2013 03

Page 1

ISSN : 1906-5647

No. 3 > 2013

ครูคำ�ปุน ศรีใส...ผู้ให้กำ�เนิดผ้ากาบบัว

Khru Khumpoun Srisai…The Creator of ‘Garb Bua’ Textile

ป้านางผ้าฝ้าย...สำ�นึกรักท้องถิ่น จิตวิญญาณแห่งอีสาน

Pa Nang Cotton…Love Suffices When Weaving from the Heart

หุ่นสายเสมา...ยึดโยงด้วยสายสัมพันธ์แห่งศิลปะพื้นบ้าน Sema Thai Puppets Pull the Heartstrings

ไทย อลยา...บาติกสไตล์ล้านนา Believing in Batik

“ฝ้ า ยทอใจ” เปิดโลกทัศน์ใหม่ผ้าฝ้ายทอมือ

‘Fai Tor Jai’ Sets New Perspective for Hand-Woven Textiles



3

26

Contents สารบัญ 2 Editor’s Note 3 Main Story

“ฝ้ายทอใจ” เปิดโลกทัศน์ ใหม่ผ้าฝ้ายทอมือ ‘Fai Tor Jai’ Sets New Perspective for Hand-woven Textiles

14 The Village Trail

ป้านางผ้าฝ้าย...ส�ำนึกรักท้องถิ่น จิตวิญญาณแห่งอีสาน

Pa Nang Cotton…Love Suffices When Weaving from the Heart

26 CRAFTSMASTER

ครูค�ำปุน ศรีใส...ผู้ให้ก�ำเนิดผ้ากาบบัว Khru Khumpoun Srisai… The Creator of ‘Garb Bua’ Textile

34 Global Visions

ข่าวจากวงการหัตถศิลป์โลก Art and craft news from around the world

38 everyday Runway ไทย อลยา...บาติกสไตล์ล้านนา Believing in Batik

38

50 INSIDE SACICT

รวมสุดยอดแห่งหัตถกรรมและนวัตกรรมใน งานเทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ 2556 (IICF2013) Navatasilp International’s Success is Practice Run for IICF 2013

54 ART Talk

หุ่นสายเสมา...ยึดโยงด้วยสายสัมพันธ์แห่ง ศิลปะพื้นบ้าน Sema Thai Puppets Pull the Heartstrings

68 Members’ Corner จดหมายจากผู้อ่าน What Our Readers Say

70 Product Showcase

งานฝีมือที่คัดสรรจากมวลสมาชิก ทั่วประเทศเพื่อการจ�ำหน่าย A selection of exquisite creations offered by SACICT members

54


Editor’s Note*

No. 3 > 2013 ฝ้าย คือเส้นใยธรรมชาติที่ผูกพันกับชีวิตประจ�ำวันของเราทุก คน ดอกฝ้ายปั่นเป็นด้ายแล้วทอเป็นผ้าเพื่อน�ำมาใช้เป็นเครื่อง นุ่งห่ม และส่วนประกอบของหลากผลิตภัณฑ์รอบตัวเรา วันนี้ ในยุคที่มนุษย์หันมาโหยหาความเป็นธรรมชาติ ผ้าฝ้ายทอมือ ก็กลับมามีบทบาทที่โดดเด่นยิ่งกว่าเดิม ดังที่ SACICT Living Thai จะน�ำท่านไปสัมผัสในฉบับนี้ ใน Main Story ผู้อำ� นวยการ ศ.ศ.ป.พิมพาพรรณ ชาญศิลป์ จะมาเล่าถึงสถานการณ์ผ้าฝ้ายไทยและแนวโน้มของตลาดใน ปัจจุบัน รวมทั้งให้รายละเอียดของ “ฝ้ายทอใจ” งานประจ�ำปี ซึ่งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ ศ.ศ.ป. ได้จัดขึ้น อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 ปลายเดือน มิถุนายน นี้ Cover Story จะเผยให้เห็นเสน่ห์ล้านนาอันเป็นที่มาของแรง บันดาลใจของสองสามีภรรยานักออกแบบแห่ง “ไทย อลยา บาติก” เชียงใหม่ กิตติศักดิ์-อลยา ชลประเสริฐสุข ผู้สร้างนิยาม ใหม่ให้ศิลปะการท�ำบาติก ส่วนคอลัมน์ Craftsmaster น�ำเสนอ เรื่องราวของครูคำ� ปุน ศรีใส ผู้ให้กำ� เนิดผ้ากาบบัว ผ้าทอ อันงดงามอันเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี ใน Village Trail เราจะไปพบกับ ป้านาง จันทะมาน แห่ง “ป้านางผ้าฝ้าย” ผู้นำ� ชุมชนแถบฝั่งธนบุรีซึ่งเป็นแหล่งผลิตและ จ�ำหน่ายผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติที่เปี่ยมด้วยกลิ่นอาย ของท้องถิ่นอีสาน ที่กรุงเทพฯ บ้านเล็กๆในซอยวิภาวดีรังสิต 58 หลังนั้นบรรจุฝัน อันยิ่งใหญ่ของเยาวชนและผู้คนมากมาย เพราะนั่นคือที่ตั้งของ คณะละครหุ่นสายเสมา ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยไกล ถึงกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก นอกเหนือจากความส�ำเร็จระดับ นานาชาติแล้วศิลปินเหล่านี้ยังมีผลงานด้านจิตอาสาที่น่าชื่นชม เป็นอย่างยิ่ง เชิญสนุกสนานกับเนือ้ หาภายในเล่ม แล้วพบกันใหม่ในฉบับต่อไป

Cotton has a special connection with our lives. From its flower we spin yarn for the loom and weave cloth for our daily use. In today’s eco-conscious society, cotton textiles have gained greater prominence than ever… as you will find out in this issue of SACICT Living Thai. Sharing with us the latest updates on the situation of hand-woven cotton products is Mrs. Pimpapaan Charnsilpa, the CEO of SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (SACICT). She discloses the history, objectives and compositions of “Fai Tor Jai”, the sixth annual exhibition of Thailand’s exquisite cotton textiles and related products hosted by SACICT. The Cover Story tells of the eternal charms of Lanna, which continue to inspire a husband-and-wife designer team in Chiang Mai to produce inimitable works of beauty on batik. The Craftsmaster Column captures for your eyes the glory of Garb Bua, an innovative patterned textile representing Ubon Ratchathani province. Our Village Trail leads to Thon Buri, where we introduce you to Pa (Auntie) Nang, a very enterprising community leader who has created and chairs a clan of weavers in natural dyed cotton textiles. In Bangkok, we meet a puppet troupe with big dreams on Vibhavadi Rangsit Soi 58. Though Sema Thai Marionette Troupe has only recently won international acclaim from Prague in the Czech Republic, the troupe has long won local public respect for their social contribution. Read on and enjoy…

คณะที่ปรึกษา: ประธานที่ปรึกษา พิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ที่ปรึกษา ภัณฑิษา เศวตเศรนี, สุวิมล ฟักทอง, นิพัทธ์ เทศทรงธรรม, ดุลยวิทย์ ศุขรัตน์

EDITORIAL ADVISORY BOARD: CHIEF CONSULTANT Pimpapaan Chansilpa CONSULTANTS Phantisa Svetasreni, Suwimon Fakthong, Nipat Tedsongthum, Dulyavit Sukarat

เจ้าของ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) 59 หมู่ 4 ต.ช้างใหญ่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา 13290 โทร: 035 367 054-56, 035 367 077-81 โทรสาร: 035 367 050-1 เว็บไซต์: www.sacict.net จัดทำ�โดย บริษทั ฟีเจอร์ จำ�กัด 23/18 ซอยร่วมฤดี เพลินจิต ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร: 0 2254 6898-9 โทรสาร: 0 2650 7738 บรรณาธิการบริหาร พยอม วลัยพัชรา บรรณาธิการ พยงค์ กังวานสุระ หัวหน้ากองบรรณาธิการ นภัทร ประเสริฐกุล คณะบรรณาธิการ ธีรสันต์ มานน์, ทรงพล แก้วปทุมทิพย์, สุวรรณา เปรมโสตร์, เกตุวลี ทองเนือ้ สุข ศิลปกรรม วรรณศักดิ์ รอดวรรณะ, แสงเดือน สุปนิ ตา ช่างภาพ จรวย วงศ์เหลือง, วริศ กูส้ จุ ริต, ศิรพัชร วลัยพัชรา ติดต่อโฆษณา พยงค์ กังวานสุระ พิมพ์ที่ บริษทั อติสรรค์ จำ�กัด 248 ซอยลาดพร้าว 87 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 โทร: 0 2932 2596-7 โทรสาร: 0 2932 2598. (บทความในนิตยสารนีเ้ ป็นความคิดเห็นของผูเ้ ขียน ศูนย์สง่ เสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) ไม่จ�ำ เป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป อนึ่งบทความและภาพในนิตยสารนี้สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายไทย การจะนำ�ไปเผยแพร่ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร) SACICT Living Thai is a bi-monthly magazine published by the SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (Public Organization). 59 Moo 4, Chang-Yai Sub-District, Bangsai, Ayutthaya Province 13290, Thailand Tel: +66 (0) 35 367 054-56, +66 (0) 35 367 077-81, Fax: +66 (0) 35 367 050-1 Website: www.sacict.net DESIGN AND PRODUCTION: Feature Co., Ltd. 23/18 Soi Ruamrudee, Ploenchit, Pathumwan, Bangkok 10330, Thailand Tel: +66 (0) 2254 6898-9, Fax: +66 (0) 2650 7738. EXECUTIVE EDITOR Payom Valaiphatchra EDITOR Payong Kungwansurah EDITOR IN CHIEF Napat Prasertkul EDITORIAL TEAM Thirasant Mann, Songpol Kaopatumtip, Suwanna Premsote, Katewalee Thongnuasuk GRAPHIC DESIGNERS Wannasak Rodwanna, Sangduan Supinta PHOTOGRAPHERS Jaruay Wongluang, Varis Kusujarit, Sirapat Valaiphatchra FOR ADVERTISEMENT PLACEMENTS, contact Payong Kungwansurah, Tel: +66 (0) 2254 6898-9. PRINT: Artisans Co., Ltd. 248 Soi Lardprao 87, Wangthonglang, Bangkok 10310. Tel: +66 (0) 2932 2596-7, Fax: +66 (0) 2932 2598. (Opinions in Living Thai are the writers’ and not necessarily endorsed by SACICT. No part of this magazine may be reproduced without written permission.)


MAIN Story* เรื่อง  ภาพ

พินทุมดี ศ.ศ.ป.

“ฝ้ายทอใจ”

เปิดโลกทัศน์ใหม่ผ้าฝ้ายทอมือ

นุษย์รู้จักการปลูกฝ้าย เก็บเอาดอกมาปั่นเป็นเส้นด้ายแล้วทอเป็นผ้าผืนเพื่อ ใช้ท�ำเครื่องนุ่งห่มตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา แต่แล้วผ้าฝ้ายก็เริ่มด้อยความ นิยมลงไปในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาได้ผลิตผ้า ใยสังเคราะห์ออกสู่ตลาดขจัดความขาดแคลนอันเกิดจากภาวะสงคราม วัสดุชนิดใหม่นี้มีราคาถูกกว่า การดูแลรักษาง่ายกว่า และพิมพ์ลวดลายสีสันได้ สะดวกกว่า ท�ำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั่วโลก จนเรียก ได้ว่าผู้บริโภคแทบจะลืมเลือนเส้นใยธรรมชาติไปเลย

| 3


ในประเทศไทย ผ้าฝ้ายทอมือหวนคืนสู่ความ นิยมของสาธารณชนเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการ จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ขึ้นเป็นหน่วยงานหลักใน การฟื้นฟูศิลปะหัตถกรรมและส่งเสริมการทอผ้าไหม-ผ้า ฝ้าย หลังจากครั้งที่ตามเสด็จพระราชด�ำเนินไปทรง เยี่ยมเยือนราษฎรในชนบทเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2498 และทรงเล็งเห็นถึงฝีมือการทอผ้าของชาวบ้านโดย เฉพาะในภาคอีสานที่ประณีตงดงาม สามารถท�ำเป็น อาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มในครัวเรือนและช่วยในการ อนุรักษ์ศิลปะดั้งเดิมแขนงนี้ให้คงอยู่สืบไป ทุกวันนี้ ชาวบ้านในชุมชนต่างๆ ทุกหนแห่งทั่ว ประเทศได้หันมาสร้างรายได้เสริมจากการทอผ้า นับว่า เป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดภูมิปัญญา และมรดกทาง วัฒนธรรมของชาติอีกด้วย และในแต่ละปีก็จะมีการ รวบรวมผลิตภัณฑ์มาน�ำเสนอแก่ผู้รักผ้าฝ้ายที่อาศัยอยู่ ในเมืองกรุงในรูปของนิทรรศการ การออกร้านหรืองาน แสดงสินค้าต่างๆ “เป็นเวลา 6 ปีมาแล้วที่เราได้จัดโครงการ ‘ฝ้ายทอ ใจ’ ขึ้นเพื่อร่วมเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ และน้อมร�ำลึกถึงพระมหากรุณาธิคณุ ในการส่งเสริม ฟื้นฟู และสร้างอาชีพทอผ้าฝ้าย ในอันที่ จะสร้างรายได้เสริมและเพิ่มขวัญก�ำลังใจให้กับพสกนิกร” คุณพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ ผู้อ�ำนวยการศูนย์ส่งเสริม ศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป.เล่าให้เราฟัง เธออธิบายว่า “ผ้าฝ้ายนั้นมีเสน่ห์เป็นอย่างมาก อันดับแรกคือเหมาะกับสภาพร่างกายของเรา ในฤดูร้อน เวลาสวมใส่ผ้าฝ้ายจะรู้สึกโปร่งสบาย ในขณะที่การห่ม ผ้าฝ้ายในฤดูหนาวจะท�ำให้อุ่น ยิ่งผ้าฝ้ายที่มีความนุ่ม ด้วยแล้วก็สวมใส่สบายน่าใช้เป็นอย่างยิ่ง ที่เหนือไปกว่า นั้น คือเสน่ห์ที่เกิดจากทักษะในการทอผ้าของชุมชนที่ สามารถสร้างสรรค์ลวดลายซึ่งถ่ายทอดวัฒนธรรม ประเพณีของท้องถิ่นออกมาให้ผู้คนได้สัมผัส คนในเมือง บางทีก็ต้องการอะไรที่ละเอียดอ่อนบ้างเพื่อให้ชีวิตมี ความสุนทรีมากขึ้น ผ้าฝ้ายก็เป็นอย่างหนึ่งที่ตอบสนอง ความต้องการแบบนี้ได้ โดยเฉพาะผ้าทอมือซึ่งมักจะ สะท้อนอารมณ์ของผู้ทออยู่ในนั้น อารมณ์ดีผ้าก็อาจจะ เสมอหน่อย อารมณ์เสียก็จะออกมาอีกอย่าง ผ้าฝ้าย เป็นอะไรที่เหมาะส�ำหรับชีวิตที่ไม่เร่งรีบเกินไป” ผอ.พิมพาพรรณ ให้ค�ำอรรถาธิบาย 4  |

งาน “ฝ้ายทอใจ” ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 27-30 มิถุนายน 2556 ณ ที่ท�ำการ ศ.ศ.ป. อ�ำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกได้ว่าเป็นจุดนัดพบของ ความหลากหลายในประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ภายใน งานเดียวกันนั้นมีผ้าฝ้ายทอมือจากทั่วทุกภูมิภาคมาจัด แสดงและจ�ำหน่ายรวมกว่า 100 บูธ โดยไม่ต้องเสียเวลา เดินทางไปซื้อหาในแต่ละท้องถิ่น ท่านผู้อ�ำนวยการย�ำ้ ว่า “ฝ้ายทอใจ” ยัง เป็นการร่วมรณรงค์และกระตุ้นแนวคิด “นิยมไทย” เน้น ให้คนไทยหันมาใช้ของไทย สร้างความภาคภูมิใจในการ ด�ำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน ส่งเสริมการผลิตงานหัตถกรรมไทยด้วยภูมิปัญญาไทย และเผยแพร่ไปให้เป็นที่รู้จัก อันจะน�ำไปสู่การพัฒนา ตลาดในระดับนานาชาติ นอกจากนั้น ยังมีนิทรรศการพิเศษจัดแสดงผ้า โบราณอายุกว่า 100 ปี เช่น ฉลองพระองค์ครุยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี รวมถึงผ้าที่มีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และนิทรรศการการวิวัฒนาการผ้าตั้งแต่ สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไปจนถึงการจัดแสดงผ้ากลุ่ม พื้นบ้านต่างๆ เช่น ลาวพวน ไทลื้อ ฯลฯ โดยในส่วน ของนิทรรศการพิเศษนี้จะจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2556 กิจกรรมครั้งยิ่งใหญ่นี้จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ให้ผู้คน ที่อาจยังติดอยู่กับภาพเดิมๆ ของผ้าฝ้ายทอมือที่ว่า หนา หนัก ย้วย ยืด สีตก อันเกิดจากการทอที่ไม่ สม�่ำเสมอ ความแน่นไม่เท่ากัน เนื่องจากได้มีการคิดค้น กรรมวิธีใหม่ๆมาพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือจนมีคุณภาพสูง และเข้าไปอยู่ในใจของผู้คนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ผ้าฝ้ายทอมือหวนคืนสู่ความนิยมของ สาธารณชนเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯให้มีการจัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ


“เรายังมีโครงการฝ้ายที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ย้อมด้วยสีธรรมชาติ มีการอิ้วฝ้ายเอง เข็นฝ้ายเอง ท�ำเองหมดทุกอย่างด้วยมือ สามารถคง คุณภาพของฝ้ายที่มีความยืดหยุ่นสูง ผ้าฝ้ายที่มาจากธรรมชาติล้วนๆ มีข้อดีคือ หนึ่ง เราไม่เกิดอาการแพ้ คงความโปร่ง อากาศถ่ายเท และ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม หมายถึงทั้งผู้ผลิต ทั้งเกษตรกร ทั้งชาวบ้านที่ เป็นคนผลิต แล้วก็ตัวเราที่เป็นผู้บริโภค” ผอ. พิมพาพรรณอธิบายต่อว่า “ในปัจจุบัน ผู้บริโภคเปิดโอกาส ให้กับผ้าฝ้ายมากยิ่งขึ้น เพราะผ้าฝ้ายเดี๋ยวนี้มีทั้งที่เนื้อนุ่ม มีสีหลาก หลาย โดยที่สีไม่ตก ไม่ซีด ปกติถ้าเป็นสีธรรมชาติมันจะมีบ้าง แต่ก็ได้ มีการคิดค้นวิจัยและการทดลองหลายอย่างจนในที่สุดก็สามารถหาผ้า ย้อมสีแบบธรรมชาติโดยที่สีไม่ซีดได้เช่นกัน เรียกว่ามีความก้าวหน้า ทางความคิด ทางองค์ความรูท้ จี่ ะมาช่วยให้ผา้ ฝ้ายทอมือมีคณุ ภาพดีขนึ้ ” เธอยกตัวอย่างหนึ่งเทคนิคของชาวบ้านในการท�ำให้ผ้านุ่มขึ้น คือ การน�ำผ้าไปหมักโคลนหรือหมักกับยางพืชบางชนิด ซึ่งล้วนเกิดจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่น เธอยังให้ความเห็นอีกว่า การที่โครงการฯ ประสบความส�ำเร็จ อย่างต่อเนื่องก็เพราะเป็นโครงการที่เข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง “โครงการฝ้ายที่ทางมูลนิธิศิลปาชีพฯ ให้การสนับสนุนเป็นโครงการที่ลง ไปถึงพื้นที่จริงๆ ก็หมายความว่ามีสมาชิกในชุมชนได้รับประโยชน์จาก โครงการเป็นจ�ำนวนมาก แล้วก็มีกระจายอยู่ทั่วประเทศ ลายผ้าของ แต่ละกลุ่มอาจจะไม่เหมือนกัน ทางเหนือเป็นแบบหนึ่ง ทางใต้เป็นแบบ หนึ่ง ทางอีสานเป็นแบบหนึ่ง แต่ทุกโครงการล้วนก่อให้เกิดประโยชน์แก่ คนจ�ำนวนมากเหลือเกิน ทั้งเกษตรกรที่ว่างจากการท�ำการเกษตร ทั้ง สมาชิกในชุมชนที่ทอเป็นอาชีพเลย ถือว่าเป็นโครงการที่ช่วยคนได้ จ�ำนวนมหาศาล” โครงการฝ้ายทอใจยังเน้นการพัฒนาศักยภาพของช่างทอและ ชุมชน โดยในปีนี้ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญและนักออกแบบที่คร�่ำหวอด อยู่ในตลาดเข้ามาพูดคุยกับสมาชิกชุมชนซึ่งเป็นผู้ผลิต มาอธิบายถึง ขั้นตอนการผลิต จนสามารถต่อยอดจากความเข้าใจว่ามาตรฐานของ สินค้าควรจะเป็นอย่างไร เป็นการสร้างความเข้าใจในเรื่องการออกแบบ ให้โดนใจตลาดนั่นเอง หนึ่งในความพิเศษของงานในปีนี้ก็คือ เป็นปีแรกที่มีการน�ำผ้า ฝ้ายไปพิมพ์ลาย โดยโครงการฯ ได้จับมือกับดีไซเนอร์รุ่นใหม่ ไอซ์ศรุต วุฒิพชนธร ผู้ชนะการประกวดสุดยอดดีไซเนอร์ “ทอผ้า ฟ้าไทย” มาออกแบบผ้าฝ้ายในชื่อคอลเล็กชั่น Miracle of Cotton’s Charms เพื่อจัดแสดงแบบโดยสาวงามจากเวทีมิสไทยแลนด์เวิลด์ มิสไทยแลนด์ ยูนิเวิร์ส และเวทีนางสาวไทย

โครงการฝ้ายทอใจประสบความส�ำเร็จอย่างต่อเนื่องก็เพราะเข้าถึงประชาชนอย่างแท้จริง The success of Fai Tor Jai is due to the people's appreciation of its products.

| 5


"ฝ้ายทอใจ" ยังเป็นการร่วมรณรงค์และกระตุ้นแนวคิด "นิยมไทย" เน้นให้คนไทยหันมาใช้ของไทย Fai Tor Jai also helps encourage Thais to use Thai products.


