Dhammabook EXIT_copyright to Patcharapol Pongpakdee, Mr.

Page 1


ทางออก นายแพทย์พัชรพล พงษ์ภักดี - หมอเกิ้น

พิมพ์ครั้งแรก : พฤษภาคม ๒๕๖๒ จำ�นวน ๓,๐๐๐ เล่ม ดูแลการผลิต/ออกแบบ : หมีอาสา ปก : สามเกลอหัวแข็งกราฟฟิคกรุ๊ป ภาพปกและภาพประกอบ : เซมเบ้ ออกแบบรูปเล่ม : รี ถอดเทป : เอ้ | พิสูจน์อักษร : ฝน ทีมงาน ๑ (ปี ๒๕๕๙) : พิม อุ๊ก เอ้ ยิ้ม ทีมงานดำ�เนินการ ๒๕๖๒ : กู้(แม่หมูแผ่น) ฝน เพลท : บริษัท นครแผ่นพิมพ์ จำ�กัด โทร. ๐ ๒๔๓๘ ๘๔๐๘ พิมพ์ที่ : บริษัท สำ�นักพิมพ์สุภา จำ�กัด ๑๑๘ ซอย ๖๘ ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐ โทร. ๐-๒๔๓๕-๘๕๓๐ 2

ทางออก


เกริ่น เกริ่น บอกกล่าวเล่าความ…

ทุกปัญหามีทางออก… ทุกเรื่องราวมีจุดจบและสิ้นสุดในตัวเอง

มีคนเคยสอนไว้ว่า เวลาเรามีปัญหา… มันมีทางออกใน ตัวของมันเองอยู่เสมอ เพราะสุดท้ายแล้ว ปัญหาก็หมดปัญหา และจบได้ภายในตัวของมันเอง ไม่มีอะไรอยู่กับเราไปตลอด มี เกิดขึ้น ก็มีสิ้นสุดลง กว่าจะเป็น “ทางออก” ที่ทุกคนได้อ่านอยู่ตอนนี้ ผู้จัดทำ� ได้ รั บ แรงบั น ดาลใจจากการได้ ฟั ง พี่ ห มอเกิ้ น ในการพู ด ปิ ด การอบรมคอร์สธรรมะคอร์สหนึ่ง และเห็นว่าเนื้อหาดังกล่าว นอกจากมีประโยชน์กับผู้ที่ได้ฟังในคอร์สนั้น และผู้จัดทำ�เอง ด้วยแล้ว ก็จะเป็นประโยชน์อันเป็น “ทางออก” ให้กับชีวิตของ ใครหลายคนแน่นอนค่ะ ทางออก

3


ตอนที่เข้าไปขอทำ�เรื่องราวเป็นหนังสือเล่ม นี้ ขึ้ น มา พี่ ห มอเกิ้ น บอกไว้ ว่ า .. “เรื่ อ งของ ธรรมะที่ ม าบรรยายครั้ ง นั้ น ถื อ เป็ น การถ่ า ย ทอดแบบเล่าสู่กันฟัง ซึ่งหากว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อื่น ก็ยินดี มาก” หลังจากได้ถอดออกมาเป็นตัวหนังสือจริงๆ ผู้จัดทำ�มั่นใจ เลยว่า นี่คือกำ�ลังใจชั้นดีเยี่ยม นี่คือคำ�ตอบบางอย่าง เชื่อว่านี่ จะเป็ น “ ทางออก” เป็ น หลั ก ของใจ ให้ กั บ บางคนได้ จ ริ ง ๆ นอกจากนี้ก็ยังจะช่วยให้หลักธรรมของศาสนา อันเป็นธรรมะที่ ลึกซึ้ง ได้เผยแผ่ออกไป จากใจ…สู่ใจ คือจากใจของเรา สู่ใจ ของผู้ที่ปรารถนาจะรับธรรมะได้จริงๆ อย่างที่ครูบาอาจารย์ได้ สอนเอาไว้ ในช่วงที่พี่หมอเกิ้นเล่าถึงประสบการณ์ มีช่วงหนึ่งที่ผู้จัด ทำ�ชอบมากคือ “สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นดีเสมอ ไม่ว่าเรา จะได้เจออะไรก็ตาม ไม่มีอะไรที่จะเสียของ ถ้าเรารู้จักที่จะมอง แล้วนำ�มาใช้ให้เห็นธรรมะ” และในหลายๆ ครั้งที่ได้เจอกัน พี่ หมอเกิ้นมักจะสอนให้ดูทุกสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กับเราว่า “ใช้ชวี ติ แต่ละวัน ไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไร เรื่องดี เรื่องร้าย สุขหรือทุกข์ ให้ 4

ทางออก


เป็นประสบการณ์ของจิต ให้เป็นการเรียนรูท้ ไ่ี ด้ประโยชน์เสมอ ไม่มี อะไรที่เสียของนะครับ สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นดีเสมอนะครับ ดีเสมอ แล้วจะคุม้ จะรูส้ กึ ว่าคุม้ ค่าทีไ่ ด้เรียน ทีไ่ ด้เจ็บนะครับ คุม้ ค่า คือได้ประโยชน์ ไม่มอี ะไรทีเ่ สียของเลย…”

“ ทางออก” ในมื อ คุ ณ เล่ ม นี้ อาจจะเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ เส้นทางแบบที่เราแสวงหาคำ�ตอบบางอย่างให้กับเราเอง หรือ อาจจะเป็นคำ�ตอบที่เรารอคอยมาทั้งชีวิตก็เป็นได้นะคะ ทั้งนี้ ทางทีมงานขอกราบขอบพระคุณอาจารย์สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา ที่ได้กรุณาตรวจทาน แนะนำ� และแก้ไขต้นฉบับให้ อ่านง่าย เข้าใจง่าย ลองอ่านและเรียนรู้ดูค่ะ เผื่อจะเป็นทางออกของชีวิตคุณ คณะผู้จัดทำ�

ทางออก

5


บอกกล่าวเล่าความ…ถึงคุณหมอเกิ้น คุณหมอเกิ้น หรือ นายแพทย์ พัชรพล พงษ์ภักดี เป็นหมอ ดมยา หรือ วิสัญญีแพทย์ อยู่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัด นครปฐม ซึ่งก็มีหน้าที่อีกหนึ่งหน้าที่ ที่พี่เขาเต็มใจกระทำ�ยิ่ง คือการช่วยดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จึงได้นำ�บางเรื่องราวมา ถ่ายทอดประสบการณ์ให้ได้เรียนรู้ธรรมะกันในอีกรูปแบบหนึ่ง ในอีกมุมมอง คุณหมอเกิ้น หรือ พี่หมอเกิ้นที่ได้รู้จัก… เป็ น ผู้ ช ายตั ว สู ง ที่ อ่ อ นโยนใจดี ใครได้ อ ยู่ ใ กล้ ๆ ก็ รู้ สึ ก ได้ ถึ ง กระแสที่เย็นชื่นใจด้วยเมตตาเสมอ พี่หมอเกิ้น เคยป่วยอย่างหนัก เป็นโรคที่หาคนเป็นด้วย เปอร์เซนต์ที่ยากมากๆ เคยได้ผ่านช่วงเวลาเจ็บปวดด้วยทุกขเวทนาทางกาย เลยมีต้นทุนเรื่องความเจ็บปวดและการป่วยไข้ ในบางมุมมาเล่าแบ่งปันให้ได้ 6

ทางออก


และอะไรก็ตามที่มี ที่เป็น ที่เกิดขึ้น ที่จบลง เรื่องราวต่างๆ นานา… ทุกอย่างที่เกิด พี่หมอเกิ้นจะบอกว่า … คุ้มค่า ! …

“คุม้ ค่า คือ ได้ประโยชน์ ไม่มอี ะไรทีเ่ สียของเลย…” ขึน้ อยู่ กับว่า เราจะมองให้ได้ประโยชน์ด้วยหัวใจและวิธีการแบบไหน ทุ ก อย่ า งที่ เกิดขึ้น เราได้เรียนรู้อะไรเพิ่ ม ได้ เ ติ ม อะไรลงใน ความเข้าใจ คุ้มค่าในสิ่งที่เราได้รับ

ฉะนั้น อะไรก็ได้ คุ้มค่าทั้งนั้น!

ทางออก

7


ความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรามองอยู่ เราก็จะได้เรียนรู้ว่า ธรรมะนั้นให้อะไร มากกว่าที่เราคิด

8

ทางออก


ทางออก นายแพทย์พัชรพล พงษ์ภักดี (หมอเกิ้น) เมื่อวานไม่รู้พูดหัวข้ออะไรไว้ วันนี้ไม่มีหัวข้อนะครับ ผม พูดไปเรื่อยๆ นะครับ มีท่านใดจะเบรกก็ยกมือถามได้ พูดคุย กันได้ ผมเรียนกับหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ก็ประมาณ ๑๑ ปีกว่าๆ ทุกวันนี้นี่…สิ่งที่ผมปฏิบัติ ก็คือว่า ตื่น มาตอนเช้าไหว้พระ สวดมนต์นะครับ ระหว่างวันก็ทำ�งาน อย่ า งที่ เ รี ย นให้ ท ราบ หมอดมยาจะมี ช่ ว งที่ เ อ็ ก ซ์ ไ ซต์ (Excite-ตื่นเต้น) เป็นระยะๆ เพราะว่าคนไข้ของเรานี่ บางครั้ง ก็ดี บางครั้งก็แย่นะครับ จะมีช่วงให้ตื่นเต้น มีช่วงให้ผมดูจิต ทางออก

9


ไม่ทันก็มีบ่อยครั้งนะครับ ถ้ารู้จักพี่หมอณัฏฐ์ 1 นะครับ ผม ทำ�งานที่เดียวกัน วันนี้พี่ณัฏฐ์ไม่ได้มาตรงนี้ พี่ณัฏฐ์เป็นหมอ ฟัน บางครั้งบางช่วง เราต้องเข้าห้องผ่าตัดด้วยกัน เวลาคนไข้ พี่ณัฏฐ์แย่ๆ ก็ต้องช่วยกัน ตอนนั้นก็บอกพี่ณัฏฐ์ บอกว่า…ผมก็ ดูจิตไม่ทันเหมือนกัน แกก็ไม่ได้ว่าอะไร พี่ณัฏฐ์เป็นอาจารย์ผม ส่วนหนึ่งด้วยนะครับ แต่ถ้าเราเผชิญปัญหาเดิมบ่อยๆ หลังๆ ก็เริ่มรู้ทันขึ้นนะ ครั บ อย่ า งเวลาที่ ต้ อ งเผชิ ญ อะไรที่ เ ป็ น สภาวะที่ เ ราควบคุ ม เหตุการณ์ไม่ได้ ถ้าเราต้องเผชิญอยู่บ่อยๆ เราก็จะดูใจได้ทัน มากขึ้น หรือถ้าต้องเจออะไรบ่อยๆ ดูซํ้าบ่อยๆ ก็...อ้อ เข้าใจ มากขึ้น ไม่ใช่ว่าต้องปล่อยตามยถากรรมนะครับ เช่น เจอ เหตุการณ์แบบนี้เรื่อยๆ แล้วทำ�อะไรไม่ถูกไปตลอด นั่นก็เกินไป สมัยหนึ่ง เจอคนไข้ไม่ดี คนไข้แย่ มีเหตุการณ์ที่เราต้อง ช่วยเหลือเร่งด่วน เคยดูใจไม่ทัน แต่หลังๆ ก็ดูทันมากขึ้น เห็น 1

พี่หมอณัฏฐ์ (ทันตแพทย์ณัฏฐ์ ศรีวชิรวัฒน์) เป็นฆราวาส เป็นหนึ่งในผู้ช่วยสอน ของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

10

ทางออก


ความตกใจ เห็นความกลัว เห็นความกังวล เห็นความกลัดกลุ้ม อะไรแบบนี้ ก็ดูทันมากขึ้น ช่วงเวลาที่ว่าง…ก็พักผ่อนในห้องผ่าตัด บางทีก็นั่งเล่น บางทีก็นั่งสมาธินะครับ วิธีที่ใช้นั่งสมาธิ ผมก็นั่งไขว่ห้างบน โซฟานี่แหละครับ ไม่ต้องนั่งขัดสมาธิอะไร นั่งดูกายดูใจไป บางคนก็นึกว่าหลับ บางครั้งก็หลับจริงๆ ถ้าเพลียมากก็หลับ ไปเลย ในห้องผ่าตัด ต้องเดินไปเดินมาบ่อย พี่ณัฏฐ์เคยสอนว่า ทุกขณะที่เดินนี่เหมือนกับเดินจงกรม เท้าสัมผัสพื้น ก็รู้สึก ตั ว รู้ สึก ตั ว ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เราไม่ ต้ อ งรอให้ มี ท าง จงกรมถึงจะเริ่มเดินจงกรม ขาก้าวลงจากเตียง เหยียบพื้น ก็เดินจงกรมได้แล้วนะครับ เดินจากหอพักไปที่ทำ�งานก็เดิน จงกรมได้นะครับ ผมเดิน เท้าสัมผัสพื้น...รู้สึก รู้สึกตัวไปเรื่อยๆ บางทีก็ขยับนิ้วเล่นไปด้วย บางทีเห็นร่างกายหายใจ บางทีก็ สวดมนต์ สวดมนต์ในใจไปเรื่อยๆ เดินรู้สึกตัวๆ ไปเรื่อยๆ

