Art & Culture Management_Book_Jan, 2016

Page 1



การจัดการศิ ล ปะ และ

ว ัฒ น ธ ร ร ม Art & Culture Management

สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เป็นมุทิตาจิตเนื่องในโอกาสที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559


หนังสือ: จัดพิมพ์โดย: กองบรรณาธิการ: ออกแบบปก: ออกแบบรูปเล่ม: สำานักพิมพ์:

การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำาบลสุเทพ อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 053-944849 และ 053-942433 E-mail: artandculture2009@gmail.com Facebook: https://www.facebook.com/artandculturemanagement.cmu สถาพร เก่งพานิช, อรกัญญา อินทะวงค์, เมวิกา หาญกล้า, รัตนะ ภู่สวาสดิ์ ณัฐพงค์ สมยานะ วัชราภรณ์ ช่างเหล็ก มิสเตอร์เจมส์ 17/5 ถนนชลประทาน ตำาบลสุเทพ อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 053-400174 E-mail: mr_james2011@hotmail.com

ข้อมูลบรรณานุกรม © สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม พิมพ์ครั้งแรก. เชียงใหม่: มิสเตอร์เจมส์, 2559. 137 หน้า. ภาพประกอบ. 1. การจัดการ 2. ศิลปะและวัฒนธรรม 3. การอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรม ISBN: 978-616-398-049-6


คณะทำ�ง�น สถาพร เก่งพานิช รัตนะ ภู่สวาสดิ์ อรกัญญา อินทะวงค์ เมวิกา หาญกล้า ณัฐพงค์ สมยานะ วัชราภรณ์ ช่างเหล็ก

พนักงานปฏิบัติงาน ประจำาสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและ วัฒนธรรมและนักศึกษาปริญญาโท สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะ และวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์พิเศษคณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และนักวิจัย โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมืองวัฒนธรรม สร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO นักวิจัยโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมือง วัฒนธรรมสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ฝายวิเทศสัมพันธ์ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาปริญญาโท สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักศึกษาปริญญาโท สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


คณะที่ปรึกษ� ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำาริห์กุล รองศาสตราจารย์ ดร. เอกชัย แสงอินทร์ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ รองศาสตราจารย์ ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพงษ์ แสง-ชูโต รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี รองศาสตราจารย์ ดร. ฉลองเดช คูภานุมาต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนียา เจติยานุกรกุล อาจารย์ ดร. วรัท วินิจ อาจารย์ ดร. สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ


คำ�นำ� ในนามของ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล เนื่องในโอกาสที่ท่านได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญา ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ท่านมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ เป็นอย่างดียิ่ง นอกจากนั้น ท่านยังเป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วย คุณวุฒิ คุณธรรม และคุณสมบัติอื่นเพียบพร้อม สมควรแก่การยกย่องเชิดชูเป็นเกียรติประวัติแก่ท่านและบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สืบไป

รองศาสตราจารย์ ดร. เอกชัย แสงอินทร์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


คำ�นิยม เนื่องในโอกาสงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล อาจารย์ผู้ก่อตั้ง หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ได้ รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งอาจารย์เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ตลอดจนนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาศิลปะไทย ปริญญาโทสหสาขาวิชาการจัดการ ศิลปะและวัฒนธรรม และระดับปริญญาเอก สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ ทั้งในด้านการเรียนการสอน ด้านงานบริการวิชาการ และด้านงานทำ�นุบ�ำ รุงศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเป็นผู้ที่ริเริ่มในการบุกเบิกงานด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน เช่น เวียงกุมกาม เวียง ท่ากานและศาสนสถานที่สำ�คัญของจังหวัดเชียงใหม่ เช่น วัดต้นเกว๋น และอีกหลายแห่งในภาค เหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการอนุรักษ์และปรับปรุงภูมิทัศน์โบราณสถานร้าง ในนามของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในโอกาสร่วมเฉลิมฉลอง 700 ปีเมืองเชียงใหม่ ซึ่งถือเป็นการ สร้างชื่อเสียงในทางวิชาการให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอย่างมาก ในนามของประธานกรรมการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและ วัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ดิฉันขอแสดงความยินดี และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ที่ท่าน ได้สร้างสรรค์ผลงานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ วัฒนธรรม ต่อชุมชน สังคมเมืองเชียงใหม่ และประเทศชาติมาโดยตลอด เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานมรดกทาง วัฒนธรรมเหล่านี้ให้สามารถรักษาและสืบทอดต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน อีกทั้งยังเป็นผู้ที่มีคุณธรรม และจริยธรรมอันเป็นแบบอย่างที่ดีอันควรแก่การเคารพยกย่องของลูกศิษย์และบุคคลทั่วไปใน การที่คอยอบรมสั่งสอน และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนด้วยความเสียสละ มุมานะอดทน เสมอมา

รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์

คณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และประธานกรรมการหลักสูตรบัณฑิตศึกษาสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม


คำ�ประกาศเกียรติคุณ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล ในโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ในงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ครั้งที่ 50 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันจันทร์ที่ 25 มกราคม 2559 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล สำ �เร็ จ การศึ ก ษาศิ ล ปศาสตรบั ณ ฑิ ต (โบราณคดี) สาขามานุ ษ ยวิทยาวัฒนธรรม จากมหาวิทยาลั ย ศิ ล ปากร สังคมวิทยาและ มานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในอดีตเคยรับ ราชการในตำ�แหน่งอาจารย์ สังกัดภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำ�หน้าที่ต่าง ๆ อาทิ หัวหน้าภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ ที่ปรึกษาอาวุโสสำ�นักบริการ วิชาการ (UNISERV) และประธานกรรมการบัณฑิตศึกษา สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและ วัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย นอกจากนี้ยังทำ�หน้าที่เป็นบรรณาธิการวารสารวิจิตรศิลป์ จน เกษียณราชการ เมื่อ พ.ศ. 2553 ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล เป็นผู ้ ท ี ่ ม ี ค วามรู้ ความสามารถ และมี ความเชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดี มีผลงานวิจัย งานเรียบเรียงหนังสือ ตำ�รา และบทความวิชาการด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและโบราณคดีจำ�นวนมาก จนได้รับ รางวัลต่าง ๆ อาทิ รางวัลผลงานวิจัยประเภทชมเชย สาขาปรัชญา เรื่อง งานศิลปกรรมลาย คำ�ประดับอาคารทางศาสนาล้านนา ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20 – 24 จากสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2543 รางวัลผู้ประพันธ์หนังสือสารคดีประเภทดีเด่น เรื่อง ล้านนา : สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2543 รางวัลผู้ประพันธ์หนังสือ สารคดี ประเภทชมเชย เรื่อง ลายคำ�ล้านนา จากคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2544 รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนอัสสัมชัญลำ�ปาง พ.ศ. 2544 และรางวั ล ศิ ษ ย์ เ ก่ า ดี เ ด่ น มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2550


นอกจากนี้ยังเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีคุณธรรมเพียบพร้อมด้วยความรู้ทางวิชาการเป็นที่ ยอมรับนับถือ ทั ้ ง ในฐานะนัก วิช าการและผู้ม ีความรู้ความสามารถด้ า นการอนุ ร ั ก ษ์ มรดก วัฒนธรรม ดังปรากฏผลงานการวิจัย 31 เรื่อง หนังสือทางวิชาการ 17 เล่ม และบทความทาง วิชาการ 47 เรื่อง ตลอดจนการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์และนิตยสารทั่วไปอีกเป็นอัน มาก รวมทั้งผลงานด้านอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน โดยเฉพาะโบราณสถานสำ�คัญของเมือง เชียงใหม่ อาทิ เป็นผู้บุกเบิกขุดค้นและบูรณะเวียงกุมกาม เวียงท่ากาน และบูรณะป้อมกำ�แพง เมือง ตลอดจนโบราณสถานสำ�คัญของเชียงใหม่หลายแห่ง รวมทั้งโครงการอนุรักษ์โบราณสถาน ในนามมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในโอกาสร่วมเฉลิมฉลอง 700 ปี เมืองเชียงใหม่ ในระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2539 คือ การบูรณะพระธาตุเจดีย์วัดหัวข่วงแสนเมืองมาหลวง และการปรับปรุงสิ่ง แวดล้อมโบราณสถานร้างเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผลงานดังกล่าวนี้สร้างความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงใน ทางวิชาการให้กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันมาก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล ได้โอนมารับราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2536 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำ�รงตำ�แหน่งศาสตราจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ตำ�แหน่ง ศาสตราจารย์ สังกัดภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 และได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2553 ปัจจุบันยังคงเป็นอาจารย์พิเศษสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ในคณะวิจิตรศิลป์ ระดับ ปริญญาโท สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย และระดับปริญญาเอก สาขาศิลปะและการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเหตุที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวิชาการ และการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม เป็นผู้มีความมุ่งมั่นทุ่มเทให้กับการเรียนการสอนและถ่ายทอด ความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นนักวิชาการที่ทำ�งานบริการสังคมด้วยความเสียสละ และสนับสนุน กิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะเกษียณอายุราชการแล้วก็ยังคง ทำ�งานทางวิชาการและสอนถ่ายทอดความรู้ ร่วมกิจกรรมบริการสังคม เป็นที่รักเคารพของศิษย์ และเพื่อนร่วมงานเสมอมา มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และยอมรับ สภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงมี มติให้ได้รับพระราชทานปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและ วัฒนธรรม เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป


สารบัญ ค�ำน�ำ ค�ำนิยม ค�ำประกาศเกียรติคุณ สารบัญ

การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม การจัดการ (Management) คืออะไร ? ความเป็นมาของการจัดการทางวัฒนธรรม การจัดการทางวัฒนธรรม คืออะไร ? เป้าหมายของการจัดการทางวัฒนธรรม (Goal of Culture Management) เนื้อหาและวิธีการจัดการทางวัฒนธรรม (Culture Management) หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ งานทางวิชาการสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม (1) เนื้อหาด้าน “การจัดการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ” (2) เนื้อหาด้าน “การจัดการศิลปะการแสดงและดนตรี” (3) เนื้อหาด้าน “การจัดการแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” (4) เนื้อหาด้าน “การจัดการวัฒนธรรมและประเพณี” (5) เนื้อหาด้าน “การจัดการศิลปะร่วมสมัยและอาร์ตแกลลอลี่” (6) เนื้อหาด้าน “การจัดการพื้นที่ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรม” (7) เนื้อหาด้าน “การจัดการแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมด้วยสื่อเทคโนโลยี” (8) เนื้อหาด้าน “การจัดการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งประวัติศาสตร์และ โบราณคดี” (9) เนื้อหาด้าน “การจัดการงานศิลปหัตถกรรมและสร้างสรรค์ศิลปะ”

11 13 15 17 18 21 25 26 30 34 38 42 45 49 52 57


ประวัติและผลงาน ของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ด�ำริห์กุล ประวัติและผลงาน 62 บันทึกประสบการณ์งานอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรม 71 - ส�ำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีตามโครงการผามอง สร้างเขื่อนกั้นแม่น�้ำโขง 72 - ขุดค้นและเปิดกรุองค์พระธาตุพนม 73 - ส�ำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร 75 - สี่ปีในความรับผิดชอบงานด้านอนุรักษ์โบราณสถานในเขตวัฒนธรรมล้านนา 76 - บูรณะโบราณสถานครั้งแรกที่วัดสะดือเมืองหรืออินทขิล (ร้าง) 77 - ปัญหาของก�ำแพงดินและโบราณสถานร้างของเมืองเชียงใหม่ 79 - งานบุกเบิกอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานเวียงกุมกามและเวียงท่ากาน 82 - ประตูท่าแพและข่วงประตูท่าแพ เมืองเชียงใหม่ 88 - บูรณะและอนุรักษ์วัดต้นเกว๋นอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม 91 - จากเชียงใหม่ สู่พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ 96 - ห้าปีของการท�ำงานประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร 98 - วันอนุรักษ์มรดกไทย 99 - อ�ำลากรมศิลปากร กลับสู่ดินแดนล้านนา 100 - คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 101

ผลงานการศึกษาและบริการวิชาการของสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม รายชื่อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระ ของมหาบัณฑิตสหสาขาวิชา การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ที่ส�ำเร็จการศึกษา กิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม การศึกษาดูงาน - การศึกษาดูงานภายในประเทศ - การศึกษาดูงานในต่างประเทศ

103 112 124 130


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำ�ริห์กุล

ารจัดการ (Management) เป็นทั้งศาสตร์และศิลปะที่สำ�คัญในโลกปัจจุบัน เพราะการจัดการมีส่วนในความสำ�เร็จหรือล้มเหลวของงาน ยิ่งสังคมมีพัฒนาการและความซับ ซ้อนมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งต้องการการจัดการที่เป็นระบบ ตลอดจนผู้จัดการที่มีความสามารถและ คุณภาพมากขึ้น ทำ�ให้ต้องมีการศึกษาและพัฒนาแนวคิดด้านการจัดการในแต่ละสาขาต่าง ๆ ให้ ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น การจัดการ (Management) คืออะไร ? นิยามของคำ�ว่า “การจัดการ” โดยทั่วไปนั้น หมายถึง กระบวนการของการดำ�เนินงาน ร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้องค์กร หรือกิจกรรม บรรลุเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 1 อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปคำ�ว่า “ การจัดการ (Management) ” นั้น จะมีความหมาย คล้ายคลึงกับคำ�ว่า “การบริหาร (Administration) ” โดยข้อเท็จจริงแล้วไม่มีความแตกต่าง ระหว่างคำ�สองคำ�นี้มากนัก (There is no distinction between the terms management and administration) ทำ�ให้บางครั้งจะมีการเขียนหรือพูด และใช้คำ�สองคำ�นี้ไปพร้อม ๆ กัน เช่น การบริหารจัดการ หรือใช้ค�ำ ทั้งสองนี้แทนกัน แม้ว่าคำ�ว่า การจัดการและการบริหาร จะเป็นคำ�ที่มีความหมายทำ�นองเดียวกัน แต่จะ นิยมใช้แตกต่างกัน ซึ่งมักจะพบว่าการบริหาร (Administration) จะเป็นคำ�ที่มักนิยมใช้ในการ บริหารงานภาคราชการหรือรัฐกิจ ที่เป็นเรื่องของนโยบายในภาพกว้าง แต่ส�ำ หรับการจัดการ (Management) มักจะเกี่ยวกับการนำ�เอานโยบายไปปฏิบัติจัดทำ� หรือเป็นเรื่องของนโยบายใน เชิงปฏิบัติเป็นส่วนใหญ่ และนิยมใช้ในการบริหารงานของภาคเอกชนหรือธุรกิจ 1 Angleo Kinicki and Brain Williams, Management 3/e, The McGraw-Hill International Enterprises, Inc. 2009.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 12

ในอดีตที่ผ่านมาเรื่องของการจัดการ (Management) และการใช้คำาว่า การจัดการ ยัง คงเป็นศาสตร์ที่มีการเรียนการสอนอยู่ไม่มากสาขา ส่วนมากจะใช้คำาว่า การบริหาร (Administration) ซึ่งศาสตร์การเรียนการสอนจะเน้นหนักในทางด้านรัฐศาสตร์ (Political Science) และการ บริหารรัฐกิจ (Public Administration) การบริหารธุรกิจ (Business Administration) การ บริหารการศึกษา (Education Administration) ต่อมาเมื่อสังคมมีพัฒนาการและความซับซ้อน มากขึ้น การบริหารจัดการที่มีลักษณะเฉพาะเรื่องและผู้จัดการเฉพาะด้านที่มีความรู้ความสามารถ จึงเป็นความต้องการมากขึ้น ทำาให้ศาสตร์เฉพาะด้านที่มีชื่อเกี่ยวกับการจัดการ รวมทั้งคณะวิชา ที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับการจัดการ จึงเป็นสิ่งใหม่ที่ปรากฏขึ้น อาทิ วิทยาการจัดการ การจัดการการ ท่องเที่ยว การจัดการโรงแรม การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการโลจิสติกส์ การจัดการทรัพยากร มนุษย์ การจัดการงานก่อสร้าง การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการภาษาอังกฤษ ฯลฯ เป็นต้น ด้วย เหตุนี้ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเฉพาะด้าน จึงเป็นสาขาวิชาการใหม่ ๆ ที่เพิ่งปรากฏขึ้นใน แวดวงการศึกษาเมื่อราวสามสิบปที่ผ่านมานี้ และกำาลังได้ ร ั บความนิ ย มอยู ่ โ ดยทั ่ ว ไปทั ้ ง ใน ประเทศไทยและสากลทั่วโลก


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 13

ความเปนมาของการจัดการทางวัฒนธรรม เรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมของมนุษย์ เป็นองค์ความรู้ที่สำาคัญอย่างหนึ่ง ในอดีตที่ผ่าน มา มีศาสตร์ที่ทำาการศึกษาเรื่องราวของมนุษย์และวัฒนธรรมของมนุษย์ในหลาย ๆ สาขา อาทิ สังคมวิทยา (Sociology) มานุษยวิทยา (Anthropology) ชาติพันธุ์วิทยา (Ethnology) ชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) ประวัติศาสตร์ศิลปะ (Art History) โบราณคดี (Archaeology) ฯลฯ เนื่องจากความรู้ทางวัฒนธรรมและมรดกวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทั้งในทางความรู้ และจิตใจ ดังนั้นเนื้อหาของการศึกษาจึงเน้นที่การศึกษาคุณค่าและอนุรักษ์รักษาคุณค่าของ วัฒนธรรมเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาเรื่องราวทางศิลปะและวัฒนธรรมได้รับความสนใจมากขึ้น เพราะสามารถพัฒนา ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มพูนมูลค่าในทางเศรษฐกิจต่อสังคมมนุษย์ได้ การจัดการทางวัฒนธรรม จึงเป็นงานเฉพาะกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้น ดังปรากฏองค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องกับงานด้าน ศิลปะและวัฒนธรรมหลากหลายขึ้นในทุกวันนี้ เช่ น ศู น ย์ ว ั ฒ นธรรม (Cultural Center) พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ พิพิธภัณฑ์ศิลปะ (Museum of Art) พิพิธภัณฑ์ทางมานุษยวิทยาและ ชาติพันธุ์วิทยา (Museum of Anthropology and Ethnology) พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน (Folk Museum) พิพิธภัณฑ์ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี (Historical and Archaeological Museum) อุทยานประวัติศาสตร์ (Historical Park) ตลอดจนย่านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม (Cultural and Historical Site) ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งที่ได้รับการประกาศให้เป็นมรดก โลกทางวัฒนธรรม (Cultural World Heritage) เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมและส่ง เสริมการท่องเที่ยว สำาหรับประเทศไทยเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยมรดกทางศิลปวัฒนธรรม ในอดีต ที่ผ่านมามีสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมไม่มากนัก รวมทั้ง มีส่วนราชการหลักทำาหน้าที่ทำานุบำารุงมรดกวัฒนธรรมเพียงหน่วยงานเดียว คือ กรมศิลปากร ต่อ มาในราวสามสิบปที่ผ่านมา งานด้านวัฒนธรรมขยายตัวมากขึ้น ปรากฏมีกิจกรรมและธุรกิจด้าน ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนามรดกวัฒนธรรมและท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมาก ขึ้น ฯลฯ ทำาให้อุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม เช่น ศิลปวัตถุ หัตถกรรม สินค้า ที่ระลึก แหล่งบริการ ร้านค้า โรงแรม ตลอดจนอุตสาหกรรมและธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน วัฒนธรรมกลายเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชิดหน้าชูตาและสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 14

ประชาชนและประเทศชาติ จึงมีความต้องการความรู้ของการจัดการที่เป็นระบบและบุคลากรที่มี ความรู้ความสามารถด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมจำานวนมา ด้วยเหตุนี้จ ึง มีการเปด หลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งศาสตร์ที่เกี่ยวกับการจัดการทาง วัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษามากขึ้น รวมทั้งเกิดส่วนราชการระดับกระทรวงเพื่อรับผิดชอบ งานทางวัฒนธรรมของประเทศขึ้นด้วย ปัจจุบันมีสถาบันอุดมศึกษาในประเทศที่เปดการเรียนการสอนด้านการจัดการทาง วัฒนธรรมขึ้นหลายแห่ง อาจใช้ชื่อหลักสูตรที่แตกต่างกันไป อาทิ ในระดับปริญญาตรีปรากฏมี สาขาวิชาการจัดการทางวัฒนธรรม เปดการเรียนการสอนหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี และมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา เป็นต้น สำาหรับระดับบัณฑิตศึกษามีการเรียนการสอนในระดับปริญญาโท ใช้ชื่อหลักสูตรและเนื้อหาที่แตกต่างกันไป อาทิ การบริหารงานวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ การจัดการทางวัฒนธรรมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การจัดการทรัพยากร วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยศิลปากร การบริหารศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยบูรพา และการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 15

การจัดการทางวัฒนธรรมคืออะไร ? นิยามของคําวา “ การจัดการทางวัฒนธรรม ” หมายถึง กระบวนการของการดำาเนิน งานหรือปฏิบัติงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้กิจกรรมทางวัฒนธรรมหรือทรัพยากรทาง วัฒนธรรม บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การจัดการทางวัฒนธรรม ก็คงเหมือนกันกับศาสตร์อื่น ๆ ที ่ ง านทางวั ฒ นธรรมมี ลักษณะเป็นกิจกรรม หรือองค์กรเฉพาะด้านที่มีเนื้อหาพิเศษอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ เนื่องจากว่า “ วัฒนธรรม ” เป็นคำาที่มีความหมายกว้างขวางและหลากหลาย สรุปรวมความแล้ว หมายถึง วิถีชีวิตและการดำารงชีพของผู้คน ระบบความสัมพันธ์ของคนกับคน และคนกับธรรมชาติ ตลอด จนองค์รวมที่ซับซ้อนที่รวมถึง ความรู้ ความเชื่อ ศิลปะ กฎหมาย ประเพณี ความสามารถและ ลักษณะนิสัยอื่น ๆ ที่คนได้รับมาในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม ซึ่งวัฒนธรรมดังกล่าวเหล่านี้ อาจแบ่งประเภทให้ชัดเจนออกไปได้ 2 อย่าง คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ (Tangible หรือ Material Culture) เป็นวัฒนธรรมที่จับต้องสัมผัสได้ คือ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีรูปร่าง ลักษณะ ขนาด น้ำาหนักต่างกัน มนุษย์ไม่สามารถอยู่ได้โดยขาดสิ่งของเครื่องใช้อันเป็นปัจจัยพื้น ฐานของชีวิต วัฒนธรรมที่ไมใชวัตถุ หรือ วัฒนธรรมทางจิตใจ (Intangible หรือ Non Material Culture) เป็นวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เพราะไม่มีรูปร่าง ขนาด หรือน้ำาหนัก แต่ก็มีอิทธิพลต่อ ชีวิตมนุษย์มาก วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุหรือวัฒนธรรมทางจิตใจนี้ ได้แก่ สถาบันสังคม คือ ส่วน ต่าง ๆ ของวัฒนธรรมที่ทำาหน้าที่และแก้ปัญหาพื้นฐานทางสังคม เช่น สถาบันครอบครัว วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการควบคุมทางสังคมที่ช่วยให้เกิดระเบียบทางสังคมและควบคุมทางสังคม ภาษาและระบบสัญลักษณ์ที่ใช้สื่อสารติดต่อกัน รวมถึ ง กริ ย าท่ า ทางที ่ ใช้ ส ื ่ อ ความหมายด้ ว ย ตลอดจนความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 16

จะเห็นว่าเรื่องของวัฒนธรรมและงานด้านวัฒนธรรมนั้นมีความกว้างขวางและหลาก หลาย มีลักษณะเป็นกิจกรรมหรือองค์กรเฉพาะด้านที่มีเนื้อหาพิเศษอย่างหนึ่ง ในการที่จะจัดการ หรือดำาเนินการให้บรรลุเป้าหมาย จำาเป็นต้องใช้เทคนิคและกระบวนการของการดำาเนินงานหรือ การจัดการเฉพาะด้านอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการจัดการทางวัฒนธรรม จึงเป็นศาสตร์อย่างหนึ่งที่ มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ(Interdisciplinary Approach) ที่ทำาการศึกษาเรื่องราวทางวัฒนธรรม และเสนอวิธีการดำาเนินการหรือจัดการวัฒนธรรมให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 17

เปาหมายของการจัดการทางวัฒนธรรม (Goal of Culture Management) แลวจะจัดการวัฒนธรรมไปทําไม ? เพื่ออะไร ? ดังที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวมนุษย์ จึงมีคุณค่าต่อตัวมนุษย์ทั้งในทางกายและจิตใจ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ มักมีความต้องการ ความสงสัย และตั้งปัญหาถามตัวเอง และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับตน รวมทั้ง หาทางออกให้กับตนเสมอ ความพยายามรูปแบบหนึ่งของมนุษย์ที่จะตอบปัญหาเกี่ยวกับตนเอง คือทำาการศึกษาค้นคว้าเพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้น จึงเกิดเป็นศาสตร์ใน สาขาวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์และวัฒนธรรมของมนุษย์ ซึ่งผลงานทางวิชาการหรือองค์ ความรู้ ตลอดจนมรดกวัฒนธรรมซึ่งเป็นผลผลิตของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ดังนั้นมนุษย์จึง ตอบสนองและหาวิธีการในอันที่จะรักษาคุณค่าของความรู้และวัฒนธรรมเหล่านั้นไว้ ทั้งเพื่อการ เรียนรู้ และรักษาไว้ให้เกิดประโยชน์ทั้งในทางกายและจิตใจ ตลอดจนพั ฒ นาปรั บ ปรุ ง เพื ่ อ ประโยชน์ใช้สอยและเพิ่มพูนมูลค่าในทางเศรษฐกิจให้แก่ตนด้วย สรุปแล้วการจัดการวัฒนธรรม จึงมีเป้าหมายเพื่อสนองตอบความต้องการ (Needs) ทางกายและจิตใจ ด้วยวิธีการรักษาและพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อตัวมนุษย์เอง ซึ่งอาจสรุป เป้าหมายของการจัดการวัฒนธรรมในภาพรวมกว้าง ๆ ได้ว่า 1. เพื่อใหเกิดคุณคา (Values)

2. เพื่อการรักษาคุณคา

3. เพื่อพัฒนาใหเกิดประโยชน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 18

เนื้อหาและวิธีการจัดการทางวัฒนธรรม (Culture Management) เมื่อวัฒนธรรมหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรม หรือมรดกวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า (Values) มนุษย์จึงต้องมีการจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดคุณค่า เพื่อการรักษาคุณค่า และพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อตัวมนุษย์ทั้งในทางกายและจิตใจ แต่การที่จะดำาเนินการให้บรรลุ เป้าหมายดังกล่าวได้นั้น จะต้องมีการดำาเนินการหรือการจัดการ (Management) ซึ่งประกอบ ด้วยเนื้อหาและวิธีการดังนี้ 1. การจัดการทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดคุณค่า (Values) นั้น การศึกษาหรือวัฒนธรรม ศึกษา (Study) จะเป็นวิธีการที่ทำาให้เกิดองค์ความรู้ (Knowledge) ทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวเหล่านี้ ก็คือทรัพยากรทางวัฒนธรรม (Cultural Resource) ที่มีคุณค่าต่อ การเรียนรู้และจิตใจของมนุษย์ ดังนั้นการศึกษาหรือวัฒนธรรมศึกษา (Study) จึงเป็นเนื้อหาและ วิธีการสำาคัญของการจัดการทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดคุณค่า 2. เมื่อวัฒนธรรมหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีคุณค่า (Values) จึงจำาเป็น ต้องมีการรักษาคุณค่าของวัฒนธรรมหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรมไว้ วิธีการที่จะรักษาคุณค่าของ วัฒนธรรมหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรมได้นั้น คือการอนุรักษ์ (Conservation) ดังนั้นการอนุรักษ์ จึงเป็นทั้งเนื้อหาและวิธีการสำาคัญของการรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรม 3. การอนุรักษ์เป็นเพียงการรักษา (Preservation) คุณค่าไว้ แต่หากต้องการให้ วัฒนธรรมและทรัพยากรทางวัฒนธรรมนั้นเป็นประโยชน์มากขึ้น การพัฒนา (Development) งานทางวัฒนธรรมก็จะเป็นวิธีการจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางกายและจิตใจ รวมทั้ง สามารถเพิ่มพูนมูลค่า (Value Added) ในทางเศรษฐกิจต่อชีวิตมนุษย์ได้ ซึ่งการที่จะพัฒนางาน วัฒนธรรมให้เป็นประโยชน์และเพิ่มพูนมูลค่าขึ้นมาได้นั้น มีวิธีการ (Approach) ที่หลากหลายที่ เกี่ยวข้องกับศาสตร์หลาย ๆ ด้าน อาทิ การท่ อ งเที ่ ย วเชิ ง วั ฒ นธรรม ภู ม ิ ท ั ศ น์ ว ั ฒ นธรรม พิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ ธุรกิจและการตลาด ฯลฯ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 19

