การดูแลตนเองในการใช้น้ำผึ้งเพื่อการป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

Page 1

HPMD DB60-001

คู่มือ

การดูแลตนเองในการใช้น้าผึ้งเพื่อการป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบ้าบัด

โดย นางอุบล จ๋วงพานิช นางสาวสุกัญญา จันหีบ

หอผู้ป่วย 5จ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2560 ดูเนื้อหาออนไลน์


ค้าน้า การรักษาด้วยยาเคมีบาบัดเป็นการให้สารเคมีเข้าไปในร่างกายเพื่อทาลาย เซลล์มะเร็งให้หยุดการเจริญเติบโตและแพร่กระจาย แต่อย่างไรก็ตาม ยาเคมีบาบัดอาจ ทาให้เกิดผลข้างเคียงได้หลายประการ เช่น ช่องปากอักเสบ เป็นต้น ซึ่งท่านสามารถดูแล ตนเองเพื่อป้องกันอาการข้างเคียงต่างๆ นั้นได้ คู่มือการดูแลตนเองโดยใช้น้าผึ้งเพื่อการป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบาบัดเล่มนี้ จัดทาขึ้นเพื่อให้ท่านได้รับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง เหมาะสม

ผู้จัดทา มกราคม 2560


สารบัญ เรื่อง คานา สารบัญ บทนา การแปรงฟัน การเลือกแปรงสีฟัน การเลือกยาสีฟัน การบ้วนปาก การทาน้าเกลือบ้วนปาก การดูแลช่องปากกรณีมีฟันปลอม การดูแลริมฝีปาก การบริหารช่องปาก การใช้น้าผึ้ง การรับประทานอาหารและดื่มน้า การประเมินช่องปาก การดูแลกรณีช่องปากอักเสบระดับ 1 การดูแลกรณีช่องปากอักเสบระดับ 2 การดูแลกรณีช่องปากอักเสบระดับ 3 การดูแลกรณีช่องปากอักเสบระดับ 4 การให้คาแนะนาการดูแลตนเองที่บ้าน บรรณานุกรม

หน้า ก ข 1 1 1 2 2 2 2 3 3 3 4 5 6 6 7 7 8 9


1

บทน้า ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบาบัดบางชนิด เช่น การได้รับยากลุ่มอ็อกซาลิพลาติน (Oxaliplatin) ไม่ควรดื่มน้าเย็น อมน้าแข็ง หรือรับประทานอาหารที่มีความเย็น เพราะ จะทาให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้าและเป็นตะคริว อาการข้างต้นอาจรุนแรงขึ้น ในสภาวะอากาศหนาวเย็น ดังนั้นการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี รวมทั้งก่อนให้ยาเคมีบาบัด 5 นาที ให้อมน้าผึ้ง กลั้วปาก จะสามารถป้องกันช่องปากอักเสบได้ เนื่องจากน้าผึ้งมี คุณสมบัติต่อต้านจุลินทรีย์และยับยั้งการเติบโตของแบคทีเรีย คู่มือเล่มนี้จึงขอนาวิธีการ ดูแลช่องปากตามลาดับดังนี้

การแปรงฟัน 1. แปรงฟันเบาๆทั่วช่องปาก วันละ2 ครั้ง หลังตื่นนอนและก่อนนอนแปรงทามุม 45 องศากับเหงือกและแนวแกนฟัน 2. เริ่มที่โคนฟันก่อน ขยับขนแปรงและหมุนไปมาในช่วงสั้นและปัดแปรงลงไปยัง ปลายฟัน ทาเช่นนี้กับฟันทุกซี่ ใช้เวลาครั้งละ2 นาที 3. แปรงลิ้นและนวดเหงือกเบาๆ เป็นการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดบริเวณ ขอบเหงือกให้ดีขึ้น ลดการบวมของเหงือก เหงือกจะแข็งแรงทาให้มีความทน ต่อการเกิดแผลในปาก

การเลือกแปรงสีฟัน ใช้แปรงที่มีขนแปรงอ่อนนุ่มและ ขนาดเล็ก ขนแปรงอ่อนนุ่ม

แปรงที่มีขนาดเล็ก


2

การเลือกยาสีฟัน 1. เลือกยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพราะจะช่วยลดสภาวะความเป็นกรด ในช่องปาก และเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับตัวฟัน 2. ไม่มีส่วนผสมของมิ้นต์ หรือมีรสชาติเผ็ดร้อน 3. บีบใช้ประมาณขนาดเม็ดถั่วเขียว