ทางออก

11


ตกเย็นวันไหนที่ไม่ต้องอยู่เวร กลับบ้านได้เร็ว ก่อนนอน ผมก็ไหว้พระสวดมนต์ ทุกครั้งต้องนั่งสมาธิก่อนนอน เป็นรูทีน (Routine-กิจวัตรประจำ�วัน) ที่ผมตั้งใจไว้ ไม่ว่าวันนั้นจะเป็น อย่างไร หมายถึงว่าจะไม่สบาย จะสบายดีอย่างไรก็แล้วแต่ นอนดึกแค่ไหนก็ต้องนั่งสมาธิก่อน แต่ ผ มไม่ ไ ด้ ลิ มิ ต ( Limit- จำ � กั ด ) ด้ ว ยเวลา ผม ลิมิตว่านั่งจน นั่งไม่ไหว คือ เริ่มไม่ไหวแล้ว แล้วค่อยนอน พอนอนนี่ก็ไม่ได้ นอนไปเลยนะครับ ก็นอนดูลมหายใจไป ดูร่างกายมันนอนไป บางครั้งนอนไม่หลับ อยากไม่หลับเหรอ อยากไม่หลับก็ลุกขึ้น

12

ทางออก


นั่ ง ใหม่ จนง่ ว งเต็ ม แก่ แ ล้ ว ค่ อ ยนอน นอนก็ น อนดู ร่ า งกาย หายใจไปเรื่อยๆ จนหลับ ตื่นขึ้นมาเห็นร่างกายนอนก่อน จน คิดว่าร่างกายแข็งแรงดีแล้ว พร้อมจะลุกก็ลุกขึ้นมา เคยฝืนลุก ทั้งที่ร่างกายไม่พร้อม แล้วมันเหนื่อยมาก ก็เลยเปลี่ยนใหม่ว่า จิตตื่นแล้วนี่ ถ้าร่างกายพร้อมจะลุกขึ้นมาจากเตียง ก็โอเค ลุก ขึ้นมานั่งสมาธิต่อ เป็นอย่างนี้นะครับ ทุกวันตื่นเช้าขึ้นมาก็ วนลูป (Loop-วงจร) อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ทุกวัน ดูความเปลี่ยนแปลง อย่างที่ฟังหลวงพ่อเทศน์ เมื่ อ เช้ า …จะเห็ น ความเปลี่ ย นแปลงของกายของใจไปเรื่ อ ยๆ แล้ ว แต่ จิ ต ที่ จ ะสนใจอะไร บางครั้ ง สนใจกาย เห็ น ความ เปลี่ยนแปลงของกาย ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว รู้สึก หายใจ เข้ า รู้ สึ ก หายใจออกรู้ สึ ก พยั ก หน้ า รู้ สึ ก ยิ้ ม รู้ สึ ก เดิ น รู้ สึ ก เมื่อยไหล่ ขยับแขน รู้สึก รู้บ้างไม่รู้บ้างนะครับ บางครั้งสนใจ ที่ใจ เห็นใจ เห็นจิตเคลื่อนไหว ขณะที่คุยกันนี่ก็เห็นใจขยับ เคลื่อนไหวเบาๆ ก็รู้สึกอย่างที่เขาเป็นไป อะไรเกิดขึน้ เป็นประโยชน์กบั เราได้ทง้ั นัน้ …ไม่มอี ะไรที่ เสียของ ความสุข ความเศร้า ความทุกข์ ความเจ็บ ความแก่

ทางออก

13


ความตาย เป็นประโยชน์ทั้งนั้น คนส่วนใหญ่มักจะมองว่า ที่เราเจอเรื่องวุ่นๆ เรื่องที่ทำ�ให้ชีวิตมีปัญหา เป็นผลเสีย เป็น อะไรที่เราไม่ได้ประโยชน์จากมัน แต่สำ�หรับผม ผมคิดว่าเรามี ช่วงเวลาเหล่านั้นที่ดีนะครับ ยิ่งเจ็บหนักนี่ย่ิงได้ประโยชน์จาก มันเยอะ เป็นหวัด เป็นไข้ ไม่สบาย หายใจแขม่วๆ โอย ไข้ขึ้น ก็เป็นโอกาสที่เราจะได้นอนดูร่างกายหายใจ นอนดูมันไปได้ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ท้องเสีย ดูได้หมด บางครั้งช่วงเวลาที่ แย่ๆ เยินๆ นี่ กลับกลายเป็นว่า จิตว่องไว ดูได้ดีกว่าตอน สบายๆ ซะอีก ทุกท่านถ้าเกิดดูเรื่อยๆ คงเห็น เออ...เป็นอย่าง นั้นจริงๆ นะครับ เราหวั ง เพี ย งว่ า สิ่ ง ที่ เ ราเรี ย นนี่ เป็ น ประโยชน์ กั บ ปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วครับ ปัจจุบันเราเรียนรู้ทุกๆ วันนี่ ประโยชน์คือ เราเห็นการเปลี่ยนแปลงของกายของใจตนเอง เราได้ความทุกข์ที่น้อยลง ประโยชน์ในอนาคตกาล เป็นเรื่อง ของจิตเขานะครับ ปัจจุบันเราให้ข้อมูลที่ถูกต้อง วันหนึ่งเขามี ความเปลี่ยนแปลงอะไร ก็เป็นเรื่องของเขานะครับ ถ้าเราไป ตั้งความหวังไว้ว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ ยิ่งมี ความทุกข์นะครับ ยิ่งอยากมาก ยิ่งไม่ได้ดังอยาก ไม่เหมือน

14

ทางออก


ความสุข ความเศร้า ความทุกข์ ความเจ็บ ความแก่ ความตาย เป็นประโยชน์ทั้งนั้น คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าโอกาสที่เราเจอเรื่องวุ่นๆ เรื่องที่ทำ�ให้ชีวิตมีปัญหาเป็นเรื่องโอกาส...

ไม่ใช่โอกาส เป็นผลเสีย เป็นอะไรที่

เราไม่ได้ประโยชน์จากมัน แต่สำ�หรับผม ผมคิดว่าเรามีช่วงเวลาเหล่านั้นที่ดีนะครับ ยิ่งเจ็บหนักนี่ยิ่งได้ประโยชน์จากมันเยอะ … บางครั้งช่วงเวลาที่แย่ๆ เยินๆ นี่ กลับดูจิตว่องไว ดูได้ดีกว่าตอนสบายๆ ดีซะอีก ทุกท่าน ถ้าเกิดดูเรื่อยๆ คงเห็น เออ เป็นอย่างนั้นจริงๆ นะครับ

ทางออก

15


การทำ � งานทำ � ธุ ร กิ จ ถ้ า มี ตั้ ง เป้ า หมายแล้ ว นี่ ไปไม่ ถึ ง ไม่ ไ ด้ เดี๋ยวไม่ได้โบนัส ธรรมะไม่ใช่ทำ�ธุรกิจนะครับ ธรรมะเป็นอีก เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่เราต้องทำ�เหตุให้ถึงพร้อม ส่วนผลเป็น เรื่องของเหตุอันควรที่พร้อมแล้วในเวลาอันควร สิ่งหนึ่งที่ผมชอบเล่านะครับ เมื่อวานก็เล่าในกลุ่มย่อย อาจซํ้ำ�เรื่องเดิม ในกลุ่มย่อยไม่ว่ากันนะครับ คือ งานไซด์ไลน์ (sideline-งานพิเศษ/งานอดิเรก) งานไซด์ไลน์ผม คือการดูคนไข้ระยะสุดท้าย เคยมีคนมา ตรวจ HA 2 ที่โรงพยาบาล พอเขามาตรวจ ผมบอกตรงๆ ผม ทำ�เป็นงานอดิเรก เพราะว่าโรงพยาบาลไม่ได้สั่งให้ผมทำ� แต่ ผมอยากทำ�นะครับ สมัยนี้นี่เขาชอบให้กระทรวงสาธารณสุข พยายามจะให้แต่ละโรงพยาบาลได้จัดทำ�โครงการการดูคนไข้ ระยะสุดท้ายขึ้น

2

HA = Hospital Accreditation คือกลไกประเมินเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนา ระบบงานภายในของโรงพยาบาล มีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ และพัฒนาทัง้ องค์กร

16

ทางออก


ผมก็พยายามทำ�ในสิ่งที่ผมทำ�ได้ ผมดูเรื่องหน่วยระงับ ปวด ให้ยาแก้ปวดแก่คนไข้ ตามทฤษฎีแล้วคนไข้เกินครึ่งหนึ่ง ที่เป็นมะเร็งจะมีอาการปวดเรื้อรังนะครับ และปวดมากขึ้น เรื่อยๆ จนตาย ฉะนั้น ความตายของแต่ละคนนั้นจะมาด้วย ความทุกข์ทรมานเป็นส่วนใหญ่นะครับ ส่วนมาก มากถึงมากที่สุด จะประเมินความปวดด้วย คะแนนจากศูนย์ถึงสิบ ศูนย์ คือไม่ปวด สิบ คือปวดที่สุดใน ชีวิต มีบางคนคะแนนเกินสิบก็ได้นะครับ แล้วปวดแบบนั้นจน ตาย ต่อให้ใช้ยาแค่ไหนก็เอาไม่อยู่ ต้องให้มอร์ฟีนเยอะขนาด ที่ว่า ถ้าให้ในคนปกติก็คงไม่รอด แต่คนไข้ก็ยังนอนครางอยู่ได้ นอนร้องอยู่ได้ คนไข้เหล่านั้นอยู่ในความทุกข์ทรมานที่ผมก็ ประเมิ น ไม่ ถู ก เหมื อ นกั น ว่ า เขาซั ฟ เฟอร์ (suffer—ทนทุ ก ข์ ทรมาน) ขนาดไหน เป็นคนดีๆ อย่างเรา ถ้าไม่เคยเจอความปวด ขนาดนัน้ คงบรรยายไม่ถูกนะครับ อืม เราช่วยเขาได้อย่างไรบ้าง… ทุ ก วั น นี้ เ ราพยายามหาทางช่ ว ย หาทางทำ� ให้ ห ลายๆ อย่างดีขึ้น สิ่งหนึ่งที่ผมพยายามเสนออยู่เรื่อยๆ ก็ไม่แน่ว่าจะ ช่วยได้แค่ไหนคือ จริงๆ แล้ว เรามีหน้าที่ของตัวเอง เรามี ทางออก

17


หน้าที่ต้องดูแลตัวเอง ดูแลกาย ดูแลใจของตัวเองให้มีความ พร้อมเมื่อถึงเวลานะครับ ถ้าเราจะหวังว่าวันหนึ่งจะมีนางฟ้า ใจดี นางฟ้าพยาบาล เทพบุตร หมอทั้งหลายแหล่ มามะรุม มะตุ้มจัดการดูแลสภาพร่างกายของเราที่ใกล้พังเต็มแก่ ให้อยู่ ในสภาพที่ดีที่สุดก่อนตาย…คงไม่ได้นะครับ ฉะนั้น การที่เราดูแลกายดูแลใจของเราให้พร้อมเมื่อ ถึงเวลา ที่เราไม่รู้มันจะมาถึงเมื่อไหร่ โดยส่วนตัวผมเห็นว่า เป็นเรื่องที่สำ�คัญที่สุดนะครับ เราจะหวังว่าวันหนึ่งเมื่อตอน เราใกล้ตายจะมีญาติพี่น้องคอยยืนอยู่ในห้อง คอยจับไม้จับมือ นวดแข้งนวดขา จะมาคอยส่งเราให้เราไปสู่สุคติ อันนั้นเป็น ความฝันนะครับ หลายๆ คนไม่ใช่อย่างนั้น คนไข้บางคนถูกทิ้งนอนตาย อยู่คนเดียวในห้อง ญาติพี่น้องอยู่ไหนก็ไม่รู้นะครับ เป็นอย่าง นั้นจริงๆ บางคนไปตายอยู่กลางถนนบ้างล่ะ ถูกหมกอยู่ข้าง คูน�ำ้ํ บ้างละ บางคนถูกฆ่าหัน่ ศพบ้างล่ะ เคยมีเหมือนกัน มีเจ้า หน้าที่โรงพยาบาลถูกญาติฆ่าทิ้งและหั่นศพอะไรสักอย่าง โชค ดีผมไม่ต้องไปชันสูตรรายนี้ แต่เคยเจอเหมือนกันที่เละ เน่า

18

ทางออก


มากๆ ชนิดที่พอเอาศพขึ้นมานี่ ชาวบ้านที่รุมรอมุงดูอยู่แตกฮือ เลยครับ เพราะว่าหนอนเป็นๆ โอ้โห บรรยายไม่ถูกว่าปริมาณ เท่าไหร่นะครับ อันนั้นก็น่ากลัวเกินครับ

หน้าที่เราคือหน้าที่ที่มีต่อตัวเอง เป็นอันดับแรก ... คนส่วนใหญ่มักลืมไปว่า หน้าที่ที่เรามี คือ ดูแลรักษากายและใจของตัวเอง