ด้วยเหตุนี้เนื้อหาของศาสตร์การจัดการทางวัฒนธรรม (Culture Management) จึง เป็นการบูรณาการทางวิชาการของศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) ซึ่งมีเนื้อหาและวิธีการจัดการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำาคัญอยู่ 3 ประการ คือ การศึกษาหรือวัฒนธรรมศึกษา (Cultural Study) เป็นการดำาเนินการเพื่อให้รู้ถึง คุณค่า (Value) หรือองค์ความรู้ (Knowledge) ของศิลปะและวัฒนธรรม หรือทรัพยากรทาง วัฒนธรรม (Cultural Resource) การอนุรักษ (Conservation) เป็นวิธีการจัดการเพื่อรักษาคุณค่า (Value) ของศิลปะ และวัฒนธรรมหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรม การพัฒนางานวัฒนธรรม (Cultural Development) เป็ น วิ ธ ี ก ารดำ า เนิ น งาน กิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรมหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์และเพิ่มพูน มูลค่า (Value Added) ทางเศรษฐกิจ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 20

สรุปความหมายและเนื้อหาของการจัดการทางวัฒนธรรม 1. การจัดการทางวัฒนธรรม คือ กระบวนการของการดำาเนินงานหรือปฏิบัติงานอย่าง เป็นระบบ เพื่อให้กิจกรรมทางศิลปะและวัฒนธรรม บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล 2. เป้าหมายของการจัดการเพื่อให้งานทางวัฒนธรรมหรือทรัพยากรทางวัฒนธรรมเกิด คุณค่า (Values) เพื่อรักษาคุณค่าและพัฒนาให้เกิดประโยชน์ 3. คุณค่า (Values) ของวัฒนธรรมมีความสำาคัญต่อทั้งทางกายและจิตใจ เป็นองค์ ความรู้ที่มีผลให้ความเป็นมนุษย์สมบูรณ์ขึ้น การศึกษาหรือวัฒนธรรมศึกษาจึงเป็นการดำาเนินการ เพื่อให้ได้คุณค่า 4. การอนุรักษ์ (Conservation) เป็นวิธีการจัดการเพื่อรักษาคุณค่าของมรดกวัฒนธรรม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และความภูมิใจ 5. การพัฒนา (Development) งานวัฒนธรรม เป็นการจัดการเพื่อให้เกิดประโยชน์ และเพิ่มพูนมูลค่า (Value Added)


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 21

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม ความเปนมาของการจัดตั้งหลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการทางวัฒนธรรมที่เปดขึ้นเป็นแห่งแรกใน พื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยใน พ.ศ. 2552 ทั้งนี้เนื่องจากในเขตภาคเหนือเป็นดินแดนที่อุดม สมบูรณ์ไปด้วยมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรม ดังนั้นจึงปรากฏมีกิจกรรมหลากหลายที่เกี่ยวข้อง กับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม อาทิ งานด้านการอนุรักษ์ศิลปกรรม โบราณวัตถุและโบราณ สถาน อุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวกับศิลปวัตถุ ศิลปหัตถกรรม และสินค้าที่ระลึก แหล่งบริการ ร้านค้า โรงแรม ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ฯลฯ อุตสาหกรรมและ ธุรกิจต่าง ๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชิดหน้าชูตาและสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ ประชาชนชาวภาคเหนือตลอดมา ทั้ง ๆ ที่งานด้านศิลปะและวัฒนธรรมเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำาคัญของภาคเหนือ แต่ไม่ปรากฏมีสถาบันอุดมศึกษาใด ๆ ในเขตภาคเหนือเปดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อส่ง เสริมให้อุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมมีความมั่นคงและยั่งยืนสืบต่อไป จึง สมควรที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะเปดการสอนระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาการจัดการศิลปะ และวัฒนธรรมขึ้น เพื่อสนับสนุนให้มีการผลิตบุคลากรผู้มีความรู้ความสามารถด้านการจัดการ ศิลปะและวัฒนธรรมเข้าสู่แวดวงงานด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนอุตสาหกรรมและ ธุรกิจด้านศิลปะและวัฒนธรรมมากขึ้น ซึ่งขอบเขตของหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขา วิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมที่จะเปดการสอนนั้นจะมีเนื้อหาของหลักสูตรที่มุ่งเน้นการ จัดการในเชิงระบบของงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมในมิติต่าง ๆ ซึ่งมีวิธีดำาเนินการที่แตกต่างกัน อาทิ งานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม งานด้านภูมิทัศน์วัฒนธรรม งานด้านการตลาด


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 22

ของผลงานทางศิลปะ งานพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ งานศิลปะการแสดงและโรงละคร และงาน ด้านการท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม ฯลฯ เพื่อให้สามารถรักษาคุณค่าและดำาเนินกิจกรรมทาง ศิลปะและวัฒนธรรมไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น ที่คาดหวั ง ว่ า หากได้ มี ก ารเป ด การสอน หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมขึ้นแล้ว จะช่ ว ยส่ ง เสริมและสนับสนุนให้การอนุรักษ์รักษาคุณค่า ตลอดจนอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงาน ด้านศิลปะและวัฒนธรรมในเขตภาคเหนือดำาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 23

เปาหมายของหลักสูตร ผลิตผู้มีความรู้และความสามารถ ทางด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม หรือ ผู้จัดการงานมืออาชีพงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม

กระบวนวิชาที่เปดสอน

(1). การจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (Cultural Resource Management and Conservation) (2). การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape Management) (3). พัฒนาการทางศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศไทยและใกล้เคียง (Development of Art and Culture in Thailand and Neighboring Country) (4). ระเบียบวิธีวิจัยทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม (Art and Cultural Research Methodology) (5). สัมมนาเรื่องการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม (Seminar in Art and Cultural Management) (6). การตลาดและงานศิลปะ (Marketing and Art) (7). วิธีการนำาเสนองานศิลปะและวัฒนธรรม (Art and Cultural Presentation)


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 24

(8). การจัดการศิลปะการแสดงและโรงละคร (Performing Arts and Theatre Management) (9). การจัดการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ (Museum and Art Gallery Management) (10). การจัดการงานทัศนศิลป (Visual Art Management) (11). การท่องเที่ยวกับศิลปวัฒนธรรม (Art and Cultural Tourism) (12). การศึกษาและพัฒนางานวัฒนธรรม (Cultural Study and Development)


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 25

งานทางวิชาการ สหสาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม หลักสูตรการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม (Culture Management) เป็นศาสตร์ที่มี ลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Interdisciplinary Approach) ซึ่งที่มีเนื้อหาและวิธีการหลัก ๆ ประกอบด้วย การศึกษาวัฒนธรรม การอนุรักษ์ และพัฒนางานวัฒนธรรม ดังนั้นวิทยานิพนธ์จึง เป็นงานวิจัยที่มีหัวข้อและเนื้อหาหลากหลายที่เกี่ยวกับการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมในด้าน ต่าง ๆ ดังตัวอย่างผลงานวิทยานิพนธ์ของสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมในเนื้อหา ต่าง ๆ ดังนี้


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 26

วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม)

(1) เนื้อหาดาน “การจัดการพิพิธภัณฑและหอศิลปะ” วิทยานิพนธ์เรื่อง “ การจัดการ “ บ้านตึก ” กลุ่มอาคารบ้านหลวงอนุสารสุนทร จังหวัด เชียงใหม่ ให้เป็นอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ”1 โดย นางสาวมนัสวัฑฒก์ ชุติมา ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

บรรยากาศอาคาร “ตึกหลวง” ในปัจจุบัน

1 ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีมาก ของกลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำาปการศึกษา 2558.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 27

บทคัดยอ วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการ “บ้านตึก” กลุ่มอาคารบ้านหลวงอนุสารสุนทร จังหวัด เชียงใหม่ ให้เป็นอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบท เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ลักษณะทางกายภาพ และสถาปัตยกรรม ตลอดจนคุณค่าความ สำาคัญ รวมทั้งศักยภาพและความพร้อมของ “บ้านตึก” กลุ่มอาคารบ้านของหลวงอนุสารสุนทร ในการจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ของ “บ้านตึก” กลุ่มอาคารบ้านของ หลวงอนุสารสุนทร อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการ จัดการ “บ้านตึก” ให้เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ ใช้วิธี การศึกษาทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม โดยการสำารวจทางกายภาพ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ เพื่อเก็บข้อมูลประวัติความเป็นมา ที่ตั้ง ลักษณะทางกายภาพ และองค์ประกอบทางศิลปะ สถาปัตยกรรมของกลุ่มอาคารบ้านหลวงอนุสารสุนทรและวิเคราะห์ให้เห็นถึงศักยภาพและความ พร้อมในการจัดการให้เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ผลการศึกษาพบว่า “บ้ า นตึ ก ” มี ศ ั ก ยภาพทั ้ ง ในด้ า นทำ า เลที ่ ต ั ้ ง มี ค ุ ณ ค่ า ทาง ประวัติศาสตร์ ความงาม วิทยาศาสตร์ และสังคม โดยบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของกลุ่ม อาคารทางประวัติศาสตร์ มี ส ่ ว นช่ ว ยเสริ ม เรื ่ อ งราวในการจั ด การเป็ น อนุ ส รณ์ ส ถานทาง ประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น การจัดการ “บ้านตึก” ให้เป็นอนุสรณ์ สถานและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ มี 3 ส่วนในการนำาเสนอ ได้แก่ ส่วนที่ 1 เสนอการอนุรักษ์ ปรับปรุงอาคารและสถานที่กลุ่มอาคารทั้ง 5 หลังให้เป็นอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ส่วนที่ 2 ได้เลือก “ตึกหลวง” เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ และการกำาหนดหัวข้อเรื่องจัดแสดง การ จัดแนวทางของเรื่องการเขียนบทนิทรรศการ การออกแบบการจัดแสดง และการใช้สื่อเทคโนโลยี ในการนำาเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ในช่วงกำาเนิดทุนนิยม ส่วนที่ 3 เสนอโครงสร้างการ บริหารจัดการอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ดังกล่าว


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 28

Abstract The Study of “The Management Plan for “Baan Teuk” Luang Anusarnsoonthorn Building Compound, Chiang Mai as Historical Monument and Learning Museum." aims to study historical background and significant value of “Baan Teuk” as well as relevant historical context to present potential and readiness of “Baan Teuk”. Also, there are to present proper form and technic in managing "Baan Teuk" as historical monument and learning museum. By using tools in collecting data such as non-structured interview and field studies by analyzing historical background, location and physical setting, type and building details, condition and usage of buildings in the past and the present and relevant objects with those buildings to organize data and analyze to present potential of “Baan Teuk” in presenting management form as historical monument and learning museum. This study has found that “Baan Teuk” has potential in location, historical value, aesthetic value, scientific value and social value. Moreover, atmosphere and environment of historical building compound make storytelling and museum exhibition more interesting. The management technic to make “Baan Teuk” as historical monument and learning museum consist of 3 elements. First, the renovation process of 5 old buildings to become a historical monument. Second, the exhibition at “Teuk Luang”, to exhibit in building and atmosphere renovation, exhibition topic design, theme design, exhibition story board, exhibition design and using modern technology and media in presentation to achieve the goal of being historic monument of Luang Anusarnsoonthorn and learning museum about Chiang Mai in the beginning of capitalism. Third, the administrative structure of the historical monument and learning museum.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 29

บรรยากาศอาคาร “เรือนแถว” ในปัจจุบัน

การจำาลองบรรยากาศภายในห้องจัดแสดงที่ 1 บทบาทของชาวจีนช่วงกำาเนิดทุนนิยมในเชียงใหม่

ภาพการจำาลองห้องจัดแสดงจากมุมสูงแสดงการจัดวาง ภายในห้องจัดแสดงที่ 1


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 30

(2) เนื้อหาดาน “การจัดการศิลปะการแสดงและดนตรี”

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการฟนฟูประเพณีการตีกลองปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธ ศาสนาของชุมชนบ้านใหม่ อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อำาเภอวังเหนือ จังหวัดลำาปาง” โดย นายอดิสร เมืองเกียง ผู้ศึกษา และ ศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ อาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำาริห์กุล อาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ร่วม

กลองปูจาวัดบ้านใหม่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 31

บทคัดยอ วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการฟนฟูประเพณีการตีกลองปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธ ศาสนาของชุมชนบ้านใหม่ อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อำาเภอวังเหนือ จังหวัดลำาปาง” มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา คุณค่า ความหมาย ทำานองเพลง และประเพณีการตี กลองปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในดินแดนล้านนา รวมทั้งศึกษาบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมของชุมชนบ้านใหม่ ตลอดจนประเพณีการตีกลองปูจาและสภาพปัญหาของการตีกลอง ปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในชุมชนบ้านใหม่ ตำาบลวังเหนือ อำาเภอวังเหนือ จังหวัด ลำาปาง เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการฟนฟูประเพณีการตีกลองปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ของชุมชนบ้านใหม่ อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ผู้ศึกษาทำาการศึกษาด้วยวิธีการเก็บข้อมูล ภาคเอกสารและภาคสนาม โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับชุมชน บ้านใหม่และประเพณีการตีกลองปูจา ตลอดจนสภาพปัญหาของการตีกลอง ปูจาในพิธีกรรมทาง พระพุทธศาสนาในชุมชนบ้านใหม่และวิเคราะห์เพื่อนำาเสนอรูปแบบและวิธีการฟนฟูประเพณีการ ตีกลองปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านใหม่ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านใหม่ในอดีตมีประเพณีการตีกลองปูจาในพิธีกรรมทาง พระพุทธศาสนา เนื่องในวันโกน วันพระ ตลอดช่วงเวลาเข้าพรรษา รวมทั้งในงานเทศกาลประเพณี และพิธีกรรมทางพุทธศาสนา แต่ปัจจุบันพบว่าการตีกลองปูจาได้ขาดหายไป เหลือเพียงการตีใน ช่วงเทศกาลและประเพณีสำาคัญเท่านั้น โดยเฉพาะพิธีกรรมทางศาสนาไม่ปรากฏมีการตีเลย ทั้งนี้ เนื่องจากปัญหาต่าง ๆ อาทิ การขาดผู้ถ่ายทอด ขาดผู้สืบทอดการตีกลองปูจา ขาดการดูแลและ รักษากลองปูจา ตลอดจนอุปกรณ์การตีกลองปูจา และปัญหาด้านงบประมาณที่จะใช้เกี่ยวข้อง กับกลองปูจา จากการศึกษาบริบททางสังคม วัฒนธรรมของชุมชนบ้านใหม่ พบว่าชุมชนบ้านใหม่มี วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นที่มีความหลากหลาย ชุมชนให้ความสำาคัญและตระหนักถึงคุณค่า ของวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบทอดมาแต่อดีต กิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีล้วนประสบ ผลสำาเร็จ บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชุมชนตั้งไว้ ทำาให้ชุมชนที่มีความเข้มแข็งทาง วัฒนธรรม ส่วนกิจกรรมของชุมชนทางสังคม ก็อาศัยศักยภาพของชุมชนเป็นหลักในการขับเคลื่อน กิจกรรม ชาวบ้านมีบทบาทในกระบวนการทำากิจกรรมของชุมชนทุกขั้นตอน ชุมชนพยายามและ ใช้ศักยภาพของตนเองที่มีอยู่นำามาเพื่อค้นหาปัญหา ร่วมแก้ไขปัญหา และพัฒนากิจกรรมภายใน ชุมชน แสดงออกซึ่งความเอื้อเฟอแบ่งปัน ใส่ใจและช่วยเหลือกัน ความร่วมมือในการงานของส่วน รวม นำามาซึ่งการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเข้มแข็ง รวมถึงข้อปฏิบัติตน ขนบธรรมเนียมประเพณี


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 32

กฎหมู่บ้าน การดำารงชีวิต ความผูกพันในระบบเครือญาติ การจัดความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยความ เต็มใจ การแสดงออกซึ่งความเคารพ เชื่อถือ และศรัทธาบนพื้นฐานความเชื่อทางศาสนาและจิต วิญญาณในอุดมคติ ค่านิยมอันเดียวกัน นำ า มาซึ ่ ง ความสงบสุ ข ของชุ ม ชน สะท้อนให้เห็นถึง ศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน การนำาเสนอรูปแบบและวิธีการฟนฟูการตีกลองปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนานั้น ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในชุมชนเป็นสำาคัญ ซึ ่ ง มี ร ู ป แบบและวิ ธ ี ก าร ๒ ประการคือ หนึ่ง การฟนฟูประเพณีการตีกลองปูจาในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของภาค ประชาชนในชุมชนบ้านใหม่ด้วยการดำาเนินงานโครงการฟนฟูประเพณีการตีกลองปูจาภายใน ชุมชน ที่ชุมชนบ้านใหม่ได้ดำาเนินการในช่วงเวลาที่ผ่านมาอยู่แล้ว ด้วยการฟนฟูการตีกลองปูจา ในวันสำาคัญทางพระพุทธศาสนา งานประเพณีและกิจกรรมสำาคัญของชุมชน ด้วยการฝกอบรม การตีกลองปูจาให้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในชุมชน สอง การประสานขอการสนับสนุนจากหน่วยงาน ต่าง ๆ ในท้องถิ่นเช่นเทศบาลตำาบลบ้านใหม่ โรงเรียนชุมชนบ้านใหม่ และวัดบ้านใหม่เพื่อดำาเนิน กิจกรรมต่าง ๆ ในการฟนฟูการตีกลองปูจาต่อไป Abstract The study on “Management revival of Pu Ja Drum In Buddhist Traditional Rituals by Ban Mai community, Wang Nuea District, Lampang Province” focused on studying the history, value, meaning, melody, and the tradition of beating Pu Ja drum in Lanna religious ceremonies, examining the social and cultural context of Ban Mai community and the tradition of beating Pu Ja drum along with the problems of beating Pu Ja drum in Ban Mai community , and proposing the pattern and the restorative ways of beating Pu Ja drum to Ban Mai Community. The data was gathered by document and field trip, the subjects were interviewed and answered the questionnaire. The data included the problems found in beating Pu Ja drum in the religious ceremonies. Then, the data was analyzed and propose the pattern and the revival of beating Pu Ja drum the pattern and the revival of beating Pu Ja drum to Ban Mai Community.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 33

ชาวบ้านฝกการอ่านโน้ตเพลงกลองปูจา

สามเณรและเยาวชนร่วมกันตีกลองปูจาในพิธีเวียนเทียนวันวิสาขบูชา


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 34

(3) เนื้อหาดาน “การจัดการแหลงเรียนรูและทองเที่ยวเชิงวัฒนธรรม”

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการจัดการเส้นทางเรียนรู้ และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำาเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์” โดย นางสาวปยะนารถ ริมทอง ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

วิหารวัดดอนสักบ้านต้นม่วง ตำาบลฝายหลวง อำาเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

หมี่คลุก และหมี่พันเมืองลับแล


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 35

บทคัดยอ การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการจัดการเส้นทางเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม ของอำาเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนคุณค่าของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ ของชุมชนชาวลับแล เพื่อการจัดการเส้นทางการเรียนรู้แหล่งมรดกวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของ ชุมชนชาวลับแล โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสำารวจ การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ แบบไม่มีส่วนร่วม จากนั้นนำาข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกแหล่งมรดกวัฒนธรรมที่แสดงความ เป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนลับแล โดยใช้เกณฑ์ด้านประวัติศาสตร์ เกณฑ์ด้าน วัฒนธรรม เกณฑ์ด้านสังคมและเกณฑ์ด้านศิลปกรรม แล้วจัดกลุ่มของแหล่งมรดกวัฒนธรรมที่ เป็นอัตลักษณ์วัฒนธรรมชาวลับแล เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการเส้นทางการเรียนรู้และ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พร้อมทั้งวิเคราะห์คุณค่าความสำาคัญของแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็น อัตลักษณ์ของชุมชนชาวลับแลที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ ผลการศึกษาพบว่า บริบททางประวัติศาสตร์ สังคม วั ฒ นธรรมและสิ ่ ง แวดล้ อ มของ ชุมชนชาวลับแล มีวิถีชีวิตที่ได้รับการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมมาจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่นมี ความหลากหลายทางวัฒนธรรม มีมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าความสำาคัญปรากฏอยู่ในรูปแบบ ของประเพณี พิธีกรรม สถาปัตยกรรม และงานหัตถกรรมพื้นถิ่น ซึ่งคุณค่าความสำาคัญของวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชนชาวลับแลนั้นเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์การอพยพเพื่อแสวงหาการตั้ง ถิ่นฐานและการหาแหล่งที่ทำากิน จึงทำาให้อำาเภอลับแลมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่ปรากฏ อยู่ในรูปแบบของ ตำานาน เรื่องเล่า ประเพณี พิธีกรรม สถาปัตยกรรม งานหัตถกรรมพื้นถิ่น ซึ่ง มรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวลับแลนั้น มีศักยภาพในการเป็ น แหล่ ง เรี ย นรู ้ แ ละ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สามารถจัดเป็นเส้นทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของ ชุมชนลับแลได้ เส้นทางการเรียนรู้ดังกล่าว สามารถใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้เกี่ยวกับมรดกทางวัฒนธรรม ที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนชาวลับแล ในอำาเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งอาจนำาเสนอมาในรูป ของ แผนที่เส้นทาง เอกสารแผ่นพับ หนังสือ และสื่อเทคโนโลยี IT อาทิ วีดิโอ ซีดี ที่เกี่ยวข้อง กับเรื่องราวของแต่ละเส้นทางเพื่อประกอบการเข้าไปศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการท่องเที่ยวของอำาเภอลับแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้มรดก วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ในชุมชน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวในอำาเภอลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์ด้วย


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 36

Abstract Cultural identity study for managing the cultural tourism and learning route in Lap Lae District, Uttaradit Province aims firstly to study historical, social, cultural and environmental context as well as the value of cultural heritage site which is considered as a Lap Lae community’s identity. Second is to manage learning route in identical cultural heritage site through studying information derived from document, survey, interview and non-participant observation. Data was then analyzed in order to select cultural heritage site indicating cultural identity of Lap Lae community through the use of historical, cultural, social and architectural criteria. Next, the cultural heritage site indicating cultural identity of Lap Lae people were categorized in order to propose pattern and method for managing the cultural tourism and learning route and analyze the value and significance of cultural heritage site which is considered as a Lap Lae community’s identity and suitable for learning. The result of the study showed that Lap Lae community historical, social, cultural and environmental context includes lifestyle with cultural heritage descended from ancestors and passed on from generation to generation and consists of diversity of culture. Valuable and significant cultural heritage was performed in several forms of traditions, ceremony, architecture and local handicraft. Value and importance of Lap Lae community’s lifestyle and culture related to their migration history searching for habitation and workplace causes diversity of culture in Lap Lae district appearing in forms of legend, story, tradition, ceremony, architecture and local handicraft. Cultural heritage site indicating cultural identity of Lap Lae community gains enough potential to act as a cultural learning and tourist centers incapable of being a cultural tourism and learning route in Lap Lae District. The above-mentioned learning route can be used as medium in learning about cultural heritage which is considered as a Lap Lae community’s identity in Lap Lae District, Uttaradit Province. It can be presented in many forms such as


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 37

route map, brochure, book, technology media like VDO, CD concerning the story of each route to support the understanding in studying the cultural tourism and learning and to be information supporting the tourism in Lap Lae District, Uttaradit province. It is in order to create the effective learning about identical cultural heritage in community for all and the tourists who are interested in visiting Lap Lae District, Uttaradit Province.

แผนที่แสดงการจัดเส้นทางเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำาเภอลับแล


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 38

(4) เนื้อหาดาน “การจัดการวัฒนธรรมและประเพณี”

วิทยานิพนธ์เรื่อง “ชุมชนลำาปางหลวงกับการจัดการมรดกวัฒนธรรม : กรณีศึกษางาน ประเพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้า อำาเภอเกาะคา จังหวัดลำาปาง” โดย นางสาวพจนา เอกบุตร ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 39

บทคัดยอ การศึกษาเรื่อง ชุมชนลำาปางหลวงกับการจัดการมรดกวัฒนธรรม: กรณีศึกษางานประ เพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้า อำาเภอเกาะคา จังหวัดลำาปาง มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษา ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ สังคม และวัฒนธรรมชุมชนลำาปางหลวง รวมไปถึงศึกษาศักยภาพและ ความเข้มแข็งของชุมชนลำาปางหลวงในการจัดการชุมชนด้านต่างๆ อันนำาไปสู่การถอดองค์ความรู้ การจัดการมรดกวัฒนธรรมที่เข้มแข็งของชุมชนลำาปางหลวง เพื่อจะได้เป็นตัวอย่างและประโยชน์ สำาหรับชุมชนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดการศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่นของตนได้อย่างยั่งยืน ต่อไป ในการศึกษาใช้วิธีการศึกษาทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม เพื่อการศึกษาบริบททาง ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรม และศักยภาพ ความเข้มแข็ง ของชุมชนลำาปางหลวง อำาเภอ เกาะคา จังหวัดลำาปาง และศึกษาเฉพาะกรณีงานประเพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้า วัดพระธาตุ ลำาปางหลวง เพื่อถอดองค์ความรู้หรือรูปแบบและวิธีการจัดการมรดกประเพณีวัฒนธรรมที่เป็น ระบบและเข้มแข็งของชุมชนลำาปางหลวงออกมา และนำาเสนอเป็นตัวแบบ (Model) การจัดการ มรดกประเพณีวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็งของชุมชนลำาปางหลวงต่อไป ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนลำาปางหลวงเป็นชุมชนโบราณที่มีประวัติศาสตร์ควบคู่กับวัด พระธาตุลำาปางหลวงมายาวนาน ทำาให้ชาวบ้านชุมชนลำาปางหลวงมีภูมิปัญญา ความคิด ความ เชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น อันก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและความ หวงแหนมรดกวัฒนธรรมของชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีศักยภาพและความเข้มแข็งในความร่วมมือ ดำาเนินกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมต่างๆเป็นอย่างดี จากการศึกษาเฉพาะกรณีงานประเพณี ยี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้า วัดพระธาตุลำาปางหลวง พบว่าเป็นงานประเพณีของชุมชนที่ถือปฏิบัติ สืบทอดกันมายาวนาน จัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำา เดือน 2 ของทุกป รูปแบบและวิธีการของ การจัดงานจะมีการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของฝายต่างๆ ภายในชุมชนอย่างชัดเจนและ เป็นระบบ ประกอบด้วย วัด ประชาชนในชุมชน และหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน พื้นที่ ทำาให้การดำาเนินงานเป็นไปอย่างเข้มแข็งภายใต้ความสำานึกทางประวัติศาสตร์และความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชนที่มีอยู่ร่วมกัน ซึ่งจะแสดงให้เป็นตัวแบบ (Model) ของการ จัดการมรดกประเพณีวัฒนธรรมอย่างเข้มแข็งของชุมชนลำาปางหลวง ที่มีการจำาแนกกิจกรรมและ หน้าที่ของฝายต่าง ๆ ในการจัดการงานประเพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้า วัดพระธาตุลำาปางหลวง อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 40

Abstract The study on Lampangluang community and cultural heritage management: a case study of the Yee Pang Wai Sa Phrathat Jao festival, Ko Kha district, Lampang province aims to study the historical, social, and cultural background of Lampangluang community. The study also emphasizes on exploring the efficacy and strong points of Lampangluang community regarding its community management, aiming to render the strong cultural heritage management of Lampangluang community that could be a useful model of sustainable local cultural management for other communities. The study was based on documentary and field research in surveying the historical, social and cultural context as well as the efficacy and strength of Lampangluang community, Ko Kha district, Lampang province. The Yee Pang Wai Sa Phrathat Jao festival at Wat Phrathat Lampangluang was a focus in the study to interpret the pattern of the strong and systematic cultural heritage management of Lampangluang community. The result was presented as a model of the efficacy cultural heritage management of Lampangluang community. The result of the study showed that Lampangluang community was an ancient community with its history closely related to Wat Phrathat Lampangluang. The community members possessed unique local wisdoms, beliefs, traditions and culture of which they were proud and highly valued. With such characteristics, the community members strongly cooperate in social and cultural activities. According to the study on Yee Pang Wai Sa Phrathat Jao festival at Wat Phrathat Lampangluang, it was found that the festival had long been performed. It was held every waning crescent annually. Regarding the festival management, duties and responsibilities were systematically and clearly distributed to every workgroup which included the temple, community members, and local administrative organizations. The work performance, as a result, was well completed under the awareness of historical value and integrity of the community. In this regard, the model of the efficient cultural heritage management of Lampangluang community, in which the distinct distribution of duties to workgroups was observed, was presented.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 41

