเข้า โรงฉายทัว่ ไปตามปกติอยูแ่ ล้ว) งานเทศกาลเหลา่ นีจ้ ะฉายหนงั ทีม่ าจาก ประเทศแปลก ๆ เช่น อาร์เจนตินา บราซิล จีน เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย หรือ ไทย (ในสายตาคนต่างชาติสมัยก่อน เราก็เป็นประเทศทีแ่ ปลกนะ ครับ) ทำ�ให้ประชาชนในประเทศนั้น ๆ มีความรู้หูตากว้างขวาง ได้เห็น ความคิดและวัฒนธรรมผ่านสื่อภาพยนตร์ นอกจากเรื่องการเปิดหู เปิดตาประชาชนแล้ว บางครั้งเทศกาลหนังก็พ่วงกุศโลบายบางอย่าง เข้าไปด้วยเช่นกัน เช่น จัดงานเทศกาลภาพยนตร์ในช่วงที่หนาวที่สุด เช่น เทศกาลภาพยนตร์เบอร์ลิน ที่จัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก็จัดเพื่อให้คนเดินทางมายังเบอร์ลิน เพราะฤดูนี้ไม่มีคนอยู่ในเมืองนี้ กันหรอกครับ คนเบอร์ลินเองบินออกไปเที่ยวประเทศอื่นที่อุ่นกว่านี้กัน หมดแลว้ ไอ้พวกเราชาวอุน่ ๆ นัน้ ต้องไปผจญกับความหนาวในเบอร์ลนิ แทน คราวนี้คนเบอร์ลินก็ยังขายข้าว ขายปลา ขายไส้กรอกได้เหมือน เดิม เพราะนักท่องเที่ยว (ตามโรงภาพยนตร์) มาชุมนุมกัน หรือเมือง

56 | Tourism Jounal

บางเมืองก็เกิดขึ้นได้เพราะมีเทศกาลหนัง อย่างเช่น เทศกาลหนัง รอทเทอร์ดาม ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ผมเพิ่งเอาหนังไปประกวดมานี้ โดยปกติก็จะเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ไม่ค่อยมีคนรู้จักมากนัก แต่ด้วยความที่ จัดเทศกาลหนังมาประมาณ 40 ปี (ขอยํ้าว่า 40 ปีครับ ไม่ใช่จัด 10 ปี เลิกนะครับ) เมืองเล็ก ๆ แห่งนีก้ ม็ ตี วั มีตนขึน้ มาในแผนทีโ่ ลกและแผนที่ ทางวัฒนธรรม ยํ้าภาพให้ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่โดยปกตินั้นมีความ แจ๋วด้านกราฟิกดี ไซน์อยู่แล้ว กลายเป็นเป็นเมืองที่มีมูลค่าทางศิลปะ มากขึน้ และยิง่ จำ�นวนปีทจี่ ดั มากขึน้ เท่าไหร่ ความเปน็ ปึกแผ่นก็มากขึน้ เท่านัน้ (ตัวอย่างเช่น เทศกาลหนังเมืองคานส์ ของฝรัง่ เศส เทศกาลหนัง เวนิส ของ อิตาลี กระทั่ง เทศกาลหนังปูซาน ของเกาหลีใต้เองก็ตาม) พอจะเห็นมากขึ้นแล้วนะครับว่า เทศกาลภาพยนตร์ ที่พื้นฐาน เป็นเพียงแค่งานเพิ่มความรู้และสร้างความหลากหลายทางวัฒนธรรม มันค่อย ๆ เพิ่มหน้าที่มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ทีนี้หลังจากจัดงานกันไปแล้ว ผลปรากฏว่า หนังหลาย ๆ เรื่องที่ผ่านงานเทศกาลหนังเหล่านี้ หรือ ได้ รับรางวัลต่าง ๆ ไปจากเทศกาลนั้น ๆ ส่งผลให้การจำ�หน่ายหนังในต่าง


Pop C u l t u r e T o u r i s m

ประเทศนั้นสัมฤทธิ์ผลมากขึ้น นอกจากนั้นแล้ว บางครั้งยังหมายถึงชื่อ เสียง และพ่วงความหมายของโอกาสในการทำ�หนังเรื่องถัด ๆ ไปแล้ว (ก็ดงั แล้วนี)่ ดังนัน้ การทีน่ กั ทำ�หนังอิสระทัว่ โลกจะพาหนังตัวเองเข้าไป ยังเทศกาลหนังต่าง ๆ นั้น ย่อมมีความหมายมากกว่า การเอาหนังตัว เองไปเผยแพร่สู่สังคมโลก แน่นอนครับ ความสำ�เร็จและโอกาสดี ๆ ในอนาคต ย่อมเป็นความ ต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (ไม่ว่าจะอาชีพไหน ๆ) การทำ�หนังและส่ง หนังไปเทศกาลนั้น (และลุ้นสุดขีดเพื่อให้หนังตัวเองได้เข้าฉายหรือได้ เข้าประกวดตามเทศกาล) เป็นเรื่องปกติมาก ถึงลุคคนทำ�จะอาร์ตกัน แค่ไหน ถ้าหนังได้ประกวดก็ดีใจหน้าบานกันหมด มีคนสมหวัง ก็ย่อมมีคนผิดหวัง และมีคนหวังมากแต่ไม่ได้ตาม ที่หวัง ประกอบกับคติธรรมเรื่อง ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำ�เร็จ อยู่ที่นั่น การทำ�หนัง ’เพื่อ’ ให้ได้เข้าเทศกาลหนังจึงเกิดขึ้น ว่ากันว่าหนังที่มักได้รับเลือกให้ไปฉายนั้น มักจะเกิดจากหลักสมัย แรก ๆ ทีอ่ า้ งถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม แน่นอนว่าหนังเรือ่ งที่ ‘ดู

เหมือน’ หนังฮอลลีวดู นัน้ จะต้องตกรอบไปแบบไม่ตอ้ งเสียเวลาคัดเลือก เกณฑ์ต่อมาคือ หนังเรื่องไหนที่ดูไม่เหมือนหนังฮอลลีวูด แต่ดูเหมือน เป็น ‘ตะวันตก’ (เช่น หนังเกี่ยวกับชีวิตคนเมืองและเทคโนโลยี) ก็อาจ จะมีแววตกรอบได้ง่าย ๆ ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่าความหลากหลายนั้น อาจ จะเรียกอีกคำ�ได้ว่า ความ exotic ว่าง่าย ๆ คือ โดยพืน้ ฐานแล้ว ฝรัง่ อยากดูอะไรทีเ่ ขาไม่มี หรือ อะไร ทีห่ า่ งไกลตัวเขามาก ๆ เขาอยู่ในเมืองตึกสูง เทคโนโลยีกนั โดยปกตแิ ล้ว เขาเห็นความรัก อารมณค์ วามรูส้ กึ ต่าง ๆ แบบพวกนี้ไปหมดแล้ว ทำ�ไม เขาถึงจะอยากดูอีก (แต่ก็เพราะพี่ฝรั่งไม่ใช่รึ เราก็เลยพยายามอัพตัว เอง อัพประเทศตัวเองให้กลายเป็นฝรัง่ กันหมด) ดังนัน้ สิง่ ที่ (คาดเดากัน ว่า) จะโดนใจเทศกาล คือ การทำ�หนังทีว่ า่ ด้วย exotic ของประเทศตัวเอง มันไม่ได้หมายความถึงแค่ ภูเขา ลำ�เนาไพร คนป่า ชาวบ้าน ช้าง 3 ขา หรือ จา พนม แต่ยังหมายรวมถึง การเมือง การเรียกร้องต่อสู้ ความกดดันทางสังคม ความเศร้าของระบบต่าง ๆ ทีฝ่ รัง่ เข้าใจว่ามันยัง เป็นความล้าหลังของประเทศโลกทีส่ าม และ (เชือ่ กันว่า) ถ้าจะทำ�เกีย่ วกับ

