Againsts all Odds เสียงสะท้อนจากชุมชนแรงงานข้ามชาติ อ.แม่สอด จ.ตากใน "ยุคโควิด"

Page 1

Againsts เสียงสะท้อนจากชุมชนแรงงานข้ามชาติ อ.แม่สอด จ.ตาก ใน "ยุคโควิด"

all งานสำรวจของครูและนักเรียนศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน Project for the Agents of Change (PAC) ระหว่าง 30 พฤษภาคม – 4 กรกฎาคม 2563


A a O


Againsts all Odds

เสียงสะท้อนจากชุมชนแรงงานข้ามชาติ อ.แม่สอด จ.ตากใน “ยุคโควิด” งานส�ำรวจของครูและนักเรียนศูนย์การเรียนเด็กข้ามชาติ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

Project for the Agents of Change (PAC) ระหว่าง 30 พฤษภาคม – 4 กรกฎาคม 2563


4

ภาพที่ 1

ชุมชนแรงงานข้ามชาติแห่งหนึ่งในแม่สอด ภาพ : โรงเรียนเลิฟ


5

โควิด 19 กับแม่สอด

31 ธ.ค. 2562 มีรายงานถึงการติดเชื้อโรคปอดอักเสบจากไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด 19 โดยรัฐบาลจีนเป็นครั้ง แรก สองเดือนต่อมา ในวันที่ 26 ก.พ. 2563 กระทรวงสาธารณสุข ไทยได้ประกาศให้โควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพ.ร.บ. โรค ติดต่อ พ.ศ. 25581 โดยระบุอาการว่าคือ “ไข้ ไอ เจ็บคอ หอบ เหนือ่ ย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายทีม่ อี าการรุนแรงจะ มีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต” ณ เวลานั้น จ�ำนวนผู้ติดเชื้อที่พบใน 58 ประเทศทั่วโลกพุ่งขึ้นเป็น 85,473 คน โดยมีผู้เสียชี​ีวิตไปแล้วถึง 2,924 คน2 ในขณะที่ไทย ซึ่งพบผู้ติดเชื้อคนแรกเมื่อ 22 ม.ค. 2563 ก็มีผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่ม ขึ้นถึง 42 ราย หากยังไม่มีผู้เสียชีวิต3

1. กระทรวงสาธารณสุข, “ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการ ส�ำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563”, 26 ก.พ. 2563, http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF 2. ‘COVID-19 Coronavirus Pandemic’, www.worldometers.info/coronavirus/ 3. http://covid19.workpointnews.com


6 ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทยค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในเวลากว่าเดือนต่อมา หาก หลังจากวันที่ 14 มี.ค. 2563 ซึง่ มีการยืนยันผูต้ ดิ เชือ้ ในกลุม่ สนามมวยลุมพินี จ�ำนวน ผู้ติดเชื้อก็พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว น�ำไปสู่การใช้มาตรการการป้องกันการแพร่เชื้อที่ เข้มงวดขึ้น ประชาชนถูกขอให้รักษาระยะห่าง เก็บตัวอยู่บ้าน ในขณะที่หน้ากาก อนามัยและเจลแอลกอฮอล์สำ� หรับล้างมือกลายเป็นของหายากราคาแพง สถานศึกษา ทุกประเภทที่เปิดอยู่ในขณะนั้นถูกสั่งให้ปิดชั่วคราวและด�ำเนินการเรียนการสอน ออนไลน์ ในวันที่ 17 มี.ค. รัฐบาลมอบอ�ำนาจให้จังหวัดสามารถพิจารณาปิดสถานที่ ทีม่ คี วามเสีย่ งต่อการแพร่เชือ้ ได้ดว้ ยตนเอง4 ซึง่ ทางจังหวัดตากก็ได้ประกาศปิดสถาน ประกอบการบางประเภทเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงมีมาตรการ เข้มงวดส�ำหรับผู้ที่เดินทางเข้าออกพื้นที5่ มาตรการ “ล็อคดาวน์” มิเพียงส่งผลกระทบต่อ ธุรกิจและแรงงานไทยทีต่ อ้ งหยุดการด�ำเนินการ หยุด งาน หรือถูกเลิกจ้าง แรงงานข้ามชาติจากประเทศ เพื่อนบ้านก็ตกอยู่ในภาวะเดียวกัน การหลั่งไหลของ แรงงานทั้งไทยและต่างชาติจ�ำนวนมหาศาลจากเมือง ใหญ่และเขตอุตสาหกรรมไปยังชนบท - ชายแดน ก่อ ให้เกิดความตื่นตระหนกว่าจะมีการแพร่เชื้อครั้งใหญ่ ในขณะทีเ่ ริม่ มีคำ� สัง่ ปิดช่องทางข้ามแดนทางธรรมชาติ และด่านถาวรรอบประเทศ ในวันที่ 21 มี.ค. 2563 เมื่อประเทศไทยมีจ�ำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็น 411 ราย และเสียชีวิตไปแล้ว 1 ราย6 ผ.ว.จ.ตากก็มีค�ำสั่งปิด ด่านถาวรที่สะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาแห่งที่ 1 ท�ำให้ผู้ที่ต้องการกลับประเทศพม่าไปแออัดยัดเยียด อยู่ที่ด่านสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 ซึ่งปกติเป็นด่าน ขนส่งสินค้า7 ก่อนที่กระทรวงมหาดไทยจะสั่งปิดด่าน ทางบกทัว่ ประเทศทัง้ 17 จังหวัดในวันที่ 23 มี.ค. ตาม มาด้ ว ยการประกาศสถานการณ์ ฉุ ก เฉิ น ทั่ ว ราช อาณาจั ก ร ตามพ.ร.ก.การบริ ห ารราชการใน สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ต่อมา และจนถึงปัจจุบัน8 ผ่านไปกว่าสองเดือน อัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ติด เชื้อภายในประเทศลดลง ปัญหาความขาดแคลนเจล แอลกอฮอล์และหน้ากากอนามัยเริ่มเบาบาง โดย เฉพาะเมือ่ ในหลายท้องถิน่ รวมถึงโรงพยาบาลแม่สอด ได้สนับสนุนการท�ำเจลแอลกอฮอล์และเย็บหน้ากาก

4. กระทรวงมหาดไทย, “มท 0307.6/ ว1681 เรื่อง มาตรการในการป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://multi.dopa.go.th/ omd3/official_letter/view139 5. คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตาก, “ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดตาก ฉบับที่ 1/2563”, 26 มี.ค. 2563, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563 http://123.242.165.136/ images/doc/2020-03-26DOC D000000448.pdf 6. https://www.worldometers.info/ coronavirus/country/thailand/

7. กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์, “ปิดแล้วด่านแม่สอดแห่งที่ 1 ใช้ เครื่องเทอร์โมสแกนสกัดโควิด -19”, ไทยรัฐออนไลน์, 21 มี.ค. 2563 เวลา 09.18 น, สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2563, http:// thairath.co.th/news/ local/north/1800328 8. ขณะที่เขียนรายงานฉบับนี้ (22 ก.ค. 2563) ไทยอยู่ภายใต้ “พ.ร.ก. ฉุกเฉิน” มาแล้วกว่า 4 เดือนและ รัฐบาลไทยยังไม่ยกเลิกประกาศดัง กล่าว


7

ผ้าใช้เอง ในวันที่ 16 พ.ค. 2563 มีผู้ติดเชื้อใหม่จ�ำนวน 0 ราย จากจ�ำนวนผูต้ ดิ เชือ้ สะสมรวม 3,065 รายและเสียชีวติ 56 ราย9 ผวจ.ตากจึงประกาศให้สถานประกอบการจ�ำนวนหนึ่งกลับมา ด�ำเนินการได้ตามมติที่ผ่อนคลายขึ้นของค.ร.ม.10 นับจากนั้น รัฐบาลได้ค่อย ๆ ประกาศมาตรการผ่อนปรนเพิ่มขึ้นเป็นระยะ จนกระทั่งโรงเรียนทุกระดับที่ถูกเลื่อนเปิดจาก 16 พ.ค. ได้เปิด ปีการศึกษาใหม่ในวันที่ 1 ก.ค. 2563 ตามก�ำหนด ยกเว้นศูนย์ การเรียนรู้ของผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติหรือโรงเรียนเด็กข้ามชาติทั้ง หลายที่ไม่อาจปฏิบัติตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขได้ ครบถ้วน11

9. https://www.worldometers.info/ coronavirus/country/thailand/ 10. คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตาก, “ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อ จังหวัดตากฉบับที่ 20/2563”, 16 พ.ค. 2563, http://123.242.165.136/ images/doc/2020-05-18_ DOCD000000467.pdf 11. จนถึงต้นเดือนส.ค. 2563 โรงเรียนเหล่า นี้ยังไม่สามารถจัดการเรียนการสอนได้ ตามปกติ 12. Nan Lwin, ‘Timeline : Myanmar’s Government Responses to the Covid-19 Pandemic’, The Irrawady, 26 May 2020, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://www.irrawaddy.com/ specials/myanmar-covid-19/time line-myanmars-government-respons es-to-the-covid-19-pandemic.html 13. https://www.worldometers.info/ coronavirus/country/myanmar/ 14. https://www.worldometers.info/ coronavirus/country/thailand/

ส�ำหรับฝัง่ ประเทศพม่า รัฐบาลพม่าเริม่ จัดให้มกี ารตรวจหา เชื้อโควิด 19 ตั้งแต่ 20 ก.พ. 2563 และเริ่มออกมาตรการการ จัดการควบคุมโรคเมื่อวันที่ 6 มี.ค. หลังจากที่รับแรงงานที่เดิน ทางกลับบ้านจากประเทศไทยจ�ำนวนมากในกลางเดือนมี.ค.แล้ว ก็มีการยืนยันการค้นพบผู้ติดเชื้อคนแรกในวันที่ 23 มี.ค. หลัง จากนั้น ในต้นเดือนเม.ย. ประเทศพม่าเริ่มมาตรการล็อคดาวน์ เช่นเดียวกับประเทศไทย12 ในวันที่ 16 มิ.ย. 2563 ซึ่งเป็นวัน ที่มีการประชุมสรุปทีมส�ำรวจหลังการเก็บข้อมูลรายงานฉบับนี้ ตัวเลขผู้ติดเชื้อสะสมในพม่าคือ 262 คน เสียชีวิต 6 คน13 และ ไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่ ขณะที่ไทยมีจ�ำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 3,315 คน เสียชีวิตไปแล้ว 58 คน ไม่มีผู้ติดเชื้อใหม่ในวันดังกล่าวเช่นกัน14 ในกลางเดือนก.ค. 2563 ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ได้ประกาศ มาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 คือให้กิจการที่มีความเสี่ยงสูง สามารถกลับมาเปิดได้ภายใต้เงื่อนไขบางประการ และก�ำลังมี การเตรียมความพร้อมเพื่อการผ่อนปรนระยะที่ 6 ซึ่งจะอนุญาต ให้แรงงานข้ามชาติเดินทางเข้ามาท�ำงานในประเทศได้ต่อไป


8 ภาพที่ 2


9 แรงงานข้ามชาติในสถานการณ์โควิด ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่


10

แรงงานข้ามชาติใน “สถานการณ์โควิด” ตัวเลขของกระทรวงแรงงานเมื่อเดือนมี.ค. 2563 ขณะที่ไทยเริ่ม มีมาตรการเข้มงวดในการรับมือกับโควิด 19 ระบุว่า มีแรงงาน ข้ า มชาติ ที่ ไ ด้ รั บ อนุ ญ าตให้ อ ยู ่ แ ละท� ำ งานในประเทศทั้ ง สิ้ น 2,814,481 คน ในจ�ำนวนนี้ เป็นแรงงานจากประเทศพม่า 1,675,715 คน อยู่ในจังหวัดตาก 53,028 คน เกือบครึ่งหนึ่งของ แรงงานในจังหวัดตาก - แม่สอดเป็นแรงงานตามมาตรา 64 ตามพ.ร.ก.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 256015 คือ เป็นแรงงานไป - กลับ หรือเป็นแรงงานระยะสัน้ มีอายุใบอนุญาต ท�ำงานเพียง 90 วัน ท�ำงานเฉพาะในพื้นที่ และไม่มีสิทธิขึ้น ทะเบียนเป็นผูป้ ระกันตนในกองทุนประกันสังคม ตัวเลขดังกล่าว ไม่รวมแรงงานข้ามชาติที่อยู่นอกระบบหรือที่ไม่ได้รับอนุญาต ท�ำงานอีกจ�ำนวนมาก มีการประเมินจ�ำนวนแรงงานข้ามชาติใน จังหวัดตากโดยรวมผูท้ ไี่ ม่ได้เข้าสูร่ ะบบด้วยสูงถึง 200,000 คน16 15. ส�ำนักบริหารแรงงานต่างด้าว, “สถิติ จ�ำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาต ท�ำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจ�ำเดือนมีนาคม 2563”, มีนาคม 2563, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://www.doe.go.th/ prd/assets/upload/files/alien_th/ cfd5266a7529106b9fd d751603d77d31.pdf 16. ไม่ทราบที่มาของข้อมูลซึ่งอ้างไว้ใน Mia Sasaki (2020), Education Reimagined : COVID-19 Emergency Response for Migrant Education, June 2020


11

ต้นเดือนพ.ค. 2563 เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (Migrant Working Group - MWG) ประเมินว่า มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด 19 ที่ด�ำเนินมาตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อแรงงานข้ามชาติ มากกว่าห้าแสนคน17 ผู้ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากได้แก่กลุ่มที่ท�ำงานภาคบริการ เช่น ลูกจ้างร้านอาหาร โรงแรม แม่บ้าน ร้านขายของ และแรงงานรับจ้างทั่วไปใน ภาคเกษตรและก่อสร้าง18 มีแรงงานที่ตัดสินใจเดินทางกลับถิ่นฐานส่วนหนึ่งที่ไม่ สามารถข้ามพรมแดนได้ทันก่อนด่านชายแดนปิด มีผู้ที่ถูกเลิกจ้างหรือพักงานใน กิจการที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนแรงงานให้เป็นผู้ประกันตนและไม่ได้รับเงินชดเชยใด ๆ หรือแม้แต่คา่ จ้างทีย่ งั ค้างอยู่ เป็นต้น19 เครือข่ายเพือ่ สิทธิแรงงานข้ามชาติ (Migrant Worker’s Rights Network - MWRN) รายงานถึงการละเมิดสิทธิแรงงานในธุรกิจ ขนาดใหญ่ทขี่ นึ้ ทะเบียนแรงงานเป็นผูป้ ระกันตนแล้ว หากใช้วธิ ไี ม่ยอมต่อสัญญาจ้าง หรือให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้าเพื่อปัดภาระให้แก่ส�ำนักงานประกันสังคม ซึ่งอย่างไรก็ตาม แรงงานที่เป็นผู้ประกันตนก็เข้าถึงบริการและความช่วยเหลือด้วย ตนเองได้ยากเมื่อต้องกรอกข้อมูลออนไลน์เป็นภาษาไทย20 อีกทั้งยังต้องใช้เอกสาร ของนายจ้างประกอบ ในบางกรณี พบว่า แรงงานเพิ่งได้เข้าประกันสังคมในขณะที่ นายจ้างก�ำลังจะปิดกิจการชั่วคราว ท�ำให้ไม่สามารถรับสิทธิการประกันการว่างงาน ได้เลย21 ทัง้ นี้ ความเดือดร้อนของแรงงานยังถูกทับถมด้วยขบวนการแสวงประโยชน์ รูปแบบต่าง ๆ รวมถึง การหลอกลวงว่าจะสามารถพาเดินทางกลับประเทศได้ใน ราคาที่สูง ซึ่งก็ไม่สามารถกลับได้จริง22 17. นนทรัฐ ไผ่เจริญ, “รัฐบาลเตรียมร่างผ่อนปรนระยะสอง”, เบนาร์นิวส์, 8 พ.ค. 2563, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, www.benarnews.org/thai/news/TH-COV ID-migrants-05082020220508.html 18. กองบรรณาธิการส�ำนักข่าวชายขอบ, “นักวิชาการจี้รัฐตั้งทีมส�ำรวจแรงงานข้ามชาติ”, ส�ำนักข่าวชายขอบ, 21เม.ย.2563, สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2563 https://transbordernews.in.th/home/?p=24933 19. เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ , “สรุปกฎหมายด้านแรงงานข้ามชาติ เดือน เมษายน-มิถุนายน 2563”, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://mwgthailand.org/th/news/1594880537 20. กองบรรณาธิการสยามรัฐออนไลน์, “แรงงานข้ามชาติ 4 ล้านคนรอรัฐช่วย”, สยามรัฐออนไลน์, 17 เม.ย. 2563, สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2563, https://siamrath.co.th/n/148144 21. เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ , “รายงานสถานการณ์การบริหารจัดการ คนต่างชาติในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19”, 12 พ.ค. 2563, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://mwgthailand.org/th/news/1589278227 22. กองบรรณาธิการไทยพีบีเอส, “ตม.จับคนไทยลวงแรงงานข้ามชาติ อ้างพากลับบ้าน ช่วง COVID-19”, 13 พ.ค. 2563 เวลา 13.17 น., สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://news.thaipbs.or.th/content/292387