สถานที่กิจรรมประเพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้าวัดพระธาตุลำาปางหลวง

พิธีกรรมการสวดเบิก 9 วารชุมชนลำาปางหลวงวัดพระธาตุลำาปางหลวง


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 42

(5) เนื้อหาดาน “การจัดการศิลปะรวมสมัยและอารตแกลลอลี่” วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัด การอาร์ต แกลลอรี่ศิล ปะร่ ว มสมั ย ของเอกชนในจั ง หวั ด เชียงใหม่” โดย นายเบญจพล บุญญาวัฒนา ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่ง มั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 43

บทคัดยอ วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทความเป็นมาแนวคิดและหลักการของ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศ ิ ล ปะและอาร์ต แกลลอรี่ศิลปะร่ว มสมัย (Contemporary Art Museum And Gallery) ในระดับสากลรวมทั้งศึกษาความเป็นมา แนวคิดและวิธีการจัดการตลอดจนสภาพการณ์ และปัญหา เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมเพื่อให้ประสบผลสำาเร็จและบรรลุเป้าหมาย ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าอาร์ตแกลลอรี่ศิลปะร่วมสมัยในจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้เป็นเพียงแหล่ง เรียนรู้ทางด้านศิลปะเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งธุรกิจจำาหน่ายงานศิลปะเพื่อประกอบธุรกิจเสริม ซึ่ง ไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ดังนั้นรูปแบบและวิธีการจัดการอาร์ตแกลลอรี่ที่เหมาะสมจึงควรเพิ่มสื่อ การเรียนรู้เช่นป้ายอธิบายและสื่อข้อมูลอื่น ๆ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของบุคคลากรรวมถึงปัจจัย ที่จะทำาให้อาร์ตแกลลอรี่ศิลปะร่วมสมัยในจังหวัดเชียงใหม่ตั้งมั่นอยู่ได้นั้นควรมีการเปดธุรกิจเพิ่ม เติมเพื่อเป็นรายได้เสริมควบคู่ไปกับธุรกิจอาร์ตแกลลอรี่ เช่นการเปดร้านกาแฟ และการขายสินค้า ที่ระลึกควบคู่กันไป Abstract This thesis is for analyzes the origins, the concepts and the management methods the art museums and the art galleries in Thailand and worldwide and also focuses on the characteristic of the private contemporary art galleries in Chiang Mai for the possible solutions. In this thesis also suggests the management concepts and methods for them to gain the satisfactory benefit and to be a great source of learning for visitors. From the case study, most of and private contemporary art galleries in Chiang Mai are not the place for learning about art. used for showing the pieces of art, Galleries could apply a signboard or another medias to give deep details about the pieces of art to the visitors they also do not earn enough money from selling the pieces of art and cannot afford their outgoings. The solution may be the launching of related business such as the coffee shop, snack shop or souvenir shop, etc.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 44

ลักษณะทางกายภาพของอาคารอาร์ตแกลลอรี่ “สตูดิโอหมายเลข 1 ของวิชิตสตูดิโอ(Vichit Studio)

แนวทางของการจัดแสดงผลงานของเอ็นเอชดีอาร์ตแกลอรี่ (NHD Art Gallery)


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 45

(6) เนื้อหาดาน “การจัดการพื้นที่ประวัติศาสตรและสถาปตยกรรม” วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการพื้นที่ย่านตรอกบ้านจีน อำาเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อให้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม” โดย นางสาวจุฑารัตน์ ขำาศิริ ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร. สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

สภาพอาคารบ้านเรือนในย่านตรอกบ้านจีน บ้านไชยนันทน์ - ศูนย์เรียนรู้ชุมชน

เรือนไทย บ้านจีนทองอยู่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 46

บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ เรื่อง “การจัดการพื้นที่ย่านตรอกบ้านจีน อำาเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อให้ เป็นแหล่งการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา สังคม และเศรษฐกิจ ตลอดจนศักยภาพของชุมชนย่านตรอกบ้านจีนถนนตากสิน ตำาบลระแหง อำาเภอ เมือง จังหวัดตาก ตลอดจนศึกษาคุณค่าและสภาพปัญหาของมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมของ ชุมชนย่านตรอกบ้านจีน รวมถึงแผนการดำาเนินการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ชุมชนย่านตรอกบ้าน จีนของจังหวัดตาก เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการที่เหมาะสมให้ย่านตรอกบ้านจีนเป็นแหล่ง เรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมที่สะท้อนเรื่องราวและวิถีชีวิตของเมืองตาก อย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่าชุมชนย่านตรอกบ้านจีนถนนตากสิน ตำาบลระแหง อำาเภอเมือง จังหวัดตาก นั้นถือเป็นชุมชนหนึ่งที่มีศักยภาพของชุมชนสูง ที่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ทั้งในด้านงานสถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยและร้านค้า วิถ ี ช ี ว ิ ต ความเป็ น อยู ่ และประเพณี พิธีกรรมที่ทรงคุณค่า ถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำาคัญอีกหนึ่งแห่ง ที่สามารถพัฒนาและวางแผนการ จัดการให้มีลักษณะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมได้ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ต้องอาศัย ความร่วมมือของคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำาหนด วางแผนและจั ด รู ป แบบของการ พัฒนาพื้นที่ร่วมกัน เพื่อการรักษาคุณค่าแบบแผนของงานสถาปัตยกรรมที่สำาคัญภายในชุมชน รวมไปถึงการปลูกจิตสำานึกของคนในชุมชนและเยาวชนรุ่นใหม่ให้หันกลับมามีส่วนร่วมในการ อนุรักษ์ สืบสานประเพณีพิธีกรรมอันมีค่าที่มีอยู่ในชุมชนของตนเองให้ยั่งยืน นอกจากนี้ควรมีการระดมกำาลังและความคิดของคนในชุมชนเข้ามาร่วมกันพัฒนาพื้นที่ การเรียนรู้ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ตลอดจนขอรั บ การสนั บ สนุ น จาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนให้ เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมต่างๆในพื้นที่ เพื่อกระตุ้นให้เกิดความน่าความสนใจและเรียก ร้องให้ประชาชนในชุมชนและผู้ที่มีความสนใจ เข้ามาศึกษางานศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีที่ดี งามของชุมชนตรอกบ้านจีน อำาเภอเมือง จังหวัดตากต่อไป


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 47

Abstract Thesis Title in “The Management of Trok Baan Chin, Tak Province for Art and Cultural Learning Center” aimed to study about socio-economic and historic background including potential of community in Trok Baan Chin (in Tambon Rahaeng, Mueang District, Tak Province), and to study value and problem in tradition and cultural heritage in the area, including a plan to preserve and develop Trok Baan Chin community, so that appropriate management pattern can be offered to help the area to become a cultural learning center to reflect history and way of life in Tak Province with community participation. Result of the research reveals that the community in Trok Baan Chin is considered as a high potential place having valuable cultural heritage both in architecture for living and commercial purposes and in way of life and precious traditions. This is a good learning place that can be developed and planned to become an art and cultural center in the future. However, the plan must also be shaped by the people in the community, helping with arrangement of direction to care for architecture patterns and to implant consciousness of people in the community and new generation to help preserve valuable traditions to become sustainable in a long term. Moreover, there should be strength mobilization and brainstorming of community people to help develop the learning center area to harmonize with modern-day environment. It is good to get supports from local administration and relevant government and private agencies in organizing activities in the area. This can stimulate interest and attract people in the community and other interested people to continue coming for studying valuable art and culture of Trok Baan Chin community, Tak Province.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 48

รูปแบบซุ้มประตูในย่านตรอกบ้านจีน ซุ้มประตูหลังบ้านโสภโณดร

รูปแบบซุ้มประตูในย่านตรอกบ้านจีน ซุ้มประตูหน้าบ้านทองอยู่

การเปดเวทีเสวนาของกลุ่มนักวิจัยภายนอก โดยใช้ศาลาบ้านอยู่สวัสดิ์ ที่มา : ตรอกบ้านจีน/โดยของทีมงานสถาปนิกสุข


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 49

(7) เนื้อหาดาน “การจัดการแหลงเรียนรูทางวัฒนธรรมดวยสื่อเทคโนโลยี” วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของวัดพม่าและไทใหญ่ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ท โฟน” โดย นางสาวมนสิกานต์ อมรรัตน์โกมล ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.คณิเทพ ปตุภูมินาค อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

การออกแบบตราสัญลักษณ์

ตัวอักษรของตราสัญลักษณ์สื่อโปรแกรม ประยุกต์

ตราสัญลักษณ์ของสื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมวัดพม่าและไทใหญ่ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 50

บทคัดยอ การศึกษาเรื่อง การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสื่อเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม วัดพม่าและไทใหญ่ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา คุณค่าและความสำาคัญมรดกทางวัฒนธรรมวัดพม่าและไทใหญ่ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง 2) เพื่อ ศึกษาสภาพการณ์ ปัญหาของสื่อเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดพม่าและไทใหญ่ อำาเภอ เมือง จังหวัดลำาปาง 3) เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการสื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยววัดพม่า และไทใหญ่ ในอำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการ ศึกษาในรูปแบบสหวิทยาการ และนำาเสนอผลงานการวิจัยในรูปแบบพรรณนา ตลอดถึงผลการ ศึกษาพบว่า วัดพม่าและไทใหญ่ มีความสำาคัญต่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวของจังหวัดลำาปาง แต่ยังขาด “สื่อ”ที่จะเข้ามาตอบสนองความต้องการการเรียนรู้วัดพม่าและไทใหญ่ และในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสมาร์ทโฟน ด้วยเหตุนี้การสร้างสื่อการ เรียนรู้ โดยผ่านโปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟน เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมวัดพม่าและไทใหญ่ ของจังหวัดลำาปาง สามารถตอบสนองความต้องการ เพื่อให้เยาวชน ประชาชนทั่วไป รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและสามารถเข้าถึงได้อย่าง ง่าย สะดวกสบาย โดยผ่านโปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟน ซึ่งทุกเพศทุกวัยต่างให้ความสนใจ และใช้กันมากในปัจจุบัน และอีกในอนาคตที่ระบบกำาลังจะถูกพัฒนาไปอย่างไม่มีวันหยุดต่อไป Abstract A study on Management to Enhance Learning and Cultural Tourism of Burmese - Shan Temple in Muang District, Lampang Province. These are the proposes of this study. To start with 1) to study the history and importance of enhance learning and cultural tourism of the Burmese-Shan temples in Muang district, Lampang province. 2) to identify problems of enhance learning and cultural tourism of the Burmese-Shan temples in Muang district, Lampang province. 3) the presentation of the study is in the format of enhance learning and cultural tourism of the Burmese-Shan temples in Muang district, Lampang province. This study is interdisciplinary, qualitative research. The results showed that the


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 51

Burmese-Shan temples are important for learning and cultural tourism in Lampang, but adequate media to promote the temples and enhance cultural learning are still lacking. Nowadays, information technology has quickly evolved, especially smart phones. Therefore, the creation of smart-phone applications to support learning and cultural tourism of the Burmese-Shan temples can serve to promote and promote cultural awareness, especially in children and teenagers. The information provided by these applications must be accurate and easy to access on smart phones. All generations have now been using smart phones and tablets, and the system will need to be improved incessantly. โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ทโฟนในระบบ แอนดรอย (Android)

หน้ารายละเอียดของวัดในแต่ละวัดของสื่อการเรียนรู้ และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวัดพม่า และไทใหญ่ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง

ภาพแสดงการค้นหา

ภาพแสดงหน้าการติดตั้งโปรแกรม Application


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 52

(8) เนื้อหาดาน “การจัดการอนุรักษและพัฒนาแหลงประวัติศาสตรและโบราณคดี วิทยานิพนธ์เรื่อง “การอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดิน เผาพาน (โปงแดง) อำาเภอพาน จังหวัดเชียงราย อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” โดย นางสาวนาถธิดา จันทร์คำา1 ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

โบราณวัตถุที่ชาวชุมชนบ้านโปงแดงเคยเก็บจากพื้นที่ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่วัดโปงแดง

2 นักศึกษาได้รับทุนสนับสนุนการทำาวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ประจำาปงบประมาณ 2556.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 53

บทคัดยอ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบและวิธีการจัดการอนุรักษ์และการพัฒนา แหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาพาน (โปงแดง) อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ทั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาประวัติความเป็นมา สภาพแวดล้อมที่ตั้ง ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผา คุณค่า ความสำาคัญของแหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาพาน (โปงแดง) ศักยภาพและความ พร้อมของชุมชนหมู่บ้านโปงแดง ในมิติทางประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม เพื่อพัฒนาการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชนในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผา พาน (โปงแดง) งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากทั้งภาคเอกสารและภาคสนาม ใช้ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ การสำารวจทางกายภาพ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Interview) จากผู้ที่เกี่ยวข้อง นำามาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ข้อมูลแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาพาน (โปงแดง) อยู่ บริเวณที่เรียกว่า “สันธาตุ” หรือเนินดินที่เชื่อว่าเคยเป็นที่ตั้งเจดีย์ขนาดย่อมกลางทุ่งนาในหมู่ที่ 16 บ้านโปงทวี ตำาบลทรายขาว อำาเภอพาน จังหวัดเชียงราย ผลจากการค้นหาในภาคเอกสาร ยืนยันว่าแหล่งเตานี้มีการผลิตมีมาตั้งแต่เมื่อพุทธศตวรรษที่ 19-22 และขาดหายไปช่วงหนึ่ง เนื่องจากภาวะสงครามกับพม่า ส่ว นกลุ่ม ชนที่เป็น ผู้ต ั้งแหล่ ง เตานั ้ น ยั ง ไม่ มี ห ลั ก ฐานแน่ ช ั ด ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาจากแหล่งเตาพานนี้ อยู่ในประเภทที่ใช้น้ำาเคลือบสีเขียว หรือ เซลา ดอน (Celadon) ได้แก่ ภาชนะประเภท จาม ชาม กระปุกขนาดเล็ก ขวดหรือแจกัน ตะเกียง ตุกตารูปสัตว์ ผอบมีฝา สากดินเผา และ กระเบื้องหลังคาเคลือบ คุณค่าและความสำาคัญ ประกอบด้วย ด้านเอกลักษณ์ ด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการใช้สอย ด้านสังคม ด้าน การเมือง ด้านสุนทรียภาพ ชุมชนหมู่บ้านโปงแดง เป็นชุมชนไทลื้อขนาดกลางที่อพยพมาจากสิบ สองปันนา ประชากรเป็นพุทธศาสนิกชน ประกอบอาชีพเกษตรกร ค้าขาย รับจ้าง และรับ ราชการ ชาวชุมชนมีลักษณะความสัมพันธ์กันแบบเครือญาติ สมาชิกของหมู่บ้านต่างรู้จักกันดี พึ่งพาอาศัยกัน รักสงบ ขยันขันแข็ง และมีวัฒนธรรมที่ดีงาม ชาวชุมชนมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ แหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาพาน (โปงแดง) โดยมีการเฝ้าระวังการลักลอบขโมย โบราณวัตถุโดยชุมชน และเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของชุมชนโดยใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูก ทำาการเกษตร และเชื่อว่าบริเวณแหล่งโบราณคดีแห่งนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์มีทั้งภูตผี วิญญาณ สิ่ง ศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่ จึงไม่กล้าที่จะรุกล้ำา หรือกระทำาการที่ไม่ดี สำาหรับการศึกษาเพื่อหารูปแบบ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 54

และวิธีการจัดการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดิน เผาพาน (โปงแดง) นั้น มีการการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสอบถามความคิดเห็นของภาค ประชาชนและนักวิชาการ และการวิเคราะห์เพื่อหารูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาพาน (โปงแดง) เพื่อให้เกิดความยั่งยืน เป็น แหล่งเรียนรู้และเกิดประโยชน์ต่อชุมชนนั้น โดยใช้รูปแบบของการจัดการอย่างมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ คือ (1) โครงการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่ง โบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาพาน (โปงแดง) อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และ (2) การขุดค้นศึกษาและจัดทำาให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปด (Site Museum) Abstract The objectives of this study are to present the approaches in conserving and developing archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng) with the participation of the public sector. The study focused on the background, location, earthenware, value and significance of archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng). The study also emphasized on efficacy and preparedness of Pong Daeng community in terms of history, society, and culture so as to increase the public participation in conserving and developing archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng). This is a qualitative study which is based on documents and fieldwork. Tools for data collection were physical survey, observation, and unstructured interview with relevant individuals. Data were then analyzed descriptively. The study found that archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng) was located on “San That” or a dune where a moderate-sized pagoda in the middle of the rice field was found. Specifically, the location was at Moo 16, Baan Pong Tawee, Sai Kao sub-district, Phan district, Chiang Rai province. The documentary research confirmed that the potteries had been produced since 19-22 B.E. The production was paused for a while due to the battles against Myanmar. The founders of the potteries site were not approved yet. The Phan potteries were green coated or Cel-


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 55

adon. The examples of this type of pottery included plates, bowls, small boxes, bottles or vases, lamps, animal dolls, caskets, fire-clayed pestles, and ceramic roof tiles. Values and significances of the Phan pottery were shown in identity, academic, economic, facilities, social, politic, and aesthetic aspects. Baan Pong Daeng was a medium-sized Tai Lu community which migrated from Xishuangbanna. The community members were Buddhist and were farmers, merchants, laborers, and government officers. The relationship of the members was kinship-based; they were familiar with each other. They mutually depended on each other, were peaceful, diligent, and owned a beautiful culture. They also had activities relating to archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng); they guarded the site against the robbery and used the site as the community’s public space, farming space specifically. The community members believed that the site was holy and was a dwelling to ghosts, souls, and holy spirits. The community members as a result did not dare to offend or show vulgar actions at the site. In regard to the study on the approaches in conserving and developing archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng), the relevant law as well as the opinions of the public and the scholars was studied. The acquired information was then analyzed to obtain the appropriate approaches in sustainably conserving and developing archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng) with the public participation so as the site to be a source of knowledge for the community. The obtained approaches included (1) conservation and development campaign for archaeological site of Phan potteries (Pong Daeng) with the public participation, and (2) site excavation as a preparation for site museum.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 56

แสดงร่องรอยที่ตั้งเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผาพาน ที่มา : ดัดแปลงจาก google earth program

เส้นทางศึกษาและเข้าชมแหล่งโบราณคดีเตาเผา เครื่องเคลือบดินเผาพาน (โปงแดง) ที่มา : ดัดแปลงจาก google earth program

การจำาลองภาพอาคารศูนย์บริการข้อมูลเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวแหล่งโบราณคดี และเครื่องเคลือบดินเผาเตาพาน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 57

(9) เนื้อหาดาน “การจัดการงานศิลปหัตถกรรมและสรางสรรคศิลปะ” วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสื่อความหมายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัดน่าน ผ่านศิลปะการแสดง” โดย นายสุท ธิพ ันธุ์ เหรา ผู้ศึกษา รอง ศาสตราจารย์ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม และ อาจารย์ ดร.สุดสันต์ สุทธิพิศาล อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

ท่าการแสดงที่ประยุกต์จากกระบวนการทอผ้าซิ่นมัดก่าน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 58

บทคัดยอ วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสื่อความหมายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัดน่าน ผ่านศิลปะการแสดง” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามรดกภูมิปัญญาทาง วัฒนธรรมผ้าทอชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัดน่าน และจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้า ทอชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัดน่าน ด้วยการสื่อความหมายมรดกวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อผ่าน ศิลปะการแสดงโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาทั้งภาคเอกสารและภาค สนาม การเก็บข้อมูลด้วยการสำารวจ สังเกตการณ์ และสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อศึกษาและเก็บ รวบรวมมรดกภูมิปัญญาผ้าทอของชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัดน่านจากผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้า และการสนทนากลุ่มตัวแทนชุมชนชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัด น่าน 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านด้านการทอผ้าและประธานกลุ่มทอผ้า 2) กลุ่มผู้นำา ชุมชนและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม ที่ถูกคัดเลือก อย่างเจาะจง เพื ่ อรวบรวมความคิด เห็น ความคิด เห็น และข้ อ เสนอแนะต่ อ การจั ด การมรดก ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน ผลจากการศึกษา ได้ทราบถึงองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัดน่าน โดยแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1) ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรม 2) ผ้าที่ใช้สอยในครัว เรือน 3) เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย ซึ่งมีคุณค่าต่อชุมชนในด้านของคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านวัฒนธรรม คุณค่าทางสุนทรียะและคุณค่าทางเศรษฐกิจ จากความเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในปัจจุบัน ทำาให้สถานะภาพของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ผ้าทอไทลื้อของชุมชนอยู่ในสถานะใกล้สูญหาย ผลจากการสนทนากลุ่มจากกลุ่มตัวแทนชุมชนมี ความคิดเห็นว่าควรมีการจัดการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อสร้างความ ตระหนักรู้ถึงคุณค่าให้แก่คนในชุมชน โดยการสื่อความหมายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอ ของชุมชนผ่านสื่อการแสดง โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนจัดการแสดงชุด “วิจิตราภรณ์ วรนครเมืองปัว” โดยคัดเลือก “ผ้าซิ่นมัดก่าน” ซึ่งเป็นผ้าซิ่นที่ทอด้วยเทคนิคมัดหมี่อันเป็น เอกลักษณ์ของผ้าซิ่นชาวไทลื้ออำาเภอปัว จังหวัดน่าน มาเป็นเนื้อหาการแสดง การแสดงมีเนื้อหากล่าวถึง การสืบสานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมการทอผ้าไทลื้อ จากบรรพบุ รุ ษ จากดิ น แดนสิ บ สองพั น นามาเป็ น ผ้ า ทอที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องไทลื้ อ อำ า เภอปั ว ในปัจจุบัน จากการนุ่งผ้าซิ่นแบบไทลื้อดั้งเดิม เปลี่ยนมานุ่งผ้าซิ่นที่ทอผ้าซิ่นด้วยเทคนิคการ “มัด ก่าน” (มัดหมี่) ที่มีรูปแบบเป็นของตนเอง การออกแบบการแสดงครั้งนี้ใช้แนวคิดการฟ้อนล้านนา แบบใหม่ (Principle Neo Lanna Dance) เป็นแนวความคิดหลักเพื่อสร้างสรรค์การแสดงร่วม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 59

สมัยเพื่อตอบสนองความต้องการสังคมสมัยใหม่ โดยนำาฟ้อนพื้นบ้านและกระบวนการทอผ้าซิ่น มัดก่านมาประยุกต์เป็นท่าทางการแสดง ประกอบดนตรีทำานองเพลง “ซอปันฝ้าย” ซึ่งเป็นเพลง พื้นเมืองน่าน และใช้ผ้าทอของชุมชน คือ ผ้าซิ่นมัดก่าน เป็นเครื่องแต่งกายการแสดง การจัดการ แสดงเผยแพร่เป็นสาธารณะทั้งภายในและภายนอกชุมชน โดยการแสดงสดและการบันทึกภาพ เคลื่อนไหวจัดทำาเป็นสื่อวีดีทัศน์ เผยแพร่ในช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ให้เกิดความรู้ความเข้าใจใน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าของชาวไทลื้ออำาเภอปัว จังหวัดน่าน Abstract This thesis aims to study the cultural heritage of Tai Lue textiles in Pua District, Nan Province, and to manage the heritage by interpreting through a performance in which the community participates. The methods utilized in this study were library research, fieldwork, survey, observation, and in-depth interview to collect the cultural heritage from the major informants that are the community textile experts and the interviews with the three representative groups from the Tai Lue community in Pua District, Nan Province: 1) textile experts and their head, 2) community leaders and domestic government administrators and 3) cultural experts that were specifically selected. These provide opinions and suggestions towards the cultural heritage management of the community. The results indicate that the knowledge of the cultural heritage of Tai Lue textiles in Pua District, Nan Province, can be categorized into 3 types: 1) ritual textiles, 2) household textiles and 3) costumes. They are valuable in terms of history, culture, esthetics and economy. Nowadays, the social-economic changes cause the cultural heritage to be nearly endangered. From the previously mentioned interviews, those representatives suggested the management of the cultural heritage in order to create the value awareness among people in the community by interpreting the cultural heritage of the community textiles through a performance. The community should participate in the performance “Wichittraphon Woranakhon Muang Pua” to select “Phasin Mad Kan” that is a textile uniquely produced by Tai Lue people in Pua District, Nan Province.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 60

The content of the performance involved the preservation of the cultural heritage of the unique Tai Lue textiles from Sipsongpanna ancestors to Tai Lue people in Pua District. The authentic Tai Lue textiles were transformed to the textiles uniquely produced by “Mad Kan”(Ikat). For the choreography, the Neo Lanna Dance became the principle to create this contemporary performnce according to the modern society. The local dance and the production of Phasin Madkan were applied as the dancing patterns equipped with the melody “So Pan Fai,” a local song of Nan Province. Also, in this performance, the Mad Kan textiles were utilized as the costume. The live and recorded performances were broadcast to people inside and outside the community through the media in order that people would comprehend the cultural heritage of Tai Lue textiles in Pua District, Nan Province.