ทางออก

19


เราไม่รู้ว่าต้องตกอยู่ในสภาพไหน เมื่อไหร่ก็ไม่รู้ได้เลย อันนี้แน่นอน คนไข้ผมตอนนี้ที่ยังอยู่ ที่ยังอยู่นะครับ อายุน้อย สุดก็ ๒๒-๒๓ ได้ เป็นมะเร็งเมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้ก็ยังอยู่ และทุกข์ทรมานเพราะว่ามีอะไรหลายๆ อย่าง ทำ�ให้สภาพ ร่างกายทรุดโทรมมากขึ้นเรื่อยๆ เด็กสุดที่เคยดูก็อายุ ๑๓-๑๔ ได้ ตัดขาแล้วมะเร็งก็ลุกลาม ก็ไม่ไหว ก็ตาย เด็กกว่านั้นใน เด็กเล็กๆ ก็มีนะครับ ผมไม่ได้ดู แต่ว่าบางครั้งก็ได้รับคอนซัลท์ (consult-ขอคำ � ปรึ ก ษา) ไปดู บ้ า ง แต่ ส่ ว นใหญ่ แ ล้ ว จะมี เ จ้ า หน้าที่ที่เขาดูกันอยู่ คนไข้ส่วนใหญ่นี่น้อยมากที่จะภาวนามาก่อน และที่ได้ ภาวนามาก็จะเป็นแนวทำ�สมาธิเท่านั้นนะครับ พอถึงจุดที่เรา ให้คำ�แนะนำ� บางครั้งดูหน้าแล้ว เห็นได้เลยว่า คนไข้หลายๆ คนคงลำ�บากที่จะให้คำ�แนะนำ�อะไรแล้วพอจะปฏิบัติตามได้ แค่ เอาชี วิ ต รอดในแต่ละวันก็ลำ�บากแล้วนะครั บ ส่ ว นญาติ ๆ ก็ หน้าดำ�ครํ่ำ�เครียด หลายๆ คนในที่นี้คงมีนะครับที่เราเป็นญาติ เคยเป็นญาติหรือเคยเป็นคนไข้มาก่อน คงพอเข้าใจว่า เมื่อเจอ ปัญหา เจอสภาพหลายๆ อย่างที่เราทำ�อะไรไม่ถูกแล้วนี่ เรา ลำ�บากแล้วนะครับ

20

ทางออก


เพราะฉะนั้นก็มาถึงสิ่งที่ว่า เรามานั่งเรียนกันวันนี้เพื่อ อะไรนะครับ เพื่อประโยชน์ปัจจุบันนั้น แน่นอน เราได้ดูแล ใจตัวเอง เราได้ความทุกข์ท่ีน้อยลง อนาคตนั้น ถ้าฟังที่ผม เล่ามาแล้วนะครับ ก็คงพอเข้าใจว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้นใน อนาคตนั้น มีแน่นอน แน่ยิ่งกว่าแน่ เพราะเราได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะในฐานะที่เราเป็นคนดูแลคนไข้ หรือในฐานะที่เรา เป็นคนไข้ ทั้งสองฝ่าย ทั้งคนไข้และคนดูแลคนไข้ ต่างมีหน้าที่ หน้าที่หนึ่ง คือหน้าที่สำ�หรับคนที่เรารัก หรือคนที่เราดูแล อีกหน้าที่ซ่ึงสำ�คัญกว่าคือหน้าที่ดูแลตัวเอง ไม่ให้ความทุกข์ มันครอบงำ�ใจจนทำ�อะไรไม่ได้ ทำ�อะไรไม่ถูก อย่าให้ความ เศร้าความเสียใจลากพาเราไปไหนก็ไม่รู้นะครับ อย่าให้มีจุด หมายปลายทางที่มืดมนรออยู่ อย่างนั้นก็ไม่ไหว เสียทีที่เกิด เป็นคนนะครับ เสียทีที่มาเรียนธรรมะแล้วไม่ได้ใช้ให้เต็มที่ ความวิเศษของสิ่งที่เราได้เรียนกันในหลายๆ วันมานี้เป็น อย่างไร ผมเชื่อว่า ทุกท่านคงพอทราบจากที่หลวงพ่อได้เทศน์ มา จากที่หลายๆ คนได้ส่งการบ้าน จากที่พี่เลี้ยงได้คุยกันมา ในกลุ่มแล้ว ทางออก

21


แค่ ค วามรู้ สึ ก ตั ว นะครั บ ก็ รู้ สึ ก ดี แ ล้ ว มองแบบง่ า ยๆ ธรรมดา ไม่ต้องคิดอะไรมาก รู้สึกตัว ก็หลุดจากความคิด อ๊ะ มันก็เป็นอีกแบบ… เอ๊ะ ไม่เคยเจอมาก่อน… อ๊ะ เอ๊ะ ก็เพราะไม่เคยรู้สึกตัวได้นะครับ หรือเห็นกาย เห็นใจทำ�งาน เอ๊ะ ก็แปลกดี ใช่ไหมครับ เห็นขันธ์แยก ก็ยิ่ง แปลกใหญ่ นี่ มั น เป็ น แบบนี้ ไ ด้ ด้ ว ยเหรอ ใช่ ไ หมครั บ เห็ น ร่ า งกายเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ใจเป็ น ส่ ว นหนึ่ ง เห็ น ร่ า งกายเป็ น อะไรก็ ไ ม่ รู้ เห็ น ใจ เป็นอะไรก็ไม่รู้อีกแบบหนึ่ง ก็ แปลกดีเหมือนกัน อะไรอย่าง นี้นะครับ นีพ่ ดู แบบเล่นๆ นะครับ แต่ ว่ า มั น คื อ ความเปลี่ ย น แปลงที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เรา มองอยู่ เราก็จะได้เรียนรู้ ว่ า ธรรมะนั้ น ให้ อ ะไรมาก กว่าที่เราคิด

22

ทางออก


หลายๆ ครั้งนี่ผมได้รับคำ�ถามว่า จะมีเหตุ จูงใจอย่างไรให้เราปฏิบัติธรรมต่อไปได้ บาง ครั้งชีวิตประจำ�วันที่มันเนือยๆ เรื่อยๆ นี่ ก็ไม่มีสิ่ง เร้ากระตุ้นให้ย้อนมาดูกาย ดูใจตัวเอง ผมก็ยกเหตุนี้มาเพื่อ โน้มน้าวว่า มันมีอะไรมากกว่าที่เราคิดและรอเราอยู่ อันนี้ เรื่องจริงนะครับและส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนี้ และอย่าคิดหวัง ว่านอนหลับไปพรุ่งนี้ไม่ตื่นแล้วจะไปสุคติ เท่าที่ทราบมาก็ไม่แน่ นะครับ น่าจะเป็นส่วนน้อยด้วยกระมังที่ไปสุคติ ที่หลับแล้วไม่ ตื่น ตอนเช้ามาก็จากไปแล้ว อย่าคิดว่าสบายอย่างนั้นแล้วจะ เป็นสุคติ! อย่าคิดว่านอนแล้วหลับไปดื้อๆ หรือว่าไปโดยไม่พูด ไม่จา ไปโดยสงบ แปลว่าสุคติ! ก็ไม่ใช่อีกนะครับ เคยได้ยินไหมครับที่มีพระไตรปิฎก ผมจำ�ไม่ได้บทไหนที่ พระพุ ท ธองค์ ท รงกล่ า วไว้ ว่ า คนจำ � นวนมากเปรี ย บเสมื อ น ขนโค จำ�นวนมากที่ไปทุคติ คือประมาณว่าขนโคนั่น มีคู่เดียว ที่เป็นเขาโคที่ไปสุคติภูมิ คงประมาณนั้นนะครับ เราอยากจะ เลือกเป็นส่วนไหนนะครับ

ทางออก

23


เราทำ � ทุ ก วั น นี้ เ พื่ อ อะไร...? เพื่อเพิ่มโอกาสในการมี “ทางเลือก” ให้กบั ตัวเองนะครับ ภาวนาเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับตัวเองในการไปในสิ่งที่ ดียิ่งขึ้นไป… หนึ่งคือ ไปสุคติ ไม่ไปทุคติ สองคือ ดีกว่านั้น คือไม่ต้องวนมา ทั้งสุคติ ทั้งทุคติอีกนะครับ ผมเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่สำ�คัญ เพราะไม่อย่าง นั้นนี่ ทำ�ๆ ไป โอ๊ย หมดแรง...นอนดีกว่า ทำ�อย่างไรดีนะ อยากจะมีแรงจูงใจในการภาวนา เดิน อย่างไรดีนะ วันๆ จะภาวนาแบบไหนอย่างไร คำ�ตอบคือ ‘อะไรก็ได้’

24

ทางออก


คุยกันดีไหมครับ ผมอยากฟัง บรรยากาศเริ่มอึมครึม แล้ ว (ผู้ ฟั ง หั ว เราะ) เอาเรื่ อ งคนไข้ ม าพู ด ถึ ง เราถื อ ว่ า เป็ น อุทาหรณ์เล่าสู่กันฟัง แต่ละท่านภาวนาอย่างไร คุยกันได้นะ ครับ ผู้เข้าอบรม ๑: ขอเรียนถามค่ะ ที่ว่าคนไข้จะตาย อาการเขา เป็นอย่างไรคะ คุณหมอเกิ้น: โอ..สารพัดรูปแบบครับ พี่จะเอาแบบไหนล่ะครับ ผูเ้ ข้าอบรม ๑: คือจิตของเขา เขาน่าสงสารไหมคะ แล้วคุณหมอ ช่วยอะไรเขาได้ไหมคะในตอนที่เขากำ�ลังจะตาย คืออย่างน้อยก็ แนะนำ�ทาง คุณหมอทำ�อย่างไรคะ คุณหมอเกิ้น: เอาอย่างนี้ก่อนแล้วกันนะครับ เมื่อกี้ที่เรียนไป แล้วว่า หน้าที่เราคือหน้าที่ที่มีต่อตัวเองเป็นอันดับแรก คน ส่วนใหญ่มักลืมไปว่าหน้าที่ที่เรามีคือ ดูแลรักษากายและใจ ของตัวเอง รักษากายส่วนหนึ่งที่ทำ�ได้ สุดท้ายไม่ไหว ร่างกาย พวกนี้หมอและพยาบาลก็ดูแลให้ได้ แต่ดูแลให้ได้แค่จุดหนึ่งก็

ทางออก

25


ไม่ไหว ฉะนั้น หน้าที่รักษาใจเป็นหน้าที่ของเราเอง ทุกวันนี้ ที่เราเรียนนี่ คือ รักษาใจของเราเองนะครับ ประการต่อมา เมื่อถึงจุดที่ทางเลือกเริ่มน้อยลงเรื่อยๆ แล้ว ทุกคนเข้ามาดูแล ได้บ้างไม่ได้บ้าง ร่างกายจะเป็นอย่างไร มีความหลากหลายใน การเปลี่ยนแปลงเยอะมากนะครับ โรคสารพัดรูปแบบที่จะเข้า มาสู่คนไข้ สุดท้ายจุดปลายทางก็คือว่า การทำ�งาน ฟังก์ช่ัน (Function-การทำ�หน้าที่) หลายๆ อย่างแย่ลงไปเรื่อยๆ จนถึง จุดที่มันทำ�อะไรต่อไม่ได้แล้ว การหายใจล้มเหลว หัวใจล้มเหลว การทำ�งานของสมองยุติลง ก็เสียชีวิต บางคนอาจไม่ได้แค่นั้นนะครับ บางคนทรมานมากกว่า นั้นอีก ครํ่าครวญ เจ็บปวด สับสน ไม่รู้ตัวเนื่องจากว่ามีการ ลุ ก ลามของโรคไปยั ง ส่ ว นต่ า งๆ ในสมอง คุ ย กั น ไม่ รู้ เ รื่ อ ง เอะอะอาละวาด ญาติกังวลเครียดกันเป็นแถว ทำ�อะไรไม่ถูก ให้ยาก็ไม่ดีขึ้น จนเสียชีวิต ผู้เข้าอบรม ๑: แล้วสมมติว่าถ้าเรากำ�ลังจะตาย สมมติตนเอง กำ�ลังจะตายอย่างนี้นะคะ เราควรจะวางจิตอย่างไรคะในเมื่อ ปฏิบัติธรรมก็ยังกระด๊อกกระแด๊ก ยังไม่ได้อะไรมากมาย คือ

26

ทางออก


เราทำ�ทุกวันนี้เพื่ออะไร เพื่อเพิ่มโอกาสในการมี “ทางเลือก” ให้กับตัวเองนะครับ ภาวนาเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับตัวเอง ในการไปในสิ่งที่ดียิ่งขึ้นไป หนึ่งคือไม่ไปทุคติ ไปสุคติ ดีกว่านั้น คือ ไม่ต้องวนมา ทั้งสุคติ ทั้งทุคติอีกนะครับ

ทางออก

27


เห็นได้จากการที่ตัวเองไปผ่าหัวเข่า เอ๊ะ แล้วเราจะทำ�อย่างไรนี่ ได้แต่ดูลมไปเรื่อยๆ อย่างนั้นเอง มันก็ได้แค่นั้นนะคะ แล้วเอ๊ะ ถ้าเกิดเราตายตอนนี้มันจะไปไหนนะ คุณหมอจะแนะนำ�ว่าเรา ควรจะทำ�อย่างไรก่อนตาย คุณหมอเกิ้น: คือว่าถ้าพี่เตรียมมาดีนะครับ หลวงพ่อเคยสอน ผมเอาไว้ว่า คือ ถ้าเราเตรียมมาดีนะครับ เราก็จะมีท่ีพ่ึงอัน ประเสริฐ ทีพ่ ง่ึ นัน้ คืออะไร คือมีตวั เองเป็นทีพ่ ง่ึ มีธรรมเป็น ที่พึ่ง สรุปรวมแล้ว คือใจเราเองมีที่พึ่งนะครับ เราเรียนกันมาเหน็ดเหนื่อย ยาก ทั้งหลายทั้งปวงนี่นะ ครับ นั่งฟังธรรมะ ปฏิบัติธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิกันจน แข้งขาเคล็ดนะครับ ก็เพื่อวันหนึ่งเราจะได้ใช้ประโยชน์ว่า เมื่อเจอปัญหา เมื่อเจอความทุกข์ที่เราคาดเดาไม่ได้ว่าจะ เจอในสภาพไหน เราจะได้มีท่ีพึ่งอันประเสริฐ เราจะได้ใช้ ที่พึ่งอันประเสริฐ คือกายและใจเรานี้เป็นที่พึ่ง ไม่ได้หวังว่า รอ care worker คือคนรอบข้างคอยมาดูแล ไม่ได้หวังว่าวันนัน้ ลูกชายสุดที่รักจะขับรถกลับมาหาเราทัน บางคนอาจอยู่ต่าง ประเทศ อยู่ไกลมาก กลับมาไม่ทันพ่อที่กำ�ลังจะสิ้นใจ นึกออก ไหมครับ 28

