คู่มือ
ความรู้เรื่อง
โรคซึมเศร้า (Depression)
ห้องตรวจจิตเวช แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก รพ.ศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โทรศัพท์ (043) 363001
QR Code
ดูเนื้อหาออนไลน์ (Online)
คู่มือ โรคซึมเศร้า
ค�ำน�ำ โรคซึมเศร้าจัดว่าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวและสังคม ต่อผู้ป่วยเองมีผล ทางสุขภาพร่างกาย ท�ำให้เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ความจ�ำไม่ดีมองโลกในแง่ร้าย สิ้นหวัง น�ำ ไปสู่ความบกพร่องในหน้าที่การงาน คู่มือความรู้เรื่องโรคซึมเศร้าเล่มนี้จัดท�ำขึ้น เพื่อให้ความรู้ที่ได้ไป ปฏิบัติในการดูแลตนเอง โดยการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับความหมาย ปัจจัยที่ท�ำให้เกิดโรคซึมเศร้า การรักษา ตลอดจนค�ำแนะน�ำในการปฏิบตั ติ วั ส�ำหรับผูท้ ปี่ ว่ ยและครอบครัวในการปรับตัวกับการเจ็บป่วย ด้วยโรคซึมเศร้า
ผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน ทีมน�ำจิตเวช
ก
คู่มือ โรคซึมเศร้า สารบัญ ชื่อเรื่อง ค�ำน�ำ สารบัญ โรคซึมเศร้าคืออะไร โรคซึมเศร้าเกิดได้อย่างไร ความแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับโรคซึมเศร้า จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือเปล่า การรักษาโรคซึมเศร้า การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา ข้อควรทราบเกี่ยวกับยารักษาอารมณ์ซึมเศร้า การกระตุ้นสมองเฉพาะที่ด้วยสนามแม่เหล็ก การท�ำจิตบ�ำบัด การกระตุ้นให้ชักด้วยไฟฟ้า การออกก�ำลังกาย การปฏิบัติตัวส�ำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะรักษานานเท่าไหร่ ค�ำแนะน�ำส�ำหรับญาติ เอกสารอ้างอิง
หน้า ก ข 1 2 3 4 5 .6 7 8 9 10 10 11 12 12 13
ข
คู่มือ โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าคืออะไร?
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่งมีอาการส�ำคัญ คือ เศร้า เบื่อหน่าย ไม่สนใจอยากท�ำอะไร อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป ท้อแท้ รู้สึกตนเองไม่มีค่า บางรายอาจมีความคิด เกีย่ วกับการฆ่าตัวตาย นอกจากนีย้ งั ส่งผลกระทบต่อหน้าทีก่ ารงานและการท�ำบทบาทในสังคม ทัง้ นีห้ ากผู้ ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาการดังกล่าวจะยังคงอยู่
1
คู่มือ โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าเกิดได้อย่างไร กรรมพันธุ์ พบว่ากรรมพันธุ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคซึมเศร้าอย่างมาก โดยพบว่าผู้ที่มีญาติสายตรง ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามีโอกาสป่วยเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าคนทั่วไปและเมื่อป่วยเป็นโรคซึมเศร้าแล้วจะ มีโอกาสกลับเป็นซ�้ำได้สูง สารเคมีในสมอง ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีการเปลี่ยนแปลงของระดับสารสื่อประสาทชนิดซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ลดลง รวมถึงมีความผิดปกติของตัวรับสารสื่อประสาท เหล่านี้ ซึ่ง ยาต้านเศร้ามีกลไกการออกฤทธิ์โดยการไปปรับสมดุลของระบบสารเคมีเหล่านี้ ปัจจัยด้านจิตสังคม เช่น ลักษณะนิสัยส่วนตัว การมองตนเองในแง่ลบ มองอดีตเห็นแต่ความบกพร่อง ของตัวเอง หรือมองโลกในแง่ร้าย เป็นตัน บุคคลเหล่านี้เมื่อเผชิญกับสถานการณ์ที่กดดัน เช่น ตกงาน