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 61

ท่าการแสดงที่ประยุกต์จากกระบวนการทอผ้าซิ่นมัดก่าน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 62

ประวัติและผลงานของ

ศาสตราจารยเกียรติคุณ สุรพล ดําริหกุล ขอมูลสวนบุคคล ชื่อและนามสกุล ตำาแหน่งทางวิชาการ วันเดือนปเกิด ที่อยู่/สถานที่ติดต่อ

นายสุรพล ดำาริห์กุล ศาสตราจารย์เกียรติคุณ 7 มกราคม 2493 อายุ 65 ป บ้านเลขที่ 289/46 หมู่ที่ 3 หมู่บ้านธนารักษ์ ตำาบลดอนแก้ว อำาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180 โทรศัพท์ 089 – 854 - 7953

ประวัติการศึกษา - ปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต (โบราณคดี) สาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2515 - ปริญญาโทสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2527 - ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2558 - ประกาศนียบัตรชั้นสูงบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2518 - ประกาศนียบัตร (1) Certificate in Prehistoric Archaeology of SPAFA and National Museum of Philippines, 1979. (2) ประกาศนียบัตรหลักสูตรเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ฝายอำานวยการ รุ่น 29 โรงเรียนการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ พ.ศ. 2530


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 63

ประวัติการทํางาน งานประจํา - รับราชการในกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการในระหว่าง พ.ศ.2517 - 2536 ทำา

หน้าที่ในตำาแหน่งต่าง ๆ อาทิ ภัณฑารักษ์นักโบราณคดีหัวหน้าโครงการสำารวจและขุดค้นทาง โบราณคดีตามโครงการเขื่อนผามอง (กั้นแม่น้ำาโขง) ของกรมศิลปากรร่วมกับกรมพลังงานแห่งชาติ หัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ หัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา กอง โบราณคดี หัวหน้าฝายการศึกษาและประชาสัมพันธ์ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ประชาสัมพันธ์ กรมศิลปากร หัวหน้าฝายเลขานุการในคณะกรรมการอำานวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย (ซึ่งมี ฯพณฯนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ) บรรณาธิการสารกรมศิลปากร และบรรณาธิการนิตยสาร ศิลปากร - ตั้งแต่ พ.ศ.2536 เป็นต้นมา โอนมารับราชการในตำาแหน่งอาจารย์ประจำาสาขาวิชา ศิลปะไทย ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทำาหน้าที่เป็นหัวหน้า ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป ระหว่าง พ.ศ.2542 – 2543 ที่ปรึกษาอาวุโสสำานักบริการ วิชาการ (UNISERV) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2548 – 2555 และทำาหน้าที่ประธาน กรรมการบัณฑิตศึกษา สหสาขาวิชาการจัดศิลปะและวัฒนธรรมบัณฑิตวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2552 – 2553 นอกจากนี้ยังทำาหน้าที่เป็นบรรณาธิการวารสารวิจิตรศิลป และเกษียณราชการเมื่อ พ.ศ. 2553


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 64

งานพิเศษที่สําคัญ ๆ (1) อุปนายกสมาคมเพื่อการรักษาสมบัติวัฒนธรรมประจำาจังหวัดลำาปาง (2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำาปาง (ตั้งแต่ พ.ศ.2546 -2550) (3) ที่ปรึกษากลุ่มช่าง ๔ หมู่ เมืองเชียงใหม่ (องค์กรเอกชน) (4) อนุกรรมการ ในคณะอนุกรรมการด้านวิชาการงานสมโภชเชียงใหม่ 700 ป ของ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ. 2537 – 2539 (5) กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำาหนังสืออนุสรณ์ 600 ป พระธาตุเจดีย์หลวง วัด เจดีย์หลวง ของจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2538 (6) ผู้อำานวยการโครงการพัฒนาและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมโบราณสถานร้างเมืองเชียงใหม่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 700 ป เมืองเชียงใหม่ ของคณะวิจิตรศิลป โดยการสนับสนุนของโครงการส่ง เสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองระดับท้องถิ่น (LIFE - Thailand) ของ UNDP และองค์กร สนับสนุนวิชาการและกิจกรรมสังคมของประเทศเยอรมนี (GTZ) ในระหว่าง พ.ศ 2537 - 2539 (7) ผู้อำานวยการโครงการบูรณะและอนุรักษ์เจดีย์วัดหัวข่วงแสนเมืองมาหลวง เพื่อร่วม เฉลิมฉลอง 700 ป เมืองเชียงใหม่ ของคณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่าง พ.ศ 2538 - 2539 (8) กรรมการในคณะกรรมการทดลองนำาร่องการบริหารจัดการทรัพย์สินทางศิลปวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ตามคำาสั่งกรมศิลปากรที่ 470/2544 ลงวันที่ 8 สิงหาคม 2544 (9) กรรมการในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเขตเมืองเก่าเชียงใหม่ ตามคำาสั่ง จังหวัดเชียงใหม่ที่ 2736/2544 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2544 (10) ผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาโครงการเรียบเรียงตำาราของทบวงมหาวิทยาลัย ตาม หนังสือที่ ทม 0207/5339 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2544. (11) กรรมการในคณะกรรมการตัดสินการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกและ บรรจุภัณฑ์ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ ตามคำาสั่งจังหวัดเชียงใหม่ ที่ 2329/2545 (12) กรรมการในคณะกรรมการดำาเนินงานจัดสร้างอนุสรณ์สถานพ่อเจ้าทิพย์ช้าง ตาม ประกาศจังหวัดลำาปาง ลงวันที่ 10 กันยายน 2546


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 65

(13) ที่ปรึกษาทางวิชาการโครงการจัดแสดงศูนย์บริการข้อมูลเมืองประวัติศาสตร์ เวียงกุมกามจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2547 (15) ประธานคณะทำางานจัดทำาแผนงานโครงการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน อำาเภอสันปาตอง จังหวัดเชียงใหม่ ของกลุ่มประชาคมเวียงท่ากาน อำาเภอสันปาตอง จังหวัด เชียงใหม่ พ.ศ. 2547 (16) ประธานโครงการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เวียงละกอน วัดพระเจ้าทันใจ จังหวัดลำาปาง ของภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2547 (17) กรรมการในคณะกรรมการจัดทำาแผนยุทธศาสตร์อนุรักษ์เมืองเก่านครลำาปางของ เทศบาลนครลำาปาง พ.ศ. 2548 (18) กรรมการในคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่านครลำาปาง ตามประกาศ เทศบาลนครลำาปาง วันที่ 16 สิงหาคม 2548 (19) คณะอนุกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ภายใต้คณะกรรมการอนุรักษ์และ พัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2549 (20) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำาปาง พ.ศ. 2553 2556


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 66

ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่สําคัญๆ (1) งานวิจัยเรื่อง การสำารวจและขุดค้นทางโบราณคดีตามโครงการผามอง เล่ม 1 เอกสารพิมพ์ดีดเย็บเล่ม กองโบราณคดี กรมศิลปากร และสำานักงานพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2520 (2) งานวิจัยเรื่อง การสำารวจและขุดค้นทางโบราณคดีตามโครงการผามอง เล่ม 2 เอกสารพิมพ์ดีดเย็บเล่ม กองโบราณคดี กรมศิลปากร และสำานักงานพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2520 (3) งานวิจัยเรื่อง การขุดค้นทางโบราณคดีบ้านตาดทอง อำาเภอเมือง จังหวัดยโสธร เอกสารพิมพ์ดีดเย็บเล่ม กองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ. 2522 (4) The Archaeological Reconnaissance Report ’ , Environmental and ecological investigation of Loei Multipurpose Project, (Study team), prepared by Tesco ltd. In association with Mahidol University and Chulalongkorn University for Electricity Generating Authority of Thailand, 1982 (5) The Archaeological Reconnaissance Report ’ , Environmental and ecological investigation of Upper Pa Sak Project, (Study team), prepared by Tesco ltd. In association with Mahidol University and Chulalongkorn University for Electricity Generating Authority of Thailand, 1982 (6) งานวิจัยเรื่องรายงานการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณสระปรางค์ – เขาคลังในเมือง ศรีเทพเอกสารพิมพ์ดีดเย็บเล่มกองโบราณคดีกรมศิลปากร พ.ศ.2526 (7) งานวิจัยเรื่อง วัดร้างในเวียงเชียงใหม่” (ผู้วิจัยร่วม) โดย อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และสุรพล ดำาริห์กุลสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2529 (8) งานวิจัยเรื่อง เจดีย์ช้างล้อมในดินแดนล้านนาทุนอุดหนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ พ.ศ. 2538 (9) งานวิจัยเรื่อง งานศิลปกรรมลายคำาประดับอาคารทางศาสนาล้านนา ในระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 20 - 24 ทุนอุดหนุนการวิจัย ประเภททั่วไป จากสำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่ง ชาติ ประจำาป 2539 (10) งานวิจัยเรื่อง การศึก ษาสิ่งแวดล้อมและการปรั บปรุ ง โบราณสถานร้ า งเมื อ ง เชียงใหม่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 700 ปเมืองเชียงใหม่ (ผู้วิจัยร่วม) โดย สุรพล ดำาริห์กุล และ วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ได้รับทุนสนับสนุนจาก LIFE – Thailand และ องค์กรส่งเสริมทางวิชาการ ของประเทศเยอรมนี (GTZ) , พ.ศ. 2539


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 67

(11) งานวิจัยเรื่อง การศึกษาและจัดทำาเครื่องมือชี้วัดมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวใน ประเทศไทย (ผู้วิจัยร่วม) สนับสนุนโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2543 - 2544 (12) งานวิจัยเรื่อง เจดีย์ช้างล้อมกับพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ในประเทศไทยได้รับทุน อุดหนุนการวิจัยจากสำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สาขาปรัชญา ปงบประมาณ 2544 (13) งานวิจัยเรื่อง ข่วงเมืองและวัดหัวข่วงกับแบบแผนของเมืองในดินแดนล้านนา, งบประมาณแผ่นดิน หมวดเงินอุดหนุนการวิจัยของ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปงบประมาณ 2545 (14) งานวิ จั ย เรื่องพัฒนาการของลวดลายประดั บศาสนสถานล้ า นนางบประมาณ แผ่นดิน หมวดเงินอุดหนุนการวิจัยของ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปงบประมาณ 2547 (15) งานวิจัยเรื่อง การศึกษาและขุดค้นทางโบราณคดีแหล่งกลางเวียงเชียงใหม่ (บริเวณ ก่อสร้างหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่) สนับสนุนงบประมาณโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ. 2548 (16) งานวิจัยเชิงปฏิบัติการเรื่อง คุณค่าเอกลักษณ์ศิลปกรรมล้านนากับแนวทางการส่ง เสริมการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเสนอต่อสำานักศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม, พ.ศ. 2549 ผลงานหนังสือที่สําคัญๆ (1) หนังสือเรื่อง ประวัติศาสตรลานนา, ประวัติบานเมือง, โบราณสถาน, บุคคล สําคัญ (ผู้ประพันธ์ร่วม) โดย สุรพล ดำาริห์กุล, เพนธ์, ฮันส์ และอรุณรัตน์ วิเชียรเขียว คณะ กรรมการส่งเสริมหนังสือตามแนวพระราชดำาริ จัดพิมพ์, 2528 (2) หนังสือเรื่อง ทําเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตรสุโขทัย (ผู้ประพันธ์ร่วม) กรมศิลปากรจัดพิมพ์, 2531 (3) หนังสือเรื่อง ๙ อุทยานประวัติศาสตร กรมศิลปากรจัดพิมพ์ 2532 (4) หนังสือเรื่อง มรดกอีสานที่ภูพระบาท กรมศิลปากรจัดพิมพ์ เนื่องในวโรกาสสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำาเนิน เปดอุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท จังหวัดอุดรธานี, 2535 (5) หนังสือเรื่อง แผนดินลานนา สำานักพิมพ์เมืองโบราณจัดพิมพ์, 2539


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 68

(6) หนังสือเรื่อง วัดรางในเวียงเชียงใหม (ผู้เขียนร่วม) โดย อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว และ สุรพล ดำาริห์กุล สุริวงศ์บุคเซนเตอร์เชียงใหม่จัดพิมพ์, 2539 (7) หนังสือเรื่อง บานเชียง : มรดกโลกทางวัฒนธรรม องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์, 2540 (8) หนังสือเรื่อง งานศิลปกรรมลานนากับคุณคาที่กําลังเปลี่ยนไป (ผู้เขียนและ บรรณาธิการ) คณะวิจิตรศิลปมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จัดพิมพ์, 2540 (9) หนังสือเรื่อง ลานนา: สิ่งแวดลอม สังคม และวัฒนธรรม สำานักพิมพ์แสงอรุณ จำากัด จัดพิมพ์, 2542 (10) หนังสือนำาชม เมืองเชียงแสน สำานักพิมพ์สีดา, 2542 (11) หนังสือเรื่อง เครื่องปนดินเผา (พิมพ์สี่สี จำานวน ๔๖๘ หน้า) จัดพิมพ์ตาม โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย บริษัทสตาร์ปริ้นจำากัดพิมพ์และจัดจำาหน่ายโดยองค์การค้า ของคุรุสภา 2542 (12) หนังสือเรื่อง มรดกชางศิลปไทย (พิมพ์สี่สี จำานวน ๕๒๖ หน้า) จัดพิมพ์ตาม โครงการสืบสานมรดกวัฒนธรรมไทย บริษัทสตาร์ปริ้นจำากัดพิมพ์และจัดจำาหน่ายโดยองค์การค้า ของคุรุสภา 2542 (13) หนังสือเรื่อง ลายคําลานนา สำานักพิมพ์เมืองโบราณ, 2544. (14) หนังสือเรื่อง ประวัติศาสตรและศิลปะหริภุญไชย, สำานักพิมพ์เมืองโบราณจัด พิมพ์, 2547 (15) หนังสือเรื่อง แผนดินอีสาน สำานักพิมพ์เมืองโบราณจัดพิมพ์, 2549 (16) หนังสือเรื่อง ขวงเมืองและวัดหัวขวง : องคประกอบสําคัญของเมืองในดินแดน ลานนา สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดพิมพ์, พ.ศ. 2549 (17) หนังสือเรื่อง “เจดียชางลอม : ประวัติศาสตรบานเมืองกับพระพุทธศาสนาลังกา วงศในประเทศไทย”, สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 69

ผลงานการอนุรักษมรดกวัฒนธรรมและบริการสังคมที่สําคัญๆ (1) เริ่มต้นดำาเนินการอนุรักษ์และฟนฟูเมืองประวัติศาสตร์เวียงกุมกามและเวียงท่ากาน จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่าง พ.ศ. 2526 – 2530 จนทำาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวที่มีชื่อ เสียงมาจนทุกวันนี้ (2) รับผิดชอบและดำาเนินการอนุรักษ์วัดต้นเกวนหรืออินทราวาสอำาเภอหางดง จังหวัด เชียงใหม่ โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการ ในระหว่าง พ.ศ. 2527 – 2529 ทำาให้สามารถ อนุรักษ์รักษาโบราณสถานวัดต้นเกวนที่มีความงดงามและมีชื่อเสียงสืบมาจนทุกวันนี้ (3) รับผิดชอบและดำาเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตามโครงการสวนประ วัติศาสตร์พิลกราชานุสรณ์ วัดเจ็ดยอด เมืองเชียงใหม่ ร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่าง พ.ศ. 2527 – 2530 จนทำาให้สภาพแวดล้อมของโบราณสถานวัดเจ็ดยอดเรียบร้อยงดงามเป็นแหล่ง เรียนรู้และท่องเที่ยวที่สำาคัญของเมืองเชียงใหม่มาจนทุกวันนี้ (4) รับผิดชอบและดำาเนินการอนุรักษ์และปรับปรุงสิ่งแวดล้อมโบราณสถานร้างเมือง เชียงใหม่ จำานวน 5 แห่ง เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 700 ป เมืองเชียงใหม่ ของคณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนของโครงการส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองระดับ ท้องถิ่น (LIFE - Thailand) ของ UNDP และองค์กรสนับสนุนวิชาการและกิจกรรมสังคมของ ประเทศเยอรมนี (GTZ) ในระหว่าง พ.ศ 2537 – 2539ซึ่งต่อมาได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่นจาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป (5) รับผิดชอบและดำาเนินการบูรณะเจดีย์วัดหัวข่วงแสนเมืองมาหลวง เพื่อร่วมเฉลิม ฉลอง 700 ป เมืองเชียงใหม่ ของคณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยไม่ใช้งบประมาณ ของทางราชการ ใน พ.ศ. 2538 -2539 (6) รับผิดชอบและดำาเนินการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เวียงละกอน วัดพระเจ้าทันใจ จังหวัด ลำาปาง ของภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยไม่ใช้งบประมาณ ของทางราชการ ใน พ.ศ.2547


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 70

รางวัลที่ได้รับ (1) รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลผลงานวิจัย ชมเชยสาขาปรัชญา จากผลงานการ วิจัยเรื่องงานศิลปกรรมลายคำาประดับอาคารทางศาสนาล้านนาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20–24 จากสำานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2543 (2) รางวัลผู้ประพันธ์หนังสือ ประเภทสารคดีดีเด่น เรื่องล้านนา : สิ่งแวดล้อมสังคมและ วัฒนธรรมของคณะกรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2543 (3) รางวัลผู้ประพันธ์หนังสือ ประเภทสารคดี ชมเชย เรื่อง ลายคำาล้านนา ของคณะ กรรมการพัฒนาหนังสือแห่งชาติ พ.ศ. 2544 (4) ศิษย์เก่าดีเด่นโรงเรียนอัสสัมชัญลำาปาง พ.ศ 2544 (5) นักศึกษาเก่าดีเด่นมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ 2550


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 71

บันทึกประสบการณงานอนุรักษและพัฒนามรดกวัฒนธรรม ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำาริห์กุล

ชีวิตที่ผานมา ทำาให้ได้รู้ว่าการปฏิบัติและทำางานในโลกของความเป็นจริงเป็น

ประสบการณ์สำาคัญ ที่ทำาให้ได้ความรู้และเข้าใจถ่องแท้ มากกว่าการทำางานบนหอคอยงาช้าง ที่ อ่านหนังสือผลงานของคนอื่น ขาดการศึกษาทำางานเป็นของตน แล้วเอามาโม้ พูด และสอน ด้วยเหตุนี้ความน่าเชื่อถือของคน ควรวัดที่ผลงานและประสบการณ์ แต่ค่านิยมของคนทุกวันนี้ มักวัดกันที่สถานะภาพ คุณวุฒิ และตำาแหน่ง จึงทำาให้มุ่งแสวงหาคุณวุฒิ และตำาแหน่ง มากกว่า การทำางาน ประสบการณ์จึงเป็นทั้งความรู้และบทเรียนสำาหรับการทำางานในปัจจุบัน ผมเป็นคน เก่าที่ชอบเล่าความหลัง จึงถือโอกาสนี้บันทึกประสบการณ์การทำางานวิชาการและงานอนุรักษ์ ทางวัฒนธรรม ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง เพราะถ้าพลาดโอกาสนี้ก็คงไม่ได้เล่าอีกแล้ว

ชีวิตไมใชเรื่องบังเอิญ มีคำากล่าวที่ได้ยินเสมอว่า “ไม่ชอบอะไรมักได้อย่างนั้น”

เมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เคยสัมผัสและเห็น ชีวิตการทำางานการอนุรักษ์โบราณสถานของรุ่นพี่ที่ทำางานอยู่กรมศิลปากร ไม่เคยชอบและคิดฝัน ว่าอยากทำางานด้านนี้เลย ไม่รู้ว่าทำาไม? ดังนั้นจึงเลือกเรียนวิชาเอกมานุษยวิทยาวัฒนธรรม แต่ วิชาโทโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อสำาเร็จการศึกษาแล้วจึงอาสาไปเป็นบัณฑิตอาสาสมัคร ตามโครงการของ ดร.ปวย อึ้งภากรณ์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเวลาถึงสองป มีจิตใจมุ่ง มั่นอยากทำางานพัฒนาสังคมในชนบท เคยไปทำางานโครงการพัฒนาชนบทลุ่มแม่น้ำากลองมาระ ยะหนึ่ง แต่ชีวิตก็หักเห จังหวะพอดีที่กรมศิลปากรเปดรับสมัครข้าราชการตำาแหน่งภัณฑารักษ์ ตรี กองโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มีรุ่นพี่ชักชวน ก็ลองสมัครเล่นดู ไม่สนุกก็ค่อย ลาออก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชีวิตจึงเกี่ยวข้องผูกพันอยู่กับงานด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีและ อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมมาโดยตลอด


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 72

สํารวจและขุดคนทางโบราณคดีตามโครงการผามอง สรางเขื่อนกั้นแมนําโขง เริ่มต้นทำางานใน พ.ศ. 2517 ได้บรรจุเป็นข้าราชการในตำาแหน่ง ภัณฑารักษ์ตรี สังกัด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสวรรควรนายก อำาเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย กองโบราณคดีและ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร ขณะนั้นพิพิธภัณฑ์ยังสร้างไม่เสร็จ จึงปฏิบัติราชการที่ กรุงเทพฯและถูกส่งไปร่วมปฏิบัติงานในโครงการสำารวจโบราณคดีตามโครงการผามอง ซึ่งเป็น ความร่ ว มมื อระหว่ างกรมศิลปากรกับ กรมพลังงานแห่งชาติ (หน่วยงานขณะนั้น) เป็นงาน โบราณคดีกู้ภัยในเขตพื้นที่น้ำาท่วมตามโครงการสร้างเขื่อนผามอง กั้นแม่น้ำาโขง ในเขตอำาเภอ สังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอ่างเก็บน้ำาเหนือเขื่อนขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ส่วน หนึ่งของจังหวัดเลย หนองคาย ขอนแก่น และอุดรธานี และในป พ.ศ. 2518 เกิดปัญหาบาง ประการ ผมจึงได้รับการมอบหมายให้ทำาหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการผามองฯ ทั้งๆที่เพิ่งบรรจุเป็น ชั้นตรีไม่นาน เนื่องจากขาดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ดังนั้นกรมศิลปากรจึงต้องอุปโหลกให้ผมเป็นชั้น โท (แต่ไม่ได้เป็นจริง) และทำาหนังสือส่งตัวไปร่วมงานกับกรมพลังงานแห่งชาติ เพื่อให้การทำางาน ต่อเนื่อง ในระหว่าง พ.ศ. 2518 - 2520 จนเสร็จสิ้นโครงการฯ ถือเป็นงานใหญ่งานแรกในชีวิตที่ ท้าทายและรับผิดชอบใหญ่หลวง ในการปฏิบัติงานภาคสนามตามโครงการผามองฯในช่วงนั้น มีทีมงาน 5 - 6 ชีวิต พร้อม รถยนต์เก่าอินเตอร์เนชั่นแนล 6 สูบ โฟร์วีลคู่ชีวิต เสื่อผืน มุ้งหลัง (ไม่มีหมอน) ทำางานร่วมทุกข์สุข กันในพื้นที่ปาเขาทุรกันดารและอันตราย เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีแดงในเขตอิทธิพลของผู้ ก่อการร้ายคอมมูนิสต์ แต่ด้วยวัยหนุ่มคะนอง พวกเราบุกลุยไม่เคยกลัวตาย สำารวจและขุดค้น ทางโบราณคดีตลอดสามป จนงานสำาเร็จ พร้อมรายงานเล่มโตหลายเล่ม ผลงานเป็นที่พึงพอใจ ของคณะกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำาโขงนานาชาติ แต่เมื่อคอมมูนิสต์เข้ายึดครองประเทศลาวได้ โครงการสร้างเขื่อนผามองกั้นแม่น้ำาโขงจึงถูกยกเลิก และความจริงก็เป็นที่ประจักษ์ว่า เหตุผลที่ ผมได้รับการอุปโหลกเป็นหัวหน้าโครงการฯ นี้ ทั้ง ๆ ที่ยังเด็กและเพิ่งเข้ารับราชการ เพราะคน อื่น ๆ เขากลัวตาย จึงไม่มีใครกล้าและยอมทำา แต่อานิสงส์ของการทำางานคือ ประสบการณ์ชีวิตที่ ยากลืมเลือนและผลงานวิชาการ อย่างน้อยก็มีรายงานทางวิชาการหลายเล่มโตและตีพิมพ์หนังสือ หนึ่งเล่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และโบราณคดีภาคอิสาน รวมทั้งทำาให้ชีวิตการรับราชการในปแรก ได้สองขั้นและหลังจากนั้นได้ทำางานสำารวจและขุดค้นทางโบราณคดีในภาคอิสานต่อมาอีกหลายป จากผลงานดังกล่าวนี้ทำาให้ได้รับอุปโลกจากสถาบันการศึกษาหลายแห่ง เชิญให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจงานวิจัยและผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวกับภาคอิสานมาจนทุกวันนี้


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 73

ขุดคนและเปดกรุองคพระธาตุพนม เริ่มไปปฏิบัติงานตามโครงการผามองฯ ได้ไม่นาน ประจวบเหมาะที่องค์พระบรม ธาตุพนม จังหวัดนครพนมล้มทลายลงทั้งองค์ ใน พ.ศ. 2518 กรมศิลปากรได้รับมอบหมายจาก รัฐบาลให้ทำาการขุดค้นเปดกรุองค์พระธาตุพนมและเตรียมการบูรณะ มีนักโบราณคดี 3 คน ซึ่ง ผมเป็นหนึ่งในนั้น ได้รับความไว้วางใจและคัดเลือกให้ไปทำาการขุดค้นและเปดกรุขององค์พระ ธาตุพนมเป็นระยะเวลาสามสี่เดือน นับ เป็น บุญ กุศลที่ไ ด้ร่ว มขุ ด พบพระบรมสารี ร ิ ก ธาตุ และ รวบรวมโบราณวัตถุมีค่าไว้ รวมทั้งได้มีส่วนในการบูรณะองค์พระธาตุพนมขึ้นใหม่อีกครั้ง โดย รวบรวมและอนุรักษ์อิฐสลักลายประดับสถาปัตยกรรมดั้งเดิม ซึ่งในการบูรณะได้นำากลับไปประดับ องค์พระธาตุพนมให้เหมือนดังเดิม

พระธาตุพนมลม เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เมื่อบูรณะเสร็จแล้ว ในพ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำาเนิน ในพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุพนม ได้รับมอบหมายเป็นเจ้าพนักงานอยู่ ด้านบนองค์พระธาตุพนม ร่วมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุเข้าบรรจุในช่องกรุภายในองค์พระ ธาตุพนม นับเป็นบุญกุศลยิ่งของชีวิต


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 74

อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุบรรจุในกรุองคพระธาตุพนมที่บูรณะขึ้นใหม ชีวิตและประสบการณ์ดังกล่าว คงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ อาจด้วยบุญกรรมมาแต่ปางก่อน และด้ ว ยอานิ ส งส์ ผ ลบุ ญของการปฏิบัติงานครั้งนั้น ด้ว ยใจสุ จ ริ ต ท่ า มกลางทรั พ ย์ ส มบั ติ ล้ำ า ค่ า มหาศาลขององค์พระธาตุพนม ทำาให้นักโบราณคดี 3 คน ที่ได้รับการคัดเลือกครั้งนี้ มีความเจริญ รุ่งเรืองในชีวิตราชการ คือ นายพิเศษ เจียจันทร์พงษ์ (ตำาแหน่งสุดท้าย เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ระดับ 10) นายปฏิพัทธ์ พุ่มพงษ์แพทย์ (ตำาแหน่งสุดท้าย : ผู้อำานวยการสำานักศิลปากรที่ 7 น่าน ระดับ 9) และผม (ศาสตราจารย์ ระดับ 10)


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 75

สํารวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานทั่วราชอาณาจักร เก้าปแรกของการทำางานที่กรมศิลปากร ชีวิตส่วนใหญ่คือ การเดินทางและทำางานภาค สนาม ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ผูกพันกับรถยนต์แลนโรเวอร์เก่า ๆ พร้อมเสื่อ หมอน มุ้ง และทีมปฏิบัติ งานลุยทุกสภาพพื้นที่ แผ่นหลังแทบไม่เคยสัมผัสกับที่นอนอ่อนนุ่ม (ยกเว้นกลับบ้าน) แต่ก็เป็น ความสุข สนุกสนานและพอใจ ช่วงไหนไม่ได้ทำางานภาคสนาม มันช่างแสนเหงา เพราะนั่งโตะ ทำางานไม่เป็น ใน พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในโครงการสำารวจขึ้นทะเบียน โบราณสถาน ทำาหน้าที่ทางวิชาการในทีมงานหลักสำารวจและรังวัดเพื่อขึ้นทะเบียนและกำาหนด ขอบเขตโบราณสถาน ทั้งนี้เนื่องจากโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณ สถานตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2478 นั้น เป็นรายชื่อโบราณสถานที่จังหวัด ต่าง ๆ ส่งมาขึ้นทะเบียน ขาดรายละเอียดที่ชัดเจนและไม่ได้กำาหนดขอบเขตโบราณสถาน ทำาให้ มีปัญหาในการควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้นกรมศิลปากรจึงทำาการทบทวน สำารวจ เก็บข้อมูล และรังวัดพื้นที่เพื่อกำาหนดขอบเขตโบราณสถานเสียใหม่ ซึ่งในที่นี้ขอบเขตโบราณ สถานก็คือ เขตพื้นที่โดยรอบตัวโบราณสถาน มีนัยยะทางกฎหมาย ก็เหมือนกับตัวโบราณสถาน ผู้ใดบุกรุกหรือดำาเนินการใด ๆ ในเขตโบราณสถานโดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมได้รับโทษเช่นเดียว กับการทำาลายตัวโบราณสถาน ห้ า ป ข องการทำ า งานสำ า รวจและเก็ บ ข้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ประวั ต ิ ลั ก ษณะทางศิ ล ป สถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมของโบราณสถานในภูมิภาคต่าง ๆ ทำาให้ได้มีโอกาสเดินทางไป ทั่วราชอาณาจักร ได้สัมผัสเรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งโบราณ สถานต่าง ๆ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าโบราณสถานที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ของชาติในทุกวันนี้ ไม่ต่ำากว่าร้อยละ 80 ผมได้เรียนรู้และสัมผัสมาแล้วทั้งสิ้น ประสบการณ์เหล่า นี้มีค่ายิ่งในชีวิต เป็นข้อมูลที่สะสมไว้ในคลังสมอง เมื่อถึงเวลาทำางานวิจัยและเขียนเรื่องราวทาง วิชาการ สามารถนำามาใช้ ทำางานได้รวดเร็วและทำาให้มองภาพรวมของงานด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และโบราณคดีได้แจ่มชัดขึ้น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 76

สี่ปในความรับผิดชอบงานดานอนุรักษโบราณสถานในเขตวัฒนธรรมลานนา ในระหว่าง พ.ศ. 2526 – 2530 ผมได้รับการแต่งตั้งให้ดำารงตำาแหน่งหัวหน้าหน่วย ศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ (ชื่อหน่วยงานในขณะนั้น ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำานักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่) ซึ่งในช่วงเวลานั้นเป็นหน่วยงานภูมิภาคของกรมศิลปากรที่รับผิดชอบงานด้านการ อนุรักษ์โบราณสถานและวิชาการโบราณคดีในเขตพื้นที่ 8 จังหวัดของภาคเหนือตอนบน ชีวิตการทำางานที่ผ่านมาอยู่ในสายวิชาการมาโดยตลอด จึงเป็นครั้งแรกที่ต้องมาทำางาน ในสายบริหารจัดการที่ต้องเกี่ยวข้องทั้งคน วิชาการและงานด้านอนุรักษ์โบราณสถาน สำาหรับ เมืองเชียงใหม่ ในช่วงเวลานั้นมีปัญหาของโบราณสถานค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกำาแพงเมือง แจ่ง หรือป้อม ตลอดจนโบราณสถานร้างจำานวนมากที่อยู่ในเขตเวียงเชียงใหม่ มีสภาพทรุดโทรม ถูก บุกรุกสร้างอาคารเบียดบัง เป็นที่รุกรกและทิ้งขยะ เป็นทัศนะอุจาด เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม อันมาก ที่ผ่านมาไม่ได้รับการดูแล บูรณะและพัฒนาไม่มากนัก ขณะที่เมืองเชียงใหม่กำาลังได้รับ การพัฒนาและเป็นเมืองท่องเที่ยวสำาคัญที่ได้รับความนิยม จึงเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ดังนั้นจึงเป็นภาวะเร่งด่วนที่ทำาให้ต้องมุ่งเน้นปฏิบัติงานที่เมืองเชียงใหม่เป็นพิเศษ ขณะที่ จังหวัดอื่น ๆ จะมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดอื่นๆรับผิดชอบดำาเนินการ อาทิ คุณสายันต์ ไพรชาญจิตร์ (ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) รับผิดชอบดูแลแก้ไข ปัญหาเมืองเชียงแสน เป็นต้น จึงถือเป็นช่วงเวลาของการทำางานอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน ครั้งใหญ่ของเมืองเชียงใหม่ จึงขอบันทึกประสบการณ์การทำางานด้านการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม ที่เมืองเชียงใหม่ไว้ในที่นี้ ก่อนที่จะถูกลืมเลือน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 77