ทางออก


ผู้เข้าอบรม ๑: แล้วสำ�หรับคนที่ยังปฏิบัติธรรมยังไม่ได้อะไร อย่างนี้ อย่างเช่นตัวเองนี้ก็เพิ่งเริ่มปฏิบัติ คือ ดูลมหายใจ อย่างเดียวนี่พอไหมคะ ซึ่งดูลมหายใจอาจเป็นแบบแนบๆ ก็ได้ อะไรอย่างนี้ แล้วจะไปทุคติไหมคะ คุณหมอเกิ้น: ถ้าพี่ตั้งความหวังว่าต้องเป็นอย่างไร หวังว่าจะ ต้องไม่เป็นอะไรๆ มีความอยากว่าฉันจะต้องไม่เป็นอย่างนั้น ฉันจะต้องไม่เจอปัญหาอย่างนี้ เป็นไปไม่ได้ครับ แล้วก็ท�ำ ไม่ได้ ด้วยนะครับ เมื่อวานในกลุ่มผมบอก หลวงพ่อเทศน์ คงจำ�ได้ใช่ไหม ครับ หลังจากตอนที่ร่างกายจะไม่ไหวแล้วนี่ จิตจะตัดการรับรู้ ทางกาย วันนี้หลวงพ่อท่านพูดซํ้าอีกรอบหนึ่งนะครับ จิตตัด การรับรู้ทางกาย ทีเ่ หลือเป็นเรือ่ งการทำ�งานของจิตล้วนๆ นะ ครับ ถ้าเราฝึกมาดีแล้ว ฝึกใจของเรามาดีแล้ว เขาทำ�หน้าที่ ของเขาเอง เราบังคับไม่ได้ เราเลือกไม่ได้ เส้นทางนั้นคือเส้น ทางที่จิตเขาเลือกเอง ถ้าเรามีความคุ้นเคยที่เป็นกุศลอยู่

ทางออก

29


เนืองๆ จิตเลือกเส้นทางที่เหมาะที่ควร เขาก็ไปทางที่เหมาะ ที่ควรแก่กุศลนั้น แต่ถ้าเรายังทำ�เส้นทางนั้นไม่ถึงพร้อม จิต ก็มีทางเลือกอื่นแทน ถ้าเราทำ�ทางเลือกให้ตวั เองมีทางเลือก ที่ดีมากยิ่งขึ้น มันก็มีโอกาสไปทางที่ดีมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าเรา เกิดไม่ทำ�อะไรเลยนะครับ มันก็มีทางเลือกไปอีกแบบหนึ่ง เหมือนกัน ถึงเวลาตอนนั้นเลือกไม่ได้ บังคับไม่ได้ ฉะนั้น ก็ ย้อนกลับไปที่พระพุทธองค์ทรงเทศน์ไว้ คนตายส่วนใหญ่ มัน ถึงไปอบายภูมิกันเยอะนักนะครับ ทุกวันนีเ้ ราก็บงั คับจิตเราไม่ได้ใช่ไหมครับ ถึงจุดหนึง่ ทีจ่ ิต ตัดการรับรู้ทางกาย ระบบความปวดไม่สำ�คัญแล้ว ที่เหลือ เป็นการดำ�เนินของจิต ที่หลวงพ่อถามว่า วันนี้นี่ใครบ้างที่ตอน หลับ ฝันแล้วรู้ว่าเรากำ�ลังฝันอยู่ พอตกใจสะดุ้งในฝันก็รู้สึกตัว ได้ อะไรอย่างนี้นะครับ เพราะตอนนั้นขณะนั้นมันเป็นนิมิต แล้ว จิตทำ�งานเขาเองแล้วนะครับ ส่วนจะไปไหนอย่างไรต่อ เป็นเรื่องของจิต ตอบไม่ได้ ผู้เข้าอบรม ๑: ก็เป็นหน้าที่ของกรรมไป เรามีหน้าที่ดูลม ก็ดู ลมไป จะตายก็แล้วแต่กรรม?

30

ทางออก


ทำ�อย่างไรดีนะ อยากจะมีแรงจูงใจ ในการภาวนา เดินอย่างไรดีนะ วันๆ จะภาวนา แบบไหนอย่างไร คำ�ตอบคือ ‘ อะไรก็ได้ ’

ทางออก

31


คุณหมอเกิ้น: หน้าที่ทุกวันนี้ คือ ทำ�เหตุครับพี่ ดูลมคือทำ�เหตุ อย่างสมมติทกุ วันนี้ ก็นอนดูลมหายใจสบายๆ ไป เห็นร่างกาย หายใจ ใจเป็นคนดู หายใจแล้วมีความสุข ฮ้า สบาย ผู้เข้าอบรม ๑: แต่ขณะนั้นในใจก็ เอ๊ะ ถ้าเราดูลมอย่างเดียว นี่นะ เอ๊ะถ้าเราตายไปตอนนี้ เอ๊ะทำ�ไมเรายังแยกความเจ็บ อะไรนี้ยังไม่ได้ คุณหมอเกิ้น: ไม่เป็นไรครับ ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่ต้องคิดว่า เป็นอะไรอย่างไรหรอก ผู้เข้าอบรม ๑: อันนี้คือความที่มันปฏิบัติธรรมก่อนที่ว่าจะเป็น พระโสดาบัน หรืออะไรก็แล้วแต่ คือกลัวตอนตาย แล้วที่แน่ๆ คือตอนที่ไปผ่าเข่าแล้วมันเจ็บมากนี่ คุณหมอเกิน้ : ครับ พีเ่ ห็นขันธ์ เห็นเวทนามันแยกออกไปไหมครับ ผู้เข้าอบรม ๑: เห็นเป็นระยะค่ะ

32

ทางออก


คุณหมอเกิ้น: เห็นร่างกายส่วนหนึ่ง เวทนาแยกเป็นส่วนหนึ่ง ออกไป ผู้เข้าอบรม ๑: เห็นเป็นบางครั้ง ถ้าเราตั้งใจจะไปดู อันนั้นได้ คุณหมอเกิ้น: เห็นใจฟุ้งซ่านกระสับกระส่ายเวลาที่ความเจ็บ ปวดแทรกเข้ามาไหมครับ ผู้เข้าอบรม ๑: เห็นค่ะ แล้วมันจะแทรกเข้าไปรวมอยู่กับตัวเจ็บ ตลอด ดึงไม่ขึ้น คุณหมอเกิ้น: ถ้าไปรวมกันนะครับ ความปวดรวมในขานี่เป็น เราปวดแล้ว โอ๊ย ทรมาน จิตใจก็กระสับกระส่ายฟุ้งซ่าน ถ้า ปวดใหม่ นอนมองเล่นๆ ดูนะครับ อ้อ ความปวดเป็นส่วน หนึ่ง ขาเป็นส่วนหนึ่ง จิตที่กระสับกระส่ายฟุ้งซ่านมันก็ไม่คงที่ มีความเปลี่ยนแปลง ผู้เข้าอบรม ๑: มันไม่ได้เป็นคนละส่วนอย่างนั้น คุณหมอเกิ้น: ผมขออนุญาตนะครับ อย่าหาว่าผมอย่างนั้นเลย ทางออก

33


ผู้หญิงจะมีความปวดประจำ�เดือนใช่ไหมครับ เป็นเรื่องที่เกิด ขึ้นได้ เมื่อหลายเดือนก่อนผมเคยปวดท้อง ตอนนั้นกลับจาก คอร์สที่เขื่อนท่าทุ่งนา หมอสั่งไม่ให้กินอะไรสักอย่าง แล้วผม แอบกิน ตอนนั้นล้างพิษตับ ผมก็ตามทำ�กับเขาไปด้วย หมอ บอกว่าห้ามกินเนื้อสัตว์ในช่วงล้างพิษตับ ผมดื้อแอบกินเนื้อ สัตว์ กินก่อนขับรถจากเมืองกาญฯ กลับมาบ้านนครปฐม พอ เริ่มกินอาหารไปสักพักหนึ่ง โรคกระเพาะก็กลับมาหลังจากไม่ เป็นมาหลายสิบปีนะครับ คงจะคล้ายๆ กับคนที่มี ดิสเมนอเรีย (Dysmenorrhea อาการปวดประจำ�เดือน) ที่มันปวด แต่นี่ไม่ใช่ดิสเมนฯ นะครับ เพราะผมไม่ได้มีอันนั้น (ผู้ฟังหัวเราะ) ปวดกระเพาะ โอ้โห ไม่ เคยปวดกระเพาะอะไรขนาดนี้มาก่อน ทั้งๆ ที่ผมมีความปวด ส่วนหนึ่งแทรกเป็นระยะๆ ให้ลองดูเล่นอยู่แล้วนะครับ แต่นี่ เป็นของใหม่ไม่คุ้นเคยนะครับ ปวดแบบว่าท้องจะระเบิด ขับรถ ด้วย อืม ลูก-เมียก็นั่งมาด้วย อืม ปวด...ไม่เป็นไร ลองมอง ลองดู

34

ทางออก


หน้าที่หนึ่ง คือ หน้าที่สำ�หรับคนที่เรารัก คนที่เราดูแลด้วย หน้าที่สำ�คัญกว่า... คือ หน้าที่ดูแลตัวเอง ไม่ให้ความทุกข์มันครอบงำ�ใจ จนทำ�อะไรไม่ได้ ทำ�อะไรไม่ถูก ให้ความเศร้า ความเสียใจ ลากพาเราไปไหนก็ไม่รู้นะครับ มีจุดหมายปลายทางที่มืดมนรออยู่ อย่างนั้นก็ไม่ไหว เสียทีที่เกิดเป็นคนนะครับ

ทางออก

35


ตอนแรกก็มองแยกขันธ์ก่อน แยกขันธ์ เอาความปวด เป็นส่วนหนึ่ง เอ๊ะ เอาไม่อยู่แฮะ มันปวดมากนะครับ เลยนึก ขึ้นได้ หลวงพ่อเคยสอนไว้ เวลาผมมีความปวดเยอะๆ ท่านให้ มองเป็นขณะๆ เป็นช็อตๆ เลย มองให้ละเอียดเหมือนสับเป็น เส้นเล็กๆ นึกออกใช่ไหมครับ แยกเป็นขณะๆ แยกเป็นช็อต แบบช็อตสั้นๆ เลย ทีนี้มองใหม่ ขับรถไป ดูไปด้วย รู้สึกความทุกข์นี่มันจะขึ้นเป็นเคิร์ฟ (curve-กราฟโค้ง) ความปวดขึ้นเป็นเคิร์ฟ ปวด แล้วก็ลง เป็นไซน์เคิร์ฟ (Sine Curve) ขึ้ น สู ง สุ ด แล้ ว ก็ ล ง ใช่ ไ หมครั บ ก็ ม องไป มั น ขึ้ น ไม่ ต่อเนื่องกัน สันตติขาดเป็นระยะๆ เป็นส่วนๆ แยกให้เห็นเป็น กราฟแท่งเลยนะครับ ก็นั่งมองไป ขณะที่ปวดเพิ่มขึ้น ทุกขเวทนาเพิ่มขึ้น ยินร้ายเพิ่มขึ้น นึกออกใช่ไหมครับ โทสะเพิ่มขึ้น ตามความปวด ดีกรีโทสะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่งมองไป อ้อ เป็น อย่างนี้น่เี อง มันไม่ต่อเนื่องกันด้วย ถึงจุดแม็กซิม่มั (maximumจุดสูงสุด) แล้วก็เริ่มลง เริ่มสู่ดาวน์สโลป (down slope-ช่วง กราฟขาลง) แค่เริ่มสู่ดาวน์สโลปนี่เราก็ยินดีแล้ว นึกออกใช่ไหม แค่เริ่มสู่ดาวน์สโลปของเพน (pain-ความเจ็บปวด) นะครับ พูด ภาษาอังกฤษก็พอเข้าใจนะครับ แค่เริ่มขาลงมันก็เริ่มยินดีแล้ว ดีใจแล้ว โอ้ เริ่มหายแล้ว 36

