ประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ จากคริสต์ศตวรรษที่19 ถึงปัจจุบัน

Page 1

บทนำ คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็ นช่วงเวลาสาคัญช่วงหนึ่งของประวัตศิ าสตร์โลก เพราะเป็ นช่วงเวลาของการเกิดรัฐชาติ (Nation State) ในยุโรปและเอเชีย เกิดการ ปฏิวตั อิ ุตสาหกรรม และการแพร่หลายของแนวคิดชาตินิยม เสรีนิยม และการค้า เสรี ทีน่ าไปสู่การขยายตัวทางการค้า การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจกั รวรรดิ นิ ย มที่ส่งผลกระทบต่ อพัฒ นาการของภู ม ิภ าคต่า งๆ อย่างมากในช่ว งเวลานั น้ และมีผลต่อพัฒนาการของชาติต่างๆ ในปจั จุบนั ภูมภิ าคเอเชีย ตะวันออกเป็ น ภูม ิภ าคหนึ่ งที่ได้รบั ผลกระทบรุนแรงจาก ระเบียบโลก (world order) ในขณะนัน้ คือ การค้าเสรี ความทันสมัยและการทาให้ เป็ น ตะวัน ตก และลัทธิจ ักรวรรดินิ ย ม ที่ท าให้ช าติในเอเชีย ตะวัน ออก คือ จีน ญีป่ ุ่น และเกาหลี ต้องเผชิญกับการขยายอานาจของจักรวรรดินิยมตะวันตก ชาติ ในเอเชียตะวันออกต้องปรับ ตัวเพื่อความอยู่รอด โดยเฉพาะการพัฒ นาประเทศ แบบตะวันตก บางชาติ เช่น ญี่ปุ่น ประสบความสาเร็จในการปฏิรปู ประเทศ และ กลายเป็ นชาติมหาอานาจทีข่ ยายจักรวรรดินิยมญีป่ นุ่ ไปยังจีนและเกาหลี ขณะทีจ่ นี ต้องเผชิญทัง้ การคุกคามจากภายนอกและปญั หาภายใน รวมทัง้ ทัศนคติของคนรุ่น เก่าที่ม ีอานาจที่ย ึด มันกั ่ บ แนวคิด อนุ รกั ษ์ นิ ย มจนทาให้การปรับ ตัว ล่ าช้า ส่ว น เกาหลี ระบอบกษัตริยล์ ่มสลายและตกเป็ นอาณานิคมของญีป่ นุ่ ความสาเร็จของจักรวรรดินิยมญีป่ นุ่ ทีพ่ ฒ ั นาไปสู่การใช้ลทั ธิทหารนิยม นา ญี่ปุ่น เข้าสู่สงครามเพื่อการยึดครองดินแดนจีน และนาญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามมหา เอเชีย บูร พาซึ่งเป็ น ส่ว นหนึ่ งของสงครามโลกครัง้ ที่ 2 (ค.ศ. 1939 – 1945) ใน เอเชีย ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับของญีป่ ุ่นในสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ทาให้ญป่ี ุ่นถูก ต่างชาติยดึ ครองเป็ นครัง้ แรกในประวัตศิ าสตร์ กองทัพถูกยกเลิก สถาบันจักรพรรดิ ถู ก ลดบทบาท แต่ ภ ายใต้ ก ารปกครองของสหรัฐ อเมริก า ญี่ ปุ่ น ได้ ร ับ การ วางรากฐานด้านการเมืองให้เป็ นประชาธิปไตย และพัฒนาเศรษฐกิจ ทาให้ญ่ปี ุ่น ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและกลายเป็ นมหาอานาจทางเศรษฐกิจในเวลาต่อมา ส่ ว นจีน หลัง สงครามโลกครัง้ ที่ 2 ต้ อ งเผชิญ กับ การแตกแยกภายใน ระหว่างฝา่ ยรัฐบาลสาธารณรัฐและฝา่ ยคอมมิวนิสต์ ชัยชนะของฝา่ ยคอมมิวนิสต์ทา ให้จนี เปลีย่ นการปกครองเป็ นระบอบคอมมิวนิสต์มาจนปจั จุบนั แม้ใน 2 ทศวรรษ แรกของระบอบคอมมิวนิสต์ การเมืองและเศรษฐกิจของจีนยังไม่มนคง ั ่ แต่เมื่อจีน เริม่ พัฒนาประเทศด้วยนโยบายสีท่ นั สมัยในปลายทศวรรษ 1970 การเติบโตทาง เศรษฐกิจของจีนเป็ นไปอย่างรวดเร็ว และพรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถควบคุม


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อ านาจไว้ ไ ด้ อ ย่ า งมัน่ คง แม้ จ ะเผชิญ กับ การต่ อ ต้ า นทัง้ จากกลุ่ ม ผู้ เ รีย กร้อ ง ประชาธิปไตยกลุ่มชนกลุ่มน้อยชาวซินเจียงอุยกูรท์ เ่ี ป็ นชาวมุสลิมและชาวทิเบต สาหรับเกาหลีหลังสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ต้องเผชิญกับการแตกแยกภายใน ระหว่า งฝ่ายคอมมิว นิ ส ต์กบั ฝ่ายประชาธิป ไตย จนแยกเป็ น สองประเทศมาจน ป จั จุ บ ัน และมีส ถานการณ์ ค วามสัม พัน ธ์ ท่ีตึ ง เครีย ดระหว่ า งกัน ขณะที่จี น กลายเป็ นประเทศคอมมิวนิสต์ทใ่ี ช้ลทั ธิทุนนิยมในการพัฒนาเศรษฐกิจจนประสบ ความสาเร็จ และสหภาพโซเวียตล่มสลายไปเมื่อ ค.ศ. 1991 ซึง่ นามาซึง่ การสิน้ สุด สงครามเย็น แต่เกาหลีเหนื อยังคงเป็ น ประเทศคอมมิวนิ สต์แ บบสุด ขัว้ มีความ เข้มแข็งทางทหาร แต่เศรษฐกิจตกต่ า ส่วนเกาหลีใต้ท่เี คยเป็ นประเทศยากจนก็ สามารถพัฒนาประเทศจนประสบความสาเร็จ หนังสือประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่เล่มนี้ครอบคลุมเหตุการณ์ประวัตศิ าสตร์ จีนตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปจั จุบนั ซึ่งเป็ นช่วงทีจ่ นี ในสมัยปลายราชวงศ์ชงิ (Qing, ค.ศ. 1644 - 1912) ต้ อ งเผชิ ญ กับ การขยายอ านาจของชาติ ต ะวัน ตก โดยเฉพาะอังกฤษทีเ่ ข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในจีน และเกิดความขัดแย้งกันทาง การค้าและความแตกต่างทางวัฒนธรรมความคิดด้านการทูตและความสัมพันธ์ จน น าไปสู่ส งครามฝิ่ น ครัง้ ที่ 1 ระหว่ า งจีน กับ อังกฤษใน ค.ศ. 1839 – 1842 และ สงครามฝิ่ น ครัง้ ที่ 2 ในค.ศ. 1856 – 1860) ระหว่ า งจีน กับ อังกฤษ ฝรังเศส ่ ซึ่ง กองทัพต่างชาติได้บุกไปถึงนครเป่ยจิง (ปกั กิง่ ) และเผาทาลายพระราชวังฤดูรอ้ น หยวนหมิงหยวน นับเป็ นเหตุการณ์ความตกต่าอย่างรุนแรงของราชวงศ์ชงิ ทีท่ าให้ ชาติตะวันตกขยายอิทธิพลในจีนมากยิง่ ขึน้ ความตกต่าของราชวงศ์ชงิ ทาให้เกิด กบฏภายในหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะการต่อต้านจากชาวจีนชาติพนั ธุต์ ่างๆ ราช สานักต้องใช้ทงั ้ กาลังเงินและกาลังทหารจานวนมากเพื่อปราบปราม ทาให้ฐานะ การคลังของประเทศย่าแย่ลงไปอีก อย่างไรก็ตาม ความพ่ายแพ้ต่อชาติตะวัน ตกและการปราบปรามกบฏ ภายใน ทีท่ หารราชสานักชิงใช้อาวุธของชาติตะวันตกและมีชาติตะวันตกเข้าร่วม ช่วยเหลือในการปราบกบฏไท่ผงิ (ค.ศ. 1850 – 1864) ด้วย ทาให้เกิดการเริม่ ต้น ขบวนการทาตนเองให้เข้มแข็งทีด่ าเนินอยูก่ ว่า 30 ปี โดยเน้นการเลียนแบบวิธกี าร ของชาติตะวันตกด้านการทหาร การพัฒนาอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ การศึกษา และ สาธารณู ปโภค เช่น รถไฟ โทรเลข แต่การทาตนเองให้เข้มแข็งของจีนกลับไม่ ประสบความสาเร็จเมื่อจีน แพ้ญ่ีปุ่น ในสงครามจีน - ญี่ปุ่น ครัง้ ที่ 1 การพ่ายแพ้ ญี่ปุ่นซึ่งเป็ นชาติเล็กๆ ในสายตาจีน ทาให้ปญั ญาชนจีนตระหนักในความอ่อนแอ ของประเทศและเกิด ความไม่พ อใจรัฐบาลราชวงศ์ช ิงซึ่งเป็ น ชาวแมนจูม ากขึ้น 2


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

นอกจากนี้ยงั ทาให้สถานะของจีนในสายตาของชาวตะวันตกตกต่าลงไปอีก และทา ให้ชาวตะวันตกฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์ในจีนมากขึน้ โดยเฉพาะการขยาย เขตสัมปทานหรือเขตเช่าตามเมืองท่าต่างๆ ของจีน เมื่อเข้าสู่คริส ต์ ศตวรรษที่ 20 จีน ยังคงเผชิญ กับ การคุ กคามและความ ตกต่า การปฏิรปู ประเทศใน ค.ศ. 1898 ทีด่ าเนินอยูเ่ พียงสามเดือนต้องยุตลิ งด้วย การลีภ้ ยั และชีวติ ของนักปฏิรปู จักรพรรดิถูกยึดอานาจโดยฝา่ ยอนุรกั ษ์นิยม ทาให้ ไม่เกิดการเปลีย่ นแปลงทีส่ าคัญตามมา แต่หายนะจากการทีฝ่ ่ายอนุ รกั ษ์นิยมของ ราชสานักสนับสนุนการต่อต้านและทาร้ายชาวตะวันตกในเหตุการณ์การจลาจลของ พวกนักมวยใน ค.ศ. 1900 และความพ่ายแพ้ครัง้ ที่ 2 ต่อญีป่ นุ่ ใน ค.ศ. 1905 ทาให้ ราชสานักชิงเริม่ เห็นความจาเป็ นในการปฏิรูปประเทศ แต่การปฏิรปู ที่เกิดขึน้ ดู เหมือนจะช้าเกินไป เพราะในการปฏิวตั ิซนิ ไฮ่ใน ค.ศ. 1911 โดยกลุ่มนักปฏิวตั ทิ ่ี นาโดย ซุ น ยัตเซน น าไปสู่การสิ้น สุด ของราชวงศ์ชงิ ซึ่งในที่สุดจักรพรรดิองค์ สุดท้ายประกาศสละราชสมบัตเิ มื่อ ค.ศ. 1912 และเปลีย่ นการปกครองเป็ นระบอบ สาธารณรัฐ การปกครองภายใต้ระบอบสาธารณรัฐในระยะแรกเต็มไปด้วยปญั หา ทัง้ การผูกขาดอานาจ ความแตกแยก การต่อต้านฝา่ ยตรงข้าม และเกิดการแตกแยก ในบ้านเมืองเป็ นก๊กเป็ นเหล่านาโดยขุนศึกทัง้ หลาย ทาให้ปญั ญาชนเริม่ หันไปหา ลัทธิการเมืองอื่น ทีส่ าคัญคือ ลัทธิคอมมิวนิสต์ เพราะเห็นว่าประชาธิปไตยยังไม่ อาจแก้ปญั หาของชาติได้ แม้ว่าเจียง ไคเชก สามารถปราบขุนศึกและรวมชาติได้ แต่บ้านเมืองยังมีความแตกแยกเพราะความแตกต่างด้านลัทธิการเมือง การมุ่ง ปราบปรามพวกคอมมิวนิสต์ของรัฐบาลคณะชาติทน่ี าโดยเจียง ไคเชก จนละเลย การต่อต้านญี่ปุ่นทีข่ ยายอานาจเข้ามายังดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ทาให้เกิดความไม่พอใจรัฐบาล และทาให้ญป่ี นุ่ ขยายอานาจเข้ามาในจีนมากขึน้ จน เกิดเป็ นสงครามจีน – ญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1937 และลุกลามจนกลายเป็ นส่วนหนึ่งของ สงครามมหาเอเชียบูรพาเมื่อญี่ปุ่นขยายสงครามด้วยการโจมตีสหรัฐอเมริกาและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลั ง สงครามโลกสิ้ น สุ ด ความขัด แย้ ง ระหว่ า งจี น คณะชาติ แ ละจี น คอมมิวนิ ส ต์กลับ มาปะทุอีกครัง้ จนกลายเป็ น สงครามกลางเมืองระหว่าง ค.ศ. 1946 – 1949 ซึ่งจีน คอมมิว นิ ส ต์ม ีช ยั ชนะและเปลี่ย นการปกครองประเทศเป็ น ระบอบคอมมิวนิสต์มาจนปจั จุบนั ภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ทน่ี า โดยเหมา เจ๋อตง (Mao Zedong, ค.ศ. 1893-1976) จีนมีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และการเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายครัง้ แต่การรณรงค์ครัง้ สาคัญ คือ การก้าว 3


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กระโดดไกลไปข้างหน้ าในปลายทศวรรษ 1950 และการปฏิวตั ิวฒ ั นธรรม (ค.ศ. 1966–1976) ส่งผลกระทบทางลบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และ ชีวติ ความเป็ นอยู่ของผูค้ น เมื่อเติ้ง เสีย่ วผิง (Deng Xiaoping, ค.ศ. 1904-1997) ขึ้น เป็ น ผู้น าประเทศและด าเนิ น การปฏิรูป เศรษฐกิจตามแนวทางทุน นิ ย มทาให้ เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็ นชาติทม่ี ฐี านะเศรษฐกิจเข้มแข็ง แต่การเปิ ดประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจของจีนก็ทาให้เกิดผลกระทบต่อการเมือง และสังคมจีน เช่ น กัน เช่ น การเรีย กร้องประชาธิป ไตย ช่ อ งว่ า งทางเศรษฐกิจ ปญั หาความยากจน ปญั หาสิง่ แวดล้อม ในต้น คริส ต์ศตวรรษที่ 21 จีน ได้แ สดงศักยภาพความยิ่งใหญ่ ท างด้า น เศรษฐกิจ จากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และคนจีนมีกาลังซื้อสูง ใน ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จีนสามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ส่งยานอวกาศ และนักอวกาศไปสารวจอวกาศหลายครัง้ และมีสนิ ค้าประเภทเทคโนโลยีทท่ี นั สมัย ทีไ่ ด้รบั การยอมรับในระดับสากล และในด้านการกีฬา ด้วยการเป็ นเจ้าภาพจัดกีฬา โอลิมปิ กทีก่ รุงเปย่ จิงเมือ่ ค.ศ. 2008 ภาพลักษณ์จนี ในสายตาชาวโลกเป็ นไปด้วยดี แต่ในอีกมุมหนึ่งจีนยังคงถูกมองว่าเป็ นชาติท่ีให้ความสาคัญด้านสิง่ แวดล้อมน้อย ทาให้จนี มีปญั หาสิง่ แวดล้อมและมลภาวะด้านต่างๆ สูง และไม่ให้ความสาคัญต่อ ระบบความปลอดภัยในการทางาน ดังที่จนี ประสบปญั หาน้ าเสียหรือสารพิษจาก โรงงานอุตสาหกรรมรัวไหล ่ และเหมืองถ่านหินถล่มอยูบ่ ่อยครัง้ ส่วนรัฐบาลจีนยังคงยึดหลักการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อย่างเข้มงวด แม้จะเปิ ดเสรีทางเศรษฐกิจ และหลายครัง้ รัฐบาลจีนถูกตาหนิว่าเป็ น เผด็จการจาก การใช้ก าลังปราบปรามชนกลุ่ ม น้ อ ยชาวอุ ย กู ร์ ชาวทิเบต อย่ า งรุ น แรง และ ั หาความขัด แย้งระหว่ างประเทศที่เกี่ย วข้องกับ แสดงออกอย่างกร้าวร้าวในป ญ ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ คือ ปญั หาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ หรือปญั หาความ ขัดแย้งกับญี่ปุ่นกรณีหมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนกากุ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ กับปญั หาความมันคงภายในเกี ่ ย่ วกับชนกลุ่มน้อยของจีนเป็ นประเด็นทีก่ ระทบต่อ ความมันคงทางเศรษฐกิ ่ จและความมันคงของจี ่ นมาก และเป็ นปญั หาที่พร้อมจะ ปะทุขน้ึ ได้ทกุ เมือ่ หนังสือประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่เล่มนี้กล่าวถึง เหตุการณ์ ประวัตศิ าสตร์ สาคัญๆ ทีม่ ผี ลต่อพัฒนาการของจีนตัง้ แต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงปจั จุบนั ซึ่งจะ ทาให้ผอู้ า่ นเข้าใจสาเหตุและผลของเหตุการณ์ต่างๆ รวมทัง้ ได้เห็นมุมมองและการ วิเคราะห์ของนักวิชาการด้านจีนศึกษาที่หลากหลาย รวมถึงประวัติศาสตร์ญ่ีปุ่น และเกาหลีในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับประวัตศิ าสตร์และความสัมพันธ์กบั จีน 4


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

5


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

6


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 1 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงจีนกับชำติ ตะวันตก ในคริ สต์ศตวรรษที่ 19 1. ลักษณะควำมสัมพันธ์ระหว่ำงจีนกับต่ำงชำติ ก่อนสงครำมฝิ่ น การติดต่อกับต่างประเทศของจีนตลอดมาเป็ นการติดต่อในรูปแบบทีจ่ นี มี ความเหนือกว่า เพราะความคิดของจีนทีเ่ ชื่อว่าจีนเป็ นศูนย์กลางของโลก (จงกว๋อ หรืออาณาจักรกลาง) และไม่จาเป็ นต้องติดต่อกับต่างชาติ เพราะภายในดินแดน จีนมีพร้อมทุกสิง่ ขณะทีต่ ่างชาติเป็ นฝ่ายทีต่ อ้ งการสินค้าหรือเรียนรูค้ วามเจริญ จากจีน ดังนัน้ การติดต่อระหว่างจีนกับต่างชาติจงึ เป็ นการติดต่อในฐานะทีจ่ นี เห็น ว่าจีนเป็ นผูเ้ หนือกว่า ส่วนชาวต่างชาติเป็ นผูน้ ้อยป่าเถื่อนทีข่ อความกรุณาจากจีน โดยมีการติด ต่อทางการเมืองการทูตผ่านระบบบรรณาการ (Tributary System) และการติดต่อทางการค้าผ่านระบบกวางตุง้ (Canton System) กำรติ ดต่อผ่ำนระบบบรรณำกำร ระบบบรรณาการ คือ การที่จีน ติด ต่อ กับ รัฐอื่น ในฐานะทางการเมืองที่ เหนือกว่า เมือ่ พิจารณาในแง่ของจีน จีนถือว่าจีนเป็ นรัฐทีย่ งิ่ ใหญ่ เจริญก้าวหน้า และมีผลิตผลทีช่ าติอ่นื ต้องการ มากกว่าทีจ่ นี ต้องการผลิตผลจากชาติอ่นื ดังนัน้ จีนจึงไม่จาเป็ นต้องติดต่อกับต่างชาติ แต่การทีจ่ นี ยอมติดต่อกับต่างชาติซ่งึ เป็ น “คนปา่ เถื่อน” หรือ “พวกนอกกาแพง” ในมุมมองของจีน เท่ากับว่าจักรพรรดิจนี ให้ ความเมตตาต่อชนป่าเถื่อน ชาติใดทีต่ ้องการติดต่อกับจีนจึงต้องอยู่ในฐานะทีต่ ่ า กว่าและมอบบรรณาการให้จกั รพรรดิจนี ผูซ้ ง่ึ เปรียบเสมือนโอรสสวรรค์ (เทียนจื่อ) ซึ่งจีน ถือว่ารัฐนัน้ เป็ น รัฐบรรณาการของตนและยอมให้ค้าขายกับ จีน ได้ ระบบ บรรณาการเป็ นเครื่องแสดงฐานะการเมืองที่เหนือกว่า ของจีน ถ้ารัฐใดไม่ยอมรับ โดยเฉพาะรัฐทีอ่ ยูใ่ กล้กบั จีน เช่น เกาหลี จีนอาจใช้กาลังเข้าโจมตีได้ ทัง้ นี้จนี มอง ระบบบรรณาการเป็ น เรื่องการเมือง แต่บ างชาติม องในด้านผลประโยชน์ ท าง การค้าทีจ่ ะได้จากการติดต่อกับจีน รัฐทีใ่ ห้บรรณาการจีนนัน้ มีเหตุผลต่างกันไป รัฐ ที่อยู่ใกล้จนี เช่น เกาหลี เวียดนาม ระบบบรรณาการมีความสาคัญในด้านการเมือง เพราะถ้าแข็งข้อต่อจีน จีนสามารถส่งกองทัพเข้าโจมตีได้งา่ ย ส่วนการมอบบรรณาการของรัฐทีอ่ ยูห่ า่ งไกล 7


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ออกไป เช่น สยาม มะละกา ถือเป็ นการทาตามประเพณีและเพื่อประโยชน์ เรื่อง สิทธิในการค้าขายกับ จีน มากกว่าเหตุผลทางการเมือง ทางการจีน ได้กาหนด ระเบียบและระยะเวลาในการมอบบรรณาการให้แก่จนี โดยรัฐทีใ่ กล้ชดิ ต้องมอบ บรรณาการให้จนี ทุกปี ส่วนรัฐที่อยู่ไกลออกไปมอบบรรณาการให้จนี 3 ปี ต่อครัง้ นอกจากนี้ ตามธรรมเนียมแล้วรัฐบรรณาการต้องแจ้งมายังจีนเมื่อเปลี่ยนกษัตริย์ หรือถ้าเชือ้ พระวงศ์ขดั แย้งแย่งบัลลังก์กนั ผูท้ ไ่ี ด้รบั การรับรองจากจีนมักจะได้รบั การยอมรับ ว่ า เป็ น กษั ต ริย์ ท่ีถู ก ต้ อ ง จีน มีค วามสัม พัน ธ์ ก ับ ต่ า งชาติ ใ นระบบ บรรณาการมายาวนาน แม้กระทังเมื ่ ่อชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อกับจีนทางทะเลใน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จีนได้ใช้ระบบบรรณาการติดต่อด้วย ทาให้เกิดความ ขัดแย้งไม่เข้าใจกันอยูเ่ สมอ กำรติ ดต่อผ่ำนระบบกวำงตุ้ง ั่ การติดต่อค้าขายระหว่างจีนกับ ต่างชาติทเ่ี ข้ามาทางชายฝงตอนใต้ ของจีน ดาเนินไปในระบบกวางตุ้ง ซึง่ จีนกาหนดขึน้ เพื่อใช้ตดิ ต่ อค้าขายกับชาติตะวันตก เป็ นสาคัญ เมือ่ พ่อค้าตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายกับจีนมากขึน้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ราชวงศ์ชงิ ได้จดั ระเบียบการค้าและควบคุมชาวต่างชาติให้อยู่เป็ นทีเ่ ป็ นทาง จึงกาหนดให้พ่อค้าต่างชาติคา้ ขายได้ทเ่ี มืองกว่างโจว (หรือ กวางตุง้ ) มณฑลกว่าง ั่ ตง ซึง่ เป็ นเมืองท่าทีใ่ หญ่และเก่าแก่ทส่ี ดุ ในบริเวณชายฝงทะเลภาคใต้ ของจีน และ ั่ เป็ น เมือ งที่เชื่อ มโยงเส้น ทางการค้า บริเวณชายฝ งทะเลตะวั น ออกเฉี ย งใต้ก ับ เส้น ทางการค้า ภายในประเทศ การกาหนดให้พ่อค้าต่างชาติเข้ามาค้าขายได้ เฉพาะที่เมืองกว่างโจวทาให้เมืองกว่างโจวกลายเป็ นศูนย์กลางการค้าของจีนใน ภาคใต้ และเป็ นศูนย์กลางการค้าทางทะเลของยุโรปในตะวันออกไกล (Far East) โครงสร้ำงของระบบกวำงตุ้ง ระบบกวางตุ้งประกอบด้วย 2 ส่วนสาคัญ คือ ฮอปโป (Hoppo) ซึ่งเป็ น เจ้าหน้าทีด่ ูแลด้านการค้าทีร่ าชสานักแต่งตัง้ และโคหอง (Cohong) หรือสมาคม พ่อค้า ฮอปโปมีหน้าทีค่ วบคุมการทางานของโคหองและเก็บภาษีสนิ ค้าขาเข้า-ขา ออกโดยเก็บผ่านโคหอง แต่ไม่มอี ตั ราภาษีทแ่ี น่ นอน ทาให้พ่อค้าต่างชาติไม่พอใจ แต่การร้องทุกข์ไม่เป็ นผล1 นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ทเ่ี ป็ นประโยชน์ต่อกันของทัง้

1

ทวีป วรดิลก. (2538). ประวัตศิ าสตร์จนี . หน้า 566 8


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

สองฝ่ายยังทาให้เกิดปญั หาการฉ้อราษฎร์บงั หลวง และการขูดรีดภาษีจากพ่อค้า ต่างชาติอย่างมาก1 รวมทัง้ ฮอปโปถือโอกาสรีดไถเงินจากพ่อค้าโคหอง สมาคมพ่อค้าหรือโคหอง มีหน้าทีค่ วบคุมดูแลการค้ากับชาวต่างชาติทเ่ี ข้า มาที่เมืองกว่างโจวหรือกวางตุ้งโดยเฉพาะพ่อค้าชาวตะวันตก โดยมีหน้ าที่เป็ น ผูแ้ ทนในการติดต่อระหว่างรัฐบาลกับพ่อค้าต่างชาติ เป็ นตัวกลางในการติดต่อ การค้าระหว่างเอกชนจีนกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะทางการจีนไม่อนุ ญาตให้เอกชน ติดต่อกับต่างชาติโดยตรง กาหนดราคาสินค้าในตลาด ดาเนิน การขนส่งสินค้า ให้แ ก่พ่ อค้าต่างชาติ ทารายงานและจ่ายเงิน ค่าธรรมเนี ย มภาษีศุล กากรให้แ ก่ รัฐ บาล เก็ บ ภาษี ก ารค้ า ให้ ร ัฐ รับ ค าร้ อ งทุ ก ข์ ห รือ หนั ง สือ ต่ า งๆ จากชาว ต่างประเทศแต่ผเู้ ดียว ทัง้ นี้ชาวต่างประเทศจะยืน่ คาร้องใดๆ ไปยังทางการโดยตรง ไม่ได้ แม้ว่าพ่อค้าตะวันตกถูกควบคุมอย่างเข้มงวดและถูกเก็บภาษีมาก แต่ยงั คง ค้าขายกับ จีน เพราะได้กาไรมาก อย่างไรก็ตาม พ่ อค้า ตะวัน ตกพยายามยื่น ค า ั หาต่ า งๆ อยู่เสมอ เช่ น ใน ค.ศ. 1759 เจมส์ ฟลิน ต์ (James ร้อ งเรีย นถึงป ญ Flint) พ่อค้าอังกฤษเรียนภาษาจีนจนอ่านออกเขียนได้ ได้ย่นื หนังสือร้ องทุกข์ถึง ป ญั หาการค้า ภายใต้ร ะบบกวางตุ้งต่ อราชส านักที่กรุงเป่ ย จิงในสมัย จักรพรรดิ เฉีย นหลง (Qianlong, ค.ศ. 1736-1795) โดยตรง ในครัง้ แรกจักรพรรดิตงั ้ ใจส่ง ผูต้ รวจสอบไปยังเมืองกว่างโจว แต่ต่อมาเปลีย่ นพระทัย ทาให้ฟลินต์ถูกจับกุมและ ถูกจาคุก 3 ปี ในข้อหาละเมิดกฎหมายจากการเดิน ทางขึน้ เหนือ การยื่นคาร้อง ทุกข์อย่างไม่เหมาะสม และการเรีย นภาษาจีน 2 ครูผู้สอนภาษาจีน ให้ฟ ลิน ต์ถูก ประหารชีวติ พ่อค้าโคหองทีร่ บั ผิดชอบถูกสอบสวน การทีจ่ กั รพรรดิไม่พอใจเพราะ ตามปกติช าวต่างประเทศไม่ได้รบั อนุ ญ าตให้เรีย นรู้หนังสือจีน นอกจากเพราะ ความเชื่อว่าเป็ นภาษาของชาติทย่ี งิ่ ใหญ่แล้ว จักรพรรดิชาวแมนจูอาจมีความรูส้ กึ ว่าหากชาวป่าเถื่อนสามารถเรียนรูภ้ าษาจีนได้กจ็ ะไม่ต่างอะไรกับทีช่ าวแมนจูได้ พยายามเรีย นรู้ภ าษาและวัฒ นธรรมจีน เพื่อปกครองชาวจีน นอกจากนี้ การท า หนังสือร้องเรียนโดยตรง เท่ากับทาผิดกฎทีจ่ นี ตัง้ ไว้ว่ าต้องยื่นเรื่องผ่านสมาคมโค หอง

Frederic Wakeman, Jr. (1978). “The Canton Trade and The Opium War,” The Cambridge History of China, Vol. 10 Part I Late Ching 1800–1911. p. 164. 2 Jonathan D. Spence. (2013). The Search for Modern China. p. 119. 1

9


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เมืองท่ากว่างโจวในคริสต์ศตวรรษที ่ 19

ต่อมาใน ค.ศ. 1760 จักรพรรดิเฉียนหลงประกาศปิ ดเมืองท่าทุกแห่ง เปิ ด เฉพาะที่เมืองกว่ างโจวเพีย งแห่งเดียว โดยมีเหตุผล 3 ประการ คือ เพื่อจากัด เส้นทางการเดินเรือของชาวต่างชาติ เพื่อขจัดข้อขัดแย้งเกีย่ วกับเรื่องการเงินและ การบริการต่างๆ เพราะการค้าขายขัดต่อหลักทฤษฎี ขงจื่อ และเพื่อควบคุมตรวจ ตราและกาจัดสิง่ ผิดกฎหมายทีช่ าวต่างชาติและชาวจีนค้าขายกัน ออกประกาศเพื่อ ควบคุมชาวต่างชาติและเพื่อแก้ปญั หาทีส่ มาคมพ่อค้าจีนก่อขึน้ ได้แก่ ไม่อนุ ญาต ให้เรือรบต่างชาติเข้ามาทีป่ ้ อมหู่เหมิน (Humen) แปลว่า ป้อมปากประตูเสือ ไม่ อนุ ญาตให้ชาวต่างชาตินาผู้หญิงและอาวุธเข้ามาในสถานีการค้า คนนาร่องและ นายหน้า (กัมปะโด)  ซึ่งเป็ นชาวจีนที่ได้รบั การว่าจ้างจากชาวต่างชาติต้องจด ทะเบียนกับหน่ วยงานราชการทีเ่ มืองมาเก๊า (Macao) และต้องถือใบอนุ ญาตติดตัว เพื่อการตรวจสอบ จากัดจานวนแรงงานชาวจีนทีท่ างานกับโรงงานต่างชาติ ห้าม ชาวต่างชาติออกจากสถานีการค้า ยกเว้น วัน ที่ 8 18 และ 28 ของเดือน แต่ ต้องมีล่ามติดไปด้วย ชาวต่างชาติตอ้ งยื่นคาร้องเรียนต่อโคหอง โคหองต้องไม่ก่อ 

หรือ โบก (Bogue) มาจากคาว่า Boca Trigris หมายถึง ปากประตูเสือ  กัม ปะโด (Comprador, Compradore) เป็ น ภาษาโปรตุ เกส แปลว่ า ตัว แทนซื้อ เดิมใช้เรียกหัวหน้าคนใช้ตามบ้านชาวยุโรปในเอเชีย ต่อมาใช้เรียกหัวหน้าลูกจ้างชาว พื้นเมืองของบริษัทนายจ้างที่เป็ นชาวต่างประเทศ ต่อมาเป็ นคาเรียกชาวจีนที่มอี าชีพ นายหน้าหรือคนกลางจัดหาลูกเรือหรืออาหารหรือติดต่อระหว่างชาวตะวันตกกับจีน 10


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หนี้กบั พ่อค้าต่างชาติ ชาวต่างชาติทพ่ี กั ทีก่ ว่างโจวเกินกว่าระยะเวลาทีท่ างการจีน กาหนด ต้องออกไปพักทีเ่ มืองมาเก๊าแทน และกาหนดเวลาในการเข้ามาค้าขาย ของพ่อค้าต่างชาติตามทิศทางลมมรสุม คือเข้ามาค้าขายได้ระหว่างเดือนตุลาคมถึง เดือนมีนาคม1 จีนยังกาหนดให้เรือสินค้าต่างชาติต้องไปเริม่ ต้นที่มาเก๊ า เพื่อจ้างคนนา ร่อง ล่าม กัมปะโด จากนัน้ ต้องไปทีป่ ้ อมหู่เหมินเพื่อวัดขนาดความกว้างของปาก เรือ เพื่ อ เสีย ค่ า ธรรมเนี ย ม และจะได้ ร ับ อนุ ญ าตให้ เทีย บท่ า ได้ ท่ีเ มือ งวัม เพา (Whampao) ที่จุดนี้จะมีการตรวจสินค้าโดยพ่อค้า โคหองก่อนจะน าสินค้าเข้ามา ขาย การกาหนดอัตราภาษีของสินค้าแต่ละชนิดถือเป็ นสิทธิของพ่อค้า โคหองที่ ก าหนดตามความพอใจ และจะมีก ารเปลี่ย นแปลงสัญ ญาการค้า ขายปี ต่ อ ปี 2 ตัง้ แต่ ค.ศ. 1760 เป็ นต้นมา ระบบการควบคุมการค้าทีเ่ มืองกว่างโจวถูกปฏิบตั ิ อย่างเข้มงวดมากขึน้ การค้าของชาวตะวันตกถูกจากัดไว้ทเ่ี มืองท่าทางใต้เพื่อให้ ห่างจากเมืองหลวงเปย่ จิงให้มากทีส่ ดุ ระบบกวางตุ้ ง ท าให้ จี น ได้ ป ระโยชน์ จ ากการเก็ บ ภาษี แ ละควบคุ ม ชาวต่างชาติได้ แต่ ทาให้ชาวตะวัน ตกโดยเฉพาะอังกฤษไม่พ อใจมาก เพราะ การค้า กับ ต่า งประเทศของจีน ส่วนใหญ่ องั กฤษเป็ น ผู้ผูกขาด และการค้าขาย ระหว่างจีนกับยุโรปนัน้ พ่อค้าต่างชาติเป็ นผูซ้ ้อื สินค้าจากจีนมากกว่าทีจ่ นี ซื้อจาก ต่า งชาติ สิน ค้า ที่จีน ส่งออกมากที่สุด คือ ใบชา คิด เป็ น ร้อยละ 90 – 95 ของ สิน ค้าออกทัง้ หมดของจีน 3 สินค้าออกอื่นๆ ได้แก่ ไหมดิบ เครื่องเคลือบ ครัง่ เป็ นต้น ส่วนสิน ค้าที่จีนนาเข้าจากอังกฤษ ได้แก่ ขนสัตว์ ตะกัว่ ดีบุก เหล็ก ทองแดง ผ้าขนสัตว์ ผ้าลินิน และสินค้าฟุ่มเฟื อนอื่นๆ แต่จนี ซื้อในปริมาณน้อย ตรงกัน ข้ามอังกฤษน าเข้าใบชาจากจีน เพิ่ม ขึ้น ทุกปี แม้ทาให้รฐั บาลอังกฤษได้ กาไรมหาศาลจากการเก็บภาษีนาเข้าจากบริษทั อินเดียตะวันออกในอัตราร้อยละ 1104 แต่องั กฤษประสบภาวะขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง และกลายเป็ นสาเหตุ สาคัญทีท่ าให้เกิดความขัดแย้งระหว่างจีนกับอังกฤษในเวลาต่อมา

Ibid. Immauuel C.Y. Hsu. (1995). The Rise of Modern China. p. 147. 3 จอห์น เค. แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ. (2518). เอเชียตะวันออกยุคใหม่เล่ม 1. หน้า 86. 4 Jack Gray. (2002). Rebellions and Revolutions: China from 1800s to 2000. p. 25. 1 2

11


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

2. ควำมขัดแย้งระหว่ำงจีนกับชำติ ตะวันตก: ด้ำนกำรทูดและค้ำ ความเข้ม งวดของระบบกวางตุ้งท าให้อ ังกฤษซึ่งมีผลประโยชน์ ท าง การค้าในจีนมากที่สุดและต้องการขยายการค้า ในจีน เรียกร้องให้จีนผ่อนคลาย ความเข้มงวดเพื่อให้การค้าสะดวกขึน้ นอกจากนี้ อังกฤษยังต้องการติดต่อกับจีน ในระดับรัฐต่อรัฐทีเ่ ท่าเทียมกัน ไม่ใช่ในฐานะทีจ่ นี วางตนเหนือกว่า ควำมพยำยำมของอังกฤษทำงกำรทูต ใน ค.ศ. 1793 อัง กฤษส่ ง ลอร์ ด จอร์ จ แมคคาร์ ท นี ย์ (Lord George Macartney, ค.ศ. 1737 - 1806) เป็ น หัว หน้ า คณะทู ต เดิน ทางไปจีน เพื่อ เจรจา การค้า คณะทูตนานักวิทยาศาสตร์ ศิลปิ น อาวุธปื น และเครือ่ งมือทางวิทยาศาสตร์ ต่างๆ มาถวายจักรพรรดิจนี ด้วย ซึง่ อังกฤษอาจนามาเพือ่ ให้จนี เห็นความก้าวหน้า ทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และประสิทธิภาพด้านอาวุธของอังกฤษ และเพื่อ เป็ นของขวัญสาหรับการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต แต่จนี กลับบันทึกไว้ว่าเป็ น ของบรรณาการจากอังกฤษ1

จักรพรรดิเฉียนหลง (ครองราชย์ ค.ศ. 1736-1795)

1

John K. Fairbank. (1998). China A New History. p. 196. 12


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

คณะทูตยื่นข้อเสนอขอให้มที ตู อังกฤษประจาทีก่ รุงเป่ยจิง ขอเปิ ดเมืองท่า เพิ่ม ขอให้ จีน ยกเลิก ระบบกวางตุ้ ง และขอให้ ม ีก ารก าหนดอัต ราภาษี ส ิน ค้า ศุล กากรที่แน่ น อน 1 แต่จีน ไม่ยอมรับ และยังยืน ยัน การค้าที่เมืองกว่างโจวต่อไป ั หาเรื่องพิธีก ารเข้าเฝ้าจัก รพรรดิ จีน ต้องการให้ทูต นอกจากนี้ ค ณะทูต ยังมีป ญ อังกฤษค านั บ จัก รพรรดิจีน ตามธรรมเนี ย มจีน หรือ “โค่ ว โถว” แต่ ล อร์ด แมค คาร์ทนีย์ไม่ยอม เพราะเห็นว่าหากยอมทาตามจะยิง่ ทาให้จนี มองอังกฤษว่าเป็ น ผู้น้ อ ยมายอมอ่ อ นน้ อ มต่ อ จีน และยังเป็ น การลดพระเกีย รติพ ระเจ้า จอร์จ ที่ 3 กษัตริย์องั กฤษ ซึง่ ส่งพระราชสาส์นมาถวายจักรพรรดิเฉี ยนหลงด้วย ลอร์ดแมค คาร์ทนี ย์จึงยืน ยัน ว่าจะทาเพียงการคุกเข่าลงข้างเดีย วเช่น เดียวกับ ที่ป ฏิบ ัติต่อ กษัตริยอ์ งั กฤษ การเจรจาครัง้ นี้ไม่สาเร็จ เพราะจีนยังคงเชื่อมันในการเป็ ่ นอาณาจักรกลาง ของตน ดังเห็นได้จากพระราชสาส์นทีจ่ กั รพรรดิเฉียนหลงมีต่อพระเจ้าจอร์จที่ 3 ว่า “อาณาจักรสวรรค์ของเราเต็มไปด้วยทรัพ ยากรล้ าค่ามากมาย การค้าทีเ่ มืองกว่างโจวถือเป็ นเมตตาจิตทีเ่ ผือ่ แผ่ให้กบั ชาวยุโรป และ จะไม่ให้เกินกว่าทีเ่ ป็ นอยู่” 2 ส่วนลอร์ดแมคคาร์ทนีย์ บันทึกไว้ว่า “จีนเป็ นอาณาจักรทีเ่ ก่าแก่ แปลกประหลาด มีนักรบชัน้ เยีย่ ม ดังนัน้ อาณาจักรนี้อาจจะไม่ล่มจมไปในทันที อาจทรงตัวอยูไ่ ด้ชวคราว ั่ เหมือนเรือทีแ่ ตก ก่อนจะค่อยๆ แตกสลายออกเป็ นชิ้นๆ และไม่อาจ สร้างให้ยงิ ่ ใหญ่ขน้ ึ มาบนรากฐานอันเก่าแก่ได้อกี ” 3

Spence. (2013). op.cit. p.120. โค่ วโถว (kowtow) เป็ นการท าความเคารพต่ อจักรพรรดิจีน เมื่อเข้าเฝ้า มีจุดคุ กเข่า คานับ (ไม่ใช่โขกศีรษะ) 3 จุด รวม 9 ครัง้ และอีก 9 ครัง้ เมื่อถอยออกมา รวมเข้า เฝ้าแต่ละครัง้ ต้องคุกเข่า 6 ครัง้ คานับ 18 ครัง้ 2 แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ. (2518). เล่มเดิม. หน้า 88. 3 Spence. (2013). op.cit. p.121. 1

13


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ลอร์ดแมคคาร์ทนียเ์ ข้าเฝ้าจักรพรรดิเฉียนหลง เมือ่ ค.ศ.1793

23 ปี ต่อมา อังกฤษส่งคณะทูตลอร์ดแอมเฮิรต์ (Lord Amherst) เดินทาง ไปจีนอีกครัง้ เมื่อ ค.ศ. 1816 ในสมัยจักรพรรดิเจียชิง่ (Jiaqing, ค.ศ. 1796-1820) เพื่อเจรจาขยายการค้าและปญั หาอื่นๆ ทีเ่ กิดขึน้ ในเวลานัน้ จีนยังคงถือว่าลอร์ด แอมเฮิร์ตนาบรรณาการไปถวายและต้องโค่วโถวต่อจักรพรรดิจนี แต่ลอร์ดแอม เฮิ ร์ ต ไม่ ย อมรั บ พิ ธี ก ารนี้ จึ ง ไม่ ไ ด้ เ ข้ า เฝ้ า หลั ง จากคณ ะทู ต อั ง กฤษชุ ด นี้ จักรพรรดิเจียชิง่ มีคาสังไม่ ่ ให้ทูตเดินทางมาทีก่ รุงเป่ยจิงอีก เพราะไม่พอใจทีค่ ณะ ทูตอังกฤษเดินทางกลับไปก่อน อังกฤษพยายามเปิ ด ความสัม พัน ธ์กบั จีน จึงส่งคณะทูต ลอร์ด เนเปี ย ร์ (Lord Napier) ไป จี น อี ก ครั ้ง ใน ค .ศ . 1834 ใน รั ช ส มั ย จั ก รพ รรดิ เ ต้ า กวง (Daoguang, ค.ศ. 1821-1850) ในช่ ว งนี้ แ นวคิด เรื่อ งการค้า เสรี ซ่ึ ง มีท่ีม าจาก ความคิด ของอดัม สมิธ (Adam Smith) ในหนั งสือ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations (ค.ศ.1776) ขยายตัวและมีอทิ ธิพลมากใน อังกฤษช่วงทศวรรษ 1820 จนน าไปสู่การยุบ เลิกบริษัท อิน เดีย ตะวัน ออกของ อังกฤษใน ค.ศ. 1833 จีนทราบเรื่องนี้และมีความห่วงใยว่าใครจะคอยควบคุมดูแล พ่อค้าอังกฤษในจีน จึงบอกให้องั กฤษส่งหัวหน้ าพ่อค้ามา อังกฤษจึงส่งลอร์ดเน เปี ยร์ไป เมื่อลอร์ด เนเปี ยร์มาถึงเมืองกว่างโจวได้ติด ต่อกับ ข้าหลวงใหญ่ป ระจ า มณฑลกว่ างตงโดยตรง แทนที่จ ะหยุด รอที่ม าเก๊ า และติด ต่อกับ สมาคมโคหอง ข้าหลวงใหญ่ของจีน จึงปฏิเสธการติด ต่อและแจ้งให้ลอร์ดเนเปี ยร์ไปรอที่ม าเก๊ า ลอร์ดเนเปี ยร์ไม่พอใจ ความขัดแย้งจึงเริม่ ขึน้ จนมีการข่มขูก่ นั จีนจึงสังถอนลู ่ กจ้าง จีนทีโ่ รงสินค้าของอังกฤษ งดส่งเสบียงอาหารให้และหยุดการค้า พ่อค้าอังกฤษ และชาติอ่นื ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการทีจ่ นี หยุดการค้าขายพากันไม่พอใจลอร์ดเน 14


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เปี ยร์ สุด ท้ายลอร์ด เนเปี ยร์ยอมถอยไปที่ม าเก๊าและป่วยจนถึงแก่กรรมในเดือน ตุลาคม ค.ศ. 1834 เห็นได้ว่า ความพยายามของอังกฤษในการส่งทูตไปเจรจาเรือ่ งการค้าและ การติดต่ออย่างเท่าเทียมกันกับจีนประสบความล้มเหลวทุกครัง้ เพราะจีนยังคงยึด มันในความเป็ ่ นอาณาจักรทีย่ งิ่ ใหญ่ของตน จึงไม่สนใจติดต่อด้วย จนนาไปสู่ค วาม ขัดแย้งทีร่ นุ แรงถึงขัน้ เกิดสงครามระหว่างจีนกับอังกฤษในเวลาต่อมา ควำมขัดแย้งด้ำนกำรค้ำ ปลายคริส ต์ ศ ตวรรษที่ 18 การค้า ของอังกฤษในจีน เพิ่ ม มากขึ้น จน กลายเป็ นชาติทผ่ี กู ขาดการค้าของตะวันตกในจีนเมื่อเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ การค้าผ่านระบบกวางตุง้ สร้างปญั หาให้กบั พ่อค้าตะวันตกอย่างมาก ทัง้ จากการที่ จีน ไม่กาหนดอัตราภาษีและราคาสินค้าที่แน่ น อน การค้าถูกผูกขาดทาให้พ่อค้า ต่างชาติไม่สามารถซื้อขายสินค้ากับประชาชนได้โดยตรง ทาให้ตอ้ งยอมซื้อสินค้า จากสมาคมพ่อค้า ส่งผลให้สมาคมพ่อค้ามีอานาจมาก บางครัง้ ก็กดี ขวางการค้า ของต่างชาติเพราะความขัดแย้งส่วนตัวหรือเพื่อเรียกร้องผลประโยชน์ นอกจากนี้ พ่อค้าในสมาคมโคหองบางคนซื้อสิน ค้าจากพ่อค้า ต่างชาติแล้วไม่จ่ ายค่าสิน ค้า หรือก่อหนี้กบั พ่อค้าต่างชาติ และการขาดดุลการค้าของพ่อค้าต่างชาติเนื่องจาก จีนซื้อสินค้าของต่างชาติน้อย ทาให้องั กฤษต้องการให้จีนยกเลิกระบบกวางตุ้ง และเปิ ดเมืองท่าอืน่ เพิม่ ขึน้ รัฐ บาลอั ง กฤษในสมั ย นายกรัฐ มนตรี วิ ล เลี ย ม พิ ต ต์ (William Pitt) พยายามแก้ปญั หาขาดดุลการค้ากับจีนด้วยการลดภาษีนาเข้าใบชาจีน ซึง่ ขณะนัน้ เป็ นเครือ่ งดื่มทีช่ าวอังกฤษนิยมมากทีส่ ดุ โดยลดจากร้อยละ 110 เหลือร้อยละ 101 รัฐบาลอังกฤษหวังว่าการลดภาษีนาเข้าจะทาให้ชาจีนในอังกฤษมีราคาถูกลง การ ลักลอบนาเข้าใบชาเถื่อนจะลดลงเพราะไม่ได้กาไรเหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลให้จีน ั หาขาด ขายชาได้น้ อยลงและต้องลดราคาลงในที่สุด อังกฤษพยายามแก้ป ญ ดุลการค้าด้วยการนาสินค้า ใหม่ๆ จากอินเดีย เช่น ฝ้ายดิบ คราม ไปขายในจีน แทนสินค้าประเภทผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ของอังกฤษซึ่งขายได้น้อยมาก แต่กไ็ ม่เป็ น ผล นอกจากนี้ องั กฤษยังมีป ระสบความลาบากในการหาเงิน (silver) ในเมือง กว่างโจวมาซื้อใบชา ผ้าไหม และสินค้าอื่นๆ ของจีน ต่อมาอังกฤษได้นาฝิ่ นจาก 1

Gray. (2002). op.cit. p.25. 15


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อินเดียเข้ามาขายในจีน ซึ่งฝิ่ นกลายเป็ นสินค้าทีท่ ากาไรให้องั กฤษอย่างมาก จึง นาเข้ามาขายมากขึน้ และสร้างความเสียหายแก่จนี อย่างมหาศาลทัง้ ทางเศรษฐกิจ และสังคม และเป็ นสาเหตุหนึ่งทีน่ าไปสูส่ งครามระหว่างจีนกับอังกฤษในเวลาต่อมา 3. สงครำมฝิ่ นทัง้ สองครัง้ และผลที่ ตำมมำ กำรแพร่ขยำยของฝิ่ นในจีน ชาวจีน รู้จ ักฝิ่ น มาตัง้ แต่คริส ต์ศตวรรษที่ 7 - 8 ในสมัย ราชวงศ์ถัง โดย พ่อค้าอาหรับและเติรก์ นาเข้ามาในรูปของยาระงับความเจ็บปวด แต่การสูบฝิ่นใน จีนเริม่ ขึน้ โดยชาวฮอลันดาเผยแพร่แก่ชาวจีนทีเ่ กาะไต้หวันเมื่อ ค.ศ. 1620 โดยใช้ ผสมใบยาสูบเพือ่ สูบ และในทศวรรษ 1660 การสูบฝิ่นแพร่ไปตามมณฑลชายทะเล อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะมณฑลฝูเจี้ยน (Fujian) และกว่างตง1 ระยะแรกผูน้ ิยมสูบ ฝิ่นเป็ นพวกคนยากจน กรรมกร จากนัน้ จึงแพร่ไปยังชนชัน้ สูงทัง้ ขุนนางและคนใน ราชสานัก การทีช่ าวจีนสูบฝิ่ นและติดฝิ่ นเป็ นจานวนมากส่งผลเสียทัง้ ต่อสุขภาพและ เศรษฐกิจ จัก รพรรดิห ย่ ง เจิ้ง (Yongzheng, ค.ศ. 1723-1735) จึงออกพระราช กฤษฎีกาห้ามสูบฝิ่ นและประกาศว่าฝิ่ นเป็ นสิง่ ผิดกฎหมายเป็ นครัง้ แรกเมื่อ ค.ศ. 1729 แต่กลับมีการนาเข้าฝิ่ นมากขึน้ ใน ค.ศ. 1767 จีนนาเข้าฝิ่ น 1,000 หีบ (1 หี บ บรรจุ ฝิ่ น ประมาณ 140 ปอนด์ ) หรือ ประมาณ 60 ตั น 2 ใน ค.ศ. 1796 จักรพรรดิเจียชิง่ ออกประกาศห้ามนาเข้าฝิ่นโดยเด็ดขาด แต่ยงั มีการลักลอบนาฝิ่ น เข้า มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งและในปริม าณมากขึ้น ทุ ก ปี เช่ น ค.ศ. 1799 ฝิ่ น เข้า สู่จีน เพิม่ ขึน้ เป็ น 4,000 หีบ ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 พ่อค้าเอกชนอังกฤษจากอินเดีย เริม่ นาฝิ่ นเข้ามาขายในจีนแข่งกับ บริษัทอิน เดียตะวันออกของอังกฤษ ทาให้ตัด ราคากัน เอง ราคาฝิ่ น จึงถูกลงท าให้การบริโภคฝิ่ น ของคนจีน เพิ่ม ขึ้น และเมื่อ รัฐบาลอังกฤษยกเลิกการผูกขาดการค้าของบริษทั อินเดียตะวันออก ทาให้พ่อค้า เอกชนนาฝิ่ นมาขายทีจ่ นี มากยิง่ ขึน้ เช่น ใน ค.ศ. 1836 จีนนาเข้าฝิ่ น 30,000 หีบ ระหว่าง ค.ศ. 1838–1839 ก่อนเกิดสงครามฝิ่ น ฝิ่ น เข้าสู่จีนมากถึง 40,000 หีบ3 หรือประมาณ 2,400,000 กิโลกรัม Hsu. (1995). op.cit. p.27 2 Gray. (2002). op.cit. p.26. 3 Ibid., Hsu. (1995). op.cit. p.168 and Spence. (2013). op.cit. p.149. 1

16


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

จักรพรรดิหย่งเจิ้ง (ซ้าย) และจักรพรรดิเจียชิง่ (ขวา) ออกประกาศห้ามสูบและนาเข้าฝิน่

การซื้อ ฝิ่ น ส่ ง ผลกระทบต่ อ ค่ า ของเงิน ด้ ว ย โดยจีน ใช้เงิน (silver) และ ทองแดง ในการซื้อสินค้า เงินทีถ่ ูกนาไปจ่ายเป็ นค่าฝิ่ น ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของ ทองแดง ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ใช้กนั โดย 1 ตาลึงเงิน ในสมัยเฉียนหลงเท่ากับ 1,000 เหรียญทองแดง สมัยเจียชิ่งเพิม่ เป็ น 1,500 เหรียญทองแดง และสมัยเต้าก วง 1 ตาลึงเงิน เท่ากับ 2,700 เหรียญทองแดง ประชาชนส่วนใหญ่ได้รบั ผลกระทบ เพราะต้องนาเหรียญทองแดงไปแลกเหรียญเงินสาหรับจ่ายภาษี จึงต้องใช้เหรียญ ทองแดงมากขึ้น เพื่อแลกเหรียญเงิน เงิน มีมูล ค่าสูงอย่างรวดเร็ว และขาดแคลน เพราะเงินไหลออกนอกประเทศจากการจ่ายค่าฝิ่ น เช่น ในทศวรรษ 1820 เงินไหล ออก 2 ล้านตาลึงต่อปี ในทศวรรษ 1830 เงินไหลออก 9 ล้านตาลึงต่อปี 1 ผลเสียที่ เกิดขึน้ ทาให้ทางการจีนพยายามห้ามการค้าฝิ่นและการสูบฝิ่น แต่ไม่เป็ นผล นอกจากราชสานักจีนต่อต้านการค้าฝิ่ น ด้วยการประกาศห้ามค้าฝิ่ น และ ให้ฝิ่นเป็ นสิง่ ผิดกฎหมายแล้ว กระแสต่อต้านฝิ่นในหมูช่ าวตะวันตกก็มเี ช่นกันตัง้ แต่ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ใน ค.ศ. 1821 มีการพิมพ์หนังสือชื่อ คาสารภาพของผูส้ ูบ ฝิ ่น ชาวอังกฤษ (Confession of an English Opium Eater) ของ เดอ ควิน ซี (De Quincey) มีเนื้อหาเกีย่ วกับอันตรายของฝิ่ นทีม่ ตี ่อประชาชน และใน ค.ศ. 1829 ในอังกฤษมีการอภิปรายกันว่า การผูกขาดการค้าของบริษทั อินเดียตะวันออกควร 1.

Spence. (2013). op.cit. p.149 and Gray. (2002). op.cit. p.28. 17


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ถูกยกเลิก และคาดหวัง ว่าในกลางทศวรรษ 1830 จีน ควรให้น าเข้าฝิ่ นอย่างถูก กฎหมายเพือ่ จะควบคุมปริมาณฝิ่นได้ ทาให้เกิดปฏิกริ ยิ าตอบโต้อย่างรุนแรงในจีน ขุนนางจีนโต้ว่าชาวต่า งชาติเป็ นพวกโหดร้ายและโลภมาก จีนไม่ต้องการฝิ่ นหรือ ค้า ขายกับ ชาวต่างชาติเลย 1 อย่างไรก็ตาม อังกฤษไม่ สนใจการต่อต้านของจีน บริษัทอินเดียตะวันออกในอินเดียส่งเสริมให้ปลูกฝิ่ น และขายฝิ่ นโดยการประมูล ราคา ฝิ่ นจากอินเดียถูกนาเข้ามาในจีนโดยพ่อค้าอังกฤษ พ่อค้าฟาร์ซี (อาหรับ) ส่งให้ตวั แทนทีเ่ มืองกว่างโจว พ่อค้าฝิ่ นบางคนให้ผลประโยชน์แก่ฮอปโปเป็ นการ ตอบแทน

การสูบฝิน่ ของสตรีผดู้ ี

ชาวจีนสูบฝิน่ ในโรงฝิน่

ปญั หาจากฝิ่ นทาให้จนี ขาดดุลการค้ามหาศาล คนจีนจานวนมากติดฝิ่ น แม้องั กฤษได้กาไรจากการค้าฝิ่ น ซึง่ ร้อยละ 75 ของกาไร อังกฤษนากลับมาซื้อใบ ชาและผ้าไหมของจีน 2 แต่องั กฤษยังคงไม่พ อใจระบบผูกขาดการค้าของจีน ที่ สาคัญอังกฤษต้องการให้จนี ยอมรับความสัมพันธ์ระหว่างรัฐทีเ่ ท่าเทียมกัน ต้องการ ติดต่อกับรัฐบาลจีนโดยตรง ไม่ตอ้ งผ่านสมาคมโคหอง และต้องการให้จนี เปิ ดเมือง ท่าเพิม่ ขึ้น ดังนัน้ แม้จะได้เปรียบการค้าจากฝิ่ น แต่องั กฤษยังคงไม่พอใจ ซึ่งผล สุดท้ายทาให้เกิดความขัดแย้งถึงขัน้ ทาสงครามกัน โดยฝิ่ นเป็ นชนวนเหตุหนึ่งใน หลายๆ สาเหตุทเ่ี ร่งให้ความขัดแย้งถึงจุดวิกฤติ

1 2

Spence. (2013). op.cit. p.149 and Gray. (2002). op.cit. p.26-27. Gray. (2002). op.cit. p.28 18


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

สงครำมฝิ่ นครัง้ ที่ 1 (Opium War, ค.ศ.1839 – 1842) สงครามฝิ่ นครัง้ ที่ 1 หรือที่องั กฤษเรียกว่า สงครามการค้า (Trade War) เกิด ขึ้น ใน ค.ศ. 1839 ในปี น้ี อ ังกฤษส่ งกัป ตัน ชาร์ล เอลเลีย ต (Capt. Charles Elliot) มาเป็ นผูแ้ ทนการค้าของอังกฤษในจีน และเป็ นช่วงทีพ่ อ่ ค้าอังกฤษเรียกร้อง ให้รฐั บาลอังกฤษเจรจาขยายพื้นที่การค้าและความเท่าเที ยมกับจีน จักรพรรดิ เต้ากวงตัง้ หลิน เจ้อสู (Lin Zexu, ค.ศ. 1785-1850) มาเป็ นข้าหลวงพิเศษประจา มณฑลกว่างตง เพือ่ ปราบการค้าฝิ่น หลิน เจ้อสูประกาศว่าการค้าฝิ่ น เป็ น ความผิด ตามกฎหมายจีน และผิด ศีลธรรมด้วย ในสาส์นของหลิน เจ้อสู ทีส่ ่งถึงพระราชินี วกิ ตอเรียแห่งอังกฤษ ระบุ ว่าการค้าฝิ่ น ในจีน เป็ น สิ่งผิดกฎหมายเช่น เดีย วกับ ในอังกฤษ อังกฤษควรห้า ม การค้าฝิ่ น หลิน เจ้อสู สังให้ ่ พ่อค้าต่างชาตินาฝิ่ นมามอบให้จนี พร้อมทาทัณฑ์บน ไว้ แล้วจีนจะอนุญาตให้พ่อค้าทีย่ อมปฏิบตั ติ ามค้าขายต่อไป แต่พ่อค้าต่างชาติไม่ ยอม หลินจึงสังปิ ่ ดล้อมชุมชนต่างชาติในเมืองกว่างโจวในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1839 เอลเลียตจึงให้พ่อค้าต่างชาติมอบฝิ่ นให้ตน โดยออกใบรับให้พ่อค้าแต่ละคน ทาให้ ฝิ่ น ทัง้ หมดกลายเป็ น ทรัพ ย์ส ิน ของรัฐบาลอังกฤษ จากนั น้ จึงมอบฝิ่ น ให้แ ก่จีน จานวนกว่า 20,280 หีบ หลิน เจ้อสู ให้นาฝิ่นไปทาลายด้วยการเผาและทิง้ ลงแม่น้ า และยกเลิกการปิ ดล้อมชุมชนต่างชาติ พร้อมทัง้ ให้ทาหนังสือทัณฑ์บนแก่พ่อค้าฝิ่ น แต่เอลเลียตไม่ตกลง และได้ออกไปอยู่ทม่ี าเก๊าพร้อมพ่อค้าต่างชาติ พร้อมกับส่ง รายงานไปยังรัฐบาลอังกฤษทีล่ อนดอน ขณะทีก่ ารค้าฝิ่ นเถื่อนยังดาเนินต่อไป เอล เลียตและตัวแทนของหลิน เจ้อสู ได้เจรจากันทีม่ าเก๊า แต่ตกลงกันไม่ได้ เมื่อข่าวการปิ ดล้อมชุมชนต่างชาติของหลิน เจ้อสู ไปถึงลอนดอนในวันที่ 21 กัน ยายน ค.ศ. 1839 พร้อมกับ ข้อมูล ว่า เอลเลีย ตแนะน าให้พ่ อค้า มอบฝิ่ น ทัง้ หมดให้เป็ นของรัฐบาลอังกฤษ โดยรัฐบาลอังกฤษจะจ่ายค่าชดเชยให้ ทาให้ รัฐ บาลอัง กฤษสนใจการค้า ฝิ่ น ในจีน มากขึ้น ส่ ว นชาวตะวัน ตกบางกลุ่ ม ก็ ม ี ปฏิกริ ยิ าต่อการค้าฝิ่นในทางไม่ดี เช่น มีการตีพมิ พ์บทความเกีย่ วกับการค้าฝิ่นเป็ น ตอนๆ ในนิ ต ยสาร Times และมีก ารเสนอความเห็ น ว่ า การค้ า ฝิ่ น เป็ น สิ่ง ผิด มนุ ษ ยธรรม ส่ ว นที่ เ มื อ งกว่ า งโจว วารส าร The Chinese Respository ของ มิชชันนารีอเมริกนั ได้พมิ พ์ความเห็นของบาทหลวงคนหนึ่งว่าการค้าฝิ่ นเป็ นสิง่ ชัว่ ร้าย ในอังกฤษมีก ารตัง้ กลุ่ ม ต่ อต้า นการค้า ฝิ่ น ขึ้น มา และมีก ารอภิป รายกัน ใน รัฐบาลอังกฤษและหนังสือพิมพ์ในอังกฤษว่า อังกฤษควรเลิกการค้าทีผ่ ดิ คุณธรรมนี้

19


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

รวมทัง้ มีเสีย งเรียกร้องให้รฐั บาลอังกฤษรับ ผิด ชอบต่อการกระตุ้นให้ป ลูกฝิ่ นใน อินเดียด้วย1

ภาพวาดการเผาทาลายฝิน่ และข้าหลวงหลิน เจ้อสู

รัฐบาลอังกฤษตัดสินใจทาสงครามกับจีน เพราะไม่พร้อมจ่ายเงินชดเชยค่า ฝิ่ นให้พ่อค้าตะวันตกทีเ่ อลเลียตรับปากไว้ เนื่องจากเป็ นเงินจานวนมาก2 และเห็น เป็ นโอกาสดีทจ่ี ะบังคับให้จนี เปิ ดเมืองท่าเพิม่ ขึน้ อังกฤษส่งเรือรบและทหารจาก อินเดียเข้ามาข่มขูจ่ นี ขณะทีส่ ถานการณ์ตงึ เครียดขึน้ ได้เกิดเหตุการณ์ทช่ี าวจีนที่ เมืองกว่างโจวถูกกลาสีเรือชาวอังกฤษฆ่าตายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1839 จีน เรียกร้องให้ส่งตัวมาลงโทษตามกฎหมายจีน แต่เอลเลียตไม่ยอมส่งกลาสีให้จีน หลิน เจ้อสูจงึ กดดันโดยตัดเสบียงอาหารของอังกฤษ ผูป้ กครองมาเก๊าซึ่งตอนนัน้ อยู่ภายใต้การปกครองของโปรตุเกสไม่อยากเข้าไปยุ่งเกีย่ วกับปญั หานี้ เอลเลียต จึงออกไปอยูท่ เ่ี กาะฮ่องกง การปะทะกัน ครัง้ แรกเกิด ขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1839 บริเวณ ท่าเรือฮ่องกงและทีป่ ้ อมหู่เหมิน และในกลาง ค.ศ. 1840 อังกฤษปิ ดล้อมท่าเรือที่

1 2

Gray. (2002). op.cit. p.42. Ibid. p.43. 20


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กว่างโจว ปิ ดล้อมเมืองท่าหนิงปอ (Ningpo) รุกขึ้นเหนือยึดเมืองติ้งไห่ (Dinghai) ทางชายทะเลตะวัน ออกของจีน ที่ม ณฑลเจ้ อ เจีย ง ท าให้อ ั งกฤษควบคุ ม ปาก ทางเข้าออกของเรือบริเวณปากแม่น้ า ฉางเจีย งไว้ได้ จากนัน้ รุกขึ้น เหนื อจนถึง ป้อมต้ากู (Dagu) ทีเ่ มืองเทียนจิน (Tianjin) ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเป่ยจิงประมาณ 70 กิโลเมตร

กองทัพจีนโจมตีสถานีการค้าของต่างชาติทเี ่ มืองกว่างโจว ในช่วงสงครามฝิน่

เรือรบอังกฤษทาลายเรือรบจีนในสงครามฝิน่

การทีก่ องทัพอังกฤษรุกขึน้ ไปถึงเมืองเทียนจิน ทาให้ราชสานักเห็นว่าเป็ น ความผิดพลาดของหลิน เจ้อสู ทีท่ าให้เกิดการสูร้ บขึน้ ดังนัน้ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1840 หลิน เจ้อสู จึงถูกปลดและถูกเนรเทศไปอยู่ท่เี มืองอี้หลี (Ili) ทางตะวัน ตก ของจีน ราชสานักจีนแต่งตัง้ ฉี ซาน (Qi Shan) ข้าหลวงใหญ่มณฑลจื่อลี่ (Zhili ปจั จุบนั คือ มณฑลเหอเป่ย) มาเจรจากับอังกฤษ อังกฤษยอมถอนทหารจากเมือง ติง้ ไห่ โดยจีนรับจะชดใช้คา่ เสียหายให้ แต่องั กฤษยังต้องการฮ่องกงและให้จนี เปิ ด 21


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เมืองท่าต่างๆ เพิม่ ระหว่างการเจรจาต่อรองอังกฤษได้โจมตีป้อมทีอ่ ยู่นอกเมือง กว่างโจว ฉี ซานจึงยอมทาสัญญาตกลงจ่ายค่าเสียหายและยกฮ่องกงให้องั กฤษ และตกลงว่าจีนกับอังกฤษจะมีความสัมพันธ์อย่างเป็ นทางการและเท่าเทียมกัน เมื่อราชสานักชิงทราบเรื่อง ฉี ซาน ถูกปลด ถูกริบทรัพย์ และถูกลงโทษ ประหารชีวิต แต่ภ ายหลังลดเหลือเนรเทศ ส่วนเอลเลียตถูกเรีย กตัวกลับ เพราะ รัฐบาลอังกฤษไม่พอใจที่เอลเลียตเรียกร้องฮ่องกง ซึ่งขณะนัน้ เป็ นเพียงเกาะที่ม ี หมู่บา้ นชาวประมงเล็กๆ อาศัยอยู่ ไม่มคี ณ ุ ค่าอะไรและไม่ยอมเรียกร้องค่าฝิ่นทีถ่ ูก ทาลาย จากนัน้ รัฐบาลอังกฤษส่งเซอร์ เฮนรี่ พอร์ตทิงเจอร์ (Sir Henry Pottinger) เป็ นผูแ้ ทนทีม่ อี านาจเต็มมาเจรจากับจีน แต่การเจรจาไม่คบื หน้า อังกฤษจึงส่งเรือ เข้าโจมตีจนี จีนต้องยอมสงบศึก และในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1842 จีนต้องทา สนธิสญ ั ญาหนานจิง (The Treaty of Nanjing) โดยอังกฤษเป็ นผูก้ าหนดเงื่อนไข ฝา่ ยเดียว สาระสาคัญของสนธิสญ ั ญาหนานจิง ได้แก่1 1. การติดต่อระหว่างจีนกับอังกฤษต้องเป็ นไปอย่างเท่าเทียมกัน 2. จีนต้องเปิ ดเมืองท่า 5 แห่ง คือ กว่างโจว เซียะเหมิน (Xiamen) ฝูโจว (Fuzhou) หนิงปอ และ ซังไห่ ่ ให้องั กฤษค้าขาย 3. อังกฤษได้เกาะฮ่องกง หรือเซียงกัง่ (Xianggang) 4. จีนชดใช้เงิน 21 ล้านเหรียญเม็กซิกนั แยกเป็ นค่าปฏิกรรมสงคราม 12 ล้าน ค่าฝิ่ นทีถ่ ูกทาลาย 6 ล้าน และหนี้ทพ่ี ่อค้าจีนติดพ่อค้าอังกฤษ 3 ล้าน โดย ต้องจ่ายสีส่ ว่ นก่อนสิน้ ค.ศ. 1845 และต้องเสียดอกเบีย้ ร้อยละ 5 ต่อปี หากจ่ายช้า 5. จีนต้องยกเลิกระบบกวางตุง้ 6. เก็บภาษีในอัตราแน่นอน ต่อมากาหนดภาษีสนิ ค้าขาเข้าไว้ทร่ี อ้ ยละ 5 โดยเฉลีย่ ภาษีสนิ ค้าขาออกร้อยละ 1.5 – 10.75 ต่อมามีการทาสนธิส ญ ั ญาเพิ่ม เติม คือ สนธิส ญ ั ญาโบก (The Treaty of Bogue, ค.ศ. 1843) โดยมีข ้อ ก าหนดว่ า อัง กฤษได้ ส ิท ธิ ก ารเป็ นชาติ ท่ี ไ ด้ ร ับ อนุ เคราะห์ ยิ่ ง (most-favored nation) แ ล ะได้ ส ิ ท ธิ ส ภ าพ น อก อาณ าเข ต (Extraterritoriality) หรือสิทธิทางการศาล สนธิสญ ั ญาหนานจิงและสนธิสญ ั ญาเพิม่ เติมมีลกั ษณะสาคัญ คือ การค้า เสรีและเท่าเทียมกัน กาหนดอัตราภาษีไว้ช ดั เจนแน่ น อน อังกฤษได้สทิ ธิช าติ ได้รบั ความอนุ เคราะห์อย่างยิง่ ส่วนเรื่องฝิ่ นไม่ได้ระบุไว้ชดั เจนว่าจีนให้คา้ ขายได้ 1

Spence. (2013). op.cit. pp. 158 – 159. 22


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หรือไม่ จีนถือว่ากฎหมายของตนได้หา้ มไว้อยู่แล้ว ส่วนอังกฤษถือว่าเมื่อไม่ระบุ ว่าห้ามค้า อังกฤษก็คา้ ขายฝิ่นได้ (สนธิสญ ั ญาหนานจิงระบุเพียงว่าจีนต้องจ่ายค่า ฝิ่นทีจ่ นี ยึดและทาลายไป) ดังนัน้ ฝิ่นจึงเป็ นสาเหตุประการหนึ่งในสงครามฝิ่นครัง้ ที่ 2 หรือสงครามแอร์โรว์ (ค.ศ. 1856 – 1860) ทีอ่ งั กฤษร่วมกับฝรังเศสรบกั ่ บจีน ใน ครัง้ นี้จงึ มีขอ้ ความระบุให้ฝิ่นเป็ นสินค้าทีค่ า้ ขายได้

แผนทีเ่ ส้นทางการเดินทัพของอังกฤษในสงครามฝิน่ ครัง้ ที ่ 1 และเมืองท่าทีเ่ ปิ ดตามสนธิสญ ั ญาหนานจิง

23


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เมื่อ อัง กฤษเปิ ด ประเทศจีน ได้ แ ล้ ว ชาติต ะวัน ตกอื่น ๆ ได้ เข้า มาท า สนธิส ญ ั ญากับ จีน ตามแบบสนธิส ญ ั ญาหนานจิง เช่ น สหรัฐอเมริก า ฝรังเศส ่ สนธิสญ ั ญาทีส่ หรัฐอเมริกาทากับจีนเรียกว่า สนธิสญ ั ญาหวางเซีย่ (The Treaty of Wangxia ค.ศ. 1844) สหรัฐอเมริกาได้สทิ ธิสภาพนอกอาณาเขต สิทธิการเป็ น ชาติท่ีได้รบั อนุ เคราะห์อย่า งยิ่งได้ส ิท ธิก่ อตัง้ โบสถ์แ ละโรงพยาบาลในเมืองท่ า สนธิสญ ั ญากับฝรังเศสเรี ่ ยกว่า สนธิสญ ั ญาวัมเพา (The Treaty of Whampoa) ได้ สิทธิเช่นเดียวกับ USA แต่มขี อ้ ความเพิม่ เติมเรื่องการได้สทิ ธิเผยแผ่ศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก

ขุนนางจีนนาสนธิสญ ั ญาหนานจิงทีล่ งสัตยาบันแล้ว ไปแลกเปลีย่ นกับอังกฤษทีฮ่ ่องกง

วิ เครำะห์สำเหตุของสงครำมระหว่ำงจีน –อังกฤษ ความขัดแย้งระหว่างจีนกับอังกฤษจนเกิดสงครามฝิ่ นขึน้ นี้ หลี่ เชีย่ นหนง (Li Chien-nung หรือ Li Qiannong) นั ก ประวัติ ศ าสตร์จีน กล่ า วว่ า สาเหตุ ข อง สงครามเกิดจากความแตกต่างด้านวัฒนธรรมและแนวความคิด คือ ความแตกต่าง ด้านความคิดเรือ่ งความเท่าเทียมกันทีช่ าติตะวันตกเชื่อว่าทุกชาติเท่าเทียมกัน แต่ จีนเชื่อว่าตนเป็ นชาติท่ยี งิ่ ใหญ่ท่สี ุด และไม่มผี ู้ใดเหนือกว่าจักรพรรดิจนี รวมทัง้ ความแตกต่ า งด้ า นเศรษฐกิจ ที่ช าติ ต ะวัน ตกเห็ น ว่ า การค้า เป็ น สิ่ง ส าคัญ และ พยายามปกป้องผลประโยชน์ ของตน แต่จนี เห็นว่าการค้ากับ ต่างชาติเป็ นความ

24


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เมตตากรุณาของจีน และการจากัดการค้าไว้ทเ่ี มืองกว่างโจวเป็ นเครื่องมือในการ ควบคุมพวกปา่ เถื่อน1 จอห์ น เค. แฟร์แ บงค์ (John K. Fairbank) เห็น ว่ า ความขัด แย้งนี้ เป็ น ความขัดแย้งระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกด้านแนวคิดความสัมพันธ์ ระหว่ า งประเทศ ที่ จี น ใช้ ค วามสั ม พั น ธ์ ใ นบรรณ าการ (Chinese Tributary Relations) กับ อังกฤษที่เชื่อในแนวคิดรัฐชาติแบบตะวันตก (Western Family of Nation-States) ทีเ่ ห็นว่าทุกชาติมคี วามเท่าเทียมกัน รวมทัง้ เป็ นความขัดแย้งด้าน การค้าแบบผูกขาดของจีนกับการค้าแบบเสรีนิยมของตะวันตก และความขัดแย้ง ด้านระบบการพิจารณาคดี กฎหมายและการลงโทษแบบจารีตของจีน2 จาง ซินเปา่ (Chang Hsin-pao) เห็นว่าสงครามฝิ่นทีเ่ กิดขึน้ เป็ นความขัดแย้ง จากการค้า ระหว่างความต้องการขยายการค้าของอังกฤษกับการต่อต้านของจีนที่ มีเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเองเป็ น หลัก เป็ น ความขัด แย้งจากการค้าใบชา ความไม่ สมดุลของการค้าทีอ่ งั กฤษขาดดุลตลอด จนต้องนาฝิ่ นมาขาย3 ส่วน ถาน จง (Tan Chung) วิเคราะห์ว่าสงครามเกิดจากความขัดแย้งเรื่องฝิ่ นเป็ นหลัก และปฏิกริ ยิ า ต่อต้านทีร่ นุ แรงของหลิน เจ้อสู 4 ผูเ้ ขียนเห็นด้วยกับความเห็นของหลี่ เชีย่ นหนง และแฟร์แบงค์ ทีว่ ่าความ ขัด แย้งนี้ ส าเหตุ ห ลัก มาจากความแตกต่ า งด้ า นแนวคิด ความสัม พัน ธ์ ร ะหว่ า ง ประเทศของจีนกับชาติตะวันตก ทัศนคติของจีนทีย่ ดึ มันในความสั ่ มพันธ์ในระบบ บรรณาการและการมองว่า ชาติตะวันตกด้อยกว่า ขณะทีอ่ งั กฤษมีความคิดว่าทุก ชาติม ีค วามเท่ า เทีย มกัน ท าให้เกิด ความขัด แย้งต่ อ ความสัม พัน ธ์ท างการทู ต ระหว่างจีนกับชาติตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษนานกว่าครึง่ ศตวรรษ นอกจากนี้ ความขัด แย้งยัง เกิด จากความขัด แย้งด้านผลประโยชน์ ทาง การค้า ทีช่ าติตะวันตกเป็ นฝา่ ยขาดดุล ไม่พอใจการค้าผูกขาดของจีน และต้องการ ขยายการค้าให้มากขึ้น โดยฝิ่ นเป็ นเพียงสาเหตุหนึ่งทีท่ าให้ความขัดแย้งนี้ ส่งผล Li Chien-nung (Li Qiannong). (1956). The Political History of China, 1840 - 1928. p.43. 2 J.K. Fairbank. (1953). Trade and Diplomacy on the China Coast: the Opening of the Treaty Ports 1842 – 1854. 3 Chang Hsin-pao, (1964). Commissioner Lin and the Opium War. 4 Tan Chung. (1978). China & the Brave New World: A Study of the Origins of the Opium War. 1

25


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

รุนแรงขึน้ การตอบโต้ทร่ี นุ แรงของจีนในการปราบฝิ่นทาให้องั กฤษถือเป็ นโอกาสที่ ชอบธรรมในการใช้กาลังเข้าบังคับจีน ซึ่งแม้ไม่มคี วามขัดแย้งเรื่องฝิ่ นในครัง้ นี้ อังกฤษก็คงหาทางอื่นในการบังคับจีนให้เปิ ดความสัมพันธ์ทางการค้าให้มากขึ้น เพราะช่วงเวลานัน้ เป็ นช่ว งเวลาที่ชาติตะวันตกกาลังแข่งขันกันขยายอิทธิพลใน โพ้นทะเลทัง้ ด้านการเมืองและการค้า สภำพของจีนหลังสงครำมฝิ่ นครัง้ ที่ 1 สงครามฝิ่ นทีเ่ กิดขึน้ สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของราชวงศ์ชงิ และ แสดงให้เห็นว่าจีนไม่สามารถอยู่ได้โดยไม่สนใจโลกภายนอก ทาให้ความเชือ่ มันใน ่ การเป็ นอาณาจักรทีย่ งิ่ ใหญ่ลดลง ประชาชนบางส่วนไม่เชือ่ มันราชส ่ านัก และการ ที่จนี ต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตและสิทธิอ่นื ๆ การเปิ ดเมืองท่าเพิม่ ทาให้ กลายเป็ นเขตอิทธิพ ลของต่างชาติจะกลายเป็ น ความขัดแย้งระหว่างจีน กับ ชาติ ตะวันตกจนเกิดสงครามระหว่างจีนกับชาติตะวันตกขึน้ อีกครัง้ ใน ค.ศ. 1856 หลังสิ้น สุ ด สงครามฝิ่ น 1 ใน ค.ศ. 1842 จีน ปฏิบ ัติต ามข้อสัญ ญาทุ ก ประการ แต่การค้าของชาติตะวันตกกลับ ขยายตัวไม่มากนัก เพราะจีนยังรักษา ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง เช่น ยังทอผ้าใช้เองมากกว่าซื้อผ้าจากต่างชาติ แต่ทเ่ี มืองซังไห่ ่ การค้าขยายตัวมากขึน้ ทาให้มบี ริษทั การค้าและบ้านพักอาศัยของ ชาวต่างชาติเข้ามาตัง้ ในเมืองซังไห่ ่ ตามสิทธิทร่ี ะบุไว้ในสนธิสญ ั ญา ชาวต่างชาติ ได้เช่าที่ดินจากชาวจีนโดยไม่มกี าหนดเวลา ซังไห่ ่ จงึ กลายเป็ นเขตอิทธิพลของ ต่างชาติ เรียกว่า “เขตนิคมต่างชาติสากล” (International Settlement) ในเขตนี้ ชาวต่างชาติมสี ทิ ธิกาหนดระเบียบการปกครองตนเองอย่างอิสระจากกฎหมายจีน จึงมีชาวจีนทีท่ าผิดกฎหมายจีนหลบหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตชาวต่างชาติ ซึง่ สภา เทศบาลของชาวต่างชาติได้เรียกเก็บเงินค่าคุม้ ครองเป็ นการแลกเปลีย่ น ทาให้จนี ไม่พอใจทีไ่ ม่สามารถปกครองดินแดนของตนได้เต็มที่ ขณะที่ชาวต่างชาติยงั ไม่ พอใจที่ไม่ ได้ร บั ผลประโยชน์ ท างการค้า มากเท่ า ที่ต้อ งการ ซึ่งในที่สุ ด ได้เกิด สงครามระหว่างจีนกับตะวันตกใน ค.ศ.1856 หรือ สงครามฝิ่นครัง้ ที่ 2 สงครำมฝิ่ นครัง้ ที่ 2 (ค.ศ. 1856 – 1860) สงครามฝิ่ นครัง้ ที่ 2 หรือสงครามเรือแอร์โรว์ (The Arrow War) เกิดจาก สาเหตุหลายประการ ประการแรก ปญั หาต่างๆ ระหว่างจีนกับชาติตะวันตกยังไม่ สามารถตกลงกันได้อย่างเรียบร้อย กล่าวคือสงครามครัง้ แรกเกิดขึน้ เพราะฝิ่น แต่ 26


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ในสนธิสญ ั ญาหนานจิงไม่ได้กล่าวถึงฝิ่ นเลยทาให้ฝิ่นยังคงเป็ นสินค้าทีผ่ ดิ กฎหมาย ของจีน ขณะทีช่ าวตะวันตกยังนาฝิ่นเข้ามาขาย ประการที่ส องเกิด จากความไม่พ อใจของชาวตะวัน ตก ที่เห็น ว่ า จีน ยัง ละเลยไม่ให้ความสาคัญกับชาติตะวันตก แต่กลับยังยึดมันระบบบรรณาการ ่ และ 1 ั หาที่เกิด ขึ้น ประการที่ส ามเกิด จากความต้อ งการ รัฐบาลจีน ยังไม่ ย อมแก้ป ญ ผลประโยชน์ของชาติตะวันตกทีเ่ พิม่ มากขึน้ และเข้าควบคุมสัมปทานต่างๆ รวมทัง้ ต้องการขยายการค้าไปยังพื้น ที่อ่นื ๆ นอกเขตเมืองท่า 5 แห่ง ที่จีน เปิ ดให้ และ พยายามเรียกร้องให้จนี ยอมปรับ ปรุงสนธิสญ ั ญาหนานจิง ในขณะที่จีน ต้องการ ปกป้องผลประโยชน์ ของตนเอง นอกจากนี้การที่ชาติตะวันตกได้รบั สิทธิสภาพ นอกอาณาเขตก็เป็ น สาเหตุ ห นึ่ ง ที่ ท าให้ เกิด ความขัด แย้ งระหว่ า งชาวจีน กับ ชาวตะวันตก ชนวนความขัดแย้งทีน่ าไปสู่สงครามเกิดจาก 2 เหตุการณ์ คือ จีนประหาร ชีวติ บาทหลวงชาวฝรังเศสที ่ เ่ ผยแผ่ศาสนานอกเขตเมืองท่า ทาให้ฝรังเศสไม่ ่ พอใจ เหตุการณ์ ทส่ี องคือความขัดแย้งระหว่างอังกฤษกับจีนเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณา เขต โดยทางการจีนทีเ่ มืองกว่างโจวจับเรือและลูกเรือแอร์โรว์ (Arrow) 12 คน ใน ข้อหาโจรสลัด และลักลอบขนส่งสินค้าหนีภาษี เรือลานี้จดทะเบียนทีฮ่ ่องกงจึงอยู่ ภายใต้อธิป ไตยอังกฤษ อังกฤษถือว่าจีน ละเมิด สิทธิสภาพนอกอาณาเขตของ อังกฤษ ทางการอังกฤษที่ฮ่องกงเรียกร้อ งให้จีนปล่อยตัวลูกเรือ และให้ เย่ หมิง เฉิน (Ye Mingchen) ข้าหลวงใหญ่ประจามณฑลกว่างตง ขอขมา แต่เย้อ หมิงเจิน ปฏิเสธ แม้ว่าต่อมายอมปล่อยลูกเรือ แต่ยงั ไม่ยอมขอขมา เรือรบอังกฤษจึงระดม ยิงเมืองกว่างโจว แต่ไม่นานก็ถอนตัวออกไปเพราะติดพันเหตุการณ์ ความขัดแย้ง ในอินเดีย ต่อมาอังกฤษร่ว มมือ กับ ฝรังเศสส่ ่ งกองทัพ เข้า ยึด เมืองกว่ า งโจวได้ใน ปลายปี ค.ศ. 1857 ยึดเมืองเทียนจินและป้อมต้ากูหน้ าเมืองเทียนจินได้ในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1858 จีน จาต้องยอมเซ็น สนธิส ญ ั ญาเทียนจิน (The Treaty of Tianjin) กับ อังกฤษและฝรังเศส ่ ซึ่งมีส าระส าคัญ คือ อังกฤษมีส ิท ธิส่งทูต และ เจ้า หน้ า ที่พ ร้อ มครอบครัว มาประจ าที่ก รุงเป่ ย จิง และจีน ต้อ งส่ งทูต ไปประจ า ลอนดอน ต้องเปิ ดเมืองท่าเพิม่ ในเขตแม่น้ าฉางเจียง คือ เมืองฮันโขว ่ (Hankou) จิว่ เจียง (Jiujiang) หนานจิง เจิ้นเจียง (Zhenjiang) และเมืองท่าอีก 6 แห่ง ได้แก่ ในแมนจูเรีย (Manchuria) มณฑลซานตง (Shandong) มณฑลกว่างตง ไต้หวัน 1

Jonathan D. Spence. (2013). op.cit. p.175. 27


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

(Taiwan) และเกาะไห่หนาน (Hainan) ทางใต้ ลดอัตราภาษีนาเข้าเหลือร้อยละ 2.5 จ่ายค่าเสียหายให้พ่อค้าอังกฤษและจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม, การเผยแผ่ศาสนา คริสต์ได้รบั การคุม้ ครอง ชาวอังกฤษ ชาวฝรังเศสและมิ ่ ชชันนารีชาวฝรังเศสมี ่ สทิ ธิ เดินทางได้ทุกเมือง โดยมีใบอนุ ญาตหรือหนังสือเดินทาง และภายใน 30 ไมล์จาก เมืองท่าไม่ต้องใช้ใบอนุ ญาต เรืออังกฤษและฝรังเศสมี ่ สทิ ธิเข้าไปทอดสมอและ ลาดตระเวน การติด ต่ ออย่ างเป็ น ทางการให้ใช้ภ าษาอังกฤษ และห้า มใช้ค าที่ หมายถึงคนปา่ เถื่อนเมือ่ เอ่ยถึงชาวอังกฤษในเอกสารจีน เก็บภาษีฝิ่น 30 ตาลึงต่อ ฝิ่ น 1 หาบ (ประมาณ 130 ปอนด์ ) ฝิ่ นขายได้ ท่ี เ มื อ งท่ า การขนส่ ง ฝิ่ น ภายในประเทศเป็ นหน้าทีข่ องชาวจีนเท่านัน้ 1

การทาสนธิสญ ั ญาเทียนจินระหว่างจีนกับกับอังกฤษและฝรังเศส ่ ค.ศ. 1858

สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย ขอทาสัญ ญาเช่น เดีย วกับ อังกฤษและฝรังเศส ่ ตามสิทธิช าติท่ไี ด้รบั อนุ เคราะห์อ ย่างยิง่ แต่ยงั ไม่ ทนั จะให้สตั ยาบัน ก็เกิด ความ ขัดแย้งขึน้ อีก เมื่อจีนขัดขวางไม่ให้ทูตต่างชาติไปยังเป่ยจิง กองทัพอังกฤษและ ฝรัง่ เศสจึง ยกมาบุ ก จีน อีก ครัง้ ถึ ง กรุ ง เป่ ย จิง จัก รพรรดิ เสีย นเฟิ ง (Xianfeng ค.ศ.1850–1861) เสด็จหนี ไปจากเป่ยจิง กองทัพต่างชาติท่บี ุกยึด ปล้น และเผา พระราชวังฤดูรอ้ นหยวนหมิงหยวน และบังคับให้เจ้าชายกง (Prince Gong, ค.ศ. 1833–1898) อนุ ชาของจักรพรรดิ ซึ่งเป็ นตัวแทนเจรจายอมรับข้อเรียกร้องของ ชาติ ต ะวัน ตก จีน ยอมลงนามในอนุ ส ัญ ญาเป่ ย จิ ง (The Beijing Convention ค.ศ.1860) สาระสาคัญ คือ อังกฤษมีสทิ ธิแต่งตัง้ ทูตถาวรประจากรุงเป่ยจิง เปิ ด

1

Ibid. p.186 28


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เมืองเทียนจิน เป็ น เมืองท่าค้าขาย ยกเกาะเกาลูน ซึ่งอยู่ตรงข้ามเกาะฮ่ องกงให้ อังกฤษ จีนต้องชาระค่าปฏิกรรมสงครามให้องั กฤษและฝรังเศสเพิ ่ ม่ อีกประเทศละ 8 ล้านตาลึงจีน และจักรพรรดิจนี ต้องส่งพระราชสาส์นแสดงความเสียใจอย่างสุด ซึง้ ไปยังพระนางเจ้าวิกตอเรีย กษัตริยอ์ งั กฤษ1

เมืองซังไห่ ่ ใน ค.ศ. 1860 หลังสงครามฝิน่ ครัง้ ที ่ 2

รัสเซียถือโอกาสขอทาสัญญากับจีนเพิม่ อีก โดยทีจ่ นี ไม่พร้อมทาสงคราม ั ่ ายของแม่น้ าเฮยหลงเจียงและฝงตะวั ั ่ นตก จึงยินยอม โดยรัสเซียได้ดินแดนฝงซ้ ของแม่น้าอัสซูร ี ทาให้รสั เซียมีทา่ เรือน้าอุน่ การพ่ า ยแพ้ ค รัง้ นี้ ท าให้ ผู้ป กครองจีน เริ่ม ตระหนั ก ถึ ง ภัย คุ ก คามจาก ต่างชาติอย่างแท้จริง จนนาไปสู่แนวคิดฟื้ นฟูประเทศให้เข้มแข็งในสมัยจักรพรรดิ ถงจื้อ (Tongzhi ค.ศ.1862-1875) แต่ในระหว่างนี้ จีน ต้องเผชิญ กับ ป ญั หาความ มันคงภายใน ่ ทีเ่ กิดกบฏกลุ่มต่างๆ ต่อต้านราชสานักอย่างต่อเนื่อง ………………………………………

1

Ibid. p.183 29


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. เพราะเหตุใดจีนจึงไม่ให้ความสาคัญกับการติดต่อกับต่างชาติ 2. ระบบกวางตุ้งมีผลกระทบต่อความสัม พัน ธ์ระหว่างจีน กับ ชาติตะวัน ตก อย่างไรบ้าง เหตุใดลักษณะความสัมพันธ์เช่นนี้จงึ ไม่มปี ญั หากับชาติในเอเชีย 3. วิเคราะห์ถงึ สาเหตุและผลของสงครามฝิ่นทัง้ สองครัง้ 4. วิเคราะห์ว่าจากการทีจ่ นี ต้องทาสนธิสญ ั ญาไม่เท่าเทียมกันกับชาติตะวันตก ส่งผลต่อจีนในด้านต่างๆ อย่างไรบ้าง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม แฟร์แบงค์, จอห์น เค., ไรเชาเออร์, เอ็ดวิน โอ. และ เครก, อัลเบิรต์ เอ็ม (2518). เอเชียตะวันออกยุคใหม่เล่ม 1. เพ็ชรี สุมติ ร แปล. กรุงเทพฯ : สมาคม สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. บทที่ 1 และ 2. ทวีป วรดิลก. (2542). ประวัตศิ าสตร์จนี . กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. บทที่ 17 “สงครามฝิ่นและกบฏไท่ผงิ ” Lipman, Jonathan N. and et.al. (2011). Modern East Asia: An Integrated History. London: Laurence King Publishing. Chapter 5 International Contradictions, External Pressures. Spence, Jonathan D. (2013). The Search for Modern China. 3rd ed. New York: W.W Norton & Company. Chapter 6 China and the EighteenCentury World and Chapter 7 The First Clash with the West.

