อ่านสร้างสุข 1 : หนังสือภาพสื่อสร้างสรรค์พัฒนาสมอง (เล่มแรก)

Page 1


คุยเปิดเล่ม แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เป็นหนึ่งในแผนงานภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นองค์กรที่เกิดขึ้นเพื่อเชื่อม ประสานกลไก นโยบาย และปัจจัยการขยายผลจากทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาค เอกชน ให้เอือ้ ต่อการขับเคลือ่ นการสร้างเสริมพฤติกรรมและวัฒนธรรมการอ่านให้เข้าถึงทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือ มีภารกิจสำคัญๆ อาทิ ส่ ง เสริ ม ให้ เ กิ ด การผลิ ต เผยแพร่ และ 3. ประสาน สนับสนุนกระบวนการขับเคลือ่ น กระจายหนังสือทีม่ คี ณ ุ ภาพ มีเนือ้ หาสอดคล้อง กลไก มาตรการ นโยบาย ระดับต่างๆ ทั้ง กับวิถชี วี ติ วัฒนธรรม ภูมปิ ญ ั ญาท้องถิน่ และ ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ที่นำไปสู่การ สร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน พัฒนาการเด็ก รวมถึงมีราคาที่เหมาะสม 1.

ส่งเสริมความเข้มแข็ง และพัฒนาศักยภาพ 4. สนับสนุนกิจกรรม สื่อรณรงค์ และสร้าง เครือข่ายด้านการสร้างเสริมพฤติกรรมการอ่าน กระแสสังคมสู่การเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรม และส่งเสริมอาสาสมัครสร้างเสริมการอ่าน การอ่าน 2.


ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการอ่านและการปลูกฝังวัฒนธรรมการอ่านควร เริ่มตั้งแต่เด็กปฐมวัย ดังนั้น คนที่มีบทบาทและภารกิจที่สำคัญที่สุดในเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นคุณ พ่ อ คุ ณ แม่ ซึ่ ง เปรี ย บเหมื อ นคุ ณ ครู ค นแรกของลู ก โดยมี ผู้ แ วดล้ อ มเด็ ก ทั้ ง ระดั บ บุ ค คล ครอบครัว รวมถึงองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน และประชาสังคมได้เข้ามาหนุนเสริม จนเกิดวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อนำสู่สังคมสุขภาวะ “อ่านสร้างสุข” ฉบับนี้จึงนำเรื่องราวมหัศจจรย์ของสมองและการอ่าน รวมทั้ง การบ่มเพาะนิสัยรักการอ่านด้วยวิธีง่ายๆ เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านทุกท่านเข้ามาร่วมกันสร้างเสริม การอ่านให้กลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของสังคมไทย


สารบัญ 5 มหัศจรรย์ O - 6 ปี 6 สมอง

- การเจริญเติบโตของสมอง

8 จะพัฒนาสมองได้อย่างไร ?

- สมองของเด็กวัยแรกเกิด - 6 ปี

15 อ่านหนังสือ ตัวเลือกแสนถูกสร้างลูกเราให้เก่ง 17 จะเริ่มอย่างไรให้ลูกอ่านหนังสือ 19 เลือกหนังสือให้ลูกน้อย 22 อ่านที่ไหนดีนะ ? 24 ปลูกฝังเจ้าตัวเล็กให้รักการอ่าน...ง่ายนิดเดียว

อ่านสร้างสุข

พิมพ์ครั้งที่ 1 : พฤศจิกายน 2553 จำนวนพิมพ์ : 1,000 เล่ม บรรณาธิการ : สุดใจ พรหมเกิด ผู้ช่วยบรรณาธิการ : นนทรัฐ ไผ่เจริญ บรรณาธิการฝ่ายศิลป์ : ปาจรีย์ พุทธเจริญ ฝ่ายศิลป์ : แสงชัย กีรติวรนันท์ ภาพ : เรืองศักดิ์ ดวงพลา กองบรรณาธิการ : พรวรรณ สันต์วรนารถ, ธรรมนูญ ครองบุญเรือง, ภาวิณี เปียธัญญา ประสานการผลิต : อภิชาติ โสภาพงศ์, กนกกาญจน์ เอี่ยมชื่น จัดพิมพ์ : แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่านได้รบั การสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) 424 หมู่บ้านเงาไม้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 67 แยก 3 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ 0-2424-4616-7 โทรสาร 0-2424-4616-7 กด 3 พิมพ์ที่ : แปลนพริ้นท์ติ้ง จำกัด โทรศัพท์ 0-2277-2222 • ขอขอบคุณข้อมูล : แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.). โลกการอ่านของเด็ก. กรุงเทพมหานคร : แผนงานสื่อสร้าง

สุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.), 2552 / แผนงานสือ่ สร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.). มหัศจรรย์การอ่าน. กรุงเทพมหานคร : แผนงานสือ่ สร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.), 2552 / ทาดาชิ มัตษุอิ แปลและเรียบเรียงโดย พรอนงค์ นิยมค้า. พัฒนาลูกน้อยด้วยการอ่าน. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิซิเมนต์ไทย, 2547 / มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อมศูนย์เชียงดาว). ปลูกต้นรัก (การอ่าน). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ปิน่ โต พับลิชชิง่ , 2551 / http://www.onec.go.th เว็บไซด์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ออนไลน์)