ทางออก


แค่โทสะคลายนี่ถือเป็นความดีใจแล้ว เอ้า เอ๊ย! หาย ดีใจ จังเลย แล้วก็เริ่มมาใหม่อีก สักพักไม่ไหวแวะข้างทาง อ้วก แล้ ว ก็ เ ป็ น อย่ า งนี้ จ นถึ ง บ้ า น คื น นั้ น ทั้ ง คื น ก็ ป วดไปจนเกื อ บ สว่าง นอนดูอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นอนดูไป ดูซิมันจะได้แค่ไหนกัน ก็เลยได้ไอเดียว่า อ้อ เดิมทีผมจะมีความปวดซึ่งเป็นโรคเก่าอยู่ อันนั้นก็เห็นว่าปวด เสียดจากหน้าอกไปทะลุหลังเลย อันนั้น เห็นอยู่เรื่อยๆ อยู่แล้วเป็นระยะๆ เอาไว้ซ้อมเป็นประจำ�อยู่แล้ว อันนี้ของใหม่ เลยรู้ว่าเรามอง เราดูเวทนาได้หลายรูปแบบ จะ ดูอย่างที่หลวงพ่อเคยสอนว่า เวทนาแยกจากขันธ์ก็ดูได้ จะดู เวทนาเป็นช็อตๆ อย่างนี้ก็ได้ประโยชน์อีก เห็นเวทนาที่เพิ่มขึ้น โทสะก็เพิ่มขึ้นเลยนะครับ แค่โทสะลดลง ก็ดีใจแล้ว ผมเคยแนะนำ�กลุ่มไหนไม่รู้ว่า วันไหนใครมีดิสเมนอเรีย ปวดนะครั บ ลองดู อ ย่ า เพิ่ง รี บ กิ น พอนสแตน (Ponstan-ยา บรรเทาการปวดประจำ�เดือน) ลองดูความปวดก่อน แต่ไม่รู้ จะไหวหรือเปล่านะ ไม่ได้กินล่วงหน้าจะปวดหนักหรือเปล่าผม ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับ ในเวลาที่เรามีความทุกข์ เราเรียนรู้ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้น ฉะนั้ น เราหาประโยชน์ จ ากเรื่ อ งเหล่ า นั้ น ได้ ไม่ ใ ช่ ใ ห้ มั น ทางออก

37


ครอบงำ�จิตใจเราจนทำ�อะไรไม่ถูก ไม่ใช่เป็นอะไรขึ้นมาแล้ว หงุดหงิดอาละวาดนะครับ ผู้เข้าอบรม ๒: ถ้าฝึกใหม่ๆ เวลาดู เราก็ต้องคิดนำ�ไว้ก่อน คิด นำ�แบบว่านี่เป็นส่วนหนึ่ง อันนี้เป็นอีกส่วนหนึ่ง อะไรอย่างนี้ น่ะค่ะ คุณหมอเกิน้ : ก็ได้ จะคิดนำ�ก่อนก็ได้ ก็ตอนนี้นะครับ ตอนที่ยัง แข็งแรงอยู่ก็ซ้อมไปนะครับ เห็นร่างกายเป็นส่วนหนึ่ง ใจเป็น ส่วนหนึ่ง สมมติว่าซักพักคุณเดินชนโต๊ะอะไรซักอย่าง ชนโป๊ก อ๋อ.. เห็นหัวเจ็บขึ้นมา ลองดูซิว่า เวทนาแทรกเข้ามาใช่ไหมครับ มีดบาด อ๋อ..มีเวทนาแทรกเข้ามาในขันธ์ ซ้อมนะครับ ซ้อมเล่น เรื่อยๆ ก็ได้ วันหนึ่งที่มันเกิดขึ้นโดยเหตุการณ์ท่ีไม่คาดฝันนะ ครับ เราก็จะได้เห็นเหมือนเราเตรียมพร้อมไว้กอ่ น ทุกวันนี้ที่เราเรียนอยู่จากการฟังซีดี จากการฟังเทศน์ จากการปฏิบัติจริง นี่คือการซ้อมอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว ใช่ไหม

38

ทางออก


ครับ มีสติ รู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็น กลาง นะครับ แล้วก็เห็นขันธ์กระจาย เห็นขันธ์แยกจากกัน เห็นอะไรต่างๆ อย่างนี้เราก็ซ้อมทุกวันอยู่แล้ว เมื่อเจอสนาม จริง จะได้ไม่ตื่นสนามนะครับ เพราะเราไม่รู้ว่าของจริงจะมาเมื่อไหร่ ความปวดเล็กๆ น้อยๆ นีอ่ ย่าทิง้ นะครับ เป็นหวัด เป็นไข้ ไม่สบาย ก่อนจะเริม่ กินพาราฯ (พาราเซตามอล-ยาระงับปวด) ก็นอนดูซะหน่อย

ทางออก

39


เป็นไข้อย่างไร มึนแค่ไหนอย่างไร เห็นความมึนมันกระจายอยู่ ในหัว แต่จิตเขายังสบาย โปร่ง โล่ง สบายดีอยู่ อ๋อ แปลกดี แฮะ อะไรอย่างนี้นะครับ เวทนาความมึนแทรกเข้ามา ร่างกาย ก็เป็นส่วนหนึ่ง ใจที่ดูก็เป็นอีกส่วนหนึ่งนะครับ เราก็นอนเล่น ไป บางที กาย-เวทนา-ใจก็รวมกัน บางทีใจก็ทุกข์ นอนดู ใจก็ ฟุ้งซ่านกระจัดกระจาย กระวนกระวาย จะเป็นอะไรมากไหมนะ เป็นไข้เลือดออกหรือเปล่านะ จะช็อคตายไหมนะ อะไรอย่างนี้ แต่เวลาไข้ข้ึน กังวลมาก ไม่แน่ใจ ก็ไปหาหมอเจาะซีบีซี (CBC: Complete Blood Count -การตรวจความสมบูรณ์ของ เม็ ด เลื อ ด) ดู เกล็ดเลือด คือไม่ใ ช่นอนดูจนตายคาที่น ะครั บ ปล่อยให้โรคเป็นจนอาการหนัก อย่างนั้นไม่ได้นะ ต้องดูด้วย ว่าถึงคราวก็ต้องไปรักษา ขืนนอนปล่อยจนแย่ นั่นก็เกินไปนะ ครับ ก็ต้องมีทั้งสติด้วย มีทั้งปัญญาทางโลกด้วยว่าควรต้อง ทำ�อะไรเมื่อถึงคราวต้องทำ� เมื่อหลายปีก่อน สิบกว่าปีแล้วกระมังครับ ขออนุญาตนะ ครับ มีพระรูปหนึ่งที่วัดใกล้บ้านผม ท่านปวดท้องมาก มาผ่า เป็นไส้ต่ิงแตกทีหลังแล้ว แต่ว่าไม่ไหว ท่านเสียชีวิต ผมยังไม่

40

ทางออก


แน่ใจว่าที่ท่านทนเพราะท่านต้องการจะดูเวทนาหรือเปล่านะ ครับ เพราะฉะนั้นนี่คือ อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในกายในใจของเรา ถ้าเราไม่ชัวร์ (sure-แน่ใจ) ไม่แน่ใจ ไปหาหมอนะครับ หรือถ้า มั่นใจว่าไม่มีอะไรร้ายแรงนะครับ ดูได้ก็ดูไว้ก่อน แต่ถ้าไม่แน่ใจ เช่นปวดท้องนี่ ถ้ามันเป็นอย่างเดิมที่เคยเป็นก็ไม่เท่าไหร่นะ ครับ ถ้ามันไม่ใช่หรือมันมีแนวโน้มจะมากกว่าเดิมก็ต้องรักษา ด้วย ไม่ใช่ดแู ต่เวทนาไปเรือ่ ยๆ เดีย๋ วอันตราย ก็บอกเผื่อไว้ด้วย นะครับ เดี๋ยวจะดูจนแก้ไม่ได้แล้ว พอไหวนะครับ อีกนิดหนึ่งสำ�หรับคนที่ป่วย คนที่ใกล้ ตาย คนที่ไม่เคยภาวนา… หลวงพ่อฯ ก็จะแนะนำ�อยู่เรื่อยๆ เราจะบอกเขาอย่ า งไรในคนที่ ไ ม่ เ คยภาวนา ก็ แ นะนำ � ให้ นึกถึงแต่สิ่งที่ดีๆ สิ่งที่เป็นกุศลนะครับ ไม่ใช่ตกปลาแล้วเขามี ความสุขก็ให้เขานึกถึงตอนตกปลาเรื่อยๆ ไม่เอานะครับ นึกถึง สิ่ ง ที่ เ ป็ น กุ ศ ล เช่ น บางที ผ มก็ แ นะนำ � ว่ า เอ้ า นึ ก ถึ ง ตอนไป ทำ�บุญ ไปถามญาติว่าคนไข้เคยไปทำ�บุญทอดกฐิน เคยเป็นเจ้า ภาพกฐินอะไรที่ไหน เคยทำ�ในสิ่งที่ดีร่วมกับคนในครอบครัว แล้วเขาชอบไหม ถ้ามีก็บอกให้เขาคุยไปเรื่อยๆ ให้นึกถึงบ่อยๆ นะ

ทางออก

41


ถ้าไม่มีล่ะ อย่างถ้าเจอแบบคุณยายแก่ๆ ที่ตลอดชีวิตมา แทบไม่เคยใส่บาตรเลยนะครับ เอาอย่างไรดีนะ พอนึกถึง เอ้า ยายมีลูกหลานคนโปรดไหม เอ้า ใครที่ชอบล่ะ คนนี้เหรอ เอ้า ให้เขาลองดูซิถ้าเขาพอมีเวลาอย่างน้อยก็ให้มาเป็นเพื่อนยาย หน่อยอะไรอย่างนี้ ให้ยายได้อย่างน้อยก็มีความสุขขึ้นมาบ้าง แต่ความสุขต่างๆ เหล่านี้ยังต้องพึ่งพาอาศัยในสิ่งอื่นนะครับ มันก็ไม่แน่ ยายจะไปอยู่กับหลานหรือเปล่าผมก็ไม่ทราบตรง นั้นนะครับ แต่ถ้านึกถึงสิ่งที่เป็นกุศลได้ ก็มีทางเลือกเพิ่ม มากขึน้ ทีเ่ ขาจะได้ไปดี แต่กไ็ ม่แน่อีกนะครับ ถึงตอนท้ายสิ่งที่ ทำ�มาชั่วชีวิต มันก็เป็นตัวบอกเราว่าเราจะไปทางไหน เคยเล่นเกมที่หลวงพ่อเคยแนะนำ�ไหมครับ วันๆ หนึ่งลอง ติ๊กดูว่าในเวลาหนึ่งนาที สองนาที เรามีโทสะเท่าไหร่ โมหะ เผลอ เบลอ หลงไปเท่าไหร่ โลภะเท่าไหร่ นั่นคือแนวโน้มใน หนึ่งนาทีใช่ไหมครับ ห้านาทีก็ได้ หนึ่งนาทีอาจสั้นไป ราคะ โผล่มาแล้ว โทสะ หงุดหงิด นั่งๆ เล่นอยู่คนเดียวก็ทะเลาะกับ ตั ว เองได้ นึ ก ออกใช่ ไ หมครั บ เพราะฉะนั้ น นี่ อ ย่ า หวั ง ว่ า จะ ทำ � งานกั บ เพื่ อ นร่ ว มงานแล้ ว ชี วิ ต ราบรื่ น มี ค วามสุ ข ทั้ ง หมด เป็นไปไม่ได้ นั่งดูคนเดียวนี่ นั่งเล่นๆ ไป เดี๋ยวก็นึกขัดแย้ง

42

ทางออก


กันเองอีกแล้ว ไอ้นนู่ ที ไอ้นท่ี ี อยูต่ วั คนเดียวยังหาเรื่องทะเลาะ กันเองได้ นับประสาอะไรอยู่กับคนอื่นจะไม่ตีกัน เพราะฉะนั้นนี่ จะหวังความสงบสุข ราบรื่นในชีวิต เป็นไปไม่ได้นะครับ ชีวิตมีเรื่องให้เราได้ตื่นเต้นและเรียนรู้อยู่เรื่อยๆ นะครับ หลายคนมองว่าต้องเป็นอย่างนั้นสิ ต้องเป็นอย่างนี้สิ เป็น เรื่องที่อยากจะบอกว่าไร้สาระเกินไปนะครับ ให้เห็นความจริง ความจริง คืออะไรก็ตามที่ปรากฏใน กาย ในใจเรานะครับ ไม่ได้อยู่นอกกายนอกใจเรา ไม่ใช่อะไร ที่ปรากฏคือภาพที่อยู่ตรงหน้าผม อะไรที่ปรากฏที่จะทำ�ให้เรา พัฒนาขึ้นได้อยู่ข้างในนี้ ย้อนรู้สึก…แค่รู้สึก…บอกไม่ถูกว่าแค่ รูส้ กึ แค่ไหน ก็แค่รู้สึก… รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง อย่างตอนนี้แต่ละท่าน รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงในใจ อย่างไรบ้าง แค่นั้น แค่รู้สึกถึงเขากำ�ลังทำ�อะไรอยู่ เห็นจิต กำ�ลังทำ�งานขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวอย่างไร เห็นจิตมีความสุข ความทุกข์ ความดีใจ มั่นใจ ภูมิใจ อิ่มเอิบใจ กังวลใจ ไม่มั่นใจ เห็นนามธรรมที่กำ�ลังเคลื่อนไหวอยู่ข้างใน ต่อไปบางท่านอาจ