30


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 2 ปัญหำภำยในและกำรทำตนเองให้เข้มแข็ง ก่อนทีจ่ นี จะพ่ายแพ้สงครามฝิ่ นครัง้ ที่ 2 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอ ั หาต่ า งๆ มาตัง้ แต่ ป ลาย และความตกต่ า ของรัฐ บาลจี น นั ้น จีน ประสบป ญ คริสต์ศตวรรษที่ 18 และลุกลามมากขึน้ ในครึง่ แรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปญั หา ั หาสภาพชี วิ ต ความเป็ นอยู่ ท่ี ย ากล าบากของประชาชนอัน ส าคัญ คื อ ป ญ เนื่องมาจากการขาดแคลนทีด่ นิ ทากิน ปญั หาการฉ้อราษฎร์บงั หลวงทีน่ ามาซึง่ การ ขูดรีดชาวนา และปญั หาเศรษฐกิจตกต่า จนนามาซึง่ การจลาจลต่อต้านรัฐบาลใน หลายพืน้ ทีห่ ลายครัง้ 1. ปัญหำของจีนในคริ สต์ศตวรรษที่ 19 ปญั หาการขาดแคลนที่ดินทากิน เป็ นป ญั หาของจีนมาทุกยุคสมัย แต่ใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 ปญั หานี้เพิม่ มากขึน้ เพราะเป็ นผลจากการเพิม่ ขึน้ ของจานวน ประชากรในประเทศทีไ่ ม่สมั พันธ์กบั จานวนทีด่ นิ ทากิน ในช่วงเวลาอันสงบสุขใน ยุคต้นของราชวงศ์ชงิ จานวนประชากรเพิม่ ขึน้ อย่างมาก จาก 275 ล้านคน ใน ค.ศ. 1779 เพิม่ ขึน้ เป็ น 400 กว่าล้านคนในต้นทศวรรษ 18601 ทาให้จานวนทีด่ นิ ทากิน ทีม่ จี ากัดอยู่แล้วไม่ได้สดั ส่วนกับจานวนประชากร รวมทัง้ การครอบครองทีด่ นิ อยู่ ในมือของคนส่วนน้อยทีเ่ ป็ นเจ้าทีด่ นิ -ขุนนาง ชาวนาส่วนใหญ่ตอ้ งเช่าทีด่ นิ ทากิน และหากผลผลิตไม่ดกี ไ็ ม่มเี งินจ่ายภาษี ค่าเช่าทีด่ นิ หรือชดใช้หนี้สนิ ทีก่ ยู้ มื มา ทา ให้ชวี ติ ความเป็ นอยู่ของชนชัน้ ชาวนาเป็ นไปอย่างยากลาบาก ประกอบกับปญั หา การฉ้อราษฎร์บงั หลวงและขูดรีดภาษีทเ่ี พิม่ มากขึน้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 เพราะ ขุน นางมีอานาจมากขึ้น ทาให้เกิด การรวมตัว ของชาวนาเพื่อต่อต้านรัฐบาลอยู่ บ่อยครัง้ กบฏชาวนาครัง้ สาคัญคือ กบฏลัทธิบวั ขาว ทีเ่ กิดขึน้ ระหว่าง ค.ศ.1796 – 1804 ซึ่ ง ขยายไปหลายพื้ น ที่ ข องจี น ราชส านั ก ต้ อ งใช้ เ งิน มหาศาลในการ ปราบปรามทาให้สญ ู เสียงบประมาณแผ่นดินจานวนมาก ก่อนสงครามฝิ่ นครัง้ ที่ 1 จีนต้องเผชิญ ปญั หาเศรษฐกิจจากการไหลออก ของเงินตาลึงของจีนทีถ่ ูกนาไปซื้อฝิ่ น การแพร่กระจายของฝิ่ นไปยังประชากรทุก ชนชัน้ ปญั หาอุทกภัยในเขตแม่น้ าหวงเหอและแม่น้ าหวย (Huai) ที่มปี ระชากร 1

Morris Rossabi. (2014). A History of China. p. 298. 31


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ั หาจากการผู ก ขาดการค้ า เกลื อ ของรัฐ บาลที่ ไ ร้ เดื อ ดร้อ นจ านวนมาก ป ญ ประสิทธิภ าพและมีการทุจ ริตจนทาให้การค้ าเกลือเถื่อนเพิ่ม มากขึ้น ชนชัน้ ที่ม ี การศึกษาประสบความยากลาบากในการเข้ารับราชการเพราะมีการเล่นพรรคเล่น พวกและติดสินบน รวมทัง้ การฉ้อราษฎร์บงั หลวงในราชสานักและแวดวงราชการ เพิม่ มากขึน้ เมือ่ การปกครองของราชสานักไม่เข้มแข็งเหมือนก่อน หลังสงครามฝิ่ นครัง้ ที่ 1 ปญั หาของชนชัน้ ล่างดูจะเพิม่ มากขึน้ ชาวนาซึ่ง เป็ นคนส่วนใหญ่ของประเทศไม่มที ด่ี นิ ทากิน ทัง้ ยังประสบความเดือดร้อนจากการ ทีเ่ จ้าของทีด่ นิ ขึน้ ค่าเช่าทีน่ าและผนวกทีด่ นิ เพิม่ ขึน้ เรียกได้ว่าเจ้าทีด่ นิ คนเดียวมี ครอบครัวชาวนาเช่าทีด่ นิ กว่าร้อยครอบครัว ปญั หาจากการถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐ กดขีข่ ่มเหง และขูดรีดภาษีเพิม่ โดยอ้างว่าต้องนาไปจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามและ เก็บไว้เป็ นงบประมาณของประเทศ ผูท้ เ่ี ดือดร้อนทีส่ ุด คือ ชาวนา เพราะถูกรีด ภาษีและค่าเช่าทีด่ นิ แพง ทัง้ ยังเกิดภัยธรรมชาติซ้าเติม จนชาวนาในหลายพื้นที่ ร่วมตัวต่อต้านรัฐบาลและเข้าร่วมกับกลุ่มกบฏ จนเกิดปญั หาการขยายตัวของ กบฏที่ลุ ก ลามไปทัว่ ประเทศตัง้ แต่ ก ลางคริส ต์ ศ ตวรรษที่ 19 เป็ น ต้ น มา และ ยาวนานกว่า 20 ปี ซึง่ สร้างความตกต่าอ่อนแอให้กบั ราชวงศ์ชงิ มากขึน้ ไปอีก และ ผูต้ ่อต้านซึง่ เป็ นชาวจีนฮันและชาวจี ่ นชาติพนั ธุ์ต่างๆ มีความเชื่อว่าสวรรค์กาลังจะ ถอนอาณัตหิ รืออานาจทีใ่ ห้ไว้แก่ราชวงศ์ชงิ ของชาวแมนจูในการปกครองประเทศ ซึง่ เป็ นความเชื่อในแนวคิดการเมืองแต่ดงั ้ เดิมของจีนเรือ่ งอาณัตสิ วรรค์และวัฏจักร ราชวงศ์ แนวคิ ดเรื่องอำณัติสวรรค์ที่มีผลต่อกำรต่อต้ำนรำชสำนัก จีน มีแนวคิดทางการเมืองที่สบื ทอดกัน มาตัง้ แต่ส มัยปลายราชวงศ์โจว (Zhou, 1122–221 ปี ก่ อ น ค.ศ.) คื อ แนวคิ ด เรื่อ งอาณั ติ ส วรรค์ (Mandate of Heaven หรือ เทียนมิง่ ในภาษาจีน) และวัฏจักรราชวงศ์ (Dynastic cycle) อาณัติ สวรรค์ คือ ความเชื่อว่าผู้ป กครองเป็ นโอรสสวรรค์หรือเทียนจื่อ (Tianzi) ได้รบั อาณั ติจากสวรรค์ให้มาปกครองบ้านเมือง ซึ่งต้องปกครองด้วยคุณ ธรรม หาก ผูป้ กครองไม่มคี ุณธรรม ไม่มคี วามสามารถ สวรรค์ (เทียน) จะส่งสัญญาณเตือน เช่น การเกิดภัยธรรมชาติ หรือการจลาจล เพื่อให้ผู้ปกครองแก้ไขปญั หา ดังคา กล่าวว่า “สวรรค์เห็นในสิง่ ที่ประชาชนเห็น สวรรค์ได้ยนิ ในสิง่ ทีป่ ระชาชนได้ยนิ ” แต่ถ้าผูป้ กครองไม่สนใจแก้ไขปญั หาหรือแก้ไขไม่ได้ เท่ากับว่าสวรรค์ถอนอาณัติ

32


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประชาชนมีสทิ ธิทอ่ี นั ชอบธรรมทีจ่ ะก่อการปฏิวตั ิ ฝา่ ยทีช่ นะถือเป็ นผูท้ ส่ี วรรค์มอบ อาณัตใิ ห้มาปกครองบ้านเมือง ส่วนวัฏจักรราชวงศ์เป็ นแนวคิดเรื่องการขึ้นมามีอานาจและสิ้นสุดอานาจ ของราชวงศ์ โดยในต้ น ราชวงศ์ จ ะมีผู้ป กครองที่ม ีค วามสามารถ เข้ม แข็ง ที่ สามารถตัง้ ราชวงศ์ขน้ึ มาได้ แต่เมือ่ เวลาผ่านไปผูป้ กครองหรือราชวงศ์อาจอ่อนแอ ด้วยปจั จัยต่างๆ ทาให้เกิดการเตือนจากสวรรค์ เช่น ภัยธรรมชาติ การจลาจล ถ้า ั หาในบ้ า นเมือ งได้ สวรรค์จ ะถอนอาณั ติ และถู ก โค่ น ล้ ม ไม่ ส ามารถแก้ไขป ญ ราชวงศ์ไปในทีส่ ุด และจะมีราชวงศ์ใหม่ทไ่ี ด้รบั อาณัตสิ วรรค์ให้มาปกครองแทน ด้วยแนวคิดทางการเมืองเช่นนี้ จึงพบว่าในประวัติศาสตร์จนี มักเกิดการกบฏทัง้ จากขุนนางและชาวนาโค่นล้มราชวงศ์เดิม และตัง้ ราชวงศ์ใหม่ขน้ึ มาปกครอง โดย ผูป้ กครองคนใหม่ได้รบั การยอมรับในฐานะผูป้ กครองทีไ่ ด้รบั อาณัตสิ วรรค์ และใน คริสต์ศตวรรษที่ 19 การต่อต้านราชสานักเพิ่มมากขึ้น กลุ่มกบฏที่ก่อการและมี บทบาทมากในช่ ว งนี้ ได้แ ก่ กบฏไท่ ผิง (The Taiping Rebellion, ค.ศ. 1850 1864) กบฏเหนี ย น (The Nian Rebellion, ค.ศ. 1851-1868) และกบฏมุ ส ลิม (Muslim Rebellion, ค.ศ. 1855-1873) กบฎไท่ผิง (ค.ศ. 1850 – 1864) กบฏไท่ผงิ เป็ นกลุ่มกบฏทีม่ คี วามเข้มแข้งและสร้างปญั หาให้กบั ราชวงศ์ชงิ อย่ า งมาก เพราะกลุ่ ม กบฏขยายตัว อยู่ใ นเขตลุ่ ม แม่ น้ า ฉางเจีย งซึ่งเป็ น แหล่ ง เกษตรกรรมและเส้นทางค้าขายทีส่ าคัญของประเทศ กลุ่มกบฏมีการรวมตัวอย่าง เป็ นระบบ มีการจัดการทีด่ ี กองทัพมีระเบียบวินัยและเข้มแข็ง รวมทัง้ สามารถชัก จูงประชาชนให้เข้าร่วมกับกลุ่มกบฏได้เป็ นจานวนมาก สาเหตุของกบฏเกิดจากความไม่พ อใจในความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ปญั หาความยากจนของชาวนา ปญั หาความแตกต่างด้านเชือ้ ชาติระหว่างชาวจีน แคะ (ฮักกา) เชือ้ ชาติเดียวกับพวกไท่ผงิ กับชาวจีนฮัน่ ซึง่ ชาวจีนแคะเห็นว่าตนถูก กดขีแ่ ละไม่ได้รบั การดูแลช่วยเหลือเท่าเทียมกับชาวฮัน่ ผูน้ าในการก่อกบฏคือ หง ซิว่ ฉวน (Hong Xiuquan) ชาวจีนแคะในมณฑล กว่างซี มีอาชีพครู สอบเข้ารับราชการไม่ผา่ นถึง 3 ครัง้ ทาให้เสียใจจนล้มปว่ ย เมื่อ หายป่วยได้เปลีย่ นไปนับถือศาสนาคริสต์ และเชื่อว่าตนเองเป็ นผูไ้ ด้รบั มอบหมาย จากพระเจ้าให้มาช่วยเหลือผูอ้ น่ื และประกาศว่าพระเยซูเป็ นพีช่ ายของตน1 1

Rossabi. (2014). op.cit. pp. 303 – 304. 33


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หง ซิว่ ฉวนเริม่ เผยแพร่ความคิดของตนไปยังชาวบ้านทีล่ ว้ นแต่มชี วี ติ ความ เป็ นอยู่ท่ยี ากลาบาก และได้รบั ความเลื่อมใสศรัทธามากขึน้ ทัง้ นี้อาจเป็ นเพราะ หง ซิ่วฉวน เป็ นคนมีการศึกษา เป็ นครู ซึ่งเป็ นทีย่ กย่องในสังคมจีนอยู่แล้ว และ แนวความคิดทีเ่ ขาเผยแพร่กเ็ ป็ นนโยบายทีเ่ น้นความเสมอภาคเท่าเทียมและการ จัดสรรทีด่ นิ ทาให้ชาวบ้านสนใจจนเข้าร่วมกับหง ซิว่ ฉวน มากขึน้ จากนัน้ เริม่ ก่อ การจลาจลจากทางใต้ทม่ี ณฑลกว่างซี ขึน้ ไปทางเหนือจนถึงมณฑลหูหนาน ไท่ผงิ ยึดได้เมืองต่างๆ จานวนมาก และตัง้ หนานจิงเมืองหลวงเก่าของจีนเป็ นศูนย์กลาง

แผนทีด่ นิ แดนทีก่ ลุม่ ไท่ผงิ ยึดครองได้ เริม่ จากทางใต้ทเี ่ มืองกุย้ หลินขึ้นมาถึงภาคกลางทีเ่ มืองหนานจิง

เมือ่ ขยายพืน้ ทีไ่ ด้มากขึน้ และมีสมาชิกมากขึน้ หง ซิว่ ฉวน จึงประกาศตน เป็ นกษัตริยแ์ ห่งสวรรค์ หรือ เทียนหวาง (Tian Wang) แห่งอาณาจักรไท่ผงิ เทียน กว๋อ (Taiping Tian Guo) หรือ อาณาจักรแห่งสวรรค์ท่มี สี นั ติสุขอันยิง่ ใหญ่ ตัง้ เมืองหลวงทีเ่ มืองหนานจิงและเปลีย่ นชื่อเป็ น เทียนจิง หมายถึง นครแห่งสวรรค์ มี กองทัพ กฎหมาย และเงินตราของตนเอง และมีอุดมการณ์ คือ ต่อต้านลัทธิขงจื่อ ต่อต้านราชวงศ์ชงิ ต่อต้านการนับถือสิง่ ศักดิ ์สิทธิ ์ ต่อต้านระบบศักดินา เน้นความ เสมอภาคเท่าเทียม เช่น ผูห้ ญิงสามารถเข้ารับราชการได้ ยกเลิกประเพณีโบราณ

34


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

เช่น การสอบจอหงวน การรัดเท้าสตรี การแต่งงานแบบคลุมถุงชน จัดให้มกี าร ปฏิรปู การเกษตร การจัดสรรทีด่ นิ โดยทุกครอบครัวในกลุ่มไท่ผงิ ได้รบั การจัดสรร ที่ดนิ ตามขนาดของครอบครัว และส่งเสริมให้เป็ นรัฐสวัสดิการ ห้ามการสูบฝิ่ น การมีโสเภณี การรืน่ เริงและการดื่มสุรา 1

หง ซิว่ ฉวน

ทหารของกลุ่มไท่ผงิ

เงินเหรียญของไท่ผงิ เทียนกว๋อ

กลุ่ม ไท่ผิงมีอุดมการณ์ ในการปฏิ วตั ิท่ชี ดั เจน ได้รบั การสนับสนุ นจาก ชาวนา และ สร้างความสามัคคีได้เหนี ยวแน่ นจึงยึดเมืองต่างๆ ได้ง่ายดาย จน กลายเป็ นขบวนการกลุ่มใหญ่ทป่ี ราบได้ยาก แต่หลังจากเข้มแข็งอยู่นานนับสิบปี ไท่ผงิ ก็อ่อนแอลงเพราะเกิดการแย่งชิงอานาจกันเองและแตกแยกทางอุดมการณ์ เพราะเมื่อ หง ซิว่ ฉวน ตัง้ ตนเป็ นกษัตริย์ ก็ใช้ชวี ติ อย่างหรูหรา ไม่ออกมาพบปะ รวมกลุ่ ม กับ ชาวบ้ า นอย่ า งที่เคยท ามา ส่ ว นผู้น าคนอื่น ๆ ก็ ม ีค วามเป็ น อยู่ ท่ี สะดวกสบาย ละเลยหน้าที่ ผูท้ อ่ี อกต่อสูก้ ค็ อื ทหารชัน้ ล่างและชาวบ้าน ทาให้เกิด ความไม่พ อใจกลุ่มผู้น าที่ทาตัวไม่ต่างจากชนชัน้ สูงในราชสานักชิง ทาให้ไท่ผิง

1

Jonathan D. Spence. (2013). op.cit. p.176 35


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อ่อนแอ หลังสงครามฝิ่ นครัง้ ที่ 2 จีนจึงร่วมมือกับชาติตะวันตกปราบกบฎไท่ผงิ ได้ในทีส่ ดุ การทีช่ าติตะวันตกช่วยปราบกบฏไท่ผงิ เพราะอุดมการณ์ ของกลุ่มไท่ผงิ ขัดขวางผลประโยชน์ของชาติตะวันตกกล่าวคือไท่ผงิ ห้ามสูบฝิ่ นและประกาศให้ฝิ่น เป็ น สิ่งผิด กฎหมาย และกบฏไท่ ผิงยึด ดิน แดนบริเวณแม่ น้ าฉางเจีย งไว้ ซึ่ง ขัดขวางการค้าขายของชาติตะวันตก กบฏไท่ผิงเป็ น กบฏที่ม ีความสาคัญ ที่สุด ในปลายราชวงศ์ช ิง และเป็ น สาเหตุสาคัญทีท่ าให้ราชวงศ์ชงิ เสื่อมเร็วขึน้ เพราะทางการจีนต้องทุ่มเทกาลังคน กาลังเงิน และอาวุธจานวนมากมาปราบกบฏทีย่ าวนานกว่า 14 ปี ความเข้มแข็ง ในช่วงแรกของไท่ผงิ และอุดมการณ์ ทเ่ี น้นความเท่าเทียม ประกอบกับความเสื่อม ั หาการฉ้ อ ราษฎร์บ ัง หลวง และการไร้ ศรัท ธาในขุ น นางราชส านั ก ชิง ที่ ม ีป ญ ประสิทธิภาพในการปราบปรามการทุจริตของราชสานัก ทาให้ประชาชนจานวน มากศรัท ธาไท่ ผิงและเข้าร่ว มด้ว ย การจลาจลที่เกิด ขึ้น ในบริเวณกว้างท าให้ม ี ประชาชนเดือดร้อนไปทัว่ และทาให้ความมันคงของราชส ่ านักสันคลอน ่

กบฏไท่ผงิ เป็ นสาเหตุสาคัญสาเหตุหนึง่ ทีท่ าให้ราชวงศ์ชงิ เสือมมากขึ ่ ้น

การปราบกบฏทาให้เกิดการถ่ายโอนอานาจไปสู่ส่วนภูมภิ าค และทาให้ เกิดแนวคิดในการทาตนเองให้เข้ม แข็งด้วยการเลียนแบบชาติตะวันตกในเวลา ต่อมา เพราะขุนนางจากส่วนกลางถูกส่งมาเป็ นข้าหลวงในมณฑลต่างๆ เพือ่ ปราบ กบฏ เช่น เจิ้ง กว๋อฝาน (Zeng Guofan, ค.ศ.1811-1872) ที่มณฑลเจียงซี หลี่ ห งจาง (Li Hongzhang,ค.ศ.1823-1901) ที่ ม ณ ฑ ลเจี ย งซู จ่ อ จงถั ง (Zuo Zhongtang, ค.ศ. 1812-1885) ที่ม ณฑลเจ้อเจีย ง ขุน นางเหล่ านี้ ได้ใช้อาวุ ธของ ชาติตะวันตก และได้รว่ มกับกองทัพของชาติตะวันตกในการปราบกบฏไท่ผงิ ทาให้

36


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เห็นความก้าวหน้าด้านอาวุธยุทโปกรณ์ ของชาวตะวันตก และเห็นความจาเป็ นใน การต้องปรับปรุงบ้านเมือง

หลี ่ หงจาง (ซ้าย) และ เจิ้ง กว๋อฝาน (ขวา) แม่ทพั ในการปราบกบฏไท่ผงิ

กบฏเหนี ยน (ค.ศ.1851 – 1868)1 กบฏเหนียนมีจุดเริม่ ต้นมาตัง้ แต่ทศวรรษ 1790 โดยอยู่ในบริเวณพื้นที่ มณฑลซานตง เจียงซู หูหนาน และอานฮุย ซึ่งเป็ นพืน้ ทีท่ ไ่ี ด้รบั ผลกระทบจาก อุท กภัย ในเขตแม่ น้ า หวงเหอ ในช่ ว ง 50 ปี แ รกของคริส ต์ ศ ตวรรษที่ 19 กบฏ เหนียนเติบโตและเข้มแข็งขึน้ ผูเ้ ข้าร่วมกลุ่มกบฏ คือ ชาวนายากจน และสมาชิก ของสมาคมลับต่างๆ สมาชิกในบางพืน้ ทีเ่ ข้าร่วมมือกับกบฏกลุ่มอื่นๆ เช่น สมาคม บัวขาว (The White Lotus Rebellion) และพวกที่ต่อต้านการผูกขาดการค้าเกลือ ของรัฐบาล สาเหตุของการก่อกบฏและเป้าหมายทางการเมืองไม่ชดั เจนเหมือนไท่ผงิ แต่ ส าเหตุ ส่ ว นใหญ่ ม าจากความยากจน และการถู ก กดขี่จ ากเจ้ า หน้ า ที่ ร ัฐ 2 จุดประสงค์ของกบฏเหนียน คือ ล้มล้างราชวงศ์แมนจู สนับสนุ นการค้าและการ ปกครองท้องถิ่น พวกเหนียนพยายามตัง้ ชุมชนในที่ท่ปี ลอดภัยโดยมีกองทหาร ขนาดเล็กทาหน้าทีด่ ูแลลาดตระเวน สร้างกาแพงหมู่บา้ น ตัง้ กลุ่มดูแลธัญญาหาร ประจาหมู่บ้าน บางครัง้ ก็เข้ายึดครองธัญญาหารของหมู่บ้านใกล้เคียง หรือขาย 1 2

คาว่า เหนียน (Nian) คือชื่อเฉพาะทีใ่ ช้เรียกกลุ่มชนหนึ่ง Ibid. p. 183 37


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อาหารราคาถู ก ให้ ช าวบ้ า นเพื่อ จู งใจให้ช าวบ้ า นเข้า ร่ว มกับ พวกเหนี ย น การ ปฏิบตั กิ ารต่อต้านรัฐบาลมีหลายวิธี เช่น ขโมยพาหนะขนส่งของพ่อค้าเกลือของรัฐ ลักพาตัวเจ้าทีด่ นิ ร่ารวยไปเรียกค่าไถ่ ปล้นคุกเพือ่ ช่วยพรรคพวกและปล่อยนักโทษ ราชสานักแต่งตัง้ ให้ เจิง้ กว๋อฝาน เป็ นแม่ทพั ปราบกบฏ เจิง้ กว๋อฝาน ใช้ ทัง้ วิธีก ารสู้ร บและพยายามจู งใจให้ช าวบ้ า นในท้อ งถิ่น ต่ า งๆ กลับ มาภัก ดีต่ อ ราชวงศ์ชงิ และเลือกหัวหน้ าหมู่บ้านคนใหม่ทเ่ี ป็ นคนที่ภกั ดีต่อราชวงศ์ แต่วธิ นี ้ี ล้ม เหลว เพราะข้า หลวงใน 4 มณฑลที่ก บฏเหนี ย นก่ อ การอยู่ไ ม่ ร่ ว มมือ ตาม แผนการของเจิ้ง กว๋ อฝาน อย่า งเต็ม ที่ และเพราะเจิ้ง กว๋ อ ฝาน ปลดทหารใน กองทัพทีด่ ที ส่ี ุดของตนไปหลายคนจากการล้มเหลวในการสูร้ บกับกบฏทีห่ นานจิง เจิ้ง กว๋ อ ฝานจึงแต่ งตัง้ ให้ท หารคนสนิ ท ของเขาคือ หลี่ หงจาง เป็ น ข้าหลวง 3 มณฑล คือ มณฑลเจียงซู เจียงซี และอานฮุย หลี่ หงจาง สามารถสร้างผลงานนา เงินภาษีมาสนับสนุนกองทัพได้ ราชสานักจึงสลับตาแหน่ งของเจิง้ กว๋อฝาน กับหลี่ หงจาง ทาให้เจิ้ง กว๋อฝาน เป็ นข้าหลวง 3 มณฑล ส่วนหลี่ หงจางเป็ นผูบ้ ญ ั ชาการ 1 กองทัพปราบกบฏ หลัง การสู้ ร บอย่ า งหนั ก ในหลายพื้ น ที่ ในเดื อ นสิง หาคม ค.ศ. 1868 กองทัพราชวงศ์ชงิ สามาถปราบกบฏเหนียนได้ในทีส่ ุด หลี่ หงจาง และ เจิ้ง กว๋อ ฝาน ได้ ร บั การยกย่ อ งว่ า เป็ น ผู้ป กป้ องอัน ยิ่งใหญ่ ข องราชวงศ์ เจิ้ง กว๋ อ ฝาน เสียชีวติ ใน ค.ศ. 1872 ส่วนหลี่ หงจาง ต่อมากลายเป็ นขุนนางทีม่ อี านาจสูงสุดใน ราชสานักนานกว่า 30 ปี กบฏมุสลิ ม (ค.ศ. 1855 – 1873) ชาวมุสลิมในจีน เรียกอีกชื่อว่า ชาวหุย (Hui) พวกหุยเริม่ ก่อการต่อต้าน รัฐบาลในมณฑลหยุนหนาน (Yunnan) ทางใต้ของจีนใน ค.ศ. 1855 ซึง่ เป็ นช่วงที่ กบฏไท่ผงิ และกบฏเหนียนก่อการอยู่ สาเหตุของการก่อกบฏ คือ เพื่อต่อต้านการ เก็บภาษีทด่ี นิ ทีห่ นัก และไม่พอใจเรื่องผลประโยชน์การทาเหมืองแร่ทอง แร่เงิน ที่ ทางการได้ผลประโยชน์มากแต่คนในท้องถิน่ ยากจน พวกหุยยึดเมืองต้าหลี่ (Dali) เมืองสาคัญทางตะวันตกของเมืองคุนหมิง (Kunming) เมืองหลวงของมณฑลหยุน หนานไว้ได้ แต่ยดึ ครองได้ไม่นานกองทัพรัฐบาลก็ยดึ คืนได้ ทีเ่ มืองต้าหลี่ ตู้ เหวิน ซิว่ (Du Wenxiu) ตัง้ ตนเป็ นสุลต่านสุไลมาน ตัง้ รัฐผิงหนาน (Pingnan Guo) หรือ อาณาจักรสัน ติสุข ทางใต้ เลีย นแบบกบฏไท่ผิง แต่ใน ค.ศ.1873 ถูกปราบได้ 1

Ibid. p. 186. 38


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กบฏมุสลิมยังขยายไปยังพื้นที่อ่นื ทางตะวันตกเฉียงเหนือ เช่น มณฑล กานสู ทางใต้ของมณฑลส่านซี แต่ภายหลังเมื่อรัฐบาลปราบกบฏไท่ผงิ และกบฏ เหนียนได้แล้วก็หนั มาปราบกบฏมุสลิมจนแตกพ่ายไปในทีส่ ดุ นอกจากกบฏทัง้ สามกลุ่มแล้ว ในช่วงเวลานี้ได้เกิดการจลาจลและสมาคม ลับต่อต้านรัฐบาลหลายกลุ่ม เช่น สมาคมมีดเล็กหรือเสีย่ วเตา ฮุ่ย (Xiaodao Hui) เกิดจลาจลทัวเมื ่ องต่างๆ หลายสิบครัง้ การจลาจลจานวนมากและกว้างขวาง ทา ให้จนี ต้องยอมร่วมมือกับชาติตะวันตกในการปราบปราม ประกอบกับความพ่ายแพ้ จากสงครามฝิ่ น ทาให้ขนุ นาง – นักปราชญ์จนี บางกลุ่ม เห็นความจาเป็ นของการ พัฒนาประเทศด้านกองทัพและอาวุธให้ทนั สมัยตามแบบตะวันตก 2. ขบวนกำรฟื้ นฟูตนเองให้เข้มแข็ง หลังแพ้สงครามฝิ่นครัง้ ที่ 1 จีนต้องทาสนธิสญ ั ญาทีไ่ ม่เท่าเทียมกันกับชาติ ตะวัน ตกหลายชาติ ทาให้จีน ต้องเปิ ด เมืองท่ าเพิ่ม ขึ้น ต้องด าเนิ น การติด ต่ อ ระหว่างจีนกับชาติตะวันตกในฐานะทีเ่ ท่าเทียมกัน ต้องกาหนดอัตราภาษีสนิ ค้าที่ แน่ นอน ต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และชาติตะวันตกได้รบั สิทธิการเป็ น ชาติท่ีไ ด้ ร ับ อนุ เคราะห์ อ ย่ า งยิ่ง สนธิส ัญ ญาเหล่ า นี้ ท าให้ จีน ตกอยู่ ใ นสภาพ เสียเปรียบทางการศาล เสียสิทธิการปกครองดินแดน เสียผลประโยชน์ทางการค้า และทาให้ชาติตะวันตกขยายอิทธิพลในจีนมากขึน้ ขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อสภาพ เศรษฐกิจและสังคมของจีน ซึ่งตกต่าลงจนเกิดการจลาจล การกบฏ สร้างความไม่ สงบไปทัวประเทศ ่ ปญั หาความอ่อนแอทัง้ ภายในและความสัมพันธ์กบั ต่างชาติ ทาให้ชนชัน้ ปกครองของจีนเห็นถึงความจาเป็ นในการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็ง โดยผูท้ ม่ี บี ทบาทสาคัญคือขุนนางส่วนภูมภิ าคและปญั ญาชน ส่วนราชสานักชิงยัง ไม่ได้ให้การสนับสนุนมากนัก บทบำทของขุนนำง-ปั ญญำชนในกำรฟื้ นฟูประเทศหลังสงครำมฝิ่ น ครัง้ ที่ 1 (ค.ศ.1839-1842) การพ่ายแพ้สงครามฝิ่ นและการถูกบังคับทาสนธิสญ ั ญากับชาติตะวันตก ของจีน ทาให้ชนชัน้ ปกครองกลุ่มหนึ่งตระหนักถึงความอ่อนแอของจีน และเกิด แนวคิดที่จะพัฒนาด้านอาวุธและกองทัพจีนให้ทนั สมัยทัดเทียมชาติตะวันตก จึง เกิดแนวคิดขึ้น 2 แนว กลุ่มแรกต้องการการพัฒ นากองทัพและอาวุธ ของจีนให้

39


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ทันสมัย และสร้างไมตรีกบั ชาติตะวันตก โดยขุนนาง– ปญั ญาชนจีนมีแนวคิดว่า “ใช้พ วกอนารยชนควบคุมอนารยชนเพื่อทาให้จนี เข้มแข็ง ” หมายถึงลอกเลีย น ความเจริญของชาติตะวันตกเพื่อนามาใช้ควบคุมชาวตะวันตกนัน่ เอง และกลุ่มที่ ต้องการต่อต้านชาติตะวันตก บุคคลสาคัญทีม่ บี ทบาทในระยะนี้ คือ หลิน เจ้อสู เว่ย หยวน (Wei Yuan) ฉี อิง (Qi Ying) และสู จีห้ ยู (Xu Jiyu) หลิ น เจ้อสู เกิด ที่มณฑลฝูเจี้ยนเมื่อค.ศ.1811 สอบคัดเลือกขุนนางได้ ระดั บ จิ้ น ซื อ ซึ่ ง เป็ นขัน้ สู ง สุ ด เข้ า รับ ราชการต าแหน่ ง ผู้ ร วบรวมเอกสารใน ราชบัณฑิตยสถานฮานหลิน เป็ นผูค้ วบคุมการสอบเข้ารับราชการประจามณฑล หยุนหนาน เป็ นผูต้ รวจสอบและควบคุมเกลือในมณฑลเจ้อเจียง เป็ นข้าหลวงดูแล ด้านการศาลและการเงินในมณฑลเจียงซู เป็ นข้าหลวงใหญ่มณฑลเจียงซูและหู กว่าง เมื่อ ค.ศ.1837 ใน ค.ศ.1838 ได้รบั แต่งตัง้ เป็ นข้าหลวงใหญ่ประจามณฑล กว่างตงเพือ่ ปราบการค้าฝิ่น การที่ต้องเผชิญหน้ ากับอังกฤษในสงครามฝิ่ นและจีนต้องพ่ายแพ้เพราะ อาวุธของจีนไม่สามารถสูก้ บั อังกฤษได้นัน้ ทาให้หลิน เจ้อสูเห็นความสาคัญในการ พัฒ นาประสิท ธิภ าพของอาวุ ธและกองทัพ ของจีน ให้ทนั สมัย แนวคิด ของหลิน เจ้อสู ในเรื่องนี้เห็นได้จากจดหมายทีห่ ลินเขียนถึงเพื่อนชื่อ อู๋ ชีสู (Wu Cixu) เมื่อ หลินถูกปลดออกจากตาแหน่ งข้าหลวงมณฑลกว่างตงและถูกเนรเทศไปยังเมืองอี้ หลี หลินกล่าวถึงความเข้มแข็งของกองทัพชาติตะวันตกและเห็นว่าสิง่ สาคัญทีส่ ุด ส าหรับ จีน ก็คือ เรือ ปื น และกองทัพ เรือ 1 แต่ ห ลิน ไม่ ได้เปิ ด เผยความคิด นี้ ต่ อ สาธารณชนเนื่องจากเกรงจะถูกกล่าวหาว่าเป็ นผูต้ ่อต้านราชวงศ์ชงิ เพราะชื่นชม ความทันสมัยของต่างชาติ เว่ย หยวน (Wei Yuan, ค.ศ.1794-1856) เป็ นปญั ญาชนหัวก้าวหน้ า และเป็ นบรรณาธิการหนังสือที่รวบรวมบทความเกี่ยวกับนโยบายการเมืองของ ราชวงศ์ชงิ และพยายามส่งเสริมให้มกี ารปรับปรุงการทางานให้ทนั สมัยขึน้ 2 เว่ย หยวน มีความสนใจต่อสถานการณ์ ข องโลก ในผลงานของเขาที่ตีพ ิมพ์ใน ค.ศ. 1844 เรื่อ งไห่ กว๋ อ ตู้ จื่อ หรือ อัก ขรานุ ก รมภู ม ิศ าสตร์ข องประเทศทางทะเล (Illustrated Gazetteer of the Maritime Countries) ก็ น า เ ส น อ เ รื่ อ ง ร า ว ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชาติตะวันตกในขณะนัน้ โดยเน้นเรือ่ งภูมศิ าสตร์ เขา อนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2543). การตอบสนองต่อการคุกคามของชาติตะวันตกของ จีนในสมัยราชวงศ์ชงิ , 1861-1895. หน้า 22 2 จอห์น เค. แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ. (2518). เล่มเดิม. หน้า 138 1

40


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กล่าวถึงจุดประสงค์ของงานเขียนเล่มนี้ว่าเป็ นการนาเสนอวิธกี ารตอบสนองต่อการ คุกคามของชาติตะวันตก โดยใช้วธิ ตี ่อสูแ้ ละควบคุมชาวต่างชาติทจ่ี นี มองว่าเป็ น พวกอนารยชน โดยมีแ นวคิด ว่ าท าอย่ างไรจึงจะให้พ วกอนารยชนต่ อสู้ก ัน เอง ควบคุ ม กัน เอง และจะน าความเจริญ ทางกองทัพ หรือ วิท ยาการต่ า งๆ ของ ชาวตะวัน ตกมาใช้ควบคุม ชาวตะวัน ตกอีกชัน้ หนึ่ ง รวมทัง้ ต้องพัฒ นากองทัพ อาวุธ และการทหารของจีนให้มปี ระสิทธิภ าพ เพื่อที่จนี จะได้กลับ มาเป็ นชาติท่ี ยิง่ ใหญ่เหมือนเดิม 1 ในผลงานเรือ่ งนี้ เว่ย หยวน ใช้ขอ้ มูลทีม่ าจากต่างชาติโดยตรงมากกว่าจะ ใช้ขอ้ มูลทีช่ าวจีนเขียนถึงต่างชาติ ซึ่งมักมีการบิดเบือนข้อมูลหรือเข้าข้างตนเอง ั ญาชนหัว ผลงานของเว่ ย หยวน ได้ ร ับ การเผยแพร่ไ ปสู่ก ลุ่ ม ขุ น นางและป ญ ก้าวหน้าบางส่วน ซึง่ จะมีอทิ ธิพลต่อชนชัน้ ปกครองของจีนในการตอบสนองต่อการ คุกคามของชาติตะวันตกในเวลาต่อมา ฉี อิ ง (Qi Ying) เป็ น เชื้อพระวงศ์แมนจูท่ไี ด้รบั แต่งตัง้ ให้เป็ น ตั วแทน ทางการจีนในการทาสนธิสญ ั ญาหนานจิงกับอังกฤษ ฉี อิง ใช้นโยบายการทูตแบบ ประนีประนอมและเป็ นมิตรกับชาติตะวันตก ให้ความสาคัญกับแนวคิดใช้อนารยชน ควบคุมอนารยชน จึงผูกมิตรกับสหรัฐอเมริกาและฝรังเศสเพื ่ ่อให้ช่วยคานอานาจ กับ อังกฤษ ซึ่งฉี อิง บัน ทึก ไว้ว่ า วิธีก ารที่ จ ะเป็ น ไมตรีก ับ พวกอนารยชนและ ควบคุมพวกนี้ต้องปรับ เปลี่ยนท่าทีของพวกเขา ด้วยการให้ความจริงใจและใช้ วิธกี ารอันชาญฉลาดของจีน2 สู จี้ ห ยู (Xu Jiyu, ค .ศ . 1795-1873) หั ว ห น้ าดู แ ล แ ล ะค ว บ คุ ม ชาวต่างชาติในมณฑลฝูเจีย้ น เป็ นขุนนางปญั ญาชนทีท่ างานร่วมกับ ฉี อิง ในการ กาหนดนโยบายความสัมพันธ์ของจีนกับชาติตะวันตกในเมืองเซียะเหมินและฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน การทางานทีต่ อ้ งติดต่อกับชาติตะวันตกทาให้เขาได้รบั ข้อมูลใหม่ๆ ของชาติ ต ะวัน ตก ซึ่ ง เขาสนใจแผนที่ โ ลกเป็ นพิ เ ศษ และเสนอผลงานทาง ภูมศิ าสตร์เรือ่ ง การพรรณนาว่าด้วยสมุทรมณฑลโดยสังเขป (A Brief Description of The Ocean Circuit) ตี พ ิ ม พ์ เ มื่ อ ค.ศ.1850 หนั ง สื อ นี้ ใ ห้ ร ายละเอี ย ดด้ า น ภู ม ิศาสตร์ สังคม ประวัติศาสตร์ การเมือง และเศรษฐกิจ ของชาติต ะวัน ตก โดยเฉพาะอังกฤษและสหรัฐอเมริกาโดยสังเขป ซึง่ เขาเห็นว่าการขยายอานาจของ อังกฤษในดิน แดนอเมริกาและอิน เดียเป็ น การเชื่อมโยงทางภูม ิศาสตร์เป็ นหลัก 1 2

อนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2543). เล่มเดิม. หน้า 23 แหล่งเดิม. 41


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

และใช้ขอ้ มูลทางประวัตศิ าสตร์มาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ ในปจั จุบนั ทาให้เห็น ความเปลี่ยนแปลงของชาติตะวันตกอย่างต่อเนื่อง สู จี้หยูสนใจเรื่องการศึกษา แบบตะวันตกมากกว่าเรื่องการทหาร 1 รวมทัง้ ชื่นชมการเปิ ดกว้างและการยืดหยุ่น ของระบบประธานาธิบดีและสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา2 อย่ า งไรก็ ต าม การปรับ ปรุ ง ประเทศในช่ ว งนี้ ย ัง ไม่ เ กิด ขึ้น อย่ า งเป็ น รูปธรรม เพราะขุนนาง – ปญั ญาชนจีนส่วนใหญ่ยงั ยึดติดกับความเชื่อเดิมๆ คือ ลัทธิขงจื่อ ความเชื่อเรื่องเทียนหรือสวรรค์ และความเชื่อมันในการเป็ ่ นอาณาจักร กลางของจีนดังนัน้ การดาเนินการอย่างจริงจังด้านการทาตนเองให้เข้มแข็งจึงเริม่ ขึน้ หลังสงครามฝิ่นครัง้ ที่ 2 บทบำทของปั ญญำชนในกำรฟื้ นฟูประเทศหลังสงครำมฝิ่ นครัง้ ที่ 2 (ค.ศ. 1856-1860) หลังจากจีนแพ้สงครามกับชาติตะวันตกเป็ นครัง้ ที่ 2 ต้องทาสนธิส ญ ั ญา เทียนจินและอนุ สญ ั ญาเป่ยจิงกับอังกฤษและฝรังเศส ่ การพ่ายแพ้สงครามกับชาติ ตะวัน ตกท าให้จีน ต้องสูญ เสีย เกีย รติภู ม ิแ ละผลประโยชน์ ต่างๆ ให้กบั ต่ างชาติ รวมทัง้ ภายในประเทศยังเกิดความวุ่นวายจากกลุ่มกบฏต่างๆ ซึง่ ก่อการจลาจลขึน้ ในหลายบริเวณของจีน สร้า งความวุ่ น วายในบ้านเมือง ความเสีย หายต่ อชีวิต ทรัพย์สนิ และความมันคงของราชส ่ านักชิงอย่างยิง่ ปญั หาต่างๆ ทีค่ ุกคามความ มันคงของชาติ ่ เช่นนี้ทาให้ในต้นสมัยจักรพรรดิถงจื้อ ขุนนาง-ปญั ญาชนกลุ่มหนึ่ง เกิดแนวคิดในการฟื้ นฟูประเทศ (Restoration) หรือ การทาตนเองให้เข้มแข็ง (Self –strengthening) ด้วยการเลียนแบบชาติตะวันตกระหว่าง ค.ศ. 1861 – 1895 โดย การดาเนินงานแบ่งได้เป็ น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค.ศ. 1861–1872 การทาตนเองให้เข้มแข็งด้านการทหาร การ สร้างบุคลากรและหน่วยงานติดต่อกับชาวตะวันตก ระยะที่ 2 ค.ศ. 1873–1884 การพั ฒ นาเศรษ ฐกิ จ สาธารณู ปโภ ค อุตสาหกรรม ระยะที่ 3 ค.ศ. 1885–1895 การพัฒนาอุตสาหกรรมการทหาร การต่อเรือ

1 2

แหล่งเดิม. หน้า 24 Spence. (2013). op.cit. p. 234. 42


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การฟื้นฟูตนเองเริม่ ในสมัยจักรพรรดิถงจื้อ (ขวา) แต่จกั รพรรดิไม่มบี ทบาท เพราะยังเยาว์และมีพระมารดาฉือซี หรือซูสไี ทเฮา (ซ้าย) เป็ นผูส้ าเร็จราชการ

ผูม้ บี ทบาทในการเสนอแนวคิดฟื้ นฟูประเทศ เช่น เจ้าชายกง และเฝิ ง กุย้ เฟิน ในส่วนกลาง เจิง้ กว๋อฝาน, จ่อ จงถัง และ หลี่ หงจาง ในส่วนภูมภิ าค เฝิ ง กุ้ยเฟิ น (Feng Guifen, ค.ศ. 1809 – 1874) เป็ นราชบัณฑิตใน ราชบัณฑิตสถานฮานหลิน และเป็ นปญั ญาชนคนแรกทีก่ ล่าวถึงการฟื้นฟูจนี ด้วย การทาตนเองให้เข้มแข็ง แต่ผลงานเรื่อง การศึกษาคาสอนอันแท้จริงจากอาจารย์ สมัยราชวงศ์โจวตอนต้น เขียนเมื่อ ค.ศ. 1861–1862 ไม่ได้รบั การเผยแพร่จนเฝิ ง กุย้ เฟิ น เสียชีวติ ผลงานของเขาจึงได้รบั การเผยแพร่เมื่อ ค.ศ. 1889 เฝิ ง กุย้ เฟิ น แนะนาให้เรียนรูเ้ ทคโนโลยีของชาติตะวันตก ทีส่ าคัญทีส่ ุด คือ การต่อเรือและการ สร้างอาวุธปื น โดยต้องเริม่ จากการศึกษาวิชาการขัน้ พื้นฐานทัง้ ภาษาต่างประเทศ คณิ ตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ แต่ความคิด นี้ ไม่ได้รบั การเผยแพร่ เนื่ องจากเป็ น ความคิด ก้าวหน้ าเกิน ไปสาหรับสังคมจีน สมัยนัน้ แต่แนวคิดของเฝิ ง กุ้ยเฟิ น มี ข้อจากัด เช่น เขายังสนับสนุนลัทธิขงจื่อ ไม่สนับสนุ นการปฏิรปู การเมือง และเน้น การผูกมิตรกับต่างชาติ เจ้ำชำยกง อนุ ชาของจักรพรรดิเสียนเฟิ ง มีบทบาทในการเจรจาตกลง กับต่างชาติในกรณีความขัดแย้งต่างๆ เช่น สงครามฝิ่ นครัง้ ที่ 2 เจ้าชายกงเน้ น การฟื้ นฟูประเทศด้วยการปรับปรุงระบบการทางานของรัฐบาล มีผลงาน คือ ตัง้ สานักงานการต่างประเทศ หรือ จงหลี่ หยาเหมิน (Zongli Yamen) ตัง้ สถาบัน ภาษาถงเหวิน กว่ า น (Tongwen Guan) และปรับ ปรุ งระบบกฎหมายระหว่ า ง ประเทศ 43


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เจ้า ชายกงเห็น ว่ า ชาวตะวัน ตกต้ อ งการรัก ษาผลประโยชน์ ท างการค้า มากกว่ า ต้ อ งการดิ น แดนจี น และเห็ น ว่ า ภั ย ร้ า ยแรงที่ สุ ด คื อ การจลาจล ภายในประเทศ ในฎีกาที่ถวายจักรพรรดิเสีย นเฟิ งเมื่อ ค.ศ. 1861 เจ้าชายกง กล่าวว่า “ทุกวันนี้จนี ถูกคุกคามด้วยโรคร้าย 3 อย่าง โรคร้ายทีห่ วั ใจคือพวกกบฏ โรคร้ายทีแ่ ขนคือความพยายามยึดครองพื้นทีช่ ายแดนของรัสเซีย และโรคร้ายทีข่ า คือการกอบโกยผลประโยชน์ดา้ นการค้าของอังกฤษ…เราต้องรักษาโรคทีห่ วั ใจก่อน ตามด้วยรักษาโรคทีแ่ ขนและทีข่ าเป็ นอันดับสุดท้าย”1 ความคิดเช่นนี้ทาให้เจ้าชาย กงยอมร่ ว มมือ กับ ชาติ ต ะวัน ตกในการปราบกบฏในประเทศ สนั บ สนุ น การ เลียนแบบความทันสมัยด้านอาวุธและกองทัพของชาติตะวันตกโดยเห็น ว่าจาเป็ น ที่สุด จึงจ้างเจ้าหน้ า ที่ช าวอังกฤษมากกว่ า 600 คน มาท างาน ซึ่งมีผลให้ช าติ ตะวันตกขยายอิทธิพลเข้ามาในจีนในเวลาต่อมา2

เจ้าชายกง

หลี ่ หงจาง

เจิ้ ง กว๋ อ ฝำน มีผ ลงานส าคัญ คือ การปราบกบฏไท่ ผิง กบฏเหนี ย น เจิ้ง กว๋อฝานเน้ นเลียนแบบชาติตะวันตก โดยอนุ รกั ษ์ ป ระเพณีดงั ้ เดิมของจีนไว้ อย่างเคร่งครัด เขาเริม่ สนใจเทคโนโลยีตะวันตกเมื่อสังปื ่ นใหญ่ของตะวันตกมาใช้ ปราบกบฏไท่ผงิ และเห็นว่าต้องคัดเลือกผูม้ คี วามรูค้ วามสามารถมาฝึ กหัดใช้เรือ

Hu Sheng (1991). From The Opium Wars to the May Fourth Movement, Vol I p. 404 2 อนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2543). เล่มเดิม. หน้า 49 และ Liu Kwang–ching. (1978). “The Ch’ing Restoration” in The Cambridge History of China vol 10. part I. Late Ch’ing 1800–1911, p.426 1

44


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ปื น และอาวุธของชาติตะวันตก จากนัน้ จึงผลิตขึน้ เอง เจิ้ง กว๋อฝาน สนับสนุนให้ ก่ อ ตัง้ โรงเรีย นสอนภาษาต่ า งประเทศ เพื่อ เป็ น ความรู้พ้ืน ฐานในการศึก ษา วิท ยาการตะวัน ตก และเน้ น การสร้า งชาติให้เข้ม แข็งมากกว่ า เน้ น การขับ ไล่ ต่างชาติ1 ั่ จ่อ จงถัง เป็ นข้าหลวงใหญ่มณฑลฝูเจี้ยนและเจ้อเจียง ทางชายฝงทะเล ภาคตะวัน ออกและภาคใต้ เป็ น ผู้ม ีบ ทบาทในการปราบกบฏไท่ผิง ค.ศ. 1864 และมีบทบาทในการปรับปรุงกองทัพเรือของจีน จ้างชาวต่างชาติมาเป็ นทีป่ รึกษา ในการตัง้ อูต่ ่อเรือฝูโจว แต่ความคิดของจ่อ ไม่ได้เผยแพร่ออกสูส่ าธารณะ หลี่ หงจำง เป็ นผูท้ ม่ี ชี ่อื เสียงและมีอานาจมากทีส่ ุดคนหนึ่งในช่วงการทา ตนเองให้เข้มแข็ง 3 ทศวรรษของจีน เคยดารงตาแหน่ งสาคัญๆ คือ แม่ทพั ปราบ กบฏไท่ผงิ กบฏเหนียน ผูบ้ ญ ั ชาการกองทัพ ข้าหลวงใหญ่ประจามณฑลเจียงซู เจียงซี อานฮุย เลขาธิการส่วนพระองค์พระนางฉือซี ข้าหลวงใหญ่มณฑลกว่างตง – กว่างซี และข้าหลวงใหญ่มณฑลจื่อลี่ หลี่ หงจาง ได้เห็นประสิทธิภาพอาวุธของ ชาติต ะวัน ตกในการร่ ว มปราบกบฏไท่ ผิง กับ กองทัพ ต่ า งชาติ จึง เห็ น ว่ า จี น จาเป็ น ต้องเรีย นรู้และนาเครื่องจักรมาผลิตอาวุธ ต้องฝึ กหัดผู้คนทาให้เกิดการ สนับสนุ นการศึกษาวิชาการของชาวตะวันตก ก่อตัง้ สถาบันภาษาถงเหวิน กว่าน ทีก่ รุงเป่ยจิง แต่หลี่ หงจางประสบปญั หาด้านงบประมาณจึงเกิดความคิดว่า การ ทาประเทศให้เข้มแข็งต้องเริม่ จากการสร้างความมังคั ่ งให้ ่ แก่จนี ก่อน อย่างไรก็ตาม หลี่ หงจาง ยังเชือ่ ว่าจีนเหนือกว่าตะวันตกทุกด้าน ระยะที่ 1 ค.ศ. 1861 – 1872 กำรทำตนเองให้เข้มแข็งด้ำนกำรทหำร กำรสร้ำงบุคลำกรและหน่ วยงำนติ ดต่อกับชำวตะวันตก การดาเนินการในระยะนี้เป็ นการเลียนแบบความทันสมัยด้านอาวุธ และ การพัฒนากองทัพตามแบบชาติตะวันตก เพื่อจะทาให้จนี สามารถจะเรียนรูว้ ธิ กี าร สร้างเรือและอาวุธของตะวันตกได้ และ “เพื่อทีจ่ ะเรียนรูเ้ ทคนิคต่างๆ ของพวกป่า เถื่อนที่เหนือกว่า เพื่อจะควบคุมพวกป่าเถื่อนได้” สมัยนี้จีน ยังไม่ยอมรับเรื่อง อื่นๆ ของตะวันตก นอกจากเรื่องอาวุธและเรือ รวมถึงมี การเตรียมการทางการ ทูตเพือ่ ติดต่อกับประเทศตะวันตก

Mary C. Wright. ( 1962) . The Last Stand of Chinese Conservation : The T’ung-chih Restoration,1862-1874. p.74 1

45


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การด าเนิ น งานต่ างๆ ที่ส าคัญ ในระยะแรก เช่ น การตัง้ ส านั ก งานการ ต่างประเทศ ใน ค.ศ.1861 ทีเ่ ป่ยจิง ทาหน้าทีป่ ระสานงานในการติดต่อระหว่างจีน กับต่างชาติ และได้รบั การยกฐานะเป็ นกระทรวงการต่างประเทศเมื่อ ค.ศ.1901 การแต่งตัง้ ข้าหลวงดูแลการค้าจัดระบบการเก็บภาษีศุลกากร ดูแลและดาเนินงาน การค้ากับต่างประเทศ การตัง้ สถาบันภาษาต่างประเทศใน ค.ศ.1862 โดยร่วมมือ กับชาวตะวันตก ดาเนินงานคัดเลือกนักศึกษาจากเมืองกว่างโจว เมืองซังไห่ ่ ไป ศึกษาภาษาต่างประเทศทีเ่ ป่ยจิง ต่อมาเปิ ดโรงเรียนสอนภาษาในอีกหลายเมือง การตั ง้ โรงเรีย นสอนภาษาที่ ซ ั ง่ ไห่ โ ดยหลี่ หงจาง ใน ค.ศ. 1863 การตั ง้ โรงงานผลิต อาวุ ธ เจีย งหนาน ในซัง่ ไห่ ใน ค.ศ.1865 การตัง้ อู่เรือ ฝูโจวใน ค.ศ. 1866 การตัง้ คลังสรรพาวุธทีห่ นานจิง ผลิตอาวุธทีม่ ปี ระสิทธิภาพมากกว่าทีเ่ จียง หนาน และตัง้ คลังสรรพาวุธที่เทีย นจิน ใน ค.ศ. 1867 การตัง้ คลังสรรพาวุธใน มณฑลต่างๆ เช่น ในซานตง ฝูเจีย้ น ซื่อชวน ใน ค.ศ. 1869

โรงงานผลิตอาวุธเจียงหนาน ในซังไห่ ่ ใน ค.ศ.1865

การเรียนการต่อเรือแบบตะวันตก 46


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หลี่ หงจางให้ความสาคัญกับการพัฒนาการศึกษา ระหว่าง ค.ศ. 1872 – 1881 เขาส่งนั กเรีย นชายอายุ 12-14 ปี ไปเรีย นที่ม ลรัฐคอนเนคติค ัต ประเทศ สหรัฐอเมริกา 4 รุน่ รวม 120 คน โดยให้พกั อยู่กบั ครอบครัวชาวอเมริกนั นักเรียน เหล่านี้ต้องเรียนภาษาอังกฤษ และความรูพ้ น้ื ฐานของจีน นักเรียนบางคนเมื่ออยู่ นานไปได้ละทิง้ ประเพณีแบบจีน เช่น ตัดผมเปี ยและหันไปแต่งกายแบบตะวันตก ส่วนผู้ดูแลนักเรียนก็แต่งงานกับครูชาวอเมริกนั เมื่อนักเรียนเหล่านี้เรียนจบชัน้ มัธ ยม สหรัฐ อเมริก าไม่ อ นุ ญ าตให้เข้า เรีย นโรงเรีย นทหารของสหรัฐ อเมริก า ประกอบกับเห็นว่านักเรียนละเลยการศึกษาแบบจีน หลี่ หงจาง จึงเรียกตัวนักเรียน เหล่านี้กลับใน ค.ศ. 1881 นักเรียนบางคนต่อมากลายเป็ น ผู้มบี ทบาทในวงการ ทหาร วิศวกรรม และธุรกิจ ต่อมาใน ค.ศ. 1884 จีนได้ส่งนักเรียนไปศึกษาด้าน การทหารและการต่อเรือทีอ่ งั กฤษ ฝรังเศส ่ เยอรมนี1

การเรียนความรูแ้ ละภาษาตะวันตกของนักเรียนจีน

ในช่ ว งนี้ จีน ส่ ง คณะทู ต ไปยัง ประเทศตะวัน ตก ได้ แ ก่ สหรัฐ อเมริก า อังกฤษ เยอรมนี เบลเยีย่ ม เดนมาร์ก สวีเดน ฮอลแลนด์ รัสเซีย ภายใต้การ นาของแอนสัน เบอร์ลงิ แกม อดีตทูตสหรัฐอเมริกา (ในฐานะทูตหมุนเวียนของจีน) โดยเป็ นการไปเยือนเพือ่ ปรับและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง ค.ศ. 1868–1870 การด าเนินการทาตนเองให้เข้มแข็งในสมัยแรกนี้ มีลกั ษณะสาคัญ คือ ประการแรก เป็ นดาเนินการโดยรัฐบาล ซึง่ มีขา้ ราชการทีไ่ ม่มปี ระสิทธิภาพ เข้าไป ดาเนินงานอย่างใหม่ แต่ใช้วธิ กี ารบริหารจัดการแบบเก่า ประการที่สอง เป็ นการ 1

Spence. (2013). op.cit. pp. 211- 212. 47


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ดาเนินการทีเ่ ชือ่ ถือไว้วางใจชาวตะวันตก โดยไม่คานึงว่าชาวตะวันตกนัน้ มีความรู้ หรือ มีป ระสบการณ์ ใดมาก่ อ น เช่ น โรงคลังแสงที่ห นานจิง มีผู้อ านวยการคือ นายแพทย์ฮอลลิเดย์ แมคคาร์ทนีย์ (Holliday Macartney) ชาวอังกฤษ อู่ต่อเรือ ฝูโจวอยูภ่ ายใต้การแนะนาของชาวฝรังเศส ่ 2 คน ซึง่ ไม่เคยสร้างเรือแม้แต่ลาเดียว วัสดุต่างๆ ต้องสังเข้ ่ ามาจากต่างประเทศ เมื่อรวมกับการมีหวั หน้าที่ไม่มคี วามรู้ ความชานาญ มีการทุจริตในวงราชการ ทาให้เรือและปื นทีน่ าออกมานาไปเทียบ กับของยุโรปไม่ได้ ประการต่อมาคือ อุตสาหกรรมทางทหารทีส่ ร้างขึน้ มาเป็ นการสนับสนุ น ของผูน้ าในภูมภิ าค ทาให้ผนู้ าในท้องถิน่ มีอานาจเข้มแข็งขึน้ มา และจะทาให้ผู้ นา พวกนัน้ เอนเอียงไปทางศักดินา เช่น หลี่ หงจาง ข้าหลวงใหญ่ทห่ี นานจิง สร้าง โรงคลังแสงหนานจิง จ่อ จงถัง ข้าหลวงใหญ่ทฝ่ี โู จว สร้างอูเ่ รือฝูโจว นอกนัน้ มีการ ร่วมมือและประสานงานกันเล็กน้อยเท่านัน้ ในระหว่างมณฑลต่างๆ แม้ภายหลังจะ มีการโยกย้ายตาแหน่ ง เช่น จ่อ จงถัง ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือใน ค.ศ.1868 หลี่ หงจางไปเมืองเทียนจินทางเหนือ แต่ขนุ นางเหล่านี้ได้สร้างฐานอานาจขึน้ ใหม่ และยังคงผูกพันด้านส่วนตัวอยูก่ บั โครงการทีท่ ามาแต่เดิม ระยะที่ 2 ค.ศ. 1873–1885 กำรสร้ ำ งควำมมัง่ คัง่ ด้ ำ นเศรษฐกิ จ อุตสำหกรรม สำธำรณูปโภค ผูม้ บี ทบาท คือ หลี่ หงจาง ขุนนางหัวก้าวหน้าทีม่ บี ทบาทและอานาจมาก เขาเน้ น พัฒ นาเศรษฐกิจ ของประเทศด้านอุตสาหกรรม ให้ความส าคัญ กับ การ พัฒนาการศึกษา การทูต และการพัฒนาสาธารณูปโภคทีจ่ าเป็ น1 การทาตนเองให้ เข้ม แข็งในระยะที่ 2 นี้ เป็ น การด าเนิ น การที่ร ฐั เป็ น ผู้ใ ห้ค าแนะน า พ่ อค้า เป็ น ผู้ด าเนิ น การ รัฐให้การอุป ถัม ภ์ เงิน ทุ น ในระยะแรก โดยเอกชนต้อ งใช้คืน เต็ม จานวน และต้องรับผิดชอบกาไรขาดทุนเอง การดาเนินการทีส่ าคัญในระยะทีส่ อง เช่น การก่อตัง้ บริษทั เรือกลไฟของ พ่ อค้า จีน ใน ค.ศ. 1872 การตัง้ เหมืองแร่ถ่ านหิน ไคผิงใน ค.ศ. 1877 การตัง้ โรงงานทอผ้าฝ้ายทีซ่ ่างไห่และที่กานซูใน ค.ศ.1878 การวางสายโทรเลขระหว่าง ต้ากูและเทียนจิน ใน ค.ศ. 1879 และในค.ศ. 1881 มีการวางสายโทรเลขภายใต้ โครงการองค์การโทรเลขแห่งราชอาณาจักรเปิ ด ใช้โทรเลขสายซัง่ ไห่–เทียนจิน 1

Spence. (2013). op.cit. p. 210. 48


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การสร้า งทางรถไฟยาว 6 ไมล์ ทางตอนเหนื อของเทีย นจิน แต่ ถูก ชาวบ้า น ต่อต้านเพราะความเชื่อโชคลางว่าการสร้างทางรถไฟทาให้หลุมศพของบรรพบุรุษ ได้รบั ความกระทบกระเทือน และจะส่งผลร้ายต่อลูกหลาน ระยะที่ 3 ค.ศ. 1885–1895 กำรสร้ำงอุตสำหกรรมทหำร-กำรต่อเรือ ระยะนี้ให้ความสาคัญกับอุตสาหกรรมเบาเพื่อสร้างความมังคั ่ งให้ ่ กบั ชาติ โดยมี หลี่ หงจางเป็ นผูม้ บี ทบาทสาคัญ และมีขุนนางอื่น เช่น จาง จื่อตง (Zhang Zhidong) หลิว คุนอี้ (Liu Kunyi) การดาเนิ นงานในช่วงนี้ เป็ น การลงทุน ร่วมกัน ระหว่างเอกชนและรัฐบาล และเริม่ การลงทุนโดยเอกชน เพื่อให้หลุดพ้นจากการ ครอบงาของข้าราชการ และมีการตัง้ สถาบันทางทหารและโรงงาน เช่น โรงทอผ้า มากขึน้ หลายแห่ง ที่สาคัญ เช่น การตัง้ สถาบันทหารเทียนจิน และกองทัพเรือใน ั ่ ายและทอผ้าหัวซิน ใน ค.ศ. 1888 การตัง้ โรงงาน ค.ศ. 1885 การตัง้ โรงงานป นด้ เหมืองแร่และถลุงเหล็กทีก่ ยุ้ โจว ตัง้ โรงงานถลุงเหล็กฮันหยาง ่ และตัง้ โรงงานทอผ้า ฝ้ายหูเปย่ ใน ค.ศ. 1889 ผลของขบวนกำรทำตนเองให้เข้มแข็ง นักประวัตศิ าสตร์จนี หลายท่านมีความเห็นแตกต่างกันไปเกีย่ วกับผลการ ทาตนเองให้เข้มแข็งของจีน จอห์น เค. แฟร์แบงค์ สรุปว่า การฟื้ นฟูประเทศในครัง้ นี้มที งั ้ ประสบความสาเร็จและล้ม เหลว ความสาเร็จคือการที่ราชวงศ์ช ิงสามารถ ปราบกบฏภายในประเทศได้ ทาให้ราชวงศ์ช ิงสามารถรักษาอานาจไว้ได้ ส่ว น ความล้มเหลว คือ มีการโยกย้ายอานาจจากส่วนกลางออกสู่ส่วนภูมภิ าค จากขุน นางแมนจูไปยังขุนนางจีน เพราะขุนนางที่มบี ทบาทในการฟื้ นฟูประเทศและการ ปราบกบฏล้วนแต่เป็ นขุนนางส่วนภูมภิ าคทีเ่ ป็ นชาวจีน แมรี ซี. ไรท์ (Mary C. Wright) สรุปว่าการฟื้ นฟูประเทศล้มเหลว เพราะมี ความขัดแย้งระหว่างความคิดเก่ากับวิธกี ารปฏิบตั แิ บบใหม่ กล่าวคือ ราชวงศ์ชงิ ยังยึดมันลั ่ ทธิขงจื่อเป็ นหลักในการฟื้นฟูประเทศ โดยขยายการสอบเข้ารับราชการ แต่ไม่สามารถแก้ปญั หาการซื้อขายตาแหน่ งราชการได้ เพราะยังมีการอนุ ญาตให้ ซื้อขายตาแหน่ งราชการอยู่ และเมื่อมีปญั หาทุจริตก็มกี ารผัดผ่อนลดหย่อนโทษ ทาให้การพยายามปรับปรุงระบบราชการไม่สาเร็จ การพ่ายแพ้สงครามต่อญี่ปุ่น และการที่จนี ถูกคุกคามจากต่างชาติจนอยู่ในฐานะกึ่ งอาณานิ คม อาจสรุปได้ว่า การฟื้ นฟูประเทศในสมัยนี้เป็ นการพยายามรักษาอานาจของราชวงศ์ ขณะทีก่ าร ปรับปรุงด้านกองทัพ อาวุธ และความสัมพันธ์กบั ต่างประเทศ เป็ นการพยายาม 49


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ป้องกันประเทศจากภัยคุกคามของชาติตะวันตก และเป็ นการดาเนินงานของขุน นางหัวก้าวหน้าเพียงไม่กค่ี น ขณะทีผ่ ปู้ กครองประเทศทัง้ จักรพรรดิถงจื้อซึง่ ไม่ม ี อานาจ พระนางฉือซี (Cixi ค.ศ.1835-1908) หรือพระนางซูสไี ทเฮา พระมารดา ของจักรพรรดิซง่ึ เป็ นผูส้ าเร็จราชการ และขุนนางระดับสูง ไม่ได้ให้ความสาคัญกับ การฟื้นฟูประเทศอย่างจริงใจ แต่ทาไปเพือ่ รักษาผลประโยชน์ของตน กล่ ว าวโดยสรุป การปรับ ปรุงประเทศด้ว ยการท าตนเองให้เข้ม แข็งนี้ ดาเนินอยูถ่ งึ 30 ปี หากพิจารณาขบวนการทาตนเองให้เข้มแข็งในแต่ละระยะ อาจ วิเคราะห์ได้ว่าการดาเนินการตามเป้าหมายของแต่ละระยะสามารถทาได้ตามทีต่ งั ้ เป้ าไว้ เช่น มีการสังซื ่ ้ออาวุธจากชาติตะวันตก ตัง้ หน่ วยงานและสร้างบุ คลากร ติด ต่ อ กับ ชาติต ะวัน ตกตามเป้ าหมายในระยะแรก เมื่อ ขบวนการท าตนเองให้ เข้มแข็งดาเนิ นมาระยะหนึ่ง ขุนนางผู้มบี ทบาทเห็นความจาเป็ นของการพัฒ นา เศรษฐกิจ เพื่ อ จะได้ ม ีเงิน มาใช้ใ นการปรับ ปรุ งประเทศ จึง ด าเนิ น การพัฒ นา อุตสาหกรรม เช่น โรงงานทอผ้า และเหมืองแร่ รวมทัง้ พัฒนาสาธารณู ปโภค เช่น วางสายโทรเลข สร้างทางรถไฟ และระยะต่อมาก็เห็นความจาเป็ นของการพัฒนา กองทัพเรือ การต่อเรือรบของตนเอง อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้จนี เผชิญกับการคุกคามจากชาติตะวันตกและ ญี่ปุ่น อยู่ต ลอด ซึ่งจีน เป็ น ฝ่ายพ่ ายแพ้หรือเสีย เปรีย บแทบทุกครัง้ งบประมาณ จานวนมากถูกใช้ไปกับการทาสงครามและการจ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ทาให้การ ปรับ ปรุงประเทศมีอุป สรรค นอกจากนี้ การปรับ ปรุงประเทศยังไม่ ได้ร บั การ สนับสนุ นโดยตรงจากผูม้ อี านาจในราชสานัก และประชาชนส่วนใหญ่ยงั มีความคิด อนุ รกั ษ์นิยมซึ่งเป็ นอุปสรรคต่อการดาเนินการพัฒนาประเทศ ซึง่ ในท้ายทีส่ ุดจีน ต้องแพ้สงครามต่อชาติเพื่อนบ้านทีม่ ขี นาดเล็กกว่าจีนและกองทัพไม่เข้มแข็งเท่า จีน นัน่ คือการพ่ายแพ้ญ่ีปุ่นใน ค.ศ. 1895 อันเนื่องมากจากการแข่งขันกันขยาย อานาจในเกาหลี จึงอาจสรุปได้ว่าในภาพรวมการทาตนเองให้เข้มแข็งของจีนยังไม่ ประสบความสาเร็จ โดยอาจสรุปปจั จัยทีท่ าให้การทาตนเองให้เข้มแข็งล้มเหลวได้ ดังนี้1 1. การคัดค้านจากพวกหัวเก่า 2. ขาดการประสานงานและการสนับสนุ นทีด่ ี เพราะรัฐบาลกลางไม่เห็น ด้วย ส่วนขุนนางท้องถิน่ แต่ละภาคก็แข่งขันกัน และไม่ชว่ ยเหลือกัน เช่น การรบ  1

ดูรายละเอียดใน อนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2543). เล่มเดิม. หน้า 73-75. วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2521). จีน การต่อสูเ้ พือ่ มหาอานาจ. หน้า 29 – 35. 50


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ในเกาหลี เมื่อ ค.ศ.1894 ข้า หลวงมณฑลอื่น ที่ม ีก องทัพ สมัย ใหม่ ต่ า งไม่ ย อม ช่วยเหลือ หลี่ หงจาง ซึ่งเป็ น ข้าหลวงมณฑลจื่อลี่ท่รี บั ผิดชอบเกาหลีอยู่ หรือ สงครามกับฝรังเศส ่ ค.ศ.1884 สงครามกับญี่ปุ่น ค.ศ.1894 – 1895 กองเรืออื่นๆ ของจีนไม่ชว่ ยกันสูร้ บ 3. ขาดความร่วมมือจากประชาชน ต่ างจากญี่ปุ่น สมัยเมจิ (Meiji ค.ศ. 1868 – 1912) ทีป่ ระชาชนมีสว่ นร่วมสาคัญในการพัฒนาประเทศ 4. ขาดเงินทุน เพราะประสบปญั หาภัยธรรมชาติ การต้องจ่ายค่าปฏิกรรม สงครามแก่ชาติตะวันตก การนาผลกาไรทีไ่ ด้จากการลงทุนเช่นบริษทั เดินเรือกล ไฟของจีน นากาไรมาแบ่งในหมุ่ผถู้ อื หุน้ แทนที่จะนาไปลงทุนต่อ ทาให้กจิ การไม่ ขยายตัว รวมทัง้ มีปญั หาการทุจริตและขาดแรงจูงใจ 5. การคุกคามของจักรวรรดินิยมเปลีย่ นจากคุกคามเพื่อผลประโยชน์ ทาง การค้ามาเป็ นการแสวงหาอาณานิคม และคุกคามจีนมากขึน้ ทัง้ จากชาติตะวันตก และญีป่ นุ่ เพราะฉะนัน้ ถึงจะมีการปรับปรุงแต่ความต้องการของต่างชาติกเ็ พิม่ มาก ขึ้นเป็ นการต้องการดิน แดนของจีน ทาให้หนั เหความสนใจของผู้นาจีนจากการ พัฒนาประเทศไปเป็ นการทาสงครามหรือป้องกันเขตแดน รวมทัง้ ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทางทหารและค่าปฏิกรรมสงครามแทนทีจ่ ะได้นาเงินมาพัฒนาประเทศ 6. ความล้าหลังด้านเทคโนโลยี และความผิดพลาดในการเลือกใช้คน เช่น จ้างชาวตะวันตกทีไ่ ม่เชีย่ วชาญมาทางาน 7. ความเฉื่อยด้านสังคมและจิตวิทยา และการเป็ นสังคมอนุ รกั ษ์นิ ยม ตัวอย่างเหตุการณ์ทส่ี ะท้อนถึงความเป็ นสังคมอนุรกั ษ์นิยมของจีน เช่น เหตุการณ์ ที่ช าวบ้ า นพากัน ไปรื้อ ทางรถไฟทิ้ง โดยอ้า งว่ า รางรถไฟเหมือ นมังกรซึ่งเป็ น สัญลักษณ์ของจักรพรรดิ และเมื่อรถไฟวิง่ แรง สันสะเทื ่ อนจะส่งผลเสียทาให้บรรพ บุรุษต้องตกใจ ทาให้การหมุนเวียนของ “เฟิ ง สุ่ย” (ลม น้ า) ต้องเปลี่ยนไป ทา ให้ส่งผลเสียหายต่อความอุดมสมบูรณ์ และผลผลิต 1 รวมถึงการกีดกันไม่ให้คณะ ทูตต่างชาติเข้าเฝ้าจักรพรรดิจนถึง ค.ศ. 1873 จักรพรรดิถงจื้อมีอานาจปกครอง ด้วยพระองค์เอง ชาวต่างประเทศขอเฝ้า จีนจัดให้เฝ้าทีต่ าหนักสีม่วงทีเ่ คยรับรอง ทูตบรรณาการทีม่ าจิ้มก้อง ทูตได้เข้าเฝ้าเพียงครึง่ ชัวโมง ่ หลังจากรอมาถึง 12 ปี รวมถึงกรณีส่งนักเรียนจีนไปเรียนทีต่ ่างประเทศก็เลือกนักเรียนทีม่ าจากครอบครัว ยากจน เมือ่ นักเรียนไม่แสดงการคารวะตามธรรมเนียมจีน (โค่วโถว) ก็ไม่พอใจว่า

1

Spence. (2013). op.cit. p. 238. 51


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

นักเรียนเหล่านี้ลมื ประเพณีจนี ไม่เคารพครูและผูอ้ าวุโส จึงเรียกตัวกลับเมืองจีน เป็ นต้น 3. กำรคุกคำมจีนจำกต่ำงชำติ ระหว่างที่จนี กาลัง ดาเนินการปรับปรุงประเทศอยู่นัน้ ใน ค.ศ. 1870 ได้ เกิดเหตุการณ์ ท่ที าให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับชาติตะวันตกเลวร้ายขึน้ ไปอีก คือ เหตุ การณ์ ส งั หารหมู่ท่ีเมืองเทีย นจิน ซึ่ง เกิด จากชาวจีน ไม่พ อใจการขยาย อิทธิพ ลของฝรังเศสที ่ ่การอ้างสิทธิคุ้ม ครองมิชชัน นารี และชาวจีน เข้าใจผิดว่ า มิชชันนารีรบั เด็กจีนไปอุปถัมภ์แล้วไปทาร้ายเด็ก จนมีการบุ กเผาสถานกงศุล ฝรังเศส ่ และสถานเลีย้ งเด็ก ทาให้แม่ชแี ละบาทหลวงชาวฝรังเศสเสี ่ ยชีวติ จานวน หนึ่ ง จีน ต้องยอมชดใช้ค่าเสีย หายให้ฝรังเศส ่ ส่งคณะทูต ไปขอโทษ ลงโทษ ข้าราชการจีน และประหารผู้ต้องสงสัย หลังจากนัน้ ชาวตะวันตกได้คุกคามจีน มากขึ้น และชาติตะวัน ตกได้เปลี่ย นจากการใช้ น โยบายร่ว มมือ (Cooperative Policy) กับ จีน มาเป็ น การคุกคาม นอกจากนี้ จีน ยังถูกญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่งเปิ ด และ พัฒ นาประเทศใน ค.ศ. 1854 คุ ก คามด้ ว ย โดยช่ ว งนี้ จีน ถู ก คุ ก คามบริเวณ ชายแดนและส่วนทีเ่ ป็ นรัฐบรรณาการ การคุกคามจีนของชาติตะวันตกและญี่ปุ่นทีเ่ ริม่ ทาตนเป็ นชาติจกั รวรรดิ นิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 นี้ ทาให้ชาวจีนกลัวว่าประเทศของตนจะถูก แบ่ง ออกเป็ นชิน้ ๆ การคุกคามจีนจากชาติต่างๆ มีดงั นี้ ญี่ ปุ่นคุกคำมไต้ หวัน ค.ศ. 1874 เนื่องมาจากชาวจีนทีเ่ กาะฟอร์โมซา หรือไต้หวันสังหารชาวเกาะริวกิว (Ryukyu) ทีเ่ รือแตก หมู่เกาะริวกิวอยู่ทางตอน ใต้ของญี่ปุ่น จีนถือว่าริวกิวเป็ นรัฐบรรณาการของจีน เพราะได้มอบบรรณาการให้ จีนมาตลอด ดังนัน้ ปญั หานี้จึงเป็ นเรื่องภายในที่ทางการจีนจะตัดสินลงโทษเอง แต่ญป่ี ุ่นถือว่าริวกิวเป็ นส่วนหนึ่งของตน เพราะริวกิวมอบบรรณาการให้กบั ญีป่ ุ่น ด้วย ญีป่ นุ่ จึงเจรจาให้จนี ส่งตัวคนทาผิดมาลงโทษ แต่จนี ไม่ยอมเจรจาด้วย ญีป่ ุ่น จึงใช้กาลังบุกไต้หวันใน ค.ศ. 1874 หลี่ หงจาง เห็นว่าอาวุธของจีนสูญ ้ ่ปี ุ่นไม่ได้ จึงตัด สิน ใจยอมเจรจากับ ญี่ ปุ่ น โดยจีน ยอมจ่ า ยค่ า ปฏิก รรมสงคราม และไม่ ประณามการรุกรานของญี่ปุ่น เท่ากับว่าจีนยอมรับอธิปไตยเหนือหมู่เกาะริวกิว ของญีป่ นุ่ รัสเซียยึดครองอี้หลี ค.ศ. 1871 – 1881 อีห้ ลีอยูท่ างตะวันตกเฉียงเหนือ ของจีน ติดกับเตอรกีสถานของรัสเซีย บริเวณเป็ นดินแดนทีอ่ ุดมสมบูรณ์ และเป็ น 52


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

จุดยุทธศาสตร์สาคัญ ในช่วงเกิด กบฏมุส ลิม ในอี้หลี ระหว่าง ค.ศ. 1865-1877 รัสเซียถือโอกาสส่งทหารเข้ายึดจุดยุทธศาสตร์บางแห่งในอีห้ ลี จีนพยายามเจรจา ขอดินแดนคืนตัง้ แต่ปลายทศวรรษ 1870 แต่รสั เซียถ่วงเวลาและพยายามเจรจาให้ ได้เปรียบ จนทูตจีนยอมตกลงเซ็นสัญญาที่เสียเปรีย บคือยกดินแดนบางส่วนให้ รัสเซีย ทูตจีนถูกลงโทษ จีนส่งทูตไปเจรจากับรัสเซียอีกครัง้ ใน ค.ศ. 1881 และ ตกลงลงนามในสนธิสญ ั ญาเซนต์ปีเตอร์สเบิรก์ (The Treaty of St.Petersburg) จีน ได้ดนิ แดนคืน โดยต้องยอมจ่ายค่าชดเชยทางทหารที่รสั เซียส่งมาประจาในอี้หลี ตามทีร่ สั เซียเรียกร้องเป็ นจานวน 5 ล้านตาลึงจีน รัสเซียได้สทิ ธิถอื ครองพืน้ ทีต่ อน เหนื อ แม่ น้ า อามู ร์ (Amur) และแม่ น้ า อัส ซู ร ี และรัส เซี ย รับ รองสิ ท ธิข องจีน ใน ชายแดนตะวันตกของจีน ต่อมาจีนประกาศตัง้ อีห้ ลีเป็ นมณฑลซินเจียง ปจั จุบนั เป็ น เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ สงครำมจี น – ฝรัง่ เศส ด้ ว ยเรื่ อ งเวี ย ดนำม ค.ศ. 1884 – 1885 เวีย ดนามหรือที่จีน เรีย กว่ า อัน นัม (Annam) หรือ อัน หนาน (Annan) หมายถึง สัน ติสุ ข ทางใต้ ถือ เป็ น รัฐบรรณาการของจีน แต่ ในกลางคริส ต์ ศตวรรษที่ 19 เวียดนามต้องเผชิญกับการขยายอานาจของฝรังเศสที ่ ต่ ้องการยึดครองเวียดนาม เพือ่ ขยายเส้นทางมายังจีนตอนใต้ ใน ค.ศ. 1858 ฝรังเศสยึ ่ ดเมืองไซ่งอ่ น (Saigon) ทางตอนใต้ข องเวีย ดนามได้ จากนัน้ ฝรังเศสได้ ่ ข ยายอานาจยึด เมืองต่า งๆ ใน เวียดนามได้หลายเมือง จนถึง ค.ศ. 1862 เวียดนามต้องยอมทาสนธิสญ ั ญาสงบศึก กับฝรังเศส ่ ทาให้ฝรังเศสได้ ่ ดนิ แดนญวนตอนใต้หรือโคชินไชนา (Cochin China) หลังจากฝรังเศสได้ ่ โคชิน ไชน่ าแล้ว ยังแทรกแซงและขยายอานาจใน เวีย ดนามต่อไป โดยใช้ข ้ออ้างจากการที่เวียดนามปราบปรามพวกเข้ารีต และ ความต้องการหาเส้นทางเพื่อเปิ ดการค้ากับจีน ตอนใต้ ฝรังเศสจึ ่ งขยายอานาจเข้า มาในเขมรจนได้ดนิ แดนส่วนใหญ่ของเขมรไว้ จากนัน้ ฝรังเศสขยายอ ่ านาจไปยัง เวียดนามตอนเหนือและแคว้นตังเกีย๋ (Tonkin) ฝรังเศสสามารถยึ ่ ดเมืองฮานอย (Hanoi) เมืองสาคัญของแคว้นตังเกีย๋ ได้ใน ค.ศ. 1880 และส่งกาลังทหารเข้ามาใน เวียดนามตอนเหนือ โดยอ้างว่าเพื่อปราบพวกฮ่อหรือกบฏไท่ผงิ ที่หนี เข้ามาใน เวียดนาม เวีย ดนามขอความช่วยเหลือมายังจีน ซึ่งจีน ก็เห็น ถึงอัน ตรายจากการ ขยายอานาจของฝรังเศสเข้ ่ ามายังตอนใต้ของจีน หลี่ หงจางพยายามให้มกี าร เจรจากับฝรังเศส ่ แต่ขุนนางหลายคนสนับสนุ นการทาสงครามเพราะเชื่อมันใน ่

53


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ความเข้มแข็งของจีน1 จีนจึงร่วมมือกับเวียดนามส่งทหารมาต่อสู้ฝรังเศสในตั ่ งเกีย๋ ใน ค.ศ. 1884 กองเรือ ฝรังเศสเข้ ่ า โจมตีแ ละท าลายอู่ต่ อ เรือ ฝู โจวทางชายฝ งั ่ ตะวันออกของจีน ขณะที่ส งครามกับ ฝรังเศสก ่ าลังด าเนิ น อยู่นั น้ รัส เซีย ถือ โอกาสขยาย อานาจเข้ามายังภาคเหนือของจีน ญี่ปุ่นขยายอิทธิพลเข้าสู่เกาหลี แม้จนี จะมีชยั ชนะในสมรภูมลิ างซอนทางตะวันตกเฉียงใต้ แต่ฝรังเศสก็ ่ ควบคุมอินโดจีนไว้ได้ ดังนัน้ เพื่อยุตสิ งคราม จีนจึงขอเจรจากับฝรังเศสและลงนามในสนธิ ่ สญ ั ญาเทียนจิน (The Treaty of Tianjin, ค.ศ.1885) โดยจีน ยอมรับ สิท ธิแ ละอานาจของฝรังเศส ่ เหนือดินแดนเวียดนาม ส่วนฝรังเศสยอมถอนทหารออกจากเกาะไต้ ่ หวันและหมู่ เกาะเพสคาดอเรส (Pescadores Islands) ญี่ ปุ่ นขยำยอ ำนำจในเกำหลี และสงครำมจี น -ญี่ ปุ่ น ค.ศ. 1894 – 1895 ราชวงศ์ท่ีป กครองเกาหลีอ ยู่ข ณะนั น้ คือ ราชวงศ์ย ี (Yi) เกาหลีม อบ บรรณาการให้ท งั ้ ญี่ปุ่ น และจีน แต่ ม ีค วามสนิ ท สนมกับ จีน มากกว่ า จีน ถือว่ า เกาหลีเป็ นเสมือนรัว้ ชัน้ นอกของจีนทีม่ คี วามสาคัญมาก ญี่ปุ่นพยายามกดดันให้ เกาหลีซ่ึงโดดเดี่ย วตนเองอยู่นัน้ เปิ ด ประเทศ และเปิ ด ความสัม พัน ธ์กบั ญี่ปุ่ น เช่นเดียวกับทีเ่ กาหลีมใี ห้กบั จีน แต่เกาหลีปฏิเสธทุกครัง้ ทีญ ่ ป่ี ุ่นส่งทูตไป ญี่ปุ่น ั่ กดดันด้วยการส่งกองเรือแล่นคุมเชิงตามแนวชายฝงของเกาหลี จงึ ถูกเกาหลีระดม ยิง จีนซึง่ ยังหวาดเกรงญีป่ นุ่ อยูจ่ ากกรณีทญ ่ี ป่ี นุ่ เคยส่งกาลังไปเกาะไต้หวัน ทาให้ หลี่ หงจาง อุป ราชจีนประจาเกาหลี แนะนาให้เกาหลียอมรับข้อเสนอของญี่ปุ่น เป็ นผลให้มกี ารทาสนธิสญ ั ญาคังหว่า (The Treaty of Kangwa) ระหว่างเกาหลี กับญี่ปุ่นใน ค.ศ.1876 ซึ่งเป็ นสนธิสญ ั ญาแบบใหม่ฉบับ แรกของเกาหลี โดย เกาหลียอมเปิ ดเมืองท่า 2 แห่ง ให้ญ่ปี ุ่น ให้สทิ ธิสภาพนอกอาณาเขตบางส่วนแก่ คนในบังคับของญี่ปุ่น และญีป่ ุ่นรับรองว่าเกาหลีเป็ นรัฐเอกราชมีอานาจอธิปไตย2 การรับรองอธิปไตยของเกาหลีน้ีอกี นัยหนึ่งเท่ากับญีป่ ุ่นปฏิเสธอานาจของจีนเหนือ เกาหลีนนเอง ั่ ต่ อ มาสหรัฐ อเมริก าเข้ า มาท าสนธิ ส ัญ ญาชู เ ฟลด์ ท กับ เกาหลี ใน สนธิสญ ั ญานี้เกาหลียอมรับว่าขึน้ กับจีน ส่วนญีป่ ุ่นยังคงพยายามขยายอานาจเข้า ไปในเกาหลีซง่ึ แบ่งเป็ น 2 ฝา่ ย คือ ฝา่ ยอนุรกั ษ์นิยมทีส่ นับสนุนจีน และฝา่ ยหัว Ibid. p. 220. 2 ฮิวจ์ บอร์ตน ั . (2526) ศตวรรษใหม่ของญีป่ ุ่น จากเปอรีถ่ ึงปจั จุบนั . วุฒชิ ยั มูลศิลป์ และสุภทั รา นีลวัชระ บรรณาธิการแปล. หน้า 227. 1

54


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ก้าวหน้าทีน่ ิยมญี่ปุ่น ใน ค.ศ. 1882 เกิดการจลาจลโดยฝา่ ยต่อต้านญี่ปุ่น ทัง้ จีนและญี่ปนุ่ ต่างส่งทหารเข้าไปดูแล หลังเหตุการณ์สงบ เกาหลียงั คงถูกบังคับทัง้ จากจีน และญี่ ปุ่ น ที่พ ยายามจะเข้า มามีอานาจในเกาหลี ประกอบกับ รัส เซีย ก็ พยายามรักษาผลประโยชน์ของตนในเกาหลี ทาให้สถานการณ์ในเกาหลีสบั สนมาก ขึน้ ในเดือนธัน วาคม ค.ศ. 1884 ฝ่า ยสนั บ สนุ น ญี่ ปุ่ น ก่อ รัฐประหารขึ้น ใน เกาหลี โดยการรูเ้ ห็นของทูตญี่ปุ่นประจาเกาหลีและช่วยเหลือให้ผู้นารัฐประหาร หลบหนี ไ ปญี่ ปุ่ น ฝ่ า ยจี น มี หยวน ซื่ อ ไข่ (Yuan Shikai, ค.ศ. 1859 -1916) ข้าหลวงจีนประจาเกาหลี ซึ่งมีความสัมพันธ์อนั ดีกบั กษัตริย์เกาหลี ได้กระตุ้นให้ ชาวเกาหลีต่อต้านญีป่ นุ่ 1 แต่จนี กับญีป่ นุ่ ต่างยังไม่พร้อมทาสงครามกัน ดังนัน้ อิโต ฮิโระบุม ิ (Ito Hirobumi) ตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่น จึงเดินทางไปจีนเพื่อหาทางแก้ไข ปญั หาร่วมกับ หลี่ หงจาง เมื่อเหตุการณ์ยุติ จีนและญี่ปุ่นตกลงทาอนุ สญ ั ญาหลี่-อิ โต ประนีป ระนอมกันว่าทัง้ คู่จะถอนทหารและที่ป รึกษาออกจากเกาหลี ถ้าเกิด เหตุการณ์ยงุ่ ยากจนต้องส่งทหารเข้าไปอีก ญีป่ ุ่นและจีนจะต้องแจ้งให้อกี ฝา่ ยทราบ ก่อนส่งทหารเข้าไป หลังจากนี้ ญ่ีปุ่น ยังคงพยายามขยายอานาจเข้าไปในเกาหลี จนกระทัง่ ค.ศ. 1894 เกิดกบฏตงฮัก (Tonghak) ซึ่งเป็ นกลุ่มผู้รกั ชาติหวั รุนแรงในเกาหลีท่ี ต้องการคง “ความรูแ้ บบตะวันออกไว้” เกาหลีได้ขอความช่วยเหลือจากจีน เมื่อ จีนแจ้งญีป่ นุ่ ว่าจะส่งทหารเข้าไป ญีป่ นุ่ จึงส่งกองทัพเข้าไปด้วย แต่เมือ่ ปราบกบฏ เรียบร้อยแล้ว ทัง้ จีนและญีป่ ุ่นกลับไม่ยอมถอนทหารออกไป จนเกิดการสูร้ บกันขึน้ ญีป่ ุ่นประกาศสงครามกับจีนในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1894 ผลคือญีป่ ุ่นสามารถยึด เกาหลีและแหลมเหลียวตงไว้ได้ จีนต้องยอมทาสนธิสญ ั ญาชิโมะโนะเซกิ (The Treaty of Shimonoseki ค.ศ. 1895) ลงนามโดย หลี่ หงจาง และ อิโต ฮิโระบุม ิ สนธิส ญ ั ญาระบุ ว่ า จีน ยอมรับ ในเอกราชและบูรณภาพของเกาหลีโดย สมบูรณ์ จีนยกหมู่เกาะเพสดาคอเรส เกาะฟอร์โมซา (ไต้หวัน) และแหลมเหลียว ตง (Liaodong) ในแมนจูเรีย ใต้ให้ญ่ีปุ่ น จ่ ายค่า ปฏิกรรมสงครามให้ญ่ีปุ่ น 200 ล้านตาลึง (350 ล้านเยน) เปิ ดเมืองท่าเพื่อการค้าและอุตสาหกรรมเพิม่ ขึน้ อีก 4 ั่ แห่ง และกองทัพญีป่ ุ่นจะยังคงประจาอยู่ทเ่ี มืองท่าเว่ยไห่ (Weihai) ในชายฝงทะเล

1

แหล่งเดิม. หน้า 230. 55


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ตอนเหนือของแหลมเหลียวตง จนกว่าจีนจะจ่ายค่าปรับและจนกว่าทัง้ 2 ชาติ จะ ตกลงทางการค้าต่อกัน1

แผนที ่ พื้นทีก่ ารสูร้ บในสงครามจีน-ญีป่ นุ่ ครัง้ ที ่ 1

ภาพการ์ตูนล้อเลียน ญีป่ นุ่ ล้มยักษ์จนี ในสงคราม ค.ศ. 1894-1895

1

แหล่งเดิม. หน้า 283. 56


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ภาพพิมพ์แสดงการสูร้ บในสงครามจีน-ญีป่ นุ่

การเจรจาทาสนธิสญ ั ญาระหว่างจีนกับญีป่ นุ่ ค.ศ. 1895 เครือ่ งแบบและทรงผมของตัวแทนญีป่ นุ่ แสดงถึงความทันสมัยแบบตะวันตก ขณะทีฝ่ า่ ยจีนยังแต่งกายด้วยชุดขุนนางและทรงผมแบบแมนจู

57


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ชัยชนะทีม่ ตี ่อจีนทาให้ญป่ี ุ่นได้รบั การยกย่องในฐานะทีช่ นะชาติทย่ี งิ่ ใหญ่ อันดับหนึ่งในเอเชีย ได้ค่าปฏิกรรมสงคราม ได้อาณานิคมใหม่ๆ ทัง้ ทางใต้ คือ เกาะไต้หวัน ซึ่งอยู่ติด กับ หมู่เกาะริวกิว ทาให้ส ามารถขยายเส้นทางเชื่อมไปยัง เส้นทางทางใต้ได้ และได้แหลมเหลียวตงทางเหนือของจีนซึง่ จะป้องกันไม่ให้รสั เซีย ขยายอิทธิพลเข้ามาในอนาคต ส่วนในเกาหลี แม้จะยังไม่ตกเป็ นของญี่ปุ่นอย่าง เป็ นทางการ แต่ญ่ปี ุ่นเข้าไปมีบทบาทในกองทัพบกเกาหลี ซึง่ ญี่ปุ่นทาการฝึ กและ บังคับบัญชาโดยตรง ควบคุมกิจการไปรษณียโ์ ทรเลข ทางรถไฟ และภาษี กำรแทรกแซงจำกสำมมหำอำนำจ หลังชัยชนะทีม่ ตี ่อจีน หนังสือพิมพ์ญป่ี นุ่ ได้สรุปสภาพของญีป่ นุ่ ว่า "ผล ของสงครามทาให้ฐานะของประเทศเปลีย่ นแปลงไป ญีป่ นุ่ ได้แสดงให้ชาวโลกเห็น คุณลักษณะพื้นฐาน 3 ประการของคนญีป่ นุ่ ประการทีห่ นึง่ ความรักชาติซงึ ่ ทาให้ ญีป่ ุ่นมีชอื ่ เสียงไปทัวโลก ่ ประการทีส่ อง คนญีป่ ุ่นมีความสามารถพิเศษในการ แยกแยะอารยธรรมสมัยใหม่ และสามารถนามาประยุกต์ใช้ได้ ประการทีส่ าม คนญีป่ นุ่ เป็ นชาติทเี ่ ข้มแข็งและมันคง" ่ 1 มหาอานาจตะวันตกกังวลต่อชัยชนะของญี่ปุ่น เพราะเกรงว่าญี่ปุ่นจะได้ สิท ธิพ ิเศษในจีน มหาอานาจบางชาติจึงตัด สิน ใจขัด ขวางญี่ปุ่ น อังกฤษแสดง ความเห็นว่า แม้ว่าอังกฤษจะยินดีทเ่ี กาหลีพน้ จากความวุ่นวายภายใน แต่องั กฤษ ไม่ต้องการให้เกาหลีต กเป็ น ของญี่ปุ่ น ส่วนรัส เซีย แถลงว่ า จะไม่ย อมให้ม ีการ ละเมิดเอกราชของเกาหลี มิฉะนัน้ รัสเซียจะร่วมมือกับจีนปกป้องเกาหลีถา้ จาเป็ น แม้จะได้รบั แจ้งว่าการทีญ ่ ่ปี ุ่นเรียกร้องดินแดนบนผืนแผ่นดินใหญ่ของจีน อาจทาให้ชาติมหาอานาจต้องเข้าแทรกแซง แต่ญ่ปี ุ่นยังต้องการดินแดนมณฑล ซานตง และแหลมเหลียวตง และจากสนธิสญ ั ญาทีร่ ะบุว่าจีนยกแหลมเหลียวตงให้ ญีป่ นุ่ ทาให้หลายชาติมปี ฏิกริ ยิ าขึน้ มาทันที โดยเฉพาะรัสเซียไม่เห็นด้วยอย่างยิง่ เนื่องจากรัสเซียต้องการท่าเรือน้ าอุ่นมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็ นเกาหลีหรือแหลม เหลียวตง รัสเซียหวังจะให้ท่าเรือดังกล่าวเป็ นจุดหมายปลายทางของรถไฟสาย ทรานส์ - ไซบีเรียทางด้านตะวันออก ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในทัศนะของ รัสเซียแหลมเหลียวตงจึงเป็ นเขตอิทธิพลสาคัญทีร่ สั เซียไม่ต้องการให้ตกเป็ นของ ญีป่ นุ่ 1

แหล่งเดิม. หน้า 284. 58


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เมื่อรัสเซียทราบว่าญีป่ ุ่นต้องการแหลมเหลียวตง รัสเซีย เสนอให้องั กฤษ ฝรังเศส ่ เยอรมนี เข้าแทรกแซงเพื่อขัดขวางญี่ปุ่น แต่องั กฤษเกรงว่ารัสเซียจะ ขยายอ านาจในเอเชีย อัง กฤษจึง ต้ อ งการให้ ญ่ี ปุ่ น ได้ เกาหลีแ ละแมนจู เรีย ใต้ มากกว่าที่จะให้ตกเป็ น ของรัส เซีย อังกฤษจึงไม่ส นใจข้อเสนอของรัสเซีย แต่ ฝรังเศสและเยอรมนี ่ เห็นว่าถ้าเมืองพอร์ตอาร์เธอร์ (Port Arthur) หรือเมืองหลีว่ ์ซุ่น (Lushun) และแหลมเหลียวตงตกเป็ นของญีป่ ุ่น จะต้องเป็ นอันตรายต่อสันติภาพใน ภูม ิภ าค ดังนัน้ ญี่ปุ่น จึงได้รบั คาแนะน าจากอัครราชทูตฝรังเศส ่ เยอรมนี และ รัสเซียประจากรุงโตเกียว ให้ญป่ี นุ่ สละสิทธิ ์ในแหลมเหลียวตง พร้อมกันนัน้ รัสเซีย ได้เตรียมกองทัพเรือเพือ่ โจมตีญป่ี นุ่ ถ้าญีป่ นุ่ ไม่ยอม1 มุซึ มิซมึ ุเนะ (Musi Misimune) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของ ญี่ปุ่น ซึ่งต้องการให้ญ่ปี ุ่นได้ดนิ แดน พยายามให้รฐั บาลเลื่อนการเจรจาและคิด แสวงหาพันธมิตร แต่ไม่สาเร็จ ผลสุดท้ายญีป่ ุ่นต้องยอมรับข้อเรียกร้องของรัสเซีย โดยยอมคืนแหลมเหลียวตง แต่มเี งือ่ นไขว่า ญีป่ ุ่นต้องได้คา่ ปฏิกรรมสงครามเพิม่ เป็ น 30 ล้านตาลึงจีน 4. กำรถูกขอสัมปทำนจำกต่ำงชำติ การแพ้สงครามกับญี่ปุ่นแสดงให้เห็นว่า การปรับปรุงประเทศโดย “ทา ตนเองให้เข้มแข็ง” ไม่สาเร็จ เมื่อเทียบกับญีป่ ุ่นทีป่ รับปรุงประเทศในช่วงใกล้เคียง กัน และหลังจากแพ้สงครามกับญี่ปุ่น ศักดิ ์ศรีและเกียรติภูมขิ องจีนยิง่ ตกต่ าลง จีนต้องถูกชาติมหาอานาจคือ ฝรังเศส ่ เยอรมนี รัสเซีย ทวงบุญคุณที่ช่วยไกล่ เกลีย่ ในสงครามกับญีป่ ุ่น และต้องถูกชาติอ่นื ๆ รุมขอสัมปทานในจีน การขอและ ยึดดินแดนจีนมีดงั นี้ รัสเซีย ใน ค.ศ. 1896 รัส เซีย ขอสร้า งทางรถไฟสายทรานส์ – ไซ บีเรียไปยังเมืองท่าวลาดิวอสต๊อกทีเ่ ริม่ สร้างมาตัง้ แต่ ค.ศ.1891 โดยผ่านดินแดน แมนจูเรียของจีน ขอเช่าตอนล่างสุดของแหลมเหลียวตง ซึ่งมีเมืองท่าต้ าเหลียน (Dalian) หรือ ไดเรน (Dairen) และหลี่ว์ซุ่น หรือ พอร์ตอาเธอร์ ตัง้ อยู่ 25 ปี ซึ่ง ดินแดนนี้เป็ นส่วนที่ 3 มหาอานาจแนะนาให้ญป่ี ุ่นคืนจีนนัน่ เอง และได้สทิ ธิสร้าง ทางรถไฟเชื่อมเมืองต้าเหลียนและหลี่ว์ซุ่นเข้ากับทางรถไฟสายตะวันออกของจีน ด้ว ยเยอรมนี ใช้เหตุการณ์ ท่ีมชิ ชัน นารีช าวเยอรมัน 2 คน ถูกสังหารใน ค.ศ. 1

แหล่งเดิม. หน้า 286 59


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

1897 เป็ น สาเหตุเข้ายึดครองเมืองท่าชิงเต่า (Qingdao) ในมณฑลซานตง อ้าง สิทธิในเหมืองแร่และทางรถไฟในดิน แดนใกล้ๆ นัน้ และใน ค.ศ. 1898 ได้บีบ บังคับขอเช่าอ่าวเจียวโจว (Jiaozhou Bay) ในแหลมซานตง เป็ นเวลา 99 ปี อังกฤษ ขอเช่าและปกครองเมืองท่าเว่ยไห่ ทางเหนือของแหลมซานตง 25 ปี บังคับเช่าพืน้ ทีเ่ กษตรกรรมบนเกาะเกาลูน 99 ปี เรียกว่า นิวเทอริทอรี่ (the new Territories) และมีอทิ ธิพลเหนือบริเวณทีร่ าบลุ่มแม่น้าฉางเจียง ฝรังเศส ่ ขอเช่าอ่าวกว่างโจวทางตอนใต้ของจีน 99 ปี และอ้างสิทธิปกครองใน ตังเกีย๋ ติดพรมแดนมณฑลหยุนหนาน มณฑลกว่างตง มณฑลกว่างซี ได้รบั สิทธิ พิเศษในการทาการค้า และเหมืองแร่ในเขตเหล่านี้ และบีบให้จนี ยอมรับว่า จีนจะ ไม่ให้เกาะไห่หนานแก่มหาอานาจอืน่ 1

แผนทีแ่ สดงเขตอิทธิพลต่างชาติในจีน

สหรัฐอเมริ กำ ระหว่างทีม่ หาอานาจอื่นกาลังขยายเขตอิทธิพลในจีนอยู่ นัน้ สหรัฐอเมริกากาลังติดพันสงครามกับสเปนจึงไม่ได้ยงุ่ เกีย่ วกับการขยายอานาจ Hu Sheng. (1991). From the Opium War to the May Fourth Movement Vol. II. pp. 28-29 1

60


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ในจีน ต่อมาสหรัฐอเมริกาเสนอนโยบายเปิ ดประตูจนี ใน ค.ศ. 1899 เรียกร้องให้ ชาติต่างๆ มีโอกาสค้าขายในจีนได้ในส่วนที่อยู่นอกเขตสัมปทาน และให้เคารพ สิทธิในเขตเมืองท่าหรือเขตเช่าของแต่ละชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยให้จีน ไม่ถูกเชือด เฉือนดินแดนต่อไปอีก

ภาพการ์ตูนสะท้อนการขยายอานาจของ ต่างชาติในจีน ชาวจีนในชุดแมนจูแสดง อาการตกใจเมือ่ เห็นพระราชินีวกิ ตอเรีย (อั ง ก ฤ ษ ), จั ก รพ รรดิ วิ ล เฮ ล์ ม ที ่ 2 (เยอรมนี), ซาร์นิโคลัสที ่ 2 (รัสเซีย), พระ นางมารีอานน์ (ฝรังเศส) ่ และญีป่ ุ่น กาลัง หั น่ พ ายที ่มี ค าว่ า Chine (เป็ นภาษ า ฝรังเศส ่ แปลว่า จีน)

ภาพวาดเปรียบเทียบการแข่งขันกันขยายอิทธิพลของต่างชาติในจีน

61


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กล่าวโดยสรุป ในช่วงครึง่ หลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกจากจีนต้อง เผชิญ กับ การขยายอานาจของชาติตะวัน ตก จนพ่ ายแพ้ส งครามและทาให้ชาติ ตะวันตกขยายอิทธิพลในจีนแล้ว จีนยังต้องเผชิญกับปญั หาความมันคงภายในที ่ ่ เกิดการต่อต้านรัฐบาลขึน้ ในหลายพืน้ ที่ ซึง่ ล้วนแต่มสี ่วนทาให้ราชสานักชิงอ่อนแอ ลง ท าให้เกิด การด าเนิ น การต่ า งๆ เพื่อ ฟื้ น ฟู ค วามเข้ม แข็ง ของจีน ทัง้ ในด้ า น การทหาร การศึกษา อุต สาหกรรม แต่ การพ่ า ยแพ้ส งครามต่ อญี่ปุ่น นอกจาก สะท้อนว่าการฟื้ นฟูประเทศของจีนไม่ประสบความสาเร็จแล้ว ยังมีผลทาให้สถานะ ของจีนในสายตาของชาติตะวันตกยิง่ ตกต่าลงอีก จนนามาซึง่ การบีบบังคับขอเช่า ดินแดนต่างๆ ของจีน จนชาวจีนหวันเกรงว่ ่ าดินแดนของตนจะถูกเฉือดเฉือนจน หมดไป และเมือ่ จะเข้าสูค่ ริสต์ศตวรรษที่ 20 จีนอยูใ่ นฐานะตกต่าอย่างยิง่ ซึง่ ทาให้ ชาวจีน ที่ม ีก ารศึก ษาเห็ น ควรว่ า จีน ต้ อ งมีก ารปฏิ รูป อย่ า งจริง จัง และมีค วาม พยายามปฎิรปู ทีต่ ่อมาเรียกว่า การปฏิรปู ร้อยวันเมือ่ ค.ศ. 1898 ................................................................

