Wenn die Organe sprechen könntenGrundlagen der leiblich-seelischen Gesundheit

Page 1



ถ้าอวัยวะภายในสามารถพูดได้ Wenn die Organe sprechen könnten Grundlage der leiblich-seelischen Gesundheit


ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้ พื้นฐานแห่งสุขภาพทางกายและวิญญาณ

โดย นายแพทย์ ดร. โอลาฟ โคปป์ Dr. med. Olaf Koob แปลจากภาษาเยอรมัน Wenn die Organe sprechen könnten Grundlagen der leiblich-seelischen Gesundheit

ผู้แปล ดำ�รงค์ โพธิ์เตียน สตุทการ์ท – เยอรมันนี 2554 (2011) บรรณาธิการ อนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ศิลปกรรม กฤษรัช จันแก่น E-mail: kitsarus@yahool.com Tel. 082 480 5088


หนัง สือ ต้นฉบับ ที่ใช้นำ�มาแปลนี้เป็ น หนั ง สื อ ชื่อ Wenn die Organe sprechen könnten Grundlagen der leiblich-seelischen Gesundheit พิมพ์ออกมาโดย Johannes M. Mayer & Co. Gmbh Stuttgart – Berlin 2007 ISBN-978-3-932386-82-3 การแปลหนังสือเล่มนี้ได้รับอนุญาตให้แปลเป็นภาษาไทยจาก Johannes M. Mayer & Co. Gmbh และ Olaf Koob ครั้งที่พิมพ์ 1 ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2555 จำ�นวน ราคา 250 บาท จำ�นวนที่จัดพิมพ์ 1,000 เล่ม ดำ�เนินการพิมพ์ GreenPrint 29/45-46 ถนนพระราม1 ซอยวัดสามง่าม รองเมือง ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 Tel 02-215-9988 Fax 02-215-5599 E-mail info@printcity.co.th Website www.printcity.co.th ผู้จัดพิมพ์ สถาบันศิลปะบำ�บัดในแนวทางมนุษยปรัชญา (Therapeutikum) ที่อยู่ 187/17 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ท่าพระ บางกอกใหญ่ กทม.10600 Tel. 085-3704202 Fax. 02-9317736 E-mail: info@arttherapythai.com Website www.arttherapythai.com ISBN 978-974-7533-38-5


Vorwort Liebe thailändischen Leserinnen und Leser ich freue mich sehr, dass mein thailändischer Freund Dam rong Photien aus Stuttgart sich die große Mühe gemacht hat, das vorliegende Buch in Ihre Sprache zu übersetzen. So können sich auf dem Gebiet der Medizin, Ost und Westnicht nur praktisch, sondern auch ideell- begegnen. Zwei verschiedene wissenschaftliche Anschauungen stehen sich heute- besonders in der Medizin- oft unversöhnlich gegenüber. Einmal die rein naturwissenschaftliche Anschauung westlicher Prägung, die in ihrem Wesen vornehmlich quantitativ und analytisch geprägt ist und auf dem diag nostischen und operativen Gebiet große Erfolge verzeichnet. Auf der anderen Seite die traditionelle Medizin Asiens, die seit vielen Jahrtausenden mehr qualitativ und synthetisch denkt und somit viel umfassender die biologisch-lebendigen der einzelnen Organe und die damit verbundenen seelischen Vorgänge im Menschen erfassen kann und somit nicht nur Symptome bekämpft, sondern ganzheitlich (holistisch) d.h. über Leib, Seele und Geist zu heilen versucht. In der östlichen Medizin wird der Mensch in Gesundheit und auch Krankheit als Teil von Natur und Kosmos angesehen und muss somit durch medizinische Maßnahmen wieder in eine neue Harmonie, durch die er durch seine

4

ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้


Krankheit herausgefallen ist, integriert werden. Dies ist der wahre Sinn dessen, was wir unter „Heilung” verstehen! Dadurch, dass die anthroposophische Medizin, die dasveborgene Wissen um Mensch, Natur und Kosmos dem modernen Zeitgenossen wieder erschließt, im Westen und auch teilweise im Osten eine spirituelle Erweiterung der naturwissenschaftliche Medizin darstellt, kann sie eineverlässliche Brücke zwischen der materiellen und übermateriellen Welt bilden und zu einem neuen Verständnis in theoretischer und praktischer Medizin bzw. Heil-Kunst führen. In der ganzen Welt arbeiten schon Ärzte in freier Praxis und in Kliniken mit dieser Methode und ihren Heilmöglichkeiten, die sowohl natürliche Medikamente als auch Bewegungskunst, Diät, Physiotherapie als auch Kunsttherapie einschließt. Letztlich sind alle diese heilenden Maßnahmen in der heutigen Zeit notwendig, um in einer vom Stress geprägten und durch eine vergiftete Umwelt belastetes Milieu eine Harmonisierung im Leiblichen, Seelischen und geistig Individuellen herzustellen, die allein wahre und dauerhafte Gesundheit garantiert. Berlin Im April 2011

Dr.med. Olaf Koob

ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้

5


คำ�นำ�ผู้เขียน ท่านผู้อ่านชาวไทยทั้งหญิงและชาย

มดีใจอย่างมากทีเ่ พือ่ นชาวไทยของผมชือ่ คุณดำ�รงค์ โพธิเ์ ตียน ซึ่งอยู่ในเมืองสตุทการ์ทได้ใช้ความพยายามและมีมานะอดทน แปลหนังสือเล่มนีอ้ อกมาเป็นภาษาของท่านผู้อ่าน จากหนังสือเล่มนี้เราจะเห็นได้ว่า ทั้งการแพทยศาสตร์ของทางด้าน ตะวันออก และตะวันตกจะสามารถพบเผชิญกันได้ไม่เพียงแต่ทางด้านปฎิบตั ิ เท่านั้นแต่ยังเข้ามาถึงทั้งในด้านจิตวิญญาณด้วย มุมมองทั้งสองแบบของทางวิชาการ – โดยเฉพาะอย่างยิ่งทาง ด้านแพทยศาสตร์ – ส่วนมากแล้วจะยืนอยูบ่ นพืน้ ฐานทีแ่ ย้งกัน ในด้านหนึง่ เป็นการมองทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงตามรสนิยมของชาวตะวันตก โดยที ่ ก ารมองของเขานั ้ น เต็ ม ไปด้ ว ยการวิ เ คราะห์ ท างปริ ม าณและใน ด้านทางวินิจฉัยสาเหตุ และการผ่าตัดที่ได้รับผลสำ�เร็จออกมาอย่างสูง ในอีกด้านหนึ่งเป็นการมองของแพทยศาสตร์สมัยดั้งเดิมของทางด้านเอเชีย ซึ่งเกิดขึ้นมาจากความนึกคิดที่ได้เรียนรู้กันมาเป็นพันๆ ปี แล้วโดยที่มุมมอง นี้เป็นการสังเคราะห์ในคุณภาพและคุณสมบัติ ด้วยเหตุนี้การมองจาก การครอบคลุมชีวติ ชีวภาพของอวัยวะภายในจึงสมบูรณ์แบบกว่า และสามารถ รวบรวมไปได้จนถึงการเป็นไปในวิญญาณของมนุษย์ด้วย ที่ไม่เป็นเพียงแต่ การแก้ไขต่ออาการของโรคเท่านั้น แต่ยังเป็นการพยายามบำ�บัดโรคในทั้ง ตัวตนอย่างครบถ้วนบริบูรณ์ (แบบองค์รวม) สิ่งนี้หมายความว่า การบำ�บัด จะเป็นไปทัง้ ทางกาย วิญญาณ และจิตวิญญาณ ในทางการแพทย์ดา้ นตะวัน 6

ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้


ออกเขาจะมองดูมนุษย์ทั้งในสภาพสมบูรณ์แบบและในสภาพยามเจ็บป่วย ว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ และจักรวาล และสิ่งนี้จะถูกรวมด้วย การกระทำ�ทางการแพทย์เพื่อที่จะให้เกิดความสมดุลใหม่ต่อมนุษย์อีก ซึ่งเขาได้เสียความสมดุลไปในขณะที่เขายังมีโรคภัยไข้เจ็บอยู่ในตัวของเขา จากสิ่งที่ได้กล่าวมานี้เราจะบอกให้เข้าใจได้ว่า นี่คือการบำ�บัดที่แท้จริง การแพทย์ในแนวมนุษยปรัชญาได้เผยความรู้ที่ได้ถูกซ่อนไว้ต่อการ เป็นไปของมนุษย์ ธรรมชาติและจักรวาลให้กับทุกๆท่านในช่วงเวลาปัจจุบัน นี้ทั้งทางตะวันออก และตะวันตก ว่าเป็นการแสดงออกของการขยายของ จิตวิญญาณทางการแพทยศาสตร์ การแพทย์ในแนวมนุษยปรัชญานี้จึงเป็น สะพานเชื่อมระหว่างโลกวัตถุนิยมและโลกนอกวัตถุนิยม ซึ่งจะนำ�ไปสู่ ความเข้าใจและความเห็นในแนวทางใหม่ทง้ั ในภาคทฤษฎีและในภาคปฎิบตั ิ หรือศิลปะในการบำ�บัด ในทั่วโลกมีแพทย์เป็นจำ�นวนมากได้ใช้ความรู้นี้ ทำ�งานทั้งในคลินิกและโรงพยาบาล และความสามารถในการบำ�บัดที่รวม ไปด้วยทัง้ การเยียวยาด้วยตัวยาทีม่ าจากธรรมชาติ และศิลปะการเคลือ่ นไหว การควบคุมอาหาร การบำ�บัดทางกายด้วยวิชาการทางด้านฟิสิกส์ และ ศิลปะบำ�บัด ปัจจุบนั การกระทำ�ในการบำ�บัดต่างๆ นีจ้ งึ เป็นสิง่ ทีจ่ �ำ เป็นอย่างมาก สำ�หรับสังคมทีเ่ ต็มไปด้วยอิทธิพลแห่งความเครียด และพิษภัยในสิง่ แวดล้อม เพื่อที่จะสร้างความสมดุลให้แก่ปัจเจกชนในทั้งทางกาย วิญญาณ และ จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นสิ่งเดียวเท่านั้นที่รับรองในสุขภาพที่แท้จริง และให้ ความมั่นคงยาวนาน เบอร์ลิน เมษายน 2554

นายแพทย์ ดร. โอลาฟ โคปป์

ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้

7


คำ�นำ�ผู้แปล

ศิ

ลปะบำ�บัดเป็นแนวทางวิธีการแพทย์บำ�บัดเพิ่มเติมที่ได้รับ การพัฒนาต่อมาจากมุมมองในการเป็นไปของมนุษย์โดยผ่านการ กระตุน้ นำ�ของ รูดอล์ฟ สตายเนอร์ (Rudolf Steiner) โดยมีจดุ ประสงค์เพือ่ ให้ใช้ สำ�หรับการศึกษา การศึกษาบำ�บัด การแพทย์ และศิลปกรรมเมือ่ ประมาณต้นปี ศตวรรษที่ 20 จากความคิดเห็นนี้ รูดอร์ฟ สตายเนอร์ ได้บรรยายความคิดเห็น และเนื้อความในปาฐกถาซึ่งได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นไป ของมนุษย์กับศิลปะในหลาย ๆ แนวทาง จากแนวความคิดเช่นนี้ผลงานของ การปฏิบัติการจึงสามารถแสดงให้เราเห็นได้ในการสร้างความสมดุลซึ่งกัน และกันและส่งเสริมสุขภาพทาง กาย วิญญาณ และจิตวิญญาณ ดังนัน้ การศึกษาศิลปะบำ�บัดแนวมนุษยปรัชญานีจ้ งึ ต้องใช้ศลิ ปะต่าง ๆ เช่น การวาดภาพ การปั้น การระบายสี และดนตรีให้มีความสัมพันธ์ต่อ ทางกาย (อวัยวะภายในต่างๆ) วิญญาณ (ความรู้สึก ความประทับใจ และ ความต้องการ) และจิตวิญญาณ (ความนึกคิดและความรู้ที่แท้จริง) พื้นฐาน ความรูท้ างกายวิภาคศาสตร์(วิธกี ารปฏิบตั งิ านของกาย)จึงเป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญมาก ในการศึกษานี้ โอลาฟ โคปป์ (Olaf Koob) แพทย์มนุษยปรัชญาชาวเยอรมัน ได้ ร วบรวม และผู ก โยงความสั ม พั น ธ์ ต ่ า ง ๆ นี ้ ไ ว้ ใ นหนั ง สื อ ชื ่ อ “ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้ (Wenn die Organe sprechen könnten)” ซึ่งถือว่าต้องเป็นหนังสือคู่มือสำ�หรับนักศึกษาศิลปะบำ�บัด อาจารย์ แพทย์ และผู้สนใจในศิลปะบำ�บัดทุกท่านด้วย จุดประสงค์ในการแปลหนังสือเล่มนี้ได้มาจากคำ�เรียกร้องของ นักศึกษาศิลปะบำ�บัด และผูส้ นใจหลายๆท่าน ทีต่ อ้ งการจะเข้าใจอย่างลึกซึง้ 8

ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้


ต่อความสัมพันธ์ระหว่างอวัยวะ ดวงดาว และธาตุโลหะที่ใช้ในการบำ�บัด และสร้างความสมดุลต่าง ๆ นี้ให้มากขึ้นอีกหลังจากที่ได้ฟังปาฐกถาของ โอลาฟ โคปป์ ในประเทศไทยไปบ้างแล้ว หนังสือเล่มนี้ผู้แปลไม่ได้แปลทุกบทของเล่มต้นฉบับ เพราะว่า หลังจากที่ได้มีการสนทนากับโอลาฟแล้ว ผู้แปลจะแปลแต่เฉพาะบทที่ให้ ความสำ�คัญ และเป็นประโยชน์ส่วนใหญ่ในการศึกษาศิลปะบำ�บัดเท่านั้น เพื่อที่จะให้นักศึกษา และผู้สนใจได้มีคู่มือใช้ในระหว่างการศึกษาด้วย ดังนัน้ แล้วการแปลจะเป็นไปเฉพาะในบทที่ 3 และบทที่ 4 เท่านั้น ในที่นี้ผู้แปลขอขอบคุณ โอลาฟ โคปป์ ที่ได้อนุญาตให้แปล และ ให้คำ�อธิบายความหมายต่อเนื้อความในหนังสือ คุณนิโคล่า ชไนเดอร์ แฮร์มันน์ (Nicola Schneider Hermann) ซึ่งได้ขยายความหมายต่าง ๆ ในบทความที่อาจจะนำ�ไปสู่ความเข้าใจผิดได้ คุณอนุพันธุ์ พฤกษ์พันธ์ขจี ที่ได้ช่วยแนะนำ� และตรวจสอบทางด้านภาษา สตุทการ์ท 10 เมษายน 2554

ดำ�รงค์ โพธิ์เตียน

ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้

9


โครงการหนังสือความรู้ศิลปะบำ�บัดมนุษยปรัชญา

ศิ

ลปะบำ�บัดมนุษยปรัชญา’ เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 จากงานมนุยษปรัชญา (Anthroposophy) โดย รูดอล์ฟ สตายเนอร์ ศิลปะบำ�บัดมนุษยปรัชญานีไ้ ด้โยงใยไปถึงการแพทย์มนุษยปรัชญาความเข้าใจ ด้านศิลปะ สี-เส้น ที่เชื่อมโยงกับจิตวิญญาณ รวมถึงแนวทางการบำ�บัด ผสมผสานไปกับชีวประวัติของมนุษย์ ซึ่งเกิดอิทธิพลกับการบำ�บัด อย่ า งนี ้ แล้วที่ศิลปะบำ�บัดมนุษยปรัชญา จึ ง มี ศาสตร์ ร ายล้ อ ม เชื่อมโยงซึ่งกันและกันไม่อาจขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ นักศิลปะบำ�บัดของ แนวทางมนุษยปรัชญาจึงจำ�เป็นต้องศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจ ในเชิงลึกต่อ ๆ ไปถึงความสัมพันธ์ที่กล่าวมานี้ สถาบั น ศิ ล ปะบำ � บั ด ในแนวทางมนุ ษ ยปรั ช ญาจึ ง ร่ ว มกั บ ศู น ย์ ส่งเสริมศิลปะบำ�บัดและการศึกษาแนวมนุษยปรัชญา ในประเทศไทย ได้เริ่มต้นการวางรากฐานงานอันสำ�คัญนี้ผ่านการเรียนการสอน งานอบรม มนุษยปรัชญาในแง่มุมต่างๆ และที่สำ�คัญคือการเริ่มต้น ‘โครงการหนังสือ ความรู ้ ศ ิ ล ปะบำ � บั ด มนุ ษ ยปรั ช ญา’ ที ่ ม องเห็ น ความสำ � คั ญ ของความรู ้ ด้านนี้ที่ถ่ายทอดเป็นภาษาเยอรมันได้แพร่หลายมากขึ้นอันจะนำ�ให้เกิด ความเข้าใจเชิงลึก และเกิดความชัดเจนของศาสตร์แห่งการบำ�บัด ก็เพราะศิลปะบำ�บัดมนุษยปรัชญาที่ได้เผยแพร่ขึ้นในโลกตะวันตก เมื่อร่วม 100 ปีที่แล้ว ได้ลงรากแก้วหยั่งลึกไปในจิตวิญญาณของผู้คนแห่ง โลกตะวันออกด้วยแล้วเช่นกัน

10

ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้


ถ้ า อวั ย วะภายในสามารถพู ด ได้

11


สารบัญ คำ�นำ�ของผู้เขียน 4 คำ�นำ�ของผู้แปล

8

บรรณาธิ ก าร 10 ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน 15 ม้ามคืออวัยวะภายในของดาวพระเสาร์ 25 ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี 31 ถุงน้ำ�ดีคืออวัยวะภายในของดาวพระอังคาร 39 หั ว ใจคื อ อวั ย วะภายในของพระอาทิ ต ย์ 43 ไตคื อ อวั ย วะภายในของดาวพระศุ ก ร์ 57


ปอดคื อ อวั ย วะภายในของดาวพระพุ ธ 71 อวั ย วะปฏิ ร ู ป ตนใหม่ แ ละแร่ ธ าตุ เ งิ น 77

ปอด ตับ ไต และหัวใจ เป็นอวัยวะภายใน ของธาตุฤดูกาลทั้ง 4 83 ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน 86 ตับเป็นอวัยวะธาตุน้ำ� 98 ไตและกระเพาะปัสสาวะ เป็นอวัยวะธาตุลม 102 หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ 106


รอยพิมพ์ของดวงดาวทั้ง 7 จาก รูดอร์ฟ สตายเนอร์ (ดูจากข้างบนหมุนตามเข็มนาฬิกา) พระอาทิตย์ – ทองคำ� – (หัวใจ) พระศุกร์ – ทองแดง – (ไต) พระพุธ – ปรอท – (ปอด) พระจันทร์ – เงิน – (อวัยวะสืบพันธ์) พระเสาร์ – ตะกัว – (ม้าม) พระพฤหัสบดี – ดีบุก –(ตับ) พระอังคาร – เหล็ก – (ถุงน้ำ�ดี)

“ถ้ามนุษย์เราสูญเสียความสัมพันธ์ต่อสวรรค์แล้ว เขาก็จะสูญเสียตัวของเขาเองด้วย” รูดอล์ฟ สตายเนอร์


ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน

ราจะสามารถเข้าใจต่ออวัยวะภายในทั้งหมดอย่างแท้จริงได้ไหม หากเราเพียงแต่จะนึกพิจารณากับอวัยวะภายในแต่ละชนิด ๆ ว่า สิง่ นีเ้ ป็นกลุม่ เซลล์ อวัยวะทีเ่ กิดขึน้ อยูข่ า้ งเคียงกัน และไม่มคี วามสัมพันธ์ตอ่ กัน เหมื อ นกั บ ก้ อ นอิ ฐ ก้ อ นหิ น ก่ อ สร้ า ง หรื อ เหมื อ นกั บ ว่ า เป็ น รู ป ปั ้ น ของบุคคลในครอบครัวเดียวกันทีไ่ ม่มคี วามสัมพันธ์ดา้ นสังคม และโชควาสนาร่วมกัน กับบุคคลอืน่ ๆในครอบครัว? อย่างเช่นเดียวกันกับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน ที ่ แ ต่ ล ะคนๆต่ า งก็จ ะมีประวัติส่วนตัวที่เ ป็นของตนเอง มี คุ ณ ลั ก ษณะ มีความชอบพอใจ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกันหรือห่างไกลกันออกไป ภายในสังคมของครอบครัวของเขาเอง ทำ�นองเช่นเดียวกันนี้อวัยวะภายใน ต่างๆก็จะมีความสัมพันธ์และมีหน้าที่ปฏิบัติการงานต่างๆ ที่นอกเหนือไป จากทางด้านสรีรศาสตร์ออกไปอีก ซึ่งเป็นหน้าที่ปฏิบัติที่เราจะพบได้ในกาย ของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย และสิ่งเหล่านี้ก็จะแสดงออกในวิญญาณของมนุษย์ ด้วย ตามความเห็นของแพทย์จีนแบบดั้งเดิมแล้ว เราจึงจะเรียกกันว่า สิ่งนี้ เป็น “ครอบครัวของอวัยวะภายใน” ถ้าเราจะนำ�เอา “อวัยวะสวรรค์” ตัวอย่างเช่น ดวงจันทร์ซึ่งเป็น บริวารของโลกเรานั้น ยกขึ้นมาเป็นการพิจารณา เราก็จะใช้การพิจารณา ในความหมายที่ขนานกันหรือในทำ�นองเดียวกันต่ออวัยวะภายในของเรา ตัวอย่างเช่นสภาพของ “สิง่ ของ” ทีเ่ ราสัมผัสได้นน้ ั เราสามารถทีจ่ ะกำ�หนด วั ด ความห่ า งไกล และความใหญ่ โ ตของมั น ได้ แ ละรวมทั ้ ง สภาพ การเปลี่ยนแปลงตามช่วงจังหวะเวลาต่างๆที่เกิดขึ้นแต่ในความเป็นไปที่ ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน

15


แท้จริงแล้วนั้น เราไม่สามารถจะมองเห็นดวงจันทร์ได้ทั้งดวงเต็มๆ เราจะ เห็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของดวงจันทร์เท่านั้นเพราะว่าดวงจันทร์ปิดบัง ส่วนหลังของมันกับเรา ดวงจั น ทร์ จ ะมี ค วามหมายต่ อ ชี ว ิ ต การกระทำ � ของเราอะไรอีกบ้างที่นอกเหนือไปจากการเป็นไปที่ว่าดวงจันทร์อยู่บน ท้องฟ้า? เราสามารถที่จะเรียนรู้ต่อการเป็นไปของดวงจันทร์นี้ได้ในโลกของ เรา ถ้าเราศึกษาอิทธิพลของดวงจันทร์ทม่ี ตี อ่ สภาพภูมอิ ากาศต่อสภาพน้�ำ ขึน้ น้�ำ ลง ต่อการเคลือ่ นไหวของน้�ำ ใต้แผ่นดินต่อการมีประจำ�เดือนของสุภาพสตรี ต่อการเจริญเติบโตของพืช และต่อการกระทำ�ของสิง่ ทีม่ ชี วี ติ ในเวลาเดือนเพ็ญ หรื อ เดื อ นมื ด ในเขตบางส่ ว นของยุ โ รปนั ้ น ชาวป่ า ทั ้ ง หลายยั ง มี ขนบธรรมเนียมประเพณีของพวกเขาที่ว่า เขาจะตัดไม้เพียงแต่ในช่วงเวลา หนึ่งของดวงจันทร์เท่านั้นเพราะว่าความชื้นของไม้จะแตกต่างกัน และถ้า ผู้ใดเคยเป็นผู้ช่วยทำ�คลอดแล้วท่านจะรู้จักดีว่า การคลอดมีมากในช่วงเวลา เดือนเพ็ญ ดวงจันทร์มอี ทิ ธิพลกับชีวติ ของเรา นอกจากนีแ้ ล้วดวงจันทร์ยงั จะมี อิทธิพลกับวิญญาณของเราอีกหรือเปล่า? สิ่งที่เรารู้กันอยู่แล้วโดยทั่วๆไปว่า คนบางคนนอนไม่หลับในเวลาเดือนเพ็ญเขาจะฝันมากหรือเดินละเมอ เรารูถ้ งึ อิ ท ธิ พ ลของดวงจั น ทร์ ใ นความเฝ้ า ปรารถนา ความนึ ก ฝั น ในอารมณ์ (คำ�ว่า Laune แปลว่า อารมณ์นั้น เป็นคำ�ที่มาจากภาษาลาติน คำ�ว่า Luna แปลว่า ดวงจันทร์ ดังนั้น Laune หรือ Luna ก็แปลว่า ดวงจันทร์ หรือ อารมณ์) ดังนั้นแล้ว สุภาพสตรีจะมีอารมณ์เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่มีประจำ�เดือน ในภาษา อังกฤษเราจะเรียกคนบ้าคลังว่าเป็น “Lunatic” ในประเทศสหรัฐอเมริกา จิตแพทย์ผู้หนึ่งได้เปรียบเทียบเอกสารข้อมูลคนไข้ในโรงพยาบาลจิตเวช ช่วงเวลานานกว่า 30 ปีนก้ี บั การหมุนเวียนของดวงจันทร์ และพบว่า ในช่วง เวลาวันเพ็ญและเดือนมืดจำ�นวนตัวเลขคนป่วยทีต่ อ้ งส่งเข้าบำ�บัดโรงพยาบาล นั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเสมอ ในดาวนพเคราะห์หรือดาวบริวารต่างๆนัน้ เราอาจจะคาดคิดได้วา่ มันจะ 16

ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน


ต้องมีรูปการด้านจิตวิญญาณอยู่ ถ้าเราจะพิจารณาดูอิทธิพลของดวงดาว ต่อการทำ�งานร่วมกันกับดวงดาวอื่นๆ ตั้งแต่เป็นพันๆปีที่ผ่านมา มนุษย์จึง ได้ใช้ชอ่ื พระเจ้าเรียกชือ่ ดวงดาวต่างๆกันมา เช่นว่า ดาวพระเสาร์ ดาวพระพฤหัส หรือดาวพระพุธ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระเบียบแบบจักรวาลที่กว้างใหญ่ทั้งใน สวรรค์และในโลกพื้นดิน ตามแง่มุมมองของสหวิทยาการนี้แล้วอิทธิพลของ ดวงดาวจะมีเข้าไปไม่เพียงแต่ในระเบียบแบบของอวัยวะภายในของมนุษย์ เท่านั้น แต่ก็ยังเข้าไปถึงทั้งในพืชและในธาตุโลหะ และในโครงสร้างของ วิญญาณของเราด้วย ในที่นี้เราจะวิเคราะห์อย่างละเอียดเพื่อที่จะเรียนรู้ให้ มากขึน้ ต่อการปฏิบตั งิ านของอวัยวะภายในและวิญญาณ ทัง้ ในสภาพสุขภาพ ที่ดีสมบูรณ์แบบและที่เจ็บป่วย ดังนั้นแล้วเมื่อไม่นานมานี้ในสหรัฐอเมริกา นักวิชาการจึงได้พยายามนำ�เอาความสัมพันธ์จิตวิทยาบนพื้นฐานของ เซ เก ยุง (C.G. Jung) มาใช้ร่วมกันกับความคิดเห็นทางด้านจักรวาลวิทยา ของวิญญาณ ซึ่งเป็นการกระทำ�เช่นเดียวกันกับงานของ มาร์สิลิโอ ฟิซีโน (Marsilio Ficino) นักปราชญ์ในช่วงเวลายุคฟื้นฟูศิลปะใหม่ (Renaissance, 1489) เพื่อที่จะเรียนรู้ต่อบางสิ่งบางอย่างในการปฏิบัติงานของ วิญญาณ ในการกระทำ�เช่นนี้จะทำ�ให้เราเข้าใจว่า ทำ�ไมในสมัยก่อนเขาได้ เรียกวิญญาณว่าเป็น “กายดวงดาว” หรืออย่างทีเ่ ราเรียกกันว่ากาย สีเดอร์รชี (siderisch แปลว่า ดวงดาว sidus ภาษา Latin แปลว่า ดวงดาว) หรือ กายอาสตราลย์ ในประวัติมนุษยชาติทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมาเราได้มีความพยายาม ทีจ่ ะนำ�เอามุมมองทัง้ สี่ กาย ชีวติ วิญญาณและจิตวิญญาณมาให้ความสัมพันธ์ กับอวัยวะภายในหรือการเป็นไปของการเจ็บไข้ได้ป่วยด้วย เช่นนี้แล้วเราจึง จะได้ พ บกั บ ผลงานของ พาลาเซลสู ส (Palacelsus) ใน “Volume Paramirum” ต่อภาพแสดงของกลุ่มแพทย์ 4 ท่านที่ยืนมุงดูผู้ป่วยโรค อหิวาตกโรคที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว แพทย์แต่ละคนจะวิเคราะห์สาเหตุของ การเสียชีวิตตามความคิดและแง่มุมมองของตนเอง: ตามข้อมูลด้านวัตถุ ของโรคซึ่งเป็นสิ่งที่เราอธิบายกันในทุกวันนี้ว่าเป็นการติดเชื้อโรคจากไวรัส ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน

17


ตามข้อมูลด้านสุขภาพร่างกาย ของโรคว่าเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับกำ�ลังชีวิต หรือ กำ�ลังภูมิต่อต้าน ตามข้อมูลด้านวิญญาณ ของโรคว่าเป็นความเสื่อมโทรม ของวิญญาณ ตัวอย่างเช่นมีปัญหายุ่งยากใจ โศกเศร้าเสียใจ ซึมเศร้า และ ตามข้อมูลด้านจิตวิญญาณ ของโรคว่าเป็นสิ่งที่มาจากองค์ประกอบของ ความกลัว อย่างที่เราค้นคว้าในระบบจิตประสาทภูมิคุ้มกันซึ่งเป็นสิ่งที่เรา รู้จักกันในทุกวันนี้ สำ�หรับพาลาเซลสูสแล้ว สิ่งเหล่านี้จะนำ�ไปสู่จุดยอดที่สูง เหนือขึ้นไปและเชื่อมโยงกันเป็นชั้นที่ 5 และแก่นสารที่เป็นกฏการเป็นไป ของโชควาสนาของแต่ละบุคคล (Schicksal) หรืออย่างที่เราเรียกกันว่า ชะตากรรม (Karma) จากมุมมองทีแ่ ตกต่างกันนีเ้ ราจะพิจารณาอวัยวะภายในแต่ละอย่าง ของมนุษย์ได้ด้วย เพื่อที่จะได้รับภาพรวมของการกระทำ�ของอวัยวะภายใน ต่ออวัยวะทั้งหมด และเพื่อที่จะแสวงหาต่อวิธีการบำ�บัด ลักษณะท่าทาง ความใหญ่โต รูปทรง สีสนั หรือ ตำ�แหน่งทีต่ ง้ั ของอวัยวะ ที่เราสัมผัสได้นั้น จะชี้ให้เราเห็นถึงตัวตนและการเป็นไปของมันอย่างมาก อวัยวะนี้จะชี้ให้เราเห็นได้อีกมากถึงการปฏิบัติงานทางกายภาพ และ ทางชีวเคมีต่อการกระทำ�งานสม่ำ�เสมอเป็นจังหวะอย่างที่แพทย์จีนเรียกกัน ว่ า เป็ น “นาฬิ ก าอวั ย วะ” หรื อ ต่ อ อิ ท ธิ พ ลทางวิ ญ ญาณที ่ ท ำ � ให้ เรามี ความสังหรณ์ใจเกิดขึน้ อย่างทีพ่ ดู กันว่าเป็น“การกระทำ�อย่างรวดเร็วของตับ” (ในภาษาเยอรมันจะเปรียบเทียบการกระทำ�อย่างรวดเร็วของตับว่าเป็น ปฎิกริ ยิ าทีเ่ กิดขึน้ เอง) หรือต่อความโกรธ ฉุนเฉียวและเดือดดาล เราจะพูดว่า “ถุงน้ำ�ดีท่วม” (ความหมายในภาษาเยอรมันจะเปรียบเทียบน้ำ�ในถุงน้ำ�ดี ที่เต็มไปด้วยความขมว่าเป็นความโกรธ) หรือต่อความสะเทือนใจของเราว่า “ทำ�ไปเข้าถึงไต” (ความหมายในภาษาเยอรมันจะเปรียบเทียบไตว่าเป็น อวัยวะทางความรู้สึกและทางอารมณ์)? ทำ�ไมกำ�ลังทางวิญญาณที่มีอยู่ใน อวั ย วะภายในจะรวมตัวออกเป็นกำ�ลังใหญ่ก ำ� ลั ง หนึ ่ ง เช่ นเดี ย วกั นกั บ กระเบื้องโมเสคที่แต่ละชิ้นเล็กๆ รวมกันเป็นชิ้นใหญ่ชิ้นเดียว และให้สมอง เป็นเพียงแต่จอแสดงภาพชีวิตความรู้สึกที่มาจากอวัยวะภายในไม่ได้หรือ 18

ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน


อย่ า งไร? แพทย์ จ ี น ได้ ช ี ้ ใ ห้ เ ห็ น ความสั ม พั น ธ์ ร ่ ว มกั น ของหั ว ใจกั บ ความปิติยินดี และศักยภาพความรัก ปอดกับความความเศร้าโศกเสียใจ ไตกับความหวั่นกลัวและความวิตกกังวล และถุงน้ำ�ดีกับอารมณ์ร้าย และ ฟรีดดริก นีทเช่ (Friedrich Nietzsche) ได้จารึกการเป็นไปนีเ้ อาไว้ในคำ�พูด ที่ว่า “การตัดสินใจล่วงหน้านั้นมาจากอวัยวะภายใน....” ถ้าเราจะจินตนาการจิตสำ�นึกของเราว่าเป็นบ่อน้ำ�ที่ใสสะอาด และสะท้อนแสงได้ ซึง่ ป็นบ่อทีใ่ ห้อวัยวะภายในของเราออกสีสนั ต่างๆได้เพือ่ ที่จะให้เราสามารถพัฒนาชีวิตความรู้สึกส่วนตัวของเราแต่ทว่าถ้าสีใดสีหนึ่ง มีอ�ำ นาจครอบงำ�สูง และบ่อน้�ำ วิญญาณทัง้ หมดเปลีย่ นสีออกเป็นสีน�ำ้ เงินคล้�ำ หรื อ ออกเป็ น สี เขี ย วยาพิ ษ –ในภาษาอั ง กฤษเราจะเรี ย กการมี ความความโศกเศร้าว่าเป็นความรู้สึกสีน้ำ�เงิน เราเคยได้กล่าวในเบื้องต้นมาแล้วว่า กำ�ลังชีวิตของมนุษย์นั้นได้ถูก แบ่งแยกออกเป็นเจ็ดส่วน เพื่อที่จะให้วิญญาณได้พบเจอกับกายที่เหมาะสม ดังนัน้ แล้วระบบของเลขเจ็ดจึงเป็น “เลขของความสมบูรณ์แบบ” ทีม่ บี ทบาท ที่สำ�คัญมากในการกระทำ�ร่วมกันของสุขภาพของกำ�ลังชีวิตและจิตใจต่อผล การแสดงออกของโรคป่วยไข้ในทางเวชศาสตร์กายจิต สิ่งเหล่านี้ชี้ให้เราได้ เห็นทั้งในด้านทางดนตรีด้วยกับระดับเสียงทั้งเจ็ดซึ่งเป็นการจัดเตรียมต่อ ระดับเสียงชัน้ สูงกว่าต่อไปอีกคือระดับแปดเสียง ดังนีแ้ ล้วเราจึงมีการทำ�งาน เจ็ดวันโดยมีวันหยุดพักเป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันเตรียมตัวสำ�หรับอาทิตย์ต่อ ไป (พาลาเซลสูสพูดว่า เป็นวันทำ�งานด้วยฝ่ามือสี่วันและเป็นวันทำ�งานด้วย ดวงใจสามวัน) เราจะเห็นต่อไปอีกได้กับระบบของระยะเวลาช่วงทุกๆเจ็ดปี ในการพัฒนาอัตชีวประวัติมนุษย์ หรือจากภาพสะท้อนของการเป็นไปของ ชีวิตคำ�พังเพยที่ชาวบ้านพูดกันโดยทั่วๆไปว่า ไข้หวัดจะต้องใช้เวลารักษา เจ็ดวัน ถ้ารักษาด้วยแพทย์ แต่ถ้าไม่รักษาด้วยแพทย์แล้วก็จะต้องใช้เวลา หนึง่ อาทิตย์ ในทำ�นองเดียวกันเราก็ยงั มีค�ำ พังเพยอืน่ อีกเช่น“เจ็ดปีทข่ี น่ื ขม” ในความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ตามความเกี่ยวข้องแบบนี้เราจะเห็น ผลงานที่น่าสนใจชิ้นหนึ่ง ที่มาจากการสอบถามบุคคลกว่าสามหมื่นคนใน ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน

19


ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า จำ�นวนเวลานอนหลับประมาณเจ็ดชัว่ โมงเป็นเวลา ที่เหมาะสมที่สุดสำ�หรับสุขภาพและความรู้สึกสบายใจทางวิญญาณ ซึ่งเป็น เวลาที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุและสภาพของร่างกายของแต่ละ บุคคล ข้อมูลที่แท้จริงนี้แพทย์แนวมนุษยปรัชญาได้รับรู้กันมาเป็นเวลายาว นานแล้ว ในความหมายนี้เลขเจ็ดจึงเป็นเลขที่เรียกว่าเลขของการเป็นไป อย่างสมบูรณ์แบบและของการเตรียมพร้อมต่อการเริ่มต้นใหม่ – เลขที่เป็น สองหรือสามเท่าของเลขเจ็ดหรือเลขที่เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของเลขเจ็ดก็ตาม จะมีความหมายเช่นเดียวกัน – ซึ่งจะมีความหมายเข้าไปถึงในสังคมด้วย สิง่ นีเ้ ราจะสังเกตได้กบั การพัฒนาการกระทำ�ในสถาบันต่างๆด้วย ในความหมาย นี้เราก็ได้รับคำ�รับรองจากสถาบันการค้นคว้าทางเศรษฐศาสตร์ว่า ส่วนมาก แล้วหลังจากที่ “ร่�ำ รวยมาเจ็ดปี” ก็จะตามมาด้วยความยากจนอีกเจ็ดปีดว้ ย เทวตำ�นานและเทพนิยายต่างๆได้ช่วยทำ�ให้เราเกิดความสนใจ โดยทางตรง และทางอ้อมกับความลับของเลขเจ็ดต่อกำ�ลังชีวติ และกำ�ลังวิญญาณ ดังนั้นเราจึงจะพบได้ใน “สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด” ซึ่งมีคนแคระเป็น ตัวแทนของกำ�ลังรักษาบำ�บัด และเป็นเครื่องหมายของคติพจน์ของโลกซึ่งมี ความสัมพันธ์กับดวงดาวต่างๆ กำ�ลังต่างๆ นี้จะถูกเขียนเป็นภาษารูปภาพที่ คนแคระแต่ละคนจะบอกทรัพย์สมบัติของตนเองที่มีอยู่ โต๊ะขนาดเล็ก = ดาวพระเสาร์: มีความหมายว่าเป็น ความเข้มแข็ง ความมั่นคง จานขนาดเล็ก = ดาวพระจันทร์: มีความหมายว่าเป็นจานที่รับ ของเหลว (น้ำ�) เอาไว้ได้ ขนมปังชิ้นเล็ก = ดวงพระอาทิตย์: มีความหมายว่าเป็นผู้เลี้ยงดู มนุษย์ ในอดีตขนมปังจะทำ�เป็นรูปวงกลมเป็นรูปจำ�ลองของดวงอาทิตย์ และทำ�มาจากข้าวสาลีซึ่งเป็นข้าวที่มีความหมายว่าเป็นดวงอาทิตย์ 20

ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน


ผักขนาดเล็ก = ดาวพระศุกร์: มีความหมายว่าเป็นรูปต้นตระกูล ของความชุ่มชื่นและการเจริญเติบโตของชีวิต มีดขนาดเล็ก = ดาวพระอังคาร: มีความหมายว่าเป็นความก้าวร้าว และความเจ็บช้ำ�น้ำ�ใจ ส้อมขนาดเล็ก = ดาวพระพฤหัสบดี: มีความหมายว่าเป็นคติพจน์ และรูปความหมายของทางโหราศาสตร์คือรูปหนทางแยกกัน ถ้วยน้�ำ ขนาดเล็ก = ดาวพระพุธ: มีความหมายว่าเป็นเป็นตัวกลางใน ของเหลว (น้�ำ ) ระหว่างพืน้ ดินกับจักรวาล ถ้าเราจะพยายามชีแ้ จงความสัมพันธ์ภายในระหว่างอวัยวะภายในกับ ดวงดาวทั้งเจ็ดนั้น เราก็จะต้องสำ�นึกอยู่เสมอว่า ความสัมพันธ์นี้จะมีอยู่ นอกเหนือขอบเขตของการพรรณนาทางสรีรศาสตร์และกายวิภาคศาสตร์ ต่อไปอีก เพราะว่า “อวัยวะภายใน” นีเ้ ป็นเพียงแต่ชว่ งสุดท้ายของการปฏิบตั ิ หน้าที่ของกรรมวิธีของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดที่เราสามารถจะเห็นได้ ดังนั้นแล้ว เราควรจะพูดว่าสิ่งนี้เป็น “กรรมวิธีของอวัยวะภายใน” หรือ “กรรมวิธีของ ดวงดาว” จึงจะเหมาะสมกว่า กรรมวิธีสุดท้ายที่เราจะพบเห็นและสัมผัส ได้ทางกายภาพคือ “กรรมวิธีของโลหะ” ทั้งเจ็ด ดังนั้นคำ�พูดของเกอเธ่ (Goethe) ในหนังสือชื่อ “West-Östlichem Divan” ที่ว่า: “ดวงดาวทั้ง หลายเปิดประตูโลหะทั้งเจ็ดประตูออก” จึงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างดวงดาวและโลหะ ในอดีตและบางกรณีในปัจจุบันนี้โลหะได้ถูกนำ� มาใช้ให้มีความสัมพันธ์กับดวงดาวต่างๆ: ธาตุโลหะเงินกับดาวพระจันทร์ ธาตุโลหะทองกับดวงพระอาทิตย์ ธาตุโลหะปรอทกับดาวพระพุธ และ ธาตุโลหะดีบุกกับดาวพระเสาร์ การได้รับสารพิษเราเรียกกันว่า ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน

21


“Morbussaturnicus” ทุกวันนีใ้ นภาษาพูดของชาวบ้านเรายังใช้ค�ำ พูดทีแ่ สดง ให้เห็นถึงคุณลักษณะและคุณสมบัติของธาตุโลหะ เช่น: หนักเหมือนตะกั่ว ใจแข็งเหมือนเหล็ก เด็กดีเหมือนทองคำ� รวดเร็วเหมือนปรอท แววตาโรแมนติก หรือแววตาเงิน(ตาเหล่) ในช่วงแรกเราอาจจะไม่เข้าใจต่อการทำ�งานของอวัยวะภายในของเรา รวมทั้งธาตุโลหะต่างๆนั้นด้วยว่าเป็นการกระทำ�สองแบบ หรือเป็นขั้วการ กระทำ�สองขั้วรวมกันอยู่ การกระทำ�ทางภายในแตกต่างกับการกระทำ�ทาง ภายนอก เราจะเห็นได้ในช่วงต่อไปอีกจากการอธิบายอย่างละเอียดในกรรมวิธี ของอวัยวะภายในแต่ละอวัยวะ ดังนั้นเราจึงจะเรียกการกระทำ�เช่นนี้ว่าเป็น “การกระทำ�คู่ของกรรมวิธีดวงดาว” หรือการกระทำ�ของอวัยวะภายในและ เรายังสามารถเปรียบเทียบสิ่งนี้ได้เหมือนกับไม้ฟืนที่ติดไฟ ที่ตกลงไป เป็ น ขี ้ เ ถ้ า แต่ ก ็ ย ั ง พั ฒ นาให้ ค วามร้ อ นระอุ อ ยู ่ ในต้ น พื ช ก็ เช่ น เดี ย วกั น ที่ซ่อนเร้นการเป็นไปทั้งในโลกแผ่นดินและโลกจักรวาลอยู่ในรากและใน ดอกของมัน ความนึกคิดเช่นนี้สำ�คัญมากเพื่อที่จะให้เราสามารถแก้ไข แนวการมองมิ ต ิ เ ดียวที่ส่วนมากแล้วจะเป็นการมองทางภายนอกของ การทำ�งานของอวัยวะภายใน ตัวอย่างเช่น การตั้งคำ�ถาม: ไตทำ�อะไรบ้าง ทางภายในทีน่ อกไปจากการขับถ่ายปัสสาวะออกภายนอก? หรือว่าตับหรือสมอง? หรือว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต ถ้าเราให้ตะกั่วที่เป็นตัวยารักษาปริมาณ ต่ำ�แบบโฮเมอโอพาธีย์ (Homöopathie) หรือว่าให้เป็นปริมาณสูง? เราจะ ได้รับผลลัพธ์ที่ตรงกันข้ามกับจุดประสงค์ในการกระทำ�เช่นนี้หรือไม่? ถึงแม้ ว่าสิ่งนี้เป็นการกระทำ�จากสารเนื้อเดียวกัน? ในกรณีนเ้ี ราจะต้องสำ�นึกในตัวของเราอยูเ่ สมอว่าสิง่ นีจ้ ะเป็นการศึกษา เรียนรู้ตลอดทั้งชีวิตเรา และเราจะต้องมีความประสงค์อยากรู้อย่างมากต่อ ประสบการณ์เพือ่ ทีจ่ ะนำ�เราเข้าไปสูค่ วามสัมพันธ์อย่างลึกซึง้ ระหว่างอวัยวะ ภายในและกรรมวิธีทางธาตุโลหะ และนำ�เราไปสู่การบำ�บัดรักษาได้อย่าง ถูกต้อง ครัง้ หนึง่ รูดอร์ฟ สตายเนอร์ได้เรียกมนุษย์วา่ เป็น “ธาตุโลหะเจ็ดประเภท” 22

ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน


ถึงแม้ว่าโฮเมอโอพาธีย์ (Homöopathie) จะมีข้อดีที่น่ายกย่องใน การแสวงหาความรูเ้ ชิงประสบการณ์ของธาตุโลหะ และความสัมพันธ์ทางเคมี ต่อตัวมนุษย์อย่างทีเ่ ราเรียกกันว่า “รูปภาพตัวยา” อย่างไรก็ตาม เราจะเห็นได้วา่ ด้วยการพิจารณาด้านมนุษยปรัชญาต่ออวัยวะภายในกับกำ�ลังความสัมพันธ์ ของดวงดาวเท่านัน้ ทีส่ ามารถจะอธิบายให้เหตุผลต่ออัตราส่วนทีล่ กึ ซึง้ อย่างถูก ต้องในการบำ�บัดรักษา ในทีน่ เ้ี ราไม่ได้ตอ่ ต้านโฮเมอโอพาธียแ์ ต่อย่างใด ตัวผูเ้ ขียน เองก็รู้ดีในคุณค่าของโฮเมอโอพาธีย์อย่างมาก

ระเบียบแบบแผนดวงดาวกับอวัยวะภายใน

23


ในทางตำ�นานเทพเจ้ากรีกพระเสาร์มีพระราชโอรสและพระราชธิดาหลาย พระองค์ทพ่ี ระเสาร์เองก็ได้น�ำ เอามาเสวยในเวลาต่อมาการกระทำ�เช่นนีเ้ ราจะ พบได้อีกในอวัยวะม้ามซึ่งเป็นอวัยวะของดาวพระเสาร์


ม้ามคืออวัยวะภายในของดาวพระเสาร์

สิ่

งแรกทีเ่ ป็นอากัปกิรยิ าส่วนตัวต่อการมาเกิดเป็นตัวตนของเรา ในโลกนี้คือ การจำ�กัดขอบเขตปกป้องเฉพาะตัวของเราเอง ต่อโลกภายนอกเพื่อที่จะให้เราสามารถพัฒนาชีวิตภายในส่วนตัวได้ แต่ใน ทุกสิ่งทุกอย่างที่ “ตกลงมา” จากโลกจักรวาลมาสู่โลกนั้นจะอยู่ภายใต้ ขอบเขตของเวลานัน่ ก็คอื ความตายซึง่ เป็นสิง่ ทีจ่ �ำ เป็นเพือ่ ทีจ่ ะดึงเอาจิตวิญญาณ ของมนุษย์กลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอนที่แท้จริงของเขา ดังนั้นแล้วการมา เกิดเป็นตัวตนของเรานั้นเราจึงเรียกว่า: จิตวิญญาณ “ตายไป” ออกมาเป็น รูปจำ�ลองของตนเองในแผ่นดินและสร้างโครงกระดูกเป็นรูปสัญลักษณ์ ของความตาย ด้วยอวัยวะสัมผัสทางกายของเรานั้นเราได้แสดงเจตจำ�นงแห่ง ความประทับใจทีม่ ชี วี ติ ต่อมโนภาพทีไ่ ม่มชี วี ติ ซึง่ ได้เก็บเอาไว้ในความทรงจำ� ของเราการจำ�กัดขอบเขตเฉพาะตัวของเรา และการมาเกิดเป็นตัวตนของเรา ภายใต้ขอบเขตของเวลานั้นมนุษย์ในอดีตได้เรียกว่าเป็น “ดาวพระเสาร์” หรือเป็น “เวลา” ซึ่งแสดงออกเป็นลำ�ดับเวลาหรือ “ตามสภาพของเวลา” ดังนั้นแล้วดาวพระเสาร์จึงอยู่ริมเขตแดนของโลกจักรวาลซึ่งเป็นแดน ระหว่างการแปลงตัวตนกลายเป็นจิตวิญญาณ (ความตาย) และ การมาเกิด เป็นตัวตน (ความมีชีวิต) และมีวงแหวนล้อมรอบซึ่งเป็นการปิดตัวต่อโลก ภายนอก และเป็นการให้ความสามารถในการพัฒนาตนเองในทั้งทางด้าน กายและวิญญาณ ในทางตำ�นานเทพเจ้ากรีกพระเสาร์มีพระราชโอรส และ พระราชธิดาหลายพระองค์ที่พระเสาร์เองก็ได้นำ�เอามาเสวยในเวลาต่อมา การกระทำ � เช่ น นี ้ เราจะพบได้ อ ี ก ในอวั ย วะม้ า มซึ ่ ง เป็ น อวั ย วะของ ดาวพระเสาร์ ต่อสิ่งต่างๆทางภายนอกแล้วม้ามจะป้องกันสภาพภายในของ เราโดยม้ามจะทำ�ตัวเป็นเหมือน “ดอกไม้ไฟ” ป้องกันสิง่ แปลกปลอม นัน่ คือ ม้ามเป็นอวัยวะภูมิคุ้มกัน และต่อทางภายในม้ามจะทำ�ลาย “ลูกของตน” นั่นก็คือโลหิตซึ่งม้ามเองนั้นเป็นผู้ร่วมให้กำ�เนิดในช่วงระยะเวลาที่เรายังเป็น ม้ามคืออวัยวะภายในของดาวพระเสาร์

25


ตัวอ่อนอยู่นั้น ม้ามจะเป็นผู้ทำ�ลาย เมล็ดโลหิตเก่าหลังจากเวลาประมาณ 80 ถึง 100 วัน และจะส่งเมล็ดโลหิต นี้ต่อไปให้กับตับ ตับก็จะผลิตสารสี ของถุงน้ำ�ดีซึ่งเราเรียกกันว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) จากการฟอกเมล็ดเลือด นี้โลหิตจึงจะได้มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น มาใหม่ได้และจะมีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ เราจะสามารถสร้ า งจิ น ตนาการ การแปรสภาพของโลหิ ต ได้ ใ หม? โดยที ่ ว ่ า ม ้ า ม จะ เ ป็ นส ถ า นท ี ่ ม้าม การเปลี่ยนแปลงสภาพของโลหิตด้วยความช่วยเหลือของตับจากโลหิตที่มี รสหวาน สีแดง ซึ่งเต็มไปด้วยชีวิตเปลี่ยนไปเป็นของเหลวที่ เหนียวหนืด รสขม สีเขียว เป็นของเหลวที่ทำ�ลายอาหาร นั่นก็คือถุงน้ำ�ดี จากสิ่งเหล่า นี ้ เราจะเห็ น ได้ ว ่ า ม้ า ม ตั บ และถุ ง น้ ำ � ดี ม ี ก ารปฏิ บ ั ต ิ ง านร่ ว มกั น ใน การแพทย์ด้านมนุษยปรัชญาเราได้รู้จักต่อความสัมพันธ์เช่นนี้มาเป็น เวลานานแล้วที่ว่า ม้ามเป็นผู้ควบคุมจังหวะการปฎิบัติหน้าที่ในช่วงท้อง ส่วนบน ซึง่ เป็นทัง้ การเก็บโลหิตและความสัมพันธ์ตอ่ พอร์ทลั หลอดเลือดดำ� ของตับ (Vena portae) เพือ่ ทีจ่ ะปรับจังหวะภายในต่อการบริโภคอาหารที่ ไม่สม่ำ�เสมอ ซึ่งเราจะต้องการให้การรับรองต่อการทำ�งานอย่างเป็นอิสระ ของอวั ย วะภายใน เพราะว่าเราสามารถจะตัด ม้ า มซึ ่ ง เป็ นอวั ย วะทาง จิตวิญญาณออกได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่มคี วามเสียหายเกิดขึน้ – ในสมัย ยุคโบราณเราเรียกอวัยวะภายในนี้ว่าเป็นอวัยวะของอุปนิสัยโศกเศร้า อุปนิสัยของความลึกซึ้ง (ภาษากรีก melanos cholos = ถุงน้ำ�ดีสีดำ�) ซึ ่ ง สิ ่ ง นี ้ ไ ด้ อ อกเป็ น ปริ ศ นาต่ อ การแพทย์ ท ี ่ เราจะเห็ น ได้ จ ากบทความ ต่อไปนี้: 26

ม้ามคืออวัยวะภายในของดาวพระเสาร์


ศาสตราจารย์พ ยาธิวิท ยาชาวสหรัฐอเมริ ก ั นผู ้ ห นึ ่ ง ชื ่ อ มิ ล ตั ้ น วินเตอร์วทิ ซ์ (Milton Winterwitz) ได้ชวนเชิญให้นกั ศึกษาบรรยายถึงหน้าที่ การงานของม้ามโดยที่นักศึกษาไม่ได้มีการเตรียมตัวมา มิลตั้น วินเตอร์วิทซ์ เป็นศาสตราจารย์ผู้ที่เข้มงวดและแดกดัน ซึ่งเป็นที่หวั่นกลัวของนักศึกษา นักศึกษาผู้ที่ตกใจในคำ�ถามได้ตอบว่า “ได้ครับ ผมรู้จักม้ามดีครับ เมื่อคืนนี้ ผมได้อา่ นเรือ่ งม้ามมาแล้วทัง้ หมดและรูด้ กี บั หน้าทีก่ ารงานของมัน แต่ตอนนี้ สมองของผมเต็มไปด้วยความว่างเปล่า ผมลืมมันไปหมดแล้วครับ” วินเตอร์วิทซ์ได้กล่าวตอบอย่างยิ้มเยาะว่า “น่าเสียใจด้วยกับความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงกับการค้นคว้าทางแพทย์ ขอให้นักศึกษาสำ�นึกว่า มีบคุ คลผูห้ นึง่ ในประวัตศิ าสตร์ทร่ี เู้ รือ่ งหน้าทีก่ ารงานของม้ามและในปัจจุบนั เขาลืมความรู้นี้หมดเสียแล้ว” ในประเด็นของอวัยวะภายในและของจิตวิทยา ม้ามจึงเป็นอวัยวะ แห่งอิสระภาพ และแห่งวิญญาณ เป็นอวัยวะแห่งการจำ�กัดขอบเขตปกป้อง และเป็นเอกเทศ ในประเด็นของทางกาย ม้ามจะช่วยเหลือเราในระบบ ภูมคิ มุ้ กันโรค จะช่วยเหลือเราจำ�กัดขอบเขตปกป้องตัวฉันจากสิง่ ที“่ ไม่ใช่ตวั ฉัน” นั่นคือการจำ�กัดขอบเขตปกป้องต่อสิ่งภายนอก อย่างที่นักวิทยาภูมิคุ้มกัน ได้กล่าวไว้แล้วอย่างถูกต้อง ในกรณีเช่นนี้เราสามารถที่จะกระตุ้นระบบ ภูมคิ มุ้ กันโรค และระบบขับถ่ายทีอ่ อ่ นแอได้ แต่การกระตุน้ นีจ้ ะใช้งานได้เช่น กันถ้าจิตใต้สำ�นึกของจิตวิญญาณในอวัยวะหรือสัญชาตญาณนั้นล้มเหลวไป ในที่นี้การกระทำ�ของดาวพระเสาร์จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ถ้าการกระทำ�นี้ เปลี่ยนแปลงสูงขึ้นหรือตกต่ำ�ลงนั้นจะนำ�ไปสู่การจำ�กัดขอบเขตที่น้อยเกิน ไปหรือการจำ�กัดขอบเขตที่มากเกินไป – ในความหมายของวิญญาณ – ถ้า มนุษย์ไม่สามารถจะจำ�กัดขอบเขตปกป้องต่อความประทับใจจากสิง่ ภายนอก ได้และความประทับใจจะแผ่กระจายทั่วตัวเขาแล้วนั้น ในที่นี้มนุษย์จะไม่มี สิ่งป้องกันทั้งในทางกาย และวิญญาณ ตัวอย่างเช่น ความสับสนที่เกิดจาก ภูมิอากาศหรืออิทธิพลจากโลกภายนอก ในทางตรงกันข้ามมนุษย์ก็จะเกิดมี ความดื้อรั้นหัวแข็งขึ้น ในที่นี้เขาจะจำ�กัดขอบเขตปกป้องต่อสิ่งภายนอก ม้ามคืออวัยวะภายในของดาวพระเสาร์

27


อย่างที่เราได้รู้จักกันหรือเรียกกันว่าเป็น “คนแปลกประหลาดมีรสนิยมไม่ เหมือนชาวบ้านเขา (Spleen)” (Spleen, คำ�นี้มีความหมายสองแบบ แบบแรกแปลว่า เป็นคนแปลกประหลาด แบบที่สองแปลว่า ม้าม) กิจกรรม สุขภาพของม้ามที่สมบูรณ์แบบจะมีความหมายในที่นี้ว่า กิจกรรมนี้เป็นการ จำ�กัดขอบเขตปกป้องต่อสิ่งภายนอกของอวัยวะและวิญญาณ และในเวลา เดี ย วกั น กิ จ กรรมนี ้ ก ็ จ ะ “ย่ อ ย” สิ ่ ง ที ่ เราได้ ร ั บ เอามาเพื ่ อ ที ่ จ ะได้ เ กิ ด ความสัมพันธ์ขึ้นกับตัวของเราเอง ดังเช่นนี้แล้วเราจะเข้าใจได้ว่า ทำ�ไมตะกั่วจึงได้ถูกกำ�หนดเทียบให้ เป็นดาวพระเสาร์ และตะกัว่ จะมีความสำ�คัญในการบำ�บัดเทียบได้วา่ เป็นตัว ยาแบบโฮเมอโอพาธีย์ ถ้าตัวยามีความเข้มข้นสูงตะกั่วจะเป็นเหมือนเป็น ตัวยาพิษ และตัวยาพิษนีจ้ ะสังหารมนุษย์โดยจะทำ�ให้มนุษย์แข็งกระด้างเหมือน กระดูกและทำ�ให้อุณหภูมิในตัวลดลง – เป็นไปทั้งในกายและในวิญญาณ ถ้าตัวยามีความข้นน้อยตะกัว่ จะหลอมละลายมนุษย์ และมนุษย์กไ็ ม่สามารถ ที่จะสร้างกระดูกขึ้นได้ซึ่งเป็นสิ่งที่จำ�เป็นต่อสุขภาพที่สมบูรณ์แบบและต่อ การใช้ชีวิตในโลกนี้ ดังนั้นเราจึงจะเห็นได้ว่าตะกั่วที่เป็น “การดำ�เนินการทั้ง สองแบบของดวงดาว” ในความเข้มข้นที่ถูกต้องแล้วนั้นจะสามารถใช้บำ�บัด ในการต่อต้านทั้งในด้านการแข็งตัวของเนื้อเยื่อร่างกายและในด้านโรค กระดูกอ่อน อย่างที่เราเห็นได้จากกะบังโลหะตะกั่วป้องกันกัมมันตภาพรังสี การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ ตะกัว่ เป็นผูป้ อ้ งกันเราด้วย “วงแหวน” ต่อการกระทำ� อย่างรุนแรงจากทางภายนอกถ้าการกระทำ�ทั้งในทางกายและวิญญาณนี้ มีความสับสนเกิดขึ้น นอกจากนี้แล้วตะกั่วยังใช้ช่วยต่อต้านโรคภูมิแพ้ด้วย ในตัวอย่างที่ผู้เขียนได้ประสบมาในคลินิกของผู้เขียนเองคือ ผู้ป่วยผู้หนึ่งที่มี ปัญหาไม่เพียงแต่การกระทบกระเทกทางสมองจากอุบัติเหตุรถยนต์แล้วแต่ ก็ยังมีปัญหาการนอนหลับรวมอยู่ด้วย เพราะว่าเขายังได้ยินเสียงรถยนต์ชน ซึ่งเป็นความหวั่นกลัวอย่างมาก การรักษาโดยการฉีดยาด้วยตะกั่ว D20 ได้ แก้ ป ั ญ หานี ้ ไ ด้ อ ย่ า งรวดเร็ ว โดยตะกั ่ ว ได้ ไ ปกดความหวั ่ น กลั ว เอาไว้ 28

ม้ามคืออวัยวะภายในของดาวพระเสาร์


ในส่วนทางด้านสมองนัน้ การกระทำ�ของตะกัว่ จะมีประสิทธิภาพสูง ในแถบช่วงศีรษะด้านหลัง ทีเ่ ป็นส่วนทีเ่ ราจำ�กัดขอบเขตปกป้องอย่างหนาแน่น มากที่สุดในการต่อต้านโลกภายนอก และเป็นส่วนที่โรคกระดูกอ่อนจะไป ทำ � ให้ ก ระดู ก อ่ อ นเหลวเกิ ด ขึ ้ น อี ก อย่ า งมาก ในตำ � แหน่ ง ที ่ เราเรี ย กว่ า กระหม่อมหลังและในตำ�แหน่งทีพ่ ระคริสต์โกนผมตนออกในตำ�แหน่งทีช่ าวยิว ใส่หมวกทรงยิวและในตำ�แหน่งทีผ่ ชู้ ายส่วนมากจะมีผมร่วงเกิดขึน้ ในตำ�แหน่ง นี้การกระทำ�ของตะกั่วจะส่งรังสีเข้า ถ้าเราจะสัมผัสในตำ�แหน่งนี้แล้วเราจะ ได้รับความรู้สึกว่าจุดนี้มีรังสีความร้อนสูงเมื่อเปรียบเทียบกันส่วนอื่นๆของ ศีรษะ ในทีน่ เ้ี ราจะเข้าใจอย่างแน่แท้ได้วา่ เราจะต้องป้องกันศีรษะของเราใน เขตบริเวณนีอ้ ย่างเข้มข้นโดยเฉพาะอย่างยิง่ สำ�หรับเด็กเล็กและผูท้ ท่ี �ำ งานใน ด้านจิตวิญญาณ ในประสิทธิผลของการทำ�งานด้านวรรณคดีชวี ประวัติ (ไบโอกราฟฟี) แนวทางการปฏิบัติของดาวพระเสาร์ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ดาวพระเสาร์ ใช้เวลา 30 ปีในการหมุนเดินรอบดวงพระอาทิตย์ ในการพัฒนาชีวิตมนุษย์ นั้นเราสามารถที่จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาอายุ 30 ปีจะมีวิกฤติการณ์เกิดขึ้น และชีวติ เก่าก็จะสุดสิน้ ไปเพือ่ ทีจ่ ะให้ชวี ติ ใหม่สามารถเกิดขึน้ ได้ การเป็นไปนี้ จะเกิดขึ้นในวิญญาณ สิ่งที่เราคุ้นเคยและไว้วางใจจะสูญหายไปหรือจะถูก ปิดป้องอยู่ใต้จิตสำ�นึก ในที่นี้มนุษย์จะต้องผ่านความตายทางภายในเพื่อที่ จะได้มีการเกิดขึ้นใหม่ในจิตวิญญาณ ดาวพระเสาร์จงึ มีความหมายสำ�หรับการพัฒนาสุขภาพอย่างสมบูรณ์แบบ ในช่วงเวลาที่ไม่ใช่ทั้งช่วงต้นของวัยชรา และก็ไม่ใช่ทั้งช่วงที่ใช้เวลายาวนาน ในการมีชีวิตอย่างวัยรุ่น

ม้ามคืออวัยวะภายในของดาวพระเสาร์

29


ทิทาน โพรเมทอส (Titan Prometheus) ที่ถูกจับมัดอยู่ในหน้าผาเคาะคาสูส (Kaukasus) ทีน่ กอินทรี – เป็นความหมายของการเริม่ สูญเสียกำ�ลังการกระทำ�ทางสมอง – ในช่วงกลางวันมากินตับของทิทาน ในช่วงกลางคืนตับจะเปลี่ียนแปลงขึ้นมาใหม่ ดังนั้นแล้วตับจึงจะหลั่ง “น้ำ�ตา” ที่ขมขื่นออก: นั้นก็คือ น้ำ�ของถุงน้ำ�ดี


ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี

"ถ้

าพรุ่งนี้หากจะมีใครเขาบอกให้เรารับรู้ว่า เราจะ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับตับของเรา และจากนี้ ต่อไปเราเองสามารถเป็นผู้ออกคำ�สั่งให้ตับทำ�งานได้แล้ว เราจะมีความตระหนักใจเกิดขึ้นอย่างมาก เราจะทำ�หน้าที่ เป็นผู้ขับเครื่องบินบนเพดานบินสูงถึง 13,000 เมตร เหนือ เมืองเดนเวอร์ดกี ว่าทัง้ ๆทีเ่ ราเองก็เป็นเพียงแค่นกั ท่องเทีย่ ว เท่านัน้ เพราะว่าเราเองอาจจะยังมีความหวังว่าอาจจะสามารถ ทำ�ได้สำ�เร็จ แต่หากว่าเราหาร่มชูชีพเจอและรู้วิธีการเปิด ประตู แต่ถ้าเราจะต้องเป็นผู้ออกคำ�สั่งการงานของตับเอง ด้วยตนเองแล้ว เราจะช่วยเหลือตัวเราเองและตับไม่ได้ เพราะว่าตัวเราเองนั้นไม่เฉลียวฉลาดเท่ากับตับของเรา” ตามเทวตำ�นานของกรีกเทพเจ้าเซอุส (Zeus) หรือเทพเจ้าจูปีเตอร์ Jupiter (Jovis) ซึง่ เป็นผูร้ บั ทอดตำ�แหน่งของพระเสาร์ผเู้ สวยบุตรและเป็นผู้ ทีถ่ กู หลอกลวงให้เสวยก้อนหินแทนทีจ่ ะเป็นบุตร – (ในทีน่ เ้ี ราจะมองเห็นได้ อีกกับความสัมพันธ์ระหว่างดาวพระเสาร์กบั แร่ธาตุ/ของแข็ง) เทพเจ้าจูปเี ตอร์ จึ ง เป็ น พระเจ้ า รุ ่ น ใหม่ ท ี ่ ส ู ง ที ่ ส ุ ด ซึ ่ ง เป็ น การแสดงความหมายของ ความรู้ที่แท้จริง ความรอบคอบ ตัวกฎหมาย รูปทรงและพลังชีวิต อย่าง ที่เราคาดหวังไว้กับมนุษย์ที่ “ร่าเริงเบิกบาน” มนุษย์ผู้นี้จะเป็นผู้รับผิดชอบ ใ นก ารจ ั ด ก า ร แ ล ะ ควบคุ ม ต ่ อ ตับ การปฏิบตั กิ ารในชีวติ และการก่อสร้าง ใหม่ ใ นโลกนี ้ เ ช่ น เดี ย วกั บ ตั บ ที ่ เราเรียกว่าเป็น “ตัวนายพลทหาร” ในอวัยวะภายในของเราการปฏิบตั กิ าร ของดาวพระพฤหัสบดี คือการก่อสร้าง รูปทรงและโครงสร้างจากเบื้องบนต่อ

ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี

31


อวัยวะภายใน ดังนั้นเราจะพบได้ในบริเวณเขตศีรษะในแนวเว้าพูนหน้าผาก ด้วยความสูงของหน้าผากนี้เราจึงเรียกกันว่าเป็น“หน้าผากจูปเี ตอร์”ซึง่ เป็น สัญลักษณ์ทแ่ี สดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดและความรูท้ แ่ี ท้จริง เช่นเดียวกัน กับต่อมใต้สมองที่เป็นผู้มีอิทธิพลควบคุมต่อต่อมฮอร์โมนต่างๆที่อยู่ภายใต้ ต่อมใต้สมองนี้ จะมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการของดาวพระพฤหัสบดี อย่างทีไ่ ด้กล่าวมาในเบือ้ งต้นแล้วนัน้ เราจะพบกับแนวโค้งของอวัยวะภายใน บางอวัยวะและโครงกระดูกเป็นสัญลักษณ์ของโลกจักรวาล ในส่วนเบื้องบน ของมนุษย์เราจะพบกับการกระทำ�แบบ “รูปปัน้ ” ถ้าอวัยวะภายในแข็งแกร่ง หรือเป็นโครงกระดูก หรือว่าอวัยวะภายในอยู่ในสภาพอ่อนเหลว ดังนั้นการ กระทำ�แบบปัน้ ทางกายจะเป็นไปไม่ได้ การปฏิบตั กิ ารของดาวพระพฤหัสบดี จะออมเก็บไว้ และจะได้รับโครงสร้างที่อยู่ในระหว่างอ่อนเหลวเกินไปกับ แข็งแกร่งเกินไป แร่ธาตุในโลกของเราทีม่ คี วามหมายเช่นเดียวกันนีค้ อื แร่ดบี กุ (Stannum) ในปฏิ ก ิ ร ิ ย าทางเคมี ด ี บ ุ ก จะควบคุ ม ความสมดุ ล ระหว่ า ง ความแข็งแกร่งและความอ่อนเหลวได้ดมี าก ดังนัน้ ดีบกุ จึงเป็นโลหะทีเ่ หมาะ สำ�หรับการผลิตกระป๋องของอุตสาหกรรมอาหารบริโภค (ภาษาอังกฤษ “tin” แปลว่าดีบุก แต่ก็แปลว่ากระป๋องได้ด้วย) เราจะพบดีบุกเป็นจำ�นวน มากในแถบคาบสมุทรทีแ่ ผ่นดินและทะเลสัมผัสกัน โดยอวัยวะลิน้ ของเรานัน้ เป็นอวัยวะรับรสชาติ มีกล้ามเนื้อซึ่งมีดีบุกอยู่เป็นจำ�นวนมาก ดังนั้นลิ้นจึง เป็นอวัยวะที่คล้ายกับ “คาบสมุทร” ที่มีน้ำ�เหลว (น้ำ�ลาย) ล้อมอยู่ สิ่งนี้ชี้ แนะให้เห็นถึงปรากฎการณ์มหัศจรรย์ระหว่างประสบการณ์ทางรสชาติกับ การปฏิบัติการของตับว่า สิ่งทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพราะว่า รสชาตินั้นเราสามารถจะรับรู้ได้ถ้าเราได้ละลายสิ่งนั้นด้วยน้ำ�ลาย ดังนี้แล้ว จะกล่าวได้ว่าการปฏิบัติอย่างหลากหลายของตับจึงเป็นเหมือนกับว่าเป็น “อวัยวะรับรสชาติ” ที่เร็วไวต่อการสัมผัส “รับรสชาติ” ของโลกภายนอกที่ เป็นอาหารบริโภคเพื่อที่จะตัดสินใจอย่างเป็น “นายพล” ได้ว่า อะไรจะเกิด ขึ้นกับสสารในอาหารและในกรณีที่มีข้อสงสัยเกิดขึ้นก็จะทำ�ลายศัตรูเพื่อ อวัยวะภายในทั้งหมด ด้วยความสัมพันธ์ที่มีกับเส้นเลือดดำ�ใหญ่ 32

ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี


ในอวัยวะภายในนั่นก็คือพอร์ทัลหลอดเลือดดำ� (Vena portae) เราจึง สามารถเรียกตับว่าเป็นอวัยวะที่เน้นมาทางเส้นโลหิตดำ�ซึ่งเป็นผู้ควบคุมเส้น โลหิตดำ�ทั้งหมด เส้นเมอริเดียนของแพทย์จีนจะผ่านทางด้านในของต้นขา ผ่านหลอดโลหิตดำ� (Vena saphena) ซึง่ จะมีลม่ิ เลือดทีท่ �ำ ให้เส้นเลือดอุดตัน และเกิดการอักเสบขึ้น ดังนั้นการรักษาโรคเจ็บป่วยทางหลอดเลือดโลหิตจึง ต้องให้การบำ�บัดตับด้วยเมล็ดของดอกดีสตัล (Distelsamen) เพิ่มขึ้นเพื่อ เป็นการสนับสนุนในการรักษาบำ�บัด สิง่ น่าสนใจทีแ่ พทย์จนี รวบรวม “นายพล” ตับว่า ในด้านหนึง่ เป็นฤดู กาลใบไม้ผลิซึ่งเต็มไปด้วยน้ำ�หล่อเลี้ยงชีวิตที่เริ่มแตกดอกและแตกหน่อ และในอีกด้านหนึง่ เป็นธาตุ “ไม้” ทีใ่ ห้ตน้ ไม้เป็นสัญลักษณ์ ถ้าเรานำ�เอาภาพ นี้มาพิจารณาแล้วเราสามารถจะเข้าใจถึงการทำ�หน้าที่การงานของตับได้ ต้นไม้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะมีรากยึดในแผ่นดินอย่างแข็งแกร่ง จากรากนี้ ต้นไม้จะดูดน้ำ�มาใช้และมีเปลือกไม้ห่อหุ้มเอาไว้ซึ่งทำ�ให้ต้นไม้ไม่เปียกมาก และไม่แห้งมากในตอนแรกเริ่มของการเจริญเติบโต ต้นไม้มีความสามารถ เข้ า กั บ สิ ่ ง แวดล้ อ ม อ่ อ นนุ ่ ม และอยู ่ ค งสภาพได้ ด ี ม ากในทุ ก ๆฤดู ก าล คุณสมบัตขิ อง “น้�ำ หล่อเลีย้ งอวัยวะ” ทัง้ ในทางกายและวิญญาณภายใน และ ของความมั่นคงนั้นเราจะรู้เห็นได้จากตับ ตับจะนำ�เราเข้าสู่แผ่นดินด้วย การย่อยต่อสิ่งบริโภคที่เราได้รับเอามา อวัยวะน้ำ�และอวัยวะชีวิตแห่งโลก จักรวาลนี้จะถูกผูกดึงเอาไว้ในโลกแผ่นดินด้วยการใฝ่หาและตัณหาทาง การบริโภคของเราอย่างเช่นเดียวกันกับ ทิทาน โพรเมทอส (TitanPrometheus) ที ่ ถ ู ก จั บ มั ด อยู ่ ใ นหน้ า ผาเคาะคาสู ส (Kaukasus) ที ่ น กอิ น ทรี – เป็ น ความหมายของการเริ่มสูญเสียกำ�ลังการกระทำ�ทางสมอง–ในช่วงกลางวัน มากิ น ตั บ ของทิ ท าน ในช่ ว งกลางคื น ตั บ จะเปลี ่ ย นแปลงขึ ้ น มาใหม่ ดังนั้นแล้วตับจึงจะหลั่ง “น้ำ�ตา” ที่ขมขื่นออก: นั่นก็คือน้ำ�ของถุงน้ำ�ดี การทำ�งานของตับที่เป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบนั้นจะนำ�เราไปสู่ บุคลิกภาพทีส่ ามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ทง้ั ทางกายและวิญญาณ ซึ่งรวมไปถึงทั้งกำ�ลังแห่งความริเริ่มสร้างสรรค์ด้วย ถ้าการทำ�งานเช่นนี้ถูก ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี

