Save to sixty your money

Page 1

໚ ¹ Á¹Ø É Â à §Ô ¹ à´× Í ¹·Õ è Á Õ ¤ Ø ³ ÀÒ¾ ÁÕ ¤ ÇÒÁÁÑ è ¹ ¤§áÅÐÁÑ è § ¤Ñ è § ã¹´Œ Ò ¹¡ÒÃà§Ô ¹


1


2


3


4


“ทุ ก คนล้ ว นมี ค วามฝั น ว่ า อยากจะประสบ ความสำ�เร็จ ในด้านต่างๆ ซึ่งความสำ�เร็จด้านการ เงิน ก็เป็นหนึ่งในความปรารถนาของคนส่วนใหญ่ แต่หลายคนยังไม่รู้ว่าจะเดินทางไปพิชิตความฝันได้ อย่างไร แท้จริงแล้วเคล็ดลับสำ�คัญก็คือการมีเป้า หมาย การเงินที่ชัดเจนและการวางแผนที่ดี ซึ่งจะช่วย ให้เรา สามารถกกำ�หนดทิศทาง ที่จะไปและไม่หลงทาง นอกจากนั้นเราต้องมีวินัย และไม่ลืมคิดถึงสิ่งที่จะช่วย เพิ่มความเร็วในการเดินทางหรือสิ่งที่พึงระวัง เพราะ อาจททำ�ให้เราไปไม่ถึงเป้าหมายหรือไปถึงช้า ถ้าเรา ตั้งใจและลงมือทำ�จริงแล้ว ความสำ�เร็จทา

5


6


7


8


อนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้านิสัยการใช้จ่ายคุณเป็นแบบนี้

มั่งมี ศรีสุข

หาได้ 100 ใช้ 80 20 เป็นเงินออม

หาได้ 100 ใช้ 50 25 เป็นเงินออม 25 นำ�ไปลงทุน

กินดี อยู่ดี

9


พอมี พอกิน

หาได้ 100 ใช้ 90 10 เป็นเงินออม

ร่อแร่ ไม่มั่นคง

หาได้ 100 ใช้ 100

หาได้ 100 ใช้มากกว่า และหยิบยืมคนอื่น

10

ล้มละลาย หายนะ

ที่มา : นิสัยการใช้เงิน 5 แบบ ของ David L. Bach


คุณเคยตั้งคำ�ถามกับตัวเองไหมว่า “ทำ�ไมเงินเดือนขึ้น เท่าไรก็ไม่พอใช้สักที” หรือ “ทำ�ไมทำ�งานมาตั้งหลายปีแต่ไม่มีเงินเก็บ” ปัญหาแบบนี้ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไป แต่ก็เป็นสัญญาณ เตือนให้รู้ว่า เรากำ�ลังประสบปัญหาทางการเงิน แล้วหากยังปล่อยทิ้งไว้ “อนาคต”ของคุณจะเป็นอย่างไร ถ้าคุณไม่อยากตั้งคำ�ถามแบบนี้กับตัวเองอีกต่อไป “การ วางแผนการเงิน” เป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยคุณได้ ไม่ใช่แค่แก้ปัญหาเงินไม่ พอใช้หรือไม่มีเงินเก็บ แต่อาจช่วยพาคุณไปสู่เส้นทางแห่งความมั่นคง และมั่งคั่งอีกด้วย

เครียดจังเลย

11


12


ลองจิ น ตนาการว่ า เรากำ � ลั ง จะเดิ น ทางไปต่ า งจั ง หวั ด ด้ ว ยรถ ส่วนตัว และเพื่อให้มั่นใจเพิ่มขึ้นว่าการเดินทางจะราบรื่นและถึงที่หมายโดย ปลอดภัย ก่อนออกเดินทางเราก็ต้องวางแผนการเดินทาง เช่น ศึกษาเส้นทาง สำ�รวจความพร้อมของรถ เตรียมหมายเลขโทรศัพท์เผื่อติดต่อหากเกิดเหตุ ฉุกเฉิน เรื่องการเงินก็เช่นกัน หากอยากจะไปให้ถึงเป้าหมาย ก็ต้องมีเครื่องมือ สำ�คัญช่วย นั่นก็คือ การวางแผนการเงินซึ่งจะช่วยให้เราสามารถจัดการการ เงินของตัวเราเองได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ให้มีรายได้เพียงพอกับ รายจ่าย และมีเงินเหลือไว้ใช้ยามฉุกเฉิน มีเงินออมไว้เก็บเกี่ยวดอกผล หรือ ลงทุนในอนาคตได้ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อสร้างอนาคตที่สดใสและมั่นคงนั่นเอง การวางแผนการเงินแทบไม่ต่างจากการวางแผนเพื่อทำ�สิ่งอื่น เริ่ม จากการสำ�รวจตนเองว่ามีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าไหร่ มีรายได้และค่าใช้ จ่ายอะไรบ้าง ตามด้วยการตั้งเป้าหมาย (ซึ่งแน่นอนว่าคนหนึ่งคนสามารถ มีเป้าหมายได้หลายอย่าง) จากนั้นจัดทำ�แผนที่จะทำ�ให้ไปถึงที่หมายได้และ จะต้องลงมือทำ�จริงหรือปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด สุดท้ายคือการหมั่น ตรวจสอบว่าทำ�ได้หรือไม่ หรือต้องมีการปรับปรุงอะไรบ้างหากสถานการณ์ เปลี่ยนแปลงไปจากที่เราคาดไว้ 13


คุณเคยคิดถึงเรื่องวางแผน การเงินแบบนี้บ้างไหม ?

วัยเด็ก วัยที่เหมาะแก่การบ่มเพาะนิสัย ในการใช้จ่ายเงินอย่างสมเหตุสมผล ให้เด็กรู้จักค่า ของเงิน สอนให้เก็บออม รู้จักวางแผนใช้จ่ายเงิน สิ่งเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานที่ดีให้เขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่ใช้เงินเป็น

14


วัยทำ�งาน วัยกำ�ลังสร้างเนื้อสร้างตัว มีราย ได้เป็นของตัวเองและมีอิสระในการใช้จ่าย ซึ่งหากไม่มีการ วางแผนการเงินที่ดีแล้ว โอกาสที่เงินจะรั่วไหลไปตามกระแส สังคม กิน เที่ยว ใช้ ช้อป ย่อมเกิดขึ้นได้มาก และโอกาส ที่จะสร้างเนื้อสร้างตัว เช่น ซื้อรถซื้อบ้าน แต่งงาน สร้าง ครอบครัว ก็ย่อมถอยห่างออกไปเช่นกัน

วัยสร้างครอบครัว การสร้างครอบครัวเป็น เรื่องใหญ่ เพราะไม่ได้รับผิดชอบเฉพาะตัวเอง หากยังมี สมาชิกในครอบครัวที่ต้องดูแล จึงจำ�เป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง วางแผนการเงินให้รัดกุม เพราะนอกจากจะต้องจัดสรรราย ได้ให้เพียงพอต่อรายจ่ายในแต่ละเดือน เช่น ค่ากินอยู่ของทุก คนในครอบครัว ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ แล้วยังมีค่าเทอมลูก และรายจ่ายจร เช่น ค่าซ่อมรถ ซ่อมบ้าน ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ฯลฯ

