กฎหมายนำเข้าทับทิมและหยกจากพม่าไปยังสหรัฐอเมริกา (Jade Act 2008)

Page 1

GIT TRADE REVIEW

INFORMATION CENTER ISSUE 4 / 2008

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

กฎหมายห้ามนำเข้าทับทิมและหยกจากพม่าไปยังสหรัฐอเมริกา (JADE ACT 2008) การประกาศบังคับใช้กฎหมาย Tom Lantos Block Burmese JADE (Junta’s Anti-Democratic Efforts) Act of 2008 หรือที่เรียกอย่างย่อว่า JADE Act 2008

ซึ่ ง ลงนามโดยประธานาธิ บ ดี จ อร์ จ ดั บ เบิ ล ยู บุ ช เมื่ อ

ปลายเดือนกรกฎาคม 2551 เพื่อห้ามนำทับทิมและหยก จากพม่ารวมถึงเครื่องประดับที่มีทับทิมและหยกจากพม่า เป็นส่วนประกอบเข้ามายังสหรัฐอเมริกาทัง้ จากประเทศพม่า โดยตรงและผ่านประเทศทีส่ าม โดยเชือ่ ว่าเป็นมาตรการหนึง่ ที่สามารถตัดเส้นทางการไหลเข้าของเงินทุนที่สนับสนุน รัฐบาลเผด็จการพม่าได้นั้น ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครือ่ งประดับนานาชาติโดยเฉพาะ อย่างยิ่งกับประเทศผู้ผลิตและส่งออกทับทิมที่เจียระไนแล้ว และเครื่องประดับตกแต่งทับทิมเป็นสินค้าสำคัญอย่างเช่น ประเทศไทย อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลใหม่สหรัฐฯ ภายใต้ การนำของนายบารัก โอบามา ก็มีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นเรื่อง สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชนประชาธิ ป ไตยเป็ น สำคั ญ การแก้ ไขหรื อ ยกเลิกกฎหมายดังกล่าวนี้จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ ในอนาคต

อันใกล้ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ ไทยจึงควรตั้งรับด้วยการปฎิบัติตามข้อกำหนดแห่งกฎหมาย นี้ อ ย่ า งเคร่ ง ครั ด ขณะเดี ย วกั น ก็ จ ำเป็ น ต้ อ งปรั บ ตั ว ให้ สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าที่แปรเปลี่ยนไปควบคู่กัน ไปด้วย

1. ที่มาของ JADE Act 2008

พม่ า เป็ น แหล่ ง วั ต ถุ ดิ บ อั ญ มณี ที่ ส ำคั ญ อาทิ ทั บ ทิ ม หยก แซปไฟร์ สปิเนล และเพริดอท เป็นต้น ในบรรดา อัญมณีดังกล่าว ทับทิมและหยกถือเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียง และได้รับความนิยมจากนานาชาติมากที่สุด โดยเฉพาะ ทับทิมนั้น พม่าได้รับการกล่าวขานว่าเป็นแหล่งของทับทิม

คุณภาพดีที่สุด ด้วยสีสันที่สวยงามและมีผลผลิตมากที่สุด ในโลก อาจกล่าวได้ว่าทับทิมส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90 ที่ จำหน่ายในตลาดโลกล้วนมาจากพม่าทัง้ สิน้ ทัง้ นี้ จากข้อมูล ของสำนักงานสถิติ (Central Statistical Organization) กระทรวงการวางแผนและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติพม่า (Ministry of National Planning and Economic Development) ระบุ ว่ า ปั จ จุ บั น พม่ า ผลิ ต ทั บ ทิ ม ได้ ปี ล ะ

มากกว่ า 1 ล้ า นกะรั ต และเคยผลิ ต ทั บ ทิ ม ได้ สู ง สุ ด ราว 3.35 ล้านกะรัตในปีงบประมาณ1 2547-2548 ทับทิมพม่าที่ ได้รับความนิยมส่วนใหญ่มาจาก 2 แหล่ง ใหญ่ คือ จากเมืองโมกก (Mogok) ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ของมั ณ ฑเลย์ ได้ รั บ การกล่ า วขานว่ า เป็ น แหล่ ง ทั บ ทิ ม

สีเลือดนก (Pigeon Blood) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด และ

อีกแหล่งอยู่ที่เ มืองมองซู (Mong Hsu) ทางตอนใต้ของ

รัฐฉาน แต่ที่นี่พบทับทิมในปริมาณที่น้อยกว่าและมีคุณภาพ ด้อยกว่าทับทิมที่พบในเมืองโมกก ดังนั้น ทับทิมจากเมือง มองซูจึงต้องผ่านการปรับปรุงคุณภาพโดยการเผาเพื่อให้มี ความสวยงามมากขึ้น อย่างไรก็ดี ในราวปี 2543-2544 ได้ มีการทำเหมืองทับทิมเพิ่มเติมที่นาย่า (Namya หรือ Namyazeik) ทางตอนเหนือของรัฐคะฉิน่ แต่ทบั ทิมแหล่งนี้ ชื่อเสียงไม่แพร่หลายเหมือนทับทิมจาก 2 แหล่งข้างต้น ขณะที่ ห ยกพม่ า ส่ ว นใหญ่ ม าจาก Phakant (Hpakant)

รัฐคะฉิ่น เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง มีความสวยงาม จึงเป็น ทีต่ อ้ งการและได้รบั ความนิยมเป็นอย่างสูงในกลุม่ ผูบ้ ริโภค ซึง่ ในแต่ละปีพม่าสามารถผลิตหยกได้มากกว่า 10,000 ตัน โดย ในปีงบประมาณ 2550-2551 ผลิตได้ประมาณ 20,235 ตัน ทั้งนี้ แผนที่แสดงแหล่งทับทิมและหยกของพม่า รวมถึง เส้นทางการกระจายสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศปรากฏ

ดังรูปที่ 1

ปีงบประมาณของพม่าครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่เดือนเมษายน-มีนาคมของทุกปี

1

กฎหมายห้ามนำเข้าทับทิมและหยกจากพม่าไปยังสหรัฐอเมริกา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.