33


ทำ�ลายไปมนุษย์เราจะเหีย่ วแห้ง ถึงแม้วา่ มนุษย์จะยังคงมีอดุ มคติอย่างมากมาย อยูใ่ นสมอง แต่มนุษย์กจ็ ะไม่สามารถนำ�เอาอุดมคตินใ้ี ห้เข้ามาอยูใ่ นจุดประสงค์ ในการทำ�งานตนเองได้ เขาจะขาดกำ�ลังแรงผลักดัน และไม่สามารถปรับตัว ให้เข้ากับสถานการณ์ได้อย่างเช่นเดียวกันกับสิ่งที่เราได้มีประสบการณ์ จากการเริ่มต้นของความหดหู่สะเทือนใจที่เราเรียกกันว่า เป็นโรคทางจิตที่มี อาการซึมเศร้า เสียงพูดจะกรอบกระด้างและแห้ง มนุษย์ผนู้ ข้ี าดน้�ำ หล่อเลีย้ ง นั่นคือขาดอารมณ์ขำ�ขัน (humor ในภาษาลาติน “อารมณ์ขำ�ขัน” แปลว่า ของเหลวที่หล่อเลี้ยงร่างกาย) กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและกระดูกข้อต่อจะ “เหีย่ วแห้ง” ทัง้ นีก้ จ็ ะรวมไปถึงน้�ำ หล่อเลีย้ งในดวงตาด้วย ตัวของตับเองนัน้ ก็จะเจ็บปวดทุกข์ทรมานอย่างมากที่สุด ถ้าตับนั้นแข็งกระด้างและหยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวเป็นไปอย่างที่เรารู้จักกันในโรคตับแข็ง ในที่นี้โรคไข้หวัดเรื้อรัง ในช่องท้องจะมีส่วนร่วมกระทำ�อยู่ด้วยอย่างที่เรารู้จักและเรียกกันว่า (“ไข้หวัดใหญ่ในท้อง”) ที่มาจากในตัว ตัวอย่างเช่น พลังงานความร้อนของ ตับจะถูกทำ�ลายไปด้วยเครื่องดื่มเย็นซึ่งจะทำ�ให้ตัวตับเองนั้น “หดตัวลง” และจากการอักเสบ (โรคตับอักเสบ) ก็จะสามารถกลายเป็นอวัยวะเสือ่ มสภาพ ได้ แต่ในด้านตรงกันข้ามสภาพเช่นนี้ก็สามารถจะเกิดขึ้นได้ถ้ามีการเป็นไป ในสภาพทีเ่ หมือน “ไม้” ถูกเผาไหม้อย่างรุนแรงและสภาพผิวหน้าแดง ใจร้อน และโกรธง่ายหรือเปลี่ยนความนึกคิดอย่างรวดเร็วก็จะเกิดขึ้น ถ้ า เราได้ ร ู ้ จ ั ก กั บ การทำ � งานของดาวพระพฤหั ส บดี ต ่ อ ตั บ แล้ ว ดังนั้นเราเข้าใจด้วยว่า ทำ�ไมโลหะดีบุกจึงชี้ให้เห็นในสภาพไข้ที่มาจากการ เหี่ยวแห้งทางกายและวิญญาณอย่างเช่นในโรคข้อต่ออักเสบ ข้อต่อแข็ง โรคผิวหนังหรือโรคซึมเศร้าที่ขาด “การกระตุ้น” และอย่างที่เราใช้พูดใน คำ�พังเพยว่า “ความสดชืน่ ทีอ่ อกไปจากตับ (Frisch von der Leberweg)” ได้ สภาพเช่นนี้จะปรากฏขึ้นกับการขาดกำ�ลังชีวิต เอ็นและกล้ามเนื้อหดตัว เลนส์ดวงตามัว (Cataract) และโรคต้อหิน (Glaucoma) จากการขาดน้�ำ เลีย้ ง ในดวงตาและเยื่อเมือกหรือตรงกันข้ามจากน้ำ�หล่อเลี้ยงมากที่ทำ�ให้อวัยวะ ไม่สามารถจะปรับตัวตามสภาพได้ เช่น ถุงน้ำ�อักเสบ (Cysts) น้ำ�ซึมซ่าน 34

ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี


น้ำ�ที่ปล่อยออกมา โพรงจมูกอักเสบ (sinusitis) และขากรรไกรอักเสบ (sinus infection) เราสามารถจะสรุปรวมอย่างสั้นๆว่า การทำ�งานของตับต่ออวัยวะ ต่างๆนั้นเป็นการควบคุมดูแล “ความชุ่มชื้น” และการหลั่งไหลของน้ำ�ชีวิต อย่างสมบูรณ์เพื่อจะให้กำ�ลังชีวิตสามารถแทรกซึมเข้ามามีความสัมพันธ์กัน ภายในระหว่างดวงตากับตับนั้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก การใช้ดวงตารับความ รู้สึกสัมผัสจากสิ่งแวดล้อมอย่างหลากหลายมากเกินไปนั้นจะทำ�ลายกำ�ลัง ชีวิต และการทำ�งานของตับอย่างผิดปกติจะเกิดขึ้นที่การแสดงออกด้วย ความเหนื่อยล้าในดวงตา หากเราอัดอั้นความโกรธและความขุ่นเคืองใจเอา ไว้เป็นจำ�นวนมากแล้วการทำ�งานของตับจะผิดปกติ การร้องไห้หลัง่ น้�ำ ตาจะ สามารถบำ�บัดรักษาตับได้ด้วยตนเอง หน้าที่การงานทั้งหลายของตับนั้นจะ แสดงออกให้เห็นว่าตับมีอิทธิพลสูงในระบบการเผาผลาญในร่างกาย อย่าง เดียวกับในลำ�ไส้ที่เผาไหม้ของสสารที่เรารับเอาเข้ามาในตัว ดังนั้นสสารก็จะ ถูกก่อสร้างขึ้นใหม่ในตับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเผาไหม้ของระบบแป้ง และน้ำ�ตาลนั้นตับมีการกระทำ�ที่ดีเลิศ โดยตับจะเก็บน้ำ�ตาลเอาไว้ซึ่งเป็น เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ตับต้องเอาใว้ใช้เอง และในส่วนใหญ่แล้วตับจะให้ น้�ำ ตาลกับอวัยวะต่างๆซึง่ เป็นการกระทำ�ร่วมงานกับต่อมตับอ่อน ถ้าอวัยวะมี น้ำ�ตาลมากตับก็จะดึงเอาน้ำ�ตาลออก ถ้าอวัยวะขาดน้ำ�ตาลตับก็จะให้ ในที่ นี้ตับจะแสดงการกระทำ�หน้าที่เป็นในจังหวะเวลาอย่างที่น่าสนใจและขึ้นอยู่ กับดวงอาทิตย์ด้วย: ในช่วงระยะเวลาระหว่างตี 2 ถึงตี 3 นั้นเป็นเวลา การสะสมน้ำ�ตาลที่เป็นอาหารไปเสริมสร้างเนื้อเยื่อ (Assimilation) น้ำ�ตาล นี้เป็นน้ำ�ตาลที่มาจากสัตว์หรือที่เราเรียกกันว่าไกลโคเจน (Glycogen) การสะสมจะได้รับเป็นจำ�นวนที่สูงสุดในเวลานี้ หลังจากเวลาไปนี้แล้วตับก็ จะส่งน้�ำ ตาลให้แก่เลือดไปจนถึงช่วงบ่ายเย็น เพือ่ ทีจ่ ะใช้ส�ำ หรับการทำ�หน้าที่ การงานในเวลากลางวันและพลังความนึกคิดของเราน้�ำ ตาลนีจ้ ะใช้ในกล้ามเนือ้ หรือใช้ในพลังการกระทำ�ต่างๆรวมถึงหล่อเลี้ยงสมองโดยได้รับความร่วมมือ ช่วยเหลือจากธาตุฟอสฟอรัส (phosphorus) หากเข้าใจได้ว่า ทำ�ไมน้ำ�ตาล ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี

35


และการทำ�หน้าทีข่ องตับอย่างสมบูรณ์แบบจึงเป็นความสำ�คัญต่อการกระทำ� ตามพลังจุดประสงค์ของเรา – และการกระทำ�เช่นนี้จะเป็นการกระทำ�ใน ความนึกคิดทีเ่ ต็มไปด้วยอันตรายอย่างมากทีว่ า่ เรานำ�เอาน้�ำ ตาลเทียมมาหลอก ส่งให้กับตับ – และทำ�ไมตับจึงมีความสัมพันธ์กับความซึมเศร้า “โรคทางจิต ทีม่ อี าการซึมเศร้า” ทีบ่ างทีเราก็พยายามต่อสูด้ ว้ ยขนมหวานตามความคิดเห็น ของแพทย์จีนแล้วช่วงเวลาระหว่างตี 1 ถึงตี 3 นั้นจะเป็นเวลาสำ�หรับตับ ถ้าท่านผู้ใดตื่นในช่วงเวลานี้สม่ำ�เสมอหรือไม่เข้านอนในช่วงเวลาระหว่าง 5 ทุม่ ถึงตี 1 (เวลาของถุงน้�ำ ดี) และในช่วงเวลาระหว่างตี 1 ถึงตี 3 นัน้ ท่านจะ มีปัญหาในระบบทางการขับถ่ายเผาไหม้ที่มาจากตับและถุงน้ำ�ดีซึ่งจะแสดง ออกทางระบบการย่อยอาหาร ทางการฟื้นฟูสดชื่นใหม่ และทางความเหน็ด เหนื่อยอ่อนเพลียถึงแม้ว่าได้นอนหลับเต็มที่ก็ตาม ทางอารมณ์หงุดหงิดโดย เฉพาะอย่างยิง่ ในช่วงเวลาเช้า ทางการกระหายน้�ำ หรือสูญเสียกำ�ลังกายและ กำ�ลังใจ เช่น ผมร่วง และเป็นสิง่ ทีไ่ ม่เกีย่ วข้องกับสภาพของตับ อย่างไรก็ตาม เขาจะมีปัญหาทางอวัยวะภายใน บทบาทการควบคุมของตับกับระบบน้ำ�ที่โดยทั่วไปแล้วจะบอกว่า ระบบน้ำ�เป็นหน้าที่ของไตนั้น รวมบทบาทความสัมพันธ์กับน้ำ�ที่เราดื่มเป็น สิ่งที่เราต้องสนใจต่อไปอีกเมื่อเราจะมาพูดถึงการเป็นไปของตับกับทางธาตุ อย่ า งไรก็ ต ามหากเรารู้ว่าตับเป็นศูนย์ก ลางของการรั บผิ ด ชอบอวั ย วะ แห่งระบบการควบคุมน้ำ�สำ�หรับความหิวกระหาย แพทย์จนี นัน้ กล่าวว่าตับจะถูกเชือ่ มโยงกับรสเปรีย้ ว อาหารรสเปรีย้ ว จะทำ�ให้เรามีชวี ติ ชีวาเกิดขึน้ ถ้าเราเหน็ดเหนือ่ ยอ่อนเพลียมา เราจะมีความรูส้ กึ ในตัวของเรามากและเราจะเข้าใจในคำ�พูดที่ว่า “รสเปรี้ยวจะทำ�ให้ร่าเริง” น้�ำ ขังภายในเช่นในโรคเซลล์เนือ้ เยือ่ อักเสบ (Cellulitis) นัน้ เราใช้มะนาวเป็น การบำ�บัดทางภายนอกได้ดแี ละช่วยได้มากกับการใช้ผสมกับน้�ำ ทีใ่ ช้อาบ หรือ ช่วยได้มากในช่วงฤดูร้อนถ้าเราเหงื่อออกมาก เมือ่ มามองดูจงั หวะเวลาการเป็นไปของดวงดาวพฤหัสบดีอกี ครัง้ หนึง่ จะเห็นได้ว่าดวงดาวพฤหัสบดีนั้นใช้เวลาถึง 12 ปีเพื่อที่จะเดินหมุนรอบ 36

ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี


ดวงอาทิตย์ได้ ถ้าเราจะมามองดูในชีวประวัติของมนุษย์แล้วเราจะพบกับ ข้อชี้แนะในการแสดงออกทางวิญญาณของเด็กวัยรุ่นในช่วงอายุ 12 ปีที่ เราควรจะต้องดูอย่างรอบคอบ ถ้าเรามาดูจากภาพของพระเยซูในโบสถ์ที่ ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนม์ 12 พรรษา พระองค์ได้สร้างความประทับใจ ให้แก่พระผู้สูงอายุทั้งหลายด้วยความรู้ที่แท้จริง

ตับคืออวัยวะภายในของดาวพระพฤหัสบดี

37


พระอังคาร (มาร์ส) เป็นเทพนักรบในตำ�นานเทพปกรณัมโรมัน คุณลักษณะของพระองค์คอื หอกเหล็ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นผู้ชาย และการทำ�ลาย อย่างเช่นเดียวกับน้ำ�ในถุงน้ำ�ดีที่ต้องย่อย (ทำ�ลาย) อาหาร (ไขมัน)


ถุงน้ำ�ดีคืออวัยวะภายในของดาวพระอังคาร

ส่

วนมากแล้วเราเชือ่ มโยงความสัมพันธ์ของถุงน้�ำ ดีกบั ความโกรธ โมโห และความเดือดดาล อย่างคำ�พังเพยที่ว่า “พ้นพิษ และถุงน้ำ�ดี” หรือว่า “น้ำ�ในถุงน้ำ�ดีล้น” น้ำ�เสียงที่มาจากถุงน้ำ�ดี และตับ จะเป็นน้�ำ เสียงดังและเป็นน้�ำ เสียงตะโกน ม้ามจะเป็นผูเ้ ตรียมผลิตน้�ำ ในถุงน้�ำ ดี โดยการทำ�ลายเลือดเก่าการผลิตน้ำ�ในถุงน้ำ�ดีนี้ก็จะเป็นการกระทำ�ในขั้น ต่อไปอีกในตับและก็จะนำ�ส่งเข้าสู่ถุงน้ำ�ดีอีก ในที่นี้น้ำ�ในถุงน้ำ�ดีก็ยังคงเป็น น้ำ�สีเหลืองอยู่ซึ่งต่อไปก็จะออกเป็นลิ่มสีน้ำ�ตาลเขียวที่ส่วนใหญ่แล้วน้ำ�ใน ถุงน้ำ�ดีนี้จะใช้เป็นการย่อยไขมันในลำ�ไส้เล็ก ไขมันที่มาจากอาหารนั้นจะ ผสมกั บ กรดถุ ง น้ ำ � ดี ซ ึ ่ ง ตั บ ได้ ผ ลิ ต กรดนี ้ จ ากคอลเลสเตอรอลออกเป็ น ของเหลวสภาพหนืดเพือ่ ทีจ่ ะให้ตบั อ่อนสามารถดำ�เนินการต่อไปได้สว่ นมาก แล้วทางออกของถุงน้ำ�ดีและทางออกของตับอ่อนก็จะมาบรรจบกันที ่ ลำ�ไส้เล็ก จากความสัมพันธ์ระหว่างถุงน้�ำ ดีกบั ธาตุเหล็กในเลือด (ฮีโมโกลบิน) นั้น – ความสัมพันธ์นี้ชี้ให้เห็นว่าสีของน้ำ�ในถุงน้ำ�ดีนี้มาจากการทำ�ลายเม็ด เลือดแดงที่มีธาตุเหล็กผสมอยู่ – และกำ�ลังของการเผาผลาญที่เป็นไปอย่าง รุนแรงแต่ทว่าเป็นไปด้วยความจำ�เป็นนั้น จึงได้ถูกมอบหมายความสัมพันธ์ นี้ให้เป็นดาวพระอังคาร นั่นคือธาตุเหล็ก จากการค้นคว้าทางกายเหตุจิต (ไซโคโซแมททิค Psycosomatic) แล้ว เราได้รับผลที่แสดงออกว่าความโกรธโมโหมีอำ�นาจอิทธิพลที่เป็นไปใน ทางร้ายต่อตับและถุงน้�ำ ดี ซึง่ เปลีย่ นแปลงตนทัง้ ในองค์ประกอบทางเคมีของ ตับและถุงน้�ำ ดี ความโกรธโมโหนับได้วา่ เป็น “ความประสงค์ทถ่ี กู กดดันเอาไว้” เราจะรับรูใ้ นวิญญาณของเราว่าเป็นการยับยัง้ ขัดขวางอย่างมากและจะยับยัง้ การไหลของน้ำ�ในถุงน้ำ�ดี ดังนั้นแล้วการระงับการไหลของน้ำ�ในถุงน้ำ�ดี ถุงน้ำ�ดีคืออวัยวะภายในของดาวพระอังคาร

39


ไปจนถึงโรคนิ่วน้ำ�ดีก็จะสามารถมีผลเกิดขึ้นได้ ธาตุเหล็กนี้จึงเป็นสิ่งที่เป็น สำ�หรับการดำ�เนินการทางการป้องกันทางวิ ญญาณและทางกายอย่า งเช่ น เดียวกันกับพิษของผึ้งหรือหนามของ ต้นกระบองเพชร ถ้ามนุษย์มกี �ำ ลังของ ธาตุเหล็กน้อยทั้งในทางวิญญาณและ ทางกายแล้วน้�ำ เสียงของเขาจะกระด้าง เขาจะไม่มีภูมิต้านทานตัวของเขาจาก การติดเชือ้ โรคหน้าตาของเขาจะซีดเซียว เหน็ดเหนือ่ ยง่ายและจะกล้�ำ กลืน และ ถุงน้ำ�ดี ยอมที ่ จ ะถู ก ดู ถ ู ก อย่ า งจำ � นน เพราะว่ า เขาไม่ ส ามารถเอาชนะต่ อ โลก ภายนอกได้ สำ�หรับมนุษย์แล้วมันจะเป็นสิ่งที่ดีถ้ามนุษย์เรามีสภาพเป็น “ถุงน้ำ�ดี” ได้บ้าง สิ่งนี้จะแสดงให้เห็นได้ทางเลือดด้วยโดยมีกรดถุงน้ำ�ดี จำ�นวนหนึ่งหมุนไหลเวียนร่วมอยู่ ในทีน่ ผ้ี เู้ ขียนอยากจะเล่าถึงคนไข้ผหู้ นึง่ ซึง่ เป็นผูท้ ไ่ี ด้รบั ประสบการณ์ จากความเจ็บป่วยทางกาย โดยเป็นผลลัพธ์ที่มาจากการถูกกดดันจากทาง ภายนอก คือ เขาเป็นคนที่มีความนึกคิดหลากหลายและเป็นผู้ริเริ่ม ในที่ ทำ�งานของเขานั้นเขาถูกผู้จัดการกดดันขัดขวางไม่ให้เขาทำ�ตามเจตนาที่ ตั้งใจของเขา เขาอดกลั้นความผิดหวังนี้มาเป็นเวลานาน และในที่สุดเขาก็มี โรคดีซ่าน (icterus) อย่างหนักที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหันซึ่งไม่ได้มาจากการ ติดเชือ้ โรค ในทีน่ แ้ี พทย์ไม่สามารถทีจ่ ะระบุหาสาเหตุทางตับและทางถุงน้�ำ ดี ได้ อย่างในคำ�พังเพยที่ได้กล่าวว่าน้ำ�ในถุงน้ำ�ดีนี้ไหลท่วมตัวเขา และสิ่งที่ กีดขวางพลังเจตจำ�นงของเขาที่มีต่อทางภายนอกนั้นมีความสัมพันธ์อย่าง กระชิดกับการทำ�งานของถุงน้ำ�ดี สิ่งที่กีดขวางความตั้งใจของเขานั้นก็ได้ กลับกลายมาเป็นคู่ต่อสู้กับตัวเขาเอง ตามความเห็นของแพทย์จนี เส้นเมอริเดียนของถุงน้�ำ ดีจะวิง่ ผ่านด้าน ข้างของกระโหลกศีรษะและผ่านขมับ ความเจ็บปวดหรือผืน่ คันในบริเวณแดน นีจ้ ะชีใ้ ห้เห็นถึงความสัมพันธ์ในการกระทำ�ของถุงน้�ำ ดี ในธรรมชาติเราจะพบ 40

ถุงน้ำ�ดีคืออวัยวะภายในของดาวพระอังคาร


กับพืชบำ�บัดถุงน้ำ�ดี 2 ชนิดที่มีประสิทธิภาพสูงที่ควบคุมไม่เพียงแต่ช่วยใน การย่อยอาหารเท่านัน้ แต่ยงั เข้าลึกไปกว่าระบบการเผาใหม่อกี มากจนไปถึง ระบบสมองประสาทและผิวหนัง พืชบำ�บัดทั้งสองนี้ คือ Chelidonium majus และ Cichorium intybus

Chelidonium majus

Cichorium intybus

ถุงน้ำ�ดีคืออวัยวะภายในของดาวพระอังคาร

41


สูรยะ (Surya) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่งทีมีอำ�นาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย (12 องค์) และเป็นสัญลักษณ์แห่งพระอาทิตย์ หัวใจซึ่งเป็นแหล่งกำ�เนิดของชีวิตและดวงอาทิตย์ซ่ึงเป็นแหล่งกำ�เนิด ของโลกใบเล็ก ในทำ�นองเดียวกันดวงอาทิตย์จึงสมควรที่จะได้รับการกล่าวว่าเป็น “หัวใจของโลก”


หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

"ดั

งนั้นหัวใจจึงเป็นแหล่งกำ�เนิดของชีวิตและ ดวงอาทิตย์กเ็ ป็นแหล่งกำ�เนิดของโลกใบเล็กใน ทำ�นองเดียวกันดวงอาทิตย์จึงสมควรที่จะได้รับการกล่าว ว่าเป็น “หัวใจของโลก” ด้วยกำ�ลังความสามารถ และ การเต้นของหัวใจเลือดจึงจะถูกนำ�ไปสู่การเคลื่อนไหวไป สูค่ วามเป็นไปอย่างสมบูรณ์ และไปสูก่ ารเลีย้ งดูบ�ำ รุงรักษา และจะปกป้องความเสียหายและความสิ้นสภาพจาก การบริโภคการเก็บความร้อนและการให้พลังงานใหม่ หัวใจจึงสามารถทำ�งานรับใช้กับร่างกายทั้งหมด หัวใจจึง เป็นพืน้ ฐานของชีวติ เป็นแหล่งกำ�เนิดของการเป็นไปทัง้ หมด – หัวใจของสิ่งที่มีชีวิตจึงเป็นหลักสำ�คัญของชีวิตเป็น หัวหน้าเผ่าของโลกใบเล็กแห่งดวงอาทิตย์ที่สิ่งมีชีวิตต้อง ขึ้นอยู่ด้วย อันส่องแสง ความชื่นบาน และเป็นพลังงาน”

หากผู้ใดต้องการจะพูดถึงเรื่องหัวใจซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของชีวิต และอวั ย วะแห่ ง ความรู ้ ส ึ ก แล้ ว เขาจะมี ค วามคิ ด เห็ น เช่ น เดี ย วกั บ เลียวโอนาโด ดา วินชี (Leonado da Vinci): “เราจะเขียนบอกเล่าเรื่อง หัวใจอย่างไรได้โดยปราศจากการเขียนหนังสือออกมาเต็มเล่ม?” เช่นนั้นแล้วสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งที่สำ�คัญที่ว่าในโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วย โรคหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง การเปลี่ยนถ่ายปลูกหัวใจใหม่ การใช้ ชีวิตที่ไม่เป็นไปตามจังหวะเวลาชีวิตและความมี “ใจดำ�” เราต้องพยายาม แสวงหาความเข้าใจและก็ต้องยอมรับว่า การเอารูปแบบทางเทคนิคมาใช้ กับศูนย์กลางของอวัยวะชีวิตของเราว่าเป็น “ปั้ม” นั้นจะเป็นคำ�ถามที่เรา ควรจะต้องมาพูดถึงกันใหม่ จากการเต้นเป็นจังหวะนั้นเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิด จิ ต สำ � นึ ก รั บ รู ้ ข ึ ้ น ในตั ว เราเอง และในทุ ก วั น นี ้ ค วามคิ ด เห็ น เช่ น นี ้ หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

43


ก็ได้เริ่มเกิดขึ้นมาเรื่อยๆกับแนวทางความคิดเห็นด้านวิทยาศาสตร์ ในวรรณคดี เทพนิยาย นิทาน เทวตำ�นาน และในเรือ่ งเล่าต่างๆนัน้ จะไม่มีอวัยวะภายในอย่างใดเลยที่มีความสำ�คัญมากไปกว่าหัวใจ–รวมทั้งใน ความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ด้วย – คำ�พูดพังเพยในเรื่องของหัวใจนั้นมีมาก เช่น “ตกไปอยู่ในกางเกง” หรือ “กระโดด” ด้วยความดีใจ เราสามารถ “เสียดวงใจ” ให้กับคนอื่น เราสามารถจะ“ใส่ใจ” ได้ (หัวใจในภาษาฝรั่งเศส เรียกว่า “cœur” เป็นคำ�ที่แปลงขยายต่อไปได้อีกเป็น “courage” แปลว่า ความกล้าหาญ หรือแปลงต่อไปอีกออกมาเป็นคำ�ว่า “couragiert” แปลว่า ความใจกล้า) หรือจะมีความเป็น “ใจดำ�” ได้ การเก็บประสบการณ์ไว้ให้ลึก ซึ้งในใจนั้น – สิ่งนี้ก็คือความจำ� – จะพูดถึงความสัมพันธ์กับหัวใจทั้งใน ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส (“to learn by heart” และ “apprendre par cœur”) พลังความสามารถในการปฏิบัติงานของหัวใจนั้นมีมากหลาย และ เหนื อ กว่ า กำ � ลั ง การจิ น ตนาการทั ้ ง หลายด้วยโดยเฉลี่ยแล้วหัวใจจะเต้น ประมาณ 100,000 ครั ้ ง ต่ อ วั น แต่ถ้าคิดว่าเรามีอายุ 70 ปี หัวใจ จะ เต้ น เกื อ บ 3 พั น ล้ า นครั ้ ง อย่ า งไม่ เหน็ดเหนือ่ ย ถึงแม้วา่ เราจะดืม่ กาแฟ สูบบุหรี่และดื่มเหล้าก็ตามทุกๆ วัน หั ว ใจก็ จ ะต้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ผ ลิ ต หัวใจ ส่งพลังงานให้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เปรียบเทียบได้เท่ากับการยกลากถังน้ำ� 10 ลิตรขึ้นไปยังบนหอสูง 200 เมตรอย่างเช่นนั้น ในแนวความนึกคิดของชาวอียิปต์อาจจะพบว่า หัวใจนี้เป็นสถานที่ แห่งความทรงจำ� ของสติสัมปชัญญะ และแห่งความรู้สึกสัมผัสต่อโชคชะตา หัวใจของเราจะสามารถถูก “หัก” ได้ถ้าเราได้รับความทนทุกข์ทรมานจาก ชะตากรรม หรือเราไม่สามารถที่จะดำ�รงฐานะต่อสภาพชีวิตได้ สภาพชีวิต 44

หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์


อย่างที่เป็นการตรวจสอบตัวเราเข้าไปลึกจนถึง “หัวใจและไต” ในทางตรง กันข้ามการเปลีย่ นแปลงทางอวัยวะในหัวใจก็จะมีผลต่อชีวติ วิญญาณของเรา อย่างยาวนาน จากการตรวจสอบคนไข้หลังจากการผ่าตัดต่างๆแสดงให้เห็น ว่า มีบุคคลจำ�นวนมากหลังจากการผ่าตัดทางเลี่ยงการเดินหลอดเลือดแดง เลีย้ งหัวใจ (Angina Pectoris) แล้วความทรงจำ�ซึง่ เป็นความสามรถในความ นึกคิดอย่างแคล่วคล่อง และชีวิตในความรู้สึกก็จะเสื่อมคุณภาพไป โดยหลัง จากที่ได้ผ่าตัดไปแล้วหนึ่งปี ผู้ป่วยก็ยังมีความเจ็บปวดทุกข์ทรมานต่อไปอีก คือ เป็นความซึมเศร้าอย่างหนักและมีอารมณ์หงุดหงิดแปรปรวนง่าย การเปลี่ยนแปลงบุคลิกลักษณะอย่างมากก็จะเกิดขึ้นหลังจากได้มีการผ่าตัด เปลี่ยนหัวใจไป หลังจากการผ่าตัดแล้วการเจ็บป่วยระยะยาวอย่างหนักก็จะ เกิดขึ้นด้วยจากการบำ�บัดทางเยียวยาต่างๆที่มาจากโรคความดันโลหิตสูง โรคภาวะไตวาย โรคการติดเชื้ออย่างหนัก โรคกระดูกพรุนรวมไปจนถึง สถานการณ์อันตรายที่จะก่อให้เกิดมะเร็งซึ่งมาจากการระงับภูมิคุ้มกันโรค ประมาณ 15 % ของผู ้ ป ่ ว ยหลั ง จากการผ่ า ตั ด เปลี ่ ย นหั ว ใจแล้ ว จะมี โรคลมชักซึ่งมาจากสมองเข้ามาร่วมด้วย คำ�ถามทีถ่ กู ตัง้ ขึน้ บ่อยๆหลังจากการพูดปาฐกถาในเรือ่ งอวัยวะภาย ในไปแล้วนั้น คือ คำ�ถามต่อการเป็นไปที่จะเกิดขึ้นในวิญญาณหลังจากการ เปลี่ยนอวัยวะภายในต่อไป การเปลี่ยนนี้เป็นการเปลี่ยนจากเนื้อชิ้นหนึ่งไป สู่เนื้ออีกชิ้นหนึ่งหรืออย่างไร หรือว่าจะมีอะไรบ้างไหมที่ถูกนำ�เอาออกไป จากการเปลี่ยนอวัยวะภายใน ซึ่งเป็นที่พักอาศัยของความสามารถทาง วิ ญ ญาณ? การเปลี ่ ย นแปลงทางบุ ค ลิ ก ลั ก ษณะหลั ง จากการเปลี ่ ย น อวัยวะภายในแล้วนัน้ แสดงให้เราเห็นได้วา่ มันจะต้องมีอทิ ธิพลต่อคุณสมบัติ บางอย่างที่ได้ถูกนำ�เอาออกไปด้วย ซึ่งอวัยวะภายในแต่ละอวัยวะนั้นมีไม่ เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงรู้ได้ว่า คนไข้ที่ได้ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจไปแล้วในช่วง ระยะเวลาต่อมาเขาจะมีลักษณะนิสัยและคุณสมบัติบุคลิกลักษณะเกิดขึ้นที่ เขาไม่ได้เคยมีมาก่อน หลังจากที่ได้สืบสอบไปแล้วมีผลว่า ลักษณะนิสัยและ คุณสมบัติบุคลิกลักษณะเช่นนี้เป็นคุณสมบัติของผู้บริจาคอวัยวะเอง หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

45


เราอาจจะเล่านิทานของประเทศเยอรมันนีทางตอนใต้ให้ฟงั ประกอบ ต่อคำ�ถามของการเปลี่ยนอวัยวะภายในซึ่งเป็นเรื่องในทำ�นองตลกขบขัน แต่ก็เป็นเรื่องที่น่านึกคิดด้วย ในร้านอาหารชาวบ้านถิ่นชนบท ทหารผู้ที่ได้ ลาออกจากตำ�แหน่งแล้ว 3 นายและนายแพทย์ 1 นายนั่งคุยกัน ทหารทั้ง สามเกิดมีความสงสัยในความสามารถของนายแพทย์ เพื่อที่จะให้ทหารทั้ง สามได้รู้เห็นในความสามารถของเขา นายแพทย์จึงเสนอข้อความแนะนำ�ให้ แก่เขาทัง้ สามว่า ถ้าทหารทัง้ สามนอนหลับเขาจะตัดแขน ตัดหัวใจและตัดดวงตา ของทหารแต่ละอย่างออก และเขาจะเย็บสิ่งที่ได้ตัดออกไปนี้กลับคืนให้โดย ที่จะไม่ให้ทหารทั้งสามได้รู้ตัวแต่อย่างใด พูดเสร็จทำ�เสร็จ เมื่อทหารทั้งสาม ขึ้นนอนหลับแล้ว แพทย์จึงตัดอวัยวะทั้งหลายออกอย่างที่ได้พูดเอาไว้ หลัง จากนั้นเขาก็ได้ให้เจ้าของร้านอาหารเอาไปเก็บไว้จนถึงเที่ยงคืน แต่แมวก็ได้ ไปเจออวัยวะต่างๆและก็จับเอาไปกิน แล้วเราจะทำ�อย่างไรดี? เราจะไปหา อะไหล่มาสำ�รองได้อย่างไร? เจ้าของร้านอาหารจำ�ได้ว่าหัวใจของมนุษย์กับ หัวใจของหมูมคี วามคล้ายคลึงกัน ดังนัน้ เขาจึงรีบไปฆ่าหมูและเอาหัวใจมาใช้ แทน แล้วเราจะไปเอาดวงตาและแขนมาได้จากที่ไหน? เจ้าของร้านอาหาร นึกเอาเองว่าดวงตาของมนุษย์กับดวงดาของแมวก็คล้ายๆกัน และเขาก็ได้ เอาดวงตาจากแมวของเขาออกมา จากนีเ้ ขาก็รบี ไปตัดเอาแขนของโจรทีเ่ พิง่ จะถูกแขวนคอไปใหม่ๆ และเขาก็เก็บสิ่งสำ�รองทั้งหมดนี้ไว้ในห้องนอนของ เขาเอง เมือ่ หลังเทีย่ งคืนไปแล้วนายแพทย์กก็ ลับมาขออวัยวะทัง้ สามคืนและ เย็บใส่คืนในที่เดิม เช้าวันต่อมาทหารทั้งสามซึ่งไม่ได้รู้ตัวกับการเป็นไปที่ เกิดขึ้นในกลางคืนชอบชมในศิลปะความสามารถการกระทำ�ของนายแพทย์ มาก เขาทั้งสี่จึงได้สัญญานัดกันว่าเขาจะมาพบเจอกันที่ร้านอาหารนี้อีกในปี หน้า หลังจากหนึง่ ปีตอ่ ไปแล้ว ทหารทัง้ สามและนายแพทย์กไ็ ด้มาเจอกัน อีกที่ในร้านอาหาร “เป็นอย่างไรกันบ้าง? สบายดีหรือ ?” นายแพทย์ถาม ทหารผูท้ เ่ี ขาได้ผา่ ตัดแขนไว้ ทหารตอบว่า “สบายดีครับ แต่ในทัง้ ปีทผ่ี า่ นมา แขนนี้เป็นแขนที่น่าประหลาดใจมาก ถ้าผมเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นสมบัติ 46

หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์


ของผู้อื่นแล้ว แขนของผมที่หมอผ่าตัดให้นั้นจะชอบไปจับสิ่งของนั้น” นายแพทย์รสู้ กึ สงสัยในสิง่ ทีท่ หารเล่าอย่างมากและก็ถามทหารคนทีส่ องต่อไป ที่ได้รับการผ่าตัดหัวใจ “แล้วคุณละเป็นอย่างไร? เพื่อนได้ทำ�อะไรไปบ้างใน ทัง้ ปีทแ่ี ล้ว?” – “ผมสบายดี” ทหารคนทีส่ องตอบ“แต่เมือ่ ใดผมเห็นดินโคลน ผมมีความรูส้ กึ ว่า ผมอยากจะลงไปนอนเล่นและเกลือกกลิง้ ในโคลน”“ดีมาก ดีมาก” นายแพทย์ตอบและถามทหารคนต่อไป “แล้วเพื่อนเป็นอย่างไรบ้าง กับดวงตา? – “โอ ผมก็สบายดีเช่นกันแต่ผมก็ไม่รู้ว่ามีอะไรได้เกิดขึ้นตั้งแต่ หนึ่งปีที่ผ่านมา ในทุกๆครั้งที่ผมเห็นหนูวิ่งผ่านไป ผมมีความต้องการที่จะวิ่ง ตามไปเหมือนกับแมวที่หิวโหย” นายแพทย์เกิดมีความระแวงใจว่าจะต้องมีอะไรเกิดขึน้ ผิดปกติอย่าง แน่ และผลสุดท้ายเจ้าของร้านอาหารก็ต้องยอมรับต่อความจริงว่าอะไรได้ เกิดขึ้นกับอวัยวะทั้งสาม หลังจากที่เจ้าของร้านอาหารได้ให้ค่าเสียหายแก่ ทหารทัง้ สามแล้ว และเขาทัง้ สามก็ไม่ได้มขี อ้ บกพร้อมในด้านสุขภาพอีกต่อไป พวกเขาจึงออกเดินทางกลับบ้านกัน แต่พวกเขาจะแก้ปัญหากับการเปลี่ยนแปลงทางด้านวิญญาณของ เขาได้อย่างไรนั้นนิทานเรื่องนี้ไม่ได้บอกเล่าต่อไปอีก เราจะต้องหันกลับมาพิจารณาเรื่องของหัวใจต่อไปอย่างคร่าวๆใน ทัศนะทางกายวิภาคศาสตร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำ�คัญพิเศษของ หัวใจต่ออวัยวะของมนุษย์ ต่อระบบการหมุนเวียนของโลหิต หัวใจเป็นอวัยวะแรกทีพ่ ฒ ั นาตนเองภายนอกของตัวอ่อนในอาทิตย์ ทีส่ ามหลังจากตัง้ ครรภ์ และจะเคลือ่ นตัวอย่างช้าๆจากข้างบนลงไปในภายใน ช่วงกลาง นั่นคือจากบริภัณฑ์รอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง โดยในช่วงแรกหัวใจ จะหยุดการเคลื่อนไหวอยู่ที่ในพื้นที่ของสมอง ในที่นี้เราจะเห็นได้ว่าหัวใจกับ สมองนั ้ น มี ค วามสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน นัก กายวิ ภาควิ ท ยาจะมองเห็ น ความสัมพันธ์นไ้ี ด้จากอิรยิ าบถทีว่ า่ ตัวมนุษย์มาจาก“หนทางไกล”เข้ามาเกิด ในกาย“หนทางใกล้” ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางแห่งตัวตนของตัวฉัน ในหัวใจหลอดเลือดต่างๆจะมาคาดกันเป็นกากบาททัง้ ในทางข้างบน หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