วัยเกษียณ แม้ว่าภาระการเงินต่างๆ จะน้อยลง แต่ก็ยังจำ�เป็นต้องวางแผนการเงินเช่นกันทั้งในช่วงก่อนและ หลังเกษียณ เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้และไม่เป็นภาระ ของลูกหลาน เนื่องจากคนวัยนี้ส่วนใหญ่รายรับจะน้อยลง ในขณะที่รายจ่ายด้านการดูแล สุขภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

15


รายได้น้อย ส่วนใหญ่มีปัญหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายบ่อยๆ จึงต้อง อาศัยการวางแผนการเงินในการช่วยบรรเทาปัญหา เช่น ลดรายจ่ายเพิ่มราย ได้ หรือทำ�ไปพร้อมกันทั้ง 2 วิธี ที่สำ�คัญหลายคนชีวิตสะดุดเพราะมีค่าใช้จ่าย ก้อนใหญ่แบบไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ จึงควรมีแผนการเงินรองรับ เรื่องเหล่านี้ด้วยไม่ว่าจะเป็นเงินออมเผื่อฉุกเฉิน ประกัน หรือหากสนใจเก็บออม หรือลงทุนเพื่อชีวิตที่ดีกว่าก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้แม้จะมีเงินน้อยก็ตาม รายได้สูง แม้โดยทั่วไปชีวิตจะสบายกว่าผู้ที่มีรายได้น้อยเพราะมีเงิน ใช้จ่ายและมีโอกาสในการออมและลงทุนได้มากกว่า แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะ ยิ่งมีรายได้มากก็มีแนวโน้มที่จะรู้สึกว่ามีอำ�นาจซื้อสูงและใช้เงินเพลินจนลืม นึกถึงอนาคตและเป้าหมายที่สำ�คัญกว่า รวมถึงอาจลืมเตรียมการสำ�หรับความ ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้น เช่น ขาดรายได้กะทันหัน หรือบางคนทำ�งานที่ขึ้นกับชื่อ เสียงหรือความแข็งแรงของร่างกายก็อาจมีช่วงเวลาหาเงินไม่ยาวนานนัก ดังนั้น ถ้าไม่วางแผนการเงินเตรียมไว้ ในวันที่รายได้สะดุดชีวิตก็อาจลำ�บากกว่าคนที่ รายได้น้อยเพราะเคยชินกับความสบาย หรือเสียโอกาสที่จะเพิ่มความมั่นคงและ มั่งคั่งให้แก่ชีวิตอย่างเต็มศักยภาพ

เพราะฉะนั้น การวางแผนการเงินเป็นเรื่อง ที่จำ�เป็นสำ�หรับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในวัยใด หรือฐานะแบบไหนก็ตาม

16


17


18


สำ�หรับหลายคนที่อยากวางแผนการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ขอชวนมา ลองทำ�ตาม 5 ขั้นตอนง่ายๆ ตามนี้เลย

1. ประเมินฐานะทางการเงิน นำ�สินทรัพย์ทั้งหมดมาเป็นตัวตั้งแล้วลบด้วยหนี้สินทั้งหมดส่วนที่เหลือจึงเป็นส่วน ของคุณ หรือที่เรียกว่า “ความมั่งคั่งสุทธิ”ซึ่งเป็นตัวที่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้ จริงของคุณเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณสามารถประเมิน “ความมั่งคั่งสุทธิ” ได้ก็คือ การทำ� บัญชีสินทรัพย์และหนี้สิน สินทรัพย์ 1. บันทึกรายการสินทรัพย์ โดยแยกประเภท ดังนี้ สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ เงินสดและสินทรัพย์ที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ ง่าย เช่น เงินสด เงินฝากออมทรัพย์ สินทรัพย์เพื่อการลงทุน คือ สินทรัพย์ที่ถือครองเพื่อมุ่งหวังผลตอบแทน จากการลงทุน เช่น เงินฝากประจำ� สลากออมสิน พันธบัตรรัฐบาลหุ้นกู้ กองทุน รวม กองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ โดยบันทึกในราคาตลาด (ราคาซื้อขายในปัจจุบัน) สินทรัพย์ส่วนตัว คือ สินทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้ในชีวิตประจำ�วันหรือเพื่อ สะสมเช่น ที่อยู่อาศัย รถยนต์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ โดยบันทึกในราคาตลาด 2. รวมมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมด *ที่มา : สรุปจากข้อมูลของศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

19


หนี้สิน 1. บันทึกรายการหนี้สิน โดยแยกประเภท ดังนี้ หนี้สินระยะสั้น คือ หนี้ที่ต้องจ่ายคืนภายในเวลาไม่เกิน 1 ปี ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นหนี้ที่เกิดจากการอุปโภคบริโภค เช่น หนี้บัตรเครดิต หรือการซื้อสินค้า เงินผ่อน หนี้สินระยะยาว คือ หนี้ที่มีเวลาผ่อนชำ�ระนานกว่า 1 ปี เช่น หนี้ที่เกิด จากการซื้อบ้าน และรถยนต์ 2. รวมจำ�นวนหนี้สินทั้งหมด

หากคุณอยากจะรู้ว่าที่ผ่านมารูปแบบการใช้ จ่ายของคุณเป็นเช่นไร วิธีง่ายๆ คือการจด บันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำ�วันและจัดทำ� สรุปการใช้จ่ายเมื่อสิ้นเดือน ซึ่งการจดจะ ช่วยให้เห็นภาพรวมของรายได้ว่ามาจากที่ ใดบ้าง รายจ่ายที่ผ่านมาของคุณหมดไปกับ เรื่องใดบ้าง จำ�เป็นหรือไม่ และรายรับเพียง พอกับรายจ่ายหรือไม่

20


ก่อนลงมือจดบันทึก มีเรื่องที่ควรแยกแยะให้ออกก่อนก็คือ

สาเหตุสำ�คัญอย่างหนึ่งของปัญหา “เงินไม่เคยพอใช้” ก็คือเจ้าของ เงินแยกไม่ออกว่าสิ่งที่ซื้อมาหรือกำ�ลังคิดจะซื้อ เป็นสิ่งที่ “จำ�เป็น” แน่ๆ หรือ แค่อยากได้ แต่ “ไม่จำ�เป็น” หลักการง่าย ๆ ที่ใช้แบ่งว่ารายจ่ายไหนจำ� เป็นหรือไม่จำ� เป็นก็คือ รายจ่ายจำ�เป็น คือ รายจ่ายที่ต้องมี ไม่สามารถขาดหรือตัดออก ไปได้ เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่สำ�คัญสำ�หรับชีวิต เช่น ค่าอาหาร ค่าผ่อนหรือเช่า ที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รายจ่ายไม่จำ�เป็น คือ รายจ่ายที่ไม่ได้มีบทบาทสำ�คัญต่อชีวิต จะ มีหรือไม่มีก็ได้ แต่เกิดขึ้นเพราะความรู้สึกอยากได้ และบางรายการอาจส่งผล เสียต่อชีวิต เช่น ค่าอาหารมื้อพิเศษ ค่าหวย ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ อย่างไรก็ตาม รายจ่ายไม่จำ�เป็นของเราอาจเป็นรายจ่ายจำ�เป็น ของคนอื่น เช่น คอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ เช่น โน้ตบุ๊ก (notebook) แท็บเล็ต (tablet) เป็นสิ่งจำ�เป็นสำ�หรับผู้ขายของออนไลน์ที่เดินทางบ่อย แต่ไม่จำ�เป็น กับคนทำ�งานออฟฟิศที่มีคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ดังนั้นการแยกแยะความ จำ�เป็นหรือไม่จำ�เป็นจึงขึ้นอยู่กับการใช้ชีวิตของแต่ละคนด้วย

