ว่าง
คู่มือการดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยอาหารและโภชนาการ ปีที่พิมพ์ : กุมภาพันธ์ 2558 รายการบรรณานุกรมส�ำเร็จรูป (CIP) ศรีสุดา วงค์ประทุม การดู แ ล/ป้ อ งกั น โรคหลอดเลื อ ดสมองด้ ว ยอาหารและโภชนาการ / ศรีสุดา วงค์ประทุม และ ธีรวัฒน์ ขันหนองโพธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา, 2558. ว่าง
30 หน้า : ภาพประกอบ
1. หลอดเลือดสมอง - - โรค - - โภชนบ�ำบัด. 2. สมอง - - โรค - - โภชนบ�ำบัด. I. ธีรวัฒน์ ขันหนองโพธิ์. II. ชื่อเรื่อง. [WL355 ศ275 2558]
จ�ำนวน : 1,875 เล่ม พิมพ์ที่ : หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา 232/199 หมู่ 6 ถ.ศรีจันทร์ อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 โทร. 043-328589-91, 081-7174207 E-mail: klungpress@hotmail.com, sarikahan@yahoo.com
ค�ำน�ำ สถานการณ์ปัจจุบัน พบประชากรที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มเป็นจ�ำนวนมาก จากการรายงานของ WHO พบว่า ทุกปีมีผู้ป่วยด้วย โรคหลอดเลือดสมองมากกว่า 15 ล้านคนทั่วโลก โดย 5 ล้านคนพิการถาวร และ 5 ล้านคนเสียชีวติ ซึง่ สอดคล้องกับสถานการณ์ปจั จุบนั ของประเทศไทย ที่พบอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รองจาก โรคมะเร็งและโรคหัวใจ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง คือ พฤติกรรม การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นผู้เขียนจึงมีความประสงค์จัดท�ำ คู่มือเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักการป้องกัน/ดูแลโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยการรับประทานอาหารที่ถูกต้อว่างและเหมาะสม โดยผู้เขียนหวังเป็น ง อย่างยิ่งว่า คู่มือเล่มนี้จะเกิดประโยชน์ต่อผู้อ่าน หากพบความบกพร่อง ประการใดโปรดให้ขอ้ เสนอแนะ ผูเ้ ขียนยินดีนอ้ มรับทุกประการ ขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้
ศรีสุดา วงศ์ประทุม ธีรวัฒน์ ขันหนองโพธิ์ กุมภาพันธ์ 2558
-ก-
กิตติกรรมประกาศ คู ่ มื อ การดู แ ล/ป้ อ งกั น โรคหลอดเลื อ ดสมองด้ ว ยอาหารและ โภชนาการฉบับนี้ส�ำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยความอนุเคราะห์จากที่ปรึกษา รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า รศ.พญ.ประนิธิ หงสประภาส และ คุณกาญจนศรี สิงห์ภู่ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทีช่ ว่ ยตรวจทานและให้โอกาสจัดท�ำคูม่ อื ทีเ่ ป็นประโยชน์แก่ประชาชนฉบับนี้ ขึ้นมา จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ว่าง ศรีสุดา วงศ์ประทุม ธีรวัฒน์ ขันหนองโพธิ์
-ข-
สารบัญ หน้า 1
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร? อาการของโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างไร?
2
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
2
การป้องกันการกลับเป็นซ�้ำของโรคหลอดเลือดสมอง
4
อาหารส�ำหรับการดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ว่าง พลังงานและสารอาหารที่ควรได้รับของแต่ละบุคคล
5 9
เมนูอาหาร จ�ำนวน 7 วัน ส�ำหรับโรคหลอดเลือดสมอง
13
ตัวอย่างวิธี/ขั้นตอนการปรุงประกอบอาหาร
21
อาหารที่มีผลต่อยาต้านการแข็งตัวของเลือด
26
บรรณานุกรม
28
-ค-
ว่าง
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
โรคหลอดเลือดสมองคืออะไร? โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke, Cerebro-vascular accident; CVA, Cerebrovascular disease; CVD) หรือคนทั่วไปอาจใช้ค�ำว่า โรคอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นกลุ่มอาการทางระบบประสาทที่เกิดจากสมอง ขาดเลือด เนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผล ให้เนื้อเยื่อในสมองถูกท�ำลาย การท�ำงานของสมองหยุดชะงัก ท�ำให้ผู้ป่วย กลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1. กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) ผูป้ ว่ ยส่วนใหญ่ ร้อยละ 70-80 จะอยูก่ ลุม่ นี้ สาเหตุเกิดจากการสะสม ของไขมันในหลอดเลือด ท�ำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นน้อยและ ล�ำเลียงเลือดได้ลดลง หรืออาจเกิดจากลิ่มเลือดบริเวณอื่นไหลมาอุดตัน ที่หลอดเลือดสมอง หรือมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมองแล้วขยาย ขนาดใหญ่ขึ้นจนอุดตันหลอดเลือดสมอง 2. กลุ่มหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ท� ำ ให้ บ ริ เวณที่ เ ปราะบางนั้ น โป่ ง พองและแตกออก หรื อ อาจเกิ ด จาก หลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ท�ำให้ หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งอันตรายมาก เนื่องจากท�ำให้ปริมาณเลือด ที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างเฉียบพลันและเกิดเลือดออกในสมอง ส่งผล ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้
