คู่มือสมุดประจำตัวผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดใต้ชั้นจอตาโปงพอง IPCV

Page 1

สมุดประจ�ำตัวผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดใต้ชั้นจอตาโป่งพอง

(IPCV)

ชื่อ................................................................. นามสกุล................................................................. HN.......................................................................................................................................................... โรงพยาบาล.................................................................................................................................. เบอร์โทรศัพท์............................................................................................................................. การปฏิบัติตัวก่อนและหลังการรับการรักษา ด้วย vPDT ดูตามลิ๊งข้างล่าง Link : https://youtu.be/95EP2NmzOho QR code ส�ำหรับ Dowload File คู่มือสมุดประจ�ำตัว ผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดใต้ชั้นจอตาโป่งพอง IPCV


การได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์เย็นและฉีดยาเข้าวุ้นตา ปีที่ 1 Month

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

6

7

8

9

10

11

12

DD/MM Anti-VEGF vPDT V/A OCT (μm)

ปีที่ 2 Month

1

2

3

4

5

DD/MM Anti-VEGF vPDT V/A OCT (μm)

หมายเหตุ Anti-VEGF : IVR (Ranibizumab), IVB (Bevacizumab) and IVA (Aflibercept)

2


ภาวะหลอดเลือดใต้ชั้นจอตาโป่งพอง (IPCV) เกิดจากความเสื่อมของจอตา ซึ่งหลอดเลือดดังกล่าวอาจแตกและรั่ว เกิดการซึมของเลือด และน�้ำเลือด เข้าไปบริเวณจอตา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณที่เป็นจุดรับภาพชัดของจอตา ผู้ป่วยจะมีอาการตามัว มองเห็นภาพ ไม่ชัด การมองเห็นภาพไม่ชัดจะเป็นมากที่บริเวณส่วนกลางของภาพที่มองเห็น โรคดังกล่าวนี้ผู้ป่วยบางส่วนมีความเรื้อรังจ�ำเป็นต้องมีการติดตามดูแล กับจักษุแพทย์อย่างสม�่ำเสมอ

การรักษาด้วยเลเซอร์เย็นคือ? PDT หรือชื่อเต็ม ๆ เรียกว่า Photo dynamic therapy หรือ การฉายแสงเลเซอร์เย็น เป็นการรักษาในผู้ป่วยภาวะหลอดเลือดใต้ชั้น จอตาโป่งพอง เกิดจากความเสื่อมของจอตา ซึ่งหลอดเลือดดังกล่าว อาจแตกและรั่ว โดยการรักษาประกอบด้วยสองขั้นตอน คือการฉีดยา Verteporfin เป็นสารเคมีที่ ไวต่อแสงเข้าทางหลอดเลือดด�ำ จากนั้นตามด้วย การยิงแสงเลเซอร์เย็น เป็นเวลา 83 วินาที จะท�ำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี ที่ ไ ม่ ใ ช่ ค วามร้ อ นขึ้ น ในจอตา จะไปท� ำ ลายหลอดเลื อ ดที่ ผิ ด ปกติ และ หยุดการรั่วของหลอดเลือดในจอตา

3


การเตรียมตัวก่อนรับการรักษาด้วยเลเซอร์เย็น 1. ควรมีญาติมาด้วย เพราะผู้ป่วยต้องได้รับการขยายม่านตา ทาให้ตาพร่ามัว ประมาณ 4-5 ชั่วโมง 2. เตรียมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด ได้แก่ แว่นตา, หมวก, ถุงมือ, ถุงเท้า, เสื้อแขนยาว, กางเกงขายาว เนื่องจากยา Verteporfin จะท�ำปฏิกิริยากับแสง UV

การปฏิบัติตัวในขณะได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์เย็น 1. ผู้ป่วยจะได้รับการหยอดยาขยายม่านตา และจะได้รับยา Verteporfin ทาง หลอดเลือดด�ำที่แขนช้า ๆ ใช้เวลานาน 8-10 นาที 2. จากนั้ น แพทย์ จ ะท� ำ การรั ก ษาด้ ว ยแสงเลเซอร์ เ ย็ น ซึ่ ง ผู ้ ป ่ ว ยต้ อ งร่ ว มมื อ ห้ามกระพริบตาหรือกลอกตาไปมา เพือ่ แพทย์จะได้สามารถฉายแสงเลเซอร์ได้ตรง ต�ำแหน่งรอยโรคตามระยะเวลาที่ต้องการ 3. เมือ่ เสร็จผูป้ ว่ ยต้องสวมเครือ่ งป้องกันแสงแดดเป็นเวลา 2 วัน เนือ่ งจากร่างกาย ต้องใช้เวลาประมาณ 2 วันในการก�ำจัดยาออกจากร่างกาย ซึ่งยาจะถูกขับออก ทางปัสสาวะ และผิวหนัง **หมายเหตุ** การใช้ครีมกันแดดไม่สามารถป้องกันการเกิดปฏิกิริยาไวต่อแสงได้

4


การปฏิบัติตัวหลังได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์เย็น 1. อาการที่อาจพบได้หลังเลเซอร์ อาจมีอาการตาพร่ามัวชั่วคราว 1-2 วัน หรือมีอาการปวดหลัง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม 2. ผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงการถูกแสงอาทิตย์บริเวณผิวหนังโดยตรง หรือแม้แต่ แสงสว่างจ้า เป็นเวลาประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตร ประจ�ำวันได้ตามปกติ 3. หากการมองเห็นแย่ลง ควรรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด **ควรหลีกเลี่ยง**