การบ้วนปาก 1. บ้วนปากด้วยน้าเปล่าหรือน้าเกลือ โดยอมกลั้วในปากและคอนาน 30 วินาที หลังแปรงฟัน หลังอาหารทุกมื้อและก่อนนอน 2. ไม่ควรใช้น้ายาบ้วนปากที่มีแอลกอฮอล์ผสมเพื่อลดการระคายเคืองจะช่วย ชะล้างเนื้อเยื่อที่ตายรักษาความชุ่มชื้นในช่องปาก ช่วยทาให้แผลหายเร็วขึ้น

การท้าน้​้าเกลือบ้วนปาก การผสมน้าเกลือเพื่อใช้บ้วนปากเอง 1. น้าต้มสุก 1 ลิตร 2. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ


3

กรณีมีฟันปลอม 1. ควรถอดทาความสะอาดทุกครั้งหลัง รับประทานอาหาร 2. ถอดฟันปลอมออกทุก 8 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เหงือกถูกกดทับเป็นเวลานาน

การดูแลริมฝีปาก 1. ทาริมฝีปากด้วยวาสลีน 2. เพื่อป้องกันริมฝีปากแห้ง

การบริหารช่องปาก - ฝึกอ้าปากทุกวันอย่างน้อยวันละ 5-6 ครั้ง

การใช้น้าผึ้ง 1. ก่อนให้ยาเคมีบาบัด 5 นาที ให้อมน้าผึ้ง 2. ให้อมน้าผึ้งกลั้วปาก 20 ซีซี เป็นเวลา 5นาที แล้วกลืนและให้ทุก 6 ชั่วโมง จนถึงเวลาก่อน


4

การรับประทานอาหารและดื่มน้​้า 1. รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่ม กลืนสะดวก ไม่เผ็ดโดยเน้นอาหารที่ให้โปรตีนและ พลังงานสูง เช่น ปลา ไข่ เป็นต้น 2. ดื่ ม นมพร่ อ งมั น เนยหรื อ นมถั่ ว เหลื อ งปริ ม าณ 200ซี ซี ต่ อ ครั้ ง วั น ละ 2 ครั้ ง เช้า- เย็น 3. ดื่มน้ามากกว่า 2 ลิตรต่อวัน จะทาให้เกิดความชุ่มชื้นในปาก

การประเมินช่องปาก แบ่งเป็น 4 ระดับ ความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบที่แบ่งเป็น คะแนน 0-4 คะแนน คะแนน 0 เยื่อบุช่องปากปกติ คะแนน 1 เยื่อบุช่องปากเริ่มมีสีแต่ไม่มีอาการปวด คะแนน 2 เยื่อบุช่องปากมีสีแดง บวม มีแผลและปวด แต่รับประทานอาหาร ธรรมดาหรืออาหารอ่อนได้ คะแนน 3 เยื่อบุช่องปากมีสีแดงบวม มีแผลและปวด รับประทานอาหารเหลว และน้าได้ คะแนน 4 เยื่อบุช่องปากอักเสบรุนแรง ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ต้องให้อาหารทางสายยางหรือทางหลอดเลือดดาแทน


5

การประเมินช่องปากที่บ้าน เมื่อกลับบ้าน ลักษณะช่องปากของท่านเป็นอย่างไร


6

การดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบระดับ 1 ดูแลช่องปากตามแนวทางการดูแลช่องปากปกติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การดูแลกรณีที่ช่องปากอักเสบระดับ 2 1. ดูแลและทาความสะอาดปากและฟัน ทุก 2-4 ชั่วโมง 2. รับประทานอาหารอ่อน ลื่น กลืนสะดวก โปรตีนและพลังงานสูง เช่น ข้าวต้มปลา น้าซุป ไข่ตุ๋นใส่เต้าหู้ โจ๊กใส่ไข่ โยเกิร์ต เฉาก๊วย ลอดช่องเป็นต้น 3. บ้วนปากด้วยน้าเกลือหลังอาหารทุกมื้อ 4. งดใช้ไหมขัดฟันในกรณีที่มีอาการเจ็บปวดหรือเกล็ดเลือดต่ากว่า 40,000 ลบ.มม. 5. ให้ดื่มเครื่องดื่มแช่เย็น ที่ให้พลังงาน เช่น น้าหวานปั่น นมถั่วเหลือง น้าผลไม้ระหว่าง มื้ออาหาร 6. หลีกเลี่ยงการดื่มน้าผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพราะจะทาให้เกิดการระคายเคือง เช่น น้าสัปปะรด น้ามะนาวเป็นต้น 7. ใช้ยาบรรเทาปวดและลดการอักเสบตามแผนการรักษา 8. ให้ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อราตามแผนการรักษา 9. ก่อนให้ยาเคมีบาบัด 5 นาที ให้อมน้าผึ้งกลั้วปาก 20 ซีซี เป็นเวลา 5นาที แล้วกลืนและ ให้ทุก 6 ชั่วโมง จนถึงเวลาก่อนนอน 10. และประเมินช่องปาก วันละ 2 ครั้ง