ทางออก

43


เห็นละเอียดถึงว่า แค่มีอะไรมากระทบ จิตก็มีการขยับ ขยับ เหมื อ นกลุ่ ม ก้ อ นพลั ง งานอะไรบางอย่ า ง กำ � ลั ง ขยั บ เขยื้ อ น เคลื่อนไหวตามสิ่งที่มากระทบก็ได้ มันขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงไป บังคับไม่ได้ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่พอ เราหลงไปคิด เราก็ลืมมองสิ่งที่เกิดความเปลี่ยนแปลงข้างใน แล้ว พอไหลไปคิดก็ลืมมองแล้ว คิดอีกก็ลืมอีกนะครับ แค่รู้สึกๆ ถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ถ้ารู้สึกไม่ไหวดูอะไรไม่รู้เรื่อง ก็ รู้สึกที่กาย ขยับนิ้วเล่น ขยับนิ้วเล่นก็ได้ หลวงพ่อเทียนสอน ใช่ไหมครับ ขยับมือ นี่ แค่นี้รู้สึกตัวได้แล้ว พี่ณัฏฐ์สอนให้ตบ ตบเล่นๆ ใช่ไหมครับ แต่ทุบจนคอหักไม่ได้นะ แต่เราก็ต้องรู้ ด้วยว่าที่เราจงใจทำ�ก็มีเจตนา เจตนาทำ� ใจก็จะมีนํ้าหนักขึ้นมา เราก็รู้ว่าเราจงใจทำ�นะ ครับ ทำ�อย่างนี้ถ้ามีเจตนา ใจก็มีนํ้าหนัก ก็รู้สึกตัวได้เหมือน กัน แต่ว่ามีเจตนาที่แฝงอยู่ ถ้าเราเผลอๆ เดินอยู่ขยับนิ้วปุ๊บ ไม่จงใจ…สติก็เกิดได้เป็นอัตโนมัติ ผมก็ซ้อมเล่นมาเรื่อยๆ ตอน แรกก็ทำ�แบบจงใจอยู่ เพราะถ้าไม่มีความจงใจเลยมันก็ไม่ได้ทำ� อะไร วันๆ ก็จะเอาแต่นอนท่าเดียวใช่ไหมครับ

44

ทางออก


จงใจทำ� แต่เรารู้ว่ามีความจงใจ เพราะใจเรามีนํ้าหนัก ขึ้นมา รู้ อ๋อ...มีความจงใจ มีเจตนา มีความตั้งใจ มีความผลัก ดัน ความโลภ ต่อไปเราแค่ขยับขา ก้าวขาลงจากเตียง หัน หน้า พลิกซ้าย พลิกขวา ก็รู้ตัวได้ สังเกตเห็นในใจบ่อยๆ เหมือนเราเคยเจอคนคุ้นหน้า นะ ครับ เมื่อวานนี้คุยกันในกลุ่มนะครับ เหมือนกับตระกูลโทสะ มันมีอยู่หลากหลายใช่ไหมครับ ผมก็ใช้ชื่อว่า เป็นอะไรดีนะ นายขี้โมโห นามสกุลโทสะ หน้าตาเขาคงประมาณนี้ เดินผ่าน หน้าบ้านเราแล้ว เห็นบ่อยๆ นอกจากนายขี้โมโหแล้ว ยังมีนาย ขี้บ่น นามสกุลโทสะเหมือนกัน นายขี้หงุดหงิด นามสกุลโทสะ หน้าตาอย่างนี้อยู่ในวงศ์ตระกูลนี้นะครับ เดินผ่านมาหน้าบ้าน เห็นบ่อยๆ อ๋อ..ตระกูลนี้มาแล้ว รู้แล้วนี่ ไม่ตอ้ งเห็นละเอียดถึง สิวเม็ดไหนอย่างไรนะครับ หรือว่ามาประมาณนี้ โทสะ เห็น บ่อยๆ จนจิตเขาจำ�ได้ มันเป็นถิรสัญญา ใช่ไหมครับ เห็นบ่อยๆ จนจำ�ได้ หน้าตาประมาณนี้ คือพวกนามสกุล โลภะ หรือ ราคะ อยากได้กระเป๋าใหม่ อยากไปเที่ยวอะไร อย่ า งนี้ น ะครั บ ตระกู ล ความโลภทั้ ง หลายแหล่ หน้ า ตาก็

ทางออก

45


ให้ตัวเองมี…ที่พึ่ง มีตนเป็น…ที่พึ่ง มีธรรม เป็นที่พึ่ง…นะครับ ธรรม นั้นคืออะไร ตน นั้นคืออะไร ก็คือ… มีใจเราเป็นธรรมนั้นเอง

46

ทางออก


ประมาณนี้ นามสกุลประมาณนี้ ถ้าลงท้ายนามสกุลโมหะ ก็ไอ้ ที่ดูมัวๆ ดูมึนๆ ไปหมดเลย ลังเลสงสัยอะไรนี่ พอผ่านมา เห็น ไปเรื่อยๆ บ่อยๆ จนจิตจำ�ได้ เขาเดินผ่านหน้าบ้านเรา อ้อ คน นี้เองนะครับ อันนี้แปลเป็นภาษาง่ายๆ ก็ประมาณนี้นะครับ งง ก็ประมาณโมหะ เห็นสภาวะอะไรไม่ชัดนี่มันอะไรนะ หรือ สงสัย ใช่ไหมนะ งงไปเรื่อย คิดสงสัย ลังเลสงสัย...ใช่ไหม นะ อย่างนี้ดีกว่าไหมนะ คิดไม่เลิก นี่ตระกูลโมหะ เขาลากให้ เราฟุ้งซ่าน ลังเลสงสัย เห็นตระกูลประมาณนี้เดินผ่านหน้าบ้านเราเรื่อยๆ เราก็ อ๋อ จำ�ได้แล้วนะครับ ไม่ต้องแจกแจงรายละเอียด มาบ่อย เห็น บ่อยก็จำ�ได้ ไม่ต้องแจกแจงรายละเอียดแบบว่าใส่ซับไตเติ้ล (Subtitle) ไปด้วยว่า ขณะนี้ นายโทสะมาแล้วนะ อ๋อ คนนี้นะ คนนี้ ชื่ อ โทสะนะ จำ � ไว้ น ะ ไม่ ต้ อ งนะครั บ เห็ น บ่ อ ยๆ รู้ สึ ก บ่อยๆ รู้สึกเห็น คือรู้สึกถึงเขาบ่อยๆ ก็จำ�ได้ เขาผ่านมาเราก็ ระลึกถึง สติก็เกิด (ผู้เข้าอบรมถามแทรกสั้นๆ ว่า แล้วถ้าสิ่งที่เกิดนั้นผ่าน มาแล้วเขาอยู่นาน) ทางออก

47


อยู่นานเพราะเราไปรั้งเขาไว้หรือเปล่าครับ ที่อยู่นาน เพราะเราไปรั้งเขาไว้หรือเปล่า บางทีอยู่นาน ส่วนหนึ่งคือเรา ไปรั้ง รั้งด้วยอะไร รั้งด้วยว่า ไม่ชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ชอบก็ เหมือนเราไปรั้งเขาไว้แล้วนะครับ ไม่ชอบแล้วเราไม่รู้ว่าใจกำ�ลังไม่ชอบ ใจเราไม่เป็นกลาง ไม่ชอบสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ชอบแล้วเราไม่รู้ ขณะนั้นใจเราตกจาก ปัจจุบัน ปัจจุบันขณะนั้นคือเรากำ�ลังไม่ชอบสิ่งที่เกิดขึ้นนะครับ ปัจจุบันขณะนั้นคืออะไร ไม่ใช่โทสะแล้ว แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ปัจจุบันคือ เรากำ�ลังไม่ชอบสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ต่อมา อยากหายอีก ลืมมองลงปัจจุบัน ปัจจุบันคืออะไร คือสิ่งที่จริงๆ ณ ขณะนี้ ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเพื่อใช้ตอนตาย เอาอย่างนี้เลยนะครับ ถ้าไม่อยากไปอบาย ไม่ได้ขู่ เพราะผมก็ไม่อยากไปอบาย ถึง ภาวนาทุกวันนี้ก็เพราะว่าไม่อยากไปอบาย ในฐานะคนที่ต้อง ตายก็โอเคต้องเตรียมพร้อม ในฐานะอื่นล่ะ ในฐานะถ้าเรา ไม่ใช่คนไข้ ในฐานะคนดูแลก็ต้องรู้ด้วยว่า ถ้าเราต้องมีญาติพี่ น้องที่เราต้องดูแลและต้องทุกข์ทรมาน เราต้องรักษาใจตัวเอง

48

ทางออก


ไว้นะครับ ทำ�เหตุที่ทำ�ได้ ทำ�เท่าที่ทำ�ได้ เราคงไม่สามารถ ทำ�ได้ทุกเรื่อง ทำ�ที่ทำ�ได้ ส่วนผลเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ เราทำ� เต็มที่แล้ว จะได้ไม่ต้องรู้สึกว่า อืม รู้งี้ทำ�อย่างนี้ดีกว่า .. รู้อะไร ไม่สู้ รู้งี้ .. ใช่ไหมครับ ? เราก็ทำ�ที่ทำ�ได้ แล้วก็ถ้าวันหนึ่งในอนาคต มีอะไรมา บอกว่า สิ่งที่เราเคยทำ�ในอดีตอาจไม่ดีทั้งหมด ไม่เป็นไรครับ เราทำ�เต็มที่ ณ เวลานั้นแล้ว เรามีทรัพยากรในมือบ้างแล้ว ในอดีตเมื่อหลายปีก่อนผมเคยถามหลวงพ่อ ผมมีปัญหา ทีท่ �ำ งาน หลวงพ่อครับผมจะแก้ปญ ั หาอย่างนีอ้ ย่างไร ตอนนั้น เคยอยู่วัดเมื่อเกือบสิบกว่าปีแล้ว หลวงพ่อท่านเป็นนักบริหาร ชั้นยอดนะครับ หลวงพ่อก็บอกว่า หนึ่ง คือ เราดูว่า เรามี ทรัพยากรอะไรบ้างอยู่ในมือเรา แล้วก็แก้ไข ใช้ทรัพยากรที่มี อยู่ในการแก้ปัญหา ขณะนี้เรามีตัวเรากับหัวใจเรา มีความ ปรารถนาดีต่อคนที่เรารัก เราดูแลเขาอยู่ เรื่องอื่นเราไม่มี อะไรมากไปกว่านี้แล้ว เราทำ�เต็มที่แล้ว ถ้าในอนาคตเราจะ มาตำ�หนิตัวเองว่า ทำ�ไมเราไม่ทำ�มากกว่านั้น อันนั้นมันก็ เป็นเรื่องสุดวิสัย ถ้าเราเชื่อว่าเราทำ�เต็มที่แล้วเท่าที่ได้ ณ ที่

ทางออก

49


เวลาและโอกาสที่เรามีให้ เรื่องในอนาคตก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้อง น่าเสียใจอีก ผมเชื่อว่าหลายๆ คนคงมีเรื่องที่บางครั้งเรานึกย้อนไป แล้ว ณ เวลาหนึ่ง อืม ไม่น่าเลยนะอะไรอย่างนี้ เราวางใจใหม่ว่าเราทำ�เต็มที่แล้ว จะได้ไม่มีเรื่องอะไร ที่ติดค้างในใจอีก บางคนติดค้างในใจเป็นสิบปีเลยก็มีนะครับ ความเสียใจอะไรหลายๆ อย่าง วนเวียนอยู่ในใจเราเป็นช่วง เวลานาน นานมาก ทางธรรมก็ให้เราใช้เวลาเหล่านี้ คือ เราก็ เห็นใจที่กังวล กลุ้มใจ นึกถึงทีไรไม่สบายใจทุกที พอเห็นความ กังวลในใจ ทำ�ได้หลายๆ ทาง ทั้งสมถะ และวิปัสสนา ถ้าคิด ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง หาเหตุผลที่เหมาะสมเพื่อทำ�ให้ใจสบาย ขึ้น ก็เป็นสมถะใช่ไหมครับ ถ้าวิปัสสนาก็เห็นความจริง ขณะ นั้นใจเราเป็นอย่างไร อย่างนี้ได้ประโยชน์หลายทาง และทำ� ประโยชน์ได้หลายทางด้วยนะครับ นอกจากประโยชน์ตนแล้ว ก็ทำ�ประโยชน์เพื่อผู้อื่นเท่าที่ทำ�ได้ มี (ผู้จะถาม) อีกไหมครับ จะรีบกลับไปวาเลนไทน์กับ คนที่บ้านหรือเปล่า 50

ทางออก


ทางออก

51


ผมใช้ชีวิตปกตินะครับ ลูกอยากดูหนังก็พาไปดูหนัง ผม อยากดู ห นั ง ผมก็ ไ ปดู ห นั ง นะครั บ แต่ อ ยาก ก็ รู้ ว่ า อยากนะ บางทีนั่งดูหนังก็ โอย ดูแล้วมันช่างน่าเบื่อเหลือเกิน อะไร อย่างนี้นะครับ โดยมากหลังๆ นี่ ที่ตั้งใจไปเองน้อยลง น้อยลง มากแล้ว แต่ลูกอยากดูก็ต้องไปดูกับลูกหน่อย ทำ�หน้าที่ดูแลคนในครอบครัวนะครับ ไม่ใช่ว่า หน้าที่ ของเราคือ ทุกวันนี้จะขอนั่งสมาธิอยู่กับบ้าน ครอบครัวไม่ สนใจ อันนั้นก็ถือว่าไม่ทำ�หน้าที่นะครับ อย่างนั้นก็ไม่ได้ มีหน้า ดูแลคนในครอบครัวก็ต้องทำ� บางอย่างผมทำ�โอเว่อร์ (over) เกินไป เช่น ดูแลลูกจริงจังเกินไป ก็ต้องมาปรับตัวว่า เออเรา เป็นอย่างไร เพราะคนใกล้ตัวจะเป็นอะไรที่รับแรงปะทะจากเรา มากที่สุดใช่ไหมครับ เราจะเป็นคนดีมากกับคนนอกบ้าน แต่คนในบ้านเป็น อะไรที่หาเรื่องได้ง่ายมาก ...อือ นี่ใช่ ใช่ไหม (ผู้ฟังหัวเราะ) เออ พวกเดียวกัน โอเคไหม อือ เห็นด้วย เพราะอะไร เพราะ ว่าของตาย ใช่ไหมครับ เคยมีคนรู้จักคนหนึ่งบอกว่า เพราะ เพื่อนนี่เป็นอะไรที่ถ้าเราลอส (loss-สูญเสีย) เขาแล้วนี่ เรา