5

มหัศจรรย์ O - 6 ปี

อวัยวะทุกส่วนของคนเราล้วนมีความ สำคัญ แต่อวัยวะที่ควบคุมการทำงานของ อวัยวะอื่นๆในร่างกายนั้นคือสมอง สมองทำหน้ า ที่ เ ป็ น ผู้ จั ด การ คอยสั่ ง การไปยั ง อวั ย วะส่ ว นต่ า งๆให้ ท ำงานตาม หน้าที่ ขณะทีค่ ณ ุ กำลังอ่านบทความนี้ สมอง ก็ สั่ ง การให้ ต าของคุ ณ สะกดตั ว หนั ง สื อ อยู่ เช่นกัน “มหัศจรรย์ 0 - 6 ปี” จะชี้ชวนให้เรา เห็นถึงความสัมพันธ์ที่น่าทึ่งของช่วงวัยและ

สมอง ตั้ ง แต่ แ รกเกิ ด จนอายุ 6 ปี หรื อ ที่ เรียกว่า “ปฐมวัย” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญ ที่สุดของชีวิต สมองของคนเราที่พัฒนามาก ที่สุด โดยจะพัฒนาถึง 80 % เราจึงถือว่าช่วง วัยนี้เป็นความมหัศจรรย์ของมนุษย์ เราน่ า จะได้ เ ข้ า ไปเจาะค้ น รู้จัก และ ทำความเข้าใจ “สมองของเด็กปฐมวัยกันให้ มากขึน้ ”


6

สมอง

สมองแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ สมองซีก ซ้าย และซีกขวา ซี ก ซ้ า ยจะเป็ น ส่ ว นที่ รั บ รู้ ท างด้ า น ศาสตร์การคิดต่างๆ อาทิ การคิดเชิงเหตุผล การวิเคราะห์ภาษา การเขียน การคำนวณ

และการเคลื่อนไหวต่างๆ ส่วนซีกขวาจะเป็น ส่วนที่รับรู้ทางด้านศิลปะ อาทิ จินตนาการ คุ ณ ธรรม ศิ ล ปะ ดนตรี อารมณ์ สุ น ทรี ย์ เป็นต้น

การเจริญเติบโตของสมอง สมองของคนเรามี เ ซลล์ ถึ ง 14,000 ล้านเซลล์ แม้สมองส่วนใหญ่ของเด็กแรก เกิ ด จะยั ง ไม่ ค่ อ ยได้ ใ ช้ ง าน แต่ ก ารทำงาน ของเซลล์สมองเหล่านี้จะถูกกำหนดในช่วง แรกเกิดถึง 3 ปี

เซลล์ ส มองจะไม่ ส ามารถทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพถ้าแต่ละเซลล์แยกกัน อย่างโดดเดี่ยว เซลล์สมองต้องมีการเชื่อม โยงกัน และจะเชื่อมโยงกันมากขึ้นเมื่อเด็ก ได้เรียนรู้มากขึ้น เส้นสายที่เชื่อมโยงกันของ เซลล์สมองจะเพิ่มตัวรวดเร็วมาก


7

70 - 80 % ของสายเชื่อมโยงทั้งหมด จะก่อตัวภายในอายุ 3 ปี น้ำหนักของสมอง จะเพิ่มมากขึ้น และจะเพิ่มขึ้นจากแรกเกิด เป็น 2 เท่า เมื่ออายุได้ 6 เดือน และจะหนักเป็น 80 % ของสมองผูใ้ หญ่ เมื่ออายุ 3 ปี ช่วงอายุ 3 ปีแรก สมองที่ถูกสร้างขึ้นจะ เป็นสมองบริเวณส่วนหน้า ซึ่งมีหน้าที่จดจำ ตีความข่าวสาร ย่อยความรู้ อันเป็นพื้นฐาน ในการเรียนรู้ หลังอายุ 3 ปีไปแล้ว สมองส่วนหลัง ซึ่ง ทำหน้าที่ในเรื่องความนึกคิด ความมุ่งมั่น ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์ จะค่อยๆ พัฒนา เพราะฉะนั้น ถ้าสมองส่วนแรกที่มีหน้า ที่เอาไว้รับและย่อยความรู้ต่างๆ ถูกสร้างมา ไม่ดีแล้ว การเรียนรู้ในระดับต่อๆ ไปที่สูงขึ้น ก็ ไ ม่ ส ามารถทำได้ ดี ด้ ว ย การใส่ ใ จในการ พั ฒ นาสมองของเด็ ก ตั้ ง แต่ แ รกเกิ ด จึ ง มี ความสำคัญมาก


8

จะพัฒนาสมองได้อย่างไร ?