12 ในวันที่ 25 เม.ย. 2563 แรงงานข้ามชาติตกเป็นข่าวส�ำคัญ เมื่อมีการตรวจพบผู้ติด เชื้อใหม่เป็นแรงงานข้ามชาติถึง 42 คน23 น�ำไปสู่กระแสการกีดกัน รังเกียจ และเลือก ปฏิบตั อิ กี ครัง้ 24 แม้จะมีการเปิดเผยภายหลังว่า มีความเป็นไปได้สงู ทีแ่ รงงานจะติดเชือ้ จาก เจ้าหน้าที่ตม.สะเดาที่ติดเชื้อไปก่อนหน้า และแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็วเนื่องจากถูก กักขังแออัดในศูนย์กกั ขังตรวจคนเข้าเมืองทีอ่ .สะเดา สงขลา25 อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดงั กล่าว ก็อาจมีสว่ นท�ำให้รฐั หันมาให้ความสนใจกับการป้องกันการระบาดในหมูแ่ รงงานข้ามชาติมาก ขึน้ มีการเพิม่ สายด่วนโควิด 19 ในภาษาของแรงงานด้วยความร่วมมือกับภาคเอกชน และ กล่าวถึงกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขต่างด้าว (อสต.) ในการให้ความรู้ในชุมชนแรงงาน26 ในวันที่ 8 พ.ค. กระทรวงแรงงานออกมาตรการป้องกันในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ เช่น การ ให้ข้อมูลในภาษาแรงงาน การตรวจคัดกรองในสถานประกอบการ การให้ความช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ การปรับเพิม่ สิทธิประโยชน์กรณีวา่ งงาน การลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม การรวบรวมรายชื่อสถานประกอบการที่มีแรงงานข้ามชาติ เป็นต้น27 แม้รฐั บาลไทยจะประกาศผ่อนปรนเงือ่ นไขและขยายเวลาให้แรงงานข้ามชาติกลุม่ ต่าง ๆ สามารถอยูแ่ ละท�ำงานต่อไปได้อยูเ่ ป็นระยะ ก็ยงั คงมีคนจ�ำนวนหนึง่ ทีต่ อ้ งการกลับบ้านด้วย เหตุที่ถูกเลิกจ้างและไม่สามารถหางานใหม่ได้ ในเดือนพ.ค. 2563 แรงงานจากประเทศ พม่าในเขตกทม.และใกล้เคียงราว 27,000 คนได้ยื่นหนังสือถึงสถานฑูตเมียนมาเพื่อขอ เดินทางกลับ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ประกาศจะอ�ำนวยความสะดวกให้ในช่วง 22 พ.ค. - 20 มิ.ย. 256328 โดยมีการจัดรถรับส่งจากสถานีขนส่งหมอชิตไปแม่สอดวันละ 10 คันส�ำหรับ 23. กองบรรณาธิการไทยพีบีเอส, “ไทยพบผุ้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่ม 53 คน ส่วน มากเป็นแรงงานข้ามชาติ”, ไทยพีบีเอส, 25 เม.ย.2563 เวลา 14.41 น., สืบค้น เมื่อ 31 พ.ค. 2563, https://news.thaipbs.or.th/clip/59913518. 24. ข้อมูลจากการสังเกตการณ์ของมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน ในการตรวจดูความคิด เห็นในเพจข่าวและเพจสาธารณะในโซเชียลมีเดีย19. เครือข่ายองค์กรด้าน ประชากรข้ามชาติ , “สรุปกฎหมายด้านแรงงานข้ามชาติ เดือนเมษายน- มิถุนายน 2563”, สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://mwgthailand.org/th/ news/1594880537 25. กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์. “เตรียมรักษา 42 ต่างด้าวป่วยโควิดในศูนย์ ตม.สะเดา”, ไทยรัฐออนไลน์, 25 เม.ย. 2563 เวลา 15.42 น., สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 2563, https://www.thairath.co.th/news/local/south/1830164 26.กองบรรณาธิการมติชน, “สสส.-สธ.ลุยใช้กลไกอสต.ให้ความรู้ต่างด้าว เผย สมุทรสาครไม่พบแรงงานข้ามชาติติดโควิด-19”, มติชนออนไลน์, 4 พ.ค. 2563 เวลา 10.38 น., https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/ news_216963022. 27. กระทรวงแรงงาน “กระทรวงแรงงานออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ ไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว”, ข่าวประชาสัมพันธ์, 8 พ.ค. 2563, https://bangkok-today.com/web/กระทรวงแรงงาน-ออกมาตรก/


13 ผู้แรงงานที่ลงทะเบียนออนไลน์และซื้อตั๋วผ่านสถานฑูตเมียนมา ส�ำหรับแรงงานที่ต้องการเดินทางออกทางแม่สายหรือระนองก็ให้ ขึ้นรถประจ�ำทางไปเอง มีรายงานว่า มีแรงงานเดินทางกลับผ่าน ด่านสะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาแห่งที่ 2 ทีแ่ ม่สอดราววันละ 300 กว่าคน ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระบุว่าสามารถรองรับผู้เดินทาง ได้มากถึง 2,500 คนต่อวัน29

28. กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์, “แรงงาน เมียนมานับหมื่น เตรียมเดินทางกลับประเทศ หลังถูกเลิกจ้างเพราะโควิด”, ไทยรัฐออนไลน์, 22 พ.ค. 2563 เวลา 10.21 น., สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://www.thairath.co.th/news/ society/1850448 29. กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์, “ตม.แม่สอด ตรวจเข้มแรงงานชาวเมียนมา เดินทางข้ามไปจ. เมียวดี”, ไทยรัฐออนไลน์, 21 มิ.ย. 2563 เวลา 12.38 น. สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https:// www.thairath.co.th/news/local/north/1873421 30. กองบรรณาธิการไทยรัฐออนไลน์, “จ.ตากเข้มคัด กรองหลังเมียนมาอ้างแรงงานกลับประเทศติด โควิด-19 จากไทย, ไทยรัฐออนไลน์, 20 มิ.ย. 2563 เวลา 14.04 น., สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://www.thairath.co.th/news/local/ north/1872947 31. กองบรรณาธิการไทยพีบีเอส, “ศบค.ตีวงค้นหา โรค “กลุ่มแรงงาน” หวั่นซ�้ำรอยสิงคโปร์”, ไทยพีบีเอส, 21 เม.ย. 2563 เวลา 13.06 น., สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563, https://news. thaipbs.or.th/content/291454 32. กองบรรณาธิการไทยพีบีเอส, “เข้มชายแดน แม่สาย สกัดแรงงานข้ามชาติ”, ไทยพีบีเอส, 7 ก.ค. 2563 เวลา 15.53 น., สืบค้นเมื่อ 31 ก.ค. 2563 https://news.thaipbs.or.th/ content/294355

ในวันที่ 20 มิ.ย. สาธารณสุขเมียนมาประกาศว่าตรวจพบ แรงงานที่เดินทางกลับจากประเทศไทยจ�ำนวน 23 คนติดเชื้อ โควิด 1930 ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดความตระหนกว่าไทยอาจยังมี ผู้ติดเชื้อที่ไม่ปรากฏอาการอยู่อีกจ�ำนวนหนึ่งแล้ว ก็ยังน�ำกลับไป สู่กระแสการหวาดระแวงแรงงานข้ามชาติอีกครั้ง ว่าอาจเป็นต้น เหตุการแพร่กระจายเชือ้ ในประเทศไทยระลอกทีส่ องได้เหมือนกับ ที่เกิดขึ้นในประเทศสิงคโปร์31 ข่าวดังกล่าวน�ำไปสู่การประกาศ มาตรการสะกัดกั้นแรงงานข้ามชาติอย่างเข้มงวดตามมา32 ตลอดระยะเวลา 4 เดือน ระหว่างเดือนมี.ค. - มิ.ย. 2563 แรงงานข้ามชาติที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 และมาตรการ ป้องกันการแพร่ระบาดไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือเยียวยาของ รัฐไทยหรือเข้าถึงได้น้อยมาก การเข้าถึงสิทธิของผู้ประกันตนใน ระบบประชาสังคมมีอุปสรรคมากมายดังที่ได้กล่าวมา ในขณะที่ นโยบายลดค่าไฟ โครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” โครงการช่วยเหลือผู้มี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุม่ ผูเ้ ปราะบาง และเกษตรกร ฯลฯ ก็ลว้ น มุ่งเป้าไปที่คนสัญชาติไทยเท่านั้น


14 ภาพที่ 3 นักเรียนข้ามชาติในวันหยุดยาว

ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่


15

โรงเรียนเด็กข้ามชาติ ในแม่สอด ใน “สถานการณ์โควิด” มี ผู ้ ป ระเมิ น โดยค� ำนวณจากเอกสารหลากหลายว่ า นั ก เรี ย นผู ้ ย ้ า ยถิ่ น ข้ามชาติในเฉพาะเขตอ.แม่สอดมีรวมทัง้ หมดอยูก่ ว่าหมืน่ คน ร้อยละ 70 อยู่ ในศูนย์การเรียนผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติ33 ที่เหลืออยู่ในโรงเรียนรัฐบาลกับ โรงเรียนเอกชนไทย34 ในจ�ำนวนนี้ มีเด็กที่ใช้บัตรนักเรียนในการเดินทาง เข้า - ออกข้ามแดนทีส่ ะพานมิตรภาพไทย - เมียนมาในแต่ละเดือนมากกว่า สองพันคน35 นอกจากนั้นเป็นเด็กที่เดินทางเข้าออกกับครอบครัว อาศัยอยู่ ในแม่สอดกับครอบครัว หรืออยู่ในหอพักนักเรียน โรงเรียนเด็กข้ามชาติในอ.แม่สอดจ�ำนวน 47 แห่ง มีทั้งที่จัดการเรียนการสอน ตั้งแต่เตรียมอนุบาล /อนุบาล ถึงประถม มัธยมต้น (middle school) และมัธยมปลาย หรือบางแห่งเป็นโรงเรียนประถมอย่างเดียว แต่ละแห่งจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ต่าง ๆ กัน และบางแห่งก็มีหลายหลักสูตรให้นักเรียนเลือก หากมักต้องมีหลักสูตรที่ได้รับ การยอมรับจากรัฐไทยหรือพม่าอย่างเป็นทางการอย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่งเสมอ คือ หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนพม่า หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนไทย หลักสูตรการ ศึ ก ษาในระบบพม่ า ซึ่ ง สามารถเที ย บชั้ น เรี ย นกั บ โรงเรี ย นในพม่ า และสมั ค รสอบเข้ า มหาวิทยาลัยในพม่าได้ นอกจากนีย้ งั มีการจัดหลักสูตรเตรียมความพร้อมเพือ่ สอบ GED (General Educational Development) หรือสอบเทียบมัธยมปลายตามหลักสูตรสหรัฐฯ แคนาดา ซึ่งจะสามารถน�ำวุฒิไปสมัครหาทุนการศึกษาเพื่อเข้าเรียนหลักสูตรนานาชาติใน มหาวิทยาลัยไทยได้ 33. มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน อาจใช้ค�ำว่า “โรงเรียนเด็กข้ามชาติ” ในรายงานฉบับนี้ เป็นหลัก นอกจากจะเพื่อให้สั้นและง่ายต่อความเข้าใจแล้ว มูลนิธิฯยังถือว่า สถานศึกษา เหล่านี้แม้ไม่ได้รับการจดยอมรับจากรัฐไทยอย่างเป็นทางการว่าเป็น “โรงเรียน” หากเป็น “ศูนย์การเรียนฯ” ในความเป็นจริงก็ด�ำเนินการและมีโครงสร้างไม่ต่างกับโรงเรียนทั่วไป 34. ข้อมูลการประเมินจากเอกสาร 43 ปี 2560 ฉบับคือ 13,733 คน จาก หฤทัย บัวเขียนและพลวิชญ์ ทรัพย์ศรีสัญจัย (2561), “สถานการณ์เด็กเคลื่อนย้ายใน แม่สอด”, มูลนิธิช่วยไร้พรมแดนและ Right beyond Border. 35. ข้อมูลจากสนง.ตม.แม่สอดระบุจ�ำนวนสูงสุดในปี 2560 คือ 2,851 คนในเดือนส.ค. อ้างใน หฤทัย บัวเขียนและพลวิชญ์ ทรัพย์ศรี สัญจัย (2561), อ้างแล้ว


16 ข้อมูลจากศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็ก ต่างด้าว (Migrant Education Coordinating Center - MECC) ภายใต้สำ� นักงานเขตพืน้ ทีก่ าร ศึกษาประถมศึกษาตาก (สพป.) เขต 2 ระบุว่า นักเรียนในโรงเรียนเด็กข้ามชาติ 5 อ�ำเภอใน ความดู แ ลของตน คื อ แม่ ส อด แม่ ร ะมาด ท่าสองยาง พบพระ อุ้มผาง มีจ�ำนวน 11,498 คนในปีการศึกษา 2562 ในขณะที่มีข้อมูลว่ามี นักเรียนกลับไปในช่วงปิดเทอม 2563 และยัง ติดค้างอยู่ในเขตประเทศพม่าอันเนื่องจากด่าน ชายแดนปิดตามมาตรการป้องกันโควิด 19 อย่าง น้อยเป็นจ�ำนวน 1,565 คน นอกจากนักเรียน แล้ว ยังมีครู 119 คนจากจ�ำนวนทั้งหมด 646 คนที่ยังติดค้างอยู่ในประเทศพม่าด้วยเช่นกัน

ทั้ ง นี้ ส� ำ หรั บ ในเฉพาะอ.แม่ ส อดนั้ น มี ค าด ประมาณจ�ำนวนนักเรีย นส�ำหรับปีการศึกษา 2563 ไว้ 7,709 คนส� ำ หรั บ ปี ก ารศึ ก ษา 256336 ในวันที่ 7 เม.ย. 2563 กระทรวงศึกษาธิการ เสนอเลื่อนการเปิดภาคเรียนของปีการศึกษา 2563 จาก 16 พ.ค. เป็น 1 ก.ค. 2563 ค�ำสัง่ ดังกล่าวครอบคลุมถึงโรงเรียนรัฐและเอกชนทั่ว ประเทศ รวมถึงศูนย์การเรียนผูย้ า้ ยถิน่ ข้ามชาติ หรือโรงเรียน เด็กข้ามชาติดว้ ย ในช่วงเดือนมิ.ย. 2563 ทั้งโรงเรียนรัฐและเอกชนไทยได้มีความ พยายามทีจ่ ะจัดการเรียนการสอนออนไลน์ หรือ ให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านทางโทรทัศน์ หากการ

ครูและนักเรียนในหอพักโรงเรียนซ่าทูเหล่นำ�ความช่วยเหลือไปสู่ชุมชน


17 เรียนการสอนดังกล่าวเป็นไปไม่ได้เลยส�ำหรับโรงเรียนและนักเรียนเด็กข้ามชาติ ซึง่ ขาด อุปกรณ์เครือ่ งมือสือ่ สาร โทรทัศน์ และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่เสถียร MECC เครือข่าย โรงเรียนเด็กข้ามชาติและองค์กรเอกชนทีใ่ ห้การสนับสนุน37 จึงได้ผลักดันให้มกี ารจัดการ เรียนการสอนที่บ้าน (Home - based Learning) ซึ่งครูจะต้องลงไปตามชุมชนต่าง ๆ ที่ นักเรียนของตนอาศัยอยู่ และหาสถานที่จัดการเรียนการสอนซึ่งเว้นระยะห่างได้ มีการ เร่งรัดออกแบบหลักสูตรโดยยึดต�ำราเรียนกระทรวงศึกษาธิการพม่าและ LearnBig ซึ่ง เป็นโครงการของ UNESCO เพื่อการจัดการเรียนการสอนเคลื่อนที่ส�ำหรับเด็กนอก โรงเรียน และได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการไทย Microsoft, True Coporation และมูลนิธิ COSPO 1%

ภาพที่ 4

ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่

เมื่อถึงปลายเดือนมิ.ย.ก็เป็นที่ชัดเจนว่า โรงเรียนเด็กข้ามชาติทั้งหลายไม่ สามารถผ่านการประเมินตามเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขในด้านความปลอดภัยจาก การลดการแพร่เชื้อ 44 ข้อของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น38 เช่น การตรวจคัด กรองเด็กก่อนเข้าสูพ่ นื้ ทีโ่ รงเรียน การสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา การจัดจุดล้างมือ การเว้นระยะห่างในห้องเรียน การท�ำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสบ่อย ๆ และการจัดรูป แบบการใช้พื้นที่กิจกรรมร่วมกัน ฯลฯ จึงยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดได้39 อีกทั้งนักเรียน ทีก่ ลับบ้านไปในช่วงปิดเทอม หรือข้ามแดนมาเรียนแบบไป - กลับก็จะยังไม่ได้รบั อนุญาต ให้เดินทางเข้ามาเช่นกัน ทั้งนี้ โรงเรียนรัฐและเอกชนไทยโดยส่วนใหญ่สามารถเปิดปี การศึกษา 2563 ได้ตงั้ แต่วนั ที่ 1 ก.ค. 2563 ภายใต้เงือ่ นไขทีจ่ ะต้องปฏิบตั ติ ามมาตรการ ป้องกันโรค รวมถึงการการเรียนสลับวัน หรือจัดการบริหารอย่างไรก็ได้เพื่อให้สามารถ จัดห้องเรียนที่นักเรียนนั่งห่างกัน

36. ข้อมูลจาก MECC (2020) อ้างใน Mia Sasaki (2020), Education Reimagined : COVID-19 Emergency Response for Migrant Education, June 2020 อย่างไรก็ตาม เมื่อโรงเรียนยังไม่ สามารถเปิดได้ตามปกติ ตัวเลขนี้จึงอาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ 37. ได้แก่ TeacherFocus, มูลนิธิช่วยไร้พรมแดน, Burmese Migrant Teacher Association 38. www.dla.go.th เอกสารแนบในภาคผนวก 39. ในเดือนกันยายน 2563 หน่วยงานราชการไทยก�ำลังประเมินโรงเรียนที่ ขออนุญาตเปิดอีกครั้ง


18

กระบวนการสำ�รวจ ของครูและนักเรียน ในต้นปีพ.ศ. 2563 มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดนท�ำงานร่วมกับ โรงเรียนเด็กข้ามชาติ 5 แห่ง ซึ่งได้แก่ ซ่าทูเหล่ (Hsa Thoo Lei) ซ่าทูก้อ (Hsa Tu Gaw) เลิฟ (Love) แลเบง (Hle Bee หรื อ แหล่ เ บ) พโยคิ น (Phyo Khin หรื อ เพี ย วขิ่ น ) 40 ใน โครงการ Project for the Agents of Change (PAC) โครงการ ดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมศักยภาพโรงเรียนให้เป็น สถานที่เตรียมความพร้อมให้แก่เด็กและเยาวชนในด้านสิทธิ มนุษยชนรวมถึงสิทธิแรงงาน เพื่อให้สามารถปกป้องดูแลทั้ง สิทธิของตน เพื่อนฝูง และครอบครัวทั้งในปัจจุบันและต่อไปใน อนาคตที่จะก้าวออกจากรั้วโรงเรียน

ภาพที่ 5

ครูโรงเรียนซ่าทูก้อเยี่ยมชุมชน พร้อมให้ข้อมูลความรู้

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ท�ำให้แผนกิจกรรมโครงการ PAC ต้องปรับเปลีย่ น การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารถูกเลือ่ นออกไปจนกว่า จะถึงเวลาที่เหมาะสม ตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 2563 เพื่อนไร้พรมแดนได้หัน มาระดมความช่วยเหลือจากภาคประชาสังคมไทยให้แก่ครูและนักเรียนทีต่ ดิ ค้างอยู่ในหอพักและชุมชนฝั่งไทย จนได้ขยายต่อมาถึงชุมชนรอบโรงเรียน โดยให้ครูเป็นผูม้ บี ทบาทส�ำคัญในการเยีย่ มเยียน เรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน และ เป็นก�ำลังใจซึ่งกันและกันกับชุมชน ทั้งนี้ แม้งานให้ความช่วยเหลือทาง มนุษยธรรมจะไม่ได้อยู่ในแผนงานปกติของมูลนิธิฯ สิทธิมนุษยชนจะเป็น จริงได้ก็มิเพียงด้วยการเคารพและคุ้มครองเท่านั้น หากยังต้องการการ “ตอบสนอง” อีกด้วย ความช่วยเหลือที่ระดมจากภาคประชาชนไทยมาให้ครู นักเรียน และ ครอบครัวแรงงานข้ามชาติในชุมชนนั้น มาจากการสอบถามความต้องการ ภาพ : โรงเรียนซ่าทูก้อ ของผูร้ บั โดยครูจากโรงเรียนเด็กข้ามชาติทมี่ ลู นิธฯิ ร่วมงานด้วย ในช่วงเดือน มีนาคมที่มีบุคคล องค์กรเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนจ�ำนวนหนึ่ง ได้ พ ยายามระดมความช่ ว ยเหลื อ ด้ า นอาหารให้ แ ก่ ชุ ม ชนอยู ่ แ ล้ ว เพื่อนไร้พรมแดนซึ่งเห็นว่าแรงงานข้ามชาติย่อมตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะ ติ ด เชื้ อ เช่ น เดี ย วกั บ คนไทย จึ ง เน้ น ความช่ ว ยเหลื อ ไปที่ เ ครื่ อ งใช้ เ พื่ อ สุขอนามัยและการป้องกันตน ต่อมาเมือ่ เห็นว่าความช่วยเหลือทีห่ ลายกลุม่