หย่าร้าง ถูกทอดทิ้ง ก็มีแนวโน้มที่จะเกิดอารมณ์เศร้าได้ง่าย ซึ่งหากไม่ได้รับการช่วยเหลือหรือจัดการ ความคิดและมุมมองต่อตนเองและสถานการณ์ ตลอดจนทักษะการจัดการปัญหาและความสามารถใน การปรับตัวที่เหมาะสม อาจมีการเจ็บป่วยเรื้อรังมากขึ้นจนกลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ โดยสรุป โรคซึมเศร้ายังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากกรรมพันธ์ รวมถึงปัจจัยทาง ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
2
คู่มือ โรคซึมเศร้า
ความแตกต่างระหว่างภาวะซึมเศร้ากับโรคซึมเศร้า ภาวะซึมเศร้า เป็นปฏิกริ ยิ าการตอบสนองทางใจ เมือ่ มีเหตุไม่สมหวังมากระทบ รูส้ กึ ซึมเศร้า ผิดหวัง เจ็บปวด ทั้งนี้ จากเหตุนั้นหมดไปหรือเริ่มปรับตัวได้ ใจก็เข้าสู่ภาวะอารมณ์ปกติความซึมเศร้าก็จะค่อย ๆ ลดลงไป ภาวะซึมเศร้าแบบนี้มักอยู่ไม่นาน และไม่ได้เป็นต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับเหตุที่มากระทบ โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความผิดปกติโดยมีอารมณ์ ซึมเศร้านานต่อเนื่องติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ผู้ที่ป่วยจะมีอาการเศร้าอย่างมาก จนไม่มีความสนใจ ในกิจกรรมต่าง ๆ ความสุขลดลง เบื่อหน่าย ไม่อยากท�ำอะไร กิจวัตรประจ�ำวันเปลี่ยนแปลงไป เช่น เบื่อ อาหาร นอนไม่หลับ หรืออยากนอนทั้งวัน ไม่อยากท�ำอะไร รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง มองตัวเองไม่ดี และอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามักจะมีอาการเศร้าเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง ร่วมกับมีอาการอื่น ตามเกณฑ์การวินิจฉัยและก่อให้เกิดความบกพร่องในการท�ำหน้าที่ด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ามักจะไม่ดีขึ้นหากไม่ได้รับการรักษา
3
คู่มือ โรคซึมเศร้า
จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้หรือเปล่า มีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการหรือมากกว่า (ตามเกณฑ์วินิจฉัย) 1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (วัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้) 2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ลดลงอย่างมาก 3. มีการเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก 4. นอนไม่หลับ หรือหลับมากไป 5. กระวนกระวาย อยู่ไม่เป็นสุขหรือเชื่องช้าลง 6. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 7. รู้สึกตนเองไร่ค่า 8. สมาธิลดลง ใจลอย หรือลังเลใจไปหมด 9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย ทั้งนี้ต้องมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อและมีอาการเป็นอยู่นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
4
คู่มือ โรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้า การรักษาที่ส�ำคัญในโรคนี้คือการรักษาด้วยยาต้านเศร้าโดยเฉพาะในรายที่อาการมาก ส่วนใน รายทีม่ อี าการไม่มาก แพทย์อาจรักษาด้วยการช่วยเหลือชีแ้ นะให้สามารถมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ ตลอดจนมีแนวทางในการปรับตัว หรือการหากิจกรรมที่ช่วยให้จิตใจผ่อนคลาย ทั้งนี้ แพทย์มักพิจารณา ให้ยาแก้เศร้าหรือยาคลายกังวลเสริมในช่วงที่เห็นว่าจ�ำเป็น
5