62


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. การฟื้ นฟูตนเองให้เข้มแข็งของจีนเป็ นการกระทาทีช่ า้ เกินไปหรือไม่ และ การพยายามครัง้ นี้สง่ ผลต่อจีนในเวลาต่อมาอย่างไรบ้าง 2. แนวคิดในการฟื้ นฟูตนเองให้เข้มแข็งของขุนนาง-นักปราชญ์จนี ที่สะท้อน ถึงความคิด อนุ ร กั ษ์ นิ ย มของจีน มีผ ลมากน้ อยเพีย งใดต่ อ ความส าเร็จ หรือ ล้มเหลวของการดาเนินงาน 3. การขยายอานาจและสร้างเขตอิทธิพลในจีนของมหาอานาจส่งผลกระทบ ต่อจีนในด้านใดบ้าง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม แฟร์แบงค์, จอห์น เค. และคนอืน่ ๆ. (2518). เอเชียตะวันออกยุคใหม่เล่ม 1. เพ็ชรี สุมติ ร แปล. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. บทที่ 2 การบุกรุกและการจลาจลในประเทศจีน บทที่ 5 ปฏิกริ ยิ าของ จีนทีม่ ตี ่ออิทธิพลตะวันตก ทวีป วรดิลก. (2542). ประวัตศิ าสตร์จนี . กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. บทที่ 17 สงครามฝิ่นและกบฏไท่ผงิ บทที่ 18 ยุคฟื้นฟูบรู ณะและเหยือ่ การรุกราน อนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2543). การตอบสนองต่อการคุกคามของชาติตะวันตก ของจีนปลายสมัยราชวงศ์ชงิ (ค.ศ.1861 - 1895). สารนิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัตศิ าสตร์เอเชีย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร Lipman, Jonathan & et.al. (2011). Modern East Asia: An Integrated History. London: Laurence King Publishing. Chapter 6 Traditionalist Reforms and the Origins of Modernity (1860s – 1895) Rossabi, Morris. (2014). A History of China. West Sussex: Wiley Blackwell. Chapter 10 Late Qing, 1860 – 1911. Spence, Jonathan D. (2013) The Search for Modern China. 3rd ed. New York: W.W Norton & Company. Chapter 8 The Crisis Within and Chapter 9 Restoration through Reform

63


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 3 กำรปฏิ รปู และกำรปฏิ วตั ิ หลังแพ้สงครามกับ ญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1895 ปญั ญาชนของจีนที่ตระหนักถึง ความตกต่ า ของบ้ า นเมือ งได้ แ สวงหาแนวทางในการฟื้ น ฟู บ้ า นเมือ ง โดยมี ความเห็น เป็ น 2 แนว คือ แนวทางปฏิรูป ที่ยงั รักษาสถาบันจักรพรรดิไว้ และ แนวทางปฏิวตั เิ พื่อเปลีย่ นแปลงรูปแบบการปกครองเป็ นสาธารณรัฐ โดยเริม่ การ ปฏิรปู ทีต่ ่อมาเรียกว่า การปฏิรปู ร้อยวัน ซึง่ ดาเนินอยู่เพียงช่วงสัน้ ๆ เพราะถูกฝา่ ย อนุ รกั ษ์นิยมควบคุมอานาจ แต่การทีฝ่ ่ายอนุ รกั ษ์นิยมมีอานาจและสนับสนุ นการ ต่อต้านชาวตะวันตกและชาวจีนที่เข้ารีตจนเกิดความวุ่นวายที่ เรียกว่า การลุกฮือ ของพวกนักมวย ทาให้สถานะของจีนตกต่ายิง่ ขึน้ อย่างไรก็ตาม ความตกต่านี้ทา ให้ผู้ม ีอ านาจในราชส านั ก เห็น ความจ าเป็ น ในการปฏิรูป และราชส านั ก ชิงเริ่ม ด าเนิ น การปฏิรูป อย่ างจริงจัง แต่ดู เหมือนจะสายเกิน ไป เพราะกลุ่ ม นั กปฏิรูป บางส่วนได้หนั ไปหาแนวทางปฏิวตั ิเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชงิ และเพื่อเปลี่ยนแปลง รูป แบบการปกครองของจีน จนนามาซึ่งการสิ้นสุดระบอบจักรพรรดิของจีนใน ค.ศ. 1912 1. กำรปฏิ รปู 100 วัน (Hundred Days’ Reforms, ค.ศ.1898) การปฏิรูปร้อยวัน มีสาเหตุมาจากการที่จนี แพ้สงครามกับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1895 ทาให้ปญั ญาชนจีนทีเ่ ดินทางมาสอบเข้ารับราชการทีก่ รุงเป่ยจิงรูส้ กึ อดสูกบั ความพ่ายแพ้ทม่ี ตี ่อญี่ปุ่น ปญั ญาชนเหล่านี้จงึ ร่วมกันเขียนฎีกาถวายจักรพรรดิก วงสู (Guangxu, ค.ศ.1875-1908) ขอให้ด าเนิ น การปฏิรูป บ้า นเมือ ง โดยมี คัง โหย่วเว่ย (Kang Youwei, ค.ศ.1858-1927) นักศึกษาจากเมืองกว่างโจว และเหลี ยง ฉีเชา (Liang Qichao, ค.ศ.1873-1929) ลูกศิษย์ของคัง โหย่วเว่ย เป็ นผูน้ า คัง โหย่วเว่ย เคยเดินทางไปยังฮ่องกงและซังไห่ ่ เมื่อ ค.ศ.1882 ทาให้ได้ ศึกษาความรูข้ องตะวันตกและเห็นการพัฒนาบ้านเมืองในเขตของตะวันตก ความ เป็ นระเบียบเรียบร้อยและความมีประสิทธิภาพในการปกครองของเมืองทัง้ สองทา ให้เขาประทับ ใจ และต้องการให้จีน มีความเจริญ เท่าชาติตะวัน ตกหรือมากกว่ า เขาซือ้ หนังสือแปลเกีย่ วกับตะวันตกมาศึกษา ทัง้ หนังสือเกีย่ วกับฟิสกิ ส์ การไฟฟ้า และอื่นๆ ทาให้เขาเชื่อว่าการพัฒนาจีนสามารถเป็ นไปได้ โดยเขาเน้นว่าความรู้ แบบจีนยังเป็ นพืน้ ฐานทีจ่ าเป็ น แต่การปฏิบตั คิ วรเป็ นแบบตะวันตก หรือ ถีย่ง (ti64


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

yong) และจ้างชาวตะวันตกเป็ นปรึกษา1 ทัง้ นี้ คัง โหย่วเว่ย ยังพยายามพิสจู น์ว่า ลัทธิขงจื่อไม่ได้ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและไม่ได้เป็ นอุปสรรคต่อการ พัฒนาความคิดพืน้ ฐานของคนจีนและในกระบวนการต่างๆ ด้วย2 ใน ค.ศ. 1895 จีนแพ้สงครามต่อญี่ปุ่น ต้องทาสนธิสญ ั ญาชิโมะโนะเซกิ ทาให้ปญั ญาชนจีนรูส้ กึ อดสูใจ ดังนัน้ คัง โหย่วเว่ยซึง่ สอบไล่ได้ทห่ี นึ่งได้เป็ นจิ้นซือ หรือจอหงวน และบรรดานักศึกษาทีม่ าสอบจึงร่วมกันเขียนคากราบบังคมทูลเสนอ การปฏิรูปแก่ราชสานัก หลายครัง้ จนถึง ค.ศ. 1897 จักรพรรดิกวงสูจงึ ได้อ่านคา กราบบังคมทูลทีน่ ักศึกษาเหล่านี้ถวายเป็ นครัง้ ที่ 5 ขณะนัน้ จักรพรรดิกวงสูมพี ระ ชนม์ยส่ี บิ กว่าพรรษาแล้ว แต่ไม่มอี านาจในการปกครอง เพราะอานาจบริหารอยูใ่ น มือของพระนางฉือซี จักรพรรดิกวงสูได้เรียนภาษาอังกฤษและรับรูถ้ งึ ปญั หาทีจ่ นี กาลังเผชิญอยู่ จึงตัดสินใจจะทาให้ตนเองมีอานาจในการปกครองอย่างแท้จริง จึง สนใจแนวทางการปฏิรปู ทีน่ กั ศึกษาเสนอมา ข้อเสนอในคากราบบังคมทูล เช่น จีน ต้องมีกองทัพ ที่ทนั สมัย พัฒ นา อุตสาหกรรม ราชสานักควรใช้ป ระโยชน์จากทักษะด้านเทคโนโลยีจากชาวจีนโพ้น ทะเลในภู ม ิภ าคเอเชีย ตะวัน ออกเฉี ย งใต้ ควรขึ้น ภาษี เพื่อ น าเงิน มาใช้พ ัฒ นา ประเทศ พัฒ นาระบบธนาคารแห่ งชาติ สร้างทางรถไฟเชื่อ มโยงทัว่ ประเทศ สร้างเรือขนส่งสินค้า จัดระบบไปรษณีย์ท่ที นั สมัย ปรับปรุงการเกษตร เช่น ตัง้ โรงเรียนฝึ กสอนทางการเกษตร ตัง้ ศูนย์พฒ ั นาอุตสาหกรรม จัดระบบทีอ่ ยู่อาศัย และทีท่ ากินในหมูค่ นจนและในชนบท และจีนควรพัฒนาโดยดูตวั อย่างจากต่างชาติ เช่น นักปฏิรูปชาวญี่ปุ่นในสมัยเมจิ จอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นโปเลียน โบนาปาร์ต แห่งฝรังเศส ่ และพระเจ้าปี เตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย3 ในช่วง นี้ ห นั ง สือ พิ ม พ์ ภ าษาจี น และบทความต่ า งๆ พากัน เสนอแนวคิด ของนั ก คิ ด ชาวตะวันตกและยกตัวอย่างประเทศทีเ่ คยยิง่ ใหญ่แต่ตอ้ งเผชิญกับปญั หาการเมือง และเศรษฐกิจในขณะนัน้ เช่น ตุรกี อินเดีย ซึง่ สภาพของจีนก็ไม่ต่างกัน เพราะ จีน เคยเป็ นชาติท่ยี ิ่งใหญ่ แต่ต้องเผชิญ กับอานาจของชาติตะวัน ตกที่ได้รบั สิทธิ พิเศษด้านเศรษฐกิจและสิทธิใ นการพักอาศัยอยู่ในเมืองจีน ทาให้ชาวจีนรูส้ กึ ไม่ พอใจการขยายอานาจของชาติตะวันตกอย่างมาก และชาวจีนบางกลุ่มต้องการ ปฏิรปู ประเทศ Spence. (2013). op.cit. pp. 217 – 218. 2 Ibid. p. 218. 3 Ibid. p. 220. 1

65


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1898 คัง โหย่วเว่ย ได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็ นผูน้ าการ ปฏิรปู ทีต่ ่อมาเรียกว่า การปฏิรปู ร้อยวัน เพราะมีอายุดาเนินการ 103 วัน (ระหว่าง 11 มิถุนายน ถึง 20 กันยายน ค.ศ. 18981) คัง โหย่วเว่ย เห็นว่า ระบบกฎหมาย และการปกครองของจีน อ่ อนแอ จนอาจท าให้จีน ล่ ม สลายลง จีน จึงต้องปฏิรูป ประเทศ โดยดูแบบอย่างจากพระเจ้าปี เตอร์มหาราชแห่งรัสเซีย และจักรพรรดิเมจิ แห่งญี่ปุ่น เพื่อให้จีน มีรฐั ธรรมนู ญ ในการปกครองประเทศและรวมอานาจเข้า สู่ ศูนย์กลาง1 จักรพรรดิกวงสูออกพระราชกฤษฎีกาหลายสิบฉบับ เช่น ให้ตงั ้ โรงเรียน สมัยใหม่ทส่ี อนทัง้ ความรูแ้ บบจีนและความรูแ้ บบสมัยใหม่ โดยหากโรงเรียนไม่พอ ให้ใช้วดั เป็ นสถานทีเ่ รียน การสอบคัดเลือกขุนนางทุกระดับให้ใช้หลักสูตรทีม่ วี ชิ า ปญั หาปจั จุบนั ให้แก้กฎหมายเพื่อนาไปสู่การยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ตัง้ โรงเรียนฝึกหัดแพทย์ ตัง้ สานักเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรมในกรุง เปย่ จิงและส่วนท้องถิน่ จัดทางบประมาณประจาปี ของประเทศ ส่งเสริมการผลิตใบ ชาและไหมเพื่อส่งออก ตัง้ โรงเรีย นการรถไฟ การเหมืองแร่ ปฏิรูป กองทัพ บก กองทัพเรือ ตารวจ และการไปรษณีย์ ตัง้ ธนาคารและหอการค้า ตัง้ สานักงาน แปล มีเหลียง ฉีเชา เป็ นผูอ้ านวยการ ยกเลิกตาแหน่งขุนนางทีไ่ ด้เงินเดือนเปล่าๆ โดยไม่ตอ้ งทาอะไร และให้สทิ ธิผพู้ พิ ากษาตามท้องถิน่ ร้องเรียนถึงจักรพรรดิได้ ระหว่างการปฏิรปู คัง โหย่วเว่ย และนักปฏิรปู หนุ่ มคนอื่นๆ ได้รบั แต่งตัง้ ให้ทางานในหน่ วยงานต่างๆเช่น กระทรวงทัง้ หก สานักราชเลขาธิการ สานักงาน การต่างประเทศ เพื่อเป็ นกาลังสาคัญในการปฏิรปู และอาจรวมถึงเป็ นกาลังในการ ต่อต้านขุนนางผูใ้ หญ่ซ่งึ เป็ นฝ่ายไม่เห็นด้วยกับการปฏิรูป 2 ดังนัน้ บรรดานักคิด เหล่ า นี้ จึงมีบ ทบาทในการอภิป รายแนวทางการปฏิรูป และท าบัน ทึก กราบทู ล จักรพรรดิแ ละที่ป รึกษา ตัว อย่างข้อเสนอหนึ่ งของ คัง โหย่วเว่ย เช่น เสนอให้ จักรพรรดิกวางสูดคู วามล้มเหลวของตุรกีและความสาเร็จของญีป่ นุ่ สมัยเมจิ การออกพระราชกฤษฎีกาเหล่านี้ขดั กับผลประโยชน์ เดิม เช่น การสอบ เข้ารับราชการโดยใช้หลักสูตรใหม่ ทาให้นักศึกษาทีเ่ ตรียมตัวมานานไม่พอใจ การ ปิ ดวัดทาให้ผมู้ อี ทิ ธิพลในท้องถิน่ และคนที่อาศัยวัดหาผลประโยชน์ ไม่พอใจ การ ปลดขุนนางทีม่ งี านซ้าซ้อนกันทาให้ขนุ นางบางกลุ่มไม่พอใจ ส่วนพระนางฉือซีกไ็ ม่ พอใจที่ จ ะยกเลิ ก การศึ ก ษาตามต าราคลาสสิ ก และการปราบทุ จ ริต ซึ่ ง เป็ น 1 2

Hsu. (1995). op.cit. p.369. Gray. (2002). op.cit. p.133. 66


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ผลประโยชน์ของขุนนางของพระนาง ผลทีส่ ุดกลุ่มปฏิรปู ถูกฝา่ ยพระนางฉือซียดึ อานาจ จักรพรรดิถูกควบคุมในพระตาหนัก คัง โหย่วเว่ย และ เหลียง ฉีเชา หลบหนีไปฮ่องกง ญีป่ นุ่ และแคนาดาในเวลาต่อมา ส่วนนักปฏิรปู คนอืน่ ๆ ก็พากัน หลบหนี บางคนถูกลงโทษประหารชีวติ ส่วนพระราชกฤษฎีกาทีอ่ อกมาถูกยกเลิก เกือ บทัง้ หมดเหลื อ เพี ย งข้อ เดี ย วคือ การตั ง้ สถานศึ ก ษาที่ พ ั ฒ นาต่ อ มาเป็ น มหาวิทยาลัยเปย่ จิง (เปย่ ต้า)

คัง โหย่วเว่ย ผูน้ าการปฏิรปู ร้อยวัน

พระนางฉือซี ผูม้ อี านาจสูงสุดในปลาย ราชวงศ์ชงิ

เหลียง ฉีเชา ผูอ้ านวยการสานักงาน แปลช่วงการปฏิรปู ร้อยวัน

จักรพรรดิกวงสู พยายามปฏิรปู แต่ไม่สาเร็จ

67


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อิม มานู เอล ซี . วาย. สีว์ (Immanuel C.Y. Hsü) นั ก วิช าการตะวัน ตก สรุปว่าความล้มเหลวของการปฏิรูปร้อยวันสะท้อนให้เห็นว่า การปฏิรูปจากเบื้อง บนลงมาเบื้องล่างไม่ประสบความสาเร็จ การทีพ่ ระนางฉือซีและพวกอนุ รกั ษ์นิยม กลับ มามีอานาจ และสนับ สนุ นการต่อต้านต่างชาติในเหตุการณ์ การจลาจลของ พวกนักมวยเวลาต่อมา ทาให้จีน ประสบความลาบาก นอกจากนี้ การลงโทษ นักปฏิรปู และการต่อต้านชาวจีน ทาให้ช่องว่างระหว่างคนจีนกับคนแมนจูเพิม่ มาก ขึน้ และชาวจีนมีความรูส้ กึ ว่าต้องโค่นล้มรัฐบาลแมนจูชาวจีนจึงจะอยูร่ อด แจ๊ค เกรย์ (Jack Gray) เห็นว่าการปฏิรูปร้อยวันล้มเหลวเพราะความคิด ของคนจีนส่วนใหญ่ยงั คงไม่เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกัน หลังจากความล้มเหลวในครัง้ นี้ ความคิดของชาวจีนทีท่ นั สมัยก็จะเริม่ มีอทิ ธิพลมากขึ้น ความพยายามของ คัง โหย่ว เว่ ย ที่จ ะรวบรวมความคิด เพื่อที่จ ะกดกัน พวกอนุ ร กั ษ์ นิ ย มยังไม่ ป ระสบ ความส าเร็จ แต่ ต่ อ มาความกดดัน นี้ ก็เติบ โตรวดเร็ว การปฏิรูป ไม่ ได้ร บั การ สนับสนุ นจากขุนนางแมนจู มีเพียงจักรพรรดิกวงสูเพียงคนเดียวที่สนับสนุ นการ ปฏิรปู แต่กเ็ ป็ นไปเพื่อปกป้องอานาจของตนเป็ นหลัก1 เมือ่ การปฏิรปู ไม่สาเร็จทา ให้นกั ชาตินิยมส่วนหนึ่งได้หนั ไปหาแนวทางการปฏิวตั ิ อาจสรุปได้ว่า ความล้มเหลวของการปฏิรปู ร้อยวันมีหลายสาเหตุ ประการ แรกเป็ นเพราะจักรพรรดิไม่มอี านาจอย่างแท้จริง ประการทีส่ อง บรรดานักปฏิรปู ที่ เป็ นขุนนางรุ่นใหม่ไม่มปี ระสบการณ์ ในการปฏิรปู มาก่อน ผูน้ าในการปฏิรปู เช่น คัง โหย่วเว่ย ไม่เคยทางานกับรัฐบาลมาก่อนและไม่เคยไปต่างประเทศ มีความรู้ เกีย่ วกับตะวันตกเพียงเล็กน้อยจากหนังสือแปล และคัง โหย่วเว่ย ไม่ตอ้ งการล้ม ระบบจักรพรรดิ นอกจากนี้ยงั ถูกคัดค้านอย่างหนักจากพวกอนุ รกั ษ์นิยมทีเ่ กรงว่า ระบบขงจื่อจะถูกทาลาย และการสูญเสียผลประโยชน์ ของพวกขุนนางบางกลุ่มทา ให้ไม่เห็นด้วยกับการปฏิรปู และต่อต้านการคุกคามจากตะวันตก 2 2. กำรลุกฮือของพวกนักมวย (The Boxer Uprising ค.ศ. 1900) การลุกฮือของพวกนักมวยเป็ นเหตุการณ์ทช่ี าวจีนซึง่ ส่วนใหญ่เป็ นชาวนา ทีฝ่ ึ กวิชาหมัดมวย และสมาชิกของสมาคมลับต่อต้านราชวงศ์ชงิ สมาคมอื่นๆ เช่น สมาคมลับดอกบัวขาว สมาคมฟ้าดิน รวมกลุ่มในชื่อ สมาคมอี้เหอฉวน (Yi He 1 2

Hsu. (1995). op.cit. p.471- 475 and Gray. (2002). op.cit. pp.134 – 135. Gray. (2002). op.cit. p.134 และ วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2521). เล่มเดิม. หน้า 44 – 45. 68


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

Quan) หรือ ก าป นั ้ เพื่อ ความยุ ติธ รรมและสามัค คี ในเขตมณฑลซานตงทาง ตะวันออก และมณฑลเหอเปย่ ทางตอนเหนือของจีน รวมตัวกันต่อต้านและทาร้าย ชาวจีนทีน่ ับถือศาสนาคริสต์และชาวต่างชาติในเมืองจีน โดยเกิดจากสาเหตุหลาย ประการ ได้แก่ ประการแรก คือ ความไม่พอใจชาวตะวันตกทีข่ ยายอิทธิพลเข้ามาในเมือง จีนอย่างมาก โดยระหว่าง ค.ศ. 1898 – 1899 ก่อนการเกิด การจลาจลของพวก นักมวยนั น้ ชาติมหาอานาจรวมถึงญี่ปุ่น ขยายอานาจเข้ามาในพื้น ที่ต่างๆ ทัว่ ประเทศจีนมากขึน้ ซึง่ สร้างความรูส้ กึ กดดันและเกลียดชังชาวตะวันตกในหมู่ชาว จีนส่วนใหญ่ทก่ี ลัวว่าประเทศของตนจะถูกผ่าเป็ นเสีย่ งๆ ประการทีส่ องเกิดจากความไม่พอใจทีช่ าวตะวันตกเข้ามาเผยแผ่ศาสนา คริสต์ในจีน ทาให้คนจีนจานวนมากเปลี่ยนศาสนา ซึ่งส่งผลไปถึงเรื่องสิทธิสภาพ นอกอาณาเขตทีช่ าวต่างชาติได้รบั สิทธิไม่ต้องขึน้ ศาลจีนเมื่อทาผิด และชาวจีนที่ เข้า รีต ก็ไ ด้ ร บั การคุ้ม ครองจากชาวต่ า งชาติด้ ว ย ท าให้ เกิด ความไม่ พ อใจทัง้ ชาวต่างชาติและชาวจีนทีเ่ ข้ารีต ั หา ประการที่ส ามเกิด จากความยากล าบากในการด ารงชีวิต จากป ญ เศรษฐกิจและภัยธรรมชาติ หลังจากทีช่ าติตะวันตกได้รบั อนุ ญาตให้คา้ ขายได้ใน เมืองท่าตามสนธิสญ ั ญาฉบับต่างๆ และเสียภาษีสนิ ค้าขาเข้าเพียงร้อยละ 5 ทาให้ สิน ค้า อุต สาหกรรมที่ม ีร าคาถู กจากต่ า งชาติห ลัง่ ไหลเข้า มาในจีน แทนที่ส ิน ค้า อุตสาหกรรมพืน้ บ้านของจีน ชาวจีนขายสินค้าได้น้อยลงหรือขายไม่ได้เนื่องจากถูก ตีตลาดจากสินค้าราคาถูกของต่างชาติ ประกอบกับการเข้ามาสร้างทางรถไฟใน จีนเพื่อขนส่งสินค้าของชาติตะวันตก ทาให้ชาวจีนทีม่ อี าชีพรับจ้างขนส่งสิ นค้าใน เส้นทางคลองต้ายุ่นเหอ (Dayunhe) ที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้ของจีน ได้รบั ผลกระทบ รวมถึงชาวบ้านทีอ่ ยู่ในเส้นทางคลองต้ายุ่นเหอและกรรมกรแบก หามตามท่าเรือต้องตกงาน1 ในส่วนปญั หาภัยธรรมชาตินนั ้ ชาวจีนในเขตมณฑลซานตงต้องเผชิญกับ อุทกภัยเป็ นประจา เนื่องจากการเปลีย่ นทางเดินของแม่น้าหวงเหอ ซึง่ ชาวบ้านเชื่อ ว่าเป็ นผลมาจากการสร้างทางรถไฟและการทาเหมืองแร่ของต่างชาติ ทาให้สมดุล ธรรมชาติตามความเชื่อเรื่องลมและน้ า หรือเฟิ งสุ่ย (feng sui) หรือฮวงจุ้ย ถู ก ทาลาย Gray. (2002). op.cit. pp.135 – 136. และธมาภรณ์ พูมพิจ. (2547). การตอบสนอง ของจีนต่อการคุกคามของชาติมหาอานาจ ระหว่าง ค.ศ.1895 – 1912. หน้า 66 – 67. 1

69


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

อุดมการณ์ แรกของสมาคมคือ ต่อต้านราชวงศ์ชงิ ฟื้ นฟูราชวงศ์หมิง แต่ ภายหลังเปลีย่ นเป็ นต่อต้านชาติตะวันตก สมาชิกส่วนใหญ่เป็ นชาวนายากจนทีไ่ ด้ ฝึ กฝนศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว และเชื่อว่าได้รบั ความคุม้ ครองจากเทพเจ้าตาม ความเชื่อท้องถิ่น เชื่อในเรื่องการใช้เวทมนตร์คาถาให้ร่างกายอยู่ ยงคงกระพัน สมาชิก ทุ ก คนต้อ งปฏิบ ัติต ามอุ ด มการณ์ ข องสมาคม คือ ต้ อ งสาบานว่ า จะฆ่ า ชาวตะวันตก ชาวจีนทีเ่ ข้ารีตและชาวจีนทีเ่ ป็ นมิตรกับตะวันตก โดยพวกมวยจะใช้ หมัดมวยหรือเวทมนตร์คาถาในการทาร้ายชาวตะวันตกและชาวจีนทีเ่ ข้ารีต ในระยะแรกการดาเนินการของพวกมวยมีการรวมกลุ่มคล้ายสมาคมลับ เน้นการต่อต้านราชวงศ์ชงิ แต่เริม่ เปลี่ยนอุดมการณ์ มาเป็ นต่อต้านชาวตะวันตก เมื่อ ค.ศ. 1897 เมื่อสมาชิกในสมาคมดาบใหญ่ (Big Swords Society) สังหารชาว เยอรมนี 2 คน ในมณฑลซานตงซึง่ เป็ นเขตอิทธิพลของเยอรมนี เยอรมนีจงึ เข้ายึด เมือ งเจีย วโจวและเผาหมู่ บ้ า นของสมาชิก สมาคมดาบใหญ่ ท่ีเป็ น ผู้ต้อ งสงสัย เหตุการณ์น้ีเป็ นจุดทีท่ าให้พวกมวยเริม่ หันไปต่อต้านชาวตะวันตก และทาให้ได้ร บั การสนับสนุนจากขุนนางแมนจู หนึ่งในนัน้ คือข้าหลวงมณฑลซานตง ชือ่ อวี้ เสียน (Yu Xian) ซึง่ มีแนวคิดต่อต้านการเผยแผ่ศาสนาคริสต์และชาวต่างชาติ รวมทัง้ ชัก จูงพระนางฉือซีให้การอุปถัมภ์พวกนักมวยด้วย1

สมาชิกของพวกนักมวย

1

Gray. (2002). op.cit. pp. 136-137. 70


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

การปฏิบตั กิ ารของพวกมวยถือว่าเป็ นการกระทาทีผ่ ดิ กฎหมาย แต่การที่ พวกมวยทาการต่อต้านชาวต่างชาติ ทาให้เจ้าหน้าทีจ่ นี ไม่แน่ ใจว่าควรปฏิบตั ติ ่อ พวกมวยเช่นไร แต่เมื่อราชสานักอยู่เบื้องหลังการกระทาของพวกมวย ขุนนางจีน จานวนมากก็จายอมต่อการกระท าของพวกมวย และเมื่อ พวกมวยน าเรื่องไสย ศาสตร์ โหราศาสตร์ การอยู่ย งคงกระพัน มาจูงใจท าให้ ช าวจีน ทัง้ ที่ม ีแ ละไม่ ม ี การศึกษาเข้าร่วมสมาคมมวยหรือ ให้การสนับ สนุ น ในทางอื่น ๆ 1 เมื่อพวกมวย ได้รบั การสนับสนุ นจากพวกผูด้ ีและขุนนาง อวี้ เสียน ข้าหลวงมณฑลซานตงทีใ่ ห้ ั ้ ่อ การสนับสนุ นพวกนี้ตงั ้ แต่แรกได้เปลีย่ นชื่อจาก สมาคมอีเ้ หอฉวน หรือ กาปนเพื ความยุตธิ รรมและสามัคคี เป็ น อี้เหอถวน หมายถึง กองกาลังเพื่อความยุตธิ รรม และสามัคคี ความวุ่ น วายเริ่ม ขึ้น ตัง้ แต่ เดือ นมิถุ น ายน ค.ศ.1900 เมื่อ พวกนั ก มวย รวมตัวกันในกรุงเปย่ จิง โดยมีคนของราชสานักสนับสนุนอยูล่ บั ๆ พวกนักมวยทา ร้ายและสังหารชาวจีนทีเ่ ข้ารีต รวมถึงชาวต่างชาติ เช่น ชาวเยอรมนี ต่อมาได้เข้า ปิ ด ล้ อ มสถานทู ต ต่ า งชาติไ ว้ น านกว่ า 50 วัน จากนั ้น ในวัน ที่ 21 มิถุ น ายน ค.ศ.1900 พระนางฉือซีออกประกาศสงครามต่อต้านอานาจของชาติตะวันตก 2 ทาให้เป็ นทีแ่ น่ชดั ว่าราชสานักอยูเ่ บือ้ งหลังพวกนักมวย

ชาวต่างชาติถูกจับโดยพวกมวย

1 2

Ibid. Spence. (2013). op.cit. p.223. 71


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การต่อสูร้ ะหว่างพวกมวยกับกองทัพต่างชาติ

การสูร้ บระหว่างพวกมวยกับต่างชาติ

ชาติต ะวัน ตกและญี่ปุ่น ร่วมกัน ตัง้ กองทัพ พัน ธมิตรขึ้น มีทหารประมาณ 20,000 คน ซึ่ง มีท ัง้ ชาวญี่ ปุ่ น รัส เซี ย อัง กฤษ ฝรัง่ เศส และสหรัฐ อเมริก า กองทัพพันธมิตรยึดเมืองเทียนจินได้ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1900 และทาลาย ทางรถไฟสายเทีย นจิ น –เป่ ย จิง ในวัน ที่ 14 สิง หาคม กองทัพ อังกฤษบุ ก ยึด สถานทูตนานาชาติคนื ได้เป็ นชาติแรก และกองทัพพันธมิตรได้เข้าไปประจาใน สถานทูต เมือ่ สถานการณ์เข้าขัน้ วิกฤติ พระนางฉือซีและจักรพรรดิกวงสูได้ลภ้ี ยั ไป เมืองซีอาน ราชสานักแต่งตัง้ ให้หลี่ หงจาง เป็ นตัวแทนเจรจากับตะวันตก และลง นามในข้อตกลงร่วมกันในเดือนกันยายน ค.ศ. 1901 เรียกว่า อนุ สญ ั ญาบ็อกเซอร์ (Boxer Protocol) สาระส าคัญ คือ ให้ล งโทษผู้ก ระท าผิด และประหารผู้น าที่ 72


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

สนั บ สนุ น พวกมวย ให้จีน ชดใช้ค่ า เสีย หายจากการจลาจล 450 ล้า นต าลึง (รายได้ต่อปี ของจีนในขณะนัน้ คือ 250 ล้านตาลึง) จีนต้องส่งคณะทูตไปขอโทษ เยอรมนี แ ละญี่ ปุ่ น ให้ม ีก องทหารอารัก ขาทู ต และให้ย กฐานะส านั ก งานการ ต่างประเทศเป็ น กระทรวงการต่างประเทศ ให้ท าลายป้ อมต้า กูแ ละอื่น ๆ ที่อยู่ ั่ ระหว่างเป่ยจิงและชายฝงทะเล รวมทัง้ ห้ามนาเข้าอาวุธ 25 ปี ห้ามจัดการสอบทุก อย่างในเมืองทีต่ ่อต้านชาวต่างชาติเป็ นเวลา 5 ปี และจีนต้องสร้างอนุ สาวรีย์เพื่อ ระลึกถึงชาวตะวันตกกว่า 200 คน ทีเ่ สียชีวติ จากเหตุการณ์น้ี1 หลังเหตุการณ์ สงบ พระนางฉือซีเสด็จกลับกรุงเป่ยจิงโดยทางรถไฟ และ ในปลายเดื อ นมกราคม ค.ศ. 1902 ราชส านั ก ชิ ง ได้ จ ัด งานต้ อ นรับ คณะทู ต ต่างประเทศอย่างมีไมตรีทพ่ี ระราชวังหลวง การลุกฮือของพวกนักมวยและอนุสญ ั ญาบ็อกเซอร์ สะท้อนถึงความตกต่า ถึงขีดสุดของความสัมพันธ์กบั ต่างประเทศสมัยราชวงศ์ชงิ ทาให้จนี ต้องทาสัญญา กับตะวันตก และสหรัฐอเมริกาต้องเข้ามาดูแลให้ความเป็ นธรรมกับจีน ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกาขยายอิทธิพลในจีนเพิม่ ขึน้ แต่การจลาจลของพวกนักมวยก็ส่งผล ให้พ ระนางฉื อซีแ ละเหล่ า ที่ป รึก ษาเห็น ใจชาวนามากขึ้น เพราะได้เห็น ชีวิต ที่ ยากลาบากของชาวนาระหว่างทีล่ ้ภี ยั และทาให้ราชสานักเห็นความจาเป็ นว่าจีน จาเป็ นต้องปฏิรปู ประเทศ ข้าหลวงประจามณฑลภาคกลางและภาคใต้ของประเทศ ที่เคยต่ อ ต้ า นการช่ ว ยเหลื อ พวกมวยของราชส านั ก มีค วามกล้ า มากขึ้น ที่จ ะ เปลีย่ นแปลงสิง่ ต่างๆ และนาไปสู่การปฏิรปู ของราชสานักโดยมีพระนางฉือซีเป็ น ผูส้ นับสนุน

หลี ่ หงจาง ลงนามในอนุสญ ั ญาบ็อกเซอร์ ค.ศ.1901

1

Ibid. p. 233 73


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ความรูส้ กึ เป็ นศัตรูกบั ชาติตะวันตกและความรูส้ กึ หวาดกลัวทีเ่ กิดขึน้ ของ คนจีน ทาให้ความรูส้ กึ ชาตินิยมของคนจีนเพิม่ มากขึน้ และมีการเคลื่อนไหวด้าน ชาตินิยมเกิดขึน้ ในหลายรูปแบบหลังจากการลุกฮือของพวกมวย เช่น การพิมพ์ หนั ง สือ เรื่อ ง กองทัพ ปฏิ ว ัติ (The Revolutionary Army) ของ โจว หรง (Zou Rong, ค.ศ. 1885 - 1905) ใน ค.ศ. 1903 ที่ เ รีย กร้อ งให้ ช าวจี น ต่ อ ต้ า นการ ปกครองของแมนจู ปลดปล่อยประเทศจากการยึดครองของตะวันตก และเปลี่ยน การปกครองเป็ นแบบสาธารณรัฐ1 ซึง่ มีอทิ ธิพลมากต่อแนวคิดของบรรดานักปฏิวตั ิ รุน่ ใหม่ และการต่อต้านการออกกฎหมายต่อต้านคนจีนของสหรัฐอเมริกนั ใน ค.ศ. 1905 ซึ่งปฏิกริ ยิ าต่อต้านชาวตะวันตกที่รุนแรงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ การลุกฮือ ของพวกนักมวย โจนาธาน ดี. สเปนซ์ (Jonathan D. Spence) เห็นว่าเหตุการณ์ เหล่านี้เป็ นการแสดงออกถึงความรูส้ กึ ชาตินิยมของคนจีน ซึง่ สาหรับชาวจีนแล้วถือ เป็ น เรื่องที่ใหม่ และเร่งด่ วนที่ต้องคิด ถึงลักษณะความสัม พัน ธ์ท่คี นจีน ต้องมีต่ อ ชาวตะวัน ตกและชาวแมนจู และความรู้ส ึกนี้ น ามาซึ่งความรู้ส ึกเป็ น อัน หนึ่ งอัน เดียวกันของชาวจีนทีเ่ ห็นว่าต้องรวมตัวกันเพือ่ ความอยูร่ อด2 3. กำรปฏิ รปู ของรำชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1901 – 1908) เมื่อพระนางฉือซีกลับมาปกครองประเทศอีกครัง้ ได้เกิดการเปลีย่ นแปลง ขึน้ พระนางฉือซีออกพระบรมราชโองการให้มกี ารปรับปรุงประเทศใน ค.ศ.1901 ทาให้ขุนนางและปญั ญาชนเกิดความตื่นตัวเรื่องการปฏิรูปประเทศอีกครัง้ โดยมี หลักการคือ “นาสิง่ ทีด่ ขี องตะวันตก มาปรับปรุงข้อบกพร่องของจีน ” การปฏิรูป ของราชวงศ์ชงิ ในครัง้ นี้เน้นให้มกี ารปฏิรปู สถาบันต่างๆ อย่างจริงจัง เพราะทีผ่ ่าน มาการศึกษาภาษาต่างประเทศ การนาเครื่องจักรและอาวุธของต่างชาติมาใช้เป็ น เพียง “ผิวหนังและเส้นผมของเทคโนโลยีตะวันตก” ไม่ใช่รากฐานความเจริญของ ชาติตะวันตก ซึง่ มีพน้ื ฐานอยูท่ ร่ี ปู แบบการปกครองแบบตะวันตก3 ขุ น นางที่ ม ีบ ทบาทส าคัญ ในการปฏิ รูป ของราชส านั ก คือ จาง จื่อ ตง ข้าหลวงใหญ่มณฑลหูหนาน – หูเป่ย และหลิว คุนอี้ ข้าหลวงใหญ่มณฑลเจียงซีอานฮุย-เจียงซู พืน้ ทีท่ ข่ี นุ นางทัง้ สองปกครองนี้อยู่ในบริเวณลุ่ มแม่น้ าฉางเจียงซึ่ง Spence. (2013). op.cit. p. 226. 2 Ibid. p. 222. 3 จอห์น เค แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ (2525). เอเชียตะวันออกยุคใหม่ เล่ม 3. หน้า 771. 1

74


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

เป็ นเขตทีม่ กี ารขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก จาง จื่อตง และหลิว คุนอี้ สามารถ รักษาความสงบกับต่างชาติและจงรักภักดีต่อราชวงศ์ชงิ ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1901 ทัง้ สองคนเสนอโครงการปฏิรปู ทีค่ ล้ายกับการปฏิรปู 100 วัน คือ ใช้วธิ กี าร ของตะวันตก แต่ไม่ละทิง้ ลัทธิขงจื่อ จาง จื่อตง กล่าวว่า “ความรูส้ กึ ของประชาชน ไม่ เ หมื อ นกั บ เมื่ อ 30 ปี มาแล้ ว ประชาชนนิ ย มชมชอบความร่ า รวยของ ต่างประเทศและชิงชังความยากจนของประเทศจีน” รวมทัง้ นิยมความเข้มแข็งกอง ทหารต่างชาติ การทางานอย่างตรงไปตรงมาของการเก็บภาษี การรักษาความ เป็ นระเบียบเรียบร้อยอย่างเข้มงวดในเขตเช่าของต่างชาติ1 อย่างไรก็ตาม กล่าวได้ว่าการปฏิรูปครัง้ นี้ไม่ได้ทาโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ พัฒนาประเทศอย่างแท้จริง แต่ทาเพือ่ รักษาอานาจของราชสานักเป็ นหลัก เพราะ ในช่วงนี้กระแสเรียกร้องให้ลม้ ล้างราชวงศ์ชงิ แพร่หลายในหมูช่ าวจีนโพ้นทะเลและ เกิดกบฏต่อต้านราชวงศ์ชงิ ในพืน้ ทีต่ ่างๆ

จาง จือ่ ตง หนึง่ ในผูเ้ สนอโครงการปฏิรปู ประเทศ จนเกิดการปฏิรปู ราชวงศ์ชงิ

แผนการปฏิรปู ของราชวงศ์แมนจู มีดงั นี้ กำรปฏิ รปู กำรศึกษำ เริม่ จากการยกเลิกการสอบเรียงความแปดตอนใน ค.ศ. 1901 และในปี ต่อมาให้เริม่ สอบวิชาเหตุการณ์ปจั จุบนั มีการจัดหลักสูตรการ เรียนการสอนใหม่โดยเรียนตามตาราของจีนและนาความรูส้ มัยใหม่ของตะวันตก เข้ามาผสมผสาน วิช าที่เรีย น เช่น ประวัติศาสตร์ ภู ม ิศ าสตร์ การเมือ งการ ปกครอง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และปรับปรุงเนื้อหาการสอบเข้ารับราชการให้ มีความรูท้ งั ้ ของจีนและตะวันตก ตลอดจนส่งคนไปดูงานและศึกษาต่อต่างประเทศ จัดสอบวิช าเศรษฐกิจ การเมือง ส าหรับ ราชบัณ ฑิตฮานหลิน จัด สอบประจ าปี 1

แหล่งเดิม. 75


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

สาหรับนักศึกษาทีจ่ บมาจากต่างประเทศ คัดเลือกนักเรียนแต่ละมณฑลไปศึกษายัง ต่างประเทศ ตลอดจนยกระดับการศึกษาด้วยการยกฐานะสถานศึกษาระดับมณฑล เป็ นวิทยาลัย ใน ค.ศ.1904 ราชสานักชิงปรับปรุงและขยายโครงการการศึกษาแบบใหม่ ตามแบบอย่างญี่ปุ่น คือ แบ่งการศึกษาออกเป็ นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา วิทยาลัย และอุดมศึกษา แต่เป็ นไปอย่างล้าช้า เพราะปญั หาหลายประการ เช่น หัว เมืองไม่ยอมรับ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรแบบใหม่ การขาดแคลนครูแบบใหม่ และนักเรียนทีส่ ง่ ไปเรียนยังต่างประเทศมักไม่กลับมาช่วยพัฒนาประเทศ หรือเรียน ไม่สาเร็จ ดังนัน้ เพือ่ ให้การปฏิรปู ได้ผลดีมากขึน้ ทางการจึงตัง้ กระทรวงศึกษาธิการ ขึน้ มาเมื่อ ค.ศ. 1905 ในปี เดียวกันนี้ได้มกี ารเรียกร้องให้ยกเลิกการสอบไล่เข้ารับ ราชการตามแบบเก่าซึง่ จะมีผลตัง้ แต่ ค.ศ. 1906 ปรับปรุงการสอบเข้ารับราชการ โดยเพิ่มวิชารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ปญั หาในป จั จุบนั และส่งเสริมการแปล หนังสือตารา ั หาการขาดแคลนครู การขาดเงิน จ้ า ง การปฏิ รู ป การศึ ก ษามี ป ญ ชาวต่ างชาติ ท าให้ท างการจีน ส่งนักเรียนไปศึกษาที่ป ระเทศญี่ปุ่ น ซึ่งขณะนั น้ พัฒนามากแล้วแทน ทาให้ลดปญั หาค่าใช้จ่ายลงได้สว่ นหนึ่ง กำรปฏิ รูป กำรปกครอง มีเป้ าหมายเพื่อ สร้า งรัฐ บาลที่ดี มัง่ คัง่ มี อานาจมันคง ่ จึงมีการด าเนิ น การต่างๆ เช่น ตัด ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จาเป็ น ลด จานวนคนรับใช้ ยกเลิกระเบียบการทางานทีซ่ ้าซ้อน ยกเลิกการซื้อขายตาแหน่ ง ขุนนาง มีการตรวจสอบการทางาน เพิม่ เงินเดือนให้ผทู้ ท่ี างานดี ลดการลงโทษ จาคุก ปรับปรุงระบบการสอบคัดเลือกขุนนาง ลดจานวนทหารกองธงและวาง แผนการดารงชีวติ ใหม่ให้ทหารแปดกองธง ซึ่งเป็ นกลุ่มทีเ่ คยได้รบั ผลประโยชน์ มากเพราะเป็ นกองทหารเก่าแก่ของราชวงศ์ชงิ ลดความซ้าซ้อนด้านเอกสาร และ ปรับปรุงกฎหมาย เป็ นต้น หลังจากญี่ปุ่นชนะรัสเซียในสงคราม ค.ศ.1904–1905 (Russo-Japanese War) จี น จึ ง มองเห็ น ความส าคัญ ของการปกครองระบอบรัฐ ธรรมนู ญ ว่ า มี ประสิทธิภาพในการเป็ นพื้นฐานสร้างเอกภาพของผูป้ กครองและผูอ้ ยู่ใต้ปกครอง เพื่อทางานให้ชาติ1 แม้กระทังรั ่ ส เซียก็มกี ารปกครองแบบรัฐสภาใน ค.ศ.1905 ฝ่ายปฏิรูปของราชวงศ์ชงิ จึงหวังว่าถ้ารวมการปกครองระบบรัฐธรรมนู ญกับการ เปลี่ยนแปลงรัฐบาลเพื่อสร้างอานาจบริหารในส่วนกลางแล้ว จะทาให้พวกที่คุม 1

แหล่งเดิม. หน้า 785. 76


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ผลประโยชน์ในส่วนภูมภิ าคได้มสี ่วนร่วมกับรัฐบาลในการปกครองบริหารประเทศ ซึ่งจะท าให้เกิด ความเป็ น เอกภาพในบ้ า นเมือ งและความมัน่ คงของราชส านั ก ดังนัน้ ระหว่าง ค.ศ. 1906 – 1911 ราชสานักจึงพยายามปรับปรุงการบริหารให้ ทันสมัยเพื่อให้สอดคล้องกับระบอบรัฐธรรมนู ญ แต่ผลกลับกลายเป็ นว่าเกิดการ แย่งอานาจกันระหว่างขุนนางส่วนกลางกับส่วนภูมภิ าค ในเมืองหลวงเชือ้ พระวงศ์ แมนจูยดึ อานาจไว้ได้และกุมตาแหน่งในรัฐบาลมากขึน้ รวมทัง้ ขัดขวางไม่ให้มกี าร ปฏิรปู และทาให้การรวมอานาจไว้ทส่ี ว่ นกลางลาบากมากขึน้ ขณะเดีย วกัน ความรู้ส ึกชาตินิ ย มก็ย ิ่ง แพร่ห ลายในหมู่ช าวจีน มากขึ้น โดยเฉพาะตัง้ แต่ ค.ศ. 1905 เพราะไม่พอใจที่สหรัฐอเมริกาห้ามกรรมกรจีนเข้า ประเทศ ประกอบกับความรูส้ กึ ด้านชาตินิยมถูกกระตุน้ อย่างต่อเนื่องมาตัง้ แต่การ ต่อต้านตะวันตกของพวกมวย และการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมของ โจว หรง ใน ค.ศ. 1903 นักศึกษาและพ่อค้าจีนจึงประท้วงด้วยการพร้อมใจกันไม่ซ้ือขายสินค้า อเมริกนั โดยเฉพาะในเขตเมืองท่า เช่น ซังไห่ ่ กว่างโจว รวมทัง้ ปลุกระดมทาง หนังสือพิมพ์ให้ชาวจีน ร่วมต่อต้านด้ว ย ทาให้การค้าของสหรัฐอเมริกากระทบ กระเทือนอยู่หลายเดือน โดยที่ราชสานักไม่ได้สงปราบปรามอย่ ั่ างรุนแรงเพราะ เกรงว่าประชาชนจะต่อต้านราชวงศ์ชงิ ไปด้วย เมื่อกระแสชาตินิยมและการเรียกร้องรัฐธรรมนู ญ มีมากขึน้ รัฐบาลชิงจึง ส่งคณะดู งานไปศึก ษารูป แบบของรัฐบาลภายใต้ร ะบอบรัฐธรรมนู ญ ของยุโรป สหรัฐอเมริกา และญีป่ นุ่ และเห็นว่ารัฐธรรมนูญทีใ่ ช้ในเยอรมนีและญีป่ นุ่ เหมาะสม กับสังคมจีนมากทีส่ ุด จึงจัดตัง้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนู ญขึน้ อนึ่ง ในการดู งานที่ญ่ปี ุ่นนัน้ อิโต ฮิโระบุม ิ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนู ญของญี่ปุ่น บรรยายให้คณะดูงานของจีนฟ งั ว่าจาเป็ น ที่จะต้องให้จกั รพรรดิเป็ นผู้กุมอานาจ สูงสุ ด ไว้ ไม่ ป ล่ อ ยให้ต กไปอยู่ ในมือ ประชาชน 1 ซึ่งเป็ น แนวทางที่เห็น ได้ใ น รัฐธรรมนูญเมจิของญีป่ นุ่ ทีป่ ระกาศใช้เมือ่ ค.ศ. 1889 คณะผู้ดูงานของจีน เสนอต่ อราชส านักว่ า แนวคิด ที่ว่ารัฐธรรมนู ญ และ เสรีภาพของพลเมือง และการอภิปรายในทีส่ าธารณะ ซึ่งจักรพรรดิเป็ นผูม้ อบให้ ประชาชนนัน้ จะทาให้ส ถานะของจักรพรรดิสูงส่งยิง่ ขึ้น เพราะจะอยู่เหนื อทุกคน พระนางฉือซีจงึ สัญญาว่าจะให้มแี ผนการปกครองแบบรัฐธรรมนูญ หลังจากนัน้ ใน ค.ศ. 1907–1908 ได้ ส่ ง คณะไปดู ง านที่ ญ่ี ปุ่ น และเยอรมนี อีก ครัง้ นอกจาก เตรีย มการร่า งรัฐธรรมนู ญ แล้ว ใน ค.ศ.1906 ราชส านั ก ได้ป รับ ปรุงหน่ ว ยงาน 1

แหล่งเดิม. หน้า 786. 77


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ราชการส่วนกลางตามแบบตะวันตก แต่ดาเนินการเพียงแค่ขยายกระทรวงจาก 6 เป็ น 11 กระทรวง ชาวแมนจูยงั คงมีบทบาทสาคัญในรัฐบาล และการบริหารยัง เป็ นแบบเก่า ราชสานัก ชิงประกาศใช้รฐั ธรรมนู ญ ชุด หนึ่ง ใน ค.ศ.1908 เพื่อเป็ นหลัก สาหรับโครงการ 9 ปี ทีจ่ ะเตรียมการปกครองโดยมีรฐั ธรรมนู ญ และสัญญาว่าจะ ประกาศใช้รฐั ธรรมนูญฉบับถาวรภายใน ค.ศ.1916 กลุ่มทีต่ อ้ งการรัฐธรรมนูญเห็น ว่าใช้เวลานานเกินไป แต่ยงั ไม่ทนั จะดาเนินการอย่างใดจักรพรรดิกวงสูและพระ นางฉือซีได้สวรรคตเมื่อวันที่ 14 และ15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1908 ตามลาดับ ผูท้ ข่ี น้ึ ครองราชสมบั ติ ส ืบ ต่ อ มาคื อ เจ้ า ชายผู่ อ้ี (Puyi) หรือ ปู ย ี ในรัช กาลซวนถง (Xuantong, ค.ศ. 1908-1912) มีพระชนม์เพียง 3 พรรษา จึงต้องมีผสู้ าเร็จราชการ แผ่ น ดิ น ซึ่ ง ผู้ ส าเร็จ ราชการแผ่ น ดิ น ก็ ไ ด้ ใ ห้ ส ัญ ญาว่ า จะให้ ม ี ร ัฐ สภาภายใน ค.ศ.1913 กำรปฏิ รปู กำรทหำร การพัฒนากองทัพสมัยใหม่ของจีนมีขน้ึ ตัง้ แต่สมัย การฟื้ นฟูตนเองให้เข้มแข็งในปลายคริสต์ศ ตวรรษที่ 19 หลังจากทีจ่ นี แพ้สงคราม กับญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1895 ได้มกี ารตัง้ กองทัพสมัยใหม่ขน้ึ 2 หน่ วย คือ กองทัพเพื่อ ส ร้ า งต น เองให้ เ ข้ ม แข็ ง (Self-Strengthening Army) โด ย จ าง จื่ อต ง แ ล ะ กองทัพเป่ยหยาง (Beiyang) โดยหยวน ซื่อไข่ กองทัพเปย่ หยางซึง่ ฝึกทหารตาม แบบเยอรมนีตงั ้ แต่ ค.ศ. 1895 มีบทบาทมากขึน้ ในฐานะกองทัพสมัยใหม่ของจีน และเมื่อหยวน ซื่อไข่มอี านาจมากขึน้ ในราชสานักหลังเหตุการณ์ ปราบฝ่ายปฏิรูป ในการปฏิรปู ร้อยวัน การปฏิรปู การทหารมีขน้ึ หลายประการ เช่น ใน ค.ศ. 1901 ออกประกาศยกเลิกการสอบคัดเลือกขุนนางฝ่ายทหาร ลดจานวนทหารกองธงลง ร้อ ยละ 20-30 ในแต่ ล ะปี ตัง้ สถาบัน การศึก ษาวิช าทหารในมณฑลต่ า งๆ ฝึ ก การทหารสมัยใหม่ให้ทหารกองธง โดยฝึ กตามแบบประเทศเยอรมนี ตัง้ สานักการ ฝึ กหัดทหารที่กรุงเป่ยจิงใน ค.ศ. 1903 เพื่อเป็ นศูนย์กลางควบคุมการฝึ กทหาร แบบใหม่ทต่ี งั ้ ขึน้ ทัวประเทศและเพื ่ ่อลดอานาจกองทัพส่วนภูมภิ าค การจัดองค์กร ของสานักฝึ กหัดทหารจะให้ความสาคัญกับขุนนางแมนจูเป็ นหลัก แต่ หยวน ซื่อไข่ เป็ น ผู้ม ีอ านาจสู งสุ ด ในทางปฏิบ ัติ 1 และใน ค.ศ. 1904 รัฐ บาลประกาศจัด ตัง้ กองทัพสมัยใหม่ทวประเทศ ั่ โดยแบ่งออกเป็ น 36 กองพลๆ ละ 12,500 นาย ส่ง นักเรียนไปเรียนวิชาทหารทีป่ ระเทศญี่ปุ่น และจัดการศึกษาวิชาทหารในรูปแบบ โรงเรียนตัง้ แต่ระดับประถมศึกษา 1

ธมาภรณ์ พูมพิจ. (2547). เล่มเดิม. หน้า 87. 78


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กำรปฏิ รปู สังคม ทาขึน้ เพือ่ ให้ต่างชาติเห็นว่าจีนเป็ นชาติทม่ี คี วามเจริญ ทันสมัย โดยยกเลิกประเพณี หรือความคิดทีล่ ้าสมัย การปฏิรูปด้านสังคมมีหลาย ประการ เช่น อนุ ญาตให้ชาวจีนและชาวแมนจูแต่งงานกันได้ ให้ยกเลิกการมัดเท้า ห้ามสูบฝิ่น เป็ นต้น กำรปฏิ รปู เศรษฐกิ จ ฐานะทางเศรษฐกิจของจีนตกต่ าลงมาก จึงมีการ ปฏิรูปเศรษฐกิจด้วยการสนับสนุ นการพัฒนาด้านการเกษตร อุตสาหกรรม ด้วย เทคโนโลยีจากตะวันตก ออกกฎหมายเหมืองแร่ การคมนาคมขนส่ง กฎหมายแพ่ง และอาญา กฎหมายเกีย่ วกับการพาณิชย์ ส่งเสริมการสร้างทางรถไฟ ใช้เงินเหรียญ เป็ นเงินมาตรฐานเพือ่ สะดวกต่อการใช้จ่ายและอัตราแลกเปลีย่ นค่อนข้างคงที่ เก็บ ภาษีสรรพสามิตจากบุหรี่ สุรา ฝิ่ น ทีน่ าเข้าจากต่างประเทศ ตัง้ หน่ วยงานเก็บ ภาษีฝิ่น ส่งเสริมระบบการไปรษณียโ์ ทรเลข ระหว่างที่ราชสานักชิงกาลังปฏิรูปประเทศอยู่น้ี ภายในประเทศก็มกี าร เคลื่อนไหวของขบวนการปฏิวตั ิตามแนวสาธารณรัฐนิยม ซึ่งเกิดขึน้ ตัง้ แต่ปลาย ทศวรรษ 1890 ผู้น าส าคัญ ของขบวนการปฏิ ว ัติคือ ซุ น ยัต เซน (Sun Yatsen ค.ศ.1866–1925) ซึ่งก่อการครัง้ แรกที่เมืองกว่ างโจว ใน ค.ศ.1895 แต่ระยะนัน้ ขบวนการของกลุ่มปฏิวตั ยิ งั ไม่มเี อกภาพและยังไม่มบี ทบาทสาคัญ ส่วนใหญ่ก่อ การอยูบ่ ริเวณมณฑลชายทะเลซึง่ เป็ นบริเวณทีก่ ารปฏิรปู ประเทศคึกคักมากทีส่ ดุ 1 4. กำรปฏิ วตั ิ ซินไฮ่ ค.ศ. 1911 หลังการลุกฮือของพวกมวย ราชวงศ์ชงิ ประกาศการปฏิรปู ประเทศเพือ่ ลด กระแสการต่อต้านของฝ่ายปฏิวตั ทิ ม่ี กี ารเคลื่อนไหวมากขึน้ กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อ การปฏิว ัติหลายกลุ่ ม เผยแพร่อุด มการณ์ ข องกลุ่ ม ตนและหาการสนับ สนุ น จาก ประชาชนทัง้ ในประเทศและโพ้นทะเล กำรเคลื่อนไหวเพื่อกำรปฏิ วตั ิ กลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิวตั ทิ ส่ี าคัญ คือ สมาคมซิงจงฮุ่ย (Xing Zhong Hui) หรือสมาคมฟื้นฟูจนี ตัง้ ขึน้ ทีฮ่ าวายใน ค.ศ. 1894 โดย ซุน ยัตเซน สมาคมฮ วาซิงฮุ่ย (Hua Xing Hui) หรือสมาคมฟื้นฟูจนี ตัง้ ขึน้ ใน ค.ศ. 1904 โดยนักศึกษา ทีเ่ คยไปเรียนทีญ ่ ่ปี ุ่น เช่น หวง ซิง (Huang Xing) และสมาคมกวงฟุ ฮุ่ย (Guang

1

จอห์น เค แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ. (2525). เล่มเดิม.หน้า 770. 79


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

Fu Hui) ตัง้ ขึน้ ใน ค.ศ. 1904 นาโดย ไช่ หยวนเผ่ย (Cai Yuanpei) สมาคมเหล่านี้ มีอุด มการณ์ เพื่อโค่น ล้ม ราชวงศ์ชงิ และก่อตัง้ สาธารณรัฐที่ม ีการปกครองแบบ ประชาธิปไตยโดยชนชัน้ กลาง1 สมาคมเหล่านี้เคลื่อนไหวต่อต้านราชวงศ์ชงิ หลายครัง้ ระหว่าง ค.ศ.1901– 1905 แต่ไม่ประสบความสาเร็จ เพราะเป็ นการเคลื่อนไหวเฉพาะกลุ่มไม่ได้รว่ มมือ กัน ดังนั น้ หลังจากที่ญ่ี ปุ่ น ชนะรัส เซีย ในสงครามรัส เซีย -ญี่ ปุ่ น (The Russo– Japanese War) ใน ค.ศ. 1905 ซึ่งนั บ เป็ น ครัง้ แรกที่ช าวเอเชีย มีช ัย ชนะเหนื อ ชาวตะวันตก ทาให้ปญั ญาชนจีนจานวนมากเกิดความตื่นตัวทางการเมือง เห็นว่า ทีญ ่ ่ปี ุ่นสามารถชนะรัสเซียได้เพราะญี่ปุ่นมีรฐั ธรรมนู ญเป็ นกฎหมายสูงสุดในการ ปกครองประเทศ แต่รสั เซียยังมีการปกครองในระบอบกษัตริย์ ปญั ญาชนจีนจึง เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยจะทาให้จนี กลับมาเข้มแข็งอีกครัง้ ด้วยกระแสแนวคิด ทางการเมืองเช่นนี้ ทาให้สมาคมทัง้ สามรวมตัวกันเป็ นสมาคมเพื่อการปฏิวตั ิจีน หรือ จงกว๋อ เก๋อหมิง ถงเหมิงฮุ่ย (Zhongguo Geming Tong Meng Hui) ใน ค.ศ. 1905 การรวมตัวมีขน้ึ ในญีป่ นุ่ โดยซุน ยัตเซน เป็ นหัวหน้าสมาคม ซุน ยัตเซนเป็ น ผูน้ าการปฏิวตั ทิ ม่ี ชี อ่ื เสียงโดดเด่นทีส่ ดุ ในขณะนัน้ เพราะเคยก่อการปฏิวตั มิ าหลาย ครัง้ และเป็ นทีร่ จู้ กั ดีในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเล และได้รบั การยอมรับจากต่างชาติใน ฐานะนักปฏิวตั ิ บทบำทของ ซุน ยัตเซน ผู้นำกำรปฏิ วตั ิ ซุน ยัตเซน เกิดในครอบครัวชาวนาทีเ่ มืองกว่างโจว ได้รบั การอบรมและ เรียนหนังสือตามตาราแบบเก่าของจีน เมื่ออายุ 13 ปี ได้ไปอยู่กบั พีช่ ายทีโ่ ฮโนลูลู ฮาวาย โดยเข้าเรีย นโรงเรีย นมัธยมที่ฮ าวาย ต่อมาหัน ไปนับถือศาสนาคริส ต์ พีช่ ายจึงส่งตัวกลับหลังจากอยู่ท่ฮี าวาย 4 ปี เมื่อกลับมาเมืองจีน ซุน ยัตเซน ได้ เผยแพร่ความคิด แบบใหม่ ต่อต้านการเชื่อวัตถุบู ช า และท าลายวัตถุ บู ช าของ ท้องถิน่ ทางครอบครัวจึงส่งไปศึกษาทีฮ่ ่องกง ซุน ยัตเซน เรียนแพทย์ทฮ่ี ่องกงจน จบหลักสูตรของอังกฤษ และไปท างานที่ม าเก๊ า ใน ค.ศ. 1892 แต่ ไม่ ส ามารถ ท างานได้ เนื่ อ งจากไม่ ม ีป ริญ ญาแพทย์ข องโปรตุ เกส เมื่อ จีน ท าสงครามกับ ฝรังเศสด้ ่ ว ยเรื่องเวีย ดนาม ใน ค.ศ. 1884 –1885 ท าให้ซุ น ยัต เซนเริ่ม สนใจ การเมือง เขาส่งจดหมายถึง หลี่ หงจาง ขุนนางผูม้ อี ทิ ธิพลในราชสานัก โดยเสนอ

1

Hu Sheng. (1991). op.cit. p.338. 80


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ความคิดเรื่องการสร้างกาลังและความมังคั ่ งของชาติ ่ แต่ไม่ได้รบั คาตอบ ต่อมา ซุน ยัตเซนเห็นว่าหลี่ หงจาง เป็ นเพียงคนชราทีข่ าดความคิดริเริม่ จึงไม่ศรัทธา ใน ค.ศ. 1894 ซุน ยัตเซน ก่อตัง้ สมาคมซิงจงฮุ่ยขึน้ ทีฮ่ าวาย โดยได้รบั การสนับ สนุ น จากชาวจีน โพ้น ทะเล มีคาขวัญ ว่ า ประณามการทุจ ริตและความ อ่อนแอของราชวงศ์ชงิ สมาคมซิง จงฮุ่ยมีอุดมการณ์ เพื่อฟื้ นฟู จนี ตัง้ สาธารณรัฐ ขับไล่แมนจู สมาคมมีสาขาในมาเก๊า ฮ่องกง กว่างโจว ใน ค.ศ. 1895 ซุน ยัตเซน วางแผนยึดที่ทาการรัฐบาลที่กว่างโจว แต่ถูกกวาดล้างก่อน จนต้องหนีไปญี่ปุ่น เมื่อไปถึงญีป่ ุ่น ซุน ยัตเซน ได้ตดั ผมเปี ย แต่งตัวแบบตะวันตก และใช้ช่อื ว่า นา กายามา (แปลว่าภูเขากลาง) ซึง่ มีความหมายเดียวกับชื่อ ซุน จงซาน ซึง่ เป็ นชื่อ จีนอีกชือ่ ของซุน ยัตเซน หลังก่อการล้มเหลวใน ค.ศ. 1895 ซุน ยัตเซนได้เลือกเมืองโยโกฮามะใน ญีป่ นุ่ เป็ นศูนย์กลางการดาเนินงานและพยายามผูกมิตรกับคัง โหย่วเว่ย และเหลียง ฉีเชา ซึ่งลี้ภยั ไปอยู่ทเ่ี มืองโยโกฮามะเช่นกัน แต่ทงั ้ สองฝ่ายมีอุดมการณ์ ต่างกัน เพราะคัง โหย่วเว่ย และเหลียง ฉีเชา สนับสนุนสถาบันจักรพรรดิ ทัง้ สองคนได้ตงั ้ สมาคมสมาคมปกป้องจักรพรรดิ (เป่าหวงฮุ่ย) แข่งกับสมาคมซิงจงฮุ่ยของซุน ยัต เซน โดยหากาลังคนและกาลังเงินจากชาวจีนโพ้นทะเล ใน ค.ศ. 1896 เมื่อ ซุ น ยัต เซนเดิน ทางไปกรุงลอนดอนได้ถู ก คนของ รัฐบาลจีนลักพาตัวไปคุมขังอยู่ทส่ี ถานทูตจีน เพื่อส่งตัวไปประหารชีวติ ทีจ่ นี แต่ ซุน ยัตเซนลอบส่งข่าวไปขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ชาวอังกฤษ หนังสือพิมพ์ อังกฤษได้เสนอข่าวกดดันรัฐบาลอังกฤษและสถานทูตจีน จนซุน ยัตเซนได้รบั การปล่อยตัว และมีช่อื เสียงโด่งดังในฐานะนักปฏิวตั ิ ซุน ยัตเซน นาสมาคมซิงจง ฮุ่ยก่อการหลายครัง้ แม้จะไม่ประสบความสาเร็จแต่กท็ าให้ซุน ยัตเซน มีช่อื เสียง เป็ นทีร่ จู้ กั มากขึน้ และต่อมาได้เป็ นหัวหน้าสมาคมถงเหมิงฮุ่ย ใน ค.ศ. 1905 กำรเคลื่อนไหวของสมำคมถงเหมิ งฮุ่ย สมาคมถงเหมิงฮุ่ยพยายามเผยแพร่อุดมการณ์การปฏิวตั ขิ องตน คือ ซาน หมิน จู่ อี้ (San Min Zu Yi) หรือ หลักไตรราษฎร์ ไปยังประชาชนให้มากที่สุดโดย ผ่ า นหนั งสือ พิม พ์ ข องสมาคม คือ หนั งสือ พิม พ์ ห มิน เป้ า (Min Bao) แข่ งกับ หนังสือพิมพ์ซนิ หมิน ชงเป้า (Xinmin Chongbao) ของสมาคมเป่าหวงฮุ่ย สมาคม ของกลุ่ ม ปฏิรูป ที่น าโดย คัง โหย่ ว เว่ ย ที่พ ยายามให้ม ีก ารปกครองในระบอบ รัฐธรรมนู ญทีม่ จี กั รพรรดิเป็ นประมุข สมาคมถงเหมิงฮุ่ยและสมาคมเป่าหวงฮุ่ยมี อุดมการณ์ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากแข่งขันกันเผยแพร่อุดมการณ์ แล้ว ยัง 81


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

แข่งกันหาการสนับสนุ นจากประชาชนและใช้หนังสือพิมพ์ของตนเป็ นสื่อในการ โจมตีฝา่ ยตรงข้าม ใน ค.ศ. 1905 ซุน ยัตเซน เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์หมินเป้า และ หนังสือพิมพ์จนี ในโตเกียว ประเทศญีป่ นุ่ และทีโ่ ฮโนลูลู ฮาวาย นาเสนออุดมการณ์ ของสมาคมถงเหมิงฮุ่ย ซึ่งเคยเผยแพร่มาตัง้ แต่ ค.ศ. 1897 คือ หลักไตรราษฎร์ ประกอบด้วย 1. ลั ท ธิ ช าติ นิ ย ม (Nationalism) หรื อ หมิ น จู๋ จู่ อี้ (Min Zu Zhu Yi) หมายถึง การโค่ น ล้ม แมนจู ขับ ไล่ จ ัก รวรรดินิ ย มตะวัน ตก เพื่อ จัด ตัง้ รัฐ บาล ประชาชน 2. ประชาธิปไตย (Democracy) หรือ หมิน ฉวน จู่ อี้ (Min Quan Zhu Yi) หมายถึง การจัดตัง้ รัฐบาลสาธารณรัฐ เพื่อมุ่งบรรลุสทิ ธิของประชาชน 4 ประการ คือ การริเริ่ม (initative) การมีส ิท ธิอ อกเสีย งของประชาชน (referendum) การ เลือกตัง้ (election) และการถอดถอน (recall) อานาจการปกครองแบ่งเป็ น 5 ส่วน คือ บริหาร นิตบิ ญ ั ญัติ ตุลาการ การตรวจตรา และการสอบไล่ ซึง่ 2 ส่วนหลังเป็ น อิทธิพลแนวคิดการปกครองแบบเก่าของจีน 3. สั ง คม นิ ยม (Socialism)ห รื อ ห มิ น เซิ ง จู่ อี้ (Min Seng Zhu Yi) หมายถึง การจัดสรรทีด่ นิ ให้ประชาชนอย่างเท่าเทียม นอกจากเผยแพร่อุดมการณ์ ปฏิวตั ใิ ห้แพร่หลายมากขึน้ แล้ว สมาคมถงเห มิงฮุ่ยยังได้ประกาศแผนการปฏิวตั ิ โดยแบ่งเป็ น 3 ระยะ คือ 4. เมื่อปฏิวตั ิแล้ว ต้องมีรฐั บาลทหารปกครอง 3 ปี เพื่อปราบปรามการ ทุจริต 5. ทหารถอนตัว เริม่ ใช้ร ฐั ธรรมนู ญ ชัว่ คราวปกครอง มอบอานาจการ ปกครองให้องค์กรส่วนท้องถิน่ ให้ความรูแ้ ก่ประชาชนเรือ่ งการปกครองแบบใหม่ 6 ปี 6. รัฐบาลพลเรือนปกครองตามรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตัง้ มีประธานาธิบดี สมาชิกสภาผูแ้ ทนราษฎร จากการเลือกตัง้ 1 สมาคมถงเหมิงฮุ่ย พยายามก่อการปฏิวตั ิ รวมทัง้ ร่วมมือกับสมาคมลับ อื่นๆ เช่น สมาคมฟ้าดิน สมาคมกวงฟุ ฮุ่ย โดยมีฐานอยู่ท่ญ ี ่ีปุ่น ใน ค.ศ. 1907 รัฐบาลจีน จึงท าหนั งสือ ประท้ว งไปยังรัฐ บาลญี่ ปุ่ น ที่ใ ห้ท่ีพ านั ก แก่ ก ลุ่ ม ปฏิว ัติ รัฐบาลญีป่ ุ่นจึงต้องให้นักปฏิวตั จิ นี ออกนอกประเทศญีป่ ุ่นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1

เขียน ธีระวิทย์. (2517). เล่มเดิม. หน้า 105-106. 82


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

1907 สมาชิกถงเหมิงฮุ่ยจึงย้ายทีท่ าการใหญ่ไปยังเมืองฮานอย ในอินโดจีนของ ฝรังเศส ่ ซึ่งอยู่ใกล้จีน และฝรังเศสอนุ ่ ญ าตให้กลุ่ ม ปฏิว ัติอยู่ในฮานอยได้ เมื่อ ป ญั หาเรื่องฐานที่ต งั ้ หมดไปสมาคมถงเหมิงฮุ่ ย ก็เริม่ เคลื่อนไหวก่อการในพื้น ที่ มณฑลทางใต้ข องจีน 3 แห่ ง คือ กว่ า งตง กว่ า งซี และหยุ น หนาน ถึง 6 ครัง้ ระหว่าง ค.ศ. 1907-1908 แต่ถูกปราบปรามจากรัฐบาลทีม่ กี าลังทหารและอาวุธที่ เข้มแข็งกว่า การถูกปราบปรามจากรัฐบาลได้ทุกครัง้ ทาให้กลุ่มปฏิวตั เิ ริม่ ไม่แน่ ใจ ว่าจะก่อการได้สาเร็จหรือไม่ แต่เมื่อจักรพรรดิ กวงสูและพระนางฉือซีสวรรคตใน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1908 กลุ่มปฏิวตั จิ งึ ตัง้ ใจก่อการปฏิวตั ขิ ้นึ อีก และเริม่ หา แนวร่ ว มที่ เ ป็ นกองทหารสมั ย ใหม่ นอกจากนี้ ซุ น ยั ต เซน ได้ เ ดิ น ทางไป ประชาสัมพันธ์อุดมการณ์การปฏิวตั แิ ละระดมทุนจากชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศ ต่างๆ ในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ระหว่างที่ซุน ยัตเซน กาลังอยู่ท่ปี ระเทศ สหรัฐอเมริกา กลุ่มปฏิวตั ทิ เ่ี มืองอู่ชาง มณฑลหูเป่ย ก็ได้ก่อการขึน้ เป็ นผลสาเร็จ หลังจากพยายามก่อการมานับสิบครัง้ กำรปฏิ วตั ิ ซินไฮ่ (10 ตุลำคม ค.ศ.1911) สมาคมถงเหมิงฮุ่ยก่อการปฏิวตั ขิ น้ึ ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางตอนใต้ ของประเทศ และนับจากทีจ่ กั รพรรดิกวงสูและพระนางฉือซีสวรรคตลง กลุ่มปฏิวตั ิ พยายามเพิม่ บทบาทมากขึน้ โดยขยายฐานกาลังมาปฏิบตั กิ ารยังพื้นที่ภาคกลาง ของประเทศ ซึง่ เป็ นเขตทีม่ ปี ระชาชนหนาแน่นและเป็ นศูนย์กลางเศรษฐกิจ รวมทัง้ แทรกซึมเข้าไปในกองทัพสมัยใหม่ เผยแพร่แนวคิดไปในหมู่ทหารรุ่นใหม่ และใน ทีส่ ุดกลุ่มปฏิวตั สิ ามารถก่อการได้สาเร็จในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 เรียกกันว่า การปฏิวตั สิ องสิบ เพราะเกิดขึน้ ในวันทีส่ บิ เดือนสิบ หรือ การปฏิวตั ซิ นิ ไฮ่ ตามปี ซิ นไฮ่ของปฏิทนิ จีน หรือ การปฏิวตั อิ ฮู่ นั ่ (Wuhan) ตามชือ่ เมือง ชนวนเหตุของการก่อการครัง้ นี้สบื เนื่องจากปญั หาความขัดแย้งเรื่องทาง รถไฟ อัน เป็ น ผลมาจากการที่รฐั บาลจีน พยายามเร่งสร้า งทางรถไฟเชื่อมการ คมนาคมทัวประเทศ ่ เพือ่ ช่วยให้การรวมอานาจเข้าสู่ศนู ย์กลางประสบความสาเร็จ รัฐบาลจีนพยายามหลีกเลีย่ งการกูเ้ งินจากต่างชาติมาลงทุนสร้างทางรถไฟ เพราะ ไม่ตอ้ งการให้ต่างชาติขยายอานาจเข้ามาในจีนมากขึน้ ทาให้การสร้างทางรถไฟมี

เมืองอู่ฮนเป็ ั ่ นชื่อรวมของเมืองแฝด 3 เมือง คือ อู่ชาง (Wuchang) ฮันโขว่ ่ (Hankou– ฮันเค้ ่ า) และฮันหยาง ่ (Hanyang) การปฏิวตั เิ ริม่ ทีเ่ ขตอู่ชาง 83


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ความล่ า ช้ า โดยใน ค.ศ.1896 จี น มี ท างรถไฟทั ว่ ประเทศ 370 ไมล์ ขณะที่ สหรัฐอเมริกามีทางรถไฟทัวประเทศ ่ 182,000 ไมล์ อังกฤษ 21,000 ไมล์ ฝรังเศส ่ 25,000 ไมล์ ญี่ปุ่น 2,300 ไมล์1 ในปลายทศวรรษ 1890 มหาอานาจตะวันตกและ ญี่ ปุ่ น ได้ ข ยายเขตอิท ธิพ ลในจีน และบังคับ ขอสัม ปทานสร้า งทางรถไฟในเขต อิทธิพลของตน รัฐบาลจีนต้องขายพันธบัตรให้กบั ต่างชาติเพื่อนาเงินมาสร้างทาง รถไฟ ท าให้ท างรถไฟมีร ฐั บาลจีน เป็ นเจ้า ของแต่ เพีย งในนามเท่ า นั น้ เพราะ มหาอานาจอ้างสิทธิในการสร้างทางรถไฟและเข้าดาเนินกิจการในฐานะผูถ้ อื ครอง พันธบัตร ดังนัน้ เยอรมนีในมณฑลซานตง ฝรังเศสในมณฑลหยุ ่ นหนาน รัสเซียและ ต่อมาคือญี่ปุ่นในแมนจูเรีย ได้รบั สัมปทานสร้างทางรถไฟในพื้นทีเ่ ขตเช่าของตน และได้ครอบครองเศรษฐกิจทัง้ ทรัพยากรและผลประโยชน์ ทางการค้าในบริเวณ เส้นทางรถไฟด้วย ความขัดแย้งเรือ่ งทางรถไฟเพิม่ มากขึน้ เมือ่ รัฐบาลจีนต้องการโอนกิจการ รถไฟสายฮันโข่ ่ ว-กว่างโจว ซึ่งเดิมสัญญาสัมปทานเป็ นของสหรัฐอเมริกา แต่ นัก ธุรกิจจีนในแถบมณฑลหูหนาน หูเปย่ และกว่างตง ได้รวบรวมเงินกันและกูเ้ งินจาก ฮ่องกงมาซือ้ สัมปทานรถไฟคืนจากสหรัฐอเมริกา และเข้าลงทุนในกิจการรถไฟสาย ซื่อชวน-ฮันโขว่ ่ และฮันโข่ ่ ว-กว่างโจว ขณะเดียวกันรัฐบาลชิงกาลังขอกูเ้ งินจาก ภาคีธนาคาร (consortium) ที่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรังเศส ่ และเยอรมนี ถือหุน้ อยู่ ประเทศเหล่านี้ต่างต้องการกีดกันรัสเซียและญีป่ นุ่ รัฐบาลชิงจึงต่อรองกับภาคี ธนาคารว่ า จะโอนกิจ การรถไฟไปเป็ น ของรัฐ เพื่อ ป้ องกัน ไม่ ให้เอกชนจีน ขาย กิจการรถไฟให้แก่บริษทั ญี่ปุ่น จากนัน้ รัฐบาลออกคาสังโอนกิ ่ จการรถไฟกลับมา เป็ นของรัฐในเดือน พฤษภาคม ค.ศ. 1911 แต่รฐั บาลไม่มเี งินลงทุนเพียงพอในการ สร้างทางรถไฟ จึงต้องขอกูเ้ งินจากภาคีธนาคาร ประชาชนจานวนมากโดยเฉพาะ ในมณฑลกว่างตง ซื่อชวน หูเป่ย และหูหนาน จึงรวมกันเป็ นสมาคมพิทกั ษ์ทาง รถไฟ ก่อการประท้วงรัฐบาล ทัง้ ส่งคาร้องเรียนและเดินขบวนต่อต้าน แต่ถูก กาลัง ทหารเข้าปราบปราม การประท้วงการโอนกิจการรถไฟของรัฐบาลดาเนินไปอย่างแข็งขัน และ เชื่อกันว่าได้รบั การสนับสนุ นจากพวกปฏิวตั ิ เพราะชาวจีนต่างระแวงสมาชิกภาคี ธนาคาร (สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรังเศส ่ และ เยอรมนี ) ไม่น้อยไปกว่าทีร่ ะแวง ญีป่ ุ่นและรัสเซีย นักธุรกิจจีนและประชาชนรวมตัวต่อต้านการโอนกิจการนี้ การ ประท้วงรุนแรงมากโดยเฉพาะในมณฑลซื่อชวน ในเดือนกัน ยายน ค.ศ. 1911 1

Spence. (2013). op.cit. p.239. 84


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

รัฐบาลต้องส่งกองทัพสมัยใหม่จากมณฑลหูเปย่ เข้าไปช่วยปราบปรามการประท้วง ทีม่ ณฑลซื่อชวน ฝ่ายคณะปฏิวตั ใิ นมณฑลหูเป่ยเห็นว่าการทีก่ าลังทหารส่วนหนึ่ง ในหูเปย่ เคลื่อนไปทีม่ ณฑลซื่อชวนเป็ นโอกาสเหมาะทีจ่ ะก่อการปฏิวตั ขิ น้ึ ในมณฑล หูเปย่ จึงกาหนดว่าจะก่อการปฏิวตั ขิ น้ึ ภายในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1911 แต่ยงั ไม่ทนั จะกาหนดวันทีแ่ น่นอนฝา่ ยปฏิวตั กิ ต็ อ้ งลงมือโดยไม่ทนั วางแผนมาก่อน การทีต่ อ้ งก่อการปฏิวตั ขิ น้ึ อย่างฉับพลัน เพราะรัฐบาลสืบทราบว่ากาลังมี การดาเนินการของพวกปฏิวตั ิในมณฑลหูเป่ย จึงส่งทหารเข้าตรวจค้นพร้อมกับ จับกุมนักปฏิวตั พิ ร้อมกับรายชื่อนักปฏิวตั ไิ ด้ส่วนหนึ่ง ซึ่งสมาชิกฝ่ายปฏิวตั สิ ่วน ใหญ่ในมณฑลหูเปย่ เป็ นทหารในกองทัพสมัยใหม่ ทหารเหล่านี้จงึ ตัดสินใจก่อการ ขึน้ ในคืนวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 โดยบุกเข้ายึดคลังแสงในเมืองอูช่ างและโจมตี ทีท่ าการข้าหลวงใหญ่ฝา่ ยพลเรือนและทหาร ฝา่ ยปฏิวตั สิ ามารถยึดเมืองอู่ชางได้ อย่างรวดเร็ว เพราะทหารส่ วนหนึ่งถูกนาไปปราบจลาจลที่มณฑลซื่อชวน ทาให้ กาลังทหารทีเ่ มืองอูช่ างมีไม่พอทีจ่ ะใช้ปราบกลุ่มปฏิวตั ิ และข้าหลวงใหญ่มณฑลหู หนาน มณฑลหูเป่ย ทัง้ ฝ่ายทหารและพลเรือนหนีออกจากเมืองตัง้ แต่การปฏิวตั ิ เริม่ ขึน้ ภายในเช้าวันที่ 11 ตุลาคม กลุ่มปฏิวตั จิ งึ ยึดเมืองอู่ชางได้ รัฐบาลชิงขอให้ ฝรังเศสและรั ่ สเซียช่วยปราบพวกกบฏ แต่ ฝ่ายปฏิวตั ิข อให้ต่างชาติวางตัวเป็ น กลาง จึงไม่มกี ารแทรกแซงจากต่างชาติ1 ต่อมาฝ่ายปฏิวตั ยิ ดึ เมืองฮันโข่ ่ ว และ เมืองฮันหยาง ่ ได้อกี ทาให้สามารถยึดเมืองอูช่ าง ฮันโขว่ ่ และฮันหยาง ่ หรือ ทีเ่ รียก รวมกันว่าเมืองอู่ฮนั ่ ได้สาเร็จ อู่ฮนเป็ ั ่ นเมืองสาคัญทางเศรษฐกิจของจีนรองจาก เมืองซังไห่ ่ และเป็ นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟทีส่ าคัญของจีน การยึดเมืองอู่ ฮันได้ ่ จงึ ถือเป็ นชัยชนะแรกของฝา่ ยปฏิวตั ิ เมือ่ ได้เมืองอู่ฮนแล้ ั ่ ว ฝา่ ยปฏิวตั จิ ดั ตัง้ รัฐบาลทหารชัวคราวขึ ่ น้ ในมณฑลหู เป่ย โดยจัดการปกครองแบบสาธารณรัฐ และแต่งตัง้ ให้นายพลหลี่ หยวนหง (Li Yuanhong) ผูน้ าในกองทัพและเป็ นผูท้ ล่ี ูกน้องนับถือ เป็ นผูน้ าชัวคราวในมณฑลหู ่ เป่ย จากนัน้ การปฏิวตั ิได้แพร่ไปยังมณฑลต่างๆ อย่างรวดเร็ว ในปลาย ค.ศ. 1911 มณฑลส่วนใหญ่ ได้ประกาศตนเป็ นอิสระจากรัฐบาลชิง เช่น มณฑลส่านซี ซื่อชวน ซานซี เจียงซู หูหนาน เจียงซี เจ้อเจียง หยุนหนาน กุย้ โจว และเมืองซัง่ ไห่ โดยการประกาศเป็ นอิสระมีทงั ้ ประกาศโดยฝ่ายปฏิวตั ิ โดยกองทัพสมัยใหม่ และบางพืน้ ทีข่ า้ หลวงประจามณฑลเป็ นผูป้ ระกาศเอง

1

ธมาภรณ์ พูมพิจ. (2547). เล่มเดิม. หน้า 132. 85


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การปฏิวตั ทิ เ่ี กิดขึน้ และแพร่สะพัดไปทัวประเทศอย่ ่ างรวดเร็วนัน้ เกิดจาก สาเหตุหลายประการ ดังนี้ 1. ความรูส้ กึ ชาตินิยม ทีช่ าวจีนไม่ตอ้ งการให้ชาวแมนจูปกครอง และเห็น ว่าการปกครองของราชวงศ์ชงิ ทาให้ประเทศจีนตกต่า 2. อิท ธิพ ลของความคิด และเหตุ ก ารณ์ จากตะวัน ตก ได้ แ ก่ แนวคิด ประชาธิปไตย เสรีภาพ สาธารณรัฐ มนุษยชน และอิทธิพลจากการพัฒนาประเทศ จนประสบความสาเร็จของญีป่ นุ่ 3. ความจ าเป็ นในการริเ ริ่ม ระบบการเมือ งแบบใหม่ โดยเห็ น ว่ า จี น ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มานานกว่า 2,000 ปี มีปญั หามากมายทีร่ ะบบ เก่าแก้ไขไม่ได้ 4. จีนประสบปญั หาด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมตลอดมา ประกอบ กับปญั หาจากภายนอก คือ การคุกคามจากต่างชาติ ซึ่งราชวงศ์ชงิ แก้ไขไม่ได้ รวมทัง้ การต้องยอมทาสนธิสญ ั ญาที่ไม่เท่าเทียมกัน และถูกประเทศมหาอานาจ รวมทัง้ เพือ่ นบ้านอย่างญีป่ นุ่ ครอบงาเหมือนเป็ นประเทศกึง่ อาณานิคม ขณะเกิด การปฏิ ว ัติ ซุ น ยัต เซน ก าลัง ระดมทุ น เพื่ อ ก ารปฏิ ว ัติ อ ยู่ ท่ี สหรัฐอเมริกา และอ่านพบข่าวการปฏิวตั ใิ นหนังสือพิมพ์ ซุน ยัตเซน จึงเดินทาง ต่อไปยังประเทศอังกฤษเพื่อเรียกร้องให้รฐั บาลอังกฤษยอมรับการปฏิวตั ทิ เ่ี กิดขึน้ และขอให้ภาคีธนาคารระงับการให้เงินกูก้ บั รัฐบาลชิง ซึง่ ภาคีธนาคารยอมรับคาขอ ของซุ น ยัต เซน เพราะซุ น ยัต เซน เป็ น คนหนึ่ งที่ม ีโ อกาสขึ้น เป็ น ผู้น ารัฐ บาล สาธารณรัฐจีนจากนัน้ ซุน ยัตเซน จึงเดินทางกลับเมืองจีน โดยมาถึงเมืองซังไห่ ่ เมื่อ วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1911

นักปฏิวตั แิ ละธงสัญลักษณ์ของการปฏิวตั ซิ นิ ไฮ่ ค.ศ.1911

86


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

ซุน ยัตเซน บิดาแห่งสาธารณรัฐจีน

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หยวน ซือไข่ ่

ราชสานักเรียกตัวหยวน ซื่อไข่ ซึง่ เคยดารงตาแหน่ งข้าหลวงใหญ่มณฑล เหอเป่ย และเป็ นผูก้ ่อตัง้ กองทัพ เป่ยหยาง กองทัพสมัยใหม่ ขณะนัน้ หยวน ซื่อไข่ ออกจากราชการไปแล้วแต่ยงั คงมีอทิ ธิพลอยู่ ทาให้ราชสานักชิง ตัง้ หยวน ซื่อไข่ เป็ นแม่ทพั ปราบฝ่ายปฏิวตั ใิ นมณฑลกว่างตงและกว่างซี และให้เป็ นตัวแทนของ ราชส านั ก เจรจากับ ฝ่า ยปฏิวตั ิ หยวน ซื่อไข่ ต้องการเข้า มามีบ ทบาททางการ ปกครองและการทหารอีกครัง้ แต่ก่อนจะยอมรับตามคาสังของรั ่ ฐบาล หยวน ซื่อไข่ ได้เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 6 ข้อ คือ 1) ให้จดั การประชุมสภาใน ค.ศ. 1912 2) ให้ตงั ้ คณะรัฐมนตรี 3) ให้พรรคการเมืองและการเคลื่อนไหวทางการเมืองเป็ นสิง่ ถูก กฎหมาย 4) อภัย โทษแก่นั กปฏิวตั ิท่ีเมืองอู่ช าง 5) โอนอานาจการคุม กองทัพ ทัง้ หมดให้หยวน ซื่อไข่ และ 6) รัฐบาลต้องรับรองว่าจะมีงบประมาณใช้ในกิจการ ของกองทัพ1 ข้อเรียกร้อง 4 ข้อแรก เป็ นการพยายามจูงใจพวกปฏิวตั ใิ ห้เห็นว่าหยวน ซื่อไข่ ไม่ได้ต่อต้านฝ่ายปฏิวตั ิ ส่วน 2 ข้อหลัง เป็ นการทาเพื่อผลประโยชน์ ของ หยวน ซื่อไข่เอง แม้ราชส านั ก จะเห็น ว่ า หยวน ซื่อไข่ ต้องการมีอานาจในการ ปกครองและการทหาร แต่จาต้องยอมตามข้อเรียกร้ องของหยวน ซื่อไข่ เพราะ ขณะนัน้ มณฑลต่างๆ ทยอยประกาศอิสระจากรัฐบาลกลาง ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 1911 หยวน ซื่อไข่จงึ ได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็ นข้าหลวงพิเศษมีอานาจสังการสู ่ งสุด

1

Hu Sheng. (1991). op.cit. p. 486. 87


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ในกองทัพ และในเดือนต่อมาได้เข้ารับตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีของราชวงศ์ชงิ โดย มีการเลือกจากสภานิ ตบิ ญ ั ญัตติ ามวิถที างรัฐธรรมนูญทีเ่ พิง่ ประกาศใช้ และหยวน ซื่อไข่ ได้แต่งตัง้ คนของตนเข้าดารงตาแหน่งในรัฐบาล เมื่อได้อานาจแล้ว หยวน ซื่อไข่ ได้นากองทัพเป่ยหยางเข้ายึดเมืองฮัน่ โข่ว และฮันหยาง ่ คืนมาได้ภายในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1911 แต่หลังจากนัน้ หยวน ซื่อไข่ ได้หยุดการโจมตีฝา่ ยปฏิวตั ิ โดยอ้างกับราชสานักว่าอาวุธและกระสุน ทีจ่ ะใช้ในกองทัพขาดแคลน การกระทาเช่นนี้ของหยวน ซื่อไข่ อาจเป็ นเพราะเขา ต้องการแสดงบทบาทในการปราบฝา่ ยปฏิวตั ใิ ห้ราชสานักเห็นเพือ่ ให้ราชสานักยอม ทาตามความต้องการของเขา ขณะเดียวกันก็ต้องการให้ฝ่ายปฏิวตั ิเห็น ว่าเขามี อานาจเหนื อกว่า เพื่อให้มอี านาจต่ อรองกับฝ่ายปฏิวตั ิ เพราะหยวน ซื่อไข่ ได้ พยายามติดต่อกับฝา่ ยปฏิวตั เิ ช่นกัน อย่างไรก็ดี แม้สถานการณ์ จะยังไม่แน่ นอน แต่ฝ่ายปฏิวตั ิได้ประกาศใช้ รัฐธรรมนู ญในการปกครองประเทศในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1911 ตามด้วยการ ประกาศให้เมืองหนานจิงเป็ นเมืองหลวงของสาธารณรัฐจีน ซุน ยัตเซนได้รบั เลือก ให้เป็ นประธานาธิบดีชวคราว ั่ (provisional president) ของสาธารณรัฐจีนอย่างเป็ น ทางการเมื่อ วัน ที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 โดยปกครองด้ ว ยรัฐ บาลทหารตาม แผนการปฏิวตั ริ ะยะที่ 1 ทาให้จนี มี 2 รัฐบาล เพราะในเวลานัน้ ยังมีจกั รพรรดิแมน จูปกครองอยูท่ ก่ี รุงเปย่ จิง หลัง จากฝ่ า ยปฏิ ว ัติ พ ยายามก่ อ การมานั บ สิบ ครัง้ ในที่ สุ ด ก็ ป ระสบ ความส าเร็จ คณะปฏิว ัติได้ส ถาปนาสาธารณรัฐขึ้น มาและตัง้ ความหวังกับ การ ปกครองรูปแบบใหม่ว่าจะทาให้จนี กลับสู่ความเข้มแข็ง และไม่ถูกเอาเปรีย บจาก ต่ า งชาติ เ หมือ นที่ เป็ นมาในปลายราชวงศ์ ช ิง แต่ ด้ ว ยความไม่ พ ร้อ มด้ า น การทหารทาให้ฝ่ายปฏิวตั ติ ้องร่วมมือกับ หยวน ซื่อไข่ ผูม้ อี านาจทางทหาร และ เป็ นผูม้ คี วามทะเยอทะยานจนทาให้การปกครองแบบสาธารณรัฐไม่เป็ นไปตามที่ ซุน ยัตเซน และพรรคพวกหวังไว้ .................................................................

88


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. การพยายามปฏิรปู ประเทศจีนไม่ประสบความสาเร็จเพราะเหตุใด 2. เพราะเหตุใดความร่ว มมือระหว่ า งคัง โหย่ ว เว่ ย กับ ซุ น ยัต เซน จึงไม่ สาเร็จ และทัง้ สองฝา่ ยมีการดาเนินการตามอุดมการณ์ของตนอย่างไรบ้าง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม ทวีป วรดิลก. (2542). ประวัตศิ าสตร์จนี . กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. บทที่ 18 ยุค ฟื้นฟูบรู ณะและเหยือ่ การรุกราน บทที่ 19 วาระสุดท้ายของราชวงศ์ชงิ ธมาภรณ์ พู ม พิ จ . (2547). การตอบสนองของจี น ต่ อ การคุ ก คามของชาติ มหาอานาจ ระหว่าง ค.ศ. 1895 – 1912. สารนิพนธ์ ศศ.ม.(ประวัตศิ าสตร์เอเชีย). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร นภดล ชาติประเสริฐ. (2542). “แนวคิดเกีย่ วกับสาเหตุอนั นาไปสูก่ ารปฏิวตั ใิ น ประเทศจีน ค.ศ. 1911 : มุมมองทีแ่ ตกต่าง” ใน อารยธรรมตะวันออก. ศรีสรุ างค์ พูลทรัพย์ บรรณาธิการ. หน้า 303 – 310. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2524, พฤษภาคม - สิงหาคม). “ปญั หาของจีนในกลาง คริสต์ศตวรรษที่ 19” วารสารประวัตศิ าสตร์. 6(2) : 55 – 62. _________. (2521). จีน การต่อสูเ้ พือ่ มหาอานาจ. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย. Spence, Jonathan D.(2013). The Search for Modern China. 3rd ed. New York: W.W. Norton & Company. Chapter 10 New Tensions in the Late Qing, and Chapter 11 The End of the Dynasty.

89


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 4 สภำพกำรเมืองและสังคมของจีนในยุคต้นสำธำรณรัฐ (ค.ศ. 1912 – 1929) การเปลีย่ นแปลงการปกครองเป็ นระบอบสาธารณรัฐของจีนนามาซึง่ ความ ั หาความตกต่ า ของ คาดหวังว่ า จีน ก าลังเข้า สู่ยุค ใหม่ แ ละจะสามารถแก้ไขป ญ บ้านเมืองได้ แต่ภายใต้ระบอบสาธารณรัฐจีนกลับมีปญั หาต่างๆ โดยเฉพาะด้าน การเมือง ทีม่ ผี ลให้เกิดความไม่มนคง ั ่ แตกแยก และทาให้ปญั ญาชนส่วนหนึ่งเห็น ว่าระบอบประชาธิปไตยไม่อาจแก้ไขปญั หาได้ จึงเริม่ หันไปหาแนวคิดสังคมนิยม คอมมิวนิสต์ 1. กำรปกครองภำยใต้หยวน ซื่อไข่ หลังจากฝ่ายปฏิวตั ิจดั ตัง้ รัฐบาลสาธารณรัฐขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 แล้ว จึงเท่ากับว่าในตอนนี้จนี มี 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลสาธารณรัฐทีห่ นานจิง มี ซุน ยัตเซน เป็ นประธานาธิบดี และรัฐบาลราชวงศ์ชงิ ทีก่ รุงเป่ยจิง มีหยวน ซื่อ ไข่เป็ นนายกรัฐมนตรี ทัง้ 2 ฝ่ายได้ตกลงเจรจาเพื่อรวมจีนให้เป็ นหนึ่งเดียวกัน และฝ่ายสาธารณรัฐต้องการโค่นล้มราชวงศ์ชงิ โดยหวังพึง่ หยวน ซื่อไข่ ซุน ยัต เซนเสนอเงือ่ นไขต่อหยวน ซื่อไข่ 5 ข้อ คือ ให้หยวน ซื่อไข่ แจ้งต่อทูตหรือกงสุล ต่างชาติถงึ การสละราชสมบัติ หยวน ซื่อไข่ ต้องประกาศอย่างเป็ นทางการว่าจะ สนับสนุ นฝ่ายสาธารณรัฐ ซุน ยัตเซนจะลาออกเมื่อมีการประกาศสละราชย์ โดย รัฐบาลจะเลือกหยวน ซื่อไข่ เป็ นประธานาธิบดี และหยวน ซื่อไข่ ต้องสัญญาว่าจะ ยอมรับระบบรัฐธรรมนูญและตัง้ รัฐสภา1 หยวน ซื่ อ ไข่ เจรจาให้ จ ัก รพรรดิ ส ละราชสมบั ติ ด้ ว ยความสมัค รใจ ข้อเสนอของหยวน ซื่อไข่ถูกขุนนางคัดค้าน แต่หยวน ซื่อไข่ ใช้กาลังทหารที่ตน บัญชาการเข้าข่มขู่ขุนนาง พระพันปี หลงอวี้ (Longyu) ได้เรียกประชุมสภาเชื้อ พระวงศ์และมีม ติให้สละราชย์ โดยมีประกาศในวัน ที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 โดยแลกเปลีย่ นกับกฎหมายอภิสทิ ธิ ์เชือ้ พระวงศ์ เช่น ให้จกั รพรรดิคงพระนามเดิม ต่อไป รัฐบาลจีนจะให้การยกย่องตราบเท่าทีต่ ่างชาติจะยอมรับ จักรพรรดิได้รบั 1

Immanuel C.Y. Hsu. (1995). op.cit. p. 473. 90


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

ค่าใช้จ่ายรายปี 4 ล้านตาลึงจีน หรือ 4 ล้านเหรียญสหรัฐหากมีการเปลี่ยนแปลง เงินตราสกุลใหม่โดยรัฐบาลเป็ นผู้รบั ผิดชอบ จักรพรรดิประทับอยู่ในพระราชวัง หลวงได้ชวคราวจากนั ั่ น้ ต้องไปอยู่ทพ่ี ระราชวังฤดูรอ้ นและมีทหารรักษาพระองค์ รัฐบาลจะดูแลสุสานราชวงศ์ชงิ และดาเนินการก่อสร้ างสุสานจักรพรรดิกวงสูต่อ พร้อ มทัง้ จัด พิธีต ามประเพณี โ บราณโดยรัฐ บาลสาธารณรัฐ เป็ น ผู้ร ับ ผิด ชอบ ข้า ราชการในวังยังคงท างานต่ อไปได้แ ต่ ต้องยกเลิก ขัน ที ทหารรัก ษาวังต้อ ง รวมเข้ากับกองทัพของประเทศ1

จักรพรรดิซวนถงหรือผู่อ้ ี

หยวน ซือ่ ไข่ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912 -1916)

1

Spence. (2013). op.cit. p. 258. 91


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เมือ่ จักรพรรดิผอู่ ส้ี ละราชสมบัติ ซุน ยัตเซน ได้ทาตามสัญญาโดยลาออก จากตาแหน่ งประธานาธิบดีชวคราว ั่ และเสนอให้หยวน ซื่อไข่เข้าดารงตาแหน่ ง แทน โดยมีเงื่อนไขว่า ให้เมืองหนานจิงเป็ นเมืองหลวง หยวน ซื่อไข่ต้องมารับ ตาแหน่ งที่เมือ งหนานจิง และรัฐบาลต้องปฏิบ ัติตามรัฐธรรมนู ญ ที่ต ราขึ้น โดย รัฐสภา ซึ่งประธานาธิบดีจะใช้อานาจผ่ านสภาและคณะรัฐมนตรี ซึ่งเท่ากับ เป็ น การพยายามลดอานาจประธานาธิบดี หยวน ซื่อไข่ ไม่อยากไปจากศูนย์อานาจ ของตนทีเ่ ป่ยจิง จึงสร้างสถานการณ์ ว่ามีการจลาจลประท้วงต่อต้านการย้ายเมือง หลวง และใช้เ ป็ นข้อ อ้า งไม่ ไ ปหนานจิง 1 รัฐ สภาจึง ยิน ยอมให้ ห ยวน ซื่ อ ไข่ ประกอบพิธีรบั ตาแหน่ งประธานาธิบ ดีท่ีเป่ย จิงในวัน ที่ 16 มีน าคม ค.ศ. 1912 และในวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1912 รัฐสภาลงมติให้กรุงเป่ยจิงเป็ นเมืองหลวงของ สาธารณรัฐ จากนัน้ มีการประกาศใช้รฐั ธรรมนูญ ซึง่ กาหนดว่าอานาจทีถ่ กู ต้องตาม กฎหมายอยูภ่ ายใต้ตวั แทนของสภามณฑล จนกว่าจะมีรฐั สภา ประธานาธิบดีเป็ น ประมุขสูงสุด มีสทิ ธิแต่งตัง้ คณะรัฐมนตรีซง่ึ ขึน้ ต่อประธานาธิบดี ไม่ตอ้ งขึน้ ต่อสภา รัฐธรรมนูญนี้เป็ นการประนีประนอมระหว่างหยวน ซื่อไข่ กับฝา่ ยปฏิวตั 2ิ ฝา่ ยปฏิวตั ปิ ระนีประนอมกับหยวน ซื่อไข่ เพราะนักปฏิวตั สิ ว่ นใหญ่เห็นว่า การปฏิวตั สิ าเร็จลงแล้ว โดยราชวงศ์แมนจูถูกโค่นล้มและตัง้ สาธารณรัฐสาเร็จแล้ว รวมทัง้ ต้องการให้เกิดความสงบสุขในประเทศ แต่ซุน ยัตเซน เห็นว่าการปฏิวตั ยิ งั ไม่ส้นิ สุดเพราะมหาอานาจตะวันตกและญี่ปุ่นยังมีอทิ ธิพลในจีน การจัดระเบียบ ทางการเมืองเพื่อสร้างประชาธิปไตยและการปรับปรุงความเป็ นอยู่ของประชาชน ตามหลักไตรราษฎร์กย็ งั ไม่เกิดขึน้ แต่สมาชิกส่วนใหญ่เห็นว่าการปฏิวตั เิ รียบร้อย แล้วและการรอมชอมกับหยวน ซื่อไข่ จะทาให้เกิดสันติภาพโดยเร็ว อีกทัง้ สมาชิก ส่วนใหญ่เห็นว่าแนวคิดของซุน ยัตเซนเป็ นเพียงอุดมคติทไ่ี ม่อาจใช้ได้ในชีวติ จริง ทาให้ซุน ยัตเซนไม่สามารถคัดค้านเสียงส่วนใหญ่ในสมาคมได้ 3 นอกจากนี้ฝา่ ย ปฏิวตั ยิ งั มีจุดอ่อนสาคัญ 2 ประการ คือ ขาดทักษะในการจัดองค์กรทางการเมือง ทีเ่ ข้มแข็ง และขาดกาลังทหารสมัยใหม่ ดังนัน้ เพือ่ ให้การปฏิวตั ปิ ระสบความสาเร็จ โดยสมบูรณ์ ซุน ยัตเซนจึงสละตาแหน่งประธานาธิบดีชวคราวให้ ั่ กบั ผูม้ กี าลังทหาร เข้มแข็ง คือ หยวน ซื่อไข่

Gray. (2002). op.cit. p.145. 2 Ibid. 3 ทวีป วรดิลก. (2542). ประวัตศ ิ าสตร์จนี . หน้า 780. 1

92


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิกฤติการณ์ ทางการเมืองครัง้ แรกของสมัยสาธารณรัฐเกิดขึน้ เมื่อ หยวน ซื่อไข่ แต่งตัง้ คณะรัฐมนตรีทงั ้ ทีม่ าจากคนสนิทของตน ส่วนสมาชิกถงเหมิงฮุ่ยได้ เป็ น รัฐมนตรีกระทรวงเล็กๆ หยวน ซื่อไข่ พยายามคุม อานาจไว้คนเดีย ว เช่ น ไม่ให้งบประมาณแก่กองทัพปฏิวตั จิ านวนห้าแสนคนภายใต้การดูแลของหวง ซิง ทาให้ต้องสลายกาลังไป ส่วนนายกรัฐมนตรีถงั เซ่าอี้ (Tang Shaoyi) ก็ประสบ ปญั หาในการทางานหลายประการ เพราะ ถัง เซ่าอี้ เคยไปศึกษาทีส่ หรัฐอเมริกาจึง มีความเข้าใจระบบรัฐสภาดีและพยายามพิสจู น์ ว่าเขาไม่ใช่หนุ่ เชิดของหยวน ซื่อไข่ ทาให้การทางานไม่ราบรื่น ในทีส่ ุดถัง เซ่าอีจ้ งึ ลาออก หยวน ซื่อไข่จงึ แต่งตัง้ คน ของตน คือ จาง ปิ งจุน (Zhang Bingjun) ขึน้ เป็ นนายกรัฐมนตรี ทาให้อานาจของ หยวน ซื่อไข่ มันคงและเบ็ ่ ดเสร็จ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญทีบ่ งั คับใช้กาหนดให้มกี ารเลือกตัง้ ทัวไปภายใน ่ 6 เดือ น หลัง จากจัด ตัง้ รัฐ บาล ดัง นั น้ ในเดือ นสิง หาคม ค.ศ. 1912 รัฐ บาลจึง ประกาศกฎหมายเลือกตัง้ ซึ่งรัฐธรรมนู ญกาหนดสมาชิกสภาไว้ 2 ประเภท คือ วุฒสิ ภา กับ สภาผูแ้ ทนราษฎร แต่สตรียงั ไม่มสี ทิ ธิออกเสียงเลือกตัง้ ซุน ยัตเซน กับ ผู้น ากลุ่ ม ปฏิว ัติ เช่ น ซ่ ง เจีย วเหริน (Song Jiaoren, ค.ศ.1882 - 1913) จึง ร่ว มกัน ตัง้ พรรคการเมืองขึ้น ชื่อ พรรคกว๋ อ หมิน ตัง่ (Guomindang) หรือ พรรค ชาตินิยม(The Nationalist Party) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ.1912 และเตรียมตัว สาหรับการเลือกตัง้ ทีจ่ ะมีขน้ึ โดย ซ่ ง เจียวเหริน ผูน้ าอันดับสามของพรรค รอง จากซุน ยัตเซน และหวง ซิง เป็ นผูน้ าในการหาเสียงของพรรค ส่วนซุน ยัตเซน ไม่ได้ยงุ่ เกีย่ วกับการเมืองแต่ขอดารงตาแหน่ง ผูอ้ านวยการรถไฟจีน เพราะซุน ยัต เซน เห็นว่าการมีทางรถไฟอย่างทัวถึ ่ งทัวประเทศจะช่ ่ วยพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ และสร้างความเป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติได้ การเลือกตัง้ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1912 พรรคกว๋อหมินตังได้ ่ รบั เลือกตัง้ เข้ามามากทัง้ 2 สภา ซึ่งจะมีสทิ ธิเลือกนายกรัฐมนตรี พร้อมกับจัดตัง้ รัฐบาลและ เลือกตัง้ ประธานาธิบดีได้ อนึ่ง ระหว่างการหาเสียงเลือกตัง้ ซ่ง เจียงเหริน ประกาศ นโยบายของพรรคกว๋อหมินตังว่ ่ าคณะรัฐมนตรีต้องมีความรับผิดชอบต่อสภา มี ระบบพรรคการเมือง มีฝา่ ยรัฐบาลและฝา่ ยค้าน รัฐสภาเป็ นผูใ้ ช้อานาจนิตบิ ญ ั ญัติ ต้องมีการตรวจสอบและยับยัง้ การใช้อานาจทีเ่ กินขอบเขตของประธานาธิบดี ทาให้ หยวน ซื่อไข่ ไม่พ อใจ ประกอบกับ ชัยชนะของพรรคกว๋ อหมินตัง่ ที่จะสันคลอน ่ อานาจของตน หยวน ซื่อไข่ จึงพยายามติดสินบนซ่ง เจียวเหริน แต่ไม่สาเร็จ ต่ อ มา ซ่ ง เจี ย วเหริน ถู ก ลอบสั ง หาร ผลการสอบสวนพั ว พั น ถึ ง นายกรัฐมนตรีจาง ปิ งจุน และประธานาธิบดีหยวน ซื่อไข่ ซึง่ ขณะนัน้ กาลังขอกูเ้ งิน 93


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

จากต่างประเทศตามแผนการพัฒ นาประเทศ พรรคกว๋ อหมินตัง่ จึงประท้วงและ คัดค้านการกูเ้ งิน ครัง้ นี้ หยวน ซื่อไข่ จึงกู้เงินโดยไม่ผ่านสภาและให้สทิ ธิผูกขาด การเก็บภาษีเกลือและภาษีอ่นื ๆ แก่ต่างชาติเพือ่ ประกันการกูเ้ งิน 1 ปญั หาเงินกูท้ า ให้เกิดการจลาจลขึน้ ใน ค.ศ. 1913 บริเวณมณฑลทางใต้ ซุน ยัตเซน ส่งโทรเลข ขอให้หยวน ซื่อไข่ลาออก แต่หยวน ซื่อไข่ กลับปลด ซุน ยัตเซน ออกจากตาแหน่ ง ผูอ้ านวยการรถไฟ ทาให้พรรคกว๋อหมินตังไม่ ่ พอใจ ประกาศยึดเมืองหนานจิงเป็ น เมืองหลวงและยกกาลังไปต่อต้านหยวน ซื่อไข่ ผูว้ ่าการทหารในมณฑลหลายแห่ง ทีเ่ ป็ นฝ่ายกว๋อหมินตังถู ่ กปลด มณฑลหลายแห่ง เช่น เจียงซี อานฮุย กว่างตง ฝู เจีย้ น หูหนาน และซื่อชวนจึงประกาศอิสระจากรัฐบาลกลาง เรียกกันว่า การปฏิวตั ิ ครัง้ ทีส่ อง แต่ถกู กองทัพเปย่ หยางปราบได้ ความพ่ายแพ้ครัง้ นี้เป็ นเพราะสมาชิกพรรคกว๋อหมินตังแตกแยกกั ่ น และสู้ กาลังทหารของหยวน ซื่อไข่ ไม่ ได้ ประกอบกับ ทูตต่างชาตินิ ย มหยวน ซื่อไข่ เพราะในครัง้ ที่เกิด การลุ กฮือของพวกนักมวยเมื่อ ค.ศ. 1900 หยวน ซื่อไข่ ได้ ปราบพวกนักมวยอย่างเด็ดขาด ทูตอังกฤษในจีนจึงช่วยให้หยวน ซื่อไข่ ได้กเู้ งิน และส่งอาวุธ พร้อมกับ สังห้ ่ าม ซุ น ยัตเซน และหวง ซิง เข้าฮ่ องกง นอกจากนี้ ประชาชนไม่ตอ้ งการให้มกี ารต่อสูแ้ ละไม่เข้าใจว่าเมือ่ มีการปฏิวตั ติ งั ้ สาธารณรัฐขึน้ แล้วเหตุใดจึงยังไม่มคี วามสงบ2 ฝา่ ยปฏิวตั จิ งึ ถูกปราบปราม ซุน ยัตเซน ต้องลีภ้ ยั ไปญีป่ นุ่ เหตุการณ์น้ีทาให้หยวน ซื่อไข่คมุ อานาจมากขึน้ โดยตัง้ ขุนศึกของตนไป เป็ นผูว้ ่าการมณฑลต่างๆ หลัง จากปราบปรามฝ่ า ยต่ อ ต้ า นแล้ว ในวัน ที่ 10 ตุ ล าคม ค.ศ.1913 รัฐสภาได้เลือกหยวน ซื่อไข่ ขึ้นเป็ นประธานาธิบ ดี ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1913 หยวน ซื่อไข่สงยุ ั ่ บพรรคกว๋อหมินตัง่ และในเดือนมกราคม ค.ศ. 1914 ก็สงยุ ั ่ บสภา และตัง้ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เรียกว่า รัฐธรรมนูญหยวน ซื่อ ไข่ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1914 ระบุว่าประธานาธิบดีดารง ตาแหน่ ง 10 ปี ถ้ารัฐสภาเห็นชอบ สามารถดารงตาแหน่ งต่อไปได้โดยไม่หมด วาระ ประธานาธิบดีสามารถแต่งตัง้ ทายาทได้ และรัฐสภาขึน้ ตรงต่อประธานาธิบดี

1 2

Gray. (2002). op.cit. p.145. ทวีป วรดิลก. เล่มเดิม. หน้า 785 – 786. 94


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หยวน ซือ่ ไข่ ซึง่ มีแนวคิดขึ้นครองราชย์ ประกอบพิธที หี ่ อบูชาบรรพบุรุษของราช สานัก ใน ค.ศ. 1914