19 ได้ช่วยระดมกันนั้นยังไม่สามารถเข้าถึงแรงงานจ�ำนวนมหาศาลทั้งหมดในแม่สอดได้ จึงได้หันร่วม ระดมข้าวสารและอาหารเพิม่ เติมด้วย สิง่ ของทัง้ หมดนีเ้ ดินทางไปพร้อมกับเอกสารมาตรการรักษา ความปลอดภัยในการแจกสิง่ ของบรรเทาทุกข์ ความรูเ้ กีย่ วกับโควิดและการป้องกันตนในภาษาพม่า41 ครูทงั้ ห้าโรงเรียนทีย่ งั อยูใ่ นแม่สอดได้ชว่ ยกันกระจายความช่วยเหลือ ลงเยีย่ มชุมชน ให้ความรูเ้ กีย่ ว กับอาการและการป้องกันไวรัสโควิด 19 และส�ำหรับโรงเรียนซ่าทูเหล่ นักเรียนมัธยมปลายใน หอพักได้ร่วมลงพื้นที่และจัดการกระจายความช่วยเหลือร่วมกับครูของตน

40. ในที่นี้จะใช้ชื่อโรงเรียนตามที่อยู่ในเอกสารราชการ หากในเอกสารอื่นของมูลนิธิฯ อาจใช้ภาษาไทยตาม ส�ำเนียงที่ถอดจากเสียงของเจ้าของภาษา 41. ความช่วยเหลือทั้งหมดที่องค์กรขนาดเล็กอย่างเพื่อนไร้พรมแดนระดมมา ได้แก่ หน้ากากผ้ารวม 730 ชิ้น (ขนาดส�ำหรับเด็ก 200 ชิ้น) ชุดเครื่องใช้ครอบ ครัว 436 ชุด (สบู่ 6 ก้อน น�้ำยาล้างจาน 400 มล. 1 ถุง ผงซักฟอก 900 กรัม 1 ห่อ ) ผ้าอนามัย 108 แพ็ค ข้าวสาร 762 กก. น�้ำมันพืชขวดลิตร 147 ขวด ชุดเครื่องใช้หอพัก 3 ชุด (น�้ำยาล้างจาน 3600 มล. 1 แกลลอน, แชมพู 12 ขวด สบู่ 69 ก้อน) ชุดหน้ากากอนามัยพร้อมเจลล้างมือพกพา 130 ชุดส�ำหรับครู


20 จากปลายมี.ค. ถึง 19 พ.ค. 2563 ความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ ได้เดินทางจากเพือ่ นไร้พรมแดน ไปถึงโรงเรียนข้ามชาติเพื่อส่งมอบต่อให้กับครอบครัวนักเรียน ครู และชุมชนเป็นจ�ำนวน 3 รอบ ครูที่มีส่วนร่วมแต่ละคนได้สะท้อนเสียงของชาวบ้านที่ประสบความยากล�ำบากในช่วงสถานการณ์ โควิดอย่างกระตือรือร้น การเยี่ยมเยียน พบปะ รับฟังปัญหาท�ำให้ครูและนักเรียนมีความใกล้ชิด กับชุมชนมากขึน้ ในช่วงเวลาล็อคดาวน์ทตี่ อ้ งอยูก่ นั อย่างโดดเดีย่ ว และเป็นการส่งเสริมบทบาทของ โรงเรียนให้เป็นสถาบันที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับชุมชน แทนที่จะมีหน้าที่สอนหนังสือเพียงอย่างเดียว เพือ่ นไร้พรมแดนจึงได้หารือกับครูตอ่ ถึงการเยีย่ มเยียนเพือ่ มอบความช่วยเหลือต่อเนือ่ ง และโอกาส ที่จะร่วมงานกันเพื่อสิทธิของแรงงานข้ามชาติ แม้จะยังไม่สามารถมาพบปะในการอบรมเชิงปฏิบัติ การได้ ในช่วงที่แน่นอนว่าโรงเรียนเด็กข้ามชาติและโรงเรียนอื่นใดในประเทศไทยยังไม่สามารถ เปิดภาคเรียนใหม่ตามปกติเพือ่ นไร้พรมแดนได้เสนอรูปแบบการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม พร้อมไปกับการเรียนรูช้ มุ ชน และน�ำเสียงของชุมชนออกสูส่ งั คมไทยอย่างอย่างเป็นระบบ ด้วยการ เก็บข้อมูลและร่วมวิเคราะห์เพื่องานการศึกษาสถานการณ์เล็ก ๆ ชิ้นหนึ่ง มีครูผู้สนใจเข้าร่วมเป็น ครูจ�ำนวน 8 คน จาก 5 โรงเรียน และนักเรียนชั้นมัธยมปลาย 2 คน ในจ�ำนวนนี้ เป็นผู้ที่เคยเข้า ร่วมเรียนรู้กับโครงการ PAC แล้ว 6 คน งานการศึกษาระยะสั้นเร่งท�ำขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยลง กระจายความช่วยเหลือและเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วงปลายเดือนพ.ค.ถึงมิ.ย. 2563

ภาพ : โรงเรียนเลิฟ


21

ภาพที่ 6 และ 7

ครูโรงเรียนเลิฟและซ่าทูก้อเยี่ยมเยียนสัมภาษณ์แรงงานหญิงในชุมชน

ภาพ : โรงเรียนซ่าทูก้อ


22

กระบวนการ ในวันที่ 27 พ.ค. 2563 เพื่อนไร้พรมแดนประชุมทางวิดีโอกับครูผู้มีส่วนร่วมใน การส�ำรวจผ่าน messenger ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ครูทุกคนใช้อยู่แล้ว เพื่อท�ำความ เข้าใจกับโครงการ กระบวนการ กลุ่มเป้าหมาย และค�ำถามเฉพาะบางประการ งานการศึกษาครั้งนี้จ�ำต้องท�ำอย่างเร่งด่วนเนื่องจากครอบครัวแรงงานก�ำลังอยู่ใน ภาวะยากล�ำบากและต้องการความช่วยเหลือต่อเนื่อง กระบวนการที่ใช้จึงย่นย่อ รวบรัด โดยเฉพาะเมือ่ ยังมีอปุ สรรคทีไ่ ม่สามารถพบปะพูดคุยเพือ่ ออกแบบสอบถาม ร่วมกัน รวมถึงตรวจสอบแบบสอบถามและแก้ไขปรับปรุงได้ การพบปะกันทาง ออนไลน์ ยั ง เป็ น เรื่ อ งใหม่ ส� ำ หรั บ ครู อี ก ทั้ ง แต่ ล ะคนจะต้ อ งไปหาสถานที่ ที่ มี อินเตอร์เน็ตเสถียรเพียงพอที่จะใช้พูดคุยกัน จริยธรรมในการเก็บข้อมูล เป็นเรื่องที่ได้รับการเน้นย�้ำ ครู - นักเรียนผู้เก็บข้อมูลทุกคน จะต้องขออนุญาตสัมภาษณ์ โดยอธิบายวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ให้แก่ผู้ตอบ และท�ำความ เข้าใจว่าผู้ตอบสามารถข้ามไม่ตอบบางค�ำถามได้ หรือต้องการถอนตัวจากการสัมภาษณ์ได้โดยจะ ไม่มีผลใด ๆ ต่อการศึกษาของลูกหลานที่โรงเรียน ผู้ที่ยินดีมีส่วนร่วมจะลงนามรับทราบข้อมูลนี้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจะอนุญาตให้ถ่ายรูปตนได้หรือไม่ ทีมส�ำรวจก�ำหนดภาพถ่ายทุกภาพให้เป็น ภาพชุมชนและสภาพความเป็นอยู่ในมุมกว้าง หรือสถานการณ์การลงพื้นที่สัมภาษณ์พูดคุยโดย กว้าง แทนที่จะเป็นภาพถ่ายบุคคลและของบริจาค เพื่อให้เกิดความสบายใจในการตอบค�ำถาม หลังการประชุมครัง้ แรก เพือ่ นไร้พรมแดนได้สง่ มอบของขวัญ42 ส�ำหรับเยีย่ มเยียนครอบครัว 250 ครอบครัวพร้อมแบบสอบถามภาษาพม่า 258 ชุด (รวมครูผู้มีส่วนร่วม) ให้ทีมส�ำรวจทั้งหมด แต่ละครอบครัวก�ำหนดให้มีผู้ให้ข้อมูลไม่เกิน 1 คน วางสัดส่วนคร่าว ๆ ของผู้หญิงให้อยู่ที่ร้อยละ 52 ของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด และก�ำหนดให้มีเด็กวัย 12-18 ปีราว 25 คนขึ้นไป (ประมาณร้อยละ 10) กับคนชราวัยเกิน 60 ปีขึ้นไปอย่างน้อย 6 คน (ประมาณร้อยละ 2) นอกจากแบบสอบถาม แล้ว ครูผู้ประสานงานกลุ่ม เป็นผู้ด�ำเนินการสัมภาษณ์ระดับลึกกับครูใหญ่และครูอื่น ๆ ของทั้งห้า โรงเรียน แต่ละโรงเรียนใช้เวลาเก็บข้อมูลไม่เกิน 10 วันจึงได้ส่งแบบสอบถามกลับมา ทีมส�ำรวจ ได้ประชุมกันทางวิดีโอผ่าน messenger อีกครั้งในวันที่ 16 มิ.ย. 2563 โดยใช้เวลาร่วม 3 ชั่วโมง เพื่อสะท้อนบทเรียนและความรู้สึกที่ได้รับจากการลงพื้นที่ ข้อสังเกต ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ เพื่อนไร้พรมแดนได้ประสานงานการแปลภาษาส�ำหรับบทสัมภาษณ์ระดับลึกและข้อคิด เห็นต่าง ๆ ที่ครูได้จดเพิ่มเติมไว้ในแบบสอบถาม ก่อนจะวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ศึกษาข้อมูล ทุติยภูมิเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ และสรุปเป็นรายงานสั้น ๆ ฉบับนี้


23 ข้อจ�ำกัด ของการศึกษาครั้งนี้ มีเหตุจากการท�ำงานอย่างเร่งรัดภายใต้เงื่อนไขสถานการณ์ โควิด 19 ทีท่ มี งานไม่สามารถประชุม อภิปราย ออกแบบ วิพากษ์วจิ ารณ์ แก้ไขผลงานกันได้ถว้ นถี่ ไม่สามารถเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเรียนรู้กระบวนการออกแบบและสัมภาษณ์ส�ำหรับงานวิจัย ไม่ สามารถทดสอบแบบสอบถามก่อน หรือตรวจสอบแก้ไขการแปลภาษาได้ ข้อมูลที่ได้รับเพื่อน�ำมา วิเคราะห์จงึ ไม่สมบูรณ์อยูส่ ว่ นหนึง่ และมีแบบสอบถาม “เสีย” อีกจ�ำนวนหนึง่ ในขณะทีจ่ ดุ แข็งของ งานศึกษาครั้งนี้ ก็คือความเข้าใจในชุมชนในระดับที่แม้จะไม่ใช่ “คนใน” เสียทีเดียว ก็ไม่ได้เป็น “คนนอก” และผลพลอยได้ที่เป็นการสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับโรงเรียน

ภาพที่ 8

ครูโรงเรียนซ่าทูเหล่เยี่ยมเยียนสัมภาษณ์ครอบครัวแรงงานข้ามชาติ

ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่ 42. ชุดของขวัญเพื่อการยังชีพส�ำหรับครอบครัวแรงงานรอบนี้ได้แก่ น�้ำมันพืชขวดลิตร 1 ขวด เส้นหมี่ขาว 180 กรัม 1 ห่อ เกลือ 1 กก. พริกแห้ง 200 กรัม และยาสีฟันหลอดเล็ก 1 หลอด


24

ผลการสำ�รวจผู้ให้ข้อมูล และการยืนหยัดอยู่ต่อ แม่สอด เมื่อได้คัดแบบสอบถาม “เสีย”43 ออกแล้ว พบว่ามีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 246 คน กระจายในพื้นที่ละแวกโรงเรียนที่มีส่วนร่วมและ/หรือเป็น ชุมชนทีม่ นี กั เรียนของโรงเรียนอาศัยอยู่ ได้แก่ ชุมชนแรงงานข้ามชาติ ในเขตต.พระธาตุผาแดง 3 ชุมชน ในต.ท่าสายลวด - แม่ตาว 2 ชุมชน ในต.แม่ปะ 3 ชุมชน และต.แม่สอด 2 ชุมชน ร้อยละ 55 ของผูใ้ ห้ขอ้ มูลเป็นผูห้ ญิง ซึง่ มากกว่าทีก่ ำ� หนดไว้แต่แรกคือราวร้อยละ 52 เนือ่ งจากในเวลาทีค่ รูและนักเรียนไปเยีย่ มชุมชนจะมีผหู้ ญิงอยูบ่ า้ น พร้อมนัง่ สนทนาด้วยมากกว่าชาย ในช่วงทีม่ มี าตรการล็อคดาวน์ตลอด จนถึงเดือนมิ.ย.ที่รัฐเริ่มผ่อนปรนบางมาตรการบ้างแล้ว หญิงจ�ำนวน หนึ่งก็ไม่ได้ออกไปหารายได้ หากอยู่ดูแลบ้าน ลูกเล็ก คนแก่และเด็ก ที่ยังไม่สามารถไปโรงเรียนได้ตามปกติ ในขณะที่ผู้ชายบางส่วนกลับ ไปท�ำงานได้แล้ว

ภาพ : โรงเรียนพโยคิน


25 ภาพที่ 9 ครูโรงเรียนพโยคินพูดคุยกับแรงงานข้ามชาติที่มารับของฝากที่โรงเรียน

43. ในที่นี้หมายถึงแบบสอบถามที่ตอบไม่ครบหรือตอบผิดพลาดเช่น ตอบหลายข้อในค�ำถามที่ ต้องการค�ำตอบเดียว ตั้งแต่ 30 % ขึ้นไป ส่วนใหญ่เกิดจากข้อผิดพลาดที่ครูให้ผู้ให้ข้อมูล กรอกเอง ซึ่งผู้ให้ข้อมูลก็เว้นว่างไว้ในข้อที่ตนไม่เข้าใจค�ำถามหรือค�ำตอบชัดเจน


26 ส่วนใหญ่ของผู้ให้ข้อมูลราวร้อยละ 65 อยู่ในวัย 26 - 59 ปี เป็นวัยท�ำงานและมักมีครอบครัวแล้ว เนื่องจากส่วนหนึ่งของเป็นครอบครัวของนักเรียน อีกทั้งในชุมชนที่ไปส�ำรวจก็เป็นแหล่งที่พักของ ครอบครัวมากกว่าจะเป็นห้องเช่าของแรงงานหนุ่มสาวโสด ผู้ให้ข้อมูลมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 61) พักอาศัยอยูเ่ ป็นครอบครัวจ�ำนวนตัง้ แต่ 3 คนขึน้ ไป มีเด็กวัย 12 - 18 ปีรอ้ ยละ 11 และคนชราร้อย ละ 4 ซึ่งมากกว่าที่ตั้งใจเล็กน้อย44 เด็กที่ให้ข้อมูลนี้มีทั้งเด็กในหอพักโรงเรียนซ่าทูเหล่และซ่าทูก้อ และเด็กที่อยู่กับครอบครัวในชุมชน ชุมชนทีค่ รู - นักเรียนลงไปเยีย่ มเยียนเก็บข้อมูลนัน้ มีทงั้ ชุมชนทีค่ นส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า หรือกะเหรีย่ กลุง่มหรื ามุสลิม (ไม่มผี รู้ ะบุร้อตยละนว่าเป็นโรฮิงญา) ชุมชนผูย้ า้ ยถิน่ ชาวกะเหรีย่ งบางแห่ง ชาติพอันพม่ ธุ์-ศาสนา พม่ า พุ ท ธ ตัง้ อยูต่ ดิ กับชุมชนชาวกะเหรีย่ งท้องถิน่ ผู41.9 น้ ำ� ชุมชนซึง่ เป็นชาวกะเหรีย่ งสัญชาติไทยให้การเอาใจใส่ 28.9 กะเหรี่ยง -พุทธและความเชื่อดั้งเดิม ดูแลและประสานความช่ วยเหลือบรรเทาทุ8.9กข์จากแหล่งต่าง ๆ มาให้ ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลนี้ เกินครึ่ง กะเหรี ่ยง - คริสเตียน 12.2 พม่ ลิม ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นชาวกะเหรี่ยง (สะกอและโปว์ เป็านมุสกลุ ) สูงสุด และเกินครึ่งมีภูมิล�ำเนาเดิมในรัฐ 3.2 อื่น ๆ เช่น ฉิ่น (คริสเตียน) อารกัน (พุทธ) กะเหรี่ยงกับมณฑลพะโค (ร้อยละ 53) 4.9ใกล้ชายแดนแม่สอด เป็นพื้นที่ชนบทที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ ไม่มีข้อมูล อาศัยอยู่หนาแน่นรวมรองลงมาคือจากรัฐมอญ 100 มณฑลย่างกุ้ง มณฑลมัณฑะเลย์ (ร้อยละ 29) และ มณฑลตะนาวศรีกับอิระวดี (ร้อยละ 10) นอกจากนั้นยังมีจ�ำนวนหนึ่งที่มาจากแถบตะวันตกของ พม่าคือมณฑลมากวี สะกาย รัฐฉิ่น และรัฐอาระกัน (ร้อยละ 7)45

1. ชื่อแผนภูมิ ผู้ให้ข้อมูล ชาติพันธุ์และศาสนา

แผนภูมิที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลจําแนกตามชาติพันธุ์และศาสนา (ร้อยละ)

3.2 4.9

12.2 41.9

8.9

28.9

พม่า-พุทธ กะเหรี่ยง -พุทธและความเชื่อดั้งเดิม กะเหรี่ยง - คริสเตียน พม่า-มุสลิม อื่น ๆ เช่น ฉิ่น (คริสเตียน) อารกัน (พุทธ) ไม่มีข้อมูล

ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 63 เดินทางเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ. 2554 คือก่อนการเลือกตั้งและการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงระหว่างรัฐบาล/กองทัพพม่ากับกองก�ำลัง ชาติพนั ธุต์ า่ ง ๆ อีกทัง้ ยังมีกลุม่ ทีเ่ ข้ามาตัง้ แต่ชว่ งทีม่ กี ารสูร้ บและความรุนแรงทางเศรษฐกิจเข้มข้น เมื่อกว่า 15 ปีก่อนถึงร้อยละ 31 และผู้ที่บอกว่าตนเกิดในประเทศไทยอีกร้อยละ 5 เมื่อประกอบ กับข้อมูลที่ว่า ผู้ให้ข้อมูลถึงร้อยละ 87 อาศัยอยู่เป็นครอบครัว46 ร้อยละ 69 ระบุว่าตนไม่มีบ้าน เป็นของตัวเองในพม่าแล้ว ทั้งเนื่องจากได้ขายทรัพย์สินให้ญาติหรือคนรู้จักเมื่อจะมาอยู่เมืองไทย หรือมาจากพื้นที่การสู้รบในอดีตท�ำให้บ้านถูกทิ้งร้างและมีคนอื่นมาอยู่ใหม่แล้ว หรือไม่มีบ้านเป็น ของตัวเองตั้งแต่ดั้งเดิม การจะตัดสินใจไม่เดินทางกลับพม่าแม้จะได้ข่าวว่ารัฐบาลไทยจะสั่งปิด สถานประกอบการและด่านชายแดนก็ไม่ใช่เรื่องแปลก 2