คู่มือ โรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้าด้วยยา ยารักษาโรคซึมเศร้าในปัจจุบันมีหลายกลุ่มตามโครงสร้างทางเคมีและกลไกการออกฤทธิ์ มีชื่อ เรียกเป็นภาษาอังกฤษดังนี้ TCA (ทีซีเอ) เป็นยากลุ่มเก่าที่ให้ผลการรักษาดี ใช้กันมานาน ราคาถูกแต่อาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ กระหายน�้ำ ตาพร่า ท้องผูก ปัสสาวะล�ำยาก ง่วงนอน หรือหน้ามืดขณะลุก ตัวอย่างยากลุ่มนี้ ได้แก่ อะมิทริปไทลิน (amitriptyline) นอทริปไทลีน (nortriptyline) เป็นต้น SSRI (เอส เอส อาร์ ไอ) ยากลุ่มนี้มีราคาสูงกว่า TCA ผลข้างเคียงต่างจากกลุ่ม TCA อาจท�ำให้ รู้สึกไม่สบายท้อง เบื่ออาหาร ท้องเสีย ความต้องการทางเพศลดลง บางคนอาจนอนหลับยาก ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) เซอทรัลลีน (sertraline) SNRI (เอส เอ็น อาร์ ไอ) เป็นยากลุ่มใหม่ลักษณะผลข้างเคียงคล้าย TCA แต่น้อยกว่า ราคายัง คงแพงกว่า TCA ยากลุ่มนี้ได้แก่ เวนลาฟาซิน (venlafaxine) โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาให้ยาตามการตอบสนองต่อยาของผู้ป่วยแต่ละรายตลอดจนในแง่ ของค่าใช้จ่ายในการซื้อยาซึ่งอาจแตกต่างกันไป
6
คู่มือ โรคซึมเศร้า
ข้อควรทราบเกี่ยวกับยารักษาอารมณ์เศร้า • อาการของโรคไม่ได้หายทันทีที่กินยา โดยเฉพาะอาการซึมเศร้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลา ประมาณ 1-2 สัปดาห์ขนึ้ ไป แต่ยาก็ยงั มีสว่ นช่วยในระยะแรก ๆ โดยท�ำให้ผปู้ ว่ ยหลับได้ดขี นึ้ เจริญอาหาร ขึน้ เริ่มรู้สึกมีเรี่ยวแรงอยากท�ำอะไรมากขึ้น ความรู้สึกกลัดกลุ้มหรือกระสับกระส่ายจะเริ่มลดลง • ยาทุกชนิดสามารถท�ำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น การใช้ยาจึงควรใช้ในขนาดและกินตาม เวลาที่แพทย์สั่งเท่านั้น หากมีความจ�ำเป็นที่ท�ำให้กินยาตามสั่งไม่ได้และหากเกิดอาการใด ๆ ที่ไม่แน่ใจว่า เป็นอาการข้างเคียงหรือไม่ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง ไม่ควรเพิ่มหรือลดยาด้วยตัวเอง
7
คู่มือ โรคซึมเศร้า
การกระตุ้นสมองเฉพาะที่ด้วยสนามแม่เหล็ก การกระตุ้นสมองเฉพาะที่ด้วยสนามแม่เหล็ก (transcranial magnetic stimulation : TMS) เป็นทางเลือกใหม่ที่น�ำมาใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางยา โดยการกระตุ้น ด้วยพลังงานแม่เหล็กผ่านศีรษะ เพื่อท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าในสมอง ซึ่งไม่ต้องผ่าน กระแสไฟฟ้าเข้าสู่สมองโดยตรง จึงพบว่ามีความปลอดภัยสูง
8
คู่มือ โรคซึมเศร้า
การท�ำจิตบ�ำบัด การท�ำจิตบ�ำบัด (Psychotherapy) เป็นวิธีการรักษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจและแก้ไขสาเหตุ ของความขัดแย้งในจิตใจ ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการเผชิญปัญหาและมีการปรับตัวที่ดีขึ้น รวมทั้ง สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นได้ ทั้งนี้พบว่าการรักษาด้วยการท�ำจิตบ�ำบัดมีความส�ำคัญไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่าการรักษาด้วยยา
9
คู่มือ โรคซึมเศร้า
การกระตุ้นให้ชักด้วยไฟฟ้า การกระตุ้นให้ชักด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy หรือ ECT) เป็นวิธีการรักษาที่ ได้ผลดี เหมาะส�ำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการรุนแรงหรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานยาหรือใช้ยาแล้ว ไม่ได้ผล
การออกก�ำลังกาย
