๒๙๐ ถนนเจิมจอมพล ตำบลศรีราชา อําเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ๒๐๑๑๐ โทรศัพท ๐-๓๘๓๒-๒๑๕๗-๙, ๐-๓๘๓๑-๑๒๙๘, ๐-๓๘๓๑-๒๘๙๐-๒ โทรสาร ๐-๓๘๓๑-๑๐๐๘ www.somdej.or.th/
2
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภกสภากาชาดไทย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาเจ้าสภากาชาดไทย 3
4
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำ�นวยการสภากาชาดไทย
5
อนึ่งในขณะที่ประทับอยู่ที่ศรีราชานั้น ได้มีข้าราชบริพาร และเจ้าหน้าที่ประจำ�การรักษาพระองค์เป็นจำ�นวนมาก ทั้งข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ย่อมมีการป่วยไข้เป็นธรรมดา ราษฎรตำ�บลศรีราชาเองและบริเวณใกล้เคียงก็ยังมีการเจ็บป่วยกันมาก แต่ตำ�บลนี้อยู่ห่างไกลแพทย์ และเครื่องอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาล สมเด็จพระนางเจ้าพระองค์นี้ ซึ่งมีพระทัยเต็มไปด้วยการกุศลสาธารณ จึงได้ทรงดำ�ริว่า
“...ถ้าได้มีสถานที่พยาบาลคนเจ็บไข้ขึ้นในตำ�บลนี้ นอกจากจะ ได้ใช้เป็นที่รักษาพยาบาลข้าราชบริพารและผู้ที่ตามเสด็จนั้นแล้ว ยังจะเป็นสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนในท้องถิ่นที่ใกล้เคียง ได้พึ่งพาอาศัยในยามเจ็บไข้ ซึ่งเป็นสาธารณกุศล และเป็นการ ช่วยชาติบ้านเมืองอีกส่วนหนึ่ง...”
6
7
8
9
คำ�ปรารภ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพครบ ๑๕๐ ปี สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้วยสำ�นึกในพระกรุณาธิคณ ุ อันเป็นอเนก ประการทีท่ รงประกอบพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เพือ่ ประโยชน์ของบ้านเมืองและมนุษยชาติ พระราช กรณียกิจเพือ่ ส่วนรวมทีท่ รงบำ�เพ็ญต่อเนือ่ งมายาวนานก่อให้เกิดประโยชน์สขุ ยังความเจริญ และสร้างความ ก้าวหน้าหลายด้านแก่สงั คมไทยสืบมา ด้วยสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นหาที่สุดมิได้ กระทรวงวัฒนธรรมร่วมกับมูลนิธิ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จ พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสนอเป็นบุคคลสำ�คัญผูม้ ผี ลงานดีเด่นในโครงการ เฉลิมฉลองบุคคลสำ�คัญ และเหตุการณ์ส�ำ คัญทางประวัตศิ าสตร์ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ในวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ ซึง่ ในการประชุมสมัยสามัญของ ยูเนสโก ครัง้ ที่ ๓๖ ณ สำ�นักงานใหญ่องค์การยูเนสโก กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรัง่ เศส ระหว่างวันที่ ๒๕ ตุลาคม ถึง ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ มีมติรบั รองการเฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จ พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในปีพทุ ธศักราช ๒๕๕๕ ในฐานะบุคคลสำ�คัญผูม้ ี ผลงานดีเด่นด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (สาธารณสุข) วัฒนธรรม สังคมศาสตร แ์ ละมนุษยศาสตร์ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๕ เห็นชอบให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพจัดงาน เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ุ จากสมเด็จ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการอำ�นวยการจัดงานฯ และได้รบั พระมหากรุณาธิคณ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับเป็นทีป่ รึกษาคณะกรรมการอำ�นวยการฯ โดยมีกระทรวง วัฒนธรรมร่วมกับมูลนิธสิ มเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นหน่วยงานหลักในการดำ�เนินงาน รวมทัง้ เชิญ หน่วยงานราชการและหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในส่วนทีเ่ กีย่ วกับภารกิจของหน่วยงานนัน้ ๆ ในนามของกระทรวงวัฒนธรรม ผมขอชืน่ ชมและขอบคุณ จังหวัดชลบุรี การท่องเทีย่ วและกีฬา จังหวัดชลบุรี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย และผู้เกี่ยวข้องทุก ท่าน ที่ได้ร่วมกันจัดงาน “เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรม ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” เพือ่ เผยแพร่พระเกียรติคณ ุ ให้เป็นทีป่ ระจักษ์อย่างกว้างขวาง ในฐานะที่ ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญของโลกและได้ทรงงานอันเป็นคุณปู การอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศชาติ โอกาสนี้ ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยตลอดจนเดชะพระบารมีแห่งองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้โปรดดลบันดาลให้ ท่านทั้งหลายประสบความสุข ความเจริญ สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ปรารถนาสิ่งใด ขอให้สัมฤทธิ์ผลตามเจตจำ�นงทุกประการ 10
(นายสนธยา คุณปลื้ม) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
คำ�ปรารภ
เป็นที่น่ายินดีที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้จัดโครงการ “เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” เพราะพระองค์ท่านเป็นผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ซึ่งเปิด เป็นทางการเมื่อ ๑๑๐ ปีมาแล้ว เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ เมือ่ ครัง้ ทีส่ มเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรงแปรพระราชฐาน เสด็จฯ มาประทับพักผ่อนที่ตำ�บลศรีราชา และได้ทรงมีพระเมตตาคุณต่อพสกนิกรผู้ป่วยไข้ที่อยู่ห่างไกล แพทย์และเครื่องอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาล และด้วยพระทัยที่เต็มไปด้วยการกุศลสาธารณะ จึงทรง พระดำ�ริว่า “ถ้าได้มีสถานที่พยาบาลคนเจ็บไข้ขึ้นในตำ�บลนี้ นอกจากจะได้ใช้เป็นที่รักษาพยาบาลข้าราช บริพารและผู้ที่ตามเสด็จนั้นแล้ว ยังจะเป็นสาธารณประโยชน์ให้ประชาชนในท้องถิ่นที่ใกล้เคียงได้พึ่งพา อาศัยในยามเจ็บไข้ ซึ่งเป็นสาธารณกุศล และเป็นการช่วยชาติบ้านเมืองอีกส่วนหนึ่ง” สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงร่วมก่อตั้งสภาอุณาโลมแดงเพื่อการบรรเทาทุกข์ แก่ทหารและพลเรือนที่บาดเจ็บจากการต่อสู้กับฝ่ายฝรั่งเศสในวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ โดยทรงดำ�รงตำ�แหน่งสภาชนนี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๓ ได้ทรงดำ�รงตำ�แหน่ง สภานายิกา เป็นเวลายาวนานถึง ๓๕ ปี ได้ทรงสนับสนุนการดำ�เนินงานของสภากาชาดไทยในทุกด้าน รวมทั้งส่งเสริมการติดต่อสัมพันธ์กับสภากาชาดสากล เพื่อให้องค์กรนี้สามารถปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมอย่างสมบูรณ์ นับว่าสภากาชาดไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า เป็นล้นพ้น นอกจากนี้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ยังทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นสาธารณะ อีกมากหลาย อาทิ การศึกษา วัฒนธรรม งานหัตถศิลป์ วิทยาศาสตร์ประยุกต์การแพทย์ การสาธารณสุข การสังคมสงเคราะห์ ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งพระชนม์ชีพ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันอำ�นวย ประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์นานัปการ และมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ เป็นรากฐานต่อการพัฒนา ประเทศชาติมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น ในวาระ ๑๕๐ ปี วันพระราชสมภพใน พ.ศ.๒๕๕๕ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ องค์การยูเนสโก้ จึงได้ประกาศเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และให้มีการเฉลิมฉลองในฐานะที่ทรงเป็น บุคคลสำ�คัญของโลกที่มีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (สาธารณสุข) วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ สภากาชาดไทย รู้สึกปลื้มปิติและสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อ�ำ นวยการสภากาชาดไทย ที่เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเป็นประธานงาน “เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกา เจ้า” ซึ่งจัดในระหว่างวันที่ ๑๙ - ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๖ 11
ขอขอบพระคุณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดชลบุรี ตลอดจนคณะกรรมการจัดงานทุกท่าน ทีก่ รุณาให้ความร่วมมือร่วมใจ เสียสละเวลา กำ�ลังกาย กำ�ลังทรัพย์ จนโครงการ “เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” บรรลุวัตถุประสงค์ตาม ที่กำ�หนดไว้ทุกประการ ผมขอส่งความปรารถนาดีมายังทุกท่าน ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทั้งหลายที่ท่านนับถือ ตลอดจนพระบารมีสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดคุ้มครอง อภิบาลรักษา ท่านและครอบครัวให้มีพลานามัยสมบูรณ์ และเจริญด้วยจตุรพิธพรชัยยิ่งขึ้นสืบไป
12
นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย
คำ�ปรารภ
13
คำ�ปรารภ เนือ่ งในวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ด้วยสำ�นึกในพระกรุณาธิคุณล้นพ้นหาที่สุดมิได้ สำ�นักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี ได้รับการ สนับสนุนงบประมาณจากกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องจัดกิจกรรม โครงการเฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า“The Celebration of the ๑๕๐th Anniversary of the Birth of Her Majesty Queen Sri Savarindira,the Queen Grandmother of Thailand” ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา อำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่อเฉลิมฉลองและ ยกย่องพระเกียรติคุณพระองค์ท่านให้เป็นที่ปรากฎแพร่หลายในระดับนานาชาติและในประเทศในฐานะ บุคคลสำ�คัญที่ได้ทรงงานอันเป็นคุณูปการแก่สังคมไทย โดยจัดให้มีกิจกรรมนิทรรศการ สัมมนาทาง วิชาการ การแสดงแสง สี เสียง งานมหกรรมสินค้าราคาถูกและการประดับไฟตกแต่งสถานที่ เป็นต้น เพื่อเชิญชวนให้ประชาชน นักเรียนนักศึกษา และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เดินทางมา ท่องเที่ยวเรียนรู้แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่ส�ำ คัญของจังหวัดชลบุรี และปวงชนชาวไทยควร พร้อมใจร่วมกันเฉลิมพระเกียรติคุณให้แผ่ไพศาลในนานาอารยประเทศ ในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญ ของโลกที่มีผลงานดีเด่นในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการอนุรักษ์พัฒนาวัฒนธรรม สำ�หรับการจัดพิมพ์หนังสือ“๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและเผยแพร่พระราช กรณียกิจ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ทั้งในด้านพระราช ประวัติสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประวัติและวิวัฒนาการของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา นอกจากนั้นยังสามารถใช้เป็นข้อมูลสำ�หรับศึกษาค้นคว้าได้เป็นอย่างดี กระผมขอกราบขอบพระคุณ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สำ�นักงาน วัฒนธรรมจังหวัดชลบุรีและคณะกรรมการจัดงานทุกท่าน ที่กรุณาให้ความร่วมมือร่วมใจจัดงานจน บรรลุวัตถุประสงค์ทุกประการ ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โปรดดลบันดาลทุกท่านรวมทั้ง ครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายใจ มีความโชคดี และความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสืบไป
14
นายธารทิพย์ มีลักษณะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี
คำ�นำ� สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระบรมราชเทวีในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจอันอำ�นวยประโยชน์สุขแก่ประชาราษฎร์ นานัปการ พระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่ทรงไว้ได้มีคุณประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ และเป็นรากฐานต่อการ พัฒนาประเทศชาติมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ ทรงสร้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ทรงส่งเสริมระบบโรงเรียนสมัยใหม่ของไทยตัง้ แต่ยคุ เริม่ ต้น และสนับสนุนให้สตรีมโี อกาสเล่าเรียนเท่าเทียมบุรษุ พระราชทานทุนการศึกษา แก่บุคคลทุกระดับชั้นให้มีโอกาสไปศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทรงร่วมก่อตั้งสภาอุณาโลม แดง (สภากาชาดไทย) เพื่อการบรรเทาทุกข์ ในวาระ ๑๕๐ ปี วันพระราชสมภพใน พ.ศ.๒๕๕๕ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือองค์การยูเนสโก จึงได้ประกาศเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีสวริ นทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และให้มีการเฉลิมฉลองในฐานะที่ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญ ของโลกที่มีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวมในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (สาธารณสุข) วัฒนธรรม สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ หนังสือ “๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” จัดพิมพ์เพื่อเป็นหนังสือที่ระลึกงาน“เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า” ซึ่งจังหวัดชลบุรีและ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้ร่วมกันจัด โดยมีสำ�นักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดชลบุรีร่วมให้การสนับสนุน กระผมรวมทัง้ คณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าทีข่ องโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา รู้สึกปลื้มปิติและสำ�นึกในพระมหากรุณาธิคุณสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อ�ำ นวยการสภากาชาดไทย ที่เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเป็นประธาน งาน“เฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า” ขอกราบขอบพระคุณ พณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เลขาธิการสภากาชาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี สำ�นักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี ตลอดจนคณะกรรมการจัดงาน ทุก ท่าน ที่กรุณาให้ความร่วมมือร่วมใจจัดงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่วางไว้ทุกประการ ขออำ�นาจคุณพระศรีรตั นตรัยและพระบารมีของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้โปรดปกป้องคุ้มครองให้ทุกท่านและครอบครัวมีสุขภาพแข็งแรง ปราศจาก โรคา พยาธิ และพบแต่สิ่งที่เป็นมงคลของชีวิตตลอดไป
ศาสตราจารย์กิตติ คุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ผู้อ�ำ นวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา 15
องค์การยูเนสโกประกาศเฉลิมพระเกียรติ ให้ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญของโลก ที่มีผลงานดีเด่นเพื่อส่วนรวม ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์(สาธารณสุข) วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
16
17
18
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาราช และสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
19
ตามรอยพระบาท
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
20
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
21
เพียงย่างก้าวเข้าสู่วังสระปทุม พระตำ�หนักที่ ประทับของสมเด็จพระศรีสวรินทรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช ๒๔๕๙ ตราบจนเสด็จสวรรคต ความร่มรื่นของพันธุ์ไม้นานา พันธุ์ก็ส่งผลให้จิตใจเบิกบาน สงบและร่มเย็น เริ่มแรก กับการทำ�ความรู้จัก สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผ่านนิทรรศการที่จัดแสดงไว้อย่างสวยงามและบอกเล่า รายละเอียด ในทุกแง่มมุ ทีท่ รงมีตอ่ พสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจทั้งด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านพระศาสนา ด้านประชาสงเคราะห์ และด้านการต่างประเทศ และยิ่งสร้างความตื่นเต้นมากขึ้น เมื่อได้สัมผัส และร่วมรับรูใ้ นพระจริยวัตรส่วนพระองค์ ณ พระตำ�หนัก ใหญ่ ซึ่งเป็นพระตำ�หนักที่ประทับที่เล่ากันว่าสมเด็จ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงคิดผังพระตำ�หนักด้วย พระองค์เอง ทรงใช้ไม้ขดี ไฟบ้าง หางพลูบา้ ง ทำ�เป็นผัง แล้วจึงทรงให้สถาปนิกออกแบบถวายตามพระราช ประสงค์ ในระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จนถึง เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖ จะเป็นวาระสำ�คัญทีป่ วงชน ชาวไทยจะได้รว่ มเฉลิมฉลอง ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จ พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โอกาสนี้องค์การยูเนสโกประกาศเฉลิมพระเกียรติ ให้ทรงเป็นบุคคลสำ�คัญของโลกที่มีผลงานดีเด่น เพื่อส่วนรวม ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (สาธารณสุข) วัฒนธรรม สังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์ 22
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
งานด้านการแพทย์และพยาบาลในอดีต
23
“...การพัฒนาบุคคล เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนาประเทศ...” สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า สมเด็จพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระชนม์ชีพ ยืนยาวกว่าพระมเหสีพระองค์ใดในทุกรัชกาลที่ผ่านมา ทรงประสพทั้งสิ่งที่ก่อให้เกิดปิติสุขใหญ่หลวงและทุกข์ โทมนัสอย่างแสนสาหัส แต่ไม่ได้ทรงยึดติดกับทุกข์สุขนั้น ทรงใช้เวลาก่อประโยชน์สุขต่อปวงชนชาวไทยมากมาย นานัปการ ทรงเป็นต้นแบบและอุดหนุนกิจการโรงพยาบาล ทรงดำ�รงตำ�แหน่งสมเด็จองค์สภานายิกาสภากาชาดไทย เป็นเวลานานถึง ๓๕ ปี ทรงริเริ่มจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ไปดูแลรักษาประชาชนในท้องที่ธุระกันดาร ด้านการศึกษา ทรงสนับสนุนทั้งระบบโรงเรียนและ การศึกษานอกระบบ เปิดโอกาสให้สตรีไทยศึกษาหาความ รู้ เพื่อประกอบการงานอาชีพ และงานบ้านการเรือน โปรด ให้จัดพิมพ์และพระราชทานหนังสือเผยแพร่ ความรู้สู่ สาธารณชนอย่างกว้างขวาง งานศิลปหัตถกรรมไทยมรดกของชาติที่น่าภาคภูมิใจ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงสร้างสรรค์และเผยแพร่สู่ สังคมโลก ก่อให้เกิดการสืบสานอย่างยั่งยืน ทรงริเริ่มกิจการ ทอผ้า อุตสาหกรรมการเกษตรและการประกันภัย ทรงพระ ราชดำ�ริว่า “การพัฒนาบุคคล เป็นพื้นฐานในการพัฒนา
ประเทศ” 24
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จทรงพระชนม์อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งยุคสมัย ทรงมีพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยมนุษยธรรม ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณีกิจนานัปการ เพื่อร่วมสร้างสังคมไทยให้พัฒนาอย่างยั่งยืนและมั่นคง 25
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
26
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม)
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า 27
พระราชประวัติ
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระราชโอรสและพระราชธิดา ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
28
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า เสด็จทรงพระชนม์อยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ แห่งยุคสมัย ทรงมีพระราชหฤทัยเปี่ยมด้วยมนุษยธรรม ทรงบำ�เพ็ญพระราชกรณีกจิ นานัปการเพือ่ ร่วมสร้างสังคมไทย ให้พัฒนาอย่างยั่งยืนและมั่นคง สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชธิดาใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ และ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพชั รินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปีย่ ม) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๕ ทรงพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองฺค์เจ้าสว่างวัฒนา ทั้งนี้ พระราชโอรสธิดาทั้ง ๖ พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระปิย มาวดี ศรีพัชรินทรมาตา ได้แก่ ๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุณากรรณอนันตนรไชย ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ต้นราชสกุลเทวกุล ๓. สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ๔. สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ๕. สมเด็จพระศรีพชั รินทรา บรมราชินนี าถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง ๖. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
เมื่อครั้นยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าทรงศึกษาภายในพระราชวังตามราชประเพณี ทรงได้ชื่อว่ามีความจำ�เป็นเลิศ เรียนรู้ทั้งภาษาไทยและภาษา อังกฤษ ทรงฝึกหัดงานหัตถศิลปราชสำ�นัก จนทรงเชี่ยวชาญ อย่างยิ่งในงานผ้า ประเภทปักถักกรอง พ.ศ. ๒๔๑๑ สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคต ขณะที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ามีพระชนมายุเพียง ๖ พรรษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั รัชกาลที่ ๕ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา ด้วยพระอุปนิสัย ร่าเริง มีพระสิริโฉมงดงาม อีกทั้ง ฉลาดมีไหวพริบ เมื่อทรงพระเจริญวัยขึ้น พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณ เป็นพระภรรยาเจ้า และทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระนาง เจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ และทรง มีพระราชโอรสธิดารวม ๘ พระองค์ ได้แก่ ๑. สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิบดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร) เสด็จพระราชสมภพ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๒๑ เสด็จสวรรคต ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๗ ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศริยาลงกรณ์ ประสูติ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๒ สิ้นพระชนม์ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๒๒ ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าวิจิตรจิรประภา ประสูติ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๔ สิ้นพระชนม์ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๒๔ 29
๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำ�รงฤทธิ์ ประสูติ ๙ มิถุยายน พ.ศ. ๒๔๒๕ สิ้นพระชนม์ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๒ ๕. สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวง เพชรบุรีราชสิรินธร ประสูติ ๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๗ สิ้นพระชนม์ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๑ ๖. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ ประสูติ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๑ สิ้นพระชนม์ พ.ศ. ๒๔๔๑ ๗. สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เสด็จพระราชสมภพ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๔ เสด็จ สวรรคต ๒๔๗๒ ทรงเป็นต้นราชสกุลมหิดล ๘. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง ประสูติ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ สิน้ พระชนม์ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงอภิบาล พระราชโอรสธิดาที่กำ�พร้าพระมารดาอีก ๔ พระองค์ คือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท และพระเจ้า ลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ในเจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เนือ่ ง สนิทวงศ์ กับ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้า ประภาพรรณพิไล และพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าวาปี บุษบากร ในเจ้าจอมมารดาพร้อม ซึง่ สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าทรงพระเมตตาประดุจพระราชโอรสธิดาของ พระองค์เอง
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และพระราชโอรส พระราชธิดา
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
30
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ถ่ายจากเรือในทะเลเข้าสู่ฝั่ง
31
ในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสี สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ทรงรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงศึกษาจดจำ�จนรอบรู้ กิจการขนบธรรมเนียมราชประเพณี ได้ตามเสด็จประพาส หัวเมืองต่าง ๆ อยูเ่ สมอ บางครัง้ ก็ตามเสด็จไปยังต่างประเทศ เช่น มลายู สิงคโปร์ ชวา โดยเฉพาะเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๓ ทรง ตามเสด็จพระราชดำ�เนินไปสิงคโปร์ เป็นคราวแรกที่ทรง ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะสมเด็จพระอัครมเหสีอย่าง เป็นทางการในต่างแดน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกา เจ้าเสด็จไปทรงรักษาพระอาการประชวร ณ พระตำ�หนัก ศรีราชา ทรงโปรดให้สร้างสถานพยาบาลขึ้นในบริเวณที่ ประทับ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนาม สถานพยาบาลแห่งนั้นว่า โรงพยาบาลสมเด็จ ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และด้วย พระเมตตาแก่ประชาชน สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรง ริเริ่มจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ใช้เกวียนเป็นพาหนะนำ�แพทย์ และเวชภัณฑ์ไปสู่ชนบทห่างไกลในพื้นที่ศรีราชา สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าทรงร่วมก่อตั้งสภา อุณาโลมแดงเพื่อการบรรเทาทุกข์ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ทรงดำ�รงตำ�แหน่งสภาชนนี ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๖๓ ทรงดำ�รงตำ�แหน่งสภานายิกา เป็นเวลายาวนานุ ถึง ๓๕ ปี ทรงสนับสนุนการดำ�เนินงานของสภากาชาดไทย ในทุกด้าน รวมทั้งส่งเสริมการติดต่อสัมพันธ์กับสภากาชาด โลก เพื่อให้องค์กรนี้สามารถปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือด้าน มนุษยธรรมอย่างสมบูรณ์ 32
สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นแรงบันดาลใจ และสนับสนุนสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกให้ทรงงานด้านการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล และการอุดมศึกษา พระราชทานพระราชทรัพย์ เพื่อช่วยพัฒนาทั้งด้านกายภาพ ทุนการศึกษา และค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ เป็นจำ�นวนมาก ทรงเห็นว่าการศึกษาเป็นเรื่องสำ�คัญ เพื่อพัฒนา พลเมืองให้มคี ณ ุ ภาพ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงส่งเสริม ให้สตรีมีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ทรงสนับสนุนพระราชธิดา ให้ทรงงานด้านการศึกษา พระราชทานพระราชินูปถัมภ์แก่ โรงเรียนสตรีหลายแห่ง เช่น โรงเรียนราชินี กรุงเทพฯ โรง เรียนวัฒโนทัยพายัพ เชียงใหม่ โรงเรียนวรนารีเฉลิม สงขลา และโรงเรียนสหายหญิง สระบุรี เป็นต้น ทรงเน้นยํ้าไม่ให้ เรียนแต่วิชาการ แต่ต้องแสวงหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อการงาน อาชีพและการดำ�รงชีวิตในสังคมด้วย ด้วยพระราชอัธยาศัยใฝ่รู้ เสด็จฯ ไปทรงฟังปาฐกถา ในมหาวิทยาลัย เมื่อมีอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น เครื่อง เอกซเรย์เข้ามาเมืองไทย สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ ไปทอดพระเนตร ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาทรงอ่าน พระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงทรงส่งเสริม การเรียนรู้ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมใน วัดปทุมวนาราม พระราชทานพระราชทรัพย์จัดพิมพ์หนังสือ เกีย่ วกับพุทธศาสนา วรรณคดี และประวัตศิ าสตร์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ทรงริเริ่มให้จัดทำ�หนังสือประชุมพงศาวดาร สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นสตรีลํ้าสมัยในด้าน
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์
โรงเรียนราชินีล่าง (ปากคลองตลาด)
33
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จเป็นประธานในกิจกรรม สภากาชาดไทย
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมพิ ลอดุลยเดช และ สมเด็จพระศรีนครินทราบรม ราชชนนี เสด็จเยีย่ มโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เศรษฐกิจและการจัดการ ทรงลงทุนในกิจการโรงสี ป่าไม้ ประกันภัยประกันชีวิต ทอผ้าและงานศิลป์อื่น ๆ ทรงจัด งานแสดงศิลปหัตถกรรมไทย ณ อาคารสตรี ในงานนิทรรศการ โลก ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ผลงาน ศิลปหัตถกรรมไทยที่ส่งไปจัดแสดงได้รับเหรียญรางวัล และ ประกาศยกย่องชมเชย สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า มีนํ้าพระราชหฤทัย เมตตากรุณาต่อผู้ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อนอยู่เสมอ เมื่อคราวเกิดอุทกภัยใหญ่ พ.ศ. ๒๔๖๐ โปรดให้น�ำ ข้าวสาร ในวังสระปทุมแจกแก่ราษฎรที่ขาดแคลน โปรดเกล้าฯ ให้ ขุดบ่อนํ้า สระนํ้า สร้างสะพาน เพื่ออำ�นวยประโยชน์แก่ ประชาชนในหลายท้องที่ ด้วยทรงพระราชดำ�ริว่า “จะทำ� การกุศลทั่วไปไม่เลือก” 34
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
35
เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระราชนัดดา ทรงเฉลิมพระนามาภิไทยสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า เสด็จสวรรคต ณ วังสระปทุม เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ พระชนมายุ ๙๓ พรรษา
36
๑๑๐ ปี
โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา
37
ที่ในนํ้าชายทะเล
...และได้ตกลงเลือกเอา ตรงหน้าบ้านเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ ห่างจากพระตำ�หนักที่ประทับประมาณ ๔ เส้น เป็นที่ปลูกสร้างโรงพยาบาล
38
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕
39
“พระทัยเต็มไปด้วย การกุศลสาธารณ” พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล
เนื่องแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระ พันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อครั้งดำ�รงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จ พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระปริวิโยคเศร้าพระทัย ด้วยเหตุที่ทรงสูญเสียสมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราช กุมาร อีกทั้งทรงสูญเสียสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอีก พระองค์หนึ่งในเวลาใกล้กัน เมื่อแพทย์หลวงได้ถวายการ รักษาจนพระอาการดีขึ้นแต่ยังไม่มีพระกำ�ลังสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือกหาที่ ชายทะเลซึ่งมีอากาศดีสำ�หรับเป็นที่ประทับรักษาพระองค์ ของสมเด็จพระนางเจ้าพระองค์นี้ตามคำ�แนะนำ�ของแพทย์ และทรงเลือกได้ที่ตำ�บลบางพระ จังหวัดชลบุรี(ซึ่งเป็นที่ ตั้งกองทหารเรือชายทะเลที่ ๕ เก่า) จึงได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าเสด็จแปรพระราชฐานไป ประทับรักษาพระองค์ในที่ตำ�บลนี้ และก็ได้ผลตามพระราช ประสงค์ คือพระอาการประชวรของสมเด็จพระนางเจ้าได้ ทุเลาดีขึ้น ในครั้งนั้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ซึ่งออกไปอำ�นวยการบริษัทป่าไม้อยู่ที่ศรีราชา ได้รับ พระบรมราชโองการให้ช่วยเป็นผู้อภิบาลสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า จึงได้ด�ำ ริจัดสร้างเรือนไม้ขนาดใหญ่ขึ้นหลัง หนึ่งที่ชายทะเลตรงเนื้อที่ของท่านห่างจากที่หาดทรายลงไป ประมาณ ๔๐ เมตร เมื่อสร้างเสร็จได้ถวายเป็นพระตำ�หนัก 40
ทีป่ ระทับของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และเชิญเสด็จจาก ตำ�บลบางพระมาประทับทีต่ �ำ หนักศรีราชานีเ้ มือ่ พ.ศ. ๒๔๔๒ และได้ประทับอยู่เกือบ ๑ ปี พระอาการประชวรก็ทรงพระ ทุเลาขึ้นเป็นลำ�ดับ และทรงพอพระทัยที่จะประทับอยู่ใน ตำ�บลนี้อีกต่อไปเป็นเวลานาน แต่พระตำ�หนักที่เจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรีจัดถวายนั้นคับแคบและอยู่ในนํ้าไม่ถาวร แข็งแรง จึงทรงพระดำ�ริเลือกหาพื้นที่ดินบนฝั่งตำ�บล ศรีราชา สำ�หรับสร้างพระตำ�หนักเป็นที่ประทับต่อไป สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระสวัสดิวดั นวิศษิ ฎ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ เจ้าพระยาสุรศักดิ์ มนตรี และพระยาอมรศาสตร์ประสิทธิ์ ได้ตกลงเห็นพร้อม กันว่าบริเวณเนินเขาชายทะเลด้านทิศใต้ของพระตำ�หนัก ที่ประทับอยู่ขณะนั้น เป็นพื้นที่สูงเหมาะกับที่จะสร้างที่ ประทับ จึงถวายความเห็นนีแ้ ด่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรสถานที่นี้เป็นที่พอพระทัย จึงมีพระกระแสรับสั่งให้จัดสร้างพระตำ�หนักใหญ่ ๓ ชั้นขึ้น หลังหนึ่ง บนเนินเขาสำ�หรับเป็นที่ประทับ และเรือนหลัง ย่อม ๆ อีก ๔ - ๕ หลัง บริเวณเนินเขา สำ�หรับเป็นที่อยู่ ของข้าหลวงและมหาดเล็ก นอกเนินเขาออกไปโดยรอบก็มี ตำ�หนักเจ้านาย และที่พักข้าราชการที่ตามเสด็จออกประจำ� ในหน้าทีร่ าชการอีกหลายหลัง เมือ่ แล้วเสร็จสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าได้เสด็จขึ้นประทับตำ�หนักใหม่นี้ใน พ.ศ. ๒๔๔๓ แล้วใช้เป็นที่สำ�หรับแปรพระราชฐานจากพระนครเสด็จ มาประทับที่ตำ�หนักนี้หลายครั้งหลายคราว นับเป็นเวลา ประมาณ ๓ ปีเศษจึงมิได้เสด็จไปประทับอีกเลย
เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)
อุปกรณ์ทางการแพทย์ในอดีต
41
ผ้าทออ่างศิลา - บ้านปึก
ในขณะที่ประทับอยู่ที่ศรีราชานั้น ได้มีข้าราช บริพาร และเจ้าหน้าที่ประจำ�การรักษาพระองค์เป็นจำ�นวน มาก ทั้งข้าราชการฝ่ายทหารพลเรือน ย่อมมีการป่วยไข้ เป็นธรรมดา ราษฎรตำ�บลศรีราชาเองและบริเวณใกล้เคียง ก็ยังมีการเจ็บป่วยกันมาก แต่ตำ�บลนี้อยู่ห่างไกลแพทย์ และเครือ่ งอุปกรณ์ในการรักษาพยาบาล สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ซึ่งมีพระทัยเต็มไปด้วยการกุศลสาธารณ จึงได้ ทรงดำ�ริว่า “ประชาชนย่อมมีความเดือดร้อนทุกข์ทรมาน จากการเจ็บไข้นั้น ถ้าได้มีสถานที่พยาบาลคนเจ็บไข้ขึ้นใน ตำ�บลนี้ นอกจากจะได้ใช้เป็นที่รักษาพยาบาลข้าราชบริพาร และผู้ที่ตามเสด็จนั้นแล้ว ยังจะเป็นสาธารณประโยชน์ให้ ประชาชนในท้องถิ่นที่ใกล้เคียงได้พึ่งพาอาศัยในยามเจ็บไข้ ซึ่งเป็นสาธารณกุศล และเป็นการช่วยชาติบ้านเมืองอีกส่วน หนึ่ง” จึงได้รับสั่งให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอสมเด็จกรมพระ สวัสดิวัตนวิศิษฐ์ และ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี คิดจัดการใน เรือ่ งนีต้ ามพระประสงค์ มีพระบำ�บัดสรรพโรค (หมอเอช. อาดัมสัน) เป็นผู้ช่วยในการวางแผนผังการก่อสร้าง และ ได้ตกลงเลือกเอาที่ในนํ้าชายทะเลตรงหน้าบ้านเจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือห่างจากพระตำ�หนักที่ ประทับประมาณ ๑๖๐ เมตร เป็นที่ปลูกสร้างโรงพยาบาล การปลูกสร้างได้เริ่มใน พ.ศ. ๒๔๔๔ เบื้องต้นสร้างเป็น เรือน ๒ ชั้นขึ้นก่อน ๑ หลัง แล้วเพิ่มขึ้นอีก ๔ หลัง ติดต่อ เป็นหมู่เดียวกันไป เรือนนี้เป็นเรือนไม้หลังคามุงจาก การ ก่อสร้างได้แล้วเสร็จในต้นเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ใน ขณะนั้นสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าประทับอยู่กรุงเทพฯ 42
อ่างศิลาและบ้านปึกเป็นแหล่งทอผ้า พื้นบ้านมาแต่เดิมและเชื่อกันว่าภูมิรู้นี้ ได้รับการถ่ายทอดจาก กลุ่มมิชชันนารี อเมริกัน ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ในอดีตนั้น มีผู้เล่าสืบต่อกันมาว่า มีหญิงสาวชาวบ้านตำ�บลอ่างศิลาได้ติดตาม สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เข้าไปใน ราชสำ�นัก ทำ�หน้าที่เป็นครูสอนการทอผ้า ให้แก่ชาววังด้วย ผ้าทออ่างศิลาเป็นงานหัตถกรรม พื้นบ้านที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งเคยใช้เป็นผ้า ทรงของพระราชาธิบดี คู่ไปกับผ้าทอ เมืองจันทบูร (จันทบุรี) ต่อมาอาชีพทอผ้า ของจันทบุรีได้เลิกไป แต่ของชาวอ่างศิลา ยังคงสืบต่อกันมา โดยมีการเปลี่ยนรูป แบบจากผ้าพื้นและผ้าเช็ดปากแบบที่เคย ทอแต่โบราณมาเป็น “ทอผ้าซิ่น และผ้า ขาวม้า” อาจกล่าวได้ว่าผ้าทออ่างศิลามี เอกลักษณ์เฉพาะในด้านลวดลายการทอ เช่น ตาสมมุก ดอกราชวัตร ดอกพิกุล ฯลฯ
แต่เนื่องจากจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ใกล้เขต กรุงเทพมหานคร จึงได้รับผลกระทบจาก กระแสวัฒนธรรมสมัยใหม่ อย่างเต็มที่และ รุนแรง อีกทั้งได้เกิดโรงงานทอผ้าที่ผลิต ด้วยเครื่องจักรกลในจังหวัดชลบุรีขึ้น ร้าน ค้าที่จำ�หน่ายผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและของที่ ระลึกที่มีอยู่ในตำ�บลอ่างศิลาได้รับผ้าทอที่ ทอจากโรงงานเข้ามา จำ�หน่ายในพื้นที่แทน และใช้ชื่อเป็นผ้าทออ่างศิลาตั้งแต่นั้นจนถึง ปัจจุบัน งานช่างฝีมอื ทอผ้าอ่างศิลา - บ้านปึก เป็นการทอผ้าของชาวบ้านในเขตตำ�บล อ่างศิลา และตำ�บลบ้านปึก อำ�เภอเมือง ชลบุรี จังหวัดชลบุรี มาแต่รัชสมัยพระบาท สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยการทอ ผ้าแต่เดิมจะกระทำ� สลับกับฤดูกาลทำ�นา กรณีของบ้านปึกนั้นทางอ่างศิลา จะทำ� หน้าที่เป็นผู้จัดหาวัตถุดิบต่าง ๆ ในการทอ มาให้ หลังจากเมื่อถึงระยะเวลาในกำ�หนด จึงจะมาเก็บผ้าทอสำ�เร็จจากบ้านปึกนำ�ไป ทอต่อที่บ้านอ่างศิลา (ห้องแถวในตลาด อ่างศิลา) ซึ่งในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์
จอมพล สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำ�นวยการสภากาชาดสยาม เสด็จทรงประกอบพิธีเปิด ๑. ตึก พระพันวัสสา ๒. ตึกตันฉื่อฮ้วง ๓. ตึกตันลิบบ๊วย ๔. เรือนขรัวนายสุด สุจริตกุล ๕. เรือนโชเก็น เมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา ซึ่งดำ�รงตำ�แหน่งเป็นอธิบดีกรม พยาบาล กระทรวงธรรมการ เสด็จประกอบพิธีเปิดเมื่อ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ซึ่งเป็นวันบำ�เพ็ญกุศลวัน ประสูติของพระองค์ และได้เริ่มรับคนเจ็บไข้เข้าพำ�นักอาศัย ตัง้ แต่วนั นัน้ เป็นต้นมา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า “โรงพยาบาลสมเด็จ” เป็นสิริมงคลนับแต่นั้นมา เมื่อวันเวลาผ่านไป สถานที่ของโรงพยาบาลที่สร้าง
ตึกตันลิบบ๊วย นางแจ่ม บางกอกฮ่วงหลี และตึกตันฉื่อฮ้วง เหล้าซกเจี่ย นางหนู บางกอกฮ่วงหลี
43
ที่กรอด้าย
โรงพยาบาลที่สร้างขึ้นในนํ้า
ขึ้นในนํ้าชำ�รุดทรุดโทรมมากเป็นที่น่ากลัวอันตรายแก่คนเจ็บ ไข้ในยามที่มีพายุและคลื่นลมทะเล ถึงจะซ่อมแซมก็ไม่ถาวร ไปได้นานต้องชำ�รุดซ่อมแซมกันอีกไม่มีที่สิ้นสุด เพราะเป็น เรือนไม้อยู่ในนํ้าถูกเพรียงทะเลเกาะกินเสาอยู่เสมอ นายบัว หรือขุนปราณเขตต์นครซึง่ เป็นผูด้ แู ลโรงพยาบาล กราบบังคมทูล สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เพื่อขอย้ายโรงพยาบาลขึ้นไป ตั้งบนบกทางด้านเหนือเขาพระตำ�หนัก (คือที่ตั้งโรงพยาบาล ปัจจุบันนี้) พระองค์ก็ทรงเห็นชอบด้วยและได้พระราชทาน เงินเป็นค่าก่อสร้างในการย้ายนี้ประมาณสองหมื่นบาทเศษ เมื่อย้ายโรงพยาบาลจากในทะเลมาก่อสร้างบนบก ในปี พ.ศ. ๒๔๕๑ ครัง้ แรกจัดสร้างเรือนไม้ขนาดใหญ่ ๒ ชัน้ ๑ หลัง ตัง้ อยูท่ างด้านเหนือของเนินเขาพระตำ�หนัก สำ�หรับ เป็นที่ทำ�การตรวจโรค และ ชั้นบนเป็นที่ทำ�การ เรือนไม้ สำ�หรับผูป้ ว่ ย ๒ หลัง สำ�หรับรับผูป้ ว่ ย หลังละประมาณ ๕ คน 44
ผ้าทออ่างศิลา - บ้านปึกเป็นที่นิยมของ ลูกค้ามาก จนต้องขยายแหล่งผลิตผ้าทอไป ที่บ้านหนองมน ตำ�บลแสนสุข เพื่อให้สินค้า มีปริมาณเพียงพอต่อลูกค้า นักท่องเที่ยว ที่ เดินทางเข้ามาพักผ่อนตากอากาศที่อ่างศิลา อยู่โดยตลอด เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า กรณี ทอผ้าที่อ่างศิลา-บ้านปึกจะประกอบด้วย กี่ทอผ้า ที่กรอด้าย ใน กระวิง เฝือ มือลิง รางหลอด กระสวย หวี เป็นต้น ซึ่งวัสดุ อุปกรณ์แต่ละชนิดมีลักษณะและการใช้งาน แตกต่างกันไป อย่างเช่น ในกับกระวิง เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกรอด้ายและ ต้องใช้ร่วมกันทั้งสองชิ้น สำ�หรับขั้นตอน กระบวนการผลิต ตั้งแต่ขั้นเตรียมการ จนถึงหลังการผลิต การทอผ้าจะดำ�เนินไป ตามขั้นตอนต่าง ๆ อย่างชัดเจนจนได้ผ้า ทอที่สวยงาม ได้แก่ ผ้าลายดอกพิกุล ผ้า ขาวม้า ผ้าเชิง ผ้ากระทง ผ้าตาสก๊อต ผ้าตา สมมุก ผ้าตาหมากรุก เป็นต้น ขั้นตอนการทอผ้าของช่างฝีมือที่ อ่างศิลา - บ้านปึก มีการดำ�เนินการตั้งแต่ ขั้นเตรียมการ ขั้นการผลิต และขั้นหลัง
จันดวง ใช้สำ�หรับทำ�ความสะอาดผ้าทอ
การผลิต มีระยะเวลาการผลิต (ทอ) ผ้า ๑ ผืนใช้เวลาประมาณ ๒ วัน กรณีที่อ่างศิลาบ้านปึกนั้น การทอผ้ามีลักษณะพิเศษที่ไม่ เหมือนพื้นที่อื่น ๆ คือ กรรมวิธีการขยำ�ข้าว สุกในขั้นตอนการเตรียมด้าย แล้วใช้กาบ มะพร้าวแปรงเส้นด้ายให้หมดขน แล้วจึงนำ� ไปทอ ทำ�ให้เนื้อผ้าที่ทอออกมา แน่น เนียน เรียบ บาง และนุ่งห่มสบาย แต่ภูมิปัญญาของผ้าทออ่างศิลาที่ ได้สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนั้น ได้เริ่ม หายไป ตั้งแต่เมื่อประมาณหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา ในปัจจุบันไม่ปรากฏผู้ ที่ประกอบอาชีพการทอผ้า หรือผู้ที่รับจ้าง ทอผ้าเหลืออยู่ในเขตบริเวณพื้นที่ ตำ�บล อ่างศิลา คงเหลือแต่ชาวบ้านปึก ที่ไม่อยาก ให้ภูมิปัญญาเหล่านี้ต้องสูญหายไป ยังคง ทอผ้าอยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็เหลือจำ�นวน เพียง ๔ หลังคาเรือนเท่านั้น และโดย การนำ�ของโรงเรียนวัดใหม่เกตุงามกับกลุ่ม ชาวบ้านปึก ได้ใช้พื้นที่บ้านของคุณสาย เสริมศรี (ป้าไอซ์) เป็นสถานที่ตั้งที่ทอผ้า โดยใช้ชื่อ “ผ้าทอบ้านปึก” เมื่อแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล ภาคตะวันออกได้เริ่มขึ้น ปัญหาด้านวัตถุดิบ ด้านเศรษฐกิจ ด้านแรงงาน ทำ�ให้ผ้าทอ
เรือนตรวจโรคหลังแรก
ภูมิทัศน์โรงพยาบาล
เรือนไม้ยาวชั้นเดียวยกพื้น ๑ หลัง สำ�หรับเป็นที่อยู่ของเจ้า หน้าที่ และบ้านพักแพทย์ผู้ปกครองโรงพยาบาล ๑ หลัง อยู่บริเวณหน้าเรือนพักผู้ป่วย รวมเป็น ๕ หลัง เมื่อสร้างเสร็จ แล้วก็ยา้ ยคนเจ็บไข้จากเรือนในนา้ํ มาอยูใ่ นทีน่ เ้ี มือ่ พ.ศ. ๒๔๕๒ ส่วนเรือนโรงของเก่าที่อยู่ในนํ้าชายทะเลก็รื้อมาดัดแปลงเป็น เรือนให้คนเช่าพักตากอากาศบ้าง เป็นที่อยู่แพทย์ ผู้พยาบาล และ คนงานบ้าง เป็นโรงครัวบ้างจนหมดตัวไม้ที่รื้อมา และ หม่อมเจ้าหญิงไขศรี ปราโมช ณ อยุธยา ได้สร้างเรือน ชายทะเลพร้อมทั้งศาลาท่านํ้าขึ้น ๑ หลัง เป็นการอุทิศกุศล เนื่องแต่การพระราชทานเพลิงศพหม่อมสาย ปราโมช ณ อยุธยา ซึ่งเป็นหม่อมมารดาของพระองค์ท่านเมื่อ พ.ศ. 45
เรือนโชเก็น และเรือนขรัวนายสุด สุจริตกุล
๒๔๕๗ ใช้สำ�หรับรับรักษาผู้ป่วยพักฟื้น หรือ ผู้ป่วยเรื้อรัง ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล ทั้งเงินค่าก่อสร้าง ค่าซ่อมแซม และ ค่าใช้สอยประจำ�โรงพยาบาล คือ ค่าเวชภัณฑ์ ค่าครุภัณฑ์ ค่าอาหารเลี้ยงคนเจ็บไข้ ตลอดจนเงินเดือน แพทย์ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เป็นเงินส่วนพระองค์ทั้งสิ้น และได้พระราชทานตลอดมาทุกปี เป็นเงินประมาณราว ปีละ ๑๕,๐๐๐ บาท ภายหลังได้เพิ่มเป็น ๒๐,๐๐๐ บาท ตลอดพระชนมายุ ต่อจากนั้นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พระราชทานเงินส่วนนีเ้ สมอมาทุกปี
46
อ่างศิลา เริ่มซบเซาลง ชาวบ้านหันไป ประกอบอาชีพอื่นๆ อีกทั้งได้เกิดโรงงานทอ ผ้าที่ผลิตด้วยเครื่องจักรกลในจังหวัดชลบุรี ขึ้น(ปัจจุบันได้ปิดกิจการแล้ว) ซึ่งรายได้ที่ ชาวบ้านได้รับจากโรงงานทอผ้า จะแน่นอน กว่าการทอผ้าด้วยมือ ทั้งยังประหยัดใน เรื่องของเวลาและขั้นตอนต่าง ๆ จึงเป็น ผลให้ชาวบ้านอ่างศิลา และบ้านปึกเลิก การทอผ้าด้วยมือ ในที่สุดผ้าทอที่ผลิตจาก เครือ่ งจักรกลก็เข้ามาจำ�หน่ายแทนทีผ่ า้ ทอมือ ในปัจจุบันร้านที่จ�ำ หน่ายผลิตภัณฑ์พื้น เมืองและของที่ระลึกที่อยู่ในตำ�บลอ่างศิลา ได้สั่งผ้าทอที่ทอจากเครื่องจักรกล นำ�มาจัด จำ�หน่ายในพื้นที่แทน ซึ่งรับมาจากโรงงาน ในจังหวัดต่าง ๆ โดยใช้ชอ่ื เป็นผ้าทออ่างศิลา ตั้งแต่นั้น จนถึงปัจจุบัน
จากทะเล สู่บก
47
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
48
แก้อะไรครับ ขอคำ�สั่งที่ชัดเจนด้วยครับ ถ้าจะเปลี่ยนรูปส่งรูปมาด้วยครับผมมีแค่นี้ ใต้ร่มพระบารมี
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
เมื่อเป็นโรงพยาบาลขึ้นแล้ว ในครั้งแรกได้ทรงฝาก การปกครองไว้กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นวิวิธวรรณ ปรีชา ซึ่งในขณะนั้นดำ�รงตำ�แหน่งเป็นอธิบดีกรมพยาบาล บังคับการโรงพยาบาลศิริราช และเมื่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาพ้นจากหน้าที่บังคับการโรงพยาบาล ศิริราชแล้ว สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงกำ�กับดูแล โรงพยาบาลด้วยพระองค์เอง จนถึงปี พ.ศ ๒๔๖๐ พร้อม ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิด คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชา และ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุน ชัยนาทนเรนทร ในขณะนั้นมีแพทย์ประจำ�ที่โรงพยาบาล เป็นชาวญี่ปุ่น และ คนไทย นายแพทย์ชาวญี่ปุ่น คือ หมอ ปิตานี หมอเคฟูจี หมอโอซาวะ ส่วนคนไทยมีพระรณรงค์ บริรักษ์ (ซิ่ว ศิวแพทย์) นายเหล็ง ศรีจันทร์ (ทวยหาญ พิทักษ์) และนายสิทธิ์ ต่อมาเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ มอบโรงพยาบาลสมเด็จฯ ให้อยู่ในความ ดูแลอำ�นวยการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวง ธรรมการในบังคับการคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาล ศิริราช การรายงานกิจการต่าง ๆ ตั้งแต่ ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร การบริการ รักษาพยาบาล การปรับปรุง อาคารสถานที่ ฯลฯ ทั้งหมดโรงพยาบาลได้เสนอไปที่ คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช แต่สมเด็จ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ยังทรงรับพระราชภาระเรื่อง ค่าใช้สอยอยู่เช่นเดิม 49
สภากาชาดสยาม
50
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงพยาบาลสมเด็จฯ จากกระทรวง ธรรมการมาอยูใ่ นปกครองของสภากาชาดสยาม (สภากาชาดไทย ในปัจจุบัน) โดยสังกัดกองพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จึงได้รับการยกฐานะเป็นกองงาน กองหนึ่งของสภากาชาดไทย “ไหนๆก็ได้สร้างมาแล้ว ไม่อยากจะให้ชำ�รุดทรุด โทรม ยินดีจะบำ�รุงอยู่เสมอ เพื่อให้ถาวรสืบไป ถึงแม้ว่าจะ สิ้นเงินตั้งหมื่นๆ ก็เต็มใจให้ ไม่มีความประสงค์ที่จะให้ใช้ใน เงินทุนเดิมที่มีอยู่สำ�หรับโรงพยาบาล ในเวลายังมีชีวิตอยู่ เว้นแต่ค่ายาซึ่งลงทุนไปก็ได้คืนมา ถึงรายจ่ายเงินประจำ�ปีจะ สูงขึ้นเป็นปีละ ๒๐,๐๐๐ เต็มใจสละให้ได้ ความตั้งใจก็จะให้ เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนที่อยู่ห่างไกลกับโรงพยาบาล” เมื่อเข้ามาอยู่ในปกครองของสภากาชาดสยามแล้ว สภากาชาดสยามได้มีคำ�สั่งรับโอนข้าราชการและคนงาน กระทรวงธรรมการ เป็นเจ้าหน้าที่และคนงานโรงพยาบาล สมเด็จฯ พร้อมทั้งเพิ่มอัตราพยาบาลให้อีก ๔ ตำ�แหน่ง คือ ตำ�แหน่งหัวหน้าพยาบาล ๑ ตำ�แหน่ง พยาบาล ๒ ตำ�แหน่ง และบุรุษพยาบาลอีก ๑ ตำ�แหน่ง ซึ่งการบริหาร งานเมื่อแรกเริ่มเปิดดำ�เนินการนั้น โรงพยาบาลเป็นเพียง โรงพยาบาลเล็ก ๆ การจัดโครงสร้างในการบริหารจึงเป็นไป ตามสถานการณ์ เมื่อดูจากการจัดผู้ปฏิบัติงานในช่วงเปลี่ยน ผ่านการโอนจากปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เข้าปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ได้แบ่ง การปฏิบัติงานออกเป็น กองอำ�นวยการ ห้องตรวจโรค ห้อง ผสมยา เรือนผู้ป่วยหญิงและคลอดบุตร เรือนผู้ป่วยชายและ กองส่งเสริม
โรคต่าง ๆ ทีพ่ บบ่อยในโรงพยาบาลในขณะนัน้ จะเป็น โรคไข้จบั สัน่ (มาลาเรีย) ไทฟอยด์ ไข้ปา้ ง เนือ้ งอกชนิดต่าง ๆ โรคทางอาหารและธาตุพิการ โรคบิด กามโรค โรคคุดทะราด โรคทางหลอดอาหาร ปอดพิการ หัวใจและโลหิตพิการ ไตพิการ และโรคทางปัสสาวะ สูตนิ รีเวขกรรม โรคผิวหนัง โรคตาและหู โรคฟัน บาดแผลต่าง ๆ รวมทั้งแผลถูกกระสุนปืน ส่วนการ ส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ส่วนใหญ่เป็น ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น วัณโรค ผู้ป่วยต้องการมาพักฟื้นให้ได้รับ อากาศที่ดี เนื่องจากอยู่ริมทะเล การรักษาที่มีชื่อเสียงของ โรงพยาบาลอีกอย่างหนึ่ง คือ รักษาโรคเหน็บชา โดยการฝัง ทราย ที่ทราบกันทั่วไปว่า โรงพยาบาลแห่งนี้สามารถรักษา ได้หายขาด ผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น ๆ ก็ปรารถนาเข้ามา รับการรักษา แม้วา่ การเดินทางไปมายังไม่สะดวก ต้องเดินทาง โดยเรือ ทางกองทัพเรือได้ให้ความอนุเคราะห์ในการส่งผู้ป่วย ไปรับการรักษายังศรีราชา ในด้านการป้องกันโรค มีการฉีด วัคซีนป้องกันโรคให้กับประชาชนทั่วไป เช่น การป้องกันโรค อหิวาห์ การป้องกันโรคกลัวนํ้า การป้องกันโรคไทฟอยด์ และ ปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ อีกทั้งการเดินทางไปมาโรงพยาบาล ในสมัยนั้นยังไม่สะดวก ประชาชนยังมีความเดือดร้อน ทุกข์ทรมานด้วยการเจ็บไข้ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงริเริ่มงานหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ด้วยทรงพระกรุณาแก่ ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านห่างไกล หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ใน ขณะนั้นใช้เกวียนเป็นพาหนะบรรทุกยาและอุปกรณ์ทางการ แพทย์ นำ�แพทย์ออกไปดูแลรักษาผู้ป่วยและช่วยป้องกันโรค ในพื้นที่ใกล้เคียงอีกด้วย
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
51
เมื่อสภากาชาดสยามได้รับมอบโรงพยาบาลสมเด็จฯ มาอยูใ่ นความดูแลได้มกี ารตรวจสอบสภาพโรงพยาบาล พบว่า บรรดาเรือนโรงที่มีอยู่ทรุดโทรมมาก สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้าได้พระราชทานค่าซ่อมแซมและค่าปลูกสร้างเรือน โรงที่ยังขาดอยู่ เช่น สร้างโรงซักฟอก ซึ่งเดิมทำ�กันไม่เป็น รูปแบบ ก่อสร้างโรงครัว - โรงอาหาร ซ่อมแซมเรือนผู้ป่วย แต่ถึงอย่างไรก็ดี สถานที่พยาบาลซึ่งได้ซ่อมแซมขึ้นแล้วนั้น ก็จะอยู่ได้ไม่นานต้องชำ�รุดอีก เพราะเป็นเรือนไม้อันสร้างมา นานมากแล้ว กรรมการอำ�นวยการสภากาชาดสยาม จึงได้ ดำ�ริเปลี่ยนแปลงวางโครงสร้างโรงพยาบาลนี้ขึ้นใหม่ เพื่อให้ เป็นสถานที่ถาวรทันสมัย และเหมาะสมที่จะเป็นโรงพยาบาล ชายทะเล โดยหวังหาผู้มีจิตศรัทธาที่จะสร้างจำ�นวนสถานที่ ตามแผนผังที่กำ�หนดไว้ในเบื้องต้น ดังนี้ ตึกที่ว่าการและตรวจโรค (๒ ชั้น) ๑ หลัง ตึกผู้ป่วยโรคทางผ่าตัด ๒ หลัง ตึกผู้ป่วยโรคทางยา ๒ หลัง ตึกคลอดบุตร (๒ ชั้น) ๑ หลัง รวมตึก ๖ หลัง เรือนที่พักคนป่วยโรคปอดที่เขาพระตำ�หนัก ๔ หลัง รวมทั้งสิ้น ๑๐ หลัง พ.ศ. ๒๔๗๔ ได้ก่อสร้างตึก และ เรือนโรงตาม โครงการใหม่นี้ ขึ้น ๕ หลัง ดังนี้ ตึกที่ว่าการและตรวจโรคเป็นตึก ๒ ชั้น มีชื่อว่า “ตึกพระพันวัสสา” สร้างขึ้นด้วยเงินส่วนพระองค์ของสมเด็จ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เฉพาะค่าก่อสร้างตัวตึกราคา ๒๗,๘๕๐ บาท 52
แบบจำ�ลองผังโรงพยาบาล
ตึกพระพันวัสสา
ตึกตันลิบบ๊วย นางแจ่ม บางกอกฮ่วงหลี และตึกตันฉื่อฮ้วง เหล้าซกเจี่ย นางหนู บางกอกฮ่วงหลี
เรือนโชเก็น และเรือนขรัวนายสุด สุจริตกุล
เรือนขรัวนายสุด สุจริตกุล
สมเด็จพระเจ้าพีย่ าเธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินติ อุปนายกผูอ้ �ำ นวยการสภากาชาดสยาม เสด็จทรงประกอบ พิธีการเปิด เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕
ตึกพยาบาลผูป้ ว่ ย ๒ หลัง สามารถรับผูป้ ว่ ยได้หลังละ ๒๐ คน เป็นตึก ๒ ชั้น ชั้นล่างโปร่ง เป็นตึกขนาดเดียวกันทั้ง ๒ หลัง สร้างขึ้นด้วยทรัพย์นายตันลิบบ๊วย หวั่งหลี ๑ หลัง มีชอ่ื ว่า “ตึกตันฉือ่ ฮ้วง เหล้าซกเจีย่ นางหนู บางกอกฮ่วงหลี” ใช้สำ�หรับผู้ป่วยหญิงและเด็ก เพื่อเป็นที่ระลึกแก่บิดามารดา ของนายตันลิบบ๊วย อีก ๑ หลัง ชื่อว่า “ตึกตันลิบบ๊วย นางแจ่ม บางกอกฮ่วงหลี” ใช้ส�ำ หรับผู้ป่วยชาย เพื่อเป็นที่ ระลึกของนายตันลิบบ๊วย และ นางแจ่มภรรยา เฉพาะค่า ก่อสร้างตัวตึกทั้ง ๒ หลัง เป็นเงิน ๒๖,๓๐๐ บาท เรือนที่พักผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวแก่ปอด ซึ่งสร้างขึ้น บนไหล่เขาพระตำ�หนักคือ “เรือนโชเก็น” เป็นเรือนไม้ชั้น เดียวสร้างขึ้นด้วยเงินส่วนแบ่งจากเงินดอกผลของเงินทุน พระราชินโี ชเก็น แห่งประเทศญีป่ นุ่ ค่าก่อสร้าง ๒,๖๐๐ บาท และ “เรือนขรัวนายสุด สุจริตกุล” เป็นเรือนไม้ชน้ั เดียว สร้างขึน้ ด้วยเงินมรดกของขรัวนายสุด สุจริตกุล ซึ่งสมเด็จพระพัน วัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานค่าก่อสร้างมาให้ ๔,๘๕๐ บาท เมื่อการก่อสร้างตึกและเรือนทั้ง ๕ หลังนี้แล้วเสร็จ จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายก ผู้อำ�นวยการสภากาชาดสยามในขณะนั้น ได้เสด็จไปทรง ประกอบพิธีการเปิด เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่วนที่เหลือ ไม่ได้มีการก่อสร้าง เนื่องจากเกิดการ เปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีการเปลี่ยนแปลงตามสมัย ของสถาปัตยกรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงวิทยาการใหม่ ๆ ในการรักษาพยาบาล ซึง่ ไม่เหมาะกับแบบแปลนทีว่ างไว้แต่เดิม 53
ในระหว่างนี้ทางสภากาชาดได้ส่งแพทย์หมุนเวียน ผลัดเปลี่ยนกันมาช่วยปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จฯโดย ไม่ขาด การมานั้นในบื้องต้นต้องมาโดยเรือเดินทะเลซึ่งเดิน อยู่ในน่านนํ้าภาคตะวันออกและมาจอดทอดสมอที่ปลาย สะพานเกาะลอยเมื่อยังไม่ถูกพายุพัดพัง และทาง โรงพยาบาลมีเรือกรรเชียงออกไปรับแพทย์และเวชภัณฑ์ มายังโรงพยาบาลอีกต่อหนึ่ง จนกระทั่งในตอนหลังจึงได้มี การตัดถนนสายสุขุมวิทขึ้น ซึ่งในตอนแรกก็ยังไม่มีสะพาน ข้ามแม่นํ้าบางปะกง ต้องใช้แพขนานยนต์และถนนหนทาง ในสมัยก่อนก็เป็นถนนลูกรัง ขรุขระเป็นส่วนมาก มีที่ลาดยาง มาได้แค่บางปูเท่านั้น ต่อมาโรงพยาบาลได้มีวิวัฒนาการเติบโตขึ้นเป็น ลำ�ดับ มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบ สร้างสิ่งต่าง ๆ เพิ่ม เติมให้อีก ดังนี้ นายตันซิวเม้ง บุตรนายตันลิบบ๊วย หวั่งหลี สมาชิก กิตติมศักดิ์สภากาชาดสยามได้บริจาคเงินสร้าง ๑. ถังเฟอร์โรคอนกรีตขนาดใหญ่บนยอดเขา พระตำ�หนัก ๑ ถัง จุนํ้าประมาณ ๒๔,๙๐๐ แกลลอน มีโรงหลังคาสังกะสีรูป ๘ เหลี่ยม กับรางโดยรอบพร้อมทั้งท่อ รองรับนํ้าฝนลงเก็บในถัง กับถังเฟอร์โรคอนกรีตขนาดรอง ที่ข้างตึกพระพันวัสสา จุนํ้าประมาณ ๑๓,๔๐๐ แกลลอนอีก ๑ ถัง มีท่อสังกะสีติดต่อกับถังแรก และแยกไปตามตึกและ เรือนโรงต่าง ๆ รวม ๔ เส้น ยาว ๑๔๕ เมตร
54
เกาะลอย
เครื่องรับส่งวัดกำ�ลังแรงไฟ
เรือนไขศรี
๒. เครื่องยนต์ชนิดแซตเล ๓ แรงม้า กับไดนาโม ขนาดไฟ ๑๑๐ โวล์ท ๑๓.๖ แอมแปร์ ๒ เครื่อง และเครื่อง รับส่งวัดกำ�ลังแรงไฟ ๒ สำ�รับ พร้อมทั้งโรงตั้งเครื่องและตั้ง เสาเดินสายไฟฟ้าไปตามตึกเรือนโรงต่าง ๆ เป็นจำ�นวนไฟ ๑๒๐ ดวง ทั้งนี้เป็นการอุทิศกุศลแก่นายตันลิบบ๊วย หวั่งหลี บิดาซึง่ วายชนม์ครบ ๓ ปี ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ส่วนการจัดสร้างแล้วเสร็จใช้การได้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ สิง่ ทัง้ สองทีก่ ล่าวนีน้ บั ว่าเป็นประโยชน์อนั ใหญ่ยง่ิ ในการให้ความสุขความสะดวกแก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เป็น อันมาก หม่อมเจ้าหญิงไขศรี ปราโมช ทรงบริจาคเงินสร้าง เรือน ๒ ชัน้ เสาคอนกรีตหลังคามุงกระเบือ้ ง มีมขุ ๒ มุข ในที่ดินชายทะเลด้านเหนือ ๑ หลัง ราคา ๑,๓๒๐ บาท สำ�หรับเป็นที่ให้คนพักตากอากาศชายทะเลการก่อสร้างได้ แล้วเสร็จเมื่อสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ มีชื่อว่า “เรือนไขศรี” พ.ศ. ๒๔๘๒ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานเงินมรดกของนางเจริญ โชติกสวัสดิ์ ปลูกสร้าง เรือนพักตากอากาศในทะเล ๑ หลัง เป็นเงินค่าก่อสร้าง ๕,๔๗๔ บาท ๔๗ สตางค์ เรือนหลังนี้มีชื่อว่า “เรือนเจริญ โชติกสวัสดิ์” ในปีเดียวกันนี้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า วาปีบุษบากร ได้ทรงสร้างเรือนพักตากอากาศ ๑ หลังใน บริเวณเชิงเขาพระตำ�หนัก ทรงอุทิศให้แก่โรงพยาบาลเนื่อง ในการบำ�เพ็ญพระกุศลพระชนมายุครบ ๔ รอบในเดือน 55
มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๔๘๒ ค่าก่อสร้างทัง้ สิน้ เป็นเงิน ๖,๕๕๐ บาท ๙๒ สตางค์ เรือนหลังนี้มีชื่อว่า “เรือนปทุมทยากร” พ.ศ. ๒๔๘๕ บริษัทข้าวไทยจำ�กัด บริจาคเงินสร้าง เรือนพักตากอากาศบริเวณเชิงเขาพระตำ�หนัก ๑ หลัง เป็น เงินค่าก่อสร้าง ๒๒,๖๐๐ บาท เรือนหลังนี้มีชื่อว่า “เรือน ข้าวไทยอุทิศ” พ.ศ. ๒๔๙๒ คณะกรรมการกองการรางวัลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๙๑ ซึ่งมีพลเอก หลวงพรหมโยธี เป็นประธาน และ นายจุลินทร์ ลํ่าซำ� เป็นผู้อำ�นวยการ ได้อนุมัติเงินจำ�นวน ๑๑๕,๐๐๐ บาท สร้างเรือนพักตากอากาศในทะเล ๑ หลัง เรือนพักหลังนี้มีชื่อว่า “เรือนกองการรางวัลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๙๑” และ ยังให้เงินทำ�บันไดท่านํ้าคอนกรีตปลาย ถนนทางเข้าโรงพยาบาลอีกด้วย พ.ศ. ๒๔๙๕ หม่อมเจ้าหญิงจงกลณี วัฒนวงศ์ ซึ่งได้ป่วยรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลายเดือน ในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ทรงบริจาคเงินสร้างตึกผ่าตัดให้แก่ โรงพยาบาล ๑ หลัง สิ้นเงินค่าก่อสร้าง ๒๓๐,๐๐๐ บาท ตึก หลังนี้ได้ทำ�ประโยชน์ให้แก่โรงพยาบาลและผู้ป่วยเป็นอัน มาก โดยได้ทำ�ให้งานศัลยกรรมของโรงพยาบาลได้เริ่มต้น อย่างแท้จริงขึ้น ตึกหลังนี้มีชื่อว่า “ตึกจงกลณีอุทิศ” พ.ศ. ๒๔๙๖ พระประยูรญาติและข้าราชบริพารใน สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าฯ บริจาคเงินรวม ๔๗,๗๒๕ บาท ๒๕ สตางค์ สร้างเรือนไม้ ๑ หลัง เรือนหลังนี้มีชื่อว่า “เรือนพระประยูรญาติและข้าราชบริพาร” ได้ใช้สำ�หรับเป็น ที่ทำ�งานและที่เก็บของ ๆ แผนกสัมภาระ ได้รื้อลง พ.ศ. ๒๕๑๐ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างตึกบรมราชเทวี 56
หมู่เรือนริมนํ้า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จโรงพยาบาลสมเด็จฯ และโรงเรียนวจนคามศรีราชา พ.ศ. ๒๔๙๗
พ.ศ. ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ พ์ิ ระบรมราชินนี าถ เสด็จประพาสหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันออกและได้เสด็จ พระราชดำ�เนินเยีย่ มโรงพยาบาลนี้ และต่อมาได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน ๒๕๕,๕๕๐ บาท สมทบกับ เงินที่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าพระราชทานไว้แล้ว ๘๖,๒๐๐ บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๓๔๑,๗๕๐ บาท ให้แก่ โรงพยาบาลทำ�การต่อเติมเสริมตึกพระพันวัสสา ซึ่งเป็น ตึกอำ�นวยการออกไปทั้งสองข้าง และในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเงิน ๑๒๘,๗๓๗ บาท ๙๙ สตางค์ สำ�หรับสร้างเรือนพักนางพยาบาล เป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น สร้างแทนเรือนพักพยาบาลที่รื้อลงในบริเวณซึ่งเดิม เป็นเรือนไม้ที่พักพ่อบ้านและเภสัชกร พ.ศ. ๒๔๙๙ - ๒๕๐๐ ขุนพิพัทธหะรินสุต สมาชิก กิตติมศักดิ์สภากาชาดไทย ได้บริจาคเงิน ๔๐๑,๕๕๕ บาท สร้างตึกผู้ป่วยพิเศษ ๑ หลัง เป็นตึก ๒ ชั้น สามารถรองรับ ผู้ป่วยได้ ๘ ห้อง มอบให้โรงพยาบาลมีชื่อว่า “ตึกเสียง หะรินสุต” เพื่อใช้เป็นที่รักษาผู้ป่วยเสียเงิน และพระภิกษุ สงฆ์อาพาธ เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่โรงพยาบาล เนื่องจาก โรงพยาบาลสมเด็จฯ ยังไม่มีตึกผู้ป่วยเสียเงินในเวลานั้น ต่อมาชั้นล่างใช้เป็นห้องผู้ป่วยสูติ – นรี พิเศษ และ ห้อง บริบาลทารกแรกเกิด จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๒ พ.ศ. ๒๕๐๓ พระสุจริตสุดา ในรัชกาลที่ ๖ ได้ บริจาคเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ร่วมกับหม่อมเจ้าหญิงบุญจิรทร จุฑาธุช ทรงบริจาคเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน 57
๑๑๐,๐๐๐ บาท เพือ่ สร้างประตูทางเข้าโรงพยาบาลพร้อมทำ�ป้าย หินอ่อนจารึกชือ่ โรงพยาบาลติดทีห่ น้าประตู และถนนคอนกรีต หน้าตึกผูอ้ �ำ นวยการ และตึกเสียง หะรินสุต ในปีเดียวกันนี้ นายจุลนิ ทร์ ลา่ํ ซำ� ได้บริจาคเงิน ๓๒,๒๓๓.๙๑ บาท สร้างศาลา ริมบันไดท่านํ้า ชื่อว่า ศาลาทองอยู่ ลํ่าซำ� ได้ใช้เป็นที่พัก ผ่อนหย่อนใจ และขายอาหารแก่ผู้ป่วย และ ญาติที่มาเยี่ยม หรือมาส่งผู้ป่วย ปัจจุบันรื้อลงและก่อสร้างอาคารเกษตร สนิทวงศ์แทน เนื่องจากการที่มีผู้ป่วยนิยมมารักษาตัวที่ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา มีจำ�นวนมากขึ้นทุกปี แต่สถานที่ที่จะรับผู้ป่วยที่มีอาการหนักเข้ารับรักษาไว้ภายใน โรงพยาบาลมีจำ�นวนจำ�กัดไม่ได้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้มีการก่อสร้างอาคาร เพิ่มเติมขึ้นเป็นอันมาก แต่ไม่ได้มีอาคารสำ�หรับรับผู้ป่วยเพิ่ม ขึ้น ทำ�ให้ผู้ป่วยเป็นจำ�นวนมากต้องเบียดเสียดแออัด จะมีแต่ ตึกเสียง หะรินสุต ที่รับผู้ป่วยเสียเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้นิยมมาก จนถึงกับยอมไปพักรวมอยู่ในตึกผู้ป่วยทั่วไป เพื่อรอคอยห้อง พิเศษในตึกนั้นว่าง ทำ�ให้ที่พักผู้ป่วยทั่วไปแออัดยิ่งขึ้น โรงพยาบาลจึงมีความเห็นว่าถ้าได้มีตึกผู้ป่วยพิเศษเพิ่มขึ้น อีก ๑ หลัง คงจะสามารถแก้ปัญหาได้ทั้ง ๒ ประการ คือ สนองความต้องการของผู้ที่ต้องการห้องพิเศษที่เสียเงิน และ ทั้งช่วยบรรเทาความแออัดของผู้ป่วยทั่วไปลงได้บ้าง ทั้งนี้ได้ นำ�ความกราบเรียนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ อุปนายก ผู้อ�ำ นวยการสภากาชาด ได้ให้ความเห็นชอบและสนับสนุน จึงได้บอกบุญแก่ผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายในจังหวัดชลบุรี ได้มี 58
ผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ในอดีต
สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถเสด็จทรงประกอบพิธเี ปิดตึกสว่างวัฒนา เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ตึกตันลิบบ๊วย นางแจ่ม บางกอกฮ่วงหลี และตึกตันฉื่อฮ้วง เหล้าซกเจี่ย นางหนู บางกอกฮ่วงหลี