27 2. ชื่อแผนภูมิ : ผู้ให้ข้อมูล จำแนกตามจำนวนปีโดยรวมที่อยู่ในประเทศไทย จำนวนปีรวมที่อยู่ในประเทศไทย ร้อยละ เมือ่ สอบ ถามเหตุผลทีผ่ ใู้ ห้ขอ้ 5.1มูลไม่ได้กลับประเทศพม่าไปก่อนด่านปิด คนส่วนใหญ่จะให้ เกิดในไทย ไม่เกินเหตุ 3 ปี ผลหลาย ๆ ประการ ประกอบกัน11 ในบรรดาเหตุผลที่ผู้ให้ข้อมูลเลือกมากที่สุดก็คือ ไม่กลับ 3-8 ปี 20.8 เพราะไม่มีบ้านเป็นของตนเองในประเทศพม่ าแล้ว หากกลับไปก็ไม่มีที่อยู่ หรือต้องไปพึ่งพาอาศัย 9-14 ปี 31.8 �ำเป็นต้องกลับ เพียงแต่รอดูสถานการณ์ทางประเทศไทยไป 15 ปีขญาติ ึ้นไป พี่น้อง รองลงมาคือ คิดว่ายังไม่จ31.3 ก่อน ประกอบ 236 100

กับด้วยความคิด ทีม่ กี ารอธิบายเพิม่ เติมว่า หากกลับไป พม่า นอกจากจะไม่มี งานท�ำเช่นเดียวกันแล้ว สถานการณ์การระบาดของ โรคอาจจะรุนแรงกว่าไทย อีก เกิดในไทย ไม่เกิน 3 ปี ทั้งผู้ให้ข้อมูลก็มีความเชื่อถือใน 3-8 ปี การแพทย์ไทยมากกว่า นอกจาก 9-14 ปี 15 ปีขึ้นไป นี้ ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่พักอาศัยเป็น ครอบครัวและครอบครัวใหญ่ดังที่ได้ กล่าวมา ก็มักให้เหตุผลว่า ไม่ได้คิดจะ กลับพม่าเนื่องจากกลับล�ำบาก และต้อง เสียค่าใช้จ่ายสูง

แผนภูมิที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล จําแนกตามระยะเวลารวม ที่อยู่ในประเทศไทย (ร้อยละ)

5.1 11 31.3

20.8

31.8

แผนภูมิที่ 3 เหตุผลที่ไม่ได้กลับพม่าก่อนด่านปิด (ร้อยละ) 50

46

ร้อยละ

38

25

1

29

28 22

19

17

13

15 7

0

่นาน

นอีกไม คงอดท

น การเรีย

ียงาน/

กลัวเส

อื่น ติดคน

ิน ไม่มีเง

เหตุผล

เชื้อไป

กลัวนำ

ลำบาก

ล กลับ

บ้านไก

่ทัน

ย กว่าไท น่ากลัว

กลับไม

ในพม่า

็น

ม่จำเป

คิดว่าไ

่า

นในพม

ไม่มีบ้า

44. มีผู้ที่ไม่ได้ให้ข้อมูลอายุไว้ 8 คน 45. ค�ำนวณจากจ�ำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ ระบุภูมิล�ำเนาเดิมของตน 242 คน 46. ร้อยละ 8.3 พักอยู่กับเพื่อน และ ร้อยละ 4.3 พักอยู่คนเดียว


28

ภาพที่ 10

แรงงานหญิงนั่งอ่านเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับโควิด 19

ภาพ : โรงเรียนเลิฟ


29

การเข้าถึงข้อมูลและ ความปลอดภัยจากโควิด 19 ผูใ้ ห้ขอ้ มูลส่วนใหญ่บอกว่าตน “กลัว” โรคโควิด 19 ด้วยเหตุทเี่ ป็นโรคร้ายแรง และ ที่สความเข้ �ำคัาใจในลั ญก็กษณะอาการ คือ “กลัวว่าจะไม่ร้อมยละีเงินรักษาหรือไปโรงพยาบาลไทยได้ยาก” แต่ในขณะ รับทราบข้อมูลมามากและเข้าใจดีมาก เดียวกันก็ชี้ว่า หากตนติดเชื15.5 ้อในประเทศไทย ก็ยังดีกว่ากลับไปเป็นที่บ้าน เพราะ เข้าใจบ้างแต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน 33.3 เข้าใจหรือรับทราบข้ ยมาก 51.2 เชื่ออมูมัลมาน้่นอในโรงพยาบาลไทยมากกว่ า

5. ชื่อแผนภูมิ : ความเข้าใจในลักษณะอาการโควิดในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

รวม

100

แผนภูมิที่ 4 ความเข้าใจในลักษณะอาการโควิด 19 (ร้อยละ)

รับทราบข้อมูลมามากและเข้าใจดี 15.5 เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย 51.2

6. ชื่อแผนภูมิ : ความเข้าใจในวิธีการแพร่กระจายเชื้อโรคโควิด

รับทราบข้ อมูลธมามากและเข้ าใจดี ้อโรค ความเข้ าใจในวิ ีการแพร่กระจายเชื เข้าใจบ้ าางใจดี แต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน รั บ ทราบข้ อ มู ล มามาก เข้ เข้าใจบ้าง แต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย เข้าใจบ้างแต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน 33.3 เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย รวม

ร้อยละ 25.7 40.2 34.1 100

แผนภูมิ 5 ความเข้าใจในวิธีการแพร่กระจายเชื้อ (ร้อยละ)

7. ชื่อแผนภูมิ : ความเข้าใจในวิธีการป้องกันโควิด 19 ความเข้าใจในวิธีการป้องกัน รับทราบข้อมูลมามาก เข้าใจดี เข้าใจบ้างแต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย รวม

ร้อยละ 50.4 32.1 17.5 100

เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย 34.1

เข้าใจบ้างแต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน 40.2

แผนภูมิที่ 6 ความเข้าใจในวิธีการป้องกัน (ร้อยละ)

เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย 17.5 รับทราบข้อมูลมามาก เข้าใจดี 50.4 เข้าใจบ้างแต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน 32.1

1

รับทราบข้อมูลมามาก เข้าใจดี 25.7

รับทราบข้อมูลมามาก เข้าใจดี เข้าใจบ้างแต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย

รับทราบข้อมูลมามาก เข้าใจดี เข้าใจบ้างแต่ข้อมูลยังไม่ครบถ้วน เข้าใจหรือรับทราบข้อมูลมาน้อย


30 เมื่อสอบถามถึงความเข้าใจเกี่ยวกับโควิด 19 โดยละเอียด โดยแยก เป็นความเข้าใจในอาการ ความเข้าใจในวิธีการแพร่กระจายโรค และ วิธีป้องกัน47 พบว่า คนราวครึ่งมีความรู้ว่าดีว่าจะต้องป้องกันตนเอง อย่างไร หากสัดส่วนผู้ที่เข้าใจวิธีการแพร่กระจายเชื้อและลักษณะ อาการของโรคในระดับดีจะไม่มากนัก ร้อยละ 51 มีความเข้าใจใน ลักษณะอาการของโรคน้อยมาก และร้อยละ 34 ก็ไม่คอ่ ยเข้าใจว่าเชือ้ ไวรัสนี้จะแพร่กระจายอย่างไรได้บ้าง นอกจากนี้ ครูผู้ท�ำการส�ำรวจ ยังให้ข้อคิดเห็นว่า คนชราซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเกิด อาการรุนแรง กลับเป็นกลุ่มที่ได้รับข้อมูลข่าวสารมาน้อยที่สุด ส่วน ใหญ่แล้วจะเคยได้ยินเพียงว่าโควิด 19 เป็นโรคร้ายแรงที่ท�ำให้รัฐบาล ไทยต้องด�ำเนินมาตรการล็อคดาวน์เท่านั้น ข้อมูลดังกล่าวนีแ้ สดงให้เห็นว่า การสือ่ สารรณรงค์เรือ่ งโควิด 19 อาจประสบผลส�ำเร็จในด้านการท�ำให้คนจ�ำได้ว่า ตนจะต้องหลีก เลีย่ งกันอยูใ่ กล้กนั หลีกเลีย่ งการจับส่วนต่าง ๆ บนใบหน้า ใส่หน้ากาก อนามัย เป็นต้น หากการกระท�ำดังกล่าวก็อาจไม่ได้มาจากความเข้าใจ ถึงตัวโรคและวิธีการแพร่กระจายโรคอย่างแท้จริง จึงอาจท�ำให้เกิด ความสับสน หรือหวาดกลัวเกินกว่าเหตุ เกิดการรังเกียจหรือตกใจเมือ่ มีข่าวลือว่ามีผู้ป่วยในชุมชนดังที่เกิดขึ้นเสมอในชุมชนแห่งหนึ่งที่ร่วม การส�ำรวจ หรือไม่กพ็ ร้อมทีจ่ ะละเลยในการป้องกันตนเองเมือ่ เหนือ่ ย กับการท�ำตามสัง่ หรือมาตราการ โดยไม่เข้าใจทีม่ าของมาตรการเหล่า นั้น ผู้ให้ข้อมูลเกือบทุกคนระบุว่าตนจะต้อง “ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อ ออกนอกบ้าน” แม้จะยังสับสนว่าโควิด 19 ติดต่อกันได้อย่างไร อย่างไร ก็ตาม เมือ่ ถามว่าคิดว่าตนสามารถป้องกันตนได้ดเี พียงไร ร้อยละ 43 ก็ยืนยันว่าดีมาก เพราะรู้ข้อมูลดีและมีอุปกรณ์พร้อม ซึ่งในที่นี้ก็คือ หน้ากากอนามัยเป็นหลัก ส่วนผู้ที่ตอบว่าไม่ค่อยดี ก็มักเป็นด้วย เหตุผลว่าไม่มอี ปุ กรณ์มากทีส่ ดุ รองลงมาคือไม่สะดวก ไม่แน่ใจว่าต้อง ท�ำอย่างไร และคิดว่าเกินจ�ำเป็น 47.

ประเมินระดับความเข้าใจจากค�ำตอบ ที่เลือก คือ 1 ) เลือกข้อที่ถูกทั้งหมด หรือเลือกข้อที่ถูกขาดไปไม่เกิน 3 ข้อ และไม่เลือกค�ำตอบที่ผิดเลย จัดอยู่ใน ระดับดี 2) เลือกข้อที่ถูกได้เกินครึ่ง แต่ยังขาดไปเกิน 3 ข้อ หรือมีการ เลือกค�ำตอบที่ผิดปนมาไม่เกิน 1 ข้อ จัดอยู่ในระดับกลาง 3) เลือกค�ำตอบ ที่ถูกได้ไม่ถึงครึ่ง หรือเกินครึ่งแต่มีค�ำ ตอบที่ผิดเกิน 1 ข้อ ถือว่ามีความ เข้าใจน้อย


31

ภาพที่ 11

นักเรียนมัธยมโรงเรียนช่าทูเหล่ กำ�ลังสัมภาษณ์แรงงานชาย

ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่


32

ผลกระทบต่อสิทธิการทำ�งาน การเข้าถึงสวัสดิการ และการเยียวยา แม้ตัวเลขแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตให้ท�ำงานได้ 48 ใน จ.ตากจะมีกว่าห้าหมืน่ คนดังทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้น ส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 56 ของผู้ที่ยินดีให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะ/และเอกสาร แสดงตนรวมจ�ำนวน 237 คนนี้ ก็คือแรงงานนอกระบบที่อยู่ ในความเสี่ยงที่จะถูกจับ และผลักดันกลับ แรงงานที่อยู่ในความเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่ ผู้ที่ระบุว่าตนไม่มีเอกสารหรือบัตร ใด ๆ (ร้อยละ 42) ซึ่งโดยปกติก็อาศัยอยู่อย่างหลบซ่อน เข้าถึงความ ช่วยเหลือในระบบหรือจากรัฐไทยแทบไม่ได้ ผู้ที่บอกว่าตนมีบัตรแรงงาน สีชมพูแต่ถือใบอนุญาตท�ำงานที่ไม่ตรงกับชื่อนายจ้าง (ร้อยละ 2) ซึ่งหาก มิใช่ช่วงล็อคดาวน์ที่ทุกคนหยุดงานก็อาจถูกตรวจพบ เพิกถอนวีซ่ากับใบ อนุญาตท�ำงาน และถูกผลักดันออกนอกประเทศ และผู้ที่ถือ “ใบรับรอง” ซึ่งไม่มีผลทางกฎหมาย (ร้อยละ 12) กล่าวคือเป็นใบรับรองจากผญบ. สถานประกอบการ หรือต�ำรวจ ซึ่งบางคนระบุชัดเจนว่าได้จ่ายค่าเอกสาร ดังกล่าวนั้นเป็นรายปีหรือรายเดือนเท่าไร ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มนี้แม้อาจได้รับ การปกป้องในท้องถิน่ ในระดับหนึง่ จนอาจมีความกล้าเข้าถึงความช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์จากคนแปลกหน้าได้อย่างเปิดเผย49 ก็ยังถือว่าอยู่นอกระบบ และมีความเสี่ยง 48. แรงงานที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์สัญชาติเดิมและถือใบอนุญาต ท�ำงานแรงงานน�ำเข้าตาม MoU ระหว่างไทย-พม่า แรงงานที่ได้รับ อนุญาตให้ท�ำงานตามมติค.ร.ม. 20 ส.ค. 2562 รวมถึงกลุ่มที่ยัง ด�ำเนินการตามขั้นตอนไม่แล้วเสร็จ และแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ เข้ามาท�ำงานตามฤดูกาลหรือในลักษณะไป-กลับ 49. จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติม แรงงานระบุว่า หากตนไม่มีใบรับรองจาก ผญบ.ก็คงไม่กล้าไปรับของบริจาคจากบุคคลที่ไม่รู้จัก ผู้ไม่มีเอกสาร จะสบายใจกว่าที่จะรับของจากองค์กรเอกชน ครู หรือผญบ.ที่ตนรู้จัก

ภาพ : โรงเรียนแลเบง


33 ภาพที่ 12

ครูแลเบงกำ�ลังพูดคุยกับกลุ่มแรงงานชาย


34 ครูและนักเรียนของโรงเรียนเด็กข้ามชาตินั้น ถือว่าอยูใ่ นสถานะมัน่ คงกว่ากลุม่ แรงงานข้างต้น แม้บตั รประจ�ำตัวทีถ่ อื อยูจ่ ะไม่มกี ฎหมายรองรับ และไม่ได้นำ� ไปสูส่ ทิ ธิในทางสวัสดิการใด ๆ ก็ยงั มีข้อตกลงเป็นที่รับทราบกันในหน่วยราชการ ท้องถิ่นว่าจะไม่จับกุมครูที่มีบัตรประจ�ำตัวซึ่ง ออกโดย MECC และนักเรียนที่ถือบัตรประจ�ำ ตัวจากศูนย์การเรียนฯที่อยู่ในความดูแลของ MECC ผูใ้ ห้ขอ้ มูลทีม่ สี ถานะมัน่ คงและมีโอกาสเข้า สู ่ ร ะบบประกั น สังคม ซึ่งสามารถเข้าถึงการ เยียวยาเมื่อถูกให้ออกจากงานหรือหยุดงานอัน เนือ่ งจากมาตรการล็อคดาวน์ มีสดั ส่วนเพียงร้อย ละ 26 ของผูใ้ ห้ขอ้ มูลทีป่ ระกอบหาชีพหารายได้ ทัง้ หมด คนกลุม่ นีเ้ ป็นผูถ้ อื บัตรประจ�ำตัวทีอ่ อก

โดยกระทรวงมหาดไทยให้กับกลุ่มชาติพันธุ์ใน ประเทศไทย (ร้อยละ 13) เช่น บัตรผู้ไม่มี สถานะทางทะเบียน (ขึ้นต้นเลขประจ�ำตัวด้วย เลข 0) และบัตรประจ�ำตัวคนซึง่ ไม่มสี ญ ั ชาติไทย (เลข 6 หรือ 7) ฯลฯ กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ ที่เข้าสู่ระบบการพิสูจน์สัญชาติและแรงงานน�ำ เข้าตามข้อตกลงระหว่างรัฐไทยกับพม่า (MoU) (ร้อยละ 13) ส่วนแรงงานข้ามชาติที่ได้รับผ่อน ผันตามตามม. 64 และถือบัตรแผ่นแดน (border pass) กับใบอนุญาตท�ำงาน 90 วันนั้นจะไม่ สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน และไม่ สามารถเข้าถึงสิทธิกับการเยียวยาจากระบบ ประกั น สั ง คมได้ มี เ พี ย งสิ ท ธิ ที่ ต ่ อ ประกั น สุขภาพซึง่ ได้รบั การก�ำหนดให้ซอื้ ไว้เช่นเดียวกับ สองกลุ่มข้างต้น

ภาพที่ 13

ครอบครัวแรงงานข้ามชาติในชุมชน แม่สอด

ภาพ : โรงเรียนแลเบง


35

ตนมีสิทธิในประกันสังคม ตนมีบัตรประกันสุขภาพของรพ. ตนไม่มีสิทธิใด ๆ เลย ตนไม่ทราบว่ามีสิทธิใดหรือไม่

อย่างไรก็ตาม มีผใู้ ห้ขอ้ มูลจ�ำนวนมากทีไ่ ม่ทราบ ว่าสถานะทางกฎหมายของตนนั้นน�ำมาซึ่งสิทธิ ใดได้บ้าง และมากกว่านั้นก็คือ เข้าใจว่าตนไม่มี สิ ท ธิ ใ นประกั น สั ง คมหรื อ ประกั น สุ ข ภาพเลย จากการส�ำรวจ มีผู้ระบุว่าตนมีสิทธิในประกัน สังคมทั้งหมดเพียง 9 คน ซึ่ง 3 ใน 9 คนนั้นก็ น่าจะเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากเป็นนักเรียน ที่มีแต่บัตรนักเรียนเท่านั้น ผู้ที่น่าจะเป็นผู้ ประกันตน หรือเข้าใจรับรูว้ า่ ตนเป็นผูป้ ระกันตน กับส�ำนักงานประกันสังคมน่าจะมีเพียง 6 คน (ราวร้อยละ 2 ของทั้งหมด) ในขณะที่ผู้ที่เข้าใจ ว่ า ตนท� ำ ประกั น สุ ข ภาพไว้ กั บ โรงพยาบาลมี สัดส่วนเพียงร้อยละ 18 ข้อมูลดังกล่าวเป็น