“อย่างน้อยที่สุดกระแสนิยมไทยก็มีส่วนช่วยให้คนไทยใช้ผ้าฝ้ายเพิ่มขึ้น จริงๆ แล้วผ้าฝ้ายก็ไม่จำ� เป็นว่าจะต้องเอามาตัดชุดอย่างเดียว เอามาท�ำเป็นอย่างอื่น HRH Princess Soamsawali graciously recently presided over the opening ceremony of the 6th Fai Tor Jai exhibition. แทนพลาสติกได้เยอะ เช่นเอามาท�ำผ้าคลุมอะไรต่างๆ ราคาไม่แพง โดยเฉพาะผ้าใน โครงการของเราราคาถูกมาก เป็นราคาพิเศษ “เวลาที่เราพูดถึงผ้าทอมือก็จะเป็นเรื่องของผ้าฝ้าย ถ้าอยู่ใกล้โรงงานอาจจะมี ด้ายโรงงานปนกับฝ้ายบ้าง หรือบางทีอาจจะฝ้ายปนกับไหม หรือซื้อฝ้ายจากโรงงานมา ผสมกับใยสังเคราะห์ หรือฝ้ายผสมกับใยพืชอื่น เช่นโครงการที่เราท�ำเมื่อปีที่แล้ว มีการน�ำฝ้ายมาทอผสมใยบัว ใยข่า ใยสับปะรด ใยกัญชง ใยกล้วย อันนั้นก็เป็นความ หลากหลาย จะให้สัมผัสที่แตกต่างกันในแต่ละวัสดุที่ทำ� คนก็สนใจ เช่นผ้าผสมใยข่า มันจะเหมือนมีเส้นของข่าปุยๆ ออกมานิดหน่อย เวลาเอามาท�ำเป็นกระเป๋า หรือเอา มาท�ำวัสดุหุ้มภาชนะอะไรต่างๆ มันก็จะสวยแปลกตาไปอีกแบบ ก็เป็นทางเลือกให้คน ที่จะมาใช้ผลิตภัณฑ์ของไทยให้มากยิ่งขึ้น” ผอ.พิมพาพรรณยังเปิดเผยด้วยว่า ได้มีผู้ประกอบการ จากต่างประเทศให้ความสนใจงานประเภท Green Craft ของไทยเป็นอย่างมาก สืบเนื่องจากความพร้อมด้านฝีมือ และความพร้อมด้านวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่นขณะนี้ ก�ำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น กิจกรรมครั้งยิ่งใหญ่นี้จะเปิดโลกทัศน์ใหม่ ศ.ศ.ป. เพื่อเตรียมตัวบุกตลาดญี่ปุ่น และก็ได้รับผลตอบรับเป็นอย่าง ให้ผู้คนที่อาจยังติดอยู่กับภาพเดิมๆ ของ ดี มีตัวแทนจ�ำหน่ายญี่ปุ่นให้ความสนใจน�ำไปท�ำตลาดเพื่อ ผ้าฝ้ายทอมือที่ว่า หนา หนัก ย้วย ยืด สีตก เข้า shop หรือห้างสรรพสินค้าในญี่ปุ่นในเร็วๆ นี้ รายได้จาก การจ�ำหน่ายสินค้าก็จะกลับเข้าสู่ประเทศ ลงลึกไปถึงผู้ผลิต ในระดับหมู่บ้าน อันจะท�ำให้อาชีพยังคงอยู่และยังท�ำให้คน รุ่นใหม่ๆ หันกลับมามองอาชีพและฝีมือดั้งเดิมของ บรรพบุรุษว่าสามารถสร้างรายได้และเป็นธุรกิจได้จริง ส�ำหรับกลไกการผลักดันผ้าฝ้ายทอมือไทยออกสูต่ ลาดโลกให้ได้นนั้ ผอ.พิมพาพรรณ กล่าวว่า “เราต้องอาศัยการเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของผ้าฝ้ายทอมือสู่ผู้บริโภค มีการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลของผ้าฝ้าย ประเภท ลาย แบบต่างๆ ออกไปอย่าง กว้างขวาง เรื่องราวต่างๆ ที่ถ่ายทอดลงมาบนผืนผ้าจะบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ รากเหง้าของวัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทย เอกลักษณ์ของผ้า ลวดลาย สีสัน เทคนิค การทอ ที่ล้วนสร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยมายาวนาน ผ้าไทยจึงควรค่าแก่ การสืบสาน รักษา และธ�ำรงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ชาติ ซึ่งเราควรจะปลูกฝังให้ลูกหลาน เราหวงแหนและซึมซับเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้” เธอกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า“อย่างน้อยที่สุด สิ่งที่เราลงมือท�ำก็ได้ช่วยให้ชาวบ้านมี รายได้เพิ่มอย่างต่อเนื่องตามพระราชด�ำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ ที่จะให้ชาวบ้านมี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และหากโครงการนี้ประสบความส�ำเร็จ อย่างน้อยเราก็มั่นใจได้ว่า ยังมีผู้คนที่รู้วิธีทอผ้ายกดอกแบบของจังหวัดโน้นจังหวัดนี้คงเหลืออยู่”

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงเป็นประธานเปิดงาน "ฝ้ายทอใจ" ครั้งที่ 6

| 7



MAIN Story* Words

Pindhumadi  Photos  SACICT

‘Fai Tor Jai’

Sets New Perspective for Hand-woven Textiles

S

everal millennia ago man learned how to grow cotton and down the ages since, mankind has spun cotton yarn and woven cotton cloth. Machines in the Industrial Age introduced textile production in bulk. But after World War Two, the popularity of cotton was eclipsed when the United States introduced Polyester to fight cotton scarcity with something easier to maintain and easier to add patterns to. Polyester quickly became popular throughout the world, and natural fabrics were almost forgotten. In Thailand, hand-woven cotton was given new life when Her Majesty the Queen kindly established the Foundation for the Promotion of Supplementary Occupation and Related Techniques (SUPPORT), to restore the arts and crafts, and promote cotton and silk, following her visit to rural areas in 1955 during which she witnessed the exquisite weaving skills of the villagers in northeastern Thailand. Today, villagers in the rural areas nationwide have resorted to weaving fabric to earn extra money as well as to pass on their local wisdom and cultural treasure, and every year the best of their handiwork is brought to Bangkok for display and sale. “It has been six years since we set up the ‘Fai Tor Jai’ — Weaving Cotton-Binding Hearts — project as a tribute to Her Majesty the Queen and to express appreciation for her kindness in supporting and restoring the art of cotton weaving, as well as making it a source of income,” says Pimpapaan Chansilpa, CEO of the SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (SACICT).

| 9


She further explains, “Cotton has a lot of advantages. First of all, it makes ideal clothing — in summer, its breathability helps make you feel light and comfortable, while in winter, cotton can provide warmth and comfort. Apart from that, it has a charm from local wisdom — each community has its own distinctive cotton pattern that reflects their local lives. City people sometimes want something topical like that to add art to their lifestyle, so cotton is the right answer, particularly hand-woven cotton which is done not just with the hands but also with the heart. The mood and feeling of the weaver is seen in the cotton.” The 6th Fai Tor Jai exhibition, scheduled for June 27-30, is a rare chance for Bangkokians to witness the diversity of Thai culture through hand-woven cotton from every region of Thailand. Over 100 booths, displaying cotton from various sources, provide a chance to see local cotton art without having to travel far. The CEO informs us that Fai Tor Jai supports and raises awareness about favouring Thai products, to encourage Thai people to use Thai products and feel proud of passing on the rich heritage of the country. This in turn will boost Thailand’s handicrafts and make them well-known worldwide, expanding the market to the international level. There is also a special exhibition displaying antique fabrics from the last century, such as the gown of King Rama V, as well as fabrics related to the work of Her Majesty the Queen, and the evolution of cotton from the beginning of the Rattanakosin Era. Local fabrics are also displayed, such as those by Lao Puan and Tai Lue. The special exhibition runs till August 31, 2013, at SACICT Headquarters in Bangsai, Ayutthaya.

Each community has its own distinctive cotton pattern that reflects their local lives. 10  |

งาน "ฝ้ายทอใจ" ในแต่ละปีได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นจ�ำนวนมาก The annual Fai Tor Jai fairs have proven very popular.


This activity would open up a new world to the public, where they can look at hand-woven cotton in a new light. Many among the public may think that traditional hand-woven cotton is thick, heavy and stretchy, or that the colour bleeds easily and the quality is inconsistent. At this exhibition, however, they would be able to see how advanced and improved the weaving techniques have become, winning new fans along the process. “At present, cotton in our environment-friendly cotton project is still naturally dyed and most processes are done by hand, and that allows us to maintain the natural flexibility of the fabric. However, it also depends on the skills of the weaver. Natural cotton does not cause allergies and it is very breathable, not to mention environment-friendly. It is good for the producers, the farmers, the weavers and the users. “We have more opportunities for cotton now because cotton today is soft and colour fast. Normally, natural dyes bleed easily, but due to research and technology, we have found a way to make sure the natural dyes don’t fade easily. Innovation and knowledge have allowed cotton to advance in terms of quality,” says Mrs. Pimpapaan, explaining that one way to make the fabric softer is to steep it in mud or the sap of certain plants. She comments that the success of the project comes from the fact that it is a tangible project. “The cotton projects that the SUPPORT is assisting really reach the people, and the people really benefit from them. The patterns are different in each area of the country, but cotton involves a large number of people. It helps farmers make more money, and the weavers make money, too,” adds the CEO. “This exhibition aims to raise awareness about the different patterns and its uniqueness, as well as the use of cotton. This is to allow the weavers to expand their market and introduce their new products. In part, SUPPORT buys the fabrics from the villagers and develops new products with design, while serving as the distribution channel.” Fai Tor Jai project also has the objective of sharpening the skills of the weavers and their communities. This year, experts and designers who have experience in marketing, will discuss production processes and quality standards with the rural weavers. This is to help them think of ways to create products that the market loves.

| 11


Another highlight of this year’s event is that cotton printing will be displayed for the first time. This project concerns young designer “Ice” Sarut Wutipachanatorn — winner of the designer competition “Tor Pha Fai Thai”, who has designed a new pattern for cotton under the name, Miracle of

At the very least, the villages are able to have steady income, in line with Her Majesty the Queen’s initiative to make sure their quality of life is improved.

Cotton’s Charms — whose creations will be displayed by ladies from Miss Thailand World, Miss Thailand Universe and Miss Thailand beauty pageants. “People are opening up to cotton now, and

cotton. Public relations and information on various

the trend to ‘Buy Thai’ also promotes the popularity

types of cotton are also useful in presenting the

of cotton. In fact, cotton is not just good for clothes

products.

— it can also replace plastic in many ways, making

Limited supply can also boost the products’

it a less expensive option, especially if you buy

charm and prove a good marketing tool for Thai

from our project.

cotton. The process and the local materials are

The CEO continues: “When we talk about

interesting. For example, dyeing and weaving by

hand-weaving, it is usually cotton. Sometimes

hand, or the narrowness of the looms, can make

other materials are mixed, such as silk, polyester,

each piece interesting, as it comes from the heart

or other materials. Last year we mixed cotton with

and shows dedication. Such uniqueness is a point

lotus fibre, galangal fibre, pineapple fibre, hemp

to consider when conducting marketing.

fibre, and banana fibre, to add diversity. They were

The CEO explains, “The story a hand-woven

very well received. The cotton made with galangal

fabric tells concerns history, ancient culture and

fibre is a bit fluffy, making it suitable for bags or

tradition, the uniqueness of the patterns and

wraps. This is another way to encourage Thai

colours, the weaving techniques and Thailand’s

people to use Thai products.”

pride. Thai fabrics should be preserved as part of

She also notes that at present, the overseas market is very interested in Thailand’s green craft, due to the skills and the abundance of raw

Thailand’s history, and the young generation should be aware of this valuable treasure. “At the very least, the villages are able to

material. At the moment, SACICT is working with

have steady income, in line with Her Majesty the

Japanese experts to expand into Japan, and so far

Queen’s initiative to make sure their quality of life

the plan is going well, with many distributors

is improved. If this project is fruitful, we will be

expressing interest in importing the products to

ensuring that each community’s patterns and

Japanese shops and department stores. This will

techniques are kept alive.”

generate more income for Thailand, and make traditional arts and crafts more appealing to the new generation, since they can generate money and make real business. The strategy for pushing Thai cotton on the global market, according to Mrs. Pimpapaan, is to relate the stories behind Thailand’s hand-woven

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จไปทรงเป็นประธานเปิดงาน "ฝ้ายทอใจ" ครั้งที่ 6 HRH Princess Soamsawali graciously recently presided over the opening ceremony of the 6th Fai Tor Jai exhibition.

"ฝ้ายทอใจ" ถือเป็นหนึ่งโครงการส�ำคัญของ ศ.ศ.ป. The annual Fai Tor Jai exhibition is one of SACICT'S major events.

12  |




The Village Trail* เรื่อง

สุวรรณา เปรมโสตร์  ภาพ  ศิรพัชร วลัยพัชรา

ป้านางผ้าฝ้าย ส�ำนึกรักท้องถิ่น จิตวิญญาณแห่งอีสาน ลึ

กเข้าไปสุดซอยเจริญรัถ 5 ซอยเล็กๆ ในเขตคลองสานของกรุงเทพมหานคร มีบ้านหลังหนึ่งซึ่งกลายเป็นแหล่งรวมตัวของกลุ่มชาวอีสานที่มาตั้งรกราก อยู่กรุงเทพฯ คนเหล่านี้มาร่วมกันทอผ้าและเย็บผ้าอย่างตั้งอกตั้งใจจนได้ชิ้นงาน งดงามหลากหลาย ผลงานผ้าฝ้ายทอมือของเขาไม่เพียงแต่บง่ บอกถึงจิตวิญญาณ ที่บรรจงใส่ลงไปในแต่ละเส้นด้ายเท่านั้น หากยังสะท้อนถึงความรักในถิ่นก�ำเนิด และวิถีชีวิตอิงธรรมชาติซึ่งปู่ย่าตายายและพ่อแม่ได้ฝากเอาไว้ บ้านหลังน้อยที่เขามารวมตัวกัน ที่แท้ก็คือบ้านของป้านาง จันทะมาน ประธาน “วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเจริญรัถ 5” กลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าฝ้าย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันใน นาม “ป้านางผ้าฝ้าย” ผ้าฝ้ายทอมือ 100% ซึ่งในยุคที่เครื่องจักรท�ำงานทดแทนแรงงานคนได้ในเกือบ ทุกด้านเช่นทุกวันนี้ นับว่าเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในกรุงเทพฯ หรือแม้กระทั่งทั่วประเทศไทย วรเทพ ลิมติยะโยธิน ลูกเขยของป้านาง หนึ่งในผู้ดูแลกิจการของ “ป้านางผ้าฝ้าย” เล่าถึง บรรยากาศอันอบอุ่นของที่แห่งนี้ว่า “กิจการผ้าฝ้ายของที่นี่ นับว่ามีคุณประโยชน์เป็นอย่างมากต่อ ชุมชน เพราะช่วยให้คนว่างงานน้อยลง ตกเย็นเลิกงานกลับมาถึงบ้าน 5 โมงเย็น อาบน�้ำอาบท่า เสร็จแล้วแทนที่จะไปมั่วสุมกินเหล้าเมายาก็มานั่งดูทีวีที่บ้านเรา แล้วก็ช่วยกันทอผ้า คนเราอยู่คน เดียวมันจิตไม่ว่าง ก็ต้องไปกินเหล้าเมายา ไปรวมหัวมั่วสุมมั่ง เล่นเน็ตเล่นอะไรมั่ง ถ้าเขามาที่นี่ มานั่งคุยกันกับพี่ป้าน้าอา มือก็ทำ� งานไป 2-3 ชั่วโมงเขาก็ได้ผ้าไปแล้วคนละผืน 2 ผืน เขาก็มีรายได้ ส่วนคนอยู่บ้านเลี้ยงลูกเลี้ยงหลาน ว่างเขาก็มานั่งทอผ้าให้เรา ลูกหลับบางทีก็เอาเปลมาแกว่งอย่าง นี้ก็นั่งทอไป เราก็หารายได้ให้กับชุมชนได้ “ตอนนี้มีกี่กระตุกส�ำหรับท�ำผ้าขาวม้าอยู่ 6 ตัว กี่ทอผ้าห่มหน้ากว้าง 1.50 เมตรมีอยู่ 2 ตัว กี่ทอผ้าคลุมเตียงหน้ากว้าง 2.50 เมตรอีก 1 ตัว คนช่วยท�ำก็จะเป็นญาติพี่น้องและคนในชุมชน” วรเทพกล่าวและเสริมว่าปัจจุบัน “ป้านางผ้าฝ้าย” ได้ขยายไปเปิดกิจการในแหล่งใหม่คือที่จังหวัด ปทุมธานี “ป้านางผ้าฝ้าย” เป็นผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือลวดลายดั้งเดิม ทั้งลายลูกแก้ว ลูกหวาย ไปจนถึง ลายผ้าขาวม้าโดยใช้ผ้าฝ้าย 100 % และใช้กี่โบราณคือกี่สอด หรือกี่กระทบ แล้วน�ำผ้าที่ทอได้ไป พัฒนารูปแบบเป็นผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง ส่วนผ้าขาวม้าก็นำ� ไปแปรรูปเป็นเสื้อ กางเกง กระโปรง กระเป๋า นอกจากจะเป็นหัตถกรรมที่สร้างรายได้ให้ชุมชนแล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลด สภาวะโลกร้อนจากการใช้เครื่องจักรโดยไม่จำ� เป็น   | 15


“ต้นหนาวเราก็จะสั่งซื้อฝ้ายจากเมืองเลยประมาณปีละ 10 กว่าตัน แล้วน�ำ เข้าโรงงานตีเกลียว สั่งย้อมสีธรรมชาติจนได้เส้นมา โดยเขาจะมีใบรับรองให้ว่าเป็นสี จากธรรมชาติ เราให้ช่างเขาปั่นเป็นเส้นแล้วก็ย้อมสีตามต้องการ หลังจากนั้นเราก็ จะน�ำเส้นฝ้ายมาสต็อกไว้ น�ำมาขึ้นหัวม้วน จนได้ปั้นฝ้ายออกมา” ในทางตรงกันข้าม หากไม่ใช่ฝ้ายแท้ แต่เป็นใยสังเคราะห์ กรรมวิธีการผลิตก็จะท�ำลายสิ่งแวดล้อม มีสารตะกั่วตกค้างในการย้อม และท�ำให้น�้ำเสีย อย่างไรก็ดีเขาบอกว่า “การกรอด้ายถ้าไม่ใช้เครื่องจักรช่วยก็จะใช้เวลามาก ต้องใช้เครื่องจักรมาช่วยในบางส่วนเพื่อให้ได้มาตรฐานในการส่งออก ว่าต้องตีเกลียวกี่ เส้นๆ ความหนืดเท่าไหร่ๆ แต่ว่าเป็นลักษณะของเครื่องจักรเบาไม่ใช่เครื่องจักรหนัก เครื่องจักรเบามอเตอร์เล็กๆ ที่ไม่กินไฟ ไม่เกิดสภาวะแวดล้อมเป็นพิษด้านเสียง การตีเกลียวต้องใช้เครื่องจักรช่วยไม่งั้นไม่ทันกระบวนการผลิต” วรเทพอธิบาย ข้อดีของผ้าฝ้าย 100% ก็คือคนเป็นภูมิแพ้จะไม่ระคายเคือง ผ้าฝ้ายระบาย ความร้อนได้ดี เมื่ออากาศร้อนจะท�ำให้รู้สึกเย็น ถ้าอากาศหนาวเมื่อผ้าฝ้ายแนบเนื้อจะ ท�ำให้อบอุ่น “ผ้าฝ้ายเหมาะกับการแปรรูปทุกชนิด ถ้าเราสู้ราคาผ้าฝ้ายไหว ตั้งแต่กางเกง บ็อกเซอร์ กางเกงอยู่กับบ้าน กางเกงท�ำงาน เสื้อคอกระเช้า เสื้อท�ำงาน ชุดกระโปรง ท�ำได้หมด มีทั้งผ้าฝ้ายบางและหนา แบบสองเส้นหรือสี่เส้น เอามาตัดเป็นชุดสูท ผ้ากับที่นอนในสปาที่เข้าชุดกัน ลายรังผึ้งที่ท�ำเป็นเสื้อคลุมอาบน�้ำ ผ้าม่าน ผ้าปูต่างๆ ท�ำเป็นเครื่องเรือนได้ รองเท้าใส่เดินในบ้าน ชีวิตเราตั้งแต่หัวจรดเท้าเราสามารถน�ำ ผ้าฝ้ายมาแปรรูปได้เกือบหมดถ้าเรารู้จักท�ำ อยู่ที่การต่อยอดให้มันเกิดคุณค่าขึ้นมา” วรเทพกล่าว ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ในแต่ละครั้งที่มีการคัดสรรดาวสินค้าหนึ่งต�ำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือสินค้าโอท็อป “ป้านางผ้าฝ้าย” มักจะได้ 4 หรือ 5 ดาวทุกครั้ง เช่นเดียวกับครั้งล่าสุดในปี 2556 นี้ที่ได้คว้าระดับ 5 ดาวมาอีกครั้ง โดยสินค้ามีส่งไป จ�ำหน่ายยังร้านต่างๆ ในอ�ำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่ตลาดน�้ำสี่ภาค จังหวัดชลบุรี ที่เซ็นทรัลแอร์พอร์ต จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่จังซีลอน จังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะ อย่างยิ่งได้ส่งผ้าขาวม้าผืนให้กับร้านศิลปาชีพ 904 เพื่อน�ำไปแปรรูปอยู่ทุกๆ เดือน 16  |