เอกชนและบริษทั ต่าง ๆ ทีม่ จี ติ ศรัทธาบริจาคเงินสร้างตึกใหม่ แทนบริเวณเรือนไม้เดิม ที่เป็นเรือนพักแพทย์และเรือนผู้ป่วย เป็นตึก ๒ ชั้น เป็นเงินรวม ๖๓๖,๔๐๐ บาท และยังมี ผู้มีจิตกุศลออกเงินสมทบภายหลัง เพื่อซื้ออุปกรณ์การแพทย์ อีก ๒๑๕,๙๓๖.๖๑ บาท รวมเป็นเงินทัง้ สิน้ ๘๘๓,๕๓๖.๖๑ บาท ได้ลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ แล้ว เสร็จเมือ่ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยคำ�ขอร้องของ ผู้บริจาคทั้งหลายมีความประสงค์เพื่อเป็นอนุสรณ์และเชิดชู พระเกียรติคณ ุ แด่สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผูพ้ ระราชทาน กำ�เนิดโรงพยาบาล ซึง่ ได้ตง้ั มาเป็นเวลา ๖๐ ปี จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานนาม ตึกนี้ว่า “ตึกสว่างวัฒนา” สำ�หรับเป็นที่รองรับผู้ป่วยพิเศษ มีห้อง ทั้งสิ้น ๑๘ ห้อง ทั้งนี้เป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าฯ และเป็นที่ชื่นชมยินดีของผู้บริจาคโดยทั่วกัน โดยสมเด็จ พระศรีนครินทรา บรมราชชนนี เสด็จทรงประกอบพิธีเปิด ตึก ในวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕ เป็นที่น่าแปลกใจ ที่ในงานพิธีเปิดตึกมีคนไม่รู้จักพระนามนี้ว่าเป็นใครอยูเ่ ป็น จำ�นวนมาก ต่อมาภายหลังจึงได้ขอพระราชทานนามเต็มของ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เป็นชือ่ ตึก เพือ่ เป็นพระราชา นุสรณ์และเพื่อให้บุคคลทั่วไปได้รู้จักพระนามที่ถูกต้องของ พระองค์ ระหว่างพ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๕ ทางโรงพยาบาลได้ รับงบประมาณจากสภากาชาดไทย ๑๐๐,๐๐๐ บาท จึงได้ ทำ�การปรับปรุงสถานที่รับผู้ป่วย และสถานที่ภายใน โรงพยาบาลทัว่ ๆ ไป และนางแจ่ม หวัง่ หลีภรรยานายลิบบ๊วย 59
หวั่งหลี ซึ่งเป็นผู้สร้างตึกผู้ป่วย ๒ หลัง คือ ตึกตันฉื่อฮ้วง และตึกตันลิบบ๊วย ร่วมกับบุตรธิดาของนายตันลิบบ๊วย ได้ บริจาคเงินสมทบอีก ๕๑,๘๐๐ บาท ได้ทำ�การดัดแปลง ตึกผู้ป่วยทั้ง ๒ หลังนี้ให้ดีขึ้น ทำ�ให้มีเตียงรับผู้ป่วยเพิ่ม ขึ้นอีกประมาณ ๕๐ เตียง และในปีเดียวกันนี้ ทางสภา จังหวัดชลบุรี ได้ให้เงินอุดหนุนแก่โรงพยาบาล เป็นจำ�นวน ๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งนับว่าเป็นปีแรกที่ทางโรงพยาบาลได้รับ ความช่วยเหลือจากจังหวัดในด้านการเงิน โดยที่นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในขณะนั้น ได้มาเยี่ยม โรงพยาบาลและเห็นว่า โรงพยาบาลสมควรจะได้รับความ ช่วยเหลือ และเทศบาลตำ�บลศรีราชาได้ให้เงิน ๑๐,๐๐๐ บาท ได้ทำ�ถนนลาดยางจากประตูทางเข้าไปจนจดบันไดท่านํ้า เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยและผู้ที่เข้ามาในโรงพยาบาลด้วย แต่เดิมเป็นถนนดินเมื่อถึงฤดูฝนพื้นถนนเป็นโคลนตม และใน หน้าแล้งเวลารถวิง่ เข้า-ออกทำ�ให้เกิดฝุน่ พัดเข้าไปในตึกผูป้ ว่ ย จึงนับว่าเป็นกุศลอย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้วได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมอีกเช่น การสร้างโรงอาหารของเจ้าหน้าที่ใหม่ ๑ หลัง สร้าง เรือนพักแพทย์เพิ่มขึ้น ๒ หลัง และได้ทำ�การต่อเติมเรือนพัก นางพยาบาล อีกทั้งทางโรงพยาบาลได้ปรับพื้นที่ทางด้านใต้ ของถนนทางเข้า ซึ่งแต่เดิมเป็นไร่มันสำ�ปะหลัง ให้เป็น สนามหญ้าไปจนจดรั้วด้านใต้ ทำ�สนามเทนนิสและสร้าง เรือนพักบุรุษพยาบาล ๑ หลัง เรือนพักคนงาน ๑ หลัง พร้อมทั้งตัดถนนใหม่อีก ๒ สาย ทางด้านตะวันออกและ ด้านใต้ของเขาพระตำ�หนัก 60
ภูมิทัศน์ทางอากาศ์โรงพยาบาล ปี พ.ศ.๒๕๕๔
61
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำ�เนิน ประกอบพิธีเปิดตึกศรีสังวาลย์ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗
ตึกศรีสังวาลย์
62
พ.ศ. ๒๕๐๖ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ ก่อสร้างตึก ๒ ชัน้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อตึกว่า “ตึกศรีสังวาลย์” ใช้ สำ�หรับเป็นที่ตรวจโรคผู้ป่วยนอกอยู่สมัยหนึ่ง ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ทำ�การต่อเติมเป็นอาคาร ๓ ชั้น (เนื่องจากได้วางรากฐาน ตึกไว้ ๓ ชั้น ปัจจุบันชั้นล่างใช้เป็นที่ท�ำ งานของฝ่ายการ เงินและบัญชี ชั้น ๒ ใช้เป็นที่ท�ำ งานของฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป และ ฝ่ายบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม ส่วน ชั้น ๓ เป็นที่ท�ำ งานของผู้บริหาร และฝ่ายบริหารงาน ทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ พ์ิ ระบรมราชินนี าถ ได้เสด็จ พระราชดำ�เนินประกอบพิธีเปิดตึกหลังนี้ ในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๗ และ ในวันเดียวกันได้ทรง พระกรุณาประกอบพิธีเปิดตึก จงกลนีอุทิศ ซึ่ง ม.จ.หญิง จงกลนี วัฒนวงศ์ ทรงบริจาคใช้เป็นห้องผ่าตัดไว้แต่เดิม และทำ�การขยายต่อเติมให้ใหญ่ขึ้น พ.ศ. ๒๕๐๘ โรงพยาบาลได้ตึกผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลัง โดยได้รบั ความร่วมมืออย่างดียง่ิ จาก นายนารถ มนตเสวี ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีในขณะนั้น พร้อมด้วยพ่อค้า ประชาชน ห้างร้านบริษัทต่าง ๆ บริจาคเงินสร้างตึกผู้ป่วย ๓ ชั้น ชั้น ๓ เป็นห้องผู้ป่วยพิเศษ ทำ�ทางเชื่อมติดกับ ชั้น ๒ ของตึกสว่างวัฒนา (เนื่องจากมีความต่างของระดับ พื้นที่ ที่ตั้งอาคาร) ชั้น ๒ ใช้เป็นแผนกคลอดบุตรผู้ป่วยสามัญ ชั้นล่างใช้เป็นห้องสมุดและห้องพักแพทย์ ตึกหลังนี้ได้รับ
ตึกศรีสวรินทิรา
ตึกบรมราชเทวี
พระราชทานชื่อว่า “ตึกศรีสวรินทิรา” พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำ�เนิน ประกอบพิธีเปิดพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้ย้ายผู้ป่วยออกไป ปัจจุบันเป็นศูนย์พัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและผู้ป่วยมะเร็ง พ.ศ. ๒๕๑๐ โรงพยาบาลได้ทำ�โครงการหาเงินสร้าง ตึกผูป้ ว่ ยอีก ๑ หลัง โดยรือ้ อาคารเก็บของซึง่ พระประยูรญาติ และข้าราชบริพารได้บริจาคสร้างไว้เหนือบ่อเก็บนํ้าฝน ก่อสร้างเป็นตึก ๓ ชั้นครึ่ง สามารถรับคนไข้ได้ ๑๒๐ เตียง (ชั้นละ ๔๐ เตียง) มีห้องตรวจศพและห้องพัสดุอยู่ชั้นล่างสุด เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้ขอพระราชทานชื่อตึกว่า “ตึกบรม ราชเทวี” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดชพร้อม ด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระ กรุณาเสด็จฯ ทำ�พิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ นายเมธา นิวาตวงศ์ ได้ บริจาคตึกผู้ป่วยพิเศษอีก ๑ หลัง เป็นตึก ๓ ชั้น มีห้องพัก ๔๒ ห้อง ให้ชื่อว่า “ตึกเมธานิวาตวงศ์” ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ทายาทของนายเมธา นิวาตวงศ์ ได้บริจาคเงินในการบูรณะ หลังคาและทาสีใหม่ จำ�นวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท การบูรณะ แล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ นายนารถ มนตเสวี ผูว้ า่ ราชการจังหวัดชลบุรใี นขณะ นัน้ ร่วมกับทางโรงพยาบาลหาเงินสมทบทุนสร้างตึกตรวจโรค
63
และคลังเวชภัณฑ์ ตึกหลังนี้ได้ของพระบรมราชานุญาต ให้ ชื่อตึกตรวจโรคนี้ว่า “ตึกอัยิกาเจ้า” และทางสภากาชาดไทย ได้นำ�เงินก้อนหนึ่ง ซึ่งคณะฑูตได้หารายได้จากการออกร้าน งานกาชาด ก่อสร้างตึกหอพักพยาบาล ๓ ชั้น ๑ หลัง ซึ่งได้ รับพระราชทานชื่อว่า “ตึกศรีมิตรา” ในระยะก่อสร้างตึกทั้ง ๒ หลังนี้ สภากาชาดไทยได้ ตั้งกรรมการคณะหนึ่งประกอบด้วย ม.จ. อัจฉราฉวีเทวกุล เป็นองค์ประธานดำ�เนินการหาเงินก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ เพื่อน้อมรำ�ลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในองค์สมเด็จฯ ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล คณะกรรมการได้ดำ�เนิน การติดต่อกรมศิลปากร หล่อพระบรมรูปในท่าประทับนั่ง พระเก้าอี้ ในพลับพลาจตุรมุขหินอ่อน เป็นพระบรมรูปหล่อ ทองสัมฤทธิร์ มดำ� พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จ พระราชดำ�เนินเททองพระบรมรูปที่กรมศิลปากร เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อแล้วเสร็จบริบูรณ์แล้วได้ กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำ�เนินประกอบพิธีเปิด พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ พ์ิ ระบรมราชินนี าถ เมือ่ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ชัน้ ผูใ้ หญ่ และผูม้ เี กียรติมาเฝ้าทูลละอองธุลพี ระบาทในวันเปิด นีเ้ ป็นจำ�นวนมาก และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกอบ พิธีเปิดตึกอัยิกาเจ้า ตึกเมธานิวาตวงศ์ และตึกศรีมิตรา ใน วันเดียวกัน หลังจาก พ.ศ. ๒๕๑๔ เป็นต้นมา โรงพยาบาลไม่ได้มี การก่อสร้างตึกผู้ป่วยอีก เนื่องจากสภากาชาดไทยมีนโยบาย 64
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำ�เนินประกอบพิธีเปิดพระราชา นุสาวรีย์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
65
ที่จะหยุดการขยายจำ�นวนเตียงผู้ป่วย แต่การขยายงานด้าน บริการให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบาย และ มีเครื่องมือ เครื่องใช้ในการแพทย์ให้ทันสมัย ยังดำ�เนินการอยู่ จะเห็น ได้จากมีการก่อสร้างโรงซักฟอกติดตั้งอุปกรณ์ซักรีดทันสมัย ก่อสร้างโรงประกอบอาหาร และ ก่อสร้างเรือนพักแพทย์ เรือนพักผู้ช่วยพยาบาล และเรือนพักเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม ดังนี้ บ้านพักแพทย์ เภสัชกร ซึ่งมีลักษณะคล้ายบังกาโล ลักษณะ คล้ายคลึงกัน จำ�นวน ๑๒ หลัง โดยปรับพื้นที่ส่วนที่รกและ เคยเป็นไร่มันสำ�ปะหลังเดิม ให้เป็นสนามหญ้าและมีบังกาโล โดยรอบ เรือนพักเจ้าหน้าที่และผู้ช่วยพยาบาล เป็นเรือน ลักษณะเดียวกัน เป็นเรือนหลังยาว ๒ ชั้น จำ�นวน ๔ หลัง เรือนพักเจ้าหน้าทีเ่ ป็นเรือนแถว ๒ ชัน้ สำ�หรับเป็นบ้านพักคนงาน ๓ หลัง และบ้านพักพ่อบ้าน ๑ หลัง อาคารพักแพทย์ ๒ ชัน้ ปัจจุบันได้รื้อออกเพื่อใช้พื้นที่ในการสร้างอาคารเทพอาทร โรงซักฟอก-นึ่ง มีการติดตั้งเครื่องกำ�เนิดไอนํ้า ซักฟอกด้วยเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องรีด และเครื่องทำ�ให้แห้ง โรงอาหารเจ้าหน้าที่ (ภายหลังให้รื้อออก เพื่อใช้พื้นที่สร้าง เป็นตึกศรีสมเด็จฯ) พร้อมทัง้ มีการตัดถนนภายในโรงพยาบาล เพิ่มขึ้นอีกหลายสาย จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ทางโรงพยาบาลเห็นว่า ตึกคลอดทีม่ อี ยูเ่ ดิมนัน้ มีหอ้ งคลอดอยูเ่ พียงห้องเดียว บางครัง้ คลอดพร้อม ๆ กันหลาย ๆ คน และห้องบริบาลเด็กทารกแรกเกิด ก็เล็กคับแคบเกินไป จึงได้ขออนุญาตคณะกรรมการเจ้าหน้าที่ สภากาชาดไทยดำ�เนินการหาเงินก่อสร้างตึกเพื่อใช้เป็น 66
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อปุ นายิกา สภากาชาดไทย ได้เสด็จพระราชดำ�เนินทรงประกอบพิธีเปิด ตึกศรีสมเด็จฯ และตึกสุขวัฒนา ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
ตึกศรีสมเด็จฯ
ตึกคลอด และสำ�หรับเป็นที่ดูแลเด็กแรกเกิดด้วยพื้นที่จำ�กัด และจะต้องให้มีทางเดินเชื่อมตึกหลังใหม่นี้กับตึกคลอดเดิม จึงจำ�เป็นต้องรื้อโรงอาหารของเจ้าหน้าที่ซึ่งเดิมเป็นอาคารไม้ ชั้นเดียวแล้วก่อสร้างขึ้นเป็นตึก ๓ ชั้น ชั้นล่างสร้างเป็นห้อง รับประทานอาหารตามเดิม ชั้น ๒ เป็นห้องคลอดมี ๔ ห้อง ห้องเตรียมคลอด รอคลอด ถูกต้องตามหลักวิชาชีพ ชั้น ๓ เป็นที่ส�ำ หรับเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด พร้อมกับได้ของบประมาณ ก่อสร้างตึกหอพักพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลัง เป็นอาคาร ๓ ชั้น ได้ทำ�เรื่องกราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อตึกทั้งสอง ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานชือ่ ตึกสูตกิ รรมว่า “ตึกศรีสมเด็จฯ” และตึกหอพัก พยาบาลว่า “ตึกสุขวัฒนา” ตึกสองหลังนีส้ มเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์อปุ นายิกาผูอ้ �ำ นวยการ สภากาชาดไทย ได้เสด็จพระราชดำ�เนินทรงประกอบพิธีเปิด ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ สำ�หรับตึกศรีสมเด็จฯ ปัจจุบันเป็นฝ่ายโภชนาการ พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้มีการปรับปรุงต่อเติมตึกอัยิกาเจ้า ห้องผ่าตัด และ เปิดหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ไอ.ซี.ยู.) ขึ้น เปิดทำ�การปี พ.ศ. ๒๕๒๔ (ห้องผ่าตัด และ หน่วยไอ.ซี.ยู. ปัจจุบันถูกรื้อถอนเป็นตึกมหิดลอดุยเดช) พ.ศ. ๒๕๒๖ โรงพยาบาลได้ของบประมาณ สร้างตึก ๑ ชั้น และ ตั้งชื่อเป็นเกียรติแด่เลขาธิการ
67
สภากาชาดไทย ขณะนั้นคือศาสตราจารย์ นายแพทย์ ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ ว่า “อาคารเกษตร สนิทวงศ์” ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่จัดประชุมสัมมนา ห้องพักแพทย์ ห้องสมุด และศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก ในช่วง เวลาเดียวกันนี้ได้สร้างบ้านพักแพทย์ เป็นบ้านแฝด ๖ คู่ บริเวณเชิงเขาพระตำ�หนัก พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้ของบประมาณสร้างอาคารพัก พยาบาล เป็นตึก ๓ ชั้น เชื่อมต่อกับหอพัก “ศรีมิตรา” เดิม และ ของบประมาณสร้างอาคารพักเจ้าหน้าที่ เป็นตึก ๔ ชั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ชื่อ “อาคารที่พักเจ้าหน้าที่ ๒๕๒๙” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีพระราชดำ�ริให้จัดตั้งโครงการพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากร ทางการแพทย์ทุกระดับ การพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ และการก่อสร้างอาคารผูป้ ว่ ย ๖ ชัน้ ความเป็นมาของโครงการ นี้คือใน วันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๗ ครั้งสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ มาเป็นการ ส่วนพระองค์ เพื่อทรงเยี่ยมสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผาติการาม ซึ่งมาพักฟื้นอยู่ที่เรือนรัฐธรรมนูญ เรือน พักตากอากาศในโรงพยาบาลสมเด็จฯ เมื่อครั้งที่เสด็จฯ มาโรงพยาบาลในงานฉลอง โรงพยาบาลครบรอบ ๘๐ ปี ได้ทอดพระเนตรเห็นสภาพ ความแออัดของผู้ป่วยที่ต้องนอนเตียงละ ๒ คนบ้าง นอน ตามทางเดิน ตามระเบียงบ้าง ตึกผูป้ ว่ ยหลายตึกเก่า คับแคบ และเริม่ ทรุดโทรม ไม่เหมาะสมต่อการรักษาพยาบาลตาม 68
ตึกพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี และตึกมหิดลอดุยเดช
วิทยาการสมัยใหม่ ด้วยพระประสงค์ที่จะให้ผู้ป่วยได้รับการ รักษาพยาบาลที่ดีขึ้น อีกทั้งโรงพยาบาลสมเด็จฯ ก็ไม่ได้ มีการขยายปรับปรุงสถานที่มาเป็นเวลานาน ประกอบกับ จำ�นวนประชากรที่เพิ่มขึ้นนับแสนคนจากโครงการพัฒนา พืน้ ทีช่ ายฝัง่ ทะเลภาคตะวันออกของรัฐบาล ซึง่ มีทา่ เรือนา้ํ ลึก นิคมอุตสาหกรรม ชุมทางรถไฟ และศูนย์กลางการท่องเที่ยว จำ�นวนผู้ป่วยก็จะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน ซึ่งพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “ตึกมหิดลอดุลยเดช” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดา แห่งวงการแพทย์ไทยสมัยปัจจุบัน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีวาง ศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ และได้เริ่ม ก่อสร้างตั้งแต่นั้นมา สถานที่กอ่ สร้างตึกมหิดลอดุลยเดช แต่เดิมเป็นทีต่ ง้ั ของตึกตันลิบบ๊วย นางแจ่ม บางกอก ฮ่วงหลี กับตึกจงกลนีอุทิศ เนื่องจากตึกทั้งสองค่อนข้างคับแคบและ ก่อสร้างมานาน จึงจำ�เป็นต้องรื้อตึกทั้งสองออกงบประมาณ ในการสร้างตึกหลังนีแ้ ละอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นงบประมาณ จากสภากาชาดไทย ได้รบั จากเงินพระราชทานและผู้มีจิต ศรัทธาบริจาค ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดตึกมหิดลอดุลยเดช เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้กอ่ สร้างอาคารพักแพทย์ เป็นตึก ๔ ชัน้ พักได้ ๑๘ ครอบครัว ชื่อว่า “อาคารพักแพทย์ ๒๕๓๔” 69
พ.ศ. ๒๕๓๔ ได้ก่อสร้างอาคารพักแพทย์ เป็นตึก ๔ ชั้น พักได้ ๑๘ ครอบครัว ชื่อว่า “อาคารพักแพทย์ ๒๕๓๔” จากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก ทำ�ให้ นิคมอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ เกิดขึ้นหลายแห่งในอำ�เภอศรีราชา มีประชากรอพยพเข้ามาอย่างมากมาย เป็นเหตุให้มีจำ�นวน ผู้เจ็บป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นปีมหามิง่ มงคลทีส่ มเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สภานายิกาสภากาชาดไทย ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖๐ พรรษา โรงพยาบาลจึงได้มี โครงการสร้างถาวรวัตถุอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแด่พระองค์ทา่ น โดยถาวรวัตถุดังกล่าวเป็นอาคารสำ�หรับดูแลรักษาพยาบาลผู้ ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ และอาคารหลังนี้ได้รับ พระราชทานนามว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ พระนางเจ้าสิรกิ ติ ”์ิ เมือ่ มีผมู้ ารับบริการเพิม่ ขึน้ โรงพยาบาล จำ�เป็นต้องมีเครือ่ งมือและอุปกรณ์ในการช่วยวินจิ ฉัยโรคใหม่ ๆ พร้อมทั้งต้องมีบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มตามปริมาณงาน และบุคลากรดังกล่าวจำ�เป็นต้องมีทพ่ี กั อาศัยในโรงพยาบาล จึงได้กอ่ สร้างอาคารขึ้นโดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่ ๑ เป็น อาคาร ๔ ชั้น ส่วนที่ ๒ เป็นอาคาร ๖ ชั้น ซึ่งก่อสร้างโดย เงินงบประมาณส่วนหนึ่งและผู้มีจิตศรัทธา อาคารหลังนี้ได้ รับพระราชทานนามว่า “อาคารเทพอาทร” สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนิน ทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิรกิ ติ ์ิ และ อาคารเทพอาทร เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐ 70
ตึกอัยิกาเจ้า และอาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เนื่องในวาระที่โรงพยาบาลครบรอบ ๑๐๐ ปี ใน วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ สภากาชาดไทย ได้ก่อสร้าง ถาวรวัตถุอนุสรณ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล ถาวรวัตถุ อนุสรณ์นี้เป็นอาคารบริการผู้ป่วยนอกที่ให้บริการทั้งทางด้าน การตรวจรักษา ตรวจวินิจฉัย การเสริมสร้างสุขภาพและ ป้องกันโรค มีความพร้อมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และสิ่งอำ�นวยความสะดวกที่ทันสมัย ทดแทนอาคารบริการ ผู้ป่วยนอกเดิม (ตึกอัยิกาเจ้า) ซึ่งก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สามารถรองรับผู้มารับบริการ ได้วันละประมาณ ๕๐๐ คน แต่ในขณะนั้นมีผู้มารับบริการวันละมากกว่า ๑,๕๐๐ คน จึงทำ�ให้เกิดความแออัด ไม่ได้รับความสะดวก อีกทั้งยังเป็นข้อจำ�กัดในการพัฒนางานบริการผู้ป่วย ทั้ง ทางด้านตรวจวินิจฉัย การส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนการให้ บริการอื่น ๆ ที่จำ�เป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารหลังนี้ว่า “อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี” ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำ�เนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ และ เสด็จพระราชดำ�เนิน ทรงเปิด เมื่อวันพุธที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี
71
การปกครอง และการบริหารงาน
เมื่อเป็นโรงพยาบาลขึ้นแล้ว ในครั้งแรกได้ทรง ฝากการปกครองไว้กับ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่น วิวิธวรรณปรีชา ซึ่งในขณะนั้นดำ�รงตำ�แหน่งเป็นอธิบดี กรมพยาบาลบังคับการโรงพยาบาลศิริราช ต่อมาเมื่อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาพ้นจาก หน้าที่บังคับการโรงพยาบาลศิริราชแล้ว จึงทรงกำ�กับ ดูแลโรงพยาบาลด้วยพระองค์เอง พร้อมด้วยพระบรม วงศานุวงศ์ที่ใกล้ชิด คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่น วิวิธวรรณปรีชา และพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนา ทนเรนทร มีแพทย์ประจำ�ที่โรงพยาบาลมีที่เป็นชาวญี่ปุ่น และคนไทย นายแพทย์ชาวญีป่ นุ่ คือหมอปิตานี หมอเคฟูจี หมอโอซาวะ ส่วนคนไทยมีพระรณรงค์บริรกั ษ์ (ซิว่ ศิวแพทย์) นายเหล็ง ศรีจันทร์ (ทวยหาญพิทักษ์) และนายสิทธิ์ ดังนั้นการปกครองในช่วงนี้พอจะสรุปได้ คือปี พ.ศ. ๒๔๔๕ - พ.ศ. ๒๔๖๐ อยู่ในการปกครองของ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ กรมหมืน่ วิวธิ วรรณปรีชา อธิบดีกรมพยาบาล บังคับการโรงพยาบาลศิริราช และอีกช่วงหนึ่งสมเด็จฯ ทรงรับเป็นการธุระจัดการเอง โดยมีพระเจ้าบรมวงศ์ เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร ผู้บัญชาการโรงพยาบาล ศิริราชทรงช่วยเหลือกิจการเป็นการส่วนพระองค์ ต่อมาปีพ.ศ. ๒๔๖๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ให้อยู่ในความดูแลอำ�นวยการ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงธรรมการในบังคับ การคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช การรายงาน 72
กิจการต่าง ๆ ดั้งแต่ด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร การ บริการรักษาพยาบาล การปรับปรุงอาคารสถานที่ ฯลฯ ทัง้ หมดโรงพยาบาลจึงได้เสนอไปทีค่ ณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิรริ าช แต่สมเด็จฯ ยังทรงรับพระราชภาระ เรื่องค่าใช้สอยอยู่เช่นเดิม พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ โอนโรงพยาบาลสมเด็จฯ จากกระทรวงธรรมการมาอยู่ ในความอำ�นวยการและปกครองของสภากาชาดสยาม โดยสังกัดกองพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ดังรายงาน การประชุมของกรรมการสภา - กาชาดสยาม ครัง้ ที่ ๑๖ ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๑ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุฉาเจ้า องค์สภานายิกาประทับเป็น ประธาน พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิต อุปนายกผู้อำ�นวยการ สภากาชาดสยามและกรรมการของสภาฯ อุปนายกผู้ อำ�นวยการสภากาชาดสยาม ตรัสต่อไปว่า “ก่อนที่จะ เปิดประชุมตามระเบียบวาระมีข้อความที่ควรแถลงให้ กรรมการทราบ คือ สมเด็จองค์สภานายิกาได้ทรงพระ ดำ�ริและโปรดเกล้าฯ ให้กองอำ�นวยการสภาคิดจัดการ โอนโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา มาอยู่ในความ อำ�นวยการของสภากาชาดสยาม นับเป็นสาขาของกอง พยาบาล เจ้าหน้าที่ได้ตรวจตราเห็นสมควรที่จะจัดให้ เป็นไปตามพระประสงค์ได้ จึงได้ตกลงรับโอนมาจาก กระทรวงธรรมการตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑
สมเด็จองค์สภานายิกามีพระประสงค์จ�ำ นงว่า โรงพยาบาลนี้ได้ทรงตั้งขึ้นเพื่อที่จะปฏิบัติการเกื้อกูลแก่ ประชาชนที่อยู่ในชนบทชายทะเลเหล่านั้นให้ได้รักษา พยาบาล โรงพยาบาลนี้ได้ตั้งมาเป็นเวลาช้านาน และ ได้ทำ�การเกื้อกูลแก่ประชาชนตามพระประสงค์ตลอดมา ปรากฎจนกระทัง่ คนไข้ทอ่ี ยูไ่ กลนอกตำ�บลเหล่านัน้ ก็มา อยู่รักษาตัวที่นั่น ส่วนค่าใช้จา่ ยสำ�หรับโรงพยาบาลนี้ ได้ทรงจำ�นง พระราชหฤทัยจะพระราชทานเงินเดือนค่าใช้สอยบำ�รุง ต่อไปเป็นเงินส่วนพระองค์ ซึ่งตามงบประมาณสำ�หรับ พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นจำ�นวนเงินเดือนและค่าใช้สอย ๒๐,๐๐๐ บาท เงินการจรซึ่งจะใช้เป็นค่าซ่อมแซมอีก ๑๑,๐๔๔ บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน ๓๑,๐๔๔ บาท นอกจากนี้ยังมีเงินทุนเดิมของโรงพยาบาลที่มีอยู่ก็ได้ พระราชทานมาไว้ในความอำ�นวยการของสภากาชาดด้วย เพื่อจะได้เก็บดอกผลใช้จ่ายบำ�รุงโรงพยาบาลนี้เป็น จำ�นวนเงิน ๔๘,๖๓๘ บาท ๙๐ สตางค์ จึงขอเสนอให้ กรรมการสภาทราบ” ในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ พลเอกพระยา ดำ�รงแพทยาคุณ ผูอ้ �ำ นวยการกองการพยาบาล ได้เดินทาง มาตรวจและรับมอบโรงพยาบาลสมเด็จฯ พร้อมกับ พระยาอารีดรุณพรรณ ปลัดคณบดีแพทยศาสตร์ เมื่อเข้ามาอยู่ในปกครองของสภากาชาดสยาม แล้ว สภากาชาดสยามได้มีค�ำ สั่งรับโอนข้าราชการและ คนงานกระทรวงธรรมการเป็นเจ้าหน้าที่และคนงาน
โรงพยาบาลสมเด็จฯ พร้อมทั้งเพิ่มอัตราพยาบาลให้อีก ๔ ตำ�แหน่ง คือตำ�แหน่งหัวหน้าพยาบาล ๑ ตำ�แหน่ง และพยาบาล ๒ ตำ�แหน่ง และบุรุษพยาบาลอีก ๑ ตำ�แหน่ง การบริหารงาน เมื่อแรกเริ่มเปิดดำ�เนินการนั้น โรงพยาบาลเป็นเพียงโรงพยาบาลเล็ก ๆ การจัดโครงสร้าง ในการบริหาร จึงเป็นตามสถานการณ์ซึ่งเมื่อดูจากการ จัดผู้ปฏิบัติงานในช่วงเปลี่ยนผ่านการโอน คือปีพ.ศ. ๒๔๗๐ ผ่านเข้าปี พ.ศ. ๒๔๗๑ นั้น ได้แบ่งกิจการดังนี้ ๑. กองอำ�นวยการ ๒. ห้องตรวจโรค ๓. ห้องผสมยา ๔. เรือนคนเจ็บไข้ฝ่ายหญิงและคลอดบุตร ๕. เรือนคนเจ็บไข้ฝ่ายชาย ๖. กองส่งเสริม หลังจากรับมอบแล้วสภากาชาดสยามได้ วางแผนการปรับปรุงโรงพยาบาลครั้งใหญ่ ทั้งในเรื่อง อาคารสถานที่และการจัดส่งเครื่องมือเครื่องใช้เพิ่มเติม ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลได้มีระเบียบการภายในโดย สังเขปของโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา พ.ศ. ๒๔๗๑ โดยบทนำ�ของระเบียบคำ�สั่งบันทึกไว้ว่า “โรงพยาบาล สมเด็จ ในตำ�บลศรีราชา เป็นที่รักษาพยาบาลคนเจ็บไข้ และเป็นที่พักเปลี่ยนอากาศชายทะเลแห่งหนึ่ง ตั้งขึ้น โดยความบำ�รุงด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ของ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา 73
มาตุจฉาเจ้า อุทิศเป็นพระราชกุศลมาแต่แรก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๑ นี้ ได้ทรงมอบโอนโรงพยาบาลให้แก่สภา กาชาดสยามรับจัดการตลอดมา มีผู้ปกครองชั้นหัวหน้า แผนก ขึ้นตรงต่อผู้อำ�นวยการกองพยาบาล รับผิดชอบ ในบรรดากิจการของโรงพยาบาล” ในระเบียบดังกล่าว ได้มอบอำ�นาจงานในตำ�แหน่ง พร้อมทั้งหน้าที่การงาน ของผู้ประจำ�ในตำ�แหน่ง โดยอำ�นาจในตำ�แหน่งได้ กำ�หนดของ แพทย์ผปู้ กครอง แพทย์ผชู้ ว่ ย หัวหน้าพยาบาล พนักงานบัญชี และพนักงานห้องยา หน้าที่การงาน ประจำ�ตำ�แหน่งได้ถูกกำ�หนดไว้ทุกตำ�แหน่ง ตั้งแต่แพทย์ ผู้ปกครองจนถึงคนงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการวาง ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ไว้ครบถ้วนทั้งของเจ้าหน้าที่และ ของผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้มีการแต่งตั้งหัวหน้าคน งานเบ็ดเตล็ด คนงานทำ�สวน และคนงานสูบนํ้า กับเป็น ผู้รักษาครุภัณฑ์ ซึ่งเกี่ยวข้องในการช่างต่าง ๆ “แต่เดิมการงานในหน้าที่คนงานเบ็ดเตล็ด คนงานทำ�สวน รักษาสถานที่ และคนงานสูบนํ้า ตาม ระเบียบการภายในของโรงพยาบาลขึ้นตรงต่อพนักงาน บัญชีเป็นผู้ดูแล จัดให้กระทำ�และสั่งเสียการงาน หากมี กิจการงานต้องประจำ�ในห้องที่ท�ำ การอยู่นาน ๆ ก็ต้อง เว้นการตรวจตรา สั่งเสียการงานไปไม่ทั่วถึง เพื่อให้การ งานได้ด�ำ เนินโดยเป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น แต่นี้ต่อ ไปการงานต่าง ๆ ตามปกติ ซึ่งมีประจำ�วันของคนงานที่ กล่าวแล้วนี้ ให้นายโส ศรีชลายนต์ รับหน้าที่เป็นหัวหน้า 74
โครงสร้างโดยสังเขป
แพทย์ผู้ปกครอง
แพทย์ผู้ช่วย
รักษาความปลอดภัย หัวหน้าพยาบาล พนักงานบัญชี พยาบาล,บุรุษพยาบาล คนงาน งานสารบรรณ การเงินบัญชี
อาคารสถานที่
รับผิดชอบ ควบคุมดูแลว่ากล่าวให้ได้กระทำ�การงาน ตรงตามเวลา ตักเตือนสั่งเสียการงานให้กระทำ�การ ให้เรียบร้อยทั่วถึงกัน ดูแลรักษาความสะอาดภายใน บริเวณสถานที่ของโรงพยาบาลกับเป็นผู้รักษาเครื่อง ครุภัณฑ์ ซึ่งเกี่ยวกับช่างต่าง ๆ และเครื่องใช้ในการ ก่อสร้างซ่อมแซมของโรงพยาบาลด้วย” ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๖๕ สภากาชาดสยามแบ่ง การปกครองออกเป็น ๑. กองพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๒. กองวิทยาศาสตร์ สถานเสาวภา ๓. กองอนามัย สถานีอนามัย โรงพยาบาลโรคเรือ้ น
พนักงานห้องยา
งานพัสดุ งานสวน
ซักฟอก สูบนํ้า
๔. กองบรรเทาทุกข์ ๕. กองอนุสภากาชาดสยาม พ.ศ. ๒๔๗๔ สภากาชาดสยามได้รวมกิจการ ของกองพยาบาลกับกองบรรเทาทุกข์เป็นกองเดียวกัน และให้เรียกว่า “กองบรรเทาทุกข์” ในส่วนของกอง บรรเทาทุกข์ได้แบ่งการปกครองเป็น ๔ แผนกคือ ๑. แผนกบรรเทาทุกข์ ๒. แผนกคลังเวชภัณฑ์ ๓. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๔. โรงพยาบาลสมเด็จ ดังนั้น พ.ศ. ๒๔๗๔ โรงพยาบาลสมเด็จฯ จึงอยู่ในความ ปกครองของกองบรรเทาทุกข์
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๕ เนือ่ งจากรายได้ของสภากาชาด สยามตกตํ่า จึงได้มีการตัดทอนรายจ่ายและเปลี่ยนแปลง การปกครอง โดยได้รวมกองบรรเทาทุกข์กับกองอนามัย เป็นกองเดียวกันเรียกกองบรรเทาทุกข์และอนามัย แบ่ง กิจการออกเป็น ๖ แผนกคือ ๑. แผนกบรรเทาทุกข์ ๒. แผนกคลังเวชภัณฑ์ ๓. แผนกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ๔. แผนกโรงพยาบาลสมเด็จ ๕. แผนกประชานามัยพิทักษ์ ๖. แผนกโรคเรื้อน ส่วนการบริหารงานคงเป็นเช่นเดิม เนือ่ งจาก ต้นสังกัดเดิมเพียงแต่เปลี่ยนชื่อเท่านั้น คือ พ.ศ. ๒๔๗๑ สังกัดกองการพยาบาล ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สังกัดกอง บรรเทาทุกข์ และปี พ.ศ. ๒๔๗๕ สังกัดกองบรรเทา ทุกข์และอนามัย ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ขุนวิโรจน์เวชชกรรมเป็น แพทย์ผู้ปกครองแทนหลวงเวชการพิเศษ ได้ให้นโยบายว่า “การรักษาพยาบาลการเจ็บป่วยเป็นสิ่งสำ�คัญที่สุดหรือ เป็นงานหัวหน้าของงานทั้งหมดสำ�หรับโรงพยาบาล ให้ ทุก ๆ คนปฏิบัติงานการด้วยเต็มความสามารถ จงตั้งใจ เพื่อจะให้โรงพยาบาลเจริญดีขึ้นในเวลาข้างหน้า” มีการจัดอำ�นาจการบังคับบัญชาคล้ายกันและ เริ่มมีการแบ่งลักษณะของโรงพยาบาล แผนกใหญ่ ๆ คือ แผนกรักษาพยาบาลและแผนกธุรการ การบริหารงาน 75
ในช่วงนี้จะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่นักอาจ เนื่องจากโรงพยาบาลไม่ได้มีการขยายเตียงและจำ�นวน แพทย์ยังมีเพียง ๒ คน ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน เป็นแพทย์ผู้ปกครอง ได้เริ่มมีการแบ่งงานเป็น แผนกโดยแต่ละแผนกให้หัวหน้าเป็นผู้รับผิดชอบมี เรื่องราวเกิดขึ้นจะต้องให้หัวหน้าแผนกทราบและทำ�การ สะสางเสียก่อนให้ผ่านตามลำ�ดับขั้น และได้มกี ารเสนอ แผนการทำ�งานในทีป่ ระชุมในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๐๖ การแบ่งโครงสร้างของโรงพยาบาล เริ่มชัดเจน เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ตามระเบียบข้อบังคับของสภากาชาดไทย ข้อ ๒๔ ความว่า “โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา มีหน้าที่ท�ำ การรักษาประชาชนผูบ้ าดเจ็บและป่วยไข้ทง้ั ใน ยามสงคราม และในยามปกติ กิจการในโรงพยาบาล สมเด็จฯ แยกเป็น ๑. แผนกธุรการ ๒. แผนกยาและเวชภัณฑ์ ๓. แผนกพยาบาล ๔. แผนกการเงินและบัญชี ๕. แผนกต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับการรักษาพยาบาล เช่น แผนกอายุรกรรม แผนกศัลยกรรม แผนกสูต-ิ นรีเวช กรรม และแผนกกุมารเวชกรรม เป็นต้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ สภากาชาดไทยได้มีนโยบาย ให้กองต่าง ๆ กำ�หนดโครงสร้างของโรงพยาบาลเพื่อ ช่วยให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพ และมีประชุม คณะกรรมการสภากาชาดไทย ครั้งที่ ๒๓๑ ลงวันที่ ๒๕ 76
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ มีมติอนุมัติให้โรงพยาบาลแบ่ง แผนกการบริหารงานเป็น ๑๘ แผนก ต่อมาในปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โรงพยาบาลได้รับอนุมัติให้ตั้งแผนก วิชาการขึ้นอีกแผนกหนึ่ง โครงสร้างของโรงพยาบาล สมเด็จฯ จึงประกอบไปด้วยแผนกทั้งสิ้น ๑๙ แผนก สภากาชาดไทยได้ออกข้อบังคับสภากาชาดไทยแก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕๔) พุทธศักราช ๒๕๓๙ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยมีการปรับเปลี่ยนชื่อที่ เกี่ยวข้องในการบริหารคือยกเลิกคำ�ว่า “กรรมการเจ้า หน้าที”่ และให้ใช้ค�ำ ว่า “กรรมการบริหาร” แทน ยกเลิก คำ�ว่า“ผู้อำ�นวยการกอง”“รองผู้อำ�นวยการกอง” และให้ใช้คำ�ว่า “ผู้อ�ำ นวยการและรองผู้อำ�นวยการ” แทน ยกเว้นคำ�ว่า ผู้อำ�นวยการกองยุวกาชาด ให้คง ไว้ตามเดิมและให้เปลี่ยนชื่อกองต่าง ๆ ในข้อบังคับ สภากาชาดไทย และยกเลิกคำ�ว่า “แผนก” และใช้ค�ำ ว่า “ฝ่าย” แทน เปลีย่ นแผนกธุรการ เป็นแผนกบริหารงาน ทั่วไป ยกเว้นแผนกในกองยุวกาชาดให้คงไว้ตามเดิม และ ใหโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา เปลีย่ นชือ่ เป็น “โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา” นับแต่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา
อัตรากำ�ลังบุคลากร ที่ผ่านมา พ.ศ. จำ�นวน คน ๒๔๗๑ ๒๐ ๒๔๗๑ ๒๔ ๒๔๙๐ ๔๒ ๒๕๐๐ ๔๕ ๒๕๑๐ ๑๒๖ ๒๕๑๘ ๒๕๓ ๒๕๓๐ ๖๔๔ ๒๕๔๐ ๑,๒๓๓ ๒๕๔๕ ๑,๓๑๓ ๒๕๕๒ ๑,๔๑๗ ๒๕๕๓ ๑,๕๔๙ ๒๕๕๕ ๑,๗๙๘
หมายเหตุ ก่อนโอนเข้าสภากาชาดสยาม เมื่อโอนเข้าสภากาชาดสยามมีพยาบาลเพิ่ม ๓ ตำ�แหน่ง บุรุษพยาบาล ๑ ตำ�แหน่ง
ผลจากโครงการพัฒนาโรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สภากาชาดไทยอนุมัติให้โรงพยาบาลรับบุคลากรเพิ่มโดย แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - พ.ศ. ๒๕๕๕
77
รบกวนตรวจพจนาณุกรมด้วยครับว่า หลักภาษาไทย คำ�ย่อซ้อนกันมีหรือครับ
78
ตำ�แหน่งแพทย์ผู้ปกครอง
หมอแฟร์นานเดส พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๓๑ พ.ค. พ.ศ. ๒๔๖๒ พระยาบริรักษ์เวชการ (ไล่ฮวด ติตติรานนท์) ๑ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๓๐ พ.ย. พ.ศ. ๒๔๖๒ หลวงพินิจไวทยาการ (ลูกอิน ชาติยานนท์) ๑ ธ.ค. พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๓๑ ส.ค. พ.ศ. ๒๔๖๓ ขุนเวชศาสตร์พินิจ (ตาล จาตุรงคกุล) (ไม่มีหลักฐานปี พ.ศ. ที่ชัดเจน) หลวงเวชชการพิเศษ (นิตย์รณะนันท์ เมื่อยังเป็นขุน) ๑๘ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๖๔ - ม.ค. พ.ศ. ๒๔๗๖ ขุนวิโรจน์เวชชกรรม (โรจน์ สาตะโรจน์) ๑ เม.ย. พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๓๑ ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๐๒ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน ๑ ม.ค. พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๓๐ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๑๕ ผู้อำ�นวยการ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน นายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร นายแพทย์จรุง อุคพัชญ์สกุล ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร
๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๓๐ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๒๑ ๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๑ พ.ค. พ.ศ. ๒๕๒๕ ๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๓๐ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๘ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๓๐ เม.ย. พ.ศ. ๒๕๔๕ ๒๐ มิ.ย. พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๓๐ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๕๑ ๑๕ ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน
ตำ�แหน่งแพทย์ผู้ช่วย ขุนเวชวิสิษฐ์ (ทองสุก วิภาตะวณิช) พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๓๑ ม.ค. พ.ศ. ๒๔๖๒ ขุนเวชศาสตร์พินิจ (ตาล จาตุรงคกุล) ๑๓ ก.พ. พ.ศ. ๒๔๖๒ - ๓๑ ส.ค. พ.ศ. ๒๔๖๓ ขุนนิพิทสุขการ (ใช้ กนิษฐะยุกตะ) ๑ ก.ย. พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๗ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๖๔ หลวงราชพรหมา (เชียง วีระไวทยะ) ๘ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๖๔ - ๓๑ ส.ค. พ.ศ. ๒๔๖๕ ขุนวิโรจน์เวชชกรรม (โรจน์ สาตะโรจน์) ๑ ก.ย. พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๓๑ มี.ค. พ.ศ. ๒๔๗๖ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน ๑๐ เม.ย. พ.ศ. ๒๓๙๐ - ๓๑ ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๐๒
แพทย์ผู้ปกครอง – ผู้อ�ำ นวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
ขุนวิโรจน์เวชชกรรม นายแพทย์สุกรี สืบสงวน นายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ ๑ เม.ย. พ.ศ. ๒๔๗๗ - ๓๑ ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๐๒ ๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๓๐ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๒๑ ๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๒๑ - ๑ พ.ค. พ.ศ. ๒๕๒๕
นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช
ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร นายแพทย์จรุง อุคพัชญ์สกุล
๑ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๓๐ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๔๒ ๑๘ ต.ค. พ.ศ. ๒๕๔๒ - ๓๐ เม.ย. พ.ศ. ๒๕๔๕ ๒๐ มิ.ย. พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๓๐ ก.ย. พ.ศ. ๒๕๕๑
ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ๑๕ ธ.ค. พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน
79
ในช่วงที่ขุนวิโรจน์เวชชกรรมเป็นแพทย์ ผู้ปกครองนี้ ได้มีหลวงเวชกรรมปรีชา (ฮวด ไป่ลดเลี้ยว) เป็นแพทย์ผู้ช่วย (๑ ก.พ. ๒๔๗๖ - ๑ ก.ค. ๒๔๘๐) จากนั้นก็ไม่มีแพทย์มาสมัครเข้าปฏิบัติงานอีกเลย เนือ่ งจากอำ�เภอศรีราชาอยูห่ า่ งไกลความเจริญการเดินทาง ลำ�บากมาก พลตรีพระยาดำ�รงแพทยาคุณ ผู้อ�ำ นวยการ กองบรรเทาทุกข์ได้ให้ความกรุณาช่วยเหลือโดยการส่ง แพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หมุนเวียนสับเปลี่ยน กันคราวละ ๓ เดือน แพทย์ที่เคยเดินทางมาปฏิบัติงาน ในรุน่ แรก ๆ ซึง่ ในระยะหลัง ๆ เป็นอาจารย์โรงเรียนแพทย์ เป็นผู้บริหารของคณะแพทยศาสตรมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลายแห่ง อาทิ หลวงจรุงเจริญเวชช์ นายเทียนต๋อง อุทยานัง นายแพทย์พราว ยุกตะทัต นายแพทย์ประยูร เตียวุฒิ ศาสตราจารย์นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ นายแพทย์เนาวรัต ไกรฤกษ์ นายแพทย์เฉลี่ย วัชรพุกก์ นายแพทย์นิยม ฉิมะวงศ์ แพทย์หญิงคุณมานา บุญคั้นผล นายแพทย์ชิน บูรณธรรม นายแพทย์สัญญา ปิลกศิร นายแพทย์ศรีสกุล จารุจนิ ดา เป็นต้น การขาดแคลน แพทย์นี้ ผู้อำ�นวยการกองบรรเทาทุกข์ได้เคยขอความ อนุเคราะห์ไปยังทางราชการทหารเรือได้ส่งแพทย์มา ช่วยปฏิบัติงานเนื่องจากขุนวิโรจน์เวชชกรรม แพทย์ผู้ ปกครองป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานได้ซึ่งทางกองแพทย์ ทหารเรือสัตหีบ ได้ส่งเรืออากาศตรีโกมุท สาริกบุศร์ มาปฏิบัติงานเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ 80
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ โรงพยาบาลได้มี อาจารย์นายแพทย์สุกรี สืบสงวน สมัครมาปฏิบัติงาน เป็นแพทย์ทโ่ี รงพยาบาลสมเด็จฯ หลังจากนัน้ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ ก็ไม่ได้ส่งแพทย์หมุนเวียนมาปฏิบัติงานอีก จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๗ อาจารย์นายแพทย์สุกรี สืบสงวน ได้เดินทางไปต่างประเทศ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จึงได้ ส่งแพทย์มาทำ�งานหมุนเวียนอีกครั้ง ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ - พ.ศ. ๒๔๙๗ โรงพยาบาลได้ต�ำ แหน่งแพทย์อกี ๒ ตำ�แหน่ง รวมเป็นตำ�แหน่งแพทย์ ๔ ตำ�แหน่ง แพทย์ ๒ ท่าน ทีม่ าปฏิบตั งิ านคือ แพทย์หญิงอุลติ ธนะภูมิ มาปฏิบตั งิ าน ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ และนายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ มา ปฏิบัติงานปี พ.ศ. ๒๔๙๗ หลังจากนั้นโรงพยาบาลก็ได้ ตำ�แหน่งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มขึ้นตามจำ�นวนผู้ป่วยและจำ�นวนเตียงที่เพิ่มขึ้น จนปัจจุบันโรงพยาบาลมีแพทย์ปฏิบัติงานครบทุกสาขา และแพทย์ใช้ทุน ในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้ยกระดับมีฐานะเป็นกองหนึ่งของสภากาชาดตำ�แหน่ง เรียกผู้บริหารก็เปลี่ยนไปด้วยโดยแพทย์ปกครองเปลี่ยน เป็นผู้อ�ำ นวยการและแพทย์ผู้ช่วยเป็นผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน จึงเป็นผู้อ�ำ นวยการท่านแรก และนายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ เป็นผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ท่านแรกของโรงพยาบาล
ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ พ.ศ. ๒๕๓๑ และพ.ศ. ๒๕๓๗ โรงพยาบาลได้รบั ตำ�แหน่งผูบ้ ริหารเพิม่ ขึน้ รวมทัง้ การปรับเปลีย่ น ชื่อทางตำ�แหน่ง พอสรุปได้ดังนี้
ตำ�แหน่งผู้บริหาร พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๓๐ ก.ย. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๕ แพทย์ผู้ปกครอง ผู้อำ�นวยการ แพทย์ผู้ช่วย ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ พ.ศ. ๒๕๓๑ พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้อำ�นวยการ ผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการฝ่ายบริหาร รองผู้อำ�นวยการ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหาร
พ.ศ. ๒๕๑๙ ผู้อำ�นวยการ รองผู้อำ�นวยการ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ พ.ศ. ๒๕๔๙ ผู้อำ�นวยการ รองผู้อ�ำ นวยการ รองผู้อำ�นวยการ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการฝ่ายวิชาการ
81
ผู้บริหารระดับสูง
ศาสตราจารย์กติ ติคณ ุ นายแพทย์ชยั เวช นุชประยูร ผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาล
นายแพทย์สมเกียรติ บวรเสรีผไท
แพทย์หญิงจุฑาทิพย์ นิรตุ ติรกั ษ์
นายแพทย์นพิ นธ์ อุปมานรเศรษฐ์
นายแพทย์สมพร เตชะพะโลกุล
นายแพทย์สมยศ โล่หจ์ นิ ดาพงศ์
นางสาวกนกกาญจน์ วงษ์พสุเสถียร
รองผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาล
ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายบริหาร
82
รองผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาล
ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการฝ่ายวิชาการ
ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการโรงพยาบาล
ทีป่ รึกษาโรงพยาบาล
คณะกรรมการบริหาร
๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ ๒๙ ๓๐ ๓๑ ๓๒ ๓๓ ๓๔ ๓๕ ๒๑ ๒๒ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ๑๑
๑๐
๖
๕
๔
๑
๒
๓
๗
๓๖ ๒๓ ๘
๒๔ ๙
๑. ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ๒. แพทย์หญิงจุฑาทิพย์ นิรุตติรักษ์ ๓. นายแพทย์สมเกียรติ บวรเสรีผไท ๔. นางสาวกนกกาญจน์ วงษ์พสุเสถียร ๕. นายแพทย์สมพร เตชะพะโลกุล ๖. นายแพทย์นพิ นธ์ อุปมานรเศรษฐ์์ ๗. นายแพทย์สมยศ โล่หจ์ นิ ดาพงศ์ ๘. นายแพทย์อดุลย์ ปริยัติดุลภาค ๙. นายแพทย์วิชาญ ลือสมบูรณ์ ๑๐. นางวีณา กุศลสมบูรณ์ ๑๑. นายแพทย์ชัชวาล วัตนะกุล ๑๒. นางสุรีย์ บุญสายบัว ๑๓. นางภัทรานิษฐ์ กลิ่นหอม ๑๔. นายแพทย์บรรเจิด พิมาพันธุ์ศรี ๑๕. นายแพทย์สมศักดิ์ เจษฎาพรชัย ๑๖. ทันตแพทย์เควิน จิมากร ๑๗. นางสาวมยุรี ลามะไหย์ ๑๘. นางอุบลวรรณ ภู่จีน ๑๙. นางศิริลักษณ์ วิทยนคร ๒๐. นางวิไลลักษณ์ ประยูรพงษ์ ๒๑.นางกัญญ์สิริ เจริญธรรมโชค ๒๒. นายแพทย์สิทธินันท์ ตัณจักรวรานนท์ ๒๓. นายแพทย์วันชัย นัยรักษ์เสรี ๒๔. นายแพทย์คมวุฒิ คนฉลาด ๒๕. นายวาที ศิริมาสกุล ๒๖. นายแพทย์ณัฐวุธ ศาสตรวาหา ๒๗. นางจันทิพย์ เนื่องจำ�นงค์ ๒๘. นางออม กิตติพร ๒๙. นางปทิตตา เจริญลาภธนกุล ๓๐. นางณัฏฐิกา กิตติคุณ ๓๑. นางรัชยา โพธิชัย ๓๒. แพทย์หญิงจารุวรรณ นิสากรเสน ๓๓. นายธรรมกฤต เจริญธรรมโชค ๓๔. นายแพทย์คงศักดิ์ อุไรวงค์ ๓๕. นายธนนัฏฐ์ เกษาประสิทธิ์ ๓๖. นายแพทย์ธเนศ จัดวัฒนกุล 83
องค์กรแพทย์
๑. นายแพทย์สมเกียรติ บวรเสรีผไท ๒. แพทย์หญิงจุฑาทิพย์ นิรุตติรักษ์ ๓. นายแพทย์สมยศ โล่ห์จินดาพงศ์ ๔. นายแพทย์นิพนธ์ อุปมานรเศรษฐ์ ๕. นายแพทย์ชัชวาล วัตนะกุล ๖.นายแพทย์วิชาญ อุปมานรเศษฐ์ ๗. นายแพทย์สุรพล อธิประยูร ๘. แพทย์หญิงแวววรรณ จีระชน ๙. แพทย์หญิงปัญจพร เกียรติกุลกำ�จร ๑๐. แพทย์หญิงกรกมล กำ�บุญเลิศ ๑๑. แพทย์หญิงรัฐพร พงศ์คณิตานนท์ ๑๒. แพทย์หญิงคัทลียา สุวรรณธนานนท์ ๑๓. แพทย์หญิงลักษณัย ปฏิบัติ ๑๔. แพทย์หญิงประภิศพันธุ์ เจริญลักษณ์ ๑๕. แพทย์หญิงศลิษา เกสรา ๑๖. แพทย์หญิงบงกชวรรณ กิมเฮียะ ๑๗. แพทย์หญิงรัชภรณ์ ทวีสกุลวัชระ ๑๘. แพทย์หญิงสุธรรมา นิ่มสกุล ๑๙. นายแพทย์ภีรฉัตร โตศิริพัฒนา ๒๐. แพทย์หญิงอารียา ทองดีแท้ ๒๑. แพทย์หญิงอันทิพา บุษกรเรืองรัตน์ ๒๒. แพทย์หญิงพัชรพร จารุอ�ำ พรพรรณ ๒๓. แพทย์หญิงศุภกัญญา วงศ์รกั ษ์พานิช ๒๔. แพทย์หญิงกรวรรณ จักกะพาก ๒๕. แพทย์หญิงโสภาทิพย์ ฤกษ์ม่วง ๒๖. แพทย์หญิงญาณินสิริ งาทวีสุข ๒๗. แพทย์หญิงธัญวรัตน์ ติละกุล ๒๘. นายแพทย์กิจจา รุ่งสิทธิชัย ๒๙. นายแพทย์ธีทัต สุรวรรณ ๓๐. นายแพทย์ณัฐ ตั้งจิตนบ ๓๑. นายแพทย์ณหทัย จงประสิทธิ์กุล ๓๒. นายแพทย์ปริวัฒน์ ทวีกิติกุล ๓๓. นายแพทย์อัสนี สัมบุณณานนท์ ๓๔. นายแพทย์ปณต ศรศักรินทร์ ๓๕. นายแพทย์ปิโยรส เลิศสงวนสินชัย
84
ฝ่ายการพยาบาล
แถวที่ ๑ จากล่าง (ซ้ายไปขวา) ๑. นางสาวนพวรรณ จู้สกุล ๒. นางรัสดาพร สันติวงษ์ ๓. นางวรางรัตน์ เข็มเงิน ๔. นางศศิธร โตพัฒนกุล ๕. นางสาววิไล จัตตุวัฒนา ๖. นางดวงใจ วงศ์เยาวรักษ์ ๗. นางสาวสุกานดา จันทรมหา ๘. นางอัญชลี ศิริบุญ ๙. นางสาวมยุรี ลามะไหย์ ๑๐. นางสาวภาวนา พูลเพิ่ม ๑๑. นางยุพิน ปริยัติดุลภาค แถวที่ ๒ แถวกลาง ซ้ายไปขวา ๑. นางสาวสุรีย์ ปิ่นตาสา ๒. นางสาวจรี ศุภราศี ๓. นางสะอาด อำ�นวยชัยศิริ ๔. นางสุรีย์รัตน์ ชลันธร ๕. นางวิไลลักษณ์ ประยูรพงษ์ ๖. นางวีณา กุศลสมบูรณ์ ๗. นางศิริลักษณ์ วิทยนคร ๘. นางรำ�พึง เมี่ยงชม ๙. นางจตุพร อิ่มสว่าง ๑๐. นางวิภา เหลืองวัฒนะพงศ์ แถวที่ ๓ บนสุด ๑. นางสาวกชกร อ่วมสำ�อาง ๒. นางจันทร์เพ็ญ สำ�เร็จรุ่งโรจน์ ๓. นางสาวเสาวณิต หว่างนุ่ ๔. นางจรรยา อินทรวิชัย ๕. นางบุญช่วย ศิลาหม่อม ๖. นางกษิรา โชตธีรประภา ๗. นางประไพศรี ศรีจันทร์ ๘. นางสาวศิวพร อินทรภักดี ๙. นางจรัสลักษมณ์ สุวรรณโชติ ๑๐. นางนงค์นุช สุเมธ ๑๑. นางสายทิพย์ อานโพธิ์ทอง ๑๒. นางจารุวรรณ แดงนภาพรกุล ๑๓. นางอุบลวรรณ ภู่จีน ๑๔. นางนิตยา กานตารัมภ์ ๑๕. นางสาวแววพรรณ วาดเขียน
๑๖. นางสาวอุ่นใจ โชติวรรณ ๑๗. นางสาวพรลดา ณ นคร ๑๘.นางพรเพ็ญ เมธาจิตติพันธ์
85
สืบสานพระราชปณิธาน
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มีหน้าที่สำ�คัญ คือ การให้บริการดูแลรักษาพยาบาล ผู้เจ็บป่วยทั่วไป โดยไม่ค�ำ นึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั ้ น วรรณะ หรือความแตกต่างของอุดมการณ์ ทางการเมื อง โดยเฉพาะผู้มีรายน้อยและผู้ยากไร้ โรงพยาบาลก็ให้การรักษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ อีก ทั้งเพื่อเป็ น การสืบสานพระราชปณิธานของสมเด็ จ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระผูร้ าชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล ที่ว่า การมีสถานพยาบาลนั้นจะเป็นสาธารณประโยชน์ ให้ประชาชนในท้องถิ่นที่ใกล้เคียงได้พึ่งพาอาศัยในยาม เจ็บไข้ ซึ่งเป็นสาธารณกุศล และเป็นการช่วยชาติบ้าน เมืองอีกส่วนหนึ่งนั้น ๑๑๐ ปีที่ผ่านมานับจากที่ได้รับพระราชทาน กำ�เนิด โรงพยาบาลได้มีวิวัฒนาการเติบโตขึ้นมาเป็น ลำ�ดับตามกาลสมัย มีการขยายบริการในการรับผู้ป่วย 86
จากโรงพยาบาลเล็ก ๆ ที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำ�นวน ๑๐ เตียง ในช่วงแรก ๆ ผู้ป่วยที่มารักษา ส่วนมากจะเป็นโรคไข้เลือดออก ไข้มาเลเรีย และมักเป็น พวกที่ได้รับบาดแผลจากการยิงกันฟันแทงกัน บางครั้ง บาดเจ็บจากปลาฉลามกัดก็มี ปีพ.ศ. ๒๔๙๑ มีจ�ำ นวน เตียง เพิ่มขึ้นเป็น ๔๐ เตียง พ.ศ. ๒๕๐๑ มีจำ�นวน เตียง ๑๒๐ เตียง พ.ศ. ๒๕๑๓ มีจำ�นวนเตียง ๒๔๒ เตียง ต่อมาเริม่ เป็นทีร่ จู้ กั และได้รบั การยอมรับในการให้ บริการทางด้านการรักษาพยาบาลมากขึน้ จึงเพิม่ เป็น จำ�นวน ๓๒๐ เตียง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๔ ๔๒๐ เตียง ใน ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ และพ.ศ. ๒๕๔๐ จนถึงปัจจุบันจัดเป็น โรงพยาบาลทั่วไปที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้จำ�นวน ๕๐๐ เตียง มีแพทย์เฉพาะทางในทุกสาขา ได้แก่ สาขาอายุรกรรม สาขาศัลยกรรม สาขาศัลยกรรม กระดูกและข้อ สาขากุมารเวชกรรม สาขาสูตนิ รีเวชกรรม สาขาจักษุ โสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ สาขาจิตเวช พร้อมทัง้ จัดคลินิกพิเศษเพื่อให้บริการเฉพาะทาง ได้แก่ คลินิกโรคทางเดินปัสสาวะ คลินิกจักษุ คลินิกหู คอ จมูก คลินิกโรคเบาหวาน คลินิกโรคภูมิแพ้ คลินิกนิรนาม คลินิกผู้ป่วยโรคติดเชื้อ HIV คลินิกโรคผิวหนัง คลินิกวางแผนครอบครัว คลินิกโรคหัวใจ คลินิกฝาก ครรภ์ คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี คลินิกวัณโรค คลินิก ผู้สูงอายุ คลินิกฝังเข็ม ฯลฯ นอกเหนือจากการให้ การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยแล้ว โรงพยาบาลยังมี ความรับผิดชอบงานด้านอืน่ ๆ อีก เช่น งานบรรเทาทุกข์ งานบริการโลหิต งานออกหน่วยแพทย์เคลือ่ นที่ และ งานทางด้านการเรียนการสอน
โรงพยาบาลได้มกี ารจัดสรรบุคลากร และ พัฒนาบุคลากรให้เหมาะสม เพือ่ รองรับการบริการ รักษาพยาบาลให้เป็นไปอย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ โดยเน้นความปลอดภัยของผู้ป่วย เป็นหลัก และถูกต้องตามหลักมาตรฐานวิชาชีพ ให้ สอดคล้องกับยุคสมัยที่ผ่านมา ในช่วงปีพ.ศ. ๒๔๖๑ – พ.ศ. ๒๔๗๐ บุคลากรของโรพยาบาล มีฐานะเป็นข้าราชการ สังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กระทรวงธรรมการ โดยอยู่ในความดูแลของคณะ แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช จนกระทั่งทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงพยาบาลสมเด็จฯ ไปอยู่ ในความปกครองของสภากาชาดสยาม บุคลากรของ โรงพยาบาลสมเด็จฯ จึงใช้ค�ำ ว่า “เจ้าหน้าที่” แทน ข้าราชการ ผูบ้ ริหารโรงพยาบาลในระยะแรกเริม่ จะมี เพียง ๒ ท่าน คือแพทย์ผู้ปกครอง และ แพทย์ผู้ช่วย จำ�นวนบุคลากรของโรงพยาบาลเองเริ่มแรกยังมีไม่มาก แต่ขาดแคลนแพทย์เป็นอย่างมาก สมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ทรงรับเป็นธุระและสนพระทัยอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ โอนย้ายโรงพยาบาลเข้ามาอยู่ในการปกครองของสภา กาชาดสยาม ได้มีการเพิ่มอัตราหัวหน้าพยาบาล ๑ คน พยาบาลประจำ� ๒ คน และ บุรุษพยาบาล ๑ คน ใน ขณะนั้นโรงพยาบาลมีอัตรากำ�ลัง จำ�นวน ๒๔ คน ต่อมา ได้มีการเพิ่มอัตรากำ�ลังให้สอดคล้องกับงานบริการที่มี เพิ่มขึ้นตามลำ�ดับ
ปีพ.ศ. ๒๕๕๓ โรงพยาบาลได้มีการพัฒนาและปรับปรุง การแบ่งส่วนงานใหม่ให้เหมาะสมกับภาระงานที่เพิ่ม มากขึ้น จัดสรรตำ�แหน่งผู้บริหาร จำ�นวน ๖ ตำ�แหน่ง คือ ผู้อ�ำ นวยการ ๑ ตำ�แหน่ง รองผู้อ�ำ นวยการ ๒ ตำ�แหน่ง และผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ๓ ตำ�แหน่ง ประกอบ ด้วย ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการฝ่ายวิชาการ ดูแลงานทั้งหมด ๒๓ ฝ่าย ๔ ศูนย์ ๑ กลุ่มงาน ซึ่งแบ่งตามลักษณะ ภารกิจเป็น ๓ กลุ่ม ดังนี้ ๑. ภารกิจด้านการรักษาพยาบาล จำ�นวน ๑๒ ฝ่าย ๑ ศูนย์ ประกอบด้วย ๑. ฝ่ายศัลยกรรม ๒. ฝ่ายศัลยกรรมกระดูกและข้อ ๓. ฝ่ายทันตกรรม ๔. ฝ่ายผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ๕. ฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟู ๖. ฝ่ายจักษุ โสต ศอ นาสิก ลาริงซ์ ๗. ฝ่ายอายุรกรรม ๘. ฝ่ายวิสัญญีวิทยา ๙. ฝ่ายกุมารเวชกรรม ๑๐. ฝ่ายสูติ-นรีเวชกรรม ๑๑. ฝ่ายการพยาบาล ๑๒. ฝ่ายจิตเวช ๑๓. ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
87
88
๒. ภารกิจด้านงานสนับสนุนการรักษา พยาบาล จำ�นวน ๗ ฝ่าย ๓ ศูนย์ ๑ กลุ่มงาน ประกอบด้วย ๑. ฝ่ายโภชนาการ ๒. ฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ ๓ . ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร ๔. ฝ่ายวิชาการ ๕. ฝ่ายรังสีวิทยา ๖. ฝ่ายพยาธิวิทยากายวิภาค ๗. ฝ่ายเวชสารสนเทศ ๘. ศูนย์ประกันสังคม ๙. ศูนย์บริการสิทธิประโยชน์ ๑๐. ศูนย์ประกันสุขภาพ ๑๑. กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ ๓. ภารกิจด้านอำ�นวยการ จำ�นวน ๔ ฝ่าย ประกอบด้วย ๑. ฝ่ายการเงินและบัญชี ๒. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ๓. ฝ่ายบริหารงานพัสดุและจัดซื้อ ๔. ฝ่ายบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
89
งานด้านการรักษาพยาบาล
การบริการทางการแพทย์
ในช่วงแรก ๆ ผู้ป่วยที่มารักษาด้วยโรค ทางอายุรกรรมส่วนมากจะเป็นโรคไข้มาลาเรีย เพราะ ศรีราชายังเต็มไปด้วยป่าทึบ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้สูง ไม่รสู้ กึ ตัว เกือบทุกรายเป็นไข้มาลาเรียขึน้ สมอง การรักษา ได้ผลดีด้วยการใช้ยาควินิน โดยให้ผสมในน้ำ�เกลือ ชั่วข้ามคืน ผู้ป่วยก็ฟื้นรู้สึกตัวดีพูดคุยได้ ส่วนโรค ทางศัลยกรรมที่พบบ่อยเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ ถูก สัตว์ป่าทำ�ร้าย บางรายถูกปืนที่ชาวบ้านทำ�เองตั้งดักยิง สัตว์ลั่นใส่ เนื่องจากเดินเตะเชือกที่ขึงขวางทางเดิน เป็น ตัวเหนี่ยวไกปืน รวมทั้งผู้ป่วยที่ถูกยิง ถูกแทงจากการ ทะเลาะวิวาท บางครั้งบาดเจ็บจากปลาฉลามกัดก็มี ในสมัยนัน้ แพทย์ยงั ขาดแคลนมาก มีแพทย์อยูป่ ฏิบตั งิ าน ไม่กี่คน ดังนั้นแพทย์คนเดียวสามารถตรวจรักษาได้ ทุกโรค อีกโรคหนึ่งที่พบอยู่เสมอก็คือถูกงูกัด ส่วนมาก 90
เป็นงูกะปะ ญาติผู้ป่วยจะเอางูที่ตีตายแล้วมาให้แพทย์ ดูเพื่อบอกชนิดของงู การรักษาค้องฉีดเซรุ่มต้านพิษงู กะปะ ซึ่งจะต้องไปขอมาไว้จากสถานเสาวภา งูกะปะ เป็นงูพิษที่มีผลต่อระบบเลือด ถ้าไม่ได้รับเซรุ่ม จะมี เลือดออกบริเวณแผล เลือดออกใต้ผิวหนัง รอบแผลจะ บวมมาก ผู้ป่วยอาจช็อกได้ ในช่วงประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๓ ระบบงานของ แพทย์ ได้แบ่งออกเป็นแพทย์ทางศัลยกรรม คื อ แพทย์ ที ่ ช ำ� นาญทางผ่ า ตั ด และบาดแผล แพทย์สูติและ นรีเวชกรรม หรือแพทย์ที่ชำ�นาญเกี่ยวกับการคลอด บุตรและโรคทางสตรี กุมารแพทย์ คือ แพทย์ที่ชำ�นาญ รักษาโรคทางเด็ก และ แพทย์ทางอายุรกรรม คือ แพทย์ ที่ชำ�นาญทางโรคที่ใช้ยารักษา ส่วนศัลยแพทย์ก็ยังแบ่ง เป็นเฉพาะทางอีกหลายสาขา เช่น โรคทางกระดูก โรคทางเดินปัสสาวะเป็นต้น ในขณะนั้นโรงพยาบาลมี แพทย์เวรประจำ�อยู่ในโรงพยาบาลเสมอ แต่ไม่ได้หมาย ถึงต้องอยู่ที่ห้องรักษาพยาบาลตลอด ๒๔ ชั่วโมง แต่อยู่ ในเขตโรงพยาบาล ถ้ามีผู้ป่วยหนักจะต้องรีบมาดูก่อน การพัฒนาบริการเฉพาะทางทางการแพทย์ ยัง ขยายการบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับกับโรคใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นให้เท่าทันกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ ตลอดเวลา เช่น สาขาอายุรกรรม เปิดบริการคลินิกโรคระบบ โลหิตวิทยา มีการให้บริการให้เลือดผู้ป่วยแบบ one day service ณ ตึกเมธา ชั้น ๑ คลินิกโรคข้อ และ
คลินิกโรคหอบหืด แบบ one stop service สาขาสูติ – นรีเวชกรรม เปิดคลินิกการตรวจ วินิจฉัยก่อนคลอด และคลินิกอัลตร้าซาวด์ ๔ มิติ ใน ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และเปิดบริการการผ่าตัดผ่านกล้องทาง นรีเวช ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ สาขากุมารเวชกรรม เปิดคลินิกคัดกรอง พัฒนาการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ และมีการนำ�เครื่องช่วย หายใจชนิดความถี่สูง ชนิดควบคุมด้วยความดันและ ปริมาตร เริ่มใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๖ พร้อม ทั้งมีแพทย์ที่จบทางทารกแรกเกิดมาปฏิบัติงานให้การ ดูแลทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง ๑ เดือน สาขาจิตเวช เปิดบริการทดสอบ IQ เริ่มตั้งแต่ เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ สาขาศัลยกรรมกระดูกและข้อ ได้แยกออกมา จากสาขาศัลยกรรมทัว่ ไปในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยดูแล ผู้ป่วยที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อโดยเฉพาะ และมีการ พัฒนางานขึ้นมาเป็นลำ�ดับซึ่งในปีเดียวกันนี้ได้เปิดฝึก อบรมแพทย์เพิม่ พูนทักษะ และแพทย์ใช้ทนุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้รับให้เป็นสถาบันสมทบฝึกอบรมแพทย์ประจำ�บ้าน ออร์โธปิดิกส์ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้เปลี่ยนชื่อจากแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อ เป็นฝ่ายศัลยกรรมกระดูกและข้อ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ แยก Sub specialty ออกเป็น Hand and Micro Spine Arthroplasty และ Arthroscope เพื่อรองรับการบริการ ที่ขยายงานมากขึ้น รวมทั้งเปิดคลินิกพิเศษ Hand
Clinic ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และจัดตั้ง Excellent center ทางด้าน Hand and Micro Spine Arthroplasty และ Arthroscope ในพ.ศ.๒๕๕๕ พร้อมเปิดคลินิกพิเศษ Sport and Arthroscope และ คลินิกพิเศษ Tumor ในปีเดียวกันนี้เอง ส่วนงานทางด้านวิชาการ เริ่มจัด ประชุม Interhospital conference ระหว่าง โรงพยาบาล ในภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๕๒ เปิดฝึกอบรมแพทย์ ประจำ�บ้าน (Resident) พ.ศ. ๒๕๕๔ และ พ.ศ. ๒๕๕๕ เปิดฝึกอบรมแพทย์ประจำ�บ้านต่อยอด (Fellowship) สาขา Spine
91
หัวหน้าพยาบาล
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา อดีต-ปัจจุบัน
นางสาวสมัย รัตนแก้วกาญจน์
นางสาวฟองศิริ นาคสังข์
๒๕๐๔-๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗
นางสาวสุมาลี ศรีวณิช
๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕
นางจินารี คงวรรณะ
๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๗
นางเรณู แก้วเกษ
๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
92
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗-๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐
นางประไพ รมณีย์
๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓
นางเฟื่องฟ้า ก่อเกียรติ
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
นางสาวจวงจันทร์ สุทธศิริ
๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
นางบุญศิริ มัคสุวรรณ
๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
นางลัคนาวลัย เสือดี
๑๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐
นางวีณา กุศลสมบูรณ์
๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ - ปัจจุบัน
ฝ่ายการพยาบาล
สายงานพยาบาล เป็นฝ่ายทีม่ บี คุ ลากรถึง ๒ ใน ๓ ของบุคลากรในโรงพยาบาล และมีเรื่องราวความเป็นมา ตั้งแต่เมื่อแรกเริ่มของโรงพยาบาลก็ว่าได้ จากประวัติที่ สามารถสืบค้นได้นั้น ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๑ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ได้ถูกโอนจากกระทรวง ธรรมการมาอยู่ในความปกครองของสภากาชาดสยาม และรับโอนข้าราชการและคนงาน จำ�นวน ๒๐ คน เป็น เจ้าหน้าที่และคนงานของโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา พร้อมทั้งเพิ่มอัตราพยาบาลให้อีก ๔ ตำ�แหน่ง ได้แก่ หัวหน้าพยาบาล ๑ ตำ�แหน่ง พยาบาล ๒ ตำ�แหน่งและ บุรุษพยาบาล ๑ ตำ�แหน่ง โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จัดส่งพยาบาลและบุรุษพยาบาลมาปฏิบัติงานที่ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา สับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ครั้งละ ๓ เดือน ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการสับเปลี่ยน กันทุก ๖ เดือน และต่อมาก็สบั เปลีย่ นกันทุกปี ในปัจจุบนั พยาบาลที่ปฏิบัติงานในสภากาชาดไทยส่วนใหญ่ สำ�เร็จ การศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย และ สามารถโอนย้ายภายในสภากาชาดไทยได้ พยาบาล ที่ถูกส่งมารุ่นแรกเมื่อ ๑ พฤษภาคม พ.ศ ๒๔๗๑ ได้แก่ ๑. นางสาวสวง รัชตามพร เป็นหัวหน้าการพยาบาลทัว่ ไป ประจำ�โรงพยาบาล ตามปกติประจำ�ทำ�งาน ห้องตรวจโรค ห้องชะล้างแผล ๒. นางสาวบุญชุบ รามโกมุท เป็นนางพยาบาลประจำ� โรงคนไข้ที่ ๒ โรคทางยา 93
๓. นางสาวบุญชื่น รามโกมุท เป็นนางพยาบาลประจำ� โรงคนไข้ที่ ๔ โรคทางยาและบาดแผล ๔. นายเล็ก บุนนาค บุรุษพยาบาลประจำ�โรงคนไข้ที่ ๑ และโรงคนไข้ที่ ๓ โรคทางผ่าตัด นอกจากนั้นหัวหน้าพยาบาล ได้รับมอบอำ�นาจ การงานให้ “มีอ�ำ นาจจัดการพยาบาลแก่คนไข้ให้เรียบร้อย ทัว่ ถึง ดูแลว่ากล่าวบุรษุ พยาบาลและคนงานทำ�ความสะอาด ในเวลาทำ�งาน ปกครองพยาบาลทั้งเวลาการงานและ นอกเวลา ถ้าหากเป็นเวลาในเมือ่ ผูป้ กครองกับผูช้ ว่ ยไม่อยู่ มีอำ�นาจสั่งการงานทางฝ่ายการรักษาพยาบาลได้ แล้ว รีบรายงานให้แพทย์ทราบ” ในตำ�แหน่งหัวหน้าพยาบาลนั้นมีการสับเปลี่ยน หมุนเวียนกันมาเป็นคนละปีบ้างสองปีบ้าง จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ มีการแต่งตัง้ นางสาวสมัย รัตนแก้วกาญจน์ เป็นหัวหน้าพยาบาล และต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๕ โรงพยาบาล สมเด็จ ณ ศรีราชา ได้ยกระดับเป็นกองหนึง่ ของสภากาชาดไทย ได้มีการจัดตั้งแผนกพยาบาลขึ้นอย่างชัดเจน ตำ�แหน่ง หัวหน้าพยาบาลถูกเปลี่ยนเป็นหัวหน้าแผนกพยาบาล โดยมีนางสาวสมัย รัตนแก้วกาญจน์ เป็นหัวหน้าแผนก พยาบาลคนแรก นางสาววันทนา ลีละยุวะ เป็นผู้ช่วย หัวหน้าแผนกพยาบาลคนแรก และต่อมานางสาวสุมาลี ศรีวณิช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยหัวหน้าแผนกพยาบาล เพิ่มอีก ๑ คน ภายหลังจากโรงพยาบาลมีการขยายเตียง จนมี ขนาด ๕๐๐ เตียง ในปีพ.ศ. ๒๕๓๖ แผนกพยาบาลได้ 94
มีการปรับสถานภาพ ให้แบ่งงานออกเป็น ๓ ด้าน คือ ด้านบริหาร ด้านบริการ และด้านวิชาการ ตำ�แหน่ง หัวหน้าแผนกพยาบาล ได้รับการเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น หัวหน้าพยาบาล เช่นเดิม และกำ�หนดให้มีต�ำ แหน่งผู้ ช่วยหัวหน้าพยาบาล ๓ ราย พยาบาลวิชาชีพอาวุโส (ได้แก่หัวหน้าฝ่าย/ผู้ตรวจการเดิม) จำ�นวน ๑๐ ราย ในขณะนั้น หัวหน้าพยาบาลได้แก่ นางประไพ รมณีย์ ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลด้านบริหารได้แก่ นางมยุรี พรหมปฏิมา ด้านบริการได้แก่ นางสิทธิ์สม ทองแย้ม และด้านวิชาการได้แก่ นางจินารี คงวรรณะ พยาบาลที่มาทำ�งานโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา จะหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันหรือลาออกอยู่เสมอ จึงทำ�ให้โรงพยาบาลขาดแคลนพยาบาลประจำ�ทำ�งาน โรงพยาบาลได้เริ่มรับสมัครหญิงสาวที่มีวุฒิการศึกษา มัธยมปีที่ ๖ ซึ่งมีภูมิลำ�เนาอยู่ในแถบจังหวัดชลบุรีหรือ จังหวัดใกล้เคียง และรักวิชาชีพทางพยาบาล เพื่อส่งเข้า เรียนวิชานางพยาบาลปีละ ๒ - ๔ คน เมื่อจบการศึกษา แล้ว ให้มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา มี กำ�หนด ๔ ปี หากไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ จะต้อง ชดใช้ทนุ ให้กบั โรงพยาบาล ซึง่ โรงพยาบาลได้เริม่ ส่งเข้าศึกษา ที่วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ในปีพ.ศ. ๒๕๐๔ คือ นางสาวสง่า วชิรเติมศักดิ์ นางสาวสิทธิ์สม คงส่าน นางสาวนารี ศิริตันหยง และนางสาวจินารี สุทธศิริ แต่กระนั้นอัตรากำ�ลังก็ไม่เพียงพอ จากคำ�บอกเล่าของ นางประไพ รมณีย์ หัวหน้าพยาบาลว่า โรงพยาบาลได้ เปิดรับหญิงสาวที่มีวุฒิการศึกษามัธยมปีที่ ๓ เข้ามา
ตึกพระพันวัสสา ตึกตันฉื่อฮ้วง ตึกตันลิบบ๊วย