ความเข้าใจของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งอาจไม่ตรงกับข้อ เท็จจริง คนจ�ำนวนหนึง่ ยังสับสนว่าตนมีหรือไม่มี สิทธิอะไรบ้าง เห็นได้จากผู้ที่ให้ข้อมูลว่าตนเป็น แรงงานในระบบเกินครึง่ ระบุวา่ ตนไม่มที งั้ สิทธิใน ประกันสังคมและประกันสุขภาพ หรือบอกว่า ไม่ทราบ - ไม่แน่ใจว่าตนมีสทิ ธิอะไร นอกจากนี้ ผู ้ ที่ ร ะบุ ว ่ า ตนซื้ อ บั ต รประกั น สุ ข ภาพกั บ โรง พยาบาลไว้แล้วก็ยังกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายในการ รักษาพยาบาลหากเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด 19 เพราะมองว่า “เป็นโรคร้ายแรงเกิดใหม่ที่มีค่า ใช้จ่ายสูง ไม่รู้ว่าบัตรประกันสุขภาพที่มีจะใช้ได้ ไหม”


36

ก่อนเกิดวิกฤตโควิด 19 ซึง่ ตามมาด้วยมาตรการ ล็อคดาวน์ ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 246 คน จึงมีผู้ที่ประกอบอาชีพหารายได้อยู่ 181 คน50 ส่วนใหญ่เป็นแรงงานรับจ้างทัว่ ไป รับค่าแรงเป็น รายวัน และอาจเปลี่ยนที่ท�ำงานหรือนายจ้างไป เรื่อย ๆ เช่น แบกของในตลาด ก่อสร้าง ขุดดิน เก็บข้าวโพด แล้วแต่จะมีคนจ้าง การจ่ายค่าแรง อาจจ่ายต่อวันในวันนั้น หรือตกลงกันเป็นราย

สัปดาห์ หรือสองสัปดาห์ รองลงมาคือแรงงาน ภาคบริการ เช่น ลูกจ้างร้านอาหาร ร้านขายของ ร้านท�ำผม แม่ครัว แม่บ้าน เป็นต้น ส่วนใหญ่ ของผู้ให้ข้อมูล (ร้อยละ 70 ของผูม้ รี ายได้) มี รายได้ตอ่ วัน 200 - 315 บาท ซึง่ ต�ำ่ กว่าอัตรา ค่าแรงขั้นต�่ำของอ.แม่สอด51 มีผู้รายได้เท่ากับ หรือสูงกว่าอัตราค่าแรงขั้นต�่ำของอ.แม่สอดอยู่ เพียงร้อยละ 11 เท่านั้น

50. ผู้ไม่ได้ประกอบอาชีพหารายได้เป็นนักเรียน 21 คน และคนชรา กับผู้หญิงที่บอกว่าอยู่บ้านเลี้ยงลูกหรือดูแลครอบครัวที่มีคนชราอีก 44 คน 51. กระทรวงแรงงาน (2563), “อัตราค่าจ้างขั้นต�่ำ” https://www.mol.go.th/อัตราค่าจ้างขั้นต�่ำ/


37

ค่าแรงต่ำกว่าวันละ 200 บาท ค่าแรงสูงกว่าวันละ 200 บาทแต่ต่ำกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ค่าแรงเท่ากับหรือสูงกว่าอัตราค่าแรงขั้นต่ำ

นับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 ที่อัตราการแพร่ระบาดโควิด 19 ในประเทศไทยสูงขึ้นและตามมาด้วย มาตรการล็อคดาวน์ ผูใ้ ห้ขอ้ มูลทีท่ ำ� งานอยูส่ ว่ นใหญ่จะแจ้งว่าตนถูกพักงาน โดยเชือ่ ว่าถ้าสถานการณ์ ดีขนึ้ ก็นา่ จะกลับไปท�ำงานทีเ่ ดิมได้ รองลงมาคือกลุม่ ทีบ่ อกว่าถูกให้ออกจากงาน หรือสถานประกอบ การปิดกิจการไป ไม่ทราบว่าจะเปิดใหม่หรือไม่เมื่อไร กลุ่มนี้จะต้องหางานใหม่เมื่อรัฐบาลผ่อน มาตรการลงแล้ว นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ข้อมูลราวร้อยละ 14 ที่ชี้ว่าตนยังพอจะท�ำงานได้อยู่ แต่มีราย ได้ลดได้น้อยลง คนกลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นแรงงานก่อสร้างซึ่งบางแห่งไม่ได้หยุดด�ำเนินการ หรือท�ำงาน ร้านกาแฟซึ่งลดเวลาท�ำงานเพราะเหลือแต่บริการสั่งกลับบ้าน หรือเก็บขยะขายซึ่งก็ยังท�ำได้อยู่


38

จากข้อมูลจากการส�ำรวจผลกระทบต่ออาชีพ การงาน ในกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพมีรายได้อยู่ก่อน การประกาศล็อคดาวน์ทั้งหมด 181 คน มีผู้ที่บอกว่า ตนไม่ได้รับผลกระทบอยู่เพียงร้อยละ 4 ซึ่งเกือบ ทั้งหมดเป็นครูโรงเรียนเด็กข้ามชาติ หากเมื่อขยาย ค� ำ ถามกว้ า งไปถึ ง ผลกระทบต่ อ ครอบครั ว ซึ่ ง รวม สมาชิกทุกคน ในบรรดาผู้ให้ข้อมูลที่มีครอบครัวอยู่ ในประเทศไทยรวม 228 คนนัน้ มีเพียงคนเดียวทีต่ อบ ว่า ไม่มีใครในครอบครัวได้รับผลกระทบต่ออาชีพการ งานเลย เมื่อถึงต้นเดือน มิ.ย. 2563 ผู้ให้มูลส่วนใหญ่ยัง มีสมาชิกในครอบครัวบางคนหรือทั้งหมดที่ยังไม่ได้ ออกไปท�ำงานและมีรายได้ คนกลุม่ นีม้ ที งั้ ทีร่ อนายจ้าง เปิดกิจการและเรียกกลับไปท�ำงาน และที่ยังหางาน ใหม่ไม่ได้ มีผู้ที่ระบุว่ามีสมาชิกในครอบครัวบางคน กลับไปมีรายได้ตามปกติ ร้อยละ 17 ซึ่งเกินครึ่งของ คนกลุ่มนี้จะมีสมาชิกในครอบครัวคนอื่นที่ยังไม่ได้ไป ท�ำงานด้วย จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าปัญหาเศรษฐกิจ ของครอบครัวนั้น ๆ คลี่คลายลงแล้ว


39

ยังไม่ได้ทำงาน

ทำงานแล้ว-ยังไม่ได้ค่าแรง

ทำงาน-ได้ค่าแรงแล้ว

ทำงานแล้ว-รายได้ยังไม่ปกติ

ไม่มีปัญหาแต่แรก

“ปัญหามันเกิดขึ้นทั้งกับพวกเรา (คนย้ายถิ่นข้ามชาติจากพม่า) และ กับคนไทยนั่นแหละ แต่พวกเราไม่ใช่พลเมืองไทย รัฐบาลไทยไม่ได้ ช่วยอะไร ก็เลยจะลำ�บากกว่าคนไทย พ่อแม่ของนักเรียนเราไม่มี งานทำ�มาหลายเดือน ไม่มีเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ไม่มีเงินซื้อของกินดี ๆ ต้องไปขอยืมเงินคนอื่น บางทีก็ทะเลาะกัน มีปัญหากันมากมาย ที่ โรงเรียนช่วยได้ก็คือ เราก็จะรับลูกเขาให้ได้เข้าเรียนได้ทั้งหมด ไม่มี เงินจ่ายสักบาทก็ไม่เป็นไร” ครูโรงเรียนเด็กข้ามชาติ


40

ภาพที่ 14

บ้านเช่าแห่งหนึ่งของแรงงานข้ามชาติในแม่สอด

ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่

ปากท้องกับสังคมรอบตัว “เราพยายามอยู่กินอย่างประหยัดที่สุด คนที่ไม่กระทบก็คือเขามีลูกทำ�งานอยู่ที่อื่น และคอยส่งเงินมาให้” แรงงานข้ามชาติ


41

ก่อนหน้าการส�ำรวจนี้ ครูและนักเรียนทีไ่ ด้ออกไปเยีย่ มเยียนชุมชนพร้อมน�ำอาหาร และเครื่องใช้จ�ำเป็นไปฝากได้เรียนรู้ความยากล�ำบากสาหัสของชุมชนมากเสียยิ่ง กว่าที่คาดไว้แต่แรก ครอบครัวทั้งหลายดีใจมากที่ได้รับเครื่องยังชีพ เพราะแต่ละ บ้านขาดแคลนข้าวสารและอาหารทุกชนิด ต้องไปเก็บหาผักตามริมทางมาต้มกิน ประทังชีวิต จ�ำนวนมากตกอยู่ในความหวาดกลัวว่าจะถูกไล่ออกจากบ้านเช่า มี รายงานว่าบางแห่งชาวบ้านทีจ่ า่ ยค่าเช่าบ้านแล้วก็ยงั ถูกเอาเปรียบด้วยการเรียกร้อง ค่าน�้ำค่าไฟเพิ่ม จากที่เดิมเคยคิดรวมไว้ในค่าเช่า โดยเจ้าของห้องเช่ากล่าวว่าตน ไม่มเี งินจ่ายค่าน�ำ้ ค่าไฟให้และชาวบ้านจะถูกตัดน�ำ้ ไฟหากไม่สมทบเงินเพิม่ ห้องละ 500 บาท52 แผนภูมิที่ 14 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจต่อผู้ให้ข้อมูลและครอบครัวในช่วงมาตรการ ล็อคดาวน์ (ร้อยละของผู้ที่ให้ข้อมูล) 50

50

48 43

ร้อยละ

38

40

25

25

13

ไม่ลำบากมากนัก

ไม่มีเงินจ่ายหนี้

ขาดค่าเช่าบ้าน น้ำ ไฟ

ไม่มีเงินซื้อยา หาหมอ

ขาดอาหารเพียงพอเหมาะสม

5 0

ขาดของใช้จำเป็น

52. ข้อมูลจากครู 5 พ.ค. 2563


42 มีผทู้ ยี่ นิ ดีตอบค�ำถามเกีย่ วกับปัญหาเศรษฐกิจของตนและครอบครัว อยู่ 216 คน ราวครึ่งบอกว่าขาดแคลนเงินมาซื้อหาของใช้จ�ำเป็น ต่าง ๆ รองลงมาคือความขาดแคลนอาหาร และเงินจ่ายค่าเช่าบ้าน ค่าน�้ำ ค่าไฟ ซึ่งไล่ลงมาตามล�ำดับที่ไม่แตกต่างกันมากนัก มีผู้ที่ ระบุว่าไม่ได้ล�ำบากอะไรมากมายเพราะพอจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการ ต่าง ๆ ได้อยู่ราวร้อยละ 5 หากเมื่อสอบถามว่า ผู้ให้ข้อมูลได้รับ ทราบ หรือเห็นว่าคนในชุมชนรอบตัวประสบปัญหาอย่างไร ในกลุ่ม ผู้ที่ตอบค�ำถามนี้ 221 คน ไม่มีผู้ใดตอบว่าไม่มีปัญหา ต่างเห็นว่า คนในชุมชนประสบปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งได้รับการจัดล�ำดับ ใกล้เคียงกันกับที่ตอบปัญหาส่วนตนไป ประเด็นทีผ่ ใู้ ห้ขอ้ มูลน�ำเสนอขึน้ มานอกเหนือจากทีม่ ใี ห้เลือก ในแบบสอบถาม คือ ปัญหาการขาดเสรีภาพในการเดินทาง การรวม กลุม่ การประกอบพิธกี รรมทางศาสนา และการติดต่อสือ่ สารข้ามแดน ซึ่งเป็นทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม

“เราอยากจะกลับไปหาพ่อแม่ ก็กลับไม่ได้ เป็นห่วงพ่อแม่ จะส่งเงินให้ก็ไม่ได้ ตอนนี้จะไปไหนก็ไม่ได้ทั้งนั้น งานศพเพื่อนก็ยังไปไม่ได้เลย” แรงงานข้ามชาติ

53. มีผู้ที่กล่าวว่าตนไม่ทราบหรือ ไม่แน่ใจอยู่ 86 คน

ภาพที่ 15

ครูโรงเรียนช่าทูก้อในบ้านพักของ ครอบครัวแรงงานข้ามชาติ ภาพ : โรงเรียนซ่าทูก้อ


43

ส�ำหรับปัญหาสังคมที่เกิดเพิ่มขึ้นและผู้ให้ข้อมูลเข้าใจว่าน่าจะเป็นผลกระทบจากวิกฤต โควิด 19 และมาตรการป้องกันการแพร่กระจายโรคนั้น กว่าครึ่งของกลุ่มผู้ที่ให้ค�ำตอบรวม 160 คน53 ชี้ว่า ตนรับทราบถึงความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการทะเลาะเบาะแว้ง หรือความรุนแรงทางวาจา และมีที่ถึงกับท�ำร้ายร่างกายกันอยู่บ้าง ซึ่งสัมพันธ์กับที่ร้อยละ 31 มอง ว่ามีผู้อยู่ในภาวะซึมเศร้า เครียด และใช้ยาเสพติดเพิ่มขึ้น รองลงมาคือปัญหาการขโมย จี้ ปล้น และการหลอกลวงโกงเงิน ซึง่ เกิดขึน้ มากเนือ่ งจากความอดอยาก บางคนชีว้ า่ มีเจ้าหนีท้ ขี่ นึ้ ดอกเบีย้ เงินกู้อย่างกระทันและก็มีคนที่หนีหนี้ไม่ยอมจ่ายหนี้ น�ำไปสู่การทะเลาะเบาะแว้งกันอีก


44

แผนภูมิที่ 15 ผลกระทบทางสังคมที่รับทราบ ว่าเกิดขึ้นและคาดว่าน่าจะเกิดขึ้น (ร้อยละของผู้ให้ข้อมูลดังกล่าว) ความรุนแรงในครอบครัว ขโมย จี้ ปล้น โกง หลอกลวงเรื่องเงิน ซึมเศร้า เครียด ยาเสพติด ความรุนแรงในชุมชน การละเมิดทางเพศ การล่อลวงเด็กไปค้าบริการ ขอทานเด็ก 0

15 รับรู้ว่าเกิดเพิ่มขึ้น

30

45

60

คาดว่าน่าจะเกิดเพิ่มขึ้น

เมื่อตั้งค�ำถามใหม่ว่า แม้จะไม่รู้เห็นด้วยตนเอง ผู้ให้ข้อมูลคาดเดาว่าน่าจะเกิดผลกระทบทางสังคม ต่อชุมชนอย่างไรบ้าง มีผู้ตอบ 187 คน54 ซึ่งปัญหาที่มีอัตราการ “คาด” ว่าน่าจะเกิดขึ้นสูงกว่า อัตราการรับรูร้ บั ทราบโดยตรงด้วยตนเอง ก็คอื การละเมิดทางเพศต่อหญิงและเด็ก และการล่อลวง เด็กไปค้าบริการทางเพศ ค�ำอธิบายเพิ่มเติมต่อการคาดเดานี้ก็คือ ในช่วงที่โรงเรียนปิดยาวนาน เด็ก ๆ ต้องอยู่บ้าน กันหมดจนพ่อแม่ดูแลไม่ไหว ชุมชนบางแห่งกว้างใหญ่ หรืออยู่อย่างไม่เป็นส่วนตัว หรือมีซอกมุม ที่อาจเกิดเหตุร้ายต่าง ๆ ได้ นอกจากนี้ ในสถานการณ์ยากล�ำบาก เด็กจ�ำนวนมากยังออกไปหา เก็บขยะขายเพื่อช่วยหารายได้ให้กับครอบครัว การออกไปแต่ล�ำพังในบางสถานที่อาจจะมีอันตราย มีผู้ให้ข้อมูลรายหนึ่งกล่าวว่า ตนได้ยินว่ามีคนมาหาเด็กผู้หญิงไปท�ำงาน ซึ่งแม้จะไม่ได้บอกชัดว่า ไปท�ำงานอะไร ตนก็คิดว่าในสถานการณ์อย่างนี้ก็ไม่น่าจะมีงานอื่น ในขณะที่มีผู้ที่คาดเดาว่าน่าจะ มีการชักชวนเด็ก ๆ ไปค้าบริการทางเพศ เพราะทุกคนอยู่ในสภาพยากล�ำบากมาก บางครอบครัว ไม่มขี า้ วสารเหลือเลย การจะตกลงให้ลกู ไปท�ำงาน หรือแม้แต่เด็กตัดสินใจหนีไปค้าบริการเองก็อาจ จะเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดในประเด็นเด็กและผู้หญิงนี้เป็นข้อมูลที่ “รับรู้” มา หรือ “คาดเดา” ยังไม่มีผู้กล่าวว่าตนรู้เห็นข้อเท็จจริงและต้องการความช่วยเหลือ

54. มีผู้ที่ระบุว่ายังไม่แน่ใจอยู่ 59 คน ลดลงจากเดิม 27 คน

ภาพ


45

“อย่างน้อย เราอยากจะให้เขาอนุญาตให้ เราเข้าโบสถ์ไปไหว้พระได้บ้าง” แรงงานข้ามชาติ

ภาพที่ 16

เด็กและเยาวชนในชุมชนแรงงานข้ามชาติยามโรงเรียนปิด

: โรงเรียนเลิฟ

ภาพ : โรงเรียนเลิฟ


46

เมื่อโรงเรียนยังเปิดไม่ได้ ศูนย์การเรียนของผูย้ า้ ยถิน่ ข้ามชาตินนั้ บริหารจัดการอย่างค่อนข้างเป็นอิสระคล้าย โรงเรียนเอกชน มีศูนย์ประสานงานการจัดการศึกษาเด็กต่างด้าว หรือ MECC เป็นหน่วยประสานงานระหว่างโรงเรียนเหล่านี้กับหน่วยราชการไทย หากวิกฤต โควิด 19 และมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดโรค ก็ได้ท�ำให้ MECC ก้าวเข้า มามีบทบาทมากขึน้ ในการควบคุมดูแลการปฏิบตั ขิ องโรงเรียนตามตามแนวทางของ กระทรวงศึกษาธิการและสาธารณสุข ถือเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ครูผู้ย้ายถิ่นฯ รู้สึกได้ถึงการเข้ามามีบทบาทของรัฐไทย โรงเรียนเด็กข้ามชาติในแม่สอดด�ำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเงินบริจาคจากแหล่งทุน ต่าง ๆ กัน แต่ละแห่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าน�้ำมันรถรับส่งนักเรียน หรือค่าอาหาร ในหอพักต่อปีจากผู้ปกครองไม่สูงนัก55 หากพ่อแม่จะจ่ายได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือจ่ายล่าช้าไปบ้าง ก็ มักอะลุม้ อล่วยให้ คนทีไ่ ม่มจี ะไม่จา่ ยเลยก็ได้ อย่างไรก็ดี ในช่วง 3 - 4 ปีทผี่ า่ นมา หลายโรงเรียน ประสบปัญหากับการหาทุนบริจาคมาตลอด เมือ่ ประกอบกับว่าในปีการศึกษานีน้ า่ จะมีผปู้ กครองที่ จะสามารถจ่ายค่าบ�ำรุงการศึกษาได้นอ้ ยลง การจะปรับปรุงทัง้ ด้านโครงสร้างและวัตถุให้เป็นไปตาม มาตรฐานการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 ของรัฐไทยทั้ง “44 ข้อ” ก็ดูจะเป็นไปไม่ได้เลย