สภาพเช่นนี้จงึ เท่ากับว่าประธานาธิบดีเป็ นเผด็จการ การปกครองแบบ ประชาธิปไตยไม่เป็ นไปตามที่หวังไว้ อย่างไรก็ตาม การที่หยวน ซื่อไข่ เป็ นผู้ม ี อานาจเบ็ด เสร็จเพีย งคนเดีย วทาให้ช่ว งนี้ เป็ น ช่วงที่จีน มีความเป็ น ปึ กแผ่น เป็ น อันหนึ่งอันเดียวกันอีกครัง้ แต่ไม่มปี ระชาธิป ไตย ต่อมาหยวน ซื่อไข่ วางแผน ขึ้นเป็ นจักรพรรดิ โดยได้รบั การสนับ สนุ น จากกลุ่มเชื้อพระวงศ์แมนจู ในเดือน พฤศจิกายน ค.ศ. 1915 สภาผูแ้ ทนราษฎรได้ลงคะแนนเสียง 1,993 เสียง ให้หยวน ซื่อไข่ขน้ึ เป็ นจักรพรรดิ1 หยวน ซื่อไข่ประกอบพิธรี บั ตาแหน่ งในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1916 ซึง่ การกระทาของหยวน ซื่อไข่ ทาให้พนั ธมิตรทีใ่ กล้ชดิ ของเขาจานวน มากไม่ พ อใจและแยกตัว ออกมา และมีก ารประท้ว งต่ อ ต้า นหยวน ซื่อ ไข่ ตาม มณฑลต่างๆ นอกจากนี้แผนการของหยวน ซื่อไข่ ยังต้องพบอุปสรรคจากปญั หา เรื่องข้อเรียกร้อง 21 ประการ ที่ญ่ปี ุ่นยื่นข้อเสนอแก่จนี ซึ่งทาให้ประชาชนจีน ต่อต้านเขามากยิง่ ขึน้ ข้อเรียกร้อง 21 ประกำร (21 demands) ข้อเรียกร้อง 21 ประการ เกิดจากในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 1 อังกฤษ ได้ต กลงกับ ญี่ปุ่ น ซึ่งเป็ น พัน ธมิต รของอังกฤษตัง้ แต่ ค.ศ. 1902 ว่ า จะให้ญ่ีปุ่ น รับผิดชอบความมันคงของน่ ่ านน้ าแถบตะวันออก เพราะอังกฤษ ฝรังเศส ่ ติดพัน สงครามกับเยอรมนีในยุโรป ขณะทีญ ่ ่ปี ุ่นต้องการประกันความมันคงของญี ่ ่ปุ่นใน จีน และต้องการขยายอานาจของญี่ปุ่ น เข้า สู่จีน ในช่ว งที่ช าติตะวัน ตกติด พัน

1

Spence. (2013). op.cit. p. 271. 95


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

สงครามโลกครัง้ ที่ 1 ญีป่ ุ่นจึงวางแผนขยายอานาจในจีนโดย ยืน่ ข้อเรียกร้องต่อจีน 21 ประการ แบ่งเป็ น 5 หมวดหลัก คือ1 1. ให้จีนโอนสิทธิเขตเช่าของเยอรมนีในมณฑลซานตงให้ญ่ีปุ่น และขอ ขยายสิทธิทางเศรษฐกิจสาหรับพลเมืองญี่ปุ่นในแมนจูเรียและมองโกเลียใน โดย ให้ญป่ี ุ่นมีสทิ ธิถอื ครองทีด่ นิ สาหรับการค้า อุตสาหกรรม และการเกษตร ทัง้ นี้เพื่อ สร้างความเข้มแข็งของญีป่ นุ่ ในแมนจูเรียและในแหลมซานตง 2. หมวดอุตสาหกรรม ให้จดั ตัง้ บริษทั ร่วมจีน – ญีป่ ุ่น คือ บริษทั ฮันเย่ ่ ผงิ (Han-Ye-Ping) ผูกขาดการทาเหมืองแร่ ถ่านหิน และอุตสาหกรรมเหล็กกล้า บาง แห่งในลุ่มแม่น้าฉางเจียง โดยญีป่ ุ่นให้บริษทั กูเ้ งิน 30 ล้านเยน และให้จ่ายหนี้คนื ในเวลา 40 ปี เป็ นสินแร่เหล็ก 3. การโอนดินแดน ญีป่ นุ่ บังคับไม่ให้จนี ให้ชาติอน่ื เช่าหรือโอนท่าเรือใดๆ ั่ ทีอ่ ยูช่ ายฝงทะเลจี นให้แก่มหาอานาจอืน่ ทัง้ นี้ญป่ี นุ่ ต้องการกันไม่ให้เยอรมนีเข้ามา มีอานาจ 4. ญีป่ ุ่นให้จนี จ้างชาวญีป่ ุ่นเป็ นทีป่ รึกษาทางเศรษฐกิจและตารวจ และให้ ญีป่ นุ่ ได้สมั ปทานก่อสร้างทางรถไฟทางภาคใต้ของจีน 5. ขยายสิทธิพเิ ศษทางการค้าของญี่ปุ่นในมณฑลฝูเจี้ยน จีนต้องไม่จ้าง ชาวต่างชาติอ่นื ๆ ทางานในอุตสาหกรรมพื้นฐานในมณฑลฝูเจี้ยน ทัง้ นี้เพื่อให้ฝู เจีย้ นเป็ นเขตอิทธิพลของญีป่ นุ่ หยวน ซื่อไข่ เผยแพร่เรื่องนี้ให้หนังสือพิมพ์รูแ้ ละประกาศว่าต้องยอมเซ็น 4 หมวด แต่ไม่ยอมตกลงเรื่องการทีจ่ นี ต้องจ้างชาวญี่ปุ่นเป็ นทีป่ รึกษา เพราะจะ ทาให้ญป่ี นุ่ เข้ามาครอบงาจีนทุกด้าน หลังเซ็นสัญญาแล้วในจีนเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึน้ และเกิดกระแสต่อต้าน ญีป่ ุ่นและสินค้าญีป่ ุ่น พวกทีไ่ ม่เห็นด้วยกับการเซ็นสัญญาและไม่พอใจหยวน ซื่อ ไข่ โจมตีว่ า หยวน ซื่อไข่ ยอมญี่ปุ่ น เพื่อจะได้กู้เงิน จากญี่ปุ่ น และเพื่อให้ญ่ีปุ่ น สนับสนุ นการครองราชย์ของตน2 กลุ่มต่อต้านจึงเรียกร้องให้หยวน ซื่อไข่ นาระบบ รัฐสภากลับมาใช้ ส่วนมณฑลต่างๆ ในภาคกลางและภาคใต้ 8 แห่ง ตัง้ ตัวเป็ น อิสระ ฝา่ ยต่อต้านได้จดั ตัง้ รัฐบาลทีเ่ มืองกว่างโจว ความวุ่นวายนี้ทาให้หยวน ซื่อ ไข่ยอมลาออก และต่อมาเสียชีวติ ในวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ.1916 จากนัน้ การเมือง จีนก็เข้าสูย่ คุ ทีเ่ รียกว่า ยุคขุนศึก 1 2

Gray. (2002). op.cit. p. 149. Ibid. p. 149. 96


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ส าหรับ ปฏิกิร ิย าของมหาอานาจตะวัน ตกต่ อข้อเรีย กร้องของญี่ปุ่น นั น้ สหรัฐ อเมริก าประท้ ว งข้อ เรีย กร้อ งของญี่ ปุ่ น มหาอ านาจอื่น ๆ รวมทัง้ ที่เ ป็ น พันธมิตรกับญีป่ นุ่ อย่างอังกฤษก็ต่อต้านข้อเรียกร้องของญีป่ นุ่ เช่นกัน แต่ไม่มากนัก เพราะประเทศในยุโรปกาลงติดพันสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ทีย่ ุโรปเป็ นสมรภูมริ บ ซึ่ง ถือเป็ นการฉวยโอกาสทีฉ่ ลาดของญีป่ นุ่ ในการขยายอานาจเข้ามาในจีน จะเห็นได้ว่า แม้ฝา่ ยปฏิวตั ลิ ม้ ล้างราชวงศ์ชงิ และเปลีย่ นแปลงการปกครอง เป็ น ระบอบสาธารณรัฐได้ แ ล้ว แต่ ก ารเมือ งจีน ยัง ไม่ ม ัน่ คงและไม่ เป็ น ไปตาม อุดมการณ์ของซุน ยัตเซน ดังนัน้ หากจะวิเคราะห์ว่าการปฏิวตั ิ ค.ศ. 1911 ประสบ ความสาเร็จหรือไม่ ควรพิจารณาจากจุดมุ่งหมายของการปฏิวตั ิ คือ หลักไตร ราษฎร์ จุดมุ่งหมายแรกของหลักไตรราษฎร์ คือ ชาตินิยม การปฏิวตั สิ ามารถโค่น ล้มพวกแมนจูได้ แต่จกั รวรรดินิยมตะวันตกและญีป่ นุ่ ยังมีอทิ ธิพลอยู่ และญีป่ นุ่ ยิง่ ขยายอานาจเข้ามามากขึ้น จุดมุ่งหมายประการที่สอง คือ ให้มกี ารปกครองใน ระบอบประชาธิปไตย การปฏิวตั สิ ามารถจัดตัง้ สาธารณรัฐทีเ่ ป็ นประชาธิปไตยได้ แต่ระบอบสาธารณรัฐล้มเหลว เพราะถูกแทนทีด่ ว้ ยระบบทีห่ ยวน ซื่อไข่ มีอานาจ เพียงคนเดียว และขุน ศึกมีอานาจขึ้นมา จนนาไปสู่ความแตกแยกในยุคขุนศึก ส่วนจุดมุ่งหมายประการทีส่ าม คือ สังคมนิยมทีเ่ น้นการจัดสรรทีด่ นิ ให้ประชาชน อย่ า งเท่ า เทีย มกัน ถือ ว่ า ยังไม่ เป็ น รูป ธรรม เพราะมีอุป สรรคจากสถานการณ์ การเมือง การปฏิวตั ิ ค.ศ. 1911 ทีย่ งั ไม่ประสบความสาเร็จ อาจสรุปได้ว่าเป็ นเพราะ การปฏิวตั ถิ ูกคัดค้านและต่อต้านจากพวกอนุ รกั ษ์นิยม นักปฏิวตั -ิ นักการเมืองไม่ สามารถหาเสียงสนับสนุ นจากประชาชนได้เต็มที่ นักการเมืองทีเ่ ข้ามามีอานาจ แสวงหาผลประโยชน์ ส่วนตัว ชาวจีนส่วนใหญ่ คือ ชาวนา ไม่เข้าใจอุดมการณ์ ปฏิวตั แิ ละแนวคิดสาธารณรัฐและประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ชาวจีนระแวงว่าการ ปฏิว ัติอาจท าให้ต่า งชาติเข้า แทรกแซง มหาอานาจตะวัน ตกและญี่ปุ่ น ให้ก าร สนับสนุนหยวน ซื่อไข่ เพือ่ รักษาผล ประโยชน์ของตนในจีน 2. สภำพกำรเมืองจีนในยุคขุนศึก (The Warlord Era, ค.ศ. 1916 – 1928) ยุคขุน ศึกครอบคลุมช่วงเวลาตัง้ แต่ เมื่อ หยวน ซื่อไข่ถงึ แก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1916 จนถึงเมื่อเจียง ไคเช็ก ยกทัพ ขึ้นเหนือปราบขุน ศึกและรวมจีน เป็ น 97


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หนึ่ ง เดีย วกัน อีก ครัง้ เมื่อ ค.ศ.1928 สภาพการเมือ งของจีน ในยุ ค ขุ น ศึก เป็ น ช่วงเวลาแห่งความแตกแยก มณฑลหลายแห่งเป็ นอิสระจากอานาจของรัฐบาล กลาง ผูป้ กครองมณฑลโดยเฉพาะทีเ่ ป็ นฝา่ ยทหารพยายามรักษาและเพิม่ อานาจ ของตนจนเกิดการต่อสูแ้ ย่งชิงอานาจกันทัวไป ่ สำเหตุของกำรเกิ ดยุคขุนศึก การเกิดขึน้ ของยุคขุนศึกเป็ นผลสืบเนื่องมาจากสภาพการปกครองทีร่ ฐั บาล กลางตลอดจนมณฑลต่างๆ มีการปกครองโดยทหารเป็ นหลักตัง้ แต่เมือ่ มีการปฏิวตั ิ ใน ค.ศ. 1911 จนโค่ น ล้ ม ราชวงศ์ ช ิ ง ใน ค.ศ. 1912 ประกอบกั บ ความไร้ ประสิทธิภาพของรัฐบาลสาธารณรัฐ และความสูญสลายของประเพณีการควบคุม สังคมแบบเดิม ทาให้การใช้ “คาสัง”่ ในการปกครองเข้าแทนที่การปกครองที่ยดึ ระบบกฎหมาย “ขุน ศึก ” หรือ ตุ๊ จุ้น (dujun) ในฐานะผู้ป กครองฝ่า ยทหารเข้า ควบคุม การปกครองในมณฑลแทนที่ฝ่ายพลเรือน นอกจากนี้ความอ่อนแอของ รัฐบาลกลางทีเ่ ป็ นมาตัง้ แต่สมัยเกิดกบฏไท่ผงิ และการขยายอานาจออกสู่ท้องถิน่ โดยขุนนางอย่าง หลี่ หงจาง, จ่อ จงถัง ทาให้ขนุ นางท้องถิน่ มีอานาจมากขึน้ ในการ บริหารและจัดเก็บภาษี สภาพเช่นนี้ ดาเนิน มาเรื่อยๆ และในช่วงก่ อนการสิ้นสุด ราชวงศ์ชงิ ทีร่ าชสานักประสบปญั หาการเงิน ทาให้มณฑลต่างๆ ต้องบริหารจัดการ ทรัพยากรในท้องถิน่ และภาษีต่างๆ เองเพื่อนาเงินมาใช้ดแู ลกองทัพของตน ทาให้ ขุนศึกมีอานาจปกครองมณฑลของตนและหาทางควบคุมดินแดนเพื่อจะได้นาเงิน ภาษีมาใช้สร้างความมันคงทางการเมื ่ อง การทหาร สภาพการณ์ เช่นนี้ทาให้ความ ผูกพัน ความจงรักภักดีของประชาชนมาอยู่ทผ่ี ปู้ กครองฝ่ายทหาร แทนที่จะเป็ น รัฐบาลกลางซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป สภาพเช่นนี้จงึ คล้ายกับว่าขุนศึกเป็ น เสมือนผู้ ครองรัฐในระบบฟิ วดัล 1 ซึ่งไม่เป็ นผลดีต่อระบอบสาธารณรัฐ เพราะขุนศึกแต่ละ แห่งต่างแข่งกันสะสมอานาจ แย่งกันเป็ นใหญ่ทางการเมือง และแบ่งกันเป็ นกลุ่ม ต่างๆ นอกจากนี้ การที่ฝ่ายปฏิวตั สิ ามารถล้มล้างราชวงศ์ชงิ ได้สาเร็จ แต่ไม่ม ี กองทัพ ที่แ ข็งแกร่งจึงไม่ ส ามารถกุม อานาจไว้ได้ ทาให้ห ยวน ซื่อไข่ เข้า มามี บทบาท หยวน ซื่อไข่มสี ่วนในการสร้างกองทัพ เป่ยหยางซึง่ เป็ นกองทัพสมัยใหม่ ของราชวงศ์ชงิ จึงมีนายทหารสนับสนุนมากมาย ซึง่ หยวน ซื่อไข่ได้กระจายอานาจ ไปยังขุนศึกภายใต้บงั คับบัญชา และตัง้ แต่ ค.ศ. 1913 เป็ นต้นมา กองทัพสมัยใหม่ 1

Ibid. p.168. 98


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เพิม่ จานวนขึ้นและกระจายเป็ นกองทัพส่วนภูมภิ าค ขุนศึก จึงมีบทบาทมากขึ้น โดยเฉพาะหลังจากที่หยวน ซื่อไข่ถงึ แก่อสัญกรรม แต่ขุนศึกไม่มพี รรคการเมือง และไม่มคี วามสามารถในการจัด ตัง้ รัฐบาล ขณะที่พ รรคการเมืองที่ม ีอยู่ม ีความ แตกแยก ทาให้ไม่มฝี า่ ยใดสามารถนาความเข้มแข็งทางทหารมาผสมผสานเข้ากับ องค์กรใหม่ทางการเมืองได้ ในช่วงการแย่งชิงความเป็ นใหญ่กนั ของขุนศึกนัน้ การ ปกครองของจีนเสื่อมลง ประชาชนอยู่ในสภาพเดือดร้อนลาบาก จนถึงขัน้ มีผกู้ ล่าว ว่าเป็ นช่วงทีส่ งั คมจีนตกต่ าถึงขีดสุด 1 ความสับสนวุ่นวายในช่วงนี้มผี วู้ เิ คราะห์ว่า เกิดจากความเห็น แก่ตวั ของขุน ศึกที่ต้องการรักษาอานาจของตนเอง การขาด หลักการทางการเมืองของขุนศึก และความไม่เห็นแก่ประโยชน์ของชาติ2 ลักษณะกำรขยำยอำนำจของขุนศึก ขุนศึกจีนในช่วงนี้มจี านวนมากนับร้อยคน ขุนศึกแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่ม ต่ า งพยายามรัก ษาอ านาจและแข่ ง ขัน กัน เป็ น ใหญ่ ดัง นั น้ ขุ น ศึก จึง ต้ อ งสร้า ง บุ ค ลิกลักษณะให้เข้ม แข็ง การที่ขุน ศึก มีกองทัพ หรือทหารที่ต้อ งเลี้ย งดู จึงต้อ ง แสวงหารายได้ทม่ี าจากภาษีโดยเฉพาะจากเมืองใหญ่ๆ ในมณฑล จากการเรียก เก็บค่าผ่านทางทีเ่ ป็ นเส้นทางการค้า ทางรถไฟ จากขุนศึกคนอื่นๆ หรือจากชาติ มหาอานาจที่ต้องการค้า ขาย กองทัพ ของขุน ศึก จึงมัก ไม่ อยู่เป็ น ที่ เพราะต้อ ง เดินทางไปตามเมืองต่างๆ เพื่อเก็บภาษีหรือรีดไถอื่นๆ ซึง่ สร้างความเกลียดกลัว ให้กบั ประชาชนอย่างมาก อย่างไรก็ตาม การมีกองทัพเป็ นกาลังหนุ นไม่ได้ทาให้ขนุ ศึกมีอานาจทาง การเมืองไปโดยปริยาย แต่จะมีอานาจทางการเมืองได้เมื่อขุนศึกได้รบั การรับรอง ว่ามีความชอบธรรมและมีสถาบันอื่นๆ ยอมรับ บรรดาขุ นศึกทัง้ หลายจึงต้องการ ให้รฐั บาลกลางแต่งตัง้ ตนอย่างเป็ นทางการ รวมทัง้ ขุนศึกพยายามประกาศตัวว่า เป็ นผูส้ นับสนุ นหลักชาตินิยมและสวัสดิการสาธารณะเพื่อหาเสียงสนับสนุ นจาก ประชาชน แต่ ขุ น ศึก เหล่ า นี้ ไม่ ม ีอุ ด มการณ์ ท่ีแ น่ น อน หากแต่ เปลี่ย นความ จงรักภักดีได้ทนั ทีหากมีผลประโยชน์ ให้ ดังนัน้ ขุนศึกจึงพร้อมทีจ่ ะทางานร่วมกับ รัฐสภาและสภาอื่นๆ พร้อมๆ กับขยายอานาจของตนภายใต้การทางานให้สถาบัน ขุนศึกเหล่านี้มกี าลังทางทหารแต่ไม่มคี วามสามารถในการจัดตัง้ องค์กรการเมือง 1 2

จอห์น เค แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ. (2525). เล่มเดิม. หน้า 819. Gray. (2002). op.cit. p. 168. 99


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

สมัยใหม่ บรรดาขุนศึกทัง้ หลายจึงไม่ส ามารถบริหารประเทศได้ ส่วนใหญ่ ขยาย อิทธิพลอยูใ่ นระดับภูมภิ าค และไม่มขี นุ ศึกประกาศตัวตัง้ ราชวงศ์ใหม่เช่นในอดีต 1 ขุนศึกแบ่งออกเป็ นกลุ่มต่างๆ ดังนี้ 2 ขุน ศึกจากกองทัพ เป่ยหยาง ที่โดดเด่น คือ ต้วน ฉีหรุ่ย (Duan Qirui, ค.ศ.1865-1936) เป็ นนายกรัฐ มนตรีส าธารณรัฐ จี น หลัง หยวน ซื่ อ ไข่ ถึ ง แก่ อสัญกรรม และเฝิ ง กว๋อจาง (Feng Guozhang) ซึ่งดารงตาแหน่ งประธานาธิบดี อยู่ร ะยะหนึ่ งในช่ ว งยุ ค ขุ น ศึก ทัง้ สองคนมีบ ทบาทมากในยุ ค แรกๆ และต่ า ง พยายามสร้างอานาจของตนให้มนคงโดยการเลื ั่ ่อนตาแหน่งหรือแต่งตัง้ คนสนิทเป็ น ข้าหลวงในภูมภิ าค ขุน ศึกกลุ่ ม อนุ รกั ษ์ นิ ย ม ได้แ ก่ อู๋ เพ่ย ฝู (Wu Peifu,1874 -1939) และ จาง จัว้ หลิน (Zhang Zoulin, ค.ศ.1875 -1928) ขุนศึกจากแมนจูเรียซึ่งนิยมญีป่ ุ่น ทัง้ สองเป็ นขุนศึกที่รจู้ กั กันดีในภาคเหนือและเคยยึดอานาจที่กรุงเป่ยจิงได้ระยะ หนึ่ ง ส าหรับ จาง จัว้ หลิน เคยเป็ น ข้า หลวงฝ่า ยทหารในมณฑลเฟิ งเทีย น (ใน แมนจูเรีย) และให้การสนับสนุ นเมื่อหยวน ซื่อไข่วางแผนขึน้ ครองราชย์ จาง จัว้ หลิน ได้รบั แต่งตัง้ เป็ นข้าหลวงใหญ่ 3 มณฑล ในแมนจูเรีย คือ เฟิ งเทียน จี้หลิน (Jilin) และเฮยหลงเจียง (Heilongjiang) ใน ค.ศ.1919 ทาให้มอี านาจในแมนจูเรีย และพยายามขยายอานาจเข้ามายังตอนเหนือของจีน จึงขัดแย้งกับขุนศึกอืน่ ๆ จาง จัว้ หลิน มีอานาจเหนือรัฐบาลทีเ่ ป่ยจิงระหว่าง ค.ศ. 1925 - 1926 แต่ใน ค.ศ. 1928 ได้ถูกกองทัพ ปฏิวตั ิจากทางใต้น าโดยเจียง ไคเชก ขับ ออกจากกรุงเป่ยจิง และ เสียชีวติ เมื่อ ค.ศ. 1928 จากการถูกญี่ปุ่นลอบวางระเบิดรถไฟทีเ่ ขาโดยสารกลับ แมนจูเรีย จาง จัว้ หลินถูกวิจารณ์ ว่าเป็ นขุนศึกทีน่ ิยมการปฏิวตั แิ ละมีอุดมการณ์ น้อยทีส่ ดุ ในบรรดาขุนศึก และทาทุกอย่างเพือ่ อานาจของตน3

จอห์น เค แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ. (2525). เล่มเดิม.หน้า 819 – 821. หน้ าเดิม , วุฒิช ัย มูล ศิลป์ . (2521). เล่ ม เดิม . หน้ า 184 -212 , Bai Shouyi. (ed). (1993). An Outline History of China 1919-1949. p.46 and Gray. (2002). op.cit. pp. 168 – 190. 3 วุฒช ิ ยั มูลศิลป์. (2521). เล่มเดิม. หน้า 191. 1 2

100


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

ขุนศึกจาง จัว้ หลิน แห่งแมนจูเรีย

ขุนศึกปฏิกริ ยิ า หมายถึง ขุนศึกทีป่ ฎิบตั โิ ดยไม่ดตู ามสภาพการณ์ทเ่ี ป็ นไป ในขณะนัน้ ขุน ศึกกลุ่ ม นี้ ท่ีเด่ น ๆ เช่น จาง ซุ น (Zhang Xun, ค.ศ.1854 - 1923) ลูกน้ องของหยวน ซื่อไข่ จาง ซุ น พยายามฟื้ น ฟู ราชวงศ์ช ิงขึ้นมาใหม่ ใน ค.ศ. 1917 แต่อยู่ได้เพียงสองสัปดาห์เท่านัน้ จักรพรรดิซวนถงก็ตอ้ งประกาศล้มเลิกการ ฟื้นฟู จากนัน้ จาง ซุน ก็หมดบทบาท ขุนศึกนักปฏิรูป เช่น เฝิ ง อวี้เสีย ง (Feng Yuxiang, ค.ศ. 1882 – 1948) เฉิน จย่งหมิง (Chen Jiongming) เอีย้ น สีซาน (Yan Xishan, ค.ศ. 1883 - 1960) เฝิ ง อวี้เสีย งเคยเป็ น ทหารในกองทัพ ของหลี่ หงจาง และหยวน ซื่อ ไข่ ต่ อ มา เปลี่ยนไปนับถือศาสนาคริสต์จึงมีฉายาว่าขุนศึกคริสเตียน เฝิ ง อวี้เสียงเน้ น ให้ ทหารในกองทัพของตนยึดมันระเบี ่ ย บวินัย รักษาสุขภาพให้เข้มแข็ง ด้วยการฝึ ก ทหารอย่างหนัก ห้ามสูบฝิ่น ห้าม ดื่มสุรา ห้ามเล่นการพนัน ห้ามการมีโสเภณีใน เขตของตน และส่งเสริม งานด้า นสาธารณะสงเคราะห์ เช่น ตัง้ ศูน ย์ส งเคราะห์ ขอทาน ตัง้ สถานพยาบาลผูต้ ดิ ยาเสพติด สถานเลีย้ งเด็กกาพร้า และในยามสงบจะ นาทหารมาทางานสาธารณะ เช่น สร้างถนน สร้างเขือ่ น ปลูกต้นไม้1 เฉิ น จย่ ง หมิง เกิด ในตระกู ล ผู้ดี ได้ ร บั การศึก ษาแบบจารีต และแบบ สมัยใหม่ เป็ นนักหนังสือพิมพ์และเป็ นสมาชิก แรกเริม่ ของสมาคมถงเหมิงฮุ่ย ร่วม 1

แหล่งเดิม. และ Gray. (2002). op.cit. p. 190. 101


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การปฏิวตั ิใน ค.ศ.1911 มีส่วนสาคัญในการจัดตัง้ กาลังปฏิวตั ิในมณฑลกว่างตง สะสมกาลังเพื่อต่อต้านหยวน ซื่อไข่ ในการปฏิวตั คิ รัง้ ที่ 2 ค.ศ. 1913 และต่อต้าน การขึ้น ครองราชย์ ข องหยวน ซื่อ ไข่ ใ น ค.ศ. 1916 ระหว่ า ง ค.ศ. 1917-1918 สามารถจัดตัง้ กองทัพในภาคตะวันออกของมณฑลกว่างตง และภาคใต้ของมณฑล ฝูเจีย้ น เขาให้ความสาคัญเรื่องการปรับปรุงการศึกษา ตัง้ คณะกรรมการการศึกษา ประจามณฑล ตัง้ โรงเรียนประถมขึ้นหลายแห่ง และกระตุ้นให้มกี ารรวมตัวเป็ น สหภาพการค้าและสมาคมชาวนา1 เมื่อซุน ยัตเซน วางแผนยกทัพขึน้ เหนือเพื่อรวมชาติโดยใช้มณฑลกว่าง ตงเป็ นฐานทีม่ นั ่ เฉิน จย่งหมิงไม่เห็นด้วยเพราะเกรงว่ามณฑลกว่างตงจะต้องแบก ภาระด้านเศรษฐกิจ ภาษี และกาลังทหาร และไม่เชือ่ ว่าการรวมชาติโดยใช้กาลังจะ สาเร็จ ใน ค.ศ. 1922 ความขัดแย้งระหว่างเฉิน จย่งหมิง กับ ซุน ยัตเซน ถึงขัน้ แตกหักเมื่อ เฉิน จย่งหมิงนากาลังโจมตีฐานทีม่ นของซุ ั่ น ยัตเซน แต่ซุน ยัตเซน และขุนศึกจากมณฑลหยุนหนานและกว่างซี ซ่งึ เป็ นพันธมิตรกันขับ เฉิน จย่งหมิ งจากเมืองกว่างโจวได้ และใน ค.ศ. 1925 หลังซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว กองทัพของเฉิน จย่งหมิง ถูกกองทัพปฏิวตั ทิ าลาย ทาให้หมดอานาจลง ขุนศึกเอีย้ น สีซาน เกิดในตระกูลพ่อค้าและนักการธนาคาร จบการศึกษา ด้านการทหารจากญีป่ นุ่ ทาให้ได้รบั แนวคิดปฏิวตั ิ จึงเข้าร่วมกับกลุ่มปฏิวตั ขิ องซุน ยัตเซน และร่วมการปฏิวตั ิท่มี ณฑลส่านซีใน ค.ศ. 1911 ต่อมาได้รบั แต่งตัง้ เป็ น ข้า หลวงทหารของมณฑลส่านซีน านกว่ า 20 ปี การที่ม ณฑลส่านซีอยู่ห่า งไกล เดินทางลาบากเพราะมีภูเขาล้อมรอบและอยู่ในเขตแม่น้ าหวงเหอซึง่ เดินเรือได้ไม่ สะดวก ทาให้ไม่เกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองในยุคขุนศึก เอี้ยน สีซ าน ได้ ปฏิรปู การปกครองในมณฑล ยกเลิกประเพณีโบราณ เช่น เลิกการไว้ผมเปี ย ตัง้ สมาคมเพื่อยกเลิกการรัดเท้าสตรี ส่งเสริมการศึกษาให้เยาวชนได้เรียนหนังสือ อย่างน้อย 4 ปี รณรงค์เรื่องอักษรศาสตร์ และจัดการศึกษาให้สามารถสนองความ ต้องการของประชาชนได้ เช่น ให้โรงเรียนสอนในสิง่ ทีน่ ักเรียนสามารถนาความรู้ หรือทักษะการปฏิบตั ไิ ปใช้ในการดารงชีพได้ ส่ง เสริมเรื่องระเบียบวินัย ศีลธรรม เช่น ประกาศว่าความเกียจคร้าน เล่นการพนัน การสังสรรค์ร่นื เริงทีม่ ากเกินไป และการทะเลาะกัน เป็ นเรือ่ งทีผ่ ดิ กฎหมาย รวมทัง้ เผยแพร่เรื่องลัทธิชาตินิยมและ ต่อต้า นจัก รวรรดินิ ย มแก่ ป ระชาชนในมณฑล ในช่ว งที่พ รรคคอมมิวนิ ส ต์ จีน ก าลั ง ขยายอ านาจ เอี้ ย น สี ซ านมี น โยบายต่ อ ต้ า นคอมมิ ว นิ ส ต์ เมื่ อ พรรค 1

Gray. (2002). op.cit. p.190. 102


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

คอมมิว นิ ส ต์ จีน มีช ัย ชนะใน ค.ศ. 1949 เอี้ย น สีซ านถู ก บังคับ ให้อ อกไปอยู่ท่ี ไต้หวัน จนถึงแก่กรรมเมือ่ ค.ศ. 1960 สภำพกำรเมืองและกำรแย่งอำนำจในยุคขุนศึก สภาพการเมืองในยุคขุนศึกเต็มไปด้วยความวุ่นวาย มีทงั ้ การต่อสูก้ นั เอง ในหมู่ขุนศึก การแข่ง ขัน กันสนับ สนุ นนั กการเมืองในสภาเพื่อประโยชน์ ของตน และการแย่งอานาจระหว่างขุนศึกกับนักการเมือง รวมทัง้ การพยายามฟื้นฟูระบอบ จักรพรรดิของขุนศึกบางคน ซึง่ ล้วนแต่ทาให้ระบอบรัฐสภาอ่อนแอลงและเกิดความ แตกแยกในประเทศมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ต้น ทศวรรษ 1920 ความวุ่นวายแตกแยก ทางการเมืองของจีน เพิ่ม มากขึ้น ขุน ศึกพยายามหาพัน ธมิตรและแบ่ งเป็ น กลุ่ ม ต่างๆ ขุนศึกเหล่านี้พยายามชิงความเป็ นใหญ่กนั รวมทัง้ ให้การสนับสนุนแก่บุคคล ต่างๆ ขุน ศึกบางกลุ่มได้รบั การสนับสนุ นทางการเงินและอาวุธจากต่างชาติ คื อ ญีป่ นุ่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ด้วย ภายใต้การปกครองของขุนศึกซึง่ ปกครองคนในชนบทด้วยอานาจ บังคับ เกณฑ์แรงงาน ให้ทางานในกองทัพ บังคับให้ชาวบ้านขนส่งลาเลียงสัมภาระ ให้ จัดหาที่พ กั และเสบีย งอาหารแก่ทหาร บางครัง้ ทหารได้เข้าปล้น สะดมหมู่บ้าน บังคับเก็บภาษีตามอาเภอใจ และรีดเงินจากธนาคาร ร้านค้าหรือหอการค้าประจา เมือง สภาพบ้านเมืองที่วุ่น วายเช่นนี้ ทาให้เศรษฐกิจหยุด ชะงัก เพราะความไม่ ปลอดภัยในการเดินทางขนส่งสินค้า เนื่องจากมีการสูร้ บกันเป็ นประจา ทางรถไฟ ไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากทหารเข้ายึดเส้นทางรถไฟ ส่วนในกรุงเปย่ จิงก็มกี ารสูร้ บ กันหลายครัง้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1924 ขุนศึกเฝิ ง อวี้เสียง ก่อการยึดอานาจใน กรุงเป่ยจิง ออกแถลงการณ์ ให้ขนุ ศึกหยุดทาสงครามและเรียกร้องให้ขนุ ศึกลาออก เฝิง อวีเ้ สียงหันไปปรองดองกับจาง จัว้ หลิน และขุนศึกกลุ่มอานฮุยของต้วน ฉีหรุ่ย เชิญให้ต้วน ฉีหรุ่ย มาดารงตาแหน่ งหัวหน้ารัฐบาลชัวคราวเพื ่ ่อหาทางแก้ปญั หา และเชิญซุน ยัตเซน ซึง่ อยู่ทเ่ี มืองกว่างโจวมาช่วยแก้ปญั หาความวุ่นวายของชาติ ด้วย ระหว่างทีซ่ ุน ยัตเซนกาลังเดินทางมายังกรุงเป่ยจิงในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1924 นัน้ มหาอานาจได้รบั รองรัฐบาลต้วน ฉี หรุ่ย โดยมีเงือ่ นไขว่ารัฐบาลจีน ต้ อ งเคารพต่ อ สิท ธิแ ละผลประโยชน์ ข องชาติ ต ะวัน ตกในจี น ตามระบุ ไ ว้ ใ น สนธิสญ ั ญาต่างๆ ทาให้ซุน ยัตเซนไม่พอใจมหาอานาจมาก เมื่อซุน ยัตเซนมาถึง กรุงเป่ยจิงนัน้ เขาอยู่ในสภาพป่วยหนักด้วยโรคมะเร็งตับ และถึงแก่อสัญกรรมใน 103


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วันที่ 12 มกราคม ค.ศ.1925 โดยทีก่ ารปฏิวตั จิ นี ยังไม่สาเร็จสมดังอุดมการณ์ ของ เขา ดังนัน้ ในพินยั กรรมของซุน ยัตเซน จึงเรียกร้องให้ทาการปฏิวตั จิ นี ให้สาเร็จ

การ์ตูนล้อเลียนการแย่งชิงอานาจของขุนศึก

เจียง ไคเชก (กลาง) กับขุนศึกเฝิง อวี้เสียง (ซ้าย) และ เอี้ยน สีซาน (ขวา) (ขวา)

หลังจากซุน ยัตเซน ถึงแก่อสัญกรรม ผูน้ าทีข่ น้ึ มามีอานาจแทนโดยพฤติ นัย คือ เจีย ง ไคเชก (Chaing Kai-shek) หรือ เจีย ง เจีย๋ สือ (Jiang Jiashi, ค.ศ. 1887-1975) นายทหารคนสนิ ทและเป็ น น้ องเขยของมาดามซ่ ง ชิงหลิง (Soong Qingling) ภรรยาของซุน ยัตเซน เจียง ไคเชกขึน้ มามีอานาจและต้องการปราบขุน ศึกทางเหนือเพือ่ รวมชาติ จึงเริม่ ยกทัพขึน้ เหนือเพื่อปราบขุนศึกใน ค.ศ.1926 และ สามารถรวมประเทศได้สาเร็จใน ค.ศ. 1929 ความวุ่นวายในยุคขุนศึกจึงจบลง

104


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ยุคขุนศึกส่งผลกระทบต่อสังคมจีนอย่างมากและในหลายด้าน ได้แก่1 1. ชาวจีนเกิดความรูส้ กึ ชาตินิยมและรักชาติมากขึน้ เพราะขุนศึกบางคน ใช้ถ้อยคาปลุกเร้าในการหาความสนับสนุ น เช่น ทาลายจักรวรรดินิยม ปกป้อง เมืองจีน ทาเพื่อประโยชน์สขุ ของประชาชน ถ้อยคาเหล่านี้ทาให้ปญั ญาชนจีนเกิด ความตื่นตัวและดาเนินกิจกรรมทีน่ าไปสูก่ ารปฏิวตั ทิ างภูมปิ ญั ญา 2. สภาพบ้านเมืองในยุคขุนศึกส่งผลต่อชีวติ ของประชาชน เพราะมีความ ทุกข์ยาก ถูกกดขีจ่ ากการปล้นสดมภ์ จากการขูด รีดภาษีท่หี นัก และถูกเก็บภาษี นานาชนิดโดยไม่มกี ฎเกรฑ์ใดๆ เพราะขุนศึกต้องการนาเงินไปใช้ในกองทัพ 3. ส่ ง ผลต่ อ เศรษฐกิจ ของประเทศ ได้ แ ก่ เกิด ภาวะเงิน เฟ้ อ การค้ า หยุด ชะงัก ทางรถไฟและสาธารณู ป โภคต่างๆ เสื่อมโทรม ฝิ่ น แพร่ระบาดอีก เพราะขุนศึกเพิม่ ภาษีท่ดี ินที่เหมาะกับ การปลูกฝิ่ นให้สูงขึน้ ชาวบ้านบางส่วนจึง ปลูกฝิ่ นเพื่อนาเงินมาจ่ายภาษี สงครามระหว่างขุนศึกทาให้พชื ผลเสียหาย ชาวนา ต้องถูกเกณฑ์เป็ นทหารหรือทางานอื่นๆ สัตว์เลี้ยงและพาหนะทีใ่ ช้ในการเกษตร ถูกยึดไป และเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ของมีราคาแพง โจรผูร้ า้ ยชุกชุม 4. สภาพความเลวร้ายในการดารงชีวติ ในสังคมส่วนรวม ความสิ้นหวัง และความตกต่ า ของบ้ า นเมือ ง ตลอดจนความอัป ยศต่ า งๆ ที่เกิด ขึ้น จากการ แสวงหาผลประโยชน์ของต่างชาติโดยการร่วมมือของขุนศึกและนักการเมือง ทาให้ ปญั ญาชนจีนเกิดความรูส้ กึ ตื่นตัวมากยิง่ ขึน้ ว่าจะต้องมีการปฏิวตั สิ งั คมเสียใหม่ 5. ภายใต้การปกครองของขุนศึกบางคน เช่น เฝิ ง อวี้เสียง, เฉิน จย่งหมิง และ เอี้ย น สีซ าน ได้ พ ยายามปฏิ รู ป ต่ า งๆ เช่ น พั ฒ นาการศึ ก ษา ควบคุ ม อาชญากรรม พัฒนาเศรษฐกิจ และนากาลังทหารมาสร้างงานสาธารณะต่างๆ 6. คนจีน ส่ ว นใหญ่ ไม่ เชื่อ มัน่ ในระบอบสาธารณรัฐ และประชาธิป ไตย เพราะเห็นว่าภายใต้ยคุ ขุนศึกระบอบสาธารณรัฐมีเพียงในนามเท่านัน้ 7. ทาให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองจีนมากขึ้น และส่งผลให้คน หนุ่ มรุ่นใหม่ของชาติทงั ้ ในพรรคกว๋อหมินตังและพรรคคอมมิ ่ วนิสต์มปี ระสบการณ์ ทางทหารจากสถานการณ์ ต่างๆ ของชาติ ไม่ว่าจะเป็ นเพื่อการต่อ ต้านญี่ปุ่น และ การร่วมอยูใ่ นกองทัพขุนศึก

จอห์น เค แฟร์แบงค์ และคนอื่นๆ. (2525). เล่มดิม . หน้ า 821 และ วุฒิชยั มูลศิลป์. (2521). เล่มเดิม. หน้า 212 – 217. 1

105


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

8. เป็ น ช่วงที่ป ระเทศจีนแตกแยก รัฐบาลกลางไม่ม ีอานาจควบคุมส่วน ภูมภิ าคได้อย่างมีประสิทธิภาพ มณฑลต่างๆ แยกตัวเป็ นอิสระและปกครองตนเอง คนในสังคมมีความรูส้ กึ ไม่ป ลอดภัยจึงจัดตัง้ เป็ นสมาคมลับ เป็ น สหภาพชาวนา หรือพึง่ บารมีให้ผมู้ อี านาจในท้องถิน่ คุม้ ครอง 3. กำรปฏิ วตั ิ ทำงภูมิปัญญำและขบวนกำรชำติ นิยม ความสับสนวุ่นวายทางการเมือง การต่อสูแ้ ย่งชิงอานาจทางทหาร ทาให้ ั ญาชนส่ ว นหนึ่ ง พยายามหาทางแก้ ป ญ ั หาในบ้ า นเมื อ ง โดยการเสนอ ปญ ั ญาและการเคลื่อ นไหวทาง แนวความคิด ต่ า งๆ น าไปสู่ก ารปฏิว ัติท างภู ม ิป ญ วัฒนธรรม และเกิดเป็ นขบวนการชาตินิยมและสังคมนิยมในเวลาต่อมา กำรปฏิ วัติ ทำงภูมิ ปั ญ ญำ (The Intellectual Revolution) และกำร เคลื่อนไหวทำงวัฒนธรรมใหม่ (The New Cultural Movement) การปฏิวตั ทิ างภูมปิ ญั ญาหรือการปฏิวตั ปิ ญั ญาชนเกิดในช่วง ค.ศ. 1917 – 1923 นาโดยนักศึกษาทีผ่ ่านการศึกษาจากต่างประเทศ โดยได้รบั อิทธิพลทัง้ จาก สถานการณ์ภายนอกและภายในประเทศ สถำนกำรณ์ ภำยใน มูลเหตุท่ที าให้เกิดแนวความคิดในการปฏิวตั ิภูม ิ ปญั ญามาจากการทีพ่ วกปญั ญาชนมองเห็นความวุ่นวายสับสนของประเทศ ความ ล้าหลังและอ่อนแอทางด้านต่างๆ ทัง้ ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม การแก่งแย่ง อานาจในยุคขุนศึก ความเสื่อมทรามทางด้านศีลธรรม สังคมมีการแก่งแย่ง เห็น แก่ตวั พวกปญั ญาชนเห็นว่าการเปลีย่ นแปลงระบบการปกครองเป็ นสาธารณรัฐยัง ไม่ได้ท าให้ทุ กอย่ างดีข้นึ เพราะในขณะที่รูป แบบการปกครองเปลี่ย นไป แต่ แนวคิดและความเชื่อของชาวจีนยังเป็ นความเชือ่ ในจารีตเดิมทีเ่ ป็ นอุปสรรคต่อการ พัฒนาประเทศตามแบบตะวันตก ั ญาชนที่ได้ร บั การศึก ษาจากตะวัน ตกและได้ ร ับ อิท ธิพ ลตะวัน ตก ปญ ต้องการเปลีย่ นแปลงความคิดชาวจีน และมุ่งทาลายความเชือ่ เก่าๆ จารีตประเพณี โครงสร้างทางสังคมแบบเก่า และระเบียบแบบแผนทางสังคมเก่าๆ โดยมุง่ เน้นไปที่ รากฐานวัฒนธรรมของจีนคือลัทธิขงจื่อ โดยโจมตีลทั ธิขงจื่อว่าสร้างสังคมศักดินา ั ญาชนตัง้ ใจรับ แบบอย่ า งจากชาติ ต ะวัน ตกมาใช้ ท ัง้ ในด้ า นแนวคิด พวกป ญ ประชาธิปไตย วิทยาศาสตร์ หรือ วัฒนธรรมตะวันตก เพราะเห็นว่าเป็ นรากฐาน 106


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ของการพัฒนาแบบใหม่ และสนับสนุ นให้ใช้ภาษาพูดหรือ ไป่ฮวั (baihua) แทน ภาษาคลาสสิก ชาวจีนบางคนบอกว่า การปฏิวตั ิทางภูมปิ ญั ญาทีเ่ กิดขึน้ ในช่วงนี้ ั ญาและสังคมที่ด าเนิ น ไปอย่า งรุน แรงและ ถือ เป็ น การเปลี่ย นแปลงทางภู ม ิป ญ เปลีย่ นไปถึงรากฐานของสังคมมากทีส่ ุดกว่าครัง้ ใดในประวัตศิ าสตร์จนี นับตัง้ แต่ยุค ชุนชิว (722–221 ก่อนคริสต์ศกั ราช) เป็ นต้นมา 1 สถำนกำรณ์ ภำยนอกประเทศ เหตุการณ์ ทเ่ี กิดขึน้ ในประเทศต่างๆ ในช่วงนัน้ ทาให้ชาวจีนเกิดความรูส้ กึ ชาตินิยมและเรียกร้องประชาธิปไตยทีเ่ ข้มแข็ง และมันคงมากขึ ่ ้น เหตุการณ์ หนึ่ งที่มผี ลต่อความรูส้ ึกชาตินิย มของชาวจีน คือ ในช่ ว งสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ประธานาธิบ ดี วู ด โรว์ วิล สัน ของสหรัฐ อเมริก า ประกาศนโยบาย 14 ประการ ซึ่งข้อ หนึ่ งเน้ น ว่ า ทุ ก ชาติม ีค วามเท่ าเทีย มกัน ปญั ญาชนจีนรุ่นใหม่เชื่อว่าทุกอย่างจะเป็ นอย่างทีว่ ลิ สันประกาศ และคาดหวังว่า จีนจะก้าวเข้าสูย่ ุคใหม่ทม่ี คี วามเท่าเทียมกับนานาชาติและจะได้รบั การปฏิบตั อิ ย่าง เท่าเทียมจากมหาอานาจด้วย ไม่ใช่เป็ นประเทศทีม่ หาอานาจเข้ามาหาประโยชน์ อย่างแต่ก่อน แต่ปรากฏว่า สิง่ ที่พวกเขาคิดกลับ ไม่เป็ นเช่นนัน้ เพราะจีนยังคง เสียเปรียบมหาอานาจเหล่านี้อยู่ โดยชาวจีนหวังไว้ว่าจะได้มณฑลซานตงคืน (เดิม ซานตงเป็ นเขตเช่าของเยอรมนี แต่ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 1 ญี่ปุ่นบังคับเอาไป จากจีนด้วยข้อเรียกร้อง 21 ประการ ใน ค.ศ. 1915) แต่ทป่ี ระชุมสันติภาพทีแ่ วร์ ซายส์ใน ค.ศ. 1919 กลับยินยอมให้ญ่ปี ุ่นได้มณฑลซานตง ชาวจีนจึงผิดหวังกับ หลักการของวิลสันและการประชุมสันติภาพนี้ นอกจากนี้การปฏิวตั ลิ ้มล้างระบอบการปกครองเก่าในประเทศต่างๆ ก็ เป็ นตัวอย่างทีท่ าให้ปญั ญาชนจีนต้องการทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงและพัฒนาชาติขน้ึ ใหม่ เช่น การปฏิวตั ขิ องพรรคบอลเชวิกในรัสเซีย ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1917 ที่ ล้มล้างระบอบกษัตริยแ์ ละเปลีย่ นเป็ นระบอบคอมมิวนิสต์ , ความพยายามก่อกบฏ เพื่อยึดอานาจรัฐในฟิ นแลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี ทีเ่ ลียนแบบการปฏิวตั ิ รัสเซีย ปญั ญาชนจีนมีความรูส้ กึ ว่าตนมีหน้าทีท่ จ่ี ะต้องฟื้นฟูประเทศชาติ นอกจากนี้ การเติบโตของลัทธิชาตินิยมของปญั ญาชนก็เป็ นสิง่ ทีส่ ่งเสริม ให้ชนชัน้ พ่อค้าและผู้ประกอบการมีสานึ กทางการเมืองมากขึ้น การเติบโตทาง เศรษฐกิจมีส่วนทาให้เกิดปญั ญาชนเพิม่ ขึน้ และทาให้เกิดชนชัน้ พ่อค้าและชนชัน้ คนงานในรูปแบบใหม่ คือ เป็ นผูท้ ม่ี คี วามคิดทางการเมือง มีความเป็ นชาตินิยม สูง พวกนี้จะอยู่ตามเมืองทีเ่ ป็ นเขตเช่าของต่างชาติและเมืองใหญ่ทม่ี เี ศรษฐกิจดี 1

Hsu. (1995). op.cit. p. 575. 107


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เช่น ซังไห่ ่ เป่ยจิง หนานจิง เทียนจิน กว่างโจว อู่ฮนั ่ เมืองเหล่านี้กลายเป็ น เมืองใหญ่ และมีป ญั ญาชนรุ่นใหม่ๆ เกิด ขึ้น ซึ่งมีแนวคิดต่อต้านจักรวรรดินิย ม ต่ า งชาติ แ ละความวุ่ น วายภ ายในชาติ ศู น ย์ ก ลางทางความคิ ด ในยุ ค นี้ คื อ มหาวิทยาลัยเปย่ จิง หรือเปย่ ต้า ผูน้ าในการปฏิวตั ิภูมปิ ญั ญาและการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมโจมตีและ ล้มล้างแนวคิดอนุ รกั ษ์ นิยมคือลัทธิขงจื่อ และเผยแพร่แนวคิดใหม่ๆ จากตะวันตก ซึ่งมีทงั ้ แนวคิดประชาธิปไตย สังคมนิยม เสรีนิยม ปฏิบตั นิ ิยม ผูท้ ม่ี บี ทบาทใน การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมส่วนใหญ่คอื ปญั ญาชนทีจ่ บการศึกษามาจากต่างประเทศ ที่ สาคัญ ได้แก่ ไช่ หยวนเผ่ ย (Cai Yuanpei, ค.ศ. 1876 – 1940) สอบไล่ ได้ เป็ น ขุน นางระดับมณฑลทีเ่ จ้อเจียงใน ค.ศ.1889 และสอบได้ชนั ้ จิน้ ซือคือชัน้ สูงสุดใน ค.ศ. 1890 ขณะอายุ 22 ปี ใน ค.ศ.1907 เป็ นสมาชิกราชบัณฑิตยสถาน (ฮานหลิน) ใน ปี สุด ท้ายของราชวงศ์ช ิง ไช่ หยวนเผ่ย ดารงตาแหน่ งขุน นางทางการศึกษาที่เจ้ อเจีย ง และเข้า ร่ว มเป็ น พัน ธมิต รกับ กลุ่ ม ปฏิว ัติ เมื่อเกิด ปฏิว ัติ ค.ศ. 1911 ไช่ หยวนเผ่ยกาลังศึกษาอยู่ทม่ี หาวิทยาลัยไลป์ซกิ ประเทศเยอรมนี เมื่อกลับมาจีน ใน ค.ศ. 1912 ได้รบั แต่งตัง้ เป็ น รัฐมนตรีว่ า การกระทรวงศึกษาธิการในรัฐบาล สาธารณรัฐชุดแรก ก่อนจะลาออกและเดินทางไปเยอรมนีและฝรังเศส ่ และเป็ นผู้ มีส่วนจัดตัง้ โครงการทางานศึกษา - ทางานในฝรังเศสของนั ่ กศึกษาจีน ช่วยให้ นักศึกษาและคนงานจีนจานวนมากเดินทางมาทางานและศึกษาในฝรังเศส ่ เมื่อ กลับมาได้ดารงตาแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเปย่ จิงเมือ่ ค.ศ. 1917 ก่อนนี้มหาวิทยาลัยเป่ยจิงนี้ถือเป็ นสถาบันการศึกษาชัน้ สูง ได้รบั การ สนับสนุนจากรัฐบาลและมีประเพณีอนุรกั ษ์นิยมสืบต่อกันมา บรรดาอาจารย์ทส่ี อน ล้วนมาจากชนชัน้ ขุนนาง นักศึกษาไม่ได้สนใจศึกษาอย่างจริงจัง ถือว่าเป็ นเพียง บันไดสาหรับไต่เต้าไปสูต่ าแหน่งงานทางราชการ บรรยากาศภายในมหาวิทยาลัย มีแต่เรื่องสนุ กสนาน เมื่อไช่ หยวนเผ่ยเข้ารับ ตาแหน่ งอธิการบดีได้ ประกาศว่า มหาวิทยาลัยเป็ นสถานทีส่ าหรับศึกษาหาความรู้ ไม่ใช่เส้นทางลัดไปสู่ความมังคั ่ ง่ ร่ารวยและตาแหน่ งงาน การบริหารมหาวิทยาลัยเป่ยจิงของไช่ หยวนเผ่ย มีหลัก ว่า นั กศึก ษามีส ิท ธิเสรีภ าพในการศึก ษา มีก ารแสดงความคิด เห็น อย่ างเสรีบ น พื้น ฐานของความมีเหตุม ีผล และต้องยอมรับ มุ ม มองที่แ ตกต่างอย่า งมีเหตุผ ล 1 มหาวิทยาลัยจะต้องเป็ นสถาบันสาหรับค้นคว้าวิจยั โดยใช้แนวทางอารยธรรม 1

Spence. (2013). op.cit. p. 290. 108


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ตะวัน ตก และสร้า งวัฒ นธรรมของจีน ใหม่ โดยต้องประเมิน คุณ ค่าตามวิธีทาง วิทยาศาสตร์ ภายใต้การบริหารงานของ ไช่ หยวนเผ่ย มหาวิทยาลัยเป่ยจิงกลายเป็ น สถาบันการศึกษาชัน้ สูงทีม่ ศี าสตราจารย์ทม่ี คี วามคิดเห็นทางการเมืองต่างกันไป ตัง้ แต่ เสรีนิ ย ม สังคมนิ ย ม ปฏิบ ัตินิ ย ม อนุ ร กั ษ์ นิ ย ม บรรดานั ก วิช าการและ นักศึกษามีอสิ ระในการเสนอความคิดเห็นและมีแนวคิดทางภูมปิ ญั ญาสมัย ใหม่ เช่น เฉิน ตุ๊ซวิ่ (Chen Duxiu, ค.ศ. 1879–1942) คณบดีคณะอักษรศาสตร์ หู ซื่อ (Hu Shih, ค.ศ. 1891-1962) ศาสตราจารย์ดา้ นปรัชญา หลี่ ต้าเจา (Li Dazhao, ค.ศ.1889-1927) ผูศ้ กึ ษาลัทธิสงั คมนิยมได้รบั แต่งตัง้ เป็ นบรรณารักษ์หอ้ งสมุด มี ผูช้ ว่ ย คือ เหมา เจ๋อตง (Mao Zedong, ค.ศ.1893-1976) เมื่อเกิด ขบวนการ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 ซึ่งเป็ นการเคลื่อนไหวครัง้ สาคัญของนักศึกษาปญั ญาชนทีต่ ่อต้านผลการประชุมทีแ่ วร์ซายส์และต่อต้านญีป่ ุ่น ไช่ หยวนเผ่ยลาออกจากตาแหน่งอธิบการบดี เพือ่ ประท้วงรัฐบาลทีจ่ บั ตัวนักศึกษา ที่เดิ น ขบวนประท้ ว ง แต่ ภ ายหลัง ได้ ร ับ การแต่ ง ตัง้ กลับ มาอีก ครัง้ และเป็ น อธิการบดีจนถึง ค.ศ. 1922

ไช่ หยวนเผ่ย

เฉิน ตุ๊ซวิ ่

เฉิ น ตุ๊ซิ่ว เป็ นชาวอานฮุย เกิดในครอบครัวร่ารวย ได้รบั การศึกษาตาม ตาราคลาสสิกของจีน ใน ค.ศ. 1897 สอบไล่เพื่อเข้ารับราชการระดับมณฑล แต่ สอบตก ต่ อ มาไปศึก ษาที่ญ่ี ปุ่ น และฝรัง่ เศสเมื่อ ค.ศ. 1907 โดยศึก ษาด้ า น การเมืองและวรรณกรรมซึง่ เขาได้รบั อิทธิพลจากฝรังเศสมาก ่ ใน ค.ศ.1911 ได้เข้า ร่วมในการปฏิวตั ิโค่นล้มราชวงศ์ชงิ เฉิน ตุ๊ซิ่วออกวารสารรายเดือนชื่อ เยาวชน

109


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ใหม่ (New Youth) หรือ ซิน ชิง เหนี ย น (Xin qing nian) ใน ค.ศ. 1915 และ ได้รบั แต่งตัง้ เป็ นคณบดีคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเปย่ จิง ใน ค.ศ. 1917 วารสารเยาวชนใหม่สะท้อนอิทธิพลของปรัชญาความคิดของชาวตะวันตก และความนิยมลัทธิประชาธิปไตยแบบตะวันตก วารสารนี้มวี ตั ถุประสงค์ทจ่ี ะปลุก ระดมเยาวชนของชาติให้ลุกขึ้นมาทาลายประเพณีเก่าแก่ท่ที าให้ชาวจีนมีความ เฉื่อยชา และหันมาศึกษาความรูส้ มัยใหม่ เฉิน ตุ๊ซวิ่ เป็ นนักเขียนทีม่ อี ทิ ธิพลมาก ที่สุด คนหนึ่ ง เขากระตุ้น ผู้อ่านผ่า นวารสารให้เปิ ด ใจกว้างรับ ความคิด ใหม่เพื่อ หาทางแก้ปญั หาของชาติ เรียกร้องให้คนรุน่ ใหม่ปฏิรปู ความคิดและความประพฤติ ของตนใหม่ โดยเน้นว่า “วิทยาศาสตร์และประชาธิปไตยเป็ นพื้นฐานของการสร้าง ชาติให้เข้มแข็ง เยาวชนยุคใหม่ตอ้ งต่อสูก้ บั ลัทธิขงจื่อ ต่อสูก้ บั ประเพณีและพิธกี าร ทัง้ หมดในยุคเก่า ต่อสูก้ บั ปรัชญารุ่นเก่าทัง้ หมด และต้องสร้างสังคมใหม่ๆ ซึง่ มี ฐานยึดมันอยู ่ ก่ บั ประชาธิปไตยและวิทยาศาสตร์”1 เฉิน ตุ๊ซวิ่ โจมตีลทั ธิขงจื่อ ลัทธิเต๋า พุทธศาสนา เขาเห็นด้วยและชื่นชม ต่อการปฏิวตั ริ สั เซีย ต่อต้านระบอบกษัตริยแ์ ละจักรวรรดินิยม เฉิน ตุ๊ซวิ่ ได้เสนอ หลักชีน้ า 6 ประการ คือ 1) มีความเป็ นอิสระและไม่ยอมตนเป็ นข้าทาส 2) ก้าว ไปข้างหน้า ไม่ยอมเข้ากับฝา่ ยอนุ รกั ษ์นิยม 3) ก้าวร้าวและไม่ถอยหลังอีก 4) มี ความเป็ นสากล ไม่จากัดตนเองอยู่เพียงชาติเดียว 5) มุ่งลัทธิประโยชน์ นิยมเป็ น หลัก และ 6) มีการปฏิบตั จิ ริง มีความคิดวิทยาศาสตร์และไม่ใช้อดุ มคติทเ่ี ลื่อนลอย2 เฉิน ตุ๊ซวิ่ โจมตีลทั ธิอนุรกั ษ์นิยมและประเพณีนิยมอย่างรุนแรงว่าเป็ นทีม่ า ของความเลวร้าย โจมตีลทั ธิขงจื่อว่าสร้างสังคมศักดินา เป็ นแบบแผนของสังคม เกษตร ซึ่งเข้าไม่ได้กบั ชีวติ สมัยใหม่ในสังคมทุนนิยมและอุตสาหกรรม เฉินบอก ว่ า ต้ อ งล้ ม ล้ า งลัท ธิ ข งจื่อ ให้ห มดสิ้น เพราะลัท ธิ ข งจื่อ เป็ น ลัท ธิท่ีเน้ น พิธีก รรม พิธรี ตี อง ซึง่ เป็ นเพียงเปลือกนอก สัง่ สอนให้คนรับฟงั และปฏิบตั ติ าม เป็ นผลให้ จีนอ่อนแอและต่อสูก้ บั ประเทศในโลกสมัยใหม่ไม่ได้ โจมตีว่าลัทธิ ขงจื่อให้ยอมรับ แต่ความสาคัญของครอบครัว มองข้ามปจั เจกชนทีเ่ ป็ นหน่ วยพื้นฐานของสังคม ทาให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในแต่ละบุคคล โจมตีว่าลัทธิขงจื่อเน้นให้กตัญญูเป็ น หลัก ทาให้บุคคลต้องยอมอ่อนน้อมขึน้ อยู่กบั ผูอ้ ่นื และคิดแต่จะพึง่ ผูอ้ ่นื และโจมตี ว่าลัทธิขงจื่อสอนปรัชญาจารีตนิยม ไม่สนใจเสรีภาพด้านการแสดงความคิดเห็น

1 2

Ibid., p. 210 and Gray. (2002). op.cit. p.195. ทวีป วรดิลก. (2542). เล่มเดิม. หน้า 832. 110


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ดังนั น้ ต้ อ งสร้า งความเชื่อ ใหม่ สังคมใหม่ และรัฐใหม่ ท่ีม ีพ้ืน ฐานแบบสังคม ตะวันตก มีความเชือ่ เรือ่ งความเท่าเทียมกัน และสิทธิมนุษยชน1 หลังจากวารสารเยาวชนใหม่ออกเผยแพร่ เฉิน ตุ๊ซวิ่ ก็มอี ทิ ธิพลต่อบรรดา นักศึกษาอย่างมาก นักศึกษาได้ออกวารสารของตนมากมายหลายร้อยฉบับ หลาย ฉบับ มีช่ือว่ าใหม่ เช่น สตรีใหม่ แสงใหม่ โลกใหม่ อากาศใหม่ แม้ว ารสารที่ นักศึกษาออกนี้จะอยูไ่ ม่นานแต่กแ็ สดงให้เห็นอิทธิพลทางความคิดของเฉิน ตุ๊ซวิ่ ที่ มีต่อนักศึกษาจีนในช่วงนัน้ และมีอทิ ธิพลต่อความคิดของประชาชนจีนในระดับ เดียวกับ ซุน ยัตเซน คัง โหย่วเว่ย และเหลียง ฉีเชา แนวคิดของเฉิน ตุ๊ซิ่ว มีอทิ ธิพลต่อนักศึกษาและชาวจีนทัวไปมาก ่ รวมถึงเหมา เจ๋อตง ซึ่งต่อมาคือผูน้ าของพรรคคอมมิวนิสต์จีน นักการศึกษารุ่นเก่า ขอให้ ไช่ หยวนเผ่ย อธิการบดีมหาวิทยาลัยเป่ยจิง ย้ายเฉิน ตุ๊ซวิ่ ให้พน้ จากตาแหน่ ง แต่ไช่ หยวนเผ่ย ปฏิเสธ เพราะเฉิน ตุ๊ซวิ่ เป็ นคนมีความสามารถและเป็ นนักบริหารที่ดี เยี่ย ม และแนวความคิด ของเฉิ น ตุ๊ ซิ่ ว ได้ ร ับ ความสนั บ สนุ น จากเยาวชนที่ ม ี การศึกษาอย่างมากด้วย ในช่วงทีเ่ กิดขบวนการ 4 พฤษภาคม รัฐบาลเห็นว่า เฉิน ตุ๊ซวิ่ มีบทบาท สาคัญในการกระตุน้ ให้นักศึกษาก่อการประท้วงจึงถูกจาคุก 3 เดือน เมื่อถูกปล่อย ตัวเฉินเดินทางไปทีเ่ มืองซังไห่ ่ จากนัน้ เริม่ สนใจศึกษาลัทธิมาร์กซ์ เขาเป็ นหนึ่งใน ผู้ก่ อ ตัง้ พรรคคอมมิว นิ ส ต์ จีน (The Chinese Communist Party) ใน ค.ศ. 1921 และดารงตาแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จนี คนแรก หู ซื่ อ เกิดที่มณฑลอานฮุยในครอบครัวขุนนาง เรียนหนังสือที่โรงเรียน แบบตะวันตกทีเ่ มืองซังไห่ ่ และเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 1910 ในฐานะ นักเรียนทุนทีส่ หรัฐอเมริกานาเงินค่าปรับจากเหตุการณ์ลุกฮือของพวกมวยใน ค.ศ. 1900 มาจัดตัง้ เป็ นทุนการศึกษาให้นกั ศึกษาจีน หู ซื่อ จบการศึกษาระดับปริญญา ตรีส าขาปรัช ญาจากมหาวิท ยาลัย คอร์แ นล และเข้า ศึก ษาต่ อ ที่ม หาวิท ยาลัย โคลัมเบีย โดยเรียนวิชาปรัชญากับจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) ซึ่งเป็ นนักปรัชญา แนวปฏิบตั ินิยมทีม่ ชี ่อื เสียง หู ซื่อ เดินทางกลับเมืองจีน ใน ค.ศ. 1917 และได้รบั แต่งตัง้ เป็ นศาสตราจารย์ดา้ นปรัชญาทีม่ หาวิทยาลัยเปย่ จิง หู ซื่อเป็ นนักวิชาการที่เน้นการใช้วธิ ีคดิ ที่เป็ นวิทยาศาสตร์ ยึดมันลั ่ ทธิ ปฏิบตั นิ ิยม ลัทธิเสรีนิยม ปจั เจกชนนิยม วิทยาศาสตร์ ประชาธิปไตย และการ ปฏิบตั ิ หู ซื่อต้องการให้ปรับปรุงสังคมให้ดขี น้ึ ตามขัน้ ตอน โดยต้องศึกษาปญั หา 1

Spence. (2013). op.cit. p. 210. 111


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ทดสอบด าเนิ นการแก้ป ญั หาตามแนวทางวิทยาศาสตร์และประชาธิป ไตย เน้ น ปรัชญาเกี่ยวกับ การไม่เชื่อ เรื่องสวรรค์นรกหรือพระเจ้าว่ามีจริง ในการประเมิน คุณค่าของจริยธรรมตามประเพณีและแนวคิดต่างๆ ในทัศนะของนักปฏิบตั ินิยม อย่างหู ซื่อ คือ สัจจะเปลีย่ นแปลงได้ตามสัดส่วนทีส่ ามารถเอามาใช้ประโยชน์ ได้ ซึ่งมีพ้นื ฐานอยู่ท่กี ารทดลองในทางปฏิบตั ิ 1 ทัศนคติน้ีเป็ นแนวคิดของสังคมทุน นิยมอุตสาหกรรม ซึง่ ตรงข้ามกับแนวคิด ขงจื่อทีถ่ อื ว่าสัจจะไม่มกี ารเปลีย่ นแปลง ดารงอยู่เป็ นนิรนั ดร์ เพราะฉะนัน้ หู ซื่อ จึงมองว่าลัทธิขงจื่อไม่สมั พันธ์กบั ความ เป็ น จริงของโลกสมัย ใหม่ และบอกว่ าถ้า จีน ยังนั บ ถือลัท ธิ ข งจื่อ อยู่ก็ย ากที่จ ะ เปลีย่ นแปลงจีนให้ทนั ยุโรป หู ซื่อ ได้คดิ วลีเรียกลัทธิขงจื่อว่า “บรรษัทขงจื่อและ บุตรจากัด” (Confucius and Son Incorporation) ส่วนผูส้ นับสนุนหู ซื่อ ก็มคี า ขวัญ ว่ า “ลัท ธิข งจื่อ พิน าศ”2 หู ซื่อเป็ น บรรณาธิก ารวารสารสัป ดาห์ วิจ ารณ์ (Weekly Critic) ทาหน้าทีอ่ ภิปรายถกเถียงปญั หาต่างๆ ของชาติอย่างเปิ ดเผย และได้รบั ความสนใจจากคนรุน่ ใหม่ของจีนมาก ทีส่ าคัญ หู ซื่อเป็ นผูร้ เิ ริม่ การเขียน หนังสือจีนโดยใช้ภาษาพูดซึง่ ทาให้ผอู้ า่ นเข้าใจง่ายขึน้

หู ซือ่

หลี ่ ต้าเจา

หลี่ ต้ ำ เจำ (Li Dazhao, ค.ศ.1889–1927) เป็ น ชาวมณฑลเหอเป่ย มา จากครอบครัวชาวนา เรีย นตาราคลาสสิกจีนและศึกษาที่วิทยาลัยเป่ย หยางใน เทีย นจิน ระหว่ า ง ค.ศ. 1907–1913 จากนั ้น ไปศึก ษาที่ญ่ี ปุ่ น โดยศึก ษาวิช า เศรษฐศาสตร์การเมืองกับนิตศิ าสตร์ระหว่าง ค.ศ.1913–1915 และสนใจการเมือง 1 2

Gray. (2002). op.cit. p. 195. ทวีป วรดิลก. (2542). เล่มเดิม. หน้า 834. 112


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ตะวันตก หลี่ ต้าเจา เดินทางกลับจีนใน ค.ศ.1915 เพื่อร่วมต่อต้านและประท้วง ข้อเรีย กร้อง 21 ประการของญี่ปุ่ น ในช่ ว งที่ หลี่ ต้า เจา เป็ น บรรณารัก ษ์ ใน มหาวิทยาลัยเป่ยจิง เขามีแนวคิดสังคมนิยมจึงตัง้ สมาคมกระแสใหม่ (New Tide Society) ใน ค.ศ. 1918 และตั ง้ สมาคมวิ จ ัย ลั ท ธิ ม าร์ ก ซ์ (Marxis Research Society) เพื่อศึกษาและเผยแพร่ลทั ธิมาร์กซ์ โดยมี เหมา เจ๋อตง เป็ นผูช้ ่วย หลี่ ต้าเจา เป็ นหนึ่งในผูก้ อ่ ตัง้ พรรคคอมมิวนิสต์จนี เมือ่ ค.ศ. 1921 หลู่ ซวิ่ น (Lu XÜn, ค.ศ.1881 – 1936) เป็ นนามปากกาของโจว ซู่เหริน นักคิด นักเขีย นคนส าคัญ ต่อมาได้รบั การยกย่ องว่ าเป็ น “บิดาแห่งวรรณคดีจีน สมัยใหม่” เกิดในตระกูลปญั ญาชน หลู่ ซวิน่ เริม่ ศึกษาตาราคลาสสิกของจีนก่อน ต่อมาได้ทุนไปศึกษาต่อในญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1902 โดยเรีย นวิชาแพทย์ ภายหลัง เปลี่ยนไปศึกษาวรรณคดี เขาเกลีย ดชังอิทธิพ ลของลัทธิข งจื่อในสังคมจีน เขา ต้องการเป็ น นักประพันธ์เพื่อทาการเปลี่ยนแปลงและโน้ ม น้ าวจิตใจชาวจีน ให้ม ี ความรู้สกึ ชาตินิ ยม หลู่ ซวิ่นเดินทางกลับ จีนใน ค.ศ. 1909 และทางานเป็ น ครู ต่อมา ค.ศ. 1912 ไช่ หยวนเผ่ย ซึง่ เป็ นรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ได้ชกั ชวน ให้หลู่ ซวิน่ เข้ารับราชการในกระทรวงศึกษาธิการ หลู่ ซวิน่ ได้รบั ยกย่องเป็ น “บิดาแห่งวรรณคดีของจีนใหม่ ” เรื่องสัน้ ที่ม ี ชื่อเสีย งมากคือ “บัน ทึกประจาวัน ของคนบ้า ” และ “เรื่องจริงของอาคิว ” (ค.ศ. 1921) ซึ่งหลู่ ซวิน่ สะท้อนสังคมจีนผ่านตัวละครชื่อ อาคิว ที่เป็ นแบบฉบับของ ชาวจีนทีต่ ่ าต้อยไร้การศึกษา ฐานะยากจน ลักษณะนิสยั ของอาคิวทีอ่ ่อนน้อมกับ คนที่ม ีอานาจและข่ม เหงคนที่ด้อยกว่าตน สะท้อนถึงคนในสังคมที่จะมีลกั ษณะ เช่ น นี้ ส่ ว นในผลงานเรื่อ ง “ความเรีย ง” หลู่ ซวิ่น เขีย นเยาะเย้ย ถากถางและ ประณามความโหดร้ายทารุณและทรยศต่อชาติของขุนศึกในยุคนัน้ เรือ่ งนี้ทาให้เขา ถูกทางการล่าตัว1 ปญั ญาชนเหล่านี้ต่างมีแนวคิดของตนเอง ซึง่ บางคนมีความคิดขัดแย้งกัน เช่น หู ซื่อ เป็ นนักปฏิบตั ินิยม สนับสนุ นการปรับปรุงสังคมให้ดีข้นึ ทีละน้ อย โดยใช้การศึกษาและแก้ปญั หาไปทีละเรือ่ ง หลี่ ต้าเจากับ เฉิน ตุ๊ซวิ่ ต้องการให้ม ี การเปลี่ย นแปลงสังคมและการเมือ งอย่ า งฉั บ พลัน แบบโซเวีย ต หู ซื่อ เขีย น บทความให้ชาวจีนศึกษาให้มากขึน้ พูดถึงลัทธิให้น้อยลง โดยบอกว่าลัทธิต่างๆ ั ห่ ลอกตัวเองและผูอ้ น่ื ส่วนหลี่ ต้าเจาผู้ ฟงั ดูขลัง แต่ทจี ริงแล้วเป็ นเหมือนความฝนที

1

ทวีป วรดิลก. (2542). เล่มเดิม. หน้า 829. 113


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

นิยมลัทธิมาร์กซ์ บอกว่า “ลัทธิเป็ นสิง่ จาเป็ นในการชี้นา ในการแก้ปญั หาสังคม ต่างๆ ร่วมกัน” การเคลื่อนไหววัฒนธรรมใหม่และการปฏิวตั ทิ างภูมปิ ญั ญาส่งผลต่อสังคม จีนหลายด้าน เช่น 1. มีการปฏิวตั วิ รรณกรรมโดยใช้ภาษาพูดแทนภาษาเขียน 2. เกิดวรรณกรรมแนวใหม่ท่ีมพี ้นื ฐานที่ลทั ธิมนุ ษยนิยม จินตนิยม สัจจ นิ ย ม และชาติ นิ ย ม วรรณคดี ม ี บ ทบาทในการสร้า งส านึ ก ทางสัง คมให้ แ ก่ สาธารณชนมากขึน้ 3. การหลังไหลเข้ ่ ามาของแนวคิดและอุดมการณ์ ต่างประเทศทาให้เกิด ทัศนะทีต่ รงกันข้าม 2 ทัศนะ ทีว่ ่าด้วยการสร้างสังคมใหม่และความมีชวี ติ ใหม่ ได้แ ก่ วิธีป ฏิบ ัตินิ ย มของ หู ซื่อที่เน้ น การปรับ ปรุงอย่า งค่อ ยเป็ น ค่ อยไป ซึ่ง พรรคกว๋อหมินตังรั ่ บมาใช้บางส่วน กับ การเข้าสู่ปญั หาโดยการปฏิวตั มิ าร์กซิสม์ ซึง่ พรรคคอมมิวนิสต์จนี รับมาใช้ 4. ลัทธิชาตินิยมที่รุนแรงได้กระตุ้นให้ชาวจีน กังวลต่อสถานะของจีน ใน โลกและก่อให้เกิดปฏิกริ ยิ าตอบโต้และต่อต้านมหาอานาจต่างชาติ และผลักดันให้ แก้ไขสัญญาทีไ่ ม่เท่าเทียมกัน แนวคิด ของนั ก คิด เหล่ า นี้ แ พร่ ห ลายอยู่ ใ นสัง คมจีน โดยเฉพาะในหมู่ นักเรียนนักศึกษา และปรากฏชัดเจนมากขึน้ ในเหตุการณ์ ทเ่ี รียกว่า ขบวนการ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 ขบวนกำร 4 พฤษภำคม ค.ศ. 1919 (The May Fourth Movement) ขบวนการ 4 พฤษภาคม เป็ น การประท้วงมหาอานาจในการประชุมที่ กรุ งปารีส เมื่อ ค.ศ. 1919 โดยมีส าเหตุ ส ืบ เนื่ อ งมาจากกรณี ข ้อ เรีย กร้อ ง 21 ประการของญีป่ ุ่น ทีย่ ่นื ต่อจีนใน ค.ศ. 1915 ระหว่างเกิดสงครามโลกครัง้ ที่ 1 และ หยวน ซื่อไข่ ประธานาธิบดีจนี ขณะนัน้ ยอมรับข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น ทาให้จีน ต้องเสียเปรียบ ทาให้เมื่อจีนเข้าร่วมสงครามโลกครัง้ ที่ 1 กับฝา่ ยสัมพันธมิตร จีน จึงหวังว่าจะได้แก้ไขสัญญาทีไ่ ม่เท่าเทียมกัน รวมถึงต่อต้านการขยายอานาจของ ญีป่ นุ่ ในมณฑลซานตง หลังจากสงครามโลกครัง้ ที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้จดั ประชุม ที่ พระราชวังแวร์ซายส์ ในกรุงปารีส ประเทศฝรังเศส ่ ใน ค.ศ. 1919 ผูแ้ ทนจีนทัง้ ฝา่ ยรัฐบาลภาคเหนือ (เป่ยจิง) และภาคใต้ (กว่างโจว) เข้าร่วมประชุมด้วย ชาวจีน 114


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หวังว่าจะได้ยกเลิกสัญญาทีไ่ ม่เป็ นธรรมและได้มณฑลซานตงกลับคืน อีกทัง้ เชื่อ ว่าตนเองมีสทิ ธิทจ่ี ะใช้กฎหมายระหว่างประเทศเพื่อชาติของตนเอง และมีสทิ ธิทจ่ี ะ ไม่ยอมรับข้อเรียกร้อง 21 ประการ ของญี่ปุ่น แต่ญ่ปี ุ่นโต้ว่ารัฐบาลจีนยินดียกให้ ญี่ ปุ่ น ครอบครองเองและในการประชุ ม สัน ติภ าพที่แ วร์ซ ายส์ ญี่ ปุ่ น ได้ ย่ืน ข้อ เรียกร้อง 2 ข้อ คือ ความเสมอภาคในเชื้อชาติ ไม่ว่าจะเป็ นยุโรปหรือเอเชียต้อง มีความเสมอภาคกันตามข้อเสนอ 14 ประการ ของวูดโร วิลสัน ประธานาธิบดี สหรัฐอเมริกา และสิทธิในแหลมซานตงของจีนแทนทีเ่ ยอรมนี มหาอานาจตะวันตกไม่อาจยอมรับได้ขอ้ เรียกร้องแรกของญี่ปุ่น จึงต้อง ยอมให้ญ่ปี ุ่นในข้อที่ 2 เพื่อให้ญป่ี ุ่นเข้าเป็ นสมาชิกสันนิบาติชาติ โดยทีผ่ แู้ ทนจีน ไม่สามารถโต้แย้งได้ ชาวจีนทีร่ กั ชาติสง่ โทรเลขประท้วงไปยังกรุงปารีส นักศึกษา จีน เดิน ขบวนประท้วงและเรีย กร้องให้ญ่ีปุ่น คืน ดิน แดนซานตง ในตอนแรกการ รวมตัว เป็ น ไปอย่ างสงบจนกระทัง่ เกิด การกระทบกระทัง่ ระหว่ างนั กศึก ษากับ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาถูกจับและถูกตัดสินประหารชีวติ ทาให้นักศึกษาทัวประเทศ ่ รวมตัวประกาศหยุดเรียน และเดินขบวนในเมืองใหญ่ๆ หลายแห่ง ประชาชนชัน้ กลางทัง้ พ่อค้าและสหพันธ์กรรมกรเข้าร่วมและสนับสนุ นนักศึกษา มีการต่อต้าน การใช้สนิ ค้าญีป่ นุ่ ไปทัวประเทศ ่ รัฐบาลจีนต้องยอมปล่อยตัวนักศึกษาทีถ่ ูกจับเพื่อ ระงับความวุ่นวายทีเ่ กิดขึน้ ส่วนคณะรัฐมนตรีลาออก และจีนปฏิเสธไม่ยอมลงนาม ในสนธิสญ ั ญาแวร์ซายส์

นักศึกษาจีนร่วมประท้วงในขบวนการ 4 พฤษภาคม 1919

ขบวนการ 4 พฤษภาคม เป็ น เหตุการณ์ ส าคัญ ในประวัติศาสตร์จีน ที่ มวลชนได้มสี ว่ นร่วมด้วย โดยมีความสาคัญดังนี้ 115


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

1. เป็ นการแสดงออกด้านชาตินิยมครัง้ สาคัญในประวัตศิ าสตร์จนี และ เป็ นการเคลื่อนไหวทางมวลชนครัง้ แรกของจีน 2. เป็ นการเคลื่อนไหวหรือเป็ นปรากฎการณ์ ทางวัฒนธรรมแบบใหม่ของ จีน แสดงถึงการเข้าสูย่ คุ ใหม่อย่างแท้จริง 3. เป็ นการเคลื่อนไหวทางปญั ญาของจีน คือ นักศึกษาและชนชัน้ กลาง เข้ามามีสว่ นร่วมทางการเมือง และย้ายศูนย์กลางประชามติของจีนมาสูช่ นชัน้ ใหม่ 4. ก่อให้เกิดปญั หาการโจมตีจกั รวรรดินิยมและขุนศึก 5. ทาให้ซุน ยัตเซน มองเห็นแนวทางใหม่ทน่ี าเอานักศึกษามาเป็ นสมาชิก พรรคกว๋อหมินตัง่ 6. ทาให้นักวิชาการจีนเปลีย่ นจากการเลื่อมใสปรัชญาประชาธิปไตยของ ตะวันตกมาสนใจลัทธิมาร์กซ์แทน 4. กำรก่อตัง้ พรรคคอมมิ วนิ สต์จีน (Chinese Communist Party: CCP) ลั ท ธิ ม าร์ ก ซ์ (Marxism) เข้ า สู่ จี น ราว ค.ศ. 1904 เมื่ อ หนั ง สื อ พิ ม พ์ ประชาชนลงประวัตขิ องคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) และใน ค.ศ.1908 หนังสือพิมพ์ เที ย นอี้ เ ป้ า (Tianyi Bao) ลงบทความเรื่ อ ง บทน าส าหรับ ค าประกาศของ คอมมิว นิ ส ต์ (Introduction to the Communist Manifesto) ของเฟรเดอริช เอง เกลส์ (Friedrich Engels) แต่ความรูเ้ รื่องลัทธิมาร์กซ์ยงั ไม่แพร่หลาย จนเกิดการ ปฏิวตั บิ อลเชวิก (Bolsheviks) เมื่อ ค.ศ. 1917 และขบวนการ 4 พฤษภาคม ชาว จีนที่นิยมลัทธิมาร์กซ์เชื่อว่าจีนสามารถนาหลักการนี้มาแก้ไขเรื่องประเพณีนิยม ของจีนได้ โดยดูตวั อย่างจากรัสเซียสมัยเลนิน (Lenin) ทีต่ ่อต้านทุนนิยม จุด เริ่ม ต้น ของการน าลัท ธิม าร์กซ์ ม าใช้ เริม่ จากในมหาวิท ยาลัย เป่ ย จิง เมื่อหลี่ ต้าเจา บรรณารักษ์ หอ้ งสมุด ตัง้ สมาคมวิจยั ลัทธิมาร์กซ์และสมาคมเพื่อ การศึกษาลัทธิสงั คมนิยม (Society for the Study of Socialism) ใน ค.ศ. 1919 ส่ว นเฉิน ตุ๊ ซิ่ว สนใจลัทธิม าร์กซ์ หลัง มีข บวนการ 4 พฤษภาคม เฉิน จึงตัง้ สมาคมศึกษาลัทธิมาร์กซ์ (Marxist Study Society) และกลุ่มเยาวชนสังคมนิยม (Socialist Youth Corps) ใน ค.ศ. 1920 ทีซ่ งไห่ ั่ ใน ค.ศ. 1920 ผูน้ ิยมลัทธิมาร์กซ์ทเ่ี ป่ยจิงรวมตัวกันตัง้ สมาคมเป่ยจิงเพื่อ ทฤษฎีม าร์ก ซ์ (Beijing Society for Marxist Theory) และมีผู้แ ทนขององค์ก าร คอมมิว นิ ส ต์ ส ากล หรือ โคมิน เทิร์น (Comintern) จากสหภาพโซเวีย ตเข้า มา แนะนาให้หลี่ ต้าเจา ตัง้ พรรคคอมมิวนิสต์จนี ขึ้น หลี่ ต้าเจา กับ เฉิน ตุ๊ซิ่ว จึง 116


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ร่วมกันจัดตัง้ พรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีการประชุมอย่างเป็ นทางการในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1921 ทีบ่ า้ นหลังหนึ่งในเขตสัมปทานของฝรังเศสที ่ เ่ มืองซังไห่ ่ แต่ ต้องเลิกกลางคันเพราะมีตารวจมาตรวจสอบ ต่อมาจึงจัดการประชุมขึน้ อีกครัง้ โดย ลอยเรือประชุมในทะเลสาบหนานหู มีผรู้ ว่ มประชุม 12 คน มีเหมา เจ๋อตง เป็ นหนึ่ง ในนัน้ แต่เฉิน ตุ๊ซวิ่ กับ หลี่ ต้าเจา ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทีป่ ระชุมเลือก เฉิน ตุ๊ซวิ่ เป็ นเลขาธิการพรรคคนแรก แต่หลี่ ต้าเจา กับเฉิน ตุ๊ซวิ่ มีความเห็นต่างกัน ในเรื่องพลังมวลชน กล่าวคือ เฉิน ตุ๊ซิ่ว เห็นว่ากรรมกรเป็ นกาลังสาคัญในการ ปฏิวตั ิ เนื่องจากชาวนามีความคิดอนุ รกั ษ์นิยมมากไป ขณะที่ หลี่ ต้าเจาเน้นพลัง ชาวนา ในการประชุมขององค์การคอมมิวนิสต์ส ากล เลนินเสนอหลักการสาหรับ ใช้กบั ชาติในเอเชียซึ่งเป็ นประเทศเกษตรกรรม โดยใช้ความคิดของคาร์ล มาร์กซ์ เป็ นหลัก คือ ประเทศทุนนิยมจะมีการหาตลาดและหาอาณานิคม ทาให้เกิดนายทุน ใหญ่ๆ ไม่กร่ี ายซึง่ ทาให้ประชาชนเดือดร้อนเพราะมีการผูกขาด ส่งผลให้เกิดชนชัน้ นายทุนและกรรมกร ซึง่ จะทาให้กรรมกรลุกขึน้ ต่อต้านนายทุนเกิดสังคมนิยมเป็ น โดยเผด็จ การชนชัน้ กรรมาชีพ และจะกลายเป็ น คอมมิว นิ ส ต์ ดังนั น้ ส าหรับ ประเทศจีน เลนินจึงเสนอให้มกี ารร่วมมือกันระหว่างชนชัน้ กรรมกรกับชนชัน้ กลาง ผู้น้ อยต่อสู้กบั ชนชัน้ สูงและจักรวรรดินิ ยม เพื่อให้เป็ น ไปตามขั น้ ตอนของลัทธิ มาร์กซ์ คือ เป็ นสังคมประชาธิปไตย สังคมทุนนิยม และเกิดการต่อต้านนายทุนจน เข้าสูก่ ารเป็ นคอมมิวนิสต์ หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์ตงั ้ มาได้ไม่นาน องค์การคอมมิวนิสต์สากลเห็น ว่าการเผยแพร่แนวคิดไปสู่ประชาชนของพรรคคอมมิวนิสต์จนี จะได้ผลเร็วยิง่ ขึ้น และไปสู่เป้ าหมายคือการปฏิวตั ิจีน ได้เร็ว ขึ้น หากร่ว มมือกับ พรรคกว๋ อ หมิน ตัง่ ดังนัน้ จึงเสนอให้พรรคคอมมิวนิสต์จนี ร่วมมือกับพรรคกว๋อหมินตัง่ เพราะพรรคกว๋ อหมินตังมี ่ ประชาชนทุกชนชัน้ ในสังคมจีนเป็ นสมาชิก ในระยะแรกทีโ่ คมินเทิรน์ เข้า มาติดต่อนัน้ ซุน ยัตเซน ปฏิเสธทีจ่ ะร่วมมือเพราะอุดมการณ์ และพื้นฐานต่างกัน แต่ในทีส่ ดุ ซุน ยัตเซน ตัดสินใจร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จนี เพื่อปฏิรปู พรรคกว๋ อหมินตังใน ่ ค.ศ. 1923 เมื่อองค์การโคมินเทิรน์ ส่งอดอล์ฟ จอฟฟ์ (Adolf Joffe) มาเจรจา แต่มขี อ้ แม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จนี ต้องเข้ามาเป็ นรายบุคคลไม่ใช่ทงั ้ พรรค การทีซ่ ุน ยัตเซนตัดสินใจร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จนี แม้จะเห็นชัดเจน ว่ามีอุดมการณ์ ต่างกัน เป็ นเพราะเหตุผลหลายประการ ได้แก่ ซุน ยัตเซน เห็นว่า ชาวจีนทุกคนมีสทิ ธิเข้าร่วมการปฏิวตั ชิ าติ ซุน ยัตเซนต้องการประโยชน์จากการ เคลื่อนไหวของกรรมกรและชาวนาจากพรรคคอมมิวนิสต์จนี และการจัดตัง้ พรรคกว๋ 117


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อหมินตังให้ ่ เป็ นระบบจากโคมินเทิรน์ ซุน ยัตเซนเห็นว่านโยบายการต่อสูท้ างชน ชัน้ ของคอมมิวนิสต์อาจทาลายพรรคกว๋อหมินตัง่ จึงควรรวมกันเพือ่ เปลีย่ นแนวคิด ของคอมมิวนิสต์ให้เป็ นแบบเดียวกับพรรคกว๋อหมินตัง่ รวมทัง้ ยังมีเหตุผลมาจาก การที่ซุ น ยัต เซน ผิด หวัง ที่ช าติต ะวัน ตก เช่ น สหรัฐ อเมริก า อังกฤษให้ ก าร สนับสนุ นขุน ศึก ทาให้ซุ น ยัตเซนเกรงว่าสหภาพโซเวียตจะช่วยเหลือขุนศึกจึง ตัด สิน ใจร่ ว มมื อ กับ พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ เ พื่ อ ดึ ง สหภาพโซเวี ย ตมาเป็ นพวก 1 นอกจากนี้ความสาเร็จของพรรคบอลเชวิกในการปฏิวตั ิรสั เซียก็เป็ นตัวอย่างที่ซุน ยัตเซนต้องการให้การปฏิวตั ิจนี สาเร็จเช่นนัน้ บ้าง ซุน ยัตเซนเลื่อมใสนโยบาย เศรษฐกิจแผนใหม่ของสหภาพโซเวียต ซึง่ เป็ นแนวทางให้กบั การปฏิรปู เศรษฐกิจ ของพรรคกว๋อหมินตังได้ ่ และโซเวียตเสนอว่าจะคืนสิทธิต่างๆ ให้จีนขณะที่ชาติ ตะวันตกอืน่ ๆ ยังมุง่ หาผลประโยชน์ในจีน2 แนวร่วมครัง้ ที่ 1 (United Front) ใน ค.ศ. 1923 พรรคกว๋อ หมินตัง่ ตกลงร่วมมือกับ พรรคคอมมิวนิ สต์จีน โดยขอความช่วยเหลือจากโคมินเทิรน์ นับเป็ นแนวร่วมครัง้ แรก โดยพรรคกว๋อห มิน ตัง่ ประกาศนโยบายมุ่ งต่ อ ต้า นลัท ธิจ ัก รวรรดินิ ย ม ต่ อต้ า นขุน ศึก เพื่อรวม ประเทศ ยึดหลักไตรราษฎร์ มุ่งล้มเลิกสัญญาทีไ่ ม่เป็ นธรรม และให้มรี ฐั ธรรมนูญ ในการปกครองประเทศ โคมินเทิรน์ ส่งมิคาอิล โบโรดิน (Mikhail Borodin) และนายทหารระดับสูง พร้อมคณะอีก 40 คน มาช่วยปฏิรูปพรรคกว๋อหมินตังให้ ่ เป็ นพรรคการเมืองเพื่อ เตรีย มการปฏิว ัติ ฝึ ก การประชาสัม พัน ธ์ ในหมู่ ป ระชาชน อบรมกองทัพ ของ พรรคกว๋อหมินตัง่ ส่งคนของพรรคกว๋อหมินตังและพรรคคอมมิ ่ วนิสต์จนี ไปดูงานที่ กรุงมอสโคว ในครัง้ นี้ เจียง ไคเชก นายทหารคนสนิทของซุน ยัตเซน ได้ไปดูงานที่ กรุ ง มอสโคว และกลั บ มาตั ง้ โรงเรีย นนายร้อ ย วัม เพา (Whampoa Military Academy) ซึง่ จะเป็ นฐานกาลังของเจียง ไคเชก ต่อมา อย่ า งไรก็ต าม อุ ด มการณ์ ท่ีต่ า งกัน ของพรรคกว๋ อ หมิน ตัง่ และพรรค คอมมิวนิสต์จนี ทาให้การอยู่รว่ มกันเป็ นไปอย่างยากลาบาก และทาให้ความร่วมมือ เป็ นไปด้วยความไม่ไว้วางใจกัน แต่ตอ้ งอยูร่ ่วมกันเพราะความจาเป็ น โดยฝา่ ยกว๋ อหมินตังต้ ่ องการความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตด้านการปฏิรปู พรรคและการ 1 2

ทวีป วรดิลก. (2542). เล่มเดิม. หน้า 850. แหล่งเดิม. หน้า 851. 118


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

จัด ตัง้ กองทัพ ส่ ว นฝ่า ยคอมมิว นิ ส ต์ ต้องการประโยชน์ จ ากฐานประชาชนของ พรรคกว๋อหมินตัง่ ทาให้ภายในพรรคกว๋อหมินตังแตกแยกเป็ ่ นฝ่ายขวา ฝ่ายซ้าย แต่ทย่ี งั รวมกันได้อยู่เพราะบารมีของซุน ยัตเซน และคาสังของพรรคคอมมิ ่ วนิสต์ โซเวียตทีไ่ ม่ให้ฝา่ ยซ้ายแยกตัวออก แต่เมือ่ ซุน ยัตเซน ผูน้ าทีไ่ ด้รบั การยอมรับจาก ทัง้ สองฝา่ ยถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ.1925 ความแตกแยกของฝา่ ยซ้ายและฝา่ ยขวา ในพรรคปรากฏชัดเจนมากขึน้

ซุน ยัตเซน และเจียง ไคเชก ใน ค.ศ. 1924 หนึง่ ปี ก่อนซุนเสียชีวติ และสามปี ก่อนเจียงครองอานาจใน พรรคกว๋อหมินตัง่

ขณะนัน้ หัวหน้าพรรคกว๋อหมินตังคื ่ อ เหลียว จงไค (Liao Zhongkai) ผูค้ ุม อานาจการเมือง คือ หวาง จิงเว่ย (Wang Jingwei) ผูน้ าฝา่ ยซ้าย และหู ฮันหมิ ่ น (Hu Hanmin) ผูน้ าฝ่ายขวา ส่วนอานาจทหารอยู่ในกากับของเจียง ไคเชก ซึ่งถือ ได้ว่าเป็ นผูน้ าตัวจริงเพราะคุมกาลังทหารทัง้ หมดของพรรค เจียง ไคเชกพยายาม แสดงออกว่ามุง่ เน้นอุดมการณ์ปฏิวตั โิ ลกของคอมมิวนิสต์โซเวียต ทาให้สตาลิน โบ โรดิน ตัวแทนองค์การคอมมิวนิสต์สากล และฝา่ ยซ้ายบางคนในพรรคกว๋อหมินตัง่ เชื่อถือ สมาชิกฝ่ายซ้ายจานวนมากอึดอัดใจกับการเป็ นแนวร่วมและการทางาน ภายใต้กรอบของพรรคกว๋อหมินตัง่ แต่ไม่สามารถขัดคาสังขององค์ ่ การโคมินเทิรน์ ได้ ความขัด แย้ ง ระหว่ า งฝ่ า ยขวาและฝ่ า ยซ้ า ยมากขึ้น จนกระทั ง่ ในเดื อ น พฤศจิกายน ค.ศ. 1925 ฝ่ายขวาในพรรคได้จดั ประชุมและออกแถลงการณ์ ให้ขบั พวกคอมมิวนิสต์ออกจากพรรค ปลดโบโรดินออกจากทีป่ รึกษา แต่ฝา่ ยซ้ายตอบ โต้ว่าการประชุมไม่ครบองค์จงึ เป็ นโมฆะ และลงมติตาหนิการประชุมนัน้

119


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ต้นปี ต่อมามีการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยที่ 2 ในครัง้ นี้ฝา่ ยซ้ายหลายคนได้ เป็ นกรรมการในคณะกรรมการชุดต่างๆ ของพรรคมากขึน้ ทาให้ฝา่ ยขวาไม่พอใจ มากขึน้ และอาจเป็ นสาเหตุสาคัญทีท่ าให้เกิดกรณีเรือจงซานในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1926 ซึ่งทาให้ฝ่ายซ้ายหลายคนถูกกาจัดไป เรือจงซานเป็ นเรือปื นของพรรคกว๋ อหมินตัง่ ผูบ้ ญ ั ชาการเรือซึง่ เป็ นฝ่ายซ้ายในพรรคได้รบั คาสังให้ ่ เตรียมเรือเพื่อรับ การตรวจ จึงเข้าใจว่ า เป็ น ค าสัง่ ของเจีย ง ไคเชก เมื่อ เตรีย มพร้อ มแล้ว จึงแจ้ง กลับไปทางโทรศัพท์ แต่เจียง ไคเชก กลับมีคาสังให้ ่ ทหารออกจับกุมผูป้ ฏิบตั งิ าน การเมืองในโรงเรียนนายร้อยวัมเพา เช่น โจว เอินไหล (Zhou Enlai ค.ศ. 18981976) ผู้ช่ว ยฝ่ายการเมืองของโรงเรีย นนายร้อย และผู้อานวยการกองทัพ เรือ ทหารได้ยดึ อาวุธ ทาร้ายและสังหารคนงานและชาวนาจานวนมาก

โจว เอินไหล (ซ้าย) และเหมา เจ๋อตง (ขวา) ผูน้ ารุ่นหนึง่ ของพรรคคอมมิวนิสต์

เจียง ไคเชก อ้างว่าสืบทราบมาว่ามีการวางแผนจับตัวเขา เมื่อได้ยนิ ทาง โทรศัพท์ว่ามีการเตรียมพร้อมแล้วจึงเข้าใจว่าเป็ นแผนการจับตัว จึงสังการให้ ่ ทหาร ออกกวาดล้างผูม้ แี ผนร้าย จากกรณีน้ีเห็นได้ชดั เจนว่าเจียง ไคเชกเป็ นผูม้ อี านาจ สังการสู ่ งสุดในพรรคและอยูเ่ บื้องหลังการกาจัดฝา่ ยซ้ายในพรรค หลังเหตุการณ์น้ี หวาง จิงเว่ย ซึ่งรักษาการประธานรัฐบาลกว๋ อ หมิน ตัง่ ที่เมืองอู่ฮ นั ่ ได้รบี น าตรา ประจาตาแหน่ งหัวหน้าพรรคกว๋อหมินตังมามอบให้ ่ เจียง ไคเชก แล้วเดินทางไป 1 ยุโรปทันทีก่อนจะเดินทางกลับในปี ถดั มา แสดงให้เห็นว่าหวาง จิงเว่ย ก็รดู้ วี ่าใคร อยูเ่ บือ้ งหลังเหตุการณ์นนั ้ และคงหวาดเกรงอิทธิพลของเจียง ไคเชก มาก

1

ทวีป วรดิลก. (2547). เหมา เจ๋อตง ฮ่องเต้นกั ปฏิวตั .ิ หน้า 117. 120


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หลังเหตุการณ์ น้ี อานาจของเจียง ไคเชกในพรรคก็ขน้ึ สูงสุด ต่อมาฝ่าย ขวาจั ด การประชุ ม และมี ม ติ ค วบคุ ม ฝ่ า ยซ้ า ยในพรรคไม่ ใ ห้ เ ข้ า ร่ ว มเป็ น คณะกรรมการทุกชุดเป็ นจานวนเกิน 1 ใน 3 ไม่ให้ฝา่ ยซ้ายมีส่วนชี้นาพรรค ฝา่ ย ซ้ายจึงต้องการจะมีกองกาลังของตนเอง แต่สตาลินไม่อยากให้มคี วามขัดแย้งถึงขึน้ แตกหักจึงสังให้ ่ ฝา่ ยคอมมิวนิสต์อดทนทางานในพรรคกว๋อหมินตังต่ ่ อไป ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1927 สหภาพกรรมกรในเมืองซังไห่ ่ ภายใต้การนา ของคอมมิวนิสต์ได้นัดหยุดงานและใช้กาลังต่อต้านขุนศึก และสนับสนุ นการโจมตี ขุนศึกของกองทัพกว๋อหมินตังที ่ ม่ าถึงเมืองซังไห่ ่ ซึ่งเจียง ไคเชกนาทัพมาปราบ ขุนศึก เจียง ไคเชก ออกแถลงการณ์รบั รองความปลอดภัย ของชุมชนชาวต่างชาติ และฝา่ ยซ้ายยอมให้ทหารปลดอาวุธกรรมกรตามคาสังของโซเวี ่ ยตทีใ่ ห้กว๋อหมินตัง่ เป็ นฝา่ ยนา บรรดานายธนาคาร นักธุรกิจและสมาคมลับต่างๆ เสนอให้เจียง ไคเชก ยืมเงินไปใช้ในการดาเนินงานปราบขุนศึก เพราะไม่ต้องการให้สหภาพกรรมกร ภายใต้การสังการของพวกคอมมิ ่ วนิสต์ก่อกวน ดังนัน้ เพื่อประโยชน์ ของตน ใน วัน ที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1927 ทหารของเจีย ง ไคเชก จึง ปราบปรามสหภาพ กรรมกร และจับกุมกรรมกรทีเ่ ป็ นฝา่ ยซ้ายจานวนมาก หนึ่งในนัน้ คือ โจว เอินไหล ผูน้ าฝ่ายซ้ายของพรรคและเป็ นผูช้ ่วยของเจียงในโรงเรียนนายร้อยวัมเพา แต่โจว เอินไหล ได้รบั ความช่วยเหลือจึงหนีรอดมาได้ ทีเ่ มืองซังไห่ ่ มกี ารตัง้ ศาลทหาร ตัดสินลงโทษประหารชีวติ พวกคอมมิวนิสต์ ฝา่ ยซ้ายในพรรค คนงานและชาวบ้าน จานวนมาก โจว เอินไหลประมาณว่ามีผเู้ สียชีวติ ราว 5,000 คน1 อนึ่ง ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1927 จาง จัว้ หลิน ขุนศึกจากแมนจูเรียซึ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ นา ก าลังบุ ก สถานทู ต สหภาพโซเวีย ตในกรุง เป่ ย จิง จับ กุ ม คนจีน ในสถานทู ต ซึ่ ง รวมถึงหลี่ ต้าเจา ผูก้ อ่ ตัง้ พรรคคอมมิวนิสต์จนี และศิษย์ไปประหารชีวติ หลังเหตุการณ์ทเ่ี มืองซังไห่ ่ หนึ่งวัน เจียง ไคเชก ประกาศแยกพรรคกว๋อห มินตังฝ ่ า่ ยขวาออกจากฝา่ ยซ้ายทีน่ าโดยหวาง จิงเว่ย พร้อมกับจัดตัง้ รัฐบาลทีเ่ มือง หนานจิง โดยมหาอ านาจตะวัน ตกให้ก ารรับ รอง ทัง้ ที่ย ังมี หวาง จิงเว่ ย เป็ น หัว หน้ า รัฐบาลกว๋ อ หมิน ตัง่ ที่เมืองอู่ฮ นั ่ และเริม่ กาจัด สมาชิกฝ่ายซ้ายออกจาก พรรคกว๋อหมินตัง่ อย่างไรก็ตาม เจียง ไคเชก ประกาศว่าไม่ได้เป็ นศัตรูกบั สหภาพ โซเวียต เพียงแต่ต้องการแยกพวกคอมมิวนิสต์ออกจากพรรคกว๋ อหมินตัง่ ส่วน พวกนักธุรกิจ นักการเงิน สมาคมหอการค้าต่างสนับสนุ นเจียง ไคเชก เพราะเห็น ว่าหากให้เงิน แก่เจียง ไคเชก ผลประโยชน์ ของตนก็จะปลอดภัย ดังนัน้ จีนจึงมี 1

แหล่งเดิม. หน้า 126. 121


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

รัฐบาล 3 ฝา่ ย คือ รัฐบาลเป่ยจิง มี จาง จัว้ หลิน เป็ นผูม้ อี านาจ มีญ่ปี ุ่นสนับสนุ น รัฐบาลหนานจิงมีเจียง ไคเชก เป็ นหัวหน้า มีชาติตะวันตกรับรอง และรัฐบาลอู่ฮนั ่ ของพรรคกว๋ อ หมิ น ตั ง่ ฝ่ า ยซ้ า ยภายใต้ ก ารน าของหวาง จิ ง เว่ ย มี อ งค์ ก าร คอมมิวนิสต์สากลสนับสนุน ขณะทีส่ ถานการณ์ กาลังเริม่ วิกฤติเช่นนี้ ในวันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1927 พรรคคอมมิวนิสต์จนี ได้เปิ ดประชุมทีเ่ มืองอู่ฮนั ่ เฉิน ตุ๊ซวิ่ เลขาธิการพรรค ยังคง ยืน ยัน การด าเนิ น งานภายใต้การน าของกว๋ อหมินตัง่ และเห็นว่าควรร่วมมือกับ หวาง จิงเว่ย ทีอ่ ฮู่ นั ่ และขุนศึกเฝิง อวี้เสียง เพือ่ ต่อต้านเจียง ไคเชก ในการประชุม นี้โจว เอินไหล ถูกตาหนิว่าไม่ยอมปลดอาวุธคนงานทีเ่ มืองซังไห่ ่ ก่อน จึงทาให้ถูก ปราบปราม ส่วนเหมา เจ๋ อตง ถูกตาหนิ ว่าอยู่เบื้องหลังการก่อการที่รุนแรงของ ชาวนา แต่ทป่ี ระชุมไม่ได้ประณามการกวาดล้างที่เมืองซังไห่ ่ หรือการกวาดล้าง ฝ่ายซ้ายของเจียง ไคเชก ทาให้ในเวลาต่อมา เหมา เจ๋ อตง กล่าวว่า ในช่วงนัน้ เฉิน ตุ๊ซวิ่ ยังครอบงาพรรคคอมมิวนิสต์จนี อยู่ และยังยอมจานนต่อพวกกว๋อหมิน ตังในอู ่ ่ฮ นั ่ 1 การที่เฉิน ตุ๊ ซิ่ว ยึดมันค ่ าสังของสหภาพโซเวี ่ ย ตที่ให้เป็ น พัน ธมิตร กับกว๋อหมินตังนี ่ ้ จะนาผลร้ายแก่พรรคคอมมิวนิสต์จนี ในเวลาต่อมาเมื่อถูกเจียง ไคเชกปราบปรามอย่างหนัก ทาให้เหมา เจ๋อตง วิจารณ์ว่าเฉิน ตุ๊ซวิ่ เป็ นผูท้ รยศต่อ พรรคโดยไม่รู้ตัว 2 ส่ว นที่ส หภาพโซเวีย ตหลังจากเลนิ น เสีย ชีวิต ได้เกิด ความ ขัด แย้ ง ระหว่ า งโจเซฟ สตาลิ น (Joseph Stalin) กั บ ลี อ อง ทรอตสกี (Leon Trotsky) โดยสตาลินต้องการให้เจียง ไคเชก และพรรคกว๋อหมินตังเป็ ่ นผูน้ าการ ปฏิวตั จิ นี ต่อไป แต่ทรอตสกีไ้ ม่เห็นด้วยเพราะเห็นว่าจีนสามารถเป็ นคอมมิวนิสต์ได้ โดยไม่ตอ้ งทาตามขัน้ ตอนของลัทธิมาร์กซ์ แต่สตาลินไม่เห็นด้วย3 เจีย ง ไคเชก มุ่ งมัน่ ก าจัด คอมมิว นิ ส ต์ อ อกไปให้ห มด และในวัน ที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1927 พรรคกว๋อหมินตังประกาศขั ่ บไล่พวกคอมมิวนิสต์ออกจาก พรรค พร้อมกับสังให้ ่ คอมมิวนิสต์ยตุ กิ ารกระทาทีข่ ดั ขวางการปฏิวตั ิ ทาให้แนวร่วม พัน ธมิตรระหว่างพรรคกว๋ อหมิน ตัง่ และพรรคคอมมิวนิ สต์จีน สิ้น สุด ลง ซึ่งการ สิน้ สุดความเป็ นพันธมิตรกันนี้เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความแตกต่าง ด้านทัศนคติทางการเมือง ความไม่ไว้วางใจกัน และกัน การแย่งชิงอานาจและ ความเป็ นใหญ่ และการแทรกแซงขององค์การคอมมิวนิสต์สากล แหล่งเดิม. หน้า 127. 2 แหล่งเดิม. หน้า 130. 3 Spence. (2013). op.cit. p. 320. 1

122


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ส่วนการแตกแยกเป็ นรัฐบาลที่หนานจิงของเจียง ไคเชก กับรัฐบาลอู่ฮนั ่ ภายใต้การนาของหวาง จิงเว่ย ก็สามารถรวมกันได้ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1928 เจียง ไคเชก ขึน้ เป็ นผู้นาสูงสุดของพรรคอย่างเป็ นทางการ จากนัน้ ได้ยกทัพขึน้ เหนื อเพื่อยึด กรุงเป่ย จิง และด้วยความช่วยเหลือจากขุน ศึกเฝิ ง อวี้เสียง ที่เคย เรียกร้องให้ขุนศึกหยุดการต่อสู้ ทาให้กองทัพของเจียง ไคเชก สามารถยึดกรุงเป่ ยจิงไว้ได้ ขุนศึกจาง จ่อ หลิน ทีม่ อี านาจอยู่ท่กี รุงเป่ยจิงหนีไปแมนจูเรีย ต่อมา ถูกฝา่ ยญีป่ นุ่ สังหารด้วยการวางระเบิดเส้นทางรถไฟทีจ่ าง จัว้ หลิน โดยสาร จาง เส วีย เหลีย ง (Zhang Xüeliang, ค.ศ. 1900-2001) ลู กชายของจาง จัว้ หลิน จึง เข้า ร่วมกับเจียง ไคเชก ทาให้เจียงรวมประเทศสาเร็จในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1928 และ ในต้น ค.ศ. 1929 เจียง ไคเชก ประกาศตัง้ สาธารณรัฐชาตินิยม โดยเจียง ไคเชก ขึน้ ดารงตาแหน่ งประธานาธิบดี มีกรุงหนานจิงเป็ นเมืองหลวง และเปลีย่ นชื่อกรุง เปย่ จิงเป็ นเปย่ ผิง (Beiping) หรือสันติสขุ ทางเหนือ ................................................................