การออกก�ำลังกาย สามารถลดอาการซึมเศร้าในระดับเล็กน้อย - ปานกลางได้ เนื่องจากการ ออกก�ำลังกาย ท�ำให้การหลั่งสารสื่อประสาทต่าง ๆ ฮอรืโมนเอ็นโดรฟินโดปามีน ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ควรออกก�ำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1 ชั่วโมง
10
คู่มือ โรคซึมเศร้า
การปฏิบัติตัวส�ำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 1. ควรตั้งเป้าหมายให้ใกล้เคียงความเป็นจริง 2. แยกแยะปัญหาจัดเรียงความส�ำคัญก่อนหลังและลงมือท�ำเท่าที่สามารถท�ำได้ 3. เลือกท�ำกิจกรรมที่สร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น เช่น การออกก�ำลังเบา ๆ การชมภาพยนตร์ การร่วมท�ำกิจกรรมทางสังคม 4. อย่าตัดสินใจในเรื่องที่ส�ำคัญต่อชีวิตมาก ๆ ในขณะที่อาการของโรคก�ำเริบหรือยังมีอาการของ โรคมากอยู่ เช่น การลาออกจากงาน หรือการหย่าร้าง 5. ไม่ควรต�ำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถท�ำได้อย่างที่ต้องการ 6. ยอมรับว่าความคิดด้านลบทีเ่ กิดขึน้ เป็นส่วนหนึง่ ของโรคซึมเศร้า หรือความเจ็บป่วย และสามารถหายไปได้เมื่อรักษา 7. หากเป็นไปได้ควรเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มทางสังคม
11
คู่มือ โรคซึมเศร้า
จะรักษานานเท่าไหร่ โรคซึมเศร้าถึงแม้จะให้ผลการรักษาที่ดีแต่มักพบว่าโรคนี้เป็นเรื้อรัง มีอัตรากลับไปเป็นซ�้ำได้บ่อย โดยผู้ที่ป่วยครั้งแรกมีโอกาสป่วยอีกร้อยละ 50 ป่วยครั้งที่ 2 มีโอกาสป่วยอีกร้อยละ 70 ป่วยครั้งที่ 3 มี โอกาสป่วยอีกร้อยละ 90 ดังนั้นผู้ป่วยควรมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเองถึงแม้อาการจะ หายไป ควรปรึกษาแพทย์ก่อนหยุดใช้ยาเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ�้ำ ในการป่วยครั้งแรกอาจต้องรักษา นาน 9-12 เดือน แต่หากป่วยซ�้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ควรได้รับการรักษาต่อเนื่องในระยะยาว
ค�ำแนะน�ำส�ำหรับญาติ
หากญาติมีความเข้าใจผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า มองว่าเป็นการเจ็บป่วย ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาหายแล้ว อารมณ์เศร้าจะดีขึ้น จิตใจแจ่มใสขึ้น อาการต่าง ๆ จะค่อย ๆ หายไป ความคาดหวังในตัวของผู้ป่วยก็จะ ลดลง ความหงุดหงิด คับข้องใจก็ลดลง เรามักจะให้อภัยคนที่ก�ำลังไม่สบายมีข้อยกเว้นให้บางอย่างเพราะ เราทราบดีว่าเขาไม่ได้แกล้งท�ำ ไม่มีใครอยากป่วย
12
คู่มือ โรคซึมเศร้า
เอกสารอ้างอิง ฉวีวรรณ สัตยธรรม. (2541) การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. นนทบุรี : ยุทธรินทร์ถาวรพิมพ์. นันทิกา ทวิชาชาติ. (2548) ระบาดวิทยาทางสุขภาพจิตและจิตเวช. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. นวนันท์ ปิยะวัฒน์กูล กุศลาภรณ์ ชัยอุดม ศิริวรรณ ปิยวัฒนเมธา นรักษ์ ชาติบัญชาชัย. (2563) จิตเวชศาสตร์:สยามทองกิจ พิมพ์ครั้งที่ 3 ขอนแก่น. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิตย์. (2548) จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. กรุงเทพฯ : ปิยอนต์เอ็นเทอร์ไพรซ์. สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล และสรยุทธ วาสิกนานนท์ (2558) ต�ำราโรคซึมเศร้า. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
13
คู่มือ โรคซึมเศร้า
คู่มือความรู้เรื่อง
โรคซึ ม เศร้ า (Depression)