อีกหนึ่งช่องทางการจ�ำหน่ายส�ำคัญเป็นการออก ร้านในงานอีเวนต์ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่า จะเป็นที่สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม ลาว หรือจีน จากการเชื้อเชิญของหน่วยราชการ อาทิ กรมพัฒนา ชุมชน กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ หอการค้าต่างๆ ที่เป็นสมาชิก ป้านางเล่าว่า สมัยที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ป้าเคยเย็บดอกไม้แต่งต้น กินรีที่ถนนราชด�ำเนินในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งนั้นสื่อและผู้คนให้ความสนใจมากมายและส่งผลให้ ป้าเป็นที่รู้จัก มีออเดอร์หลั่งไหลเข้ามา เมื่อกทม.จะจ่าย ค่าเหนื่อยป้าก็ขอไม่รับเนื่องจากต้องการท�ำเพื่อถวาย พ่อหลวง “ป้าจะจ�ำตรงที่พ่อหลวงตรัสไว้ว่า ท�ำเศรษฐกิจ พอเพียงอะไรก็ได้ ไม่ต้องทอผ้าก็ไม่เป็นไร แต่ป้าเลือก ทอผ้า เพราะมันมีความสุข ทอใช้เอง พ่อหลวงให้ป้า ท�ำนาท�ำไร่อะไรป้าก็ท�ำทุกอย่าง ท�ำนากิน ปลูกผักกิน แล้วทอผ้าไว้ใช้เอง ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง หมอนอิง” ป้านางกล่าวสีหน้าอิ่มเอม ป้านางอพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อ อายุเพียง 17 ปี จวบจนวันนี้ป้าก็อายุได้ 62 ปี ตอนเข้า กรุงเทพฯ ใหม่ๆ ป้าประกอบอาชีพขายส้มต�ำแต่ในที่สุด ก็ตัดสินใจหันมาทอผ้าจ�ำหน่ายเรื่อยมา “เพราะการทอผ้าเป็นภูมิปัญญาของปู่ย่าตายาย ของพ่อแม่ เขาสร้างเอาไว้ให้ พอลูกเต้าเรียนจบหมด แล้ว ป้าก็ไม่อยากขายกับข้าว อยากจะพัก ก็เลยหวน คิดถึงการทอผ้าฝ้ายทอมือ อยากจะกลับบ้านก็ไม่ได้ กลับ คิดถึงขอนแก่น ก็เลยมาทอผ้า ท�ำกี่โบราณเอง ทอขึ้นมาใช้เอง ท�ำผ้าม่านแต่งบ้าน เหลือใช้ก็ขาย ท�ำไปท�ำมามันก็ใหญ่ขึ้นๆ จนเหมือนที่เห็นทุกวันนี้” อันที่จริง เรียกได้ว่าป้านางเกิดมาพร้อมๆ กับ ทักษะการทอผ้าที่พ่อแม่สอนโดยการท�ำให้ดู และตัวเอง ก็ทอด้วยใจมาตลอดชีวิต

(ซ้าย) ป้านาง จันทะมาน (ขวา) วรเทพ ลิมติยะโยธิน Auntie Nang Chantaman (left) Her son-in-law Worathep Limtiyayothin (right)

| 17


“เรื่องการทอผ้ามันแทรกซึมเข้าไปใน สายเลือดของป้า ป้าทิ้งไม่ได้ ป้าไม่สนใจว่าจะได้เงิน หรือไม่ได้เงิน แต่ต้องการจะอนุรักษ์ของๆ พ่อแม่ไว้ แม่อุตส่าห์ท�ำให้ดู สอนเลี้ยงไหม แต่ก่อนอยู่บ้านนอก ก็ต้องเลี้ยงตัวไหม ปลูกต้นฝ้ายก็ต้องเรียนรู้วิธีท�ำ เรามี ไร่ปลูกฝ้ายที่จังหวัดเลย บ้านอยู่ขอนแก่นซื้อไร่ทำ� ที่นู่น เพราะเป็นถิ่นหนาวดอกฝ้ายจะงาม อ้วน สมบูรณ์ ตอน นั้นปลูกฝ้ายไว้ใช้เอง ไว้ทอผ้า สมัยก่อนทอขึ้นมาปุ๊บแม่ จะย้อมครามแล้วเอาเหรียญบาทมาเจาะท�ำกระดุม เย็บด้วยมือ สอยด้วยมือ ด้นด้วยมือ แต่ก่อนไม่มีจักร มันก็เลยแทรกซึมมา ท�ำทุกอย่างตั้งแต่เริ่มต้นเลย เข็นฝ้าย ดึงเส้นฝ้ายให้เป็นเส้น พอเข็นได้เยอะๆ ก็ใส่เปีย ใส่ไน แล้วก็มาหมุนเข้าอัก ย้อมสี แล้วมาค้น เป็นเส้นยืน เอาใบนู้นใบนี้มาย้อมสีสวยงาม อนุรักษ์ สิ่งเหล่านี้ไว้ แม่ก็ตายแล้ว ถ้าเราไม่ทำ� ต่อลูกเราก็ไม่รู้ว่า ท�ำอย่างไร “ธรรมชาติของบ้านเราเคยมีครกกระเดื่อง มี ยุ้งข้าว มีเตาไฟโบราณ มีอุปกรณ์ทอผ้า แต่ก่อนไม่มี โรงสี ต�ำข้าวแทบตาย ตักน�ำ้ มาจากบ่อเอาไว้กิน ผักไม่ ต้องมียาฉีด ไร่นาก็เป็นธรรมชาติ เลี้ยงไหมปลูกฝ้าย มันอยู่ในสมองป้าหมด แล้วเราก็สอนลูกให้ย้อนกลับไป ท�ำตรงนั้นให้ได้ ลูกชาย ลูกสะใภ้ ลูกเขย จบปริญญาโท หมดแต่พยายามให้เขาท�ำตรงนี้” น่าดีใจที่ลูกๆ ของป้านางที่ไม่ว่าจะเรียนด้านใดมา จบมาแล้วก็มาช่วยป้าท�ำผ้าอย่างเต็มตัวกันหมด “ลูกๆ สนใจเกินร้อย เขาทอเองเป็นหมด เพราะเราให้คลุกคลี แทรกซึม เขาเห็นแม่ชอบก็ชอบตาม สิ่งที่เรียนมาไม่ได้ ไปท�ำงานเลย ลูกสาวเรียนศึกษาศาสตร์ ลูกชายเรียน วิศวกรโยธา แต่มาท�ำผ้า ไม่ตรงเป้าหมายเลย วรเทพ ลูกเขยเป็นนายต�ำรวจเขาก็ยังมาทอผ้าเอง” ป้านางกล่าว พลางหัวเราะ นอกจากเรื่องของการทอผ้าแล้ว วิถีชีวิตใน ขอนแก่นในแบบที่ป้าเติบโตมาก็ถูกน�ำมาถ่ายทอดสู่ลูกๆ ของป้าด้วยแม้ปัจจุบันสภาพแวดล้อมต่างๆ จะเปลี่ยนไป แล้วก็ตาม “มันเปลี่ยนป้าไม่ได้ ป้าคิดจะย้อนกลับไปใช้ชีวิต แบบแต่กอ่ น ใช้ตะเกียงน�ำ้ มันก๊าด ขี้ไต้ ใช้เตาสามก้อน เส้า ตีไม้สี่เหลี่ยมมานึ่งข้าว มันมีความสุข ถ่านก็เผาเอง มันหวนคิดถึงความหลังอยู่ตลอดเวลา จะสอนให้ลูกให้ รับรู้ว่า เออ! ท�ำนาท�ำไร่ท�ำอย่างนี้ เกี่ยวกับวิถีชีวิต ทุกอย่าง การทอผ้า จะลองดู” ป้านางเผยว่าก�ำลังคิดจะ ท�ำไร่นาสวนผสมและท�ำโฮมสเตย์ เพื่อที่จะสามารถ 18  |

‘ทอผ้าให้สวยอยู่ที่เส้นฝ้าย อยู่ที่การวางสีสัน การเหยียบลวดลาย’ ส่งผ่านความรู้เรื่องวิถีชีวิตพอเพียงกับการทอผ้าให้คนได้ ศึกษา โดยได้ซื้อที่แถบชานเมืองเตรียมเอาไว้แล้ว “รายได้ทุกวันนี้พอมีพอได้ มีความสุขกับการได้ทำ� มีความสุขกับการได้ออกไปเผยแพร่” ป้านางบอกถึงหัวใจหลักในการทอผ้าว่า “ทอผ้าให้ สวยอยู่ที่เส้นฝ้าย อยู่ที่การวางสีสัน การเหยียบลวดลาย ขึ้นมา แต่ก่อนใช้วิธีเก็บขิดแต่เดี๋ยวนี้เหยียบเอาเลย ต้องการลายอะไร หูกบ้านที่ทอไปสามารถเหยียบได้ หลายลายเลย ลายลูกแก้ว ลายก้างปลา ได้หมด อยู่ที่ หัวเรา บางที 4 ไม้เราเหยียบเป็น 3 ไม้มันก็ได้ลายอื่น ออกมา เหมือนเล่นกีตาร์อยากจะดีดเพลงไหน ได้หลาย เพลงเลย เหมือนกัน” “การทอมือมีคุณค่ามากส�ำหรับชีวิตของเรา การ ทอมือเหมือนใส่ชีวิตจิตใจลงไปด้วยกับผ้าผืนนั้น” นอกจากภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีอยู่เต็มเปี่ยมแล้ว ป้านางและลูกๆ ยังศึกษาเทรนด์ใหม่ๆ พร้อมทั้งมีการ สร้างสรรค์ผลงานที่ดูร่วมสมัยออกมาอย่างสม�ำ่ เสมอ ด้วย “การทอผ้าค้นหาไม่มีที่สิ้นสุด การค้นว่าจะเอา แบบไหน การท�ำลวดลายใหม่ๆ การเลือกสี การย้อมสี การเปลี่ยนแปลง การที่จะท�ำให้เป็นสากลขึ้นมา หรือ ให้สีออกโทนญี่ปุ่น โทนครีมโทนน�้ำตาลอ่อน แอฟริกาใต้ แดงแจ๊ดเขียวแจ๊ด ตามเทรนด์ ได้หมดเลย ศึกษาเทรนด์ จากหนังสือ ดูจากเว็บไซต์ของแฟชั่นฝรั่งเศส ไปดูงาน ต่างประเทศด้วย ไปดูงานโอท็อปของญี่ปุ่นด้วย “เราอยากจะท�ำตรงนี้แล้วมันก็ต้องดู จะให้ดีที่สุด จะให้สุดยอดที่สุดก็ได้ แต่บางครั้งก็เหนื่อย บางครั้งก็ อยากจะธรรมดาสามัญ นั่งอยู่เฉยๆ มันก็เหนื่อยมั่ง แต่เราก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะล้าเลย เดี๋ยวลูกค้าก็โผล่หน้ามา แล้ว เดี๋ยวมันก็ต้องท�ำ บางครั้งลูกค้าเค้าตั้งใจมาหาเรา เรียกป้านางๆ เราก็ ขาๆ มาลูกมาๆ ก็ต้องอย่างนี้ เหนื่อยแค่ไหนก็เหนื่อยไม่ได้ ไม่มีสิทธิ์ทีจะเหนื่อย... เหมือนไม่มีสิทธ์ที่จะตายเลยล่ะลูก” ป้านางกล่าวสรุป สีหน้ายิ้มแย้ม


นับวันผ้าฝ้ายทอมือ ย้อมสีธรรมชาติหาได้ยากยิ่ง วันนี้ป้านางและลูกๆ ยังคงยืนหยัดทอผ้าฝ้าย 100% อีกทั้งยังแปรรูปเป็นผลิตภัณท์ผ้าที่หลากหลาย Bags and clothing from pure cotton. Fabric that is 100% natural and hand-woven is not easy to come by these days.

| 19


The Village Trail* Words

Suwanna Premsote  Photos  Sirapat Valaiphatchra

Pa Nang Cotton…

Love Suffices When Weaving from the Heart

S

oi Charoenrat 5 would be just another lane in the intricate jumble of streets and alleys that wind and web their way through Bangkok’s Klong San district across the river in Thon Buri, were it not for the fact that deep down this little street there is a house where people from the Northeast congregate to weave dreams.


ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมของป้านางผ้าฝ้ายเป็นจ�ำพวกผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูเตียง และเสื้อผ้าแปรรูป Pa Nang Cotton supplies bedsheets, scarves, shawls and clothing.

where machines have almost completely replaced manual work in every industry. Worathep Limtiyayothin, one of the managers of Pa Nang Cotton, and also Pa Nang’s son-in-law, talked about the warm ambience of the place. “Our cotton business is highly beneficial for the community as it helps to reduce unemployment. Usually, everyone finishes their daily work by 5 p.m., comes home, takes a shower. Then, instead of wasting time drinking alcohol or playing card games, they gather to spend time more constructively, by weaving cotton. “When a person is lonely, he or she will be vulnerable; more likely to spend free time drinking or playing games. But in this community, they gather and chatter while they weave. In just a few hours, they have created at least two pieces of Woven into fabric is their love for their ethnic

cotton fabric, and that’s a source of money for

origins and the simple way of agrarian life that is

them. Those who don’t have a job can come here

lived back home in the Isan region, and their

in their free time. Some mothers bring their

workmanship depicts a craft whose intricacies

children with them, rocking the cradle while

have been passed down from generation to

weaving. This work helps our community generate

generation.

income,” Worathep explains.

The “Charoenrat 5 Housewives Community

“Now, we have six ki kratuk for making pha

Enterprise” makes hand-woven cotton and cotton

khao ma,” he says pointing to the six looms on

products. In this small house, the ladies gather

which the plaid loincloth are being woven. “We

under the leadership of their community leader,

also have two 1.50-metre-wide blanket looms, and

Auntie Nang Chantaman, and their products are

a 2.50-metre-wide bedsheet loom. Most of the

known under the brand “Pa Nang Cotton”, pa being

people who use them are our relatives and people

the Thai word for aunt.

in this community,” says the manager, adding that

What makes Pa Nang Cotton special is that they are 100% hand-woven, a rarity in Bangkok,

now Pa Nang Cotton has branched out into Pathum Thani province as well.

| 21


"ป้านางผ้าฝ้าย" น�ำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และรายได้อันมั่นคงของชุมชนชาวเจริญรัถ 5 Pa Nang Cotton has brought pride and gainful employment to the community of Soi Charoenrat 5.

22  |


The design’s concept adheres to

two-ply and four-ply varieties. You can make suits,

traditional patterns such as the marble (luk kaew)

bedsheets, spa bathrobes, curtains, household

pattern and rattan fruit (luk wai) pattern of Isan, as

items and slippers. From top to toe, cotton can be

well as pha khao ma plaids. Only 100% cotton is

used if you know how. It’s all about adding value to

produced, using traditional looms (ki sod or ki

the fabric,” he says.

kratob). The products include blankets, bedsheets,

Every year since 2003, when OTOP products

shirts, pants, skirts and bags. These handicrafts

were first rated, Pa Nang Cotton has usually

generate income for the people as well as help

received a 4- or 5-star rating. For this year, it has

preserve nature by reducing the use of machinery,

received a 5-star rating. Its products are distributed

which is a factor in global warming.

for sale at various shops in Chiang Khan in Loei

“When winter approaches, we buy about 10

province, at the Four Regions Floating Market in

tons of cotton boll from Loei province and have it

Chon Buri province, the international airport in

twisted and dyed naturally at a factory. They give

Chiang Mai and at Jungceylon mall in Phuket

us a certificate to guarantee that the cotton has

province. Today, it also supplies pha khao ma to

been naturally dyed. We have the cotton spun and

Silpacheep 904 shop every month.

dyed in the colours that we want, and then we stock the threads and wind them into rolags.” Only completely natural cotton is used, as

Regarding distribution channels, Pa Nang Cotton relies on showcasing its products at various events. Recently it has been on many road shows

production of synthetic cotton can result in

and exhibitions abroad, such as in Singapore,

contamination, lead residues and water pollution.

Malaysia, Vietnam, Laos, and China through various

Worathep admits, however, that spinning threads

government departments, namely, the Community

without a machine can be time-consuming.

Development Department, Department of

“Machines are useful in some processes, to make

International Trade Promotion, and the provincial

sure that the product meets the export standard;

Chamber of Commerce, of which Pa Nang Cotton

but we only use light machines that don’t consume

is a member.

too much electricity and don’t cause noise. Twisting

Auntie Nang informs us that when Samak

cotton needs to be done with a machine or we

Sundaravej was the Bangkok governor, she used to

would be wasting too much time doing it by hand,”

make fabric flowers and decorative kinaree trees

he explains.

which were then placed along Rajdamnoen Avenue

Since that portion of the work is helped by

during the royal celebrations in Bangkok. At the

machinery, the weaving, designing and making of

time, her products received a lot of attention from

patterns constitute the most time-consuming parts

the media and the public, and many new orders

of the remaining process. The benefit of 100%

poured in. The BMA wanted to pay her for her

cotton is that it doesn’t cause irritation even to

good work, but she declined, saying she just

people with allergies. It is also very breathable and

wanted to do it for His Majesty the King.

expends heat better in hot weather. In colder temperatures, wearing snug cotton helps keep a person warm. “Cotton can be made into anything — from boxers, casual pants, working pants, to khor krachao (round pleated neckline) tops, formal shirts and dresses. It comes in varying thickness,

I make enough money to live humbly. I am happy with what I do, and I share my knowledge with the people.   | 23


“I always remember what the King said

chemicals. These things are all in my brain and I

about sufficiency economy. And I choose to weave

want to teach my children to be able to live that

cotton because it makes me happy to use the

kind of life. They all have master’s degrees, but

material I made by myself. Following his advice, I

they still have to know this.”

do everything – farming my own rice, growing my

Fortunately, no matter what they learned at

own vegetables and weaving my own clothes and

university, today all her children help her in

household items,” Pa Nang says.

weaving. “My children love it, and they know how

Now 62, Auntie Nang moved to Bangkok

to do it because they have been exposed to it all

when she was 17 years old. She sold somtam or

their lives. They saw what I did and they followed.

papaya salad before turning to weaving.

They don’t use their academic knowledge. My

“Weaving is the local wisdom of my

daughter has a degree in education, and my son in

ancestors. They have left this treasure for me.

construction engineering, but they prefer to weave.

When my children had all grown up, I didn’t want

My son-in-law was a policeman but now he’s also

to sell food – I wanted to rest. I thought about

weaving,” she says with a laugh.

weaving cotton, and I missed my hometown in

Apart from weaving, the Khon Kaen way of

Khon Kaen. So I made my own loom and started

life that she grew up in has also been passed on to

weaving fabrics for personal use. I started selling

her children, even though the society itself has

the extra cloth I wove, and gradually business

changed.

began to grow.” It is almost as if she had been born with the

“It can’t change me. I wish I could lead the old way of life, getting light from lanterns and

skill to weave, having from infancy seen her

cooking rice with the coals that I made. I always

parents weaving at the loom.

think about my past, and I always tell my children

“Weaving is in my blood and I can’t leave it. I

how I grew my vegetables. I tell them everything

don’t care whether I make money – I just want to

about my old lifestyle,” she says, adding that she is

preserve the treasure of my forebears. My mother

planning to set up a small farm and home-stay

showed me how to do it, every single step. Back in

service, to pass on the knowledge about

my hometown we cultivated our own silkworms

sufficiency economy and weaving to the public.

and sowed our own cotton fields. We had a cotton

She has prepared a plot of land on the outskirts of

farm in Loei province because that’s where the

Bangkok for this plan.

most beautiful cotton grows. At first, the textiles

“I make enough money to live humbly. I am

were all for home use. I remember my mother

happy with what I do, and I share my knowledge

dyeing fabric and sewing on buttons with her own

with the people.”

hands, there were no sewing machines. That’s my

As for the secret to weaving a good cloth,

memory – doing everything with your own hands

Auntie Nang reveals: “It’s all about the quality of

from scratch. I want to preserve these skills, and

the cotton thread, the colour coordination, the

now that my mother is no longer here, I have to do

making of the pattern. I used to use khit, a small

it so that my children know how to carry on this

stick to lift certain threads in order to weave a

skill,” says Auntie Nang.

pattern, but now I can make any pattern without it.

“The home I grew up in had a rice mortar,

Every pattern is in my head. Sometimes I change

rice barn, an ancient stove and wicker-woven

the technique and get a new pattern. It’s like

utensils. We had to grind our own rice and fetch

playing the guitar – you can play many songs with

water from a well. Our vegetables were free from

just one instrument.

24  |


“Weaving means a lot to my life, it’s like I weave my heart and soul into it.” From her own knowledge, she and her children also learn new trends to make contemporary products. “Weaving is a never-ending journey. There are always new styles, patterns and colours to play with. You can make it look international or Japanese. You can infuse a cloth with an African feel by using bright greens and reds. I also read from books and French fashion websites. Sometimes I go abroad to see new trends. I have also joined the equivalent of an OTOP exhibition in Japan. “However, I have to weigh the pros and cons. I can make a piece exquisite but it can be very tiring. Sometimes I want to keep it simple. I have no time to be tired because I have customers to be responsible for. Sometimes they come specifically to see me, and I can’t shrug them off just because I’m tired. I don’t even have time to die,” says Auntie Nang with a good-hearted chuckle.

| 25



Craftsmaster* เรียบเรียงจาก

หนังสือครูศิลป์ของแผ่นดิน 2

ครูคำ�ปุน ศรีใส...