Tourism Jounal | 57


Pop C u l t u r e T o u r i s m

ประเด็นท้องถิ่นเหล่านี้ ก็อย่าทำ�เชิงลึกมากเกินไปจนคนในประเทศตัว เองดูเข้าใจกันเอง ต้องทำ�ให้ตัวหนัง ’ง่าย’ พอที่จะทำ�ให้ฝรั่งนั้นเข้าใจ และมีอารมณ์ร่วม (ทั้งความตื่นตาตื่นใจและความสงสารเห็นใจ ไล่ไป ถึงรู้สึกอยากช่วยเหลือและปลดปล่อยประเทศเหล่านี้ให้เจริญขึ้น) ว่า ง่าย ๆ หนังรัก หนังชีวิตคนเมือง หนังที่ตัวละครยิงมุกท้องถิ่นร่วมสมัย ใส่กัน ย่อมตกรอบแรก (หากมาตรฐานนี้มีจริง) ความจริงสิ่งเหล่านี้ไม่อาจสรุปได้ว่ามีจริงหรือไม่มีจริง (แต่ดูจาก หนังต่าง ๆ ที่ปรากฏในเทศกาลนั้น ก็ดูเป็นไปได้) สิ่งนี้อาจเป็นสิ่งที่คน ทำ�หนังเองรู้คนเดียวในใจว่าเราทำ�หนังไปเพื่ออะไร เพื่อบันเทิงใจฝรั่ง เพื่อโอกาสในวันข้างหน้าของตัวเอง หรือเพื่อเล่าในสิ่งที่เราเป็นอย่าง จริงใจ ในขณะทีผ่ มได้เดินทางไปยังเทศกาลหนงั ต่าง ๆ นัน่ ก็หมายความวา่ ผมได้มีโอกาสไปเยือนและท่องเที่ยวที่เมืองต่าง ๆ มีโอกาสได้ไปเที่ยว สถานที่ต่าง ๆ ที่เป็นมิตรกับนักท่องเที่ยวมาก ๆ ซึ่งก็รู้สึกดีจัง เพราะ สะดวกสบาย เข้าออกสะดวก ไม่มเี ก็บราคาชาวทอ้ งถิน่ หรือชาวตา่ งชาติ

58 | Tourism Jounal

จะในชาติหรือต่างชาติราคาก็เท่ากันหมด เฟรนด์ลีจริง ๆ เฟรนด์ลี จนบางทีรู้สึกว่าเหมือนเขาไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง บางสถานที่เปิดรับ นักท่องเทีย่ วอย่างเต็มทีจ่ นไม่เหลืออะไรไว้ให้สงสัยและคน้ หา เหมือนผู้ หญิงเจอกันครั้งแรกแล้วโชว์นมให้เราดูเลย เราอาจจะช็อคไป 5 วินาที และอยู่คุยกับเธออีกสัก 10 วินาที แต่แน่นอนว่าเราจะจากไปจากเธอ และอาจจะไม่ได้กลับมาอีก เพราะมันไม่มีอะไรให้ค้นหาอีกต่อไป คิดถึงการท่องเที่ยวในบ้านเรา สถานที่บางที่โดนชาวต่างชาติยึด ครองไปทุกตารางนิ้วเรียบร้อย แน่นอนว่ามันอยู่ในแผนการส่งเสริม การท่องเที่ยว อะไรที่ใครไม่เคยเห็น เราเปิดเรียบ เราพยายามเป็น ไทยอย่างที่โลกต้องการ จนบางครั้งเราก็ลืมไปเหมือนกันว่าตอนแรก เราเป็นคนยังไง เหมือนกับที่วันนี้ไม่มีใครจำ�ได้แล้ว อ.ปาย จริง ๆ แล้ว เป็นอย่างไร เพราะ อ.ปาย เป็นมิตรกับทุกคนทั่วโลกไปเรียบร้อย การเป็นไทยจริงๆแล้ว เราอาจจะต้องยอมรับตัวเองว่าเราเป็น คนอย่างไร เรามีลักษณะแบบไหน เรามีทั้งส่วนที่สะอาด และส่วนที่ สกปรกเปือ้ นฝุน่ (และส่วนทีเ่ ราเข้าใจไปเองว่ามันสกปรกเปือ้ นฝุน่ แต่


Pop C u l t u r e T o u r i s m

จริง ๆ มันไม่ได้สกปรก มันแค่เป็นนิสัยซกมกของเรานิดหน่อยเท่านั้น เอง) จากนั้นเราก็พรีเซนต์ไปในแบบที่เราเป็น ดีที่สุดเท่าที่เราโอเค ความจริงนีเ่ หมือนการจีบหญิง จีบชายเลยนะครับ เป็นแบบไหนก็แสดง ไปแบบนัน้ เพราะเดีย๋ วเป็นแฟนกนั ก็ตอ้ งแสดงด้านมืดใส่กนั อยูด่ ี ไม่ช้า ก็เร็ว อะไรที่ไม่ได้ ก็บอกไปเลยว่าไม่ได้ บางอย่างอะไรที่ดูได้ยากก็ไม่ ต้องไปทำ�ให้ง่ายขึ้นก็ได้ อะไรที่ไม่ง่ายไป ได้มายาก ๆ นิด ๆ มันมักจะ มีคุณค่าและน่าค้นหากว่าเสมอ ที่สำ�คัญคือมันสามารถแสดงความเป็น ตัวเองไดอ้ ย่างครบถ้วน ถามจริงเถอะว่ามีใครอยากใหอ้ นิ เดียสะอาดขึน้ มั๊ยครับ หรือ นโยบายจำ�กัดคนเข้าประเทศเนปาล ทำ�ให้นักท่องเที่ยว อยากไปเที่ยวที่นั่นน้อยลงมั๊ย ในโลกนีอ้ าจจะไม่มสี งิ่ ทีเ่ รียกความดีหรือความไม่ดจี ริง ๆ หรอกครับ มันมีแค่ความแตกต่าง ความไม่เหมือนกัน บางครั้งเวลาผมเจอฝรั่งเอง ผมก็ค่อนข้างมีปัญหาเวลาพวกเขาไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ แล้วบอกว่า ทำ�ไมเมืองมันไม่เป็นแบบนั้น เป็นแบบนี้ ทำ�ไมผู้คนไม่เป็นผู้คนในบ้าน เมือง (อันเจริญ) ของพวกเขา ในใจผมก็จะคิดว่า ก็นี่ไง พอเมืองที่

พวกยูไปเที่ยวมันเป็นตัวของตัวเอง เป็นออริจินอล ดิบ ๆ แบบของแท้ ดัง้ เดิม พวกยกู บ็ น่ อีก พวกยจู ะให้โลกทัง้ โลกเปน็ เหมือนพวกยูหมดเลย ใช่มั๊ย พวกยูจะเอาไง ผมคิดว่าเวลาเราอยากใหใ้ ครรักเรา เราก็อยากให้เขารักทีเ่ ราเป็น เรา ให้เขาได้ amazing ในความเป็นเราจริง ๆ ทำ�ตัวเป็นหญิงค่อย ๆ เปลือยบน เป็นชายค่อย ๆ เปลือยล่าง ระทึกใจกว่า ถ้าชอบก็มา ไม่ ชอบไม่เป็นไร ถ้าเป็นไทยน่ะสบายครับ แต่ถ้าเลือกเป็นทาสก็จะต้องเหนื่อยกัน นิดนึงล่ะ