บูรณะโบราณสถานครั้งแรกที่วัดสะดือเมืองหรืออินทขิล (ราง) โบราณสถานร้างวัดสะดือเมือง กลางเวียงเชียงใหม่ เป็นโบราณสถานแห่งแรกที่ผมต้อง รับผิดชอบทำาการบูรณะในฐานะหัวหน้าหน่วยงาน เมื่อ พ.ศ. 2526 ชีวิตที่ผ่านมาเคยแต่ทำางาน ทางวิชาการ ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการบูรณะโบราณสถานมาก่อนเลย แต่เมื่อครั้ง ยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร เคยเรียนวิชาสถาปัตยกรรมไทย และการอนุรักษ์โบราณ สถาน ดังนั้นในฐานะหัวหน้าหน่วยงานฯสิ่งไหนไม่เคยทำาและทำาไม่เป็น ก็ต้องเรียนรู้และทำาเป็น ว่ารู้ไว้ก่อน เพราะไม่งั้นก็คงควบคุมดูแลงานไม่ได้ ในอดีตที่ผ่านมาข้าราชการกรมศิลปากร ก็ได้ เรียนรู้และได้ความรู้จากการปฏิบัติงานในชีวิตจริงทั้งสิ้น เพราะไม่มีสถาบันการศึกษาใด ๆ ที่สอน เฉพาะทางด้านนี้ รวมทั้งการบูรณะโบราณสถานในสมัยนั้น ไม่ได้มีการจ้างเหมาบริษัทเอกชน ดำาเนินการเช่นทุกวันนี้ แต่จะเป็นการดำาเนินงานเองของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรและคนงานเอง ทั้งหมด ดังนั้นในแต่ละหน่วยงานจึงมีนายช่างศิลปกรรมและนายช่างโยธา ตลอดจนช่างฝมือและ คนงานที่มีประสบการณ์ทำางานด้านนี้อยู่แล้ว ในฐานะหัวหน้าหน่วยงานที่พอมีความรู้หลักการ อนุรักษ์และองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม จึงอาศัยความรู้และหลักการเหล่านั้นทำาหน้าที่ ควบคุมดูแลให้การบูรณะโบราณสถานเป็นไปด้วยความถูกต้องเรียบร้อย ไม่เสียหาย ขณะเดียวกัน ก็ต้องเรียนรู้ภาคปฏิบัติจากโลกของความเป็นจริงไปด้วย

โบราณสถานวัดสะดือเมือง หรือวัดอินทขิล เชียงใหม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 78

โบราณสถานร้างวัดสะดือเมือง เป็นโบราณสถานสำาคัญที่ตั้งอยู่บริเวณกลางเวียง เชียงใหม่ เป็นกลุ่มโบราณสถานยุคเริ่มแรกของเมืองเชียงใหม่ ที่ประกอบด้วย เจดีย์ 2 องค์ และ วิหารหลวงพ่อขาว 1 หลัง ซึ่งสันนิษฐานว่า เจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งนั้น ควรจะเป็นพระเจดีย์ที่สร้าง ขึ้นในบริเวณที่พญามังรายต้องอสุนีบาตสิ้นพระชนม์บริเวณกลางเวียง เจดีย์แปดเหลี่ยมใน บริเวณหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่เป็นศิลปะล้านนายุคต้นที่ยังปรากฏลวดลายที่ได้รับ อิทธิพลจากศิลปะหริภุญไชย รวมทั้งเจดีย์ทรงกลมอีกองค์หนึ่ง ในการบูรณะพบว่า ด้านในเป็น เจดีย์ทรงปราสาทที่ปรากฏพระพุทธรูปศิลปะหริภุญไชยที่ซุ้มจระนำา ถูกสร้างครอบปดทับภาย หลัง ซึ่งในการบูรณะครั้งนั้นได้ตัดสินใจเปดช่องให้เห็นร่องรอยของการสร้างทับซ้อนสองสมัย ประจวบเหมาะที่ช่วงเวลาทำาการบูรณะครั้งนั้น สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมปได้จัดประชุมสัมมนาใหญ่ที่เชียงใหม่ งานบูรณะโบราณสถานวัดสะดือเมืองร้างแห่งนี้จึง เป็นสถานที่ดูงานภาคสนามของผู้เข้าร่วมสัมมนา วิธีการและผลงานการบูรณะโบราณสถานแห่งนี้ ได้รับการยอมรับและเป็นที่พึงพอใจของสถาปนิกและนักวิชาการ ทำาให้ได้รับการเผยแพร่กว้าง ขวางออกไป จึงนับเป็นก้าวแรกที่โชคดีของงานอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานที่ประสบผลสำาเร็จ เป็นกำาลังใจ ทำาให้ได้ประสบการณ์และเข้าใจว่า การบูรณะโบราณสถานนั้นเป็นทั้งศาสตร์และ ศิลปะ ศาสตร์นั้นคือ หลักการและความถูกต้องตามหลักวิชาการที่จะต้องตัดสินและพิจารณาด้วย ความรอบคอบ เพราะการบูรณะนั้นคือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ ส่วน ศิลปะนั้น เป็นอารมณ์และความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับผลงานของการบูรณะนั้น ๆ มีตัวอย่าง มากมายที่งานบูรณะโบราณสถานของกรมศิลปากรที่ทำาถูกต้องตามหลักฐาน แต่ก็ถูกตำาหนิโจมตี ว่าไม่ดีไม่เหมาะสม เนื่องจากขาดศิลปะในการนำาเสนอตัวโบราณสถาน ขาดความระมัดระวัง ทำาไปด้วยฝมือหยาบและดูใหม่เกินไป ทำาให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นการสร้างของใหม่ ไม่ใช่การ บูรณะของเก่า ประสบการณ์ที่ได้จากการบูรณะโบราณสถานครั้งแรกและแนวคิดที่ได้จากการร่วมงาน สัมมนาของสถาปนิกและนักวิชาการครั้งนั้น เป็นบทเรียนที่มีค่า ส่งผลดีต่อการปฏิบัติงานบูรณะ โบราณสถานในเวลาต่อมา เช่นที่ เจดีย์วัดโลกโมี โบราณสถานเวียงกุมกาม และเวียงท่ากาน แจ่งและป้อมกำาแพงเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งโบราณสถานร้างในเมืองเชียงใหม่จำานวนมาก ที่หน่วย ศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ทำาการบูรณะ แทบไม่ถูกตำาหนิ ในขณะที่การปฏิบัติงานด้านนี้ของกรม ศิลปากรในภาพรวมในช่วงเวลานั้นถูกโจมตีเป็นอันมาก รวมทั้งทำาให้เกิดความร่วมมือที่เป็นผลดี กับการทำางานด้านอนุรักษ์โบราณสถานเพื่อบริการสังคมกับคณะกรรมาธิการล้านนา สมาคม สถาปนิกสยามฯ รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น คือ นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ซึ่ง ท่านก็เป็นสถาปนิกด้วย ซึ่งจะได้กล่าวถึงในเรื่องต่อ ๆ ไป


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 79

ปญหาของกําแพงดินและโบราณสถานรางของเมืองเชียงใหม การบุกรุกและทำาลายกำาแพงเมืองโบราณเป็นปัญหาโลกแตกที่เกิดขึ้นและแก้ปัญหาได้ ยากในบ้านเมืองของเรา ทั้งนี้เนื่องจากคูเมืองและกำาแพงเมืองโบราณเป็นโบราณสถาน ซึ่งโดย หลักการได้รับการอนุรักษ์รักษาไว้ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯลฯ ซึ่งมีกรมศิลปากรรับ ผิดชอบ แต่ที่ดินที่ตั้งตัวโบราณสถาน คูเมืองและกำาแพงเมืองโบราณมีโฉนดที่ดินของทางราชการ คือที่ราชพัสดุ ที่มีกรมธนารักษ์เป็นผู้รับผิดชอบดูแลและจัดหาผลประโยชน์ตามกฎหมาย หน้าที่ ของส่วนราชการทั้งสองฝายแตกต่างกัน ค่อนข้างจะขัดกัน และไม่เคยทำางานบูรณาการร่วมกัน เพราะมีเป้าหมายคนละอย่าง สำาหรับเมืองเชียงใหม่มีกำาแพงเมืองอยู่ 2 ส่วน คือ กำาแพงเวียงชั้นใน ซึ่งเป็นคูน้ำา มี กำาแพงและแจ่งเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เมืองส่วนนี้ไม่ค่อยมีปัญหา เพราะโชคดีได้ตัดถนน เลาะคูน้ำา กำาแพงเมืองทั้งสองสองฟากฝังเป็นแนวป้องกันการบุกรุกไว้ได้ แต่กำาแพงเวียงชั้นนอก หรือที่เรียกว่า กำาแพงดิน นั้นมีปัญหาการบุกรุก ทำาลาย ของชุมชนแออัดและไม่แออัดที่อยู่ราย รอบเสมอ ทั้งนี้เพราะกรมธนารักษ์ให้เช่าและเก็บผลประโยชน์ส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งโดยหลัก การของส่วนราชการนี้ยิ่งเก็บรายได้สูงเท่าไหร่ย่อมเป็นผลงาน ขณะที่ที่อยู่อาศัยในเมืองซึ่งเป็นที่ ต้องการสูง ทำาให้เกิดการบุกรุก ขุดเจาะทำาลายกำาแพงดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นเส้นทาง สะดวกแก่การเข้าออกก็เกิดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้งโบราณสถานร้างที่มีอยู่เป็นจำานวนมากในเมืองเชียงใหม่ในระยะเวลานั้นก็เป็น ปัญหาเช่นกัน เนื่องจากมีการสร้างบ้านเรือนร้านค้าประชิดเบียดบัง บางแห่งเป็นแหล่งเสื่อมโทรม เป็นซ่องโสเภณีและที่ทิ้งขยะ สร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและทัศนอุจาดที่น่าอับอายสำาหรับเมือง เชียงใหม่เป็นอันมาก พื้นฐานของปัญหาวัดร้างก็มีลักษณะคล้าย ๆ กันกับกำาแพงดิน กล่าวคือวัด ร้างที่มีอยู่จำานวนมากในเมืองเชียงใหม่เหล่านั้น มีโฉนดที่ดินวัดร้างของแต่ละแห่งอยู่ในการดูแล ของกรมการศาสนา (ในช่วงเวลานั้น) และได้ให้ประชาชนเช่าเป็นที่อยู่อาศัย โดยมีศาสนการ จังหวัด ซึ่งเป็นลูกจ้างมหาเถรสมาคม ทำาหน้าที่ดูแลและเก็บค่าเช่าส่งเข้าเป็นเงินรายได้แก่มหาเถร สมาคม แต่ตัวโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในที่ดินวัดร้างนั้นกรมศิลปากรรับผิดชอบดูแลตามพระราช บัญญัติโบราณสถานฯลฯ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 80

ปัญหาโลกแตกที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ แน่นอนย่อมต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานกรม ศิลปากรในพื้นที่รับผิดชอบ มีการแจ้งจับดำาเนินคดีตลอดเวลา จนชื่อ สุรพล ดำาริห์กุล ขึ้นพาดหัว ข่าวหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นบ่อยครั้งและไม่เป็นที่ชื่นชอบสำาหรับชุมชนชาวกำาแพงดินและชุมชน แออัดในที่ดินวัดร้างยิ่งนัก ช่วงเวลานั้นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ คือ นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ซึ่งเป็นชาวเชียงใหม่ และสถาปนิก ซึ่งมีใจรักในบ้านเมือง ได้ปรึกษาหารือโดยเฉพาะกับผมในฐานะหัวหน้าส่วน ราชการที่รับผิดชอบสายตรง เพื่อแก้ไขปัญหา จึงมีคำาสั่งดังนี้ (1). ปัญหากำาแพงดิน ให้ยุติสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุบริเวณกำาแพงดิน (เพราะสัญญา เช่าปต่อป) และไม่เก็บค่าเช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเป็นเวลา 5 ป เพื่อให้ราษฎรเตรียมการรื้อถอน บ้านเรือนออกจากแนวกำาแพงดิน แต่การแก้ไขปัญหาเหล่านั้นก็ล้มเหลว เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่ย้าย ทุกอย่างก็เป็นดังเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น (2). ปัญหาวัดร้าง ได้สั่งการให้ศาสนการจังหวัดแจ้งประสานราษฎรผู้เช่าที่ดินวัดร้างที่ สร้างอาคารบ้านเรือนประชิดโบราณสถาน ปรับปรุงเคลื่อนย้ายอาคารให้ห่างจากตัวโบราณสถาน ให้เหมาะสม ฉะนั้นจะยกเลิกสัญญาเช่า และให้หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ เข้าไปจัดการล้อม รั้วกันเขตให้เหมาะสม รวมทั้งให้เทศบาลนครเชียงใหม่จัดการด้านขยะและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง สามารถแก้ไขปัญหาได้ระดับหนึ่ง ทำาให้สิ่งแวดล้อมของโบราณสถานร้างของเมืองเชียงใหม่หลาย แห่งดีขึ้น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 81

ปัญหาวัดร้างของเมืองเชียงใหม่

อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2539 เมื่อผมได้โอนย้าย มารับราชการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้ว ได้ทำาโครงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมโบราณ สถานร้างเมืองเชียงใหม่ เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง 700 ป เมืองเชียงใหม่ ในนามคณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ได้รับทุนอุดหนุนจาก GTZ Thailand องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน โดยมีผมและ รศ.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ (คณบดี คณะวิจิตรศิลปคนปัจจุบัน) รับผิดชอบดำาเนินการ ทำาการปรับปรุงพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนทำา รั้วโดยรอบโบราณสถานร้าง นำาร่องจำานวน 5 แห่ง คือ วัดเชษฐา วัดหนองหญ้าแพรก วัดธาตุกลาง วัดหนองเจ็ดลิน และวัดปันสาด ผลงานครั้งนั้น ทำาให้โบราณสถานวัดเชษฐาร้าง ได้รับรางวัลอาคาร อนุรักษ์ดีเด่น จากกรรมาธิการล้านนา สมาคม สถาปนิกสยาม รวมทั้งรูปแบบของรั้วราวเหล็กกั้น โดยรอบโบราณสถานร้างได้กลายเป็นต้นแบบของ รั้วกั้นโบราณสถานของกรมศิลปากรในทุกวันนี้

ปัจจุบันปัญหาวัดร้างของเมืองเชียงใหม่ดีขึ้นมาก เนื่องจากคณะสงฆ์เชียงใหม่ภายใต้ การสนับสนุนของมูลนิธิวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ มีบทบาทสำาคัญขอยกฐานะวัดร้างต่าง ๆ ให้เป็น วัดมีพระสงฆ์จำาพรรษา โดยเฉพาะวัดสำาคัญ ๆ ที่อยู่ใกล้ถนน อาทิ วัดโลกโมี วัดหนองเจ็ดลิน วัดยางกวง วัดสะดือเมืองหรืออินทะขิล วัดเจดีย์ปล่อง วันปันเส่า ฯลฯ โดยทำาการพัฒนา ปรับปรุงพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ยกเลิกการเช่าที่ดินวัดร้าง สร้างอาคารเสนาสนะที่เหมาะสม แต่ก็ ยังต้องอนุรักษ์โบราณสถานและสิ่งแวดล้อมในเขตโบราณสถานที่ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียน เป็นโบราณสถานไว้ ซึ่งสำาหรับผมเห็นด้วยและสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง ถือเป็นความงดงามต่อการ ทำานุบำารุงพระพุทธศาสนาและรักษาคุณค่าของมรดกวัฒนธรรมไว้ได้ ดีกว่าที่จะถูกปล่อยปละ ละเลยไว้เหมือนเช่นอดีตที่ผ่านมา


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 82

งานบุกเบิกอนุรักษและพัฒนาโบราณสถานเวียงกุมกามและเวียงทากาน ก่อน พ.ศ. 2526 ในเขตลุ่มแม่น้ำาปงมีเมืองโบราณที่มีกลุ่มโบราณสถานร้างสำาคัญอยู่ 2 แห่ง คือ เวียงกุมกาม อำาเภอสารภี และเวียงท่ากาน อำาเภอสันปาตอง จังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่ได้ รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นประโยชน์มากนัก ช่วงเวลานั้นกระแสของการอนุรักษ์ฟนฟูเมือง เก่าสุโขทัยให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและพระนครศรีอยุธยากำาลังมาแรง มีชื่อเสียงเป็น ที่รู้จัก เมืองเชียงใหม่ซึ่งกำาลังเจริญเติบโตเป็นเมืองท่องเที่ยวสำาคัญของประเทศ สนใจที่จะพัฒนา เมืองประวัติศาสตร์ในลักษณะนั้นเช่นกัน บังเอิญก่อนที่ผมจะได้รับการแต่งตั้งให้มาทำาหน้าที่ที่ เชียงใหม่ มีประสบการณ์ร่วมปฏิบัติงานที่อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยระยะหนึ่ง เพื่อสำารวจจัด ทำาทำาเนียบโบราณสถานเมืองสุโขทัย จึงได้มีส่วนสำาคัญในการบุกเบิกอนุรักษ์และพัฒนาโบราณ สถานเวียงกุมกามและเวียงท่ากานขึ้น ขุดคนและบูรณะโบราณสถานเวียงกุมกาม เรื่องราวของการบุกเบิกเวียงกุมกามที่ไม่ค่อยมีใครรู้และกล่าวถึง จำาเป็นต้องบันทึกไว้ เพื่อรำาลึกถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่ส่งผลให้เวียงกุมกามเป็นเช่นทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นของเวียงกุมกาม เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2526 ผมในฐานะหัวหน้าหน่วยงานของกรมศิลปากรในพื้นที่ ได้รับการประสาน งานจากคุณอารีย์ วีระพันธุ์ อดีต สส.เชียงใหม่ ซึ่งขณะนั้นเป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดทำาโครงการสำารวจและพัฒนาโบราณสถานเวียงกุมกามให้เป็นแหล่งเรียน รู้และท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองเชียงใหม่ เพราะการท่องเที่ยวของเมืองเชียงใหม่กำาลังขยายตัว โดยขอให้กรมศิลปากรสำารวจและพัฒนาโบราณสถาน ส่วน อบจ. จะพัฒนาสิ่งอำานวยความ สะดวกและตัดถนนหนทางไปสู่โบราณสถานต่าง ๆ เพราะขณะนั้นพื้นที่เวียงกุมกามส่วนใหญ่ยัง เป็นที่นาและสวนลำาไย มีเพียงถนนเล็ก ๆ เข้าสู่ชุมชน แต่โบราณสถานส่วนใหญ่จะกระจายอยู่ ในสวนลำาไยที่ไม่มีถนนเข้าถึง ประจวบกับในช่วงต้นป พ.ศ. 2527 เกิดเหตุการณ์กรุแตกและลักลอบขุดพระพิมพ์ดิน เผาศิลปะหริภุญไชย ที่โบราณสถานกานโถมร้างในบริเวณวัดช้างค้ำา ตำาบลท่าวังตาล อำาเภอสารภี ทำาให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ต้องเข้าไปทำาหน้าที่ขุดค้นและบูรณะโบราณสถานวิหารวัดกานโถม (ร้าง) ขึ้นเป็นครั้งแรก ทำาให้เวียงกุมกามเริ่มเป็นที่สนใจและรู้จักมากขึ้น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 83

ใน พ.ศ. 2528 คุณไกรสร ตันติพงศ์ สส.เชียงใหม่ ในขณะนั้น(อดีต สส. 7 สมัย) ภายใต้ การประสานงานของผมและคุณสุบิน อรุณศิโรจน์ สจ.เขตสารภี ได้แปรญัติในสภาผู้แทนราษฏร ได้งบประมาณแผ่นดินมาดำาเนินงานขุดค้นศึกษาและบูรณะโบราณสถานเวียงกุมกาม ปละหนึ่ง ล้านบาท (นับว่าเป็นเงินที่มากสำาหรับกรมศิลปากรในขณะนั้น) ทำาให้สามารถเริ่มงานบุกเบิกขุด ค้นโบราณสถานที่ลอยตัวชัดเจน เช่นที่ วัดอีก้าง (ร้าง) และวัดปูเปย (ร้าง) ฯลฯ การขุดค้นครั้งนั้น พบซากโบราณสถานจมลึกอยู่ใต้ผิวดินประมาณ 2-3 เมตร ทำาให้ประชาชนแตกตื่นสนใจเข้ามาชม เป็นอันมาก ซึ่งเป็นที่มาของคำาว่า "เวียงกุมกาม นครใต้พิภพ" กลางป พ.ศ. 2528 สมเด็ จ พระเทพรั ต นราชสุ ด าฯสยามบรมราชกุ ม ารี เ สด็ จ พระราชดำ า เนิ น เยี่ ย มชมการขุ ด ค้ น ทางโบราณคดี ข องกรมศิ ล ปากรเป็ น การส่ ว นพระองค์ เนื่องจากไม่มีถนนหนทางสะดวก จึงทรงเสด็จพระราชดำาเนินด้วยพระบาทสู่แหล่งโบราณสถาน ต่าง ๆ ภายในสวนลำาไย ด้วยพระบารมีฯและการผลักดันของผู้ที่เอ่ยนามดังกล่าว ทำาให้เวียง กุมกามมีชื่อเสียงได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้น ทำาให้ได้รับงบประมาณอย่างต่อเนื่องมา ดำาเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2528 -2532 สามารถขุดค้นและบูรณะโบราณสถานได้ประมาณสิบกว่า แห่ง ขณะเดียวกัน อบจ.เชียงใหม่ ก็ได้เข้ามาพัฒนาตัดถนนหนทางเข้าสู่ชุมชนและโบราณสถาน ตามลำาดับ หลังจากนั้นเวียงกุมกามก็เงียบหายไปจากความทรงจำา และไม่มีการปฏิบัติการใดๆ อีก เลยเนื่องจากไม่ได้รับงบประมาณ เวียงกุมกามเป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีความสำาคัญที่พญามังรายโปรดฯให้ สร้างขึ้นในตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 19 หลังจากที่ยกทัพเข้ายึดครองแคว้นหริภุญไชย ผนวกรวม ดินแดนแคว้นโยนกกับหริภุญไชยเข้าด้วยกัน กลายเป็นอาณาจักรล้านนา เป็นเมืองสำาคัญควบคู่ กับเมืองเชียงใหม่มาโดยตลอด จนกระทั่งร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ 23 ดังนั้นจึงปรากฏมีร่อง รอยของโบราณสถานร้างเป็นจำานวนมาก


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 84

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนิน เปนการสวนพระองค เวียงกุมกาม เมื่อ พ.ศ. 2528 เวียงกุมกามได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาอีกครั้งใน พ.ศ. 2545 ภายใต้การผลักดันของ รัฐบาลฯ (นายทักษิณ ชินวัตร) ในขณะน้ั้นโดยใช้งบประมาณพิเศษส่วนใหญ่จากเงินรายได้ของ สำานักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ทำาให้ปัจจุบันเวียงกุมกามได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และ ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและสำาคัญของจังหวัดเชียงใหม่ แต่ก็มีปัญหาเป็นอันมาก อาทิ โบราณสถานอยู่ในที่ดินมีโฉนดของประชาชน สิ่งแวดล้อมและภูมิทัศน์วัฒนธรรม ตลอดจน การบริการจัดการที่ไม่มีเอกภาพ เพราะมีพื้นที่อยู่ในเขตปกครอง 2 อำาเภอ และ 4 เขตเทศบาล ตำาบล ทำาให้ต่างฝายต่างทำา ขาดการบูรณาการในการทำางานร่วมกัน รวมทั้งสภาพชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่เริ่มเปลี่ยนแปลงเป็นสังคมเมือง


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 85

อนุรักษและพัฒนาเวียงทากานอยางมีสวนรวมของภาคประชาชน เวียงท่ากานเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ที่มีอายุตั้งแต่สมัยหริภุญไชย และเป็นเมืองสำาคัญ สืบทอดมาจนถึงสมัยล้านนาก่อนที่จะร้างไปในราวพุทธศตวรรษที่ 23 จึงเป็นเมืองโบราณที่มี โบราณสถานร้างจำานวนมาก เนื่องจากตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจึงไม่ได้การใส่ใจดูแลพัฒนาเท่าที่ ควร แต่โชคดีที่ชาวบ้านของชุมชนเวียงท่ากาน ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหม่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ แห่งนี้ มีความผูกพันและหวงแหนมรดกวัฒนธรรม ช่วยกันปกปักรักษาดูแลโบราณสถานร้างใน เขตเวียงท่ากานไว้เป็นอย่างดี แต่กระนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลโดยเฉพาะข้าราชการ ใช้อิทธิพลเข้ามา ขุดค้นทำาลายหาพระพิมพ์ดินเผาสกุลช่างลำาพูน จนสร้างความเสียหายให้กับโบราณสถานเป็นอัน มาก ใน พ.ศ. 2527 กลุ่มประชาคมชาวบ้านท่ากาน ภายใต้การนำาของ คุณสุวิทย์ อาทิตย์ ประธานกลุ่มหนุ่มสาวเวียงท่ากาน ได้เข้ามาร้องเรียนและประสานขอความช่วยเหลือกับหน่วย ศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ โชคดีในการทำางานของผมที่มีรุ่นพี่จากมหาวิทยาลัยศิลปากรที่รักสนิทชิด เชื้อเพราะร่วมทุกข์สุขกันมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นนักศึกษาที่ทำางานภาคสนามด้วยกัน เป็นสื่อมวลชน คือ คุณสุจิตต์ วงษ์เทศ และคุณขรรค์ชัย บุนปาน ในการทำางานที่ต้องต่อสู้รณรงค์และ ประชาสัมพันธ์ ผมได้อาศัยใบบุญขอให้พี่ช่วยเหลือส่งเสริมเสมอ ครั้งนั้นก็ได้อาศัยสื่อมวลชนช่วยเขียนบทความ ทำาข่าวและประชาสัมพันธ์รณรงค์เกี่ยว กับเวียงท่ากาน ทำาให้ชาวบ้านเวียงท่ากานมีขวัญกำาลังใจ รวมกลุ่มกันที่จะช่วยปกปักรักษาดูแล โบราณสถานของตน ทำาให้เกิดกิจกรรมการอนุรักษ์พัฒนา ถากถาง ทำาความสะอาดโบราณ สถานที่เวียงท่ากานในวันหยุดนักขัตฤกษ์และวันสำาคัญของทางราชการเสมอมา ขณะเดียวกัน หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ก็ได้รับงบประมาณเริ่มเข้ามาทำาการขุดค้นและบูรณะพัฒนาโบราณ สถานในกลุ่มโบราณสถานกลางเวียงและกลุ่มพระอุโบสถ ทำาให้เวียงท่ากานเริ่มได้รับความสนใจ และเป็นที่รู้จักมากขึ้น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 86

กลุมโบราณสถานกลางเวียงทากาน พ.ศ. 2529 ได้รับการประสานเป็นการภายในจาก ดร.ฮันส์ เพนธ์ ว่า สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี จะเสด็จเวียงท่ากานเป็นการส่วนพระองค์ และให้ผมจัด โปรแกรมนำาชมเหมือนกับครั้งเสด็จเวียงกุมกาม แต่ข่าวสารรั่วไหลออกมาจากสำานักงานจังหวัด ทำาให้การเสด็จพระราชดำาเนินครั้งนั้นไปไหนได้ไม่มากนัก ด้ว ยพระบารมีข องการเสด็จ พระราชดำาเนินครั้งนั้น ทำาให้เวียงท่ากานได้รับความสนใจมากขึ้น รวมทั้งดูเหมือนพระองค์จะ ทรงทราบปัญหาของเวียงท่ากานเป็นเบื้องต้นแล้ว จึงประสงค์เสด็จมาเพื่อเป็นขวัญกำาลังใจและ ทรงตรัสถาม ซึ่งผมก็กราบทูลฟ้องไปตรง ๆ ว่า มีปัญหากับทั้งข้าราชการฝายปกครองและตำารวจ ในพื้นที่ที่ทำาให้ชาวบ้านหมดกำาลังใจ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ก็อยู่ในที่นั้นด้วย จึงทรงมี พระดำารัสขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดการให้เรียบร้อย ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเวียงท่ากานก็สงบ เรียบร้อย ชาวเวียงท่ากานมีขวัญกำาลังใจในการปกปักรักษามรดกวัฒนธรรมของตนมากขึ้น เมื่อ ผมถูกย้ายไปเป็นประชาสัมพันธ์กรมศิลปากรและทำาหน้าที่ฝายเลขานุการคณะกรรมการอำานวย การวันอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งขณะนั้นมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็น ประธานฯ จึงเสนอให้กลุ่มประชาอาสาอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเวียงท่ากาน ได้รับรางวัลผลงานดี เด่นอนุรักษ์มรดกไทย และเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใน พ.ศ. 2530