“ถ้าจะเปิดโรงเรียนให้ได้ เราต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการ ป้องกันโควิดของรัฐบาลไทย เช่น ต้องมีจุดคัดกรอง มีจุด ล้างมือ มีอุปกรณ์ ต้องเว้นระยะห่างให้ถูกระเบียบ และยัง มีกฎเกณฑ์อีกมาก เกือบทั้งหมดก็ต้องมีเงินมาซื้อหาและ การเงินเราก็ไม่ดีอยู่แล้ว เงินเดือนครูได้น้อยจนครูลาออก ไปหลายคน ยิ่งพ่อแม่ไม่มีรายได้มาหลายเดือนก็คงช่วย จ่ายไม่ได้ การทำ�ตามมาตรการนี้จึงไม่ง่าย ฉันเข้าใจว่ากฎ ระเบียบนี้เป็นเรื่องสำ�คัญจำ�เป็นนะ ถ้าเราไม่ทำ� มีเด็กติดเชื้อ มาหนึ่งคนก็คงกระจายได้เร็วมาก โรงเรียนฉันแออัดอยู่ แล้ว เราก็คงได้แค่พยายามให้ดีที่สุด แต่คงไม่ครบถ้วน” ครูโรงเรียนเด็กข้ามชาติ


47

“ตัวฉันเองกลัวตกงาน เพราะโรงเรียน เปิดไมได้เสียที ถ้าเปิดไม่ได้ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดฉันก็ต้องไปหางานอื่นทำ� ฉันไม่ได้อยากทำ�อย่างนั้น การเป็นครูนี่ มีความสุขที่สุดแล้ว แต่ครอบครัว ก็ต้องกินต้องใช้ ต้องจ่ายค่าเช่าบ้าน เหมือนพ่อแม่ของเด็ก ๆ ไม่มีรายได้ นาน ๆ ก็ลำ�บากเหมือนกัน” ครูโรงเรียนเด็กข้ามชาติ

55. ตัวอย่างการเก็บค่าธรรมเนียมของโรงเรียนที่มีส่วนร่วมในการส�ำรวจ โรงเรียนแหล่เบ : ค่าธรรมเนียมปีละ 200 บาท ไม่รวมค่าเครื่องเขียน ชุดนักเรียน เว้นแต่จะได้รับ บริจาคเพิ่มเติมมา, โรงเรียนช่าทูเหล่ : ค่าธรรมเนียมปีละ 1,200 บาท นักเรียนจะได้ รับชุดพละ อาหารกลางวัน เครื่องเขียน ส�ำหรับนักเรียนหอพัก ค่าหอพักต่อปี 7,000 บาทรวมค่าอาหารทั้ง 3 มื้อ, เพียวคิน : ค่าธรรมเนียมปีละ 200 บาท รวมเครื่อง เขียน, ช่าตู่ก้อ : ค่าธรรมเนียมปีละ 500 บาทนักเรียนจะได้รับอาหารกลางวันและ เครื่องเขียน ค่าหอพักปีละ 2,000 บาท, โรงเรียนเลิฟ : ค่าธรรมเนียมปีละ 400 บาทเพราะปีนี้ไม่มีแหล่งทุน เดิมจะมีอาหารกลางวันให้และเก็บเพียงเดือนละ 50 บาท ค่าหอเดือนละ 150 บาท


48

ภาพที่ 17

เด็กและเยาวชนในชุมชนแรงงานข้ามชาติยามโรงเรียนปิด ภาพ โรงเรียนซ่าทูเหล่

จากการส�ำรวจของครู - นักเรียน มีผตู้ อบค�ำถาม เกี่ ย วกั บ ผลกระทบจากการที่ โ รงเรี ย นเด็ ก ข้ามชาติไม่สามารถเปิดเทอมปีการศึกษา 2563 ได้เป็นจ�ำนวน 189 คน ปัญหาทีไ่ ด้รบั การกล่าว ถึงมากที่สุดคือ การที่ต้องดูแลเด็กที่อยู่บ้าน ตลอดวัน หลายครอบครัวมีลูกหลายคนต่างวัย กันไป เมื่อถึงเวลาที่พ่อแม่ต้องออกไปหาอาหาร หรือพยายามหางานท�ำ การทิ้งเด็กไว้ที่บ้าน แม้ จะอยู่ในความดูแลของพี่คนโตก็เป็นเรื่องน่าเป็น

ห่วง มีผใู้ ห้ขอ้ มูลระบุเฉพาะเจาะจงด้วยว่า หาก เป็นสถานการณ์ปกติ ตนก็อาจมีเงินจ้างเพื่อน บ้านให้ดูแลลูกให้ได้บ้าง แต่เมื่อขัดสนทางการ เงินด้วย ก็ไม่กล้าหรือไม่สามารถจะน�ำเด็กไป ฝากให้ใครดูแล หลายคนเพิ่มเติมว่า การดูแล ลูกทุกคนตลอดทั้งวันเป็นเวลานานหลายเดือน เป็นภาระที่เหนื่อยมาก เพราะเด็กที่ไม่ได้เรียน หนังสือจะไม่สามารถอยู่เฉย ๆ ได้


Column and bar charts compare values in a single category. For example, you can compare the number of products sold by each salesperson.

Fundraiser Results b Participant

U

ปัญหาการดูแลเด็กที่อยู่บ้าน

49

ปัญหาต่อการศึกษาเรียนรู้

ปัญหาเรื่องอาหารกลางวันเด็ก ดีแล้ว เด็กจะได้ช่วยครอบครัวทำงาน

แผนภูมิที่ 16 ผลกระทบจากการที่โรงเรียนไม่สามารถเปิดสอนตามปกติ (ร้อยละของผู้ให้ข้อมูล) ปัญหาการดูแลเด็กที่อยู่บ้าน

49

ปัญหาต่อการศึกษาเรียนรู้

38

ปัญหาเรื่องอาหารกลางวันเด็ก

19 17

ดีแล้ว เด็กจะได้ช่วยครอบครัวทํางาน 0

13

25

38

50

1

ปัญหารองลงมาก็คือความกังวลเกี่ยวกับ การเรียนการศึกษาโดยตรง เช่น กลัวว่าเด็ก ๆ ไม่ไปโรงเรียนนานจะลืมบทเรียนหมด กลัวว่า เด็กจะชินกับการไม่ไปโรงเรียนจนขีเ้ กียจ ครูบาง คนก็กลัวว่าพ่อแม่จำ� นวนหนึง่ อาจไม่สนับสนุนให้ ลูกเรียนอีกต่อไปเพราะเห็นว่าขาดเรียนมานาน บางคนก็กลัวว่าเด็กจะมีปัญหาในการสอบเข้า หรือเรียนต่อทีอ่ นื่ โดยเฉพาะเด็กทีม่ แี ผนการจะ ไปต่อโรงเรียนในพม่าหรือสอบเทียบเพื่อสมัคร เข้ามหาวิทยาลัย ตัวเด็กเองก็ชี้ว่า กลัวจะไม่ได้ เรียนหนังสือไปเรื่อย ๆ แล้วพ่อแม่จะไม่ให้เรียน อีก อีกทั้งยังเบื่อ คิดถึงเพื่อน บางรายกล่าวว่า ตนอยากไปหางานท�ำ

ทั้งครูท่ีเป็นผู้เก็บข้อมูลและให้ข้อมูลต่าง ประเมินว่า การทีโ่ รงเรียนเด็กข้ามชาติตอ้ งเลือ่ น เวลาเปิดภาคเรียนไปเรื่อย ๆ ในขณะที่โรงเรียน ไทยสามารถเปิดได้แล้ว อาจส่งผลให้โรงเรียน เด็กข้ามชาติมีจ�ำนวนนักเรีย นลดลงในปี ก าร ศึกษาต่อไป บางคนอาจย้ายไปโรงเรียนไทย หรือหาทางเรียนต่อในประเทศพม่าเพราะกลับ มาฝัง่ ไทยไม่ได้ แต่ทสี่ ำ� คัญก็คอื มีเด็กอีกจ�ำนวน ไม่น้อยที่อาจหลุดออกนอกระบบโรงเรียนไป เป็นการถาวร ข้อคิดเห็นนี้ได้รับการสนับสนุน โดยค�ำตอบของผู้ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบ ดังกล่าวถึงร้อยละ 17 ที่ชี้ว่า การที่เด็กไม่ได้ไป โรงเรียนนั้นไม่เป็นปัญหาหรือมีข้อดี คือ จะได้ ช่วยพ่อแม่ท�ำงาน จึงมีความเป็นไปได้ว่า หาก สถานการณ์เช่นนีด้ ำ� เนินต่อไปเรือ่ ย ๆ ครอบครัว ก็จะเคยชินกับการมีลูกช่วยครอบครัวท�ำงาน มากกว่าจะอยากให้กลับไปโรงเรียน


50 ภาพที ่ 18 นักเรียนในหอพักซ่าทูเหล่มาร่วมกิจกรรมขน ข้าวสารไปแจกในชุมชน ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่

แม้โรงเรียนเด็กข้ามชาติแต่ละแห่งจะมีนโยบายชัดเจนในการรับนักเรียนเก่าไว้ทั้งหมด ไม่ว่าผู้ปกครองจะสามารถจ่ายค่าเรียนได้หรือไม่ การรับนักเรียนใหม่ก็ยังไม่มีความ แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ หนึง่ ในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรค คือการจ�ำกัด จ�ำนวนนักเรียนแต่ละแห่งเพื่อเว้นระยะห่าง


51

“ตอนนี้เรามีปัญหาว่า นักเรียนของเราที่กลับพม่าไปก็ไม่ สามารถข้ามกลับมาเรียนได้ นักเรียนในค่ายผูล ้ ภ ้ี ยั ทีเ่ คย มาเรียนต่อทีโ่ รงเรียนเราก็ออกมาไม่ได้ นักเรียนในแม่สอด ผูป ้ กครองก็ไม่มเี งินจะจ่ายค่าเทอม และปกติแล้วเมื่อใกล้ เปิดเทอม เราจะเปิดให้นักเรียนมาลงทะเบียนเรียน แต่ปีนี้ รัฐบาลไทยยังไม่อนุญาตให้คนจำ�นวนมากมาเจอกัน เราจึง ต้องเดินทางไปสอบถามเด็กที่บ้านว่าปีนี้เขาจะมาเรียนไหม มีปัญหาอะไรบ้างไหม เราต้องช่วยอะไร ฯลฯ ซึ่งมันทำ�ทั่ว ถึงได้ยาก ครูก็เหนื่อยมาก และถ้ามีนักเรียนใหม่อยากจะ เข้าเรียน ครูไม่รู้จัก ก็จะไม่ได้ไปหา ก็เลยไม่ได้ลงทะเบียน นักเรียนของเราที่จบแล้วจะไปต่อโรงเรียนอื่นจะมีที่เรียน หรือเปล่าก็ยังไม่รู้ วิทยาลัยจะเปิดเมื่อไหร่ สมัครยังไง จะสอบออนไลน์ก็ไม่ทันแล้ว นี่คือปัญหาที่เกิดขึ้นกับการ ศึกษาของเด็ก และคงจะส่งผลต่อไปอีกยาว ๆ” ครูโรงเรียนเด็กข้ามชาติ


52 ในระหว่างทีเ่ ขียนรายงานฉบับนี้ โรงเรียนเด็กข้ามชาติแต่ละ แห่งก็ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนได้ตามปกติ เสียง สะท้อนจากครูซึ่งก�ำลังด�ำเนินการสอนแบบ Home - based learning ชี้ว่า แม้จะการจัดการเรียนการสอนที่บ้านย่อมดี กว่าการไม่ได้ทำ� อะไรเลย ประโยชน์ทไี่ ด้กย็ งั ไม่มากนัก การ ด�ำเนินการเป็นไปอย่างยากล�ำบากเพราะนักเรียนอยู่ใน ชุมชนกระจัดกระจายกันทัว่ แม่สอด ครูซงึ่ มีอยูจ่ ำ� นวนไม่มาก ต้องเวียนไปตามที่ต่าง ๆ ท�ำให้เด็กแต่ละชุมชนมีเวลาพบ กลุม่ เรียนน้อยกว่าสัปดาห์ละครัง้ อีกทัง้ ยังต้องใช้งบประมาณ ในการถ่ายเอกสารและการเดินทางอีกไม่ใช่น้อย ทั้งนี้ ครู ส่วนหนึ่งที่กลับไปเยี่ยมบ้านในประเทศพม่ายังไม่สามารถ กลับเข้าประเทศไทยได้และมีแนวโน้มจะเปลี่ยนงานในที่สุด จึงมีแนวโน้มว่า หากโรงเรียนเด็กข้ามชาติกลับมาเปิดได้ปกติ เมือ่ ไร ก็มใิ ช่จะขาดแต่จำ� นวนนักเรียน หากบุคลากรก็คงขาด แคลนและจะต้องจัดสรรกันใหม่อีกครั้ง

ภาพที่ 19

บ้านพักของแรงงานข้ามชาติที่หันมาเก็บขยะขาย ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่


53

เพื่อความอยู่รอด

“ในการทีส ่ งั คมเราจะอยูใ่ ห้รอดกับโรคนี้ พ่อแม่ จะต้องมีความรู้และปกป้องลูกของเขาด้วย ฉันจึงคิดว่า การที่ได้ไปเยี่ยมบ้าน นำ�ของไปฝาก ไปให้กำ�ลังใจ และให้ข้อมูลความรู้พวกเขาเป็น สิ่งที่จำ�เป็นและมีประโยชน์มาก เวลาพ่อแม่ของ เด็ก ๆ ได้เจอหน้าพวกเรา เขาก็ดีใจมาก เขาขอบคุณและเล่าปัญหาสารพัดให้เราฟัง เล่าไปก็ร้องไห้ไปก็มี” ครูโรงเรียนเด็กข้ามชาติ


54 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นให้ครูได้พบเห็น แม้ ก ่ อ นการส� ำ รวจก็ คื อ เมื่ อ สถาน ประกอบการต่ า ง ๆ ถู ก สั่ ง ปิ ด และ แรงงานเกื อ บทั้ ง แม่ ส อดอยู ่ ใ นสภาพ “ตกงาน” ครอบครัวจ�ำนวนมากก็ออก ไปหาอาหารตามทุ่งหญ้าและริมทาง เด็ดผักหญ้า หานกหาปลาเท่าที่จะหา ได้มาเป็นอาหาร จ�ำนวนไม่น้อยหันไป เก็บขยะขายทดแทนรายได้เดิม มี รายงานถึงการให้ความช่วยเหลือทาง มนุษยธรรมทั้งจากบุคคล เอกชน และ องค์กรเอกชนต่าง ๆ เป็นระยะ หาก ประชากรข้ามชาติในแม่สอดก็มจี ำ� นวน ประเมิ น นั บ แสน ระยะเวลาภายใต้ มาตรการล็อคดาวน์อย่างเข้มงวดที่สุด ก็ยาวนานถึง 3 เดือน จึงยากทีก่ ลุม่ ช่วย เหลือบรรเทาทุกข์จะเข้าถึงได้ทั้งหมด อย่างไรก็ดี เมื่อตกอยู่ในสภาวะยากล�ำบาก แรงงานข้ามชาติและครอบครัวก็ไม่ได้หวังจะ พึ่งพาความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอกเป็นหลัก เมื่อครูและนักเรียนซึ่งไปเยี่ยมชุมชนสอบถาม ว่า ครอบครัวแรงงานมีวิธีการดิ้นรนแก้ปัญหาปากท้องอย่างไรกันบ้าง56 ก็พบว่ามีผู้ที่พยายามขอ ความช่วยเหลือแบบ “ให้เปล่า” จากญาติพี่น้องหรือองค์กรหน่วยงานต่าง ๆ ไม่มากนัก ส่วนใหญ่ เกินครึ่งจะกล่าวถึงการพยายามหาอาหารโดยที่ไม่ต้องซื้อ และรองลงมาก็คือกู้ยืมจากผู้ปล่อยกู้ทั้ง ชาวไทยและพม่า ผัดผ่อนค่าเช่าบ้านหรือหนี้สินออกไปก่อน และยืมเงินหรืออาหารจากญาติพี่น้อง และเพื่อนฝูง ซึ่งในกรณีนี้จะต้องคืนภายหลังแต่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย นอกจากนั้นยังมีผู้พยายาม ขายทรัพย์สินมีค่าหรือพยายามหางานอื่นท�ำ ซึ่งก็มักจะได้แก่การเก็บขยะไปขายเพราะยังอยู่ใน ขอบเขตจะท�ำได้ ส่วนกรณีการขอความช่วยเหลือในกรณีนายจ้างค้างค่าแรง หรือสอบถามเกี่ยว กับการเยียวยาภายใต้ระบบประกันสังคมนั้นมีอยู่น้อย เพราะส่วนใหญ่ของผู้ให้ข้อมูลเป็นแรงงาน นอกระบบ ไม่มีเอกสารแสดงตน จึงและไม่กล้าหรือไม่ต้องการแม้แต่จะเรียกร้องค่าแรงที่นายจ้าง ค้างจ่าย

56. มีผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการดิ้นรน เอาตัวรอดของตนและครอบครัว รวมทั้งหมด 204 คน


55 ทีน่ า่ สังเกตก็คอื การแก้ปญ ั หาด้วยการกูย้ มื จากผูป้ ล่อยกู้ การยืมเงินเพือ่ นหรือ ญาติ และการผัดผ่อนค่าเช่าบ้านกับหนี้สินล้วนหมายความว่า เมื่อรัฐคลายมาตรการ เข้มงวดให้ผคู้ นสามารถไปท�ำงานเลีย้ งชีพได้ รายได้ทหี่ ามาก็จะต้องจัดแบ่งไปใช้หนีเ้ หล่า นี้ และครอบครัวแรงงานก็จะยังอยู่ในสภาวะยากล�ำบากไปอีกระยะหนึ่งจนกว่าจะ สามารถหารายได้ได้เท่าเดิมและใช้จ่ายหนี้จนหมด