Tourism Jounal | 59


To u r i s m @ A E C

โอกาส ทางการตลาดท่องเที่ยวไทย บนความท้าทาย กับการก้าวสู่ AEC (ตอนที่ 1) เรื่อง จุรีรัตน์ คงตระกูล

ในวั น ที่ 31 ธั น วาคม 2558 ประเทศไทยก็ จ ะก้ า วเข้ า สู่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community ภายใต้แนวคิด One Vision, One Identity, One Community ซึ่งมีเป้าหมายที่จะสร้างอาเซียนให้เป็นตลาดเดียว และฐานการผลิตร่วมกัน โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและเงินทุน อย่างมีเสรี มากขึ้น บทความนี้ เ ป็ น การนำ � เสนอข้ อ มู ล ในประเด็ น หลั ก ได้ แ ก่ ภาพรวมของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) การเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรม ท่ อ งเที่ ย วไทยเพื่ อ รองรั บ โอกาสบนความท้ า ทาย และ ยุทธศาสตร์ของ ททท. กับการก้าวสู่ AEC

เป็นตลาดและฐานการ ผลิตเดียวกัน โดยจะ มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การ ลงทุน แรงงานมีฝีมือ และเงิน ทุน อย่างมีเสรีมากขึ้น

ความเป็นมาของ AEC จากที่ผู้นำ�อาเซียนได้ลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 (Bali Concord II) เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 เพื่อประกาศจัด ตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community: AC) ภายในปี 2563 โดย สนับสนุนการรวมตัวและความร่วมมืออย่างรอบด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 ประชาคมหลัก ได้แก่ 1. ประชาคมการเมือง (ASEAN Political Security Community: APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC) ต่อมาในปี 2550 อาเซียนได้ประกาศปฏิญญาเซบูวา่ ด้วยการเร่งรัด การจัดตั้งประชาคมอาเซียน เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นจาก กำ�หนดการที่ตั้งไว้แต่เดิมจากปี 2563 เป็นปี 2558

60 | Tourism Jounal

เ ป็ น ภู มิ ภ า ค ที่ มี ก า ร พั ฒ นา เศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน โดยให้ มีการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อลดช่องว่างจากการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ ทุกประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน


To u r i s m @ A E C

อาเซียนได้กำ�หนดยุทธศาสตร์ การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ใน 4 ด้าน คือ

เป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการ เข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยเน้น การดำ � เนิ น มาตรการจั ด ทำ � เขตการค้ า เสรี (Free Trade Area–FTA) และหุน้ ส่วนเศรษฐกิจ (Closer Economic Partnership–CEP) กับประเทศนอกภูมิภาค ปัจจุบันอาเซียนมีการ จัดทำ�เขตการค้าเสรี กับ 4 ประเทศ ได้แก่ จีน เกาหลี อินเดีย อาเซียน-ออสเตรเลีย/ นิวซีแลนด์ และการจัดทำ�หุ้นส่วนเศรษฐกิจ 1 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น

เป็นภูมิภาคที่มีขีดความ สามารถในการแข่งขันสูง โดยมี อ งค์ ป ระกอบหลั ก ได้ แ ก่ นโยบายการแข่ ง ขั น การคุ้ ม ครอง ผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และ พลั ง งาน) มาตรการด้ า นภาษี และ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ยุทธศาสตร์ที่สำ�คัญและส่งผลต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยตรงและทันที ได้แก่ ยุทธศาสตร์การเป็นตลาดและฐานการผลิต เดียวกัน ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ การเคลื่อนย้ายสินค้าเสรี การ เคลื่อนย้ายบริการเสรี การเคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี การเคลื่อนย้าย เงินทุนเสรี และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี ทั้งนี้ อาเซียนได้กำ�หนดการเปิดเสรี ใน 12 สาขาอุตสาหกรรม สำ�คัญ ได้แก่ เกษตร ประมง ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ การขนส่งทางอากาศ สุขภาพ e-ASEAN ท่องเที่ยว และโลจิสติกส์ โดยกำ�หนดสาขาบริการ เร่งรัดใน 4 กลุ่มสาขาบริการ ได้แก่ e-ASEAN สุขภาพ การบิน และ การท่องเที่ยว

Tourism Jounal | 61


To u r i s m @ A E C

รูปแบบการให้บริการเสรี หรือ Modes of Supply ใน 4 ลักษณะ

Mode 2: การบริโภคข้ามพรมแดน (Consumption Abroad) หมายถึง การที่ผู้รับบริการเดินทางไปใช้บริการในประเทศของผู้ให้บริการ เช่น การเดิน ทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ การเดิน ทางไปศึกษาในต่าง เนื่ อ งจากธุ ร กิ จ สาขาการบริ ก าร เป็ น องค์ ป ระกอบหลั ก ของ ประเทศ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศสมาชิก โดยมี สัดส่วนร้อยละ 40-60 ของ GDP ในกลุ่มประเทศอาเซียน อาเซียนจึง Mode 3: การตั้งสำ�นักงาน (Commercial Presence) หมายถึง การ ได้กำ�หนดกรอบความตกลงอาเซียนด้านบริการ (ASEAN Framework ที่ผู้ให้บริการเดิน ทางไปเปิดสำ�นักงานตัวแทน หรือตั้งสาขาเพื่อให้ Agreement on Services-AFAS) ให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีด้านการ บริการในประเทศของผู้รับบริการโดยมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเพื่อไป ค้าและบริการ(General Agreement on Trade in Services-GATS) สร้างโครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบที่จำ�เป็นสำ�หรับการแข่งขัน ขององค์การการค้าโลก โดยมีรูปแบบการให้บริการเสรีใน 4 ลักษณะ เพื่อให้บริการในประเทศเป้าหมาย เช่น การเปิดร้านอาหาร โรงแรม ในต่างประเทศ คือ Mode 1 : การให้บริการข้ามพรมแดนประเทศ (Cross Border Supply) Mode 4: การเคลื่อนย้ายบุคลากร (Movement of Natural Persons) หมายถึงการค้าบริการทีผ่ ใู้ ห้บริการอยูค่ นละประเทศกับผูร้ บั บริการ คือ หมายถึงการที่ผู้ให้บริการเดินทางไปให้บริการในประเทศผู้รับบริการ มีฐานผลิตและบริการอยู่ในประเทศของตนเอง แต่สามารถให้บริการ เป็นการส่งออกนักวิชาชีพแขนงต่าง ๆ ไปยังต่างประเทศ เช่น แพทย์ ข้ามประเทศได้ เช่น บริการสายการบิน โทรคมนาคม อินเทอร์เน็ต วิศวกร พ่อครัว ไปทำ�งานในต่างประเทศ เป็นต้น

สถานะปัจจุบันของการเปิดเสรีสาขาท่องเที่ยวภายใต้กรอบ ASEAN

ข้ อ ผู ก พั น ชุ ด ที่ 8 ของไทย (ปี 2555)

Travel Agency & Tour Operator

ต่างชาติร่วมถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% กึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริหาร ของนิติบุคคลต้องมีสัญชาติไทยในธุรกิจ

Hotel โรงแรมขนาด 6 ดาวขึ้นไปเท่านั้น ต่างชาติร่วมถือหุ้นกับนิติบุคคลไทยได้ไม่เกิน 70% ต้องเป็นบริษัทจำ�กัดเท่านั้น ผู้ขออนุญาตดำ�เนินการและผู้บริหาร ต้องมีสัญชาติไทยและต้องมีถิ่นพำ�นักในไทย

ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

62 | Tourism Jounal


To u r i s m @ A E C นอกจากนี้ เพือ่ รองรับยุทธศาสตร์การเป็นตลาดและฐานผลิตเดียว และเพื่ อ สร้ า งคุ ณ ภาพการให้ บ ริ ก ารด้ า นการท่ อ งเที่ ย วในภู มิ ภ าค อาเซียนได้จัดทำ� ข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากร วิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (Mutual Recognition Arrangement–MRA) โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ อำ�นวยความสะดวกการเคลือ่ นย้าย การจ้างงานผูเ้ ชีย่ วชาญและเพิม่ ความเท่าเทียมกันของบุคลากรด้านการ ท่องเทีย่ วในภูมภิ าค โดยกำ�หนดมาตรฐานสมรรถนะขัน้ ตํา่ ในสาขาการ โรงแรมและสาขาธุรกิจนำ�เที่ยว ซึ่งบุคลากรในวิชาชีพท่องเที่ยวอาจ มีสิทธิประกอบวิชาชีพท่องเที่ยวในประเทศผู้รับ หากมีวุฒิบัตรที่ออก โดยคณะกรรมการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพการท่องเที่ยว (TPCB) ขณะนี้ กระทรวงการท่องเทีย่ วฯ อยูร่ ะหว่างการดำ�เนินการพิจารณาสมรรถนะ ดังกล่าว

ปัจจุบัน อาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำ�ข้อผูกพันชุดที่ 8 สำ�หรับข้อผูกพันในสาขาการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีสาระสำ�คัญ คือ การเปิดเสรีเพิ่มขึ้นโดยอนุญาตให้นักลงทุนหรือนิติบุคคลสัญชาติ อาเซียน สามารถเข้ามามีสัดส่วนการถือหุ้นกิจการโรงแรม ในประเทศ ได้รอ้ ยละ 70 แต่จำ�กัดการลงทุนให้ทำ�ได้เฉพาะในโรงแรมขนาด 6 ดาว ขึ้นไป กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นหน่วยงาน หลักดำ�เนินการจัดทำ�ตารางข้อผูกพันชุดที่ 8 ซึ่งมีกำ�หนดนำ�เข้าสู่การ พิจารณาของคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาภายในปี 2555 นี้ ในส่วนข้อผูกพัน ชุดที่ 8 ของประเทศอื่น ๆ ก็จะมีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่ ทุกประเทศต้องยอมรับในการเพิ่มระดับการเปิดเสรีทางการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น ยกเว้นสิงคโปร์ซึ่งเปิดเสรีโดยไม่ระบุข้อจำ�กัด

สถานะปัจจุบันของการเปิดเสรีสาขาท่องเที่ยวภายใต้กรอบ ASEAN ข้อผูกพันชุดที่ 8 ของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ประเทศ ข้อผูกพัน อินโดนีเซีย - กำ�หนดเขตพื้นที่โรงแรมที่ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ทั้งหมดหรือบางพื้นที่ 70% - กำ�หนดจำ�นวนผู้ประกอบการต่างชาติที่เปิดกิจการร้านอาหารไม่เกิน 55 ราย และต้องขอ License - อนุญาตเฉพาะ Inbound Operator ในจาร์กาตาและบาหลี ฟิลิปปินส์ - ธุรกิจโรงแรม คนฟิลิปปินส์ต้องถือหุ้นข้างมาก - ร้านอาหารต่างชาติถือหุ้นได้ 100% หากมีทุนจดทะเบียนที่ชำ�ระแล้ว 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขึ้นไป อนุญาตให้ต่างชาติเข้ามาทำ�งานได้หากไม่มีคนฟิลิปปินส์ทำ� - Travel Agency อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 60% บรูไน - JV กับคนบรูไนหรือนิติบุคคลที่ควบคุมโดยคนบรูไนหรือทั้งสองอย่าง โดยต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 70% สิงคโปร์ - เปิดเสรีโดยไม่ระบุข้อจำ�กัด กัมพูชา - เปิดให้โรงแรมตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป - Travel Agencies ให้ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 51 % - อนุญาตเฉพาะต่างชาติที่มากับบริษัทในเครือระดับผู้จัดการและระดับบริหาร ลาว - เปิดให้โรงแรมตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป ต้องเป็นการร่วมทุนหรือถือหุ้นได้ 100% - Travel Agency ให้ต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 70% - Tourism Consulting Services ให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 100% หรือร่วมทุนโดยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 35% เมียนมาร์ - ให้ต่างชาติถือหุ้นได้ถึง 100% - ต้องได้รับอนุญาตภายใต้ BOT System ภายใต้กฎหมายการลงทุนของเมียนมาร์ มาเลเซีย - ธุรกิจโรงแรม ต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 70% สำ�หรับโรงแรม 4-5 ดาว - Travel Agency & Tour Operator ต้องเป็น JV กับคนมาเลเซีย หรือนิติบุคคลที่ควบคุมโดยคนมาเลเซีย หรือทั้งสองอย่าง และสัดส่วนถือหุ้นต่างชาติไม่เกิน 70% ที่มา : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ Tourism Jounal | 63


To u r i s m @ A E C ความสำ�คัญเพิม่ ขึน้ เป็นสิง่ ทีป่ ระเทศไทยต้อง พึงตระหนักและหันมาให้ความสนใจในกลุ่ม ตลาดนีม้ ากขึน้ เพราะปัจจุบนั สิงคโปร์ซงึ่ มีฐาน ตลาดหลักทีส่ �ำ คัญคือกลุม่ ประเทศในอาเซียน ย่อมจะเดิน หน้าเพื่อรักษาฐานตลาด สร้าง โอกาสที่ จ ะเป็ น ผู้ นำ � ทางการตลาดที่ กำ � ลั ง เติบโต เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ที่พึ่งพิง ตลาดหลักภายในภูมิภาค ต่างก็หันมาพัฒนา คุ ณ ภาพบริ ก ารเพื่ อ รองรั บ ฐานตลาดใน อาเซียนเพิ่มขึ้น การเตรียมความพร้อมเพื่อการแข่งขัน รักษาส่วนแบ่งตลาดจากตลาดภายในภูมิภาค ที่ กำ � ลั ง เติ บ โต จึ ง เป็ น สิ่ ง ท้ า ทายสำ � หรั บ ประเทศไทยไปพร้อมกัน การส่งเสริมการ ท่องเที่ยวในประเทศไทยจะยังคงอาศัยการ ขยายตัวของนักท่องเทีย่ วจากนอกภูมภิ าคเป็น หลัก ให้ความสนใจต่อกลุ่มตลาดอาเซียนใน ลักษณะกลุ่มลูกค้าเสริม หรือจะหันมาใส่ ใจ