123


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. สภาพการณ์ของจีนในยุคขุนศึกมีผลต่อการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง ของชนชัน้ ปญั ญาชนของจีนอย่างไร และปญั ญาชนจีนมีบทบาทสาคัญอย่างไร ในการชีน้ าสังคมจีนในขณะนัน้ 2. การเป็ นพันธมิตรกันของพรรคกว๋อหมินตังและพรรคคอมมิ ่ วนิสต์จีนใน แนวร่ว มครัง้ ที่ 1 มีผ ลต่ อ การสร้า งความเข้ม แข็งของทัง้ สองพรรคหรือ ไม่ อย่างไร และเพราะอะไรการเป็ นพันธมิตรจึงสิน้ สุดลง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม ทวีป วรดิลก. (2542). ประวัตศิ าสตร์จนี . กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. บทที่ 20 ปฏิวตั ิ สาธารณรัฐ, บทที่ 21 ทรราชกับประชาธิปไตย, บทที่ 22 การปฏิวตั ขิ อง ปญั ญาชน, บทที่ 23 จีนในปี ค.ศ. 1921 และบทที่ 24 กองทัพพันธมิตร ปราบขุนศึกภาคเหนือ แฟร์แ บงค์, จอห์น เค. และคนอื่น ๆ. (2525). เอเชีย ตะวัน ออกยุค ใหม่ เล่ ม 3 . กรุงเทพฯ : มูลนิธโิ ครงการตาราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ . บทที่ 8 กาเนิดของสาธารณรัฐจีน ประจัก ษ์ แป๊ ะสกุ ล . (2548). สภาพการเมือ งจีน ทีม่ ีผ ลต่ อ การเคลือ่ นไหวทาง การเมืองของปญั ญาชนจีนในยุคขุนศึก ค.ศ.1916-1928 .สารนิพนธ์ ศศ. ม. (ประวัตศิ าสตร์เอเชีย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิ โรฒ วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2521). จีน การต่อสูเ้ พือ่ มหาอานาจ. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย. Gray, Jack. (2002). Rebellions and Revolutions, China from 1800s to 2000. New York: Oxford University Press. Chapter 8 The war-lord era, Chapter 9 The radicalization of Chinese politics, and Chapter 10 The rise of Chiang Kaishek

124


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 5 รัฐบำลกว๋อหมิ นตังและ ่ กำรขยำยอำนำจของพรรคคอมมิ วนิ สต์ หลังรวมประเทศสาเร็จ แล้ว เจียง ไคเชก ดาเนิน การฟื้ นฟู ป ระเทศและ พยายามสร้างความเป็ นเอกภาพในสังคมจีน รวมถึง การขอแก้ไขสนธิสญ ั ญาทีไ่ ม่ เท่าเทียมกันกับต่างชาติ แต่รฐั บาลของเขาต้องประสบปญั หาหลายประการทีเ่ ป็ น อุปสรรคต่อการปกครองและบริหารประเทศ ทีส่ าคัญ ได้แก่ การขยายอานาจของ ญีป่ นุ่ ในจีน และการขยายตัวของพรรคคอมมิวนิสต์จนี 1. จีนภำยใต้รฐั บำลกว๋อหมิ นตัง่ หลังจากรัฐบาลพรรคกว๋อหมินตังขึ ่ น้ ครองอานาจใน ค.ศ. 1928 และรวม ชาติได้สาเร็จ รัฐบาลภายใต้การบริหารงานของเจียง ไคเชกมีภาระสาคัญในการ ฟื้ น ฟู ป ระเทศในทุก ๆ ด้าน และการสร้า งความเป็ น อัน หนึ่ งอัน เดีย วกัน ในชาติ หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองและการสูร้ บอันยาวนานในยุคขุนศึก ภายใต้ การปกครองของรัฐบาลกว๋อหมินตัง่ สังคมจีน มีการเปลีย่ นแปลงหลายอย่างซึง่ ถือ เป็ นผลงานของรัฐ บาล ที่ ส าคั ญ คื อ รัฐ บาลให้ ค วามส าคั ญ กั บ การสร้ า ง สาธารณูปโภคพืน้ ฐานทีจ่ าเป็ น โดยเฉพาะด้านการสาธารณสุขและการศึกษา การ วางรากฐานอุตสาหกรรม การพยายามสร้างแนวคิดในสังคมแบบใหม่โดยมุง่ เน้นใน เรื่องความเป็ น เหตุเป็ น ผลและลบล้างความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ และการแก้ไข สนธิสญ ั ญาทีไ่ ม่เท่าเทียมกันกับชาติตะวันตก ในสมัยนี้มกี ารสร้างโรงพยาบาล โรงเรียน และวิทยาลัย จานวนมากและ ทุกแห่งได้รบั การจัดสรรห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างทรัพยากรบุคคลทีม่ ี ความรูค้ วามสามารถด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ มีการสร้างสนามกีฬา การ ขยายโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมอย่างมาก โดยพัฒ นาทัง้ เส้นทางถนน รถไฟ และการเดินเรือกลไฟ เพือ่ การขนส่งทีส่ ะดวกขึน้ รวมถึงการเปิ ดการเดินทาง ทางอากาศ รัฐบาลกว๋อหมินตังเริ ่ ม่ ต้นพัฒนาอุตสาหกรรม โดยรัฐให้การสนับสนุ น และรัฐบาลจีน ได้ร บั ความช่ว ยเหลื อด้านเทคนิ ค จากสัน นิ บ าตชาติ (League of Nations) สังคมจีน ตามเมือ งใหญ่ ข ยายตัว ขึ้น และพัฒ นาเป็ น เมือ งที่ม ีค วาม ทันสมัยแบบตะวันตก มีการสร้างห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ มีการขยายตัว 125


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ของการใช้ไฟฟ้า วิทยุ และมีการเปลีย่ นแปลงทางวัฒนธรรมและการใช้ชวี ติ ของคน ในเมือง เช่น การสังสรรค์ตามสโมสร การเต้นรา การเล่นกีฬา การเข้าไนท์คลับ เป็ นต้น1 ในด้านการต่างประเทศ ตัง้ แต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1928 เจียง ไคเชก พยายามดาเนินการขอยกเลิกสนธิสญ ั ญาไม่เท่าเทียมกัน และประสบความสาเร็จ โดยสหรัฐอเมริกาเป็ นประเทศแรกทีย่ อมยกเลิก ต่อมามหาอานาจอืน่ จึงยกเลิกตาม ซึง่ นับว่าทาให้ความสัมพันธ์กบั ชาติตะวันตกดีขน้ึ อย่างไรก็ตาม ชาติตะวันตกยังมี ข้อแม้เรื่องสิทธิส ภาพนอกอาณาเขตที่ย งั ไม่ย กเลิก แต่จะยกเลิกให้เมื่อ ให้จีน มี ระบบกฎหมายที่ทนั สมัย จีน จึงประกาศยกเลิกสิท ธิส ภาพนอกอาณาเขตของ ตนเอง สหรัฐ อเมริก า อังกฤษ ญี่ ปุ่ น คัด ค้า น จึง มีก ารเจรจากัน ขึ้น แต่ เกิด เหตุการณ์ญป่ี นุ่ บุกแมนจูเรีย ใน ค.ศ.1931 ทาให้การเจรจายุตลิ งชัวคราว ่ ใน ค.ศ. 1943 จึงยกเลิกได้ทงั ้ หมด สาหรับการเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์จนี นัน้ หลังจากถูกปราบไป ใน ค.ศ. 1927 สมาชิกจานวนมากหลบหนีไปเคลื่อนไหวอยู่ตามหัวเมืองและตาม ชนบท ซึ่งเจียง ไคเชกยังคงให้ความสาคัญกับการปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์ อย่างต่อเนื่อง และให้ความสาคัญมากกว่าการตอบโต้การรุกรานแผ่นดินจีนของ ญี่ปุ่น เพราะเจียง ไคเชกเห็นว่าจะต้องสร้างความสงบภายในก่อน ในช่วง ค.ศ. 1931-1934 เจียงสังการให้ ่ ปราบและโจมตีฐานทีม่ นที ั ่ ส่ าคัญของพรรคคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนาของเหมา เจ๋อตง ทีเ่ มืองรุ่ยจิน (Ruijin) มณฑลเจียงซีอย่างต่อเนื่อง ซึง่ การเคลื่อนไหวของพรรคคอมมิวนิสต์จะกล่าวโดยละเอียดในหัวข้อต่อไป ปญั หาสาคัญ ที่รฐั บาลกว๋ อหมิน ตัง่ ต้องเผชิญ อีกประการ คือ การขยาย อานาจของญี่ปุ่นบนผืนแผ่นดินจีนทีเ่ พิม่ มากขึน้ ตัง้ แต่ต้นทศวรรษ 1930 แม้จะได้ เกาหลีเป็ นอาณานิคมแล้ว แต่ตงั ้ แต่ปลายทศวรรษ 1920 ญีป่ นุ่ เริม่ แสวงหาดินแดน ใหม่ทอ่ี ดุ มสมบูรณ์ เพือ่ เป็ นแหล่งวัตถุดบิ แหล่งตลาด และทีร่ ะบายพลเมืองโดยใน ค.ศ. 1931 ญี่ ปุ่ น ยกทัพ ยึด เมือ งมุ ก เดน (Mukden) ป จั จุ บ ัน คือ เมือ งเสิ่น หยาง (Shenyang) เมือ งส าคัญ ของแมนจู เรีย และขยายอ านาจในแมนจู เรีย มากขึ้น ประชาชนส่วนใหญ่ เห็น ว่า การขยายอานาจของญี่ปุ่น เป็ น เรื่องที่มผี ลกระทบต่อ เสถียรภาพความมันคงของประเทศจี ่ นอย่างยิง่ แต่เจียง ไคเชกกลับเห็นว่าการ ขยายอานาจของพรรคคอมมิวนิสต์เป็ นเรือ่ งสาคัญยิง่ กว่า เพราะเจียง ไคเชก เชื่อ ว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็ นเสมือนมะเร็งร้ายที่กาลังแพร่ขยายไปทัวเมื ่ องจีน ส่วน 1

Spence. (2013). op.cit. p. 336. 126


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ญีป่ ุ่นยังอยู่บริเวณชายแดน จึงควรทีจ่ ะต้องกาจัดพรรคคอมมิวนิสต์ก่อน นโยบาย เช่นนี้ของเจียง ไคเชก มีสว่ นทาให้การขยายอานาจของญีป่ ุน่ ในดินแดนตงเปย่ หรือ ภาคตะวั น ออกเฉี ย งเหนื อ ของจี น เพิ่ ม มากขึ้ น และท าให้ เ กิ ด การต่ อ ต้ า น ภายในประเทศ ขบวนกำรชีวิตใหม่ (The New Life Movement, ค.ศ. 1934) ั หาที่ เ กิ ด ขึ้น ในจี น โดยเฉพาะความแตกแยกทางความคิ ด ด้ า น ปญ อุ ด มการณ์ ก ารเมือ ง การที่ป ระชาชนไม่ พ อใจรัฐ บาลที่ให้ ค วามส าคัญ ต่ อ การ ปราบปรามชาวจีนด้วยกันเองมากกว่าต่อต้านญีป่ ุ่น และความต้องการสร้างสังคม จีนขึน้ ใหม่ตามอุดมการณ์ ของเจียง ไคเชก ซึ่งเขาและบรรดาทีป่ รึกษาเห็นว่าถ้า ชักจูงให้นักเรียนนักศึกษา ปญั ญาชน และคนทีอ่ ยู่ในเมือง เห็นว่ารัฐบาลกว๋อหมิน ตังก ่ าลังสร้างความเป็ นเอกภาพของชาติและฟื้ นฟูเศรษฐกิจ คนเหล่านี้จะให้การ สนับสนุนรัฐบาลและไม่เข้ากับฝา่ ยคอมมิวนิสต์1 ทาให้ใน ค.ศ. 1934 เจียง ไคเชก เริม่ เผยแพร่แนวคิดสร้างความเป็ นเอกภาพของชาติ และนาหลักการของซุน ยัต เซนมาเผยแพร่ รวมทัง้ สร้างอุดมการณ์ทผ่ี สมผสานแนวคิดในลัทธิขงจื่อเรื่องความ จงรักภักดีและความมีคุณธรรม แนวคิดสัตบุรุษของคริสเตียน (คนทีป่ ระกอบด้วย คุณธรรม) รวมทัง้ การมีความคิดและการปฏิบตั ทิ ่เี ป็ นวิทยาศาสตร์แบบตะวันตก โดยเรียกอุดมการณ์น้ีว่า ขบวนการชีวติ ใหม่ หรือ The New Life Movement เจียง ไคเชก คาดหวังว่าขบวนการชีวติ ใหม่จะสร้างสานึกใหม่ต่อชาติใน หมู่ป ระชาชนและสร้า งพลังมวลชนที่ผ่ า นการปฏิบ ัติอ ย่ า งมีคุ ณ ธรรม การไม่ แบ่งแยก และการมีสานึกทีเ่ ป็ นวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนาจีนไปสู่สงั คมยุคใหม่ จะทา ให้ชาวจีนมีความตระหนักรูใ้ นตนเอง ดาเนินชีวติ อย่างมีเหตุมผี ลและเป็ นไปตาม หลักวิทยาศาสตร์ รวมทัง้ พยายามกาจัดความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ในสังคมจีน และ ธรรมเนียมพิธที ล่ี า้ สมัยให้หมดไป โดยพรรคกว๋อหมินตังและพรรคคอมมิ ่ วนิสต์ต่าง มีแนวคิดเดียวกันในเรื่องการต่อสูก้ บั ความเชื่อทางไสยศาสตร์ของคนจีน เพราะ เห็นว่าขนบธรรมเนียมและพิธที างศาสนาเป็ นอุปสรรคต่อการสร้างจีนใหม่2 รวมถึง การเรียกร้องให้ประชาชนมีความประพฤติปฏิบตั ทิ ถ่ี กู ต้องเหมาะสม ทัง้ ในเรื่องของ

1 2

Ibid. p. 339. รานา มิตเตอร์. (2554). จีนสมัยใหม่ : ความรูฉ้ บับพกพา. หน้า 85 127


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ความภักดี มีคุณธรรม การรักษาความสะอาด การสวมใส่เสื้อผ้าราคาไม่แพงแต่ สะอาดสะอ้าน การรณรงค์ให้ใช้สนิ ค้าทีผ่ ลิตในประเทศ เป็ นต้น1 กล่าวได้ว่าอุดมการณ์ น้ีของเจียง ไคเชก สะท้อ นให้เห็นวิกฤติทจ่ี นี กาลัง เผชิญอยู่ในขณะนัน้ ทัง้ ลัทธิทหารนิยมทีก่ าลังแพร่หลายทัง้ ในยุโรปและญีป่ ุ่นทีจ่ นี กาลังประสบ ความจาเป็ นในการสร้างสานึกของคนจีนให้มคี วามเป็ นอันหนึ่งอัน เดียวกัน เพราะมีความแตกต่างทางความคิดทีร่ นุ แรงในสังคม2 อย่างไรก็ตาม การ เคลื่อนไหวด้านชีวติ ใหม่ของเจียง ไคเชก ไม่ราบรื่นนัก เพราะในไม่ช้าจีนก็เข้าสู่ สงครามเมือ่ ญีป่ นุ่ บุกจีนใน ค.ศ. 1937 ซึง่ จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป 2. กำรเคลื่อนไหวและขยำยตัวของพรรคคอมมิ วนิ สต์ หลังจากถูก กวาดล้างใน ค.ศ. 1927 สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ส่วนหนึ่งได้ หนี ไปตัง้ ถิ่น ฐานที่ม นในชนบทมากกว่ ั่ า 10 แห่ง พร้อมกับ รณรงค์ให้ช าวนา ต่อต้านเจ้าที่ดิน ยึดที่ดินมาปฏิรูปและแจกจ่ายแก่ชาวนา และจากการที่สตาลิน ผูน้ าองค์การคอมมิวนิสต์สากลชี้นาว่า พรรคคอมมิวนิสต์จนี ต้องปฏิวตั เิ พื่อขึน้ มามี อานาจ ทาให้สมาชิกพรรคก่อการขึน้ หลายพื้นทีใ่ น ค.ศ.1927 เริม่ ด้วยการบุกยึด เมืองหนานชาง (Nanchang) เมืองหลวงของมณฑลเจียงซี เรียกว่า การลุกฮือที่ เมืองหนานชาง ในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1927 นาโดย โจว เอินไหล, จู เต๋อ (Zhu De, ค.ศ. 1886-1976) และซ่ง ชิงหลิง ภรรยาหม้ายของซุน ยัตเซน ซึง่ มีฐานะเป็ น พี่ ส าวภรรยาของเจีย ง ไคเชกด้ ว ย ที่เ มือ งหนานชาง พรรคคอมมิ ว นิ ส ต์ ตั ง้ คณะกรรมการปฏิวตั ขิ น้ึ มีโจว เอินไหล เป็ นผูน้ า ประกาศนโยบายต่อต้านจักรวรรดิ นิ ย ม ต่อต้านขุน ศึก ปกป้ องสิท ธิกรรมกรและชาวนา แต่ ไม่ก่วี ัน ต่อมากองทัพ รัฐบาลยึดเมืองหนานชางคืนมาได้ พรรคคอมมิวนิสต์ตอ้ งถอยไปทางใต้ทเ่ี มืองซาน โถว (หรือซัวเถา) การก่อการอีกครัง้ ใน ค.ศ. 1927 ของพรรคคอมมิวนิสต์ คือ การจลาจล ในช่วงเก็บ เกี่ยวฤดูใบไม้ร่วง (Autumn Harvest Uprising) ที่ม ณฑลหูหนาน น า โดยเหมา เจ๋อตง ซึง่ หลังจากความล้มเหลวทีเ่ มืองหนานชาง พรรคคอมมิวนิสต์จนี ได้จดั การประชุม ขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม และมีคาสังให้ ่ เหมา เจ๋อตง ระดมกาลัง ชาวนาและกรรมกรก่อการจลาจลทีเ่ มืองฉางซา (Changsha) มณฑลหูหนาน มีการ 1

2

แหล่งเดิม. หน้า 86. Ibid. p. 340. 128


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ปลุกระดมชาวนาให้เรียกร้องการโอนอานาจการเมืองไปสู่สมาคมชาวนา ยึดทีด่ นิ มาแจกจ่ายให้ชาวนายากจน การก่อการเริม่ ขึน้ เมื่อวันที่ 8 กันยายน โดยเข้าโจมตี เมืองฉางซา ทาลายทางรถไฟสายกว่างโจว- ฮันโข่ ่ ว แต่ 4 วันต่อมา ทหารรัฐบาล เข้าปราบอย่างหนัก ขณะทีก่ รรมกรในเมืองฉางซาก็ไม่ให้ความร่วมมือ กับพรรค ดังนัน้ ในเดือนตุลาคม เหมา เจ๋อตงกับพรรคพวกประมาณ 700 คน จึงถอยหนีไปที่ เทือกเขาจิง่ กัง หรือจิง่ กังซาน (Jinggang Shan) ซึง่ อยู่ระหว่างมณฑลหูหนานและ เจียงซี จากนัน้ พรรคคอมมิวนิสต์ก่อการขึน้ อีกที่เมืองซานโถวในเดือนกันยายน และทีเ่ มืองกว่างโจวในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1927 แต่ลม้ เหลวทัง้ หมด กำรต่อสู้ทำงแนวควำมคิ ดภำยในพรรคคอมมิ วนิ สต์จีน ความล้มเหลวในการจลาจลของพรรคคอมมิวนิสต์ ทาให้ในการประชุม ผูน้ าพรรคในวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ.1927 เฉิน ตุ๊ซวิ่ ถูกปลดจากตาแหน่ งเลขาธิการ พรรค และถูกโจมตีว่าดาเนินนโยบายอ่อนข้อให้กบั ฝา่ ยกว๋อหมินตังมากไป ่ รวมทัง้ ยังถูกประณามว่าเป็ นผู้นิยมลัทธิฉวยโอกาสจากการพยายามก่อการที่เมืองหนาน ชาง ส่วนเหมา เจ๋อตง ถูกตาหนิอย่างรุนแรงจากทีป่ ระชุมคณะกรรมการกลางพรรค คอมมิวนิสต์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1927 จากการก่อจลาจลติดอาวุธให้ชาวนา โดยพลการ ซึง่ ขัดต่อคาสังของสหภาพโซเวี ่ ยต และถูกปลดจากทุกตาแหน่ ง เหลือ เพีย งการเป็ น สมาชิกพรรคเท่ านั น้ แต่ เหมา เจ๋ อตงยังไม่ ทราบเรื่อง เพราะได้ อพยพกาลังทีเ่ หลืออยูไ่ ปทีเ่ ทือกเขาจิง่ กัง การทีเ่ หมา เจ๋อตง เลือกมาอยูท่ จ่ี งิ่ กังซาน เพราะมีทต่ี งั ้ ทีเ่ หมาะสมโดยอยู่ ระหว่างรอยต่อของมณฑลหูหนานกับเจียงซี หากกองทัพกว๋อหมินตังเข้ ่ าโจมตีก็ หนีไปยังอีกมณฑลได้ ทางเข้ามีเพียงห้าทางและคับแคบ กองทัพไม่สามารถยกมา โจมตีได้จานวนมากๆ ส่วนพืน้ ทีเ่ ป็ นป่าปกคลุมโดยรอบและอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่ การเพาะปลูกทาให้ไม่ลาบากในการหาเสบียงอาหาร ช่วงเวลาทีจ่ งิ่ กังซานมีความสาคัญต่อประวัตศิ าสตร์พรรคคอมมิสนิสต์จนี เพราะเป็ นทีท่ เ่ี หมา เจ๋อตง เริม่ การปฏิวตั ติ ามแนวทางทีไ่ ม่ได้ยดึ ตามลัทธิมาร์กซ์ ทัง้ หมด โดยฐานกาลังของเหมา เจ๋อตง มาจากชาวนา เหมา เจ๋อตง มีนโยบาย หลัก คือ จัดตัง้ กองทัพปฏิวตั ชิ าวนาและคนงาน ริบทรัพย์เจ้าที่ดนิ จัดตัง้ อานาจ การปกครองของพรรคในมณฑลหูหนาน และตัง้ เขตโซเวียตขึน้ 1 กองทัพปฏิวตั ิ 1

ทวีป วรดิลก. (2547). เหมา เจ๋อตง ฮ่องเต้นกั ปฏิวตั .ิ หน้า 131-132 129


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ทีต่ งั ้ ขึน้ ใหม่นัน้ ในแต่ละหมวด แต่ละกอง มีหน่ วยของพรรคคอมมิวนิสต์กากับอยู่ สมาชิกพรรคให้การศึกษาแก่ทหารเพื่อให้อ่านออกเขียนได้ มีสานึกทางการเมือง รักษาระเบีย บวินัย และฝึ กอบรมด้านประชาสัม พัน ธ์เพื่อให้ทหารนาแนวคิด ไป เผยแพร่ แ ก่ ช าวบ้ า น จัด คณะกรรมการทหารดู แ ลทุ ก ข์สุ ข ทหารผู้น้ อ ย ห้ า ม นายทหารรังแกทุบตีทหารผูน้ ้อย ให้ทหารผูน้ ้อยวิจารณ์ขอ้ บกพร่องของนายทหาร ั หาการทุ จ ริต1 ได้ และต้องเปิ ด เผยบัญ ชีข องกองทัพ ให้รู้ท วั ่ กัน เพื่อไม่ ให้ม ีป ญ สาหรับนโยบายเกีย่ วกับชาวนานัน้ เหมา เจ๋อตง แบ่งชาวนาออกเป็ น 3 กลุ่ม คือ พวกชาวนายากจนไม่มที ด่ี ินทากินต้องจัดสรรทีด่ นิ ให้ทากิน พวกชาวนากลางที่ ต้องน าที่ดินมาแบ่ ง และพวกราชาที่ดิน ที่ต้องฆ่าและยึดที่ดินมาแบ่ งให้ช าวนา ยากจน กองทัพของเหมา เจ๋อตง ก่อการโจมตีและยึดเมืองใกล้เคียงได้หลายแห่ง พร้อมทัง้ ปฏิรูป ที่ดิน ในเขตปกครอง ท าให้ได้รบั ความนิ ย มจากชาวนามากขึ้น ต่อมาเหมา เจ๋ อตงจัดตัง้ รัฐบาลปกครองท้องถิ่นประกอบด้วยคนงาน ทหารและ ชาวนา ซึง่ เป็ นกาลังสาคัญแก่ฐานทีม่ นที ั ่ เ่ ทือกเขาจิง่ กังอย่างดี ในต้น ค.ศ. 1928 จู เต๋อ นากาลังมาสมทบกับเหมา เจ๋อตง และได้รบั แต่งตัง้ เป็ นผูบ้ ญ ั ชาการกองทัพ แดง ซึง่ หลังจากนี้สภาพของกองทัพแดงทีเ่ ทือกเขาจิง่ กังก็ดขี น้ึ และมีชยั ชนะในการ สูร้ บอยู่เสมอ แต่นโยบายให้ชาวนาเป็ นกาลังสาคัญในการปฏิวตั ขิ องเหมา เจ๋อตง ยังถูกคัดค้านอย่างหนักจากพรรค

เหมา เจ๋อตง และจู เต๋อ แม่ทพั คนสาคัญของกองทัพแดง

หลังจากเฉิน ตุ๊ซวิ่ ถูกปลด ฉี ชิวไป๋ (Qu Qiubai, ค.ศ.1899-1935) ผูเ้ คย ศึกษาในมอสโคว์ ได้เป็ นเลขาธิการพรรคฯ คนต่อมาระหว่าง ค.ศ. 1927–1928 ฉี ชิว ไป๋ ยึด แนวทางโซเวีย ตในการด าเนิ น การปฏิ ว ัติ เช่ น เดิ ม คือ ถื อ ว่ า ชนชัน้

1

เล่มเดิม. หน้า 135. 130


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กรรมาชีพเป็ นกาลังสาคัญในการปฏิวตั ิ เน้นก่อการตามเมืองใหญ่มากกว่าชนบท แต่กล็ ้มเหลวตลอดจนถูกปลดและถูกตาหนิจากการก่อการทีล่ ้ มเหลวของกรรมกร และชาวนาและการจัดตัง้ คอมมูน (Commune) ทีเ่ มืองกว่างโจว ฉี ชิวไป๋ยังคงอยู่ ในพรรคต่อมาและในการเดินทัพทางไกล ฉี ชิวไป๋ถูกทหารกว๋อหมินตังจั ่ บได้และ ถูกประหารชีวติ เมือ่ ค.ศ. 1935 เลขาธิการพรรคคนต่อมา คือ หลี ลีซ่ าน (Li Lishan, ค.ศ.1900-1967) ซึง่ ยึดนโยบายตามอย่างโซเวียต และยืนยันเรือ่ งการปฏิวตั โิ ดยกรรมกรเป็ นกาลังหลัก ไม่ใช่ชาวนา การดาเนินการปฏิวตั ิในช่วงนี้เรียกว่า แนวทางหลี ลี่ซาน ซึ่งถือว่า เป็ นมติของพรรคคอมมิวนิสต์จากการประชุมของสมาชิกพรรคในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1930 โดยยืน ยัน ว่ า ชนชัน้ กรรมาชีพ เป็ นผู้น าในการปฏิว ัติ และประณาม สมาชิก เช่น เหมา เจ๋อตง และ จู เต๋อ ที่เน้นชาวนามากกว่ากรรมกร ผูน้ าพรรค คอมมิวนิ สต์ท่ดี าเนิ นตามแนวทางโซเวียตเน้ นว่า การปฏิวตั ิจะสาเร็จได้เมื่อยึด เมืองใหญ่ ท่มี ีช นชัน้ กรรมาชีพ อยู่ม าก และอาศัย ชาวนาเป็ น เพีย งผู้ช่ว ยในการ ปฏิวตั ิ เพราะชาวนาเป็ นกลุ่มทีอ่ นุ รกั ษ์นิยมและเฉื่อยชาทางการเมือง ต่อมาผูน้ า กลุ่มโซเวียตเห็นว่าพรรคมีกาลังเข้มแข็งมากขึน้ ประกอบกับได้รบั การวางแผนและ สนั บ สนุ น จากองค์ก ารโคมิน เทิร์น จึงก่ อการยึด เมือ งฉางซาและอู่ฮ ัน่ ในเดือ น กรกฎาคม ค.ศ. 1930 แต่ ย ึด ได้ ไม่ น านก็ถู ก กองทัพ รัฐ บาลกว๋ อ หมิน ตัง่ ขับ ไล่ ออกไป ความล้มเหลวของหลี ลีซ่ าน ทาให้เขาถูกวิจารณ์ หลี ลีซ่ าน ลาออกจาก เลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 1930 แนวทางของเหมา เจ๋อตง เรื่องการใช้ชาวนาซึ่ง เป็ นคนส่วนใหญ่ของประเทศมาเป็ นกาลังในการปฏิวตั ิเริม่ เป็ นที่ยอมรับมากขึ้น แต่ยงั ไม่มผี ลต่อแนวทางหลักของพรรค เพราะหลังจากหลี ลีซ่ าน พ้นตาแหน่ งไป แล้ว กลุ่มนักปฏิวตั หิ นุ่ มชาวจีน 28 คน เดินทางกลับมาจากสหภาพโซเวียตพร้อม กับผูแ้ ทนจากองค์การโคมินเทิร์น เรียกว่า กลุ่ม 28 บอลเชวิก (the twenty-eight Bolsheviks) กลุ่ ม นี้ เข้ามาน าพรรคระหว่าง ค.ศ. 1930 -1931 นั กปฏิวตั ิกลุ่ม นี้ ม ี ความรูท้ างทฤษฎีคอมมิวนิสต์ ลัทธิมาร์กซ์-เลนินอย่างดี ใน ค.ศ.1931 หวาง หมิง (Wang Ming) แห่งกลุ่ ม 28 บอลเชวิกขึ้น เป็ น เลขาธิการพรรค และขัด แย้งทาง ความคิดกับเหมา เจ๋อตง อย่างมาก เพราะ หวาง หมิง อ้างถึงแต่ทฤษฎี จนเหมา เจ๋อตง ได้เขียนหนังสือชื่อ คัดค้านลัทธิบูชาตารา เป็ นการตอบโต้ และกล่าวว่า ถ้า ไม่มกี ารตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ ก็ไม่มสี ทิ ธิออกความเห็น ทัง้ นี้เพราะกลุ่ม 28 บอลเชวิกศึกษามาแต่ทฤษฎีแต่ไม่เคยศึกษาสภาพความเป็ นจริงในสังคมจีน

131


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ฉี ชิวไป๋ (ซ้าย) และ หลี ลีซ่ าน (ขวา) อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์

เขตปลดปล่อยเจียงซีโซเวียต: ควำมสำเร็จของแนวทำงเหมำ สาหรับเหมา เจ๋อตงนัน้ แม้พรรคจะไม่เห็นด้วยกับแนวทางปฏิวตั ขิ องเขา แต่ปรากฏว่าฐานทีม่ นที ั ่ ่เทือกเขาจิง่ กังเติบโตขึน้ มาก ซึง่ ก็ทาให้กองทัพกว๋อหมิน ตังเข้ ่ าโจมตีอยู่เสมอ ดังนัน้ ในต้นปี ค.ศ. 1929 เหมา เจ๋อตง กับ จู เต๋อ ตัดสินใจ หาฐานที่ตงั ้ ใหม่ โดยมอบให้เผิง เต๋ อไฮว่ (Peng Dehuai ค.ศ. 1898-1974) แม่ ทัพคนสาคัญของกองทัพแดง ดูแลฐานที่จิ่งกังซาน ซึ่งภายหลังถูกโจมตีจ นต้อง อพยพออกไปหมด เหมา เจ๋อ ตง จู เต๋อ และเผิง เต๋อไฮว่ได้มาตัง้ ฐานที่มนแห่ ั่ ง ใหม่ ท่ีเมือ งรุ่ย จิน (Ruijin) บริเวณมณฑลเจีย งซีต่ อ กับ มณฑลฝูเจี้ย น ซึ่งเป็ น บริเวณทีด่ ีกว่าทีเ่ ดิมเพราะเป็ นเขตเหมืองแร่และที่ดนิ อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การ เพาะปลูก ระหว่างทีเ่ หมา เจ๋อตงและพรรคพวกกาลังพัฒนาฐานรุ่ยจินจนมีความ เข้มแข็งขึน้ เหมา เจ๋ อตงก็ได้รบั คาสังจากหลี ่ ลี่ซาน เลขาธิการพรรคฯ ให้สลาย ฐานทีร่ ยุ่ จินเป็ นหน่วยย่อยๆ แต่เหมา เจ๋อตงไม่ปฏิบตั ติ าม ใน ค.ศ. 1931 เหมา เจ๋อตงตัง้ รุ่ยจินเป็ นเขตปลดปล่อย เรียกว่า “เจียงซี โซเวียต” (Jiangxi Soviet) ซึง่ จะเป็ นฐานทีม่ คี วามสาคัญและเข้มแข็งทีส่ ุด มีเหมา เจ๋อตง เป็ นประธาน ภายใต้เขตเจียงซีโซเวียต พรรคคอมมิวนิสต์ได้ยดึ ทีด่ นิ จาก เจ้าที่ดิน มาแจกจ่ ายให้ช าวนาโดยใช้ส ายกลาง เพื่อให้ได้การสนั บ สนุ น ทัง้ จาก ชาวนายากจนและเจ้าทีด่ นิ ขนาดกลาง ทาให้ได้รบั ความนิยมจากชาวนา ซึง่ จะได้ เป็ นผูช้ ่วยเหลือสอดส่องภัยจากภายนอกให้ พรรคคอมมิวนิสต์เผยแพร่อุดมการณ์ คอมมิวนิสต์ให้แก่ชาวนา สอนให้ชาวนาเกลียดชังจักรวรรดินิยม เจ้าทีด่ นิ และเจียง ไคเชก และฝึกการรบแบบกองโจรให้กองทัพแดง

132


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การเคลื่อนไหวที่เขตเจียงซีโซเวีย ต ทาให้เหมา เจ๋ อตงมีกาลังมากขึ้ น โดยเขามีหลักในการสร้างอานาจคือ การรักษาฐานมวลชนทีเ่ ข้มแข็งโดยเน้นการ สนับสนุ นจากประชาชนและใช้นโยบายปฏิรปู ทีด่ นิ รักษาความเข้มแข็งของพรรค รักษากองทัพแดงให้เข้มแข็ง ควบคุมทีม่ นที ั ่ ม่ คี วามสาคัญทางยุทธศาสตร์ และการ ตัง้ เขตปกครองต้องตัง้ ในบริเวณทีป่ ระชาชนเลีย้ งตนเองได้ รัฐบาลเจียงซีโซเวียตของ เหมา เจ๋อตง ตัง้ ขึน้ โดยใช้ประชาชนในชนบท เป็ น ฐานอ านาจ มีป ระชาชนในการปกครองประมาณ 3 ล้า นคนเศษ มีร ะบบ เงินตราของตน โดยมีรปู มาร์กซ์ เลนิน อยูบ่ นธนบัตร ออกดวงตราไปรษณียากร มี คณะบริหารประเทศ ตรากฎหมายรัฐธรรมนู ญ กฎหมายที่ดิน กฎหมายแรงงาน นโยบายเศรษฐกิจ มีกองกาลังทหาร ตารวจของตนเอง เมื่อเหมา เจ๋ อตงและ พรรคพวกแยกมาตัง้ ฐานทีม่ นที ั ่ เ่ จียงซีโซเวียตนัน้ พรรคคอมมิวนิสต์จนี กาลังอยูใ่ น สภาพอ่อนแอและแตกแยกทางความคิด แต่ทเ่ี ขตเจียงซีโซเวียต เหมา เจ๋อตงมี อิสระในการทางาน เพราะแยกออกมาจากศูนย์การนาของพรรค เหมา เจ๋อตง กับกลุ่มผูน้ าพรรคคอมมิวนิสต์จนี ไม่ว่าจะเป็ นหลี ลีซ่ าน หรือ กลุ่ม 28 บอลเชวิก ต่างมีแนวความคิดต่างกันเรื่องพลังมวลชนในการปฏิวตั ิ ซึ่ง เหมา เจ๋อตง เชื่อมันในการใช้ ่ ชาวนาเป็ นฐานกาลัง และยึดมันในทฤษฎี ่ ชนบทล้อม เมือง เขา ได้ใช้แนวคิดของตนในการปกครองเขตปลดปล่อยเจียงซีโซเวียตและ ประสบผลสาเร็จด้วยดี เพราะเขตเจียงซีโซเวียตมีความเข้มแข็งขึน้ เรื่อยๆ จนเจียง ไคเชก สังปราบอย่ ่ างหนัก แต่สาหรับในพรรคคอมมิวนิสต์แล้วแนวคิด ของเหมา เจ๋อตง ยังไม่ได้รบั การยอมรับจากกลุ่ม 28 บอลเชวิก ซึง่ เป็ นสายโซเวียต กำรล้อมปรำบพรรคคอมมิ วนิ สต์ ฐานที่ม นั ่ ที่เมือ งรุ่ย จิน ในเขตเจีย งซีโซเวีย ตมีค วามเข้ม แข็ง มากขึ้น มี พลเมืองในการปกครองราว 3 ล้านคนเศษ นับเป็ นเขตทีเ่ ข้มแข็งมาก เจียง ไคเช กจึงสังให้ ่ มกี ารล้อมปราบถึง 5 ครัง้ การล้อมปราบครัง้ แรกมีขน้ึ เมื่อเดือนตุ ลาคม ค.ศ. 1930 รัฐ บาลกว๋ อ หมิ น ตั ง่ ใช้ ก าลั ง ทหารราวหนึ่ ง แสนคน ฝ่ า ยพรรค คอมมิวนิสต์มเี หมา เจ๋อตง กับจู เต๋อ เป็ นผูน้ ามีกาลังทหารราว 40,000 คน แต่ใช้ วิธกี ารสูร้ บแบบสงครามกองโจร ทาให้กองทัพกว๋อหมินตังปราบไม่ ่ สาเร็จ การล้อมปราบครัง้ ที่ 2 มีขน้ึ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1931 เจียง ไคเชก ให้แม่ทพั และที่ปรึกษาทางทหารชาวเยอรมนีวางแผนการรบ กองทัพของพรรค คอมมิวนิสต์ใช้วธิ กี ารโจมตีขา้ ศึกในส่วนทีก่ องกาลังอ่อนแอก่อน โดยได้รบั รูข้ ่าว 133


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ความเคลื่อนไหวของกองกาลังรัฐบาลกว๋ อหมินตัง่ จากชาวนาที่ส นับ สนุ น พรรค คอมมิวนิสต์ การล้อมปราบครัง้ ที่ 3 มีข้นึ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1931 เจีย ง ไคเชก เข้า มาบัญ ชาการด้วยตนเอง ภายใต้กาลังทหารรัฐบาล 300,000 คน การล้อม ปราบดาเนินอยูจ่ นถึงเดือนกันยายน แต่กไ็ ม่สามารถปราบได้

ญีป่ นุ่ บุกเมืองมุกเดน ในแมนจูเรียของจีน ค.ศ. 1931

ระหว่างนี้ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1931 กองทัพญีป่ ุ่นรุกรานดินแดนแมนจูเรีย แต่เจียง ไคเชก ให้ความสนใจกับการปราบคอมมิวนิสต์มากกว่า จึงไม่สนใจต่อต้าน การรุกรานของญี่ปุ่น ทาให้ผู้นาพรรคกว๋อหมินตัง่ เช่น หวาง จิงเว่ย หู ฮันหมิ ่ น และ ซุ น เค่ อ (Sun Ke) บุ ต รชายของซุ น ยัต เซน ร่ ว มกัน ประกาศตัง้ รัฐ บาล แห่งชาติขน้ึ ทีเ่ มืองกว่างโจวเพือ่ ต่อต้านเจียง ไคเชก ทีไ่ ม่สนใจต่อต้านญีป่ นุ่ ต่อมา ได้ประชุมร่วมกับเจียง ไคเชก เมือ่ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1931 ทาให้เจียง ไคเชก ยอม ลาออกจากตาแหน่ งประธานาธิบดี แต่ยงั คงคุมกาลังทหารเพียงคนเดียว ต่อมา เจีย ง ไคเชก และหวาง จิง เว่ ย ตกลงร่ ว มมือ กัน โดยเน้ น การกวาดล้า งพรรค คอมมิวนิสต์จนี เป็ นหลักและไม่ต่อต้านญีป่ ุ่น ทาให้ผนู้ าสาคัญในพรรคกว๋อหมินตัง่ หลายคนไม่พอใจและถอนตัวออกจากพรรคไป ระยะนี้ฐานทีม่ นที ั ่ ร่ ุ่ยจินขยายตัวและเข้มแข็งมากขึน้ และมีการสถาปนา สาธารณรัฐโซเวียตในเจียงซีอย่างเป็ นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1931 134


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

มีเมืองรุย่ จินเป็ นเมืองหลวง เหมา เจ๋อตงได้รบั เลือกตัง้ เป็ นประธานรัฐบาลชัวคราว ่ มีร องประธาน 2 คน กรรมการกลางบริห าร 63 คน แต่ อ ยู่ ภ ายใต้ก ารน าของ คณะกรรมการกลางของพรรคและคณะกรรมการกรมการเมือง เท่ากับว่าอยูภ่ ายใต้ กลุ่ม 28 บอลเชวิก ที่นาพรรคคอมมิวนิสต์ในขณะนัน้ กลุ่ม 28 บอลเชวิกเห็นว่า เมื่อ ญี่ ปุ่ น รุก รานแมนจูเรีย แล้ว ต่ อ ไปก็จ ะรุก รานสหภาพโซเวีย ตซึ่งอยู่ติด กัน กองทัพแดงซึง่ ชนะกองทัพรัฐบาลแล้วถึง 3 ครัง้ จึงควรเข้ายึดเมืองใหญ่ ติดอาวุธ ให้คนงานและชาวนา และก่อการจลาจลขึน้ ทัวประเทศ ่ อย่ า งไรก็ ต าม ดู เ หมื อ นว่ า แนวทางของเหมา เจ๋ อ ตงกลั บ ประสบ ความส าเร็จ มากกว่ า เพราะชาวบ้ า นที่ไม่ ได้ ร ับ ความยุ ติธ รรมจากรัฐ และถู ก ปกครองอย่างกดขีห่ นั มาเข้ากับพรรคคอมมิวนิสต์มากขึน้ รวมทัง้ มีทหารรัฐบาลกว๋ อหมินตังส่ ่ วนหนึ่งเปลี่ยนใจมาเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย ทาให้ใน ค.ศ. 1932 เขตพื้น ที่แ ละกองกาลังของพรรคคอมมิวนิ ส ต์ ท่เี ขตเจีย งซีโซเวีย ตขยาย เพิม่ ขึน้ โดยมีประชากรในพืน้ ทีป่ กครองเพิม่ เป็ น 19 ล้านคน ประกอบกับรัฐบาลกว๋ อหมินตังกวาดล้ ่ างพรรคคอมมิวนิสต์ทวประเทศอย่ ั่ างหนัก จนต้องสลายฐานทีม่ นั ่ ของพรรคทีเ่ มืองซังไห่ ่ ใน ค.ศ. 1932 สมาชิกพรรคส่วนหนึ่งจึงมาสมทบทีเ่ มืองรุ่ย จิน ทาให้กาลังสนับสนุนมากขึน้ และกลายเป็ นศูนย์กลางของพรรคคอมมิวนิสต์จนี ขณะที่เจีย ง ไคเชก ยังคงใช้น โยบาย “สร้า งความสงบภายในต่ อต้า น ภายนอก” จึงยังเน้ นการปราบคอมมิวนิสต์เป็ นหลัก และเจรจาสงบศึกกับ ญี่ปุ่น โดยยอมยกดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน คือ แมนจูเรีย ให้ญ่ปี ุ่น จน ญีป่ ุ่นประกาศตัง้ เป็ นประเทศแมนจูกว๋อ (Manchuguo) ใน ค.ศ.1932 พร้อมกับตัง้ รัฐบาลขึน้ ปกครองประเทศโดยเชิญ ผู่อ้ี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชงิ เป็ นผูบ้ ริหารสูงสุดของรัฐบาล (Chief Executive) และต่อมาตัง้ เป็ นจักรพรรดิ แต่ก็ เป็ นเพียงรัฐบาลหุ่น และจักรพรรดิหุ่นของญี่ปุ่น ส่วนเจียง ไคเชก เมื่อสงบศึกกับ ญีป่ นุ่ แล้วก็ปราบคอมมิวนิสต์ต่อไป ทาให้แม่ทพั หลายคนแยกตัวออกมา เพราะไม่ พอใจนโยบายเกีย่ วกับญีป่ นุ่ การทีอ่ ดีตจักรพรรดิผ่อู ้ยื อมรวมมือกับญี่ปุ่นนัน้ น่ าจะเป็ นเพราะความไม่ พอใจอย่างมากของบรรดาเชื้อพระวงศ์แมนจูท่ที หารของพรรคกว๋ อหมิน ตัง่ บุ ก ทาลายและปล้นสุสานของราชวงศ์ชงิ ทีอ่ ยู่นอกกรุงเป่ยจิงเมื่อ ค.ศ. 1927 ทัง้ ทีต่ าม ข้อตกลงทีฝ่ า่ ยปฏิวตั ทิ ากับราชวงศ์ชงิ เพื่อเรียกร้องให้จกั รพรรดิผ่อู ส้ี ละราชสมบัติ เมื่อ ค.ศ. 1912 นัน้ ระบุว่ารัฐบาลใหม่จะดูแลสุสานราชวงศ์ชงิ ในการปล้นสุสาน ราชวงศ์ชงิ ครัง้ นี้ทหารของเจียง ไคเชก ได้ใช้ระเบิดทาลายทางเข้าสุสานพระนาง ฉือซี ปล้นเครื่องประดับในสุสาน รือ้ ค้นและทาลายเสื้อผ้าของพระศพ และนาเอา 135


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

มุกที่อยู่ในพระโอษฐ์ของพระนางฉือซีไปด้วย เหตุการณ์ น้ีทาให้เชื้อพระวงศ์ของ ราชวงศ์ชงิ กระทบกระเทือนใจอย่างมาก ซึง่ น่ าจะเป็ นเหตุผลทีท่ าให้อดีตจักรพรรดิ ผูอ่ ต้ี ดั สินใจเข้าร่วมกับญีป่ นุ่ 1 ในการล้อมปราบครัง้ ที่ 4 ระหว่างเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1932 – เดือนมีนาคม ค.ศ. 1933 พรรคคอมมิวนิ สต์ม ีชยั ชนะด้วยยุทธวิธีของเหมา เจ๋ อตง คือ โจมตี จุดอ่อนของศัตรู ไม่ถอื เขตพื้นทีเ่ ป็ นสาคัญ แต่เน้ นสงวนกาลัง คน ขณะทีฝ่ ่ายโซ เวียตในพรรคยังยืนยันนโยบายการจัดระเบียบกองทัพ การทาสงครามป้อมค่าย คือ ตัง้ มันในพื ่ ้นที่รอตอบโต้การบุกเข้ามาของทหารกว๋อหมินตัง่ ขุดสนามเพลาะ และต่อต้านนโยบายปฏิรปู ทีด่ นิ ของเหมา เจ๋อตง ทีเ่ น้นการปฏิรปู สายกลาง กลุ่ม 28 บอลเชวิกโจมตีเหมา เจ๋อตง ว่าใช้นโยบายชาวนารวย ขัดต่อทฤษฎีปฏิวตั ขิ อง บอลเชวิก เหมา เจ๋อตง พยายามโน้มน้าวให้ฝา่ ยโซเวียตในพรรคเปลีย่ นแนวคิด จากการตัง้ รับ เป็ นการรุกแบบกองโจรตามหัวเมืองชายทะเลสาคัญ เพื่อให้เจีย ง ไคเชก ส่งทหารไปคุม้ ครอง แต่ฝา่ ยโซเวียตไม่เห็นด้วย กล่าวว่าเป็ นนโยบายของ โจร หรือความคิดบ้านนอก เสียงส่วนมากในพรรคเห็นด้วยกับแนวทางของกลุ่ม 28 บอลเชวิก ขณะทีเ่ หมา เจ๋อตง จู เต๋อ และโจว เอินไหล ไม่เห็นด้วย แต่ไม่อาจ ขัดขวางได้ ผลปรากฎว่าแนวทางของสายโซเวียตทีต่ ้องการให้ตงั ้ มันต่ ่ อสู้เพื่อยับยัง้ ข้าศึกไม่ให้เข้ามาในพื้นที่ของคอมมิวนิสต์ ล้มเหลว กองกาลังที่เหนือกว่าของกว๋ อหมิน ตัง่ บุ ก ยึด พื้น ที่ข องคอมมิว นิ ส ต์ได้ ท าให้พ้ืน ที่ เขตเจีย งซีโซเวีย ตลดลง กองทัพแดงถูกตัดเส้นทางและถูกโจมตีทางอากาศ ในการล้อมปราบครัง้ ที่ 5 ใน เดือนมิถุน ายน ค.ศ. 1933 กองทัพ กว๋ อหมินตัง่ กว่าล้านคนโจมตีฐานของพรรค คอมมิวนิสต์จนี อย่างหนักทัง้ ทางบก ทางอากาศ ทางโซเวียตเสนอให้ เหมา เจ๋อตง ย้ายฐานทีม่ นั ่ พรรคคอมมิวนิสต์จดั ประชุมในวันที่ 2 ตุลาคม 1934 มีมติให้ถอนที่ มันจากเขตเจี ่ ย งซีโ ซเวีย ต ต่ อมาพรรคคอมมิว นิ ส ต์ จีน เรีย กเหตุก ารณ์ ซ่ึง เป็ น ประวัติศาสตร์ครัง้ ส าคัญ ของพรรคครัง้ นี้ ว่า การเดิน ทัพ ทางไกล (Long March) หรือ ฉางเจิง

ดูเพิม่ เติมใน Jung Chang. (2013). Empress Dowager Cixi: The Concubine Who Launched Modern China. P.372. 1

136


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

3. กำรเดิ นทัพทำงไกลและกำรขึน้ สู่อำนำจของเหมำ เจ๋อตง การเดินทัพทางไกลใช้เวลาประมาณ 370 วัน เริม่ เดินทางจากเมืองรุ่ยจิน ในเขตเจียงซีโซเวียตตัง้ แต่วนั ที่ 16 ตุลาคม ค.ศ.1934 ไปถึงทีม่ นใหม่ ั ่ ทม่ี ณฑลส่าน ซี ทางตะวัน ตกเฉี ย งเหนื อ ของจีน ในเดือ นตุ ล าคม ค.ศ.1935 รวมระยะทาง ประมาณ 12,500 กิโลเมตร กองทัพแดงเดินทางจากเมืองรุ่ยจิน ไปทางตะวันตก ผ่ า นเมือ งกุ้ ย หลิ น (Guilin) มณฑลกว่ า งซี เมื อ งจุ น อี้ (Zunyi) เมื อ งกุ้ ย หยาง มณฑลกุย้ โจว เมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน ขึน้ เหนือข้ามแม่น้ าฉางเจียงไปยัง เมืองเฉิงตู (Chengdu) มณฑลซื่อชวน และเดินทางขึน้ เหนือจนถึงตอนเหนือของ เมืองเอีย๋ นอาน (Yenan) มณฑลส่านซี รวมแล้วเดินทางผ่าน 11 มณฑล เทือกเขา 18 แห่ง ข้ามแม่น้ า 24 สาย1 ตลอดเส้นทางต้องเดินทางในป่าเขา เทือกเขา ออก เดินทางตอนกลางคืนเพือ่ หลบซ่อนทหารรัฐบาล บางครัง้ ต้องเผชิญกับชนกลุ่มน้อย เผ่าต่างๆ ทีไ่ ม่รวู้ ่าจะช่วยเหลือฝ่ายรัฐบาลหรือคอมมิวนิสต์ ประกอบกับเส้นทาง ทุรกันดารแห้งแล้ง ยากลาบาก และการต้องสูร้ บกับกองทัพรัฐบาลตลอดเส้นทาง ทาให้เมื่อไปถึงจุดหมายทีเ่ มืองเอีย๋ นอานในเดือนธันวาคม ค.ศ.1936 มีผรู้ อดชีวติ ประมาณ 8,000–9,000 คน จากจานวน 80,000 คน ทีเ่ ริม่ ต้นเดินทางจากเจียงซี 2 ส่วนกาลังทหารแดงตามรายชื่อประมาณ 86,000 คน เมื่อมาถึงมณฑลส่านซีเหลือ เพียงไม่กพ่ี นั คน3 ระห ว่ า งการเดิ น ท างได้ ม ี ก ารป ระชุ ม พ รรค ที่ เ มื อ งจุ น อี้ (Zunyi Conference) ในมณฑลกุย้ โจว ระหว่างวันที่ 6 – 8 มกราคม ค.ศ. 1935 มีสมาชิก พรรคระดับแกนนาเข้าร่วมประชุม 18 คน มีการสรุปสาเหตุความล้มเหลวทีผ่ า่ นมา ว่าเกิดจากแนวทางการนาพรรคของกลุ่ม 28 บอลเชวิก เรื่องการยึดที่มนว่ ั ่ า เป็ น ความผิดพลาดโดยสิน้ เชิง ในการประชุมวันที่ 8 มกราคม ทีป่ ระชุมมีมติเลือกเหมา เจ๋ อตง ให้ด ารงตาแหน่ งประธานคณะกรรมการทหารของพรรค ซึ่งเขาจะด ารง ตาแหน่ งนี้จนถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1976 และดารงตาแหน่ งกรรมการประจา เอ็ดการ์ สโนว์. (2541). ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน. แปลโดย บุญศักดิ ์ แสงระวี. หน้า 307 2 Spence. (2013). op.cit. p. 381 ส่ ว น Fairbank. (1992). China A new History. p. 305 ระบุว่า การถอนทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จนี เริม่ ต้นมีกาลังพลประมาณ 100,000 คน และเมื่อไปถึงทีห่ มายในปี ต่อมาเหลือประมาณ 4 – 8 หมื่นคน 3 Fairbank. (1992). op.cit. p.307 1

137


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ของคณะกรรมการกรมการเมืองของพรรค โดยโจว เอินไหล อภิ ปรายสนับสนุ น เหมา เจ๋อตง อย่างเต็มที1่

แผนทีแ่ สดงเส้นทางการเดินทัพทางไกล เขตของพรรคคอมมิวนิสต์ก่อนเดินทัพทางไกล และพื้นทีท่ างภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีถ่ ูกญีป่ นุ่ ยึดครอง

เหมา เจ๋อตงในการเดินทัพทางไกล

“จุนอีก้ บั การขึน้ มามีอานาจของ เหมา เจ๋อตุง” วารสารสังคมศาสตร์ มศว ประสานมิตร 1(1) พ.ศ. 2538. หน้า 81-94. 1

138


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ภาพวาดการเดินทัพข้ามสะพานหลูต้งิ (Luding Bridge) ทางตะวันตกของมณฑลซือ่ ชวน ซึง่ เป็ นสมรภูมสิ รู้ บทีท่ หารแดงจานวนมากสละชีวติ และสะพานหลูต้งิ ในปจั จุบนั (ล่าง)

การประชุมทีเ่ มืองจุนอี้ มีความสาคัญเพราะเป็ นการเปลี่ยนแนวทางของ พรรคคอมมิวนิสต์โดยสิน้ เชิง กลุ่ม 28 บอลเชวิกสูญเสียบทบาทการนาเพราะความ ผิดพลาดจากนโยบายทีผ่ ่านมา เหมา เจ๋อตงขึน้ มามีอานาจในพรรคอย่างแท้จริง แนวทางของเหมา เจ๋อตง ทัง้ เรื่องการใช้ชาวนาเป็ นฐานกาลังในการปฏิวตั ิ การใช้ ยุทธวิธีสงครามกองโจรได้รบั การยอมรับ ว่าเป็ น แนวทางของพรรค และในการ ประชุมครัง้ นี้ทป่ี ระชุมตัดสินใจเลือกไปตัง้ มันที ่ เ่ มืองเอีย๋ นอาน ทางตอนเหนือของ 1 มณฑลส่านซี เพราะอยู่ห่างไกลจากศูนย์อานาจของรัฐบาลเจียง ไคเชก ทีเ่ มือง หนานจิง และใกล้กบั แนวรุกรานของญีป่ นุ่ ทางตอนเหนือของจีน ถ้ากองทัพรัฐบาล ยกมาปราบอาจจะทาให้เกิดป ญั หาขัดแย้งกับ ญี่ปุ่น รวมทัง้ อยู่ใกล้กบั พรมแดน สหภาพโซเวียตซึง่ สะดวกในการรับความช่วยเหลือ2 1 2

Hsu. (1995). op.cit. p.675. เขียน ธีระวิทย์. (2517). เล่มเดิม. หน้า 182. 139


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เหมา เจ๋อตง และโจว เอินไหล ทีเมื ่ องเอีย๋ นอาน

4. สงครำมจีน – ญี่ปนุ่ ค.ศ. 1937 และแนวร่วมครัง้ ที่ 2 แม้พรรคคอมมิวนิสต์จนี จะย้ายฐานทีม่ นมาไกลแล้ ั่ ว แต่รฐั บาลกว๋อหมิน ตังยั ่ งคงปราบปรามอย่างต่อเนื่อง โดยไม่สนใจต่อต้านญี่ปุ่นทีข่ ยายอานาจรุกราน จีนมากขึน้ ใน ค.ศ. 1936 พรรคคอมมิวนิสต์จนี ได้จดั ตัง้ สมาคมต่อต้านญี่ปุ่นเพื่อ ปลดปล่อยชาติจนี และสันนิบาตต่อต้านญีป่ นุ่ แห่งประชาชน มีคาขวัญว่า “ชาวจีน ต้องไม่ต่อสู้กบั ชาวจีนด้วยกันเอง” ขณะที่เจียง ไคเชก มุ่งมันแต่ ่ จะปราบพรรค คอมมิวนิสต์จนี ทาให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พอใจทีเ่ จียง ไคเชก ไม่สนใจต่อต้าน ญี่ปุ่น แต่ กลับ กวาดล้างชาวจีน ด้ว ยกัน เอง และเห็น ว่ าพรรคคอมมิว นิ ส ต์ส นใจ ประเทศชาติมากกว่าฝา่ ยรัฐบาลคณะชาติ

140


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เจียง ไคเชก (ซ้าย) และ จาง เสวียเหลียง (ขวา)

จาง เสวียเหลียง นายทหารคนสนิทของเจียง ไคเชก ซึ่งเกลียดชังญี่ปุ่น มากเพราะบิดา คือ ขุน ศึก จาง จัว้ หลิน ถูกญี่ปุ่น ลอบสังหารด้วยการวางระเบิด รถไฟทีข่ นุ ศึกจางโดยสารมา จาง เสวียเหลียง พยายามให้เจียง ไคเชกหันมาต่อสู้ กับ ญี่ปุ่น แทนการต่ อสู้กบั พรรคคอมมิว นิ ส ต์ เพราะทหารของจาง เสวีย เหลีย ง จานวนหนึ่งได้เรียนรูถ้ งึ อุดมการณ์ของพรรคคอมมิวนิสต์จนี โดยเฉพาะการต่อต้าน ญี่ปุ่ น ท าให้จ าง เสวีย เหลีย ง เข้า ใจอุด มการณ์ ข องพรรคคอมมิว นิ ส ต์ ดีข้นึ จึง พยายามเกลีย้ กล่อมให้เจียง ไคเชก ร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อต่อต้านญี่ปุ่น แต่เจียง ไคเชกไม่สนใจ จาง เสวียเหลียงจึงวางแผนจับกุมเจียง ไคเชกขณะไป ตรวจราชการการปราบปรามคอมมิว นิ ส ต์ท่เี มืองซีอาน มณฑลส่านซี ในเดือน ธันวาคม ค.ศ. 1936 เพื่อบังคับให้เจียง ไคเชกร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จนี ต่อสู้ กับญีป่ นุ่ เหตุการณ์น้ี เรียกว่า เหตุการณ์ซอี าน (Xian Incident) จาง เสวียเหลียงยืน่ ข้อเสนอให้เจียง ไคเชก จัดตัง้ รัฐบาลหนานจิงขึน้ ใหม่ โดยรวมกลุ่มการเมืองอื่นด้วย ให้ยุตกิ ารต่อสูใ้ นประเทศและรวมกาลังกันต่อต้าน ญีป่ ุ่น ปล่อยผูน้ าพรรคคอมมิวนิสต์ทถ่ี ูกจับทีเ่ มืองซังไฮ่ ่ ปล่อยนักโทษการเมือง ปกป้องสิทธิของประชาชนในรัฐสภา ให้มเี สรีภาพในการจัดตัง้ องค์กรต่างๆ สาน ต่อเจตนารมย์ข องซุ น ยัตเซนด้ว ยความจริงใจ และให้เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อ หาทางช่วยเหลือประเทศชาติ แต่เจียง ไคเชกไม่ยอมตกลงด้วย

141


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เจียง ไคเชก และจาง เสวียเหลียง ใน ค.ศ. 1936

การที่ เจียง ไคเชก ถูกจับตัวครัง้ นี้ทาให้มเี สียงเรียกร้องจากประชาชนที่ ได้รบั ความเดือดร้อนจากการปกครองและญาติพน่ี ้องถูกฆ่าตายจากการกวาดล้าง พรรคคอมมิว นิ ส ต์ให้จ ับ เจีย ง ไคเชกขึ้น ศาลพิจารณาความผิด ที่ผ่านมา บ้างก็ เรียกร้องให้ประหารชีวติ แต่บางส่วนเห็นว่าเจียง ไคเชกเป็ นผูน้ าทหารทีม่ บี ารมีสงู หากเจียง ไคเชกมีอนั เป็ นไป นายทหารลูกน้ องของเจียง ไคเชก อาจก่อการแย่ง อานาจกันเหมือนยุคขุนศึก ซึ่งจะนาไปสู่ความวุ่นวายมากขึน้ และบ้างก็กลัวว่าถ้า เจียง ไคเชก เสียชีวติ ผูน้ าในพรรคกว๋อหมินตังอย่ ่ าง หวาง จิงเว่ยทีส่ นับสนุนญีป่ ุ่น จะขึน้ มามีอานาจและจะทาให้ญ่ปี นุ่ มีอานาจในจีนมากขึน้ พรรคคอมมิวนิสต์ทเ่ี อีย๋ นอานได้รบั การติดต่อจากจาง เสวียเหลียง ให้ส่ง ตัวแทนมาร่วมกันพิจารณากรณีเหตุการณ์ซอี าน ระหว่างนัน้ สตาลินได้ส่งโทรเลข จากมอสโคว์มาถึงเหมา เจ๋อตง ให้ช่วยปล่อยตัวเจียง ไคเชกทันที ทาให้เหมา เจ๋อ ตงไม่พอใจการแทรกแซงของโซเวียตมาก โจว เอินไหล ตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์ จีนเกรงว่าหาก เจียง ไคเชกเสียชีวิต เหตุการณ์ จะบานปลายกลายเป็ นสงคราม กลางเมือง จึงเกลี้ยกล่อมให้จาง เสวียเหลียงปล่อยตัวเจียง ไคเชกและเจรจาให้ เจียง ไคเชก ยอมร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จนี เจียง ไคเชกยอมตกลงร่วมมือ กับพรรคคอมมิวนิสต์จนี โดยจะมีการเจรจาถึงข้อปฏิบตั ใิ นการร่วมมือกันภายหลัง เมื่อเจียง ไคเชก ยอมรับข้อเสนอแล้ว จาง เสวียเหลียง ได้ยอมให้เจียง ไคเชกจับ ตัว และถูกควบคุมตัวในฐานะนักโทษตัง้ แต่นนั ้ เมื่อพรรคกว๋อหมินตังต้ ่ องหนีไปที่ เกาะไต้หวัน หลังจากที่พ รรคคอมมิวนิ สต์จีน มีช ยั ชนะในสงครามกลางเมืองเมื่อ ค.ศ. 1949 เจียง ไคเชก ได้นาตัวจาง เสวียเหลียง ไปทีไ่ ต้หวันด้วย หลังจากเข้ายึดเมืองมุกเดนในแมนจูเรีย แล้ว ญี่ปุ่นประกาศตัง้ แมนจูเรีย เป็ นประเทศแมนจูกว๋อใน ค.ศ. 1932 มีกองทัพญีป่ ุ่นประจาอยู่ทแ่ี มนจูเรีย เรียกว่า 142


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กองทัพกวานตง ซึง่ ดาเนินการอย่างค่อนข้างเป็ นอิสระจากรัฐบาลญีป่ ุ่น และมักก่อ การรุนแรงเพื่อขยายอานาจทางทหารในจีนอย่างต่อเนื่อง ดังเหตุการณ์ ทเ่ี รียกว่า เหตุการณ์เจ็ดเจ็ด เพราะเกิดขึน้ เมื่อวันที่ 7 เดือน 7 ค.ศ. 1937 หรือเหตุการณ์ สะพานมาร์โค โปโล (Marco Polo Bridge Incident) ที่ญ่ีปุ่น อ้างว่ามีทหารญี่ปุ่น หายไประหว่ างการฝึ ก ใกล้ก ับ สะพานหลู่โ กว(Lukou Qiao) หรือสะพานมาร์โ ค โปโล ชานกรุงเปย่ จิง หรือชือ่ ในขณะนัน้ คือ เปย่ ผิง ญีป่ นุ่ ขอเข้ามาตรวจค้นในเขต ของจีน แต่ทางการจีนปฏิเสธ กองทหารญีป่ นุ่ จึงบุกเข้ามาในเขตจีน สงครามทีไ่ ม่ม ี การประกาศภาวะสงครามต่อกันระหว่างจีนกับญีป่ ุ่นจึงเกิดขึน้ และขยายตัวออกไป ั่ ตามเมืองท่าชายฝงทะเล โดยจีนเป็ นฝา่ ยสูญเสียอย่างหนัก กล่าวได้ว่าเหตุการณ์ นี้เป็ นสิง่ ทีก่ องทัพกวานตงวางแผนไว้แล้ว เพราะต้องการครอบครองดินแดนตอน เหนือของประเทศจีน

การสูร้ บเริม่ ขึ้นจากเหตุการณ์ทสะพานหลู ี่ ่โกว วันที ่ 7 กรกฎาคม 1937

ญี่ปุ่ น เปิ ดฉากการรบเป็ น 2 แนว คือ ทางเหนื อและทางตอนกลางของ ประเทศจีน ทางเหนือมีการสูร้ บในบริเวณเมืองเทียนจิน เมืองเป่ยผิง แล้วขยายไป ทางตะวันตกและทางใต้ของจีน การสูร้ บทางตอนกลางของจีนอยู่ ในบริเวณเมือง ซังไห่ ่ แล้วขยายเข้าไปในบริเวณทีร่ าบลุ่มแม่น้าฉางเจียง ในปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1937 กองทัพญีป่ นุ่ ยึดได้เมืองเทียนจิน เมืองเปย่ ผิง และยึดเมืองอืน่ ๆ ในเวลา ต่อมา เช่น ไท่หยวน (Taiyuan) เมืองหลวงของมณฑลซานซี จากนัน้ การสู้รบ ทางเหนือได้ขยายลงมาในบริเวณแม่น้ าหวงเหอกับแม่น้ าฉางเจียงเมื่อเข้าสู่เดือน ธันวาคม และกลายเป็ นสมรภูมเิ ดียวกับการสูร้ บทางตอนกลางของประเทศ หลังเกิดเหตุการณ์ ทส่ี ะพานมาร์โค โปโล เหมา เจ๋อตง ประกาศนโยบาย 10 ประการ ได้แก่ โค่นล้มจักรวรรดินิยมญี่ปุ่น ระดมกาลังทหารของชาติทงั ้ หมด 143


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

และกาลังประชาชนทัวประเทศมาต่ ่ อต้านญี่ ปุ่น ปฏิรูปกลไกของรัฐบาล ปรับปรุง ความเป็ นอยู่ของประชาชน ดาเนินนโยบายเศรษฐกิจและการคลังในยามสงคราม มีนโยบายการศึกษาทีต่ ่อต้านญี่ปุ่น กาจัดผูน้ ิยมญี่ปุ่น และสร้างเอกภาพในชาติ ขึ้น เพื่อต่ อต้านญี่ปุ่น การบุ กจีน ของญี่ปุ่ น ท าให้กระแสการเรีย กร้องให้ร ฐั บาล ร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จนี เพิม่ มากขึน้ และช่วยผลักดันให้การเจรจาร่วมมือ กัน ระหว่างทัง้ สองฝ่ายเป็ น ไปโดยง่ายขึ้น ส่วนองค์การโคมิน เทิร์น สนับ สนุ น ให้ พรรคคอมมิวนิสต์จนี ร่วมมือกับพรรคกว๋อหมินตัง่ ดังนัน้ จึงมีการประชุมร่วมกัน ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จนี และพรรคกว๋อหมินตัง่ มีขอ้ ตกลงร่วมกันออกมาเมื่อ วัน ที่ 22 กัน ยายน ค.ศ. 1937 ท าให้เกิด เป็ น แนวร่ว มครัง้ ที่ 2 ระหว่ า งพรรค คอมมิวนิสต์จนี กับพรรคกว๋อหมินตัง่ เพือ่ ร่วมมือกันต่อต้านญีป่ นุ่ การรวมกันเป็ นแนวร่วมครัง้ ที่ 2 มีขอ้ แม้ว่า 1) ทหารคอมมิวนิสต์ตอ้ งอยู่ ภายใต้การบังคับบัญชาของสภาทหารแห่งชาติทม่ี เี จียง ไคเชก เป็ นผูบ้ งั คับบัญชา และเปลีย่ นชื่อเป็ นกองทัพปฏิวตั แิ ห่งชาติ หรือกองทัพลู่ท่ี 8 2) พรรคคอมมิวนิสต์ จีนต้องยกเลิกเขตการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ให้รวมอานาจอยู่ท่รี ฐั บาลเพียง แห่งเดียว 3) งดเว้นการส่งเสริมเรื่องการต่อสูร้ ะหว่างชนชัน้ และยกเลิกระบบทีด่ นิ ของพรรคคอมมิวนิสต์ และ 4) พรรคคอมมิวนิสต์จนี ต้องสนับสนุ นหลักไตรราษฎร์ ของซุน ยัตเซน1 การที่องค์การโคมิน เทิร์น สนับ สนุ น ให้พ รรคคอมมิว นิ ส ต์จีน ร่ว มมือกับ รัฐบาลคณะชาติ อาจมาจากสาเหตุหลายประการ ประการแรก สหภาพโซเวียตไม่ ไว้ ใ จญี่ ปุ่ น นั บ ตั ้ง แต่ ญ่ี ปุ่ น ท าสนธิ ส ั ญ ญ าต่ อ ต้ า นคอมมิ ว นิ ส ต์ ส ากล (AntiCommintern Pact) กับเยอรมนี ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1936 และเกรงว่าการ ขยายอานาจของญี่ปุ่นในจีนจะกระทบต่อสหภาพโซเวียตเพราะมีพรมแดนติดกัน ประการต่อมา การสร้างแนวร่วมจะทาให้เจียง ไคเชก ต้องนากาลังทหารทีเ่ คยใช้ ปราบพรรคคอมมิวนิ สต์ ไปปราบญี่ปุ่นแทน ทาให้พรรคคอมมิวนิสต์ป ลอดภัย ประการที่ส าม การสร้า งแนวร่ว มจะเป็ น ประโยชน์ ต่ อการเผยแพร่อุ ด มการณ์ คอมมิวนิสต์ เพื่อสร้างความนิยมในพรรคมากขึน้ โดยเฉพาะปญั ญาชนจานวนหนึ่ง ทีเ่ ห็นว่าพรรคคอมมิวนิสต์มคี วามรักชาติและต่อต้านญี่ปุ่นอย่างแข็งขัน ต่างจาก เจียง ไคเชกที่ยอมร่วมมือเพื่อรักษาชีวติ ของตนเอง ทีส่ าคัญ การต่อต้านญี่ปุ่นใน พืน้ ทีต่ ่างๆ เป็ นช่องทางทีท่ าให้พรรคคอมมิวนิสต์ขยายพืน้ ทีไ่ ด้มากขึน้

1

เขียน ธีระวิทย์. (2517). เล่มเดิม. หน้า 191. 144


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ระหว่างที่ญ่ปี ุ่นกาลังเข้ายึดครองเมืองต่างๆ ของจีนนัน้ เยอรมนีซ่งึ เป็ น พันธมิตรกับญี่ปุ่นเกรงว่าจีนจะขอความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียต และจะทา ให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซง เยอรมนีจงึ เสนอให้ญป่ี นุ่ ยุตสิ งครามกับจีน ญีป่ ุ่น จึงยื่นขอเสนอต่อจีน ดังนี้ ให้มองโกเลียเป็ นอิสระ ให้ขยายเขตปลอดทหารในจีน ภาคเหนือในเมืองซังไห่ ่ และไม่ตงั ้ คนทีต่ ่อต้านญีป่ นุ่ ไปปกครอง ให้ยุตกิ ารดาเนิน กิจกรรมต่อต้านญีป่ นุ่ ในจีน ให้มมี าตรการต่อต้านพรรคคอมมิวนิสต์ แต่ระหว่างที่ มีการเจรจากันอยู่นัน้ ญี่ปุ่นยังขยายอานาจทหารในจีนต่อไป และขยายการรบเข้า มาทางตอนกลางของจีนซึง่ เป็ นทีต่ งั ้ เมืองหลวง คือ กรุงหนานจิง การสูร้ บเริม่ ขึน้ ใน เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1937 กาลังทัง้ ทางบก เรือ อากาศของญี่ปุ่นโจมตีเมืองซังไห่ ่ นอกเขตเช่านานาชาติ และยึดเมืองซังไห่ ่ ได้ในเดือนพฤศจิกายน จากนัน้ กองทัพ ญี่ปุ่น จึงมุ่งหน้ าสู่กรุงหนานจิง พร้อมโจมตีเมืองตามรายทาง เช่น ซู โจว ซึ่งมี รายงานว่ าผู้คนถู กปล้น ฆ่ า จนเมืองที่ม ีป ระชากรมากกว่า 350,000 คน เกือบ กลายเป็ นเมืองร้าง1 เมือ่ เจียง ไคเชก ทราบข่าวว่าเมืองซังไห่ ่ แตก จึงตัดสินใจย้าย เมืองหลวงจากกรุงหนานจิงลึกเข้าไปในแม่น้าฉางเจียง ทีเ่ มืองอูฮ่ นั ่ และมอบให้แม่ ทัพ ถัง เซิงจื่อ (Tang Shengzhi) เป็ นผู้บญ ั ชาการทีก่ รุงหนานจิง เจียง ไคเชกอ อกจากกรุงหนานจิงเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ต่อมาเมื่อเสียเมืองอู่ฮนจึ ั่ ง ย้ายเมืองหลวงลึกเข้าไปอีกที่เมืองฉงชิง่ (Chongqing) หรือจุงกิง มณฑลซื่อชวน เมือ่ เดือนตุลาคม ค.ศ. 1938 ในเดือนพฤศจิกายน เจ้าชายโคะโนะเอะ (Konoei) นายกรัฐมนตรีญ่ีปุ่น ประกาศนโยบายระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออก (New Order) เพื่อจัดระเบียบ เอเชีย ใหม่ คือ รวมจีน ญี่ปุ่ น แมนจูกว๋ อ เข้า ด้ว ยกัน ทางเศรษฐกิจ การทหาร วัฒนธรรม โดยตัง้ อยู่บนรากฐาน 6 ประการ คือ ความมันคงของเอเชี ่ ยตะวันออก การเป็ นมิตรกับเพื่อนบ้าน การป้องกันร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ การร่วมมือกัน ทางเศรษฐกิจ การสร้างวัฒนธรรมใหม่ และการสร้างสันติภาพของโลก ญีป่ นุ่ ยื่น ข้อเสนอแก่รฐั บาลกว๋อหมินตังให้ ่ ร่วมมือกับญีป่ ุ่น โดยญีป่ ุ่นจะไม่เรียกร้องดินแดน หรือค่าปฏิกรรมสงคราม ยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่จนี ให้รว่ มมือกัน ป้องกันลัทธิคอมมิวนิสต์ และร่วมมือกันทางเศรษฐกิจโดยญีป่ ุ่นจะไม่ผกู ขาดอานาจ ทางเศรษฐกิจในจีน หวาง จิงเว่ย ผู้นาคนหนึ่งของพรรคกว๋ อหมิน ตังสนั ่ บสนุ น ญี่ปุ่น แต่เจียง ไคเชก ปฏิเสธ และขับหวาง จิงเว่ย ออกจากพรรค หวาง จิงเว่ย วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2548). “เมื่อประวัตศิ าสตร์เป็ นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่างชาติใน เอเชีย” โลกประวัตศิ าสตร์. ลาดับที ่ 1 ประวัตศิ าสตร์กบั สังคม. หน้า 10. 1

145


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

จึงตัง้ รัฐบาลขึน้ โดยมีญป่ี ุ่นและแมนจูกว๋อรับรอง เท่ากับว่าเป็ นรัฐบาลหุ่นของญีป่ ุ่น ทาให้ญป่ี นุ่ มีรฐั บาลจีนไว้ทาการเจรจาตกลงด้วย โดยมีขอ้ ตกลงคือรัฐบาลหวาง จิง เว่ย ให้การรับรองประเทศแมนจู กว๋อ ยอมให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในจีนได้ ให้ญ่ปี ุ่น เข้าควบคุมทรัพยากรธรรมชาติในจีน และให้ญ่ปี ุ่นตัง้ ทีป่ รึกษาด้านการศึกษาและ วัฒนธรรมประจาในจีน หลังจากเจียง ไคเชก ออกไปจากกรุงหนานจิงแล้ว 4 วันต่อมา ก็มคี าสัง่ ให้ถอนกาลังทหารออกจากกรุงหนานจิง ในขณะนัน้ ในกรุงหนานจิงมีป ระชากร ประมาณ 6-7 แสนคน เป็ นชาวเมืองทีไ่ ม่ได้อพยพออกไปกว่าครึง่ ล้านคน และชาว ชนบทหลายหมื่นคนทีอ่ พยพเข้ามาเพราะคิดว่าปลอดภัย 1 ประชาชนเหล่านี้ต้อง เผชิญ กับ ชะตากรรมอันเลวร้ายจากกองทหารญี่ปุ่น ที่สงั หารและทาทารุณ กรรม ต่างๆ จนเรียกเหตุการณ์ ครัง้ นี้ ว่า การข่ม ขืน หนานจิง (The Rape of Nanjing)2 ทางการจีนประเมินว่ามีชาวจีนถูกสังหารชีวิตประมาณ 3 แสนคน เกือบทัง้ หมด เป็ นพลเรือนทัง้ หญิง ชาย เด็ก คนแก่ ส่วนทหารได้ถอนกาลังออกไปก่อนแล้ว เหตุการณ์ ทเ่ี มืองหนานจิงนี้มผี ลทาให้เกิดความขัดแย้งต่อความสัมพันธ์ ระหว่างจีน กับ ญี่ปุ่น มาจนป จั จุบ ัน เพราะจีน เรีย กร้องให้ญ่ีปุ่น ขอโทษและชดใช้ ให้กบั ชาวจีนทีเ่ สียชีวติ หรือถูกทารุณกรรมในเหตุการณ์ น้ี ผูน้ ารัฐบาลญีป่ ุ่นหลาย สมัย ได้ ก ล่ า วแสดงความเสีย ใจ กล่ า วขอโทษ แต่ ท างญี่ ปุ่ น ไม่ ย อมรับ ตัว เลข ผูเ้ สียชีวติ 3 แสนคน ที่ทางการจีนประกาศออกมา ฝ่ายญี่ปุ่นกล่าวว่ามีการปล้น และสังหารพลเรือนบ้าง แต่ไม่มากเท่าที่ทางการจีนอ้าง รวมทัง้ กล่าวว่าการกระทา ของญี่ปุ่นต่อจีน เกาหลี และชาติอ่นื ๆ ในเอเชีย ในช่วงสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ไม่ใช่ การรุกรานแต่เป็ นการปลดปล่อยชาติเอเชียจากชาติจกั รวรรดินิยม ซึ่งชาติท่ถี ูก ญี่ปุ่นเข้าไปรุกรานต่างไม่ยอมรับคากล่าวอ้างนี้ของญี่ปุ่น3 และในทุกปี ผนู้ าญี่ปุ่น ยังคงเดินทางไปเคารพทหารผูเ้ สียชีวติ ทีศ่ าลเจ้ายาสุคนุ ิ (Yasukuni) ซึง่ ญีป่ ุ่นถือว่า

แหล่งเดิม. อ่านรายละเอียดเพิม่ เติมใน วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2548). “เมื่อประวัตศิ าสตร์เป็ นเหตุแห่ง ความขัดแย้งระหว่างชาติในเอเชีย” โลกประวัตศิ าสตร์ ลาดับที ่ 1 ประวัตศิ าสตร์กบั สังคม. หน้า 1-23 และ Iris Chang. (1998). The Rape of Nanking, The Forgotten Holocaust of World War II. หรือฉบับแปลโดย ฉัตรนคร องคสิงห์. หลังเลื ่ อดทีน่ านกิง. สานักพิมพ์ มติชน พ.ศ. 2546 3 วุฒช ิ ยั มูลศิลป์. (2548). เล่มเดิม. หน้า 13. 1 2

146


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เป็ นวีรบุรุษในสงคราม แต่จนี ถือว่าเป็ นอาชญากรสงคราม ทาให้ความขัดแย้งใน ประเด็นนี้มมี าอย่างต่อเนื่อง

พิพธิ ภัณฑ์ราลึกการสังหารหมู่ทหนานจิ ี่ ง มีป้ายแสดงวันเดือนปีทเี ่ กิดเหตุการณ์ จานวนตัวเลขเหยือ่ 300,000 คน และรายชือ่ ผูเ้ สียชีวติ

ส่วนรัฐบาลเจียง ไคเชก เมื่อย้ายเมืองหลวงไปอยู่ท่เี มืองฉงชิง่ ในปลาย ค.ศ. 1938 ก็ได้รอ้ื ถอนโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 600 แห่ง ไปตัง้ ใหม่ทเ่ี มืองฉงชิง่ และมีบ รรดาป ญั ญาชนจานวนมากเดิน ทางไปที่เมืองฉงชิง่ ด้วย การย้ายไปอยู่ เมืองฉงชิง่ มีผลดีในแง่ความปลอดภัยทางยุทธศาสตร์ เพราะฉงชิง่ เป็ นเมืองในหุบ เขา มีหมอกหนาปกคลุมเกือบตลอดปี ทาให้การโจมตีของญี่ปุ่น ทัง้ ทางบก ทาง อากาศเป็ นไปค่อนข้างลาบาก แต่กม็ ผี ลเสียเพราะการอยู่ห่างไกลทาให้ขาดการ ติดต่อในการรับความช่วยเหลือจากชาติตะวันตก แต่รฐั บาลสหภาพโซเวียตได้ส่ง ความช่ ว ยเหลือ ให้ ร ะหว่ า ง ค.ศ. 1937–1941 ผ่ า นทางมณฑลซิ น เจีย งติ ด กับ พรมแดนสหภาพโซเวียต และต่อมาได้รบั ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา เมื่อ สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1941 147


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

รัฐบาลฉงชิ่งและประชาชนที่เมืองฉงชิ่งประสบป ญั หาหลายอย่าง เช่น ญี่ ปุ่ น ยึด และปิ ด เส้น ทางล าเลีย งความช่ ว ยเหลือ ไปฉงชิ่ง ได้ ห มด ท าให้ค วาม ช่วยเหลือจากภายนอกเข้าไปลาบาก ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงขึน้ และเกิดการ ฉ้อราษฎร์บงั หลวง โดยระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 1938 ถึงธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็ นระยะที่ญ่ีปุ่นยึดเมืองสาคัญและเส้นทางยุทธศาสตร์ของจีนได้เกือบหมด แต่ ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับการต่อต้านจากชาวจีน การที่ญ่ปี ุ่นรุกรานและยึดครองจีนได้ ส่วนหนึ่งเพราะแนวร่วมครัง้ ที่ 2 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับพรรคกว๋ อหมินตัง่ เป็ นไปอย่างหลวมๆ เจียง ไคเชกปล่อยให้พรรคคอมมิวนิสต์ต่อสูก้ บั ญี่ปุ่นทางจีน ตอนเหนื อ โดยไม่ ช่ว ยเหลือ ขณะเดีย วกัน เหมา เจ๋ อตง ก็ถือโอกาสขยายเขต อิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์ออกไปได้อย่างกว้างขวางในภาคเหนือ

แผนทีแ่ สดงพื้นทีท่ างเหนือและตะวันนออกของจีน ทีญ่ ปี ่ นุ่ ยึดครองในสงครามจีน – ญีป่ นุ่

สงครามจีน – ญีป่ ุ่น กลายเป็ นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครัง้ ที่ 2 เมือ่ ญีป่ ุ่น โจมตีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbor) ที่ตงั ้ ฐานทัพของสหรัฐอเมริกาในหมู่เกาะฮาวาย เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐอเมริกาจึงประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝา่ ย พันธมิตร และให้ความช่วยเหลือจีนในฐานะพันธมิตร ใน ค.ศ. 1943 มหาอานาจ ตะวันตกยกเลิกสัญญาทีไ่ ม่เท่าเทียมกันให้แก่จนี เมือ่ เข้าสูป่ ลายสงครามโลกครัง้ ที่ 2 กองทัพพันธมิตรยึดเมืองต่างๆ ในจีนคืนมาจากญี่ปุ่นได้ สถานการณ์ ของญี่ปุ่น 148


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ทรุดหนักมากขึ้นเมื่อ เยอรมนียอมแพ้สงครามในต้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945 และญีป่ ุ่นถูกสหรัฐอเมริกาทิง้ ระเบิดปรมาณูทเ่ี มืองฮิโระชิมะ (Hiroshima) เมือ่ วันที่ 6 สิง หาคม ค.ศ. 1945 ตามด้ ว ยรัส เซี ย ประกาศสงครามกับ ญี่ ปุ่ น ในวัน ที่ 8 สิงหาคม และในวันที่ 9 สิงหาคม ญี่ปุ่นถูกทิ้งระเบิดทีเ่ มืองนะงะซะกิ (Nagasaki) ญี่ปุ่นจึงประกาศยอมแพ้สงครามโดยไม่มเี งือ่ นไขในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (ในสหรัฐอเมริกาเป็ นวันที่ 14) สงครามโลกครัง้ ที่ 2 จึงสิน้ สุดลง

แผนทีแ่ สดงบริเวณทีเ่ กิดเหตุการณ์สาคัญต่างๆ ในจีนระหว่าง ค.ศ. 1935-1945

149


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

5. สงครำมกลำงเมือง (ค.ศ.1945-1949) และชัยชนะของพรรคคอมมิ วนิ สต์ ระหว่างที่สงครามกับญี่ปุ่นกาลังดาเนิ นอยู่นัน้ พรรคคอมมิวนิ สต์จนี ถือ โอกาสขยายพืน้ ทีข่ องตนเข้าไปยังส่วนต่างๆ ของจีนมากกว่าจะต่อต้านญีป่ ุ่นอย่าง เต็มทีด่ งั ที่ เหมา เจ๋อตง ประกาศให้สมาชิกพรรคทราบว่ากาลังของพรรคจะใช้ใน การขยายอานาจ 70 ส่วน ร่วมมือกับพรรคกว๋อหมินตัง่ 20 ส่วน และต่อสูก้ บั ญี่ปุ่น 10 ส่ ว น 1 ส่ ว นเจี ย ง ไคเชกมี ค วามตั ง้ ใจที่ จ ากัด ขอบเขตพื้ น ที่ ข องพรรค คอมมิวนิ สต์ไม่ให้ขยายไปมากกว่าที่เป็ น อยู่ และหาทางบันทอนก ่ าลังของฝ่าย คอมมิ ว นิ ส ต์ ด้ ว ยวิ ธี ก ารต่ า งๆ เช่ น การยกเลิ ก กองทั พ แดง การให้ พ รรค คอมมิวนิสต์ยุตกิ ารเผยแพร่ความคิดคอมมิวนิสต์และการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ทาให้การเป็ นแนวร่วมไม่ประสบความสาเร็จ พรรคคอมมิวนิสต์จนี ได้ใช้ภาวะสงครามต่อต้านญี่ปุ่นปลุกระดมความรัก ชาติ ขยายจานวนสมาชิกและเขตปลดปล่อย และจัดตัง้ กองทัพใหม่เพื่อสู้รบกับ กองทัพญีป่ ุ่นเป็ นกองทัพแบบกองโจร ทีส่ าคัญคือ กองทัพลู่ท่ี 8 ภายใต้การนาของ จู เต๋อ ซึง่ เดิมเจียง ไคเชก ยืนยันให้นาไปรวมกับกองทัพแห่งชาติ แต่เหมา เจ๋อตง เกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ กวาดล้างพรรคคอมมิวนิสต์เหมือนทีเ่ มืองซังไห่ ่ ใน ค.ศ. 1927 อีก จึงยืนยันทีจ่ ะรักษาอานาจการบังคับบัญชาและอานาจในการจัดระบบการ ปกครองในเขตยึดครองของตนไว้ กองทัพของคอมมิวนิสต์อกี หน่ วยคือ กองทัพ ใหม่ ลู่ ท่ี 4 (New Fourth Route Army) กองทัพ ของฝ่า ยคอมมิว นิ ส ต์ ท ัง้ สอง หน่ วยนี้ได้เผยแพร่แนวคิดคอมมิวนิสต์ควบคู่ไปกับการปฏิบตั ิการต่อต้านญี่ปุ่น ทาให้มสี มาชิกเพิม่ ขึน้ เขตอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์ทเ่ี รียกว่า เขตปลดปล่อย มีจานวนเพิม่ มากขึน้ มีพ้นื ทีใ่ นการปกครองเพิม่ ขึน้ โดยเมื่อสิน้ สุดสงครามมีถงึ 19 เขต สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เพิม่ จานวนจากประมาณ 40,000 คน ใน ค.ศ. 1937 เป็ น 1,200,000 คน ใน ค.ศ. 1945 กาลังทหารจากประมาณ 92,000 คน ใน ค.ศ. 1937 เป็ นประมาณ 910,000 คน ใน ค.ศ. 19452 เมื่อสงครามโลกครัง้ ที่ 2 ยุตลิ ง ปญั หาทีเ่ กิดขึน้ ในจีนคือ ทหารกว๋อหมิน ตังหรื ่ อคอมมิวนิสต์จนี จะเป็ นฝา่ ยปลดอาวุธทหารญีป่ นุ่ ในจีนทีม่ มี ากกว่า 2 ล้านคน พื้น ที่ส่ ว นใหญ่ ท่ีญ่ี ปุ่ น ยึด ครองไว้ต กอยู่ ภ ายใต้ ก ารยึด ครองของคอมมิว นิ ส ต์ ดินแดนแมนจูเรีย อยู่ภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต ซึ่งส่งทหารเข้าไป วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2521). เล่มเดิม. หน้า 78. 2 Fairbank. (1992). op.cit. p. 316. 1

150


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ปลดอาวุธทหารญีป่ นุ่ ยึดครองเส้นทางรถไฟ และเมืองต่างๆ เช่น ฮาร์บนิ (Harbin) ฉางชุน (Changchun) และเสิน่ หยาง ต่อมาโซเวียตได้รอ้ื ถอนโรงงานอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่นในแมนจูเรียนากลับไปโซเวียต มอบอาวุธและพืน้ ทีใ่ ห้พรรคคอมมิวนิสต์ ทาให้กองทัพ ของพรรคคอมมิวนิ สต์ได้เปรียบรัฐบาลกว๋อหมินตังในแง่ ่ เขตพื้น ที่ เพราะศูน ย์อานาจของรัฐบาลอยู่ท่เี มืองฉงชิง่ ซึ่งอยู่ห่างไกล จึงเข้ามาปลดอาวุธ ทหารญี่ปุ่นช้ากว่า ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ทางตะวันออกและอยู่ในเขตชนบท รอบลุ่ม แม่น้ าหวงเหอ ฉางเจียง หวงผู่ (Huangpu) ทาให้เมืองใหญ่ เช่น เป่ยจิง เทีย นจิน หนานจิง ซัง่ ไห่ ตกอยู่ในการปิ ด ล้อมของคอมมิว นิ ส ต์ เจีย ง ไคเชก ขอให้สหรัฐอเมริกานาเครือ่ งบินมาให้ทหารกว๋อหมินตังใช้ ่ เดินทางไปยึดดินแดนคืน จากพรรคคอมมิวนิสต์ โดยใช้อาวุธทีส่ หรัฐอเมริกามอบให้และทีย่ ดึ มาจากญีป่ นุ่ ทา ให้ทหารคอมมิวนิสต์ตอ้ งถอยกลับไปตัง้ มันในชนบท ่ ทหารรัฐบาลสามารถควบคุม พืน้ ทีภ่ าคใต้และภาคตะวันออกไว้ได้ ส่วนทางเหนือโดยเฉพาะในแมนจูเรีย ทหาร โซเวีย ตเข้า ยึด ครองอยู่ก่ อ นและส่ งมอบต่ อ ให้พ รรคคอมมิว นิ ส ต์ จีน ท าให้ใ น ภาคเหนือและในชนบทพรรคคอมมิวนิสต์จนี เป็ นฝา่ ยได้เปรียบ ความขัดแย้งมากขึน้ จนมีแนวโน้มว่าสงครามกลางเมืองจะเกิดขึน้ ในไม่ชา้ สหรัฐอเมริกาพยายามให้ทงั ้ สองฝ่ายประนี ประนอมกัน โดยส่งแพทริก เฮอร์ลีย์ (Patrick Hurley) ทู ต สหรัฐ อเมริก าประจ าจี น และนายพลจอร์ จ ซี . มาร์แ ชล (George C. Marshall) มาช่วยไกล่เกลี่ยให้เกิดความร่วมมือและป้องกันไม่ให้เกิด สงครามกลางเมืองขึน้ เหมา เจ๋อตง ยอมมาเจรจากับเจียง ไคเชก ทีเ่ มืองฉงชิง่ ใน ปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 ชาวจีนต่างหวังว่าการเจรจาจะประสบความสาเร็จ เพือ่ หลีกเลีย่ งสงคราม ระหว่างการเจรจา เหมา เจ๋อตง เสนอให้จดั การประชุมสภากิจการของ ประเทศ (National Affairs Conference) เพื่อหาทางจัด ตัง้ รัฐบาลผสม ให้ม ีการ ประชุมรัฐสภา และขอให้รวมกาลังทหารทัง้ สองฝา่ ยเป็ นกองกาลังแห่งชาติ แต่การ ั หาหลายประการ เช่ น เหมา เจ๋ อ ตงต้อ งการให้พ รรคคอมมิว นิ ส ต์ เจรจามีป ญ ควบคุมดินแดนจีนตอนเหนือ มองโกเลียใน และเมืองใหญ่บางเมืองโดยเสรี ให้คง สถานภาพชัวคราวในเขตยึ ่ ด ครองไว้ก่ อน จนกว่ าจะมีก ารร่างรัฐธรรมนู ญ เพื่อ จัดการเลือกตัง้ รัฐบาลท้องถิ่น แต่เจียง ไคเชกไม่เห็นด้วย เหมา เจ๋อตงต้องการ ปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นในเขตที่พ รรคคอมมิวนิสต์จนี เข้าไปรบกับญี่ปุ่น แต่เจีย ง ไคเชกยืนยันว่าทหารกว๋อหมินตังจะเป็ ่ นฝ่ายปลดอาวุธเอง และต้องการให้พรรค คอมมิวนิสต์จนี ปลดอาวุธก่อนทีจ่ ะจัดตัง้ รัฐบาลผสม แต่ฝา่ ยคอมมิวนิสต์ตอ้ งการให้ ตัง้ รัฐบาลผสมก่อนมีการปลดอาวุธ ด้วยความต้องการทีไ่ ม่ตรงกันทาให้ทงั ้ ฝา่ ยตก 151


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ลงกัน ไม่ได้ ประกอบกับ เจีย ง ไคเชก มันใจว่ ่ าตนมีกาลังเหนื อกว่าเพราะได้รบั ความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา และมีกองกาลังที่เหนื อกว่าฝ่ายคอมมิวนิ ส ต์ เมื่อเหมา เจ๋อตงกลับมาทีเ่ อีย๋ นอานก็ได้เรียกระดมพลเพื่อเตรียมกองทัพแดงให้ พร้อมทาสงครามปฏิวตั จิ นี

เจียง ไคเชก และเหมา เจ๋อตง ระหว่างการเจรจาทีเ่ มืองฉงชิง่

ระหว่างนี้นายพลมาร์แชลเดินทางกลับสหรัฐอเมริกาเพื่อจัดการให้รฐั บาล จีนกูเ้ งิน ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกว๋อหมินตังและคอมมิ ่ วนิสต์จนี เพิม่ มากขึน้ และมีการปะทะกันค่อนข้างรุนแรงในแมนจูเรียเมื่อเจียง ไคเชก ส่งทหารขึน้ เหนือ ในต้น เดือนมกราคม ค.ศ. 1946 เพื่อยึด แมนจูเรียคืน มา เมื่อนายพลมาร์แ ชล กลับมาได้ขอให้ทงั ้ สองฝา่ ยหยุดการต่อสูใ้ นกลาง ค.ศ. 1946 แต่ต่อมาทัง้ กว๋อหมิน ตังและคอมมิ ่ วนิสต์ตกลงปฏิบตั กิ ารเองโดยไม่สนใจความเห็นของสหรัฐอเมริกาอีก การสูร้ บในระยะแรกรัฐบาลกว๋อหมินตังเป็ ่ นฝา่ ยได้เปรียบ รบชนะมากกว่า และสามารถยึดเมืองและเขตต่างๆ ของคอมมิวนิสต์ได้จานวนมาก เพราะมีกาลัง ทหารและกาลังอาวุธมากกว่า นายพลมาร์แชลพยายามเรียกร้องให้ทงั ้ สองฝ่าย ร่วมมือกัน และเตือนให้เจียง ไคเชก ระวังปญั หาเศรษฐกิจหลังสงคราม แต่เจียง ไคเชก คิดว่าเศรษฐกิจจีนพึง่ การเกษตรเป็ นหลัก คงไม่ได้รบั ผลกระทบจากภาวะ เศรษฐกิจของโลก จึงไม่ได้สนใจปญั หานี้ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ฝ่ายกว๋อห มินตังยึ ่ ดเอีย๋ นอานเมืองหลวงของฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้ แต่ขณะนัน้ เอีย๋ นอานเป็ น 152


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เสมือนสัญลักษณ์เท่านัน้ เพราะมีกาลังทหารเพียงเล็กน้อย ในตอนนี้สหรัฐอเมริกา ถอนตัวจากการเป็ นคนกลางตัง้ แต่ต้น ค.ศ. 1947 แต่เจียง ไคเชก มันใจว่ ่ าหาก ฝา่ ยตนเสียเปรียบสหรัฐอเมริกาจะเข้าช่วยเหลือ ซึง่ จะทาให้ได้เปรียบคอมมิวนิสต์ มากขึน้ ชัยชนะทีม่ ที าให้เจียง ไคเชกเรียกประชุมสภาแห่งชาติตงั ้ แต่ปลาย ค.ศ. 1946 และประกาศใช้ ร ัฐ ธรรมนู ญ ฉบั บ ใหม่ ใ นวั น ที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1947 รัฐ ธรรมนู ญ นี้ ย ืน ยัน ให้ม ีก ารปกครองโดยยึด หลัก ไตรราษฎร์ แยกอ านาจการ ปกครองเป็ นฝา่ ยบริหาร มีประธานาธิบดีเป็ นประมุข วาระละ 6 ปี ฝา่ ยนิตบิ ญ ั ญัติ และฝา่ ยตุลาการ ประชาชนมีสทิ ธิในการออกเสียงเลือกตัง้ และถอดถอน อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าสู่กลาง ค.ศ. 1947 ทหารกว๋อหมินตังจ ่ านวนหนึ่ง ต้องไปประจาในพืน้ ทีท่ ต่ี ไี ด้มา ทาให้กาลังทหารทีใ่ ช้ในการสูร้ บลดลง ขณะทีท่ หาร ฝา่ ยคอมมิวนิสต์เพิม่ จานวนขึน้ เพราะมีทงั ้ ชาวบ้านทีถ่ ูกกดขีแ่ ละทหารกว๋อหมิน ตังจ ่ านวนหนึ่ ง เปลี่ยนใจมาเข้าร่วมกับ กองทัพ คอมมิว นิ สต์ ทาให้จานวนทหาร ประจาการของคอมมิวนิสต์เพิม่ ขึน้ จากประมาณ 166,000 คน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เป็ น 970,000 คน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ส่วนทหารประจาการ ของกว๋ อ หมิน ตัง่ ลดลงจาก 1,620,000 คน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1945 เหลือ 980,000 คน ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 19481 กองทัพแดงตอบโต้ทหารรัฐบาลกว๋อหมินตังอย่ ่ างรุนแรง และมีชยั ชนะใน มณฑลเหอหนาน เหอเป่ย ในเดือนกันยายนปี ต่อมากองทัพคอมมิวนิสต์นาโดย หลิน เปี ยว (Lin Biao ค.ศ. 1907-1971) ทาสงครามในแมนจูเรีย สามารถทาลาย กองทัพกว๋อหมินตังที ่ ม่ ที หารจานวนกว่าห้าแสนนายได้ พร้อมยึดเมืองฉางชุนเมือง หลวงของมณฑลจี้หลิน (Jilin) ได้ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1947 เดือนต่อมายึดเมือง เสิน่ หยางเมืองหลวงของมณฑลเหลียวหนิง (Liaoning) มาได้ ทาให้ดนิ แดนภาค ตะวันออกเฉียงเหนือหรือทีจ่ นี เรียกว่าตงเป่ยตกเป็ นของคอมมิวนิสต์ จากนัน้ ก็ยดึ เมืองเทียนจินและเปย่ จิงได้ในเดือนมกราคมปี ต่อมา ส่วนในพืน้ ทีอ่ น่ื ๆ กองทัพแดง สามารถยึดเมืองต่างๆ มากขึน้ ทาให้กองทัพแดงมีกาลังใจเพิม่ ขึน้ ขณะทีท่ หารฝา่ ย ของกว๋อหมินตังเริ ่ ม่ หมดความมันใจในชั ่ ยชนะ ปลายเดือนเมษายน ค.ศ. 1949 กองทัพคอมมิวนิสต์ยดึ กรุงหนานจิงเมือง หลวงของรัฐบาลกว๋อหมินตังได้ ่ เดือนต่อมาก็ยดึ เมืองซังไห่ ่ ได้ และมณฑลต่างๆ ได้เพิม่ ขึน้ หลังจากกรุงหนานจิงถูกยึด รัฐบาลเจียง ไคเชก ย้ายไปทีเ่ มืองกว่างโจว จากนัน้ ได้อพยพไปทีเ่ มืองฉงชิง่ ในเดือนตุลาคม ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จนี ได้เปิ ด 1

Spence. (2013). op.cit. p.453. 153


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประชุมสภาที่ป รึกษาทางการเมืองของประชาชนจีน ขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1949 มีมติเลือกเหมา เจ๋อตง เป็ นประธานรัฐบาลกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชน จีน ซึง่ เป็ นประมุขของประเทศ และในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 เหมา เจ๋อตง ได้ ประกาศตัง้ สาธารณรัฐประชาชนจีน (The People’s Republic of China) อย่างเป็ น ทางการ ซึ่งถือเป็ นการประกาศเพื่อแสดงชัยชนะและการไม่ยอมรับ รัฐบาลกว๋อห มินตัง่ ขณะนัน้ รัฐบาลกว๋อหมินตังยั ่ งอยู่ทเ่ี มืองฉงชิง่ แต่เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ยดึ มณฑลซื่อชวนได้กอ็ พยพไปทีเ่ กาะไต้หวันในวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1949 และตัง้ รัฐบาลพลัดถิน่ ของสาธารณรัฐจีนขึน้

แผนทีส่ งครามกลางเมืองจีน ค.ศ. 1945-1949 เครือ่ งหมายลูกศรแสดงพื้นทีท่ พี ่ รรค คอมมิวนิสต์ขบั ไล่ทหารกว๋อหมินตังออกไปได้ ่

ในระยะแรกของสงครามกลางเมือง เห็น ได้ช ดั ว่ ารัฐบาลกว๋ อหมิน ตัง่ มี ความได้เปรียบอย่างมาก เพราะมีกาลังทหารมากกว่าและได้รบั ความช่วยเหลือ ด้านการเงินและอาวุธจากสหรัฐอเมริกา ขณะทีแ่ ม้พรรคคอมมิวนิสต์จนี ได้รบั ความ ช่ ว ยเหลื อ จากสหภาพโซเวีย ต แต่ เ ที ย บกับ ที่ ร ั ฐ บาลกว๋ อ หมิน ตัง่ ได้ ร ับ จาก สหรัฐอเมริกาไม่ได้ แต่ผลทีส่ ดุ พรรคคอมมิวนิสต์จนี ก็เป็ นฝา่ ยมีชยั ชนะ

154


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เหมา เจ๋อตง อ่านคาประกาศตัง้ สาธารณรัฐประชาชนจีน เมือ่ วันที ่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ณ จัตุรสั เทียนอานเหมิน

ปจั จัยทีท่ าให้พรรคคอมมิวนิสต์จนี มีชยั ชนะมีหลายประการ สรุปได้ดงั นี้1 ปัจจัยด้ำนผู้นำและกำรยึดมันอุ ่ ดมกำรณ์ พรรคคอมมิวนิสต์มผี นู้ าที่ม ี ความสามารถ เช่น เหมา เจ๋อตง โจว เอินไหล จู เต๋อ หลิว เซ่าฉี (Liu Shaoqi, ค.ศ. 1898–1969) เผิง เต๋อไฮว่ หลิน เปี ยว และเติ้ง เสีย่ วผิง เป็ นต้น ผูน้ าเหล่านี้ มีความสามารถในการบริหารจัดการและการสู้รบ และเป็ นผูย้ ดึ มันอุ ่ ดมการณ์ มี เป้าหมายทีจ่ ะเปลีย่ นแปลงสังคมจีนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะมีนโยบายปฏิรปู ทีด่ นิ ที่ ได้รบั การสนั บ สนุ น จากประชาชน รวมทัง้ สามารถน าอุด มการณ์ ม าร์กซ์ และเล นินมาปรับให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของจีนได้เป็ นอย่างดี ส่วนผูน้ าของพรรคกว๋อหมินตังมี ่ ความแตกแยกกัน ทาให้การบริหารงาน ขาดประสิท ธิ ภ าพและมีค วามผิด พลาดในการวางแผน การรบ ท าให้ พ รรค คอมมิวนิสต์จนี ได้ชยั ชนะในหลายสมรภูม ิ จนนาไปสูค่ วามพ่ายแพ้ในทีส่ ดุ ปั จจัยด้ ำนกำรทหำร ทหารกว๋อหมินตังมี ่ การฝึ กฝนตามหลักวิชาการ ทหาร มีอาวุธทีด่ แี ละทันสมัยจากสหรัฐอเมริกา มีประสบการณ์ ทางทหารมากกว่า จากการสู้รบกับ ญี่ปุ่น แต่การที่สู้รบมาหลายปี ทาให้เกิด ความเหนื่ อยอ่อน เบื่อ หน่ ายการสงคราม และขาดกาลังใจในการต่อสูก้ บั ทหารคอมมิวนิสต์ซง่ึ เป็ นชาวจีน ด้วยกัน ทาให้ทหารกว๋อหมินตังเป็ ่ นทหารทีข่ าดกาลังใจ ระเบียบวินัยหย่อนยาน วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2521). เล่มเดิม. หน้า 94-96, Spence. (2013). op.cit. pp. 420-427 and Gray. (2002). op.cit. pp. 282-284. 1

155


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ส่ว นทหารคอมมิว นิ ส ต์ม ีความมุ่ งมัน่ ในการสู้รบมากกว่ า เพราะหากพ่ า ยแพ้ก็ หมายถึงความตาย รวมทัง้ ในช่วงสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ทหารคอมมิวนิสต์ใช้วธิ ี หลีกเลีย่ งการปะทะซึง่ หน้า ปล่อยให้ทหารกว๋อหมินตังเป็ ่ นฝา่ ยต่อสูม้ ากกว่า ทาให้ มีก าลัง ใจมากกว่ า นอกจากนี้ ก ารที่ท หารกว๋ อ หมิน ตัง่ บางหน่ ว ยกดขี่ข่ ม เหง ประชาชน ทาให้ชาวบ้านจานวนมากเข้าร่วมกับฝา่ ยคอมมิวนิสต์ ปั จจัยจำกปั ญ หำเศรษฐกิ จ สังคม และกำรเมือง การที่เจียง ไคเชก ไม่สนใจแก้ปญั หาเศรษฐกิจหลังสงคราม โดยเฉพาะปญั หาสินค้าจาเป็ น เช่น ข้าว แป้งสาลี ผ้า เกลือ น้ าตาล เชือ้ เพลิง ขาดแคลนและมีราคาสูง จนต้องมีการควบคุม ราคาสินค้าในเมืองใหญ่ๆ แต่ภาวะเงินเฟ้อยังรุนแรง ทาให้ประชาชนไม่เชื่อถือ รัฐบาล นอกจากนี้ยงั เกิดปญั หาการทุจริตฉ้อราษฎร์บงั หลวง เจ้าหน้าทีร่ ฐั บาลเอา เปรีย บกดขี่ป ระชาชน แต่ เจีย ง ไคเชก กลับ ทุ่ ม เทงบประมาณในการต่ อสู้ก ับ คอมมิวนิสต์ ส่วนในด้านการเมือง ผูน้ าพรรคกว๋อหมินตังผู ่ กขาดอานาจ ไม่สนใจ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง ทาให้ประชาชนเบื่อหน่ าย ไม่เชื่อถือและไม่ สนับสนุน ปั จ จัยจำกกำรขำดกำรสนั บสนุ นจำกประชำชน การที่รฐั บาลเจีย ง ไคเชก ไม่สนใจแก้ปญั หาเศรษฐกิจ ประชาชนไม่มคี วามเชื่อถือศรัทธารัฐบาล และ เกลียดชังเจ้าหน้าทีข่ องรัฐทีก่ ดขีข่ ม่ เหงประชาชน ทาให้ประชาชนทีส่ ่วนใหญ่เป็ น ชาวนายากจนเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ทม่ี นี โยบายปฏิรปู ทีด่ นิ และเปิ ดโอกาส ให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการปกครองพืน้ ทีท่ พ่ี รรคคอมมิวนิสต์ยดึ ครอง ปั จ จัยด้ ำนยุท ธศำสตร์แ ละกำรจัด องค์ก รของพรรคคอมมิ วนิ สต์ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์มคี วามเคร่งครัดในระเบียบวินัย ยึดมันอุ ่ ดมการณ์ ของ ั ดมการณ์ของพรรคในหมู่สมาชิกและประชาชน พรรค รวมทัง้ เผยแพร่และปลูกฝงอุ ทัวไปอย่ ่ างมีประสิทธิภาพ มียุทธศาสตร์ในการเข้าถึงมวลชนโดยถือว่าทหารและ ประชาชนต้องพึง่ พากัน ดังคากล่าวว่า ทหารเปรียบเหมือนปลา ประชาชนเปรียบ เหมือนน้ า และมียุทธศาสตร์ในการต่อสูแ้ บบชนบทล้อมเมือง และการทาสงคราม กองโจร ปั จจัยจำกภำยนอก ได้แก่ การที่พรรคคอมมิวนิสต์ใช้การรุกรานจาก ญีป่ นุ่ ปลุกเร้าความรูส้ กึ ชาตินิยมของชาวจีนให้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ ขณะที่ เจียง ไคเชกมุ่งมันแต่ ่ การปราบคอมมิวนิสต์ซ่ึงเป็ น ชาวจีน ด้วยกัน และไม่สนใจ ต่อต้านการรุกรานของญีป่ นุ่ ทาให้มปี ระชาชนทัง้ ทีเ่ ป็ นฝา่ ยกว๋อหมินตัง่ ปญั ญาชน และชาวบ้านทัวไปหั ่ นมาเข้าร่วมกับคอมมิวนิสต์มากขึน้

156


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ั หา ป จั จัย ภายนอกอีก ประการ คือ นโยบายของสหรัฐ อเมริก าต่ อ ป ญ สงครามกลางเมืองจีน การทีส่ หรัฐอเมริกาต้องการให้จนี มีความมันคงเข้ ่ มแข็งเพื่อ คอยถ่วงดุลอานาจกับญี่ปุ่น ซึ่งสหรัฐอเมริกาคิดว่าญี่ปุ่นจะเป็ นศัตรูกบั ตน ทาให้ สหรัฐอเมริกาพยายามสนับ สนุ นให้ฝ่ายกว๋ อหมิน ตัง่ และคอมมิวนิส ต์ร่วมมือกัน บริหารประเทศ โดยไม่คานึงถึงอุดมการณ์ ท่แี ตกต่างกันของทัง้ สองฝ่าย และเมื่อ เกิดสงครามกลางเมืองขึน้ สหรัฐอเมริกาได้ให้ความช่วยเหลือรัฐบาลเจียง ไคเชก ทางการทหารมากกว่าช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ ส่วนเจียง ไคเชกก็หวังพึง่ ความ ช่ว ยเหลือจากสหรัฐอเมริกาเป็ น หลัก ไม่ส นใจแก้ป ญั หาด้ว ยตนเอง ทาให้เมื่อ สหรัฐอเมริกายุตคิ วามช่วยเหลือในระยะทีเ่ ข้าสู่ภาวะคับขัน รัฐบาลกว๋อหมินตังจึ ่ ง ประสบความพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว ความล้มเหลวของระบอบสาธารณรัฐ ความวุ่นวายในยุคขุนศึก ความ ตกต่าของประเทศจากการประชุมสันติภาพทีแ่ วร์ซายส์ ทาให้ปญั ญาชนบางกลุ่ม หันไปสนใจลัทธิคอมมิวนิสต์ และนาไปสู่การก่อตัง้ พรรคคอมมิวนิสต์จนี ขึ้นเมื่ อ ค.ศ. 1921 ประวัตศิ าสตร์ในระยะแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จนี เป็ นเรื่องราวการ ต่อสู้ ทัง้ การต่อสูเ้ รื่องอุดมการณ์และแนวทางการนาพรรคระหว่างผูน้ าสายโซเวียต กับ สายจีน ที่ม ี เหมา เจ๋ อตง เป็ น ผู้น า จนประสบความส าเร็จ ในนโยบายการใช้ ชาวนาเป็ นฐานกาลังในการปฏิวตั จิ นี แนวทางชนบทล้อมเมือง และยุทธวิธสี งคราม กองโจร รวมทัง้ การต่อสูแ้ ย่งชิงอานาจกับพรรคกว๋อหมินตัง่ จนได้รบั ชัยชนะใน สงครามกลางเมือง ท าให้พ รรคคอมมิว นิ สต์จีน สามารถยึด อานาจการปกครอง ประเทศและสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ในทีส่ ดุ โดยมีปจั จัยสาคัญมาจาก ความเข้มแข็งของพรรคคอมมิวนิสต์ และความแตกแยกอ่อนแอของฝา่ ยกว๋อหมิน ตังเป็ ่ นหลัก ……………………………………………………………….