-1-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
อาการของโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างไร? อาการแสดงต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นกับระดับความรุนแรงและ ต�ำแหน่งของสมองที่ถูกท�ำลาย ดังนี้ ชาหรื อ อ่ อ นแรงที่ ใ บหน้ า และ/หรื อ บริ เวณแขนขาครึ่ ง ซี ก ของร่างกาย พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น�้ำลายไหล กลืนล�ำบาก ปวดศีรษะ เวียนศีรษะทันทีทันใด ตามัว มองเห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียว ทันทีทันใด เดินเซ ทรงตัวล�ำบาก อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบพบแพทย์ทันที
ปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ อายุ เมื่ อ อายุ ม ากขึ้ น หลอดเลื อ ดก็ จ ะเสื่ อ มตามไปด้ ว ย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้น จากการที่มี ไขมันและหินปูนมาเกาะรูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ เพศ พบว่ า เพศชายมี ค วามเสี่ ย งต่ อ โรคหลอดเลื อ ดสมอง สูงกว่าเพศหญิง -2-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ การแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการจับตัวกัน
ของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ ความดั น โลหิ ต สู ง เป็ น ปั จ จั ย เสี่ ย งที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของโรค หลอดเลือดสมอง จึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ มากกว่าคนปกติ เบาหวาน เป็ น สาเหตุ ที่ ท� ำ ให้ ห ลอดเลื อ ดแข็ ง ทั่ ว ร่ า งกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่า คนปกติ 2-3 เท่า ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ ภาวะไขมันสะสมอยู่ตาม ผนังหลอดเลือด ท�ำให้กีดขวางการล�ำเลียงเลือด โรคหัวใจ เช่น โรคลิน้ หัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุ ของการเกิดลิ่มเลือด ถ้าลิ่มเลือดไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง ก็จะท�ำให้สมองขาดเลือดได้ การสูบบุหรี่ สารนิโคตินและคาร์บอนมอนอกไซด์ทำ� ให้ปริมาณ ออกซิเจนลดลง และเป็นตัวท�ำลายผนังหลอดเลือด ท�ำให้ หลอดเลือดแข็งตัว พบว่า การสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเพิ่ม ความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5% ยาคุมก�ำเนิด ในผูห้ ญิงทีใ่ ช้ยาคุมก�ำเนิดทีม่ ฮี อร์โมนเอสโตรเจน สูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองสูง โรคซิฟลิ สิ เป็นสาเหตุของหลอดเลือดอักเสบและหลอดเลือดแข็ง การขาดการออกก�ำลังกายและโรคอ้วน -3-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
การป้องกันการกลับเป็นซ�้ำของโรคหลอดเลือดสมอง ต้องควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการตีบ อุดตัน หรือแตก ดังนี้ ตรวจสุขภาพประจ�ำปี เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง หากพบต้องรีบ รักษาและพบแพทย์อย่างสม�่ำเสมอ ควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมัน และน�ำ้ ตาลในเลือดให้อยูใ่ น เกณฑ์ปกติ งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมอาหารให้สมดุล หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม หวาน มัน ออกก�ำลังกายสม�่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ควบคุมน�้ำหนักให้เหมาะสม ผู้ที่มีน�้ำหนักเกินควรลดน�้ำหนัก ให้ อ ยู ่ ใ นเกณฑ์ ป กติ ห รื อ อย่ า งน้ อ ยควรลดลง 5-10% ของน�้ำหนักตัวปัจจุบัน รับประทานยาอย่างสม�่ำเสมอตามแผนการรักษาของแพทย์ ห้ามหยุดยาเอง และควรรีบพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการผิดปกติ หากมีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์ ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เอง เป็นปกติ การป้องกันเป็นการรักษาโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด และควรป้องกันก่อนการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
-4-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