โอกาส VS ความท้าทาย เมื่อบรรยากาศของสภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนไป การปรับตัวเพื่อ เตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจึงเป็นสิ่งสำ�คัญ เพื่อรองรับโอกาสที่เปิดกว้าง ที่มาพร้อมกับความท้าทาย ซึ่งกลายเป็น Package คู่ ที่จะต้องใส่ใจไปพร้อมกัน ข้อมูลจากคณะทำ�งาน ASEAN Tourism Marketing Strategy ระบุว่า - ในปี 2011 มีจำ�นวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเดินทางท่องเที่ยว ในภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด 81.22 ล้านคน (+9.26%) - เป็นการเดินทางท่องเทีย่ วภายในภูมภิ าค 37.77 ล้านคน คิดเป็น สัดส่วนร้อยละ 46.5 - โดยประเทศไทย มีนักท่องเที่ยวจากอาเซียนเดินทางเข้ามา 5.7 ล้านคน และนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เข้ามา ร้อยละ 60 จะอยู่ในระดับ ฐานะของชนชั้นกลางขึ้นไป ผลของการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนจะทำ�ให้เกิดชนชัน้ กลางที่ มีศักยภาพ เป็นตลาดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยคาดว่ากลุ่มชนชั้นกลาง ขึน้ ไปจะมีจ�ำ นวนไม่ตาํ่ กว่า 300 ล้านคนในปี 2558 ซึง่ เป็นครึง่ หนึง่ ของ ฐานประชากรเกือบ 600 ล้านคนในอาเซียน การขยายตัวของชนชัน้ กลาง ที่ปรับเปลี่ยนทั้งฐานะทางเศรษฐกิจและพฤติกรรมการบริโภค เป็น แบบคนเมือง จะเอื้อต่อการขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยวของไทย ในอาเซียนให้ใหญ่ขึ้น นอกจากนั้น หากข้อตกลงด้านการค้าบริการ ระหว่าง ASEAN+3 (อาเซียน + จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) และ ASEAN +6 (เพิม่ อีก 3 ประเทศ คือ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) บรรลุผล ก็จะ มีผลให้ขนาดตลาดขยายใหญ่กว้างไกลเพิม่ ขึน้ อีกหลายเท่า แม้ปจั จุบนั สัดส่วนของตลาดอาเซียนในไทยจะมีเพียงร้อยละ 15 โดยตลาดหลัก 10 อันดับแรกของไทยจะเป็นตลาดระยะไกลมากกว่ากลุม่ ตลาดในอาเซียน แต่แนวโน้มและโอกาสการเติบโตของตลาดภายในภูมภิ าคทีท่ วีบทบาท 64 | Tourism Jounal


To u r i s m @ A E C

กลุ่มตลาดดังกล่าวเพิ่มเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก โดยปรับบริการต่าง ๆ ทั้ง ในด้านวัฒนธรรม ศาสนา ภาษา และอาหาร เพื่อรองรับการขยายตัว ของกลุ่มตลาดใหม่ ๆ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ การขยายตัวของเส้นทางบินภายในภูมภิ าคก็เป็นปัจจัยด้านโอกาส ต่อการขยายตัวของตลาดท่องเทีย่ วหลังจากอาเซียนได้จดั ทำ�ความร่วมมือ ด้านการขนส่งทางอากาศโดยตัง้ เป้าหมายทีจ่ ะบรรลุการเป็นตลาดการ บินร่วมภายในปี 2015 ทำ�ให้เกิดการขยายเส้นทางบิน ทั้งในส่วนของ สายการบินแห่งชาติ ซึ่งเฉพาะสายการบินไทย สิงคโปร์แอร์ไลน์ และ มาเลเซียแอร์ไลน์ ที่เป็นสายการบินหลักของภูมิภาค ขณะนี้มีเส้นทาง บินเชื่อมต่อภายในอาเซียนถึง 54 จุดบิน ขณะเดียวกัน สายการบินต้น ทุนตํ่าในเอเชียก็ขยายตัวจาก 17 Destinations ในปี 2544 เป็น 63 Destinations ในปี 2550 และมีแนวโน้มขยายจุดบินเพิ่มขึ้นโดยตลอด จากตัวเลข 8 เดือนแรกของปี 2555 ปรากฏว่าสายการบินต้นทุน ตํา่ ขยับครองส่วนแบ่งทีน่ งั่ ในภูมภิ าคอาเซียนเพิม่ ขึน้ อย่างมาก จากร้อย ละ 23.2 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 51 (ในปี 2555) การขยายตัวของ Low Cost Airline กลายเป็นจุดเปลีย่ นให้กลุม่ ชนชัน้ กลางถึงชนชัน้ ล่าง มีโอกาสเดินทางทัดเทียมกลุม่ ระดับบน รวมทัง้ ผูค้ นในเมืองรองก็สามารถเปลีย่ นสถานะมาเป็นตลาดนักท่องเทีย่ วได้เช่น กัน ระดับราคาทีต่ า่ํ ของสายการบินกระตุน้ ให้เกิดความถี่ในการเดินทาง สร้างโอกาสให้แหล่งท่องเที่ยวในบางพื้นที่ที่สายการบิน Low Cost เข้า ถึง เปลี่ยนสถานะมาเป็น Weekend Destination ภายในภูมิภาค การพัฒนาเส้น ทางคมนาคมทางบกที่เชื่อมโยงภายในภูมิภาค ทั้ง 3 ส่วนหลัก ทั้ง North South Corridor / East West Corridor / Southern Economic Corridor รวมทัง้ โครงการรถไฟความเร็วสูง เมือ่ เสร็จสมบูรณ์จะทำ�ให้การเดินทางเชือ่ มโยงทางบก (Overland) ภายใน ภูมิภาคเป็นไปได้โดยสะดวก สนับสนุนการเดินทางท่องเที่ยวภายใน

ภูมภิ าคทัง้ ทางอากาศและทางบกให้มคี วามหลากหลาย สามารถเดินทาง ในลักษณะ Multi-destination ได้อย่างสะดวกในคราวเดียว ส่งเสริม การท่องเที่ยวภายใต้ ASEAN Brand ให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้ง ภายในและภายนอกภูมิภาคได้มากขึ้น นอกจากนัน้ ความก้าวหน้าพัฒนากลไกความร่วมมือในระดับต่าง ๆ เพื่อยกเลิกอุปสรรคการเดินทางระหว่างกันเป็นระยะ ทั้งอุปสรรคใน ด้านภาษี อุปสรรคจากขัน้ ตอนและพิธกี ารผ่านแดน รวมทัง้ การปรับปรุง ระบบและระเบียบต่าง ๆ ให้เกิดการเดินทางลืน่ ไหล เชือ่ มโยงลึกเข้าไป ในแต่ละพื้นที่ของกลุ่มสมาชิก (เช่น ระเบียบการนำ�รถยนต์ส่วนบุคคล เข้าพืน้ ที)่ ความร่วมมือเหล่านีจ้ ะเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการเดินทาง เชื่อมโยงของประชาชนในประชาคมอาเซียน นำ�ไปสู่โอกาสของการ ท่องเทีย่ วรูปแบบต่าง ๆ ทัง้ การท่องเทีย่ วเพือ่ พักผ่อน การท่องเทีย่ วเพือ่ สุขภาพ จนกระทั่งการท่องเที่ยวเพื่อจับจ่ายซื้อสินค้า ฯลฯ และที่สำ�คัญ การพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อให้เกิด ASEAN Common Visa และ ASEAN Single Visa จะเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำ�คัญต่อการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวภายใต้ ASEAN Brand แต่ประเด็นท้าทายก็คือ แม้การจัดทำ� ASEAN Single Visa จะเป็น ปัจจัยสนับสนุนที่สำ�คัญให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภายในภูมิภาค แต่จากความแตกต่างของระดับการพัฒนาในกลุ่ม ประเทศสมาชิก รวมทั้งผลกระทบด้านอื่น ๆ ที่จะตามมา ทำ�ให้อาเซียน ต้องใช้เวลาพิจารณาศึกษาวิธกี ารดำ�เนินการและกำ�หนดแนวทางพร้อม กรอบระยะเวลาที่เหมาะสม การจัดทำ� ASEAN Single Visa จึงไม่ สามารถบรรลุผลได้ในขณะนี้ ขณะที่กลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม กำ�ลังจะใช้ระบบ Single Visa ในการเดินทาง ท่องเที่ยวระหว่างกัน จึงเป็นความท้าทายสำ�หรับประเทศไทย สำ�หรับ การเคลื่อนไหวดังกล่าวของคู่แข่ง Tourism Jounal | 65