สมองเด็กที่กำลังเจริญเติบโตต้องการการเรียนรู้และการกระตุ้น การเข้าใจพัฒนาการ ของเด็กจะช่วยให้เราสามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของสมองเด็กได้อย่างเหมาะสม ไม่ควร เร่งรีบ และก็ไม่ช้าจนเกินไป จะเห็นความมหัศจรรย์ของชีวิตอย่างยิ่ง

สมองของเด็กวัยแรกเกิด - 1 ปี

สมองของเด็กสามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่ อยู่ในท้องแม่ โดยเฉพาะช่วง 3 เดือนก่อน คลอด อารมณ์ความรู้สึกของแม่มีผลกระทบ ถึ ง ลู ก ในท้ อ งได้ ด้ ว ย ถ้ า แม่ มี จิ ต ใจแจ่ ม ใส ลู ก ก็ จ ะมี จิ ต ใจที่ แ จ่ ม ใส ไม่ เ ครี ย ด พ่ อ แม่ สามารถกระตุ้ น สมองของลู ก ด้ ว ยการเริ่ ม อ่านหนังสือให้ลูกฟัง พูดคุยกับลูกในท้อง เมื่อเด็กคลอดออกมาแล้ว ก็สามารถ เพิ่มการกระตุ้นสมองได้มากขึ้น เพราะเด็ก สามารถมองเห็น ได้ยิน และเริ่มเรียนรู้การ โต้ตอบจากพ่อและแม่ เช่น ร้องไห้เมื่อหิว เป็นต้น

ช่ ว งแรกเกิ ด เป็ น ช่ ว งที่ เ ด็ ก สามารถ จดจำใบหน้าของคนได้แล้ว พ่อแม่สามารถ กระตุ้นด้วยการให้ลูกเห็นหน้าบ่อยๆ พูดคุย และกระตุ้นการมองเห็นของลูก โดยอาจใช้ ของเล่น โมบาย หรือหนังสือ


9


10

สภาพแวดล้อมสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ เมื่อถึงวัยที่เด็กเริ่มคลาน เด็กจะสนใจ ก็มีส่วนสำคัญ ควรมีสภาพแวดล้อมที่โปร่ง ของเล่นมากขึ้น การให้ของเล่นแก่เด็กในวัย

โล่ง สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ ไม่เงียบจน เกินไป เสียงเป็นปัจจัยในการกระตุน้ พัฒนาการ ทางสมองของเด็กได้ด้วย หากบรรยากาศ เงียบจนเกินไป อาจส่งผลเสียให้กับเด็กด้วย ซ้ำ ที่สำคัญต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดี สะอาด การที่ เ ด็ ก ได้ เ ห็ น สิ่ ง ต่ า งๆรอบตั ว จะช่ ว ย กระตุ้นพัฒนาการของเด็กได้

นี้ มีข้อควรระวังในเรื่องของความปลอดภัย เพราะเป็นวัยที่มักหยิบของเข้าปาก ของเล่นก็ไม่ควรมีมากชิ้นเกินไปเพราะ จะทำให้เด็กเสียสมาธิ เลือกไม่ถูกว่าจะเล่น ชิ้นไหน ของเล่นน้อยชิ้นจะสร้างเรื่องสมาธิ เพราะเด็ ก จะมี เ วลาศึ ก ษาของเล่ น ชิ้ น นั้ น อย่ า งละเอี ย ด เป็ น พื้ น ฐานของการสร้ า ง สมาธิในอนาคต


11

สมองของเด็กวัย 1 - 2 ปี

กล้ า มเนื้ อ ของเด็ ก ในวั ย นี้ แ ข็ ง แรงขึ้ น แล้ว สามารถเดินได้ ทรงตัวได้ดีขึ้น ทำงานที่ ละเอี ย ดได้ ม ากขึ้ น มี ก ารประสานความ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งกล้ า มเนื้ อ ต่ า งๆ ได้ ดี ขึ้ น สามารถขีดเขียนได้ แยกความแตกต่างของ อวัยวะได้ และทานอาหารเองได้บ้างแล้ว การพั ฒ นาสมองของเด็ ก ในช่ ว งวั ย นี้ ทำได้ โ ดย ฝึ ก ให้ เ ด็ ก หยิ บ จั บ สิ่ ง ของด้ ว ย ตนเอง โดยสิ่ ง ของเหล่ า นั้ น ต้ อ งไม่ เ ป็ น อันตรายต่อตัวเด็ก พ่อแม่ไม่ควรช่วยเหลือ ไปเสียทุกเรื่อง ควรหัดให้เด็กได้ลองผิดลอง ถูก แม้เด็กจะไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ดีเท่าผู้ใหญ่ แต่การทดลองทำนั้นเป็นการ เรียนรู้ที่มีค่ามหาศาล

การชวนพูดคุย ให้ลูกได้ออกเสียงพูด คือการ ช่วยฝึกลูกเข้าสังคมได้ด้วย สมองของเด็กวัย 1 ปี พร้อมที่จะจำตัว อักษรต่างๆ พอๆ กับการฟังและเข้าใจภาษา ได้หลายภาษา เราสามารถมอบโอกาสการ เรียนรู้ภาษาให้แก่เด็กโดยการอ่านหนังสือ ถ้าเด็กฟังโดยไม่มีท่าทีที่เบื่อหน่าย แสดงว่า เขาสนใจและเข้าใจเรื่องที่เราอ่านหรือสอน เพราะสมองของเด็ ก ในวั ย นี้ จะรั บ ความรู้ ต่างๆ ได้ง่าย ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อถอยหมด กำลังใจในการเรียนรู้ เราจึงสามารถสอด แทรกการสอนอ่ า นหนั ง สื อ และการพู ด ไป พร้อมๆ กันได้