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 87

หลังจากนั้นเวียงท่ากานก็เงียบหายไปและได้รับงบประมาณไม่มากนักมาดำาเนินการเป็น ครั้งคราว จนกระทั่ง พ.ศ. 2549 เมื่อผมโอนย้ายมารับราชการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว กลุ่ม หนุ่มสาวเวียงท่ากานซึ่งเป็นแกนนำาในการอนุรักษ์เวียงท่ากานในอดีต ได้มาปรึกษาและกล่าวด้วย ความน้อยใจว่า ทำาไมเวียงกุมกามได้รับการสนับสนุนทุ่มเทงบประมาณในการอนุรักษ์และพัฒนา เป็นอันมาก แต่เวียงท่ากานเป็นเหมือนลูกเมียน้อย ทั้ง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดเดียวกัน ไม่ได้รับการ ใส่ใจดูแลเลย จึงเป็นที่มาของการที่ผมได้กลับมาช่วยเหลือชาวเวียงท่ากานอีกครั้ง โดยได้ประชุม กลุ่มประชาคมชาวสันปาตองและเวียงท่ากาน ช่วยกันจัดทำาร่างแผนงานการอนุรักษ์และพัฒนา เวียงท่ากานขึ้นในนามของกลุ่มประชาคมฯ ซึ่งมีกำานันตำาบลบ้านกลาง ผู้ใหญ่บ้านและผู้นำาชุมชน โดยมีผมและคุณสุวิทย์ อาทิตย์ เป็นฝายประสานงาน เมื่อจัดทำาต้นร่างแผนงานเสร็จแล้ว ขณะ นั้น นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานเปดงานที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่ม ประชาคมชาวเวียงท่ากานได้รวมตัวกันนับร้อยไปยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือและเสนอร่างแผน งานการอนุรักษ์และพัฒนาเวียงท่ากาน ซึ่งนายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ กล่าวยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ได้สั่งการ ส่งหนังสือและร่างแผนงานดังกล่าวให้ กระทรวงวัฒนธรรมดำาเนินการต่อไป แต่โชคร้ายของชาวเวียงท่ากาน หลังจากนั้นอีก 3 – 4 เดือน รัฐบาลทักษิณ ชินวัตรก็ถูกปฏิวัติยึดอำานาจ แต่คงด้วยพลังของความร่วมมือร่วมใจของ ภาคประชาชนครั้งนั้น ทำาให้เวียงท่ากานในทุกวันนี้ได้รับความใส่ใจจากราชการมากขึ้น ทำาให้ เมืองโบราณและโบราณสถานเวียงท่ากานได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเป็นอันมาก แต่กระนั้นก็ ยังไม่ประสบความสำาเร็จและมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปมากนัก ทั้ง ๆ ที่อยู่ในเส้นทางท่องเที่ยว ของเชียงใหม่ตอนใต้ คงเนื่องมาจากขาดพิพิธภัณฑ์หรือศูนย์บริการข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ของเวียง ท่ากาน ทำาให้ผู้คนที่เดินทางไปยังเวียงท่ากาน สัมผัสแต่กองอิฐและโบราณสถาน แต่เข้าใจและรู้ เรื่องของเวียงท่ากานน้อยมาก


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 88

ประตูทาแพและขวงประตูทาแพ เมืองเชียงใหม เดิมทีเมืองเชียงใหม่โบราณมีกำาแพงเมืองก่ออิฐ ป้อม และประตูเมืองชั้นใน 5 ประตู ใน ราว พ.ศ. 2460 เศษ ๆ ความศิวิไลซ์แพร่ขยายสู่เมืองเชียงใหม่ มีรถยนต์และความเจริญเติบโต ของบ้านเมืองมีมากขึ้น กำาแพงเมืองถูกกระทรวงธรรมการสมัยนั้นประมูลขายอิฐ จึงถูกรื้อถอนลง รวมทั้งประตูเมืองก็ถูกรื้อลงหมดเพื่อขยายถนนกว้างสำาหรับรถยนต์วิ่งได้สะดวก คงเหลือแต่ป้อม หรือแจ่ง 4 แจ่ง (รวมทั้งแจ่งหายยาของกำาแพงเวียงชั้นนอกอีกแห่งหนึ่ง) ซึ่งมีสภาพทรุดโทรม ต่อมาหน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ได้ทำาการบูรณะแจ่งต่างๆ ในระหว่าง พ.ศ. 2528 – 2531 มา ตามลำาดับ ต่อมาราว พ.ศ. 2490 เศษ ๆ เทศบาลเมืองเชียงใหม่ขณะนั้น ได้ออกแบบประตูเมือง (ต้องใช้คำาว่า ออกแบบใหม่ เพราะไม่มีหลักฐานและรูปแบบของประตูเมืองโบราณเลย) และสร้าง ประตูเมืองขึ้นใหม่เพื่อให้บ้านเมืองสวยงาม (นายช่าง ทองหยด จิตตะวีระ ผู้ออกแบบ) คือ ประตู เมือง 5 ประตู ได้แก่ ประตูช้างเผือก ประตูสวนดอก ประตูสวนปรุง และประตูเชียงใหม่ รวมทั้ง ประตูท่าแพในอดีตด้วย แต่ไม่ใช่ประตูท่าแพในทุกวันนี้ สรุปแล้วประตูเมืองเชียงใหม่ที่ปรากฏ ล้วนแต่เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ ไม่ใช่โบราณสถาน ต่อมาใน พ.ศ. 2527 - 2528 หรือเมื่อสามสิบปมาแล้วประตูท่าแพและข่วงประตูท่าแพ ได้ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขณะนั้น คือ นายชัยยา พูนศิริวงศ์ ต้องใช้คำาว่า "สร้างขึ้น" เพราะสร้างขึ้นใหม่จริง ๆ ไม่ได้บูรณะ(เพราะของเก่าถูกรื้อทิ้งไปหมดแล้ว) แต่คนเชียงใหม่ปัจจุบันลืมเลือนไปหมดแล้วว่าอะไรเกิดขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ต้องบันทึกไว้ ผู้ว่าฯชัยยา พูนศิริวงศ์ ท่านเป็นชาวเชียงใหม่ เป็นสถาปนิกที่เคยเป็นผู้อำานวยการสำานักผังเมืองฯ เป็นคนรัก บ้านเมือง ต่อมาท่านได้รับภาพเก่าของประตูท่าแพจากคนเก่าแก่ของเชียงใหม่ จึงมีดำาริที่จะ สร้างประตูท่าแพขึ้นใหม่ให้เป็นรูปแบบถูกต้องตามโบราณ (ไม่ใช่ประตูปลอม เช่นทุกวันนี้) จึง ประสานมอบหมายให้ผมและทีมงานกรมศิลปากรขณะนั้น ถอดแบบและออกแบบประตูท่าแพที่ จะสร้างขึ้นใหม่ ซึ่งในการออกแบบการก่อสร้างที่เป็นปัจจุบันนั้น ลดขนาดความกว้างและสูงลง มาก เพราะสภาพแวดล้อมปัจจุบันต่างไปจากอดีต


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 89

ภาพเกาประตูทาแพสมัยโบราณ การก่อสร้างประตูท่าแพและข่วงประตูท่าแพ เริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2528 โดยขออนุญาต กรมศิลปากรเพราะที่ดินเป็นเขตโบราณสถาน ในการก่อสร้างมีปัญหาค่อนข้างมาก เนื่องจากถูก ชาวเมืองส่วนหนึ่งคัดค้าน กล่าวหาว่าทำาลายโบราณสถาน ทำาให้ขึดบ้านขึดเมือง มิวายที่ผมจะ ช่วยออกโรงชี้แจงว่า ประตูท่าแพที่ถูกรื้อ ไม่ใช่ประตูดั้งเดิม เป็นของสร้างใหม่ ก็ไม่ยอมเข้าใจ จน กระทั่งการสร้างประตูท่าแพและข่วงประตูท่าแพเสร็จ กระแสต่อต้าน จึงเงียบลง เพราะดูดีกว่า ประตูท่าแพเดิม และกลายเป็นข่วงที่จัดกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ที่เป็นหน้าตาของบ้านเมือง รวมทั้งพวกที่ต่อต้านก่นด่า ก็เข้ามาร่วมใช้ประโยชน์และหากินเอาผลประโยชน์ ทั้ง ๆ ที่แช่งชัก หักกระดูกคนที่ทำาและสร้างขึ้น

ประตูและขวงประตูทาแพในปจจุบัน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 90

ดังนั้นจึงอยากบันทึกเรื่องราวเหล่านี้ไว้ให้ชาวเชียงใหม่ได้รู้ว่า ประตูท่าแพและข่วงประตู ท่าแพ ที่ปรากฏในทุกวันนี้นั้น เป็นสิ่งก่อสร้างใหม่ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือร่วมใจของภาค ประชาชน ซึ่งใช้เงินทุนที่ระดมจากประชาชนและเอกชนชาวเชียงใหม่มาดำาเนินการทั้งหมด โดย ไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการแต่ประการใด จึงควรเป็นพื้นที่สาธารณะของประชาชนโดย ส่วนรวม และไม่ควรเป็นสถานที่ที่ส่วนราชการใดจะมาจัดสรรตักตวงเอาผลประโยชน์ อย่างไรก็ตามมีเรื่องที่สืบเนื่องกับข่วงประตูท่าแพอีกเรื่องหนึ่ง กล่าวคือมีตึกแถวอยู่ชุด หนึ่ง 5 - 6 ห้อง อยู่ต่อเนื่องจากข่วงท่าแพทางทิศใต้ เป็นที่ดินที่ออกโฉนดทับที่คูเมืองเชียงใหม่ อย่างชัดเจน ในการประชุมจังหวัดเชียงใหม่ครั้งนั้น มีมติจะทำาเรื่องให้มีการเพิกถอนโฉนดที่ดินดัง กล่าว เพราะถือเป็นการออกโฉนดโดยมิชอบ เพื่อปรับปรุงข่วงประตูท่าแพให้มีความต่อเนื่อง แต่ ตอนหลังพบว่าการออกโฉนดนั้นเกิดขึ้นมานานมากแล้ว และผู้ครอบครองปัจจุบันไม่ได้มีเจตนา เพราะซื้อขายสืบทอดกันมาหลายทอด ดังนั้นผู้ว่าฯ ชัยยา พูนศิริวงศ์ จึงตกลงกับผู้ครอบครองว่า จะระดมเงินชาวเชียงใหม่ ขอซื้อคืน แต่น่าเสียดายการดำาเนินการไม่สำาเร็จ เพราะผู้ว่าฯถูกย้ายเสีย ก่อน ดังนั้นอาคารตึกแถวชุดดังกล่าวนั้นยังคงอยู่เป็นคำาถามที่ค้างคาใจของคนทั่วไปมาจนทุกวันนี้


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 91

บูรณะและอนุรักษวัดตนเกวนอยางมีสวนรวมของภาคประชาสังคม วัดต้นเกวนหรืออินทราวาส อำาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศาสนสถานและโบราณ สถานที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในฐานะที่เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาที่มีคุณค่างดงามโดดเด่น และภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่เหมาะสมลงตัวยิ่ง แต่กว่าที่วัดต้นเกวนจะมีสภาพเป็นเช่นทุกวันนี้ มีเรื่อง ราวและประสบการณ์ของการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานแห่งนี้เป็นมาอย่างยาวนาน ที่สำาคัญ การอนุรักษ์ศาสนสถานแห่งนี้แทบไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการเลย แต่เป็นการดำาเนินงาน ที่เกิดจากสำานึกและการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้เกิดขึ้นเมื่อสามสิบปที่ ผ่านมา ซึ่งผู้คนแทบจะลืมเลือนไปหมดแล้ว จึงจำาเป็นต้องบันทึกและเล่าความอีกครั้ง เดิมทีวัดต้นเกวนเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ อยู่ในชนบทที่ไม่มีใครรู้จัก ใน พ.ศ. 2526 ซึ่งขณะ นั้นผู้เขียนทำาหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ (ชื่อหน่วยงานในขณะนั้น ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็นสำานักงานศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่) ได้สำารวจพบโดยบังเอิญ ซึ่งช่วงเวลานั้นถนนเข้าสู่ วัดและหมู่บ้านต้นเกวนเป็นไปอย่างยากลำาบาก เนื่องจากถนนเส้นเชียงใหม่ - สะเมิง ยังไม่มี และ ถนนเลาะคลองชลประทานยังไม่ได้รับการพัฒนาเช่นทุกวันนี้ สภาพของวัดต้นเกวนชำารุดทรุด โทรม สิ่งก่อสร้างแออัด ไม่ได้เป็นเหมือนเช่นที่เห็นในทุกวันนี้ ช่วงเวลานั้นจังหวัดเชียงใหม่มี นายชัยยา พูนศิริวงศ์ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งท่าน เป็นชาวเชียงใหม่ที่รักบ้านเมือง และเป็นปกติในทุก ๆ ปจะรณรงค์ร่วมมือกับชาวเชียงใหม่ทอด ผ้าปาสามัคคีหารายได้ไปบูรณะศาสนสถานสำาคัญ ๆ ในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งผมก็ได้มีส่วนร่วมบุญ ด้วยเสมอมา ใน พ.ศ. 2527 จึงได้ประสานขอให้ผู้ว่าชัยยาฯ สนับสนุนใช้เงินรายได้จากผ้าปา สามัคคีทำาการบูรณะวิหารวัดต้นเกวน ซึ่งผมและโยธาธิการจังหวัดในขณะนั้นควบคุมการบูรณะ ครั้งนั้นได้บูรณะซ่อมแซมผนังวิหาร เปลี่ยนไม้เครื่องบนและกระเบื้องมุงหลังคา ขณะเดียวกันได้ รับความร่วมมือจากคุณอนันต์ ฤทธิเดช เจ้าของเฮือนรัตนา ช่วยทำาช่อฟ้าและป้านลม โดยถอด แบบและสลักลวดลาย ปดกระจกจืน ทำาสีโดยไม่คิดมูลค่าใด ๆ รวมทั้ง คุณศรีนุช วิไล (เสียชีวิต แล้ว) ช่างศิลปกรรมช่วยซ่อมแซมปูนปันนาคราวบันได และอาจารย์พิทยา บุนนาค กับคณะช่วย ซ่อมแซมบานประตูวิหารขึ้นใหม่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 92

วิหารวัดตนเกวน อําเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม ปัจจุบันวัดต้นเกวน หรือวัดอินทราวาส ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านต้นเกวน ตำาบลหนองควาย อำาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จากหลักฐานอักษรเขียนที่ปรากฏในวิหารระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2401 ซึ่งรวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ น่าจะสร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันในสมัยของพระเจ้ากาวิโลรส สุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คำาถามมีว่า ทำาไมมรดกศิลปะสถาปัตยกรรมที่งดงามเช่นนี้จึงมา ปรากฏซุกซ่อนอยู่ในหมู่บ้านชนบทเล็ก ๆ แห่งนี้ จากการศึกษาพบว่าในสมัยโบราณครั้งที่ยังไม่มี การตัดถนนเส้นทางเชียงใหม่ – ฮอด เส้นทางโบราณที่จะเดินทางจากเมืองเชียงใหม่ลงไปยังชุมชน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 93

ทางตอนใต้ จะมีเส้นทางโบราณผ่านชุมชนบ้านต้นเกวนและหมู่บ้านต่าง ๆ ไปตามลำาดับ โดย เฉพาะยุคสมัยเจ้าผู้ครองนคร ที่ยังมีประเพณีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากวัดพระธาตุจอมทอง เข้ามายังเมืองเชียงใหม่ ขบวนแห่พระบรมสารีริกธาตุจะต้องหยุดพักประดิษฐานที่ศาลาจตุรมุข วัดต้นเกวนเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เพื่อให้ศรัทธาประชาชนในพื้นที่รอบนอกได้สักการะบูชาสรงน้ำา สมโภชก่อนที่จะเดินทางต่อเข้าไปยังเมืองเชียงใหม่ ดังปรากฏมณฑปไม้และรางรินสรงน้ำา พระบรมสารีริกธาตุเป็นหลักฐานอยู่ที่วัดแห่งนี้มาจนทุกวันนี้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำาไมศาสน สถานที่วัดต้นเกวนจึงเป็นงานช่างฝมือชั้นสูงและมีแบบแผนทางศิลปะสถาปัตยกรรมที่งดงาม ลงตัว อย่างไรก็ตามงานบูรณะโบราณสถานวัดต้นเกวนยังไม่เรียบร้อยแล้ว คงเหลือสิ่งก่อสร้าง อื่น ๆ ที่มีสภาพชำารุดทรุดโทรมและปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นใน พ.ศ. 2528 หน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ร่วมกับคณะกรรมาธิการล้านนา สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมป ซึ่งมี อาจารย์ศิริชัย นฤมิตรเลขการ (เสียชีวิตแล้ว) เป็นผู้ประสานงาน ได้ทอดผ้าปารณรงค์หาทุนมา ทำาการบูรณะเพิ่มเติม และใน พ.ศ. 2529 คุณขรรค์ชัย บุนปาน ผู้อำานวยการและเจ้าของ หนังสือพิมพ์มติชน เป็นประธานทอดกฐินและบริจาคเงินเพิ่มเติมเพื่อสบทบทุนในการบูรณะ ซึ่ง เงินรายได้ครั้งนั้นใช้ในการบูรณะศาลาจตุรมุข และศาลาบาตร รวมทั้งสร้างกำาแพงวัดก่ออิฐเพิ่ม เติมด้านทิศเหนือ (ซึ่งเดิมไม่มี)

ศาลาจตุรมุข วัดตนเกวน สถานที่สรงนําพระบรมสารีริกธาตุ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 94

การบูรณะโบราณสถานในสมัยนั้นไม่ได้มีการจ้างเหมาบริษัทเอกชนดำาเนินการเช่นทุก วันนี้ แต่เป็นการดำาเนินงานเองของเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรและคนงาน ซึ่งขณะนั้นผู้เขียนทำาหน้าที่ รับผิดชอบอยู่ จึงรับผิดชอบอำานวยการบูรณะวัดต้นเกวนต่อมา โดยใช้เงินที่ได้รับบริจาคซื้อวัสดุ เท่าที่จำาเป็น ใช้ช่างฝมือและวัสดุอุปกรณ์ของหน่วยศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ ที่หมุนเวียนมาจาก โครงการบูรณะอื่น ๆ รวมทั้งประสานความร่วมมือด้านแรงงานจากชาวบ้านต้นเกวนหมุนเวียนเข้า มาช่วยเหลือ การบูรณะครั้งนั้นดำาเนินการต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน มีคุณสุวิน วัชระเสถียร นาย ช่างโยธาเป็นผู้ควบคุม และลุงอิ่นแก้ว สายวงศ์อินทร์ (เสียชีวิตแล้ว) กับคุณกำาจร สายวงศ์อินทร์ ปัจจุบันเป็นมรรคทายก ซึ่งบ้านอยู่หลังวัดต้นเกวนขณะนั้น เป็นผู้ประสานงานวัดกับชุมชน การ บูรณะศาลาจตุรมุข และศาลาบาตร ได้เปลี่ยนโครงสร้างไม้เครื่องบนที่ชำารุดใหม่ และรื้อกระเบื้อง ดินขอของเดิมลงมาทำาการเผาใหม่และนำากลับขึ้นมุงหลังคาใหม่ตามเดิม โดยภาคประชาชนชาว บ้านต้นเกวนหมุนเวียนเป็นแรงงาน เดิมทีแนวกำาแพงโบราณก่ออิฐของวัดมีอยู่เพียงสามด้าน คือด้านหน้าทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกมีสภาพชำารุดเสียหาย ได้ทำาการบูรณะจนเรียบร้อยโดยใช้ช่างฝมือของ หน่วยศิลปากรและชาวบ้านต้นเกวนหมุนเวียนมาดำาเนินการ ส่วนด้านทิศเหนือเป็นพื้นที่โล่ง ไม่มี แนวกำาแพง จึงก่อสร้างใหม่เพื่อให้เป็นขอบเขตกำาแพงแก้วครบทั้งสี่ด้าน ตามรูปแบบกำาแพงอิฐ โบราณ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในเขตกำาแพงวัด แต่เดิมมีศาลาไม้ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณลานด้าน หน้าวิหารและกุฏิไม้สองชั้นกับอาคารอื่น ๆ สร้างประชิดข่มศาลาบาตรและพระวิหารในทางทิศใต้ ทำาให้ภูมิทัศน์ของวัดต้นเกวนแออัดไม่เหมาะสม ต่อมาเกิดพายุพัดศาลาไม้ด้านหน้าวัดล้มลงเสีย หาย ได้ประสานงานกับทางวัดและชุมชนไม่ให้มีการสร้างขึ้นอีก และใน พ.ศ. 2530 ได้ร่วมมือกับ ชุมชนรื้ออาคารและกุฏิไม้ออกไปสร้างขึ้นใหม่นอกกำาแพงวัดทางด้านทิศใต้ โดยใช้งบประมาณ แผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินของทางราชการก้อนเดียวที่บูรณะวัดแห่งนี้ พร้อมกันนั้นได้เสนอกรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนและกำาหนดขอบเขตโบราณสถานตามแนวเขตกำาแพงแก้วก่ออิฐให้เป็น โบราณสถานของชาติ ด้วยเหตุนี้ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัดต้นเกวนจึงมีความงดงามลงตัว ส่งเสริมคุณค่าของศิลปะสถาปัตยกรรมให้มีความโดดเด่นงดงามและมีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชมดัง ปรากฏทุกวันนี้ ใน พ.ศ. 2532 สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ประกาศให้เป็นอาคาร อนุรักษ์ดีเด่น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 95

นับแต่นั้นมาโบราณสถานวัดต้นเกวนได้เป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในฐานะมรดกทาง ศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงามยิ่ง เป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สำาคัญของเชียงใหม่ และถูกนำาไปเป็นต้นแบบของการสร้างวิหารในที่อื่น ๆ เป็นอันมาก แม้ว่าเรื่อง ราวของวัดต้นเกวนของเมืองเชียงใหม่จะผ่านไปร่วมสามสิบปและผู้คนแทบจะลืมเลือนไปหมด แล้ว แต่ยังควรเป็นกรณีศึกษาเพื่อประโยชน์และตัวอย่างที่ดีของการอนุรักษ์และพัฒนามรดก วัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ซึ่งทุกวันนี้มีอยู่ให้เห็นน้อยมาก


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 96

จากเชียงใหม สูพระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ ตลอดระยะเวลา 4 ป ที่ทุ่มเททำางานในเขตวัฒนธรรมล้านนา ย่อมมีทั้งคนรักและชัง งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกลา และใน พ.ศ. 2530 นั้นได้จังหวะเวลา การขึ้นดำารงตำาแหน่งอธิบดีกรม ศิลปากร นายทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ กับทีมงานรองอธิบดี และเลขานุการกรมคนใหม่ ผมได้รับแจ้ง เหตุผลที่ต้องย้ายจากเชียงใหม่จากรองอธิบดีที่ควบคุมสายงานด้านนี้ว่า ชีวิตคุณชักเป็นอันตราย มากขึ้น เพราะมีคดีฟ้องร้องบุกรุกทำาลายโบราณสถานหลายคดี และลูกน้องก็มีปัญหาฟ้องร้องกับ ตำารวจ (ขุดโบราณสถาน) อยากจะย้ายให้ไปดูแลอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ส่วน ท่านอธิบดีกับเลขานุการกรม ต้องการให้ไปช่วยทำางานฝายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ ทำาหน้าที่ ประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร ด้วยคงเห็นว่าชอบขีดเขียน เล่นข่าวและคุ้นเคยกับสื่อมวลชนดี ใน ที่สุดจึงได้รับคำาสั่งโยกย้ายให้ดำารงตำาแหน่งหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และ รักษาราชการในตำาแหน่งหัวหน้าฝายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์อีกตำาแหน่งหนึ่ง ซึ่งทำาให้ชีวิต การทำางานต้องเดินทางไปมาทั้งจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกรุงเทพฯ ตลอดเวลา เหนื่อยมาก ระยะเวลาหนึ่งปเศษที่รับผิดชอบอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ทำางานอะไรได้ไม่มาก นัก แต่ก็ได้เริ่มต้นจัดทำาแผนงานโครงการบูรณะโบราณสถานวัดไชยวัฒนาราม และเพนียดคล้อง ช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยเฉพาะเพนียดคล้องช้างนั้นเป็นงานใหญ่ระดับชาติ ที่ต้องใช้งบ ประมาณหลายสิบล้านเพราะต้องใช้ไม้ซุงขนาดใหญ่ทำาการบูรณะ ได้ประสานงานกับการท่อง เที่ยวแห่งประเทศไทยในฐานะผู้แทนกรมศิลปากร จัดทำาโครงการบูรณะและพัฒนาเพื่อการแหล่ง ท่องเที่ยว ตามโครงการเงินกู้ OCEF ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ซึ่งทำาให้กรมศิลปากรได้ รับงบประมาณดำาเนินการบูรณะเพนียดคล้องช้างในเวลาต่อมา

ภาพเกาเพนียดคลองชาง พระนครศรีอยุธยา


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 97

เพนียดคลองชาง พระนครศรีอยุธยาในปจจุบัน ที่ไดรับการบูรณะแลว ในที่สุดก็ต้องตัดสินใจขอทำาหน้าที่เดียว คือประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร ท่ามกลางความ แปลกใจและไม่ เข้ า ใจของหลาย ๆ ฝาย เนื่องจากเคยทำางานด้านวิชาการและอนุรักษ์มรดก วัฒนธรรมเป็นผลดีมาโดยตลอด แล้วทำาไมจึงต้องเปลี่ยนสายงาน รวมทั้งเป็นโอกาสดีที่ได้รับ ความไว้วางใจให้รับผิดชอบอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งขณะนั้นถือเป็นหน่วยงาน ใหญ่ของกรมศิลปากรที่มีกำาลังคนและงบประมาณค่อนข้างมาก เนื่องจากอุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีคนอยากจะทำาในตำาแหน่ง นี ้ ม าก เรื่องนี้ไม่เคยปริปากและ ลำาบากใจที่จะพูด ว่าทำางานลำาบาก ไม่มีความอิสระเป็นตัวเอง และไม่มีความสุขท่ามกลาง สัมภเวสีที่คอยก่อกวน จึงเลือกที่จะทำางานที่พอใจและสบายใจ ซึ่งก็ไม่ได้เสียหายหรือด้อยค่า อะไรลงไป


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 98

หาปของการทํางานประชาสัมพันธกรมศิลปากร การทำางานในหน้าที่ประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร ซึ่งควบคุมดูแลผลิตเอกสารหนังสือ เป็นบรรณาธิการวารสาร ผลิตสื่อวิดิทัศน์และรายการทางโทรทัศน์ ตลอดจนประชาสัมพันธ์และ สื่อมวลชนสัมพันธ์ ดูแล้วก็ไม่มีอะไรหนักหนาและไม่ได้มีอำานาจอะไรใหญ่โต งบประมาณก็มีไม่ มาก แต่เมื่อได้ปฏิบัติงานจริง ๆ แล้ว จึงรู้ว่างานนี้เป็นงานสำาคัญที่จะแทรกเป็นยาดำาไปในทุกส่วน งานเพื่อการประชาสัมพันธ์ ยิ่งได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ก็จะยิ่งได้รับมอบหมายให้ ร่วมประชุมและเป็นกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ทั้งในระดับกรมและกระทรวง ตลอดจน เป็นผู้แทนกรมไปประชุมร่วมกับหน่วยงานอื่นๆเสมอ การทำางานในหน้าที่นี้ตลอดระยะเวลา 5 ป ถือเป็นการทำางานที่เหนื่อยที่สุดในชีวิตเท่าที่เคยทำามา งานสำาคัญที่เหนื่อยและภูมิใจที่สุด คือ การ ทำาหน้าที่เป็นหัวหน้าฝายเลขานุการหรือเจ้าของเรื่องวันอนุรักษ์มรดกไทย


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 99

วันอนุรักษมรดกไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้วันที่ 2 เมษายน ของทุกป ซึ่ง เป็นวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เป็นวันอนุรักษ์มรดก ไทย นับตั้งแต่ พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา มีคณะกรรมการอำานวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย ซึ่งมีนายก รัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัด กระทรวง และอธิบดีกรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการและอธิบดีกรมศิลปากรเป็นกรรมการ และเลขานุการ