47


ข้างล่าง ทางซ้าย ทางขวา และหลอดเลือดเหล่านี้จะไหลผ่านเข้าไปสู่อวัยะ ต่างๆทั้งหมด ในทางกายวิภาควิทยาเราจะพบกับกากบาทได้กับหลอดเลือด ที่เราเรียกกันว่า “หลอดเลือดกากบาท” อยู่ในช่วงบนของหัวใจ และ กับ ระบบห้องหัวใจสีห่ อ้ ง (สองห้องบน – Atrium และสองห้องล่าง – ventricle) ดังเช่นนี้แล้วความเห็นต่อเส้นโค้งรูปเลขแปด (Lemniscate) จึงเป็นความ เห็นอย่างทีม่ เี หตุผลถูกต้องโดยบอกว่า หัวใจนัน้ ในส่วนหนึง่ เป็นจุดศูนย์กลาง ของวงกลมการหมุนเวียนเล็กที่อยู่ในส่วนบนซึ่งเชื่อมโยงตัวมนุษย์กับโลก ภายนอกโดยผ่านปอดและศีรษะ และในอีกส่วนหนึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของ วงกลมการหมุนเวียนใหญ่ที่เชื่อมโยงตัวมนุษย์กับอวัยวะภายในต่างๆ นอก จากนี้แล้วหัวใจยังเป็นศูนย์กลางของการหมุนเวียนโลหิต ภายในหัวใจโลหิต จะถูกบีบอัดอย่างสูงสุดและจะอยูใ่ นสภาพหนักแน่น ในอีกด้านหนึง่ โลหิตจะ ไหลไปสูร่ ะบบหลอดเลือดด้านนอกในหลอดเลือดเล็กของผิวหนังภายใต้การ อิทธิพลของการดูดสูบและจะเปลี่ยนสภาพเป็นสภาพเบาเป็นสภาพลอยตัว ขึ้น ถ้าแพทย์เจาะเลือดจากปลายนิ้วมือและนำ�เอาหลอดแก้วมาสัมผัสกับ หยดเลือดแล้วราจะเห็นได้ว่าหยดเลือดจะไหลจากปลายล่างขึ้นไปสู่ปลาย บนของหลอดแก้ว จากระบบกำ�ลังพลวัตที่ซับซ้อนทั้งสี่ – ความแน่นหนัก – ความลอยเบา – ภายนอก – ภายใน – นีจ้ งึ เป็นการประสานงานร่วมกันของ หัวใจกับการเคลื่อนไหวหมุนเวียน ถ้าเราจะคำ�นึงต่อไปว่าหัวใจของตัวอ่อน ซึ่งเกิดขึ้นมาเหมือนหลอดเล็กๆโดยปราศจากกล้ามเนื้อนั้นเริ่มเต้นและหยด เลือดที่ยังไม่มีความสัมพันธ์ติดต่อกับหัวใจนั้นได้แสดงการเคลื่อนไหวด้วย ตนเองได้แล้วนั้น เราจะแน่ใจได้เลยว่าหัวใจนั้นเป็นอวัยวะศูนย์กลางของ ระบบจังหวะซึ่งไม่ได้เป็นต้นกลไกการเคลื่อนไหวของโลหิต (เครื่องสูบฉีด โลหิต) อริสโทเทล (Aristoteles) ได้สังเกตเห็นจากในตัวอ่อนของไก่วา่ มี การเต้นของหยดเลือด และได้เรียกการเต้นนีว้ า่ เป็น “จุดกระตุน้ สำ�คัญ” การพิจารณาต่อการจำ�ลองแบบของหัวใจทางกลไกนั้นจะต้อง ถูกยกเลิกออกไปในทุกวันนี้ด้วยจาก “การสร้างแบบจำ�ลองทางพืช” ด้วย ทัศนคติเช่นนีห้ วั ใจก็จะเป็น “อวัยวะเก็บ” ในการควบคุมอย่างต่อเนือ่ ง และ 48

หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์


หน้าทีก่ ารงานเริม่ แรกก็จะถูกเปลีย่ นย้ายให้ไปอยูใ่ นระบบการหมุนเวียนของ โลหิตซึ่งเป็นการกระทำ�ร่วมกันกับระบบรอบนอก กับกล้ามเนื้อและกับ ความต้องการออกซิเจนของอวัยวะภายในแต่ละชนิดในขณะเดียวกัน ทัศนคติ เช่นนี้ก็ได้รับคำ�ยืนยันจากการค้นคว้าและการทดลองอย่างไร้ขอสงสัย แพทย์ ผ ่ า ตั ด หั ว ใจชาวโปแลนด์ ช ื ่ อ เลโอน มานถอยฟ์ เ ฟอล-เซอเก (Leon Manteuffel-Szoege) ได้เขียนบอกไว้ว่า: “สรุปแล้วเราจึงพิสูจน์ได้ ว่าการทดสอบที่ได้แถลงไว้ในส่วนที่หนึ่งของผลงานนี้และการค้นหาที่จะ อธิบายต่อไปนี้ได้มีผลตามความเห็นของผู้เขียนที่ได้เป็นการพิสูจน์อย่าง ชัดเจนว่าโลหิตมีพลังการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง จากการพิสูจน์ที่เราได้รับ การยืนยันสนับสนุนจากการสังเกตของเราเองนั้น เราก็สามารถบอกได้ว่า โลหิตมีพลังความสามารถในตนและพลังความสามารถที่เกิดขึ้นเองเพื่อที่จะ เคลื่อนไหวได้ภายในระบบการหมุนเวียนที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำ�หน้าที่ ของหัวใจ โลหิต เส้นโลหิตดำ�และหัวใจรวมกันเป็นหน่วยภายในเดียวกันและ มีความสัมพันธ์ร่วมกันทั้งกับส่วนภายในที่สุดของอวัยวะภายในต่างๆและ ระบบรอบนอกของโลกภายนอกทัง้ หมด ในการเต้นเป็นจังหวะของหัวใจและ คลื่นของชีพจรจะเป็นภาพสะท้อนของอวัยวะภายในทั้งหมด สิ่งนี้เป็นที่รู้จัก กันจากการวินจิ ฉัยจังหวะการเต้นของหัวใจของแพทย์จนี มาตัง้ แต่ดกึ ดำ�บรรพ์ และก็เป็นที่รู้จักกันด้วยในระบบการวินิจฉัยโรคด้วยการฟังเสียงเต้นของ หัวใจ (cardiac auscultation) จังหวะการเต้นของหัวใจชี้ให้เราเห็นถึงในสัดส่วนการกระทำ�ของ ความรูส้ กึ สัมผัส-เส้นประสาทในช่วงบนกับการกระทำ�ของแขนขา-การขับถ่าย ในช่วงล่าง ถ้าหัวใจเต้นเร็วผิดปกติอย่างเช่นเวลาเรามีไข้หรือห่อเหีย่ ว (เต้นช้า) อย่างเช่นในภาวะเลือดเลีย้ งหัวใจไม่พอ (cardiac insufficiency) นัน้ จะเป็น ว่ากำ�ลังการเคลื่อนไหวของระบบการขับถ่ายมีอิทธิพลสูงเกินไป ถ้าการเต้น ของหัวใจช้าลงอย่างเช่นของบุคคลชราหรือหัวใจจะหดบีบตัวเข้ากันอย่าง เช่น อาการปวดอย่างรุนแรงบริเวณหัวใจ (angina pectoris) กล้ามเนือ้ หัวใจแข็ง หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

49


(coronary sclerosis) หรือหัวใจวาย (myocardial infarction) ดังนั้น การมีอทิ ธิพลสูงของการทำ�งานของศีรษะจะเกิดขึน้ ในเบือ้ งบนทีเ่ ป็นการอ่อน แอและเชื่องช้าลง การเต้นของหัวใจที่ไม่เป็นไปตามจังหวะก็เป็นผลมาจาก การทำ�งานร่วมกันที่บกพร่องของส่วนบนและส่วนล่าง จากจุดนี้แล้วเราจะ เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในการบำ�บัดโรคหัวใจนัน้ เราจะต้องพิจารณาการบำ�บัด ต่ออวัยวะภายในและการออกกำ�ลังกายร่วมไปด้วย จากจุดนี้ต่อไปเราจะเปลี่ยนมุมมองไปดูในด้านทางจิตวิญญาณของ “อวัยวะดวงอาทิตย์” ของเรา ในเวลาร้อยๆปีทผ่ี า่ นมาหัวใจได้รบั คำ�อธิบายชีแ้ จงให้เห็นในความหมาย ที่ว่าหัวใจนั้นเป็นอวัยวะศูนย์กลางของชีวิตและเป็นอวัยวะทางเวชศาสตร์ กายจิตอย่างที่ไม่มีอวัยวะอย่างได้เลยที่ได้รับมุมมองความคิดเห็นเช่นนี้ เช่น เดียวกับโลกที่ประกอบไปด้วยชั้นต่างๆนั้นเราก็สามารถจะชี้แจงแบ่งอวัยวะ ภายในออกเป็นสี่ส่วนได้ – ส่วนทางกายวิภาค ส่วนทางกายชีวิต ส่วนทาง วิญญาณและส่วนทางจิตวิญญาณ – สำ�หรับหัวใจนั้นเราสามารถจะเห็นการ แบ่งเช่นนี้ได้อย่างชัดเจน การเป็นอวัยวะทางกายวิภาคนัน้ หัวใจไม่ได้เป็นกลไก“ปัม๊ สูบฉีดโลหิต” จากโครงสร้างและส่วนประกอบแล้วหัวใจเป็นอวัยวะที่สะดุดตาอย่างมาก หัวใจซึ่งประกอบไปด้วยห้องพร้อมกับลิ้นและรวมไปทั้งเส้นเอ็นต่างๆได้ถูก เปรียบเทียบเหมือนกับว่าเป็น “โบสถ์วัดทางคริสต์ศาสนา” การเป็นอวัยวะของชีวติ นัน้ เราจะรับรูจ้ ากการเต้นของหัวใจอยูต่ ลอด เวลา การเต้นที่ไม่ราบรื่นหรือว่าหยุดๆเต้นๆของชีพจรนั้นเราจะรับรู้ได้ว่า เป็นสิ่งที่มีไม่มั่นคงอย่างมาก แต่เราจะยังไม่พูดถึงว่าสิ่งที่เราได้รับรู้นี้อาจทำ� ให้เสียชีวิตได้อย่างเช่นการรับรู้ที่มาจากโรคปวดบริเวณหัวใจ (angina pectoris) หรือโรคหัวใจวาย (myocardial infarction) การเป็นอวัยวะของวิญญาณและเป็นจุดศูนย์กลางของหน้าอกของ เรานัน้ หัวใจเป็นพืน้ ทีแ่ ห่งความรูส้ กึ ของเราทีแ่ ตกต่างกันออกไปในตัวอย่างเช่น ความรู้สึกคับแคบ ความรู้สึกเศร้าโศก ความรู้สึกกลัว จนไปถึงการปิดตัว 50

หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์


ทั้งนี้ก็ยังรวมไปด้วยถึงความรักชอบ ความเปิดเผย ความดีใจ ความอบอุ่น เรารูด้ จี ากหัวใจของเราเองว่า เมือ่ เราดีใจหัวใจของเราจะ “กระโดด” หรือว่า เมื่อเราตื่นเต้นหัวใจของเราจะ “เต้นแรง” การเป็นอวัยวะของจิตวิญญาณนั้นหัวใจจะเป็นจุดศูนย์กลางตัวของ เราเองและจะเป็นพืน้ ฐานทีใ่ ห้เสียงสะท้อนแห่งมโนธรรมของตัวเรา และเป็น ความรูส้ กึ ทีเ่ กิดขึน้ เองในใจหรือสหัชญาณในความเป็นจริง “หัวใจจึงมีเหตุผล ของตนเองซึ่งเป็นสิ่งที่สมองนั้นไม่มี” (Blaise Pascal) หัวใจเป็น “เสียง แห่งความรูส้ กึ ผิดชอบชัว่ ดี” เป็นอวัยวะแห่ง “ความสำ�นึกผิด”และ“ความทรงจำ� ในชะตากรรม” และเป็นศูนย์กลางของความอบอุน่ ชืน่ บาน ทัง้ ในศิลปะและ ในบทประพันธ์ หัวใจจะอยู่ในตำ�แหน่งที่มีความหมายสำ�คัญสูงมาก ใน บางเทพนิยายและตำ�นานจีนนัน้ หัวใจจะเป็นตัวพลังของความทรงจำ�ทีด่ เี ด่น นักศึกษาผู้หนึ่งที่ไม่มีทางที่จะสอบผ่านได้เลยนั้นได้ถูกตัดสินจากผู้พิพากษา ในยมโลกให้ได้รบั การผ่าตัดเปลีย่ นหัวใจใหม่ทเ่ี ป็นหัวใจที่ “ฉลาดกว่า” เพราะว่า “หัวใจเก่านั้นไม่สามารถจะเรียบเรียงข้อเขียนได้เพราะว่าช่องรูหัวใจตัน” หลังจากที่ได้เปลี่ยนหัวใจที่ผู้พิพากษาได้คัดเลือกเอามาจากหัวใจต่างๆใน ยมโลกแล้วนั้น นักศึกษาผู้นี้ก็ได้ทำ�ความก้าวหน้าในศิลปะการเขียนอย่าง รวดเร็วและ “สิ่งใดที่เขาได้พบอ่านเจอมานั้นเขาจะไม่ลืมมันเลย” ภายหลังจากศตวรรษที่ 17 หัวใจได้ถูกนำ�มาให้ความหมายใหม่ใน ยุโรปว่าเป็น “เครือ่ งกลไก” และออกคำ�อธิบายการมีอ�ำ นาจเหนือของสมอง ที่เยือกเย็นต่อหัวใจที่อบอุ่น “เราได้ให้ความเคารพหัวใจเหมือนว่าเป็นดวงอาทิตย์หรือเป็น พระเจ้าแผ่นดินด้วยซ้ำ�ไป ในเวลาเดียวกันถ้าเราจะสังเกตดูอย่างละเอียด อ่อนแล้ว เราจะไม่ได้พบอะไรกันเลยนอกไปจากกล้ามเนือ้ ” คำ�พูดนีจ้ งึ กลาย เป็นคำ�อธิบายอย่างเป็นทางการของหัวใจ หัวใจซึง่ เป็น “ปัม๊ ” กลไกตัง้ แต่ใน เวลานั้นได้ถูกตัดความสัมพันธ์ออกจากวิญญาณและไปจบลงบนปัญหาใน ทางแพทย์ตอ่ การผ่าตัดเปลีย่ นหัวใจ ต่อการฝังเครือ่ งกระตุน้ หัวใจ ต่อการใช้ หัวใจลิงหรือหัวใจหมูแทน และต่อการออกแบบสร้างหัวใจเทียม หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

51


ในการแพทย์ดแู ลผูป้ ว่ ยหนัก (intensive care unit) แบบสมัยใหม่ หัวใจที่ว่าเป็นอวัยวะแห่งชีวิตนั้นได้สาบสิ้นไป: พยาบาลและแพทย์จะต้อง ยอมรับว่า “มนุษย์ที่อยู่ในสภาพภาวะ – สมองตาย – ที่ยังมีผิวหนังเป็น สีชมพูและหัวใจก็ยงั เต้นอยูด่ ว้ ยนัน้ ว่าเป็นศพ และจะต้องมีการรักษาพยาบาล ตามสภาพนี้ต่อไป” แต่ ว ิ ญ ญาณหั ว ใจของมนุ ษ ย์ จ ะไม่ ม ี ว ั น ที ่ จ ะหยุ ด เต้ น ได้ แ ละ จะมีความหมายอย่างมากว่าเป็นอวัยวะกายเหตุจิต (psychosomatic) โดยมีองค์ประกอบร่วมในปัญหาจากการขาดแคลนการออกกำ�ลังกาย จากความตึงเครียด และจากน้ำ�หนักขึ้นสูงที่มาจากความหวาดกลัว จาก จุดมุ่งหมายสูงจากความคิดต่อสู้แข่งขันสูง จากการกดความรู้สึก จากการ ขาดแคลนความอบอุ่นชื่นบาน จากใจดำ�และเปล่าเปลี่ยวใจ แต่ในทำ�นอง เดียวกันก็จะเป็นอวัยวะทีเ่ ต็มไปด้วยความปิตยิ นิ ดีความเห็นอกเห็นใจสงสาร ความเปิ ด เผย และความอบอุ่น ดังนั้นโรคหัวใจวายและโรคกลั วหั วใจ (Cardiophobia) จึงได้กลายเป็นโรคที่เรารู้จักกันดี ในทุกวันนี้การแข็งตัวของวิญญาณหัวใจ (Sklerocardia) จึงเป็น สิ่งที่ในวงการแพทย์ได้ยอมรับว่าเป็นสาเหตุทางจิตที่สำ�คัญของการแข็งตัว ของหลอดเลือดในกล้ามเนื้อหัวใจ ดังนั้นแพทย์ชาวอเมริกันชื่อ ดีน อรนิช (Dean Ornish) จึงสามารถประสบผลสำ�เร็จได้ด้วย“เพียงแต่”จากการเปิด ใจด้วยความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น จากการรับรู้รับต่อ ความรู้สึกของตนเอง จากการเอาชัยชนะต่อความเห็นแก่ตัว หรือจากการ กลับมาสู่ความมีเมตตาสงสาร ผลสำ�เร็จนี้ไม่เพียงแต่จะหยุดการแข็งตัวของ หลอดเลือดในกล้ามเนื้อหัวใจได้เท่านั้น แต่ก็ยังทำ�ให้ความแข็งลดลงไปด้วย โดยไม่ต้องใช้การผ่าตัดทำ�ทางเลี่ยงเข้าช่วย (bypass) ในทุกวันนี้สิ่งนี้จึงเป็น ระบบวิธีการที่ใช้กันและเป็นที่รู้จักกันทั่วทั้งโลกแล้ว โลหะดวงอาทิตย์ที่เป็นสัญลักษณ์สำ�หรับหัวใจและการหมุนเวียน ของโลหิต คือ ทองคำ� เราจะผูกความสัมพันธ์ของแสงของความร้อนและของ ชีวิตกับดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์ให้ความสมดุลระหว่างกลางวันและกลางคืน 52

หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์


ระหว่างความร้อนและความเย็น ระหว่างการขยายตัวและการหดตัว เราก็ สามารถจะพูดได้ว่าระหว่างจิตวิญญาณและวัตถุ สุขภาพกำ�ลังชีวิตที่ดี การหมุนเวียนของโลหิตที่ดี การผลิตความร้อนและความกล้าหาญ เป็น อิทธิพลที่ดีเด่นของทองคำ� อวัยวะภายในจะสามารถเสียสมดุลได้สองทาง คื อ : เสี ย สมดุ ล ไปทางอั ก เสบ ในที ่ น ี ้ โ ลหิ ต ในหลอดเลื อ ดจะ “เดื อ ด” หรือเสียสมดุลไปทางอุณหภูมลิ ด ในทีน่ ก้ี ารหมุนเวียนของโลหิตจะถูกรบกวน หรือหยุดต่อการทำ�งาน และมนุษย์จะตกลงไปอยู่ในความหวั่นกลัวตาย เพราะว่าหัวใจนั้นมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสัมผัสต่อชะตากรรม ดังนั้น ทองคำ�จึงสามารถใช้ในการบำ�บัดร่วมกับพืชแห่งแสงตะวันและพืชแห่งความร้อน ชือ่ เซนต์จอห์น St.John`s wort (Johanniskraut or Hypericum perforatum) ซึ ่ ง ได้ ร ั บ ผลสำ � เร็ จ ต่ อ โรคซึ ม เศร้ า หรื อ อย่ า งที ่ เ รี ย กกั น ว่ า เป็ น “เวลากลางคื น แห่ ง ความมื ด มั ว ของวิ ญ ญาณ” และโรคกลั ว หั ว ใจ (Cardiophobia) หรือโรคความดันโลหิตสูง อย่างเช่นตับที่ทำ�หน้าที่เป็น “นายพล”ของอวัยวะภายในต่างๆ ของมนุษย์ ซึง่ ควบคุมการเป็นไปต่างๆทางภายใน และใช้กรรมวิธอี ย่างรุนแรง ของถุงน้�ำ ดีทเ่ี ป็น “อาวุธ” เพือ่ ป้องกันอิทธิพลจากทางภายนอกทีเ่ ข้ามาจาก อาหารที่บริโภคนั้น ในทำ�นองเดียวกันนี้หัวใจกับทองคำ�ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน บริจาคชีวติ ทีเ่ รียกกันว่า เป็น “พระเจ้าแผ่นดินของดวงอาทิตย์” ในอาณาจักร ของอวัยวะภายในที่เป็นผู้รับรู้และรวบรวมสิ่งต่างๆและสามารถแพร่หลาย ขยายชีวติ “ในทัง้ ประเทศ” โดยผ่านพระเจ้าแผ่นดินของดวงอาทิตย์ผนู้ ้ี ถ้าเราจะเอาทองคำ�นีม้ าบดตีจนเป็นแผ่นทีบ่ างมาก และจะเอาแผ่น ทองคำ�นี้มาดูในแสงแล้ว เราจะรับรู้เห็นได้ว่าตัวตนภายในของทองคำ�นั้นมี ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับสีเขียวของชีวิต แนวแพทย์แผนโบราณของจีนนั้นเส้นเมอริเดียนหัวใจและเส้น เมอริเดียนที่ “ให้ความร้อนสามแบบ – ลมหายใจ ย่อยอาหาร ขับถ่าย –” จะสิ้นสุดอยู่ที่นิ้วก้อยและนิ้วนาง ประสบการณ์ชีวิตสอนให้รู้ว่าเมื่อเรามีโรค หัวใจและการหมุนเวียนของโลหิตที่อ่อนแอ เราไม่ควรจะใช้นิ้วก้อยและ หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

53


นิ้วนางทำ�งานในการพิมพ์ดีดหรือการเขียนในคอมพิวเตอร์ ตามความเห็นของแพทย์จนี แล้ว รสชาติทม่ี คี วามสัมพันธ์ตอ่ หัวใจโดย ตรงนั้นคือความเผ็ดหรือความขม ของเหลวที่มีความสัมพันธ์ต่อหัวใจโดย ตรงนั้นคือเหงื่อ ในที่นี้เราจึงได้มีคำ�แนะนำ�ที่ดีว่าในเขตประเทศเมืองร้อน อาหารทีม่ รี สเผ็ดจะเป็นผลดีส�ำ หรับหัวใจและการหมุนเวียนของโลหิตทีท่ �ำ ให้ มนุษย์เรา “อยู่ในตนเอง” ได้ดีขึ้น โดยความสัมพันธ์อย่างพิเศษของหัวใจกับความร้อนนั้นเราจะมา อภิปรายกันต่อไปอีกเมื่อเราจะเข้าไปถึงการบรรยายในทางด้านฤดูกาลของ หัวใจ เราจะลงเข้าไปลึกถึงในโลกทีเ่ ราเรียกกันว่า โลกดาว “ใต้ดวงอาทิตย์” ซึ่งจะพบได้กับ ดาวพระศุกร์ ดาวพระพุธ และดาวพระจันทร์ที่มีอิทธิพลต่อ ไต ปอด และอวัยวะสืบพันธุ์ ดาวพระศุกร์มีความสัมพันธ์กับโลหะทองแดง ที่มีสีสรรเด่นที่สุด เป็นโลหะที่ให้ความร้อน เป็นโลหะที่ใช้ในทางวิชาช่าง เป็นสายไฟสำ�หรับใช้ในการสื่อสารติดต่อกัน และเมื่อมีการผสมกับก๊าซ ออกซิเจนแล้วจะออกเป็นสีแห่งชีวติ สีเขียว สำ�หรับดาวพระพุธนัน้ การปฏิบตั ิ หน้าที่ – ที่ไม่ใช่เป็นการสร้างภายใน – แต่เป็นการบีบตัวเข้าด้วยกันและ ขยายตัวออกจากกันของปอด และสำ�หรับพระจันทร์นั้นมีความสัมพันธ์กับ โลหะทีส่ ะท้อนแสงให้แก่ชวี ติ เกิดใหม่ และด้วยการเป็นไปเช่นนีค้ วามสัมพันธ์ กับระบบการสืบพันธ์ุและการปฏิรูปใหม่สำ�หรับเซลล์ โลหะนี้คือเงิน ที่เรา จะพบได้อีกในสภาพที่แตกแยกสลายออกละลายอยู่ในน้ำ�ซึ่งมีเป็นจำ�นวน มากมายอยู่ในมหาสมุทร ในอวัยวะทั้งสามนี้เราจะมาพูดถึงกันต่อไป

54

หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์


หัวใจคืออวัยวะภายในของพระอาทิตย์

55


ท่ า ทางการเคล่ ื ่ อ นไหวของเทพธิ ด า วี น ั ส (Venus) นี ้ จ ะแสดงถึ ง การก่ อ การริ เ ริ ่ ม ใหม่ การให้ความอบอุ่น การต้อนรับ การก่อเริ่มและความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม หน้าที่ที่สำ�คัญของ ไต คือ การฟอกโลหิต การทำ�ลายแร่เกลือและการขับของเสียออกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสิ่งที่เป็น ภาระต่อโลหิต


ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

"แ

ซนโดร โบดดีเชลลี (Sandro Botticelli)ได้วาดรูป “การกำ�เนิดวีนสั ” เมือ่ ประมาณในปี ค.ศ.1486 เป็นรูปภาพของเทพธิดาแห่งความรักที่มีเสน่ห์ดึงดูดใจ ซึ่งเสด็จจากสวรรค์โดยยืนบนเปลือกหอยลงมาบนเกาะ ไซปรัส(Cyprus) ประเทศกรีกไซปรัสเป็นชื่อที่มาจาก คำ�ว่า คับรุม (Cuprum) เป็นภาษาลาตินทีแ่ ปลว่าทองแดง ซึ่งมีอยู่บนเกาะนี้ และวีนัสจึงได้เป็นโลหะแห่งความรัก ในช่วงกลางของศตวรรษที่ 15 โบดดีเชลลีไม่สามารถจะ รูไ้ ด้วา่ จากการวิจยั ทางด้านเคมีสมัยใหม่นน้ั เปลือกหอย และสัตว์จ�ำ พวกหอยและปลาหมึกอืน่ ๆเป็นสัตว์ทใ่ี นเลือด มีทองแดงผสมอยู่ ในที่นี้เราจึงมีเพียงแต่ความแปลกใจ เท่านัน้ ทีว่ า่ โบดดีเชลลีมสี ญ ั ชาติญาณความคิดทีม่ องเห็น หนทางไกลอย่างไร ทีไ่ ด้วาดภาพวีนสั ยืนอยูบ่ นเปลือกหอย และไม่ได้อยู่บนปลาเพราะว่าในเลือดของปลานั้นมีธาตุ เหล็กผสมอยู่ การเป็นไปแบบนี้ทองแดงซึ่งเป็นโลหะที่ น่าสนใจมากจึงเข้ามามีบทบาทในส่วนของชีวเคมีชวี ติ ตัง้ แต่ เป็นร้อยๆปีมาก่อนที่เราจะค้นพบทองแดงได้(ในอวัยวะ ภายในของมนุษย์) ซึ่งในทางด้านศิลปะแล้วนั้นทองแดง เป็นสัญลักษณ์ของเครื่องกรองลมหายใจ”

ประวัติของการเป็นมา การปฏิบัติหน้าที่ กายวิภาคศาสตร์ และ ความหมายทางกายเหตุจิตของไตของอวัยวะภายในตัวมนุษย์นั้นเป็นสิ่ง ที่น่าสนใจมาก ถ้าท่านผู้ใดมีภารกิจเป็นเวลานานๆ กับบุคคลที่มีไตอ่อนแอ หรือ กับผูป้ ว่ ยโรคไต เขาจะเข้าใจโดยทางตรงว่า ทำ�ไม “การดูแลไต” สำ�หรับ ภาวะร่างกายทั้งหมดและรวมไปถึงกับชีวิตวิญญาณนั้น ทางแพทย์จีนจึง ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

57


ได้มองการดูแลนี้ว่าเป็นสิ่งที่มีความหมายที่สำ�คัญอย่างมาก – โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในยุคที่ทันสมัยซึ่งมีเวลาน้อย ที่ตึงเครียด ที่หงุดหงิดกระวนกระวาย ทีห่ วัน่ กลัว ทีร่ บี ร้อน ซึง่ เป็นยุคทีเ่ ราจะต้องอดทนต่อสิง่ ทีเ่ ราได้ประสบทุกวัน ซึ่งเราพูดกันว่าสิ่งนี้ “เข้าไปถึงไต” และการเป็นไปเช่นนี้จะมีผลเข้าไปถึง ความดันโลหิตและหัวใจของเราด้วย ในทุกวันนีม้ นั ก็ไม่ใช่เรือ่ งแปลกประหลาด อะไรเลยที่ว่า ไตของเรานั้นจึง “พรุน” ไปหมด และมีโปรตีน น้ำ�ตาล และ โลหิตถูกขับถ่ายออกจากร่างกายทางปัสสาวะ ถ้าไตถูกทารุณด้วยการใช้ชวี ติ อย่างทันสมัยที่ไม่ให้ช่วงเวลาในการหายใจทั้งเข้าและออกต่อในวิญญาณ และกายอวัยวะที่สมบูรณ์แบบ ในการสนทนาระหว่างผูเ้ ขียนกับแพทย์หญิงจีนผูห้ นึง่ เมือ่ ไม่นานมา นี้ที่เมืองไต้หวันมีผลว่า ตามความเห็นของจีนแล้วสิ่งต่างๆที่มนุษย์และ บรรพบุรษุ ของเราได้รบั จากการมีประสบการณ์ตา่ ง ๆ ทางวิญญาณมานัน้ จะ มีผลลัพธ์ “ลงไป” อยูใ่ นไต และผลลัพธ์นจ้ี ะเป็นผูร้ ะบุให้ความสมดุลระหว่าง กายและวิญญาณ ตามความเป็นจริงแล้ว “การดูแลไต” จึงเป็น “การดูแล วิ ญ ญาณ” ในบทต่ อ ไปเราจะกลั บ มาดู ป ั ญ หาทาง “จิ ต วั ก กวิ ท ยา” (Psychonephrology) ของในทุกวันนี้อีก ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีความรู้ทางด้านแพทยศาสตร์ แต่เราก็รู้จากการ มี ป ระสบการณ์ ข องตนเองว่ า ไตนั ้ น เป็ น อวั ย วะที ่ ไวต่ อ การสั ม ผั ส และ ปฎิกิริยาทางอารมณ์ต่อความหนาวเย็นและการกระทบกระเทือน ไตอยู่ใน ด้านหลังของอวัยวะภายในของเรา อยู่เหนือเอวแต่อยู่ใต้โครงกระดูกที่ 12 แต่ทว่าไตอักเสบจะเจ็บปวดอย่างไร ถ้าผู้ใดได้มีประสบการณ์นี้แล้วท่านจะ เข้าใจดีว่า ทำ�ไมผู้ป่วยจึงอยากจะดึงผมของตนเองออกหรือกระโดดลงจาก หน้าต่างสูง

58

อะไรบ้างที่เป็นสิ่งพิเศษในการสร้างสรรค์ไตออกมา?

ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์


ธรรมชาติต้องใช้เวลาถึงสามครั้งเพื่อที่จะสร้างไตให้อยู่ในตำ�แหน่ง ทีเ่ รามีอยูใ่ นทุกวันนี้ ในช่วงเวลาการพัฒนาของตัวอ่อนนัน้ การพัฒนาไตจะไหล ลงมาจากส่วนบน คือจากบริเวณลำ�คอโดยผ่านบริเวณหน้าอกจนลงไปถึง เชิงกรานน้อยเพื่อที่จะได้ไหลย้อนกลับขึ้นอีกมาสู่ยังในตำ�แหน่งที่ได้เจาะจง เอาไว้ ในทางแพทยศาสตร์ เราเรี ย กขั ้ น ตอนทั ้ ง สามนี ้ ว ่ า เป็ น ไตแรก (Pronephros) ไตกลาง (Mesonephros) และไตหลัง (Metanephros) ใน ส่วนหนึ่งของไตนั้นจะผสมรวมในระยะต่อไปกับอวัยวะสืบพันธุ์ สิ่งนี้เป็นสิ่ง ที่น่าสนใจมากที่ว่า อวัยวะภายใน “ตก” ลงมาจากช่วงเบื้องบน จากใน บริเวณอวัยวะสัมผัสลงไปสูใ่ นบริเวณช่วงเบือ้ งล้างของอวัยวะภายใน และจะ ไปสัมพันธ์รวมกับอวัยวะสืบพันธุ์ ดังนั้นแล้วในทางแพทยศาสตร์เราจึงเรียก สิง่ นีว้ า่ เป็น “ระบบอวัยวะปัสสาวะและเพศ” สิง่ นีไ้ ด้น�ำ เราไปสูค่ วามนึกทรง จำ�จากทางโหราศาสตร์ในเรื่องการตกลงมาของนกอินทรี แล้วก็กลายเป็น แมงป่องในเวลาต่อมา และในจักรราศีมนุษย์นั้น แมงป่องจะปกครอง ดูแลในบริเวณอวัยวะเพศ ตำ�แหน่งของไตจะอยู่ในบริเวณด้านภายนอกของท้องและอวัยวะ ขับถ่าย ในบริเวณด้านหลังข้างกระดูกสันหลัง ทีเ่ ป็นเขตทีม่ คี วามเย็น ถ้าเรา จับดูในบริเวณนี้ ไตจะห่มห่อตนด้วย “เสื้อกันหนาว” ที่เป็นไขมัน ถ้าไขมัน จะถูกทำ�ละลายออกไปจากการอดอาหารหรือการเจ็บไข้แล้วนั้น ไตจะรำ�ลึก ถึงความต้องการที่จะเคลื่อนไหวซึ่งมีมาตั้งแต่กำ�เนิด ไตจะออกจากบริเวณที่ อยู่และก็จะกลายเป็นไตที่เคลื่อนที่ลง หรือเป็นไตที่เคลื่อนไหวออกเดินทาง จากการพิจารณาตามทางกายวิภาคศาสตร์ เราจะเห็นได้ว่าเขตจิต สำ�นึกของศีรษะรวมทั้งอวัยวะสัมผัสทั้งหลายเป็นเขตที่สมมาตรกันอย่าง มากที่สุด ในเขตบริเวณปอดความสมมาตรกันนี้ได้เลื่อนไปบ้าง และจะหยุด ความสมมาตรกันที่ในระบบขับถ่าย นอกเสียจากความสมมาตรกันของไตใน ต่อมทางเพศ หรือลูกอัณฑะและรังไข่ โดยเราสามารถที่จะคาดคิดได้ว่า ไต เป็นคล้ายๆกับอวัยวะสัมผัสของเรา เช่นเดียวกับปอดของเราจะเป็นผู้เก็บ ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

59


รักษาเอาคุณภาพของจิตสำ�นึกไว้ และได้กลายเป็นอวัยวะสัมผัส และ อวัยวะวิญญาณที่ปฏิบัติงานในทางด้านภายในซึ่งเป็นเหมือนกับว่าเป็น “ดวงตา” ภายในต่อการกระทำ�ของจิตใต้สำ�นึกในระบบการย่อยอาหาร และจะออกปฏิกริ ยิ าอย่างรุนแรงถ้ามนุษย์เราเสียความสมดุลทางด้านวิญญาณ จากการปฏิบัติหน้าที่ในการขับถ่ายและการกลั่นกรองแล้ว เราสามารถจะ เข้ า ใจได้ ว ่ า เหตุ ใ ดแพทย์ จ ี น จึ ง ให้ ค ำ � พ้ อ งความหมายกั บ ไตว่ า เป็ น “ เจ้าหน้าที่ราชการ”ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างขยันขันแข็ง ตรวจสอบ ตัดสินใจ และมีความสามารถที่จะทำ�ลายสิ่งที่ไร้ประโยชน์เพื่อที่จะให้ “รัฐบาล” ด้านบนปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น จากนี้ไปเราจะเข้าไปดูหน้าที่การปฏิบัติงานที่แท้จริงของไตอย่าง ใกล้ชิด หน้าที่สำ�คัญของไตคือการฟอกโลหิต การทำ�ลายแร่เกลือและ การขับของเสียออก โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งกับสิ่งที่เป็นภาระต่อโลหิต รูปทรง ไต ของไตตามทางกายวิภาคศาสตร์แล้ว จะเป็ น รู ป ทรงที ่ ข ึ ้ น ๆ ลง ๆ โครง สร้างภายในก็จะเป็นไปในทำ�นองเดียวกัน โดยมี ห ลอดเล็ก ที่ร ูปทรงขึ้นๆลงๆ คล้ายผูกโยงเริม่ จากข้างบนลงมาข้างล่าง แล้วก็กลับขึ้นไปข้างบนอีกในที่นั่น จะเกิดมีการถ่ายเทออก การรับเข้า การกลัน่ กรอง การดูดซึมกลับ การให้คนื การเอากลับคืนมาอีก และจะเริม่ ต้น กันใหม่อกี ด้วยการถ่ายเทความเข้มข้นออก ทีเ่ ราเรียกกันว่าน้�ำ ปัสสาวะ และ น้ำ�ปัสสาวะนี้ก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ จากปริมาณของ โลหิตที่มาจากหัวใจเป็นจำ�นวนมากซึ่งเต็มไปด้วยออกซิเจนนั้นจะไหลผ่าน อวัยวะปอดที่มีลมหายใจภายในและมีกึ่งจิตสำ�นึกในปอด-ในตรงกันข้ามกับ ตับที่เต็มไปด้วยโลหิตดำ�นั้น ดังนั้นแล้วไตของเราจะมีอะไรอีกบ้างไหมที่ หลบซ่อนอยู่ในบางส่วนภายในและที่มีพื้นฐานแตกต่างกันไปทางด้านภาย นอก นอกไปจากการสร้างน้ำ�ปัสสาวะและการขับถ่าย? 60

ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์


อย่างทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในเบือ้ งต้นต่อความสัมพันธ์ของไตกับออกซิเจน ที่เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก – อย่างที่เราได้เห็นกับตับ ในการรับน้ำ�ตาลว่า ตับ รับเอาสสารเข้ามาในตนเองมากกว่าความต้องการ–ในกรณีของไตนัน้ คือออกซิเจน เพียงแต่หัวใจและสมองเท่านั้นที่รับเอาออกซิเจนเข้ามากกว่าไต นอกเหนือ จากนีแ้ ล้วไตยังมีความสามารถกระตุน้ สสาร – ถ้าอวัยวะอืน่ ๆขาดออกซิเจน ในช่วงเวลาที่เสียเลือดและอยู่ในบรรยากาศสูง – ที่อยู่ในไขกระดูกต่อการ ผลิตเมล็ดโลหิตแดงเพื่อขนส่งออกซิเจน (Erythrocyte) โรคไตบางชนิดจะ นำ�ไปสูภ่ าวะโลหิตจาง (Anemia) ไตมีความสนใจอย่างมากทีอ่ ยากให้อวัยวะ ภายในอืน่ ๆได้มลี มหายใจผ่านอย่างถูกต้อง เช่นนีก้ ห็ มายความว่าอวัยวะอืน่ ๆ จะต้องมีลมหายใจที่เป็นวิญญาณผ่าน ดังนั้นเราจะเข้าใจได้ว่า ไตมีหน้าที่ นอกเหนือไปจากการขับถ่ายของเหลว การกำ�จัดของเสียที่มีไนโตรเจนและ การควบคุมความสมดุลของแร่เกลือแล้ว ไตยังต้องควบคุมลมหายใจของ มนุษย์และจะขยายการกระทำ�ใน “การหายใจ” ไปจนถึงปอดและต่อไปอีก เพราะว่าปอดไม่ได้เป็นผู้หายใจ แต่มนุษย์ผู้ที่มีวิญญาณเป็นผู้หายใจ แล้ว แต่สภาพของวิญญาณมนุษย์จะดูดลมเข้าลึกถ้าเขาไม่พอใจ หรือจะหายใจ ออกอย่างผ่อนคลายถ้าเขาไม่ตึงเครียด เราอาจจะสมมุติว่าปอดเป็นเหมือน กระเป๋าสตางค์ทเ่ี ป็นสถานทีเ่ ก็บสตางค์เท่านัน้ “สตางค์” นัน้ ก็คอื ตัวอากาศ เองที่ไม่ไหลเข้าได้ด้วยตนเองถ้า “กระเป๋าสตางค์” ปอดได้เปิดตนออกแต่ จะต้องเป็นสิ่งที่มาจากที่อื่นแน่ กำ�ลังการเคลือ่ นไหวของกำ�ลังอากาศนีจ้ ะดูดเอาน้�ำ ออกจากร่างกาย มนุษย์ได้ด้วยความช่วยเหลือของกระเพาะปัสสาวะ ถึงแม้ว่าความคิดเห็น เช่นนี้เป็นความคิดเห็นที่ผิดปกติสำ�หรับมนุษย์บางท่าน แต่ความรู้จริงใน การปฏิบัติทางแพทย์แนวมนุษยปรัชญาและแพทย์จีนได้รับผลสำ�เร็จเป็น อย่างดีมาก การควบคุมในระเบียบของลมหายใจโดยผ่านระบบของไตนัน้ จะ ขยายตนออกไปจากลำ�ไส้ใหญ่ผา่ นปอดไปจนถึงโพรงจมูกและ หูถา้ เราจะมา พิจารณารูปทรงทางกายวิภาคของไตแล้วเราจะเห็นว่าไตมีรปู ทรงทีค่ ล้ายคลึง กันกับรูปทรงของหู ในทำ�นองเดียวกันเราจะเห็นความคล้ายคลึงกันได้ใน ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

61


ท่อปัสสาวะกับหลอดหู (eustatian tube) และในกระเพาะปัสสาวะกับ เพดานปากชั้นบน สำ�หรับเด็กเกิดใหม่ในกรณีทม่ี โี รคการติดเชือ้ นัน้ หูและไตจะได้รบั ผล ร่วมกันไป ตามข้อการสังเกตการณ์เราจะพบได้ว่า ในกรณีที่ไตวิกลภาพบาง ชนิดเกิดขึ้น ก็จะก่อให้เกิดการวิกลภาพทางหูด้วย ตามความเห็นทางแพทย์จีนแล้ว ไตจะเป็นผู้เก็บรักษาบันทึกข้อมูล กำ�ลังชีวติ และพลังกรรมพันธุข์ องบรรพบุรษุ ไว้ ดังนัน้ รูปทรงหูใหญ่กจ็ ะแสดง ออกถึงความแข็งแรงของชีวิตและไตด้วย อย่างที่เราสามารถเห็นกันได้ใน พระพุทธรูป ถึงแม้ว่าในความคิดเห็นของแพทย์จีนจะให้ความสนใจต่อ การควบคุมของเหลวและไตจะได้รับการมองว่าเป็น “อวัยวะน้ำ�”ก็ตาม เขา ได้ชเ้ี พือ่ ไม่ให้เราเข้าใจผิดได้วา่ มันเป็นการกระทำ�งานทางภายในของไตทีด่ งึ ลมหายใจลึกเข้าสู่ร่างกาย และไตก็จะเป็น “ต้นกำ�เนิด” ของลมหายใจ มนุษย์ทม่ี กี ารหายใจตืน้ ๆและราบเรียบจะเป็นคนทีก่ ระวนกระวายตึงเครียด ขี้กลัวและน่าหนักใจ ในทางตรงกันข้ามสภาพทางวิญญาณเช่นนี้จะนำ�ไปสู่ การหายใจทีเ่ ป็นไปอย่างผิวเผิน ไตทีอ่ อ่ นแอจะนำ�เราไปสูค่ วามหวัน่ กลัวง่าย และความกลัวและสภาพอาการตกใจสุดขีดจะมีผลเข้าไปสู่ในไต ดังนั้นเรา จึงพูดในสภาพชีวิตที่ตื่นเต้นเร้าใจ หรือในสภาพที่ได้รับการบาดเจ็บหนักว่า เป็น “สภาวะไตช็อก” ในทีน่ ก้ี ารแพทย์แนวมนุษยปรัชญาจะมาประสานงาน กันกับการแพทย์จนี และจากการขยายและการเข้าลึกลงไปในความรูจ้ ริงต่อ ไตและระบบกระเพาะปัสสาวะ จะสามารถบำ�บัดรักษาต่อการก่อกวนระบบ ลมหายใจได้เช่น: โรคท้องเฟ้อ โรคหอบหืด อาการมีเสียงในหู (tinnitus) และไรคการสูญเสียเสียงในหู ในโรคทัง้ สองนีส้ ว่ นมากแล้วจะมาจากความตึง เครียดเช่นเดียวกับโรคโพรงจมูกอักเสบ (sinusitis) และโรคติดเชื้อในหู เราจะกลับมาพิจารณาดูไตอีกครั้งหนึ่งภายใต้มุมมองของแพทย์ ทางตะวันออกทีเ่ ขาเรียกไตกันว่าเป็น “อวัยวะฤดูหนาว” ซึง่ เป็นผูเ้ ก็บรักษา พลังงานไว้ในฤดูหนาวอย่างเช่นเดียวกับโลกของเรา เพื่อที่จะส่งพลังงานคืน ให้กับตับ หัวใจ และการหมุนเวียนของโลหิต ในต้นปีหน้าในฤดูใบไม้ผลิ ถ้า 62

ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์


กำ�ลังในการสร้างสรรค์ตอ้ งการพลังงานนี้ ดังนัน้ เราจะต้องการพลังงานพิเศษ ของไตของเรา ถ้าเราจะเรียกร้องต่อกำ�ลังการปฏิรปู ในสถานการณ์ทห่ี นักมาก เกินไป หรือในสถานการณ์ระยะพักฟื้น ในหนังสือบทเรียนแพทย์จีนจะเรียก ไตว่าเป็น “จักรพรรดิสเี หลือง” ผูม้ อี ายุเป็นพันๆปีแล้ว: “ระยะเวลา 3 เดือน ในฤดูหนาวเราเรียกกันว่าเป็นเวลาที่ปิดตัวและรักษาสะสม น้ำ�จะกลายเป็น น้�ำ แข็งและพืน้ ดินก็จะแตกตัวออก เราไม่ควรทีจ่ ะรบกวนหรือทำ�ให้เสือ่ มเสีย ต่อหยาง (yang) – พลังงานฝ่ายชายทีค่ ล่องแคล่ว – ทีห่ ยุดพักผ่อนในฤดูหนาว ในฤดูนี้มนุษย์เราควรจะเข้านอนแต่หัวค่ำ�และตื่นสายในวันรุ่งขึ้น ควรจะ พยายามกดดันเก็บความหวังและความปรารถนาเอาไว้ให้คล้ายๆกันกับว่าเรา ไม่ต้องการมัน และเราก็ได้รับผลสนองมันเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว เราควรจะ พยายามออกห่างจากความหนาว แต่เราต้องแสวงหาความอบอุน่ เราไม่ควร จะให้เหงื่อออก และควรจะต้องออกห่างจากพลังความหนาว สิ่งทั้งหลายนี้ จะต้องเกิดขึน้ โดยมีความสัมพันธ์สอดคล้องไปกับกฎการเป็นไปของฤดูหนาว และสิง่ ทัง้ หลายนีก้ จ็ ะช่วยส่งเสริมอุม้ ชูในสิง่ ทีไ่ ด้เก็บรักษาเอาไว้ สำ�หรับท่าน ผู้ที่ไม่ทำ�ตามกฎการเป็นไปของฤดูหนาวนั้นก็จะมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วยกับไต เขาจะอ่อนแอในฤดูใบไม้ผลิ (เขาจะขาดพลังงานและจะไม่มีประสิทธิภาพ ในการงาน) และเขาจะผลิตผลประโยชน์ได้น้อยมาก” “ฤดูหนาว” ในความหมายของเรานั้นเป็นการกดอัดและการหดตัว อย่างที่เราได้เห็นจากการกระทำ�ในการแยกเกลือออกของไต และในการทำ� ให้มีความเข้มข้นขึ้นของปัสสาวะ ดังนั้นแล้วไตก็จะเข้าอยู่ในกลุ่มของสิ่งที่มี รสเค็ม ปริมาณเกลือเพียงเล็กน้อยหรือปานกลางจะไปกระตุน้ ไตและน้�ำ แกง ร้อนและมีรสเค็มจะเป็นยาบำ�บัดที่ดีต่อโรคการหมุนเวียนโลหิตผิดปกติหรือ โรคความดันโลหิตสูง ในตรงกันข้ามไตจะหดตัวเข้าถ้าปริมาณเกลือมีมาก ซึ่งจะสามารถนำ�ไปสู่โรคความดันโลหิตสูงในเวลาต่อไป ผลเสียหายที่ตาม มาจากการมีแร่ธาตุสงู และการแข็งตัวก็คอื การเสือ่ มของดวงตาและหลอดเลือด แดงแข็ง ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

63


เมื่อไตเป็นอวัยวะฤดูหนาวเช่นนี้แล้วเราจะต้องห่อหุ้มไตเพื่อให้ ความร้อนและความอบอุ่นแก่ไต และจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงและไม่ใช้ เสื้อผ้าที่ปล่อยให้บริเวณไตว่างเปล่า ในทำ�นองเดียวกันเท้าของเราก็ไม่ควร ให้เปียกและเย็น เพราะว่าตามความรู้ทางเส้นเมอริเดียนของพวกชาว ตะวันออกกลางจะกล่าวว่าเส้นเมอริเดียนของไตจะออกจากกลางพื้นเท้า ผ่านไปยังน่องขา และด้านในของต้นขาผ่านไปยังง่ามขาไปถึงกระดูกไหปลาร้า โรคต่อไปนีอ้ าจจะมาจากความอ่อนแอของพลังงานไต: เหนือ่ ยง่ายหรือเท้าแสบ ร้อนหรือเท้าหนาวเย็นที่เป็นอย่างเรื้อรัง น่องเป็นตะคริวแข็งและขารู้สึก ถ่วงหนัก ดังนัน้ แล้วการแช่เท้าในน้�ำ ร้อนจึงเป็นการบำ�บัดอย่างดีตอ่ ไตอักเสบ และกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นว่าระบบ การทำ�งานของไตและกรรมวิธีของทองแดงจะส่งเสริมลมหายใจและใน ทำ�นองเดียวกันก็จะส่งเสริมวิญญาณลมหายใจในอวัยวะภายในทั้งหมด การกระทำ�ที่ทำ�ให้กรรมวิธีนี้อ่อนแอลงไปนั้นจะทำ�ให้มีตะคริวแข็งเกิดขึ้น มีลมอัดเกิดขึ้น มีแขนขาเยือกเย็นและริมฝีปากเขียวเกิดขึ้น (canosis) และ มีโรคทัว่ ๆ ไปทีม่ าจากความหนาวเย็น ส่วนล่างของกายวีนสั จะเป็นคล้ายกับ ว่าเป็น “นางเงือก” ที่อยู่ในน้ำ�ที่เยือกเย็น ในสภาพของการหายใจผิดปกติ เกิดความกลัวและเกิดตะคริวแข็งนั้น “วีนัสขึ้นจากน้ำ�อย่างรวดเร็วเกินไป และจะสูดลมหายใจอย่างตะกุกตะกักเหมือนกับปลาที่ไม่ได้อยู่ในน้ำ�” เราจะมาพิจารณาดูไตจากมุมมองของทางจิตวิทยาศาสตร์ต่อไปอีก ไตจะมีความสัมพันธ์กับชีวิตวิญญาณของจิตใต้สำ�นึก และในฐานะของ การเป็นอวัยวะที่เฉื่อยชาไตจะมีอิทธิพลต่ออารมณ์ของชีวิตวิญญาณและ อุปนิสัย ในความหมายว่าเป็น “กระแสลม” ในความสุขสบายของเรา ในการแพทย์ทางเวชศาสตร์กายจิต เราจะเรียกไตว่าเป็น“อวัยวะร่วม กระทำ�” ที่ควบคุมดูแลความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับโลกภายนอก ใน ทางตรงกันข้ามกับหัวใจที่มีแต่อิทธิพลต่อความสัมพันธ์ทางด้านชะตากรรม 64

ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์


เท่านั้น ดังนั้นมันจึงเป็นพื้นฐานความแตกต่างที่ว่าสิ่งนี้เข้ากระทบมาถึงไต เราหรือว่าชะตากรรมนีห้ กั อกเรา อวัยวะแต่ละอวัยวะทีท่ �ำ งานร่วมกันได้มาก หรื อ น้ อ ยอย่ า งไรนั ้ น เราจะเห็ น ได้ จ ากสสารที ่ ป อดผลิ ต ออกมา คื อ (Angiotensinogen) ที่ไ ด้ร ับจากการช่วยเหลื อ ของไต (Renin) ออก เป็นเยื่อ (Angiotensin) ที่บังเกิดผลต่อกล้ามเนื้อของหลอดโลหิตเล็กและ ด้วยการกระทำ�เช่นนีจ้ งึ ทำ�ให้มคี วามดันโลหิตสูงเกิดขึน้ ทุกวันนีต้ วั ยาทีน่ �ำ ไปใช้ลด ความดันโลหิตให้ต่ำ�ลงมานั้นเราเรียกกันว่า ACE-Hemmer (Angiotensin Converting Enzyme-Inhibitor) เป็นตัวที่มีผลทางขบวนการสันดาปโดย เริ่มต้นจากไต ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากทางอารมณ์นั้น เราจะเห็นผลกระทบได้กับ ไตทั้งสองข้าง: เห็นกับไตที่ขับน้ำ�ออก และเห็นกับไตที่ขับลมหายใจ คนเรา ทุกคนรูจ้ กั กับสถานการณ์ทางอารมณ์ทก่ี อ่ ให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากจน ทำ�ให้เหมือนกับว่าขาดลมหายใจ หรือเหมือนกับว่าถูกบีบคอ หรือเราจะต้อง แสวงหาลมหายใจ ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นสิ่งที่เรารู้จักกันมาแล้วว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากทาง อารมณ์และจิตใจนั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อการขับถ่ายน้ำ�ปัสสาวะ เห็นได้ เช่นจากสถานการณ์ในการสอบหรือจากสถานการณ์ที่มีความตื่นเต้น แต่ใน ตรงกันข้ามเราก็จะมีการกั้นน้ำ�ปัสสาวะในสภาพภาวะช็อกหรือตกใจสุดขีด ตามเวชศาสตร์กายจิตนั้นเรารู้จักกันโดยทั่วๆไปแล้วว่า สำ�หรับเด็กนั้นความ รู้สึกที่ถูกกดดันเอาไว้และความรู้สึกที่ไม่สามารถแสดงออกได้ในชีวิตจะนำ� ไปสูส่ ภาพทีเ่ ด็กปัสสาวะรดทีน่ อนในเวลากลางคืน ดังนัน้ แล้วเราเรียกอาการ โรคว่าเป็น “น้ำ�ตาที่มาจากการไม่ได้ร้องไห้เวลากลางวัน” ในตรงกันข้ามถ้า การแก้ปัญหาที่ถูกกดดันทางจิตใจและอารมณ์เอาไว้แล้วนั้นได้ด้วยน้ำ�ตา การปัสสาวะรดที่นอนก็จะลดน้อยลงไปทันที ความคิดเห็นของการแพทย์ทางด้านตะวันออกนั้นเขาจะนับได้ว่า ไตเป็ น ที ่ ต ั ้ ง ของความต้องการ สิ่งนี้ห มายความว่ า ไตเป็ นพื ้ นฐานของ ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

65


อวัยวะภายในที่เราจะต้องเพ่งเล็งไปที่จุดหมายและจะต้องทำ�ให้สำ�เร็จโดย ไม่ต้องคำ�นึงถึงความยากลำ�บากที่จะเกิดขึ้น ด้วยวิธีการค้นคว้าสมัยใหม่ในปัจจุบันต่อผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังได้ รับรองอย่างเต็มที่ว่า ไตนั้นเป็นอวัยวะที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทาง วิญญาณ การขาดพลังงานและการขาดแรงกระตุน้ นัน้ เราก็สามารถจะสังเกต ได้ในทำ�นองเดียวกันกับความไม่กระตือรือร้น ความซึมเศร้าและความรู้สึก ว่างเปล่าทางภายใน วิญญาณไม่มคี วามสามารถทีจ่ ะเข้ายึดครองกายโดยผ่าน การปฏิบัติงานของไตได้อย่างถูกต้อง ในที่นี้จะมี “ลมสงบ”ทางวิญญาณ เกิดขึ้น ในด้านตรงกันข้ามก็อาจจะมีความโกรธเดือดดาล (พายุแรง) และ อารมณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นที่ไม่สามารถจะควบคุมได้ การปฏิบัติงานของไตจะต้องประกอบไปด้วยในการห่อหุ้มทั้งทาง ด้านกายและวิญญาณ อนาคตต่อไปเราจะต้องเรียกร้องต่อความสามารถใน การตรวจรับรู้ของแพทย์และคนทั่วๆไปอย่างสูงเพื่อที่จะได้รับรู้เห็นในความ อ่อนแอของอวัยวะภายใน ก่อนที่ความอ่อนแอนี้จะเกิดผลขึ้นทางกายกับ อวัยวะทีไ่ ม่สมดุลทางวิญญาณ – ความหมายทีว่ า่ ความอ่อนแอนีเ้ พิง่ จะเริม่ ต้น เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาการปฎิบัติงานของวิญญาณ – และจะไม่สรุปต่อ สิง่ เหล่านีว้ า่ เป็นเพียงแต่ “จิตใจ” หรือเป็นผลมาจาก“จิตใต้ส�ำ นึก”ทีถ่ กู กดดัน เอาไว้ ในอนาคตถ้าเราได้รู้เห็นและเข้าใจอย่างลึกซึ้งใน “จิตวิทยาของ อวัยวะภายใน” มากขึน้ ต่อไปอีก เราจะสามารถยืน่ มือเข้าไปช่วยรักษาให้ยา ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ และความเข้าใจของเราต่อการเป็นไปในตัวมนุษย์ก็จะเกิดขึ้น ความเข้าใจนี้เราจำ�เป็นจะต้องมีในการปฏิบัติงานในสังคมเพื่อที่จะสามารถ รวบรวมคุณสมบัติของมนุษย์แต่ละบุคคลในการปฎิบัติงานทางกายและ วิญญาณของเขา ลักษณะเฉพาะของไตแต่ละไตจะแสดงออกทางกายและ วิญญาณ “ในระยะเริ่มต้น” โดยไม่ได้มีผลออกเป็นโรคทางกายได้อย่างไร? เราจะมาพิจารณาดูกับบุคคลที่ต้องผ่านสภาวะช็อกหรือหวั่นกลัว ซึ่งอาจจะมาจากสถานการณ์สงครามในสมัยที่เขายังเป็นเด็กอยู่และเขาก็ 66

ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์


ไม่สามารถจะมีสง่ิ ปกป้องทางสังคมได้ เพราะว่าเขาต้องย้ายทีอ่ ยูบ่ อ่ ยๆ หรือ ว่าเขามีพ่อแม่ที่มีความหวั่นกลัว และความหวั่นกลัวนี้ก็ได้ถูกยัดเยียด ถ่ายทอดให้กับเขาต่อไป ในเวลาต่อมาเริ่มตั้งแต่ในสมัยโรงเรียนอนุบาล เขาจะมีการหายใจผิดปกติ ที่จากผลการวิเคราะห์ทางอวัยวะปอดแล้วไม่ ได้แสดงให้เห็นถึงข้อบกพร่องทางกาย น้ำ�เสียงของเขาจะเป็นน้ำ�เสียงที่ เชื่องช้า แสดงออกถึงความระมัดระวังและความหวั่นกลัว เท้ากับเส้นเอ็น จะเจริญเติบโตอย่างไม่สมบูรณ์แบบและอ่อนแอ เท้าอาจจะล้มพลิกบ่อย หรือเท้าจะไม่มแี รงเมือ่ เขาเดินในระยะทางไกลๆ คุณลักษณะการจริญเติบโต และคุณสมบัติจะดูเหมือนว่าไม่ได้อยู่บนพื้นแผ่นดินนี้ – คือเป็นธาตุลม – วิญญาณชีวิตของเขาจะรับความประทับใจจากการเป็นไปทางโลกภายนอก ได้ง่าย ชีวิตวัยฉกรรจ์เขาค่อนข้างจะมีความดันโลหิตต่ำ� แต่ในช่วงสูงอายุ ความดันโลหิตจะค่อนข้างสูง ทัง้ นีก้ ย็ งั รวมไปถึงกับการเปลีย่ นแปลงอารมณ์ อย่างรุนแรงด้วย (“ดีใจและร่าเริงอย่างรุนแรง – โศกเศร้าซึมและหดหู่ใจ อย่างหนัก”) กระเพาะปัสสาวะจะมีปฏิกิริยาตอบกลับต่อข้อเรียกร้องทาง จิตใจอย่างรวดเร็ว และก็จะมีความอ่อนแอในของอวัยวะหายใจช่วงบนที่ จะเกิดอาการอักเสบของโพรงจมูกและหู ความตึงเครียดจะนำ�เขาไปสู่ อาการที่มีเสียงในหู ถ้าเราจะจินตนาการว่า ไตเป็นเหมือนกับแขนทั้งสองแขนที่โอบ ต้นไม้ไว้ในรูปวงกลม และด้วยการกระทำ�เช่นนี้เราจึงได้สร้างขอบเขต ความคุ ้ ม ครองป้ อ งกั น ภายในขึ ้ น และในทำ � นองเดี ย วกั น ขอบเขต ความคุม้ ครองป้องกันภายในก็จะเกิดขึน้ ในวิญญาณของเราตามความเชือ่ มัน่ มา ตั ้ ง แต่ ส มั ย เก่ า ว่ า ถ้ า ผู ้ ใ ดมี โรคไตอั ก เสบเขาจึ ง จะต้ อ งนอนพั ก ผ่ อ น เป็นเวลานาน ๆ เพื่อที่จะให้โรคไตอักเสบสามารถบำ�บัดตนเองได้ด้วย การให้ความร้อนกับไตอย่างสม่ำ�เสมอและด้วยการดูแลทางวิญญาณที่ ถูกต้อง ทำ�ไมแพทย์สมัยเก่าที่มีความคิดเห็นในแนวทางจักรวาลวิทยากับ แพทย์สมัยใหม่ที่มีความคิดเห็นในแนวทางมนุษยปรัชญา จึงได้นำ�เอา ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

67


อวัยวะไตให้มามีความสัมพันธ์กับดาวพระศุกร์และธาตุทองแดง ซึ่งเป็น โลหะบำ�บัดและเป็นตัวยาบำ�บัด? ตามเทวตำ�นานวีนัสหรือแอฟระไดทเป็นเทพธิดาแห่งความรักแห่ง ความงามและแห่งฤดูใบไม้ผลิ วีนัส “ผู้ที่เกิดมาจากฟองน้ำ�ทะเล” ถูกยก ถวายขึ้นมาจากมหาสมุทรและถูกต้อนรับจากกระแสลม ด้วยเหตุนี้แล้ววีนัส จึงได้แสดงตนออกในความสัมพันธ์สองแบบต่อกระแสน้ำ�และสายลม อย่าง ที่เราสามารถเห็นได้จากการเกิดของฟองน้ำ�ซึ่งเป็นการผสมกันระหว่างลม กับน้�ำ พืน้ ฐานลักษณะท่าทางของเทพธิดานีจ้ ะออกเป็นการก่อการริเริม่ ใหม่ การให้ความอบอุ่น การต้อนรับ การก่อเริ่มและความสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นแผ่นดิน โลหะที่มีความหมายเช่นเดียวกันนี้เป็นโลหะที่มีทั้งสีทองและ สีแดงรวมกัน โลหะนี้คือทองแดงที่มีค่าสัมประสิทธิ์การนำ�ความร้อนของ โลหะ ค่าการขยายตัวของโลหะ และค่าความแตกต่างหลากหลายของสีใน แร่ธาตุต่าง ๆ เช่น บอร์ไนต์ (bornite Cu5FeS4) มาลาไคต์ (malachite) Cu2(CO3)(OH)2) หรือโอลิเวไนต(olivenite Cu2(AsO4)(OH) ซึ่งแร่ธาตุ ทั้งหลายนี้เป็นธาตุสัมพันธ์ทางเคมีกับทองแดง ในทางการแพทย์ธาตุเหล่า นี ้ ม ี พ ลั ง ให้ ค วามร้ อ นกั บ อวั ย วะต่ า งๆของมนุ ษ ย์ และเป็ น การก่ อ ตั ้ ง ขบวนการสันดาปทั้งหมดในร่างกาย ปริมาณมากของทองแดงในตับที่เป็น อวัยวะชีวิตของเรานั้นชี้ให้เห็นในทิศทางนี้ด้วย สภาพโรคเลือดจางบางสภาพต้องการธาตุทองแดงเพื่อที่จะให้ ธาตุเหล็กเข้าไปสู่เมล็ดเลือดแดงได้ ทองแดงมีความสัมพันธ์อย่างพิเศษกับ การหมุนเวียนโลหิตในหลอดเลือด และเป็นตัวยาบำ�บัดที่ดีทั้งทางภายนอก และทางภายในต่อการเคล็ดยอก การกระตุกหดเกร็งและแขนขาเย็น ดังนั้น เราไม่ควรจะคำ�นึงถึงเพียงแต่ธาตุแมกนีเซียมต่อการหดเกร็งของขาของเรา ในเวลากลางคืนเท่านั้น มนุษย์เรามีแร่เหล็กและแร่ทองแดงอยูใ่ นเซรุม่ (serum) ของเรา ใน โรคอักเสบเรื้อรังและในการเจริญเติบโตทางพยาธิวิทยาของโรค อย่างเช่น โรคมะเร็งปริมาณทองแดงในเลือดจะเกิดสูงขึ้น แต่ถ้ากรรมวิธีของขบวน 68

ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์


การสันดาปเกิดเฉื่อยชาลงในตัวอย่างเช่นในภาวะต่อมไทรอยด์ทำ�งานน้อย (hypothyroidism) ปริมาณทองแดงในเลือดก็จะเกิดต่ำ�ลง ตามมุ ม มองในทางด้ า นจิ ต วิ ท ยาแล้ ว ทองแดงยั ง เป็ น แร่ ธ าตุ ท ี ่ น่าสนใจมาก เราจะพบได้ว่า ปริมาณทองแดงในเลือดจะสูงขึ้นกับ“โรคจิต” บางโรคอย่างเช่น สภาพโรคจิตเภท สภาพโรคอาการคลั่งเดี๋ยวสุขเดี๋ยว เศร้าซึมและสภาพโรคลมบ้าหมู ในที่นี้เราจะต้องกล่าวต่อไปอีกด้วยว่า ใน ทัศนียภาพเบือ้ งหน้าของโรคจิตเภทนัน้ ประสาทหลอนทางหูจะเกิดขึน้ ด้วย สัญลักษณ์นี้จะเป็นข้อชี้แนะให้เห็นต่อความสัมพันธ์กับการทำ�งานของไต ตามความเห็นของแพทย์จีนที่ได้กล่าวว่า พลังที่มาจากไต (chi renal) จะไต่ขึ้นมาสู่เบื้องบนและจะมา “เปิด” หูออก ในช่วงสุดท้ายเราจะมาพิจารณาถึงโครงสร้างที่ละเอียดอ่อนของ อวัยวะไตอีกครั้งหนึ่ง อวัยวะที่เป็นเหมือนกับว่าเป็นฝ่ามือที่เปิดต้อนรับ หรือว่าเป็นดอกไม้ เป็นอวัยวะพิเศษซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นตัวตน ของ “เพศหญิง”: อวัยวะของการรับความอบอุ่นจากจักรวาล รับความรัก รับลมอากาศและแสง ที่สามารถช่วยมนุษย์เราผู้ที่ได้รับเอาสสารที่เป็น กระแสทางวิญญาณเข้ามาสู่ในตนเอง ดังนั้นแล้วทองแดงจึงเป็นธาตุที่เป็นส่วนสำ�คัญในชีวิตของเรา การขาดแคลนแร่ทองแดงนั้นจะนำ�ไปสู่โรคกระดูกพรุนและโรคผมหงอก แต่เนิ่นๆ ถ้าต้นพืชขาดแคลนแร่ทองแดงยอดใบจะเหลืองและลูกผลไม้จะ ไม่สมบูรณ์แบบหรือจะไม่ออกผล ถ้าเราเอาสายทองแดงผูกกับรากและดิน ของต้นมะเขือเทศแล้วมันจะช่วยป้องกันโรคใบไม้เหลืองเน่า ความสัมพันธ์ของแร่ทองแดงกับความร้อน และเช่นเดียวกันอิทธิพล ของธาตุทองแดงต่อการไหลเวียนของโลหิตและการผ่อนคลายความตึงเครียด ของอวัยวะทั้งหมดของมนุษย์นั้น ได้รับการค้นคว้าในหลายๆปีที่ผ่านมาใน มหาวิทยาลัยทูริน (Turin) การใช้ผ้าทองแดงใส่ในหมอนหรือผ้าทองแดง ในผ้าห่มนอนนั้นได้ช่วยลดความเจ็บปวดในศีรษะและในบ่าคอ ในแบบ อย่างเดียวกันกับการใช้ผา้ ทองแดงใส่ในพืน้ รองเท้าด้านในเพือ่ ช่วยต่อเท้าทีเ่ ย็น เหนื่อยง่ายและเท้าเคล็ด ได้ผ่านการทดลองออกมาอย่างเรียบร้อยแล้ว ไตคืออวัยวะภายในของดาวพระศุกร์

69


เทพเจ้าเมอคิวรี (Mercury) ซึ่งเป็นผู้สื่อสารระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์และเป็นเทพเจ้าที่มีปีกนก อยู่ท่ี เท้าซึ่งแสดงถึงการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การหายใจเข้าและการหายใจออกของมนุษย์ เป็นการเคลื่อนไหวที่มนุษย์เราตั้งแต่สมัยดึกดำ�บรรพ์มาแล้วนับได้ว่าเป็น “ประตูการเข้าสู่จักรวาล” ซึ่งมีพลังการรักษาบำ�บัดที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่


ปอดคืออวัยวะภายในของดาวพระพุธ

ด้

วยปอดและลมหายใจเราจะผูกโยงชีวติ ของเราและการเป็นกาย ตั วตนของเราโดยตรงกับพื้นแผ่ นดิ นโลกนี ้ เพราะว่ า สิ ่ ง ทัง้ หลายทีม่ ชี วี ติ ในโลกนี้ – มีขอ้ ยกเว้นบ้างเล็กน้อย – จะต้องรับการสูดลมหายใจ จาก“สารชีวิต” ออกซิเจน ตามความเป็นจริงแล้วเราจะเริ่มต้นเข้าสู่ในกาย ชีวิตของเราด้วยการสูดลมหายใจเป็นครั้งแรกและเราก็จะออกจากกาย ชีวิตของเราด้วยการสูดลมหายใจเป็นครั้งสุดท้าย แต่ถ้าเราเพียงแต่จะ สูดลมหายใจจากออกซิเจนที่บริสุทธิ์เท่านั้นแก่นสารชีวิตของเราก็จะหมด สลายไป ดังนั้นแล้วเราจึงต้องสูดลมหายใจที่รับเอาไนโตรเจนในอากาศ เป็ น จำ � นวนมาก (ประมาณ 79%) รวมเข้ า ไปด้ ว ยซึ ่ ง เป็ น ผู ้ “ระงั บ ” จากการหายใจเข้าและการหายใจออกนั้นมีเท่ากัน นอกจากหัวใจของเรา แล้วการทำ�งานของปอดนั้นก็เป็นเครื่องหมายของรากฐานของจังหวะ การทำ�งาน ทำ�ไมเราจึงว่าการหายใจของมนุษย์เราตัง้ แต่สมัยดึกดำ�บรรพ์นน้ั เป็น “ประตูการเข้าสู่จักรวาล” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์?ก็เพราะว่ามนุษย์เราหายใจ ประมาณ 18 ครั้งต่อนาที ใน 24 ชั่วโมงเราจะหายใจ 24,920 (18x60x24) ครั้ง เวลาที่ดวงอาทิตย์ใช้เพื่อที่จะเดินทางผ่านไปให้ครบรอบจักรราศรี ต่างๆ 1 รอบนั้นต้องใช้เป็นเวลา 24,920 ปี ในอดีตเราเรียกเวลานี้กันว่าป็น “ปีโลกเพลโต” (เพลโต Plato นักปรัชญาชาวกรีกมนุษย์เรามีอายุโดย เฉลี่ยแล้ว 72 ปี คูณด้วย 360 วัน แล้วจะได้เลขผลลัพธ์เท่ากันกับจำ�นวนปี “ลมหายใจ” ของจั ก รวาล โดยเฉพาะอย่ า งยิ ่ ง ในวั ฒ นธรรมของโยคะ การควบคุมลมหายใจนั้นเป็นสิ่งที่สำ�คัญมากที่สุด ปอดของเรา – ผิวหนังของเราด้วย – เป็นอวัยวะที่ผูกพันใกล้ที่สุด กับตัวของเราและได้รับความปกป้องน้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม เข้ามาสู่ตัวเราโดยตรงและเราเองจะต้องสูดลมหายใจเข้าที่ผู้อื่นได้หายใจ ออกมาด้วย ดังนัน้ การติดต่อกันของโรคต่างๆจะเกิดขึน้ ได้โดยผ่านทางลมหายใจ ปอดคืออวัยวะภายในของดาวพระพุธ