12 สมองของคนเรามีลักษณะพิเศษที่ต่าง จากอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นๆคือ ยิ่งใส่ความ จำเข้าไปมากเท่าใด สมองก็จะยิ่งแสดงผล ได้ ดี ขึ้ น เพราะข้ อ มู ล ที่ ใ ส่ เ พิ่ ม เข้ า ไป เมื่ อ เข้าไปรวมกับความรู้เดิม จะช่วยในเรื่องการ คิดวิ เคราะห์ สถาบันวิ จั ยด้านสมองหลาย สถาบันมีข้อมูลยืนยันว่า สมองของคนเรา นั้นมีความสามารถในการจดจำที่มากกว่า คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลใดๆ ในโลก

พ่อแม่อย่าด่วนกลัวว่า การให้ลูกเรียน รู้ ม ากเกิ น ไป จะทำให้ ส มองลู ก รั บ ไม่ ไ ด้ เพราะเรื่องการให้ความรู้มากเกินไปนั้น ไม่ น่ า ห่ ว งเท่ า การละเลย หรื อ การให้ น้ อ ยจน เกินไป เพียงแต่เรียนรู้ช่วงเวลาแห่งการ “ให้” อย่างเหมาะสม นั่นคือ ต้องเป็นช่วงขณะที่ ลูกกำลังรื่นรมย์


13

สมองของเด็กวัย 2 - 6 ปี

ร่ า งกายของเด็ ก วั ย นี้ มี ค วามแข็ ง แรง มากขึ้น สามารถเดินและวิ่งได้ เริ่มเข้าสังคม เป็น ชอบทำกิจกรรมต่างๆ ชอบเล่นกับเพื่อน ช่างสงสัย ชอบถาม เพราะต้องการจะเรียนรู้ สิ่ ง ใหม่ ๆ พ่ อ แม่ ค วรตอบคำถามเด็ ก ทุ ก คำถาม เพราะการตอบคำถามจะทำให้เด็ก ได้ แ นวคิ ด ช่ ว ยพั ฒ นาสติ ปั ญ ญา การไม่ ตอบหรือตัดบทจะทำให้ความคิดของเด็กถูก ทำลาย การต่ อ ไม้ บ ล็ อ ก การเล่ น ต่ อ ภาพ หรืออ่านหนังสือ จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ ทางด้านภาษา รู้จักความหมายของสิ่งต่างๆ มากขึ้น สามารถแยกความแตกต่าง และ ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วน เป็นพื้นฐานในการพัฒนาสมองของเด็ก การส่งเสริมเรื่องจินตนาการและความ คิดสร้างสรรค์ของเด็กในวัยนีก้ ม็ คี วามสำคัญ และเป็นวัยที่เหมาะสมที่สุดในการพัฒนา

ความคิ ด สร้ า งสรรค์ เพราะเมื่ อ เด็ ก โตขึ้ น ความคิ ด สร้ า งสรรค์ จ ะลดน้ อ ยลง และถู ก แทนที่ด้วยหลักเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น เด็ก วาดรูปช้างที่มีหลายสี ทั้งที่ในความเป็นจริง ช้างมีสีเดียว และเมื่อโตขึ้น ความจริงและ เหตุผลจะมากำหนดให้เขาวาดรูปช้างด้วยสี เทา เพื่อให้เหมือนกับช้างจริงๆ เป็นต้น หาก เด็กได้รับการส่งเสริมในเรื่องจินตนาการและ ความคิดสร้างสรรค์ในช่วงนี้อย่างดีแล้ว เขา ก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ตดิ ตัว และสามารถ นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้


14 การอ่านหนังสือ ดูสารคดี และการไป เที่ยวในที่ต่างๆ เป็นการสร้างประสบการณ์ที่ หลากหลายให้กับเด็ก ยิ่งสร้างมาก เด็กก็จะ ยิ่ ง มี ค วามรู้ ม าก และเรี ย นรู้ เ รื่ อ งต่ า งๆ ได้ ง่ า ยขึ้ น เพราะเขามีพ้ืนฐานประสบการณ์ท่ี แข็งแรงแล้ว เช่น ถ้าเด็กได้อ่านหนังสือ ดู สารคดีสัตว์ หรือไปเที่ยวสวนสัตว์ ถ้าครูสอน เรื่องสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เด็กก็จะสามารถ เรียนรู้และเข้าใจได้เร็วเพราะมีพื้นฐานความ รู้เรื่องนี้อยู่แล้ว เป็นต้น


15

อ่านหนังสือ ตัวเลือกแสนถูกสร้างลูกเราให้เก่ง

การอ่ า นหนั ง สื อ เป็ น หนึ่ ง ในทางเลื อ ก เพื่อการพัฒนาลูกรักของเราด้วยต้นทุนที่ไม่ มาก แม้บางท่านอาจจะแย้งว่าหนังสือบาง เล่มราคาแพงกว่าของเล่นเสียอีก แต่อย่าลืม ว่า หนังสือสามารถเก็บไว้ได้นาน นำกลับมา อ่านใหม่กี่ครั้งก็ได้ นำไปให้คนอื่นอ่าน หรือ ว่านำไปขายต่อก็ยังได้ หนังสือดีๆ ยิ่งอ่าน หลายๆ รอบก็ยิ่งได้ประโยชน์

หนังสือช่วยพัฒนาลูกรักของเราได้ อย่างไร ?