ภาพที่ 20 แรงงานข้ามชาติชูให้เห็นอาหารและเครื่องใช้ที่ได้รับ ภาพ : โรงเรียนแลเบง


56 ส�ำหรับการรับความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์นั้น ในการส�ำรวจเมื่อปลายเดือนพ.ค.ถึงต้นมิ.ย. 2563 ร้อยละ 26 กล่าวว่าตนเพิ่งเคยได้รับสิ่งของบรรเทาทุกข์จากครูครั้งนี้เป็นครั้งแรก แม้ จะได้ยนิ ข่าวว่ามีผมู้ าแจกของ ตนก็ไม่ได้มโี อกาสจะไปรับหรือไม่กล้าไปรับ ผูท้ เี่ คยได้รบั ส่วน ใหญ่บอกว่าสิ่งของบรรเทาทุกข์นั้นมาจากองค์กรเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่ม เอกชนหรือบุคคลจากจังหวัดอื่นที่เดินทางไปบริจาคข้าวสารอาหารแห้งด้วย มีผู้ให้ข้อมูล ร้อยละ 13 ระบุวา่ ได้รบั ความช่วยเหลือจากครู ซึง่ ก็หมายถึงครูผทู้ ำ� การส�ำรวจนีท้ เี่ คยน�ำความ ช่วยเหลือที่ระดมจากสังคมไทยไปแจกแล้วก่อนหน้า57 ผู้ให้ข้อมูลอีกจ�ำนวนหนึ่งบอกว่าได้ รับความช่วยเหลือจากผูน้ ำ� ชุมชน แต่กไ็ ม่ทราบว่าผูน้ ำ� ชุมชนซึง่ เป็นชาวกะเหรีย่ งสัญชาติไทย นั้นได้สิ่งของเหล่านี้มาจากแหล่งใด มีผู้ระบุว่าได้รับความช่วยเหลือจากนายจ้างน้อยมาก และไม่มีผู้ใดบอกว่าตนได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานรัฐบาลไทยเลย ข้อมูลดังกล่าวแสดงชัดเจนว่า แรงงานข้ามชาติที่ควรจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากรัฐ และนายจ้าง กลับต้องพึ่งพาตนเอง เป็นหนี้สิน หรือพึ่งพาความช่วยเหลือจากสังคมไทยเป็น หลัก ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ท�ำงานตามกฎหมายหรือไม่ได้รับอนุญาต ก็ตาม

57. จากเหตุการณ์เดียวกัน บางคนจะ ตอบว่าได้รับจากครู และบาง คนจะ ตอบว่าได้รับจากองค์กรเอกชน (NGO) คือเพื่อนไร้พรมแดน


57

ภาพที่ 21

ครูโรงเรียนซ่าทูเหล่แวะเยี่ยมเยียนแรงงาน ภาพ : โรงเรียนซ่าทูเหล่


อีก (แผนภูมิกลม) ร้อยละ 1 43 26 30 100

58

แผนภูมิที่ 19 การตัดสินใจในกรณีวิกฤตยืดเยื้อหรือเกิดซํ้า (ร้อยละของผู้ให้ข้อมูล) กลับประเทศพม่า 1 ไม่รู้เหมือนกันจะทํายังไง 30

หาทางทํางานที่นี่ต่อให้ได้ 43

จะย้ายไปหางานทําที่อื่น 26

ในการประชุมทีมหลังเก็บข้อมูลเมื่อต้นเดือนมิ.ย. 2563 รัฐไทยเริ่ม ผ่อนปรนมาตรการล็อคดาวน์แล้ว แม้ทั้งทีมส�ำรวจและผู้ให้ข้อมูลจะหวังว่า สถานการณ์จะดีขึ้นเรื่อย ๆ จนกลับคืนสู่สภาพปกติได้ในเร็ววัน แต่ละคนก็ได้ ข้อมูลหรือรับทราบว่ามีการกล่าวถึงการ “ระบาดระลอก 2” หรือยังมีความ ไม่มั่นใจอยู่ว่า สถานการณ์จะคลี่คลายลงแล้วจริง ๆ หรือยัง ซึ่งเมื่อมีการ สอบถามถึงการตัดสินใจหากวิกฤตยังคงยืดเยื้อ หรือเกิดการระบาดระลอก สอง หรือเกิดวิกฤตโรคระบาดที่ใกล้เคียงกันอีกรอบ ผู้ให้ข้อมูลถึงร้อยละ 30 ตอบว่าไม่ทราบ ไม่สามารถตัดสินใจได้ จึงมีแนวโน้มว่าคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่น่า จะยังอยู่ในแม่สอดเพื่อรอดูสถานการณ์ต่อไป เช่นเดียวกับคนอีกร้อยละ 42 ที่คิดว่า ไม่ว่าอย่างไรก็ตามก็จะต้องพยายามดิ้นรนหางานท�ำในแม่สอดหรือ ประเทศไทยต่อไปให้ได้ สัดส่วนของผูท้ คี่ ดิ ว่าอาจย้ายไปหางานท�ำทีอ่ นื่ หรือประเทศอืน่ มีนอ้ ย กว่ากันมาก และมีผู้คิดจะหันกลับประเทศพม่าเพียงร้อยละ 1 ที่คิดจะกลับ ประเทศพม่าเท่านั้น ซึ่งเมื่อสอบถามถึงความช่วยเหลือที่เป็นที่ต้องการหาก เกิดวิกฤตต่อเนื่องดังกล่าว ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือในการเดินทางกลับ ประเทศพม่าก็มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 4 และทั้งหมดของคนกลุ่มนี้ระบุถึงความ ต้องการอื่น ๆ โดยจัดล�ำดับให้การเดินทางกลับประเทศพม่าไม่ใช่ทางเลือก ล�ำดับแรก58

1

58. แบบสอบถามออกแบบให้มีการ จัดล�ำดับความส�ำคัญว่าตน ต้องการความช่วยเหลือใดมาก ที่สุด หากมีแบบสอบถามไม่ สมบูรณ์ที่ไม่ได้ระบุการล�ำดับ ความส�ำคัญไว้จ�ำนวนหนึ่ง ใน รายงานนี้ จึงสรุปมาเพียงสัดส่วน ของผู้ให้ข้อมูลที่ให้ความส�ำคัญกับ ความช่วยเหลือแต่ละประเภท


59 ภาพที่ 22

ครอบครัวแรงงานข้ามชาติในแม่สอด

ภาพ โรงเรียนซ่าทูเหล่


60

เตรียมความพร้อม สำ�หรับวิกฤตหน้า การส�ำรวจของครูและนักเรียนกับประชากรหรือครอบครัวเพียง 246 ครอบครัวครั้งนี้ เป็นการ ฝึกฝนเพือ่ ท�ำความเข้าใจกับสถานการณ์คร่าว ๆ และคิดหาวิธกี ารลดความเสีย่ งหรือรับมือกับวิกฤต ครั้งต่อไป มากกว่าจะต้องการน�ำเสนอข้อมูลเชิงสถิติและภาพของผลกระทบโดยละเอียด ข้ อ สรุ ป ส� ำ คั ญ ประการหนึ่ ง จากการประชุ ม ที ม หลั ง ลงพื้ น ที่ เ ยี่ ย มเยี ย นชุ ม ชนก็ คื อ สถานการณ์ฉกุ เฉินไม่คาดคิดอาจเกิดขึน้ อีกเมือ่ ไรก็ได้ และอาจเป็นสถานการณ์ทที่ ำ� ให้ทกุ คนต้อง ตกงาน อดอยาก ถูกจ�ำกัดเสรีภาพ โดยหวังพึ่งคนอื่นได้ยากเพราะต่างล�ำบากกันหมดอีก ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพือ่ ลดความเสีย่ ง หรือเพือ่ ให้รบั มือกับวิกฤตได้ดขี นึ้ ทันต่อเวลามากขึน้ จึง มีความส�ำคัญมาก ข้อคิดเห็นต่อไปนี้ เป็นบทสรุปโดยวิเคราะห์จากการส�ำรวจที่ผ่านมา ทั้งโดยผู้ส�ำรวจเอง และเพื่อนไร้พรมแดน 1. ความมั่นคงทางอาหาร อาหารที่ได้มาโดยไม่ต้องซื้อเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดในภาวะวิกฤต แม้แรงงานข้ามชาติคงไม่สามารถปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารส�ำคัญที่สุดได้ การสนับสนุนสวนครัวหรือ เลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ หรือแพะ ในบางชุมชนก็มีความเป็นไปได้ เพราะพอจะมีพื้นที่ส่วนกลางหรือ พื้นที่เล็ก ๆ รอบบ้านอยู่บ้าง โครงการลักษณะนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ในยามวิกฤต แต่ยัง เป็นประโยชน์ในภาวะปกติดว้ ย ข้อท้าทายส�ำคัญก็คอื การหาวิธกี ารจัดการลดความเสีย่ งไม่ให้พชื ผักหรือสัตว์ที่เป็นสมบัติส่วนตัวหรือของชุมชนถูกลักขโมย หรือก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทะเลาะ เบาะแว้งแย่งกรรมสิทธิ์กัน 2. ความมั่นคงทางการเงิน ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ต�่ำกว่าอัตราค่าแรงขั้นต�่ำใน พื้นที่ แต่ละคนไม่มีเงินออมหรือเก็บเงินไว้กับตัวไม่มากนัก เมื่อเกิดวิกฤตขึ้นจึงตกอยู่ในภาวะยาก ล�ำบาก แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ท�ำงานยังไม่มีวิธีการออมเงินอย่างปลอดภัย เมื่อไม่ สามารถเปิดบัญชีธนาคารหรือซื้อทรัพย์สินเช่นมอเตอร์ไซค์เป็นชื่อตนเองได้ ก็อาจใช้จ่าย หรือส่ง ให้ครอบครัวในพม่าได้ใช้หรือเก็บไว้ การซ่อนของมีค่าอย่างทองค�ำไว้ที่บ้านในเมืองแม่สอดนั้นไม่ ปลอดภัย การออมเงินในรูปกลุม่ แชร์หรือออมทรัพย์กไ็ ม่เป็นทีน่ ยิ มเพราะเสีย่ งต่อการถูกโกง โดย เฉพาะอย่างยิง่ เมือ่ ผูอ้ อมอยูใ่ นสถานะทางกฎหมายทีเ่ ปราะบาง งานพัฒนาคุณภาพชีวติ ทีส่ ง่ เสริม การถกหาทางออกในการออมเงินส�ำหรับแรงงานที่ไม่ได้รับอนุญาตฯ หรือให้ข้อมูลและส่งเสริมให้ ผูม้ สี ถานะฯทีเ่ คยรูส้ กึ ว่าการเปิดบัญชีธนาคารเป็นเรือ่ งยุง่ ยากให้เปลีย่ นใจก็มคี วามส�ำคัญมาก หลัง จากวิกฤตที่ผ่านมา เป็นไปได้ว่าแรงงานข้ามชาติจะหันมาสนใจหาวิธีการออมเงินที่ดีขึ้น


61 3. สถานะทางกฎหมาย เมื่อปรากฎชัดเจนว่า แรงงานที่มีสถานะทางกฎหมายมั่นคง นอกจากจะมีความปลอดภัยจากการถูกจับกุมคุมขังแล้ว ยังมีโอกาสที่จะมีความมั่นคงทางการเงิน และอาหารได้มากกว่า อีกทั้งสามารถเข้าถึงสวัสดิการการเยียวยาจากรัฐ และกล้าไปรับความช่วย เหลือบรรเทาทุกข์ได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้ การสนับสนุนและให้ข้อมูลแก่แรงงานข้ามชาติเพื่อให้ พยายามเข้าถึงการมีสถานะทางกฎหมาย รักษาสถานะของตน รู้สิทธิและใช้สิทธิของตน รวมถึง การผลักดันทางนโยบาย กฎหมาย และการปฏิบัติเพื่อสิทธิแรงงานและสวัสดิการของแรงงานข้าม ชาติจึงเป็นงานส�ำคัญที่จะต้องเดินหน้าต่อไป วิกฤตที่ผ่านมาอาจส่งผลให้แรงงานที่ได้รับอนุญาต ท�ำงานแล้วให้ความสนใจกับการใช้สิทธิของตนมากขึ้นด้วย 4. ความช่วยเหลือ ในภาวะวิกฤต แม้แรงงานจะพยายามดิ้นรนแก้ปัญหาด้วยตนเอง มากกว่าจะรอพึ่งพา การให้ความช่วยเหลือก็ช่วยบรรเทาสถานการณ์ความยากล�ำบากได้มาก ข้าวสารอาหารแห้งยังถือเป็นความช่วยเหลือที่มีผู้ต้องการมากที่สุด รองลงมาคือเครื่องใช้ในการ ป้องกันโรค และความช่วยเหลือในการหางานท�ำ ในที่นี้ มีผู้ที่ต้องการให้รัฐบาลไทยพิจารณาลดค่า ธรรมเนียมในการต่ออายุเอกสารต่าง ๆ เพือ่ ลดค่าใช้จา่ ยไม่มากนัก และแทบไม่มผี ทู้ ตี่ อ้ งการความ ช่วยเหลือทางกฎหมายเลย เนื่องจากผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ไม่ใช่แรงงานในระบบ และไม่คิดจะใช้ช่อง ทางทางกฎหมายใดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ฉุกเฉิน

“ความช่วยเหลือหรือ ฉันอยากทำ�งาน หาเลี้ยงตัวเอง ก็อยากขอให้ช่วยหางาน ให้ อยากให้ช่วยส่งเสริมอาชีพ พัฒนา อาชีพ จริง ๆ แล้ว ความกังวลก็คือ การที่พวกเราหลายคนไม่มีบัตรไม่มีใบ เสียมากกว่า อันนั้นเราอยากจะมีโอกาส อยากมีสิทธิมากกว่านี้” แรงงานข้ามชาติ


62 89

68

90

แผนภูมิที่ 20 ความช่วยเหลือที่ต้องการหากเกิดวิกฤตระลอกสอง (ร้อยละ)

54 45

39

4

ความช่วยเหลือในการกลับพม่า

9

ไม่ต้องการ

ช่วยประสานและพาไปรพ.

ช่วยจัดหางานให้ทำ

เครื่องใช้เพื่อป้องกันโรค

ข้าวสารอาหารแห้ง

0

5

ยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

23

22

ส�ำหรับเพื่อนไร้พรมแดนและกลุ่มครู - นักเรียนผู้ร่วมงานนั้น วิธีการส่ง มอบความช่ ว ยเหลื อ ผ่ า นสถาบั น ท้ อ งถิ่ น เช่ น โรงเรี ย นเด็ ก ข้ า มชาติ นอกจากจะเป็นการส่งมอบที่มีประสิทธิภาพ ถึงชุมชนอย่างแท้จริง ยัง ช่วยส่งเสริมบทบาทของโรงเรียน สร้างสัมพันธ์ให้โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่ง ของชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ระยะยาวต่อชุมชนแรงงานข้ามชาติต่อไป 5. การสื่อสารข้อมูล แม้ผลการส�ำรวจจะชี้ว่า แรงงานข้ามชาติ ทีใ่ ห้ขอ้ มูลมีความตระหนักรูแ้ ละตืน่ ตัวกับการระบาดของโควิด 19 อยูใ่ น ระดับดี ความเข้าใจทีค่ ลาดเคลือ่ นก็อาจท�ำให้ยงั อยูใ่ นความเสีย่ งต่อการ ติดเชือ้ และแพร่กระจายโรคได้ โดยเฉพาะเมือ่ การรับทราบวิธกี ารป้องกัน ตน ไม่ได้รับการยืนยันด้วยพื้นฐานความเข้าใจด้านลักษณะอาการและ วิธีการติดต่อโรคอย่างแท้จริง59 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพที่เน้นทั้ง “ความรู้” ในวิธีการป้องกัน “ความเข้าใจ” ในลักษณะอาการและวิธีการ ติดต่อจะท�ำให้ความรู้นั้นมั่นคงมีความหมาย และ “ความมุ่งมั่น” ที่จะ ถือว่าการดูแลตนเองและรับผิดชอบต่อคนรอบข้างเป็นหน้าที่ของตนนั้น มีความส�ำคัญยิ่ง โดยสื่อที่จะเข้าถึงชุมชนแรงงานข้ามชาติแม่สอดได้ดีก็ คือสื่อประเภทวิดีโอที่เผยแพร่ผ่านเฟสบุ๊กและยูทูป ทั้งนี้ ในกลุ่มผู้ให้ ข้อมูล มีผู้ที่สามารถอ่านภาษาพม่าได้เข้าใจดีอยู่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น อย่างไรก็ดี จากการส�ำรวจทักษะภาษายังพบว่า มีผู้ให้ข้อมูลที่จะไม่

59. อย่างไรก็ดี การส�ำรวจนี้ก็ท�ำกับ กลุ่มประชากรเล็ก ๆ และไม่ได้มี การเปรียบเทียบกับประชาชนไทย ในพื้นที่เดียวกัน


63

สามารถรับข้อมูลข่าวสารจากคลิปวิดโี อในภาษาพม่าได้ถงึ ราว ร้อยละ 10 และอาจมีสัดส่วนสูงขึ้นหากนับรวมผู้ที่เข้าใจภาษา พม่าอยู่บ้าง แต่ไม่ทั้งหมด ในขณะที่มีผู้ที่ฟังภาษาไทยได้ดีมากอยู่ เพียงร้อยละ 11 โดยผูท้ ไี่ ม่เข้าใจภาษาพม่าเกินครึง่ ก็ไม่ได้เข้าใจภาษา ไทยดีมากเช่นกัน การพิจารณาผลิตสื่อในภาษาชาติพันธุ์ต่าง ๆ จึงยังมี ความจ�ำเป็นมาก 6. การรณรงค์เพือ่ ส่งเสริมทัศนคติทดี่ ขี องสังคมไทยต่อแรงงานข้ามชาติ ในวิกฤต โควิด 19 แรงงานข้ามชาติตกเป็นเป้าเพ่งเล็งว่าจะเป็นผู้แพร่กระจายเชื้อไวรัสอยู่ หลายครัง้ น�ำไปสูก่ ารเลือกปฏิบตั ทิ งั้ ในระดับท้องถิน่ และนโยบาย เช่น นโยบายต่อการ เปิดโรงเรียนเด็กข้ามชาติ เป็นต้น ในขณะทีอ่ กี ด้านหนึง่ สังคมไทยท้องถิน่ บางส่วนก็กลับ มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจแรงงานต่างชาติต่างภาษาที่ต้องมาเผชิญความยากล�ำบากร่วมกัน การสือ่ สารเพือ่ สร้างทัศนคติทดี่ ตี อ่ สังคมไทยและแรงงานข้ามชาติเป็นงานส�ำคัญทีจ่ ะต้องด�ำเนิน อยู่ตลอดเวลา โดยเน้นที่การท�ำความเข้าใจในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คุณค่าของการเป็นแรงงาน และการสร้างประโยชน์ทางการพัฒนาเศรษฐกิจ จากประสบการณ์การเผชิญกับวิกฤตโควิด 19 ทีผ่ า่ นมาชีว้ า่ การระดมความช่วยเหลือจากสังคมไทยให้แก่ครอบครัวแรงงานข้ามชาติ และการฉาย ภาพให้สงั คมไทยได้เห็นครอบครัวแรงงานในฐานะทีเ่ ป็นมนุษย์ทตี่ อ้ งเผชิญกับความยากล�ำบากร่วม กัน เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ การสื่อสารสองทางระหว่างผู้ที่ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นคนสัญชาติไทย หรือต่างสัญชาติเชื้อชาติในยามวิกฤต อาจส่งผลดีต่อการร่วมแรงร่วมใจ และความสัมพันธ์ต่อไป ในอนาคต


64

“ฉันอยากรู้ว่า ช่วงโควิดนี้ คนไทยเขาอยู่กันยังไง เขากินกันยังไง เขาคิดยังไง เขามีแผนการยังไง แล้วถ้าสถานการณ์แย่ไปกว่านี้ รัฐบาลไทยจะช่วยพวกเราบ้างไหม เราจะมีสิทธิมีโอกาสอะไรบ้างไหม” แรงงานข้ามชาติ