ทำ�งานเป็นเจ้าหน้าที่พยาบาล และในปีพ.ศ. ๒๕๑๒ ได้เชิญ ท่านผู้หญิงถวิลหวัง ทุติยะโพธิและครูมุกดา อานันทสิทธิ์ มาเป็นครูช่วยฝึกสอนการพยาบาลให้ อย่างไรก็ตามสภากาชาดไทย ก็ยงั จัดสรรพยาบาล มาปฏิบัติงานและโรงพยาบาลก็ได้รับอนุมัติอัตรากำ�ลัง พยาบาลเพิม่ ขึน้ อย่างต่อเนือ่ งจนถึงปัจจุบนั มีอตั รากำ�ลัง ดังนี้ หัวหน้าพยาบาล ๑ อัตรา ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล ๓ อัตรา ผู้ตรวจการพยาบาล ๑๐ อัตรา พยาบาล ๔๕๓ อัตรา ผดุงครรภ์ ๑ อัตรา ผู้ช่วยพยาบาล ๒๖๑ อัตรา เจ้าหน้าทีพ่ ยาบาล ๑๒๔ อัตรา เจ้าหน้าทีธ่ รุ การ ๗ อัตรา คนงานตึกผู้ป่วย ๙๕ อัตรา คนงานทั่วไป ๑๒ อัตรา พนักงานซักรีด ๒๓ อัตรา และพนักงานเย็บผ้า ๑ อัตรา รวมมีอัตรากำ�ลังทั้งสิ้น ๙๙๑ อัตรา จากบันทึกความทรงจำ�ของนางสาวสมัย รัตนแก้วกาญจน์ หัวหน้าพยาบาล ได้บอกเรือ่ งราวมากมาย ที่เป็นประวัติศาสตร์ของฝ่ายการพยาบาล “ข้าพเจ้า ได้มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ พร้อมเพื่อนพยาบาลจำ�นวน ๔ คน เดินทางจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยรถยนต์ มาลงเรือขนานยนต์ข้ามแม่นํ้าบางปะกง ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่สงครามโลกครั้งที่สองสงบแล้ว ขณะนั้นมีแพทย์อยู่ปฏิบัติงาน ๒ ท่าน คือ ขุนวิโรจน์เวชชกรรม เป็นแพทย์ผู้ปกครอง ดูแลงาน ด้านบริหารกับแพทย์หญิงอุลติ ธนภูมิ เป็นแพทย์ทว่ั ไป มี พยาบาล ๑๓ คน และบุรษุ พยาบาล คนงานตึก มีตกึ ๓ ตึก 95
คือตึกพระพันวัสสา เป็นอาคารตรวจโรค ตึกตันฉื่อฮ้วง ตึกตันลิบบ๊วย และเรือนไม้เรือนหนึ่ง บริเวณรอบ ๆ โรงพยาบาลเป็นป่า บางส่วนเป็นป่าไผ่และป่ามันสำ�ปะหลัง ทางเดินเป็นทางลูกรัง มีลงิ ลมวิง่ บริเวณรอบเขาพระตำ�หนัก และแถวชายฝั่ง และมีกระต่ายป่า ในส่วนที่ข้าพเจ้ามาอยู่ใหม่ ๆ ไฟฟ้าที่ใช้อาศัย ไฟฟ้าจากบริษัท ศรีมหาราชา มีไฟฟ้าใช้ถึงเวลา ๔ ทุ่ม ไฟฟ้ามักดับบ่อยต้องใช้ตะเกียงรัว้ ตะเกียงลานให้แสงสว่าง ส่วนนํ้าประปายังไม่ใช้ มีบ่อนํ้าฝนอยู่ใต้ตึกพระพันวัสสา ตึกตันลิบบ๊วย และตึกตันฉื่อฮ้วง ถ้านํ้าไม่พอใช้จะมี รถยนต์ไปขนนํ้าที่บ่อก๊อก ซึ่งเป็นบ่อนํ้าของโรงพยาบาล ที่ใต้ตึกพระพันวัสสา มีห้องใต้ดิน ส่วนหนึ่งเป็น บ่อเก็บนํา้ อีกส่วนหนึง่ เป็นห้องเก็บพัสดุและเป็นคลังยา ทราบว่าในช่วงทีเ่ กิดสงครามโลก ใช้หอ้ งใต้ตกึ พระพันวัสสา เป็นที่หลบภัยทางอากาศ ประตูทางลงอยู่ที่ห้องฝ่ายการ พยาบาลในปัจจุบัน ในด้านการปฏิบัติงาน ตึกพระพันวัสสาเป็น ตึกตรวจโรคผู้ป่วย มีห้องทำ�แผล เย็บแผล ห้องจ่ายยา พยาบาลแบ่งกันดูแลผู้ป่วยคนละตึก ขณะนั้นไม่มีผู้ช่วย พยาบาล มีแต่คนงานทีช่ ว่ ยงานได้เกือบทุกอย่าง การอยูเ่ วร จะสลับวันอยูเ่ วรคนละ ๗ วัน ดูแลทุกตึก ส่วนตึกตันลิบบ๊วย ผู้ป่วยชาย จะมีบรุ ษุ พยาบาลดูแล ๓ คน พยาบาลจะอยู่ เวร ซึง่ เรียกว่าเวรนอนอยู่เวร ๑๖ ชั่วโมง จะมีคนงานเฝ้า ดูแลผู้ป่วยและมีญาติเฝ้า พยาบาลจะลงมานอนที่เรือน พักพยาบาล เวลาผู้ป่วยมีปัญหาหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน คนงานจะมาตามพยาบาล การตามแพทย์จะมีสมุด 96
๑ เล่ม สำ�หรับเขียนรายงานและให้คนงานเดินไปตาม แพทย์ที่บ้านพัก การอยู่เวรโดยไม่มีค่าตอบแทน ในสมัยนั้น เงินเดือนจะส่งมาช้าเนื่องจากส่งมา จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จะรับเงินเดือน ๒ เดือนต่อ ครั้ง ทำ�ให้มีเงินไม่พอใช้ ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ช่วยกันคิด ที่จะหารายได้พิเศษ โดยเก็บมะขามในโรงพยาบาล ทำ�มะขามคลุก มะขามแช่อิ่มขาย และลงไปเก็บเปลือก หอยจากชายหาดทำ�เครื่องประดับ ทำ�ตุ๊กตาเปลือกหอย นำ�ไปฝากขายในตลาดให้กับนักท่องเที่ยว ซึ่งในสมัยนั้น ยังไม่มใี ครทำ�ของทีร่ ะลึกจากเปลือกหอยขาย เวลาจะไป ตลาดศรีราชา จะไปกันหลายคน เพราะเส้นทางเปลี่ยว และอันตราย ของใช้ต่าง ๆ ไม่ค่อยมีขาย ต้องรีบกลับ โรงพยาบาลก่อนฟ้ามืด พยาบาลจะมาปฏิบัติงานที่ โรงพยาบาลสมเด็จฯ คนละ ๑ ปี ถ้าอยากกลับ จะส่ง คนใหม่มาอยู่แทน ขึ้นกับว่าพยาบาลลาออกหรือ โอนย้ายกลับมากก็จะส่งมาแทน ข้าพเจ้าเคยมีหน้าที่ช่วยแพทย์ เย็บแผล ช่วย ดมยาสลบ โดยใช้อีเธอร์หยดใส่ผ้าก๊อซที่วางอยู่บน ตะแกรง ครอบอยู่บนจมูกผู้ป่วย ข้าพเจ้าและเพื่อน ๆ ที่ช่วยดมยาบ่อย ๆ จะรู้สึกว่าติดอีเธอร์ เนื่องจากบอก กันว่าอีเธอร์มีกลิ่นหอม บางคนแอบเอาไปใส่ไว้ในตู้ เสื้อผ้า หลังจากที่ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน มาทำ�งาน ได้เอาหนังสือมาให้ ๑ เล่ม ภาษาอังกฤษ เป็นหนังสือ เกี่ยวกับการดมยาสลบ ระยะหลังไปทำ�หน้าที่ควบคุม ดูแลห้องยา ช่วยจัดยาเอง ยังไม่มีเภสัชกร มีนายสมาน อินทวงศ์ เป็นคนงานปรุงยา
ในสมัยแรก การผ่าตัดจะทำ�ที่ตึกพระพันวัสสา ต่อมาทำ�ผ่าตัดที่ตึกจงกลนีหลังแรก แล้วย้ายไปทำ�ผ่าตัด ที่ตึกสว่างวัฒนาชั้นบน แล้วจึงย้ายมาทำ�ผ่าตัดที่ ตึกจงกลนีอุทิศซึ่งสร้างต่อเติมจากตึกเดิม แต่ก่อนไม่มี การให้เลือด นํ้าเกลือรับมาจากสถานเสาวภา งานต่าง ๆ ต้องเตรียมเอง ทำ�หัตถการเอง เวลาให้นํ้าเกลือต้อง ดัดแปลงของแต่ละชิ้นมารวมกัน ไม่ได้จัดเป็น set เหมือนปัจจุบนั ข้าพเจ้าได้เริม่ บุกเบิกทำ� set ให้นา้ํ เกลือ ประกอบด้วย สายนํ้าเกลือเป็นสายยางสีเหลือง กระเปาะ เมอร์ฟีดิบ ซึ่งเป็นกระเปาะแก้ว ปลายด้านหนึ่งแหลม สำ�หรับแทงเข้าจุกยางขวดนํ้าเกลือ ซึ่งต้องเอาเข็มใหญ่ แทงนำ�ก่อน อีกด้านหนึง่ ต่อกับสายยางเหลืองต่อกับหัวเข็ม โดยห่อด้วยผ้าแล้วเอากระดาษห่ออีกที จึงนำ�ไปนึ่ง ในด้านความเป็นอยู่ที่พักอาศัย แพทย์จะพักที่ เรือนไขศรีและเรือนเล็กริม เจ้าหน้าที่พักที่เรือนไม้ มีอยู่ ระยะหนึ่ง บ้านพักไม่พอ ได้ให้พยาบาลไปพักที่เรือนริม ทะเล อาหารของแพทย์จะมีปิ่นโตไปส่งที่บ้านพัก ส่วน เจ้าหน้าทีจ่ ะรับประทานอาหารทีโ่ รงครัว โดยจัดเป็นชุด ๆ และจะมีการนัดไปทานอาหารตอนเย็น ๆ ที่บ้านพัก ข้าพเจ้า และบ้านพักนายแพทย์สกุ รี สืบสงวน ทีเ่ รือนไขศรี บ่อย ๆ สมัยนายแพทย์สุกรี สืบสงวน จะมีการจัดงาน เลี้ยงบ่อยและมีงานประจำ�ทุกปี มีการแต่งแฟนซี เจ้า หน้าที่สนุกสนานมาก มีความเป็นกันเอง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๕ เริ่มมีงานกาชาด ข้าพเจ้าได้ ริเริม่ นำ�เอามะขามแช่อม่ิ มะยมกวน นา้ํ มะตูม นา้ํ กระเจีย๊ บ นํ้ามะขาม รับข้าวหลามและนํ้าตาลสดไปขายในงาน
กาชาด มีรายได้ให้กับโรงพยาบาลทุก ๆ ปี ซึ่งการทำ�นํ้า มะตูม นํ้ามะขาม นํ้ากระเจี๊ยบ ท่านหญิงแก้ว (หม่อม เจ้าหญิงอัปภัศราภา เทวกุล) ทรงถ่ายทอดสูตรการ ทำ�นํ้าต่าง ๆ ให้กับข้าพเจ้า งานอีกอย่างที่ข้าพเจ้าถือว่าเป็นงานสำ�คัญ ก็คือ การออกโครงการเข้าถึงประชาชนร่วมกับ ผู้ว่าราชการ จังหวัด นายอำ�เภอ ข้าหลวง ข้าราชการ ภายหลังมี การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาลเป็นสมาชิกด้วย
97
การพัฒนาคุณภาพของฝ่ายการพยาบาล
ฝ่ายการพยาบาลมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนือ่ ง และมีสว่ นขับเคลือ่ นระบบคุณภาพต่าง ๆ ของโรงพยาบาล ตลอดจนมีส่วนสนับสนุนระบบการศึกษาและเผยแพร่ ความรู้สู่ประชาชน โดยมีผลงานที่ส�ำ คัญพอสังเขปดังนี้ ๑. งานวิจัยที่ได้รับรางวัลและตีพิมพ์ ได้แก่ ๑.๑ การศึกษาระยะเวลาการคงสภาพ ปราศจากเชื้อของชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ รางวัล R2R ระดับการบริหารจัดการสุขภาพ ในงานประชุมแลกเปลีย่ น เรียนรู้งานประจำ�จากงานวิจัยครั้งที่ ๓ วันที่ ๑๔ -๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับการตีพิมพ์ วารสารจุลสาร ชมรมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย ๑.๒. การเปรียบเทียบประสิทธิผลวิธีแก้ไข ภาวะอุณหภูมิกายตํ่าในทารกแรกเกิดของหน่วยบริบาล ทารกแรกเกิด ได้รับการตีพิมพ์หนังสือสังเคราะห์ปัญญา เพื่อพัฒนา R2R ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๓ ผลการพัฒนาคลินิกวัณโรคแบบ TB Center เพื่อเพิ่มความสำ�เร็จของการรักษาวัณโรค ปอดผู้ป่วยรายใหม่ที่ขึ้นทะเบียนรักษาโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำ�บัดวิกฤติปีที่ ๓๓ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม- ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๒. นวัตกรรมที่ได้รับรางวัลจากการประชุม วิชาการประจำ�ปีของสมาคมพยาบาลภาคตะวันออก ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้แก่ 98
๒.๑ ยิ้มอย่างปลอดภัยไม่เสียศูนย์ ได้รับ รางวัลชนะเลิศอันดับ ๒ ๒.๒ M T Warmer Version ๒ ตู้อบ ความร้อนอินฟาเรด ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ ๑ ๒.๓ ประเพณีวัฒนธรรมกับการพยาบาล ด้านจิตใจ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ๓. โครงการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือ ผู้ยากไร้และผู้ด้อยโอกาสในสังคม ได้แก่ ๓.๑ โครงการอบรมปฐมพยาบาลในชุมชน ดำ�เนินการในปีพ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๐มีผู้ได้รับการอบรมทั้ง สิ้น ๒๗๔ คน ๓.๒ โครงการอบรมปฐมพยาบาล ๑๒ โรงเรียน ในจังหวัดชลบุรี ดำ�เนินการในปีพ.ศ. ๒๕๕๑๒๕๕๒ มีผู้ได้รับการอบรมทั้งสิ้น ๑,๔๖๗ คน ๓.๓ โครงการโรงพยาบาลสมเด็จฯ ห่วงใย ผู้สูงอายุในชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ดำ�เนินการในปีพ.ศ. ๒๕๕๑-๒๕๕๒ มีผสู้ งู อายุได้รบั การคัดกรองโรคเบาหวาน และโรคความดันจำ�นวน ๑,๑๕๒ คน ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับ การตรวจเยีย่ มและส่งเสริมคุณภาพชีวติ จำ�นวน ๑๙๙ คน พัฒนาผูด้ แู ลผูส้ งู อายุ จำ�นวน ๕๗ คน และทำ�การสำ�รวจ คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้แบบประเมิน คุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย (WHOQOL-BREF-THAI) โดยวัดคุณภาพชีวิตจาก องค์ประกอบ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้าน สัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลการ
สำ�รวจพบว่า คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปาน กลางในทุกองค์ประกอบ ๓.๔ โครงการอบรมและส่งเสริมพัฒนาการ เด็กติดผู้ต้องขัง ภายใต้โครงการกำ�ลังใจในพระดำ�ริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โดยมีการ ดำ�เนินการที่ ทัณฑสถานหญิงชลบุรี เรือนจำ�พิเศษพัทยา และเรือนจำ�กลางระยอง ดำ�เนินการในปีพ.ศ. ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบนั มีผเู้ ข้ารับการอบรมจำ�นวนทัง้ สิน้ ๑๓๗ คน และมีเด็กได้รับการคัดกรองและประเมินพัฒนาการ จำ�นวน ๗๑ คน ๔. โครงการต่างๆที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านการ แพทย์ฉุกเฉินและอุบัติภัยหมู่ ๔.๑ โครงการอบรมเรื่องการจัดการกรณี การก่อการร้ายด้วยอาวุธทำ�ลายล้างสูง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่หวั หน้าหน่วยงาน ของโรงพยาบาล จำ�นวน ๕๐ คน เมื่อ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ๔.๒ โครงการอบรมเชิงปฏิบตั กิ ารหลักสูตร เวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐาน (๑๑๐ ชั่วโมง) ๒ รุ่น ระหว่างวันที่ ๖-๒๗ มิถุนายน และวันที่ ๔-๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ สมาชิก ระบบบริการการแพทย์ฉกุ เฉินจังหวัดชลบุรี จำ�นวน ๗๓ คน ๔.๓ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการและ ซ้อมแผนอุบัติภัยหมู่ แบบ Mini Exercise เรื่องการ จัดการทางการแพทย์ฉุกเฉินกรณีสารเคมี เมื่อวันที่ ๔-๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ กลุม่ เป้าหมายได้แก่ ทีมการแพทย์
ฉุกเฉินเครือข่าย ๓ จำ�นวน ๕๐ คน วิทยากรจาก รัฐวอชิงตัน เพื่อเพิ่มพูนทักษะ สร้างทีมชำ�ระสารเคมี ของพื้นที่และสร้างวิทยากร ๔.๔ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการจัดการทางการแพทย์ฉุกเฉินกรณีสารเคมี เมื่อวันที่ ๒๘-๒๙ สิงหาคม / ๒-๓ กันยายน ๒๕๔๙ โดยวิทยากรของโรงพยาบาล กลุ่มเป้าหมายได้แก่ เวชกรฉุกเฉินระดับพื้นฐานและบุคลากรโรงพยาบาล ในจังหวัดชลบุรี จำ�นวน ๑๑๒ คน เพื่อเผยแพร่ความรู้ การชำ�ระสารเคมีในจังหวัดชลบุรี ๔.๕ จัดตั้งศูนย์วิทยุกู้ชีพลั่นทม โดยปรับ ใช้คลื่นความถี่ ๑๕๕.๖๗๕ ในระบบบริการการแพทย์ ฉุกเฉินจังหวัดชลบุรี โดยมีนายแผน วรรณะเมธี เป็นประธานในพิธเี ปิด เมือ่ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ๔.๖ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการภัยพิบัติ กรณีสารเคมี จำ�นวน ๔ รุ่น ระหว่าง 99
วันที่ ๖-๗ / ๘-๙ /๑๒-๑๓ /๑๔-๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ จำ�นวน ๑๐๒ คน เน้น การระงับภัยและการชำ�ระสารเคมี เพื่อบูรณาการการ ปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุร่วมกับทีมการแพทย์ฉุกเฉิน ๔.๗ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Overview Respiratory Protection Program และ Radiation Training โดยวิทยากรจากรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และได้มอบ Full face filter mask ให้โรงพยาบาล จำ�นวน ๒๙ หน้า ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ๔.๘ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการฟื้นฟูสุขภาพจิตจากผลกระทบภัยพิบัติ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ พยาบาลในจังหวัดชลบุรี และ ประชาชนทั่วไป เพื่อเป็นวิทยากรและอาสาสมัคร ระหว่างวันที่ ๒๗-๓๐ มิถนุ ายน/๓-๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ๔.๙ โครงการการจัดการภัยพิบัติระดับ ชุมชน ที่ตำ�บลแหลมฉบัง เพื่อพัฒนาศักยภาพของ ชุมชนในการจัดการภัยพิบัติ ระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๐-๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ๔.๑๐ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดการภาวะฉุกเฉินในโรงพยาบาลกรณีรังสี โดย วิทยากรจากรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และร่วมซ้อม แผนบนโต๊ะและภาคสนาม กรณีกัมมันตภาพรังสี ที่การ ท่าเรือแหลมฉบัง ระหว่างวันที่ ๒๐-๒๓ พฤษภาคม/ ๒-๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ 100
โครงการการจัดการภัยพิบัติระดับชุมชน
ศึกษาดูงานการซ้อมแผนรักษาความปลอดภัยของรัฐวอชิงตัน
ศึกษาดูงานการซ้อมแผนรักษาความปลอดภัยของรัฐวอชิงตัน
ได้รับเชิญเป็นวิทยากรที่โรงพยาบาลพานทอง
ได้รับเชิญเป็นวิทยากรที่ศูนย์เอราวัณ กรุงเทพฯ
ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือกับสำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติ
๔.๑๑ ศึกษาดูงานการซ้อมแผนรักษาความ ปลอดภัยของรัฐวอชิงตัน การเตรียมความพร้อมรับ ภัยสารเคมี และการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติของ โรงพยาบาล ณ เมือง Seattle ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ และ ๒๑ – ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ๔.๑๒ ศึกษาดูงานการจัดการภัยพิบัติที่ Singapore Civil Defence Academy และ Singapore General Hospital ระหว่างวันที่ ๑๕-๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๔.๑๓ จัดตัง้ ทีมชำ�ระสารพิษของโรงพยาบาล จำ�นวน ๓๑ คน ในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ ๔.๑๔ การเผยแพร่ความรู้ทางการแพทย์ ฉุกเฉิน ๔.๑๔.๑ ด้านสารเคมี ได้รับเชิญเป็น วิทยากรที่โรงพยาบาลชลบุรีและโรงพยาบาลพานทอง ศูนย์เอราวัณ ท่าอากาศยานไทย ท่าเรือกรุงเทพ และ สำ�นักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ปราจีนบุรี ๔.๑๔.๒ ด้านรังสี ได้ร่วมกับทีมวิทยากร จากรัฐวอชิงตัน ให้ความรู้ที่ท่าเรือกรุงเทพ กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ และร่วมมือกับสำ�นักงานปรมาณู เพื่อสันติ โดยลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการเผย แพร่ความรู้ทั่วไทย ได้ดำ�เนินการไปแล้วที่จังหวัดระยอง ตราด มุกดาหาร และในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ จะดำ�เนินการที่ จังหวัดอุดรธานีและกรุงเทพมหานคร 101
๔.๑๕ การซ้อมแผนอุบัติภัย ร่วมฝึกซ้อม แผนเผชิญเหตุภัยพิบัติฉุกเฉินระดับภูมิภาคอาเซียน (Ardex -08) ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง สถานการณ์เกี่ยวกับ ภัยพิบัติพายุใต้ฝุ่น ทำ�ให้เกิดระเบิดและไฟไหม้ในนิคม อุตสาหกรรมสารเคมี โดยเข้าร่วมใน ๓ ทีม ได้แก่ ทีม คัดกรองที่โรงพยาบาลสนาม ทีมรถพยาบาลฉุกเฉินรับ ผู้บาดเจ็บสาหัสที่เฮลิคอปเตอร์ และทีมชำ�ระสารเคมี ระหว่างวันที่ ๒๕-๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
การซ้อมแผนเผชิญเหตุภัยพิบัติฉุกเฉินระดับภูมิภาคอาเซียน
การให้ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการฝึกภาคปฏิบัติ ดังนี้
การเผยแพร่ความรู้ทั้งภายในและภายนอก องค์กร ดังนี้
๑. วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย ฝึกปฏิบัติ ด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ – ปัจจุบัน ๒. โรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจ) ซึ่งเป็นโรงเรียนผลิตแพทย์แผนไทยประยุกต์แห่งแรก ก่อตัง้ โดย ศ.นพ.อวย เกตุสงิ ห์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ซึง่ ต่อมา เข้ามาสังกัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาสถานการ แพทย์แผนไทยประยุกต์ เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๖ ฝึกปฏิบัติ การผดุงครรภ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ - ปัจจุบัน ๓. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ฝึกปฏิบัติ การพยาบาลวิชาต่างๆทัง้ ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ – ปัจจุบัน 102
๑. การปฐมพยาบาล และการกู้ชีพ (CPR) เฉลี่ยปีละ ๒o ครั้ง จำ�นวนผู้เข้ารับการอบรมเฉลี่ย ๖๐o คน/ปี ๒. การสอนภาคปฏิบัติให้กับนักศึกษาจาก สถาบันการศึกษาต่างๆ เฉลี่ย ปีละ ๔o ครั้ง จำ�นวน นักศึกษา เฉลี่ย ๕๐๐ คน/ปี ๓. การให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ทั้งใน โรงงานอุตสาหกรรม โรงเรียน และชุมชนต่างๆ เฉลี่ย ๓o ครั้ง/ปี ๔. การเผยแพร่ความรู้การจัดการทางการแพทย์ ฉุกเฉินกรณีสารเคมี/รังสี เฉลี่ย ๔ ครั้ง/ปี
การสนับสนุนการดำ�เนินกิจกรรมพัฒนา คุณภาพของโรงพยาบาล
๑. นางลัคณาวลัย เสือดี หัวหน้า พยาบาลได้รับแต่งตั้งให้เป็น ประธานทีมผู้ตรวจ ติดตามคุณภาพภายในโรงพยาบาล (Internal surveyor) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕o ๒. นางวิไลลักษณ์ ประยูรพงษ์ ผู้ช่วย หัวหน้าพยาบาลด้านบริหาร ได้รับแต่งตั้งให้ เป็น ประธานทีมผู้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน โรงพยาบาล (Internal surveyor) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕o - ปัจจุบัน ๓. นางรำ�ไพ โชติสุภา ผู้ช่วยหัวหน้า พยาบาลด้านบริการ เป็นประธานคณะกรรมการ ๕ ส. ของ โรงพยาบาล ตั้งแต่ ปีพ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๑ ๔. นางศรวณีย์ ศรีสมโภชน์ ผู้ช่วย หัวหน้าพยาบาลด้านบริการ เป็นประธานคณะ กรรมการ ๕ ส. ของโรงพยาบาล ปี พ.ศ. ๒๕๕๑๒๕๕๒ ๕. นางนงค์นุช สุเมธ ผู้ตรวจการ พยาบาล เป็นประธานคณะกรรมการ ๕ ส. ของโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๕
รางวัลเชิดชูเกียรติ
๑. จากคณะกรรมการกาชาดระหว่าง ประเทศ ๑.๑ นางสาวฟองศิริ นาคสังข์ (หัวหน้าพยาบาล) ได้รับเหรียญฟลอเรนซ์ไนติง เกล เมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๘ ๒. จากสมาคมพยาบาลแห่ง ประเทศไทย สาขาภาคตะวันออก ๒.๑ นางสาวสุมาลี ศรีวณิช (หัวหน้าพยาบาล) ได้รับตำ�แหน่งนายกสมาคม พยาบาล แห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคตะวันออก ๑๖ มีนาคม ๒๕๓๑-๓o กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ๒.๒ นางพรเพ็ญ เมธาจิตติพันธ์ ได้ รับรางวัลพยาบาลดีเด่นด้านการบริการพยาบาล ในโรงพยาบาล ประจำ�ปีพ.ศ. ๒๕๔o ๒.๓ นางสุรีรัตน์ ชลันธร ได้รับ รางวัลพยาบาลดีเด่นด้านการบริการพยาบาลใน โรงพยาบาล ประจำ�ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ๒.๔ นางสาวสุรภา สุขสวัสดิ์ ได้รับ รางวัลพยาบาลดีเด่นด้านการบริการพยาบาลใน ชุมชน ประจำ�ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ๒.๕ นางสาวชุลีพร ศรีไชยวาน ได้รับ รางวัลพยาบาลดีเด่นด้านการบริการพยาบาลใน ชุมชน ประจำ�ปีพ.ศ. ๒๕๕๑
103
๓. จากสโมสรโรตารี่ศรีราชา ชลบุรี ๓.๑ นางจินารี คงวรรณะ ได้รับ ประกาศนียบัตรแห่งเกียรติคุณบุคคลดีเด่น ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ๓.๒ นางจุฑามาศ อรรคเศรษฐัง ได้รับ ใบประกาศเกียรติคุณรางวัลบุคคลดีเด่นในการปฏิบัติ หน้าที่ของตน ประจำ�ปีพ.ศ. ๒๕๔๒ ๓.๓ นางสาวสุรภา สุขสวัสดิ์ ได้รับโล่ห์ ประกาศเกียรติคุณรางวัลบุคคลดีเด่นในการปฏิบัติ หน้าที่ของตน ประจำ�ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ ๓.๔ นางสุรีรัตน์ ชลันธร ได้รับโล่ห์ประกาศ เกียรติคุณรางวัลบุคคลดีเด่นในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ๔. รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นจากวิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย ๔.๑ นางสาวศิริยุคล ใจสุข ปีพ.ศ. ๒๕๓o ๔.๒ นางสาวศิรยิ พุ า สนัน่ เรืองศักดิ์ ปีพ.ศ. ๒๕๓๕ ๔.๓ นางสาวรำ�พึง เมี่ยงชม ปีพ.ศ. ๒๕๓๗ ๔.๔ นางสายทิพย์ อานโพธิท์ อง ปีพ.ศ. ๒๕๔๑
104
ความภาคภูมิใจ
ได้รบั การรับรองคุณภาพมาตรฐานบริการการ พยาบาลและการผดุงครรภ์ นับตัง้ แต่วนั ที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ - ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
ฝ่ายวิสัญญีวิทยา
การดมยาสลบหรือการระงับความรู้สึก สำ�หรับการผ่าตัดนั้นเป็นสิ่งที่อยู่คู่กันมาตลอด ตั้งแต่มีการผ่าตัดในโรงพยาบาล แต่เดิมแพทย์ ผู้ที่ทำ�ผ่าตัดจะเป็นผู้ที่ให้ยาแก่ผู้ป่วย มีเพียง พยาบาลคอยช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระหว่างที่ แพทย์ทำ�ผ่าตัดเท่านั้น จนเมื่อประมาณ ๖๐ ปี ที่ผ่านมามีการสร้างตึกจงกลนีอุทิศสำ�หรับเป็น ตึกผ่าตัด โดยมีห้องผ่าตัดจำ�นวน ๓ ห้องและมี พยาบาลที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับการดมยาสลบ
นายแพทย์เมษยน เผื่อนปฐม
มาช่วยแพทย์ผ่าตัดอีก ๑ คน จึงมีการจัดแยก พยาบาลและเจ้าหน้าที่สำ�หรับช่วยดูแลผู้ป่วย ระหว่างที่ผ่าตัดชัดเจนขึ้น ในสมัยนั้นการผ่าตัด ยังไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้สารระเหย Ether เป็นหลัก การดมยาสลบยังไม่มีเครื่องมือและ อุปกรณ์ครบเหมือนในปัจจุบัน ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๑๖ จึงมีนายแพทย์เมษยน เผื่อนปฐม ซึ่งเป็น วิสัญญีแพทย์ที่สำ�เร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา มาช่วยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการระงับความรู้สึกแก่ ผู้ป่วย จึงมีการแยกงานวิสัญญีออกจากงาน พยาบาลผ่าตัดเป็นแผนกวิสัญญี มีการซื้อเครื่อง ดมยาสลบ มีการนำ�ยา Halothane มาใช้ นายแพทย์เมษยน เผื่อนปฐม ได้ช่วยฝึกสอน และได้เริ่มมีการส่งพยาบาลและเจ้าหน้าที่ไป ฝึกอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิสัญญีพยาบาล ที่ โรงพยาบาลรามาธิบดีในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ - ๒๕๒๐ รวมจำ�นวน ๓ คนเพื่อกลับมาช่วย ปฏิบัติงาน แต่นายแพทย์เมษยน เผื่อนปฐม อยู่ ช่วยเพียง ๑ ปีเท่านั้นงานวิสัญญีจึงอยู่ในการ ดูแลของนายแพทย์สม กนกศิขรินทร์ โดยมี หัวหน้าดมยา(คำ�ที่ใช้เรียกกันในขณะนั้น) ซึ่งเป็น พยาบาลที่ผ่านการอบรมมาแล้วดูแลเกี่ยวกับ การดมยาสลบ การทำ�การระงับการรู้สึกเฉพาะ ส่วนทางไขสันหลัง (บล็อกหลัง) แพทย์ผ่าตัดจะ 105
เป็นผู้ทำ�เอง และมีพยาบาลวิสัญญีเฝ้าดูแลให้ใน ช่วงที่ไม่มีวิสัญญีแพทย์ จนปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้เริ่ม มีการส่งพยาบาลเข้ารับการอบรมหลักสูตรวิสัญญี พยาบาลอีกที่โรงพยาบาลชลบุรี ซึ่งขณะนั้น เป็นการอบรมในสังกัดของโรงพยาบาลกระทรวง สาธารณสุขโดยส่งอบรมปีละ๑ คนติดต่อกัน เรื่อยมา เป็นเวลา ๑๒ ปี เพื่อรองรับจำ�นวนผู้ป่วย ที่มาผ่าตัดและดมยาสลบที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึง ทดแทนบุคลากรที่ลาออก พ.ศ. ๒๕๒๘ เริ่มมีการซื้อเครื่องช่วย หายใจ (เครื่อง Ventilator ) มาใช้เป็นครั้งแรก สำ�หรับการผ่าตัดสมอง มีการซื้ออุปกรณ์และ เครื่องมือต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยที่มารับบริการส่วน ใหญ่เป็นการผ่าตัดคลอดบุตร ผ่าตัดไส้ติ่ง ผ่าตัด ไส้เลื่อน ผ่าตัดกระดูก เป็นต้น ต่อมามีการสร้างตึกผู้ป่วยใหม่ คือ ตึก มหิดลอดุลยเดชและมีการย้ายห้องผ่าตัดและ วิสัญญีมาอยู่ที่ชั้น ๒ ในปีพ.ศ. ๒๕๓๑ โดย โครงสร้างสามารถเปิดผ่าตัดได้ทั้งหมด ๑๑ ห้อง แต่ช่วงนั้นเปิดใช้งานเพียง ๕ ห้อง เท่านั้น เป็นการดมยาสลบเพียง ๓ – ๔ ห้อง ขณะนั้นมี พยาบาลที่ผ่านการอบรมวิสัญญีพยาบาลเพียง ๙ คน และเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์การให้ ยาสลบอีก ๑ คน และผู้ช่วยพยาบาล/เจ้าหน้าที่ พยาบาล ๔ คน ให้การดมยาสลบแก่ผู้ป่วยจน 106
กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงได้เริ่มมีวิสัญญีแพทย์ ๑ คน คือ นายแพทย์อดุลย์ ปริยัติดุลภาค แผนก วิสัญญีจึงขึ้นกับวิสัญญีแพทย์ดูแลตั้งแต่นั้นมา
นับจากที่มีวิสัญญีแพทย์เป็นหัวหน้า แผนก ได้มีการพัฒนางานบริการวิสัญญีเป็น จำ�นวนมาก ตั้งแต่การเพิ่มจำ�นวนเครื่องดม ยาสลบให้มีครบใช้ทุกห้อง มีการจัดซื้อเครื่องเฝ้า ระวังผู้ป่วยที่ทันสมัยในขณะนั้น เช่น เครื่องวัด ความดันโลหิตอัตโนมัติมาใช้ในแผนกตลอดจน พัฒนาการจัดซื้อเครื่องเฝ้าระวังอื่น ๆ ให้มีตาม พื้นฐานตามมาตรฐานที่ควรมี (Basic monitor) จนครบทุกห้อง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ ผู้ป่วยที่มาระงับความรู้สึก พ.ศ. ๒๕๓๕ มีการอนุมัติตำ�แหน่ง หั วหน้ า กลุ ่ ม งานพยาบาลวิ ส ั ญ ญี ข ึ ้ นอี ก ๑
ตำ�แหน่ง โดยที่นางสาวสุนีย์ มนต์วิเศษ (ขณะนั้น เรียกว่าหัวหน้าพยาบาลดมยา) เป็นหัวหน้ากลุ่ม งานพยาบาลวิสัญญีคนแรก สายบังคับบัญชาขึ้น ตรงกับหัวหน้าแผนกวิสัญญี (ปัจจุบันตำ�แหน่งนี้ ก็เป็นตำ�แหน่งเดียวในสภากาชาดไทย)
นางสาวสุนีย์ มนต์วิเศษ ในด้านการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ มีจ�ำ นวนบุคลากรตามเกณฑ์มาตรฐานการ บริการวิสัญญี ได้มีการส่งพยาบาลไปอบรม วิสัญญีพยาบาลหลักสูตร ๑ ปีของราชวิทยาลัย วิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวง สาธารณสุขตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นต้นมาจนถึง ปัจจุบัน
เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ มี การปรั บเปลี ่ ย นชื ่ อ จากแผนกวิ ส ั ญ ญี เป็ น ฝ่ายวิสัญญีวิทยาและในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ก็มี วิสัญญีแพทย์เพิ่มอีก ๑ ตำ�แหน่งมาช่วยพัฒนา ด้านงานบริการและงานวิชาการของฝ่าย จากการที่โรงพยาบาลได้มีการพัฒนา เข้าสู่ระบบมาตรฐานโรงพยาบาลตั้งแต่ระบบ ISO 9000 ระบบมาตรฐานโรงพยาบาลและ บริการสุขภาพ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึง ปัจจุบัน งานด้านวิสัญญีวิทยา็มีการพัฒนา ปรับเปลี่ยนระบบภายในต่าง ๆ มากมายเพื่อให้ งานบริการวิสัญญีมีประสิทธิภาพและปลอดภัย บนพื้นฐานแห่งจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพ อย่างต่อเนื่องดังรายละเอียดต่อไปนี้ พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๕ เข้าร่วม กิจกรรมและปรับระบบงานเข้าสู่มาตรฐาน ISO9002 ISO9000 V.2000 มีการพัฒนา ปรับปรุงระบบบริหารจัดการ เพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพ การบริการวิสัญญี ปรับเปลี่ยนระเบียบปฏิบัติ ภายในให้สอดคล้องกับงาน ให้การบริการมี ความคล่องตัวมากขึ้น ลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจ จะเกิดขึ้นต่อผู้ป่วย ลดอัตราการเลื่อนและงด ผ่าตัดจากสาเหตุของการเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม ทั้งเจ้าหน้าที่ก็มีความพึงพอใจและมีความสุขจาก การปฏิบัติงาน 107
พ.ศ. ๒๕๔๖ มีการพัฒนานำ�เทคนิค Low Flow (อัตราการไหลของก๊าซรวม ๑ ลิตรต่อนาที) มาใช้ในการบริการระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนของยาสลบชนิด ไอระเหยได้ถึง ๕๑.๐๙ % (ผลงานนี้ถูกนำ�เสนอ ในที่ประชุมทบทวนการใช้ทรัพยากรทางการ แพทย์ของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา พ.ศ. ๒๕๔๗ ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๗ และนำ�เสนอในการ ประชุมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ของสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี เมือ่ วันที่ ๑๖ – ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และมีนวัตกรรมเกี่ยวกับการป้องกัน ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยจากไฟฟ้าดับ อุปกรณ์เครื่องมือไม่มีไฟสำ�รองโดยการนำ�เครื่อง UPS with Stabilizer มาใช้ก ับ เครื ่ อ งช่ วย หายใจ (Ventilators) และ เครื่องเฝ้าระวัง (Monitors) ในฝ่ายวิสัญญีวิทยาทำ�ให้ผู้ป่วย ปลอดภัยมากขึ้น พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้มกี ารพัฒนาและเพิม่ ประสิทธิภาพความครบถ้วนสมบูรณ์ของ การบันทึกเวชระเบียนทำ�ให้ใบบันทึกคุณภาพ ต่าง ๆ ของผู้ป่วยมีข้อมูลที่ครบถ้วน และ สมบูรณ์มากที่สุด 108
พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการพัฒนานำ�เครื่อง Nerve Stimulator มาใช้ประกอบในการระงับ ความรู้สึกแบบทั่วตัวเพื่อให้ ผู้ป่วยปลอดภัยจาก ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการให้ยา หย่อนกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxant) มากขึ้น และในปีเดียวกันนี้ ยังได้มีการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของการเยี่ยมผู้ป่วยในวันก่อน ผ่าตัดที่ตึกผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการประเมิน ปัญหาและเตรียมความพร้อมและได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวก่อนและหลัง ผ่าตัด ทำ�ให้ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจต่อการให้ บริการ ลดอัตราการเลื่อนหรือการงดผ่าตัดและ ลดปัญหาความล่าช้าในการให้บริการระงับความ รู้สึกและการผ่าตัดอีกด้วย พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้มีโครงการการเพิ่ม ประสิทธิภาพการระงับความรู้สึกผู้ป่วยนอก เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อมต่อการระงับความ รู้สึก สามารถผ่าตัดได้ตามเวลาที่กำ�หนดเกิด ความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ผู้ป่วยมีความ ปลอดภัย และ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการระงับ ความรู้สึก พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑ มีกิจกรรม คุณภาพมากมาย เช่น • มีการสร้างแนวทางปฏิบัติในการ ป้องกันการเกิดภาวะหนาวสั่น (Shivering) ใน
ผู้ป่วยที่มารับการระงับความรู้สึก เกิดนวัตกรรม : ผ้าอุ่นไอรัก (Warm care) และ : การอุ่นสาร น้ำ�และผ้าห่มในตู้อุ่นสารละลาย (Warming Cabinet ) ในการทำ�กิจกรรมนี้ ได้น�ำ เสนอใน เวทีการเสนอผลงานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ ดีเกี่ยวกับความปลอดภัยสำ�หรับผู้ป่วยและการ สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย (Good Practice for Patient Safety and Safety Culture) ที่ จัดโดยสถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ณ โรงแรม อมารีแอร์พอร์ท วันพุธที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้รับรางวัลชมเชยจากการ ประกวดนวัตกรรม ประเภททางการแพทย์ของ งานมหกรรม ๕ ส วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ • การศึก ษาเปรียบเทีย บการใช้ Lubricate jelly เพื่อลดปัญหาการเจ็บคอหลัง ผ่าตัดในผู้ป่วยที่ระงับความรู้สึกโดยการใส่ท่อ ช่วยหายใจ ผลจากการศึกษาพบว่าการใช้และไม่ ใช้สารหล่อลื่นในการใส่ท่อช่วยหายใจไม่มีผลแตก ต่างกันชัดเจน จึงนำ�มาปรับเปลี่ยนการปฏิบัติใน ฝ่าย สามารถลดงบประมาณค่าใช้จ่ายจากการงด ใช้สารหล่อลื่น ด้วย K-Y jelly ในการใส่ท่อช่วย หายใจได้มาก • โครงการพัฒนากิจกรรมวิชาการ วิสญั ญีวทิ ยา เป็นการพัฒนาความรู้ ความสามารถ
และศักยภาพของพยาบาลวิสัญญี ทำ�ให้ผู้ป่วยได้ รับการดูแลที่ได้มาตรฐานและปลอดภัยจากภาวะ แทรกซ้อนมากขึ้น อีกทั้งพยาบาลวิสัญญีเกิดแรง จูงใจพัฒนาตนเองสู่ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ • โครงการ Update CPR ร่วมกับห้อง ผ่าตัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สามารถนำ�ความรู้มาใช้ใน การทำ�งานเป็นทีม ในการช่วยกู้ชีวิตผู้ป่วยในห้อง ผ่าตัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการทำ�งาน แบบสหสาขาวิชาชีพ • มีระบบในการบริหารจัดการความเสี่ยง ทางคลิ นิ ก ที ่ ช ั ดเจน โดยมี ก ิ จกรรมทบทวน Morbidity/Mortality Conference หา แนวทางการป้องกัน แก้ไขร่วมกัน • โครงการวิสัญญีกับการลดภาวะโลก ร้อน จากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ลดปริมาณการใช้ ก๊าซไนตรัสออกไซด์ ที่ใช้ในการระงับความรู้สึก ทั่วตัวจากการใช้เทคนิค Low flow anesthesia การสร้างและปลุกจิตสำ�นึกแก่เจ้าหน้าที่ทุกคน ในการอนุรักษ์พลังงานโดยกำ�หนดให้มีการปิด เครื่องปรับอากาศในห้องพักฟื้น ปิดไฟดวงที่ไม่ ใช้งาน ลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติก นำ�กระดาษ หน้าเดียวมาใช้ใหม่ เป็นต้น ทำ�ให้เกิดนวัตกรรม : กล่องอเนกประสงค์ การใช้ถุงผ้าใส่ขยะแห้ง ซึ่งได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ “ประเภท กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ” วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. 109
๒๕๕๑ในงานมหกรรมคุณภาพโรงพยาบาล • นวัตกรรม : หมอนแทนใจ (Chest roll) ใช้ ในการจัดท่าผู้ป่วยที่ต้องทำ�ผ่าตัดท่าควํ่า ได้รับ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ “ประเภทกิจกรรม นวัตกรรม” วันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ใน งานมหกรรมคุณภาพโรงพยาบาล • นวัตกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย : ฉากอลูมิเนียม สำ�หรับคล้องพักสาย Corrugate ขณะดม ยาสลบ เพื่อให้สายไม่เกี่ยวรั้งและจัดวางใน ตำ�แหน่งที่ปลอดภัย การนำ�สติกเกอร์ชื่อผู้ป่วยมา ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับงานบริการวิสัญญี และการจัดทำ�แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขอเลือด และการให้เลือดในฝ่ายวิสัญญีวิทยา
พ.ศ. ๒๕๕๒
• พัฒนาระบบการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เข้า–ออก ห้องผ่าตัดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความ ปลอดภัยและลดความเจ็บปวดในการเคลื่อนย้าย ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ สุขสบายในการมาผ่าตัด • การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลใน การดูแลและควบคุมความดันภายใน cuff ท่อ ช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มารับบริการระงับความ รู้สึกแบบทั่วตัวและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็น มาตรฐานเดียวกัน โดยผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ ในวิสัญญีสาร : ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ (หน้า ๓๗๔ – ๓๘๔ ) 110
Poster Presentation Oral Presentation มีบทคัดย่อตีพิมพ์ใน เอกสารรวมบทคัดย่อ ประกอบการประชุมมหกรรม R2R เครือข่าย ภาคตะวันออก ครั้งที่ ๑ “เชื่อมพลังเครือข่าย R2R ขยายคุณค่างานประจำ�” ๒๙ – ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมลีลาวดี ๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย Oral Presentation และบทคัดย่อตีพิมพ์ ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการชมรม วิสัญญีพยาบาล แห่งประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑ ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ “คุณค่าของวิสัญญี พยาบาลต่อสุขภาพประชาไทย (The value of the Thai public health care anesthesia)” วันที่ ๑๙ – ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ • นวัตกรรมอืน่ ๆ เช่น ทีจ่ บั สายออกซิเจน ช่วยหายใจในห้องพักฟื้น ฉลากยาติด Syringe ที่เป็น sticker สีต่าง ๆ สันพลาสติกรวบรวมใบ Anesthetic Data Sheet เป็นต้น รวมถึงการจัด ทำ�แผ่นพับเกี่ยวกับข้อมูลทางวิสัญญีแจกให้กับ ผู้ป่วย
พ.ศ. ๒๕๕๓
• โครงการองค์กรแห่งความสุข (คน สำ�ราญงานสำ�เร็จ) เพื่อให้บุคลากรมีความสุขกับ
การทำ�งาน มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรที่ดี ขึ้น และ รักองค์กรมากขึ้น • การพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อป้องกัน/ รักษาอาการคลืน่ ไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ดมยาสลบ ในผูป้ ว่ ยทีม่ าผ่าตัดส่องกล้องในช่องท้อง ผลงาน นีไ้ ด้น�ำ เสนอผลงานแบบ Poster Presentation และบทคัดย่อตีพิมพ์ในเอกสารประกอบการ ประชุมวิชาการชมรมวิสัญญีพยาบาล แห่ง ประเทศไทย ครั้งที่ ๑๑ ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ “คุณค่าของวิสัญญีพยาบาลต่อสุขภาพประชา ไทย (The value of the Thai public health care anesthesia)” วันที่ ๑๙ – ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชัน่ กรุงเทพฯ • การพัฒนาแนวปฏิบัติการบริหาร จัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น เพื่อ ให้ผู้ป่วยสุขสบาย พึงพอใจ ไม่ปวดแผลจากการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากการให้บริการที่มีมาตรฐานและ คุณภาพ ทำ�ให้กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาล สุรินทร์ขอมาศึกษาดูงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๓
พ.ศ. ๒๕๕๔
จัดทำ�โครงการพัฒนาระบบการเยี่ยมผู้ป่วยก่อน ผ่าตัด และ การติดตามผู้ป่วยหลังให้การระงับ ความรู้สึกที่หอผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ
เยี่ยมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด และการเยี่ยมผู้ป่วยหลัง การผ่าตัด ลดอัตราการเลื่อน/งดผ่าตัด จาก สภาพร่างกายผู้ป่วยไม่พร้อมลดลง ผู้รับบริการ พึงพอใจในการบริการมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการ ติดตามการบันทึกใบเวชระเบียนและการปฏิบัติ ตามแนวปฏิบัติของฝ่ายอีกด้วย ในปีเดียวกัน นี้มีวิสัญญีแพทย์มาเพิ่มขึ้นอีก ๑ คน และ เป็น ปีที่เริ่มมีการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์ใน รายวิชาวิสัญญีวิทยา ของนักศึกษาแพทย์ ปี ๕ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยสอนทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติต่าง ๆ
พ.ศ. ๒๕๕๕
มีสถานีโทรทัศน์วสิ ญ ั ญี Channel เกิดขึ้น เพื่อ เป็นสื่อให้ผู้ป่วยและผู้รับบริการในโรงพยาบาล ได้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการบริการ วิสัญญี จากการแพร่ภาพออกอากาศทางช่อง ทีวีในโรงพยาบาลตลอด ๒๔ ชั่วโมง อีกทั้งยังมี 111
โครงการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในฝ่ายด้าน ภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการใช้ภาษา อังกฤษ เพื่อรองรับการเป็น ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ นี้ด้วย จากการพัฒนาตั้งแต่อดีตเรื่อยมาตลอด จนถึงปัจจุบันนี้ ทางฝ่ายวิสัญญีวิทยามีบุคลากร ทั้งหมด ๔๐ ตำ�แหน่งเป็นวิสัญญีแพทย์ ๓ คน พยาบาลวิสัญญี ๒๗ คน ผูช้ ว่ ยพยาบาล ๗ คน เจ้าหน้าทีพ่ ยาบาล ๓ คน และลูกจ้างประจำ� ๑ คน มีการทำ�งานเป็นทีมโดยการแบ่งงานภายในฝ่าย เป็นงานย่อยต่าง ๆ ๑๐ งาน คือ งานหัวหน้า กลุ่มงานพยาบาลวิสญ ั ญี งานติดตามเยีย่ มผูป้ ว่ ย ก่อน และหลังผ่าตัด งานบริการวิสัญญีในห้อง ผ่าตัด งานห้องพักฟื้น งานยาและเวชภัณฑ์ งาน เครื่องมือแพทย์ งาน Supply งานคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ งานสิ่งแวดล้อม (ENV/๕ ส) และงานวิชาการ ให้การบริการวิสัญญีแก่ผู้ป่วย
112
ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยมาทุกปีจนปัจจุบันประมาณ ๙๐๐ – ๑,๐๐๐ ราย/เดือน มีอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่ทันสมัยทั้งนี้เพื่อให้การบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ตามค่านิยมหลักของฝ่าย คือ วิสญ ั ญีเพือ่ ทุกชีวปี ลอดภัย (Anesthesia : safety for all)
ฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟู
ฝ่ายเวชกรรมฟืน้ ฟูได้เริม่ เปิดบริการเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ซึ่งในขณะนั้นเป็นเพียงหน่วยงาน กายภาพบำ�บัด และใช้ชื่อว่า แผนกกายภาพ บำ�บัด โดยมีนายแพทย์นคร อาภาคัพกุล แพทย์ ศัลยกรรมกระดูก เป็นผู้จัดตั้ง ซึ่งขณะนั้นยังไม่มี นักกายภาพบำ�บัด จึงได้มอบหมายให้นายสงบ ทองเจือ เป็นเจ้าหน้าที่กายภาพบำ�บัด และทำ� หน้าที่เข้าเฝือกด้วย โดยใช้สถานที่ชั้นล่างของตึก พระพันวัสสา (ฝ่ายการพยาบาลในปัจจุบัน) ใน ขณะนั้นมีเครื่อง Ultrasound เพียง ๑ เครื่อง และให้คำ�แนะนำ�ในการออกกำ�ลังกายแก่ผู้ป่วย ในปีถัดมาได้มีการจัดซื้อเครื่องมือ และอุปกรณ์ เพิ่มมากขึ้น พ.ศ. ๒๕๒๐ คุณเจเนส นักกายภาพ บำ�บัด ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าแผนก กายภาพบำ�บัด ในขณะนั้นมีเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ ฟื้นฟู เพิ่มอีกหนึ่งคน คือ คุณบุญสม สุรกุล และ คนงานตึกผู้ป่วย ทำ�ให้สามารถรองรับผู้ป่วยที่มา
รักษาด้านกายภาพบำ�บัดได้มากขึน้ กว่าเดิม ต่อมา คุณเจเนสได้ลาออก ในสมัยนั้นนายแพทย์สม กนกศิขรินทร์ แพทย์กระดูกและข้อได้เข้ามาดูแล แผนกกายภาพบำ�บัด ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปอบรม ด้านฟื้นฟูเพิ่มเติมที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ได้เจ้าหน้าที่เพิ่มอีก ๓ คน ซึ่งในขณะนั้นมี เจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฟื้นฟูทั้งหมด ๕ คน พ.ศ. ๒๕๒๒ คุณอาภากร วงศ์สถาพร พัฒน์ นักกายภาพบำ�บัด ได้มาดำ�รงตำ�แหน่งเป็น หัวหน้าแผนกกายภาพบำ�บัด ซึ่งทำ�หน้าที่รับผิด ชอบทั้งงานบริหารและงานบริการ มีการขยับ
ขยายงานบริการ มีเครื่องกายภาพบำ�บัดที่จำ�เป็น ในการรักษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เครื่องดึงคอ ดึง หลัง เครื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคลื่นสั้น เครื่อง คลื่นเหนือเสียง และอุปกรณ์ช่วยเดินต่าง ๆ และมีนักกายภาพบำ�บัดเพิ่มขึ้นอีก ๒ คน ทำ�ให้ สามารถให้บริการผู้ป่วยในที่ไม่สามารถเคลื่อน ย้ายลงมาได้ โดยนักกายภาพบำ�บัดจะขึ้นไป บำ�บัดผู้ป่วยที่ตึกผู้ป่วย ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ทางแผนก กายภาพบำ�บัดได้รับนักศึกษากายภาพบำ�บัด ปี ๔ มหาวิทยาลัยรังสิต มาฝึกปฏิบัติงานใน แผนก โดยอยู่ในความควบคุมดูแลของนัก กายภาพบำ�บัด ซึ่งได้รับแต่งตั้งจากมหาวิทยาลัย รังสิตเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทางคลินิก จึงเป็น จุดเริ่มต้นในการรับนักศึกษากายภาพบำ�บัด ฝึกปฏิบตั งิ านทางคลินกิ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิเช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย นเรศวร มหาวิทยาลัย มศว.ประสานมิตร และ มหาวิทยาลัยหัวเฉียว จนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับเป็น แหล่งให้ความรู้ และประสบการณ์แก่นักศึกษา กายภาพบำ�บัดเป็นอย่างมาก ประกอบกับ ทัศนียภาพ และสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาล เป็นที่ประทับใจยิ่งของผู้ที่มาเยือน ทั้งนี้จาก การแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาแต่ละรุ่น ล้วนประทับใจในสถานที่ และบุคลากรของโรง พยาบาลเป็นอย่างยิ่ง 113
เมื่อจำ�นวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น กายภาพ บำ�บัด เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในด้านการรักษา ป้องกัน ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงได้รับนักกายภาพบำ�บัดเพิ่มขึ้น ในขณะนั้น มีจ�ำ นวนเจ้าหน้าที่ ดังนี้ นักกายภาพบำ�บัด จำ�นวน ๔ คน เจ้าหน้าที่เวชศาสตร์จ�ำ นวน ๔ คน และ คนงานตึกผู้ป่วย ๑ คน เนื่องจาก อำ�เภอ ศรีราชา มีโรงงานอุตสาหกรรมจำ�นวนมากขึ้น แนวโน้มที่ผู้ป่วยจะป่วยเป็นโรคระบบกล้าม เนื้อและกระดูกมีเพิ่มมากขึ้น หัวหน้าแผนก กายภาพบำ�บัดในสมัยนั้นจึงเปิดให้บริการเชิงรุก ในการส่ง นักกายภาพบำ�บัดไปเป็นวิทยากรให้ ความรู้ในเรื่องการป้องกันการปวดหลังจาก การทำ�งาน และทดสอบสมรรถภาพเจ้าหน้าที่ใน โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำ�ให้กายภาพบำ�บัดได้ รับความสนใจ และมีบทบาทในด้านป้องกัน และ ส่งเสริมสุขภาพมากขึ้น ส่วนการบริการภายในโรง พยาบาลมีการจัดตั้งคลินิกกายภาพบำ�บัดนอก เวลาขึ้นโดยเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถ มาบำ�บัดภายในเวลาราชการได้ ซึ่งคลินิกนอก เวลากายภาพบำ�บัดเปิดให้บริการจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๑๖.๐๐ น.- ๒๐.๐๐ น. วันเสาร์ เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๒.๐๐ น. โดยให้บริการ จนถึงปัจจุบัน ต่อมาได้ย้ายสถานที่จากชั้นหนึ่ง 114
ของตึกพระพันวัสสา มาอยู่ที่ชั้นล่างของตึก มหิดลจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๐ นางณัฐธยาน์ ทิพย์ภิญโญ ได้ดำ�รงตำ�แหน่งรักษาการแทนหัวหน้าแผนก กายภาพบำ � บั ด ซึ ่ ง ได้ เ ปลี ่ ย นจากแผนก กายภาพบำ�บัดมาเป็นฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟูใน ปีเดียวกันนี้ แต่การปฏิบัติงานคงมีเพียงงาน กายภาพบำ�บัดเพียงอย่างเดียว ในขณะนั้นมี นักกายภาพบำ�บัดจำ�นวน ๕ คน เจ้าหน้าที่ เวชศาสตร์ฟื้นฟูจำ�นวน ๔ คน และ คนงานตึก ผู้ป่วย ๒ คน สถานที่ในขณะนั้นมีการขยายพื้นที่ ทำ�ให้สามารถเพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ ในการรักษาทางกายภาพบำ�บัดได้มากขึ้น เพื่อ รองรับผู้ป่วยที่มีจำ�นวนเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน พ.ศ. ๒๕๔๒ นายแพทย์คมวุฒิ คนฉลาด แพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้า ฝ่ า ยเวชกรรมฟื ้ นฟู ซึ ่ ง ยั ง คงมี เ พี ย งหน่ ว ย กายภาพบำ�บัดเพียงหน่วยเดียว แต่ได้เพิ่มงาน ตรวจกล้ามเนื้อและเส้นประสาทขึ้น ต่อมาจึงได้ จัดทำ�แผนขยายงานเวชกรรมฟื้นฟู พ.ศ. ๒๕๔๖ จัดตั้งงานกิจกรรมบำ�บัด เพื่อให้บริการทางด้านกิจกรรมบำ�บัด โดย สามารถฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยได้หลายประเภทมาก ขึ้น ได้แก่ผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาด้านพัฒนาการ ผู้พิการที่มีปัญหาการทำ�งานของมือ การกลืนผิด ปกติ และปัญหาด้านการรับรู้
พ.ศ. ๒๕๔๙ พัฒนางานบริการฝังเข็ม แก่ผปู้ ว่ ยทีม่ ปี ญ ั หาความปวดจากกล้ามเนือ้ และข้อ
พ.ศ. ๒๕๕๒ ขยายพื้นที่หน่วยกายภาพ บำ�บัดเพื่อให้มีพื้นที่ในการออกกำ�ลังกายมากขึ้น พ.ศ. ๒๕๕๔ จัดตั้งคลินิกดูแลและแก้ ปัญหาของเท้า (Foot care clinic) ให้บริการ รักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาของเท้า หรือมีความเสี่ยง ต่อการเกิดแผลของเท้า เช่น เบาหวาน หลอด เลือดแดงตีบได้รับการป้องกันและดูแลรักษา ปัญหาของเท้า โดยมีการตรวจประเมินสภาพ ของเท้าอย่างเป็นระบบ วินิจฉัยและแก้ปัญหา ของเท้าด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ รองเท้าตัดเฉพาะ แผ่นเสริมรองเท้า และการปรับแต่งรองเท้า พ.ศ. ๒๕๕๖ จัดตั้งการบริการแก้ไข ปัญหาการพูด (Speech therapy) ซึ่งให้การ ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาการพูดและการสื่อสาร ตลอดจนเด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาผิดปกติ
ปัจจุบันฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟู มีบุคลากร ในฝ่ายทั้งหมด ๒๒ คน ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ ฟื ้ นฟู จำ � นวน ๓ คน นั ก กายภาพบำ � บั ด จำ�นวน ๘ คน นักกิจกรรมบำ�บัด จำ�นวน ๒ คน นายช่างไฟฟ้า จำ�นวน ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ จำ�นวน ๑ คน เจ้าหน้าทีเ่ วชศาสตร์ฟน้ื ฟู จำ�นวน ๕ คน และคนงานตึกผู้ป่วย ๒ คน ประกอบด้วย ๓ หน่วยงาน คือ หน่วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูคลินิก ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจคลื่นกล้ามเนื้อและ เส้นประสาท คลินิกฝังเข็ม และ งานคลินิก สุขภาพเท้า หน่วยกายภาพบำ�บัด และหน่วย กิจกรรมบำ�บัด โดยให้บริการในเวลาราชการ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. บริการผู้ป่วยนอก 115
และ ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. บริการผู้ป่วยใน คลินิกกายภาพบำ�บัดนอกเวลาเปิดบริการจันทร์ – ศุกร์ เวลา ๑๖.๐๐ - ๒๐.๐๐ น. วันเสาร์และวันหยุด นักขัตฤกษ์ เปิดบริการเวลา ๐๘.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. ฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟู มุ่งเน้นการรักษา ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟู ให้ผู้ป่วยและผู้พิการ มีสุขภาพดี และสามารถดำ�รงชีวิตในสังคมตาม ศักยภาพของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังส่งเสริมงาน ทางด้านวิชาการ โดยระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ๒๕๕๕ มีผลงานทีเ่ ป็นโครงการ และงานวิจยั ต่าง ๆ ดังนี้ ๑. โครงการทดสอบและเสริมสร้าง สมรรถภาพทางกายของบุคลากรใน โรงพยาบาล ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่าเกณฑ์ ๒. โครงการกระตุ้นพัฒนาการเด็กพิเศษแบบ ไตรภาคี ๓. โครงการพัฒนาศักยภาพเด็กพิเศษ ๔. พัฒนางานบริการฟืน้ ฟูผพู้ กิ ารแบบองค์รวม ๕. โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ ๖. โครงการนวดสวีดชิ ในผูป้ ว่ ย Trapezius myofascial pain ๗. โครงการพัฒนาการให้บริการผู้ป่วยที่มี ปัญหาจากกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด โดยกายภาพบำ�บัดร่วมกับหัตถการทางเวชศาสตร์ ฟืน้ ฟู 116
๘. Clinical and Electrophysiologic Evaluation of Peripheral Neuropathy in a Group of HIV – Infected Patients in Thailand ๙. ผลของการออกกำ�ลังกายต่อสมรรถภาพ ทางกายของบุคลากรที่มีน้ำ�หนักเกินใน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ๑๐. การทดสอบสมรรถภาพทางกายของ บุคลากรที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินกว่าเกณฑ์ในโรง พยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ๑๑. ไฟฟ้าวินจิ ฉัยแสดงความผิดปกติทางระบบ ประสาทส่วนปลายแบบ Distal Symmetrical Polyneuropathy ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ๑๒. ผลของการฟืน้ ฟูตอ่ เนือ่ งทีบ่ า้ นต่อความรู้ และการทำ�กิจวัตรประจำ�วันของผู้พิการภายใน เขตเทศบาลศรีราชา ๑๓. ผลของการรักษาผู้ป่วย trapezius myofascial pain ด้วยการนวดแบบสวีดิช ร่วมกับการประคบแผ่นร้อน ๑๔. Vibrometry in Carpal Tunnel Syndrome: Correlation with Electrodiagnotic Parameters and Disease Severity ๑๕. การกระตุ้นกลืนในเด็กสมองพิการที่มา รับบริการกิจกรรมบำ�บัดในฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟู ๑๖. การกระตุ้นพัฒนาการเด็กออทิศติก และสมาธิสั้นด้วยเอสไอ และฟลอร์ไทม์
การดูแลตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว รักษา บรรเทาอาการปวด ความบกพร่องของร่างกาย กลับมาทำ�งานได้ตามศักยภาพของผูป้ ว่ ย โดยการ ประสานงานแบบสหสาขาวิชาชีพ ทั้งในฝ่ายและ นอกฝ่าย รวมถึงการพัฒนางานบริการอย่างต่อเนือ่ ง
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง เรื่อง ความร่วมมือในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทระหว่าง สภากาชาดไทย และ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยท่านแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธี
๑๗. การศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ ร่วมกับโครงการฝึกบริหารกล้ามเนื้อหลังต่อ ความรู้ ระดับความปวด และสมรรถภาพการ ทำ�งานในผู้ป่วยอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง ๑๘. ความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ ดัชนีมวลกาย ระดับความปวด และการประเมินภาวะทุพพลภาพ กับการเคลื่อนไหวของกระดูกหลังในผู้ป่วยปวด หลังเรื้อรัง เป้าหมายหลักของฝ่ายเวชกรรมฟื้นฟู คือ การดูแลผู้ป่วยอย่างครบถ้วน โดยมุ่งเน้นการ เพิ่มคุณภาพชีวิตให้ผู้ป่วยประกอบกิจวัตรประจำ� วันได้ดีขึ้น ป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจาก การเจ็บป่วยหรือความพิการซ้ำ�ซ้อน ส่งเสริม
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย และมหาวิทยาลัยบูรพา เริ่มมีสัมพันธภาพกัน โดยคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ขอความร่ ว มมื อ ส่ ง นิ ส ิ ต พยาบาล เข้าฝึกปฏิบตั งิ านที่ โรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา นับตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น สภากาชาดไทย และมหาวิทยาลัยบูรพา ยังมีสัญญาความร่วมมือ ทางวิชาการ โดยได้มีพิธีลงนามในสัญญา เมื่อ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ต่อมาคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ขอความ ร่วมมือโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอนนิสิต แพทย์ ในระดับชั้นคลินิก ซึ่งคณะกรรมการ บริหารโรงพยาบาลเห็นว่า เป็นโอกาสที่ โรงพยาบาลจะได้พัฒนาด้านวิชาการให้เข้ม แข็งยิ่งขึ้น จึงได้เสนอโครงการร่วมผลิตแพทย์ ชั้นคลินิก ระหว่างโรงพยาบาลสมเด็จพระบรม 117
ราชเทวี ณ ศรีราชา กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพือ่ ขออนุมตั ติ อ่ สภากาชาดไทย และตามมติทป่ี ระชุมคณะกรรมการสภากาชาดไทย ในการประชุมครั้งที่ ๒๙๓/๒๕๕๒ วันที่ ๑๕ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้อนุมตั โิ ครงการดังกล่าว และเริ่มรับนิสิตแพทย์ชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ ๔) รุน่ ที่ ๑ จำ�นวน ๓๒ คน รุน่ ที่ ๒ จำ�นวน ๓๒ คน รุ่นที่ ๓ จำ�นวน ๓๒ คน เข้ารับการศึกษาที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ พ.ศ. ๒๕๕๔ และพ.ศ. ๒๕๕๕ ตามลำ�ดับ ซึ่งโรงพยาบาลได้ จัดพิธีมอบเสื้อกาวน์ ปฐมนิเทศนิสิตแพทย์ และ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรับนิสิตแพทย์อย่างอบอุ่น
118
สำ�นักงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้น คลินิก
การจัดที่พัก
โรงพยาบาลใช้อาคารเกษตร สนิทวงศ์ เป็นสำ�นักงานศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก และห้องเรียนชั่วคราว เนื่องจากสำ�นักงานศูนย์ แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กำ�ลังก่อสร้างต่อ เติมที่อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี จะแล้วเสร็จในต้น ปีพ.ศ. ๒๕๕๖
หอพักนิสติ แพทย์ ตามเกณฑ์ของแพทยสภา ว่าด้วยการขอเปิดดำ�เนินการหลักสูตรแพทยศาสตร บัณฑิต ข้อ ๑๐ โรงพยาบาลจะต้องหาสถานที่ เพื่อเป็นหอพักนิสิตแพทย์ที่จะมาฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลจึงได้ปรับปรุงเรือนนางพยาบาล พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งไม่ใช้งานมานานเป็นหอพักนิสิต แพทย์ชั่วคราว เนื่องจากการก่อสร้างอาคาร
ภาพ ก่อ นปรับปรุง
ภาพ หลังปรับปรุง
119
กิจกรรมต่าง ๆ
หอพักนิสิตแพทย์และอาจารย์ เป็นอาคารขนาด ๑๕ ชั้น คาดว่าการก่อสร้างอาคารจะแล้วเสร็จ สามารถให้นิสิตแพทย์ อาจารย์ แพทย์ใช้ทุน และแพทย์ประจำ�บ้าน เข้าพักอาศัยได้ปลาย ปีพ.ศ. ๒๕๕๖
นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย เป็นประธานในพิธีมอบเสื้อกาวน์ฯ รุ่นที่ ๒ ในวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ ๒๕๕๔
ภาพหมู่พิธีมอบเสื้อกาวน์ฯ รุ่นที่ ๑ โดยมีผู้บริหารสภากาชาดไทย ผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ ม.บูรพา ผู้บริหาร รพ.สมเด็จฯ และนิสิตแพทย์รุ่นที่ ๑
120
พิธีมอบเสื้อกาวน์ และปฐมนิเทศนิสิต แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชัน้ ปีท่ี ๔ รุน่ ที่ ๑ รุน่ ที่ ๒ และรุน่ ที่ ๓ ห้องประชุม ลีลาวดี ๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ จรัส สุวรรณเวลา เป็นประธานในพิธีมอบเสื้อกาวน์ฯ รุ่นที่ ๑ ในวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓
พิธีไหว้ครู นิสิตแพทย์รุ่นที่ ๑ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ ห้องประชุมลีลาวดี ๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
นิสิตแพทย์รุ่นที่ ๑ กล่าวคำ�ปฏิญาณที่ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
Welcome Medical student’s นิสิตแพทย์รุ่นที่ ๑ วันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ อาคารเกษตร สนิทวงศ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
121
กิจกรรมการเรียนการสอนนิสิตแพทย์รุ่นที่ ๑ รายวิชาบทนำ� ทางคลินิก โดยมีผู้ป่วยจำ�ลองมาเป็นผู้ป่วยในรายวิชา
122
การจัดการเรียนการสอน
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ได้รับ ความร่วมมือจากฝ่ายทางการแพทย์ต่าง ๆ ฝ่ายการพยาบาล และ ฝ่ายสนับสนุนอื่น ๆ ในการจัดการเรียนการสอน รูปแบบต่าง ๆ เช่น การสอนบรรยาย การสอนข้างเตียงผู้ป่วย การฝึกปฏิบัติการกับหุ่นจำ�ลอง การฝึกปฏิบัติ การกับผู้ป่วยจำ�ลอง
สถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำ�บ้าน
พ.ศ. ๒๕๔๕ โรงพยาบาลได้รับการ รับรองจากแพทยสภาให้เป็นสถาบันฝึกอบรม แพทย์ประจำ�บ้าน สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว และสาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ได้รับการ รับรองให้เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำ� บ้าน ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สำ�หรับ สาขาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คาดว่าจะ สามารถรับฝึกอบรมแพทย์ประจำ�บ้านได้ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗
โรงพยาบาลได้มีโครงการจัดเตรียมการ เป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์ประจำ�บ้าน สาขาต่าง ๆ อีกได้แก่ สาขาอายุรศาสตร์ สาขาศัลยศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ และสาขาเวชศาสตร์ฉกุ เฉิน อีกทั้งเป็นสถาบันรองรับโครงการเพิ่มพูนทักษะ เป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานของแพทย์ใช้ทุน นิสิต พยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา รวมทั้ง เป็นที่ศึกษา ดูงานของบุคลากรด้านการแพทย์ และสาขา วิชาชีพอื่นของสถาบัน การศึกษาต่าง ๆ ที่ขอ ความร่วมมือส่งนิสิตนักศึกษามาฝึกปฏิบัติงาน
123
งานด้านสนับสนุน การรักษาพยาบาล ฝ่ายโภชนาการ
ฝ่ายโภชนาการได้จดั ตัง้ ขึน้ ครัง้ แรกในชือ่ หน่วยสูทกรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นมา แต่ใคร ๆ ก็เรียกว่าโรงครัว การปกครองในสมัย นั้นขึ้นอยู่กับฝ่ายการพยาบาล โดยมี คุณอุรา ไชยดวงสิงห์ เป็นหัวหน้าหน่วย ซึ่งเป็นครั้งแรก ที่โรงพยาบาลฯ รับโภชนากร มีแม่ครัวและพ่อ ครัว จำ�นวน ๗ คน โรงครัวกับโรงซักฟอกอยู่ตดิ กันไม่เคยเปลีย่ นแปลง ไม่มรี ว้ั กัน้ ชาวบ้านข้ามมา ทำ�งาน หาปู หาปลา ผ่านไปผ่านมา ผู้คนยังไม่ หนาแน่นรู้จักกันทั่ว ยิ่งรู้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่ท�ำ งาน ในโรงพยาบาลฯเขาจะเคารพ รักใคร่และดูแลกัน การผลิตอาหาร ใช้กระทะหุงต้มข้าว เอาก้อนอิฐ ก่อ ๓ ขาเป็นเตา ใช้ไม้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ไม้ฟืนนี้ พ่อครัวหุงข้าวเป็นผู้หาโดยเก็บกิ่งไม้แห้ง ต้นไม้ ตัดล้มแล้ว หาบริเวณแถว ๆ โรงพยาบาลก่อน กลับบ้าน มีขวานเหน็บเอวเป็นอาวุธ ยังมีไม้ส่วน ที่รื้อเรือนพักฯ เรือนคนไข้กองไว้ใช้ได้บ้าง แต่จะ มีควันดำ�มากข้าวต้มที่หุงออกมาจะมีกลิ่น ต่อมา หาเชื้อเพลิงได้ยากขึ้น ต้องไปซื้อเศษไม้จาก โรงเลื่อย บริษัทศรีมหาราชาและโรงเลื่อยไม้อื่น ไปจนถึงบางละมุงและนาเกลือ มาเป็นเชื้อเพลิง สภาพโรงครัวสมัยนั้นคล้าย ๆ กับโรงเตี๊ยม ห้องกินข้าวของพยาบาลและเจ้าหน้าที่ท�ำ ด้วยไม้ หลังคามุงสังกะสี สภาพเก่าชำ�รุดเต็มที หน้าฝน 124
ต้องคอยหาถังหรือกะละมังรองน้ ำ � ฝนรั่ว มีโต๊ะไม้ และม้านั่งไม้ยาว ๆ จัดไว้ ๓ - ๔ ตัว อาหารตัก ใส่จาน - ชาม (สังกะสีเคลือบ) มีช้อนกลาง ช้อน ส้อม และจานตั้งไว้ทุกโต๊ะ ส่วนข้าวใส่หม้อต่าง หากต้ อ งเดิ นมาตั ก เอง น้ ำ � ดื ่ ม ใส่ ห ม้ อ ไว้ ม ี แก้วน้ ำ � อลูมิเนียมเตรียมไว้ให้ ส่วนของผู้ป่วย ถ้าเป็นผู้ป่วยพิเศษใส่ปิ่นโตแจกตามห้อง ผู้ป่วย สามัญ อาหารและข้าวใส่หม้อไปตักที่ตึก มี จานสังกะสีเคลือบและช้อนอลูมิเนียมเตรียมให้ คนงานตึกเป็นคนตักข้าวและอาหารใส่รวมกัน นอกจากนีย้ งั ต้องเตรียมอาหารสำ�หรับเชือ้ พระวงศ์ และผู้ใหญ่ที่มีอุปการคุณแก่โรงพยาบาลที่มาพัก เรือนน้ ำ � โรงครั วต้ อ งทำ� อาหารให้ วั น ละ ๒ - ๓ มื้อ มีจาน - ชามกระเบื้อง ครอบด้วย ฝาปิดใส่อาหาร จัดลงถาดเคลือบลายดอก ทรงกลม แบกส่งตามเรือนน้ ำ � ต่าง ๆ ๑๐ กันยายน ของทุกปีเป็นวันคล้าย พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล โรงพยาบาล จะจัดพิธีท�ำ บุญเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เช่น ตักบาตรพระสงฆ์จ�ำ นวนเท่าอายุของโรงพยาบาล การถวายภัตตาหารเพล เพื่อถวายเป็นพระราช กุศลแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในสมัยนั้นพระวรวงศ์ เธอพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร เสด็จมาเป็น ประธานงานทุกปี พร้อมพระบรมวงศ์ฯ และ
ข้าราชบริพาร พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวาปี บุษบากร ทรงดูแลและอุปถัมภ์โรงพยาบาลฯ สืบต่อจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า โดยมี หม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภา เทวกุล (ท่านหญิงแก้ว) รับสนองพระธุระดำ�เนินการจัดหารายได้มา พัฒนาโรงพยาบาลฯ และก่อสร้างตึก พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวาปีบษุ บากร เสด็จมาประทับพักผ่อนประจำ�ทุกปีที่ตำ�หนัก “ปทุมทยากร” มีคณ ุ ท้าวโสภานิเวศน์ และพนักงาน ห้องเครือ่ งตามถวายอาหารสัก ๒-๓ วัน โภชนากร ต้องพาคณะคุณท้าวฯ ไปจ่ายตลาดสดที่ศรีราชา บางครั้งต้องไปถึงชลบุรี อาหารทะเลมีให้เลือก มากมาย จากแม่ค้าชาวบ้านราคาก็ไม่แพง โภชนากรและแม่ครัวได้เรียนรู้วิธีปรุงและ ประกอบอาหารหลายอย่างจากท่านหญิงฯ และ คุณท้าวฯ ปีพ.ศ. ๒๕๐๙ การจัดซื้ออาหารต้องไป จ่ายอาหารสดเป็นรายวัน ส่วนอาหารแห้งจำ�พวก ข้าวสารจัดซื้อเป็นรายสัปดาห์ เริ่มจ่ายอาหารสด วันละ ๑๕๐-๒๐๐ บาท ต่อมาเพิ่มเป็น ๒๕๐๓๐๐ บาทจนกระทั่งถึง ๔๐๐ บาท จำ�นวนที่ บริการในแต่ละวัน ผู้ป่วยพิเศษ - ผู้ป่วยทั่วไป จำ�นวน ๔๐-๖๐ คน แพทย์-พยาบาลและเจ้า หน้าที่อื่น ๆ จำ�นวน ๗๐ - ๘๐ คน ในปีพ.ศ. ๒๕๑๐-๒๕๑๓ ผู้ป่วยพิเศษ – ผู้ป่วยทั่วไปเพิ่ม
ขึ้นเป็น ๙๐-๑๐๐ คน ส่วนแพทย์ - พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เพิ่มเป็น ๑๒๐-๑๕๐ คน ค่าอาหารในขณะนั้นจ่ายอยู่ที่ ๕๐๐ - ๗๐๐ บาท ต่อวัน
ไปจ่ายตลาด
หัวหน้าแม่ครัวไปตลาดตอนเช้ามืดก่อน ไปให้ตรวจสอบของเหลือก่อนว่ามีมากน้อยแค่ ไหน หลังจากนั้นคำ�นวณให้เพียงพอต่อการจัด บริการ ดูผักก่อน แล้วค่อยดูเนื้อสัตว์บกและสัตว์ ทะเล บางวันชาวบ้าน - ชาวทะเลก็น�ำ วัตถุดิบ มาขายให้ซึ่งจะเป็นของสด ๆ ทั้งนั้นราคาก็ไม่ แพงเราต้องรีบซื้อไว้ส่วนใหญ่จะเป็นอาหารทะเล ปลาหมึกหลอดตัวเล็กเยอะกับปลากระบอก ถูกใช้ปรุงอาหารบ่อย จนพยาบาลบอกว่า จะใส่ ห่วงคุมกำ�เนิดปลาหมึก กินกันจนเบื่อ สมัยก่อน ไม่มีบิลหรือใบเสร็จใช้สมุดจดรายการจ่าย แล้ว นำ�มาลงฟอร์มการเบิกเงินที่หน่วยการเงิน สมุด แต่ละเล่มใช้ได้เป็นเดือน ๆ กว่าจะหมด เปิดหา ข้อมูลย้อนหลังได้ หัวหน้าแม่ครัวชื่อ นางสังวาล ศรีสวัสดิ์ หรือที่ใคร ๆ เรียกว่า ป้าหนู ทำ�อาหาร ฝรั่งเก่งมาก ตอนสาว ๆ ไปเป็นแม่บ้านให้กับฝรั่ง ที่ทำ�งาน บริษัทน้ ำ � มัน Thai Oil เมื่อปรุงเสร็จ จะร้องบอกให้โภชนากรมาชิม โภชนากรก็ไม่ คุ้นเคยกับอาหารฝรั่งร้องบอกกลับไปว่าไม่ต้อง 125