157


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. เพราะเหตุใดแนวทางของโซเวียตจึงไม่ประสบความสาเร็จในการนา พรรคคอมมิวนิสต์จนี 2. วิเคราะห์บทบาทเหมา เจ๋อตง ต่อชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์จนี 3. การดาเนินนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์และการพึง่ พาสหรัฐอเมริกา ของเจียง ไคเชก มีผลต่อความพ่ายแพ้ของฝา่ ยกว๋อหมินตังอย่ ่ างไรบ้าง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม ทวีป วรดิลก.(2547). เหมา เจ๋อตง ฮ่องเต้นักปฏิวตั .ิ กรุงเทพฯ : มติชน. บทที่ 6 ในวงล้อมต่อต้านปฏิวตั ิ , บทที่ 7 ฉางเจิน เดินทางไกล และบทที่ 8 จาก เอีย๋ นอาน ถึงเปย่ จิง บุญศักดิ ์ แสงระวี. (2538). เติ้ง เสีย่ วผิง ชีวติ และการต่อสู.้ กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. สโนว์,เอ็ดการ์. (2541). ดาวแดงเหนือแผ่น ดินจีน. แปลโดย บุญศักดิ ์ แสงระวี. กรุงเทพฯ : มติชน. Spence, Jonathan D. (2013). The Search for Modern China. New York: W.W. Norton & Company. Chapter 17 World War II, Chapter 11 The Fall of Goumindang State.

158


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 6 จีนสมัยสำธำรณรัฐประชำชน: กำรฟื้ นฟูประเทศระยะแรก ในเดือนกัน ยายน ค.ศ. 1949 ที่พ รรคคอมมิวนิ สต์จีน สามารถยึดพื้ น ที่ ส่วนใหญ่ของจีนได้แล้ว พรรคคอมมิวนิสต์ได้ตงั ้ สภาที่ปรึกษาทางการเมืองของ ประชาชนจีน มีสมาชิกของสภา 662 คน ซึง่ เป็ นผูแ้ ทนจากสถาบันต่างๆ ทาหน้าที่ พิจ ารณาและลงมติเห็ น ชอบ “แนวนโยบายร่ ว ม” (Common Programme) ซึ่ ง เทีย บเท่าธรรมนู ญ การปกครองชัวคราว ่ ซึ่งน าไปสู่การตัง้ องค์กรบริหารของรัฐ ได้แก่ สภาประชาชนแห่งชาติ (National People’s Congress : NPC) ซึง่ เป็ นผูใ้ ช้ อานาจบริหาร นิตบิ ญ ั ญัติ และตุลาการ มีเหมา เจ๋อตงเป็ นประธานสภาแห่งรัฐ หรือ เทียบเท่าประธานาธิบดี สภาประชาชนแห่งชาติแต่งตัง้ สภาบริหารแห่งรัฐ หรือ รัฐบาล ทาหน้าที่บริหารประเทศ มี โจว เอินไหล เป็ นประธานสภาบริหารแห่งรัฐ หรือนายกรัฐมนตรี มีรองนายกรัฐมนตรี 5 คน และคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่ม ี หน้าทีช่ ้นี ากระทรวง 24 แห่ง คือ คณะกรรมการฝ่ายการเมืองและกฎหมาย ฝ่าย การคลังและเศรษฐกิจ ฝา่ ยวัฒนธรรมและการศึกษา และฝา่ ยตรวจการ สภาประชาชนแห่งชาติได้จดั ตัง้ องค์กรอืน่ ๆ ได้แก่ สภากองทัพปฏิวตั ิเป็ น องค์กรสูงสุดฝา่ ยทหาร ดูแลกองทัพปลดปล่อยประชาชน (People’s Liberal Army: PLA) ศาลประชาชนสูงสุด (Supreme People’s Court) เป็ นองค์กรสูงสุดฝา่ ยตุลา การ และอัย การประชาชนสู ง สุ ด (Supreme People’s Procuratorate) มีห น้ า ที่ ตรวจการบริหารงานของฝ่ายรัฐบาลและบุคลากรให้เป็ นไปตามกฎหมาย สภา ประชาชนแห่ ง ชาติแ ละสภาบริห ารแห่ ง รัฐ ด าเนิ น นโยบายตามมติข องพรรค คอมมิวนิสต์จนี จากนัน้ รัฐบาลได้ดาเนินการฟื้นฟูประเทศโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ 1. กำรฟื้ นฟูประเทศด้ำนเศรษฐกิ จและควำมขัดแย้งเรื่องนโยบำย สงครามกลางเมืองทาให้ภาวะเศรษฐกิจของจีน ตกต่ าอย่างหนัก ดังนัน้ หลังจากตัง้ สาธารณรัฐ ประชาชนจีน แล้ ว รัฐบาลได้ ว างแผนฟื้ น ฟู แ ละพัฒ นา เศรษฐกิจของประเทศ โดยระยะแรกยึดตามแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจของสหภาพ โซเวียต ซึ่งเน้ นการพัฒ นาเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมเป็ นหลัก รวมทัง้ ดาเนิน นโยบายเศรษฐกิจตามแบบลัทธิเหมา ทีม่ แี นวคิดหลัก 3 ประการ คือ 1) แนวคิด 159


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เรื่ อ งความ ขั ด แย้ ง ทั ้ง ค วามขั ด แย้ ง ระห ว่ า งเมื อ งกั บ ชน บ ท ระห ว่ า ง ภาคอุตสาหกรรมกับเกษตรกรรม ระหว่างแรงงานทีใ่ ช้สมองกับแรงงานทีใ่ ช้กาลัง 2) แนวคิดเรื่องการจัดองค์กร ซึ่งน าไปสู่การจัด ตัง้ ระบบคอมมูนประชาชน 3) แนวคิดเรือ่ งการพึง่ ตนเอง ทีเ่ น้นการใช้ทรัพยากรและแรงงานทีม่ อี ยูภ่ ายในประเทศ เพื่อพัฒ นาเศรษฐกิจและสร้างผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ 1 ซึ่งนาไปสู่การกาหนดนโยบายและการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีนเป็ นระยะ ต่างๆ ดังนี้ ระยะกำรฟื้ นฟูและบูรณะประเทศ (ค.ศ. 1949–1952) ระยะนี้เป็ น ระยะที่จีนเร่งแก้ปญั หาเงิน เฟ้ อ ด้วยการปฏิรูปและจัดระบบ การเงิน ด้ว ยการโอนกิจ การธนาคารทัง้ หมดมาเป็ น ของรัฐ ตัง้ สมาคมขึ้ น มา ควบคุมดูแลสินค้าแต่ละชนิด จ่ายเงินเดือนให้แก่ขา้ ราชการประจาในรูปของสินค้า เช่น ข้าว แป้ง น้ ามัน ผ้า และเชื้อเพลิง เป็ นต้น ฟื้ นฟูและปรับปรุงการผลิตภาค เกษตรกรรม2 ปฏิรูปที่ดินด้วยการประกาศกฎหมายปฏิรูปการเกษตร (Agrarian Reform Law) ใน ค.ศ. 1950 โดยมีจุด มุ่งหมายเพื่อ แก้ไขป ญั หาที่ดิน ที่เรื้อรังมา นาน เพราะประชาชนส่วนใหญ่มที ด่ี นิ เป็ นของตนเองน้อยมากหรือไม่มเี ลย ขณะที่ พวกเจ้าทีด่ นิ และเกษตรทีร่ ่ารวยซึง่ มีประมาณร้อยละ 10 ของประชากรในชนบทมี ทีด่ นิ มากกว่าร้อยละ 70-80 กฎหมายปฏิรูปการเกษตรมีเป้าหมายเพื่อยกเลิกสิทธิการถือครองที่ดิน ของชนชัน้ ศักดินา ด้วยการริบทีด่ นิ และทรัพย์สนิ ของราชาทีด่ นิ รวมถึงเครือ่ งมือใน การเพาะปลูก แล้วนามาจัดสรรให้แก่ชาวนา ทางการได้จาแนกประชาชนในภาค เกษตรออกเป็ น 5 กลุ่ม คือ 1. พวกราชาทีด่ นิ ทีถ่ อื ครองทีด่ นิ จานวนมาก แต่ไม่ทางานด้วยตนเอง อยู่ โดยขูดรีดผลประโยชน์จากผูอ้ น่ื 2. ชาวนาร่ารวย คือผูม้ ที ่ดี นิ เป็ นของตนเอง ทาการเพาะปลูกในทีด่ นิ ของ ตน รวมทัง้ จ้างคนมาช่วยหรือแบ่งทีด่ นิ ให้เช่า 3. ชาวนาที่ม ีฐ านะปานกลาง คือ ผู้ม ีท่ีดิน และท าการเพาะปลู ก ด้ ว ย ตนเอง 1 2

วันรักษ์ มิง่ มณีนาคิน. (2525). เศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน. หน้า 6. ทวีป วรดิลก. (2538). ประวัตศิ าสตร์จนี . หน้า 1072. 160


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

4. ชาวนายากจน คือ ผูม้ ที ด่ี นิ ผืนเล็กๆ หรือเครื่องมือในการเพาะปลูก อยูบ่ า้ ง แต่ตอ้ งขายทีด่ นิ เพือ่ ความอยู่รอดหรือเช่าทีด่ นิ จากผูอ้ น่ื 5. ลูกจ้าง คือ ผูไ้ ม่มที ด่ี นิ ของตนเอง อยู่โดยการรับจ้างทางานในไร่นา พรรคคอมมิวนิสต์ได้ส่งฝ่ายทางานของพรรคเข้าไปในชนบท เผยแพร่แนวทาง ปฏิรปู ทีด่ นิ ในหมูป่ ระชาชน และสร้างความรูส้ กึ ให้ชาวบ้านเกลียดชังพวกราชาทีด่ นิ ซึง่ รัฐบาลคิดว่าหากไม่กาจัดก็จะกลายเป็ นพวกนายทุนในอนาคต ชาวนาฐานะปาน กลางและยากจน รวมถึงคนทีไ่ ม่มที ด่ี นิ จะได้รบั ความช่วยเหลือ ชาวนาร่ารวยให้อยู่ ในสภาพเดิมได้ แต่ตอ้ งกาจัดพวกราชาทีด่ นิ

การประณามเจ้าทีด่ นิ ในการปฏิรปู ทีด่ นิ ทีเ่ ริม่ มาตัง้ แต่ก่อน ค.ศ. 1949 และขยายมากขึ้นในต้นทศวรรษ 1950

การปฏิรูป การเกษตรดาเนิ นมาจนเสร็จสิ้น ใน ค.ศ. 1952 ผลปรากฏว่า สามารถจัดสรรทีด่ นิ ให้เกษตรกรได้ราว 300 ล้านคน ชาวนายากจนและลูกจ้างได้ ที่ดนิ 2.4 มู่ ชาวนาฐานะปานกลางได้ 3 มู่ ชาวนาร่ารวยได้ 3.82 มู่ พวกราชา ทีด่ นิ ถูกกาจัดไปประมาณ 2–3 ล้านคน และได้รบั การจัดสรรทีด่ นิ 2.12 มู่ แต่ใน บริเวณที่ม ีป ระชากรหนาแน่ น ที่ดิน ที่แ บ่ งให้ช าวนาจะน้ อ ยกว่ า นี้ นอกจากนี้ ทางการยังริบสัตว์เลี้ยง 2.97 ล้านตัว เครือ่ งมือเพาะปลูก 39.54 ล้านชิน้ บ้านเรือน 38.07 ล้านห้อง ข้าวเปลือก 7.5 ล้านตัน มาแจกจ่ายแบ่งปนั ให้เกษตรกรด้วย การ ปฏิรปู ทีด่ นิ ในช่วง 2 ปี แรก ผลผลิตทัง้ หมดเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 9.4 และร้อยละ 15.2 ใน 

1 มู่ (mu) ประมาณ 166 ตารางวา 161


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ค.ศ. 1951 และ ค.ศ. 1952 ตามลาดับ 1 กฎหมายปฏิรปู การเกษตรนี้นาไปสู่การ จัด ระบบนารวม (Collectivization) หรือคอมมูน (Commune) ซึ่งทดลองขึ้น ครัง้ แรกใน ค.ศ. 1953 ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม กิจการส่วนใหญ่เป็ นของรัฐ และเทคโนโลยี ส่วนใหญ่ลา้ สมัย รัฐบาลพยายามเปลีย่ นกิจการของเอกชนมาเป็ นของรัฐ เริม่ ด้วย การเข้าเป็ นหุน้ ส่วนกับเอกชนและค่อยๆ โอนกิจการมาเป็ นของรัฐ มีการเก็บภาษี การแทรกแซงทางการเงิน การบังคับให้ดาเนินกิจการตามทีร่ ฐั แนะนา และควบคุม การลงทุน ทาให้ธุรกิจของเอกชนกระทบกระเทือนจนต้องโอนหรือขายให้รฐั ในทีส่ ุด รัฐบาลยังเข้าควบคุมการค้ากับต่างประเทศ ส่วนการค้าปลีก ระยะแรกรัฐอนุ ญาต ให้เอกชนดาเนินการต่อ แต่คอ่ ยๆ เปลีย่ นฐานะพ่อค้าให้เป็ นตัวแทนของรัฐแทน ในการสลายธุรกิจของเอกชนนัน้ รัฐใช้วิธกี ารรณรงค์มวลชนให้ต่อต้าน นายทุน 5 ประการ คือ ต่อต้านการหนีภาษี ต่อต้านการให้สนิ บนเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต่ อ ต้า นการโกงรัฐเกี่ย วกับ เรื่อ งต่ า งๆ ต่ อ ต้า นการขโมยทรัพ ย์ส ิน ของรัฐ และ ต่อต้านการขโมยข้อมูลทางเศรษฐกิจของรัฐ หากนายทุน กระทาผิด จะถูก ปรับ อย่างหนักจนไม่มที ุน จากนัน้ รัฐจะให้นายทุนกูเ้ งินเพื่อรัฐจะได้เข้ามาเป็ นหุน้ ส่วน กิจการ แล้วจะดาเนินธุรกิจตามแผนเศรษฐกิจของชาติและอยู่ในการควบคุมของ รัฐ ทัง้ การควบคุมการเงินของกิจการ การแบ่งกาไรตามเกณฑ์ทร่ี ฐั กาหนด ทาให้ ธุรกิจของเอกชนถูกรวมเข้าเป็ น ของรัฐในที่สุด และใน ค.ศ. 1955 รัฐได้แปรรูป ธุรกิจเพื่อโอนกิจการมาเป็ นของรัฐ นายทุน ได้รบั ดอกเบี้ยแทนเงินปนั ผลจนถึง ค.ศ. 1963 ก็ไม่ได้อกี การแปรรูปจึงเสร็จสมบูรณ์ ส่วนอุตสาหกรรมในครัวเรือน นัน้ รัฐตัง้ สหกรณ์ขน้ึ มาควบคุม ทัง้ ในระดับครัวเรือน ท้องถิน่ และระดับชาติ สงครำมเกำหลี (ค.ศ. 1950-1953) ระหว่ า งที่จีน ก าลังเร่ งฟื้ น ฟู เศรษฐกิจ อยู่นั น้ จีน ต้องเข้า ไปยุ่ งเกี่ย วกับ สงครามอีกครัง้ เมื่อเกิดสงครามในคาบสมุทรเกาหลีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950 ระหว่างเกาหลีเหนือทีเ่ ป็ นฝ่ายคอมมิวนิสต์กบั เกาหลีใต้ทเ่ี ป็ นประชาธิปไตย โดย เกาหลีเหนือมีสหภาพโซเวียตสนับสนุ น เกาหลีใต้มสี หรัฐอเมริกาและพันธมิตร สนับสนุน ทาให้การฟื้นฟูเศรษฐกิจต้องได้รบั ผลกระทบไปด้วย การทีจ่ นี เข้าไปยุ่ง มู ลศิล ป์ . (2539). “Agraian Reform Law (1950): กฎหมายปฏิรูป การเกษตร (พ.ศ.2493)” ใน สารานุ กรมประวัติศาสตร์สากลสมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. หน้า 62. 1วุ ฒ ิช ัย

162


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เกีย่ วกับสงครามเกาหลีนนั ้ นอกจากถูกสหภาพโซเวียตดึงเข้าไปร่วมด้วยแล้ว ยัง เป็ นเพราะจีนเกรงว่าถ้าสหรัฐอเมริกาบุกเกาหลีเหนือได้ สหรัฐอเมริกาจะร่วมมือ กับ พรรคกว๋อหมิน ตังบุ ่ กจีนด้วย ดังนัน้ จีนจึงส่งทหารไปช่วยเกาหลีเหนือ ผู้น า พรรคคอมมิวนิสต์จนี ปลุกกระแสชาตินิยมในประเทศขึน้ อีก มีการรณรงค์ต่อต้า น จักรวรรดินิยมสหรัฐอเมริกา และเผยแพร่คาขวัญ ต่อต้านอเมริกา ช่วยเหลือเกาหลี เหนือ สงครามเกาหลียุตลิ งในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1953 สงครามส่งผลกระทบ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนมาก เพราะจีนส่งทหารกว่า 7 แสนนายทีค่ วรจะเป็ น กาลังในการผลิต เข้าร่วมสงคราม และนาเงินไปซื้ออาวุธจากโซเวียต โดยจีนต้อง จ่ายเงินคืนในรูปสินค้า ส่งออกไปยังโซเวียต ทาให้การผลิตสินค้าเพื่อขายในและ นอกประเทศส่วนหนึ่งของจีนเป็ นการผลิตทีไ่ ม่ได้ผลกาไรกลับมา ส่วนผลกระทบ ด้ า นการเมื อ งนั ้ น จี น ถู ก มองว่ า เป็ นชาติ ท่ี คุ ก คามความมั น่ คงในเอเชี ย สหรัฐอเมริกาได้ใช้เวทีสหประชาชาติประณามจีนอย่างหนัก ว่าจีนเป็ นผูร้ กุ รานและ จีนถูกโดดเดี่ยวจากนานาชาติ พร้อมกับ ทีส่ หรัฐอเมริกาเข้าปกป้องรัฐบาลกว๋อห มินตังบนเกาะไต้ ่ หวันอย่างเปิ ดเผย ด้วยการส่งกองทัพเรือที่ 7 มาคุม้ ครองทีช่ ่อง แคบไต้หวัน ทาให้แผนการบุกไต้หวันของพรรคคอมมิวนิสต์ตอ้ งระงับไป และทา ให้ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกาเพิม่ ขึน้ ชาวต่างชาติจานวนมากถูกจับ และได้รบั การปล่อยตัว เมื่อรับว่ากระทาความผิด ปญั ญาชนและผูท้ เ่ี รียนจบจาก ประเทศตะวันตกถูกสงสัยว่าเป็ นผูท้ รยศต่อชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปกครอง การทางาน และวงการต่างๆ1 ระยะแผนพัฒนำเศรษฐกิ จ 5 ปี ฉบับที่ 1 (ค.ศ.1953– 1957) หลัง สงครามเกาหลี จี น ได้ เ ร่ ง พัฒ นาเศรษฐกิจ ต่ อ ทัน ที โดยรัฐ บ าล ประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับที่ 1 ใน ค.ศ. 1953 ซึง่ ให้ความสาคัญกับ ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหนักและสินค้าทุน เช่น เครือ่ งจักร เป็ น อันดับแรก โดยได้รบั การช่วยเหลือแนะนาจากสหภาพโซเวียต การที่จีนดาเนิน นโยบายพัฒ นาเศรษฐกิจตามแบบโซเวียตเพราะหลังสงครามเกาหลีจีน ถูกโดด เดีย่ ว มีเพียงความสัมพันธ์ทใ่ี กล้ชดิ กับสหภาพโซเวียตเท่านัน้ นอกจากนี้จานวน ประชากรที่เพิม่ ขึ้นทาให้ต้องเน้ นการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และพึ่งพาความ ทวีป วรดิล ก. (2547). เล่ ม เดิ ม . หน้ า 335 และวุ ฒิ ช ัย มู ล ศิล ป์ . (2544). “จีน ใน คริสต์ศตวรรษที่ 20”. สายธารแห่งความคิด 2. หน้า 410. 1

163


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตทัง้ ด้านเงินทุนและเทคโนโลยีการผลิต แต่การให้ เงินกู้แก่จนี ก็ให้น้อยกว่าที่จีนต้องการมาก และสหภาพโซเวีย ตก็ต้องการให้จีน พึง่ ตนเองเป็ นหลัก ส่วนในภาคเกษตรจีนดาเนินการปฏิรปู ทีด่ นิ ขัน้ ทีส่ อง ด้วยการ จัดตัง้ กลุ่มชาวนาเพื่อช่วยเหลือร่ วมกัน เช่น นาเครื่องมือการผลิตมารวมกัน ใช้ แรงงานร่วมกัน การดาเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจทาให้ภาคอุตสาหกรรมมี ความก้าวหน้ามากขึน้ รัฐบาลจึงดาเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับที่ 2 ต่อทันที ในด้านการเมือง ระยะนี้รฐั บาลมีการรณรงค์รอ้ ยบุปผาใน ค.ศ. 1957 (The Hundred Flowers Campaign) ทีใ่ ห้ปญั ญาชนการวิพากษ์วจิ ารณ์ตนเองและเรื่อง ต่างๆ ตามแบบคอมมิวนิสต์ แต่การวิพากษ์วจิ ารณ์มมี ากเกินไปจนกระทบถึงพรรค จึงต้องระงับการวิจารณ์ และลงโทษผู้ท่วี พิ ากษ์วจิ ารณ์ ปญั ญาชนจานวนมากถูก กล่าวหาว่าเป็ นพวกฝา่ ยขวาและต่อต้านการปฏิวตั ิ 1

การรณรงค์ทางการเมืองและเศรษฐกิจในระยะแรกของการ ปกครองแบบคอมมิวนิสต์นาโดย เหมา เจ๋อตง

1

Spence. (2013). The Search for Modern China. pp. 510-513. 164


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

2. กำรรณรงค์ก้ำวกระโดดไกลไปข้ำงหน้ ำและกำรจัดตัง้ ระบบนำรวม (ค.ศ. 1958–1961) การรณรงค์ ก้ า วกระโดดไกลไปข้า งหน้ า (The Great Leap Forward) หรือ ต้าเยวีย่ จิน้ ทีเ่ ริม่ ขึน้ ใน ค.ศ. 1958 นัน้ มีทม่ี าจากเมือ่ จีนกาลังวางแผนพัฒนา 5 ปี ฉบับ ที่ 2 โจว เอิน ไหล นายกรัฐมนตรี ได้เสนอแนวคิด หรือหลัก การเรื่อ ง “มากกว่า ดีกว่า เร็วกว่า” เพือ่ ยึดเป็ นหลักการหรือคาขวัญของแผนพัฒนาฉบับที่ 2 ต่อมามีผเู้ พิม่ คาว่า “ถูกกว่า” เข้าไปด้วย ซึง่ เหมา เจ๋อตง เห็นด้วยและได้เป็ นผูน้ า รณรงค์แนวคิดนี้อยู่เสมอ1 ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1958 ระหว่างการประชุม เพือ่ หาแนวทางการพัฒนาประเทศในช่วงแผน 5 ปี ฉบับที่ 2 โจว เอินไหล เสนอว่า การสร้างสรรค์สงั คมนิยมสามารถก้าวกระโดดได้เช่นเดียวกับทุนนิยม ซึง่ เหมา เจ๋อ ตง เห็นด้วย2 ประกอบกับในปลาย ค.ศ. 1957 เหมา เจ๋อตงเดินทางเยือนสหภาพ โซเวียต ซึง่ เขาเห็นการเปลีย่ นแปลงหลายอย่าง และประทับใจต่อความสาเร็จของ สหภาพโซเวีย ตทัง้ เรื่องการสร้า งระเบิด ปรมาณู และการส่งดาวเทีย มสปุ ต นิ ก (Sputnik) ขึน้ สูอ่ วกาศ ทาให้เขาเห็นว่าจีนสามารถพัฒนาได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน แม้ว่า โจว เอินไหล เป็ นต้นคิดในเรือ่ งการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แต่เมื่อ มี ค วามคิ ด ว่ า ต้ อ งเร่ ง การผลิ ต ในอุ ต สาหกรรมเหล็ ก และเหล็ ก กล้ า รวมทั ง้ อุตสาหกรรมอื่นๆ ให้ทนั หรือล้าหน้ าประเทศอังกฤษภายใน 15 ปี และต่อมาลด เหลือ 7 ปี 5 ปี 3 ปี ซึง่ เป็ นการคาดหวังทีม่ ากเกินไป ทาให้ โจว เอินไหล และเฉิน หยุน (Chen Yun, ค.ศ. 1905–1999) นักเศรษฐศาสตร์ของพรรค รวมถึงผู้น าใน พรรคอีกหลายคนแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเร่งรีบเช่นนี้ แต่เสียงส่วนใหญ่ของ ทีป่ ระชุมผูแ้ ทนพรรคเห็นด้วย ทาให้โจว เอินไหลและผูน้ าทีไ่ ม่ เห็นด้วยต้องวิจารณ์ ตนเอง 3 และในที่สุ ด แผนการรณรงค์ก้า วกระโดดไกลไปข้า งหน้ า ก็ได้ร บั การ ดาเนินการขึน้ ในกลาง ค.ศ. 1958 แผนการรณรงค์ก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้ า เน้ น การเร่งเพิ่ม ผลผลิตใน ทุกๆ ด้านเป็ น 2 เท่า ด้วยแรงงานของมวลชนชาวจีน เพื่อเอาชนะชาติตะวันตก โดยแรงงานในชนบทต้อ งเข้า มาเป็ น แรงงานในภาคอุ ต สาหกรรม ผู้ว างแผน เศรษฐกิจกาหนดว่าจะใช้แรงงานอย่างเต็มที่ โดยสร้างโรงงานในแหล่งแรงงาน เน้น วรศักดิ ์ มหัทธโนบล. (2547). เศรษฐกิจการเมืองจีน. หน้า 64-65. 2 แหล่งเดิม. หน้า 66. 3 แหล่งเดิม. 1

165


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การผลิตโดยใช้แรงงานผสมกับใช้เครื่องจักร เพื่อเร่งเพิม่ ผลผลิตในอุตสาหกรรมที่ ส าคัญ เช่ น เหล็ก กล้า ไฟฟ้ า ถ่ า นหิน ให้ท ัน อังกฤษภายใน 15 ปี โดยระดม แรงงานเกษตรกรประมาณ 100 ล้านคน เข้าร่วมทาการผลิตในภาคอุตสาหกรรม มี การสร้างเขือ่ น อ่างเก็บน้ า คลองชลประทาน และถนน ส่วนอีก 60 ล้านคน มา สร้างเตาหลอมหลังบ้านเพือ่ หลอมเหล็ก รัฐบาลยังมีนโยบายพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยใช้วธิ กี ารผลิต แบบผสมผสาน ตามนโยบายธงแดง 3 ผืน ซึง่ ประกอบด้วย การสร้างระบบสังคม นิยม การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้ า และระบบคอมมูน ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1958 มีการตัง้ ระบบนารวม หรือ คอมมูนประชาชน แห่งแรกขึ้น คือ คอมมูนสปุ ตนิ ก (The Sputnik Commune) ที่ม ณฑลเหอหนาน ส่ว น “มติการตัง้ คอมมูน ประชาชน” อย่างเป็ นทางการจะมีขน้ึ ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1958 ทาให้ระบบคอม มูนขยายตัวออกไปอย่างรวดเร็ว โดยสิ้นเดือนกันยายน ค.ศ. 1959 มีคอมมูนถึง 26,425 แห่งในชนบท หรือเท่ากับร้อยละ 98.2 ของครัวเรือนเกษตรกรทัวประเทศ ่ 1 แต่ละคอมมูนมีเกษตรกรโดยเฉลีย่ 5,000 ครัวเรือน หรือราว 30,000 คน

เตาหลอมเหล็กหลังบ้านทีส่ ร้างขึ้นเพือ่ เร่งผลิตเหล็กกล้า ในช่วงการก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า

1

Gray. (2002). op.cit. p. 308 และ วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2544). เล่มเดิม. หน้า 411. 166


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เตาหลอมเหล็กหลังบ้านทีเ่ ปย่ จิง (ซ้าย)

ภาพโปสเตอร์รณรงค์การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า

167


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ภาพโปสเตอร์รณรงค์การก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้า และคอมมูนของพรรคคอมมิวนิสต์จนี

ตามหลักการของพรรคคอมมิวนิสต์ ระบบคอมมูนจะทาให้จนี กลายเป็ น คอมมิวนิสต์สมบูรณ์ แบบ คือ ผูค้ นจะไม่มที รัพย์สนิ ส่วนตัว คอมมูนจะเป็ นผูด้ ูแล ทุกอย่างทัง้ ด้านเศรษฐกิจ สังคม ชีวติ ความเป็ นอยู่ ประชาชนมีหน้าทีใ่ นการทางาน ตามความสามารถเพื่อเพิ่ม ผลผลิตให้ได้สูงสุด คอมมูน มีล ักษณะแตกต่ างจาก สหกรณ์การเกษตร กล่าวคือ ในระบบสหกรณ์ แรงงานร่วมกันผลิตเพียงอย่างเดียว ในระบบคอมมูนจะจัดให้มกี ารอยู่ร่วมกัน โดยรัฐเป็ นฝ่ายจัดหาให้ เช่น โรงเรียน โรงเลีย้ งเด็ก โรงพยาบาล คอมมูนมีลกั ษณะทีก่ ว้างกว่าสหกรณ์ เพราะสหกรณ์เน้น ด้ า นการเกษตร แต่ ค อมมู น ท าทุ ก ด้ า น และครอบคลุ มทัง้ ด้ า นการปกครอง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หน่ วยบริหารของคอมมูนแบ่งเป็ น 3 ระดับ คือ ระดับคอมมูน

168


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หรือคณะกรรมการจัดการ มีคณะกรรมการเป็ นองค์การบริหารสูงสุด ระดับกอง การผลิตใหญ่ รับผิดชอบด้านอุตสาหกรรม การชลประทาน และโครงการใหญ่ๆ และระดับกองการผลิต มีคณะกรรมการและพนักงานบริหารของตนเอง ในช่วงแรกของการรณรงค์กา้ วกระโดดไกลไปข้างหน้า มีการสร้างเขือ่ น สร้างถนน เพิม่ มากขึน้ ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมหนักเพิม่ มากขึน้ โดยเฉพาะ ผลผลิตเหล็ก กล้า และถ่ านหิน เพิ่ม ขึ้น เป็ น 2 เท่ า แต่ เหล็ก ที่ได้ไม่ ม ีคุ ณ ภาพ เพราะกรรมวิธกี ารผลิตไม่ถกู หลัก โดยแต่ละคอมมูนสร้างเตาหลอมเหล็กขึน้ มาและ นาสิง่ ของเครือ่ งใช้ในบ้านทีท่ าจากเหล็กมาหลอม ทาให้เหล็กไม่มคี ณ ุ ภาพ ทีส่ าคัญ ยังส่งผลกระทบทาให้ปา่ ไม้ลดจานวนลงอย่างรวดเร็ว เพราะนาไม้มาเป็ นเชือ้ เพลิง หลอมเหล็ก ส่ว นในภาคเกษตรกรรม ทางการประกาศว่า ผลผลิตธัญ ญาหาร เพิม่ ขึน้ จาก 175 ล้านตัน ใน ค.ศ. 1957 เป็ น 200 ล้านตัน ใน ค.ศ. 1958 แต่ ต่ อ มาลดลงเหลือ 170 ล้า นตัน ใน ค.ศ.1959 และเหลือ 160 ล้า นตัน ใน ค.ศ. 19601 ความล้มเหลวของระบบคอมมูนและนโยบายก้าวกระโดดไกลเป็ นเพราะรัฐ ให้ค วามส าคัญ ต่ อ ภาคอุ ต สาหกรรมมากกว่ า ภาคเกษตรกรรม ท าให้ผ ลผลิต ธัญ ญาหารลดลง เพราะแรงงานไปมุ่งผลิตในภาคอุตสาหกรรม ประชาชนขาด แรงจูงใจในการผลิต เพราะทามากทาน้อยก็ได้ผลตอบแทนเท่ากัน และเกิดความ เหน็ ดเหนื่อย ไม่พ อใจจากการที่เจ้าหน้ าที่ของรัฐขู่บงั คับให้ประชาชนเร่งทาการ ผลิต ประกอบกับเกิดภัยธรรมชาติทงั ้ ฝนแล้ง น้าท่วม ติดต่อกันหลายครัง้ ระหว่าง ค.ศ. 1959 – 1960 และการเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงระหว่างจีนกับสหภาพโซ เวียตทัง้ ในเรือ่ งปญั หาพรมแดนและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ทาให้สหภาพโซเวียต ถอนความช่ว ยเหลือทัง้ หมดออกจากจีน อย่างกระทัน หัน ใน ค.ศ. 1960 ดังนั น้ ั หาขาดแคลนทัง้ อาหาร เชื้อเพลิง ระหว่า ง ค.ศ. 1959–1961 จีน จึงประสบป ญ เสือ้ ผ้า ฯลฯ ส่งผลให้เกิดความอดอยาก และมีประชาชนเสียชีวติ ประมาณ 20– 30 ล้านคน2 ความล้มเหลวนี้ทาให้ เหมา เจ๋อตง ถูกวิจารณ์ จนเขาตัดสินใจลาออกจาก ตาแหน่งประธานรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐเมือ่ เดือนธันวาคม ค.ศ. 1958 โดยให้ เหตุผลว่าต้องการใช้เวลาในการศึกษาทฤษฎีมาร์กซ์ -เลนิน เพื่อให้ปฏิบตั งิ านของ

1 2

Gray. (2002). op.cit. p. 313. วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2544). เล่มเดิม. หน้า 412. 169


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

พรรคและรัฐมีผลดียงิ่ ขึ้น 1 หลิว เซ่ าฉี รองประธานรัฐบาลกลางและรองประธาน ั หา คณะกรรมการกลางของพรรคขึ้น ด ารงต าแหน่ ง แทน และเข้า มาแก้ป ญ เศรษฐกิจ ซึ่งหลายปี ต่อมา หลิว เซ่ าฉี ได้กล่ าวว่าภัยพิบ ัติจากการรณรงค์ก้าว กระโดดไกลไปข้า งหน้ า เกิด จากความผิด พลาดของมนุ ษ ย์ 70 ส่ ว น จากภั ย ธรรมชาติ 30 ส่วน2 และการรณรงค์ก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้ านี้ ได้กลายเป็ น สาเหตุแห่งความขัด แย้งด้านแนวความคิด ในการพัฒ นาประเทศของผู้นาพรรค คอมมิวนิสต์จนี จนนาไปสูก่ ารกาจัดผูน้ าทีม่ แี นวคิดต่างกันในเวลาต่อมา 3. ระยะฟื้ นตัวทำงเศรษฐกิ จและกำรต่อสู้ทำงแนวควำมคิ ดในพรรค ค.ศ. 1962–1965 เมือ่ ขึน้ เป็ นประธานาธิบดี หลิว เซ่าฉี ในฐานะประธานาธิบดีได้รว่ มกับโจว เอิน ั หาเศรษฐกิจ โดยมี เติ้ง เสี่ย วผิง (Deng Xiaoping, ไหล นายกรัฐมนตรี แก้ป ญ ค.ศ. 1904-1997) เลขาธิก ารพรรค และเฉิ น หยุ น เป็ น ผู้ช่ ว ย นโยบายในการ แก้ ป ัญ หาเศรษ ฐกิ จ นี้ เรี ย กว่ า เข็ ม มุ่ ง ทั ้ง แป ด (Eight-character Directive) ประกอบด้วยคาทีม่ ุ่งให้มคี วามหมายทางเศรษฐกิจ 8 พยางค์ คือ “แก้ไข” หมายถึง แก้ไขข้อผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่ผ่านมา “ตัง้ มัน” ่ หมายถึง สานต่อเศรษฐกิจใน ส่วนทีป่ ระสบผลสาเร็จให้มนคงมากขึ ั่ น้ “ขยายผล” หมายถึง ขยายผลในการผลิต ที่ตงั ้ มันแล้ ่ วให้สมบู รณ์ ย ิ่งขึ้น และ “ยกระดับ ” หมายถึง ยกระดับ คุณ ภาพและ มาตรฐานของสินค้าและผลผลิตให้มคี ณ ุ ภาพ3 แนวทางเข็มมุ่งทัง้ แปดนาไปสู่การดาเนินงานทีส่ าคัญ คือ การแก้ปญั หา ในระบบคอมมูน ด้วยการแบ่งคอมมูนให้เป็ นหน่ วยพื้นฐานทีเ่ ล็กลง คือ เป็ นกอง การผลิตและหน่ วยผลิตเพื่อให้การควบคุมและการดาเนินงานในคอมมูน เป็ นไป อย่างรัดกุม แยกคอมมูนให้มขี นาดเล็กลงเพื่อสะดวกต่อการจัดการ โดยแต่ละคอม มูนให้มเี พียง 20-30 ครัวเรือน พยายามนาระบบทีด่ นิ ส่วนตัวและระบบตลาดเสรี กลับมาใช้ รวมทัง้ นาระบบความรับผิดชอบ (responsibility land system) มาใช้ ภายใต้ระบบนี้ ครัว เรือนการผลิตจะท าสัญ ญากับ หน่ ว ยงานรัฐในท้องถิ่น ว่ าตน สามารถรับผิดชอบการผลิตในพื้นทีม่ ากน้อยเท่าใด ผลิตมากน้อยเพียงใด หากได้ ทวีป วรดิลก. (2547). เล่มเดิม. หน้า 401. 2 Gray. (2002). op.cit. p. 313. 3 วรศักดิ ์ มหัทธโนบล. (2547). เล่มเดิม. หน้า 85. 1

170


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ผลผลิตตามสัญญา ครัวเรือนการผลิตจะได้รบั ผลตอบแทนตามสัญญา หากผลิต มากกว่าสัญ ญาก็อาจได้รบั รางวัลเพิ่ม บางพื้น ที่อนุ ญ าตให้เกษตรกรมีท่ดี ิน ผืน เล็กๆ ส่วนตัว เพื่อทาการผลิตของตนเองหลังจากทางานให้คอมมูน แล้ว 1 ทาให้ เกษตรกรมีแรงจูงใจมากขึน้ รวมทัง้ มีการเปิ ดตลาดนัดในชนบทเพื่อส่งเสริมการ ผลิตและการแลกเปลีย่ นสินค้า นาระบบราคาสินค้ามาใช้ ในภาคอุตสาหกรรม จีน ได้เพิม่ การลงทุนในอุตสาหกรรมที่ผลิตเครื่องมื อเพื่อการเกษตร จัดตัง้ โรงไฟฟ้า ตามเขตชนบท สารวจแหล่งน้ามัน พัฒนาการผลิตอาวุธยุทธปจั จัย สังซื ่ อ้ โครงการ อุตสาหกรรมแบบสมบูรณ์ จากยุโรปตะวันตกและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอุตสาหกรรม เคมีภณ ั ฑ์ การแก้ปญั หาของหลิว เซ่าฉี และเติ้ง เสีย่ วผิง ได้ผลดี ภายในระยะเวลา ั หาความอดอยากได้ ไม่ น านผลผลิต ทางการเกษตรก็ เพิ่ม มากขึ้น และแก้ป ญ เศรษฐกิจ ฟื้ น ตัว ได้ใ น ค.ศ. 1962 และใน ค.ศ. 1965 ผลผลิต ทางการเกษตร กลั บ มาอยู่ ใ นระดั บ เดี ย วกั บ ก่ อ นการรณรงค์ ก้ า วกระโดดไกลไปข้ า งหน้ า อุตสาหกรรมเบาขยายตัวร้อยละ 27 อุตสาหกรรมหนักขยายตัวร้อยละ 172 แต่ แนวทางการแก้ปญั หาแบบนี้กลับทาให้ เหมา เจ๋อตง เกรงว่าจะทาให้อุดมการณ์ คอมมิวนิสต์สนคลอน ั่ และนาไปสูแ่ นวทางทุนนิยม และเหมา เจ๋อตง อาจจะกังวล มากขึน้ เมือ่ ได้ยนิ เติง้ เสีย่ วผิง กล่าวชืน่ ชมและสนับสนุ นระบบความรับผิดชอบด้วย ถ้อยคาเปรียบเทียบที่จะโด่งดังต่อมา ว่า “ไม่ว่าจะเป็ นแมวดาหรือแมวเหลือง ก็ ย่อมเป็ นแมวดีถ้าจับ หนู ได้ ” ซึ่งหมายความว่า ระบบใดก็ตามไม่ว่าจะเป็ นสังคม นิยมหรือทุนนิยม ถ้าแก้ปญั หาเศรษฐกิจได้กด็ เี สมอ เหมา เจ๋ อตง จึงเริม่ การรณรงค์ศกึ ษาสังคมนิย มขึ้น ใน ค.ศ. 1963 โดย เสนอให้ใส่ใจในเรื่องการต่อสูท้ างชนชัน้ ให้รณรงค์เรื่องการชาระล้าง 4 ประการ (the four clean-ups) ประกอบด้วย ชาระล้างบัญชีทม่ี กี ารตกแต่งตัวเลข แก้ปญั หา การปลอมตัวเลขจานวนข้าวในคลังสินค้า ชาระล้างทรัพย์สนิ ส่วนรวมจากการให้ เอกชนถือครองทรัพย์สนิ ได้ และชาระล้างการให้คะแนนในระบบความรับผิดชอบ 3 ข้อ เสนอเรื่อ งการช าระล้ า งสี่ป ระการนี้ น าไปสู่ ก ารออก “ข้อ ก าหนดก่ อ น 10 ประการ” (the Early Ten Points) ของเหมา เจ๋อตง ในเดือนพฤษภาคมปี เดียวกัน แหล่งเดิม. หน้า 90 Spence. (2013). op.cit. p. 534. 3 Ibid., p. 533, Gray. (2002). op.cit. p. 325 และ วรศัก ดิ ์ มหัท ธโนบล. (2547). เล่ ม เดิม. หน้า 95. 1 2

171


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ซึง่ เหมา เจ๋อตงเสนอให้คณะทางานของพรรคเข้าควบคุมวิธกี ารปฏิบตั งิ าน ใช้วธิ ที ่ี เหมาะสมในการแก้ปญั หา ประณามการมีแนวโน้มไปสู่ทุนนิยม ให้คอมมูนกลับมา นาการผลิตอีกครัง้ และให้มกี ารต่อสูท้ างชนชัน้ ซึง่ เขาเน้นเรื่องนี้อกี ครัง้ ในปี ต่อมา1 เท่ากับแสดงให้เห็นว่าเขาไม่เห็นด้วยกับแนวทางแก้ปญั หาเศรษฐกิจทีห่ ลิว เซ่าฉี กับเติ้ง เสีย่ วผิง ทาอยู่ ประกอบกับมีเหตุการณ์ ทเ่ี หมา เจ๋อตง เห็นว่า หลิว เซ่าฉี และเติง้ เสีย่ วผิง ไม่ให้ความสาคัญกับการรณรงค์ศกึ ษาสังคมนิยมทีเ่ ขาดาเนินการ อยู่ เพราะใน ค.ศ. 1965 คณะผูน้ าพรรคทีน่ าโดยหลิว เซ่าฉี ได้พมิ พ์ “ข้อกาหนด หลัง 10 ประการ” (the Latter Ten Points) ออกมา เพื่อจากัดการเคลื่อนไหวเพื่อ ศึกษาสังคมนิยมให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การจัดตัง้ พรรค ซึง่ เหมา เจ๋อตง ไม่พอใจหรือไม่เชื่อถือแนวทางทีห่ ลิว เซ่าฉี กับเติ้ง เสีย่ วผิงปฏิบตั 2ิ ประกอบกับ ความสาเร็จในการแก้ปญั หาเศรษฐกิจ ทาให้ หลิว เซ่าฉี และเติ้ง เสีย่ วผิง ได้รบั การชื่น ชม และท าให้น โยบายที่ผิด พลาดของเหมา เจ๋ อตง ถู กวิพ ากษ์ วิจ ารณ์ ดังนัน้ เหมา เจ๋อตง จึงเริม่ การรณรงค์การปฏิวตั ิวฒ ั นธรรม ใน ค.ศ. 1966 และ ดาเนินไปถึง ค.ศ. 1976 ซึง่ ส่งผลกระทบต่อสังคมจีนอย่างมาก .........................................................

1 2

Gray. (2002). op.cit. p. 325. ทวีป วรดิลก. (2547). เล่มเดิม. หน้า 441. 172


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ ในสมัย เริ่ม ต้ น ของพรรคคอมมิว นิ ส ต์ ที่ม ีค วามขัด แย้ง ด้ า นนโยบาย ระหว่างผู้นาสายโซเวียตกับกลุ่มที่ไม่ยดึ ตามแนวทางโซเวียตในการดาเนิ นงาน เช่น การที่เหมา เจ๋ อตง ให้ค วามส าคัญ กับ ชาวนามากกว่ า กรรมกร ใช้ยุ ท ธวิธี กองโจรมากกว่าการยึดทีม่ นั ่ ซึง่ ทาให้เขาประสบความสาเร็จในเวลาต่อมา แต่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน เกิดความ ขัดแย้งด้านนโยบายระหว่างเหมา เจ๋อตง ทีย่ ดึ แนวทางคอมมิวนิสต์ กับแนวทาง ของฝ่ า ยที่ น าหลัก การทุ น นิ ย มมาปรับ ใช้ เช่ น หลิ ว เซ่ า ฉี และเติ้ ง เสี่ย วผิง วิเคราะห์ว่าท าไมเหมา เจ๋ อตง ที่เคยแสวงหาแนวทางนอกทฤษฎีในการขยาย อานาจของพรรคคอมมิวนิสต์ จึงต่อต้านแนวทางของหลิว เซ่าฉี และเติง้ เสีย่ วผิง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม ทวีป วรดิลก. (2545). เหมาเจ๋อตงฮ่องเต้นกั ปฏิวตั .ิ กรุงเทพฯ : มติชน. บทที่ 9 ฮ่องเต้ของประชาชน , บทที่ 10 รัฐนาวาฝา่ มรสุม , บทที่ 11 วิกฤติ ขัน้ แตกหักในพรรค วรศักดิ ์ มหัทธโนบล. (2547). เศรษฐกิจการเมืองจีน. กรุงเทพฯ : ศูนย์จนี ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บทที่ 2 การสถาปนา “จีนใหม่” และบทที่ 3 การต่อสูส้ องแนวทาง วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2544). “จีนในคริสต์ศตวรรษที่ 20” สายธารแห่งความคิด 2. กรุงเทพฯ : กองทุนเพือ่ วิชาการวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา. Spence, Jonathan D. (2013). The Search for Modern China. 3rd Edition. New York: W.W. Norton & Company. Chapter 19 The Birth of the People’s Republic, Chapter 20 Planning the New Society, Chapter 21 Deepening the Revolution.

173


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 7 กำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรม ค.ศ. 1966-1976 การปฏิว ัติว ัฒ นธรรม หรือ การปฏิว ั ติว ัฒ นธรรมครัง้ ใหญ่ ข องชนชัน้ กรรมาชีพ (The Great Proletarian Cultural Revolution) หรือเรียกในภาษาจีนว่า อู๋ฉานเจียจี๋ เหวินฮัว้ ต้าเก๋อมิง่ (Wuchanjieji Wenhua Dageming) เป็ นเหตุการณ์ หนึ่งในประวัตศิ าสตร์จนี ทีส่ ร้างความสับสนและประหลาดใจแก่โลกภายนอก อาจ กล่าวได้ว่าการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมเป็ นช่วงเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมืองของจีน เป็ น ช่ ว งเวลาที่ระเบีย บปฏิบ ัติในสังคมตัง้ แต่ร ะดับ ครอบครัว จนถึงประเทศถู ก ทาลาย ปราศจากกฎเกณฑ์ใดๆ และเป็ นช่วงเวลาทีไ่ ม่สามารถรูไ้ ด้ว่าจะเกิดอะไร ขึน้ กับตนเองหรือคนรอบข้าง 1. ระยะเวลำของกำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรม ตามมติ พ รรคคอมมิ ว นิ ส ต์ จี น ค.ศ. 1981 ช่ ว งเวลาของการปฏิ ว ั ติ วัฒนธรรมอยูร่ ะหว่าง ค.ศ. 1966 ถึง ค.ศ. 1976 โดยแบ่งเป็ น 3 ระยะ ระยะแรก ตัง้ แต่วนั ที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 1966 ถึงการประชุมสมัช ชา ผูแ้ ทนพรรคทัวประเทศครั ่ ง้ ที่ 9 เดือนเมษายน ค.ศ.1969 เป็ นช่วงทีม่ กี ารกวาด ล้างศัตรูทางการเมืองและการแย่งชิงอานาจระหว่างกลุ่มอย่างรุนแรง ทัง้ การกวาด ล้างพวกลัทธิแก้และการกวาดล้างคู่แข่งทางการเมืองด้วย การปฏิวตั ิวฒ ั นธรรม ช่วงแรกเป็ นความขัดแย้งระหว่างเหมา เจ๋อตง กับ หลิว เซ่าฉีและเติง้ เสีย่ วผิง ระยะทีส่ อง ตัง้ แต่การประชุมสมัชชาผูแ้ ทนพรรคทัวประเทศครั ่ ง้ ที่ 9 เดือน เมษายน ค.ศ.1969 ถึงการประชุ ม สมัช ชาฯ ครัง้ ที่ 10 ค.ศ. 1973 เหตุ ก ารณ์ สาคัญในช่วงนี้เป็ นเรือ่ งความขัดแย้งระหว่างเหมา เจ๋อตง กับ หลิน เปี ยว ระยะทีส่ าม ตัง้ แต่การประชุมสมัชชาผูแ้ ทนพรรคทัวประเทศครั ่ ง้ ที่ 10 ถึง เดือนตุลาคม ค.ศ.1976 เป็ นช่วงการแย่งอานาจกันระหว่างแก๊งสีค่ น เติ้ง เสีย่ วผิง และฮัว่ กว๋ อเฟิ ง (Hua Goufeng, ค.ศ.1921-2008) เมื่อเแก๊ ง 4 คนถูก จับ กุม ถือ เป็ นการสิน้ สุดการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรม1

วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (ตุลาคม 2540-มกราคม 2541). “การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมในจีน” วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน. หน้า 23. 1

174


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อย่ างไรก็ตาม ระยะเวลาของการปฏิว ัติว ัฒ นธรรมมี นั กวิช าการด้านจีน ศึกษาแบ่งไว้ต่างกัน เช่น จอห์น เค. แฟร์แบงค์ กาหนดตัง้ แต่ปลาย ค.ศ. 1965 ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1969 โดยแบ่งออกเป็ น 4 ระยะ คือ1 ระยะแรก ตัง้ แต่ป ลาย ค.ศ. 1965 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1966 เป็ นช่วง การวิพ ากษ์ วิจ ารณ์ เรื่อ งศิล ปวัฒ นธรรม ความคิด เก่ า และระบบศัก ดิน าที่ย ัง หลงเหลืออยู่ ระยะทีส่ อง ตัง้ แต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1966 ถึงสิ้น ค.ศ. 1966 เป็ นระยะที่ การวิพากษ์วจิ ารณ์ขยายไปสู่เจ้าหน้าทีข่ องพรรคตัง้ แต่ระดับล่างขึน้ ไป มีการปลุก ระดมมวลชน จัดตัง้ นักเรียนนักศึกษาเป็ นเยาวชนหงเว่ยปิ ง (Hongweiping) หรือ กลุ่มพิทกั ษ์แดง (Red Guards) โดยมีกองทัพปลดปล่อยประชาชนให้การสนับสนุ น กลุ่มหงเว่ยปิ งได้รบั การอบรมและสนับสนุนให้ทาลายสีเ่ ก่า ระยะทีส่ าม ตัง้ แต่เดือนมกราคม ค.ศ. 1967 ถึงกลาง ค.ศ. 1968 เป็ นระยะ ทีก่ ลุ่มหงเว่ยปิ งทาการรุนแรงในการกวาดล้างสีเ่ ก่า เจ้าหน้าทีพ่ รรค บุคคลสาคัญ ในพรรค ประชาชน จนเกิดความวุ่นวายทัวประเทศ ่ และหงเว่ยปิ งแบ่งเป็ นหลาย กลุ่ ม มีก าลัง มากขึ้น บางกลุ่ ม ขัด แย้ ง ต่ อ สู้ ก ัน เอง และต่ อ สู้ ก ับ กองทัพ เมื่ อ สถานการณ์เข้าขัน้ วิกฤติ เหมา เจ๋อตงจึงสังให้ ่ กองทัพปลดปล่อยประชาชนภายใต้ การบัญชาการของนายพลหลิน เปี ยว เข้าปลดอาวุธหงเว่ยปิ ง และส่งเยาวชนทีเ่ ป็ น พวกหงเว่ยปิ งไป “เรียนรูก้ ารปฏิวตั ”ิ ในชนบท ระยะที่ส่ี ตัง้ แต่กลาง ค.ศ. 1968 ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 1969 เป็ นระยะที่ เหมา เจ๋อตง พยายามสร้างพรรคและรัฐบาลขึน้ ใหม่ หลังจากเจ้าหน้าทีแ่ ละบุค คล สาคัญหลายคนถูกกาจัดไป โดยมีกองทัพปลดปล่อยประชาชนเป็ นฐานกาลัง และ ในการประชุมสมัชชาพรรคครัง้ ที่ 9 ในเดือนเมษายน ค.ศ.1969 เมื่อเหมา เจ๋อตง แต่ ง ตัง้ ให้ ห ลิ น เปี ย ว เป็ น ทายาททางการเมือ งถื อ เป็ น การสิ้น สุ ด การปฏิ ว ัติ วัฒนธรรม อิมมานูเอล ซี.วาย.สีว์ กาหนดว่าเริม่ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1965 เมื่อ หนังสือพิมพ์กองทัพปลดปล่อยประชาชนรายวันสาขาซังไห่ ่ ตีพมิ พ์บทวิจารณ์เรือ่ ง ไห่รุ่ยถูกปลดจากตาแหน่ ง (The Dismissal of Hai Rui) ทีเ่ ขียนโดย เหยา เหวินห ยวน (Yao Wenyuan) ตอบโต้บ ทความของ อู๋ หาน (Wu Han) ที่เขียนวิจารณ์ ละครเรื่ อ ง ไห่ รุ่ ย ต าห นิ องค์ จ ั ก รพ รรดิ (Hai Rui Scolds the Emperor) ใน Fairbank. (1988). The Great Chinese Revolution 1800-1985. p. 317 and China A New History. pp. 389-397. 1

175


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หนังสือพิมพ์ประชาชนรายวัน (People’s Daily)1 ส่วนนักวิชาการไทย คือ เขียน ธี ระวิทย์ แบ่งตามประกาศมติคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ว่าอยู่ระหว่าง เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1966 ถึงเดือนเมษายน ค.ศ. 19692 2. สำเหตุกำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรม สาเหตุการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมโดยสรุป ได้แก่ ประการแรก เหมา เจ๋ อ ตงต้ อ งการรัก ษาอุ ด มการณ์ ปฏิ ว ัติ ไ ว้ ไ ม่ ใ ห้ เปลีย่ นไปเป็ นลัทธิแก้ (revisionism) ซึง่ หันเหไปในแนวทางทุนนิยม เหมา เจ๋อตง ได้ประณามนิกติ า ครุสเชฟ (Nikita Khrushchev) ผูน้ าสหภาพโซเวียตว่าเป็ นผูท้ ่ี หันเหไปทางลัทธิแก้ และในเมืองจีนนัน้ เหมา เจ๋อตง มองว่าหลิว เซ่าฉี และ เติ้ง เสีย่ วผิงเป็ นผูน้ ิยมลัทธิแก้ หลิว เซ่าฉีถูกเรียกว่าเป็ นครุสเชฟของจีนและเป็ นผูท้ ่ี เดินทางสายทุนนิยมหมายเลขหนึ่ง ส่วนเติ้ง เสีย่ วผิง เป็ นผูเ้ ดินทางสายทุนนิยม หมายเลขสองและทัง้ สองเป็ นเป้าหมายสาคัญทีต่ อ้ งถูกกาจัด ทัง้ นี้เหมา เจ๋อตงเห็น ว่าพวกลัทธิแก้ในจีนกาลังทาให้พรรคแยกจากประชาชน และแทนทีด่ ว้ ยการสะสม สิทธิพเิ ศษ ทาให้เกิดการเติบโตของชนชัน้ ปกครองใหม่ทอ่ี งค์กรของพรรคมีสทิ ธิ พิเศษ และมีเมืองเป็ นศูนย์กลาง ซึง่ เหมา เจ๋อตง เห็นว่ าเขาต้องเข้าควบคุมเพื่อให้ พรรคยึดมันลั ่ ทธิคอมมิวนิสต์ และมีการต่อสูท้ างชนชัน้ ประการทีส่ อง เหมา เจ๋อตง ต้องการกาจัดบุคคลทีเ่ ป็ นศัตรูทางการเมือง ประการทีส่ าม ต้องการทาลายสิง่ เก่าในอดีตทีเ่ ห็นว่าเป็ นอุปสรรคต่อการ ปฏิวตั เิ รียกว่าการทาลายสีเ่ ก่า (Four Olds) ประกอบด้วย ความคิดเก่า วัฒนธรรม เก่า นิสยั เก่า ประเพณีเก่า ประการที่ส่ี การที่เหมา เจ๋ อตงถูกโจมตีจากความล้มเหลวของนโยบาย ก้า วกระโดดไกล ท าให้ เหมา เจ๋ อ ตง ต้ อ งสูญ เสีย ความน่ า เชื่อ ถือ และต้ อ งลด บทบาทลง จึงต้องใช้วธิ กี ารปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมฟื้นฟูอานาจของตน โดยกาจัดบุคคลที่ เคยโจมตีเขาและบุคคลทีข่ น้ึ มามีบทบาททัดเทียมเขา ประการที่ห้า คือ ความเห็น ที่แ ตกต่ างกัน วิธีการที่ควรน ามาใช้พ ัฒ นา ประเทศ

1 2

Hsu. (1995). op.cit . p. 697. เขียน ธีระวิทย์. (2519). การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน. หน้า 195 176


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประการทีห่ ก เหมา เจ๋อตงต้องการเปลีย่ นวัฒนธรรมและค่านิยมทางการ เมือ ง โดยต้ อ งการให้ค นทุ ก ระดับ ทุ ก อาชีพ ถือ เรื่อ งการเมือ งเป็ น กิจ กรรมใน ชีวติ ประจาวัน และต้องการให้มวลชนมีส่วนร่วมทางการเมือง รวมถึงต้องการให้ เยาวชนได้เรียนรูก้ ารปฏิวตั ิ ด้วยการปฏิบตั จิ ริง1 3. ควำมขัดแย้งก่อนกำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรม ความล้มเหลวของนโยบายก้าวกระโดดไกลไปข้างหน้ าทาให้เกิดความ ขัดแย้งกันในหมู่ผนู้ า เหมา เจ๋ อตง ถูกวิจารณ์ และถูกกดดันให้ออกจากตาแหน่ ง ประธานาธิบดีตงั ้ แต่เดือนธันวาคม ค.ศ.1958 โดย หลิว เซ่าฉี ขึน้ ดารงตาแหน่ ง แทน แต่ เหมา เจ๋อตง ยังคงดารงตาแหน่ งประธานพรรคคอมมิวนิสต์จนี อยู่ ใน เดือนกรกฏาคม – สิงหาคม ค.ศ.1959 มีการประชุมคณะกรรมการกลางของพรรค ทีเ่ มืองหลูซาน (Lushan) มณฑลเจียงซี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เผิง เต๋อ ไฮว่ ซึ่งมีความสัมพันธ์ทส่ี นิทสนมแนบแน่ นกับเหมา เจ๋อตง มาก เพราะเป็ นชาว มณฑลหูหนานเหมือนกัน และร่ว มรบกับ พรรคกว๋ อ หมิน ตัง่ มาด้ว ยกัน ได้เขีย น จดหมายส่วนตัวถึง เหมา เจ๋อตง วิจารณ์ ความผิดพลาดต่างๆ ของนโยบายก้าว กระโดดไกลและระบบคอมมูน แม้ว่าจดหมายที่ เผิง เต๋อไฮว่ เขียนถึง เหมา เจ๋อ ตง จะไม่มถี ้อยคาทีโ่ จมตี เหมา เจ๋อตง โดยตรง แต่การโจมตีนโยบายทีล่ ้มเหลว ของ เหมา เจ๋อตง ก็อาจทาให้เหมา เจ๋อตงคิดว่าเป็ นการโจมตีเขาด้วย นอกจากนี้ เหมา เจ๋อตง ยังเห็นว่า เผิง เต๋อไฮว่ ต่อต้านตนโดยดูจากการ ที่ เผิง เต๋อไฮว่ เคยเสนอให้ตดั คาว่า “ความคิด เหมา เจ๋อตง” ออกจากธรรมนู ญ ของพรรค รวมทัง้ การที่ เผิง เต๋ อไฮว่ เดินทางไปดูสภาพชีวติ ของชาวมณฑลหู หนาน ซึ่งเป็ นบ้านเกิดของทัง้ เหมา เจ๋อ ตง และ เผิง เต๋อไฮว่ เพื่อพิสูจน์ ว่ามีคน อดอยากจริงและตัวเลขผลผลิตต่าง ๆ เป็ นการสมมติข้นึ ทัง้ สิ้น 2 เหมา เจ๋อตง

มูลศิลป์. (ตุลาคม 2540 - มกราคม 2541). “การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมในจีน” วารสาร ราช บัณ ฑิต ยสถาน. หน้ า 23. , เขีย น ธีร ะวิท ย์. (2519). การเมือ งการปกครองของ สาธารณรัฐประชาชนจีน . หน้า 192 -193 , เติ้ง หยง. (2546). เติ้ง เสีย่ วผิง ว่าด้วยการ ปฏิวตั ิวฒ ั นธรรมและเค้าโครงความคิดเศรษฐกิจจีนใหม่ . สุขสันต์ วิเวกเมธากร แปล. Fairbank. (1992). op.cit. pp.385-387 , Gray. (2002). op.cit. pp. 333 - 334 , 337 – 338 , and Spence. (2013). op.cit. pp. 541-548. 2 Spence. (2013). op.cit. p.521. 1วุฒช ิ ยั

177


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ตอบโต้โดยนาจดหมายส่วนตัวที่ เผิง เต๋อไฮว่ เขียนถึงไปลงในหนังสือพิมพ์และ กล่ า วโทษว่ า เผิง เต๋ อ ไฮว่ วางแผนต่ อ ต้ า นพรรค มีแ ผนโค่ น ล้ ม ระบอบการ ปกครองที่ เหมา เจ๋ อ ตง เป็ นผู้ น า คบคิ ด กับ สหภาพโซเวี ย ตวางแผนท า รัฐ ประหารและลบหลู่ ดู ห มิ่ น การปฏิ ว ัติ และปลดเผิ ง เต๋ อ ไฮว่ จ ากต าแหน่ ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมใน ค.ศ. 1959 โดย หลิน เปี ยว ได้ดารงตาแหน่ ง แทน ความขัดแย้งระหว่าง เผิง เต๋อไฮว่ กับ เหมา เจ๋อตง เกิดจากแนวคิดใน การพัฒนาประเทศเป็ นหลัก ซึง่ เหมา เจ๋อตง ไม่ยอมรับคาวิจารณ์หรือความเห็นที่ ต่างจากตน ดังนัน้ เผิง เต๋อไฮว่ จึงต้องตกเป็ นเหยื่อความต้องการรักษาอานาจของ เหมา เจ๋อตง เพราะในการประชุมทีห่ ลูซานนี้ เหมา เจ๋อตง ใช้ประโยชน์จากการที่ เผิง เต๋อไฮว่ไม่เห็นด้วยกับตนมารักษาอานาจ โดยกาจัด เผิง เต๋อไฮว่ออกไปอย่าง เด็ดขาด เป็ นตัวอย่างให้ผทู้ ไ่ี ม่เห็นด้วยกับเหมา เจ๋อตงได้เห็นและหวาดกลัว และ เป็ นการให้พรรคเลือกระหว่างเหมา เจ๋อตง หรือ เผิง เต๋อไฮว่ หรือคนอื่นทีไ่ ม่เห็น ด้ว ย ซึ่งพรรคเลือกเหมา เจ๋ อตง ทาให้อานาจที่เริม่ สันคลอนของเหมา ่ เจ๋ อตง มันคงขึ ่ น้ ส่วนเผิง เต๋อไฮว่ กลายเป็ นผูร้ บั เคราะห์ในเหตุการณ์น้ีไป และหลังจากนี้ จะมีผนู้ าระดับต่างๆ ของพรรคและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องหมดอานาจตามเผิง เต๋อ ไฮว่ไป1 ความล้มเหลวของนโยบายก้าวกระโดดไกล ทาให้ หลิว เซ่าฉี และ เติ้ง เสีย่ วผิง เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปญั หาเศรษฐกิจ โดยใช้แนวทางแก้ปญั หาที่ แตกต่างจากเหมา เจ๋ อตง หลิว เซ่าฉี พยายามนาระบบที่ดินส่วนตัวและระบบ ตลาดเสรีกลับมาใช้ อนุญาตให้ธุรกิจขนาดเล็กของเอกชนดาเนินกิจการได้ มีการ เปิ ดตลาดนัดในชนบทเพื่อส่งเสริมการผลิตและการแลกเปลีย่ นสินค้า แยกคอมมูน ให้มขี นาดเล็กลงเพือ่ สะดวกต่อการจัดการ นาระบบราคาสินค้ามาใช้ วิธกี ารปญั หา ของหลิว เซ่าฉีและการทีเ่ ขาได้กล่าวว่าปญั หาทางเศรษฐกิจทีเ่ กิดขึน้ จากการก้าว กระโดดไกลนัน้ มาจากภัยธรรมชาติ 30 ส่วน มาจากการกระทาของมนุ ษ ย์ 70 ส่วน ย่อมทาให้เหมา เจ๋อตงไม่พอใจ และการทีเ่ ติ้ง เสีย่ วผิง คิดว่าไม่จาเป็ นต้อง ั หาได้ ท าให้เหมา เจ๋ อ ตง มี ใช้แ ต่ ล ัท ธิส ังคมนิ ย มถ้า ทฤษฏีอ่ืน สามารถแก้ป ญ ความรูส้ กึ ว่าการแก้ปญั หาทางเศรษฐกิจของหลิว เซ่าฉี และ เติ้ง เสีย่ วผิงเป็ นการ รื้อฟื้ นระบบทุนนิยมและเป็ นการใช้ลทั ธิแก้ เหมา เจ๋อตงจึงพยายามรณรงค์ให้ ม ี อ่านเพิม่ เติมใน ศิรพิ ร ดาบเพชร. “การแย่งชิงอานาจในกลุ่มผูน้ าพรรคคอมมิวนิสต์จนี ” วารสารประวัตศิ าสตร์ มศว ฉบับ พ.ศ. 2545 1

178


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การศึกษาสังคมนิยมอย่างจริงจังระหว่าง ค.ศ. 1963 - 1965 แต่เหมา เจ๋อตงคิดว่า ตนถูกขัดขวางจากหลิว เซ่าฉีและผูน้ าบางคนในพรรค ในกลุ่มปญั ญาชนก็มกี ารวิพากษ์วจิ ารณ์ ความผิดพลาดของนโยบายก้าว กระโดดไกลไปข้างหน้ าและวิธกี ารระดมมวลชนของเหมา เจ๋อตง โดยแสดงออก ทางอ้อมในรูปบทความ บทละคร เรื่องสัน้ และการยกตัวอย่างจากประวัตศิ าสตร์ ทาให้เหมา เจ๋อตง รูส้ กึ ว่าตนเองหมดความสาคัญลง ยิง่ การแก้ปญั หาของหลิว เซ่า ฉีได้ผลดีกเ็ ท่ากับเป็ นการตอกย้าความผิดพลาดของเหมา เจ๋อตงยิง่ ขึน้ ในระยะ นัน้ มีคากล่าวทีไ่ ม่น่าพอใจสาหรับ เหมา เจ๋อตง ออกมามากมาย เช่น “เมือ่ ประธาน เหมาไม่ได้ศกึ ษา 3 วันก็ตามไม่ทนั หลิว เซ่าฉีเสียแล้ว” ปญั ญาชนที่เขียนโจมตีเหมา เจ๋อตง ทางอ้อมได้เด่นชัดคือ อู๋ หาน รอง นายกเทศมนตรีนครเป่ยจิง เขียนวิจารณ์บทละครชื่อ “ไห่รยุ่ ถูกปลดจากตาแหน่ ง” ลงพิมพ์ในนิตยสารวรรณคดีและศิลปะเปย่ จิง ฉบับประจาเดือนมกราคม ค.ศ.1961 ในบทละครนี้ ขุน นางชื่อ ไห่ รุ่ย ถูก ปลดจากต าแหน่ งเจ้าเมือ ง เนื่ องจากขอให้ จัก รพรรดิ คืน ที่ดิน ที่เจ้ า ที่ดิน ริบ ไปจากชาวนาคืน ให้ ช าวนาตามเดิม ท าให้ จักรพรรดิไม่พอพระทัยและปลดไห่ รุ่ย ออกจากตาแหน่ ง บทละครเรื่องนี้ทาให้ ผู้คนนึกถึง เผิง เต๋ อไฮว่ ที่ต้องถูกปลดเพราะกล้าพูดความจริงกับเหมา เจ๋ อตง แม้กระทังเหมา ่ เจ๋ อตง ก็เชื่อว่าเป็ น การโจมตีเขาจากการปลดเผิง เต๋ อไฮว่ เมื่อ ค.ศ. 1959 บทความเรื่องนี้ ต่ อมาท าให้ อู๋ หาน ถู ก โจมตี และเผิง เจิน (Peng Zhen) นายกเทศมนตรีนครเป่ยจิง หัวหน้าของอู๋ หาน ถูกลงโทษประณาม และถูก ปลดในเดือนเมษายน ค.ศ. 1966 ก่อนการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมเริม่ ขึน้ ไม่นาน ความขั ด แย้ ง เรื่ อ งนโยบายการพั ฒ นาประเทศ และการที่ ม ี ก าร วิพากษ์วจิ ารณ์ เหมา เจ๋อตง จากกลุ่มต่างๆ ทัง้ กลุ่มผูน้ าในพรรคและปญั ญาชนได้ นาไปสู่การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรม ซึ่งมีการต่อ สูแ้ ย่งชิงอานาจกันระหว่างผู้นาระดับสูง ของพรรค โดย เหมา เจ๋อตง มีกองทัพปลดปล่อยประชาชนภายใต้การบัญชาการ ของหลิน เปี ยวให้การสนับสนุ น และมีนางเจียง ชิง (Jiang Qing, ค.ศ.1914-1991) ภรรยาของเหมา เจ๋อตง ทีเ่ ข้าควบคุมด้านการรณรงค์ทางวัฒนธรรม ส่วนหลิว เซ่า ฉี มีสถาบันของพรรคอยูภ่ ายใต้การควบคุม

179


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

4. กำรดำเนิ นกำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรม กำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรมระยะแรก แม้ว่า เหมา เจ๋อตง ถูกโจมตีและสูญเสียอานาจไปมาก แต่ในฐานะผู้นา การปฏิวตั แิ ละประธานพรรคคอมมิวนิสต์ประกอบกับการนาฝา่ ยทหารจากกองทัพ ปลดปล่อยประชาชนภายใต้การบัญชาการของหลิน เปี ยว มาสนับสนุ น และมีการ ตัง้ กลุ่มปฏิวตั ิวฒ ั นธรรมกลาง (The Central Cultural Revolution Group) ขึ้น มา ภายใต้การดาเนินงานของนางเจียง ชิง และกลุ่มปญั ญาชนหัวรุนแรงจากซังไห่ ่ ซึง่ ต่อมารูจ้ กั กันในชือ่ แก๊งสีค่ น (The Gang of Four) ทาให้ เหมา เจ๋อตง ยังคงรักษา อานาจและอิทธิพลไว้ได้อยู่ และได้เริม่ กาจัดศัตรูทางการเมือง โดยการเคลื่อนไหว ช่วงแรกเป็ นการจัดการกับเจ้าหน้ าที่ท่ไี ม่สนองนโยบายของเหมา เจ๋ อตง โดยที่ ผูน้ าคนอืน่ ๆ ไม่ว่าจะเป็ น โจว เอินไหล ,หลิว เซ่าฉี หรือ เติง้ เสีย่ วผิง ไม่ได้นึกว่า จะส่งผลกระทบต่อพวกเขาและคนส่วนใหญ่ดว้ ย

โปสเตอร์รณรงค์การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรม และหงเว่ยปิ งกับหนังสือแดงเล่มเล็กทีม่ ี คาสอนและคติพจน์ของเหมา เจ๋อตง ตามแนวทางการสร้างลัทธิบชู าบุคคล

180


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ในการประชุมครัง้ ที่ 11 ของคณะกรรมการกลางพรรคในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1966 ได้ ม ี ก ารเปลี่ ย นแปลงครัง้ ส าคัญ ในคณะกรรมการกรมการเมือ ง (Politburo) ซึ่งเป็ นองค์กรระดับสูงสุดของพรรค หลิน เปี ยวได้เลื่อนจากอันดับ 6 มาอยูอ่ นั ดับ 2 โดยขึน้ เป็ นรองประธานพรรคคนที่ 1 แทนหลิว เซ่าฉีซง่ึ ต้องตกไป อยู่อนั ดับ 8 ส่วนโจว เอินไหล จู เต๋อ เฉิน หยุน และเติ้ง เสีย่ วผิง อยู่ในอันดับ 3 , 4 , 5 และ 6 ตามล าดับ นอกจากนี้ ค นสนิ ท ของเหมา เจ๋ อ ตง คือ คัง เซิง (Kang Sheng) และเฉิ น ป๋ อต้า (Chen Boda) ได้เลื่อนเป็ น กรรมการประจ าของ กรมการเมือ ง เท่ า กับ ว่ า เหมา เจ๋ อ ตง มีค นสนิ ท ของตนอยู่ ในคณะผู้น า และ กลายเป็ นว่าในการต่อสูท้ างการเมืองทีเ่ กิดขึน้ เหมา เจ๋อตง เป็ นฝา่ ยได้เปรียบและ สามารถจะควบคุมการทางานการกาหนดนโยบายต่างๆ โดยไม่ตอ้ งกังวลว่าเสียง ในคณะผู้นาจะแตกออกไปจนทาให้นโยบายที่ต้องการล้มเหลว นอกจากนี้เหมา เจ๋อตง ยังมีกาลังจากกองทัพปลดปล่อยประชาชนและกาลังเยาวชนหงเว่ยปิ ง หรือ ขบวนการพิทกั ษ์แดง ให้การสนับสนุ นและเป็ นกลุ่มที่เหมา เจ๋อตง ใช้กาจัดศัตรู ทางการเมืองด้วย

การก่อการของหงเว่ยปิง

หงเว่ย ปิ งภายใต้การสนับ สนุ น ของเหมา เจ๋ อตง ขยายตัวออกไปอย่า ง รวดเร็วทัวประเทศ ่ และกระทาการด้วยความรุนแรง ซึง่ มีทงั ้ การติดโปสเตอร์กล่าว โจมตี การทรมาน ทาร้ายร่างกาย กล่าวประณาม กล่าวโทษและวิพากษ์วจิ ารณ์ บังคับให้ผถู้ ูกโจมตียอมรับความผิดผูท้ ป่ี ฏิเสธจะถูกลงโทษ บางคนต้องฆ่าตัว ตาย เพราะทนการทรมานไม่ไหว และมีคนจานวนมากต้องเสียชีวติ จากความรุนแรงนี้ ในช่วงแรกทีเ่ กิดความวุ่นวาย หลิว เซ่าฉีพยายามควบคุมโดยส่งคณะทางาน 400 ั หาและสถานการณ์ ต ามโรงเรีย นและ คณะๆ ละ 25 คน ไปร่ ว มพิจ ารณาป ญ 181


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

มหาวิทยาลัย ทาให้เหมา เจ๋อตงมองว่าหลิว เซ่าฉี พยายามให้องค์กรของพรรคเข้า แทรกแซง แทนทีจ่ ะให้มกี ารทางานโดยมวลชนตามนโยบายของเหมา 1 ดังนัน้ ใน วัน ที่ 5 สิง หาคม ค.ศ.1966 จึ ง มี ห นั ง สื อ พิ ม พ์ ก าแพงที่ ม ี ข ้อ ความว่ า “ถล่ ม กองบั ญ ชาการ” ติ ด ไว้ ท่ี ท่ี ท าการของคณ ะกรรมการกลางของพรรค ซึ่ ง กองบัญชาการนี้มกี ารตีความว่าหมายถึงสานักงานบริหารเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้ การดูแลของประธานาธิบดีหลิว เซ่าฉี และรองนายกรัฐมนตรีเติ้ง เสีย่ วผิง เท่ากับ เป็ นการบอกให้กาจัดผูน้ าในพรรคทีร่ องลงมาจากเหมา เจ๋อตง ยกเว้นหลิน เปี ยว ถึงตอนนี้ฐานะของหลิว เซ่าฉี ทีเ่ ป็ นถึงประมุขของประเทศแทบจะไม่มคี วามสาคัญ เลย เพราะอานาจทัง้ หมดขึน้ อยูก่ บั เหมา เจ๋อตงเพียงคนเดียว

เหมา เจ๋อตง ออกพบหงเว่ยปิ งเมือ่ วันที ่ 18 สิงหาคม ค.ศ.1966

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1966 เหมา เจ๋ อตงมีคาสังให้ ่ หลิว เซ่ าฉี และเติ้ง เสีย่ วผิง ออกแถลงการณ์ วพิ ากษ์ตนเอง คาสังนี ่ ้ อาจเป็ นเสมือนการดูท่าทีของทัง้ สองว่าจะต่อต้านหรือยอมเชื่อฟงั ซึง่ ถ้าทัง้ สองยอมวิพากษ์ตนเองย่อมทาให้ผทู้ ไ่ี ม่ เห็นด้วยกับเหมา เจ๋อตง ไม่กล้าแสดงการต่อต้านออกมา อีกประการคือเหมา เจ๋อ ตง อาจจะยังไม่มนใจว่ ั ่ าถ้าใช้มาตรการรุนแรงไปแล้วจะสามารถกาจัดหลิว เซ่าฉี กับพรรคพวกได้โดยง่ายหรือไม่ เพราะมีผนู้ าของพรรคและผูน้ าทหารหลายคนที่ ไม่เห็นด้วยกับ การรณรงค์ของเหมา เจ๋ อตง แต่ถ้าหลิว เซ่าฉี ยอมรับอานาจและ นโยบายของเหมา เจ๋อตง โดยยอมวิพากษ์ตนเองก็จะเป็ นการเน้ นถึงอานาจของ เหมา เจ๋อตง และระงับเสียงวิพากษ์วจิ ารณ์ หรือต่อต้านลงไปได้ ปรากฏว่าหลิว 1

Fairbank. (1992). op.cit. p. 390. 182


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เซ่าฉี และเติ้ง เสีย่ วผิง ยอมวิพากษ์ตนเอง เหมา เจ๋อตง จึงบอกว่ าทัง้ คู่ไม่ควรถูก ประณามจากการกระทาทีผ่ ่านมาอีกต่อไป หลังจากนี้บทบาทของหลิว เซ่าฉี และ เติง้ เสีย่ วผิง ก็ลดลง ยุง จาง (Yung Zhang)1 ผูเ้ ขียนหนังสือเรื่องหงส์ป่า(Wild Swans) ซึ่งเคย เป็ นหงเว่ ย ปิ ง ในช่ ว งนี้ กล่ า วถึ ง เหตุ ก ารณ์ ห นึ่ ง ที่ส ะท้ อ นให้ เ ห็ น ถึง การหมด ความสาคัญของหลิว เซ่าฉี ไว้ว่า สมัยทีผ่ เู้ ขียนเป็ น หงเว่ยปิ งได้เดินทางไปกรุงเป่ ยจิงกับเพื่อน เพื่อเข้าพบประธานเหมาในพิธที จ่ี ตุรสั เทียนอานเหมินเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1966 ซึง่ เป็ นช่วงทีห่ ลิว เซ่าฉีถูกโจมตีแล้ว ผูเ้ ขียนบอกว่าหลิว เซ่ าฉี มีท่ าทางเงียบขรึม และเหนื่ อยหน่ าย ในการสวนสนามครัง้ ใดมักจะอยู่ใน ตาแหน่ งทีไ่ ม่สาคัญเสมอและในครัง้ นี้หลิว เซ่าฉีอยู่ในรถคันเกือบสุดท้าย ผูเ้ ขียน กล่ า วว่ า ในขณะนั ้น ไม่ ม ี ค วามรู้ ส ึ ก สงสารเลย แม้ ว่ า หลิ ว เซ่ า ฉี จะเป็ นถึ ง ประธานาธิบดี แต่กไ็ ม่มคี วามหมายต่อคนรุ่นผูเ้ ขียนทีเ่ ติบโตมากับลัทธิเหมาเพียง อย่างเดียวเท่านัน้ และคิดว่าถ้าหากเป็ นปฏิปกั ษ์กบั ประธานเหมาก็ควรถูกกาจัด2 จากข้อเขียนนี้ แสดงให้เห็นถึงความสาเร็จอันเยี่ยมยอดในการใช้ลทั ธิเทิดทูน ตัว บุคคลของเหมา เจ๋อตง การปฏิวตั ิวฒ ั นธรรมรุน แรงมากขึ้น เมื่อเข้าสู่ ค.ศ. 1967 โดยเฉพาะที่ เมืองซัง่ ไห่ซ่ึงเป็ น ฐานอานาจของเหมา เจ๋ อตง และกลุ่ม ปฏิว ัติวฒ ั นธรรมกลาง ช่วงนี้หลิว เซ่าฉี และเติง้ เสีย่ วผิง ไม่ได้ปรากฏตัวท่ามกลางสาธารณชน แต่ยงั ถูก โจมตีจากกลุ่มพรรคพวกของเหมา เจ๋อตง และกลุ่มของเจียง ชิง คือ จาง ชุนเฉียว (Zhang Chunqiao) เหยา เหวิน หยวน และหวาง หงเหวิน (Wang Hongwen) โจว เอิน ไหล พยายามควบคุม สถานการณ์ โดยในปลายเดือนกุม ภาพัน ธ์ ค.ศ. 1967 โจว เอิน ไหล เป็ น ประธานการพบปะกัน ระหว่ างพวกหัว รุน แรงของกลุ่ ม ปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมกลางและทหารฝา่ ยอนุ รกั ษ์ เพื่อหาทางแก้ปญั หา แต่การพบปะนี้ ถู ก กลุ่ ม ปฏิ ว ัติ ว ัฒ นธรรมกลางน าไปขยายว่ า เป็ น “การเป็ นปฏิ ป กั ษ์ เ ดื อ น กุมภาพันธ์” (February adverse current) หลิว เซ่าฉี และครอบครัวต้องประสบเคราะห์กรรมในครัง้ นี้ดว้ ย โดยหลิว เซ่าฉีและภรรยา คือ หวาง กวงเม่ย (Wang Guangmei) ถูกหงเว่ยปิ งบุกเข้าจับกุม ในวันที่ 18 กรกฏาคม ค.ศ. 1967 ในบ้านพักที่เขตจงหนานไห่ (Zhongnanhai) หรือในหนังสือบางเล่มใช้ว่า Jung Chang เช่น Empress Dowager Cixi: The Concubine Who Launched Modern China. 2 ยุง จาง. (2539). หงส์ปา ่ เล่ม 2. หน้า 104. 1

183


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ซึ่งเป็ นเขตที่พกั ของผูน้ าสาคัญของพรรค ทัง้ สองถูกทาร้าย ถูกทรมาน ถูกพา เดินประจานไปตามท้องถนนโดยถูกจับแต่งกายราวกับเป็ นตัวตลก และถูกกล่าว ประณาม หลิว เซ่าฉีถกู บังคับให้วจิ ารณ์ตนเองว่าดาเนินงานผิดพลาด ให้ยอมรับว่า เป็ น ทุ น นิ ย ม ในเดือ นกัน ยายน หลิว เซ่ า ฉี เขีย นจดหมายถึงเหมา เจ๋ อตง ขอ ลาออกจากต าแหน่ งประธานาธิบ ดี ด้ ว ยเหตุ ผ ลว่ า ต้ อ งการรัก ษาศัก ดิศ์ รีแ ละ เกีย รติย ศของประธานาธิบ ดีข องประเทศไว้ไม่ ให้ถู กเหยีย บย่ า หลิว เซ่ า ฉี ถู ก ทรมานจนขาพิการ ถูกริบยาโรคเบาหวานซึ่งเป็ นโรคประจาตัวทาให้อาการทรุ ด หนักและถูกย้ายไปคุมขังอยู่ท่มี ณฑลเหอหนานใน ค.ศ. 1969 ต่อมาถูกปลดออก จากการเป็ นสมาชิกพรรคในข้อหาเป็ นผูท้ รยศหักหลัง เป็ นสุนัขรับใช้ลทั ธินายทุน และจักรวรรดินิยม หลิว เซ่ าฉี ถึงแก่อสัญ กรรมเมื่อวัน ที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1969 ใน บันทึกหลักฐานการเสียชีวิตนัน้ ใช้ช่อื ว่า หลิว เว่ยหลง อายุ 71 ปี เสียชีวติ ด้วย โรคติดต่อร้ายแรง หลิว เซ่าฉีตายไปในสภาพคนอนาถา ไม่มตี าแหน่ ง ไม่มญ ี าติพ่ี น้องทัง้ ทีเ่ คยเป็ นถึงประธานาธิบดีของประเทศ ส่วน หวาง กวงเม่ย ถูกแยกไปขัง อยู่ท่ีเรือนจ าแห่ งหนึ่ งในกรุงเป่ ย จิงตัง้ แต่ ค.ศ. 1969 จนได้ร บั การปล่ อยตัว ใน ค.ศ.1979 ส่วนบุตรชายคนโตถูกทาร้ายจนเสียชีวติ ในมองโกเลีย บุตรชายคนที่ 2 ถูกขังลืมในคุกมืด 11 ปี จนเป็ นโรคขาดอาหารและวัณโรคเรือ้ รังหลังจากถูกปล่อย ตัวออกมาเพียง 3 เดือนก็เสียชีวติ ส่วนบุตรสาวถูกเนรเทศไปอยูท่ ม่ี องโกเลียใน เขตทีล่ า้ หลังทีส่ ดุ ทาให้หา่ งไกลจากการคุกคาม ส่ว นเติ้ง เสี่ย วผิง เคราะห์ดีกว่ า หลิว เซ่ า ฉีม าก ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1967 เติ้ง เสี่ยวผิง ถูกประณามอย่างเป็ นทางการว่าเป็ นผู้ท่เี ดินทางสายทุน นิยมหมายเลข 2 จึงถูกนาตัวไปประจานและทรมานโดยพวกหงเว่ยปิ ง ถูกถอด จากตาแหน่งทางการเมืองแต่ยงั ได้เป็ นสมาชิกพรรคอยู่ เติง้ เสีย่ วผิงถูกกักบริเวณ อยู่ในบ้านพัก 2 ปี ต่อมาถูกส่งไปอยู่ทเ่ี มืองหนานชาง (Nanchang) มณฑลเจียงซี ในเดือนตุล าคม ค.ศ.1969 พร้อมกับ ภรรยา โดยท างานเป็ น กรรมกรในอู่ซ่ อม เครื่องจักรกล เติ้ง เสี่ยวผิง อยู่ท่หี นานชางจนถึงช่วงที่หลิน เปี ยว เสียชีวิตใน ค.ศ. 1972 จึงได้กลับกรุงเป่ยจิงอีกครัง้ ส่วนลูกของเติ้ง เสีย่ วผิง ประสบภัยจาก การปฏิว ัติว ัฒ นธรรมเช่น กัน โดยเติ้ง หลิน (Deng Lin) ถูกส่งไปทางานหนักที่ มณฑลเหอเปย่ เติง้ ผูฟ่ าง (Deng Pufang) ถูกบังคับให้กล่าวประณามเติง้ เสีย่ วผิง จนพยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดจากตึกชัน้ 3 และไม่ได้รบั การดูแลรักษาที่ ดีจนเป็ นอัมพาตครึง่ ล่าง เติ้ง หนาน (Deng Nan) ถูกกักบริเวณไม่ให้กลับบ้าน

184


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ส่วนเติ้ง หยง(Deng Yong) และเติ้ง จือ้ ฟาง (Deng Zhifang) ถูกส่งไปดัดนิสยั และ ทางานหนักทีห่ มูบ่ า้ นชนบทแห่งหนึ่งในมณฑลซานซี 1

เหมา เจ๋อตง และหลิว เซ่าฉี ก่อนการปฏิวตั ิ วัฒนธรรม

เติ้ง เสียวผิ ่ ง ตกและฟื้นอานาจหลายครัง้ ในช่วงปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรม

เมื่อบรรดาผูน้ าระดับสูงในพรรคและกองทัพถูกโจมตีอย่างหนัก โจว เอิน ไหล ได้พยายามปกป้องอย่างเต็มทีแ่ ละช่วยเหลือครอบครัวของผูถ้ ูกโจมตี รวมทัง้ ส่งคนไปคุม้ ครองป้องกันโบราณสถาน โบราณวัตถุจานวนมากไม่ให้ถูกทาลาย จากการกาจัดสีเ่ ก่าของหงเว่ยปิ ง แต่ขณะนัน้ กระแสการปฏิว ัติรุนแรงมากทาให้ โจว เอินไหล ต้องระวังตัวเช่นกัน จึงไม่กล้าทาสิง่ ทีห่ กั หาญความต้องการของเหมา เจ๋อตงมากเกินไป แต่กช็ ่วยผ่อนหนักเป็ นเบาได้มาก สมาชิกพรรคทีร่ อดชีวติ จาก การช่วยเหลือของโจว เอินไหล จานวนมากต่อมาจะได้กลับมาเป็ นกาลังสาคัญใน พรรคและรัฐบาลเมื่อการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมสิ้นสุดลง ซึง่ หนึ่งในนัน้ คือ เติ้ง เสีย่ วผิง การที่ โจว เอินไหล ยังรักษาตาแหน่งของตนไว้ได้ในช่วงนี้ เป็ นเพราะเหมา เจ๋อตง ตระหนักดีว่า โจว เอินไหลเป็ นคนทีป่ ระเทศจะขาดไม่ได้ เพราะไม่ว่าการปฏิวตั ิ วัฒนธรรมจะดาเนินไปอย่างไร การบริหารประเทศก็ตอ้ งดาเนินต่อไป ซึง่ โจว เอิน ไหล จะต้องเป็ นผูร้ บั ผิดชอบการบริหารประเทศในฐานะนายกรัฐมนตรี

ดูเพิม่ เติมใน เติ้ง หยง (2546). เติ้ง เสีย่ วผิง ว่าด้วยการปฏิวตั ิวฒ ั นธรรมและเค้าโครง ความคิดเศรษฐกิจจีนใหม่. สุขสันต์ วิเวกเมธากร แปล. กรุงเทพฯ : ไฮเออร์ เพรส. 1