อาหารส�ำหรับการดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง เนือ่ งจากร่างกายเราต้องได้รบั พลังงานและสารอาหารทุกวัน หากเรา รับประทานอาหารที่เหมาะสมจะช่วยดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้เป็นอย่างดี โดยจะเป็นอาหารที่ช่วยลดระดับความดันโลหิต ระดับไขมัน ในเลือด น�ำ้ ตาลในเลือด และน�ำ้ หนักตัวให้อยูใ่ นเกณฑ์ปกติ ซึง่ เป็นปัจจัยเสีย่ ง ให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองนั่นเอง • น�้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เราสามารถประเมินน�ำ้ หนักตัวได้ดว้ ยตัวเอง โดยการค�ำนวณหาดัชนี มวลกาย (Body mass index; BMI) ซึง่ สามารถบอกได้วา่ อ้วนหรือผอม ดังนี้ ดัชนีมวลกาย (BMI) = น�้ำหนัก (กิโลกรัม) ส่วนสูง (เมตร)2 เกณฑ์การประเมินน�้ำหนักตัว สภาวะร่างกาย ดัชนีมวลกาย (กก./ม.2) ปกติ 18.5-22.9 น�้ำหนักเกิน 23.0-24.9 อ้วน 25.0 – 29.9 อ้วนอันตราย มากกว่า 30.0 หรือดูได้จากการวัดเส้นรอบเอว ดังนี้ เพศชาย หากมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตร (36 นิ้ว) เพศหญิง หากมีเส้นรอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตร (32 นิ้ว) -5-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ ประเมินได้ว่า มีภาวะ
“อ้วนลงพุง”
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารทีม่ โี ซเดียมสูง ได้แก่ อาหารทีม่ กี ารแปรรูป อาหารกระป๋อง อาหารที่เติมผงฟู/ผงชูรส และเครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น เกลือแกง น�้ำปลา ซีอิ๊ว ซอสต่างๆ
ควรได้รับปริมาณโซเดียมไม่เกินวันละ 2,000 มิลลิกรัม ซึ่งสามารถ ปฏิบัติได้ ดังนี้ รับประทานผักอย่างน้อย 1 ทัพพี/วันและผลไม้เป็นประจ�ำ ทุกวัน โดยมีงานวิจัย จ� ำนวน 8 งานวิ จั ย ที่ ศึ ก ษา ในมนุษย์ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองจ�ำนวน 4,917 คน เป็ น เวลา 13 ปี พบว่ า หากรั บ ประทานผั ก /ผลไม้ มากกว่ า 5 ส่ ว น/วั น สามารถลดภาวะการเกิ ด โรคหลอดเลือดสมองได้ เนื่องจากมีโพแทสเซียมและ สารต้านอนุมูลอิสระจ�ำนวนมาก เมือ ่ รับประทานอาหารนอกบ้าน ควรแจ้งทางร้านค้าปรุงรส อ่อนเค็มและไม่ใส่ผงชูรส น�ำสมุนไพรและเครือ ่ งเทศมาใช้ในการปรุงประกอบอาหาร เพื่ อ ช่ ว ยเพิ่ ม รสชาติ ใ ห้ กั บ อาหารที่ ป รุ ง รสอ่ อ นเค็ ม ให้ น่ารับประทานมากขึ้น เช่น พริกไทย ลูกผักชี รากผักชี กระเทียม หอม ข่า ใบมะกรูด ขิง ใบกะเพรา ฯลฯ
-6-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดองทั้งชนิดเค็มและเปรี้ยว ได้แก่ ปลาเค็ม กะปิ ผลไม้ดอง แหนม ปลาส้ม หน่อไม้ดอง หลี ก เลี่ ย งอาหารที่ มี ร สหวานและเค็ ม จั ด เช่ น หมู แ ผ่ น หมูหยอง หมูสวรรค์ กุนเชียง หลี ก เลี่ ย งอาหารส� ำ เร็ จ รู ป และอาหารฟาสต์ ฟู ้ ด เช่ น บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป โจ๊กซอง แฮมเบอร์เกอร์ เฟรนช์ฟรายด์ หลีกเลี่ยงอาหารกระป๋องและขนมกรุบกรอบ หลีกเลี่ยงอาหารที่เติมผงฟู เช่น เค้ก เบเกอรี ขนมปัง คุกกี้
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน/คอเลสเตอรอลสูง อาหารที่มีไขมัน/คอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ สมองสัตว์ ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หมูสามชั้น มันหมู/ไก่ หนังหมู/ไก่ เนย มาการีน ครีม อาหารทะเล (หมึก กุ้ง หอย)
ควรได้รับปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหารไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม หรือไขมันไม่เกิน 30% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้ เลื อ กวิ ธี ก ารปรุ ง อาหารที่ ไ ม่ ใช้ น�้ำ มั น หรื อ ใช้ น ้ อ ยๆ เช่ น ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ ย่าง ย�ำ แทนการทอด ผัด เจียว รับประทานอาหารอาหารที่มีเส้นใยให้มาก เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช เป็นต้น เลือกรับประทานเนือ ้ สัตว์ทมี่ ไี ขมันต�่ำ เช่น เนือ้ ปลา เนือ้ ไก่ ไม่ติดมัน/หนัง เป็นต้น เลือกดืม ่ นม/โยเกิรต์ พร่องมันเนย ขาดมันเนยหรือไขมัน 0% -7-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ เลือกน�้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงในการปรุงอาหาร เช่น น�้ำมันร�ำข้าว น�้ำมันถั่วเหลือง น�้ำมันข้าวโพด เป็นต้น หลีกเลีย ่ งอาหารทีป่ รุงด้วยน�ำ้ มันทีม่ กี รดไขมันอิม่ ตัวสูง เช่น กะทิ เนย ครีม มาการีน น�้ำมันหมู/ไก่ น�้ำมันปาล์ม มี ง านวิ จั ย จ� ำ นวน 8 งานวิ จั ย ที่ ศึ ก ษาในมนุ ษ ย์ พบว่ า การรับประทานน�้ำมันปลา (fish oil) เดือนละ 1-3 ครั้ง สามารถช่วยป้องกัน การเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ โดยช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์
• ควบคุม/จ�ำกัดอาหารที่มีน�้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรต อาหารที่ มี น�้ ำ ตาลหรื อ คาร์ โ บไฮเดรต ได้ แ ก่ ผลไม้ ทุ ก ชนิ ด น�้ำผลไม้ น�้ำเชื่อม/หวาน เครื่องดื่ม/น�้ำอัดลม ขนมหวาน ข้าว/แป้ง บะหมี่กึ่งส�ำเร็จรูป วุ้นเส้น ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ข้าวโพด เผือก/มัน เบเกอรี ขนมปัง ขนุมกรุบกรอบ ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง
ควรได้รบั ปริมาณน�ำ้ ตาล/คาร์โบไฮเดรตในอาหารไม่เกินวันละ 55% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ เลือกรับประทานผลไม้สดวันละไม่เกิน 3 ส่วน (ดังหมวด ผลไม้ หน้ า 11) แทนการดื่ ม น�้ ำ ผลไม้ / น�้ ำ อั ด ลม/ ขนมกรุบกรอบและขนมไทย ใช้ น�้ำตาลเที ย มใส่ เ ครื่ อ งดื่ ม (ชา กาแฟ โอวั ล ติ น ) และ อาหาร แทนการใช้น�้ำตาลทราย ควรรับประทานข้าว/แป้ง ไม่เกิน 3 ทัพพี/มื้อ ซึ่งข้าว แป้ง 1 ทัพพี สามารถแลกเปลี่ยนเป็นอาหารอย่างอื่นที่ให้ พลังงานและสารอาหารเท่ากัน (ดังหมวดข้าว/แป้ง หน้า 10) -8-
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
พลังงานและสารอาหารที่ควรได้รับของแต่ละบุคคล เราจะทราบได้อย่างไรว่าในแต่ละวัน เราต้องการพลังงานและสาร อาหารเท่าไหร่ ? สามารถค�ำนวณได้จาก น�้ำหนักตัว (กิโลกรัม) x 25 (ส�ำหรับคนที่ไม่ค่อยออกก�ำลังกายและ ผู้สูงอายุ) น�้ำหนักตัว (กิโลกรัม) x 30 (ส�ำหรับคนที่ออกก�ำลังกาย) จะได้ค่าพลังงานเป็นกิโลแคลอรีตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน (kcal/day) ตัวอย่าง นายรักชาติ น�้ำหนัก 60 กิโลกรัม ไม่ชอบออกก�ำลังกาย นั่งเล่นแต่เกมส์ พลังงานที่ควรได้รับคือ 60 x 25 = 1,500 kcal/day หมวดอาหาร
1200 กิโลแคลอรี 1500 กิโลแคลอรี 1800 กิโลแคลอรี เช้า กลางวัน เย็น เช้า กลางวัน เย็น เช้า กลางวัน เย็น ข้าว/แป้ง (ทัพพี) 2 2 2 2 3 3 3 3 3 ผัก (ทัพพี) 1 2 2 1 2 2 1 2 2 ผลไม้ (ส่วน) 1 1 1 1 1 1 1 1 1 นม (แก้ว) 1 - 1 - 1 เนื้อสัตว์ (ส่วน) 2 2 2 2 3 2 2 3 3 ไขมัน (ส่วน) 1 1 2 1 1 2 1 2 2
หมวดอาหาร
ข้าว/แป้ง (ทัพพี) ผัก (ทัพพี) ผลไม้ (ส่วน) นม (แก้ว) เนื้อสัตว์ (ส่วน) ไขมัน (ส่วน)
เช้า 3 1 1 1 3 2
2000 กิโลแคลอรี กลางวัน เย็น 4 3 2 2 1 2 3 3 2 2
-9-
เช้า 4 1 1 1 4 3
2400 กิโลแคลอรี กลางวัน เย็น 4 4 2 2 2 2 4 4 2 3
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
ข้าว/แป้ง
ข้าว/แป้ง 1 ส่วน (พลังงาน 80 กิโลแคลอรี) = ข้าวสวย 1 ทัพพี = ข้าวเหนียว ½ ทัพพี = ขนมจีน 1 จับใหญ่ = ขนมปัง 1 แผ่น = บะหมี่ 1 ทัพพี = ข้าวโพด ½ ฝักใหญ่ = เผือก/มัน 1 ทัพพี
รูปภาพ: ส�ำนักโภชนาการกรมอนามัย, 2555
ผัก 1 ส่วน = 1 ทัพพี (พลังงาน 0-25 กิโลแคลอรี) ผักให้พลังงานน้อย แต่อุดม ไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ ควรรับประทานผักให้มากๆ อย่างน้อยวันละ 5-6 ทัพพี
ผัก
รูปภาพ: ส�ำนักโภชนาการกรมอนามัย, 2555
- 10 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
ผลไม้ ผลไม้ 1 ส่วน (พลังงาน 60 กิโลแคลอรี) = กล้วยน�้ำว้า 1 ผลกลาง = กล้วยหอม ½ ผล = ชมพู่/เงาะ 4 ผลใหญ่ = ฝรั่ง/แก้วมังกร ½ ผลใหญ่ = มะม่วงดิบ/สุก ½ ผลใหญ่ = มะละกอ 8 ชิ้นขนาดพอดีค�ำ = สับปะรด 8 ชิ้นขนาดพอดีค�ำ = องุ่น 20 ผลกลาง = แอปเปิ้ล 1 ผลเล็ก = ส้มโอ 2 กลีบใหญ่
นม/โยเกิร์ต 1 ส่วน (พลังงาน 90-150 กิโลแคลอรี) = นม/โยเกิรต์ 1 กล่อง (240 มิลลิลติ ร) = นม/โยเกิร์ต 1 ถ้วยตวง ควรเลื อ กรั บ ประทานนม/โยเกิ ร ์ ต พร่องมันเนย ขาดมันเนย หรือไขมัน 0% (0% fat)
- 11 -
นม
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
เนื้อสัตว์
เนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) (พลังงาน 35-100 กิโลแคลอรี) = ไข่ทั้งฟอง 1 ฟอง = ไข่ขาว 2 ฟอง = ปลาทูขนาดกลาง 1 ตัว = เต้าหู้แข็ง ½ ชิ้น = เนื้อหมู/ไก่ 30 กรัม = ตับไก่ 30 กรัม = ฮอทดอกเล็ก 2 ชิ้น = ลูกชิ้นไก่/หมู/เนื้อ 5 ลูก
รู ปภาพ: ส�ำนักโภชนาการกรมอนามัย, 2555
ไขมัน 1 ส่วน (พลังงาน 45 กิโลแคลอรี) = เนย, น�้ำมันพืช/ร�ำข้าว/มะกอก/ ดอกค�ำฝอย/ข้าวโพด/ถั่วเหลือง/ ถั่วลิสง/เมล็ดทานตะวัน/หมู/ไก่ 1 ช้อนชา = เนยถั่วลิสง/มายองเนส 1 ช้อนชา = น�้ำสลัด/กะทิ/เม็ดดอกฟักทอง/ เม็ดดอกทานตะวัน 1 ช้อนโต๊ะ =เม็ดถั่วลิสง 10 เม็ด (3 ฝัก) =เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 6 เม็ด
- 12 -
ไขมัน
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
เมนูอาหารโรคหลอดเลือดสมอง เมนูอาหาร 7 วัน ส�ำหรับโรคหลอดเลือดสมอง วันที่
มื้อ
1
เช้า
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ
ข้าวต้มไก่ ข้าวต้ม (ถ้วยตวง) อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) ไข่ลวก (ฟอง) กล้วยน�้ำว้า (ลูก) นมพร่องมันเนย (กล่อง) กลางวัน ข้าวเหนียว (ส่วน) ลาบปลาช่อน เนื้อปลาช่อน (ช้อนโต๊ะ) น�้ำปลา (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย (ช้อนชา) ผักและเครื่องเทศอื่นๆ แกงอ่อมไก่ อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) น�้ำปลา (ช้อนชา) ปลาร้า (ช้อนชา) ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด หอมแดง กระเทียม พริกขี้หนูแห้ง กะหล�่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักชีลาว หรือ ผักอื่นๆ เช่น ใบแมงลัก ใบชะพลู มะเขือ
- 13 -
1200 kcal
1500 kcal
1800 kcal
2 2 1 1 1 2
2 2 1 1 1 3
3 4 2 1 1 4
2 1 1
2 1 1 ตามชอบ
2 1 1
2 1 1
4 1 1 ตามชอบ
4 1 1
ตามชอบ แต่รวมกันแล้วต้อง มากกว่า 1 ทัพพี
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ วันที่
มื้อ
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ
เย็น
2
น�้ำพริกปลาทู ปลาทูตัวเล็ก (ตัว) น�้ำพริก (ช้อนโต๊ะ) ข้าวเหนียว (ส่วน) เช้า ข้าวต้มปลา ข้าวต้ม (ถ้วยตวง) เนื้อปลา (ช้อนโต๊ะ) ส้มผลกลาง (ลูก) กลางวัน ข้าวเหนียว แกงอ่อมฟักเขียวไก่ อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) ฟักเขียว น�้ำปลา (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย (ช้อนชา) ปลาร้า (ช้อนชา) ปลานึ่งมะนาว เนื้อปลาดุก (ช้อนโต๊ะ) มะนาว น�้ำปลา (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย (ช้อนชา) เงาะ (ลูก) เย็น ข้าวเหนียว แกงส้มสายบัว ปลาทูตัวเล็ก (ตัว) สายบัว
- 14 -
1200 kcal
1500 kcal
1800 kcal
2 1 2
2 1 3
3 2 3
2 2 1 2
2 2 1 3
3 4 1 4
2
2 2 อย่างน้อย 1 ทัพพี ½ ½ ½ 1 1 1 1 1 1 2 1 ½ 4 2 1
4 ตามชอบ 1 ½ 4 3 1 ตามชอบ
4 1 ½ 4 3 1
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ วันที่
3
มื้อ
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ
น�้ำปลา (ช้อนชา) กะปิ (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย/ปี๊บ (ช้อนชา) พริกแห้งเม็ดใหญ่ กระชาย หอมแดง ไข่ตุ๋น ไข่ไก่ (ฟอง) น�้ำปลา (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย (ช้อนชา) มะนาว (ช้อนชา) แครอท ผักชี ข้าวโพดอ่อน พริกไทย มะม่วงมันดิบ (ลูก) เช้า โจ๊กไก่ฉีก โจ๊ก (ถ้วยตวง) อกไก่ฉีก (ช้อนโต๊ะ) ไข่ลวก (ฟอง) กระเทียมเจียว (ช้อนชา) ซอสปรุงรส (ช้อนชา) แอปเปิ้ลผลกลาง (ลูก) นมพร่องมันเนย (กล่อง) กลางวัน ป่นปลาทู ปลาทูตัวเล็ก (ตัว) น�้ำปลาร้า (ช้อนชา) พริกหยวก พริกแดง หอมแดง ผักชี
- 15 -
1200 kcal ½ ½ ½
1500 1800 kcal kcal ½ ½ ½ ½ ½ ½ ตามชอบ
1 1 1 1
1 1 1 1 ตามชอบ
2 1 1 1
1
1
1
2 2 1 ½ ½ 1 1
2 2 1 ½ ½ 1 1
3 2 1 ½ ½ 1 1
1 1
1 1 ตามชอบ
1 1
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ วันที่
มื้อ
เย็น
4
เช้า
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ แกงไก่ใบมะขาม อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) น�้ำปลา (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย (ช้อนชา) ใบมะขาม มะนาว ข้าวเหนียว (ส่วน) ลิ้นจี่ (ส่วน) แกงส้มมะละกอไก่สับ มะละกอ ไก่สับ (ช้อนโต๊ะ) น�้ำปลา (ช้อนชา) กะปิ (ช้อนชา) น�ำ้ ตาลทราย/ปีบ๊ (ช้อนชา) พริกแห้งเม็ดใหญ่ กระชาย หอมแดง ไข่เจียว ไข่ (ฟอง) น�้ำมันพืช (ช้อนชา) น�้ำปลา/ซอส (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย (ช้อนชา) น�้ำมะนาว ผัก ข้าวเหนียว (ส่วน) หมกปลาทับทิม ปลาทับทิม (ช้อนโต๊ะ) ปลาร้า (ช้อนชา) น�้ำปลา (ช้อนชา)
- 16 -
1200 kcal
1500 kcal
1800 kcal
2 1 1
4 1 1 ตามชอบ 3 1
4 1 1
2 1 2 ½ ½ 1
1 1 ½ ½
ตามชอบ 2 ½ ½ 1 ตามชอบ
4 1 2 ½ ½ 1
2 1 ½ ½
2
1 1 ½ ½ ตามชอบ 2
2 ½ ½
2 ½ ½
2 ½ ½
3
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ วันที่
มื้อ
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ
ต้นหอม ผักชีลาว ใบแมงลัก ไข่ต้ม (ฟอง) ฝรั่งขนาดกลาง(ลูก) กลางวัน ผัดบวบไข่ ไข่ (ฟอง) บวบและผักต่างๆ น�้ำมันพืช (ช้อนชา) น�้ำปลา/ซอส (ช้อนชา) น�้ำตาล (ช้อนชา) ต้มแซบไก่ อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) พริกแห้ง ขิง ตะไคร้ ใบมะกรูด มะนาวและ ผักต่างๆ น�้ำปลา/ซอส (ช้อนชา) น�้ำตาล (ช้อนชา) ข้าวเหนียว (ส่วน) ส้มเขียวหวานขนาดกลาง (ลูก) เย็น แกงส้มผักบุ้ง ผักบุ้ง หมูชิ้นไม่ติดมัน (ช้อนโต๊ะ) น�้ำปลา (ช้อนชา) กะปิ (ช้อนชา) น�ำ้ ตาลทราย/ปีบ๊ (ช้อนชา)
- 17 -
1200 kcal
1500 1800 kcal kcal ตามชอบ
1 1
1 1
1 1
1
1 ตามชอบ 1 ½ ½
1
1 ½ ½
1 ½ ½
2
4 ตามชอบ
4
½ ½ 2 1
½ ½ 3 1
½ ½ 4 1
2 ½ ½ 1
ตามชอบ 2 ½ ½ 1
2 ½ ½ 1
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ วันที่
5
มื้อ
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ
พริกแห้งเม็ดใหญ่ กระชาย หอมแดง นึ่งปลา ปลา (ช้อนโต๊ะ) แจ่ว ข้าวเหนียว (ส่วน) เช้า โจ๊กไก่ฉีก โจ๊ก (ถ้วยตวง) ไก่ฉีก (ช้อนโต๊ะ) ไข่ไก่ (ฟอง) โยเกิร์ต ไขมัน 0% สับปะรด (ส่วน) กลางวัน ไก่นึ่งตะไคร้ อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) ตะไคร้ แจ่วพริกสด (ช้อนโต๊ะ) ข้าวเหนียว (ส่วน) มังคุด (ลูก) เย็น ต�ำแตง แตงกวา พริก มะนาว ปลาร้า (ช้อนชา) น�้ำปลา (ช้อนชา) ปลาดุกย่าง ปลาดุก (ช้อนโต๊ะ) ข้าวเหนียว (ส่วน) ชมพู่ (ลูก)
- 18 -
1200 kcal
1500 1800 kcal kcal ตามชอบ
2
2
4
2
3
3
2 2 1 1 1
2 2 1 1 1
3 2 1 1 1
4
6 ตามชอบ
6
2 4
3 4
4 4
2 1
ตามชอบ 2 1
2 1
4 2 4
4 3 4
6 3 4
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ วันที่
มื้อ
6
เช้า
7
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ
หมกปลาต้นหอม นึ่งปลาช่อน ปลาช่อน (ช้อนโต๊ะ) ข้าวเหนียว (ส่วน) มะละกอ (ชิ้นพอดีค�ำ) กลางวัน ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ลูกชิ้นไก่ เส้นก๋วยเตี๋ยว ลูกชิ้นไก่ (ลูก) เนื้ออกไก่ (ช้อนโต๊ะ) องุ่น (ลูก) เย็น ลาบไก่ ไก่ (ช้อนโต๊ะ) น�้ำปลา (ช้อนชา) น�้ำตาลทราย (ช้อนชา) หอมแดง สะระแหน่ มะนาว พริก ผักต่างๆ แกงจืดฟักไก่ ฟักเขียว อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) น�้ำปลา (ช้อนชา) แตงโม (ชิ้นพอดีค�ำ) เช้า ปลานึ่งผักลวก ปลา (ช้อนโต๊ะ) ผักลวก แจ่วพริกสด (ช้อนโต๊ะ)
- 19 -
1200 kcal
1500 kcal
1800 kcal
4 2 6
4 2 6
4 3 6
1 5 2 15-20
2 5 2 15-20
3 5 2 15-20
3 1 1
3 1 1 ตามชอบ
5 1 1
2 ½ 6 4 1
ตามชอบ 2 ½ 6 4 ตามชอบ 1
2 ½ 6 4 1
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ วันที่
มื้อ
เมนูอาหาร/ส่วนประกอบ
1200 kcal 2 10
1500 kcal 2 10
1800 kcal 3 10
ข้าวเหนียว (ส่วน) มะไฟ (ลูก) กลางวัน ส้มต�ำ มะละกอ พริก มะนาว ตามชอบ ปลาร้า (ช้อนชา) 1 1 1 ไก่ย่าง อกไก่ (ช้อนโต๊ะ) 4 6 6 ข้าวเหนียว (ส่วน) 2 3 4 กล้วยน�้ำว้า (ลูก) 1 1 1 เย็น น�้ำพริกปลาทู ปลาทูตัวเล็ก (ตัว) 2 2 3 น�้ำพริก (ช้อนโต๊ะ) 1 1 1 ผักลวก ตามชอบ ข้าวเหนียว (ส่วน) 2 3 3 แก้วมังกร(ลูก) 1 1 1 *** หมายเหตุ 1) ปริมาณเครื่องปรุง (น�้ำปลา, น�้ำตาล, น�้ำปลาร้า) ควรเติมไม่เกินปริมาณที่ก�ำหนดไว้ 2) ข้าวเหนียว 1 ส่วน = 35 กรัม (ขนาดเท่ากับไข่ไก่ 1 ฟองโดยประมาณ) = ข้าวสวย 1 ทัพพี = ขนมปัง 1 แผ่น สามารถทดแทน/แลกเปลี่ยนกันได้
=
= - 20 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
ตัวอย่างวิธี/ขั้นตอนการปรุงประกอบอาหาร เมนูที่ 1 ต้มย�ำปลาช่อน ส่วนประกอบ เนื้อปลาช่อนดิบ 2 ช้อนโต๊ะ (40 กรัม) มะเขือเทศ ½ ทัพพี (50 กรัม) เห็ดฟาง ½ ทัพพี (50 กรัม) น�้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) น�้ำปลา ½ ช้อนชา (2.5 กรัม) พริกขี้หนู ½ ช้อนชา (2.5 กรัม) ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) วิธีท�ำ 1. ตั้งน�้ำให้เดือด ใส่ข่าตะไคร้ ใบมะกรูด 2. ใส่เนื้อปลาช่อน มะเขือเทศ เห็ดฟาง ปรุงรสด้วยน�้ำมะนาว น�้ำปลา ชมรสเปรี้ยวน�ำ ปิดไฟ ตักเสิร์ฟ คุณค่าทางโภชนาการ พลังงาน (กิโลแคลอรี) 80
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอล โซเดียม (กรัม) (กรัม) (กรัม) (มิลลิกรัม) (มิลลิกรัม) 5 9 3 14.7 165
- 21 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
เมนูที่ 2 น�้ำพริกปลาทู ส่วนประกอบ เนื้อปลาทู 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม; ตัวเล็ก 1 ตัว) พริกหนุ่ม 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) หอมแดง 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) น�้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) น�้ำปลา ½ ช้อนชา (2.5 กรัม) ผักกาดขาว 1 ทัพพี (50 กรัม) ถั่วฝักยาว 1 ทัพพี (50 กรัม) วิธีท�ำ 1. น�ำเนื้อปลาทูนึ่งให้สุก 2. น�ำพริกหนุ่ม หอมแดง กระเทียม มาคั่วให้สุกและน�ำมาโขลก ให้ละเอียด จากนั้นน�ำปลาที่สุกแล้วมาโขลกรวมกัน 3. ปรุงรสด้วยน�้ำมะนาว น�้ำปลา ตักใส่ถ้วย คุณค่าทางโภชนาการ พลังงาน (กิโลแคลอรี) 87.5
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอล โซเดียม (กรัม) (กรัม) (กรัม) (มิลลิกรัม) (มิลลิกรัม) 6.5 9.6 3 14.7 169.5
- 22 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
เมนูที่ 3 ลาบปลานิล ส่วนประกอบ เนื้อปลานิลดิบ 4 ช้อนโต๊ะ (80 กรัม) พริกป่น 1 ช้อนชา (5 กรัม) น�้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) ผักชีฝรั่ง 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) ใบสะระแหน่ 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) พริกขี้หนูสด 1 ช้อนชา (5 กรัม) ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) น�้ำปลา ½ ช้อนชา (1.25 กรัม) น�้ำตาล 1 ช้อนชา (5 กรัม) ต้นหอม/ผักชีซอย 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) วิธีท�ำ 1. ปรุงน�ำ้ ลาบด้วยน�ำ้ ปลา น�ำ้ มะนาว น�ำ้ ตาล พริกขีห้ นูสดหัน่ ฝอย หอมแดงซอย ต้นหอม/ผักชีซอย ใบสะระแหน่ และข้าวคัว่ บดหยาบ คลุกให้เข้ากัน 2. น�ำเนื้อปลานิลที่สุกแล้วคลุกให้เข้ากัน ตักใส่จาน คุณค่าทางโภชนาการ