21


กินข้าวกินขนมที่ห้างสรรพสินค้า ทุกวันเสาร์ สัปดาห์ละ 1,000 บาท

ผ่อนคลายตัวเองด้วยการออกกำ�ลังกายอย่าง ที่ตัวเองชอบ ลดการไปห้างสรรพสินค้าเหลือ เดือนละ 1 ครั้งแล้วนำ�เงินที่ประหยัดได้ 3,000 บาทต่อเดือน ไปซื้อกองทุนรวมโดยใช้วิธีตัด บัญชี อัตโนมัติทุกวันที่ 1 ของเดือน

22


มีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ แม้จะจ่าย แค่ขั้นต่ำ�แล้วทุกใบ คิดรวมกันก็ยัง เกิน1 ใน 3 ของรายได้ แถมยังรัด เข็มขัดประหยัดสุดๆ แล้วด้วย

ซื้อหวยใต้ดินงวดละ 500 บาท ทุกงวดไม่เคยพลาด

หารายได้เพิ่มด้วยการทำ�งานเสริมหรือ หาของมาขายทางออนไลน์หรือขายหลัง เลิกงานวันหยุด เพื่อมีเงินมาปลดหนี้ได้ มากขึ้น

เลิ ก เล่ น หวยใต้ ดิ น แต่ ซื้ อ สลากออมทรั พ ย์ 1,000 บาท ทันทีที่เงินเดือนออกทุกเดือน ไม่พลาดเช่นกัน

23


2. ตั้งเป้าหมาย เมื่อเห็นจุดแข็งจุดอ่อนของฐานะการเงินกับนิสัยการใช้จ่าย และเริ่มมี แรงฮึดที่จะวางแผนแก้ไขซ่อมแซมตนเองแล้ว ก็มาถึงการสร้างสรรค์ชีวิตให้ดีขึ้น ด้วยการตั้งเป้าหมายการเงิน ในชีวิตจริงคนเรามีเป้าหมายการเงินหลายอย่าง เช่น อยากมีบ้าน มีรถ มีครอบครัวมีลูก มีชีวิตที่ดีหลังวัยเกษียณ แต่ไม่ว่าเป้า หมายของคุณคืออะไร คุณต้องตั้งเป้าหมายอย่างเป็นระบบ และชัดเจน โดยอาจ แบ่งเป้าหมายออกเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความสามารถทางการเงินของ คุณ เช่น เป้าหมายระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)

จะเก็บเงินและใช้จ่ายแต่สิ่งจำ�เป็น

เป้าหมายระยะกลาง (1-3 ปี)

จะเดินทางท่องเที่ยวเป็นกำ�ไรชีวิต

เป้าหมายระยะยาว (3 ปีขึ้นไป)

จะซื้อบ้านและสร้างครอบครัว

ที่สำ�คัญ ต้องไม่ลืมลำ�ดับความสำ�คัญของแต่ละเป้าหมายที่คุณวางไว้ ด้วย หากเป้าหมายใดยังไม่สำ�คัญมากและรอได้ ก็อาจเลื่อนออกไปก่อน เพราะ ควรเร่งทำ�เป้าหมายที่จำ�เป็นก่อน 24


Specific มีความชัดเจน กำ�หนดเฉพาะเจาะจงว่าจะทำ�อะไร เพื่ออะไร เช่น “เก็บเงินเพื่อเป็นเงินออมเผื่อฉุกเฉิน”

Measurable สามารถวัดผลได้ โดยการกำ�หนดเป้าหมายเป็น ตัวเลข เช่น “จำ�นวน 60,000 บาท”

Achievable ทำ�สำ�เร็จได้ และรู้ว่าต้องทำ�อย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย

Realistic มีความเป็นไปได้ที่จะทำ�ให้เป็นจริง ไม่เป็นเรื่องเพ้อฝัน

Time Bound มีระยะเวลาที่แน่ชัดเพื่อให้เราวางแผนในการทำ�ให้บรรลุ ภายในเวลาที่กำ�หนด อ่านมาถึงตรงนี้ ถ้าคุณยังนึกเป้าหมายที่ดีของตนเองไม่ออก เราจะบอกใบ้ให้ คร่าวๆ สมมติว่าเป้าหมายของคุณคือ “เก็บเงินดาวน์บ้านในฝัน” ก็แล้วกัน เป้าหมายนี้ จัดว่าเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ แต่ยังไม่เรียกว่าเป็นเป้าหมายที่ดีหรอก นะ จนกว่าคุณจะเติมข้อความที่ชัดเจนกว่านี้ลงไปในเป้าหมาย

25


ฉันจะเก็บเงินให้ได้ภายในปีนี้

ยังไม่ชัดเจน (ไม่ระบุว่าเก็บเงินออมเพื่ออะไร) วัดผลไม่ได้ (ไม่มีจำ�นวนเงิน)

ฉันมีรายได้เดือนละ 20,000 บาท ปีหน้าฉันจะซื้อคฤหาสน์มูลค่า 100 ล้าน

มีกรอบเวลา แต่ความเป็นไปได้แทบไม่มี

ฉันจะเก็บเงิน 15% ของรายได้ทุกเดือน เป็นเวลา 2 ปี เพื่อเป็นเงินออมเผื่อฉุกเฉิน

26

เป้าหมายชัดเจน มีระยะเวลาแน่ชัด วัดผลได้


3. จัดทำ�แผนเพื่อไปสู่เป้าหมาย สิ่งสำ�คัญ คือ ระยะเวลา กับ ความสามารถในการเก็บเงินของ คุณ ต้องสัมพันธ์กันด้วย เพื่อให้เป้าหมายที่ตั้งเป็นจริงได้มากที่สุด โดยไม่กดดัน ตัวเองมากเกินไป เช่น หากคุณมีแผนที่จะปรับปรุงห้องครัวในอีก 1 ปีข้างหน้า โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 60,000 บาท คุณต้องเก็บเงินเดือนละ 5,000 บาท แต่หากจะปรับปรุงห้องครัวในอีก 6 เดือนข้างหน้า คุณต้องเก็บเงินถึงเดือนละ 10,000 บาท เมื่อตั้งเป้าหมายแล้ว คราวนี้ก็มาถึงการจัดทำ�แผน หรื อ เส้ น ทางเดิ น เพื่ อ ไปให้ ถึ ง เป้ า หมายที่เราปักธงไว

เป้าหมายการเงิน จำ�นวนเงินที่ต้องการ ภายในระยะเวลา ปี/เดือน ต้องทำ�อย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย ออมเงิน เดือนละ................บาท เป็นเวลา.............ปี/เดือน โดยวิธี

27


และถ้าอยากซื้อของชิ้นใหญ่ๆ ที่ไม่น่าออมเงินได้ในเวลาสั้นๆ เช่น บ้าน รถ ล่ะ นอกจากแผนออมเงินล่วงหน้า ก็ต้องวางแผนจัดการ ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

วางแผนซื้อคอนโดมิเนียม

เป้าหมายทางการเงิน เป้าหมาย

ตัวอย่าง ซื้อห้องชุดแบบ 1 ห้องนอน

เท่าไหร่

2,490,000 บาท

เมื่อไหร่

อีก 2 ปีข้างหน้า (24 เดือน)

จะทำ�ได้มั้ยนะ เงินจะพอมั้ย

28

แล้วคุณล่ะ ?