To u r i s m @ A E C

อาเซียนมีทะเล

ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ณ วั น นี้ ค งไม่ มี ใ ครปฏิ เ สธได้ ว่ า การที่ ป ระเทศไทยกำ � ลั ง จะเข้ า สู่ ป ระชาคม อาเซี ย นในปี 2015 ถื อ เป็ น ความก้ า วหน้ า ครั้ ง สำ � คั ญ ที่ จ ะเปลี่ ย น แปลงสภาพ เศรษฐกิ จ และสั ง คมไทยให้ พั ฒ นาก้ า วไกล หน่ ว ยงานทั้ ง ภาครั ฐ และภาคเอกชนจึ ง พยายามช่ ว ยกั น เผยแพร่ ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ประเ ทศต่ า ง ๆ ในประชาคมอาเซี ย น เพื่อให้คนไทยรู้จักและพร้อมจะเข้าร่วมกับเพื่อน ๆ เหล่านั้นเพื่อให้พวกเราก้าวหน้าไปด้วยกัน อ ย่ า ง ไ ร ก็ ต า ม ข้ อ มู ล ค ว า ม รู้ ต่ า ง ๆ เ กื อ บ ทั้ ง ห ม ด จำ � กั ด อ ยู่ เ พี ย ง พื้ น แผ่ น ดิ น แ ทบไม่ มี ก ารพู ด ถึ ง ท้ อ งทะเลของอาเซี ย น ทั้ ง ที่ ท ะเลแ ห่ ง นี้ ถื อ ว่ า เป็ น อั น ดั บ หนึ่ ง ในโลกในหลายด้ า น และผู้ ค นหลายร้ อ ยล้ า นคนในภู มิ ภ าคนี้ ล้ ว นใช้ ประโยชน์ จ ากท้ อ งทะเลที่ ยิ่ ง ใหญ่ ร่ ว มกั น ครั้ ง นี้ ผ มจึ ง อยากพาพวกเราไปรู้ จั ก กั บ ทะเลอาเซียน

66 | Tourism Jounal

เรื่อง ธรณ์ ธำ�รงนาวาสวัสดิ์ Talaython@hotmail.com


To u r i s m @ A E C

MYANMAR LAOS

PHILIPPINES

THAILAND VIETNAM

CAMBODIA

BRUNEI MALAYSIA

SINGAPORE

INDONESIA

Tourism Jounal | 67


!

To u r i s m @ A E C

สภาพทั่วไป

สมาชิกในประชาคมอาเซียนมีทงั้ หมด 10 ชาติ ในจำ�นวนนี้ มีเพียง ประเทศลาวที่ไม่มที ะเล ทีเ่ หลืออีก 9 ชาติลว้ นมีชายฝัง่ ติดทะเล คิดเป็น ระยะทางรวมกันประมาณ 110,000 กิโลเมตร ยาวกว่าเส้นรอบวงโลก เกือบ 3 เท่า (เส้นรอบวงโลกประมาณ 40,000 กิโลเมตร) หรือเท่ากับ 5.5 เท่าของความยาวชายฝัง่ ประเทศสหรัฐอเมริกา (20,000 กิโลเมตร) ในจำ�นวนนี้ ประเทศอินโดนีเซียมีชายฝัง่ ยาวไกลมากทีส่ ดุ (55,000 กิโลเมตร ถือเป็นอันดับ 2 ของโลก) รองลงมาคือประเทศฟิลิปปินส์ (36,000 กิโลเมตร อันดับ 4) ประเทศมาเลเซีย (4,675 กิโลเมตร อันดับ 29) ประเทศเวียดนาม (3,400 กิโลเมตร อันดับ 33) ประเทศไทย (3,200 กิโลเมตร อันดับ 34) และประเทศเมียนมาร์ (1,900 กิโลเมตร อันดับ 54) ตามชายฝั่ ง ที่ ย าวไกลขนาดนี้ เป็ น ที่ ตั้ ง ของเกาะแก่ ง จำ � นวน มหาศาล บางประเทศในเขตอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ถือเป็นประเทศที่เป็นเกาะ (Island Country) เมื่อนับจำ�นวน เกาะของทั้งภูมิภาครวมกัน คิดเป็นตัวเลขมากกว่า 30,000 เกาะ มากกว่าจำ�นวนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอินโดนีเซียมีเกาะมากที่สุด (18,000 เกาะ อันดับ 1 ของ โลก) รองลงมาคือประเทศฟิลิปปินส์ (8,900 เกาะ อันดับ 2 ของโลก) ตามด้วยเมียนมาร์ทมี่ เี กาะมากกว่า 1,000 เกาะ (ยังไม่มกี ารนับจำ�นวน แน่นอน) ถัดมาคือไทยและมาเลเซีย มีเกาะใกล้เคียงกัน ประมาณเกือบ 1,000 เกาะต่อประเทศ ตามด้วยเวียดนามและประเทศอื่น ๆ ที่เหลือ ทะเลของประชาคมอาเซียนตัง้ อยู่ในเขตร้อน ตามหลักทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมแล้ว ทะเลเขตร้อนเป็นบริเวณที่มีความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิตสูงกว่าทะเลเขตอบอุ่นและทะเลเขตหนาวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ทะเลอาเซียนยังอยู่ในบริเวณทีเ่ รียกว่า “เขตอินโด-แปซิฟกิ ” หรือเขตเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก จาก การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์ พบว่าทะเลเขตนี้มีความหลากหลาย สูงที่สุดในโลก สูงกว่าทะเลเขตร้อนในภูมิภาคอื่นใด ทำ�ให้ทะเลของ อาเซียนไม่เพียงใหญ่โตมโหฬาร ที่นี่ยังเป็นทะเลที่อุดมสมบูรณ์เป็น อันดับหนึ่ง

68 | Tourism Jounal

ตลอดเวลายาวนาน นักวิทยาศาสตร์ทางทะเลพยายามทำ�การ ศึกษาทะเลของภูมิภาคอาเซียน อย่างไรก็ตาม เราสำ�รวจค้นพบเพียง น้อยนิด เมือ่ เทียบกับทรัพยากรมหาศาลของทะเลแห่งนี้ ข้อมูลจากการ สำ�รวจยืนยันความสำ�คัญของทะเลอาเซียนหลายประการ เช่น ทะเล อาเซียนเป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในแนวปะการัง สูงสุด (เขต Coral Triangle) สิง่ มีชวี ติ ในบริเวณนีม้ จี �ำ นวนชนิดมากกว่า สิ่งมีชีวิตในแนวปะการังเขตอื่นใดของโลกรวมกัน การสำ�รวจทุกครั้ง รายงานการค้นพบสิ่งมีชีวิตในทะเลชนิดใหม่ ๆ เสมอ นักวิทยาศาสตร์ เชือ่ ว่า ยังมีสงิ่ มีชวี ติ อีกเป็นจำ�นวนมากทีเ่ รายังไม่เจอ อาศัยอยู่ในทะเล แห่งนี้ ทะเลอาเซียนคือทะเลแห่งความลึกลับ นี่คือข้อความที่เป็นจริง นอกจากเกาะต่าง ๆ ไม่ตํ่ากว่า 3,000 เกาะที่ไม่เคยมีมนุษย์อาศัยอยู่ (นับเฉพาะอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ประเทศอื่นไม่มีข้อมูล) ยังรวมถึง ทะเลที่ลึกสุดขั้ว เช่น ร่องลึกฟิลิปปินส์ (Philippines Trench) ความ ลึกสูงสุดถึง 10,540 เมตร จัดเป็นจุดลึกที่สุดในทะเลอาเซียน และเป็น จุดที่ลึกที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลก ความลึกดังกล่าวมากพอที่จะหย่อน ภูเขาเอเวอเรสต์ลงไปในร่องทั้งหมด (Everest สูง 8,848 เมตร หย่อน ลงไปแล้วยังเหลืออีกตั้งเกือบ 2 กิโลเมตร) ในพืน้ ทีก่ ว้างใหญ่และลึกสุดขัว้ เหล่านี้ นอกจากมีสง่ิ มีชวี ติ ชนิดใหม่ท่ี รอการสำ�รวจ ยังเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ดกึ ดำ�บรรพ์ เช่น ปลาซีลาคานธ์ ปลาทีเ่ ชือ่ ว่าสูญพันธุไ์ ปเมือ่ 50 ล้านปีกอ่ น แต่มกี ารค้นพบอีกครัง้ ทีท่ วีป แอฟริกา และเมื่อไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์ค้นพบปลาซีลาคานธ์ที่ ประเทศอินโดนีเซีย ! กล่าวโดยสรุป น่าแปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่า ทำ�ไมทะเลที่กว้างใหญ่ เช่นนี้ อุดมสมบูรณ์เช่นนี้ ลึกลับเช่นนี้ กลับไม่เป็นที่รู้จักเท่าที่ควร และยิ่งน่าแปลกใจเมื่อคิดว่า เราใช้ประโยชน์จากทะเลแห่งนี้มากมาย มหาศาลเพียงไร