Child Development วารสารเกี่ยวกับ เด็ ก ได้ ตี พิ ม พ์ ง านวิ จั ย ที่ ศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ ครอบครัวกับการอ่าน โดยศึกษากลุม่ ตัวอย่าง 2,581 ครอบครัว ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา แบ่งเป็นครอบครัวที่พ่อแม่อ่านหนังสือให้ลูก ฟัง 1,101 ครอบครัว เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ พัฒนาการด้านภาษาของเด็ก และติดตามผล เพือ่ ทดสอบความสามารถ ของเด็กในวัย 1 - 3 ปี พบข้อสังเกตทีน่ า่ สนใจว่า ครอบครัวที่อ่าน หนังสือให้ลกู ฟังตัง้ แต่ทารก เมือ่ เด็กโตขึน้ จะ สามารถเข้าใจภาษา คำศัพท์ และมีพฒ ั นาการ ทีด่ กี ว่าเด็กทีค่ รอบครัวไม่ได้อา่ นหนังสือให้ฟงั และพบว่าผลการเรียนของเด็กนั้นไม่ได้ขึ้น อยูก่ บั สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว แต่ขน้ึ อยู่ กับความสนใจ และความถีใ่ นการอ่านหนังสือ ในเวลาว่างมากกว่า


16 ยิ่งผู้ปกครองร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ เด็ ก อ่ า น ก็ จ ะยิ่ ง พั ฒ นาทั ก ษะในการอ่ า น หนังสือของเด็กมากขึ้นด้วย งานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า ครอบครัว ที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยก็สามารถสร้างลูกให้ เก่งได้ด้วยการอ่านหนังสือ ยิ่ ง รี บ ฝึ ก ให้ ลู ก รั ก การอ่ า นเสี ย ตั้ ง แต่ เยาว์วัย ก็จะยิ่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้เร็ว ขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานของการเรียนรู้ หนังสือจึง

เป็ น เครื่ อ งมื อ และวิ ธี ก ารที่ ส ำคั ญ ในการ พั ฒ นาเด็ ก เพราะโดยธรรมชาติ แ ล้ ว เด็ ก อยากได้ ยิ น เสี ย งจากคนรอบข้ า ง การที่ ผู้ ปกครองอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่ยังเป็น เด็กทารก จะช่วยสร้างความคุ้นเคยระหว่าง เด็กกับหนังสือ เลี้ยงลูกด้วยหนังสือ จึงเป็น วิธีที่ทั้งง่าย ประหยัด และได้ประโยชน์สูงสุด


17

จะเริ่มอย่างไรให้ลูกอ่านหนังสือ

การเริ่ ม อ่ า นหนั ง สื อ ให้ ลู ก ฟั ง สามารถ ทำได้ตั้งแต่ลูกยังอยู่ในท้องแม่ เมื่อลูกเล็กวัย 6 - 8 เดือน เราควรเริ่ม อ่ า นหนั ง สื อ หรื อ เล่ า นิ ท านให้ ลู ก ฟั ง วั น ละ ประมาณ 10 - 15 นาที นักจิตวิทยากล่าวว่า การอ่านหนังสือให้ลูกฟังเริ่มตั้งแต่ยังเล็กยิ่ง ดี ควรอ่านให้ฟังทุกวัน จะอ่านก่อนนอนหรือ อ่านเวลาใดก็ได้ ไม่ใช้วิธีบังคับ ควรเป็นเวลาที่ลูกอารมณ์แจ่มใส เพราะเด็กจะซึมซับ จดจำ มีความสุข

เมื่อลองสังเกตพัฒนาการของลูก ก็จะ พบการเปลี่ ย นแปลงที่ น่ า ประหลาดใจ นอกจากจะส่ ง เสริ ม พั ฒ นาการด้ า นภาษา ของลูกแล้ว การอ่านหนังสือยังสร้างบรรยากาศ ดีๆ ในครอบครัวได้ด้วย ลูกในวัยทารก แม้ดูเหมือนว่าเราพูดกับ เขาอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่การพูดกับลูก


18 ในช่วงวัยนี้ รวมถึงทำกิจกรรมต่างๆ จะสอน ให้เด็กรู้จักคำศัพท์ได้มากมาย เช่น เมื่อจะ พาลูกไปทานอาหาร ก็บอกกับลูกว่า “เดี๋ยว เราไปกินข้าวกันนะ” เมื่อเด็กเริ่มรู้คำศัพท์ มาก ๆ ก็จะเป็นพื้นฐานสำคัญของการอ่าน การอ่ า นหนั ง สื อ จะสามารถช่ ว ยสร้ า ง จินตนาการได้ดีกว่าการดูโทรทัศน์ เพราะผู้ อ่านได้จินตนาการภาพต่างๆ จากตัวหนังสือ