185


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทบำทของขบวนกำรหงเว่ยปิ ง ในระยะแรกของการปฏิวตั ิว ัฒ นธรรม กลุ่ ม หงเว่ ย ปิ งซึ่งเป็ น เยาวชนที่ ระดมมาจากโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยต่างๆ ถือเป็ นกาลังสาคัญของฝ่าย เหมา เจ๋ อตง ขบวนการหงเว่ยปิ งนี้มาจากการระดมมวลชนของเหมา เจ๋อตง ที่ ต่างจากการระดมมวลชนที่ผ่านมา คือ เปลี่ยนจากการใช้มวลชนชาวนา มาเป็ น นักเรียนนักศึกษาเป็ นเครื่องมือในการปฏิบตั ินโยบายของตน เยาวชนเหล่านี้ ไม่ เคยมีประสบการณ์ ทางการเมือง แต่ถูกปลุกระดมและกระตุ้นให้เกิดความรูส้ กึ ว่า ตนมีภารกิจสาคัญในการสร้างจีนขึน้ ใหม่อกี ครัง้ โดยทาการปฏิวตั ิ ต้องเรียนรูว้ ธิ กี าร ปฏิวตั ดิ ้วยการลงมือปฏิบตั ิ และถูกสอนให้มองการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมว่าเป็ นการ ต่อสู้ของชนชัน้ หนึ่งในการโค่นล้มอีกชนชัน้ หนึ่ง ในการต่อสู้จะยกเว้นใครไม่ได้ เป็ นอันขาด ทาให้การปฏิบตั งิ านเป็ นไปด้วยความรุนแรง1 การจัดตัง้ หงเว่ยปิ งในครัง้ แรกนัน้ มีการส่งเสริมให้จดั ขึน้ ในโรงเรียน โดย ให้สอนวิชาทีม่ เี นื้อหาเกีย่ วกับลัทธิคอมมิวนิสต์ คติพจน์ของเหมา เจ๋อตง การต่อสู้ ของพรรคคอมมิวนิ ส ต์ ต่อมามีประกาศให้ปิ ด โรงเรียนและมหาวิทยาลัย เพื่อให้ นักเรียนนักศึกษาได้ร่วมกิจกรรมการปฏิวตั ไิ ด้เต็มที่ เมื่อสถานการณ์ รุ นแรงขึ้น โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ต้องปิ ดไปโดยปริยาย ทาให้เยาวชนของชาติไม่ได้รบั การศึกษาตามขัน้ ตอน แต่ หงเว่ยปิ งได้รบั การอบรมให้เคารพเทิดทูนเหมา เจ๋อตง ประดุจเทพเจ้า หงเว่ยปิ งทุกคนจะได้รบั แจกหนังสือสีแดงเล่มเล็ก (Little red book) ทีบ่ รรจุคากล่าวหรือคติพจน์ ของเหมา เจ๋ อตงไว้ ซึ่งเปรียบได้กบั คัมภีร์ศกั ดิ ์สิทธิ ์ ประจาตัวหงเว่ยปิ ง ภายใต้การสนับสนุ นของเหมา เจ๋อตง หงเว่ยปิ งจึงขยายกาลังออกไปอย่าง รวดเร็วทัวประเทศ ่ และกระทาการรุน แรงโดยมีเป้าหมายเป็ น บุ คคลส าคัญ ของ พรรคและครอบครัว นายทหารระดับสูง ปญั ญาชนในสถานศึกษา นักเรียนนอก พ่อค้า ผูท้ เ่ี คยติดต่อกับชาวต่างชาติทงั ้ ในเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว และต่อมาเป็ น ใครก็ได้ท่ีห งเว่ ย ปิ ง หรือผู้อยู่เบื้องหลังเห็น สมควรกาจัด ซึ่งอาจเกิด จากความ ขัด แย้งส่ว นตัวก็ได้ บุ คคลที่ถูก หงเว่ยปิ งกล่าวหาว่าเป็ น พวกทุน นิ ย ม ศักดิน า ต่อต้านการปฏิวตั ิ จะถูกกระทาด้วยวิธตี ่างๆ เช่น ประจาน ทรมานร่างกาย บังคับ ให้รบั สารภาพ ทาร้ายร่างกาย มีคนจานวนมากต้องยอมสารภาพทัง้ ทีไ่ ม่ได้ทา บาง คนฆ่าตัวตายเพราะทนการทรมานไม่ไหว 1

Fairbank. (1992). op.cit. p. 392. 186


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ในช่วงปลาย ค.ศ. 1966 การก่อการของหงเว่ยปิ งรุนแรงมากขึน้ มีทงั ้ การ ทาลายสีเ่ ก่า การกาจัดบุคคลสาคัญของพรรคและองค์กรของรัฐ ทาให้ชวี ติ คนและ สิง่ ล้าค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒ นธรรมของชาติต้องถูกทาลายไปจานวนมาก รวมทัง้ จัดการเปลี่ยนชื่อสถานที่ ถนนหนทาง ที่เห็นว่าสื่อไปในทางทุนนิยมและ ศักดิน า โดยเปลี่ย นให้เป็ นชื่อที่ส ะท้อนถึงการปฏิว ัติ เช่น ถนนแดงตะวัน ออก (ตามทีป่ รากฏในเพลงของพวกหงเว่ยปิ งว่า “The East is Red”)1 ถนนต้านลัทธิแก้ โรงพยาบาลกรรมกร ชาวนา หทาร เมื่อเห็นใครแต่งกายไม่ถูกต้องก็เข้ าจัดการ เช่น ถ้าใส่รองเท้าส้นสูงจะถูกตัดส้น ถ้าใส่กางเกงสีแดงจะถูกลงโทษเพราะเท่ากับ ลบหลู่การปฏิวตั ิ เมื่อหงเว่ยปิ งทารุนแรงมากขึน้ และลุกลามถึงขนาดยกพวกตีกนั เอง เหมา เจ๋อตง จึงสังให้ ่ กองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้าควบคุม นาไปสู่การปลดอาวุธและ ส่งหงเว่ยปิ งจานวนกว่า 20 ล้านคน ออกสู่ชนบทโดยระบุว่าเพื่อให้ไปเรียนรูก้ าร ปฏิวตั ใิ นชนบท ซึง่ มีเยาวชนหงเว่ยปิ งจานวนมากไม่เคยได้กลับสูบ่ า้ นเกิดอีก และ จานวนมากไม่ได้รบั การศึกษาอีกต่อไป ทาให้เยาวชนรุ่นนี้ถูกเรียกว่าเป็ นคนรุ่นที่ สูญเสีย (lost generation) กำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรมระยะที่ 2 การปฏิวตั ิวฒ ั นธรรมระยะที่ 2 อยู่ในช่วงเวลาตัง้ แต่การประชุมสมัชชา ผูแ้ ทนพรรคทัวประเทศครั ่ ง้ ที่ 9 เดือนเมษายน ค.ศ.1969 ถึงการประชุมสมัชชา ผูแ้ ทนพรรคทัวประเทศครั ่ ง้ ที่ 10 ค.ศ. 1973 ประเด็นหลักของการเมืองจีนในช่วงนี้ เป็ นเรือ่ งความขัดแย้งระหว่างเหมา เจ๋อตงกับหลิน เปี ยว หลิน เปี ยวได้รบั แต่งตัง้ ให้เป็ นทายาททางการเมืองของเหมา เจ๋อ ตงใน ค.ศ. 1969 ทาให้เขามีอานาจรอง จากเหมา เจ๋ อตง เพีย งคนเดีย ว แต่ เหมา เจ๋ อตงไม่ ไว้ว างใจและพยายามลด อานาจของหลิน เปี ยว ลง2 กล่าวได้ว่าทัง้ คู่ต่างหวังประโยชน์ ซ่งึ กันและกัน โดย เหมา เจ๋ อตง ใช้ประโยชน์ จากหลิน เปี ยว ในการกาจัด ฝ่ายตรงข้ามในช่วงการ ปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมระยะแรก ส่วนหลิน เปี ยวต้องการสร้างอานาจบารมีภายในพรรค ต้องการสืบทอดอานาจจากเหมา เจ๋อตง ทาให้ เขาแสดงการยกย่องเชิดชู เหมา เจ๋อตง อย่างถึงทีส่ ุดทัง้ การกล่าวว่าเหมา เจ๋อตงเป็ นยอดอัจฉริยะบุคคล เป็ นผูน้ า 1 2

Spence. (2013). op.cit. p. 553. วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (ตุลาคม 2540 – มกราคม 2541). เล่มเดิม. หน้า 107. 187


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ที่เยี่ย มยอดที่สุด รวมทัง้ ยกย่องเชิด ชูผลงานของเหมา เจ๋ อตง และตอบสนอง นโยบายของเหมา เจ๋อตง ทุกประการ ซึง่ เหมา เจ๋อตงได้กล่าวว่าหลิน เปี ยว ยก ย่องเขามากเกินไปและปฏิเสธคายกย่องนัน้ และเมื่อหลิน เปี ยว มีอานาจมากขึน้ ทัง้ ในพรรคและในกองทัพ เหมา เจ๋อตง จึงต้องการลดบทบาทของหลิน เปี ยวลง รวมทัง้ ต้องการลดบทบาททางการเมืองของฝา่ ยทหารลงด้วย

เหมา เจ๋อตง และหลิน เปี ยว ในช่วงเรืองอานาจ

ความขัดแย้งมากขึน้ เมื่อหลิน เปี ยว ต้องการให้เหมา เจ๋อตง คงตาแหน่ ง ประธานาธิบดีเอาไว้เพราะหวังว่าจะได้ดารงตาแหน่ ง แต่บา้ งก็บอกว่าหลิน เปี ยว ต้องการให้เหมา เจ๋ อตงขึ้นดารงตาแหน่ งประธานาธิบดี แต่เหมา เจ๋อตง ปฏิเสธ และกล่าวหาว่าหลิน เปี ยว อยากเป็ นประธานาธิบดีเสียเอง 1 ในการประชุมของ คณะกรรมการกลางที่ เ มื อ งหลู ซ านในเดื อ นสิ ง หาคม ค .ศ. 1970 มี ก ารร่ า ง รัฐธรรมนูญขึน้ ใหม่ และนาไปสู่ความขัดแย้งมากขึน้ เมื่อหลิน เปี ยวต้องการรักษา อานาจของตนไว้ แต่เหมา เจ๋อตง ต้องการควบคุม และเหมา เจ๋อตงยังได้ยกเลิก ตาแหน่ งประธานาธิบดีไปด้วย ต่อมากลุ่มของหลิน เปี ยว ถูกกล่าวหาว่าเป็ นพวก ลัทธิแก้และคิดแผนร้ายเช่นเดียวกับ ทีห่ ลิว เซ่าฉี เคยประสบมาแล้ว แต่เหมา เจ๋อ ตง ยังไม่อาจกาจัดหลิน เปี ยวได้โดยทันที เพราะหลิน เปี ยวยังมีอานาจในกองทัพ อยูม่ าก ความขัดแย้งอีกประการ คือ เรือ่ งการต่างประเทศ เหมา เจ๋อตง เริม่ สนใจ ติด ต่ อ กับ สหรัฐ อเมริก า แต่ ห ลิน เปี ย ว ต้ อ งการให้ป รับ ปรุง ความสัม พั น ธ์ ก ับ สหภาพโซเวียตมากกว่าทีจ่ ะเป็ นประเทศทุนนิยมอย่างสหรัฐอเมริกา เหมา เจ๋อ 1

เขียน ธีระวิทย์. (2527). จีนผลัดแผ่นดิน. หน้า 12. 188


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ตง จึงเริม่ ลดบทบาทของหลิน เปี ยว โดยจับกุมคนสนิทของหลิน เปี ยว คือ เฉิน ป๋อต้า ไปควบคุมไว้ ทาให้หลิน เปี ยว ขาดทีป่ รึกษาในการดาเนินงาน ในช่วงนี้ หลิน เปี ยว อาจคิดถึงสิง่ ทีเ่ คยเกิดขึน้ กับ หลิว เซ่า ฉี ว่าอาจจะเกิดกับตัวเองก็ได้ ดังนัน้ ตามรายงานทีเ่ ปิ ดเผยภายหลังจากทีห่ ลิน เปี ยว เสียชีวติ แล้วของทางการจีน บอกว่าหลิน เปี ยว วางแผนทารัฐประหารโค่นล้มอานาจของเหมา เจ๋อตง และบอก ว่าเป็ นแผนทีไ่ ด้รบั การสนับสนุ นจากสหภาพโซเวียตด้วย แต่แผนล้มเหลว หลิน เปี ยว และครอบครัวจึงหนีไปยังกรุงมอสโคว แต่เครื่องบินตกทีเ่ ขตมองโกเลียนอก ทาให้เสียชีวติ หมดทัง้ ลาในวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1971 ต่อมา หลิน เปี ยว ถูก ประณามว่าวางแผนยึดอานาจเหมา เจ๋อตง ดาเนินการร่วมกับหลิว เซ่าฉี ในการ คัดค้านนโยบายต่อต้านอเมริกา-ช่วยเกาหลีของเหมา เจ๋อตง บ่อนทาลายตาแหน่ ง ของเหมา เจ๋ อตง พยายามฟื้ น ความสัม พัน ธ์กบั สหภาพโซเวีย ต ต่อต้านเรื่อง ความต้องการให้พรรคกาหนดกองทัพของเหมา เจ๋อตง เป็ นตัวแทนนักลัทธิแก้ใน ประเทศ และสุดท้ายต้องถูกขับชือ่ ออกจากพรรค ความขัดแย้งทีน่ าไปสู่จุดจบของหลิน เปี ยว นัน้ น่ าจะมาจากการพยายาม เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึน้ จนนาไปสู่ความไม่ไว้วางใจ และการทีห่ ลิน เปี ยวถูกกาจัดไปครัง้ นี้ส่วนหนึ่งอาจมาจากการทีห่ ลิน เปี ยว สร้างศัตรูในช่วงการ ปฏิวตั ิวฒ ั นธรรมระยะแรกไว้มาก และการขึน้ มามีอานาจอย่างรวดเร็วบนความ เดือดร้อนของผูอ้ น่ื ก็ยอ่ มทาให้มผี ไู้ ม่พอใจเป็ นจานวนมาก ดังนัน้ การเสียชีวติ ของ หลิน เปี ยวอาจมีสาเหตุมาจากการการถูกคู่แข่งหรือศัตรูทต่ี กอานาจไปสมัยก่อน จัดการก็เป็ นได้1 นอกจากประเด็น การเมืองภายในของจีน แล้ว เหตุการณ์ ส าคัญ ของจีน ในช่วงนี้ คือ การทีส่ าธารณรัฐประชาชนจีนได้เ ป็ นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และมีท่นี ั ง่ ในคณะมนตรีความมันคง ่ แทนสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน ) ในวัน ที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1971 และการฟื้นฟูความสัมพันธ์กบั สหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 1972 ทา ให้สถานการณ์ สงครามเย็นของโลกเปลี่ยนโฉมหน้ าจากการมีสองมหาอานาจคือ สหรัฐ อเมริก า และสหภาพโซเวีย ต ไปเป็ น สามขัว้ อ านาจ คือ สหรัฐ อเมริก า สหภาพโซเวียต และจีน การฟื้ นความสัมพันธ์ระหว่างโลกประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์มขี น้ึ เมือ่ ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ขึน้ ดารงตาแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เมื่ อ ค.ศ. 1969 เขาแสดงนโยบายที่ ต้ อ งการเปลี่ ย นความสัม พั น ธ์ จ ากการ 1

เขียน ธีระวิทย์. (2527). เล่มเดิม. หน้า 12. 189


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เผชิญหน้ากับโลกคอมมิวนิสต์มาเป็ นการเจรจากัน และมอบให้ ดร. เฮนรี คิสซิง เจอร์ (Henry Kissinger) หาทางเจรจากับจีน โอกาสมาถึงเมื่อจีนซึ่งต้องการฟื้ น ความสัม พัน ธ์ก ับ สหรัฐอเมริก าได้เชิญ ทีม นั กกีฬ าปิ งปองของสหรัฐอเมริก าไป แข่งขันกับทีมชาติจนี ทีส่ าธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างวันที่ 10-17 เมษายน ค.ศ.1971 โดย โจว เอิน ไหล ให้ ก ารรับ รอง เรีย กกัน ในประวัติศ าสตร์ว่ า เป็ น นโยบายการทูตปิ งปอง (Sino-US ping-pong Diplomacy)

ภาพการ์ตูนการเมืองเกีย่ วกับการทูตปิ งปองของจีนและสหรัฐอเมริกา

ภาพการ์ตูนการเมืองล้อเหตุการณ์การทูตปิ งปองทีไ่ ต้หวันได้รบั ผลกระทบ จากการทีจี่ นคอมมิวนิสต์ได้เป็ นสมาชิกคณะมนตรีความมันคงแห่ ่ งสหประชาชาติ แทนทีไ่ ต้หวันใน ค.ศ. 1971

190


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ต่ อ มา เฮนรี คิส ซิงเจอร์ เดิน ทางเยือ นจีน อย่ า งลับ ๆ เมื่อ วัน ที่ 9-11 กรกฎาคม ค.ศ.1971 เพื่อเจรจากับโจว เอินไหล และนาไปสู่เหตุการณ์ นิกสันช็อก (Nixon shock) เมื่อประธานาธิบดีรชิ าร์ด นิกสัน ไปเยือนจีน ระหว่างวันที่ 21-28 กุ ม ภาพัน ธ์ ค.ศ. 1972 โดยไม่ ม ีช าติ ใ ดรู้ม าก่ อ น และมี แ ถลงการณ์ ร่ ว มจี น สหรัฐอเมริกา ว่าสหรัฐอเมริกายอมรับว่ามีเพียงจีนเดียว (only one China) และตก ลงลดก าลัง ทหารในไต้ ห วัน อนึ่ ง ก่ อ นหน้ า นี้ คือ ในเดือ นตุ ล าคม ค.ศ. 1971 สหประชาชาติมมี ติรบั จีนเข้าเป็ นสมาชิกองค์การสหประชาชาติและได้เป็ นประเทส สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมันคงแห่ ่ งสหประชาชาติท่มี ี 5 ประเทศแทนที่ สาธารณรัฐ จีน (ไต้ ห วัน ) ซึ่ ง น่ า จะเป็ น ผลส าคัญ จากการวิ่ง เต้ น (lobby) ของ สหรัฐอเมริก า ส่วนความสัม พัน ธ์ท างการทูต อย่างเป็ น ทางการระหว่ า งจีน และ สหรัฐอเมริกาจะสถาปนาขึน้ ใน ค.ศ. 1979 การฟื้นฟูความสัมพันธ์กบั สหรัฐอเมริกา นี้ถอื เป็ นผลงานทางการทูตที่สาคัญที่สุดครัง้ หนึ่งของโจว เอินไหล และจีนยังได้ ฟื้ น ความสัม พัน ธ์ ท างการทู ต กับ ญี่ ปุ่ น เมื่อ นายกรัฐ มนตรีท านะกะ คากุ เอะ (Tanaka Kakuei) ซึง่ เดินทางเยือนจีนในวันที่ 25-30 กันยายน ค.ศ. 1972 และมี ผูน้ าของชาติต่างๆ เดินทางมาเยือนอีกหลายชาติ

เหมา เจ๋อตง และ โจว เอินไหล ต้อนรับประธานาธิบดีรชิ าร์ด นิกสัน ค.ศ. 1972 191


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เฮนรี คิสซิงเจอร์ พบปะ เหมา เจ๋อตงและโจว เอินไหล ค.ศ. 1972

กำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรมระยะที่ 3 หลังจากหลิน เปี ยว เสียชีวติ แล้ว ผูน้ าทีม่ อี านาจและบทบาทสาคัญสูงสุด เหลือเพียงเหมา เจ๋อตง และโจว เอินไหล โจว เอินไหล จึงนาเติง้ เสีย่ วผิง กลับมา ช่วยงานใน ค.ศ. 1973 โดยกลับมาดารงตาแหน่ งรองนายกรัฐมนตรีช่วยงานโจว เอินไหลทีป่ ่วยหนักด้วยโรคมะเร็ง ซึง่ เหมา เจ๋อตง ก็สนับสนุ น ต่อมาเติ้ง เสีย่ วผิง ได้ดารงตาแหน่ งรองประธานพรรคและกรรมการประจาของกรมการเมือง ทาให้ แก๊งสีค่ นโดยเฉพาะเจียง ชิง ภรรยาของเหมา เจ๋อตง ซึง่ ถูกยกให้เป็ นหัวหน้าแก๊ง ไม่พอใจ พยายามแย่งอานาจและโจมตีโจว เอินไหล กับเติ้ง เสีย่ วผิง ทาให้ความ ขัดแย้งของผูน้ าเริม่ รุนแรงขึน้ อีกครัง้ โดยเฉพาะความขัดแย้งในเรื่องการสืบทอด ตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีของโจว เอินไหล และตาแหน่งประธานพรรคของเหมา เจ๋อ ตง รวมทัง้ ความขัดแย้งเรือ่ งแนวทางการพัฒนาประเทศก็เกิดขึน้ อีกครัง้ เมื่อเหมา เจ๋ อตงให้ม ีการวิพ ากษ์ ข งจื่อในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1973 แก๊งสีค่ นได้ขยายเป็ นการ “วิพากษ์หลินเปี ยว วิพากษ์ขงจือ่ ” และโจมตีโจว เอิน ไหล แต่เหมา เจ๋อตงได้ปกป้องโจว เอินไหล โดยบอกว่า ถ้าจะวิพากษ์โจว เอิน ไหล ก็ตอ้ งวิพากษ์ตนด้วย แก๊งสีค่ นจึงได้หยุดการวิพากษ์โจว เอินไหล แต่แก๊งสี่ คนพยายามเสริม สร้า งอ านาจโดยขยายอิท ธิพ ลไปควบคุ ม หน่ ว ยงานต่ า งๆ โดยเฉพาะสือ่ สารมวลชนโดยใช้การโฆษณาชวนเชือ่ และโจมตีคแู่ ข่ง ขณะเดียวกัน ก็ใช้วธิ กี ารยุแหย่ให้เหมา เจ๋อตง ระแวง เติ้ง เสีย่ วผิง โดยใช้เรื่องทีเ่ ติ้ง เสีย่ วผิง มี อานาจมากขึน้ และการทีน่ โยบายของเติ้ง เสีย่ วผิง ไม่ได้พูดถึงการต่อสูท้ างชนชัน้ อย่างทีเ่ หมา เจ๋อตง ต้องการทาให้เหมา เจ๋อตง ไม่คอ่ ยพอใจเติง้ เสีย่ วผิง นัก ทาง ด้านเติ้ง เสี่ย วผิง ได้ร บั การสนับ สนุ น และแนะน าจากโจว เอิน ไหล ที่ป่ว ยด้ว ย 192


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

โรคมะเร็งจึงไม่ได้แสดงบทบาทด้วยตนเอง และเมื่อกลับมามีอานาจเติ้ง เสีย่ วผิง ได้ทาการฟื้ นคืนอานาจให้แก่สมาชิกพรรคและเจ้าหน้ าที่ท่ตี กอานาจในช่วงการ ปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมระยะแรก สร้างอานาจภายในพรรคและรัฐบาลเพือ่ กาจัดแก๊งสีค่ น ถึงแม้ว่าทัง้ สองกลุ่มจะมีเป้าหมายเดียวกันเรื่องการพัฒนาประเทศให้จนี กลายเป็ นประเทศทีย่ งิ่ ใหญ่ในสังคมโลก แต่สงิ่ ทีแ่ ตกต่างกันคือกลุ่มฝา่ ยซ้ายทีน่ า โดยแก๊งสีค่ นมองว่าการพัฒนาเศรษฐกิจหรือการติดต่อกับต่างประเทศเป็ นเรือ่ งรอง เรื่องหลักคือการมีอานาจบริหารประเทศอย่างแท้จริง ทีผ่ ่านมากลุ่มนี้ไม่มอี านาจ อย่า งแท้จ ริง แต่ท่ขี ้นึ มามีบ ทบาทก็เพราะได้รบั การหนุ น หลังจากเหมา เจ๋ อตง หากหมดยุ ค ของเหมา เจ๋ อ ตง กลุ่ ม ของตนก็อาจหมดอานาจได้ ดังนั น้ จึงต้อ ง พยายามยึดอานาจทางการเมืองเอาไว้ให้ได้ เมื่อโจว เอิน ไหล ถึงแก่อสัญ กรรมในวัน ที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1976 เติ้ง เสีย่ วผิง ได้รบั ผิดชอบดูแลงานของนายกรัฐมนตรีแทนโจว เอินไหล จนถึงต้นเดือน กุมภาพันธ์ พรรคจึงได้ป ระกาศให้ ฮัว่ กว๋ อเฟิ ง รองนายกรัฐมนตรีท่ไี ด้รบั การ สนับสนุ นจากเหมา เจ๋อตงรักษาการตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีไปก่อน ความขัดแย้ง ของสองกลุ่มนี้มากขึน้ โดยที่ต่างฝ่ายต่างหาโอกาสโค่นล้มฝ่ายตรงข้าม และเป็ น แก๊ ง สี่ ค นที่ ป ระสบความส าเร็จ โดยในวั น ที่ 5 เมษายน เป็ นวั น ชิ ง หมิ ง (Qingming) หรือเช็งเม้ง ซึง่ เป็ นวันเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ในวันนี้ประชาชนเดินทาง มาแสดงความไว้อาลัยโจว เอินไหล ที่จตั ุรสั เทียนอานเหมิน แต่แก๊งสีค่ นขัดขวาง รวมทัง้ ยังห้ามการไว้อาลัยด้วย ทาให้เกิดการจลาจลและการปะทะกัน ประชาชน ถูกทาร้าย ถูกยิงเสียชีวติ และบาดเจ็บเป็ นจานวนมาก แก๊งสีค่ นกล่าวโจมตีว่า เติ้ง เสี่ย วผิง อยู่เบื้องหลังความวุ่ น วายนี้ และเจีย ง ชิง โจมตีว่ า เติ้ง เสี่ย วผิง เป็ น ตัวแทนของพวกทุนนิยม 1 ประกอบกับการที่แก๊งสีค่ นยุยงให้เหมา เจ๋อตง หวาด ระแวงเติ้ง เสีย่ วผิง มาตลอด ทาให้เติ้ง เสี่ยวผิง ถูกปลดออกจากทุกตาแหน่ ง อีก ครัง้ คงเหลือแต่เพียงการเป็ นสมาชิกพรรคเท่านัน้ เติ้ง เสีย่ วผิง หนีไปอยู่ภายใต้ การคุ้มครองของเย้ เจี้ยนอิง (Ye Jianying) ผู้บญ ั ชาการทหารภาคกว่างโจวทาง ตอนใต้ แม้ว่าแก๊งสี่คนจะประสบความสาเร็จในการกาจัด เติ้ง เสี่ยวผิง แต่ต้ อง ผิดหวังเพราะตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีตกอยู่กบั ฮัว่ กว๋อเฟิ ง ซึ่งได้ร่วมมือกับแก๊งสี่ คนกาจัดเติ้ง เสีย่ วผิงได้สาเร็จ 2 การแย่งชิงอานาจในช่วงนี้ฮวั ่ กว๋อเฟิ ง กลายเป็ น 1

Maurice Meisner. (1999). Mao’s China and After. p. 403. มูลศิลป์. (ตุลาคม 2540 – มกราคม 2541). เล่มเดิม. หน้า 108.

2วุฒช ิ ยั

193


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ผูท้ ข่ี น้ึ มามีอานาจโดยไม่มใี ครคาดคิดมาก่อน เพราะโดยพื้นฐานแล้วฮัว่ กว๋อเฟิ ง เป็ นเพียงเจ้าหน้าที่ทอ้ งถิน่ ทีไ่ ม่มบี ทบาทความสาคัญต่อการเมืองของประเทศเลย ฮัว่ กว๋อเฟิงเป็ นชาวมณฑลส่านซี เคยเป็ นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจาเซียง ถานในมณฑลหูหนาน ซึ่งเป็ นบ้านเกิดของเหมา เจ๋อตง ต่อมาได้เป็ นเลขาธิการ พรรคประจามณฑลหูหนาน และได้พบกับเหมา เจ๋อตง ทีไ่ ปตรวจงาน ฮัว่ กว๋อ เฟิ ง ได้รบั การสนับสนุ นจนได้ดารงตาแหน่ งรองนายกรัฐมนตรี เมื่อโจว เอินไหล เสียชีวติ ได้เกิดการแย่งชิงตาแหน่ งนายกรัฐมนตรีกนั ขึน้ หลังจากเติ้ง เสีย่ วผิง ตก อานาจไปแล้ว แก๊งสีค่ นต้องการให้จาง ชุนเฉียว หรือ หวาง หงเหวิน คนใดคนหนึ่ง เป็ นนายกรั ฐ มนตรี แต่ เ หมา เจ๋ อ ตง ได้ ใ ห้ ฮ ั ว่ กว๋ อ เฟิ ง ด ารงต าแหน่ ง นายกรัฐมนตรีเมือ่ วันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1976

เจียง ชิง, จาง ชุนเฉียว (ภาพซ้าย) และ เหยา เหวินหยวน (ภาพขวา) สมาชิกแก๊งสีคน ่

ภาพโปสเตอร์แสดงการต่อต้านแก๊งสีคน ่

194


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หลังจากเหมา เจ๋ อตง ถึงแก่อสัญกรรมในวันที่ 9 กัน ยายน ค.ศ.1976 ฮัว่ กว๋ อ เฟิ ง อ้า งตัว เป็ น ทายาทการเมือ งของเหมา เจ๋ อ ตง ขึ้น ด ารงต าแหน่ ง ประธานพรรคคอมมิวนิ สต์อกี ตาแหน่ งหนึ่ง ทาให้แก๊งสี่คนไม่พ อใจ การแย่งชิง อานาจจึงด าเนิ น ต่อไป แต่ฮ วั ่ กว๋ อเฟิ งร่วมมือกับ เย้ เจี้ย นอิง ซึ่งสนับ สนุ น เติ้ง เสีย่ วผิงด้วย วางแผนกาจัดแก๊งสีค่ นโดยบุกเข้าจับกุมตัวในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1976 ทาให้แ ก๊ งสี่คนต้องหมดอานาจไปในที่สุด และใน ค.ศ. 1981 แก๊ งสี่คนถู ก ตัดสินโทษโดย เจียง ชิง และ จาง ชุนเฉียว ต้องโทษจาคุกตลอดชีวติ ส่วน หวาง หงเหวิน และ เหยา เหวินหยวน ต้องโทษจาคุก ประมาณ 14-16 ปี นับเป็ นการ สิน้ สุดการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรม 5. ผลกระทบของกำรปฏิ วตั ิ วฒ ั นธรรม การปฏิว ัติว ัฒ นธรรมที่เกิด ขึ้น ส่งผลต่ อ ประเทศจีน หลายด้า น ทัง้ ด้า น การเมือง สังคม วัฒนธรรม และทีร่ า้ ยแรงทีส่ ุดคือการสูญเสียทรัพยากรบุคคล ทัง้ ระดับผูน้ าพรรค เจ้าหน้าทีข่ องรัฐ และเยาวชนของชาติ ด้ำนกำรเมือง ผูน้ าทางการเมืองจานวนมากตัง้ แต่ระดับประธานาธิบดี เลขาธิการพรรค นักปฏิวตั ริ นุ่ แรก นายทหารระดับสูง ตลอดจนปญั ญาชนทีเ่ คยร่วมต่อสูใ้ นสงคราม กลางเมือ ง ถูก หงเว่ ย ปิ งซึ่งเป็ น เด็ก รุ่น หลังท าร้าย ประณาม ประจาน บางคน เสียชีวติ พิการ ฆ่าตัวตาย เจ้าหน้าทีพ่ รรคและรัฐจานวนมากถูกปลด ถูกลดฐานะ ถูกคุมขัง และส่งไปใช้แรงงานในชนบท ครอบครัวได้รบั ผลกระทบทัง้ สูญเสียชีวติ หรือถูกทาร้ายทางร่างกายและจิตใจ มีการประเมินว่าอัตราการปลดเจ้าหน้าทีพ่ รรค ในทีต่ ่างๆ มีถงึ ร้อยละ 60 และมีประชาชนกว่า 400,000 คน เสียชีวติ จากการถูก ทารุณ เมื่อแก๊งสีค่ นถูกจาคุกแล้วมีคายืนยันจากนางเจียง ชิ งและพรรคพวกว่า มี คนถูกใส่ความ ถูกตามรังควานมากกว่า 700,000 คน มี 35,000 คน ถึงแก่ความ ตาย คนจานวนมากได้รบั ความกระทบกระเทือนทางร่างกายและจิตใจ และคนอีก จานวนมากต้องฆ่าตัวตาย1 ทาให้ประเทศสูญเสียบุคคลระดับสูงทีม่ คี วามสามารถ ประเทศเกิดสูญญากาศทางอานาจ ทาให้เกิดกลุ่มต่างๆ แข่งขันแย่งชิงอานาจกัน แต่สาหรับ เหมา เจ๋อตง การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมทาให้อานาจของเขามันคงยิ ่ ง่ ขึน้ 1

Fairbank. (1992). op.cit. p.387. 195


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ด้ำนสังคม วัฒนธรรม ด้านการศึกษา นักเรียนนักศึกษาต้องกลายมาเป็ น หงเว่ยปิ ง เรียนรูก้ าร ปฏิวตั ติ ามทีเ่ หมา เจ๋อตงต้องการ สถานศึกษาปิ ดตัวลง หลักสูตรการเรียนถูกปรับ ให้สนั ้ ลงเพือ่ จะได้มเี วลาเรียนรูก้ ารปฏิวตั ิ และปรับระบบการเข้าเรียน การเลื่อนชัน้ ใหม่ ให้เป็ นแบบทีไ่ ม่เน้นวิชาการ ความสามารถ แต่ต้องเป็ นผูย้ ดึ มันและยอมรั ่ บ อุดมการณ์เหมา เจ๋อตง การรับนักเรียนเข้าเรียนจะเปิ ดโอกาสให้แก่ชนชัน้ แรงงาน และชาวนาก่อนชนชัน้ ปญั ญาชนหรือผูม้ พี น้ื เพจากตระกูลสูง ส่วนผูท้ ม่ี พี น้ื เพจาก ชนชัน้ สูงต้องถูกส่งไปใช้แรงงานในชนบทและอบรมอุดมการณ์คอมมิวนิสต์กอ่ น นอกจากนี้ นักเรียน นักศึกษาได้รบั การอบรมให้มคี วามรุนแรงก้าวร้าว ให้ ประจานและวิพ ากษ์ ครูบ าอาจารย์ โรงเรีย นและมหาวิทยาลัยกลายเป็ น แหล่ ง ชุมนุ ม เป็ นกองบัญชาการปฏิบตั กิ ารทางทหาร อาคารสถานที่ หนังสือ ตาราเรียน ถูกทาลาย เยาวชนหงเว่ยปิ งเหล่านี้ทาให้เกิดการทาลายล้างสถาบันต่างๆ ในสังคม อย่า งรุน แรง และแนวคิด ของเหมา เจ๋ อตงที่เปิ ด โอกาสให้ช นชัน้ กรรมกรและ ชาวนาได้สทิ ธิพเิ ศษในการเข้าเรียนก็ทาให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหงเว่ยปิ งกลุ่ม ต่างๆ ทีม่ าจากครอบครัวทีม่ พี ้นื ฐานต่างกัน จนเกิดการต่อสูก้ นั เอง เมื่อหงเว่ยปิ ง ถูกส่งตัวไปยังชนบทก็ไม่ได้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาอีก จึงได้เรียนรูแ้ ต่การใช้ ความรุ น แรง การปฏิ ว ัติ ท าให้ ก ลายเป็ นบุ ค คลที่ ไ ม่ ก่ อ ให้ เ กิด ประโยชน์ แ ก่ ประเทศชาติ เพราะไม่ได้รบั การศึกษาเล่าเรียน จนถูกเรียกว่า “รุ่นคนที่สูญเสีย ” และช่วงเวลาการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมถูกเรียกว่า “สิบปี ทส่ี ญ ู เสีย” ด้านศิลปวัฒนธรรม การกาจัดสีเ่ ก่าทาให้โบราณสถาน โบราณวัตถุ งาน ศิ ล ปะ สถานที่ ส าคั ญ ของชาติ จ านวนมากที่ ส ะท้ อ นถึ ง ความเป็ นมาทาง ประวัตศิ าสตร์ของชาติถูกทาลาย วรรณกรรม ตาราขงจื่อหรือเรื่องราวทีส่ ะท้อนถึง สังคมศักดินาถูกประณาม เยาวชนถูกอบรมให้เคารพต่อเหมา เจ๋อตงและประณาม ประเพณีทต่ี อ้ งเคารพบิดามารดา ศิลปะด้านต่างๆ เช่น วรรณกรรม การละคร ที่ เคยแสดงเรือ่ งราวในยุคเก่าต้องถูกยกเลิกเปลีย่ นมาเป็ นเรือ่ งราวเกีย่ วกับการปฏิวตั ิ วัฒนธรรมแทน ด้านปญั ญาชน ปญั ญาชน นักคิดนักเขียนที่มชี ่อื เสียงหลายคนถูกหงเว่ ยปิ งทาร้าย ถูกคุมขัง ถูกส่งไปใช้แรงงานในชนบท บางคนสูญเสียชีวติ ทาให้การ สร้างสรรค์งานประพันธ์ตอ้ งหยุดชะงัก

196


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ด้านเศรษฐกิจ การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมทีเ่ กิดขึน้ ส่งผลกระทบต่อคนในเมือง มากกว่าในชนบท ขณะทีใ่ นเมืองเกิดความวุ่นวาย การค้าขายต้องหยุดชะงักหรือ ได้รบั ผลกระทบ แต่ในชนบทยังมีการผลิตและการใช้ชวี ติ ตามปกติ นอกจากนี้การ ทีพ่ น้ื ฐานเศรษฐกิจส่วนใหญ่ขน้ึ กับเกษตรกรรมทาให้พ้ืนฐานเศรษฐกิจของชาติไม่ กระทบกระเทือนมากเช่นด้านอืน่ ๆ ด้ำนกำรต่ำงประเทศ การปฏิวตั ิวฒ ั นธรรมในระยะแรกส่งผลกระทบด้านลบต่อความสัมพัน ธ์ ระหว่างประเทศของจีน โดยเฉพาะหลังจากที่หงเว่ยปิ งเข้ายึดครองกระทรวงการ ต่างประเทศใน ค.ศ.1967 รัฐมนตรีเฉิน อี้ (Chen Yi) ถูกบังคับให้วจิ ารณ์ ตนเอง ท่ามกลางหงเว่ยปิ งนับพันคน สถานทูตจีนในต่างประเทศไม่สามารถให้คาตอบกับ ต่างชาติได้ว่าเกิดอะไรขึน้ ในประเทศจีน และสถานทูตได้กลายเป็ นศูนย์กลางของ ความคิดปฏิวตั ิ ทูตจีนในประเทศต่างๆ ถูกเรียกตัวกลับ การค้ากับต่างประเทศ เสื่อมลง ขณะที่ภ ายในประเทศจีน เกิด เหตุ ก ารณ์ ท่ีห งเว่ ย ปิ ง บุ ก เข้า สถานทู ต ต่างชาติและโจมตีเจ้าหน้ าที่ แม้กระทังสถานทู ่ ตสหภาพโซเวียตก็ถูกบุกเช่นกัน สถานทูตอังกฤษและอินโดนีเซียถูกจุดไฟเผา เหตุการณ์ น้ีทาให้ภาพพจน์ของจีน ตกต่ ามากและอยู่ในฐานะถูกโดดเดี่ยวจากนานาชาติมากยิง่ ขึน้ ความขัดแย้งกับ สหภาพโซเวียตรุนแรงถึงขัน้ มีการปะทะกันทางทหารบริเวณพรมแดน หลังจากหงเว่ยปิ งถูกส่งตัวไปชนบทและสถานการณ์ในรัฐบาลกลับสูภ่ าวะ ปกติ จีนได้ดาเนินนโยบายต่างประเทศโดยการฟื้ นฟูความสัมพันธ์กบั ต่างชาติอกี ครัง้ ใน ค.ศ. 1971 หลังการพบปะกันระหว่างโจว เอินไหล กับเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ รัฐ มนตรีต่ า งประเทศของสหรัฐ อเมริก า สหรัฐ อเมริก าได้ ยุ ติก ารห้า มโอนเงิน ดอลลาร์สหรัฐไปยังจีน และอนุ ญาตให้สนิ ค้าจีนส่งไปขายยังสหรัฐอเมริกาได้เป็ น ครัง้ แรกหลัง สงครามเกาหลี 1 นอกจากนี้ ที่ป ระชุ ม สมัช ชาใหญ่ ข ององค์ ก าร สหประชาชาติมมี ติรบั สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าเป็ นสมาชิก พร้อมกับได้ทน่ี งั ่ ใน คณะมนตรีความมันคงประเภทถาวรแทนที ่ ่สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 2 ต่อมาใน ค.ศ. 1972 จีนได้ฟ้ืนฟูความสัมพันธ์กบั สหรัฐอเมริกา ญีป่ นุ่ และชาติอน่ื ๆ ตามมา

1 2

Spence. (2013). op.cit. p. 567. โดยไทยงดออกเสียง 197


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

โจว เอินไหล และเฮนรี คิสซิงเจอร์ ค.ศ. 1972

รองนายกรัฐมนตรีฝา่ ยต่างประเทศของจีน นาย เฉียว กวนฮัว่ (Qiao Guanhua) (ซ้าย) ในทีป่ ระชุมสหประชาชาติ ค.ศ. 1971 แสดงอาการดีใจที ่ จีนเข้าเป็ นสมาชิก UN แทนทีไ่ ต้หวัน

การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมเป็ นเหตุการณ์ ทส่ี ร้างความสูญเสียแก่ประเทศจีนใน หลายด้าน และสะท้อนถึงความรุนแรงทางการเมืองทีต่ อ้ งการรักษาอานาจของตน จนใช้ทุกวิถีทางในการกาจัดคู่ แข่ง รวมทัง้ สะท้อนให้เห็นถึงความไม่แน่ นอนของ ชีวิตที่ไม่อาจรูเ้ ลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น เพราะมีทงั ้ ผู้ท่เี คยมีอานาจสูงสุดแต่ต้องตก อานาจไป เช่น หลิว เซ่าฉี หลิน เปี ยว บางคนตกอานาจไปแล้วได้กลับมามีอานาจ อีกครัง้ แล้วก็ตกอานาจไปอีก แล้วก็ได้กลับ มามีอานาจอีกเช่น เติ้ ง เสี่ย วผิง ที่ สาคัญเป็ นเหตุการณ์ ทส่ี ร้างความสูญเสียต่อประเทศชาติทต่ี ้องสูญเสียทรัพยากร บุคคลทีค่ วรจะเป็ นกาลังในการพัฒนาชาติบา้ นเมือง .....................................................

198


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. การปฏิว ัติว ัฒ นธรรมเกิด จากสาเหตุ ใดมากที่สุด และส่งผลกระทบต่ อ ประเทศจีนในด้านต่างๆ อย่างไรบ้าง 2. ความขัดแย้งของผูน้ าพรรคคอมมิวนิสต์จนี เกิดจากสาเหตุใดบ้าง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม เขียน ธีระวิทย์. (2537). จีนผลัดแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ______. (2519). การเมืองการปกครองของสาธารณรัฐประชาชนจีน . กรุงเทพฯ : กราฟิคอาร์ต. ทวีป วรดิลก. (2545). เหมาเจ๋อตง ฮ่องเต้นกั ปฏิวตั .ิ กรุงเทพฯ: มติชน. ______. (2542). ประวัตศิ าสตร์จนี . กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. บุญศักดิ ์ แสงระวี. (2538). เติ้ง เสีย่ วผิง ชีวติ และการต่อสู.้ กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ. ฟาง จีเ้ ฉิง และ เจียง กุย้ หนง. (2539). โจว เอินไหล จารึกไว้ในใจชน. บุญศักดิ ์ แสงระวี. แปล. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. ยุง จาง. (2538). หงส์ป่า (2 เล่ม). จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล แปล. กรุงเทพฯ: นานมี บุคส์. วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2542). “เติ้ง เสีย่ วผิงกับการทาประเทศจีนให้ทนั สมัย ”. วารสาร ประวัตศิ าสตร์. หน้า 24 – 41. ______. (ตุลาคม 2540-มกราคม 2541). “การปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมในจีน,” วารสารราชบัณฑิตยสถาน. หน้า 85-119. เติง้ หยง. (2546). เติ้ง เสีย่ วผิง ว่าด้วยการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมและเค้าโครงความคิด เศรษฐกิจจีนใหม่. สุขสันต์ วิเวกเมธากร แปล. กรุงเทพฯ : ไฮเออร์ เพรส. Spence, Jonathan D. (2013). The Search for Modern China. 3rd Edition. New York: W.W. Norton & Company. Chapter 22 Cultural Revolution.

199


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทที่ 8 กำรพัฒนำประเทศภำยใต้นโยบำยสี่ทนั สมัย หลังจากแก๊ง 4 คนหมดอานาจแล้ว การแข่งขันอานาจระหว่างฮัว่ กว๋ อ เฟิ งและเติ้ง เสีย่ วผิง ดูเหมือนจะดาเนินต่อไป แต่ไม่รุนแรงเหมือนสมัยเหมา เจ๋อ ตง ซึ่งในที่สุด เติ้ง เสี่ยวผิง ได้กลายเป็ นผู้นาประเทศและได้เริม่ นโยบายพัฒ นา เศรษฐกิจ จีน โดยประกาศใช้น โยบายสี่ท ัน สมัย ซึ่งเป็ น รากฐานส าคัญ ที่ท าให้ เศรษฐกิจของจีนขยายตัว รวมทัง้ เปิ ดประเทศติ ดต่อทางเศรษฐกิจกับนานาชาติ ภายใต้นโยบายสีท่ นั สมัย เศรษฐกิจของจีนเติบโตขึน้ อย่างต่อเนื่อง ซึง่ ส่งผลกระทบ ทัง้ ในด้านบวกและลบต่อจีนในเวลาต่อมา 1. กำรฟื้ นอำนำจของเติ้ ง เสี่ยวผิ ง และกำรปฏิ รปู จีน หลังแก๊ ง 4 คนหมดอานาจ ฮัว่ กว๋ อ เฟิ ง ได้ด ารงต าแหน่ งส าคัญ ทัง้ นายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการกลางและประธานคณะกรรมการทหารของ พรรค ส่วนเติง้ เสีย่ วผิง ซึง่ ยังไม่ได้กลับมามีตาแหน่งใด ๆ ได้เขียนจดหมายถึงฮัว่ กว๋อเฟิ ง 2 ฉบับ แสดงการสนับสนุ นมติของคณะกรรมการและสนับสนุ น ฮัว่ กว๋อ เฟิ ง1 อาจเป็ นไปได้ว่าเติ้ง เสีย่ วผิง ให้การสนับสนุ นฮัว่ กว๋อเฟิ ง อย่างบริสุทธิ ์ใจ หรืออาจจะต้องการแสดงตัวให้ฮวั ่ กว๋อเฟิ ง รูว้ ่าเติ้ง เสีย่ วผิง ยังอยู่ในวงการเมือง จีนและต้องการกลับเข้ามาทางานการเมืองอีกและมีผนู้ าคนอื่นให้การสนับสนุ นอยู่ เบื้องหลังด้วย ส่ว นฮัว่ กว๋ อเฟิ ง แม้จ ะมีต าแหน่ งสูงสุด แต่ถ้าเทีย บบารมีแ ละ ผูส้ นับสนุ นแล้วยังสูเ้ ติ้ง เสีย่ วผิง ไม่ได้ ผลทีส่ ุดคณะกรรมการกลางของพรรคได้ ลงมติในการประชุมเต็มคณะครัง้ ที่ 3 ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1977 แต่งตัง้ ให้ เติ้ง เสีย่ วผิงกลับมาดารงตาแหน่ งรองประธานคณะกรรมการกรมการเมือง รอง ประธานคณะกรรมการกิจการทหาร รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าฝา่ ยในกองทัพ ปลดปล่อยประชาชน เมื่อเติ้ง เสี่ยวผิง กลับมามีอานาจ การแย่งชิงอานาจระหว่างเขากับ ฮัว่ กว๋อเฟิ งได้ปะทุขน้ึ อีก แต่เป็ นไปในลักษณะทีไ่ ม่เปิ ดเผยไม่ได้ใช้วธิ กี ารหักล้างกัน อย่างรุนแรง แต่ต่างฝ่ายต่างใช้วธิ กี ารหาผูส้ นับสนุ น ใช้วธิ กี ารเสริมสร้างอานาจ วุ ฒิ ช ัย มู ล ศิล ป์ . (2542). เติ้ง เสี่ย วผิง กับ การท าประเทศจีน ให้ ท ัน สมัย ” วารสาร ประวัตศิ าสตร์. หน้า 31. 1

200


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

บารมี ซึ่งฮัว่ กว๋ อเฟิ ง ไม่ อ าจเทีย บกับ เติ้ง เสี่ย วผิงได้เลย เพราะเติ้ง เสี่ย วผิง ทางานในฐานะผูน้ าประเทศคนหนึ่งมายาวนานมีความสามารถเป็ นทีย่ อมรับ มีกลุ่ม สนับสนุนทีม่ อี ทิ ธิพลในพรรคและในวงการทหาร ส่วนฮัว่ กว๋อเฟิงไม่เคยเป็ นทีร่ จู้ กั ในระดับประเทศมาก่อน แต่มอี านาจขึน้ มาโดยได้รบั การสนับสนุ นจากเหมา เจ๋อตง ฮัว่ กว๋อเฟิ งจึงพยายามสร้างบารมีของตน โดยใช้ลทั ธิเทิดทูนตัวบุคคลด้วยการยก ย่องเหมา เจ๋อตง และแสดงตัวว่าเป็ นทายาททีถ่ ูกต้องชอบธรรมของเหมา เจ๋อตง เช่น ใช้วธิ กี ารยกย่องเหมา เจ๋อตง โดยสร้างหอราลึกประธานเหมาซึ่งเป็ นทีเ่ ก็บ ศพของเหมา เจ๋อตง ทีจ่ ตุรสั เทียนอานเหมิน จัดพิมพ์สรรนิพนธ์ของเหมา เจ๋อตง ใช้คติพจน์ของเหมา เจ๋อตงเป็ นแนวทางในการทางาน โดยฮัว่ กว๋อเฟิง กล่าวว่า สิง่ ทีช่ าวจีนจาเป็ นต้องทาเพื่อความสาเร็จในอนาคต คือเชื่ออะไรก็ตามทีเ่ หมา เจ๋อตง กล่าว และสานต่ออะไรก็ตามที่เหมา เจ๋ อตงตัดสินใจ ซึ่งต่อมาเรีย กกันว่ า หลัก “อะไรก็ได้” หรือ “จะเอาอย่างไหนก็ได้ทงั ้ สองอย่าง” (two whatevers)1 ซึง่ แสดงถึง การไม่มหี ลักการทีแ่ น่นอน แต่เปลีย่ นแปลงไปตามสถานการณ์ ฮัว่ กว๋อเฟิ ง ยังใช้ วิธเี ผยแพร่รปู คู่กบั เหมา เจ๋อตง เพื่อแสดงให้เห็นว่า เขาเป็ นทายาทที่ถูกต้องของ ประธานเหมา

ฮัว่ กว๋อเฟิง กับเหมา เจ๋อตง

เติ้ง เสี่ย วผิง ใช้วิธีกาจัด คู่แ ข่งอย่างค่อ ยเป็ น ค่อยไป โดยฟื้ น ต าแหน่ ง ให้ แ ก่ บ รรดาผู้ น าที่ ต กอ านาจไปสมัย ปฏิ ว ัติว ัฒ นธรรม ตลอดจนลดอิท ธิพ ล อุดมการณ์ และแนวความคิดของเหมา เจ๋อตง โดยในการประชุม คณะกรรมการ กลางของพรรคใน ค.ศ. 1981 ทีป่ ระชุมได้วเิ คราะห์และยืนยันอย่างเป็ นทางการว่า 1.

Spence. (2013). op.cit. pp. 608-609. 201


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การปฏิว ัติ ว ัฒ นธรรมผิด ทัง้ หมด และเพื่อ ประเมิน ฐานะของเหมา เจ๋ อ ตง ใน ประวัติศาสตร์ให้ชดั เจนจึง สรุปว่า เหมา เจ๋อตง ทาดี 70 ส่วน ผิดพลาด 30 ส่วน และสรุปว่าสังคมนิยมเป็ นสิง่ เดียวทีจ่ ะรักษาจีนไว้ได้ 1 เลือกสมาชิกคณะกรรมการ กลางขึน้ มาใหม่โดยผูท้ ห่ี ลุดออกไปส่วนใหญ่เป็ นผูท้ ม่ี คี วามผูกพันกับเหมา เจ๋อตง หรือพวกทีส่ นับสนุ นแก๊ง 4 คน ส่วนผูท้ เ่ี ข้าไปใหม่เป็ นอดีตสมาชิกทีเ่ คยถูกข้อหา สมัยปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรม และเป็ นพวกหรือสนับสนุนเติง้ เสีย่ วผิง เติ้ง เสี่ย วผิง ยังลดความน่ าเชื่อถือของฮัว่ กว๋ อเฟิ ง โดยเสนอหลักการ “แสวงหาความจริงจากข้อเท็จจริง” (Seek truth from facts) ซึ่งเน้นว่าการกระทา และคาพูดต้องคล้องจองกัน ทฤษฎีกบั การปฏิบตั จิ ะต้องเป็ นอย่างเดียวกัน และการ ปฏิบตั ติ อ้ งอยูบ่ นพืน้ ฐานของความเป็ นจริง2 เท่ากับเป็ นการคัดค้านหลักการอะไรก็ ได้ ทีฮ่ วั ่ กว๋อเฟิงยึดถือ ซึง่ ถูกโจมตีว่าเป็ นหลักการทีโ่ ลเล ไม่แน่นอน ด้านนโยบาย เศรษฐกิจ ทัง้ คู่ก็แตกต่างกัน โดยเติ้ง เสี่ยวผิง ใช้น โยบาย 4 ทันสมัย (the Four Modernization) ประกอบด้วยการพัฒ นาด้านเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี การป้องกันประเทศ ส่วนฮัว่ กว๋อเฟิ ง ยึดนโยบายเศรษฐกิจแบบ เก่าทีเ่ ป็ นแบบรวมศูนย์และระบบคอมมูน การดาเนินงานต่างๆ ของ เติ้ง เสีย่ วผิง ตัง้ แต่กลับมามีอานาจอีกครัง้ ไม่ ว่าจะเป็ นการฟื้ นตาแหน่ งให้ผทู้ ต่ี กอานาจในสมัยปฏิวตั ิวฒ ั นธรรม ลดอิทธิพลของ เหมา เจ๋อตง หรือมีคนของตนเข้าไปดารงตาแหน่งต่างๆ ทาให้เติง้ เสีย่ วผิงกลับมา มีอานาจอีกครัง้ กล่าวได้ว่ าตัง้ แต่ต้นปี 1979 เติ้ง เสีย่ วผิงขึน้ เป็ นผูน้ าประเทศ มี อานาจโดยพฤตินั ย และในการเดิน ทางไปเยือนสหรัฐอเมริการะหว่ างวัน ที่ 28 มกราคม – 4 กุม ภาพัน ธ์ ค.ศ.1979 ก็ได้รบั การต้อนรับ เหมือนเป็ น ประมุข ของ ประเทศ เท่ากับว่าตาแหน่ งต่าง ๆ ของฮัว่ กว๋อเฟิ ง เป็ นเพียงตาแหน่ งโดยนิตนิ ัย ไม่ม ีอานาจและบทบาทเหมือนเติ้ง เสี่ย วผิง และในวัน ที่ 9 กัน ยายน 1980 ฮัว่ กว๋อเฟิ งได้ลาออกจากตาแหน่ งนายกรัฐมนตรี โดย จ้าว จื่อหยาง (Zhao Ziyang, ค.ศ.1919-2005) ซึง่ เป็ นคนของเติง้ เสีย่ วผิง ขึน้ ดารงตาแหน่งแทน ส่วนเติง้ เสีย่ ว ผิงอยู่ในตาแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ต่อมาใน ค.ศ.1981 ฮัว่ กว๋อเฟิ งได้ลาออกจาก ตาแหน่ งประธานพรรค โดย หู เย่าปงั (Hu Yaobang, ค.ศ.1915-1989) ซึง่ เป็ นคน ของเติ้ง เสีย่ วผิง ขึน้ ดารงตาแหน่งแทนและเป็ นเลขาธิการพรรคควบคู่ไปด้วย ส่วน ตาแหน่ งประธานคณะกรรมการกิจการทหารนัน้ ตกเป็ นของเติ้ง เสีย่ วผิ ง และใน 1 2

Ibid. p. 611. Ibid. p. 609. 202


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ค.ศ. 1983 หลี่ เซียนเนี่ยน พันธมิตรอีกคนของเติ้ง เสีย่ วผิง ได้รบั แต่งตัง้ ให้ดารง ตาแหน่งประธานาธิบดีซง่ึ ถือเป็ นตาแหน่งประมุขของประเทศ แม้ เติ้ง เสี่ย วผิง ไม่ได้ด ารงตาแหน่ งส าคัญ สูงสุด แต่เป็ น ที่ย อมรับ กัน โดยทัวไปว่ ่ า เขาเป็ นผู้ทม่ี บี ทบาทและอิทธิพลทางการเมืองอย่างแท้จริง เพราะ ผูน้ าทีด่ ารงตาแหน่ งสาคัญทัง้ 3 ตาแหน่ ง คือ ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และ เลขาธิการพรรค เป็ นผูท้ เ่ี ติ้ง เสีย่ วผิง เลือกมาทัง้ สิน้ ในขณะเดียวกันเติ้ง เสีย่ วผิง ก็สามารถกาจัด ฮัว่ กว๋ อเฟิ ง ที่เป็ นทายาทการเมืองของเหมา เจ๋ อตง ออกไปได้ สาเร็จ เท่ากับว่า เติง้ เสีย่ วผิงได้ลดบทบาทและอิทธิพลทีเ่ หลืออยูข่ องฝา่ ยซ้ายได้

เติ้ง เสียวผิ ่ งและประธานาธิบดีจมิ มี คาร์เตอร์ของสหรัฐอเมริกา(ภาพบน) และการต้อนรับเติ้ง เสียวผิ ่ งในคราวเยือนสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1979

203


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

2. กำรปฏิ รปู เศรษฐกิ จภำยใต้นโยบำยสี่ทนั สมัย (The Four Modernizations) ในการประชุ ม เต็ม คณะครัง้ ที่ 3 ของพรรคคอมมิว นิ ส ต์ จีน เมื่อ เดือ น ธัน วาคม ค.ศ. 1978 เติ้ง เสี่ยวผิง ได้เสนอนโยบายการพัฒ นาประเทศที่อดีต นายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล เคยเสนอไว้เมื่อ ค.ศ. 1975 คือ “นโยบายสี่ทนั สมัย ” โดยได้ร บั ความเห็น ชอบให้ก าหนดเป็ น โครงการพัฒ นาเศรษฐกิจ ของประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 1976 – 1985 จุ ด มุ่ ง หมายของนโยบายสี่ ท ัน สมัย คื อ มุ่ ง พั ฒ นาประเทศจี น ด้ า น การเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการป้องกันประเทศ เพื่อ ท าให้ จีน เป็ น ประเทศพัฒ นาในระดับ กลาง ให้ ป ระชากรมีร ายได้ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ภายใน ค.ศ. 2000 และเพิม่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP) เป็ น 4 เท่า หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายสีท่ นั สมัยออกมา ก็ได้ทาการ ปฏิรปู เศรษฐกิจในภาคต่าง ๆ ดังนี้

ภาพโปสเตอร์รณรงค์สทัี ่ นสมัย

204


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กำรปฏิ รปู ภำคเกษตรกรรม การเปลี่ยนแปลงที่สาคัญหลังการประกาศนโยบายสีท่ นั สมัย อันดับแรก ทีส่ ุด คือ การปฏิรูปภาคเกษตรกรรม โดยในกลาง ค.ศ. 1980 รัฐบาลนาระบบ ความรับ ผิด ชอบ (Responsibility system) มาใช้ ท ัง้ ในภาคเกษตรกรรมและ อุตสาหกรรม ภายใต้ระบบความรับผิดชอบนี้ รัฐบาลส่งเสริมให้มกี ารจัดสรรทีด่ นิ ส่วนตัวให้แก่เกษตรกรแต่ละครัวเรือน โดยเกษตรกรสามารถหารายได้เสริมจาก การประกอบกิจกรรมส่วนตัว หลังจากว่างจากงานส่วนรวม ระบบนี้เรียกอีกอย่าง ว่า ระบบสัญญา (Contract system) เพราะเกษตรกรจะไปประมูลการใช้ท่ดี ิน เพื่อการเพาะปลูกหรือเลี้ย งสัตว์กบั ทางการ เพื่อผลิตพืชผลหรือเลี้ยงสัตว์ให้ได้ ตามสัญญา แล้วนามาขายหรือส่งให้กบั ทางการ ผลผลิตส่วนเกินทีไ่ ด้ ทางการ อนุ ญาตให้นาไปขายทีต่ ลาดเสรีซง่ึ รัฐบาลจัดให้ ระบบนี้ทาให้เกษตรกรมีแรงจูงใจ ในการผลิตมากขึน้ นอกจากนี้รฐั บาลยังสนับสนุ นการพัฒนาในภาคเกษตรกรรม ด้วยการจัดหาเครื่องมือทางการเกษตร จัดหาพันธุ์พชื พันธุ์สตั ว์ และปรับปรุง อุตสาหกรรมการบริการในท้องถิน่ เพือ่ ประโยชน์ของเกษตรกร การปฏิรปู การเกษตรเริม่ ทดลองเป็ นครัง้ แรกทีม่ ณฑลซื่อชวนภายใต้การ ดูแลของ จ้าว จื่อหยาง และทีม่ ณฑลอานฮุย ภายใต้การดูแลของ ว่าน หลี่ (Wan Li) การด าเนิ น งานภายใต้ ร ะบบความรับ ผิด ชอบในระยะแรกนั น้ ทางการตัง้ คณะกรรมการขึ้น มาดูแ ลโดยแต่ล ะท้องถิ่น มีห น่ ว ยการผลิตท าหน้ าที่ดูแ ลกลุ่ ม ทางาน (เกษตรกร) ให้ทาการผลิตและส่งมอบผลผลิตให้รฐั คณะกรรมการของ หน่วยการผลิตรับผิดชอบด้านการจัดการ การวางแผน ส่วนกลุ่มทางานมีหน้าทีใ่ น การผลิต บัน ทึกหน่ ว ยการท างานของคนในกลุ่ ม และจัด แบ่ งสรรรายได้ตาม ผลผลิต ถ้าผลิตได้เกินกาหนดจะได้รบั รางวัลตอบแทน1 หลังจากดาเนินการมาได้ระยะหนึ่ง คณะกรรมการของมณฑลอานฮุยได้ เปลี่ยนการทาสัญญาจากกลุ่มแรงงานมาเป็ นการทาสัญญากับครัวเรือนใน ค.ศ. 1980 หลังจากนัน้ ทางการจีนประกาศสนับสนุนการใช้รปู แบบการทาสัญญานี้ทวั ่ ประเทศ และขยายระบบการทาสัญญาไปสู่การยกทรัพย์สนิ อืน่ ๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องจักรในการผลิต และสัตว์ใช้งาน เพื่อให้ครัวเรือนนาไปใช้ป ระโยชน์ ด้ว ย และกาหนดชนิดของพืชที่ปลูก กาหนดปริมาณผลผลิตทีต่ อ้ งหักเข้ากองกลางเพื่อ

1

Fairbank. (1992). op.cit. p. 411. 205


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ใช้ในการบริหารคอมมูน เพือ่ เป็ นค่าบารุงรักษาปจั จัยพืน้ ฐานและการชลประทาน1 การดาเนินงานภายใต้ระบบสัญญาในระยะแรกนัน้ รัฐบาลได้กาหนดเวลาการเช่า ที่ดนิ ไว้ 2–3 ปี ต่อมาเพิ่มเป็ น 15 ปี และ 30 ปี รวมทัง้ อนุ ญาตให้เกษตรกร โอนสิทธิ ์การเช่าทีด่ นิ ให้ผอู้ น่ื เช่าต่อได้ การนาระบบความรับผิดชอบมาใช้ทาให้เศรษฐกิจจีนดีขน้ึ เพราะแม้ว่า เกษตรกรไม่ได้เป็ นเจ้าของทีด่ นิ จริงๆ แต่กท็ าให้เกษตรกรทุ่มเทแรงงานเพื่อเพิม่ ผลผลิตให้ได้มากทีส่ ดุ เพราะสามารถนาผลผลิตส่วนเกินไปขายทีต่ ลาดเสรีได้ ทา ให้เกษตรกรมีรายได้ดกี ว่าเดิม โดยอัตราการเพิม่ ของผลผลิตทางการเกษตร ใน ทศวรรษ 1980 ขยายตัวขึน้ ประมาณ 2 เท่าครึง่ ซึง่ มากกว่าการเพิม่ ของจานวน ประชากร 2 ดังจะเห็น ว่ า ระหว่ า ง ค.ศ. 1981 – 1984 ผลผลิต ข้า วและน้ า มัน เพิม่ ขึน้ เฉลีย่ ร้อยละ 7.3 เป็ ด ไก่ และไข่ เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 21.5 ปลาเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 26.9 ผักเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 15.5 ผลไม้เพิม่ ขึน้ ร้อยละ 25.5 ส่วนผลผลิตข้าวใน ค.ศ. 1984 สูงกว่า 400 ล้านตัน ซึ่งสูงทีส่ ุดเป็ นครัง้ แรก รายได้ประชาชาติเพิม่ ขึ้น เฉลีย่ ร้อยละ 10 ต่อปี 3 รวมทัง้ เป็ นการปฏิรปู ชนบททีก่ ระจายอานาจจากคอมมูน มาเป็ น ของเกษตรกรด้ว ย จากความส าเร็จ ของระบบสัญ ญาหรือ ระบบความ รับผิดชอบ ทาให้มกี ารยกเลิกระบบคอมมูนทัวประเทศ ่ ใน ค.ศ. 1984 หลังจากที่ ดาเนินมาตัง้ แต่ ค.ศ. 1958 กำรปฏิ รปู ภำคอุตสำหกรรม การปฏิรูป อุต สาหกรรมเริ่ม ขึ้น ใน ค.ศ. 1978 โดยรัฐลดการควบคุ ม ที่ เข้มงวดลง และนาระบบความรับผิดชอบมาใช้เช่นกัน ในส่วนทีเ่ ป็ นวิสาหกิจของ รัฐนัน้ คณะกรรมการพรรคมอบหมายให้ผจู้ ดั การวิสาหกิจแต่ละแห่ง รับผิดชอบ ดาเนินการมากขึน้ ทัง้ ในด้านปริมาณและคุณภาพ มีการให้รางวัลหรือโบนัสเป็ น การตอบแทนแก่แรงงานตามปริมาณงานที่ได้ และรัฐกาหนดให้วสิ าหกิจทีไ่ ด้รบั คัดเลือกให้ทาการผลิตสามารถเก็บผลกาไรจากผลผลิตส่วนเกินไว้ได้ ทาให้มกี าร นากาไรไปลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคซึ่งปรากฏว่า เขต

วันรักษ์ มิง่ มณีนาคิน. (2535). รายงานการวิจยั เรือ่ ง นโยบายสีทั่ นสมัยในสาธารณรัฐ ประชาชนจีน : บทเรียนและแนวโน้ม. หน้า 7. 2 Fairbank. (1992). op.cit. p. 412. 3 วุฒช ิ ยั มูลศิลป์. (2542). เล่มเดิม. หน้า 36. 1

206


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บริหารส่วนท้องถิน่ จานวน 2 ใน 5 แห่ง กลายเป็ นแหล่งผลิตเหล็กกล้าของชาติ และจานวน 2 ใน 3 แห่ง ผลิตปูนซีเมนต์เพือ่ ส่งออก1 รัฐบาลยังได้ป ฏิรูปการจัด องค์กร ด้วยการให้ความส าคัญ ในเรื่องความ ชานาญเฉพาะอย่าง เพิม่ การติดต่อประสานงานระหว่างหน่ วยงานให้มากขึน้ และ จัดตัง้ บรรษัทเครื่องจักรกลการเกษตรให้เป็ น ศูน ย์ป ระสานงานกับ มณฑลต่างๆ เพือ่ ให้การปฏิรปู อุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการกลางของพรรคยังได้ ออก “ระเบียบว่าด้วยการตัดสินใจเบื้องต้นเกี่ยวกับปญั หาบางประการในการ เร่งรัด พัฒ นาอุตสาหกรรม”2 เพื่อเป็ น แนวทางในการปรับ ปรุงระบบการจัด การ ประกอบด้วยหลักการสาคัญ คือ ฟื้ นฟูระบบความรับผิดชอบแทนการสังการจาก ่ พรรค ก าหนดเป้ าหมายทางเศรษฐกิจ เพื่อ วัด ผลงานของแต่ ล ะท้อ งถิ่น เช่ น ปริมาณผลผลิต คุณภาพ ต้นทุน และการจัดสรรทรัพยากร เป็ นต้น อย่างไรก็ตาม การทีก่ าหนดให้อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ขึน้ อยู่กบั การดาเนินการของท้องถิน่ แทนการควบคุมจากส่วนกลาง ทาให้ส่วน ท้องถิน่ มุ่งเน้นไปทีอ่ ุตสาหกรรมเบา ประเภทสินค้าอุปโภคบริโภคมากขึน้ เพราะ ตลาดต้องการ ทาให้เกิดการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมเบาอย่างมาก แต่ใน ขณะเดียวกันส่วนกลางยังคงควบคุมโครงสร้างราคาสินค้า ไม่ปล่อยให้เป็ นไปตาม กลไกตลาด ทาให้เกิดปญั หาด้านการตลาดและระบบราคา นอกจากนี้ยงั มีปญั หา อื่นๆ ตามมา เช่น ปจั จัยการผลิตขาดแคลน แรงงานเรียกร้องค่าแรงเพิม่ และมี การปิ ดตลาดเพือ่ กันไม่ให้ผลผลิตของต่างพืน้ ทีเ่ ข้ามาขายในพืน้ ทีข่ องตน3 การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมอีกประการ คือ การกระจายอานาจสู่ร ะบบ 4 ธนาคาร โดยธนาคารแห่งชาติจนี กลายเป็ นผูก้ าหนดนโยบายส่วนกลาง เพื่อทา หน้าทีเ่ ป็ นธนาคารพิเศษในการประสานงานกับภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม เช่น การแลกเปลีย่ นเงินตราต่างประเทศ การลงทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมการ ให้ เ งิน กู้ ส าหรับ ลงทุ น ของวิ ส าหกิ จ ในภาคอุ ต สาหกรรมและพาณิ ช ยกรรม สนับสนุ นการปรับปรุงโรงงานให้ทนั สมัย เพื่อเพิม่ ประสิทธิภาพการผลิต โดยให้ ทุนแก่ภาคอุตสาหกรรม ได้จดั ทาเป็ นการออกใบหุน้ ซึง่ เป็ นจุดเริม่ ต้นของการตัง้ ตลาดหุน้ ในเวลาต่อมา Fairbank. (1992). op.cit. p. 415. วันรักษ์ มิง่ มณีนาคิน. (2535). เล่มเดิม. หน้า 23. 3 Fairbank. (1992). op.cit. p. 416. 4 Ibid. p.416. 1 2

207


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กำรประกำศนโยบำยเปิ ดประตูประเทศ นโยบายเปิ ดประตูประเทศ เป็ นการเปิ ดประเทศเพือ่ ส่งเสริมการลงทุนจาก ต่างประเทศ ด้วยการตัง้ เขตเศรษฐกิจพิเศษทีอ่ นุ ญาตให้ประเทศต่างๆ รวมทัง้ ประเทศทุนนิยมเข้าไปตัง้ โรงงาน หรือลงทุนร่วมกับจีน โดยมีจุดประสงค์เพื่อผลิต สินค้าส่งออกไม่ใช่เป็ นการเปิ ดประเทศจีนให้กบั สินค้าต่างชาติ1 รัฐบาลจีนเริม่ เปิ ด เขตเศรษฐกิจพิเศษ (The Special Economic Zones) ขึน้ ใน ค.ศ. 1979 จานวน 4 เขต คือ เซิน เจิ้น (Shenzhen) จู ไห่ (Zhuhai) ซานโถว (Shantou–ซัว เถา) ั่ และเซีย่ เหมิน ทัง้ หมดอยู่ชายฝงทะเลของมณฑลกว่ างตง และมณฑลฝูเจี้ยน ใน เขตเศรษฐกิจพิเศษมีการดาเนินงาน ดังนี้ - ด าเนิ น การโดยเน้ น การลงทุน จากต่า งชาติ ท าการผลิตเพื่อส่งออก การดาเนินธุรกิจมีทงั ้ แบบร่วมทุนและร่วมมือระหว่างจีนกับต่างประเทศ และธุรกิจ ทีด่ าเนินโดยต่างประเทศเป็ นหลัก - การดาเนินการในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็ นไปตามกลไกของตลาด - นั ก ธุ ร กิ จ ที่ เ ข้ า ไปลงทุ น ในเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษ จะได้ ร ับ ความ อนุเคราะห์และความสะดวกด้านภาษี รวมถึงด้านอืน่ ๆ เป็ นพิเศษ - การบริหารภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะต่างไปจากเขตภายในของจีน ในการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ รัฐบาลจีนได้กาหนดเงือ่ นไขสาคัญที่ นักลงทุนต่างชาติตอ้ งปฏิบตั ติ าม คือ การลงทุนของต่างชาติในจีนต้องไม่เป็ นการ ทาลายอธิปไตยของจีน ไม่ขดั กับกฎหมายจีน ต้องสอดคล้องต่อความต้องการ ของจีน และไม่กอ่ ให้เกิดมลภาวะเป็ นพิษต่อประเทศจีน ในบรรดาเขตเศรษฐกิจพิเศษทัง้ หมด เซินเจิ้น มีความสาคัญและประสบ ความส าเร็จ ที่สุ ด เพราะอยู่ใกล้ก ับ ฮ่ อ งกงจึงได้เปรีย บด้า นการคมนาคม การ ติดต่อสื่อสาร นักธุรกิจต่างชาติจงึ ให้ความสนใจมาลงทุนในเขตนี้มาก และจากการ ประสบความสาเร็จในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จึงมีการเปิ ดเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิม่ ขึน้ ในมณฑลต่างๆ ด้วย เช่น ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1984 เปิ ดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ั่ ที่เมืองท่าชายฝงทะเล 14 แห่ง ที่สาคัญ เช่น เทียนจิน ต้าเหลียน ซังไห่ ่ ฝูโจว ชิงเต่ า และ เป๋ ยไห่ (Beihai) ต่อมารัฐบาลกาหนดให้เกาะไห่หนาน (Hainan – ไหหลา) มีฐานะเป็ นมณฑลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1987 และเป็ นเขตเศรษฐกิจ

1

วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2542). เล่มเดิม. หน้า 33. 208


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

พิ เ ศษอีก แห่ ง ใน ค.ศ. 1995 ประกาศเขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษขึ้น ที่ เ ขตผู่ ต ง (Pudong) ซึง่ เป็ นเขตเมืองใหม่ของเมืองซังไห่ ่

เขตเศรษฐกิจในยุคแรกเซินเจิ้นมีความสาคัญและประสบความสาเร็จทีส่ ดุ เพราะอยู่ใกล้กบั ฮ่องกงจึงได้เปรียบด้านการคมนาคม การติดต่อสือสาร ่

ในบรรดาเขตเศรษฐกิจพิเศษทัง้ หมด นอกจากเซินเจิน้ แล้ว เขตเศรษฐกิจ ั่ พิเศษที่เมืองซัง่ ไห่ ทางชายฝงทะเลตะวั น ออก นับ เป็ น เขตที่ม ีค วามเจริญ ทาง เศรษฐกิจในอัตราสูง เมือ่ คิดจากมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ใน ค.ศ. 1994 มีมูลค่าถึง 14,542 หยวน ต่อคน ขณะที่มณฑลเฮยหลงเจียงทาง เหนือมีมูลค่าผลิตภัณ ฑ์มวลรวมภายในประเทศ 4,408 หยวน ต่อคน และเขต ปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ 4,128 หยวน ต่อคน1 ความแตกต่างทางเศรษฐกิจในแต่ละมณฑลทีม่ คี ่อนข้างมากทาให้ รัฐบาลพยายามกระจายความเจริญไปยังภูมภิ าคต่างๆ มากขึน้ เพื่อลดช่องว่างทาง เศรษฐกิจของประชาชน โดยตัง้ แต่ ค.ศ. 1996 จีน ได้ขยายการพัฒ นาเศรษฐกิจ ออกไปยังภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศมากขึน้

หม่า เอี้ยนฟางและคณะ. (2541, มิ.ย.– ก.ค.). “ความคิดเห็นบางประการเกีย่ วกับ การเร่งพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันตก,” ใน Oversea Info. 3 (24) : 51. 1

209


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

แผนทีแ่ สดงเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนตามเมืองท่าชายฝงั ่

รัฐบาลจีนยังได้ดาเนินการอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศให้ เกิ ด ความคล่ อ งตัว มากขึ้น เช่ น ประกาศกฎหมายเกี่ ย วกับ การใช้ เ งิน ทุ น ต่างประเทศฉบับแรกใน ค.ศ. 1979 ได้แก่ กฎหมายวิสาหกิจร่วมทุนระหว่างจีน กับ ต่างประเทศ กฎหมายเงิน ได้วิสาหกิจต่างชาติ กาหนดรูป แบบและวิธีการ ลงทุน ของนักธุ รกิจต่างประเทศในจีน เพื่อความสะดวกต่างๆ เช่น สัด ส่วนการ ลงทุน อานาจหน้าที่ การแบ่งปนั ผลประโยชน์ รวมทัง้ ลดหย่อนภาษีสาหรับนัก ธุรกิจต่างชาติทเ่ี ข้ามาลงทุน และให้สทิ ธิพเิ ศษสาหรับนักลงทุนต่างชาติในการผลิต สินค้าจาหน่ ายภายในประเทศจีน โดยสินค้าที่จาหน่ ายต้องเป็ นผลิตภัณ ฑ์ท่ใี ช้ เทคโนโลยีและอุปกรณ์ทท่ี นั สมัย หรือเป็ นผลิตภัณฑ์ทจ่ี นี ขาดแคลน และต้องเป็ น ผลิตภัณฑ์ทม่ี คี ณ ุ ภาพดีกว่าทีผ่ ลิตทัวไปในประเทศ ่ แม้การเปิ ดเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีนจะประสบความสาเร็จ มีบริษทั ร่วม ทุนระหว่างจีนกับต่างชาติเพิม่ ขึน้ กว่าร้อยแห่ง แต่สว่ นมากมักประสบปญั หา เช่น ั หาแรงงานชาวจีน ที่ม ีค่ า แรงถู ก แต่ ข าดความรู้ค วามช านาญ ป ญ ั หาการ ปญ เรียกร้องต่างๆ อันเนื่องมาจากช่องว่างทางกฎหมายหรือสัญญา ทาให้เกิดการ ฟ้ องร้องกัน อยู่เสมอ และมีก ารเรีย กร้อ งให้ออกกฎหมายใหม่ท่ีม ีข ้อ บังคับ ที่ม ี มาตรฐาน ทาให้ใน ค.ศ. 1982 จึงมีการปรับ ปรุงแก้ไขธรรมนู ญ การปกครอง 210


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประเทศ ทีก่ าหนดว่า สภาประชาชนแห่ง ชาติจะทาหน้าทีด่ า้ นนิตบิ ญ ั ญัติเพื่อร่าง กฎหมาย โดยกระทรวงยุตธิ รรมทีถ่ ูกยุบไปเมื่อ ค.ศ. 1959 ได้รบั การจัดตัง้ ขึน้ มา อีกครัง้ ใน ค.ศ. 1979 และเมื่อถึง ค.ศ. 1984 มีการจัดตัง้ ศาลขึ้นใหม่ ประมาณ 15,000 แห่ง ตัง้ ศาลพิเศษขึน้ 4 ระดับ รวมทัง้ จัดตัง้ ศาลประชาชนและจัดตัง้ โรงเรียนอบรมด้านกฎหมาย1 3. ผลกำรปฏิ รปู เศรษฐกิ จจำกกำรใช้นโยบำยสี่ทนั สมัย การใช้ น โยบายสี่ ท ัน สมั ย ในการพั ฒ นาประเทศจี น ก่ อ ให้ เ กิ ด การ เปลี่ยนแปลงต่อจีนเป็ นอันมาก โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่มอี ตั ราการเติบโตใน ระดับสูง ดังสรุปได้ดงั นี้ กำรลงทุน ตัง้ แต่ ค.ศ. 1979–1991 นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในจีนเป็ นจานวน มาก โดยมีส ญ ั ญาร่ว มทุ น ระหว่ า งรัฐ บาลจีน กับ นั ก ธุ ร กิจ ต่า งชาติก ว่ า 40,000 โครงการ โดยเป็ นการลงทุ น ในภาคการก่ อ สร้า งป จั จัย พื้ น ฐาน การพัฒ นา อสั ง หาริ ม ทรัพ ย์ อุ ต สาหกรรมถ่ า นหิ น พลั ง งานไฟฟ้ า การขนส่ ง และ โทรคมนาคม2 การลงทุนของต่างชาตินนั ้ ทาให้เกิดการเพิม่ รายได้ในจีนในรูปของ เงินตราต่างประเทศทีจ่ นี ได้จากการส่งออกมากขึน้ แต่ยงั มีปญั หาจากการทีร่ ฐั บาล จี น ออกกฎระเบี ย บบางอย่ า งมาควบคุ ม ธุ ร กิ จ ต่ า งชาติ ม ากขึ้ น เช่ น ตั ้ง คณะกรรมการตรวจสอบมาควบคุม วิสาหกิจที่มปี ญั หาอย่างจริงจัง ประกาศใช้ กฎหมายล้มละลายกับวิสาหกิจ และตัดทุนวิสาหกิจทีล่ ม้ ละลาย เป็ นต้น กำรค้ำกับต่ำงประเทศ การค้ากับต่างประเทศ เป็ นปจั จัยสาคัญทีท่ าให้เศรษฐกิจจีนเติบโต เห็นได้ จากใน ค.ศ. 1978 จีนมีมูลค่าการค้าต่างประเทศรวม 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1992 มูลการค้ากับต่างประเทศเพิม่ ขึน้ ร้อยละ 18.3 คิดเป็ นมูลค่า 85,000 ล้านเหรีย ญสหรัฐ ส่ว นใน ค.ศ. 1997 แม้ว่ าจะเกิด วิกฤตเศรษฐกิจ ใน 1 2

Fairbank. (1992). op.cit. p. 417. กระทรวงการต่างประเทศ. (2541). เศรษฐกิจจีนและแนวโน้มในปี 2541. หน้า 1. 211


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เอเชีย แต่มลู ค่าการค้าโดยรวมของจีนคิดเป็ น 325,060 ล้านเหรียญสหรัฐ ทาให้ จีนเป็ นประเทศทีม่ มี ลู ค่าการค้ากับต่างประเทศสูงเป็ นอันดับที่ 10 ของโลก 1 ภำคเกษตรกรรม ระหว่าง ค.ศ. 1978–1992 ภาคการเกษตรของจีนมีอตั ราการเพิม่ ขึน้ ของ ผลผลิตสูงถึงร้อยละ 5.8 ต่อปี มีการพัฒนาพืน้ ทีช่ นบทไปสู่ความเป็ นเมืองมากขึน้ ที่สาคัญ คือ การยกเลิกระบบคอมมูน และน าระบบความรับ ผิด ชอบมาใช้ ทาให้ เกษตรกรมีอสิ ระในการผลิตและมีแรงจูงใจมากขึ้น นอกจากนี้รฐั ยังสนับสนุ นให้ เกษตรกรสามารถทาและถือครองธุรกิจได้ ทาให้เอกชนมีบทบาทในภาคเศรษฐกิจ มากขึน้ ภำคอุตสำหกรรม ภาคอุ ต สาหกรรมได้ร บั การพัฒ นามากขึ้น ทัง้ อุ ต สาหกรรมหนั ก เช่ น อุตสาหกรรมเหล็กกล้า น้ ามัน พลังงานไฟฟ้า ถ่านหิน และอุตสาหกรรมเบา เช่น สินค้าอุปโภคบริโภค เสือ้ ผ้า เครือ่ งไฟฟ้า ผลจากการปฏิรปู ทาให้ผลผลิตใน ภาคอุตสาหกรรมเพิ่ม ขึ้น โดยมีอตั ราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 10 นับ ตัง้ แต่ ค.ศ. 1978 – 1992 และในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับที่ 9 (ค.ศ. 1996–2000) จีน ก าหนดแผนพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมที่ ส าคัญ คื อ การพั ฒ นาอุ ต สาหกรรม อิเลคทรอนิคส์ ปิ โตรเคมี การผลิตรถยนต์ และการก่อสร้าง โดยเรียกว่าเป็ น อุตสาหกรรม 4 เสาหลักของชาติ 2 ปจั จัย ที่ทาให้ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นมาจากการที่จีน ทาการ ปรับ ปรุงระบบการด าเนิ นงานของวิสาหกิจ ด้วยการส่งเสริมให้เอกชนเข้ามามี บทบาทมากขึน้ ให้อานาจวิสาหกิจบริหารเงินทุนและผลกาไรอย่างอิสระ ทาให้ การจ้างงานและการขยายการผลิตเพิม่ มากขึน้ และปรับปรุงระบบธนาคารในเรื่อง การให้สนิ เชื่อแก่โรงงานและวิสาหกิจ ตลอดจนการปรับ ปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ต่างๆ ทีจ่ าเป็ นต่อการพัฒนาประเทศ เช่น เส้นทางคมนาคมขนส่ง อย่ างไรก็ต าม การพัฒ นาภาคอุ ต สาหกรรมของจีน ภายใต้น โยบายสี่ ั หาขาดดุ ล การค้า ต่ า งประเทศเป็ น จ านวนมาก ทัน สมัย ในระยะแรกประสบป ญ 1 2

แหล่งเดิม. หน้า 2. วรศักดิ ์ มหัทธโนบล. (2539). “จีน,” ใน เอเชียรายปี 1996/2539. หน้า 269. 212


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เพราะต้องน าเข้า สิน ค้าประเภททุน และเครื่องจักรเข้าประเทศ แต่ห ลังจากนั น้ อัต ราขยายตั ว ในภาคอุ ต สาหกรรมก็ เ พิ่ ม ขึ้น อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง โดยรัฐ บาลให้ ความสาคัญกับอุตสาหกรรมเบามากขึน้ และเน้นให้มกี ารผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อ การส่ งออกมากขึ้น ในขณะที่ร ัฐ ส่ ง เสริม โครงสร้า งพื้น ฐานที่จ าเป็ น ด้ า น สาธารณูปโภค และภาคอุตสาหกรรมหนัก

การพัฒนาเส้นทางคมนาคมทีเ่ มืองซังไห่ ่ ศนู ย์กลางธุรกิจของจีน

ความเจริญของเมืองซังไห่ ่

213


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ภาพแสดง GDP ของจีนระหว่าง ค.ศ. 1952-2003 ซึง่ เพิม่ สูงขึ้นตัง้ แต่ ค.ศ. 1979

ระบบกำรเงิ นกำรธนำคำร เมื่อจีนเปิ ดประเทศรับการลงทุนจากต่างชาติ จึงปรับปรุงระบบการเงิน การธนาคาร ให้ส อดคล้ อ งกับ นโยบายพัฒ นาเศรษ ฐกิจ เช่ น จัด ระบบการ ดาเนินงานให้มมี าตรฐานมากขึ้น จัดตัง้ ธนาคารประเภทต่างๆ เพื่อรองรับการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารเพือ่ การลงทุนแห่งประเทศจีน ทาหน้าทีร่ ะดม เงิน ทุ น จากต่างประเทศ ธนาคารเนชันแนลทรั ่ ส ต์แ ห่ งชาติจีน เป็ น ธนาคารที่ สามารถกูเ้ งินจากต่างประเทศเพื่อการลงทุนได้อย่างเสรี ทาหน้าทีอ่ อกพันธบัตร เงินกู้ ใบหุน้ บริษทั จัดตัง้ วิสาหกิจร่วมทุน เป็ นต้น นอกจากนี้ จีนได้กาหนดระบบเงินตราใหม่ จากเดิมจีนใช้เงิน 2 ระบบ ได้แก่ เงินสาหรับประชาชนภายในประเทศ เรียกว่า เหรินหมินปี้ (Renminbi) และ เงิน ส าหรับ ชาวต่ า งประเทศใช้ เรีย กว่ า ว้า ยปี้ (Waibi) หรือเงิน นอก หรือ เงิน Certificate ทาให้เกิดปญั หาเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนกับชาวต่างประเทศ มีการแลก เงิน ว้า ยปี้ ในตลาดมืด เพราะคนจีน ต้องการเงิน ว้ายปี้ ไปซื้อสิน ค้า ที่น าเข้า จาก ต่างประเทศ ดังนัน้ ตัง้ แต่วนั ที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1995 จีนได้ยกเลิกการใช้เงินว้าย ปี้ คงใช้เหรินหมินปี้ อย่างเดียว ทาให้ระบบการเงินของจีนมีความสอดคล้องกับ อัตราแลกเปลีย่ นตามระบบสากลมากขึน้

214


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

4. ปัญหำจำกกำรปฏิ รปู เศรษฐกิ จภำยใต้นโยบำยสี่ทนั สมัย การพัฒ นาประเทศตามนโยบายสี่ทนั สมัยส่งผลดีต่อเศรษฐกิจจีน อย่าง มาก แต่ขณะเดียวกันก็มผี ลกระทบทีเ่ กิดจากการดาเนินนโยบายนี้หลายด้าน ได้แก่ ด้ำนเศรษฐกิ จ ปญั หาจากระบบความรับผิดชอบ เกิดจากการทีท่ างการจัดสรรทีด่ นิ ออก เป็ น ส่วนย่อยมากเกินไป และการจัดหน่ วยการผลิตระดับครอบครัวทาให้รฐั ไม่ สามารถควบคุ ม และดู แ ลระบบสาธารณู ป โภคในท้อ งถิ่น ได้ ท ัว่ ถึง เช่ น ระบบ ชลประทาน จนรัฐต้องออกประกาศให้ชาวนาทุกครอบครัวมาให้แรงงานแก่รฐั ปี ละ 10–20 วัน เพื่อซ่อมบารุงระบบชลประทาน นอกจากนี้ยงั มีปญั หาการทาสัญญา ระหว่างทางการกับครอบครัวชาวนาทีม่ อี ยู่ประมาณ 180 ล้านครอบครัว ซึง่ แต่ ละครอบครัวจะมีท่นี าไม่มากนัก แต่เกษตรกรต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการนา เครื่องจักรมาใช้ในการผลิต รัฐบาลแก้ปญั หาด้วยการสนับสนุ นให้ตงั ้ เป็ นสหกรณ์ เพื่อขยายพื้นที่การเพาะปลูก 1 ปญั หาอีกประการคือ การให้ความสาคัญกับการ ผลิตเพื่อเพิม่ รายได้ ทาให้เกิดปญั หาความแตกต่างทางฐานะความเป็ นอยู่ในกลุ่ม เกษตรกรด้วยกัน และความแตกต่างด้านการกระจายรายได้ระหว่างเขตเมืองกับ ชนบท ั หาอานาจในการควบคุ ม การบริห ารงานของรัฐ บาลกลาง การที่ ปญ ส่วนกลางลดการควบคุมลงและมอบอานาจให้ส่วนท้องถิน่ เข้ามาจัดการดูแลมาก ขึน้ ทาให้รายได้ทร่ี ฐั บาลกลางควรได้ลดลงจนเกิดปญั หางบประมาณขาดดุล ส่วน การที่รฐั บาลท้องถิ่น ให้ความสาคัญกับการพัฒ นาท้องถิ่นของตน ส่งผลให้การ พัฒนาประเทศโดยรวมลดลง และมีบริษทั ทีต่ งั ้ ขึน้ โดยผิดกฎหมายมากขึน้ เพราะ รัฐบาลท้องถิน่ ไม่ได้ตรวจสอบอย่างเข้มงวด และเจ้ าหน้าทีท่ อ้ งถิน่ มีความเชื่อว่า การมีบริษทั ในท้องถิน่ จานวนมากแสดงว่าท้องถิน่ นัน้ ๆ กาลังก้าวไปสูเ่ จริญ ปญั หาเงินเฟ้อ ในช่วง ค.ศ. 1988 อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน สูงขึ้นถึงร้อยละ 10 ซึ่งเกินกว่าที่รฐั คาดไว้และรัฐบาลกลางไม่สามารถควบคุม ความต้องการในการซื้อสินค้าประเภททุนเพื่อการลงทุนของผูป้ ระกอบการทีเ่ พิม่ มากขึ้น รวมทัง้ ความต้องการสินค้าอุป โภค บริโภคของประชาชนที่เพิ่มอย่าง

1จุลชีพ

ชินวรรโณ. (2531). “จีน,” ใน เอเชียรายปี 1988 / 2531. หน้า 162. 215


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

รวดเร็ว ทาให้สนิ ค้าอุปโภคบริโภคขาดแคลน ราคาสินค้าสูงขึน้ รัฐบาลแก้ปญั หา โดยประกาศนโยบายประหยัด และรัด เข็ม ขัด จ ากัด สิน เชื่อ ควบคุ ม ปริม าณ เงิน ตราในท้องตลาด เข้ม งวดต่อการลงทุ น ใหม่ๆ และในเดือนธัน วาคม ค.ศ. 1989 ทางการจีน ได้ป ระกาศลดค่ า เงิน เหริน หมิน ปี้ ล งไปร้อยละ 21.21 เพื่อ ให้ สินค้าในประเทศมีราคาถูกลง รวมทัง้ กาหนดเป้าหมายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ไม่ให้สูงเกิน ไป ท าให้ส ามารถควบคุม อัต ราเงิน เฟ้ อไว้ได้ ที่เห็น ได้ช ดั คือ ใน ค.ศ.1997 จี น สามารถควบคุ ม อัต ราเงิน เฟ้ ออยู่ ใ นระดั บ 2.8 ซึ่ ง นั บ เป็ น ความสาเร็จเมือ่ เทียบกับประเทศในเอเชียทีก่ าลังเผชิญภาวะเศรษฐกิจตกต่าอยู่ ปญั หาการขาดแคลนสาธารณูปโภค การปฏิรปู เศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทา ให้การขยายตัวของระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอต่อความต้องการ เช่น ในเซิน เจิ้น ประสบปญั หาไฟฟ้าไม่พ อใช้ จนต้องแก้ป ญั หาด้วยการให้โรงงานใช้ระบบ ั หาโดยการลงทุน และ ทางาน 4 วัน หยุด 3 วัน เป็ น ต้น ซึ่งรัฐบาลแก้ป ญ ส่งเสริมการลงทุนสาหรับโครงสร้างพื้นฐาน โดยยังให้ความสาคัญในเรื่องการทา ปา่ ไม้ ทางรถไฟ ถนน และการรักษาสิง่ แวดล้อม ปญั หาการขาดทุนของรัฐวิสาหกิจ ในระยะแรกของการปฏิรปู เศรษฐกิจ รัฐยังคงควบคุมการแปรรูปรัฐวิสาหกิจไว้ เพื่อให้อยู่ภายใต้การบริหารของพรรค แต่กลับ ทาให้รฐั วิสาหกิจหลายแห่ง เช่น เหล็กกล้า ถ่านหิน ประสบกับภาวะ ขาดทุน จึงมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้มขี นาดเล็กลงเพื่อแก้ปญั หาในการจัดการ และยกเลิกรัฐวิสาหกิจทีไ่ ม่ทากาไร ด้ำนสังคม การปฏิรปู ภายใต้นโยบายสีท่ นั สมัยทาให้สงั คมจีนเปลีย่ นแปลงหลายอย่าง เช่น ประชาชนมีช ีวิตความเป็ น อยู่ดีข้นึ สามารถแสดงความคิด เห็น หรือ การ กระทาทีเ่ ป็ นอิสระมากขึ้น เดินทางไปยังที่ต่างๆ สะดวกขึน้ รับรูข้ อ้ มูลข่าวสาร จากโลภภายนอกได้กว้างขวางขึน้ แต่ความเจริญทีเ่ กิดขึน้ ก็สง่ ผลกระทบต่อสังคม จีนหลายประการ ดังนี้

1จุลชีพ

ชินวรรโณ. (2531). “จีน,” ใน เอเชียรายปี 1989 / 2532. หน้า 213-214. 216


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ปญั หาการฉ้อราษฎร์บงั หลวง เป็ นปญั หาทีร่ ุนแรงมาก เพราะหลายคดีม ี เจ้าหน้าทีข่ องรัฐทัง้ ระดับท้องถิน่ หรือระดับสูงเข้าไปเกีย่ วข้อง รัฐบาลจีนพยายาม แก้ปญั หาโดยกาหนดโทษสูงสุด คือ การประหารชีวติ และดาเนินการอย่างจริงจัง แต่ปญั หาก็ยงั ไม่หมดไป คดีทโ่ี ด่งดังล่าสุดทีผ่ นู้ าของพรรคคอมมิวนิสต์เกีย่ วข้อง และถูกตัดสินลงโทษจาคุกตลอดชีวติ ไปเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 2013 คือ คดีท่ี นายป๋อ ซีไหล (Bo Xilai) อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สาขามหานครฉงชิง่ มณฑลซื่อชวน ผูซ้ ง่ึ มีโอกาสจะได้เป็ นผูน้ าของประเทศในอนาคต ถูกปลดและถูก ศาลตัดสินลงโทษเพราะเกีย่ วข้องกับคดีทุจริต คดีฆาตกรรมนักธุรกิจชาวอังกฤษ และคดีรา้ ยแรงอืน่ ๆ ปญั หาจากการอพยพเข้าสูเ่ มืองของชาวจีน ความเจริญในเขตเมืองทาให้ ชาวชนบทอพยพเข้ามาในเมืองเพือ่ หางานทา ซึง่ มีอตั ราโดยเฉลีย่ 8 ล้านคนต่อปี ทาให้เกิดปญั หาการว่างงาน ปญั หาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร ปญั หา ั หาอาชญากรรม รัฐพยายามแก้ป ญ ั หาโดยส่ งเสริม การพัฒ นา สังคมและป ญ เศรษฐกิจในชนบทโดยเฉพาะในภาคตะวันตกและตะวันออกมากขึน้ ปญั หาประชากร อัตราการเพิม่ ของประชากรจีนทีส่ งู ขึน้ มากในสมัยเหมา เจ๋อตง ทาให้ทางการจีนต้องออกนโยบายกาหนดให้แต่ละครอบครัวมีบุตรได้เพียง 1 คน ตัง้ แต่ ค.ศ. 1980 เป็ นต้นมา ทาให้อตั ราการเกิดของประชากรจีนลดต่ าลง แต่จานวนประชากรจีนยังมีสงู อยู่ เห็นได้จากใน ค.ศ. 1996 จีนมีประชากร 1,230 ล้านคน แต่จากสถิตใิ นปี ค.ศ. 1999 จีนมีประชากรเพิม่ เป็ น 1,290 ล้านคน และ ใน ค.ศ. 2013 จ านวนประชากรจีน เพิ่ม เป็ น 1,354 ล้านคน 1 ทาให้เกิด ป ญั หา ต่างๆ ตามมา อาทิ ปญั หายาเสพติด ปญั หาอาชญากรรม ปญั หาการค้าบริการ ทางเพศ ปญั หาการขาดการศึกษา เป็ นต้น เนื่องจากจานวนการขยายตัวของ ประชากรส่วนมากอยูใ่ นเขตชนบทซึง่ โอกาสทางการศึกษามีน้อย จีนในปจั จุบนั ยังมีปญั หาการเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุทป่ี ระชากรวัยหนุ่ มสาวมี จานวนน้อยกว่าผูส้ งู อายุ และประชากรวัยเด็กมีจานวนน้อย อันเป็ นผลสืบเนื่องจาก นโยบายลูกคนเดียวทีจ่ ากัดจานวนประชากร ทาให้ในอนาคตจีนมีความเสีย่ งทีร่ ฐั และประชากรวัยหนุ่มสาวต้องแบกภาระการเลีย้ งดูประชากรสูงอายุทม่ี จี านวนมาก ทาให้ทางการจีนเริม่ ผ่อนคลายโดยในปลายปี ค.ศ. 2013 รัฐบาลจีนเริม่ อนุ ญาตให้ www.worldpopulationstatistics.com/ China population 2013 (Retrieved on 3 December 2013). 1

217


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

คนจีนมีบุตรได้มากกว่า 1 คน เพื่อแก้ปญั หานี้ ทัง้ นี้ปญั หาการเข้าสู่สงั คมผูส้ งู อายุ พบได้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วและกาลังพัฒนาทีป่ ระชากร วัยหนุ่ มสาวทีเ่ ป็ นคนทางานและมีการศึกษาสูงไม่นิยมแต่งงาน หรือไม่นิยมมีบุ ตร ั หานี้ ในเอเชีย เช่ น ไทย หรือ มีบุ ต รเพีย งคนเดีย ว ประเทศที่ก าลังประสบป ญ สิงคโปร์ ญีป่ นุ่ เป็ นต้น นอกจากนี้ ค่านิยมการมีลกู ผูช้ ายและการให้ความสาคัญกับลูกชายของสังคม จีนกาลังส่งผลกระทบต่อประชากรจีนอย่างมาก เพราะการที่รฐั บังคับให้คนจีนมี บุตรเพียงคนเดีย ว ทาให้หลายครอบครัวทาแท้งเมื่อพบว่าตัง้ ครรภ์เป็ นเด็กหญิง และพยายามมีลูกชาย ทาให้ปจั จุบนั จีนมีอตั ราประชากรเพศชายสูงกว่าเพศหญิง มาก และเกิดปญั หาในเรื่องการหาคู่ครอง เพราะสัดส่วนจานวนประชากรชายหญิง ต่างกันมาก

ภาพโปสเตอร์รณรงค์นโยบายมีลกู คนเดียว

ั หาจากการรับ ค่ า นิ ย มต่ า งชาติ การเปิ ด ประเทศท าให้ ค่ า นิ ย ม ปญ ตะวัน ตกหลังไหลเข้ ่ ามาในจีน ด้ว ย ทัง้ แนวคิด เสรีป ระชาธิป ไตยแบบตะวัน ตก การใช้ช ีวิต แบบตะวัน ตก ซึ่งส่ งผลต่ อ วิถีช ีวิต ชาวจีน มาก เห็น ได้ จ ากการที่ ประชาชนนิยมบริโภคสินค้าฟุ่มเฟื อยมากขึน้ รับประทานอาหารฟาสต์ฟ๊ ู ด การ เพิม่ ขึน้ ของสถานบันเทิง เช่น ดิสโกเธค คาราโอเกะ สนามกอล์ฟ สนามแข่งรถ

218


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ที่เปิ ด อย่างเสรี รวมถึงป ญั หาต่ างๆ เช่น ค่านิ ย มที่เป็ น วัตถุ  ตลาดมืด การก่อ อาชญากรรม ยาเสพติด โสเภณี การฉ้อราษฎร์บงั หลวง และทีเ่ ห็นได้ชดั เจนทีส่ ุด คือ การเรียกร้องประชาธิปไตยทีจ่ ตั ุรสั เทียนอานเหมินใน ค.ศ. 1989 5. ควำมขัดแย้งจำกกำรปฏิ รปู ประเทศ กำรคัดค้ำนจำกลุ่มอนุรกั ษ์นิยมและกำรเรียกร้องสิ ทธิ ของประชำชน การพัฒนาประเทศตามนโยบาย 4 ทันสมัย ประสบความสาเร็จและได้รบั การตอบรับจากประชาชนส่วนใหญ่ แต่ก็ถูกวิพ ากษ์วจิ ารณ์ และคัดค้านจากบาง กลุ่ม เช่น กลุ่มทหารอาวุโสทีไ่ ม่เห็นด้วยกับนโยบายปรับปรุงกองทัพ เพราะต้อง ถูกปลดเกษียณพ้นจากตาแหน่ งเดิม นโยบายการลดกาลังทหารทาให้ฝ่ายทหาร ได้รบั งบประมาณน้อยลง ทีส่ าคัญทหารส่วนใหญ่ยงั มีความคิดอนุ รกั ษ์นิยมและติด อยูก่ บั แนวความคิดของเหมา เจ๋อตง กลุ่มผูน้ าอาวุโสบางกลุ่มยังเห็นว่า การปฏิรปู และการเปิ ดประเทศเป็ นการ ดาเนินนโยบายทีก่ า้ วเร็วเกินไป ทาให้เกิดปญั หาตามมามากมาย เช่น ปญั หาสังคม ทีม่ กี ารหลังไหลของวั ่ ฒนธรรมตะวันตกและแนวคิดเสรีนิยมเข้าสู่จนี ปญั หาการ ั หาราคาสิน ค้า ขึ้น สูง รายได้ ไม่ เพีย งพอกับ รายจ่ า ย เฉิ น หยุ น นั ก ทุ จ ริต ป ญ เศรษฐศาสตร์ซ่งึ เป็ นสมาชิกอาวุโสของคณะกรรมการประจาของกรมการเมืองได้ ตาหนิ นโยบายปฏิรูป ของเติ้ง เสี่ยวผิง และเรีย กร้องให้ม ีการแก้ไขป ญั หาต่ างๆ ด้วย แม้ว่ ากลุ่ ม ที่ค ัด ค้า นนโยบายของเติ้ง เสี่ย วผิง จะมีน้ อย แต่ ก็ม ีก ระแส ต่ อต้า นที่ส่ งผลต่ อ ความมัน่ คงของรัฐบาลและพรรค รัฐบาลจึง เริ่ม การรณรงค์ ต่อต้าน “มลภาวะทางจิตใจ” (spiritual pollution) ใน ค.ศ.1983 โดยมีจุดประสงค์ เพื่อป้องกันการแพร่เข้ามาของวัฒนธรรมและแนวคิดตะวันตก และเพื่อแสดงให้ 