52

ทางออก


ก็ ล อสไปเลย แต่ ค นในบ้ า นนี่ ตี กั น อย่ า งไรก็ ยั ง เป็ น คนใน ครอบครัว มุมมองเขาก็ดีเหมือนกันนะ ใช่ไหม นึกออกใช่ไหม คนใกล้ตัวนี่กระทบง่าย เพราะถึงจะตีกัน จะทะเลาะกันอย่างไร ก็ยังเป็นคนในครอบครัว บางทีลูกทะเลาะกับพ่อกับแม่ง่ายกว่า อะไรอย่างนี้ เพราะพ่อแม่อย่างไรก็ไม่ตัดญาติขาดมิตรกับเรา แต่คนอื่น ถ้าเราตีกันแรงๆ เดี๋ยวมันทิ้งเราไป อย่างนี้นะครับ แต่คนในบ้านนี่ บางทีมันตีกันง่ายหน่อยนะครับ เพราะฉะนั้น เราก็ย้อนดูใหม่ หลังๆ นี่ผมก็ต้ังใจใหม่ จะพยายามรู้สึกตัวให้ เร็ ว ขึ้ น เวลาที่ ต้ อ งแมนเนจ (manage-จั ด การ) กั บ คนใน ครอบครัว โดยเฉพาะลูกนะครับ เพราะเป็นอะไรที่ง่ายต่อการ เกิดโทสะ เวลาสอนการบ้านลูกนี่ โอ้โห โทสะเกิดขึ้นเร็วมากเลย ดูไม่ทันนะครับ ทุกคนมีจุดอ่อนนะครับ มีจุดอ่อนกับเรื่องบางเรื่อง ไม่มี ใครที่ไม่มีจุดอ่อนเลย อย่างเราจะมีจุดอ่อน เจอหน้าคนนี้จะ ปรี๊ดขึ้น อะไรอย่างนี้นะครับ หรือเจอเหตุการณ์อย่างนี้จะปรี๊ด ขึ้น แต่ละคนก็มีจุดอ่อนอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าถ้าเราตั้งใจว่า ถ้า เราเจอปัญหาคล้ายๆ อย่างนี้ เราจะพยายามรู้สึกตัวให้เร็วขึ้น ลองดูนะครับ

ทางออก

53


ความตั้งใจก็มีประโยชน์นะครับ นอกจากตั้งใจรักษาศีล แล้ว รักษาศีลนี่ต้องแน่นอนนะครับ ตั้งใจรักษานะครับ แล้ว ต่อไปศีลจะรักษาเราเอง ใหม่ๆ ตั้งใจรักษาศีล พอต่อๆ ไปศีล จะรักษาเราเอง ไม่ต้องตั้งใจ ใจก็ไม่คิดจะละเมิดศีล เป็นถึง ขนาดนั้นเลยนะครับ ไม่ต้องตั้งใจรักษาศีลหรอก ศีลรักษาเรา เอง แค่คิดทำ�ร้าย แค่คิดฆ่าสัตว์ มันยังไม่คิดเลยนะครับ วันนี้ตั้งใจว่าเมื่อเจอเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้นี่ เช่น เดิมที เคยทะเลาะกับพ่อกับแม่เป็นว่าเล่นเลย เจอปุ๊บต้องปรี๊ด ตั้งใจ ใหม่ว่าเราจะพยายามลด ละ เลิกนะครับ เพราะว่าหลวงพ่อเคย สอนแล้วว่าทะเลาะกับพ่อกับแม่ บุพการีนี่ ขาดทุนสถานเดียว ไม่มีได้กำ�ไร ต่อให้เถียงชนะก็ไม่มีทางได้กำ�ไร สมัยก่อนผมก็จะ เถียงแต่ก็ไม่แรงมาก แต่ก็รู้สึกบางทีก็พูดไม่เหมาะสม หลังๆ ก็ โอ กลัวแฮะ ผู้เข้าอบรม ๓: เข้าใจว่าคุณหมอนี่ ผ่านอะไรมาเยอะ อยากจะ รู้ว่าธรรมะนี่ช่วยได้อย่างไร เวลาผ่านจุดที่มันยาก คุณหมอเกิ้น: ช่วยได้อย่างไรเหรอครับ สมัยหนึ่ง สมัยก่อนที่

54

ทางออก


จะมาเจอหลวงพ่อ เคยเจอปัญหาแล้วตั้งคำ�ถามกับตัวเองว่า เรียนมาตั้งเยอะแล้วนี่ ใช้ประโยชน์จากที่เรียนไม่ได้เลย อืม นึกออกนะ เช่น คุณ (ผู้เข้าอบรม) สมมตินะ เรียนจบทางด้าน วิศวะมา แล้วเจอปัญหาชีวิตอย่างหนึ่งเข้า ที่เรียนวิศวะมานี่ ทำ�งานมาเป็นสิบปีเลย แก้ปัญหาขณะนั้นไม่ได้เลย ทำ�อะไรไม่ ได้กับชีวิตตัวเอง ไม่มีทางออก มืดไปหมดเลยนะครับ เอ๊ะ ทำ� อย่างไรเราถึงจะหาทางออกจากปัญหาเหล่านี้ได้ อันนี้ที่พูดถึงตอนนั้น คือยังไม่ได้มาฟังเทศน์หลวงพ่อนะ ครับ ถือว่าโชคดีมีบุญอย่างหนึ่ง คือตั้งคำ�ถามกับตัวเองถูก ปัญหาทางโลกนี่ ถ้าเรารู้จักตั้งคำ�ถาม อะไร คือ...? ถ้าคำ�ถาม นั้นตรงกับความต้องการที่แท้จริงในใจเรา มันจะช่วยหา ทางออกให้ ความเห็นส่วนตัวผมคือว่า ถ้าเราพร้อมจะเรียน เปิดใจยอมรับการเรียนรู้ใหม่ๆ แล้วก็พร้อมที่จะเรียน มันจะ มี โ อกาสบางอย่ า ง อั น นี้ ผ มคิ ด เองนะ แต่ ผ มรู้ สึ ก ว่ า เป็ น อย่างนั้นจริงๆ คือถ้าใจผมพร้อมที่จะเรียน ก็มีโอกาส มีคน ให้โอกาสกับเราได้เช่นเดียวกัน เหมือนเป็นธรรมชาติของ โลกนี้เลยหรือเปล่าผมก็ไม่ทราบ

ทางออก

55


ถ้าเราพร้อมตั้งคำ�ถามที่ถูก เอ๊ะ เจอความทุกข์ทำ�ไม เราถึงทำ�อะไรไม่ได้ แล้วทำ�อย่างไรถึงจะออกจากปัญหา เหล่านั้นได้ พอเรียนแล้วก็ อ๋อ เข้าใจแล้วว่ามันมีทางออก ทางออกไม่ได้อยู่ท่วี ่า เราไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่ตาย นึกออกไหม ครับ อย่างไรต้องเจ็บ ต้องปวด ต้องตาย แต่วา่ ทางออกอยูใ่ น ใจเรา อืม พอนึกออกนะ เหมือนใจเรามันจะเดินผ่าน ประตูนี้แล้วเราออกไปได้ ตอนแรกแค่ เ รามี ค วามสุ ข กั บ การดำ�เนินชีวิตในแต่ละวันก็โอเคแล้ว ถั ด ไปนี่ ใจเรามั น มี ความสุขมากขึ้น กับการใช้ชีวิตอะไรหลายๆ อย่าง จริ ง ๆ ไม่ ต้ อ งพู ด ถึ ง ความสุ ข ด้ ว ยซํ้ า แค่ เ ดิ น ไป เห็ น ความ เปลี่ยนแปลงไป ใจมันก็ร่าเริง เบิ ก บานกั บ การใช้ ชี วิ ต ในแต่ ละวันแล้ว ถึงแม้จะต้องเจอปัญหา หลายอย่าง ทะเลาะกับลูก 56

ทางออก


เราเรียนรู้ได้ จากสิ่งที่เกิดขึ้น ในเวลาที่เรามีความทุกข์ ฉะนั้น เราหาประโยชน์ จากเรื่องเหล่านั้น ไม่ใช่ให้มันครอบงำ�จิตใจเรา จนทำ�อะไรไม่ถูก

ทางออก

57


บ้าง ทะเลาะกับผูร้ ว่ มงานบ้าง อะไรบ้าง แต่บางทีหรือหลายๆ ที นะครับ ความกดดันหลายๆ อย่างนี่ มันเข้าไม่ถึงใจเรา มันมี แรงกดดันเข้ามา อ้อ เราก็ไม่เครียดอย่างที่เคยเครียดนะครับ ไม่อาละวาดอย่างที่เคยทำ� เพราะใจเรารู้สึกว่ามีอะไรบางอย่าง ที่มาช่วยเราได้ เบสิค (Basic-พื้นฐาน) สุดคือ เรามีศีลกำ�กับว่า เราไม่ไปอาละวาดทะเลาะกับใครโดยเรื่องที่ไม่จำ�เป็นนะครับ ถัดจากนั้นไป ใจเรารักษาได้ด้วย มีธรรมะรักษาใจเราอยู่ มี การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ อาศัยอะไรก็แล้วแต่ ช่วยทำ�ให้ เราเอาตัวรอดผ่านวิกฤตการณ์แต่ละครั้งไปได้นะครับ เพื่อว่า วันหนึ่งเจอปัญหาที่หนักกว่านั้นนี่ มันจะได้ก้าวข้ามผ่านไปได้ เพราะฉะนั้น ในกรณีที่เริ่มต้น คนที่ไม่เคยภาวนามาก่อน ความเห็นส่วนตัวผมคือว่า รู้ก่อนว่ามีปัญหา ใช่ไหมครับ ถ้า ทุกวันนี้ยังไม่รู้เลยว่าตัวเองมีปัญหาอะไร ก็อย่าหวังว่าจะตั้ง คำ�ถามกับตัวเองได้ถูกต้อง นึกออกนะ เหมือนกับเป็นทฤษฎี ฝรั่งใช่ไหมครับ ถ้าเราไม่รู้ว่าเรามีปัญหาอะไรนี่ แล้วเราจะหา ทางออกจากปัญหานั้นได้อย่างไรล่ะ หนึ่งต้องรู้ก่อนว่าขณะนี้เรามีปัญหาอะไรอยู่ ปัญหาชีวิต เรา ปัญหาเรื่องงาน ปัญหาเรื่องคนในครอบครัว ปัญหานั้น 58

ทางออก


คื อ อะไร คำ � ถามอี ก ข้ อ คื อ แล้ ว เราจะออกจากปั ญ หานั้ น ได้ อย่างไร แล้วก็เปิดใจกว้างพอที่จะมองดูว่ารอบๆ ตัวเรานี้มี ทางออกอะไรบ้าง ถ้าเราไม่มีมุมมองในการแก้ปัญหานี่ จะ เหมือนมันมืดแปดด้าน มันมืดแปดด้านจริงๆ นะ คือทุกด้าน เลย ๔ ทิศ แล้วก็อีกที่เหลืออีก ๔ ทิศ คือ ๘ ด้านนี่ไม่มี ทางออก มืดตึ๊ดตื๋อนะครับ แต่ถ้าเราแค่มีศีลนะครับ เริ่มมี ทางออกแล้ว ทางออก คือแทนที่เราจะไปตีกบาลใครเขาเพื่อ เป็ น การระบายโทสะ เราไม่ ทำ � แล้ ว นะ โอกาสติ ด คุ ก ก็ ผ่ า น ไปแล้ว ถ้าเรามีสมาธิใจก็สงบขึ้น มีเวลาหยุดชะงัก มีเวลาคิด ถ้าเรามีสมาธิ มีปัญญา มีเจริญวิปัสสนา เห็นกาย เห็นใจ ทางออกก็มากขึ้นเรื่อยๆ มีทางเลือกมากขึ้นเรื่อยๆ ทางเลือกไม่ได้อยู่ที่ประตูที่ให้เราเดินออก อยู่ในใจเรา นี่ แ หละเราจะเลื อ กทางไหน ยิ่ ง เพิ่ ม โอกาสตนเองในการ เรียนรู้ธรรมะ ก็มีทางเลือกเพิ่มมากขึ้น ตามสเต็ป (stepขั้น) เรียนเพิ่มขึ้นๆ ธรรมะก็เปิดประตูให้เราเพิ่มมากขึ้น ผู้เข้าอบรม ๓: ถามเรื่องเวทนา อย่างผมปวดขาอยู่ บางทีก็ไป ฟังคุณหมอ บางทีก็กลับมาดูขา