เราสามารถเริ่มได้ด้วยวิธีง่ายๆคือ - ต้ อ งหาเรื่ อ งที่ ไ ม่ น่ า เบื่ อ สำหรั บ เด็ ก รู้จักเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม ผ่อนคลาย อ่านเรื่องเบาๆ สบายๆ - ระหว่างที่ลูกเล่นอยู่ใกล้ๆ คุณพ่อคุณ แม่ควรอ่านหนังสือให้ลูกเห็น ตอนไหนที่น่า สนใจหรื อ ตลกๆ ก็ อ่ า นออกเสี ย งดั ง ให้ ลู ก ได้ยิน หรือดึงความสนใจลูกๆด้วยหนังสือ ปริศนาคำทาย - ลองอ่ า นเรื่ อ งที่ เ ขาไม่ ไ ด้ เ จอ ได้ ยิ น จากโรงเรียน เรื่องที่ไม่เครียด - พ่ อ แม่ บ างคนจะหมั่ น สั ง เกตว่ า ลู ก สนใจเรื่องอะไร ก็จะหาหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง นั้นๆ มาอ่านให้ฟัง - ฯลฯ สารพัดวิธีที่เราสร้างได้ ทำได้ คนเรามี วิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่มีสูตร ตายตัวสำหรับการปลูกฝังให้ลูกรักการอ่าน หนั ง สื อ พ่ อ แม่ ต้ อ งทำหน้ า ที่ เ ป็ น นั ก วิ ท ยา ศาสตร์ ในการค้นคว้าหาวิธีการอ่านใหม่ๆ ให้ ลูกรักการอ่าน สร้างตั้งแต่ยังเล็กจะง่ายกว่า ต้องคอยจ้ำจี้จำไชตอนโตแล้ว


19

เลือกหนังสือให้ลูกน้อย

แม้ ไ ม่ มี ก ฎตายตั ว แต่ ก็ มี แ นวทาง เล็กๆน้อยๆ ให้คุณพ่อคุณแม่นำไปปรับใช้ เพื่อเลือกหนังสือให้ลูก • หนูนอ้ ยแรกเกิด : แม้ยงั อ่านหนังสือ ไม่ออก แต่ตาเขามองเห็น หนังสือทีเ่ หมาะสม กับวัยนี้จึงเป็นหนังสือภาพ หนังสือภาพก็คือ

ของเล่นสี่เหลี่ยม เปิดปิดได้ มีภาพอยู่ข้างใน ยิง่ ถ้าเปิดมาแล้วเจอภาพทีเ่ ด็กรูจ้ กั เช่น สุนขั แมว รถยนต์ ผลไม้ ฯลฯ เด็กจะยิ่งสนใจเป็น พิเศษ จะให้ดีควรเป็นภาพเสมือนจริง และ ไม่ควรมีฉากหลังที่รกรุงรัง


20

• พอหนูนอ้ ยอายุได้ 2 ปี : แต่ละคน เริ่ ม มี ค วามชอบที่ แ ตกต่ า งกั น พ่ อ แม่ ค วร เลือกตามความสนใจของเด็ก ไม่ควรบังคับ ให้เด็กอ่านหนังสือที่เราอยากให้อ่าน เพราะ หนังสือเหล่านีไ้ ม่ใช่หนังสือเรียน หนังสือทีล่ กู ชอบจะทำให้ลกู มีความสุขกว่าการถูกบังคับ วั ย นี้ เ ป็ น วั ย ที่ เ ด็ ก มี ป ระสาทหู ที่ ดี ม าก จะจดจำเสียงต่างๆ หรือดนตรีได้ดี การอ่าน หนังสือที่เป็นกลอน บทกวีมีจังหวะจะโคน จะทำให้เด็กสามารถจดจำได้ดี

• ย่างเข้าสูป่ ที ่ี 3 : หนูน้อยมีพัฒนา การทางภาษาที่ดีอย่างน่าทึ่ง อยากรู้อยาก เห็น มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจและติดตาม เรือ่ งเล่าง่ายๆ ได้ เด็กวัยนีไ้ ม่รจู้ กั เบือ่ หนังสือ เล่มไหน หรือนิทานเรื่องไหนที่ชอบ มักจะขอ ให้อ่านให้ฟังซ้ำๆ ถ้ า เด็ ก ชอบและสนใจ

หนังสือในวัยนี้ จะไม่ห่างหนังสือไป ตลอดชีวิต


21

• หนูนอ้ ยอายุ 4 ปี : วัยนีค้ วามชอบ ของเด็กจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน เป็นวัย ของการสร้างพื้นฐานจินตนาการ หนังสือที่มี ภาพจะช่ ว ยให้ เ ด็ ก สามารถจิ น ตนาการต่ อ เติมได้ง่าย • สำหรับวัย 5 ปี : จะชอบหนังสือทีม่ ี เรื่ อ งราวมากขึ้ น ไม่ จ ำเป็ น ต้ อ งซื้ อ หนั ง สื อ นิทานให้ลูกมากจนอ่านไม่ทัน เพราะเด็กใน วัยนี้ยังชอบฟังนิทานเรื่องเดิมซ้ำๆ