ผู้ให้กำ�เนิดผ้ากาบบัว

ด้

วยลักษณะพิเศษของผ้าผืนที่ไม่มีการก�ำหนดสี สามารถปรับเปลี่ยนไปตาม สมัยนิยม งามพอดี ใช้ได้ทั้งกลางวันกลางคืนและทุกเพศทุกวัย “ผ้ากาบบัว” ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ขึ้นใหม่จึงกลายเป็นอีกหนึ่งเอกลักษณ์ แห่งงานผ้าล�้ำค่าของจังหวัดอุบลราชธานี

ผ้ากาบบัวถือก�ำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 จากการผสานเอาความงามแบบดั้งเดิมจากฝีมือ การสร้างสรรค์ของครูค�ำปุน ศรีใส บวกกับไอเดียใหม่ๆ ในการทอผ้าของลูกชาย คือ นายมีชัย แต้สุจริยา จนเกิดเป็นผ้าชนิดใหม่ที่มีความหมายงดงามตรงตามชื่อของจังหวัด “ผ้ากาบบัว เป็นชื่อที่ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง คือคุณพ่อบ�ำเพ็ญ ณ อุบล ได้เสนอขึ้นมาในที่ประชุม ชื่อนี้เป็นที่ชอบที่สุดของทุกคน กาบก็เป็นค�ำอีสาน อาจจะแปลว่ากลีบ หรือเปลือกอะไรต่างๆ ก็ได้ใน ภาษากลาง แล้วค�ำว่าบัวก็เป็นชื่อประจ�ำจังหวัดคล้องกับค�ำว่า ‘อุบลราชธานี’ ไม่ว่าจะปทุมหรืออุบล ก็ตาม ก็ถือว่าเป็นชื่อที่เกี่ยวกับอุบลทั้งนั้น” มีชัยเปิดเผยถึงที่มาของผ้าแสนงาม ครูค�ำปุน ศรีใส มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในเรื่องของฝีมือการทอผ้าและยังได้บ่มเพาะ ความรักในศิลปะการทอแก่มีชัยผู้เป็นลูกชายคนที่ 2 จนท�ำให้เขามีแนวความคิดที่จะออกแบบลายผ้า ที่เป็นเฉพาะของจังหวัดอุบลราชธานีโดยมีครูคำ� ปุนช่วยให้ค�ำปรึกษาด้านลวดลาย เทคนิค และ กระบวนการทอ ครูเกิดที่จังหวัดยโสธร เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พอดีเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพาหรือ สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อไม่มีที่เรียนต่อก็เริ่มมาเรียนทอผ้ากับคุณแม่ และทอผ้าส่งไปขายทั้งที่จังหวัด อุบลราชธานีและที่กรุงเทพฯ โดยผ้าที่ทอในตอนนั้นมีผ้าพื้นและผ้ามัดหมี่ ทุกอย่างที่คุณแม่สอน ช่างทอสาวน้อยก็พยายามจดจ�ำวิธีการและท�ำได้เป็นอย่างดี จนสามารถท�ำเส้นยืนได้รวดเร็วมากกว่า ใครๆ เพราะคนในตระกูลของครูคำ� ปุนมีแต่ช่างทอผ้า บางคนอายุ 80 ปีแล้วก็ยังทอผ้าอยู่ทุกวัน ผ้าทอลายแรกๆ ที่ครูได้ลงมือท�ำส�ำเร็จคือซิ่นทิว, ผ้ามัดหมี่ และผ้าลายล่อง “บ้านเราอยู่ยโสธร เราก็จะมาเรียนหนังสือที่อุบลก็ไม่มีที่พัก ไม่มีสตางค์มา ก็ต้องท�ำอยู่กับแม่ ตอนนั้นก็ว่างงานแล้ว แม่ใช้ให้ท�ำอะไรก็ท�ำ เป็นคนที่ว่าท�ำเส้นยืนได้เร็ว สมัยนั้นเขาท�ำเส้นยืนทั้งวัน เขาได้เส้นยืนเครือเดียว เราก็ตัวผอมๆ เราก็ทำ� ได้เร็ว วันหนึ่งก็ได้ 2-3 เครือ” ครูค�ำปุนเล่า   | 27


หลังแต่งงาน ครูคำ� ปุนได้ย้ายมาอยู่จังหวัด อุบลราชธานีและประกอบอาชีพทอผ้า เธอเก็บผ้าที่ทอ ใส่ตู้ไว้ เมื่อใครๆมาเห็นก็พากันขอซื้อ จากเริ่มต้นมี เพียง 3 กี่ เมื่อผ้าของครูเป็นที่นิยม มีการบอกกันปาก ต่อปาก ครูจึงเพิ่มเป็น 11 กี่ ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอต่อ ความต้องการของลูกค้าอยู่ดี มีชัยผู้ลูกชายจึงแนะน�ำให้ แม่ทำ� โรงทอผ้าใหม่โดยได้มาเปิดที่ถนนศรีสะเกษใน จังหวัดอุบลราชธานี เหตุผลส�ำคัญที่ผ้าของเธอขาย ดีไม่หยุดเพราะครูคำ� ปุนคัดแต่เส้นไหมคุณภาพ ผ้าที่ทอ ได้จึงสวยงามกว่าของใครอื่น ผ้ากาบบัวที่ครูค�ำปุนและลูกชายร่วมกันสร้างสรรค์ ขึ้น แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ผ้ากาบบัวมาตรฐาน ผ้า กาบบัวจกดาว และผ้ากาบบัวยกทองหรือผ้ากาบบัวค�ำ ผ้ากาบบัวมาตรฐาน จะมีเทคนิคการทอ 4 แบบ ในผืนเดียวกันคือ “การทอเส้นทิว” หรือการจัดการกับ เส้นยืนให้มี 2 สี ใช้สีเข้มกับสีสด “การมับไม” หรือซิ่น ไหมควบ คือการน�ำเส้นไหม 2 สี สีละเส้น มาปั่นบิด เกลียวเป็นเส้นเดียวกัน แล้วน�ำไปทอ จะได้ผ้าลายหาง กระรอกสวยงาม “การมัดหมี่” หรือการมัดเส้นไหมแล้ว น�ำไปย้อม เพื่อให้เป็นไปตามลวดลายที่กำ� หนดก่อนที่ จะน�ำมาทอ และสุดท้าย “การขิด” หรือ “จก” คือการ แยกเส้นยกเส้นข่มเพื่อให้เกิดลวดลายบนผ้า ผ้ากาบบัวจกดาว หรือเกาะดาว คือผ้ากาบบัว ที่เพิ่มการจกลายดาวลงไป อาจจกเป็นบางส่วน หรือ กระจายทั่วทั้งผืนผ้าก็ได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสืบทอดผ้า 28  |

(หน้าซ้าย) การมัดให้เป็นลายและการย้อมไหม ขั้นตอนส�ำคัญในการสร้างสรรค์ผ้ากาบบัว Tying so as to create patterns and dyeing silk are important stages in the creation of Garb Bua fabric. (left page)

(หน้าขวา) ครูคำ� ปุนได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมให้กับ ลูกชายที่ได้น�ำมาต่อยอดสร้างสรรค์เป็นผ้ากาบบัวขึ้น (right) Khru Khampoun taught her son (left) the intricaciesof silk-weaving.

“ซิ่นหัวจกดาว” อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของผ้าซิ่นเมือง อุบลเอาไว้ ผ้ากาบบัวจกดาวนี้ เหมาะที่จะใช้งานในพิธี หรือโอกาสส�ำคัญ ส่วนผ้ากาบบัวยกทอง หรือผ้ากาบบัวค�ำ คือ การทอผ้าโดยใช้ไหมค�ำ (ดิ้นทอง) ขิดหรือยก ทั้งนี้ อาจ แทรกผสมด้วยมัดหมี่ก็ได้ ผ้าที่ทอขึ้นเป็นการน้อมร�ำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและเชิดชูเกียรติภูมิของเมืองอุบล สืบเนื่องมา แต่พระราชหัตถเลขาที่ได้ทรงชมเชยผ้าเยียรบับ (ผ้ายกทอง) ไว้ในคราวที่กรมหลวงสรรพสิทธ์นำ� ขึ้น ทูลเกล้าฯ ถวายว่า “ทอดีมาก เชียงใหม่สู้ไม่ได้เลย” นับเป็นการส่งเสริมให้มีการทอผ้ากาบบัวค�ำนี้ไปอย่าง แพร่หลาย


การทอผ้ากาบบัว เริ่มต้นจากการออกแบบ ลวดลายของผ้าทั้งผืน ขั้นตอนต่อมาคือท�ำเส้นยืน 2 สี ขึ้นไป แล้วน�ำมาสืบหูก (การสืบหูก คือการต่อเส้นไหม เข้ากับฟืมเพื่อเตรียมทอ) จากนั้นจึงเริ่มขั้นตอนการ มัดหมี่ คือ น�ำไหมมามัดตามลายที่ออกแบบไว้ แล้วจึง น�ำไหมไปต้มย้อมสีแล้วน�ำไปตากแห้ง น�ำไหมที่ต้ม ย้อมสีแล้วกลับมามัดบริเวณที่ต้องการให้เป็นสีใหม่อีก ถ้าต้องการ 5 สี ก็ย้อม 5 ครั้ง คือต้องน�ำไปตากแห้ง แล้วน�ำมามัดอีก ท�ำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนได้สีครบลาย ตามแบบที่กำ� หนดไว้ ขั้นตอนการย้อมสีด้วยสีเคมี เริ่มจากน�ำเส้นไหม มัดหมี่แช่นำ�้ ไว้ เพื่อให้นำ�้ ซึมถึงใยไหม แล้วจึงตีหมี่ เพื่อให้เส้นใยฟู และเวลาย้อมสีจะดูดซึมได้ดี จากนั้น น�ำไปใส่ในห่วงย้อมแล้วน�ำลงย้อมในหม้อที่มีสีเคมีที่ต้ม เดือดแล้ว ใช้เวลาต้มประมาณ 5 ชั่วโมง จากนั้นน�ำเส้น

จากเริ่มต้นมีเพียง 3 กี่ เมื่อผ้าของครู เป็นที่นิยม มีการบอกกันปากต่อปาก ครูจึงเพิ่มเป็น 11 กี่ ซึ่งก็ยังไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของลูกค้าอยู่ดี

ไหมไปล้างน�้ำเปล่าจนสะอาด แล้วน�ำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการกวักหมี่ หรือการน�ำเส้นไหม มัดหมี่ที่แก้เสร็จแล้วมาใส่ไว้ในกงเพื่อเก็บในอักแล้วจึง ปั่นหลอด หรือกรอเส้นไหมใส่ไว้ในหลอดรอการลงมือ ทอตามลายที่กำ� หนดไว้ ครูคำ� ปุนได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมให้ กับผู้ที่สนใจศึกษาหาความรู้อันหาค่ามิได้นี้ให้กับลูกชาย คือคุณมีชัย โดยคุณมีชัยได้นำ� มาต่อยอดสร้างสรรค์งาน ทอผ้าในรูปแบบใหม่ๆ อย่างผ้ากาบบัวขึ้น และได้ ถ่ายทอดองค์ความรู้นี้สู่ชุมชน เพื่อเป็นผืนผ้าเอกลักษณ์ ของจังหวัดอุบลราชธานีสืบไป ที่บ้านค�ำปุนยังเปิดให้ บุคคลที่สนใจเข้าชมและศึกษาเครื่องมือทอผ้าโบราณ การท�ำเส้นยืน หรือการท�ำมัดหมี่ “...ผ้าอุบล ตั้งแต่สมัยไหนก็มีแต่ผ้าสวยๆ สมัยนี้ คนก็ไม่เก่งเท่าสมัยก่อน แต่ก็ภูมิใจว่าผ้าเรายังสวย เหมือนเดิมอยู่ อันไหนไม่ดีก็พยายามท�ำให้ดีขึ้น” ผ้ากาบบัวสะท้อนความงดงามของเส้นไหมหลาก สีสัน ถ่ายทอดเป็นลวดลายอันวิจิตรเกิดเป็นต�ำนาน แห่งการทอผ้าซึ่งรวบรวมเทคนิคไว้อย่างหลากหลาย สะท้อนให้เห็นถึงการสั่งสมทางวัฒนธรรมอันงดงามจาก อดีตจนปัจจุบัน ครูค�ำปุนเป็นผู้แนะน�ำ ปรับปรุง ตกแต่ง จนได้ผ้าสวยงามมีเอกลักษณ์เป็นที่ภาคภูมิใจของชาว อุบลราชธานี และครูก็เต็มใจถ่ายทอดความรู้ไปสู่สังคม อย่างไม่หวงความรู้ สมควรแก่การยกย่องในฐานะครู ศิลป์ของแผ่นดินอย่างแท้จริง   | 29


Craftsmaster* Excerpted from

“The Master Artisans of Thailand 2”

Khru Khumpoun Srisai… The Creator of ‘Garb Bua’ Textile

T

his type of textile may come in any colour making it a practical fabric for any trendy fashion gear. It’s also beautiful enough to create day or evening wear. “Pha Garb Bua” is a new signature in the art of the loom from Ubon Ratchathani. Pha Garb Bua, created in 2000 through

the art so much so that he proposed the idea to his

an exciting union between a traditional style of

mother to create a special pattern of textile for

creativity from master weaver Khumpoun Srisai

their province. Delightfully, the mother and son

and the innovative idea of her second son,

team created a beautiful work which immediately

Meechai Taesujariya, is now a proud symbol of this

won the provincial authority’s approval.

northeastern province. Its name says it all. “Garb Bua is the name given by a well-

A native of Yasothon, young Khumpoun was educated in her hometown until she completed

respected figure in our province. It was

Grade 4. But then, World War Two broke out and

unanimously chosen by a committee during a

there was no chance for further schooling for the

meeting when Father Bumphen na Ubon suggested

country girl. She then learned weaving from her

it. The word ‘Garb’ in Isan dialect means a petal.

mother and made fabrics to be sold in Ubon

In Central Thai dialect it means layers on the trunk

Ratchathani as well as in the capital. The girl

of some kinds of plant. ‘Bua’ meanwhile means

excelled in the art of the warp that she could finish

lotus or lily, the same as that of Ubon,” Meechai

three times as much work compared with others.

explains.

Zin Tiew, Mud Mee, or Lai Long, she did all fabrics

Khru Khumpoun is in fact a celebrity in the

well. And that was no surprise as she came from a

weaving circle of Ubon Ratchathani. Her son,

family of weavers — those in their 80s are still

Meechai, has also been instilled with a love for

working actively.

30  |


“We lived in Yasothon and were without any relatives in Ubon Ratchathani, it was therefore impossible for me to go to school there. I then decided to stay home with my mother and learned from her. I did whatever she told me to do and finally I could work very fast though I was so skinny,” Khru Khumpoun recalls with a smile. Khumpoun only relocated to Ubon Ratchathani after her marriage to Mr. Tiasong. In her new home there was a showcase cabinet in which she displayed her hand-woven textiles. It did not take long for admirers to come in and ask to buy them. One loom soon increased to three and then eleven, but still she could not manage to answer the ever-rising demand from customers. Eventually, at the recommendation of her son Meechai, Khru Khumpoun extended her weaving facilities to include a new workshop in this northeastern city’s Si Sa Ket Road. Orders kept flowing in due to the fine quality of the raw material, silk. “I guess the charm of our textile lies in its beautiful silk yarn. My son is very good at selecting only the best. While I do the screening, he would pick the choicest. And most of these fabrics are individual; we normally weave just enough for one or two dresses. The yarns of inferior quality will be used somewhere else,” she emphasizes. Pha Garb Bua comes in three types — a standard Garb Bua; Garb Bua Jok Dao or Garb Bua Koh Dao; and Garb Bua Yok Thong or Garb Bua Khum.

ผ้ากาบบัวเปี่ยมด้วยความประณีตงดงาม จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธาณี Garb Bua Textiles are so beautiful and refined, they have become a symbol of Ubon Ratchathani

| 31


กว่าจะออกมาเป็นผ้ากาบบัวผืนงามต้องอาศัยภูมิปัญญาดั้งเดิมบวกกับความคิดสร้างสรรค์ ของคนรุ่นใหม่ที่ผสานกันอย่างลงตัว Traditional methods combine with modern creativity to form a cloth of great beauty.


The standard Pha Garb Bua is usually

dye time when the threads are tied according to

done in four different techniques on the same

the desired patterns and dyed before letting dry.

piece including Sen Thew, the weaving of warp

This process may be repeated several times

ends dyed in at least two colours — dark and

depending on the colours in the design.

bright; Mub Mai or Zin Mai Kuab meaning spinning

The dyeing process is done by soaking the

two filaments of different colours into one single

silk yarns in the water and letting them absorb it

thread; Mud Mee, the tie-dyeing technique; and

fully. The wet threads are then beaten to make

Khit or Jok technique, creating motifs by way of

them fluffy and more absorbent. After they are

raising the warp yarn and weaving the

attached to the hoops, they are placed in the

discontinuous supplementary weft.

boiling dyes and left to boil for five more hours.

Garb Bua Jok Dao or Koh Dao features the

Afterwards, the dyed silk is cleansed with a lot of

addition of star motifs in Jok technique onto the

plain water before being line dried and spun ready

standard Pha Garb Bua. The motifs may be

for weaving.

scattered or done partly. A tribute to the age-old

Khru Khumpoun has been disseminating

“Zin Hua Jok Dao”, a skirt embellished with star

silk-weaving techniques to interested individuals

designs, this version of Pha Garb Bua is reserved

wishing to make a vocation in textile weaving. And

for special occasions and celebrations.

through her son, the invaluable body of knowledge is transmitted to the many communities in the province. As a public service, Khru

Pha Garb Bua is the epitome of beauty in textile art, a reflection of colourful heritage, and a summation of diverse techniques passed down through generations.

Khumpoun also opens the doors of her workshop to show publicly the source of traditional weaving heritage. “The hand-woven textiles of Ubon Ratchathani have always been admired for their unique charm and exceptional beauty. Though modern weavers like us may not be so adept as our ancestors,

Pha Garb Bua Yok Thong or Pha Garb Bua

we too, are very proud of the many elaborate

Khum was created in celebration of Ubon

patterns of our traditional textiles. We are forever

Ratchathani’s glory. According to his royal letter, His

eager to improve and hone our skills so that we

Majesty King Chulalongkorn commended upon

can help preserve this precious craftsmanship for

being presented with a gorgeous golden silk

the future generations,” she says.

brocade by Krom Luang Sappasit, that it was “a

Indeed Pha Garb Bua is the epitome of

superior work, Chiang Mai obviously could not

beauty in textile art, a reflection of colourful

compete!” This type of gold brocade textile was

heritage, and a summation of diverse techniques

soon promoted among the local weavers.

passed down through generations. As the

To make Pha Garb Bua, one has to begin with

craftsmaster, Khru Khumpoun is ever so proud of

the designing of the pattern for the entire piece of

this new signature of Ubon Ratchathani province

fabric. Next step is to raise the warp ends of at

and is forever devoted to the propagation of this

least two colours and hold them in tension to the

body of knowledge to the public at large.

wooden frame of the loom. Then it is the tie-and-

| 33


global Visions*

Singapore Gifts & Premiums Fair (SGPFair) Venue: Marina Bay Sands, Bayfront Avenue, Singapore   10 - 12 July 2013

เทศกาลของขวัญ “Singapore Gifts & Premiums Fair” ณ Marina Bay Sands, ถนนเบย์ฟรอนท์ ประเทศสิงคโปร์   10 - 12 กรกฎาคม 2556

จากประวัติการจัดงานกว่าหนึ่งทศวรรษ พร้อม ความร่วมมือจากผู้ร่วมแสดงงาน ผู้สนับสนุนและ ผู้เข้าชมจ�ำนวนมาก เทศกาลของขวัญ Singapore Gifts & Premiums Fair (SGPFair) ครั้งที่ 14 จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้งในระหว่างวันที่ 10-12 กรกฎาคม 2556 นี้ ผู้เข้าชมงานจะได้พบกับสินค้าจ�ำพวกของขวัญ คอลเลคชั่นใหม่พร้อมโปรโมชั่นพิเศษ ประทับใจกับ สินค้าเทรนด์ใหม่ล่าสุด และอัพเดทข้อมูลใหม่ๆ เกี่ยวกับของขวัญและงานหัตถกรรมในงานแสดงสินค้า ใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ที่รวบรวมเอาผลงานของ ผู้ประกอบการงานศิลป์อันมีชื่อไว้มากมาย “SGPFair” จึงเป็นเสมือนสุดยอดเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ซื้อและ ผู้ขายชั้นดี SGPFair 2013 จัดโดย BizLink Exhibition Services ซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยของ Singapore Press Holdings สนับสนุนโดย Promotional Products & Giftware Association (PPGA Singapore) สินค้ามีชื่อที่เข้าร่วม แสดงในงานมีทั้งของสะสม งานคริสตัล งานเซรามิก ของเล่น เครื่องประดับ เครื่องเขียนและสเตชันเนอรี่ การ์ดอวยพร เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ของตกแต่งบ้าน รวมถึงสินค้าออกใหม่อินเทรนด์ นาฬิกา และของที่ ระลึกมากมาย ชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sgpfair.com 34  |

With over a decade's worth of illustrious track records, and continued support from exhibitors, industry supporters, and visitors, the 14th edition of Singapore Gifts & Premiums Fair (SGPFair) returns from 10 - 12 July 2013. Discover the latest premiums and promotional gifts, keep current with industry trends, and enhance your knowledge at Singapore's largest and longest running trade show of its kind. Dedicated to congregate the finest players in the promotional and corporate gifts industry, SGPFair is the perfect platform to connect with quality buyers and sellers. SGPFair 2013 is organised by BizLink Exhibition Services, a subsidiary of Singapore Press Holdings, and supported by Promotional Products & Giftware Association (PPGA Singapore). Target visitors include professionals related to the field of corporate gifts: collectibles, ceramic & crystal, giftware, toys, jewelry; stationery: school supplies, writing instruments, office accessories, greeting cards; houseware: home appliances, home furnishings, lighting& accessories; premiums: trend merchandise, novelties, timepieces, and souvenirs. Visit www.sgpfair.com for more information.