ทางออก

59


คุณหมอเกิ้น: ก็รู้สึกอย่างที่เขาเป็นนะครับ ผู้เข้าอบรม ๓: มันเป็นอย่างนี้ ถือว่ายังไงครับ? คุณหมอเกิ้น: ดูสิ่งที่เขาเป็น ดูที่ขานี่ ขาเป็นส่วนหนึ่ง เวทนา เป็นส่วนหนึ่งนะครับ ถ้าดูเวทนาไม่ไหว สู้ไม่ไหว จิตกระสับ กระส่าย บางทีเรามองสู้เวทนาไม่ไหว เห็นเวทนาแยกจากขา สักพัก มันรวมไปใหม่ ไม่ไหวแล้วก็เปลี่ยนอิริยาบถ ถ้าเกิดมัน ไม่ ใ ช่ แ ค่ เ รื่ อ งอิ ริ ย าบถ เป็ น เรื่ อ งความปวดอื่ น มั น เปลี่ ย น อิริยาบถไม่ได้ ก็ดูที่ใจเราเป็นอย่างไร ใจเรากระสับกระส่าย ฟุ้งซ่าน ใจเราฟุ้งซ่าน เราไม่ชอบ มีโทสะ ใจเราไม่เป็นกลาง แล้วที่ไม่หายปวดก็ไปกินยาแก้ปวดนะครับ อย่างไรต้องมียาแก้ ปวดด้วยนะ ใช้ยาแก้ปวดด้วย ไม่ใช่สุดท้ายทนเอา นั่นก็เกินไป ผู้เข้าอบรม ๔: ขออนุญาตนะคะ ขออนุญาตคุณหมอ พอดีว่า เห็นคุณหมอถามว่าถ้ามีปัญหาอะไรใช่ไหมคะ เห็นคุณหมอพูด บรรยายอย่างนี้ เราก็เลยเกิดปัญหา เกิดคำ�ถามขึ้นมาในใจ เพราะว่า ในเนื้องานก็จะต้องออกไปบรรยายอยู่บ้างเหมือนกัน นะคะ ที นี้ ข ณะที่ อ อกบรรยายอย่ า งนี้ ค่ ะ ขณะที่ พู ด ออกไป

60

ทางออก


ทางออก

61


ความรู้ สึ ก คื อ มั น ก็ ต้ อ งใช้ พ ลั ง ในการที่ จ ะพู ด อย่ า งไรให้ เ ขา เข้าใจ แล้วขณะนั้นเราจะดูใจของเราอย่างไรคะ คุณหมอเกิ้น: ผมว่าไม่ต้องซีเรียส (serious-จริงจัง) ขนาดนั้น ก็ได้ครับ ทำ�เท่าที่ทำ�ได้ อย่างผมเองผมก็ฟุ้งซ่านกระจาย จิตก็ กระจัดกระจาย เพราะพูดแล้วเหนื่อย ออกแรงก็เหนื่อย ใจ กระจัดกระจายก็รู้ว่ากระจัดกระจาย รู้ว่ามันไหลไปข้างนอก มันฟุ้งซ่าน แค่นั้นเอง ใหม่ๆ บางทีถ้าเราคุยเรื่องธรรมดา ไม่ได้บรรยายนี่นะ ครับ นั่งคุยกันในกลุ่มคนน้อยๆ นั่งคุยไปคุยมา บางทีก็ย้อน ดูใจเราได้ แต่ถ้าออกแรงคุยกันนานๆ อย่างนี้ก็เหนื่อย ใจมันก็ กระจายฟุ้งซ่านออก พอรู้ว่าใจมันกระจัดกระจายไม่ถึงฐานแล้ว ตอนนี้ จะให้หาย อยากจะให้หายก็ไม่ได้อีกนะครับ อยากหาย ก็ต้องนั่งพักหยุดสักครู่หนึ่ง หายใจสบายๆ พักก่อน สักพักก็ เริ่มดีขึ้น แต่ถ้าขณะที่คุยกันอย่างนี้ ถ้าจะย้อนดู บางทีก็รู้สึกได้ รู้สึกในสิ่งที่เขาเป็น แต่ไม่ต้องซีเรียสว่าเขาต้องทำ�ได้นะครับ ไม่จำ�เป็น ส่วนใหญ่ในชีวิตผมก็จะหลงไปโน่น หลงไปตรงนั้น ตรงนี้ ทำ�งานก็หลงไปแล้วนะครับ อยู่กับคนไข้ใจก็ไหลไปอยู่

62

ทางออก


ข้างนอก คุยกันใจก็ไหลไปที่คนนู้น คนนี้ อะไรอย่างนี้ ไหลไป ในเสียงที่ได้พูดเอง เสียงที่เราได้ยิน ไหลไปที่มือ ที่โน่น ที่นี่ นะครั บ กลิ่ น อาหารลอยมาบางที ก็ ไ หลไปในกลิ่ น ใจเป็ น อย่างไร ชอบหรือไม่ชอบ อะไรก็ดูได้นะครับ แต่ถ้าทำ�หลายๆ อย่างพร้อมๆ กันนี่ จิตเขาดีเทค (detect-ตรวจจับ) ได้ครั้งละ อย่างเดียวใช่ไหมครับ เขารู้ได้ครั้งละอย่างเดียว ไม่ต้องซีเรียส ว่าต้องรู้ตลอด ผู้เข้าอบรม ๔: คือทำ�เท่าที่ทำ�ได้ ? คุณหมอเกิ้น: ทำ�ที่ทำ�ได้ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น ชาตินี้ได้แค่นี้ก็ เอาแค่นี้นะครับ สำ�คัญนะครับ เพราะว่าชาตินี้ได้แค่นี้ไม่พอใจ อยากได้มากกว่านั้นนี่ มันจะไม่ได้อะไร ที่หลวงพ่อเทศน์วันนี้ เอ๊ะ ใช่ที่หลวงพ่อเทศน์ หรือที่เปิดซีดีเมื่อตะกี้นะ ที่บอกว่ายิ่ง ตั้งเป้าว่าจะอะไรอย่างโน้นอย่างนี้เนี่ย ยิ่งจะไม่ได้ ยิ่งไม่ตั้งเป้า ยิ่งจะได้ไวกว่าด้วยซํ้า ตั้งเป้า เราตั้งเอาที่ผล ที่รีซัลท์ (result-ผลลัพท์) แล้วเรา มีอะไรครับ? มีตัวตัณหาคือตัวผลักดัน เราไม่ได้ทำ�เหตุ ทำ�เหตุ

ทางออก

63


คือทำ�อะไร? ทำ�อิทธิบาท ๔ ฉันทะ ฉันทะคืออะไร ฉันทะคือ เราพอใจรักใคร่สิ่งที่เราทำ� เราจะรักในสิ่งที่เราทำ�ก็ต่อเมื่อเรา ทำ�แล้วเราสนุก เราทำ�แล้วเราเห็นผลว่า เอ๊ะ เราทำ�แล้วเรามี ความสุข เราทำ�แล้วเราเห็นความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น แล้วเราจะสนุกในสิ่งที่เราทำ� ฉันทะก็เกิด ถ้าเราหวังผลว่าต้อง ได้อะไรบางอย่าง มีผลเป็นตัวตั้ง สักพักหนึ่งไม่ได้ที่ใจต้องการ ก็ล้มเหลว ก็เลิก ฉะนั้นทำ�ให้สนุก ยิ้มให้มีความสุขแล้วก็ทำ�ไป มันจะได้อะไร ไม่ได้อะไรเป็นเรื่องของการทำ�ที่เหตุ ใช้ชีวิตแต่ละวัน ไม่ว่าจะเจอเรื่องอะไร เรื่องดี เรื่อง ร้าย สุขหรือทุกข์ ให้เป็นประสบการณ์ของจิต ให้เป็นการ เรียนรู้ที่ได้ประโยชน์เสมอ ไม่มีอะไรที่เสียของนะครับ สิ่งใด สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นดีเสมอนะครับ ดีเสมอ แล้วจะคุ้ม จะ รู้สึกว่าคุ้มค่าที่ได้เรียน ที่ได้เจ็บ ได้ประโยชน์ คุ้มค่าคือได้ ประโยชน์ ไม่มีอะไรที่เสียของเลย ผมขับรถหลงทางผมยังได้ ประโยชน์เลย ผมชอบขับหลงๆ อ้าว เอ๊ะ ไปโผล่ตรงไหนอะไร อย่างนี้ อ๋อ ได้ประโยชน์ ถ้าเรามองว่า อันนี้ กว่าจะได้กลับ บ้าน ไม่ไหวแล้ว หรือเจอเรื่องนี้ไม่ชอบใจเลย อะไรอย่างนี้ มันเสียโอกาส เสียประโยชน์... บางท่านเริ่มขยับแล้ว อยาก กลับแล้ว รู้นะ 64

ทางออก


สรุปว่า วันนี้ผมบรรยายอะไร ผมยังไม่รู้เลย หัวข้อเรื่อง อะไร (ผู้ฟังหัวเราะ) (ผู้ฟังตอบ: เวทนา) เวทนาเหรอ อ้อ ดี ไหมนี่ ถามจริงๆ (ผู้ฟัง: ดีค่ะ/ครับ) ดีนะ ไม่ มี ใ ครถามแล้ ว ใช่ ไ หมครั บ ก่ อ นที่ เ ราจะแยกย้ า ยกั น กลับบ้าน ผมก็ขออนุญาตเรียนซํ้าอีกครั้งหนึ่งว่า ที่หลวงพ่อ สอนมาทั้งหมดนี้ ก็เพื่อหวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จริงๆ ถ้าได้ประโยชน์ตนแล้ว ก็ถ่ายทอดสู่ประโยชน์ผู้อื่น ก็เป็นการ ทำ�ให้ศาสนาของเรานี่เผยแผ่ออกไป จากใจสูใ่ จ จากใจของเรา สู่ใจของผู้ท่ีปรารถนาจะรับธรรมะนะครับ ไหนๆ ก็ชาตินี้เกิด เป็นมนุษย์แล้ว มนุษย์แปลว่าผู้ที่มีใจสูง เราก็ใช้โอกาสที่มีค่านี้ นะครับ พระพุทธองค์ตรัสว่า เกิดเป็นคนไม่ง่ายเลยใช่ไหมครับ ความน่าจะเป็นตํ่ามาก ซึ่งก็เป็นไปได้เพราะว่าสัตว์โลกมันเยอะ เหลือเกิน เกิดเป็นคนนั้นยากมาก เรามีโอกาสได้เป็นมนุษย์ แล้วนะครับ ไม่ได้มีปัญหา บ้า ใบ้ บอด หนวก ที่จะเรียน พัฒนาใจตนเองไม่ได้ เรามีอุปกรณ์ในการเรียนครบบริบูรณ์ใน ร่างกายนี้ จิตใจนี้ ไม่ใช้ให้คุ้มก็เสียโอกาส จะบอกว่าเสียชาติ

ทางออก

65


เกิดก็กระไรอยู่ เดี๋ยวจะหาว่า ว่าแรง แต่พูดไปแล้วนะครับ (ผู้ ฟังหัวเราะ) พูดไปแล้ว ผมเป็นคนขี้โมโหมากนะครับเมื่อหลายปี สิบกว่าปีก่อน เป็นคนขี้โมโหโทสะแรงมาก เคยคุยกับภรรยาว่า ถ้าผมไม่มี การเปลี่ยนแปลงตัวเองนี่ ผมไม่ฆ่าตัวตายก็อาจฆ่าคนอื่นตาย หรื อ ไม่ ก็ ถู ก คนอื่นฆ่าตายก็ได้ เป็นคนที่ขี้โมโหมาก ใจร้ อ น อารมณ์รุนแรง เรียนธรรมะแล้วก็สนุกดี ก็เป็นอย่างที่เห็นนะ ครับ อีกอย่างหนึ่ง เรื่องสำ�คัญ อย่าลืมนะครับที่หลวงพ่อเคย บอกผมเมื่อหลายปีแล้ว ผมมาถ่ายทอดให้คนในกลุ่ม แล้วผมก็ พูดเมื่อสักครู่นี้ เราเรียนมาทั้งหมดนี่นะครับ อย่าลืม.. ให้ตัว เองมีที่พึ่ง มีตนเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นที่พึ่งนะครับ

66

ธรรมนั้นคืออะไร ตนนั้นคืออะไร ก็คือมีใจเราเป็นธรรมะนั้นเอง นะครับ

ทางออก


อี ก ประโยคหนึ่ ง หลวงพ่ อ บอกว่ า ธรรมะย่ อ มรั ก ษา ผู้ประพฤติธรรมเสมอเมื่อได้ปฏิบัติสมควรแก่ธรรมนั้นแล้ว ตอนจะตายก็ไม่ต้องมา นะโมตัสสะ…ขอให้ลูกไปสู่สุคติ อะไร อย่างนั้น ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรมเสมอนะครับ เมื่อได้ ปฏิ บั ติ ส มควรแก่ ธ รรมนั้ น แล้ ว รั ก ษาศี ล เต็ ม กำ � ลั ง ก็ จ ะมี ธรรมะระดับหนึ่งรักษาเรา ทำ�สมาธิแบบเพ่ง ก็มีธรรมะแบบ หนึ่ง เจริญวิปัสสนาก็จะมีธรรมอีกแบบหนึ่งที่คุ้มครองเราอยู่ ให้โอกาสแก่เราอยู่ เพื่อไปสู่เส้นทางที่สมควรแก่ธรรมนั้น ใช่ ไหมครับ เห็นกาย เห็นใจตามความเป็นจริง ด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง มีสติ ระลึกรู้ เห็นความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ ก็จะมีผลของธรรมนั้นรอเราอยู่ … สวัสดีครับ

ทางออก

67


@ สงวนลิขสิทธิ์ พิมพ์เพื่อแจกเป็นธรรมทาน ห้ามจำ�หน่าย

72

ทางออก



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.