• เด็กวัย 6 ปี : สามารถฟังนิทานที่ เป็นตอนๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่ลองเล่านิทาน ให้ลูกฟังเป็นตอนๆ ลูกจะสนใจและตั้งใจรอ ฟังตอนต่อไปในวันรุ่งขึ้น นิทานสำหรับเด็ก วัยนี้ ควรเป็นนิทานที่เสริมสร้างจินตนาการ และสนุก ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับการอ่านให้ เด็กฟัง เมื่อเด็กสามารถอ่านหนังสือได้เอง เด็กจะกลับมาอ่านเรื่องที่เคยฟังซ้ำอีก การอ่ า นหนั ง สื อ อาจจะไม่ เ ห็ น ผลใน ทันทีทันใด แต่การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้ง แต่เล็กนั้นถือเป็นการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ให้ กั บ ลู ก ทั้ ง ยั ง เป็ น สื่ อ กลางในการสร้ า ง ความสัมพันธ์ในครอบครัวอีกด้วย


22

อ่านที่ไหนดีนะ? เราสามารถอ่านหนังสือที่ไหนก็ได้ เวลา ไหนก็ ไ ด้ สร้ า งให้ เ ป็ น นิ สั ย รั ก การอ่ า น วั ฒ นธรรมการอ่ า น ลองเลื อ กแนวทางที่ ถูกใจ ดังต่อไปนี้ • จัดมุมหนังสือทีบ่ า้ น : ทำให้เหมือน มีห้องสมุดในบ้าน เป็นการปลูกฝังนิสัยรัก การอ่านตั้งแต่ยังเล็ก • สวนสาธารณะ : การเปลี่ยน บรรยากาศไปอ่ า นหนั ง สื อ นอกบ้ า นในที่ ร่มรื่น มีอาหารว่างทานเวลาหิว ติดหนังสือ ไปด้วยสัก 3 - 4 เล่ม ก็ดีไม่น้อย • ร้านหนังสือ : ร้านหนังสือใหญ่ๆ สมั ย นี้ มั กมี ที่ ท างสำหรั บ ให้ นั่ ง อ่ า นหนั ง สื อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับเด็กๆที่ได้อ่านหนังสือ อย่างจุใจ ทำให้เราสามารถสังเกตได้ว่า ลูก ชอบหนังสือแนวไหน ให้โอกาสเขาเลือกอ่าน และซื้อหนังสือที่ตัวเองชอบบ้าง

• • •

• บนทีน่ อน : ก่อนเข้านอน เป็นช่วง เวลาที่เด็กผ่อนคลาย การอ่านหนังสือจะเป็น เวลาแห่งความสุข สานความสัมพันธ์ และ สร้างความอบอุ่นในครอบครัว • ห้องสมุด : สร้างความคุ้นเคยใน การใช้ห้องสมุดให้กับลูก เมื่อได้ทำจนเป็น นิ สั ย หรื อ เป็ น ประจำแล้ ว ลู ก จะมี นิ สั ย รั ก การอ่าน ชอบหาความรู้ และเรียนรู้วิธีการ หาความรู้ที่ดีได้ด้วยการอ่านหนังสือ นอกจากสถานทีด่ งั กล่าวข้างต้น คุณพ่อ คุณแม่ยังสามารถทดลองเปลี่ยนบรรยากาศ ชวนลู ก ไปอ่ า นหนั ง สื อ ในที่ ต่ า งๆ เพราะ ประสบการณ์ตรงมีความสำคัญไม่แพ้การ อ่านเช่นกัน การที่ลูกได้ไปสัมผัส ได้เห็น ได้ ทดลองทำ เยี่ ย มชมที่ ต่ า งๆ ก็ ช่ ว ยป้ อ น ประสบการณ์ในการใช้ชวี ติ ให้กบั ลูกได้อกี ด้วย


23


24

ปลูกฝังเจ้าตัวเล็ก

ให้รักการอ่าน...ง่ายนิดเดียว


25 วิธีง่ายๆ ที่จะใช้ปลูกฝังเจ้าตัวน้อยให้ หันมาอ่านหนังสือ และหลงรักการอ่านโดย ไม่รู้ตัว 1. อุ้มลูกนั่งตัก อ่านออกเสียงสูงต่ำ ทำ เสียงเล็กเสียงน้อย มีจังหวะหนัก เบาขณะ อ่ า นหนั ง สื อ ให้ ลู ก ฟั ง การชวนดู ภ าพใน หนังสือ หยอกเย้า กอด สัมผัส เคลื่อนไหว ร่างกายเด็ก จะเร้าความสนใจในตัวหนังสือ ที่เราอ่านให้ลูกฟังมากยิ่งขึ้น