กล่าวกันว่าในสมัยเหมา เจ๋อตง ชาวจีนมีสงิ่ ทีป่ รารถนา 4 ประการ คือ รถจักรยาน วิทยุ นาฬิกาข้อมือ และจักรเย็บผ้า หลังจากการพัฒนาประเทศในสมัยเติ้ง เสีย่ วผิง ชาวจีน ต้องการ 3 สูง (three highs) ได้แก่ เงินเดือนสูง การศึกษาสูง ความสูง 5 ฟุต 6 นิ้ว และ 8 ใหญ่ (eight bigs) ได้ แ ก่ โทรทัศ น์ ตู้ เย็น สเตริโ อ กล้อ งถ่ า ยรูป ชุ ด เฟอร์นิ เจอร์ รถจัก รยานยนต์ เครื่อ งซัก ผ้า และพัด ลม แต่ ในป จั จุ บ ัน คงต้ อ งเพิ่ม คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มอื ถือ และกล้องดิจติ อล ด้วย 219


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ฝา่ ยอนุ รกั ษ์นิยมเห็นว่ารัฐบาลได้พยายามป้องกันไม่ให้แนวคิดทีอ่ าจเป็ นอันตราย ต่อระบอบคอมมิวนิสต์เผยแพร่เข้ามา แต่การเปิ ดประเทศก็นาแนวคิดตะวันตกเข้า มาในหมู่นักศึกษา ปญั ญาชน โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่อย่างเป่ยจิง และซังไห่ ่ ซึ่ง ได้เรีย กร้องสิทธิเสรีภ าพมากขึ้น ถึงขัน้ มีการเดิน ขบวนในกรุงเป่ ยจิงเมื่อเดือน ธัน วาคม ค.ศ.1986 และแพร่ไปสู่เมืองอื่น ๆ อีก ทางการได้เข้าปราบปรามและ พยายามใช้มาตรการผ่อนปรน เช่น ปล่อยตัวผูน้ านักศึกษา การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของปญั ญาชนเริม่ มาตัง้ แต่ ค.ศ. 1978 แล้ว โดย เว่ย จิงเซิง (Wei Jingsheng) ได้เขียนโปสเตอร์หรือกาแพงประชาธิปไตยเรียกร้อง ทัน สมัย ที่ 5 หรือ ประชาธิป ไตย ตัง้ แต่ เ ดือ นธัน วาคม ค.ศ. 1978 แต่ ค วาม เคลื่อนไหวของนักศึกษาใน ค.ศ.1986 นี้ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง จีน อย่างกระทันหัน หู เย่าปงั ในฐานะเลขาธิการพรรคที่ต้องรับผิดชอบควบคุม แนวทางของพรรค ถูกบังคับให้วจิ ารณ์ ตนเองถึงความผิดพลาดเรื่อ งหลักการทาง การเมือง และต้องลาออกจากตาแหน่งเลขาธิการพรรคในเดือนมกราคม ค.ศ. 1987 โดยนายกรัฐมนตรีจา้ ว จื่อ หยาง รักษาการแทน

หู เย่าปงั อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์

หู เย่าปงั ได้รบั แต่งตัง้ เป็ นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ.1981 และมักถูกฝ่ายอนุ รกั ษ์นิยมโจมตีอยู่เสมอ เพราะ หู เย่าปงั ชอบวิพากษ์ วจิ ารณ์ นโยบายของ เหมา เจ๋อตง ส่วนฝา่ ยอนุ รกั ษ์นิยมในกองทัพไม่ยอมรับบทบาทและ สถานะของหู เย่าปงั เพราะถือว่ายังมีอาวุโสไม่มากพอที่จะเป็ นเลขาธิการพรรค และไม่เคยมีบ ทบาททางการเมืองมาก่อน รวมทัง้ ไม่พ อใจที่หู เย่าป งั ในฐานะ เลขาธิก ารพรรคซึ่ง ต้ อ งรับ ผิด ชอบงานด้า นอุ ด มการณ์ แต่ ก ลับ ยอมให้ม ีก าร 220


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เผยแพร่แนวความคิดแบบเสรีนยิ ม และสนับสนุนให้นกั ศึกษาปญั ญาชนแสดงความ คิดเห็นทางการเมืองมาตลอด ฝา่ ยอนุ รกั ษ์นิยมเห็นว่าเป็ นการท้าทายอานาจพรรค โดยตรง และไม่พอใจที่ หู เย่าปงั ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ การเดินขบวน ของนักศึกษาได้ ทาให้ หู เย่าปงั ต้องลาออกใน ค.ศ. 1987 การที่ หู เย่ า ป งั ต้ อ งลาออกจากเลขาธิ ก ารพรรคในเดื อ นมกราคม ค.ศ.1987 ถื อ ว่ า เป็ นชัย ชนะของฝ่ า ยอนุ ร ัก ษ์ นิ ย ม ที่ ต่ อ ต้ า นนโยบายปฏิ รู ป เศรษฐกิจของเติ้ง เสีย่ วผิง มาโดยตลอด และแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งระหว่าง ฝ่า ยปฏิรูป กับ ฝ่า ยอนุ รกั ษ์ แต่ ในการประชุ ม พรรคครัง้ ที่ 13 ในเดือ นตุ ล าคม– พฤศจิกายน ค.ศ.1987 ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทและอิทธิพลของเติ้ง เสีย่ วผิง ที่ ยังมีต่อการเมืองภายในของจีน โดยในการประชุม ครัง้ นี้ ม ีการเลือกตัง้ ตาแหน่ ง สาคัญๆ ของคณะกรรมการกลางของพรรค ซึง่ บุคคลทีเ่ ติ้ง เสีย่ วผิง สนับสนุ นและ กาหนดให้เป็ นผูส้ บื ทอดทางการเมืองต่างก็ได้รบั คัดเลือกให้ดารงตาแหน่ งสาคัญๆ ทัง้ สิ้น เช่น จ้าว จื่อหยาง ได้เป็ น เลขาธิการพรรคและรองประธานคนที่ 1 ของ คณะกรรมการกิจการทหาร หลี่ เผิง (Li Peng, ค.ศ.1928– ) เป็ นกรรมการประจา กรมการเมืองและรักษาการตาแหน่ งนายกรัฐมนตรี รวมทัง้ กดดันให้ผนู้ าอาวุโส ของฝ่ายอนุ รกั ษ์นิยม เช่น เฉิน หยุน (อายุ 82 ปี ) ว่าน หลี่ (อายุ 71 ปี ) เผิง เจิน (อายุ 85 ปี ) ลาออกจากตาแหน่ งกรรมการประจากรมการเมือง ซึ่งเป็ นองค์การ บริห ารที่ก าหนดนโยบายส าคัญ ของพรรค ส่ ว นเติ้ง เสี่ย วผิง ก็ล าออกจากทุ ก ตาแหน่ ง ยกเว้นตาแหน่ งประธานคณะกรรมการกิจการทหาร นับว่าเป็ นชัยชนะ ของเติ้ง เสี่ย วผิง ในการจ ากัด บทบาทของผู้น าอาวุ โ สฝ่ า ยอนุ ร ัก ษ์ นิ ย ม การ เปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้เท่ากับว่าเติ้ง เสี่ยวผิง วางตัวให้ จ้าว จื่อหยาง เป็ นผู้ส ืบ ทอดอานาจ และในสมาชิกคณะกรรมการกรมการเมืองส่วนใหญ่เป็ นผูท้ ส่ี นับสนุ น แผนปฏิรปู เศรษฐกิจของเติง้ เสีย่ วผิง เหตุ ก ำรณ์ กำรสัง หำรหมู่ ที่ จัตุ ร ัส เที ยนอำนเหมิ น (Tiananmen Square Massacre) ค.ศ. 1989 หลังลาออกจากตาแหน่ งเลขาธิการพรรค หู เย่าปงั ก็เก็บ ตัวอยู่เงียบๆ จนกระทังเสี ่ ยชีวติ ด้วยโรคประจาตัวเมื่อวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1989 นักศึกษาใน มหาวิทยาลัย ที่กรุงเป่ย จิงได้รวมตัวกัน ที่จตั ุรสั เทีย นอานเหมิน เพื่อ ไว้อาลัย จน กลายเป็ นการเรียกร้องประชาธิปไตยและเรียกร้องให้ปฏิรูปการเมือง การชุมนุ ม ขยายไปยังเมืองอื่นๆ ทางการต้องประกาศห้ามการชุมนุ ม แต่นักศึกษา ปญั ญาชน และประชาชนทัวไปยั ่ งคงชุมนุมกันอยูท่ จ่ี ตุรสั เทียนอานเหมิน 221


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

นักศึกษาและประชาชนในการไว้อาลัย หู เย่าปงั ค.ศ.1989

กาแพงประชาธิปไตยทีจตุ ่ รสั เทียนอานเหมินในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1989 เรียกร้องการปฏิรปู ทางการเมืองตามนโยบายกลาสนอสต์ของสหภาพโซเวียต

จ้าว จือ่ หยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จนี เจรจากับนักศึกษาทีจั่ ตุรสั เทียนอานเหมิน

222


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การเจรจาระหว่างรัฐบาลและผูช้ ุมนุ มไม่อาจตกลงกันได้ ผูช้ ุมนุ มจานวน หนึ่ ง จึ ง อดข้ า วประท้ ว งเพื่ อ ให้ ร ัฐ บาลยิ น ยอมตามข้ อ เรีย กร้อ ง ในวัน ที่ 19 พฤษภาคม 1989 จ้า ว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคคอมมิว นิ ส ต์จีน ทายาททาง การเมืองอีกคนหนึ่งทีเ่ ติ้ง เสีย่ วผิง เลือกมา และหลี่ เผิง นายกรัฐมนตรี เดินทาง ไปพบนั ก ศึก ษาที่จ ตุ ร ัส เทีย นอานเหมิน แต่ ย ัง ตกลงกัน ไม่ ได้ เพราะนั ก ศึก ษา เรียกร้องสิทธิในการเจรจาและเรียกร้องเพื่อให้เพิม่ รายได้และสวัสดิการของคนงาน ต่อมามีการประชุมของคณะกรรมการประจาของกรมการเมือง ซึ่ง ความเห็นแตก เป็ น 2 ฝ่าย เกีย่ วกับมาตรการในการยุตกิ ารชุมนุ มประท้วง จ้าว จื่อ หยางเห็นว่า ควรใช้การประนีประนอมและเปิ ดการเจรจากับนักศึกษา ส่วนผูน้ าอาวุโส เช่น เติ้ง เสีย่ วผิง เผิง เจิน หลี่ เซียนเหนียน เฉิน หยุน รวมทัง้ หลี่ เผิง มีมติให้ประกาศกฏ อัยการศึกและใช้กาลังเข้าปราบปราม จ้าว จื่อหยางไม่เห็นด้วยกับมติน้ี จงึ ขอลา ป่วย 3 วัน และไม่ร่วมในการประกาศกฏอัยการศึกกับนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง และ ประธานาธิบ ดีห ยาง ซ่ างคุน (Yang Shangkun, ค.ศ.1907–1998) เมื่อวัน ที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 19891

นักศึกษาและประชาชนชุมนุมทีจั่ ตุรสั เทียนอานเหมิน ค.ศ. 1989

Spence. (2013). op.cit. p. 661 และอ่านเพิม่ เติมใน บันทึกลับจ้าวจือ่ หยาง: เบื้องหลัง เหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน แปลจาก Prisoner of the State: The Secret Journal of Premier Zhao Ziyang ซึง่ เรียบเรียงและถอดความจากเทปบันทึกเสียงของจ้าว จื่อห ยาง หลัง จากพ้ น ต าแหน่ ง และถู ก ควบคุ ม ตั ว ในบ้ า นพัก ฉบับ แปลภาษาไทยโดย สานักพิมพ์มติชน (2552). 1

223


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

กาลังของกองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้ากวาดล้างผูช้ ุมนุ มทีจ่ ตั ุรสั เทียน อานเหมินในเช้ามืดวันที่ 4 มิถุนายน ทาให้มผี เู้ สียชีวติ ประมาณ 1,000–2,600 คน จากการประมาณของผูส้ งั เกตการณ์ แต่ทางการแถลงว่ามีผเู้ สียชีวติ ราว 300 คน และส่วนใหญ่เป็ นทหาร 1 นอกจากนี้ยงั มีการกวาดล้างผูช้ ุมนุ มในเมืองใหญ่ ๆ ใน มณฑลอื่นๆ ด้วย ต่อมาวันที่ 23 - 24 มิถุนายน คณะกรรมการกลางของพรรคได้ จัดการประชุมลงมติว่าเหตุการณ์ทเ่ี กิดขึน้ เป็ นการกบฏต่อต้านการปฏิวตั ิ (Counter Revolutionary Rebellion) ลงมติว่ าจ้า ว จื่อหยาง ทาความผิด ที่ส นั บ สนุ น ความ ั ่ ่วน แบ่งพรรคออกเป็ นฝา่ ย และมีมติปลดจ้าว จื่อหยาง ออกจากทุกตาแหน่ ง ปนป ในพรรค คงเหลือแต่การเป็ นสมาชิกพรรค และถูกกักตัวในบ้านพักนานถึง 16 ปี

ภาพการ์ตูนสะท้อนเหตุการณ์การปราบปรามประชาชนทีจั่ ตุรสั เทียนอานเหมิน

ชัยชนะของกลุ่มปฏิ รปู เมื่อ จ้าว จื่อหยาง ถูกปลดแล้ว เติ้ง เสีย่ วผิงได้เลือก เจียง เจ๋อหมิน (Jiang Zemin ค.ศ.1926 - ) เลขาธิการพรรคประจาซังไห่ ่ ขึน้ มาดารงตาแหน่งแทน และ ในเดื อ นพฤศจิ ก ายน ค.ศ.1989 เติ้ ง เสี่ ย วผิง ลาออกจากต าแหน่ ง ประธาน คณะกรรมการทหาร โดย เจียง เจ๋ อหมิน ดารงตาแหน่ งแทน แต่เติ้ง เสีย่ วผิงยัง เป็ นผูท้ ม่ี อี านาจมากทีส่ ดุ ในช่วงนี้ผนู้ าในจีนแยกได้เป็ น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็ นกลุ่ม ผูน้ ารุ่นอาวุโสที่มชี วี ิตร่วมสมัย กับ เติ้ง เสี่ยวผิง เช่น เฉิน หยุ น เผิง เจิน หยาง ซ่างคุน และ ว่าน หลี่ ในบรรดาบุคคลเหล่านี้ เฉิน หยุน และ หยาง ซ่างคุน จัดว่า เป็ นผูท้ ม่ี อี านาจและกล้าท้าทายอานาจของเติ้ง เสีย่ วผิงอยู่เสมอ แต่หลังจากการ 1

วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2544). เล่มเดิม. หน้า 417. 224


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จนี ครัง้ ที่ 14 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 ก็แสดง ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงการกาจัดผูน้ าอาวุโสฝา่ ยอนุ รกั ษ์นิยม ซึง่ ฝา่ ยอนุ รกั ษ์นิยม ในช่วงนี้ไม่ได้หมายถึงฝา่ ยซ้ายหัวเก่าแบบเดียวกับแก๊งสีค่ น แต่หมายถึงฝา่ ยทีไ่ ม่ เห็นด้วยกับการปฏิรปู เศรษฐกิจของทีเ่ ติ้ง เสีย่ วผิง โดยเฉพาะเรือ่ งการนาระบบทุน นิยมมาเป็ นแนวทางสาคัญในการปฏิรูป ในต้นปี ก่อนหน้าทีจ่ ะมีการประชุมนี้ เติ้ง เสี่ยวผิงได้เดินทางไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ในมณฑลกว่างตง และเขต เศรษฐกิจพิเศษอืน่ ๆ ในเวลาต่อมา การปรากฏตัวของ เติ้ง เสีย่ วผิง ที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็ นการแสดงถึง แนวทางที่เน้ น การปฏิรูป เศรษฐกิจ และเป็ น การแสดงว่ าตนมีอานาจเหนื อ ฝ่า ย อนุ รกั ษ์นิยม การเดินทางไปเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ทาให้ส่อื ของรัฐพากันเสนอข่าว และเขียนถึงแต่ความสาเร็จของเขตเศรษฐกิจพิเศษ รวมทัง้ เสนอข่าวเกี่ย วกับ นโยบายและคากล่าวของเติ้ง เสีย่ วผิง ทีม่ เี นื้อหาเกีย่ วกับนโยบายปฏิรปู เช่น คา กล่าวของเติง้ เสีย่ วผิง ทีว่ ่า “อุดมคติไม่สามารถตอบสนองความต้องการอาหารได้” และทีก่ ว่างตง เติง้ เสีย่ วผิง กล่าวว่า “ให้นากาลังมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ” และ “การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ อย่ า งรวดเร็ว เป็ นสิ่ ง จ าเป็ นส าหรับ จีน ” เป็ นต้ น 1 การ เคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจเป็ นไปอย่างคึกคักและกลายเป็ นเรื่องหลักทางการเมือง จีน การปฏิรูปเศรษฐกิจของเติ้ง เสีย่ วผิง ทาให้ฝ่ายอนุ รกั ษ์นิยมไม่พอใจมานาน แล้ว แต่กระแสการเคลื่อนไหวของการปฏิรปู นี้ถอื ว่าเป็ นกระแสทีแ่ รงมากเกินกว่าที่ ฝา่ ยอนุรกั ษ์จะทาลายได้ ต่ อมาฝ่า ยปฏิรูป ได้ป ระกาศทาลายสิ่งที่เรีย กว่ า 3 เหล็ก ประกอบด้ว ย ชามเหล็ก หมายถึง สวัสดิการต่างๆ ทีข่ า้ รัฐการจีนจะได้รบั ตลอดไป เก้าอีเ้ หล็ก หมายถึ ง ต าแหน่ ง ที่ ข ้า รัฐ การจะด ารงอยู่ ไ ด้ ต ลอดไป และเงิน เดื อ นเหล็ ก หมายถึง รายได้ในรูปต่าง ๆ ทีช่ อบธรรมทีข่ า้ รัฐการจะได้รบั ตลอดไป 3 เหล็ก คือ ระบบทีร่ ฐั บาลรับประกันการมีงานทาของคนจีน ซึ่งกลายเป็ นภาระทางเศรษฐกิจ ของประเทศ2 หลังจากนัน้ การปฏิรปู ต่างๆ ก็ออกมามากมาย ฝ่ายอนุ รกั ษ์นิยมไม่ อาจแสดงการคัดค้านอย่างเปิ ดเผย หรือถ้าจะแสดงการคัดค้านก็จะเริม่ ต้นด้วยการ กล่าวสนับสนุ นนโยบายการปฏิรูปก่อน แล้วจึงกล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยเรื่อง การปฏิรปู ตามวัฒนธรรมตะวันตกรวมถึงนโยบายเปิ ดเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่เมื่อ มาถึงเดือนมิถุน ายน ค.ศ. 1992 หลังจากการรณรงค์การปฏิรูป ครัง้ นี้ ผ่านไปได้ 1 2

Spence. (2013). op.cit. p. 670. วรศักดิ ์ มหัทธโนบล. (2536). “จีน”. ใน เอเชียรายปี 1993/2536. หน้า 199. 225


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เพียง 6 เดือนรัฐบาลจีนก็ประกาศว่าจะยุตกิ ารโจมตี 3 เหล็ก การประกาศยุตคิ รัง้ นี้ อาจเป็ นไปได้ว่าเพื่อรอมชอมกับฝา่ ยอนุรกั ษ์นิยม เพราะแม้อานาจของฝา่ ยอนุรกั ษ์ นิยมจะน้อยกว่าฝา่ ยปฏิรปู แต่คงพอจะมีอานาจต่อรองอยูบ่ า้ ง อย่างไรก็ตาม การ ดาเนินการทีผ่ า่ นมาทาให้ “ชามเหล็ก” ถูกทาลายลงไปแทบไม่มเี หลือ 1 จากการต่ อ สู้ ท างนโยบายระหว่ า งสองฝ่ า ย ผลปรากฏว่ า ฝ่ า ยปฏิ รูป กลายเป็ นฝา่ ยมีชยั ชนะ หลังจากการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จนี ครัง้ ที่ 14 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1992 จู หรงจี (Zhu Rongji, ค.ศ.1928- ) ผู้ท่ีม ีแนวคิด ปฏิรปู เชีย่ วชาญทางเศรษฐกิจ ดารงนายกเทศมนตรีนครซังไห่ ่ ตงั ้ แต่ ค.ศ. 1987 ซึง่ เป็ นตาแหน่ งสาคัญ และเป็ นผูท้ เ่ี ติ้ง เสีย่ วผิง สนับสนุ น ได้ขน้ึ มาดารงตาแหน่ ง กรรมการประจากรมการเมือง (Politburo Standing Committee)2 ขณะเดีย วกัน ผูน้ าอาวุโสฝา่ ยอนุ รกั ษ์นิยมได้ลาออกจากตาแหน่งต่างๆ ไปหลายคน การประชุม ครัง้ นี้มกี ารแต่งตัง้ สมาชิกเพิม่ จากเดิม ผูท้ ไ่ี ด้รบั การแต่งตัง้ ส่วนใหญ่เป็ นคนรุน่ ใหม่ ท าให้อ านาจของฝ่า ยปฏิรูป อยู่เหนื อฝ่า ยอนุ ร กั ษ์ นิ ย ม ส่ ว นเติ้ง เสี่ย วผิง ยังมี อานาจมันคงและการปฏิ ่ รูปดาเนินไปอย่างต่อเนื่อง มีผดู้ าเนินงานสาคัญ คือ เจียง เจ๋ อหมิน และจู หรงจี บรรดาผู้น าอาวุโสที่เหลืออยู่ไม่ก่คี นก็ไม่ ม ีอานาจเท่า เติ้ง เสีย่ วผิง

ผูน้ าจีนในงานฉลอง 50 ปี สาธารณรัฐประชาชนจีน 1 ตุลาคม 1999

แหล่งเดิม. หน้า 200. 2 ใน ค.ศ. 1993 จู หรงจี ดารงต าแหน่ งรองนายกรัฐมนตรีดูแลด้ านเศรษฐกิจ และผู้ว่า การธนาคารแห่งชาติจนี และเป็ นนายกรัฐมนตรีระหว่าง ค.ศ. 1998-2003 1

226


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การทีเ่ ติ้ง เสีย่ งผิง ไม่รบั ตาแหน่ งทางการเมือง มีผวู้ เิ คราะห์ว่าเติ้ง เสีย่ ว ผิงและพรรคพวกเลือกที่จะอยู่แนวหลัง สร้างภาพพจน์ ให้โลกเห็ นว่าไม่ต้องการ อานาจ แต่แท้จริงแล้วยังหวงแหนอานาจ มีอานาจและใช้อานาจ เติ้ง เสี่ยวผิงใช้ ประสบการณ์ความสามารถส่วนตัวในการแย่งชิงอานาจและรักษาอานาจด้วยความ ขยันส่วนตัว ใช้ประเพณีจนี ทีใ่ ห้ความเคารพยาเกรงผูอ้ าวุโสเป็ นเครือ่ งมือและการมี พรรคพวกหรือผูท้ เ่ี คยประสบเคราะห์กรรมทางการเมืองเหมือนกันเป็ นผูส้ นับสนุ น รวมทัง้ แสวงหาทายาททางการเมืองที่อยู่ในโอวาทและเป็ นผูท้ เ่ี ขาคัดเลือกขึน้ มา เอง1 ดังเช่นเจียง เจ๋อหมิน และ จู หรงจี ผูน้ ารุ่นที่ 3 ซึง่ ภายใต้การบริหารประเทศ ของผูน้ ารุ่นนี้เศรษฐกิจจีนเติบโตอย่างรวดเร็ว และหลังการประชุมสมัชชาพรรคที่ 16 ใน ค.ศ. 2002 หู จิ่น เทา (Hu Jiintao) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิ ส ต์ ซ่ึงเป็ น ทายาททางการเมืองของ เจียง เจ๋อหมิน ได้ขน้ึ ดารงตาแหน่ งประธานาธิบดี และ ดารงตาแหน่ งประธานคณะกรรมการทหารแห่งชาติในปี ต่อมา และมี เวิน เจียเป่า (Wen Jiabao) เป็ น นายกรัฐ มนตรี ซึ่ ง ผู้ น ารุ่ น นี้ ย ัง คงสานต่ อ นโยบายปฏิ รู ป ประเทศของเติง้ เสีย่ วผิง .............................................................

1

เขียน ธีระวิทย์. (2533). แหล่งเดิม. หน้า 25. 227


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. วิเคราะห์บทบาทของเติง้ เสีย่ วผิง ทีม่ ตี ่อการพัฒนาประเทศของจีน 2. การใช้ น โยบายสี่ ท ั น สมั ย ในการปฏิ รู ป ประเทศส่ ง ผลต่ อ การ เปลีย่ นแปลงของจีนอย่างไรบ้าง หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม บุญศักดิ ์ แสงระวี. (2538). เติ้ง เสีย่ วผิง ชีวติ และการต่อสู.้ กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ ฟงั ฟ งั . (2539). เมฆเหิน น้ าไหล. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช กุมารี ทรงแปล. กรุงเทพฯ : นานมีบ๊คุ ส์. วรศักดิ ์ มหัทธโนบล. (2547). เศรษฐกิจการเมืองจีน. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชีย ศึกษา. บทที่ 4 สิน้ สมัยซ้ายจัด , บทที่ 5 ปฏิรปู สมัยแรก , บทที่ 6 ปฏิรปู สมัยหลัง และ บทที่ 7 ปจั ฉิมกถา วัน รักษ์ มิง่ มณีน าคิน . (2525). เศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2542). “เติง้ เสีย่ วผิงกับการทาประเทศจีนให้ทนั สมัย” วารสาร ประวัตศิ าสตร์. หน้า 24 – 41 ศิรพิ ร ดาบเพชร และอนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2545). “นโยบายสีท่ นั สมัยกับการ พัฒนาเศรษฐกิจของจีน” วารสารสังคมศาสตร์ มศว. หน้า 47 - 67 อีแวนส์, ริชาร์ด. (2540). เติ้ง เสีย่ วผิง ผู้รงั สรรค์จีนยุคใหม่. ดรุณี แซ่ ลิ่ว แปล. กรุงเทพฯ : คูแ่ ข่งบุคส์ โอเวอร์โฮล, วิลเลียม เอช. (2538). จีนเขย่าโลก: มหาอานาจใหม่ทางเศรษฐกิจ แปลโดย บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์. กรุงเทพฯ : เดอะเนชัน่

228


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

บทที่ 9 จีนในปัจจุบนั 1. บทบำทของจีนในเวที โลก บทบาทของจีนในเวทีโลกกลับมาโดดเด่นและเป็ นทีจ่ บั ตามองอีกครัง้ เมื่อ การพัฒนาเศรษฐกิจภายใต้นโยบายสีท่ นั สมัยได้ผลดี มีการขยายการลงทุนไปยัง ต่างประเทศโดยเฉพาะในทวีปแอฟริกา ซึ่งจีนเป็ นชาติเข้าไปลงทุนมากทีส่ ุด โดย ลงทุนมากในกิจการโรงกลันน ่ ้ ามัน นอกจากนี้ การทีจ่ นี มีความเข้มแข็งทางทหาร ทาให้ถูกมองด้วยความหวาดระแวงจากชาติเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา มองว่าจีนจะเป็ นภัยคุกคามเมื่อจีนมีการปรับปรุงกองทัพสหรัฐอเมริกาจึงพยายาม ให้ญ่ปี ุ่นซึ่งเป็ นพันธมิตรใกล้ชดิ กับสหรัฐอเมริกาเพิม่ ประสิทธิภาพในกองทัพมาก ขึน้ เพือ่ คานอานาจกับจีน ภาพพจน์ ข องจี น ดี ข้ึน เมื่อ เกิด วิก ฤติ เ ศรษฐกิ จ เอเชีย ใน ค.ศ.1997 วิกฤตการณ์ ทางการเงินในเอเชีย เริม่ จาก “โรคต้มยากุง้ ” ในไทย วิกฤติน้ีแม้จะทา ให้รายได้ประชาชาติของจีนลดลงไปบ้าง แต่ฐานะของจีนในด้านเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศกลับสูงขึน้ อย่างมาก เพราะผูน้ าหลายๆ ประเทศต่างเรียกร้องไม่ให้จนี ลด ค่าเงิน หยวน ซึ่งจะเป็ น การซ้ าเติมวิกฤติท างการเงิน ของเอเชีย ให้รุน แรงยิ่งขึ้น ดังนัน้ บทบาทของจีนจึงเพิม่ ขึน้ จากทางการเมืองทางทหาร เป็ นด้านเศรษฐกิจด้วย ซึง่ เป็ นบทบาททีผ่ นู้ าจีนแสวงหามาเป็ นเวลานาน จีนจึงตรึงค่าเงินหยวนไว้ให้นาน ทีส่ ุด ทาให้เศรษฐกิจของหลายชาติในเอเชียสามารถฟื้ นตัวได้ จากความช่วยเหลือ ของจีนส่วนหนึ่ง ทาให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเพือ่ นบ้านอยูใ่ นระดับดีมาก และ เศรษฐกิจของจีนก็ยงั คงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะทีส่ หภาพโซเวียตต้องล่มสลาย ไป แต่จนี กลายเป็ นชาติสงั คมนิยมที่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกทุนนิยมได้สาเร็จ อย่างดียงิ่ และยังคงยึดมันการปกครองระบอบคอมมิ ่ วนิสต์ แม้จะมีเสียงเรียกร้อง ให้ผ่อนคลายทางการเมืองมากขึ้น แต่ หู จิ่ น เทา ประธานาธิบ ดีจีน ในขณะนัน้ ประกาศว่าจีนจะไม่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เพราะระบอบนี้ทาให้จนี มี ความมันคง ่ แต่จะดาเนินการพัฒนาเศรษฐกิจต่อไป ความส าเร็จ ทางเศรษฐกิจ ของจีน เห็ น ได้ จ ากใน ค.ศ. 2012 จีน เป็ น ประเทศที่มกี ารเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product: GNP) เป็ นอัน ดับ สองของโลก คือ 8,227,103 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รอง 229


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

จากสหรัฐ อเมริก าที่ม ีอ ัต ราการเติบ โตของ GDP เป็ น อัน ดับ หนึ่ ง ของโลก คือ 16,244,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ1 และมีการคาดการณ์ ว่าจะแซงหน้าสหรัฐอเมริกา ใน ค.ศ. 2025 ส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product) ต่อ หัวประชากร (GDP Per Capita) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี เช่น ใน ค.ศ. 2000 GDP ต่อหัวประชากรของจีน คือ 949 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ใน ค.ศ. 2003 เพิม่ ขึน้ เป็ น 1,274 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ใน ค.ศ. 2009 เพิม่ เป็ น 3,524 ดอลลาร์สหรัฐต่อ คน และเพิม่ เป็ น 6,091 ดอลลาร์สหรัฐต่อคน ใน ค.ศ. 20122 ซึ่งแสดงให้เห็นถึง การเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจจีน นอกจากนี้ ในการพัฒนาประเทศทีผ่ า่ นมาจีนให้ความสาคัญต่อการพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การทหาร ทาให้จนี สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ พัฒนากองทัพ และโครงการอวกาศจนประสบความสาเร็จ3 ส่วนด้านเทคโนโลยีนนั ้ จีนมีการพัฒนาสูง แม้ปจั จุบนั จีนจะเน้นสินค้าราคาถูกเพือ่ ตีตลาดล่าง และสินค้าที่ ประทับตรา Made in China จะมีภาพลักษณ์ของความเป็ นสินค้าราคาถูก คุณภาพ ต่า หรือของปลอม ซึง่ การเน้นขายสินค้าราคาถูก เพื่อขยายตลาด ทาให้มลู ค่าการ ส่งออกของจีน สูงเป็ น อัน ดับ หนึ่ งของโลกใน ค.ศ. 2009 และยังคงเติบ โตอย่ า ง ต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันจีนก็มสี นิ ค้าอิเลกทรอนิกส์และเทคโนโลยีทไ่ี ด้รบั การ ยอมรับในระดับสากลหลายประเภทเช่นกัน เช่น สินค้าในเครือไฮเออร์กรุ๊ป (Haier Group) หัวเว่ย (Huawei) และใน ค.ศ. 2011 จีนกลายเป็ นโรงงานของโลกทีช่ าติ ต่ า งๆ ใช้จีน เป็ น ฐานการผลิต สิน ค้า ทุ ก ประเภทตัง้ แต่ ส ิน ค้า ประเภทรถยนต์ คอมพิวเตอร์ สินค้าอิเลกทรอนิกส์ระดับสูง เช่น iphone หรือ Tablet ยีห่ อ้ ต่างๆ ไป จนถึงสินค้าประเภทเสือ้ ผ้า ของเล่นเด็ก ของใช้ในชีวติ ประจาวัน

www.datacatalog.worldbank.org (Retrieved on 16 Jan 2014) 2 www.data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD (Retrieved on 16 Jan 2014) 3 โดยในวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 2012 จีนได้ยงิ จรวดขนส่งอวกาศเสินโจว 9 โดยจรวด Long March 2F เป็ นยานขนส่ง มีนักบินอวกาศ 3 คน เป็ นหญิง 1 คน คือ จิง่ ไห่เผิง, หลิว วัง่ และหลิว หยัง ไปเทียบยานเทียนกง 1 ซึง่ เป็ นสถานีอวกาศของจีน 1

230


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

2. ปัญหำที่ ท้ำทำยจีนในปัจจุบนั ปจั จุบนั จีนเป็ นประเทศทีม่ อี ตั ราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จน กล่าวได้ว่าเป็ นมหาอานาจทางเศรษฐกิจชาติหนึ่งของโลก ในด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี จีนมีความก้าวหน้ามาก ทัง้ การสารวจอวกาศ การทหาร และการผลิต สินค้าเทคโนโลยีทไ่ี ด้รบั การยอมรับในระดับสากล ในด้านการเมือง รัฐบาลภายใต้ การน าของพรรคคอมมิว นิ ส ต์ม ีความเข้ม แข็งและสามารถควบคุม อานาจไว้ได้ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความมันคงเข้ ่ มแข็งทัง้ ทางการเมืองและเศรษฐกิจ แต่จนี ใน ปจั จุบนั ก็มปี ญั หาทีท่ า้ ทายอยู่ ทัง้ ปญั หาความมันคงภายในที ่ ม่ กี ารต่อต้านจากชน กลุ่มน้อยในเขตปกครองตนเองโดยเฉพาะในทิเบต และซินเจียงอุยกูร์ ปญั หาจีน เดียวกรณีไต้หวัน ปญั หาลัทธิความเชื่อทีก่ ระทบต่อความมันคง ่ ปญั หาทีส่ บื เนื่อง จากการพัฒ นาประเทศโดยเฉพาะป ญั หาสิง่ แวดล้อม และป ญั หาความสัม พัน ธ์ ระหว่า งประเทศ ที่ส าคัญ คือความขัด แย้งด้า นเขตแดนทางทะเลกับ ญี่ปุ่ น และ ปญั หาในทะเลจีนใต้ 2.1 ปัญหำควำมมันคงภำยใน ่ ปญั หาทีเ่ กีย่ วข้องกับความมันคงภายในของจี ่ นมีทงั ้ ปญั หาด้านความเป็ น เอกภาพของดินแดนทีส่ บื เนื่องมาจากประวัตศิ าสตร์ ทัง้ ปญั หาทิเบต ซินเจียง และ ไต้หวัน และปญั หาทีเ่ กีย่ วข้องกับลัทธิความเชื่อทีก่ ระทบกระเทือนความมันคงของ ่ รัฐบาล ปัญหำควำมมันคงภำยในของจี ่ นกรณี ทิเบต ทิเบตเดิมมี ดาไลลามะ ซึง่ เป็ นประมุขในศาสนาพุทธนิกายมหายานแบบ ทิเบตเป็ นผูน้ าทางจิตวิญญาณ 1 และเป็ นผูน้ าทางการเมืองด้วยเป็ นผูป้ กครอง แต่ ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์ชงิ ขยายอานาจเข้ามามากขึน้ เพราะต้องการ ควบคุม ดิน แดนมองโกลผ่านทิเบต รวมทัง้ มีผลประโยชน์ จากการค้าใบชา ใน ทศวรรษ 1900 แม้ว่าราชวงศ์ชงิ อ่อนแอลง แต่ยงั ขยายอานาจเข้ามาในทิเบต และ ลดอานาจของดาไลลามะลง ราชสานักชิงส่งทหารเข้ายึดครองทิเบตใน ค.ศ. 1910

ชาวทิเบตเชื่อว่า ดาไลลามะ คือพระโพธิสตั ว์อวโลกิเตศวรในร่างมนุษย์ เมื่อดาไลลามะ องค์หนึ่งเสียชีวติ ไป จะกลับชาติมาเกิดใหม่เป็ นดาไลลามะองค์ต่อไป 1

231


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ดาไลลามะจึงลี้ภ ัย ไปยังอิน เดีย แต่หลังจากราชวงศ์ช ิงล่ ม สลายใน ค.ศ. 1912 ดาไลลามะเดิน ทางกลับ ทิเบต และขับ ไล่ ขุ น นางชิง ออกไป แต่ ใ นปี น้ี ร ัฐ บาล สาธารณรัฐจีนภายใต้การนาของหยวน ซื่อไข่ ประกาศอธิปไตยเหนือทิเบตและมอง โกลเลียนอก อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1913 ดาไลลามะได้ร่วมกับมองโกลเลียนอก ประกาศเอกราชทิเบตและมองโกเลียนอก แต่ไม่มปี ระเทศใดรับรองเอกราช ทิเบตหวังให้องั กฤษซึง่ มีความสัมพันธ์ทค่ี ่อนข้างใกล้ชดิ กับทิเบตและเป็ น เจ้าอาณานิคมของอินเดีย รับรองเอกราช แต่องั กฤษเกรงเสียผลประโยชน์ การค้า ในจีน ในการประชุม อังกฤษ-จีน-ทิเบต เมื่อ ค.ศ.1914 อังกฤษจึงระบุแต่เพียงว่า เพีย งทิเ บตมีก ารปกครองตนเอง แต่ อ ยู่ ภ ายใต้ จีน อย่ า งไรก็ ต าม ตั ้ ง แต่ ต้ น ทศวรรษ 1910 ทิเบตปกครองตนเองมาตลอด เพราะจีนมีปญั หาความวุ่นวายทาง การเมืองภายในอย่างต่อเนื่อง ทัง้ การขยายอานาจของญี่ปุ่นในระหว่างและหลัง สงครามโลกครัง้ ที่ 1 การต่อต้านญีป่ ุ่นและรัฐบาลหยวน ซื่อไข่ ของปญั ญาชนและ ประชาชนจีน ความวุ่นวายในยุคขุนศึก การปราบปรามคอมมิวนิสต์ของพรรคกว๋อ มินตัง่ และสงครามกับญีป่ ุ่นทีข่ ยายอานาจเข้าไปในจีน จนเข้าสู่สงครามโลกครัง้ ที่ 2 และสงครามกลางเมืองระหว่างจีนคอมมิวนิสต์และจีนคณะชาติ

ดาไลลามะองค์ที ่ 14

พระราชวังโปตาลา ทีท่ เิ บต

พรรคคอมมิวนิสต์ส่งทหารเข้าไปยึดทิเบตใน ค.ศ. 1950 ดาไลลามะองค์ ปจั จุบนั ซึง่ เป็ นองค์ท่ี 14 (ดารงตาแหน่งตัง้ แต่ ค.ศ. 1935) จึงลีภ้ ยั ไปยังอินเดียและ เคลื่อนไหวต่อต้านการรุกรานของจีนตลอดมา ต่อมาใน ค.ศ. 1965 จีนประกาศให้ ทิเบตเป็ นเขตปกครองตนเอง แม้ทเิ บตได้กลายเป็ นส่วนหนึ่งของจีนมาเกือบ 50 ปี 232


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

แล้ว แต่ยงั คงมีกระแสต่อต้านจีนมาโดยตลอด โดยชาวทิเบตมีดาไลลามะองค์ท่ี 14 เป็ นศูนย์รวมใจ และองค์ดาไลลามะยังเป็ นผูน้ าในการเคลื่อนไหวเพื่ออิสรภาพของ ทิเบตมาโดยตลอด ทาให้จนี กดดันนานาประเทศทีใ่ ห้การสนับสนุ นหรือให้ทพ่ี กั พิง ซึง่ เป็ นสาเหตุหนึ่งทีท่ าให้จนี กับอินเดียมีความสัมพันธ์ทไ่ี ม่ดตี ่อกัน ปัญหำควำมมันคงภำยในของจี ่ นกรณี ซินเจียงอุยกูร์ ดินแดนซินเจียง ซึง่ ประชากรส่วนใหญ่เป็ นชนกลุ่มน้อยชาวอุยกูรท์ น่ี บั ถือ ศาสนาอิส ลาม ตกเป็ น ของราชวงศ์ช ิงตัง้ แต่ ส มัย จักรพรรดิเฉี ย นหลง เรีย กว่ า มณฑลอีห้ ลี แต่ราชสานักชิงเข้าไปควบคุมเฉพาะด้านการทหารเท่านัน้ และตัง้ แต่ ครึง่ หลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 รัสเซียพยายามขยายอานาจมาทางตะวันตกของ จีนโดยเฉพาะทีซ่ นิ เจียง หลังเหตุการณ์กบฏทีซ่ นิ เจียง ใน ค.ศ.1884 ราชวงศ์ชงิ ได้ ทาข้อตกลงทางพรมแดนกับรัสเซีย และประกาศยืนยันอานาจเหนือซินเจียง หลังสิ้นสุดราชวงศ์ชงิ ปญั หาภายในของจีนทาให้รสั เซียเข้ามามีอทิ ธิพล ทางการเมืองและเศรษฐกิจในซินเจียง ในค.ศ. 1944 ซินเจียงประกาศเป็ นประเทศ สาธารณรัฐเตอรกีส ถานตะวัน ออก แต่ถูกจีน ยึด ได้ใน ค.ศ. 1946 และตกอยู่ใต้ อานาจจีนคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1949 รัฐบาลจีนตัง้ ซินเจียงเป็ นเขตปกครองตนเอง ซินเจียงอุยกูรใ์ น ค.ศ.1955

แผนทีเ่ ขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ทางตะวันตกของจีน ทีม่ า : http://en.wikipedia.org/wiki/Xinjiang

ปญั หาด้านความมันคงของจี ่ นกรณีซนิ เจียงเกิดจากความแตกต่างด้านเชือ้ ชาติและศาสนา ทีช่ าวซินเจียงส่วนใหญ่เป็ นชาวอุยกูร์ ทีน่ ับถือศาสนาอิสลาม การ ปกครองทีเ่ ข้มงวดของรัฐบาลจีนในดินแดนนี้ทาให้เกิดความขัดแย้งมาโดยตลอด 233


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประกอบกับชาวซินเจียงอุยกูรไ์ ม่พอใจนโยบายของรัฐบาลจีนทีใ่ ห้ชาวจีน ฮันอพยพ ่ เข้ามาอยู่ท่ซี ินเจียง เพราะเกรงว่าจะถูกกลืนชาติ นอกจากนี้ยงั มีความไม่พอใจ จากนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจทีใ่ นช่วงแรกของการพัฒนาประเทศ รัฐบาลให้ ความส าคัญ กับ ดิน แดนตอนในน้ อย และประชากรมีฐานะทางเศรษฐกิจ ต่ ากว่ า ประชากรในเขตอื่น ทาให้หลายครัง้ เกิดความขัดแย้งรุนแรงจนถึงขัน้ การใช้กาลัง ทหารเข้าปราบปราม เมื่อโลกให้ความสนใจและกังวลกับปญั หาการก่อการร้ายทีม่ ชี าวมุสลิมหัว รุนแรงเข้าไปเกีย่ วข้องในหลายพืน้ ที่ หลายเหตุการณ์ นับตัง้ แต่เหตุการณ์ 9/11 ใน เดือนกันยายน ค.ศ. 2001 รัฐบาลจีนก็มองชาวอุยกูร์ด้วยความระแวง เหตุการณ์ ล่าสุดทีเ่ กิดขึน้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 ทีช่ าวซินเจียงอุยกูร์ 3 คน ขับรถพุ่งใส่ ฝูงชนทีจ่ ตุรสั เทียนอานเหมิน ในกรุงเป่ยจิง จนไฟลุกและมีผเู้ สียชีวติ แม้ผขู้ บั รถจะ ยืนยันว่าเป็ นอุบตั เิ หตุ แต่รฐั บาลจีนตัง้ ข้อสันนิษฐานว่าทัง้ สามคนอาจเป็ นหรือ เกีย่ วข้องกับผูก้ ่อการร้ายในปญั หาซินเจียงอุยกูร์ และก่อนหน้านี้ไม่นาน ทางการ จีน ได้จบั กุม ชาวอุย กูร์ 140 คน ทาให้ป ญั หาซิน เจียงกลับ มาเป็ น ที่สนใจอีกครัง้ อาจกล่าวได้ว่า ปญั หาทิเบตและซินเจียงยากทีจ่ ะยุติ เพราะดินแดนทัง้ สองแห่งต่าง มีความต้องการได้อสิ รภาพ ซึ่งจีนไม่มวี นั ยอมให้ เพราะจะกระทบต่อความมันคง ่ ของจีนทีม่ ชี นกลุ่มน้อยอยูใ่ นพืน้ ทีต่ ่างๆ จานวนมาก ปัญหำจีนเดียว เมือ่ จีนได้ฮ่องกงกลับคืนมาเป็ นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดย ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 อังกฤษได้ทาพิธสี ่งมอบฮ่องกงคืนแก่จนี หลังจาก ทีค่ รอบครองฮ่องกงมาตัง้ แต่หลังสงครามฝิ่ น และในวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ.1999 โปรตุเกสก็คนื มาเก๊าที่ครอบครองมาราว 400 ปี ให้แก่จนี จีนได้จดั การปกครอง เมื อ งทัง้ สองเป็ น “เขตบริห ารพิ เ ศษ” (Special Administrative Region - SAR) ตามนโยบาย “หนึ่ งประเทศ สองระบบ” ของเติ้ง เสี่ย วผิง รัฐบาลสาธารณรัฐ ประชาชนจีนพยายามจูงใจให้ไต้หวันกลับมารวมเป็ นจีนเดียว แต่หลี่ เติ้งฮุย (Li Denghui) ประธานาธิบ ดีข องไต้ห วัน ในขณะนั น้ กลับ เรีย กร้อ งให้จีน ปฏิบ ัติต่ อ ไต้หวันในฐานะทีเ่ ป็ นรัฐเท่าเทียมกัน ทาให้เกิดปฏิกริ ยิ าอย่างรุนแรงจากผูน้ าของ จีน และเมื่อมีการเลือกตัง้ ประธานาธิบ ดีไต้หวัน ในวัน ที่ 20 มีน าคม ค.ศ. 2000 นายเฉิน สุ่ยเปี ยน (Chen Shuibian ) ผู้สมัครคนหนึ่งหาเสียงโดยชูนโยบายแยก ไต้หวันเป็ นประเทศเอกราช ทาให้ผนู้ าจีนข่มขูไ่ ต้หวันอย่างหนัก 234


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

พิธสี ง่ มอบเกาะฮ่องกงคืนสูจ่ นี เมือ่ 1 กรกฎาคม 1997

แผนทีเ่ กาะไต้หวัน

เมือ่ นายเฉิน สุย่ เปี ยน ได้รบั เลือกเป็ นประธานาธิบดีจงึ ต้องยอมผ่อนคลาย นโยบายที่แ ข็ง กร้า วลงว่ า ไต้ ห วัน จะไม่ ป ระกาศเอกราชและจะไม่ จ ัด การลง ประชามติเพื่อประกาศเอกราชด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันตึงเครียด เป็ นระยะๆ ต่อมาไต้หวันจัดการเลือกตัง้ ประธานาธิบดีใน ค.ศ. 2004 นาย เฉิน สุ่ย เปี ยน ประธานาธิบดีซง่ึ ลงสมัครรับเลือกตัง้ ด้วยประกาศว่าไต้หวันเป็ นประเทศเอก ราชและจะไม่รวมกับจีน ทาให้จนี ประกาศว่าถ้าไต้หวันประกาศเอกราช จีนจะส่ง ทหารขึน้ เกาะไต้หวันทันที และจีนจะให้โอกาสไต้หวันปกครองตนเองอีกระยะหนึ่ง จีนจึงจะรวมไต้หวัน

235


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ชาวไต้หวันต่อต้านการอ้างของจีนว่าไต้หวันเป็ นส่วนหนึง่ ของจีน

ั หาที่ ผู้ น าจี น กั ง วลอยู่ คื อ การที่ ส หรัฐ อเมริก ามี อย่ า งไรก็ ต าม ป ญ สนธิสญ ั ญากับไต้หวัน ซึง่ ระบุว่าถ้าไต้หวันถูกจีนรุกรานทางทหาร สหรัฐอเมริกาจะ ช่วยไต้หวัน รวมทัง้ การทีส่ หรัฐอเมริกาขายอาวุธทีท่ นั สมัยและประสิทธิภาพสูงให้ ไต้หวัน ทาให้กองทัพไต้หวันมีประสิทธิภาพสูงติดอันดับต้นในโลก ปญั หาการ รวมไต้หวันยังคงเป็ นปญั หาสาคัญของจีน แต่กม็ แี นวโน้มทีด่ เี มื่อผูน้ าพรรคกว๋อห มินตังซึ ่ ่งเป็ นพรรคฝ่ายค้านของไต้หวันเดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างเป็ นทางการในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005 และเห็นชอบกับนโยบายจีนเดียว ขณะทีป่ ระชาชนไต้หวันก็มที งั ้ ผูท้ ต่ี อ้ งการให้รวมกับจีนและต้องการเป็ นเอกราช ในกลางปี ค.ศ. 2013 จีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวันได้เจรจาปญั หาผ่านการ เสวนาสัมพันธ์ช่องแคบจีน -ไต้หวัน ซึ่งถือเป็ นครัง้ ที่ 5 ของการเสวนาของทัง้ สอง ฝ่าย และมีการพบปะกัน ระหว่าง นาย สี จิ้น ผิง (Xi Jinping) ประธานาธิบ ดีคน ปจั จุบนั ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งขึ้นดารงตาแหน่ ง ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 20131 กับ นายอู๋ ป วั สง อดี ต หั ว หน้ า พรรคกว๋ อ หมิ น ตัง่ ซึ่ ง เป็ นตั ว แทนของ ประธานาธิบ ดีหม่า อิงจิ่ว (Ma Yingjeou) ของไต้หวัน (ด ารงตาแหน่ งเมื่อ ค.ศ. 2008) ซึง่ ไต้หวันยังยืนยันในความเป็ นประเทศของตน แต่ได้แสดงความปรารถนา ว่า ไต้หวันต้องการมีส่วนร่วมเป็ น พันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมภิ าค ซึ่งการ เจรจาเหล่ า นี้ แ สดงให้เห็น ว่ า คงเป็ น การยากที่จ ะเกิด จีน เดีย วขึ้น อย่ า งที่พ รรค คอมมิวนิสต์จีนต้องการ แต่แม้ในทางการเมืองจะยังคงแบ่งเป็ นสองประเทศ แต่ มีนายหลี เค่อเฉียง (Li Keqiang) เป็ นนายกรัฐมนตรี ขึน้ ดารงตาแหน่งเมื่อเดือน มีนาคม ค.ศ. 2013 1

236


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ไต้หวันก็เสนอตัวทีจ่ ะร่วมมือทางเศรษฐกิจกับจีน ซึ่งอาจเป็ นแนวโน้มทีด่ ใี นด้าน ความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต

นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจนี (ซ้าย) และนายหลี ่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจนี (ขวา) ดารงตาแหน่งเมือ่ ค.ศ. 2013

ประเด็นทีค่ วรพิจารณาสาหรับปญั หาด้านความมันคงภายในของจี ่ น คือ ดินแดนทีม่ กี ารต่อต้านทัง้ ซินเจียง ทิเบต เคยอยู่ใต้อานาจราชวงศ์ชงิ แบบหลวมๆ และมีอสิ ระในการปกครองอยู่ระยะหนึ่งในช่วงที่จนี มีปญั หาการเมืองภายในและ ภาวะสงคราม ทัง้ สองเขตกลับมาถูกยึดครองอีกครัง้ ในทศวรรษ 1940 จึงทาให้ม ี ความแปลกแยกจากดินแดนทีม่ ชี นกลุ่มน้อยอืน่ ของจีน ดังนัน้ ปญั หาทีจ่ นี เผชิญมา ตลอดคื อ การด าเนิ น นโยบายต่ อ กลุ่ ม ชาติ พ ั น ธุ์ เ หล่ า นี้ เ พื่ อ สร้ า งเอกภาพ ภายในประเทศ นอกจากนี้ การเคลื่อ นไหวของชนกลุ่ ม น้ อ ยยัง เกี่ย วพัน กับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนด้วย เพราะหลายครัง้ ทีก่ ารเคลื่อนไหวได้รบั การสนับสนุ นทัง้ ทางตรงและทางอ้อมจากภายนอก เช่น อินเดียกรณีทเิ บตและดา ไลลามะ รัสเซียในความพยายามขยายอานาจในซินเจียงในอดีต และปจั จุบนั คือ สาธารณรัฐในเอเชียกลาง หรือแม้กระทังบทบาทของสหรั ่ ฐอเมริกาต่อกรณีไต้หวัน นอกจากนี้ ยังรวมถึงบทบาทขององค์การสหประชาชาติ และองค์การด้านสิทธิ มนุ ษ ยชนระดับ สากล ที่ แ สดงบทบาทในเวลาที่จีน ปฏิ บ ัติ ก ารรุ น แรงในการ ปราบปรามชนกลุ่มน้อย ดังนัน้ การดาเนินนโยบายใดๆ ของจีนต่อดินแดนเหล่านี้ จึงไม่ใช่เป็ นเรือ่ งภายในของจีนเท่านัน้

237


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ปัญหำจำกลัทธิ ควำมเชื่อที่ สนคลอนควำมมั ั่ นคงของรั ่ ฐบำล ในยุคทีก่ ารเติบโตทางเศรษฐกิจกลายเป็ นเป้าหมายหลักของชาติ และการ รณรงค์ทางการเมืองมีความเข้มข้นลดลง ประชากรจีนส่วนใหญ่เข้าสู่เศรษฐกิจทุน นิยม การแข่งขันทางเศรษฐกิจ อาชีพ การศึกษา และความกดดันต่างๆ ในชีวติ ประกอบกับการทีจ่ นี ลดความสาคัญของศาสนามานานแล้ว ทาให้ประชาชนขาดที่ ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ดังนัน้ จึงมีปรากฏการณ์ทน่ี ่ าสนใจเกิดขึน้ ในสังคมจีน คือ ผูค้ น จานวนมากรวมทัง้ เจ้าหน้ าที่พรรคคอมมิวนิสต์จนี หันไปหายึดถือลัทธิฝ่าหลุนกง (Falun Gong) อย่างมาก จนเรียกได้ว่ากลายเป็ นสาวกของลัทธิ และสมาชิก ฝ่า หลุนกงเพิม่ ขึน้ จานวนมาก ลัทธิฝา่ หลุนกงก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ ค.ศ. 1992 มีเจ้าลัทธิ คือ หลี่ หงจื้อ (Li Hongzhi) เมื่อแรกตัง้ เป็ น สมาคมศึกษาวิจ ัย ฝ่าหลุ น กง โดยเน้ น ศึกษาหรืออ้างถึงหลักทีผ่ สมผสานระหว่างลัทธิเต๋าและศาสนาพุทธ รวมทัง้ อ้างการ ฝึ ก ท่ า ร าและลมหายใจเพื่ อ รัก ษาโรคภัย ไข้เ จ็ บ หรือ ท าให้ ร่ า งกายแข็ง แรง เช่นเดียวกับ ลัทธิช่กี ง (Chi Gong) ที่เน้นการฝึ กลมปราณเพื่อการออกกาลังกาย หรือรักษาโรคภัยไข้เจ็บ รัฐบาลจีนเห็นว่าฝ่าหลุนกงเป็ นลัทธินอกกฎหมาย ที่มอมเมาประชาชน เพราะหลี่ หงจื้อ แอบอ้างตัวเสมอพระพุทธเจ้า อ้างว่ามีพลังวิเศษในการรักษาโรค จึงมีผเู้ ชื่อถือจานวนมาก รวมทัง้ บิดเบือนคาสอนในศาสนาพุทธ โดยอ้างว่าผูท้ ฝ่ี ึ ก ฝ่าหลุนกงเสมอจะหลุดพ้นจากกรรม และทาให้กายบริสุทธิ ์ไม่เจ็บป่วย การทีฝ่ ่า หลุนกงขยายสาขาใหญ่และย่อยรวมแล้วเกือบสองพันแห่ง และมีทฝ่ี ึ กนับหมืน่ แห่ง มีส มาชิก นั บ สิบ ล้า นคนภายในเวลาไม่ น าน และต่ อมาได้ข ยายสาขาไปยัง 80 ประเทศทัวโลก ่ ทาให้มสี มาชิกเพิม่ ขึน้ กว่าร้อยล้านคน รัฐบาลจีนจึงมองลัทธิน้ีดว้ ย ความไม่ไว้วางใจ ดังนัน้ เมื่อฝ่าหลุนกงยื่นเรื่องกับคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน และสมาคมพุทธศาสนาแห่งประเทศจีน ขอจัดตัง้ องค์กรฝ่าหลุนกงที่ไม่เกี่ยวข้อง กับ ศาสนาระหว่ า ง ค.ศ. 1996 และ 1997 จึงไม่ ได้ ร บั อนุ ญ าต หลังจากนี้ ก าร เคลื่อนไหวของฝ่าหลุ น กงลดน้ อยลง จนกระทัง่ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1999 มี บทความวิจารณ์ ฝ่าหลุนกงในหนังสือพิมพ์ จึงมีการระดมสมาชิกจานวนมากมา ประท้วงทีก่ รุงเป่ยจิง ทาให้ทางการจีนเห็นว่าฝา่ หลุนกงเป็ นลัทธิทอ่ี นั ตรายและมี การดาเนินการคล้ายองค์กรใต้ดนิ ทีอ่ าจกระทบต่อความมันคง ่

238


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

ภาพโฆษณาการแสดงบารมี ของหลี ่ หงจื้อ

การฝึกฝา่ หลุนกง

การเดินขบวนของสมาชิกฝา่ หลุนกง

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1999 ทางการจีนจึงประกาศว่าฝา่ หลุนกงเป็ นลัทธิ ผิดกฎหมาย และปราบปรามอย่างจริงจัง ดังเช่นการปราบปรามใน ค.ศ. 2001 ที่ จัตุรสั เทียนอานเหมิน ซึง่ มีสมาชิกฝา่ หลุนกงเผาตัวตายประท้วง การทีค่ าสอนของ ลัทธิฝ่าหลุนกง มีความลึกลับและมีสมาชิกมาก ทัง้ ชาวจีนในประเทศและชาวจีน โพ้นทะเล ทาให้รฐั บาลเกรงว่าจะมีผลต่อความมันคงของรั ่ ฐบาลได้ จึงเป็ นเรื่องที่ ทางการให้ ค วามส าคัญ และท าการปราบปรามอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ซึ่ ง ท าให้ เ กิ ด ความสัมพันธ์ทไ่ี ม่ดกี บั หลายชาติโดยเฉพาะชาติตะวันตกทีม่ องว่าจีนละเมิดสิทธิ มนุษยชน

239


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

แม้ว่าปจั จุบนั รัฐบาลจีนจะปราบปรามการเคลื่อนไหวของสมาชิกฝ่าหลุน กงในจีนได้ค่อนข้างเด็ดขาด ฝ่าหลุนกงจึงเคลื่อนไหวนอกประเทศมากขึ้น และ เรียกร้องให้นานาชาติกดดันรัฐบาลจีนทีป่ ราบปรามสมาชิกฝา่ หลุนกงอย่างรุนแรง รวมทัง้ คุมขังสมาชิกฝา่ หลุนกงอีกจานวนมาก และตัง้ แต่ ค.ศ. 2004 ฝา่ หลุนกงได้ โจมตีร ฐั บาลและพรรคคอมมิว นิ ส ต์จีน ผ่ านเวปไซต์ท่ีจ ัด ทาขึ้น และมีการพิม พ์ เอกสารทีโ่ จมตีพรรคคอมมิวนิสต์จนี เป็ นภาษาต่างๆ เพือ่ เผยแพร่ไปทัวโลก ่ 1

การเคลือ่ นไหวของสมาชิกฝา่ หลุนกงในต่างประเทศ

www.thaichinese.net/falungong/ (Retrieved on 5 December 2013) and www.visitsurin.com/articles/138349 (Retrieved on 5 December 2013). 1

240


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

การประท้วงโจมตีรฐั บาลจีนในการปราบปรามฝา่ หลุนกง

2.2 ปัญหำสิ่ งแวดล้อม จีนมีปญั หาด้านสิง่ แวดล้อมที่รุนแรงมาก ทัง้ มลภาวะทางอากาศและน้ า เสีย น้ าปนเปื้ อนสารพิษ เมืองทีม่ ปี ญั หาเรือ่ งนี้อย่างรุนแรง 9 ใน 10 เมืองของโลก อยู่ในจีน โดยมีเมืองหลานโจว (Lanzhou) ทีอ่ ยู่รมิ แม่น้ าหวงเหอ ในมณฑลกานซู เป็ นอันดับหนึ่งทัง้ ของจีนและของโลก ส่วนน้ าทีใ่ ช้ในเมืองประมาณกว่าร้อยละ 50 ไม่สะอาดพอ ธนาคารโลกประมาณว่าค่าใช้จ่ายในการแก้ไขมลภาวะทัง้ ในอากาศ และในน้ าต้องใช้เงินถึงร้อยละ 3-8 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ทีเ่ พิม่ ขึน้ ในแต่ละปี 1 การทาลายปา่ ไม้กส็ ่งผลให้เกิดน้าท่วมเป็ นประจา สร้างความ เสียหายต่อชีวติ และทรัพย์สนิ เป็ นจานวนมหาศาล ั หาเหล่ า นี้ เพื่อให้ภ าพพจน์ ข องจีน ดู ดี ซึ่งจีน ก็ จีน พยายามแก้ไ ขป ญ ประสบความสาเร็จครัง้ สาคัญเมือ่ ได้รบั อนุมตั จิ ากคณะกรรมการกีฬาโอลิมปิ กสากล ให้เป็ น เจ้าภาพกีฬ าโอลิมปิ กใน ค.ศ. 2008 แต่มหี ลายครัง้ ทางการจีน ละเลยต่อ ความปลอดภัยซึ่งทาให้เกิดอันตรายต่อสิง่ แวดล้อมหลายครัง้ เช่น ในปลาย ค.ศ. 2005 มีส ารพิษ รัวไหลจากโรงงานของจี ่ น ในเขตแมนจูเรีย ลงแม่น้ าที่ใช้ร่วมกับ รัสเซีย ทาให้น้ าในแม่น้ ามีสารพิษตกค้างสูง จนไม่สามารถนามาใช้ได้ จากข้อมูล กลุ่ม กรีนพีชใน ค.ศ. 2009 ระบุว่า ชาวจีนกว่า 320 ล้านคน ไม่สามารถเข้าถึง แหล่ งน้ าสะอาดได้ และ 190 ล้านคนในจานวนนัน้ จายอมต้องใช้น้ าที่ม ีส ารพิษ ปนเปื้ อนในการอุปโภคบริโภค และหมูบ่ า้ นหวงเจียว มณฑลชานตง เป็ นหมูบ่ า้ นที่

1

วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2544). เล่มเดิม. หน้า 420 241


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

มีผปู้ ่วยโรคมะเร็งในช่องท้องมากทีส่ ุดในโลก แหล่งน้ าในหมู่บา้ นปนเปื้ อนสารพิษ จากโรงงานหลอมอะลูมเิ นียมที่ และโรงงานปล่อยควันพิษสูอ่ ากาศ

ปญั หามลภาวะในจีนส่งผลกระทบต่อสิง่ แวดล้อมและสภาพชีวติ ความเป็ นอยู่

นอกจากนี้ ความไม่ปลอดภัยของคนงานในเหมืองถ่านหินซึง่ มีจานวนมาก ในจีน ทาให้มเี หตุการณ์ เหมืองถ่านหินถล่ม เหมืองระเบิด คร่าชีวิตผู้คนจานวน มาก เหตุการณ์ เหล่านี้ทาให้ชาติต่างๆ มองว่า จีน ยังไม่ให้ความสาคัญ กับความ ปลอดภัยในการผลิตและในชีวติ ของแรงงาน ซึง่ ทาให้ภาพพจน์จนี เรือ่ งนี้ในเวทีโลก 242


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ไม่ดี ทางการจีนจึงพยายามรณรงค์ให้ประชาชนรักษาสิง่ แวดล้อม และมีมาตรการ ต่างๆ ออกมาเพือ่ ควบคุมมลภาวะ ความปลอดภัยในการทางานของคนงาน 2.3 ปัญหำควำมสัมพันธ์ระหว่ำงประเทศ ปญั หามีผลกระทบต่อ ความสัมพัน ธ์ระหว่างประเทศ รวมถึงกระทบต่อ บทบาทและภาพลักษณ์ ของจีนในปจั จุบนั คือ ปญั หาเขตแดนทางทะเล ทีส่ าคัญ คือ กรณีการอ้างสิทธิ ์ของจีนและญีป่ นุ่ เหนือหมู่เกาะเตียวหยูหรือเซนกากุ และการ อ้า งสิท ธิข องจีน ในทะเลจีน ใต้ ท่ีม ีคู่ก รณี อีก ถึง 6 ประเทศ เพราะในกรณี ความ ขัดแย้งในทะเลจีนใต้ จีนใช้นโยบายทีค่ อ่ นข้างก้าวร้าวและนาไปสูค่ วามขัดแย้งกัน กรณี ควำมขัดแย้งกับญี่ปนกรณี ุ่ เกำะเตียวหยูหรือเซนกำกุ เกาะเตียวหยู (Diaoyu) ตามชื่อจีน หรือเซนกากุ (Senkaku) ในชื่อญี่ปุ่น เป็ นเกาะร้างไร้คนอาศัย แต่จนี ญี่ปุ่น แข่งกันอ้างกรรมสิทธิ ์มาตัง้ แต่สงครามจีน ญี่ปุ่น ค.ศ. 1894-1895 ประเด็นพิพาทในปจั จุบนั เกิดขึน้ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2012 เกิดจากการทีร่ ฐั บาลญี่ปุ่นประกาศซื้อเกาะ 3 เกาะ จากเอกชนชาวญี่ปุ่นที่ อ้า งว่าเป็ น เจ้าของกรรมสิทธิเ์ หนื อหมู่ รัฐบาลจีน ประท้ว งและกล่า วหาว่า ญี่ปุ่ น ละเมิด ข้อ ตกลงร่ ว ม ค.ศ.1978 ที่ ใ ห้ ท ัง้ สองประเทศท าประมงในพื้ น ที่ และ กาหนดให้ป ระเด็น กรรมสิท ธิเ์ หนื อพื้น ที่เหนื อ น่ านน้ า บริเวณดังกล่ า วเป็ น การ พิจารณาของคนรุน่ หลัง ความขัดแย้งขยายวงกว้างจากระดับรัฐบาลลงไปถึงระดับ ประชาชน มีการระงับการลงทุน การท่องเที่ยว ฯลฯ ระหว่างจีนและญี่ปุ่น การ ทาลายทรัพย์สนิ บริษทั และร้านค้าสัญชาติญป่ี นุ่ ในจีน ผลกระทบสาคัญที่เกิดขึ้น ต่อจีน -ญี่ปุ่น คือ ด้านเศรษฐกิจ เพราะความ ขัดแย้งเกิดขึน้ ระหว่างจีนซึ่งเป็ นมหาอานาจทางเศรษฐกิจลาดับที่ 2 ของโลก กับ ญีป่ ุ่นทีเ่ ป็ นมหาอานาจทางเศรษฐกิจลาดับที่ 3 การทีจ่ นี ตอบโต้ดว้ ยมาตรการทาง เศรษฐกิจ เช่น ระงับการลงทุน การค้า และการท่องเทีย่ วในญี่ปุ่น ทาให้สร้างแรง กดดันต่อการเมืองภายในญีป่ นุ่ เพราะจีนเป็ นตลาดส่งออกรายใหญ่ทส่ี ดุ ของญีป่ ุ่น ส่วนญี่ปุ่น เป็ น ตลาดลาดับ สามของจีน และญี่ปุ่น เป็ น ฝ่ายได้ดุ ลการค้ากับ จีน ดังนัน้ ญีป่ นุ่ จะเป็ นฝา่ ยเสียหายมากกว่าหากความขัดแย้งยังไม่ยตุ ิ

243


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

แผนทีเ่ กาะเตียวหยูหรือเซนกากุ พื้นทีพ่ พิ าทระหว่างจีน-ญีป่ นุ่

การประท้วงต่อต้านญีป่ นุ่ ของชาวจีนกรณีเกาะเตียวหยู

ความขัดแย้งจีน -ญี่ปุ่น ยังมีผลกระทบต่อสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็ นพันธมิตร ทางทหารของญีป่ นุ่ ด้วย กล่าวคือ ข้อพิพาทส่งผลต่อการดาเนินนโยบายความเป็ น พันธมิตรและยุทธศาสตร์ปรับสมดุลในเอเชียแปซิฟิกของสหรัฐ อเมริกา เพราะเกิด คาถามว่ า สหรัฐอเมริก าจะด าเนิ น นโยบายอย่า งไร จึง จะสามารถคงความเป็ น พันธมิตรทีด่ กี บั ญีป่ ุ่นและยึดมันในสนธิ ่ สญ ั ญาต่างๆ ทีผ่ กู พันกับญีป่ ุ่น โดยเฉพาะ การให้ ค วามคุ้ ม ครองทางทหาร ในขณ ะที่ ม ี ป ระเด็ น เกี่ ย วพั น กั บ จี น หาก สหรัฐอเมริกาเอนเอียงเข้าข้างญี่ปุ่นมากเกินไป ย่อมจะไม่เป็ นประโยชน์ และอาจ ส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนได้ ความขัด แย้ ง ล่ า สุ ด คือ ในเดื อ นพฤศจิก ายน ค.ศ. 2013 รัฐ บาลจี น ประกาศเขตแสดงตนเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defense Identification Zone หรือ ADIZ) เหนื อน่ านฟ้ าทะเลจีน ตะวัน ออก หรือ การประกาศความเป็ น 244


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

เจ้า ของเขตน่ า นฟ้ า ซึ่ง บางส่ ว นทับ ซ้อนเขตแสดงตนของเกาหลีใต้ ญี่ ปุ่ น และ ไต้หวัน ทัง้ ยังทับซ้อนเขตแสดงตนของญีป่ ุ่นเหนือหมู่เกาะเตียวหยู/เซนกากุ ความ ขัดแย้งระหว่างประเทศเหล่านี้ซง่ึ เกีย่ วพันถึงสหรัฐอเมริกา ทาให้รองประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ต้องเดินทางมาพูดคุยกับรัฐบาลญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ กล่ า วได้ว่ า การประกาศของจีน นี้ เป็ น ทัง้ การแสดงความก้า วร้า วด้า นนโยบาย ต่างประเทศ ทีจ่ นี อาจมันใจในความเป็ ่ นมหาอานนาจของตนมากขึน้ และเป็ นทัง้ ชนวนทีท่ าให้ความขัดแย้งภายในภูมภิ าคปะทุขน้ึ อีก จีนอ้างว่าทีผ่ ่านมาญีป่ ุ่นและ เกาหลีใต้ภายใต้การปกป้องของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเขตแสดงตนและขอให้ ประเทศอื่นปฏิบตั ติ าม ดังเช่น ใน ค.ศ. 1969 และ 1972 ญี่ปุ่นประกาศเขตแสดง ตน และครัง้ ล่าสุด คือ ใน ค.ศ. 2010 ดังนัน้ จีน จึงประกาศเขตแสดงตนบ้าง ซึ่ง ญีป่ นุ่ เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกาควรจะยอมรับ อย่างไรก็ตาม ญีป่ นุ่ ตอบโต้ว่าแม้ ทีผ่ ่านมาญี่ปุ่นจะประกาศเขตแสดงตนของญี่ปุ่น แต่จนี ไม่เคยยอมรับ ดังนัน้ ญีป่ ุ่น จึงไม่อาจยอมรับเขตแสดงตนของจีนได้1 ความขัดแย้งในพืน้ ทีน่ ้ีน่าจะยุตลิ งได้ยาก ความขัดแย้งทีย่ ุตลิ งชัวคราวด้ ่ วย ความรอมชอมกัน ทั ง้ สองประเทศ เพราะต่ า งก็ ไ ด้ ร ับ ผลกระทบ แต่ ก็ ไ ม่ ม ี หลักประกัน ที่แ น่ น อนว่าในอนาคตป ญั หานี้ จะไม่เกิด ขึ้น มาอีก และหากเกิด ขึ้น ปญั หาจะไม่ลุกลาม ทัง้ นี้สาเหตุประการหนึ่งทีท่ าให้ความขัดแย้งระหว่างสองชาติ ขยายตั ว และประชาชนมี อ ารมณ์ ร่ ว ม ส่ ว นหนึ่ ง เป็ นเพราะความขัด แย้ ง ใน ประวัตศิ าสตร์ทส่ี องชาติมตี ่อกัน ควำมขัดแย้งจำกกำรอ้ำงสิ ทธิ์ ในทะเลจีนใต้ ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เกิดจากการอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรตลีย์ (Spartly Islands) และบริเวณใกล้เคีย ง ระหว่ า งจีน ไต้ห วัน อิน โดนี เซีย บรูไน ฟิ ลิปปิ นส์ มาเลเซีย เวียดนาม ซึ่งมีผลประโยชน์ คอื แหล่งน้ ามัน ก๊าซธรรมชาติ ประเทศเหล่านี้ต่างอ้างสิทธิดว้ ยการนากองทหารไปตัง้ คุมกัน ทาเครื่องหมายแสดง อธิป ไตย การส่งกองทัพ เรือ กองทัพ อากาศ ลาดตระเวน โดยแต่ละชาติต่า งมี เหตุผลในการอ้างสิทธิของตนเหนือดินแดนนี้ เช่น จีนและเวียดนามอ้างสิทธิจาก

ชาญชัย คุ้มปญั ญา. “เผยธาตุแท้รฐั บาลจีน ญี่ปุ่นและสหรัฐ ผ่านการประกาศ ADIZ ของจีน” คอลัมน์ “สถานการณ์โลก” ไทยโพสต์ ปี ท่ี 18 ฉบับที่ 6243, 8 ธันวาคม 2556. 1

245


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อดีต โดยจีนอ้างว่าครอบครองดินแดนนี้มาตัง้ แต่สมัย ราชวงศ์ฮนั ่ เวียดนามอ้าง สิทธิต่อจากฝรังเศส) ่ มาเลเซีย บรูไน และ ฟิลปิ ปิ นส์ อ้างสิทธิจากเขตน่านน้าทะเล

แผนทีหมู ่ ่เกาะสแปรตลียแ์ ละประเทศทีเ่ กีย่ วข้อง

ความขัดแย้งเริม่ มากขึ้นในต้นทศวรรษ 1970 เมื่อจีนเริม่ ใช้กาลังเข้าไป คุ้ม ครองสิท ธิ ใน ค.ศ.1974 จีน ขับ ไล่ เวีย ดนามจากเกาะพราราเซล (Paracel Islands) ทางเหนือของสแปรตลีย์ และขยายกาลังคุมจุดต่างๆ จนเกิดการปะทะ กับเวียดนามและฟิ ลปิ ปิ นส์ เมื่อความขัดแย้งมีแนวโน้มจะเพิม่ ขึน้ จึงมีการหาทาง แก้ปญั หาในทะเลจีนใต้ โดยเริม่ มีการประชุมหาทางแก้ปญั หาทะเลจีนใต้ใน ค.ศ. 1990 แต่ใน ค.ศ. 1992 จีนประกาศกฎหมายว่าด้วยเขตแดนทางทะเล อ้างสิทธิใน ทะเลจีน ใต้ ทาให้ส มาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซีย น (ASEAN) ออกแถลงการณ์ ตอบโต้เรื่องทะเลจีน ใต้ โดยขอให้ทุกประเทศรัก ษา สถานะเดิม และแก้ปญั หาโดยสันติวธิ ี กล่าวได้ว่า แถลงการณ์ น้ีประเทศสมาชิก อาเซียนต้องการแสดงให้จนี เห็นว่าเป็ นปญั หาระหว่างจีนกับอาเซียน ไม่ใช่ปญั หา ทวิภาคีระหว่างจีนกับประเทศใดประเทศหนึ่ง ใน ค.ศ. 2002 มีการออกความตกลง “กฎจรรยาบรรณทะเลจีนใต้” เพื่อ กาหนดกติกาการอยู่ร่วมกันในทะเลจีนใต้ ซึ่ง เป็ นเพียงข้อตกลงร่วมกัน ไม่ใช่ขอ้ ผูกพันตามกฎหมาย กฎนี้เสนอให้ยดึ กฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายทาง ทะเลของสหประชาชาติ ให้ยดึ หลักสันติภาพ การสร้างความร่วมมือด้านโครงการ พัฒนา และการปรึกษาหารือระหว่างกัน ทัง้ นี้เพราะทีผ่ ่านมาปญั หาความขัดแย้ง ทาให้ไม่อาจมีประเทศใดเข้าไปแสวงหาประโยชน์ในพืน้ ทีไ่ ด้เต็มที่ 246


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หลังการออกกฎจรรยาบรรณทะเลจีนใต้ การแข่งขันอ้างสิทธิยงั มีอยู่ และ จีนใช้น โยบายก้าวร้าวมากขึ้น เช่น กองเรือจีน รุกล้ าเขตแดน ส่งเรือรบเสาะหา แหล่งน้ ามัน รุกล้าน่ านน้ าฟิ ลปิ ปิ นส์ จีนวางเครื่องหมายแสดงเขตตามเกาะแก่ง ต่างๆ รวมถึงการทีจ่ นี และเวียดนามแย่งกันให้สมั ปทานสารวจน้ ามัน แต่จนี กลับขู่ บริษัท ร่วมทุน ระหว่างอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และเวีย ดนาม ให้ออกไปจากเขต สารวจใต้พ้นื ที่ของเวียดนาม ต่อมาจีนยังขับไล่เรือหาปลาเวียดนามออกจากหมู่ เกาะสแปรตลีย์ จมเรือเวียดนาม 3 ลาใน ค.ศ. 2007 จนชาวเวียดนามประท้วง และการรุกล้าเขตน่ านน้ าเวียดนาม และในที่สุด จีนจัดตัง้ เขตปกครองท้องถิน่ บน พืน้ ทีใ่ นหมู่เกาะพาราเซล และสแปรตลีย์ ทาให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองและ ประเด็นชาตินิยม ทัง้ ระหว่างจีน-เวียดนาม จีน-ฟิลปิ ปิ นส์ และกับคูก่ รณีชาติอน่ื

ภาพการ์ตูนล้อการขยายอิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้

การสร้างเขตอิทธิพลของจีนในทะเลจีนใต้

การทีจ่ นี มีการดาเนินนโยบายทีก่ า้ วร้าวเพิม่ ขึน้ เรื่อยๆ ในปญั หาในทะเล จีนใต้ อาจเป็ นเพราะจีนกลายเป็ นชาติมหาอานาจของโลกทีม่ คี วามเข้มแข็งทัง้ ทาง เศรษฐกิจ การทหาร มากกว่าชาติค่กู รณี จีนจึงอาจมีความรูส้ กึ ถึงความเป็ นชาติ 247


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ยิง่ ใหญ่ดงั ทีเ่ คยเป็ นมาในอดีต จึงมีนโยบายต่างประเทศทีก่ า้ วร้าวมากขึน้ และที่ สาคัญการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนทาให้ความจาเป็ นด้านเชื้อเพลิงมีมากขึ้น ดังนัน้ จีนจึงต้องการผลประโยชน์ด้านเชือ้ เพลิงทัง้ น้ ามันและก๊าซธรรมชาติ ทีค่ าด ว่าจะมีอยูอ่ ย่างมหาศาลในบริเวณนี้ อย่างไรก็ตาม ประเทศคู่กรณีของจีนส่วนใหญ่เป็ นสมาชิกอาเซียน และใน ระยะหลังได้ใช้เวทีอาเซียนในการตกลงปญั หากับจีนแทนการเจรจาทวิภาคี ส่วนอีก ประเทศทีอ่ า้ งสิทธิ คือ ไต้หวัน ก็มคี วามสัมพันธ์และความขัดแย้งทีซ่ บั ซ้อนกับจีน ทัง้ ทางประวัติศาสตร์และการเมือง รวมทัง้ ไต้หวัน มีสหรัฐอเมริกาเป็ น พั น ธมิตร ดังนัน้ กล่าวได้ว่า ต่างฝา่ ยต่างมีอานาจต่อรอง เพียงแต่ว่าจีนซึง่ มีความเข้มแข็งทาง ทหารมากกว่า ได้แสดงบทบาทที่ก้าวร้าวมากขึ้น แต่ยงั ไม่ถึงขัน้ ปะทะกันอย่าง จริงจังจนกลายเป็ นสงคราม ซึ่งคาดว่ากรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้จะยังคงมี ลักษณะเช่นนี้ต่อไป จนกว่าจีนจะตัดสินใจใช้กาลังซึง่ จะไม่เป็ นผลดีกบั จีน หรือแต่ ละประเทศอาจตกลงร่วมมือกันพัฒนาพืน้ ทีแ่ ละแบ่งผลประโยชน์กนั ซึง่ เป็ นหนทาง ทีด่ ที ส่ี ดุ จี น ในป จั จุ บ ั น เป็ นประเทศที่ ป ระสบความส าเร็ จ ทั ง้ ทางเศรษฐกิ จ ั หาหลายประการทัง้ ด้ า นความมัน่ คง เทคโนโลยี และการทหาร แต่ จีน ก็ม ีป ญ ทางการเมืองภายใน ปญั หาสังคม ปญั หาสิง่ แวดล้อมที่เป็ นผลมาจากการพัฒนา อย่างรวดเร็วและปราศจากการวางแผนควบคุม ปญั หาด้านต่างๆ ที่เกีย่ วข้องกับ ประชากร และปญั หาความสัมพันธ์กบั เพื่อนบ้านซึ่งปจั จุบนั ด้วยการทีจ่ นี ประสบ ความส าเร็จ ทัง้ ทางเศรษฐกิจ และการทหาร ท าให้จีน มีน โยบายต่อเพื่อนบ้านที่ กร้า วร้าวขึ้น และมีการใช้กาลังข่ม ขู่เพื่อรักษาผลประโยชน์ ข องตน โดยเฉพาะ ผลประโยชน์ ด้ า นพลังงานซึ่งถือ เป็ น สิ่งที่ม ีค วามส าคัญ ต่ อ ทุ ก ประเทศในการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนัน้ นอกจากการแก้ปญั หาภายในประเทศในด้านต่างๆ แล้ว การต่างประเทศของจีนก็มคี วามสาคัญมากเช่นกัน รัฐบาลจีนในปจั จุบนั และ อนาคตจาเป็ นต้องดาเนินนโยบายอย่างระมัดระวัง เพราะการดาเนินการต่างๆ มี ผลกระทบทัง้ ด้านเศรษบกิจ การเมือง และการทหาร และความขัดแย้งจะไม่ได้ อยู่ เพีย งแค่ ร ะหว่ า งจีน กับ ประเทศหรือ กลุ่ ม ประเทศคู่ก รณี แต่ ย ังน าประเทศอื่น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเข้ามาเกีย่ วข้องด้วย จึงเป็ นทีน่ ่าสนใจว่า จีนในปจั จุบนั และอนาคตจะวางบทบาทและดาเนินนโยบายเช่นไร .................................................

248


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

วิ เครำะห์ 1. นโยบายจีนเดียวมีความสาคัญต่อสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างไร ั หาที่ก ระทบความมัน่ คงภายในของจีน เช่ น ป ญ ั หาความ 2. จีน มีป ญ ขัดแย้งกับชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิม กรณีซนิ เจียงอุยกูร์ และปญั หาความมันคงด้ ่ าน เขตแดนกรณีทเิ บต ซึ่งทีผ่ ่านมารัฐบาลจีนใช้วธิ กี ารปราบปรามที่เด็ดขาดรุนแรง วิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใดรัฐบาลจีนจึงดาเนินนโยบายเช่นนี้ 3. จีนในปจั จุบ ันเป็ นมหาอานาจชาติหนึ่งของโลก และมีบ ทบาทในเวที การเมืองโลก แต่ห ลายครัง้ จีน ด าเนิ น นโยบายแข็งกร้า วทางการเมือ งระหว่ า ง ประเทศกับประเทศทีม่ คี วามขัดแย้งกัน โดยเฉพาะจากปญั หาความขัดแย้งด้านเขต แดน เช่น กับ ญีป่ นุ่ และความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ วิเคราะห์ว่าเพราะเหตุใดจีนจึง ดาเนินนโยบายเช่นนี้ และแนวโน้มในอนาคตจะเป็ นเช่นไร หนังสืออ่ำนเพิ่ มเติ ม รานา มิชเทอร์. (Rana Mitter). (2554). จีนสมัยใหม่ ความรูฉ้ บับพกพา = Modern China: A Very Short History. กิตติพงศ์ สนธิสมั พันธ์ แปล. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส. Jacques, Martin. (2012). When China Rules the World. 2nd Edition. London: Penguin Books. Spence, Jonathan D. (2013). The Search for Modern China. 3rd Edition. New York: W.W.Norton & Company. Chapter 27 Century’s End, Chapter 28 Breakthrough ?.

249


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

ส่งท้ำย ประวัตศิ าสตร์จนี นับตัง้ แต่สงครามฝิ่นในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็ นต้น มา เป็ น ช่ว งเวลาที่ส ถานะและภาพพจน์ ข องจีน ในเวทีโลกเริม่ ตกต่ าลง และถูก ต่างชาติทงั ้ ตะวันตกและญีป่ นุ่ ซึง่ เป็ นชาติเล็กทีเ่ ทียบเท่าจีนไม่ได้ทงั ้ ในแง่ขนาดและ จานวนประชากร เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ และขยายอิทธิพลทางทหารในจีน การเปลีย่ นแปลงเป็ นสาธารณรัฐใน ค.ศ. 1912 ไม่ได้ทาให้ความมันคงกลั ่ บคืนสูจ่ นี แต่กลับเป็ นช่วงเวลาแห่งความแตกแยกและการต่อสูแ้ ย่งชิงอานาจกัน เริม่ จากการ ต่อสูข้ องขุนศึก และการต่อสู้ระหว่างฝ่ายกว๋อหมินตังและคอมมิ ่ วนิสต์ ทาให้การ พัฒนาประเทศชาติหยุดชะงักและถูกญีป่ นุ่ ขยายอิทธิพลทางทหารเพือ่ หวังยึดครอง จีน จนนาไปสู่สงครามต่อต้านญีป่ ุ่นซึง่ กลายเป็ นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครัง้ ที่ 2 หลังสงครามสงบ ชาวจีนต่างหวังว่าประเทศชาติจะกลับสูภ่ าวะปกติ แต่กต็ อ้ งเผชิญ กับ สงครามกลางเมือ งซึ่ ง ในท้ า ยที่สุ ด พรรคคอมมิว นิ ส ต์ ม ีช ัย ชนะ สถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ขึน้ เมื่อ ค.ศ. 1949 ผู้นารุ่นแรกเช่น เหมา เจ๋ อตง หลิว เซ่ า ฉี แ ละโจว เอิน ไหล พยายามฟื้ น ฟู ป ระเทศด้า นเศรษฐกิจ จัด องค์ ก รการ ปกครองให้มรี ะบบ ส่งเสริมการรณรงค์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ซึ่งบางครัง้ ก็ สร้างความสูญเสียอย่างไม่มใี ครคาดคิด เช่น ความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการ รณรงค์กา้ วกระโดดไกลไปข้างหน้า ความเสียหายทางการเมือง สังคม วัฒนธรรม จากการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรม เติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นารุ่น ที่ส อง ได้ประกาศใช้นโยบายสี่ทนั สมัยเพื่อพัฒ นา ประเทศด้านเกษตรกรรม อุต สาหกรรม การป้ องกัน ประเทศ วิทยาศาสตร์แ ละ เทคโนโลยี และได้รบั การสานต่อจากผูน้ ารุน่ ที่ 3 เช่น เจียง เจ๋อหมิน และจู หรงจี จนทาให้เศรษฐกิจของจีนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ด้านอื่นๆ ก็พฒ ั นา อย่างได้ผล ซึ่งผูน้ ารุ่นที่ 4 คือ ประธานาธิบดีหู จิน่ เทา และนายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า ก็ได้ดาเนินนโยบายต่อมา ซึง่ จากการดาเนินงานพัฒนาประเทศของผูน้ า รุ่น ต่างๆ ที่ผ่านมา ทาให้ตอนนี้ จีน กลายเป็ น ประเทศมหาอานาจทางเศรษฐกิจ การทหาร มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คนจีนมีฐานะร่ารวยขึ้น กลายเป็ นผูบ้ ริโภคอันดับต้นของโลก ปจั จุบนั จีนอยู่ภายใต้การนาของผูน้ ารุ่นที่ 5 ประธานาธิบดีส ี จิ้นผิง และนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ซึ่งยังคงดาเนินนโยบาย พัฒนาประเทศจีน แต่จีนในปจั จุบนั ยังแสดงบทบาทในฐานะผูน้ าในเวทีโลกเพิ่ม มากขึน้ ซึง่ เป็ นบทบาททีน่ ่ าจับตามองอย่างยิง่ โดยเฉพาะการท้าทายบทบาทของ มหาอานาจเก่าอย่างสหรัฐอเมริกา 250


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

อย่างไรก็ตาม แม้การพัฒ นาประเทศจะประสบความส าเร็จ แต่จีน ต้อง เผชิญกับปญั หาหลายประการที่สบื เนื่องจากการพัฒ นาประเทศ เช่น ปญั หาการ เรียกร้องสิทธิทางการเมืองของประชาชน ปญั หาการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะค่านิยมทีเ่ น้นวัตถุนิยม ปญั หาสิง่ แวดล้อม รวมถึงปญั หาทางการเมือง กรณีความสัมพันธ์กบั ไต้หวัน เป็ นต้น แต่เมือ่ เทียบกับสถานะของจีนหลังสงคราม ฝิ่ นแล้ว ถือได้ว่าการพัฒนาประเทศของจีนประสบความสาเร็จอย่างสูง และทาให้ สถานะของจีนในเวทีโลกกลับ มาอยู่ในฐานะที่เท่าเทียมและได้รบั การชื่น ชม ซึ่ง บทบาทของจีนในอนาคตเป็ นทีน่ ่าติดตามอย่างยิง่ ...............................................

251


จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

บรรณำนุกรม กระทรวงการต่ า งประเทศ. (2541). เศรษฐกิ จ จี น และแนวโน้ ม ในปี 2541. กรุงเทพฯ : กระทรวงการต่างประเทศ. เขียน ธีระวิทย์. (2527). จีนผลัดแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ________. (2519). การเมื อ งการป กครองของสาธารณ รั ฐ ป ระชาชน จี น . กรุงเทพฯ : กราฟฟิคอาร์ต. ________. (2517). วิว ัฒ นาการการปกครองของจีน . กรุงเทพฯ : ไทยวัฒ นา พานิช “จีน” ใน เอเชียรายปี 1985 / 2528 – 2543 / 2000. (2528-2543). กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. จีน มหาอานาจทางเศรษฐกิจโลก 2001. 2 เล่ม หนังสือพิมพ์คแู่ ข่งธุรกิจ ในชุด The Great Collection xxvii ฉบับ 245 – 246 (18-24 ก.ย. และ 25 ก.ย. – 1 ต.ค. 2538) จีนไร้มงั กรเติ้ง (China without Deng). 8 เล่ม. หนังสือพิมพ์คแู่ ข่งธุรกิจ ฉบับ 235242 10 ก.ค. – 3 ก.ย. 38. จู จงลี.่ (2534). เจียงชิงเย้ยฟ้าท้าดิน.บุญศักดิ ์ แสงระวี แปล. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ จาลอง พิศนาคะ. (2517). ขบวนการหงเว่ยปิ ง. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต เติง้ หยง. (2546). เติ้ง เสีย่ วผิง ว่าด้วยการปฏิวตั วิ ฒ ั นธรรมและเค้าโครงความคิด เศรษฐกิจจีนใหม่. สุขสันต์ วิเวกเมธากร แปล. กรุงเทพฯ : ไฮเออร์ เพรส ทวีป วรดิลก. (2547). เหมา เจ๋อตง ฮ่องเต้นกั ปฏิวตั .ิ กรุงเทพฯ : มติชน _________. (2542). ประวัตศิ าสตร์จนี . กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ. ธวัช ทันโตภาส. (2540). การเมืองการปกครองจีน. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย บุญศักดิ ์ แสงระวี. (2543). ครอบครัวปฏิวตั ขิ องเหมา เจ๋อตง. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ ________. (2538). เติ้ง เสีย่ วผิง ชีวติ และการต่อสู.้ กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ ฟงั ฟงั . (2539). เมฆเหิน น้ าไหล. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุด าฯ สยามบรมราช กุมารี ทรงแปล. กรุงเทพฯ : นานมีบ๊คุ ส์. ฟาง จีเ้ ฉิง และ เจียง กุย้ หนง. (2539). โจว เอินไหล จารึกไว้ในใจชน. บุญศักดิ ์ แสงระวี แปล. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ

252


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

แฟร์แบงค์, จอห์น เค., ไรเชาเออร์, เอ็ดวิน โอ. และ เครก, อัลเบิรต์ เอ็ม. (2518 – 2525). เอเชียตะวัน ออกยุคใหม่เล่ม 1-4. เพ็ช รี สุมติ รและคณะ แปล. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย ยุง จาง. (2539). หงส์ปา่ 2 เล่ม. จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล แปล. กรุงเทพฯ : นานมีบ๊คุ ส์ รานา มิชเทอร์. (Rana Mitter). (2554). จีนสมัยใหม่ ความรูฉ้ บับพกพา = Modern China: A Very Short History. กิตติพ งศ์ สนธิส มั พัน ธ์ แปล.กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส. วรศักดิ ์ มหัทธโนบล. (2547). เศรษฐกิจการเมืองจีน. กรุงเทพฯ : สถาบันเอเชีย ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วัชระ ชีวะโกเศรษฐ แปลและเรียบเรียง. (2539). ซุนยัดเซ็น ผูพ้ ลิกประวัตศิ าสตร์ จีน. กรุงเทพฯ : ธรรมชาติ. วันรักษ์ มิง่ มณีนาคิน. (2525). เศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2551). ไทย จีน ญีป่ นุ่ ในยุคจักรวรรดินิยมใหม่ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ : สุวรี ยิ าสาส์น. _________. (2521). จีน การต่อสูเ้ พือ่ มหาอานาจ. กรุงเทพฯ : เคล็ดไทย. ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). สารานุกรมประวัตศิ าสตร์สากลสมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม 1 อักษร A-B ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน _________. (2547). สารานุกรมประวัตศิ าสตร์สากลสมัยใหม่ : เอเชีย เล่ม 2 อักษร C - D ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน สโนว์,เอ็ดการ์. (2541). ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน. แปลโดย บุญศักดิ ์ แสงระวี. กรุงเทพฯ : มติชน. สิทธิพล เครือรัฐติกาล. (2555). ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ชวนอ่าน หน่ วยเรียบเรียงหนังสือชุดประวัตศิ าสตร์ยคุ ใกล้ของจีน.(แปล). (2519). การปฏิวตั ิ ไท่ผงิ เทียนกว๋อ. ปกั กิง่ : สานักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ปกั กิง่ . ________. (2519). การปฏิ ว ัติ ซิ น ไฮ่ . ป กั กิ่ง : ส านั ก พิ ม พ์ ภ าษาต่ า งประเทศ ปกั กิง่ . ________. (2519). ขบวนการอี้เหอถวน. ปกั กิง่ : สานักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ปกั กิง่ . ________. (2519). สงครามฝิน่ . ปกั กิง่ : สานักพิมพ์ภาษาต่างประเทศปกั กิง่ .

253


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

หม่ า เอี้ย นฟางและคณะ. (2541, มิ.ย.– ก.ค.). “ความคิด เห็ น บางประการ เกี่ยวกับ การเร่งพัฒ นาเศรษฐกิจ ภาคตะวันตก,” ใน Oversea Info. 3 (24) หวาง เหมิง. (2537). ผีเสื้อ. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงแปล. กรุงเทพฯ : นานมีบ๊คุ ส์. เหมา เหมา. (2537). ป๋าเติ้งของฉัน. สุขสันต์ วิเวกเมธากร แปล. กรุงเทพฯ : ผูจ้ ดั การ อีแวนส์, ริชาร์ด. (2540). เติ้ง เสีย่ วผิง ผูร้ งั สรรค์จนี ยุคใหม่. ดรุณี แซ่ลวิ่ แปล. กรุงเทพฯ : คูแ่ ข่งบุคส์ อัย้ ชิ ง เจี่ ย วหรอ, ฟู่ อ้ี. (2531). จากจัก รพรรดิ สู่ ส ามัญ ชน. แปลโดย ยุ พ เรศ วินยั ธร. กรุงเทพฯ : รวมทรรศน์ โอเวอร์โฮล, วิลเลียม เอช. (2538). จีนเขย่าโลก : มหาอานาจใหม่ทางเศรษฐกิจ แปลโดย บุญรัตน์ อภิชาติไตรสรณ์. กรุงเทพฯ : เดอะเนชัน่ บอร์ตนั , ฮิวจ์. (2526) ศตวรรษใหม่ของญีป่ นุ่ จากเปอรีถ่ งึ ปจั จุบนั . วุฒชิ ยั มูลศิลป์ และสุภทั รา นีลวัชระ บรรณาธิการแปล. กรุงเทพฯ : สมาคม สังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย Bai Shouyi (ed.). (1993). An Outline History of China 1919-1949. Beijing : Foreign Language Press. ______. (ed.).(1982). An Outline History of China. Beijing: Foreign Language Press. Chang, Hsin-pao. (1964). Commissioner Lin and the Opium War. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. Chang, Jung. (2013). Empress Dowager Cixi: The Concubine Who Launched Modern China. London: Jonathan Cape. Chung, Tan (1978). China & the brave new world: A study of the origins of the Opium War .Durham, N.C.: Carolina Academic Press. Ebrey, Patricia B. (1996). The Cambridge Illustrated History of China. Cambridge: Cambridge University Press. Fairbank, John K. (1998). China A New History. Cambridge,Mass: Harvard University Press. _______. (1988). The Great Chinese Revolution 1800-1985. London: Picador. 254


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

_______. (1953). Trade and Diplomacy on the China Coast: the Opening of the Treaty Ports 1842 – 1854. Cambridge, Mass.: Harvard University Press. Gray, Jack. (2002). Rebellions and Revolutions, China from 1800s to 2000. New York: Oxford University Press. Hsu, Immanuel C.Y. (1995). The Rise of Modern China. 5th Edition. New York: Oxford University Press. Jacques, Martin. (2012). When China Rules the World. 2nd Edition. London: Penguin Books. Lieberthal, Kenneth. (1995). Governing China, From RevolutionThrough Reform. New York: W.W.Norton & Company Inc. Li Zhisui.(1994).The Private Life of Chairman Mao. London: Chatto & Windus. MacFarquhar, Rodorick. (1993). The Politics of China 1949 – 1989. New York: Cambridge University Press. Meisner, Maurice. (1999). Mao’s China and After. 3rd Edition. New York: The Free Press. _______. (1996). The Deng Xiaoping Era, An Inquiry into the Fate of Chinese Socialism 1978-1994. New York : Hill and Wang. Rossabi, Morris. (2014). A History of China. West Sussex: Wiley Blackwell Spence, Jonathan D. (2013). The Search for Modern China. 3nd Edition. New York: W.W. Norton Sheng, Hu. (1991). From the Opium War to the May Fourth Movement. 2 Vols. Beijing : Foreign Language Press Twitchett, Denis and Fairbank, John K. (editors). (1980). The Cambridge History of China, Vol. 10 Part 1 Late Ch'ing, 1800-1911. Cambridge: Cambridge University Press. ________. (1979). The Cambridge History of China, Vol. 11 Part 2 Late Ch'ing, 1800-1911. Cambridge : Cambridge University Press. Wright, Mary C. (1962). The Last Stand of Chinese Conservatism : The T’ung-chih Restoration, 1862–1874. 2nd Edition. Stanford: Stanford University Press. 255


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

บทควำม นภดล ชาติประเสริฐ. (2542). “แนวคิดเกีย่ วกับสาเหตุอนั นาไปสูก่ ารปฏิวตั ใิ น ประเทศจีน ค.ศ. 1911 : มุมมองทีแ่ ตกต่าง”. อารยธรรมตะวันออก. ศรีสรุ างค์ พูลทรัพย์ บรรณาธิการ. หน้า 303–310. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วาสนา วงศ์สรุ วัฒน์. (2555). “หงซิว่ เฉวียน: ต้นแบบนักปฏิวตั จิ นี ”. เหตุเกิดใน ราชวงศ์ชงิ . กรุงเทพ: ชวนอ่าน. วุฒชิ ยั มูลศิลป์. (2548). “เมื่อประวัติศาสตร์เป็ นเหตุแห่งความขัดแย้งระหว่าง ชาติในเอเชีย ”. โลกประวัติศาสตร์. ลาดับที ่ 1 ประวัติศาสตร์กบั สังคม. เอกสารวิชาการประวัตศิ าสตร์และไทยศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. หน้า 1 - 23 ________. (2544). “จีน ในคริส ต์ ศ ตวรรษที่ 20”. สายธารแห่ งความคิด 2 สาร นิพนธ์เชิดชูเกียรติ ท่านผูห้ ญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เนือ่ งใน วโรกาสอายุ ครบ 72 ปี . กรุงเทพฯ : กองทุ น เพื่อ วิช าการ วรุณ ยุ พ า สนิทวงศ์ฯ. หน้า 399 – 423. ________. (2542). “เติ้ง เสี่ย วผิง กับ การท าประเทศจีน ให้ท ัน สมัย ”. วารสาร ประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หน้า 24 – 41. ________. (ต.ค. 2540–ม.ค. 2541). “การปฏิ ว ัติ ว ัฒ นธรรมในจี น ”. วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน. 23(1): 85 – 119. ________. (2524, พฤษภาคม-สิงหาคม). “ปญั หาของจีนในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19” วารสารประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 6 (2) : 55-62 ศิรพิ ร ดาบเพชร. (2545). “การแย่งชิงอานาจในกลุ่มผูน้ าพรรคคอมมิวนิสต์จนี ”. วารสารประวัตศิ าสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. หน้า 76-102 ศิรพิ ร ดาบเพชร และอนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2545). “นโยบายสีท่ นั สมัยกับการ พัฒนาเศรษฐกิจของจีน”. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. หน้า 47 - 67 วิ ทยำนิ พนธ์และงำนวิ จยั เขียน ธีระวิทย์. (2541). นโยบายต่างประเทศจีน. กรุงเทพฯ : สานักงานกองทุน สนับสนุนการวิจยั และศูนย์จนี ศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

256


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

ธมาภรณ์ พู ม พิ จ . (2547). การตอบสนองของจี น ต่ อ การคุ ก คามของชาติ มหาอานาจระหว่าง ค.ศ. 1895 – 1912. สารนิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัตศิ าสตร์ เอเชีย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร ประจักษ์ แป๊ะสกุล. (2548). สภาพการเมืองจีนทีม่ ผี ลต่อการเคลือ่ นไหวทาง การเมืองของปญั ญาชนจีนในยุคขุนศึก ค.ศ.1916-1928 .สารนิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัตศิ าสตร์เอเชีย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร วันรักษ์ มิง่ มณีนาคิน. (2535). รายงานผลการวิจยั เรือ่ งนโยบายสีท่ นั สมัยใน สาธารณรัฐประชาชนจีน : บทเรีย นและแนวโน้ ม . กรุงเทพฯ : สถาบัน เอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อนงคณา มานิตพิสฐิ กุล. (2543). การตอบสนองต่อการคุกคามของชาติตะวันตก ของจีนปลายสมัยราชวงศ์ชงิ (ค.ศ.1861-1895). สารนิพนธ์ ศศ.ม. (ประวัตศิ าสตร์เอเชีย). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร ที่ มำของแผนที่ และภำพ ภาพถ่ายโดยวุฒชิ ยั มูลศิลป์ แผนทีแ่ ละภาพจากสือ่ ออนไลน์ http://www.chine-informations.com/forum/enigme-mystere-de-chinen_15021.html www.historyplanet.wordpress.com www.allposters.com www.xtimeline.com www.lookandlearn.com www.maximumrockroleplaying.blogspot.com www.artgallery.nsw.gov.au www.degener.com www.zgeography.wordpress.com 257


ประวัตศิ าสตร์จนี สมัยใหม่

จากคริสต์ศตวรรษที ่ 19 ถึงปจั จุบนั

www.xinhai-revolution.univie.ac.at http://ssmselfstrengtheningmovement.weebly.com/background.html http://carinaxchan1.weebly.com/significance.html http://sites.asiasociety.org/chinawealthpower/chapters/feng-guifen/ ____________________________________________

258


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.