รายการ

ตัวอย่าง

ค่าจอง ค่าทำ�สัญญา

5,000 45,000

เงินดาวน์

199,000

ค่าประเมินราคา ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย

3,000 1,700

ค่าจดทะเบียนจำ�นอง

21,690

ค่าธรรมเนียมการโอน

36,694

ค่าอากรแสตมป์ เงินกองทุนสำ�รองส่วนกลาง ค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ราคาพื้นที่ห้องเกินกว่ากำ�หนด* รวม

แล้วคุณล่ะ ?

5 17,475 2,000 331,564

*ราคาที่ต้องจ่ายเพิ่มจากราคาจอง เนื่องจากพื้นที่ห้องหลังสร้างเสร็จมีขนาดใหญ่กว่าที่ได้จองไว้ เช่น จองห้อง 35 ตร.ม. แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้ววัดพื้นที่ได้ 35.1 ตร.ม. จึงต้องจ่ายเงินเพิ่มสำ�หรับพื้นที่อีก 0.1 ตร.ม.

29


ค่าใช้จ่ายเมื่อเป็นเจ้าของหรือเข้าอยู่อาศัย 1 คน (คิดเป็นรายปี) รายการ

ตัวอย่าง

ค่าผ่อนคอนโด 30 ปี (สอบถามประมาณ การได้จากสถาบันการเงิน)

180,000

ค่าใช้จ่ายส่วนกลาง

16,776

ค่าน้ำ� ค่าไฟ

1,440

ค่าเบี้ยประกันภัย*

1,700

ค่าเบี้ยประกันภัยอาคารชุด ที่นิติบุคคลฯ เป็นคนทำ�ประกัน

660

แล้วคุณล่ะ ?

1,700

รวม

211,376

*ปีแรกอาจจ่ายไปแล้วตอนซื้อและจดทะเบียน

ตัวอย่างแผนการเงิน เป้าหมายทางการเงิน ก่อน ซื้อคอนโด

เมื่อซื้อ คอนโดแล้ว

30

จำ�นวนเงินออม ที่ควรมีก่อนซื้อคอนโด

ซื้อห้องชุดราคา 2,490,000 บาท ในอีก 2 ปีข้างหน้า (24 เดือน)

331,564

จำ�นวนเงินที่ควรออมเดือนละ

13,815

จำ�นวนเงินต่อปีที่ต้องเตรียม เมื่อซื้อคอนโดแล้ว

211,376

จำ�นวนเงินที่ควรเตรียมจ่าย ต่อเดือน ( 12)

17,615

แผนการเงินของฉัน


ไม่ว่าแผนที่วางไว้จะดีเพียงใด ก็จะไม่เกิดประโยชน์เลย หากขาดการ ปฏิบัติที่จริงจังและต่อเนื่องเพราะฉะนั้นอย่าเผลอใจไปกับสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในแผน ของคุณจะดีที่สุด

มี ร ายได้ เ ข้ า มาให้ กั น เงิ น ออมไว้ ก่ อ น สะสางหนี้ สิ น ระยะสั้ น เพราะเป็ น ตั ว บั่นทอนเงินออม ถือเงินสดแค่พอใช้จ่าย ใช้บัตรเครดิต เมื่ อ แน่ ใ จว่ า มี เ งิ น จ่ า ยตรงเวลาเต็ ม จำ�นวน

จดรายรับ-รายจ่าย ซื้อของตามรายการที่ จดไว้เท่านั้น

5. ตรวจสอบและปรับปรุง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนไป ในระหว่างที่เราปฏิบัติตามแผนอยู่นั้นจำ�เป็นอย่างยิ่งที่ต้องคอย ตรวจสอบอยู่เสมอว่า การจัดการเงินของเราเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนต้องหาสาเหตุให้ได้ว่า เกิดจากปัจจัยภายใน คือ ตัวเรา หรือปัจจัยภายนอก เช่น ราคาสินค้าเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ยเพิ่ม รายรับลดลง แล้วหาทางปรับแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

31


32


33


34


ดูว่าค่าใช้จ่ายจำ�เป็นในแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง จากนั้นแบ่งรายได้ ออกเป็นส่วนๆ ส่วนหนึ่งกันไว้เพื่อเป็นเงินออม ส่วนหนึ่งกันไว้สำ�หรับค่าใช้ จ่ายเหล่านั้น หากรายรับไม่เพียงพอสำ�หรับการใช้จ่ายและเก็บออม เห็นทีคง ต้องหันหน้าปรึกษากันในครอบครัวเสียแล้วว่าจะลดรายจ่ายหรือมีวิธีเพิ่ม รายได้ตรงไหนบ้าง

ออมก่อนใช้ นอกจากการแบ่งเงินเป็นส่วนๆ แล้วการจัดลำ�ดับว่าจะทำ�อะไร ก่อนหลังก็มีความสำ�คัญมาก หากเราใช้ก่อนออม เรามักมีเงินเหลือออมน้อย กว่าที่ตั้งใจไว้หรืออาจแย่ถึงขั้นไม่เหลือไปออมเลย การออมก่อนใช้ (เมื่อราย ได้เข้ามาให้ออมทันทีก่อนที่จะไปจับจ่ายใช้สอยใดๆ) จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำ�ให้เป็น นิสัยเพื่อช่วยให้เราสามารถออมเงินได้ตามเป้าหมาย ออมอย่างน้อย 1 ใน 4 ของรายได้ เป็ น อั ต ราส่ ว นที่ เ ราควรจำ � ให้ ขึ้ น ใจและใช้ ทุ ก ครั้ ง ที่ มี ร ายได้ เ ข้ า กระเป๋า โดยสามารถแบ่งย่อยว่าออมเพื่ออะไรบ้างตามความจำ�เป็นและความ เหมาะสมกับเป้าหมายในชีวิตหรือตามเหตุการณ์ในช่วงนั้นๆ

35


กระปุก ฉุกเฉิน

กระปุก ปลดหนี้

กระปุก เกษียณ

กระปุก ฝันที่เป็นจริง

กระปุก ลงทุน

นอกจาก “ออมก่อนใช้” แล้วยังมี เทคนิคอื่นๆ ที่ทำ�ให้เราได้เงินออมเพิ่ม แถมยังได้ความสนุกสนานด้วย