65

ภาคผนวก


66 ศูนย์การเรียนผู้ย้ายถิ่นข้ามชาติ ที่มีส่วนร่วมในการสำ�รวจ 1. ศูนย์การเรียนช่าทูเหล่ ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2542 โดยครู พอเรซึ่งเริ่มสอนนักเรียน 25 คนในบ้านและค่อย ๆ ขยายขึ้นจนปัจจุบันเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่สอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล จนถึงมัธยมปลาย ช่าทูเหล่เป็นสมาชิกของเครือข่าย Burmese Migrant Workers’ Education Committee (BMWEC) ซึ่งเป็นเครือข่ายโรงเรียนเด็กข้ามชาติกว่า 10 โรงเรียนซึ่งบริหารจัดการ ตนเอง ในปีการศึกษา 2562 มีจ�ำนวนนักเรียน 714 คนและครู 52 คน หอพักซึ่งรับนักเรียนที่ ไม่มีครอบครัวในแม่สอดตั้งอยู่ติดกับโรงเรียน มีนักเรียนและครูรวมราว 90 คน 2. ศูนย์การเรียนช่าทูก้อ เป็นศูนย์การเรียนรุ่นแรกเช่นเดียวกับช่าทูเหล่ ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2542 โดยครูโซมินและครูเฮทูในชือ่ ศูนย์การเรียนเอลพิส แต่ได้เปลีย่ นเป็นช่าทูกอ้ ในปีพ.ศ. 2562 ปัจจุบัน ช่าทูก้อจัดการเรียนการสอนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นปีที่ 7 ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน รวมทั้งหมด 284 คนและครู 17 คน หอพักของโรงเรียนตั้งห่างออกไปในชุมชน มีครูและนักเรียน รวมกัน 63 คน โรงเรียนเป็นสมาชิกของเครือเครือข่าย BMWEC เช่นเดียวกัน 3. ศูนย์การเรียนแลเบง (แหล่เบ) ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 เช่นกัน โดยครูธาซิน เท นาย ซึ่ง สอนนักเรียน 40 คนในบ้าน ปัจจุบันโรงเรียนได้ขยายใหญ่ขึ้นมาก เปิดสอนระดับเตรียมอนุบาล ถึงชั้นปีที่ 7 ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียนทั้งหมด 177 คนและครู 12 คน โรงเรียนเป็นสมาชิก ในเครือข่าย BMWEC 4. ศูนย์การเรียนเลิฟ ก่อตั้งขึ้นในปี 2549 ในชื่อ Good Morning Learning Center ใน เครือข่าย BMWEC และต่อมาได้แยกตัวออกมาและเปลี่ยนชื่อเป็น Love Learning Center ภาย ใต้การบริหารจัดการทุนสนับสนุนของ All You Need Is Love Foundation ในปีการศึกษา 2562 ในปีการศึกษา 2562 มีนักเรียน 114 คนและครู 6 คน สอนในระดับอนุบาลถึงชั้นปีที่ 7 และมี หอพักเล็ก ๆ ซึ่งมีนักเรียนไม่ถึง 10 คน 5. ศูนย์การเรียนพโยคิน (เพียว ขิ่น) เป็นโรงเรียนประถมตั้งอยู่ติดกับชุมชนอิสลาม ก่อ ตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2542 โดยครูเตง ทุน เพื่อสอนเด็ก ๆ มุสลิมในชุมชนที่ไม่มีโอกาสเข้าเรียนใน โรงเรียนไทย ในปีพ.ศ. 2562 มีนักเรียน 70 คนและครู 7 คน จัดการเรียนการสอนทั้งในหลักสูตร พม่าและกศน.ไทย


67 ทีมสำ�รวจ

1. ครู เลอ เปื่อย เชอ 2. ครู มึ จี อวาร์ 3. น.ส. เชอ ฆี หล่า พอ 4. น.ส. เซว ยาดานา ทุน ลิน 5. ครู นิต ธิต ผิ่ว 6. ครูวัชรินทร์ ประเสริฐสิทธิ์ 7. ครู ยียี มยินท์ 8. ครู มิ มามาร์ จี 9. ครู มิน เท็ต 10. ครู เฮ ทู 11. ครู ยานโซ 12. ครู ทุน หน่าย อู 13. ครู เท็ต ซู เหว่ย 14. ครู แอ้ มือ พอ 15. ครู สะซอ

โรงเรียนช่าทูเหล่ (หัวหน้าทีม) โรงเรียนช่าทูเหล่ โรงเรียนช่าทูเหล่ (นักเรียน) โรงเรียนช่าทูเหล่ (นักเรียน) โรงเรียนเลิฟ โรงเรียนพโยคิน (หัวหน้าทีม) โรงเรียนพโยคิน โรงเรียนพโยคิน โรงเรียนซ่าทูก้อ (หัวหน้าทีม) โรงเรียนซ่าทูก้อ (ครูใหญ่) โรงเรียนซ่าทูก้อ โรงเรียนซ่าทูก้อ โรงเรียนแลเบง (หัวหน้าทีม) โรงเรียนแลเบง โรงเรียนช่าทูเหล่ (ผู้ประสานงานทีมส�ำรวจ)


68

แบบประเมินตนเองของสถานศึกษา ในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน


69

แบบประเมินตนเองของสถานศึกษาในการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โรงเรียน......................................................................................................................................................................................... องคกรปกครองสวนทองถิ่นตนสังกัด............................................................................................................................................. จังหวัด ......................................................................................โทรศัพท์ .................................................................................... เกณฑ์การประเมิน ข้อ ประเด็น มิติที่ 1 ความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค 1 มีมาตรการคัดกรองวัดไข้ ให้กับ นักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่ 2 มีมาตรการสังเกตอาการเสี่ยงโควิด -19 เช่น ไอ มีน้ามูก เจ็บคอ เหนื่อยหอบ หายใจลาบาก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส พร้อมบันทึกผล สาหรับนักเรียน ครู และผู้เข้ามาติดต่อ ทุกคน ก่อนเข้าสถานศึกษา หรือไม่ 3 มีนโยบายกาหนดให้นักเรียน ครู และผู้เข้ามาในสถานศึกษาทุกคน ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย 4 มีการจัดเตรียมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย สารองไว้ให้กับนักเรียน ร้องขอ หรือผู้ที่ไม่มีหน้ากากเข้ามาในสถานศึกษา หรือไม่ 5 มีจุดล้างมือด้วยสบู่ อย่างเพียงพอ หรือไม่ 6 มีการจัดวางเจลแอลกอฮอล์สาหรับใช้ทาความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าอาคาร เรียน หน้าประตูห้องเรียน ทางเข้าโรงอาหาร อย่างเพียงพอหรือไม่ 7 มีการจัดโต๊ะเรียน เก้าอี้นั่งเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ที่นั่งพัก โดยจัดเว้นระยะห่าง ระหว่างกัน อย่างน้อย 1-2 เมตร (ยึดหลัก Social distancing) หรือไม่ 8 มีการทาสัญลักษณ์แสดงจุดตาแหน่งชัดเจนในการจัดเว้นระยะห่างระหว่างกัน หรือไม่ 9 กรณีห้องเรียนไม่สามารถจัดเว้นระยะห่างตามที่กาหนดได้ มีการสลับวันเรียน แต่ละชั้นเรียน หรือมีการแบ่งจานวนนักเรียน หรือไม่ โรงเรียนมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอย่างไร 9.1 จัดการเรียนการสอนแบบปกติ (On-site) เนื่องจาก มีจานวนนักเรียน และระยะห่างเป็นไปตามที่หน่วยงานราชการกาหนด 9.2 จัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) (สามารถตอบได้มากกว่า 1 รูปแบบ) รูปแบบที่ 1 การสลับชั้นมาเรียนของนักเรียน แบบสลับวันเรียน รูปแบบที่ 2 การสลับชั้นมาเรียนของนักเรียน แบบสลับวันคู่ วันคี่ รูปแบบที่ 3 การสลับชั้นมาเรียนของนักเรียน แบบสลับวันมาเรียน 5 วัน หยุด 9 วัน รูปแบบที่ 4 การสลับช่วงเวลามาเรียนของนักเรียน แบบเรียนทุกวัน รูปแบบที่ 5 การสลับกลุ่มนักเรียนมาเรียน แบบแบ่งนักเรียนในห้องเรียนเป็น 2 กลุ่ม รูปแบบที่ 6 รูปแบบอื่น ๆ (โปรดระบุ) ............................................. ..........................................................................................................

มี

ไม่มี

หมายเหตุ


70 ข้อ ประเด็น 10 มีการทาความสะอาดห้องเรียน ห้องต่าง ๆ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการเรียนการสอน ก่อนและหลังใช้งานทุกครั้ง เช่น ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี อุปกรณ์กีฬา หรือไม่ 11 มีการทาความสะอาดบริเวณจุดสัมผัสเสี่ยงร่วม ทุกวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ราวบันได ลิฟต์ กลอนประตู มือจับประตู - หน้าต่าง หรือไม่ 12 มีถังขยะแบบมีฝาปิดในห้องเรียน หรือไม่ 13 มีการปรับปรุงซ่อมแซมประตู หน้าต่าง และพัดลมของห้องเรียน ให้มีสภาพการใช้งานได้ดี สาหรับใช้ปิด - เปิดให้อากาศถ่ายเทสะดวก หรือไม่ 14 มีการแบ่งกลุ่มย่อยนักเรียนในห้องเรียนในการทากิจกรรม หรือไม่ 15 มีการปรับลดเวลาในการทากิจกรรมประชาสัมพันธ์ ภายหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติหน้าเสาธง หรือไม่ 16 มีการจัดเหลื่อมเวลาทากิจกรรมนักเรียน เหลื่อมเวลารับประทานอาหารกลางวัน หรือไม่ 17 มีมาตรการให้เว้นระยะห่างการเข้าแถวทากิจกรรม หรือไม่ 18 มีการกาหนดให้ใช้ของใช้ส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้า ช้อน ส้อม แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า หรือไม่ 19 มีห้องพยาบาลหรือพื้นที่สาหรับแยกผู้มีอาการเสี่ยง ทางระบบทางเดินหายใจ หรือไม่ 20 มีนักเรียนแกนนาด้านสุขภาพ จิตอาสา เป็นอาสาสมัคร ในการช่วยดูแลสุขภาพเพื่อนนักเรียนด้วยกันหรือดูแลรุ่นน้อง หรือไม่ มิติที่ 2 การเรียนรู้ 21 มีการติดป้ายประชาสัมพันธ์แนะนาการปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยที่ดี เช่น วิธีล้างมือ ที่ถูกต้อง การสวมหน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 หรือไม่ 22 มีการเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอน โดยคานึงถึงการเรียนรู้ตามวัยและสอดคล้องกับพัฒนาการด้านสังคม อารมณ์ และสติปัญญา หรือไม่ มีมาตรการกาหนดระยะเวลาในการใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษา ในเด็กเล็ก 23 (ประถม) ไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน และ ในเด็กโต (มัธยม) ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน หรือไม่ (กรณีที่สถานศึกษาไม่ได้ใช้สื่อออนไลน์ในสถานศึกษา เนื่องจากจัดการเรียนการสอน แบบ on-site 100% ให้ทาเครื่องหมายในช่อง “มี”)

24 มีการใช้สื่อรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านช่องทาง Social media เช่น Website , Facebook , Line , QR Code , E-mail หรือไม่ มิติที่ 3 การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส 25 มีการเตรียมหน้ากากผ้าสารอง หรือไม่ 26 มีการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 หรือไม่ 27 มีมาตรการส่งเสริมให้นักเรียนได้รับบริก ารสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง หรือไม่ 28 มีมาตรการการทาความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมของที่พักและเรือนนอน ให้ถูกสุขลักษณะ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีที่พักและเรือนนอน) (กรณีที่สถานศึกษาไม่มีท่ีพักและเรือนนอน ให้ทาเครื่องหมายในช่อง “มี”)

มี

ไม่มี

หมายเหตุ


71 ข้อ ประเด็น 29 มีมาตรการการทาความสะอาดและจัดสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับข้อบัญญัติการ

ปฏิบัติด้านศาสนกิจ พร้อมมีตารางเวรทุกวัน หรือไม่ (กรณีมีสถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ) (กรณีที่สถานศึกษาไม่มีสถานที่ปฏิบัติศาสนากิจ ให้ทาเครื่องหมายในช่อง “มี”)

30 มีมาตรการดูแลนักเรียนที่มีความบกพร่องด้านพัฒนาการ การเรียนรู้ หรือด้าน

พฤติกรรมอารมณ์ รวมถึงภาวะสมาธิสั้น และเด็กออทิสติก ที่สามารถเรียนร่วมกับ เด็กปกติ หรือไม่ (กรณีที่สถานศึกษาไม่มีนักเรียนที่มีความบกพร่อง ให้ทาเครื่องหมายในช่อง “มี”)

มิติที่ 4 สวัสดิภาพและการคุ้มครอง 31 มีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนสาหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน หรือไม่ 32 มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติการสื่อสารเพื่อลดการรังเกียจและการตีตราทางสังคม (Social stigma) หรือไม่ 33 มีการจัดเตรียมแนวปฏิบัติด้านการจัดการความเครียดของครูและบุคลากร ของสถานศึกษา หรือไม่ 34 มีการตรวจสอบประวัติเสี่ยงของนักเรียนและบุคลากร รวมทั้งตรวจสอบ เรื่องการกักตัวให้ครบ 14 วัน ก่อนมาทาการเรียนการสอนตามปกติ และทุกวัน เปิดเรียน หรือไม่ 35 มีการกาหนดแนวทางปฏิบัติตามระเบียบสาหรับนักเรียน ครู และบุคลากร ที่สงสัยติดเชื้อหรือป่วยด้วยโรคโควิด -19 โดยไม่ถือเป็นวันลาหรือวันหยุดเรียน หรือไม่ มิติที่ 5 นโยบาย 36 มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ความรู้การป้องกันโรคโควิด -19 แก่นักเรียน ครู บุคลากร และผู้ปครอง โดยการประชุมชี้แจงหรือผ่านช่องทางต่าง ๆ อย่างน้อย 1 ครั้ง ก่อนหรือวันแรกของการเปิดเรียน หรือไม่ 37 มีนโยบายและแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 ของสถานศึกษา อย่างเป็นลายลักษณ์หรือมีหลักฐานชัดเจน หรือไม่ 38 มีการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา หรือไม่ 39 มีการแต่งตั้งคณะทางานป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด -19 และกาหนดบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน หรือไม่ 40 มีมาตรการจัดการความสะอาดบนรถรับ -ส่งนักเรียน เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล จัดที่นั่งบนรถหรือมีสัญลักษณ์จุดตาแหน่งชัดเจน หรือไม่ (กรณีมีรถรับส่งนักเรียน) มิติที่ 6 การบริหารการเงิน 41 มีแผนการใช้งบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ตามความจาเป็นและเหมาะสม หรือไม่ 42 มีการจัดหาซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคโควิด -19 สาหรับนักเรียนและบุคลากร ในสถานศึกษา เช่น หน้ากากผ้าหรือ หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์ สบู่ หรือไม่ 43 มีการประสานแสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กร หรือเอกชน เช่น ท้องถิ่น บริษัทห้างร้าน NGO เป็นต้น เพื่อดาเนินกิจกรรมการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 หรือไม่ 44 มีการจัดหาบุคลากรเพิ่มเติมในการดูแลนักเรียนและการจัดการสิ่งแวดล้อม ในสถานศึกษา หรือไม่

มี

ไม่มี

หมายเหตุ


72 เกณฑ์การประเมิน

Ranking

เกณฑ์ประเมิน

สีเขียว

ผ่านทั้งหมด 44 ข้อ ผ่านข้อ 1-20 ทุกข้อ แต่ไม่ผ่าน ข้อ 21-44 ข้อใดข้อหนึ่ง ไม่ผ่านข้อ 1-20 ข้อใดข้อหนึ่ง

สีเหลือง สีแดง

สีเขียว สีเหลือง

หมายถึง

โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้

หมายถึง

โรงเรียนสามารถเปิดเรียนได้ แต่ต้องดาเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนด

สีแดง

หมายถึง

โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนได้ ต้องดาเนินการปรับปรุงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กาหนด และ/หรือประเมินตนเองซ้า

ผลการประเมิน ระดับ

สีเขียว

ระดับ สีเหลือง ระดับ

สีแดง ลงชื่อ...................................................................ผู้ประเมิน (.................................................................) ผู้อานวยการสถานศึกษา....................................................................... วันที่ประเมิน.............................................


73

โครงการ PAC และมูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน เพื่อนไร้พรมแดนก่อตั้งขึ้นในปี 2542 โดยสมชาย หอมละออและพรสุข เกิดสว่าง โดยมีเป้าหมาย เพือ่ ท�ำงานส่งเสริมสังคมทีส่ นั ติดว้ ยการเคารพสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ทกุ คนทุกกลุม่ ทีห่ ลากหลาย โดยปราศจากพรมแดนทางเผ่าพันธุ์ สัญชาติ เพศสภาพ และความคิดเห็นทางการเมือง เพื่อนไร้ พรมแดนมีฝา่ ยงานด้านสือ่ ทางเลือก ซึง่ มุง่ ให้ขอ้ มูลและส่งเสริมรณรงค์ดา้ นสิทธิมนุษยชนผ่านงาน ศิลปะและกิจกรรมต่าง ๆ และงานเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการสื่อสาร ซึ่งเน้นการ ท�ำงานกับเยาวชนและผู้หญิงจากชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง ผู้ลี้ภัย และแรงงานข้ามชาติ นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 เพื่อนไร้พรมแดนเริ่มท�ำงานกับโรงเรียนเด็กข้ามชาติในอ.แม่สอด จ.ตากในหลากหลายโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นการท�ำงานกับนักเรียนเป็นหลัก ในปีพ.ศ. 2561 หลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกับครูและนักเรียนโรงเรียนข้ามชาติจ�ำนวนหนึ่ง จึงได้ริเริ่มโครงการเพื่อ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิแรงงานและความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในโรงเรียน (Labour Rights and Sexual and Gender-Based Violence Awareness in Migrant Schools) จากการ สนับสนุนของกองทุนสิทธิมนุษยชนนอร์เวย์ (Norwegian Human Rights Funds หรือ NHRF) ซึ่งมุ่งส่งเสริมให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการติดอาวุธทางความรู้และทักษะด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ เยาวชนข้ามชาติ เพือ่ ให้สามารถปกป้องดูแลตนเองและคนรอบข้างได้ทงั้ ในปัจจุบนั และอนาคตเมือ่ จบออกไปจากโรงเรียน

ติดต่อ มูลนิธิเพื่อนไร้พรมแดน

191/2 หมู่ 1 ต.หนองควาย อ.หางดง เชียงใหม่ 50230 bordervoices2010@gmail.com Facebook : fwbfoundation, holdinghands2, fffest


Againsts All Odds เราอยากจะกลับไปหาพ่อแม่ ก็กลับไม่ได้ เปนห่วงพ่อแม่ จะส่งเงินให้ก็ไม่ได้ ตอนนี้จะไปไหนก็ไม่ได้ท้ังน้ัน งานศพเพื อ ่ นก็ ย ง ั ไปไม่ ไ ด้ เ ลย เสียงสะท้อนจากแรงงานข้ามชาติ อ.แม่สอด จ.ตาก


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.