มหกรรมแสดงสินค้า “Denver Modernism Show” ณ National Western Complex เมืองเดนเวอร์ รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา   23 - 25 สิงหาคม 2556

Denver Modernism Show นับเป็นอีกหนึ่งเทศกาลงานศิลป์ที่ใหญ่ที่สุดซึ่งรวมเอาหัตถศิลป์ท้องถิ่น งานแก้ว เครื่องประดับ งานโบราณ เครื่องปั้นดินเผา จากผู้ประกอบการและกลุ่มหัตถกรรมมีชื่อของสหรัฐอเมริกาเข้ามา ในงานเดียวกัน และจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับทั้งผู้จัดแสดงงาน ผู้สั่งซื้อสินค้า และผู้เข้าชมทั่วไป สินค้าที่น�ำมาจัดแสดงประกอบด้วยเฟอร์นิเจอร์ งานศิลปะ โคมไฟ เครื่องแก้ว เครื่องปั้นดินเผา เซรามิก เครื่องใช้ ในบ้าน เครื่องประดับ ผ้าทอ กระเป๋าถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงสินค้าสไตล์เรโทรและวินเทจจ�ำนวนมาก ไฮไลท์ที่น่าสนใจของ The Denver Modernism Show คือการจัดแสดงสินค้าชั้นเลิศจากแถบ Rocky Mountain และ จากทั่วประเทศ โดยเน้นที่งานออกแบบย้อนยุค และผลงานของตกแต่งบ้านจากผู้ผลิตที่โดดเด่นในสไตล์โมเดิร์นนิสท์ ที่จะเนรมิตให้บ้านคุณดูแปลกตาทั้งภายนอกและภายใน งานเดียวกันนี้ในปีที่แล้วประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างมาก โดยสามารถดึงดูดผู้ซื้อได้มากกว่า 4,000 ราย และเป็นที่คาดว่าในปีนี้จะยิ่งใหญ่กว่าเดิม เข้าไปชมรายละเอียดของงานได้ที่ www.denvermodernism.com

Denver Modernism Show Venue: National Western Complex, Denver, Colorado, United States   23 - 25 August 2013  Denver Modernism Show is one of the largest shows related to decorative arts, folk art, glass art, jewelry, art & antiques, pottery and more. This fair will attract a good number of exhibitors, traders, distributors, agents and visitors. The Denver Modernism Show will feature some of the very best vendors from the Rocky Mountain Region and around the country. While it is primarily a venue for vintage pieces, there will also be manufacturers and companies specializing in newer modernist home accessories, appliances, fabrics, and everything you need to make sure your home is a modern marvel inside and out. Expect the unexpected — and get ready to see pieces that will blow your mind. Last year’s show drew nearly 4,000 buyers — many from out of state. The 2013 show promises to be bigger than ever. For more details about the show, click www.denvermodernism.com

| 35


Home & Gift-Harrogate Venue: Harrogate International Centre, Harrogate, United Kingdom   14 - 17 July 2013  Home & Gift-Harrogate will exhibit a variety of products covering diverse sections including gifts, home, jewelry and fashion; greeting cards and stationery and more. It will display a huge

งานแสดงของตกแต่งบ้านและของขวัญ

“Home & Gift-Harrogate”

ณ Harrogate International Centre เมืองแฮร์โรเกท สหราชอาณาจักร   14 - 17 กรกฎาคม 2556

Home & Gift-Harrogate เป็นงานแสดงสินค้าอันหลากหลาย ในกลุ่มของขวัญ ของแต่งบ้าน เครื่องประดับ สินค้าแฟชั่น และอื่นๆ อีกมากมาย ผู้เข้าชมงานจะได้พบกับคอลเลคชั่นส�ำหรับฤดูร้อนและฤดู ใบไม้ร่วง และยังสามารถเลือกหาสินค้าเพื่อเตรียมพร้อมและเติมเต็ม ส�ำหรับเทศกาลคริสมาสต์ที่จะมาถึงตอนปลายปี ส่วนกลุ่มผู้สั่งซื้อสินค้า ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักก็จะได้ท�ำความรู้จักกับผู้ร่วมแสดงงานผ่านงาน ศิลป์ในหลากหลายรูปแบบ ไฮไลท์สำ� คัญของงานได้แก่การสัมมนาในหัวข้อน่าสนใจและไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย ที่ส�ำคัญจะมีสินค้าที่คัดสรรมาเปิดตัวครั้งแรกในงานนี้โดย เฉพาะ รวมถึงโอกาสที่จะได้พบปะอย่างเป็นการส่วนตัวกับผู้ผลิตและผู้ ขาย ตลอดจนการลุ้นรางวัลชิ้นงานพิเศษอีกด้วย Home & Gift-Harrogate ประกอบด้วยผู้จัดแสดงงานศิลป์รวมถึง ช่างฝีมือในกลุ่มของตกแต่งบ้าน งานดีไซน์หรับส�ำนักงาน อันได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ โคมไฟ ผ้าผืน งานหัตถกรรม ของขวัญ ของที่ระลึก ไปจนถึงเครื่องใช้ในครัวและในห้องน�ำ้ มากมาย อีกทั้งเป็นแหล่งนัดพบ ของผู้ผลิต นักธุรกิจ และผู้ส่งออกจ�ำนวนมาก นับเป็นโอกาสทองของ ผู้ประกอบการจริงๆ สนใจข้อมูลเพิ่มเติม คลิ๊ก www.homeandgift.co.uk 36  |

collection of summer and autumn seasons plus the Christmas goodies. The visitors include key buyers who will explore a broad sector of products and services — gifts, jewelry, china and glassware; lighting goods, furniture, greeting cards, garden tools, fashion accessories, arts & crafts, art/framing shops, household goods, toys and catalogue & mail order companies. Home & Gift-Harrogate will be a beneficial event for both sellers and buyers. The main highlights of the Home & Gift-Harrogate are free seminars, huge selection of fabulous products being launched at the show, exclusive access to the many suppliers, plus a chance to win $250 worth of exclusive products. Home & Gift-Harrogate will invite a large number of participation of exhibitors and professionals working in the fields of decoration; home and office design; furniture, lighting, fabrics — clothing textiles, handicrafts, gifts & souvenirs; home exhibitions; and kitchen & bathroom accessories. The exhibitors will include manufacturers, dealers, suppliers and exporters. The exhibitors will enable a crucial buying opportunity for different types of retailers. Visit www.homeandgift.co.uk for more information.


งานแสดงสินค้าของขวัญ ของตกแต่ง “CGTA Gift Show”

CGTA Gift Show

ณ Toronto International Centre เมืองโตรอนโต รัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา

CGTA Gift Show will be fully devoted to the

11 - 14 สิงหาคม 2556

Canadian Gift & Tableware Association. Every kind

CGTA Gift Show คือเทศกาลจัดแสดงของขวัญของ ตกแต่งเป็นการเฉพาะโดย Canadian Gift & Tableware Association เป็นผู้จัด ผู้เข้าชมงานจะได้พบกับนานา ของขวัญของตกแต่งและภาชนะอุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร เพิ่มเติมแรงบันดาลใจและความรู้เกี่ยวกับการท�ำธุรกิจ ของขวัญได้ภายในงาน พร้อมพบกับผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ ล่าสุด เทศกาลจะรวบรวมเอาผลิตภัณฑ์และของขวัญที่ หลากหลายสมบูรณ์แบบไว้ในที่แห่งเดียว เหมาะอย่าง ยิ่งที่จะเป็นจุดนัดพบของผู้ผลิตฝีมือเยี่ยม เทศกาล CGTA Gift Show เป็นงานครั้งที่ใหญ่ที่สุดบน พื้นที่กว้างใหญ่ถึง 1.2 ล้านตารางฟุต ประกอบด้วย นิทรรศการจากผู้จัดแสดงกว่า 900 ราย ท�ำให้งานกลาย เป็นศูนย์รวมการช้อปปิ้งอย่างครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดใน แคนาดา ผู้ร่วมงานจะได้พบกับสินค้านวัตกรรม อาทิ โต๊ะเก้าอี้ เครื่องใช้ในบ้าน อาหาร ของแต่งสวน ของ สะสม งานแฮนด์เมด สเตชันเนอรี่ ของแต่งบ้าน เครื่อง ใช้ในห้องน�้ำ เตียง ผลิตภัณฑ์ผ้าลินิน และอื่นๆ อีกมาก ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cgta.org/Giftshow/TR/ Home.aspx

Venue: Toronto International Centre, Toronto, Ontario, Canada   11 - 14 August 2013  industry related to giftware. CGTA stands for of giftwares and tableware can be found in the exhibition. In this show participants will get an opportunity to enrich their knowledge which may help them succeed in this industry. Visitors will get to know more about the latest products and items related to giftware and tableware. CGTA Gift Show is bringing a complete range of products and gift items under one roof. The event will lead out to be a meeting place for the producers and manufacturers Throughout 1.2 million square feet of display space, this Toronto – based event is Canada's largest temporary trade gift show with over 900 exhibitors, it's Canada's largest one-stop shopping/buying venue. Look for innovative tabletop, housewares, gourmet food, garden accessories, collectibles, handmade, stationery, home décor, bath, bed and linen products and much much more. Visit www.cgta.org/Giftshow/TR/Home.aspx for more information.

| 37


everyday Runway* เรื่อง

อำ�พันมาลา  ภาพ  ศิรพัชร วลัยพัชรา

ไทย อลยา...

บาติกสไตล์ล้านนา

มื่อราว 10 ปีที่แล้ว สองหนุ่มสาวชาวเอเจนซี่โฆษณา กิตติศักดิ์ และอลยา ชลประเสริฐสุข เริ่มตั้งค�ำถามกับตนเองอย่างจริงจังว่า ตนชอบหรือมีความสุข กับชีวิตในแบบที่เป็นอยู่หรือไม่ ประจวบเหมาะกับโอกาสที่ญาติได้ชักชวนให้ไปสืบทอดงานด้านเซรามิกที่เชียงใหม่ ทั้งสอง จึงตัดสินใจละทิ้งอาชีพที่กรุงเทพฯ ทยอยย้ายถิ่นฐานไปปักหลักที่นั่น “ชีวิตใหม่” ในเชียงใหม่จึงเริ่มต้นขึ้น กิตติศักดิ์ทำ� งานที่โรงเซรามิกของคุณลุง ในขณะที่อลยา ที่เพิ่งย้ายตามขึ้นมาทีหลังในตอนนั้น ก็ไปเข้าคอร์สเรียนการท�ำผ้าบาติกที่นั่น ปี พ.ศ. 2547 ทั้งสองร่วมกันเปิด “ไทย อลยา บาติก แอนด์ แกลเลอรี่” กิจการเล็กๆ ที่ สร้างสรรค์งานผ้าบาติกจ�ำหน่าย สินค้าของไทย อลยาฯ เป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคหลายกลุ่มจนถึง ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2553 ไทย อลยาฯ ได้เข้าร่วมโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งต�ำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ไทย ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับสี่ดาวประเภทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายจากชุดบาติกล้านนาประยุกต์ “ไก่ฟ้า” มีผลงานที่น�ำไปประดับบนฝาผนังโรงแรมและรีสอร์ทหรู อาทิ Green Lake Resort หรือ Phu Pai Art Resort และยังรับผลิตสินค้าในรูปแบบเฉพาะส�ำหรับจ�ำหน่ายในร้านศิลปาชีพ 904 ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน งานบาติกซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายของทั้งสอง มีลักษณะอันโดดเด่นคือ มีลวดลายเทียน แตกที่เป็นระเบียบสวยงาม การไล่สีที่นุ่มนวลมีมิติ การใช้สีเอิร์ธโทน ไปจนถึงลวดลายที่มีกลิ่นอาย ล้านนาอยู่เต็มเปี่ยม งานดังกล่าวสร้างความแตกต่างในวงการบาติกเป็นอย่างมาก เนื่องจากโดยทั่วไป แล้ว คนมักรู้จักงานบาติกที่ใช้คู่สีฉูดฉาด โดยแหล่งที่มีชื่อได้แก่หลายจังหวัดทางภาคใต้ “ตอนนั้นเรามีความรู้สึกว่า เออ เราจะท�ำงานบาติกละ เราต้องหาตัวตนของเราในงานบาติก หาเอกลักษณ์ เราก็นึกว่า ทางปักษ์ใต้เขาก็เป็นอีกแบบหนึ่งนะ ทางอีสานก็อีกแบบหนึ่ง เราก็มาดูว่า จะท�ำอะไรให้ไม่เหมือนบาติกที่อื่น” กิตติศักดิ์ อธิบายแนวคิดที่มาของการน�ำเสนองานบาติกที่แตกต่าง

38  |



กิตติศักด์ ผู้ซึ่งได้รับการฝึกฝนด้านศิลปะ มาจากวิทยาลัยช่างศิลป์และเรียนต่อจนจบปริญญาตรี ภาควิชานฤมิตศิลป์รุ่นแรกที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย�้ำว่าเขาทั้งสองเห็นพ้อง ต้องกันว่าจะต้องสร้างสรรค์งานที่สะท้อนตัวตนและ ความถนัดของตนเองออกมาในงานอีกด้วย “ทีนี้พอมีทักษะทางด้านศิลปะมา ตอนเรียนเรา คล่องในทักษะการใช้สี เราเห็นบาติกหลายที่ใช้สีที่ ฉูดฉาดและโดดมาก คราวนี้เรามาท�ำบาติกแบบของเรา เราคิดว่าจะต้องพิถีพิถันในการใช้สี ทุกสีที่ใช้ไม่ใช่สีที่ดิบ จากผงสีโดยตรง ทุกสีเราน�ำมาเจือและผสมด้วยสีอื่น” ลายเทียนหักที่ค่อนข้างเป็นระเบียบงดงามเป็น เอกลักษณ์ของไทย อลยาฯ เกิดจากกระบวนการที่ใกล้ เคียงกันกับการท�ำลายเทียนหักของภาคใต้และมาเลเซีย ที่ใช้วิธีขย�ำ ท�ำให้ออกมาหน้าตาแตกต่าง และไม่ได้ดู เป็นระเบียบแบบไทย อลยาฯ ขั้นตอนหลักๆ ในการผลิตงานบาติกของที่นี่ เริ่ม ตั้งแต่น�ำผ้าฝ้ายดิบมาต้มท�ำความสะอาดเส้นใย ร่างลาย บนผ้า วาดลวดลายด้วยเทียน ลงสี ล้างน�้ำ และต้มเพื่อ ลอกเทียนออก จากนั้นจึงท�ำขั้นตอนของลายเทียนหัก คือการน�ำผ้าไปชุบเทียนเหลวทั้งผืนแล้วปล่อยให้เย็น เป็นแผ่น จากนั้นน�ำมาหักทั้งที่ยังแข็ง เพื่อให้ได้ลาย ตามเอกลักษณ์ของไทย อลยาฯ จ�ำเป็นต้องหักแบบ จงใจ ตั้งใจ ค่อยๆ หัก ให้แตกเป็นแนวตั้งแล้วก็แนว นอน ตามล�ำดับ จากนั้นน�ำผ้าไปย้อมสี สีก็จะซึมเข้าไป ตามรอยที่หักได้ หลายคนสงสัยว่าสีสันบนผ้าเกิดจากการมัดย้อม หรือไม่ ค�ำตอบคือไม่ แต่เป็นการเพ้นท์โดยไล่สีให้เกิด น�ำ้ หนักอ่อนแก่ ทั้งสองเลือกใช้ผ้าฝ้ายที่ผลิตในประเทศ มี คุณสมบัติระบายอากาศได้ดี ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ และยังเลือกใช้สีรีแอคทีฟที่ผ่านการรับรองในเรื่อง ความปลอดภัย ไม่มีสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผิว “ส่วนลายที่เราออกแบบ ด้วยความที่เราไปอยู่ เชียงใหม่แล้วเราก็ต้องการจะสร้างงานให้แตกต่างจาก ที่อื่น ลายต่างๆ บางทีก็เกิดจากการซึมซับอะไรบาง อย่างที่เราไปอยู่ในนั้น เราไปอยู่เชียงใหม่เราอาจจะได้ เห็นภาพกาดหมั้ว เห็นจิตรกรรมฝาผนังของทางเหนือ เห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านล้านนา เราก็เลยเอาทุกอย่าง ดัดแปลงออกมาเป็นลวดลาย ผลงานที่ออกมาจึงได้ อารมณ์ของความเป็นวิถีชีวิตชาวเหนือจริงๆ ไม่เพียง เฉพาะรูปที่เป็นวิถีชีวิตล้านนาโดยตรง แต่รูปแมว นก 40  |


ความเป็น “ข้างใน” นี่เองที่ส�ำคัญ เป็นอย่างยิ่ง ที่จะเปล่งประกายออกมา ยังภายนอก จนคนอื่นๆ สัมผัสได้

ไทย อลยาฯ พิถีพิถันในทุกขั้นตอนการท�ำผ้าบาติก โดยเฉพาะในการเลือกใช้สี At Thai Alaya, every step is followed with utmost care and attention to detail, in producing each piece of batik.

หรือสัตว์ต่างๆ ก็ให้อารมณ์ทางเหนือเช่นกัน นี่อาจจะ เกิดจากความรู้สึกที่เราซึมซับในวิถีความเป็นอยู่ แล้วมัน ก็ออกมาเองโดยธรรมชาติ” กิตติศักดิ์เล่าให้ฟังถึงตอนที่เขาปลูกบ้านและ ตกแต่ง บ้านตึกของเขาค่อนข้างแปลกตาส�ำหรับผู้ที่ พบเห็น เนื่องจากมีบันไดอยู่ด้านนอกบ้าน เป็นการ ดัดแปลงบ้านโดยได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรม ของชาวเหนือคือบ้านไม้ซึ่งมีบันไดอยู่นอกบ้าน นับเป็น หนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าทั้งคู่ได้รับเอาความเป็น คนเหนือเข้ามาในวิถีชีวิตทีละเล็กทีละน้อย จนออกมา เป็นผลงานบาติกอันเป็นเอกลักษณ์ “บางทีเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเริ่มจากจุดไหน เพียงแต่ว่าเมื่อเราได้เข้าไปอยู่ เราเห็นวิถีชีวิตผู้คนที่อยู่ อย่างเรียบๆ ง่ายๆ แล้วเราก็ใช้ชีวิตเหมือนกับชาวบ้าน ทั่วไปคนหนึ่ง แล้วมันก็ซึมซับไปโดยธรรมชาติ” เขากล่าว จะว่าไปแล้ว เรียกว่าเป็นการค้นพบตัวเองตลอด จนสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานได้ในระยะเวลา ที่ไม่นานนัก ทั้งสองคิดท�ำงานบาติกที่แตกต่างตั้งแต่ ช่วงแรกๆ ของการเริ่มต้นเลยทีเดียว ถามว่าอะไรท�ำให้ ค้นพบสไตล์ของตนเองได้อย่างรวดเร็ว ค�ำตอบเดียว สั้นๆ ก็คือ... “มันคือการฝึกฝนครับ” “...แล้วก็ต้องท�ำไปเรื่อยๆ ค่อยๆ เขียน ค่อยๆ ท�ำ จนมันออกมาเป็นลักษณะงานแบบของเรา การที่เราสามารถท�ำงานบาติกออกมาแล้วดู แตกต่าง อีกส่วนหนึ่งอาจมาจากการที่ความถนัดและ ทักษะของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนอื่นเขาถนัดแบบอื่น เขาก็เขียนอะไรไปในแบบของเขา เราถนัดแบบนี้ เราก็ เลยท�ำออกมาของเราแบบนี้” กิตติศักดิ์เห็นเช่นนั้น และนอกจากความสามารถในการดึงความเป็นตัว ตนออกมาใส่ในงานแล้ว อาจต้องบวกกับวิสัยทัศน์ของ ทั้งคู่ ที่คิดและตั้งเป้าตั้งแต่เริ่มลงมือท�ำไว้เลยว่า ตนจะ ต้องท�ำงานที่แตกต่าง และหนึ่งในเหตุผลนั้น ก็เพื่อให้ คนที่ทำ� บาติกด้วยกันไม่ต้องมาแย่งลูกค้ากันเอง   | 41


“ตอนแรกเลยเราคิดว่าเราต้องไม่ทำ� อะไรที่ซ�้ำกับชาวบ้าน ไม่ใช่เราไปเห็น เอ๊ะบาติกอย่างนี้ขายดี เราท�ำอย่างนั้นดีกว่า อย่างนี้มันก็จะเหมือนกันไปหมดละ แล้วมันก็จะมาแข่งกันเองทีหลัง เมื่อเราเริ่มต้นว่าจะท�ำบาติก เราก็เริ่มคิดละว่าเราจะ ท�ำบาติกที่ไม่เหมือนคนอื่น แล้วมันไม่เหมือนคนอื่นยังไงได้บ้างล่ะ เราก็เลยฝึกฝน แล้วก็ทำ� งานออกมา หาเทคนิคอะไรแปลกๆ ใหม่ๆ มันเกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติ แล้วมันก็ออกมาเป็นงานแบบนี้ “คนที่ท�ำบาติกด้วยกันก็ยังมาคุยว่า ก็ดีแล้ว เราท�ำบาติกด้วยกัน แต่ไม่ได้มาแข่ง กัน เราเอาข้างในของเราแต่ละคนออกมาดีกว่า คือถ้าเห็นข้างนอกที่เขาท�ำแล้วมาท�ำ ตามมันก็เหมือนๆ กันหมด เราไม่เอาข้างนอกของเขามาใส่งานเรา เราเอาข้างใน ของเราออกไปสู่ข้างนอก เราท�ำสไตล์ของเราแล้วมันออกไปโดยอัตโนมัติ คนที่ทำ� บาติกด้วยกันเขาก็บอกเออเนอะมันก็ออกมาเป็นตัวตนของคุณ ผมท�ำแบบของคุณ ไม่ได้ ผมก็บอกว่า ไม่เป็นไรครับ ผมก็ทำ� แบบคุณไม่ได้เหมือนกัน” เขาหัวเราะ “เราสั่งสมประสบการณ์จนออกมาเป็นอย่างนี้ คนอื่นเขาอาจจะเลียนแบบ กิตติศักดิ์ ชลประเสริฐสุข Kittisak Cholprasertsuk กรรมวิธีการท�ำได้ แต่มันก็ไม่สามารถออกมาเหมือนของเรา เพราะมันเป็นแต่ละทักษะ ของคน อย่างคนใต้เขาต้องเขียนเป็นรูปทะเล รูปปลา ใช้สีฉูดฉาด แต่ของเราจะไป เขียนแบบนั้นก็ทำ� ไม่ได้ เหมือนกัน ทางใต้มาเขียนแล้วใช้สีที่เป็นเอิร์ธโทนแบบนี้ เขาก็ ไม่ถนัด ข้างในของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน” ความเป็น “ข้างใน” นี้เองที่สำ� คัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเปล่งประกายออกมายัง ภายนอก จนคนอื่นๆ สัมผัสได้ “การท�ำงานนี่ต้องเริ่มต้นจากใจรักก่อน ถ้าใจรักแล้วค่อยๆ ท�ำไปเรื่อยๆ อะไรๆ มันก็จะมาเอง เหมือนกับตอนเริ่มต้นท�ำ ท�ำจากใจรัก เริ่มต้น ค่อยๆ วาดอะไรไป ไม่ได้คิดถึงตัวเงินเป็นหลัก จริงๆ มันเริ่มจากตรงนี้ทั้งนั้น หลังจากที่ท�ำงานแล้วเค้ามี ความสุข อะไรๆ มันก็จะออกมาในงานเอง คนจะเห็นได้จากงานของเรา พอคนเห็น และสัมผัสได้ว่างานของเราเป็นงานที่พิถีพิถัน และท�ำมาจากใจรัก เขาสัมผัสได้เขาก็ ยอมจ่าย แล้วงานก็จะเริ่มหล่อเลี้ยงตัวเราได้ละ” “ที่จริงทุกคนมันก็มีช่วงเวลาที่ต้องกัดฟันท�ำกันทั้งนั้น ถ้าพูดเป็นแบบพระเอกก็ คือ โอ๊ย! ฉันรักที่จะท�ำ แต่ความเป็นจริงมันก็ต้องมีปัจจัยอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้อง มันอยู่ ที่ว่าปัจจัยตัวไหนเด่นกว่ากัน ปัจจัยที่เราต้องอดทนท�ำ กับปัจจัยที่เราท�ำเพราะความรัก อันไหนมันมาก่อนกัน สมมติต้องอดทนท�ำด้วย 30% แต่เรารักมัน 70% โอเคงานมันก็ จะออกมาดี มันย่อมต่างจากการท�ำด้วยความอดทน 70% แต่เราไม่รักมันเลย ความ รักแค่ 30% งานมันก็จะออกมาในแบบที่เราอดทน มันจะ ออกมาในงาน” เขากล่าวเช่นนั้น เสื้อผ้าที่เป็นงานบาติกของไทย อลยาฯ แต่ละชิ้น ท�ำขึ้นด้วยมือทีละชิ้นอย่างพิถีพิถันและค่อนข้างต้องใช้เวลา ก�ำลังผลิตของเขาตอนนี้อยู่ที่ราว 700-1,000 ชิ้นต่อเดือน ่ยวันละ 20-30 ชิ้น แต่โดยกระบวนการจริงๆ แล้วชิ้น เขาเปิดเผยว่าแต่แรกนั้น เฉลี ่งๆ ไม่ใช่ทำ� เสร็จแค่ภายในวันเดียว กว่าจะได้ตัวผ้าต้อง ไม่เคยคิดตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้เลย หนึ ผ่านไปอย่างน้อย 4-5 วัน ไม่รวมขั้นตอนการน�ำไปตัดเย็บ “เรารู้แค่ว่าจะท�ำงานศิลปะ กิตติศักดิ์และอลยาจะเป็นผู้ออกแบบลวดลายเองทั้งหมด ท�ำงานเพ้นท์” จากนั้นจึงไกด์การลงสีและไล่น�้ำหนักให้กับทีมงาน 42  |


โทนสีอันนุ่มนวลและลวดลายที่มีกลิ่นอายล้านนา ท�ำให้ ไทย อลยาฯ เป็นที่ต้องตาต้องใจผู้ซื้อ The soft, earthy tones and Lanna motifs of Thai Alaya's apparel continues to draw customers.