หยอดเงิน 10 บาททุกเช้า ก่อนออกจากบ้าน เก็บเหรียญ 5 บาท ลดการซื้อหวย งวดละ 500 บาท เอามาเก็บออมแทน 36

เก็บเฉพาะแบงก์ใหม่ๆ ออมวันละ 10% ขายของได้ 2,000 บาท ออมทันที 200 บาท

ทุกครั้งที่ซื้อของต้องเก็บ เงินเท่ากับราคาของ


ออมเงินล่วงหน้าสำ�หรับรายจ่ายก้อนโต หากรู้ล่วงหน้าว่าช่วงไหนจะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เงินจำ�นวนมาก เช่น ค่า เล่าเรียนลูก ค่าซ่อมรถควรวางแผนเก็บเงินแต่เนิ่นๆ โดยทยอยออมเงินทุกเดือนจน เป็นก้อนใหญ่ จะได้ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายหนักเกินไป หรือถึงขั้นต้องกู้ยืมเมื่อถึงเวลาที่ ต้องใช้เงินจริงๆ บริหารเงินออมอย่างมืออาชีพ การนำ�เงินออมที่มีอยู่มาบริหารจัดการให้งอกเงยมีหลายวิธี เช่น ฝาก ธนาคาร ซื้อพันธบัตรซื้อประกันแบบสะสมทรัพย์ ซื้อกองทุนรวม ซึ่งเราจะต้อง ศึกษาข้อมูลและทำ�ความเข้าใจรูปแบบ กาออมและการลงทุนนั้นๆ ให้ดีก่อนตัดสิน ใจว่าผลตอบแทนที่ได้รับคุ้มกับความเสี่ยงที่มีหรือไม่ รวมทั้งติดตามข่าวสารภาวะ เศรษฐกิจที่อาจส่งผลกระทบต่อการออมและการลงทุนของเราด้วย เช่น ในภาวะ อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น อาจฝากประจำ�ระยะสั้นๆ หรือซื้อกองทุนรวมหรือพันธบัตรที่ มีระยะเวลาครบกำ�หนดสั้นๆ เพื่อรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเมื่อนำ�เงินไปฝากหรือลงทุน ต่อเมื่อครบอายุ หรือถ้าเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในขณะนั้นน่าจะสูงสุดแล้ว โดยหลัง จากนี้อัตราดอกเบี้ยน่าจะต่ำ�ลง อาจเลือกฝากประจำ�ระยะเวลายาวกว่า 1 ปี เพื่อให้ ได้รับผลตอบแทนสูงไปตลอดระยะเวลาการฝาก เป็นต้น

บริหารหนี้อย่างชาญฉลาด การก่อหนี้ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเสมอไปหากเป็นหนี้มีประโยชน์ เช่น การกู้เพื่อซื้อบ้าน กู้ เพื่อประกอบธุรกิจ และรู้จักบริหารจัดการให้สามารถจ่ายหนี้ได้ครบตามจำ�นวน และตรงเวลาที่ตกลงไว้กับเจ้าหนี้แต่สิ่งสำ�คัญ คือ ก่อนก่อหนี้จะต้องประเมินความ สามารถในการจ่ายคืนของตนเอง โดยมีหลักคร่าวๆ คือ ภาระในการจ่ายคืนเงินต้น และดอกเบี้ยของหนี้ทุกประเภทรวมกันในแต่ละเดือน ไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ ต่อเดือน

37


หยุดวงจรหนี้ หากมีหนี้สินเกินตัว เห็นทีต้องหยุดวงจรหนี้นั้นเสีย โดยการรัดเข็มขัด ประหยัดมากขึ้น และค่อยๆ ทยอยผ่อนชำ�ระจนหนี้นั้นหมด โดยเฉพาะหนี้ที่ต้องจ่าย ดอกเบี้ยสูง เช่น หนี้บัตรเครดิต (อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 20% ต่อปี)หรือ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำ�กับ(อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 28%ต่อปี) และ ไม่ควรก่อหนี้อื่นเพิ่ม ซึ่งหากเราเริ่มไม่แน่ใจว่าจะสามารถชำ�ระคืนหนี้สินที่มีได้หรือไม่ ก็ควรรีบหารือกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางออกร่วมกัน มากกว่าจะคิดหนีหนี

หลายคนที่มีสถานะเป็น “ลูกหนี้” โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีหนี้สินจำ�นวน มากหรือดอกเบี้ยแพง คงสงสัยว่าจะดีไหมถ้าจะหยุดออมสักพักจะได้เอาเงินมารีบ ใช้หนี้ให้เสร็จๆ ไปแม้ว่าคำ�กล่าวที่ว่า “การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” จะเป็นสิ่งที่ ไม่มีใครปฏิเสธ แต่ถ้าเรากำ�ลังเผชิญหน้ากับเหตุการณ์แบบนี้ ก็ควรให้น้ำ�หนักความ สำ�คัญแก่การปลดหนี้ แต่ “ลด”การออม น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า “งด” ไปเลย โดยชะลอเป้าหมายที่สำ�คัญน้อยกว่าหรือยังรอได้ เช่น หยุดออมเพื่อการท่องเที่ยว แต่ยังคงออมเผื่อฉุกเฉินต่อไป เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันที่ทำ�ให้เราไม่มีรายได้ขึ้น มา ก็ยังมีเงินก้อนนี้ไว้กินไว้ใช้ หรือช่วยจ่ายหนี้ได้ตรงตามกำ�หนด ไม่ต้องหยิบยืม เงินจากใครเพิ่มให้หนี้พอกพูนขึ้นมาอีก

38


ควรมีเงินออมเผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉินที่ครอบคลุมรายจ่ายจำ�เป็น อย่างน้อย 6 เดือน* แต่ถ้าเป็นช่วงที่รายได้ยังน้อยอยู่จะค่อยๆ ทยอยเก็บ สะสมเพิ่มไปเรื่อยๆ ก็ได้ *รายจ่ายจำ�เป็นรวมถึงภาระผ่อนหนี้ด้วย ตรวจสอบสวัสดิการและประกันสุขภาพที่มีอยู่ว่าครอบคลุมแค่ ไหน หากไม่เพียงพอควรทำ�ประกันสุขภาพเพิ่มเติม ก่อนตัดสินใจกู้ยืมเงินทุกครั้ง ควรคิดถึงความไม่แน่นอนของราย ได้ในอนาคตด้วยคือให้วางแผนเผื่อไว้เลยว่า ถ้าเกิดรายได้สะดุด ไม่มีเงินมา ใช้หนี้ จะแก้ปัญหาอย่างไร เช่น จะใช้เงินออมเผื่อฉุกเฉิน หรือมีทรัพย์สินที่มี ราคาสูงชิ้นไหนที่พอจะตัดใจขายเพื่อมาใช้หนี้ได้โดยเสียดายน้อยที่สุดบ้าง หากเป็นไปได้ ควรหาแหล่งรายได้เสริม เช่น ทำ�งานพิเศษ ทำ�งาน ล่วงเวลา หรือสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่มี เช่น การให้เช่าที่ดินดีกว่าปล่อย ไว้เฉยๆ