2. อ่านหนังสือให้ลูกฟังอย่างน้อยวัน ละ 5 - 15 นาที นอกจากสร้างความผูกพันใน ครอบครัวแล้ว ยังช่วยให้ลูกน้อยได้ใกล้ชิด และผูกพันกับการอ่านหนังสือ 3. ขณะที่ อ่ า นหนั ง สื อ กั บ ลู ก ใช้ ช่ ว ง เวลานี้ พู ด คุ ย และตั้ ง คำถาม เพื่ อ เป็ น การ ต่อยอดความคิดของลูก เชือ่ มโยงประสบการณ์ กระตุ้ น ให้ ลู ก ได้ ใ ช้ ทั ก ษะทางภาษาและ ความคิด


26

4. ขณะที่อ่านหนังสือกับลูก หากลูก ถามคำถาม ควรตอบคำถามของลูก ไม่ควรเฉย หรือดุ เพราะวัยเด็กเป็นวัยอยากรู้อยากเห็น การได้ถามคำถามและฟังคำตอบเป็นการ ต่อยอดความคิดของลูก ถ้าคำถามข้อใดที่ ไม่รู้ ก็พยายามหาคำตอบ โดยพยายามแสดง ให้ลูกเห็นว่า การหาคำตอบของพ่อแม่นั้น สามารถหาได้จากการอ่านหนังสือ 5. การเล่านิทาน ถ้าเป็นคุณพ่อคุณแม่ มื อ ใหม่ แนะนำให้ อ่ า นตามหนั ง สื อ ทุ ก ตั ว อักษร ไม่ต้องกลัวว่าลูกจะไม่สนุก เพราะว่า ถ้าหากหนังสือเล่มนั้นเนื้อหาดี วิธีการเล่าถือ เป็นประเด็นรอง และใช้วิธีชี้ตัวหนังสือที่เรา อ่านไปพร้อมๆ กัน จะช่วยให้เด็กจดจำใน เรื่องภาษาได้ดี หนังสือเด็กที่ได้รับการคัด สรรจะมีภาพที่พิถีพิถันและคำที่สละสลวย

6. จั ด มุ ม หนั ง สื อ ในบ้ า น มี มุ ม ที่ แ สง สว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเท สร้างบรรยากาศ ห้องสมุดในบ้าน ให้ลูกได้หัดเลือกหนังสือ อ่านหนังสือเอง 7. จัดช่วงเวลาให้คนในครอบครัวอ่าน หนั ง สื อ ร่ ว มกั น อย่ า งน้ อ ยวั น ละนิ ด ก็ ยั ง ดี การทำให้ดูเป็นตัวอย่างนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ ละเลยไม่ได้ • ยังมีแนวทางสร้างสรรค์อกี มากมาย ที่ เราผู้เป็นพ่อแม่สามารถทำได้ นอกจากการ บ่มเพาะให้ลกู รักหนังสือ ลองเอือ้ เฟือ้ ไปถึงลูก ของเพือ่ นๆ และคนรอบข้าง จะได้อานิสงส์ ใน เรื่องนี้ • • •ติดตามรายการหนังสือทีไ่ ด้รบั รางวัล,หนังสือคัดสรรค์ จากองค์กรต่างๆ ได้ที่ www.happyreading.in.th


แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีบทบาทหน้าที่ในการประสานกลไก นโยบาย และปัจจัยการขยายผลจากทั้ง ภาครั ฐ ภาคประชาสั ง คม และภาคเอกชน ให้ เ อื้ อ ต่ อ การขั บ เคลื่ อ นการสร้ า งเสริ ม พฤติ ก รรมและ วัฒนธรรมการอ่านให้เข้าถึงเด็ก ครอบครัว และชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงหนังสือ

คณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ประธาน : รศ.นพ.ปัญญา ไข่มุก กรรมการ : ดร.อมรา ปฐภิญโญบูรณ์ รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ กรรมการและเลขานุการ : คุณสุดใจ พรหมเกิด

คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์

คณะกรรมการที่ปรึกษาแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ผู้ทรงคุณวุฒิ : กรรมการ : ผู้จัดการ : เลขานุการ : ผู้ช่วยเลขานุการ :

รศ.ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ คุณโอม รัชเวทย์ คุณสุรพล พิทยาสกุล (พล ข่าวสด) ดร.จิรยุทธ์ สินธุพันธุ์ อ.นับทอง ทองใบ คุณพาฝัน ศุภวานิช คุณอมราพร แผ่นดินทอง คุณพิรุณ อนวัชศิริวงศ์ คุณสุดใจ พรหมเกิด พวงผกา แสนเขื่อนสี คุณกนกกาญจน์ เอี่ยมชื่น

ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบาย โครงการ กิจกรรม เพื่อสร้างเสริมให้เกิดพฤติกรรมและวัฒนธรรมการอ่านกับเราได้ที่

แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 424 หมู่บ้านเงาไม้ ซอยจรัญสนิทวงศ์ 67 แยก 3 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์ 0-2424-4616-7 โทรสาร 0-2424-4616-7 กด 3 E-mail : happy2reading@gmail.com Website : www.happyreading.in.th



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.