พลังงาน (กิโลแคลอรี) 67.5
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอล โซเดียม (กรัม) (กรัม) (กรัม) (มิลลิกรัม) (มิลลิกรัม) 2.5 8 3 19.2 282.5
- 23 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
เมนูที่ 4 ไก่ผัดขิง ส่วนประกอบ หอมใหญ่ 1 ทัพพี (50 กรัม) ขิงหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม) อกไก่ 1 ขีด (100 กรัม) เห็ดหูหนูสด 2 ช้อนโต๊ะ (1.25 กรัม) พริกหยวก ½ ทัพพี (50 กรัม) ต้นหอม ½ ทัพพี (50 กรัม) น�้ำปลา ½ ช้อนชา (2.5 กรัม) น�้ำมันกระเทียมเจียว 1 ช้อนชา (5 กรัม) วิธีท�ำ 1. เจียวกระเทียมใส่อกไก่ หอมใหญ่ ผัดให้สุก 2. ใส่ขิงหั่นฝอย เห็ดหูหนูสด พริกหยวก ผัดให้สุก 3. ปรุงรสด้วยน�้ำปลา คนให้เข้ากัน ตักใส่จาน คุณค่าทางโภชนาการ พลังงาน (กิโลแคลอรี) 125
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอล โซเดียม (กรัม) (กรัม) (กรัม) (มิลลิกรัม) (มิลลิกรัม) 5 9 8 14.7 220
- 24 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
เมนูที่ 5 แกงส้มผักบุ้งปลาทับทิม ส่วนประกอบ ผักบุ้ง ½ ถ้วยตวง (50 กรัม) เนื้อปลาทับทิมดิบ 2 ช้อนโต๊ะ (40 กรัม) น�้ำตาลมะพร้าว ½ ช้อนชา (2.5 กรัม) น�้ำมะขามเปียกเข้มข้น 2 ช้อนชา (10 กรัม) น�้ำปลา ½ ช้อนชา (2.5 กรัม) น�้ำมะนาว 1 ช้อนชา (5 กรัม) น�้ำซุปผัก 1 ถ้วยตวง (240 กรัม)
น�้ำพริกแกง พริ ก แห้ ง เม็ ด ใหญ่ (แกะเม็ ด แช่ น�้ ำ ให้นิ่ม) 2 เม็ด (5 กรัม) หอมแดงปอกเปลือก 3 หัว (15 กรัม) กะปิ ½ ช้อนชา (2.5 กรัม)
วิธีท�ำ 1. นึ่ง/ต้มปลาทับทิมให้สุก พักไว้ 2. ท�ำน�ำ้ พริกแกง โดยโขลกพริกแห้ง หอมแดง กระชายจนละเอียด จากนั้นเติมกะปิและเนื้อปลาที่พักไว้ โขลกให้เข้ากัน 3. ล้างผักบุ้งให้สะอาด หั่นเป็นท่อน พักไว้ 4. ตัง้ น�ำ้ พอเดือด ใส่เครือ่ งน�ำ้ พริกแกงทีโ่ ขลกไว้ลงไป คนให้ละลาย 5. พอน�้ ำ แกงเดื อ ด ใส่ ผั ก บุ ้ ง ปรุ ง รสด้ ว ย น�้ ำ มะขามเปี ย ก ปล่อยให้เดือด ปิดไฟ จากนั้นเติมน�้ำมะนาวและน�้ำปลา ตักใส่ถ้วย คุณค่าทางโภชนาการ พลังงาน (กิโลแคลอรี) 90
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน คอเลสเตอรอล โซเดียม (กรัม) (กรัม) (กรัม) (มิลลิกรัม) (มิลลิกรัม) 11 8 1 0 263
- 25 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
อาหารที่มีผลต่อยาต้านการแข็งตัวของเลือด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่ มักจะได้รับยาต้านการแข็งตัว ของเลือด เช่น Warfarin, Aspirin, Heparin เป็นต้น ซึง่ ต้องหลีกเลีย่ งอาหาร ที่มีวิตามินเค (K) สูง เนื่องจากวิตามินเค มีส่วนช่วยในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งต้านการออกฤทธิ์ของยาดังกล่าว ท�ำให้ประสิทธิภาพของยาลดลง ตารางแสดงปริมาณวิตามินเค โดยประมาณต่ออาหาร 100 กรัม สูง > 200 ไมโครกรัม
ตับ ผักชี คะน้า ผักชีฝรั่ง ผักโขม ปวยเล้ง ชาด�ำ ชาเขียว หัวไชเท้า
ค่อนข้างสูง 100-200 ไมโครกรัม ใบโหระพา ใบกะเพรา ใบแมงลัก บร็อคโคลี กุยช่าย แตงกวา (พร้อมเปลือก) ต้นหอม,หอมหัวใหญ่ ผักกวางตุ้ง น�้ำมันถั่วเหลือง
ปานกลาง 50-100 ไมโครกรัม แอปเปิ้ลเขียว หน่อไม้ฝรั่ง กะหล�่ำปลี กะหล�่ำดอก มายองเนส ถั่วหมัก พืชประเภทฟัก
ต�่ำ < 50 ไมโครกรัม
ไข่ เนื้อหมู เนื้อปลา ขนมปัง กาแฟ แอปเปิ้ลแดง อะโวกาโด มันฝรั่ง ถั่วแระ แครอท ข้าวโพด คื่นฉ่าย แตงกวา (ไม่มเี ปลือก) มะเขือเทศ
ร่างกายต้องการวิตามินเค ประมาณ 100 ไมโครกรัม/วัน ในทาง ปฏิบัติไม่ได้ห้ามผู้ป่วยกินอาหารดังกล่าว เพียงแต่แนะน�ำให้กินในปริมาณ ที่เหมาะสมและคงที่ การกินอาหารที่มีวิตามินเคสูงไม่คงที่จะส่งผลกระทบ ต่อการปรับขนาดยาที่ไม่เหมาะสม จนผู้ป่วยอาจเกิดอันตรายได้ - 26 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ สมุนไพรทีม่ ผี ลต่อการเสริมฤทธิย์ าต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น แปะก๊วย กระเทียม โสม coenzyme Q10 เป็นต้น เนื่องจากสมุนไพร ดังกล่าวช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดขี นึ้ ท�ำให้ประสิทธิภาพดีจนเกินไป ซึง่ อาจ ท�ำให้เกิดอันตรายได้ ยาหม้อ ยาลูกกลอน หรือยาแผนโบราณอื่นๆ ก็อาจมีผลต่อ ระดับยาต้านการแข็งตัวของเลือดได้เช่นกัน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยง
ข้อปฏิบัติตนส�ำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