เราควรมี เ งิ น ออมเผื่ อ ฉุ ก เฉิ น จำ�นวน 6 เท่าของรายจ่าย จำ�เป็นในแต่ละเดือน

39


40


มีคนจำ�นวนไม่น้อยที่มองว่า อีกตั้งนานกว่าจะเกษียณ เดี๋ยวค่อยคิดก็ได้ แต่พอมานึกได้อีกทีก็เริ่มเข้าวัยเกษียณแล้ว ทั้งที่ จริงยิ่งเราเตรียมตัวไว้ล่วงหน้าเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำ�ให้เรามีความ มั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณมากขึ้นเท่านั้น นอกจากเวลาที่เคลื่อนไปข้างหน้าโดยไม่เคยหยุดแล้ว ยัง มีความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน เช่น การแพทย์ที่ทำ�ให้คนอายุ ยืนยาวขึ้น รูปแบบความสัมพันธ์ของคนในสังคมและครอบครัวที่ ต้องพึ่งพาและดูแลตนเองมากขึ้น ที่ทำ�ให้การเตรียมความพร้อม สำ�หรับการเกษียณอายุกลายเป็นสิ่งสำ�คัญและไม่ใช่เรื่องไกลตัว อีกต่อไป ซึ่งการเตรียมความพร้อมที่ดีจะทำ�ให้การมีชีวิตในวัย เกษียณเป็นไปอย่างมีคุณภาพ ไม่เป็นภาระกับบุคคลอื่น และไม่ ต้องกังวลกับความผันผวนของเศรษฐกิจมากเกินไป

41


คนไทยเพียงร้อยละ 25 มีการออมเงินเพื่อการ เกษียณอายุและสามารถออมเงินได้ตามแผนที่วางไว้ (จากรายงานผลการสำ�รวจทักษะทางการเงินของ ไทย ปี2556 จัดทำ�โดยธนาคารแห่งประเทศไทย)

กำ�หนดเป้าหมายให้ชัดเจน อย่างน้อยรายได้หรือเงินที่เก็บออมมา เพื่อใช้หลังเกษียณจะต้องเพียงพอสำ�หรับรายจ่ายที่จำ�เป็นและการดูแลสุขภาพ ตามวัย ซึ่งอาจรวมถึงค่าใช้จ่ายสำ�หรับการทำ�กิจกรรมเพื่อความสุขในชีวิต ด้วย คำ�นวณรายจ่ายต่อเดือน โดยส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายประจำ�หลัง เกษียณมักจะลดลง ซึ่งประเมินกันว่าค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณจะอยู่ที่ 70-80% ของค่าใช้จ่ายต่อเดือนก่อนเกษียณ หรือคิดจากค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน แล้วจึงคำ�นวณโดยรวมเงินเฟ้อเพื่อหาค่าใช้จ่ายต่อเดือนหลังเกษียณก็ได้ เช่น หากก่อนเกษียณมีค่าใช้จ่ายต่อเดือน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ) 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณจะอยู่ที่ประมาณ 21,000-24,000 บาท และควร หาข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นทั้งในส่วนที่เบิกได้และเบิก ไม่ได้

42


คำ�นวณหาเงินที่ควรมี โดยอาจเลือกใช้ 2 แนวคิด คือนำ�เงินออม มาใช้จ่ายหลังเกษียณ หรือนำ�ดอกผลของเงินออมและเงินลงทุนมาใช้จ่ายหลัง เกษียณ คำ�นวณเงินออม รายได้ และสิทธิประโยชน์ที่จะมีหรือได้รับหลัง เกษียณ เช่น เงินบำ�นาญเงินในกองทุนสำ�รองเลี้ยงชีพ สำ�หรับในแง่ค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพอาจประกอบด้วยสวัสดิการที่เบิกได้ ประกันสุขภาพ ทั้งนี้ การคำ�นวณในข้อ 2 - 4 ต้องคำ�นึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจ ส่งผลกระทบด้วย เช่น จำ�นวนปีที่คาดว่าจะมีอายุหลังเกษียณ อัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยทางเศรษฐกิจที่อาจกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย นำ�ตัวเลขที่คำ�นวณได้ในข้อ 3 และข้อ 4 มาเปรียบเทียบกัน ถ้า ข้อ 3 สูงกว่า ก็ควรหาทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อทำ�ให้มีเงินเพียงพอสำ�หรับค่าใช้ จ่ายหลังเกษียณ ซึ่งจะทำ�หลายวิธีพร้อมๆ กันก็ได้ ตัวอย่างเช่น

43


หาความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เพื่อที่จะสามารถออมและ ลงทุนเพิ่มให้เงินงอกเงยตามความเสี่ยงที่รับได้ในช่วงอายุต่างๆ และอาชีพของ ตน เช่น ฝากธนาคารในบัญชีเงินฝากประจำ� เงินฝาก ประจำ�รายเดือนปลอดภาษี 24 หรือ 36 เดือน เพิ่มเงินสะสมใน กบข. หรือกองทุนสำ�รอง เลี้ยงชีพ (PVD) สำ�หรับผู้ที่เป็นแรงงานนอก ระบบสามารถสมัครสมาชิกและสะสมเงินผ่าน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ได้ ซื้อประกันเพิ่มเติม ลงทุ น ในกองทุ น สำ � รองเพื่ อ การเลี้ ย งชี พ (RMF) ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้น กู้ของบริษัทเอกชน หาอาชีพใหม่ทำ�หลังเกษียณตามความถนัด โดยจะเริ่มลองทำ�ตั้งแต่ ตอนที่ยังไม่เกษียณก็ได้

ทำ�อะไรดี ? ขายกาแฟดีมั้ย

44


สิ่งที่เป็นอันตรายไม่น้อยไปกว่าการไม่เตรียมพร้อมทางการเงิน สำ�หรับผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณก็คือ ภัยทางการเงินหลากหลายรูป แบบที่อาจเข้ามาหาเพราะเป็นกลุ่มคนที่เพิ่งได้รับ หรือมีเงินสะสม ก้อนใหญ่ เช่น ชักชวนลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ที่ชวนเชื่อว่าจะได้ผล ตอบแทนสูงหลอกให้เป็นนายหน้าแต่ขอให้ช่วยออกค่าใช้จ่ายบาง อย่างไปก่อน ขอยืมเงินโดยสัญญาปากเปล่าว่าจะให้ดอกเบี้ยสูง และรีบคืน หากหลงเชื่อและทำ�ตามที่มิจฉาชีพบอก เงินที่เพิ่งได้ มาหรือเงินที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมาตลอดชีวิตการทำ�งานอาจ หายไปโดยที่ไม่มีโอกาสได้คืนมาอีกเลย

เราจะรู้ว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ จึงจะพอใช้ หลังเกษียณ ด้วย 2 แนวคิดดังต่อไปนี้

แนวคิดที่ 1 : นำ�เงินออมมาใช้จ่ายหลังเกษียณ เงินที่ควรมี

ค่าใช้จ่าย ต่อเดือน หลังเกษียณ

12 เดือน

จำ�นวนปีที่คาดว่า จะมีชีวิต หลังเกษียณ

แนวคิดที่ 2 : นำ�ดอกผลของเงินออมและเงินลงทุน มาใช้จ่ายหลังเกษียณ เงินที่ควรมี

ค่าใช้จ่าย ต่อเดือน หลังเกษียณ

12 เดือน

อัตราผลตอบแทน เฉลี่ยของเงินออมและ เงินลงทุน (% ต่อปี)

45


ลองคิดดูว่า เมื่อนายเกษียณ ในอีก 20 ปีข้างหน้า นายต้องมี รายได้เดือนละเท่าไหร่ถึงจะอยู่ ได้สบายๆ โดยไม่เดือดร้อน ?