การใช้ประโยชน์

!

To u r i s m @ A E C

จากประชากรอาเซียนกว่า 570 ล้านคน มากกว่า ครึง่ หนึง่ อาศัยอยู่ในบริเวณ ชายฝั่งทะเล เมืองหลวง ของเกื อ บทุ ก ประเทศ เช่น บันดาร์เสรีเบกาวัน (บรูไน) สิงคโปร์ จาการ์ตา มะนิ ล า กั ว ลาลั ม เปอร์ และกรุ ง เทพฯ ล้ ว นอยู่ ติดหรือใกล้ทะเล สำ�หรับ ประเทศที่เมืองหลวงไม่ ติ ด ทะเล จะมี เ มื อ งท่ า ขนาดใหญ่อยู่ ในบริเวณชายฝั่ง เช่น โฮจิมินห์ (เวียดนาม) ย่างกุ้ง (เมียนมาร์) กล่าวได้ว่า 7 เมืองที่มีประชากรสูงสุดของอาเซียน ทุก เมืองล้วนอยู่ใกล้ทะเล ข้อมูลนี้ชี้ชัดถึงการใช้ประโยชน์จากชายฝั่งและ ท้องทะเลในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาชุมชนเมือง เมือ่ พิจารณาในด้านอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมเกือบทัง้ หมด ของภูมิภาคอยู่ติดชายฝั่ง ยังหมายถึงแหล่งพลังงานฟอสซิลจำ�นวน มหาศาล เช่น แหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ในเมียนมาร์ ในมาเลเซีย ในเวียดนาม หรือแหล่งนํา้ มันดิบในบรูไนและในอินโดนีเซีย หลุมเจาะที่ สำ�คัญทั้งหมดอยู่ในทะเล มิใช่บนแผ่นดิน ประชาคมอาเซียนมุ่งเน้นการส่งออกสินค้าเพื่อนำ�รายได้เข้า ประเทศ การส่งออกดังกล่าวเกือบทั้งหมดเป็นการขนส่งทางทะเล หลายท่านอาจไม่ทราบว่า ช่องแคบมะละกาคือบริเวณที่มีการเดินเรือ สินค้าหนาแน่นที่สุดในโลก ยังหมายถึงสิงคโปร์ที่เป็นเมืองท่าทางทะเล ใหญ่ทสี่ ดุ ในโลก เมือ่ รวมกับเมืองท่าทางทะเลแห่งอืน่ ๆ เช่น แหลมฉบัง ของไทย ไฮฟองของเวียดนาม ฯลฯ ร่วมกับเมืองท่าและท่าเรือนํ้าลึก แห่งใหม่ทจี่ ะพัฒนาขึน้ มา เช่น ท่าเรือนํา้ ลึกทวาย จะยิง่ ทำ�ให้ประชาคม อาเซียนมีความสำ�คัญมากยิง่ ขึน้ ในด้านการคมนาคมขนส่งทางทะเล จน กลายเป็น ฮับ (Hub) ทางทะเลของโลกได้อย่างไม่ยาก

เมือ่ ดูจากความจริงข้อนี้ การพัฒนาเมือง การพัฒนาอุตสาหกรรม การ พลังงาน และการขนส่งของภูมภิ าคอาเซียน ไม่มที างแยกออกจากทะเลได้ คราวนี้เราลองพิจารณาด้านการท่องเที่ยว พื้นที่ท่องเที่ยวที่สำ�คัญ ทีส่ ดุ ของอาเซียน เกือบทัง้ หมดเป็นแหล่งท่องเทีย่ วทางทะเล เช่น ภูเก็ต บาหลี (อินโดนีเซีย) สิปาดัน (มาเลเซีย) ฮาลองเบย์ (เวียดนาม) ฯลฯ นับวันแหล่งท่องเทีย่ วเหล่านีจ้ ะยิง่ ทวีความสำ�คัญ จนกลายเป็นจุดหมาย ปลายทางของคนทั่วโลก ยังหมายถึงแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ๆ จาก หาดทรายนับแสนแห่ง จากอ่าวนับหมื่นแห่ง จากแนวปะการังหลาย หมื่นตารางกิโลเมตร ฯลฯ ที่จะทำ�ให้ประชาคมอาเซียนกลายเป็นเขตที่ มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทางทะเลใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อีกสิ่งหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ คือการใช้ประโยชน์ด้านการประมงและ การเพาะเลี้ยงชายฝั่ง ประชาคมอาเซียนเป็นครัวอาหารทะเลของโลก มาเนิ่นนาน โดยมีประเทศไทยเป็นหัวหอกในการส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์ นํ้าติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกมาหลายสิบปี เมื่อรวมกับผลผลิตจาก ประเทศอื่น ๆ ที่พัฒนาการประมงและการเพาะเลี้ยงขึ้นมาภายหลัง เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย จะทำ�ให้คนทั้งโลกต้องพึ่งพาอาหารทะเล จากประชาคมอาเซียน ตั้งแต่ปลาทูน่ากระป๋องไปจนถึงกุ้งเทมปุระ คนไทยใช้ประโยชน์จากทะเลไทยมาเนิ่นนาน แต่สิ่งหนึ่งที่เราอาจ ไม่ทราบ คือเพื่อน ๆ ของเรา ผู้คนในประชาคมอาเซียน ใช้ประโยชน์ จากทะเลไม่ยงิ่ หย่อนกว่าพวกเรา เพราะฉะนัน้ เมือ่ นำ�ทุกอย่างมารวมกัน เราจะเห็นว่า ทะเลมีความสำ�คัญต่อประชาคมอาเซียนในทุกด้าน จนอาจ กล่าวได้ว่า ประชาคมอาเซียนจะไม่มีทางเจริญรุ่งเรืองพัฒนาได้ หาก ปราศจากการใช้ประโยชน์จากทะเล ปัญหาสำ�คัญมีอยู่ประการเดียว เราใช้ทะเลของเราอย่างยั่งยืน หรือเปล่า ? เราใช้ทะเลของเราอย่างรอบคอบแล้วหรือยัง ?

Tourism Jounal | 69


!