71


สำ�หรับผูท้ ม่ี สี ภาพภูมคิ มุ้ กันอ่อนแอ เช่น โรคเอดส์ สิง่ แรกทีจ่ ะถูกโจมตีก็ คือ ปอด หากเราจะมองดูจากการเป็นไปของปอดแล้ว จะเห็นว่าปอดได้ พัฒนาตนออกมาจากผนังของลำ�ไส้ ออกเป็นในสภาพต่อมงอกทีค่ อ่ ยๆ เคลือ่ น ตัวขึ้นสู่ส่วนบนของร่างกายในระหว่างการพัฒนาตนของตัวอ่อน ปอดจะ กลายเป็นในลักษณะต้นไม้ทม่ี ที ง้ั ลำ�ต้นและกิง่ แต่เกิดขึน้ กลับกันในตัวของเรา และจะเกิดเป็นช่องโพลงขึ้น การเป็นไปในลักษณะต่อมที่ผลิตน้ำ�คัดหลั่งได้ นัน้ ปอดได้ “เสียสละ” ตนให้ตอ่ การรับเอาอากาศภายนอกเข้า ถ้าปอดต้องการ จะกลับกายไปเป็นต่อมอีก จะมีน้ำ�เมือกมาก ดังนั้นมนุษย์เราก็จะป่วย ปอดจึงไม่สามารถปฏิเสธความสัมพันธ์ของตัวเองกับระบบลำ�ไส้ได้ถึงแม้ว่า ปอดเองจะเป็นอวัยวะทีพ่ ฒ ั นาตนอย่างสำ�เร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม ในการมอง ของแพทย์จนี ปอดจะมีความเกีย่ วข้องสัมพันธ์กบั ลำ�ไส้ใหญ่ และมุมมองของ แพทย์มนุษยปรัชญาเราจะได้พบกับข้ออ้างว่า อาการไอและอาการท้องเสีย จะเป็นสิ่งที่สอดคล้องกัน เราจะอธิบายสิ่งนี้ในช่วงต่อไป ปอดมีความสัมพันธ์จากการทำ�น้าที่การหายใจด้วยการเคลื่อนไหว เป็นจังหวะกับระบบเผาผลาญและกับระบบสมอง ด้วยการสูดลมหายใจเข้า และลมหายใจออกนั ้ น กะบั งลมจะ ขยายตัวขึ้นและจะลดตัวลง ในทุกๆ ลมหายใจน้ำ�ในไขสันหลังก็จะขึ้นไป หล่อเลีย้ งสมองเป็นไปตามจังหวะของ ลมหายใจ ดั ง นั ้ น การสู ดลมหายใจ เป็น จังหวะนั้นจึงเป็นตัวกลางของ มนุษย์โดยยืนอยูร่ ะหว่างความปรารถนา ต้องการ และความนึกคิด อย่างเช่นเดียวกันกับชีวติ แห่งความรูส้ กึ ปอด 72

ปอดคืออวัยวะภายในของดาวพระพุธ


การหายใจได้ดำ�เนินการเปลี่ยนแปลงสสารที่ช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้ ต่อไปนั้น โดยจะเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างซับซ้อน ช่วงที่ผ่านมาเราได้เรียนรู้ และเห็นแล้วว่า ในชีวิตวิญญาณของเรานั้นการทำ�งานของระบบไตจะเป็น ผูค้ วบคุมความรวดเร็วของการเต้นและการเข้าลงลึกของลมหายใจได้อย่างไร ในที่นี้เราจะได้พบกับสิ่งที่น่าสนใจที่ว่าปอดเป็นอวัยวะภายในของเรา อวัยวะเดียวเท่านัน้ ทีเ่ ราสามารถควบคุมได้โดยจิตสำ�นึกจากสมอง เราสามารถ กลั้นลมหายใจของเราได้ในช่วงเวลาหนึ่งหรือหายใจออกอย่างรวดเร็ว และ เราสามารถหายใจเป็นจังหวะหรือไม่เป็นจังหวะก็ได้ โดยจะมีผลลัพธ์กระทบ ไปจนถึงระบบการเผาผลาญและระบบการหมุนเวียนของโลหิต กำ�ลังสมอง เป็นกำ�ลังที่ทำ�ให้การทำ�งานของอวัยวะเชื่องช้าลง กำ�ลังการเผาผลาญเป็น กำ�ลังที่ทำ�ให้การทำ�งานของอวัยวะรวดเร็วขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างการสูด ลมหายใจกั บ การเต้ น ของหั ว ใจหรื อ ชี พ จรจะเป็ น ในสั ด ส่ ว น 1:4 ที ่ น ี ้ หมายความว่ า จากการสู ด ลมหายใจ 1 ครั ้ ง นั ้ น ชี พ จรจะเต้ น 4 ครั ้ ง ความสัมพันธ์นี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ซึ่งจะทำ�ให้เราสามารถรับรู้ถึง ความไม่สมดุลระหว่างการกระทำ�งานของสมองกับการกระทำ�งานของระบบ เผาผลาญ การหายใจจึงเป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างส่วนบนและส่วนล่าง ระหว่าง โลกกับจักรวาล โดยลมหายใจจะเชื่อมโยงระหว่างสภาพชื้นและสภาพลม อากาศ ดังนั้นลมหายใจจึงเป็นสัญลักษณ์ของดาวพระพุธและเป็นโลหะที่มี สัญลักษณ์เช่นเดียวกันคือ ปรอท (mercurius) เป็นเทพเจ้าเมอคิวรี ซึง่ เป็น ผูส้ อ่ื สารระหว่างสวรรค์และโลกมนุษย์ และเป็นเทพเจ้าทีม่ ปี กี นกอยูท่ เ่ี ท้าซึง่ แสดงถึงการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ปอดของเราจึงถูกพัฒนาทางด้าน อวัยวะภายในให้ออกมาเป็นอวัยวะที่ไม่มีชีวิตของตนเองขึ้นเพื่อที่จะให้ปอด สามารถรับชีวิตทางโลกจักรวาลได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับตนเอง การทำ�หน้าที่ที่ออกเป็นจังหวะของอวัยวะภายในทั้งหมดนั้น จึง เป็นการกดอัดและการไหลเทออก อย่างในตัวอย่างเช่น ในต่อมต่างๆ ที่โดย ทัว่ ไปแล้วจะเป็นการกระทำ�ด้วยกำ�ลังของดาวพระพุธ จากในทีน่ เ้ี ราจะเห็นได้วา่ ปอดคืออวัยวะภายในของดาวพระพุธ

73


การดำ�เนินการเป็นจังหวะจึงเป็นธรรมชาติกึ่งโลกกึ่งจักรวาล ในลมหายใจ นั ้ น เราสามารถรั บ รู ้ ต ่ อ ผู ้ บ ำ � บั ด ของมนุ ษ ย์ จ ากทางโลกจั ก รวาล ดังนั้นเราจะต้องใส่ใจดูแลการเจริญเติบโตของเด็กอย่างเป็นพิเศษ เพื่อที่จะ ให้การหายใจและปอดสามารถพัฒนาตนขึน้ ได้อย่างดี เพราะว่าลมหายใจนัน้ มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวิญญาณ ดังนั้นการทำ�งานที่เน้นทางปัญญา อย่างหนักจะนำ�ไปสู่การหายใจลำ�บาก (dyspnoea) การหายใจออกจึงมี ความหมายเสมือนว่าเป็นการให้แก่โลกภายนอก และการหายใจเข้ามีความ หมายเสมือนว่าเป็นการรับเข้าสู่ตนเอง ถ้าเรา “วางระเบียบการกระทำ�” อย่างเข้มงวดมากต่อวิญญาณในวัยเด็กเล็กแล้ว ลมหายใจนั้นจะอัดอั้นอยู่ ในปอดเวลาหายใจออก และโรคหืดหลอดลมอาจจะเกิดขึ้นได้ การดูแลลม หายใจจึงเป็นการดูแลวิญญาณและในทางตรงกันข้ามการปฐมพยาบาล วิญญาณ – การใช้ชีวิตอย่างสบายใจต่อโลกแวดล้อมและความสัมพันธ์ทาง จิตใจภายในต่อโลก – จึงเป็นการปฐมพยาบาลที่ดีต่อลมหายใจ แพทย์ของกรีกสมัยโบราณได้แบ่งช่วงชีวิตออกเป็นช่วงๆ ช่วงละ 7 ปี แต่ละช่วงจะมีดวงดาวต่างๆเป็นคูก่ �ำ หนด ในช่วง 7 ปีแรกซึง่ เป็นเวลาที่ เด็กเจริญเติบโตในโลกจากการนอนหลับและการฝัน จากการเจริญเติบโตนี้ เด็กจะต้องต่อสู้กับสิ่งที่ได้รับมาจากการถ่ายทอดของบรรพบุรุษ เด็กจะเป็น กระจกสะท้อนของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เด็กจะมีรูปร่างค่อนข้างกลมและ เป็นเหมือนสภาพของของเหลว (น้�ำ ) และเด็กจะอยูภ่ ายใต้อทิ ธิพลกำ�ลังของ พระจันทร์ 7 ปีที่สองที่เป็นช่วงเวลาของการเริ่มเข้าโรงเรียนไปจนถึงวัย กำ�หนัด ช่วงเวลานีเ้ ด็กจะอยูภ่ ายใต้เครือ่ งหมายของดาวพระพุธ ในช่วงเวลา นี้เด็กจะเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องเเคล่ว มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบ การกระทำ�เป็นจังหวะ อยากเรียนรูแ้ ละชอบการกระทำ�ด้วยการ ใช้มอื แขน และขา ช่วงเวลานี้จะยืดยาวออกไปจนถึงวัยรุ่นกำ�หนัด ซึ่งเป็นวัยที่จะบอก เราว่า เด็กได้เจริญเติบโตเต็มวัยสำ�หรับแผ่นดินโลกหรือเจริญเติบโตเต็มวัย สำ�หรับลมหายใจ ช่วงวัยนี้เด็กจะเข้ามาอยู่ภายใต้อิทธิพลของดาวพระศุกร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความใคร่ทางเพศและกิจกรรมทางเพศจะเกิดขึ้น เด็กอายุ 74

ปอดคืออวัยวะภายในของดาวพระพุธ


ระหว่าง 7 ถึง 14 ปีจะแสดงตนออกในบางสิ่งบางอย่างที่มาจากธาตุปรอท ซึ่งเราได้รู้จักมาแล้วกับปรอทวัดอุณหภูมิ: ปฏิกิริยาตอบกลับต่อสิ่งภายนอก จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว อย่างที่เราเรียกว่า “อุณหภูมิผันผวน” และในที่นี้ ความไม่มน่ั คงทางวิญญาณก็จะเกิดตามมา เด็กวัยรุน่ นีก้ จ็ ะเริม่ เข้าครอบครอง แผ่นดินมากขึ้นไปเรื่อยๆ จากในจุ ด นี ้ เราจะเห็ น ได้ ว ่ า การให้ ก ารศึ ก ษาที ่ ส อดคล้ อ งกั บ การเจริญเติบโตของเด็กนั้นจะเป็น “ตัวยาบำ�บัดที่แท้จริง” ต่อการพัฒนา อย่างสมบูรณ์แบบของระบบการกระทำ�ทีเ่ ป็นจังหวะทัง้ หมด การให้การศึกษา ที่เต็มไปด้วยข้อมูลจะเป็นการทารุณเด็กและจะทำ�ให้วิญญาณเด็กขาด ลมหายใจ ในที่นี้เราจะขอให้ข้อคิดเอาไว้ว่า ถ้าดูกันตามทางสถิติแล้วเราจะ เห็นได้ว่า การพัฒนาตนของมนุษย์ในช่วงเวลาของดาวพระพุธนั้นจะเป็น การพัฒนาสุขภาพที่สมบูรณ์แบบ ถ้าเขาไม่ถูกโจมตีทำ�ลายจิตใจจากทาง ภายนอกซึง่ จะแสดงออกในรูปของโลกภัยไข้เจ็บในช่วงเวลาอีกหลายๆปีตอ่ ไป ในการบำ�บัดโรคทางโฮมีโอพาธี (Homoopathy) นัน้ ปรอทจะเป็น ตัวยาบำ�บัดทีส่ �ำ คัญมากถึงแม้วา่ ในทัว่ ๆ ไปแล้วปรอทจะเป็นพิษต่อสิง่ แวดล้อม ผมยังจำ�เหตุการณ์เรื่องไข้สูงของเด็กผู้หนึ่งได้อย่างดีว่า เด็กผู้นี้ไม่ สามารถจะมีเหงือ่ ออกได้และอุณหภูมกิ ไ็ ม่ยอมลดลง หลังจากการฉีดยาด้วย น้ำ�ยาปรอทตามแนวทางโฮมีโอพาธีหนึ่งเข็มไปแล้วสภาพไข้ก็ลดลงเพียง ในช่วงเวลาสัน้ ๆ โรคไข้นจ้ี ะเป็นอันตรายมากถ้าเหงือ่ (หยดน้�ำ ของเทพเมอคิว รีบนผิวหนัง) ไม่ออกและไข้อักเสบนี้ก็จะเข้าไปถึงอวัยวะภายใน เช่น ปอด หรือสมองได้

ปอดคืออวัยวะภายในของดาวพระพุธ

75


การขึ้นลงของน้ำ�เลี้ยงต่างๆ นั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโตดวงจันทร์เป็นผูค้ วบคุม ความสบายใจของเราอยู่ตลอดมา และเป็นข้อมูลในจินตนาการและมโนภาพทัศนวิสัยด้วย


ถ้

อวัยวะปฏิรูปตนใหม่และแร่ธาตุเงิน

าเราจะนึกดูในอวัยวะปฏิรปู ตนใหม่แล้ว เราจะสำ�นึกเห็นจาก ภาพต้นกำ�เนิดของอวัยวะมนุษ ย์ ท ี ่ ให้ ก ารฟื ้ นฟู ตนใหม่ ทั้งหมดเกิดขึ้นได้ว่าอวัยวะนี้คืออวัยวะสืบพันธุ์ที่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะ ให้มนุษย์เราสามารถถ่ายทอดกรรมพันธุ์ให้กับชีวิตใหม่ในบรรยากาศพิเศษ เช่นนี้เซลล์อสุจิเป็นล้านๆ เซลล์จะถูกสร้างขึ้นมาในระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ของผู้ชายที่จะเข้าไปผสมพันธุ์กับไข่ของผู้หญิงที่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำ�เสมอใน ทุกๆ เดือน การตั้งท้องต้องใช้เวลาที่คิดถัวเฉลี่ยแล้วเป็นเวลา 10x28 วัน การคิดคำ�นวณเวลานีเ้ ราใช้เวลาทีด่ วงจันทร์หมุนรอบในหนึง่ เดือน ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารของโลกนั้นใช้เวลา 28 วันในการหมุนเวียนทั้งในข้างขึ้น และข้างแรม ที่ได้ก่อให้เกิดน้ำ�ขึ้นและน้ำ�ลง ในการเจริญเติบโต ในการมา ของประจำ�เดือนของผู้หญิงและความเจริญพันธุ์ ดวงจันทร์จึงเป็นกระจกสะท้อนแสงที่แท้จริงของดวงอาทิตย์ และ สิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจในกรรมวิธีการสร้างกระจกสะท้อนแสงที่ใช้ เคมีภณ ั ฑ์ธาตุเงินในการสร้าง และใช้ซลิ เวอร์โบรไมด์ (AgBr) ในการถ่ายรูปภาพ ดังนั้นพลังของธาตุเงินจึงมีความสำ�คัญมากในการผลิตรูปภาพและการอัด สำ�เนาภาพออกมาเป็นล้านๆ ภาพ เราจะพบกับแหล่งที่มาของธาตุเงินใน สภาพที่แตกสลายผสมอยู่ในน้ำ�ทะเล เราจะเห็นธาตุเงินได้ว่าเป็นจินตภาพ ของธาตุตะกั่ว ธาตุทั้งสองนี้เราจะพบได้ในธรรมชาติในสภาพที่ผสมอยู่กับ แร่โลหะอืน่ ๆ ในกรรมวิธกี ารเป็นไปทางปฏิบตั ขิ องธาตุตะกัว่ นัน้ เราจะเห็นได้ จากการแบ่งแยก การจบสิ้นสุด การแก่ตัวและการสูญเสียชีวิต ในกรรมวิธี การทำ�งานของธาตุเงินนั้นเราจะเห็นได้จากการปฏิรูปตนขึ้นใหม่ของเซลล์ การยึดมัน่ คงที่ ความเยาว์วยั และพลังการก่อตัง้ เราสามารถจะเรียกโดยทัว่ ๆ ไปได้ว่าเป็นพลังชีวิต ธาตุเงินเป็นโลหะของดวงจันทร์ที่เป็นกำ�ลังการก่อตั้ง ของของเหลว (น้�ำ ) และ “นางลูนา่ (ดวงจันทร์)” เป็นเจ้าแม่แห่งความอุดมสมบูรณ์ อวัยวะปฏิรูปตนใหม่และแร่ธาตุเงิน

77


เพราะว่าการขึ้นลงของน้ำ�เลี้ยงต่างๆ นั้นเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญเติบโต – อย่างเช่นเดียวกับการได้รับประสบการณ์ในทางเพศของชายและหญิง ดวงจันทร์เป็นผู้ควบคุมความสบายใจของเราอยู่ตลอดมา และเป็นข้อมูลใน จินตนาการและมโนภาพทัศนวิสัย เราสามารถวิเคราะห์ดวงดาวและอวัยวะภายในได้ออกเป็นสอง แง่มุม ในดวงจันทร์เราเห็นทั้งเดือนเพ็ญ (ข้างขึ้น) และเดือนมืด (ข้างแรม) ในด้านหนึง่ ดวงจันทร์มคี วามสัมพันธ์กบั อวัยวะสมองซึง่ เป็นเหมือน “ตะกอน” ภายในของเราทีแ่ ข็งตัวหลุดลงมาจากวิถกี ารปฏิบตั งิ านชีวติ และเช่นเดียวกับ ดวงจันทร์ที่เป็นกระจกสะท้อนแสงของโลกภายนอกและไม่สามารถแสดง ชีวิตของตนเองออกได้ ถ้าสมองจะมีชีวิตของตนเองเกิดขึ้นในตัวอย่างเช่น อาการปวดศีรษะเพียงข้างเดียวหรืออาการไมเกรนนั้น เราจะรู้สึกเป็นไข้ ไม่สบาย ในอีกด้านหนึง่ ดวงจันทร์แทรกแซงเข้าสูช่ วี ติ และกำ�ลังการถ่ายทอด กรรมพั น ธุ ์ ใ นการทำ�งานของอวัยวะสืบพันธุ์ข องเรา ถึ ง แม้ ว่ า ขั ้ วความ แตกต่างนี้ยังมีอยู่ในบรรยากาศเช่นนี้ ความสัมพันธ์ภายในระหว่างกิจกรรม ทางเพศและความนึกคิดจะเกิดขึ้น ในที่นี้การถ่ายทอดกรรมพันธุ์ทางกาย ของมนุษย์เบือ้ งล่างจะสอดคล้องกันกับการถ่ายทอดกรรมพันธุท์ างจินตนาการ และมโนภาพทัศนวิสัยของมนุษย์เบื้องบน ส่วนเบื้องหนึ่งจะกระตุ้นอีก ส่วนเบื้องหนึ่ง อย่างที่กวีได้ชี้ให้เราเห็นในบทกวีแหล่งต้นกำ�เนิดของเขา เราจะเห็นในตัวอย่างได้จากเกอเธ่ (Goethe) ในหนังสือชือ่ West-östlicher Divan (การรวบรวมบทกวีตะวันตก-ตะวันออก) และเราสามารถพิสูจน์ยืนยัน ในความสัมพันธ์ระหว่างการก่อกำ�เนิดและการโน้มน้าวให้เชื่อ เช่นเดียวกันกับอวัยวะอืน่ ๆ และดวงดาวต่างๆ ทีเ่ ป็นสิง่ คูก่ นั อวัยวะ การสืบพันธ์นั้นก็มีความสัมพันธ์กับอวัยวะอื่นๆด้วย ความสัมพันธ์ระหว่าง ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในโลกจักรวาลจะแสดงออกในระบบการปฏิบตั งิ าน ในตัวมนุษย์ของเพศหญิง ในความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและมดลูก (uterus) ในอวัยวะทั้งสองนี้เป็นอวัยวะที่ทำ�งานเป็นจังหวะสม่ำ�เสมอ มีความสัมพันธ์ อย่ า งใกล้ ช ิ ด กั บ จั ง หวะสู บ ฉี ด โลหิ ต หรื อ จั ง หวะการออกประจำ � เดื อ น 78

อวัยวะปฏิรูปตนใหม่และแร่ธาตุเงิน


ความรู้สึกและความสบายใจในชีวิต แสงอาทิตย์จะสะท้อนแสงของมันใน ดวงจันทร์และตกมาสูโ่ ลกเราได้อย่างไรนัน้ ความรูส้ กึ ในชีวติ ของสตรีทจ่ี ะเป็น แม่คนนั้นก็จะสะท้อนเข้าสู่มดลูกและจะมีอิทธิพลต่อชีวิตของเด็กที่จะเกิด เราจึงสามารถจะเรียกมดลูกได้วา่ เป็น “หัวใจของกายเบือ้ งล่าง” ได้ ไม่เพียง แต่ในเวลาตั้งครรภ์เท่านั้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างหัวใจและมดลูกจะเกิดขึ้น ในทุกๆ รูปแบบของการทำ�งานเป็นจังหวะบกพร่อง น้�ำ เหลืองไหลออก หรือ การมีเนื้องอก (myome) นั้นเป็นสัญลักษณ์ของปัญหาทางความรู้สึกที่ยัง แก้ไม่ได้ของสตรี ผู้เขียนเองได้มีประสบการณ์ด้วยตนเองบ่อยครั้งว่า ปัญหา หนักทางจิตใจที่ยังแก้ไม่ได้นั้นหลังจากที่ได้ตัดมดลูกออกแล้วคนไข้ก็ยังคง มีปัญหาอยู่อีกต่อไป และโรคเจ็บไข้นี้ก็จะปรากฎไปมีกับอวัยวะภายในใน “ชั้น” ต่อไปอีก ชั้นนี้ก็คือหัวใจ ความสัมพันธ์เหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่แพทย์ทาง วิทยาศาสตร์รจู้ กั กันดี การค้นคว้าศึกษาของแพทย์ชาวอเมริกนั และฟินแลนด์ ได้ ช ี ้ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า หลั ง จากที ่ ไ ด้ ต ั ด มดลู ก ออกไปแล้ ว และก่ อ นการหมด ประจำ�เดือนตามวัยนั้น โรคหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจอุดตันจะเกิดขึ้น 2.7 ถึง 5 เท่าสูงกว่าธรรมดา สิ่งนี้ก็เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นว่า เราไม่ควร จะตัดอวัยวะที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาทางจิตใจที่ยังไม่สามารถแก้ได้ออก ไปโดยที่ยังไม่แก้ต้นเหตุของปัญหาที่ส่วนใหญ่แล้วจะฝังอยู่ในวิญญาณ เราได้เรียนรู้ต่อการปฏิบัติงานของอวัยวะภายใน ของโลหะและ ความสัมพันธ์ตอ่ ดวงดาวทัง้ 7 แล้ว เรามีความรูส้ กึ ทีล่ กึ ซึง้ ต่อไปอีกว่า โลหะ ต่างมีศักยภาพในการบำ�บัดอย่างมาก และมีความสัมพันธ์อย่างหลากหลาย ของโลหะกับการบำ�บัดในแนวทางโฮมีโอพาธี

อวัยวะปฏิรูปตนใหม่และแร่ธาตุเงิน

79


ในที่นี้เราจะขอรวบรวมความสัมพันธ์ต่างๆ ทั้งหมดอีกครั้งหนึ่ง: ม้าม – กระดูก – แร่ตะกั่ว – ดาวพระเสาร์ ตับ – แร่ดีบุก – ดาวพระพฤหัสบดี

ถุงน้ำ�ดี – แร่เหล็ก – ดาวพระอังคาร

หัวใจ / ระบบโลหิต – แร่ทองคำ� – พระอาทิตย์

ไต – แร่ทองแดง – ดาวพระศุกร์

ปอด – แร่ปรอท – ดาวพระพุธ

อวัยวะสืบพันธุ์ – แร่เงิน – พระจันทร์

เช่นเดียวกันกับที่เราได้ค้นพบเห็นจากในขั้วความแตกต่างกันใน เขตจักรราศีนั้น เราจะเห็นได้กับดวงดาวและโลหะต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ ต่อกัน ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์และแร่ทองคำ�จะอยู่เป็นศูนย์กลาง ของการเคลื่อนไหวทั้งหมดของอวัยวะภายใน ดาวพระเสาร์และแร่ตะกั่ว เป็นความหมดสิน้ ชีวติ และเป็นการเสือ่ มตามอายุ ดวงจันทร์และกำ�ลังแร่เงิน เป็นผู้อุ้มชูการมีชีวิตใหม่และพลังวัยรุ่น ดาวพระพฤหัสบดีและแร่ดีบุกนำ�มา สูร่ ปู ทรงและการปกป้องรักษาชีวติ ใน อวัยวะทัง้ หมด ดาวพระพุธและแร่ปรอท นำ�มาสู่การไหลเทและการสูญสลาย ดาวพระอังคารที่สอดคล้องกับเพศ ชายและการปฏิบัติการของแร่เหล็ก มีความสัมพั นธ์ ก ั บเมล็ ดโลหิ ต แดง กับพละกำ�ลัง กับการกระตือรือร้น 80

อวัยวะปฏิรูปตนใหม่และแร่ธาตุเงิน


กั บ ความสำ � นึ ก และลมหายใจเข้ า ดาวพระศุกร์ที่สอดคล้องกับเพศหญิง และแร่ ท องแดงมี ค วามสั ม พั น ธ์ ก ั บ การรับการโภชนาการลมหายใจออก ความรูส้ กึ ด้วยวิญญาณและความอบอุน่ สิ ่ ง เหล่ า นี ้ เ ราเรี ย กกั น ในวงการ แพทย์ แ นวมนุ ษ ยปรั ญ ชาว่ า เป็ น “การปฏิ บ ั ต ิ ก รรมชี ว ิ ต ทั ้ ง เจ็ ด “ จากนี้เราเข้ามาถึงระบบ 4 ระบบที่มีความสัมพันธ์เป็นสัญลักษณ์ ของกำ�ลังต่างๆของพืน้ โลกกับธาตุ 4 ธาตุทเ่ี ป็นผูส้ ร้างสรรค์โลก ในทีน่ เ้ี ราจะ ไม่ทำ�งานกับกำ�ลังที่ซับซ้อนทางด้านดาราศาสตร์ของดวงดาวต่างๆ ใน อวัยวะภายในแต่ละอวัยวะและตัวยาบำ�บัดในโลหะต่างๆ ต่อไปอีก แต่เราจะ ทำ�งานกับกำ�ลังที่มีอยู่ในธรรมชาติที่เราจะพบเห็นได้เช่นในดิน น้ำ� ลม ไฟ และสามารถนำ�มาใช้กบั การทำ�งานในความหมายของการควบคุมการโภชนาการ และหลักเกณฑ์ในสุขภาพสำ�หรับการทำ�งานด้านบำ�บัด เราจะอยู่ในสถานะ ที่ส่งเสริมความหมายของการใช้ชีวิตใหม่ด้วยการมีความสำ�นึก โดยผ่าน การกระทำ�ของเราเองต่อการป้องกันโรคและถ้ามีโรคเจ็บไข้ได้ป่วยที่ต้องใช้ ตัวยารักษาแล้วเราจะส่งเสริมสุขภาพของเราเองอย่างจริงจังถ้าเราเข้าใจว่า ปอดกับธาตุดิน ตับกับธาตุน้ำ� ไตและกระเพาะปัสสาวะกับธาตุลม และ หัวใจกับธาตุไฟ ทั้งภายในและภายนอกนั้นมีความสัมพันธ์ร่วมกัน หนทางในการรักษาสุขภาพก่อนที่ไข้โรคจะเกิดขึ้นนั้นจะเริ่มต้นได้ ณ บัดนี้

อวัยวะปฏิรูปตนใหม่และแร่ธาตุเงิน

81


ผู้สูงอายุพูดกันว่า:

สัตว์ต่างๆได้เรียนรู้จากอวัยวะภายในของมัน

แต่ผมจะขอเพิม่ เติมว่า: ตัวมนุษย์เองนัน้ จะเป็นผูส้ อนอวัยวะภายในของเขา

เกอเธ่ (Wolfgang von Goethe)


ปอด ตับ ไต และหัวใจเป็นอวัยวะภายในของธาตุฤดูกาลทัง้ 4

วามรูแ้ ท้จริงทีว่ า่ อวัยวะภายในของเรามีความสัมพันธ์กบั ธาตุ ทัง้ 4 และอุปนิสยั นัน้ ไม่ได้เป็นเรือ่ งใหม่ ดังนัน้ เราจึงได้น�ำ เอาปอด ซึง่ เป็นอวัยวะธาตุดนิ (ปฐวีธาตุ) กับอุปนิสยั โศกเศร้า ตับ ซึง่ เป็นอวัยวะธาตุน�ำ้ (อาโปธาตุ) กับอุปนิสัยเฉื่อยชา (ภาษากรีก แปลว่า “น้ำ�เมือก”) ไต ซึ่งเป็น อวัยวะธาตุลม (วาโยธาตุ) กับอุปนิสัยร่าเริง และ หัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะธาตุไฟ (เตโชธาตุ) กับอุปนิสยั ใจร้อนแรงมาผูกความสัมพันธ์ดว้ ยกัน ในระบบทางการ แพทย์สมัยเก่านัน้ เขาจึงได้พยายามหาหนทางเปรียบเทียบให้กบั อวัยวะภายใน ของมนุษย์ ดังนั้นการแพทย์จนี จึงได้สร้างความสัมพันธ์ของธาตุทง้ั 4 ดังทีไ่ ด้ กล่าวมาแล้วนั้นกับฤดูกาลทั้ง 4 ขึ้น: ตับ กับฤดูใบไม้ผลิ หัวใจ กับฤดูร้อน ปอด กับฤดูใบไม้ร่วงและ ไต กับฤดูหนาว จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น การรักษาบำ�บัดจะเกิดขึน้ มา และมาตรการการป้องกันในกฎเกณฑ์ทางสุขภาพ ก็จะเกิดขึน้ ตามมาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ของตับกับฤดูใบไม้ ผลินั้นจะแสดงให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนมาก “ในเวลา 3 เดือนของฤดูใบไม้ผลินน้ั เราเรียกกันว่าเป็นช่วงเวลาของ การเริม่ ต้นและการพัฒนาชีวติ พลังจากทัง้ ทางสวรรค์และแผ่นดินได้เตรียมพร้อม แล้วเพือ่ ทีจ่ ะให้สง่ิ ต่างๆ งอกงามเจริญเติบโตขึน้ ได้ หลังจากการนอนหลับในเวลากลางคืนที่ผ่านไปแล้วนั้นเราควรจะ ต้องตืน่ นอนแต่เช้า ออกไปเดินเล่นในทีโ่ ล่งแจ้ง หวีผมแต่งตัว และออกกำ�ลัง กายเคลือ่ นไหวอย่างช้าๆ การกระทำ�เช่นนีจ้ ะนำ�ไปสูส่ ขุ ภาพชีวติ ทีส่ มบูรณ์แบบ ในช่ ว งเวลาเช้ า นี ้ เราควรจะทำ � ตามความต้ อ งการของร่ า งกายของเรา ปอด ตับ ไต และหัวใจเป็นอวัยวะภายในของธาตุทง้ั 4

83


เราควรจะให้สง่ิ ทีร่ า่ งกายต้องการแทนทีเ่ ราจะเอาสิง่ เหล่านีอ้ อกจากร่างกาย ของเรา เราควรจะให้รางวัลแก่รา่ งกายของเราแทนทีเ่ ราจะไปลงโทษมัน สิง่ ทัง้ หมด นี ้ จ ะต้ องสอดคล้องกันกับพลังของฤดูใบไม้ผลิ และสิ ่ ง นี ้ จะเป็ นระบบ การคุม้ ครองชีวติ ของตนเองด้วย ถ้าผูใ้ ดไม่ได้ให้ความสำ�คัญต่อกฎการเป็นไป ของฤดูใบไม้ผลิแล้ว เราจะถูกลงโทษด้วยการมีโรคเจ็บป่วยของตับ และใน ฤดูรอ้ นทีจ่ ะมาถึงนัน้ ท่านจะมีโรคไข้หวัดตามมาด้วย ทุกวันนีเ้ ราจะพูดกันกับผลทีต่ ามมาจากการกระทำ�ทีไ่ ม่ถกู ต้องเช่นนีว้ า่ เป็นความอ่อนแอของภูมคิ มุ้ กัน บางทีเราอาจจะอธิบายต่อการเป็นไปของโรค ไข้หวัดในฤดูรอ้ นได้ ธาตุทง้ั 4 ทีเ่ ราเห็นได้อย่างชัดเจนนัน้ เป็นผูอ้ มุ้ ชูอทิ ธิพลของจิตวิญญาณ ที่เราจะพบเห็นในมนุษย์ได้ด้วย และจะเป็นสะพานเชื่อมโดยตรงต่อกำ�ลัง ของจักรวาลทีเ่ ราเห็นไม่ได้: ธาตุดินที่เป็นผู้อุ้มชูกำ�ลังทางกายในโลกของเรานั้นได้สูญสลายไป ในช่วงหนึ่งของเวลาที่ผ่านมา ธาตุน้ำ�ที่มีกำ�ลังลอยตนเองนั้นจะเป็นผู้อุ้มชู ระบบชีวิตทั้งหมด เพราะว่าถ้าปราศจากน้ำ�แล้วจะไม่มีอะไรเลยที่งอกงาม และเจริญเติบโตขึ้นได้ในโลกของเรา ธาตุลมที่ต้องการจะขยายตัวออกไป อย่างไม่สิ้นสุดนั้นเป็นสสารสำ�หรับการหายใจและภาษาพูดในความหมาย ที่ว่าเป็นผู้ให้วิญญาณต่ออวัยวะภายใน และในขั้นสุดท้ายคือธาตุไฟที่ให้ ความอบอุน่ เป็น “ราชินขี องธาตุตา่ งๆ” ทีม่ อี ทิ ธิพลและสามารถเปลีย่ นแปลง ทุกๆสิง่ ทุกๆ อย่างได้ถงึ แม้วา่ ธาตุไฟจะมีความเป็นกายน้อยทีส่ ดุ ในท่ามกลาง ของการเป็นกายของธาตุตา่ งๆ ก็ตาม โดยธาตุไฟจะเป็นพืน้ ฐานของโลกสัมผัส โดยที่จิตวิญญาณส่วนตน หรือตัวฉันจะสามารถกลายเป็นกายของตัวตนได้ ธาตุไฟนีจ้ งึ นับได้วา่ ในครึง่ หนึง่ เป็นสิง่ ของในโลกสัมผัส และในอีกครึง่ หนึง่ ก็จะ เป็นสิง่ ของในโลกจิตวิญญาณ ดังนัน้ เราจึงพูดกันได้กบั คำ�พูดทีว่ า่ ความอบอุน่ ทางใจ รังแห่งความอบอุน่ หรือความอบอุน่ อย่างสบายใจในทุกๆรูปแบบของการอุทศิ ตน ความรัก และการสละสังเวยตนนัน้ จะเป็นสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับธาตุไฟอยูเ่ สมอ ตัวอย่างเช่น ไม้จะต้องสละตนเพื่อที่จะสามารถผลิตความร้อนออกให้ได้ 84

ปอด ตับ ไต และหัวใจเป็นอวัยวะภายในของธาตุทง้ั 4


จากคำ�พูดของอริสโตเติล (Aristoteles) ได้กล่าวเล่ากันมาแล้วนัน้ ว่า: “มนุษย์ เราเป็นผูก้ �ำ เนิดขึน้ ด้วยมีความอบอุน่ และถ้าเขาจะสูญเสียความอบอุน่ ไปเขาจะ สูญเสียการเป็นมนุษย์ของเขาด้วย” ความเย็นมีความหมายต่อสิง่ ทีม่ ชี วี ติ ต่างๆ ทีก่ �ำ เนิดขึน้ ด้วยความอบอุน่ นัน้ ว่าเป็น ความตาย ความสัมพันธ์ภายในระหว่างมนุษย์กบั ธรรมชาติในธาตุทง้ั 4 นัน้ เป็น สาเหตุหนึง่ ทีว่ า่ ตัง้ แต่เป็นพันๆปีมาแล้วหนทางทางการแพทย์ได้พยายามหา หนทางการรักษาบำ�บัดในทางกายด้วยธาตุทั้งสี่นี้: ด้วย ดินบำ�บัด หรือ ด้วย การเปลี่ยนแปลงภูมิสถานที่อยู่ ด้วย การใช้การบำ�บัดกับน้ำ� อย่างเช่น การมีประสบการณ์ตอ่ การบำ�บัดตามแบบตำ�ราของพระสงฆ์ของทางศาสนาคริสต์ ชื่อ เซบาสเตียน คไน้พพ์ (Sebastian Kneipp) ด้วย ลม เช่นการบำ�บัดด้วย ออกซิเจน ด้วยแก๊สกรดคาร์บอนิก ด้วยโอโซนหรือ“บำ�บัดด้วยการเปลี่ยน บรรยากาศ”และด้วย การบำ�บัดด้วยความร้อน ตัวอย่างเช่น ด้วยความร้อน ของไข้ที่เป็นศัตรูของโรคมะเร็ง – ไม่ว่าจะเป็นการให้ความร้อนเทียมหรือ ความร้อนจริง (การให้ความร้อนเพิม่ ขึน้ Hyperthermia) เพราะว่าความร้อน นีม้ อี ทิ ธิพลในแง่ดอี ย่างมากต่อระบบภูมปิ อ้ งกัน เราสามารถเข้าไปถึงความเข้าใจ อย่างลึกซึ้งอย่างที่เราเรียกกันว่า “แพทยศาสตร์ทางภูมิภาควิทยา” หรือ “แพทยศาสตร์ทางธรณีวทิ ยา” หรือ “แพทยศาสตร์ทางธาตุวทิ ยา” เพราะว่า ในสมัยก่อนเราได้รู้จักดีกับอิทธิพลของภูมิภาควิทยาและธรณีวิทยาของ พื้นแผ่นดินต่อกายและวิญญาณ ดังนั้นเราจะพบได้ในความรู้ที่แท้จริงของ พาราเคลซุส (Paracelsus 1493 - 1541) ว่าโรคโลหิตบางโรคเกิดขึ้นจาก พืน้ ดินทีม่ โี ลหะและแร่เหล็กฝังอยูเ่ ป็นจำ�นวนมาก