ประมาณเดือนละ 25,000 บาท เพราะปัจจุบันฉันใช้เงินเดือนประมาณ 20,000 บาท หลังเกษียณฉันน่าจะใช้ จ่ายเพียง 70% ของรายจ่ายปัจจุบัน หรือประมาณ 14,000 บาท

หากอัตราเงินเฟ้อ = 3%ทุกปี เงิน 14,000 บาท ในปัจจุบันจะมีค่า เท่ากับเงินประมาณ 25,000 บาท ในอีก 20 ปีข้างหน้า

รายได้ ห ลั ง เกษี ย ณเดื อ นละ 25,000 บาท จะมาจากไหน?

46


รายได้เดือนละ 25,000 บาท (หรือปีละ 300,000 บาท) จะมาจากดอกเบี้ยเงินฝาก ธนาคาร และผลตอบแทนจากการลงทุน หาก หลั ง เกษี ย ณฉั น สามารถหาผลตอบแทนได้ เฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี ณ วันที่ฉันเกษียณ ฉันต้องมีเงินฝากธนาคารและเงินลงทุนรวม ทั้งสิ้นประมาณ 5 ล้านบาท ฉันถึงจะมีรายรับ เท่าจำ�นวนที่ต้องการ

แล้วนายจะหาเงิน 5 ล้านบาท มาจากไหน?

ฉั น คิ ด ว่ า จะได้ รั บ เงิ น จากกองทุ น สำ�รองเลี้ยงชีพ ประมาณ 4 ล้าน บาท ส่วนที่ยังขาดอีก 1 ล้านบาท ฉันต้องออมเงินเพิ่มเติม

47


แม้ว่าการกู้หนี้ใหม่มาจ่ายหนี้เก่าหรือการรีไฟแนนซ์จะไม่ใช่วิธีการแก้ ปัญหาหนี้ที่ดีที่สุด แต่ถ้าเป็นการรีไฟแนนซ์ที่ได้ดอกเบี้ยตํ่าลง หรือให้เงื่อนไขที่ดี กว่าสินเชื่อเดิม เช่น ผ่อนชำ�ระต่อเดือนน้อยลง ก็น่าจะพอเป็นทางออกที่ดีกว่า ปล่อยให้ปัญหาหนี้ลุกลาม แต่เมื่อรีไฟแนนซ์มาแล้วก็ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่ายไป พร้อมๆ กันด้วย เพราะไม่อย่างนั้นก็กลับไปสู่วังวนหนี้เหมือนเดิม ด้วยมูลค่าหนี้ ที่มากกว่าเดิม นอกจากนี้ก่อนจะรีไฟแนนซ์ต้องดูว่า “คุ้ม” หรือไม่ที่จะก่อหนี้ใหม่ มาจ่ายหนี้เก่า โดยการเปรียบเทียบระหว่าง “อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง” กับ “ค่าใช้ จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรีไฟแนนซ์” ว่าอะไรที่ช่วยให้เราประหยัดได้มากกว่ากัน ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการรีไฟแนนซ์ประกอบด้วย • ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน (ในกรณีที่เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน) • ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการทำ�สัญญาเงินกู้กับผู้ให้สินเชื่อแห่งใหม่ • ค่าจดจำ�นองหลักประกัน • ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำ�ประกัน • ค่าปรับที่ต้องจ่ายให้เจ้าหนี้เดิมในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลา ที่ระบุไว้ในสัญญา

48


การรีไฟแนนซ์บ้าน คือ การกู้เงินจากงแบงค์ใหม่ มาโปะแบงค์เดิม

49


ใครๆ ก็อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่การผ่อนบ้าน จัดเป็นหนี้สินก้อนใหญ่ระยะยาว

กู้ 5 ล้าน ผ่อน 30 ปี ยาวๆ กันไป

โดยปกติแล้ว แบงค์มักมีโปรโมชั่น ดอกเบี้ยต่ำ� ในช่วง 1-3 ปีแรก (ตัวเลขสมมติ) ผ่อนบ้านเดือนละ 28,000 บาท ตัดต้น 15,500 บาท

50

ดอกเบี้ย 12,500 บาท

เย้ กู้บ้านผ่านแล้ว มีบ้านเป็นของ ตัวเองซะที


ไม่มีใครอยากมีภาระหนี้สินหรอกจริงมั้ย! แต่เพราะบางครั้งชีวิตก็จํา เป็นต้องใช้เงินก้อนใหญ่ ในเมื่อเรายังไม่มีเงินก้อนนั้น เราก็เลยต้องก่อหนี้ แต่ ไหนๆ จะมีหนี้ทั้งที เลือกเป็น “หนี้ที่ดี” ย่อมดีกว่า “หนี้เลว”

เรา หนี้ดี นÐ

©ัน หนี้เลว อะ

แม้ว่าเป้าหมายของเราคือ“หมดหนี้”แต่ก็ไม่ใช่ว่าชีวิตนี้จะห้ามมีหนี้เลย สักบาท เพราะหนี้ก็มีทั้ง “หนี้รวย” กับ “หนี้จน” แต่หนี้แบบไหนที่จะเป็นหนี้รวย และหนี้แบบไหนที่เป็นหนี้จนต้อง ทำ�ความเข้าใจ

51


หนี้ที่ดี หมายถึง การเป็นหนี้เพื่อคุณภาพชีวิตของครอบครัว หนี้ที่ทำ�ให้เรา มั่งคั่งขึ้น มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น และต้องไม่ทำ�ให้การดำ�เนินชีวิตโดยทั่วไปของเรา ต้องลำ�บากขึ้น เช่น การกู้เงินไปซื้อรถเพื่อมาให้ประกอบอาชีพ กู้ซื้อรถแล้วมี รายได้มากขึ้น เพราะอาชีพหรืองานที่เราทำ�มันจำ�เป็นต้องใ้ช้รถ

รู้ ห รื อ ไม่ นั ก ธุ ร กิ จ ส่ ว นใหญ่ จ ะไม่ ใ ช้ เ งิ น ของตัวเองทั้งหมดในการลงทุน แต่จะเลือกวิธีการ เป็นหนี้ส่วนหนึ่ง เพื่อกระจายความเสี่ยงทางด้าน การเงิน