อลยา ชลประเสริฐสุข Alaya Cholprasertsuk

ลูกค้าหลักของทั้งสองเป็นกลุ่มลูกค้าคนไทย โดยมีลูกค้าต่างชาติอย่างไต้หวัน หรือญี่ปุ่นรับไปขายในช็อปที่ต่างประเทศบ้าง เขาเปิดเผยว่าแต่แรกนั้นไม่เคยคิดตั้ง กลุ่มเป้าหมายไว้เลย “เรารู้แค่ว่าจะท�ำงานศิลปะ ท�ำงานเพ้นท์” เขาเอ่ย ในวันที่ทั้งสองตัดสินใจจะเลี้ยงชีวิตตนเองด้วยงานบาติก เขาตัดสินใจจากแนวคิด ที่ว่างานบาติกจะตอบสนองสิ่งที่เขารักได้นั่นคือการเพ้นท์ “ขั้นแรกเรานึกถึงว่าเป็นการท�ำงานที่ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องพึ่งพาเครื่องจักร ก็เหมือนเราวาดรูป แต่แทนที่เราจะวาดรูปบนผ้าใบแล้วมันจบ มันก็จะมีกรรมวิธี เกี่ยวกับเคมีและทักษะอื่นๆ มาเกี่ยวข้อง ต้องใช้เทียน มีการต้ม ซึ่งเทคนิคเหล่านี้มัน สามารถเรียนรู้ได้ แล้วก็ลงทุนไม่สูง...คิดว่าหากจะไปท�ำงานทางด้านเครื่องไม้ ไม้แกะ เราก็ไม่มีความรู้ที่ดีพอที่จะรู้จักวัสดุ อย่างที่เชียงใหม่เขาก็ทำ� กันเยอะ แต่เราก็ไม่มี ความรู้เพียงพอทางนั้น แล้วก็ต้องพึ่งพาเครื่องจักรด้วย แต่งานบาติกมันก็เหมือน วาดรูปบนผ้าใบ เหมือนกับตอนสมัยที่เรียนมา ก็วาดรูปบนผืนผ้าใบกับบนกระดาษ เสร็จเป็นงานชิ้นหนึ่งก็น�ำไปขายได้ละ แต่นี่เราก็เปลี่ยนมาเป็นบนผ้า แล้วก็เป็นสี เคมีที่ไม่เหมือนสีอะคริลิกหรือสีนำ�้ มัน ดัดแปลงท�ำให้มันเป็นศิลปะแล้วก็ท�ำเป็นผ้า เป็นปลอกหมอน เป็นภาพประดับผนัง เป็นเสื้อผ้า” จากวันที่เริ่มต้น ผ่านมาราว 10 ปีแล้ว ไทย อลยา บาติก แอนด์ แกลเลอรี่ คือบทพิสูจน์ว่า แม้ทั้งคู่จะเริ่มงานในแขนงนี้โดยที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ทว่า ก็สามารถดึงเอาความถนัดผสานเข้ากับตัวตนและการฝึกฝนจนประสบผลส�ำเร็จได้ อย่างดีเยี่ยม   | 43



everyday Runway* Ampanmala  Photos  Sirapat Valaiphatchra

Believing in Batik ‘

Story

This craft is my pride and my life and I think I have found my way. — Alaya Cholprasertsuk

A

t the dawn of the new millennium, a couple gainfully employed in the advertising industry sat down for a heart-to-heart talk about what they really wanted in life: whether their line of work truly answered their artistic calling. And if it did, why then, and wherefrom, the restless yearning deep within? Just as Kittisak and Alaya Cholprasertsuk were debating the dilemma of job satisfaction versus creative contentment, Kittisak’s uncle, the proprietor of a ceramics factory in Chiang Mai, contacted him for assistance in managing the artistic side of production at the pottery plant. Pleasantly startled by fate’s avuncular intervention, nephew and niece-inlaw didn’t need further nudging. And so, like plucky pioneers set on scaling new heights amongst the mist-kiss’d tors of tranquil Lanna, trusting that the “land of a million fields” would surely provide wellsprings of opportunity to slake their thirst for artistic accomplishment, they opted out of the rat race in business-befuddled Bangkok and started off way up north. It's the adventure of a lifetime — an adventure that, to this very day, births new joys in creativity such as which the entire globe now thrills over, oohing and aahing via the world-wide-web. Thus began not just a new chapter but a new life for the couple: Kittisak attended to his uncle’s ceramics while Alaya, who’d followed her husband to Chiang Mai a short while later, enrolled in a course that taught batik painting. In 2004, the two opened a little boutique named Thai Alaya Batik and Gallery, offering hand-painted creations on cloth and clothing which quietly began to attract an appreciative clientele.

| 45


กิตติศักดิ์ ชลประเสริฐสุข ขณะท�ำงาน Kittisak Cholprasertsuk at work.

By 2008, Alaya’s hand-painted batik shirts, blouses, skirts, cushion covers, décor pieces, etc,

created by this husband-and-wife team so special?

were also being sold at Silpacheep 904 Shop — a

But first, a short explanation of batik itself: the

royally-sponsored outlet that stocks only the very

word is Javanese in origin, its etymology deriving

best in hand-crafted creations which, while

from amba (to write) and titik (to dot); batik

presenting modern facets to traditional concepts,

denotes a cloth upon which designs are traced in

edify and promulgate the cultural beauty and

little dots using a manual wax-resist dyeing

uniqueness of Thailand’s arts and crafts.

process, wherein wax is applied to resist or

In 2010, Thai Alaya Batik took part in the

prevent a specific dye from colouring the entire

province’s OTOP (One Tambon, One Product)

cloth; repeated wax and dye applications allow the

competition which annually honours the best local

creation of designs in different colours as desired.

products from a variety of fields. Of course, Alaya’s

Indeed, batik is something we in Southeast Asia

batik creations on the “Kai Fah” (pheasant) theme

are all fairly familiar with — particularly the

in traditional Lanna style, won in the four-star

commotion of cracks created by wax marks that

category for outstanding apparel. Soon, Alaya’s

course through fabric dyed in gaudy and garish

Lanna batik tapestries and triptychs were adorning

colours. The vivid prints from southern Thailand,

the walls of several lavish hotels and exclusive

where this art-form has thrived for hundreds of

hideaways, e.g. Green Lake Resort and Phu Pai Art

years, having first island-hopped from the

Resort.

Indonesian archipelago and up the Malay peninsula

Recognition spurred demand and the couple’s products gave rise to the term “Lanna

46  |

What, one might ask, makes the products

into Siam. Aye, and here’s the rub: Alaya and Kittisak’s

batik”. As Alaya Cholprasertsuk would later admit,

batik is a work of subtle and warm earthy tones,

“This craft is my pride and my life and I think I have

with colours so softly executed as to be

found my way.”

diaphanous yet clearly dimensional in depth of


depiction. Indeed, the beauty of the paintings

But before that process can be undertaken,

arises from the strength of their refutation of

Kittisak elaborates, the piece of raw cotton fabric

strong colour. Even the “crackle effect” created by

must first be boiled to cleanse the fibres of any dirt

crumpling the waxed cloth is muted rather than

and unwanted residue lodged therein; the design

prominent, presenting themselves in horizontal and

or pattern is then traced on the cloth using wax to

vertical lines — diametrically opposed to the

delineate the outline, after which the material is

jumble of veins akin to cracked glass common in

dyed, then washed in water and boiled again to

southern batik. And the illustrations are in a class

remove the wax. Instead of the commonly used

of their own: mesmerizing depictions of maidens

method of tie-dyeing, Kittisak prefers painting the

languid in their muted longing, the flora and fauna

dye mixture onto the cloth as this allows for proper

curved and carved with a simplicity that borders on

gradience from depth to lightness in colour

the sublime — all steeped in the ancient Lanna

application.

tradition of art as a metaphor for a fragrance only the soul can sense. Kittisak explains: “When we first decided on

The artistic duo also prefer using locally produced, airy material that has a natural feel, and the paints used are reactive colours that conform

taking up batik as a means of our artistic

to safety standards, free of skin irritants and

expression, we knew we had to create our own

harmful effects.

niche, make our product distinct from the batik

Regarding the inspiration for their designs,

created in the South or the Northeast or indeed

Kittisak divulges: “Since we live in Chiang Mai, we

anywhere else.”

are keen on portraying aspects of northern life.

As a graduate from the College of Fine Arts

What we see and absorb from our surroundings…

and holder of a bachelor’s degree in creative arts

the Kad Mua flea market, the traditional frescoes,

from Chulalongkorn University, Kittisak was

the lifestyle of the Lanna people, their stories and

well-versed in the theories of colour schemes and

legends… these constitute the source of our

the use of paints. He knew he had to put this

inspiration, from which we derive our ideas and

knowledge to good use. “Realising that all the

illustrations, always keeping in mind the immutable

batik products we’d studied were glaringly bold in

stipulation that ours must be a product distinct

their use of strong and vibrant colours, we decided

from the batik produced elsewhere.”

to go against this trend. So we abjured the use of raw colour and instead mixed our dye powders with other mediums to create varying tones of colour that did not replicate the garish hues prevalent elsewhere. Even in the creation of cracks we had to be very gentle, slow and deliberately precise in the way we crumpled our waxed cloth, because we sought to form ordered lines that did not distract but rather enhanced the overall picture — in complete contrast to the jumble of fractious squiggles prevalent in ordinary batik art. Our meticulous method allows the desired colour to seep very gently into the lines.”

The lifestyle of the Lanna people, their stories and legends…these constitute the source of our inspiration   | 47


In other words, it has been a process of complete immersion in the local lifestyle and lore till it naturally found expression in their work. Even the portrayal of dogs, cats, fowl and other fauna reflect the true nature of the region they have come to love and understand. To illustrate the couple’s absorption of the northern lifestyle in their own lives, Kittisak offers the example of his own house — a modern, concrete structure which nevertheless conforms with the traditional Lanna style of housing by having the staircase outside instead of within, even though the trappings of modernity have transformed many aspects of northern life into a more metropolitan urbanity. When asked how they had achieved their signature style in such a short time, Kittisak says simply, “Through diligence, through practice.” Then adds: “Every artist has his own approach. Others express their vision as they understand it, we express ours as we feel it. The southerners have their own ingrained methods of creating batik, faithfully depicting the surroundings they are familiar with, the sea and fish, using strong and vivid colours in their work. We wouldn’t be able to exactly replicate that successfully. “The creation of our own style has the added benefit of not having to compete with other batik products. Yes, we produce batik, but our batik is significantly different from other batik. What we put into our work springs from within ourselves, we do not duplicate what others have put into their work, so we are not in the market as competitors but as suppliers of an alternative choice. And everybody is happy — the buyers, the other batik makers, and we ourselves as artists.”


Elaborating further, Kittisak continues: “In this line of work, love and devotion is vital. In truth, there is a phase in everyone’s life where one has to grit his teeth and persevere. There can, and will be, many factors that come into play here. One has to decide which factor is the real driving force. Is one working with a love for what he or she is doing? Or is the need to earn money a more important consideration? Say, if your love for your work is 30% and your desire for remuneration accounts for 70%, then the result of your work will show it. Similarly, if you are completely and utterly immersed in your work out of a sense of love, without considering the monetary aspect, then that work will doubtless mirror your devotion to such an extent that others will be able to feel it. If your work can move people, can make them feel, it is likely that they themselves will fall in love with it and willingly pay to own it.” Every item of clothing produced by Thai Alaya Batik is painstakingly created by hand, and the boutique’s capacity is currently 700-1,000 pieces a month. The mathematical average is roughly 20-30 items a day, though in actual fact each piece takes at least 3-4 days to undergo the entire batik process, not including the time required for tailoring. Kittisak and Alaya create their own designs and patterns for each item and then guide their work team in the application process. Their clients are mainly Thai, with a small number of foreigners placing orders for shops in Taiwan and Japan. “We never set a target group for our products. When we started out, we were determined only to create works of art using our skills and creativity, without resorting to machinery, etc. We are basically artists, not entrepreneurs. We devote our time to creating art. We are like other artists, except that while others may carve and sculpt wood or paint canvas and paper, we work on cloth applying the batik technique which we have adapted to suit our style, and then turn those artworks into wearable clothing, or as wall hangings, cushion covers, etc,” concludes the proprietor of Thai Alaya Batik and Gallery. In the span of 10 short years, Kittisak and Alaya Cholprasertsuk have used their skill and creativity to show the world that even without prior experience, but with devotion and perseverance, one can achieve wonders. In work as in life, love conquers all.

| 49


รวมสุดยอดแห่งหัตถกรรมและ นวัตกรรมในงานเทศกาลนวัตศิลป์ นานาชาติ 2556 (IICF2013)

ศู

นย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (ศ.ศ.ป.) ด�ำเนินงานผลักดันงานศิลป หัตถกรรมของไทยให้ก้าวขึ้นไปสู่เวทีระดับนานาชาติ ผ่านการจัดโครงการงาน เทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ 2556 ซึ่งเป็นงานเกี่ยวกับการน�ำหัตถกรรมไทยมาผสาน เข้ากับนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนางานหัตถกรรมของไทยในรูปแบบดั้งเดิมให้มีความ หลากหลายและร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น โดยจะเป็นเวทีแสดงงานอันเปี่ยมความคิด สร้างสรรค์ และเป็นเวทีให้นักออกแบบงานศิลปหัตถกรรมได้รับการยอมรับในระดับ สากลต่อไป


Inside* Sacict

ภายในงานมีการประกวดและจัดนิทรรศการให้ ความรู้ด้านงานศิลปหัตถกรรมไทยมากมาย ได้แก่ การประกวดหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Innovative Crafts Award) โดยมีนักศึกษา นักออกแบบ และช่างฝีมือ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นจ�ำนวนมากถึง 71 ผลงาน ภายใต้โจทย์ “Heritage Inspired” ผ่านการตัดสินจาก คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในหลายสาขา คัดเลือก 10 ผลงานที่มีคุณสมบัติตรงตามโจทย์ที่ตั้งไว้มากที่สุด เพื่อส่งเสริมการผสมผสานความคิดสร้างสรรค์ในการ ออกแบบร่วมกับความเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม น�ำเทคนิค จากงานหัตถกรรมเชิงช่างของไทยที่สืบทอดมาแต่ใน อดีต มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบ ที่ใช้ได้จริงในปัจจุบัน และน�ำผลงานดังกล่าวมาจัดแสดง ในสถานที่จริง สามารถสื่อสารให้ผู้เข้าร่วมชมงานได้เห็น ถึงความเป็นนวัตศิลป์อย่างแท้จริง โดยผลงานของ แต่ละทีมทีส่ ง่ เข้าประกวดมีความหลากหลายและน่าสนใจ นิทรรศการ SACICT’s Prototype Product Design Gallery เป็นการรวบรวมผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ที่ได้น�ำไปร่วมจัดแสดงและรับค�ำสั่งซื้อจากงานใน ต่างประเทศในงาน Maison et Objet 2011 - 2012 และโครงการ Thai Navatasilp ในสาธารณรัฐเชค เพื่อเป็นการก้าวสู่กลุ่มธุรกิจ “3R” : resort, residence, restaurant ต่อไป นิทรรศการ Green Crafts เป็นการรวบรวม ผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่พัฒนาจาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นผลิตภัณฑ์ใช้สอยในรูปแบบใหม่ โดยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่น นิทรรศการมุ่งหวังจะน�ำไปจัดแสดงและรับค�ำสั่งซื้อจาก ตลาดงานรักษ์โลกใหญ่อย่างประเทศญี่ปุ่นเป็นที่แรก เพื่อน�ำรายได้กลับสู่กลุ่มผู้ผลิตชิ้นงานในชนบท นิทรรศการทายาทหัตถศิลป์ (New Heritage) เป็นโครงการที่ ศ.ศ.ป. มุ่งหวังที่จะร่วมสืบสานและรักษา งานศิลปหัตถกรรมของไทยให้คงอยู่ต่อไป จึงคัดเลือก ผู้สืบสาน (ทายาท) งานหัตถกรรมรุ่นใหม่ที่มีใจรักใน งานหัตถกรรมดั้งเดิมจ�ำนวน 10 ราย จากสาขางาน ช่างต่างๆ ทั้ง 9 สาขา ได้แก่ เครื่องไม้ เครื่องจักสาน เครื่องดิน เครื่องทอ (เครื่องผ้า) เครื่องรัก เครื่องโลหะ เครื่องหนัง เครื่องกระดาษ และเครื่องหิน ซึ่งทายาท หัตถศิลป์เหล่านี้จะได้รับการพัฒนาต่อยอดทางด้าน ความคิดในเชิงธุรกิจ การออกแบบชิ้นงาน รวมถึง พัฒนาทักษะฝีมือช่างที่มีอยู่ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรูปแบบดั้งเดิมที่มีอยู่ให้ สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในและ ต่างประเทศ โดยยังคงรักษาเอกลักษณ์และมาตรฐาน ของงานหัตถกรรมที่มีฝีมือในรูปแบบดั้งเดิมเอาไว้ สอดคล้องควบคู่ไปกับรายได้เลี้ยงกลุ่มงานหรือ ครอบครัว นิทรรศการและการจัดแสดงผลงานเครื่องเคลือบ ดินเผาจากประเทศฝรั่งเศสโดย Sevres de la Ceramique สุดอลังการกว่า 17 ชิ้นงาน ซึ่งล้วนเป็น เครื่องเคลือบดินเผาที่มีตำ� นานเก่าแก่ยาวนาน ทรงคุณค่า และมีมูลค่าหลายล้าน นิทรรศการเพิ่มมูลค่าผ้าทอมือด้วยนวัตกรรม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Hand-Weaved Eco Innovation) ซึ่งจัดแสดงขึ้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับ ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือ โดยใช้วัตถุดิบจากเส้นใยจากพืช ธรรมชาติชนิดต่างๆ มีกรรมวิธีการผลิตที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม น�ำมาพัฒนาสร้างสรรค์ลวดลายด้วยเทคนิค ต่างๆ ให้มีความสวยงามตรงตามความต้องการของกลุ่ม ผูบ้ ริโภคในระดับสากล ทัง้ นี้ ศ.ศ.ป. ท�ำการคัดเลือกกลุ่ม ผู้ประกอบการในระดับชุมชนที่มีศักยภาพในการผลิต ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือจาก 4 ชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่ สกลนคร และร้อยเอ็ด มาเป็นตัวอย่างน�ำร่องในงานนี้ กิจกรรม Workshop ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ได้รับการ ตอบรับเป็นอย่างมาก ผู้เข้าชมงานทั้ง เด็ก ผู้ใหญ่ หรือ กระทั่งผู้สูงวัยทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สามารถร่วม ประดิษฐ์งานหัตถกรรมไทยด้วยฝีมือตนเอง อาทิ การท�ำพวงมโหตร การถักเชือกจีนด้วยมือ การผูกผ้า ฟูโรชิกิแบบญี่ปุ่น การท�ำเดคูพาจ การท�ำผ้ามัดย้อม ด้วยสีธรรมชาติ และกิจกรรม DIY ประดิษฐ์ที่ใส่ของจาก เชือก และการท�ำกระเป๋าจากวัสดุเหลือใช้ นอกเหนือจากนิทรรศการมากมายที่กล่าวมา ข้างต้นแล้ว ยังมีการออกร้านจ�ำหน่ายผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศทั้งในกลุ่มยุโรป กลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่น อเมริกา และประเทศแถบ ตะวันออกกลาง รวมกว่า 210 ราย อีกทั้งยังมีการจัด อบรมสัมมนาให้ความรู้ เผยเคล็ดลับในการท�ำธุรกิจ หัตถกรรม กระบวนการคิดทางธุรกิจ แนวคิด ให้กับ ผู้ประกอบการและกลุ่มผู้รักงานศิลป์ ผลส�ำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ทำ� ให้เป็นที่คาดหวัง และรอคอยการจัดงาน IICF2014 ว่าจะจัดออกมาได้ อลังการได้มากน้อยแค่ไหน   | 51


Navatasilp International’s Success is Practice Run for IICF 2013

I

n pursuing its mandate to promote and propel Thai arts and handicrafts onto the global stage, the SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand (SACICT) recently took steps to further raise the profile and standard of local artistry to international levels. It hosted the Navatasilp International Exhibition 2013, which focused on craftwork that incorporated traditional artistry with modern creativity to produce works that suited modern functions and uses.