ปอด ตับ ไต และหัวใจเป็นอวัยวะภายในของธาตุทง้ั 4

85


"ก

ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน ารศึกษาภูมิศาสตร์ในดินแดนเขตหนึ่งเป็นการศึกษา เช่น เดียวกันกับการศึกษาปอดในดินแดนเขตเดียวกัน”

“แผ่นดิน” เป็นพื้นฐานที่มีความแข็งแกร่งและเต็มไปด้วยแร่ธาตุที่ อุ้มชูชีวิตเอาไว้แต่ไม่สามารถจะก่อให้เกิดชีวิตออกมาได้ เพราะว่าชีวิตนั้น จะถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาจากทางภายนอกจากโลกจักรวาล การเจริญเติบโต และการงอกงามจะเป็นไปไม่ได้ถ้าปราศจากอิทธิพลของน้ำ� ดวงอาทิตย์ และดวงดาว มนุษย์รับเอากายของเขาที่สัมผัสได้นั้นจากแร่ธาตุแผ่นดิน เราผูก ความสัมพันธ์กับ “แผ่นดิน” ด้วยความแข็งแกร่ง ความเยือกเย็น พลังดึงดูด รูปทรงที่สัมผัสได้ การเกิดและการตาย การทำ�งานและหยดเหงื่อ ปอดที่ เป็นเสมือนกับว่าเป็นต้นไม้ทถ่ี กู สวมใส่ไว้ในตัวของเรานัน้ มีอณ ุ หภูมขิ องโลหิต โดยเฉลีย่ แล้วประมาณ 35.8º เซลเซียสและเป็นอวัยวะภายในทีม่ สี ภาพเป็น เหมือนรากไม้ที่เกาะแน่นกับแผ่นดินที่เป็นสิ่งแวดล้อม การดำ�รงชีวิตอยู่บน พื้นแผ่นดินของเรานี้เริ่มด้วยการรับออกซิเจนเข้า (ชีวิต) ซึ่งเป็นการเริ่มต้น ด้วยการสูดลมหายใจเข้าเป็นครัง้ แรกและการถ่ายเทคาร์บอนไดออกไซด์ออก (ตาย) ซึ่งป็นการสิ้นจบลงด้วยการถ่ายลมหายใจออกเป็นครั้งสุดท้าย ดังนั้น ตัวปอดเองจึงเป็นสถานที่ให้ชีวิตเกิดขึ้นได้เป็นครั้งแรก ลมหายใจเป็นเพียง แต่การทำ�งานตามของอวัยวะภายในนี้ เป็นผู้นำ�เอาชีวิตจากภายนอกเข้ามา สู่ “พื้นแผ่นดิน” ในตัวของเรา หากว่าปอดเป็นอวัยวะทีม่ สี ขุ ภาพสมบูรณ์ดแี ล้ว ปอดจะเป็นอวัยวะ ตัวกลางระหว่างของเหลว-น้ำ�ในด้านหนึ่ง และของแข็ง-ดินในอีกด้านหนึ่ง ถ้าภายในตัวของเรานั้น “แผ่นดิน” ได้สูญหายไปเป็นจำ�นวนมากแล้ว มนุษย์เราจะกลายเป็นผู้หนีแผ่นดิน ในกรณีที่ร้ายแรงมากเขาจะเป็นวัณโรค 86

ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน


ในปอด ถ้าปอดมีความแข็งตัวมากขึ้นแล้ว พลังของแร่ธาตุก็จะครอบงำ�เขา จะยึดดึงวิญญาณมนุษย์เอาไว้ และจะทำ�ให้ตวั มนุษย์ยดึ อยูก่ บั ทีห่ รือถูกกักขัง เอาไว้ หากการทำ�งานของปอดแสดงออกมากไปในแนวทางของการเสื่อม สลายตัวตนแล้ว (ปอดจะ “ระลึกถึง” คุณลักษณะของตนว่าตัวเป็นต่อม เมือกน้�ำ ) ในทีน่ ม้ี นั จะเกิดโรคหลอดลมอักเสบหรือโรคปอดอักเสบขึน้ ถ้าโรค นี้อยู่ในสภาพที่หนักมากขึ้นแล้วก็จะมีไข้ปนเพ้อฝันเกิดขึ้นมาร่วมด้วย สำ�หรับผู้สูงอายุแล้วสภาพนี้จะเป็นโรคที่มีอันตรายมาก ดังนั้นแล้วโรคปอด อักเสบของเด็กจึงต้องวินิจฉัยแตกต่างกันกับผู้สูงอายุ ถ้าปอดจะเสื่อมตัวลง ไปทางกายอย่างเช่นในวัณโรคแล้ว ดังนั้นเราจะมีแนวโน้มที่จะสูญหายจาก โลกแผ่นดินไป หรือ “สาบสูญ” ไป ดังนัน้ โรคนีจ้ งึ มีชอ่ื เรียกในประวัตศิ าสตร์ ว่าเป็น “โรคคนอารมณ์โรแมนติก” ในปีที่ 50 ของศตวรรษที่ผ่านมาเราได้ มีการค้นคว้าต่อความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นไปทางจิตใจกับ โรควัณโรค และได้ผลลัพธ์วา่ การเป็นไปของโรคนีไ้ ม่ได้เป็นแสดงออกจากการต่อสูร้ ะหว่าง อวัยวะภายในกับเชื้อโรคแต่อย่างใด แต่เป็นการต่อสู้ของอวัยวะภายในกับ ตัวของมันเองโดยมีภาวะสภาพของวิญญาณอย่างหนึ่งและภาวะสภาพของ ความขัดแย้งอีกอย่างหนึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่สำ�คัญในการเกิดของโรค ถ้าเราจะพิจารณาต่ออาการอักเสบที่มีตาแดงและน้ำ�มูกไหลซึ่งมา จากการสูบกัญชาที่ทำ�ให้ตัวเขาเบาลอยขึ้นจากโลกได้นั้น สามารถนำ�เรา ไปสู่ความหลงผิดหรือมีประสาทหลอนเกิดขึ้นโดยเกิดมีความหิวกระหาย ได้ อ ย่ า งมาก ซึ ่ ง ในเวลาเดี ย วกั น ก็ เ ป็ น น้ ำ � หนั ก ถ่ ว งต่ อ การลอยตั ว ออกจากแผ่ น ดิ น อย่ า งมาก เพราะว่ า การบริ โ ภคอาหารทางกาย – การรับประทานอาหารในทุกๆวัน – เป็นการกระทำ�ทางกายมากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องการเพื่อจะให้มีชีวิตคงอยู่ การบริโภคที่เต็มไปด้วย ความอยากและการเจริญอาหารจึงเป็นการยอมรับต่อแผ่นดิน คำ�พูดโดย ทั ่ ว ๆ ไปที ่ เรารู ้ จ ั ก กั น ดี ค ื อ ตั บ เป็ น อวั ย วะภายในของธาตุ น ้ ำ � ที ่ ม ี ความสัมพันธ์กับความกระหาย ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน

87


แต่ ม ี ใ ครจะรู ้ ก ั น ได้ ว ่ า ปอดเป็ น อวั ย วะธาตุ ด ิ น ที ่ ค วบคุ ม ความต้ อ งการ ของความหิ ว ในตั ว ของเรา ในที ่ น ี ้ แ ล้ ว เราสามารถอธิ บ ายต่ อ ความไม่ อยากอาหารโดยเฉพาะอย่ า งยิ ่ ง สำ � หรั บ เด็ ก หลั ง จากที ่ ม ี โรคปอด และ โรคปอดอ่อนแอมาเป็นเวลานานๆ ในเด็กวัยรุ่นที่เป็นโรคเบื่ออาหารเหตุ จิตใจ (Anorexia nervosa) ได้แสดงออกต่อการรบกวนในการเจริญเติบโต บนพื้นแผ่นดินนี้ เราจึงจะต้องใช้ตัวยาบำ�บัดปอดร่วมไปด้วย การพัฒนา การเจริญเติบโตที่ถูกรบกวนนี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นการกระทำ�ต่อการสูญเสีย แผ่นดินทางกายก็ตาม แต่ในทางวิญญาณแล้วจะเป็นการกระทำ�ในแบบ ตรงกันข้ามกันคือเป็นการถูกบังคับ (การควบคุมบีบบังคับ) อย่างที่เรา ได้เห็นกันมาแล้วว่าการกระทำ�ออกเป็นจังหวะของการหายใจนั้น เป็น การกระทำ�ในระบบของดาวพระพุธที่อยู่ภายใต้การก่อร่างปอดทางกาย บนพื ้ น แผ่ น ดิ น และการเกิ ด ทางกายภายใต้ระบบของธาตุเหล็กด้วย โดยแนวโน้มต่อการสลายตัวที่มาจากความเจ็บไข้นั้น ปอดจะ นำ�แนวโน้มนี้ไปสู่ชีวิตวิญญาณที่จะหลุดลอยตัวออกไป และจะเป็นแนวโน้ม ที่เป็นมายาอย่างเช่นเดียวกันกับที่เราสามารถจะอ่านได้จากในนวนิยาย ของ โทมัส มานน์ (Thomas Mann) ชื่อ “ภูเขาเวทมนตร์ Der Zauberberg” ปอดซึ่งเป็นอวัยวะธาตุดินนั้นจะส่งพลังงานของธาตุดินมาสู่อวัยวะ แห่งการเคลื่อนไหวของเรา ที่ส่วนมากแล้วจะเป็นการเคลื่อนไหวของ พลังดึงดูดเข้าสู่จุดศูนย์กลางของโลก: อวัยวะนี้คือขาของเราเช่นเดียวกับใน อาณาจักรของสัตว์ เราจะสามารถได้รับประสบการณ์เช่นนี้ได้ด้วยกับ ลูกอ๊อด (ลูกกบ) ที่กลายพันธุ์ออกเป็นกบและพัฒนาตนในเวลาเดียวกัน ออกเป็นทั้งปอดและขา ในที่ว่าปอดและพลังงานของขาหรือการเคลื่อนไหว ทั้งหมดมีความสัมพันธ์ร่วมกันได้อย่างใดนั้น เราสามารถเรียนรู้ในด้านหนึ่ง ได้จากหยดเหงือ่ ออกมากหลังจากการทำ�งานเพียงเล็กน้อยของผูป้ ว่ ยโรคปอด เท่านัน้ ทีจ่ ะต้องมีการนอนพักฟืน้ เป็นเวลานานๆและจะต้องไม่ออกกำ�ลังกาย มากด้วย และในอีกด้านหนึ่งที่ได้มาจากสมุดรายงานของผู้ป่วยที่ยืนยัน 88

ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน


ความสัมพันธ์ภายในระหว่างอวัยวะธาตุดินทั้งสองนี้ นักจิตวิเคราะห์ชื่อ ฮอสท์-เอเบอร์ฮาทตร์ ริกซ์เตอร์ (Horst-Eberhardt Richter) ได้รายงาน จากการมีประสบการณ์ต่อสภาพช็อกอย่างรุนแรงของตนเองในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่สองที่ปอดและขาของเขาทำ�งานไม่ได้ในขณะเดียวกันว่า: “เมื่อสองหรือสามอาทิตย์ที่ผ่านมาผมได้เข้าไปในบ้านเช่าของผมที่ ในเมืองเมืองเบอร์ลนิ ซึง่ ถูกทำ�ลายไปเป็นบางส่วนนัน้ ผมได้พบกับชาวฮังการี ผู้สูงอายุคู่หนึ่งในชั้นที่สามของบ้าน ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่เสียหายจากลูกระเบิด และมีเหลืออยู่เพียงสองห้องเท่านั้น เขาถามผมว่า ผมไม่รู้หรือว่าบิดากับ มารดาของผมได้เสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่เดือนมิถุนายน 1945 ผมเลยถามเขา ต่อไปว่า คุณพ่อและคุณแม่ของผมเสียชีวิตที่ไหน เขาตอบว่าท่านได้เสียชีวิต ในหมู่บ้านที่ท่านหลบภัยอยู่ ทหารชาวรัสเซีย... หนึ่งวันหลังจากสภาพช็อกนี้ผมเริ่มมีไข้: เป็นปอดอักเสบถึงต้อง ถูกนำ�เข้าโรงพยาบาล ผมได้นอนรักษาที่นี่อยู่เป็นเวลาหลายๆ อาทิตย์ไข้ ตัวร้อนได้หายไปนานแล้ว ผลการวิจัยปอดออกมาเป็นที่น่าพอใจมาก แต่ตัว ผมเองนั้นมีความรู้สึกว่ายังไม่หาย เพราะผมยังไม่สามารถจะยืนด้วยขาของ ผมเองได้ ขาของผมเองนั้นเป็นตัวต้นเหตุอีก ผมยังจำ�ได้ดีว่าผมได้ถูกมอง ตำ�หนิจากอายุรแพทย์และพยาบาลอีกสองคนอย่างมากในขณะที่ผมได้ พยายามทดลองเดิน ผมได้เดินอย่างสะเปะสะปะและผมก็ได้มีความละอาย ใจมาก ตัวผมเองนัน้ ได้รบั ความรูส้ กึ ว่าโรคนีไ้ ม่ได้เป็นอยูท่ ข่ี าของผมเองแน่” มนุษย์ที่ปอดของเขามีโรคเจ็บไข้ในด้านหนึ่งหรือด้านใดก็ตาม เขาจะถูกส่งไปพักฟื้นเพื่อที่จะให้สุขภาพสมบูรณ์ขึ้นได้ที่ไหนกัน? ถ้าเขามีที่ อยูอ่ าศัยในพืน้ ทีร่ าบและอยูบ่ นพืน้ ดินทีม่ หี นิ ปูนแล้ว เขาควรจะต้องไปพักฟืน้ อยู่ในพื้นที่ภูมิภาคที่เต็มไปด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์: พื้นที่ดินบนภูเขา ที่มีซิลิกา (ซิลิกาเป็นสารประกอบชนิดหนึ่งชื่อซิลิกอนไดออกไซด์(SiO2) ตัวอย่างเช่นเป็นทราย, หินควอตซ์) และหินแกรนิตซึ่งเต็มไปด้วยอิทธิพล ของกำ�ลังแสงที่เป็นเสมือน “จิตวิญญาณ” ของทางลมอากาศ หรือเขาควร จะไปอยู่ในพื้นแผ่นดินที่เต็มไปด้วยทรายหรือเกลือ: ในพื้นที่ดินริมทะเล ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน

89


เราจะมีประสบการณ์และเห็นได้อย่างชัดเจนในเด็กๆ ทีม่ ที อ่ี ยูอ่ าศัยบนพืน้ ดิน ที่เต็มไปด้วยหินปูน (หินปูนมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับของเหลว และ การเจริญเติบโต) ว่าโรคหลอดลมอักเสบของเขาที่ไม่หายนั้นเมื่อเขามาอยู่ บนภูเขาหรือริมทะเล อาการของโรคนั้นจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วภายในช่วง ระยะเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น ด้วยการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของปอด กับพละกำ�ลังของธาตุดิน เราจะอธิบายได้ว่า ทำ�ไมผู้เป็นโรคหืดหอบจึงมี สภาพอาการดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขาเข้าไปอยู่ในภายในอุโมงค์ใต้ ผืนแผ่นดินหรือในถ้ำ� ในทางตรงกันข้าม ปอดจะสามารถช่วยวิญญาณที่ได้ถูกแรงกดดัน ทางธาตุดินมากเกินไปได้ด้วย โดยปอดจะปลดตนออกทางด้านอวัยวะจาก การผูกมัดหรือความซบเซาทางจิตใจ ด้วยการมีการอักเสบหรือไอออกมา เป็ น เลื อ ด ตั ว อย่ า งในที ่ น ี ้ เราจะพบได้ ใ นจดหมายของ ฟรั น ส์ คาฟคา (Franz Kafka) ผู้ที่ทุกข์ทรมานจากการเจ็บป่วยด้วยโรควัณโรคและเป็นผู้ นำ�ตัวเข้าไปสู่สภาวการณ์ที่โต้แย้งกันและบีบบังคับที่จะทำ�ให้เขาขาดความ สามารถในการกระทำ�ต่อการงานและหน้าที่ในโลกนี ้ ความใฝ่ ฝ ั นและ ความปรารถนาของเขาทีจ่ ะออกไปจากโลกนีน้ น้ั จะมีมากขึน้ อยูเ่ รือ่ ยๆ เสมอ: “ความสงสั ย ของผมมี อ ยู ่ เ ป็ น วงกลมล้ อ มรอบในทุ ก ๆ คำ � พู ด […] ทุกๆสิ่งทุกๆ อย่างเป็นจินตนาการหมด ครอบครัว ที่ทำ�งาน เพื่อนๆ ถนน ทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่างเป็นจินตนาการที่อยู่ห่างไกลหรืออยู่ใกล้ รวมทั้ง ภรรยาด้วย […] ความจริงต่อไปเป็นเพียงแต่สิ่งที่ว่า คุณจะกดศีรษะของ คุณต่อฝาผนังของห้องขังที่ไม่มีหน้าต่างและประตู[…]” แต่เขาจะสามารถจะออกไปจากสภาพที่เป็นอยู่นี้ได้อย่างไร และ ใครจะช่วยเขาได้? ปอดของเขานั่นเองที่เป็นผู้ผลิตการไอออกมาเป็นเลือด ทีเ่ ป็นการ “ฝ่าอุปสรรค” และได้ชว่ ยเหลือเขาทางจิตใจให้ไปสูต่ อ่ การตัดสินใจ: “เหตุการณ์เป็นมาเช่นนี้คือ สมองไม่สามารถจะรับเอาความวิตก กังวลและความเจ็บแสบเข้ามาไว้ได้อีก สมองจึงบอกว่า: “ผมจะเลิกทำ�งาน แล้วแต่ในที่นี้จะมีใครบ้างไหมที่ต้องการอยากจะให้มีการทำ�งานต่อไปอีก 90

ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน


ถ้ามี ดังนั้นเขาจะต้องรับเอาความยากลำ�บากของผมออกไปบ้าง และจากนี้ แล้วผมอาจจะทำ�งานต่อไปได้อีกในระยะหนึ่ง” ในที่นี้ปอดได้เป็นผู้ตอบรับ เพราะว่าปอดจะไม่มีความเสียหายอะไรมากจากการตอบรับนี้ การเจรจา ตกลงกันระหว่างปอดกับสมองนั้นเป็นไปโดยที่ผมไม่ได้รับรู้แต่อย่างใดเลย สิ่งนี้อาจจะเป็นสิ่งที่น่าหวั่นกลัวมาก” การต่อสู้กับปอดของตนเองเพื่อที่จะได้มีชีวิตอยู่ต่อไปนั้นจะเป็นไป อย่างรุนแรงมากขึ้นไปเรื่อยๆ: “ปอดทั้งสองข้างจะต้องทำ�อะไรบ้าง […] ปอดจะหายใจเร็วขึ้น จะ อึดอัดหายใจไม่ออกด้วยตนเอง ด้วยยาพิษภายในตน ถ้าปอดจะหายใจช้าลง ปอดจะอึดอัดหายใจไม่ออกด้วยลมอากาศที่ใช้หายใจเข้าไม่ได้ แต่ถ้าปอด ต้องการจะแสวงหาความเร็วในการสูดลมหายใจ ปอดจะสิ้นชีวิตจากการ แสวงหา สิ่งนี้จะเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่ามันจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีชีวิตอยู่อีก ต่อไป” อวัยวะภายในบางอวัยวะ ตัวอย่างเช่น ในกรณีนค้ี อื ปอดนัน้ สามารถ จะเป็นอวัยวะตัวแทนที่แก้ปัญหาโรคที่มาจากทางจิตใจได้ ในทำ�นองเดียวกั นปัญหาอย่างอื่นก็จะมีอวัยวะอย่างอื่นของมนุษย์มาเป็นผู้ช่วยแก้ไข ความสัมพันธ์กันระหว่างการบังคับควบคุมของโรคเบื่ออาหารเหตุ จิตใจ (anorexia nervosa) กับโรคปอดบวม (pneumonia) ที่ตามมานั้น ผมได้มีประสบการณ์กับคนไข้หญิงผู้หนึ่งที่เบื่ออาหารอย่างมาก เธอได้ สูญเสียการบังคับการควบคุมจิตใจของเธอเมื่อเวลาที่โรคปอดบวมเกิดขึ้น และสิ่งที่เธอเคยทำ�เป็นประจำ�อยู่นั้นจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าละลายหายไป เหมือนออกเป็น “ของเหลว” สิง่ เหล่านีเ้ ราจะสามารถมีประสบการณ์เห็นได้ ในคลินิกเสมอว่าในกรณีที่มีความตึงเครียดหนักทั้งทางจิตใจและร่างกายนั้น วิญญาณจะพยายามนำ�ตนออกจากสภาพที่อัดแคบด้วย“การทำ�ให้ตนออก เป็นของเหลว” นั่นคือการเป็นโรคหลอดลมอักเสบ หรือเป็นโรคปอดบวม แต่เราจะต้องมาพิจารณาโรคปอดในแง่มุมมองอีกด้านหนึ่งด้วย ถ้ามีการแข็งตัว การเป็นสะเก็ด และการอุดตันเกิดขึ้นอย่างที่เรารู้เห็นได้ ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน

91


จากโรคหืดหลอดลม ในที่นี้โรคนี้จะแสดงออกนอกไปจากการ“อัดและดึง เอาไว้” ของลมหายใจออกแล้วนั้น ส่วนมากก็ยังจะมีความรู้สึกบังคับต่อ ความสะอาดและมีความหวั่นกลัวต่อ “ความสกปรก” ของสิ่งแวดล้อม และรวมไปด้วยกับการยึดมัน่ ในตัวยาทีข่ ยายโรคหลอดลมอักเสบ ทุกข์ทรมาน จะเกิ ด ขึ ้ น จากการแข็ ง ตั ว ต่ อ ไปอี ก ของเสมหะที ่ ต ามธรรมดาแล้ ว ก็ จ ะ หนืดเหนียวอยู่ ส่วนมากแล้วเราจะระบุเห็นได้ในความแคบและการผูกมัด ทางจิตใจจากการยึดมั่นกับพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งในสมัยเมื่อยังเป็น เด็ ก เล็ ก มาเซล พรู ส ท์ (Marcel Proust) เป็ น คนไข้ โรคหื ด หลอดลม อย่างหนัก และไม่สามารถแก้ความผูกพันและการเป็นตัวของตัวเองได้ อย่ า งมากจากแม่ ข องเขานั ้ น – เขาอาจจะเป็ น ผู ้ ท ี ่ น ่ า สนใจสำ � หรั บ การค้นคว้าต่อไปอีก และทั้งในนวนิยายที่เขาเขียน ชื่อ “การแสวงหาเวลา ที่สูญหายไป” – เขาเขียนแต่เฉพาะในเรื่องของความหลังเท่านั้น กำ�ลังของสมองที่แข็งเกินไปและปลีกตัวออกไปจากโลกนั้นจะคู่ ต่อการควบคุมอวัยวะปอดของคนไข้โรคหืดหลอดลม สำ�หรับผูป้ ว่ ยโรควัณโรค ปอดที่มีอาการประสาทหลอนเกิดขึ้นบ่อยๆ ในขั้นสูงแล้วนั้น กำ�ลังของ สมองจะหลีกหนีออกไปจากปอด ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อยๆ นั้นเราจะพบได้ ในงานเขียนของนักประพันธ์หญิงชื่อ จอร์ ซอง (George Sand) ผู้ที่ได้ใช้ ชีวติ เวลาร่วมกับนักประพันธ์ดนตรีชอ่ื ฟรีดริกร์ โชแปง (Friedrich Chopin) ผู้ที่เป็นโรควัณโรคปอดที่บนเกาะ มายอคก้า (Mallorca) ประเทศสเปน เธอได้เล่าว่า โชแปงสามารถ “ทำ�งานอย่างเคร่งเครียด” ในจุดหนึ่ง ของบทประพันธ์ของเขา และเขาจะคลายความเครียดได้ถ้าเขาจะได้รับ ปัญหาในเรื่องปอด สำ�หรับเรือ่ งการสูบบุหรีน่ น้ั เราจะต้องระลึกในบุญคุณของควันบุหรี่ ซึ่งเป็นระบบการของการเป็นขี้เถ้าถ่าน (ขี้บุหรี่) ที่ตามประสิทธิผลของ การสูบบุหรี่แล้วจะให้รูปผลที่ตรงกันข้ามกันกับการสูบกัญชา การเป็นขี้เถ้า ถ่านจะมีอิทธิพลที่ทำ�ให้อุดตันและแข็งตัวเกิดขึ้นต่อในส่วนกลางของมนุษย์ ทีเ่ รารูจ้ กั และเรียกกันว่าเป็นส่วนของความรูส้ กึ ทีแ่ สดงออก ในการเกิดขึน้ ของ 92

ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน


มะเร็งในปอด แต่อทิ ธิพลนีส้ ามารถก่อให้เกิดเป็นการแข็งตัวทางกายโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเส้นเลือดแดงของขา อย่างที่เราเรียกกันว่า “ขาของคนสูบบุหรี่” ที ่ ท ำ � ให้ อ ุ ณ หภู ม ิ ข องเลื อ ดลดเย็ น ลงประมาณ 0.5ºC และกดบรรเทา ความรู้สึกหิวให้ลดน้อยลงที่สามารถจะอธิบายออกได้ว่าเป็นอิทธิพลใน ทางตรงกันข้ามกัน สภาพทางสายกลางอันสมบูรณ์แบบของวิญญาณระหว่างการบีบ บังคับและการมีประสาทหลอนอย่างมาก ซึง่ สภาพทัง้ สองนีค้ อื ความแข็งแกร่ง และความสูญสลายจากโลกแผ่นดิน เป็นความสามารถทีเ่ ราต้องการใช้ในโลกนี้ และเป็ น ผู ้ ใ ห้ โ ครงสร้ า งยึ ด มั ่ น อย่ า งสมบู ร ณ์ แ บบแก่ ว ิ ญ ญาณของเรา ในความหมายที่ว่าเป็นตรรกศาสตร์ความนึกคิดอย่างเช่นที่เราจะพบเห็นได้ ไม่เพียงแต่ในทางคณิตศาสตร์และเรขาคณิตเท่านั้น แต่เราก็ยังจะพบได้ใน โครงสร้างของความนึกคิดของเราโดยทั่วๆ ไป สิ่งนี้เป็นการกระทำ�ทาง สมองทีน่ �ำ ไปสูส่ ขุ ภาพทีส่ มบูรณ์ในวิญญาณของเราซึง่ เราจะต้องระลึกในบุญคุณ ของกำ�ลังของโลกนอกสัมผัสที่มีอิทธิพลต่อปอดของเรา และสามารถจะเป็น ไปในแนวทางหนึ่งหรือในอีกแนวทางหนึ่งก็ได้ ถ้าปอดของเราไม่เพียงแต่จะ มีโรคเจ็บไข้ทางอวัยวะกายเท่านัน้ แต่ยงั เป็นในทางด้านการปฏิบตั หิ น้าทีด่ ว้ ย ดังนัน้ ปอดจึงเป็น “โลกแผ่นดิน” ในตัวของเรา และเป็นธาตุอวัยวะ ที่มีความสัมพันธ์กับความแข็งของแต่ละพื้นแผ่นดินที่เราอยู่ และกับสิ่งที่ เราจะ สามารถทำ�ได้เพียงแต่ในโลกนี้เท่านั้น สิ่งนี้คือการเดินเคลื่อนไหว ของเราภายใต้แรงดึงดูดของโลกและการทำ�งานทางกายของเรา กฎเกณฑ์ ทั้งสองนี้ – ภูมิประเทศอย่างเฉพาะรูปของแต่ละภูมิลำ�เนา และปริมาณ การทำ�งานด้วยกายตามความสามารถทีส่ มบูรณ์แบบ – เป็นการป้องกันโรคภัย ที่แน่วแน่และการรักษาสุขภาพต่อระบบการทำ�งานของปอดที่อ่อนแอ จาก ข้อสังเกตในปี 1920 ของรูดอล์ฟ สตายเนอร์ได้ชี้ให้เห็นว่า: “ปอดเป็นเหมือนกับเป็นภาพกระจกของการเป็นไปในโลก – บน ภูเขาสูงปอดจะมีสขุ ภาพดี – บนพืน้ ดินทีม่ หี นิ ปูนปอดจะได้รบั การตรวจสอบ – บนพื้นดินที่เกิดขึ้นเป็นชั้นๆ ปอดจะมีความโน้มเอียงเข้าสู่โรคเจ็บไข้ ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน

93


เราจะส่งเสริมโรคปอดต่างๆ นั้นได้ด้วยการทำ�งานอย่างหนักทางกาย” อีกตัวอย่างที่เห็นได้อย่างดีจากการเริ่มทำ�งานทางกายอย่างหนัก และมีโรคปอดที่รุนแรงตามมาคือ อันโทน เชคโฮฟ (Anton Cechov) ผู้ ท ี ่ ไ ด้ เสี ย ชี ว ิ ต ด้วยโรควัณ โรค จากข้อสังเกตที ่ ผ ่ า นมานั ้ นเราเข้ า ใจใน ความหมายของการนอนพักฟื้นและคำ�แนะนำ�ต่อผู้ที่ได้รับความเสียหาย จากโรคปอดว่า เขาไม่ควรจะทำ�งานทางกายมากหรือในกรณีโรคปอดเรื้อรัง เขาควรจะต้องเปลี่ยนที่อยู่อาศัยด้วย ดังนั้นการบำ�บัดโรคปอดทั้งภายนอกและภายในด้วยตัวยาโดยใช้ ความสัมพันธ์กับหินซิลิกา หินแกรนิต และเกลือนั้นจึงเป็นการบำ�บัดที่เห็น ผลได้ และจากทางการแพทย์ในแนวทางมนุษยปรัชญานั้น เราจึงใช้ตัวยาที่ มาจากเถ้าถ่านของสมุนไพรบางชนิด เพราะว่าเถ้าถ่านเป็นดินที่เหลือที่มา จากแร่ ธ าตุ ท ี ่ แ ท้ จ ริ ง ซึ ่ ง เป็ น สิ ่ ง ที ่ เ หลื อ เป็ น ชิ ้ น สุ ด ท้ า ยหลั ง จากที ่ ไ ด้ ม ี การเผาไหม้แล้ว ในอดีตการรักษาโรคด้วยสมุนไพรได้รับความสำ�เร็จอย่าง มากโดยทีเ่ ราไม่สามารถทีจ่ ะปฏิเสธต่อความสัมพันธ์อย่างใกล้ชดิ ของสมุนไพร กับพื้นแผ่นดินได้ ตัวอย่างเช่น รสขมของหญ้ามอส (Isländisches Moos (Cetraria islandica) หรือ พืชรสขม (Wormwood, Artemisia absinthium)

หญ้ามอส (Cetraria islandica)

94

ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน

สมุนไพรรสขม Wermut, Worm wood, Artemisia absinthium


เราได้เรียนรูจ้ ากในช่วงทีผ่ า่ นมาแล้วว่าปอดและลำ�ไส้มคี วามสัมพันธ์ ในการประสานงานร่วมกัน หรือถ้าเราจะมาดูทางอาการแล้ว เราจะเห็นได้ ในความสัมพันธ์ของการไอกับโรคท้องร่วง สิง่ ทีเ่ รารูจ้ กั กันดีจากการปฎิบตั หิ น้าที่ ว่าถ้าโรคไอที่บางทีเริ่มดีขึ้นแล้วนั้น โรคท้องร่วงก็จะเกิดขึ้นตามมาหรือที่ว่า ถ้าคนไข้มีโรคไอหนัก เราจะบำ�บัดให้ดีขึ้นได้ด้วยการสวนทวาร จากความรู้ นี้นักบำ�บัดทางเลือกบางท่านจึงได้นำ�เอาไปใช้ในการสุขอนามัยลำ�ไส้กับ คนไข้โรคปอด จากการปฎิบัติงานในคลีนิกแพทย์เราได้รู้จักกับปัญหาของ ลำ�ไส้อักเสบจะเกิดขึ้นทันทีถ้าเราระงับไข้โรคปอดไว้หรือในทางตรงกันข้าม ก็เช่นเดียวกัน ในช่วงการพัฒนาของตัวอ่อนนั้น ปอดได้แตกตัวออกจากจุดเริ่มต้น ของลำ � ไส้ แ ละเคลื ่ อ นย้ า ยขึ ้ น ไปอยู ่ บ นส่ ว นข้ า งบน เราสามารถเห็ น ใน การทำ�งานอย่างที่ตรงกันข้ามกันระหว่างปอดและลำ�ไส้ แต่เราก็เจอกับ การทำ � งานที ่ ค ล้ า ยๆ กั น ของมั น อี ก ด้ ว ย การทำ � งานที ่ ค ล้ า ยๆ กั น คื อ การขับถ่ายสิ่งที่มีอย่างมากมายและด้วยสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นพิษภัยนั้น ออกไปในสภาพลมหรือของแข็ง การทำ�งานอย่างตรงกันข้ามคือสิ่งที่ทำ�ให้ ปอดมีสุขภาพดีขึ้นได้นั้นสิ่งนั้นจะทำ�ให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บเกิดขึ้นกับลำ�ไส้ และในทางตรงกันข้ามก็จะเป็นในทำ�นองเดียวกัน ลำ�ไส้ผลิตเยื่อเมือกเป็น จำ�นวนมากและไม่ชอบผลิตลมอากาศ ในทางตรงกันข้ามปอดชอบบรรจุตน ด้วยลมอากาศและจะผลิตเยื่อเมือกแต่เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าปอดจะผลิต เยื่อเมือกออกมาแล้วตัวปอดก็จะมีความโน้มเอียงเกิดมีโรคเจ็บไข้ได้ ในทางการแพทย์จนี เราจะได้พบกับความสัมพันธ์นอกไปจากปอดกับ ลำ�ไส้ใหญ่แล้วและก็ยงั พบระหว่างปอดกับ “โลหะ” ซึง่ เป็นสิง่ ทีแ่ ข็งทีส่ ดุ ของโลก และจากในที่นี้เรายังได้พบกับความสอดคล้องที่น่าสนใจจากในมุมมอง การแพทย์แนวมนุษยปรัชญาที่ว่า ปอดเป็น “แผ่นดิน” ในตัวของเราเอง ในทางด้านเอเซียเราจะนับว่าปอดเป็น “รัฐมนตรี” ผู้ที่จะต้องจัดการ ความเรียบร้อยในการทำ�งานร่วมกันของกลุ่มการทำ�งานของอวัยวะภายใน ภายใต้ ก ารควบคุ ม ใน “อาณาจั ก ร” ทางกาย และเป็ น ตั ว แทนของ ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน

95


“ผิวภายนอก” ของแผ่นดินโลกเพื่อที่จะสามารถรับพลังอิทธิพลต่างๆ จาก ทางภายนอกเช่นแสงและลมอากาศได้อย่างถูกต้อง ตามความเห็นของ แพทย์จีนแล้วนั้น “พลังการก่อสร้าง” อวัยวะภายในของ “บ้าน” ทางกาย จะได้รบั การจัดแสวงหามาจากปอด ปอดเป็นผูค้ วบคุม “พลังความเจ็บปวด” ของผิวหนังที่เป็นอวัยวะป้องกันภูมิแพ้ที่สำ�คัญที่สุดด้วยการสร้างเหงื่อ – เราจะนึกมองดูกับอาการเหงื่อออกเวลากลางคืนของผู้ป่วยโรควัณโรค – และด้วยการระบายความร้อนของผิวหนังภายนอกทัง้ หมด ตามความคิดเห็น ของทางด้านเอเชียแล้ว ปอดไม่เพียงแต่จะเป็นผูใ้ ห้ความชืน้ ต่อระบบทางกาย ทั้งหมดเท่านั้น แต่ก็ยังช่วยให้ความเย็นด้วย สิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่าทึ่งใจอย่างมาก ที่ว่าเราสามารถสูดลมหายใจจากอากาศอุณหภูมิ – 40 องศาเซลเซียสเป็น เวลานานๆ ได้โดยจะไม่เกิดโรคปอดบวม ในด้านตรงกันข้ามถ้าอวัยวะ ทางกายช่ ว งล่ า งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณขาและไตหรื อ เท้ า นั ้ นได้ รับความเย็นและเปียกแล้ว เราจะมีอาการของไข้หวัดเกิดขึ้นที่ในตัวของเรา เพียงแต่ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น อารมณ์ ค วามรู ้ ส ึ ก ที ่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ ปอดคื อ ความเศร้ า โศกและ ความเสียใจ และด้วยเหตุนี้ปอดก็จะมีความเกี่ยวข้องกับอุปนิสัยโศกเศร้า ด้วย อารมณ์ความรู้สึกนี้จะดึงเราลงไปสู่แผ่นดิน วันและเวลาที่มีความ เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกคือวันและเวลาหรือฤดูกาล “ร่วงโรย” : ในช่วงเวลาบ่ายหรือในฤดูใบไม้ร่วงเราจะได้รับกลิ่นดิน เพราะว่าปอดเป็นจุดกลางของตัวเรานั้น ผู้ป่วยโรคปอดจึงควร บริโภคอาหารผักใบมากๆ ในอาหารบริโภคนี้คือหอมใหญ่ที่เต็มไปด้วย ความเผ็ดจากกำ�มะถัน และกะหล่ำ�ต่างๆ ชนิดที่การมีชีวิตของกะหล่ำ�นั้น อยู่ที่ใบ ถ้าปอดอักเสบเกิดขึ้นบ่อยๆ เราจะต้องกระตุ้นกำ�ลังการสร้างสรรค์ ด้วยผักต้ม เช่น แครอท และหัวบีทรูท ที่มีอิทธิพลที่ดีกับภูมิป้องกันด้วย