52


หนี้เลว หมายถึง หนี้ที่กู้ยืมเพื่อการบริโภคต่างๆ เพื่อความสบายเป็นหลัก โดยไม่ทำ�ให้เกิดรายได้ เช่น การกู้ซื้อรถโดยไม่มีความจำ�เป็นหรือไม่สามารถ นำ�รถไปหารายได้เพิ่มได้ การกู้ยืมเพื่อไปเที่ยวก่อนกลับมาจ่ายทีหลัง การเป็น หนี้บัตรเครดิต หรือหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยแพงแสนแพง เพื่อเอามาจับ จ่ายใช้สอย หรือเพื่อสนองกิเลสส่วนตัว ซึ่งหนี้เลวเหล่านี้ นอกจากไม่ทำ�ให้เกิด รายได้แล้วยังทำ�ให้คุณเกิดความทุกข์ใจในระยะยาวอีกด้วย เสื้อผ้า หน้าผม รองเท้ากระเป๋า เครื่องประดับ ฯลฯ ต้องเป๊ะเว่อร์ แฟชั่นแบบไหนกำ�ลังมา อย่าปล่อยให้เอาท์... เพราะเดี๋ยวเราจะคุยกับเขาไม่รู้ เรื่อง นี่ยังไม่นับอีกสารพัด “เทรนด์” ที่ต้องอินต้องมีต้องโชว์ ทั้งๆ ที่บางทีมัน ก็ไม่ใช่สิ่งจำ�เป็นในชีวิตสักเท่าไร แถมยังดูดเงินในกระเป๋าออกไปแบบไม่รู้ตัวอีก ด้วย เพราะฉะนั้นชีวิตนี้ยอมตกเทรนด์ ออกนอกกระแสบ้างก็ได้ถ้ามันจะทำ�ให้ ชีวิตเบาขึ้น แต่กระเป๋าไม่เบาตาม

53


54


ใส่คะแนนให้ตรงกับคำ�ตอบ

ข้อ ก = 2 คะแนน ข้อ ข = 1 คะแนน ข้อ ค = 0 คะแนน

1. คุณทราบไหมว่าขณะนี้คุณมีเงินสด ทรัพย์สินอื่นๆ และหนี้สินอยู่มากเท่าไร ฉันพอจะทราบคร่าวๆ ว่ามี “ทรัพย์สินและหนี้สิน“ อยู่เท่าไรเพราะได้ ทำ�บัญชีทรัพย์สินหนี้สินอย่างสม่ำ�เสมอ ตอนนี้ตอบไม่ได้ ต้องขอกลับไปสำ�รวจดูก่อน 2. คุณออมเงินอย่างสม่ำ�เสมอหรือไม่ ใช่เลย ได้เงินมาเมื่อไหร่ฉันก็ออมเมื่อนั้น พอทำ�ได้บ้าง เพราะเมื่อไหร่ที่เงินเหลือฉันก็นำ�มาออม ไม่เคยออมเงินได้เลย เป็นเรื่องไกลเกินฝันจริงๆ 3. คุณทำ�อย่างไรกับการใช้จ่ายในแต่ละเดือน ตั้งงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละเรื่องไว้และพยายามใช้จ่ายให้ไม่เกิน งบประมาณนั้น ตั้งงบประมาณไว้ เพื่อจะทราบรายจ่ายอย่างคร่าวๆ แต่อาจใช้จ่าย เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ไปบ้างในบางเดือน มีค่าใช้จ่ายอะไรก็จ่ายๆ ไปไม่เห็นจำ�เป็นต้องตั้งงบประมาณอะไรไว้เลย 4. คุณมีวิธีเลือกซื้อสินค้าหรือบริการอย่างไร ฉันคิดถึงความจำ�เป็นประโยชน์ใช้สอย คุณภาพและราคาก่อนซื้อทุกครั้ง บางครั้งที่ฉันเห็นสินค้าแล้วตัดสินใจซื้อทันทีโดยที่อาจไม่เคยได้ใช้มันเลย หรือมาพบในภายหลังว่าสินค้าไม่มีคุณภาพและราคาไม่เหมาะสม ทุกครั้งที่ฉันเห็นของที่ชอบก็จะซื้อทันที แล้วก็มาพบว่าฉันมีของที่ไม่ได้ ใช้งานอยู่เป็นจำ�นวนมากหรือมาพบภายหลังว่าของนั้นไม่มีคุณภาพและ ราคาไม่เหมาะสม 55


5. ลองนึกดูว่า ถ้าอยู่ดีๆ ก็เกิดเหตุไม่คาดฝันทำ�ให้คุณขาดรายได้กะทันหัน เช่น ถูก ไล่ออกจากงานหริือประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถทำ�งานได้ คุณมีเงินสำ�รองเพียง พอที่จะดำ�รงชีพอยู่ได้โดยไม่มีรายได้นานที่สุด... ไม่เกิน 3 เดือน ประมาณ 3 เดือน ประมาณ 6 เดือน 6. คุณเตรียมตัวสำ�หรับการเกษียณไว้อย่างไรแล้วบ้าง ฉันมีเงินเก็บที่เพียงพอกับการใช้จ่ายในยามเกษียณอายุแล้ว ฉันวางแผนไว้แล้วและกำ�ลังจะทำ�ตามแผน เพื่อให้ฉันมีความพร้อมทาง ด้านการเงินในวัยเกษียณอายุ ฉันยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถมีเงินใช้ในยามเกษียณได้เพียงพอ

56


คุณควรปรับปรุงด้านการวางแผนและการจัดการเงินของคุณให้ดีขึ้นกว่าที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยเริ่มด้วยการถามตัวเองว่าต้องการใช้ชีวิตแบบใดใน อนาคต แล้วประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นเป้าหมายที่จะวางแผนเตรียม เงินให้พร้อมรวมถึงเตรียมการสำ�หรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน เช่น ออมเงินให้เพียง พอ และมีการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับรายได้ และปฏิบัติให้ได้อย่างสม่ำ�เสมอ

ที่ผ่านมาคุณวางแผนและบริหารด้านการเงินได้ดีพอใช้ และคุณเองก็รู้ดี ว่าการวางแผนการเงินและคิดให้รอบคอบถึงความจำ�เป็นก่อนการจับจ่าย ใช้สอยไม่ใช่เรื่องยาก ชีวิตคุณมาถูกทางแล้ว ขอให้พยายามเพิ่มอีกนิด แล้ว คุณจะสามารถเดินทางจนถึง “ความมั่นคงทางการเงิน“ ได้ในที่สุด

คุณเป็นนักวางแผนการเงินชั้นยอด สามารถบริหารจัดการเงินของคุณได้ดี ทีเดียว ขอให้ทำ�ต่อไปอย่างสม่ำ�เสมอ สิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานของการมีฐานะ ทางการเงินที่มั่นคง ที่สำ�คัญอย่าลืมบอกต่อความรู้ด้านการจัดการเงินแก่ คนในครอบครัวและคนใกล้ชิดด้วย เพื่อที่พวกเขาจะได้ก้าวสู่ความมั่นคง ทางการเงินไปพร้อมๆ กับคุณ

57


58


59


60


“¢Íà¾Õ  §ÇҧἹ¡ÒÃà§Ô ¹ ãËŒ à »š ¹ ÊÔ è § ·Õ è Ë ÇÑ § áÅÐ͹Ҥµ·Õ è ½ ˜ ¹ ‹ Í Á໚ ¹ ¨ÃÔ § ä´Œ ä Á‹  ҡ”

ราคา 180 บาท การเงินการลงทุน


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.