ชิมหรอกกินไม่เป็น แต่รสชาติก็ไม่เปลี่ยนแปลง คนกินยังชมเหมือนเดิม ป้าหนูเล่าว่า สมัย สงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นมาทิ ้ ง ระเบิ ดใส่ โรงพยาบาลฯ แต่ไม่โดนเลยไปลงทะเลหมด ไฟลุกท่วมสูงกลัวกันมาก ๆ ใคร ๆ ก็กลัว อะไร ๆ ก็ขาดแคลนไม่มีแม้กระทั่งน้ำ�ยาล้างภาชนะคนไข้ และเจ้าหน้าที่ เลยใช้น้ำ�ด่างทับทิมกับน้ ำ � ซาวข้าว ละลายรวมกันแล้วนำ�ไปล้าง ต่อมาโภชนากรกับแม่ครัวทำ�ไข่เค็ม คนงานครัวลงทะเลหาหอยเสียบมาดองเค็มมีขงิ หัน่ และพริกใส่ด้วย ส่วนมะขามเปียกขึ้นเขย่าที่ต้น เมือ่ หล่นเก็บมาแกะเมล็ดออกใช้ได้ตลอดปี บ้านพัก คนงานครัวก็อยู่ใกล้มีที่ว่าง น้ำ�ก็ใช้ฟรี ปลูกผักก็ รับซื้อ มีต้นมะรุมขึ้นหลายต้น ถึงฤดูเก็บดอก-ฟัก อ่อนมาทำ�แกงส้มใส่กุ้งสด โปรดปรานกันมาก ลูกมะยม ลูกหนามแดง คุณสมัยเก็บมาทำ�แยม ไว้เสิร์ฟคู่กับเนย เป็นอาหารเช้ามีขนมปัง หัวกะโหลก (คนจีนทำ�ขาย) พร้อมไข่ลวกหรือ ไข่ดาวน้ำ� เสิร์ฟผู้ป่วยพิเศษ VIP อาหารผู้ป่วย หลังผ่าตัดกับมีแผลในกระเพาะให้อาหารเหลว เช่น แป้งเปียกใส ๆ แต่งกลิ่นวานิลา – น้ ำ � ข้าว กรอง - น้ำ�เชื่อม - น้ำ�หวานเฮลย์บลูบอย ผู้ป่วย ทั่วไปตอนเช้าต้องมีน้ำ�ข้าวใส่เกลือ โอวัลติน ผู้ป่วยเป็นชาวทะเลชอบน้ำ�ข้าวมากกว่า ท่านผู้ อำ�นวยการ ให้ล้างกระป๋องนมข้นตราดอกมะลิ 126
ไว้แจกญาติผู้ป่วยใส่น้ ำ � หมากชอบบ้วนน้ ำ � หมาก เปรอะทั่วบริเวณ เตาหุงข้าว-ต้มข้าวพัฒนาขึ้นใช้ กระทะใบบัว ก่ออิฐมีปล่องระบายควันฟืน ปรุง อาหารด้วยเตาแก๊สใช้แก๊สเตาละถัง พื้นครัว ปูกระเบื้องสีแดง มีโต๊ะทำ�งานของหัวหน้าหน่วย ๑ ตัว โต๊ะไม้เก่า ๆ เหลือใช้จากหมออยู่บริเวณ ทำ�กับข้าว เลิกงานกลิน่ อาหารติดเสือ้ ผ้าทัง้ แม่ครัว ใคร ๆ ไม่อยากเข้าใกล้เหม็นไปหมด พ.ศ. ๒๕๑๔ โรงครัวได้รับการปรับปรุง ใหม่แต่ยังอยู่ติดกับโรงซักฟอกเช่นเดิม โดยสร้าง ด้วยไม้ชั้นเดียว มุงด้วยกระเบื้อง ห้องกินข้าว มีสภาพดีขึ้น มีมุ้งลวดกันแมลงวัน พื้นทั้งหมด เทปูน ปูกระเบื้องสีแดง ครัวปรุงอาหารทำ�ร่อง น้ ำ � ระบาย มีอ่างล้างภาชนะ ผัก และเนื้อสัตว์อยู่ หลังครัวแม่ครัวทำ�งานสะดวกขึ้น ได้ห้องนอนเวร แม่ครัว มีห้องอาบน้ ำ � และห้องส้วมภายใน สำ�คัญ ยิ่งทำ�ห้องเก็บอาหารแห้ง-ข้าวสารและเครื่องดื่ม เบิกใช้เป็นวัน ๆ ควบคุมง่าย รัดกุมขึ้น ถูกหลัก สุขาภิบาล ทำ�งานสะดวก และทำ�ความสะอาดได้ ง่าย ภาชนะใส่อาหาร เริ่มพัฒนาขึ้นโดย ผู้ ป่วยพิเศษ ใช้ชามกระเบื้องลายผักชี มีฝาปิด ผู้ป่วยทั่วไป ใช้ถาดหลุมอลูมิเนียม มีฝาปิด พยาบาลและเจ้าหน้าที่ ใช้ถาดหลุมอลูมิเนียม ช้อน-ส้อมอลูมิเนียม ห้องอาหารมีตู้น้ ำ � เย็นโดย
ใช้น้ำ�ถังใหญ่วางข้างบน แก้วน้ำ�เป็นแก้วที่ใส่ โอเลี้ยงหรือกาแฟขาย โต๊ะกินข้าวช่างไม้ประจำ� โรงพยาบาลประกอบให้เป็นโต๊ะสี่เหลี่ยมปูด้วย ผ้าพลาสติกลายสก๊อตเนื้อหนาอย่างดี ส่วนเก้าอี้ พับได้ทำ�ด้วยไม้อัด พร้อมกับได้เครื่องกรองน้ ำ � มาใช้ส�ำ หรับการปรุงอาหาร ณ ตอนนี้เราได้แม่ ครัวเพิ่มอีก ๑ คน พ.ศ. ๒๕๑๙ - พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้สร้างตึก ศรีสมเด็จ ๓ ชั้น บนพื้นที่ห้องอาหารที่ใช้อยู่ ทำ�ให้เราได้ชั้น ๑ เป็นห้องอาหารแบบ cafeteria ผู้อำ�นวยการฯให้โภชนากรไปดูงานขายอาหาร แบบ cafeteria ที่โรงภาพยนต์สยาม ณ ตอน นั้นทันสมัยที่สุดในประเทศไทย แล้วนำ�มา ปรับปรุง มีสถาปนิกออกแบบ อุปกรณ์การจัด เลี้ยง ทำ�ด้วยสแตนเลส โต๊ะอาหาร - ปูด้วยผ้าทำ�จากโรงงาน โขมพัสตร์ จุดน้ำ�ดื่ม - เครื่องทำ�น้ำ�เย็นชนิดตู้ ใช้แก้ว น้ำ�ดื่มสแตนเลส บริการอาหาร - ใช้ถาดหลุมสแตนเลส ช้อน-ส้อมสแตนเลส พร้อมกันนี้ก็ใช้ห้องนี้จัด เลี้ยงรับรองแขกของโรงพยาบาล โรงพยาบาลได้พัฒนามาเป็นลำ�ดับ มี ผู้ป่วยพิเศษ – ผู้ป่วยทั่วไป – แพทย์ – พยาบาล และเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้น ที่สำ�คัญทางโรงพยาบาล
ได้จัดสวัสดิการให้กับแพทย์ - เจ้าหน้าที่ฯ พัก ในโรงพยาบาล ทางฝ่ายโภชนาการได้จัดปิ่นโต มื้อเย็นเป็นสวัสดิการ ซึ่งได้ส่งอาหารปิ่นโตให้ แก่แพทย์เจ้าหน้าที่เวรตามบ้านพักตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ทำ�ให้มีแม่ครัวเพิ่ม ๒ คน นอกจากนี้ ต้องมีอาหารพิเศษบริการขายด้วย ญาติผู้ป่วย สามารถสั่งได้ พร้อมทั้งจัดส่งถึงตึก และได้รับ พนักงานจ้างรายวันเพิ่มอีก ๑ คน หน่วยสูทกรรม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยโภชนาการในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เริ่มรับ โภชนากรเพิ่มขึ้น แต่ยังขึ้นอยู่กับแผนกพยาบาล ต่อมาคุณสมัย รัตนแก้วกาญจน์ เกษียณอายุ มีคุณฟองศิริ นาคสังข์ จากโรงพยาบาลจุฬาฯ มาเป็นหัวหน้าแผนกพยาบาลแทน อยู่ได้ ประมาณหลายปีหน่วยโภชนาการเติบโตเต็มที่ ทุกด้าน ทำ�เรื่องขอแยกเป็นแผนกโภชนาการ ขึ้นตรงกับท่านผู้อ�ำ นวยการฯ ได้รับอนุมัติเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ และเปลี่ยนเป็นฝ่ายโภชนาการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ฝ่ายโภชนาการ ได้ปรับปรุงสถานที่ปฏิบัติงานมาโดยตลอดจน กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้แยกห้องผลิตอาหาร ทางสายให้อาหารสำ�หรับผู้ป่วยเพื่อให้เป็นไป ตามมาตรฐาน การควบคุมความปลอดภัยของ อาหารกระทรวงสาธารณสุข ได้รับอัตรากำ�ลัง เพิ่ม และได้รับการบรรจุพนักงานครัวชั่วคราว 127
ทั้งหมด โดยปัจจุบันนี้มีบุคลากรทั้งสิ้น ๔๕ คน ประกอบด้วย หัวหน้าฝ่าย ๑ คน นักโภชนาการ ๔ คน ผู้ช่วยนักโภชนากร ๓ คน เจ้าหน้าที่ ธุรการ ๑ คน และ พนักงานครัว ๓๖ คน บริการ ผู้ป่วยพิเศษ VIP ประมาณ ๒๐ คน ผู้ป่วยพิเศษ ประมาณ ๑๓๐ คน ผู้ป่วยสามัญ ประมาณ ๑๐๐ คน ผู้ป่วยเฉพาะโรค ประมาณ ๘๐ คน อาหาร ทางสายให้อาหาร ประมาณ ๗๕ คน เจ้าหน้าที่ - พนักงาน มือ้ เช้า ประมาณ ๑๘๐ คน มือ้ กลางวัน รวมจัดเบิกไปหอผู้ป่วย ประมาณ ๗๘๐ คน ทัง้ นี้ ตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นมา โรงพยาบาลได้ให้ สวัสดิการอาหารกลางวันฟรีให้กับเจ้าหน้าที่ทั้ง โรงพยาบาล มือ้ เย็นประมาณ ๑๐๐ คน ค่าอาหาร ที่จ่ายในแต่ละวัน ประมาณ ๕๕,๐๐๐ บาท ปัจจุบนั ได้มกี ารแบ่งงานออกเป็น ๓ งานดังนี้ ๑. งานโภชนบริการ ประกอบด้วยการเตรียม - การผลิต การบริการสำ�หรับผู้ป่วย VIP ผู้ป่วยพิเศษทั่วไป ผู้ป่วยสามัญ เจ้าหน้าที่ ๓ มื้อหลัก ๑ มื้อดึก นิสิต - นักศึกษาฝึกงาน – ดูงาน จัดเลี้ยงรับรอง ต่าง ๆ บรรเทาทุกข์ การบริการโลหิต การล้าง และทำ�ความสะอาด การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่อง ใช้ รวมถึงการให้ความรู้ด้านโภชนาการและโภชน บำ�บัด ๒. งานโภชนบำ�บัด ประกอบด้วยการเตรียม - การผลิต 128
อาหารเฉพาะโรค อาหารทางสายให้อาหาร อาหารเหลวอาหารเสริมต่าง ๆ ค้นคว้าทดลอง หาตำ�หรับอาหารเพื่อใช้ในการรักษา และบริการ แก่ผู้ป่วยตามหลักโภชนาการ ประเมินภาวะ โภชนาการผู้ป่วย รวมถึงการให้ความรู้ทางด้าน โภชนาการและโภชนบำ�บัด ฯลฯ
๓. งานธุรการ จัดทำ�งบประมาณของฝ่าย ดำ�เนินการ จัดประกวดราคาอาหาร ควบคุมการจัดซื้อ -จัด จ้าง การทำ�บัญชีเบิกจ่าย เรียบเรียง ร่าง พิมพ์ เอกสาร รับ-ส่ง หนังสือ รวบรวมข้อมูลและ สถิติต่าง ๆ จัดทำ�รายงานประจำ�ปีของฝ่าย งานบุคลากร การสรรหาบุคลากร-การประเมิน ผล วางแผนและพัฒนาบุคลากร บันทึกประวัติ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นระยะ ๆ และปรับปรุงงานตามความเหมาะสม บันทึก ข้อมูลต่าง ๆ ของบุคลากร ฯลฯ ฝ่ายโภชนาการได้เริ่มทำ�กิจกรรมพัฒนา คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
๑. โครงการพัฒนาสมรรถภาพร่างกาย เจ้าหน้าที่ปรับพฤติกรรม ด้านการบริโภคอาหาร เพื่อควบคุม BMI ของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลฯ ๒. โครงการจำ�หน่ายอาหารปั่นผสม (อาหารทางสายให้อาหาร) : สำ�หรับผู้ป่วย ที่ต้องให้อาหารชนิดนี้ต่อเนื่องที่บ้าน ทำ�ให้ ญาติและผู้ดูแลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ ที่ดี (จากการสอบถาม)และที่ส�ำ คัญลดอัตรา ภาวะแทรกซ้อน โดยสาเหตุมาจากอาหาร และ เป็นการติดตามผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารชนิดนี้อย่าง ต่อเนื่องที่บ้านพร้อมกับเพิ่มรายได้ให้กับโรง พยาบาลฯ นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยบางประเภทที่ ไม่ได้ Feedอาหารทางสาย แต่กินได้น้อย ทำ�ให้ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อความ
ต้องการของ ทางฝ่ายโภชนาการก็ได้จัดทำ�เป็น สูตรดื่มเพิ่มเติม ดังนี้ สูตรน้�ำ หวาน สูตรโอวัล ติน และสูตรฟักทอง โดยสามารถเสริมกับอาหาร ที่รักประทานอยู่ ทำ�ให้ร่างกายสมบูรณ์ยิ่งขึ้นลด ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ๓. คลินิกโภชนาการโครงการส่งเสริม โภชนาการในผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ๔. คลินิกเบาหวานโภชนาการสำ�หรับ ผู้ป่วยเบาหวานและโรคแทรกซ้อน ๕. จัดโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม พิชติ ๕ โรค ด้วยหลักโภชนาการ (อ้วน เบาหวาน ไขมัน มะเร็ง ความดันโลหิตสูง) สำ�หรับกลุม่ ข้าราชการ และสิทธิประกันสังคม ๖. โครงการสร้างสรรค์เมนูไข่ขาว สำ�หรับผู้ป่วยเบิกไข่ขาวเพิ่ม ๗. โครงการเมนูอาหารเลือกได้ในผู้ป่วย พิเศษ VIP ๘. ผลิตสื่อการสอนเคลื่อนที่ เพื่อใช้ใน การสอนผู้ป่วยเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคความดัน โลหิตสูงและโรคไต ฯลฯ ๙. โครงการทดลองปลูกหญ้าหวาน เพื่อใช้หญ้าหวานปรุงอาหารแทนน้ ำ � ตาลเพื่อลด ปริมาณการใช้น้ ำ � ตาลเลโวซานและน้ ำ � ตาลเทียม ๑๐. โครงการเพิ่มสารอาหารและ พลังงานอาหารเหลวข้นสำ�หรับผู้ป่วยที่กิน ได้ น้อยและผู้ป่วยหลังผ่าตัด 129
๑๑. ปรับเปลี่ยนแบบประเมินภาวะ โภชนาการ (Nutrition Alert Form) เพื่อ ประเมิน และติดตามภาวะโภชนาการของผู้ ป่วยอย่างครอบคลุม และแก้ปัญหาภาวะทุพ โภชนาการได้ทันท่วงที ๑๒. โครงการศูนย์ให้ความรู้ทางด้าน โภชนาการและโภชนบำ�บัดสำ�หรับผู้ป่วย/ญาติ และประชาชนผู้สนใจ ๑๓. จัดทำ�แผ่นรองถาดอาหาร “ถาด ความรู้ คู่คุณภาพ” สำ�หรับผู้ป่วยตึกพิเศษ ๑๔. ร่วมจัดแสดงผลงาน เรื่อง โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิต ๕ โรค ด้วย หลักโภชนาการ (อ้วน เบาหวาน ไขมัน มะเร็ง ความดันโลหิตสูง) ในงาน Quality Market ครั้งที่ ๒ Good Health For Good Life : สุขภาพดีชวี มี สี ขุ
การตรวจสารปนเปื้อนในวัตถุดิบ ก่อนนำ�มาปรุง - ประกอบอาหาร
เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ส่งวัตถุดิบ ตรวจสารปนเปื้อนที่ใช้ผลิตอาหาร ให้งานระบาด วิทยา ตรวจหาสารปนเปื้อน ๕ ตัวอย่าง ได้แก่ ๑.ฟอร์มาลิน ๒. บอร์แรกซ์ ๓. สารฟอกขาว ๔. สารกันรา ๕. ยาฆ่าแมลง พ.ศ. ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน ได้จัดอบรมวิธีตรวจสารปนเปื้อนใน วัตถุดิบ ๔ ชนิด โดยงานระบาดวิทยา เพื่อให้ ฝ่ายโภชนาการตรวจสารปนเปื้อนเองสัปดาห์ 130
ละ ๑ ครั้ง ส่วนยาฆ่าแมลงนั้น ทางงาน ระบาดวิทยาจะเป็นผู้ตรวจให้เดือนละ ๑ ครั้ง เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือและเวลาในการตรวจ นอกจากนี้ฝ่ายโภชนาการได้ให้ความ รู้ด้านโภชนาการ และ โภชนบำ�บัดกับองค์กร ภายนอก ดังนี้ ๑. โครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงานให้ ความรู้เรื่อง พฤติกรรมการบริโภคอาหารประจำ� วัน ณ บริษัท สยามคอมเพรสเซอร์ จำ�กัด ๒. โครงการส่งเสริมสุขภาพพนักงานให้ ความรูเ้ รือ่ ง พฤติกรรมการบริโภคอาหารประจำ�วัน ณ บริษัท SRW (วาโก้) ๓. ให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการสำ�หรับ เด็กวัยเรียน ณ โรงเรียนดาราสมุทรศรีราชา ๔. โภชนาการสำ�หรับพนักงานตรวจวัด ดัชนีมวลกาย และแนะนำ�โภชนาการ โครงการ good nutrition good health BMI Control ครั้งที่ ๒๕ ณ บริษัทไทออยล์ อย่างต่อเนื่อง ๕. บรรยายวิชาการทางด้านโภชนาการ โครงการลดอ้วนลดพุง จัดกิจกรรมกลุ่ม ณ บริษัท ทีไอพีเอส จำ�กัด ๖. บรรยายวิชาการ เรื่องโภชนาการ สำ�หรับผู้สูงอายุและโภชนาการสำ�หรับผู้ป่วยโรค เรื้อรัง ณ เทศบาลเมืองศรีราชา เป็นต้น
ผลงานที่ภาคภูมิใจ
ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ - พ.ศ. ๒๕๔๖ ผ่านการตรวจประเมิน ISO 9002: 1994 ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ - พ.ศ. ๒๕๔๙ ผ่านการตรวจประเมิน ISO 9001: 2000 ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ - พ.ศ. ๒๕๔๘ ผ่านการตรวจประเมิน HA ครั้งที่ ๑ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน ได้รับป้ายรับรองอาหารปลอดภัย (Food safety) ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ - ปัจจุบัน ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (Clean Food Good Taste) ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ - พ.ศ. ๒๕๕๒ ผ่านการตรวจประเมิน HA ครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน ได้รับป้ายรับรองมาตรฐานก๋วยเตี๋ยวอนามัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - พ.ศ. ๒๕๕๖ ผ่านการตรวจประเมิน HA ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ - พ.ศ. ๒๕๕๖ ผ่านการตรวจประเมิน Re-Accredit ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ผ่านการตรวจประเมินโรงครัวของโรงพยาบาลตาม มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานระดับดีมาก ประเภทรางวัล ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัลชนะเลิศ การดำ�เนินกิจกรรม ๕ ส. ประเภทหน่วยงานสนับสนุน ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัลพฤติกรรมการบริการเป็นเลิศ (ESB) ประเภทหน่วยงานสนับสนุน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ หน่วยงานพฤติกรรมดีเด่น อันดับ ๒ ประเภทหน่วยงานสนับสนุน ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ รางวัลชนะเลิศ ส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ รางวัลชมเชย การจัดนิทรรศการ งานมหกรรมคุณภาพในโรงพยาบาล ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๒ การประกวดสำ�รับอาหารงานสงกรานต์ ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ รางวัลชมเชยการประกวดสำ�รับอาหาร งานสงกรานต์ศรีมหาราชาและ ประเพณีกองข้าว ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ รางวัลชนะเลิศภาคกลาง การประกวดอาหารว่างเพิ่มพลังงาน เพื่อสุขภาพ คนไทย รับพระราชทานรางวัลจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ 131
ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การประกวดสำ�หรับอาหาร งานสงกรานต์ ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว รางวัลชนะเลิศ การแข่งขันการทำ�อาหารจากเนื้อแพะ รายการข้าวมันแกงแพะ รางวัลรองชนะเลิศ การแข่งขันการทำ�อาหารจากเนือ้ แพะ รายการข้าวหมกแพะ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ ๑ การประกวดทำ�อาหารพืน้ บ้าน ประเภทขนมเบือ้ ง
ฝ่ายยาและเวชภัณฑ์
เมื่อกล่าวถึง โรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา หรือโรงพยาบาล สมเด็จ ณ ศรีราชา คนส่วนใหญ่จะนึกถึงโรง พยาบาลที่อยู่ติดทะเลมีบรรยากาศที่สวยงาม มีตึกเก่าแบบโบราณซึ่งในปัจจุบันยังคงรักษา สภาพไว้ ฝ่ายยาและเวชภัณฑ์เป็นส่วนหนึ่งของ โรงพยาบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน ปี พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งแรกใช้ชื่อว่า “ห้องยา” โดย มีนางสาวสุทิน เทพยสุวรรณ อยู่ในตำ�แหน่ง เภสัชกรและ เป็นหัวหน้าห้องยาคนแรก มี พนักงานห้องยา ๒ คน และ คนงาน ๑ คน ใน สมัยนั้นโรงพยาบาลตั้งอยู่ที่ตึกพระพันวัสสา มีหอ้ งฉุกเฉิน ๑ ห้อง ห้องตรวจผูป้ ว่ ยนอก ๑ ห้อง ห้องยา และ ห้อง LAB มีนายแพทย์สกุ รี สืบสงวน เป็นผูอ้ �ำ นวยการฯ พยาบาลมีเพียง ๕ คน ผูป้ ว่ ย ยังไม่มากเราจึงรู้จักกันหมดและอยู่กันแบบพี่ ๆ น้อง ๆ 132
ในสมัยนั้น โรคที่ผู้ป่วยเป็นก็แล้วแต่ ฤดูกาล เช่น ฤดูหนาว ฤดูฝนก็เป็นไข้หวัด ฤดูรอ้ น ก็ทอ้ งเสีย แต่จะมีผปู้ ว่ ยเป็นไข้มาลาเรียกันมาก เนื่องจาก ตอนนั้นยังไม่ค่อยเจริญ ด้านหลัง ตึกเสียงหะรินสุตยังเป็นป่ามันมีสภาพรก มีทง้ั ลิง และงูกะปะ เวลาเดินมาทำ�งานต้องระมัดระวัง เป็นพิเศษ ห้องยาในเวลานั้นเป็นห้องยาเล็ก ๆ มีห้องเก็บยาอยู่ใต้ดิน หัวหน้าห้องยาทำ�หน้าที่ จัดซื้อ ควบคุม Stock ยาและปรุงยา พนักงาน ห้องยาจัดยาและจ่ายยา เวลามีคนไข้ยงุ่ ๆ ก็จะมา
ช่วยกันทำ�งาน เวลาอธิบายยาก็พูดคุยกันแบบ เรียบง่าย แพทย์จะสั่งยาลงบนกระดาษแล้วส่งมา ที่ห้องยา ใบสั่งยาจะมีรายการยาไม่มาก ยาฆ่าเชื้อก็จะมี Pennicillin V 400,000 Chloramphenicol Tetracycline ยาแก้ปวดจะ ใช้ Aspirin ถ้ามีผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะมาหา คุณหมอสุกรีก็จะจ่ายยา Antacid Diazepam ๒ mg และ ยาหม่องให้ไปทาท้อง มียาน้ ำ � ที่เรา ปรุงขึ้นมาเอง เช่น M.Carminative Calamine lotion ส่วนยาเม็ดจะเป็นยาเม็ดเปลือยไม่มี แบบแผง ซองยาใช้ซองกระดาษไม่มีข้อความ พิมพ์วิธีกิน พนักงานต้องเขียนวิธีกินให้ผู้ป่วยเอง ใส่ยาแล้วพับส่วนบนซองปิดไม่ให้ยาหล่นออก นอกถุง เวลาว่างคนงานจะทำ�กาวแป้งเปียกให้ พนักงานนั่งพับถุงมีก้นไว้ใส่ยาให้กับผู้ป่วย การ คิดเงินผู้ป่วยใช้ลูกคิดดีดเอา ห้องยาเป็นคนเก็บ เงินค่ายาเอง ค่ายาในสมัยนั้นก็ประมาณ ๒๐ บาทต่อคน ซึง่ บางครัง้ อยูป่ ว่ ยก็ไม่มเี งินจ่ายค่ายา เราก็สงเคราะห์ให้ สิทธิของผู้ป่วยจึงมีแค่เงินสด และสงเคราะห์ รายได้ค่ายารวมแล้วเก็บได้วันละ ประมาณ ๖๐๐ บาทต่อวัน ต่อมาก็เพิ่มขึ้นเป็น วันละ ๑,๐๐๐ บาทและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ที่ตั้งของห้องยาอยู่ริมทะเลจึงมีอากาศ ที่เย็นสบาย ลมพัดปลิว เวลาจ่ายยาให้ผู้ป่วยจะ ใช้หินวางทับที่ใบยาและซองยากันปลิว ปรากฏ
ว่าผู้ป่วยถือหินกลับบ้านและกลับมาถามว่ายานี้ กินยังไง หรือวางแม่กุญแจล็อคห้องยาซึ่งทำ�ด้วย ทองเหลืองมีที่ล็อค ผู้ป่วยหยิบกลับไปบ้านแล้ว นำ�กลับมาถามว่ายาหยอดตาทำ�ไมเขย่าขวดแล้ว ไม่มียาออกมาเลย เราก็ขำ�กันไป หรือผู้ป่วยที่ เป็นเด็ก จ่ายยาน้ ำ � ให้แต่ไม่มีช้อนชาแจกให้ผู้ ป่วยเหมือนสมัยนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช้มือ เปิบข้าว มีช้อนไว้ตักน้ ำ � แกง ก็บอกกับแม่เด็กว่า ยานี้กินครั้งละ ๑ ช้อนชานะ แม่เด็กถามกลับว่า ๑ ช้อนชาเท่ากับช้อนตักแกงหรือเท่าทัพพีตกั ข้าว เราต้องบอกให้ไปขอดูช้อนกาแฟที่ร้านคนจีน ขายกาแฟในสมัยนั้นแทน
133
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เริม่ มีผปู้ ว่ ยเพิม่ มากขึน้ ห้องยาจึงรับพนักงานห้องยาเพิ่มอีก ๑ คนสลับ กันทำ�งาน ให้บริการทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วย ในซึ่งในตอนนั้นมีตึกตันฉื่อฮ้วง เป็นตึกผู้ป่วย เด็กและผู้หญิง ส่วนผู้ป่วยชายอยู่ตึกตันลิบบ๊วย เวลาอยูเ่ วรจะอยูต่ ง้ั แต่เวลา ๑๖.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. เวลามีผู้ป่วยมาก็จะให้ยามเดินถือตะเกียงไป ตะโกนเรียกหมอที่บ้านพัก บางครั้งหมอก็มาตรวจ กันทั้งชุดนอนนั่นแหละ ผู้ป่วยก็จะมี ๑ - ๒ คน เท่านั้น พอออกเวรก็พัก ๑ วัน พนักงานที่เหลือ ก็ช่วยกันทำ�งาน จนในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จึงเริ่มมี ค่าอยู่เวรซึ่งก็ได้เวรละ ๑๐ บาท โดยไม่ต้องพักเวร พ.ศ. ๒๕๑๔ โรงพยาบาลฯ ได้ขยายไป สร้างตึกอัยิกาเจ้า เพื่อรองรับผู้ป่วยนอกที่เพิ่ม มากขึ้น ห้องยาจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตึกนี้และเริ่มรับ เภสัชกรและพนักงานห้องยาเพิ่มมากขึ้น ส่วน การทำ�งานแบ่งออกเป็น ห้องจ่ายยา ห้องคลังยา 134
และห้องผลิตยา เริ่มมีเครื่องออกบิลแบบกด มี เครื่องคิดเลข แต่การคิดราคายายังคงต้องใช้วิธี การจำ�ราคายาแต่ละตัวโดยมีสมุดคิดราคายาไว้ ให้เปิดดู ต่อมา พ.ศ. ๒๕๓๕ หัวหน้าห้องยาขอ ให้แยกการเก็บเงินออกจากห้องยาโดยให้แผนก การเงินและบัญชีมาทำ�การเก็บเงินเองเพื่อความ ชัดเจนและโปร่งใส พ.ศ. ๒๕๓๖ มีการแยกคลังยา และห้องจ่ายยาออกเป็น ๒ ส่วน คือ ห้องจ่ายยาสภา สำ�หรับผู้ป่วยที่เป็นเจ้าหน้าที่และครอบครัว ผู้ป่วยสิทธิสงเคราะห์ ส่วนห้องจ่ายยาหมุนเวียน สำ�หรับผู้ป่วยที่ใช้สิทธิเงินสดและผู้ป่วยมีใบส่งตัว ที่เรียกเก็บเงินได้ แพทย์ยังคงเขียนใบสั่งยาด้วย ลายมือ ซองยาถูกพัฒนาเป็นซองพลาสติกแบบ ซิปพิมพ์วิธีการใช้ยา เช่น ยาแก้ปวดใช้ซองสี เหลืองมีข้อความทุก ๔ – ๖ ชั่วโมงเวลาปวด / มีไข้ แต่ห้องยายังคงต้องเขียนชื่อผู้ป่วยและวิธี รับประทานยา เองด้วยลายมือ เมื่อเริ่มมีการขยายตึกเพิ่มมากขึ้น ห้อง ฉุกเฉินถูกย้ายไปอยู่ตึกสิริกิติ์ ห้องจ่ายยาจึงได้ ย้ายมาอยู่แทนห้องฉุกเฉินและได้เปิดให้บริการ ผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน แต่ยังคงอยู่ รวมห้องเดียวกัน ห้องจ่ายยาผู้ป่วยในใช้ห้อง ด้านหลัง ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกใช้ห้องด้านหน้า ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้เริ่มนำ�เอาระบบ คอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลฯ ห้องยา จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องนำ�ระบบคอมพิวเตอร์เข้า
มาใช้เพื่อพัฒนางาน ซึ่งทำ�ให้ห้องยาสามารถ บริการผู้ป่วยได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น การคิดราคายา วิธีการใช้ยา ชื่อผู้ป่วย ประวัติของผู้ป่วยในการใช้ ยาสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามา เก็บข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ตรวจสอบค้นหาง่าย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การอ่านลายมือ แพทย์ การเขียนซองยา หรือแม้แต่การคิดราคา ด้วยวิธีจดจำ�ได้เปลี่ยนเป็นการใช้คอมพิวเตอร์เข้า มามีบทบาทแทนเกือบทั้งหมด ทำ�ให้ห้องยา เปลีย่ นแปลงและพัฒนาไปพร้อมกับโรงพยาบาลฯ ในภายหลัง ชื่อ “ห้องยา” ถูกเปลี่ยนมา เป็นแผนกยาและเวชภัณฑ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ตำ�แหน่งพนักงานห้องยาถูกเปลี่ยนเป็นเจ้าหน้าที่ ห้องยา และ พ.ศ. ๒๕๔๐ แผนกยาและเวชภัณฑ์ ได้เปลี่ยนเป็น ฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ เจ้าหน้าที่ ห้องยาถูกเปลี่ยนเป็นผู้ช่วยเภสัชกร พ.ศ. ๒๕๔๑ คลังยาสภาและคลังยาหมุนเวียนถูกยุบ และ เปลี่ยนเป็นคลังยาและคลังเวชภัณฑ์แทน เพื่อ แยกคลังให้เป็นไปตามลักษณะของยาและ เวชภัณฑ์ทจ่ี ดั ซือ้ ซึง่ สะดวกและง่ายต่อการตรวจสอบ ฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ได้เติบโตขึน้ ในทุกด้าน ดังจะเห็นได้จาก ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ทางโรงพยาบาลฯ ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 9002 ทางฝ่ายยาฯ ได้เป็นร่วมเป็นส่วนหนึง่ ของโรงพยาบาลเพือ่ พัฒนา คุณภาพงานโรงพยาบาลให้ได้ตามหลักมาตรฐาน
สากล และได้จัดทำ�บัญชีรายการยาโรงพยาบาลที่ อ้างอิงตามบัญชียาหลักแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเหมือนกับโรงพยาบาลอื่นในสังกัดกระทรวง สาธารณสุขและผู้ป่วยสามารถเบิกค่าใช้จ่ายด้าน ยาตามระเบียบกรมบัญชีกลางได้ ปัจจุบันฝ่าย ยาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น ๗๖ คน ประกอบด้วย เภสัชกร ๒๔ คน ผู้ช่วยเภสัชกร ๔๗ คน และ นักการภารโรง ๕ คน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ ภายในฝ่าย ออกเป็น ๕ งาน คือ ๑. งานคลังยาและคลังเวชภัณฑ์ มีหน้าทีร่ ับผิดชอบดูแลการจัดซื้อ จัดหา ยาและเวชภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาใช้ในการรักษา พยาบาลผู้ป่วยให้เพียงพอและทันเวลา อีกทั้งยัง ต้องมีการจัดซือ้ ยาช่วยชีวติ และ Antidote ต่าง ๆ ให้เพียงพอ และยังต้องสำ�รองยาและเวชภัณฑ์ใน ภาวะที่มีการระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัด ใหญ่สายพันธ์ใหม่ H1N1 รวมถึงการจัดหายา ต่าง ๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำ�นักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ และสำ�นักงานประกัน สังคมมาให้บริการแก่ผู้ป่วย นอกจากนี้ยังต้อง จัดเก็บดูแลรักษายาและเวชภัณฑ์ให้ถูกต้องตาม มาตรฐานและมีระบบการเฝ้าระวังไม่ให้ยาและ เวชภัณฑ์หมดอายุ ๒. งานผลิตยาทั่วไปและปราศจากเชื้อ งานผลิตยาของโรงพยาบาลในอดีตมี 135
การผลิตยารับประทานและยาใช้ภายนอกตาม เภสัชตำ�รับที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งเป็น ตำ�รับยาที่ไม่ซับซ้อนมาก มีการพัฒนางานมา เรื่อย ๆ จนถึงในช่วง ๒๐ ปีมานี้ สังคมเมืองของ อำ�เภอศรีราชาได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น มีประชากร อาศัยอยู่มาก ทำ�ให้มีจำ�นวนผู้ป่วยมารับบริการ มากขึ้นทุกปี ทำ�ให้หน่วยผลิตยาต้องมีการขยาย การผลิตยาให้มีปริมาณและความหลากหลายของ เภสัชตำ�รับมากขึ้น เพื่อรองรับจำ�นวนผู้ป่วย ที่มารับบริการ ซึ่งในปัจจุบันเรามีนโยบายผลิตยา ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) โดยยาที่ผลิตนั้นไม่มี จำ�หน่ายหรือผลิตได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด ทัว่ ไป ได้แก่ ยารับประทาน ยาใช้ภายนอก ยาฆ่าเชือ้ และยาปราศจากเชื้อ เช่น การเตรียมสารอาหาร ให้ทางหลอดเลือดดำ� (TPN) ยาเคมีบำ�บัด (Cytotoxic Drugs) ยาหยอดตา เป็นต้น ยาเตรียม ตำ�รับพิเศษสำ�หรับผูป้ ว่ ยเฉพาะราย และการแปรรูป ของยาเพื่อเตรียมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยใช้ความรู้ความสามารถของเภสัชกรที่ได้รับ การฝึกฝนจากสถาบันที่มีมาตรฐานและเป็นที่ ยอมรับในระดับสากล บุคลากรของงานผลิตยาทั่วไปและยา ปราศจากเชื้อ มีความมุ่งมั่น ตั้งใจและเต็มใจที่จะ ปฏิบัติหน้าที่ตอบสนองความต้องการใช้ยาของ 136
ผู้ป่วยให้มีเพียงพอ รวดเร็ว ทันเวลา นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาปรับปรุงสูตรตำ�รับยาเตรียมให้ได้ คุณภาพตามมาตรฐานและทันสมัยอยู่เสมอ ๓. งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกและ ผู้ป่วยใน งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก เป็นหน่วย งานที่สำ�คัญหน่วยหนึ่งในฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ มีหน้าทีห่ ลักในการให้บริการจ่ายยาแก่ผปู้ ว่ ยนอก ทุกราย โดยมีเป้าหมายให้ผู้มารับบริการได้รับ บริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว และมีความพึงพอใจต่อ การบริการมากที่สุด จากอดีตมีห้องจ่ายยาผู้ป่วย นอกอยู่เพียงห้องเดียว แต่ปัจจุบันได้มีการขยาย ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอกออกเป็น ๓ ห้อง ได้แก่ ห้องจ่ายยา ชั้น ๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ห้อง จ่ายยา ชั้น ๒ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี และ ห้อง จ่ายยา GPI ตึกอัยิกาเจ้า เพื่อรองรับกับจำ�นวน ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันให้ บริการผู้ป่วยประมาณ ๔ แสนกว่ารายต่อปี นอกจากการให้บริการที่มีคุณภาพแล้ว งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก ยังเน้นเรื่องการให้ คำ�ปรึกษาด้านยาแก่ผปู้ ว่ ย ได้แก่ คลินกิ วาร์ฟาริน คลินิกหอบหืด และ คลินิก HIV เพื่อให้เกิดการใช้ ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด อันส่งผลให้ผู้มารับ บริการหายจากโรคภัยที่เป็นอยู่ด้วยความมุ่ง มั่นและตั้งใจของเจ้าหน้าที่ต่องานที่ท�ำ ทำ�ให้
ในปัจจุบันหน่วยงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก สามารถทำ�งานรองรับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และความตั้งใจดังกล่าวยังคงสานต่อไปเพื่อผู้ป่วย และเร่งพัฒนางานบริการจ่ายยาให้ดียิ่งขึ้น เพื่อ ให้ผู้มารับบริการได้รับยาที่ถูกต้อง รวดเร็ว และ มีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการ ทำ�งาน งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน ให้ความ สำ�คัญกับผู้ป่วยในเรื่องการเข้าถึงการให้บริการ ด้านยามากขึ้น มีการบริหารจัดการเรื่องการ ส่งต่อข้อมูลด้านยาของผู้ป่วยอย่างเป็นรูปธรรม ถูกต้อง ครบถ้วน ระหว่างห้องยาและหอผู้ป่วย เพื่อให้ทีมสหสาขาวิชาชีพนำ�ไปใช้ดูแลผู้ป่วยให้ มีประสิทธิภาพ ได้แก่ การทำ�ระบบการกระจาย ยาแบบ Daily Dose โดยใช้รถจ่ายยาอัจฉริยะ ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมนำ�ร่อง การทำ�เรื่องการ ประสานรายการยาผู้ป่วยแรกรับ (Medication Reconciliation) รวมทั้งการมีระบบเฝ้าระวัง การบริการจัดการด้านยา เช่น การตรวจสอบยา หมดอายุทุก ๓ เดือน การทำ�ข้อมูลฉลากช่วย ของยาฉีดที่มีความเสี่ยงต่อการบริหารยาคลาด เคลื่อน ปัจจุบันให้บริการผู้ป่วยประมาณ ๒ แสนกว่ารายต่อปี
งานบริการจ่ายยาผูป้ ว่ ยใน ยังตระหนัก ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในเรื่องภาวะโลกร้อน ได้จดั ทำ�โครงการลดโลกร้อนด้วยถุงผ้าใส่ยา เพือ่ ช่วยรณรงค์ลดการใช้ถุงพลาสติกในโรงพยาบาล ช่วยโรงพยาบาลประหยัดงบประมาณ และสร้าง ความตระหนักเรื่องการประหยัดทรัพยากรใน หน่วยงาน ๔. งานบริบาลเภสัชกรรม เป็นการปฏิบตั งิ านของวิชาชีพเภสัชกรรม ที่มุ่งเน้นไปที่ผลการรักษาผู้ป่วยด้วยยา โดย เภสัชกรมีหน้าที่หลักในการวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยว กับยา (Pharmaceutical Diagnosis) เพื่อหา ทางแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดจากยา (Drug Related Problems ; DRP) ในผู้ป่วยเฉพาะราย อย่างเหมาะสมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ เช่น การ ติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ สุขภาพ (Adverse Product Reaction; APRs) การเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาที่มีความเสี่ยง สูง (High Alert Drug) การให้ค�ำ แนะนำ�ปรึกษา การใช้ยาให้ผู้ป่วย โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (MI) และ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) นอกจากนั้นยังมี บทบาทในการนำ�ปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาที่พบ ผลักดันให้เป็นนโยบายเพิ่มความปลอดภัยและมี ประสิทธิภาพในการใช้ยาในผู้ป่วยรายอื่น ๆ ต่อไป 137
๕. งานวิชาการและเภสัชสนเทศ มีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการรับ-ตอบ คำ�ถามทางด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพแก่บุคลากร ทางการแพทย์และผู้ป่วย โดยสามารถให้บริการ ได้อย่างรวดเร็วทันต่อเวลาที่ผู้รับบริการต้องการ ใช้ข้อมูล และยังมีการจัดทำ�องค์ความรู้และยัง สนับสนุนงานบริการทางคลินิก (Clinic Service) เพือ่ ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของผูป้ ว่ ย รวมถึง การสนับสนุนข้อมูลยา (Drug Monograph) แก่ คณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำ�บัด เพื่อ เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาปรับปรุงบัญชี รายการยาของโรงพยาบาลและการกำ�หนด นโยบายของโรงพยาบาล อีกทั้งจัดเตรียมและ ค้นคว้าข้อมูลทางยาเพื่อสนับสนุนงานเภสัชกรพี่ เลี้ยงที่ประจำ�หอผู้ป่วยในการแก้ปัญหาด้านยาที่ เกิดขึ้น ตลอดจนนำ�ข้อมูลความรู้ด้านยาไปให้ แก่พยาบาลที่ปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วย
138
ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร
ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร เดิมชื่อว่าห้อง พยาธิ ตัง้ อยูท่ ต่ี กึ พระพันวัสสา เริม่ แรกมีเจ้าหน้าที่ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑ คน ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ได้ คุณพิทักษ์ พฤฒิสุนทร มาเป็นนัก เทคนิคการแพทย์ และ เป็นหัวหน้าคนแรกใน หน่วยงาน และ ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยงานจากเดิม เป็นแผนกเทคนิคการแพทย์ งานที่เปิดให้บริการ ในสมัยนั้น คือ งานจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก และ งานชีวเคมีคลินิก พ.ศ. ๒๕๔๐ มีการปรับเปลี่ยน โครงสร้างของแผนกโดยเปลี่ยนชื่อเป็น “ฝ่าย เวชศาสตร์ชันสูตร” เพิ่มนักเทคนิคการแพทย์ เป็น ๖ ตำ�แหน่งและเปิดให้บริการตรวจ วิเคราะห์เพิ่มเติม ได้แก่ งานธนาคารเลือด งาน จุลชีววิทยาคลินกิ และงานภูมคิ มุ้ กันวิทยาคลินกิ พ.ศ. ๒๕๔๖ ขยายพื้นที่การทำ�งานและห้องเจาะ เลือดเพื่อรองรับจำ�นวนผู้ใช้บริการที่เพิ่มมากขึ้น และในปีเดียวกันนี้เองเริ่มนำ�ระบบบริหารงาน คุณภาพ ISO 9002 มาใช้เพื่อเป็นการประกัน ผลการตรวจวิเคราะห์ว่าได้ตามมาตรฐานถูกต้อง ตามหลักวิชาชีพ พ.ศ. ๒๕๔๗ เนื่องจากมีการขยายงาน ธนาคารเลือดจึงย้ายงานจุลชีววิทยาคลินิกจาก ตึกอัยยิกาเจ้า ไปยังชั้นใต้ดินตึกสิริกิติ์ พร้อม
ทั้งเริ่มจัดทำ�ระบบคุณภาพตามมาตรฐานงาน เทคนิคการแพทย์ ซึ่งสมัยนั้นยังอยู่ภายใต้ การดูแลของสมาคมเทคนิคการแพทย์แห่ง ประเทศไทย (ปัจจุบันเป็นสภาเทคนิคการแพทย์ แห่งประเทศไทย) พ.ศ. ๒๕๔๘ ผ่านการรับรองห้องปฏิบัติ การตามมาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ ถือเป็น ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์แห่งแรกในภาค ตะวันออกที่ได้รับรองมาตรฐานดังกล่าว พ.ศ. ๒๕๔๙ เปิดให้บริการเจาะเลือด ณ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี พร้อมกับงานห้องปฏิบัติ การผู้ป่วยนอกเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วใน การตรวจวิเคราะห์ให้กับผู้ป่วยนอก
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตรได้เพิ่มศักยภาพ ของห้องปฏิบัติการโดยการปรับเปลี่ยน เทคโนโลยีให้ทันสมัยตลอดเวลา เป็นเครื่อง ตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูงใน ทุกหน่วยงาน เช่นงานตรวจวิเคราะห์ทางชีวเคมี งานตรวจวิเคราะห์ทางด้านโลหิตวิทยา งานตรวจ วิเคราะห์ทางด้านจุลชีววิทยาคลินิก งานตรวจ ทางด้านธนาคารเลือดเพื่อรองรับผู้มารับบริการ ที่เพิ่มขึ้น ทางด้านงานบริการเจาะเลือด ได้นำ� ระบบบริหารสิ่งส่งตรวจอัตโนมัติ และเพิ่ม
139
ระบบบริ หารจั ดการสิ่งส่งตรวจอั ตโนมัติ BC-ROBO787System
ศัระบบบริ กยภาพการตรวจทางห้ องปฏิ ิการเพิ่มมากขึ ้น ั ติ หารจั ดการส ิ ่ งสบ่ ัตงตรวจอั ตโนม โดยการจัดตั้งการตรวจวิเคราะห์ทางอณูชีววิทยา เพื่อตรวจนับBC-ROBO787System จำ�นวนไวรัสเอชไอวี เพื่อติดตามผล การรักษาผู้ป่วยเอดส์เป็นต้น ปัจจุบันมีบุคลากรจำ�นวน ๔๑ คน ประกอบด้วย นักเทคนิคการแพทย์ ๑๙ คน เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๒๐ คน และพนักงานห้องปฏิบัติการ ๒ คน มีเป้าหมาย คุณภาพ คือให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ถูกต้อง รวดเร็ว ปลอดภัย และได้มาตรฐานวิชาชีพเทคนิค การแพทย์ ภายใต้พันธกิจ คือให้บริการตรวจ วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการแก่ผู้มารับบริการ ด้วยความถูกต้องบนมาตรฐานวิชาชีพเทคนิคการ แพทย์ พัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาบุคลากรและ วิทยาการให้ทันสมัย เพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรค วางแผน ติดตามการรักษาและป้องกันโรคให้ สอดคล้องกับนโยบายและพันธกิจของโรงพยาบาล พร้อมให้ความร่ วมมือหารจั กับหน่ดการส วยงานที ่ยวข้อง ตโนมัติ ระบบบริ ิ ่ งส่เ่กีงตรวจอั
BC-ROBO787System
ระบบบริหารจัดการสิ่งส่งตรวจอัตโนมัติ BC-ROBO787System
140
เทคโนโลยี จุลชีววิทยา
เทคโนโลยี ชีวเคมี
เทคโนโลยี ภูมิคุ้มกันวิทยา
เทคโนโลยี ธนาคารเลือด
เทคโนโลยี จุลทรรศนศาสตร์
เทคโนโลยี ห้องปฏิบัติการ OPD และงานบริการเจาะเลือด
141
ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายวิชาการ ได้จัดตั้งขึ้นมาเป็นแผนก วิชาการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ ในขณะนั้น นายแพทย์สมเกียรติ ธรรมปรีชาไว อายุรแพทย์ รับเป็นผู้ดูแลและได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าแผนก วิชาการคนแรก โดยรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ทางวิชาการของโรงพยาบาล งานเวชนิทัศน์และ โสตทัศนศึกษา งานวางแผนและประเมินผล
นายแพทย์สมเกียรติ ธรรมปรีชาไว หัวหน้าแผนกวิชาการคนแรก
นายแพทย์สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล หัวหน้าฝ่ายวิชาการ พ.ศ. ๒๕๕๑
142
งานห้องสมุด งานศูนย์ข้อมูลข่าวสาร งานด้าน การประสานงานและงานเลขานุการ รวมถึง โครงการศึกษา โดยการฝึกอบรม การจัดสัมมนา ประชุมวิชาการ ประชุมปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ บุคลากรในขณะนั้น มีเพียง ๑๐ คน แบ่งเป็น หัวหน้าฝ่าย ๑ คน วิทยาจารย์ ๑ คน เจ้าหน้าที่ โสตทัศนศึกษา ๑ คน เจ้าหน้าที่ระบบงาน คอมพิวเตอร์ ๑ คน (ต่อมาได้ย้ายออกไปประจำ� ที่หน่วยคอมพิวเตอร์) บรรณารักษ์ ๑ คน เจ้า หน้าที่ธุรการ ๒ คน เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ๑ คน นายช่างไฟฟ้า ๑ คน (ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นนาย ช่างศิลป์) และนักการภารโรง ๑ คน ใช้พื้นที่ อาคารเกษตร สนิทวงศ์ เป็นสำ�นักงานในการ ปฏิบัติงาน และเปลี่ยนชื่อมาเป็นฝ่ายวิชาการ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยมีความรับผิดชอบดังเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ โรงพยาบาลได้ มีความมุ่งมั่นที่จะให้โรงพยาบาลได้รับการรับรอง คุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาล จึงเริ่มดำ�เนิน การกิจกรรมคุณภาพโรงพยาบาล พร้อมจัดตั้ง งานพัฒนาคุณภาพ มารับผิดชอบการดำ�เนินการ ต่าง ๆ โดยนายแพทย์สมเกียรติ ธรรมปรีชาไว รับตำ�แหน่งผู้จัดการศูนย์คุณภาพเพิ่มอีก ๑ ตำ�แหน่ง และมีการเปิดศูนย์พัฒนาคุณภาพ อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ และสังกัด อยู่ในฝ่ายวิชาการ ต่อมาเมื่อภารกิจชัดเจนขึ้นจึง
ได้ย้ายงานออกมาเป็นศูนย์พัฒนาคุณภาพ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ขึ้นตรงต่อผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ฝ่ายวิชาการ และเปลี่ยนเป็นกลุ่มงานพัฒนา คุณภาพใน พ.ศ. ๒๕๕๓ ขึน้ ตรงต่อรองผูอ้ �ำ นวยการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ทางโรงพยาบาลได้เห็น ความสำ�คัญในการเพิ่มศักยภาพทางด้านการ แพทย์ จึงมีแผนในการขอความร่วมมือเป็น สถาบันร่วมผลิตแพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก กับมหาวิทยาลัยบูรพา ได้ฝากงานการเตรียม ความพร้อมไว้กับฝ่ายวิชาการ เพื่อให้การดำ�เนิน การเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์เพิม่ เพือ่ ชาวชนบท ลุล่วงในเบื้องต้น และมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน ทำ�ให้บคุ ลากรในฝ่ายวิชาการต้องเสียใจครัง้ ยิง่ ใหญ่ เนื่องจากนายแพทย์สมเกียรติ ธรรมปรีชาไวได้ เสียชีวิตอย่างกระทันหัน ในวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ทำ�ให้การพัฒนาของฝ่ายวิชาการได้ ชลอไปบ้าง ในระหว่างนั้นนายแพทย์วันชัย นัยรักษ์เสรี ได้มารักษาการแทนหัวหน้าฝ่าย วิชาการ และช่วยดูแลการปฏิบัติงานในฝ่ายให้ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เนื่องด้วยปัญหาทาง ด้านสุขภาพ นายแพทย์วันชัย นัยรักษ์เสรี จึงได้ มอบหมายให้นางสาวรัศศรี ตันอนุชิตติกุล รักษา การแทนหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จนกระทั่ง วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ โรงพยาบาลได้แต่งตั้งนาย แพทย์สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล มาดำ�รงตำ�แหน่ง
รักษาการหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และ ดำ�รง ตำ�แหน่งเป็นหัวหน้าฝ่ายวิชาการ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เมื่อโรงพยาบาลได้รับความร่วมมือ และร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงเรื่องความ ร่วมมือในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ระหว่าง สภากาชาดไทย และมหาวิทยาลัยบูรพา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ โรงพยาบาลได้แยกโครงสร้าง งานแพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกออกมา และ ตั้งเป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก ในปี เดียวกัน พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อสร้างบรรยากาศ ทางวิชาการ และ พัฒนางานทางด้านวิชาชีพ เพิ่มมากขึ้น ได้มีการจัดตั้งงานวิจัยขึ้นในฝ่าย วิชาการ เพื่อพัฒนางานวิชาชีพและเป็นแหล่ง สนับสนุนในการสร้างผลงานวิจัยให้กับบุคลากร
นายแพทย์คงศักดิ์ อุไรรงค์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ พ.ศ. ๒๕๕๕
143
ให้ค�ำ ปรึกษากับบุคลากรในด้านที่เกี่ยวข้องกับ งานวิจัยโดยเฉพาะ ตลอดจนสนับสนุนในการ เผยแพร่และการนำ�เสนอผลงานวิจัย ซึ่งจะ ทำ�ให้บุคลากรมีการพัฒนาการปฏิบัติงานสู่งาน วิจัยเพิ่มขึ้น มีการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วย เพิ่มศักยภาพด้านการรักษา ค้นหาความเสี่ยง ป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพ โดยมีผลงาน วิจัยที่มีการเผยแพร่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ตลอดจนสร้างศรัทธาของประชาชนต่อหน่วยงาน ในสังกัดของสภากาชาดไทย เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ โรงพยาบาลได้แต่งตัง้ นายแพทย์คงศักดิ์ อุไรรงค์ มาดำ�รงตำ�แหน่งรักษาการหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และแต่งตั้งให้ด�ำ รงตำ�แหน่งหัวหน้าฝ่ายวิชาการ เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ และได้ เริ่มมีการทบทวนภาระงานและพัฒนาการปฏิบัติ งานอย่างเป็นรูปธรรมอีกครั้ง ฝ่ายวิชาการได้มีวิวัฒนาการเติบโตอย่าง เป็นลำ�ดับ ปัจจุบันมีบุคลากร จำ�นวน ๑๗ คน แบ่งเป็น หัวหน้าฝ่าย ๑ คน พยาบาล ๒ คน (ยืมอัตรากำ�ลังมาจากฝ่ายการพยาบาล ๑ คน) วิทยาจารย์ ๓ คน เจ้าหน้าทีโ่ สตทัศนศึกษา ๒ คน บรรณารักษ์ ๑ คน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๑ คน เจ้าหน้าทีธ่ รุ การ ๔ คน นายช่างศิลป์ ๑ คน เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ๑ คน และ นักการภารโรง 144
๑ คน ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญใน การพัฒนาบุคลากร เพื่อให้บุคลากรทุกระดับใน โรงพยาบาลมีองค์ความรู้ ทักษะและทัศนคติ ที่ดี สามารถปฏิบัติงานและพัฒนางานของตน ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเต็มศักยภาพ สอดคล้องกับนโยบายของโรงพยาบาล และมี พันธกิจ ในการสนับสนุน ส่งเสริม กระตุ้น ชี้นำ� รวบรวม เผยแพร่องค์ความรู้ และ สร้างงาน วิชาการ ตลอดทั้ง สนับสนุนให้เกิดงานวิจัย ให้ แก่บุคลากรทุกระดับในโรงพยาบาล เพื่อสนอง ตอบตามนโยบายของโรงพยาบาล มีการแบ่งงาน ในฝ่ายออกเป็น ๔ งาน ดังนี้ ๑. งานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดำ�เนินงานและสนับสนุนงานพัฒนา บุคลากร ตั้งแต่ค้นหาความจำ�เป็นในการพัฒนา วางแผนพัฒนาบุคลากร ดำ�เนินการตามแผนที่ วางไว้ และ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติ งานตามแผน ภายใต้ทรัพยากรที่สนับสนุน
๒. งานเวชนิทัศน์และโสตทัศนศึกษา ดำ�เนินงานออกแบบกราฟฟิคทาง คอมพิวเตอร์ งานถ่ายภาพทางการแพทย์ การเขียนภาพทางการแพทย์ งานผลิตสื่อสิ่ง พิมพ์ทางวิชาการ และ งานโสตทัศนูปกรณ์/ ห้องประชุม ๓. งานห้องสมุด ดำ�เนินงานจัดหาทรัพยากรห้องสมุด งานเทคนิคห้องสมุด งานบริการห้องสมุด งานธุรการห้องสมุด และงานสารบรรณ ต่าง ๆ ประชาสัมพันธ์ จัดทำ�สถิติ ดูแลพัสดุ ครุภัณฑ์
๔. งานวิจัย ดำ�เนินงานทำ�การวิจัย ฝึกอบรม และ พัฒนาให้เกิดงานวิจัยร่วมกับวิชาชีพอื่น แบบ สหสาขาวิชาชีพ ฝ่ายวิชาการ เป็นหน่วยงานที่ด�ำ เนิน การจัดทำ�แผนพัฒนาบุคลากรของโรงพยาบาล เพื่อพัฒนาความรู้ มีทักษะและทัศนคติที่ดีให้แก่
บุคลากรทุกระดับ พร้อมทั้งอำ�นวยความสะดวก และสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาบุคลากรใน ด้านต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรสามารถมีความรู้และ ทักษะเพิ่มขึ้น เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน รวมทั้ง ตอบสนองนโยบายและพันธกิจของโรงพยาบาล เช่น การจัดประชุม/อบรม/สัมมนา ทั้งภายใน และภายนอกโรงพยาบาล การต้อนรับดูงาน การ พัฒนาตนเอง โดยการสนับสนุนทางด้านตำ�รา การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ สำ�หรับเจ้าหน้าที่ทุก ระดับในโรงพยาบาล ตลอดทัง้ กิจกรรมพิเศษต่าง ๆ ของทางโรงพยาบาล รวมถึงทำ�การวิจัย ฝึก อบรม และพัฒนางานประจำ�ให้เกิดงานวิจัยแบบ สหสาขาวิชาชีพ ในการพัฒนางาน ฝ่ายวิชาการได้นำ� ระบบสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ (competency) มาใช้ในโรงพยาบาล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ บุคลากรในการปฏิบัติงานมากขึ้น และตอบ สนองต่อนโยบาย พันธกิจของโรงพยาบาล นำ� เครื่องมือการจัดการความรู้ (knowledge management) มาใช้ในโรงพยาบาล เป็นการ สร้างเวทีแห่งการเรียนรู้ เพื่อขยายผลการปฏิบัติ งานที่ดีของหน่วยงานหนึ่ง (good practice) ไปสู่หน่วยงานอื่น เป็นการเพิ่มศักยภาพของ บุคลากรในโรงพยาบาลให้มาเป็นวิทยากรภายใน และเกิดการเรียนรู้ภายในองค์กร (learning 145
organization) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ในการพัฒนาบุคลากร โดยการจัดทำ� Home Page ของฝ่ายวิชาการ ในการสื่อสารข้อมูลและ ประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ ลงระบบ Intranet ของโรงพยาบาล พัฒนาระบบสืบค้นข้อมูล และ ตำ�ราทางวิชาการผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ โดย การจัดทำ� e – Library (ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) เพื่ออำ�นวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลทาง วิชาการได้อย่างทั่วถึง สามารถสืบหาข้อมูลได้ที่ หน่วยงานของตนเอง พัฒนาระบบการจัดเก็บ ฐานข้อมูลบุคลากร ลงในระบบคอมพิวเตอร์ (HRDIS) เพื่อสะดวกในการสืบค้น และนำ�เสนอ รายงานต่อผู้บริหาร เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ สำ�หรับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลใน โรงพยาบาล พัฒนาระบบสื่อการเรียนการสอน มาเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ (computer assisted instruction : CAI) เพื่อสะดวกต่อ การนำ�กลับไปเรียนรู้เองที่บ้าน หรือหน่วยงาน หรือสะดวกต่อผู้มารับบริการระหว่างรอการ ให้บริการ หรือ ผู้ป่วยในหอผู้ป่วย และ พัฒนา ระบบโสตทัศนูปกรณ์ เพื่ออำ�นวยความสะดวก แก่ผู้เข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนาทางวิชาการ
146
ฝ่ายรังสีวิทยา
เดิมโรงพยาบาลยังไม่มีงานทางด้านรังสี อย่างชัดเจน เท่าที่ทราบจากลุงกุย หรือคุณกิตติ อินทวงศ์ ลุงมาทำ�งานในตำ�แหน่ง ช่างไฟฟ้า เดิน ไฟตามบ้านพักแพทย์ ทำ�ประปา ทำ�ป้ายต่าง ๆ ภายในโรงพยาบาล เช่น ป้ายชือ่ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา เป็นป้ายหินอ่อนอยู่ที่ทางเข้าหน้า ประตูโรงพยาบาล ออกแบบป้ายตึกเสียง หะรินสุต ตามคำ�สั่งของ ขุนวิโรจน์เวชชกรรม ผู้อำ�นวยการ ในสมัยนั้น สาเหตุที่ลุงมีความสามารถทำ�ป้าย เนื่องจากลุงชอบไปดูช่างทำ�ป้ายที่โรงหนังเป็น ประจำ� ลุงได้เล่าว่า วันที่ทำ�พิธีเปิดตึกเสียง หลานของคนที่มาทำ�พิธีเปิดตึก ได้เสียชีวิต เนื่องจากตกน้ ำ � บริเวณบ้านพักเรือนน้ ำ � ซึ่งเป็น เหตุการณ์ที่ลุงจำ�ได้อย่างแม่นยำ� ในส่วนของห้องเอกซเรย์ ในขณะนั้น ตั้งอยู่ที่ตึกพระพันวัสสา โดยมีคุณบุญส่ง มีสกุล ทำ�งานเป็นเจ้าหน้าที่ห้องเอกซเรย์ โดยใช้เครื่อง เอกซเรย์ Portable ทั้งที่ห้อง และไปเอกซเรย์ ตามตึก ต่อมาคุณบุญส่ง มีสกุล ลาออก ได้มี คุณหญิงแสงโสม มาทำ�เอกซเรย์แทน สมัยนั้น ท่านผู้อำ�นวยการ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน ได้ให้ลุงกุยมาทำ�งานที่ห้องเอกซเรย์ โดยให้ช่วย งานคุณหญิงแสงโสม คุณลุงเป็นคนทำ�งานด้วย ความตั้งใจ ไม่รู้อะไรก็จะคอยซักถามคุณหญิงอยู่
เสมอจนมีความชำ�นาญ หลังจากนั้นไม่นาน คุณหญิงแสงโสม ลาออก ทำ�ให้เหลือลุงทำ�งาน อยู่เพียงคนเดียว ต่อมามีคุณหมอจากที่กรุงเทพ เข้ามาเห็นการทำ�งานของลุงกุย จึงแนะนำ�ว่า คุณลุงทำ�งานทีห่ อ้ งเอกซเรย์อย่างนีไ้ ม่ได้ เนือ่ งจาก ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันรังสี คุณหมอท่านนี้จึงไป ขอคำ�ปรึกษากับนายแพทย์สุกรี สืบสงวน ให้จัดหาห้องเอกซเรย์ และเครื่องมือสำ�หรับ เอกซเรย์ที่ถูกต้อง ในสมัยนั้นมีการใช้งานของ เครื่องเอกซเรย์ยี่ห้อ GE ซึ่งอยู่ในเครือของ “พญาไทเอกซเรย์” ซึ่งมีศาสตราจารย์นายแพทย์ กุญฑล สุนทรเวช เป็นผู้ดูแลอยู่ในขณะนั้น ต่อมา นายแพทย์ สุกรี สืบสงวน จึงได้น�ำ เข้ามาใช้งาน โดยติดตั้งที่ตึกศรีสังวาลย์ พร้อมกันนี้ได้ส่งลุง กุย ไปเรียนรู้การใช้งานที่บริษัทในเครือพญาไท เอกซเรย์ที่กรุงเทพ โดยใช้เวลาช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ตามทีไ่ ด้รบั มอบหมาย ในส่วนวันจันทร์ -วันศุกร์ จะทำ�งานที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ตามปกติ เครื่องเอกซเรย์ที่ติดตั้งใหม่นี้สามารถทำ� เอกซเรย์พิเศษได้ เช่น การเอกซเรย์กลืนแป้ง ดู หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร การเอกซเรย์สวนแป้ง ดูล�ำ ไส้ใหญ่ การเอกซเรย์ระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น สมัยก่อนการเอกซเรย์พเิ ศษ (Fluoroscope) ยังไม่มีจอภาพสำ�หรับดูภาพอวัยวะในขณะที่ 147
กลืนแป้ง จะต้องใช้วิธีการดูภาพจากแผ่น Screen โดยจะต้องปิดไฟห้องขณะที่ทำ�การตรวจ จึงจะ สามารถเห็นภาพที่เรืองแสงบนแผ่น Screen ได้ วิธีนี้เราเรียกกันว่า ฟลูมืด โดยมีคณ ุ หมอสุชาติ ผลชีวนิ เป็นผูด้ แู ลรับผิดชอบ ในส่วนของการทำ� angiogram ดูเส้นเลือด ก็จะมีศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา เข้ามาสอนการทำ� โดยคุณลุงมีหน้าที่จัดเตรียม set ต่าง ๆ ให้พร้อม ใช้งานโดยนายแพทย์วัชรินทร์ ทองศุข ประจำ�อยู่ ต่อมา นายแพทย์สกุ รี สืบสงวน ได้ชักชวนเพื่อนที่ เป็นพยาบาล ชื่อคุณมาลี ปีลาล่า มาเป็นพยาบาล ประจำ�ที่ห้องเอกซเรย์ ต่อมาได้ป่วยและลาออก ไม่นานก็มีคุณวิลาศ ตั้งพูนผลวิวัฒน์ หรือที่ทุกคน รู้จักในนาม พี่วิลาศ เข้ามาทำ�งานเอกซเรย์กับลุง กุย โดยใช้ชื่อตำ�แหน่งว่าเจ้าหน้าที่แสงรัศมี ก่อนที่ จะเปลี่ยนมาเป็นเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ ต่อมาห้องเอกซเรย์ได้ย้ า ยไปที ่ ตึ กอัยิกาเจ้า (บริเวณห้องยาในปัจจุบัน) โดยอยู่ ติดกับห้องฉุกเฉิน ซึ่งในตอนนี้เองคุณลุงทำ�งาน หนักมาก ในตอนนั้นชาวศรีราชามีการนำ� รถจักรยานยนต์เข้ามาขี่กันมากขึ้น แต่คนส่วน ใหญ่ยังใช้งานไม่ค่อยเป็น หมวกกันน็อคไม่ใส่ ทำ�ให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย ลุงต้องทำ�งานตั้งแต่ลง ทะเบียน เขียนสมุด พิมพ์การ์ด ทำ�เอกซเรย์ ล้าง ฟิล์ม(ล้างฟิล์มเปียก) และเก็บเงิน ลุงทำ�เองคน 148
เดียวหมด ต่อมามีคนนำ�เครื่องล้างฟิล์มอัตโนมัติ มานำ�เสนอนายแพทย์สุกรี สืบสงวน จึงถามลุง ว่าเอาไว้ช่วยงานไหม คุณลุงดีใจเนื่องจากช่วยลด ภาระงานลงได้มาก และลุงกุยก็ได้ปฏิบัติงานนี้ จนเกษียณอายุ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ผู้อ�ำ นวยการ นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช รับนายแพทย์ พงษ์ศักดิ์ ลีละพงศ์ประสุต ซึ่งได้รับทุนไปศึกษา เป็นรังสีแพทย์ เข้าปฏิบตั งิ าน และปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ฝ่ายรังสีวิทยา มีการปรับปรุงโดยได้จัดซื้อเครื่อง อัลตร้าซาวนด์มาใช้งานเป็นเครื่องแรกของ โรงพยาบาล แต่เนื่องจากยังไม่มีแพทย์ท่านใด เคยใช้เครื่องมาก่อน แพทย์หญิงสุกัญญา รัตนเสาวภาคย์ สูติแพทย์ ได้เรียนเชิญท่าน
อาจารย์นายแพทย์กมล ซึ่งเป็นอาจารย์ประจำ�ที่ ภาควิชาสูตนิ รีแพทย์ จุฬาลงกรณ์ มาสอนทำ�และ ตรวจผูป้ ว่ ยทางสูตแิ ละนรี ให้ทางโรงพยาบาล สมเด็จฯ จนกระทั่งรังสีแพทย์จบการศึกษาและ กลับมาปฏิบัติงาน ต่อมาได้รับเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ เข้ามาปฏิบัติงานเพิ่ม เนื่องจากภาระงานที่ เพิ่มมากขึ้น ในขณะนั้นนายแพทย์พงษ์ศักดิ์ ลีละพงศ์ประสุต ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นหัวหน้าฝ่าย รังสีวิทยา และมีแพทย์หญิงเย็นจิต วัตนะกุล (ในปีพ.ศ. ๒๕๓๒) เป็นแพทย์ประจำ�ทีฝ่ า่ ยรังสีวทิ ยา งานที่ทำ�ในตอนนั้นจะมีเอกซเรย์ทั่วไป เอกซเรย์ พิเศษ และอัลตร้าซาวด์ โดยรังสีแพทย์จะทำ� อัลตร้าซาวด์เป็นหลัก ทำ�เอกซเรย์พิเศษโดยมี เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์เข้าไปช่วยควบคุมเครือ่ ง เอกซเรย์ ซึง่ ฝ่ายรังสีวทิ ยาในตอนนั้นก็ได้ย้ายมา อยู่บริเวณที่ตั้งในปัจจุบันแล้ว โดยส่วนหนึ่งก็ จะติดกับห้องตรวจกระดูก ของฝ่ายผู้ป่วยนอก ปลายปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ได้มีการขยายงานเพิ่มขึ้น มีการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ เครื่องเอกซเรย์เพิเศษเพิ่มเติมในสมัยนัน้ ในอำ�เภอ ศรีราชา มีโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา เพียง แห่งเดียว ต่อมามีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม แหลมฉบัง ทำ�ให้มีผู้คนเข้ามาในอำ�เภอศรีราชา มากขึ้น ประกอบกับมีอัตราการเจริญเติบโตที่ รวดเร็ว จึงทำ�ให้เกิดโรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา ซึ่งเป็นทางเลือก หนึ่งของคนศรีราชาที่ต้องการความรวดเร็ว สะดวกสบาย ในการเข้ารับการรักษา ทำ�ให้ใน ช่วงนั้นโรงพยาบาลสมเด็จฯ เกิดวิกฤตสมองไหล ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ ลีละพงศ์ประสุต ได้ลาออก แพทย์หญิงเย็นจิต วัตนะกุล ขึ้นเป็นรักษาการหัวหน้าฝ่ายรังสีวทิ ยา แต่เนื่องจากภาระงานของฝ่ายเพิ่มมากขึ้น อย่างต่อเนื่อง และมีรังสีแพทย์เพียงท่านเดียว จึงเปิดรับรังสีแพทย์เพิม่ ซึง่ ขณะนัน้ แพทย์หญิง สุภาพร ธีรพันธุวัฒน์ มาสมัคร และในเดือน กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ก็ขอลาออก ในปีเดียวกันนี้ ทางฝ่ายได้เปิดบริการการตรวจเต้านมด้วย เครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) โดย รังสีแพทย์จะเป็นผูอ้ า่ นฟิลม์ และทำ�อัลตร้าซาวด์ เต้านม ควบคู่กับการตรวจในปีเดียวกันนัน้ เอง แพทย์หญิงเย็นจิต ได้ลาออก และในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ทางโรงพยาบาลได้แต่งตั้งนายวาที ศิริมาสกุล นักรังสีการแพทย์ ขึน้ เป็นรักษาการ หัวหน้าฝ่ายรังสีวิทยา ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มี รังสีแพทย์มาประจำ� ทำ�ให้ทางฝ่ายอนุมัติจ้าง รังสีแพทย์จากภายนอกเข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ในวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ มีรังสีแพทย์ มาสมัครเป็นแพทย์ประจำ� ๑ ท่าน คือแพทย์หญิง ชมนาด จิตต์แจ้ง และในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ก็ลาออก 149
ในช่วงที่ขาดแคลนรังสีแพทย์ประจำ� ทำ�ให้ต้องจัดจ้างรังสีแพทย์จากภายนอกเข้ามา ปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ด้วยภาระงานที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับทางโรงพยาบาลได้ขยายตึกตรวจโรค ไปที่อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ทำ�ให้มีผู้ป่วยที่ต้อง ตรวจอัลตร้าซาวนด์เพิ่มมากขึ้น ถึงแม้จะมีการ จัดจ้างรังสีแพทย์ แต่ก็ทำ�ได้เฉพาะช่วงในเวลา ราชการ ทำ�ให้ผปู้ ว่ ยต้องรอคิวตรวจอัลตร้าซาวนด์ ถึง ๓ เดือน ทางฝ่ายจึงได้ขออนุมัติเปิดทำ� อัลตร้าซาวด์ในช่วงนอกเวลาราชการ ซึ่งทำ�ให้ ระยะเวลาการรอตรวจลดลงเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ทางโรงพยาบาลได้ส ่ ง แพทย์ ใช้ ท ุ น คื อ แพทย์ห ญิงวรัชญา สวัสดีมงคล ไปเรียน ทางด้านรังสีวินิจฉัย โดยจะกลับมาปฏิบัติงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ และแพทย์หญิงนันธิศกานต์ จันทร์เพ็ญ ไปเรียนทางด้านรังสีวินิจฉัยและต่อยอดรังสี ร่วมรักษา โดยจะกลับมาปฏิบัติงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทางโรงพยาบาลได้ส่ง แพทย์หญิงพัชรี หงษ์สมาทิพย์ ไปเรียนทางด้าน รังสีวินิจฉัย โดยจะกลับมาปฏิบัติงานในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๕ ทางโรงพยาบาลได้มีการ ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง CT SCAN 64 slice โดยเป็นการร่วมบริการระหว่าง บริษัทสิมาเฮลธ์แคร์ จำ�กัด กับทางโรงพยาบาล ทำ�ให้การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มปี ระสิทธิภาพ 150
เพิ่มมากขึ้น ในช่วงกลางปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ทาง โรงพยาบาลได้มีการติดตั้งระบบจัดเก็บและ รับส่งภาพทางการแพทย์ (ระบบ PACS) ซึ่งเป็น การเปลี่ยนแปลงจากระบบที่ใช้ฟิล์มเอกซเรย์ไป เป็นภาพในระบบดิจิตอล โดยทำ�ให้งานบริการ ทางรังสีวิทยามีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีเครื่องเอกซเรย์ที่ให้บริการ ดังนี้ ที่อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี มีเครื่องเอกซเรย์ ๒ เครื่อง โดยให้บริการผู้ป่วยนอกเฉพาะใน เวลาราชการเท่านั้น ในส่วนของตึกอัยิกาเจ้า มี เครื่องเอกซเรย์ทั่วไป ๒ เครื่อง เอกซเรย์พิเศษ
๑ เครื่อง เครื่องเอกซเรย์เต้านม ๑ เครื่อง เครื่องอัลตราซาวนด์ ๒ เครื่อง เครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ๑ เครื่อง เครื่อง เอกซเรย์ Portable ๔ เครื่อง และรถเอกซเรย์ เคลื่อนที่ ๑ คัน โดยมีเจ้าหน้าที่ประจำ�ทั้งหมด ๒๕ คน ดังนี้ รังสีแพทย์ ๒ คน นักรังสีการ แพทย์ ๑๑ คน เจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์ ๑ คน เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ๒ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๔ คน และ ลูกจ้างประจำ� ๕ คน ในช่วงปลายปีพ.ศ. ๒๕๕๖ ทางฝ่าย มีโครงการติดตั้งเครื่องเอกซเรย์สำ�หรับงาน รังสีร่วมรักษา และโครงการจัดหาอัตรากำ�ลัง พยาบาล สำ�หรับดูแลผู้ป่วยที่เข้ามาตรวจรักษา ซึ่งเป็นการพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งของงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา การพัฒนาคุณภาพของฝ่ายรังสีวิทยา ที่ทำ� เสร็จสิ้นแล้ว มีดังนี้ ๑. การพัฒนาคุณภาพฟิล์มเอกซเรย์ Portable เนื่องจาก มีการร้องเรียนเรื่อง คุณภาพของฟิล์ม Portable ไม่ดีเท่าที่ควร ดัง นั้นทางหน่วยงานได้ตั้งทีมงาน เพื่อพัฒนา คุณภาพฟิล์มขึ้น โดยจัดตารางเทคนิคการตั้ง ค่าในการถ่ายภาพ ซึ่งระบุข้อมูลรายละเอียด ครบถ้วน ติดไว้ประจำ�เครื่องนั้น ๆ และจะมีการ บันทึกเทคนิคในการถ่ายภาพ ในใบ Request
ในผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อเป็นการส่งเวร ให้ เจ้าหน้าที่เวรต่อไปทราบ และสามารถกำ�หนด เทคนิคได้ถูกต้อง ในการนี้ ก็ได้จัดอุปกรณ์การ ป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น Thyroid Shield, Gonad Shield เป็นต้น เพื่อป้องกันอันตราย จากรังสี โดยนำ�ติดตัวไปทุกครั้ง เมื่อไปทำ� เอกซเรย์ Portable หลังจากที่มีการพัฒนา คุณภาพฟิลม์ ไประยะหนึง่ แล้ว ได้มกี ารเก็บข้อมูล แล้วให้รังสีแพทย์ให้คะแนน ผลปรากฏว่า เป็นที่ น่าพอใจ ซึ่งวิธีการปฏิบัติดังกล่าวได้ปฏิบัติ สืบต่อมาจนทุกวันนี้ ๒. การจัดเก็บสถิตฟิ ลิ ม์ เสีย ได้มกี ารจัด ทำ�ตารางบันทึกฟิล์มเสีย โดยระบุสาเหตุของฟิล์ม เสีย และได้มีการวิเคราะห์สาเหตุ ซึ่งสามารถ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท ดังนี้ ๒.๑ จากตัวผู้ป่วยเอง โดยได้มีการให้ ข้อมูลผู้ป่วยมากยิ่งขึ้น และซักซ้อมกับผู้ป่วยทุก ครั้ง ก่อนทำ�การเอกซเรย์ ๒.๒ จากตัวเจ้าหน้าที่เอง โดยให้การ อบรมกับเจ้าหน้าที่ และได้จัดทำ�ตารางการตั้ง ค่าถ่ายภาพ โดยแยกประเภทแต่ละส่วนอย่าง ชัดเจน ติดไว้ประจำ�แต่ละห้อง เพื่อให้ใช้เป็น แนวทางในการเอกซเรย์ เพือ่ ป้องกันความผิดพลาด ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ 151
๒.๓ จากเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ใน การเอกซเรย์ ได้มีการจัดทำ�ตารางบันทึกการ บำ�รุงรักษาอุปกรณ์ที่ใช้ในการเอกซเรย์ ให้ได้ ภาพที่มีคุณภาพ เช่น เครื่องเอกซเรย์ Cassettes เครื่องล้างฟิล์ม เป็นต้น จากข้อปฏิบตั ขิ า้ งต้น สถิตฟิ ลิ ม์ เสียลดลง เป็นที่น่าพอใจ และยังคงจัดเก็บสถิติฟิล์มเสียต่อ ไป เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ข้อผิดพลาดที่อาจจะ เกิดขึ้นในคราวต่อไป และนำ�มาเป็นบทเรียน และ พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องต่อไป ๓. การให้ขอ้ มูลกับผูป้ ว่ ยในการตรวจทาง รังสีวทิ ยาตัง้ แต่การติดต่อขอรับการตรวจ การรอรับ การตรวจในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้อย่างถูกต้อง การได้รับข้อมูลเรื่องการเตรียมตัวก่อนได้รับ การตรวจ และการปฏิบัติตัวหลังจากตรวจเสร็จ โดยได้มกี ารประเมิน และจัดทำ�เป็นแบบสอบถาม โดยแยกประเภทแบบสอบถาม ในการตรวจแต่ละ ประเภท ปรากฏว่า ข้อร้องเรียนเรือ่ งการแซงคิวใน การตรวจลดลง เนือ่ งจากมีการให้บัตรคิวกับคนไข้ และอธิบายให้คนไข้ทราบถึงสถานที่รอรับการ ตรวจเอกซเรย์แต่ละประเภท ๔. การจัดสถานที่ตรวจทางรังสีวิทยา เนื่องจากแต่เดิมผู้ป่วยรอรับการตรวจเอกซเรย์ใน จุดเดียวกันทั้งหมด ซึ่งทำ�ให้เกิดปัญหาในเรื่อง มาก่อนทำ�ไมไม่ได้รับการตรวจ ทั้งนี้เนื่องจาก 152
การตรวจเอกซเรย์มีหลายประเภท แต่ละ ประเภทจะใช้เวลาไม่เท่ากัน ดังนั้นทางฝ่ายจึงได้ แยกประเภทผู้ป่วยเป็นเอกซเรย์ทั่วไป เอกซเรย์ พิเศษ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยการจัดหา เก้าอี้สำ�หรับผู้ป่วย และแยกผู้ป่วยให้รอหน้าห้อง เอกซเรย์แต่ละห้อง ตามการตรวจแต่ละประเภท เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงขั้นตอนการเข้ารับการตรวจ เอกซเรย์ประเภทนัน้ ๆ และได้ท�ำ ป้ายติดสัญลักษณ์ หมายเลขไว้ที่หน้าห้องตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจ และปฏิบัติได้ถูกต้อง ๕. การลดการเอกซเรย์ซ้ ำ � ซ้อนในผู้ป่วย Trauma โดยการจัดทำ�เป็นคูม่ อื ใน Power Point อธิบายถึงการเอกซเรย์ผู้ป่วย Trauma โดยให้ ทำ�การถ่ายเอกซเรย์ครอบคลุมอวัยวะในส่วนที่ ใกล้เคียงกับส่วนที่แพทย์สั่งตรวจ เพื่อเป็นการลด อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการขยับตัวผู้ป่วย หลาย ๆ ท่า ๖. การปรับปรุงการลงทะเบียน โดยมี การติดตั้งระบบเรียกคิวคนไข้ เพื่อให้เกิดความ เป็นระเบียบของคนไข้ที่เข้ามาตรวจลดความผิด พลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับเอกสารการตรวจ ผู้ให้ บริการมีพฤติกรรมบริการที่ดีขึ้น ๗. การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจโลหะในผูป้ ว่ ย เพื่อป้องกันเงา สิ่งแปลกปลอมที่เป็นโลหะ ปรากฏที่ฟิล์มเอกซเรย์ กรณีที่ผู้ป่วยลืมถอดออก