ผมได้รับมอบหมายให้ทำาหน้าที่หัวหน้าฝายเลขานุการรับผิดชอบงานวันอนุรักษ์มรดก ไทย ซึ่งต้องปฏิบัติงานรับผิดชอบการจัดการประชุม ประสานงานและเตรียมเอกสารการประชุม คณะกรรมการอำานวยการฯ และคณะอนุกรรมการอีก 2 คณะที่มีรัฐมนตรีฯ เป็นประธานคณะ อนุกรรมการ คือ คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์วันอนุรักษ์มรดกไทย และคณะอนุกรรมการ สรรหาผู้ได้รับรางวัลอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น ซึ่งทั้งหมดต้องรับผิดชอบดำาเนินการด้วยกำาลังเจ้า หน้าที่ไม่มากนักในระยะเวลาสองสามเดือนก่อนถึงวันอนุรักษ์มรดกไทย


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 100

นอกจากนี้ ยั ง ต้ อ งประสานงานหาเงิ น ทุ น สนั บ สนุ น การจั ด ทำ า สื่ อ ประชาสั ม พั น ธ์ วั น อนุรักษ์มรดกไทย อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ โปสเตอร์เพื่อจัดส่งไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้ง จัดทำาสปอร์ตประชาสัมพันธ์ทางสถานีวิทยุและโทรทัศน์ ตลอดจนประสานงานเตรียมการนำาคณะ กรรมการฝายต่าง ๆ และผู้ได้รับรางวัลอนุรักษ์มรดกไทย เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม-ราชกุมารีเป็นประจำาทุกป การทำางานในฐานะฝายเลขานุการวันอนุรักษ์มรดกไทยถือเป็นประสบการณ์อันล้ำาค่า และเป็นงานที่ทุ่มเทด้วยใจ มีความสุข และภูมิใจที่สุด ที่ได้มีโอกาสทำางานถวายพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงส่งเสริมให้กำาลังใจการทำางานด้าน อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเสมอมา รวมทั้งตอบแทนเบื้องยุคลบาทที่ได้ทรงมีพระเมตตาให้ความ อนุเคราะห์บุตรธิดาของผมเข้าศึกษาในโรงเรียนพระตำาหนักสวนกุหลาบ ซึ่งตั้งอยู่ภายในพระบรม มหาราชวัง เมื่อครั้งที่ผมต้องโยกย้ายเข้ากรุงเทพฯ เพื่อปฏิบัติงานที่กรมศิลปากร

อําลากรมศิลปากร กลับสูดินแดนลานนา การทำ า หน้ า ที่ ป ระชาสั ม พั น ธ์ ก รมศิ ล ปากรเป็ น งานที่ เ หนื่ อ ยที่ สุ ด ในชี วิ ต เป็ น ประสบการณ์อันล้ำาค่าและคุ้มค่าสำาหรับผม ในระยะแรกของการทำางานถือว่าวิเศษสุดเพราะมี โอกาสได้คิดได้ทำาและสรรค์สร้างหลายประการ ด้วยการบริหารงานใจกว้างของผู้บังคับบัญชา แต่ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีอะไรจิรังยั่งยืนและเมื่อเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับกรม ชีวิตการทำางานก็ถูก กดดัน ลำาบากขึ้น ตำาแหน่งสุดท้ายที่ถูกโยกย้าย คือ หัวหน้าฝายการศึกษาและประชาสัมพันธ์ กองพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปฏิบัติงานเป็นปูโสมเฝ้าสมบัติได้ระยะหนึ่ง พิจารณาใคร่ครวญ เป็นอย่างดีแล้วว่า อยู่ไปก็คงทำาประโยชน์อะไรได้ไม่มากนัก จึงหาช่องทางที่จะโอนย้ายไปเป็น อาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งน่าจะเหมาะสม ถูกโฉลกกับความคิดที่เป็นอิสระเช่นตัวเรา มีช่องทางอยู่ 2 แห่งให้เลือก คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คงเป็นเพราะกรรมที่ได้ สร้างไว้กับเมืองเชียงใหม่และเหมือนเป็นการทวงสัญญาที่เคยรับปากไว้ว่าจะมาช่วยงานเฉลิม ฉลอง 700 ปเมืองเชียงใหม่ จึงตัดสินใจโอนย้ายมาอยู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใน พ.ศ. 2536 ด้วย ความกรุณาของอาจารย์วิถี พานิชพันธ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นหัวหน้าภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป ช่วยเหลือสนับสนุนเป็นอย่างดี


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 101

คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม การทำางานทางวิชาการในส่วนราชการกับมหาวิทยาลัยนั้นไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็น วิชาการด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดีและอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเช่นกัน แต่เป้าหมายจะแตก ต่างกัน ส่วนราชการจะเน้นการปฏิบัติเพราะมีเป้าหมายอยู่ที่การอนุรักษ์ทำานุบำารุงรักษา ส่วน มหาวิทยาลัยจะเน้นงานวิจัยแสวงหาความรู้เพื่อการสั่งสอน เมื่อครั้งอยู่กรมศิลปากรได้รู้ได้เห็น และมีประสบการณ์มากมาย แต่ก็ไม่เคยได้ทำางานวิจัยอย่างเป็นระบบ ดังนั้นชีวิตทางวิชาการจึง เหมือนเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง ในระยะแรกที ่ ทำางานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังติดยึดผูกพันอยู่กับงานเดิมที่คุ้นเคย ปฏิบัติมาร่วมยี่สิบป คือ การอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน ในโอกาสที่จะครบ 700 ปเมือง เชียงใหม่ใน พ.ศ. 2539 จึงจัดทำาโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถาน ในนามคณะวิจิตรศิลป เพื่อเป็นบริการสังคมและร่วมเฉลิมฉลอง 700 ปเมืองเชียงใหม่ คือ (1). โครงการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมโบราณสถานร้างเมืองเชียงใหม่ โดยเลือกโบราณ สถานร้างนำาร่อง 5 แห่ง เพื่อปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ทำาป้ายนำาชมและรั้วล้อมรอบ โดยได้รับทุน สนับสนุนจาก GTZ Thailand องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน โดยมีผมและ รศ.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ (คณบดีคณะวิจิตรศิลปคนปัจจุบัน) รับผิดชอบดำาเนินการ ผลงานครั้งนั้น ทำาให้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากกรรมาธิการล้านนา สมาคมสถาปนิกสยามฯ (2). โครงการบูรณะพระธาตุเจดีย์วัดแสนเมืองมาหลวงหัวข่วง ร่วมกับวัดแสนเมืองมา หลวงหัวข่วง เมืองเชียงใหม่ โดยใช้เงินทุนจากวัดและรณรงค์เงินทุนจากศรัทธาประชาชน ซึ่งได้รับ การสนับสนุนจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์ จัดทอดผ้าปาสามัคคีจากกรุงเทพฯ ซึ่งมี คุณแม่ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ กันต์ พูนพิพัฒน์ เป็นประธาน เพื่อเป็นกองทุนสนับสนุนการ บูรณะครั้งนี้ รวมทั้งรองศาสตราจารย์สุนันทา รัตนาวะดี ได้ช่วยประสานขอรับบริจาควัสดุ ก่อสร้าง อาทิ อิฐและปูนซีเมนต์จากเพื่อนฝูงญาติมิตรสมทบการบูรณะด้วย ทำาให้การบูรณะสำาเร็จ เรียบร้อยเป็นอย่างดีและงดงามยิ่ง


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 102

พระธาตุเจดียวัดแสนเมืองหลวงหัวขวง เชียงใหม อย่างไรก็ตามการทำางานวิจัยและเขียนหนังสือทางวิชาการนั้นเป็นงานสำาคัญในระดับ มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะเมื่อมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในช่วงที่อายุมากแล้ว เหลือเวลารับ ราชการไม่มากนัก ประกอบกับมีความรู้สึกกดดันว่า เมื่อเข้าสู่แวดวงวิชาการแล้วไม่ค่อยได้รับ ความเชื่อถือ ด้วยไม่มีตำาแหน่งทางวิชาการ จึงทุ่มเททำางานวิจัยและเขียนหนังสือมากขึ้น ด้วย ประสบการณ์ของการทำางานภาคปฏิบัติในช่วงเวลาที่ผ่านมา เหมือนกับการสะสมข้อมูลไว้ในคลัง สมอง ทำาให้สุกงอม สามารถทำางานทางวิชาการได้ค่อนข้างรวดเร็ว ประกอบกับที่เคยทำางานด้าน ประชาสัมพันธ์ทำาหน้าที่ผลิตสื่อและมีสายสัมพันธ์กับสำานักพิมพ์หลายแห่ง ทำาให้มีโอกาสตีพิมพ์ เอกสารหนังสือและงานวิจัยได้ไม่ยาก ทำาให้ใช้ระยะเวลาเพียง 11 ป 8 เดือนของการทำางานใน มหาวิทยาลัย บรรลุเป้าหมายสู่ตำาแหน่งสูงสุดทางวิชาการได้สำาเร็จ โดยเสนอผลงานทางวิชาการ เพื่อขอตำาแหน่งรองศาสตราจารย์ได้เป็นกรณีพิเศษ และได้ตำาแหน่งศาสตราจารย์นับตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ซึ่งทั้งหมดเหล่านี้เป็นล้วนเป็นอานิสงส์ของประสบการณ์และโอกาสที่ได้ทำางาน ในช่วงเวลาที่ผ่านมา


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 103

ผลงานการศึกษาและบริการวิชาการ ของสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 104

รายชื่อวิทยานิพนธและการคนควาแบบอิสระ ของมหาบัณฑิตสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ที่สําเร็จการศึกษา

รายชื่อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าแบบอิสระ ของมหาบัณฑิตสหสาขาวิชาการจัดการ ศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่สำาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม Master of Arts (Art and Culture Management) จำานวน 62 เรื่อง ตามรายชื่อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้า แบบอิสระ ดังต่อไปนี้ 1. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการอนุรักษ์และฟนฟูประเพณีตั้งธรรมหลวงของชุมชน บ้านวังหม้อ อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” โดย นายฐาปกรณ์ เครือระยา ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 2. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการวัดร้างในเขตเมืองเก่าเชียงใหม่” โดย นายธวัชชัย ทำาทอง ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 3. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการทางวัฒนธรรมงานตานข้าวใหม่ใส่บาตรหลวงพระเจ้า ตนหลวงของมหาวิทยาลัยพะเยาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม” โดย นาย นริศ ศรีสว่าง ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 4. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษามรดกทางวัฒนธรรมในเส้นทางโบราณแสวงบุญสู่องค์ พระธาตุลำาปางหลวง จั ง หวั ด ลำ า ปางเพื ่ อ การจั ด การเส้ น ทางการเรี ย นรู ้ แ ละท่ อ งเที ่ ย วเชิ ง วัฒนธรรม” โดย นายปัณณทัต กัลยา ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุ รัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 5. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการออกแบบสื่อเรียนรู้วัฒนธรรม ชุมชนหัตถกรรม เครื่องปันดินเผา บ้านเหมืองกุง อำาเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่” โดย นายภาวัต ไชยชนะ ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 105

6. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการมรดกวัฒนธรรมเมืองลี้ อำาเภอลี้ จังหวัดลำาพูน ให้เป็น แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของเยาวชนในท้องถิ่น” โดย นางสาวเมธาพร ผมขาว ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 7. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัดร้องเม็งอย่างมีส่วนร่วมของ ชุมชน” โดย นางสาวศิขรินทร์ เสวตวิหารี ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 8. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึก ษากระบวนการการบริ ห ารจั ด การพิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ ท าง วัฒนธรรมของเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่” โดย นายสรณคมน์ ชุติมา ผู้ศึกษา, และ รอง ศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และรองศาสตราจารย์ สุนันทา รัตนาวะดี อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 9. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การสื่อความหมายมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ้าทอชาวไทลื้อ อำาเภอปัว จังหวัดน่าน ผ่านศิลปะการแสดง” โดย นายสุทธิพันธุ์ เหรา ผู้ศึกษา, รองศาสตราจารย์ ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก, รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม และ อาจารย์ ดร.สุดสันต์ สุทธิพิศาล อาจารย์ ที่ปรึกษาร่วม 10. วิทยานิพนธ์เรื่อง “รูปแบบและวิธีการจัดการพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ เขตดุสิต กรุงเทพฯ”โดย นายโอภาส ยาคำามี ผู้ศึกษา, และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และรองศาสตราจารย์ สุนันทา รัตนาวะดีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 11. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “แนวทางการจัดการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่”โดย นางสาวชนิกานต์ โตแสงชัย ผู้ศึกษา และ อาจารย์ดร. สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 12. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาในโรงแรมบูติค: กรณีศึกษาโรงแรมเดอะริมบูติค รีสอร์ท อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” โดย นายณัฎฐภัทร รอดเรือง ผู้ศึกษา, และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และรอง ศาสตราจารย์ สุนันทา รัตนาวะดีอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 13. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเพื่อจัดการเส้นทางการเรียนรู้มรดกทางศิลปะ สถาปัตยกรรมวัฒนธรรมไทใหญ่สำาหรับเยาวชนในท้องถิ่น โดยกระบวนการศึกษาเชิงปฏิบัติการ อย่างมีส่วนร่วมของกลุ่มเยาวชนในเขตเมืองแม่ฮ่องสอน” โดย นายจตุพรภูมิพิงค์ ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 106

14. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเส้นทางวัฒนธรรมของชุมชนชาวยองในเขตอำาเภอ ปาซาง จังหวัดลำาพูน” โดย นางสาวณิชาพร แสงเหมือนขวัญ ผู้ศึกษา, รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลักและ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 15. วิทยานิพนธ์เรื่อง “กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่ม ชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านหนองมณฑา ตำาบลแม่วินอำาเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสาวนฤมล ลภะวงศ์ ผู้ศึกษา, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ อาจารย์ที่ ปรึกษาหลัก และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำาริห์กุล อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 16. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการอาร์ตแกลลอรี่ศิลปะร่วมสมัยของเอกชนในจังหวัด เชียงใหม่” โดย นายเบญจพล บุญญาวัฒนา ผู้ศึกษาและรองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 17. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเพื่อการจัดการเส้นทางเรียน รู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอำาเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์” โดย นางสาวปยะนารถ ริมทอง ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 18. วิทยานิพนธ์เรื่อง “ชุมชนลำาปางหลวงกับการจัดการมรดกวัฒนธรรม : กรณีศึกษา งานประเพณียี่เป็งไหว้สาพระธาตุเจ้า อำาเภอเกาะคา จังหวัดลำาปาง” โดย นางสาวพจนา เอกบุตร ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 19. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาประเพณีแห่ช้างผ้า ชุมชนเมาะหลวง อำาเภอแม่เมาะ จังหวัดลำาปาง เพื่อการอนุรักษ์และสืบสานอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม” โดย นายพินัย วิลัยทอง ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 20. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการ “บ้านตึก” กลุ่มอาคารบ้านหลวงอนุสารสุนทร จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นอนุสรณ์สถานและพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้” โดย นางสาวมนัสวัฑฒก์ ชุติมา ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 21. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การพัฒนาตัวแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีชีวิตและ วัฒนธรรมชุมชน ในเขตเทศบาลตำาบลศรีสัชนาลัย อำาเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย” โดย นางสาววรรณวิภา ใจสาร ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 107

22. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการอนุรักษ์และพัฒนาวงปพาทย์พื้นเมืองล้านนาใน จังหวัดเชียงใหม่เพื่อการสืบทอดอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม” โดย นายสรายุธ รอบรู้ผู้ศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนียา เจติยานุกรกุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 23. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการฟนฟูประเพณีการตีกลองปูจาในพิธีกรรมทาง พระพุทธศาสนาของชุมชนบ้านใหม่ อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน อำาเภอวังเหนือ จังหวัด ลำาปาง” โดย นายอดิสร เมืองเกียง ผู้ศึกษา และ ศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำาริห์กุลอาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม 24. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการพื้นที่ย่านตรอกบ้านจีน อำาเภอเมือง จังหวัดตาก เพื่อ ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม” โดย นางสาวจุฑารัตน์ ขำาศิริ ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 25. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์และพัฒนามรดก ทางวัฒนธรรมตลาดโบราณเก้าห้อง จังหวัดสุพรรณบุรี” โดย นายชัชวาล สุรินทร์ ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 26. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการอนุรักษ์ฟนฟูประเพณีงานบุญสลากย้อม ของชุมชนตำาบลประตูปา อำาเภอเมืองลำาพูน จังหวัดลำาพูน อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” โดย นายชินวัฒน์ เปยจันทร์ตา ผู้ศึกษา และ ศาสตราจารย์ ดร.อนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน ์อาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำาริห์กุล อาจารย์ที่ปรึกษา วิทยานิพนธ์ร่วม 27. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการเมืองประวัติศาสตร์เวียงท่ากาน ตำาบลบ้าน กลาง อำาเภอสันปาตอง จังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” โดย นางพรพรรณ ศริกุล ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษา การค้นคว้าแบบอิสระ 28. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมในเขตพื้นที่เมืองเก่าน่าน อำาเภอเมือง จังหวัดน่าน” โดย นางภัสราภรณ์ อนุรักษ์ ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร.สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์อาจารย์ ที่ปรึกษาร่วม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 108

29. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการประเพณีสลากภัตบ้านท่าชัย อำาเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม”โดย นางสาวสุภาวดี พรมพิราม ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 30. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการแหล่งโบราณคดีวัดเกาะกลาง อำาเภอปาซาง จังหวัดลำาพูน” โดย นางสาวอุชุกร เอี่ยมสำาอางค์ ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร. สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 31. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การศึกษาและออกแบบผลิตภัณฑ์โคมลอย ให้เหมาะ สมกับอัตลักษณ์ล้านนาของชุมชน หมู่ที่ 7 ตำาบลยางเนิ้ง อำาเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อ อนุรักษ์และสืบสานประเพณีล้านนา” โดย นางสาวชญาณิศา เจิดจำารัส ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 32. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการเพื่อการเผยแพร่และสืบทอดศิลปะการแสดงหุ่น ละครเล็กแบบคณะโจหลุยส์ในสถานศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสาวฉฎาภา อินทกุล ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 33. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการสื่อโปรแกรมประยุกต์เพื่อการเรียนรู้ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของพื้นที่กลางเวียงเชียงใหม่” โดย นายชวณัฐ สุวรรณ ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 34. วิทยานิพนธ์เรื่อง “องค์ความรู้ของการจัดการปอยส่างลองวัดปาเป้า อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสาวโชคนิธินันต์ คุณยศยิ่ง ผู้ศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนียา เจติยานุกรกุล อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 35. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การอนุรักษ์และการพัฒนาแหล่งโบราณคดีเตาเผาเครื่องเคลือบ ดินเผาพาน (โปงแดง) อำาเภอพาน จังหวัดเชียงราย อย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” โดย นางสาวนาถธิดา จันทร์คำาผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 36. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมรดกวัฒนธรรมชุมชนวัดเกต ให้เป็นพิพิธภัณฑ์มีชีวิตเพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองเชียงใหม่” โดย นางสาวปนัดดา โตคำานุชผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ ปรึกษาวิทยานิพนธ์


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 109

37. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การอนุรักษ์ผ้าทอไทลื้อชุมชนเเม่สาบ อำาเภอสะเมิง จังหวัด เชียงใหม่” โดย นางสาวภัทรสิน ชุปวาผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 38. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การอนุรักษ์ และการพัฒนาความรู้ งานคัวตอง ชุมชนวัดพวก แต้ม อำาเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่” โดยนายรัตนะ ภู่สวาสดิ์ ผู้ศึกษาและรองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และนายศุภวุฒิ บุญมหาธนากร อาจารย์ที่ปรึกษา ร่วม 39. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการเส้นทางการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ในเขตเทศบาลนครเชี ย งราย จังหวัด เชียงราย” โดย นายวุฒิชัย สันธิผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก และ รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรืองอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 40. วิทยานิพนธ์เรื่อง “องค์ความรู้ของการจัดการวงดนตรีปพาทย์ล้านนาที่ได้รับความ นิยมในพิธีกรรมฟ้อนผีเจ้านาย จังหวัดลำาพูน” โดย นายวุฒิภัทร เกตุพัฒนพลผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร. สืบศักดิ์ แสนยาเกียรติคุณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 41. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาเพื่อการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์พุทธศิลปล้านนาวัดแสน เมืองมาหลวง (หัวข่วง) อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” โดย นายโสภณ พรมจิตต์ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ สุกรี เกษรเกศรา อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 42. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “แนวทางการจัดการอนุรักษ์พระวิหารคริสตจักรที่ 1 เวียงเชียงราย โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม” โดย นางสาวญาดา ฉลูรัตน์ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 43. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการสื่อธรรมะของพุทธทาสภิกขุในวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้พุทธธรรม” โดย นายธนพนธ์ เอื้อตระกูล ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 44. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพพิพิธภัณฑ์ หอปูมละกอน จังหวัดลำาปาง” โดย นางสาวมนัญฑา กิติยามาศผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 45. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การอนุรักษ์และสืบสานรถม้าลำาปางอย่างมีส่วนร่วม ของภาคประชาสังคม” โดย นางสาวนันทิชา วัจนปรีชาโรจน์ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 110

46. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การอนุรักษ์และฟนฟูการตีกลองปูจาล้านนาของกลุ่ม ลายคำาจังหวัดเชียงใหม่” โดย นายอาทิตย์ วงค์สว่างผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร. สืบศักดิ์ แสนยา เกียรติคุณอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 47. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพศาลาธนารักษ์ 1 (คุ้มเจ้าทิพวรรณ ณ เชียงตุง) จังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสาวนภาพร ลิขิตเรืองศิลปผู้ศึกษา และรอง ศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 48. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาพระพุทธรูปสำาคัญ ในจังหวัดเชียงราย เพื่อเพิ่ม ศักยภาพการจัดการเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” โดย นางสาวประดับใจ สายเมือง นายผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุญยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 49. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาพื้นที่ทางประวัติศาสตร์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตามแนวเส้นทางบ้านต่อแพ – ห้วยต้นนุ่น และมรดกวัฒนธรรมชุมชน อำาเภอขุนยวม จังหวัด แม่ฮ่องสอน” โดย นางสาววนิดา ศรีสังวาลย์ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วิฑูรย์ เหลียวรุ่งเรือง อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 50. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการพิพิธภัณฑ์ของวัดในเขตอำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจังหวัดลำาปาง” โดย นายศุภลักษณ์ รอดแจ่ม ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 51. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การอนุรักษ์และฟนฟู เตาสันกำาแพงและเครื่องเคลือบดินเผา ร่วมสมัย ของเทศบาลตำาบลออนใต้ อำาเภอสันกำาแพงจังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสาวอัญชลี ศรีวิชัย ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 52. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าชุมชนบ้านดง อำาเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่างมีส่วน ร่วมของชุมชน” โดย นางสาวเสาวลักษณ์ จิรกิตติ์สิริกุล ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 53. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การศึกษาเพื่อการจัดการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน ปาเมี่ยง บ้านแม่กำาปอง อำาเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม” โดย นางสาวเฉลิมขวัญกมล เป็งจันทร์ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 111

54. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการการใช้ดนตรีพื้นบ้านล้านนาเพื่อการส่ง เสริมสุขภาพ ในโรงพยาบาลศูนย์ลำาปาง อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง” โดย นายเฉลิมพล คุ้มศรี ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 55. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การศึกษาพระธาตุสำาคัญในจังหวัดลำาปาง เพื่อการ จัดการเส้นทางการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” โดย นางสาวพาฝัน ประดาอินทร์ ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 56. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวร พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่” โดย นายพิทักษ์ ทนาบุตรผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 57. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “เส้นทางวัฒนธรรมถนนโบราณสายเชียงใหม่-ลำาพูน เพื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม” โดย นางสาวเพียงพร คำามูลผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 58. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสาวอรกัญญา อินทะวงค์ผู้ ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ 59. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมของวัดพม่าและไทใหญ่ อำาเภอเมือง จังหวัดลำาปาง ด้วยโปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ท โฟน” โดย นางสาวมนสิกานต์ อมรรัตน์โกมล ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร. คณิเทพ ปตุภูมินาค อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 60. วิทยานิพนธ์เรื่อง “การจัดการที่เข้มแข็งสำาหรับพิธีกรรมเมืองและเลี้ยงเทวดาหลวง เมืองมาง บ้านมาง อำาเภอเชียงคำา จังหวัดพะเยา” โดย นายศราวุธ เตมีศักดิ์ ผู้ศึกษา และ อาจารย์ ดร. คณิเทพ ปตุภูมินาค อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 61. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการอนุรักษ์และสืบสานศิลปะผ้าปักของกลุ่มชา ติพันธุ์ม้งบ้านผานกกก ตำาบลโปงแยง อำาเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่” โดย นางสไบทิพย์ ตั้งใจ ผู้ศึกษา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนียา เจติยานุกรกุล อาจารย์ที่ปรึกษาหลักและ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม 62. การค้นคว้าแบบอิสระเรื่อง “การจัดการห้องนมัสการแฮมลิน มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ คริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนท์” โดยนางวรวรรณ ขัติชีนะ ผู้ศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร. ฉลองเดช คูภานุมาต อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 112

กิจกรรมการบริการวิชาการแกสังคม และการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม 1) โครงการ “อบรมพุทธศิลปลานนาและการอนุรักษ”

การจัดโครงการ “อบรมพุทธศิลปล้านนาและการอนุรักษ์”เมื่อวันที่ 25-29 มกราคม 2553 ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สวนเฉลิมพระเกียรติโดยมีคณาจาร์และ นักศึกษาเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม และเป็นวิทยากรบรรยาย ในหัวข้อเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปกรรม ต่าง ๆ อีกทั้งยังมีการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในดำาเนินงานการอนุรักษ์งานพุทธศิลปล้านนา ให้แก่ พระสงฆ์ และผู้สนใจ

การจัดบรรยาย และอบรมพุทธศิลปล้านนาและ การอนุรักษ์ แก่พระสงฆ์ และผู้สนใจ ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สวนเฉลิมพระเกียรติ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 113

2) โครงการทํานุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรม “อนุรักษตุงคาว”

สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการทำานุบำารุงศิลปะและวัฒนธรรม “อนุรักษ์ตุงค่าว”เมื่อวันที่ 18 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ณ วัดทุ่งคา อำาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำาปาง ภายใต้ชื่อโครงการ “การจัดการอนุรักษ์ตุงค่าว วัดทุ่งคา อำาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำาปาง”เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาและจัดการอนุรักษ์ตุงค่าว ให้กับชุมชนทุ่งคาได้เห็นถึงคุณค่าความสำาคัญพร้อมกับการปลูกจิตสำานึกของคนในชุมชนและ เยาวชนรุ่นใหม่ให้หันกลับมามองงานศิลปกรรมอันมีค่าและอนุรักษ์ดูแลรักษา หวงแหนงานพุทธ ศิลปที่มีอยู่ในชุมชนของตนเอง ดึงดูดให้คนเข้ามาศึกษาเรียนรู้พร้อมทั้งอนุรักษ์ตุงค่าว และที่ สำาคัญเยาวชนยุคใหม่จะได้มีความภูมิใจในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษตน ที่ได้สร้างสรรค์งานศิลปไว้ กับพุทธศาสนาไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาสืบไป

การอนุรักษ์ตุงค่าว โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ณ วัดทุ่งคา อำาเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำาปาง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาและจัดการอนุรักษ์ตุงค่าวให้กับชุมชนทุ่งคาได้เห็นถึงคุณค่า ความสำาคัญพร้อมกับ การปลูกจิตสำานึกของคนในชุมชนและเยาวชนรุ่นใหม่ให้หันกลับมามอง งานศิลปกรรมอันมีค่า และอนุรักษ์ดูแลรักษา หวงแหนงานพุทธศิลปที่มีอยู่ในชุมชน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 114

3) โครงการบรรยายพิเศษทางวิชาการดานการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ประจําป 2553

สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ ภาควิชาศิลปะ ไทย และ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดโครงการบรรยายพิเศษทางวิชาการด้านการ จัดการศิลปะและวัฒนธรรม ประจำาป 2553 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารใหม่ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553 เป็นการบรรยายพิเศษทางวิชาการ ด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง “การจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรมใน ประเทศไทย” โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม เป็นผู้บรรยายให้ความ รู้เพื่อบริการทางวิชาการแก่สังคม คณาจารย์และนักศึกษาทั้งภายในและนอกมหาวิทยาลัย เชียงใหม่เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษา แสวงหาความรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์จาก ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตลอดจนชุมชน และบุคคลผู้สนใจ ได้รับองค์ความรู้ทางด้านการจัดการและ อนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม และนำาไปประยุกต์ใช้ในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรทาง วัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ต่อไป