หลีกเลี่ยงการเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก สวมถุงมือหากต้องใช้อุปกรณ์มีคม ลด ละ เลิก การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระมัดระวังการลื่นล้ม โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่ขับขี่รถจักรยานยนต์ หลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้าม แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ทุกครั้งว่ารับประทานยาต้าน การแข็งตัวของเลือด - 27 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
บรรณานุกรม 1. กาญจนา สิงห์ภู่, สุกานดา อริยนุชิตกุล. คู่มือดูแลสุขภาพส� ำหรับ ประชาชน: เรื่องภาวะไขมันในเส้นเลือดสูง โรคเบาหวานและโรคความ ดันโลหิตสูง. โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 2555. 2. ส�ำนักบริหารการสาธารณสุข. เมนูอาหารโรคหัวใจและหลอดเลือด. ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข, 2555 3. สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 2555 [อ้างเมื่อ 10 กรกฎาคม 2557] http://thaistrokesociety.org/purpose/สถานการณ์โรคสถานการณ์./ 4. ณัฏฐิรา ทองบัวศิริไล, กุลพร สุขุมาลตระกูล และคณะ. อิ่มอร่อย ได้ สุขภาพ สไตล์เบาหวาน. ส�ำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข. 2555 5. Albert CM, Hennekens CH, O’Donnell CJ, et al. Fish consumption and risk of sudden cardiac death. JAMA. 1998; 279: 23–28. 6. Feng JH, Caryl AN, Graham AM. Fruit and vegetable consumption and stroke: meta-analysis of cohort studies. Lancet 2006; 367: 320–26. 7. Gaziano JM, Manson JE, Branch LG, et al. A prospective study of consumption of carotenoids in fruits and vegetables and decreased cardiovascular mortality in the elderly. Ann Epidemiol 1995; 5: 255–260. 8. Joshipura KJ, Ascherio A, Manson JE, et al. Fruit and vegetable intake in relation to risk of ischemic stroke. JAMA 1999; 282: 1233–1239. - 28 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ 9. Ka H, Yiqing S, Martha LD, Kiang L, Linda VH, Alan RD, Uri G, Philip G. Fish Consumption and Incidence of Stroke: A Meta-Analysis of Cohort Studies. Stroke 2004; 35: 1538-1542. 10. Krauss RM, Deckelbaum RJ, Ernst N, et al. Dietary guidelines for healthy American adults: a statement for health professionals from the Nutrition Committee, American Heart Association. Circulation 1996; 94: 1795–1800. 11. Law MR, Morris JK. How much does fruit and vegetable consumption reduce the risk of ischaemic heart disease? Eur J Clin Nutr 1998; 52: 549–556. 12. Ronald MK, Robert HE, Barbara H, Lawrence JA, Stephen RD, et al. AHA Dietary Guidelines: Revision 2000: A Statement for Healthcare Professionals From the Nutrition Committee of the American Heart Association. Stroke 2000; 31: 2751-2766. 13. Siscovick DS, Raghunathan TE, King I, et al. Dietary intake and cell membrane levels of long-chain n-3 polyunsaturated fatty acids and the risk of primary cardiac arrest. JAMA 1995; 274: 1363–1367. 14. Pearson TA, Blair SN, Daniels SR, Eckel RH, Fair JM, et al. AHA Guidelines for Primary Prevention of Cardiovascular Disease and Stroke: 2002. Circulation 2002; 106: 388-391. 15. Bazzano LA, He J, Ogden LG, et al. Dietary Potassium Intake and Risk of Stroke in US Men and Women; National Health and Nutrition Examination Survey I Epidemiologic Follow-Up Study. Stroke 2001; 32: 1473-1480. - 29 -
คู่มือ การดูแล/ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยอาหารและโภชนาการ
แนะน�ำผู้เขียน คุณศรีสุดา วงศ์ประทุม คุณวุฒิ : ครุศาสตรบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) วิทยาลัยครูสวนสุนันทา : ได้รับการรับรองนักก�ำหนดอาหารวิชาชีพ (CDT: Certified Dietitian Thailand) จากสมาคมนักก�ำหนดอาหารแห่งประเทศไทย ต�ำแหน่ง : นักวิชาการโภชนาการช�ำนาญการ หัวหน้างานโภชนาการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ (043) 363221 คุณธีรวัฒน์ ขันหนองโพธิ์ คุณวุฒิ : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโภชนาการและการก�ำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : ประกาศนียบัตรนักก�ำหนดอาหารวิชาชีพ (Certified Dietitian Thailand; CDT) ต�ำแหน่ง : นักวิชาการโภชนาการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ (043) 363486, (043) 363488
- 30 -