ก่อนที่จะทำ�การเอกซเรย์ ๘. จัดทำ�แนวทางในการฉีดสารทึบรังสี เพือ่ ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย โดยแจ้ง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ ตั้งแต่ แพทย์ผู้ให้สาร ทึบรังสี พยาบาลผู้เปิดเส้น นักรังสีการแพทย์ ให้ข้อมูลกับผูป้ ว่ ยถึงวิธปี ฏิบตั ติ วั ระหว่างการให้สาร ทึบรังสี ๙. จัดหารังสีแพทย์ Part time มาประจำ� ที่ฝ่ายรังสีวิทยา ในเวลาราชการ ๑๐. การประดิษฐ์อุปกรณ์สำ�หรับถ่าย เอกซเรย์หัวเข่าในท่ายืน สำ�หรับผู้ป่วยที่แพทย์สั่ง เอกซเรย์หัวเข่าในท่ายืนต่าง ๆ เช่น Both knee AP standing Standing on one leg Knee Lateral เป็นต้น และนำ�เสนอผลงานในรูป
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทอดพระเนตร งานนวัตกรรม การดูแลรักษาพยาบาล ณ ห้อง ประชุมลีลาวดี ๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ปี เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
Poster Presentation ในงานมหกรรมคุณภาพ HA National Forum ครั้งที่ ๑๒ ในหัวข้อ ความงามในความหลากหลาย เมื่อวันที่ ๑๕ – ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ตีพิมพ์ในหนังสือ สังเคราะห์ ปัญญาเพื่อพัฒนา R2R ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ การ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากงานประจำ�สู่ งานวิจัย (R2R) ครั้งที่ ๔ ณ อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี “เชื่อมพลังเครือข่าย ขยายคุณค่างานประจำ� ๒๐ – ๒๒ กรกฎาคม 153
พ.ศ. ๒๕๕๔” และร่วมแสดงผลงาน ในงาน นวัตกรรม การดูแลรักษาพยาบาล ณ ห้องประชุม ลีลาวดี ๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ การสาธิตการใช้อุปกรณ์ช่วยจัดท่า เอกซเรย์หัวเข่าในท่ายืน ในงานนวัตกรรม การดูแลรักษาพยาบาล ณ ห้องประชุมลีลาวดี ๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ปี เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๕๕ ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์ CT 64-Slice ทำ�ให้ไม่ตอ้ งส่งผูป้ ว่ ย ไปตรวจนอกโรงพยาบาล ติดตั้งระบบเครือข่าย จัดเก็บและรับส่งข้อมูลภาพทางการแพทย์ (PACS) ในงานทางด้านวิชาการ และได้เข้าร่วมกิจกรรม บริการด้านสุขภาพ เนื่องในวโรกาสเฉลิมฉลอง ๑๕๐ ปี วันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ดำ�เนิน กิจกรรมทุกวันพุธแรกของเดือน ที่อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี โดยออกไปให้ความรู้แก่ประชาชน ดังนี้ ๑. วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เรื่องสาธิตการตรวจเอกซเรย์ล�ำ ไส้ใหญ่ ๒. วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เรือ่ ง การเตรียมตัวตรวจเอกซเรย์เต้านม ๓. วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง การเอกซเรย์ปอดไม่อนั ตรายอย่างทีค่ ดิ ๔. วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่อง FNA คืออะไร 154
ฝ่ายพยาธิวิทยากายวิภาค
งานทางด้านพยาธิวิทยา เดิมนายแพทย์ สุกรี สืบสงวน อดีตผู้อ�ำ นวยการโรงพยาบาล กับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมศักดิ์ เดชะไกรศยะ หัวหน้าภาควิชาพยาธิวิทยา โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้รู้จักกันเป็นส่วนตัว จึงเริ่มมีการเดินทาง ไป-กลับเพื่อมาช่วยงานที่ โรงพยาบาลสมเด็จฯ โดยมีข้อมูลจากบุคลากรที่อยู่ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ คุณสุวชิ ยั กลิน่ หอม (บุตรคุณโยธิน กลิน่ หอม) คุณสมพร ทองเงินเจริญ มีรายละเอียดการเรียน รู้งานผ่าศพจากอาจารย์แพทย์ ๔ ท่าน ด้วยกัน คือ อาจารย์สมศักดิ์ เดชะไกรศยะ อาจารย์ ประสาร จิมากร อาจารย์สุภรณ์ พงศะบุตร และอาจารย์สนั่น รังรักษ์ศิริวร ซึ่งเดินทางมา จากโรงพยาบาลจุฬาฯ ทุกวันศุกร์ ขณะนั้นบริเวณห้องศพยังไม่มีห้อง ทำ�งาน มีแต่กั้นห้องผ่าศพไว้ห้องเดียว และมี ตู้แช่ศพตู้เดียว ต่อมางานสัมภาระได้ย้ายตึก ออกไป จึงยกห้องทำ�งานให้ห้องศพและช่างศิลป์ เดิมห้องศพสังกัดกับฝ่ายบริหารงานทั่วไป ปัจจุบันมาสังกัด ฝ่ายพยาธิวิทยากายวิภาค เมื่อพ.ศ. ๒๕๕๕ เมือ่ ปีพ.ศ. ๒๕๓๘ แพทย์หญิงจารุวรรณ นิสากรเสน ได้มาเป็นแพทย์ใช้ทุนที่โรงพยาบาล ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ได้ไปศึกษาต่อที่ภาควิชา
พยาธิวิทยา โรงพยาบาล จุฬาฯ และกลับมา เตรียมห้องปฏิบตั กิ ารเมือ่ พ.ศ. ๒๕๔๒ (โดยได้รบั ความกรุณาเป็นพิเศษจากอาจารย์สนัน่ อาจารย์ แพทย์ และ แพทย์ รวมถึงบุคลากรจากทัง้ ๒ โรงพยาบาล รวมทัง้ คุณบุญช่วย เย็นนรินทร์) และ เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งในช่วงแรกได้รับความช่วยเหลือจาก คุณสุชาดา ศักดิ์วนิชล ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงดูแลช่วง ที่กลับมาเริ่มงานพยาธิวิทยา โดยมีภารกิจ ให้ บริการผู้ป่วย รวมถึงบุคลากรและครอบครัวที่ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล ครอบคลุม การตรวจ Surgical (ชิน้ เนือ้ ) Cytology (น้ำ�เจาะจากร่างกาย) Pap smear (มะเร็งปากมดลูก) Autopsy (การชันสูตรศพ) แต่จะมีการยกเว้นการตรวจ พิเศษบางชนิดที่โรงพยาบาลไม่มีการตรวจ ผลงานดีเด่นในรอบปีพ.ศ. ๒๕๕๕ ๑. มีการบริหารจัดการ ช่วยเหลือซึ่ง กันและกันในการปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงาน แทนกันได้ระดับหนึ่งในส่วนงานที่เร่งด่วน จึงไม่ เกิดผลกระทบต่อการรายงานผลของผู้ป่วย ๒. จัดซื้อเครื่องมือแพทย์ใหม่เพื่อ ทดแทนเครื่องมือเก่าที่ชำ�รุด ๓. มีมาตรฐานการจัดทำ� External Quality Control จากสมาคมเซลล์วิทยาแห่ง ประเทศไทย และราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่ง ประเทศไทย มีระยะเวลา ๒ ปี
ปัจจุบนั มีบคุ ลากร จำ�นวน จำ�นวน ๙ คน แบ่งเป็น หัวหน้าฝ่าย ๑ คน นักเทคนิคการแพทย์ ๑ คน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ๑ คน เจ้าหน้าที่ วิทยาศาสตร์การแพทย์ ๒ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๒ คน และ พนักงานห้องเก็บศพ ๒ คน
ฝ่ายเวชสารสนเทศ
เดิมชื่อ “หน่วยเวชระเบียนและสถิต”ิ เป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ตัง้ อยูท่ ช่ี น้ั ล่างตึกอัยกิ าเจ้า พื้นที่เป็นห้องพัดลมโล่ง ๆ อยู่ติดกับห้องทำ�ฟัน ของโรงพยาบาล ผู้ป่วยในขณะนั้น ปีละไม่ถึง ๕,๐๐๐ ราย มีเจ้าหน้าที่ ๓ คน การปฏิบัติงาน เป็นการลงรหัสทั่วไปและรหัสโรคในใบหน้า ประวัติ โดยต้องส่งเข้าโรงพยาบาลจุฬาฯ ทุกเดือน ต่อมาจำ�นวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เดือนละ ประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย พื้นที่ในการจัดเก็บ เวชระเบียนเริ่มไม่เพียงพอ ประกอบกับภาระงาน เพิ่มมากขึ้น จึงได้ทำ�การต่อเติมชั้นล่างของ ตึกอัยิกาเจ้าใหม่ ซึ่งขณะที่ทำ�การต่อเติมนั้น เจ้าหน้าที่ต้องย้ายไปอยู่ที่อาคารเกษตรฯ แต่เก็บ ประวัติไว้ที่ห้องกายภาพในปัจจุบัน จะหาประวัติ ผูป้ ว่ ยแต่ละทีกต็ อ้ งเดินกันเมือ่ ย ต่อมาพ.ศ. ๒๕๓๒ เริ่มนำ�ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเก็บข้อมูล จึงได้มีการขออัตราเจ้าหน้าที่สถิติปริญญาตรี และเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลมาดำ�เนินการเก็บ ข้อมูลไว้วิเคราะห์และประมวลผล 155
พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ยกสถานะเป็น แผนกเวชระเบียนและสถิติ มีอตั รากำ�ลังเจ้าหน้าที่ ๖ คน รวมหัวหน้าฝ่ายด้วย และในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ได้มกี ารซือ้ โปรแกรมระบบ โรงพยาบาลเข้ามา ช่วยในส่วนของผู้ป่วยนอกและเก็บเงิน มีการใช้ คอมพิวเตอร์ในการออกรายงานผูป้ ว่ ยในส่วน ผูป้ ว่ ยนอก พ.ศ. ๒๕๔๐ ปรับเปลีย่ นมาเป็น ฝ่ายเวชระเบียนและสถิติ และเป็นฝ่ายเวชสารสนเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ จนกระทั่งปัจจุบัน ปัจจุบนั ฝ่าย เวชสารสนเทศ แบ่งเป็น ๒ งาน ประกอบด้วย งานเวชสถิติ มีอัตรากำ�ลัง ๑๓ คน เป็นเจ้าหน้าที่ สถิติ ๑๒ คน และนักการภารโรง ๑ คน และ งานคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ มีอตั รากำ�ลัง ๑๑ คน เจ้าหน้าทีร่ ะบบงานคอมพิวเตอร์ ๘ คน ช่าง เทคนิค คอมพิวเตอร์ ๒ คน และเจ้าหน้าที่บริหาร งานทั่วไป ๑ คน ฝ่ายเวชสถิติ ทำ�หน้าที่บริหารจัดการ แฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยใน หลังจำ�หน่ายผู้ป่วยที่ รับไว้รักษาตัวออกจากโรงพยาบาล จัดทำ�ข้อมูล เวชสถิติ และร่วมกำ�หนดรูปแบบมาตรฐานข้อมูล สารสนเทศ รวมทั้งให้บริการข้อมูลทางการแพทย์ เพื่อการบริหารจัดการองค์กร และการศึกษาวิจัย วิวัฒนาการของฝ่ายเวชสารสนเทศ เริ่มต้นจาก การเป็นหน่วยงานเล็ก ๆ ทำ�หน้าที่เพียงจัดเก็บ แฟ้มเวชระเบียนผู้ป่วยในภายหลังการจำ�หน่าย
156
ลงรหัสโรคทัว่ ไป และจัดทำ�รายงานข้อมูลพื้นฐาน ในทศวรรษปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จากเหตุผลภาวะวิกฤตการเงินการคลัง ได้ทำ�ให้ หน่วยงานทางด้านนโยบายสาธารณสุขระดับ ประเทศ เริ่มให้ความสนใจในข้อมูลสาธารณสุข และการให้บริการทางแพทย์ ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับ งบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุข มีการให้ ความสำ�คัญกับมาตรฐานการให้รหัสโรค และ ข้อมูลการให้บริการ เพื่อการคำ�นวณหาค่าใช้จ่าย เฉลี่ยรายโรค ฝ่ายเวชสารสนเทศจึงได้ดำ�เนินการ ริเริ่มพัฒนามาตรฐานการให้รหัสทางการแพทย์ สร้างองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และ มาตรฐานการเบิกจ่ายเดียว ตลอดจนการฝึกฝน บุคลากรให้มีความรู้พื้นฐานสามารถรองรับกับ ความต่อเนือ่ งทีเ่ กิดขึน้ พัฒนาการของโรงพยาบาล ที่ก้าวไปอย่างรวดเร็ว และความเชื่อใจของ ประชาชน ได้ท�ำ ให้จ�ำ นวนผูป้ ว่ ยทีเ่ ข้ามารับบริการ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยที่จ�ำ เป็นต้อง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงทอดพระเนตรการทำ�งานระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ. ศ. ๒๕๓๕ และวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ. ศ. ๒๕๔๙
รับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น จากเฉลี่ย ๑๐,๐๐๐ รายต่อปี ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เพิม่ เป็นเฉลีย่ ๓๐,๐๐๐ รายต่อปี ในปัจจุบนั การนำ�โรงพยาบาล สู่มาตรฐานสากล และเป็นสถาบันด้านการศึกษา ในการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ ได้ทำ�ให้ เอกสารในแฟ้ม เวชระเบียนเพิ่มขึ้น พร้อมกับ จำ�นวนผู้ป่วยและความต้องการทางข้อมูล ทางการแพทย์ เพือ่ การเรียนการสอนและการวิจยั ประกอบกับข้อจำ�กัดในเรื่องพื้นที่การบริหาร และอัตรากำ�ลัง ฝ่ายเวชสารสนเทศ จึงได้ริเริ่ม พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียอิเล็กทรอนิกส์ขน้ึ ทั้งในส่วนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ อีกทัง้ ได้เพิม่ ช่องทางในการให้บริการข้อมูล และสถิติผ่านระบบอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ต เพือ่ เป็นต้นแบบในการพัฒนาสูร่ ะบบทีส่ มบูรณ์แบบ ต่อไปในอนาคต
การนำ�ระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้เริ่มนำ�ระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในโรงพยาบาลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยโดยแบ่งระบบ คอมพิวเตอร์ออกเป็น 3 ระบบย่อยดังนี้ ๑. ระบบโรงพยาบาลส่วนหน้า (Front Office) ๒. ระบบโรงพยาบาลส่วนเสริมหน้า (Front Office Accessory) ๓. ระบบโรงพยาบาลส่วนหลัง (Back Office) จากจำ�นวนผู้มารับบริการที่เพิ่มมากขึ้นอย่าง ต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับการพัฒนาทางด้าน เทคโนโลยีมีสารสนเทศมีความก้าวหน้ามาก
157
การนำ�ระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้เริ่มนำ�ระบบคอมพิวเตอร์ มาใช้ในโรงพยาบาลตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการให้บริการผู้ป่วยโดยแบ่งระบบ คอมพิวเตอร์ออกเป็น 3 ระบบย่อยดังนี้
158
๑. ระบบโรงพยาบาลส่วนหน้า (Front Office) ๒. ระบบโรงพยาบาลส่วนเสริมหน้า (Front Office Accessory)
๓. ระบบโรงพยาบาลส่วนหลัง (Back Office) จากจำ�นวนผู้มารับบริการที่เพิ่มมาก ขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ประกอบกับการพัฒนา ทางด้านเทคโนโลยีมีสารสนเทศมีความก้าวหน้า มากขึ้น ความต้องการใช้ข้อมูลสารสนเทศมาก ยิ่งขึ้น และโรงพยาบาลได้มีการจัดสร้างอาคาร อนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ในการเตรียมการรองรับผู้มา รับบริการ จึ่งได้มีการเปลี่ยนระบบสารสนเทศ ใหม่ในปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งระบบ เพื่อให้ระบบ สามารถรองรับจำ�นวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงสามารถดูรายงานการตรวจ รักษาได้จากระบบรวมถึงการพัฒนาระบบงานใน ด้านอื่นๆ เพื่อยกระดับการให้บริการ โดยครอบ คลุ่มการทำ�งานในทุกหน่วยงาน ทั้งในการบริการ คุณภาพ บริหาร รวมถึงในด้านการเรียนรู้ ระบบงานหลักตามลำ�ดับการดำ�เนินการดังนี้ ๑. ระบบ Internet และ Intranet ปี ๒๕๔๕ พัฒนาขึ้นเพื่อใช้สื่อสารข้อมูลให้กับผู้รับ บริการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลเอง ๒. ระบบ HIS (Hospital Information System) ปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ระบบสารสนเทศเพื่อ การบริหารงานโรงพยาบาล ประกอบด้วยระบบ บริการผู้ป่วย ระบบงานสนับสนุน ระบบรายงาน ต่างๆ
๓. ระบบ WIFI ทั่วพื้นที่ของโรงพยาบาล ปี ๒๕๕๒ ระบบการสื่อสารผ่านระบบเครือข่าย แบบไร้สายเพื่อให้เจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้ป่วย ที่มารับ ได้ใช้ประโยชน์ในการสื่อสารข้อมูล ค้นคว้า หาข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่ผู้รับบริการ ๔. ระบบ EMRs (Electronic Medical Record System) ปี ๒๕๕๓ จัดทำ�ขึ้นเพื่อลด ปัญหาการสูญหายของแฟ้มเวชระเบียน สามารถ ลดระยะเวลาการรอคอยของผู้มารับบริการได้ เป็นอย่างดี ๕. ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (Infoma : WebFlow System) ปี ๒๕๕๓ ใช้ สื่อสารข้อมูล เอกสาร ภายในโรงพยาบาล และสภากาชาดไทย ทำ�ให้ส่งโรงพยาบาลและ สภากาชาดไทย ทำ�ให้ส่งเอกสารได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดการใช้กระดาษและลดแรงงานเจ้าหน้าที่ ๖. ระบบศูนย์ประกันสังคม ปี ๒๕๕๓ เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วย ประกันสังคม ปัจจุบันมี ๘ ศูนย์ สามารถนำ�ส่ง ข้อมูลเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลได้ ๗. ระบบ LIS (Laboratory Information System) ปี ๒๕๕๔ ระบบสารสนเทศสำ�หรับ ห้องปฏิบัติการเชื่อมโยงกับเครื่องตรวจทางห้อง ปฏิบัติการแบบอัตโนมัติ สามารถส่งผลการตรวจ วินิจฉัยไปยังระบบบริหารงานโรงพยาบาล เพื่อ 159
ให้แพทย์ที่ทำ�การรักษาสามารถอ่านผลการตรวจ ทางห้องปฏิบัติได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ� ๘. ระบบ PACS (Picture Archiving and Communication System) ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ระบบการจัดเก็บภาพการตรวจรักษาเพื่อการ วินิจฉัย โรงพยาบาลนำ�มาใช้ส�ำ หรับงานทาง รังสีวิทยา เพื่อลดกระบวนการและขั้นตอนการ ตรวจ ลดระยะเวลาในการรอคอยแก่ผู้ป่วย ส่ง ผลการตรวจรักษาและภาพทางรังสีให้แพทย์ 160
ที่ทำ�การตรวจรักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ๙. ระบบ RIS (Radiology Information System) ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ระบบสารสนเทศทาง รังสีวิทยา ที่ใช้เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างระบบ PACS กับระบบ HIS เพื่อรับส่งข่อมูล รับส่งภาพ ทางการแพทย์ ทำ�ให้เกิดความรวดเร็วในการ ตรวจวินิจฉัย การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้น ฐานและระบบเครือข่ายสำ�รองในปีพ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อทำ�ให้ระบบสารสนเทศสามารถให้บริการแก่
ผู้ป่วยที่มารับบริการได้ตลอเวลารวมถึง การปรับปรุงห้อง Data Center เน้นพัฒนา ระบบการบริการ การนำ�อุปกรณ์ Mobile Device มาใช้เพื่อการรักษาพยาบาล การพัฒนาระบบ บริหารความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศ (Information Security Management System : ISMS) ตามมาตรฐานสากล (ISO/IEC 27001:2005) การปรับปรุงระบบมาตรฐานข้อมูล (Health Level 7 : HL7) เพื่อก้าวสู้ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน (Asean Economic Community : AEC) และยกระดับโรงพยาบาลสู่มาตรฐานสากล (Joint Commission International : JCI)
ศูนย์ประกันสังคม
โรงพยาบาลได้เข้าร่วมเป็นสถาน พยาบาลคู่สัญญาหลักตาม พระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นต้นมา โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มีีจำ�นวน ผู้ประกันตนที่ขึ้นทะเบียนกับโรงพยาบาลเป็น จำ�นวนมากกว่า ๒๗๐,๐๐๐ คน ผู้ประกันตน ที่ขึ้นทะเบียนนี้กระจายอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา ทำ�ให้ โรงพยาบาลต้องจัดระบบการให้บริการรักษา พยาบาลเป็น ๓ ระดับ ได้แก่ ๑. ระดับปฐมภูมิ (Primary Care) ให้การรักษาผู้ป่วยในกรณีที่เป็นโรคทั่วไป เช่น ไข้หวัด อุจจาระร่วง ฯลฯ โรงพยาบาลได้จัด สถานพยาบาลรองรับ ดังนี้ ๑.๑ ศูนย์ประกันสุขภาพ สาขา ๘ แห่ง ในเขตจังหวัดชลบุรี ได้แก่ สาขาศรีราชา สาขา แหลมฉบัง สาขาสหพัฒน์ สาขาบ่อวิน สาขาพัทยา สาขาพัทยาเหนือ สาขาพัทยาใต้ และสาขานาเกลือ ๑.๒ สถานพยาบาลเครือข่ายกว่า ๗๐ แห่ง ครอบคลุมในเขตพืน้ ทีจ่ งั หวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา ๒. ระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ให้การรักษาโรคที่ซับซ้อน เช่น การให้บริการ เฉพาะทางการผ่าตัด รักษาเป็นแบบ ผู้ป่วยใน สถานพยาบาลที่ให้บริการ ได้แก่ โรงพยาบาล 161
สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และ โรงพยาบาลของรัฐบาลในระดับโรงพยาบาลทั่วไป ๓. ระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) ให้การรักษาที่ซับซ้อน ซึ่งโรงพยาบาลระดับทุติย ภูมิไม่สามารถให้การรักษาได้ เช่น การผ่าตัดหัวใจ การฉายแสง การปลูกถ่ายไขกระดูก ฯลฯ สถาน พยาบาลทีโ่ รงพยาบาลส่งไปรักษา ได้แก่โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิรริ าช และโรงพยาบาล ที่เป็นโรงเรียนแพทย์ ภาครัฐทุกแห่ง นอกจากนี้มีกิจกรรมออกหน่วยเคลื่อนที่ ร่วมกับ สำ�นักงานประกันสังคม โครงการให้ความ รูเ้ รือ่ งเอดส์ในสถานประกอบการ กิจกรรมส่งเสริม สุขภาพในสถานประกอบการ กิจกรรมเยี่ยมผู้ป่วย ประกันสังคม (ผูป้ ว่ ยใน) ตลอดทัง้ รับเรือ่ งร้องเรียน ข้อเสนอแนะในงานบริการงานประกันสังคม
ศูนย์บริการสิทธิประโยชน์
งานบริการสิทธิประโยชน์ ได้จัดตั้งขึ้น ครั้งแรกในชื่อ ศูนย์สิทธิประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมี นายแพทย์สมเกียรติ บวรเสรีผไท เป็นประธานศูนย์สิทธิประโยชน์ มีอัตรากำ�ลัง พยาบาล ๑ อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ อัตรา โดยเริ่มแรกศูนย์สิทธิประโยชน์อยู่ที่ตึกศรีสงั วาล ย์ ชัน้ ๑ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้ยา้ ยมาอยู่ที่ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ชั้น ๔ และเนื่องจาก ศูนย์สิทธิประโยชน์มีภาระงานเพิ่มมากขึ้นตาม 162
จำ�นวนผู้รับบริการที่เพิ่มจำ�นวนขึ้นทุกปี ทำ�ให้ โครงสร้างของศูนย์สิทธิประโยชน์ได้รับการ พิจารณาให้เพิ่มอัตรากำ�ลัง จึงมีการเปิดรับสมัคร พยาบาล และเจ้าหน้าที่ธุรการเพิ่มขึ้น เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มีค�ำ สั่งโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้ศูนย์สิทธิ ประโยชน์เข้ารวมกับหน่วยงานทบทวนการใช้ ทรัพยากรทางการแพทย์ (UM) ฝ่ายเวชระเบียน และสถิติ จึงได้มีการโอนย้ายบุคลากรจากหน่วย งานทบทวนการใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ (UM) จำ�นวน ๓ อัตรา ประกอบด้วย พยาบาล ๑ อัตรา เจ้าหน้าที่ธุรการ ๒ อัตรา เข้ามาปฏิบัติงานร่วม กับศูนย์สิทธิประโยชน์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ศูนย์สิทธิ ประโยชน์จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บริการสิทธิ ประโยชน์ โดยมีโครงสร้างอัตรากำ�ลัง ๑๓ อัตรา ประกอบด้วย พยาบาล ๗ อัตรา เจ้าหน้าที่ บริหารงานทั่วไป ๑ อัตรา และเจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ - ๔ ๕ อัตรา ในช่วงปีแรกซึ่งเป็นปีแห่งการปรับตัว ที่มีเพียง เจ้าหน้าที่ธุรการ จำ�นวน ๒ คน และ พยาบาล จำ�นวน ๔ คน ที่ต้องรับผิดชอบงาน ตั้งแต่ Reviewer Coder Auditor Policy ทุกสิทธิ ระบบ HIS ในส่วนของระบบการเงิน ๑๘ หมวดตามประกาศของกรมบัญชีกลาง เมื่อเทียบกับปริมาณเวชระเบียนผู้ป่วยในทั้งหมด
ที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลเฉลี่ย ๒๒,๐๐๐ ฉบับ/ปี และเวชระเบียนผู้ป่วยนอกอีกประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ กว่า Record/ปี ซึ่งรวมไปถึงงาน คุณภาพของโรงพยาบาล และงานตรวจสอบ คุณภาพจากหน่วยงานภายนอก ตลอดระยะ เวลา ๒ - ๓ ปีที่ผ่านมา ไม่เคยได้ยินแม้แต่เสียง หัวเราะของทีมงาน ไม่เคยรู้จักคำ�ว่าวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ทุกคน ก้มหน้าก้มตาทำ�แต่งานที่มีแต่จะเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้น ปัญหาเดิม เดิมไม่ว่าจะเป็นปัญหา เรื่อง “เวชระเบียนสรุปไม่ครบ สรุปไม่ถูกต้อง ลายมืออ่านไม่ออก เวชระเบียนส่งเกินกำ�หนด ๓๐ วัน ขาดความต่อเนื่องของการนำ�ส่งเวช ระเบียนจากตึกรักษาพยาบาล เจ้าหน้าที่บันทึก ข้อมูลผิดพลาดบ่อยครั้ง ขาดการติดต่อสื่อสาร กันระหว่างหน่วยงานภายในโรงพยาบาล และ ข้อมูลได้รับการปฏิเสธการจ่ายเป็นจำ�นวนมาก” สุดท้ายคำ�ถามหนึ่งได้ผุดขึ้นมาในความคิดทันที ว่า “พวกเราจะทำ�งานกันอย่างนี้ไปอีกนานแค่ ไหน? ทำ�อย่างไร? ถึงจะทำ�ให้งานเบิกจ่ายชดเชย ค่าบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลบรรลุ วัตถุประสงค์” “ถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา” ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาเริ่มทำ� Root Cause Analysis ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการ ปรับปรุง “ระบบการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการ
ทางการแพทย์” ของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรม ราชเทวี ณ ศรีราชา โดยเริ่มจากหน่วยงาน ที่เปรียบเสมือน “บ้าน” ของเราก่อนเพื่อปรับ พื้นฐานความรู้ของทุกคนให้เป็นไปในทิศทาง และแนวทางเดียวกัน สอดแทรกความรู้ทาง ด้านวิชาการโดยเลือกทีมงานที่มีความรู้และ ประสบการณ์มากที่สุดในกลุ่มให้มาเป็นพี่เลี้ยง มีการสอนและฝึกอบรมน้องใหม่ให้ได้ตามเกณฑ์ ที่กำ�หนดของหน่วยงาน เข้าร่วมประชุมวิชาการ ทุก ๆ เวทีที่ให้โอกาสและนำ�มาถ่ายทอดให้ทีม งานฟัง ปรับปรุงระบบงานภายในหน่วยงาน ให้เป็นระบบ โดยทำ�การ “ลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก และซับซ้อน” “LEAN ระบบการยืม - คืนเวช ระเบียนสำ�หรับผู้มารับบริการผู้ป่วยนอกกรณี นัดมาตรวจติดตาม” มีการนำ�ระบบเทคโนโลยี สารสนเทศเข้ามาช่วยในการปฏิบัติงาน คือ “โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ข้อมูลในระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลมาใช้ในระบบ การเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณี ผู้ป่วยนอกสิทธิประกันสังคม และงานเขียนคำ� สั่งบนโปรแกรมสำ�เร็จรูปสำ�หรับการวิเคราะห์ และประมวลผลการตรวจสอบการบันทึกความ สมบูรณ์ของเวชระเบียนสำ�หรับหน่วยบริการ” จัดประชุมกลุ่มย่อย เพื่อ “ถ่ายทอดความรู้และ ประสบการณ์ใหม่” 163
ขยายวงกว้างออกไปสู่ บุคลากรภายใน องค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นที่ “แพทย์” ผู้ซึ่งทำ� หน้าที่ในการผลิตข้อมูลทางการแพทย์และเป็น แกนหลักที่สำ�คัญ ดังนี้ ดำ�เนิน “โครงการสอน และฝึกอบรม แพทย์ใช้ทุนและนิสิตแพทย์ เป็นก ลุ่มและเฉพาะรายบุคคล เรื่อง การบันทึกความ สมบูรณ์ของเวชระเบียน” เริ่มดำ�เนินโครงการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ -ปัจจุบัน “โครงการสอนและฝึกอบรมแพทย์ ใช้ทุนและ นิสิตแพทย์ เป็นกลุ่มและเฉพาะ รายบุคคล เรื่อง การสรุปคำ�วินิจฉัยโรคให้ ถูกต้องตรงตามหลักการสรุปการให้รหัสโรคและ หัตถการ” ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ ปัจจุบัน “ทีมแพทย์ให้เข้ามาร่วมเป็นคณะ กรรมการดำ�เนินงานตรวจสอบ Coding Audit และ Medical Record Audit ระดับจังหวัดและ 164
ระดับเขต” ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๐ ปัจจุบัน สื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย พัฒนา “ระบบการติดตามเวชระเบียนที่ได้รับ การจำ�หน่ายจากตึกรักษาพยาบาลภายใน ๕ วัน ทำ�การผ่านการสื่อสารทางบอร์ดประชาสัมพันธ์” แทรกซึมไปสู่ระบบใหญ่ขององค์กร โดยมี “ระบบการติดตามและรายงานผลการสรุปคำ� วินิจฉัยโรค การผ่าตัดและหัตถการ และผลการ ตรวจสอบคุณภาพการบันทึกความสมบูรณ์ของ เวชระเบียน เสนอต่อผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน รายแผนก และรายบุคคล ๔ ครั้งต่อปี” “มีคณะทำ�งาน ประกอบด้วย ประธาน และ กรรมการตรวจสอบเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดย จัดให้มีการประชุม ๔ ครั้งต่อปี และตามวาระ เร่งด่วนกรณีพบปัญหาด้านคุณภาพการบันทึก ความสมบูรณ์ของเวชระเบียนที่ต้องรีบดำ�เนิน การ” “มีคณะทำ�งาน ประกอบด้วย ประธาน และกรรมการ Coding Audit โดยจัดให้มีการ ประชุม ๔ ครั้งต่อปี และตามวาระเร่งด่วน” ร่วม ดำ�เนินงานระดับจังหวัด: ดำ�เนิน “โครงการ พัฒนาระบบการตรวจสอบชดเชย (Coding Audit) การตรวจสอบคุณภาพการรักษา (Quality Audit) และการตรวจสอบความ สมบูรณ์ของเวชระเบียน (Medical Record Audit) ระดับจังหวัดชลบุรี ประจำ�ปี พ.ศ.๒๕๕๕”
ผลงานระดับเขต: จาก “รางวัล Excellence Claim Award ๒๐๑๑ ประเภท โรงพยาบาลเอกชน / รับส่งต่อ / รัฐนอกสังกัด สปสช. ยอดเยี่ยมอันดับ ๒ วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔” และ “ใบประกาศเกียรติคุณ การนำ�เสนอผลงาน “การเรียกเก็บค่าบริการ ทางการแพทย์และการตรวจสอบเวชระเบียน ของหน่วยบริการ” วันที่ ๑๕ – ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔”
ผลการดำ�เนินงาน:
๑. ร้อยละการให้บริการสิทธิประโยชน์ แก่ผมู้ ารับบริการและการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการ ทางการแพทย์ เป้าหมาย ๙๕% ทำ�ได้เกิน เป้าหมาย ๙๙.๘๘% ๒. ร้อยละความถูกต้องของการสรุป คำ�วินิจฉัยโรค เป้าหมาย ๘๐% ทำ�ได้เกิน เป้าหมาย ๙๐% ๓. ร้อยละความสมบูรณ์ของการบันทึก เวชระเบียนทุกเกณฑ์รวมกัน เป้าหมาย ๗๕% ทำ�ได้ต่ำ�กว่าเป้าหมาย ๗๓.๕๗% ไม่ผ่านตัวชี้วัด มาเริ่มต้นทำ�กระบวนการ P = Plan, D = Do, C = Check, A = Action กันใหม่ สิ่งนี้คงเป็น คำ�ตอบทีเ่ ป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ส�ำ หรับผลงาน ที่น่าภาคภูมิใจของพวกเรา นั่นคือ รอยยิ้ม และ เสียงหัวเราะ เลิกงานตรงเวลา ๑๖.๓๐ นาฬิกา
โต๊ะทำ�งานของทุก ๆ วันที่ว่างเปล่าปราศจาก เวชระเบียนที่ไม่ได้รับการ Claim และวันหยุด เสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในปัจจุบันนี้ศูนย์บริการสิทธิประโยชน์ มีจำ�นวนบุคลากรทั้งสิ้น ๑๑ คน ประกอบด้วย พยาบาล ๕ คน เจ้าหน้าที่เวชสถิติ ๑ คน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๑ คน และ เจ้าหน้าที่ ธุรการ ๔ คน ได้มีการแบ่งส่วนงาน ดังนี้ งานระบบ HIS และงานวิเคราะห์ข้อมูลทาง การแพทย์ งานทบทวนข้อมูลทางการแพทย์ งานสิทธิประโยชน์และงานระบบการเบิกจ่าย ชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ งานตรวจสอบ รหัสโรคและหัตถการระบบฐานข้อมูลและงาน นำ�ส่งข้อมูล งานตรวจสอบเอสารสิทธิและงาน เวชระเบียนผู้ป่วยใน/นอก และ งานธุรการ ศูนย์บริการสิทธิประโยชน์ได้เริ่มพัฒนาโครงการ คุณภาพอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน โครงการสอนและฝึกอบรมการสรุปคำ�วินิจฉัยให้ ถูกต้องตรงตามหลักการสรุปการให้รหัสโรคและ หัตถการ พ.ศ. ๒๕๕๒ - ปัจจุบัน โครงการสอนและฝึกอบรมการบันทึกคุณภาพ ความสมบูรณ์ของเวชระเบียน 165
พ.ศ. ๒๕๕๕ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ข้อมูลในระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศโรงพยาบาลมาใช้ในระบบ การเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ กรณี ผู้ป่วยนอกสิทธิประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๕๕ งานสร้างโปรแกรมสำ�เร็จรูปสำ�หรับวิเคราะห์ และประมวลผลการตรวจสอบการบันทึก คุณภาพความสมบูรณ์ของเวชระเบียนสำ�หรับ หน่วยบริการ พ.ศ. ๒๕๕๕ โครงการพัฒนาระบบการตรวจสอบชดเชย (Coding Audit) การตรวจสอบคุณภาพการ รักษา (Quality Audit) และการตรวจสอบความ สมบูรณ์ของการบันทึกเวชระเบียน (Medical Record Audit) ระดับจังหวัดชลบุรี ประจำ�ปี ๒๕๕๕ พ.ศ. ๒๕๕๕ โครงการ Happy ๘ ศูนย์บริการสิทธิประโยชน์ได้มีกิจกรรมความร่วม มือกับหน่วยงาน / องค์กรภายนอกโรงพยาบาล ดังนี้ พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพการบันทึกเวชระเบียน ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ร่วมกับสำ�นักงาน สาธารณสุข จังหวัดชลบุรี 166
พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน กิจกรรมตรวจสอบการบันทึกคุณภาพการดูแลผู้ ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหอบหืด ร่วมกับสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน กิจกรรมตรวจสอบการบันทึกข้อมูลการให้บริการ สร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล ร่วมกับ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี พ.ศ. ๒๕๕๕ กิจกรรมตรวจสอบการจ่ายชดเชยค่าบริการ ทางการแพทย์ (Coding audit) แบบ Simple random ร่วมกับสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัด ชลบุรี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน กิจกรรมตรวจสอบคุณภาพการบันทึกเวช ระเบียนผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ร่วมกับ สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๖ ระยอง พ.ศ. ๒๕๕๑ - ปัจจุบัน กิจกรรมตรวจสอบการจ่ายชดเชยค่าบริการ ทางการแพทย์ (Coding audit) แบบรวมศูนย์ ร่วมกับสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๖ ระยอง
พ.ศ. ๒๕๕๔ - ปัจจุบัน กิจกรรมตรวจสอบการจ่ายชดเชยค่าบริการ ทางการแพทย์ ข้อเข่าเทียม ณ หน่วยบริการ ร่วมกับสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต ๖ ระยอง พ.ศ. ๒๕๕๕ กิจกรรมตรวจสอบการจ่ายชดเชยค่าบริการ ทางการแพทย์ (Coding audit) แบบ Simple random ร่วมกับสำ�นักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ เขต ๖ ระยอง งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม พ.ศ.๒๕๕๓ งานวิจัยโครงการศึกษาความต้องการใช้โลหิต และส่วนประกอบโลหิตของผู้ป่วย ภาวะโลหิต ออกในกระเพาะอาหารและลำ�ไส้ส่วนต้น : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้รับเกียรติบัตรประเภทผลงานวิจัย ดีมาก โดย นางสาวพัชรี ดุลนิมิตร พ.ศ.๒๕๕๕ บทความ “เรื่องเล่าที่ภาคภูมิใจ ระบบงานเบิก จ่ายชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ งานตรวจ สอบคุณภาพเวชระเบียน และโครงการออกแบบ และเขียนโปรแกรมสำ�เร็จรูปสำ�หรับวิเคราะห์ และประมวลผลการตรวจสอบการบันทึก คุณภาพความสมบูรณ์ของเวชระเบียนสำ�หรับ
หน่วยบริการ” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ หนึ่ง ประเภทบทความ โดย นางสาวพัชรี ดุล นิมิตร และนางวรรณภา งอกอ่อน พ.ศ.๒๕๕๕ LEAN ระบบยืม-คืนเวชระเบียนผูป้ ว่ ยนอก กรณีนดั มาตรวจติดตามโดย นางสาวมิ่งโกมุท เคียงพงษ์ ผลงานดีเด่นที่ได้รับรางวัล ๑. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ “Excellence claim award ๒๐๑๑” ประเภท โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข / โรงพยาบาลเอกชน ๒. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ “Excellence claim award ๒๐๑๒” ประเภท โรงพยาบาลรัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข / โรงพยาบาลเอกชน ๓. รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภทบทความ “เรือ่ งเล่าทีภ่ าคภูมใิ จ ระบบงาน เบิ ก จ่ า ยชดเชยค่ า บริ ก ารทางการแพทย์ 167
งานตรวจสอบคุณภาพเวชระเบียน และโครงการ ออกแบบและเขียนโปรแกรมสำ�เร็จรูปสำ�หรับ วิเคราะห์และประมวลผลการตรวจสอบการ บันทึกคุณภาพความสมบูรณ์ของเวชระเบียน สำ�หรับหน่วยบริการ” ๔. เกียรติบัตรประเภทผลงานวิจัยดีมาก “โครงการศึกษาความต้องการใช้โลหิตและ ส่วนประกอบโลหิตของผู้ป่วยภาวะโลหิตออก ในกระเพาะอาหารและลำ�ไส้ส่วนต้น : กรณี ศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา”
ศูนย์ประกันสุขภาพ
โรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการประกัน สุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล (๓๐ บาท ช่วยคนไทย ห่างไกลโรค) ตั้งแต่ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ปัจจุบันโรงพยาบาลได้รับมอบหมายให้ รับผิดชอบดูแลสุขภาพประชาชน ในเขตพื้นที่ เทศบาลเมืองศรีราชา แบ่งเขตการปกครองเป็น ๑๓ ชุมชน มีประชากร ตามทะเบียนราษฎร์ ๒๘,๑๐๕ คน และประชาชนพื้นที่รอยต่อ ๒ ตำ�บล ได้แก่ตำ�บลบางพระ หมู่ ๓ หมู่ ๔ หมู่ ๙ และตำ�บลสุรศักดิ์ มีประชากรสิทธิประกัน สุขภาพทั้งในเขต และพื้นที่รอยต่อ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ จำ�นวน ๕๓,๓๙๑ คน ภารกิจของโรงพยาบาล ประกอบด้วย ๘ ภารกิจหลัก ดังนี้ 168
๑. งานประกันสุขภาพ ดูแลงานในด้าน ความครอบคลุมการมีหลักประกันสุขภาพของ ประชาชน คุ้มครองสิทธิประโยชน์ในโครงการ สร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รับเรื่องร้อง เรียนและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ใน โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ๒. งานสังคมสงเคราะห์ ดูแลงานด้านให้ บริการช่วยเหลือแก่ผปู้ ว่ ยและญาติทางเศรษฐกิจ สังคม อารมณ์ และจิตใจอย่างมีคุณภาพ รวดเร็ว ถูกต้องตามมาตรฐานสังคมสงเคราะห์ และติดต่อ ประสานงานในงานสร้างหลักประกันสุขภาพ ถ้วนหน้า เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสิทธิที่พึงจะได้รับ ๓. งานยุทธศาสตร์ ดูแลงานด้านการ รวบรวมติดตามแผนการดำ�เนินงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี แผนของโรงพยาบาล ติดตามการ ใช้งบประมาณ ผลงานตามตัวชี้วัดรายไตรมาส เสนอผู ้ บริ ห าร หน่ วยงานที ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง เช่ น
สาธารณสุขอำ�เภอศรีราชา สำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี สำ�นักงานสร้างหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) และพัฒนาระบบฐานข้อมูล สุขภาพเพื่อการบริหารจัดการประเมินผลและ การจัดส่งรายงาน ๔. งานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ ๔.๑ งานอนามัยชุมชน ให้บริการส่ง เสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรค และปัญหา สุขภาพในพื้นที่ รักษาพยาบาล เบื้องต้นและ ฟืน้ ฟูสขุ ภาพ รวมทัง้ ให้การดูแล / พยาบาลผูป้ ว่ ย ต่อเนื่องที่บ้านในรายที่ได้รับการส่งต่อ จาก โรงพยาบาล จากศูนย์ประกันสุขภาพสาขา โดยเน้นการสร้างสุขภาพ และสนับสนุนให้มี การดูแลสุขภาพตนเอง โดยเฉพาะงานส่งเสริม สุขภาพผู้สูงอายุ จะเป็นการเยี่ยมบ้านสมาชิก ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยมากและพักรักษาตัวที่บ้าน จัดกิจกรรมบรรยายวิชาการให้คำ�แนะนำ� ความรู้ ด้านการดูแลสุขภาพ สนับสนุนการดูแลสุขภาพ ของตนเอง จัดกิจกรรมให้ผสู้ งู อายุ เช่น รำ�กระบอง การออกกำ�ลังกาย งานประดิษฐ์ โยคะ แอโรบิก และรำ�วงมาตรฐาน ๔.๒ งานอนามัยโรงเรียน รับผิดชอบ โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา จำ�นวน ๕ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนศรีราชา โรงเรียน เทศบาลวัดราษฎร์นิยมธรรม โรงเรียนเทศบาล บ้านศรีมหาราชา โรงเรียนดาราสมุทร และ
โรงเรียนดวงมณี โดยบริการตรวจสุขภาพ นักเรียน ให้ภูมิคุ้มกันโรค สุขศึกษา โภชนศึกษา ให้คำ�ปรึกษาด้านสุขภาพ การสุขาภิบาลใน โรงเรียน บริการด้านทันตสาธารณสุข และ สนับสนุนการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน ได้แก่ โครงการโรงเรียนสีขาว เพื่อให้เยาวชน ปลอดภัยจากปัญหาสิ่งเสพติด และพฤติกรรม เสี่ยงต่อสุขภาพ รวมไปถึงการจัดระบบเฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยงของเยาวชน การสุ่มตรวจปัสสาวะ หาสิ่งเสพติด และเตรียมความพร้อม ในการบำ�บัดรักษาอย่างมีมาตรฐาน ๔.๓ งานสาธารณสุขมูลฐาน ดำ�เนินงาน ร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมือง ศรี ร าชา สนั บสนุ นให้ ความรู ้ อ าสาสมั ค ร สาธารณสุข มีจำ�นวนทั้งสิ้น ๑๕๐ คน กระตุ้น ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการดำ�เนินงาน สาธารณสุขมูลฐานโดยประชาชน เพื่อประชาชน ซึ่งนำ�ไปสู่สุขภาพอนามัยที่ดีของคนในชุมชน ๕. งานระบาดวิทยา ดูแลงานด้าน ระบาดวิทยา สำ�รวจค้นหาสอบสวนโรค วิเคราะห์ และรายงานสถานการณ์ ก ารเฝ้ า ระวั ง โรค งานป้องกันควบคุมโรค และงานคุ้มครองผู้บริโภค (อาหารปลอดภัย Food Safety) ตลาดสดน่าซื้อ อาหารสะอาดรสชาติอร่อย Clean Food Good Taste ความปลอดภัยด้านอาหารใน 169
โรงพยาบาล เฝ้าระวังฉลากอาหารแปรรูป เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�แข็ง น้ำ�ดื่ม ภาชนะบรรจุปิด สนิท เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ�ดื่มน้ำ�ใช้ในโรงพยาบาล และตามศูนย์ประกันสุขภาพสาขา เฝ้าระวัง สถานที่ผลิตอาหาร ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ประเภทผ่าน เกณฑ์ GMP ๖. งานยาเสพติดและสุขภาพจิต ดูแล งานด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรครักษา ภาวะติดสารเสพติดและฟื้นฟูสภาพให้อยู่ใน สังคมอย่างปกติสุข ทั้งในโรงพยาบาล โรงเรียน ชุมชน และสถานประกอบการจัดบริการ คลินิก บำ�บัดยาเสพติด คลินิกเลิกบุหรี่ งานป้องกัน และให้คำ�ปรึกษาผู้ป่วยฆ่าตัวตาย ๗. งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ดูแลงานด้านเฝ้าระวัง งานป้องกันควบคุมโรค และส่งเสริมสุขภาพเจ้าหน้าที่ เฝ้าระวังสิง่ แวดล้อม จากการทำ�งานของเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุและโรคจากการ ทำ�งานของเจ้าหน้าที่ ในโรงพยาบาล ตรวจ สุขภาพเจ้าหน้าที่ประจำ�ปี พัฒนาระบบบริการ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล ๘. งานแพทย์แผนไทยและแพทย์ทาง เลือก คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เปิดให้บริการเมือ่ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ 170
เพื่อดูแลผู้ป่วยแบบ Holistic approach (ดูแล แบบองค์รวม) ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ประยุกต์กับความรู้ทางแพทย์แผนปัจจุบัน โดย ให้การรักษาผู้ป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งการนวดไทยเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่ช่วย บำ�บัดรักษาผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเส้นเอ็น และกระดูกตามร่างกาย และยังเป็นการฟื้นฟู ผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น อัมพฤษ์ อัมพาต นอกจากนี้ ยังมีการรักษาด้วยยาสมุนไพรที่เป็นอีกทางเลือก หนึ่งของผู้ที่มารับบริการ คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ให้บริการด้วยโรคที่รักษาด้วยการนวดไทย เช่น ปวดกล้ามเนื้อ หัวไหล่ติด กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดศีรษะ ฯลฯ ประคบสมุนไพร อบสมุนไพร ดูแลมารดาหลังคลอดด้วยการทับหม้อเกลือ
ปัจจุบัน ศูนย์ประกันสุขภาพมีบุคลากร จำ�นวน ๓๓ คน ประกอบด้วย ผู้จัดการศูนย์ ประกันสุขภาพ ๑ คน พยาบาล ๑๒ คน ผู้ชว่ ย พยาบาล ๔ คน นักสังคมสงเคราะห์ ๓ คน นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ ๒ คน นักการแพทย์ แผนไทย ๓ คน เจ้าหน้าทีบ่ ริหารงานทัว่ ไป ๑ คน เจ้าหน้าที่ธุรการ ๓ คน และ เจ้าหน้าที่ธุรการ (ชั่วคราว) ๔ คน
กลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ
การพัฒนาคุณภาพงานในโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เริ่มชัดเจน ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ในสมัยท่านผู้อ�ำ นวยการ นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช เนื่องจากในช่วงนั้น มีจำ�นวนผู้ป่วยที่มารับบริการมากขึ้นทั้งในและ นอกเวลาราชการ อีกทั้งจำ�นวนบุคลากรก็เพิ่ม จำ�นวนขึ้นทุก ๆ หน่วยงาน และโดยเหตุที่โรง
พยาบาลกำ�ลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ตามโครงการพระราชดำ�ริของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี การพัฒนาด้านถาวรวัตถุและอุปกรณ์ทาง การแพทย์ได้ดำ�เนินไปมากแล้ว เพื่อเป็นการ ปรับปรุงและพัฒนางานด้านต่าง ๆ ของ โรงพยาบาล ได้แก่ งานบริการ งานบริหาร และงานวิชาการ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ เป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่าง บุคลากรในโรงพยาบาล มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มีความรับผิดชอบใน หน้าที่ ตลอดจนมีการพัฒนาตนเองอย่างสม่ํ่า เสมออันจะก่อให้เกิดคุณภาพงานเป็นที่ยอมรับ เชื่อถือและศรัทธาของผู้ป่วยและประชาชนโดย ทั่วไป โรงพยาบาลจึงได้จัดให้มีการสัมมนา เรื่อง “การพัฒนาคุณภาพงานในโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา” ในวันเสาร์ที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ณ อาคารเกษตร สนิทวงศ์ เพื่อหาแนวทางใน การพัฒนาคุณภาพงานของโรงพยาบาลให้เจริญ ก้าวหน้าต่อไป ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๔๑ ท่านผู้อ�ำ นวยการ นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช ได้มีความมุ่งมั่นที่จะ ให้โรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน โรงพยาบาล จึงเริ่มดำ�เนินการกิจกรรมคุณภาพ โรงพยาบาล โดยการปูพื้นฐานให้ความรู้ บุคลากร และจากการประชุมสัมมนาคณะ 171
ผู้บริหาร เพื่อให้บรรลุมาตรฐาน โรงพยาบาล จึงได้วิสัยทัศน์ว่า มุ่งมั่นสู่มาตรฐาน พัฒนาการต่อเนื่อง เลื่องลือด้านบริการ บริหารงานโปร่งใส ได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยสร้างสรรค์สังคม คณะกรรมการประสานงานคุณภาพ โรงพยาบาล ดำ�เนินการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ กิจกรรม ๕ ส การพัฒนาพฤติกรรมบริการที่ เป็นเลิศ มาตรฐาน ISO 9002 และ กิจกรรม ข้อเสนอแนะ เพื่อคงระบบการพัฒนาคุณภาพ ของโรงพยาบาลไว้ โรงพยาบาลมีการจัดตั้งศูนย์พัฒนา คุณภาพ และเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยท่านเลขาธิการ สภากาชาดไทย ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้มกี ารเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ของชาวโรงพยาบาล สมเด็จฯ เนือ่ งจากผูอ้ �ำ นวยการ นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช ได้ถงึ วาระเกษียณอายุ และชาวโรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร มาเป็นผู้อ�ำ นวย การคนใหม่แทน ท่านได้สานงานด้านคุณภาพต่อ และได้จัดอบรมให้บุคลากรทุกระดับทุกคนเข้า รับฟังนโยบายและเส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ ทั้ง มาตรฐาน ISO 9002 กิจกรรม ๕ ส และ 172
การพัฒนาพฤติกรรมบริการที่เป็นเลิศ ในเดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และประกาศนโยบาย คุณภาพอย่างเป็นทางการในเดือนเมษายนปี เดียวกันว่า “โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มีความมุ่งมั่นในการให้บริการด้าน สุขภาพที่เป็นเลิศอย่างมีประสิทธิภาพแก่ชนทุก ชั้นด้วยความเมตตาการุณย์ บนมาตรฐานและ จริยธรรมแห่งวิชาชีพ เพื่อประโยชน์และความพึง พอใจสูงสุดของผู้มารับบริการ” การพัฒนาสถานที่และสิ่งแวดล้อม มีคณะกรรมการดำ�เนินกิจกรรม ๕ ส และ คณะอนุกรรมการส่งเสริมกิจกรรม ๕ ส ประจำ� หน่วยงาน ดูแลรับผิดชอบความเรียบร้อย ของพื้นที่ทั่วทั้งโรงพยาบาล ตามคำ�ขวัญที่ว่า “กระจกใส โครเมี่ยมวาว พื้นสะอาด เพดานไม่มี หยากไย่ ห้องน้ ำ � แห้ง” คณะกรรมการฯ จัดฝึก อบรม เรื่อง “การจัดทำ�มาตรฐาน ๕ ส” เพื่อให้ ได้มาตรฐานพื้นที่ต่าง ๆ และปฏิบัติในทิศทาง เดียวกันทั้งโรงพยาบาล จัดสัมมนาวิชาการ ๕ ส เพื่อปรับความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ในการ ดำ�เนินกิจกรรม ๕ ส จัดกิจกรรมวันทำ�ความ สะอาดครั้งใหญ่ทั่วทั้งโรงพยาบาล ครั้งแรก ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ และมี การจัดต่อเนื่องตลอดมาทุกปี ๆ ละ ๒ ครั้ง จวบจนปัจจุบัน
ด้านการบริการ ให้บริการโดยยึดผู้ป่วย เป็นศูนย์กลางและเน้นความพึงพอใจของผู้มา รับบริการ เป็นสำ�คัญ จึงได้จัดอบรมบุคลากร ทุกคน ทุกระดับ เรื่อง สู่ความเป็นเลิศในบริการ สุขภาพ เพื่อปลูกจิตสำ�นึกในการให้บริการที่ดีต่อ ผู้มารับบริการ ดังคำ�ขวัญที่ว่า “มองหน้า สบตา ยิ้ม ทักทาย ไต่ถาม แนะนำ� ให้การช่วยเหลือ” มี คณะกรรมการ OD และ ESB เป็นผู้ประสานงาน เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวดำ�เนินอย่างต่อเนื่อง ในการพัฒนาระบบงาน โรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้พัฒนา โรงพยาบาลตามมาตรฐาน ISO 9002 มีการฝึก อบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในระบบ มาตรฐาน ISO จัดทำ�เอกสารในระบบคุณภาพ ให้มีมาตรฐานและรูปแบบเดียวกันมีผู้ควบคุม เอกสารและข้อมูลส่วนกลาง และหน่วยงาน ดูแลงานเอกสารทั่วทั้งโรงพยาบาลให้เป็นระบบ เดียวกัน ในส่วนของเครื่องมือทางการแพทย์ มีการจัดตั้งระบบการดูแลเครื่องมือแพทย์ของ โรงพยาบาล อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วย อุปกรณ์ชีวการแพทย์ เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และแม่นยำ�ในการให้บริการทางการแพทย์ นอกจากนี้ได้มีการศึกษาดูงานมาตรฐาน ISO 9002 ตามหน่วยงานต่าง ๆ และ จัด บรรยายทางวิชาการเรื่อง “บทบาทของแพทย์
กับงาน ISO 9002” “ระบบงาน ISO 9002 ใน โรงพยาบาล” และจัดอบรมผู้ตรวจติดตาม คุณภาพภายใน การตรวจติดตามคุณภาพภายในโรง พยาบาล คณะผู้ตรวจติดตามฯ และผู้ถูกตรวจ ต้องทำ�งานกันอย่างหนักในการปรับระบบงานให้ เข้าเกณฑ์มาตรฐานอย่างไม่ย่อท้อ บุคลากรทุกคน ได้พยายามทำ�หน้าที่ของตนอย่างดีที่สุดด้วยความ มุ่งมั่นในการการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ได้มี การตรวจติดตามคุณภาพภายใน ๔ ครั้ง ในเดือน กันยายน ตุลาคม ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ ท่ามกลางความ ช่วยเหลือและให้กำ�ลังใจซึ่งกันและกันของพี่น้อง ชาวโรงพยาบาลสมเด็จฯ ที่มีความมุ่งมั่นอยากจะ เห็นโรงพยาบาลของเราก้าวสู่ความสำ�เร็จ ก่อน รับการตรวจประเมินเบื้องต้นจากสถาบันรับรอง มาตรฐานไอเอสโอ ในวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ และมี การปรับแก้ตามคำ�แนะนำ�ของ คณะผู้ตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นเวลา ๓ เดือน จากนั้นได้ตรวจติดตามคุณภาพภายใน อีก ๑ ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม เพื่อเตรียมความ พร้อมในการถูกตรวจเพื่อรับรองระบบบริหารงาน คุณภาพ จากสถาบันรับรองมาตรฐาน ISO ใน วันที่ ๙ – ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ในวัน สุดท้ายของการถูกตรวจประเมิน คณะผู้ตรวจ 173
ประเมินได้แจ้งผลการสรุปอย่างไม่เป็นทางการว่า โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ผ่านการรับรองมาตรฐานบริหารงานคุณภาพ โดยไม่พบข้อบกพร่องใด ๆ สร้างความปลื้มปิติ แก่พี่ น้องชาวโรงพยาบาลสมเด็จฯ ทุกคน ทุกระดับเป็นอย่างยิ่ง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ได้รับการประกาศรับรองมาตรฐาน บริหารงานคุณภาพ ISO 9002 อย่างเป็น ทางการ โดยสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ในวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ สร้าง ความภาคภูมิใจให้กับบุคลากรทุกคน หลังจากได้รับการรับรอง ISO 9002 โรงพยาบาลได้จัดตั้งทีมคร่อมสายงานทางคลินิก และทีมคร่อมสายงานเฉพาะที่จ�ำ เป็นเพิ่มเติม นอกจากนี้ได้เตรียมความพร้อมของบุคลากร เพื่อเข้าสู่มาตรฐาน HA โดยส่งหัวหน้าฝ่าย ทุกท่านของโรงพยาบาล เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตรผู้ประสานงานคุณภาพ ที่สถาบันรับรอง คุณภาพโรงพยาบาล จัดฝึกอบรมผู้บริหาร ระดับต้นทุกคนและผู้ประสานงานคุณภาพ ประจำ�หน่วยงานเป็นการภายใน ทัง้ ๖๘ หน่วย งาน จำ�นวน ๓ รุน่ ๆ ละ ๓ วัน และจัดประชุม บุคลากรทั้ง ๑,๓๐๐ คน เพื่อชี้แจงให้บุคลากร ทุกท่านเข้าใจถึงแนวคิด HA และการเชื่อมโยง 174
ระหว่างมาตรฐาน HA กับ ISO 9002 ในส่วนของคณะกรรมการบริหารของ โรงพยาบาล และผู้บริหารระดับกลางและระดับ ต้นทั้งหมด ๑๒๐ คน ได้ประชุมสัมมนากันหลาย ครั้ง เพื ่ อ ปรั บแนวคิ ด ในการพั ฒ นาคุ ณ ภาพ โรงพยาบาล จัดทำ�วิสัยทัศน์ พันธกิจ เนื่องจากมี การเปลีย่ นแปลงจากภายนอกโรงพยาบาลหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น การประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึง่ โรงพยาบาลพร้อมให้ความร่วมมือ ตามเจตจำ�นง ของสภากาชาดไทย การศึกษาต่อเนือ่ งของแพทย์ มีผลให้โรงพยาบาลต้องปรับตัว และจัดกิจกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง พร้อม ๆ กัน เช่น การปรับกระบวนการทำ�งาน ภายในให้มคี ณ ุ ภาพ ประสิทธิภาพ ทันสมัย และจริยธรรม ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งท่านผู้อำ�นวย การชัยเวช นุชประยูร ได้น�ำ แนวคิดของ Balanced scorecard มาเป็นตัวเชื่อมประสานแนวคิดการ ทำ�งานทั้งหมดให้เห็น Strategic map ซึ่งทำ�ให้ การสื่อสารเพื่อความเข้าใจในการทำ�งานในส่วน ของผู้บริหารทุกระดับและผู้ปฏิบัติมีความชัดเจน และสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้คณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาลได้มีแนวคิดในการจัดประชุม คณะกรรมการบริหารวาระพิเศษในรูปแบบ สภาคุณภาพ โดยเป็นการประชุมเรื่องคุณภาพ
โดยตรง แยกจากการประชุมเรื่องอื่น ๆ และ ด้วยระบบของ ISO 9002 ทำ�ให้โรงพยาบาล มีระบบการรายงานประสิทธิผลของระบบ คุณภาพต่อคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาล (Management review) มีระบบการจัดการ แก้ไขและป้องกันปัญหา มีกิจกรรมการตรวจ ติดตามคุณภาพภายใน รวมทั้งระบบการจัดการ ข้อร้องเรียนผู้รับบริการ ทำ�ให้สามารถติดตาม การดำ�เนินการของโรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ สำ�หรับการดำ�เนินการเพื่อเข้าสู่การ รับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA โรงพยาบาลมีความมุ่งมั่นโดยมีเส้นทางสู่ โรงพยาบาลคุณภาพ ดังนี้ การเยี่ยมสำ�รวจเพื่อเตรียมพร้อมใน การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลโดย นาวาตรีนาย แพทย์ บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ และคณะ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๔ และ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ การเยี่ยมสำ�รวจภายใน (Internal Survey) โดยเริ่มดำ�เนินการครั้งแรก ระหว่าง วันที่ ๑๙ – ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และ ดำ�เนินการมาอย่างต่อเนือ่ งปีละ ๑ – ๒ ครัง้ จวบจน ปัจจุบัน
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพ โรงพยาบาล (พรพ.) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็น สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ๑. เข้าเยีย่ มให้ค�ำ ปรึกษาเข้ม (Intensive consultancy visit : ICV) ครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ๒. เข้าเยีย่ มให้ค�ำ ปรึกษาเข้ม (Intensive consultancy visit : ICV) ครั้งที่ ๒ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ๓. เข้าเยี่ยมสำ�รวจโรงพยาบาล (survey) วันที่ ๒๗ – ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ ๔. เข้าเยี่ยมสำ�รวจเพื่อติดตามเฉพาะ เรื่อง (Focus survey) วันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ โรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพ ตามมาตรฐานโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ๕. การเยี่ยมสำ�รวจเพื่อต่ออายุการ รับรอง (Re-Accreditation Survey) ครั้งที่ ๑ ใน วันที่ ๑๘ – ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ๖. การเยี่ยมสำ�รวจเพื่อต่ออายุการ รับรอง (Re-Accreditation Survey) ครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๔ – ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ๗. การเยี่ยมสำ�รวจเพื่อต่ออายุการ รับรอง (Re-Accreditation Survey) ครั้งที่ ๓ 175
ในวันที่ ๓ – ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ สิง่ สำ�คัญในช่วง ปีพ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๕๕ คือการสานต่อ ขับเคลื่อน และธำ�รงไว้ซึ่งคุณภาพ ผู้นำ�ระดับสูงกระตุ้น ชี้นำ�องค์กร สื่อสารและ ส่งเสริมผลการดำ�เนินงานที่ดีให้ความมั่นใจใน คุณภาพและความปลอดภัยในการดูแลผู้รับ บริการ สร้างระบบการกำ�กับดูแลกิจการที่ดี มี ความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ดำ�เนินงานอย่าง มีจริยธรรม และมีส่วนสนับสนุนต่อสุขภาพของ ชุมชน มีการกำ�หนดกลยุทธ์ถ่ายทอดนำ�สู่การ ปฏิบัติ ติดตามความก้าวหน้า เพื่อให้มั่นใจว่า บรรลุวัตถุประสงค์ สร้างความเข้มแข็งให้กับการ ดำ�เนินงานขององค์กร สร้างความเชื่อถือศรัทธา จากประชาชนและผู้เจ็บไข้ได้ป่วย ให้เกิดความ มั่นใจไว้วางใจให้ดูแลช่วยเหลือในยามเจ็บป่วย หรือบริการด้านสุขภาพต่าง ๆ มีความพึงพอใจ และให้ความร่วมมือ มีการประเมินและนำ� ข้ อ มู ล ความพึงพอใจของผู้ร ับบริก าร ผู ้ ร ั บผลงาน มาใช้ปรับปรุงการดำ�เนินงาน ตระหนักและ ให้การคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยตามสิทธิพื้นฐานที่ จะได้รับบริการด้านสุขภาพตามที่บัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญ จัดให้มกี ารวัด วิเคราะห์ ปรับทิศทาง ทบทวน และปรับปรุงผลงาน พัฒนาระบบ สารสนเทศ ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ ทีจ่ �ำ เป็นมีคณ ุ ภาพ และพร้อมใช้งาน มีการสร้างและจัดการความรู้ 176
เพือ่ ปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของ องค์กร ทั้งเน้นพัฒนาคน สร้างความผูกพันกับ บุคลากร จัดระบบค่าตอบแทนและแรงจูงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดี จัดสภาพแวดล้อมการ ทำ�งานและสร้างบรรยากาศที่สนับสนุนให้ บุคลากรมีสุขภาพดีมคี วามปลอดภัย พัฒนาระบบ งานทีส่ �ำ คัญ รวมทัง้ พัฒนาคุณภาพการดูแลผูป้ ว่ ย ในลักษณะบูรณาการตามมาตรฐานและจริยธรรม วิชาชีพ ให้ความร่วมมือกับชุมชน จัดบริการ สร้างเสริมสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการ ของชุมชนทีร่ บั ผิดชอบให้การสนับสนุนการพัฒนา ความสามารถของชุมชนในการปรับปรุงสุขภาพ และความเป็นอยูท่ ด่ี ี พัฒนาวิชาการ และพัฒนา คุณภาพบริการทุกด้าน โดยมีเป้าหมายที่สำ�คัญ คือ ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อ เนื่อง เพื่อให้เกิดคุณภาพ ความปลอดภัย และ ผลลัพธ์สุขภาพที่ดี คณะผู้บริหาร คณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรม ราชเทวี ณ ศรีราชา มีความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ในปีพ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ เริ่มดำ�เนินการพัฒนาโรงพยาบาลให้สอดคล้อง กับทิศทางและนโยบาย แผนยุทธศาสตร์ของ สภากาชาดไทย ที่มุ่งให้ โรงพยาบาลมีการพัฒนา บริการให้ครบวงจรและ ได้มาตรฐานสากล : JCI
งานด้านอำ�นวยการ ฝ่ายการเงินและบัญชี
(Joint Commission International) ซึ่งเป็น มาตรฐานโรงพยาบาลที่ทั่วโลกให้การยอมรับจาก HA สู่ JCI มาตรฐานการรักษาพยาบาลที่นับว่า ครอบคลุมในทุกหมวดหมู่ ทั้งความปลอดภัยและ มาตรฐานในการรักษาที่ดี มุ่งให้ความสำ�คัญกับ ผู้ป่วยและบุลากรทุกฝ่ายในองค์กร ซึ่งจะส่งผลดี ในทุก ๆ ด้าน อันจะนำ�ไปสู่คุณภาพการบริการ และความปลอดภัยที่ดีที่สุดสำ�หรับผู้รับบริการ การพัฒนาคุณภาพในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๕๕ โรงพยาบาลสร้างผลงานให้เป็นที่ ประจักษ์แก่สังคม ได้รับรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ มากมาย นำ�มาซึ่งความภาคภูมิใจ กำ�ลังใจใน การทำ�ความดีและส่งเสริมให้ท�ำ ดีขึ้นอย่างต่อ เนื่องให้กับเจ้าหน้าที่ทุกคน
ฝ่ายการเงินและบัญชี ได้จัดตั้งขึ้นครั้ง แรกที่ตึกพระพันวัสสา ชั้น ๒ โดยนายแพทย์ สุกรี สืบสงวน ซึ่งดำ�รงตำ�แหน่งแพทย์ผู้ปกครอง โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ในสมัยนั้น คุณชาญชัย หนูนิล ดำ�รงตำ�แหน่งพนักงานบัญชี คุณอารยา สอนนวมเสนาะ ดำ�รงตำ�แหน่ง พนักงานเงินสด ต่อมาคุณชาญชัย หนูนลิ ได้ลาออก จากสภากาชาดไทย คุณชาตรี ฉลอง จึงได้มา ปฏิบัติงานแทน คุณชาญชัย หนูนิล ดำ�รงตำ�แหน่ง พนักงานบัญชี และได้รบั เจ้าหน้าทีเ่ พิม่ จำ�นวน ๑ คน คือคุณวินิจ ชื่นชม ในตำ�แหน่งสมุห์บัญชีเป็นคน แรกของโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา รวมเจ้า หน้าที่การเงินและบัญชีทั้งสิ้นจำ�นวน ๔ คน ด้วย ความเจริญเติบโตของโรงพยาบาลสมเด็ จ ฯ ณ ศรีราชา ทางการเงินและบัญชี จึงได้รบั เจ้าหน้าที่ เพิ่มจำ�นวน ๓ คน และได้ย้ายหน่วยการเงิน และบัญชีมาอยูท่ ต่ี กึ ศรีสงั วาลย์ แบ่งเป็น ๒ หน่วย คือหน่วยการเงินและหน่วยบัญชี สมัยคุณชาตรี ฉลอง เป็นหัวหน้าแผนกการเงิน มีบคุ ลากรรวม ๑๒ คน ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกี่ยวกับ ระบบการจ่ายเงินเดือน โดยจ่ายผ่านระบบธนาคาร ซึ่งแต่เดิมทุกสิ้นเดือนแผนกการเงินและบัญชี จะนับเงินใส่ซองให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมารับ แล้วเซ็นชื่อในทะเบียนซึ่งไม่สะดวก และเริ่มนำ� 177
ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยเก็บเงินผู้ป่วยนอก เมื่อคุณชาตรี ฉลอง เกษียณอายุ คุณอารยา สอนนวมเสนาะ จึงดำ�รงตำ�แหน่งหัวหน้าหน่วย การเงินและบัญชีแทน มีการพัฒนาห้องทำ�งาน และมีการขยายปรับปรุงห้องทำ�งานของหน่วย การเงินและบัญชี พร้อมทั้งรับบุคลากรเพิ่มเพื่อ รองรับระบบงานคอมพิวเตอร์ที่ขยายเก็บเงิน ผู้ป่วยนอกเพิ่มขึ้น ต่อมาสมัยคุณพจนี พัฒน สุวรรณ เป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินและบัญชี ได้มี การพัฒนาเก็บเงินผูป้ ว่ ยในเพิม่ และมีการขยาย จุดเก็บเงินผูป้ ว่ ยไปที่อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี และ มีการนำ�ระบบคอมพิวเตอร์มาใช้บันทึกรายการ บัญชี ในระบบบัญชี ในการนีม้ คี ณ ุ ภัทรานิษฐ์ กลิน่ หอม ในยุคนัน้ เป็นผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการ เงินและบัญชี เป็นผู้รับผิดชอบพัฒนาระบบการ เงินและบัญชีให้ฝ่าย ต่อมาปีพ.ศ. ๒๕๕๒ คุณ ภัทรานิษฐ์ กลิ่นหอม ขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่ายการ เงินและบัญชี ได้พัฒนาฝ่ายการเงินและบัญชี โดยแบ่งแยกหน่วยงาน ๕ หน่วย คือ หน่วย การเงินผู้ป่วยนอก หน่วยการเงินสำ�นักงาน หน่วยงบประมาณบัญชีและสถิติ หน่วยตรวจ สอบใบสำ�คัญ และ หน่วยเงินเชื่อและธุรการ มีการรับบุคลากรเพิ่มเติม เพื่อรองรับภาระงาน ที่เพิ่มขึ้น และมีการพัฒนาระบบการเงินและ บัญชี โดยเชื่อมโยงจากระบบการเงิน ผู้ป่วย 178
นอกมาลงบัญชีและออกรายงานงบการเงินผ่าน ระบบคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันฝ่ายการเงินและบัญชี กำ�ลังพัฒนาระบบบัญชี จากระบบพีซซี ี เป็นระบบ ซีดจี ี ในด้านการเงินและบัญชีส�ำ นักงาน เพื่อ ให้สอดคล้องกับสภากาชาดไทย มีบุคลากร ๔๑ คน ประกอบด้วยหัวหน้าฝ่ายการเงิน ๑ คน หัวหน้าหน่วยงาน ๕ คน และเจ้าหน้าที่การเงิน และบัญชี ๓๕ คน ผู้บริหารสูงสุดของฝ่ายการเงินและบัญชี แต่ละสมัยตามลำ�ดับ ดังนี้ ๑. นายชาญชัย หนูนิล พนักงานบัญชี ๒. นายวินิจ ชื่นชม สมุห์บัญชี ๓. นายชาตรี ฉลอง หัวหน้าแผนก การเงินและบัญชี ๔. นางอารยา สอนนวมเสนาะ หัวหน้าหน่วย การเงินและบัญชี ๕. นางพจนี พัฒนสุวรรณ หัวหน้าฝ่าย การเงินและบัญชี ๖. นางภัทรานิษฐ์ กลิน่ หอม หัวหน้าฝ่าย การเงินและบัญชีคนปัจจุบัน
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป เป็นหน่วยงาน สนับสนุนงานบริการทางการแพทย์ และอำ�นวย ความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับหน่วยงานภายใน และภายนอกองค์กร เพื่อให้การดำ�เนินงาน ของโรงพยาบาลบรรลุเป้าหมายตามอย่าง ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เดิมฝ่ายบริหารงานทั่วไป เรียกว่า แผนกธุรการ มีลักษณะงานของหน่วยงานที่ แตกต่างกัน คือ มีการงานภายในออกเป็น 10 งาน แต่ละงานมีภาระงานมากและงานแตกต่าง กันอย่างชัดเจน เช่น งานเลขานุการ งานการ จ้าหน้าที่ เป็นงานเกี่ยวกับเอกสาร ที่สนับสนุน ผู้บริหาร และต้องประสานงานกับหน่วยงาน ภายนอก ส่วนช่างเทคนิค งานช่างโยธา และ งานช่างอุปกรณ์การแพทย์เป็นงานเกี่ยวกับการ ซ่อม และบำ�รุงรักษา ซึ่งประกอบด้วย งานต่างๆ อาทิ งานไม้งานปูน งานประปา งานเฟอร์นิเจอร์ งานระบบไฟฟ้า งานบำ�รุงรักษาเครือ่ งปรับอากาศ ลิฟต์ อิเลคทรอนิคส์ งานอุปกรณ์ชีวการแพทย์ สำ�หรับสถานที่ปฏิบัติงาน เดิมอยู่ที่ ตึกพระพันวัสสา ต่อมาได้มีการเพิ่มผู้บริหาร และบุคลากรตามปริมาณที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับ ตึกศรีสังวาลย์ซึ่งเป็นตึกขนาด ๒ ชั้น ได้ท�ำ ฐานรากไว้สามารถต่อเติมได้อีก ๑ ชั้น จึงได้
ทำ�การต่อเติมเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๓๔ และย้าย สำ�นักงานแผนกบริหารงานฯ มาทีต่ กึ ศรีรสังวาลย์ ในปีพ.ศ. ๒๕๓๕ จากการที่มีงานหลายด้านซึ่ง แตกต่างกันไปนัน้ ในปีพ.ศ. ๒๕๓๖ คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ สภากาชาดไทย จึงได้มีมติให้ เปลี่ยน “แผนกธุรการ” เป็น “แผนกบริหารงานทั่วไป” เพื่อให้สะท้อนถึงความหลากหลายของงานที่รวม กันอยู่ ในปีพ.ศ. ๒๕๔๐ สภากาชาดไทย ให้ ยกเลิกคำ�ว่า “แผนก” และให้ใช้ค�ำ ว่า “ฝ่าย” แทน โรงพยาบาลได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง เมื่อ ปีพ.ศ. ๒๕๓๔ และได้มีการปรับปรุงโครงสร้าง ล่าสุด เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๑ โดยให้แบ่งส่วนงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็น ๒๓ ฝ่าย ๔ ศูนย์ และ ๑ กลุ่มงาน โดยฝ่าย บริหารงานทั่วไปได้แยกฝ่ายบริหารงานทั่วไป ออกเป็น ๓ ฝ่าย ได้แก่ ๑. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป รับผิดชอบ งานสนับสนุนอำ�นวยความสะดวก แก่หน่วยงาน ทุกหน่วยงานภายในโรงพยาบาล ได้แก่ งาน เลขานุการ งานการเจ้าหน้าที่ งานบริการ โทรศัพท์และวิทยุสื่อสาร งานนโยบายและแผน งานประชาสัมพันธ์และลูกค้าสัมพันธ์ งานพิธกี าร งานสนับสนุนอืน่ ๆ (ได้โอนหน่วยสังคมสงเคราะห์ ฝ่ายบริหารงานทัว่ ไป ไปสังกัดศูนย์ประกันสุขภาพ ) 179