การบรรยายพิเศษทางวิชาการด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง “การจัดการและอนุรักษ์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรมในประเทศไทย” บรรยายโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 115

4) โครงการ “การจัดการพิพิธภัณฑวัดพระหลวง”

โครงการ “การจัดการพิพิธภัณฑ์วัดพระหลวง” เมื่อวันที่ 15 – 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ณ วัดพระหลวง อำาเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชนโดยทำาการศึกษา บันทึกรวบรวมข้อมูล จัดการอนุรักษ์งานโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ให้กับชุมชนและวัดพระหลวง อันจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนได้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือกันระหว่างสถาบันการ ศึกษากับชุมชน ซึ่งคาดว่าการปฏิบัติงานทางด้านการอนุรักษ์นี้จะเป็นส่วนสำาคัญที่ทำาให้เกิดการ จัดการงานศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนแห่งนี้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจะมุ่งเน้นให้ชุมชนและ เยาวชนรุ่นใหม่เกิดการเล็งเห็นคุณค่าความสำาคัญของการรักษามรดกทางศิลปะและวัฒนธรรม พร้อมกับการปลูกจิตสำานึกให้หันกลับมามองและหวงแหนมรดกอันมีคุณค่าที่มีอยู่ในชุมชนกับ ความสามารถในการดูแลรักษาด้วยตนเองให้มากที่สุด ประการสำาคัญ จะเป็นการสร้างจิตสำานึกให้ กลุ่มเยาวชนหรือลูกหลานได้มีความภูมิใจในรากเหง้าของตนเอง และสามารถดึงดูดผู้คนต่างถิ่น เข้ามาศึกษาและเยี่ยมเยียนวัดพระหลวงแห่งนี้ต่อไป

ประธานกรรมวัดพระหลวงพบปะกับนักศึกษา

จำาแนกประเภทโบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ

ทำาความสะอาดโบราณวัตถุ

นำาโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ทำาทะเบียน จัดแสดงเป็น หมวดหมู่ไว้ในเครื่องเรือนของวัด


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 116

5) โครงการสัปดาหวิชาการศิลปะและวัฒนธรรม

ด้วยการจัดให้มี “สัปดาห์วิชาการศิลปะและวัฒนธรรม” เมื่อวันที่ 23 – 29 มกราคม พ.ศ. 2554 ณ คณะวิจิตรศิลปทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก หม่อมเจ้าภีศเดช รัชน ีประธานมูลนิธิโครงการ หลวง มาเป็นองค์ประธานในพิธีเปดสัปดาห์วิชาการศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อการเปดโลกทัศน์สู่ การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นการนำามรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมไทย ซึ่งเป็นต้นทุน ทางวัฒนธรรมที่มีในท้องถิ่นมาพัฒนามาใช้อย่างรู้คุณค่า พัฒนา มีการดำารงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง และสร้างมูลค่าให้เกิดขึ้น เพื่อให้ก้าวไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy & Creative Industrial) ก้าวไปอย่างเชื่อมั่นและ เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจของทุกคน

บรรยากาศกิจกรรม “สัปดาห์วิชาการศิลปะและวัฒนธรรม” ระหว่างวันที่ 23 – 29 มกราคม พ.ศ. 2554 ณ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 117

6) โครงการ “ศิลปสําแดง”

โครงการ “ศิลปสำาแดง” เมื่อวันเสาร์ที่ 24กันยายน พ.ศ. 2554 ณ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาในกระบวนวิชาวิธีการนำาเสนองานศิลปะและวัฒนธรรม (918717) สามารถตระหนักถึงความสำาคัญของการจัดการ และวิธีการนำาเสนองานทางด้านศิลปะ และวัฒนธรรม โดยสามารถทำาให้เกิดความน่าสนใจ และเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลงานโดยนำามาประยุกต์ ผสมผสานเป็นงานร่วมสมัย ให้ออกมาในรูปแบบของการจัดดิสเพลย์ (Display) นิทรรศการ (Exhibition) และการแสดง (Performance) อีกทั้งยังเป็นการให้บริการความรู้ทางวิชาการแก่ นักเรียน และนักศึกษาทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงองค์กรและหน่วยงานทางด้าน ศิลปะและวัฒนธรรม และผู้ที่สนใจ ให้มีความรู้และความเข้าใจในการจัดการกับงานทางด้าน ศิลปะและวัฒนธรรมในแขนงต่าง ๆ

โครงการ “ศิลปสำาแดง” วันเสาร์ที่ 24กันยายน พ.ศ. 2554 ณ คณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาในกระบวนวิชาวิธีการนำาเสนองานศิลปะและวัฒนธรรม (918717) สามารถตระหนักถึงความ สำาคัญของการจัดการ และวิธีการนำาเสนองานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 118

7) โครงการการบรรยายพิเศษทางวิชาการดานการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง “วัฒนธรรมกับการมีสวนรวมของภาคประชาชน”

สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการบรรยายพิเศษทางวิชาการด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง “วัฒนธรรมกับการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชน” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2555 ณห้องประชุมชั้น 4 อาคาร ปฏิบัติการออกแบบคณะวิจิตรศิลป มหาวิทยาลัยเชียงใหม่บรรยายพิเศษโดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม และ รองศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์เพื่อมาบรรยายพิเศษใน กระบวนวิชาการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (918711) นอกจากการตระหนักถึง บทบาทในการผลิตบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ให้มีคุณภาพโดยมุ่ง เน้นทั้งด้านการเรียนการสอนในชั้นเรียน และการส่งเสริมให้นักศึกษาแสวงหาความรู้ และ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพจากภายนอกแล้ว อีกทั้งยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการ ศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่สาธารณชนที่มีความสนใจได้เกิดความเข้าใจในการจัดการศิลปะและ วัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น

การบรรยายพิเศษทางวิชาการด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม เรื่อง “วัฒนธรรมกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ศรีศักร วัลลิโภดม และ รองศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 119

8) โครงการบริการวิชาการโดยการมีสวนรวมของชุมชนตอการอนุรักษศิลปวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนวัดพวกแตม หรือ งาน “ฮวมใจฮวมแฮง คน พวกแตม ฮักชุมชน”

งาน “ฮ่วมใจฮ่วมแฮง คนพวกแต้ม ฮักชุมชน” จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2555 ณ วัดพวกแต้ม โดยได้รับเกียรติจากนายทัศนัยบูรณุปกรณ์นายกเทศมนตรีเทศบาลนคร เชียงใหม่ มาเป็นประธานในพิธีเปด ซึ่งกิจกรรม หรือ โครงการในครั้งนี้เป็นการลงพื้นที่ทำาวิจัย เก็บข้อมูล และให้บริการวิชาการ โดยคณะนักศึกษาในกระบวนวิชาการจัดการและอนุรักษ์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (918711) เพื่อให้คนในชุมชนพวกแต้มสามารถเป็นชุมชุมตัวอย่าง และ สามารถตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน แก่ชุมชนอื่น ๆ ให้รู้จัก และตระหนักถึงคุณค่าของโบราณสถาน โบราณวัตถุ งานช่าง และภูมิปัญญาของท้องถิ่น รวมถึง การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน ในเขตเมืองเชียงใหม่ของชุมชนอื่น ๆ ต่อไป โดยในวันงาน จัดโครงการ/กิจกรรมย่อย ดังนี้ 1) โครงการทดลองจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วัดพวกแต้ม “พวกแต้ม ครัว ตอง” 2) โครงการฟนฟูศิลปะการตีกลองจุม “กลองจุม กลองชัย” 3) นิทรรศการภาพถ่าย “ห้อง ภาพ พวกแต้ม” 4) การจัดเสวนา เรื่อง “ชุมชนเข้มแข็ง ด้วยบ่าแฮงหมู่เฮา”

ภาพกิจกรรมและบรรยากาศในงาน “ฮ่วมใจฮ่วมแฮง คนพวกแต้ม ฮักชุมชน” วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2555 ณ วัดพวกแต้มอำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 120

9) โครงการ “ผอบานฮักวัด อนุรักษทรายมูลเมือง”

โครงการ “ผ่อบ้านฮักวัด อนุรักษ์ทรายมูลเมือง” เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556 ณ วัดทรายมูลเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ซึ ่ ง ดำ าเนิน การโดยนัก ศึก ษาในกระบวนวิ ช าวิ ธ ี ก ารนำ า เสนองานศิ ล ปะและ วัฒนธรรม (918717) กระบวนวิชาการจัดการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ (918719) และกระบวน วิชาการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (918711) สามารถมีส่วนร่วมในการออกแบบ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะของการบูรณาการระหว่างรายวิชาและระหว่างการเรียน รู้ในห้องเรียนกับนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้เกิด ทักษะการปฏิบัติงานในโลกแห่งการทำางานจริงได้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น สำาคัญโดยจัดให้มีโครงงานหรือการเรียนรู้นอกสถานที่ รวมทั้งฝกงานและฝกประสบการณ์โดย ผ่านการจัดกิจกรรม

การลงพื้นที่ชุมชนวัดทรายมูลครั้งแรก เพื่อสำารวจทำาความรู้จักกับชุมชน และร่วมในกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ป 2556

การจัดกิจกรรมย้ายหีบธรรมและศิลปวัตถุเพื่อการจัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์วัดทรายมูลเมือง เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2556 ณ วัดทรายมูลเมือง


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 121

บรรยากาศการจัดงาน “ผ่อบ้านฮักวัด อนุรักษ์ทรายมูลเมือง” เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2556 ณ วัดทรายมูลเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 122

10) โครงการจัดอบรมและบริการวิชาการแกชุมชน ดานพิพิธภัณฑอิเล็กทรอนิกส (E-Museum)

สหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัย ร่วมกับ สวทช.ภาคเหนือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป และ กลุ่มคนตัวเล็กกับการอนุรักษ์ จัดโครงการอบรมและบริการวิชาการแก่ชุมชน ด้านพิพิธภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Museum) เมื่อวันที่ 21 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2557 ณ ห้องประชุม 1-314 ชั้น 3 อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อให้บริการวิชาการให้ความรู้ ในเรื่อง เทคโนโลยีเชิงอนุรักษ์ พิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์(E-Museum) แก่ชุมชนและผู้สนใจในศิลปะและ วัฒนธรรมและ การบรรยาย “การจัดทำาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ อาจารย์ประจำาภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป และประธานกรรมการบัณฑิต ศึกษาสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม

โครงการอบรมและบริการวิชาการแก่ชุมชน ด้านพิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Museum) เพื่อให้บริการวิชาการให้ความรู้ ในเรื่องเทคโนโลยีเชิงอนุรักษ์ พิพิธภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Museum) แก่ชุมชนและผู้สนใจในศิลปะและวัฒนธรรม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 123

11) โครงการอนุรักษลายคําประดับหอไตร วัดทรายมูลเมือง อําเภอเมือง จังหวัด เชียงใหม

สืบเนื่องมาจากโครงการ “ผ่อบ้านฮักวัด อนุรักษ์ทรายมูลเมือง” ที่สหสาขาวิชาการ จัดการศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำาเนินการลงพื้นที่เพื่อสำารวจชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรมที่อยู่ ในบริเวณวัดทรายมูลเมือง และชุมชนวัดทรายมูลเมือง ซึ่งปรากฏพบอาคารทางสถาปัตยกรรม งานพุทธศิลป เช่น ธรรมมาสน์ หีบธรรม เป็นต้น และพบใบลานอยู่เป็นจำานวนมาก ประกอบกับ ตัวอาคาร “หอไตร” นั้นที่มีสภาพชำารุดทรุดโทรม จึงก่อให้เกิดที่มาของ“โครงการอนุรักษ์ลายคำา ประดับหอไตร วัดทรายมูลเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” ดำาเนินการจัดโครงการเมื่อวันที่ 18-22 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ณ วัดทรายมูลเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม เพื่อเป็นการทำานุ บำารุงศาสนา และเป็นการอนุรักษ์ รักษา ลวดลายคำาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางศิลปะและวัฒนธรรม ของวัดทรายมูลเมือง ก่อนที่จะดำาเนินการบูรณะตัวอาคารหอไตรให้มีสภาพที่สมบูรณ์ต่อไป

การอนุรักษ์ รักษา ลวดลายคำาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางศิลปะและวัฒนธรรมของวัดทรายมูลเมือง เมื่อวันที่ 18-22 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ณ วัดทรายมูลเมือง อำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 124

การศึกษาดูงานดานการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม การศึกษาดูงานภายในประเทศ 1) โครงการศึกษาดูงานประกอบการเรียนการสอนดานการจัดการศิลปะและ วัฒนธรรม และการอนุรักษมรดกทางวัฒนธรรม

โครงการศึกษาดูงานประกอบการเรียนการสอนด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม สำาหรับนักศึกษาในกระบวนวิชาการจัดการและอนุรักษ์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (918711) วิชาพัฒนาการทางศิลปะและวัฒนธรรมในประเทศไทยและ ใกล้เคียง (918713) และวิชาวิธีการนำาเสนองานศิลปะและวัฒนธรรม (918717) โดยดำาเนินการ จัดขึ้นเป็นประจำาทุกปการศึกษา ซึ่งจัดศึกษาดูงานในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม ของทุกป โดย ดำาเนินการศึกษาตามเส้นทาง ณ จังหวัดกำาแพงเพชร จังหวัดลพบุรี จังหวัดนครราชสีมา กรุงเทพมหานครจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดนครปฐม และ จังหวัดตาก เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าถึงการพัฒนาการทางศิลปะและวัฒนธรรม โดยผ่านการเรียนรู้จาก สถานที่จริง เพื่อเพิ่มความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์จากอดีต ถึงปัจจุบันที่สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อ ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตที่สอดคล้องและแตกต่างกัน ตลอดจนความสัมพันธ์ของศิลปะ และวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ที่มีอิทธิพลต่อกัน ทั้งยังเพิ่มเติมความรู้และประสบการณ์ในสหสาขา วิชาชีพ

(ซ้าย) การฟังบรรยายรูปแบบและพัฒนาการศิลปะแบบสุโขทัย-กำาแพงเพชร ณ เจดีย์วัดช้างรอบ จ.กำาแพงเพชร เจดีย์วัดช้างรอบ จ.กำาแพงเพชร และ (ขวา) พื้นที่โบราณสถานโดยรอบอุทยานประวัติศาสตร์ กำาแพงเพชรที่ได้รับการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นเมืองมรดก


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 125

(ซ้าย) ศึกษาดูงานด้านการออกแบบและนำาเสนองานด้านศิลปวัฒนธรรม ณ Mansion 7 ฟังบรรยายด้านการ จัดการ เทคนิคการนำาเสนอ แนวคิด และ (ขวา) คอนเซ็ปต์ โดยได้รับเกียรติจาก คุณเชิงชาย ทิพย์สุข Creative Director “เพลินวาน” & “Mansion 7”

(ซ้าย) คณาจารย์และคณะนักศึกษาเข้าศึกษาดูรูปแบบและพัฒนาการทางศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ และเข้าร่วมเคารพพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ณ พระบรมมหาราชวัง (ขวา) ศึกษารูปแบบทางศิลปะ ณ วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรีและเข้าชมโบสถ์ ที่รวบรวมงานช่างฝมือชั้นครูหลายแขนง ในสมัยอยุธยาตอนปลายและร่วมสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ณ วิหารวัดใหญ่สุวรรณาราม

(ซ้าย) ศึกษาดูงานการออกแบบ และเทคนิคการนำาเสนอ โดยกระบวนการสร้างสรรค์ใหม่ จากฐานและต้นทุนทางวัฒนธรรม ณ เพลินวาน หัวหิน (ขวา) สภาพภูมิทัศน์การตกแต่ง และการจัดการทาศิลปะ และวัฒนธรรมภายใน เพลินวาน


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 126

2) โครงการศึกษาดูงานดานการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ณ จังหวัดภูเก็ต

ด้วยองค์กรพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติและเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต จัดงาน มิวเซียมเฟสติวัล 2012 ขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ต ทางสหสาขาวิชาฯ จึงได้จัดโครงการการศึกษาดูงาน ด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ของหน่วยงานและองค์กรทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม ณ จังหวัดภูเก็ต ในกระบวนวิชาการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม (918712) วิชาการจัดการและอนุรักษ์ ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (918711) และวิชาการจัดการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ (918719) เมื่อ วันที่ 20-23 กันยายน พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นการมุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงการจัดการมรดกทาง ศิลปะและวัฒนธรรม และการอนุรักษ์ ตลอดจนการจัดการศิลปวัฒนธรรมในแขนงต่าง ๆ เช่น การ พิพิธภัณฑ์ การแสดงและโรงละคร ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เป็นต้น โดยผ่านการเรียนรู้จากสถานที่ จริง เพื่อเพิ่มความรู้ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมในจังหวัดภูเก็ต และให้ คณาจารย์ในสหสาขาวิชาฯ ได้นำาความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาดูงานไปใช้ในการพัฒนา เนื้อหาและกระบวนวิชาต่าง ๆ ของสหสาขาวิชาฯ

เข้าร่วมฟังบรรยายจากองค์กรพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ในหัวข้อ “การจัดการพิพิธภัณฑ์ และการจัดการงานมิวเซียมเฟสติวัล 2012” ณ พิพิธภัณฑ์ภูเก็ตไทยหัว วิทยากร โดย คุณศุภกร ปุญญฤทธิ์ รักษาการหัวหน้าฝายพิพิธภัณฑ์และพัฒนาเครือข่าย พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 127

ศึกษาการจัดการและการอนุรักษ์เมืองเก่าภูเก็ต โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และชมรูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างจีน และยุโรป หรือ ชิโน – โปรตุกิส (Chino Portuguese) ณ ชุมชนย่านเมืองเก่า ถนนถลางภูเก็ต (Old Phuket Town Community)


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 128

3) โครงการนั ก ศึ ก ษาศึ ก ษาดู ง านด า นการจั ด การศิ ล ปะและวั ฒ นธรรม : “ลานนา-ศรีวิชัย”

โครงการนักศึกษาศึกษาดูงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม : “ล้านนา-ศรีวิชัย” เมื่อวันที่ 19 - 23 กรกฎาคม 2558 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และเมือง จอร์จทาวน์ รัฐปนังเป็นส่งเสริมและสร้างวิสัยทัศน์ ที่กว้างไกลในด้านศิลปะและวัฒนธรรมของ นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ของสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับองค์ ความรู้ในการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ - การจัดการและการเตรียมการวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารจังหวัดนครศรีธรรมราชสู่ การเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม - การจัดการย่านเมืองเก่าสงขลาโดย กลุ่มภาคีคนรักเมืองสงขลา และการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาสังคม - การเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย เพื่อเสนอเป็นมรดกโลกเช่น แหล่ง โบราณคดีเมืองเก่าเชียงแสนและสุวรรณโคมคำา แหล่งวัฒนธรรมล้านนา แหล่งโบราณสถานและ โบราณคดีเมืองวัฒนธรรมล้านนา แหล่งภูมิทัศน์วัฒนธรรมภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมล้านนา เส้นทางวัฒนธรรมวัดพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ในวัฒนธรรมล้านนาและ ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งหุบเขา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น - การจัดการมรดกวัฒนธรรม ณ ชุมชนริมน้ำาคลองแดน “ชุมชนวิถีพุทธ ตลาดริมน้ำา คลองแดน” - การจัดการมรดกวัฒนธรรม และ ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เมืองมรดกโลกปนัง


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 129

เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาแสวงหาความรู้ และประสบการณ์ในด้านการจัดการ ทางศิลปะและวัฒนธรรมจากบุคคล หน่วยงานหรือชุมชนภายนอกในด้านวิชาการหรือวิชาชีพ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงการนำาความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในทางปฏิบัติและมีความรู้ทางวิชาการที่ทัน สมัย โดยเชิญวิทยากร/อาจารย์พิเศษ/นักวิชาการ/หน่วยงาน ที่มีความรู้ความสามารถทางการ จัดการศิลปะและวัฒนธรรม มาบรรยายแก่นักศึกษาและเยี่ยมชมหน่วยงานหรือสถานที่ภายนอก สถาบัน เช่น กลุ่มภาคีคนรักเมืองสงขลา และองค์กร George Town World Heritage Incorporated (GTWHI) ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น

ศึกษาการจัดการและการอนุรักษ์ ในโครงการศึกษาดูงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม : ล้านนา-ศรีวิชัย และศึกษารูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมแห่งคาบสมุทรภาคใต้ ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และ เมืองจอร์จทาวน์ รัฐปนัง


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 130

การศึกษาดูงานในตางประเทศ 1) การศึกษาดูงานดานศิลปะและวัฒนธรรม ณ สาธารณรัฐเกาหลีใต

การศึกษาดูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม สำาหรับนักศึกษา รหัส 52 ณ สาธารณรัฐ เกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 25 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553 เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการงานด้านศิลปะ และวัฒนธรรม การสร้างสรรค์วัฒนธรรมจากรากฐานทางวัฒนธรรม ตลอดจนวิถีชีวิตและการนำา เสนองานทางศิลปะและวัฒนธรรม

ศึกษาดูงานการจัดการพิพิธภัณฑ์และวิธีการนำาเสนองานศิลปะ ณ พิพิธภัณฑ์คติชนพื้นเมือง(พิพิธภัณฑ์คติชนแห่งชาติเกาหลี : The National Folk Museum of Korea)

ศึกษาดูงานการนำาเสนอผลงานทางวัฒนธรรมและเทคโนโลยี ที่ Digital Playground : Samsung d’light


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 131

2) การศึกษาดูงานดานศิลปะและวัฒนธรรม ณ สาธารณรัฐประชาธิปไตย เวียดนาม

การศึกษาดูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม สำาหรับนักศึกษา รหัส 53 ณ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยเวียดนาม (แขวงสะหวันเขต ประเทศลาว - ลาวบาว– เว้ - ดานัง - ฮอยอัน) เมื่อวัน ที่ 13-18 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เพื่อศึกษาการจัดการเมืองโบราณฮอยอัน (Hoi An Ancient Town) ซึ่งเป็นรูปแบบวิธีการจัดการ และแนวปฏิบัติในการอนุรักษ์ที่ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด ในเอเชีย (The Hoi An Protocols For Best Conservation Practice in Asia)

ศึกษาการจัดการเมืองมรดกโลกฮอยอัน และศึกษาบ้านโบราณตันกี (TANKY HOUSE) สถาปัตยกรรมผสม ระหว่างจีน และญี่ปุน ซึ่งปัจจุบันได้รับการดูแลโดยลูกหลาน ถือเป็นตัวอย่างของการบริหารจัดการมรดกทาง วัฒนธรรมโดยเอกชนที่ดีแห่งหนึ่ง

ศึกษาการจัดการด้านพิพิธภัณฑ์ ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะจาม (CHAM MUSEUM) ภายในอาคารจัดแสดงศิลปวัตถุไว้มากมาย และชั้น 2 จัดแสดงงานศิลปะวัตถุแบบจีน-เวียดนาม คือ ยวดยานคานหาม ในรูปแบบต่าง ๆ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 132

3) การศึกษาดูงานดานศิลปะและวัฒนธรรม ณ เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร

การศึกษาดูงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม สำาหรับนักศึกษา รหัส 54 ณ เมืองมะละกา ประเทศ มาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 24 - 28 มีนาคม พ.ศ. 2555 เพื่อศึกษาการ จัดการและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม การจัดการพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์ ตลอดจนวิถีชีวิตที่มี การผสมผสานทางวัฒนธรรมหลากหลายรูปแบบ

พิพิธภัณฑ์เรือเดินสมุทร (MuziumSamudera)แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ การเดินเรือ ณ เมืองมะละกา สะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของกลุ่มชน ผ่านการค้าขายในอดีต ถือเป็นเมืองท่าที่สำาคัญในภูมิภาคอุษาคเนย์ ทั้งยังมีความเชื่อมโยงกับการค้าของเมืองภูเก็ตในอดีตอีกด้วย

พิพิธภัณฑ์ บ้าบา ย่าหยา (Baba – Nyonya Heritage Museum) พิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตของชาว บ้าบา ย่าหยา ผู้ที่มีเชื้อสายจีนผสมมลายู ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี เฉพาะกลุ่มชนเอาไว้อย่างเหนียวแน่น


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 133

พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเจิ้งเหอ (Cheng Ho Cultural Museum) สถานที่ที่อยู่ในย่านเมืองเก่าที่นำาเสนอถึงประวัติความเป็นมา ของการเข้ามาของชาวจีนในเมืองมะละกา ที่นำาโดยแม่ทัพเจิ้งเหอ ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมที่น่าสนใจ

ศึกษาดูการจัดการพิพิธภัณฑ์ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ (National Museum of Singapore) ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีการรวบรวมประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เอาไว้ โดยห้องจัดแสดงแต่ละส่วนมีความกลมกลืน สอดคล้องกัน มีระบบการจัดการแสง และไฟที่ดี อันไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อศิลปวัตถุ


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 134

4) การศึกษาดูงานดานศิลปะและวัฒนธรรม ณ เมืองปนัง ประเทศมาเลเซีย

การศึกษาดูงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมในต่างประเทศสำาหรับนักศึกษา รหัส 55 เมื่อวันที่ 21 – 25 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ เมืองจอร์จทาวน์ รัฐปนัง ประเทศมาเลเซีย เพื่อศึกษาการจัดการเมืองมรดกโลก (George Town World Heritage) และศึกษารูปแบบของ ศิลปะสถาปัตยกรรม การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม และมรดกทางวัฒนธรรม

การศึกษาดูงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ณ เมืองจอร์จทาวน์ รัฐปนัง ประเทศมาเลเซีย เพื่อศึกษาการจัดการเมืองมรดกโลก (George Town World Heritage) และศึกษารูปแบบของศิลปะ สถาปัตยกรรม การจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม และมรดกทางวัฒนธรรม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 135

5) การศึกษาดูงานดานศิลปะและวัฒนธรรม ณเขตปกครองตนเองชนชาติไท เมืองสิบสองปนนา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน

การศึกษาดูงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรมในต่างประเทศ สำาหรับนักศึกษา รหัส 56 เมื่อวันที่ 5 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ณ เขตปกครองตนเองชนชาติไท เมืองสิบสองปัน นา มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อส่งเสริมและสร้างวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล ให้กับ นักศึกษาสหสาขาวิชาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย ในด้านบริบททาง ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม พิธีกรรม และวิถีชีวิต

ศึกษาดูงานการจัดการวัฒนธรรม ณ โครงการ “เก้าจอม สิบสองเจียง” หรือ ” (Nine Tower & Twelve Walled) โครงการความร่วมมือทางการค้าและวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือกับเมืองสิบสอง ปันนา มณฑลยูนนาน ภายใต้ความร่วมมือระหว่างจีน-ไทย ตามยุทธศาสตร์ GMS เป็นเมืองที่เกิดจากการสร้างสรรค์ใหม่จากรากฐานทางวัฒธรรมเดิม


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 136

ศึกษารูปแบบทางศิลปะ สถาปัตยกรรม วิถีชีวิต ประเพณี และพิธีกรรมของชาวไทลื้อ ณ เมืองสิบสองปันนา (เชียงรุ่ง) เมืองฮำา เมืองลวง และ เมืองหล้า


การจัดการศิลปะและวัฒนธรรม 137

6) การศึกษาดูงานดานศิลปะและวัฒนธรรม ณ เมืองคุนหมิง – ตาหลี่ – ลี่เจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการศึกษาดูงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ณ เมืองคุนหมิง – ต้าหลี่ ลี่เจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 13 - 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำาหรับ นักศึกษา รหัส 57 ในกระบวนวิชาการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรทางวัฒนธรรม (918711) วิชาการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม (918712) วิ ช าพั ฒ นาการทางศิ ล ปะและวั ฒ นธรรมใน ประเทศไทยและใกล้เคียง (918713) วิชาการจัดการศิลปะการแสดงและโรงละคร (918718) วิชาการจัดการพิพิธภัณฑ์และหอศิลปะ (918719) และวิชาการท่องเที่ยวกับศิลปวัฒนธรรม (918721) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเมืองมรดกโลกต้าหลี่ - ลี่เจียง เพื่อนำามาประยุกต์ใช้ใน การจัดการและพัฒนาเมืองเชียงใหม่ สู่การเป็นเมืองมรดกโลก

การศึกษาดูงานด้านการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ณ เมืองคุนหมิง – ต้าหลี่ - ลี่เจียง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเมืองมรดกโลกต้าหลี่-ลี่เจียง เพื่อนำามาประยุกต์ใช้ในการจัดการและพัฒนาเมืองเชียงใหม่ สู่การเป็นเมืองมรดกโลก




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.