Inside* Sacict

The exhibition included various sections and categories as well as contests, such as

antique ceramic items from France worth millions of dollars.

the “Innovative Crafts Award” under the

With an eye on value addition, the

theme “Heritage Inspired”, in which 71

“Hand-Woven Eco Innovation” centred on

contestants took part and the top 10 works

handicrafts that were created using absolutely

were selected by a panel of expert judges.

natural materials, such as hand-woven silk and

On display at the “SACICT’s Prototype

cotton. Also, they must be the result of

Product Design Gallery” were original

eco-friendly methods of production, with the

creations that had been shown at the Maison

touches of modernity added to meet today’s

et Objet 2011-2012 in Paris, and works created

international tastes. The four experts selected

under the “Thai Navatasilp” project that were

to depict their art at the fair came from

showcased in the Czech Republic, targeted at

provincial communities in Chiang Mai, Sakon

3 R’s group: resort, residence and restaurant.

Nakhon and Roi-Et.

The “Green Crafts”, meanwhile, focused

Navatasilp International 2013 also

on eco-friendly merchandise that used

featured workshops which attracted both the

traditional materials in innovative ways, under

young and seasoned creators to free lessons.

the guidance of a Japanese expert. The aim is

Among those interesting activities were

to promote these works at green fairs in

decorative paper-cutting, Chinese rope-

countries with a high regard for environmental

making, Japanese art of cloth-folding called

protection such as Japan. The proceeds

Furoshiki. There were also Do-It-Yourself

derived from such fairs will go directly to the

sessions in how to tie-dye cloth in natural

rural communities of artisans who made those

colours, in making little containers from string,

products.

and even how to make a purse from leftover

The “New Heritage” section at the

material.

exhibition presented creations of 10 young-

Additionally, the event offered seminars

blood designers in the Thai art and craft realm,

on the management side of handicraft

representing the nine disciplines namely

production aimed especially at rural

woodwork, basketry, pottery, weaving,

communities of artisans and those interested

lacquerwork, metalwork, leatherwork,

in running a handicrafts business.

paper-cutting and stonework. In line with the

There was also a wide selection of

policy to continue with the country’s age-old

craftwork on sale by 210 exhibitors from

artistic tradition, SACICT handpicked these

abroad — the United States and the European

most promising new artists and crafts masters

Union, the Middle East and ASEAN countries

for special training to enhance their artistic

as well as Japan.

skills as well as their business acumen. It is

Response to Navatasilp International

hoped that the innovative works would appeal

2013 has been such that SACICT is now really

more and meet market requirements both at

inspired and looking forward to hosting the

home and abroad.

International Innovative Crafts Fair, or IICF

The exhibition also included “Sevres de

2014.

la Ceramique” — a display of 17 priceless

| 53


ART Talk*

เรื่อง

สุวรรณา เปรมโสตร์  ภาพ  ศิรพัชร วลัยพัชรา

หุ่นสายเสมา...

ยึดโยงด้วยสายสัมพันธ์แห่งศิลปะพื้นบ้าน

ากที่ไม่เคยมีใครมีความรู้ใดๆ ในเรื่องการท�ำละครหุ่นสายมาก่อน โรงเรียนวัดเขายี่สาร สมุทรสงคราม ในปัจจุบันมีคณะหุ่นเป็นของตนเองและมีหุ่นละครอยู่ถึงเกือบ 100 ตัว เด็กๆ ในโรงเรียนนี้ได้รับการถ่ายทอดความรู้เรื่องหุ่นสายมาจากคณะ “หุ่นสายเสมา” กลุ่ม ศิลปินหุ่นสายไทยที่รวมตัวกันมาตั้งแต่ปี 2547 ที่น่าทึ่งก็คือผู้ท�ำหุ่นและชักเชิดหุ่นของ โรงเรียนวัดเขายี่สารเป็นเพียงเด็กประถมเท่านั้น

คณะหุ่นสายเสมา ต่อยอดจากการได้ร่วมโครงการ รณรงค์ลดแอลกอฮอล์ของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) โดยการเข้าไปสอน การท�ำและชักหุ่นสายให้กับโรงเรียนต่างๆ ในหลาย จังหวัดทั่วประเทศโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งโรงเรียน ที่ประสบความส�ำเร็จจนเปิดแสดงหุ่นอย่างต่อเนื่องมาได้ กว่า 5 ปีแล้วก็คือโรงเรียนวัดเขายี่สารนี่เอง ส่วน เป้าหมายถัดไปของคณะหุ่นสายเสมาก็คือโรงเรียนเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ “หุ่นมีความพิเศษ มี Magic หุ่นยังท�ำให้เด็กเกิด ความนิ่ง เด็กที่ซนแค่ไหนเฮี้ยวแค่ไหนก็นิ่งทุกคน” นิมิตร พิพิธกุล หัวหน้าคณะหุ่นสายเสมาให้ความเห็น คณะหุ่นสายเสมาได้สร้างชื่อเสียงให้กับ ประเทศไทย ด้วยการไปคว้ารางวัล The Most Poetic Creation of Puppet Art – Prague 2008 จากการ แสดงละครหุ่นสายเรื่อง “เจ้าเงาะ” และรางวัล The Best Traditional Original Performance of Puppet Art – Prague 2009 จากการแสดงละครหุ่นสายเรื่อง “ศึกพรหมาสตร์” จากเทศกาลหุ่นโลก ที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเช็ก 54  |

ตัวนิมิตรเอง ยังได้รับรางวัลศิลปาธร สาขาศิลปะ การแสดง ในปี 2550 อีกด้วย การน�ำหุ่นสายเข้าไปในโลกของเด็ก เกิดผลลัพธ์ อันน่าประทับใจยิ่ง ดังที่นิมิตรได้เล่าให้ฟังถึงกรณีของ เด็กคนหนึ่งที่ใช้หุ่นสายเป็นสื่อกลางสื่อสารกับพ่อ ของเขา “มีครอบครัวหนึ่งที่พ่อติดดื่มเหล้า เด็กก็ไม่กล้า บอกพ่อให้เลิก เขาเลยบอกผ่านหุ่น ปรากฏว่าหลัง จากนั้นพ่อเขาก็เลิก เวลาที่เด็กเขาอยากสื่อสาร การมีหุ่นอะไรก็ตาม มันท�ำให้เขาสื่อสารสิ่งที่เขาอยาก บอกออกไปได้” นิมิตรเล่า ดูเหมือนว่า คณะหุ่นสายเสมาตั้งใจจะมุ่งไปยัง กลุ่มเยาวชนเป็นพิเศษ นิมิตรอธิบายว่า “ผมท�ำงานกับ เด็กมาโดยตลอด ตอนสมัยเรียนผมได้รับค�ำสอนที่ผม จ�ำมาจนถึงทุกวันนี้ว่า ‘เด็กคือผู้ใหญ่ตัวเล็ก’ แล้วก็ชอบ ค�ำสอนนี้มาก สังคมมีความเชื่อผิดๆ ว่าเราต้องให้สิ่งที่ เด็กต้องรู้ แต่จริงๆ แล้วเราต้องให้ในสิ่งที่เด็กควรจะรู้ ในอนาคต” อย่างไรก็ดี เนื้อเรื่องของละครหุ่นสายเสมาหลาย เรื่องมีความซับซ้อนสูง มีการหยิบวรรณกรรม



‘หุ่นมีความพิเศษ มี Magic หุ่นยัง ท�ำให้เด็กเกิดความนิ่ง เด็กที่ซนแค่ ไหนเฮี้ยวแค่ไหนก็นิ่งทุกคน…’ มาตีความใหม่ เช่นเรื่อง “เจ้าเงาะ” ว่าด้วยเรื่องของ เด็กที่ไม่กล้าออกจากหอยสังข์ เนื่องจากความกลัวที่เห็น สังคมท�ำร้ายแม่เขา “คนทุกกลุ่มดูงานของเราได้ ผู้ใหญ่ก็ได้ บางคน อาจจะเป็นนักวิชาการหน่อยหนึ่ง นักตีความ นักศิลปะ ก็ได้ พ่อแม่ก็ได้ เด็กก็ได้ เวลาเราท�ำละครขึ้นมา เรื่องหนึ่งเราจะคิดไว้เลยว่า ท�ำอย่างไรให้ทุกวัยดูด้วย กันได้ นี่เป็นสื่อที่พ่อแม่ทิ้งให้เด็กอยู่ด้วยได้ ปล่อย ให้สื่อเลี้ยงได้ อาจมีบางอย่างที่เด็กไม่เข้าใจ แต่ว่าให้ พ่อแม่ได้มีโอกาสสอน แล้ววันหนึ่งเขาจะรู้มากขึ้น เหมือนภาษาธรรมะในบางเรื่องที่เราเล่นบางคนบอกว่า ยากไปมั้ย น่าจะเอาอะไรง่ายๆ หน่อยหนึ่ง เราก็บอกว่า วันหนึ่งเด็กก็ต้องได้ยิน ได้ยินวันนี้ไม่เป็นไร ให้ได้ยิน ไว้ก่อน” นิมิตรให้ความเห็น 56  |

ย้อนไปยังปี 2547 เมื่อคณะหุ่นสายเสมาได้ถือ ก�ำเนิดขึ้นในโลกแห่งศิลปะการแสดงกับละครหุ่นเรื่อง แรก “สัทธามหาบุรุษ” ณ โรงละครเล็กๆ ในหมู่บ้านใน ซอยวิภาวดีรังสิต 58 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านของนิมิตร และเป็นสถานที่จัดแสดงมาจนถึงปัจจุบัน เนื้อหาของ ละครที่นิมิตรเป็นผู้แต่งขึ้นมานี้ว่าด้วยเรื่องของเด็ก ที่อยากจะไปบวชกับพระพุทธองค์แต่ไปไม่ทันเนื่องจาก ได้เสด็จสู่ปรินิพพานไปก่อน เด็กน้อยเลยออกไปผจญ ภัยกับขุนศึกที่ชื่อเสมา ไปเรียนรู้ว่าจะหาพระธรรมค�ำ สอนได้อย่างไร “...แรงบันดาลใจตอนนั้นมาจากเวลาเรา ได้ดูหนังอย่างเรื่อง The Lord of the Rings คิดว่าท�ำ อย่างไรดีนะที่เราจะมีเรื่องแนวผจญภัยที่ dark หน่อย แต่มีกลิ่นอายแบบธรรมะ เราก็มาดูว่าช่วงหลังยุค ปรินิพพานน่าจะสนุกนะ ก่อนจะสังคายนาพระไตรปิฎก คงมีอะไรที่เหมือนยุคมืด คือยังมีการค้นหากันอยู่ มีจินตนาการต่างๆ ให้เราได้ค้นหา” ตัวละครหลายตัวจากเรื่องนี้ เช่น “เสมา” เด็ก หัวจุกที่ชื่อ “ดวงดี” “อาแปะ” หรือ “จอมมาร” ยังกลาย เป็นตัวละครหลักในเรื่องถัดๆ ไปของคณะหุ่นสายเสมา จนทุกวันนี้ โดยชื่อของตัวละคร “เสมา” เป็นที่มาของ ชื่อคณะว่า “หุ่นสายเสมา” นั่นเอง การเลือกจะสร้างละครเรื่องใดๆ ขึ้นแต่ละครั้ง นิมิตรบอกว่าขึ้นอยู่กับช่วงเวลา “เราจะดูจากสังคม ในช่วงนั้นด้วยว่าก�ำลังมีเรื่องอะไรที่ควรพูด เช่นสังคม


(บนซ้าย) นิมิตร พิพิธกุล หัวหน้าคณะหุ่นสายเสมา และศิลปินศิลปาธร สาขาศิลปะการแสดงปี 2550 (above left) Nimit Pipitkul, winner of Silpathorn Award in 2007 and head of the Sema Thai Marionette Troupe.

มีความขัดแย้งสูง ช่วงนั้นจึงเกิดเป็นเรื่องศึกพรหมาสตร์ ขึ้นมา ว่าด้วยเรื่องของลูกลิงที่อยากไปรบกับหนุมาน พอไปรบเสร็จแล้วก็ตายในสมรภูมิ คือตามเรื่องถูก ชุบชีวิตให้ฟื้นขึ้นมาได้...ไปเล่นที่ปราก ก็เล่นเป็นภาษา อังกฤษ ฝรั่งเขาก็เข้าใจในแบบของเขา เขาก็ถามว่า เนื้อหาของคุณมีประเด็นทางสังคมหรือเปล่า เราก็บอก ว่าประเทศทุกประเทศเป็นหมด เราก�ำลังจะบอกว่า อย่าเอาเด็กเข้าไปในสงคราม เขาจะชอบงานของเรา ที่สากลทางความคิดและสากลในวิธีการน�ำเสนอด้วย” การหยิบเอาประเด็นทางสังคมมาน�ำเสนอในละคร แต่ละเรื่อง เป็นไปตามวิถีของคณะหุ่นสายเสมาที่ว่า หน้าที่ของศิลปินคือต้องท�ำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม “เราต้องไม่เสียโอกาสในการใช้ทักษะที่เรามีหรือสิ่งที่เรา ท�ำได้ในการบอกอะไรบางอย่าง เพราะศิลปะเป็น เครื่องมือที่เราใช้มันคล่องใช้มันเก่ง ถ้าเราใช้มันแค่ ความงาม มันก็เป็นความงามที่เป็นส่วนตัว แต่มันต้องมี ความงามของสังคมที่เราหวังอยากจะเห็นด้วย ฉะนั้น ละครเป็นจินตนาการที่มันพาให้คนไปเห็นตรงนั้นได้” นิมิตรกล่าว

จึงไม่น่าแปลกที่คณะละครนี้จะได้รับรางวัล มากมาย เช่น รางวัลกิจการเพื่อสังคม จากส�ำนัก สร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติและสถาบันพัฒนา วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังได้รับการ เชิดชูเกียรติจากกรุงเทพมหานครในฐานะผู้เผยแพร่และ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยให้เป็นที่ปรากฏ อีกหนึ่งความน่าทึ่งของคณะหุ่นสายเสมา คือ ผู้ประดิษฐ์หุ่นคนหนึ่งเป็นคนในชุมชนใกล้เคียง เคย ประกอบอาชีพขับมอเตอร์ ไซค์รับจ้างและช่างก่อสร้าง เมื่อเขามารับมาส่งผู้โดยสารที่โรงละครแห่งนี้ บ่อยๆ เขาจึงเริ่มสนใจในหุ่นและเป็นจุดเริ่มต้นในการเข้ามาเป็น สมาชิกของคณะหุ่นสายเสมาจนปัจจุบัน “ตอนเด็กๆ เขาเคยฝันอยากท�ำงานศิลปะแต่ว่าไม่ได้เรียน เขาก็มา เริ่มจับไปจับมา ค้นหาของเขาไปเรื่อย ซึ่งเราว่ามัน น่าตื่นเต้น เราก็มานั่งเฝ้าดูเวลาเขาท�ำ ว่าเขาจะท�ำอะไร ออกมา จนกระทั่งเขากลายเป็นคนท�ำหุ่นมือหนึ่งของ บ้าน” นิมิตรบอกเล่าอย่างภูมิอกภูมิใจ ละครแต่ละเรื่อง ทางคณะฯ ใช้เวลาเตรียมตัวต่อ เรื่องราว 2-3 เดือน แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ อย่าง ศึกพรมาสตร์ก็ใช้เวลาร่วมครึ่งปีเลยทีเดียว ตัวหุ่นของ คณะหุ่นสายเสมามีเอกลักษณ์ตรงที่มีความเรียบง่ายและ “จับต้องได้” และมีความเป็นพื้นบ้าน นิมิตรเล่าถึงที่มาของความตั้งใจจะให้หุ่นสายเสมา เป็นศิลปะพื้นบ้านว่า “เราได้ตั้งค�ำถามว่าศิลปะ   | 57


พื้นบ้านหายไปไหน สิ่งที่สังคมเราเคยภูมิใจ เคย ชื่นชมกับความเรียบง่ายมันหายไปไหน ศิลปะพื้นบ้าน เป็นงานเรียบง่ายแต่ในขณะเดียวกันก็พัฒนาไปสู่ความ ร่วมสมัยได้ ต่างกับงานแบบประเพณีหรือแบบคลาสสิก ที่เราจะไปแตะเขาไม่ได้ เขามีกรอบของเขาอยู่ แต่ถ้า เป็นพื้นบ้านมันไปต่อได้” หุ่นสายเสมาทุกตัวจึงมีกลิ่นอายของความเป็น พื้นบ้าน ไม่เว้นแม้แต่ตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ “เรามารื้อใหม่ มานั่งปั้นดินน�้ำมัน ขึ้นหัว จะท�ำ กี่ตัวก็ปั้นใหม่หมดเลย ทุกตัวปั้นมือ ผ้า ลูกปัดที่ร้อย เราก็ไม่เอาที่มีระยิบระยิบ เราเอาลูกปัดออกดินออกหิน ดูสี noir หน่อยมาเย็บมาปัก เราก็พอใจ ได้งานแบบ พื้นบ้าน สีก็ออกดาดๆ เหมือนภาพจิตรกรรมฝาผนัง ตามต่างจังหวัด สีมันด้านๆ แต่มันก็มีเสน่ห์” “พื้นบ้านมันมีความสนิท มันเข้ามาใกล้ชิดได้ อย่างหุ่นสายเสมาไม่ว่าจะเป็นหุ่นครูหรือหุ่นตัวไหน ก็ตามแต่ ออกไปเล่นตามที่ต่างๆ เราให้เด็กจับได้หมด เลย จะเข้ามากอดมาจับมาลากบางทีขาหลุดกลับมาบ้าง บางทีถ้าเป็นคนอื่นเขาอาจจะไม่ยอม คงรู้สึกว่าหุ่นเป็น อะไรที่แตะไม่ได้ เพราะเราคิดว่าเขาเกิดมาจากดินจาก ทรายจากความง่าย” “วัสดุที่เราใช้ ถ้าเรามีทุนที่จะท�ำให้มันวิจิตรก็ได้ จะท�ำให้โรงละครให้การแสดงของเราเป็นไฮโดรลิก เลเซอร์ ท�ำได้หมด แต่เราไม่ทำ� เพราะอย่าลืมว่าความ ง่ายมันก็ต้องการพื้นที่ของมันเหมือนกัน ผ้าที่หลุดลุ่ย ผ้าทอมือ สิ่งเหล่านี้ต้องการพื้นที่หมดเลย ฉะนั้นหุ่น ของเราบางคนเรียกว่าเป็นหุ่นราคาถูก อันนี้มันจะส่งผล เวลาเราไปสอนเด็กให้ทำ� มันท�ำให้เขาไม่รู้สึกว่าสุดมือ เอื้อมคว้า ถ้าฉันไม่ได้ประดับประดาให้ได้ที่สุดฉันก็คง ไม่มีโอกาสได้ท�ำหุ่นคณะนี้ คุณจะเขียนสีเขียนหน้าเบี้ยว บ้างมันก็คือความงามที่คุณพอใจ มันคือความสุขที่ คุณอยากท�ำ มันไม่ใช่ความเป๊ะไปเสียทั้งหมด สิ่งนี้เป็น เสน่ห์ทำ� ให้หุ่นสายเข้าไปอยู่กับเด็กโดยเฉพาะในชุมชน” “พื้นบ้านคือครอบครัว คือชุมชน และที่สำ� คัญ พื้นบ้านคือความประหยัด” หลักในการสร้างหุ่นสายเสมาสอดคล้องกับแนวคิด ซึ่งน้อมน�ำมาจากพระราชด�ำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องการอยู่อย่างพอเพียง นั่นรวมถึง การใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของบ้านท�ำเป็นโรงละคร มีค่าใช้จ่าย โดยรวมที่น้อย แทบไม่ต้องจ่ายออก และอยู่ได้ด้วยการ ขายบัตรเข้าชมที่ราคาไม่แพงจนเกินไปนัก (คนละ 150 บาท) การท�ำหุ่นบางตัวยังใช้วัสดุรีไซเคิลอีกด้วย 58  |


นอกจากความมัธยัสถ์ที่คณะหุ่นสายเสมาให้ความ ส�ำคัญเป็นอย่างมากแล้ว ความเป็นไทย คืออีกหนึ่ง ความท้าทายที่ทางคณะจ�ำต้องค้นหาเพื่อแสดงและ ถ่ายทอดผ่านหุ่นออกมา ทั้งนี้เพื่อสยบข้อครหาที่ว่า หุ่นสายเป็นศิลปะของฝั่งตะวันตกเท่านั้น อัตลักษณ์ ไทยในหุ่นของคณะหุ่นสายเสมา ปรากฏอยู่ในหลายจุดด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข้อต่อหรือ สัดส่วนของร่างกายหรือหน้าตาที่ดูเป็นไทย หรือกระทั่ง การผูกเชือกเพื่อให้เคลื่อนไหวได้ตามท่าทางที่คนไทย จะเคลื่อนไหว เช่นคุกเข่า ก้มกราบ ซึ่งหุ่นสายของ ต่างประเทศท�ำไม่ได้ “หุ่นของแต่ละที่ก็จะมีวิธีการของแต่ละประเทศ ของเราก็จะมีการจัดกรีดกราย มีหุ่นเทวดา หุ่นนางฟ้า มีการเติมศิลปะความเป็นไทยในลีลาของการชักเชิด ของฝรั่งนี่ขณะแสดงเค้าจะมีผ้าบัง ให้เห็นแต่หุ่นล้วนๆ ไม่ให้เห็นมือเชิด แต่ของเราประยุกต์โชว์ให้เห็นมือหรือ บางทีเห็นตัวคนเชิด เป็นวิธีคิดแบบร่วมสมัย เพราะว่า ในยุคที่เราดูแอนิเมชั่นกันหมดแล้ว เราก็คงจะไม่รู้สึก ตื่นเต้นที่เห็นหุ่นที่ไม่มีชีวิตเคลื่อนไหวได้ จนกว่าจะเห็น วิธีการเชิดเขาท�ำกันยังไง อันนั้นเป็นจุดที่ท�ำให้คนดู ดูแล้วรู้สึกทึ่ง ให้เขาเห็นว่าทักษะทุกอย่างล้วนแต่ต้องให้ ความส�ำคัญ ไม่มีอะไรง่าย” ทุกๆ ต้นปี ทีบ่ า้ นหลังเล็กๆ ในซอยวิภาวดีรงั สิต 58 ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงละครหุ่นสายเสมา จะมีการจัดแสดง ละครเรื่องใหม่อยู่เสมอ รวมแล้วตลอดปีจะจัดแสดง หุ่นสายประมาณ 2-3 เรื่อง โดยล่าสุดก�ำลังจัดแสดง เรื่อง “ค.ควายในดวงจันทร์” ซึ่งเป็นละครเพลงที่คณะฯ ท�ำงานร่วมกับวงจ�ำปูน เล่าถึงเรื่องของควายที่อยากเป็น นักบินอวกาศและบินไปดวงจันทร์ เรื่องนี้ให้แง่คิดว่าคน เราควรภูมิใจในตนเอง เพราะสิ่งนั้นจะน�ำมาซึ่งการ ยอมรับในความหลากหลาย เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สร้าง เนื้อเรื่องขึ้นมาโดยสะท้อนสภาพสังคมในปัจจุบัน ในการแสดงวันนี้ เด็กๆได้รับการเชิญชวนให้เข้า มีส่วนร่วมกับตัวหุ่นละคร โดยร่วมร้องเพลงไปกับการ แสดงบนเวที เวลาเกือบ 1 ชั่วโมงผ่านไปอย่างรวดเร็ว ทว่าสนุกสนาน เป็นไปตามค�ำบอกเล่าของนิมิตร ศิลปินคนดังที่ว่า ความงามของหุ่นสายพื้นบ้านคือ ความใกล้ชิด การได้เพื่อน ความมีมิตรภาพ ท�ำให้ เรามีความสุขและจดจ�ำ หากไปเยือนบ้านที่ซอยวิภาวดีรังสิต 58 ด้วยตนเอง จะพบกับหุ่นสายมากมายที่คณะหุ่นสายเสมาได้สร้างสรรค์ ไว้ At Nimit's home in Vipavadi – Rangsit Soi 58, the visitor is greeted by numerous string puppets.

| 59



ART Talk*

Story

Suwanna Premsote  Photos  Sirapat Valaiphatchra

Sema Thai Puppets Pull the Heartstrings S

tarting from scratch, from not knowing a thing about puppet theatre, a primary school in Samut Songkhram province today has its very own puppeteer group and owns almost 100 string puppets. Thanks solely to the Sema Thai Marionette Troupe, the pupils of Wat Khao Yee San School are now adept at the art of pulling strings. Here’s how it all began. Not long after its

lest the salinity absorbed from the salt-fields of

establishment in 2004, Sema Thai Marionette

Samut Songkhram should obscure their view of

Troupe joined a campaign initiated by the Thai

the marvellous scene unfolding before their eyes.