๒. ฝ่ายบริหารงานพัสดุ และจัดซื้อ รับผิดชอบงานจัดซื้อ จัดหาพัสดุ ที่มีคุณภาพ ถูกต้อง ทันเวลา ตรงตามความต้องการ และจ่าย พัสดุได้อย่างรวดเร็ว ๓. ฝ่ายบริหารอาคารสถานที่และสิ่ง แวดล้อม รับผิดชอบงานสนับสนุนอำ�นวย ความสะดวก แก่หน่วยงานทุกหน่วยงานภายใน โรงพยาบาลให้ปฏิบัติงานด้วยความสะดวก ปลอดภัย ได้แก่ งานซ่อมบำ�รุงเครื่องมือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ทั่วไป และ อุปกรณ์ชีวการแพทย์ รวมทั้งงานซ่อมบำ�รุง อาคาร บ้านพักของโรงพยาบาล ให้บริการ ยานพาหนะทั้งในส่วนของผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ ให้บริการด้านรักษาความปลอดภัยแก่เจ้าหน้าที่ ผู้ป่วยและทรัพย์สินของโรงพยาบาล งานดูแล สถานที่ สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล ในปีพ.ศ. ๒๕๔๓ โรงพยาบาลได้นำ� ระบบคุณภาพ ISO 9001 มาใช้ทว่ั ทัง้ โรงพยาบาล ฝ่ายบริหารงานฯ ได้มกี ารปรับปรุง ทบทวนระเบียบ คำ�สั่ง แนวปฎิบัติ หลักเกณฑ์ เฉพาะโรงพยาบาล ครั้งใหญ่ พร้อมทั้งจัดทำ�รูปแบบให้สอดคล้องกับ ระบบคุณภาพดังกล่าว โดยในส่วนของระเบียบ ของสภากาชาดไทยยังคงเช่นเดิม ระบบสารบรรณอิเลคทรอนิคส์ เดิมกระบวนการและวิธีท�ำ งาน สารบรรณ ยึดการออกเลขที่หนังสือลงคุม 180
ทะเบียนหนังสือทางสมุดคุม และเดินเอกสาร รวมถึงการสืบค้นโดยการยึดสมุดคุมและเอกสาร กระดาษเป็นหลัก ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๓๘ ฝ่ายบริหารงานทั่วไปได้ปรับเปลี่ยนโดยนำ� คอมพิวเตอร์มาใช้ โดยใช้โปรแกรม excel ในการลงทะเบียนรับหนังสือเข้า ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ โรงพยาบาลได้น�ำ ระบบสารระบบสาร บรรณอิเลคทรอนิคส์ มาใช้ เปลีย่ นเป็นการทำ�งาน ทางอิเลคทรอนิคส์แทนการคุมทะเบียนผ่านสมุด ที่ครอบคลุม สะดวก ติดตาม ค้นหาง่าย ทำ�ให้ การทำ�งานเป็นสมัยใหม่ทั้งการปฏิบัติงานที่ สะดวก รวดเร็วขึน้ โดยเชือ่ มโยงกับหน่วยต่าง ๆ ในสภากาชาดไทย และฝ่ายต่าง ๆ ในโรงพยาบาล ระบบบุคลากรอิเลคทรอนิคส์ เดิมการบันทึกประวัติของเจ้าหน้าที่ใช้ บันทึกในการ์ด กระดาษ และเก็บสำ�เนาหลักฐาน ต่าง ๆ ต่อมาได้นำ�คอมพิวเตอร์มาใช้ในการเก็บ ข้อมูลต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ ปัจจุบันโรงพยาบาล ได้นำ�ระบบ HIS scan ข้อมูลของเจ้าหน้าที่ เชื่อมโยงกับฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผู้ป่วย นอกฯ เพื่อในอนาคตข้างหน้าจะสามารถนำ� ประโยชน์จากการเชื่อมโยงข้อมูลมาใช้ในการ บริหารบุคคล การบริหารสวัสดิการ ค่าตอบแทน และการทำ�งานวิจัยในเรื่องบุคลากร ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ฝ่ายพัสดุและจัดซื้อ
ฝ่ายบริหารงานพัสดุและจัดซื้อเดิมชื่อ หน่วยสัมภาระ สถานที่ท�ำ งานเดิมอยู่ที่ชั้นล่าง ใต้ตึกบรมราชเทวี การปกครองในสมัยนั้นขึ้น อยู่กับพ่อบ้าน คือ นายกล้า เอี่ยมเงิน มีบุคลากร ปฏิบัติงาน ๓ คน ประกอบด้วย พนักงาน สัมภาระ ๒ คน และคนงาน ๑ คน มีห้องเก็บ คลังพัสดุ ๑ ห้องใหญ่ และ ๑ ห้องเล็ก เจ้าหน้าที่ นั่งทำ�งานด้านหน้าติดกับห้องเก็บศพ บางครั้ง ญาติผู้มาติดต่อรับศพคิดว่าพนักงานสัมภาระเป็น เจ้าหน้าที่ห้องศพ หน่วยสัมภาระรับผิดชอบเกี่ยวกับงาน จัดซื้อจัดจ้างพัสดุด้วยวิธีตกลงราคา งานจ่าย และควบคุมคลังพัสดุยกเว้นยา เวชภัณฑ์และ ครุภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ สมัยก่อนตึกและ หน่วยงานยังไม่มีมากเหมือนปัจจุบัน ระบบ บริหารงานพัสดุยังไม่มีระบบควบคุมที่ดี การจัด ซื้อ/จ้างทำ�ได้ง่ายไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อน ไม่มี ระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบจาก ภายนอก โรงพยาบาลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมี หน่วยงานและตึกเพิม่ ขึน้ ห้องคลังเก็บพัสดุไม่เพียงพอ เมื่อมีการสร้างตึกมหิดลอดุลยเดช จนแล้วเสร็จ และให้หน่วยงานย้ายเข้าไปทำ�การ ตึกตันฉื่อฮ้วง ซึ่งเป็นตึกรักษาผู้ป่วยเด็กได้ย้ายไปทำ�การอยู่ที่
ชัน้ ๔ ปัจจุบนั เรียกว่าตึกมอ. ๔ ก ทำ�ให้ตกึ ตันฉือ่ ฮ้วง ว่าง ปีพ.ศ. ๒๕๓๓ จึงได้ขยายพื้นที่คลังเก็บพัสดุ หมวดเครื่องเขียนแบบพิมพ์มาทำ�การที่ชั้นบน ด้านปีกซ้ายของตึกตันฉื่อฮ้วงแทน ส่วนด้านปีก ขวาและชั้นล่างเป็นของฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ หน่วยสัมภาระมีสถานที่คับแคบขึ้นเพราะมีเจ้า หน้าทีเ่ พิม่ มากขึน้ ห้องทำ�งานคับแคบไม่พอให้เจ้า หน้าที่นั่งทำ�งาน เจ้าหน้าที่ต้องแยกทำ�การเป็น ๒ ที่ คือที่ชั้นล่างตึกบรมราชเทวี และชั้นบนตึก ตันฉื่อฮ้วง ต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ โดยมีการต่อ เติมขั้นล่างใต้มหิดลอดุลยเดชด้านทิศเหนือ ทำ� เป็นห้องสำ�นักงานและห้องคลังเก็บพัสดุ เมื่อ แล้วเสร็จปีพ.ศ. ๒๕๓๕ จึงได้ย้ายคลังและ สำ�นักงานมาทำ�การที่นี่ทั้งหมด โดยมีคุณจินารี คงวรรณะ ตำ�แหน่งผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลมาช่วย ดูแลหน่วยสัมภาระ และสายการบังคับบัญชาขึ้น ตรงต่อ ผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการ คือ นายแพทย์ศภุ ชัย ถนอมสัตย์ ซึ่งดำ�รงตำ�แหน่งในขณะนั้น พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้มีการปรับระบบงาน ภายในโดยให้งานพัสดุไปขึ้นตรงต่อฝ่ายบริหาร งานทั่วไป โดยมี นางสาวรุ่งรวี วงษ์พสุเสถียร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป มีการวาง ระบบการทำ�งานให้มีสายการบังคับบัญชาและมี การแต่งตั้งภายในให้มีหัวหน้ารับผิดชอบโดยตรง 181
พ.ศ. ๒๕๕๓ หน่วยพัสดุ ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ได้ปรับมาเป็นฝ่ายบริหารงานพัสดุและจัดซื้อตาม โครงสร้างใหม่ของสภากาชาดไทย มีหัวหน้า ฝ่ายบริหารงานพัสดุและจัดซื้อรับผิดชอบ โดย สายการบังคับบัญชาขึน้ ตรงต่อผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการ ฝ่ายบริหาร คือนายแพทย์สมพร เตชะพะโลกุล และมีการรับอัตรากำ�ลังเพิ่ม ซึ่งโครงสร้างใหม่นี้ ได้มีการโอนงานครุภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ซึ่งเดิม อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ และงานจัดซื้อจัดจ้างวิธีสอบราคาและประกวด ราคา ซึ่งเดิมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วย เลขาฯ ฝ่ายบริหารงานทั่วไปเข้ามาอยู่ที่ฝ่าย บริหารงานพัสดุ และจัดซื้อด้วย ปัจจุบันนี้มี บุคลากรทั้งสิ้น ๑๔ คน ประกอบด้วย หัวหน้า ฝ่ายบริหารงานพัสดุและจัดซื้อ ๑ คน เจ้าหน้าที่ พัสดุ ๑๑ คน และ คนงานทั่วไป ๒ คน มีการ แบ่งงาน ดังนี้ ๑. งานจัดซื้อจัดจ้าง รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ (ยกเว้นยาและเวชภัณฑ์) ทุกวิธีตามระเบียบสภากาชาดไทยว่าด้วยการ พัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒. งานจ่ายและควบคุมคลัง รับผิดชอบ เกี่ยวกับการจ่ายพัสดุตามใบเบิกและควบคุมพัสดุ คงคลังให้เป็นระบบและปลอดภัยไม่สูญหาย ๓. งานควบคุมบัญชีกลาง รับผิดชอบ เกี่ยวกับการรับเข้าและตัดจ่ายตามใบเบิกพัสดุ 182
และสำ�รองพัสดุคลังให้เพียงพอกับความต้องการ ๔. งานครุภัณฑ์ รับผิดชอบเกี่ยวกับ ครุภัณฑ์สำ�นักงานและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ทั้งหมด ตั้งแต่จัดซื้อจัดจ้าง ควบคุมทะเบียน และจำ�หน่าย ๕. งานธุรการ รับผิดชอบเกี่ยวกับ งานเอกสารเข้า - ออกของฝ่ายฯ และเอกสาร คุณภาพ
ฝ่ายบริหารอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม
เดิมฝ่ายบริหารอาคารฯ เป็นหน่วยงาน หนึ่งในฝ่ายบริหารงานทั่วไป จากการประชุม คณะอนุกรรมการพิจารณาการจัดระบบบริหาร และปรับปรุงโครงสร้างอัตรากำ�ลังและระบบงาน ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้มีมติอนุมัติการปรับโครงสร้างและการแบ่ง ส่วนงานและกำ�หนดกรอบอัตรากำ�ลังของโรง พยาบาลสมเด็จฯ การปรับครั้งนี้มีหน่วยงานใน สังกัดฝ่ายบริหารงานทั่วไป ได้รับการยกระดับ จากหน่วย เป็นฝ่าย คือ ฝ่ายบริหารอาคารสถาน ที่และสิ่งแวดล้อม และ ฝ่ายบริหารงานพัสดุและ จัดซื้อ ฝ่ายบริหารอาคารสถานทีแ่ ละสิง่ แวดล้อม มีหน่วยงานในสังกัด ๓ หน่วย ได้แก่ ๑. งานซ่อมบำ�รุง ประกอบไปด้วย งานย่อย ๒ ด้าน คือด้านช่างเทคนิค และด้าน
ช่างโยธา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้มีการ เปลี่ยนชื่อจากหน่วยช่าง เป็นหน่วยซ่อมบำ�รุง และแบ่งออกมาเป็น ๓ งานย่อย ได้แก่ ๑.๑ งานโยธา ซึ่งรับผิดชอบงานประปา งานสี งานเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ งานปูน งานจัด สถานที่ ๑.๒ งานเครื่องกล ซึ่งรับผิดชอบงาน เชื่อม งานบอยเลอร์ งานบ่อบำ�บัดน้ ำ � เสีย งาน เครื่องยนต์ ๑.๓ งานไฟฟ้า ซึ่งรับผิดชอบงานไฟฟ้า งานเครื่องปรับอากาศ งานอีเล็คทรอนิกส์ ๒. หน่วยอุปกรณ์ชีวการแพทย์ ซึ่ง รับผิดชอบงานซ่อมแซม บำ�รุงรักษา และ สอบเทียบเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ๓. หน่วยธุรการทั่วไป รับผิดชอบ งานสวน งานยานพาหนะ งานรักษาความปลอดภัย งานเรือนพักตากอากาศ งานกำ�จัดของเสีย งานอาคารสถานที่ อัตรากำ�ลัง ฝ่ายบริหารอาคารฯ มีอัตรา กำ�ลัง จำ�นวน ๑๐๐ คน แบ่งเป็นรายตำ�แหน่ง (ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕) ได้แก่ ๑. หัวหน้าฝ่าย ๑ ตำ�แหน่ง ๒. หน่วยซ่อมบำ�รุง ๒.๑ นายช่างโยธา ๕ ตำ�แหน่ง ๒.๒ นายช่างเทคนิค ๑ ตำ�แหน่ง
๒.๓ นายช่างเครื่องกล ๕ ตำ�แหน่ง ๒.๔ นายช่างไฟฟ้า ๗ ตำ�แหน่ง ๒.๕ เจ้าหน้าที่ธุรการ ๒ ตำ�แหน่ง ๒.๖ ช่าง ๑๐ ตำ�แหน่ง ๒.๗ คนงานทั่วไป ๔ ตำ�แหน่ง ๓. หน่วยอุปกรณ์ชีวการแพทย์ ๓,๑ นายช่างเวชภัณฑ์ ๔ ตำ�แหน่ง ๓.๒ เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑ ตำ�แหน่ง ๓.๓ คนงานทั่วไป ๑ ตำ�แหน่ง ๔. หน่วยธุรการทั่วไป ๔.๑ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ๑ ตำ�แหน่ง ๔.๒ เจ้าหน้าที่ธุรการ ๒ ตำ�แหน่ง ๔.๓ คนงานทั่วไป ๓ ตำ�แหน่ง ๔.๔ คนสวน ๑๕ ตำ�แหน่ง ๔.๕ พนักงานขับรถ ๑๑ ตำ�แหน่ง ๔.๖ นักการภารโรง ๒ ตำ�แหน่ง ๔.๗ พนักงานรักษาความปลอดภัย ๒๒ ตำ�แหน่ง ๔.๘ พนักงานขับรถไฟฟ้า (ลูกจ้าง ชั่วคราว) ๓ ตำ�แหน่ง
พันธกิจ
ให้บริการสนับสนุนอำ�นวยความสะดวก แก่หน่วยงานทุกหน่วยงานภายในโรงพยาบาล ให้ ปฏิบัติงานด้วยความสะดวก ปลอดภัย งานที่ให้ 183
บริการ ได้แก่ งานซ่อมบำ�รุง งานอุปกรณ์ชีวการ แพทย์ งานรักษาความปลอดภัย งานยานยนต์ งานสวนและกำ�จัดขยะ งานเรือนพักตากอากาศ งานอนุรักษ์พลังงาน งานจัดสถานที่ เป็นต้น เป้าหมาย / ตัวชี้วัดที่ส�ำ คัญของฝ่าย ๑. มีภูมิทัศน์สวยงาม สะอาด ร่มรื่น ๒. มีระบบสาธารณูปโภคทีด่ ี และเพียงพอ ๓. มีระบบการซ่อมบำ�รุงที่ได้มาตรฐาน ๔. มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดี ๕. มียานพาหนะที่ดี เพียงพอ พนักงาน ขับรถด้วยความปลอดภัย สุภาพ ถึงทีห่ มายทันเวลา ๖. มีโครงสร้างทางกายภาพที่ดี แข็งแรง แลดูสวยงามอยู่เสมอ โครงการก่อสร้างและปรับปรุงต่างๆที่ส�ำ คัญ ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๔๕ – พ.ศ. ๒๕๕๕
๑. โครงการที่ได้ดำ�เนินการไปแล้ว
๑.๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เป็นกิจกรรม หนึ่งในโครงการเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี โรงพยาบาล สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๕) มูลเหตุที่ก่อสร้างอาคารนี้ คืออาคารบริการผู้ป่วยนอกเดิม (ตึกอัยิกาเจ้า) ได้ก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๔ สามารถ
184
รองรับผู้รับบริการได้วันละประมาณ ๕๐๐ คน ในขณะเดียวกันก็มีผู้มารับบริการวันละมากกว่า ๑,๕๐๐ คน จึงทำ�ให้เกิดความแออัด ไม่ได้รับ ความสะดวก อีกทั้งยังเป็นข้อจำ�กัดในการพัฒนา งานบริการผู้ป่วยทั้งทางด้านการตรวจวินิจฉัย การส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนการให้บริการอื่นที่ จำ�เป็นอีกด้วย เนือ่ งจากในอดีตการแบ่งพืน้ ทีโ่ รงพยาบาล จะแบ่งเป็น เขตบ้านพักเจ้าหน้าที่และเขต รักษา พยาบาล ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารฯ คณะ กรรมการบริหารโรงพยาบาลได้มีการประชุม กันหลายครั้งในเรื่องการพิจารณาการใช้พื้นที่ ก่อสร้างและได้นำ�เสนอขออนุมัติประธานคณะ กรรมการ กำ�หนดการใช้พื้นที่สภากาชาดไทย ได้มีมติให้ก่อสร้างอาคารฯ ทางฝั่งด้านซ้ายมือ ของถนนทางเข้าโรงพยาบาลและทำ�สะพานเชื่อม ระหว่างอาคารใหม่กับอาคารเขตรักษาพยาบาล นอกจากการวางระบบงานบริการผู้ป่วย ที่ได้มาตรฐานและทันสมัยแล้ว อาคารหลังนี้ ยังมีสิ่งอำ�นวยความสะดวกครบครัน โดยเฉพาะ ระบบขนส่งที่มีบันไดเลื่อน หลังแรกของอาคาร ในโรงพยาบาล พื้นที่ใช้สอยของอาคารประมาณ ๑๗,๖๔๐ ตารางเมตร งบประมาณในการ ก่อสร้างรวมทั้งอุปกรณ์การแพทย์ประมาณ ๒๕๔,๐๑๒,๔๒๖ บาท รัฐบาลได้อนุมัติ งบประมาณในการก่อสร้าง เป็นจำ�นวนเงิน
๑๕๘,๘๐๐,๐๐๐ บาท ได้รับการสนับสนุนจาก ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบการก่อสร้าง ประมาณ ๑๔๐,๘๖๑,๕๐๓ บาท รวม ๒๙๙,๖๖๑,๕๐๓ บาท ส่วนที่เหลือได้นำ�มาเป็น กองทุนสำ�หรับบำ�รุงรักษาอาคาร พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมราชูปถัมภก สภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออาคารนี้ว่า “อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี” สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยาม บรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำ�นวยการ สภากาชาดไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำ�เนินทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่
๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ เสด็จพระราชดำ�เนิน ทรงตรวจเยีย่ มความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารฯ เมื่อวันที่ ๗ - ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ พระราชทานเงินจำ�นวน ๕๒๕,๐๐๐ บาท เพื่อจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ และเสด็จ พระราชดำ�เนินทรงเปิดอาคารฯ ในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ๑.๒ การต่อเติมอาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี สภากาชาดไทย ได้อนุมัติโครงการความร่วม มือในการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทระหว่าง สภากาชาดไทยกับมหาวิทยาลัยบูรพา เมือ่ เดือน มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยมอบให้โรงพยาบาล
อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี หลังจากสร้างเสร็จ
185
สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นสถาน ที่จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิก (ชั้นปีที่ ๔-๖) เนื่องจาก โรงพยาบาลยังไม่มีที่ท�ำ การศูนย์ แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก เพื่อใช้ในการเรียน การสอนนิสิตแพทย์ และตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ นิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชั้นปีที่ ๔ รุ่นที่ ๑ ได้ย้ายมา เรียนในระดับคลินิก นายสุทัศน์ ตั้งเทวาประสิทธิ์ ซึ่งเป็น ผู้มีอุปการคุณให้การสนับสนุนโรงพยาบาล มาอย่างต่อเนื่อง ได้มาเยี่ยมชมโรงพยาบาลและ เห็นความจำ�เป็นที่จะต้องมีสถานที่ให้การเรียน การสอนแก่นิสิตแพทย์ รวมทั้งการเพิ่มจำ�นวน
อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี หลังจากสร้างส่วนต่อเติมเสร็จ
186
ห้องตรวจผู้ป่วย จึงได้แจ้งความจำ�นงจะขอ บริจาคเงินจำ�นวน ๓๐ ล้านบาท เพื่อสนับสนุน การก่อสร้างต่อเติมดังกล่าว พื้นที่ต่อเติมอาคาร ประมาณ ๒,๑๓๐ ตารางเมตร งบประมาณการ ก่อสร้างรวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ เป็นเงินประมาณ ๗๑,๔๔๗,๑๔๐ ล้านบาท ส่วนที่เกินจากเงิน บริจาค โรงพยาบาลใช้เงินนอกงบประมาณของ โรงพยาบาล การต่อเติมในครั้งนี้ นอกจากจะใช้เป็น อาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกแล้ว ยังเพิ่มจำ�นวนห้องตรวจรักษาผู้ป่วยนอกได้อีก ๒๐ ห้อง สามารถลดความแออัดของผู้ป่วยได้ ระดับหนึ่ง
๑.๓ คลินกิ การแพทย์แผนไทยประยุกต์ ตามที่โรงพยาบาลได้ให้ความร่วมมือ กับรัฐบาลในการดูแลสุขภาพประชาชน ภายใต้ โครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเป็นหน่วยบริการตามพระราชบัญญัติหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ และ โรงพยาบาลได้รับอนุมัติให้เปิดบริการแพทย์ แผนไทยประยุกต์ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยใช้พื้นที่ชั้นล่างของอาคารเทพอาทร ส่วนที่พักแพทย์ที่ไม่ได้ใช้งาน มาทำ�การปรับปรุง รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๖๐ ตารางเมตร และได้ประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยนายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย
๑.๔ โครงการซื้อที่ดินเพิ่ม สืบเนือ่ งจากโรงพยาบาล มีจ�ำ นวนผูป้ ว่ ย มากขึ้นทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในในแต่ละวัน จะมีผู้มารับบริการตรวจรักษาที่อาคารผู้ป่วย นอกกว่า ๒,๐๐๐ คน ผู้ป่วยในกว่า ๓๕๐ คน ไม่ รวมผู้มาเยี่ยมผู้ป่วย มาบริจาคโลหิต บริจาคเงิน ศึกษาดูงาน ติดต่อราชการ ฯลฯ จำ�นวนรถที่เข้า มาจอดในโรงพยาบาลมีประมาณวันละ ๑,๓๐๐ คัน นอกจากนี้โรงพยาบาลยังมี บุคลากรประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ ประมาณ ๑,๗๐๐ คน ปฏิบตั งิ าน แต่โรงพยาบาล สามารถจัดที่จอดรถยนต์ได้เพียง ๖๒๙ คัน อีกทั้งแนวถนนหน้าโรงพยาบาลเป็นถนนแคบ ไม่สามารถจอดรถได้ตลอดแนว จึงทำ�ให้เกิด การจราจรติดขัด ผู้ป่วยไม่ทันพบแพทย์ตาม นัด เนื่องจากต้องวนหาที่จอดรถ เกิดการกระทบ กระทั่งกันระหว่างผู้มารับบริการด้วยกันเอง และผูม้ ารับบริการ กับเจ้าหน้าทีข่ องโรงพยาบาล รวมทั้งมีข้อร้องเรียนเรื่องสถานที่จอดรถยนต์ ตลอดเวลา อีกประการหนึ่งทางเข้า-ออก หลัก ของโรงพยาบาล รวมอยู่ที่เดียวบริเวณด้านหน้า โรงพยาบาล ใช้เป็นทางเข้าและทางออกของคน และรถทุกประเภทตลอดทั้งวัน จึงเกิดปัญหา ความหนาแน่น การจราจรติดขัดทัง้ ในโรงพยาบาล 187
ลานจอดรถสนามฟุตบอลเก่า (ก่อนปรับปรุง)
และถนนหน้าโรงพยาบาล โดยเฉพาะเวลาเช้า และเวลาเย็น ประกอบกับทางเข้า ตั้งอยู่ตรง ทางโค้งของถนนหน้าโรงพยาบาล ซึ่งถนน ค่อนข้างแคบ เกิดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ ต่อผู้ขับขี่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ และผู้คนที่ สัญจรไปมา ที่สำ�คัญหากเกิดกรณีฉุกเฉิน ต่าง ๆ ในโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลจะต้อง รับสถานการณ์ดังกล่าว การมีทางเข้า - ออก ของโรงพยาบาล รวมอยู่ที่เดียวบริเวณด้านหน้า โรงพยาบาลจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานเป็น อย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลดังกล่าว โรงพยาบาลมีความ จำ�เป็นต้องขออนุมัติ ซื้อที่ดินเพิ่มเติม มีผู้ยินดี ขายให้โรงพยาบาล ๒ รายคือ ที่ดินแปลงที่ ๑ พื้นที่ ๔๐๓ ตารางวา ๆ ละ ๒๕,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๑๐,๐๗๕,๐๐๐ บาท เจ้าของที่ดิน ยินดี ลดราคา เหลือ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาทถ้วน ที่ดิน 188
ลานจอดรถสนามฟุตบอลเก่า (หลังปรับปรุง)
แปลงที่ ๒ พื้นที่ ๘๔ ตารางวา ๆ ละ ๒๘,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๓๕๒,๐๐๐ บาท รวมราคาที่ดิน จำ�นวน ๒ แปลง มูลค่าประมาณ ๑๒,๔๒๗,๐๐๐ ล้านบาท ต่อมาคณะกรรมการบริหาร สภากาชาดไทย ครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ ได้มีมติอนุนัติ เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ๑.๕ โครงการปรับปรุงถนนและบริเวณ ภายในโรงพยาบาล จากการที่สภาพถนนรวมทั้งบริเวณ ที่จอดรถภายโรงพยาบาล มีสภาพเป็นหลุมเป็นบ่อ ช่วงฤดูฝนหรือเวลาฝนตกมีน้ ำ � ขังเฉอะแฉะ การสัญจรไปมา ไม่สะดวก เสี่ยงต่อการเกิด อุบัติเหตุ ทำ�ให้มีที่จอดรถได้น้อย นอกจากนั้นใน ส่วนของรางระบายน้ ำ � ฝนก็เก่า แคบ และชำ�รุด บางส่วน รองรับนา้ํ ฝนได้นอ้ ย เวลาทีม่ ฝี นตกหนัก ระบายนา้ํ ไม่ทนั ทำ�ให้มนี า้ํ ล้นเอ่อมาบนผิวถนน โรงพยาบาล จึงได้มีโครงการปรับปรุงถนนและ
ลานจอดรถใต้ต้นไทร(ก่อนปรับปรุง)
หลังปรับปรุง
บริเวณภายในโรงพยาบาล เพื่อทำ�การปรับปรุง ถนน ลานจอดรถ รางระบายน้ำ�ฝน เสาไฟ ประดับถนนพร้อมช่อโคมไฟรูปดอกลีลาวดี และ ได้รับงบประมาณให้ด�ำ เนินการในปีพ.ศ. ๒๕๕๓ โดยมีค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น ๑๙,๗๐๐,๐๐๐ บาท โดยสร้างเสร็จพร้อมใช้งานเมื่อเดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เสาไฟประดับถนนพร้อมช่อโคมไฟรูปดอกลีลาวดี
๑.๖ โครงการปรับปรุงหอผูป้ ว่ ย ตึกศรีสวรินทิรา ตึกศรีสวรินทิรา ไม่ได้ถูกใช้งานมา ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ช่วงที่เกิดน้ ำ � ท่วม กรุงเทพฯ ครั้งใหญ่ (มหาอุทกภัย) เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๔ – ต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โรงพยาบาล จึงได้ทำ�การปรับปรุงให้เป็นหอผู้ป่วย เพื่อรองรับ ผู้ป่วยที่อาจส่งต่อจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ต่อมาโรงพยาบาลมีโครงการจัดตัง้ ศูนย์สง่ เสริม 189
ถนนทางขึ้นบ้านพักแพทย์บนเขา(ก่อนปรับปรุง)
ถนนทางขึ้นบ้านพักแพทย์บนเขา(ก่อนปรับปรุง)
ถนนทางแยกหน้าบ้านพักแพทย์เอกรินทร์(ก่อนปรับปรุง)
หลังปรับปรุง
ด้านหน้าศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุสภากาชาดไทย
190
ภายในศูนย์ส่งเสริมฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุสภากาชาดไทย
และฟืน้ ฟูสขุ ภาพผูส้ งู อายุ สภากาชาดไทย จึงจะใช้ตึกนี้เป็นหอผู้ป่วยสำ�หรับดูแลผู้สูงอายุ โดยมีการจัดการฝึกอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุด้วย และได้เปิดดำ�เนินการเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ๑.๗ โครงการปรับปรุงหอผู้ป่วย ตึกเมธานิวาตวงศ์ จากการที่มีผู้ป่วยมารับบริการเพิ่มขึ้น ทำ�ให้หอ้ งพิเศษทีม่ อี ยูไ่ ม่เพียงพอต่อความต้องการ ของผู้ป่วย คณะกรรมการบริหาร โรงพยาบาล เห็นว่า มีผู้ป่วยบางประเภทที่มารับการผ่าตัด และอยูโ่ รงพยาบาลเพียง ๑ - ๓ วัน มีอยูจ่ �ำ นวน ไม่นอ้ ย จึงได้อนุมตั ใิ ห้ปรับปรุงห้องพิเศษตึกเมธาฯ ชั้นล่าง รองรับผู้ป่วยดังกล่าว โดยเริ่มเปิดดำ�เนิน การเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ๑.๘ โครงการติดตั้งระบบผลิตน้ ำ �ร้อน พลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน ตามที่รัฐบาลออกกฎหมายด้านการ ใช้พลังงานโดยได้ประกาศพระราชบัญญัติ การอนุรักษ์พลังงาน ฉบับที่ ๑ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ และฉบับที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ นั้น สภากาชาดไทย ได้รับนโยบายดังกล่าวมา ประกาศใช้กับทุกหน่วยงานของสภากาชาดไทย โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชาก็ได้ดำ�เนินการ ตามนโยบายดังกล่าว โดยได้มีการออกมาตรการ
ชุดอุปกรณ์รับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Collector) ที่ติดตั้งบนดาดฟ้าตึกมหิดลอดุลยเดช
ถังเก็บน้ำ�ร้อนที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำ�ร้อนพลังงาน แสงอาทิตย์ระบบผสมผสาน
นโยบายการอนุรักษ์พลังงาน ให้เจ้าหน้าที่ได้ ปฏิบัติตลอดมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ กรมพัฒนาพลังงาน ทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้มีโครงการใช้ นา้ํ ร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ดว้ ยระบบผสมผสาน โดยการให้งบประมาณสนับสนุนร้อยละ ๓๐ 191
แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งฝ่ายบริหาร อาคารฯ ได้ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาด้านอนุรักษ์ พลังงานของโรงพยาบาลแล้ว พบว่าโรงพยาบาล สามารถนำ�ความร้อนเหลือทิง้ จากเครือ่ งปรับอากาศ จากตึก มหิดลอดุลยเดชกลับมาใช้ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ได้ หากโรงพยาบาลเข้าร่วมโครงการดัง กล่าว จะทำ�ให้ลดค่าใช้จ่ายด้านค่าไฟฟ้าของโรง พยาบาล โดยมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ ๔ ปี โรงพยาบาลจึงขออนุมัติยื่นแบบขอรับ การสนับสนุนการลงทุนโครงการ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งได้รับการพิจารณาให้ได้รับการสนับสนุนใน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยได้ไปลงนามใน สัญญาความร่วมมือส่งเสริมการใช้พลังงานแสง อาทิตย์ผลิตความร้อนตามโครงการส่งเสริมการใช้ น้ ำ �ร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยระบบผสมผสาน ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ในการติดตัง้ ระบบดังกล่าว จะดำ�เนินการติดตั้ง อุปกรณ์ Solar collector ชนิด Evacuated collector รับแสงอาทิตย์จำ�นวน ๖๘.๑๔๖ ตารางเมตร ที่ชั้นดาดฟ้าของตึกมหิดลอดุลยเดช เพื่อผลิตน้ำ�ร้อนให้ได้ประมาณวันละ ๘,๕๐๐ ลิตร ต่อวัน ทีอ่ ณ ุ หภูมิ ๖๐ องศาเซลเซียส แล้วเดินท่อ น้ ำ �ร้อนจ่ายตามห้องผู้ป่วย ชั้น ๕, ๖, ๗ จำ�นวน ๕๙ ห้อง และเริ่มใช้งานตั้งแต่มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕ 192
ก่อนปรับปรุง
หลังปรับปรุง
๑.๙ โครงการปรับปรุงเรือนพักนาง พยาบาล พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นหอพักนิสิตแพทย์ ชั่วคราว สืบเนื่องจากการที่โรงพยาบาลได้ร่วมมือ กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อ ผลิตแพทย์ โดยโรงพยาบาลจะรับนิสิตแพทย์ชั้น ปีที่ ๔ - ๖ มาศึกษาชั้นคลินิก แต่อาคารหอพัก นิสิตแพทย์และอาจารย์ ยังสร้างไม่เสร็จ จึงได้มี การปรับปรุงเรือนพักนางพยาบาล พ.ศ. ๒๕๐๐
เป็นหอพักนิสิตแพทย์ชั่วคราว มีทั้งหมด ๒๘ ห้องรวมค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ประมาณ ๑๐,๐๓๒,๓๔๐ บาท โดยเริ่มเปิดใช้ งานเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ๑.๑๐ การปรับปรุงเรือนพักตากอากาศ และโถงพิพธิ ภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี สืบเนื่องจากที่โรงพยาบาลได้เสนอ โครงการท่องเที่ยวตามรอยสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ประกอบกับเรือนพักตากอากาศได้ ชำ�รุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ซึ่งต่อมา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ได้อนุมัติโครงการ ท่องเทีย่ วตามรอยสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จำ�นวนเงิน ๔,๕๙๕,๕๕๐ บาท โดยการปรับปรุง ซ่อมแซมตึกพระพันวัสสาและเรือนพักตากอากาศ จำ�นวนเงิน ๒,๗๙๕,๕๕๐ บาท และตกแต่งสถานที่ และจัดนิทรรศการเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจ จำ�นวนเงิน ๑,๘๐๐,๐๐๐ บาท โดยดำ�เนินการ แล้วเสร็จและส่งมอบงานเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ นอกจากนี้โรงพยาบาลยั ง ได้ จั ด สรร เงินอีกประมาณ ๒,๒๕๗,๖๑๙ บาท สำ�หรับ ปรับปรุงเรือนพักตากอากาศเพิ่มเติม และอีก ๓๕๑,๗๙๘ บาท สำ�หรับการทาสีหลังคา สี ภายนอกและสีภายในตึกพระพันวัสสา ซึ่ง เป็นทีต่ ง้ั ของพิพธิ ภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี
เรือนพักตากอากาศ (ก่อนปรับปรุง)
เรือนพักตากอากาศ (หลังปรับปรุง)
๒. โครงการที่ก�ำ ลังดำ�เนินการ
๒.๑ โครงการซื้อเครื่องกำ�เนิดไอน้ ำ � ระบบใช้ก๊าซแอลพีจี เนื่องจากโรงพยาบาลใช้เครื่องกำ�เนิด ไอน้ ำ � ที่มีน�ำ มันเตาเป็นเชื้อเพลิงมาเกือบยี่สิบปี เครื่องที่ใช้อยู่เริ่มเก่า ชำ�รุดบ่อย การเผาไหม้ที่ ไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดเขม่าควันดำ�และกลิ่นเหม็น รบกวนผู้อยู่อาศัยในชุมชนใกล้กับโรงพยาบาล เมื่อเปรียบเทียบราคาค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ระหว่าง 193
น้ ำ � มันเตากับก๊าซแอลพีจีมีความแตกต่าง คือเมื่อ คำ�นวณจากสถิติที่ผ่านมาโรงพยาบาลใช้น้ ำ � มัน เตาเฉลีย่ ปีละประมาณ ๔,๗๕๓,๘๒๕ บาท แต่ถ้าเปลี่ยนมาใช้เครื่องกำ�เนิดไอน้ ำ � เครื่องใหม่ ที่มีขนาดเล็กกว่า ใช้ก๊าซแอลพีจี เป็นเชื้อเพลิง จะค่าก๊าซปีละประมาณ ๓,๑๙๒,๒๗๓ บาท ทำ�ให้โรงพยาบาลประหยัดเงินได้ปีละประมาณ ๑,๕๖๑,๕๕๒ บาท อีกทั้งการเผาไหม้สมบูรณ์ กว่าทำ�ให้มีเขม่าควันน้อยมาก เป็นการลดมลพิษ ในอากาศและลดการรบกวนผู้อยู่อาศัยใกล้ โรงพยาบาล ลดปัญหาข้อร้องเรียน โรงพยาบาลจึงได้ดำ�เนินการจัดซื้อ เครื่องกำ�เนิดไอน้ ำ � ใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงเป็นก๊าซ แอลพีจี มาแทนเครื่องเก่าที่มีอายุการใช้งาน เกือบ ๒๐ ปี ด้วยงบประมาณ ๕,๒๓๐,๐๐๐ บาท ซึ่งได้จัดซื้อไปแล้ว คาดว่าติดตั้งแล้วเสร็จ พร้อมใช้งานประมาณเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๖
เครื่องกำ�เนิดไอนํ้าชนิดที่ใช้ก๊าซแอลพีจี เป็นเชื้อเพลิง
194
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล แก่นายแพทย์จรุง อุคพัชญ์สกุล ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในงานประชุม HA National Forum ครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ พาร์ค กรุงเทพฯ
๑. นายแผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทย รับมอบใบรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9002 จากนายชาญนาวิน สุกแจ่มใส ผู้อำ�นวยการสถาบันรับรอง มาตรฐานไอเอสโอ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔
๒. ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 : 2000 เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๖
195
๓. ได้รับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล (Re – Accreditation) เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
๔. ได้รับการรับรองกระบวนการโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ Healthy Thailand จากกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
196
๕. ได้รับรางวัล NGO Award จาก ๓๒ องค์กรภาคี Global Fund TBCA และกองควบคุมโรคติดต่อ ในการดำ�เนิน โครงการ ASO Thailand และ ASO – T Thailand โดยได้รับ งบประมาณสนับสนุนจากมูลนิธกิ องทุนโลกเพื่อลดและแก้ไข ปัญหาเอดส์และวัณโรคในสถานประกอบการ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล แก่ นายแพทย์จรุง อุคพัชญ์สกุล ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรม ราชเทวี ณ ศรีราชา ในงานประชุม HA National Forum ครั้งที่ ๗ เมื่อ วันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
๖. ได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมโครงการปรับปรุงกระบวนการผลิตในอุต สาหกรรม ด้านเทคโนโลยี
สะอาด พ.ศ. ๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติและการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
197
๗. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณ ที่เป็นหน่วยงานที่ ให้การสนับสนุนและเข้าร่วมการเข้าฝึกซ้อมแผน ป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดชลบุรี ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ด้านการระงับอัคคีภัยในอาคารสูง เป็นอย่างดียิ่ง เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
๘. ได้รับถ้วยพระราชทาน รางวัลชนะเลิศ ประจำ�ภาคกลาง งานประกวดอาหารว่างเพิ่ม พลังงานเพื่อสุขภาพคนไทย จากพระเจ้าวรวง ศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินั ดดามาตุ ในผลิตภัณฑ์อาหารว่าง “รวมมิตร ตะวันออก” เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
198
๙. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงประทาน การรับรองระบบบริการงานคุณภาพตามมาตรฐานงาน เทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สำ�หรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ จากสภาเทคนิคการแพทย์ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
๑๐. ได้รับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล (Re – Accreditation) เมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงประทานประกาศนียบัตรรับรองกระบวนการคุณภาพโรงพยาบาล แก่ศาสตราจารย์กิตติคุณนายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ผู้อ�ำ นวยการ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในงานประชุม HA National Forum ครั้งที่ ๑๑ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
๑๑. ได้รับรางวัลชนะเลิศการจัดบริการลด ระยะรอคอยและลดความแออัดผู้ป่วยนอก และให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ จาก สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
199
ได้รบั รางวัลโรงพยาบาลสายใยรักระดับทอง ครัง้ ที่ ๓ จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรศั มิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพฯ เมือ่ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
๑๒. ได้รบั โล่ประกาศเกียรติคุณ โรงพยาบาลผ่านเกณฑ์การประเมิน ความเสี่ยง จากการทำ�งานของบุคลากรในโรงพยาบาลระดับ ๕ (ระดับสูงสุด) จากสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.) เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
200
๑๓. ได้รับรางวัลการจัดบริการเพื่อลดระยะเวลารอคอยและลดความแออัด ผู้ป่วยนอก ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๕๔ จากสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
๑๔. ได้รับรางวัล TB Award ประจำ�ปี พ.ศ.๒๕๕๔ จากสำ�นักงานสาธารณสุข จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
๑๕. ได้รับรางวัลนวัตกรรม Sound hand Hygine จากสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๕ – ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔ ณ โรงแรมลองบีช การ์เด้น โฮเทล แอนด์ สปา พัทยา ๑๖. ได้รับรางวัล Excellence Claim Award ๒๐๑๑ ประเภทโรงพยาบาลเอกชล / รับส่งต่อ / รัฐนอกสังกัด สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ยอดเยี่ยมระดับทอง จากสำ�นักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔
201
ได้รับการคัดเลือกจากสำ�นักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ให้นำ�เสนอผลงานทางวิชาการในงาน สัมมนาระบาดวิทยาแห่งชาติครั้งที่ ๒๑ ณ โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๖ – ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
รางวัลสถานพยาบาลในดวงใจ ระดับประเทศ รางวัลที่ ๑ ประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๕๕
202
รางวัลพิเศษ สำ�หรับสถานพยาบาลระดับสูงดีเด่นด้านการ ให้บริการในระบบส่งต่อผู้ประกันตน พ.ศ. ๒๕๕๕
โครงการต่อเนื่อง
ศูนย์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ โรงพยาบาลมีเป้าหมาย ที่จะส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็น การตอบสนองความต้องการในการดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุ สภากาชาดไทย โรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จึงมีนโยบายในการ พัฒนาต้นแบบการให้บริการด้านผู้สูงอายุ เพื่อ ยกระดับคุณภาพชีวิต (Quality of life) ของ ประชาชน โดยการจัดตั้ง “ศูนย์ส่งเสริมและ ฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุสภากาชาดไทย” ที่มุ่งเน้น ๑. การให้บริการอย่างครบวงจร (Comprehensive Care) ประกอบด้วย การส่งเสริม สุขภาพ (Health promotion) การป้องกันโรค (Disease prevention) การรักษาโรค (Disease curation) และ การฟื้นฟูสภาพและการบำ�บัด แบบประคับประคอง (Rehabilitative & palliative care) ๒. การให้บริการทีต่ อ่ เนือ่ ง (Continuous of Care) แบ่งเป็น การดูแลต่อเนือ่ งตัง้ แต่กอ่ นป่วย เริ่มป่วย ป่วยเรื้อรัง จนถึงระยะสุดท้ายของชีวิต การดูแลก่อนเข้าสูว่ ยั สูงอายุ (๕๐-๖๐ ปี) การดูแล เมือ่ เป็นโรคในระยะเริม่ ต้น หรือในระยะทีย่ งั ไม่เกิด ภาวะแทรกซ้อน (Elderly care in early disease) การดูแลเมือ่ เป็นโรคเฉียบพลันหรือประสบภยันตราย
(Elderly acute and emergency care) การดูแลเพื่อการฟื้นฟูสภาพให้กลับเป็นปกติหรือ ใกล้เคียงปกติ (Elderly rehabilitative care) การดูแลเพื่อดูแลรักษาโรคเรื้อรัง (Elderly hospital care) โดยมีการจัดกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้ กิจกรรมที่ ๑ การส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค (Health promotion & prevention) ได้แก่ การดูแลก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ คือ การดูแล รักษา ส่งเสริม ป้องกันโรคในประชากรกลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่มีอายุก่อนเข้าสู่วัยเกษียณ โดยให้การดูแล เป็นแบบ “ผู้ป่วยนอกที่ห้องตรวจ จัดกิจกรรม ส่งเสริมป้องกันที่แผนกปฐมภูมิ” กิจกรรมที่ ๒ การรักษาและฟื้นฟู สภาพ (Medical treatment & rehabilitation) โดยการให้บริการทางการแพทย์แผนปัจจุบัน ได้แก่ คลินิกผู้สูงอายุ คลินิกเวชศาสตร์ครอบครัว คลินิกทันตกรรม รวมไปถึงการฟื้นฟูสภาพ เช่น 203
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกา ผู้อำ�นวยการสภากาชาดไทย ทรงพระราชทานนามอาคารนี้ว่า “อาคารเทพรัตน์การุญ” พร้อมทั้งเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีวาง ศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
204
กายภาพบำ�บัด วารีบ�ำ บัด ธาราบำ�บัด กาย อุปกรณ์ และการแพทย์ทางเลือก กิจกรรมที่ ๓ การให้บริการผู้สูงอายุ แบบไปกลับ และการเยี่ยมบ้าน (Day care & home care) กิจกรรมที่ ๔ การให้ความรู้และฝึก อบรม (education & training) ให้แก่ผู้สูงอายุ และญาติ ผู้บริบาลผู้สูงอายุ ตลอดจนบุคลากร ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ ๕ การจัดตั้งหรือสนับสนุน ให้มีชมรมผู้สูงอายุ (Elderly health club) ทั้งของโรงพยาบาลหรือที่เกิดจากรวมกลุ่มของ ชุมชน เพื่อจัดกิจกรรมเชิงสุขภาพ
อาคารหอพักนิสิตแพทย์และ อาจารย์แพทย์
โรงพยาบาลได้เล็งเห็นความสำ�คัญในการ ร่วมแก้ปญ ั หาสาธารณสุขของชาติ จึงเห็นสมควร ให้มีโครงการร่วมผลิตแพทย์ชั้นคลินิกระหว่าง โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา กับมหาวิทยาลัยบูรพา โดยเป็นโรงพยาบาลหลัก (Teaching hospital) ในการจัดการเรียนการสอน นิสิตแพทย์ระดับคลินิก (ปีที่ ๔–๖) เพื่อรองรับ นโยบายผลิตแพทย์เพิม่ ของรัฐบาลตามแผนลงทุน เสริมสร้างโครงสร้างสาธารณสุขแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๒) ตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ของภาครัฐด้านสาธารณสุข และให้สอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ของสภากาชาดไทยในด้านการ แพทย์และสาธารณสุข เป้าหมายที่ ๒ คือ ร่วม ผลิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสนับสนุน ทางการแพทย์ที่มีสมรรถนะและคุณภาพเป็นเลิศ ตรงความต้องการของประเทศ โครงการดังกล่าวได้รบั ความเห็นชอบจาก คณะกรรมการสภากาชาดไทย เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๕๒ และมีพธิ ลี งนามบันทึก ข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการผลิตแพทย์ เพิ่มเพื่อชาวชนบทระหว่าง สภากาชาดไทยและ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ตามเกณฑ์ของแพทยสภาว่าด้วย การขอเปิดดำ�เนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
กำ�ลังเทคอนกรีตเสาตอม่อ
กำ�ลังเทคอนกรีตพื้นชั้นที่หนึ่ง
205
ข้อ ๑๐ โรงพยาบาลจะต้องหาสถานที่ เพื่อเป็น หอพักนิสิตแพทย์ ที่จะมาฝึกปฏิบัติงาน โรงพยาบาลจึงได้ ปรับปรุงเรือนพยาบาล พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งไม่ใช้งานมานานเป็นหอพักนิสิตแพทย์ ชั่วคราว เนื่องจากการก่อสร้างอาคารหอพัก นิสิตแพทย์และอาจารย์ เป็นอาคารขนาด ๑๕ ชั้น คาดว่าการก่อสร้างอาคารจะแล้วเสร็จ สามารถให้นิสิตแพทย์ อาจารย์ แพทย์ใช้ทุน และแพทย์ประจำ�บ้าน เข้าพักอาศัยได้ประมาณ ปีพ.ศ. ๒๕๕๗
โครงการ เฉลิมพระเกียรติวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๑๑๐ ปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๔๔๕) เป็นโรงพยาบาลที่มีความสำ�คัญกับชีวิต ของชาวไทยในภาคตะวันออกอย่างยิ่ง เพราะ จะมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาร่วม ๑ ล้านรายต่อปี หากสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ไม่ทรงมีพระกรุณาธิคณ ุ ก่อตั้งโรงพยาบาลแห่งนี้ขึ้น จะทำ�ให้มีผู้ป่วย เดือดร้อนสาหัสและเสียชีวิตอีกเหลือคณานับ สภาพในปัจจุบนั ของโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ถือว่าเป็นโรงพยาบาลที่แออัดและมี ระบบเกี่ยวเนื่องเพื่อการรักษาประชาชนที่นับว่า 206
กำ�ลังก่อสร้าง
ภาพจำ�ลองเมื่อสร้างเสร็จ
ตัวอย่างภาพบางส่วนที่พลับพลาขององค์พระราชานุสาวรีย์เกิดการชำ�รุด
ค่อนข้างล้าหลัง สภาพของอาคารและอุปกรณ์ หลายแห่งเก่าและชำ�รุดจนอาจเป็นอันตรายต่อ ชีวติ ได้ เช่น ห้องตรวจ ห้องฉุกเฉิน และห้องผ่าตัด ไม่เพียงพอ อีกทั้งบุคลากรที่เสียสละตัวเองเพื่อ ช่วยเหลือผู้ป่วย มีสภาพชีวิตต่ ำ � กว่ามาตรฐาน เนื่องจากโรงพยาบาลขาดทุนทรัพย์ที่จะดำ�เนิน การปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างเป็นระบบ มาเป็นระยะเวลายาวนาน โครงการนี้เกิดขึ้นโดยพระราชดำ�ริของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผูอ ้ �ำ นวยการสภากาชาดไทย เพือ่ ทำ�การ พัฒนาโรงพยาบาลแห่งนี้ให้มีมาตรฐานมากขึ้น และตอบสนองความต้องการของประชาชนใน ภาคตะวันออก อาทิเป็นศูนย์การแพทย์ด้าน เวชศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นศูนย์ฝึกอบรมแพทย์ เฉพาะทางสาขาต่าง ๆ ตลอดจนเป็นสถานฝึก อบรมของนักศึกษาแพทย์และนักศึกษาพยาบาล โดยจะทำ�การก่อสร้าง “ศูนย์รักษาพยาบาลรวมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ๑๕๐ ปี” เป็นอาคารหลัก ซึ่งจะใช้งบประมาณส่วนนี้ ประมาณ ๓,๕๐๐ ล้านบาท และต้องปรับปรุง สาธารณูปโภคต่าง ๆ เช่น ระบบบำ�บัดน้ ำ � เสีย เตาเผาขยะติดเชื้อ ระบบแก๊สทางการแพทย์ ระบบรักษาความปลอดภัย และอาคาร 207
สนับสนุนต่าง ๆ เป็นเงินอีกประมาณ ๑,๗๐๐ ล้านบาท รวมเป็นงบประมาณทั้งโครงการ ประมาณ ๕,๒๐๐ ล้านบาท รวมอุปกรณ์ทางการ แพทย์อีกประมาณ ๘๐๐ ล้านบาท รวมเป็นเงิน ทั้งโครงการประมาณ ๖,๐๐๐ ล้านบาท จะใช้ เวลาก่อสร้าง ปรับปรุงทั้งโครงการประมาณ ๗ - ๘ ปี โครงการดังกล่าวนี้ โรงพยาบาลได้รับ ความกรุณาจากอาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ศึกษาวิเคราะห์และจัดทำ�กรอบการพัฒนา โรงพยาบาลได้รับอนุมัติให้จ้างออกแบบและ ควบคุมงานทั้งโครงการ เป็นเงิน ๑๐๐ ล้านบาท เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖ และได้เสนอ ขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ โดยในส่วน ของโรงพยาบาลเอง ได้เริม่ รณรงค์หาผูม้ จี ติ ศรัทธา บริจาคตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ คาดว่าโครงการ พัฒนาโรงพยาบาลนีจ้ ะแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เมือ่ สร้างแล้วเสร็จจะสามารถช่วยเหลือประชาชน ผู้เจ็บป่วยได้ร่วม ๑ ล้านคนต่อปี และเพื่อสืบสาน พระราชปณิธานของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า วัตถุประสงค์ของโครงการ ๑. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้บริการ ทางการแพทย์ในภูมิภาคตะวันออก อันเป็นการ สืบสานพระราชดำ�ริของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา 208
ภาพอาคารหอพักนิสิตแพทย์ และอาจารย์ (ใหม่)
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เรื่องการ ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ร้อนของประชาชนทั่วไป ให้คงอยู่สืบไป ๒. เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็น พระราชกุ ศ ล สมเด็ จ พระศรี ส วริ น ทิ ร า บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ๓. เพื่อเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพการ บริการแก่ผู้เจ็บป่วย ประชาชนที่เข้ารับบริการ โดยเฉพาะ ผู้ประสบอุบัติเหตุจากการทำ�งาน ผู้เจ็บป่วยที่เกิดจากการทำ�งาน อุบัติเหตุจาก การจราจร ผู้ประสบอุบัติภัย ผู้ป่วยโรคฉุกเฉิน เฉียบพลัน ซึ่งการบริการดังกล่าวจะต้องมีความ พร้อมทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ ฉุกเฉิน ๔. เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการป้องกัน โรค และส่งเสริมสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพ ตนเองได้ มีความสามารถในการหารายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ๕. เพื่อให้ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง ทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจาก ๕.๑ ผลิตภาพ (Productivity) ของประเทศและภูมิภาคจะสูงขึ้น เนื่องจาก ประชาชน เจ็บป่วย พิการ หรือเสียชีวิตน้อยลง สามารถสร้างผลผลิตได้เพิ่มขึ้น 209
๕.๒ สถานประกอบการมีรายได้เพิ่ม ขึ้น เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้นจากพนักงานเจ็บ ป่วยน้อยลง และลดรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากการ รักษาพยาบาลของพนักงาน ๕.๓ รัฐบาลและท้องถิ่นมีรายได้จาก การเก็บภาษีอากรมากขึ้น ทั้งจากภาษีรายได้ บุคคลและ นิติบุคคล เนื่องจากมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ๕.๔ รายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลของประเทศ ลดลง ๖. เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนชาวต่างชาติ ที่จะมีศูนย์ ความเป็นเลิศด้านการแพทย์ฉุกเฉินและ เวชศาสตร์อุตสาหกรรม ผู้ใช้แรงงานได้รับการ ดูแลสุขภาพอย่างมีประสิทธิภาพ ๗. เพื่อให้มีศูนย์รักษาพยาบาลรวมที่ได้ มาตรฐานสากล มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ฉุกเฉิน และเวชศาสตร์อตุ สาหกรรม ทีใ่ ห้การดูแล ด้านสุขภาพที่ครบวงจร ทั้งการรักษา ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ กลุ่มเป้าหมายของโครงการ ประชากร โดยเฉพาะผู้ประสบอุบัติเหตุ จากการทำ�งาน อุบตั เิ หตุจากการจราจร ผูอ้ บุ ตั ภิ ยั ผู้เจ็บป่วยที่เกิดจากการทำ�งาน จากโรคฉุกเฉิน เฉียบพลัน ทัง้ ในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์ ฉุกเฉิน ในภาคตะวันออก 210
การวัดความสำ�เร็จของโครงการ วัดโครงการหลังจากดำ�เนินโครงการ เสร็จสิ้นแล้ว ๑ – ๓ ปี ๑. จำ�นวนผูป้ ว่ ยนอกทุกประเภท ไม่ตา่ํ กว่า ๑,๕๐๐,๐๐๐ รายต่อปี ๒. จำ�นวนผู้ป่วยในทุกประเภท ใช้ บริการไม่ต่ ำ � กว่า ๕๐,๐๐๐ รายต่อปี ๓. จำ�นวนผู้ประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย จากโรงงาน ๔. จำ�นวนผู้ประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย จากการจราจร ๕. ผู้ป่วยโรคฉุกเฉิน ๖. จำ�นวนบัณฑิตแพทย์ พยาบาล แพทย์ประจำ�บ้านที่สำ�เร็จการศึกษา หรือได้รับ วุฒิบัตร ๖.๑ แพทย์ จำ�นวน ๓๒ คน ต่อปี ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ และเพิ่มเป็น ๔๘ คนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ๖.๒ พยาบาล จำ�นวน ๓๒ คน ต่อปี ภายในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ๖.๓ แพทย์ประจำ�บ้าน จำ�นวน ๑๕ คน ต่อปี ในปี พ.ศ.๒๕๕๗ และเพิม่ เป็น ๒๕ คน ในปี พ.ศ.๒๕๕๙
ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการนี้ ๑ โรงพยาบาลมีอาคารถาวรวัตถุ เฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล แด่ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ในวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพ และในวาระวันพระราชทาน กำ�เนิดโรงพยาบาล ๑๑๐ ปี วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ๒. ประชาชนในภาคตะวันออก ได้รับ การดูแลสุขภาพจากสถานพยาบาลที่มีคุณภาพ มาตรฐานระดับสากล มีประสิทธิภาพเทียบเท่า โรงพยาบาล โรงเรียนแพทย์ในกรุงเทพฯ โดยไม่ ต้องเดินทางเข้ารับการตรวจรักษาหรือถูกส่งต่อ เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพฯ ๓. ผู้ประสบอุบัติเหตุ อุบัติภัย ผู้ป่วยโรค ฉุกเฉิน ได้รับการรักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันการ เบ็ดเสร็จในพื้นที่เดียวกัน (one stop service) ๔. นัก ลงทุนโดยเฉพาะนั ก ลงทุ น ชาวต่างชาติ มั่นใจในบริการการแพทย์ที่ พนักงานได้รับ ส่งผลให้มีการลงทุนเพิ่ม เกิด ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ๕. ลดปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยไปโรง พยาบาลของรัฐในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการลดความ เสี่ยงและความสูญเสียชีวิตของผู้ป่วยในขณะ
ส่งต่ออีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระของโรง พยาบาลรัฐที่มีผู้ป่วยจำ�นวนมาก ๖. เป็นศูนย์กลางทางวิชาการและ เผยแพร่ความรู้ด้านสาธารณสุข ด้านการแพทย์ การรักษาป้องกัน สร้างเสริมสุขภาพ และการ บรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ ของภาคตะวันออก ๗. มีศูนย์รักษาพยาบาลรวมที่ได้ มาตรฐานสากล มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์ ฉุกเฉินและเวชศาสตร์อุตสาหกรรม ที่ให้การดูแล ด้านสุขภาพที่ครบวงจร ทั้งการรักษา ป้องกัน ส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพ ผู้ประสบ อุบัติเหตุ อุบัติภัย ผู้ป่วยโรคฉุกเฉินและผู้ป่วย ทั่วไปในภาคตะวันออก
211
ภาพจำ�ลองเมื่อสร้างเสร็จ
212
นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช พ.ศ. ๒๔๔๕ จวบจนปัจจุบัน ด้วยพระเมตตาคุณของสมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล ที่มีความมุ่งมั่นปรารถนาให้โรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นสถานพยาบาล ของผู้เจ็บป่วยทุกคน เจ้าหน้าที่ทุกคน ทุกระดับ ยั ง คงมี ความมุ ่ ง มั ่ นเพื ่ อ พั ฒ นาคุ ณ ภาพ โรงพยาบาลอย่างไม่หยุดยั้ง ในอันที่จะเห็น โรงพยาบาลเป็นสถานพยาบาลที่ให้บริการแก่ ประชาชนทุกระดับด้วยคุณภาพที่เท่าเทียมกัน สมดังพระราชปณิธานแห่งสมเด็จพระศรีสวริน ทิราบรมราชเทวี พวกเราชาวโรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จะมุ่งมั่นพัฒนา โรงพยาบาลอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อให้โรงพยาบาล เป็นสถานพยาบาลที่ให้บริการแก่ประชาชน ทุกระดับด้วยคุณภาพ มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และมีจริยธรรม ให้สมดังพระราชปณิธานแห่ง สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาลแห่งนี้มาเป็น เวลา ๑๑๐ ปี
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
คณะทำ�งานจัดทำ�หนังสือ ๑๕๐ ปี ประธานกรรมการ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชประยูร ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา คณะที่ปรึกษา ๑. นายคมสัน เอกชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ๒. นายพงษ์ศักดิ์ ปรีชาวิทย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ๓. นางสาวกนกกาญจน์ วงษ์พสุเสถียร ที่ปรึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ๔. นางสาววิกัลย์ พงศ์พนิตานนท์ กองบรรณาธิการ ๑. แพทย์หญิงจุฑาทิพย์ นิรุตติรักษ์ รองผู้อำ�นวยการ ๒. ดร.ประธาน สุรกิจบวร หัวหน้าสำ�นักงานจังหวัดชลบุรี ผู้ช่วยบรรณาธิการ นายแพทย์คงศักดิ์ อุไรรงค์ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ ฝ่ายติดต่อและประสานงาน ๑. นางจันทิพย์ เนื่องจำ�นง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ๒. นางสาวรัศศรี ตันอนุชิตติกุล ผู้ชำ�นาญการพิเศษ วิทยาจารย์ ๓. นางวิภาวดี ต่อวงษ์ บรรณารักษ์ ๔. นางสุประวีณ์ สวอน เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ฝ่ายเรียบเรียงเรื่องและร้อยเรียงภาษา ๑. นางวีณา กุศลสมบูรณ์ หัวหน้าพยาบาล ๒. นางศิริลักษณ์ วิทยนคร ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาล ด้านวิชาการ ๓. นางสายทิพย์ อานโพธิ์ทอง ผู้ตรวจการพยาบาล ๔. นางสาวนพวรรณ จู้สกุล หัวหน้าหอผู้ป่วย ๕. นางรัชยา โพธิชัย ผู้จัดการกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ ๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (ฝรั่งเศส) มหาวิทยาลัยบูรพา ๗. นางสาวรัศศรี ตันอนุชิตติกุล ผู้ชำ�นาญการพิเศษ วิทยาจารย์
225
ภาพถ่าย ๑. นายประเสริฐ ต่อวงษ์ เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา ๒. นายทีฆาวัชร แก้วอำ�ดี เจ้าหน้าที่โสตทัศนศึกษา ๓. หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ๔. http://thairedcross.livingmuseumthailand.com ๕. http://www.queensavang.org ๖. บริษัท มีเดียพ้อยท์ โปรดักชั่น จำ�กัด ออกแบบและจัดทำ�รูปเล่ม บริษัท มีเดียพ้อยท์ โปรดักชั่น จำ�กัด พิสูจน์อักษรและงานพิมพ์ ๑. นางรัชยา โพธิชัย ๒. นางสาวรัศศรี ตันอนุชิตติกุล ๓. นางวันเพ็ญ สุขส่ง ๔. นางโศภนา น้อยนิวรณ์ ๕. นางศิริพร สวัสดิทัศน์ ๖. นางวิภาวดี ต่อวงษ์ ๗. นางธีราลักษณ์ ฐิติวรารักษ์
226
ผู้จัดการกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพ ผู้ชำ�นาญการพิเศษ วิทยาจารย์ ผู้ชำ�นาญการพิเศษ พยาบาล ผู้ชำ�นาญการพิเศษ พยาบาล เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป
227
228
เล่าอดีต
ผ่านความทรงจำ�ของอดีตผู้อ�ำ นวยการ
229
นายแพทย์สุกรี สืบสงวน
ความจริงตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลนี้ ในระยะแรกตั้งแต่เริ่มกำ�เนิด โรงพยาบาล เมื่อพ.ศ. ๒๔๔๕ เรียกตำ�แหน่งนี้ว่า “แพทย์ผู้ปกครอง” ซึ่งมีผู้ด�ำ รงตำ�แหน่งนี้ หลายคน อาจจะมีผู้รวบรวมได้แล้ว ข้าพเจ้าเองก็เคยเขียนเล่าเรื่องไว้ในหนังสือที่ระลึกใน พิธีเปิดตึกคนไข้ของโรงพยาบาลครั้งหนึ่ง โดยที่อาศัยหลักฐานจากหนังสือเก่า ๆ ที่พอหาได้ เล่มที่สำ�คัญที่สุดก็คือหนังสือที่จัดทำ�ขึ้นเป็นที่ระลึกในวันเปิดตึก “พระพันวัสสา” เมื่อ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ในวันประกอบพิธีเปิดสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอเจ้าฟ้า กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ซึ่งทรงดำ�รงตำ�แหน่งอุปนายกผู้อ�ำ นวยการสภากาชาดไทย ขณะนั้นเสด็จเป็นองค์ประธาน บุคคลสำ�คัญซึ่งเป็นผู้รวบรวมประวัติของโรงพยาบาล สมเด็จฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงวันเปิดนั้นก็คือพระยาดำ�รงแพทยาคุณ (ชื่น พุทธิแพทย์) ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในสมัยนั้น บังเอิญบิดาของข้าพเจ้าได้ไปร่วมในพิธี เปิดตึกหลังนี้ด้วย จึงได้หนังสือที่ระลึกมา ๑ เล่ม ทำ�ให้ข้าพเจ้าได้ศึกษาถึงความเป็นมาของ โรงพยาบาลในระยะแรกได้มาก และเป็นแรงดลใจให้ข้าพเจ้าหลงเสน่ห์ของโรงพยาบาลนี้ ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบแพทย์ เพราะเหตุที่ซาบซึ้งในเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระองค์ท่านผู้ พระราชทานกำ�เนิดของโรงพยาบาล แพทย์ผปู้ กครองของโรงพยาบาลสมเด็จฯ ก่อนสมัยข้าพเจ้าก็คอื ท่านขุนวิโรจน์เวชกรรม (โรจน์ สาตะโรจน์) เมื่อข้าพเจ้ารับตำ�แหน่งนี้จากท่านเมื่อท่านเกษียณอายุเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ข้าพเจ้าจึงเป็นแพทย์ผปู้ กครองคนสุดท้าย เพราะหลังจากนัน้ ไม่นานนัก โรงพยาบาลสมเด็จฯ 230
ก็ได้เลื่อนวิทยฐานะจากเดิม ตำ�แหน่งแพทย์ผู้ปกครอง ก็เปลี่ยนเป็นแพทย์ผู้อ�ำ นวยการ ไม่เรียกแพทย์ผู้ปกครองอีกต่อไป แต่เดิมเมื่อเริ่มตั้งโรงพยาบาลนั้น ในระยะแรกสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงฝากให้อยู่ในความดูแลของศิริราชพยาบาล จนกระทั่งต่อมาภายหลังเมื่อสภากาชาด ได้ก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้โอนมาอยู่ในความดูแลของ สภากาชาดและขึ้นตรงกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตำ�แหน่งแพทย์ผู้ปกครองโรงพยาบาล สมเด็จฯ จึงต้องขึ้นต่อผู้อ�ำ นวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยปริยาย การได้เลื่อน วิทยฐานะหมายความว่าสามารถดำ�เนินการโดยอิสระ ไม่ต้องรายงานหรือขออนุมติเรื่อง ต่าง ๆ จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อีกต่อไป แต่ขึ้นตรงต่อคณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของ สภากาชาดเช่นเดียวกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และกองอื่น ๆ เป็นต้นว่ากองวิทยาศาสตร์ กองอาสากาชาด เป็นต้น ผู้อ�ำ นวยการโรงพยาบาลสมเด็จฯ ก็ได้รับเกียรติให้เป็น กรรมการเจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งร่วมประชุมในคณะกรรมการเจ้าหน้าที่ในการบริหารงานของ สภากาชาดไทยนับแต่นั้นมา เรื่องราวเกี่ยวกับโรงพยาบาลสมเด็จฯ ตามที่ปรากฏในหนังสือที่ท่านเจ้าคุณดำ�รง แพทยาคุณ รวบรวมนั้นมาสิ้นสุดเพียงแค่ พ.ศ. ๒๔๗๕ หลังจากนั้นก็มิได้มีผู้ใดเล่าบันทึก เหตุการณ์ไว้จนกระทั่งเมื่อข้าพเจ้ามาเริ่มงาน จึงขอถือโอกาสเล่าบันทึกไว้เพื่ออาจจะเป็น ประโยชน์แก่คนรุ่นหลังบ้างไม่มากก็น้อย ข้าพเจ้าเริ่มสมัครเข้าทำ�งานในสภากาชาดเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ หลัง จากจบจากโรงเรียนแพทย์ที่ศิริราชและเป็นแพทย์ประจำ�บ้านต่ออีก ๒ ปีเต็ม การสมัคร ต้องไปสมัครที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยแจ้งความประสงค์ว่าอยากจะมาทำ�งานที่ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ซึง่ ขณะนัน้ ขึน้ อยูก่ บั โรงพยาบาลจุฬาฯ ในวันแรกท่านเจ้าคุณ ดำ�รงแพทยาคุณซึ่งเป็นผู้อ�ำ นวยการอยู่ในเวลานั้น ท่านมีค�ำ สั่งให้ข้าพเจ้าไปคุมสอบ นักเรียนแพทย์รุ่นแรกของจุฬาฯ ในปีนั้นได้มีการเปิดโรงเรียนแพทย์ที่จุฬาฯ เป็นปีแรก ท่านเจ้าคุณดำ�รงฯ เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นคนแรก
231
ด้วย โดยที่คณะแพทยศาสตร์ที่ตั้งใหม่นี้ต้องใช้สถานที่ของโรงพยาบาลจุฬาฯ ซึ่งเป็นของ สภากาชาดไทย จึงเป็นธรรมเนียมที่ผู้อ�ำ นวยการจุฬาฯ และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ต้อง เป็นคนเดียวกันมาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มตั้ง เพื่อขจัดปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการปกครอง เมื่อแรกเข้าไปทำ�งานที่โรงพยาบาลจุฬาฯ นั้น ยังไม่มีแพทย์ฝึกหัดเพราะเพิ่งจะเริ่ม มีโรงเรียนแพทย์ แพทย์ทุกคนต้องเข้าเวร ผลัดเปลี่ยนกันทุกคืน โดยมานอนที่ห้องแพทย์ เวรที่ตึกอำ�นวยการชั้นล่างของตึกนี้ เดิมเป็นห้องผู้ป่วยฉุกเฉิน ข้าพเจ้าอยู่แผนกศัลยกรรม ภายใต้การดูแลของคุณหมอชุบ โชติกเสถียร ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนก ถ้าผู้ป่วยฉุกเฉินเป็น คนไข้ศัลยกรรมซึ่งต้องการการผ่าตัดก็เป็นผู้ทำ�ด้วย เนื่องจากในตอนแรกนั้น ร.พ.สมเด็จฯ ขึ้นอยู่กับ ร.พ.จุฬาฯ ท่านผู้อำ�นวยการ ร.พ.จุฬาฯ คือเจ้าคุณดำ�รงฯ จึงจัดให้มีแพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาฯ หมุนเวียนสับเปลี่ยน ไปทำ�งานทีโ่ รงพยาบาลสมเด็จฯ เป็นประจำ�คนละประมาณ ๓ เดือน เพือ่ ช่วยท่านขุนวิโรจน์ เวชชกรรม ซึ่งเป็นแพทย์ผู้ปกครองและเป็นแพทย์ที่ประจำ�อยู่เพียงคนเดียว ข้าพเจ้าจึง อยากจะเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงนี้ไว้เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบไว้ เพราะผู้ที่เกี่ยวข้องที่ยังมี ชีวิตอยู่ขณะนี้ก็เหลือน้อยคนลงทุกที ท่านขุนวิโรจน์ฯ เองก็ถึงแก่กรรมไปนานแล้ว แพทย์ ประจำ�ซึ่งสังกัดสภากาชาดในขณะนั้นมีอยู่ไม่กี่คน แต่ภายหลังที่ตั้งคณะแพทยศาตร์จุฬาฯ แล้วมีต�ำ แหน่งแพทย์เพิ่มขึ้น แต่แพทย์ของสภากาชาดเดิมก็โอนไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์ เสียโดยมาก และมีฐานะเป็นข้าราชการไปไม่ขึ้นกับสภากาชาด แพทย์รุ่นผู้ใหญ่ที่เคยถูกส่งมาทำ�งานทีโ่ รงพยาบาลสมเด็จฯ เท่าทีจ่ �ำ ได้และทีย่ งั มี ชีวติ อยูก่ ม็ ี ศจ.นพ.มล.เกษตร สนิทวงศ์ นพ.เนาวรัตน์ ไกรฤกษ์ นพ.เฉลียว วัชรพุกก์ นพ.ศิริ บุษปวณิช นพ.สิริ สถาวระ พญ.คุณมานา บุญคัน้ ผล (สองคนหลังนีเ้ ป็นแพทย์รนุ่ เดียวกันกับข้าพเจ้า แต่มาอยูส่ ภากาชาดก่อนข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้าไปเป็นแพทย์ประจำ� บ้านที่ศิริราชเสีย ๒ ปี) รุ่นหลัง ๆ ก็มี นพ.เกษม จิตรปฏิมา นพ.ชิน บูรณธรรม นพ.โชติบูรณ์ บูรณะเวช นพ.ศรีสกุล จารุจนิ ดา และคนอื่น ๆ (ถึงแก่กรรม) อีกหลายคน ซึ่งล้วนแต่เกษียณแล้วทั้งนั้นรุ่นหลัง ๆ นี้ล้วนแต่สังกัดในคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯ ซึ่งเป็น คณะหนึง่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่อาศัยทีค่ ณะบดีคณะแพทยศาสตร์กบั ผูอ้ �ำ นวยการ 232
โรงพยาบาลจุฬาฯ เป็นคนคนเดียวกัน จึงสั่งให้มาช่วยได้ ส่วนมากก็มีกำ�หนดครั้งหนึ่งไม่ เกิน ๓ เดือน แต่มีบางคนจะมาซํ้าได้ ๒ ครั้ง ส่วนมากจะเป็นช่วงที่ รพ.สมเด็จฯ ขาดแพทย์ ตอนที่ข้าพเจ้าไปฝึกและดูงานที่สหรัฐฯ เสียราวปีครึ่ง ข้าพเจ้าทำ�งานอยู่ที่ ร.พ.จุฬาฯ ได้ประมาณ ๒ เดือนก็ขออนุญาตเจ้าคุณดำ�รงฯ ว่าขอให้ส่งข้าพเจ้าไปประจำ�ที่ ร.พ.สมเด็จฯ ได้แล้ว และเมื่อส่งข้าพเจ้าไปแล้วจะได้ไม่ต้อง ให้แพทย์จากจุฬาฯ หมุนเวียนไปอีก เพราะแพทย์จากจุฬาฯเองก็ไม่สู้จะชอบนักเนื่องจาก ศรีราชาในขณะนั้นเป็นเมืองที่นับว่าห่างไกลความเจริญการไปมาก็ค่อนข้างจะลำ�บาก และ มีไข้มาลาเรียชุกชุมมาก เจ้าคุณดำ�รงฯ ก็อนุญาต ข้าพเจ้าจึงให้ทางบ้านจัดรถมารับเดิน ทางมาศรีราชา การเดินทางในเวลานั้นต้องมาทางบางปู ถนนลาดยางเพียงแค่นั้น ต่อจาก บางปูมีถนนซึ่งเพิ่งจะตัดเสร็จใหม่ ๆ เป็นถนนลูกรังปนดิน ทางขรุขระ ผ่านบางบ่อ บางพลี ไปจังหวัดฉะเชิงเทรา และต้องเอารถลงแพขนานยนต์ข้ามแม่นํ้าบางปะกง จากจังหวัด ฉะเชิงเทราวิ่งผ่านอำ�เภอพนัสนิคม ถึงตัวอำ�เภอเมืองแล้วตรงมาศรีราชา ถนนเป็นลูกรัง ตลอด ไม่มีราดยางที่ไหนเลย (ไม่กี่ปีต่อมา ทางการตัดถนนเข้าบางปะกง และอำ�เภอเมือง ชลบุรี รถข้ามแพขนานยนต์ตรงอำ�เภอบางปะกง ย่นระยะทางได้มาก ทีต่ รงแพข้ามนีย้ งุ ชุมมาก ถ้ารถมารอคิวลงแพตอนพลบคํ่า ยุงจะมาตอมกันเป็นก้อนดำ�โต ๆ) ข้าพเจ้าเองไม่เคยมาเห็น ร.พ.สมเด็จฯ ด้วยตามาก่อนเลย ได้รจู้ กั แต่เพียงได้ยนิ แต่ชอ่ื และได้เคยอ่านหนังสือเกี่ยวข้องกับประวัติย่อของโรงพยาบาล วันแรกที่มาถึงรพ.สมเด็จฯ ข้าพเจ้าจึงได้รบั ความประหลาดใจและรูส้ กึ ค่อนข้างจะหดหูม่ าก ด้วยเหตุทม่ี าถึงเวลาพลบคา่ํ ทั้งโรงพยาบาลแลดูสลัวน่ากลัวชอบกล รถวิ่งมาจอดที่หน้าเรือนพักแพทย์พบคุณหมอสิริ สถาวระ แพทย์จากจุฬาฯ ซึ่งข้าพเจ้าจะมาผลัดเปลี่ยนหน้าที่เขา กำ�ลังนั่งรับประทาน อาหารเย็น มีสำ�รับวางอยู่บนโต๊ะสี่เหลี่ยมกว้างยาวประมาณด้านละ ๙๐ ซม. มีโคมไฟฟ้า ชักรอกให้สูงตํ่าได้ถูกดึงลงมาจนชิดสำ�รับกับข้าว แสงไฟสลัว ๆ พอจำ�หน้าได้ เรือนทีพ่ กั ของคุณหมอสิริ ซึ่งต่อมาได้เป็นที่พำ�นักของข้าพเจ้าอยู่ระยะหนึ่งเป็นเรือนไม้เก่า ๆ มีลักษณะรูปยาว ยกพื้นใต้ถุนสูงประมาณ ๑.๒๐ เมตร ต้องขึ้นกระไดประมาณ ๔-๕ ขั้น รอบ ๆ บริเวณมืดมีเสียงจักจั่นร้องระงมได้ยินเสียงมาแต่ไกล 233