96

ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน


ปอดเป็นอวัยวะธาตุดิน

97


ตั

ตับเป็นอวัยวะธาตุน้ำ�

บทีเ่ รียกกันว่าเป็น “นายพล” ภายในของเรานัน้ จะส่งเสริม และ รักษากำ�ลังชีวิตต่างๆ ของเราเอาไว้ ชีวิตจะมีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกันกับโลกจักรวาลกับแสงอาทิตย์ และความร้อนจากดวงอาทิตย์ ผูอ้ มุ้ ชูชวี ติ ในความความสัมพันธ์ของโลกแผ่นดินนีค้ อื น้�ำ ถ้าระบบการเผาผลาญ ไม่ได้รับความร้อนภายในแล้ว เราจะช่วยได้โดยเราจะใช้ถุงน้ำ�ร้อนวางลงใน บริเวณตับหรือเราควรจะใช้ส่วนล่างของกายเราตากแดด ตัวอย่างเช่น ถ้าตับของเด็กอ่อนหลังคลอดพัฒนาหน้าที่ผิดปรกติ จะมีน้ำ�ไตในเลือดมาก Hyperbilirubin (เป็นคำ�ที่มาจากภาษาลาติน hyper แปลว่า จำ�นวนมาก bilis แปลว่า ถุงน้�ำ ดี ไต rubin แปลว่า สีแดง, bilirubin เป็นอุปกรณ์ผลผลิตสี เหลืองของการย่อยสลายฮีมซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของเฮโมโกลบิน Hemoglobin ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำ�คัญของเม็ดเลือดแดง, สมัยก่อนเราเรียก bilirubin กันว่า hematoidin) เราจะนำ�เด็กไปตากแดดเพื่อที่จะให้สารสีของไต สามารถพัฒนาตนกลับเป็นปรกติ ดังนั้นการกระทำ�ต่อดวงอาทิตย์จึงเป็น การกระทำ�ต่อชีวิต และสสารแผ่นดิน ที่จะ“เผาไหม้” สิ่งที่เหลือค้างอยู่ทั้ง ในระบบเผาผลาญและในวิญญาณนั้น สิ่งนั้นก็คือ น้ำ�ไต ความกระหายน้�ำ ของเราซึง่ เป็นการรับเอาของเหลวเข้ามาในระหว่าง เวลากลางวันนั้นจะถูกกำ�หนดมาจากไตที่เป็นผู้สร้างโปรตีนชนิดหนึ่งขึ้นที่ เราเรียกกันว่าอัลบูมิน (Albumin) ซึ่งเป็นผู้ควบคุมการแลกเปลี่ยนของน้ำ� ระหว่างโลหิตกับเนื้อเยื่อซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนแปลง “แร่ธาตุ” น้ำ�ที่ได้รับเข้ามา จากภายนอกให้ออกเป็นน้ำ� “ชีวิต” ของตนเอง ตามความจริงแล้วเราควร จะต้องคิดว่าตับเป็นเหมือนฟองน้ำ�ของโลหิตที่ถูกยึดเสริมเอาไว้ด้วยถุงห่อ เนื้อเยื่อ จากการปฏิบัติหน้าที่อันสำ�คัญในการบริหารน้ำ�นั้น ตับจะมีการ “ส่งเสริม” ให้กับวิญญาณด้วย ดังนั้นเราควรจะต้องเข้าใจให้ได้ว่าในด้าน หนึ่งตับจะต้องขึ้นอยู่กับความสะอาดของน้ำ�ชีวิต และในอีกด้านหนึ่งตับ 98

ตับเป็นอวัยวะธาตุน้ำ�


ไม่ควรมีภาระมากเกินไปกับระบบการขับสารพิษออกจากร่างกาย เพราะว่า อาหารทัง้ หลายทีเ่ ราบริโภคเข้าไปนัน้ จะต้องเข้าไปผ่านตับ โดยเฉพาะอย่างยิง่ น้ำ�ที่มีหินปูนผสมอยู่จะเป็นภาระหนักต่อตับ เพราะว่าหินปูนมีความหมาย ทางด้านอวัยวะว่าเป็นระบบการแข็งกระด้างและระบบการตาย ตัวอย่างเช่น ถ้าความคิดถูกใช้ในการทำ�งานอย่างหนักในด้านความนึกคิดทางทฤษฎีหรือ วิชาการเป็นเวลานานๆแล้วนั้น อวัยวะภายในทั้งหมดจะมีความเย็นเกิดขึ้น ลงไปจนถึงเท้า ผมได้มีประสบการณ์ในระหว่างการสอบหลักสูตรวิชาแพทย์ ว่า เพื่อนนักศึกษาสองคนเกิดมีโรคตับอักเสบ (Hepatitis) เกิดขึ้นเนื่องมา จากการทำ�งานทางด้านความคิดและการใช้เหตุผลอย่างหนักและการศึกษา เรียนเป็นไปทั้งวันและทั้งคืน การกระทำ�ให้เป็นไปในเพียงด้านเดียวที่ไม่ควรจะนำ�ไปสู่ตับนั้นเรา จะเรียกได้ว่าเป็น “ความสำ�ราญใจต่ออาหารอย่างมาก” ถ้าตับจะได้รับ การบริโภคที่เหมือนเป็นการบริโภคยาเสพติดอย่างฟุ่มเฟือยแล้วนั้น ตับจะ เปลี่ยนสภาพของตนเองออกไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น จะเกิดมี ไขมันบนตับขึ้น ในที่นี้เราจะต้องไม่เพียงแต่จะลดการบริโภคเท่านั้น แต่เรา จะต้องมีความสำ�นึกในการเคี้ยวอาหาร ความสำ�ราญใจ และความรู้ต่อ รสชาติในปากของเราด้วย และเครื่องเทศในอาหารที่ไปกระตุ้นการทำ�งาน เพื่อที่จะให้มีสุขภาพดี ตับไม่ควรจะได้รับการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และมีน้ำ�ตาลเคมีเทียม ตัวอย่างเช่น แอสปาร์แตม (Aspatam)

ตับเป็นอวัยวะธาตุน้ำ�

99


พืชสมุนไพรที่ใช้บำ�บัดตับคือพืชที่สสาร (น้ำ�หรือยาง) ออกคล้ายกับน้ำ�นม หรือ มีน�ำ้ ออกจำ�นวนมาก ตัวอย่างเช่น สมุนไพรแดนดิไลออน (Löwenzahn, Dandilion ลำ � ต้ น ของแดนดิ ไ ลออนสั ้ น มี ใ บออกจากโคนลำ � ต้ น เป็ น กระจุ ก แต่ ล ะใบเว้ า เป็ น แฉกแหลม)

Löwenzahn, Dandilion สมุนไพรแดนดิไลออน

สมุนไพรไบรโอเนีย (Zaunrüben, Bryonia เป็นพืชทีเ่ ป็นพิษในตระกูลมะระ มี ส องชนิ ด ที ่ ใช้ ใ นการบำ � บั ด , alba Byronia และ diocia Bryonia, alba Byronia ใช้มากที่สุด ในการบำ�บัดทาง homeopathic)

Zaunrüben, Bryonia สมุนไพรไบรโอเนีย 100

ตับเป็นอวัยวะธาตุน้ำ�


สมุนไพรเชลิโดเนียม (Schöllkraut, Chelidonium majus) และสมุนไพร ซิลลีบมุ แมรีอานุม (Mariendistel, Silybum marianum หรือ milkthistle)

Schöllkraut, Chelidonium majus Mariendistel, Silybum marianum สมุนไพรซิลลีบุม แมรีอานุม สมุนไพรเชลิโดเนียม

หรือสมุนไพรทีม่ รี สเปรีย้ ว เช่น สมุนไพรแบเบอร์รสี วุลการีส (Berberitye, Berberis vulgaris) สมุนไพรที่มีผลบำ�บัดอย่างดีในการรักษาโรคตับ และ โรคถุงน้�ำ ดี คือ สมุนไพรชิโคเรียม อินทิบสุ (Weg warte, Cichorium intybus หรือ Chicory)

Berberitye, Berberis vulgaris สมุนไพรแบเบอร์รีส วุลการีส ตับเป็นอวัยวะธาตุน้ำ�

101


ไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะธาตุลม

ารพัฒนาชีวิตของมนุษย์ในระยะเวลาช่วงแรกนั้นการหายใจ และการบริโภคอาหารยังเป็นหน่วยที่ร่วมกันอยู่ ตัวอ่อน จะลอยอยูใ่ นน้�ำ คร่�ำ ซึง่ มันจะได้รบั อาหารและ “การหายใจเข้า” จากน้�ำ คร่�ำ นี้ (Amniotic fluid) ปอดจะจัดระเบียบด้วยอากาศที่เป็นกำ�ลังการสร้างสรรค์ ของจักวาลรอบๆ ตัวเรา สำ�หรับการบริโภคในโลกนีต้ บั เป็นผูร้ บั ผิดชอบ หัวใจ และการหมุนเวียนของโลหิตจะเป็นผูจ้ ดั ส่งอากาศทีห่ ายใจและวัตถุโดยผ่านไป ทัว้ ในอวัยวะต่าง ๆ ไตซึง่ เป็นอวัยวะทางวิญญาณนัน้ จะเป็นการสังเคราะห์ และ การพิ จ ารณาเป็ น รายบุ ค คลต่ อ สสารที ่ ร ั บ เอามาจากภายนอกสำ � หรั บ การก่อร่างกายศาสตร์ขึ้น และจัดเตรียมแนวทางการหายใจเพื่อที่จะให้ แนวทางการหายใจนี้เป็นเจ้าของของวิญญาณและจะเป็นการกระทำ�ภายใน ดังนั้นแล้วไตจึงเป็นอวัยวะของ “อัตวิสัย” ถ้าเรามีความต้องการออกซิเจน มากเท่าใด และมีการหายใจเข้าลึกเท่าใด วิญญาณของเราก็จะเข้าลึกไปสู่ กายของเรามากเท่านัน้ และจะเผาไหม้ว่ ตั ถุทไ่ี ด้รบั เข้ามาและจะเปลีย่ นแปลง สิ่งเหล่านี้ให้ออกเป็นพลัง สิ่งที่น่าสนใจมาก คือ ไตและระบบสมอง และ ไขกระดูกสันหลังนั้นเป็นอวัยวะที่ต้องการใช้ออกซิเจนเป็นจำ�นวนมาก และ แสดงตนออกว่าตัวเองนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะจิตสำ�นึก การหายใจที่เราได้เรียนรู้มาแล้วนั้นเป็นการกระทำ�โดยผ่านปอด ซึง่ มีไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นผูเ้ ตรียมการให้สง่ิ นีจ้ ะขึน้ อยูก่ บั ดุลสภาพของ ตัวมนุษย์เราเอง ถ้ามนุษย์เราอยูภ่ ายใต้ความกดดันทางภายในหรือภายนอก ที่เราเรียกกันว่า ความเคร่ง หรือการกระสับกระส่าย หรือการหายใจสั้นๆ หรือถ้าเราไม่มีความสงบในเวลารับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหาร อย่างเร่งรีบไม่มีความนึกคิด และปราศจากการเคี้ยวอย่างถูกต้องแล้วนั้น การเคลือ่ นไหวทางภายในของอวัยวะทัง้ หลายก็จะมีความปัน่ ป่วน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งกระเพาะปัสสาวะและไตจะมีความเสียหายเกิดขึ้น ซึ่งจะนำ�ไปสู่ 102

ไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะธาตุลม


การเกิดมีลมในท้องช่วงบน มนุษย์เราจะเริม่ กลืนลมเข้าในท้องและการหายใจ จะไม่เป็นไปตามจังหวะ สำ�หรับกระเพาะปัสสาวะและไตนัน้ การหายใจเป็นจังหวะโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในเวลารับประทานอาหารจะเป็นสิ่งที่สำ�คัญมาก สิ่งเหล่านี้ได้ถูก ปล่อยปะละเลยอย่างมากในทุกวันนี้จากการบริโภคอาหารจานด่วนหรือ การใช้เตาอบไมโครเวฟ การหายใจทีน่ �ำ ไปสูส่ ขุ ภาพทีด่ ขี องอวัยวะนัน้ สามารถจะส่งเสริมได้ ด้วยการนำ�เอาตัวมนุษย์เราขึ้นไปสู่พื้นที่สูงบนภูเขาที่ในอากาศเต็มไปด้วย ออกซิเจน และเขาจะหายใจเข้าและออกอย่างลึกได้โดยไม่รู้ตัว การอักเสบ ทางกระเพาะปัสสาวะและไตทีแ่ สดงออกด้วยอาการแสบในกระเพาะปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะบ่อยไปจนถึงการเปลีย่ นแปลงและแปรผันของความดันโลหิตนัน้ จะดีขน้ึ ถ้าผูป้ ว่ ยทำ�ตามคำ�แนะนำ�ในการหายใจทีร่ ตู้ วั และหายใจเข้าอย่างลึก คนไข้ ท ี ่ เจ็ บ ป่ ว ยและอ่ อ นแอต่ อ ความดั น โลหิ ต สู ง และความไม่ ส ะดวก สบายในการหายใจนั้น ได้เล่าให้ผมฟังว่า การหายใจเข้าและหายใจออก อย่างสม่�ำ เสมอในช่วงเวลาดำ�น้�ำ ด้วยสน็อร์กเกิลนัน้ ช่วยบรรเทาความเจ็บป่วย ในตั ว เขาได้ มาก ดังนั้นเราจึงสามารถจะกล่าวได้ ว่ า : การปกป้ อ งดู แ ล การหายใจเป็นการปกป้องดูแลไต ตามความรูข้ องทางแพทย์จนี เส้นทางเมอริเดียนของกระเพาะปัสสาวะ จะเป็นเส้นทางภายในที่ออกจากกลีบจมูก ผ่านดวงตา ไปยังโพรงจมูก ไปยังกระหม่อม จนไปถึงศีรษะเบื้องหลัง และผ่านไปยังกล้ามเนื้อคอผ่านไป ถึงหลังและน่อง ต่อไปจนถึงนิว้ เท้านาง คนไข้ทม่ี อี าการปวดศีรษะเมือ่ อากาศ เปลี่ยนแปลงไป – โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีความดันอากาศต่ำ�หรือมีพายุ – จะมีปัญหาในเส้นทางเมอริเดียนของกระเพาะปัสสาวะเป็นพิเศษ โดยที่ เขาจะมีความรู้สึกหรือความเจ็บปวดเริ่มขึ้นจากดวงตาผ่านไปยังกระหม่อม และไปจนถึงกล้ามเนื้อที่แผ่ไปยังศีรษะเบื้องหลัง ดั ง นั ้ น แล้ ว เราควรจะพยายามบำ � บั ด รั ก ษาปั ญ หาทางด้ า นลม ในตั ว อย่ า งเช่ น โพรงจมู ก อั ก เสบ หรื อ เนื ้ อ งอกในต่ อ มน้ ำ � เหลื อ ง ไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะธาตุลม

103


ด้วยการบำ�บัดรักษากระเพาะปัสสาวะ ในกรณีนี้ผู้ป่วยจะต้องการออกซิเจน เพิ ่ มขึ ้ น และจะไวต่อความรู้สึก ต่อแสง กลิ่น และเสี ย ง สิ ่ ง นี ้ จะเป็ นไป ในทำ�นองเดียวกันกับตับซึง่ เป็นผูท้ จ่ี ดั หาน้�ำ ชีวติ ให้แก่ดวงตา ดังนัน้ ไตจะเป็น ผู ้ จ ั ด หาแสงให้ ก ั บ ดวงตาและผิ ว หนั ง ในที ่ น ี ้ ค วามสั ม พั น ธ์ ข องไตและ ต่อมหมวกไตที่ผลิตคอร์ติโซน (Cortisone) และอะดรีนาลิน (Adrenalin) ซึ่งเป็นสสารของร่างกายของเราเอง สสารทั้งสองนี้จะถูกใช้เป็นตัวยาบำ�บัด สำ�หรับผู้ที่อาการช็อกและโรคภูมิแพ้หนัก ในเวลาต่อไปอีกในระยะหนึ่งผู้ที่ เป็นโรคไตและต่อมหมวกไตเรื้อรังจะมีผิวหนังสีเทาน้ำ�ตาลเกิดขึ้นที่มองดู แล้วเหมือนเป็นสิ่งสกปรกและขุ่นมัว ในทางการแพทย์เราจะใช้สมุนไพรหญ้าหางม้าหรือหญ้าถอดปล้อง (Schachtelhalm, Equisetum) ที ่ ส ่ ว นใหญ่ แ ล้ ว จะมี ต ั ว ยาในปล้ อ ง และมีกรดซิลซิ กิ (Silicic acid, Si(OH)4)ร่วมอยูซ่ ง่ึ ใช้เป็นการรักษาโรคไตและ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

Schachtelhalm, Equisetum สมุนไพรหญ้าหางม้า

ในทำ � นองเดี ย วกั น สมุ น ไพรรากหญ้ า เบอร์ ด อก (Klettenwurzel, Burdock root, Arctium) ใช้ชงเป็นน้�ำ ชาซึง่ เป็นตัวยาแผนโบราณทีใ่ ช้รกั ษา ไม่เพียงแต่ไตเท่านั้นแต่ยังกลั่นออก มาใช้เป็นยาทางภายนอกที่มีอิทธิพล ดีกับเส้นผมด้วย 104

ไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะธาตุลม


สมุนไพรรากหญ้าเบอร์ดอก Klettenwurzel, Burdock root, Arctium

ไตเป็นอวัยวะทางไนโตรเจน ในการควบคุมทางอาหารนั้นพืชที่มีไนโตรเจน ร่วมอยู่เช่นพวกถั่วต่างๆ จะให้ผลดีต่อไต แต่มันจะทำ�ให้มีความรู้สึกซึมทึบ และภายในจะเกิด “ลม” ขึ้น ถ้าระบบการขับถ่ายของไตและกระเพาะปัสสาวะทำ�งานไม่เป็นปกติ – แพทย์จีนจะพูดกันว่าเป็น “การหดตัว” อย่างมาก – แตงโมและฟักทอง จะสามารถช่วยส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะได้ และจะช่วยให้ร่างกายเป็น อิสระจากผลิตผลที่มาจากการสันดาป เพราะว่าไตมีความสัมพันธ์อย่างเป็น พิเศษกับแร่เกลือ เพราะฉะนัน้ การทีจ่ ะต้องลดจำ�นวนเกลือจึงเป็นสิง่ ทีส่ �ำ คัญมาก เพือ่ ทีจ่ ะไม่ให้ไตต้องทำ�งานหนัก แต่ในอีกด้านหนึง่ แร่เกลือ (Natriumuriaticum) เป็ น ตั ว ยาทางโฮมี โ อพาธี (Homeopathy) ที ่ ด ี เ ด่ น ในการบำ � บั ด อาการโรคไตต่างๆ ที่มีอาการแสดงออกในความต้องการอากาศที่บริสุทธิ์ และเยือกเย็น ในทางที่มีปฎิกิริยาอย่างเร็วไวต่อแสงแดด ความร้อน และ ความกลัวต่อสถานการณ์ที่คาดคะเนไม่ใด้ ในอีกด้านหนึ่งสภาพของตัวยา ทางโฮมีโอพาธีจะแสดงออกในความโน้มเอียงไปสู่กฎทางศีลธรรมที่ตายตัว และการบีบบังคับต่อความสะอาด: ในทางวิญญาณแล้วมนุษย์ดูเหมือนจะ เป็นผู้ “ถูกหมักด้วยเกลือ” ไตและกระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะธาตุลม

105


หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ

หั

วใจเป็นศูนย์กลางของการเคลือ่ นไหวทัง้ หลาย และเรารูก้ นั ดีวา่ จากการเคลือ่ นไหวนีค้ วามร้อนจะเกิดขึน้ ตามแนวความคิดเห็น ของแพทย์ จ ี น แล้ ว หั ว ใจจะมี ค วามสั ม พั น ธ์ ท างภายในอย่ า งแนบสนิ ท กั บ ฤดู ร ้ อ น “ในสามเดือนของฤดูรอ้ นนัน้ (ฤดูรอ้ นทางยุโรปนาน 3 เดือนฤดูรอ้ น ทางประเทศไทยนาน 4 เดือน) เราเรียกกันว่าเป็นช่วงเวลาของการเจริญ เติบโตอย่างเต็มที่ พลังงานจากท้องสวรรค์และจากพื้นแผ่นดินจะเข้ามารวม กันจนทำ�ให้สง่ิ ต่าง ๆ ออกดอกและออกผล หลังจากนอนหลับในเวลากลางคืน ไปแล้วเราควรจะตื่นในเวลาเช้าตรู่ ในตลอดเวลากลางวันเราควรจะเงียบ และมีอารมณ์สงบ เราควรจะยอมปล่อยให้พลังของเรามีความสัมพันธ์กับสิ่ง แวดล้อม และเราควรจะทำ�ตัวของเราให้เป็นเหมือนว่าเรามีความรักต่อทุกๆ อย่างรอบๆ ตัวเรา และสิ่งทั้งหลายนี้ควรจะต้องเป็นไปอย่างสอดคล้องกับ บรรยากาศของฤดูร้อน และสิ่งเหล่านี้เป็นหนทางที่จะช่วยป้องกันเพื่อการ พัฒนาของตัวเรา แต่ส�ำ หรับบุคคลทีไ่ ม่ท�ำ ตามกฎการเป็นไปของฤดูรอ้ นแล้ว เขาจะถูกลงโทษด้วยความเสียหายทางหัวใจ ในฤดูใบไม้ร่วงเขาจะได้รับโรค ไข้จบั สัน่ (malaria) - (เราอาจจะกล่าวตามความคิดของแพทย์ทางตะวันตก ได้ว่า: เขาจะได้รับเชื้อโรคติดต่ออย่างหนัก) และดังนั้นเขาจึงจะมีพลังงาน เหลือน้อยมากในการต่อต้านเพื่อสุขภาพของเขาในฤดูใบไม้ร่วง จากนี้แล้ว เขาจะมีโรคภัยไข้เจ็บอย่างหนักในฤดูหนาว” สิ่งนี้เป็นที่รู้กันดีว่าผู้ที่เป็นโรคหัวใจจะลำ�บากมากภายใต้ความร้อน ของฤดูร้อน และในกรณีที่หัวใจเกิดมี “ความร้อนแรงมาก” เราต้องใช้ความ เย็นวางลงในบริเวณหัวใจ แขนช่วงล่าง และชีพจร – เส้นเส้นเมอริเดียนหัวใจ จะผ่านในแนวทางนี้ – เพื่อที่จะให้เกิดความสงบแก่ผู้ป่วย หัวใจมีความสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวต่างๆ ทางภายนอกที่มี 106

หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ


ความเกี่ยวข้องกับจิตสำ�นึกตัวฉันของมนุษย์ และจะมีเพียงเล็กน้อยมาก กับจิตใต้ส�ำ นึกของชีวติ วิญญาณอย่างทีเ่ ราได้เห็นมาแล้วจากการควบคุมของ ทางภายในจากการเคลื่อนไหวทางวิญญาณต่อความสัมพันธ์กับไต และ กระเพาะปัสสาวะ ด้วยการเคลือ่ นไหวทีเ่ ต็มไปด้วยจิตสำ�นึกและความรูส้ กึ นัน้ เราสามารถ จะส่งความอบอุ่นไปให้แก่อวัยวะภายนอกที่เยือกเย็นได้ อย่างเช่นที่เกิดขึ้น ได้จากการการฝึกการกระทำ�ที่มีผลเกิดขึ้นมาได้ด้วยตนเอง (Autogenic Training) ผมจำ �ได้ดีว่ามีคนไข้ห ญิงคนหนึ่งที ่ ม ี ท ุ ก ข์ ท รมานเสมอจาก ความเยือกเย็นในมือของเธอ และอาการของเธอไม่ดขี น้ึ ถึงแม้วา่ เธอได้รบั ยา และการบำ�บัดทางกายแล้วก็ตาม หลายๆ เดือนต่อมาผมได้เจอกับเธออีก และเราได้จับมือสวัสดีกัน ผมรู้สึกมหัศจรรย์ใจมากว่ามือของเธออุ่นขึ้น จาก คำ�ถามของผมต่อสาเหตุการเป็นไปที่ดีขึ้นนั้น เธอได้บอกว่า เป็นครั้งแรกใน ชีวิตที่เธอเข้าใจต่อสิ่งที่ทำ�ให้เธอดีใจและเป็นสิ่งที่เธอสามารถผูกพันด้วย ความมีปิติยินดี เรารู้กันดีจากคำ�พูดของชาวบ้านทั่วๆ ไปที่ว่า ความนึกคิดที่ เย็นชาจะนำ�ไปสูม่ อื เท้าทีเ่ ย็นชาด้วย “การจับความได้” และ“การจับสิง่ ของ” นั้นเป็นคำ�ที่มีความสัมพันธ์ทางภายในร่วมกัน หัวใจซึง่ เป็นอวัยวะรากเหง้าของระบบจังหวะและการหมุนเวียนโลหิต นั้นตั้งอยู่ในตำ�แหน่งระหว่างขั้วศีรษะของการรับรู้กับขั้วการเผาผลาญของ การเคลื่อนไหว ขั้วทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ถ้าเราได้รับการ กระตุ้นทางด้านประสาทสัมผัสมากและมีการกระทำ�ทางการเคลื่อนไหว ขาน้อยมาก อย่างเช่น การขับรถ หรือการทำ�งานกับคอมพิวเตอร์นน้ั หัวใจและ การหมุนเวียนโลหิตจะต้องได้รับความเสียหาย ในทางตรงกันข้ามการ กระทำ�ในเพียงทางด้านเดียว อย่างเช่น การเล่นกีฬาก็จะมีผลเช่นเดียวกันนี้ ด้วย สิ่งที่ได้กล่าวมานี้ได้รับการยืนยันมาจากการเสียชีวิตอย่างรวดเร็วของ นักกีฬาที่มาจากโรคหัวใจวาย การแพทย์สรีรวิทยาทางหัวใจสมัยใหม่ได้ ยอมรับแล้วว่าการเคลื่อนไหวที่ดีที่สุดและเป็นการชดเชยให้ได้ดีที่สุดคือ การเดินเล่นและการเดินระยะไกล แต่ไม่ใช่เป็นการวิ่งจ๊อกกิ้งอย่างหนัก หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ

107


ในทุกวันนี้เราจะได้รับคำ�แนะนำ�ให้มีการกระทำ�ในการเคลื่อนไหวหลังจาก หายจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ซึ่งเป็นการกระทำ�ตรงกันข้ามกับคำ�แนะนำ� ในอดี ต เราสามารถจะเข้าใจได้ว่าการนั่งสงบนานๆ นั ่ ง รถนานๆ หรื อ นั่งเครื่องบินนานๆ จะส่งเสริมโรคต่างๆ ทางหัวใจ การเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในตัวเองซึ่งมาจากวิญญาณของเราอย่างที่ ออยรืทมีบำ�บัด (Heileurythmie) ของแพทย์ขยายแนวมนุษยปรัชญาได้ แสดงออกมานั้น เป็นการบำ�บัดที่ดีที่สุดและเป็นการป้องกันโรคหัวใจ การเคลือ่ นไหวในความหมายตามคำ�พูดของ นีทซ์เชส (Friedrich Nietzsche) นักปรัชญาชาวเยอรมันที่ว่า “ในสภาพที่กล้ามเนื้อเลี้ยงฉลองงานกัน” ตั้งแต่ปี 1920 ซึ่งเป็นเวลายาวนานมากก่อนที่โรคหัวใจและโรค การหมุนเวียนโลหิตจะเกิดแสดงขึ้นมาในสถิติโรคเจ็บไข้เป็นในอันดับที่หนึ่ง ได้นั้น รูดอร์ฟ สตายเนอร์ ได้พูดปาฐกถาในเรื่องของความหมายทางด้าน พื้นฐานของการเคลื่อนไหวต่อสุขภาพของหัวใจที่เราควรจะต้องนำ�เอา บทความบางส่วนมากล่าวอ้างในที่นี้ (บทความทั้งหมดนี้เราจะศึกษาอ่านได้ ในหนังสือชื่อ “มนุษยปรัชญาและการแพทย์” 29.03.1920): “ในทีน่ ผ้ี มต้องการจะชีใ้ ห้ทา่ นผูฟ้ งั ได้เห็นอีกครัง้ หนึง่ ว่า ท่านจะต้อง ทำ�การทดลองตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนต่อสิ่งที่เข้ามาทำ�ลายหัวใจที่ เป็นสิ่งที่มารบกวนการกระทำ�ของมนุษย์ ท่านควรจะต้องตรวจสอบต่อ การเป็นไปในการกระทำ�ของหัวใจของผู้คนที่เป็นคนชาวสวนชาวนา ซึ่งเขา ทำ�งานในพื้นดินสวนนา และเขาไม่สามารถจะหลีกเลียงการทำ�งานเช่นนี้ได้ และการกระทำ�ของหัวใจของบุคคลผูอ้ น่ื ทีต่ อ้ งขับรถยนต์หรือผูท้ ต่ี อ้ งเดินทาง ด้วยรถไฟเป็นเวลานานๆ การตั้งการตรวจสอบอย่างลึกละเอียดนี้เป็น สิ่งที่น่าสนใจมาก เหตุว่าท่านจะพบได้ว่าความโน้มเอียงสู่โรคหัวใจนั้น ส่วนมากแล้วจะขึน้ อยูก่ บั การกระทำ�ของมนุษย์ทว่ี า่ ในระหว่างทีต่ วั เขาได้รบั การเคลือ่ นไหวจากสิง่ ของทางภายนอกแต่ตวั เขาเองนัน้ นัง่ อยูน่ ง่ิ ๆ เช่นนัง่ อยู่ บนรถไฟหรือรถยนต์และตัวเขาจะถูกเคลื่อนที่ การที่ตัวเขาไม่มีปฏิกิริยาใน 108

หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ


การเป็นไปนั้นเป็นระบบต่างๆ ที่กดดันหัวใจหรือที่ออกเป็นรูปแบบพิการ ในที่นี้สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกมนุษย์ของเรานั้นขึ้นอยู่กับวิธีการ ที่มนุษย์ให้ความอบอุ่นแก่ตนเอง และในที่นี้ท่านจะเห็นความสัมพันธ์ ของการกระทำ�ของหัวใจกับการกระตุ้นของความร้อนในโลกของเราที่ขึ้น อยู่กับตัวมนุษย์เรา ท่านจะเห็นได้จากในที่นี้ว่าถ้ามนุษย์ได้พัฒนาความร้อน ขึน้ จากการกระทำ�ด้วยตนเองแล้วและในเวลาเดียวกันเขาก็จะพัฒนาสุขภาพ หัวใจของเขา ดังนั้นเราจะต้องดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจให้เกิดมีการกระทำ� การเคลื่อนไหวด้วยตัวเอง” สำ�หรับการแพทย์สมัยใหม่แล้ว การออกกำ�ลังกายและการบริโภค ในทุกวันนี้จึงเป็นเรื่องปกติต่อการป้องกันอย่างดีที่สุดของโรคหัวใจและโรค การหมุนเวียนโลหิต การให้ความร้อนทั้งทางภายในและภายนอกต่ออวัยวะ นั้นเป็นสิ่งที่สำ�คัญต่อโรคการหมุนเวียนโลหิตผิดปกติ การกระตุ้นให้เกิด ความร้อนบนผิวหนังด้วยการขัดถูอย่างแรงหรือด้วยการใช้พืชสมุนไพรที่ให้ ความร้อนเช่น การบูร (Kampfer, Camphor ) และโรสแมรี (Rosmarin, Rosemary) ทีเ่ ราใช้ชงเป็นชาบำ�บัดภายในได้นน้ั เป็นตัวยารักษาในสมัยก่อน ที่พิสูจน์มาใช้ได้แล้วกับโรคหัวใจ และ โรคการหมุนเวียนโลหิต และโรคเป็น ลมง่าย ในทางการแพทย์ภาคเอเชีย สีทส่ี อดคล้องสำ�หรับหัวใจนัน้ คือสีแดง ในที่นี้เราจะนึกถึงสีของสมุนไพรบำ�บัดที่ดีที่สุดของเรานั้นคือลูกผลสีแดง ของกุหลาบป่าขาว (Weißdorne, Crataegus) เราได้กล่าวมาในเบื้องต้นแล้วว่า ช่วงระยะเวลาในปีหนึ่งๆ สำ�หรับ หัวใจนัน้ คือฤดูรอ้ น ดังนัน้ เราจะไม่สามารถทำ�ผิดได้ตอ่ การเกิดมี“ความร้อน แรงมาก” เช่นการบีบกดหัวใจหรือหัวใจเต้นเร็ว ถ้าเราจะปลอบหัวใจให้สงบ ได้ด้วยการวางผ้าเย็นบนหัวใจ ในทางตรงกันข้ามต่อตับที่เราจะต้องใช้ ความร้อนช่วยในการบำ�บัด – นอกไปจากการบำ�บัดตับในบางกรณีเท่านั้น หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ

109


ความรูส้ กึ ทางอารมณ์ของหัวใจนัน้ คือ ความดีใจ และจากความรูส้ กึ นีค้ วามมีไมตรีจติ ก็จะเกิดขึน้ ซึง่ เป็นสิง่ ทีข่ าดหายไปในช่วงเวลา “โลกสมัยใหม่ ของยุคปัจจุบัน” ในทุกๆ วันนี้ ของเหลวในกายที่เรานับได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่ในระบบของ “หัวใจ” นั้นคือ น้ำ�เหงื่อ สำ�หรับคนชาวเอเชียแล้วนั้น – ที่ส่วนมากแล้วเขาจะไม่มี เหงื่อออก – น้ำ�เหงื่อเป็นน้ำ�กายที่มีคุณค่ามากและควรจะต้อง “เก็บเอาไว้” ถ้าพลังของหัวใจอ่อนแอลงไปเราจะมีเหงื่อออกกลางคืนในเวลานอนหลับ ความรู้สึกสัมผัสทางปากที่นับได้ว่าอยู่ในระบบของหัวใจที่ช่วยส่งเสริม การหมุนเวียนโลหิตตามความเห็นของคนจีนนั้นคือ ความเผ็ด และความขม สิง่ ทัง้ สองนีจ้ ะช่วยได้มากและส่งเสริมการทำ�งานของหัวใจด้วยการย่อยอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราใช้ชีวิตอยู่ในแดนเมืองร้อนหรือนั่งเครื่องบินหรือ ขับรถนานๆ เพราะว่าอวัยวะที่เป็นพี่น้องกันของหัวใจนั้นคือ ลำ�ใส้เล็ก

110

หัวใจเป็นอวัยวะธาตุไฟ



ผู้เขียน โอลาฟ โคปป์ นายแพทย์ ดร. โอลาฟ โคปป์ เกิดเมือ่ ปี ค.ศ.1943 ปริญญาเอกแพทย์ศาสตร์ ทำ�งาน เป็นแพทย์ประจำ�โรงเรียนวาลดอร์ฟในเมืองไฟรบวกร์ (Freiburg) และ วันเน-ไอเคิล (Wanne-Eickel) ในประเทศเยอรมันนี มีผลงานในด้านปาฐกถา และอบรมสัมมนาทัง้ ใน และนอกประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และหลายๆ ประเทศในเอเชีย ทำ�งานเป็นเวลายาวนานในโครงการวิจัย ผู้ป่วยยาเสพติดและสาเหตุร่วมทางสังคม เป็นผู้ให้คำ�ปรึกษาในปัญหายาเสพติดของ เยาวชน โดยมี ค ลิ น ิ ก ส่ ว นตั ว และเป็ น แพทย์ ป ระจำ � ในสถาบั น ครุ ศ าสตร์ บ ำ � บั ด (Heilpädagogisches Therapeutikum) ในเมืองเบอร์ลิน เขียนหนังสือวิชาการ และ บทความต่างๆ เป็นจำ�นวนมากในเรื่องเกี่ยวกับ สุขภาพ เป็นอาจารย์ในวิชาการศึกษาศิลปะบำ�บัดในประเทศไทยใน”หลักสูตรพื้นฐาน นักศิลปะบำ�บัดในแนวทางมนุษยปรัชญา” ผู้แปล

ดำ�รงค์ โพธิ์เตียน ดำ�รงค์ โพธิเ์ ตียน วิศวกรปริญญาโท เกิดเมือ่ ปี พ.ศ.2489ทีจ่ งั หวัดนครปฐม เคยศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ทเ่ี มืองคีล (Kiel) และ เบอร์ลนิ (Berlin ในประเทศเยอรมัน ทำ�งานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ในมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน และศาสตราจารย์ชั่วคราว ในมหาวิทยาลัยเทคนิคสตุทท์การ์ท ประเทศเยอรมัน เริม่ สนใจศึกษาการศึกษาในแนว วาลดอร์ฟทีเ่ มืองสตุทท์การ์ทมาร่วมสามสิบปีอกี ทัง้ ยังเป็นสมาชิกสมาคมมนุษยปรัชญา ใน เยอรมั น นี และสวิ ต เซอร์ แ ลนด์ เ คยเริ ่ ม งานกลุ ่ ม การศึ ก ษามนุ ษ ยปรั ช ญาที ่ อนุบาลบ้านรัก กรุงเทพฯมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ปัจจุบันมีผลงานแปลหนังสือและปาฐกถาต่างๆ ของ รูดอร์ฟ สตายเนอร์ เช่ น การศึ ก ษาของเด็ ก จากมุ ม ของมนุ ษ ยปรั ช ญา ความลั บ แห่ ง อุ ป นิ ส ั ย มนุ ษ ย์ ศาสนปรัชญา และผลงาน ถ้าอวัยวะภายในสามารถพูดได้ถือเป็นผลงานล่าสุดของ ผู้แปล


ศูนย์ส่งเสริมศิลปะบำ�บัดและการศึกษาแนวมนุษยปรัชญา ในประเทศไทย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.