Health Promotion Foundation to reduce alcohol

Such has been the exemplary success at

consumption among the public. One aspect of this

Wat Khao Yee San School that the little

ongoing campaign focuses on educating children

puppet-masters have been conducting their own

about the evils of intoxication, and here’s where

string puppet performances for more than five

Sema Thai’s puppets waltz in, costumed to

years now. Sema Thai’s next goal is another small

captivate.

school in northeastern Buri Ram province — and

While inculcating morals in children via stories enacted through their puppets, the troupe

one can almost see the kids there jumping for joy. “Puppets are magical; they can mesmerize

also conducts free classes at schools nationwide,

even the naughtiest child. Everyone stops

teaching children the art of puppetry. And the

whatever he or she is doing to watch the puppets,”

results have been an eye-opening lesson for the

says Nimit Pipitkul, founder of the marionette

adults in the true joys of sobriety — as they watch

troupe.

their little darlings do wonders that make their

Sema Thai Marionette Troupe has brought

hearts almost burst with pride, their eyes

fame to Thailand by winning acclaim as “The Most

a-twinkling with tears that demand shedding,

Poetic Creation of Puppet Art – Prague 2008”

| 61


for its performance of Chao Ngoh and “The

explain, it will open the children up to more

Best Traditional Original Performance of Puppet

knowledge. Sometimes we add Buddhist

Art - Prague 2009” for its epic depiction of the

teachings, which some people may think is too

Battle of Prommas. Nimit himself also won the

difficult for young children to understand, but I

Silpathorn Award in 2007 in the category of

believe that one day they will come to understand

performing arts. This award is among the highest

it. It is alright if they don’t fully understand it today,

bestowed by the state on living contemporary

but at least they will be familiar with the story,”

artists below the age of 50, who have already

Nimit reasons.

made significant contributions to society through their art. Introducing string puppets to children has

Sema Thai Marionette Troupe had its debut performance nine years ago. Entitled Sattha Maha Burut, it was performed in a small theatre on

been an amazing journey for the puppet-master,

Soi Vibhavadi – Rangsit 58 in Bangkok, where

too. Nimit relates the story of a boy who used a

Nimit’s house is located and where performances

puppet to communicate with his father. “There

still take place today. Nimit had written the story

was this child whose father was an alcoholic.

himself: it is about a boy who wants to be ordained

The child was too afraid to tell his father to stop

by Lord Buddha but fails to make it in time before

drinking. So he used a puppet to convey his

the Buddha’s passing. So he sets off on an

message. It made an impact and the father

adventure with a warrior named Sema, and

stopped drinking. When children want to

together they search for Buddhist dhamma.

communicate, having a tool or a medium can make

“The inspiration came from watching The

it easier for them,” explains Nimit, adding:

Lord of the Rings. I wanted to create an

“I’ve always worked with children. When I was a

adventurous story that was dark but also contained

student, I was taught one thing which I shall never

the light of Buddhist teachings. So I thought about

forget — that children are small adults. I really like

the period after Lord Buddha’s passing and before

this idea. Our society sometimes believes that we

the Tripitaka was compiled. It must have been like a

should teach children only what we think the

dark age, in which people were searching for

children should know. But in fact, I think, we

meaning. There was a lot of room for imagination,”

should teach them everything they will need to

explains Nimit, whose name translates as “one

know in life.”

who creates, or is created, for a special reason”.

Be that as it may, the storyline of some string puppet performances can be quite complex, such as re-interpreting Thai classical literature like Chao Ngoh, which tells the story of a child who is afraid to come out of his shell because he is traumatized after seeing his mother hurt by society. “Our performances can be enjoyed by any age group — adults, academics, analysts, artists, parents, or children. When we decide on a story, we always consider how to make it enjoyable for everyone. It has to be something that parents can let their children watch. There might be parts that are confusing for children, but if the parents can

62  |

ละครเรื่องล่าสุดที่จัดแสดงอยู่ในขณะนี้ "ค.ควายในดวงจันทร์" Currently being staged are performances of "The Buffalo in the Moon".



Many of the characters in Nimit’s story — e.g. Sema, a boy named Duangdee, A-Pae and Jorm Marn — recur in subsequent stories performed by the marionette troupe. Creating a story, Nimit says, depends on the timing. “We look at society and see what the public is interested in. A few years back there was turmoil and controversy in society, so we created the Battle of Phrommas, from the episode in the Ramayana when Ravana’s brother Indrajit unleashes the Brahmastra weapon that kills Rama’s brother Lakshman, and how Hanuman the White Monkey helps bring him back to life by fetching the sanjivni plant. “My version is about a young monkey who is very keen to go off and fight battles alongside Hanuman. Then his grandfather tells him the story of Phrommas, or Brahmastra. We performed this in Prague in English, and the audience understood the message in their own way. They asked if my story had social values, and I explained that it was the same in every country — that we don’t want children to be involved in wars. They liked the global nature of our thinking and the international style of presentation.” Picking a social issue to make a point through story-telling is Sema Thai’s way, based on the belief

‘We should not waste our skills, we must do all we can to communicate with society. Art is our tool and we are good at using it…’

that artists should contribute to society. “We should not waste our skills, we must do all we can to communicate with society. Art is our tool and we are good at using it. If we look only at its beauty, then its benefit is only personal. There should be social benefits, too, and they should reflect a society we wish to see. Performance is imagination, and it can take the audience to see the society we all dream of,” says Nimit.

It is no surprise that the troupe has won several awards, such as Social Activity Award from the Thai Social Enterprise Office and the Institute for Small and Medium Enterprises Development (ISMED). Additionally, it has been recognized by the Bangkok Metropolitan Administration as a supporter and promoter of Thai culture. Interestingly, one of Sema Thai’s puppetmakers has a story of his own. A construction worker who also ran a motorcycle taxi, he became interested in the puppets after ferrying passengers to and from the playhouse. “When he was a child he wanted to be an artist, but he didn’t have the chance to attend school. When he first came here he would carefully study the puppets, and gradually found his own way of making them,

64  |


which I thought was quite amazing. I watched him

Every Sema string puppet exudes a local

closely when he worked because I wanted to see

charm, including even the characters from the

how he went about creating a puppet. And today,

Ramayana. “We deconstruct everything and make

he is our number-one puppet-maker,” Nimit

everything from zero, sculpting clay and making

discloses with pride.

the clothes. Every puppet is hand-made. We

Each performance takes a few months to

normally disdain flashy fabrics and materials,

prepare, though the more elaborate and larger

choosing instead to go for something with a sense

themes take longer. The Battle of Phrommas took

of ‘noir’. In our embroidery we use beads that look

about half a year. The puppets, however, are unique

like stones or clumps of earth, and we are happy

for their simple and workable design, with a touch

with the results. Similar to the frescoes we see in

of the local charm.

rural temples — the colours are faded and matted,

Nimit talks about his intention to make Sema Thai’s string puppets a local art form. “I ask

but all very charming in their own way.” Nimit explains further: “Locality means

myself, where have folk arts disappeared to?

feeling close and being approachable. When we

Thai society was once proud of the simplicity in

perform, we let the children touch our puppets.

folk arts, which can be mixed with contemporary

They might hug it, or drag it until a leg comes off.

issues and approaches. They are different from

Other people might not let that happen because

traditional or classical art, which should not be

they think puppets are not to be touched. We,

altered. Folk arts, on the other hand, can be

however, think they come from simplicity because

adapted .”

they are made from clay and sand. “The materials we use can be extravagant if we have the budget. We can use hydraulic techniques and laser lights but we usually don’t,

‘Locality means family, community and living within one’s means…’

because we always leave some room for simplicity. Torn fabrics, hand-woven fabrics, they all need some space. People may look at our puppets as ‘cheap’, but then, when we teach the children


to make one, they don’t feel it is beyond their reach. I don’t want them to think they have to make an exquisite puppet to become part of our group. You may scribble a funny face on a puppet — if that’s what you like, if it makes you happy. Perfection is not necessary, and room for imperfection brings string puppets closer to children in communities. “Locality means family, community and living within one’s means.” This guiding principle in Sema Thai’s creation of its puppets is in accordance with the Royal Initiative of a sufficiency economy; so is the fact

Apart from keeping an eye on costs, the troupe is also focused on promoting Thai values and culture is no longer exciting to see an unanimated puppet move. They want to see how it’s done, and it is this that amazes them. I want to show them that it requires much skill, it is not that easy.” Early each year Nimit Pipitkul puts on a new

that Nimit has converted part of his own home into

performance at his home theatre, with as many as

a small theatre to reduce costs to the barest

three new acts in a year. Sema Thai Marionette

minimum; and the price of admission, at 150 baht

Troupe is currently performing a new play entitled

a person, is not unduly steep for Bangkok’s

Kor Kwai Nai Duang Chand (Buffalo in the Moon)

urbanites. Even some of the puppets have been

which is a musical performance in collaboration

made from recycled material.

with Champoon Band. It tells the happy story of a

Apart from keeping an eye on costs, the

buffalo which is determined to become an

troupe is also focused on promoting Thai values

astronaut and fly to the moon. The moral of the

and culture, and this can sometimes pose a

story is that one should have confidence in oneself,

challenge: this “Thai-ness” has to be projected

be proud of one’s identity and accept diversity. This

through the puppets to such a degree as to

story, too, has been created to reflect today’s

obliterate any doubts about string puppetry being a

society.

Western art. The troupe’s puppets declare their

Nimit again points out that children are most

Thai-ness in the proportion and features of face,

welcome to join in and play with the puppets. They

and in the specially designed threading that allows

can join in the song-and-dance on stage throughout

them to kneel, or prostrate in the act of kraab,

the one-hour show. Time flies when they are

when forehead, nose, both hands, knees and all

having fun, says the true artist.

the toes must touch the ground together — something foreign puppets cannot do. “Puppets in each country are different.

Indeed, the beauty of Sema Thai Marionette Troupe’s puppets rests in their being so approachable, offering children happy friendship

Our movements are different, and our characters

and fond memories to cherish throughout their

also include male divinities and female angels.

lives. The Sema Thai puppets seem to be pulling on

We put Thai art into our performances. Western

the young people’s heartstrings everywhere.

puppeteers normally stand off-stage behind a cloth so audiences see only the puppets and not their hands. Pardon the pun but we, on the other hand, let audiences see our hands, and sometimes our selves. I think this is a modern interpretation, because today we all know about animation, so it

66  |

นอกจากจะยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการท�ำหุ่นแล้ว คณะหุ่นสายเสมายังให้ความส�ำคัญกับการน�ำเสนอประเด็นทางสังคม As well as promoting self-sufficiency, the troupe's performances also reflect the mood in society.



MemberS’ Corner*

หนังสือมีเนื้อหาและรูปภาพพร้อมค�ำอธิบายทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ ท�ำให้สามารถฝึกภาษาอังกฤษไป ในตัว เนื้อหาแต่ละเรื่องไม่มากหรือน้อยจนเกินไป สามารถน�ำพาผู้อ่านให้รับรู้เรื่องศิลปหัตถกรรมอย่างน่า สนใจ แต่ส่วนที่ขาดหายไปและอยากให้เพิ่มเติม คือน่า จะมีขั้นตอนและวิธีการท�ำงานฝีมืออย่างง่าย ที่คาดว่าผู้ อ่านจะสามารถท�ำตามและน�ำไปใช้ประโยขน์ที่บ้านได้ โดยมีการล�ำดับภาพการท�ำอย่างเป็นขั้นตอน และมีราย ละเอียดของสถานที่และบุคคลให้ผู้สนใจติดต่อได้ กัญญาวีร์ ภูนาแก้ว

คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ Having articles and captioned pictures in both Thai and English is very helpful in improving one’s English language skills. The articles are neither too short nor too long, and they inform readers about Thai handicrafts in a very entertaining way. What’s missing is a DIY column, where we may follow an expert’s guidance, through step-by-step explanation and photographs, in how to make decorative items with easy-to-find materials, along with details on how to contact the respective expert or place of production, for those who are interested.

KANYAVEER PUNAKAEW Kuakarun College of Nursing

วันนี้คุณสามารถอ่าน SACICT Living Thai ได้ที่ www.sacict.net ต้องการติชม หรือเสนอแนะ กรุณาส่งจดหมาย หรือข้อเสนอแนะมาที่ กองบรรณาธิการ บริษัท ฟีเจอร์ จ�ำกัด 23/18 ซ.ร่วมฤดี ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หรือ e-mail: sacict.thai@gmail.com ความคิดเห็นของท่านจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงในการจัดท�ำต่อไป เจ้าของจดหมายหรือข้อเสนอแนะที่ได้รับการจัดพิมพ์จะได้รับของที่ระลึกจาก ศ.ศ.ป.

Interested readers may now peruse SACICT Living Thai online at www.sacict.net and are welcome to send in suggestions and comments to: SACICT Living Thai, Editorial Department, Feature Co., Ltd., 23/18 Soi Ruam Rudee, Ploenchit Road, Lumpini, Pathumwan District, Bangkok 10330. Or e-mail to: sacict.thai@gmail.com.

* ขอสงวนสิทธิ์ในการคัดย่อหรือเรียบเรียงจดหมายจากสมาชิกเพื่อความกระชับและเหมาะสมในการพิมพ์

Those whose letters are selected for publication will receive a special gift as a token of appreciation. All letters will be subject to editing at the editor’s discretion.

68  |


สมั ค รสมาชิ ก APPLICATION FOR MEMBERSHIP ชื่อ

นามสกุล

Name

Surname

เนื้อหาและเรื่องราวในหนังสือเป็นเรื่องที่คนทั่วไปยังไม่รู้ จักมากนัก ตัวอักษรและรูปภาพมีการจัดวางได้อย่าง เหมาะสม สอดคล้องกันดี ชวนให้ติดตาม แต่บางภาพ เมื่อขยายขนาดแล้วขาดความคมชัด ซึ่งปัญหานี้ ผู้จัด ท�ำนิตยสารควรตะหนักถึงเป็นอย่างยิ่ง เพราะองค์ ประกอบส่วนใหญ่ของนิตยสารเป็นตัวหนังสือและ รูปภาพ ในส่วนท้ายๆของนิตยสารมีคอลัมน์ Member Relation ซึ่งเปิดให้สมาชิกและผู้อ่านได้แสดงความคิด เห็นและทัศนะคติที่มีต่อหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นการดี แต่ ควรน�ำมาลงพิมพ์แต่ละครั้งให้มากฉบับกว่านี้ นอกจาก นี้ ในหน้าท้ายๆ ของเล่ม ยังมีภาพสินค้าพร้อมราคา ท�ำให้ผู้สนใจสามารถสั่งซื้อได้เลยโดยไม่จำ� เป็นต้องเดิน ทางไปถึงที่จัดจ�ำหน่าย แต่อยากให้น�ำเสนอสินค้าให้ หลากหลายกว่านี้

วัน/เดือน/ปีเกิด

ปรียาภัทร อินเสียน

รายละเอียดส�ำหรับการจัดส่งนิตยสาร/DETAILS FOR MAGAZINE DELIVERY

กรุงเทพมาหานคร

Date of Birth

เพศ

ชาย

หญิง

Gender Male Female

การศึกษา/Education: ต�่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี ปริญญาโท อื่นๆ Less than Bachelor’s Bachelor’s Degree Master’s Degree Others

Degree

อาชีพ/Occupation: พนักงานบริษัทเอกชน

ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

Private company employee Govt/State enterprise official

นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา

ร้านอาหาร/โรงแรม/ท่องเที่ยว

Student Restaurant/Hotel/Travel Agent

อื่นๆ

Others

สถานที่ที่พบ/ได้รับนิตยสาร

Where you first came across SACICT Living Thai magazine

ผู้แนะน�ำให้ท่านสมัครเป็นสมาชิก

Who (or what) prompted you to seek subscription

ชื่อ/Name ที่อยู่/Address

This magazine focuses on topics which people generally do not as yet know much about. The fonts used and the layout of photos are eyecatching; they make one want to read further. However, some of the photographs seem to have been enlarged to a degree where the sharpness of focus is lost. Towards the end of the magazine, space has been provided for readers to express their views. This is good, but more letters should be printed. Also, at the very end there is a pictured

โทรศัพท์ (บ้าน/ที่ทำ�งาน)/Tel. (Residence/Office) โทรศัพท์ (มือถือ)/Tel. (Mobile) อีเมล/E-mail

โดยยินดีเสียค่าใช้จ่ายในการจัดส่งรายปี (6 ฉบับ) I agree to pay for one year’s subscription (6 editions)

catalogue, with prices, of handicrafts available for

ในประเทศ 300 บาท/ Domestic 300 baht  ต่างประเทศ 2,400 บาท/Overseas 2,400 baht

sale. This is very convenient, as we can easily place

โอนเงินเข้าบัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี: พยงค์ กังวานสุระ

orders without having to go all the way to wherever it is being sold. Here, too, it would be wonderful if the range and variety could be

Payment via cheque/money transfer to: Savings A/C Name: Payong Kungwansurah

ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาชิดลม เลขที่บัญชี 001-549715-3

Siam Commercial Bank, Chidlom Branch, Savings A/C No. 001-549715-3

widened to contain more items.

Priyaphat Insein Bangkok

กรุณาส่งใบสมัครสมาชิก พร้อมเอกสารการชำ�ระเงินมาที่: ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ นิตยสาร SACICT Living Thai 23/18 ซอยร่วมฤดี ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หรือแฟกซ์มาที่หมายเลข 0 2254 6839 หรือทางอีเมล: sacict.thai@gmail.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือแนะนำ� ติ ชมได้ที่ ฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์ นิตยสาร SACICT Living Thai โทรศัพท์ 0 2254 6898-9 ต่อ 60 Remarks: Please mail your completed application form, along with proof of payment to: SACICT Living Thai, Subscription Department, 23/18 Soi Ruam Rudee, Ploenchit Road, Khwaeng Lumpini, Pathumwan District, Bangkok 10330 or send by fax to 0 2254 6839 or by e-mail to: sacict.thai@gmail.com For enquiries and suggestions, please contact: SACICT Living Thai, Subscription Department Tel. 0 2254 6898-9 ext. 60 แบบฟอร์มนี้สามารถถ่ายเอกสารได้/This application form may be photocopied.


Product Showcase*

เทียนถั่วเหลืองในเซรามิกลายครามกลิ่น Liela

Ceramic container filled with Liela-scented soybean wax

เทียนถั่วเหลืองในเซรามิกลายครามกลิ่น Lemongrass Ceramic container filled with Lemongrass-scented soybean wax

เทียนถั่วเหลืองในเซรามิกลายครามกลิ่น Lakley

Ceramic container filled with Lakley-scented soybean wax

เทียนถั่วเหลืองในเซรามิกลายครามกลิ่น Sakura

Ceramic container filled with Sakura-scented soybean wax

ขนาด/sizes

ใหญ่/L กลาง/M เล็ก/S เล็กพิเศษ/SS

476 บาท/baht 439 บาท/baht 370 บาท/baht 330 บาท/baht

แมวเซรามิกคละสี

Ceramic cats ตัวละ 65 บาท/baht each

70  |


เคสไอโฟน โครงพลาสติก

iPhone case, plastic 880 บาท/baht

เคสไอโฟน โครงหวาย

iPhone case, rattan 1,575 บาท/baht

แจกันไม้พิมพ์ลาย

Patterned vase imprinted on wood ชิ้นละ 429 บาท/baht each

แจกันไม้พิมพ์ลาย

Patterned vase imprinted on wood ชิ้นละ 726 บาท/baht each   | 71


Product Showcase*

เบาะกลมแบบบางลายผ้าขาวม้า Round plaid cushion 347 บาท/baht

เบาะเหลี่ยมแบบหนาลายผ้าขาวม้า Square plaid cushion 466 บาท/baht

กระเป๋าผ้ามูเซอหูเปีย สายเดี่ยว Bag from Muser cloth, single strap 200 บาท/baht

กระเป๋าผ้ามูเซอหูเปีย

Bag from Muser cloth, double strap 70 บาท/baht

ตะกร้าใส่กระดาษทิชชู่ “ดอกเข็ม” Dok Khem tissue boxes, white/pink 387 บาท/baht each.

สนใจสินค้า สามารถติดต่อได้ที่

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. โทร. 035 367 054-56 Interested buyers, please contact

The SUPPORT Arts and Crafts International Centre of Thailand Tel: +66 (0) 35 367 054-56 72  |




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.