7

การดูแลกรณีที่ช่องปากอักเสบระดับ 3 1. ให้ดูแลช่องปากเหมือนการดูแลช่องปากปกติ และระดับ 1-2 2. ใช้ผ้าสะอาดนุ่มชุบน้าเกลือพันนิ้วมือ เช็ดในช่องปาก แทนการแปรงฟัน ห้ามใช้ไหมขัดฟัน 3. บ้วนปากด้วยน้าเกลือทุก 1-2 ชั่วโมง และทาริมฝีปากด้วยวาสลิน 4. ให้อมน้าผึ้งกลั้วปาก 20 ซีซี เป็นเวลา 5นาที แล้วกลืนและให้ทุก 6 ชั่วโมง จนถึงเวลา ก่อนนอน 5. ใช้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น ไซโลเครนวิสคัส อมกลั้วปากและคอก่อน รับประทานอาหาร และให้ยาต้านเชื้อราและต้านจุลินทรีย์ 6. ประเมินช่องปากวันละ 3 ครั้ง

การดูแลผู้ป่วยทีม่ ีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบระดับ 4 1. ทาความสะอาดช่องปากทุก 1-2 ชั่วโมง โดยใช้ผ้าก๊อซหรือผ้านุ่มๆชุบน้าเกลือพันนิ้วมือ เช็ดปากแทนการแปรงฟัน ห้ามใช้ไหมขัดฟัน 2. ให้สารอาหารทางสายยาง ตามแผนการรักษาของแพทย์ บ้วนปากด้วยน้าเกลือ 3. ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ เช่น 2% ไซโลเคนอมกลั้วปากและ คอก่อนรับประทานอาหาร และให้ยาต้านเชื้อราและต้านจุลินทรีย์ 4. กรณีมีเลือดออกในช่องปาก ให้บ้วนปากด้วยน้าเกลือแล้ว ให้อมน้าผึ้งกลั้วปาก 20 ซีซี เป็นเวลา 5นาที แล้วกลืนและให้ทุก 6 ชั่วโมง จนถึงเวลาก่อนนอน 5. ประเมินช่องปากทุก 8 ชั่วโมง


8

การให้ค้าแนะน้าการดูแลตนเองที่บ้าน 1. ให้คาแนะนา เรื่องประเมินช่องปากตนเองวันละครั้งและปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันและ บรรเทาอาการช่องปากอักเสบ 2. ประเมินช่องปากวันละ 1 ครั้ง เวลา 18.00 น. และบันทึกลงในแบบบันทึก 3. อ่านคู่มือการดูแลตนเอง ในการใช้น้าผึ้งเพื่อการป้องกันการเกิดช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบาบัด 4. ถ้ามีปัญหา ขอคาปรึกษาได้ที่ เบอร์ โทร 043363468-9


9

บรรณานุกรม พิชญาภา พิชะยะ, พรรณวดี พุธวัฒนะ, ลาวัลย์ รักษนาเวศ, สุภัทรา เฟื่องคอน. ผลการใช้ น้าผึ้งต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบและภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอที่ได้รับรังสีรักษาร่วมกับเคมีบาบัด. วารสารโรคมะเร็ง. 2558; 35(3): 103-11. สุกัญญา จันหีบ, ณัฐยา จันทร์สมคอย, อุบล จ๋วงพานิช. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อการป้องกันและบรรเทาการเกิดช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ ที่ได้รับยาเคมีบาบัด. วารสารวิจัยสถาบัน 2558; 3(2): 130-42. Raeessi MA RN, Panahi Y, Gharaie H, Davoudi SM, Saadat A, et al,. Coffee plus honey" versus "topical steroid" in the treatment of chemotherapyinduced oral mucositis: a randomised controlled trial. BMC Complement Altern Med. 2014; 14:293.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.