เรือนหลังทีเ่ ป็นทีพ่ กั แพทย์นม้ี ชี อ่ื ว่าเรือน ๑ ติด ๆ กันมีเรือนไม้ซง่ึ มีลกั ษณะเดียวกันทุกอย่าง เรียกว่าเรือน ๒ ใช้เป็นที่พักของคนไข้พิเศษแบ่งออกเป็นห้อง ๕ ห้อง เป็นห้องคนไข้ ๔ ห้อง และเป็นห้องทำ�งานของพยาบาล ๑ ห้องติด ๆ กับเรือน ๒ เป็นต้นมะม่วงอกร่องสูงใหญ่ ซึ่ง ยังปรากฏจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เคยตกลูกปีละนับเป็นพันลูก และมีรสหวานเป็นที่ทราบกันดี ทั้งโรงพยาบาล อีกด้านหนึ่งของเรือนพักแพทย์มีเรือนไม้ลักษณะเดียวกันอีก ๑ หลัง แต่ปลูกตั้ง เป็นมุมฉากกับเรือนพักแพทย์หลังนี้ แบ่งเป็น ๒ ตอน ตอนหนึ่งเป็นที่อยู่ของพ่อบ้านชื่อ คุณตุ๊ ตรีเพ็ชร์ อีกครึ่งหนึ่ง เป็นที่พักของเภสัชกร ซึ่งความจริงเป็นนางพยาบาลชื่อคุณถวิล นามสกุลจำ�ไม่ได้ ภายหลังได้แต่งงานไปกับชาวศรีราชา เรือน ๑ และเรือน ๒ ทั้งสองหลังนี้หันหน้าออกทะเล ภายหลังได้รื้อเรือนทั้งสองลง แล้วที่บริเวณเรือน ๒ ได้ก่อสร้างเป็นตึก “สว่างวัฒนา” และบริเวณเรือนขวางที่เป็นที่อยู่ ของพ่อบ้านและเภสัชกร ได้ก่อสร้างเป็นเรือนพักพยาบาลหลังใหม่ เดิมมีเรือนไม้ ๒ ชั้น ขนาดเล็กอยู่ด้านหลังของเรือน ๑ แต่เยื้องไปทางซ้ายหันหน้าออกทะเลเช่นกัน เป็นเรือน พักพยาบาลเดิม ซึง่ มีพยาบาลอยูร่ วม ๔-๕ คน ๑ ในจำ�นวนนีก้ ค็ อื คุณสมัย รัตนแก้วกาญจน์ ซึง่ ภายหลังได้เป็นหัวหน้าพยาบาลอยูเ่ ป็นเวลานาน หัวหน้าพยาบาลในขณะนัน้ ชือ่ คุณลิน้ จี่ เรือนพักพยาบาลหลังเก่านี้ต่อมาได้รื้อถอนและปลูกสร้างเป็นตึกคนไข้พิเศษชื่อ ตึก “เสียงหะริณสุต” ซึ่งก่อสร้างสมัยท่านขุนวิโรจน์ฯ เป็นแพทย์ผู้ปกครอง ตึกหลังนี้ ผู้บริจาคชื่อขุนนิพัทธหะริณสุต เป็นตึกคนไข้พิเศษมีอยู่ ๘ ห้อง ได้ท�ำ พิธีเปิดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ลักษณะของโรงพยาบาลโดยทั่ว ๆ ไปในสมัยที่ข้าพเจ้ามาอยู่ในตอนแรกนั้น นอกจากเรือนไม้ ๓ หลังเรือนพักพยาบาลดังกล่าวแล้ว ก็มีตึกพระพันวัสสา ซึ่งชั้นบนเป็น ห้องทำ�งานแพทย์ผู้ปกครองและแผนกธุรการ ชั้นล่างเป็นห้องตรวจโรค ๑ ห้อง ห้องทำ� แผลฉีดยา ๑ ห้อง ห้องจ่ายยา ๑ ห้อง และมีห้องโล่งว่างอยู่ ๑ ห้อง นัยว่าเคยใช้เป็นที่ทำ� ผ่าตัดเล็กน้อยมาก่อน ส่วนตรงกลางเป็นห้องโถงขนาดใหญ่ประมาณ ๖ x ๖ เมตร ใช้เป็น ห้องผู้ป่วยนั่งรอรับการตรวจโรคมีโต๊ะพยาบาลตั้งอยู่ด้านหนึ่งหน้าห้องแพทย์ 234
หลังตึกพระพัสวัสสา มีตึกคนไข้ ๒ หลัง มีลักษณะเหมือนกับฝาแฝด มีทางเดิน เป็นคอนกรีตแยกไปทางซ้ายและขวา มีชื่อว่าตึกตันฉื่อฮ้วงหลังหนึ่งใช้ส�ำ หรับเป็นที่รับ คนไข้หญิง และตึกตันลิบบ๊วยหลังหนึ่งสำ�หรับคนไข้ชาย มีเตียงคนไข้ตึกละ ๒๐ เตียง ตึกทั้งสองหลังนี้บริจาคโดยสกุลหวั่งหลี โดยเสด็จพระราชกุศลได้ทำ�พิธีเปิดพร้อมกับ ตึกพระพันวัสสา ซึ่งโปรดเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ก่อสร้างขึ้น อาคารก่อสร้างอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้วก็มีเรือนในทะเล ๔ หลังที่มีชื่อว่า เรือนหลังเล็กริม หลังเล็กกลาง เรือนสายปราโมช และเรือนเจริญ โชติกสวัสดิ์ (เรือนรัฐธรรมนูญ ยังไม่มีในตอนนั้น) เรือนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำ�หรับให้ผู้ที่ต้องการจะมาพักผ่อน เช่าตากอากาศหรือพักฟื้นจากการเจ็บป่วย มีลักษณะการก่อสร้างค่อนข้างแปลกและเป็น เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ ร.พ.สมเด็จ ณ ศรีราชา กล่าวคือ ๓ หลังแรกที่ได้เอ่ยชื่อมาแล้ว มีรูปทรงคล้ายฝาชีรูปสี่เหลี่ยม มีทางเดินเป็นสะพานไม้ติดต่อถึงกันในทะเล การก่อสร้าง นับว่าถูกกับธรรมชาติสง่ิ แวดล้อมมากเพราะใช้วสั ดุทเ่ี ป็นโลหะน้อยมากเนือ่ งจากอยูใ่ นทะเล ย่อมมีการผุกร่อนจากสนิม หน้าต่างก็เป็นหน้าต่างเปิดโดยใช้ไม้คํ้า หลังคาทำ�ด้วยกระเบื้อง แผ่นเรียบขนาด ๔๐ x ๔๐ ซม. บางประมาณ ๒ มม. ซ้อนกันเป็นทรงสูง ทนทานต่อ พายุ และฝน ซึ่งมีบ่อยครั้งมาก แต่ไม่เคยหลุดหรือฝนรั่วเลย แต่เรือนเจริญ โชติกสวัสดิ์ ซึ่ง ก่อสร้างภายหลังเรือน ๓ หลังนีห้ ลายปี ใช้หลังคาแบบสมัยใหม่ กระเบือ้ งแบบใหม่ เมือ่ เวลา พายุแรง ๆ พัดเอากระเบื้องหลังคาหลุดลงมานับครั้งไม่ถ้วน ภายหลังที่ข้าพเจ้ามาอยู่แล้ว ได้สัก ๒-๓ ปี ได้มีการก่อสร้างเรือนในทะเลเพิ่มอีก ๑ หลัง โดยนายจุลินทร์ ลํ่าซำ� ซึ่งเป็น กรรมการสภากาชาดอยู่ในขณะนั้น และดำ�รงตำ�แหน่งประธานกรรมการหารายได้ในการ จัดงานรัฐธรรมนูญ ได้แบ่งเงินรายได้จำ�นวนหนึ่งบริจาคให้ค่าก่อสร้าง ถ้าจำ�ไม่ผิดตกราว ๆ หนึ่งแสนสองหมื่นบาท และยังบริจาคตึกหลังเล็ก ๆ ให้อีก ๑ หลัง โดยใช้เงินส่วนตัว สร้าง เป็นแบบคล้าย ๆ ศาลาอยู่บนฝั่งริมทะเลอยู่บนหน้าผา ให้ชื่อว่า ศาลาทองอยู่ ลํ่าซำ� (ถูกรื้อ ไปแล้ว) ทางชายทะเลด้านทิศใต้มีเรือนไม้ทรงสูงขนาดย่อมอยู่อีก ๑ หลัง มีชื่อว่า “เรือนไขศรี” เรือนหลังนี้ ม.จ.ไขศรี ปราโมช ทรงเป็นผู้บริจาคเงินก่อสร้าง ในขณะนั้นใช้ เป็นบ้านพักของขุนวิโรจน์เวชชกรรม แพทย์ผู้ปกครอง และต่อมาให้เป็นที่พักของข้าพเจ้า 235
เป็นเวลาเกือบ ๓๐ ปี เดิมเรือนหลังนี้อยู่ติดริมฝั่งทะเล แต่ภายหลังได้ถมพื้นที่ดินในทะเล โดยก่อสร้างเขื่อนขึ้น ได้พื้นที่ดินเพิ่มอีกประมาณ ๑ ไร่เศษ นอกจากนีม้ เี รือนไม้อกี ๒ หลังในขณะนัน้ คือเรือนโชเก็น เรือนขรัวนายสุด อยูบ่ น ไหล่เขาพระตำ�หนักบนยอดเขา ซึง่ เคยก่อสร้างเป็นพลับพลาทีป่ ระทับของสมเด็จพระพันวัสสาฯ เมื่อข้าพเจ้ามาอยู่นั้นได้เคยเดินขึ้นไปสำ�รวจดูไม่เห็นร่องรอยของพระตำ�หนักเหลืออยู่เลย มี แต่บ่อนํ้าขนาดใหญ่สร้างไว้ส�ำ หรับกักเก็บนํ้าฝนเพื่อใช้สำ�หรับกิจการของโรงพยาบาล ลึกเข้าไปจากเขาประตำ�หนักทางด้านหลังมีเรือนพักอีก ๒ หลัง หลังแรกเป็น พระตำ�หนักของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์รอง สุดท้ายของพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ ๕ ท่านทรงเป็น “ลูกเลีย้ ง” ของสมเด็จพระพันวัสสาฯ ตัง้ แต่ยงั ทรงพระเยาว์ เนือ่ งจากทรงสูญเสียมารดาไป ท่านจึงทรงมีความผูกพันกับ รพ.สมเด็จฯ นี้มากเป็นพิเศษ ท่านได้ทรงบริจาคสร้างพระตำ�หนักขึ้น และโปรดที่จะเสด็จมาประทับ หลายครั้งจนกระทั่งภายหลังทรงพระประชวรมากเสด็จไม่ได้ เรือนหลังนี้เรียกกันว่า “ตำ�หนักเสด็จ” ถัดจาก “ตำ�หนักเสด็จ” ไปมีเรือนอีกหลังชื่อเรือน “ข้าวไทยอุทิศ” บริจาคโดย บริษัทข้าวไทย เมื่อข้าพเจ้ามาถึงเรือนหลังนี้เพิ่งก่อสร้างเสร็จได้ไม่นานนัก เรือนทั้ง ๔ หลัง นี้ข้าพเจ้าเคยพำ�นักมาแล้วทั้งสิ้น (“ตำ�หนักเสด็จ” ทรงอนุญาตให้โรงพยาบาลใช้ได้เวลา มิได้เสด็จมาประทับ คงสงวนไว้แต่เฉพาะห้องบรรทม) จะเป็นเพราะเหตุผลใดจำ�ไม่ได้แน่ ในการที่ต้องอพยพย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ในตอนแรกจำ�ได้แต่ว่าสบายดีทุกหลังนอกจากเรือน โชเก็นและเรือนขรัวนายสุดซึ่งตุ๊กแกชุกชุมเป็นกำ�ลัง เรือนข้าวไทยอุทิศซึ่งเป็นหลังสุดท้าย นั้นเปลี่ยวมาก การเดินจากถนนมะขามแถวเข้าไปผ่านตำ�หนักเสด็จนั้น นอกจากมีแนวต้น ลั่นทมเป็นแถวแล้ว มีต้นไม้ขนาดใหญ่ ๆ ทั้งนั้น ลึกเข้าไปอีกก็เป็นดงหญ้าคาสูงท่วมหัว ตกกลางคืนรู้สึกวังเวงน่ากลัวมีเสียงจั๊กจั่นเรไรร้องระงมเหมือนอยู่ในป่า แสงไฟก็ริบหรี่และ มีถึงเที่ยงคืนเท่านั้น น่าขำ�ที่เมื่อตอนข้าพเจ้าอพยพมาจากกรุงเทพฯ มีคนใช้มาด้วย ๒ คน สามีภริยา เป็นแม่ครัวและคนรับใช้ ทั้งคู่เป็นชาวกรุงเทพฯ พอมาอยู่ที่เรือนข้าวไทยอุทิศได้ เดือนเดียวก็ขอลาออกบอกว่ากลัวเหลือเกิน กลางคืนไม่กล้าออกจากห้อง มิหนำ�ซํ้างูกะปะ ก็ชุกชุมมาก เวลาเดินไม่ระวังก็อาจจะเหยียบมันแล้วถูกกัดเอาได้ 236
เพื่อให้ผู้อ่านได้นึกสภาพของบริเวณเขาพระตำ�หนักโดยรอบได้โดยจินตนาการ โดยเหตุที่เวลานั้นมีต้นไม้ใหญ่ เถาวัลย์ และหญ้าคา รกอยู่ทั่วไป จนแม้แต่เวลากลางวัน ข้าพเจ้าเองก็ยังไม่กล้าจะเดินเข้าไปสำ�รวจจนสุดเขตของโรงพยาบาลอีกด้านหนึ่ง วันหนึ่ง พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคลได้เสด็จมาที่โรงพยาบาลและทรงขออนุญาต เอาคณะภาพยนตร์ของท่านมาถ่ายทำ�ฉากหนึ่งของเรื่องสมเด็จพระนเศวร ตอนตีเมืองคัง ทรงใช้ฉากนี้ที่บริเวณรอบเขาพระตำ�หนัก เพราะโปรดที่เห็นมีสภาพเหมือนป่าดี สิง่ หนึง่ ทีท่ �ำ ให้ศรีราชามีสภาพเป็นชนบททีห่ า่ งไกลก็คอื แสงสว่าง ในเวลากลางคืน ทั้งตลาดและโรงพยาบาลได้อาศัยกระแสไฟฟ้าซึ่งมาจากบริษัทป่าไม้ศรีมหาราชา ซึ่งมี เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าขนาด ๓ กิโลวัตต์ เวลากลางวันใช้เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้านี้กับเครื่องจักร ของโรงเลื่อย ครั้นตกกลางคืนโรงเลื่อยหยุดทำ�งาน ก็จำ�หน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชาวบ้าน ร้านตลาดและโรงพยาบาล บังเอิญโรงพยาบาลอยู่สุดทางกระแสไฟฟ้า จึงตกมากกว่า จะไปถึงเป็นระยะทางราว ๒ กิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนหัวคํ่าในเมื่อชาวบ้าน ต่างก็เปิดไฟใช้พร้อม ๆ กัน ในเวลานั้นแทบจะอาศัยแสงไฟฟ้าในโรงพยาบาลไม่ได้ เพราะ เมื่อเปิดสวิตช์แล้วจะเห็นมีคล้ายเส้นแดง ๆ เหมือนก้านธูปอยู่ในหลอดไฟฟ้าเท่านั้น พอตกดึกขึ้น ไฟฟ้าจึงจะค่อยสว่างขึ้นตามไปด้วย จะไปสว่างที่สุดตอนใกล้จะสองยาม แต่พอพ้นสองยามแล้วเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าก็จะหยุด ทั้งเมืองอยู่ในความมืด โรงพยาบาลจึง ต้องตามไฟโดยใช้ตะเกียงรั้ว หรือถ้าจำ�เป็นก็ต้องจุดตะเกียงเจ้าพายุให้มีแสงสว่างมากขึ้น คนไข้ก็มักจะคลอดตอนกลางคืนเพราะฉะนั้นการทำ�คลอดคนไข้โดยใช้ตะเกียงรั้วในเวลา นั้นนับเป็นของธรรมดามาก มีเรื่องที่ประทับใจข้าพเจ้ามากอยู่สองเรื่อง เมื่อมาอยู่ใหม่ ๆ ในระยะ ๒-๓ ปีแรก ข้าพเจ้ายังอยู่ในวัยหนุ่มและแข็งแรง ปกติตอนเย็นเมื่อเลิกงานแล้วข้าพเจ้ามักจะเดินเป็น ระยะยาวเกือบ ๒ กิโลเมตร ผ่านตลาดเพื่อไปเล่นเทนนิสกับคุณเทียน อัชชกุล ซึ่งเป็นนาย อำ�เภอศรีราชาในขณะนั้น (ภายหลังได้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการมหาดไทย) ที่สนามเทนนิส ของบริษัทศรีมหาราชาแทบทุกวัน ต่อมามีคนส่งข่าวว่ามีฝรั่งชาติเยอรมันคนหนึ่งจะอพยพ ครอบครัวกลับประเทศบ้านเกิดของตัว อยากจะขายรถเทียมม้าซึ่งเรียกว่าดอกคารต 237
ข้าพเจ้าจึงให้คนไปติดต่อซือ้ ชำ�ระเงินเสร็จเรียบร้อยและรับทัง้ ม้าทัง้ รถไปทีโ่ รงพยาบาล วันหนึง่ หลังจากนั้นราว ๑ อาทิตย์ตอนบ่ายข้าพเจ้ากำ�ลังอยู่บนห้องพักที่เรือน ๑ ได้ยินเสียงคน มาเรียกอยู่หน้าบ้าน มองเห็นหน้าถนัดก็ตกใจแทบสิ้นสติเพราะจำ�ได้ว่าชายสูงอายุผู้นั้นคือ สมเด็จพระยาไชยนาทนเรนทร รีบตะลีตะลานลงถวายความเคารพ ทรงยื่นซองสีนํ้าตาล ให้แล้วรับสั่งว่ามิสเตอร์ฟูฮอฟ (ชื่อของชาวเยอรมันเจ้าของรถม้า) ฝากทะเบียนรถม้ามาให้ รู้สึกซาบซึ้งในพระกรุณามากที่ทรงรับสั่งไม่ถือพระองค์เลย สมเด็จฯ ทรงมีพระตำ�หนักอยู่ที่ ศรีราชา ภายหลังข้าพเจ้าได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพร้อมกับท่านขุนวิโรจน์เวชชกรรมที่ พระตำ�หนักอีก ๒-๓ ครั้ง เรื่องที่สองก็คือ ข้าพเจ้าจำ�ได้ว่าเรือนพักในทะเลของโรงพยาบาลนั้นชาวกรุงเทพฯ ค่อนข้างจะชอบมาเช่าพักตากอากาศกันมาก ถึงแม้ว่าการเดินทางในสมัยก่อนนั้นจะค่อน ข้างลำ�บากและใช้เวลาถึงครึ่งค่อนวัน แต่ก็เห็นจะเป็นสถานที่ตากอากาศที่มีชื่อเสียงที่สุด แห่งหนึ่งในสมัยนั้น มีผู้มาเช่าพักเป็นสถานที่ฮันนีมูนหลายคู่ด้วยกัน ที่ประทับใจและยัง จำ�ได้ก็คือ คู่ของท่านผู้หญิงมณีรัตน์ และคุณสุระเทิน บุนนาค ศาสตราจารย์นายแพทย์ จำ�ลองและศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณหญิงตระหนักจิต หะริณสุต ศาสตราจารย์นาย แพทย์บญ ุ สม มาร์ตนิ และคุณเพ็ญ ศาสตราจารย์นายแพทย์วกี จิ และคุณชอุม่ ศรี วีรานุวตั ติ์ ๒ คนหลังนี้เป็นแพทย์รุ่นเดียวกับข้าพเจ้าและเป็นแพทย์ประจำ�บ้านมาด้วยกัน ส่วนคู่ คุณหมอจำ�ลองและคุณหมอตระหนักจิตนั้น เป็นแพทย์รุ่นพี่กว่า ข้าพเจ้าหนึ่งรุ่น แต่ก็ เคยปฏิบัติงานมาด้วยกัน เมื่อครั้งย้ายโรงพยาบาลศิริราชหนีสงครามไปก่อสร้างที่จังหวัด นนทบุรี ก็เลยสนิทสนมกันมาก คุณหมอจำ�ลองและคุณหมอบุญสมชอบใจมากที่ได้นั่งรถ เทียมม้าไปเที่ยวได้ไกล ๆ รถคันนี้ข้าพเจ้าซื้อมาด้วยราคาสามพันบาท ในขณะที่เงินเดือน ของข้าพเจ้าเดือนแรกนัน้ ได้เพียง ๑๖๐ บาทเท่านัน้ เป็นรถค่อนข้างจะใหม่ เบาะเป็นหนังแท้ ภายหลังรถคันนี้ข้าพเจ้าได้ยกให้คุณเทียน อัชชกุล ไปเพราะเกรงจะไม่มีผู้ดูแลม้าในขณะ ที่ข้าพเจ้าจะไปศึกษาและดูงานที่สหรัฐฯ ข้าพเจ้าเองนั้นแต่งงานหลังจากมาทำ�งานได้ ๑ ปี เศษ ได้หยุดงานในวันแต่งงานวันเดียว วันรุ่งขึ้นก็ต้องกลับมาทำ�งานไม่มีโอกาสฮันนีมูน เพราะไม่มีคนทำ�งาน 238
การทำ�งาน
หลังจากที่ข้าพเจ้ามาทำ�งานโรงพยาบาลสมเด็จฯ แล้วก็ไม่มีแพทย์จากจุฬาฯ หมุนเวียนมาที่ ร.พ.สมเด็จฯ อีกเป็นเวลานานหลายปี คงมีข้าพเจ้าและท่านขุนวิโรจน์ เวชชกรรมเพียงสองคน ข้าพเจ้าต้องออกตรวจคนไข้ทุกวัน และคนไข้ที่รับไว้ภายในด้วย พร้อมทั้งอยู่เวรทุกวันเป็นประจำ� ผู้ป่วยที่รับไว้ส่วนมากจะเป็นคนไข้มาลาเรียและคนไข้ อุบัติเหตุ เป็นต้นว่าถูกหมูป่าหรือกวางขวิดเป็นแผลเหวอะหวะไปทั้งตัว หรือบางทีก็โดน “ปืนผูก” ที่โคนขากระดูกแตกละเอียด เนื่องจากนายพรานทำ�ไว้สำ�หรับดักหมูป่าหรือเก้ง กวาง แต่บังเอิญคนเดินไปสะดุดเข้าปืนเลยลั่นโดนเอา สมัยนั้นหมูป่าที่ศรีราชาค่อนข้างจะ ชุมมาก หมีก็พบบ่อย ส่วนกระต่ายป่าและเก้งนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะบางคืนยังได้ยินเสียง เก้งร้องอยู่ไม่ไกล แถบ ๆ หลังพระตำ�หนักก็เคยมีบริเวณบ่อนํ้าร้อนบางพระก่อสร้างอ่าง เก็บนา้ํ มีชกุ ชุมกว่าทีอ่ น่ื นอกจากนัน้ ก็มบี าดแผลจากการต่อสู้ ตีรนั ฟันแทง หรือโดนลอบยิง บาดแผลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จัดการให้การรักษาที่ห้องบาดแผลซึ่งมีอยู่ห้องเดียว ถ้าจะต้อง เย็บก็ทำ�กันที่นั่นและส่วนมากก็เย็บกันสด ๆ ไม่ได้ดมยาหรือฉีดยาชา ส่วนตึกคนไข้หญิง ส่วนมากนอกจากไข้มาลาเรียซึ่งมีชุกชุม และเป็นชนิดร้ายแรงขึ้นสมองได้เป็นส่วนใหญ่แล้ว ก็มีผู้ป่วยคลอดบุตร ซึ่งบางรายเป็นการคลอดผิดปกติ เช่น เอาแขนโผล่ หรือรกค้าง ซึ่งทุก รายจะต้องใช้ห้องคลอดซึ่งมีขนาดโตประมาณ ๓ x ๔ เมตร บนตึกตันฉื่อฮ้วง ไม่ว่าจะเป็น คลอดปกติหรือผิดปกติ ติดเชื้อชนิดมีกลิ่นตลบอบอวลก็ตาม เป็นโชคดีของข้าพเจ้าที่ได้มี โอกาสฝึกฝนเพิ่มเติมจากศิริราช เมื่อเป็นแพทย์ประจำ�บ้านปีที่ ๑ ได้หมุนเวียนปฏิบัติงาน ในแผนกใหญ่ ๔ แผนกคือ ศัลยกรรม อายุกรรม สูติและนรีเวชกรรม และกุมารเวชกรรม แผนกละ ๓ เดือน ปีที่ ๒ อยู่เฉพาะแผนกศัลยกรรมตลอดปี แพทย์ประจำ�บ้านสมัยนั้นมี โอกาสได้มีประสบการณ์มากเพราะนอกราชการแล้ว ว่าราชการเองหมดได้ทำ�ทุกสิ่งทุก อย่าง เนื่องจากเวลานั้นแพทย์ประจำ�ยังมีไม่มาก เป็นผลให้ข้าพเจ้าสามารถจัดการกับคนไข้ ที่มีมาแทบทุกชนิดได้ใช้วิชาที่ฝึกฝนมาอย่างเต็มที่ ข้าพเจ้าเคยเล่าประสบการณ์เก่า ๆ นี้ให้ฟังในที่ประชุมแพทย์ในระยะหลัง ๆ นี้ ต่างก็ตกใจและประหลาดใจทีไ่ ด้ทราบถึงการแพทย์สมัยเมือ่ ๔๐ กว่าปีกอ่ นนีช้ า่ งเป็นทีน่ า่ กลัว 239
นี่กระไรยกตัวอย่างเช่น คนไข้คลอดท่าผิดปกติ เอาแขนโผล่ออกมา ไม่มีวิธีอื่นนอกจากจะ ต้องตัดคอเด็ก (ซึ่งถึงแก่กรรมนานแล้ว) ให้ขาดแล้วดึงเอาตัวเด็กออกมาได้ ส่วนหัวนั้นใช้ นิ้วใส่ในปากแล้วดึงออกมาทีหลัง เมื่อล้วงเอารกออกมาแล้ว ใช้น�ำ ร้อนจัด ๆ ปนทิงเจอร์ ไอโอดินสอดเข้าทางท่อล้างมดลูกให้สะอาด บางรายหัวโตเกินไปคลอดไม่ได้ก็ต้องเจาะหัว สมองล้างเอามันสมองออกแล้วใช้คีมบีบให้หัวแฟบลงจึงดึงเอาออกมาได้ เสร็จแล้วก็ล้าง ด้วยนํ้าร้อนปนไอโอดีนแบบเดียวกัน ปรากฏว่าทุกรายที่ได้ปฏิบัติดังนี้ไม่มีใครเป็นอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่ในสมัยก่อนนั้นยาปฏิชีวนะก็ยังไม่มีอย่างเก่งก็ซัลฟาไดอาซีนเท่านั้น ประสบการณ์อีกอย่างที่ได้มาจากโรงเรียนแพทย์สมัยก่อนนั้นก็คือ คนไข้ท้องนอก มดลูกแตกเมื่อตรวจแล้วแน่ใจว่าไม่ผิดจะทำ�อย่างไรดี ถ้าไม่ผ่าตัดจะต้องตายแน่ ปรึกษา ท่านขุนวิโรจน์เวชชกรรม แพทย์ผู้ปกครองซึ่งเป็นอายุรแพทย์ ท่านก็อึกอักพึมพำ�อย่างไม่ ค่อยเต็มใจนัก เพราะไม่เคยมีใครก่อนหน้านี้ได้ท�ำ มาก่อน แต่ข้าพเจ้าตัดสินใจเสี่ยงทำ�ทั้ง ๆ ที่คนไข้อยู่ในสภาพกึ่งจะช็อค ก่อนจะทำ�ให้นํ้าเกลือไว้ก่อน แก้วให้นํ้าเกลือสมัยก่อนเป็นรูป คล้าย ๆ ขวดโซดา เอาปากขวดควํ่าลง ก้นขวดตัดออกมีหูหิ้วใช้เติมนํ้าเกลือทางก้นขวดนี้ ยาสลบใช้คลอโรฟอร์มหยดใส่ผ้า มีที่ครอบจมูกปาก พอสลบดีแล้วหยดต่อด้วยอีเธอร์เมื่อ ผ่าท้องลงไปแล้วรีบล้วงเอาเลือดก้อนออก เอาช้อนใหญ่ ๆ รูปคล้ายทัพพีตักเอาเลือดใน ช่องท้องใส่กลับลงไปในขวดนํ้าเกลือ ซึ่งมีผ้ากอซประมาณ ๖ ชั้นกรองไม่ให้มีเลือดก้อนติด ลงไป เมื่อตักออกได้มากพอจนเห็นส่วนของปีกมดลูกที่แตกแล้วก็รีบห้ามเลือดไว้ เมื่อถึง ระยะนี้ก็ไม่ต้องรีบร้อนมากแล้วเพราะคนไข้ได้เลือดของตัวเองกลับเข้าไปในตัว และเลือด หยุดออกแล้ว ความดันโลหิตก็ค่อย ๆ ขึ้นจนกระทั่งอยู่ในขั้นปลอดภัย โชคดีที่คนไข้ราย แรกนีป้ ลอดภัยรอดชีวติ ต่อมาก็ได้ท�ำ แบบเดียวกันนีอ้ กี หลายราย และไม่เคยมีใครเสียชีวติ เลย สมัยนี้ถ้าใครทำ�แบบนี้ก็ถือว่าป่าเถื่อน แต่ในเวลานั้นโรงเรียนแพทย์ที่ศิริราชเมื่อครั้งท่าน อาจารย์นายแพทย์เติม บุนนาค เป็นหัวหน้าแผนกสูติ-นรีเวชอยู่ก็ยังใช้เทคนิคนี้อยู่จริง ๆ เพราะในสมัยก่อนไม่มีธนาคารเลือดอย่างในปัจจุบัน จะให้เลือดกันทีรู้สึกโกลาหล ส่วน มากจะให้แบบถ่ายจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยตรงโดยมีเครื่องโดยเฉพาะหรือไม่ก็ใช้วิธี เจาะจากอีกคนหนึง่ ฉีดเข้าไปอีกคนหนึง่ เอาดือ้ ๆ โดยใช้กระบอกฉีดขนาดโต ๆ ๓-๔ อันผลัด เปลีย่ นกัน 240
คนไข้มาลาเรียขึ้นสมองพบบ่อยมาก รักษาด้วยยาควินินอย่างเดียวไม่มีอย่างอื่น น่าแปลกที่บางคนก็หายง่ายดายอย่างน่าอัศจรรย์ วันแรกหามมายังหมดสติหายใจครอก ๆ รุง่ ขึน้ อีกวันไปดูกเ็ ห็นลุกเดินได้แล้ว แต่บางคนพยายามรักษาอย่างไร ๆ ก็ไม่รอด อาจจะเป็น เพราะส่วนของสมองที่ขาดเลือดเพราะเชื้อมาลาเรียอยู่ในที่สำ�คัญผิดกัน เชื้อมาลาเรียต้อง ย้อมตรวจเชื้อด้วยตนเองเพราะไม่มีเทคนิเชียน บางรายพอจ่อกล้องลงไปก็ตกใจเพราะ เกือบจะทุกเม็ดเลือดแดงล้วนมีแต่เชื้อมาลาเรียอยู่ทั้งนั้น ไม่ทราบว่าคนไข้มีชีวิตอยู่ได้ อย่างไร ก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะมาอยู่ศรีราชาได้ปีหนึ่ง โรงเรียนอัสสัมชัญในกรุงเทพฯ ได้มา ซื้อที่ก่อตั้งโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชาขึ้น มีบราเดอร์เทียวฟานด์เป็นหัวหน้า ในขณะนั้น ยังมีเรือนโรงมุงหลังคาจากอยู่ ๑-๒ หลัง มีนักเรียนประจำ�ราวร้อยคนเศษ รอบ ๆ เป็นสวน สับปะรดที่เคยมีชื่อเสียงอยู่พักหนึ่ง วันหนึ่งจำ�ได้ว่าเป็นวันอาทิตย์ ขณะที่ข้าพเจ้าพักอยู่ที่ ตำ�หนักเสด็จที่หลังเขามีบราเดอร์จากโรงเรียนอัสสัมชัญคนหนึ่งขี่ม้าเข้ามา หน้าตาเป็นฝรั่ง มีหนวดเครารุงรัง ทีหลังทราบว่าชื่อฟรังซัว แกจูงม้ามาด้วยอีกตัวหนึ่ง มีอานบนหลังพร้อม บอกกับข้าพเจ้าว่าอยากจะขอเชิญให้ไปดูอาการของเด็กนักเรียนอัสสัมฯ คนหนึ่งซึ่งค่อน ข้างจะเป็นมาก เอาตัวมาโรงพยาบาลไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงจำ�เป็นต้องขี่ม้าไปโรงเรียนอัสสัมชัญ ศรีราชา ซึ่งห่างจากโรงพยาบาลรวม ๓ กิโลเมตร ต้องบอกให้บราเดอร์ขี่น�ำ ไปช้า ๆ เพราะ ข้าพเจ้าเองก่อนหน้าจะออกจากโรงเรียนแพทย์ได้เคยถูกผ่าตัดไตข้างขวาเนื่องจากไตหลุด ออกจากที่ และเย็บติดไว้กับกล้ามเนื้อด้านหลัง สาเหตุจากการเล่นรักบี้ทีมโรงเรียนแพทย์ ครั้งหนึ่ง โดนเท็คเกิลที่ด้านหลังบริเวณไต ไตหลุดออกจากที่ ออกมาลอยผลุบโผล่อยู่ใน ช่องท้องเอามือคลำ�ได้ถนัด เวลานั่งกระแทกหรือรถกระดอนตอนขึ้นสะพานจะจุกเจ็บที่ บริเวณไตข้างขวา เคราะห์ดีที่ไปดูคนไข้เรียบร้อยกลับมาไม่มีอาการอะไร ที่เล่าไว้เพื่อให้ เห็นว่าการคมนาคมในครั้งกระนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร และมีอยู่ ๒-๓ ครั้งเคยโดนตามให้ ไปดูคนไข้ในตลาดศรีราชาหลังสองยามแล้วคนมาตามจุดตะเกียงเจ้าพายุเดินตามกันไปเป็น ขบวน เป็นภาพที่หาดูได้ยากในสมัยนั้น
241
คนไข้ถูกงูกัดค่อนข้างจะมีบ่อย ๆ เกือบร้อยทั้งร้อยเป็นงูกะปะ ซึ่งมีอยู่ชุกชุม ผู้ที่ ถูกกัดจะมีอาการปวดบวมและม่วงชํ้า บริเวณถูกกัด บางรายก็เน่าเปื่อย เนื้อหลุดนิ้วหลุด รักษากันนานวัน งูอื่น ๆ นอกจากงูกะปะก็มีงูจงอาง ซึ่งพบบ่อยพอใช้ มีคนงานพบและตี ได้ที่หน้าตึกตันฉื่อฮ้วงในตอนกลางคืนกำ�ลังชูคอแผ่แม่เบี้ยสูงกว่าระดับเอว และที่หน้า โรงพยาบาลก็เคยมีผู้พบและตีตายก็ครั้งหนึ่ง คนไข้อีกประเภทหนึ่งก็คือกะลาสีเรือ เมื่อก่อนนั้นเรือสินค้าจะพากันมาจอด ทอดสมอทีห่ น้าเกาะสีชงั เพือ่ ขนถ่ายสินค้าลงเรือเล็กแล่นเข้าแม่นา้ํ เจ้าพระยาเพราะเรือใหญ่ ผ่านสันดอนไม่ได้เพิ่งมาขุดสันดอนกันในตอนหลัง กะลาสีเรือเหล่านี้ต้องเช่าเรือยนต์วิ่งมา โรงพยาบาล ถ้านํ้าทะเลขึ้นสูงมากก็จะมาจอดส่งคนไข้ที่บริเวณศาลาสายปราโมช ถ้านํ้าลง ก็ต้องจอดที่สะพานเกาะลอยซึ่งต้นเสาสะพานเป็นซุงต้นโต ๆ พังทลาย จำ�ได้ว่าในวันนั้นฝน ตกใหญ่ด้วย ลมพัดเสียงดังอู้ ๆ คลื่นลูกโต ๆ สะพานเดินเชื่อมระหว่างเรือนพักตากอากาศ และเสาศาลาสายปราโมชก็เลยพลอยโดนคลืน่ กระแทกพังไปด้วย ต้องก่อสร้างกันใหม่ น่าแปลก ที่เรือนไม้ที่มีหลังคารูปฝาชีนี้สามารถคงทนต่อคลื่นลมจัดขนาดนี้ได้ไม่ถูกพัดหายไป ข้าพเจ้าเคยถูกตามให้ไปดูคนไข้บนเรือสินค้าหลายครั้ง ส่วนมากจะไปตอนบ่ายๆ ถือโอกาส ชวนพยาบาลไปเที่ยวชมเรือด้วย เพราะเขาต้องเช่าเรือยนต์ขนาดใหญ่ทั้งลำ�เพื่อมารับส่งเรา ต้องไต่กระไดลิงขึ้นเรือสนุกสนานดี ที่แปลกก็คือเห็นบ่อยๆ ว่ากะลาสีเรือชอบตกปลาฉลาม ใช้เบ็ดขนาดใหญ่และโซ่เส้นเล็กๆ เป็นสาย ถึงกระนั้นก็ยังขาดเพราะฉลามฟันคมมาก ก่อน หน้าข้าพเจ้ามาไม่กี่เดือนมีข่าวอื้ออึงมากเรื่องปลาฉลามกัดฝรั่งชาติเยอรมันซึ่งมาฮันนีมูน กันที่เรือพักแหลมฟานและลงไปเล่นนํ้า ปลาฉลามเข้ามากัดสามีขณะภรรยากำ�ลังถ่ายรูป นํ้าลึกเพียงแค่เหนือเอว กัดถูกเส้นเลือดใหญ่โคนขาขาดเสียโลหิตมากถึงแก่กรรมก่อนมา ถึงโรงพยาบาล เข้าใจว่าระยะนั้นแพทย์หญิงคุณมานา บุญคั้นผล ถูกส่งให้มาอยู่ประจำ�เพื่อ ช่วยขุนวิโรจน์ฯ ก่อนหน้านั้นก็กัดนายแฉล้มบริเวณหลังบ้านปลัดอำ�เภอและกัดชาวประมง ที่สะพานเกาะลอย ทำ�ให้เป็นที่หวาดเกรงกันมาก แต่เท่าที่สังเกตเห็นผู้ที่มาพักตากอากาศ ในโรงพยาบาลก็ลงเล่นนํ้าทะเลกันทั้งนั้น แต่ไม่ว่ายออกไปลึกคงเล่นกันอยู่ใกล้ ๆ ฝั่ง
242
เมื่อข้าพเจ้ามาอยู่แล้วพักหนึ่งมีข่าวว่าเขาจับปลาฉลามขนาดใหญ่ได้ตัวหนึ่งจาก โป๊ะ ว่ากันว่าในท้องของมันมีกระดูกของคน เป็นที่แตกตื่นกันมาก หลังจากนั้นแล้วไม่มี ข่าวว่ามีใครถูกปลาฉลามกัดอีกเลยตลอดระยะเวลากว่า ๓๐ ปีที่ข้าพเจ้าทำ�งานอยู่ใน โรงพยาบาล ดังได้กล่าวแล้วว่ากระแสไฟฟ้าของโรงพยาบาลริบหรี่ช่วยเหลืออะไรไม่ได้จนกว่า จวนจะสองยามจึงค่อยสว่างขึ้น เวลาจะต้องทำ�บาดแผลมาก ๆ จึงจำ�เป็นต้องใช้แสง ตะเกียงเจ้าพายุช่วยแต่เวลาที่จะดูอะไรลึกๆ เข้าไปจำ�ต้องใช้กระบอกไฟฉายส่องฉะนั้น การทำ�ผ่าตัดไส้ติ่งหรือเจาะคอเด็กในรายเป็นโรคคอตีบจึงต้องทำ�กันโดยใช้ไฟฟ้าชักรอก กับไฟฉายเป็นประจำ� การผ่าตัดช่องท้องตัดต่อลำ�ไส้ หรือผ่าตัดกระเพาะอาหารก็เคยทำ� โดยอาศัยดวงโคมไฟชักรอกธรรมดาโดยไม่มีโคมไฟผ่าตัดที่ทันสมัยและใช้เตียงธรรมดา ๆ ในบางครั้งก็ลืมไปถึงอันตรายบางอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น มีอยู่วันหนึ่งข้าพเจ้าถูกตามมา ดูคนไข้ชื่อคุณหลวงไวฯ เป็นพี่ชายของหม่อมหลวงขาบ กุญชร ณ อยุธยา ถูกคนขว้าง ระเบิดใส่ที่บ้านบางพระ คนสมัยก่อนนี้ดุ มีเรื่องยิงฟันแทงกันไม่ขาด คุณหลวงไวฯ ถูก ลูกระเบิดที่ขาข้างหนึ่งขาดใต้หัวเข่า แต่มีสติดีและเป็นคนมีความรู้ ใช้สายยางรัดเอา ไว้ไม่ให้เลือดออก แล้วให้คนนำ�ส่งโรงพยาบาล ข้าพเจ้าดูแล้วทราบว่าจะต้องตัดขาแน่ เพราะบาดแผลกะรุ่งกะริ่งมาก ก็จัดการนำ�เข้าห้องผ่าตัดซึ่งได้ดัดแปลงจากห้องซึ่งว่าง อยู่ข้างห้องบาดแผลแล้วจุดตะเกียงเจ้าพายุวางไว้เหนือตู้เครื่องมือแพทย์ เมื่อตระเตรียม เรียบร้อยแล้วก็ลงมือดมยาเริ่มด้วยคลอโรฟอร์ม พอหลับแล้วก็หยอดด้วยอีเธอร์ต่อ แล้ว ให้พยาบาลควบคุมต่อไป ส่วนข้าพเจ้าและคุณหมอศรีสกุล จารุจินดา ซึ่งเป็นหมอเด็กที่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ส่งไปช่วยข้าพเจ้าในระยะหลัง ๆ เมื่อมีคนไข้มากขึ้น เป็นผู้ช่วย ก็ทำ�การผ่าตัดขาออกโดยใช้แสงสว่างจากตะเกียงเจ้าพายุ โคมไฟฟ้าชักรอกและไฟฉาย พอทำ�เสร็จเรียบร้อยเย็บแผลเสร็จก็เกิดนึกขึ้นได้ว่าอีเธอร์นั้นเป็นวัตถุที่ไวไฟมากยิ่งกว่า เบนซินเสียอีก ถ้าไอระเหยของมันมาโดนประกายไฟก็คงจะลุกพึ่บพั่บขึ้นมาทันที พอนึก ได้เท่านั้นก็ต้องรีบบอกให้คนเอาตะเกียงเจ้าพายุออกไปนอกห้องแทบไม่ทัน ส่วนคนไข้ คือคุณหลวงไวฯ นั้นโชคดีหายกลับบ้าน ภายหลังไปทำ�ขาเทียมเดินได้ แต่ก็น่าเสียใจที่อีก 243
๑-๒ ปีภายหลัง ท่านก็ถึงแก่กรรมคราวนี้คนร้ายใช้ขวานจามศรีษะ ไม่ทันได้มา โรงพยาบาลทั้งนี้เพราะได้กิติศัพท์ว่าเป็นคนปากร้าย บังเอิญไปอยู่ในเมืองคนดุเสียด้วย มีเหตุการณ์สำ�คัญอีกอย่างหนึ่งในระยะนั้นคือ เมื่อเรือบรรทุกสินค้าของบริษัทอีส เอเชียติ๊กถูกทุ่นระเบิดที่หลงเหลืออยู่เมื่อตอนสงครามที่บริเวณหน้าเกาะสีชัง มีกะลาสีเรือ บาดเจ็บมาเกือบ ๔๐ คน เขาได้เอาเรือยนต์บรรทุกทยอยกันมาส่งโรงพยาบาล ข้าพเจ้าและ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทุกคนต้องทำ�งานอย่างหนัก ไม่ได้หยุดทั้งกลางวันกลางคืน วันรุ่งขึ้นบริษัทอีสเอเชียติ๊กได้ส่งหมอประจำ�บริษัทมาช่วย ชื่อหมออัมมุนเช่น เป็นชาว ฮอลแลนด์ได้มากินอยู่หลับนอนกับข้าพเจ้าหลายวัน และได้ทยอยส่งคนไข้ที่พอจะส่งไป ทางรถบรรทุกได้เข้าไปโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ สมัยนั้นรถพยาบาลยังไม่มี หมออัมมุนเช่น ได้มีส่วนในการที่ให้ข้าพเจ้าได้ทุนไปดูงานในสหรัฐฯ เพราะเป็นผู้ให้ความรู้แก่ข้าพเจ้าว่า มีทุนฟุลไบร์ทที่ช่วยออกค่าเดินทางให้ และสามารถจะสมัครไปทำ�งานตามโรงพยาบาลใน สหรัฐฯ ได้ไม่ลำ�บาก เพราะเขาเองเคยมีประสบการณ์มาแล้ว ต่อมาเมื่อเขากลับกรุงเทพฯ ก็จัดการส่งใบสมัครสอบชิงทุนฟุลไบร์ทมาให้ข้าพเจ้า ต่อมาเมื่อถึงกำ�หนดสอบก็ติดต่อมา ให้ทราบ ข้าพเจ้าได้ไปสอบข้อเขียนภาษาอังกฤษเมื่อผ่านแล้วก็รอผล ต่อมาก็ถูกเรียกไป สอบสัมภาษณ์โดยกรรมการ ๑๐ คน และโชคดีได้รับข่าวภายหลังว่าเป็น ๑ ใน ๑๘ คนที่ ได้รับการคัดเลือกและได้ออกเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในเดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๔ หลัง จากที่ข้าพเจ้ามาทำ�งานแล้ว ๔ ปีเต็ม มีเหตุการณ์แปลกจากเกาะสีชังอีกเรื่องหนึ่งคือ เช้าวันหนึ่งชาวเกาะสีชังหลังจาก รับประทานอาหารเช้าแล้วปรากฏว่าเดินอยู่ดี ๆ ก็ล้มลงนํ้าลายฟูมปากกันเป็นแถว นักเรียน กำ�ลังเดินไปโรงเรียนก็มี คนเดินอยูท่ ท่ี า่ จอดเรือประมงก็มี กำ�ลังเดินอยูใ่ นตลาดก็มี ชาวบ้าน รีบนำ�ใส่เรือยนต์ลงมาโรงพยาบาลสมเด็จฯ รวมทั้งสิ้นร่วม ๑๐ คน โจษกันว่าเรือสินค้าที่ จอดอยู่บริเวณหน้าเกาะสีชังปล่อยควันพิษทำ�ให้มีอาการปัจจุบันอย่างนั้น คนไข้ที่มา โรงพยาบาลได้รับการรักษาพยาบาลรอดไปได้หลายคน แต่ที่ถึงแก่กรรม ๒ คน ภายหลัง สืบได้ความว่าคนไข้ทุกคนล้วนแต่ซื้อปาท่องโก๋กินจากร้านของพ่อค้ารายหนึ่ง สืบต่อไปได้ ความว่าคนทำ�ปาท่องโก๋เจ้านี้ซื้อแป้งจากร้านในตลาดเจ้าหนึ่ง ซึ่งวางถุงแป้งทำ�ปาท่องโก๋ไว้ 244
ติดกับผงยาฆ่าแมลง โดยความพลั้งเผลอยาฆ่าแมลงอาจจะตกลงไปในถุงแป้ง ทำ�ให้คนกิน ปาท่องโก๋มฤตยูชักนํ้าลายฟูมปากไปตาม ๆ กัน อีกเรื่องหนึ่งซึ่งสมควรเล่าให้คนรุ่นหลังได้ทราบไว้ เพราะเห็นจะมีแต่คนของ โรงพยาบาลสมเด็จฯ คือข้าพเจ้าและคุณสมัยรัตน แก้วกาญจน์เท่านั้นที่ได้เห็นเหตุการณ์นี้ เช้าวันหนึ่งมีเจ้าหน้าที่ของทางการได้มาพบข้าพเจ้าที่บ้านพักในโรงพยาบาล แจ้งให้ทราบ ว่าจะมีการประหารชีวิตนักโทษ ๒ นายที่ในเขตอำ�เภอสัตหีบในตอนสายวันนั้น ๑ ใน จำ�นวนนักโทษ ๒ คนนี้ได้มอบดวงตาให้สภากาชาดไทย จึงขอให้เจ้าหน้าที่แพทย์ไปรับ ดวงตาที่บริจาค ในเวลานั้นมีแต่ข้าพเจ้าผู้เดียวซึ่งเคยได้ท�ำ การผ่าตัดควักดวงตามาก่อน จึง ได้รีบเตรียมเครื่องมือและขวดแช่ดวงตาที่มีเตรียมไว้ ออกเดินทางพร้อมด้วยพยาบาลคือ คุณสมัย รัตนแก้วกาญจน์ ผู้ซึ่งอาสาติดตามไปด้วย ครั้นถึงบริเวณประหารชีวิต เราทั้งสองก็ประหลาดใจเพราะได้เป็นที่มิดชิดแต่อย่าง ใดไม่ กลับกลายเป็นที่โล่งอย่างเปิดเผยห่างจากถนนใหญ่คือถนนสุขุมวิทเข้าไปไม่กี่สิบเมตร มีผู้คนมาคอยดูการประหารกันอย่างแน่นขนัดขณะนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายก รัฐมนตรี นโยบายจะปราบปรามมิจฉาชีพโดยเฉียบขาด และคงจะเป็นคำ�สั่งให้ประหารชีวิต ผู้ร้ายอุกฉกรรจ์รายนี้ในที่เปิดเผย เป็นจิตวิทยาให้ผู้คนเกรงกลัว ข้าพเจ้าจำ�ไม่ได้ว่า ทั้งสองนักโทษนี้มีความผิดสถานใด เมื่อใกล้เวลาประหารเขาเอานักโทษไปมัดไว้กับเสา เป็นรูปกางเขนหันหน้าสู่ป่าละเมาะแล้วใช้ผ้าขาวกั้น ทำ�เครื่องหมายวงกลมไว้ให้ตรงกับ บริเวณหัวใจ ถึงเวลาประหารมีต�ำ รวจ ๒ ชุด ชุดละ ๕ นาย ตั้งแถวหันปลายกระบอก ปืนชนิดยิงเร็วไปยังเป้าที่ท�ำ เครื่องหมายไว้ ตำ�รวจห้าคนต่อนักโทษ ๑ คน เมื่อถึงกำ�หนด หัวหน้านายตำ�รวจที่ควบคุมก็ให้อาณัติสัญญาณ พลปืนทั้ง ๑๐ คนก็รัวกระสุนขั้น ๒ ชุด พร้อม ๆ กัน พอสิน้ เสียงปืนเขาขอให้ขา้ พเจ้าไปพิสจู น์วา่ ตายหรือยัง พบว่านักโทษนายหนึง่ ตายสนิทแต่อีกคนยังหายใจผงาบ ๆ ได้อยู่ จึงได้แจ้งให้เขาทราบซึ่งต่อมาก็ได้รัวปืนยิงเร็ว ซํ้าอีก ๒ ชุด คราวนี้สนิทจริง ๆ ต่อจากนี้เป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า เขาจัดการแก้ศพจากหลักไม้กางเขน เอาศพวาง ลงบนเปลหามก่อนจะนำ�ใส่โลง ข้าพเจ้าต้องทำ�การผ่าตัดควักลูกตานักโทษผู้ถูกประหาร 245
ชีวิตไปเพียงไม่กี่นาที ต่อหน้าฝูงชนที่มุงดูอยู่โดยรอบเมื่อได้ลูกตาใส่ในขวดนํ้ายาที่เตรียมไว้ ทั้งสองข้างแล้ว ก็จัดการติดต่อเจ้าหน้าที่ต�ำ รวจทางหลวง ก็ให้รีบเดินทางนำ�ดวงตาทั้งสอง ข้างเข้ากรุงเทพฯ นำ�มาส่งให้ศูนย์ดวงตาที่สภากาชาด นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ข้าพเจ้า และคุณสมัยคงจะลืมได้ยาก ในระหว่างข้าพเจ้าไปต่างประเทศ ทางโรงพยาบาลจุฬาได้ส่งแพทย์หมุนเวียนกัน มาแทนข้าพเจ้า หลายคนดังได้เอ่ยชื่อถึงแล้วในตอนต้น ๆ แต่ก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะได้ทุนนี้ ได้มีโอกาสเฝ้าหม่อมเจ้าหญิงจงกลนี วัฒนวงศ์ ซึ่งทรงคุ้นเคยกับภริยาและบิดาข้าพเจ้าซึง่ เคยเป็นข้าหลวงในกรมขุนมรุพงศ์ศิริพัฒน์ พระบิดาของท่านมาก่อน ม.จ.หญิงจงกลนี เคยเสด็จมาประทับทีบ่ า้ นชลบุรแี ละทีโ่ รงพยาบาลสมเด็จฯ ในระหว่างสงคราม ได้ทูลขอ ประทานเงินบริจาคสร้างตึกผ่าตัดที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ เป็นหลังแรกได้สำ�เร็จ และได้ ดำ�เนินการก่อสร้างโดยท่านขุนวิโรจน์เวชกรรมในระหว่างข้าพเจ้าอยู่ต่างประเทศ เมื่อ ข้าพเจ้ากลับมาตึกผ่าตัดก็เสร็จแล้วเพียงแต่จะต้องจัดหาเครือ่ งมือเครือ่ งใช้ตา่ ง ๆ ซึง่ ภายหลัง ก็เปิดใช้ทำ�การได้ มีห้องผ่าตัดเป็นห้องโถงใหญ่อยู่ห้องเดียว ตึกหลังนี้ได้ใช้ประโยชน์อยู่ได้ เป็นเวลานาน จนกระทั่งภายหลังโรงพยาบาลขยายกิจการขึ้น ห้องผ่าตัดมีอยู่ห้องเดียวไม่ เพียงพอ จึงได้ทูลขอจากท่านหญิงอีกครั้ง ซึ่งก็มีนํ้าพระทัยทรงบริจาคให้อีกได้รื้อตึกหลัง เดิมลงและสร้างขึน้ ใหม่ มีหอ้ งผ่าตัดเพิม่ ขึน้ เป็น ๓ ห้องและมีหอ้ งซึง่ เตรียมไว้เป็นห้อง ไอ.ซี.ยู. อีก ๑ ห้อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ภูมพิ ลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำ�เนินทรงประกอบ พิธเี ปิดตึกหลังนีพ้ ร้อมกับตึกศรีสงั วาลย์ เมือ่ พ.ศ. ๒๕๐๗
ได้เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าเครื่องแรก
เรื่องแสงสว่างไม่เพียงพอเป็นปัญหายุ่งยากมากในการปฏิบัติงานของโรงพยาบาล เป็นโชคดีที่ครั้งหนึ่งท่านเจ้าคุณไชยยศสมบัติ ซึ่งขณะนั้นเป็นเสนาบดีกระทรวงการคลัง และเป็นเหรัญญิกกิตติมศักดิ์ของสภากาชาดไทยได้พาครอบครัวของท่านพร้อมด้วย เจ้าพระยามหิธรซึง่ เป็นบิดาของภริยาไปพักตากอากาศทีเ่ รือนพักในทะเลของโรงพยาบาล ตึกดึกหลังสองยามไปแล้ว ท่านเจ้าพระยามหิธรเกิดปวดปัสสาวะลุกจากเตียงในความมืด 246
ไปสะดุดอะไรก็ไม่ทราบหกล้มศีรษะแตก ได้ให้คนไปตามข้าพเจ้าไปดูพบว่าศีรษะแยกราว ๑ นิ้ว ต้องเย็บจึงเกิดการโกลาหลต้องจุดตะเกียงเจ้าพายุ และจัดเครื่องมือลงไปเย็บกันที่ บ้านพักตากอากาศในยามดึก ทุลักทุเลพอสมควร หลังจากเหตุการณ์นี้แล้วข้าพเจ้าได้มี โอกาสเรียนถึงความจำ�เป็นของโรงพยาบาลในการที่ต้องมีเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้าของตนเอง เพื่อความสะดวก ในปีต่อมาท่านเจ้าคุณไชยยศฯ จึงได้อนุมัติงบประมาณให้จำ�นวนหนึ่ง เพื่อจัดซื้อเครื่องปั่นไฟฟ้าใช้นํ้ามันเบนซินเป็นเครื่องขนาด ๖.๕ กิโลวัตต์ โรงพยาบาลจึงเริ่ม สว่างไสวไปทั่วมองเห็นได้จากทะเล และมองจากตลาดศรีราชาได้ชัดเจนเป็นที่ชื่นชมของ คนทั่วไป เครื่องทำ�ไฟนี้ เราเดินถึงสองยามอย่างเดิมเพือ่ เซฟค่านํา้ มัน แต่เมือ่ เวลามีเหตุฉกุ เฉินก็ สามารถติดเครือ่ งได้ไม่ยากเพียงแต่ใช้มือหมุนเท่านั้นก็สตาร์ทเครื่องได้ เครื่องกำ�เนิดไฟฟ้านี้ภายหลังที่โรงพยาบาลขยายมากขึ้นก็เปลี่ยนเป็นขนาด ๒๐ กิโลวัตต์ และหลังที่สุดเป็นขนาด ๑๕๐ กิโลวัตต์ ก่อนที่จะมีกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนภูมิพล มาถึงจึงเปลี่ยนมาใช้กระแสไฟจากเขื่อนภูมิพล เพราะถูกกว่าแต่ก็ยังมีเครื่องกำ�เนิดไฟฟ้า อยู่เป็นสำ�รอง
หาเงินสร้างตึก
เมื่อข้าพเจ้ากลับจากอเมริกาใน พ.ศ.๒๔๙๕ แรก ๆ สุขภาพทรุดโทรมเพราะต้อง ถูกผ่าตัดกระเพาะอาหารไปเสีย ๒ ใน ๓ คงเหลือกระเพาะอยู่เพียง ๑ ใน ๓ ทั้งนี้เนื่องจาก ระหว่างปฏิบัติงานอยู่ที่โน่นงานหนักมากและไม่ได้ระวังเรื่องอาหารดีพอควร จึงทำ�ให้แผล กระเพาะอาหารกำ�เริบถึงกับมีเลือดออกหลังผ่าตัดแล้วก็ลำ�บากเกี่ยวกับอาหารจึงจำ�เป็น ต้องเดินทางกลับก่อนกำ�หนดไว้จะอยู่อย่างน้อย ๕ ปี อยู่ได้เพียงปีเศษก็ต้องกลับ หลังกลับ มาแล้วต้องมาจัดเรื่องอาหารให้เข้าที่อยู่พักใหญ่จึงเริ่มต้นทำ�งานได้ตามปกติ แต่ต้องรับ ประทานอาหารบ่อยกว่าคนอื่น แม้แต่เวลาผ่าตัดอยู่ถ้านานเกินไปจะต้องหยุดพักดื่มนมใน ระหว่างทาง ในปี พ.ศ.๒๕๐๒ ท่านขุนวิโรจน์เวชชกรรมเกษียณอายุข้าพเจ้าได้รับช่วงตำ�แหน่ง แพทย์ผปู้ กครอง อาคารทีม่ อี ยูใ่ นตอนนัน้ ก็มี ตึกคนไข้หญิง ๒ หลังฝาแฝด หลังละ ๒๐ เตียง 247
ตึกเสียงหะริณสุตซึ่งเป็นห้องคนไข้พิเศษ ๘ ห้อง ๘ เตียง กับเรือน ๒ เดิม มีอยู่ ๔ ห้อง ๔ เตียง รวมเป็นทั้งหมด ๕๒ เตียง ซึ่งยังไม่เพียงพอ โรงพยาบาลชลบุรีขณะนั้นเริ่มก่อตั้ง โรงพยาบาลเดิมนั้นอยู่ที่ชายทะเลแล้วย้ายขึ้นมาอยู่ริมถนนสุขุมวิท ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ จึงคิดจะเรี่ยไรเงินก่อสร้างตึกเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลัง เป็นการเรี่ยไรที่ค่อนข้างจะยาก เพราะในขณะนั้นเศรษฐกิจของจังหวัดชลบุรีกำ�ลังทรุด เนื่องจากความเสียหายจาก ไร่อ้อย และไร่มันซึ่งราคาตกตํ่า ชาวไร่ขาดทุนขาดรอนกันทั่วไป เรี่ยไรใครก็มักจะบ่ายเบี่ยง แต่ในที่สุดก็พอได้จำ�นวนหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นคหบดีของจังหวัดชลบุรีซึ่งเคยเป็นคนไข้และ เคยดูแลอยู่ วิธีการก็คือเรี่ยไรเป็นห้อง ๆ ห้องละสี่หมื่นบาท โดยสัญญาว่าจะจารึกชื่อไว้ หน้าห้อง ถึงกระนัน้ กว่าจะได้แต่ละห้องก็ตอ้ งหากันนาน ครัง้ หนึง่ พระองค์เจ้าวิวฒ ั น์ ไชยยันต์ ซึง่ เป็นเสนาบดีกระทรวงการคลังต่อจากคุณไชยยศ และทรงดำ�รงตำ�แหน่งเหรัญญิกกิตติมศักดิ์ สืบแทนท่านเจ้าคุณด้วย ได้เสด็จมาพักทีเ่ รือนในทะเล ได้กราบทูลเรือ่ งนีข้ อให้สภากาชาดออกเงิน คนละครึ่ง งบประมาณค่าก่อสร้างคิดไว้คร่าว ๆ ประมาณ ๘๐๐,๐๐๐ บาท ครึ่งหนึ่งก็ไม่ เกิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท ก็ทรงตกลง แต่โชคไม่ดีที่หลังจากพระองค์วิวัฒน์ไชยฯ เสด็จกลับ กรุงเทพฯ ได้ไม่นานก็สน้ิ พระชนม์กะทันหัน ด้วยโรคพระหทัยวายเฉียบพลัน เจ้าคุณบุรณสิรพิ งศ์ เหรัญญิกคนต่อมาไม่ทราบข้อตกลงนี้ บอกให้พยายามหาเงินให้ครบเสียก่อนจึงค่อยลงมือ สร้าง เรื่องจึงยืดเยื้อใช้เวลานานพอสมควร ในที่สุดก็ใช้วิธีวิ่งเรี่ยไรในระหว่างญาติพี่น้อง และต้องบริจาคด้วยตนเองอีกหนึ่งห้องด้วย ในที่สุดก็ได้เงิน ๗๐๐,๐๐๐ บาทเศษ จึงได้รับ อนุมัติให้ดำ�เนินการก่อสร้างโดยวิธีเปิดประมูล เคราะห์ดีที่มีผู้ประมูลราคาตํ่าที่สุดไม่ถึง ๗๐๐,๐๐๐ บาทจึงเริ่มก่อสร้างจนเสร็จ ในระยะที่ก�ำ ลังหาเงินนี้มีโอกาสได้เฝ้า ม.จ.หญิง อัปภัศราภา เทวกุล ซึ่งเคยทรงเป็นราชเลขานุการส่วนพระองค์และนางสนองพระโอษฐ์ใน สมเด็จพระพันวัสสาฯ และมีความผูกพันจงรักภักดีในพระองค์ท่านอย่างแน่นแฟ้น ได้ทูล ปรึกษาเรื่องขอพระราชทาน ชื่อตึกว่า “ตึกสว่างวัฒนา” ซึ่งเป็นพระนามของสมเด็จฯ ทรง เห็นชอบด้วยและทรงเป็นผู้แนะนำ�ให้กราบทูลเชิญเสด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จทรงประกอบพิธีเปิด ในที่สุดหลังจากที่ได้ท�ำ รายงานไปตามลำ�ดับจนถึงอุปนายก ผู้อำ�นวยการซึ่งขณะนั้นคือเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ก็เป็นอันเห็นชอบและดำ�เนินการ ติดต่อขอพระราชทานกราบทูลเชิญเสด็จพระราชดำ�เนินทรงประกอบพิธีเปิดในวันที่ ๑๕ 248
กรกฎาคม ๒๕๐๕ ในวันงานบรรดาข้าราชบริพารในสมเด็จพระพันวัสสาฯ ตั้งแต่รุ่นเก่า จนถึงรุ่นหลัง ๆ ต่างก็มาช่วยกันอย่างแข็งแรง โดยมี ม.จ.อัปภัศราภา เทวกุล หรือ “ท่าน หญิงแก้ว” เป็นหัวหน้า ทำ�ให้การทัง้ หลายลุลว่ งไปอย่างดีอย่างคาดไม่ถงึ มีพระบรมวงศานุวงศ์ และผู้มีเกียรติเป็นจำ�นวนมากมาในงานนี้เป็นที่ชื่นชมยินดีแก่ผู้ที่มีส่วนร่วมในการบริจาค โดยทั่วกัน โดยงานนี้ได้วางแผนไว้กับ “ท่านหญิงแก้ว” โดยจัดทำ�เป็นโมเดลรูปตึกหลังใหม่ ไว้มีขนาดพอ ๆ กับตึกสว่างวัฒนา วัตถุประสงค์จะใช้เป็นตึกตรวจโรค ภายนอกแทนตึก พระพันวัสสาซึ่งออกจะคับแคบไป ส่วนชั้นบนจะปล่อยไว้เป็นห้องโถงใหญ่ส�ำ หรับเป็น ห้องประชุมและอเนกประสงค์ เสร็จแล้วหาโอกาสกราบทูลสมเด็จพระราชชนนีทรงทอด พระเนตร เป็นนัยว่าจะขอพระราชทานเพื่อจะได้เป็นตึกคู่กันกับตึกสว่างวัฒนา เมื่อเสด็จ กลับกรุงเทพฯ แล้วท่านหญิงแก้วทรงเป็นธุระติดตามเรือ่ งนี้ ในทีส่ ดุ ก็โปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้า ที่วังสระปทุม ทรงอนุมัตให้ก่อสร้างตึกหลังนี้ในวงเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท จะเป็นโชคดีหรือ อย่างไรไม่ทราบ เวลาเปิดประมูลก่อสร้างตึกหลังนี้ ช่างที่มีชื่อจากกรุงเทพฯ ตามลงมายื่น ซองเปิดประมูลด้วย ๑ รายร่วมกับช่างอืน่ ๆ ในพืน้ ทีอ่ กี ๒-๓ ราย ผลปรากฏว่าช่างพืน้ ทีป่ ระมูล ตํ่าที่สุดราคา ๗ แสนกว่าบาท แต่ของช่างจากกรุงเทพฯ นี้ให้ราคาเพียง ๕ แสนบาทถ้วน เท่าวงเงินได้ลงมือก่อสร้างตึกหลังนี้จนเสร็จ สังเกตว่าช่างให้การเอาใจใส่เป็นพิเศษโดย เฉพาะ งานฝีมือละเอียด และประณีตประดุจบ้านอยู่อาศัยชั้นดี สืบได้ความภายหลังว่า ช่างยอมขาดทุนหรือไม่มีก�ำ ไรเลย เพราะอยากจะได้งานต่อไปจากสำ�นักงานทรัพย์สินส่วน พระองค์ซึ่งยังมีอีกมาก การที่เขาเสนอราคาเพียง ๕ แสนเพราะสืบทราบมาว่ามีวงเงิน แค่นั้น ใคร ๆ ที่เห็นฝีมือแล้วก็ออกปากว่าสร้างได้ถูกมาก ความจริงแล้วถ้ารู้สึกลึกซึ้งลง ไปถึงโครงสร้างก็จะยิ่งประหลาดใจว่าสร้างในราคานี้ได้อย่างไร กล่าวคือข้าพเจ้าได้สั่งให้ สถาปนิกและวิศวกรผู้ค�ำ นวณแบบให้ทำ�รากฐานเผื่อไว้ถึง ๓ ชั้น เพราะคิดว่าในอนาคต อาจจะต้องมีการต่อเติมอีกชั้นหนึ่ง เพราะเนื้อที่ออกจะมีจำ�กัด ผู้ที่เคยขึ้นไปห้องประชุม ชั้น ๒ นี้ อาจจะไม่รู้ว่าเหนือฝ้าเพดานของห้องประชุมนั้นมีคานหนาถึง ๑ เมตรกว่าเรียง กันเป็นตับแสดงให้เห็นว่ามีความแข็งแรงเพียงไร ผู้ที่บริหารโรงพยาบาลนี้ต่อไปควรจะเก็บ แปลนก่อสร้างตึกหลังนี้ไว้ให้ดีเผื่อว่าจะมีโอกาสต่อเติมได้ภายหลัง 249
ตึกหลังนี้ได้ขอพระราชทานนามของสมเด็จพระราชชนนีว่า “ตึกศรีสังวาลย์” ได้ พระราชทานขอพระฉายาลักษณ์เอาไปให้กรมศิลปากรเขียนขยายเป็นพระรูปสีนํ้ามัน นำ� เอาไปประดิษฐานภายในตัวตึก ส่วนการประกอบพิธีเปิดนั้นเห็นพ้องต้องกันว่าต้องกราบ บังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันเสด็จพระราชดำ�เนินมาทรง ประกอบพิธีเปิด (ซึ่งตรงกับวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๘ ) นั้นเป็นพิธีใหญ่ยิ่ง มีพระบรม วงศานุวงศ์และผู้มีเกียรติเป็นจำ�นวนมากมาร่วมในพิธี ทั้งโรงพยาบาลประดับประดาไปด้วย ธงทิวสวยงามและผู้คนมาเฝ้าชมพระบารมีกันอย่างล้นหลาม ในวันนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ และพระเจ้าลูกเธออีก ๒ พระองค์ โดยเสด็จด้วย เมือ่ ทรงเปิดตึกศรีสงั วาลย์แล้ว เสด็จพระราชดำ�เนินไปทรงเปิดตึกจงกลนีอุทิศ ซึ่งเป็นตึกผ่าตัดเสร็จแล้วเสด็จกลับมาที่ ตึกศรีสังวาลย์เสวยพระสุธารสบนห้องประชุมชั้นบนแล้วจึงเสด็จพระราชดำ�เนินกลับ หลังจากก่อสร้างตึกหลังนี้เสร็จ รู้สึกมีความรำ�คาญใจหลงเหลือมาจากเมื่อครั้ง มีพธิ เี ปิดตึกสว่างวัฒนา เนือ่ งจากมีผพู้ ดู กันว่าชือ่ อืน่ ๆ มีออกเยอะแยะไป ทำ�ไมจึงจะต้องเอาชือ่ ของเจ้าลาวมาตั้ง (คนรู้จักแต่ชื่อพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาแต่ไม่ทราบว่า “สว่างวัฒนา” เป็น พระนามของสมเด็จพระพันวัสสาฯ) จึงคิดในใจว่าถ้าสร้างตึกใหม่ก็จะขอพระราชทานนาม ของท่านให้ครบเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้คนทั้งหลายรู้จักพระองค์ท่านดียิ่งขึ้น เมื่อเปิดตึก “สว่างวัฒนา” และ “ศรีสังวาลย์” แล้วมีความรู้สึกว่าถ้าจะหาเงิน สร้างตึกต่อไปคงจะง่ายขึ้นมาก เพราะบุญญาบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใคร ๆ ก็อยากจะมีส่วนในการบริจาคและคาด การณ์ได้ว่าพิธีเปิดตึกหลังต่อไปก็คงจะได้มีโอกาสเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอีกเป็นแน่ พิธีเปิดทั้งสองคราวเป็นพิธีใหญ่มาก โดยเฉพาะครั้งที่สอง มีทหารกองเกียรติยศตั้งแถวยาว แขกเกียรติยศที่มาในพิธีแต่งตัวกันอย่างโก้และสวยงามไปหมด ทางโรงพยาบาลก็สร้าง พลับพลาที่ประทับหน้าตึกศรีสังวาลย์ ประดับประดาอย่างเต็มที่ ชาวชลบุรีไม่เคยได้เห็นพิธี ใหญ่โตเช่นนี้มาก่อน จึงเป็นที่กล่าวขวัญกันอีกเป็นเวลานาน และทำ�ให้ชื่อเสียงของ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ดีขึ้น
250
ต่อมาก็เห็นว่าสมควรจะขยายจำ�นวนเตียงผู้ป่วยอนาถาโดยเฉพาะแผนกสูติกรรม เพราะห้องคลอดเดิมแย่มากทั้งที่ได้ขยายห้องเดิมออกจนติดบันได ปิดทางเดินขึ้นตึก เสียด้านหนึ่งจึงได้วางโครงการสร้างตึกสูติกรรมขึ้น โดยกะเนื้อที่ระหว่างตึกสว่างวัฒนา และตึกเสียงหะริณสุต เป็นตึก ๓ ชั้น ชั้นล่างสำ�หรับใช้เป็นที่ทำ�งานของแพทย์ซึ่งขณะนั้น ได้ตำ�แหน่งมากขึ้น มีแพทย์ประมาณ ๖-๗ คน และแบ่งไว้ด้านหนึ่งเป็นห้องสมุดจัดหา หนังสือตำ�รับตำ�ราแพทย์ที่ทันสมัยให้ และยังใช้เป็นห้องสำ�หรับประชุมวิชาการเพิ่มพูน ความรู้อีกด้วย ชั้นที่ ๒ แปลนไว้เป็นแผนกคลอดบุตรโดยเฉพาะ มีห้องคลอด ๒ ห้อง และ มีเตียงผู้ป่วยคลอดได้ ๑๖ เตียง ส่วนชั้นที่ ๓ วางแผนไว้ส�ำ หรับเป็นห้องคนไข้พิเศษเพิ่มขึ้น ก่อสร้างให้เชื่อมกับชั้นบนของตึกสว่างวัฒนาเดิมเพราะอยู่ในระดับเดียวกัน (ตึกใหม่สร้าง บนเนื้อที่ลาดเอียง ความสูง ๓ ชั้น จึงเท่ากับตึกสว่างวัฒนาซึ่งมีเพียง ๒ ชั้น) ขณะนั้นพอดีผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี (นารถ มนตเสวี) ซึ่งเป็นคนไข้ของข้าพเจ้า และได้เคยมารับเสด็จตามหน้าที่ในพิธีเปิดตึกศรีสังวาลย์และตึกสว่างวัฒนา ๒ ครั้งแล้ว ก็แสดงความจำ�นงว่าจะขอเป็นธุระเรื่องการหาเงินสร้างตึกนี้ร่วมไปกับทางโรงพยาบาล ดังได้กล่าวแล้วว่าด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ในเวลาไม่นานนักก็หาเงินสร้างตึกนี้ส�ำ เร็จโดย ไม่ล�ำ บากยากเย็นเหมือนในตอนแรก ตึกหลังนีไ้ ด้ขอพระราชทานชือ่ ตึกว่า ตึก “ศรีสวรินทิรา” ตามความตั้งใจที่มีไว้ว่าจะเป็นการเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จฯ ให้คนทั่วไปได้รู้จักพระองค์ ยิ่งขึ้น ตึกหลังนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯพร้อมด้วยเสด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ ได้เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๘ เป็นพิธีใหญ่ มีผู้คนเฝ้าชมพระบารมีมากมายอีกครั้งหนึ่งในสมัยนี้ พระตีรณสารวิศวกรรมได้เป็น อุปนายกผู้อ�ำ นวยการสืบแทนเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ ซึ่งกราบถวายบังคมลาออก เนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์เพราะชรามากแล้ว ก่อนหน้าจะมีพิธีเปิดก็ได้วางแผนไว้ส�ำ หรับอนาคตว่าจะต้องมีตึกเพิ่มขึ้นอีก เพราะ คนไข้ที่มารับการรักษาเพิ่มจำ�นวนมากขึ้นทุกที เตียงที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ โรงพยาบาลได้ดัดแปลงใต้ตุนตึกตันฉื่อฮ้วงและตันลิบบ๊วยซึ่งเดิมเป็นใต้ถุนโปร่ง โดยกั้น 251
กำ�แพงใส่หน้าต่างเป็นห้องขึ้น ต่อเติมห้องนํ้าชั้นล่างและชั้นบน ได้เตียงเพิ่มขึ้นอีก ๔๐ เตียงก็ตาม การต่อเติมห้องรับคนไข้ชั้นล่างนี้ไม่ค่อยถูกสุขลักษณะเพราะใต้ถุนเดิมเตี้ย เพียง ๒ เมตร ๒๐ เซนติเมตร ทำ�ให้รู้สึกอึดอัดมาก จึงต้องใช้สำ�หรับรับผู้ป่วยโรคติดต่อ เช่นคนไข้วัณโรค ซึ่งบางรายจำ�เป็นต้องรับไว้รักษาเสียโดยมากทางด้านตึกตันลิบบ๊วย ส่วนทางด้านตึกตันฉื่อฮ้วงนั้นดัดแปลงให้เป็นที่รับคนไข้เด็ก ซึ่งแลดูดีขึ้นเพราะเด็กตัวเล็ก ได้ส่วนกับห้องที่มีเพดานเตี้ย ได้วางแผนล่วงหน้าไว้โดยให้สถาปนิกออกแบบและทำ�หุ่นจำ�ลองของตึก และ ทูลเกล้าฯ ถวายให้ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ทอดพระเนตรในระหว่างเสด็จพระราชดำ�เนิน ภายในตึก และตั้งใจให้แขกผู้รับเชิญได้ชมการประชาสัมพันธ์ไปในตัวซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้ ทำ�การรณรงค์หาเงินก่อสร้างตึกหลังนี้ซึ่งวางแปลนไว้เป็นตึก ๓ ชั้นครึ่ง ชั้นบนสุดเป็น แผนกเด็ก ชั้นถัดลงมาเป็นคนไข้อายุรกรรมชาย ชั้นล่างเป็นคนไข้ศัลยกรรมชาย ทั้งนี้เป็น คนไข้อนาถาทั้งสิ้น ไม่มีห้องพิเศษ ส่วนชั้นล่างสุดอีกครึ่งหนึ่งใช้เป็นที่เก็บศพชั้นสูตรศพ การหาเงินก่อสร้างตึกคนไข้อนาถาหลังใหม่ซึ่งจะมีเตียง ๑๒๖ เตียงคราวนี้ ผู้ว่าราชการ จังหวัดไม่ได้ช่วยเหลืออย่างเคย เนื่องจากมีเรื่องผิดใจกันเล็กน้อยเกี่ยวกับชื่อตึกที่เสร็จไป แล้ว โดยที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดต้องการให้ชื่อที่สุดแต่ได้รับพระราชทานลงมา จะเป็น ชื่อใดก็ได้ แต่ข้าพเจ้ายืนยันที่จะขอชื่อ “ตึกศรีวรินทิรา” ตามวัตถุประสงค์เดิมของข้าพเจ้า และในที่สุดท่านผู้ว่าราชการจังหวัดยินยอมตามข้าพเจ้าอย่างไม่สู้เต็มใจนัก ท่านจึงเริ่มไป ดำ�เนินการ หาเงินสร้างตึกโรงพยาบาลชลบุรี อย่างไรก็ดีทางโรงพยาบาลก็ทำ�การรณรงค์หาเงินสร้างตึกหลังใหม่นี้ได้สำ�เร็จ ทั้งนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากคุณพระตีรณสารวิศวกรรม อุปนายกผู้อำ�นวยการคนใหม่ อนุมัติเงินก้อนหนึ่งสมทบให้จนครบตามจำ�นวน ตามประวัติย่อที่จารึกไว้ที่หน้าตึกแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จ พระราชดำ�เนินทรงประกอบพิธีเปิดอีกวาระหนึ่งในวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ ตึกหลังนี้ได้ขอพระราชทานชื่อว่า “ตึกบรมราชเทวี” โดยไม่มีปัญหาขัดข้องในเรื่องชื่อแต่ อย่างใดในวันที่มีพิธีเปิดตึกนี้ ข้าพเจ้าได้ทำ�หนังสือชี้แจงให้คนทั่วไปได้ทราบถึงชื่อตึกว่าเป็น 252
พระนามของสมเด็จฯ ซึ่งใกล้จะครบถ้วนตามพระนามเต็มว่าสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรม ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า จึงยังคงขาดอยู่เพียงตึกอัยิกาเจ้า อีกตึกเดียวก็จะครบ นอกนั้นก็มีพร้อมแล้ว ต่อจากนั้นไม่นาน บังเอิญท่านผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรีเกิดล้มป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ เรื้อรัง และมีอาการทางหัวใจข้าพเจ้าจึงได้เชื้อเชิญให้มาพักรักษาตัวโดยจัดให้อยู่ที่เรือนพัก ในทะเลได้พักรักษาตัวอยู่นานเป็นเวลาเกือบ ๒ เดือน จนกระทั่งอาการดีขึ้นต่อมาท่านจึง ได้ทำ�หนังสือเป็นทางการถึงข้าพเจ้า ขอรับอาสาจัดการหาเงินสร้างตึกซึ่งขอพระราชทาน ชื่อว่า “ตึกอัยิกาเจ้า” โดยคราวนี้ไม่มีข้อแม้แต่ประการใด ข้าพเจ้าได้ร่วมมือกับท่านผู้ว่า ราชการจังหวัดหาเงินสร้างตึกนี้ตามโครงการซึ่งจะให้เป็นตึกตรวจโรค และห้องจ่ายยาและ คลังยา โดยเหตุที่ถึงระยะนี้คนไข้มากขึ้นทุกที จนกระทั่งตึกตรวจโรคเดิมที่ชั้นล่างของตึก ศรีสังวาลย์คับแคบไป ในระหว่างดำ�เนินการหาเงินสร้างตึกนี้ใกล้ส�ำ เร็จก็พอดีได้รับอนุมัติงบประมาณ สร้างตึกหอพักพยาบาลใหม่อีก ๑ หลังตามที่ได้ทำ�เรื่องรายงานขอไปทางสภากาชาด ใน ระยะนี้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ ทรงดำ�รงตำ�แหน่งองค์อุปนายกผู้อ�ำ นวย การสืบต่อจากคุณพระตีรณสารวิศวกรรมซึ่งถึงแก่กรรม และยังได้ติดต่อขอบริจาคตึกคนไข้ พิเศษอีก ๑ หลัง จากคหบดีในกรุงเทพฯ ชือ่ นายเมธา นิวาตวงศ์ เป็นตึก ๒ ชัน้ ทีม่ หี อ้ งคนไข้พเิ ศษ ทั้งหลัง รวม ๔๒ ห้อง เห็นเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ทำ�พิธีเปิดเสียพร้อมๆกันทั้ง ๓ ตึก และ เป็นจังหวะที่เหมาะมากที่จะได้ทำ�พิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จฯ เสียในโอกาส เดียวกัน การดำ�ริก่อสร้างพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จฯ นี้มีตั้งแต่เมื่อสร้างตึกศรีสวรินทิรา เสร็จ ได้ทูลปรึกษากับหม่อมเจ้าหญิงอัปภัศราภาในขณะนั้นทรงเห็นชอบเป็นที่สุด ได้ทรง แนะนำ�ให้กราบทูลให้หม่อมเจ้าหญิงอัจฉราฉวี เทวกุล ซึ่งทรงเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน ส่วนพระองค์ในวังสระปทุมให้ทราบ ซึ่งทรงสนับสนุนและทรงเป็นผู้ติดต่อขอพระราชทาน พระบรมราชานุญาตดำ�เนินการและในขณะเดียวกันก็ทรงเป็นผู้ติดต่อกับทางสภากาชาดซึ่ง ขณะนั้นคุณพระตีรณสารฯ เป็นอุปนายกผู้อำ�นวยการขออนุญาตดำ�เนินการหาเงินก่อสร้าง 253
ทางโรงพยาบาลได้ดำ�เนินการติดต่อกรมศิลปากรให้ออกแบบพระบรมรูป โดยนำ� พระบรมฉายาลักษณ์ไปให้ ออกแบบเป็นท่าประทับเก้าอี้ภายใต้พลับพลาจัตุรมุขขนาด พอเหมาะ เมือ่ ร่างแบบไว้แล้วหลาย ๆ แบบได้น�ำ ขึน้ ทูลเกล้าฯ ถวายให้พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร ทรงเลือกแบบและมีพระราชวิจารณ์ เมื่อเป็นที่แน่นอนแล้ว กรมศิลปากรจึงได้ลงมือปั้นเป็นขนาดใหญ่ และมีพิธีเททองหล่อพระบรมรูปที่กรมศิลปากร ซึง่ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั ฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เสด็จพระราชดำ�เนินทรงประกอบพิธี เมื่อการหล่อพระบรมรูปเสร็จเรียบร้อยก็ได้ก่อสร้างพลับพลาขึ้นสำ�หรับเป็นที่ ประดิษฐาน ก่อนหน้านั้นก็ได้มีการปรึกษาหารือกันถึงสถานที่ที่จะเป็นที่ตั้งของพระบรมรูป ซึ่งมีการร่วมกันออกความเห็นระหว่างสถาปนิกหลายฝ่าย รวมทั้ง พ.อ.อร่าม เสรีเริงฤทธิ์ ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่เป็นผู้ให้ความเห็นด้วย ในที่สุดก็ตกลงกันให้ก่อสร้างพลับพลาที่ประดิษฐาน ในที่ ๆ เห็นอยู่ปัจจุบันนี้ ในพิธีเปิดพระราชานุสาวรีย์พร้อมตึกอีก ๓ หลัง เป็นพิธีที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาใน จังหวัดชลบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และพระเจ้าลูกเธอ ทุกพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้ารำ�ไพพรรณีในรัชกาลที่ ๗ และเจ้านายชั้นพระบรมวงศานุวงศ์เป็นจำ�นวนมากกว่าทุกครั้งที่เคยมีพิธีมา ผู้มีเกียรติจาก กรุงเทพฯ เป็นจำ�นวนมากและบรรดาข้าราชการผู้ใหญ่ทุกคนของจังหวัด พ่อค้าประชาชน ชาวจังหวัดชลบุรี ต่างมาเฝ้าทูลละอองพระบาทในพระราชพิธีอันยิ่งใหญ่นี้อย่างคับคั่ง ใน วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๔ อันเป็นวันคล้ายวันประสูติขององค์สมเด็จฯ ผู้พระราชทาน กำ�เนิดแก่โรงพยาบาล และเป็นวันที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ได้มีกำ�เนิดมาแล้วครบ ๕๙ ปี บุคคลทั่วไปก็ได้มีโอกาสได้รู้จักพระองค์ท่านดียิ่งขึ้น และต่างก็ส�ำ นึกใน พระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีนับด้วยอเนกประการ จนถึงเวลามีพธิ เี ปิดพระราชานุสาวรีย์ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้มเี ตียงคนไข้เพิม่ ขึน้ เป็น ๓๐๐ เตียง ค่าใช้จา่ ยทัง้ ค่าเวชภัณฑ์คา่ ยา และเงินเดือนเจ้าหน้าทีก่ เ็ พิม่ ขึน้ มาก สภากาชาดไทย จึงมีนโยบายให้ระงับการขยายโรงพยาบาลมิให้เพิม่ เตียงอีก ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากรายได้ของสภากาชาด 254
มีจำ�กัด ต้องอาศัยงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นทุกปี และในบางปีก็ถูกตัดทอนงบ ประมาณอุดหนุน ประกอบกับโรงพยาบาลของรัฐที่ตัวจังหวัดเองก็ขยายขึ้นเรื่อยโดยมีเป้า หมายจะให้เป็นโรงพยาบาลภาคโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา จึงไม่มีโครงการที่จะเพิ่ม เตียงคนไข้ตามนโยบายที่สั่งมา อย่างไรก็ตาม คนไข้คลอดบุตรที่ตึกศรีสวรินทิราชั้นล่างซึ่งมีเตียงคลอดบุตรเพียง ๑๘ เตียง ก็แออัดมากขึน้ ทุกที เพราะจำ�นวนผูค้ ลอดบุตรเพิม่ ขึน้ เตียงทีม่ อี ยูไ่ ม่เพียงพอถึงแม้ บางคราวคนไข้คลอดปกติกจ็ ะรีบให้กลับบ้านไปพักในระยะเพียง ๑-๒ วันหลังคลอด ถึงกระนัน้ ในบางคราวก็จะปรากฏว่าจะต้องให้คนไข้รอคลอดบุตรต้องนอนร่วมเตียงกัน เตียงละ ๒ คน ซึ่งเป็นสภาพที่ทนดูไม่ได้ ในที่สุดหลังจากที่ได้ทำ�รายงานชี้แจงถึงความจำ�เป็นจะต้องขยาย เตียงคนไข้คลอดบุตรนี้ และได้รับการพิจารณาอนุมัติซึ่งก็ต้องใช้เวลาพอสมควร จึงได้ลงมือ เรี่ยไรหาเงินสร้างตึกเพิ่มขึ้นอีก ๑ หลัง ที่บริเวณโรงอาหารเดิมโดยทำ�แปลนให้มี ทางเดินเชื่อมกับตึกศรีสวรินทิราเดิม ก่อสร้างเป็นตึก ๓ ชั้น ชั้นล่างคงใช้เป็นโรงอาหาร สำ�หรับเจ้าหน้าที่ส่วนอีก ๒ ชั้น ใช้เป็นห้องคลอดบุตร ห้องรอคลอด และชั้นบนใช้เป็น ที่สำ�หรับเลี้ยงเด็กแรกคลอด ส่วนห้องคลอดเดิมก็ดัดแปลงเป็นเตียงรับคนไข้เพิ่มขึ้นอีก ประมาณ ๘ เตียง ส่วนที่ดีก็คือได้มีที่เลี้ยงเด็กแรกเกิดเป็นสัดส่วน เดิมต้องเอามาไว้กับ มารดาในเมื่อเตียงต่าง ๆ เต็มไม่มีที่ว่าง และได้มีห้องคลอดสะอาดและติดเชื้อแยกกันอย่าง เด็ดขาดถูกต้องตามหลักวิชา ตึกหลังนี้มีชื่อว่าตึกศรีสมเด็จฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผูอ้ �ำ นวยการสภากาชาดไทย องค์ปจั จุบนั นี้ ได้ทรงพระมหากรุณา เสด็จพระราชดำ�เนินมาทรงประกอบพิธเี ปิดและเปิดตึกหอพักพยาบาลหลังใหม่ซ่ ง่ึ มีชอ่ื ว่า ตึก “สุขวัฒนา” ด้วยนับเป็นมหามงคลยิ่ง หลังจากทำ�พิธีเปิดตึกหลังนี้แล้ว ต่อมาอีก ๒๐ วัน ในวันเดียวกันด้วยนับเป็นมหามงคลยิง่ ข้าพเจ้าก็กราบบังคมทูลลาออกพ้นจากหน้าที่ เนือ่ งจาก สุขภาพเสือ่ มโทรม เป็นอันสิน้ สุดแห่งการทำ�งานของข้าพเจ้าเพียงแค่นี้นับเป็นเวลาที่ได้รับ โอกาสรับใช้โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา อันเป็นทีร่ กั ของข้าพเจ้าเป็นเวลา ๓๒ ปีกบั ๔ เดือน สิง่ ทีจ่ ะละเว้นไม่กล่าวถึงเสียมิได้กค็ อื บรรดาข้าราชบริพารในสมเด็จพระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า อันมี ม.จ.อัปภัศราภา เทวกุล ทรงเป็นผู้น�ำ ถ้าปราศจากเสียซึ่งการช่วยเหลือ และสนับสนุนจากท่านเหล่านี้ การวิวัฒนาการของโรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา อาจ 255
จะไม่เป็นผลสำ�เร็จเป็นรูปร่างอย่างที่ควร และท่านยังได้ช่วยเหลือข้าพเจ้าในการก่อตั้งทุน อุดหนุนโรงพยาบาลไว้ในรูปต่าง ๆ มากมาย เป็นผลให้โรงพยาบาลได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง บุคคลสำ�คัญอีกพวกหนึง่ ก็คอื บรรดาแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าทีแ่ ละคนงานของโรงพยาบาล ผู้ซึ่งได้ทำ�งานกันอย่างหนักในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นผลให้โรงพยาบาลสมเด็จฯ เป็นที่รู้จัก ในแง่ที่ดีแก่ประชาชน เป็นผลให้ช่วยให้การขยายโรงพยาบาลเป็นไปด้วยความราบรื่น
การวิวัฒนาการด้านอื่น ๆ
ในระยะที่มีการรณรงค์หาเงินสร้างตึกคนไข้แต่ละหลังเพื่อเพิ่มจำ�นวนเตียงนี้ ก็ต้อง วางแผนพัฒนาในเรื่องอื่น ๆ ขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกัน มีอาทิเช่น ปรับปรุงแผนกซักฟอก ซึ่ง เคยใช้คนซักรีดด้วยมือ โดยของงบประมาณก่อสร้างอาคารติดตั้งเครื่องกำ�เนิดไอนํ้า ติดตั้ง เครื่องซักผ้า เครื่องอบผ้า และรีดผ้าด้วยเครื่องเพื่อให้ทันกับการใช้สอย และพร้อม ๆ กันก็ ปรับปรุงด้านโรงครัวประกอบอาหาร ให้ติดตั้งเครื่องหุงข้าวประกอบอาหาร และทำ�ความ สะอาดถ้วย จาน ชาม ด้วยความร้อนจากเครือ่ งไอนา้ํ เป็นการถูกสุขภาพและอนามัย ในด้าน ที่อยู่อาศัยของบุคลากรซึ่งเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของคนไข้ ก็ของบประมาณก่อสร้างบ้านพัก แพทย์ประจำ�และแพทย์ฝึกหัด สร้างตึกหอพักพยาบาลเพิ่มขึ้นตามจำ�นวนคนไข้ซึ่งก็ต้อง มีตำ�แหน่งพยาบาลเพิ่มเป็นเงาตามตัวนอกจากนั้นก็มีการก่อสร้างบ้านพักเจ้าหน้าที่อื่น ๆ รวมทั้งที่พักคนงานที่จ�ำ เป็นก็มีการก่อสร้างที่พักภายในโรงพยาบาล จัดการก่อสร้างถนน หนทางภายใน ซึ่งเดิมส่วนมากเป็นถนนลูกรังไม่ได้ราดยางหรือเทคอนกรีต ในการนี้เพื่อให้ ลดค่าใช้จา่ ยในเรือ่ งงบประมาณได้ตดิ ต่อขอความช่วยเหลือจากเขตการทาง ขอรถบุลโดเซอร์ ขนาดใหญ่มาช่วยเหลือโดยออกแรงเพียงค่าแรงคนขับและค่านํ้ามันให้ส่วนที่สำ�คัญก็คือ จัดการเคลียร์พื้นที่ที่เคยเป็นป่าหญ้าคา และไร่มันหลังเขาพระตำ�หนักจนราบเรียบไม่เป็นที่ รกเหมือนป่าอีกต่อไป ในด้านสวัสดิการได้จดั สร้างสนามเทนนิส และด้านหลังเขาพระตำ�หนัก เมื่อได้ไถเคลียร์ที่แล้ว ก็จัดการปลูกหญ้ากลายเป็นสนามกว้างใช้เป็นสนามฟุตบอล และ อเนกประสงค์ เรียงราย ด้วยบ้านพักแพทย์ซง่ึ ได้งบประมาณก่อสร้างทีละ ๒-๓ หลัง เริม่ ต้น ตั้งแต่หลังละ ๓๕,๐๐๐ บาท ขึ้นเป็น ๕๕,๐๐๐ บาท และหลังละแสนกว่าบาท ทั้ง ๆ ที่ 256
แบบแปลนอย่างเดียวกัน ทั้งนี้เพราะจะเป็นด้วยอัตราค่าครองชีพสูงขึ้นหรือเงินจะเล็กลงก็ ไม่ทราบ ในปัจจุบันก็คงจะราคาเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า ในด้านวิชาการนั้นได้พยายามปรับปรุงให้มีคุณภาพสูงภายหลังที่ได้รับตำ�แหน่ง แพทย์ประจำ�เพิม่ ขึน้ ได้รบั แพทย์เพิม่ เติมอีกเรือ่ ย ๆ เป็นโชคดีทม่ี แี พทย์ทไ่ี ด้รบั การฝึกฝนแล้ว จากโรงเรียนแพทย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศสมัครมาอยู่ด้วยหลายคนเราพยายาม จัดการประชุมวิชาการกันอย่างสมํ่าเสมอเพื่อแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้ทางการแพทย์ ซึ่งจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ไม่ได้ ได้จัดการหาเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ทันสมัย ได้จัดหาทุน จากต่างประเทศส่งเทคนิคเชียนไปฝึกและดูงานที่ประเทศออสเตรเลีย ๑ คน และส่งผู้ช่วย หัวหน้าพยาบาลไปฝึกและดูงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ ๑ คน ส่วนตัวข้าพเจ้าเองได้รับทุน จากบริษัททาเคดา ผ่านทางสมาคมแพทย์ไปดูงานด้านศัลยกรรมทางเดินอาหารที่ประเทศ ญี่ปุ่น ขากลับได้ซื้อเครื่องมือผ่าตัดกระเพาะอาหารและลำ�ไส้ที่ทันสมัยมาใช้ ๑ เชต เป็น เครื่องมือที่ใช้ในประเทศไทยเป็นเครื่องที่ ๒ รองจากโรงพยาบาลศิริราช และเครื่องมือส่อง ทางเดินหลอดอาหารและกระเพาะอาหารแบบใหม่ที่สุดที่เรียกว่า End View Fiberscope ซึ่งขณะนั้นบริษัทโอลิมปัสเริ่มผลิตได้ซื้อมาใช้ที่โรงพยาบาลสมเด็จฯเป็นเครื่องแรกใน ประเทศไทย เป็นผลให้การวินิจฉัยและการผ่าตัดกระเพาะอาหารเป็นผลดีมาก ตัง้ แต่กอ่ นปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ซึง่ ข้าพเจ้ามาทำ�งานทีโ่ รงพยาบาลสมเด็จฯ นัน้ มีต�ำ แหน่ง แพทย์ประจำ�โรงพยาบาล ๒ คน แต่มีท่านวิโรจน์เวชชกรรมเป็นแพทย์ประจำ�อยู่คนเดียว อีกตำ�แหน่งนั้นหาผู้สมัครมาไม่ได้จึงต้องมีการหมุนเวียนให้แพทย์จุฬาฯ มาช่วยจนกระทั่ง ข้าพเจ้าสมัครมาอยู่จึงมีแพทย์ประจำ�ทำ�งานครบ ๒ คน และอีกประมาณ ๙ ปีต่อมาจึง ได้ตำ�แหน่งแพทย์เพิ่มขึ้นอีก ๑ คน และต่อมาอีก ๑ ปี ได้เพิ่มอีก ๑ คน รวมเป็น ๔ คน คนหลังนี้ก็คือคุณหมอจรูญ กุลสุวรรณ ซึ่งต่อมาได้รับตำ�แหน่งแพทย์ผู้อำ�นวยการต่อจาก ข้าพเจ้า หลังจากนั้นก็ได้ตำ�แหน่งแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้นเป็นลำ�ดับตามจำ�นวนคนไข้ และจำ�นวนเตียงซึ่งเพิ่มขึ้น หลังจากที่ได้รับตำ�แหน่งแพทย์ผู้อำ�นวยการซึ่งเป็นอิสระจากโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์แล้ว ข้าพเจ้าก็ยงั พยายามให้มสี ายสัมพันธ์ระหว่างสองโรงพยาบาลนีไ้ ว้อย่างเดิม เพราะโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้กลายเป็นโรงเรียนแพทย์อันเป็นแหล่งวิชาความรู้ ได้ขอให้ 257
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ส่งอาจารย์ผู้มีความรู้ในวิชาเฉพาะแขนงต่าง ๆ และติดต่อกับ คณะอายุรศาสตร์เขตร้อนส่งแพทย์อาวุโสลงมาบรรยายให้แพทย์ พยาบาลของโรงพยาบาล สมเด็จฯ เป็นประจำ�เดือนละไม่ตํ่ากว่า ๒-๓ ครั้ง และในบางครั้งก็ส่งแพทย์ของโรงพยาบาล สมเด็จฯ เข้าไปฝึกอบรมโรคเฉพาะทางที่โรงพยาบาลจุฬาฯ เมื่อทางโรงพยาบาลจุฬาฯ มี แพทย์ฝึกหัดขึ้น ก็ได้ติดต่อให้แพทย์ฝึกหัดหมุนเวียนไปฝึกทำ�งานที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ครั้งละ ๑ เดือน ภายหลังได้ทำ�เรื่องไปยังแพทยสภาขอให้ยอมรับวิทยฐานะของโรง พยาบาลสมเด็จฯ ว่าสามารถจะเป็นโรงพยาบาลที่อบรมแพทย์ประจำ�บ้านได้และขอโควตา ของโรงพยาบาลสมเด็จฯ โดยเฉพาะเพิ่มขึ้นจากโควตาโรงพยาบาลจุฬาฯ ซึ่งมีอยู่แล้ว ประจำ� แพทยสภาได้ส่งคณะกรรมการแพทย์ซึ่งมีจำ�นวน ๕ คนมาตรวจสภาพ จำ�ได้ว่าใน คณะกรรมการแพทย์นั้นมี พลเรือตรีนายแพทย์สนิท โปษะกฤษณะ เป็นหัวหน้าคณะ และมีนายแพทย์ณัฐิ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแพทย์มหิดลในปัจจุบันนี้เป็น กรรมการและเลขานุการก่อน คณะกรรมการจะเดินทางกลับ คุณหมอณัฐิได้มากระซิบ บอกข้าพเจ้าว่า เห็นจะไม่มีปัญหาเพราะเท่าที่ดูจากโรงพยาบาลต่างจังหวัดที่ต่าง ๆ มา ไม่เห็นว่ามีโรงพยาบาลใดที่เหมาะสมกว่าโรงพยาบาลสมเด็จฯ ทำ�ให้ข้าพเจ้าดีใจมาก ต่อ มาก็ได้รับคำ�ตอบเป็นทางการว่าแพทยสภารับรอง และโรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้รับโควตา แพทย์ฝึกหัดต่อมาทุกปี บางทีได้ถึง ๖ คน ซึ่งโรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้เอาโควตานี้ไปรวมกับ โควตาของโรงพยาบาลจุฬาและจัดสรรให้หมุนเวียนมาเดือนละ ๒ คน ทั้งนี้โดยเล็งเห็นผล ประโยชน์ของแพทย์ฝึกหัดเองว่า ถ้าได้อบรมจากโรงเรียนแพทย์จะเป็นประโยชน์มากกว่า แทนที่จะมาอบรมกันตลอดที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ส่วนโรงพยาบาลประจำ�จังหวัดชลบุรีนั้น เมื่อได้ทราบว่าโรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้ รับรองโดยแพทยสภาให้มีแพทย์ฝึกหัดได้ ในปีต่อมาจึงขอต่อแพทยสภาบ้าง ปรากฏว่าไม่ ได้รับอนุมัติ เพราะสภาพต่าง ๆ ไม่ครบถ้วน จนกระทั่งในปีต่อมาจึงได้รับการรับรองและ เริ่มมีแพทย์ฝึกหัด ต่อมาเมื่อโรงพยาบาลสมเด็จฯ ได้ต�ำ แหน่งแพทย์ประจำ�มากขึ้น เราก็พยายามจะ แบ่งแผนกเป็นโรคเฉพาะทางมากขึ้นซึ่งเมื่อแบ่งแยกมากขึ้นก็มีปัญหาตามมา เพราะเวลาที่ 258