 แสงแดดจ้า  แสงไฟที่ ใช้ ในคลินิกทันตแพทย์ หรือ ในห้องศัลยกรรมสถานที่อบให้ผิวสีแทน  แสงไฟฮาโลเจน ที่ ใช้ ในบ้านและในที่ท�ำงานรวมถึงไฟฮาโลเจนที่ ใช้ ในการอ่านหนังสือ  หน้าต่างที่ ไม่ ได้รูดม่านปิดกันแสงแดด  ช่องแสงบนหลังคา

การฉีดยาเข้าวุ้นตาคือ? การฉีดยาปริมาณเล็กน้อย (0.05 – 0.1 ซีซี) เข้าในวุ้นตาซึ่งอยู่ภายในลูกตา โดยฉีดเข้าที่บริเวณตาขาวเพื่อรักษาโรคทางจอตา

การเตรียมตัวก่อนฉีดยา 1. สระผม ล้างหน้าก่อนมาโรงพยาบาล ห้ามแต่งหน้า 2. น�ำญาติมาด้วย 3. รับประทานอาหารและยาที่ทานประจ�ำตามปกติ 5


การปฏิบัติตัวขณะฉีดยาเข้าวุ้นตา 1. ผู้ป่วยนอนหงายราบไม่หนุนหมอน และได้รับการหยอดยาชา และยาฆ่าเชื้อขังตา ที่ฉีดไว้ประมาณ 5 นาที ให้ผู้ป่วยหลับตา 2. แพทย์จะเช็ดรอบ ๆ ตาข้างที่จะฉีดด้วยยาฆ่าเชื้อ จากนั้นจะใช้เครื่องมือเปิดตา ข้างที่ฉีด ผู้ป่วยไม่กลอกตาไปมา โดยมองไปที่ปลายเท้า 3. แพทย์ฉีดยาตรงตาแหน่งที่วัดไว้

การปฏิบัติตัวหลังฉีดยาเข้าวุ้นตา 1. อาบน�ำ้ ได้ โดยอาบตัง้ แต่คอลงไปห้ามล้างหน้าหรือน�ำ้ เข้าตาหลังฉีดยาอย่างน้อย 3-5 วัน ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน�้ำบิดหมาด ๆ เช็ดหน้าแทนเพื่อป้องกันการติดเชื้อ 2. ห้ามขยี้ตาและระวังไม่ ให้สิ่งแปลกปลอมเข้าตา 3. ห้ามนอนคว�่ำหลังฉีดยาเข้าวุ้นตา 1 วัน 4. เมื่อกลับถึงบ้าน สามารถเอาผ้าปิดตาออกได้ในวันถัดไป 5. หยอดยาฆ่าเชื้อ 5-7 วัน 6. ผู้ป่วยอาจมองเห็นตะกอนยาหรือฟองอากาศเป็นเงาด�ำๆ ซึ่งจะจางหายไป ประมาณ 2 สัปดาห์หลังฉีดยา 7. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดตา ตาแดงเนื่องจากความดันตาสูง ตามัวลงหลังฉีดยา เปลือกตาบวม ควรรีบมาพบจักษุแพทย์ก่อนนัด

6


ค�ำแนะน�ำหลังการฉีดยาเข้าวุ้นตา อาการที่อาจพบได้

การปฏิบัติตน

ภาพเหมือนมีฝุ่นลอย ประมาณ 2-3 วันแรก และค่อย ๆ หายไป

ยาหยอดหรือน�้ำตาเทียม ใช้ตามแพทย์สั่ง

อาการ ที่ต้องรีบพบแพทย์

ปวดหรือเคืองตามาก

การมองเห็นแย่ลงมาก จุดเลือดออกเล็ก ๆ บริเวณที่ฉีดยา อาจเคืองเล็กน้อย และค่อย ๆ หายไป

ห้ามน�้ำเข้าตาในช่วง 3-5 วันแรก (ตามแพทย์แนะน�ำ)

ตาสู้แสงไม่ได้

อาการเคืองตามักดีขึ้น 60-70% ในเช้าวันรุ่งขึ้น

ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ท�ำกิจวัตรประจ�ำวันได้ตามปกติ

ตาแดง

7


ตารางทดสอบการมองเห็นส่วนกลางด้วยตนเอง (Amsler Grid)

ปกติ

ผิดปกติ

วิธีการตรวจ

8

 ให้ถือตารางห่างจากตาประมาณ 30 ซม. ระดับเดียวกับระยะอ่านหนังสือ  ใส่แว่นที่ ใช้อยู่เป็นประจ�ำตามปกติโดยเฉพาะผู้สูงอายุต้องใช้แว่นอ่านหนังสือขณะตรวจ  ตรวจตาทีละข้าง ถ้าตรวจตาขวาให้ปิดตาซ้ายไว้  ให้ใช้ตาทีจ่ ะตรวจ มองจุดกึง่ กลางของตาราง ขณะเดียวกันผูป้ ว่ ยจะต้องเห็นรูปสีเ่ หลีย่ มกระจาย ไปจากกจุดกึ่งกลางด้วย  ให้สังเกตว่ารูปสี่เหลี่ยมต่าง ๆ มีขนาดสม�่ำเสมอปกติหรือไม่ หากพบความผิดปกติเช่นจุดตรงกลาง กลายเป็นวงสีด�ำหรือตารางสี่เหลี่ยมเบี้ยว โย้ ยู่ยี่ หรือมีรูปสี่เหลี่ยมบางรูปขาดหายไป ควรรีบ ไปพบแพทย์


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.