To u r i s m @ A E C

ผลกระทบ

ความเจริญนำ�ข้อดีมาหลายด้าน ทัง้ สภาพความเป็นอยู่ สุขอนามัย การศึกษา ฯลฯ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ ไม่รอบคอบ ทำ�ร้าย ธรรมชาติ ทำ�ให้ทรัพยากรร่อยหรอ ทำ�ให้ท้องทะเลเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาวะโลกร้อน ในยามที่ภัยพิบัติเกิดขึ้นทั่วทุก หัวระแหง ที่ใดซึ่งธรรมชาติเสื่อมโทรม ย่อมปราศจากเกราะคุ้มกัน ที่ แห่งนั้นย่อมได้รับผลกระทบมหาศาล การใช้ประโยชน์จากท้องทะเลในยุคแรกของประเทศในอาเซียน เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หลายต่อหลายอย่างที่ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่น่าเกิด เช่น ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ป่า ชายเลนมากกว่าครึ่งเพราะการทำ�นากุ้งแบบไม่รับผิดชอบ เกิดปัญหา มลพิษในอ่าวหลายแห่งของอินโดนีเซีย แนวปะการังในฟิลิปปินส์ถูก ระเบิดปลา การปล่อยนํ้าเสียจากแหล่งเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าในเวียดนาม ฯลฯ ผลกระทบเหล่านั้นยังเป็นเสมือนรอยแผลของทะเลอาเซียน การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จะทำ�ให้พวกเราได้เรียนรู้ร่วมกัน มี โอกาสแลกเปลี่ยนแนวทางและประสบการณ์ ในกรณีศึกษาที่เลวร้าย ในแนวทางที่ช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวได้ ในการศึกษาวิจัยทาง วิชาการเพื่อให้รู้ซึ้งถึงคุณค่าของท้องทะเล การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทีเ่ ป็นห่วงสิง่ แวดล้อม การพัฒนาการท่องเทีย่ วทางทะเลทีย่ งั่ ยืนและก่อ ให้เกิดการกระจายรายได้อย่างเท่าเทียม สิง่ เหล่านีล้ ว้ นเป็นทีพ่ อทราบ ในพวกเราชาวอาเซียน แต่เมื่อเรารวมตัวกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันเรียน รู้ ช่วยกันทำ� ผลที่เกิดขึ้นย่อมยิ่งใหญ่ เป็นพลังสำ�คัญที่จะผลักดันให้ อาเซียนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ ยุคของการใช้ท้องทะเล สมบัติอันดับหนึ่ง ของอาเซียน อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน

70 | Tourism Jounal


To u r i s m @ A E C

สรุป ผมเคยนำ�เรื่องทะเลอาเซียนไปพูดหลายต่อหลายครั้งในวงเสวนา หลายต่อหลายแห่ง ทุกครัง้ มีผใู้ ห้ความสนใจเป็นจำ�นวนมาก มีผอู้ ยากรู้ เรื่องราวอื่น ๆ อีกมากมายเพื่อนำ�ไปต่อยอด น่าเสียดายที่ผมไม่มีเวลา พอรวบรวมความรู้เหล่านั้นอย่างจริงจัง จนมาถึงวันนี้ เมื่อนั่งลงหาข้อมูลมาเขียนเรื่องทะเลอาเซียน ผม ได้เรียนรู้หลายเรื่องไปพร้อมกับคุณผู้อ่าน ยิ่งเขียนไป ผมยิ่งตกใจ ไม่น่าเชื่อว่าทะเลอาเซียนยิ่งใหญ่ปานนี้ และยิ่งน่าตกใจว่า เหตุใดเรา จึงละเลยเรือ่ งนีม้ าเป็นเวลานาน แทบไม่มีใครกล่าวถึง แทบไม่มีใครให้ ความสำ�คัญ กับทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้...เชียวหรือ ผมดีใจเป็นอย่างยิง่ ทีม่ โี อกาสเขียนบทความนี้ และตัง้ ใจแน่นอนว่า นอกจากนำ�ความรูท้ ี่ได้จากการค้นคว้าเหล่านี้ ไปใช้ในการเรียนการสอน

ของวิชาที่ผมรับผิดชอบในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อให้นิสิตได้ เข้าใจและเตรียมพร้อมในการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ผมยังยินดีหากมีโอกาสในการเผยแพร่ความรู้เรื่องนี้ในแนวทางอื่น ๆ เพราะเมื่อผมเขียนมาจนถึงย่อหน้าสุดท้าย ผมมั่นใจ อาเซียน มีทะเลยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และเราจะอยู่รอดหรือไม่ จะรุ่งโรจน์ดังที่ ทุกคนฝันหรือเปล่า ขึ้นอยู่กับว่า เราเข้าใจทะเลแห่งนี้ลึกซึ้งแค่ไหน เรามีสมบัติที่คนทั้งโลกต้องอิจฉา จึงเป็น หน้าที่ของเราที่ต้อง อนุรักษ์มรดกอันดับหนึ่งแห่งโลกสีครามไว้ เพื่อเป็นแหล่งทำ�มาหากิน ของลูกหลานของพวกเราต่อไป...ชั่วกาล หมายเหตุ – ตัวเลขต่าง ๆ ที่ใช้ในบทความนี้ อ้างอิงจากเว็บไซต์ Wikipedia Tourism Jounal | 71


72 | Tourism Jounal


รายชื่อ

รายงานวิจัยของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ library@tat.or.th หรือ http://tourismlibrary.tat.or.th

2552

2553

การสำ�รวจทัศนคติและความพึงพอใจ นักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มตลาดเกิดใหม่ 6 ตลาด และกลุ่มตลาดหลัก 10 ตลาด (รัสเซีย สเปน ฟินแลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม/จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ อินเดีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหรัฐอเมริกา)

การสำ�รวจทัศนคติและ ความพึงพอใจในการเดินทางท่องเที่ยว ของคนไทยในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการส่งออก (เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา นครสวรรค์ กาญจนบุรี ชลบุรี ลพบุรี สงขลา และสุราษฎร์ธานี)

การสำ�รวจพฤติกรรม และความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยว ชาวต่างประเทศ กลุ่มกอล์ฟ (Golf) การสำ�รวจทัศนคติ และพฤติกรรม ด้านการท่องเที่ยวของ ชาวไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

การสำ�รวจ พฤติกรรม และความพึงพอใจ ของนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติ ที่ทำ�กิจกรรม Shopping & Entertainment

การสำ�รวจพฤติกรรม และความพึงพอใจของ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ กลุ่มสุขภาพความงาม (Spa and Wellness)

การสำ�รวจทัศนคตินักท่องเที่ยว เพื่อการวางแผนเชิงรุกในการเจาะกลุ่ม ลูกค้าใหม่ (4 ตลาดในเอเชีย: จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน)

การศึกษา สถานการณ์ และแนวโน้ม ด้านการตลาด สำ�หรับการท่องเที่ยว กลุ่มดำ�นํ้า

การศึกษาสถานการณ์ และแนวโน้มด้านการตลาด สำ�หรับการท่องเที่ยวกลุ่ม Honeymoon & Wedding

2554 การสำ�รวจ มุมมองของชาวไทย ต่อการท่องเที่ยว เพื่อการจัดแบ่งกลุ่ม ฐานลูกค้า

การศึกษาสถานการณ์ และโอกาสการส่งเสริม ตลาดการท่องเที่ยว กลุ่มนิเวศและผจญภัย (ECO & Adventure Tourism)

การสำ�รวจการรับรู้ ของนักท่องเที่ยวเพื่อ การวางแผนเชิงรุก ในการเจาะกลุ่ม ลูกค้าใหม่ (สำ�หรับตลาดยุโรป)

การสำ�รวจทัศนคติ และความพึงพอใจนักท่องเที่ยว ต่างชาติกลุ่มตลาดหลัก และกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ระยะที่ 2 (มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ เดนมาร์ก อิตาลี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และอิสราเอล)

Tourism Jounal | 73



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.