อยู่เวร ในเวลานอกราชการนั้น แพทย์ประจำ� จำ�เป็นต้องปฏิบัติงานแบบแพทย์ทั่วไป คือมี ความรู้ที่จะปฏิบัติงานต่อผู้ป่วยได้ทุกรูปแบบถึงกระนั้นแพทย์ทางศัลยกรรมก็ยังเป็นผู้ต้อง ทำ�งานหนักโดยที่เวลาอยู่เวรก็สามารถทำ�หน้าที่จัดการกับคนไข้ได้เอง ส่วนแพทย์อื่นเช่น แพทย์ทางยา หรือเด็ก เมื่อมีคนไข้ศัลยกรรมหนัก ๆ มาก็ต้องตามแพทย์ทางศัลยกรรมมา จัดการ ทำ�ให้การจัดเวรทำ�ด้วยความลำ�บากไม่เหมือนเมื่อครั้งยังไม่แยกแพทย์เฉพาะทาง ทุกคนก็พยายามทำ�ด้วยตนเองทั้งหมด โดยเฉพาะในสมัยที่ข้าพเจ้า เป็นศัลยกรรมแพทย์ อยู่คนเดียว ต้องทำ�หมดทุกอย่างตั้งแต่ผ่าท้อง เอาเด็กออก ตัดมดลูก ตัดกระเพาะ ตัดถุง นํ้าดี ตัดม้าม ต่อกระดูกเอาเหล็กใส่ ตัดต่อมทอนซิล เจาะโครงกระดูกไซนัส เจาะคอเด็ก คอตีบ แม้กระทั่งเจาะกะโหลกศีรษะเพื่อเอาเลือดคั่งออกในรายฉุกเฉินก็มี ในปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลได้ขยายเตียงเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับสถานการณ์ท่าเรือ ภาคตะวันออก ซึ่งทำ�ให้ต้องเพิ่มจำ�นวนบุคลากรขึ้นอีกมาก การจัดการดำ�เนินการในเรื่อง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่คงจะมีปัญหาเพิ่มขึ้น ข้าพเจ้าขอให้กำ�ลังใจแพทย์ผู้อำ�นวยการ คนปัจจุบันให้มีกำ�ลังใจกำ�ลังกายที่เข้มแข็งเพื่อจะได้ลุล่วงไปด้วยดีเพื่อให้ชื่อเสียงของ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ได้เป็นที่กล่าวขวัญของประชาชนสมดังพระราชประสงค์ ขององค์สมเด็จฯ ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาลแห่งนี้สืบไป
นายแพทย์สุกรี สืบสงวน ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๑
คัดลอกจากบทความ โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา จากความทรงจำ�ของข้าพเจ้า ในหนังสือ ตึกมหิดลอดุลยเดช โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา
259
นายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ
หลังจากที่ข้าพเจ้าจบแพทย์จากคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สภากาชาดไทย มีประกาศรับสมัครแพทย์ไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ข้าพเจ้าได้สมัครเข้าทำ�งานทีโ่ รงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา เมือ่ เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยสมัครทีโ่ รงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เนือ่ งจากขณะนัน้ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ขึน้ อยู่ กับกองบรรเทาทุกข์และอนามัย ซึ่งมีที่ทำ�การอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อมาถึงโรงพยาบาลวันแรกเข้ารายงานตัวต่อท่านขุนวิโรจน์เวชกรรม แพทย์ ผู้ปกครอง ในสมัยนั้น ท่านมีความกรุณาให้เข้าพักเรือนโชเก็น ซึ่งอยู่บนไหล่เขาพระตำ�หนัก เป็นเรือนหลังเล็กมี ๒ ห้องนอนพร้อมทั้งจัดอาหารให้รับประทานด้วย อาณาเขตของโรงพยาบาลกว้างขวางมากประมาณ ๗๐ ไร่เศษประกอบด้วยตึกใหญ่ คือตึกพระพันวัสสา เป็นอาคารรักษาผู้ป่วย มีตึกรับผู้ป่วย ๓ หลังคือ ตึกตันฉื่อฮ้วง ตึกตันลิบบ๊วย อีกหลังหนึ่งเป็นห้องแถวเรือนไม้มีห้องรับผู้ป่วย ๕ ห้อง มีบ้านพักริมทะเล ๔ หลัง (เรือนรัฐธรรมนูญ สร้างขึ้นภายหลัง) มีบ้านพักอยู่บนบกริมชายหาดชื่อเรือนไขศรีเป็น ที่พักของนายแพทย์สุกรี สืบสงวน ซึ่งเป็นแพทย์ผู้ช่วยผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังมีบ้านพักบนไหล่เขาพระตำ�หนัก ๒ หลัง คือ เรือนโชเก็น และเรือน ขรัวนายสุด เลยเขาพระตำ�หนักไปทางทิศใต้เป็นบ้านพักของพระองค์เจ้าวาปีบุษบากร ชื่อเรือนปทุม เนื้อที่ที่เหลือเป็นป่าเป็นไร่มันสำ�ปะหลังเกือบทั้งหมด ซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์ ต่าง ๆ โดยเฉพาะงูกะปะมีชุกชุมมาก มีกระจงตัวเล็กบนเขาพระตำ�หนักเป็นจำ�นวนมาก
260
บางครั้งจะมีกระต่ายป่าออกมาให้เราเห็นได้บ่อย ๆ ที่เรือนโชเก็นซึ่งเป็นบ้านที่ข้าพเจ้าพัก อาศัยมีตุ๊กแกเกาะอยู่ตามเพดานและผนังบ้านอยู่หลายสิบตัว บางคืนส่งเสียงร้องต่อกันเป็น ทอด ๆ ข้าพเจ้าพักอาศัยอยู่ ๔ เดือน สุขสบายดีไม่เคยพบเห็นสิ่งผิดปกติดังคำ�เล่าลือของ แพทย์ฝึกหัดที่เข้ามาพักอยู่ในระยะหลัง ต่อมาได้รับประทานอนุญาตให้ไปพักอยู่ที่ตำ�หนัก เรือนปทุม ความเป็นอยู่ในสมัยที่ข้าพเจ้ามาอยู่ใหม่ ๆ ต้องอาศัยไฟฟ้าจากบริษัทศรีมหาราชา มีไฟฟ้าใช้ถึงแค่เวลาสี่ทุ่ม หลังจากนั้นต้องใช้ตะเกียงลานเพื่อให้แสงสว่างทั้งที่ตึกผู้ป่วยและ บ้านพักอาศัยเวลารับผู้ป่วยใหม่ก็จะเร่งแสงไฟให้สว่างขึ้น วิธีใช้ตะเกียงลานต้องไขลานเพื่อ ให้ลานหมุนใบพัดเป่าลมขึ้นตำ�แหน่งใต้ไส้ตะเกียงทำ�ให้แสงไฟสว่างมากขึ้น ส่วนนํ้าประปา ยังไม่มีใช้ ทางโรงพยาบาลมีบ่อนํ้าฝนอยู่ ๑ บ่อ เมื่อมีนํ้าฝนเต็มจะสูบขึ้นไปใส่ถังพักนํ้า ซึ่ง สร้างไว้บนเขา เพื่อส่งจ่ายใช้ตามตึกต่าง ๆ รวมทั้งบ้านพักของเจ้าหน้าที่ เวลาขาดแคลนนํ้า ทางโรงพยาบาลจะใช้รถจิ๊ปที่มีถังนํ้าไปขนนํ้าที่บ่อก๊อกวันละ ๕-๖ เที่ยว มาเติมไว้ให้เต็ม อยู่เสมอ ระยะแรกที่ข้าพเจ้ามาอยู่มีแพทย์ประจำ� ๔ ท่าน คือ ท่านขุนวิโรจน์เวชชกรรม นายแพทย์สุกรี สืบสงวน แพทย์หญิงอุลิต ธนะภูมิ และข้าพเจ้า มีเจ้าหน้าที่น้อย ทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อื่น ๆ รวมทั้งโรงพยาบาลมีเพียง ๖๐–๗๐ คน จึงรู้จักกันทั้งหมดอยู่กัน แบบญาติพี่น้องจริง ๆ กีฬาที่เล่นกันบ่อย ๆ ก็คือ แบดมินตัน เล่นกันที่สนามหน้าอาคาร โรงครัว ณ ปัจจุบนั ตกคํา่ เรามักมีการพบปะกันเป็นประจำ� รับประทานอาหารด้วยกันเสมอ บ่อยครั้งที่ไปรับประทานอาหารกันที่บ้านพักริมทะเล ซึ่งเป็นบ้านพักของแพทย์หญิงอุลิต ธนะภูมิ ในด้านการปฏิบัติงานที่ตึกพระพันวัสสา ชั้นล่างเป็นตึกตรวจโรค มีห้องตรวจโรค ห้องจ่ายยา ห้องตรวจชันสูตร และห้องทำ�แผลฉีดยาอย่างละ ๑ ห้อง อีก ๑ ห้องเป็นห้อง ผ่าตัด ส่วนชั้นบนเป็นตึกอำ�นวยการ เป็นห้องของแพทย์ผู้ปกครอง ธุรการ และบัญชี ในการตรวจผู้ป่วยแพทย์ออกตรวจผู้ป่วยนอกทั้งหมดทั้ง ๓ ท่าน มีผู้ป่วยมาตรวจ วันละ ๕๐–๑๕๐ คน ถ้าแพทย์ท่านไหนมีงานต้องทำ�ผ่าตัดแพทย์ที่เหลือรับหน้าที่ตรวจ 261
ผูป้ ว่ ยไปจนหมด การดูแลผูป้ ว่ ยในตึกแบ่งกันรับผิดชอบแต่ละตึกหมุนเวียนกันไปแต่ละเดือน ขณะนั้นมีตึกผู้ป่วย ๓ อาคาร คือ ตึกตันลิบบ๊วย รับผู้ป่วยชายทุกโรค ตึกตันฉื่อฮ้วงรับผู้ ป่วยหญิงและเด็กทุกโรค และอาคารเรือนไม้รับผู้ป่วยพิเศษ ๕ ห้อง การอยู่เวรข้าพเจ้าและแพทย์หญิงอุลิต จะสลับกันอยู่คนละวันถ้าคนไหนอยู่เวร ในวันเสาร์ก็จะควบวันอาทิตย์ด้วยและทำ�หน้าที่ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยทุกคนในโรงพยาบาล ด้วย ส่วนนายแพทย์สุกรี สืบสงวน เป็นแพทย์ช�ำ นาญทางด้านศัลยกรรม จะเป็นแพทย์รับ ปรึกษาผู้ป่วยที่ต้องทำ�ผ่าตัดทุกวัน ทั้งในเวลาทำ�งานและนอกเวลาทำ�งาน มักถูกตามให้มา ทำ�ผ่าตัด ซึ่งท่านจะมาและให้คำ�แนะนำ�เสมอทุกครั้ง ทำ�ให้พวกเราได้ความรู้จากท่าน อย่างมากมาย ในระยะหลังข้าพเจ้าเป็นผูท้ �ำ ผ่าตัดไส้ตง่ิ เอง บางครัง้ พยาบาลดมยาสลบไม่อยู่ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน ก็จะตามข้าพเจ้ามาช่วยดมยาสลบให้ โดยใช้อีเธอร์หยดใส่บนผ้า กอซที่ครอบอยู่บนจมูกผู้ป่วย ทำ�ผ่าตัดในห้องผ่าตัดที่ตึกพระพันวัสสา วันไหนที่ทำ�ผ่าตัด หลังสี่ทุ่ม ต้องจุดตะเกียงเจ้าพายุ ๒ ดวง เพื่อให้แสงสว่างในการทำ�ผ่าตัด สมัยนั้นมีอาจารย์ แพทย์จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นิยมมาพักตากอากาศที่บ้านพักริมทะเล อาทิเช่น นายแพทย์เกษม จิตรปฏิมา นายแพทย์เฉลี่ย วัชรพุกก์ นายแพทย์ชิน บูรณธรรม ฯลฯ เวลามีปัญหาผู้ป่วยที่ต้องทำ�ผ่าตัดขณะที่นายแพทย์สุกรี สืบสงวนไม่อยู่ ข้าพเจ้าก็จะเชิญ อาจารย์แพทย์มาช่วยทำ�ผ่าตัดให้ ซึ่งท่านก็ให้ความกรุณามาทำ�ผ่าตัดให้ทุกครั้ง ในวันที่อยู่เวรถ้ามีคนถูกฆ่าเสียชีวิตหรือตายผิดปกติเป็นคดีภายนอกโรงพยาบาล ตำ�รวจก็จะมาเชิญข้าพเจ้าหรือแพทย์หญิงอุลิตออกไปชันสูตรศพด้วย โรคที่พบบ่อย ๆ ทางอายุรกรรม ก็คือ มาลาเรีย เพราะเหตุว่าศรีราชา ยังเต็มไป ด้วยป่าทึบ ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการไข้สูง ไม่รู้สึกตัว เกือบทุกรายเป็นไข้มาลาเรียขึ้นสมอง ซึ่งพบได้บ่อยมาก ส่วนใหญ่มาจากตำ�บลบ่อวิน ตำ�บลเขาคันทรง การรักษาได้ผลดีด้วยการ ใช้ยาควินิน โดยให้ผสมในนํ้าเกลือ ชั่วข้ามคืนผู้ป่วยก็ฟื้นรู้สึกตัวดีพูดคุยได้ ส่วนโรคทาง ศัลยกรรมที่พบบ่อยเกิดจากอุบัติเหตุรถยนต์ ถูกสัตว์ป่าทำ�ร้าย บางรายถูกปืนที่ชาวบ้าน ทำ�เองตั้งดักยิงสัตว์ลั่นใส่เนื่องจากเดินเตะเชือกที่ขึงขวางทางเดิน เป็นตัวเหนี่ยวไกปืน รวม ทั้งผู้ป่วยที่ถูกยิง ถูกแทง จากการทะเลาะวิวาท 262
อีกโรคหนึ่งที่พบอยู่เสมอเวลาอยู่เวรก็คือ ถูกงูกัด ส่วนมากเป็นงูกะปะ ญาติผู้ป่วย จะเอางูทต่ี ตี ายแล้วมาให้แพทย์ดเู พือ่ บอกชนิดของงู (งูกะปะคล้ายงูแมวเซามาก ลายสีนา้ํ ตาลเข้ม ที่หลังงูกะปะเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ลายของงูแมวเซาเป็นรูปหกเหลี่ยม) การรักษาโดย ฉีดเซรุ่มต้านพิษงูกะปะ ซึ่งจะต้องไปขอมาไว้ประจำ�จากสถานเสาวภา งูกะปะเป็นงูพิษมีผล ต่อระบบเลือด ถ้าไม่ได้รับการฉีดเซรุ่ม จะมีเลือดออกบริเวณแผล เลือดออกใต้ผิวหนัง รอบแผลจะบวมมาก ผู้ป่วยอาจช็อคได้ งานพิเศษของข้าพเจ้าที่ได้รับมอบหมาย คือการไปเบิกเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ ทั้งหมด โดยสภากาชาดไทยโอนเงินมาทางธนาคารมณฑลต่อมาเปลี่ยนเป็นธนาคาร กรุงไทย ที่จังหวัดชลบุรี นั่งรถยนต์ไปกับสมุห์บัญชี การเดินทางยังไม่สะดวกเป็นถนนลูกรัง พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นป่า เสีย่ งอันตรายมากเนือ่ งจากยังมีขา่ วการจีป้ ล้นและการเดินทาง แต่ละครั้งไม่มีปืนสำ�หรับป้องกันตัว ในสมัยนั้นการรักษาพยาบาลเป็นที่เชื่อถือศรัทธาของประชาชนศรีราชาและ จังหวัดใกล้เคียง จะมีผู้ป่วยมาจากจังหวัดระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ด้วยความสามารถ ของนายแพทย์สกุ รี สืบสงวน จึงมีผปู้ ว่ ยมาตรวจรักษามากจนต้องสร้างตึกเพิม่ ขึน้ อีกหลายตึก ในสมัยทีน่ ายแพทย์สกุ รี สืบสงวน ดำ�รงตำ�แหน่งเป็นแพทย์ผปู้ กครอง ผูป้ ว่ ยในมีจ�ำ นวนมาก แพทย์จะต้องขึ้นมาดูผู้ป่วยตั้งแต่หกโมงเช้า บางครั้งกว่าจะตรวจเยี่ยมผู้ป่วยหมดทุกคนทั้ง โรงพยาบาล ใช้เวลาถึงสิบโมงเช้าในวันที่อยู่เวรวันเสาร์ถ้าแพทย์อยู่เวรวันอาทิตย์ไม่ว่างก็จะ ต้องถูกแลกเวรให้เวรวันอาทิตย์ จึงต้องอยู่เวรติดกันวันเสาร์และวันอาทิตย์ ความสัมพันธ์ ระหว่างผู้ร่วมงานนับว่าดีมาก ทุกคนจะทำ�งานร่วมกันช่วยเหลือเกื้อกูลกันทุกอย่าง เวลามี อุบตั เิ หตุเกีย่ วกับรถยนต์ควํา่ มีผปู้ ว่ ยบาดเจ็บถูกส่งมาโรงพยาบาลพร้อมหลายคน เจ้าหน้าที่ ทั้งหมดจะมาช่วยกันอย่างพร้อมเพรียง ทำ�งานจนเสร็จด้วยความเรียบร้อย ในระยะที่ข้าพเจ้าได้รับตำ�แหน่งผู้อ�ำ นวยการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้รับนโยบาย จากคณะกรรมการเจ้าหน้าทีส่ ภากาชาดไทยให้ใช้นโยบายประหยัดไม่สร้างตึกเพิม่ จึงหันมา ปรับปรุงบริเวณสถานที่ ทำ�ถนนลาดยางรอบบ้านพักเจ้าหน้าที่ และรอบ ๆ ตัวอาคาร ของโรงพยาบาล ได้สร้างบ่อนํ้าขนาดใหญ่เพื่อรองรับปัญหานํ้าปะปาขาด ซึ่งบ่อเก็บนํ้านี้ สามารถสำ�รองนํ้าไว้ใช้ได้ถึง ๒ วัน ได้รณรงค์ตั้งกองทุนต่าง ๆ เพื่อนำ�ดอกผลใช้ในกิจการ 263
ของโรงพยาบาล ซึ่งทำ�ให้บรรเทาได้บ้างเมื่อเวลางบประมาณหมดหรือต้องใช้จ่ายในโอกาส จำ�เป็น ในส่วนด้านการรักษาพยาบาล ก่อนเริ่มขึ้นรับตำ�แหน่งผู้อ�ำ นวยการ มีแพทย์ ประจำ�โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ส่วนหนึง่ ได้ลาออกไปปฏิบตั งิ านทีโ่ รงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลเอกชล และปฏิบัติงานส่วนตัว เหลือแพทย์ประจำ�โรงพยาบาลเพียง ๘ ท่าน ข้าพเจ้าจึงต้องลงมาช่วยอยู่เวรห้องฉุกเฉินนอกเวลาราชการ และออกตรวจผู้ป่วยนอก ได้ ส่งเสริมให้แพทย์ประจำ�โรงพยาบาลไปศึกษาเพิ่มเติมในสาขาโรคเฉพาะทาง พยายามหา แพทย์มาทดแทนตำ�แหน่งที่ว่าง เพิ่มตำ�แหน่งพยาบาลและเจ้าหน้าที่อื่น ๆ รองรับปริมาณ ผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น และได้ทำ�การเปิดหน่วย ICU เพื่อดูแลผู้ป่วยอาการหนักอย่างใกล้ชิด ความประทับใจของข้าพเจ้า คือความสามัคคีกลมเกลียว ความมีนํ้าใจที่ดีต่อกันของเจ้า หน้าที่ทุกคนให้ความช่วยเหลือพร้อมทำ�งานร่วมกันด้วยความเต็มใจ งานต่าง ๆ จึงสำ�เร็จ ลุล่วงไปด้วยดีและส่งผลดีไปถึงผู้ป่วย ข้าพเจ้าได้ทำ�งานที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา รวมเป็นเวลา ๒๘ ปี นาย แพทย์อนันต์ ธาระเวช ดำ�รงตำ�แหน่งผู้อ�ำ นวยการคนต่อมา ในโอกาสนีผ้ มขออวยพรและให้ก�ำ ลังใจผูบ้ ริหาร และบุคลากรของโรงพยาบาลสมเด็จฯ ทุกคน ให้ปฏิบัติงานด้วยความสุข มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป
นายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ ผู้อ�ำ นวยการโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑- ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕
คัดลอกจากบทความ บันทึกความทรงจำ� ในหนังสือ ๑๐๐ปี ๒๔๔๕-๒๕๔๕ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
264
นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช
๔ เมษายน ๒๕๐๙ เป็นวันที่ผมเดินทางมารายงานตัวกับแพทย์ผู้ปกครอง โรงพยาบาลฯ ณ ศรีราชา จนถึงวันนี้นับเป็นเวลา ๓๓ ปี ๖ เดือน เวลาผ่านไปรวดเร็ว เหมือนติดปีกบิน มนุษย์เราไม่สามารถแสวงหาสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่เวลา เท่านั้นที่ทุกคนมีเท่าเทียมกันขึ้นอยู่กับใครจะได้ใช้เวลาอันมีค่านี้ ทำ�ให้เป็นเงิน ทอง อำ�นาจ วาสนา หรือบำ�เพ็ญประโยชน์ต่อสังคมมากน้อยเพียงใด แล้วแต่ความสามารถของ บุคคลนั้น เหตุผลที่ผมเลือกมาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลแห่งนี้ ก็เพราะผมมีความผูกพันกับ สภากาชาดไทยทีม่ อี ยูใ่ นสายเลือด กล่าวคือ คุณปูแ่ ละคุณพ่อผมได้ปฏิบตั งิ านทีโ่ รงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ราว ๆ ปี ๒๔๖๔ – ๒๔๖๕ ต่อเนื่องกันมา ทำ�ให้ผมสนใจมา ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา โดยไม่ลังเลที่จะมาใช้ชีวิตในอำ�เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จนตราบเท่าทุกวันนี้ นับตัง้ แต่ออกเดินทางมาจากกรุงเทพมหานคร ผ่านมาตามถนนสุขมุ วิททีม่ รี ถไม่กค่ี นั สองข้างทางมีธรรมชาติที่งดงาม มีต้นไม้ที่ร่มรื่น ต้นข้าวสีทอง ไม่มีตึกสูงหรือโรงงาน อุตสาหกรรม เมื่อเข้ารั้วโรงพยาบาล ได้พบบรรยากาศภูมิทัศน์ที่สวยงามเต็มไปด้วยต้นไม้ ร่มรื่นเช่นกัน โดยเฉพาะชายหาดหน้าโรงพยาบาลจะไม่พบเศษขยะ ถุงพลาสติกหรือ คราบนํ้ามันเลย พวกเราลงเล่นนํ้าด้วยความสนิทใจ ในสมัยนั้นกีฬาของโรงพยาบาลก็ยังมี การแข่งขันว่ายนํ้าในทะเลด้วย ผู้ที่มาพักในเรือนนํ้าส่วนใหญ่ก็นิยมเล่นนํ้าทะเล บางครั้งก็ มีปลาโลมาว่ายเข้ามาใกล้ ๆ พ่นนํ้าให้เห็นเป็นระยะ ๆ ผู้ที่จะมาพักจะติดใจบรรยากาศกัน ทุกคน 265
ตัวบริเวณอำ�เภอศรีราชาเองมีแต่ต้นไม้ใหญ่ ๆ สภาพแวดล้อมล้วนแต่เป็น ธรรมชาติ น่าเป็นที่พักอาศัย บริเวณหน้าเทศบาลศรีราชาที่เป็นหอนาฬิกา สมัยนั้นยังเป็น บังกะโลเล็ก ๆ ใช้เป็นที่พักตากอากาศประมาณ ๒๐ หลัง ปลูกเป็นระเบียบ เห็นวิวทะเล สวยงาม เสียดายที่มารื้อทำ�ตึกแถว ปิดบังทัศนียภาพอันงดงามไปสิ้นนอกจากนั้นก็มี บริษัทศรีมหาราชา คือบริเวณศรีราชานครในปัจจุบัน มีแต่ต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น มีบ้านพัก ตากอากาศ ดูแล้วเป็นธรรมชาตินา่ อยู่ ถนนเจิมจอมพลส่วนใหญ่จะเป็นห้องแถวไม้ทง้ั สองข้าง มีเพียงธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทยเท่านั้นที่เป็นตึก สิ่งที่เป็นหน้าเป็นตา ของอำ�เภอศรีราชาคือร้านอาหาร นักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวบางแสน พัทยา ต้องแวะมา รับประทานอาหารที่ศรีราชาเป็นส่วนใหญ่ ร้านอาหารที่ดังในขณะนั้นก็มี จั๊วหลี ฮั่วฮวด อร่อยเด็ด นาวาชายหาด ซีฟู้ด ถ้าเป็นร้านข้าวต้มรอบดึกก็ต้องเป็นร้านคุณเผ่า คลินิกก็มีไม่กี่แห่ง ที่ดังมากก็คือ แพทยสถานของท่านอดีตผู้อำ�นวยการ โรงพยาบาลคือ นายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ คนไข้แน่นขนัดทั้งเช้า กลางวัน เย็น นอกจากนัน้ ก็มคี ลินกิ นายแพทย์สทิ ธิ์ ศัลยพงษ์ นายแพทย์วโิ รจน์ ละอองสุวรรณ (พีช่ าย พระยันตระ) สถานที่ราชการก็มีอำ�เภอ โรงพักศรีราชา ป่าไม้เขต ออป.โทรศัพท์ และ ไฟฟ้าของเอกชน บริษัทศรีมหาราชา ไทยออยส์ TAMCO โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียน ดาราสมุทร และโรงเรียนเซนต์ปอลคอนแวนต์ โรงเรียนศรีราชา โรงเรียนเทศบาล และ ธนาคารอีก ๒ – ๓ แห่ง หน่วยงานใหญ่ ๆ จะมีแค่นี้ ทำ�ให้หัวหน้าหน่วยงานมีความ สัมพันธ์ รู้จักกันเป็นอย่างดี แพทย์ พยาบาลก็จะได้รับเชิญไปงานต่าง ๆ เป็นประจำ� ทำ�ให้พวกเรารู้จักสนิทสนมกับนายอำ�เภอ ผู้กอง ผู้จัดการบริษัท หัวหน้าหน่วยงาน เกือบทุกคน นับเป็นสังคมที่อบอุ่น ช่วยเหลือเกื้อกูล รักใคร่กลมเกลียวจนเกิดงานวิวาห์ ระหว่างบุคคลเหล่านี้กับพยาบาลของโรงพยาบาลไปหลายคู่ บ้านพักแพทย์ในสมัยนั้นมีประมาณ ๕ – ๖ หลัง หอพักพยาบาล ๑ หลัง อยู่ติด กับฝ่ายโภชนาการ เมื่อผมมาอยู่ได้ ๑ ปี ก็มีการสร้างบ้านพักแพทย์เพิ่มอีก ๒ หลัง คือบ้าน ที่เป็นที่อยู่ของ นายแพทย์สุรัตน์ สิทธิพงศ์ศรี และหัวหน้าฝ่ายยาและเวชภัณฑ์ในปัจจุบัน
266
แพทย์ที่ไม่มีครอบครัว อยู่บ้านละ ๒ คน ผมพักอยู่กับนายแพทย์ชัชวาลย์ สืบสงวน (ปัจจุบันอยู่สหรัฐอเมริกา) บ้านพักบนเขามี ๒ หลัง เป็นเรือนไม้เก่า ๆ หลังหนึ่งเป็นที่อยู่ ของสมุห์บัญชีคือ คุณชาตรี และครอบครัว อีกหลังหนึ่งเป็นที่พักของแพทย์ฝึกหัด (Intern) ซึ่งหมุนเวียนมาจากจุฬาฯ คนละ ๒ สัปดาห์ ชื่อเรือนขรัวนายสุต และเรือนโชเก็น มีเรื่อง ที่เล่ากันดังมากคือ Intern อยู่ไม่ได้ ต้องวิ่งลงจากบ้านแทบไม่ทัน เพราะตอนดึก ๆ มีผู้ หญิงนุ่งขาวห่มขาวมายืนเขย่าขาอยู่ที่หน้าเตียง เป็นเรื่องตื่นเต้นที่เล่าลือกัน จนปัจจุบัน เจ้าหน้าที่รุ่นเก่า ๆ ก็ยังเล่าขานกันอยู่ สมัยนั้นจำ�นวนแพทย์ พยาบาลของโรงพยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ยังมีน้อย สัมพันธภาพระหว่างเจ้าหน้าที่ทั้งแพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ จึงมีความรักใคร่สนิท สนมกันทุกครอบครัว พวกเราจะจัดงานสังสรรค์กันอยู่เนือง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวันเกิดตัวเอง วันเกิดภรรยา หรือวันเกิดของลูก ๆ ผมมาอยู่ที่นี่ ๑ ปีก็แต่งงาน มีบุตรชาย ๒ คน ลูก ๆ ของพวกเราก็อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน เป็นเพื่อนกันถึงปัจจุบัน เติบโต สำ�เร็จการศึกษา มีหน้าที่การงานเป็นปึกแผ่นด้วยกันทุกคน เมือ่ ผมมาอยูใ่ หม่ ๆ มี นายแพทย์สกุ รี สืบสงวน เป็นแพทย์ผปู้ กครอง (ผูอ้ �ำ นวยการ) และนายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ เป็นผู้ช่วยแพทย์ผู้ปกครอง ในสมัยนั้นผู้อ�ำ นวยการ นายแพทย์สกุ รี ยังหนุม่ อยู่ เป็นทัง้ ศัลยแพทย์และผูบ้ ริหาร ทำ�ผ่าตัดเกือบทุกวัน ออก OPD ทำ� Grand round ทุกเช้าวันอังคาร Death Conference เดือนละครั้ง เป็นแพทย์ที่มีฝีมือ ในการทำ�ผ่าตัดอย่างมาก มีคนไข้ที่เป็นข้าราชการ พ่อค้าคหบดีในจังหวัดชลบุรีเกือบทั้งสิ้น เมื่อเอ่ยชื่อนายแพทย์สุกรีจะเป็นที่รู้จักชื่นชอบไปทั่วจังหวัดชลบุรี อีกท่านหนึ่งคือ นายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ เป็นแพทย์ทางอายุรกรรม มีคนไข้ทั้ง ศรีราชา บางละมุง พนัสนิคม บ้านบึง พวกเราเรียกกันว่าพี่รูญ มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี ช่วยเหลือเกื้อกูลน้อง ๆ มาโดยตลอด สมัยนั้นพวกเราอยู่กันห้าหกคนอยู่เวรกันก็ถี่ มีธุระ จะไปไหนฝากเวรพีร่ ญ ู แล้วจะไม่เคยได้รบั การปฏิเสธ เป็นผูม้ นี า้ํ ใจแก่นอ้ ง ๆ อย่างสมา่ํ เสมอ พี่รูญจะพาพวกเราไปรับประทานอาหารตามร้านต่าง ๆ เกือบทุกสัปดาห์ และพาไปเต้นรำ� ฟังเพลง แล้วจะเป็นเจ้ามือทุกครั้ง 267
มีบุคคลสำ�คัญ อีกคนหนึ่งที่ต้องกล่าวไว้ในหน้าที่นี้คือหัวหน้าพยาบาลในสมัยนั้น คือนางสาวสมัย รัตนแก้วกาญจน์ หรือพวกเราเรียกว่าพี่หมัย เป็นที่รู้จักกันดี ไม่เฉพาะใน โรงพยาบาลเท่านัน้ แต่ทง้ั อำ�เภอศรีราชาและจังหวัดชลบุรี เป็นทีน่ า่ เกรงขามแก่ทกุ คน ไม่วา่ แพทย์รนุ่ เก่าหรือรุน่ ใหม่ พยาบาล เจ้าหน้าทีท่ ว่ั ไป โดยเฉพาะคนไข้(ทีท่ �ำ ผิดระเบียบ) พีห่ มัย มีเสียงดังฟังชัด พยาบาลรุ่นน้อง ๆ ไม่มีใครกล้าโต้แย้ง กลัวเหมือนหนูกลัวแมว ข้าราชการ พ่อค้าใหญ่ในจังหวัดชลบุรี ก่อนจะมา admit ในโรงพยาบาล จะต้องติดต่อผ่านพี่หมัยก่อน พีห่ มัยจะดูแลให้ความสะดวกเป็นอย่างดี ทำ�ให้เป็นทีพ่ อใจของคนใหญ่ ๆ โต ๆ ในสมัยนัน้ มาก พี่หมัยเป็นคนปากร้ายแต่ใจดีพวกเรารู้ใจและชอบกันมาก ถ้าพี่หมัยให้ความร่วมมือในเรื่อง ใดแล้ว งานจะสะดวกเรียบร้อยทุกอย่าง ปัจจุบันพี่หมัยยังมีชีวิตอยู่แต่ชรามาก จึงไม่ค่อยได้ มาร่วมงานในวันที่ ๑๐ กันยายน อีกท่านหนึง่ ทีอ่ ยากจะกล่าวถึงคือคุณหมอทัศนัย แสนโกศิก เป็นแพทย์ไทยคนเดียว ที่จบจากรัสเซีย เรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยมอสโคถึง ๗ ปี เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านสูติกรรม มีภรรยาเป็นชาวรัสเซีย มีลูกสาว ๑ คน เผอิญบ้านหมอทัศนัยกับผมอยู่ติดกัน ทำ�ให้รู้จัก นิสัยของชาวรัสเซียว่าเป็นคนขยันขันแข็งและอดทน เป็นที่กล่าวขวัญในวงการแพทย์ ถึงหมอรัสเซียที่อยู่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ไปที่ไหนก็มีคนถามถึงเสมอ ๒ – ๓ ปีต่อมาคุณพ่อ หมอทัศนัยซึ่งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยเสียชีวิต คุณหมอทัศนัยจึงลาออกลงสมัคร เป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย และได้เป็น ส.ส.สุโขทัย ยิ่งดังมากขึ้น แพทย์ทม่ี าปฏิบตั งิ านพร้อมกับผมคือ นายแพทย์ จิร(กมล) จิตโรภาส แพทย์ทา่ นอืน่ ๆ ในสมัยนัน้ ทีม่ าไล่ ๆ กับผมทีพ่ วกเรารุน่ ปัจจุบนั อาจไม่รจู้ กั ก็มี อาทิ แพทย์หญิงอรุณี พฤฒิกลั ป์ นายแพทย์กอง พันธุมโกมล นายแพทย์วรรณะ อูนากูล นายแพทย์เมษยน – แพทย์หญิง โสภาพรรณ เผื่อนปฐม นายแพทย์ศุภชัย – แพทย์หญิงกรกมล ถนอมสัตย์ นายแพทย์ ฉลอง ชื่นชม นายแพทย์ไพโรจน์ สินลารัตน์ (ปัจจุบันเป็นอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล) และนายแพทย์ปัญญา กีรติหัตถยากร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ชลบุรีในปัจจุบัน
268
ในปีแรกที่ผมมาอยู่ มีแพทย์รุ่นพี่ ๖ คน เมื่อผมมาช่วยงาน แพทย์รุ่นพี่ดีใจมาก ขณะนั้นโรงพยาบาลมีตึกอยู่ไม่กี่ตึก OPD คือตึกศรีสังวาลย์ชั้นล่างในปัจจุบัน มีห้องตรวจ ๒ ห้อง ห้องเอกซเรย์ และห้องล้างฟิล์ม คือที่ทำ�งานของฝ่ายการเงินฯ ในปัจจุบัน คนไข้ OPD มีวนั ละประมาณ ๑๐๐ –๑๕๐ คน มี Staff ออกตรวจ ๒ คน ตรวจกันตัง้ แต่เช้าจรดเย็น โรคส่วนใหญ่เป็นพวก Malaria Anemia ทางเดินหายใจ งูกัด ถูกยิง ถูกแทง ER อยู่ที่ ตึกพระพันวัสสาชัน้ ล่าง คือห้องประชุม ฝ่ายการพยาบาลปัจจุบนั กลางคืนมีผปู้ ว่ ยไม่มากนัก ประมาณ ๕ – ๑๐ ราย มีแพทย์อยู่เวร ๑ คน ตลอดทั้งคืน ห้อง Lab อยู่ที่ห้องทำ�งาน คุณประไพ หัวหน้าพยาบาล ชั้นบนของตึกพระพันวัสสาเป็นที่ท�ำ งานของผู้บริหาร แผนกธุรการ และ แผนกบัญชี ห้องผ่าตัดมี ๒ ห้อง ห้องเล็ก ๑ ห้อง ห้องใหญ่ ๑ ห้อง หอผูป้ ว่ ยก็มตี กึ สว่างวัฒนา ตึกศรีสวรินทิราเพิง่ สร้างเสร็จใหม่ ๆ นอกจากนัน้ ก็มตี กึ ตันลิบบ๊วย และตันฉื่อฮ้วง ซึ่งเป็นเรือนไม้ โรงพยาบาลมีเตียงรับผู้ป่วย ๑๕๐ เตียง แพทย์อยู่เวรใน วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ ก่อนออกเวร แพทย์เวรต้อง Round ผู้ป่วยทั้ง โรงพยาบาลให้เสร็จก่อนจึงออกเวรได้ ซึ่งกว่าจะ Round เสร็จก็ใช้เวลาไม่ตํ่ากว่า ๒ – ๓ ชั่วโมงแพทย์เวรในสมัยนั้นต้องดูทั้งผู้ป่วย ER และผู้ป่วยใน Ward ด้วย ถ้ามีผ่าตัดก็ต้อง ทำ�ผ่าตัด เช่น Appendectomy Ectopic หรือกระเพาะทะลุ การดมยาในสมัยนั้น ใช้ Scrub Nurse เป็นผู้ดมยาสลบโดยใช้ Ether หรือ Chlorofom เมื่อผู้ป่วยสลบแล้ว จึงไป Scrub มือเพื่อช่วยแพทย์ทำ�ผ่าตัด การผ่าตัดในสมัยนั้นจึงใช้เวลามาก การทำ� Appendectomy หรือ Caesarean section จะใช้เวลากว่าชั่วโมง การทำ�งานของผม เริม่ ต้นทีต่ กึ ศรีสวรินทิรา ด้วยการเป็นแพทย์ทางสูต-ิ นรี ฯ ท่านผูอ้ �ำ นวยการ นายแพทย์สกุ รี สืบสงวน ได้ถามว่าจะปฏิบัติงานเป็นแพทย์ทางใด ผมจึงตอบว่าต้องการเป็นแพทย์ทาง สูติ-นรีฯ ซึ่งขณะนั้นโรงพยาบาลยังไม่มีแพทย์สาขานี้ ท่านจึงส่งผมเข้าฝึกอบรมที่ภาควิชา สูติ-นรีฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมัยนั้นโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชาจะมีชื่อเสียง ด้านศัลยกรรมและอายุรกรรม ผู้ป่วยทางสูติ-นรีฯ มีน้อยมาก สตรีที่ตั้งครรภ์จะนิยมคลอด ที่บ้านหรือที่คลินิกเป็นส่วนใหญ่ ผมจึงพยายามพัฒนางานทางด้านสูติ-นรีฯ และเมื่อมี นายแพทย์ทัศนัย และนายแพทย์ศุภชัย มาช่วยปฏิบัติงาน จึงได้ร่วมกันพัฒนาจนกระทั่งมี ผู้ป่วยนิยมมามากขึ้น จนนับว่าเป็นอันดับหนึ่งในจังหวัดชลบุรี 269
การทำ�งานในสมัยนั้นค่อนข้างหนัก ทั้งในเวลาและนอกเวลา แต่ก็มีความสุขใจ เพราะ Staff รุ่นพี่จะให้ความเมตตากรุณากับรุ่นน้อง ไม่เอาเปรียบน้อง ๆ รับผิดชอบและ ให้ความช่วยเหลือกันทั้งในด้านการงานและเรื่องส่วนตัว ไม่มีการขัดแย้งในการทำ�งาน ไม่มี การตำ�หนิ มีแต่คำ�แนะนำ�และให้กำ�ลังใจ ถึงแม้บางครั้งจะมีความเห็นไม่ตรงกัน พี่ ๆ ก็จะ มีวิธีพูดจนเราไม่รู้สึกว่านั่นคือการไม่เห็นด้วย เราจะมีการประชุมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลใน วันเสาร์หรืออาทิตย์ เรามีสโมสรโรงพยาบาลสมเด็จฯ โดยมีผมเป็นนายกสโมสรคนแรก มี นิตยสารรายเดือน มีนายแพทย์จิร (กมล) จิตโรภาส เป็นบรรณาธิการ นับเป็นบรรยากาศ การทำ�งานที่ผมจดจำ�มาตลอด จากตัวอย่างดี ๆ ที่มีแพทย์รุ่นพี่ได้กระทำ� ทำ�ให้ผู้ร่วมงานใน ขณะนั้นเห็นเป็นแบบอย่าง การทำ�งานจึงเป็นเอกภาพ สามัคคี พร้อมเพรียง เป็นช่วงเวลาที่ ผมทำ�งานอย่างมีความสุขที่สุด นับตัง้ แต่ปที ผ่ี มอยูจ่ นถึงปี ๒๕๒๐ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา เจริญรุง่ เรืองมาก ซึ่งขณะนั้นนายแพทย์สุกรี สืบสงวน และนายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ ก็ยังเป็นผู้อำ�นวยการ และรองผู้อ�ำ นวยการ มีตึกใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายหลัง เช่น ตึกบรมราชเทวี ตึกอัยิกาเจ้า ตึกเมธา นิวาตวงศ์ หอพักศรีมติ รา พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จฯพระพันวัสสา พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เสด็จฯ มาทรงเปิดตึกเหล่านี้มีประชาชนมาเฝ้าฯ รับเสด็จมากมาย นับเป็นครั้งแรกที่เสด็จอำ�เภอศรีราชา ผู้เจ็บป่วยที่มาใช้บริการก็มาเกือบทั่วทั้งจังหวัดชลบุรีและจังหวัดใกล้เคียงไม่ว่าจะ เป็นอำ�เภอเมือง พนัสนิคม บ้านบึง หนองใหญ่ สัตหีบ ระยอง จันทบุรี แพทย์ไม่เคยเกี่ยงว่า ผู้ป่วยจากจังหวัดใด ให้การบริการรักษาทั้งมีเงินและไม่มีเงิน หมอของโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ได้รับความเชื่อถือและศรัทธามาก ไปที่ไหนไม่หายก็ต้องมาโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา นับเป็นโรงพยาบาลที่ได้รับความไว้วางใจมากที่สุดในจังหวัดชลบุรี สัจธรรมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อมีลาภก็มีการเสื่อมลาภ เมื่อมียศก็มีการเสื่อม ยศ เมื่อมีเจริญสูงสุดก็มีวันตกต่�ำ ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะยืนยงอยู่ได้ตลอดไป ในปี ๒๕๒๑ นายแพทย์สุกรี สืบสงวน ผู้อำ�นวยการลาออก สถานการณ์โรงพยาบาลมีความระสํ่าระสาย
270
ประจวบกับกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายปรับปรุงโรงพยาบาลชลบุรเี ป็นโรงพยาบาลศูนย์ ทำ�ให้แพทย์ของโรงพยาบาลสมเด็จฯ ทีม่ ชี อ่ื เสียงทีค่ นไข้นยิ มชมชอบมาก จำ�นวน ๕ – ๖ คน ก็ลาออกไปอยู่โรงพยาบาลชลบุรี ทำ�ให้คนไข้ที่มาโรงพยาบาลสมเด็จฯ ตามแพทย์เหล่านี้ ไปรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี ส่งผลกระทบต่อโรงพยาบาลอย่างมาก ความเชื่อถือศรัทธา ลดลง แพทย์ที่เหลือต้องทำ�งานหนักมากขึ้น ส่วนหนึ่งจะลาออกไปอีก เหลือแพทย์อยู่เพียง ๑๐ คน เวร ER และ OPD ก็อยู่ถี่ขึ้น ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลดีเท่าที่ควร มีการร้องเรียน และต่อว่าโรงพยาบาลในรูปแบบต่าง ๆ ขาดศรัทธาและความไว้วางใจ นายแพทย์จรูญ ซึ่ง ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำ�นวยการ ได้พยายามตามแก้ไขสถานการณ์ทุกวิถีทาง พยายามหา แพทย์ พยาบาล มาเพิ่มเติม เพื่อสร้างภาพลักษณ์เดิมให้กลับคืนมา แต่ก็หา Staff ใหม่ไม่ ได้ เพราะในช่วงนั้นเป็นช่วงวิกฤติที่ขาดแคลนแพทย์ทั่วประเทศ (รัฐจึงได้วางนโยบายให้มี แพทย์ใช้ทุน) เมื่อทำ�งานหนัก Staff จึงเกิดความเครียดทุกคน นับเป็นงานหนักของ ผู้บริหารเป็นอย่างมาก ผมได้รับตำ�แหน่งผู้อำ�นวยการเมื่อเดือน พฤษภาคม ๒๕๒๕ ต่อท่านผู้อ�ำ นวยการ จรูญ กุลสุวรณ ประกอบกับโรงพยาบาลสมเด็จฯ กำ�ลังจะมีอายุครบ ๘๐ ปี (๑๐ กันยายน ๒๕๒๕) พวกเราชาวโรงพยาบาลสมเด็จฯ ต้องการจัดงานเฉลิมฉลองใหญ่เนื่องจาก โรงพยาบาลว่างเว้นจากการจัดงานใหญ่ ๆ มานาน ผมเองเป็นผู้บริหารมือใหม่ ไม่มี ประสบการณ์ เคยเห็นแต่เพียงผู้อำ�นวยการสุกรี สืบสงวน ดำ�เนินการ ซึ่งผมก็ไม่ทราบ รายละเอียดมากนัก พวกเราต้องการกราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานในงาน เพื่อต้องการให้งานยิ่งใหญ่ เพิ่มความ หนักใจให้แก่ผมมากขึน้ แต่ผมก็คลายความหนักใจลงไปมาก เมือ่ ได้รบั การสนับสนุนเป็นอย่างดี จากท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ ซึง่ เป็นเลขาธิการสภากาชาดไทย ในสมัยนั้น และส.ส.อุดม โอภาศรี ซึ่งเป็น ส.ส.ชลบุรี ในขณะนั้น ส.ส.อุดมรับเป็นประธาน ฝ่ายพ่อค้าและประชาชนในจังหวัดชลบุรี นอกจากนั้นก็มีบุคคลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดชลบุรี อีกเป็นจำ�นวนมากที่ช่วยสนับสนุน ทำ�ให้งานสำ�เร็จลุล่วงไปด้วยดี มีผู้คนมาร่วมในพิธี มากมาย ได้รับเงินจากผู้ทูลเกล้าฯ ถวายเกือบ ๓ ล้านบาท นับว่าเป็นเงินค่อนข้างมาก 271
เมื่อเปรียบเทียบกับการบริจาคในจังหวัดชลบุรี เงินจำ�นวนนี้ได้จัดตั้งเป็นกองทุน ๘๐ ปี โรงพยาบาลสมเด็จ ฯ ณ ศรีราชา ใช้ในการพัฒนาโรงพยาบาลจนถึงปัจจุบนั จากประสบการณ์ นี้ทำ�ให้ผมมีก�ำ ลังใจในการพัฒนาโรงพยาบาลยิ่งขึ้น ในปี ๒๕๒๖ หลังจากที่ผมเป็นผู้อำ�นวยการได้เกือบ ๑ ปี สถานการณ์ทางบุคลากร ทางการแพทย์ยังเหมือนเดิม ยังหาแพทย์มาเพิ่มเติมไม่ได้ การให้บริการผู้ป่วยยังไม่มี ประสิทธิภาพเท่าทีค่ วร แต่ดว้ ยพระบารมีของสมเด็จย่าฯ จึงบันดาลใจให้แพทย์ใหม่ ๆ รุน่ น้อง ที่เป็น Intern ของโรงพยาบาล มีความพร้อมใจที่จะมาปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา เหมือนนัดหมาย คือมาสมัครพร้อม ๆ กัน ถึง ๑๐ คน คือ นายแพทย์บวรชัย จีระชน นายแพทย์สมบัติ เศรษฐมงคล นายแพทย์พรพิทกั ษ์ ตัง้ จิตนบ นายแพทย์ธานินทร์ ตัง้ จิตนบ นายแพทย์เฉลิมวุฒิ เกิดดอนแฝก นายแพทย์พงษ์เชษฐ์ เบศรภิญโญวงศ์ นายแพทย์ พงษ์ศกั ดิ์ ลีละพงศ์ประสุต นายแพทย์วชิ ยั ว่องวีรวัฒนกุล นายแพทย์คมั ภีร์ กรณปกรณ์ นายแพทย์พลู ศักดิ์ ไวความดี จึงทำ�ให้เปลีย่ นสถานการณ์จากวิกฤติเป็นโอกาสทันที มี Staff มาถึง ๒๐ กว่าคน ผมจึงมีโอกาสใช้ทรัพยากรอันมีค่าเหล่านี้พัฒนาโรงพยาบาลให้เจริญ ก้าวหน้าในเวลาต่อมา ในปี ๒๕๒๗ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะ องค์อุปนายิกาผู้อ�ำ นวยการสภากาชาดไทย เสด็จฯ ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาล ทรงเห็นความ เก่าแก่และเสื่อมโทรมของโรงพยาบาล โดยเฉพาะหอผู้ป่วยและเครื่องมือทางการแพทย์ ฯลฯ ทรงรับสั่งให้ดำ�เนินการพัฒนาและปรับปรุงโรงพยาบาล เพื่อรองรับผู้เจ็บป่วยและ โครงการพัฒนาชายฝัง่ ทะเลตะวันออก หากมีความจำ�เป็นในเรือ่ งงบประมาณก็ขอให้บอกมา นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง ผมจึงวางแผนพัฒนาไว้ดังนี้ ๑. พัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ ๒. พัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ ๓. พัฒนาอาคารสถานที่ ๔. สวัสดิการที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่
272
แผนพัฒนาโรงพยาบาลตามพระราชดำ�ริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ กว่าจะ เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ใช้เวลานานเกือบสิบปี โรงพยาบาลได้รับพระมหากรุณาเป็นล้นพ้นจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ ท่านศาสตราจารย์ ดร.เกษม สุวรรณกุล และท่านเลขาธิการแผน วรรณเมธี ตลอดจน ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เช่น ท่านผู้หญิงอังกาบ บุญยัษฐิติ ศาสตราจารย์ปัจจัย บุนนาค คุณป้าทองม้วน สมบูรณ์ทรัพย์ ศาสตราจารย์แพทย์จินดาภา สายัณหวิกสิต คุณป้าอรุณ บุญคั้นผล คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญสามสมเด็จ ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาอีกเป็น จำ�นวนมากทีบ่ ริจาคเงินมากกว่า ๒๐๐ ล้านบาท เพือ่ สร้างหอผูป้ ว่ ย คือ“ตึกมหิดลอดุลยเดช” เป็นอาคาร ๗ ชั้น และอาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นอาคาร ๖ ชั้น พัฒนาโรงพยาบาลจาก ๒๐๐ เตียงเป็น ๕๐๐ เตียง บุคลากร ๕๐๐ คน เป็น ๑,๓๐๐ คน แพทย์จาก ๑๒ – ๑๓ คน เป็น ๘๐ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญเกือบทั้งสิ้น มีอาคาร ที่พัก ผู้ป่วยที่สะอาด สะดวกสบาย มีอุปกรณ์ทางการแพทย์พร้อม มีบ้านพักและหอพัก ให้แพทย์ พยาบาลบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับอยู่ได้มากกว่า ๔๐๐ ยูนิต นับว่าเป็น สวัสดิการเจ้าหน้าทีท่ ด่ี ยี ง่ิ เมือ่ เปรียบเทียบกับโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ความสำ�เร็จ ต่าง ๆ เหล่านีจ้ ะเกิดขึน้ ไม่ได้ ถ้าขาดความร่วมมือร่วมใจ จากเจ้าหน้าทีโ่ รงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ทุกท่าน ตลอดระยะเวลา ๓๓ ปี ๖ เดือนที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ผมมีความภาคภูมิใจและประทับใจอยู่หลายประการคือ ๑.ได้ปฏิบัติงานในองค์กรสาธารณกุศลที่มีปณิธานในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ด้วยหลักเมตตาธรรม ๒. ได้บริหารโรงพยาบาลให้เป็นที่พึ่งและไว้วางใจของผู้ป่วยในอำ�เภอศรีราชาและ อำ�เภอใกล้เคียงตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยิกาเจ้า ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาลแห่งนี้ ๓. ได้มีโอกาสรับใช้พระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ กล่าวคือ - เป็นสมาชิกแพทย์อาสาในสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (พอ.สว.) 273
- ปฏิบัติงานสนองพระราชดำ�ริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ตาม โครงการพัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา - ได้รับความไว้วางพระทัยจากพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในการจัดแพทย์ถวายการรักษาเมื่อทรงมีพระอาการประชวร ยามเมื่อท่านเสด็จประทับ ณ พระตำ�หนักพัทยา ๔. มีความประทับใจ ซาบซึ้งใจในเพื่อนร่วมงานทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ให้กำ�ลังใจในการพัฒนาโรงพยาบาลให้เจริญก้าวหน้า เป็นที่เชื่อถือและไว้วางใจของ ผูเ้ จ็บป่วย จะเห็นได้วา่ มีผนู้ ยิ มมารับบริการเพิม่ มากขึน้ จำ�นวนผูป้ ระกันตนของโรงพยาบาล มีมากเป็นอันดับ ๒ ของประเทศ ในเรื่องวิชาการ แพทย์ใช้ทุนก็นิยมที่จะมาฝึกปฏิบัติงานที่ โรงพยาบาลแห่งนี้ ผมคิดว่างานพัฒนาโรงพยาบาลที่ผมรับผิดชอบได้สำ�เร็จลุล่วงไปส่วนหนึ่งแล้ว แต่การพัฒนาโรงพยาบาลจะต้องมีอยู่ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร รุน่ ต่อ ๆ ไป ผมอยากให้ขอ้ คิดแก่เจ้าหน้าทีร่ นุ่ น้อง ๆ ว่า โรงพยาบาลสมเด็จฯ ทีเ่ ราปฏิบตั งิ าน อยู่นั้น เป็นสถาบันที่มีพระคุณต่อเราอย่างยิ่ง ทำ�ให้เรามีชื่อเสียง มีเงิน มีทอง มีหน้ามีตาใน สังคม เป็นบ้านที่ให้ความอบอุ่นสะดวกสบายและปลอดภัย ยากจะมีสถานที่ใดเสมอเหมือน จึงขอให้เจ้าหน้าทีร่ นุ่ หลัง ๆ ทุกคน มีความจงรักภักดีตอ่ สถาบัน ปกป้องมิให้ผใู้ ดมากล่าวร้าย ล่วงละเมิดในทางที่ไม่ชอบธรรม ช่วยกันพัฒนาโรงพยาบาลให้เจริญรุ่งเรืองทุกวิถีทาง ทำ�ให้ โรงพยาบาลเป็นที่พึ่ง ศรัทธา ไว้วางใจ และเป็นโรงพยาบาลเพื่อประชาชน ตามพระราช ปณิธานขององค์ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาลแห่งนี้ตลอดไปและตลอดกาล เมื่อมาถึง ณ วันนี้ เป็นวันที่ผมพ้นภาระความรับผิดชอบที่มีต่อโรงพยาบาล สมเด็จฯ ณ ศรีราชา เพราะเหตุเกษียณอายุ ผมขอขอบพระคุณ โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย ที่ได้ให้แหล่งพักพิงอาศัย ให้ที่ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข ให้ชีวิต ที่มีความมั่นคงปลอดภัย ให้ความรู้และประสบการณ์ รู้จักกับบุคคลทุกสาขาวิชาชีพ ได้มี โอกาสรับใช้สังคม ตลอดจนสามารถบริหารงานที่รับผิดชอบจนลุล่วงไปด้วยดี มีความเจริญ ก้าวหน้าในหน้าที่การงานจนอยู่ในตำ�แหน่งสูงสุดของโรงพยาบาล 274
ผมขอขอบพระคุณท่านผู้มีอุปการคุณต่อโรงพยาบาลทุกท่าน ตลอดผู้บังคับบัญชา ระดับสูง ที่ให้ความเมตตากรุณาช่วยเหลือเกื้อกูลกระผม ช่วยให้แผนงานต่าง ๆ ที่ได้รับ มอบหมายสำ�เร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบคุณ ผู้ร่วมงานในโรงพยาบาลสมเด็จฯ ณ ศรีราชา ทุกท่านที่ได้ให้ความร่วมมือ ร่วมใจ สนับสนุน ตลอดจนเป็นกำ�ลังใจให้พัฒนาโรงพยาบาล จนสำ�เร็จเป็นที่ประจักษ์ ตลอดเวลา ๓๓ ปี ที่ผมอยู่ในโรงพยาบาลแห่งนี้ ขอกุศลกรรมที่ ท่านทั้งหลายที่ผมกล่าวมาในข้างต้น ตลอดจนพระบารมีแห่งดวงวิญญาณของสมเด็จ พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้โปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย จงประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองชั่วกาลนาน นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ - ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒
คัดลอกจากบทความ ๓๓ ปี แห่งความทรงจำ� ในหนังสือ ใต้เงาลัน่ ทม ทีร่ ะลึกในงานเกษียณอายุเจ้าหน้าที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒
275
นายแพทย์จรุง อุคพัชญ์สกุล
ได้รับการติดต่อจากคณะกรรมการจัดทำ�หนังสือ ขอให้ช่วยบันทึกความทรงจำ�ใน ขณะที่ผมได้ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาล ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่จะมีโอกาสรับใช้ โรงพยาบาลอีกครั้งหนึ่ง วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นวันที่ผมได้มาปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมเด็จ ณ ศรีราชา ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นหน่วยงานหนึ่งของสภากาชาดไทย ซึ่งขณะนั้น โรงพยาบาลมีอายุได้ประมาณ ๗๕ ปี สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงพระราชทานกำ�เนิด โรงพยาบาล เมือ่ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๔๕ เหตุผลทีม่ าปฏิบตั งิ านทีน่ ่ี เพราะต้องการ ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่มีชื่อเสียงมากในภาคตะวันออก และเป็นโรงพยาบาลที่สวยงาม ร่มรื่น เป็นที่พึ่งของผู้เจ็บป่วยในจังหวัดชลบุรี และภาคตะวันออก อีกประการหนึ่งเป็น โรงพยาบาลที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นบ้านเกิดภูมิล�ำ เนาของผมเอง ผมมีความภูมิใจ เป็นอย่างยิ่งที่ได้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแห่งนี้ จนเกษียณอายุการปฏิบัติงาน (วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑) เป็นเวลา ๓๓ ปีเศษ บรรยากาศการปฏิบัติงานในช่วงนั้น อาจารย์นายแพทย์สุกรี สืบสงวนเป็น ผู้อำ�นวยการ และมีนายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ เป็นรองผู้อ�ำ นวยการ มีแพทย์ร่วมงานอีก ประมาณ ๑๐ คน ซึ่งพวกแพทย์รุ่นพี่ทุกคนก็จะคอยดูแลเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อผมและ ครอบครัวเป็นอย่างดี และต่อมาในปีนั้นก็ได้มีแพทย์รุ่นเดียวกันมาปฏิบัติเพิ่มอีก ๔ คน มีผู้ร่วมงานทั้งหมดประมาณ ๒๐๐ คนเศษ เตียงผู้ป่วยในประมาณ ๒๐๐ เตียงเศษ 276
มีผู้ป่วยนอกวันละ ๒๐๐ คนเศษ ส่วนใหญ่เป็นมาเลเรีย โรคขาดอาหาร โรคพยาธิ งูพิษกัด อุบัติเหตุทางจราจรยังมีน้อย ส่วนโรคจากพฤติกรรม เช่น โรคหัวใจ โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคมะเร็งก็พบน้อยมาก แพทย์มีความชำ�นาญในการรักษาไข้มาลาเรียได้เก่ง ทางการแพทย์ มีการแบ่งแผนกเป็น ๔ แผนก อายุรกรรม ศัลยกรรม สูตินรีเวชกรรม กุมารเวชกรรม และ แผนกพยาบาล แผนกรักษาพยาบาลและสนับการรักษาพยาบาลต่าง ๆ โดยที่เจ้าหน้าที่ ทุกคนมีความพร้อมใจ เสียสละ มีคุณธรรม จริยธรรม ช่วยกันดูแลรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย ทุกคนอย่างจริงใจ จนกระทั่งทำ�ให้ผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยชมเชย และร่วมกันบริจาคตั้งทุนให้ กับโรงพยาบาลเป็นจำ�นวนมาก การบริหารอาคารสถานที่ ในระยะนั้นทำ�ได้ดี เนื่องจากพื้นที่ของโรงพยาบาล มีประมาณ ๗๐ ไร่เศษ แบ่งเป็น ๒ ส่วน โดยมีถนนแบ่งกลาง เป็นส่วนรักษาพยาบาล และส่วนที่อยู่อาศัย ส่วนรักษาพยาบาล ประกอบด้วย ตึกผู้ป่วย ซึ่งส่วนใหญ่มีชื่อเป็นชื่อ พระนามของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ประกอบด้วย ตึกพระพันวัสสา ตึกสว่างวัฒนา ตึกศรีสวรินทิรา ตึกบรมราชเทวี ตึกอัยิกาเจ้า โดยมี พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี อยู่ด้านหน้าริมทะเล (สมัยก่อน ด้านหน้าโรงพยาบาลอยู่ด้านทะเล ด้านทางเข้าโรงพยาบาลในปัจจุบันเป็นด้านหลัง โรงพยาบาล) นอกจากนี้ยังมีตึกผู้ป่วยที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งตั้งชื่อตามผู้บริจาคได้แก่ ตึกศรีสงั วาลย์ ตึกเสียงหะรินสุต ตึกเมธานิวาตวงศ์ และอีก ๒ ตึกซึง่ ได้รอ้ื ถอน (ตึกตันลิบบ๊วย นางแจ่ม บางกอกฮ่วงหลี และตึกจงกลนีอุทิศ) โดยมีการสร้างตึกมหิดลอดุลยเดชแทน ส่วนบ้านพักเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย บ้านพักแพทย์ และบ้านพักเจ้าหน้าที่อื่น ๆ บ้านพักแพทย์ ๒ หลังริมไหล่เขา คือ เรือนขรัวนายสุด สุจริตกุล และเรือนโชเก็น เป็นบ้านพัก แพทย์ฝึกหัด และแพทย์ใช้ทุนรุ่นต่อมา บ้านพักแพทย์รอบสนามฟุตบอลอีกหลายหลัง ประมาณ ๑๒ หลัง มีสนามฟุตบอลไว้สำ�หรับให้เจ้าหน้าที่และครอบครัวเล่นกีฬา และจัด งานรื่นเริงต่าง ๆ ลูก ๆ ของแพทย์และเจ้าหน้าที่ ขี่จักรยานเล่นรอบสนามฟุตบอล ตอนที่ แพทย์ออกไปทำ�คลินิกตอนเย็น ๆ มีสนามเทนนิส ๑ สนาม ต่อมาเพิ่มเป็น ๒ สนาม ซึ่งเป็น สนามแรกของอำ�เภอศรีราชา ท่านผู้อ�ำ นวยการ แพทย์ พยาบาล พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่อาวุโส หลายคนมาเล่นกันทุกเย็น มักจะมีนักกีฬาภายนอกมาร่วมด้วย เป็นการเชื่อมสามัคคีกับ 277
หน่วยงานภายนอกได้ด้วย ข้าง ๆ สนามเทนนิสจะมีหอพักพยาบาล และบ้านพักเจ้าหน้าที่ อาคารพักเจ้าหน้าที่ ที่ต้องอยู่เวร อีกหลายหลัง ในทะเลมีกลุ่มเรือนนํ้า ๕ หลัง มีเรือนไขศรีอยู่ริมทะเล เป็นบ้านพักผู้อ�ำ นวยการ ข้าง ๆ บ้านพักผู้อ�ำ นวยการจะมีหอพักผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งกลุ่มเรือนนํ้า ๕ หลัง พร้อมทั้ง ตึกพระพันวัสสา ต่อมาได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามใน พระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ การปฏิบัติงานของแพทย์ในสมัยนั้น ก็แตกต่างจากปัจจุบันเหมือนกัน เนื่องจากมี แพทย์จำ�นวนน้อยคน แต่ต้องอยู่เวรนอกเวลากันทุกคน ยกเว้นผู้อ�ำ นวยการ (แต่บางครั้ง ทีแ่ พทย์แผนกศัลยกรรมไม่พอ ท่านก็เคยลงมาช่วยปฏิบตั งิ านแทนด้วย) มีแพทย์เวรนอก ๑ คน และแพทย์ที่ปรึกษาเวรในแผนก ๑ คน ส่วนใหญ่สมัยนั้นแพทย์เวรนอกเวลา อยู่เวรจะมา พักที่ห้องแพทย์เวร ซึ่งอยู่ใต้ถุนตึกอัยิกาเจ้า เพื่อสะดวกในการมาดูแลผู้ป่วย โดยมีห้อง ฉุกเฉินอยู่ในตึกอัยิกาเจ้า แพทย์ส่วนใหญ่ สามารถทำ�การผ่าตัดฉุกเฉินได้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ กระเพาะอาหารทะลุ ภาวะบาดเจ็บในช่องท้องจากอุบัติเหตุ ถูกยิง ถูกแทง ผ่าตัดครรภ์ ทางหน้าท้อง ผ่าตัดครรภ์นอกมดลูก การบริหารงานโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๕ – พ.ศ. ๒๕๕๑ อดีตผูอ้ �ำ นวยการ ๔ ท่าน ทีไ่ ด้รว่ มกันพัฒนาโรงพยาบาล จนเป็นทีพ่ ง่ึ ของผูเ้ จ็บป่วย ผูย้ ากจนและผู้ยากไร้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คือ ๑. ท่านผูอ้ �ำ นวยการ นายแพทย์สกุ รี สืบสงวน (๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๐) ๒. ท่านผูอ้ �ำ นวยการ นายแพทย์จรูญ กุลสุวรรณ (๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ – ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๕) ๓. ท่านผูอ้ �ำ นวยการ นายแพทย์อนันต์ ธาระเวช (๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๒) ๔. ศาสตราจารย์กติ ติคณ ุ นายแพทย์ชยั เวช นุชประยูร (๑๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕) 278
หลังจากนัน้ สภากาชาดไทย ได้แต่งตัง้ ให้ผม ดำ�รงตำ�แหน่งผูอ้ �ำ นวยการ เพือ่ บริหารงานต่อไป เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ มีงานเร่งด่วนที่ต้องดำ�เนินการ เนื่องจากใกล้ถึงวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งตรงกับวันครบ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลได้แก่ ๑. การเปิดพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ๒. การก่อสร้างอาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๓. การพัฒนาระบบคุณภาพเพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาพ ตามมาตรฐาน โรงพยาบาลคุณภาพ (Hospital Accreditation) ซึ่งทั้งหมด เป็นเรื่องด่วนต้องดำ�เนินการให้ทันวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่ง เป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลฯ ด้วยพระบุญบารมีแห่งสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระมหากรุณาธิคณ ุ แห่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ของเจ้าหน้าที่ทุกคน ทำ�ให้งาน เรียบร้อยตามคาดหวัง ในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำ�นวยการ สภากาชาดไทย เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิด พิพธิ ภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี และทรงวางศิลาฤกษ์อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ตึกพระพันวัสสาสร้างขึน้ โดยพระราชทรัพย์สว่ นพระองค์ของสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า นายพลตรีพระยาดำ�รงแพทยคุณ ผู้อ�ำ นวยการกอง บรรเทาทุกข์ได้กราบทูลสมเด็จอุปนายกผู้อำ�นวยการสภากาชาดสยาม ในพิธีเปิดตึกเมื่อ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ว่า ตึกหลังนี้จะเป็นที่เฉลิมพระเกียรติองค์ผู้พระราชทาน กำ�เนิดโรงพยาบาลไปชั่วกาลนาน นับว่าเป็นความจริงอย่างที่สุด เพราะปัจจุบัน ตึกพระพันวัสสา เป็นอาคารอนุรักษ์ของสภากาชาดไทย ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปะ สถาปัตยกรรมดีเด่นประจำ�ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานกิตติบัตร เมือ่ วันที่ ๗ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๔๕ และตึกหลังนีไ้ ด้จดั สร้างเป็นพิพธิ ภัณฑ์เพือ่ เป็นราชานุสรณ์และ เฉลิมพระเกียรติองค์ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล 279
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระบรมราชานุญาต ให้ใช้ชอ่ื พิพธิ ภัณฑ์วา่ “พิพธิ ภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี” และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผูอ้ �ำ นวยการสภากาชาดไทย โปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดอาคารในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ นับเป็น พระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอย่างหาที่สุดมิได้ การจัดสร้างพิพธิ ภัณฑ์นไ้ี ด้เริม่ ดำ�เนินการเมือ่ ข้าพเจ้ามีต�ำ แหน่งเป็นผูช้ ว่ ยผูอ้ �ำ นวยการ ฝ่ายบริหาร ต่อมาอดีตผู้อ�ำ นวยการทั้งสองท่านคือ นายแพทย์ อนันต์ ธาระเวช และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ชัยเวช นุชปะยูร พ้นจากตำ�แหน่ง ข้าพเจ้าจึงรับหน้าที่ เป็นประธานจัดการสร้างต่อไป ถึงแม้การจัดสร้างจะใช้เวลาหลายปี แต่คณะกรรมการทุกท่าน ต่างมีความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะให้พพิ ธิ ภัณฑ์แล้วเสร็จทันการเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี อย่างสมพระเกียรติ ผูพ้ ระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล และการจัดสร้างพิพธิ ภัณฑ์ได้ส�ำ เร็จลุลว่ งตามวัตถุประสงค์ ทุกประการ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เป็นอาคารอนุสรณ์สถาน ที่คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ ของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ต่างร่วมมือร่วมใจกันรณรงค์หาทุน ทรัพย์จัดสร้างเพื่อเฉลิมพระเกรียติสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสา อัยยิกาเจ้า ในวโรกาสที่ทรงพระราชกำ�เนิดโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ครบ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เป็นกิจกรรม หนึ่งในโครงการเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มูล เหตุที่ก่อสร้างอาคารนี้เนื่องจากอาคารบริการผู้ป่วยนอกเดิม(ตึกอัยิกาเจ้า) ได้ก่อสร้างมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ สามารถรองรับผู้รับบริการได้วันละประมาณ ๕๐๐ คน แต่ปัจจุบันมีผู้ มารับบริการมากกว่า ๑,๕๐๐ คน จึงทำ�ให้เกิดความแออัด ไม่ได้รับความสะดวก อีกทั้งยัง เป็นข้อจำ�กัดในการพัฒนางานบริการผู้ป่วย ทั้งด้านการตรวจวินิจฉัย การส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนการให้บริการอื่นที่จำ�เป็นอีกด้วย คณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลได้กำ�หนดให้ 280
อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เป็นอาคารบริการผู้ป่วยนอกที่มีระบบบริการผู้ป่วยที่ได้มาตรฐาน พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและสิ่งอำ�นวยความสะดวกครบครัน ผู้มารับบริการ จะได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพทั้งด้านการตรวจรักษาและความสะดวกสบายต่างๆ นอกจากการให้บริการผู้ป่วยนอกแล้ว อาคารหลังนี้ยังมีห้องประชุมวิชาการขนาดใหญ่ สามารถบรรจุผู้เข้าประชุมได้ ๓๐๐-๔๐๐ คน พร้อมเครื่องโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย งบประมาณการก่อสร้างประมาณ ๒๗๔ ล้านบาท โรงพยาบาลได้รับเงินสนับสนุน จากรัฐบาล ๑๑๒ ล้านบาท ด้วยเดชะพระบุญญาบารมีและพระกรุณาธิคุณแห่งสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผู้อำ�นวยการสภากาชาดไทย เป็น ปัจจัยให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบจนเป็นอาคารหลังงามน่าภูมิใจ ในการนี้ขอเอ่ย นามผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินสมทบการก่อสร้างที่ส�ำ คัญ ได้แก่ นายบุญส่ง โรจนัย บริจาค ๑๘,๖๐๐,๐๐๐ บาท นางสุมาลี สุขายะ บริจาค ๑๔,๓๐๘,๔๕๗ บาท และนางสาววาสนา ช่างไม้ บริจาค ๑๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท นอกจากนี้โรงพยาบาลยังได้รับความอนุเคราะห์จาก สภากาชาดไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ให้การสนับสนุนขออนุมัติงบประมาณการ ก่อสร้าง การพัฒนาระบบคุณภาพโรงพยาบาล มีการแต่งตั้งผู้จัดการศูนย์พัฒนาคุณภาพ (นายแพทย์สมเกียรติ ธรรมปรีชาไว และ แพทย์หญิงจุฑาทิพย์ นิรตุ ติรกั ษ์) เป็นผูค้ วบคุมกำ�กับดูแลทีมงานคุณภาพ บรรยากาศช่วงนัน้ เจ้าหน้าที่ทุกคนหายใจเข้าออก เป็น HA ไปหมด เจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับการอบรม HA ของ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.) ทุกปี ตลอดระยะ ๒ ปี ที่ผ่านมา หลังจากได้ รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9002 เมื่อ วันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ มีการอบรมทั้งภายนอกและภายใน โดยเชิญวิทยากรภายนอกมาอบรม จากนั้นให้เจ้าหน้าที่ ที่ผ่านการอบรมเป็นวิทยากรภายในอบรมต่อเนื่องกันไปจนเจ้าหน้าที่แทบทุกคนรู้ซึ้ง และ เข้าใจระบบ HA เป็นอย่างดี ส่งผลให้ โรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพ (Hospital Accreditation) ตามมาตรฐานโรงพยาบาลเป็นแห่งแรกในภาคตะวันออก เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ 281
งานพัฒนาระบบคุณภาพ ทางคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลได้แต่งตั้ง คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพ คณะอนุกรรมการบริหารบุคลากร และคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง ทั้ง ๓ ชุด มีผู้อ�ำ นวยการเป็นประธานในระยะแรก ได้เสนอแผนงาน เพื่อ ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนรับทราบ และเข้าใจ ร่วมมือ ช่วยกันพัฒนา ผู้บริหารทุกท่านให้ความ ร่วมมือช่วยกันเป็นกำ�ลังใจ ชี้น�ำ ขับเคลื่อน สานต่อ ส่งเสริม สนับสนุน มีการประเมินผล การดำ�เนินการหรือนำ�มาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาต่อยอดต่อไป มีการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ ที่จำ�เป็นมีคุณภาพ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของ องค์กร แผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล นอกจากเรื่องเร่งด่วนข้างต้นแล้ว โรงพยาบาลมีการจัดทำ�แผนพัฒนาโรงพยาบาล (แผนยุทธศาสตร์) ทุก ๒ ปี โดยระดมสมองจากเจ้าหน้าที่ทุกคนช่วยกันทำ�แผน ที่สามารถ ปฏิบตั ไิ ด้และเป็นรูปธรรม ให้เน้นพันธกิจหลักของสภากาชาดไทย การให้บริการแบบองค์รวม และครบวงจร คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟู เป็นต้น การบริการอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และเตรียมเป็นสถาบันร่วมผลิต แพทย์และพยาบาลต่อไปในอนาคต เจ้าหน้าทีท่ กุ คน ได้เรียนรู้ รูจ้ กั เข้าใจ เกีย่ วกับวิสยั ทัศน์ พันธกิจ แผนยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ กิจกรรม และเข็มมุ่งของโรงพยาบาล มีการนำ� Balance Scorecard มาควบคุมกำ�กับด้วย ประกอบกับมีผเู้ จ็บป่วยมาใช้บริการทีโ่ รงพยาบาล เพิ่มขึ้นมาก โรงพยาบาลจำ�เป็นต้องเน้นการบริหารบุคลากรให้มีจำ�นวนเพียงพอ และมีการ พัฒนาคุณภาพของบุคลากร ควบคู่กันไปด้วย โรงพยาบาลปรับปรุงโครงสร้างของ โรงพยาบาลใหม่ ประกอบด้วยฝ่ายจำ�นวน ๑๙ ฝ่าย และหน่วยงานใหม่อีก ๓ หน่วยงาน ซึ่งมีความจำ�เป็นในการพัฒนา ได้แก่ งานคอมพิวเตอร์ และสารสนเทศ งานพยาธิวิทยา กายวิภาค และงานประกันสุขภาพ ประกันสังคม มีการเพิ่มผู้บริหาร อีก ๒ ท่าน ทำ�ให้ ขณะนั้นมีผู้บริหารทั้งหมด ๖ ท่านได้แก่ ผู้อำ�นวยการ ๑ ท่าน รองผู้อ�ำ นวยการ ๒ ท่าน ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการฝ่ายบริหาร ๑ ท่าน ผู้ช่วยผู้อ�ำ นวยการ ๑ ท่าน (แต่งตั้งใหม่ดูแลงาน 282
ประกันสุขภาพ ประกันสังคม) ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการ ฝ่ายวิชาการ ๑ ท่าน (แต่งตั้งใหม่ ดูแล งานคุณภาพ งานวิชาการ) พร้อมทั้งมีบุคลากรอื่น ๆ คือ แพทย์ ๕๘ คน แพทย์ใช้ทุน ๒๘ คน ทันตแพทย์ ๑๑ คน เภสัชกร ๑๔ คน นักเทคนิคการแพทย์ ๖ คน พยาบาล ๓๘๒ คน เจ้าหน้าที่อื่น ๆ ๕๔๕ คน เจ้าหน้าที่ชั่วคราว ๔๕ คน ลูกจ้างชั่วคราว ๙ คน รวมเป็น ๑,๓๒๒ คน เพื่อรองรับจำ�นวนผู้รับบริการที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผู้ป่วยเงินสด ผู้ป่วยประกันชีวิต ผู้ป่วยรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ผู้ป่วยข้าราชการ ผู้ป่วยประกันสุขภาพถ้วนหน้า (๓๐ บาทรักษา ทุกโรค ต่อมาเปลี่ยนเป็นผู้ประกันสุขภาพบัตรทอง) และผู้ป่วยประกันสังคม (มีจ�ำ นวนเพิ่ม มากขึ้นทุกปี จากปี พ.ศ. ๒๕๔๕ มีจำ�นวน ๑๐๐,๐๐๐ คนเศษ และปี ๒๕๕๑ เพิ่มขึ้นเป็น ๒๐๐,๐๐๐ คนเศษ) จำ�นวนผู้ป่วยนอกที่มาใช้บริการในเวลาราชการ และนอกเวลาราชการ ยังเพิ่มขึ้นเป็นวันละ ๑,๒๐๐ – ๑,๕๐๐ คนเศษ โรงพยาบาลมีความจำ�เป็นต้องเปิดคลินิก ทัว่ ไป และคลินกิ พิเศษนอกเวลาราชการ บริการผูป้ ว่ ยอุบตั เิ หตุและฉุกเฉินตลอด ๒๔ ชัว่ โมง การพัฒนาในช่วงนี้ เน้นคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นมาตรฐานในวิชาชีพ การเข้าถึง เข้าใจ ร่วมกันพัฒนา เป็นหลัก ซึ่งสามารถบริหารโรงพยาบาล ให้เป็นที่พึ่งของผู้เจ็บป่วย ผู้ยากไร้ และผู้ด้อยโอกาส ดำ�เนินไปด้วยดี การบริหารบุคลากร เน้นการพัฒนาคน สร้างความผูกพันกับบุคลากร โดยจัดระบบค่าตอบแทน และแรงจูงใจให้เหมาะสม จัดสภาพแวดล้อมการทำ�งานให้มีความปลอดภัยในการทำ�งาน ปรับปรุงสวัสดิการด้านอื่น ๆ เช่นสร้างอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๔๘ สนับสนุนทุน การศึกษาแก่บุตรเจ้าหน้าที่ เพื่อป้องกันระบบสมองไหล เพราะระยะนั้นจะมีปัญหามาก โดยเฉพาะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์ ผลดำ�เนินการพบอัตราการคงอยู่ ของแพทย์ ๙๙.๒๗% (ปี พ.ศ. ๒๕๕๑) และ ๙๙.๐๒% (ปี พ.ศ. ๒๕๕๒) อัตราการคงอยู่ ของพยาบาล ๙๙.๑๗% (ปี พ.ศ. ๒๕๕๑) และ ๙๖.๔% (ปี พ.ศ. ๒๕๕๒) พร้อมทั้งจัดให้ มีการประเมินผลด้านทรัพยากรบุคคลอีกด้วย
283
การพัฒนาบุคลากร คณะกรรมการบริหารบุคลากร จัดทำ�แผนพัฒนาบุคลากร เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีแก่บุคลากรทุกระดับ อำ�นวยความสะดวก และสนับสนุนกิจกรรม การพัฒนาบุคลากรในด้านต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรสามารถมีความรู้และทักษะเพิ่มขึ้น เช่น การจัดประชุม อบรม สัมมนา ทั้งภายใน และภายนอกโรงพยาบาล การต้อนรับดูงาน การพัฒนาตนเอง โดยการสนับสนุนทางด้านตำ�รา การสืบค้นข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการ ทำ�วิจยั ฝึกอบรม และพัฒนางานประจำ�ให้เกิดงานวิจยั แบบสหสาขาวิชาชีพ การพัฒนางาน ได้นำ�ระบบสมรรถนะของเจ้าหน้าที่ (Competency) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานมากขึ้น นำ�เครื่องมือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มาใช้ เพือ่ ให้การขยายผลการปฏิบตั งิ านทีด่ ขี องหน่วยงานหนึง่ (good practice) ไปสูห่ น่วยงานอืน่ เป็นการสร้างวิทยากรภายในและเกิดการเรียนรู้ภายในองค์กร (Learning Organization) มีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาบุคลากร เช่นการจัดทำ� Home Page ในการสื่อสารข้อมูล และประชาสัมพันธ์งานต่าง ๆ ของระบบ Intranet ของโรงพยาบาล พัฒนาระบบสืบค้นข้อมูล และตำ�ราทางวิชาการผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ โดยจัดทำ� e-Library พัฒนาระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากร ลงในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสะดวก ในการสืบค้น และเสนอต่อผู้บริหาร เป็นข้อมูลการตัดสินใจ พัฒนาระบบสื่อการเรียนการ สอนมาเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Computer assisted instruction : CAI) เพื่อสะดวกใน การนำ�กลับไปเรียนรู้เองพร้อมทั้งพัฒนาระบบโสตทัศนูปกรณ์ เพื่ออำ�นวยความสะดวกแก่ผู้ เข้าร่วมประชุมอบรมสัมมนาทางวิชาการ โครงการผลิตแพทย์ร่วมกับคณะแพทยศาตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือร่วมกันผลิตแพทย์ระหว่างคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังจากทีแ่ พทยสภาอนุมตั ใิ ห้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เป็นสถาบันผลิต 284
แพทย์ได้ คณะกรรมการได้ประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วย เหลือประเทศชาติในการผลิตแพทย์เพิ่มขึ้น และเป็นการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ทางสภากาชาดไทย ได้อนุมัติในหลักการ แต่งตั้งคณะกรรมการให้ดำ�เนินการต่อ เพื่อนำ�เสนอคณะกรรมการสภากาชาดไทย พระมหากรุณาธิคุณ พิธรี บั เสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อุปนายิกาผูอ้ �ำ นวยการ สภากาชาดไทย ๑. เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี และทรงวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างอาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เมือ่ วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ๒. เสด็จพระราชดำ�เนินมาทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในโรงพยาบาล ทรงทอด พระเนตรหน่วยบริบาลทารกแรกเกิด หน่วยไตเทียม การก่อสร้างอาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี และทรงประทับพักแรม เรือนรับรองที่ประทับในโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา เมื่อวันที่ ๗-๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘ ๓. เสด็จพระราชดำ�เนินทรงเปิดอาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ อนุสรณ์สถาน ประเพณี และรางวัลเชิดชูเกียรติ ๑. พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ผู้พระราชทานกำ�เนิด โรงพยาบาล ๒. พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ๓. อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี ๔. ตึกพระพันวัสสา และกลุ่มเรือนนํ้า ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่น จาก สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภก เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ๕. การแข่งขันวิ่งการกุศล “๑๐ กม. ไนกี้ศรีราชา” และ “๑๐ กม. แพนศรีราชา” เป็นประจำ�ทุกปี โดยได้รบั ความร่วมแรงร่วมใจจากหน่วยงานและบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ 285
๖. งานกีฬาเชื่อมความสามัคคีระหว่างโรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรม ราชเทวี ณ ศรีราชา ๗. โรงพยาบาลได้รบั การรับรองคุณภาพ (Hospital Accreditation) ตามมาตรฐาน โรงพยาบาล เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นแห่งแรกในภาคตะวันออก และได้ รับการรับรองคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ๘. โรงพยาบาลได้รับการคัดเลือกเป็นสถานพยาบาลในดวงใจ ระดับประเทศ เป็นระยะเวลา ๓ ปี ซ้อน (พ.ศ. ๒๕๔๙ – พ.ศ. ๒๕๕๑) จากสำ�นักงานประกันสังคม ๙. เกียรติบัตรเป็นโรงพยาบาลต้นแบบโรงพยาบาลปลอดบุหรี่ ของมูลนิธิรณรงค์ เพื่อการไม่สูบบุหรี่ และรางวัลเกี่ยวกับงานส่งเสริมสุขภาพจำ�นวนมาก ๑๐. เกียรติบัตร “โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สามารถ ควบคุมบุหรี่ในพื้นที่รับผิดชอบอย่างดียิ่งเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพประชาชน เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เนือ่ งในเฉลิมฉลองวาระ ๑๕๐ ปี พระราชสมภพสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และวาระครบ ๑๑๐ ปี ของโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา ในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้ ผมขออัญเชิญพระบารมีของสมเด็จ พระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผู้พระราชทานกำ�เนิดโรงพยาบาล เป็นพลังให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา มีความสุข กำ�ลังใจที่ เข้มแข็ง มีพลานามัยที่สมบูรณ์ ร่วมกันพัฒนาโรงพยาบาลให้ก้าวหน้า เพื่อให้เป็นพี่พึ่งของ ผู้เจ็บป่วย ผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ตลอดไป บันทึกความทรงจำ� ๑๑๐ ปี โรงพยาบาล นายแพทย์จรุง อุคพัชญ์สกุล ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (พ.ศ. ๒๕๔๕ – พ.ศ. ๒๕๕๑) 286
287